CAS Annual Review by Kengkij and Kanchananond

Page 1


๓ การเมืองชีวิต: ความสัมพันธ ของการเมือง และชีวิตในงานของ Foucault, Agamben และ Deleuze เกงกิจ กิติเรียงลาภ1 และกาญจนานนท สันติสุข2

บทนํา Thomas Lemke3 ชี้วา หากจะนิยาม “การเมืองชีวิต” (Biopolitics) อยางเรียบงายทีส่ ดุ แลวมันก็หมายถึง “การเมืองทีเ่ ขาไปเกีย่ วพันกับชีวติ ” ซึง่ หาก นิยามเชนนี้ การเมืองชีวิตเปนสิ่งที่เกิดขึ้นมาตลอดนับตั้งแตการเมืองกลายมาเปน สวนหนึง่ ของสังคมมนุษย อยางไรก็ดี เราจะเห็นรองรอยของการเมืองชีวติ ในฐานะ มโนทัศนหนึ่ง ก็อาจระบุไดวามันเริ่มตนขึ้นในครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 เมื่อ 1 2 3

อีเมลติดตอ kkengkij@gmail.com อีเมลติดตอ kanchananont@hotmail.com Thomas Lemke, Biopolitics: An Advanced Introduction (New York and London: New York University Press, 2011) 79


อาเซียนปริทัศน ASEAN Annual Review

นักปรัชญาที่เนนการศึกษาชีวิตอยาง Arthur Schopenhauer, Friedrich Nietzsche และ Henri Bergson เขียนงานทางปรัชญา ตอมาในตนศตวรรษที่ 20 คําวา “การเมืองชีวติ ” ไดถกู บัญญัตขิ นึ้ โดยนักทฤษฎีเกีย่ วกับรัฐชาวสวิตเซอรแลนด ที่ชื่อวา Rudolf Kjellén 4 ซึ่งขอเสนอของเขาก็คือ รัฐก็เปรียบเสมือนชีวิต และตัวของรัฐเองก็สะทอนความเปนไปหรือรูปแบบของชีวิตในสังคมหนึ่งๆ ซึ่ง “ความสัมพันธทางสังคม การเมือง และกฎหมายทั้งหมดวางอยูบนองครวม ทั้งหมดที่มีชีวิต ความสัมพันธเหลานี้คือที่ประดิษฐานของความแทจริง ความเปน นิรนั ดร สุขภาวะทีด่ ี และคุณคาทัง้ หมด”5 เราจะเห็นวา การเมืองชีวติ ของ Kjellén นั้นแตกตางอยางสิ้นเชิงจากการมองรัฐจากมุมมองของกฎหมายที่มองวารัฐคือ ผูออกกฎหมายและบังคับใชกฎหมายซึ่งเปนความคิดที่แพรหลายในยุคสมัยนั้น และงานของ Kjellén คื อ จุ ด เริ่ ม ต น ของการเมื อ งชี วิ ต ที่ เ ราจะอภิ ป รายถึ ง ในบทความนี้ ภายหลั ง จากที่ Kjellén สร า งมโนทั ศ น เ กี่ ย วกั บ การเมื อ งชี วิ ต ขึ้ น มา ในโลกวิชาการของยุโรป รวมถึงสหรัฐอเมริกาเองไดพัฒนามโนทัศนดังกลาว ออกไปในหลายแนวทาง Lemke ชี้วา กอนหนาทศวรรษ 1970 มีแนวทาง การศึกษาการเมืองชีวิตอยู 2 แนวทางหลักที่แตกตางกัน คือ หนึง่ แนวทางแบบธรรมชาตินยิ ม (Naturalism) ซึง่ เนนทีก่ ารทําความเขาใจ ความสัมพันธระหวางนิเวศวิทยาของชีวิตในฐานะที่เปนฐานคิดใหกับการเมือง โดยเปาหมายของแนวทางนี้ก็คือ การจัดวางการเมืองและสถาบันทางการเมือง 4

5

ดูบทความทีอ่ ภิปรายความคิดของ Kjellén เพิม่ เติมใน Sven-Olov Wallenstein, “Introduction: Foucault, Biopolitics, and Governmentality,” in Jakob Nilson and Sven-Olov Wallenstein eds., Foucault, Biopolitics, and Governmentality (Stockholm: Södertörn University, 2013), pp. 7-34.; C. Abrahamson, “On the genealogy of Lebensraum,” Geographica Helvetica, 68(2013), pp. 37-44.; Timothy Campbell and Adam Sitze eds., Biopolitics: A Reader (Durham and London: Duke University Press, 2013) Thomas Lemke, Biopolitics: An Advanced Introduction, p. 10. 80


อาเซียนปริทัศน ASEAN Annual Review

ใหสอดรับกับชีวิตและโลกธรรมชาติ แนวทางเชนนี้มาพรอมกับการขยายตัวขึ้น ของความรู  ใ นเชิ ง ชี ว วิ ท ยาระดั บ จุ ล ภาคและการศึ ก ษาพฤติ ก รรมศาสตร ใ น สหรัฐอเมริกา และการแพรขยายของแนวคิดแบบวิวัฒนาการนิยมที่มองวา พัฒนาการของการเมืองและสถาบันทางการเมืองตองสอดคลองกับพัฒนาการ ในเชิงชีววิทยาของมนุษยในสังคมตางๆ6 และสอง แนวทางแบบการเมืองนิยม (Politicism) ซึ่งเนนการขยายกลไกอํานาจรัฐเพื่อควบคุมจัดการกับโลกธรรมชาติ และชีวิต โดยเฉพาะการที่รัฐมีสวนสําคัญในการพัฒนาและสรางเทคโนโลยีใหมๆ ในการจัดการและดูแลชีวติ ของประชากร สงผลใหรฐั สามารถอางไดวา การดูแลชีวติ ของประชากรก็คือหนาที่สําคัญของรัฐ อยางไรก็ดี Lemke มองวา ทั้งสองแนวทางมีจุดรวมกันที่สําคัญ คือ “ความคิดที่วามันมีลําดับชั้นที่ตายตัวและการที่ความสัมพันธระหวางชีวิตและ การเมืองเปนความสัมพันธทแี่ ยกขาดออกจากกันแบบคนละสิง่ ”7 ในขณะทีแ่ นวคิด แบบธรรมชาตินยิ มมองวาชีวติ เปนสิง่ ทีม่ ากอนและเปนฐานใหกบั การเมือง แนวทาง แบบการเมืองนิยมกลับมองวาการเมืองเปนสิ่งที่มากอนและเหนือกวาชีวิต และ ในครึ่งหลังของศตวรรษที่ 20 แนวทางแบบการเมืองนิยมที่เนนอํานาจรัฐได ผนวกเอาแนวทางแบบธรรมชาตินิยมเขามาเปนสวนหนึ่งของแนวทางแรก โดยรัฐ เขามาใชอํานาจในการจัดลําดับชั้นสูงตํ่าใหกับเชื้อชาติตางๆ พรอมๆ กับการใช เทคโนโลยีทางชีวภาพ (Biotechnology) เขามาสอดสองและควบคุมรางกาย และการใชชีวิตของประชากรมากขึ้นเรื่อยๆ8 การผนวกรวมกันของ 2 แนวคิดนี้ กลายมาเปนฐานคิดใหกับการใชอํานาจรัฐผานการจัดลําดับชั้นของเชื้อชาติตางๆ แบบสูงตํ่าตามแบบลัทธิการเหยียดเชื้อชาติ (Racism) และการฆาลางเผาพันธุ ของนาซีในเยอรมัน ซึ่งเปนปรากฏการณที่เราจะเห็นทั่วไปตลอดศตวรรษที่ 20 6 7 8

Thomas Lemke, Biopolitics: An Advanced Introduction, pp. 14-16. Ibid., p. 3. Ibid., p. 27. 81


อาเซียนปริทัศน ASEAN Annual Review

Lemke ชี้วา ทั้งสองแนวทางลวนแลวแตลมเหลวในการมองความสัมพันธ ระหวางการเมืองและชีวิต เพราะทั้งสองแนวทางวางสมมติฐานของตนเองอยูบน การแยกขาดระหวางการเมืองกับชีวติ และเมือ่ จะตองทําความเขาใจความสัมพันธ ของ 2 สวนนี้ทั้ง 2 แนวทางก็จะเลือกเอาดานใดดานหนึ่งคือการเมืองหรือชีวิต ขึ้นมากอนแบบตายตัว มาถึงจุดนี้ Lemke ชี้วา การพัฒนามโนทัศนการเมืองชีวิต ของ Michel Foucault ในทศวรรษ 1970 ก็คือ การหาทางออกใหกับปมปญหา วาจะเอาอะไรขึ้นกอนระหวางการเมืองหรือชีวิต โดยคุณูปการของ Foucault ในความคิดของ Lemke มีอยู 2 ประการสําคัญคือ หนึ่ง การชี้ใหเห็นวา “ชีวิต ไมใชจุดอางอิงในเชิงคุณคาและในเชิงภาวะวิทยาที่ตายตัว”9 แตชีวิตเปนสิ่งที่ ลื่นไหลและเปลี่ยนแปลงไดไมตางจากการเมือง และสอง “ชีวิตไมเพียงแตไมใช วัตถุกรรมของการเมืองและก็ไมเพียงแตอยูนอกจากการตัดสินใจทางการเมือง แตชีวิตสรางผลสะเทือนตอแกนกลางของความเปนการเมือง และชีวิตที่วาก็คือ สิ่งที่เรียกวา subject ทางการเมือง”10 ในแงนี้ ชีวิตที่ Foucault พูดถึงในการเมืองชีวิตจึงไมใช subject ที่ถูก สรางขึ้นโดยกฎหมาย (Legal subject) แตเปน subject ที่หมายถึงสิ่งมีชีวิต (Living beings) ที่มีอิสระในตัวเอง และในการเมืองชีวิต “‘ชีวิต’ ไดกลายมาเปน ปจจัยที่มีอิสระ จับตองไดในเชิงวัตถุวิสัย และวัดคาได เชนเดียวกับการมอง ความเปนจริงแบบภาพรวมที่สามารถแยกขาดจากชีวิตที่เปนรูปธรรมและความ เฉพาะเจาะจงของประสบการณของปจเจกบุคคลทั้งในระดับของความรูและ ในระดับของการปฏิบัติ”11 การมองชีวิตแบบภาพรวม/นามธรรมจึงเปนเงื่อนไข พื้นฐานของการใชอํานาจและการควบคุมของอํานาจทางการเมืองแบบการเมือง ชีวิตที่ขามพนการใหความสําคัญกับรายละเอียดเชิงรูปธรรมของชีวิตคนแตละคน 9

Thomas Lemke, Biopolitics: An Advanced Introduction, p. 4. Ibid., p. 4. 11 Ibid., p. 5. 10

82


อาเซียนปริทัศน ASEAN Annual Review

ซึ่ ง มี ลั ก ษณะเฉพาะเจาะจง (Singularity) แตเ ป น การใช อํ า นาจที่ ส ามารถ กวาดสายตาและมองเห็ น ในภาพรวมได ทั้ ง หมดในคราวเดี ย วผ า นเครื่ อ งมื อ จํานวนหนึ่ง เชน ขอมูลทางสถิติ แผนที่ และอัตราการเกิดและตาย เปนตน กลาวใหชัดเจนลงไปกวานั้นก็คือ อํานาจทางการเมืองแบบการเมืองชีวิตนั้นเปน อํานาจที่มองหา “ธรรมชาติ” ของประชากรทั้งหมดซึ่งมีความเปนนามธรรมสูง ไมใชความเฉพาะของปจเจกบุคคลที่เปนรูปธรรม ในบทความนีจ้ ะตัง้ ตนทีม่ โนทัศน “การเมืองชีวติ ” ของ Michel Foucault ในฐานะที่เปนจุดตัดของการมองชีวิตและความสัมพันธระหวางชีวิตและการเมือง ของแนวทางแบบมนุษยนิยมกับแนวทางแบบโครงสรางนิยมในทศวรรษ 1970 ซึ่งขอเขียนของ Foucault ไดเปดใหเกิดการศึกษาอํานาจและการตอตานอํานาจ ที่แตกตางออกไปจากเดิม โดยเฉพาะการถอยหางออกจากการวิเคราะหของ พวกมารกซิสตมนุษยนิยม12 และไดเปดทางใหกับแนวทางแบบหลังมนุษยนิยม (Post-humanism) ในโลกสั ง คมศาสตร แ ละมนุ ษ ยศาสตร ใ นเวลาต อ มา นอกจากนี้จะชี้ใหเห็นการตีความที่แตกตางสุดขั้วสองดานที่นักคิดรวมสมัยมีตอ Foucault คือ ระหวางแนวทางที่เนนอํานาจอธิปตยโดยมีงานของ Giorgio Agamben เปนหลัก กับแนวทางทีเ่ นนชีวติ ซึง่ มี Gilles Deleuze เปนนักคิดสําคัญ ตอการเปดทางไปสูทฤษฎีสังคมศาสตรและมนุษยศาสตรแบบหลังมนุษยนิยม ในตนศตวรรษที่ 21

12

ดูเพิ่มเติมขอวิจารณของมารกซิสตสายโครงสรางนิยมตอพวกมนุษยนิยมใน Louis Althusser, The Humanist Controversy and Other Writings (London and New York: Verso, 2003). 83


อาเซียนปริทัศน ASEAN Annual Review

“การเมืองชีวิต” ในงานของ Michel Foucault ในบทสุดทายที่ชื่อวา “Right to Death and Power over Life” ของ หนังสือ The History of Sexuality เลม 1 (1978)13 และตอมาในการบรรยาย ในป 1975-1976 ซึ่งพิมพออกมาเปนหนังสือชื่อ Society Must Be Defended14 ถือเปนจุดเริ่มตนของการอรรถาธิบายมโนทัศนการเมืองชีวิตของ Foucault โดยเขาเริ่มตนอภิปรายถึงความเปลี่ยนแปลงสําคัญของตัวแบบอํานาจในศตวรรษ ที่ 18 และ 19 ซึ่งเกิดการเปลี่ยนตัวแบบของอํานาจจาก “อํานาจอธิปตย” (Sovereign Power) ไปสู  “อํ า นาจวิ นั ย ” (Disciplinary Power) และ “ชีวะอํานาจ” (Biopower) ในทายที่สุด กอนศตวรรษที่ 18 ตัวแบบของอํานาจวางอยูบนอํานาจอธิปตย ซึ่งรัฐ ผู ก ขาดการใช อํ า นาจผ านการฆ า อํานาจของรั ฐวางอยูบนการทํ าใหผู อยู ใต การปกครองถึ ง แก ค วามตาย ดั ง นั้ น ความตายจึ ง เป น ผลผลิ ต โดยตรงหรื อ สะทอนการดํารงอยูของอํานาจรัฐ ไมวาจะเปนการประหารชีวิตหรือการสงให ไปตายในสงคราม ดังที่ Foucault ชี้วา อํานาจอธิปตยก็คือ “สิทธิ์ขาดในการ ตัดสินชีวิตและความตาย” (Right to decide life and death)15 อํานาจอธิปตย จึงเปนอํานาจของการฆาทีส่ มบูรณในตัวเองและไมมเี งือ่ นไขจํากัด การควบคุมชีวติ ของผูใตปกครองจึงตองทําผานการกดและทับ ไมใชการดูแลรักษา ดังที่เราเห็น ในรัฐโบราณทั้งหลาย 13

