ปีที่ 10 ฉบับที่ 12 ประจำ�เดือนธันวาคม 2012
http://www.catholic.or.th/sarnbkk/
เอกสารเดือนธันวาคม
คุณค่าและศักดิศ์ รี ของมนุษย์
3
น.
84 ปี พระคาร์ดนิ ลั
ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู 50 ปีพระสงฆ์ พระสังฆราชสังวาลย์
เมือ่ พระผูไ้ ถ่
ประสูตมิ า
4
น.
8
น.
“พระวรสารวันนี้ เชิญชวนเราให้หยุดเปรียบเทียบตัวเรากับ คนอื่น ให้ยอมรับตัวเราเองอย่างที่เราเป็น และให้เราติดตาม คำ�แนะนำ�ของนักบุญเปาโลถึงชาวกาลาเทียที่ว่า “แต่ละคนจง พิจารณาการกระทำ�ของตนเอง หากเป็นการกระทำ�ที่ดี เขาจะภูมใิ จในตนเอง โดยไม่ตอ้ งเปรียบเทียบกับผูอ้ นื่ ” และที่สุดสิ่งสำ�คัญในชีวิต ไม่ใช่สิ่งที่คนอื่นคิดเห็น เกีย่ วกับตัวเราหรือแม้วา่ เราได้ท�ำ งานในสวนองุน่ ของพระเจ้าอย่างหนักเพียงใด? สิ่งสำ�คัญอยู่ที่ พระเจ้ า ทรงคิ ด เห็ น เกี่ ย วกั บ ตั ว เราอย่ า งไร? และเราได้ ใ ส่ ค วามรั ก ลงไปในงานที่ เ ราทำ � มากน้อยเพียงใดด้วย วาทะพระอัครสังฆราช ฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช พระอัครสังฆราชอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ บทเทศน์เยี่ยมอภิบาลวัดอัครเทวดาราฟาแอลปากน้ำ� วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน 2011
เจาะลึกพิเศษ...แผนกวิถีชุมชนวัด
“บางครั้งขณะถกเถียงกัน ถ้าถึงหัวข้อเกี่ยวกับความดี ความชั่ว และชีวิตหน้า เด็กบางคนถามคุณพ่อว่า “และผมจะเอาตัวรอดไหมครับ” “เธอคิดว่าเธอจะตก นรกงั้นหรือ? เธอคิดว่าพระเจ้าสร้างสวรรค์ แล้วปล่อยให้ว่างอย่างนั้นหรือ? แน่ละ การไปสวรรค์ต้องไต่ขึ้นไปด้วยความยากลำ�บาก แต่พ่ออยากให้เราอยู่ที่นั่นกัน ทุกคน และเราจะฉลองใหญ่กัน” (จากหนังสือ “ดอนบอสโก บิดาและอาจารย์ของเยาวชน” หน้า 208) อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ตระหนักถึงความสำ�คัญของเด็กและเยาวชนซึ่งเป็นอนาคตของพระศาสนจักร คาทอลิก ในโรงเรียนของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ จึงจัดให้มีการสอนคำ�สอน อบรมจริยธรรม ควบคู่ไปกับการให้ ความรู้ทางวิชาการ ในเรื่องของจิตตารมณ์วิถีชุมชนวัดก็เช่นกัน คณะกรรมการดำ�เนินงานวิถีชุมชนวัดตระหนักว่า จำ�เป็นต้องปลูกฝังจิตตารมณ์นี้เป็นพิเศษให้กับเด็กและเยาวชน เป็นต้น นักเรียนคาทอลิกในโรงเรียนของ อัครสังฆมณฑลฯ คณะกรรมการดำ�เนินงานจึงได้จัดตั้งทีมงานชุดหนึ่ง ประกอบด้วยพ่อ ซิสเตอร์สุวรรณี พันธ์วิไล และได้ประสานงานกับศูนย์คริสตศาสนธรรมกรุงเทพฯ โดยเชิญคุณครูทัศนีย์ มธุรสสุวรรณ รวมทั้งประสาน งานกับโรงเรียนนักบุญเปโตร โดยเชิญคุณครูกมลา สุริยพงศ์ประไพ มาร่วมเป็นทีมงานเพื่อที่จะหาแนวทางให้ จิตตารมณ์ของวิถชี มุ ชนวัดเป็นส่วนหนึง่ ของการสอนคำ�สอนในโรงเรียน ซึง่ เมือ่ ทีมงานพิจารณาหนังสือคำ�สอนชุด “ชีวิตคริสตัง” ที่เราใช้แล้ว พบว่ามีกระบวนการในการสอนที่เป็นไปในแนวเดียวกันกับวิถีชุมชนวัด โดยสรุป คือ เริ่มจากประสบการณ์และการไตร่ตรองประสบการณ์ การอ่านพระวาจาของพระเจ้า (อาจจะนำ�เสนอในรูปแบบ ของข้อคำ�สอน) และการไตร่ตรอง และการนำ�พระวาจาหรือข้อคิดที่ได้รับไปปฏิบัติในชีวิต ทีมงานจึงได้ดัดแปลง
วิธกี ารแบ่งปันพระวาจาแบบหนึง่ ซึง่ ใช้ในการอภิบาลวิถชี มุ ชนวัด ทีเ่ รียกว่า “LOOK LISTEN LOVE” มานำ�เสนอเป็นกระบวน การที่เทียบเคียงกับกระบวนการของหนังสือชุด “ชีวิตคริสตัง” ทีมงานเรียกกระบวนการนี้ว่า “3Ls” L ที่ 1 คือ “Look” คือ “การมองชีวิตปัจจุบัน” เป็นการยกเอาประสบการณ์หนึ่งขึ้นมา ให้ผู้เรียนได้พิจารณาและ ไตร่ตรองดูว่า ประสบการณ์นี้บอกอะไรกับผู้เรียน L ที่ 2 คือ “Listen” คือ “การฟังพระวาจาของพระเจ้า” เป็นการนำ�เสนอพระวาจาของพระเจ้า คำ�สอน และ แบบอย่างของพระองค์ ให้ผเู้ รียนได้ศกึ ษา และไตร่ตรอง เพือ่ ผูเ้ รียนจะได้พบคำ�ตอบของพระเยซูเจ้าต่อประสบการณ์ทคี่ ณ ุ ครู นำ�เสนอ L ที่ 3 คือ “Love” คือ “การดำ�เนินชีวิตศิษย์พระเยซู” เป็นการที่ผู้เรียนนำ�คำ�ตอบที่ได้รับจากคำ�สอนของพระเยซูเจ้า ไปปฏิบัติในชีวิตประจำ�วัน เราสามารถเทียบเคียง กระบวนการของหนังสือชุด “ชีวิตคริสตัง” กับ กระบวนการ “3Ls” ได้ตามตารางดังต่อไปนี้
