:: Annual Report 2008 TH ::

Page 1



ตลอดระยะเวลา 28 ป ที่ ผ า นมา CPN ได มุ ง มั่ น พั ฒ นาศั ก ยภาพองค ก รสู ก ารเติ บ โตอย า งต อ เนื่ อ ง และก า วขึ้ น สู ก ารเป น ผู น ำด า นการพั ฒ นาอสั ง หาริ ม ทรั พ ย เ พื่ อ การค า ปลี ก ด ว ยวิ สั ย ทั ศ น ข อง ผู บ ริ ห ารศู น ย ก ารค า มื อ อาชี พ ภายใต น โยบายการกำกั บ ดู แ ลกิ จ การที่ ดี CPN พร อ มที่ จ ะสร า งสรรค ประสบการณ ที่ โ ดดเด น และแตกต า งเหนื อ ความคาดหวั ง ด ว ยมาตรฐานการให บ ริ ก ารระดั บ โลก เพื่ อ ความพึ ง พอใจสู ง สุ ด ต อ ผู ถื อ หุ น คู ค า พนั ก งาน ลู ก ค า และสั ง คม



กำไรสุ ท ธิ เพิ่ ม ขึ้ น รายได ร วม 9,311ล า นบาท เพิ่ ม ขึ้ น 10% กำไรสุ ท ธิ 2,186 ล า นบาท เพิ่ ม ขึ้ น 23%

ผลการดำเนิ น งานที่ แ ข็ ง แกร ง สะท อ นให เ ห็ น ถึ ง ความชำนาญในการบริ ห ารอสั ง หาริ ม ทรั พ ย เพื่ อ การค า ปลี ก อย า งมื อ อาชี พ และนโยบายทางการเงิ น ที่ ร ะมั ด ระวั ง CPN พร อ มที่ จ ะเติ บ โต ต อ ไปอย า งมั่ น คงและยั่ ง ยื น



จากประสบการณ แ ละความเข า ใจในธุ ร กิ จ พั ฒ นาอสั ง หาริ ม ทรั พ ย เ พื่ อ การค า ปลี ก อย า งลึ ก ซึ้ ง เป น องค ป ระกอบสำคั ญ แห ง ความสำเร็ จ ของ CPN ในการเลื อ กทำเลที่ ตั้ ง ที่ มี ศั ก ยภาพสู ง การพั ฒ นาศู น ย ก ารค า ที่ มี เ อกลั ก ษณ แ ละการคั ด สรรร า นค า ที่ เ หมาะสม ตอบสนองไลฟ ส ไตล ข อง ผู บ ริ โ ภคทุ ก ยุ ค ทุ ก สมั ย ธุ ร กิ จ ของ CPN ในวั น นี้ ครอบคลุ ม จุ ด ยุ ท ธศาสตร ก ารค า ที่ ส ำคั ญ ของประเทศไทย และขยายสู ร ะดั บ ภู มิ ภ าคเอเชี ย ในอนาคต



CPN ได ส ร า งสรรค ป ระสบการณ แ ห ง ความคุ ม ค า (Rewarding Experience) ผ า นหลากหลาย กิ จ กรรม เพื่ อ เสริ ม สร า งสั ม พั น ธภาพอั น ดี กั บ ผู ป ระกอบการค า ปลี ก ในศู น ย ก ารค า ซึ่ ง มี ส ว น ร ว มคิ ด ร ว มทำ ร ว มส ง เสริ ม และพั ฒ นาสู เป า หมายเพื่ อ ความสำเร็ จ ในการเติ บ โตร ว มกั น รวมถึ ง การจั ด กิ จ กรรมนั ก ลงทุ น สั ม พั น ธ เพื่ อ ให ข อ มู ล และกระชั บ ความสั ม พั น ธ กั บ ผู ถื อ หุ น และนั ก ลงทุ น ตลอดจนรณรงค ใ ห ทุ ก ฝ า ยตระหนั ก ถึ ง ความสำคั ญ ในการดำเนิ น ธุ ร กิ จ บนพื้ น ฐาน ของความมี จ ริ ย ธรรมและคุ ณ ธรรมที่ ดี ควบคู ไ ปกั บ การดู แ ลรั บ ผิ ด ชอบ ต อ สั ง คมและสิ่ ง แวดล อ มอย า งต อ เนื่ อ ง



ด ว ยวิ สั ย ทั ศ น ผู น ำด า นการพั ฒ นาศู น ย ก ารค า ด ว ยมาตรฐานระดั บ โลก ที่ ส ร า งสรรค น วั ต กรรมด า นการพั ฒ นาและบริ ละบริ ห ารศู น ย ก ารค า (Business Improvement) I เพื่ อ ตอกย้ ำ ความเป น ผู น ำในการสร า งสรรค รค ป ระสบการณ ที่ โ ดดเด น และแตกต า ง (Experience Excellence) ตลอดจนทุ ม เทและพั ฒ นาบุ ค ลากรให เ ป น เลิ ศ (Staff Excellence with High Engagement Level) ควบคู กั บ นโยบายการกำกั บ ดู แ ลกิ จ การที่ ดี ต ามหลั ก บรรษั ท ภิ บ าล สู อี ก หนึ่ ง บทพิ สู จ น กั บ รางวั ล แห ง ความภาคภู มิ ใ จ “รายงานบรรษั ท ภิ บ าลดี เ ด น ” ประจำป 2551 จากตลาดหลั ก ทรั พ ย แ ห ง ประเทศไทย


สถานที่ตั้ง ชั้น 30 - 33 อาคารดิออฟฟิศเศส แอท เซ็นทรัลเวิลด์ เลขที่ 999/9 ถนนพระราม 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 ประเทศไทย โทรศัพท์ : + 66 (0) 2667 - 5555 โทรสาร : + 66 (0) 2264 - 5593 เว็บไซต์ของบริษัท www.cpn.co.th เลขทะเบียนบริษัท 0107537002443 ปีที่ก่อตั้ง พ.ศ. 2523 ปีที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2538 ประเภทธุรกิจ พั ฒ นาและให้ เ ช่ า พื้ น ที่ ศู น ย์ ก ารค้ า ขนาดใหญ่ และประกอบธุ ร กิ จ อื่ น ที่ เ กี่ ย วเนื่ อ งและส่ ง เสริ ม การประกอบธุ ร กิ จ พั ฒ นาและให้ เ ช่ า พื้ น ที่ ศูนย์การค้า รวมทั้งการลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้า ปลีก และเป็นผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์ให้แก่กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ เพื่อการค้าปลีก ข้อมูลหลักทรัพย์ หุ้นสามัญของ บริษัทเซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) เข้าจดทะเบียน และทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยใช้ชื่อย่อ หลักทรัพย์ “CPN ” ทุนจดทะเบียน 2,178,816,000 บาท ทุนที่ออกและชำระแล้ว 2,178,816,000 บาท ประกอบด้วยหุ้นสามัญ 2,178,816,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 1 บาท สอบถามข้อมูล เลขานุการบริษัท โทรศัพท์ : + 66 (0) 2667 - 5555 ต่อ 1665 โทรสาร : + 66 (0) 2264 - 5593 อีเมลล์ : co.secretary@cpn.co.th นักลงทุนสัมพันธ์ โทรศัพท์ : + 66 (0) 2667 - 5555 ต่อ 1614 หรือ 1669 โทรสาร : + 66 (0) 2264 - 5593 อีเมลล์ : ir@cpn.co.th


ส า ร บั ญ จุดเด่นด้านการดำเนินงานและการเงินของบริษัทและบริษัทย่อย ..........................................................................................12 สาสน์จากคณะกรรมการบริษัท ............................................................................................................................................14 รายงานจากคณะกรรมการตรวจสอบ................................................................................................................................... 17 รายงานจากคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน.................................................................................................... 20 รายงานจากคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง........................................................................................................................ 21 รายงานจากคณะกรรมการบรรษัทภิบาล.............................................................................................................................. 22 คณะกรรมการและคณะผู้บริหารของบริษัท.......................................................................................................................... 24 ภาพรวมเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมค้าปลีกสำหรับปี 2551................................................................................................... 26 รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2551............................................................................................................................. 29 เซ็นทรัลพัฒนาในวันนี้........................................................................................................................................................ 34 โครงการในอนาคต.............................................................................................................................................................. 38 ปรัชญาและกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ.................................................................................................................................... 41 ลักษณะการประกอบธุรกิจ.................................................................................................................................................. 44 ภาพรวมการประกอบธุรกิจของบริษัทและบริษัทย่อย..................................................................................................... ..... 47 โครงสร้างรายได้ของบริษัทและบริษัทย่อย.......................................................................................................................... 48 การพัฒนาองค์กร......................................................................................................................................................... ...... 49 การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ................................................................................................................................................ 52 การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ................................................................................................................................................ 54 การกำกับดูแลกิจการ ......................................................................................................................................................... 56 ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ........................................................................................................................... 63 ปัจจัยความเสี่ยงและการบริหารความเสี่ยง ......................................................................................................................... 66 โครงสร้างเงินทุน................................................................................................................................................................ 69 ผังองค์กร ........................................................................................................................................................................... 72 โครงสร้างการจัดการ .......................................................................................................................................................... 74 การสรรหากรรมการและผู้บริหาร........................................................................................................................................ 83 ค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหาร ..................................................................................................................................... 85 รายการระหว่างกัน ............................................................................................................................................................. 88 คำอธิบายและการวิเคราะห์ฐานะการเงิน ............................................................................................................................ 97 รายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตและงบการเงิน ............................................................................................................. 103 รายละเอียดเกี่ยวกับผู้บริหารและผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัท .......................................................................................... 153 สรุปข้อมูลทั่วไปของนิติบุคคลที่บริษัทถือร้อยละ 10 ขึ้นไป ................................................................................................ 160 รายละเอียดเกี่ยวกับกรรมการของบริษัทย่อย .................................................................................................................... 162 บุคคลอ้างอิงอื่น ............................................................................................................................................................... 163 โครงการภายใต้การบริหารงานของ CPN ............................................................................................................................ 164 ข้อมูลสำหรับนักลงทุน ..................................................................................................................................................... 166


12 .13

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป

2551

จุ ด เ ด น ด า น ก า ร ด ำ เ นิ น ง า น แ ล ะก า ร เ งิ น ข อ ง บ ริ ษั ท แ ล ะ บ ริ ษั ท ย อ ย / /

/ 0

% ('/ 0

/ !" #$ % 0

& / % 0

$' ()*" + + /& ,% -

%

& / % %

', -'./ !" #$% & !,0 1, !" "# -234 *2

!" -+5 67 89 *2 :9; !" (01 :20+ )!

< -+5 9+=/ > #+=/ 1,#(*+' 5,= *? 3-=9@

=

0

#

# ' !" # $ % & () * +

- $' ()*" + + /& 0 .

# () * +


ณ 31 ธันวาคม ผลการดำเนินงานรวม พื้นที่ให้เช่ารวม (ตารางเมตร) » ศูนย์การค้า » อาคารสำนักงาน » อาคารที่พักอาศัย อัตราการเช่าพื้นที่ (%) » ศูนย์การค้า » อาคารสำนักงาน » อาคารที่พักอาศัย ข้อมูลสำคัญจากงบกำไรขาดทุน รายได้รวม1 รายได้จากการเช่าและบริการ ขายอาหาร และเครื่องดื่ม ต้นทุนค่าเช่าและบริการ ขายอาหาร และเครื่องดื่ม กำไรขั้นต้น กำไรสุทธิ กำไรสุทธิหลังปรับปรุง2

2547

2548

2549

2550

2551

741,442 591,007 134,099 16,336

757,710 617,299 134,038 6,373

842,900 691,326 145,201 6,373

848,202 697,038 144,791 6,373

911,764 761,111 144,280 6,373

95 47 77

93 83 71

91 89 59

96 93 69

97 94 69

(หน่วย : พันบาท)

6,189,507 5,834,052 3,155,735 2,678,317 1,347,744 1,347,744

6,981,907 6,421,687 3,500,723 2,920,964 3,294,545 1,445,988

7,749,361 6,706,222 3,782,797 2,923,425 1,685,194 1,685,194

8,922,933 7,895,285 4,473,363 3,421,923 1,783,406 1,783,406

9,839,248 8,598,631 4,889,598 3,709,033 2,185,786 2,185,786

ข้อมูลสำคัญจากงบดุล สินทรัพย์รวม หนี้สินรวม หนี้สินสุทธิที่มีภาระดอกเบี้ย3 ส่วนของผู้ถือหุ้นและส่วนของผู้ถือหุ้นน้อย ส่วนของผู้ถือหุ้น กำไรสะสม ทุนที่ออกและชำระแล้ว จำนวนหุ้น (’000 หุ้น)

27,104,291 18,361,089 7,553,191 8,743,202 8,465,426 4,163,766 2,178,816 2,178,816

33,376,294 21,587,212 4,901,104 11,789,083 11,213,657 6,913,606 2,178,816 2,178,816

34,336,477 21,762,292 7,421,757 12,574,185 12,027,424 7,727,273 2,178,816 2,178,816

37,204,641 23,565,349 8,061,863 13,639,293 13,020,815 8,720,562 2,178,816 2,178,816

43,783,780 28,610,457 12,768,404 15,173,322 14,498,921 10,307,220 2,178,816 2,178,816

อัตราส่วนทางการเงินรวม อัตราส่วนของหนี้สินสุทธิที่มีภาระดอกเบี้ย ต่อส่วนของผู้ถือหุ้น3 (เท่า) อัตรากำไรขั้นต้น (%) อัตรากำไรสุทธิ (%) อัตราผลตอบแทนของสินทรัพย์ (%) อัตราผลตอบแทนของผู้ถือหุ้น4 (%) กำไรต่อหุ้น5 (บาท) กำไรสุทธิหลังปรับปรุงต่อหุ้น5 (บาท) เงินปันผลต่อหุ้น (จ่ายในปีถัดไป)6 (บาท)

0.86 45.91 21.77 5.32 16.78 0.67 0.67 0.10

0.42 45.49 33.39 10.89 33.48 1.56 0.66 0.40

0.59 43.59 21.75 4.98 14.50 0.77 0.77 0.31

0.59 43.34 19.99 4.99 14.24 0.82 0.82 0.33

0.84 43.14 22.21 5.40 15.89 1.00 1.00 0.33

(หน่วย : พันบาท)

หมายเหตุ : 1 รายได้รวม ไม่รวมถึงกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน,กำไรจากการซื้อคืนหุ้นกู้, กำไรจากการขายเงินลงทุน และกำไรจากสัญญาเช่าการเงิน 2 ในปี 2548 กำไรสุทธิไม่นับรวมกำไรจากการทำสัญญาเช่าทางการเงินสินทรัพย์ส่วนใหญ่ของโครงการเซ็นทรัลพลาซาพระราม 2 และโครงการ เซ็นทรัล รัชดา - พระราม 3 ให้แก่กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ CPN รีเทลโกรท, การตั้งสำรองการด้อยค่าของที่ดินรอการพัฒนาและรายการที่เกี่ยวข้อง 3 หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย ไม่รวมเงินกู้ยืมจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน 4 อัตราผลตอบแทนของผู้ถือหุ้นไม่รวมส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยในบริษัทย่อย 5 กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน เฉพาะส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นสามัญ 6 ปรับปรุงเงินปันผลต่อหุ้นตามราคาพาร์เท่ากับ 1 บาท


14 .15

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป

2551

ส า ส น จ า ก ค ณ ะ ก ร ร ม ก า ร บ ริ ษั ท ปีที่ผ่านมาเป็นปีที่ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) (“CPN”) เติบโตอย่างต่อเนื่อง ผลการดำเนินงานในปี 2551 สะท้อนให้เห็น ถึงความแข็งแกร่งทางธุรกิจและความสามารถในการบริหารจัดการโครงการศูนย์การค้าอย่างแท้จริง ความสำเร็จในการเปิดให้บริการศูนย์การค้า แห่ ง ใหม่ “เซ็น ทรัล พลาซา แจ้ ง วั ฒนะ” เมื่ อวันที่ 27 พฤศจิ กายน 2551 ที่ผ่านมา และการได้รับรางวัล “รายงานบรรษัทภิบาลดี เด่น (Top Corporate Governance Report Award )” ซึ่งเป็นรางวัลอันทรงเกียรติจากงาน SET Awards 2008 ทำให้ปี 2551 เป็นอีกปีหนึ่ง แห่งความภาคภูมิใจของ CPN ความสำเร็ จ ตลอดระยะเวลาการดำเนินธุร กิจ ที่ผ่า นมาของ CPN ส่ว นหนึ่งเป็นผลมาจากการที่ CPN เป็นหนึ่ งในสายธุรกิจของกลุ่ม เซ็ น ทรั ล ซึ่ ง เป็ น ผู้ น ำในธุ ร กิ จ ค้ า ปลี ก มายาวนานกว่ า 60 ปี โดยกลุ่ ม เซ็ น ทรั ล มี ธุ ร กิ จ ที่ ห ลากหลาย ทั้ ง ธุ ร กิ จ ห้ า งสรรพสิ น ค้ า ธุ ร กิ จ โรงแรม ธุร กิจ ร้ า นอาหาร และธุ รกิ จ ค้ า ปลี ก สินค้ า หลากหลายประเภทกว่าหลายร้อ ยยี่ห้อ และผลิตภั ณฑ์ และธุรกิจในกลุ่ม ดังกล่าว เป็นผู้เช่าพื้นที่ใหญ่และผู้เช่าพื้นที่ร้านค้าในแต่ละศูนย์ของ CPN จึงอาจกล่าวได้ว่าธุรกิจต่างๆ ในกลุ่มเซ็นทรัลเป็นพันธมิตรทางการค้า กั บ CPN ที่ ช่ ว ยเพิ่ มอั ตราการเช่า และสร้ า งความมั่นใจแก่ลูกค้ ารายอื่นๆ ให้ ม าเช่ าพื้ นที่ภายในศูนย์ การค้ าของ CPN ซึ่งมีส่ว นช่ วย ยืนยันความสำเร็จของโครงการต่างๆ และสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับผู้ถือหุ้นของ CPN จากความสัมพันธ์ทางการค้าดังกล่าวข้างต้น ระหว่าง CPN และกลุ่มเซ็นทรัลซึ่งเป็นบุคคลที่เกี่ยวโยงกัน จึงเป็นจุดแข็งในการดำเนินธุรกิจของ CPN ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทได้ ตระหนักถึงความโปร่งใสในการทำรายการระหว่างกันที่จะต้องไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และต้องให้ผู้ถือหุ้นมั่นใจ ในกระบวนการดำเนินงานที่เป็นรายการที่เกี่ยวโยงกัน ประกอบกับในปีที่ผ่านมามีการประกาศใช้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาด หลั กทรั พ ย์ ฉบั บ ปรับ ปรุง พ.ศ. 2551 ซึ่ ง มี ก ารกำหนดให้เ รื่อ งการพิจารณาการทำรายการที่เกี่ยวโยงกั นเป็นหน้าที่ค วามรับผิ ดชอบ ส่วนหนึ่งของคณะกรรมการบริษัท ดังนั้น คณะกรรมการบริษัทจึงได้กำหนดเงื่อนไขทางการค้าที่เป็นปกติธุรกิจในการทำรายการกับ บุ ค คลที่ เ กี่ย วโยงกั น เพื่อความชัด เจนและเป็ นแนวทางในการดำเนินธุรกิจของ CPN โดยคณะกรรมการตรวจสอบได้ให้ค วามสำคัญ และมีก ารพิ จ ารณาทบทวนความสมเหตสมผลของนโยบายการทำรายการที่ เกี่ ยวโยงกันของ CPN อย่างจริงจัง และก่ อ นการเข้าทำ รายการที่เกี่ยวโยงกันที่มีนัยสำคัญทุกครั้ง ฝ่ายจัดการจะนำเสนอรายละเอียดของรายการต่อคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อพิจารณาและ ให้ความเห็นทุกครั้ง รวมทั้งมีการเปิดเผยสารสนเทศตามเกณฑ์ที่สำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทยกำหนด

ผลการดำเนินงานในป 2551 ภายใต้แรงกดดันจากวิกฤตการณ์เศรษฐกิจชะลอตัว โครงการภายใต้การบริหารของ CPN ยังคงมีอัตราการเช่าพื้นที่ (Occupancy Rate ) อยู่ในเกณฑ์ดี โดย ณ สิ้นปี 2551 พื้นที่ศูนย์การค้ามีอัตราการเช่าพื้นที่เฉลี่ยอยู่ที่ 97% และ 94% สำหรับอาคารสำนักงาน อย่างไรก็ดี ภาวะการณ์ ดั ง กล่ า วได้ ส่ ง ผลกระทบทางอ้ อ มต่ อ การปรั บ ขึ้ น ค่ า เช่ า พื้ น ที่ ร้ า นค้ า ที่ ถึ ง แม้ จ ะยั ง คงปรั บ ขึ้ น ค่ า เช่ า ได้ ใ นสั ญ ญาที่ ค รบ กำหนด แต่อัตราการปรับขึ้นนั้นต่ำลงเมื่อเทียบกับปีอื่นๆที่ผ่านมา สำหรับผลประกอบการประจำปี 2551 บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีรายได้รวมจำนวน 9,310.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.6% จากปีที่ผ่านมา และมีกำไรสุทธิจำนวน 2,185.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 22.6% จากปีก่อน และหากไม่นับรวมรายได้ที่ไม่เกิดขึ้นเป็นประจำในผลการดำเนินงาน ปี 2550 รายได้ ร วมและกำไรสุ ท ธิ ข อง CPN สำหรั บ รอบปี 2551 จะเติ บ โต 12.4% และ 39.3% ตามลำดั บ โดยเป็ น ผลหลั ก จาก ผลการดำเนิน งานที่ ดี ขึ้นอย่า งต่ อเนื่ องของธุรกิ จ ศูนย์ก ารค้าและการบริ หารต้นทุ นและค่าใช้จ่ายที่มีประสิทธิ ภาพ


“ค ว า ม สำ เ ร็ จ ใ น ก า ร เ ป ด ใ ห บ ริ ก า ร ศู น ย ก า ร ค า แ ห ง ใ ห ม เ ซ็ น ท รั ล พ ล า ซ า แ จ ง วั ฒ นะ เ มื่ อ เ ดื อ น พ ฤ ศ จิ ก า ย น 2 5 5 1 แ ล ะ ก า ร ไ ด รั บ ร า ง วั ล ร า ย ง า น บ ร ร ษั ท ภิ บ า ล ดี เ ด น ท ำ ใ ห ป 2 5 5 1 เ ป น อี ก ป ห นึ่ ง แ ห ง ค ว า ม ภ า ค ภู มิ ใ จ ข อ ง C P N” แม้ว่าแผนการระดมทุนโดยการโอนขายสินทรัพย์ในโครงการเซ็นทรัลพลาซา ปิ่นเกล้า และโครงการเซ็นทรัลพลาซา เชียงใหม่ แอร์พอร์ต ให้แก่กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ CPN รีเทล โกรท (“CPNRF ”) ต้องชะลอไปชั่วคราวอันเนื่องมาจากภาวะตลาดทุนที่ไม่เอื้ออำนวย โครงการระหว่างการพัฒนา ได้แก่ โครงการเซ็นทรัลเฟสติวัล พัทยา บีช (เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2552) โครงการเซ็นทรัล พลาซา ชลบุรี และโครงการเซ็นทรัลพลาซา ขอนแก่น ยังคงดำเนินไปตามแผนงานเดิม โดยอาศัยกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน และเงินกู้ยืมสนับสนุนจากสถาบันการเงินภายในประเทศ อย่างไรก็ตาม สำหรับโครงการในอนาคตอื่นๆ CPN ได้ชะลอการพัฒนา ออกไปก่อน โดยจะพิจารณาความเหมาะสมอีกครั้ง ซึ่ง CPN อาจจะได้รับประโยชน์จากค่าก่อสร้างที่ลดลง ทั้งนี้เพื่อรักษาสภาพคล่อง และดำรงอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนไม่ให้สูงเกินไป การพั ฒ นาปรั บ ปรุ ง เพื่ อ สร้ า งมู ล ค่ า เพิ่ ม ให้ กั บ โครงการปั จ จุ บั น ยั ง คงดำเนิ น ไปอย่ า งต่ อ เนื่ อ งทั้ ง ในด้ า นการปรั บ รู ป โฉมภายนอก ปรับปรุงโครงสร้างการตกแต่งภายใน การปรับผัง และ การปรับเปลี่ยนร้านค้า โดยในปี 2551 ที่ผ่านมา CPN ได้ดำเนินการสร้างที่จอดรถ เพิ่มในโครงการเซ็นทรัลพลาซา รัตนาธิเบศร์ เพื่อรองรับจำนวนผู้เข้ามาใช้บริการที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องภายหลังการปรับปรุงพื้นที่ และปรับผังร้านค้าซึ่งดำเนินการแล้วเสร็จเมื่อปี 2550 และได้ทำการปรับปรุงพื้นที่ศูนย์อาหารในโครงการเซ็นทรัลพลาซา ปิ่นเกล้า โดยได้ เปิดให้บริการใหม่ในรูปแบบของ Food Park รวมถึงได้เพิ่มผู้เช่าหลัก “เซ็นเตอร์ พอยท์” ในโครงการเซ็นทรัลเวิลด์ ทั้งหมดนี้เพื่อให้ โครงการภายใต้ ก ารบริหารงานของ CPN มีความครบถ้ว น ทันสมั ย สะดวกสบาย และสามารถตอบสนองความต้ อ งการของลู กค้ า ได้อย่างแท้จริง อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาผลการดำเนินงานสำหรับปี 2551 ฐานะทางการเงินโดยรวม ประกอบกับเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมด้าน เงินทุนสำรองสำหรับโครงการระหว่างพัฒนาและสนับสนุนการดำเนินงานธุรกิจในกรณีที่ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวส่งผลกระทบรุนแรง ขึ้น ในอนาคต คณะกรรมการบริ ษัท จึ ง มี มติ เห็นควรเสนอต่ อ ที่ประชุ ม สามัญผู้ถือ หุ้นในวันที่ 30 เมษายน 2552 เพื่อ อนุ มัติจ่ายเงิน ปั น ผลในอัตรา 0.33 บาทต่ อหุ้ น ซึ่ ง คิด เป็นอั ต ราการจ่ายเงิ นปันผล 33% ของกำไรสุ ทธิประจำปี 2551 โดยลดลงจากนโยบายอัตรา การจ่ายเงินปันผลที่ 40% ของกำไรสุทธิของบริษัทฯ

CPN เชื่อว่าท่ามกลางภาวะวิกฤตทางการเงินในขณะนี้ โอกาสในการพัฒนาธุรกิจยังคงมีอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโอกาสในซื้อที่ดินหรือ การเข้าซื้อโครงการศูนย์การค้าที่บริหารโดยผู้ประกอบการอื่น รวมถึงต้นทุนการก่อสร้างที่ต่ำลงตามราคาวัสดุการก่อสร้างที่ปรับตัวลดลง ดังนั้น CPN จึงยังคงเดินหน้าในการสร้างความเติบโตทางธุรกิจหากจะเป็นการก้าวไปอย่างรอบคอบและระมัดระวัง


16 .17

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป

2551

การพัฒนาองคกรดวยวิสัยทัศน “การเปนผูนำดานการพัฒนาศูนยการคา ดวยมาตรฐานระดับโลก” นอกเหนือจากการบริหารจัดการโครงการในปัจจุบันและการขยายธุรกิจดังกล่าวข้างต้น ปี 2551 ยังเป็นปีแห่งการเตรียมความพร้อม ด้านการพัฒนาบุคลากรและกระบวนการทำงานภายในองค์กร เพื่อตอบสนองธุรกิจของ CPN ที่จะมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วในอีก ไม่ กี่ ปี ข้ า งหน้ า สำหรั บ งานด้ า นบุ ค ลากร ในปี ที่ ผ่ า นมา CPN ได้ ศึ ก ษาและพั ฒ นาลั ก ษณะสมรรถนะ ( Competency ) เฉพาะของ บุคลากร CPN หรือ “คน CPN” เพื่อใช้ประกอบการคัดเลือกและกำหนดหลักสูตรฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร เพื่อให้ในท้ายที่สุดแล้ว บุคลากรของ CPN มีความเหมาะสมกับธุรกิจ วิสัยทัศน์ และสามารถสนับสนุนการเติบโตองค์กร ซึ่งดำเนินควบคู่ไปกับการพัฒนา ภาวะผู้นำ (Leadership Development Program ) สำหรับบุคลากรระดับจัดการเพื่อเสริมสร้างทักษะด้านการบริหารจัดการ และการ พัฒนากระบวนการสืบทอดตำแหน่งงาน (Career Succession Plan ) สำหรับผู้บริหารระดับสูงเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของธุรกิจ และรักษาให้องค์กรสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน นอกจากนั้น ตลอดปี 2551 CPN ยั ง ได้ป รั บ ปรุง และเปลี่ ย นแปลงระบบการทำงานหลายอย่ างเพื่อ เพิ่ม ประสิทธิ ภาพและประสิทธิผล ของกระบวนการทำงานภายในองค์กรและเพื่อให้ทุกโครงการของ CPN เป็นโครงการที่มีคุณภาพเทียบเท่ามาตรฐานสากล ไม่ว่าจะเป็น การปรับปรุงโครงสร้างการบริหารจัดการ การพัฒนาระบบการทำงานให้เป็นมาตรฐานควบคู่ไปกับการยกระดับการให้บริการสู่ความเป็นเลิศ และนำระบบ Centralize มาปรั บ ใช้ ใ นหน่ ว ยงานสนั บ สนุ น ต่ า งๆ เพื่ อ ลดการทำงานที่ ซ้ ำ ซ้ อ นและลดอั ต ราการเพิ่ ม จำนวนบุคลากร เมื่อมีการขยายโครงการใหม่ รวมทั้งยังได้การนำความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในการก่อสร้างและอนุรักษ์พลังงานซึ่งนอกจากจะช่วย ลดระยะเวลาในการพัฒนาโครงการแล้ว ยังจะเห็นผลในด้านการบริหารต้นทุนที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นด้วย ท้ายสุดนี้ คณะกรรมการบริษัทขอขอบคุณผู้ถือหุ้น พันธมิตรทางการค้า ร้านค้าผู้เช่า สถาบันการเงิน และผู้ที่เกี่ยวข้อง ที่ได้ให้ความ ไว้วางใจและให้การสนับสนุนการดำเนินงานของ CPN ด้วยดีตลอดมา และขอขอบคุณผู้บริหารและพนักงาน CPN ทุกท่านที่ได้ทุ่มเท แรงกายแรงใจ ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถภายใต้หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ทำให้ CPN ผ่านพ้นปัญหาและอุปสรรคต่างๆ และสามารถดำเนินธุรกิจบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้เป็นอย่างดี พร้อมที่จะก้าวขึ้นสู่ความเป็นผู้นำด้านการพัฒนาศูนย์การค้าด้วยมาตรฐาน ระดับโลก