Michel Foucault, “Right to Death and Power over Life,” The History of Sexuality, Vol. 1: An Introduction (New York: Pantheon Books, 1978), pp. 135-159. 14 Michel Foucault, Society Must Be Defended: Lectures at the College de France, 1975-1976 (Picardo, 2003) 15 Michel Foucault, “Right to Death and Power over Life,” The History of Sexuality, p. 135. 84


อาเซียนปริทัศน ASEAN Annual Review

อยางไรก็ดี ในกลางศตวรรษที่ 18 เปนตนมา รูปแบบของอํานาจได เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยเฉพาะอยางยิ่ง เงื่อนไขสําคัญของการเปลี่ยนแปลง ก็ คื อ การปฏิ วั ติ วิ ท ยาศาสตร ซึ่ ง ตามมาด ว ยการปฏิ วั ติ อุ ต สาหกรรม รวมถึ ง การเกิ ด ขึ้ น ของทฤษฎี วิ วั ฒ นาการของ Darwin และความรู  ท างชี ว วิ ท ยา การเปลี่ ย นแปลงของรู ป แบบการผลิ ต ที่ เ ริ่ ม เข า สู  ร ะบบอุ ต สาหกรรมมากขึ้ น ทีร่ ะบบทุนนิยมตองการแรงงานจํานวนมากเขามาทํางานในโรงงานอุตสาหกรรม16 พลังการผลิตของแรงงานกลายเปนสวนสําคัญที่สุดที่รัฐและกลไกตางๆ ในระบบ ทุนนิยมตองเขามาดูแลและบริหารจัดการ ดังนั้น การรักษาและดูแลสุขภาวะ และชีวติ ของผูใ ตปกครองจึงมีความสําคัญมากขึน้ เรือ่ ยๆ เปาหมายของการปกครอง เปลี่ยนแปลงไปสูการที่รัฐตองเขามาดูแลรางกายและชีวิตของพลเมืองมากขึ้น เพราะการมีชีวิตและการมีสุขภาพที่ดีของพลเมืองคือปจจัยสําคัญของความมั่งคั่ง ทางเศรษฐกิจ การปกครองที่ดีจึงไมใชเรื่องการฆาแตเปนเรื่องของการดูแล และบริหารจัดการชีวิตของพลเมือง

1. 2. 3. 4.

16

ศตวรรษที่ 18 อํานาจอธิปตย Sovereign over (Sovereign power) death Object of power Body Scale of using power Individualization Techniques of State level / power Disciplinary power

ศตวรรษที่ 19 Regularization of life Life Massification Sub-state level / Biopowers

Thomas Lemke, Biopolitics: An Advanced Introduction, p. 35. 85


อาเซียนปริทัศน ASEAN Annual Review

อํานาจแบบใหมที่เกิดขึ้นหันมาสนใจการดูแลรักษาและควบคุมบงการ รางกาย (Body) ของพลเมือง โดยเฉพาะการควบคุมผานกลไกและสถาบันหลักๆ ของสังคม เชน ครอบครัว และโรงเรียน Foucault เรียกการควบคุมแบบนี้วา “อํานาจวินัย” ซึ่งเปนชวงเปลี่ยนผานสําคัญจากอํานาจแบบเกาไปสูอํานาจ แบบใหม ภายหลังจากศตวรรษที่ 19 เปนตนมา เมื่อชีวิต (Life) กลายมาเปนสิ่งที่ สําคัญที่สุดที่การเมืองใหความสนใจ อํานาจทางการเมืองจึงเปนอํานาจที่วาง อยูบนการสรางกลไก เทคนิค และเทคโนโลยีเพื่อจัดการกับชีวิต ซึ่ง Foucault เรียกการเขามาบริหารจัดการชีวิตของรัฐและกลไกรัฐสมัยใหมที่เกิดขึ้นในชวง เวลานีว้ า “ชีวะอํานาจ” ซึง่ หมายถึง “การใชอาํ นาจเหนือมนุษยตราบเทาทีม่ นุษย เปนสิ่งที่มีชีวิต (Living being)”17 อยางไรก็ดี การเกิดขึ้นของชีวะอํานาจไมใช สิ่งใหมที่เขาแทนที่สิ่งเกาทั้งหมด แตเปนอํานาจที่วางอยูบนแนวคิดเรื่องสิทธิ แบบเกา พรอมๆ กับแทรกซึมดวยวิธีคิดแบบใหมเกี่ยวกับชีวิต อํานาจของรัฐแบบ ชีวะอํานาจจึงเปนการทีร่ ฐั ขยายกลไกของตัวเองเขามาในชีวติ ประจําวันของมนุษย มากขึ้น ภายใตการเปลี่ยนแปลงเชนนี้ ความคิดเกี่ยวกับมนุษยเองก็เปลี่ยนแปลง ไปจากเดิม ในขณะที่สังคมวินัยมองมนุษยในฐานะรางกาย (Man-as-body) แต สั ง คมที่ ป กครองด ว ยชี ว ะอํ า นาจปกครองมนุ ษ ย ใ นฐานะที่ เ ป น สิ่ ง ที่ มี ชี วิ ต (Man-as-living-being) ซึ่ ง ส ว นสํ า คั ญ ที่ สุ ด ไม ใ ช ก ารปกครองพลเมื อ งผ า น การทําใหเหมือนกัน แตเปนการปกครองและจัดการชีวิตที่มีความหลากหลาย (Multiplicity) ซึ่งไมสามารถลดทอนใหเปนปจเจกบุคคลที่เทากันเหมือนกัน ไดอีกตอไป อันเนื่องมาจากความหลากหลายคือคุณสมบัติสําคัญของการใชชีวิต ของผูคน โดยที่แตละคนมีความหลากหลายของจังหวะและรูปแบบการใชชีวิต ดังนั้น อํานาจที่จะใชในการปกครองและจัดการชีวิตจึงเปนอํานาจที่วางอยูบน การเขาปะทะและจัดการกับความหลากหลายมากกวาการจัดการกับความเหมือน 17

Michel Foucault, Society Must Be Defended, p. 240. 86


อาเซียนปริทัศน ASEAN Annual Review

เทานัน้ อํานาจในการจัดการชีวติ จึงเปนอํานาจทีก่ ระทํากับมนุษยตงั้ แตเกิดจนตาย ซึ่งแทรกซึมอยูในทุกมิติตลอดชีวิต ในแงนี้ พื้นที่และเวลาแบบเดิมที่ตายตัว เชน การแยกสถานที่ทํางานกับสถานที่พักผอน การแยกเวลาทํางานกับเวลา พักผอน หรือแมแตการแยกระหวางปริมณฑลสาธารณะกับปริมณฑลสวนตัว ซึง่ หากพูดในภาษา Marx แลว การแบงแยกดังกลาวนีเ้ ปนการแยกระหวาง “งาน” กับ “ชีวิต” ไดถูกลดความสําคัญลงไป เพราะชีวะอํานาจที่เขามาปะทะกับชีวิต ทัง้ หมดของพลเมืองผานการสลายพรมแดนของชีวติ กับงานทีเ่ คยแยกออกจากกัน ใหพังทลายลงไป18 Foucault ชี้วา การเกิดขึ้นของชีวะอํานาจสงผลใหเกิดความเปลี่ยนแปลง สําคัญๆ ใน 3 มิติ คือ หนึ่ง แนวคิดเรื่องสิทธิที่แตเดิมมุงเนนไปที่สิทธิทางการเมือง ของพลเมือง ซึ่งรัฐตองคุมครองสิทธิในทางการเมือง และสิทธิในพื้นที่สาธารณะ ของผูค น รวมถึงการใหเสรีภาพในการจัดการกับชีวติ สวนตัวของแตละคน ในฐานะ ที่ทุกคนเปนมนุษยที่เปนพลเมืองของรัฐ มาสู “การมองฐานของสิทธิแบบใหม ที่วางอยูบนความหลากหลาย ความหลากหลายที่มีจํานวนอนันต สงผลใหเรา ไมสามารถนับได การเมืองชีวิตจึงเปนการจัดการกับประชากรทั้งหมดในฐานะ ที่ชีวิตของประชากรเปนปญหาทางการเมือง และวิธีการจัดการกับชีวิตก็ถูกมอง ในฐานะทีเ่ ปนเรือ่ งของวิทยาศาสตรและการเมืองพรอมๆ กัน ในฐานะทีเ่ ปนปญหา เชิงชีววิทยาพรอมๆ กับที่เปนปญหาทางการเมือง”19 สอง หากการจัดการกับ ประชากรเปนปญหาหลักทางการเมือง อํานาจทางการเมืองยอมเปนอํานาจทีต่ อ ง จัดการในระดับหนวยขนาดใหญ (Collective) ไมใชการจัดการหนวยของพลเมือง แบบปจเจกบุคคลอีกตอไป และสาม ในการที่จะจัดการประชากรซึ่งเปนปญหา ภาพรวมขนาดใหญ กลไกของอํานาจแบบใหมจึงตองถูกสรางขึ้น เชน การทํานาย คาดการณ การเก็บขอมูลทางสถิติ และการใชเกณฑหรือตัวชีว้ ดั ทีส่ ามารถใชไดกบั 18 19

Michel Foucault, Society Must Be Defended, pp. 242-243. Ibid., p. 245. 87


อาเซียนปริทัศน ASEAN Annual Review

ทุกคนในภาพรวม ในแงนี้เราจะเห็นบทบาทของรัฐในการเก็บขอมูลเชิงสถิติ อยางละเอียดเกี่ยวกับประชากร และขอมูลสวนใหญไมใชขอมูลเชิงกายภาพ ภายนอกเทานั้น แตเปนขอมูลในระดับชีวภาพภายในรางกายและการใชชีวิต ประจําวัน รวมถึงขอมูลของการสือ่ สารในโลกอินเทอรเน็ตทีล่ ะเอียดมากขึน้ เรือ่ ยๆ ผานภาษาแบบใหม เชน ภาษาดิจิตอลที่ตัวเลข 0 และ 1 สามารถถอดและใสรหัส การสื่อสารทุกอยางได ชีวะอํานาจจึงไมใชอํานาจที่ควบคุมปจเจกบุคคลแบบ รายคน แตเปนการใชอํานาจในระดับทั่วไป (Generality)20 กลาวโดยสรุปแลว เปาหมายของชีวะอํานาจก็คือ การจัดการกับความ หลากหลายอยางไมมีจํากัดของชีวิต เมื่อชีวิตที่ประกอบไปดวยความหลากหลาย แบบไมจํากัดกลายมาเปนวัตถุของอํานาจ อํานาจจึงตองยกระดับตัวเองใหมี ความเป น นามธรรมและทั่ ว ไปมากขึ้ น ดั ง ที่ เ ราเห็ น ในภาษาสถิ ติ แ ละภาษา คณิ ต ศาสตร ซึ่ ง กลายมาเป น เครื่ อ งมื อ สํ า คั ญ ของรั ฐ สมั ย ใหม การจั ด การกั บ ความหลากหลายของชีวิตนั้นมีเปาหมายเพื่อสรางความสมดุล (Equilibrium) สถาปนาคา เฉลี่ ย (Average) และการดํ า รงอยู  ด  ว ยกั น ไดข องสว นตา งๆ ที่ แตกตางกัน (Homeostasis) ใหแกประชากร21 เพราะการใชอํานาจในระดับนี้ เทานั้นที่จะสามารถทําใหรัฐสมัยใหมควบคุมชีวิตทั้งหมดไดในเวลาเดียวกัน ผานเครื่องมือแบบเดียวกัน ในขณะที่ชีวิตที่ถูกดึงเขาสูการเมืองเปนชีวิตที่เปดไปสู ความหลากหลายมากขึ้น แตอํานาจกลับตองการตัวชี้วัดหรือกลไกที่เปนภาพรวม ทั้งหมด (ซึ่งประเด็นนี้จะกลาวถึงตอไปเมื่อพูดถึงงานของ Deleuze) Foucault ชี้วา เมื่ออํานาจเปลี่ยนเขาสูชีวะอํานาจ ความหมายของ ความตายก็ เ ปลี่ ย นแปลงไปด ว ย ในขณะที่ ใ นสั ง คมก อ นสมั ย ใหม รั ฐ หรื อ อํานาจอธิปตยจะสําแดงอํานาจของตนเองผานการทําใหตาย ซึ่งความตายของ ผูถ กู ปกครองและความตายของศัตรูคอื เครือ่ งบงชีอ้ าํ นาจของรัฐ แตในชีวะอํานาจ 20 21

Michel Foucault, Society Must Be Defended, p. 246. Ibid., p. 246. 88


อาเซียนปริทัศน ASEAN Annual Review

“ความตายกลายมาเปนปญหาและอุปสรรคทีถ่ าวรของอํานาจ ความตายเปนสิง่ ที่ เขามาหาชีวติ แบบไมทนั ตัง้ ตัว และความตายคือการลดทอนและทําใหชวี ติ ออนแอ ลงไปแบบถาวร”22 ความตายเปนภาพสะทอนของความลมเหลวของการปกครอง ของรัฐที่ไมสามารถปกครองประชากรได ในแงนี้อํานาจรัฐแบบชีวะอํานาจเปน อํานาจที่ตองใหและรักษาชีวิตมากกวาอํานาจที่จะทําใหตาย ดังที่ Foucault ชี้วา ชีวะอํานาจไมใชอํานาจที่จะพรากชีวิต แต “เปนความสามารถที่จะเขามาสราง และปรับแตงชีวิต เปนอํานาจที่มีเปาหมายหลักอยูที่การปรับปรุงชีวิตผานการ ลดทอนและกําจัดสิ่งที่คาดเดาไมได ความไมแนนอน และความไมเพียงพอ ในแงนี้ความตายในฐานะที่เปนการทําใหชีวิตถึงจุดสิ้นสุดจึงมีความหมายเทากับ เวลาที่จํากัด ขีดจํากัด หรือแมแตความตายก็หมายถึงการสิ้นสุดของอํานาจดวย ในสภาวะเชนนี้ ความตายจึงเปนสิ่งที่อยูภายนอกจากความสัมพันธทางอํานาจ”23 นอกจากนี้ เทคนิ ค ของการปกครองของอํ า นาจก็ ยั ง เปลี่ ย นไปด ว ย ในขณะที่ ใ นสั ง คมก อนสมัยใหม และในสัง คมวินัย เทคนิค ของการใช อํานาจ แสดงออกผานการควบคุมและสรางปจเจกบุคคล โดยเขาไปสรางวินัยใหแก พลเมืองเพื่อควบคุมรางกายของพลเมืองจากบนลงลางผานสถาบันตางๆ ที่เปน ทางการ แตในชีวะอํานาจ อํานาจจะทํางานในแนวระนาบมากขึ้น โดยมุงเนน ทีก่ ารควบคุมประชากรทัง้ หมดในลักษณะทีเ่ ปนนามธรรม เปาหมายก็คอื การทําให ประชากรรับเอาความรูต า งๆ เขามาควบคุมตนเองจากภายใน ผานการทํางานของ สถาบันที่ไมไดผูกกับรัฐโดยตรง เชน สถาบันทางการแพทย และผูเชี่ยวชาญตางๆ หรือแมแตสถาบันเสริมความงาม รานอาหารสุขภาพ และสื่อโฆษณาตางๆ ที่เราเห็นในปจจุบัน เทคนิคของอํานาจแบบชีวะอํานาจจึงไมใชการควบคุมหรือ กดบังคับจากภายนอก แตเปนการแทรกซึมเขาไปอยูภายในจิตใจของพลเมือง ใหพลเมืองรูจักควบคุมตนเองภายใตชุดความรูที่ไหลเวียนอยูในทุกมิติของชีวิต 22 23

