เอกสารประกอบอาเซียนเสวนา เรื่อง
!
แรงงานข้ามชาติในประเทศไทย : สิทธิและสวัสดิการ
!
!
อดิศร เกิดมงคล เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ
ภาพการย้ายถิ่นข้ามชาติของแรงงานข้ามชาติ และคนข้ามชาติใน ประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนข้ามชาติจากประเทศเพื่อนบ้านที่มี ชายแดนติดกับประเทศไทย ได้แก่ พม่า ลาว และกัมพูชา เริ่มกลายเป็น ประเด็นที่ถูกกล่าวถึงมากขึ้น นับตั้งแต่ประเทศไทยเริ่มมีนโยบายที่อนุญาต ให้มีการจ้างแรงงานข้ามชาติจากประเทศเพื่อนบ้านเพื่อทดแทนการ ขาดแคลนแรงงานในภาคการผลิต ควบคู่ไปกับการจัดการคนเข้าเมืองผิด กฎหมาย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 เป็นต้นมา ในการจัดการแรงงานข้ามชาติของไทย โดยเฉพาะแรงงานข้ามชาติ จากประเทศเพื่อนบ้าน 3 ประเทศ คือ พม่า ลาว และกัมพูชา ซึ่งส่วนใหญ่ เป็นแรงงานที่เดินทางข้ามพรมแดนเข้ามาทำงานอย่างไม่เป็นไปตาม กระบวนการเข้าเมืองตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองของไทย หรือที่รัฐ ไทยเรียกว่า “แรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมาย” แต่ด้วย ความต้องการแรงงาน และต้องการควบคุม รัฐไทยจึงเลือกจะใช้วิธีการ ออกนโยบายยกเว้นภาวะการเข้าเมืองผิดกฎหมาย โดยให้อยู่และทำงาน ภายใต้การควบคุมดูแลโดยรัฐ โดยผ่านกลไกและข้อกำหนดต่าง ๆ
!
พัฒนาการนโยบายแรงงานข้ามชาติ อาจจะกล่าวได้ว่าในช่วงภาวะเศรษฐกิจไทยอยู่ในยุครุ่งโรจน์ (ประมาณปี 2520 - 2540) ประเทศไทยเปิดตัวเองเข้าสู่การเป็นประเทศ อุตสาหกรรม เราจะพบเห็นการเคลื่อนย้ายประชากรทั้งจากชนบทสู่เมือง และจากประเทศเพื่อนบ้านสู่ประเทศไทยระลอกใหญ่ นอกจากจะเป็นปัจจัย ทางเศรษฐกิจ ที่ภาคเกษตรกรรมและภาคการผลิตอื่น ๆ เริ่มสูญเสีย แรงงานให้กับภาคอุตสาหกรรมไปแล้ว ปัจจัยที่ทำให้การไหลทะลักเข้าสู่
ประเทศไทยของประชากรจากประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงโดยเฉพาะต่อ พม่าเองแล้ว สถานการณ์ด้านการเมืองของประเทศต้นทางก็เป็นปัจจัยที่ไม่ อาจมองข้ามไปได้เลย ไม่ว่าจะเป็นการใช้กำลังเข้าปราบปรามชนกลุ่ม น้อยเป็นเหตุผลหนึ่งที่ผลักดันให้ประชากรจากพม่าทะลักเข้าสู่ฝั่งไทย และ ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ การปราบปรามนักศึกษาประชาชนในวันที่ 8 สิงหาคม 2531 ภาวะการตกต่ำทางเศรษฐกิจของประชาชน ปัญหาการ ละเมิดสิทธิมนุษยชนในฝั่งพม่าก็เริ่มดำเนินต่อไป พร้อม ๆ กับการไหล ทะลักของประชาชนจากฝั่งพม่าสู่ประเทศไทย
! !
ก้าวแรกของนโยบายภายใต้กระแสแห่งทุน ในปี 2535 ได้มีความพยายามมีการจัดการกับแรงงานตรงนี้ การ จัดการในช่วงแรก ๆ ของรัฐบาลไทย คือให้มีการรายงานตัวของแรงงาน ข้ามชาติกลุ่มนี้ เพื่อนำมาจดทะเบียนอนุญาตให้ทำงานได้ชั่วคราว และยัง คงฐานะเป็นผู้หลบหนีเข้าเมืองไว้ ซึ่งในช่วงนี้จะเน้นไปตรงจังหวัดชายแดน ไทย-พม่า เช่น ตาก ระนอง กาญจนบุรี และจังหวัดอื่น ๆ (มติคณะ รัฐมนตรี 17 มีนาคม 2535) แต่ปรากฎว่าไม่ได้ผลมากนักเนื่องจากจำนวน เงินประกันตัวของแรงงานข้ามชาติสูงถึง 5,000 บาท และนายจ้างเองไม่ เห็นถึงความจำเป็นต้องมีการนำแรงงานข้ามชาติมาจดทะเบียน ต่อมาก็ เริ่มมีการขยายไปสู่ภาคประมงทะเล (มติ ครม. 22 มิ.ย. 2536) ซึ่งโดย วิธีการแล้วยังคงรูปแบบเดิมเอาไว้ แต่ก็ยังติดปัญหาในเรื่อง พรบ. สิทธิ การประมงในเขตการประมงไทย พ.ศ. 2482 ทำให้กรมการจัดหางานไม่ สามารถออกใบอนุญาตให้ได้ จึงต้องมีการเสนอให้แก้ไขกฎหมายตรงนี้ แต่ก็มีการยุบสภาเสียก่อน ซึ่งช่วงนี้เป็นนโยบายที่ออกมาเพื่อแก้ไขปัญหา การขาดแคลนแรงงานโดยการผลักดันของกลุ่มทุน เพื่อสนองการ เปลี่ยนแปลงในระบบการผลิตที่มุ่งเพื่อผลิตเพื่อการส่งออกมากขึ้นและ รองรับการเจริญเติบโตของการค้าแถบชายแดน ที่มีผลมาจากยุคเปลี่ยน สนามรบให้เป็นสนามการค้าที่ผ่านมา
!
ก้าวต่อมาคือความลงตัวระหว่างทุนและความมั่นคง จนมาถึงช่วงก้าวใหญ่ในการจัดการกับปัญหาเรื่องนี้ โดยจุดประสงค์ ของนโยบายช่วงนี้มีลักษณะที่ไม่ใช่เพียงแต่ตอบสนองเรื่องการขาดแคลน แรงงานเท่านั้น แต่ยังตอบสนองในเรื่องการควบคุมและจัดระบบการ ทำงานของแรงงานต่างด้าวที่หลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย รวมไปถึง ป้องกันการลักลอบเข้ามาใหม่ด้วย จึงเกิดมติคณะรัฐมนตรี 25 มิถุนายน 2539 (และมติ ครม. อื่น ๆ ตามมา)ขึ้น โดยได้มีการขยายจำนวนชาติของ แรงงานข้ามชาติเป็น 3 ชาติ คือ พม่า ลาว กัมพูชา ขยายพื้นที่เพิ่มขึ้นเป็น 43 จังหวัด (มติครม. 25 มิ.ย.39 ได้เสนอไว้ 39 จังหวัดและมีการเพิ่มเติม ในมติครม. 16 ก.ค. 39เสนอเพิ่มเติมเป็น 43 จังหวัด) และมีประเภทของ งาน 11 ประเภท โดยมีวงเงินในการประกันตัว 1,000 บาท นอกจากนี้ การดำเนินการได้ถูกยกให้เป็นหน้าที่ของระดับจังหวัดโดยมีการตั้งคณะ อนุกรรมการระดับจังหวัดโดยกำหนดให้มีอัตราส่วนของฝ่ายนายจ้าง ฝ่าย ลูกจ้างและฝ่ายราชการอย่างเท่า ๆ กัน และมีการตั้ง One Stop Service Center ขึ้นในแต่ละจังหวัด เพื่ออำนวยความสะดวกต่อการที่นายจ้างจะนำ แรงงานต่างด้าวมารายงานตัว แม้จะมีการจัดการอย่างเป็นระบบ แต่ก็ ปรากฎว่ายังมีนายจ้างและแรงงานข้ามชาติจำนวนมากไม่ได้ไปรายงานตัว เนื่องจากไม่เห็นความสำคัญ และไม่เชื่อว่าการจดทะเบียนแบบนี้จะช่วย อะไรได้มากนัก จากนโยบายดังกล่าวได้แสดงให้เห็นแนวคิดในการจัดการต่อเรื่องนี้ สองแนวคิดที่ชัดเจน คือแนวคิดเรื่องทุนนิยมที่มุ่งกำไรอย่างเดียว และ แนวคิดเรื่องความมั่นคง เพราะจากนโยบายตรงนี้มุ่งตอบสนองสองความ ต้องการหลักคือการหาแรงงานราคาถูกทดแทนแรงงานไทยที่เข้าสู่ภาค อุตสาหกรรมและภาคบริการ ประกอบกับแรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่มี สถานภาพเป็นผู้หลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายจึงทำให้นายจ้าง สามารถจ้างงานได้ในราคาถูก ซึ่งทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำลง ในขณะ เดียวกันก็ต้องการควบคุมและจัดระบบแรงงานข้ามชาติโดยการนำ แรงงานข้ามชาติมาจดทะเบียนและออกระเบียบมาควบคุม ซึ่งจากแนวคิด ตรงนี้ได้สะท้อนให้เห็นได้จากการให้อำนาจนายจ้างในการจัดการกับ
แรงงานข้ามชาติ คือ การห้ามเปลี่ยนนายจ้าง และนายจ้างสามารถแจ้ง ความต่อเจ้าหน้าที่ได้ถ้าหากแรงงานต่างชาติจะเปลี่ยนนายจ้าง ซึ่งก่อให้ เกิดการกดขี่แรงงานข้ามชาติโดยยกเอากรณีเช่นนี้มาอ้าง นอกจากนั้นยัง มีความไม่ชัดเจนในเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้ามชาติ แม้มติครม.จะมี การกล่าวถึงแต่ก็ขาดแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจน และเมื่อแรงงานต้องเข้า สู่เรื่องราวที่ต้องดำเนินการตามกฎหมาย ก็จะพบว่าแม้ตัวแรงงานเป็นผู้ เสียหาย แต่ด้วยยังอยู่ในฐานะของผู้หลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ทำให้ต้องมีการดำเนินคดีในเรื่องผู้หลบหนีเข้าเมืองกับแรงงานด้วย และ เป็นช่วงที่ขบวนการค้ามนุษย์ก้าวหน้ามากที่สุด โดยที่ทางภาคราชการไม่ สามารถจัดการได้อย่างจริงจัง
!
