แผนอภิบาลอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ค.ศ. 2011 - 2015( ฉบับเต็ม )

Page 1

แผนอภิบาลอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ค.ศ. 2011-2015

ตามแผนอภิบาลคริสตศักราช 2010-2015 ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย


ที่ ลส. 674/53

ประกาศอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ เรื่อง แผนอภิบาลอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ค.ศ. 2011-2015 จากปี ค.ศ. 2000 พระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย โดยสภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย ได้จัดทำแผน แม่บททิศทางงานอภิบาล คริสตศักราช 2000 โดยมีกำหนด ระยะเวลาดำเนินการ 10 ปี และอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้ ตอบรั บ โดยจั ด ทำแผนงานอั ค รสั ง ฆมณฑลกรุ ง เทพฯ ค.ศ. 2000-2010 เพื่อมุ่งส่งเสริมสร้างชีวิตคริสตชน พระสงฆ์ นักบวช ให้ มี ค วามพร้ อมในการประกาศข่าวดีของพระเยซู ค ริ ส ตเจ้ า และเพื่อมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตทั้งฝ่ายกายและฝ่ายวิญญาณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งของผู้ยากไร้และด้อยโอกาส


ปี ค.ศ. 2005 พระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู ได้ ประกาศเรี ย กประชุ ม สมั ช ชาแห่ ง อั ค รสั ง ฆมณฑลกรุ ง เทพฯ โดยมีจุดมุ่งหมายหลักที่จะฟื้นฟูชีวิตและพันธกิจของอัครสังฆ มณฑลกรุงเทพฯ โดยพระอัครสังฆราช พระสงฆ์ นักบวชชายหญิง และฆราวาส ได้ร่วมกันไตร่ตรองถึงสภาพความเป็นจริงที่ เกิดขึ้นในปัจจุบัน รวมทั้งพิจารณาหลักการและแนวทางของ พระศาสนจักรในเอเซียและพระศาสนจักรสากล เพื่อหาหนทาง ที่ ชั ด เจนในการฟื้ น ฟู ชี วิ ต และพั น ธกิ จ ของอั ค รสั ง ฆมณฑล กรุงเทพฯ วันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 2010 สภาพระสังฆราชคาทอลิก แห่งประเทศไทยได้ประกาศแผนอภิบาล ค.ศ. 2010-2015 เพื่อ “อภิบาลชุมชนศิษย์พระคริสต์ ร่วมพันธกิจแบ่งปันข่าวดี” ซึ่งจะเป็นแม่บทพันธกิจการอภิบาลและการประกาศข่าวดีใน ช่วง 5 ปีจากนี้ไป บั ด นี้ อั ค รสั ง ฆมณฑลกรุ ง เทพฯ โดยสภาภิ บ าลอั ค ร สังฆมณฑลกรุงเทพฯ สภาสงฆ์ฯ และคณะกรรมการบริหารฯ ได้ ร่ ว มกั น จั ด ทำแผนอภิ บ าลอั ค รสั ง ฆมณฑลกรุ ง เทพฯ ค.ศ. 2011-2015 (Diocesan Pastoral Plan of Archdiocese of Bangkok A.D.2011-2015) ซึ่งสอดคล้อง และตอบสนองต่อ แผนอภิบาล ค.ศ. 2010-2015 ของพระศาสนจักรในประเทศ


ไทย และตอกย้ำกฤษฎีกาสมัชชาอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ค.ศ. 2005 โดยมุ่งเน้นเป้าหมายหลัก 4 ประการคือ 1) ชุ ม ชนศิ ษ ย์ พ ระคริ ส ต์ ฟื้ น ฟู ชี วิ ต คริ ส ตชนและ ครอบครัว ด้วยพระวาจา พิธีกรรม และกระบวนการ อบรมความเชื่อ 2) วิถีชุมชนวัด เสริ ม สร้ า งชุ ม ชนคริ ส ตชน ด้ ว ยวิถี

ชุมชนวัด 3) ประกาศความรักและความเมตตาของพระเจ้า

ด้วยพันธกิจหลักของพระศาสนจักรทุกด้าน 4) ให้ ส ถานศึ ก ษาคาทอลิ ก เป็ น สนามและฐาน

การประกาศข่าวดี เราทุกคนเชื่อว่า ในบริบทของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ การเติ บ โตของพระอาณาจั ก รของพระเจ้ า ต้ อ งการวิ ถี ชี วิ ต

คริสตชนที่ทุกคนเป็นหนึ่งเดียวกัน เพื่อพวกเราทุกคนจะร่วมใจ กั น ดำเนิ น ชี วิ ต และปฏิ บั ติ พั น ธกิ จ ดั ง กล่ า ว และเพื่ อ แผน อภิบาลฯ ฉบับนี้จะบรรลุเป้าหมายได้ คณะสงฆ์ คณะนักบวช องค์กรคริสตชนฆราวาส และพี่น้องสัตบุรุษทุกคน ให้ความ สำคัญ ให้ความร่วมมือ และนำแผนอภิบาลนี้ไปปฏิบัติอย่าง


เต็มกำลังความสามารถ พร้อมกับการรับฟังเสียงของพระจิต เจ้า และตอบสนองเสียงเรียกร้องของพระองค์ “เป็นพระจิต ของพระเจ้าที่ทรงทำให้เติบโต” (1คร 3:6) บัดนี้ เราจึงขอประกาศใช้ “แผนอภิบาลอัครสังฆมณฑล กรุงเทพฯ ค.ศ. 2011-2015” เพื่อให้คณะสงฆ์ นักบวช และ พี่น้องคริสตชนแห่งอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ นำไปดำเนินการ ตามบทบาทและหน้ า ที่ ข องตนอย่ า งพร้ อ มเพรี ย งกั น โดยมี กำหนดระยะเวลาเพื่ อ การดำเนิ น การ 5 ปี นั บ แต่ บั ด นี้ เป็นต้นไป ขอพระเจ้าทรงนำทางเราทุกคนในการก้าวเดินด้วยความ รั ก และความเป็ น หนึ่ ง เดี ย วกั น เพื่ อ ให้ เ ป้ า หมายหลั ก ทั้ ง 4 ประการของแผนอภิ บ าลอั ค รสั ง ฆมณฑลกรุ ง เทพฯ บรรลุ ผลสำเร็จทุกประการ ประกาศ ณ วันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 2010 วันแพร่ธรรม สากล

(พระอัครสังฆราช øรัง´ิสเ´เวียร์ เกรียงศักดิÏ ‚กวิทวาณิช) ª√–¡ÿ¢·ÀàßÕ—§√ —߶¡≥±≈°√ÿ߇∑æœ


วิสัยทัศน์ – พันธกิจ บทนำ

สารบัญ

เป้าหมายที่ 1 ชุมชนศิษย์พระคริสต์

1 2 6

เป้าหมายที่ 2 วิถีชุมชนวัด (BEC) ผูอ้ ภิบาลและผู้ร่วมงานอภิบาล ครอบครัว เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ฯลฯ

10 15 19

เป้าหมายที่ 3

25

การประกาศความรัก และความเมตตาของพระเจ้า ประจักษ์พยานของคริสตชน ธรรมทูต คริสตจักรศาสนสัมพันธ์ ศาสนสัมพันธ์ และการเข้าสู่วัฒนธรรม รักและรับใช้สังคมโลก เทคโนโลยีและการสื่อสาร

เป้าหมายที่ 4 สถานศึกษาคาทอลิก สนาม และฐานการประกาศข่าวดี บทส่งท้าย End Notes Abbreviations

27 28 30 33 36 39 43 45 50


แผนอภิบาลอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ค.ศ. 2011-2015 วิสัยทัศน์ ประชากรของพระเจ้า ร่วมเป็นหนึ่งเดียวในความรัก แสวงหา ติดตาม และประกาศพระเยซูคริสตเจ้า

พันธกิจ มุ่งอุทิศตนฟื้นฟูชีวิตให้สนิทกับพระคริสตเจ้า โดยอาศัยพระวาจาและศีลศักดิ์สิทธิ์ เป็นหนึ่งเดียว ร่วมมือและแบ่งปันซึ่งกันและกัน แสวงหาคุณค่าพระอาณาจักรในบริบทสังคม เสวนาฉันพี่น้องกับผู้มีความเชื่ออื่น ประกาศพระเยซูคริสตเจ้าและเป็นประจักษ์พยาน ด้วยการดำเนินชีวิตเรียบง่าย รักและรับใช้ปวงชน โดยเน้นผู้ยากไร้


บทนำ 1. 2.

ปี ค.ศ. 2000 พระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย โดย สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย ได้ประกาศ ใช้ แ ผนทิ ศ ทางฯ เพื่ อ การทำงานอภิ บ าลสำหรั บ พระ ศาสนจักรเป็นระยะเวลา 10 ปี อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้ ต อบรั บ และได้ จั ด ทำแผนงานของอั ค รสั ง ฆมณฑลฯ เพื่ อ ตอบสนองการทำงานอภิบาลตามทิ ศ ทางดั ง กล่ า ว เป็นระยะเวลา 10 ปีเช่นกัน ปี ค.ศ. 2005 ได้มีการประชุมสมัชชาอัครสังฆมณฑล กรุงเทพฯ เพื่อการฟื้นฟูชีวิตและพันธกิจของอัครสังฆ มณฑลฯ หลังการประชุมสมัชชาฯ ได้มีประกาศกฤษฎีกา สมัชชาอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ค.ศ. 2005 เพื่อให้ใช้

เป็นแนวทางที่ชัดเจนในการทำงานอภิบาลและประกาศ ข่าวดี โดยยังอยู่ในกรอบแผนทิศทางของสภาพระสังฆราชฯ เช่นเดิม บทนำ


3. 4. 5. บทนำ

ในปี นี้ (ค.ศ. 2010) สภาพระสั ง ฆราชคาทอลิ ก แห่ ง

ประเทศไทยได้ประกาศแผนอภิบาล ค.ศ. 2010-2015 เพื่อมุ่งเน้น “อภิบาลชุมชนศิษย์พระคริสต์ ร่วมพันธกิจ

แบ่งปันข่าวดี” แผนอภิบาลของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ค.ศ. 2011-2015 ฉบับนี้มิใช่เป็นการเริ่มทุกสิ่งใหม่ แต่เป็นการตอบรับแผน อภิบาล ค.ศ. 2010-2015 ของสภาพระสังฆราชฯ และ ตอกย้ ำ กฤษฎี ก าสมั ช ชาอั ค รสั ง ฆมณฑลกรุ ง เทพฯ ค.ศ. 2005 โดยยังคงวิสัยทัศน์และพันธกิจเช่นเดิม การ “อภิ บ าลชุ ม ชนศิ ษ ย์ พ ระคริ ส ต์ ร่ ว มพั น ธกิ จ

แบ่งปันข่าวดี” ในบริบทของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ สำหรับระยะเวลาห้าปีของแผนอภิบาลนี้ อัครสังฆมณฑล กรุงเทพฯ จะมุ่งเน้นการเสริมสร้างและพัฒนาชุมชนวัด ให้เป็นชุมชนแห่งความเชื่อที่มีชีวิต ชีวา ประกอบด้วย ชุ ม ชนคริ ส ตชนย่ อ ยๆ ที่ เ ป็ น ชุ ม ชนศิ ษ ย์ พ ระคริ ส ตเจ้ า อย่างแท้จริง โดยเจริญชีวิตตามบัญญัติรักของพระองค์ ประกาศและแบ่งปันข่าวดีให้กับเพื่อนพี่น้องร่วมชุมชน เดียวกัน และสามารถเป็นประจักษ์พยานในชีวิตประจำวัน ท่ามกลางสังคมไทย