วันชัย จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการ

กอบชัย จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่


รายงานจากคณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการตรวจสอบ ประกอบด้วยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเป็นอิสระ 3 ท่าน ซึ่งองค์ประกอบและคุณสมบัติของคณะกรรมการ ตรวจสอบเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ โดยนายไพฑูรย์ ทวีผล ประธาน คณะกรรมการตรวจสอบ เป็นผู้มีความรู้และประสบการณ์เพียงพอในการสอบทานความน่าเชื่อถือได้ของงบการเงิน ในปี 2551 การประชุมของคณะกรรมการตรวจสอบมีทั้งสิ้น 11 ครั้ง โดยกรรมการตรวจสอบทุกคนเข้าร่วมการประชุมทุกครั้ง ซึ่งการประชุม ในบางครั้ง คณะกรรมการตรวจสอบได้หารือร่วมกับกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหาร ผู้สอบบัญชี ผู้ตรวจสอบภายใน และกรรมการ จากภายนอกอื่นที่ไม่เป็นผู้บริหาร ตามวาระอันสมควร โดยได้รายงาน แสดงความเห็น และให้ข้อเสนอแนะอย่างอิสระตามที่พึงจะเป็น โดยปฏิบัติหน้าที่เป็นไปตามประกาศตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง คุณสมบัติและขอบเขตการดำเนินงานของคณะกรรมการ ตรวจสอบ พ.ศ. 2551 ทั้ ง นี้ คณะกรรมการตรวจสอบได้ ร่ ว มกั น ทบทวนและมี ม ติ ป รั บ ปรุ ง กฏบั ต รของคณะกรรมการตรวจสอบให้ ครอบคลุมและสอดคล้องกับข้อกำหนดที่เปลี่ยนแปลงไปตามประกาศตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยฉบับดังกล่าวข้างต้น โดยได้ ประกาศให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 13 สิงหาคม 2551 เป็นต้นไปแทนฉบับเดิม คณะกรรมการตรวจสอบได้รายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการบริษัทเป็นประจำไตรมาสละครั้ง ซึ่งสรุปสาระสำคัญของผลการ ดำเนินงาน ประจำปี 2551 ดังต่อไปนี้

ความถูกตอง ครบถวน และเชื่อถือไดของรายงานทางการเงิน สอบทานงบการเงินรายไตรมาส งบการเงินประจำปี 2551 และพิ จารณาแผนการตรวจสอบและรายงานผลการตรวจสอบ ร่วมกั บ ผู้บริหาร และผู้สอบบัญชี โดยพิจารณาความสำคัญของการเลือกใช้นโยบายการบัญชี การจัดทำรายงานทางการเงินโดยถูกต้องตามที่ควร ในสาระสำคั ญ ตามหลั ก การบั ญ ชี ที่ รั บ รองทั่ ว ไป รายการคิ ด ค่ า เช่ า ค่ า บริ ก าร และการให้ ส่ ว นลดแก่ ร้ า นค้ า ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั น เป็ น ปกติธุรกิจเช่นเดียวกับการให้แก่ร้านค้าทั่วไป และระบบควบคุมภายในด้านการเงินการบัญชีและระบบสารสนเทศ คณะกรรมการตรวจสอบให้ความเห็นชอบต่อความถูกต้อง ครบถ้วน และเชื่อถือได้ของรายงานทางการเงินทั้งรายไตรมาสและประจำปี โดยให้ความเห็นแก่ผู้บริหารให้ปรับปรุงวิธีการปฏิบัติงานเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาเดิมและลดปัญหาใหม่ที่อาจจะเกิดขึ้น และให้ความเห็น แก่ผู้สอบบัญชีให้รายงานการเปลี่ยนแปลงของมาตรฐานการบัญชี และให้ติดตามผลการปรับปรุงการปฏิบัติงานของผู้บริหารและรายงาน ผลดังกล่าวต่อคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อทราบและพิจารณา

ความเพียงพอของระบบควบคุมภายในและการตรวจสอบภายใน กำกับดูแลงานตรวจสอบภายใน ให้ปฏิบัติสอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพ โดยใช้วิธีการประเมินความเสี่ยงและระบบควบคุมภายใน ตามมาตรฐานของ COSO และใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สนับสนุนงานตรวจสอบ เพื่อให้กระบวนการปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพและมี ระบบควบคุมภายในที่เพียงพอยิ่งขึ้น ตลอดจนพิจารณา แผนงานตรวจสอบประจำปี รายงานผลการตรวจสอบและตรวจติดตามทุกฉบับ พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะทั้งต่อสำนักตรวจสอบภายในและฝ่ายบริหาร เพื่อปรับปรุงการปฏิบัติงาน ตลอดจนได้พิจารณาและให้การ สนับสนุนด้านอัตรากำลังและการพัฒนาบุคลากรของสำนักตรวจสอบภายในอย่างต่อเนื่อง คณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็นว่า ระบบควบคุมภายในและการตรวจสอบภายในมีความเพียงพอ โดยให้ความเห็นชอบต่อแผนงาน ตรวจสอบประจำปี รายงานความคืบหน้าของการปฏิบัติงาน รายงานผลการตรวจสอบและตรวจติดตามกระบวนการและระบบงาน


18 .19

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป

2551

ต่างๆ โดยเสนอให้ฝ่ายบริหารปรับปรุงการปฏิบัติงานตามประเด็นที่ผู้ตรวจสอบภายในตรวจพบ พร้อมกับให้ข้อสังเกตเพื่อเป็นประโยชน์ ในการดำเนิ น การ และเสนอให้หน่วยงานบริ หารความเสี่ยงใช้รายงานผลการตรวจสอบภายใน เพื่อ สนั บสนุนการประเมิ น ติ ดตาม และบริหารความเสี่ยงในเรื่องที่เกี่ยวข้อง

การปฏิบัติตามกฏหมายวาดวยหลักทรัพยและตลาดหลักทรัพย ขอกำหนดของตลาดหลักทรัพย และกฏหมายที่เกี่ยวของกับธุรกิจของบริษัท สอบทานให้บริษัทปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัทอย่างสม่ำเสมอ คณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็นว่า รายการที่บริษัทต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่ได้สอบทานนั้นมีความเพียงพอ และได้ให้ฝ่ายบริหารติดตามสาระ สำคัญของการประกาศใช้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และให้รายงานเพื่อทราบและพิจารณา อย่างใกล้ชิด

รายการที่อาจมีความขัดแยงทางผลประโยชน พิจารณารายการที่เกี่ยวโยงกัน หรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ให้เป็นไปตามกฏหมายและข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย เพื่อให้มั่นใจว่ารายการดังกล่าวสมเหตุสมผลและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อบริษัท คณะกรรมการตรวจสอบ มีความเห็นว่า รายการที่เกี่ยวโยงกันที่ได้พิจารณานั้น มีความสมเหตุสมผลและให้ข้อเสนอแนะแก่ฝ่ายบริหารว่า ควรกำหนดกรอบแนวทางการปฏิบัติงานและเกณฑ์ต่างๆ สำหรับการทำรายการที่เกี่ยวโยงกันให้เป็นปัจจุบันและชัดเจน เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงาน นำไปเป็นแนวทางมาตรฐานในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง ส่วนการตัดสินใจอนุมัติการทำรายการนั้น ผู้บริหารควรบันทึกเหตุผล สนับสนุนการอนุมัติการทำรายการอย่างชัดเจน เพื่อให้ทุกคนที่ได้อ่าน สามารถเข้าใจในแนวทางเดียวกันว่าเป็นการทำธุรกิจตามปกติ ด้วยความสมเหตุสมผลและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อบริษัท

ความเหมาะสมของผูสอบบัญชี การพิจารณา คัดเลือก และเสนอแตงตั้งผูสอบบัญชี ประเมินผลการปฏิบัติงานปี 2551 ซึ่งเป็นปีที่สามของผู้สอบบัญชีรายนี้ ผลการปฏิบัติงานโดยรวมจัดว่าน่าพึงพอใจ โดยให้ความเห็น แก่ผู้สอบบัญชีให้ใช้ประโยชน์จากงานของผู้ตรวจสอบภายในเพื่อลดงานที่ซ้ำซ้อนกัน และพิจารณาความเหมาะสมของค่าตอบแทน งานบริการสอบบัญชีเทียบกับขอบเขตงาน แล้วจึงให้ความเห็นชอบเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทให้แต่งตั้งบริษัท เคพีเอ็มจี ภูมิไชย สอบบัญชี จำกัด เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทสำหรับปี 2552 โดยมีค่าตอบแทนเป็นจำนวนเงิน 1,510,000 บาท คณะกรรมการตรวจสอบได้ พิจ ารณาความเป็นอิสระของผู้ส อบบัญชี โดยให้ข้อ สั งเกตแก่ผู้บริหารว่าหากบริษัทได้ใช้บริ การด้านอื่น นอกเหนือจากการสอบบัญชี ขอให้เปิดเผยไว้ในรายงานประจำปีและรายงานอื่นๆ ตามสมควรอย่างเพียงพอ นอกจากนี้ คณะกรรมการตรวจสอบได้ประชุมร่วมกับผู้สอบบัญชีโดยไม่มีฝ่ายจัดการเข้าร่วมประชุม จำนวน 1 ครั้ง เพื่อขอความเห็น จากผู้ ส อบบั ญ ชี ในเรื่ อ งการทำงานและการประสานงานร่ ว มกับฝ่ายจัดการที่เกี่ยวข้อ ง โดยให้ข้ อ คิดเห็นแก่ฝ่ายจั ดการให้สอบทาน ความถูกต้องครบถ้วนของรายงานต่างๆ ก่อนส่งให้ผู้สอบบัญชี รวมทั้งให้รักษาตารางเวลาและกำหนดการที่ได้ตกลงร่วมกับผู้สอบบัญชี

ความเห็น และขอสังเกตโดยรวมจากการปฏิบัติหนาที่ตามกฏบัตร จากการประเมินผลการปฏิบัติงานตนเองของคณะกรรมการตรวจสอบ ประจำปี 2551 เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2552 ใน 5 หมวด ได้แก่ หมวดองค์ประกอบของคณะกรรมการตรวจสอบ หมวดการฝึกอบรมและทรัพยากร หมวดการประชุม หมวดกิจกรรมของคณะกรรมการ ตรวจสอบ และหมวดความสั ม พั น ธ์ กั บ ผู้ จั ด การสำนั ก ตรวจสอบภายใน ผู้ ส อบบั ญ ชี แ ละผู้ บ ริ ห าร ผลการประเมิ น โดยรวมสรุ ป ว่ า ได้ปฏิบัติงานอย่างเพียงพอและครบถ้วน ในระดับน่าพอใจมาก


อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็นและข้อสังเกตโดยรวม ดังนี้ ฝ่ายจัดการควรพิจารณาส่งผ่านข้อมูลที่มีสาระสำคัญและ เป็นประโยชน์ไปยังกรรมการตรวจสอบทุกคนเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตรวจสอบให้มากขึ้น กรรมการผู้จัดการใหญ่ และผู้สอบบัญชีควรเข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมการตรวจสอบให้มากครั้งขึ้นกว่าปี 2551 รวมทั้งคณะกรรมการตรวจสอบควรมีส่วนร่วม มากขึ้นในการพิจารณาผลการปฏิบัติงาน การแต่งตั้ง การโยกย้าย การเลิกจ้าง รวมทั้งการกำหนดและปรับค่าตอบแทนของผู้จัดการ สำนักตรวจสอบภายใน

รายการอื่นที่ผูถือหุน และผูลงทุนทั่วไปควรทราบ ภายใตขอบเขตหนาที่ และความรับผิดชอบที่ไดรับมอบหมาย จากคณะกรรมการบริษัท การกำกับดูแลกิจการที่ดี ส่งเสริมและติดตามความคืบหน้าของกระบวนการพัฒนาการกำกับดูแลกิจการที่ดีอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งให้แนวทางและข้อเสนอแนะ ที่จำเป็นเพื่อการพัฒนา ซึ่งบริษัทได้รับรางวัล SET Awards 2008 ในหมวดการรายงานการกำกับดูแลกิจการที่ดี 1 ใน 10 บริษัทจดทะเบียน คณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็นให้บริษัทพัฒนาและปรับปรุงการกำกับดูแลกิจการที่ดีอย่างต่อเนื่องต่อไป ซึ่งความรับผิดชอบต่อ สังคม (Corporate Social Responsibility ) เป็นเรื่องหนึ่งในการกำกับดูแลกิจการที่ดีที่มีต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย บริษัทควรจัดให้มีระบบ การจัดการตอบสนองกับข้อร้องเรียนต่างๆได้อย่างเหมาะสมและทันท่วงที รวมทั้งจัดให้มีระบบการติดตามผลความพึงพอใจต่อการจัดการ กับข้อร้องเรียนนั้นๆ เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่างๆ อย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม การบริหารความเสี่ยง สอบทานให้ บ ริ ษั ท มี ก ระบวนการบริ ห ารความเสี่ ย งอย่ า งเป็ น ระบบมาตรฐานที่ เ หมาะสม มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพและเกิ ด ประสิ ท ธิ ผ ล โดย ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ ดำรงตำแหน่งเป็นประธานที่ปรึกษาของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ซึ่งได้เข้าร่วมประชุมกับ คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงทุกครั้ง เพื่อพิจารณาและแสดงความคิดเห็นต่อรายงานผลและรายงานความคืบหน้าการบริหารความเสี่ยง ของบริ ษั ท โดยแลกเปลี่ ย นความรู้และข้อมูล เกี่ย วกับความเสี่ยงและการควบคุ ม ภายในที่ มีหรือ ที่อ าจมีผลกระทบต่อ บริษัท ร่วมกับ คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง คณะทำงานบริหารความเสี่ยงและฝ่ายบริหาร คณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็นว่า บริษัทควรทบทวนและปรับปรุงแนวทางการปฏิบัติงานบริหารความเสี่ยง เนื่องจากได้ดำเนินงาน อย่างต่อเนื่องมา 3 ปีแล้ว อีกทั้งจะผลักดันและสนับสนุนให้บริษัทมีระบบการบริหารความเสี่ยงการทุจริต (Fraud Risk Management ) โดยเชื่อมโยงเข้ากับการบริหารความเสี่ยงเชิงกลยุทธ์ระดับองค์กร และระดับรองๆ ลงไปที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

นายไพฑูรย์ ทวีผล ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ


20 .21

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป

2551

ร า ย ง า น จากค ณ ะ ก ร ร ม ก า ร ส ร ร ห า และกำหนดคาตอบแทน ในปี 2551 คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามข้อบังคับของคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน โดยมีการประชุมรวมทั้งสิ้น 2 ครั้ง สรุปสาระสำคัญของการปฏิบัติหน้าที่ได้ดังนี้ 1. พิจารณาสรรหาบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเป็นกรรมการ เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการบริษัท และที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นพิจารณา แต่งตั้งกรรมการแทนกรรมการที่ออกตามวาระประจำปี 2551 2. พิจารณากำหนดค่าตอบแทน ประจำปี 2551 สำหรับคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการชุดย่อย ซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมการ ตรวจสอบ คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน และคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการบริษัท และที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นพิจารณาอนุมัติ โดยได้มีการพิจารณาความเหมาะสมของหน้าที่ความรับผิดชอบผลการปฏิบัติงาน และ เปรียบเทียบกับบริษัทในกลุ่มธุรกิจเดียวกัน 3. พิจารณาแผนการสืบทอดตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงของบริษัท 4. พิจารณาการกำหนดค่าตอบแทนสำหรับผู้บริหารระดับสูง 5. พิจารณาและให้ความเห็นเกี่ยวกับนโยบายและการดำเนินงานด้านทรัพยากรมนุษย์ของบริษัทฯ 6. พิจารณาและให้ความเห็นเกี่ยวกับการกำหนดเป้าหมาย และการประเมินผลการปฏิบัติงานของกรรมการผู้จัดการใหญ่ 7. พิจารณาความเหมาะสมในการครบกำหนดวาระของกรรมการตรวจสอบ 8. พิจารณาทบทวนหน้าที่ความรับผิดชอบและการปฏิบัติหน้าที่ตามข้อบังคับของคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน 9. รายงานการดำเนิ น งานของคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่ า ตอบแทนให้ ค ณะกรรมการบริ ษั ท รั บ ทราบทุ ก ครั้ ง ที่ มี ก าร ประชุม ทั้งนี้ ในปี 2551 คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนได้ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มความสามารถ และเป็นอิสระ โดยให้ ค วามเห็ น อย่ า งตรงไปตรงมาเพื่ อประโยชน์สูง สุด ของบริษัทฯ ผู้ ถื อ หุ้นทุกราย รวมถึงผู้มี ส่ว นได้เสียอื่นๆ อย่างเพี ยงพอและ เหมาะสม

นายจักก์ชัย พานิชพัฒน์ ประธานคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน


ร า ย ง า นจาก ค ณ ะ ก ร ร ม ก า ร บ ริ ห า ร ค ว า ม เ สี่ ย ง คณะกรรมการบริษัทได้ตระหนักถึงความสำคัญเป็นอย่างยิ่งของการบริหารความเสี่ยง (Risk Management ) ภายใต้การเปลี่ยนแปลง ที่อาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจทั้งปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอก โดยยึดหลักว่าการบริหารความเสี่ยงเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด ของทุ ก กระบวนการในการดำเนิ น ธุ ร กิ จ โดยกำหนดเป็ น นโยบายการบริ ห ารความเสี่ ย ง ที่ ชั ด เจนและดำเนิ น การเพื่ อ ให้ มั่ น ใจว่ า ความเสี่ยงนั้นได้รับการบ่งชี้และจัดการให้อยู่ในระดับที่บริษัทฯ ยอมรับได้ และมีคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงซึ่งมีหน้าที่สนับสนุน ให้มีการนำการบริหารความเสี่ยงไปปฏิบัติทั่วทั้งองค์กรในปี 2551 คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงได้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย จากคณะกรรมการบริษัท โดยจัดให้มีรายงานการบริหารความเสี่ยงทั้งสิ้น 4 ครั้ง สรุปสาระสำคัญของงานที่ปฏิบัติได้ดังนี้ 1. ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ พิจารณาโครงสร้างความเสี่ยง (Corporate Risk Profile ) ในระดับกลยุทธ์ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับ พั น ธกิ จ ของบริ ษั ท ฯ เช่ น ในการกำหนดแผนกลยุ ท ธ์ ข องบริ ษั ท ฯ ต้ อ งมี ก ารพิ จ ารณาความเสี่ ย งที่ อ าจเป็ น อุ ป สรรคต่ อ การ บรรลุวัตถุประสงค์ต่างๆ ทำการบ่งชี้ ประเมิน จัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยงและจัดทำแผนการจัดการความเสี่ยงไว้ 2. ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ ด้านกฏระเบียบ และด้านการเงิน พิจารณากระบวนการ และแผนงานการบริหารความเสี่ยง เพื่อให้มั่นใจ ว่าการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในมีประสิทธิภาพเพียงพอกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ และเหมาะสมกับสภาพ แวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป จัดให้มีกระบวนการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร ทั้งในส่วนที่เป็นศูนย์การค้าและสำนักงานใหญ่ 3. การมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการบริหารความเสี่ยงของทุกหน่วยงาน โดยพิจารณาความเสี่ยงทุกสาขาและทุกกระบวนการที่มี นัย สำคั ญ พร้อมให้ข้ อเสนอแนะที่เป็ นประโยชน์ เพื่อ ทำแผนงาน และติดตามผลการดำเนินงานตามแผนเพื่อ ลดความเสี่ยง หรือหลีกเลี่ยงความเสี่ยงนั้น 4. การรายงานความเสี่ยง มีขั้นตอนการรายงานความเสี่ยงประเภทต่างๆ อย่างครอบคลุม ทันเวลาและ เหมาะสม มีการรายงาน ความคืบหน้าการบริหารความเสี่ยงของบริษัทต่อคณะกรรมการตรวจสอบ 4 ครั้ง ภายหลังจากที่มีการประชุมคณะกรรมการบริหาร ความเสี่ยงแต่ละครั้ง และรายงานสรุปต่อคณะกรรมการบริษัท 2 ครั้ง ทั้งนี้ ในปี 2551 คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงได้ดำเนินการเพื่อให้มั่นใจว่า การจัดการความเสี่ยงมีความเพียงพอและเหมาะสม สามารถจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ และการบริหารความเสี่ยงได้ถูกนำไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง สนับสนุนให้มีวัฒนธรรม การบริหารความเสี่ยง ตลอดจนได้ให้ความเห็นต่างๆ แก่ทุกหน่วยงานอย่างตรงไปตรงมา เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อบริษัทและผู้ถือหุ้น ทุกราย รวมถึงผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ อย่างเหมาะสมแล้ว

นายนริศ เชยกลิ่น ประธานคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง


22 .23

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป

2551

รายงานจากคณะกรรมการบร รษัทภิบาล คณะกรรมการบริษัท ได้ยึดถือแนวปฏิบัติตามนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี และส่งเสริมให้มีการปฏิบัติและพัฒนาด้านการกำกับ ดูแลกิจการที่ดีอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และแนวทางปฏิบัติที่ดีที่เป็นที่ยอมรับ และปฏิบัติของสากล โดยได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบรรษัทภิบาล เพื่อปฏิบัติหน้าที่กำกับดูแลการดำเนินงานของบริษัทฯ ให้เป็น ไปตามการกำกับดูแลกิจการที่ดี และมีคณะทำงานด้านการรณรงค์ส่งเสริมและประชาสัมพันธ์บรรษัทภิบาลเพื่อรับผิดชอบในการกำหนด แผนการดำเนินงาน การรณรงค์ และการประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างการรับรู้และตระหนักในเรื่องบรรษัทภิบาลและความรับผิดชอบต่อ สังคมให้กับผู้บริหารและพนักงานทุกระดับอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ในปี 2551 มีการประชุมคณะกรรมการบรรษัทภิบาลเพื่อรับทราบความคืบหน้า และทบทวนการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามนโยบาย การกำกับดูแลกิจการที่ดีและแผนงานที่กำหนดไว้ รวมทั้งสิ้น 4 ครั้ง โดยสรุปผลการปฏิบัติงานด้านบรรษัทภิบาลของบริษัทฯ ได้ดังนี้ 1. กำกับดูแลให้ผู้บริหารและพนักงานยึดถือและปฏิบัติตามนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี ที่คณะกรรมการบริษัทอนุมัติไว้ 2. ส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมเผยแพร่การปฏิบัติตามนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี และหลักบรรษัทภิบาลของบริษัทอย่าง ต่อเนื่อง ดังนี้

»

ติดประกาศและสื่อประชาสัมพันธ์ในลักษณะป้ายแขวน (Mobile Hanging ) เกี่ยวกับหลักบรรษัทภิบาล 6 ข้อ ของบริษัท ได้แก่ “ซื่อสัตย์สุจริต เปิดกว้างโปร่งใส ให้ความเสมอภาค ให้ความเป็นธรรม ยึดมั่นคำสัญญา ใส่ใจดูแลสังคม” เพื่อช่วย เสริมสร้างความตระหนักและเน้นย้ำให้ทุกคนในองค์กรนำหลักบรรษัทภิบาลไปปฏิบัติอย่างจริงจัง

»

จัดกิจกรรม Roadshow ในทุกสาขาของบริษัท เพื่อสื่อสารหลักบรรษัทภิบาลของบริษัทผ่านกิจกรรมสันทนาการต่างๆ ให้ ผู้บริหารและพนักงานทุกคน ได้รับทราบข้อมูลในแนวทางเดียวกัน

»

เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับนโยบายและกิจกรรมด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดีต่างๆ ทาง Intranet และหน้าจอคอมพิวเตอร์ (Desktop Wallpaper ) ภายในองค์กร เพื่อประสิทธิภาพในการสื่อสารข้อมูลที่ทันสมัย เข้าถึงได้ง่าย และสะดวกรวดเร็ว

»

จัดทำบทความที่มีภาพประกอบภายใต้หัวข้อ “CG ง่ายที่จะทำและเราก็ทำได้” โดยจัดพิมพ์ในวารสาร ADMIRED Newsletter ซึ่งเป็นวารสารราย 2 เดือนภายในบริษัท เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจของพนักงานเกี่ยวกับการปฏิบัติงานควบคู่กับการปฏิบัติ ตามหลักบรรษัทภิบาลของบริษัท

»

เปิดโอกาสให้พนักงานทุกคนได้มีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ รวมถึงข้อร้องเรียนผ่านกล่อง I-Box และในปี 2551 ได้เพิ่มช่องทางอีก 1 ช่องทาง คือ ตู้ ปณ.99 ประตูน้ำ

» »

จัดกิจกรรมของกลุ่ม CPN อาสา และรณรงค์ให้พนักงานได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมเพื่อสังคม เชิดชู “คนดี คน CPN ” เพื่อยกย่องชมเชยพนักงานที่เป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติตนตามหลักบรรษัทภิบาล และ เป็นที่ยอมรับของเพื่อนพนักงานโดยทั่วไปในแต่ละสาขา เพื่อสร้างความภาคภูมิใจให้กับพนักงาน และแสดงถึงเจตนารมณ์ ของ CPN ที่ยึดมั่นในหลักบรรษัทภิบาลอย่างแท้จริง

3. ศึ ก ษาดู ง านและแลกเปลี่ ย นประสบการณ์ ด้ า นการกำกั บ ดู แ ลกิ จ การ และกิ จ กรรมด้ า นความรั บ ผิ ด ชอบต่ อ สั ง คมของ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เพื่อศึกษาแนวทางการปฏิบัติที่ดี และนำมาปรับใช้กับบริษัทฯ


4. กำหนดนโยบายและผลักดันการดำเนินการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมที่สอดคล้องกับแผนงานบริษัทฯ 5. ทบทวนนโยบาย จรรยาบรรณ ตลอดจนแนวทางการปฏิบัติด้านการกำกับดูแลกิจการของบริษัทฯ ให้สอดคล้องกับหลักการ กำกับดูแลกิจการที่ดีของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ปี 2549 และหลักการกำกับดูแลกิจการของ OECD (The Organization for Economic Co-Operation and Development ) เพื่ อ ยกระดั บ การกำกั บ ดู แ ลกิ จ การของบริ ษั ท ฯ ให้ ทั ด เที ย มกั บ แนวทาง ปฏิบัติระดับสากล 6. ตรวจประเมิ น ความเข้ า ใจของพนั ก งานเกี่ ย วกั บ หลั ก บรรษั ท ภิ บ าลโดยใช้ แ บบประเมิ น ผลความพึ ง พอใจของพนั ก งาน (Employee Opinion Survey: EOS) และแบบประเมินในการจัดกิจกรรม Roadshow ซึ่งผลที่ได้ คือ พนักงานมีการรับทราบและเข้าใจ เกี่ยวกับหลักบรรษัทภิบาลมากขึ้นจากปีก่อน 7. รายงานการดำเนิ นงานเกี่ ย วกับ การกำกับ ดูแ ลกิจการที่ ดีข องบริษัทฯ ให้ค ณะกรรมการตรวจสอบ และคณะกรรมการบริษัท รับทราบเป็นประจำ ทั้งนี้ ในปี 2551 คณะกรรมการบรรษัทภิบาลได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความมุ่งมั่นเพื่อพัฒนาการกำกับดูแลกิจการของบริษัทฯ ให้เป็นไป ตามแนวทางของตลาดหลัก ทรั พ ย์ แห่ ง ประเทศไทยและหลักปฏิบัติส ากลอย่างต่อ เนื่อ ง และเต็ ม ความสามารถ เพื่อ ประโยชน์สูงสุด ของบริษัทฯ ผู้ถือหุ้นทุกราย รวมถึงผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ อย่างเหมาะสมแล้ว ซึ่งบริษัทฯ เชื่อว่าการดำเนินงานภายใต้หลักการกำกับดูแล กิจการที่ดี จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มแก่องค์กร และส่งเสริมให้บริษัทฯ เติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน จากความทุ่มเทและให้ความสำคัญในการดำเนินการด้านบรรษัทภิบาลอย่างจริงจัง ตลอดจน กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคน ให้ความร่วมมือและสนับสนุนอย่างเต็มที่ ส่งผลให้บริษัทมีผลคะแนนจากการประเมินรายงานการกํากับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียน ประจำปี 2551 ซึ่งประเมินโดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (Thai Institute of Directors Association: IOD) อยู่ในเกณฑ์ ”ดี ม าก” และได้ รั บ รางวั ล SET Awards 2008 ประเภทรายงานบรรษั ท ภิ บ าลดี เ ด่ น ( Top Corporate Governance Report Award ) ซึ่ ง เป็ น รางวั ล ที่ ม อบให้ แ ก่ บ ริ ษั ท จดทะเบี ย นที่ มี ค วามโดดเด่ น ด้ า นรายงานการปฏิ บั ติ ต ามหลั ก การกํ า กั บ ดู แ ลกิ จ การที่ ดี โดย CPN ยังคงมุ่งมั่นพัฒนามาตรฐานการดำเนินการด้านการกำกับดูแลกิจการและการรายงานอย่างต่อเนื่อง