ชาตินิยมสมัยใหม่ ปะทะทุนท้องถิ่น หลังจากช่วงเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ (ปลายปี 2540) มีการเปลี่ยนแปลง รัฐบาล ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนโยบายครั้งใหญ่ โดยรัฐบาลชุดใหม่ ที่มีนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรีได้ประกาศนโยบายของรัฐบาลว่า จะต้องลดจำนวนแรงงานข้ามชาติลง ประกอบกับเป็นช่วงที่แรงงานไทย ตกงานเป็นจำนวนมาก เนื่องจากการปิดกิจการของสถาบันการเงิน ที่ส่งผล ต่อบริษัทและโรงงานต่าง ๆ ทำให้เป็นเหตุผลที่รัฐบาลใช้อ้างในการ จับกุมแรงงานต่างชาติครั้งใหญ่ และส่งกลับประเทศ เพื่อให้แรงงานไทย เข้าไปทดแทน ได้มีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาแรงงาน ต่างด้าวขึ้น เพื่อดำเนินการในเรื่องการส่งกลับ ซึ่งนโยบายนี้ได้รับการตอบ รับ และวิพากษ์วิจารญ์จากหลายฝ่าย แต่หลังจากได้มีการจับกุมและส่ง กลับแรงงานข้ามชาติไปส่วนหนึ่งแล้วพบว่า มีแรงงานไทยเข้าไปทดแทน แรงงานข้ามชาติจำนวนน้อยมาก เนื่องจากแรงงานไทยที่ตกงานส่วนใหญ่ เป็นแรงงานที่มีฝีมือ และกึ่งฝีมือ ส่วนงานที่แรงงานข้ามชาติทำนั้นเป็นงาน ที่ไม่ต้องการทักษะมากนัก และเป็นที่งานสกปรก เสี่ยงอันตราย เป็นงาน หนัก ได้ค่าแรงต่ำจึงมีการทดแทนน้อยมาก จนในที่สุดมีการเรียกร้องจาก กลุ่มทุนในจังหวัดชายแดน และกลุ่มประมงทะเลให้มีการอนุญาตให้ใช้ แรงงานต่างด้าวเนื่องจากประสบปัญหาเรื่องคนงาน จนถึงกรณีที่โรงสีข้าว
ประกาศปิดโรงสีไม่รับซื้อข้าวเนื่องจากไม่มีคนงาน ทำให้คณะอนุกรรมการ แก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวต้องมีการพิจารณาให้มีการอนุญาตให้ใช้ แรงงานต่างชาติในช่วงแรกอนุญาตในเขตจังหวัดชายแดน 13 จังหวัด และพื้นที่ประมงทะเลอีก 22 จังหวัด ต่อมาเมื่อมีแรงกดดันจากกลุ่มทุนท้อง ถิ่นโดยเฉพาะโรงสีข้าว ทำให้มีการขยายกิจการและพื้นที่เพิ่มเติม เช่น โรงสีข้าว กิจการขนส่งทางน้ำ เป็นต้น โดยรูปแบบในการจัดการยังเป็นรูป แบบเดิมที่มีการจัดทำใบอนุญาต มีการประกันตัวในรูปแบบที่เคยเป็นมา เพียงแต่มีความเร่งรีบมากกว่า รวมถึงยังได้ทิ้งแนวปฏิบัติในเรื่องการ จับกุมแรงงานต่างด้าวไว้เป็นเครื่องมือในการควบคุม ซึ่งยังคงก่อให้เกิด ประโยชน์ต่อนายจ้าง เนื่องจากทำให้แรงงานข้ามชาติอยู่ในความควบคุม ของนายจ้างไม่สามารถต่อรองในเรื่องสวัสดิการ ค่าแรงได้เลย และยังไม่มี นโยบายในเรื่องการดูแลในด้านสวัสดิการ สิทธิของแรงงานต่างชาติที่ ชัดเจนแต่อย่างใด เห็นได้ว่าในช่วงนี้เป็นช่วงของการปะทะระหว่างแนวคิดชาตินิยมทาง เศรษฐกิจของภาคราชการ กับกลุ่มทุนท้องถิ่น (ซึ่งส่วนหนึ่งให้การ สนับสนุนพรรคการเมือง) และเป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่านโยบายในเรื่องนี้ถูก กำหนดมาจากกลุ่มทุนด้วยไม่น้อย แต่กลุ่มที่ต้องรับกับปัญหานี้มากที่สุด คือ แรงงานข้ามชาติ เนื่องจากมีการเข้าจับกุมบ่อย และการจับกุมในบาง ครั้งจะมีการยึดทรัพย์สิน ทำร้ายร่างกาย นอกจากนั้นแล้วยังเกิดความ หวาดกลัวในเรื่องการถูกส่งกลับ แต่กลุ่มที่ยังได้ประโยชน์และมั่นคงอยู่ เช่นเดิมคือกลุ่มนายหน้า หรือขบวนการค้ามนุษย์ข้ามชาติ เนื่องจากมี แรงงานข้ามชาติต้องการเดินทางกลับไปชายแดนจำนวนมาก มีการ ขบวนการจัดส่งอย่างเป็นระบบ
!
ยุคคิดใหม่ ทำใหม่ นโยบายแรงงานข้ามชาติช่วงเปลี่ยนผ่าน การเกิดขึ้นของรัฐบาลของ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร ภายใต้ สโลแกน “คิดใหม่ ทำใหม่”ได้นำมาซึ่งการปรับเปลี่ยนในการบริหาร จัดการจัดการแรงงานข้ามชาติในรูปแบบของการรุกคืบของกลุ่มทุนเข้ามา ในพื้นที่ของความมั่นคงแห่งรัฐโดยเฉพาะในการปฏิรูประบบราชการ
นโยบายการพัฒนาแรงงานแรงงานที่รัฐบาลทักษิณ ชินวัตรแถลงต่อ รัฐสภาเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2544 ข้อ 6 (5) คือ “กำหนดมาตรการที่ เหมาะสมสำหรับแรงงานต่างด้าว โดยคำนึงถึงความต้องการแรงงานของ ภาคเอกชน การรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงภายใน รวมทั้ง ส่งเสริมการพัฒนาแรงงานไทยขึ้นทดแทน” นโยบายรัฐบาลดังกล่าว สะท้อนชัดเจนว่า รัฐบาลประชาทุนนิยมที่ได้รับคะแนนเสียงข้างมากที่สุด คำนึงถึงความต้องการแรงงานของภาคเอกชนเป็นลำดับแรก ตามมาด้วย ความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงภายใน หลังจากนั้นรัฐบาลได้มีมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 28 สิงหาคม 2544 เห็น ชอบตามแนวทางการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองตามที่ สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เสนอและให้กระทรวงแรงงานและ สวัสดิการสังคมดำเนินการ มีลักษณะสำคัญที่แตกต่างจากมติ ครม.ครั้ง ก่อนๆ ดังนี้คือ มีวัตถุประสงค์การจดทะเบียน กำหนดชัดเจนเพื่อทราบ ข้อมูลแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย ที่แท้จริงว่า มีจำนวนเท่าไร อยู่ที่ไหน ทำอะไร เพื่อนำไปวางแผนในระยะยาว, ไม่จำกัดจำนวนกรรมกรแรงงาน ต่างด้าว, จำนวนพื้นที่จังหวัดและประเภทอาชีพ / กิจการ, อาชีพและ ประเภทกิจการที่อนุญาตให้มาจดทะเบียนกำหนดไว้ชัดเจน 9 ประเภท กิจการและเป็นครั้งแรกที่มีประเภทกิจการพิเศษซึ่งหมายถึงอาชีพอะไรก็ได้ จะมีนายจ้างหรือไม่ก็ได้, ค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียน สูงกว่าทุกครั้งที่ผ่าน มา ค่าใช้จ่ายจดทะเบียน 2 งวด (งวดละหกเดือน)รวมเป็นเงิน 4,450 บาท ซึ่งถือเป็นค่าใช้จ่ายที่มากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับการจดทะเบียนแรงงาน ต่างด้าวก่อนปี 2544 และเป็นครั้งแรกที่มีการจัดระบบให้บริการครบวงจร ทุกเรื่องในการจดทะเบียนในสถานที่เดียวกัน เปิดโอกาสให้จองคิวล่วง หน้าพาคนงานมาขึ้นทะเบียนได้ตามวันเวลาที่นัดหมาย ทำให้นายจ้างเกิด ความสะดวกรวดเร็ว พอใจในการขึ้นทะเบียนมากกว่าหลายครั้งก่อนหน้า นี้ นอกจากนั้นแล้ว ยังมีการเป็นเปลี่ยนแปลงในเรื่องสิทธิการรักษา พยาบาลของแรงงานต่างด้าว คือ เป็นครั้งแรกที่รัฐบาลมอบหมายให้ กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการกำหนดให้แรงงานต่างชาติที่ได้รับอนุญาต
