สารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2013

Page 1

ปีท่ี 11 ฉบับที่ 2 ประจำ�เดือนกุมภาพันธ์ 2013

http://www.catholic.or.th/sarnbkk/

“สิง่ สำ�คัญทีส่ ดุ ในวาระสุดท้าย มันไม่ได้อยู่ ที่เราหรือคนอื่น คิดเห็นต่อตัวเราอย่างไร ที่สำ�คัญที่สุดอยู่ที่ว่ า พระเยซูท รงคิดเห็น ต่ อ ตั ว เราอย่ า งไร? และอยู่ ที่ ว่ า เราได้ ดำ�เนินชีวิตตามคำ�สอนของพระเยซูเจ้าเรื่อง ความรั ก และความเมตตาต่ อ เพื่ อ นมนุ ษ ย์ มากน้อยเพียงใดด้วย” วาทะพระอัครสังฆราช ฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช พระอัครสังฆราชอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ บทเทศน์เยี่ยมอภิบาลวัดอัครเทวดาราฟาแอล วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน 2011

พระธาตุกบั ชีวติ คริสตชน

2

น.

วิถชี มุ ชนวัด...

4

วิถีชีวิตที่ก้าวเดินต่อไป พร้อมกับข้อคิดทีไ่ ด้รบั น.

8

ค่ายคำ�สอน ภาคฤดูรอ้ น (ปีท่ี 22) น.

บทความ...ผงศิลา

พี่น้องที่รัก เอกสารฟื้นฟูชุมชนศิษย์พระคริสต์สำ�หรับเดือนกุมภาพันธ์ เราจะร่วมกันไตร่ตรองเรื่อง “การฉลองวันพระเจ้า” โดยมี เป้าหมายเพื่อ “คริสตชนจะได้ตระหนักถึงความสำ�คัญและมาร่วมพิธีมิสซาเพื่อฉลองวันพระเจ้าอย่างมีคุณค่า” เอกสารนี้เริ่มต้นด้วยการมองชีวิต (Look) เป็นเรื่องราววีรกรรมของมรณสักขีแห่งอาบิทาเนีย หรืออีกนามหนึ่งคือมรณสักขีแห่งวันพระเจ้า พร้อมทั้งคำ�ถามที่ชวนให้เราไตร่ตรองว่า “ท่านได้ข้อคิดอะไรจากวีรกรรมของมรณสักขีแห่งเมืองอาบิทาเนีย?” พระวาจาของพระเจ้า (Listen) กล่าวโดยสรุปว่า ในวันอาทิตย์หรือวันพระเจ้า เป็นวันที่พระเยซูเจ้าทรงกลับคืนชีพ ทรงประจักษ์ พระองค์แก่อคั รสาวก ทรงมอบสันติสขุ และทรงมอบหมายพันธกิจแห่งการประกาศข่าวดีและการอภัยบาปให้แก่พวกเขา (ยน 20:19-23) พร้อมทั้งคำ�ถามในการไตร่ตรองจากพระวาจาที่ได้ฟังว่า “คำ� หรือวลี หรือประโยคใดจากพระวรสารนักบุญยอห์นที่ท่านได้ฟังนี้ สะกิดใจ ท่านมากที่สุด เพราะเหตุใด? พระเจ้ากำ�ลังบอกอะไรท่านผ่านทางพระวาจาที่ท่านได้ฟังวันนี้?” การดำ�เนินชีวติ ศิษย์พระเยซู (Love) เป็นการตอบคำ�ถามทีว่ า่ “จากแบบอย่างของมรณสักขีแห่งเมืองอาบิทาเนีย และจากพระวาจา ของพระเจ้า ในฐานะคริสตชน ท่านจะทำ�อย่างไรให้การมาร่วมมิสซาในวันพระเจ้า ซึ่งเราระลึกถึงการกลับคืนพระชนมชีพของ พระเยซูเจ้า มีคุณค่าและความหมายสำ�หรับชีวิตและชุมชนของเรา?” นอกจากนี้ เอกสารยังได้นำ�เสนอคำ�สอนของพระศาสนจักรเพื่อการไตร่ตรอง คือ 1. ทุกสัปดาห์ในวันพระเจ้าพระศาสนจักรรำ�ลึกถึงการกลับคืนพระชนมชีพของพระเยซูเจ้า ซึ่งพระศาสนจักรยังเฉลิมฉลองพร้อมกับ การทรงรับทรมานของพระองค์ (สังฆธรรมนูญว่าด้วยพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ ข้อ 102) 2. ในวันพระเจ้า ผู้มีความเชื่อในพระคริสตเจ้ามาชุมนุมกันเพื่อฟังพระวาจาของพระเจ้า และร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณ ระลึกถึง พระทรมาน การกลับคืนพระชนมชีพและพระสิรริ งุ่ โรจน์ของพระเยซูองค์พระผูเ้ ป็นเจ้า และขอบพระคุณพระเจ้าผูท้ รงบันดาล “ให้เราบังเกิดใหม่ และมีความหวังที่จะมีชีวิตอาศัยการกลับคืนพระชนมชีพของพระเยซูคริสตเจ้าจากบรรดาผู้ตาย” (1 ปต 1:3) วันอาทิตย์เป็นวันฉลองสำ �คัญ ที่สุดที่สัตบุรุษฉลองด้วยความเลื่อมใสศรัทธา เป็นวันแห่งความยินดีและเป็นวันพักผ่อนจากการงาน วันอาทิตย์เป็นพื้นฐานและแก่นแท้ของ ปีพิธีกรรมทั้งหมด” (สังฆธรรมนูญว่าด้วยพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ ข้อ 106) 3. ใน “วันพระเจ้า” หรือ วันอาทิตย์ คริสตชนมาชุมนุมกันในพิธีบูชาขอบพระคุณ เพื่อประกาศความเชื่อในการกลับคืนพระชนม์ของ พระเยซูเจ้า และรับพระพรซึ่งพระองค์ทรงสัญญาไว้ว่า “เป็นบุญของผู้ที่มิได้เห็น แต่ก็ยังเชื่อ” (พระสมณสาสน์วันของพระเจ้า ข้อ 33) 4. พิธีบูชามิสซาในวันอาทิตย์มิได้ผิดอะไรไปกว่ามิสซาที่ฉลองในวันอื่นๆ โดยแก่นแท้แล้ว พิธีบูชามิสซาเป็นการแสดงตนของ พระศาสนจักร พิธบี ชู ามิสซาในวันอาทิตย์เน้นมิตขิ องพระศาสนจักรซึง่ เป็นส่วนหนึง่ ของพิธนี เี้ ป็นพิเศษ เป็นแบบอย่างสำ�หรับพิธบี ชู ามิสซา อื่นๆ ในการเฉลิมฉลองบูชามิสซานั้น แต่ละชุมชนก็เปิดตนรับการเป็นหนึ่งเดียวกับพระศาสนจักรสากล วอนขอพระบิดาเจ้าให้ “ทรงระลึกถึง พระศาสนจักรทั่วโลก” บันดาลให้ความเป็นหนึ่งเดียวระหว่างประชาชนกับสมเด็จพระสันตะปาปา และพระสังฆราชของแต่ละสังฆมณฑลได้ เจริญเติบโตขึ้น จนกระทั่งความรักนั้นบรรลุถึงความครบบริบูรณ์ (พระสมณสาสน์วันของพระเจ้า ข้อ 34)