Michel Foucault, Society Must Be Defended, p. 244. Ibid., p. 248. 89


อาเซียนปริทัศน ASEAN Annual Review

ในชีวะอํานาจ การรักษาชีวิตของตนเองกลายมาเปนภารกิจอันหนึ่งที่ พลเมืองจะละเลยไมได การละเลยการดูแลชีวิตของตนเองอาจนํามาซึ่งโรคราย หรือภยันตรายตอชีวิตของพลเมืองคนอื่นๆ ในแงนี้ ชีวะอํานาจจะทํางานผาน การสรางบรรทัดฐาน (Norm) ที่ไมไดอยูในรูปของกฎหมาย แตอยูในรูปของความ เขาใจรวมกันวาอะไรเปนสิ่งที่ดีและควรจะเปน และเพื่อที่จะทําใหการดูแลชีวิต ของพลเมืองเป นไปได รัฐจําเปนอย างยิ่งที่จะตองลดทอนความหลากหลาย จํานวนมากของพลเมืองใหกลายมาเปนตัวเลขหรือรหัสภาษาที่แทนคาความ หลากหลายทั้งหมดได ดังที่ Foucault ชี้วา ภาษาของชีวะอํานาจนั้นเปนภาษา ทางสถิติและตัวเลขที่ตองแทนคาและวัดคาสิ่งตางๆ ที่แตกตางกันใหมาอยูใน ระนาบของความเขาใจและการคิดคํานวณเดียวกันได การมีตัวเลขและสถิติ เกีย่ วกับประชากรคือเครือ่ งมือสําคัญของรัฐในการบริหารจัดการประชากรจํานวนมาก และยังสามารถนําไปสูการคาดการณและทํานายโอกาสและความนาจะเปนของ พฤติกรรมของประชากรที่อาจเปนภัยตอสวนรวมไดดวย การระแวดระวังหรือ จับจองกันเองของพลเมืองจึงเปนกลไกและเทคนิคใหมๆ ทีถ่ กู สรางขึน้ เพือ่ ควบคุม พฤติกรรมการใชชีวิตของประชากร กลาวโดยสรุปก็คอื ชีวะอํานาจคือตัวแบบของการปกครองแบบใหมทเี่ กิดขึน้ ในศตวรรษที่ 19 ซึ่ ง มี เ ป า หมายเพื่ อ ควบคุ ม และบริ ห ารจั ด การชี วิ ต ทั้ ง หมด ของประชาชนในภาพรวม ผานเทคนิคตางๆ ที่ถูกพัฒนาขึ้น ไมวาจะเปนความรู ทางวิทยาศาสตรการแพทย ชีววิทยา สาธารณสุข และตัวเลขทางสถิติ รูปแบบของ การปกครองแบบชีวะอํานาจไมใชการกดบังคับจากภายนอก แตเปนการทําให ประชากรรับเอาความรูตางๆ เหลานี้เขามาควบคุมและจัดการชีวิตตัวเอง รวมถึง สอดสองจับจองกันเอง ดังนั้น เราจะเห็นวาชีวะอํานาจไมใชอํานาจที่อิงอยูกับรัฐ และกลไกอํานาจรัฐที่เปนทางการในแบบเดิมที่วางอยูบนตัวแบบของกฎหมาย แตเปนอํานาจที่กระจายออกไปในแนวระนาบผานชุดความรูตางๆ และสถาบัน ต า งๆ ที่ ไ ม เ ป น ทางการ ซึ่ ง เป น ความรู  แ ละสถาบั น ที่ ร ายรอบประชากรใน ชีวิตประจําวัน 90


อาเซียนปริทัศน ASEAN Annual Review

อยางไรก็ดี งานเขียนของ Foucault ไดถูกตีความอยางหลากหลายมาก โดยนั ก คิ ด รุ  น หลั ง ส ง ผลให ม โนทั ศ น ก ารเมื อ งชี วิ ต มี ค วามหมายที่ แ ตกต า ง หลากหลายกันไปและถูกนําไปวิจัยในกรณีศึกษาหลายแบบ Paul Rabinow และ Nikolas Rose24 ชี้วา มีอยางนอย 2 แนวทางที่สุดขั้วของการตีความการเมือง ชีวิตของ Foucault คือ ระหวางแนวทางของ Giorgio Agamben ซึ่งเนนที่ การอธิบายชีวะอํานาจผานองคอธิปตยของรัฐสมัยใหมกับแนวทางของ Antonio Negri ซึ่งเนนที่อํานาจที่เกิดจากการสรางขึ้นของ Multitude ในฐานะที่เปน การผลิตแบบการเมืองชีวติ (Biopoilitical production) จากขางลางในแนวระนาบ อยางไรก็ดี Negri เองนําเอาวิธีการตีความการเมืองชีวิตแบบที่เนนมุมของ “ชีวิต” มาจากการตีความของ Gilles Deleuze ในขณะที่ Agamben เลือกมองการเมือง ชีวิตแบบที่เนนมุมของ “การเมือง” ซึ่งหมายถึงอํานาจอธิปตยและรัฐเพื่อทํา ความเขาใจชีวติ หรือทีเ่ รียกวาชีวะอํานาจ แต Deleuze และ Negri กลับเลือก มองที่ “ชีวติ ” ในฐานะศักยภาพ การตอตาน และพลังอิสระซึง่ มากอนการใชอาํ นาจ ของอํานาจอธิปตย โดยในสวนตอไปจะอภิปรายใหเห็นความแตกตางของมุมมอง ทั้งสองดาน โดยเนนไปที่งานของ Agamben และ Deleuze

Giorgio Agamben กับ “การเมือง” ชีวิต ในหนังสือที่ชื่อวา Homo Sacer: Sovereign Power and Bare Life Giorgio Agamben25 มองวา การแบงแยกชีวิตออกเปนชีวิตตามธรรมชาติ (Zoe) กับชีวิตทางสังคม (Bios) คือฐานคิดที่สําคัญที่สุดของการทําความเขาใจแนวคิด 24

Paul Rabinow and Nikolas Rose, “Biopower Today,” BioSocieties (2001), 1, p. 198. 25 Giorgio Agamben, Homo Sacer: Sovereign Power and Bare Life (Stanford: Stanford University Press, 1998) 91


อาเซียนปริทัศน ASEAN Annual Review

ทางสังคมการเมืองของโลกตะวันตกทั้งหมดที่ตกทอดมาจากยุคกรีก Agamben ชี้วา ในความเปนจริง เราไมเคยสามารถแบงแยกชีวิตสองประเภทนี้ออกจากกัน ไดอยางสมบูรณ โดยเฉพาะรัฐสมัยใหมนั้นใชอํานาจของตนเองผานการสราง ความพรามัวระหวางชีวิตทั้งสองประเภท ในที่นี้ Agamben กลับไปหาคําอธิบาย ของ Foucault เรื่องการเมืองชีวิตซึ่งไมใชการเมืองที่มีแตชีวิตที่มีคุณภาพหรือ ชีวติ ทางสังคมแบบ Aristotle เทานัน้ แตเปนการเมืองทีร่ วมเอาชีวติ ตามธรรมชาติ เขามาเปนสวนหนึ่งของการเมืองดวย เชน การที่รัฐสมัยใหมใหความสนใจ ตอสุขภาพที่ดีของประชากร26 รัฐสมัยใหมที่เขามายุงกับชีวิตประจําวัน หรือชีวิต ตามธรรมชาติที่เปนสวนตัว (Private life) นั้นเปนอํานาจที่ควบคุมชีวิตตั้งแตเกิด จนตาย จนถึงกระทัง่ การมีอาํ นาจทีจ่ ะสามารถปกปองชีวติ หรือแมแตประหารชีวติ ก็ได อํานาจอธิปตยจึงอยูเหนือและทําหนาที่ตัดสินใหมีชีวิตและใหตายได สําหรับ Agamben การแยกชีวิตตามธรรมชาติออกจากชีวิตทางสังคมแทบจะเปนไปไมได ในโลกแหงความเปนจริง เสนแบงระหวางชีวิตตามธรรมชาติ/ชีวิตทางสังคม การเมือง รวมถึงพื้นที่สวนตัว/พื้นที่สาธารณะจึงเปนเพียงภาพลวงตาของการ ปกครองในสังคมสมัยใหม โดยเฉพาะการใชอาํ นาจขององคอธิปต ยกค็ อื การเขามา จัดการชีวติ ทีห่ มายถึงการสลายเสนแบงระหวางชีวติ ตามธรรมชาติซงึ่ อยูใ นสภาวะ ของสงครามทีท่ กุ คนฆาทุกคนไดกบั ชีวติ ทางการเมืองทีร่ ฐั ตองทําหนาทีป่ กปองชีวติ ของพลเมือง ขอเสนอสําคัญของ Agamben ก็คือ อํานาจขององคอธิปตย ในรัฐสมัยใหมก็คืออํานาจที่ทําใหเสนแบงระหวางชีวิตสองประเภทพรามัวลงไป และสามารถฆาได Agamben ไดยืมความคิดเรื่องชีวะอํานาจ27 ของ Foucault 26

คําวา ประชากร (population) เปนที่เกิดขึ้นในสภาวะสมัยใหม ดูไดใน Michael Foucault, “Security, Territory, and Population” in Ethics: Subjectivity and Truth (New York: The New Press, 1997), pp. 67-71. 27 Michael Hardt กลาววา ตนเองมีความเห็นพองกับ Agamben ในหลายเรือ่ ง โดยเฉพาะการวิเคราะห ชีวะอํานาจและอํานาจอธิปตย แตมองวา Agamben นั้นเนนเรื่องอํานาจที่กระทําจากขางบน มากเกินไป โดยไมเปดโอกาสใหกับการตอบโตดวยชีวะอํานาจจากขางลางของ multitude ได 92


อาเซียนปริทัศน ASEAN Annual Review

มาอธิบายอํานาจขององคอธิปตยในฐานะที่ชีวะอํานาจเปนอํานาจที่ทะลุทะลวง เขาไปใน subject28 ซึ่งเปนอํานาจที่ทั้งผนวกคนทุกคนเขามา (Totalization) และสรางความเปนปจเจก (Individualization) ให แก subject แตละคน พรอมๆ กัน29 ชีวิตที่ถูกทะลุทะลวงและขึ้นกับอํานาจภายนอกเชนนี้ไมมีความ แนนอนโดยตัวของมันเอง เปนชีวิตที่ไมสามารถกําหนดการตายและการมีชีวิตอยู ของตัวเองได หรือที่ Agamben เรียกวา “ชีวิตที่เปลือยเปลา” (Bare life/ Homo sacer) ซึ่งเปนผลผลิตของชีวะอํานาจที่ถูกใชโดยอํานาจขององคอธิปตย การสรางชีวิตที่เปลือยเปลาโดยตัวมันเองจึงเปนกิจกรรมพื้นฐานที่สุดของอํานาจ อธิปตย30 ในการควบคุมชีวิต องคอธิปตยไดทําใหชีวิตของมนุษยที่อยูภายใตสังคม การเมืองหนึ่งๆ กลายมาเปนชีวิตที่เปลือยเปลา ซึ่งเปนชีวิตที่ตองถูกกีดกันออกไป และไม ค วรอยู  ร วมกับ ชีวิตที่มีคุ ณค าหรือชีวิ ตทางการเมือง ดังที่ Aristotle กลาวไววา ใน Polis นัน้ จะมีกแ็ ตชวี ติ ทีด่ ี ไมใชชวี ติ ของคนปาหรือชีวติ ตามธรรมชาติ ในแงนี้ ภายใตองคอธิปตยที่ใชชีวะอํานาจ ชีวิตคือวัตถุหรือเปาหมายของการใช อํานาจและการควบคุมอยางสมบูรณ และชีวิตนั้นถูกทําใหเกี่ยวพันกับการเมือง และสัมพันธกับอํานาจของอธิปตยอยางถึงที่สุดผานการที่องคอธิปตยขับไลหรือ เบียดขับชีวิตแบบนี้ออกไปจากปริมณฑลของการเมืองปกติไปสูปริมณฑลของ ดู “Sovereignty, Multitude, Absolute Democracy: A Discussion between Michael Hardt and Thomas L. Dumm about Hardt’s and Negri’s Empire” in Paul A. Passavant and Jodi Dean eds., Empire’s New Clothes: Reading Hardt and Negri (Routledge, 2004), pp. 166-167. 28 ดูแนวคิดเรือ่ ง ซับเจค (subject) โดยเฉพาะของ Foucault ไดใน ธเนศ วงศยานนาวา, การวิเคราะห ซับเจค (subject) ทฤษฎีที่ใชทฤษฎีวาดวยอํานาจของ มิเชล ฟูโก (ศูนยวิจัยคณะรัฐศาสตร, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, 2532) 29 Giorgio Agamben, Homo Sacer, p. 5. 30 Ibid., pp. 6, 83. 93