ให้ทำงานต้องถูกบังคับให้เข้าสู่ระบบประกันสุขภาพทุกคน โดยนำหลัก การโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้าตามนโยบายของรัฐบาลมาปรับปรุง ใช้โดยเก็บอัตรา 1,200 บาท/ปี แรงงานต่างด้าวมีเงื่อนไขต้องร่วมจ่ายใน การรับบริการครั้งละ 30 บาท และกำหนดค่าตรวจโรค 300 บาท / 6 เดือน สำหรับการต่อใบอนุญาตงวดหลัง โดยต้องนำใบรับรองแพทย์และ ใบอนุญาตเดิม เป็นหลักฐานต่อใบอนุญาตทำงานใหม่ ผลการดำเนินการ จดทะเบียน มีจำนวนแรงงานต่างด้าวขึ้นทะเบียนรวมทั้งสิ้น 568,249 คน ซึ่งถือเป็นจำนวนมากที่สุดกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา (หากเปรียบเทียบกับมติ ครม.วันที่ 6 สิงหาคม 2539 ในยุครัฐบาลนายกรัฐมนตรี บรรหาร ศิลป อาชา ได้มีจำนวนแรงงานต่างชาติที่นายจ้างนำมารายงานตัวในพื้นที่ กำหนด 43 จังหวัด 11 ประเภทกิจการ รวมทั้งสิ้น 370,971 คน) นอกจากนั้นแล้วรัฐบาลได้ออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วย การบริหารแรงงานต่างด้าว หลบหนีเข้าเมือง พ.ศ.2544 เริ่มใช้บังคับ ตั้งแต่ 2 ตุลาคม 2544 เพื่อจัดตั้งคณะกรรมการบริหารแรงงานต่างด้าว หลบหนีเข้าเมือง (กบร.) ให้มีอำนาจหน้าที่กำหนดนโยบายมาตรการและ แนวทางปฏิบัติ รวมทั้งการบริหารจัดการ การประสานการแก้ไขปัญหา การติดตามประเมินผลให้เป็นไปอย่างมีระบบต่อเนื่อง มีเอกภาพและมี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ต่อมาในปี 2545 รัฐบาลได้ดำเนินการออกมติคณะรัฐมนตรีเพื่อจัด ระเบียบแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง ปี 2545-2546 เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2545 วันที่ 25 กันยายน 2545 และวันที่ 1 ตุลาคม 2545 ซึ่งในปี 2545 นี้ได้กำหนดให้มารายงานตัวเพื่อจดทะเบียนประวัติและขอรับใบ อนุญาตทำงานตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน ถึง 15 ตุลาคม และต่อมาได้ขยาย ไปถึงวันที่ 6 พฤศจิกายน 2545 หากเปรียบเทียบกับผลการจดทะเบียน เมื่อเดือนตุลาคม 2544 จำนวน 528,249 คน แต่มีต่อใบอนุญาตเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2545 จำนวน 353,274 คน ลดเหลือร้อยละ 62.12 ของปี 2544 ซึ่งสาเหตุที่ผลการลดลงของการต่อใบอนุญาตทำงาน ในข้อเท็จจริง พบว่า แรงงานจำนวนมากเหล่านี้คงทำงานอยู่ในสังคมไทย ภายใต้การ กักกันของนายงานและผู้ควบคุมอย่างใกล้ชิด ไม่ได้ถูกผลักดันส่งกลับไป
ได้จริง และหมุนเวียนเปลี่ยนที่หลบซ่อนทำงานไปเรื่อยๆ แต่เนื่องจาก เงื่อนไขของการต้องจดทะเบียนกับนายจ้างเดิม หรือไม่สามารถเปลี่ยนย้าย นายจ้างได้ ก็ทำให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานไปทำการกับนายหน้าคนอื่น หรือพื้นที่อื่น และกลายเป็นแรงงานเข้าเมืองผิดกฎหมายอีกครั้ง ทำให้ไม่ สามารถต่ออายุได้ นอกจากนั้นก็ได้มีการปรับเปลี่ยนข้อปฏิบัติในการ ดำเนินการ ได้แก่ กำหนดประเภทกิจการเพื่อขอรับใบอนุญาตทำงานเป็น ลูกจ้างได้เป็น 6 ประเภท ขณะเดียวกันก็เห็นปรากฎการณ์ที่ชี้ให้เห็นถึงอำนาจต่อรอง หรือการ รุกคืบของกลุ่มทุนในการเข้ามามีบทบาทในการจัดการแรงงานข้ามชาติ เพราะในปี 2545 เป็นครั้งแรก ที่สมาคมการประมงแห่งประเทศไทย ได้ เรียกร้องให้รัฐบาลกำหนดแนวทางดำเนินการจดทะบียนลูกเรือประมง ต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง ได้สำเร็จตามมติ ครม. (นัดพิเศษ) วันที่ 25 กันยายน 2545 และเป็นครั้งแรกที่มีการผ่อนผันเป็นพิเศษเฉพาะจังหวัด เดียว กล่าวคือ มติ ครม.เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2545 ผ่อนผันให้คนต่างด้าวที่ ทำงานอยู่กับนายจ้างที่ประกอบกิจการในท้องที่จังหวัดตาก ทั้งผู้ที่เคยได้ รับผ่อนผันแล้ว และผู้ที่ยังไม่ได้รับการผ่อนผันตามมติ ครม. 28 สิงหาคม 2544 รวมกันไม่เกินจำนวนที่เคยได้รับการจดทะเบียนไว้เดิม คือ จำนวน 50,253 คน นอกจากนั้นแล้ว มาตรการรัฐตามมติ ครม. 27 สิงหาคม 2545 ยอม ให้ลูกจ้างเปลี่ยนนายจ้างใหม่ได้ถ้าถูกเลิกจ้าง โดยไม่ใช่เป็นความผิดของ ลูกจ้าง และต้องหานายจ้างให้ได้ภายใน 7 วันนั้น และกรณีนายจ้างกระทำ ผิดฝ่าฝืนกฎหมายแรงงาน หรือกฎหมายอาญา ซึ่งก็มีข้อวิจารณ์จาก องค์กรด้านแรงงาน องค์กรพัฒนาเอกชนว่า ยังมีข้อจำกัดในเรื่องการ คุ้มครองในเงื่อนไขนี้อยู่หลายประเด็น คือ ลูกจ้างไม่มีสิทธิลาออกเองหรือ หนีไปหานายจ้างใหม่ได้ เงื่อนเวลาที่ให้หานายจ้างใหม่ภายใน 7 วัน ภาย หลังถูกเลิกจ้างเป็นสิ่งที่เกิดได้ยากมาก (แม้เป็นแรงงานไทยก็หางานใหม่ ไม่ได้) ยกเว้น นายจ้างเก่าตกลงกับนายจ้างใหม่ล่วงหน้ากันก่อนที่จะเลิก จ้างลูกจ้างรายนั้น
!
การปฏิรูปและจัดระบบแรงงานข้ามชาติ (2547 – 2555) ในปี 2547 ค.ร.ม. มีมติเมื่อวันที่ 2 มีนาคม และ 27 เมษายน เห็น ชอบแนวทางการบริหารแรงงานข้ามชาติ ทั้งระบบที่กระทรวงแรงงานเสนอ โดยมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวมุ่งแก้ไขปัญหาแรงงานข้ามชาติหลบหนีเข้า เมืองสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ที่มีอยู่ทั้งหมดในประเทศไทยทั้งที่จด ทะเบียนไว้แล้วตามระบบผ่อนผันและที่ยังลักลอบทำงาน โดยคณะรัฐมนตรี ได้ให้ความเห็นชอบให้กระทรวงมหาดไทย จัดทำทะเบียนประวัติคนข้าม ชาติเพื่อทราบจำนวนคนต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา อายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปที่หลบหนีเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทย (Supply) ได้มีการเปิด จดทะเบียนครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของการจดทะเบียนแรงงานข้าม ชาติ ในลักษณะของการเป็นพลเมือง (citizen) โดยมีการกำหนดเลข 13 หลักประจำตัวแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ โดยเป็นคนละหมวดกับราษฎร ไทย และกำหนดให้จดทะเบียนผู้ติดตามกับแรงงานต่างด้าวที่ขออนุญาต ทำงาน และให้นายจ้างเป็นผู้กำกับโดยจดทะเบียนนายจ้างและให้แรงงาน ต่างด้าวเข้าไปอยู่ในทะเบียนบ้านของนายจ้างด้วย หลังการจดทะเบียน ปรากฏว่ามีผู้มาขึ้น ทะเบียนกับกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย จำนวน 1,284,920 คน รวมผู้ได้รับใบอนุญาตทำงานและผู้ติดตาม นอกจากนั้นแล้ว ประเทศไทยได้มีการเจรจากับประเทศคู่ภาคี (ประเทศพม่า ลาว และกัมพูชา) เพื่อให้การดำเนินการจ้างแรงงานข้าม ชาติ มีผลในทางปฏิบัติตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้าน การจ้างแรงงาน (MOU) ตามที่รัฐบาลไทยได้ทำข้อตกลงไว้ กระทรวง แรงงานและหน่วยงานที่เกี่ยวของได้เจรจาและประสานกับประเทศพม่า ลาว และกัมพูชา มีการปรับเปลี่ยนสถานะให้เป็นผู้เข้าเมืองโดยถูกต้อง ตามกฎหมาย เพื่อให้ประเทศพม่า ลาวและกัมพูชา ดำเนินการพิสูจน์และ รับรองสถานะคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองที่อยู่ระหว่างรอการส่งกลับโดย การออกหนังสือเดินทาง (Passport) เว้นแต่ประเทศต้นทางไม่สามารถ ออกหนังสือเดินทางได้ ให้ใช้เอกสารรับรองบุคคลโดยประเทศต้นทาง แทนหนังสือเดินทาง และกระทรวงการต่างประเทศหรือสำนักงานตรวจคน