เจาะลึกพิเศษ...คุณพ่อสุรชัย ชุม่ ศรีพนั ธุ์

จนานุกรมพิธีกรรมคาทอลิก (Dictionary of the Liturgy) เรียบเรียงโดยคุณพ่อ Jovian P. Lang, OFM ให้คำ�อธิบาย พระธาตุ ( Relics ) โดยให้ค�ำ จำ�กัดความง่ายๆ สัน้ ๆ ว่า พระธาตุคอื ร่างกายหรือส่วนหนึง่ ส่วนใดของร่างกายของนักบุญ องค์หนึง่ หรือของบุญราศีองค์หนึง่ นอกจากนีพ้ ระศาสนจักรยังอนุญาตให้คริสตชนทัง้ หลายมีความศรัทธาเป็นพิเศษคือไม้กางเขนแท้ ของพระเยซูเจ้า รวมไปถึงเครือ่ งมือต่างๆ ทีม่ สี ว่ นในมหาทรมานของพระเยซูเจ้า อาทิเช่น ตะปู มงกุฎหนาม ซึง่ ปัจจุบนั เก็บรักษาไว้ ที่มหาวิหารกางเขนศักดิ์สิทธิ์แห่งเยรูซาเล็ม ที่กรุงโรม (Basilica di Santa Croce di Gerusalemme,Roma) ในปีแห่งความเชื่อนี้ เราคริสตชนจึงควรมีความเข้าใจทีถ่ กู ต้องต่อพระธาตุทมี่ อี ยูม่ ากมายในพระศาสนจักรของเรา พ่อขอแบ่งออกเป็นข้อๆ ดังนีน้ ะครับ 1. การให้ความเคารพนับถือพระธาตุนี้เป็นเรื่องถูกต้อง กฎหมายพระศาสนจักรตั้งแต่ มาตรา 1186 จนถึงมาตรา 1190 อธิบายข้อบังคับสำ�คัญๆ เรือ่ งพระธาตุไว้อย่างชัดเจนมาก เพือ่ ป้องกันไม่ให้คริสตชน มีความเชือ่ และความศรัทธาในตัววัตถุ แต่ให้ใช้ความเคารพต่อวัตถุนั้น มุ่งไปถึงชีวิตของบุคคล หรือของนักบุญหรือบุญราศีนั้นต่างหาก ชัดไปกว่านี้ก็คือ เราไม่มีของ ขลังหรือของวิเศษใดๆ ที่มีอิทธิฤทธิ์ในตัวของมันเอง เพราะสิ่งเหล่านั้นต้องพาเราไปพบบุคคลที่เป็นเจ้าของ กฎเกณฑ์จึงใช้คำ�ว่า Veneration เท่านั้น หมายถึงการให้ความเคารพนับถือ ไม่ใช้คำ�ว่า บูชา หรือนมัสการนะครับ 2.ศพของบรรดานักบุญหรือบุญราศีซึง่ ถือว่าเป็นพระธาตุหลัก พระศาสนจักรห้ามโยกย้ายโดยไม่ได้รบั อนุญาตจากสันตะ สำ�นัก เช่น เราจะย้ายศพของพ่อนิโคลาส จากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งไม่ได้ หากไม่ขออนุญาตและรับอนุญาตเสียก่อน อันที่จริงแม้ใน ขณะดำ�เนินเรือ่ งขอให้ใครเป็นบุญราศีหรือนักบุญ สันตะสำ�นักก็หา้ มย้ายสถานทีข่ องหลุมศพอยูแ่ ล้ว แม้แต่จะขุดหลุมศพก็ยงั ต้อง ขออนุญาตด้วย เพื่อมิให้มีการเปลี่ยนแปลง เสริมแต่ง หรือทำ�การใดๆ กับร่างกายนั้น เวลาที่เราย้ายศพพ่อนิโคลาสจากใต้ดิน อาสนวิหารอัสสัมชัญเราก็ได้ขออนุญาตและตอนที่เราย้ายท่านจากอัสสัมชัญไปที่สักการสถานเราก็ได้ขออนุญาตเช่นเดียวกัน 3. ห้ามการซื้อขายพระธาตุ เรื่องนี้ไม่ต้องอธิบายก็เข้าใจได้ทันที ใครนำ�พระธาตุออกมาจำ�หน่าย ก็ถือว่าทำ�บาป ผิดกฎ ของพระศาสนจักรแน่นอน จะใช้คำ�อะไรก็ตามแต่ หากมีการซื้อขาย แลกเปลี่ยนเป็นสินค้า ผิดแน่ๆ ครับ ดังนั้นจึงไม่มีการขาย พระธาตุไม่ว่าจะเป็นของนักบุญหรือบุญราศีใดๆ ทั้งนั้นครับ อีกประเด็นหนึ่งที่สำ�คัญมากก็คือ คริสตังบางคนคงเคยได้ยินเขาคุยกันเกี่ยวกับพระธาตุชั้นที่ 1, ชั้นที่ 2 และชั้นที่ 3 มาบ้าง พระศาสนจักรก็แบ่งชนิดของพระธาตุบุญราศีและนักบุญออกเป็น 3 ชั้นจริงๆ ด้วย ดังนี้ครับ

ชั้นที่ 1 หมายถึงส่วนหนึ่ง

ส่ ว นใดที่ ม าจากร่ า งกายของ บุญราศีหรือนักบุญเอง เช่น หัวใจ ของท่า นนักบุญคามิล โล ที่ เ พิ่ ง เดินทางมาประเทศไทยเมื่อเร็วๆ นี้, เลือดของบุญราศีพระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2 ซึ่งปัจจุบันนี้ วั ด พระแม่ ม หาการุ ณ ย์ นนทบุ รี ก็ได้รับมาจากประเทศโปแลนด์ ผู้ที่ ชิ้นส่วนกระดูกบุญราศี เลือดบุญราศีพระสันตะปาปา หัวใจนักบุญคามิลโล นิโคลาส บุญเกิด กฤษบำ�รุง มีความศรัทธาต่อพระสัน ตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2 ผู้ยิ่งใหญ่ผู้นี้ก็เชิญไปเคารพกันได้ เป็นต้น คริสตังไทยก็จะรู้จักพระธาตุของบุญราศี คุณพ่อนิโคลาสที่ตามวัดต่างๆ โดยเฉพาะ ในเขตอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ มีพระธาตุของท่านตั้งไว้ให้สวดภาวนา ก็คือชิ้นส่วนของกระดูกของพ่อนิโคลาสเองเลยครับ นอกจากนี้ เราก็อาจเคยเห็น เส้นผมของท่านนักบุญเทเรซาแห่งพระกุมารเยซู ที่บรรดามิชชันนารีฝรั่งเศส คณะ MEP มีความ ศรัทธามากเป็นพิเศษและนำ�เข้ามาในประเทศไทยมากมาย วัดต่างๆ ที่มิชชันนารีฝรั่งเศสสร้างไว้ มักจะมีพระธาตุนักบุญต่างๆ ให้คริสตังเคารพเสมอ หากใครอยากชมก็ชมได้ที่พิพิธภัณฑ์ของสักการสถานพ่อนิโคลาสได้ ที่นั่นมีแม้แต่พระธาตุไม้กางเขนแท้ๆ ที่เคยเก็บไว้ที่วัดเกาะใหญ่ของเราครับ รวมถึงนักบุญต่างๆ มากมายด้วย สมัยก่อนนั้นยังหาพระธาตุชั้นหนึ่งง่าย 2 สารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 เดือนกุมภาพันธ์ 2013