6. ด้วยจุดเน้นดังกล่าว พระศาสนจักรแห่งอัครสังฆมณฑล กรุงเทพฯ จึงจะดำเนินงานระหว่าง ค.ศ. 2011-2015 ด้วยแผนอภิบาลที่มีเป้าหมายสำคัญ 4 ประการ ดังนี ้ 6.1

ชุ ม ชนศิ ษ ย์ พ ระคริ ส ต์ : อภิ บ าลคริ ส ตชนใน

ฐานะบุคคลและครอบครัวมุ่งสู่การเป็นศิษย์ฯ

ที่มีวุฒิภาวะทางความเชื่อ สามารถเจริญชีวิต

เป็นประจักษ์พยานและประกาศพระคริสตเจ้า

แก่ทุกคน

6.2

วิถีชุมชนวัด (BEC) : เสริมสร้างชุมชนวัดให้เป็น

ชุ ม ชนแห่ ง ความเชื่ อ โดยมี พ ระเยซู ค ริ ส ตเจ้ า

เป็ น ศู น ย์ ก ลาง ประกอบด้ ว ยชุ ม ชนคริ ส ตชน

ย่อยๆ ด้วยการนำครอบครัวที่อยู่ใกล้เคียงกัน

หรื อ กลุ่ ม อาชี พ หรื อ ความสนใจเดี ย วกั น มา

รวมตั ว กั น พั ฒ นาความเชื่ อ ให้ เ ข้ ม แข็ ง เป็ น

ชุมชนที่อภิบาลกันและกัน ร่วมกันเป็นประจักษ์

พยานและประกาศพระคริสตเจ้าในหน้าที่การงาน

และชีวิตประจำวันท่ามกลางสังคมไทย

6.3 การประกาศความรั ก และความเมตตาของ

พระเจ้า : ด้วยพันธกิจหลักของพระศาสนจักร

บทนำ


คือ งานอภิบาล งานธรรมทูต งานด้านสังคม

และกิจเมตตา งานการศึกษา งานคริสตศาสนจักร

สัมพันธ์/ศาสนสัมพันธ์ และงานสื่อสารสังคม

6.4 สถานศึกษาคาทอลิก สนามและฐานการประกาศ

ข่ า วดี : เพื่ อ ทุ ก คนจะรู้ จั ก พระคริ ส ตเจ้ า และ

ความรั ก ของพระองค์ อาศั ย การศึ ก ษาอบรม

ความเชื่อ การพัฒนาเด็กและเยาวชน จนกระทั่ง

พระวรสารหยั่งรากลึกลงไปในสติปัญ ญาและ

ชีวิตของทุกคน 7. ดั ง นั้ น งานต่ า งๆ ทั้ ง หมดทุ ก งานของอั ค รสั ง ฆมณฑล กรุงเทพฯ จะต้องมุ่งสู่เป้าหมายสำคัญ 4 ประการดังกล่าว ในช่วงระยะเวลาห้าปีข้างหน้า

บทนำ


เป้าหมายที่ 1 ชุมชนศิษย์พระคริสต์ อภิบาลคริสตชนในฐานะบุคคลและครอบครัวมุ่งสู่การ เป็นศิษย์ฯ ที่มีวุฒิภาวะทางความเชื่อ สามารถเจริญชีวิต เป็นประจักษ์พยานและประกาศพระคริสตเจ้าแก่ทุกคน

8. พระธรรมล้ ำ ลึ ก แห่ ง พระคริ ส ตเจ้ า (ศี ร ษะ) และพระ ศาสนจักร (พระกาย) เป็นพระธรรมล้ำลึกที่ช่วยเราให้

สามารถเจริ ญ ชี วิ ต และมี ส่ ว นในชี วิ ต พระเจ้ า พระบิ ด า พระบุตรและพระจิต โดยทางศีลล้างบาป และศีลกำลัง เราเป็นหนึ่งเดียวกับพระคริสตเจ้าและกับพี่น้องทุกคน คริสตชนพึงตระหนักว่า การเป็นคริสตชนไม่เป็นแค่เพียง การร่วมพิธีกรรมเท่านั้น แต่เป็นการเรียกของพระเจ้าเพื่อ ให้เราเจริญชีวิตและปฏิบัติพันธกิจรัก-รับใช้พระเจ้าและ เพื่อนพี่น้องทุกคน 9. อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ จึงมุ่งให้พันธกิจในการอภิบาล ทั้งหมดของตน ไปสู่เป้าหมายสำคัญคือสร้างและพัฒนา

เป้าหมายที่ 1 ชุมชนศิษย์พระคริสต์


10. 11

ศิษย์พระคริสต์ โดยพระวาจาของพระเจ้า ศีลศักดิ์สิทธิ์ การอธิ ษ ฐานภาวนา และกระบวนการอบรมความเชื่ อ เพื่อสมาชิกทุกคนจะสามารถดำเนินชีวิตด้วยความเชื่อ ความหวังและความรัก โดยมีพระคริสต์เป็นศูนย์กลาง เราจะมุ่งอภิบาลให้คริสตชนดำเนินชีวิตตามกระแสเรียกที่ พระเจ้ า ประทานให้ แ ต่ ล ะคน ไม่ ว่ า ในฐานะคริ ส ตชน ฆราวาส นักบวช หรือพระสงฆ์ ด้วยการมีชีวิตที่ลึกซึ้ง มี

ความเชื่ อ ที่ มี ชี วิ ต ชี ว าในบทบาทหน้ า ที่ ทั้ ง ในพิ ธี ก รรม ชี วิ ต ประจำวั น การงาน อาชี พ ฯลฯ มี พ ระวาจาของ พระเจ้าเป็นเสมือนลมหายใจและได้รับการหล่อเลี้ยงด้วย ศีลศักดิ์สิทธิ์ การภาวนา และกระบวนการอบรมความเชื่อ มุ่ ง ทำให้ ก ารร่ ว มพิ ธี บู ช าขอบพระคุ ณ โดยเฉพาะวั น อาทิตย์เป็นการฉลองอย่างต่อเนื่องในชีวิตประจำวัน อั ค รสั ง ฆมณฑลกรุ ง เทพฯ จึ ง กำหนดงานอภิ บ าล

หลักในการเสริมสร้างศิษย์และพัฒนาความเชื่อโดย

พระวาจา ศี ล ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ การอธิ ษ ฐานภาวนา และ

กระบวนการอบรมความเชื่อดังต่อไปนี้ คือ

เป้าหมายที่ 1 ชุมชนศิษย์พระคริสต์


11.1

ให้การฉลองวันพระเจ้าเป็นวันสำคัญอันก่อให้เกิด ประสิทธิผลสูงสุด หล่อเลี้ยงชีวิตศิษย์และพัฒนา ความเชื่อโดยอาศัยพระวาจา ศีลมหาสนิท และ การภาวนา โดยมุ่ ง ให้ เ กิ ด เป็ น ประสบการณ์ กั บ

พระเจ้ า จนสามารถเป็ น พลั ง ขั บ เคลื่ อ นชี วิ ต คริสตชนที่เป็นประจักษ์พยานในทุกมิติของชีวิต ในสังคม

11.2

เป็นหน้าที่ของพระสงฆ์ ที่จะต้องให้ความสำคัญ

เป็นอันดับแรกกับพิธีบูชาขอบพระคุณวันอาทิตย์ ในการทำให้พิธีกรรมมีความศักดิ์สิทธิ์ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งการเทศน์ประกาศพระวาจาและการฉลอง ศีลมหาสนิท ให้มีความหมายและคุณค่าต่อชีวิต คริสตชนในทุกกิจการอย่างแท้จริง

11.3

มุ่งให้คริสตชนมีส่วนในพิธีบูชาขอบพระคุณอย่าง มี ชี วิ ต ชี ว า จนเกิ ด ประสบการณ์ กั บ พระเจ้ า เพิ่มพูนความเชื่อ มีความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง

ยิ่ ง ๆ ขึ้ น ในความหมายและคุ ณ ค่ า ของพิ ธี บู ช า ขอบพระคุณ เพื่อให้เป็นบ่อเกิดและจุดสูงสุด (หลัก

ยึดและพลังของความกล้าหาญ)i ของชีวิตคริสตชน ครอบครัวและชุมชนวัด

เป้าหมายที่ 1 ชุมชนศิษย์พระคริสต์


12. 13.

11.4

ให้พระสงฆ์และสัตบุรุษร่วมกันทำให้วันอาทิตย์ เป็นการฉลองวันพระเจ้าอย่างแท้จริง เป็นการเติม พลังอย่างต่อเนื่องเพื่อการดำเนินชีวิตท่ามกลาง โลก อีกทั้งคำนึงถึงการสร้างบรรยากาศของความ เป็ น พี่ น้ อ งในชุ ม ชนวั ด โดยอาศั ย กิ จ กรรมต่ า งๆ เช่น การเรียนรู้ ไตร่ตรอง และแบ่งปันพระวาจา กิจกรรมกลุ่มพระพรพิเศษต่างๆii และกิจกรรมที่ เสริมสร้างชีวิตสนิทสัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียวกัน

พระวาจาและชีวิตภาวนาiii เป็นแก่นของการเสริมสร้าง และพัฒนาความเชื่อ มุ่งให้เป็นส่วนสำคัญของชีวิตประจำ วัน และเป็นหลักในการเสริมสร้างชีวิตจิตของศาสนบริกร คริ ส ตชน ครอบครั ว องค์ ก รคาทอลิ ก และกลุ่ ม พระพร พิเศษต่างๆ ของพระศาสนจักร ฟื้นฟูกระบวนการการอบรมความเชื่อ การสอนคำสอน และการอบรมต่อเนื่องของชีวิตคริสตชน ทั้งระบบอย่าง จริงจัง โดยมีแผนงานและคู่มือปฏิบัติชีวิตคริสตชนอย่าง เป็นรูปธรรม

เป้าหมายที่ 1 ชุมชนศิษย์พระคริสต์


เป้าหมายที่ 2 วิถีชุมชนวัด (BEC) เสริมสร้างชุมชนวัดให้เป็นชุมชนแห่งความเชื่อโดยมีพระ เยซูคริสตเจ้าเป็นศูนย์กลาง ประกอบด้วยชุมชนคริสต ชนย่อยๆ ด้วยการนำครอบครัวที่อยู่ ใกล้เคียงกัน หรือ กลุ่มอาชีพ หรือความสนใจเดียวกัน มารวมตัวกัน พัฒนา ความเชื่อให้เข้มแข็ง เป็นชุมชนที่อภิบาลกันและกัน ร่วม กั น เป็ น ประจั ก ษ์ พ ยานและประกาศพระคริ ส ตเจ้ า ใน หน้าที่การงานและชีวิตประจำวันท่ามกลางสังคมไทย

14. 15. 10

วิถีชุมชนวัดเป็ น เป้ า หมายและเครื่ อ งมื อ ที่ ส ำคั ญ ที่ สุ ด

เพื่อการอภิบาลชุมชนศิษย์พระคริสต์ โดยเริ่มจากการ เจริญชีวิตคริสตชนของแต่ละบุคคลในฐานะสมาชิกของ ครอบครัว กลุ่มองค์กร กลุ่มอาชีพ และสังคม ชีวิตแห่งพระตรีเอกภาพเป็นต้นแบบที่ครบครันที่สุดใน ความเป็นหนึ่งเดียว พระบุคคลที่แตกต่างกันทั้งสาม คือ พระบิดา พระบุตร และพระจิต รวมเป็นหนึ่งเดียวกันใน เป้าหมายที่ 2 วิถีชุมชนวัด (ฺBEC)


16.