นายนริศ เชยกลิ่น ประธานคณะกรรมการบรรษัทภิบาล


24 .25

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป

2551

ค ณ ะ ก ร ร ม ก า รและ ค ณ ะ ผู บ ริ ห า รของบริษัท

02

03

01

08

04

05 09

06

07

10


01 02 03 04 05 06 07 08 09 10

11

นายวันชัย จิราธิวัฒน์ นายเอนก สิทธิประศาสน์ นายสุทธิชัย จิราธิวัฒน์ นายสุทธิเกียรติ จิราธิวัฒน์ นายสุทธิชาติ จิราธิวัฒน์ นายสุทธิศักดิ์ จิราธิวัฒน์ นายสุทธิธรรม จิราธิวัฒน์ นายไพฑูรย์ ทวีผล นางสุนันทา ตุลยธัญ นายจักก์ชัย พานิชพัฒน์

11 12 13 14 15 16 17 18 19 20

นายปริญญ์ จิราธิวัฒน์ นายสุทธิเดช จิราธิวัฒน์ นายกอบชัย จิราธิวัฒน์ นายสุทธิภัค จิราธิวัฒน์ นายครรชิต บุนะจินดา นายนริศ เชยกลิ่น ดร.ณัฐกิตติ์ ตั้งพูลสินธนา นางปณิดา สุขศรีดากุล นางสาววัลยา จิราธิวัฒน์ นายธีระชาติ นุมานิต

12 13

14 15 16 17

18

19

20


26 .27

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป

2551

ภ า พ ร ว ม เ ศ ร ษ ฐ กิ จ แ ล ะ อ ุ ต ส า ห ก ร ร ม ค า ป ล ีก ส ำ ห รั บ ป 2 5 5 1 ในปี 2551 ภาพรวมเศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายในประเทศและภายนอกประเทศ ความผันผวนของสถานการณ์การเมือง และการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลถือเป็นปัจจัยภายในประเทศที่สำคัญในการกำหนดทิศทางและนโยบายเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งส่งผล กระทบโดยตรงต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ สถานการณ์ราคาสินค้าอุปโภคและบริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น จากภาวะเงินเฟ้อและระดับราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูงในช่วงครึ่งแรกของปี 2551 เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้ภาวะการอุปโภคบริโภค รวมถึงอุตสาหกรรมค้าปลีกมีอัตราการเติบโตที่ลดลง สำหรับในช่วงครึ่งหลังของปี 2551 ถึงแม้ว่าอัตราเงินเฟ้อและระดับราคาน้ำมัน ได้ลดต่ำลง หากแต่ภาวะเศรษฐกิจของไทยยังคงได้รับแรงกดดันจากปัจจัยจากภายนอกประเทศคือ วิกฤตการณ์ทางการเงินซึ่งนำมาสู่ ภาวะถดถอยของเศรษฐกิจโลก ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมภาคการผลิต ครัวเรือน การเงินการธนาคารและ ตลาดทุน ดังนั้น ภาพรวมเศรษฐกิจในปี 2551 จึงอยู่ในภาวะชะลอตัวทั้งในด้านการบริโภคและการลงทุนทั้งจากภาครัฐและเอกชน ซึ่งล้วนเป็นผลมาจากปัจจัยที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น สำหรับอุตสาหกรรมค้าปลีกเป็นภาคธุรกิจหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากความไม่มั่นคงทางการการเมืองภายในประเทศและความผันผวน ของเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก ซึ่งส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคธุรกิจที่มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ประกอบการ ธุรกิจค้าปลีกต่างพยายามที่จะสร้างสรรกลยุทธ์หรือนวัตกรรมใหม่ๆ ในการกระตุ้นให้ผู้บริโภคเกิดการจับจ่ายใช้สอย โดยพัฒนาและ นำเสนอกลยุทธ์ในแนวทางต่างๆ อาทิเช่น

»

การนำเสนอกิจกรรมทางการตลาดและส่งเสริมการขายที่เข้มข้นร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจ ทำให้สามารถเข้าถึงและตอบสนอง ความต้องการของผู้บริโภคในแต่ละกลุ่มมากยิ่งขึ้น โดยพยายามหาพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับการส่งเสริม การขายและการประชาสัมพันธ์

»

การปรับปรุงโครงการศูนย์การค้าให้ทันสมัยสอดรับกับความต้องการของลูกค้าหลากหลายกลุ่ม เพื่อขยายฐานลูกค้าใหม่และรักษา ฐานลูกค้าเดิม

»

การสร้างความโดดเด่นของศูนย์การค้าให้เป็นที่นิยม โดยผ่านกิจกรรมที่ส่งเสริมความสัมพันธ์กับร้านค้าผู้เช่า พันธมิตรทางธุรกิจ และลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการในศูนย์การค้า ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เป็นรูปแบบเฉพาะสำหรับลูกค้ากลุ่มนั้นๆ ซึ่งถือเป็นการสร้างกลุ่ม ลูกค้าที่จงรักภักดีอย่างยั่งยืน

ภาวะอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพยเพื่อการคาปลีกในป 2551 อสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ เ พื่ อ การค้ า ปลี ก ในกรุ ง เทพมหานครสำหรั บ ปี 2551 มี พื้ น ที่ จ ำนวนทั้ ง สิ้ น 5.04 ล้ า นตารางเมตร เพิ่ ม ขึ้ น ประมาณ 313,000 ตารางเมตร หรื อ คิ ด เป็ น 6.6% จากปี 2550 โดยพื้ น ที่ ค้ า ปลี ก เพิ่ ม ขึ้ น จากศู น ย์ ก ารค้ า ขนาดใหญ่ แ ละศู น ย์ ก ารค้ า ชุ ม ชนที่ มี การขยายตั ว ในเขตชานเมื อ งของจั ง หวั ด กรุ ง เทพมหานครและปริ ม ณฑลเป็ น ส่ ว นใหญ่ ในขณะที่ ผู้ ป ระกอบการไฮเปอร์ ม าร์ เ ก็ ต ได้ มี การขยายสาขาอย่างต่อเนื่องเช่นกันและมีแนวโน้มที่จะพัฒนาโครงการใหม่ๆ ให้มีพื้นที่ค้าปลีกสำหรับรายย่อยเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นไปตาม การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีความหลากหลายและต้องการสินค้าและบริการที่ครบครัน สำหรับอัตราการเช่าพื้นที่ ค้ า ปลี ก ในกรุ ง เทพมหานครลดลงมาอยู่ ที่ 93.6% ในปี 2551 จาก 94.5% ในปี 2550 ซึ่ ง เป็ น ผลกระทบจากภาวะการชะลอตั ว ของ กิจกรรรมทางเศรษฐกิจ เนื่องจากทั้งผู้ประกอบการค้าปลีกและผู้บริโภคต่างไม่มั่นใจในสถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศ รวมถึง ผลกระทบที่อาจได้รับจากภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก ดังนั้นผู้ประกอบการค้าปลีกและผู้บริโภคต่างรอดู


สถานการณ์ แ ละวิ เ คราะห์ ถึ ง ผลที่ อ าจได้ รั บ ต่ อ การประกอบธุ ร กิ จ และการดำรงชี พ ทั้ ง ในสถานการณ์ ปั จ จุ บั น และการขยายธุ ร กิ จ ในอนาคตอีกด้วย จึงทำให้อัตราการเช่าพื้นที่ค้าปลีกในกรุงเทพมหานครมีแนวโน้มลดลง ซึ่งส่งผลต่ออัตราการเติบโตของค่าเช่าพื้นที่ ค้ า ปลี ก ที่ มี ทิ ศ ทางการปรั บ ตั ว ไปในแนวทางเดี ย วกั บ อั ต ราการเช่ า พื้ น ที่ เช่ น กั น โดยค่ า เช่ า พื้ น ที่ ค้ า ปลี ก ในปี 2551 ค่ อ นข้ า งคงที่ เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2550 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ลดลง โดยผู้บริโภคมีการใช้จ่ายลดลงและเป็น ไปอย่างระมัดระวัง ดังนั้นการเพิ่มขึ้นของค่าเช่าพื้นที่ค้าปลีกสำหรับบางธุรกิจจึงได้รับแรงกดดันจากภาวะการชะลอตัวของการอุปโภค และบริโภค

ภาวะอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพเพื่อพัฒนาเปนอาคารสำนักงานในป 2551 ภาวะตลาดอาคารสำนักงานในกรุงเทพมหานครสำหรับปี 2551 มีพื้นที่จำนวนทั้งสิ้น 7.79 ล้านตารางเมตร เพิ่มขึ้นประมาณ 250,000 ตารางเมตร หรือคิดเป็น 3.3% จากปี 2550 ซึ่งถือเป็นอัตราการขยายตัวของพื้นที่อาคารสำนักงานที่ลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2550 ซึ่ ง เป็ น ผลมาจากวิ ก ฤตการณ์ ท างการเงิ น และการชะลอตั ว ของภาวะเศรษฐกิ จ ไทยและเศรษฐกิ จ โลก จึ ง ทำให้ ห ลายองค์ ก รปรั บ ลด แผนการขยายธุ ร กิ จ และต่ อ เนื่ อ งมาถึ ง การชะลอแผนการขยายสาขาหรื อ สำนั ก งาน ดั ง นั้ น ความต้ อ งการที่ จ ะขยายพื้ น ที่ ส ำนั ก งาน จากบริษัทเดิมหรือจากบริษัทที่จะเปิดใหม่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด ประกอบกับมีพื้นที่อาคารสำนักงานให้เช่าว่างอยู่จากการที่ผู้พัฒนา อสังหาริมทรัพย์สำหรับอาคารสำนักงานได้เปิดให้บริการอาคารสำนักงานให้เช่าเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากในปี 2549 ดังนั้นอัตราการเช่า พื้น ที่อ าคารสำนัก งานในกรุง เทพมหานครจึง อยู่ในระดับไม่เปลี่ ยนแปลงตั้งแต่ปี 2549 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งส่งผลให้ค่าเช่าพื้น ที่อาคาร สำนักงานในกรุงเทพมหานครอยู่ในระดับค่อนคงที่หรือมีอัตราการเติบโตที่อยู่ในระดับต่ำในช่วงเวลาที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

กลยุทธการแขงขันของ CPN ดำเนินงานด้านการทำวิจัยธุรกิจและตลาดอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างครบถ้วน พร้อมทั้งยกระดับการให้บริการ ในปีที่ผ่านมา CPN ได้ทำการสำรวจข้อมูลทางการตลาดโดยศึกษาความพึงพอใจของลูกค้าที่มีความต้องการหลากหลายและแตกต่างกัน โดยได้ศึกษาพฤติกรรม การรับรู้และความนิยมในแบรนด์ของ CPN กับลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย รวมถึงศึกษาประสิทธิภาพของกิจกรรม ทางการตลาด เพื่อให้สามารถเข้าใจและเข้าถึงความต้องการของกลุ่มลูกค้าได้ดียิ่งขึ้นเพื่อนำมาพัฒนาและปรับปรุงแผนงานการตลาด นอกจากนี้ CPN ยังได้ศึกษาความต้องการและรับฟังความคิดเห็นของผู้เช่าพื้นที่เพื่อนำมาพัฒนาศูนย์การค้าร่วมกันเพื่อให้ลูกค้าได้รับ ความพึงพอใจสูงสุด นอกจากนี้การวิจัยการตลาดเพื่อวัดสถานะการแข่งขันในธุรกิจค้าปลีกยังเป็นสิ่งที่จำเป็นและมีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในตลาดที่มีสภาวะการแข่งขันสูงและมีกลุ่มลูกค้าที่มีความเป็นลักษณะเฉพาะและมีความต้องการที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การสร้างและเพิ่มพูนความสัมพันธ์ที่ดีกับพันธมิตรทางธุรกิจในด้านผู้เช่าพื้นที่ การบริหารจัดการในส่วนของการคัดเลือกร้านค้าที่เข้ามาเช่าพื้นที่ประกอบธุรกิจภายในศูนย์การค้านั้นเป็นสิ่งที่ทาง CPN ให้ความสำคัญ อย่างยิ่งและถือเป็นหนึ่งในกลยุทธ์การแข่งขันที่สำคัญ โดยได้เลือกสรรร้านค้าที่มีคุณภาพและมีแนวทางในการทำธุรกิจที่สอดคล้อง กับ CPN ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาสินค้าและการให้บริการ รวมถึงการพัฒนาแผนการตลาดอย่างเป็นระบบทำให้ CPN สามารถ ทราบทิ ศ ทางและตอบสนองความต้ อ งการของตลาดได้ อ ย่ า งถู ก ต้ อ ง ทั้ ง นี้ CPN ได้ มี ก ารจั ด กิ จ กรรมเพื่ อ กระชั บ ความสั ม พั น ธ์ กั บ ผู้เช่าพื้นที่อย่างต่อเนื่อง และแจ้งข้อมูลข่าวสารทางการตลาดใหม่ ๆ เพื่อให้การพัฒนาธุรกิจเป็นไปในทิศทางเดียวกัน การจัดพื้นที่และแบ่งประเภทของร้านค้า (Zoning and Merchandizing Mix ) ภายในศูนย์การค้าให้เป็นหมวดหมู่

CPN มี ร ะบบการจั ด การที่ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพในการคั ด เลื อ ก แบ่ ง ประเภท และจั ด วางร้ า นค้ า เพื่ อ ให้ ต รงกั บ ความต้ อ งการของลู ก ค้ า ด้วยประสบการณ์การบริหารศูนย์การค้ามาเป็นระยะเวลายาวนานที่สามารถนำมาใช้ในการคัดเลือกร้านค้า จัดสรร และแบ่งประเภท ร้านค้าให้มีความสอดคล้องและสนับสนุนการทำธุรกิจของร้านค้าปลีกในศูนย์การค้า ซึ่งจะเป็นการสร้างคุณค่าที่เพิ่มขึ้นให้กับลูกค้า และเป็นประโยชน์ต่อร้านค้าผู้เช่าพื้นที่


28 .29

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป

2551

การออกแบบศูนย์การค้าอย่างพิถีพิถัน เน้นความสวยงามและทันสมัย พัฒนาให้เกิดการประหยัดพลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชน โดยคงไว้ซึ่งการวางระบบรักษาความปลอดภัยที่ดีควบคู่กัน

CPN คำนึ ง ถึ ง ความสำคั ญ ของการออกแบบศู น ย์ ก ารค้ า ให้ มี ค วามทั น สมั ย และตรงกั บ ความต้ อ งการของลู ก ค้ า โดยได้ มี ก ารสำรวจ ความต้องการของลูกค้าที่เป็นกลุ่มเป้าหมายในแต่ละพื้นที่ เพื่อนำมาพัฒนาศูนย์การค้าให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าและมีการออกแบบ ที่ ส ะท้ อ นภาพลั ก ษณ์ ข องแต่ ล ะโครงการโดยให้ ก ลมกลื น กั บ สภาพแวดล้ อ ม บรรยากาศ และวั ฒ นธรรมของแต่ ล ะพื้ น ที่ นอกจากนี้ CPN ได้ให้ความสำคัญในเรื่องการประหยัดพลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชน รวมทั้งตระหนักถึงความปลอดภัยทั้งต่อร้านค้า ผู้เช่าพื้นที่และลูกค้า จึงได้จัดให้พนักงานของ CPN และจากร้านค้าผู้เช่าพื้นที่มีการซักซ้อมเพื่อรองรับเหตุการณ์จากอัคคีภัยและวินาศภัย ที่อาจเกิดขึ้น พร้อมทั้งมีการตรวจสอบอุปกรณ์ความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง และในปีที่ผ่านมาได้มีการติดตั้งกล้องวงจรปิดและโทรศัพท์ ฉุกเฉินเพิ่มขึ้นอีกด้วย การประกอบธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องและส่งเสริมกันกับโครงการศูนย์การค้า การประกอบธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องและส่งเสริมกันกับการพัฒนาศูนย์การค้านอกจากจะเป็นการขยายฐานรายได้ให้กับ CPN แล้วยังเป็น การสร้างผลประโยชน์ส่วนเพิ่มจากการที่ธุรกิจศูนย์การค้าและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องต่างเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน ยกตัวอย่างเช่นการพัฒนา อาคารสำนักงานให้เช่านั้น CPN จะพัฒนาขึ้นมาในบริเวณเดียวกับโครงการศูนย์การค้าซึ่งมีร้านค้าและบริการที่ครบครัน ประกอบกับ มีที่จอดรถอย่างเพียงพอ จึงสามารถอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าในอาคารสำนักงานได้เป็นอย่างดี ในส่วนของการดำเนินธุรกิจ ศู น ย์ อ าหารภายในศู น ย์ ก ารค้ า ที่ มี วั ต ถุ ป ระสงค์ ห ลั ก เพื่ อ ให้ บ ริ ก ารและให้ ค วามสะดวกกั บ ลู ก ค้ า ที่ เข้ า มาใช้ บ ริ ก ารในศู น ย์ ก ารค้ า นั้ น CPN ได้คัดเลือกร้านอาหารและเครื่องดื่มที่มีชื่อเสียง เป็นที่นิยม และเน้นให้มีความหลากหลาย มีรสชาติที่ดี และราคาที่เหมาะสม พร้อมทั้งปรับปรุงบรรยากาศภายในศูนย์อาหารให้มีความทันสมัย และรักษามาตรฐานของอาหารและการบริการให้ดีอยู่เสมอ การจัดกิจกรรมทางการตลาดที่สร้างประสบการณ์แปลกใหม่ให้แก่ผู้เข้ามาใช้บริการ นอกเหนือจากการออกแบบศูนย์การค้าให้มีความโดดเด่นและมีรูปแบบเฉพาะซึ่งแตกต่างจากโครงการศูนย์การค้าอื่นแล้ว การจัดกิจกรรม ทางการตลาดของ CPN ยั ง มุ่ ง เน้ น ไปที่ ก ารสร้ า งประสบการณ์ ที่ แ ปลกใหม่ ใ ห้ แ ก่ ลู ก ค้ า ผู้ เข้ า มาใช้ บ ริ ก ารภายใต้ แ นวคิ ด Experience Marketing ด้วยการจัดกิจกรรมในลักษณะ Signature Event ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ไม่มีที่อื่น เพื่อสร้างความโดดเด่นและแตกต่างจากคู่แข่ง อาทิ งานสงกรานต์ “Summer Fave ” และ เทศกาล “Thailand Balloon Festival ” ซึ่งจัดขึ้นที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ งาน “กินปูดูทะเล” ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำ ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา พระราม 2 และงานส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ “Hand Bangkok Countdown” ณ ลานเซ็นทรัลเวิลด์สแควร์ เป็นต้น


รายงานผลการดำเนินงาน ประจำป 2551 ด้ ว ยวิ สั ย ทั ศ น์ที่ จ ะเป็ น “ผู้ นำด้ า นการพัฒนาศู นย์ก ารค้ า ด้ว ยมาตรฐานระดั บโลก” ภายใต้กรอบการสร้ างการเจริญเติ บโตและความ แข็งแกร่งทางธุรกิจอย่างยั่งยืน CPN มุ่งเน้นการขยายธุรกิจศูนย์การค้าเพื่อรักษาฐานตลาดเดิมและขยายธุรกิจไปยังตลาดใหม่ ควบคู่ไปกับ การยกระดับมาตรฐานการให้บริการ และ การพัฒนาและบริหารจัดการศูนย์การค้าปัจจุบันให้ครองใจผู้เช่าและลูกค้าผู้เข้ามาใช้บริการ ในรอบปี 2551 ที่ผ่านมา ธุรกิจค้าปลีกยังคงอยู่ภายใต้ความกดดันทั้งจากสถานการณ์ความไม่มั่นคงทางการเมืองซึ่งต่อเนื่องมาจากปี 2550 ปัญหาราคาน้ำมันและค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงกลางปี และวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกาในช่วงปลายปี ส่ ง ผลต่ อ ความเชื่ อ มั่ น ผู้ บ ริ โ ภคและกระทบโดยตรงต่ อ การชะลอตั ว ในการจั บ จ่ า ยใช้ ส อย ดั ง นั้ น สำหรั บ ปี ที่ ผ่ า นมา CPN จึ ง ดำเนิ น นโยบายในการบริหารศูนย์การค้าที่มุ่งไปยังการเพิ่มพูนศักยภาพในการแข่งขันและกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยของผู้มาใช้บริการ โดยมี การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายและกิจกรรมทางการตลาดอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี ควบคู่ไปกับการพัฒนาปรับปรุงศูนย์การค้าและยกระดับ มาตรฐานการให้บริการและการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศ ในด้านการพัฒนาศูนย์การค้าใหม่ยังคงดำเนินอยู่ภายใต้ความระมัดระวัง ในปี 2551 ที่ผ่านมา CPN ตัดสินใจชะลอแผนการซื้อที่ดินเพิ่มเติม รวมถึ ง การพั ฒ นาโครงการใหม่ ที่ ยั ง ไม่เริ่มดำเนินการก่อ สร้าง ในขณะที่ยั งคงเดินหน้าพัฒนาต่อ สำหรั บศูนย์การค้าใหม่ 4 โครงการ ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างและได้รับผลตอบรับดีในการปล่อยเช่าพื้นที่ ได้แก่ โครงการเซ็นทรัลพลาซา แจ้งวัฒนะ ซึ่งเปิดให้บริการไปแล้ว เมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี 2551 โครงการเซ็นทรัลเฟสติวัล พัทยา บีช เปิดให้บริการเมื่อเดือนมกราคม ปี 2552 และโครงการเซ็นทรัล พลาซา ชลบุรี และโครงการเซ็นทรัลพลาซา ขอนแก่น ซึ่งกำหนดจะเปิดให้บริการในปี 2552

การพัฒนาการบริหารจัดการ ในการพั ฒ นาการบริหารจั ด การสู่ มาตรฐานสากล CPN ได้กำหนดแผนการดำเนินงานระหว่างปี 2549 – 2553 ควบคู่ ไปกั บการดูแ ล และรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โครงการสำคัญในรอบปี 2551 ประกอบด้วย โครงการ World-Class Property Management Company เป็นการเตรียมความพร้อมงานด้านการบริหารศูนย์การค้าในทุกโครงการและทุกหน่วยงานภายในศูนย์การค้าเพื่อเข้าสู่โครงการ Thailand Quality Award ซึ่ ง เป็ น โครงการต่ อ เนื่ อ งจากโครงการต้ น แบบที่ เซ็ น ทรั ล เวิ ล ด์ ซึ่ ง ได้ ยื่ น เข้ า ประกวดโครงการ Thailand Quality Award เมื่อเดือนสิงหาคม ปี 2551 ที่ผ่านมา นอกจากนั้น ความสำเร็จในการพัฒนาการบริหารจัดการในปี 2551 คือ การได้รับการ รับรองระบบบริหารคุณภาพ ISO 9001:2000 ครบทั้ง 10 ศูนย์การค้าปั จจุบันเมื่ อ เดื อ นพฤษภาคมที่ผ่ านมา สำหรั บศู นย์การค้าใหม่ นั้ น อยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อมเพื่อขอการรับรองในลำดับต่อไป โครงการประหยัดพลังงานเพื่อลดภาวะโลกร้อน โครงการประหยัดพลังงานเพื่อลดภาวะโลกร้อนเป็นโครงการที่สนับสนุนนโยบายด้านพลังงานของภาครัฐและเป็นโครงการที่ดำเนิน ต่ อ เนื่ อ งจากปี 2550 โดยในรอบปี ที่ ผ่ า นมา CPN ได้ ท ำการปรั บ เปลี่ ย นระบบปรั บ อากาศขนาดใหญ่ จ ากระบบเดิ ม เป็ น ระบบที่ มี ประสิทธิภาพสูง (High Efficiency Chiller ) ใน 5 โครงการ ได้แก่ โครงการเซ็นทรัลเวิลด์, โครงการเซ็นทรัลพลาซา บางนา, โครงการ เซ็นทรัลพลาซา รามอินทรา, โครงการเซ็นทรัลพลาซา เชียงใหม่ แอร์พอร์ต และ โครงการเซ็นทรัลพลาซา รัตนาธิเบศร์ ซึ่งจะช่วย ประหยัดพลังงานของระบบปรับอากาศ เทียบได้กับการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โครงการด้านรักษาสิ่งแวดล้อม เป็นการเตรียมความพร้อมระบบจัดการสิง่ แวดล้อม โดย CPN กำหนดให้โครงการศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา บางนา และ โครงการศูนย์การค้า เซ็นทรัลพลาซา ปิ่นเกล้า เป็นศูนย์การค้านำร่องในการยื่นขอการรับรองระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมมาตรฐาน ISO 14001 : 2004 ในปี 2552


30 .31

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป

2551

การพัฒนาปรับปรุงโครงการปจจุบัน การพัฒนาปรับปรุงโครงการปัจจุบันที่เปิดให้บริการแล้วทั้งโครงการประเภทศูนย์การค้าและอาคารสำนักงานยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ตามแผนงาน เพื่ อ ให้ ศูน ย์ก ารค้า และอาคารสำนัก งานคงมาตรฐานความปลอดภัย สวยงาม ครบครัน ทันสมัย และสามารถอำนวย ความสะดวกสบายให้แก่ผู้เข้ามาใช้บริการได้อย่างพึงพอใจ ในปี 2551 ที่ผ่านมา CPN ได้ดำเนินการปรับปรุงพัฒนาศูนย์การค้าที่สำคัญ ดังนี้ โครงการเซ็นทรัลเวิลด์ ดำเนินการปรับปรุงพื้นที่ โดยการเจรจาซื้อคืนพื้นที่โรงภาพยนตร์เมเจอร์ ซีนีเพล็ก ในต้นปี 2551 เพื่อพัฒนาเป็นโครงการเซ็นเตอร์พอยต์ ( Center Point ) ซึ่ ง จะเพิ่มความสมบู ร ณ์ ให้แก่ศูนย์ก ารค้า ในภาพรวมและตอบรับวิถี ชีวิตความต้อ งการของกลุ่ ม เป้ าหมายวั นรุ่ นที่ มี กำลังซื้อสูงในย่านใจกลางกรุงเทพฯ พร้อมทั้งเปิดให้บริการ VIP Parking , VIP Lounge , รับฝากของ (Bag Deposit) และห้องละหมาด อีกทั้งให้ความสำคัญกับงานด้านความสะอาด การให้บริการ และความพร้อมของของใช้ที่จำเป็นภายในห้องน้ำ ส่งผลให้ศูนย์การค้า เซ็นทรัลเวิลด์ได้รับรางวัล “ห้องน้ำมาตรฐานการท่องเที่ยว” จากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา อาคารสำนักงาน ดิ ออฟฟิศเศส แอท เซ็นทรัลเวิลด์ ได้รับเลือกเป็น 1 ใน 3 อาคารสร้างสรรค์เพื่อการอนุรักษ์พลังงานดีเด่นในโครงการ Thailand Energy Award 2008 โดยเป็นอาคาร สำนั ก งานเอกชนแห่ ง เดี ย วที่ ผ่ า นการคั ด เลื อ กจากอาคารสำนั ก งานทั่ ว ประเทศที่ ส่ ง เข้ า ร่ ว มประกวดในโครงการของกรมพั ฒ นา พลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน โครงการเซ็นทรัลพลาซา ปิ่นเกล้า ปรั บ ปรุ ง พื้ น ที่ ศู น ย์ อ าหารเดิ ม พร้ อ มปรั บ เปลี่ ย นรู ป แบบใหม่ โดยเปิ ด เป็ น ศู น ย์ อ าหาร “ Food Park ” ภายใต้ ค อนเซ็ ป ต์ “ศู น ย์ อ าหาร ราคาย่อมเยาในบรรยากาศภัตตาคาร” แล้วเสร็จเมื่อเดือนมีนาคม ปี 2551 โครงการเซ็นทรัลพลาซา รัชดา-พระราม 3 ปรั บ ปรุ ง พื้ น ที่ ศู น ย์ อ าหารเดิ ม พร้ อ มปรั บ เปลี่ ย นรู ป แบบใหม่ โดยเปิ ด เป็ น ศู น ย์ อ าหาร “Food Park” ภายใต้ ค อนเซ็ ป ต์ “ศู น ย์ อ าหาร ราคาย่อมเยาในบรรยากาศภัตตาคาร” แล้วเสร็จเมื่อเดือนเมษายน ปี 2551 ปรับปรุงพื้นที่ค้าปลีกโซน “XY Arena” และ “Junction X” และต่อเชื่อมพื้นที่กับศูนย์อาหาร Food Park แล้วเสร็จเมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี 2551 โครงการเซ็นทรัลพลาซา รัตนาธิเบศร์ เพื่อรองรับการขยายตัวลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการภายหลังการปรับปรุงศูนย์การค้าแล้วเสร็จเมื่อปี 2550 จึงดำเนินการก่อสร้างพื้นที่ของ อาคารจอดรถเพิ่มอีก 1 ชั้น ซึ่งแบ่งเป็นพื้นที่จอดรถจำนวน 364 คัน สามารถรองรับจำนวนรถหมุนเวียนได้ประมาณ 1500 คันต่อวัน โครงการเซ็นทรัลพลาซา เชียงใหม่ แอร์พอร์ต การก่ อ สร้ า งฐานรากอาคารเอนกประสงค์ (Convention Hall) ขนาดพื้นที่ 3,000 ตารางเมตร เพื่ อ รองรับการขยายตัว ของธุรกิจ การ จั ด ประชุม กิจ กรรมสัมมนา งานแสดงสินค้า และ นิ ท รรศการนานาชาติ (Meeting Incentive Convention and Exhibition : MICE ) ใน อนาคต โดยในเบื้องต้นฐานรากดังกล่าวใช้เพื่อเป็นลานจอดรถ เพื่อเตรียมการพัฒนาในลำดับต่อไป ปรั บ ปรุ ง ห้ อ งน้ ำ และยกระดั บ การให้ บ ริ ก าร งานด้ า นความสะอาด และความพร้ อ มของของใช้ ที่ จ ำเป็ น ภายในห้ อ งน้ ำ ส่ ง ผลให้ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา เชียงใหม่ แอร์พอร์ต ได้รับรางวัล “ห้องน้ำมาตรฐานการท่องเที่ยว” จากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

การเปดบริการโครงการใหม เพื่อรักษาความเป็นผู้นำด้านการพัฒนาศูนย์การค้าและขยายฐานลูกค้าครอบคลุมพื้นที่ทางทิศเหนือของกรุงเทพฯ และชายฝั่งตะวันออก ของประเทศไทย CPN ได้เปิดให้บริการศูนย์การค้าแห่งใหม่ 2 โครงการ ได้แก่ โครงการเซ็นทรัลพลาซา แจ้งวัฒนะ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นโครงการศูนย์การค้าที่ทันสมัยและครบวงจรที่สุดในด้าน ทิศเหนือของกรุงเทพฯ เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2551 และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากร้านค้าผู้เช่า โดยมีอัตราการเช่าพื้นที่ (Occupancy Rate) ณ วันเปิดให้บริการ 85% ซึ่งเป็นไปตามความคาดหมาย


โครงการเซ็นทรัลเฟสติวัล พัทยา บีช ริมหาดพัทยากลาง จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นไลฟ์สไตล์ ช้อปปิ้งคอมเพล็กซ์ ริมชายหาดธรรมชาติที่ ทั น สมั ย และใหญ่ ที่ สุ ด ในเอเชี ย และเป็ น ศู น ย์ ก ลางไลฟ์ ส ไตล์ ร ะดั บ พรี เ มี ย มที่ ค รบครั น ของภาคตะวั น ออกซึ่ ง เป็ น โครงการสำคั ญ ที่ จ ะ ช่ ว ยต่ อ ยอดฐานลู ก ค้ า กลุ่ ม ตลาดระดั บ บนให้ ม าที่ เ มื อ งพั ท ยามากขึ้ น เปิ ด ให้ บ ริ ก ารอย่ า งเป็ น ทางการเมื่ อ วั น ที่ 23 มกราคม 2552 โดยมียอดการจองพื้นที่เป็นไปตามความหมาย และมีอัตราการเช่าพื้นที่ (Occupancy Rate ) ณ วันเปิดให้บริการ 75%

โครงการอสังหาริมทรัพยและผลการดำเนินงานของ CPN ในป 2551 โครงการศูนย์การค้า

เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว เซ็นทรัลพลาซา รามอินทรา เซ็นทรัลพลาซา บางนา เซ็นทรัลพลาซา ปิ่นเกล้า เซ็นทรัล เซ็นเตอร์ พัทยา เซ็นทรัลพลาซา เชียงใหม่ แอร์พอร์ต เซ็นทรัลพลาซา รัชดา - พระราม 3 1 เซ็นทรัลพลาซา พระราม 2 1 เซ็นทรัลเวิลด์ เซ็นทรัลพลาซา รัตนาธิเบศร์ เซ็นทรัลพลาซา แจ้งวัฒนะ รวม

สิทธิในที่ดิน

พื้นที่ให้เช่า (ตร.ม.)