กระบวนการของหนังสือชุด “ชีวิตคริสตัง”
กระบวนการ 3Ls
ขั้นที่ 1 ประสบการณ์ (Learning Activity)
การมองชีวิตปัจจุบัน “Look”
ขั้นที่ 2 การอภิปราย (Discussion)
การมองชีวิตปัจจุบัน “Look”
ขั้นที่ 3 เนื้อหาคำ�สอน (Christian Message)
การฟังพระวาจาของพระเจ้า “Listen”
ขั้นที่ 4 เสริมประสบการณ์ (Enrichment)
การฟังพระวาจาของพระเจ้า “Listen”
ขั้นที่ 5 การตอบรับ (My response and my learning)
การดำ�เนินชีวิตศิษย์พระเยซู “Love”
จะเห็นได้ว่ากระบวนการ “3Ls” เป็นกระบวนการเดียวกันกับกระบวนการที่ใช้ในเอกสาร “กระบวนการฟื้นฟูชุมชน ศิษย์พระคริสต์” ของสภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย ดังนัน้ ในการนำ�วิถชี มุ ชนวัด (BEC) มาบูรณาการในหนังสือคำ�สอนชุด “ชีวติ คริสตัง” ทีมงานเห็นว่าเรายังคงใช้หลักสูตร คำ�สอน “หนังสือคำ�สอนชุดชีวิตคริสตัง” ของคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม แผนกคริสตศาสนธรรม สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย ซึ่งได้จัดทำ�ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 (ค.ศ.2000) เป็นหลัก และต้องขอขอบคุณคณะ กรรมการผูจ้ ดั ทำ�เป็นอย่างยิง่ ส่วนกระบวนการสอนจะใช้วธิ ี “3Ls” และเพือ่ ความชัดเจนของเนือ้ หาว่ามีการบูรณาการอย่างไร ทีมงานเห็นความจำ�เป็นในการเขียนแผนการสอนคำ�สอนหนังสือชีวิตคริสตังโดยบูรณาการจิตตารมณ์วิถีชุมชนวัดเข้าไป คณะกรรมการดำ�เนินงานวิถชี มุ ชนวัดขอขอบคุณพระสงฆ์และซิสเตอร์ ผูบ้ ริหารโรงเรียนในเขต 5 ทุกท่าน ทีไ่ ด้สนับสนุน ให้คุณครูคำ�สอน 53 ท่านจากโรงเรียนในเขต 5 เข้ารับการอบรมเพิ่มพูนความรู้ครูคำ�สอน เขต 5 ครั้งที่ 2 ปีการศึกษา 2555 เมื่อวันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา และในการอบรมนี้ คุณครูทุกท่านได้ร่วมใจกันเขียนแผนการสอนคำ�สอนหนังสือ ชีวิตคริสตังโดยบูรณาการจิตตารมณ์วิถีชุมชนวัดเข้าไป ซึ่งสำ�เร็จไปแล้ว 2 หน่วย (ประมาณ 50%) ขอขอบพระคุณคุณครู ทุกท่านครับ และขอขอบพระคุณ คุณครูทัศนีย์ ชาวปากน้ำ� คุณครูกมลา สุริยพงศ์ประไพ คุณครูปิยะนันท์ ธีรานุวัฒน์ คุณครูหล่อลักษณ์ กิจประเสริฐ คุณครูอารยา กิจสมัคร คุณครูสุกาญดา วีระชุนย์ คุณครูสาลินี หอมมณีรัตนชัย คุณครูทัศนา ชาวปากน้ำ� คุณครูเมทินี สุพรรณพยัคฆ์ และคุณครูเยาวภา เจาฑาฑิต ที่ได้มาเป็นผู้นำ�กลุ่มในการเขียนแผนฯ และรับเขียน แผนการสอนในส่วนทีเ่ หลือให้ส�ำ เร็จ รวมทัง้ ขอขอบคุณคุณครูอกี บางท่านทีอ่ าสาสมัครช่วยคุณครูผนู้ �ำ กลุม่ นำ�แผนการสอน คำ�สอนไปเขียนต่อให้สำ�เร็จ แม้พ่อไม่ทราบชื่อของคุณครูเหล่านั้น จึงมิได้นำ�มากล่าวไว้ ณ ที่นี้ อย่างไรก็ดี พ่อขอขอบคุณ ในน้ำ�ใจดีของทุกท่านจากใจจริง และขอพระเจ้าตอบแทนน้ำ�ใจดีของทุกท่านครับ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าในปีการศึกษา 2556 เราจะมีแผนการสอนการสอนคำ�สอนของหนังสือ “ชีวิตคริสตัง” ที่บูรณาการ จิตตารมณ์วิถีชุมชนวัด ทั้งในเชิงของกระบวนการและเนื้อหา มาเป็นตัวอย่างให้คุณครูได้นำ�ไปใช้ นำ�ไปพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งถ้าคุณครูท่านใดมีแผนการสอนคำ�สอนที่ดีๆ ที่สอดแทรกความรู้เรื่องวิถีชุมชนวัดเข้าไปในการสอนคำ �สอนของคุณครู จะนำ�มาแบ่งปันให้กับทางคณะกรรมการฯ พวกเรายินดีน้อมรับด้วยความขอบพระคุณยิ่งครับ 2 สารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ปีที่ 10 ฉบับที่ 12 เดือนธันวาคม 2012
โดย...ผงศิลา