“ความรัก” โดยทางพระเยซู และในพระเยซู ความรักของ

พระตรีเอกภาพนี้ได้เข้ามาในโลกอย่างเปี่ยมล้น ชีวิตของ บรรดาศิษย์พระคริสตเจ้า “ชุมชนศิษย์พระคริสต์” ตั้งแต่ สมัยแรกเริ่มก็ดำเนินชีวิตร่วมเป็นหนึ่งเดียวกัน... ร่วมพิธี บิขนมปังและอธิษฐานภาวนา...ผู้มีความเชื่อดำเนินชีวิต ร่ ว มกั น มี ทุ ก สิ่ ง เป็ น ของส่ ว นรวม.... เขาขายที่ ดิ น และ ทรัพย์สินอื่นๆ แบ่งเงินให้ทุกคนตามต้องการ และได้รับ ความนิยมจากประชาชนทุกคน องค์พระผู้เป็นเจ้าทรง ทำให้จำนวนผู้ที่ได้รับความรอดพ้นเพิ่มขึ้นทุกวัน (เทียบ กจ 2:42-46) กลุ่ ม ผู้ มี ค วามเชื่ อ ดำเนิ น ชี วิ ต เป็ น น้ ำ หนึ่ ง ใจ เดียวกัน ไม่คิดว่าสิ่งที่ตนมีเป็นกรรมสิทธิ์ของตน แต่ทุก

สิ่งเป็นของส่วนรวม.... ในกลุ่มของเขาไม่มีใครขัดสน.... (กจ 4:32-34)

พระเยซู เ จ้ า ทรงเปิ ด เผยให้ เ ราตระหนั ก ว่ า พระองค์

ปรารถนาที่ สุ ด ที่ จ ะเป็ น หนึ่ ง เดี ย วกั บ พระบิ ด าและพระ จิ ต เจ้ า และทรงปรารถนาที่จะเป็น หนึ่ ง เดี ย วกั บ ทุ ก คน โดยการแบ่งปันชีวิตของพระตรีเอกภาพเองให้แก่ทุกคน พระศาสนจักรทั้งสากลและพระศาสนจักรท้องถิ่น รวมทั้ง อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ จึงได้รับกระแสเรียกให้มุ่งสู ่

ชีวิตสนิทสัมพันธ์ ตามความหมายของคำภาษากรี ก

เป้าหมายที่ 2 วิถีชุมชนวัด (ฺBEC)

11


17. 18. 19. 12

“Koinonia” ในหนังสือกิจการอัครสาวกซึ่งหมายถึง “การ เป็นศิษย์ใกล้ชิดและร่วมชีวิตความเป็นหนึ่งเดียวกันอย่าง แท้จริง” กระแสเรียกของชุมชนพระศาสนจักรทั้งใหญ่น้อยเช่นนี้ จึงเป็นทั้งพระพรและเป็นภาระหน้าที่ (พันธกิจ) พวกเรา จึงต้องมุ่งปรารถนาในสิ่งที่พระเจ้าทรงปรารถนา นั่นคือ พวกเราทุกคน “เป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้าและกับเพื่อน

พี่ น้ อ งทุ ก คนจริ ง ๆ” ซึ่ ง ต้ อ งปรากฏเป็ น รู ป ธรรมใน “การรัก-รับใช้” ดั ง นั้ น ในฐานะศิ ษ ย์ ข องพระเยซู เ จ้ า เราทุกคนได้รับกระแสเรียกให้เป็นประจักษ์พยานความรัก ของพระตรีเอกภาพแก่สังคมและโลก ชุมชนแห่งความเชื่อที่ทรงพลังด้วยความรักและการรับใช้ แสดงให้เห็นอัตลักษณ์ที่มีเสน่ห์มากที่สุดของพระศาสนจักร ตั้งแต่เริ่มแรก โดยเหตุนี้ “วิถีชุมชนวัด” จึงเป็นเป้าหมาย และเครื่องมือที่สำคัญของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ กลุ่มคริสตชนย่อย ชุมชนวัด กลุ่มองค์กรต่างๆทั้งระดับ วั ด หรื อ สั ง ฆมณฑล และสถานศึ ก ษคาทอลิ ก จำต้ อ งมี

เป้าหมายที่ 2 วิถีชุมชนวัด (ฺBEC)


20. 21.

ลักษณะเป็นชุมชนของผู้มีความเชื่ออย่างเด่นชัด อีกทั้ง

เป็นเครื่องหมายถึงความเป็นหนึ่งเดียวอย่างน่าอัศจรรย์

ได้ เ สมอ เราจะมุ่ ง สร้ า งและพั ฒ นาชุ ม ชนวั ด อย่ า งเป็ น รูปธรรม ให้ทุกภาคส่วนของอัครสังฆมณฑลฯ ได้รับการ ปลู ก ฝั ง จิ ต สำนึ ก ความเป็ น ชุ ม ชนวั ด สร้ า งทั ก ษะเรื่ อ ง กระบวนการวิถีชุมชนวัด เพื่อสามารถสร้างวิถีชุมชนวัด

ที่ เ ปี่ ย มด้ วยความรักต่อกัน ปรากฎการประทั บ อยู่ ข อง พระเยซูเจ้าท่ามกลางชุมชนของพวกเราอย่างแท้จริง อั ค รสั ง ฆมณฑลกรุ ง เทพฯ จึ ง กำหนดงานอภิ บ าล

หลักในการสร้างและพัฒนาวิถีชุมชนวัด ดังต่อไปนี้ คือ จัดให้มีคณะทำงานรับผิดชอบ จัดการ กำกับดูแล ติดตาม และพัฒนาวิถีชุมชนวัดให้ก้าวหน้าอย่างเป็นขั้นตอน 21.1

มุ่งสร้างเอกภาพและปลุกจิตสำนึกในความเข้าใจ รวมทั้งสร้างผู้นำทุกระดับ ให้ใช้วิถีชุมชนวัดเป็น

แนวทางเจริญชีวิตเป็นชุมชนแห่งความรักกันฉัน พี่ น้ อ งเป็ น น้ ำ หนึ่ ง ใจเดี ย วกั น อั น นำไปสู่ ก าร ประกาศข่ า วดี ใ นทุ ก มิ ติ คื อ งานอภิ บ าลฟื้ น ฟู ชีวิตคริสตชน งานธรรมทูต งานคริสตศาสนจักร

เป้าหมายที่ 2 วิถีชุมชนวัด (ฺBEC)

13


สัมพันธ์ งานศาสนสัมพันธ์ และงานอภิบาลเชิง สังคมiv

21.2

สนับสนุนให้ผู้อภิบาล นักบวช ครูคำสอนและผู้นำ ชุมชน ได้รับการปลุกจิตสำนึก และสร้างทักษะ เรื่องกระบวนการวิถีชุมชนวัด จนกระทั่งสามารถ มีส่วนร่วมในการสร้างชุมชนวัดอย่างแท้จริงและ ต่อเนื่อง

22.

21.3

สนับสนุนให้สมาชิกของพระศาสนจักรเข้าใจอย่าง ถ่องแท้ ถึงพันธกิจการประกาศข่าวดี การสร้าง และพัฒนาชุมชนวัด รวมทั้งหน้าที่ต้อนรับคริสตชน ใหม่ในชุมชนวัดของตน ซึ่งมีกระบวนการรับผู้ใหญ่

เข้าเป็นคริสตชนv เป็นเครื่องมือสำคัญ

14

มุ่ ง ให้ ส ภาภิ บ าลระดั บ วั ด โดยการนำของพระสงฆ์ เจ้าอาวาส อีกทั้งกลุ่มองค์กร และกลุ่มกิจกรรมคาทอลิก

ต่างๆ มีส่วนร่วมในการทำหน้าที่อย่างจริงจังเพื่อส่งเสริม

วิถีชุมชนวัด หล่อเลี้ยงให้เติบโตอย่างเป็นรูปธรรม

เป้าหมายที่ 2 วิถีชุมชนวัด (ฺBEC)


ผู้อภิบาลและผู้ร่วมงานอภิบาล 23. 24.

พระคริสตเจ้านายชุมพาบาลที่ดีvi ต้นแบบชีวิตผู้อภิบาล ในพระศาสนจักร ผู้อภิบาลคือ พระสังฆราช พระสงฆ์และ สังฆานุกร ผู้ร่วมงานอภิบาลคือ นักบวช ครูคำสอน ผู้นำ กลุ่ ม คริ ส ตชน ฯลฯ ทั้ ง ผู้ อ ภิ บ าลและผู้ ร่ ว มงานอภิ บ าล จำเป็ น ต้ อ งเลี ย นแบบพระเยซู เ จ้ า นายชุ ม พาบาลที่ ดี ผู้ ส นพระทั ย ปกปั ก รั ก ษา ติ ด ตาม และอุ ทิ ศ ชี วิ ต ของ พระองค์เพื่อฝูงแกะ “เราเป็นผู้เลี้ยงแกะที่ดี ผู้เลี้ยงแกะ

ย่อมสละชีวิตเพื่อแกะของตน เรารู้จักแกะของเรา และ

แกะของเรารู้จักเรา” (ยน 10:11,14) ดังนั้น ผู้อภิบาลทั้งหลาย ในพระศาสนจักรจะต้องนำพระศาสนจักรให้เป็นแสงสว่าง ของสั ง คม กล้ า ทวนกระแสสั ง คมและค่ า นิ ย มฝ่ า ยโลก ด้วยคุณค่าแห่งพระวรสาร คือ รักและรับใช้ พร้อมที่จะ อุทิศตนเป็นพยานตามแบบอย่างของพระคริสตเจ้า “บุตร

แห่งมนุษย์มิได้มาเพื่อให้ผู้อื่นรับใช้ แต่มาเพื่อรับใช้ผู้อื่น

และมอบชีวิตของตนเป็นสินไถ่เพื่อมวลมนุษย์” (มก 10:45) ผู้อภิบาลและผู้ร่วมงานอภิบาลต้องได้รับการอบรม และ ฝึกฝนตนเองให้มีประสบการณ์ความเชื่อ เรียนรู้พระวาจา

เป้าหมายที่ 2 วิถีชุมชนวัด (ฺBEC)

15


25. 26. 16

ของพระเจ้าและคำสอนของพระองค์อย่างลึกซึ้ง มีชีวิต

สนิทสัมพันธ์กับพระคริสตเจ้าและพระศาสนจักร จนกระทั่ง สามารถเจริญชีวิตเป็นประจักษ์พยานถึงพระคริสตเจ้า

อย่างแท้จริงมากขึ้นทุกวัน ดังเช่นพระนางมารีย์แบบฉบับ

ของผู้ฟังพระวาจาและปฏิบัติตามvii ยิ่งกว่านั้นเขาจำเป็น

ต้องมีประสบการณ์ส่วนตัวกับพระเจ้าอย่างลึกซึ้ง จนกระทั่ง สามารถอุทิศชีวิตของตนเพื่อพระเจ้าและพระอาณาจักร ของพระองค์ เหมื อ นศิ ษ ย์ ก ลุ่ ม แรกที่ ไ ด้ สั ม ผั ส สภาวะ พระเจ้ า ของพระเยซู เ จ้ า ในการจั บ ปลาอย่ า งอั ศ จรรย์viii หรือประสบการณ์ของศิษย์สองคนที่เดินทางไปหมู่บ้าน เอมมาอูสix ในที่ สุ ด บรรดาผู้ อ ภิ บ าลและผู้ ร่ ว มงานอภิ บ าลสามารถ ร่ ว มกั น สร้ า ง และพั ฒ นาคริ ส ตชนกลุ่ ม ย่ อ ยให้ เ กิ ด เป็ น

รูปธรรมได้ตามเป้าหมาย อั ค รสั ง ฆมณฑลกรุ ง เทพฯ จึ ง กำหนดงานอภิ บ าล

หลักในการสร้างและพัฒนาผู้อภิบาลและผู้ร่วมงาน

อภิบาลดังต่อไปนี้ คือ เป้าหมายที่ 2 วิถีชุมชนวัด (ฺBEC)


27.