อัตราการเช่า พื้นที่ %

จำนวนผู้เช่า จำนวนเฉลี่ยผู้ พื้นที่ ผูเ้ ข้ามาใช้ บริการ (ร้านค้า) (คนต่อวัน)

สิทธิการเช่า สิทธิการเช่า เจ้าของกรรมสิทธิ์ สิทธิการเช่า สิทธิการเช่า เจ้าของกรรมสิทธิ์ เจ้าของกรรมสิทธิ์ สิทธิการเช่า สิทธิการเช่า เจ้าของกรรมสิทธิ์ เจ้าของกรรมสิทธิ์

55,531 17,159 57,435 55,684 15,227 76,321 58,153 99,244 184,592 76,848 64,917

97% 100% 98% 98% 100% 99% 98% 99% 97% 98% 91%

344 79 303 277 140 531 297 355 464 222 396

181,000 32,000 116,000 134,000 40,000 76,000 83,000 160,000 108,000 66,000 100,000

761,111

97%

3,408

1,096,000

1

หมายเหตุ : ร้อยละ 81 ของพื้นที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา รัชดา - พระราม 3 ได้ให้เช่าแก่ CPNRF ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2548 สิ้นสุดเดือนสิงหาคม 2578 ร้ อ ยละ 96 ของพื ้ น ที ่ ศ ู น ย์ ก ารค้ า เซ็ น ทรั ล พลาซา พระราม 2 ได้ ใ ห้ เช่ า แก่ CPNRF ตั ้ ง แต่ เ ดื อ นสิ ง หาคม 2548 สิ ้ น สุ ด เดื อ นสิ ง หาคม 2568 ผลการดำเนินงานของเซ็นทรัลพลาซา พระราม 2 และรัชดา พระราม 3 รวมผลการดำเนินงานของสินทรัพย์ให้เช่าแก่ CPNRF ซึ่ง CPN เป็นผู้บริหาร โครงการอสังหาริมทรัพย์ ที่มา : ข้อมูลพื้นที่ให้เช่า อัตราการเช่าพื้นที่ และจำนวนผู้เช่าพื้นที่ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 ข้อมูลจำนวนเฉลี่ยผู้เข้ามาใช้บริการ (คนต่อวัน) เป็นค่าโดยเฉลี่ยสำหรับปี 2551

โครงการอาคารสำนักงาน อาคารสำนักงาน ลาดพร้าว อาคารสำนักงาน บางนา อาคารสำนักงาน ปิ่นเกล้า ทาวเวอร์ เอ อาคารสำนักงาน ปิ่นเกล้า ทาวเวอร์ บี 1 อาคารสำนักงาน เซ็นทรัลเวิลด์ อาคารสำนักงาน แจ้งวัฒนะ 2 รวม

สิทธิในที่ดิน สิทธิการเช่า เจ้าของกรรมสิทธิ์ สิทธิการเช่า สิทธิการเช่า สิทธิการเช่า เจ้าของกรรมสิทธิ์

พื้นที่ให้เช่า (ตร.ม.)

อัตราการเช่า พื้นที่ (%)

จำนวนผู้เช่า พื้นที่ (ห้อง)

17,719 10,007 22,426 11,334 82,794 ไม่ระบุ

97% 97% 85% 92% 96% ไม่ระบุ

56 27 48 40 109 ไม่ระบุ

144,280

94%

280

1

หมายเหตุ : อาคารสำนักงาน ปิ่นเกล้า ทาวเวอร์ บี ได้เปลี่ยนมาจากโครงการที่พักอาศัย 2 อาคารสำนักงาน แจ้งวัฒนะ คาดเปิดให้บริการในเดือนเมษายน 2552 โดยมีพื้นที่สำนักงานรวมประมาณ 27,000 ตารางเมตร

โครงการที่พักอาศัย 1 หลังสวนโคโลเนต เซ็นทรัล ซิตี้ เรสซิเดนซ์ รวม

พื้นที่ให้เช่า (ตร.ม.) 4,466 1,907 6,373

1

หมายเหตุ : CPN เป็นเจ้าของพื้นที่บางส่วนของโครงการที่พักอาศัย

อัตราการเช่าพื้นที่ (%) 75% 55% 69%


ร ว ม ใ จ ก า ว ไ ก ล ไป กั บ สู ร างวั ล คุ ณ ภาพด า น อี ก หนึ่ ง ความภาคภู มิ ใ จ “รางวั ล รายงานบรรษั ท จากงาน S E T A wards CPN ได รั บ รางวั ล บริ ษั ท จดทะเบี ย นที่ มี ค วามโดดเด น ด า นรายงานการปฏิ บั ติ ต ามหลั ก การกำกั บ ดู แ ลกิ จ การที่ ดี ในงาน SET Awards 2008 จั ด โดยตลาดหลั ก ทรั พ ย แ ห ง ประเทศไทย (ตลท.) ร ว มกั บ วารสารการเงิ น และ ธนาคาร โดยเกณฑ ก ารให ร างวั ล พิ จ ารณาจากข อ มู ล ในรายงานประจำป การเป ด เผยข อ มู ล ในแบบ 56-1 รวมถึ ง หนั ง สื อ นั ด ประชุ ม ผู ถื อ หุ น และรายงานการประชุ ม ผู ถื อ หุ น


บรรษั ทภิบาล การกำกั บ ดู แ ลกิ จ การที่ ดี ของ C P N ภิ บ า ล ดี เด น ” ประจำป 2551


34 .35

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป

2551

เซ็นทรัลพลาซา แจ้งวัฒนะ

เ ซ็ น ท รั ล พั ฒ น า ใ น วั น นี้

เซ็นทรัลเวิลด์

บริ ษั ท เซ็ น ทรั ล พั ฒ นา จำกั ด (มหาชน) ได เ ติ บ โตและพั ฒ นาธุ ร กิ จ อสั ง หาริ ม ทรั พ ย อย า งต อ เนื่ อ งและก า วขึ้ น สู ก ารเป น ผู น ำ ธุ ร กิ จ อสั ง หาริ ม ทรั พ ย เ พื่ อ การค า ปลี ก ที่ ใ หญ และทั น สมั ย ที่ สุ ด ในประเทศไทย เซ็นทรัลพลาซา รัตนาธิเบศร์

ณ วันนี้ CPN ได้พัฒนาและบริหารศูนย์การค้าที่เปิดให้บริการ แล้ว 12 แห่ง อาคารสำนักงาน 5 แห่ง และอาคารที่พักอาศัย 2 แห่ง โดยโครงการล่าสุด CPN ได้เปิดให้บริการศูนย์การค้า ขนาดใหญ่อีก 2 แห่ง คือ เซ็นทรัลพลาซา แจ้งวัฒนะ บนถนน แจ้งวัฒนะ จัง หวั ดนนทบุ รี และเซ็นทรัล เฟสติว ัล พัทยา บีช พัทยากลาง จังหวัดชลบุรี กลยุทธ์ทางธุรกิจในระยะยาวของ CPN ก็คือ การพัฒนาศูนย์การค้า ภายใต้มาตรฐานระดับสากล ในทำเลที่มีศักยภาพ สามารถสร้าง ผลตอบแทนทางธุรกิจได้เป็นอย่างดี ทั้งในกรุงเทพมหานครและ ต่างจังหวัด นอกจากนี้ ยังมีแผนขยายธุรกิจสู่ต่างประเทศในอนาคต

เซ็นทรัลพลาซา พระราม 2

เซ็นทรัลพลาซา เชียงใหม่ แอร์พอร์ท


เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว

เซ็นทรัลเฟสติวัล พัทยา บีช

เซ็นทรัลพลาซา รามอินทรา

เซ็นทรัลพลาซา บางนา

เซ็นทรัล เซ็นเตอร์ พัทยา

เซ็นทรัลพลาซา ปิ่นเกล้า

เซ็นทรัลพลาซา รัชดา-พระราม 3


36 .37

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป

2551

ศั ก ยภาพด า นทำเลที่ ตั้ ง

ในฐานะผู เ ชี่ ย วชาญด า นการพั ฒ นาธุ ร กิ จ อสั ง หาริ ม ทรั พ ย เ พื่ อ การค า ปลี ก CPN ตระหนักดีว่าทำเลที่ตั้งคือสิ่งสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จในอันที่จะ ก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาด ด้วยประสบการณ์ในการเลือกสรร ทำเลที่ตั้งของศูนย์การค้าแต่ละแห่ง และความเข้าใจในธุรกิจค้าปลีก อย่างลึกซึ้ง เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ CPN ได้มาซึ่งทำเลที่มี ศักยภาพสูงสุดสำหรับการสร้างศูนย์การค้า

N

01 กรุงเทพมหานคร พื้นที่ค้าปลีก 78,700 ตร.ม. พื้นที่สำนักงาน 27,500 ตร.ม. พื้นที่จอดรถ 3,000 คัน

เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว ศูนย์การค้าครบ วงจรแห่งแรกของประเทศไทย ประกอบด้วย อาคารสำนักงาน โรงภาพยนตร์ ห้างสรรพสินค้า เซ็นทรัล ร้านค้าปลีก ที่มีชื่อเสียงทั้งในและต่างประเทศ และคอนเวนชั่นฮอลล์ ขนาด 9,000 ตร.ม. เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าวไม่เพียงเป็น ศูนย์การค้าครบวงจรแห่งแรกในกรุงเทพฯ เท่านั้น แต่ยังเป็นศูนย์การค้าที่ได้รับ ความนิยมมากที่สุดแห่งหนึ่ง โดยสามารถ ดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาใช้บริการได้มากกว่า 40 ล้านคนต่อปี

02 กรุงเทพมหานคร พื้นที่ค้าปลีก 23,500 ตร.ม. พื้นที่จอดรถ 1,000 คัน

07 เชียงใหม่

14 ขอนแก่น

09 11 02 01 04

ศูนย์การค้าแห่งนี้สร้างขึ้นตามแนวคิด เพื่อให้ เป็นศูนย์การค้าสำหรับครอบครัวและชุมชน ประกอบไปด้วยห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ร้านค้าปลีก ร้านอาหาร พร้อมโรงภาพยนตร์ 6 โรง และด้วยการจัดให้มีกิจกรรมสำหรับ ครอบครัวและชุมชนอย่างสม่ำเสมอ และ บริการขนส่งสาธารณะที่เข้าถึง เซ็นทรัล พลาซา รามอินทราจึงเป็นศูนย์การค้าสำหรับ ครอบครัวและชุมชนอย่างสมบูรณ์

03

10 05

กรุงเทพมหานคร พื้นที่ค้าปลีก 113,000 ตร.ม. พื้นที่สำนักงาน 10,000 ตร.ม. พื้นที่ที่พักอาศัย 2,000 ตร.ม. พื้นที่จอดรถ 4,600 คัน

03 08 13 ชลบุรี เขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล

เซ็นทรัลเวิลด์ เซ็นทรัลพลาซา

06 พัทยา

12 พัทยา บีช

เซ็นทรัลเฟสติวัล โครงการในอนาคต

เซ็นทรัลพลาซา บางนา ตั้งอยู่ทางตะวันออก ของกรุงเทพฯ ใกล้สนามบินสุวรรณภูมิ และ ได้รับการออกแบบให้เป็นเสมือนเมืองใหญ่ ซึ่งประกอบด้วยอาคารศูนย์การค้าสูง 6 ชั้น คอนโดมิเนียมทาวเวอร์ และอาคารสำนักงาน สูง 37 ชั้น นอกจากนั้นยังมีโรงภาพยนตร์ สวนน้ำ และศูนย์รวมเครื่องเล่นเกมส์ทันสมัย ไว้บริการ เซ็นทรัลพลาซา บางนา ได้รับความ นิยมอย่างสูงจากผู้อยู่อาศัยแถบตะวันออก ของกรุงเทพฯ ซึ่งนับเป็นชุมชนที่มีอัตรา การเติบโตอย่างรวดเร็ว


04 กรุงเทพมหานคร พื้นที่ค้าปลีก 104,500 ตร.ม. พื้นที่สำนักงาน 48,300 ตร.ม. พื้นที่จอดรถ 3,700 คัน

เซ็นทรัลพลาซา ปิ่นเกล้า ศูนย์การค้าครบวงจร ทางตะวันตกของกรุงเทพฯ อยู่ในทำเลที่ สามารถตอบสนองความต้องการของกำลัง ซื้อหลากหลายกลุ่มอย่างเหมาะสม อาทิ สถาบันการศึกษา สำนักงาน และชุมชน ที่พักอาศัย ประกอบด้วยร้านค้าปลีกชั้นนำ อาคารที่พักอาศัย อาคารสำนักงาน ห้าง สรรพสินค้าเซ็นทรัล และโรงภาพยนตร์ 8 โรง

05 กรุงเทพมหานคร พื้นที่ค้าปลีก 98,000 ตร.ม. พื้นที่จอดรถ 2,300 คัน

เซ็นทรัลพลาซา รัชดา-พระราม 3 ตั้งอยู่ ในเขตเศรษฐกิจใหม่ของกรุงเทพฯ ใกล้ สำนักงานใหญ่ของธนาคารชั้นนำถึง 5 แห่ง และเป็นศูนย์การค้าครบวงจรที่พร้อมด้วย ศูนย์รวมความบันเทิงเพียงแห่งเดียวในรัศมี 5 กม.ประกอบไปด้วยร้านค้าปลีกหลากหลาย ห้างสรรพสินค้า เซ็นทรัล ศูนย์อาหาร โบว์ลิ่ง ขนาด 26 เลน โรงภาพยนตร์ 9 โรง และ ศูนย์รวมเครื่องเล่นเกมส์ทันสมัย

06 ชลบุรี มีพื้นที่ค้าปลีก 29,000 ตร.ม. พื้นที่จอดรถ 400 คัน

เซ็นทรัล เซ็นเตอร์ พัทยา เป็นโครงการที่ สร้างขึ้นเพื่อตอบสนองกลุ่มลูกค้าหลากหลาย ทั้งผู้อยู่อาศัยในท้องถิ่น ผู้เดินทางไปร่วม การประชุมสัมมนา ชาวกรุงเทพฯ ที่เดินทาง ไปพั ก ผ่ อ นในวั น หยุ ด สุ ด สั ป ดาห์ และ นักท่องเที่ยวอีกกว่า 2 ล้านคนที่เดินทาง ไปเยือนพัทยาในแต่ละปี เซ็นทรัล เซ็นเตอร์ พัทยา นอกจากจะเป็นศูนย์รวมสถาปัตยกรรม แบบเขตร้อนที่ตกแต่งไว้อย่างสวยงามแล้ว ยั ง ประกอบด้ ว ย บิ ๊ ก ซี ซู เ ปอร์ เ ซ็ น เตอร์ พร้อมทั้ง โรงภาพยนตร์ 5 โรง

07 เชียงใหม่ มีพื้นที่ค้าปลีก 107,000 ตร.ม. พื้นที่จอดรถ 1,500 คัน

เซ็นทรัลพลาซา เชียงใหม่ แอร์พอร์ต เป็น ศูนย์การค้าและศูนย์รวมความบันเทิงที่ใหญ่ ที่สุดในภาคเหนือ รองรับลูกค้าผู้เข้ามาใช้ บริ ก ารถึ ง 6 ล้ า นคนต่ อ ปี ประกอบด้ ว ย ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน โรงภาพยนตร์ 7 โรง ห้องประชุมเอนกประสงค์ และโซน สินค้าหัตถกรรมพื้นเมืองที่มีชื่อเสียง ของทางภาคเหนือให้เลือกอย่างครบครัน และสะดวกสบาย

08 กรุงเทพมหานคร มีพื้นที่ค้าปลีก 161,500 ตร.ม. พื้นที่จอดรถ 3,200 คัน

เซ็ น ทรั ล พลาซา พระราม 2 ตั ้ ง อยู ่ บ น ทางหลวงสายหลักทางทิศใต้ของกรุงเทพฯ บนพื้นที่ในเขตที่อยู่อาศัยที่มีการขยายตัว อย่างรวดเร็ว เพียบพร้อมด้วยร้านค้าปลีก ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ซูเปอร์มาร์เก็ต ศูนย์อาหาร และศูนย์รวมแห่งความบันเทิง และพักผ่อน ทั้งโบว์ลิ่ง 30 เลน โรง ภาพยนตร์ 10 โรง และสวนพักผ่อน

09 นนทบุรี มีพื้นที่ค้าปลีก 105,000 ตร.ม. พื้นที่จอดรถ 2,000 คัน

CPN เข้าซื้อกิจการสยามจัสโก้รัตนาธิเบศร์ เมื่อเดือนธันวาคม 2546 พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อ และปรับโฉมให้เป็นศูนย์การค้าเพื่อชุมชน ที ่ ม ี บ รรยากาศของความเป็ น ครอบครั ว ที ่ ใ ห้ ท ั ้ ง ความอบอุ ่ น สะดวกสบายและ ครบครั น ประกอบด้ ว ย ห้ า งสรรพสิ น ค้ า โรบินสัน อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ โฮมเวิร์ค และออฟฟิศดีโป พร้อมทั้ง โรงภาพยนตร์ และโบว์ ล ิ ่ ง เพื ่ อ เพิ ่ ม ความหลากหลาย ให้เซ็นทรัลพลาซา รัตนาธิเบศร์ เป็นศูนย์ การค้าสำหรับครอบครัวอย่างแท้จริง

10 กรุงเทพมหานคร พื้นที่ค้าปลีก 302,100 ตร.ม. พื้นที่สำนักงาน 127,400 ตร.ม. พื้นที่จอดรถ 7,000 คัน

ปรากฏการณ์ ใ หม่ ข องศู น ย์ ก ารค้ า ใน ประเทศไทยได้เริ่มขึ้นในเดือนสิงหาคม 2549 เมื่อเซ็นทรัลเวิลด์ได้เปิดตัวขึ้นในใจกลาง กรุงเทพฯ และเป็นช้อปปิ้งคอมพล็กซ์ที่ ใหญ่ ท ี ่ ส ุ ด ในภู ม ิ ภ าคเอเชี ย ตะวั น ออก เฉียงใต้ ด้วยรูปแบบการดีไซน์ชั้นแนวหน้า และความมี ช ี ว ิ ต ชี ว าแห่ ง ศตวรรษที ่ 21

เซ็นทรัลเวิลด์ กลายเป็นศูนย์กลางของวิถี การดำเนินชีวิตอันน่าตื่นเต้นอย่างรวดเร็ว และสามารถดึงดูดผู้คนจากทั่วทุกมุมโลก ได้เป็นอย่างดี ในศูนย์การค้าประกอบด้วย ห้างสรรพสินค้า Zen และ Isetan ร้านค้า แบรนด์ดังระดับสากล โรงภาพยนตร์ครบวงจร 15 โรง และอุ ท ยานการเรี ย นรู ้ TK Park นอกจากนี ้ ย ั ง มี อ งค์ ป ระกอบที ่ ช ่ ว ยเสริ ม ศักยภาพความสมบูรณ์พร้อมของโครงการด้วย คอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ใจกลางเมืองที่ใหญ่ที่สุด ของกรุงเทพฯ อาคารสำนักงานระดับดีเยี่ยม 45 ชั้น โรงแรมระดับ 5 ดาว ขนาด 500 ห้อง

11 นนทบุรี พื้นที่ค้าปลีก 160,000 ตร.ม. พื้นที่สำนักงาน 27,000 ตร.ม. พื้นที่จอดรถ 3,200 คัน

ไลฟ์สไตล์ช้อปปิ้งคอมเพล็กซ์ขนาดใหญ่ และสมบูรณ์แบบมากที่สุดบนถนแจ้งวัฒนะที่ ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงเทพฯ นับเป็นศูนย์การค้าที่มีความโดดเด่นด้าน เทคโนโลยีดีไซน์ ที่คำนึงถึงการออกแบบ อาคารให้ประหยัดพลังงาน ภายในศูนย์การค้า ประกอบด้วย ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล บีทูเอส (B2S) ท็อป มาร์เก็ต เพลส (Tops Market Place) ซุปเปอร์สปอร์ต (SuperSports) พาวเวอร์บาย (PowerBuy) ออฟฟิศ ดีโป้ (Office Depot) โรงภาพยนตร์เอส เอฟ เอ็ก (SFX Cinema) และ ฟิตเนส เฟิร์ส (Fitness First) รวมไปถึงร้านค้า ชั้นนำอื่นๆ กว่า 300 ร้าน เปิดให้บริการเดือน พฤศจิกายน 2551

12 ชลบุรี พื้นที่ค้าปลีก 240,000 ตร.ม. พื้นที่จอดรถ 2,000 คัน

ศูนย์การค้าติดชายหาดธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุด ในเอเชีย ศูนย์รวมไลฟ์สไตล์ของชีวิตแห่ง ความทันสมัยและความสนุกสนานของคนเมือง รวมทั้งนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างประเทศ ประกอบด้ ว ยห้ า งสรรพสิ น ค้ า เซ็ น ทรั ล บีทูเอส (B2S) เซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์ (Central Food Hall) ซุปเปอร์สปอร์ต (SuperSports) พาวเวอร์บาย (PowerBuy) ฟู้ดส์ลอท์ฟ (Food Loft) โรงภาพยนตร์ เอส เอฟ เอ็ ก (SFX Cinema) และร้ า นค้ า แฟชั ่ น ร้ า นอาหาร นานาชาติ และศูนย์ให้บริการและความบันเทิง กว่า 370 ร้านค้า เปิดให้บริการเมื่อเดือน มกราคม 2552


38 .39

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป

2551

โครงการในอนาคต โครงการเซ็นทรัลพลาซา ชลบุรี สถานที่ตั้ง : บนถนนสุขุมวิท อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นศูนย์กลางธุรกิจของภาค ตะวันออกของประเทศไทย ขนาดโครงการ : โครงการเซ็นทรัลพลาซา ชลบุรี เป็นโครงการศูนย์การค้าที่มีขนาดใหญ่ ที่สุดในภาคตะวันออก ตั้งอยู่บนที่ดินรวมกว่า 62 ไร่ และมีพื้นที่โครงการรวม 175,000 ตารางเมตร ซึ่งประกอบด้วยห้างสรรพสินค้าโรบินสัน คาร์ฟูร์ ร้านค้าปลีก ร้านอาหาร และเครื่องดื่มและศูนย์ความบันเทิงที่หลากหลายครบครัน โดยมีพื้นที่จอดรถที่สามารถ รองรับได้กว่า 1,500 คัน ผู้เช่า : ประกอบด้วยผู้เช่าหลัก เช่น ท๊อป ซูเปอร์มาร์เก็ต พาวเวอร์ บาย บีทูเอส ซูเปอร์ สปอร์ต ออฟฟิส ดีโป และโรงภาพยนตร์เอสเอฟ ซินีม่า ซิตี้ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีผู้เช่า รายย่อย ร้านค้า ศูนย์บริการร้านอาหารและเครื่องดื่ม รวมกว่า 225 ร้านค้า ศักยภาพของโครงการ : ทำเลศักยภาพด้วยโครงการแวดล้อม โครงการแวดล้อมด้วยศูนย์กลางธุรกิจและนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่อีสเทอร์นซีบอร์ด และแหล่งท่องเทีย่ วในจังหวัดชลบุรแี ละใกล้เคียง ยกตัวอย่างเช่น หาดบางแสน สวนสัตว์เปิด เขาเขียวและเกาะสีชัง เป็นต้น ทำเลศักยภาพด้วยการคมนาคมที่สะดวก การคมนาคมทีส่ ะดวกและง่ายต่อการเข้าถึงโครงการ เนือ่ งจากตัง้ อยูบ่ นทางหลวงหมายเลข 3 (ถนนสุขุมวิท) และสามารถเดินทางเข้าถึงโครงการได้จากทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง หมายเลข 7 (มอเตอร์เวย์)

โครงการเซ็นทรัลพลาซา ชลบุรี เป็นโครงการศูนย์การค้าที่มีขนาดใหญ่และทันสมัยที่สุด ในภาคตะวันออกของประเทศไทย อีกทั้งยังโดดเด่นและไม่มีศูนย์การค้าอื่นเปิดให้บริการ ในรัศมี 35 กิโลเมตร กำหนดการเปิดให้บริการ : คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนพฤษภาคม ปี 2552 เงินลงทุน : ประมาณ 2,000 ล้านบาท


โครงการเซ็นทรัลพลาซา ขอนแกน สถานที่ตั้ง : อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นเมืองหลักของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทย ขนาดโครงการ : โครงการเซ็นทรัลพลาซา ขอนแก่น เป็นโครงการศูนย์การค้าที่ทันสมัยที่มี ขนาดใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งอยู่บนที่ดินรวมกว่า 35 ไร่ ประกอบด้วย อาคารศูนย์การค้าขนาดประมาณ 95,500 ตารางเมตร (รวมห้างสรรพสินค้าโรบินสัน) และพื ้ น ที ่ จ อดรถกว่า 1,500 คัน ผู ้เช่า : ประกอบด้วยผู ้เช่าหลัก เช่น ท๊อปซูเปอร์มาร์เก็ต ฟิตเนส เฟริ ์ส และโรงภาพยนตร์ เอสเอฟซินีม่า ซิตี้ เป็นต้น และผู้เช่ารายย่อย ร้านค้าสินค้าและศูนย์บริการต่างๆ ร้านอาหาร และเครื่องดื่มที่หลากหลายและครบครัน ศักยภาพของโครงการ : ทำเลศักยภาพด้วยภูมิศาสตร์ที่ตั้ง จังหวัดขอนแก่น โดยได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐให้เป็นศูนย์การการท่องเที่ยวและการค้า ในแถบภูมิภาคอินโดจีนที่ประกอบไปด้วยประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ สาธารณประชาธิปไตย ประชาชนลาว สาธารณสังคมนิยมเวียดนาม และราชอาณาจักรกัมพูชา เป็นต้น นอกจากนี้ โครงการยังแวดล้อมด้วยศูนย์กลางธุรกิจ การค้า การศึกษา การคมนาคม และเป็นที่ตั้ง ของหน่ว ยงานราชการของภาคตะวันออกเฉีย งเหนือ ทำให้ จั งหวัดขอนแก่ นเป็นแหล่ง ของการจับจ่ายใช้สอยของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ทำเลศักยภาพด้วยโครงการแวดล้อม โครงการเซ็นทรัลพลาซา ขอนแก่น ตั้งอยู่ห่างใจกลางเมืองประมาณ 1 กิโลเมตร และใช้เวลา ในการเดินทางเพียง 5 นาที จากมหาวิทยาลัยขอนแก่นและสนามบินขอนแก่น นอกจากนี้ โครงการศูนย์การค้าแวดล้อมไปด้วยศูนย์ประชุมและหน่วยงานราชการ ซึ่งทำให้มั่นใจถึง จำนวนผู้เข้ามาใช้บริการภายในศูนย์การค้า

โครงการเซ็น ทรัล พลาซา ขอนแก่น เป็นโครงการศูนย์การค้าที่ใหญ่แ ละครบวงจรที่สุด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย พร้อมการสนับสนุนด้วยกำลังซื้อที่หนาแน่น จากประชากรในพื้นที่และ 9 เก้าจังหวัดใกล้เคียงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กำหนดการเปิดให้บริการ : คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนธันวาคมปี 2552 เงินลงทุน : ประมาณ 3,160 ล้านบาท