เข้าเมืองออกวีซ่าให้อยู่ในราชอาณาจักรโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการทำงาน เป็นกรรมกรหรือรับจ้างทำงานด้วยกำลังกาย จากกรอบนโยบายที่เริ่มวางแผนการดำเนินการตั้งแต่ปี 2547 ทำให้ ประเทศไทยได้พัฒนาแนวทางการจัดการแรงงานข้ามชาติที่มุ่งจะทำให้คน เข้าเมืองผิดกฎหมายมาปรับสถานะกลายเป็นคนเข้าเมืองถูกกฎหมายโดย การรับรองจากประเทศต้นทาง และปิดช่องทางเข้าเมืองผิดกฎหมายโดย การเปิดให้มีการนำเข้าแรงงานตาม MoU ที่ประเทศไทยได้จัดทำร่วมกับ ประเทศเพื่อนบ้าน และการแก้ไขกฎหมายเปิดให้มีการจ้างแรงงานข้าม ชาติในพื้นที่ชายแดนที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้านตั้งแต่ปี 2551 แม้ใน ปัจจุบันจะยังไม่สามารถดำเนินการจ้างได้อย่างถูกต้องตามที่กฎหมาย กำหนดไว้ แต่ก็เป็นทิศทางที่จะทำให้ช่องทางในการเข้าเมืองมาทำงาน อย่างถูกกฎหมายก็มีเพิ่มมากขึ้น ซึ่งก็ทำให้แนวโน้มของแรงงานข้ามชาติ ที่มีสถานะเข้าเมืองผิดกฎหมายในระบบการจดทะเบียนลดลงเรื่อย ๆ จน ทำให้การดำเนินการในปีพ.ศ. 2555 ทางกรมการจัดหางานในฐานะผู้รับ ผิดชอบหลักก็ยังได้ออกมาแถลงข่าวอย่างมั่นใจว่าต่อทิศทางการจัดการ แรงงานข้ามชาติว่า “ใกล้ปิดตำนานแรงงานต่างด้าวเถื่อนใน ประเทศไทย” (คำให้สัมภาษณ์ของ นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการ จัดหางาน จากเอกสารเผยแพร่ของกรมการจัดหางาน “ใกล้ปิดตำนาน แ ร ง ง า น ต่ า ง ด้ า ว เ ถื่ อ น ใ น ป ร ะ เ ท ศ ไ ท ย ” จ า ก เ ว บ ไ ซ ต์ h t t p : / / wp.doe.go.th/sites/default/files/news/228.pdf ) โดยเนื้อหาสรุปในเบื้องต้นได้ว่า สิ่งที่ทำให้กรมการจัดหางาน มั่นใจ ว่าคงใกล้ถึงจุดสิ้นสุดแรงงานเถื่อนตามความเห็นของกรมการจัดหางาน นั้น น่าจะมีปัจจัยในเรื่องการปรับเปลี่ยนท่าทีและวิธีการดำเนินการในเรื่อง การพิสูจน์สัญชาติของประเทศพม่าเป็นหลัก ทั้งนี้เนื่องจากแรงงานข้าม ชาติจากพม่าที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย และได้รับการผ่อนผันตามมติ คณะรัฐมนตรีในช่วงทีผ่านมา คือมีจำนวน 70% ของจำนวนแรงงานทั้งสาม สัญชาติ และที่ผ่านมาดูเหมือนว่ากระบวนการในการพิสูจน์สัญชาติจะมี ความล่าช้า และมีความซับซ้อนส่งผลกระทบต่อแรงงานข้ามชาติ และ กระบวนการจัดการแรงงานข้ามชาติทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการต้อง
ไปดำเนินการพิสูจน์สัญชาติพม่าที่ชายแดนซึ่งสร้างความยากลำบากให้แก่ ตัวแรงงาน และเอื้อต่อการเข้ามาแสวงหากำไรของกลุ่มนายหน้าต่าง ๆ หรือความล่าช้าของการดำเนินการ ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงของประเทศ ต้นทางของพม่าครั้งนี้ไม่ได้เพียงแต่ทำให้เกิดความมั่นใจว่าการพิสูจน์ สัญชาติจะมีระบบเอื้อมากขึ้นเท่านั้น แต่การเปลี่ยนแปลงท่าทีทางการเมือง ของรัฐบาลพม่า ก็ยิ่งทำให้กระทรวงแรงงาน มั่นใจมากขึ้นไปอีกว่า ปัจจัย ที่จะทำให้เกิดการย้ายถิ่นของแรงงานจากพม่า เริ่มค่อย ๆ ลดลง และอาจ จะมีผลต่อการนำเข้าอย่างถูกกฎหมายที่จะทำได้ง่ายมากขึ้น ดังนั้น ที่ผ่านมาจะเห็นได้ชัดว่า แนวคิดในเรื่องการจัดการของรัฐไทย มีพื้นฐานมาจากสองแนวคิดใหญ่ คือ ทุนนิยมที่มุ่งหวังกำไร โดยมีกลุ่มทุน ท้องถิ่น และกลุ่มทุนการเมือง เป็นผู้ผลักดัน และแนวคิดเรื่องความมั่นคง ของชาติ โดยมีฝ่ายความมั่นคง และราชการเป็นผู้ผลักดัน ทำให้นโยบาย จึงวนเวียนอยู่ที่การควบคุมและจัดการเท่านั้น ส่วนเรื่องสิทธิมนุษยชนนั้น เป็นเพียงการพูดถึงเพื่อป้องกันการถูกเพ่งเล็งจากต่างประเทศ และองค์กร ระหว่างประเทศต่าง ๆ เท่านั้น ดังนั้นในทางปฏิบัติแล้วปัญหาในเรื่องสิทธิ มนุษยชน เรื่องสิทธิแรงงานจึงเป็นเรื่องที่ยังมองไม่เห็นถึงความเป็นไปได้ และไม่ได้รับการสนใจในการปฏิบัติแม้แต่น้อย ราชการ สื่อมวลชนและคน ไทยบางส่วนยังมีมุมมองต่อแรงงานต่างชาติกลุ่มนี้ว่าเป็นผู้ร้าย เป็นภัยต่อ ความมั่นคง และยังรวมถึงแนวคิดชาตินิยมทางประวัติศาสตร์ที่ยังดำรงอยู่ ในสังคมไทย แต่ในขณะเดียวกันก็ยังต้องการแรงงานราคาถูกเพื่อมาลด ต้นทุนการผลิต เพื่อให้สินค้าไทยสามารถแข่งขันในเรื่องราคาในตลาด โลกได้
!
สิทธิแรงงานและการคุ้มครอง หากพิจารณาในกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองแรงงานใน ประเทศไทยแล้ว จะพบว่ากฎหมายส่วนใหญ่ระบุถึงการคุ้มครองแรงงาน ทุกคนไม่ว่าจะมีสัญชาติใด หรือมีสถานะทางกฎหมายอย่างไร สิทธิหลาย อย่างที่เป็นสิทธิแรงงานขั้นพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ระยะเวลาในการทำงาน วันหยุด วันเวลา สิ่งเหล่านี้กฎหมายคุ้มครองแร
งานต่างก็คุ้มครองทั้งแรงงานไทยและแรงงานข้ามชาติไม่ต่างกัน แต่เราก็ พบว่าในแง่ปฏิบัติแรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่ก็ยังไม่ได้รับการคุ้มครองตาม กฎหมายเท่าที่ควร โดยมีสาเหตุมาจากการบังคับใช้กฎหมาย การขาด ความเข้าใจต่อข้อจำกัดทั้งในด้านภาษาและสถานะทางกฎหมายของ แรงงานข้ามชาติทำให้ไม่มีการสร้างกลไกที่เอื้อต่อการเข้าถึงการคุ้มครอง ตามกฎหมาย รวมทั้งเรื่องทัศนคติของสังคมไทยและเจ้าหน้าทีที่เกี่ยวข้อง ในกระบวนการคุ้มครองแรงงาน ปัญหาพื้นที่ฐานที่พบในเรื่องสิทธิของ แรงงานข้ามชาติได้แก่ 1) ปัญหาในเรื่องการถือบัตรประจำตัวและบัตรอนุญาตทำงานของ แรงงานข้ามชาติ ทั้งนี้นายจ้างจำนวนหนึ่งมักจะยึดบัตรประจำตัวและใบ อนุญาตทำงานของแรงงานเอาไว้ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาเมื่อแรงงานข้ามชาติ จำเป็นต้องออกไปนอกที่พักหรือสถานที่ทำงาน เมื่อถูกเจ้าหน้าที่เรียกตรวจ และไม่สามารถแสดงบัตรได้ก็ย่อมทำให้แรงงานเหล่านี้มีความผิดทาง กฎหมาย หรือเมื่อต้องไปติดต่อหรือรับบริการต่างๆ เช่น การไปใช้บริการ สถานพยาบาลซึ่งแรงงานมีสิทธิที่จะใช้บริการในลักษณะของหลักประกัน สุขภาพ คือจ่ายเพียงสามสิบบาทต่อครั้งก็อาจจะทำให้แรงงานต้องจ่าย ตามค่าใช้จ่ายที่เป็นจริง ทั้งนี้ตามกฎหมายแล้วระบุไว้อย่างชัดเจนว่า แรงงานจะต้องเป็นผู้ที่ถือบัตรเอง 2) ปัญหาในเรื่องการจ้างงานและสิทธิแรงงานตามกฎหมาย แรงงานส่วนหนึ่งยังคงอยู่ในระบบการจ้างงานที่นายจ้างไม่ยอมปฏิบัติตาม พรบ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ทั้งในเรื่องการรับค่าแรงที่ไม่ต่ำกว่า ค่าแรงขั้นต่ำตามกฎหมายกำหนด ชั่วโมงการทำงาน ค่าล่วงเวลา และ สวัสดิการต่างๆ ในช่วงปีที่ผ่านมาพบว่าปัญหาในเรื่องนี้ได้รับการพูดถึง มากขึ้นและแรงงานหลายส่วนได้เข้ามาใช้กลไกการคุ้มครองตามกฎหมาย ดังกล่าว แต่การตอบโต้ของนายจ้างก็มักจะใช้วิธีการเลิกจ้างทำให้ แรงงานไม่สามารถทำงานต่อไปและถูกส่งกลับ แต่ในปีนี้การเปลี่ยนแปลง นโยบายที่แยกสิทธิในการทำงานและสิทธิอยู่อาศัยออกจากกันทำให้ แรงงานสามารถเข้ามาใช้กลไกคุ้มครองแรงงานได้ง่ายมากขึ้น
3) ปัญหาในเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน และค่าชดเชยเมื่อ ประสบอุบัติเหตุจากการทำงาน เนื่องจากแรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่ ทำงานอยู่ในกิจการที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหรืออันตรายต่อ สุขภาพค่อนข้างมาก ทำให้พบว่าหลายครั้งแรงงานจำนวนมากประสบ อุบัติเหตุจากการทำงาน หลายครั้งทำให้สูญเสียอวัยวะ พิการ หรือเสีย ชีวิต โดยปกติแล้วแรงงานสามารถเรียกร้องค่าชดเชยได้จากกองทุนเงิน ทดแทนที่ได้จากการที่นายจ้างจ่ายสมทบในกองทุน แต่ที่ผ่านมานายจ้าง ส่วนใหญ่ไม่ได้จ่ายเงินสมทบกองทุนนี้ นอกจากนั้นแล้วแรงงานข้ามชาติไม่ ได้เข้าระบบประกันสังคมทำให้ยังมีปัญหาบางประการต่อการเข้าไปใช้ กองทุน และแรงงานส่วนใหญ่ยังไม่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้มากนัก นอกจากนี้แล้วยังพบว่าเมื่อแรงงานที่จะต้องได้รับค่าชดเชยจากกรณีต่างๆ เช่น เสียชีวิตและไม่สามารถไปรับค่าชดเชยด้วยตนเองได้ ก็มักจะประสบ ปัญหาในเรื่องผู้รับค่าชดเชยแทน เนื่องจากปัญหาสถานภาพทางกฎหมาย ของคู่สมรสหรือทายาท เช่น ภรรยาของผู้เสียหายไม่ได้มีการจดทะเบียน สมรสหรือมีเอกสารทางราชการรับรองการสมรส หรือไม่มีหลักฐานในการ รับรองการเป็นบุตร ทำให้ไม่สามารถรับค่าชดเชยทดแทนได้ ซึ่งก็ก่อให้ เกิดปัญหาในการรับค่าชดเชยแทนเป็นอย่างมาก แม้กฎหมายในเรื่องการคุ้มครองแรงงานของไทยจะมีลักษณะที่ ให้การคุ้มครองแรงงานทุกคน แต่ก็พบว่ากฎหมายแรงงานที่จะเอื้อต่อการ เข้าถึงการคุ้มครองแรงงานผ่านช่องการการรวมตัวต่อรองในรูปแบบของ สหภาพแรงงานฉบับที่สำคัญฉบับหนึ่งของไทย คือ พระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 มาตรา 88 ได้กำหนดไว้ว่า ผู้มีสิทธิจัดตั้ง สหภาพแรงงานต้องเป็นลูกจ้างของนายจ้างคนเดียวกัน หรือเป็นลูกจ้างซึ่ง ทำงานในกิจการประเภทเดียวกันโดยไม่คำนึงว่าจะมีนายจ้างกี่คน บรรลุ นิติภาวะและมีสัญชาติไทยเท่านั้น จึงส่งผลให้แรงงานข้ามชาติจากพม่า ลาว กัมพูชา ไม่สามารถจัดตั้งสหภาพแรงงานในประเทศไทยได้ มีเพียง การเข้าร่วมเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานได้เท่านั้น เมื่อแรงงานข้ามชาติไม่สามารถก่อตั้งสหภาพแรงงานได้ สิ่งที่ ติดตามมา คือ การถูกกดดันเวลามีการต่อรองหรือเรียกร้องสิทธิเป็นไปได้
ยากขึ้น พบว่านายจ้างจะกีดกันแรงงานข้ามชาติในฐานะลูกจ้างโดยใช้วิธี การต่างๆ เช่น การให้ออกจากงาน การขึ้นบัญชีดำ การสมคบร่วมมือกับ เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเพื่อส่งแรงงานกลับประเทศ ข่มขู่ ทำร้ายร่างกาย มีการ จ้างนักเลงท้องถิ่นไปทำร้าย หรือมีการเข้าจับกุมแรงงานข้ามชาติทีละมาก ๆเวลาแรงงานมีการรวมตัวเพื่อเจรจาต่อรองกับนายจ้าง โดยส่วนใหญ่แล้ว ในประเทศไทยนายจ้างมักจะใช้วิธีการไล่แรงงานข้ามชาติที่เรียกร้องสิทธิ ของตนออกจากงาน เป็นกลยุทธ์สำคัญในการจัดการ ระบบบริการสุขภาพแรงงานข้ามชาติ : ความไม่ลงตัวของการจัดการ อุปสรรคต่อการเข้าถึงการมีสุขภาพดี ในนโยบายการจัดการแรงงานข้ามชาติ สิ่งหนึ่งที่รัฐไทยค่อนข้าง ตระหนักอยู่ไม่น้อยคือ โดยกระบวนการในการดูแลสุขภาพของแรงงาน ข้ามชาติสำหรับรัฐไทยแล้วจะดำเนินในสองส่วน คือ การคัดกรองแรงงาน ข้ามชาติที่สุขภาพแข็งแรง ผ่านการตรวจสุขภาพแรงงานข้ามชาติเมื่อ ดำเนินการขออนุญาตทำงาน และการจัดระบบบริการสุขภาพทั้งผ่านระบบ ประกันสุขภาพสำหรับแรงงานข้ามชาติ หรือประกันสังคม การเข้าไป จัดการเรื่องสุขภาพความเจ็บป่วยของแรงงานข้ามชาติ โดยการจัดระบบ บริการสุขภาพสำหรับแรงงานข้ามชาติ เริ่มขึ้นราวปี 2539 ในลักษณะการ ขายบัตรสุขภาพให้แก่แรงงานข้ามชาติในราคา 500 บาท จนเมื่อระบบ หลักประกันสุขภาพของไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงเป็นระบบหลักประกัน สุขภาพทั่วหน้า ทำให้ในปี 2547 รัฐบาลได้มีแนวทางการให้บริการด้าน สุขภาพแรงงานข้ามชาติผ่านระบบประกันสุขภาพแรงงานข้ามชาติ โดยจะ เป็นลักษณะการขายประกันสุขภาพรายปี และบริการครอบคลุมทั้งรักษา พยาบาล ส่งเสริมสุขภาพ และเฝ้าระวังป้องกันโรค และได้กลายเป็นระบบ บริการสุขภาพหลักของแรงงานข้ามชาติมาตลอดหลายปีจนกระทั่งแนว นโยบายการจัดการแรงงานข้ามชาติที่เน้นการปรับสถานะแรงงานข้าม ชาติให้ถูกกฎหมายผ่านการพิสูจน์สัญชาติได้ประสบความสำเร็จโดย เฉพาะในส่วนของแรงงานข้ามชาติจากพม่าในช่วงประมาณปี 2554 เป็นต้นมา
ผลกระทบอันเนื่องมาจากกรณีที่สามารถพิสูจน์สัญชาติได้ทั้งหมด หรือส่วนใหญ่ของกลุ่มแรงงานข้ามชาติกลุ่มนี้ก็คือ แรงงานข้ามชาติเดิมที่ เคยใช้ระบบบริการสุขภาพผ่านการซื้อประกันสุขภาพแรงงานข้ามชาติที่รับ ผิดชอบโดยกระทรวงสาธารณสุข ก็จะต้องเปลี่ยนไปเข้าสู่ระบบประกัน สังคมตามพรบ.