อาเซียนปริทัศน ASEAN Annual Review

“สภาวะยกเวน” (State of Exception) ที่พรมแดนของโลกธรรมชาติหรือ ความเปนสัตวกับโลกทางสังคมหรือความเปนมนุษยถูกทําใหพรามัวไป31 เมื่อพิจารณาเสนแบงหรือขอบเขตระหวางความเปนการเมืองและพื้นที่ ที่มิใชการเมืองแลว ชีวิตที่เปลือยเปลาที่แมจะดูเสมือนวาอยูขางนอก แตเราก็ไม สามารถกลาวไดวาชีวิตเปนสิ่งที่อยูขางนอก แตชีวิตที่เปลือยเปลาเปนชีวิตที่อยู “ระหวาง” (Threshold) ขางในและขางนอก เปนสภาพที่เสนแบงระหวาง ขางในและขางนอกปริมณฑลของการเมืองไมมีความชัดเจน แมจะถูกเบียดขับ (Exclusion) แตก็เปนการเบียดขับในลักษณะที่ดึงเขามาอยูภายใตอํานาจที่ กําหนดวาใครควรถูกเบียดขับแมแตการดึงเขามาเพือ่ ทีจ่ ะฆาได (To be included to be killed)32 มากกวาที่อยูอิสระจากอํานาจทางการเมือง หรือที่เรียกวา Inclusive Exclusion33 การทํางานขององคอธิปตยจึงไมจํากัดตัวอยูที่การเมือง แบบปกติเทานั้น หากการสรางพื้นที่หรือสภาวะฉุกเฉินที่ไมใชสภาวะปกติก็เปน การใชอํานาจแบบหนึ่งขององคอธิปตยเชนกัน ในแงนี้การสรางสภาวะฉุกเฉิน ก็คือการสรางพื้นที่ระหวางซึ่งเปนพื้นที่พิเศษที่พรมแดนของสิ่งตางๆ ถูกทําให พรามัวลงไป ชีวะอํานาจเปนอํานาจที่อยูบนการมีอํานาจเหนือชีวิตและความตายของ สิง่ มีชวี ติ ในรัฐ อํานาจทางการเมืองของรัฐสมัยใหมจงึ ไมใชอาํ นาจเชิงสถาบันเทานัน้ แตเปนชีวะอํานาจที่ควบคุมชีวิตตั้งแตเกิดจนตาย เปนอํานาจที่สอดสองดูแล ทุกยางกาวของชีวิต ในทัศนะของ Agamben สภาวะสมัยใหมหรือรัฐสมัยใหม เปนสภาวะทีส่ รางความเปลือยเปลาใหแกชวี ติ มากทีส่ ดุ อุดมการณของการจัดการ ชีวติ โดยรัฐกลายเปนอุดมการณสงู สุดของรัฐสมัยใหม ไมวา จะอยูใ นรูปของสุขภาพ ความรู หรือแมแตศีลธรรม อํานาจอธิปไตยจึงเปนอํานาจที่ Agamben เรียกวา 31

Giorgio Agamben, Homo Sacer, p. 7. Ibid., p. 82. 33 Ibid., p. 7. 32

94


อาเซียนปริทัศน ASEAN Annual Review

องคอธิปต ยแหงการเมืองชีวติ (Biopolitical Sovereignty) ทีม่ ชี วี ติ และความตาย เปนเปาหมายหรือวัตถุของอํานาจ34 ในทัศนะของ Foucault เหตุผลของรัฐ (Reason of state) ซึ่งถูก สถาปนาขึ้นอันเปนสวนหนึ่งของศิลปะแหงการปกครอง (Governmentality) ตัง้ แตปลายศตวรรษที่ 16 และตกผลึกในตนศตวรรษที่ 1735 และนับตัง้ แตศตวรรษ ที่ 18 เหตุผลของรัฐวาดวย ความมั่นคง (Security) ไดกลายมาเปน เหตุผลของรัฐ ในสภาวะสมัยใหมซึ่งมีสถานะสูงสง ที่ใครจะแตะตองไมได ความมั่นคงแบบนี้ได พัฒนามาควบคูกับวิธีคิดแบบเสรีนิยมจนกลายเปนกระบวนทัศนสําคัญของโลก สมัยใหม36 ซึ่งการคิดถึงความมั่นคงแบบนี้นําไปสูการคิดถึง “ภัย” ไมวาจะเปนภัย จากลัทธิการเมืองที่เปนปฏิปกษกับความคิดแบบเสรีนิยม เชน ลัทธิคอมมิวนิสต ภัยจากขบวนการแบงแยกดินแดน หรือแมแตภยั จากโรคระบาดและแผนดินไหว37 ก็เปนเหตุผลของรัฐในการประกาศภาวะฉุกเฉินไดทั้งหมด ความมั่นคงอันเกิดจาก การไมมีภัย “ภายใน” จึงเปนสิ่งสําคัญกวาภัยจาก “ภายนอก” ในความคิดของ Agamben ความจําเปน (Necessity) จึงกลายเปนตนกําเนิดของกฎหมายทัง้ ปวง38 ทั้งนี้ทั้งนั้น การประกาศวาอะไรคือ “ภัย” หรือ ใครคือ “ศัตรู” ผูคุกคาม “ความ มั่นคง” ไดกลายเปนหนาที่ที่สําคัญแตผูเดียวขององคอธิปตย คือ รัฐสมัยใหม ไปโดยปริยาย ภัยทีเ่ กิดขึน้ จึงกลายมาเปนขออางขององคอธิปต ยแหงการเมืองชีวติ หรือชีวะอํานาจที่จะใชในการแทรกแซงและควบคุมชีวิตของพลเมือง

34

Giorgio Agamben, Homo Sacer, p. 114. 35 มิเชล ฟูโก, “วาดวยการปกครอง (On Governmentality)”, แปลโดย ธเนศ วงศยานนาวา ใน วารสารสังคมศาสตร, ปที่ 30 ฉบับที่ 3, หนา 116-7. 36 Giorgio Agamben, “Security and Terror” tr. Carolin in Theory & Event, 5:4, 2002. 37 Giorgio Agamben, State of Exception, p. 17. 38 Ibid., p. 17, 24, 26-28. 95


อาเซียนปริทัศน ASEAN Annual Review

ในแงนี้ สภาวะฉุกเฉินที่องคอธิปตยสรางขึ้นไมใชสภาวะที่อยูนอกเหนือ จากอาณาบริเวณของการใชอาํ นาจ (Nomos) แตเปนสวนสําคัญของ Nomos เอง ซึ่ง Agamben กลาววา การประกาศสภาวะฉุกเฉินเปน “ธรรมชาติ” ของการใช อํานาจอธิปต ยทดี่ าํ รงอยูใ นหลักการของ Nomos แมวา จะไมระบุไวเปนลายลักษณ อักษรในกฎหมายก็ตาม ตัวอยางที่เราเห็นไดในปจจุบันมีมากมายที่ประเทศ ทีป่ กครองดวยระบอบรัฐสภาหรือระบอบเสรีประชาธิปไตย ประกาศสภาวะฉุกเฉิน หรือกฎอัยการศึกเพื่อใหอํานาจเบ็ดเสร็จแกรัฐหรือฝายบริหารในการปราบปราม “ผูกอการราย” นั้นระบุชัดเจนวา ใหอํานาจแกฝายบริหารในการออกคําสั่ง และตัดสินใจ และทีน่ า สนใจก็คอื มีการระบุวา ใหอาํ นาจแกเจาหนาทีซ่ งึ่ อาจจะเปน ทหารหรือตํารวจในการจับกุมหรือตัดสินใจไดวา จะจัดการอยางไร รวมไปถึงอํานาจ ในการตัดสินใจวา ใครคือ “ผูต อ งสงสัย” หรือ “ผูก อ การราย” อํานาจในการตัดสินใจ วาใครเปนหรือไมเปนชีวิตที่เปลือยเปลาผานการบอกวาใครคือ “ผูกอการราย” นัน้ เปนสิง่ ที่ Agamben กลาววา เปนอํานาจการตัดสินใจแบบองคอธิปต ยทที่ าํ งาน บนชีวิตและความตาย โดยอํานาจเชนนี้เองเปนปรากฏการณที่อํานาจอธิปตย สามารถปรากฏตัวไดทุกหนทุกแหง ในกรณีนี้ตํารวจ ทหาร หรือแมแตแพทย จะกลายเปนองคอธิปตยชั่วคราว อํานาจอธิปตยที่ประกาศความเปนศัตรูหรือ ชีวิตที่เปลือยเปลาจึงอยูท่ีปรากฏอยูในมือของเจาหนาที่รัฐในการตัดสินใจจับกุม หรือฆาในแตละครั้งนั่นเอง39 กล า วโดยสรุป แล ว Agamben ได นําเอามโนทั ศ น การเมืองชีวิ ตของ Foucault มาใชในการอธิบายรัฐสมัยใหม โดยมุงเนนไปที่การใชอํานาจรัฐ หรือที่เรียกวา “ชีวะอํานาจ” ซึ่งเปนอํานาจในการควบคุมยึดจับพลเมืองแบบบน ลงลางมากกวาที่จะใหความสําคัญกับการผลิตแบบการเมืองชีวิตซึ่งเปนดาน ของการตอตานและการสรางชีวิตที่อยูในงานของ Foucault ซึ่งสําหรับนักคิด อี ก จํ า นวนหนึ่ ง ด า นของการต อ ต า นและการสร า งชี วิ ต เป น สิ่ ง ที่ สํ า คั ญ กว า 39

Giorgio Agamben, “Sovereign Police” in Means without End (Minneapolis: University of Minnesota Press, 2000), pp. 102-106. 96


อาเซียนปริทัศน ASEAN Annual Review

และมากอนดานของการควบคุมและการใชอํานาจ ดังที่เราจะเห็นในงานของ Gilles Deleuze

Gilles Deleuze กับการเมือง “ชีวิต” ภายหลังจากที่ Foucault เสียชีวิตในป 1984 Gilles Deleuze เขียนงาน ที่ชื่อวา Foucault40 เพื่อทบทวนมโนทัศนพื้นฐานและคุณูปการของ Foucault โดยเฉพาะมโนทัศนเกี่ยวกับอํานาจ ชีวิต และการตอตาน นอกจากนี้ยังมีบทความ ขนาดสั้นอีก 2 ชิ้น คือ “Postscript on the Societies of Control”41 และ บทความ “Immanence: A Life”42 ในชิ้นแรก Deleuze ไดพัฒนามโนทัศน เรื่องชีวะอํานาจของ Foucault มาอีกขั้นหนึ่งโดย Deleuze เรียกสังคมที่ ปกครองดวยชีวะอํานาจวา “สังคมแหงการควบคุม” หรือ society of control และงานชิ้นหลังเปนงานที่ชี้ใหเห็นความเชื่อมโยงระหวางชีวิตกับสภาวะในโลก (Immanence)43 งานเขียนกลุมนี้เปนจุดอางอิงสําคัญของการทําความเขาใจ “การเมืองชีวิต” ของ Deleuze ในสวนนี้จะอภิปรายมโนทัศนการเมืองชีวิต ของ Deleuze ผาน 3 ประเด็นหลัก คือ 1) พลัง (Force) 2) อํานาจและเทคนิค 40

Gilles Deleuze, Foucault (Minneapolis and London: University of Minnesota Press, 1988). 41 Gilles Deleuze, “Postscript on the Societies of Control,” October, Vol. 59 (Winter 1992), pp. 3-7. 42 Gilles Deleuze, “Immanence: A Life,” Pure Immanence: Essays on A Life (New York: Zone Books, 2001), pp. 25-33. 43 ดูเพิ่มเติมมโนทัศน “สภาวะในโลก” (immanence) ใน เกงกิจ กิติเรียงลาภ, “ฐานทางปรัชญาของ Antonio Negri: จาก Spinoza สู multitude,” ฟาเดียวกัน, ปที่ 11 ฉบับที่ 3 (ตุลาคม-ธันวาคม 2556), หนา 38-54. 97


อาเซียนปริทัศน ASEAN Annual Review

ของอํานาจ (Power and techniques of power) 3) การตอตานและการสราง subject (Resistance and Subjectivation) เพื่อจะนําไปสูสวนสรุปของ บทความซึ่งจะชี้ใหเห็นวางานของ Deleuze นําไปสูการศึกษาการเมืองชีวิต และแนวทางการศึกษาแบบหลังมนุษยนิยมในเวลาตอมาไดอยางไร 1. “พลัง” (Force) คือที่มาของความสัมพันธทางอํานาจ Deleuze เสนอว า งานเขี ย นของ Foucault มี คุ ณู ป การสํ า คั ญ ต อ การพัฒนามโนทัศน “อํานาจ” (Power) ไปใหไกลมากขึน้ กวาทฤษฎีวา ดวยอํานาจ ในงานสังคมวิทยาแบบคลาสลิกของ Karl Marx และ Max Weber ที่สําหรับ Marxist อํานาจถือเปนเรื่องสังกัดชนชั้น (Class) สวน Weberian แลว อํานาจคือ โครงสรางการบริหารงานผานกฎระเบียบและองคกรขนาดใหญ (Bureaucratic) Deleuze ชี้วา ในทรรศนะของ Foucault อํานาจไมไดเปนวัตถุสิ่งของที่จะมีใคร หรือกลุม ใดสามารถถือครองได แตสาํ หรับ Foucault แลว เขาจําแนกการวิเคราะห อํานาจออกเปน 2 ระดับ ระดับแรก คือ พลัง และระดับที่สอง คือ อํานาจที่เกิดขึ้น จากความสัมพันธระหวางพลังตางๆ หรือพูดอีกอยางหนึ่งวา ทุกๆ ความสัมพันธ ระหวางพลังคือ “ความสัมพันธเชิงอํานาจ” (Power Relation) พลังและอํานาจ ไมใชสงิ่ ทีส่ ามารถดํารงอยูไ ดดว ยตัวเองหากแตเปนความสัมพันธระหวางพลังตางๆ ทีเ่ ชือ่ มตอเขาดวยกันไมวา การเชือ่ มตอนัน้ จะเปนความสัมพันธเชิงบวกหรือเชิงลบ และในขณะที่อํานาจคือการสถาปนาประธานและกรรม แตพลังกลับไมมีสิ่งที่ เรียกวา “ประธาน” (Subject) หรือ “กรรม” (Object) เนือ่ งจากพลังดํารงอยูแ ละ เปนความสัมพันธทที่ กุ ฝายตางก็เปนผูก ระทําหรือผูถ กู กระทํา พลังจึงเปนเพียงพลัง บริสุทธิ์ (Pure Force) เทานั้น และ “อํานาจคือความสัมพันธระหวางพลังตางๆ หรือใหชัดกวานั้น ทุกๆ ความสัมพันธระหวางพลังตางๆ ก็คือ ‘ความสัมพันธทาง อํานาจ’”44 44