40 .41

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป

2551

โครงการเซ็นทรัลพลาซา พระราม 9 สถานที่ตั้ง : กรุ ง เทพมหานคร บริ เวณสี ่ แ ยกถนนรั ช ดาภิ เ ษกตั ด กั บ ถนนพระราม 9 และ อยู ่ ต ิ ด กั บ สถานีรถไฟฟ้ามหานคร สถานีพระราม 9 ขนาดโครงการ : ที่ดินรวมประมาณ 15 ไร่ และมีพื้นที่โครงการรวม 119,000 ตารางเมตร โดยมีพื้นที่จอดรถที่สามารถรองรับได้กว่า 2,500 คัน ความคืบหน้าของโครงการ : บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา ไนน์ สแควร์ จำกัดซึ่งเป็นบริษัทย่อย ที่ CPN ถือหุ้นประมาณ 95%ได้เข้าทำสัญญาเช่าที่ดินระยะยาวกับเจ้าของที่ดินโครงการ เซ็ นทรัล พลาซา พระราม 9 เป็ นระยะเวลา 30 ปี สิ้นสุด ณ วันที่ 30 มิถ ุนายน 2583 และ มีสทิ ธิขอต่ออายุสญ ั ญาได้อกี 10 ปี สำหรับรูปแบบโครงการอยูร่ ะหว่างการศึกษาในรายละเอียด ศักยภาพของโครงการ : การคมนาคมที่สะดวกจากทุกเส้นทาง โดยมีสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน พระราม 9 ตั ้งอยู ่ด้ านหน้าโครงการ โครงการแวดล้ อ มด้ว ยที่พ ักอาศัย โรงแรม อาคาร สำนักงาน สถานทูต ศูนย์ส่งเสริมการส่งออกและแสดงสินค้า ศูนย์ประชุม หน่วยงานราชการ และสถานศึกษา กำหนดการเปิดให้บริการ : คาดว่าจะแล้วเสร็จในกลางปี 2554 เงินลงทุน : ประมาณ 4,000 ล้านบาท

โครงการบนที่ดินบริเวณโรงเรียนเตรียมทหารเกา (สวนลุม ไนทบาซาร) สถานที่ตั้ง : กรุงเทพมหานคร บริเวณสี่แยกถนนพระราม 4 ตัดกับถนนวิทยุ และอยู่ติดกับ สถานีรถไฟฟ้ามหานคร สถานี พระราม 4 ขนาดโครงการ : ที่ดินรวมประมาณ 40 ไร่ ความคืบ หน้าของโครงการ : สำนักงานทรัพย์ สิ นส่ ว นพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นเจ้าของ ที่ด ินได้ ป ระกาศให้ CPN เป็นผู้ชนะการประมูลเพื ่อ เป็นผู้พั ฒนาที ่ดินผื นดังกล่าวเป็น ระยะเวลา 30 ปี โดยคาดว่าการลงนามสัญญาเช่าที่ดินระยะยาวจะดำเนินการปี 2552 ศักยภาพของโครงการ : โครงการตั้งอยู่ในย่านศูนย์กลางธุรกิจของกรุงเทพฯ (Bangkok Central District หรือ CBD) แวดล้อมด้วยอาคารสำนักงานศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์ประชุม และโรงแรม นอกจากนี้ ที่ตั้งของโครงการยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นที่รู้จักอย่างดี ของชาวไทยและชาวต่างชาติการคมนาคมที่สะดวกจากทุกเส้นทางโดยมีสถานีรถไฟฟ้า ใต้ดินพระราม 4 ตั้งอยู่ด้านหน้าโครงการ

โครงการในตางประเทศ CPN ได้พิจารณาการขยายการลงทุนไปยังต่างประเทศ ด้วยเล็งเห็นถึงโอกาสการเติบโต ทางธุรกิจและเพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยง โดยให้ความสนใจในการขยายธุรกิจไปยัง ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียที่มีศักยภาพและมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง โดย CPN อยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ของการขยายการลงทุนไปยังต่างประเทศ เพื่อมุ่งหวัง ให้เป็นการเพิ่มผลตอบแทนและกระจายความเสี่ยงให้แก่ธุรกิจ อย่างไรก็ตาม เนื่องจาก เศรษฐกิจทั่วโลกอยู่ในสภาวะถดถอย CPN จึงต้องใช้ความระมัดระวังอย่างมากในการ ตัดสินใจลงทุนในต่างประเทศ นอกจากนี้ CPN ได้ตระหนักถึงสภาวะการแข่งขันและความเสี่ยงของธุรกิจในต่างประเทศ จึงได้จัดให้มีทีมงานเพื่อศึกษาในรายละเอียดของสภาพเศรษฐกิจ สังคม อุตสาหกรรม กฎหมายการประกอบธุรกิจ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นของแต่ละประเทศที่ CPN ได้ให้ ความสนใจในการเข้าไปขยายธุรกิจ โดยยังคงอยู่บนพื้นฐานของหลักการการเติบโตอย่าง มั่นคงและยั่งยืน


ป รั ช ญ า แ ล ะ ก ล ยุ ท ธ ก า ร ด ำ เ นิ น ธุ ร กิ จ ปรัชญาในการดำเนินธุรกิจ (Our philosophy)

พันธกิจและวิสัยทัศน (Our mission & vision)

CPN ยึ ด มั ่ น แนวทางในการดำเนิ น ธุ ร กิ จ ตามพั น ธกิ จ ( mission )

พันธกิจ (Our mission)

"มุ่งสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน เพื่อความพึงพอใจสูงสุด ต่อผู้ถือหุ้น คู่ค้า พนักงาน ลูกค้า และสังคม"

"มุงสรางการเติบโตทางธุรกิจอยางยั่งยืน เพื่อความพึงพอใจสูงสุดตอผูถือหุน คูคา พนักงาน ลูกคา และสังคม"

คณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการบริหาร ผู้บริหาร และพนักงาน ทุ ก คนจึ ง มุ ่ ง มั ่ น พั ฒ นา CPN ให้ เจริ ญ เติ บ โตอย่ า งต่ อ เนื ่ อ งและ แข็งแกร่งโดยร่วมกับพันธมิตรคู่ค้าในการพัฒนาและยกระดับการ ให้บริการที่เป็นเลิศเพื่อสร้างสรรค์ประสบการณ์แห่งความสุขให้ กับลูกค้าควบคู่ไปกับการช่วยเหลือ ดูแล และสร้างความยั่งยืน ให้แก่สังคมและชุมชน

CPN ยังได้ดำเนินธุรกิจโดยตัง้ มัน่ อยูบ่ นพืน้ ฐานของความมีจริยธรรม และคุณธรรม ภายใต้หลักบรรษัทภิบาลที่ดี ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของ ความเชื่ อ มั่ น ศรั ท ธา ในคุ ณ ค่ า ขององค์ ก ร อั น ประกอบด้ ว ย ซื่อสัตย์ สุจริต เปิดกว้างโปร่งใส ให้ความเสมอภาค ให้ความเป็นธรรม ยึดมั่นคำสัญญา ใส่ใจดูแลสังคม และค่านิยมองค์กรทีว่ า่ สร้างสรรค์ด้วยความเชื่อมั่น สู่ความเป็นเลิศร่วมกัน เพื ่ อ มุ ่ ง นำ CPN ไปสู ่เป้า หมายที ่จ ะเป็น “ผู้นำด้านการพัฒนาศูนย์การค้า ด้วยมาตรฐานระดับโลก" (The leading retail developer with world - class experience )

(To constantly achieve a sustainable growth with maximum satisfaction for all stakeholders) วิสัยทัศน์ (Our vision )

"ผูนำดานการพัฒนาศูนยการคา ดวยมาตรฐานระดับโลก" (The leading retail developer with world-class experience)


42 .43

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป

2551

คานิยมองคกร (Our values)

ทุมเทเพื่อสรางสรรคประสบการณ แหงความพึงพอใจ

ทุมเทเพื่อความเปนเลิศ

CPN มุ่งมั่นให้ทุกคนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ทั้งแนวคิด วิธีการ

ให้เกิดผลงานตามเป้าหมายที่ กำหนด โดยใส่ใจและตระหนักถึง ทุกประเด็นที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพงาน แสดงถึงความเป็นมืออาชีพ และรู้ จ ริ ง ในงานที่ ท ำ ใส่ ใจต่ อ การพั ฒ นาตนเองอย่ า งสม่ ำ เสมอ เพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับธุรกิจและบริการ

หรือนวัตกรรมใหม่ๆ ในเชิงบวก เพื่อพัฒนาปรับปรุงการทำงาน และผลงานที่ดีขึ้น เพื่อสร้างความโดดเด่นและเอกลักษณ์ของ CPN

ทุมเทเพื่อความเชื่อมั่นศรัทธา CPN ยึดมั่นในการสร้างความไว้วางใจและเป็นที่ยอมรับของผู้อื่น โดยมุ่งพัฒนาบุคลากรให้มีความน่าเชื่อถือ ความเที่ยงตรง ความ ยุ ติ ธ รรม การร่ ว มคิ ด ร่ ว มทำ รวมถึ ง กระทำการใดๆ โดยคิ ด ถึ ง ผลประโยชน์ขององค์กรและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเป็นสำคัญ

CPN มุง่ เน้นให้บคุ ลากรทุกส่วนงานทำงานให้บรรลุผลสำเร็จ ผลักดัน

ทุมเทเพื่อความสำเร็จรวมกัน ของพันธมิตรคูคา CPN เน้นย้ำให้บุคลากรสร้างและรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น โดยให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือ สนับสนุน และมีส่วนร่วมทำงาน กั บ ที ม หรื อ บุ ค คลต่ า งๆ ทั้ ง ภายในและภายนอกองค์ ก รด้ ว ย ความเต็มใจ


กลยุทธในการดำเนินธุรกิจ (Our strategy) ด้วยความเชื่อมั่นและตั้งใจที่จะเป็น

ผูนำดานการพัฒนาศูนยการคา ดวยมาตรฐานระดับโลก ภายในปี 2010 คณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการบริหาร และ ผู้ บ ริ ห ารระดั บ สู ง ได้ ร่ ว มกั น กำหนดกลยุ ท ธ์ ข อง CPN ภายใต้ กรอบของการสร้ า งการเจริ ญ เติ บ โตและสร้ า งความแข็ ง แกร่ ง อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนในธุรกิจการพัฒนาและบริหารศูนย์การค้า โดยมุ่งเน้นในการขยายธุรกิจในเชิงรุกด้วยรูปแบบศูนย์การค้าที่ หลากหลาย (Multi-Format) เพื่อรักษาฐานตลาดเดิมและมุ่งขยาย ธุรกิจไปยังตลาดใหม่ที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของธุรกิจ พร้อมกับ การสร้างคุณค่าและตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า

ในปี 2551 ที ่ ผ ่ า นมา CPN ดำเนิ น ธุ ร กิ จ ตามแผนกลยุ ท ธ์ ห ลั ก

“CPN the B-E-S-T” ซึ่งประกอบไปด้วยกลยุทธ์การดำเนินงาน 4 ด้าน เพื่อมุ่งสู่ มาตรฐานระดับโลก ได้แก่

1. การเพิ่มขีดความสามารถขององคกร ในด้ า นการพั ฒ นาและบริ ห ารศู น ย์ ก ารค้ า ( Business improvement )

2. ตอกย้ำความเปนผูนำ ในการสร้างประสบการณ์ ที่โดดเด่น และแตกต่าง ( Experience excellence)

3. พัฒนาบุคลากรที่เปนเลิศในธุรกิจ ( Staff excellence with high engagement level )

4. สานสัมพันธที่ดีอยางยั่งยืนกับผูเชาและพันธมิตรคูคา (Tenant & partnership excellence ) ซึง่ ในปีทผ่ี า่ นมา นับได้วา่ CPN ประสบความสำเร็จในการดำเนินงาน ตามแผนกลยุทธ์ โดยตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน (Key Performance Indicator ) ทั ้ ง ในระดั บ องค์ ก รและระดั บ ฝ่ า ย สามารถบรรลุ ไ ด้ ตามเป้ าหมายที่กำหนด ซึ่งถือ เป็นจุดเชื่อ มโยงที่ส ำคัญ ต่อการ กำหนดกลยุทธ์การดำเนินงาน สำหรับปี 2552 - 2553 ที่มุ่งเน้น ในการพัฒนาศูนย์ การค้าที่ม ีศ ักยภาพในการแข่งขัน ตลอดจน การนำเสนอคุ ณ ค่ า ที ่ ต อบสนองความต้ อ งการที ่ แ ท้ จ ริ ง ของ ผู ้ เข้ า มาจั บ จ่ า ยใช้ ส อยในศู น ย์ ก ารค้ า ( shopper ) ร้ า นค้ า ผู ้ เช่ า (tenant) และพั น ธมิ ต รคู ่ ค ้ า ( partner ) ภายใต้ แ ผนกลยุ ท ธ์ ห ลั ก “Rewarding Experience”


44 .45

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป

2551

ลั ก ษ ณ ะ ก า ร ป ร ะ ก อ บ ธุ ร กิ จ CPN ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2523 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาศูนย์การค้าขนาดใหญ่แบบครบวงจร เข้าจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2538 ปัจจุบันมีทุนที่ออก และชำระแล้วทั้งสิ้น 2,178,816,000 บาท โดยมีบริษัท เซ็นทรัล โฮลดิ้ง จำกัด และบุคคลในตระกูลจิราธิวัฒน์เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ธุรกิจหลักของ CPN ประกอบด้วยธุรกิจพัฒนาศูนย์การค้าขนาดใหญ่ และธุ ร กิ จ ให้ เช่ า และให้ บ ริ ก ารพื้ น ที่ ค้ า ปลี ก ภายในศู น ย์ ก ารค้ า ปัจจุบัน CPN มีศูนย์การค้าภายใต้การบริหารงานรวมทั้งสิ้น 12 โครงการ (โดยแบ่งเป็นโครงการที่เป็นของ CPN 10 โครงการและ โครงการที่ให้เช่ากับ CPNRF 2 โครงการ) นอกจากนี้ยังประกอบ ธุ ร กิ จ พั ฒ นาและให้ เช่ า พื้ น ที่ อ าคารสำนั ก งานและอาคารที่ พั ก อาศัยเป็นธุรกิจสนับสนุนเพื่อเพิ่มประโยชน์จากการใช้ที่ดิน การ ขยายฐานรายได้ และสนับสนุนธุรกิจศูนย์การค้าให้มีผู้ใช้บริการ เพิ่มมากขึ้น พร้อมกันนี้ยังประกอบธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องและส่งเสริม กัน อาทิ การให้บริการสวนน้ำ สวนพักผ่อน และศูนย์อาหาร ภายในศูนย์การค้าบางโครงการเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ลูกค้า ที่เข้ามาใช้บริการ โดยการเปิดให้บริการนั้นจะพิจารณาจากความ เหมาะสมของทำเลที่ตั้งและความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เป็นสำคัญ การประกอบธุรกิจแยกตามกลุ่มธุรกิจ การแบ่งธุรกิจตามแหล่งที่มาของรายได้สามารถแบ่งได้เป็น 5 กลุ่ม ธุรกิจ ดังนี้

1. ศูนยการคา ธุ ร กิ จ ศู น ย์ ก ารค้ า เป็ น ธุ ร กิ จ หลั ก ซึ่ ง เป็ น ที่ ม าของรายได้ ม ากกว่ า ร้ อ ยละ 70 ของรายได้ ร วม รายได้ จ ากธุ ร กิ จ ศู น ย์ ก ารค้ า นั้ น ประกอบไปด้ ว ย รายได้ ค่ า เช่ า พื้ น ที่ ค้ า ปลี ก , รายได้ จ ากการให้ บริการระบบสาธารณูปโภคและระบบรักษาความปลอดภัย และ รายได้ จ ากการให้ บ ริ ก ารรั ก ษาความสะอาดภายในศู น ย์ ก ารค้ า

จำนวน 10 โครงการ นอกจากนี้ CPN ยังมีรายได้จากการเป็นผู้ บริหารอสังหาริมทรัพย์ให้กับ CPNRF จำนวน 2 โครงการ และ รายได้ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนใน CPNRF การพัฒนาโครงการศูนย์การค้าของ CPN จะเริ่มตั้งแต่การจัดหา ที่ดินที่เหมาะสมในการพัฒนาโครงการศูนย์การค้า การวิเคราะห์ ความเป็นไปได้ของโครงการ การควบคุมการออกแบบและบริหาร งานก่อสร้าง การบริหารงานขาย ตลอดจนเป็นผู้บริหารศูนย์การค้า หลังจากที่ศูนย์การค้าเปิดให้บริการแล้ว รวมถึงการให้บริการระบบ สาธารณูปโภค ระบบรักษาความปลอดภัย และการให้บริการด้าน การรักษาความสะอาดภายในศูนย์การค้า

2. อาคารสำนักงาน ธุรกิจอาคารสำนักงาน เป็นการพัฒนาอาคารสำนักงานให้เช่าใน บริ เวณโครงการศูนย์การค้า เนื่อ งจากมีอุปสงค์ที่ส่งเสริม กันกับ ธุ ร กิ จ ศู น ย์ ก ารค้ า และเป็ น การเพิ่ ม มู ล ค่ า ให้ กั บ โครงการจากการ ใช้ ป ระโยชน์ ใ นที่ ดิ น ผื น เดี ย วกั น ได้ อ ย่ า งคุ้ ม ค่ า รวมถึ ง การเพิ่ ม ประสิทธิภาพการใช้และบริหารที่จอดรถ ในการตัดสินใจที่จะพัฒนา อาคารสำนักงานในบริเวณโครงการศูนย์การค้าใดนั้นจะพิจารณา จากความเหมาะสมของทำเลที่ตั้ง อุปสงค์และอุปทานของพื้นที่ อาคารสำนักงานในบริ เวณนั้ นๆ เป็ นสำคัญ ซึ่ งรายได้จากธุ รกิจ อาคารสำนักงานนั้ น ประกอบไปด้ ว ย รายได้ค่าเช่าพื้นที่อ าคาร สำนักงาน รายได้ค่าเช่าพื้นที่แก่ร้านค้าปลีกภายในอาคารสำนักงาน และรายได้จากการให้บริการระบบสาธารณูปโภค การพัฒนาอาคารสำนักงานของ CPN เริ่มจากการวิเคราะห์ความ เป็นไปได้ของโครงการ การควบคุมออกแบบและบริหารงานก่อสร้าง การบริหารงานขาย และการเป็นผู้บริหารอาคารสำนักงานหลังจาก ที่อาคารสำนักงานเปิดให้บริการแล้ว รวมถึงการให้บริการระบบ สาธารณูปโภค ระบบรักษาความปลอดภัย และการให้บริการด้าน การรักษาความสะอาดภายในอาคารสำนักงาน


ปัจจุบัน CPN มีอาคารสำนักงานในบริเวณโครงการศูนย์การค้า รวมทั้งสิ้น 4 โครงการ ได้แก่ โครงการเซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว, เซ็นทรัลพลาซา ปิ่นเกล้า, เซ็นทรัลพลาซา บางนา และ เซ็นทรัล เวิลด์ (อาคารสำนักงาน ดิออฟฟิศเศส แอท เซ็นทรัลเวิลด์) โดย กลุ่มผู้เช่าพื้นที่อาคารสำนักงานที่ตั้งอยู่ภายในโครงการเซ็นทรัล พลาซา ลาดพร้าว, เซ็นทรัลพลาซา ปิ่นเกล้า และ เซ็นทรัลพลาซา บางนา ส่วนใหญ่จะประกอบธุรกิจที่ได้รับผลประโยชน์สนับสนุน จากธุรกิจศูนย์การค้า อาทิ โรงเรียน สถานเสริมความงาม และ บริ ษั ท หลั ก ทรั พ ย์ เป็ น ต้ น สำหรั บ อาคารสำนั ก งาน ดิ อ อฟฟิ ศ เศส แอท เซ็นทรัลเวิลด์ ซึ่งเป็นอาคารสำนักงาน เกรด A ตั้งอยู่ ในแหล่งธุรกิจใจกลางกรุงเทพฯ นั้น ผู้เช่าพื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็น บริษัทชั้นนำทั้งในและต่างประเทศซึ่งมาเช่าพื้นที่เพื่อใช้เป็นที่ตั้ง สำนักงานใหญ่

3. อาคารสำหรับพักอาศัย ปั จ จุ บั น CPN มี อ าคารสำหรั บ พั ก อาศั ย ภายใต้ ก ารบริ ห ารงาน รวมทั้ ง สิ้ น 2 โครงการ ได้ แ ก่ โครงการหลั ง สวน โคโลเนต ซึ่ ง ให้บริการในรูปแบบของเซอร์วสิ อพาร์ทเมนท์ และโครงการเซ็นทรัล ซิ ตี้ เรสซิ เ ดนซ์ คอนโดมิเนีย ม ซึ่ง เป็นที่พัก อาศัย ห้อ งชุดให้เช่า จำนวน 12 ห้ อ ง โดยตั้ง อยู่ บ ริ เวณเดีย วกั บ โครงการศูนย์การค้า เซ็นทรัลพลาซา บางนา

4. สวนน้ำ และสวนพักผอน ธุรกิจสวนน้ำและสวนพักผ่อน จัดเป็นธุรกิจสนับสนุนธุรกิจศูนย์การค้า ซึ่งเป็นธุรกิจหลักของ CPN เพื่อให้ศูนย์การค้ามีความหลากหลาย ขององค์ประกอบและการให้บริการ ซึ่งวัตถุประสงค์ของการสร้าง สวนน้ ำ และสวนพัก ผ่อนขึ้นในบริ เวณโครงการศู น ย์ การค้านั้น นอกจากจะเป็ น การดึ ง ดู ด ให้ ลู ก ค้ า เข้ า มาใช้ บ ริ ก ารศู น ย์ ก ารค้ า เพิ่มขึ้นแล้ว ยังเป็นการตอบแทนความสุขให้แก่ลูกค้าที่มาใช้บริการ และชุ ม ชนในบริเวณใกล้ เคีย ง ทั้ง นี้ขึ้นอยู่ กั บ ความเพียงพอของ ที่ ดิ น และพื้ น ที่ ภ ายในโครงการนั้ น ๆ ปั จ จุ บั น CPN ได้ เ ปิ ด ให้ บริการสวนน้ำภายใต้ชื่อ “สวนน้ำลีโอแลนด์” บริเวณชั้น 6 ของ โครงการศูน ย์ก ารค้ า เซ็ นทรั ล พลาซา บางนา และสวนพักผ่อ น ภายใต้ชื่อ “เซ็นทรัล พาร์ค” ซึ่งเป็นสวนพักผ่อนขนาดใหญ่ที่เปิด ให้ บ ริ ก ารแก่ ป ระชาชนทั่ ว ไป บริ เวณโครงการเซ็ น ทรั ล พลาซา พระราม 2 ซึ่งประกอบด้วย สวนสุขภาพ สนามเด็กเล่น ลาน กิจกรรม และร้านอาหารชั้นนำ

5. ศูนยอาหาร ธุรกิจศูนย์อาหารเป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งที่สร้างความครบถ้วน ให้กับศูนย์การค้ า โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ เพื่อ ลูกค้าที่เข้ามา ใช้ บ ริ ก ารภายในศู น ย์ ก ารค้ า ได้ รั บ ความสะดวกในการลิ้ ม รส อาหารที่หลากหลายในราคาประหยัด สะดวก และรวดเร็ว ใน ขณะที่ CPN จะได้ รั บ ผลตอบแทนจากรายได้ จ ากการจำหน่ า ย อาหารและเครื่องดื่มในบริเวณศูนย์อาหาร


46 .47

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป

2551

โครงการภายใต้การบริหารงานของ CPN มีรายละเอียดดังนี้ โครงการที่เป็นของ CPN

ปีที่เปิดดำเนินการ

เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว

ธันวาคม 2525

โครงการหลังสวน โคโลเนต

มิถุนายน 2536

เซ็นทรัลพลาซา รามอินทรา

พฤศจิกายน 2536

เซ็นทรัลพลาซา บางนา

ธันวาคม 2536

เซ็นทรัลพลาซา ปิ่นเกล้า

มีนาคม 2538

เซ็นทรัล เซ็นเตอร์ พัทยา

กรกฎาคม 2538

เซ็นทรัลพลาซา เชียงใหม่ แอร์พอร์ต

มีนาคม 2539

เซ็นทรัลเวิลด์

ธันวาคม 2545

เซ็นทรัลพลาซา รัตนาธิเบศร์

ธันวาคม 2546

เซ็นทรัลพลาซา แจ้งวัฒนะ

พฤศจิกายน 2551

เซ็นทรัลเฟสติวัล พัทยา บีช

มกราคม 2552

ศูนย์การค้า

Ļǰ Ļ Ļǰ Ļǰ Ļ Ļǰ Ļǰ Ļǰ Ļǰ Ļǰ

อาคารสำนักงาน อาคารที่พักอาศัย ศูนย์อาหาร

Ļǰ

ǰ Ļ

Ļ

Ļǰ Ļǰ

Ļ ǰ

Ļ Ļ

ǰ Ļ ǰ ǰ ǰ

ǰ

Ļ

ǰ ǰ ǰ

Ļ Ļ Ļ

โครงการที่ให้เช่าแก่ CPNRF โครงการที่เป็นของ CPN

ปีที่เปิดดำเนินการ

เซ็นทรัลพลาซา รัชดา-พระราม 3 1

ตุลาคม 2540

เซ็นทรัลพลาซา พระราม 2 2

ธันวาคม 2545

ศูนย์การค้า

Ļǰ Ļǰ

อาคารสำนักงาน อาคารที่พักอาศัย ศูนย์อาหาร

ǰ ǰ

หมายเหตุ : 1 ร้อยละ 81% ของพื้นที่ศูนย์การค้า CPN ให้เช่าแก่ CPNRF ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2548 สิ้นสุดสิงหาคม 2578 2 ร้อยละ 96% ของพื้นที่ศูนย์การค้า CPN ให้เช่าแก่ CPNRF ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2548 สิ้นสุดสิงหาคม 2568

ǰ ǰ

Ļ Ļ


ภ า พ ร ว ม ก า ร ป ร ะ ก อ บ ธุ ร กิ จ ข อ ง บ ริ ษั ท แ ล ะ บ ริ ษั ท ใ น เ ค รื อ 33.33%

บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา 99.99%

บจ.เซ็นทรัลเรียลตี้ เซอร์วิส

99.99%

บจ.เซ็นทรัลฟู้ดอเวนิว

กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ CPN รีเทล โกรท

99.99%

86.19% 1

100.00% 1

99.99%

บจ.หลังสวนเรียลตี้

99.99%

บจ.เซ็นทรัลพัฒนา พระราม 2

ทางตรง 12.00% ทางอ้อม 3.0%

บจ.สยาม รีเทล ดี เวลล็อปเม้นท์

99.99%

บจ.เซ็นทรัลพัฒนา เชียงใหม่

12.00%

บจ.สแควร์ ริทซ์ พลาซ่า

99.99%

บจ.เซ็นทรัลพัฒนา รัตนาธิเบศร์

11.85%

บจ.อยุธยาเกษตรธานี

99.99%

บจ.เซ็นทรัลพัฒนา พระราม 3

99.99%

บจ.เซ็นทรัล เรียลตี้ เซอร์วิส พระราม 3

99.99%

บจ.ซีพีเอ็น พัทยา บีช

82.50%

บจ.เซ็นทรัล เวิลด์ ทาวเวอร์ 2

บจ.บางนา เซ็นทรัล พร็อพเพอร์ตี้

กองทุนรวม ธุรกิจไทย 2

กองทุนรวม ธุรกิจไทย 4

6.31%1 99.99%

100.00% 1

กองทุนรวม ธุรกิจไทย 5

บจ.เซ็นทรัล เพลย์ แลนด์

10.00% ทางตรง 32.84% ทางอ้อม 49.66%

บจ.เซ็นทรัลเวิลด์

78.13%

บจ.เซ็นทรัลพัฒนา ขอนแก่น

99.99%

บจ.เซ็นทรัลพัฒนา ชลบุรี

94.97%

บจ.เซ็นทรัลพัฒนา ไนน์ สแควร์

99.93%

บจ.ซีพเี อ็น คอนสตรัคชัน่ แมเนจเม้นท์

99.93%

บจ.โรงแรม ซีพีเอ็น พัทยา บีช

60.19% ทางตรง 3.98% ทางอ้อม 6.02%

หมายเหตุ : 1 สัดส่วนของผู้ถือหน่วยลงทุนประเภทเจ้าของ ไม่รวมผู้ถือหน่วยลงทุนประเภทเจ้าหนี้ 2 บจ.เซ็ น ทรั ล เวิ ล ด์ ทาวเวอร์ ได้ ค วบรวมกิ จ การกั บ บจ.เซ็ น ทรั ล เวิ ล ด์ เมื่ อ วั น ที่ 18 ธันวาคม 2550 เพื่อให้การบริหารจัดการภายในมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งไม่มี ผลกระทบใดๆ ต่ อ สั ด ส่ ว นการถื อ หุ้ น และส่ ว นได้ เ สี ย ของบริ ษั ท ฯ บริ ษั ท ย่ อ ยแต่ อย่างใดเนื่องจากผู้ถือหุ้นในบริษัทย่อยทั้ง 2 บริษัทเป็นกลุ่มเดียวกันและมีการถือหุ้น ในสั ด ส่ ว นที่ เ ท่ า กั น ซึ่ ง ปั จ จุ บั น บจ.เซ็ น ทรั ล เวิ ล ด์ ทาวเวอร์ อยู่ ใ นระหว่ า งการ ชำระบัญชี


48 .49

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป

2551

โ ค ร ง ส ร า ง ร า ย ไ ด ข อ ง บ ริ ษั ท และ บ ริ ษั ท ย อ ย กลุ่มธุรกิจ/ดำเนินการโดย

%

ปี 2551

การถือหุ้น จำนวน ศูนย์การค้า บมจ. เซ็นทรัลพัฒนา บจ. เซ็นทรัลพัฒนา เชียงใหม่ บจ.บางนา เซ็นทรัล พร็อพเพอร์ตี้ บจ.เซ็นทรัล เพลย์ แลนด์ บจ. เซ็นทรัลพัฒนา พระราม3 บจ.เซ็นทรัลพัฒนา พระราม 2 บจ.เซ็นทรัลพัฒนา รัตนาธิเบศร์ บจ.ซีพีเอ็น พัทยา บีช บจ.เซ็นทรัลเวิลด์ บจ.เซ็นทรัลพัฒนา ขอนแก่น