ประกันสังคม ซึ่งครอบคลุมถึงแรงงานข้ามชาติที่เข้าเมือง ถูกกฎหมายมีหนังสือเดินทางอย่างถูกต้อง โดยทั้งสองระบบก็มีรูปแบบ การบริหารจัดการที่แตกต่างกันไป หากพิจารณาจากตัวเลขของการขออนุญาตทำงานที่คงเหลือเมื่อ เดือนมกราคม 2555 ของกลุ่มแรงงานข้ามชาติสามสัญชาติที่ได้รับการ ผ่อนผันตามมติคณะรัฐมนตรีหากพิจารณาเฉพาะกลุ่มที่มีแนวโน้มว่าจะไม่ สามารถเข้าประกันสังคมหลังการพิสูจน์สัญชาติได้ ซึ่งมีเพียงสามกิจการ หลัก ๆ ได้แก่ งานรับใช้ในบ้าน งานประมงและเกษตรกรรมที่ไม่ใช่การ จ้างงานทั้งปี จากแรงงานที่ได้รับการผ่อนผันทั้งหมด 1,248,064 คน พบ ว่าในกลุ่มงานรับใช้ในบ้าน มีจำนวน 85,062 คน ประมง มีจำนวน 41,128 คน และเกษตรและปศุสัตว์ 228,041 คน รวมทั้งสามกิจการ 354,231 คน อย่างไรก็ตามก็พบว่าในงานภาคเกษตรและปศุสัตว์จำนวน ไม่น้อยที่จะทำใบอนุญาตทำงานแบบทั้งปี ซึ่งก็อาจจะต้องมาพิจารณาว่าจะ ต้องเข้าระบบประกันสังคมหรือไม่ ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นก็คือ การหดตัวลงของผู้ประกันตนในระบบ ประกันสุขภาพแรงงานข้ามชาติ จะส่งผลต่อความมั่นคงทั้งของกองทุน ประกันสุขภาพ และตัวสถานบริการสุขภาพ โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีการจ้าง งานในเชิงอุตสาหกรรม หรือการจ้างงานทั่วไปมาก การแบกรับความเสี่ยง ของกองทุนจะมีมาก นอกจากนั้นแล้วระบบประกันสุขภาพแรงงานข้ามชาติ จะครอบคลุมถึงการบริการด้านอื่น ๆ เช่น งานส่งเสริมสุขภาพ งานเฝ้า ระวังป้องกันซึ่งเป็นงบที่จัดสรรให้ระดับพื้นที่โดยตรง แต่ระบบประกัน สังคมบริการเหล่านี้ยังเป็นคำถามว่าจะสามารถครอบคลุมได้หรือไม่ แต่ โดยระบบที่เป็นอยู่แล้วไม่ครอบคลุมในบริการดังกล่าว ซึ่งก็กลายเป็น คำถามในเชิงปฏิบัติว่าการดำเนินการดังกล่าวจะทำอย่างไร และเป็น หน้าที่ของใคร
นอกจากนั้นแล้วยังพบว่าที่ผ่านมาเมื่อแรงงานข้ามชาติเข้าสู่ระบบ ประกันสังคมแล้ว แต่ยังไม่มีการทำความเข้าใจร่วมกันของหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่ หรือมีแนวปฏิบัติที่เป็นระบบชัดเจนก็ทำให้การใช้ สิทธิประโยชน์ในประกันสังคมบางส่วนก็เกิดปัญหาติดขัด เช่น กรณีเงิน สงเคราะห์บุตรกับการแจ้งเกิดลูกของแรงงานข้ามชาติ เป็นต้น แม้ในปี 2556 จะมีการพยายามปรับตัวของระบประกันสุขภาพ โดยขยายกลุ่มเป้าหมายของการประกันสุขภาพให้ครอบคลุมถึงผู้ติดตาม แรงงานข้ามชาติ โดยมีมติคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้กระทรวงสาธารณสุขเป็น หน่วยงานหลักในการให้การดูแลทางการแพทย์และสาธารณสุขแก่ แรงงานข้ามชาติทั้งหมดที่มิได้อยู่ในระบบประกันสังคมให้มีประสิทธิภาพ ขึ้น กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งได้ดำเนินการประกันสุขภาพในกลุ่มแรงงานข้าม ชาติและผู้ติดตามที่ได้รับการผ่อนผันตามมติครม. ให้ตรวจและประกัน สุขภาพ โดยแบ่งเป็นกลุ่มแรงงานข้ามชาติที่อยู่ในกิจการยกเว้นจาก ประกันสังคม มีค่าตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพ 1,900 บาท กลุ่ม แรงงานที่จะต้องเข้าประกันสังคม ให้ซื้อประกันสุขภาพระหว่างรอสิทธิ รักษาพยาบาลสามเดือน 1,047 บาท และกลุ่มผู้ติดตามที่อายุไม่เกิน 15 ปี ค่าประกันสุขภาพ 365 บาท แต่จากผลของการดำเนินการประกันสุขภาพให้แก่กลุ่มแรงงานข้าม ชาติตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวก็พบว่ามีแรงงานที่ผ่านการปรับสถานะ และจะต้องซื้อประกันสุขภาพทั้งหมด 492,881 คน มีแรงงานที่มาตรวจ สุขภาพทั้งหมด 388,163 คน ซื้อประกันสุขภาพ 1 ปี 231,415 คน ซื้อ ประกันสุขภาพ 3 เดือน (รอเข้าประกันสังคม) 22,204 คน สรุปว่า มี แรงงานที่ไม่ซื้อประกันสุขภาพ 239,262 คน (คิดเป็น 48.5%) (ข้อมูลเมื่อ วันที่ 11 สิงหาคม 2556) จากนั้นกระทรวงสาธารณสุขจึงได้มีนโยบายใหม่ ตามประกัน กระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ สธ 0209.01/2556 วันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2556 กระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำโครงการ “ฝากท้องทุกที่ ฟรีทุกสิทธิ ด้วยบัตรสุขภาพแม่และเด็ก (Health Card for Mother & Child) และ
ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องการตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพคน ต่างด้าว วันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2556 มีการตรวจสุขภาพและประกัน สุขภาพของคนข้ามชาติทั่วไป คิดอัตราค่าตรวจสุขภาพคนละ 600 บาท ค่าประกันสุขภาพคนละ 2,200 บาท กลุ่มที่รอสิทธิรักษาพยาบาลโดยซื้อ ประกันสุขภาพ 3 เดือน มีค่าตรวจและประกันสุขภาพรวม 1,150 บาท และ ค่าประกันสุขภาพเด็กที่อายุไม่เกิน 7 ปี คนละ 365 บาท แม้จะเป็นนโยบายที่ดีของรัฐเนื่องจากจะเปิดโอกาสให้คนข้ามชาติ ทุกคนมีระบบประกันสุขภาพ อย่างไรจากการสำรวจขององค์กรพัฒนา เอกชนที่ดำเนินการเรื่องสุขภาพของแรงงานข้ามชาติในหลาย ๆ พื้นที่พบ ว่ายังมีปัญหาค่อนข้างมาก ทำให้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินการต่อ สมควร เช่น พบว่าหลายโรงพยาบาลไม่ขายประกันสุขภาพให้แก่แรงงาน ข้ามชาติเลย หรือไม่ขายให้แก่กลุ่มเด็กที่อายุต่ำกว่า 7 ปี โดยให้เหตุผล เรื่องความเสี่ยงของกองทุน หรือพบว่าสถานพยาบาลบางส่วนไม่ขาย ประกันสุขภาพให้กับคนข้ามชาติที่ไม่มีเอกสารแสดงตนใด ๆ ซึ่งขัดกับ แนวคิดหลักของนโยบายดังกล่าว ภาครัฐขาดระบบประชาสัมพันธ์ที่มี ประสิทธิภาพ ข้อมูลมีความคลุมเคลือขาดความชัดเจน ทำให้แรงงานบาง ส่วนเกิดความเข้าใจผิด หรือยังไม่ได้รับข้อมูลข่าวสารจึงมีแรงงานชื้อบัตร น้อยมาก ทำให้แรงงานไม่ให้ความสนใจต่อระบบดังกล่าว ในขณะที่ กระทรวงสาธารณสุขเองก็ขาดมาตรการในการบังคับใช้นโยบายให้เป็น ไปตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุขในระดับพื้นที่สำนักงาน สาธารณสุขจังหวัดหลายแห่ง ไม่สามารถผลักดันให้สถานพยาบาลใน จังหวัดของตนที่เข้าร่วมโครงการเปิดขายประกันสุขภาพตามกำหนดเวลา รวมทั้งปัญหาด้านราคาและความคุ้มค่าของตัวประกันสุขภาพ แรงงานข้าม ชาติส่วนหนึ่งไม่ซื้อประกันสุขภาพ เนื่องจากเล็งเห็นว่าสิทธิประโยชน์ที่ได้ รับไม่คุ้มค่ากับเงินที่ต้องเสียไป เพราะคิดว่าตนเองยังมีสุขภาพที่แข็งแรงดี หากเจ็บป่วยตนก็สามารถใช้บริการคลินิคที่ตั้งอยู่ในชุมชนได้โดยไม่ต้อง รอคิวนาน และมีล่ามแปลภาษาให้เช่นเดียวกับในโรงพยาบาล ในด้านประกันสังคม กับแรงงานข้ามชาติ มีตัวเลข ณ เดือน กุมภาพันธ์ 2556 มีแรงงานข้ามชาติ 3 สัญชาติ(พม่า ลาว และกัมพูชา) ที
เข้าเมืองถูกกฎหมายโดยผ่านการพิสูจน์สัญชาติ มีใบอนุญาตทำงาน จำนวน 848,443 คน มีแรงงานข้ามชาติที่ผ่านการทำบันทึกข้อตกลง ระหว่างประเทศ(MOU) จำนวน 111,295 คน รวมทั้งสิ้นประมาณ 959,738 คน ทั้งนี้แรงงานข้ามชาติที่นายจ้างต้องพาไปสมัครเป็นสมาชิกประกัน สังคมทั้งสิ้นประมาณ 650,883 คน แต่กลับมีแรงงานข้ามชาติ 3 สัญชาติที่ เข้าประกันสังคมแล้วทั้งสิ้น ประมาณ 210,668 คน เป็นพม่า 146,154 คน ลาว 9,819 คน กัมพูชา 54,695 คน ดังนั้นยังมีแรงงานข้ามชาติที่ยังไม่ได้ เข้าเป็นสมาชิกประกันสังคมอีกมากถึง 440,215 คน
!