พีน่ อ้ งทีร่ กั เอกสารฟืน้ ฟูชมุ ชนศิษย์พระคริสต์ส�ำ หรับเดือนธันวาคม เราจะร่วมกันไตร่ตรองเรือ่ ง “คุณค่าและ ศักดิ์ศรีของมนุษย์” เป้าหมายของการไตร่ตรองในเดือนนี้ คือ “ศักดิ์ศรีของมนุษย์มีต้นกำ�เนิดมาจากพระเจ้า มนุษย์ถูกสร้างมาตามพระฉายาลักษณ์ของพระเจ้า ทุกคนต้องเคารพและรักษาศักดิ์ศรีของมนุษย์ด้วยกัน” เอกสารนี้เริ่มต้นด้วยการมองชีวิตปัจจุบัน (Look) เป็นเรื่องของช่างภาพที่ถ่ายภาพเด็กหญิงซูดานที่กำ�ลัง จะตาย โดยมีนกแร้งรอที่จะจิกกินร่างของเธอ เขาไม่ได้ ช่วยเด็ก แต่ทำ�เพียงไล่นกแร้งไป แน่นอนภาพของเขาได้ รางวัลใหญ่ พร้อมทั้งคำ�ถามว่าเขายังมีหัวใจหรือศีลธรรม อยู่ในชีวิตหรือไม่? ประเด็นหลักของประสบการณ์นี้ คือ คำ�ถามของเอกสารที่ว่า “คุณค่าและศักดิ์ศรีของมนุษย์ คืออะไร?” เราพบคำ�ตอบจากพระวาจาของพระเจ้า (Listen) “แล้วพระเจ้าตรัสว่า “ให้เราสร้างมนุษย์ตามฉายา ตามอย่างของเรา” (ปฐก 1:26) พร้อมทั้งคำ�ถามที่น่าสนใจชวนให้ไตร่ตรองจากเอกสารว่า “ทุกคนเป็นบุตรและ ฉายาลักษณ์ของพระเจ้า ท่านมีท่าทีต่อตัวท่านเองและคนอื่นอย่างไร?” การดำ�เนินชีวิตศิษย์พระเยซู (Love) เป็นการตอบคำ�ถามที่ว่า “เราจะปฏิบัติตนอย่างไร เพื่อดำ�รงไว้ซึ่ง ศักดิ์ศรีของตัวเองและของกันและกันในฐานะที่เป็นฉายาลักษณ์ของพระเจ้า” คำ�สอนของพระสังคายนาวาติกันครั้งที่ 2 หนังสือคำ�สอนพระศาสนจักรคาทอลิก และสมณสารต่างๆ ที่ เอกสารนี้นำ�เสนอ สามารถสรุปได้เป็น 3 ประเด็น คือ 1. เนื่องจากได้รับการสร้างขึ้นมาตามพระฉายาลักษณ์ของพระเจ้า มนุษย์แต่ละคนจึงมีศักดิ์ศรีในฐานะเป็น “บุคคล” พระเจ้าประทานอิสรภาพให้มนุษย์ ที่จะรักพระเจ้าและเป็นหนึ่งเดียวกับบุคคลอื่น (คำ�สอนพระศาสนจักร คาทอลิกข้อ 357) 2. ความเป็นหนึ่งเดียวของมนุษย์สะท้อนเอกภาพของพระเจ้า คริสตชนต้อง “พิสูจน์ตนเป็นสัญลักษณ์ของ เอกภาพ โดยเอาชนะความแตกแยกทุกรูปแบบ” (พระศาสนจักรในโลกปัจจุบันข้อ 21, 24) 3. เรื่องสิทธิมนุษยชน (พระสมณสาสน์สันติภาพบนแผ่นดิน, พระศาสนจักรในโลกสมัยนี้ข้อ 41และคู่มือ แนะแนวทั่วไปสำ�หรับการสอนคำ�สอน ข้อ 18)
สารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ปีที่ 10 ฉบับที่ 12 เดือนธันวาคม 2012 3
อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ขอร่วมแสดงความยินดีโอกาส 84 ปี พระคาร์ดินัล ไม ศุระศรางค์ พระสังฆราชกิตติคณ ุ โอกาส 50 ปีชวี ติ สงฆ์ ในวันที่ 22 ธันวาคม ค.ศ.1962 พระสังฆราชยอแซฟ สังวาลย์ ศุระศรางค์ ในพิธีบูชาขอบพระคุณ วันเสาร์ที่ 22 ธันว
พระคาร์ดินัลไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู เดิมชื่อฮั่วเซี้ยง ถือกำ�เนิดจาก
ครอบครัวคริสตชนวัดนักบุญเปโตร สามพราน เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2473 เป็นบุตรคนที่ 5 ในจำ�นวนพี่น้องทั้งหมด 8 คน ถือ เป็นครอบครัวที่มีความศรัทธามาก และผลจากการเลี้ยงดูเป็นอย่างดีจากบิดามารดา จึงเป็นเด็กดีไม่มีปัญหา พระคุณเจ้าเริ่ม เรียนทีโ่ รงเรียนนักบุญเปโตร จนกระทัง่ จบการศึกษาชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 4 เข้าบ้านเณรศรีราชาตัง้ แต่อายุ 10 ขวบ ท่านได้ศกึ ษา ที่บ้านเณรพระหฤทัยบางช้าง โรงเรียนอัสสัมชัญ ศรีราชา ชลบุรี สอนเรียนที่โรงเรียนดาราสมุทร ได้รับตำ�แหน่งให้เป็นครูใหญ่ โรงเรียนดาราสมุทร เรียนที่วิทยาลัยโปรปากันดาฟีเด กรุงโรม จบปริญญาโท สาขาปรัชญาและเทววิทยา ในวันที่ 4 ตุลาคม 2502 เณรฮั่วเซี้ยงก็ได้ถวายตัวครบในขั้นศีลบวชซุปดีอาโกโน และบวชเป็นพระสงฆ์อย่างเต็มภาคภูมิพร้อมกับเพื่อนคนไทย ด้วยกัน คือ ฯพณฯเอก ทัปปิง เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2502 ที่วัดน้อยสามเณราลัยโปรปากันดา ฟีเด กรุงโรม ประเทศอิตาลี โดยพระคาร์ดินัลเปโตร อากายาเนียน ในราวกลางปี 2503 คุณพ่อฮั่วเซี้ยงได้เดินทางกลับประเทศไทย สถานที่แรกที่ได้รับมอบหมายจากพระสังฆราชคือ วัดบางขาม ลพบุรี อยูท่ นี่ ไี่ ด้ไม่นานก็ยา้ ยมารับหน้าทีเ่ ป็นเจ้าอาวาสวัดแม่พระลูกประคำ� (กาลหว่าร์) คุณพ่ออยูท่ นี่ ไี่ ด้เพียง 7 เดือน ท่านก็ตอ้ งไปรับหน้าทีอ่ ธิการแทนทีบ่ า้ นเณรสามพราน ต่อมาปี 2515 ฯพณฯ ยวง นิตโยได้ลาออกจากตำ�แหน่งพระอัครสังฆราช เพื่อพักผ่อนยามชรา ด้วยเหตุนี้สมเด็จพระสันตะปาปาเปาโลที่ 6 ได้ทรงตัดสินพระทัยเลือกคุณพ่ออธิการฮั่วเซี้ยง กิจบุญชู เป็น พระอัครสังฆราชคนใหม่ ระหว่างรอการอภิเษกจึงได้เปลีย่ นชือ่ ให้สมกับตำ�แหน่งใหม่เป็น “มีชยั ” และอภิเษกในวันที่ 3 มิถนุ ายน 2516 ที่บ้านเณรยอแซฟ สามพราน พระอัครสังฆราช มีชัย กิจบุญชู เป็นนักปกครองพระสงฆ์ และสัตบุรุษของท่านอย่างเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดโดยสม่ำ�เสมอ ถึงกระนั้นพระจิตเจ้ามิได้ ทำ�งานในตัวท่านเพียงแค่นี้ เมื่อสมเด็จพระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2 ได้ประกาศแต่งตั้งให้ พระอัครสังฆราชมีชัย กิจบุญชู ได้ดำ�รงตำ�แหน่งเป็นพระคาร์ดินัลไทยองค์แรก เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2526 นับเป็นความปลาบปลื้มใจเป็นอย่างยิ่ง