ชัน้ ที่ 2 หมายถึง เครือ่ งมือ เครือ่ งใช้ เสือ้ ผ้า ของท่านนักบุญหรือบุญราศีเอง รวมถึง

อุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการตายของบรรดามรณสักขี เช่น เครื่องทรมานและประหารชีวิต มรณสักขี ในบ้านเราเสือ้ ผ้าของนักบุญเทเรซาแห่งพระกุมารเยซูทเี่ ขานำ�มาเป็นพระธาตุชนั้ สอง ก็ยังพอมีให้เห็นอยู่ครับ ชิ้นส่วนร่างกายและดินบุญราศี นิโคลาส บุญเกิด กฤษบำ�รุง

โลงศพของบุญราศี นิโคลาส บุญเกิด กฤษบำ�รุง

ชัน้ ที่ 3 หมายถึง วัตถุอนื่ ๆ ทีไ่ ด้มาสัมผัสโดยตรงกับพระธาตุชนั้ ที่ 1 เช่น เศษดินทีอ่ ยู่

ในโลงศพ หรือแม้แต่โลงศพของท่าน ผ้าที่นำ�มาสัมผัสกับศพของท่าน เราจะพบเห็นบ่อยๆ โดยเฉพาะชิ้นผ้าเล็กของนักบุญเทเรซาแห่งพระกุมารเยซูที่มีอยู่มากมาย ใครไปที่อารามเมือง ลีซเิ ออร์ ก็มกั จะได้รบั แจกมา นัน่ เป็นพระธาตุชนั้ ทีส่ ามนะครับ มีบางท่านเท่านัน้ ทีอ่ ธิการจะมอบ พระธาตุชนั้ ที่ 2 และชัน้ ที่ 1 ให้ สำ�หรับพระธาตุชนั้ ที่ 1 นัน้ ดูไม่ยากครับ เพราะจะต้องมีเอกสาร กำ�กับพระธาตุชั้นที่ 1 ให้ด้วยเสมอ เอกสารนั้นจะต้องลงนามโดย Postulator หรือผู้ขอดำ�เนิน เรื่องเป็นนักบุญนั่นเองในกรณีของพระธาตุชั้นที่ 1 ของคุณพ่อนิโคลาสนั้นก็ลงนามโดยคุณพ่อ FitzPatrick ผู้ดำ�เนินเรื่องให้ท่านเองครับ ส่วนพระธาตุชั้นสองและสาม ไม่ต้องมีเอกสารกำ�กับ

ประเด็นสุดท้ายที่น่าสนใจก็คือชีวิตคริสตชนมีความใกล้ชิดกับพระธาตุของนักบุญและบุญราศี เพราะความใกล้ชิดนี้มี ส่วนสำ�คัญในความเชื่อของพวกเราด้วย เราคริสตังไทยก็ไม่น้อยหน้าใครในเรื่องนี้เลย พ่อพยายามจะบอกเสมอว่าความเชื่อของ คริสตังไทย ไม่แพ้ใครในโลก เผลอๆ อาจจะดีกว่าหลายๆ คนในโลกนี้ซะด้วย เราใกล้ชิดกับพระธาตุในลักษณะต่างๆ ดังนี้ครับ

1. พระธาตุกับพระแท่น

สำ�หรับเราคาทอลิก พระแท่นคือศูนย์กลางของการถวายบูชาชดเชยบาป เป็นบูชาขอบพระคุณ (Eucharist) ซึง่ บรรดาคริสตชน มาร่วมถวายพระแท่นจะเป็นศูนย์กลางของบูชานี้ไม่ว่าจะไปถวายที่ใดก็ตาม พิธีกรรมปัจจุบันมีข้อแนะนำ�เกี่ยวกับพระแท่นไว้ใน พจนานุกรมพิธีกรรมดังนี้ - ในโบสถ์ หรือในอาคารที่ได้รับการเสกพระแท่นจะต้องยึดติดอยู่กับพื้น ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ - พระแท่นที่ติดยึดกับพื้นนี้ควรใช้แผ่นหินธรรมชาติเป็นพื้นโต๊ะ ส่วนอื่นๆ ของพระแท่นควรเป็นวัสดุแข็งแรงและทนทาน - พระแท่นจะต้องได้รบั การเสก และแนะนำ�อย่างแข็งขันให้น�ำ พระธาตุของนักบุญหรือบุญราศีมาไว้ใต้แผ่นหินของพระแท่นด้วย - สำ�หรับพระแท่นที่สามารถเคลื่อนย้ายได้นั้น ควรทำ�ด้วยวัสดุที่แข็งแรงเหมาะสมสำ�หรับการถวายบูชา และเป็นที่ยอมรับ ของท้องถิ่น จะทำ�การเสกก็ได้ แม้ว่าการอวยพรก็นับว่าเพียงพอแล้วก็ตาม พระธาตุของนักบุญและบุญราศี เป็นพยานยืนยันถึงความศักดิ์สิทธิ์ของการถวายบูชา พวกท่านร่วมส่วนอยู่ในบูชานี้ เป็น พยานถึงความเชื่อในการไถ่บาปของพระเยซูเจ้า พวกท่านมีส่วนร่วมกับบรรดาเทวดาและนักบุญทั้งหลายรอบพระแท่นบูชาเสมอ ปัจจุบันนี้ไม่ค่อยมีการพูดถึงการนำ�พระธาตุมาไว้ใต้พระแท่น หรือเราอาจจะไม่ค่อยได้ยินมากนักถึงแม้ว่าเราจะมีวัดใหม่เกิดขึ้น บ้างก็ตาม ปีแห่งความเชื่อนี้ ก็น่าจะนำ�เรื่องนี้มาพิจารณาเพิ่มขึ้น เพราะว่าเราเองก็มีบุญราศีคุณพ่อนิโคลาส และบุญราศีทั้ง 7 แห่งประเทศไทย ควรให้พวกท่านมาทำ�หน้าที่อันศักดิ์สิทธิ์นี้ร่วมกับพวกเราด้วย