Gilles Deleuze, Foucault, p. 70. 98


อาเซียนปริทัศน ASEAN Annual Review

Deleuze ชี้วา เราตองเขาใจอํานาจในความหมายที่แตกตางออกไป จากทฤษฎีสงั คมศาสตรกอ นหนานีใ้ น 3 ประเด็น คือ หนึง่ อํานาจไมใชรปู แบบหนึง่ ของความสัมพันธ แตอํานาจดํารงอยูในทุกๆ ความสัมพันธระหวางสิ่งตางๆ สอง พลังหนึ่งๆ ไมไดดํารงอยูอยางเปนเอกเทศเฉพาะในตัวเอง แต “มันดํารงอยูใน ความสัมพันธกับพลังอื่นๆ”45 และสาม พลังไมมีประธานและกรรม สิ่งที่ดํารงอยูมี เพียงศักยภาพของพลังที่ไปสัมพันธกับพลังอื่นๆ “พลังจึงไมมีวัตถุแหงการกระทํา ของตัวมันเองที่แยกขาดออกจากพลังอื่นๆ แตมันเปนหรือขึ้นตอความสัมพันธกับ พลังอื่นๆ เทานั้น”46 ในแงนี้ อํานาจและความสัมพันธทางอํานาจจึงไมไดอยูลอยๆ ในสุญญากาศ แต 1) กระจายตัวอยูในพื้นที่ 2) ถูกจัดระเบียบผานเวลา และ 3) อํานาจประกอบขึ้นในกาละและเทศะที่เฉพาะเจาะจงบางอยาง47 ในแงนี้เราจึง ไมสามารถวิเคราะหอํานาจแบบเหมารวมผานลักษณะทั่วไปได แตตองชี้ใหเห็น ความสัมพันธทางอํานาจที่เกิดขึ้นจากความสัมพันธที่เฉพาะเจาะจงของพลังตางๆ ในกาละและเทศะหนึ่งๆ สําหรับ Deleuze แลว อํานาจมีลักษณะที่สําคัญ48 ดังนี้ 1) อํานาจไมใช การควบคุมหรือการกดทับ (Repression) ที่มีความหมายเฉพาะการกดทับหรือ ปด กั้ น เทา นั้ น แตอํ านาจเปนสิ่ง ที่สั่ ง สม สร างขึ้น และขยับขยายออกไปได 2) อํานาจนัน้ เปนปฏิบตั กิ าร (Practice) หรือเปนการกระทํา (Action) และอํานาจ วิ่งไลตามเพื่อยึดจับและควบคุมจัดการการดํารงอยูและเคลื่อนที่ไปของพลัง อยูเสมอ อํานาจจึงเปนสิ่งที่มาทีหลังพลังเสมอ ในแงนี้ อํานาจจึงไมไดมีลักษณะ เปนกลุมกอนหรือทรัพยากรที่ชนชั้นใดชนชั้นหนึ่งจะยึดครองได แตอํานาจเปน เรื่องของการปฏิบัติ/ปฏิบัติการของพลังตางๆ ที่มาสัมพันธและปะทะกัน และ 45

Gilles Deleuze, Foucault, p. 70. Ibid., p. 70. 47 Ibid., p. 71. 48 Ibid., p. 71. 46

99


อาเซียนปริทัศน ASEAN Annual Review

3) อํานาจนัน้ อยูใ นมือผูป กครองพอๆ กับทีอ่ ยูใ นมือของผูถ กู ปกครอง อํานาจไมใช สิ่งของหรือทรัพยากรที่รวมเปนหนึ่งเดียว อํานาจสรางจากการยินยอม/ตอรอง/ ขัดขืนหรือปฏิบัติการที่ทําใหคนอื่นหรือสิ่งอื่นเกิดมีหรือแมแตดูเหมือนมีอํานาจ ในอีกดานหนึ่ง อํานาจเกิดขึ้นจากการเชื่อมตอของพลังตางๆ ที่ชวยเพิ่มอํานาจ ใหแกกนั และกัน ในขณะทีห่ ากพลังตางๆ ไมสามารถเชือ่ มตอกับพลังอืน่ ๆ ไดอาํ นาจ ก็จะลดลง ในแงนี้ พลังจึงเปนเรื่องของศักยภาพ (Potentiality) ที่ทั้งสามารถ สรางแรงกระทบ (To affect) ตอพลังอื่นๆ และทั้งที่เปนศักยภาพที่จะไดรับ หรือรับรูถ งึ การถูกกระทบ (To be affected) จากพลังอืน่ ๆ สิง่ ใดก็ตามทีถ่ กู สิง่ อืน่ มากระทบใหเกิดความเปลี่ยนแปลง แสดงวาสิ่งนั้นมีศักยภาพในการเชื่อมตอกับ พลังอื่นหรือสิ่งอื่นอันจะนําไปสูการเปลี่ยนแปลงตัวเอง49 อํานาจจึงไมไดมีลักษณะ ของการปฏิเสธหรือกดทับเทานัน้ แตอาํ นาจเปนเรือ่ งของการสรางผานปฏิสมั พันธ ที่พลังตางๆ มาเชื่อมตอกระทบและถูกกระทบ อํานาจจึงมีลักษณะที่เปนเชิงบวก และสรางสรรคดวย การมองอํานาจแบบนี้แตกตางจากการมองอํานาจในทฤษฎี สังคมศาสตรเดิมที่เห็นวา สิ่งใดก็ตามที่ถูกกระทบหรือถูกเปลี่ยนแปลงเปนเพราะ สิง่ นัน้ มีอาํ นาจนอย แตสาํ หรับ Deleuze แลว Foucault มองวา การเปลีย่ นแปลง ตัวเองของพลังตางๆ เมื่อกระทบและถูกกระทบจากพลังอื่นๆ นั้นเปนเพราะ พลังนั้นมีศักยภาพที่จะกอใหเกิดความเปลี่ยนแปลง ความสัมพันธทางอํานาจจึงไมไดเปนเรื่องที่เปนทางการหรือเปนเรื่อง ของสถาบันขนาดใหญเทานั้น แตยังดํารงอยูในรูปแบบที่ไมเปนทางการดวย และ หากจะมีความสัมพันธที่เปนสถาบันหรือเปนทางการ มันก็ยอมมาทีหลังจาก ความสัมพันธที่ไมเปนทางการ หรือพูดอยางถึงที่สุด ความสัมพันธทางอํานาจ เปนเรือ่ งทีไ่ มเปนทางการในแงทมี่ นั เปนความสัมพันธของพลังตางๆ นอกโครงสราง ของอํานาจทีเ่ ปนทางการ ซึง่ หากความสัมพันธไมสามารถถูกรองรับดวยความเปน 49

Gilles Deleuze, Foucault, p. 71. 100


อาเซียนปริทัศน ASEAN Annual Review

สถาบันที่เปนทางการ อํานาจก็ไมใชสิ่งที่เสถียร หยุดนิ่ง หรือมีขอบเขตตายตัว ชัดเจน โดยเฉพาะอยางยิ่ง ตัวแบบของอํานาจแบบ “ชีวะอํานาจ” ที่ Foucault เสนอวาเปนตัวแบบที่แตกตางจากอํานาจแบบอธิปตยซึ่งเปนตัวแบบของการใช อํานาจที่มีศูนยกลาง แตชีวะอํานาจเปนปฏิบัติการของอํานาจที่เคลื่อนที่อยู ตลอดเวลา โดยเฉพาะการเคลื่อนไปในสนามของพลังตางๆ ที่อยูนอก/หางจาก ศูนยกลางอํานาจ การวิเคราะหชีวะอํานาจจึงไมไดเรียกรองใหเราสนใจรัฐหรือ สถาบันที่เปนทางการแตเพียงดานเดียว แตเรียกรองใหเราสนใจปฏิบัติการของ อํานาจในปริมณฑลตางๆ ที่ดูเสมือนวาไมมีเปนการเมืองหรือไมมีอํานาจ นั่นคือ ปริมณฑลของชีวิตที่อยูในสนามพลังตางๆ50 ในลําดับตอมา Deleuze กลับมาตีความ ความสัมพันธระหวางอํานาจ กับความรูในงานของ Foucault โดยชี้วา ในปฏิบัติการของอํานาจ อํานาจ จะเขามาจัดการกับพลังตางๆ ผานการสรางความรูที่ในตัวความรูเองกลายเปน สถาบันแบบหนึ่ง ซึ่งอาจไมไดขึ้นตอหรือเปนกลไกที่เปนทางการของรัฐ แตความรู กลายมาเปนปฏิบัติการที่ “ไมจําเปนตองมีรัฐ มันเปนกลไกการควบคุมของรัฐ และมันก็เปนเชนนี้ในทุกๆ กรณี”51 ในทรรศนะของ Deleuze รัฐจึงไมไดมี ความหมายแคบแบบที่ Marx เรียกวาเปนโครงสรางสวนบน หรือแบบที่ Weber พูดถึงรัฐในฐานะสถาบันที่ผูกขาดความรุนแรง แตรัฐหมายถึง กลไกการยึดจับ และควบคุมความสัมพันธของพลังตางๆ ที่เคลื่อนที่อยู ซึ่ง Foucault แทนที่คําวา “รัฐ” (State) ดวยคําวา “การปกครอง” (Government) ซึ่งมีความหมาย กวางกวา เปาหมายของการปกครองก็คอื การเปลีย่ นสิง่ ทีไ่ มมรี ปู ราง ไรทที่ าง และ อยูน อกกลไกของมันใหกลายมาเปนสิง่ ทีก่ าํ หนดรูปรางได มีทมี่ ที าง และอยูภ ายใน การจัดลําดับชวงชั้นของโครงสรางอํานาจ ซึ่งการยึดจับสิ่งที่ไรที่ทาง ไรรูปราง อยูสิ่งที่อยูภายนอกใหเขามาเปนการเปลี่ยนสิ่งที่ไรระบบระเบียบใหมาอยูใน 50 51

Gilles Deleuze, Foucault, p. 73. Ibid., p. 75. 101


อาเซียนปริทัศน ASEAN Annual Review

“ระบบของการจัดการความแตกตางที่เปนทางการ” (System of formal differentiation)52 พูดอีกอยางก็คือ อํานาจจะทํางานบนการเชื่อมความสัมพันธ ระหวางรหัสที่มีรูปแบบตายตัวและเปนทางการกับสิ่งที่ยังไมถูกนับวาเปนรหัส ซึ่งเคลื่อนไหวอยางอิสระผานการสรางชุดความรูขึ้นมา และนี่คือความสําคัญ ของความรูใ นฐานะทีเ่ ปนเครือ่ งมือหรือกลไกในการยึดจับหรือแปลสิง่ ทีย่ งั ไมมรี หัส ใหเขามาอยูในระบบระเบียบของความรูที่จัดการได และเมื่อมันถูกจัดการได มันก็ยอมถูกควบคุมได ในแง นี้ อํ า นาจจึ ง เป น สิ่ ง ที่ ม าก อ นความรู  เ สมอ เพราะลํ า พั ง ความรู  โดยตัวมันเองไมสามารถผนวกหรือยึดจับเอาสิ่งใดเขามาได หากปราศจากความ สัมพันธทางอํานาจระหวางพลังตางๆ ความรูมีทั้งที่อยูในรูปของการจัดระเบียบ สิ่งยอยๆ ใหอยูภายในโครงสรางขนาดใหญในฐานะที่เปนระบบความรูกับความรู ในฐานะทีเ่ ปนเครือ่ งกําหนดขอบเขตของความเปนไปไดในการทําความเขาใจสิง่ ใด สิ่งหนึ่ง (Curve) โดยเฉพาะในมิติของภาษา ความรูเปนเครื่องมือที่ทําใหสิ่งตางๆ สามารถถูกพูดถึงไดในฐานะทีเ่ ปนประโยคและวลี ในแงนภี้ าษาก็คอื ชุดของอํานาจ ที่เขามาจัดการกับสิ่งที่ยังไมถูกพูดถึงและการจัดการกับสิ่งที่ถูกพูดถึงไดใหอยูในที่ ในทางหรือในโครงสรางลําดับชั้นของภาษา53 สํ า หรั บ Deleuze พลั ง เป น การเคลื่ อ นที่ แ ละเปลี่ ย นรู ป ไปอย า งไม หยุดยั้ง “การกําเนิดขึ้นของพลังใหมๆ จึงเทากับการสรางและเปลี่ยนแปลง ประวัติศาสตรใหกาวกระโดดทวีคูณ”54 การเคลื่อนที่ของพลังจึงมีลักษณะคลาย Diagram หรือการวาดแผนที่ (Cartography) คือ อยูในแนวระนาบแบบหาจุด เริม่ ตนและจุดจบไมได พืน้ ทีแ่ บบ Diagram เปนพืน้ ทีแ่ บบไรสถานที่ (Non-place) คือ เปนพื้นที่ที่ยังไมกลายมาเปนสิ่งที่ถูกใหความหมายในฐานะที่เปนสถานที่ 52

Gilles Deleuze, Foucault, p. 76. Ibid., pp. 78-83. 54 Ibid., p. 85. 53

102


อาเซียนปริทัศน ASEAN Annual Review

(Place) ในมุมของอํานาจ พื้นที่แบบไรสถานที่เชนนี้จึงเปนพื้นที่ที่เปดใหเกิดการ เปลี่ยนความหมายและกลายเปนสิ่งอื่นไดอยูตลอดเวลา พื้นที่ที่ไรสถานที่ซึ่งเปน พื้นที่เอกพจนเฉพาะตัวเองและเปนพื้นที่ที่อยูในโลกเชนนี้เปนสิ่งที่อยูภายนอก (Outside) ของอํานาจ เปนพื้นที่ที่ไมถูกจัดลําดับชวงชั้นโดยอํานาจ ไมมีรูปราง ไมมจี ดุ เริม่ ตนและจุดจบ มีแตสภาวะระหวาง (Interstices/In-between/Middle) ที่เปดใหสิ่งตางๆ เกิดขึ้นไดและเปนไปได และเมื่อสิ่งที่เปนไปไดซึ่งเปนสิ่งที่อยู ภายนอกเคลื่อนที่ มันจะมีโอกาสและศักยภาพในการเขามากอกวนและยกสลาย องคประกอบของภายในทีม่ รี ะเบียบใหขยับเคลือ่ นออกไปจากเดิม55 การกลายเปน สิ่งอื่น (Becoming) ที่เกิดจากการเคลื่อนที่ใน Diagram จึงไมใชความตอเนื่อง ของตัวตนหรืออัตลักษณ แตเปนการกาวกระโดดและเปลี่ยนแปลงตัวเองของ ตัวตนตางๆ56 ลักษณะของการเชื่อมตอกันของพลังตางๆ ที่อยูภายนอกจาก โครงสรางของอํานาจจึงมีสภาวะทีเ่ ปนเอกพจนในแงทมี่ นั มีกฎเกณฑของตัวมันเอง พร อ มๆ กั บ ที่ มั น ก็ ไ ม ขึ้ น ต อ อะไรอย า งอื่ น ที่ อ ยู  น อกตั ว มั น หรื อ ที่ เ รี ย กว า สภาวะในโลก การที่ พ ลั ง เคลื่ อ นที่ แ บบไร ส ถานที่ ห รื อ เคลื่ อ นที่ ใ นพื้ น ที่ แ บบ Diagram ศักยภาพของมันจึงไมใชการผลิตสรางความหมายทีม่ อี ยูแ ลว แตเปนการ ผลิตสรางสิ่งที่ไมถูกนับวามีความหมาย (Non-sense) ซึ่งเปนสิ่งที่อยูภายนอก การสร า งสิ่ ง ที่ ไ ร ค วามหมายจํ า นวนมากจากศั ก ยภาพของพลั ง ในตั ว มั น เอง จึงเปนการตอตานอํานาจที่ยึดอยูกับระบบความหมายและภาษาที่ตายตัว รวมถึง การสรางสิ่งที่ไรความหมายยังสะทอนวา เราไมสามารถนิยามมนุษยวาเปนมนุษย คือผูมีความสามารถในการพูดภาษาและการใชเหตุผล เพราะศักยภาพไมใช การสรางสิง่ ทีเ่ ปนเหตุเปนผล แตเปนการผลิตสรางสิง่ ทีเ่ ลยพนจากกรอบของเหตุผล ปกติ และเราไมสามารถนิยามสังคมวาเปนชุมชนของมนุษยที่เชื่อมโยงกันดวย กฎเกณฑกติกาทีเ่ ปนเหตุผลผานภาษาได แตสงั คมคือการเคลือ่ นไปอยางไมสนิ้ สุด 55 56