การอบรมเพื่ อ เป็ น ผู้ อ ภิ บ าล ต้ อ งมุ่ ง ให้ ผู้ รั บ การอบรม หยั่ ง รากลึ ก ถึ ง ประสบการณ์ พ ระเจ้ า ในชี วิ ต โดยมี พ ระ เยซูเจ้าเป็นต้นแบบอย่างแท้จริง จนกระทั่งผู้รับการอบรม สามารถเป็ น ประกาศกแท้ ผู้ เ ลี้ ย งแกะที่ ดี และสงฆ์ ผู้ศักดิ์สิทธิ์

27.1

ให้บิดามารดาและชุมชนวัด ได้รับการอบรมให้มี ความเชื่ อ มั่ น คง ตระหนั ก ในบทบาทของตนใน ฐานะเป็นกลุ่มบุคคลแรกที่จะถ่ายทอดความเชื่อ อภิบาลกระแสเรียกx ให้กับบุตรหลาน

27.2

ปฏิ รู ป การอบรมในบ้ า นเณรและบ้ า นอบรมทุ ก ระดั บ โดยมุ่ ง เน้ น การสร้ า งให้ ผู้ อ บรมและผู้ รั บ

การอบรม มีประสบการณ์กับพระเจ้าอย่างลึกซึ้ง ร่ ว มกั น อาศั ย พระวาจา ศี ล ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ และการ อธิษฐานภาวนา โดยให้ความสำคัญกับกระบวนการ การอบรมและบรรยากาศของบ้านอบรม ที่เอื้อต่อ

การเติบโตของชีวิตผู้อภิบาลอย่างแท้จริง

27.3 มุ่ ง ให้ ค วามร่ ว มมื อ เต็ ม ที่ ใ นการเตรี ย มผู้ ใ ห้ ก าร อบรมและอาจารย์สำหรับบ้านเณร และให้คณะ

เป้าหมายที่ 2 วิถีชุมชนวัด (ฺBEC)

17


28.

27.4 มีการอบรมต่อเนื่องที่เสริมสร้างและพัฒนาชีวิต

และทั ก ษะผู้ อ ภิ บ าล สู่ ส ถานะผู้ น ำชุ ม ชนศิ ษ ย์

พระคริสต์ที่เข้มแข็ง ให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างความเชื่อ ปลุกจิตสำนึก ให้ ผู้ ร่ ว มงานอภิ บ าลเข้ า ใจในบทบาทและหน้ า ที่ อ ย่ า ง ชัดเจน

28.1

สร้างผู้ร่วมงานอภิบาลเต็มเวลาและอาสาสมัครที่มี คุณภาพ เพื่อช่วยงานในวัดและสถานศึกษาในมิติ ต่างๆ ของพันธกิจพระศาสนจักร เฉพาะอย่างยิ่ง

การสร้างและพัฒนาวิถีชุมชนวัด

28.2

ส่ ง บุ ค ลากรของตนเข้ า รั บ การฝึ ก อบรม ขณะ เดี ย วกั น มุ่ ง ให้ มี เ อกภาพและสั ม พั น ธภาพใน การดำเนินชีวิตและปฏิบัติพันธกิจในการอภิบาล อี ก ทั้ ง เอาใจใส่ ดู แ ล สนั บ สนุ น ช่ ว ยเหลื อ และ พัฒนาบุคลากรเหล่านี้อย่างยั่งยืน

18

นั กบวชต่ างๆ ร่วมมือ สนั บสนุ น เต็ ม กำลั ง ความ สามารถ

เป้าหมายที่ 2 วิถีชุมชนวัด (ฺBEC)


ครอบครัว เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุและคริสตชนกลุ่มพิเศษต่างๆ 29. 30.

“พระเจ้ า ทรงสร้ า งมนุ ษ ย์ ต ามภาพลั ก ษณ์ ข องพระองค์

พระองค์ ท รงสร้ า งเขาตามภาพลั ก ษณ์ ข องพระเจ้ า

พระองค์ทรงสร้างให้เป็นชายและหญิง” (ปฐก 1:27) “เขาจึงมี

คุณค่าและศักดิ์ศรีในฐานะบุตรของพระเจ้าและร่วมเป็น หนึ่งเดียวกับพระกายของพระองค์”xi การพัฒนาบุคคลจะ ต้องเริ่มต้นจากการพัฒนาชีวิตซึ่งเป็นพระพรอันยิ่งใหญ่ ที่ พ ระเป็ น เจ้ า ทรงมอบให้ xii ดั ง นั้ น พระศาสนจั ก รทุ ก ภาคส่วนต้องร่วมมือกันปกป้อง ส่งเสริม พัฒนาคุณภาพ ชีวิต ศักดิ์ศรี และสิทธิของครอบครัว เด็ก เยาวชน สตรี ผู้ สู ง อายุ แ ละคริ ส ตชนกลุ่ ม พิ เ ศษต่ า งๆ ด้ ว ยการเสริ ม

โอกาสและพัฒนาศักยภาพ ให้มีความภูมิใจในศักดิ์ศรีการ เป็นมนุษย์ เป็นบุตรของพระเจ้า ตระหนักในบทบาทและ หน้าที่ของตน เพื่อให้บุคคลเหล่านั้นได้มีชีวิตและมีชีวิต

อย่างสมบูรณ์xiii ครอบครัว คือ พระศาสนจักรระดับบ้าน เป็นที่ซึ่งบิดา มารดาเป็ น บุ ค คลแรกที่ มี ห น้ า ที่ อ บรมและถ่ า ยทอด

เป้าหมายที่ 2 วิถีชุมชนวัด (ฺBEC)

19


31. 20

ความเชื่อ อาศัยการปฏิบัติศาสนกิจ พระวาจา และชีวิต

ภาวนา นอกจากนั้ น บิ ด ามารดายั ง ต้ อ งสนั บ สนุ น ให้

บุตรธิดารู้จักและตอบสนองกระแสเรียกของตน การเจริญ

ชี วิ ต ของสมาชิ ก ในครอบครั ว คริ ส ตชนที่ เ ป็ น ประจั ก ษ์ พยานถึงความเป็นศิษย์แท้ของพระเยซูคริสตเจ้า และ เป็นการ “ประกาศข่าวดี” ของพระองค์ในชีวิตประจำวัน ยิ่ ง ไปกว่ า นั้ น ครอบครั ว คริ ส ตชนยั ง ต้ อ งสะท้ อ นภาพ ความรักและความเป็นหนึ่งเดียว โดยมีต้นแบบในชีวิต

พระตรีเอกภาพ และมีแบบอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ครอบครัว

ศักดิ์สิทธิ์อันประกอบไปด้วยพระกุมารเยซู พระแม่มารีย์ และนักบุญโยเซฟ พระศาสนจักรปรารถนาให้บรรยากาศ และคุ ณ ค่ า ของครอบครั ว ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ เ ช่ น เดี ย วกั น นี้ เป็ น พระศาสนจักรระดับบ้านอย่างแท้จริงxiv พระศาสนจักรมีพันธกิจเสริมสร้างและสนับสนุนให้เด็ก และเยาวชน ได้รับการอบรมและพัฒนาหล่อเลี้ยงชีวิต

ด้วยคุณค่าพระวรสาร มีวุฒิภาวะในความเชื่อ เติบโตเป็น คริสตชนอย่างมีคุณภาพ เป็นคนดี มีคุณธรรม กล้าทวน กระแสสังคมและค่านิยมฝ่ายโลก เป็นประจักษ์พยานถึง

คุณค่าพระวรสารสามารถค้นพบและตอบสนองกระแสเรียก เป้าหมายที่ 2 วิถีชุมชนวัด (ฺBEC)


32. 33.

ของตน เพราะคริสตชนทุกคนได้รับการเชื้อเชิญและมี

ข้อผูกมัดให้แสวงหาความศักดิ์สิทธิ์ และความครบครัน ตามฐานะชีวิตของพวกเขาxv พระแม่ ม ารี ย์ เ ป็ น แบบอย่ า งที่ วิ เ ศษสุ ด สำหรั บ สตรี ทั้งหลาย พระนางเป็นแบบอย่างของการเป็นศิษย์ใกล้ชิด

พระคริ ส ตเจ้ า xvi และอยู่ ท่ า มกลางบรรดาศิ ษ ย์ ข อง พระคริ ส ตเจ้ า และพระแม่ ยั ง เป็ น แบบอย่ า งแก่ ส ตรี ทั้ ง หลายในฐานะผู้ รั บ ใช้ ข องพระเจ้ า xvii พระเยซู เ จ้ า ทรงเป็ น ผู้ ส นั บ สนุ น ศั ก ดิ์ ศ รี แ ท้ จ ริ ง ของบรรดาสตรี ดั ง ที่ ป รากฏในพระวรสาร จึ ง เป็ น หน้ า ที่ เ ดี ย วกั น ของ พระศาสนจักรในฐานะพระกายทิพย์ของพระคริสตเจ้า มี พั น ธกิ จ ในการส่ ง เสริ ม ศั ก ยภาพและพั ฒ นาคุ ณ ภาพ ชี วิ ต ของสตรีให้มีศักดิ์ศรีตามพระประสงค์ ข องพระเจ้ า มี บ ทบาทและมี ส่ ว นร่ ว มในพั น ธกิ จ ของพระศาสนจั ก ร ทุกระดับ ในโลกปั จ จุ บั น อั ต ราของผู้ สู ง อายุ มี จ ำนวนเพิ่ ม ขึ้ น พระศาสนจักรจึงต้องมีความตระหนักถึงความจำเป็นใน พันธกิจของตนที่จะต้องเอาใจใส่ อภิบาลดูแลพวกเขาเป็น

เป้าหมายที่ 2 วิถีชุมชนวัด (ฺBEC)

21


34. 22

พิเศษ เพื่อมุ่งให้พวกเขาได้เจริญชีวิตอย่างมีคุณค่าและ ศักดิ์ศรีแท้จริง เพราะผู้สูงอายุเป็นสัญลักษณ์ของผู้ฉลาด รอบรู้และยำเกรงพระเจ้าxviii เป็นประจักษ์พยานถึงข้อ

ความเชื่ อซึ่งถ่ายทอดสืบต่อกันมาทั้ ง ในพระศาสนจั ก ร และสังคม และเป็นครูผู้ให้บทเรียนชีวิต xix นอกจากนั้น พระศาสนจักรควรเสริมคุณค่า และเปิดโอกาสให้บรรดา ผู้สูงอายุหรือเกษียณจากอาชีพ ซึ่งถือว่าเป็นภูมิปัญญา ล้ ำ ค่ า ของสั ง คม ให้ ไ ด้ เ ข้ า มามี บ ทบาทและร่ ว มในการ ประกาศข่าวดีตามศักยภาพ “แต่ละคนได้รับพระคุณจาก

พระเจ้า จงใช้พระคุณนั้นให้เกิดประโยชน์แก่กันและกัน

ประดุจคนใช้ที่ดีในการจัดการแจกจ่ายพระคุณต่างๆ ของ

พระเจ้า” (1ปต 4:10) พระศาสนจักรมีความตระหนักถึงบทบาทของตน ในการ นำมนุษย์และโลกไปสู่ความดีของส่วนรวมและสิทธิส่วน บุคคลxx ในสภาพสังคมปัจจุบัน พระศาสนจักรกำลังถูก

เรี ย กร้ อ งและท้ า ทายด้ ว ยจำนวนและรู ป แบบของผู้ ที่ ต้องการการอภิบาลพิเศษต่างๆ ที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น ดังนั้นพระศาสนจักรจึงต้องให้ความสำคัญกับการอภิบาล ดูแลสมาชิกในกลุ่มพิเศษต่างๆ เช่น คริสตชนที่ห่างวัด เป้าหมายที่ 2 วิถีชุมชนวัด (ฺBEC)


35. 36.