สถานการณ์ปัญหาและข้อจำกัดของแรงงานข้ามชาติกับการเข้าไม่ถึงสิทธิ ประกันสังคม 1.ด้านนโยบาย 1.1 แรงงานข้ามชาติต้องส่งเงินสมทบมาแล้ว 90 วัน ถึงสามารถไป ใช้สิทธิในการขอเข้ารับการรักษาได้ ทำให้กระทรวงสาธารณะสุขได้ออก การซื้อบัตรประกันสุขภาพชั่วคราวให้กับแรงงานข้ามชาติ ระหว่างรอสิทธิ ประกันสังคม 1.2 แรงงานขาดการมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย ไม่มีผู้แทน แรงงานโดยตรง และประกันสังคมยังไม่ครอบครุมลูกจ้างประเภทงานบ้าน และงานประมง เกษตรต่อเนื่อง ที่ถูกยกเว้นไว้ในกฎหมายคุ้มครองแรงงาน 2. ระบบกลไกการเข้าถึงสิทธิประกันสังคม 2.1 แรงงานข้ามชาติไม่ทราบข้อมูลว่า การรักษาโรงพยาบาลรัฐ แรงงานข้ามชาติต้องรอบัตรประกันสังคม ถึงจะสามารถเบิกค่ารักษาย้อน หลังได้ ถ้าจะไปรักษาโรงพยาบาลเอกชน จะสามารถเบิกได้แค่บางส่วน 2.2 การตรวจสิทธิทำได้ยากแรงงานฯต้องรอเลขใบอนุญาตทำงาน ซึ่งกระทรวงแรงงานออกบัตรให้ช้ามากทำให้แรงงานฯไม่มีหลักฐานไป ยืนยันการเบิกจ่ายกับสำนักงานประกันสังคม แม้นว่าประกันสังคมจะ อนุญาตให้ใช้การสร้างทะเบียนผู้ประกันตนขึ้นมาชั่วคราว ก็ยังมีปัญหาชื่อ – สกุลของแรงงานฯคล้ายกัน เพราะที่ผ่านมา สปส.ไม่มีการแยกชื่อออกมา ชัดๆทำให้ต้องเสียเวลาในการคัดชื่อ และก่อให้เกิดความสับสน
2.3 โรงพยาบาลที่สังกัดการรักษาของสำนักงานประกันสังคมนั้นมี เจ้าหน้าที่น้อย แต่การเข้าใช้สิทธิการรักษาของแรงงานข้ามชาติมีมากกว่า ทำให้แรงงานไทย คนไทยต่อรอนานมีปัญหาเรื่องความคิดในการแย่งงาน แย่งทรัพยากรในด้านการให้บริการทางการแพทย์ 3. การใช้สิทธิประโยชน์ทางกฎหมายประกันสังคม มาตรา 33 3.1 การใช้สิทธิประโยชน์ด้านการคลอดบุตร การใช้เอกสารหลัก ฐานนั้นแรงงานสามารถใช้เอกสารที่เป็นทะเบียนสมรส /หนังสือรับรอง บุตร หรือคำสั่งศาล ซึ่งในบางจังหวัดจะใช้หลักฐานการเรียกเก็บไม่เหมือน กัน ทำให้แรงงานข้ามชาติสับสน และมีปัญหากับประเทศต้นทางในการ แสดงใบยืนยัน 3.2 การใช้สิทธิในการสงเคราะห์บุตร แรงงานที่ทำงานมาแล้ว 4 ปี สปส.ให้เงินสงเคราะห์ 6 ปี แต่แรงงานที่เข้ามาทำงานตามนโยบายพิสูจน์ สัญชาติ จะอยู่ได้ 4 ปี เท่านั้น ดังนั้นสิทธิที่จะทำต่อเนื่องอีก 2 ปี จะมีวิธีคิด ในการจัดการอย่างไรให้ถึงมือแรงงานฯ 3.3 การใช้สิทธิด้านการชราภาพ มีเงื่อนไขคือลูกจ้าต้องสมทบกับ สปส. มาไม่น้อยกว่า 180 เดือน(15 ปี) อายุ 55 ปี และออกจากงาน แรงงานข้ามชาติจะได้สิทธิประโยชน์ส่วนนี้อย่างไรจะใช้รูปแบบบำนาญ เหมือนคนไทยที่เกษียณอายุ 60 ปี/ 55 ปี นั้นย่อมไม่สามารถทำได้ เพราะ อยู่ทำงานได้เพียง 4 ปี เท่านั้น 3.4 การใช้สิทธิเงินทดแทนการขาดรายได้ กรณีประกันการว่างงาน ลูกจ้างแรงงานข้ามชาติต้องหานายจ้างใหม่ให้ได้ภายใน 7 วัน ถ้าหาไม่ ได้จะถือว่าเป็นแรงงานหลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมาย ซึ่งจะถูกดำเนินการ จับส่งกลับภายใน 24 ชั่งโมงตามกฎหมายหลบหนีเข้าเมืองฯ 4. ปัญหา และข้อจำกัดที่มาจากตัวนายจ้าง 4.1 นายจ้างบางคนยึดใบอนุญาต/พาสปอร์ต เอกสารการพิสูจน์ สัญชาติตัวจริงไว้ ทำให้แรงงานฯไม่สามารถเดินทางไปไหนได้อย่าง สะดวกทำให้แรงงานไม่กล้าร้องเรียน 4.2 นายจ้างบางรายไม่ยอมนำเงินหักสมทบของลูกจ้างนำเข้าประกัน สังคม อีกทั้งมีการสร้างข้อมูลเท็จในการลงทุนเพื่อประโยชน์ในการชะลอ
การส่งเงินสมทบ และหนีค่าปรับของฝ่ายนายจ้าง ปัญหานี้ส่งผลกระทบต่อ ลูกจ้างข้ามชาติในการเข้าใช้สิทธิประโยชน์การรักษา และอื่นๆเมื่อจำเป็น อีกทั้งทำให้สำนักงานประกันสังคมมีฐานข้อมูลที่ไม่ชัดเจนเกี่ยวกับผู้ ประกันตนที่เป็นแรงงานข้ามชาติ ดังนั้น จากการดำเนินการในนโยบายที่จะทำให้แรงงานข้ามชาติมี ประกันด้านสุขภาพทั้งประกันสุขภาพและประกันสังคมของแรงงานข้าม ชาติ ยังมีปัญหาในเรื่องการเข้าถึงของแรงงานข้ามชาติค่อนข้างมาก ซึ่งส่ง ผลให้แรงงานข้ามชาติจำนวนมากยังไม่มีระบบประกันด้านสุขภาพ จาก ตัวเลขการมีประกันด้านสุขภาพอย่างใดอย่างหนึ่ง (ประกันสุขภาพ/ ประกันสังคม) ของแรงงานข้ามชาติแล้วจะพบว่า มีแรงงานข้ามชาติที่มี ประกันด้านสุขภาพเพียง 399,773 คน คิดเป็น 31% ในขณะที่มีคนที่ไม่มี หลักประกันอะไรเลยมากถึง 673,292 คน คิดเป็น 52% ขณะที่มีอีกกลุ่ม แรงงานข้ามชาติที่ยังไม่มีข้อมูลระบุชัดว่ามีหลักประกันสุขภาพอย่างใด อย่างหนึ่งหรือไม่ อีก 212,010 คน หรือ 17% จึงเป็นบทสะท้อนต่อแนวทาง การการดำเนินนโยบายในเรื่องการมีหลักประกันด้านสุขภาพของแรงงาน ข้ามชาติในประเทศไทย แม้ว่าประเทศไทยจะมีนโยบายที่ดี แต่ก็พบว่าเมื่อ นำไปสู่ปฏิบัติแล้วยังมีปัญหาค่อนข้างมาก รวมทั้งยังไม่มีกลไกที่จะเอื้อต่อ การเข้าถึงของแรงงานข้ามชาติ
!