2. พระธาตุกับพระคุณการุณย์

พระศาสนจักรให้พระคุณการุณย์สำ�หรับผู้ที่ไปแสวงบุญยังสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ที่พระศาสนจักรกำ�หนดขึ้น สักการสถาน คุณพ่อนิโคลาส และสักการสถานบุญราศีทั้ง 7 แห่งประเทศไทย ที่สองคอน ได้รับเกียรตินี้ด้วย และพระธาตุคือเครื่องหมายที่ ทำ�ให้การแสวงบุญชัดเจนขึ้น เรามีโอกาสอยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่มี ความเชื่อจนยอมพลีชีวิต ตามปกติจึงมีการนำ�ศพของนักบุญและ บุญราศีไปเก็บรักษาไว้ทสี่ กั การสถาน ปีแห่งความเชือ่ นี้ วัดต่างๆ ควรจัดแสวงบุญไปยังสักการสถานทัง้ สองนีใ้ ห้มากๆ เป็นโอกาสที่ เราอยูใ่ กล้กบั ผูท้ รี่ อดแล้ว และเป็นโอกาสของเราทีจ่ ะอยูใ่ กล้กบั ความรอดมากทีส่ ดุ โดยผ่านทางพระคุณการุณย์ทเี่ ราจะได้รบั ด้วย พระคุณการุณย์ยกบาปและโทษบาปทั้งหมดของเรา พ่อเชษฐาได้ชี้แจงขั้นตอนการทำ�พระคุณการุณย์ไว้อย่างชัดเจนแล้วด้วย

3. พระธาตุกับพระพร

คริสตังไทยชอบแขวนไม้กางเขน รูปพระนางมารีย์ และสำ�หรับคริสตังอีกหลายคนก็ชอบแขวนสร้อยคอที่มีรูปนักบุญ โดย เฉพาะรูปนักบุญประจำ�ตัวเอง เราสามารถขอพรกับรูปพระเหล่านั้นได้ มีคริสตังจำ�นวนหนึ่งเหมือนกันที่มีพระธาตุของนักบุญที่ ชื่นชอบ มาเข้ากรอบและแขวนคอไว้ การขอพรจากพระธาตุก็คือการขอพรและคำ �ภาวนาจากท่านนักบุญหรือบุญราศีองค์นั้นๆ นั่นเอง ไม่ใช่แค่ขอพร แต่เราระลึกถึงชีวิตและแบบอย่างแห่งความเชื่อที่อยู่ใกล้ตัวเรา ใกล้หัวใจเรามากที่สุดด้วย สักการสถานของ เราควรทำ�พระธาตุของบุญราศีของเรามาเผยแพร่และแจกจ่ายให้มากขึ้น และเราจะพบอีกเช่นกันว่า ความเชื่อของคริสตังไทยไม่ น้อยหน้าใครเลยจริงๆ ปีแห่งความเชื่อนี้จะเป็นปีที่ทำ�ให้ความเชื่อของเราแข็งแกร่งขึ้นได้และชีวิตคริสตชนของเราจะเต็มไปด้วย ชีวิตชีวาครับ สารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 เดือนกุมภาพันธ์ 2013 3


บทความ...แผนกวิถชี มุ ชนวัด

วิถีชุมชนวัด…วิถีชีวิตที่ก้าวเดินต่อไปพร้อมกับข้อคิดที่ได้รับ...

พี่น้องที่รัก เมื่อวันที่ 18 มกราคม ที่ผ่านมา คุณพ่อปิยะชาติ มะกรครรภ์ ซิสเตอร์ กัลยา ตรีโสภา ซิสเตอร์สุวรรณี พันธ์วิไล และคุณพ่อเชษฐา ไชยเดช ได้ไปแบ่งปันเรื่อง วิถีชุมชนวัดกับนักบวชหญิง จำ�นวน 40 ท่าน ที่ศูนย์นักบวชหญิง หลังจากนั้นในตอนบ่าย คณะกรรมการดำ�เนินงานวิถีชุมชนวัด อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้ประชุมกันเพื่อ ประเมินผลกิจกรรมที่ได้ทำ�ตลอดปีที่ผ่านมา และได้ร่วมกันวางแนวทางในการดำ�เนินงาน ตามกิจกรรมและโครงการของปีนี้ จึงขอนำ�เสนอและประชาสัมพันธ์กิจกรรมที่จะจัด ในช่วง 3 เดือนแรกของปีดังนี้ มกราคม-กุมภาพันธ์ ตรวจแผนการสอนคำ�สอนตามหนังสือชีวิตคริสตังโดยบูรณาการวิถีชุมชนวัดเข้าไปในแผนการสอน วันที่ 23 กุมภาพันธ์ เวลา 09.00 – 12.00 น. อบรมทักษะผู้ประสานงานวิถีชุมชนวัด ครั้งที่ 1 ที่ศูนย์อบรมคริสตศาสนธรรม (ศูนย์ CC) มีนาคม ส่งแผนการสอนคำ�สอนที่บูรณาการวิถีชุมชนวัดที่ตรวจเสร็จแล้วเพื่อขอรับ Imprimatur จากพระสังฆราชวีระ อาภรณ์รัตน์ ประธานคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรมระดับชาติ และจัดพิมพ์แผนการสอนโดยได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อ คริสตศาสนธรรมระดับชาติ วันที่ 9 มีนาคม เวลา 09.00 – 12.00 น. อบรมทักษะผู้ประสานงานวิถีชุมชนวัด ครั้งที่ 2 ที่ศูนย์อบรมคริสตศาสนธรรม (ศูนย์ CC) วันที่ 9-10 มีนาคม อบรมจิตตารมณ์วิถีชุมชนวัด ที่บ้านผู้หว่าน วันที่ 16-17 มีนาคม อบรมผู้ประสานงานวิถีชุมชนวัด (ผู้นำ� 3) และในสารอัครสังฆมณฑลฯ ฉบับนี้ ขอคัดเอาแนวคิดบางประการจากการแบ่งปัน ประสบการณ์ของคุณอเล็ก คอร์ ผูป้ ระสานงานวิถชี มุ ชนวัด วัดอัครเทวดามีคาแอล อีโปห์ ประเทศมาเลเซีย ดังนี้