คู่สมรสแบบต่างฝ่ายต่างถือความเชื่อของตน ผู้อพยพ และแรงงานย้ายถิ่น กลุ่มชาติพันธุ์ ผู้ถูกเอารัดเอาเปรียบ ผู้ถูกล่วงละเมิด ผู้พิการ ผู้ถูกคุมขัง ผู้เจ็บป่วย ฯลฯ อย่าง เข้มแข็งยิ่งขึ้น อั ค รสั ง ฆมณฑลกรุ ง เทพฯ จึ ง กำหนดงานอภิ บ าล

หลั ก ในการอภิ บ าลครอบครั ว เด็ ก เยาวชน สตรี

ผู้ สู ง อายุ และคริ ส ตชนกลุ่ ม พิ เ ศษต่ า งๆ โดยให้ มี

สนามและฐานสำคั ญ อยู่ ใ นชุ ม ชนวั ด และโดยวิ ถี

ชุมชนวัดดังต่อไปนี้ คือ ที ม อภิ บ าลระดั บ สั ง ฆมณฑลและระดั บ วั ด มี ค วามเชื่ อ ความรักและความหวัง พร้อมทั้งมีความรู้ ความเข้าใจ และ ทักษะในงานและบทบาทงานอภิบาลกลุ่มต่างๆ โดยเฉพาะ

36.1 สร้างทีมอภิบาลระดับสังฆมณฑล และระดับวัด อย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม

36.2

สร้ า งระบบเครื อ ข่ า ย และการประสานสั ม พั น ธ์ ในการติดตาม ช่วยเหลือ และสนับสนุนทีมงาน อภิ บ าลให้ มี ค วามมั่ น คงและเติ บ โตทั้ ง ทางด้ า น จิตวิญญาณและการดำรงชีพ

เป้าหมายที่ 2 วิถีชุมชนวัด (ฺBEC)

23


37.

แผนงานอภิบาลระดับสังฆมณฑลและวัด ครอบคลุมถึง การอภิบาลครอบครัว เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุและ คริ ส ตชนกลุ่ ม พิ เ ศษต่ า งๆ ที่ มี อ ยู่ ใ นสั ง ฆมณฑล เขต หรือวัด

37.1 เน้ น การอภิ บ าลครอบครั ว เด็ ก เยาวชน สตรี โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง การอบรมเตรี ย มสู่ ชี วิ ต

ครอบครัวและการอภิบาลครอบครัวต่อเนื่อง

37.2

24

เน้ น ให้ แ ผนงานอภิ บ าล สนองตอบต่ อ สิ่ ง ใหม่ ที่ เกิดขึ้นในสภาพสังคมปัจจุบันที่ส่งผลกระทบต่อ

ชีวิตคริสตชน เท่าทันการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้าน สังคม เศรษฐกิจ การเมือง และสิ่งแวดล้อม ซึ่ง

ต้องการการอภิบาลอย่างพิเศษและทันต่อเหตุการณ์

เป้าหมายที่ 2 วิถีชุมชนวัด (ฺBEC)


เป้าหมายที่ 3 การประกาศความรัก และความเมตตาของพระเจ้า พันธกิจหลักของพระศาสนจักรเพื่อการประกาศความรัก และความเมตตาของพระเจ้า คือ งานอภิบาล งานธรรมทูต งานด้ า นสั ง คมและกิ จ เมตตา งานการศึ ก ษา งาน คริสตศาสนจักรสัมพันธ์/ศาสนสัมพันธ์ และงานสื่อสาร สังคม

38.

การเป็นศิษย์พระคริสต์ หมายถึงชุมชนแห่งความเชื่อที่ม ี

ชี วิ ต และมี พ ลั ง แห่ ง ความรั ก และการรั บ ใช้ เ ป็ น ชุ ม ชนที ่

เปี่ ย มด้ ว ยความร่ ว มมื อ เป็ น น้ ำ หนึ่ ง ใจเดี ย วกั น โดยมี พระคริสตเจ้าเป็นศูนย์กลาง ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่าเมื่อมี

ชี วิ ต ของพระคริ ส ต์ ก็ ย่ อ มต้ อ งมี พั น ธกิ จ ของพระคริ ส ต์

เช่ น กั น และพั น ธกิ จ สำคั ญ คื อ การ “แบ่ ง ปั น ขุ ม ทรั พ ย์ สุดประเสริฐ” การประกาศข่าวดีแห่งความรักที่พระเจ้า ทรงประทานให้แก่โลกนั่นเอง (เทียบ ยน 3:16)

เป้าหมายที่ 3 การประกาศความรักและความเมตตาของพระเจ้า

25


39. 40. 26

พระเยซูเจ้าเสด็จมาเพื่อฟื้นฟูเราทุกคนขึ้นใหม่ในความรัก ของพระเจ้า พระองค์เจริญชีวิตสิ้นพระชนม์และกลับคืน พระชนม์ เพื่ อ ทำให้ เ ราสามารถกลั บ คื น ดี กั บ พระเจ้ า พระบิดา และสามารถหยั่งรากลึกในความรักของพระเจ้า ได้อย่างแท้จริง เมื่อพระเยซูเจ้าเสด็จสู่สวรรค์ พระองค์ ได้ทรงส่งพระจิตเจ้ามายังบรรดาศิษย์ ทรงมอบพันธกิจให้

กับบรรดาศิษย์ (เทียบ ยน. 5:12-17) จุดประสงค์เพื่อนำให้มนุษย์

ทั้งมวลสามารถมีชีวิตนิรันดร และพระจิตเจ้าทรงทำให้ เราคริสตชนทุกคนสามารถแบ่งปันข่าวดีแห่งความรักให้ ผู้อื่นได้ และนี่คือพันธกิจที่เราคริสตชนต้องร่วมกันปฏิบัติ สมาชิกของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯทุกคนต้องตระหนัก

ถึง “พันธกิจการประกาศความรักและความเมตตาของ พระเจ้า” และมีส่วนร่วมในพันธกิจแบ่งปันข่าวดี ในบริบท ของอัครสังฆมณฑลฯ ด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ฯลฯ ซึ่งกำลังท้าทายและเรียกร้องเราอย่างมาก ให้ต้อง ร่วมพันธกิจแบ่งปันข่าวดีแห่งความรักของพระเจ้า เพราะ เหตุว่า “พระเจ้าทรงเป็นความรัก” (Deus Caritas Est) เราต้ อ งทำให้ สั ง คมมี ค วามหวั ง ในความรอดพ้ น (Spe Salvi) และสร้างพระอาณาจักรของพระเจ้า คือ อาณาจักร เป้าหมายที่ 3 การประกาศความรักและความเมตตาของพระเจ้า


41.

แห่งความรัก ความยุติธรรม สันติสุขและความชื่นชมยินดี ให้เด่นชัด สังคมยังร้องหาการพัฒนามนุษย์ในทุกๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านศักดิ์ศรีและความเป็นมนุษย์ที่ต้อง ได้รับการพัฒนาด้วยความรักในความจริง (Caritas in Veritate) อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ จึงกำหนดแผนงานประกาศ

และแบ่งปันข่าวดี ดังต่อไปนี ้

ประจักษ์พยานของคริสตชน

42.

สมาชิกของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ กล้าเป็นประจักษ์

พยานถึงข่าวดีด้วยการดำเนินชีวิตทุกขณะจิต ทุกเวลา ทุกโอกาส ทุกสถานที่ (ทุกมิติ) ประกาศความรักมั่นคง และความเมตตาของพระเจ้า

42.1

สมาชิกของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ทุกคนให้ ความสำคัญกับการแสวงหาความรู้ ความเข้าใจ และความรักต่อพระวาจาของพระเจ้าในพระคัมภีร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิบัติตามพระวาจาอย่าง

เป้าหมายที่ 3 การประกาศความรักและความเมตตาของพระเจ้า

27


42.2

แท้ จ ริ ง เพื่ อ หยั่ ง รากลึ ก และมี ป ระสบการณ์ พระเจ้า สามารถเจริญชีวิตในความสัมพันธ์หนึ่ง เดียวกับพี่น้องคริสตชน กล้าประกาศความรักของ พระเจ้าและเป็นประจักษ์พยานชัดเจนถึงการเป็น

ศิษย์แท้ของพระเยซูเจ้า ด้วยการปฏิบัติความรัก และความเมตตาต่อพี่น้องรอบข้างในสังคม ให้ความสำคัญอย่างจริงจังในการติดตามคริสตชน ที่ ล ะเลยความเชื่ อ และ/หรื อ ละทิ้ ง การปฏิ บั ต ิ

ศาสนกิจ ให้กลับมาสู่ครอบครัวของพระศาสนจักร ด้วยการต้อนรับอย่างเปิดใจและชื่นชมยินดี

ธรรมทูต

43. จิตตารมณ์ธรรมทูตเป็นธรรมชาติของพระศาสนจักร และ เป็ น พั น ธกิ จ ที่ ไ ด้ รั บ มอบหมายจากพระคริ ส ตเจ้ า เพื่ อ

ความรอดพ้นของมนุษย์ทุกคน 28

43.1 ปลุกจิตสำนึกจิตตารมณ์ธรรมทูตแก่สมาชิกของ พระศาสนจักรทุกคน โดยเริ่มตั้งแต่วัยเด็กเป็นต้น ไป เป็นพิเศษสำหรับผู้เตรียมตัวเป็นผู้อภิบาลและ เป้าหมายที่ 3 การประกาศความรักและความเมตตาของพระเจ้า


ผู้ ร่ ว มอภิ บ าลในพระศาสนจั ก รอย่ า งจริ ง จั ง และ ต่อเนื่องตามแบบอย่างของนักบุญเปาโล บุญราศี

ชาวไทยและบรรดาธรรมทูต

44.