Gilles Deleuze, Foucault, p. 87. Ibid., p. 85. 103


อาเซียนปริทัศน ASEAN Annual Review

ของศักยภาพของพลังตางๆ ทีส่ รางสิง่ ใหมอยูเ สมอ สิง่ ทีน่ า สนใจสําหรับ Deleuze จึงไมใชระบบภาษาและเหตุผล หรือแมแตความเปนมนุษย แตกลับเปนความ สัมพันธของพลังตางๆ ที่ประกอบกันเขาเปนสิ่งตางๆ ซึ่งลวนแลวแตผลิตสราง สิ่งที่ไรความหมาย รวมถึงการสรางกฎเกณฑกติกาของตัวเองแบบไมมีระบบ ระเบียบ และไมสามารถถูกเขาใจไดดวยเหตุผลของความเปนมนุษย เราจะเห็นวา สิ่งที่ Deleuze สนใจจึงไมใชมนุษย และความรูก็ไมใช เรื่องของศาสตรแหงมนุษยแบบมนุษยศาสตรหรือสังคมศาสตร แตความรูแบบนี้ เปนการทําความเขาใจและเปดใหเห็นการเชื่อมตอของความหลากหลายของ พลังตางๆ ที่หลากหลายและเปนอนันตที่เขามาประกอบกันเปนรูปรางตางๆ ไมวารูปรางนั้นจะเปนมนุษย สัตว หรือรูปรางที่ไมสามารถจัดประเภทวาเปนอะไร ไดจากระบบความรูที่มีอยู ความรูจึงเปนเรื่องของการศึกษาการประกอบกันเขา และการเคลื่อนไปอยางไมสิ้นสุดของพลังซึ่งเปนสสารพื้นฐานของการเคลื่อนไป และดํารงอยูของสรรพสิ่งมากกวาจะเปนการศึกษาตัวมนุษยท่ีมีแกนแทและ เปนสากลแบบมนุษยนิยม การขามใหพน มนุษยนิยมจึงเปนความพยายามทีจ่ ะเปด ใหเราเห็นสิ่งใหมและความเปนไปไดของการเกิดสิ่งใหม ซึ่งทั้งหมดนี้เปนเรื่อง ของความสัมพันธแบบอนันตของพลังตางๆ มากกวา วัตถุแหงการศึกษาแบบ Deleuzean จึงไมใชมนุษย แตเปนการประกอบกันเขาของพลัง ซึ่งขามพน การศึกษาแบบเทววิทยาที่สนใจพระเจา และขามพนความรูแบบสมัยใหมที่ยึดกับ ความเปนมนุษยแบบมนุษยนิยม57 2. อํานาจและเทคนิคของอํานาจ เมือ่ การดํารงอยูข องอํานาจเปนสิง่ ทีม่ าทีหลังจากปฏิสมั พันธของพลังตางๆ อํานาจจึงเปนกลไกของการเขาไปควบคุม จับยึด และจัดการกับศักยภาพของ พลังตางๆ ที่เชื่อมตอกัน ในที่นี้ Deleuze ชี้วา ปฏิบัติการของอํานาจมีอยู 57

Gilles Deleuze, Foucault, p. 88. 104


อาเซียนปริทัศน ASEAN Annual Review

2 รูปแบบ คือ หนึ่ง ปฏิบัติการของการจัดลําดับชวงชั้น (Stratification) ไดแก อํานาจรัฐ อํานาจกฎหมาย อํานาจของภาษา และอํานาจศีลธรรม ที่จัดลําดับชั้น ใหกับสิ่งตางๆ ในรูปของโครงสรางที่มีลําดับสูงตํ่าและบริหารจัดการองคประกอบ ตางๆ แบบแนวดิ่ง องคประกอบที่อยูในโครงสรางจึงเปนองคประกอบที่ถูกจับยึด และควบคุมไดโดยอํานาจ และสอง ปฏิบตั กิ ารแบบ Diagram ซึง่ เปนความสัมพันธ ระหวางพลังตางๆ ซึ่งเคลื่อนที่ไปเรื่อยๆ ไมเสถียร และไมปรากฏในรูปของความ เปนจริง (Virtual) ตราบเทาที่มันไมถูกผนวกเขาไปในลําดับชั้นเชิงโครงสราง แบบแนวดิ่ง ดังที่กลาวไปแลววาอํานาจเปนสิ่งที่มาทีหลังจากพลัง ศักยภาพของพลัง เปนสิ่งที่ดํารงอยูกอนและลนเกินไปกวาโครงสรางของอํานาจที่มีอยู Deleuze ชี้ ว  า มั น มี สิ่ ง ที่ อ ยู  ข  า งนอกจากตั ว โครงสร า งที่ ซึ่ ง อํ า นาจไม ส ามารถผนวก องคประกอบหรือพลังเหลานี้หรือที่เรียกวา “สิ่งที่ยังไมถูกจัดลําดับชั้น” (Nonstratified) เขามาอยูในโครงสรางได วิธีการจัดการสิ่งที่อยูขางนอกจึงมีทั้ง การกีดกันออกไป พรอมๆ กับที่ดึงมันเขามา เปาหมายของอํานาจก็คือการ ขยายตัวออกไปจัดการกับสิง่ ทีจ่ ดั การไมไดนนั่ คือพลังทีม่ ากอนและอยูน อกขอบเขต ของมัน การวิเคราะหปฏิบัติการของอํานาจ 2 รูปแบบนี้แตกตางกันที่ปฏิบัติการ ของการจัดลําดับชั้นนั้นเปนไปเพื่อรักษาเสถียรภาพของการควบคุมปกครองสิ่งที่ ถูกปกครองและจัดลําดับชัน้ ไวแลวโดยโครงสรางใหหยุดนิง่ อยูก บั ที่ สวนปฏิบตั กิ าร ของอํานาจแบบ Diagram นัน้ เปนรูปแบบของการใชอาํ นาจออกไปในแนวระนาบ เพื่อจัดการกับสิ่งที่อยูขางนอกซึ่งยังไมถูกจัดลําดับชั้น ผานการแทรกซึมออกไป ตามเส น ของการเชื่ อ มต อ ระหว า งพลั ง ต า งๆ ที่ อ ยู  ใ นพื้ น ที่ ที่ ยั ง จั ด การไม ไ ด แลวทําการยึดจับและพยายามควบคุมกํากับความหมาย (Overcoding) ตอสิ่ง ที่ยังไรความหมาย ซึ่งอยูขางนอก และเมื่ออํานาจสามารถจับยึดหรือแปลสิ่งที่ ไรความหมายใหเขามาอยูในชวงชั้นของโครงสรางสําเร็จ สิ่งที่ ไรความหมาย จะถูกจัดการโดยอํานาจทัง้ ทีผ่ า นการกีดกันออกไปในฐานะสิง่ ทีเ่ ปนภัยและไรสาระ 105


อาเซียนปริทัศน ASEAN Annual Review

และในอีกดาน อํานาจจะเขาจัดการสิ่งที่ไรความหมายโดยการสรางความหมาย ที่ตายตัวใหแกพลังตางๆ ที่ถูกดึงเขามา ในแงนี้ อํานาจจึงไมไดแคทํางานผานสถาบันที่เปนทางการเทานั้นแบบที่ เกิดขึ้นผานการจัดลําดับชั้นของสิ่งตางๆ แตปฏิบัติการของอํานาจแบบ Diagram ซึง่ Deleuze ตีความวานีค่ อื กลไกของชีวะอํานาจในงานของ Foucault นัน้ ทํางาน อยูในทุกมิติของชีวิต ผานการเขามากํากับสิ่งเล็กๆ นอยๆ ที่ยังไมถูกจัดระเบียบ (Order of things) อํานาจแบบ Diagram จึงสามารถปรากฏอยูในหลายรูปแบบ ที่ไมตายตัวและยืดหยุน โดยวิ่งตามความหลากหลาย (Multiplicities) ของพลัง และปฏิสัมพันธของพลังตางๆ ที่มาเชื่อมตอกัน ในขณะที่พลังมีการเชื่อมตอ (Connect) ไปเรื่อยๆ ตามศักยภาพของมันในรูปแบบที่ไมมีกฎเกณฑหรือถูกมอง วาไรกฎเกณฑโดยมุมมองของอํานาจ การเชื่อมตอของพลังตางๆ ที่อยูขางนอก ก็อาจจะสรางกฎเกณฑของตัวเองขึ้นมาในชวงเวลาหนึ่งเพื่อใชเปนวิธีและรูปแบบ ของการเชื่อมตอกับพลังอื่นๆ กฎเกณฑที่เกิดขึ้นจึงมีลกั ษณะเฉพาะเจาะจงขึ้นตอ องคประกอบตางๆ ทีเ่ ขามาปฏิสมั พันธกนั โดยไมตอ งพึง่ พิงกฎเกณฑของโครงสราง ที่อยูภายนอกหรือเหนือออกไปจากชุดความสัมพันธของตัวมันเอง ในแงนี้เมื่อ กาละและเทศะซึ่งหมายถึงการที่องคประกอบของการเชื่อมตอเปลี่ยนแปลงไป กฎเกณฑเดิมก็อาจถูกสลายไป (หรือไมสลายไปแตพัฒนาและขยายตัว) ได กฎเกณฑดังกลาวจึงแตกตางจากกฎที่อยูในโครงสรางอํานาจ เพราะกฎของการ เชือ่ มตอของพลังตางๆ นัน้ ไมไดมงุ ไปทีก่ ารรักษาระเบียบแตมงุ ไปทีก่ ารเชือ่ มตอไป เรื่อยๆ และการสราง/ขยายกฎใหมๆ อยางไมจํากัด การเชื่อมตออยางไมจํากัด จึงขัดแยงกับการยึดมั่น รักษา และขยายอัตลักษณและความเปนตัวตน (Being) ที่ตายตัวในแบบที่เกิดขึ้นกับโครงสรางอํานาจ แตทุกๆ ครั้งที่พลังเชื่อมตอกัน มันจะกลายเปนสิง่ อืน่ ทีแ่ ตกตางและแตกตัวออกไปอยางไมจาํ กัด การเชือ่ มตอของ พลังจึงมีลักษณะที่ไมเปนทางการ (Informal) พรอมๆ กับที่การเชื่อมตอของมัน ก็ อ ยู  ใ นแนวระนาบ ไม ใ ช แ นวดิ่ ง แบบบนลงล า งดั ง ที่ เ กิ ด กั บ การควบคุ ม ของ โครงสรางลําดับชัน้ 106


อาเซียนปริทัศน ASEAN Annual Review

กลาวโดยสรุปแลว ความสัมพันธระหวางอํานาจและพลังก็คือ พลังมากอน อํานาจ อํานาจเปนปฏิกริ ยิ าตอศักยภาพทีเ่ กิดจากการเชือ่ มตอของพลังตางๆ ทีอ่ ยู นอกอํานาจ Diagram ซึ่งหมายถึงพื้นที่ที่พลังเคลื่อนไป และเทคนิคของอํานาจ แบบไดอะแกรมก็หมายถึงการขยายตัวของอํานาจออกไปในแนวระนาบจึงเปนการ วิง่ ตามเพือ่ ยึดจับศักยภาพของพลังตางๆ ทีอ่ ยูส งิ่ ทีอ่ ยูภ ายนอกโครงสรางลําดับชัน้ ของตัวมัน หากอํานาจสามารถยึดจับความสัมพันธในแนวระนาบไดมันจะพลิก ความสัมพันธกลับไปอยูในแนวตั้งหรืออยูในระบบระเบียบที่ซึ่งความสัมพันธแบบ ลําดับชั้นนั้นขึ้นอยูกับอํานาจที่มีศูนยกลาง (Central power) ทีจ่ ะเขามากํากับ และจัดระเบียบกฎเกณฑภายใน มากไปกวานั้น เมื่อ Deleuze พูดถึงพลังที่อยู ขางนอก พลังขางนอกจึงวิ่งไปมาในรูปแบบที่ไรระเบียบและโกลาหลอลหมาน ซึ่งใน A Thousand Plateaus Deleuze และ Guattari เรียกลักษณะของการ เชื่อมตอและเคลื่อนที่ไปมาเชนนี้วา “ไรโซม” (Rhizome)58 ไรโซมเปนรูปแบบ ของความสัมพันธที่เคลื่อนที่อยางอิสระ ไมมีกฎเกณฑกํากับที่ชัดเจน (หรือ มี ก ฎของตั ว มั น เอง) และเปลี่ ย นแปลงได เ มื่ อ ความสั ม พั น ธ เ ปลี่ ย นแปลงไป ผลของการเชื่อมตอที่เกิดขึ้นจึงไมสามารถคาดเดาไดจากกฎหรือสมการใดๆ การเชื่อมตอนี้จะผลิตความสัมพันธชุดใหมอยางตอเนื่องตามวิถีแหงการเคลื่อนที่ ความสั ม พั น ธ เ ช น นี้ ไ ม ไ ด เ ป น เชิ ง บวก/ลบหรื อ ดี / ชั่ ว แต ผ ลของการ เชื่อมตอเปนเรื่องการเพิ่มหรือลดลงของศักยภาพของพลังตางๆ ที่เชื่อมตอกัน หากศักยภาพเพิ่มขึ้น การเชื่อมตอจะขยายตัวและลงลึกเขมขนตอไปแตหาก การเชือ่ มตอสงผลใหศกั ยภาพลดลง การเชือ่ มตออาจจะเปลีย่ นรูปหรือสลายตัวไป ดังนั้น การดํารงอยูของเครือขายของการเชื่อมตอจะขึ้นอยูกับวาเมื่อเชื่อมตอ กันแลว มันไดเพิ่มหรือลดอํานาจใหเครือขายอยางไร ถาเครือขายเชื่อมตอกันแลว 58

Gilles Deleuze and Félix Guattari, “Introduction: Rhizome,” A Thousand Plateaus: Capitalism and Schizophrenia (Minneapolis and London: University of Minnesota, 1987), pp. 3-25. 107