ความท้าทายที่พบบ่อยๆ ในการเริ่มงานวิถีชุมชนวัดคือ การขาดความเข้าใจ หรือความตระหนักระหว่างสมาชิก เรื่องความสำ�คัญ วิสัยทัศน์ และเป้าหมายของวิถีชุมชนวัด หลายคนคิดว่าวิถีชุมชนวัดเป็นงาน ของพระสงฆ์ ถ้าสัตบุรษุ เข้าใจในเรือ่ งทีก่ ล่าวข้างต้นอย่างดี เขาก็จะให้รว่ มมือ ไม่มีใครในชุมชนที่อยากเป็นผู้ประสานงานวิถีชุมชนวัด แม้มีการแบ่งงานกันทำ�ในทีมผู้ประสานงาน แต่สมาชิกละเลยหน้าที่ ไม่ ได้ทำ�หน้าที่อย่างสมบูรณ์ในการเป็นผู้นำ� ในการประสานงานต่างๆ ในชุมชน ผูป้ ระสานงานไม่มปี ระสบการณ์การเป็นผูน้ �ำ ในการแก้ปญ ั หา นำ�ประชุม และนำ�กลุ่ม บางคนปฏิเสธที่จะมาร่วมประชุม เพราะคิดว่าเสียเวลา ไม่มีเวลา มีธุระ มาก และเขาก็คิดว่าเขาอยู่ได้ด้วยตนเองอยู่แล้วไม่ต้องพึ่งใคร เขามีพี่น้อง มีเพื่อนที่จะช่วยเขา การเป็นสมาชิกวัดสองแห่ง สัตบุรุษเป็นสมาชิกที่วัดนี้ และน่าจะอยู่ ในวิถีชุมชนวัดของวัดนี้ แต่เขาไปฟังมิสซาที่วัดอื่น และไปช่วยงานอย่าง กระตือรือร้นที่วัดอื่น อุปสรรคเรื่องการใช้ภาษาที่แตกต่างกัน เช่น คนที่พูดภาษาจีน แต่อยู่ใน ชุมชนที่คนส่วนใหญ่พูดภาษาอังกฤษ ฯลฯ คุณลักษณะที่สำ�คัญที่สุดของผู้ประสานงานวิถีชุมชนวัด คือ ความสุภาพ และความจริงใจที่จะรับใช้ สิ่งอื่นๆ เราสามารถที่จะฝึกได้ หลายๆ ครั้งผู้ประสานงานใหม่มักจะลำ�บากใจเพราะเขาคิดว่าเขาไม่เก่ง เขา เด็กกว่า แต่ถ้าเราจริงใจกับคน คนจะร่วมมือกับเรา

คำ�แนะนำ�สำ�หรับผู้ประสานงาน เป็นต้น ผู้ประสาน งานใหม่ คือ 1. ก่อนอื่นเราต้องพูดกับตนเองว่า เรายินดี เรา พร้อมแล้วที่จะเป็นผู้ประสานงาน เวลาที่เราทำ�อย่างนี้ก็ จะเป็นการกระตุ้นกลุ่มให้เดินไปด้วยกัน 2. ต้องเข้าใจอย่างเต็มเปี่ยมในการเห็นความสำ�คัญ และวิ สั ย ทั ศ น์ ข องวิ ถี ชุ ม ชนวั ด คนที่ ทำ � วิ ถี ชุ ม ชนวั ด ประสบความสำ�เร็จ เพราะเขาเข้าใจวิถีใหม่ของการเป็น พระศาสนจักรหรือวิถีชุมชนวัดอย่างแท้จริง ถ้าผู้ประสาน งานวิถีชุมชนวัดไม่เข้าใจ เขาจะคิดว่าเขาทำ�หน้าที่ตามที่ คุณพ่อเจ้าอาวาสสั่งเท่านั้น 3. เวลาทีเ่ ราพบกับปัญหาและอุปสรรค อย่าท้อแท้ อย่าล้มเลิก พระเจ้าอยู่กับเรา อดทน ทุกอย่างจะผ่านไป 4. ระวังถ้าการทำ�งานวิถีชุมชนวัดเป็นไปได้ดี เมื่อมี คำ�สรรเสริญ ยกย่องคุณ จงระวังความจองหองของคุณ อย่าหลงตัวเอง นี่แหละคือจุดที่คุณจะเริ่มตกต่ำ� 5. จงตรวจสอบตนเองเสมอว่า “ใครที่ฉันรับใช้” ฉันรับใช้พระเจ้า หรือรับใช้เพื่อเกียรติของฉัน 6. ต้องมีความเพียรทนที่จะพูดคุยกับทุกคน เป็นต้น คนที่ไม่มาประชุม บางทีเขามีเหตุผล เราต้องไปเยี่ยมและ ให้เกียรติเขา

พี่น้องที่รัก สิ่งที่นำ�เสนอข้างต้นเป็นประสบการณ์การทำ�งานวิถีชุมชนวัดของพี่น้องคริสตชนชาวมาเลเซีย คงมีบางสิ่งที่เหมือน และแตกต่างจากบริบทวิถีชุมชนวัดของสังฆมณฑลและประเทศไทยของเรา อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าสิ่งนี้คงเป็นประโยชน์และให้แนวคิด บางประการในเรื่องวิถีชุมชนวัดสำ�หรับทุกท่าน 4 สารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 เดือนกุมภาพันธ์ 2013


บอกข่าวเล่าสาร

แผนกเทคโนโลยีสารสนเทศ

ฉลองสิริอายุครบ 84 ปี ของพระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม 2013 เวลา 15.30 น. อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ จัดให้มีพิธีบูชาขอบพระคุณ โมทนาคุณพระเจ้าโอกาสฉลองสิริอายุครบ 84 ปีของพระคาร์ดินัลไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู ณ หอประชุม โรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์ หลังพิธีมิสซาเป็นพิธีคำ�นับและแสดงความยินดี พร้อมร่วมรับประทานอาหาร ชมการแสดง รับของที่ระลึก

ฉลองสักการสถาน บุญราศี คุณพ่อนิโคลาสบุญเกิด กฤษบำ�รุง พระสงฆ์และมรณสักขี วันเสาร์ที่ 12 มกราคม 2013 เวลา 10.00 น. คุณพ่อเชษฐา ไชยเดช จิตตาภิบาลสักการสถานฯ จัดให้มีพิธีบูชาขอบพระคุณโอกาสฉลอง สักการสถาน บุญราศี คุณพ่อนิโคลาสบุญเกิด กฤษบำ�รุง พระสงฆ์และมรณสักขี โดยพระอัครสังฆราช เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช เป็นประธาน ร่วมกับ พระคาร์ดนิ ลั ไมเกิล้ มีชยั กิจบุญชู พระสังฆราช และผูแ้ ทนสมเด็จพระสันตะปาปาประจำ�ประเทศไทย พระอัครสังฆราช พอล ชาง อิน-นัม คณะพระสงฆ์ และสัตบุรุษจากวัดต่างๆ ในโอกาสระลึกถึงคุณพ่อนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำ�รุง พระสงฆ์และมรณสักขี และในวันนี้ยังจัดให้มีพิธีต้อนรับ เอกอัครสมณทูตประจำ�ประเทศไทยอย่างเป็นทางการอีกด้วย