43.2 ส่ ง เสริ ม กระแสเรี ย กการเป็ น ธรรมทู ต อย่ า งเป็ น กระบวนการ ที่มีการฝึกอบรมรองรับ ทุ่ ม เทสรรพกำลั ง ของพระศาสนจั ก รเพื่ อ งานธรรมทู ต อย่างมีเอกภาพ โดยมุ่งเน้นการก่อตั้งชุมชนแห่งความ เชื่อใหม่ๆ ขึ้นเสมอ ทั้งนี้จำเป็นต้องให้ความเคารพ อย่าง จริ ง ใจต่ อ คุ ณ ค่ า ทางศาสนา วั ฒ นธรรมและประเพณี อันดีงามของท้องถิ่น (inculturation)

44.1 กำหนดให้ มี ที ม งานธรรมทู ต อย่ า งเป็ น รู ป ธรรม ทั้งในระดับสังฆมณฑลและระดับวัด

44.2

กำหนดให้มีแผนงานธรรมทูตและหลักสูตรอบรม ระยะสั้ น และระยะยาว โดยมุ่ ง เน้ น การประกาศ ข่ า วดี เ บื้ อ งต้ น xxi และเทววิ ท ยาเรื่ อ งความเป็ น หนึ่ ง เดี ย ว xxii ให้ เ ป็ น คำสอนพื้ น ฐานอั น สำคั ญ อันจะนำไปสู่การเจริญชีวิตที่เป็นประจักษ์พยาน และการประกาศข่าวดี

เป้าหมายที่ 3 การประกาศความรักและความเมตตาของพระเจ้า

29


45. 46. 30

44.3

สนับสนุนและให้ความสำคัญกับกิจการของคณะ ธรรมทู ต ไทยรวมทั้ ง มุ่ ง ให้ ก ลุ่ ม องค์ ก รคาทอลิ ก

ต่ า งๆ ของอั ค รสั ง ฆมณฑลฯได้ รั บ การฟื้ น ฟู จิตตารมณ์ธรรมทูตอย่างจริงจัง

คริสตจักรศาสนสัมพันธ์ ศาสนสัมพันธ์ และการเข้าสู่วัฒนธรรม พระศาสนจั ก รเป็ น เครื่ อ งหมายและเครื่ อ งมื อ ประกาศ พระอาณาจักรของพระเจ้า ศิษย์ทุกคนของพระองค์เป็น

เกลือดองแผ่นดินและแสงสว่างส่องโลกxxiii จึงมีพันธกิจ สำคัญในการประกาศและแบ่งปันข่าวดี ทั้งแก่ผู้ที่ยังไม่

ได้รับความเชื่อและผู้ที่ยังไม่อยู่ในฝูงแกะเดียวกันxxiv “คริ ส ตศาสนจั ก รสั ม พั น ธ์ ” คริ ส ตชนมี ส ายสั ม พั น ธ์ แ ห่ ง ความเชื่อ ความเชื่อในพระคริสตเจ้าและพระวาจาของ พระองค์ต้องเป็นศูนย์รวมของความพยายามที่จะเสวนา และร่ ว มมือกัน เพื่อประกาศข่าวดี ใ นสั ง คมไทยอย่ า งมี

เอกภาพ เป้าหมายที่ 3 การประกาศความรักและความเมตตาของพระเจ้า


47. 48.

46.1

อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ปรารถนาฟื้นฟูเอกภาพ ของพระศาสนจั ก รของพระคริ ส ตเจ้ า ระหว่ า ง คริสตชนนิกายต่างๆxxv โดยมุ่งให้ความสนใจและ เอาใจใส่ต่อพี่น้องคริสตชนนิกายอื่น สวดภาวนา ให้ แ ก่ เ ขา พู ด กั บ เขาถึ ง เรื่ อ งพระศาสนจั ก รและ ก้าวเข้าไปหาเขาก่อนxxvi

“ศาสนสัมพันธ์” โดยอาศัยการเสวนาระหว่างคริสตชน คาทอลิกกับพี่น้องต่างความเชื่อ เป็นการแบ่งปันข่าวดี ด้วยความสนใจ ห่วงใย แบ่งปันและอยู่ร่วมกับพี่น้องทุก

ศาสนา ทุ ก วั ฒ นธรรมอย่ า งสั น ติ เคารพศั ก ดิ์ ศ รี ค วาม เป็ น มนุ ษ ย์ เพื่ อ สรรค์ ส ร้ า งอาณาจั ก รของพระเจ้ า อั ค รสั ง ฆมณฑลกรุ ง เทพฯ จึ ง มุ่ ง ส่ ง เสริ ม วิ ถี ชุ ม ชนที่ ม ี

รากฐานบนจิตตารมณ์รักและรับใช้ เพื่อมีชีวิตชิดสนิทเป็น หนึ่งเดียวกับพี่น้องต่างความเชื่อ ชาติพันธุ์ วัฒนธรรม ด้วยความเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และสามารถอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข “การเข้าสู่วัฒนธรรม” (inculturation) อัครสังฆมณฑล กรุงเทพฯ ปรารถนาเสริมสร้างชุมชนคริสตชน โดยยึด

เป้าหมายที่ 3 การประกาศความรักและความเมตตาของพระเจ้า

31


คุ ณ สมบั ติ ท างวั ฒ นธรรมของชาติ ไ ว้ ในขณะที่ ส ร้ า ง จิตตารมณ์พระวรสารให้เข้มแข็งxxvii ให้ความเคารพชื่นชม ธรรมเนียมประเพณีต่างๆ อันเป็นขุมทรัพย์ที่พระเจ้าทรง มอบไว้ให้แก่พวกเขาxxviii จนกลายเป็นวิถีชีวิต

49.

48.1

32

อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ จึงมุ่งรื้อฟื้นและประกาศ คุณค่าที่ดีงามของครอบครัวไทย เคารพวัฒนธรรม และวิถีชีวิตดีงามที่พบได้ในชุมชนวัดแต่ละท้องถิ่น มุ่งให้ชุมชนวัดเป็นที่ซึ่งมีการอบรมคุณค่าศาสนา วัฒนธรรมและเคารพวิถีชีวิตที่งดงามของพี่น้อง ร่วมสังคมไทยทุกคน ตลอดจนภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่ มี คุ ณ ค่ า โดยตระหนั ก ว่ า การเสวนาระหว่ า ง วัฒนธรรมเป็นการสร้างอารยธรรมแห่งความรัก และสันติภาพxxix

พระเจ้ า ทรงเรี ย กคริ ส ตชนทุ ก คน ให้ ช่ ว ยเหลื อ เพื่ อ น ร่วมโลกให้สัมผัสความรักและความเมตตาของพระเจ้า

ด้วยจิตตารมณ์พระวรสารxxx พระศาสนจักรจะไม่สามารถ บรรลุเป้าหมายในการประกาศข่าวดีได้ หากมวลคริสตชน ไม่ได้รับฟังด้วยดวงใจ และร่วมในความทุกข์ยากและใน ความหวังของทุกคนที่กำลังรอคอยความรอดพ้น เป้าหมายที่ 3 การประกาศความรักและความเมตตาของพระเจ้า


49.1

อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ จึงจัดทำแผนงานที่เริ่ม

ตั้งแต่เด็กและเยาวชนขึ้นไป ในด้านคริสตศาสนจักร สัมพันธ์ ศาสนสัมพันธ์และการเข้าสู่วัฒนธรรมให้ ชัดเจน เพื่อสามารถนำไปสร้างกิจกรรมในระดับ

ท้องถิ่นได้

49.2 สร้างทีมผู้รับผิดชอบประจำสังฆมณฑลอย่างจริงจัง

49.3

49.4 สร้างโอกาสให้มีการพบปะเยี่ยมเยียน สร้างความ สัมพันธ์กับผู้นำศาสนาต่างๆ ในเขตสังฆมณฑล และเขตวัด

จัดการอบรมและศึกษาวิจัยให้มีความเชี่ยวชาญ และสร้ า งผู้ เ ชี่ ย วชาญ รวมทั้ ง จั ด ทำคู่ มื อ หรื อ แนวทางการทำงานด้านคริสตศาสนจักรสัมพันธ์ ศาสนสัมพันธ์และการเข้าสู่วัฒนธรรม รวมทั้งมี

การติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่องและจริงจัง

รักและรับใช้สังคมโลก

50. พระเจ้าทรงสร้างมนุษย์มาตามภาพลักษณ์ของพระองค์ และทรงมอบให้มนุษย์ดูแลสิ่งสร้างต่างๆxxxi ซึ่งหมายถึง เป้าหมายที่ 3 การประกาศความรักและความเมตตาของพระเจ้า

33


51. 52. 34

มนุ ษ ย์ ทุ ก คนมี ศั ก ดิ์ ศ รี เ ท่ า เที ย มกั น ในความเหมื อ น พระเจ้า และมีความรับผิดชอบต่อโลกและสิ่งสร้างตาม พระประสงค์ของพระองค์ ศิษย์พระคริสต์คือผู้ที่ตระหนัก

ในพระพรแห่งความรักที่สำเร็จสมบูรณ์ในองค์พระเยซู จึงมีพันธกิจสืบสานงานไถ่กู้ของพระคริสตเจ้าให้เป็นจริง ในโลกนี้ โดยเสริมสร้างพระอาณาจักรพระเจ้า “พระเจ้าทรงเป็นความรัก” (1 ยน 4:8) ความรักเป็นหัวใจและ รากฐานของชีวิต และพันธกิจของพระศาสนจักรในทุกๆ มิติ ซึ่งเห็นเด่นชัดในกิจเมตตาและคำสอนด้านสังคมของ พระศาสนจักร พระศาสนจักร มีพันธกิจแห่งความรักเมตตา และเป็น มโนธรรมของสังคม xxxii พระศาสนจักรจึงถือเป็นหน้าที่ สำคัญที่จะต้องผลักดัน รณรงค์ ให้ข้อคำสอน และชี้แนะ เพื่อให้เกิดความตระหนักในคุณค่าและศักดิ์ศรีที่เท่าเทียม กั น ของมนุ ษ ย์ ให้ ไ ด้ เ ห็ น องค์ พ ระเยซู ค ริ ส ต์ ผู้ ด ำรงอยู่ ในมนุษย์ทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้รอโอกาสในสังคม ผู้อพยพ ชนพื้นเมือง ชนเผ่าต่างๆ สตรี และเด็กxxxiii เป้าหมายที่ 3 การประกาศความรักและความเมตตาของพระเจ้า


52.1

อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ พร้อมที่จะรักและรับใช้ เพื่อนพี่น้องในทุกสภาพการณ์ มุ่งมั่นสุดกำลังใน ทุ ก รู ป แบบที่ จ ะทำให้ เ กิ ด กระแสวั ฒ นธรรมแห่ ง ความรักและการแบ่งปัน ความยุติธรรมและสันติสุข อย่างแท้จริงในสังคม

52.3

ส่ ง เสริ ม ให้ ส มาชิ ก ทุ ก ภาคส่ ว น ทุ ก กลุ่ ม วิ ช าชี พ กล้าที่จะประกาศคุณค่าของคำสอนด้านสังคมของ พระศาสนจักร ใช้หลักธรรมาภิบาลเป็นพื้นฐาน สำคัญในการดำเนินชีวิต เพื่อเป็นมโนธรรมที่ถูกต้อง แท้จริง เป็นต้นแบบทางด้านธรรมาภิบาล และมี ส่วนร่วมอย่างแข็งขัน ในด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม การดูแลรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

52.3

อบรมให้คริสตชนมีความรู้คำสอนด้านสังคมของ พระศาสนจักรอย่างถ่องแท้ สามารถดำเนินชีวิต ตามคุณค่าคำสอนนั้น อาทิ เรื่องศักดิ์ศรีและคุณค่า

ของชีวิตมนุษย์และสิ่งสร้าง

52.4 ประสานสัมพันธ์ในระดับชุมชนวัด เขตและอัคร สังฆมณฑลฯ ในการจัดหา แบ่งปันทรัพยากรและ ปัจจัยต่างๆ เพื่องานด้านสังคมของพระศาสนจักร

เป้าหมายที่ 3 การประกาศความรักและความเมตตาของพระเจ้า

35


53. 36

52.5 52.6

จัดทำแผนงานด้านสังคม ระดับสังฆมณฑลและ ระดั บ วั ด โดยมี ผู้ รั บ ผิ ด ชอบอย่ า งเป็ น รู ป ธรรม ชัดเจน และมีวัดนำร่องในงานด้านสังคมด้วย มุ่งใช้กิจกรรมเพื่อสังคมของพระศาสนจักรในทุก

รู ป แบบ เช่ น งานเมตตาสงเคราะห์ (Caritas) งานด้านยุติธรรมและสันติ สหกรณ์เครดิตยูเนียน สมาคมนักบุญวินเซนเดอปอล นักธุรกิจคาทอลิก และกิจกรรมเพื่อสังคมอื่นๆ ที่ทันต่อเหตุการณ์ ปัจจุบันอย่างเป็นรูปธรรม

เทคโนโลยีและการสื่อสาร เทคโนโลยี แ ละการสื่ อ สารเป็ น พระพรของพระเจ้ า เพื่ อ

ความเจริ ญ ก้ า วหน้ า และเพื่ อ ช่ ว ยให้ ม นุ ษ ย์ เ ป็ น หนึ่ ง

เดียวกันxxxiv ช่วยเสริมสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลใน ทุกระดับ จึงเป็นเครื่องมือที่ทรงพลัง สามารถเข้าถึงคนได้

รวดเร็วและทุกระดับ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งใน ความเชื่อ คุณค่า วัฒนธรรม สังคมและพฤติกรรมอย่าง ง่ายดาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กและเยาวชน ดังนั้น เป้าหมายที่ 3 การประกาศความรักและความเมตตาของพระเจ้า


54.