อาเซียนปริทัศน ASEAN Annual Review

ทําใหองคประกอบตางๆ ออนแอลง องคประกอบตางๆ จะผละออกไปเชื่อมกัน ในรูปแบบอื่นหรืออาจยังคงเชื่อมกันเทาที่มีประโยชน หรือหากผละออกไปแลว ถามีประโยชนใหรวมกันอีกก็อาจจะกลับมาเชื่อมกัน โดยที่การเชื่อมกันแตละครั้ง เครือขายจะสรางความสัมพันธชุดใหม ความคิดใหม กติกาขอตกลงใหมเสมอ กลาวโดยสรุปแลว อํานาจและการพัฒนาเทคนิคของอํานาจนัน้ มีเปาหมาย เพื่อยึดจับและผนวกเอาสวนตางๆ ที่ Deleuze เรียกวาพลังใหเขามาอยูใน โครงสรางที่จัดลําดับชั้น นอกจากอํานาจจะทํางานผานการรักษาลําดับชั้นสูงตํ่า ในโครงสรางไวแลว อํานาจยังวิ่งออกไปจากโครงสรางเพื่อยึดจับศักยภาพของ พลังที่อยูนอกโครงสรางดวย ปฏิบัติการของอํานาจจึงมีทั้งปฏิบัติการในแนวดิ่ง หรือการจัดลําดับชวงชั้นและในแนวระนาบหรือ Diagram 3. การตอตานและการสราง Subject ในทรรศนะของ Deleuze การคิดเกี่ยวกับ “สิ่งที่อยูภายนอก” (The Outside) คือฐานของการทําความเขาใจการตอตาน (Resistance) สิ่งที่อยู ภายนอกคือความสัมพันธที่จัดระเบียบไมได/ยังไมถูกจัดระเบียบของพลังตางๆ ซึ่งเปนที่สถิตของชีวิตและศักยภาพในการสรางชีวิต “สิ่งที่อยูภายนอกไมใช ขอบเขตที่ตายตัว แตเปนวัตถุที่เคลื่อนที่ซึ่งมีทิศทางที่หลากหลาย พับตัวเองเขา คลายตัวเองออกเพื่อสรางสิ่งที่อยูภายใน ภายในจึงไมใชอะไรอื่น นอกจาก จะเปนการเคลื่อนที่ไปของสิ่งที่อยูภายนอก ในแงนี้ ภายในจึงเปนภายในของสิ่งที่ อยูภายนอก”59 ซึ่งสําหรับ Deleuze ภายนอกมี “ความเปนสังคม” (Social) มากกวาสิ่งที่นักสังคมวิทยาเรียกวาสังคม (Society) เพราะสําหรับนักสังคมวิทยา สังคมคือสิง่ ทีถ่ กู จัดระเบียบโดยอํานาจและสังคมยังถูกกํากับไวดว ยความรูช ดุ หนึง่ ที่นิยามวาอะไรคือสังคมซึ่งมีโครงสรางและลําดับชั้น รวมถึงกฎระเบียบที่ตายตัว แตความเปนสังคมหมายถึงความสัมพันธที่ไมเปนทางการ ไมมีรูปราง ยังไมถูก 59

Gilles Deleuze, Foucault, p. 97. 108


อาเซียนปริทัศน ASEAN Annual Review

จัดระเบียบ หรือยังไมนับวาเปนระเบียบ ในแงนี้ ในสังคมจึงไมมีชีวิตแตเปนพื้นที่ ของสิ่งที่ไรชีวิต ในทางกลับกัน ความเปนสังคมซึ่งอยูภายนอกกลับเปนพื้นที่ ที่พลังตางๆ สามารถประกอบสรางชีวิตอยางอิสระ ดังนั้น การศึกษาความเปน สังคมเทานัน้ ทีเ่ ราจะเรียกไดวา เปนการศึกษาชีวติ และการมีชวี ติ และการสรางชีวติ ในแงนี้ก็คือการตอตานอํานาจ เมือ่ ภายในเปนสิง่ ทีว่ งิ่ ไลตามและพยายามยึดจับภายนอก ภายในจึงเปนผล ของการเคลื่อนที่ของภายนอก มากกวาที่ภายในจะดํารงอยูอยางสัมบูรณในตัว มันเองแบบที่เรามักจะวิเคราะหรัฐและกลไกรัฐ Deleuze เรียกการทํางานของ ภายนอกวา การมวนพับ (Fold)60 โดยการมวนพับเปนการสรางเสนแบงระหวาง ภายในและสิ่งที่อยูภายนอกที่เกิดจากการเคลื่อนที่อยางไมหยุดยั้งของสิ่งที่อยู ภายนอก ตัวตน (Self) ที่เกิดขึ้นจึงถูกสรางจากสิ่งอื่นๆ ทั้งหมดที่เคลื่อนที่ใน แผนพื้นของสภาวะในโลก (Plane of immanence) ในแงนี้ “สิ่งที่เปนตัวตน มีชีวิตอยูภายในฉันในฐานะที่ตัวตนเปนการทวีคูณแบบกําลังสองของสิ่งอื่น... และนีค่ อื การทีฉ่ นั คนพบคนอืน่ ภายในตัวฉัน”61 ตัวตนจึงไมใชสงิ่ ทีด่ าํ รงอยูแ ยกขาด จากสิ่งที่อยูภายนอกหรือคนอื่น แตเปนการเชื่อมตอสัมพันธและถูกมวนพับ กลับเขามาและคลี่คลายออกไปของภายนอกและภายใน การมวนพับจึงหมายถึง การกลับเขามาสรางความเปนภายในของสิง่ ทีอ่ ยูภ ายนอก ซึง่ ภายนอกในตัวมันเอง เปนสภาวะสัมบูรณ “ที่สรางใหสิ่งที่อยูภายนอกกลายมาเปนองคประกอบแหง พลังชีวิตที่เกิดขึ้นซํ้าแลวซํ้าอีก”62

60

Gilles Deleuze, Foucault, p. 97. และดูเพิ่มเติมใน Gilles Deleuze, The Fold: Leibniz and the Baroque (Minneapolis: University of Minnesota Press, 1993) 61 Ibid., p. 98. 62 Ibid., p. 99. 109


อาเซียนปริทัศน ASEAN Annual Review

มาถึงจุดนี้ Deleuze ชี้วา subject ที่มีอิสระสามารถเกิดขึ้นได โดยการ สราง subject (Subjectivation) เปนผลจากการมวนกลับและวิ่งตัดผานของ ภายนอกตอภายใน การสราง subject ที่เปนอิสระไมไดเกิดบนสุญญากาศ ที่ปราศจากอํานาจที่กดทับ แตเปนการมวนกลับเขาไปของภายนอกเพื่อสราง ตัวเองใหมในเสนตัดภายในโครงสรางอํานาจ subject ที่เกิดขึ้นจึงเปนเสน (Line) มากกวาจะเปนจุด (Point) เพราะหาก subject เปนเรือ่ งการเคลือ่ นทีแ่ ละเชือ่ มตอ ไมสิ้นสุด เราก็ไมสามารถหาจุดที่หยุดนิ่งตายตัวของ subject ได แต subject เปนการเชื่อมสัมพันธกับสิ่งอื่นทั้งที่อยูภายในและภายนอก เปนการวิ่งกลับเขามา ที่ ภ ายในของภายนอก ซึ่ ง ในการม ว นตั ว กลั บ เข า มาของเส น นั้ น นอกจากจะ เปลีย่ นแปลงหรือบอนเซาะโครงสรางแลวมันยังเปน “อํานาจทีจ่ ะสรางแรงกระทบ ตอตัวเอง เปนการกระทบของตัวตนตอตัวตนของเรา... มิติของการสราง subject กอตัวขึ้นจากความสัมพันธที่เรามีตออํานาจและความรูโดยไมพึ่งพิงหรือขึ้น ตอมัน”63 ในแงนี้ สิ่งที่อยูภายนอกที่เคลื่อนไปจึงไมใชสิ่งที่เปลือยเปลา แตคือ การปะทะกันและการดํารงอยูดวยกันของ หนึ่ง ความรู สอง อํานาจ และสาม การสราง subject64 Deleuze ชี้วา การมวนพับ (Foldings) เพื่อสราง subject สามารถเกิดได ใน 4 รูปแบบ คือ หนึ่ง เกิดจากสวนที่เปนวัตถุของตัวเรา นั่นคือ ความปรารถนา (Desire) ที่ถูกผลิตสรางขึ้น สอง การมวนพับของความสัมพันธและการเชื่อมตอ ที่เกิดขึ้นระหวางพลังตางๆ โดยที่ความสัมพันธนี้จะสรางกฎของตัวมันเองขึ้นมา เพื่อไปกําหนดความสัมพันธที่มีตอตัวตนของเรา สาม การมวนพับของความรู ซึง่ เปนการสถาปนาและสรางความสัมพันธระหวางความจริง (Truth) กับอัตตภาวะ และสี่ การมวนพับของสิ่งที่อยูภายนอกเอง ซึ่งรูปแบบนี้เปนรูปแบบที่สัมบูรณ ในตัวเอง และสรางความเปนภายในซึง่ หมายถึงการสราง subject เพือ่ ให subject 63 64

Gilles Deleuze, Foucault, p. 101. Ibid., p. 114. 110


อาเซียนปริทัศน ASEAN Annual Review

ตระหนั ก หรื อ ใช เ สรี ภ าพและการปลดปลอ ยตั ว เองออกจากโครงสร า งเดิ ม65 กลาวโดยสรุปแลว การมวนพับก็คอื กระบวนการสราง subject ทีข่ บั เคลือ่ นไปดวย ความปรารถนา subject จึงไมใชสงิ่ ทีต่ ายตัวและหยุดนิง่ แบบทีถ่ กู สรางจากภายใน ที่ มี ข อบเขตของตั ว เอง แต ก ารสร า ง subject เป น เรื่ อ งความสั ม พั น ธ แ ละ การตอตาน ในแงนกี้ ระบวนการสราง subject จึงเปนการเคลือ่ นกลับเขาไปภายใน โครงสรางของความสัมพันธทางอํานาจที่มีอยูเดิม ดังนั้น “subject ตองถูก สรางขึ้นในรูปแบบที่แตกตางกันไปในแตละสภาวการณ นั่นคือ เกิดขึ้นจากจุดยืน ที่มั่นของการตอตาน”66 (ดูแผนภาพขางลางประกอบ) outside (active subject) inflection point

consumer

fold

communicator

encounter

ที่มา: Matt Rodda, “The Diagrammatic Spectator,” Ephemera: Theory & Politics in Organization, Vol. 14(2) (2014), pp. 221-244.

65 66

Gilles Deleuze, Foucault, p. 104. Ibid., p. 105. 111


อาเซียนปริทัศน ASEAN Annual Review

การเคลื่อนที่และการกอรูปของ subject ผานการมวนพับในพื้นที่แบบ ไดอะแกรมจึงเปนการเคลื่อนที่เพื่อจะเปลี่ยนตัวเองแบบกาวกระโดด (Mutation) การมวนพับ การสราง subject และการตอตานจึงเปนกระบวนการเดียวกัน ที่เกิดขึ้นผานการปะทะกับอํานาจในพื้นที่แบบไดอะแกรม กระบวนการดังกลาว จึงเปนกระบวนการคลายสิง่ ทีพ่ บั อยูแ ละสรางการมวนพับใหม เพือ่ สลับสับเปลีย่ น ภายในกับสิ่งที่อยูภายนอก และในการสลับสับเปลี่ยนแตละครั้งมันจะสราง ภายในขึ้นมาใหมที่เปนผลจากการคลายและมวนพับในแตละครั้งของการสราง subject สําหรับ Deleuze แลว ภารกิจของการตอตานก็คือ “การปนขึ้นไปให เหนือชวงชั้นแหงอํานาจ เพื่อที่จะไปใหถึงสิ่งที่อยูภายนอก... ซึ่งเปนสิ่งที่ยังไมถูก จัดชวงชั้น (Non-stratified)”67 ในแงนี้ “สิ่งที่อยูภายนอกที่ไมเปนทางการจึงเปน พื้นที่ของการปะทะตอสู เปนโซนแหงการรบพุงอยางบาคลั่งที่จุดเฉพาะตางๆ ภายในชวงชั้นกับความสัมพันธระหวางพลังตางๆ จะถูกทดสอบ” และเมื่อเรา เดินทางไปสูสิ่งที่อยูภายนอก ก็เทากับ “เรากําลังเขาสูปริมณฑลของการทวีคูณ อยางเอาแนเอานอนไมไดและจะนําไปสูความตายที่เกิดขึ้นนับครั้งไมถวนของ สิ่งตางๆ และเมื่อบางสิ่งถือกําเนิดขึ้นและหายไปอยางตอเนื่อง” นี่แหละคือสิ่งที่ Deleuze เรียกวา ‘การเมืองแบบจุลภาค’ (Micropolitics)68 กลาวโดยสรุปแลว เมื่อ Foucault เสนอวา “ที่ใดมีอํานาจ ที่นั้นมีการ ตอตาน” ฐานคิดของเขาก็คือ การวิเคราะหความสัมพันธระหวางพลังซึ่งอยู ภายนอกอํานาจซึ่งอํานาจเปนเรื่องของโครงสรางที่อยูภายใน ในการวิเคราะห การตอตานหรือการสรางชีวติ ก็คอื การชีใ้ หเห็นการเชือ่ มตอและเคลือ่ นทีข่ องพลัง ที่ตัดผาน/มวนกลับเขาไปในโครงสรางของอํานาจ ดังที่กลาวไวแลววา ลักษณะ ของพลังหรือภายนอกหรือชีวิตก็คือ ศักยภาพในการสรางชีวิตผานการเชื่อมตอ 67 68

Gilles Deleuze, Foucault, p. 121. Ibid., p. 121. 112


อาเซียนปริทัศน ASEAN Annual Review

ไมสิ้นสุด ในแงนี้ ยิ่งมีการเชื่อมตอมากเทาไร มันจะนําไปสูการสรางสิ่งใหมที่ แปลกปลอมจากโครงสรางและลําดับชั้นของอํานาจมากเทานั้น การสรางอํานาจ ของชีวิตจึงไมจําเปนตองอยูในรูปของการปฏิเสธ แตกลับอยูในรูปของการสราง ใหปรากฏ/เกิดขึ้น/ขยายตัว การสรางขึ้นของความสัมพันธชุดใหมที่ไมไดเกิดขึ้น ภายในโครงสรางอํานาจในตัวมันเองก็คอื ความหมายของการตอตาน เพราะผลและ รูปแบบของความสัมพันธที่เกิดขึ้นใหมไมเคยสอดคลองกับลําดับชั้นและระเบียบ ของความสัมพันธชดุ เดิม ในแงนี้ อํานาจจึงไมเคยเปนสิง่ ทีส่ มั บูรณ แตอาํ นาจทํางาน อยูบนการยึดจับชีวิตที่อยูภายนอกเพื่อเปลี่ยนใหมันกลับเขามาอยูขางในลําดับ ชั้นเดิม และชีวิตเองก็เปนสิ่งที่มีความหลากหลายภายในตัวเองอยางไรขีดจํากัด ซึ่งสามารถผลิตสรางสิ่งตางๆ แบบเปนอนันต โดยเฉพาะการสรางชีวิตของตัวเอง ผานการเชื่อมตอของความหลากหลายจํานวนมากเขามาดวยกัน อํานาจจะถูก บอนเซาะดวยการเกิดขึ้นของความสัมพันธใหมๆ อยูเสมอ เมื่อการมวนพับ กลับเขามาภายในของภายนอกผานเสนตางๆ จากภายนอกที่ตัดเขามาภายใน โครงสรางคือการตอตาน การตอตานจึงไมเคยเกิดขึ้นในสุญญากาศ แตเปนการ เคลือ่ นทีข่ องเสนและศักยภาพของชีวติ ทีก่ ลับเขามาทาทายและระเบิดตัวโครงสราง ภายในผานการสรางชีวิต และชีวิตที่ถูกสรางก็ไมใชชีวิตในแบบเดิม แตเปนชีวิต ที่กลายเปนสิ่งอื่นๆ อยูตลอดเวลา ดังนั้น สําหรับ Deleuze การเมืองชีวิตไมใชเรื่องของอํานาจอธิปตยแบบที่ Agamben เสนอ แตการเมืองชีวิตคือกระบวนการสราง subject ที่เปนอิสระ ผานการมวนพับกลับเขาไปภายในของสิ่งที่อยูภายนอก ในแงนี้ พลังคือความ หลากหลายที่มากอนและกํากับวิธีหรือเทคนิคของการใชอํานาจ พลังจึงเปนสิ่งที่ อยูภ ายนอก สิ่งทีอ่ ยูภ ายนอกในที่นี้ก็คือชีวิต ศักยภาพในการสรางชีวิตซึง่ เชือ่ มตอ และเคลือ่ นทีไ่ มสนิ้ สุด และการสรางชีวติ ในตัวมันเองซึง่ หมายถึงการสราง subject ขึ้นมาใหมก็คือตอตาน