สุวรรณสมโภชและหิรัญสมโภชแห่งชีวิตสงฆ์ วันเสาร์ที่ 19 มกราคม 2013 อาสนวิหารอัสสัมชัญ ได้จัดงานฉลอง 50 ปี ชีวิตสงฆ์ พระสังฆราชสังวาลย์ ศุระศรางค์ และฉลอง 25 ปี ชีวิตสงฆ์ คุณพ่อพิพัฒน์ รุ่งเรืองกนกกุล พิธีบูชาขอบพระคุณ เวลา 17.00 น. โดย พระสังฆราชสังวาลย์ ศุระศรางค์ พร้อมด้วย คุณพ่อพิพฒ ั น์ รุง่ เรืองกนกกุล คุณพ่อวินยั เปลีย่ นบำ�รุง เจ้าคณะ รอยแผลศักดิ์สิทธิ์ คุณพ่อวุฒิเลิศ แห่ล้อม อุปสังฆราช คุณพ่อจำ�เนียร กิจเจริญ และพระสงฆ์จำ�นวนหนึ่ง เสกสุสานศานติคาม วันอาทิตย์ที่ 13 มกราคม 2013 คุณพ่อชัชวาล ศุภลักษณ์ เจ้าอาวาส วั ด พระเยซู เ จ้ า เสด็ จ ขึ้ น สวรรค์ แ ละ ผูจ้ ดั การสุสานศานติคาม ได้จดั ให้มกี าร เสกสุสานศานติคาม ประจำ�ปี 2013 เวลา 09.00 น. พิธีบูชาขอบพระคุณ โอกาสสมโภชพระเยซูเจ้าทรงรับพิธลี า้ ง และเสกสุสานศานติคาม โดย คุณพ่อ สุเทพ พงษ์วริ ชั ไชย พร้อมด้วย พระสังฆราชสังวาลย์ ศุระศรางค์ คุณพ่อจำ�เนียร กิจเจริญ คุณพ่อประวิทย์ พงษ์วริ ชั ไชย และพระสงฆ์จ�ำ นวนหนึง่ จากนั้นเป็นการเสกตามหลุมต่างๆ โดยพระสงฆ์และสังฆานุกร มีผู้คนมาร่วมระลึกถึงผู้ตายที่ได้มาฝังร่างที่สุสานแห่งนี้เป็นจำ�นวนมาก สารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 เดือนกุมภาพันธ์ 2013 5


ฉลอง 40 ปี แห่งการก่อตั้งสถาบัน แสงธรรม วั น ที่ 26 มกราคม 2013 สามเณราลั ย แสงธรรมได้ จั ด งาน ฉลอง 40 ปี แห่งการก่อตั้งสถาบัน แสงธรรม โดยได้แบ่งเป็น 2 วัน คือ วันที่ 25 มกราคม 2013 งานคืน สู่เหย้าชุมนุมศิษย์เก่าแสงธรรม และ วันที่ 26 มกราคม 2013 ฉลอง โมทนาคุณพระเป็นเจ้า เวลา 10.40 น. พิธีบูชาขอบพระคุณ โดยพระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู พร้อมด้วยพระสังฆราช และพระสงฆ์ จำ�นวนมาก ปัจจุบัน สถาบันแสงธรรมมีอายุครบ 40 ปี มีศิษย์ทั้งหมด 41 รุ่นโดยมี คุณพ่ออดิศักดิ์ พรงาม เป็นอธิการสามเณราลัยแสงธรรม แต่งตัง้ บุญราศี ซิสเตอร์ มาเรีย ตรองกัตตี คณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์ (ซิสเตอร์ ซาเลเซียน) วันที่ 20 มกราคม 2013 คณะธิดา แม่พระองค์อปุ ถัมภ์ ร่วมจัดงานเพือ่ ขอบคุณ พระเป็นเจ้า โอกาสแต่งตัง้ บุญราศี ซิสเตอร์ มาเรีย ตรองกัตตี ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็น บุญราศีโดยพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ ที่ 16 เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2012 ณ มาคัส ประเทศเอกวาดอร์ เวลา 10.15 น. พิธีบูชาขอบพระคุณ โดยพระอัครสังฆราช เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช พร้อมด้วย พระสังฆราชสังวาลย์ ศุระศรางค์ คุณพ่อวุฒิเลิศ แห่ล้อม อุปสังฆราช คุณพ่อนิพนธ์ สาราจิตต์ และบรรดาพระสงฆ์

เยี่ยมเยียนกลุ่มวิถีชุมชนวัด เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2013 คุณพ่อเชษฐา ไชยเดช ผู้จัดการแผนกวิถีชุมชนวัด นำ� คณะซิสเตอร์ที่เข้ารับการอบรมที่ศูนย์นักบวชหญิง จำ�นวน 13 ท่าน เยี่ยมและร่วมแบ่งปัน พระวาจากับกลุ่มวิถีชุมชนวัด ซ.เปโตร 16 วัดนักบุญเปโตร สามพราน

ผู้ แ ทนศาสนาพราหมณ์ - ฮิ น ดู นำ � สารอวยพร โอกาสคริ ส ตสมภพแด่ ค ริ ส ตชนไทยผ่ า นทาง พระอัครสังฆราชเกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช วันที่ 27 ธันวาคม 2012 เวลา 10.30 น คุณพ่อ สมเกียรติ บุญอนันตบุตร ผู้อำ�นวยการฝ่ายงาน ธรรมทูต อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ นำ�คณะผูม้ าเยือน มิสซาวันทหารผ่านศึกวัดแม่พระฟาติมา ดินแดง วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม 2013 คุณพ่อสุรชัย กิจสวัสดิ์ เจ้าอาวาสวัดแม่พระฟาติมา ซึง่ เป็นผูแ้ ทนศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู ทัง้ หมด 4 ท่าน นำ�โดย นายสถิตย์ กุมาร จากสมาคมฮินดูสมาช พร้อมด้วยคณะสภาภิบาล ได้ร่วมต้อนรับคณะ เจ้าหน้าที่องค์กรทหารผ่านศึก โดยคุณพ่อ (วัดเทพมณเฑียร) เป็นผูแ้ ทน ศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู สุชาติ อุดมสิทธิพัฒนา เป็นประธานในพิธีบูชาขอบพระคุณโอกาสวันทหารผ่านศึก นำ�สารจาก พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณ (ชวิน เริ่มขบวนทหารและพวงมาลา นำ�โดย พลเอกชัยวัฒน์ สท้อนดี ผู้อำ�นวยการองค์การ รั ง สิ พ ราหมณกุ ล ) มาอวยพร เนื่ อ งในโอกาส สงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกันแห่เข้าวัด จากนั้นพลตรีปราโมทย์ วั น คริ ส ตสมภพของคริ ส ตชนคาทอลิ ก โดยมี พ ระ รัตโนภาส เป็นประธานวางพวงมาลา และเป็นผู้อ่านสารสดุดีทหารกล้า และพลเอก อัครสังฆราชเกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช ให้การรับรอง ชัยวัฒน์ สท้อนดี ผู้อำ�นวยการองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก เป็นผู้มอบเงินสนับสนุน วัดแม่พระฟาติมา ดินแดง โดยมีคุณพ่อสุรชัย กิจสวัสดิ์ เจ้าอาวาสวัดเป็นผู้รับมอบ ณ สำ�นักพระสังฆราช 6 สารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 เดือนกุมภาพันธ์ 2013


ชุมนุมศิษย์แท้พระเยซู ยุวธรรมทูตอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 26 มกราคม ที่ผ่านมา ฝ่ายการศึกษา ฝ่ายงานธรรมทูต แผนกพระคัมภีร์ แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ร่วมจัดงาน ชุมนุมศิษย์แท้พระเยซู และชุมนุมยุวธรรมทูต ครั้งที่ 4 ขึ้นที่โรงเรียนและวัดนักบุญเปโตร สามพราน นครปฐม โดยมีคณะครูและนักเรียนเข้าร่วมงาน ประมาณ 1,475 คนและได้รับเกียรติจากพระอัครสังฆราชเกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช มาเป็นประธานในพิธีบูชาขอบพระคุณ