ข้อท้าทายสำหรับก้าวต่อไปในอนาต และการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ตลอดเกือบสองทศวรรษที่ผ่าน นโยบายการจัดการแรงงานข้ามชาติ แม้ส่วนใหญ่จะอยู่ในวังวนของการจัดการระยะสั้นที่วางบนฐานของความ ต้องการจัดการกับการขาดแคลนแรงงาน และปัญหาความมั่นคงแล้ว แต่ก็ อาจจะมองได้ว่า มีจุดเปลี่ยนที่สำคัญในทางนโยบายอย่างน้อยสี่ครั้ง เช่น การทำเปิดพื้นที่การจ้างงานแรงงานข้ามชาติในพื้นที่ชั้นใน เมื่อ พ.ศ. 2539 การเกิดระบบประกันสุขภาพให้แก่แรงงานข้ามชาติ เมื่อ พ.ศ. 2544 การเปลี่ยนระบบการจัดการแบบก้าวกระโดด ทั้งในเชิงการจัดการ ประชากร และการปรับจากแรงงานข้ามชาติเข้าเมืองผิดกฎหมายไปเป็น แรงงานข้ามชาติที่เข้าเมืองถูกกฎหมายโดยผ่านกระบวนการพิสูจน์
สัญชาติ และการนำเข้าแรงงานตามข้อตกลงระหว่างประเทศไทยและเพื่อน บ้าน เมื่อปี 2547 และการเกิดขึ้นของพรบ.การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551 รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เช่น พรบ.การทะเบียน ราษฎรฉบับแก้ไขเพิ่มเติม แต่อย่างไรก็ตาม การที่เราจะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของอาเซียนใน อนาคตอันใกล้ ย่อมไม่อาจหลีกเลี่ยงกระแสการเคลื่อนย้ายแรงงานข้าม ชาติได้ ประสบการณ์ในการจัดการแรงงานข้ามชาติที่ผ่านมาแม้จะ สามารถตั้งรับกับกระแสการย้ายถิ่นได้ แต่ก็ยังมีข้อท้าทายในสี่ประเด็นที่ เกี่ยวข้องกับแรงงานข้ามชาติและอาเซียน ดังนี้ ข้อท้าทายแรก การทำความเข้าใจ และการบริหารจัดการแรงงาน ข้ามชาติในช่วงรอยต่อและและจุดเปลี่ยนของนโยบายการจัดการแรงงาน ข้ามชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจุดเปลี่ยนสองครั้งหลังที่ค่อนข้างใกล้กัน คือ ปี 2547 และปี 2551 ซึ่งถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนทั้งในเชิงรูปแบบ พื้นที่ และวิธีคิด ต่อแรงงานข้ามชาติ เราจะพบว่าจุดเปลี่ยนที่สำคัญในปี 2547 คือการทำให้ความเป็นพลเมือง (ในความหมายที่กว้าง) หรือผู้คนภายใต้ การจัดการของรัฐต่อแรงงานข้ามชาติชัดเจนขึ้นโดยผ่านระบบทะเบียน ราษฎร รวมทั้งการปรับฐานะจากแรงงานเข้าเมืองผิดกฎหมายไปเป็น แรงงานเข้าเมืองถูกกฎหมาย ซึ่งถือได้ว่าเป็นการปรับเปลี่ยนวิธีคิดวิธีการ จัดการในเชิงนโยบายต่อแรงงานข้ามชาติ แต่กลับพบว่าสังคมไทยก็ยังไม่ เห็นหรือไม่สามารถทำความเข้าใจนัยยะสำคัญของการเปลี่ยนแปลงนี้ รวม ทั้งยังไม่สามารถชี้ให้เห็นถึงข้อจำกัด และแนวโน้มที่ควรจะต้องดำเนินการ ได้มากนัก สิ่งที่ปรากฎขึ้นในระดับปฏิบัติจึงเป็นความอิหลักอิเหลื่อของ แนวคิดที่มองแรงงานข้ามชาติแบบคนผู้เข้าเมืองผิดกฎหมาย เป็นปัญหา (แม้สถานะของพวกเขาจะเปลี่ยนเป็นแรงงานข้ามชาติถูกกฎหมายมี สถานะไม่ต่างจากชาวต่างชาติกลุ่มอื่นๆ แต่เรายังมองแรงงานข้ามชาติ เหล่านี้ด้วยมุมมองแบบพวกเขายังมีสถานะที่ผิดกฎหมายอยู่) กับตัวตนใน เชิงกฎหมายที่เปลี่ยนไปของแรงงานข้ามชาติ ซึ่งส่งผลกระทบทั้งต่อตัว แรงงานข้ามชาติ และการจัดการเชิงนโยบายไม่น้อย หรือการปรับเปลี่ยน สถานะของแรงงานข้ามชาติกับการเข้าถึงบริการทางสังคม เช่น การ
บริการทางสุขภาพ กลับถูกปล่อยให้เป็นไปตามยะถากรรมและความ เข้าใจเอาเองของผู้ปฏิบัติ ขาดการจัดการที่สอดคล้อง ข้อท้าทายที่สอง ครอบครัวข้ามชาติ การแต่งงานข้ามชาติ (ข้าม วัฒนธรรม) เป็นที่ปรากฎชัดว่า การย้ายถิ่นข้ามชาติที่เกิดขึ้นใน ประเทศไทยนั้น ไม่ได้มีเพียงการย้ายถิ่นของแรงงานข้ามชาติเท่านั้น แต่ กลับพบเห็นผู้ติดตามแรงงานข้ามชาติ เช่น ลูกของแรงงานข้ามชาติ รวม ถึงสมาชิกในครอบครัวคนอื่น ๆ เข้ามาอยู่ด้วย รวมทั้งการเข้ามาแต่งงาน ตั้งครอบครัวในประเทศไทย ซึ่งเริ่มมีการแต่งงานในลักษณะข้าม วัฒนธรรม เช่นคนไทยแต่งงานกับคนพม่า คนพม่าแต่งงานกับคนลาว เป็นต้น ซึ่งปรากฎการณ์ในลักษณะเช่นนี้จะมีจำนวนเพิ่มขึ้น มีรายละเอียด ต่อมีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันและสังคมไทยเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกัน การจัดการในเชิงนโยบาย และหรือการแสวงหาความรู้เพื่อหาคำอธิบาย ปรากฎการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปในเชิงวิชาการ หรืองานวิจัยกับพบไม่มาก นัก ซึ่งอาจจะส่งผลต่อการจัดการประชากรต่อไปในอนาคตได้ ข้อท้าทายที่สาม การแลกเปลี่ยน การปะทะทางวัฒนธรรม และการ เข้าสู่สังคมแห่งความหลากหลายของวัฒนธรรม การย้ายถิ่นข้ามชาติ ย่อมส่งผลกระทบต่อวัฒนธรรมทั้งของผู้ที่อยู่เดิม และผู้ที่เข้ามาใหม่ใน พื้นที่ การย้ายถิ่นข้ามชาติที่ปรากฎในสังคมไทยก็เช่นกัน การปะทะ และ การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมย่อมมีให้เห็น และมีผลต่อวิถีชีวิตทั่วไปของ ประชากรในพื้นที่เป็นเรื่องปรกติ ขณะเดียวกัน แม้จะเป็นการย้ายถิ่นข้าม ชาติ แต่เนื่องด้วยความเป็นกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกัน หรือมีความใกล้เคียง กัน ก็ยังทำให้เกิดการรื้อฟื้น หรือการหวนกลับคืนของวัฒนธรรมท้องถิ่น เดิมที่ถูกทำให้กลืนกลายหายไปอันเนื่องมาจากกระแสวัฒนธรรมหลักของ รัฐไทยในอดีตได้กลับมาใหม่อีกครั้ง ภายใต้การเรียนรู้การอยู่ร่วมระหว่าง ผู้อยู่แต่เดิม และผู้มาใหม่ นอกจากนั้นแล้ว สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และปราก ฎตัวค่อนข้างชัดเจนมากขึ้นต่อเนื่องจากการย้ายถิ่นคือ การเป็นสังคมที่มี ความหลากหลายของผู้คน หรืออาจจะเรียกว่าการก้าวเข้าสู่การเป็นสังคม พหุวัฒนธรรมที่ปรากฎชัดมากขึ้น ซึ่งท้าท้ายต่อการจัดการ และการสร้าง ความเข้าใจของผู้คนที่อยู่ร่วมกันท่ามกลางความแตกต่าง อีกครั้งยังต้อง
เผชิญกับกรอบคิดแบบเดิมเจือไปด้วยความคิดเชิงชาตินิยม หรือมองคนที่ ต่างอย่างไม่ไว้วางใจของผู้คนในสังคม ปรากฎการณ์เหล่านี้มีผลกระทบ ต่อผู้คน และทิศทางการพัฒนาของท้องถิ่นไม่มากก็น้อย แต่กลับไม่อยู่ใน สารระบบการจัดการ หลายครั้งการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นก็ ถูกเข้าใจผิดจากการจัดการของรัฐ ข้อท้าทายที่สี่ ชายแดน และการก้าวเข้าสู่ความเป็นภูมิภาคต่อการ ย้ายถิ่น ความพยายามจะก่อให้เกิดประชาคมอาเซียน และการก้าวเข้าสู่ ประชาคมอาเซียนในอนาคตอันใกล้ ได้รับการพูดถึงอย่างจริงจังมากขึ้น เรื่องแรงงานข้ามชาติก็เป็นวาระสำคัญที่อาเซียนได้หยิบยกเข้ามาเป็นวาระ หนึ่งในอาเซียน อย่างไรก็ตามแม้จะพยายามสร้างจิตวิญญาณของความ เป็นภูมิภาคอาเซียน การพยายามทำความเข้าใจต่อผู้คนที่ต้องเคลื่อนย้าย อย่างเสรี ก็คงค้างกลิ่นอายของความหวาดระแวง โลกทัศน์แบบชาตินิยม ความเข้มขลังของความมั่นคงแห่งชาติที่ยังอบอวลในความเป็นอาเซียน อาเซียนยังมองการย้ายถิ่นข้ามชาติ เพียงกลุ่มคนที่เป็นแรงงานฝีมือ กึ่ง ฝีมือที่เข้าเมืองถูกกฎหมาย ยังปล่อยให้ภาวะการย้ายถิ่นปรกติ (ที่ถูกมอง จากรัฐว่าไม่ปรกติ) ซึ่งผู้คนส่วนใหญ่คือ คนจน คนที่ด้อยโอกาสในเชิง เศรษฐกิจ และอำนาจ ที่เดินข้ามแดนไปมาโดยไม่มีเอกสาร หรือเป็นไป ตามกรอบกฎหมายในเรื่องการเข้าเมืองของรัฐ ให้เป็นเพียงเรื่องที่ถูกปิด กั้นเอาไว้ หรือให้อยู่ภายใต้กรอบความมั่นคงของรัฐ จนไม่สามารถถูกนับ เป็นส่วนหนึ่งของความเป็นอาเซียนได้ ซึ่งในประเทศไทยเองการทำงานใน เชิงวิชาการในเรื่องนี้ก็ยังเป็นช่องว่างที่รอได้รับการเติมเต็ม และมีคำ อธิบายที่มีพลังในการจะขับเคลื่อนอาเซียนในอีกด้าน ออกจากมุมมืดไป ปรากฎต่อสายตาประชาคมอาเซียน ขณะเดียวกัน พื้นที่ชายแดนก็เป็นอีก พื้นที่หนึ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงและเผชิญกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่ ถาโถมเข้ามาอย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงของชายแดนก็มีผลต่อการ ย้ายถิ่นข้ามชาติไม่น้อย แนวคิดการสร้างพื้นที่ทางเศรษฐกิจชายแดน การ จ้างงานชายแดน และความขัดแย้งที่ยังดำรงอยู่ส่งผลต่อการพัฒนาใน ประเทศไทย และภูมิภาคนี้ ไม่ต่างจากที่มีผลกระทบต่อผู้คนในบริเวณ ชายแดน ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของชายแดนที่รวดเร็ว แต่ก็ยังพบ
ว่าเราอาจจะยังมีองค์ความรู้ คำอธิบาย หรือนโยบายรัฐน้อยกว่าที่ควร เช่น การจ้างงานตามแนวชายแดนทั้งแบบไปกลับ และตามฤดูกาล ชีวิต ของแรงงานในการจ้างงานเหล่านี้ การเข้าถึงสวัสดิการและบริการทาง สังคมที่พวกเขาจะได้รับ ประเด็นเหล่านี้ยังเป็นช่องว่าง และต้องการคำ ตอบ