จำนวน

%

ปี 2549 จำนวน

%

ปี 2548 จำนวน

%

ปี 2547 จำนวน

%

7,244 73.6% 6,680 74.9% 5,545 71.6% 5,474 78.4% 5,130 82.9% 99.99% 99.99% 99.99% 99.99% 99.99% 99.99% 99.99% 92.50% 78.13%

อาคารสำนักงาน บมจ. เซ็นทรัลพัฒนา บจ.บางนา เซ็นทรัล พร็อพเพอร์ตี้ บจ.เซ็นทรัลเวิลด์

99.99% 92.50%

อาคารสำหรับพักอาศัย บจ.หลังสวนเรียลตี้ บจ.บางนา เซ็นทรัล พร็อพเพอร์ตี้

99.99% 99.99%

สวนน้ำ และสวนพักผ่อน บจ.เซ็นทรัลพัฒนา พระราม 2 บจ.บางนา เซ็นทรัล พร็อพเพอร์ตี้

99.99% 99.99%

ศูนย์อาหาร บจ. เซ็นทรัลฟู้ดอเวนิว บจ. เซ็นทรัลพัฒนา เชียงใหม่ บจ.บางนา เซ็นทรัล พร็อพเพอร์ตี้ บจ.เซ็นทรัลพัฒนา พระราม 2 บจ.เซ็นทรัลพัฒนา รัตนาธิเบศร์ บจ.เซ็นทรัลเวิลด์

99.99% 99.99% 99.99% 99.99% 99.99% 92.50%

ดอกเบี้ยรับ ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนใน CPNRF อื่นๆ รวมรายได้ 1

%

ปี 2550

868

8.8%

809

9.1%

733

9.5%

482

6.9%

229

3.7%

24

0.2%

19

0.3%

22

0.3%

31

0.4%

40

0.6%

7

0.1%

9

0.1%

10

0.1%

14

0.2%

48

0.8%

456

4.6%

378

4.2%

397

5.1%

420

6.0%

387

6.3%

167 362 712

1.7% 3.7% 7.2%

110 317 601

1.2% 3.5% 6.7%

159 299 586

2.0% 3.9% 7.6%

55 83 422

0.8% 1.2% 6.0%

32 324

0.5% 5.2%

9,839 100% 8,923 100% 7,749 100% 6,981

หมายเหตุ : 1 รายได้รวมปี 2548 ไม่รวมกำไรจากสัญญาเช่าทางการเงิน 2,885 ล้านบาท

100% 6,190 100%


ก า ร พั ฒ น า อ ง ค ก ร CPN ยึ ด มั่ น ในพั น ธกิ จ ในการ “มุ่ ง สร้ า งการเติ บ โตทางธุ ร กิ จ อย่างยั่งยืน เพื่อความพึงพอใจสูงสุด ต่อผู้ถือหุ้น คู่ค้า พนักงาน ลูกค้า และสังคม” ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา CPN มุ่งเน้น การพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนา CPN ให้เป็นองค์กรที่ มีส มรรถนะสูง ( High Performance Organization ) ดำเนิ นธุรกิ จ อย่างมีวิสัยทัศน์และสามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิ ท ธิ ผ ลโดยคำนึ ง ถึ ง ผลประโยชน์ ร่ ว มกั น อย่ า งยั่ ง ยื น ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย การจัดตั้งคณะกรรมการ CPN Steering Committee เพื่ อ ให้ ง านด้ า นการพั ฒ นาองค์ ก รของส่ ว นงานต่ า งๆ เกิ ด การ บูรณาการ ตอบสนองเป้าหมายขององค์กรและดำเนินไปในทิศทาง ที่ ส นั บ สนุ น ซึ่ ง กั น และกั น CPN ได้ จั ด ตั้ ง คณะกรรมการ CPN Steering Committee ซึ่ ง มี ผู้ บ ริ ห ารระดั บ สู ง ของบริ ษั ท เป็ น กรรมการทำหน้ า ที่ ใ นการกำกั บ ดู แ ลและให้ ค วามเห็ น ชอบต่ อ แผนงานพัฒนาองค์กรต่างๆ รวมถึงให้คำแนะนำและการสนับสนุน การตัดสินใจที่จะส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงาน ขององค์กรในภาพรวม การจัดตั้งสำนักวางแผนกลยุทธ์และนโยบายธุรกิจ (Strategic Planning and Business Policy Office ) ภายใต้ ก ารริ เริ่ ม ของสำนั ก วางแผนกลยุ ท ธ์ แ ละนโยบายธุ ร กิ จ (Strategic Planning and Business Policy Office) ซึ่งจัดตั้งขึ้นในปี 2549 เพื่อเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการวิเคราะห์ กำหนดทิศทาง ขององค์กร อำนวยการให้เกิดการดำเนินงานที่สอดประสานงานกัน ทั่วทั้งองค์กร และนำเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพต่างๆ มาปรับใช้ ในการพัฒนาองค์กร โครงการพัฒนาองค์กรต่างๆ ภายใต้การกำกับ ดูแลของ CPN Steering Committee จึงเกิดขึ้น ผ่านความเห็นชอบ จากคณะกรรมการบริหารและผู้บริหาร โดยมีการประเมินผลและ ปรับปรุงกระบวนการอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ เพื่อให้ CPN เติบโตอย่างยั่งยืนและบรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ ทีจ่ ะเป็น “ผูน้ ำด้านการพัฒนาศูนย์การค้า ด้วยมาตรฐานระดับโลก”

การยกระดั บ การบริ ห ารจั ด การและการบริ ก ารให้ มี ค วามเป็ น เลิศเทียบเท่าสากลจึงเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่สำคัญ ซึ่งดำเนินการ ควบคู่ ไ ปกั บ การปลู ก ฝั ง คุ ณ ธรรมในการทำงานภายใต้ ห ลั ก บรรษัทภิบาล งานด้านการพัฒนาองค์กรในรอบปี 2551 ประกอบด้วย

การรณรงคสงเสริมหลักบรรษัทภิบาล CPN เชื่อมั่นว่าการดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานของความมีจริยธรรม และคุณธรรม โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย เป็นรากฐานสำคัญของการเติบโตทางธุรกิจอย่ างยั่งยืน เพื่อให้ มั่นใจว่าการปฏิบัติหน้าที่ทุกส่วนงานเป็นไปตามหลักบรรษัทภิบาล ในปี ที่ ผ่ า นมา CPN ได้ ก ำหนดหลั ก บรรษั ท ภิ บ าล 6 ข้ อ ได้ แ ก่ ซื่ อ สั ต ย์ สุ จ ริ ต เปิ ด กว้ า งโปร่ ง ใส ให้ ค วามเป็ น ธรรม ให้ ค วาม เสมอภาค ยึดมั่นคำสัญญา และใส่ใจดูแลสังคม เพื่อเป็นแนวทาง ในการปฏิบัติงานของพนักงานทุกระดับ ตลอด ปี 2551 บริ ษั ท ได้จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมและตอกย้ำหลักบรรษัทภิบาลทั้ง 6 อย่าง ต่ อ เนื่ อ ง อาทิการสำรวจความคิดเห็นของพนักงาน (Employee Opinion Survey หรือ EOS) โครงการแสดงความคิดเห็นของพนักงาน ผ่าน ตู้ปณ.99 และกล่องรับฟังความคิดเห็น (I-BOX) ซึ่งติดตั้งอยู่ ตามจุดต่างๆ ภายในสำนักงาน CPN การทำกิจกรรมเพื่อสังคม โดยกลุ่ม CPN อาสา และ การมอบรางวัล “คนดี คน CPN” ให้กับ พนั ก งานที่ ป ฏิ บั ติ ตั ว เป็ น แบบอย่ า งที่ ดี (รายละเอี ย ดเพิ่ ม เติ ม ในหั ว ข้ อ “หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี” หน้า 56)

การพัฒนาสูความเปนเลิศ โครงการพัฒนาองค์กรตามแนวทางรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award ) เกณฑ์ ร างวั ล คุ ณ ภาพแห่ ง ชาติ ( Thailand Quality Award หรื อ “TQA”)เป็นหนึ่งในแนวทางที่ CPN นำมาปรับใช้ในการพัฒนาการ บริหารจัดการองค์กรให้เป็นมาตรฐานสากล ภายหลังการศึกษา เกณฑ์ TQA บริษัทได้การกำหนดโครงสร้างการดำเนินงาน แต่งตั้ง คณะกรรมการและคณะตรวจประเมินตามเกณฑ์ TQA รวมไปถึ ง การจั ด ทำ Roadshow “การเดิ น ทางของ CPN สู่ TQA ” เพื่ อ


50 .51

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป

2551

สร้ า งความตระหนักในเรื่อง TQA ให้แก่พนักงาน CPN ทุกระดับ ปี 2551 ถือเป็นปีแรกที่ CPN เริ่มนำเกณฑ์ TQA มาประยุกต์ใช้ ในการปรั บ ปรุ ง การบริ ห ารจั ด การศู น ย์ ก ารค้ า โดยกำหนดให้ โครงการเซ็ น ทรั ล เวิ ล ด์ เ ป็ น ศู น ย์ ก ารค้ า นำร่ อ ง โดยมี ก ารตรวจ ประเมิ น และจั ด ทำรายงานตามเกณฑ์ ร างวั ล คุ ณ ภาพแห่ ง ชาติ และเสนอส่ ง เข้ า ประกวดเพื่ อ ให้ โ ครงการเซ็ น ทรั ล เวิ ล ด์ ไ ด้ รั บ การตรวจประเมิ น และคำแนะนำจากคณะกรรมการตรวจ ประเมิ น ของสำนั ก งานเลขานุ ก ารรางวั ล คุ ณ ภาพแห่ ง ชาติ ซึ่งข้อแนะนำต่างๆ ทีมงาน TQA ได้นำมาพัฒนาระบบการบริหาร จัดการภายในโครงการเซ็นทรัลเวิลด์ พร้อมทั้งถ่ายทอดสิ่งที่ได้ เรียนรู้จากการทำโครงการนำร่องนี้ให้กับศูนย์การค้าโครงการอื่นๆ ของ CPN เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้และยกระดับการบริหาร จัดการของ CPN ในภาพรวม โครงการพัฒนาและยกระดับการให้บริการสู่ความเป็นเลิศ (Service Excellence ) เพื่อให้การพัฒนาและยกระดับการให้บริการภายในศูนย์การค้า เป็ น ไปตามแผนงานที่ ก ำหนด สำนั ก ส่ ง เสริ ม และกำกั บ ดู แ ล มาตรฐาน (สสม.) ได้ ถู ก จั ด ตั้ ง ขึ้ น เพื่ อ ดู แ ลและรั บ ผิ ด ชอบ งานด้ า นการพั ฒ นายกระดั บ มาตรฐานการจั ด การและการให้ บริ ก ารใน 5 กลุ่ ม งาน คื อ กลุ่ ม งานร้ า นค้ า สั ม พั น ธ์ กลุ่ ม งาน ลูกค้าสัมพันธ์ กลุ่มงานระบบ กลุ่มงานความสะอาด และกลุ่มงาน รั ก ษาความปลอดภั ย เริ่ ม ตั้ ง แต่ ก ารร่ ว มกั น ศึ ก ษาและกำหนด มาตรฐานการให้บริการภายในศูนย์การค้าที่เป็นสากล (World Class Standard) ไปจนถึงการปลูกฝังทัศนคติด้านการบริการที่ เป็ น เลิ ศ ให้ แ ก่ บุ ค ลากรทุ ก ส่ วนงาน โดยกำหนดแผนการพั ฒนา และดำเนินการระหว่างปี 2549 - 2552

บริหารและควบคุม ความเสี่ยงของโครงการต่างๆ ควบคู่ไปกับ การกำกับดูแลกิจการทีด่ ตี ามหลักบรรษัทภิบาล ส่งผลให้กระบวนการ ทำงานภายในองค์กรและธุรกิจของ CPN ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ มั่นคง เป็นที่ยอมรับ และสามารถรองรับการเติบโตของบริษัทได้ อย่างยั่งยืน เพื่ อ ให้ มั่ น ใจว่ า การบริ ห ารจั ด การของทุ ก ศู น ย์ ก ารค้ า และทุ ก หน่วยงานเป็นไปตามมาตรฐานการปฏิบัติงานเดียวกัน CPN ได้นำ ระบบการบริ ห ารคุ ณ ภาพตามมาตรฐาน ISO 9001 : 2000, ISO 14001 : 2004 และ ISO 27001 มาใช้ในการบริหารจัดการ การบริหารจัดการศูนย์การค้าตามมาตรฐาน ISO 9001:2000

นอกจากโครงการเซ็ น ทรั ล พลาซา ลาดพร้ า ว และ โครงการ เซ็นทรัลพลาซา ปิ่นเกล้า ซึ่งได้ขอการรับรองระบบบริหารคุณภาพ ตามมาตรฐาน ISO 9001:2000 ไปแล้วนั้น ในรอบปี 2551 ที่ผ่านมา CPN ได้ดำเนินการขอการรับรองระบบการบริหารคุณภาพดังกล่าว เพิ่มอีก 8 โครงการ ได้แก่ โครงการเซ็นทรัลพลาซา พระราม 2, โครงการเซ็นทรัลพลาซา บางนา, โครงการเซ็นทรัลพลาซา รัชดา พระราม 3, โครงการเซ็นทรัลพลาซา รามอินทรา, โครงการเซ็นทรัล พลาซา เชียงใหม่ แอร์พอร์ต, โครงการเซ็นทรัลพลาซา รัตนาธิเบศร์, โครงการเซ็นทรัล เซ็นเตอร์ พัทยา และ โครงการเซ็นทรัลเวิลด์ สำหรั บแผนงานในปี 2552 นั้น CPN จะดำเนินการเตรี ยมความ พร้ อ มสำหรั บ ศู น ย์ ก ารค้ า ใหม่ 4 โครงการ ได้ แ ก่ โครงการ เซ็นทรัลพลาซา แจ้งวัฒนะ, โครงการเซ็นทรัลเฟสติวัล พัทยา บีช, โครงการเซ็นทรั ลพลาซา ชลบุรี และ โครงการเซ็นทรั ลพลาซา ขอนแก่น เพือ่ นำเข้าสูร่ ะบบบริหารคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 9001: 2000 และขอรับการรับรองในลำดับต่อไป ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐาน ISO 14001: 2004

โครงการปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจ (Business Process Improvement )

CPN ตระหนั ก ดี ว่ า ปั จ จั ย หนึ่ ง แห่ ง ความสำเร็ จ ขององค์ ก รคื อ การมี ก ระบวนการทำงานที่ ไ ด้ ม าตรฐานและมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ สนับสนุนกลยุทธ์ทางธุรกิจ เหมาะสมกับสถานการณ์และก้าวทัน เทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป CPN ได้นำระบบบริหารคุณภาพ (Quality Management System หรือ QSM) เข้ามาประยุกต์ใช้ โดยมีการ ติด ตามตรวจสอบคุ ณภาพภายในอย่า งสม่ ำ เสมอ ควบคู่ ไปกับ การทบทวนและปรั บ ปรุ ง กระบวนการทำงานให้ เ หมาะสมกั บ สถานการณ์และสภาวะการแข่งขันทางธุรกิจ พร้อมกันนี้ ภายใต้ โครงการปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจ ยังได้มีการดำเนินการ

ในปี 2551 ที่ผ่านมา CPN ได้เริ่มวางระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ตามข้อ กำหนดของการจั ดการสิ่งแวดล้อ ม ISO 14001:2004 ที่ โครงการเซ็นทรัลพลาซา ปิ่นเกล้า และ โครงการเซ็นทรัลพลาซา บางนา ซึ่งเป็นศูนย์การค้าในโครงการนำร่อ ง โดยกำหนดที่จ ะ ดำเนิ น การขอการรั บ รองระบบการจั ด การสิ่ ง แวดล้ อ มให้ แ ก่ 2 ศูนย์การค้านำร่องนี้ในปี 2552 นอกจากนี้ CPN ยังได้วางแผนที่ จะเริ่มวางระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมและเตรียมความพร้อมใน ศูนย์การค้าอีก 2 โครงการคือ โครงการเซ็นทรัลพลาซา เชียงใหม่ แอร์พอร์ต และ โครงการเซ็นทรัล เซ็นเตอร์ พัทยา ก่อนที่จะ ขยายขอบเขตการขอการรับรองให้ครอบคลุมในทุกสาขาต่อไป


การจัดการความปลอดภัยสารสนเทศมาตรฐาน : ISO 27001

การจัดการความปลอดภัยสารสนเทศ และการพัฒนาโครงสร้าง พื้ น ฐานด้ า นเทคโนโลยี ส ารสนเทศ ถื อ เป็ น ภารกิ จ หนึ่ ง ที่ CPN ได้ให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ในปี 2551 ที่ผ่านมา CPN ได้มุ่งที่จะยกระดับการจัดการสารสนเทศทั่วทั้งองค์กร โดย นำเอาระบบ Information Security Management System “ISMS” ซึ่ ง เป็น ระบบมาตรฐานตามหลัก สากลมาใช้ เป็ นแนวทางในการ จั ด การความปลอดภั ย สารสนเทศของ CPN โดยได้ จั ด ตั้ ง และ มอบหมายให้คณะทำงาน Information Security Group หรือ ISG ซึ่ ง เป็ น ตั ว แทนจากทุ ก หน่ ว ยงานร่ ว มกั น ปรั บ ปรุ ง นโยบายและ มาตรฐานความปลอดภัยสารสนเทศของ CPN เพื่อให้สอดคล้อง และเป็นไปตามข้อกำหนดตามพรบ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2551 และเพื่อรองรับกับภัยคุกคามด้านอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ๆ งานในส่วนของการปรับปรุงระบบเพื่อให้เป็นไปตาม พรบ. นั้น CPN ได้ดำเนินการแล้วเสร็จในปี 2551 ตามแผนงานที่กำหนดไว้ สำหรั บ การปรั บ ปรุ ง นโยบายและมาตรฐานการจั ด การความ ปลอดภัยสารสนเทศได้ผ่านขั้นตอนการพิจารณาอนุมัติจากคณะ ทำงาน ISG เรียบร้อยแล้ว และเตรียมที่จะประกาศใช้ในต้นปี 2552 ต่อไป ซึ่งทางคณะทำงาน ISG จะทำการประเมินผลการ ปฏิบัติงานและทบทวนความพร้อมเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง เพื่อ เตรียมขอใบรับรองมาตรฐาน ISO 27001 ในปลายปี 2552 ซึ่ง หากเป็นไปตามแผนงาน CPN จะเป็นผู้บริหารศูนย์การค้าแห่งแรก ในประเทศไทยที่ จ ะได้ ก ารรั บ รองว่ า มี ร ะบบการจั ด การความ ปลอดภัยสารสนเทศที่มีมาตรฐานเทียบเท่าสากล

CPN Quality Award โครงการ CPN Quality Award จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมให้พนักงาน ทุ ก ระดั บ มี ส่ ว นร่ ว มในการพั ฒ นากระบวนการทำงานและการ ให้บริการเพื่อเพิ่มความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า โดยมีวัตถุประสงค์ ในโครงการ ดังนี้

»

เสริ ม สร้ า งแนวคิ ด หลั ก การ และเครื่ อ งมื อ เพื่ อ นำไปปรั บ กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีภายในหน่วยงาน ของตน

» »

สร้างเสริมเครือข่ายการเรียนรู้ (Learning Network) พัฒนาศักยภาพการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร (CPN Innovator) และการเป็นวิทยากรภายใน (Internal Trainer)

»

เสริ ม สร้ า งบรรยากาศแห่ ง การแบ่ ง ปั น และการกระจาย ความรู้ (Knowledge Sharing) ให้เกิดขึ้นในบริษัท

โครงการ CPN Quality Award ปี 2551 มุ่งเน้นในเรื่องการปรับปรุง กระบวนการทำงาน (Business Process Improvement) และ การ สร้างสรรค์กระบวนการทำงานใหม่ (Innovation ) ผู้เข้าร่วมโครงการ จะนำเอาความรู้และทักษะที่ได้รับจากการฝึกอบรมมาปรับใช้ใน การปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการทำงานจริง ระบบการบริ หารจัดการเพื่อ สร้างมูลค่าเชิงเศรษฐศาสตร์ ในปี 2551 ที่ผ่านมา CPN ได้ดำเนินการพัฒนาระบบการบริหาร จั ด การเพื่ อ สร้ า งมู ล ค่ า เชิ ง เศรษฐศาสตร์ หรื อ EVM ( Economic Value Management ) ซึ่ ง เป็ น การวั ด มู ล ค่ า ของบริ ษั ท โดยมี ก าร คำนึ ง ถึ ง ต้ น ทุ น ของเงิ น ทุ น CPN ได้ เริ่ ม ทำการศึ ก ษาโครงการนี้ เมื่อปลายปี 2550 โดยได้ทำการรวบรวมข้อมูลของบริษัททั้งเชิง ปริมาณและเชิงคุณภาพเพื่อนำมาคำนวณค่ากำไรทางเศรษฐศาสตร์ (Economic Profit) ของบริษัท ปัจจุบันอยู่ระหว่างพัฒนาปรับปรุง ระบบเพื่ อ ให้ มี เ สถี ย รภาพและสามารถสะท้ อ นมู ล ค่ า ทาง เศรษฐศาสตร์ของบริษัทได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ซึ่งคาดว่า จะนำมาใช้ได้ในปี 2553


52 .53

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป

2551

ก า ร พั ฒ น า ท รั พ ย า ก ร ม นุ ษ ย CPN ตระหนักดีว่าบุคลากรเป็นทรัพยากรสำคัญที่ทำให้องค์กร สามารถเติบโตอย่างยั่งยืนและมีความได้เปรียบเชิงธุรกิจ ในรอบปี 2551 ที่ผ่านมา CPN ได้ดำเนินการโครงการพัฒนาบุคลากรเพื่อ เพิ่มพูนทักษะ ความรู้ และ ความสามารถ ควบคู่ไปกับโครงการ พัฒนาระบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เพื่อให้มั่นใจว่าบุคลากร ของ CPN มีเหมาะสมกับภารกิจที่รับผิดชอบและสามารถสนับสนุน กลยุทธ์ขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ สรุปได้ดังนี้

การจัดการอบรมภายในองคกร (In-house training) ด้ ว ยการออกแบบหลั ก สู ต รการอบรมที่ ส นั บ สนุ น แผนกลยุ ท ธ์ ขององค์ก ร อาทิ หลั ก สู ต รการพัฒนากรอบความคิด สู่ก ารเป็น ผู้นำที่ประสบความสำเร็จ หลักสูตรการบริหารการเงิน หลักสูตร ภาษีที่เกี่ยวข้องสำหรับการลงทุนในต่างประเทศ หลักสูตรกฎหมาย เบื้ อ งต้ น เกี่ ย วกั บ การลงทุ น ในต่ า งประเทศ หลั ก สู ต รการติ ด ต่ อ สื่อสาร เป็นต้น และหลักสูตรเพื่อการพัฒนามาตรฐานวิชาชีพและ การตอบสนองการปฏิบัติงานของหน่วยงาน อาทิ หลักสูตรการ พัฒนาบุคลิกภาพและการบริการ หลักสูตร English Phonetics for Tenant Services หลักสูตร Fireman ขั้นรุนแรง เป็นต้น โดยตลอดปี 2551 ที่ ผ่ า นมา CPN ได้ด ำเนินการจั ด การอบรมภายในบริษัท ทั้งสิ้นจำนวน 222 หลักสูตร เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของ พนักงานให้สามารถตอบสนองต่อกลยุทธ์ขององค์กร

การจัดการอบรมภายนอกองคกร การส่งพนักงานเข้ารับการอบรมจากสถาบันทีม่ ชี อื่ เสียง ผูท้ รงคุณวุฒิ และผู้เชี่ยวชาญภายนอก ทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ เพื่อเป็น การเพิ่มพูนทักษะ ความรู้ และความสามารถของพนักงาน อีกทั้ง ยั ง เป็ น การสร้ า งเครื อ ข่ า ยความสั ม พั น ธ์ ใ นกลุ่ ม อุ ต สาหกรรม และวิ ช าชี พ เดี ย วกั น ซึ่ ง จะเอื้ อ ประโยชน์ ใ นการปฏิ บั ติ ง านใน หน้าที่ที่รับผิดชอบ โดยตลอดปี 2551 ที่ผ่านมา CPN ได้จัดส่ง พนั ก งานเข้ า รั บ การอบรมกั บ สถาบั น และวิ ท ยากรที่ มี ชื่ อ เสี ย ง มากมาย อาทิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ Asia Business Forum Marcus Evan Congress เป็นต้น และได้จัดส่ง

พนักงานเข้ารับการศึกษาดูงานในต่างประเทศ อาทิ Michigan Ross School of Business, Hong Kong ICSC (International Council of Shopping Center Conference) และการศึกษาดูงานภาคปฏิบัติการ ของศูนย์การค้าชั้นนำในประเทศญี่ปุ่น ฮ่องกง และ สหรัฐอเมริกา เป็ น ต้ น โดยตลอดปี ที่ ผ่ า น CPN ได้ ด ำเนิ น การจั ด ส่ ง พนั ก งาน เข้ารับการอบรมภายนอกบริษัท รวมทั้งสิ้น 160 หลักสูตร นอกเหนื อ จากการพั ฒ นาพนั ก งานด้ ว ยการฝึ ก อบรมอย่ า ง สม่ำเสมอและต่อเนื่องแล้ว CPN ยังได้วางระบบการพัฒนาบุคลากร ผ่านเครื่องมือทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์ต่างๆ เพื่อให้มั่นใจ ว่าบุคลากรของ CPN มีทักษะ ความรู้ และความสามารถเหมาะสม กับหน้าที่ค วามรั บผิดชอบและรองรั บการเติบโตของธุรกิจ โดย ในรอบปี 2551 นี้ CPN ได้ดำเนินการโครงการด้านการพัฒนา บุคลากร ดังนี้

โครงการ Competency Development & Management เพื่อให้มั่นใจว่าพนักงานในแต่ละตำแหน่งงานมีคุณลักษณะและ คุ ณ สมบั ติ ที่ เ หมาะสมและสามารถปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ใ นความรั บ ผิดชอบได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล CPN จึงได้ทำ การศึกษาและนำรูปแบบของทักษะ ความรู้ และความสามารถ พื้นฐานที่เป็นเอกลักษณ์ของพนักงาน CPN (Common Competency) และรูปแบบของทักษะ ความรู้ และความสามารถที่จำเป็นและ มี ผ ลต่ อ ความสำเร็ จ ของการปฏิ บั ติ ง านในแต่ ล ะตำแหน่ ง งาน (Professional Competency และ Functional Competency) มาเป็น พื้นฐานในการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทั้งระบบ

โครงการ Leadership Development Program เพื่ อ ให้ พ นั ก งานในระดั บ จั ด การได้ พั ฒ นาทั ก ษะความเป็ น ผู้ น ำ ควบคู่ไปกับทักษะ ความรู้ และทัศนคติเกี่ยวกับการบริหารงานที่ เหมาะสมกั บ สภาพแวดล้ อ มและสภาพการแข่ ง ขั น ทางธุ ร กิ จ ใน ปัจจุบัน โครงการนี้จึงได้ถูกพัฒนาขึ้นสำหรับพนักงานระดับจัดการ ผลลัพธ์ที่ได้จากโครงการนี้คือ พนักงานระดับจัดการทุกคนจะได้ ทราบถึ ง ทั ก ษะความเป็ น ผู้ น ำและทั ก ษะการบริ ห ารจั ด การของ


ตนเองเป็นรายบุคคล รวมถึงช่องว่างที่ควรจะพัฒนาเพิ่มเติม ซึ่ง จะถู ก นำไปพั ฒ นาและจั ด ทำแผนพั ฒ นารายบุ ค คล ( Individual Development Plan: IDP) เพื่อให้พนักงานในระดับจัดการทุกคนมี ทักษะและทัศนคติเกี่ยวกับการบริหารงานทัดเทียมกับนานาชาติ และมี ค วามเป็ น ผู้ น ำตรงตามความคาดหมายของบริ ษั ท ( CPN Leadership DNA) ซึง่ จะสามารถพัฒนาทีมงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมี ศั ก ยภาพพร้ อ มต่ อ การสนั บ สนุ น การเติ บ โตตามเป้ า หมาย ทางธุรกิจขององค์กร

โครงการ Succession Plan for Executives เพื่อให้ทราบถึงทักษะและความสามารถที่ผู้บริหารระดับสูงของ CPN พึงมีและควรมุ่งเน้นพัฒนา เพื่อนำมาพัฒนากระบวนการ สรรหาและจั ด ทำเป็ น แผนพั ฒ นาบุ ค คลที่ จ ะมาเป็ น ผู้ สื บ ทอด ตำแหน่งงาน (Successor) สำหรับตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงอย่าง เป็ น ระบบ ซึ่ ง จะเป็ น การเสริ ม สร้ า งความเข้ ม แข็ ง ของธุ ร กิ จ ใน อนาคตและรักษาให้องค์กรสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน การดำเนิ น การตามโครงการนี้ ผู้ เข้ า ร่ ว มโครงการจะต้ อ งผ่ า น กระบวนการการวั ด ประเมิ น ด้ ว ยเครื่ อ งมื อ ต่ า งๆ ได้ แ ก่ การ ประเมิ น ผลด้ ว ยวิ ธี ก ารจั ด ทำระบบการประเมิ น ทั ก ษะด้ า นการ จั ด การ ที่ เรี ย กว่ า “ Development Center ” และการตอบแบบ สอบถาม 360 องศา เพื่อวัดประเมินทักษะความรู้ความสามารถ ด้ า นผู้ น ำของ CPN ( CPN Leadership Competency ) รวมทั้ ง แบบทดสอบด้านบุคลิกภาพ ผลที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการนี้คือ ทำให้สามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่จะเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งงาน ในระดับบริหารได้และสามารถวางแผนพัฒนาผู้สืบทอดตำแหน่ง งานในระดับบริหารได้อย่างเป็นระบบ สำหรับแผนการพัฒนาบุคลากรในปี 2552 ยังคงเน้นไปที่การวาง รากฐานระบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้สามารถสร้างความ ได้เปรียบในเชิงการแข่งขันและตอบสนองกลยุทธ์ขององค์กรได้ โดยแผนงานและโครงการหลักในปี 2552 นี้ ประกอบด้วย