พระคาร์ดินัลฝากถึงกระแสเรียกของพระสงฆ์ นักบวช
ต้องขอบคุณพระเป็นเจ้า ที่ทรงโปรดให้เรามีบุคลากรพระสงฆ์ของสังฆมณฑลได้ทวีจำ�นวน และแน่นอนทีเดียว ด้วยความห่วงใยต่อสถานภาพของพระสงฆ์โดยทั่วๆ ไป ของอัครสังฆมณฑ ปัจเจกนิยม ถือความเป็นอิสรภาพของแต่ละคน ให้มีความคิดเป็นส่วนตัว นับเป็นแนวทางปฏิบัติท ให้บรรดาพระสงฆ์และนักบวชของเรา ทีท่ �ำ งานให้กบั พระเป็นเจ้าและพระศาสนจักร ได้รสู้ กึ ตระหน ต่อพระเมตตาของพระเป็นเจ้าที่มีให้ มีความตั้งใจในการทำ�งาน และมีความเข้มแข็งให้เพิ่มมากย พยายามด้วยกันทุกคน ให้เป็นที่ประจักษ์และเป็นที่ยอมรับของสังคมและบรรดาคริสตชนของเรา ของบรรดาพระสงฆ์ ความเป็นหนึง่ เดียวกันในหลักการปฏิบตั ขิ องอัครสังฆมณฑลได้ด�ำ เนินไปด้วย แต่ว่าหลักสำ�คัญนั้นเป็นสิ่งซึ่งพระเป็นเจ้าทรงพึงพระประสงค์ให้เราร่วมพันธกิจของพระองค์ด้วยจ
มเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู ในวันที่ 24 มกราคม ค.ศ.1929 และพระสังฆราชยอแซฟ สังวาลย์ 2 และในโอกาสนี้ ขอเชิญทุกท่านร่วมใจโมทนาคุณพระเป็นเจ้า โอกาส 50 ปีชวี ติ สงฆ์ ของ วาคม 2012 เวลา 10.30 น. ณ วัดพระเยซูเจ้าเสด็จขึ้นสวรรค์
พระสังฆราชยอแซฟ สังวาลย์ ศุระศรางค์ เกิดวันที่ 25 สิงหาคม 1935 ที่จังหวัดอยุธยา เป็นสัตบุรุษวัดนักบุญ
เทเรซา หน้าโคก รับศีลล้างบาปที่วัดนักบุญเทเรซาหน้าโคก เป็นบุตรของนายมีคาแอล สวัสดิ์ และนางอันนา สง่า ศุระศรางค์ ท่านเป็นลูกคนที่ 7 ในจำ�นวน 9 คน จากครอบครัว ที่มีความเชื่อมั่นในศาสนาคาทอลิกครอบครัวหนึ่ง ท่านมีพี่ชายซึ่งบวชเป็น พระสงฆ์ 2 องค์คือ คุณพ่อยอแซฟเสวียง ศุระศรางค์ (เสียชีวิตไปแล้ว) และคุณพ่อเปโตรศวง ศุระศรางค์ (ปัจจุบันลาเกษียณและ พักประจำ�บ้านพักอับราฮัม) ท่านได้รบั ศีลบวชเป็นพระสงฆ์วนั ที่ 22 ธันวาคม 1962 ทีบ่ า้ นเณรโปรปากันดา ฟีเด กรุงโรม ประเทศ อิตาลี โดยพระคาร์ดินัลเปโตร อากายาเนียน ท่านดำ�รงตำ�แหน่งเจ้าอาวาสวัดต่างๆ ในอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ปี ค.ศ.1970-1971 เจ้าอาวาสวัดนักบุญเทเรซา หนองจอก ค.ศ.1970-1971 เจ้าอาวาสวัดแม่พรประจักษ์ที่ลูร์ด หัวตะเข้ ค.ศ.1971-1973 เจ้าอาวาสวัดซางตาครู้ส กุฎีจีน ค.ศ.1976-1979 เจ้าอาวาสวัดนักบุญฟรังซิสเซเวียร์ สามเสน ค.ศ.1979-1983 เจ้าอาวาสอาสนวิหารอัสสัมชัญ กรุงเทพฯ ท่านได้รับหน้าที่สำ�คัญในอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ คือตำ�แหน่งอุปสังฆราช อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ในปี ค.ศ.1983-1986 และได้รับการแต่งตั้งจากสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 ให้ดำ�รงตำ�แหน่งพระสังฆราชประมุขปกครองสังฆมณฑล เชียงใหม่ ในวันที่ 3 ธันวาคม ค.ศ.1986 และรับการอภิเษกเป็นพระสังฆราช ในวันที่ 6 มกราคม ค.ศ.1987 เวลา 09.30 น. ณ มหาวิหารนักบุญเปโตร สำ�นักวาติกัน กรุงโรม ประเทศอิตาลี โดยสมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2 ท่านทำ�งานเป็นพระสังฆราชในสังฆมณฑลเชียงใหม่เป็นเวลา 22 ปี ก่อนขออนุญาตลาเกษียณจากองค์สมเด็จ พระสันตะปาปา เนือ่ งจากสุขภาพและอายุทมี่ ากขึน้ ปัจจุบนั ท่านกลับมาพักภารกิจใหญ่ และใช้ชวี ติ ทีเ่ รียบง่าย ณ บ้านอับราฮัม สามพราน จ.นครปฐม สำ�หรับคติพจน์ของท่านคือ “Sic Nos Amantem” ซึ่งแปลตามตัวอักษรว่า “พระองค์ทรงรักเราถึง เพียงนี้”