ทุกภาคส่วน จำต้องรู้จักและนำเทคโนโลยีและการสื่อสาร มาใช้ในด้านงานอภิบาลและการประกาศข่าวดี จึงถือเป็น สิ่งสำคัญที่พระศาสนจักรต้องมุ่งสนับสนุน ส่งเสริม และ พัฒนาอย่างจริงจัง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

54.1 ใช้สื่อและเทคโนโลยีทุกรูปแบบเพื่อประกาศข่าวดี

ด้วยความรอบคอบ และรู้เท่าทันถึงศักยภาพและ ผลกระทบของสื่อ

54.2

มุ่งให้ผู้อภิบาลและผู้ร่วมอภิบาลได้รับการอบรม ให้ ส ามารถอภิ บ าลและประกาศข่ า วดี อ ย่ า งมี ประสิทธิภาพ เลือกใช้สื่อใหม่ (new media) ได้

อย่างเหมาะสม

54.3

ส่ ง เสริ ม ให้ ทุ ก ภาคส่ ว นเห็ น ความสำคั ญ ของ สื่อศึกษา สามารถเป็นมโนธรรมให้แก่สังคม เตือน ให้มีสติ เพื่อไม่ตกเป็นเหยื่อของกระแสสังคมใน ทุกรูปแบบ สามารถควบคุม และแยกแยะความ ถูกผิดได้

อั ค รสั ง ฆมณฑลกรุ ง เทพฯ จึ ง กำหนดงานอภิ บ าล

หลั ก เรื่ อ งสื่ อ คาทอลิ ก เครื่ อ งมื อ สำคั ญ เพื่ อ การ

อภิบาลและการประกาศข่าวดี ดังต่อไปนี ้

เป้าหมายที่ 3 การประกาศความรักและความเมตตาของพระเจ้า

37


54.4

สร้างบุคลากรที่มีความสามารถในการผลิตสื่อที่ดี มี คุ ณ ภาพ สร้ า งสรรค์ และถู ก ต้ อ งตามหลั ก ความเชื่ อ และข้ อ คำสอน และตอบสนองความ ต้องการของแต่ละกลุ่มเป้าหมาย

55.

54.5

ส่ ง เสริ ม ให้ ส มาชิ ก ของพระศาสนจั ก รทุ ก ระดั บ สามารถเข้าถึงสื่อและสิ่งพิมพ์คาทอลิก เพื่อการ มี ส่ ว นร่ ว มในชี วิ ต และกิ จ กรรมต่ า งๆ ของพระ ศาสนจักร

38

สื่ อ มวลชนคาทอลิ ก ยั ง มี ห น้ า ที่ ผ ลิ ต รายการ ให้ ค วาม ร่วมมือ และสร้างเครือข่ายกับสื่อมวลชนต่างๆ เพื่อการ อภิ บ าลและการประกาศข่ า วดี อี ก ทั้ ง เป็ น เสี ย งให้ แ ก่

ผู้ไร้เสียง ส่งเสริมสนับสนุนคุณค่าและวัฒนธรรมอันดีงาม ของสังคม

เป้าหมายที่ 3 การประกาศความรักและความเมตตาของพระเจ้า


เป้าหมายที่ 4 สถานศึกษาคาทอลิก สนาม และฐานการประกาศข่าวดี เพื่อทุกคนจะรู้จักพระคริสตเจ้าและความรักของพระองค์ อาศัยการศึกษาอบรมความเชื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชน จนกระทั่งพระวรสารหยั่งรากลึกลงไปในสติ ปัญญาและ ชีวิตของทุกคน 56.

สนามและฐานการประกาศข่าวดี ครอบครัวแห่งนาซาเร็ธ ซึ่งประกอบด้วย พระเยซู พระแม่ มารี ย์ แ ละนั ก บุ ญ ยอแซฟ คื อ ต้ น แบบของสถานศึ ก ษา คาทอลิ ก เพราะเป็ น สถานที่ พ ระคริ ส ตเจ้ า ทรงเจริ ญ

พระชนม์ขึ้นด้วยความรักและความเอาใจใส่ ณ ครอบครัว

แห่ ง นาซาเร็ ธ นี้ เ อง พระเยซู ค ริ ส ตเจ้ า ทรงเปี่ ย มด้ ว ย พระปรีชาญาณของพระเจ้า (เทียบ ลก 2:39-40)

เป้าหมายที่ 4 สถานศึกษาคาทอลิก สนาม และฐานการประกาศข่าวดี

39


57. 58. 59. 40

อั ค รสั ง ฆมณฑลกรุ ง เทพฯมี โ อกาสดี ที่ มี ส ถานศึ ก ษา จำนวนหนึ่ ง ที่ เ ป็ น พระพรและเป็ น ความภู มิ ใ จของอั ค ร สั ง ฆมณฑลฯ จึ ง ควรต้ อ งทำให้ ส ถานศึ ก ษาคาทอลิ ก

ทุ ก ระดั บ แสดงอั ต ลั ก ษณ์ ข องตนให้ เ ด่ น ชั ด โดยมี พ ระ คริ ส ตเจ้ า เป็ น รากฐาน มุ่ ง ให้ เ ป็ น สนามและฐานแห่ ง

การประกาศข่าวดีแก่ทุกคน สร้างบรรยากาศคาทอลิก สอนคำสอน ปลู ก ฝั ง ความเชื่ อ ผสมผสานวั ฒ นธรรม กั บ ความเชื่ อ และความเชื่ อ กั บ ชี วิ ต และเน้ น การ บริหารจัดการหลักสูตรทั้งในและนอกระบบ ที่เปี่ยมด้วย คุณธรรมจริยธรรมตามคุณค่าพระวรสาร การศึกษาอบรมแบบคาทอลิก มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนา มนุษย์ในทุกมิติตามแบบอย่างครอบครัวแห่งนาซาเร็ธ

ด้วยบรรยากาศของความรักและความเอาใจใส่ ดังนั้น ผู้บริหาร ครู บุคลากร นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน ต้ อ งร่ ว มกั น ส่ ง เสริ ม และพั ฒ นาศั ก ดิ์ ศ รี คุ ณ ค่ า และ ปรีชาญาณ รวมทั้งเน้นการช่วยเหลือเด็กยากจน ผู้รอ โอกาส และเด็กพิการให้ได้รับการศึกษา ให้สถานศึกษาในอัครสังฆมณฑลฯ ทุกระดับ เป็นสนาม แห่งการอบรมและเป็นฐานเพื่อการประกาศข่าวดี อาศัย

เป้าหมายที่ 4 สถานศึกษาคาทอลิก สนาม และฐานการประกาศข่าวดี


60.

การศึกษาอบรมความเชื่อ การพัฒนาเด็กเยาวชนในเรื่อง การศึกษา จริยธรรมและศีลธรรม และการเสวนาฯ เป็น

ประตูเปิดไปสู่พระพรพระหรรษทาน เพื่อให้พระวรสาร หยั่ ง รากลึ ก ลงไปในสติ ปั ญ ญาและชี วิ ต ของทุ ก คนจน กระทั่งสามารถเป็นทั้งเครื่องหมายและเครื่องมือประกาศ ข่าวดี

60.1

60.2 จัดให้มีฝ่ายจิตตาภิบาลในคณะกรรมการบริหาร จั ด การศึ ก ษาในสถานศึ ก ษาคาทอลิ ก เพื่ อ ทำ

อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ จึงกำหนดงานอภิบาลหลัก

ในการศึกษาอบรมแบบคาทอลิก ดังต่อไปนี้ ปฏิ รู ป สถานศึ ก ษาคาทอลิ ก ทุ ก ระดั บ ในอั ค ร สังฆมณฑลกรุงเทพฯให้เป็นสนามและฐานเพื่อ การประกาศข่าวดี ใช้สรรพกำลังทั้งหมดเพื่อสร้าง บุคลากร-ครูคาทอลิก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จัดให้ม ี

ครู จิ ต ตาภิ บ าลที่ มี คุ ณ วุ ฒิ แ ละคุ ณ สมบั ติ อ ย่ า ง เพี ย งพอ เพื่ อ ทำงานเต็ ม เวลา โดยมี อั ต ราส่ ว น สอดคล้องกับจำนวนนักเรียน อีกทั้งอุทิศตนร่วม งานอภิบาลและประกาศข่าวดีทั้งในสถานศึกษา และชุมชนวัด

เป้าหมายที่ 4 สถานศึกษาคาทอลิก สนาม และฐานการประกาศข่าวดี

41


หน้าที่ด้านอภิบาลในสถานศึกษา ครอบคลุมถึง

การให้ความรู้และปฏิบัติงานด้านศาสนสัมพั น ธ์ และงานกิจเมตตา และขยายขอบข่ายงานไปยังวัด ครอบครัว และชุมชน

60.3

สร้างอัตลักษณ์ของการศึกษาอบรมในสถานศึกษา คาทอลิกให้เด่นชัดและมีเอกภาพ จนกระทั่งทุกคน ที่เข้ามามีส่วนในการศึกษาอบรมแบบคาทอลิกได้

ซึ ม ซั บ คุ ณ ค่ า ของพระวรสาร จนปรากฏในการ ดำเนินชีวิต

60.4

ให้การศึกษาอบรมผู้บริหาร ครู และบุคลากรทาง การศึกษา ในเรื่องคุณค่าและความหมายที่แท้จริง ของการเป็นสถานศึกษาคาทอลิก ในการผสมผสาน วัฒนธรรมกับความเชื่อและความเชื่อกับชีวิต

60.5

เป็นหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาและผู้ปกครอง ในการจัดให้เด็กคาทอลิกทุกคน ได้รับการศึกษา อบรม ได้เรียนคำสอน ในสถานศึกษาคาทอลิก หรือในชุมชนวัด เพื่อปลูกฝังความเชื่อให้เข้มแข็ง บำรุงหล่อเลี้ยงชีวิตตามจิตตารมณ์ของพระคริสตเจ้า

42

เป้าหมายที่ 4 สถานศึกษาคาทอลิก สนาม และฐานการประกาศข่าวดี


61. 62.