โครงการจัดทำศูนยฝกอบรม (Training Center) โดยจะดำเนินการจัดสร้างศูนย์การฝึกอบรมที่มีความพร้อมทั้งด้าน วัสดุอุปกรณ์ ความพร้อมด้านกายภาพที่มีความเหมาะสมสอดคล้อง กับรูปแบบการเรียนรู้ต่างๆ รวมทั้งการพัฒนาหลักสูตรเพื่อเสริม ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานของ CPN ไม่ว่าจะเป็น หลักสูตรด้านการบริหารจัดการศูนย์การค้า การพัฒนาทักษะความ เป็ น ผู้ น ำ การพั ฒ นาประสิ ท ธิ ภ าพการทำงาน และการพั ฒ นา ความเชี่ยวชาญในสายอาชีพต่างๆ เป็นต้น

โครงการ Competency Implementation เป็นแผนงานต่อเนื่องของโครงการ Competency Model Development โดยในปี 2552 จะนำรูปแบบของทักษะความรู้ และความ สามารถ (Competency Model ที่กำหนดได้จากแผนงานการพัฒนา CPN Competency Model) ในปี 2551 มาปรับใช้กับการบริหาร ทรัพยากรมนุษย์ในทุกส่วนงาน ได้แก่ การสรรหาและคัดเลือก พนักงาน การประเมินผลการปฏิบัติงาน การกำหนด Training Road Map และการวางแผนการพั ฒ นารายบุ ค คล ( Individual Development Plan ; IDP)

โครงการ Career Development เป็นการกำหนดทางเดินสายอาชีพ (Career Path) ของทุกตำแหน่ง งานในองค์กร เพื่อให้พนักงานทุกคนรับทราบเส้นทางการเติบโต ทางอาชีพของตนเองใน CPN ซึ่งเป็นการสร้างความเข้าใจที่ตรง กั น ระหว่ า งตั ว พนั ก งานเองกั บ องค์ ก รเกี่ ย วกั บ เป้ า หมายทาง อาชีพ อันจะส่งผลให้การพัฒนาพนักงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และพนั ก งานสามารถส่ ง มอบผลลั พ ธ์ ใ นการปฏิ บั ติ ง านอย่ า งมี ประสิทธิภาพสูงสุด

โครงการ Executives Coach เป็นโครงการพัฒนาผู้บริหารระดับสูงเพื่อให้มีความรู้ ทักษะความ สามารถด้านการบริหารจัดการ และความเป็นผูน้ ำตรงตามคุณลักษณะ ของผู้นำ CPN (CPN’s Leadership Competency) ซึ่งเป็นแผนงาน ที่ ต อบสนองการพั ฒ นาผู้ สื บ ทอดตำแหน่ ง ผู้ บ ริ ห ารระดั บ สู ง (Succession Plan for Executives) ให้มีความพร้อมในการเติบโต ในตำแหน่งงานที่สูงขึ้น


54 .55

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป

2551

ก า ร บ ริ ห า ร ท รั พ ย า ก ร ม นุ ษ ย การคัดเลือกและสรรหาบุคลากร เพือ่ รองรับการเติบโตของธุรกิจและการเปิดโครงการใหม่ 4 โครงการ ได้แก่ โครงการเซ็นทรัลพลาซา แจ้งวัฒนะ ซึ่งเปิดให้บริการเมื่อ เดือนพฤศจิกายน ปี 2551 โครงการเซ็นทรัลเฟสติวัล พัทยา บีช ซึ่งเปิดให้บริการเมื่อเดือนมกราคม ปี 2552 และโครงการเซ็นทรัล พลาซา ชลบุรี และโครงการเซ็นทรัลพลาซา ขอนแก่น ซึ่งกำหนด จะเปิ ด ให้บ ริ ก ารในปี 2552 นี้ CPN จึ ง ต้ องดำเนิ นการคั ดเลื อ ก และสรรหาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเข้าร่วมเป็นทีมงาน ที่ แ ข็ ง แกร่ ง โดยในปี 2551 ที่ ผ่ า นมา CPN ได้ จั ด กิ จ กรรมการ รับสมัครงานที่เรียกว่า Mass Recruitment ขึ้น ในบริเวณที่ใกล้กับ โครงการใหม่ ดั ง กล่ า ว เพื่ อเป็นการสรรหาบุ คลากรและส่งเสริม การสร้ า งอาชี พ ให้ กั บ ประชากรในท้ อ งถิ่ น และบริ เ วณใกล้ เ คี ย ง จากการจั ด งาน Mass Recruitment นี้ มี บุ ค คลสนใจสมั ค รเข้ า ร่วมงานกับ CPN เป็นจำนวนมาก กล่าวคือ โครงการเซ็นทรัลพลาซา แจ้ ง วั ฒ นะ มี ผู้ ส มั ค ร 1,771 คน รั บ เป็ น พนั ก งาน 156 คน โครงการเซ็นทรัลเฟสติวัล พัทยา บีช มีผู้สมัคร 124 คน รับเป็น พนักงาน 68 คน และ โครงการเซ็นทรัลพลาซา ชลบุรี มีผู้สมัคร 427 คน รับเป็นพนักงาน 74 คน นอกจากนั้ น แล้ ว ในปี ที่ ผ่ า นมา CPN ได้ เ ปิ ด การรั บ สมั ค รงาน ผ่านช่องทางอื่นเพิ่มเติม ได้แก่ การรับสมัครงานผ่านทางเว็บไซต์ ของ CPN ( www . cpn . co . th ) และเว็ บ ไซต์ จั ด หางานอื่ น ๆ การ ลงประกาศทางหน้าหนังสือพิมพ์ แผ่นพับ การเข้าร่วมกิจกรรม รับสมัครงาน อาทิ Campus Recruitment และ Job Fair ซึ่งส่งผล ให้ในรอบปี 2551 มีบุคคลสนใจเข้าร่วมงานกับ CPN มากกว่า 40,000 คน

การบริหารงานบุคคล

วิชาชีพเดียวกันในตลาดแรงงาน การกำหนดสิทธิประโยชน์และ สวัสดิการต่างๆ ที่สูงกว่าที่กฎหมายแรงงานกำหนด เช่น การจัดตั้ง กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ค่ารักษาพยาบาลพิเศษ ประกันชีวิตและ ประกันสุขภาพกลุม่ สวัสดิการวันหยุดวันเกิด เงินช่วยเหลือฉุกเฉิน เงินช่วยเหลือพนักงานสมรส เงินช่วยเหลืองานศพของบุคคลใน ครอบครัวพนักงาน เป็นต้น รวมถึงนโยบายด้านการบริหารงาน บุ ค คลเฉพาะกิ จ ที่ ส อดคล้ อ งกั บ สภาพการณ์ ท างเศรษฐกิ จ ที่ ส่ ง ผลต่ อ การดำรงชีวิตของพนักงาน ซึ่ งในปี 2551 ที่ ผ่านมา CPN ได้กำหนดนโยบายด้านการบริหารงานบุคคลเพิ่มเติม ได้แก่

»

การทบทวนและปรั บ ปรุ ง ระเบี ย บการเบิ ก ค่ า ใช้ จ่ า ยในการ ปฏิบัติงานต่างจังหวัดและต่างประเทศ เพื่อให้สอดคล้องกับ ราคาน้ำมันที่ได้ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงเดือนสิงหาคม 2551

»

การพิ จ ารณาจ่ า ยเงิ น ช่ ว ยเหลื อ ค่ า ครองชี พ ให้ กั บ พนั ก งาน ตั้งแต่ระดับผู้จัดการอาวุโสหรือเทียบเท่าลงมา เพื่อเป็นการ บรรเทาภาระด้ า นค่ า ครองชี พ ที่ ป รั บ ตั ว สู ง ขึ้ น อั น เนื่ อ งมา จากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อพนักงาน

CPN เชื่อมั่นว่าการอยู่ร่วมกันของพนักงานด้วยความสัมพันธ์ที่ดี ฉันท์เพื่อนและพี่น้องจะส่งผลต่อการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ ยิ่ งขึ้น CPN จึงได้จัดกิ จกรรมสันทนาการต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพนักงาน มีขวัญกำลังใจ ในการทำงาน ตลอดจนมี คุ ณ ภาพชี วิ ต ที่ ดี กิ จ กรรมในรอบปี 2551 ที่ผ่านมา ประกอบด้วย

»

โครงการวันครอบครัวพนักงาน จัดขึ้นเพื่อสร้างความสัมพันธ์ และมิตรภาพอันดีระหว่างพนักงาน ผู้บริหาร และครอบครัว ของพนักงาน

»

งานกี ฬาสี CPN เพื่ อ ส่งเสริ ม พนักงานให้ตระหนั กถึงความ สำคัญของการออกกำลังกาย

»

การตรวจสุขภาพประจำปี โดยจัดให้กับพนักงานทุกระดับเพื่อ ส่ ง เสริ ม ให้ พ นั ก งานตระหนั ก ถึ ง การมี สุ ข ภาพและคุ ณ ภาพ ชีวิตที่ดี

CPN ดำเนินนโยบายด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ต่างๆ ภายใต้ แนวคิดที่ต้องการให้พนักงานรู้สึกเป็นสุขกับการเป็นสมาชิกของ องค์กร ไม่ว่าจะเป็นนโยบายที่เป็นปัจจัยพื้นฐาน อาทิ การกำหนด ค่ า ตอบแทนที่ อ ยู่ อั ต ราที่ แ ข่ ง ขั น ได้ ใ นกลุ่ ม อุ ต สาหกรรมหรื อ


»

กิจกรรมเพื่อสังคมและชุมชน อาทิเช่น การร่วมบริจาคโลหิต ถวายเป็ น พระราชกุ ศ ลไว้ อ าลั ย สมเด็ จ พระเจ้ า พี่ น างเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดย สามารถทำได้เกินเป้าหมายที่กำหนดไว้กว่า 8,400,000 ซีซี.

»

โครงการเศรษฐกิจพอเพียงเทิดไท้องค์ราชันย์ เพื่อให้พนักงาน ได้รบั รูถ้ งึ แนวพระราชดำริขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั และสามารถนำแนวพระราชดำริ ไ ปใช้ ใ นการดำเนิ น ชี วิ ต ได้ เช่น การประกวดการทำบัญชีรับ – จ่าย เป็นต้น

»

โครงการมอบทุนการศึกษาให้แก่บุตรพนักงาน ในระดับชั้น ประถมศึกษาถึงปริญญาตรี เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย ให้พนักงานที่มีผลการปฏิบัติงานดี และส่งเสริมการศึกษาเพื่อ พัฒนาศักยภาพในสายงาน สำหรับพนักงานที่มีความประสงค์ ขอทุนการศึกษาต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษาถึงปริญญาตรี

»

โครงการร่วมทำบุญในวันวิสาขบูชา จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีเพื่อ ให้พนักงานได้มีโอกาสเข้าร่วมพิธีทางศาสนาร่วมกับบริษัท และส่งเสริมให้พนักงานมีสุขภาพจิตที่ดี

ขอมูลบุคลากร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 CPN มีพนักงานทั้งหมด 2,121 คน แยกตามสาขา ดังนี้ สาขา / ปี

2547

2548

2549

2550

2551

สำนักงานใหญ่ ลาดพร้าว รามอินทรา ปิ่นเกล้า พัทยา พระราม 3 เชียงใหม่ ศูนย์อาหาร 1 บางนา พระราม 2 เซ็นทรัลเวิลด์ รัตนาธิเบศร์ หลังสวน 2

230 170 50 130 54 87 141 78 204 152 228 81 -

289 192 51 159 54 126 142 191 150 222 71 3

349 191 51 181 72 105 144 187 155 302 85 4

417 193 54 180 88 106 143 205 159 405 99 4

584 183 50 146 96 107 143 183 142 387 96 4

1,605

1,650

1,826

2,053

2,121

รวม

หมายเหตุ : 1 จำนวนพนักงานศูนย์อาหารได้กระจายและรวมอยู่ในสาขาต่างๆ ที่ศูนย์อาหารตั้งอยู่ 2 ก่อนปี 2547 จำนวนพนักงานหลังสวนได้ถูกรวมอยู่ในสำนักงานใหญ่

ผลตอบแทนรวมของพนักงาน รูปแบบค่าตอบแทน / ปี เงินเดือน โบนัส เงินสมทบ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และสวัสดิการ

2549

2550

2551

555,319,862 บาท

662,013,352 บาท

828,328,324 บาท


56 .57

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป

2551

ก า ร ก ำ กั บ ดู แ ล กิ จ ก า ร ในการซื้ อ ขายหรื อ โอนหุ้ น สิ ท ธิ ที่ จ ะได้ รั บ ข้ อ มู ล ข่ า วสารที่ ถูกต้อง ชัดเจน สิทธิในการเข้าร่วมประชุมและลงมติอนุมัติ การเข้าทำรายการที่สำคัญ สิทธิในการเลือกตั้งกรรมการที่ จะเข้ า มาบริ ห ารบริ ษั ท เป็ น รายบุ ค คล สิ ท ธิ ใ นการกำหนด อัตราค่าตอบแทนของคณะกรรมการบริษัท สิทธิในการแต่งตั้ง ผู้สอบบัญชีและกำหนดค่าสอบบัญชี สิทธิในการได้รับส่วนแบ่ง กำไร สิ ท ธิ ใ นการเข้ า ร่ ว มตั ด สิ น ใจ และรั บ ทราบถึ ง ผลการ ตัดสินใจของบริษัทที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในปัจจัยพื้นฐาน ของบริษัท เป็นต้น

CPN ตระหนักถึงความสำคัญของการกำกับดูแลกิจการที่ดี และ คณะกรรมการบริษัทมีความตั้งใจอย่างยิ่งที่จะสร้างกระบวนการ กำกับดูแลกิจการที่ดีที่เป็นมาตรฐาน และนำไปสู่การปฏิบัติทั่วทุก ระดับในองค์กร ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินธุรกิจของบริษัทเป็นไป ตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีอย่างเป็นรูปธรรม คณะกรรมการ จึงได้กำหนดแนวทางปฏิบัติไว้ในนโยบายการกำกับดูแลกิจการ ของบริ ษั ท และกำหนดให้ เ ป็ น หน้ า ที่ แ ละความรั บ ผิ ด ชอบของ กรรมการ ผู้ บ ริ ห ารและพนั ก งานทุ ก คน ที่ จ ะต้ อ งรั บ ทราบ ทำความเข้าใจ และปฏิบัติตามนโยบายการกำกับดูแลกิจการของ บริษัทอย่างเคร่งครัด รวมถึงผู้บริหารทุกระดับในองค์กร จะต้อง ดูแลรับผิดชอบและถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะดำเนินการให้พนักงาน ภายใต้ ส ายบั ง คั บ บั ญ ชาของตนทราบ เข้ า ใจ และปฏิ บั ติ ต าม โดยคณะกรรมการบริ ษั ท มี ก ารพิ จ ารณาปรั บ ปรุ ง หลั ก การและ แนวทางปฏิบัติให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ โดยคณะกรรมการบริษัท เชื่ อ ว่ า ระบบการกำกั บ ดู แ ลกิ จ การที่ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ จะช่ ว ย ส่ ง เสริ ม ให้ องค์กรมีศักยภาพในการแข่งขันได้ดีทั้งในระยะสั้นและ ระยะยาวเพราะจะช่ ว ยเสริ ม สร้ า งความเชื่ อ มั่ น ของนั ก ลงทุ น สถาบั น การเงิ น พั น ธมิ ต รทางธุ ร กิ จ และผู้ มี ส่ ว นได้ เ สี ย อื่ น ๆ ใน การดำเนินธุรกิจของบริษัท อันนำไปสู่การเพิ่มมูลค่าของผู้ถือหุ้น และประโยชน์ ที่ ส มดุ ล ร่ ว มกั น ของผู้ มี ส่ ว นเกี่ ย วข้ อ งทุ ก ฝ่ า ย ทั้งนี้ รายละเอียดเกี่ยวกับการดำเนินการด้านการกำกับดูแลกิจการ ของ CPN มีดังนี้

สิทธิของผูถือหุน CPN ให้ความสำคัญและเคารพสิทธิของผู้ถือหุ้น โดยปฏิบัติตาม กฎหมาย ข้อบังคับ และแนวทางปฏิบัติที่ดี ดังนี้

»

มี ก ลไกที่ ท ำให้ ผู้ ถื อ หุ้ น มั่ น ใจว่ า ได้ รั บ ผลตอบแทนครบถ้ ว น โดยมีโ ครงสร้ า งระหว่ า งบริ ษัท บริษั ท ย่อย บริษัท ร่วมที่ไม่ ซั บ ซ้ อ น ไม่ มี ผู้ ถื อ หุ้ น ร่ ว มและไม่ มี ผู้ ถื อ หุ้ น ไขว้ และไม่ มี โครงสร้างการถือหุ้นแบบปิรามิดในกลุ่มของบริษัท

»

ดำเนินการให้ผู้ถือหุ้นได้รับสิทธิพื้นฐานและได้รับการปฏิบัติ ในการรักษาสิทธิของผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน ได้แก่ สิทธิ

»

มี ร ายละเอี ย ดที่ ส ำคั ญ ประกอบการตั ด สิ น ใจอย่ า งครบถ้ ว น และเพี ย งพอระบุ ไ ว้ ใ นจดหมายเชิ ญ ประชุ ม ผู้ ถื อ หุ้ น เพื่ อ ประกอบการพิจารณาลงคะแนนแต่ละวาระการประชุม โดยวาระประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประกอบด้วย 1) วาระการแต่งตั้งกรรมการ ได้ให้ข้อมูลเบื้องต้นของผู้ได้รับ การเสนอแต่ ง ตั้ ง เกี่ ย วกั บ ชื่ อ อายุ ประเภทกรรมการ การศึ ก ษา ประสบการณ์ การดำรงตำแหน่ ง ในกิ จ การอื่ น จำนวนปี ที่ ด ำรงตำแหน่ ง และการเข้ า ร่ ว มประชุ ม ในฐานะ กรรมการชุดต่างๆ ในปีที่ผ่านมา ซึ่งข้อมูลได้ผ่านการพิจารณา จากคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่ า ตอบแทนและมี ความเห็นของคณะกรรมการบริษัทอย่างเพียงพอและชัดเจน 2) วาระการพิจารณาค่าตอบแทน ได้ให้ขอ้ มูลเกีย่ วกับนโยบาย จำนวนเงิ น และรู ป แบบค่ า ตอบแทนแยกตามตำแหน่ ง และ ภาระหน้ า ที่ ข องกรรมการ หลั ก เกณฑ์ แ ละวิ ธี ก ารพิ จ ารณา ค่าตอบแทน ซึ่งข้อมูลได้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการ สรรหาและกำหนดค่ า ตอบแทน และมี ค วามเห็ น ของ คณะกรรมการบริษัทอย่างเพียงพอและชัดเจน 3) วาระการแต่ ง ตั้ ง ผู้ ส อบบั ญ ชี ได้ ใ ห้ ข้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ ชื่อผู้สอบบัญชีและสำนักงานสอบบัญชี ความเป็นอิสระของ ผู้สอบบัญชี จำนวนปีที่ทำหน้าที่ให้บริษัท การพิจารณความ เหมาะสมของค่าสอบบัญชี ซึ่งข้อมูลต่างๆ ได้ผ่านการพิจารณา จากคณะกรรมการตรวจสอบ และมีความเห็นของคณะกรรมการ บริษัทอย่างเพียงพอและชัดเจน


4) วาระการจ่ า ยเงิ น ปั น ผล ได้ ใ ห้ ข้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ นโยบาย การจ่ า ยเงินปั นผล จำนวนเงิ นที่ขออนุมัติ เปรียบเทียบกับ จำนวนเงินที่จ่ายในปีก่อน และมีความเห็นของคณะกรรมการ บริษัทอย่างเพียงพอและชัดเจน

»

»

สำหรับการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นปี 2551 CPN ให้สิทธิผู้ถือหุ้น ส่วนน้อยสามารถเสนอวาระการประชุมผู้ถือหุ้น และเสนอชื่อ บุคคลเพื่อรับการพิจารณาเลือกตั้งเป็นกรรมการได้ล่วงหน้า ตั้ ง แต่ เ ดื อ นพฤศจิ ก ายน 2550 รวมถึ ง การให้ สิ ท ธิ ผู้ ถื อ หุ้ น สามารถส่งคำถามเกี่ยวกับวาระการประชุมได้ล่วงหน้าก่อน ถึ ง วั น ประชุ ม โดยส่ ง เอกสารถึ ง เลขานุ ก ารบริ ษั ท ทั้ ง นี้ รายละเอียดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การพิจารณาการเสนอวาระ การประชุมผู้ถือหุ้น และเสนอชื่อบุคคลเพื่อรับการพิจารณา เลือกตั้งเป็นกรรมการที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการ บริษัทสามารถดูได้จากเว็บไซต์ www.cpn.co.th กำหนดให้ มี ร ะยะเวลาการลงทะเบี ย นล่ ว งหน้ า ก่ อ นการ ประชุม 2 ชั่วโมง โดยได้นำระบบคอมพิวเตอร์และบาร์โค้ด มาใช้ในการลงทะเบียน และตรวจนับคะแนน เพื่อให้สามารถ ดำเนินการได้อย่างรวดเร็วและข้อมูลมีความถูกต้องเชื่อถือได้

»

ก่อนเริ่มการประชุมผู้ถือหุ้น เลขานุการบริษัทได้ชี้แจงวิธีการ ลงคะแนนและนั บ คะแนนตามเอกสารคำชี้ แ จงวิ ธี ก ารลง คะแนนเสียงในการประชุมผู้ถือหุ้น ซึ่งแจกให้แก่ผู้ถือหุ้นทุกคน ที่ ม าลงทะเบี ย น ในการสรุ ป ผลการนั บ คะแนนเสี ย งแต่ ล ะ วาระจะมีการแสดงผลคะแนนให้ผู้ถือหุ้นในที่ประชุมรับทราบ ทั้ ง นี้ จำนวนผู้ ถื อ หุ้ น ที่ ม าประชุ ม สามั ญ ผู้ ถื อ หุ้ น ปี 2551 คิดเป็นร้อยละ 81 ของจำนวนหุ้นทั้งหมดของบริษัท

»

ให้สิทธิผู้ถือหุ้นสามารถเข้าร่วมประชุมภายหลังจากเริ่มการ ประชุ ม ไปแล้ ว โดยมี สิ ท ธิ อ อกเสี ย งลงคะแนนในระเบี ย บ วาระ ที่ยังไม่ได้พิจารณาลงมติ

»

»

การปฏิบัติตอผูถือหุนอยางเทาเทียมกัน CPN คำนึงถึงความเท่าเทียมกันของผู้ถือหุ้นทุกราย ไม่ว่าจะเป็น ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้ถือหุ้นส่วนน้อย นักลงทุนสถาบัน หรือผู้ถือหุ้น ต่างชาติ โดย CPN มีการกำหนดหลักเกณฑ์และการปฏิบัติเกี่ยวกับ เรื่ อ งดั ง กล่ า วเพื่ อ ส่ ง เสริ ม ให้ เ กิ ด ความเท่ า เที ย มกั น อย่ า งแท้ จ ริ ง ดังนี้

»

กำหนดให้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมเป็นไปตามจำนวนหุ้น ที่ผู้ถือหุ้นถืออยู่ โดยหนึ่งหุ้นมีสิทธิเท่ากับหนึ่งเสียง

»

อำนวยความสะดวกให้ผู้ถือหุ้นที่ไม่สามารถเข้าร่วมประชุม ด้ ว ยตนเอง โดยการจั ด ส่ ง หนั ง สื อ มอบฉั น ทะ แบบ ข. ซึ่ ง ผูถ้ อื หุน้ สามารถกำหนดทิศทางการลงคะแนนได้ และรายละเอียด วิธีการมอบฉันทะในการประชุมผู้ถือหุ้นไปพร้อมกับหนังสือ เชิญประชุมผูถ้ อื หุน้ ส่วนหนังสือมอบฉันทะทัง้ แบบ ก. แบบ ข. และแบบ ค. ผู้ ถื อ หุ้ น สามารถดาวน์ โ หลดได้ จ ากเว็ บ ไซต์ www.cpn.co.th นอกจากนี้ CPN ยังมีรายชื่อพร้อมประวัติ ของกรรมการอิ ส ระ 3 คน ให้ ผู้ ถื อ หุ้ น สามารถเลื อ กเป็ น ผู้ รั บ มอบฉั น ทะไว้ ด้ ว ย โดยในการประชุ ม ผู้ ถื อ หุ้ น ปี 2551 มีผู้ถือหุ้น จำนวน 83 ราย มอบอำนาจให้กรรมการอิสระ เป็นผู้รับมอบอำนาจให้ออกเสียงแทน

»

จั ด ทำจดหมายเชิ ญ ประชุ ม ผู้ ถื อ หุ้ น ทั้ ง ภาษาไทยและภาษา อังกฤษ โดยในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2551 CPN ได้เผยแพร่จดหมายเชิญประชุมผู้ถือหุ้นบนเว็บไซต์ CPN ตั้งแต่ วันที่ 25 มีนาคม 2551 ล่วงหน้าก่อนวันประชุม 30 วัน เพื่อ ให้ผถู้ อื หุน้ ได้มโี อกาสศึกษาข้อมูลอย่างเพียงพอ โดยในจดหมาย เชิ ญ ประชุ ม บริ ษั ท มี ก ารชี้ แจ้ ง ข้ อ เท็ จ จริ ง และเหตุ ผ ล และ ความเห็นของกรรมการไว้ทุกวาระการประชุม โดยไม่มีการ แจกเอกสารที่ มี ข้ อ มู ล สำคั ญ ในที่ ป ระชุ ม ผู้ ถื อ หุ้ น อย่ า ง กะทันหัน ไม่เพิ่มวาระการประชุมหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่ สำคัญโดยไม่แจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้า

»

นำบั ต รลงคะแนนมาใช้ ใ นการลงมติ ใ นการประชุ ม ผู้ ถื อ หุ้ น โดยจั ด ทำบั ต รลงคะแนนแยกตามวาระแต่ ล ะวาระ เพื่ อ ให้ ผู้ถือหุ้นสามารถลงคะแนนได้ตามที่เห็นสมควร

ให้สิทธิผู้ถือหุ้นสามารถส่งข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ หรือข้อ ร้ อ งเรี ย นต่ า งๆ ได้ ทั้ ง ทางเว็ บ ไซต์ ทางอี เ มล์ ข องสำนั ก เลขานุ ก ารบริ ษั ท ทางโทรศั พ ท์ และทางไปรษณี ย์ เพื่ อ นำ ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะมาพัฒนาปรับปรุงให้สอดคล้อง กับความต้องการและความพึงพอใจของผู้ถือหุ้น ทั้งนี้ช่องทาง ในการติดต่อเลขานุการบริษัทมีรายละเอียดดังนี้ เลขานุ ก ารบริ ษั ท บริ ษั ท เซ็ น ทรั ล พั ฒ นา จำกั ด (มหาชน) ชั้ น 31 อาคารดิ อ อฟฟิ ศ เศส แอท เซ็ น ทรั ล เวิ ล ด์ เลขที่ 999/9 ถนนพระราม 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 ประเทศไทย โทรศัพท์ : + 66 (0) 2667-5555 ต่อ 1665 หรือ 1678 อีเมลล์ : co.secretary@cpn.co.th

ในการประชุ ม ผู้ ถื อ หุ้ น ได้ เ ปิ ด โอกาสให้ ผู้ ถื อ หุ้ น แสดงความ คิดเห็นและซักถามอย่างเต็มที่ โดยมีประธานกรรมการบริษัท ประธานกรรมการตรวจสอบ ประธานกรรมการสรรหาและ กำหนดค่าตอบแทน กรรมการผู้จัดการใหญ่ เข้าร่วมประชุม เพื่ อ ตอบข้ อ ซั ก ถามในทุ ก ประเด็ น อย่ า งชั ด เจนจนเป็ น ที่ พอใจของผู้ถือหุ้น


58 .59

» »

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป

2551

มีระเบียบภายในเรือ่ งการป้องกันการใช้ขอ้ มูลภายในโดยมิชอบ และมี ก ารป้ อ งกั น ไม่ ใ ห้ เ กิ ด ความขั ด แย้ ง ทางผลประโยชน์ รายละเอี ย ดเปิ ด เผยไว้ ในหัวข้อ เรื่องการดูแลการใช้ข้ อ มู ล ภายใน หน้า 62 ในการทำรายการที่ เ กี่ ย วโยงกั น มี ก ารกำกั บ ดู แ ลให้ ป ฏิ บั ติ ตามขั้นตอนการอนุมัติอย่างเคร่งครัด และมีการพิจารณาถึง ประโยชน์ สู ง สุ ด ของ CPN เป็ น สำคั ญ โดยจะนำเสนอ รายละเอี ย ดของรายการที่ อ าจเกิ ด ความขั ด แย้ ง ทางผล ประโยชน์ให้คณะกรรมการตรวจสอบพิจารณาให้ความเห็น ก่อนนำเสนอขออนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท และผู้ถือหุ้น (กรณีถึงเกณฑ์) ทุกครั้งและมีการเปิดเผยสารสนเทศที่สำคัญ อย่างครบถ้วนและเป็นไปตามกฎระเบียบข้อบังคับที่กำหนด