ผู้สมัครเรียนคำ�สอนและศิษย์เก่า พบปะ สังสรรค์ โอกาสเทศกาลพระคริสตสมภพและปีใหม่ อาสนวิหารอัสสัมชัญและแผนกคริสตศาสนธรรมกรุงเทพฯ ร่วมกันจัดงานเลี้ยงสังสรรค์ พบปะ พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทางศาสนาในโอกาสฉลองเทศกาลพระคริสตสมภพ และปีใหม่ 2013 ระหว่างผู้สมัครเรียนคำ�สอนผู้ใหญ่รุ่นปัจจุบันและศิษย์เก่า (ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000 – ปัจจุบัน จำ�นวน 12 รุ่น) เมื่อวันอาทิตย์ ที่ 13 มกราคม 2013 ณ อาคารคาทอลิก แพร่ธรรม มีผมู้ าร่วมงานผูส้ มัครเรียนคำ�สอนผูใ้ หญ่ปจั จุบนั 13 คน ศิษย์เก่า (คริสตชนใหม่) 38 คน เด็ก (เรียนคำ�สอน) 8 คน ผู้ปกครอง 16 คน ครูคำ�สอน 5 คน พระสงฆ์ 6 องค์ รวม 86 คน การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้จริยศึกษาของ โรงเรียนคาทอลิก คุณพ่อเดชา อาภรณ์รัตน์ ผู้อำ�นวยการฝ่าย การศึกษาอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้จัดให้คณะ อนุกรรมการดำ�เนินการจัดทำ�หลักสูตรจริยศึกษา ของโรงเรียนคาทอลิก สาระที่ 1 แสวงหาความจริง ของชีวิต โดยเมื่อวันที่ 18 - 19 มกราคม 2013 ที่ บ้านผู้หว่าน โดยมีคุณพ่อเชษฐา ไชยเดช และ ดร.สมลักษณ์ สุเมธ เป็นผู้นำ�และให้คำ�แนะนำ�ใน การจัดทำ�แผนการจัดการเรียนรู้ในครั้งนี้ ซึ่งคณะ อนุกรรมการได้ช่วยกันเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ สาระที่ 1 ตั้งแต่ชั้นประถมปีที่ 1 ถึง ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 6 ครบทุกมาตรฐาน และทุกระดับชั้น และได้ ร่วมกันพิจารณาความเหมาะสมของแต่ละแผนการ จัดการเรียนรู้ เพือ่ นำ�เสนอต่อคณะกรรมการดำ�เนิน การจัดทำ�หลักสูตรจริยศึกษาในโรงเรียนคาทอลิก ของสภาการศึกษาคาทอลิกต่อไป

ประกาศนียบัตรครูจิตตาภิบาล รุ่นที่ 2 ครั้งที่ 12 กลุ่มงานจิตตาภิบาล ฝ่ายการศึกษา ร่วมกับ ศูนย์คริสตศาสนธรรม ฝ่ายงานอภิบาล อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ร่วมจัด โครงการ “หลักสูตรประกาศนียบัตรครูจิตตาภิบาล อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ รุ่นที่ 2” การอบรมครั้งที่ 12 หัวข้อ “จิตวิทยาการดูแลนักเรียน วัยเด็กและวัยรุ่น” โดยมี ดร.วัลลภ ปิยะมโนธรรม อดีตประธานโครงการศูนย์ให้ คำ�ปรึกษาและพัฒนาศักยภาพมนุษย์และอาจารย์ประจำ�สังกัดบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ และ ดร.จิตรา ดุษฎีเมธา ประธานโครงการศูนย์ให้คำ�ปรึกษาและพัฒนา ศักยภาพมนุษย์และอาจารย์ประจำ�สังกัดบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็น วิทยากร เมื่อวันที่ 4 - 5 มกราคม 2013 ณ ศูนย์ฝึกอบรมงานอภิบาล บ้านผู้หว่าน

ปฏิทินกิจกรรม เดือนกุมภาพันธ์ 2013 5 – 7 ก.พ. เข้าเงียบพระสงฆ์เขต 2 ธารารีสอร์ท 18 - 20 ก.พ. เข้าเงียบพระสงฆ์เขต 3 บ้านสเตลลา มารีส เพ จ.ระยอง 18 - 20 ก.พ. เข้าเงียบพระสงฆ์เขต 4 จ.ระยอง 23 ก.พ. การอบรมทักษะผู้ประสานงาน วิถีชุมชนวัด ครั้งที่ 1 ที่ศูนย์คริสตศาสนธรรมระดับชาติ CC เวลา 09.00 - 12.00 น. 25 - 27 ก.พ. เข้าเงียบพระสงฆ์เขต 1 ธารารีสอร์ท 25 - 27 ก.พ. เข้าเงียบพระสงฆ์เขต 6 อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา 26 - 28 ก.พ. เข้าเงียบพระสงฆ์เขต 5 สารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 เดือนกุมภาพันธ์ 2013 7


“จงฝึกเด็กในทางที่เขาควร จะเดินไป และเมื่อเขาเป็น ผู้ ใ หญ่ แ ล้ ว เขาจะไม่ พ ราก จากทางนั้น” (สภษ 22:6)

สวัสดีพี่น้องที่รัก

ในเดื อ นกุ ม ภาพั น ธ์ มี โ อกาสสำ � คั ญ หลายๆ โอกาส ไม่ว่าจะเป็นการฉลอง ตรุษจีน ซึ่งหลายๆ วัดถือเป็นโอกาสเสก สุสาน เราระลึกถึงญาติพน่ี อ้ งของเราผูล้ ว่ งลับ ความเชื่อทำ�ให้เรามั่นใจว่าผู้ล่วงลับยังอยู่ กับเราในสถานะที่แตกต่าง ซึ่งวันหนึ่งเราก็ จะไปอยูร่ ว่ มสถานะเดียวกันกับเขาเหล่านัน้ ชีวิตในโลกนี้จึงเป็นการเดินทางสู่สิ่งที่เป็น อมตะ เราคริสตชนจึงไม่ยดึ ติดกับโลกนี้ เรา เข้าใจดีว่าเวลาในโลกเป็นเวลาที่พระเรียก เราให้ร่วมทำ�สิ่งดีๆ กับพระองค์ และที่สุด เราทุกคนก็จะได้พบกับพระในสวรรค์ เราเข้าสู่เทศกาลมหาพรต (วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ วันพุธรับเถ้า) เป็นช่วงเวลา 40 วัน ที่เราคริสตชนจะใช้ชีวิตอย่างดีเป็นพิเศษ ตัง้ ใจทำ�ดีให้มากขึน้ ทำ�บาปให้นอ้ ยลง โดยมี รูปแบบภายนอก เช่น การอดเนือ้ อดอาหาร รู้จักอดกลั้น รู้จักขัดใจตนเองไม่ตามใจปาก ทำ�บุญให้คนยากจน พร้อมที่จะช่วยเหลือ ผูอ้ นื่ แม้คนทีไ่ ม่ใช่ญาติ ไม่นา่ รัก ไม่มสี ว่ นได้ ส่วนเสียในธุรกิจชีวติ การงานของเรา เพราะ มนุษย์ทุกคนเป็นลูกของพระเช่นเดียวกัน ด้านพิธกี รรมมีการเดินรูป 14 ภาค เพือ่ รับรู้ ถึ ง ความยากลำ � บากที่ พ ระอาจารย์ ไ ด้ รั บ เข้าใจในความลำ�บากที่คนอื่นได้รับในชีวิต ก้าวตามพระเยซูเผชิญหน้ากับความยาก ลำ � บาก ในขณะที่ ค นทั่ ว ไปพยายาม หลีกเลี่ยงให้ตนเองครอบครัวรอดพ้น โดย ไม่ คำ � นึ ง ถึ ง วิ ธี ก ารที่ อ าจจะทำ � ให้ ค นอื่ น ต้องเจ็บปวด เราคริสตชนมั่นใจว่าความ ยากลำ�บากมีอยู่จริง แต่มันไม่สามารถมา เป็นข้ออ้างให้ทำ�บาปหรือเบียดเบียนผู้อื่น สำ � หรั บ เราแล้ ว เราเป็ น คนดี ไ ด้ ทำ � ตาม คำ � สอนของพระอาจารย์ ไ ด้ ท่ า มกลาง อุปสรรคที่เกิดขึ้นในชีวิตเพราะพระเจ้าอยู่ เคียงข้างเราเสมอ ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกท่าน