113


อาเซียนปริทัศน ASEAN Annual Review

บทสรุป: อภิมนุษย (Superman) และทางออกจากกับดัก ของอํานาจแบบหลังมนุษยนิยม การตีความการเมืองชีวิตของ Deleuze (และงานที่เขาเขียนรวมกับ Félix Guattari) ถือเปนการเปดพรมแดนใหมใหกับการศึกษาทางสังคมศาสตรและ มนุษยศาสตร โดยเฉพาะอยางยิ่ง การเคลื่อนจากการศึกษามนุษย (Human) ไปสูการศึกษาสิ่งที่ไมใชมนุษย (Non-human) ซึง่ เปนกระแสคิดที่เราเรียกกันวา “หลังมนุษยนิยม” สิ่งที่ Deleuze สนใจและเรียกวาชีวิตไมไดมีความหมายถึง มนุษย แตเปนสิ่งที่เล็กกวาและใหญกวามนุษยในเวลาเดียวกัน สิ่งที่เล็กกวา หมายถึงการดํารงอยู การเชื่อมตอ และการเคลื่อนที่ขององคประกอบยอยๆ ที่เขา เรียกวาเปนศักยภาพขององคประกอบตางๆ ที่เปนพลังแหงชีวิต (Vital force) ในภาษาของ Henri Bergson ซึ่ง Deleuze ชี้วา “ภายในมนุษย พลังแหงชีวิต กําลังเดินเขาสูชุดความสัมพันธที่ประกอบขึ้นใหมและกําลังกอรูปรางใหม”69 สําหรับสิ่งที่ใหญกวาก็คือ การเชื่อมตอในหลายระดับของสวนยอยๆ ที่เปนพลัง แหงชีวิตจํานวนมหาศาลกับสิ่งอื่นๆ ทั้งที่เปนมนุษยและไม ใชมนุษย ดังนั้น ภาววิทยาของ Deleuze จึงไมใชภาววิทยาแบบมนุษยนิยมที่มองมนุษยแบบมี สารัตถะในตัวเอง แตเปนองคประกอบหรือพลังอันเปนอนันตและหลากหลาย อยูภายในตัวเองซึ่งมีศักยภาพออกไปเชื่อมตอกับสิ่งอื่นๆ เพื่อสรางความสัมพันธ ชุดใหมแบบไมจํากัดพื้นที่และเวลา มโนทัศนชีวิตของ Deleuze จึงไมไดหมายถึงมนุษย เพราะสิ่งที่เรียกวา มนุษยเปนเพียงการประกอบสรางของอํานาจและความรูชุดหนึ่งในยุคสมัยหนึ่ง เทานั้น70 และนี่คือความตายของมนุษย (The death of man) ในโลกของความรู 69

Gilles Deleuze, Foucault, p. 91. 70 ดูที่ Foucault วิวาทะกับ Noam Chomsky ใน Noam Chomsky and Michel Foucault, The Chomsky-Foucault Debate: On Human Nature (New York: The New Press, 2006). 114


อาเซียนปริทัศน ASEAN Annual Review

ทางสังคมศาสตรและมนุษยศาสตรหลังทศวรรษ 1970 เปนตนมา ที่ “เมื่อเทคนิค แบบไดอะแกรมของอํานาจปฏิเสธตัวแบบองคอธิปตย และหันไปใชตัวแบบของ สังคมวินัย และเมื่อมันกลายมาเปน ‘ชีวะอํานาจ’ หรือ ‘ชีวะการเมือง’ แหงการ บริหารจัดการประชากร รวมถึงการควบคุมและการจัดการชีวิตแลว ชีวิตนั่นเองที่ กลายมาเปนวัตถุใหมของการใชอาํ นาจ”71 และผลของการทีช่ วี ะอํานาจเปลีย่ นชีวติ ใหกลายมาเปนวัตถุของอํานาจ “การตอตานตออํานาจจะวางตัวเองอยูบ นดานของ ชีวติ และการมีชวี ติ และจะเปลีย่ นชีวติ ทัง้ หมดใหกลายมาเปนปฏิปก ษตอ อํานาจ”72 นัยสําคัญของการเคลื่อนจากมนุษยมาสูชีวิตทั้งที่มองจากมุมของอํานาจ และมุมของการตอตานก็คือ ในขณะที่มนุษยเปนสภาวะแบบหนึ่งเดียวสากล ชีวิตก็คือสภาวะของความหลากหลาย เปนอนันต และเปนเอกพจนที่ขึ้นกับ ตัวมันเองภายในผานการสรางตัวเองและกลายเปนสิ่งอื่นๆ ในทุกๆ ครั้งที่เชื่อมตอ กับสิ่งอื่น ความหลากหลายจึงกลายมาเปนอาวุธของการตอตาน สวนความเปน หนึ่งเดียวกลับกลายมาเปนปญหาและการครอบงํา ยิ่งชีวิตมีความหลากหลาย และขยายความหลากหลายผานการเชื่อมตอออกไปมากเทาไร ความเปนมนุษย ยิ่งพราเลือนลงไปเทานั้น ในที่นี้ Deleuze ดําเนินรอยตามสิ่งที่ Friedrich Nietzsche เสนอวา เรากําลังไมไดกําลังพูดถึงมนุษยแบบอภิปรัชญา แตเราตองไปใหถึงสภาวะที่ เรียกวา “อภิมนุษย” ในฐานะการปลดปลอยออกจากความเปนมนุษย ซึ่ง “อภิมนุษยไมไดหมายถึงอะไรอยางอื่น แตหมายถึงวา เราตองปลดปลอยชีวิต จากภายในความเปนมนุษยเอง เมือ่ ความเปนมนุษยคอื รูปแบบหนึง่ ทีใ่ ชคมุ ขังมนุษย ชี วิ ต จะกลายมาเป น การต อ ต า นต อ อํ า นาจ เมื่ อ อํ า นาจทํ า ให ชี วิ ต ทั้ ง หมด กลายมาเปนวัตถุหรือเปาหมายแหงการใชอํานาจ”73 การมองเปาหมายของชีวิต 71

Gilles Deleuze, Foucault, p. 92. Ibid., p. 92. 73 Ibid., p. 92. 72

115


อาเซียนปริทัศน ASEAN Annual Review

แบบอภิมนุษยทปี่ ฏิเสธและตอตานความเปนมนุษยเชนนีก้ ค็ อื การปลดปลอยมนุษย ออกจากความเปนมนุษย ทีซ่ งึ่ เปาหมายของการตอตานก็คอื การสรางความสัมพันธ ชุดใหมระหวางพลังตางๆ ที่ซึ่ง “มนุษยมุงไปสูการปลดปลอยชีวิต แรงงาน และ ภาษาภายในตัวเอง อภิมนุษย.. ก็คือ มนุษยที่อาจกลายเปนสัตว อภิมนุษยจึงไมใช การหายไปของชีวิตของมนุษย และก็ไมใชแคเพียงการเปลี่ยนแปลงความเขาใจ ตอสิ่งตางๆ แตมันคือการเผชิญหนาของรูปแบบของชีวิตแบบใหมที่ไมไดเปน ทัง้ พระเจาและก็ไมใชมนุษย แตเราตองหวังวา เราจะกลายเปนสิง่ อืน่ ทีไ่ มแยไปกวา รูปแบบที่เราเคยเชื่อวาเราเปน นั่นคือ พระเจาและมนุษย”74 ทั้งหมดนี้คือคุณูปการของมโนทัศนการเมืองชีวิตของ Foucault รวมถึง การตีความที่แตกตางกันนําไปสูการมองอํานาจที่แตกตางกันออกไป ขอเสนอ ของบทความนี้ก็คือ การตีความการเมืองชีวิตใหมโดย Deleuze เปนจุดตัดสําคัญ ของการยายฐานคิดทางสังคมศาสตรและมนุษยศาสตรจากฐานคิดแบบมนุษยนิยม มาสูห ลังมนุษยนิยมทีใ่ หความสําคัญกับชีวติ มากกวามนุษย ขอเสนอของ Deleuze ชวยเปดพรมแดนการคิดและการศึกษาของเราใหไปไกลกวาความเปนมนุษยและ ตัวมนุษย แตมุงใหเราเห็นความเชื่อมตอของสิ่งตางๆ โดยเฉพาะการศึกษาความ สัมพันธระหวางมนุษยกับสัตว พืช และเทคโนโลยี และนี่คือสิ่งที่นักคิดรุนหลัง นํามาตอยอดไปอีกหลายทิศทางตั้งแตการศึกษาแรงงานอวัตถุและโลกดิจิตอล ของพวก Marxism สาย Autonomia75 งานที่อิงอยูกับแนวคิดของ Gilbert Simondon76 ที่หันมาสนใจเทคโนโลยี หรือแมแตทฤษฎีผูกระทําการ-เครือขาย ของ Bruno Latour และงานศึกษาอื่นๆ อีกมากมาย 74

Gilles Deleuze, Foucault, p. 132. ดู เกงกิจ กิติเรียงลาภ, “‘เราทุกคนคือศิลปน’: อวัตถุวิทยาของการศึกษาแรงงาน,” วารสาร สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา, 33(2) (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557), หนา 129-158. 76 ดูเพิ่มเติมใน บทที่ 2 ของ ไชยรัตน เจริญสินโอฬาร, เอกภาวะในทฤษฎีสังคมรวมสมัย (กรุงเทพฯ: วิภาษา, 2558) 75

116


อาเซียนปริทัศน ASEAN Annual Review

บรรณานุกรม ภาษาไทย

เกงกิจ กิติเรียงลาภ. 2556. “ฐานทางปรัชญาของ Antonio Negri: จาก Spinoza สู multitude.” ฟาเดียวกัน. ปที่ 11 ฉบับที่ 3 ตุลาคม-ธันวาคม 2556. หนา 38-54. . 2557. “‘เราทุกคนคือศิลปน’: อวัตถุวิทยาของการศึกษาแรงงาน.” วารสาร สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา 33(2). กรกฎาคม-ธันวาคม 2557. หนา 129-158. ไชยรัตน เจริญสินโอฬาร. 2558. เอกภาวะในทฤษฎีสังคมรวมสมัย. กรุงเทพฯ: วิภาษา. ธเนศ วงศ ย านนาวา (แปล). มิ เ ชล ฟู โ ก. 2543. “ว า ด ว ยการปกครอง (On Governmentality),” วารสารสังคมศาสตร. ปที่ 30 ฉบับที่ 3 หนา 116-117. ธเนศ วงศยานนาวา. 2532. การวิเคราะหซับเจค (subject) ทฤษฎีที่ใชทฤษฎีวาดวย อํานาจของ มิเชล ฟูโก. ศูนยวิจัยคณะรัฐศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร.

ภาษาอังกฤษ

Abrahamson, C.. 2013. “On the Genealogy of Lebensraum,” Geographica Helvetica 68. pp. 37-44. Agamben, Giorgio. 1998. Homo Sacer: Sovereign Power and Bare Life. Stanford: Stanford University Press. . 2000. “Sovereign Police”. In Means without End, pp. 102-106. Minneapolis: University of Minnesota Press. . 2002. “Security and Terror,” Theory & Event 5: 4. Campbell, Timothy and Sitze, Adam (eds.). 2013. Biopolitics: A Reader. Durham and London: Duke University Press. Chomsky, Noam and Foucault, Michel. 2006. The Chomsky-Foucault Debate: On Human Nature. New York: The New Press.

117


อาเซียนปริทัศน ASEAN Annual Review

Deleuze, Gilles. 1992. “Postscript on the Societies of Control,” October Vol. 59. pp. 3-7. . 1993. The Fold: Leibniz and the Baroque. Minneapolis: University of Minnesota Press. . 2001. “Immanence: A Life,” Pure Immanence: Essays on A Life, New York: Zone Books. pp. 25-33. Deleuze, Gilles and Guattari, Félix. 1987. “Introduction: Rhizome,” A Thousand Plateaus: Capitalism and Schizophrenia, pp. 3-25. Minneapolis and London: University of Minnesota. Foucault, Michel. 1978. “Right to Death and Power over Life,” The History of Sexuality, Vol. 1: An Introduction. New York: Pantheon Books. pp. 135-159. . 1997. “Security, Territory and Population” In Ethics: Subjectivity and Truth. New York: The New Press. pp. 67-71. . 2003. Society Must Be Defended: Lectures at the College de France, 1975-1976. Picardo. Hardt, Michael. 2004. “Sovereignty, Multitude, Absolute Democracy: A Discussion between Michael Hardt and Thomas L. Dumm about Hardt’s and Negri’s Empire”. In Paul A. Passavant and Jodi Dean (eds.). Empire’s New Clothes: Reading Hardt and Negri. New York: Routledge. Lemke, Thomas. 2011. Biopolitics: An Advanced Introduction. New York and London: New York University Press. Rabinow, Paul and Rose Nikolas. 2001. “Biopower Today,” BioSocieties 1, p. 198.

118


อาเซียนปริทัศน ASEAN Annual Review

Rodda, Matt. 2014. “The Diagrammatic Spectator,” Ephemera: Theory & Politics in Organization Vol.14(2). pp. 221-244. Wallenstein, Sven-Olov. 2013. “Introduction: Foucault, Biopolitics, and Governmentality,” In Jakob Nilson and Sven-Olov Wallenstein (eds.). Foucault, Biopolitics, and Governmentality, pp. 7-34. Stockholm: Södertörn University.

119


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.