นมากขึ้น มีจำ�นวนเพียงพอที่จะทำ�งานรับใช้พระเป็นเจ้า รับใช้ประชาชน รับใช้พระศาสนจักร จึงจำ�เป็นที่จะต้องขอบคุณพระเป็นเจ้า ฑลกรุงเทพฯ ในยุคปัจจุบันนี้ ดูเหมือนว่าพระสงฆ์ในยุคปัจจุบันนี้ มีแนวโน้มที่จะปรับตัวไปตามกระแสของสังคมในยุคปัจจุบันนี้ ตาม ที่มีความต้องการอย่างมาก กระแสของเสพนิยม สุขนิยม ดูเหมือนว่าจะมีแนวโน้มในการปฏิบัติไปในทางนี้ เป็นที่น่าห่วงใย จึงใคร่ที่จะ นักต่อพระพรและพระคุณของพระเป็นเจ้า และเพือ่ เป็นการสนองต่อพระเมตตาของพระเป็นเจ้าทีท่ รงมีตอ่ เรา เพือ่ เป็นการตอบสนอง ยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้น ในชีวิตของพระสงฆ์ ต้องมีความเสียสละ ความอดทน และเป็นแบบอย่างชีวิตของการเป็นพระสงฆ์ น่าจะมีความ าโดยทั่วไปมากยิ่งๆ ขึ้น สิ่งที่ปรารถนาที่จะได้เห็นความก้าวหน้าของสังฆมณฑล ไม่ใช่เรื่องภายนอกเท่านั้น แต่ว่าความเป็นหนึ่งเดียว ยความมุง่ มัน่ และด้วยความไว้วางใจต่อพระมากยิง่ ขึน้ ไม่ใช่นกึ ว่าสถานภาพและความสามารถของสังฆมณฑลมีอยูน่ นั้ เป็นหลักสำ�คัญ จิตใจที่เข้มแข็ง และเสียสละอย่างแท้จริง
บอกข่าวเล่าสาร
แผนกเทคโนโลยีสารสนเทศ
ต้อนรับพระอัครสังฆราช พอล ชาง อิน-นัม ส ถ า น เ อ ก อั ค ร ส ม ณ ทู ต ว า ติ กั น ป ร ะ จำ � ประเทศไทย และสภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่ง ประเทศไทย นำ�โดยพระอัครสังฆราชฟรังซิสเซ เวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช รองประธานสภา พระสังฆราชฯ พระอัครสังฆราชยอห์น เซ็ง ฮี ประธานสภาพระสังฆราชฯ พม่า พระสังฆราชกีเก้ ฟิกาเรโด จากกัมพูชา พระสังฆราชฟิลิป บรรจง ไชยรา คุณพ่อวุฒิเลิศ แห่ล้อม คุณพ่อพิพัฒน์ รุ่งเรืองกนกกุล คุณพ่อวรยุทธ กิจบำ�รุง เซอร์ ไอรีน ชำ�นาญธรรม ร่วมต้อนรับพระอัครสังฆราชพอล ชาง อิน-นัม เอกอัครสมณทูตวาติกันประจำ�ประเทศไทย กัมพูชา พม่า ลาว อายุ 63 ปี ซึ่งเดินทางจากประเทศเกาหลี มาถึงประเทศไทย ณ ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ เวลา 13.10 น. ของวันที่ 15 พฤศจิกายน 2012 ด้วย เที่ยวบิน TG 659 โดยพระคาร์ดินัลไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู พร้อมด้วยพระสังฆราช พระสงฆ์ นักบวช ให้เกียรติร่วมต้อนรับพระสมณทูตที่สถาน เอกอัครสมณทูตวาติกันประจำ�ประเทศไทย การอบรมหลักสูตร Theological Pastoral Course on Small Christian Communities หรือเทววิทยา วิถีชุมชนวัด วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน 2012 พระอัครสังฆราช เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช เป็นประธานในพิธีมิสซาเปิด การอบรมหลักสูตร Theological Pastoral Course on Small Christian Communities หรือเทววิทยา วิถีชุมชนวัด โดยมีพระสงฆ์จากสังฆมณฑลต่างๆ นักบวชหญิง ฆราวาส เข้าร่วมในการอบรมครั้งนี้ จำ�นวน 33 ท่าน เป็นพระสงฆ์ 22 ท่าน เป็นซิสเตอร์ 9 ท่าน จาก 4 คณะ มาจากประเทศพม่า 2 ท่าน และธรรมทูตไทยในกัมพูชา 1 ท่าน และสังฆานุกร 2 ท่าน ณ บ้านผู้หว่าน
ประชุมสภาภิบาลแห่งอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ สมัยสามัญครั้งที่ 2/2012 วันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน 2012 เวลา 08.30 – 12.30 น. คุณพ่อวุฒิเลิศ แห่ล้อม อุปสังฆราช เป็นประธานพิธีเปิดการประชุมสภาภิบาลแห่งอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ สมัย สามัญครั้งที่ 2/2012 ณ ห้องประชุมชั้นใต้ดิน สำ�นักมิสซังกรุงเทพฯ ภายใต้วาระการประชุม พระอัครสังฆราชเกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช ปราศรัยเกีย่ วกับการประชุมสมัชชาพระสังฆราช สมัยสามัญครั้งที่ 13 เรื่อง การประกาศข่าวดีแบบใหม่เพื่อการถ่ายทอดความเชื่อคริสตชน
ผู้อบรมหลักสูตรเทววิทยาวิถีชุมชนวัด เยี่ยมกลุ่มวิถีชุมชนวัด ที่วัดนักบุญเปโตร สามพราน ภราดาทินรัตน์ คมกฤส ผู้อำ�นวยการสำ�นักนโยบาย สภาพระสังฆราชคาทอลิก แห่งประเทศไทย และผู้ประสานงานในการจัดการอบรมหลักสูตรเทววิทยาวิถีชุมชนวัด (Theological Pastoral Course on Small Christian Communities) พร้อมด้วยคุณพ่อโทมัส วีเจ (วิทยากรผู้ให้การอบรมจากประเทศอินเดีย) นำ�ทีมพระสงฆ์ นักบวช ผู้เข้ารับการอบรม ในหลักสูตรนี้ ไปสัมผัสการดำ�เนินงานวิถีชุมชนวัด ที่วัดนักบุญเปโตร สามพราน 6 สารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ปีที่ 10 ฉบับที่ 12 เดือนธันวาคม 2012