เนื่องจากบิดามารดาเป็นผู้ให้ชีวิตแก่บุตร พวกเขาจึงมีพนั ธะอันหนักยิง่ และมีสทิ ธิ ในการ อบรมเลี้ยงดูบุตร ดังนั้นพ่อแม่คริสตชนจึงต้อง เอาใจใส่เป็นพิเศษ ในการให้การศึกษาแบบ คริสตชนแก่บุตรตามคำ�สอนที่พระศาสนจักร มอบให้ (กฎหมายพระศาสนจักร มาตรา 226 วรรค 2)

วัตถุประสงค์ของ “ค่ายคำ�สอน” 1. อบรมคริสตศาสนธรรม สำ�หรับเด็กและเยาวชนคาทอลิกทีบ่ า้ นอยูไ่ กลวัด และ ไม่ได้เรียนในโรงเรียนคาทอลิกเพื่อเตรียมรับศีลล้างบาป ศีลมหาสนิท ศีลกำ�ลัง และ รื้อฟื้นคำ�สัญญาแห่งศีลล้างบาป 2. ส่งเสริมและสนับสนุนให้อ่าน เรียนรู้และรักพระคัมภีร์ 3. ฝึกอบรมเรือ่ งการภาวนาและการดำ�เนินชีวติ ตามคำ�สอนของพระเยซูเจ้า และ พระศาสนจักรคาทอลิก บุคคลเป้าหมาย นักเรียนคาทอลิก 50 คน ทีไ่ ม่ได้เรียนในโรงเรียนคาทอลิก หรือทีไ่ ม่มโี อกาสเรียน คำ�สอนในระหว่างปีการศึกษา จบชั้น ป.3 เตรียมรับศีลมหาสนิท จบชั้น ป.6 เตรียมรับศีลกำ�ลัง จบชั้น ม.1-ม.3 เตรียมรื้อฟื้นคำ�สัญญาศีลล้างบาป คุณสมบัติ 1. นักเรียนคาทอลิก ชาย-หญิง อายุ 8 ปีขึ้นไป ถึงอายุ 15 ปี ที่ได้รับอนุญาต จากผู้ปกครอง 2. ได้รับรองจากพระสงฆ์ที่วัดหรือนักบวช ทีมงาน 1. บาทหลวงเอกรัตน์ หอมประทุม จิตตาธิการ 2. บาทหลวงสราวุธ อมรดิษฐ์ ผู้จัดการบ้านสวนฯ 3. คุณครูสุรัตน์ เจริญผล พร้อมทั้งนักศึกษาจากวิทยาลัยแสงธรรม สามเณรจากบ้านเณรนักบุญยอแซฟ คุณครูคำ�สอนจากแผนกคริสตศาสนธรรมกรุงเทพฯ และอาสาสมัคร รวม 10 คน ระยะเวลา 4 สัปดาห์ ตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 31 มีนาคม ถึง วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน 2013 โดยเริ่ม ลงทะเบียนรับเด็กวันอาทิตย์ที่ 31 มีนาคม 2013 เวลา 13.00 - 15.00 น. และ ขอเชิญร่วม มิสซาเปิดค่ายคำ�สอน เวลา 15.00 น. ณ บ้านสวนยอแซฟ สามพราน นครปฐม (ในบริเวณโรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์) การรับสมัคร 1. ขอใบสมัครได้ที่พระสงฆ์ตามวัดต่างๆ หรือ 2. ติดต่อขอใบสมัคร และโทรศัพท์แจ้งชื่อเพื่อสมัครเรียนได้ที่ คุณครูสุรัตน์ เจริญผล ศูนย์คริสตศาสนธรรมกรุงเทพฯ (ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.kamsonbkk.com) 57 ซ.โอเรียนเต็ล บางรัก กรุงเทพฯ 10500 โทรศัพท์ 0-2237-5276, 0-2233-0338 โทรสาร 0-2233-8159 E-mail : ccbkk@catholic.or.th วัตถุประสงค์ 1. เพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมและข่าวต่างๆ ในระดับวัด เขตและสังฆมณฑล ให้กับสัตบุรุษและบุคลากรในหน่วยงานต่างๆ ของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ 2. เพื่อช่วยฟื้นฟูบทบาทการเป็นผู้มีส่วนร่วมในงานอภิบาลและธรรมทูตในชีวิตของสัตบุรุษ และบุคลากรในหน่วยงานต่างๆ ของอัครสังฆมณฑล 3. เพื่อนำ�เสนอเครื่องมือ และแนวปฏิบัติในงานอภิบาลและธรรมทูตให้กับสัตบุรุษและบุคลากรในหน่วยงานต่างๆ ของอัครสังฆมณฑล สารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ผู้รับผิดชอบ : ฝ่ายงานอภิบาลของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ที่ปรึกษา : คุณพ่อพงศ์เทพ ประมวลพร้อม, คุณพ่อเอกรัตน์ หอมประทุม บรรณาธิการ : คุณพ่อปิยะชาติ มะกรครรภ์ กองบรรณาธิการ : นาทลดา จิตรอำ�ไพ, พฤกษา กิจเจริญ, มัลลิกา กิจบำ�รุง, เพชรี ชาวแพรกน้อย พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์อัสสัมชัญ บางรัก กรุงเทพฯ โทร. 0 2233 0523 โทรสาร. 0 2235 1405 สำ�นักงาน : อาคารคาทอลิกแพร่ธรรม 57 ซอยเจริญกรุง 40 เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 โทร. 0 2237 7315 โทรสาร. 0 2233 8159 E-mail : webmaster@catholic.or.th


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.