บทส่งท้าย แผนอภิบาลฉบับนี้เรียกร้องความกล้าหาญ การอุทิศตน และการมี ส่ ว นร่ ว มของทุ ก คน ให้ พ ระอั ค รสั ง ฆราช พระสงฆ์ นั ก บวชชาย-หญิ ง องค์ ก รฆราวาส และ คริ ส ตชนฆราวาสแต่ ล ะคนร่ ว มมื อ กั น อย่ า งเต็ ม กำลั ง ความสามารถ ด้วยความหวังว่าเมื่อครบห้าปีตามแผน อภิ บ าลฉบั บ นี้ เราจะได้ ข อบพระคุ ณ พระเจ้ า ร่ ว มกั น สรรเสริ ญ พระองค์ ด้ ว ยความชื่ น ชมยิ น ดี อ ย่ า งแท้ จ ริ ง ในฐานะชุ ม ชนศิ ษ ย์ พ ระคริ ส ต์ แ ห่ ง อั ค รสั ง ฆมณฑล กรุงเทพฯ และได้ร่วมพันธกิจแบ่งปันข่าวดีด้วยชีวิตที่เป็น

ประจักษ์พยานอย่างเด่นชัด เราทราบดี ว่ า ความสำเร็ จ ในการปฏิ บั ติ พั น ธกิ จ ต่ า งๆ เกิดจากความวางใจในพระเยซูเจ้า ผู้ทรงเป็นพระอาจารย์ ขอพระองค์ทรงเป็นแรงบันดาลใจของบรรดาศิษย์ โปรด ทรงนำ สนับสนุนและให้การสืบสานพันธกิจการประกาศ ข่าวดีสัมฤทธิ์ผล โดยการทรงนำของพระจิตเจ้า

เป้าหมายที่ 4 สถานศึกษาคาทอลิก สนาม และฐานการประกาศข่าวดี

43


63.

ขอพระแม่มารีย์ผู้รับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ พระแม่ผู้เป็น

แบบอย่าง “ศิษย์แท้” โดยการปฏิบัติตามพระวาจาของ พระเจ้า โปรดเสนอวิงวอนพระคริสตเจ้า เพื่ออัครสังฆ มณฑลกรุงเทพฯ ได้เจริญเติบโตยิ่งขึ้นในการเป็นชุมชน ศิษย์พระคริสต์ที่ได้รับการหล่อเลี้ยงด้วยพระวาจาและ ศี ล มหาสนิ ท หยั่ ง รากลึ ก ในความเชื่ อ ความหวั ง และ ความรัก สามารถประกาศข่าวดี เจริญชีวิต และปฏิบัติ พันธกิจแห่งความรักและการรับใช้ เป็นเกลือดองแผ่นดิน และแสงสว่างแท้xxxv แก่สังคมด้วยเทอญ

ประกาศ ณ วันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 2010 วันแพร่ธรรมสากล ณ สำนักมิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ

44

เป้าหมายที่ 4 สถานศึกษาคาทอลิก สนาม และฐานการประกาศข่าวดี


END NOTES


i ii iii

46

สมั ช ชาพระสั ง ฆราชฯ (Synod of Bishops) ค.ศ. 2005: “The Eucharist: Source and Summit of Life and Mission of the Church” กลุ่ม / องค์กรพระพรพิเศษ (Charismatic Organization) “พระคุณ / พระพรพิเศษ” (Charisma) บ่งชี้ถึงของประทานที่องค์ พระจิตเจ้ามอบให้แต่ละบุคคลเฉพาะตัวเป็นพิเศษซึ่งมีความหลากหลาย แตกต่างกัน เพื่อความดีส่วนรวมของพระศาสนจักร บุคคลที่ได้รับ พระคุณหรือพระพรพิเศษที่เหมือนหรือใกล้เคียงกัน มักรวมตัวกันใช้

พระพรดังกล่าวเพื่อเสริมสร้างพระศาสนจักรในด้านนั้นๆ เป็นการ เฉพาะ ตัวอย่างเช่น ผู้ที่ได้รับพระพรมีจิตใจอ่อนโยน เมตตา รักที่จะ เยี่ยมเยียนให้กำลังใจคนป่วย หรือคนห่างวัด ก็เข้าร่วมกิจการพลมารี ผู้ ที่ ส นใจการส่ ง เสริ ม กระแสเรี ย ก ก็ เ ข้ า ร่ ว มคณะ / กลุ่ ม เซอร์ ร่ า กลุ่ ม หรื อ องค์กรประเภทนี้มีลักษณะเป็นขบวนการ (movement) เพราะมี พั น ธกิ จ เฉพาะด้ า นในการเสริ ม สร้ า งพระกายทิ พ ย์ อ ย่ า ง ต่อเนื่อง พร้อมกับมีการพัฒนาชีวิตจิตของตนไปพร้อมๆ กัน เรามัก เรี ย กกลุ่ ม เหล่ า นี้ ว่ า “กลุ่ ม หรื อ องค์ ก รพระพร/พระคุ ณ พิ เ ศษ” (Charismatic Organization) ซึ่ ง เป็ น ประเภทหนึ่ ง ของ “กิ จ การ คาทอลิ ก ” (Catholic Action) ที่ มี ส่ ว นช่ ว ยให้ ค ริ ส ตชน (เป็ น ต้ น

ฆราวาส) จำนวนหนึ่ ง สามารถมี ส่ ว นร่ ว มในพั น ธกิ จ ของพระ ศาสนจักรตามที่ตนสนใจหรือได้รับพระพรนั้นๆ ชีวิตภาวนา การภาวนาเป็นสิ่งจำเป็นและเป็นธรรมชาติของมนุษย์ เพราะพระเจ้ า ได้ ท รงสร้ า งมนุ ษ ย์ ต ามภาพลั ก ษณ์ ข องพระองค์ (ปฐก 1: 27) มนุษย์จึงสามารถติดต่อกับพระเจ้า โดยการภาวนา การภาวนาแบบคริสตชนคือ การสร้างความสนิทสัมพันธ์ส่วนตัวโดย


iv v vi

รู้ตัวกับพระเจ้า พระบิดาของเราในพระเยซูคริสตเจ้า ซึ่งเป็นผลของ การทำงานของพระจิตเจ้าในใจของเรา (รม 8:15 ) การภาวนาเสมอ จนกลายเป็นชีวิตภาวนาซึ่งสามารถพัฒนา ให้ก้าวหน้าเป็นลำดับไป สู่ความเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้า การภาวนาและชีวิตคริสตชนไม่อาจ แยกจากกันได้ (CCC 2745) เราภาวนาตามที่เราดำเนินชีวิต และเรา ดำเนิน ชีวิตตามที่เราภาวนา พระศาสนจักรเชิญชวนคริสตชนให้ ภาวนาเสมอทั้งส่วนตัวและในพิธีกรรม มีรูปแบบการภาวนา 3 แบบ คือ การภาวนาออกเสียง (vocal prayer) การรำพึง (meditation) และจิตภาวนา (contemplative prayer) งานอภิบาลเชิงสังคม (socio-pastoral) ในความหมายของศาสนา คริสต์ คือการดูแล รักษา และเลี้ยงดูประชากรให้มีชีวิตที่สมบูรณ์

ครบครั น ในทุ ก ๆ มิ ติ ข องสั ง คม ตามที่ พ ระเยซู ค ริ ส ต์ ต รั ส ไว้ ว่ า “เราเป็นผู้เลี้ยงแกะที่ดี” (ยน 10:11-14) และพระองค์ทรงมีพระประสงค์

ให้บรรดาอัครสาวก และศิษย์ของพระองค์ปฏิบัติพันธกิจนี้สืบไป ดังนี้ พระศาสนจั ก รในฐานะผู้ สื บ ทอดพั น ธกิ จ ดู แ ล รั ก ษา และเลี้ ย งดู ฝูงแกะ (ประชากร) ผู้มีชีวิตอยู่ในบริบทสังคมที่หลากหลายและสลับ

ซั บ ซ้ อ น ต้ อ งถื อ ว่ า งานอภิ บ าลเชิ ง สั ง คมเป็ น ทั้ ง กรอบความคิ ด พื้ น ฐานที่ ส ำคั ญ และเป็ น แนวทางการปฏิ บั ติ ง านกั บ มนุ ษ ย์ ที่ เ ปิ ด

กว้างครอบคลุมทุกมิติ และเข้าถึงสภาพปัญหาที่มนุษย์กำลังเผชิญ

อยู่ในสังคม (GS 1) เพื่อมนุษย์ทุกคนจะได้อยู่ด้วยกันฉันพี่น้อง และ บรรลุถึงชีวิตที่สมบูรณ์ Rite of Christian Initiation of Adults (RCIA) คำแปลพระคัมภีร์พันธสัญญาใหม่ ฉบับคาทอลิก ใช้คำว่า “ผู้เลี้ยง แกะที่ดี” (เทียบ ยน 10:11)

47


vii เทียบ ลก 8:21 viii เทียบ ลก 5:1-11 ix เทียบ ลก 24:13-35 x “Pastoral Care of Vocations” การอภิบาลดูแลเด็กและเยาวชน ส่งเสริมกระแสเรียกการเป็นพระสงฆ์ก่อนเข้ารับการอบรมในระบบ บ้านเณร xi CL 37 xii EA 35 xiii เทียบ ยน 10:10 xiv เทียบ EA 46 xv เทียบ LG 42 และเทียบ EA 47 xvi เทียบ ยน 19:27 xvii เทียบ ลก 1:38 และ Mulieris Dignitatem xviii เทียบ บสร 25:4-6 xix CL 48 xx เทียบ Dignitatis Humanae 63, 67 xxi Kerygma xxii Theology of Communion xxiii เทียบ มธ 5:13-14 xxiv เทียบ ยน 10:16 xxv AG 6 xxvi UR 4 xxvii AG 6, 11 xxviii AG 11

48


xxix สารวันสันติภาพสากล ค.ศ. 2001 xxx CL 15 xxxi เทียบ ปฐก 1:27-29 xxxii ในสมณสาส์น “ความรักในความจริง” (Caritas in Veritate) มีเนื้อหา ที่ ค รอบคลุ ม ถึ ง เรื่ อ งสิ ท ธิ ส่ ว นบุ ค คลและความรั บ ผิ ด ชอบต่ อ ประโยชน์ส่วนรวม เรื่องคุณธรรมและจริยธรรมในการประกอบธุรกิจ

และการมีส่วนร่วมทางการเมือง เรื่องการกระจายรายได้ และแรงงาน อพยพ เรื่องการทำงาน การดูแลลูกจ้าง การตลาด การแสวงหากำไร การเก็งกำไร และโลกาภิวัตน์ เรื่องการพัฒนาเทคโนโลยีและการ สื่อสาร เรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ฯลฯ xxxiii EA 34 xxxiv เทียบ CP 2 xxxv เทียบ มธ 5:13-14

49


Abbreviations AG

Apostolicam Actuositatem สมณกฤษฎีกาว่าด้วยการแพร่ธรรมของฆราวาส

CL

Christi Fideles Laici สมณสาสน์ “พระกระแสเรียกและภารกิจของคริสตชนฆราวาสในพระ ศาสนจักรและในโลก”

CP

Communio et Progressio (Pastoral Instruction on the Means of Social Communication)

CS

The Catholic School เอกสารของสมณกระทรวงศึกษาคาทอลิก “โรงเรียนคาทอลิก”

DV

Dei Verbum สังฆธรรมนูญเรื่องการเผย (ความจริง) ของพระเป็นเจ้า

EA

Ecclesia in Asia สมณสาสน์หลังการประชุมสมัชชา “พระศาสนจักรในเอเชีย”

GE

Gravissimum Educationis คำแถลงของสภาสังคายนาเรื่องการอบรมตามหลักพระคริสตธรรม

IM

Inter Mirifica สมณกฤษฎีกาว่าด้วยสื่อมวลชน

LG

Lumen Gentium ธรรมนูญด้านพระธรรมกล่าวถึงพระศาสนจักร

RM

Redemptoris Missio สมณสาสน์ “พระพันธกิจขององค์พระผู้ไถ่”

UR

Unitatis Redintegratio สมณกฤษฎีกาแห่งสภาสังคายนาว่าด้วยสากลสัมพันธภาพ

50


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.