งานวันแพร่ธรรมสากล ประจำ�ปี 2012 คณะธรรมทูตไทย TMS ร่วมกับคณะกรรมการ คาทอลิ ก เพื่ อ การธรรมทู ต แห่ ง สภาพระสั ง ฆราช คาทอลิ ก แห่ ง ประเทศไทย และฝ่ า ยงานธรรมทู ต อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ร่วมกันจัดงานวันแพร่ธรรม สากล ในวันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม 2012 ณ วัดพระแม่ มหาการุณย์ จ.นนทบุรี พิธีมิสซา - พิธีส่งธรรมทูตให้ กับกลุ่มพระสงฆ์นักบวช ที่เข้ารับโครงการอบรมเพื่อ การประกาศข่าวดี ปี 2012 และมีพิธีมอบใบเกียรติบัตร ให้ กั บ ผู้ สำ � เร็ จ โครงการอบรมฆราวาสประกาศข่ า วดี ประจำ�วัด PMG รุ่นที่ 4 ปี 2012 โดยมี พระสังฆราช ยอแซฟ ชูศักดิ์ สิริสุทธิ์ มาเป็นประธานในพิธี
มิ ส ซาปลงศพ มารดาคุ ณ พ่ อ ประจวบโชค ตรีโสภาและซิสเตอร์กัลยา ตรีโสภา วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน 2012 เวลา 13.30 น. พระสังฆราชยอแซฟ พิบูลย์ วิสิฐนนทชัย เป็น ประธานในพิธมี สิ ซาปลงศพแบทตินนา ชรด ตรีโสภา มารดาคุณพ่อประจวบโชค ตรีโสภาและซิสเตอร์ กัลยา ตรีโสภา ที่วัดแม่พระฟาติมา ดินแดง ร่วมกับ พระอัครสังฆราช เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช คุณพ่อ ประจวบโชค ตรีโสภา และคณะสงฆ์จากอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ คณะสงฆ์จากสังฆมณฑลนครสวรรค์ คุณแม่เชลียง เวชยันต์ และสมาชิกคณะภคินี พระหฤทัยของพระเยซูเจ้าแห่งกรุงเทพฯ นักบวชชาย-หญิง ญาติพี่น้องมาร่วมพิธีครั้งนี้เป็นจำ�นวนมาก หลังพิธีเคลื่อนย้ายไปยังสุสานศานติคาม
มิสซาปลงศพบิดาคุณพ่อธีรพล กอบวิทยากุล วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน 2012 เวลา 10.00 น. คุณพ่อธีรพล กอบวิทยากุล เป็นประธานในพิธมี สิ ซาปลงศพ อูรบ์ นั โด เลียม กอบวิทยากุล (บิดา) ร่วมกับพระอัครสังฆราชเกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช พระสังฆราชปัญญา กฤษเจริญ พระสังฆราชสังวาลย์ ศุระศรางค์ พระสังฆราชเทียนชัย สมานจิต พร้อมด้วยคณะสงฆ์ นักบวชชายหญิงและบรรดาญาติมิตรมาร่วมอาลัยรักเป็นจำ�นวนมาก ที่วัดธรรมาสน์นักบุญเปโตร (บางเชือกหนัง) โครงการประกาศนียบัตรครูจติ ตาภิบาล รุ่นที่ 2 กลุ่มงานจิตตาภิบาล ฝ่ายการศึกษา ร่วมกับศูนย์คริสตศาสนธรรม ฝ่ายงาน อภิบาล อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ร่วมจัด โครงการ “หลักสูตรประกาศนียบัตรครู จิตตาภิบาล อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ” เพื่อพัฒนาศักยภาพของครูจิตตาภิบาล ให้ ส ามารถทำ � งานอภิ บ าลและประกาศ ข่าวดีและเป็นการส่งเสริมครูจิตตาภิบาลให้มีจิตตารมณ์แห่งพระวรสาร การอบรมครั้งที่ 9 หัวข้อ “การบูรณาการคุณค่าพระวรสาร” โดยมี คุณพ่อจรัล ทองปิยะภูมิ คณะซาเลเซียน เป็นวิทยากร เมื่อวันที่ 9-10 พฤศจิกายน 2012 ณ ศูนย์ฝึกอบรมงานอภิบาลบ้านผู้หว่าน
โครงการอบรมเพิ่มพูนความรู้ครูคำ�สอน เขต 5 ครั้งที่ 2 ปีการศึกษา 2012 คณะกรรมการจิตตาภิบาลและคำ�สอน เขต 5 นำ� ทีมโดย คุณพ่อเชษฐา ไชยเดช จิตตาภิบาล เขต 5 และผู้ จั ด การแผนกวิ ถี ชุ ม ชนวั ด อั ค รสั ง ฆมณฑล กรุงเทพฯ จัดอบรมเพิ่มพูนความรู้ครูคำ�สอน เขต 5 ครั้งที่ 2 ปีการศึกษา 2012 เมื่อวันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน 2012 ที่โรงเรียนนักบุญเปโตร สามพราน
กิจกรรมธรรมทูตสัญจร เมือ่ วันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม 2012 แผนกโมบายเคลือ่ นที่ (Mobile Teams) ฝ่ายงานธรรมทูต อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้จดั กิจกรรมธรรมทูตสัญจรขึน้ ณ วัดพระแม่มหาการุณย์ นนทบุรี เนื่องในโอกาสวันแพร่ธรรมสากล ประจำ�ปี 2012
ปฏิทินกิจกรรม เดือนธันวาคม 2012 1-2 ธ.ค. 3-4 ธ.ค. 7-9 ธ.ค. 22 ธ.ค. 24 ธ.ค.
แผนกเยาวชนอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ จัด “วันชุมนุมนิสิตนักศึกษาคาทอลิก” ณ บ้านสวนยอแซฟ เข้าเงียบฟื้นฟูจิตใจพระสงฆ์ และ Sanctification Day และฉลองศาสนนาม “ฟรังซิสเซเวียร์” ณ บ้านผู้หว่าน แผนกคริสตศาสนธรรมอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ จัดแสวงบุญครูคำ�สอน “บุญยาตราสู่สองคอน” แผนกส่งเสริมชีวิตครอบครัว อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ จัดงานวันชุมนุมครอบครัว บ้านสวนยอแซฟ สามพราน สมโภชพระคริสตสมภพ อาสนวิหารอัสสัมชัญ พิธีบูชาขอบพระคุณ เวลา 24.00 น. สารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ปีที่ 10 ฉบับที่ 12 เดือนธันวาคม 2012 7
เกร็ดความรู้คำ�สอน...คุณพ่อเอกรัตน์ หอมประทุม
สวัสดีพี่น้องที่รัก
เดือนนี้เป็นเดือนสุดท้ายของปี 2555 เรา คริ ส ตชนชาวไทยเริ่ ม เดื อ นด้ ว ยการร่ ว มกั น ฉลองวันพ่อแห่งชาติ โอกาสทีพ ่ ระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวทรงพระชนมายุ 85 พรรษา เป็ น ความยิ น ดี ข องเราชาวไทยที่ ท รงมี พ ระ มหากษัตริยท์ ที่ รงเป็นพ่อทีใ่ จดีหว่ งใยประชากร ของพระองค์ ดังนั้นจึงไม่น่าประหลาดใจที่ วันที่ 5 ธันวาคมที่ผ่านมา มีประชาชนมากมาย มาร่ ว มเฉลิ ม ฉลองโอกาสอั น น่ า ยิ น ดี นี้ ทรงพระเจริญ ทรงพระเจริญ เรากำ�ลังเตรียมฉลองวันพระคริสตสมภพ ซึ่ ง เป็ น วั น ที่ เราคริ ส ตชนตระหนั ก ถึ ง ความ สำ�คัญ ในการทีพ่ ระเป็นเจ้าทรงรับสภาพมนุษย์ เหมือนเรา พระองค์มีวิธีการที่จะไถ่บาปเรา มากมาย แต่พระองค์เลือกที่จะมาเกิด และ สุดท้ายตายแบบมนุษย์ แบบเราๆ การบังเกิด ของพระเยซูเป็นสิ่งเตือนใจเราเสมอว่าพระเจ้า เข้าใจมนุษย์ เข้าใจในความสุข ความทุกข์แบบ มนุษย์ แบบทีเ่ ราประสบในชีวติ ประจำ�วัน ความ ยากลำ�บากในการทำ�ดี ในการปฏิเสธกระแส แบบโลก พระองค์ทรงใช้ความเป็นมนุษย์ ความ อ่อนแอ ความผิดหวัง ความเจ็บปวด จนกระทัง่ ความตาย ที่เราต่างปฏิเสธและรังเกียจที่จะรับ แต่พระองค์กลับใช้สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นหนทาง แห่งความรอด ซึ่งแสดงว่าความยากลำ�บาก ต่างๆ ที่เราได้รับเมื่อเราตั้งใจจะทำ�ดี เป็นสิ่ง มีค่า และมันจะนำ�เราไปพบความรอดพ้น ดังที่ พระองค์ทรงเป็นตัวอย่าง ดังนั้นใครก็ตาม ที่พยายามหลีกหนีความยากลำ�บาก โดยเอา รัดเอาเปรียบคนอื่น คดโกงเพราะหวังจะมี ความสุข ทำ�ทุกสิ่งทุกอย่างในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เพื่อหลีกหนีความยากลำ� บากในชีวิต เขาก็ ไม่ได้ทำ�ตามวิถีทางของพระเจ้า พี่น้องที่รัก การฉลองคริสต์มาส จึงเป็น การให้กำ�ลังใจแก่เราทุกคน ว่าเมื่อทำ�ความดี ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ แต่อาจมีคนไม่เห็นค่า มีคน มาเอาเปรียบ แสวงหาผลประโยชน์จากการ ทำ�ดีของเรา ให้ร้ายเรา ขอให้เราดูชีวิตของ พระเยซูเป็นตัวอย่าง สำ�หรับผูท้ พี่ ระเยซูบงั เกิด ในหัวใจแล้ว เขาทำ�ดีได้ทกุ อย่างทุกสถานการณ์ ของชีวิต ขอให้การบังเกิดของพระองค์สร้าง ความสุขสันติ อิ่มในพระพรของพระองค์เสมอ ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกท่าน
“คนเลี้ ย งแกะเหล่ า นั้ น จึ ง พู ด กั น ว่ า “เราจงไปเมืองเบธเลเฮมกันเถิด จะได้ เห็ น เหตุ ก ารณ์ นี้ ที่ พ ระเจ้ า ทรงแจ้ ง ให้ เรารู้...และพบพระนางมารีย์ โยเซฟและ พระกุมาร ซึ่งบรรทมอยู่ในรางหญ้า” เขาวิ่งไปพิสูจน์ว่าสารของทูตสวรรค์ เป็ น ความจริ ง หรื อ ไม่ “พระผู้ ไ ถ่ ป ระสู ติ เ พื่ อ ท่ า นแล้ ว พระองค์ คื อ พระคริ ส ต์ องค์พระผู้เป็นเจ้า ”ทูตสวรรค์ระบุพระยศของพระองค์ถึงสามตำ�แหน่งและคนเลี้ยงแกะ พบเพียงคนฐานะยากจนในคอกสัตว์ เขาพบครอบครัวสามัญชนที่ “ฐานะต่ำ�กว่ามาตรฐาน” ครอบครัวที่หาที่พักไม่ได้ในหมู่บ้าน ทารกน้อยที่นอนบนฟางในรางหญ้า ถ้าเหตุการณ์ทั้งหมดนี้ไม่พูดอะไรกับท่านเลย ก็นับว่าเป็นเรื่องเศร้า... คำ�ว่าเบธเลเฮมในภาษาฮีบรู แปลว่า “บ้านขนมปัง” นี่คือเหตุบังเอิญหรือ แต่ถ้าเป็น ความจริงที่พระเจ้าประทานพระองค์เองให้เรากินเสมือนเป็นขนมปังคุณภาพดีชั้นหนึ่งเล่า ... “นี่เป็นกายของเราที่มอบเพื่อท่าน จงรับไป และกิน” พระเจ้าทรงเป็นความรัก พระเจ้าทรงเผยแสดงพระองค์ผ่านทางภาพลักษณ์ของ ครอบครัว คนเลี้ยงแกะพบหญิงสาวผู้เป็นมารดา พร้อมกับสามี และทารกแรกเกิดของนาง พระเจ้าทรงยากจน พระเจ้าทรงเผยแสดงพระองค์ผ่านทางภาพลักษณ์ของความขัดสน อู่นอนที่สร้างขึ้นจากไม้เนื้อหยาบนี้ก็ถือว่าเป็นกางเขนแล้ว จากอู่นอนจนถึงไม้กางเขน พระเจ้าทรงเผยแสดงธรรมล้ำ�ลึกแก่เรา พระเจ้าทรงแสดงว่าพระองค์เป็นพวกเดียวกับคนยากจนขัดสน คนที่ต้องการความ ช่วยเหลือจากเรา...ฉันกำ�ลังหิว ฉันกำ�ลังกระหาย ฉันป่วย ฉันอยู่ในคุก ฉันอยากให้มีใคร มาเยี่ยม... วันพระคริสตสมภพ ไม่อาจเป็นเรื่องหวานๆ ที่บอกเล่าท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่ สะดวกสบาย... วันพระคริสตสมภพ ไม่อาจเป็นเพียงอาหารมื้อใหญ่ และการกินดื่มอย่างตะกละ... วันพระคริสตสมภพ ไม่อาจเป็นข้ออ้างที่ทำ�ให้เกิดอาการอาหารไม่ย่อย และค่าใช้จ่าย ที่ไร้ประโยชน์... ประจักษ์พยานกลุ่มแรกของเหตุการณ์พระคริสตสมภพครั้งแรก ตอบสนองอย่างไร เห็นได้ชัดว่าลูกา เชื่อว่าการฉลองวันพระคริสตสมภพ หมายถึงการรับพระวาจา และ ประกาศพระวาจานั้น ความเชื่อของคริสตชนจะต้องประกาศให้ผู้อื่นรู้ หาไม่แล้วก็จะเป็น เพียงความเชื่อจอมปลอม...ความเชื่อจะเป็นความเชื่อจริงแท้ได้ก็ต้องประกาศให้ผู้อื่นรู้ ส่วนท่าน ท่านบอกเล่าพระวาจาที่ท่านได้รับมาให้แก่ผู้อื่นหรือเปล่า ท่านกำ�ลังพูดถึง ข่าวดีอยู่หรือเปล่า ความเชื่อมีอยู่สามลักษณะ 1. ความเชือ่ ต้องไม่ถกู คิดประดิษฐ์ขนึ้ แต่ได้รบั ผ่านการเผยแสดง กล่าวคือ ความเชือ่ เป็น พระพรอย่างหนึ่ง 2. ความเชื่อต้องไม่อยู่นิ่ง เราต้องยอมรับความเชื่อ และนำ�ความเชื่อไปใช้งาน 3. ความเชื่อต้องไม่เป็นใบ้ เราต้องพูดถึงความเชื่อนั้นออกมา คนเลีย้ งแกะได้ยนิ สารจากสวรรค์ พวกเขาเร่งรีบไปพิสจู น์ความจริง พวกเขาบอกเล่าสารที่ เขาได้รบั มาว่าพระเยซูเจ้าทรงเป็นพระผูไ้ ถ่ ทรงเป็นพระคริสต์ และทรงเป็นองค์พระผูเ้ ป็นเจ้า ท่านก็เช่นกัน ท่านต้องเปิดปาก ประกาศพระวรสาร และขับร้องสรรเสริญความเชื่อ ของท่าน แต่กอ่ นอืน่ ท่านต้องทำ�ให้ชวี ติ ประจำ�วันของท่านพูดได้อย่างแท้จริง ท่านต้องทำ�ให้ชวี ติ ของท่านเป็น “วาจา” สุขสันต์วันพระคริสตสมภพ.... Merry Christmas …. Buon Natale ! วัตถุประสงค์ 1. เพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมและข่าวต่างๆ ในระดับวัด เขตและสังฆมณฑล ให้กับสัตบุรุษและบุคลากรในหน่วยงานต่างๆ ของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ 2. เพื่อช่วยฟื้นฟูบทบาทการเป็นผู้มีส่วนร่วมในงานอภิบาลและธรรมทูตในชีวิตของสัตบุรุษ และบุคลากรในหน่วยงานต่างๆ ของอัครสังฆมณฑล 3. เพื่อนำ�เสนอเครื่องมือ และแนวปฏิบัติในงานอภิบาลและธรรมทูตให้กับสัตบุรุษและบุคลากรในหน่วยงานต่างๆ ของอัครสังฆมณฑล สารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ผู้รับผิดชอบ : ฝ่ายงานอภิบาลของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ที่ปรึกษา : คุณพ่อพงศ์เทพ ประมวลพร้อม, คุณพ่อเอกรัตน์ หอมประทุม บรรณาธิการ : คุณพ่อปิยะชาติ มะกรครรภ์ กองบรรณาธิการ : นาทลดา จิตรอำ�ไพ, พฤกษา กิจเจริญ, มัลลิกา กิจบำ�รุง, เพชรี ชาวแพรกน้อย พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์อัสสัมชัญ บางรัก กรุงเทพฯ โทร. 0 2233 0523 โทรสาร. 0 2235 1405 สำ�นักงาน : อาคารคาทอลิกแพร่ธรรม 57 ซอยเจริญกรุง 40 เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 โทร. 0 2237 7315 โทรสาร. 0 2233 8159 E-mail : webmaster@catholic.or.th