การคำนึงถึงบทบาทของผูมีสวนไดเสีย CPN ให้ความสำคัญต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่างๆ โดยยึดหลัก ผลประโยชน์ของทุกฝ่ายร่วมกันอย่างยั่งยืน ดังนี้ พนักงาน : CPN มุ่ ง พั ฒ นาเสริ ม สร้ า งวั ฒ นธรรม และบรรยากาศที่ ดี ใ นการ ทำงาน ดูแลสภาพแวดล้อมในการทำงานให้มีความปลอดภัยใน ชี วิ ต และทรั พ ย์ สิ น มี ก ารตรวจสอบความปลอดภั ย ของสถานที่ ทำงานอย่างสม่ำเสมอ จัดอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยต่างๆ ให้แก่ พนั ก งาน และดู แ ลให้ พ นั ก งานสามารถใช้ ง านได้ อ ย่ า งถู ก วิ ธี ยึดมั่นปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยแรงงาน ปฏิบัติต่อพนักงานด้วย ความเท่า เที ย มและเป็ น ธรรม สนับ สนุนให้ มีก ารทำงานเป็นทีม ส่ ง เสริ ม ให้ พ นั ก งานได้ รั บ การฝึ ก อบรมพั ฒ นาความรู้ อ ย่ า ง สม่ำเสมอ มีการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดี ระหว่ า งกั น ให้ แ ก่ ผู้ บ ริ ห ารและพนั ก งาน มี ก ารจ่ า ยค่ า จ้ า งและ สวั ส ดิ ก ารที่ เ หมาะสมสอดคล้ อ งกั บ ผลการดำเนิ น งานและ สภาวะเศรษฐกิ จ การว่ า จ้า ง โดยสามารถดู รายละเอีย ดได้หัว ข้ อ เรื่ อ งการบริห ารทรั พ ยากรมนุษ ย์ หน้า 54 นอกจากนี้ CPN ได้มี การกำหนดการให้ สิ ท ธิ คุ้ ม ครองพนั ก งานและลู ก จ้ า งในกรณี ที่ แจ้ ง เบาะแสหรื อ ข้ อ ร้ อ งเรี ย นที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การฝ่ า ฝื น หรื อ ไม่ ปฏิ บั ติ ต ามกฎหมาย ระเบี ย บข้ อ บั ง คั บ หรื อ จรรณยาบรรณทาง ธุรกิจไว้ในนโยบายการกำกับดูแลกิจการของ CPN เจ้ า หนี้ :

CPN ชำระคืนเงินกู้และดอกเบี้ยให้กับเจ้าหนี้เงินกู้ยืมทุกประเภท อย่ า งถู ก ต้ อ งครบถ้ว นตามกำหนดเวลา และปฏิบัติต ามเงื่อ นไข การกู้ยืมเงินและข้อตกลงต่างๆ อย่างครบถ้วน โดยไม่ใช้เงินไป ในทางที่ ขั ด ต่ อ วั ต ถุ ป ระสงค์ ใ นการกู้ ยื ม ตลอดระยะเวลาการ

ดำเนินธุรกิจของ CPN ทั้งนี้ ในปี 2551 CPN ไม่ได้รับการร้องเรียน จากเจ้าหนี้แต่อย่างใด คู่ค้า :

CPN มี ขั้ น ตอนการประมู ล งาน การต่ อ รองราคา การคั ด เลื อ ก ผู้รับเหมา/ผู้ขายสินค้า/ผู้ให้บริการ และการเข้าทำสัญญาว่าจ้าง/ สัญญาซื้อ ขายสินค้ า/สัญญาบริการ ที่โ ปร่ งใสและตรงไปตรงมา และปฏิบัติต่อคู่ค้าทุกรายอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม ทุกลำดับ ขั้นตอนจะมีคณะกรรมการเข้าร่วมพิจารณาทุกครั้ง ทั้งนี้ ในปี 2551 CPN ไม่ได้รับการร้องเรียนจากคู่ค้าแต่อย่างใด ร้านค้าและลูกค้า :

CPN มีการปรับปรุงพัฒนากระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพ จัดให้มีกิจกรรม และบริการใหม่ๆ เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ อันดี ความพึงพอใจ ตลอดจนสร้างสรรค์ประสบการณ์ใหม่ๆ ที่ น่าประทับใจให้แก่ลูกค้า และแสดงถึงเจตนารมณ์อันแน่วแน่ของ CPN ในการเป็นส่วนหนึ่งของการร่วมคิดร่วมทำ ตลอดจนส่งเสริม และพัฒนาธุรกิจร่วมกันกับลูกค้าเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายความสำเร็จ ในการเติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืน โดยกิจกรรมที่ CPN ดำเนินการ มีดังนี้ 1. การจัดโครงการอบรมหลักสูตร CPN Retail Management Program รุ่ น ที่ 2 โดยความร่ ว มมื อ ระหว่ า ง CPN และ ศูนย์บริการวิชาการและฝึกอบรม คณะพาณิชยศาสตร์ และ การบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นโครงการที่มุ่งเน้น การพั ฒ นาเจ้ า ของร้ า นค้ า และผู้ บ ริ ห ารระดั บ สู ง ของ CPN ให้ เ ติ บ โตไปพร้ อ มกั น กั บ CPN อย่ า งยั่ ง ยื น โดยหลั ก สู ต ร การอบรมประกอบด้ ว ยหลั ก การบริ ห ารจั ด การด้ า นต่ า งๆ ที่จำเป็นในการประกอบธุรกิจศูนย์การค้าและธุรกิจค้าปลีก 2. การดำเนินการภายใต้โ ครงการ World Class Service ซึ่งมี วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ สร้ า งความสั ม พั น ธ์ อั น ดี กั บ ร้ า นค้ า การพัฒนาและยกระดับการบริหารจัดการและการให้บริการ ร้านค้าให้ได้ม าตรฐานระดับโลก โดยกิจกรรมต่างๆ อยู่ใ น ความดูแลของสำนักส่งเสริมและกำกับดูแลมาตรฐาน (สสม.) ทั้ ง นี้ กิ จ กรรมที่ สสม. ดำเนิ น การ ได้ แ ก่ การปรั บ ปรุ ง นโยบาย กระบวนการทำงาน และแบบฟอร์ ม ต่ า งๆ ที่ เกี่ ย วข้ อ งกั บ ลู ก ค้ า ให้ เ ป็ น มาตรฐานเดี ย วกั น ในทุ ก สาขา การปรั บ ปรุ ง พื้ น ที่ ต้ อ นรั บ ด้ า นหน้ า ของสำนั ก งานแต่ ล ะ สาขา การประชาสัม พันธ์บริการต่างๆ ที่ CPN มี บริ การให้ กั บ ลู ก ค้ า การพั ฒ นาบุ ค ลากรที่ ใ ห้ บ ริ ก ารลู ก ค้ า และมี ก าร ประเมินผลการให้บริการของเจ้าหน้าที่ การเดินเยี่ยมร้านค้า ของเจ้าหน้าที่ร้านค้ าสัม พั นธ์เพื่อ รับงานบริ การ รับปัญ หา และข้อร้องเรียนต่างๆ จากร้านค้า วันละ 1 ครั้ง เป็นต้น


3. การวางแผนการให้ บ ริ ก ารร่ ว มกั บ ผู้ เช่ า โดยแผนกส่ ง เสริ ม การขายและแผนกร้ า นค้ า สั ม พั น ธ์ ไ ด้ ใ ห้ ค วามช่ ว ยเหลื อ ผู้ เช่ า ในด้ า นการจั ด กิ จ กรรมการเปิ ด ตั ว ร้ า นค้ า การเปิ ด ตั ว สินค้าใหม่ การเชื่อมพันธมิตร การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย ของร้ า นค้า ร่วมกันกับ ศู นย์ ก ารค้า เพื่อให้ช่ วยเสริม สร้างให้ ผู้เช่ามีความพร้อมในการดำเนินธุรกิจ 4. การจั ด ทำแบบสอบถามความพึ ง พอใจด้ า นบริ ก ารร้ า นค้ า อย่างต่อเนื่อง เพื่อทราบความต้องการของร้านค้าอย่างแท้จริง และนำมาปรั บ ปรุ ง การทำงานเพื่ อ การให้ บ ริ ก ารที่ เ ป็ น เลิ ศ ของ CPN 5. การจั ด ทำวารสาร Connection แจกให้ แ ก่ ร้ า นค้ า และลู ก ค้ า ซึ่ ง เนื้ อ หาในวารสารเป็ น ข้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ ความเคลื่ อ นไหว ด้านต่างๆ ของ CPN เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการใหม่ของ CPN ข้ อ มู ล ร้ า นค้ า ใหม่ แ ละการจั ด กิ จ กรรมในศู น ย์ ก ารค้ า ต่ า งๆ รวมทั้งเกร็ดความรู้ที่เป็นประโยชน์อื่นๆ 6. การมีช่องทางการติดต่อสื่อสาร เพื่อให้ลูกค้าสามารถรับทราบ ข้อมูลต่างๆ ติดต่อธุรกิจ และแจ้งข้อร้องเรียนได้หลายช่องทาง เช่น ติดต่อโดยตรงกับเจ้าหน้าที่ร้านค้าสัมพันธ์แต่ละสาขา ตู้ I - Box เว็ บ ไซต์ ข องบริ ษั ท หรื อ CPN Call Center 0 - 2635 -1111 เป็นต้น คู่แข่ง : CPN ดำเนินธุรกิจโดยยึดหลักปฏิบัติต่อคู่แข่งอย่างเป็น ธรรม โดยไม่แสวงหาข้อมูลที่เป็นความลับทางการค้าของคู่แข่ง ด้วยวิธีการที่ไม่สุจริตหรือไม่เหมาะสม ไม่กระทำการใดๆ ที่เป็น การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น หรือคู่แข่งทางการค้า โดย ประพฤติปฏิบัติภายใต้กรอบกติกาของการแข่งขันที่ดี ไม่ทำลาย ชื่อเสียงของคู่แข่งทางการค้าด้วยการกล่าวหาบริษัทที่เป็นคู่แข่ง ทางการค้าด้วยความไม่สุจริต และปราศจากข้อมูลความจริง ทั้งนี้ ในปี ที่ ผ่ า นมา บริ ษั ท ไม่ มี ข้ อ พิ พ าทใดๆ ในเรื่ อ งเกี่ ย วกั บ คู่ แข่ ง ทางการค้า ชุมชนและสังคม : CPN ดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงบุคคลในชุมชน และสั ง คม เพื่ อ ให้ เ กิ ด การพั ฒ นาและเติ บ โตไปพร้ อ มกั น อย่ า ง ยั่งยืนและเข้มแข็ง โดยมีการจัดกิจกรรมเพื่อชุมชนและสังคมอย่าง ต่อเนื่อง ซึ่งกิจกรรมที่ CPN ได้ดำเนินการในปี 2551 มีดังนี้ 1. การสนับสนุนโครงการสาธารณกุศล ได้แก่ การร่วมบริจาค โลหิ ต ถวายเป็ น พระราชกุ ศ ลแก่ ส มเด็ จ พระพี่ น างเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นต้น 2. การสนับสนุนโครงการเกี่ยวกับการศึกษา ได้แก่ การจัดตั้ง โครงการ “CPN เพาะกล้า ปัญญาไทย” เพื่อสนับสนุนชุมชน ด้อยโอกาสด้านการศึกษา มีการสร้างศูนย์การเรียนรู้ในชุมชน สร้างห้องสมุดสำหรับโรงเรียนที่ขาดแคลน โครงการบริจาค

ห้ อ งคอมพิ ว เตอร์ พ ร้ อ มทั้ ง คอมพิ ว เตอร์ ใ ห้ แ ก่ เ ด็ ก ด้ อ ย โอกาส เป็นต้น 3. การจัดกิจกรรมเพื่อสนับสนุนชุมชนและสังคม ได้แก่ การจัด ฝึ ก อบรมให้ ค วามรู้ เ กี่ ย วกั บ การดั บ เพลิ ง ขั้ น ต้ น แก่ ชุ ม ชน รอบข้างศูนย์การค้าในแต่ละแห่งของ CPN การจัดกิจกรรม ให้ ค วามรู้ เ กี่ ย วกั บ เครื่ อ งจั ก รอุ ป กรณ์ แ ละงานระบบ แก่ สถาบันการศึกษาต่างๆ ในชุมชนใกล้เคียง เป็นต้น 4. การจัดกิจกรรมของกลุม่ CPN อาสา เพือ่ เปิดโอกาสให้พนักงาน ได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมเพื่อชุมชนและสังคม รวมถึง การอนุ รั ก ษ์ ท รั พ ยากรธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ ม อาทิ เช่ น การจัดผ้าป่าพลังงาน โดยมีการจัดกิจกรรมเก็บขยะบริเวณ ชายหาดพั ท ยา การบริ จ าคของใช้ แ ละเครื่ อ งนุ่ ง ห่ ม ให้ แ ก่ สถานสงเคราะห์เด็กชายบ้านบางละมุง จังหวัดชลบุรี การนำ เงิ น ที่ พ นั ก งานร่ ว มกั น บริ จ าคไปซื้ อ หลอดไฟประหยั ด พลังงาน และทาสีให้กับวัดใหม่สำราญ เกาะล้าน เมืองพัทยา เป็ นต้ น สิ่ ง แวดล้ อ ม : CPN มี ค วามมุ่ ง มั่ น และใส่ ใจที่ จ ะปฏิ บั ติ ต ามข้ อ กำหนดกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับด้านสิ่งแวดล้อม CPN จึงได้ กำหนดนโยบายในการพัฒนาระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ตาม มาตรฐาน ISO14001:2004 ซึ่งในระหว่างปี 2551 ได้เริ่มดำเนินการ พัฒนาระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมที่สาขาปิ่นเกล้าและสาขา บางนาเป็นสาขานำร่อง โดยมีแผนที่จะขอการรับรองระบบการ จัดการสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐาน ISO14001:2004 ในปี 2552 และขั้ น ตอนต่ อ ไปจะขยายผลระบบการจั ด การด้ า นสิ่ ง แวดล้ อม ไปยังสาขาต่างๆ โดยมีเป้าหมายให้ทุกสาขาภายใต้การบริหารงาน ของ CPN มี ร ะบบการจั ด การสิ่ ง แวดล้ อ มที่ ไ ด้ ม าตรฐานสากล นอกจากนี้ CPN มี ค วามมุ่งมั่นพั ฒนามาตรการอนุรักษ์และใช้ พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน โดยคำนึงถึง เรื่องการประหยัดพลังงานตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ การติดตั้ง อุปกรณ์งานระบบ และการดำเนินงาน

การเปดเผยขอมูลและความโปรงใส CPN ให้ความสำคัญกับการเปิดเผยข้อมูลทางการเงิน และสารสนเทศ อื่นๆ ต่อสาธารณะผ่านช่องทางต่างๆ โดยคำนึงถึงความถูกต้อง ความเพียงพอ ความทันต่อเวลา และความเท่าเทียมกันในการ ให้ข้อมูลแก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นหลักการที่ CPN ถือปฏิบัติ มาโดยตลอด และเชื่อมั่นว่าเป็นปัจจัยหลักต่อความไว้วางใจของ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะช่วยสนับสนุนมูลค่าเพิ่มให้แก่บริษัทใน ระยะยาว ทั้งนี้ การดำเนินการของ CPN มีดังนี้

»

เปิดเผยข้อมูลบริษัทที่สำคัญ อาทิ การประกอบธุรกิจ ปัจจัย ความเสี่ยง โครงสร้างเงินทุนและการจัดการ การทำรายการ


60 .61

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป

2551

ระหว่างกัน การดูแลการใช้ข้อมูลภายใน นโยบายการซื้อขาย หุ้ น ของบริ ษั ท ข้ อ มู ล ทางการเงิ น ไว้ อ ย่ า งครบถ้ ว นและ เพียงพอในแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) และรายงานประจำปี (แบบ 56-2)

»

»

จั ด ให้ มี ช่ อ งทางเพิ่ ม เติ ม เพื่ อ ให้ นั ก ลงทุ น และผู้ ที่ ส นใจ สามารถศึ ก ษาข้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ บริ ษั ท ได้ ผ่ า นทางเว็ บ ไซต์ www.cpn.co.th ในหัวข้อ “ข้อมูลนักลงทุน” ซึ่งได้เปิดเผย ข้อมูลที่สำคัญต่างๆ อาทิ ข้อมูลทางการเงิน คำอธิบายและ การวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ (MD&A) โครงสร้างการถือหุ้น การกำกับดูแลกิจการ ข้อมูลเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของ บริษัท สารสนเทศต่างๆ ที่แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ ไทย ( ELCID ) รายงานประจำปี แบบแสดงรายการข้ อ มู ล ประจำปี หนั ง สื อ เชิญประชุมผู้ ถือหุ้น รายงานการประชุม ผู้ถือหุ้น เอกสารสื่อนักลงทุนสัมพันธ์ (Newsletter) เอกสาร ข่าวและภาพข่าว (Press Release) เอกสารที่ผู้บริหารระดับสูง นำเสนอระหว่างการพบปะนักลงทุน (Roadshow) ทั้งในและ ต่างประเทศ ซึ่งได้จัดทำทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และ มีการปรับปรุงข้อมูลให้ทันต่อเหตุการณ์อยู่เสมอ จั ด ตั้ ง หน่ ว ยงานนั ก ลงทุ น สั ม พั น ธ์ เ พื่ อ รั บ ผิ ด ชอบในการ ติ ด ต่ อ สื่ อ สารและบริ ห ารความสั ม พั น ธ์ กั บ นั ก ลงทุ น นักวิเคราะห์ ผู้ถือหุ้นและบุคคลทั่วไป โดยการดำเนินงานของ ส่วนงานนักลงทุนสัมพันธ์ในปี 2551 ผู้บริหารและส่วนงาน นั ก ลงทุ น สั ม พั น ธ์ ไ ด้ ด ำเนิ น กิ จ กรรมนั ก ลงทุ น สั ม พั น ธ์ ใ น รู ป แบบต่ า งๆ เป็ น จำนวนทั้ ง สิ้ น 278 ครั้ ง และได้ มี ก าร สื่อสารเพื่อให้ข้อมูลแก่นักลงทุนและบุคคลทั่วไป เป็นจำนวน รวม 629 คน จากกิ จ กรรมนั ก ลงทุ น สั ม พั น ธ์ ใ นปี 2551 ดังต่อไปนี้ 1) การจั ด กิ จ กรรมบริ ษั ท จดทะเบี ย นพบนั ก ลงทุ น ร่ ว มกั บ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (Opportunity Day) ไตรมาส ละ 1 ครั้ง เพื่อแถลงผลการดำเนินงานรายไตรมาส ซึ่งเป็น การพบปะนักลงทุนรายย่อยและบุคคลทั่วไปที่ให้ความสนใจ ในผลการดำเนินงานของบริษทั จำนวน 80 - 120 คนต่อไตรมาส โดยมี ก ารบั น ทึ ก ภาพและเสี ย งของผู้ บ ริ ห ารผ่ า น Webcast เป็ น ภาษาไทยและจั ด ทำเอกสารคำแปลเป็นภาษาอังกฤษ และเผยแพร่ในเว็บไซต์ของบริษัทภายหลังการประชุมเพือ่ ให้ นักลงทุนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติไ ด้ รั บ ทราบการแถลง ผลการดำเนินงานของบริษัทรายไตรมาสอย่างทั่วถึง 2) การเข้ า พบผู้ บ ริ ห ารและเจ้ า หน้ า ที่ นั ก ลงทุ น สั ม พั น ธ์ โ ดย การนั ด หมายจากนั ก ลงทุ น และนั ก วิ เ คราะห์ ห ลั ก ทรั พ ย์ เพื่อสอบถามข้อมูลบริษัท (Company Visit) จำนวน 127 ครั้ง

3) การเดินทางพบปะนักลงทุน (Roadshow) โดยผู้บริหาร ระดับสูงและนักลงทุนสัมพันธ์ จำนวนทั้งสิ้น 9 ครั้ง โดยแบ่ง เป็นในประเทศจำนวน 4 ครั้ง และต่างประเทศ จำนวน 5 ครั้ ง ซึ่งประกอบด้ว ยประเทศฮ่อ งกง สิ งคโปร์ สหราชอาณาจักร และสหรั ฐ อเมริ ก า ซึ่ ง ได้ มี ก ารประชุ ม พบปะนั ก ลงทุ น รวม ทั้งสิ้น 140 การประชุม 4) การเยี่ยมชมโครงการโดยการนัดหมายจากนักลงทุนและ นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ (Site Visit) จำนวน 3 ครั้ง 5) การประชุมทางโทรศัพท์จากนักลงทุน (Conference call) จำนวน 4 ครั้ง 6) ก า ร สื่ อ ส า ร ข้ อ มู ล ผ่ า น ท า ง อี เ ม ล ล์ แ ล ะ โ ท ร ศั พ ท์ จำนวน 3 – 5 ครั้งต่อวัน ทั้ ง นี้ CPN มี ค วามมุ่ ง หวั ง ว่ า ส่ ว นงานนั ก ลงทุ น สั ม พั น ธ์ จ ะเป็ น สื่ อ กลางสำคั ญ ในการให้ ข้ อ มู ล ชี้ แจง ตอบข้ อ ซั ก ถาม รวมถึ ง การรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ถือหุ้นและนักลงทุน อย่างสม่ำเสมอและมีประสิทธิภาพ โดยผู้ถือหุ้น นักลงทุนและผู้ที่ สนใจสามารถติดต่อเพื่อขอรับทราบข้อมูลของบริษัทเพิ่มเติมได้ที่ คุณเชิญพร สุภธีระ ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ชั้น 31 อาคารดิออฟฟิศเศส แอท เซ็นทรัลเวิลด์ เลขที่ 999/9 ถนนพระราม 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 ประเทศไทย โทรศัพท์: + 66 (0) 2667 - 5555 ต่อ 1614 หรือ 1669 โทรสาร: + 66 (0) 2264 - 5593 อีเมลล์: ir@cpn.co.th

ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ คณะกรรมการ CPN ให้ ค วามสำคั ญ กั บ บทบาทหน้ า ที่ ข อง คณะกรรมการในการชี้แนะทิศทางการดำเนินงานของบริษัท การ ติดตามกำกับดูแลการทำงานของฝ่ายจัดการ และมีความรับผิดชอบ ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการที่มีต่อบริษัทและผู้ถือหุ้น อย่างเต็มความสามารถดังนี้

»

คณะกรรมการได้ ก ำหนดให้ มี ห ลั ก บรรษั ท ภิ บ าลในการ ดำเนินธุรกิจ และจรรยาบรรณสำหรับกรรมการ ผู้บริหารและ พนักงานตั้งแต่ปี 2544 ซึ่งได้มีการปรับปรุงแก้ไขครั้งล่าสุด ในปี 2550 และกำหนดให้มีนโยบายกำกับดูแลกิจการตั้งแต่ ปี 2547 ซึ่งคณะกรรมการบริษัทได้พิจารณาปรับปรุง แก้ไข นโยบายกำกั บ ดู แ ลกิ จ การให้ เ ป็ น ปั จ จุ บั น และเป็ น ไปตาม แนวทางการกำกับดูแลกิจการที่ดีล่าสุดเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2551 ที่ ผ่ า นมา โดยเผยแพร่ น โยบายดั ง กล่ า วผ่ า นเว็ บ ไซต์


ของบริษั ท ที่ www.cpn.co.th และกำหนดให้ ต้อ งมีการให้ ความรู้เกี่ยวกับจรรยาบรรณของบริษัท และนโยบายการกำกับ ดู แ ลกิ จ การแก่ พ นั ก งานใหม่ ทุ ก คนทราบและนำไปปฏิ บั ติ อย่างทัว่ ถึง นอกจากนีค้ ณะกรรมการยังสนับสนุนการดำเนินการ ด้ า นการกำกั บ ดู แ ลกิ จ การที่ ดี ใ ห้ มี ก ารสื่ อ สารไปสู่ ทุ ก คน ทั่ ว ทั้ ง องค์ ก รให้ ไ ด้ รั บ ทราบและยึ ด ถื อ ปฏิ บั ติ อ ย่ า งจริ ง จั ง และเกิดผลเป็นรูปธรรมอย่างสม่ำเสมอ

»

คณะกรรมการบริษัทได้แต่งตั้งเลขานุการบริษัท และได้จัดตั้ง สำนั ก เลขานุ ก ารบริ ษั ท เพื่ อ ดู แ ลและดำเนิ น การงานด้ า น เลขานุ ก ารบริ ษั ท ให้ เ ป็ น ไปอย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพและ ประสิ ท ธิ ผ ลตามหน้ า ที่ ค วามรั บ ผิ ด ชอบที่ ก ำหนดไว้ ใ น พระราชบั ญ ญั ติ ห ลั ก ทรั พ ย์ แ ละตลาดหลั ก ทรั พ ย์ ฉ บั บ พ.ศ. 2551

»

ในรอบระยะเวลา 5 ปี ที่ ผ่ า นมา CPN ยั ง ไม่ มี ก ารแต่ ง ตั้ ง กรรมการใหม่ เนื่ องจากกรรมการที่ครบวาระต้อ งออกจาก การเป็นกรรมการได้รับการอนุมัติแต่งตั้งจากผู้ถือหุ้นให้กลับ เข้ า มาดำรงตำแหน่ ง กรรมการบริ ษั ท ต่ อ ไป ดั ง นั้ น จึ ง ไม่ มี การปฐมนิ เ ทศกรรมการใหม่ แต่ อ ย่ า งไรก็ ต ามได้ มี ก าร กำหนดแนวทางปฏิบัติไว้ คือ เมื่อมีกรรมการที่เข้ารับตำแหน่ง ใน CPN เป็ น ครั้ ง แรกทางเลขานุ ก ารบริ ษั ท มี ห น้ า ที่ น ำส่ ง ข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับธุรกิจของ CPN ผลการดำเนินงาน และ หน้า ที่ ค วามรั บ ผิ ด ชอบในฐานะกรรมการที่ ค วรทราบอย่ า ง ครบถ้วนแก่กรรมการทันทีที่เข้ารับตำแหน่ง

»

คณะกรรมการร่วมกันกำหนดวันประชุมคณะกรรมการล่วงหน้า ไว้ ทั้ ง ปี อย่ า งน้ อ ยปี ล ะ 4 ครั้ ง โดยมี ก ารกำหนดวาระการ ประชุ ม ในแต่ ล ะครั้ ง ไว้ อ ย่ า งชั ด เจน ทั้ ง นี้ หากมี ว าระการ ประชุมนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และ คณะกรรมการบริ ห ารจะร่ ว มกั น พิ จ ารณาตามความจำเป็ น และสมควร สำหรั บ เอกสารประกอบการประชุม ที่ส ามารถ เปิ ด เผยเป็นลายลัก ษณ์ อัก ษรแล้ วไม่ส่ งผลกระทบต่ อ บริษัท ทางเลขานุการบริษัทจะจัดส่งให้กรรมการได้มีเวลาพิจารณา ล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน ในระหว่างการประชุมประธานใน ที่ประชุมมีการสนับสนุนให้กรรมการทุกท่านได้แสดงความ คิดเห็นอย่างสร้างสรรค์และเป็นอิสระ มีการใช้ดุลยพินิจอย่าง รอบคอบ ทัง้ นี้ เลขานุการบริษทั จะเข้าร่วมประชุมและจดบันทึก รายงานการประชุมทุก ครั้ ง ข้อมู ล หรื อเอกสารเกี่ ยวกับการ ประชุมมีการเก็บไว้อย่างครบถ้วนในที่ปลอดภัย โดยในปี 2551 มี ก ารประชุ ม คณะกรรมการบริ ษั ท รวม 7 ครั้ ง ซึ่ ง ในเดื อ น พฤศจิก ายน 2551 ได้ มีก ารจัด ประชุมคณะกรรมการสั ญ จร ที่ เ มื อ งพั ท ยา จั ง หวั ด ชลบุ รี และคณะกรรมการได้ มี โ อกาส

เยี่ยมชมความคืบหน้าการก่อสร้างโครงการระหว่างก่อสร้าง 2 แห่ ง คื อ โครงการเซ็ น ทรั ล เฟสติ วั ล พั ท ยา บี ช และ โครงการเซ็นทรัลพลาซา ชลบุรี รวมทั้งได้สำรวจสภาพการ แข่งขันในบริเวณใกล้เคียงด้วย

»

คณะกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหารมีการประชุมร่วมกันอย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง ซึ่งในปี 2551 ได้จัดประชุมในเดือนกรกฎาคม และได้มีการสรุปประเด็นการพิจารณาและข้อเสนอแนะที่เป็น ประโยชน์ต่อคณะกรรมการและฝ่ายบริหารได้รับทราบเพื่อ นำไปดำเนินการแก้ไขปรับปรุงต่อไป

»

คณะกรรมการบริษัทมีการประเมินผลการปฏิบัติงานทั้งคณะ ทุ ก ครั้ ง ที่ ป ระชุ ม คณะกรรมการบริ ษั ท เพื่ อ นำผลที่ ไ ด้ จ าก การประเมิ น มาปรั บ ปรุ ง พั ฒ นาการปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ก รรมการ ให้ดี ยิ่งขึ้น และมีการประเมินผลการปฏิบัติงานตนเองของ คณะกรรมการบริ ษั ท เป็ น ประจำทุ ก ปี ซึ่ ง คะแนนประเมิ น ตนเองของคณะกรรมการบริษัทโดยรวมในปี 2551 ได้คะแนน เฉลี่ยร้อยละ 93.36 โดยเรียงลำดับแต่ละหมวดตามคะแนน ประเมินจากมากไปน้อยได้ดังนี้ 1) ความสัมพันธ์กับฝ่ายจัดการ 2) การประชุมคณะกรรมการ 3) การทำหน้าที่ของกรรมการ 4) บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการ 5) การพั ฒ นาตนเองของกรรมการและการพั ฒ นาผู้ บ ริ ห าร 6) โครงสร้ างและคุณสมบัติข องคณะกรรมการ นอกจากนี้ ยั ง มี ก ารสรุ ป แนวทางการดำเนิ น งานของ คณะกรรมการและการประเมิ น สถานการณ์ ใ นการดำเนิ น ธุ ร กิ จ ของบริ ษั ท ในปี ต่ อ ไปว่ า ควรมุ่ ง เน้ น เรื่ อ งใดเป็ น กรณี พิเศษ โดยมีการนำเสนอให้กรรมการทุกท่านรับทราบ เพื่อ เป็ น แนวทางในการปฏิ บั ติ ง านอย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ ประสิทธิผล และเป็นการเตรียมความพร้อ มในการป้ องกัน ปัญหาและความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในการดำเนินธุรกิจ ได้อย่างทันท่วงที

»

สำหรับการประเมินผลการปฏิบตั งิ านของกรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ เป็ นหน้าที่ค วามรั บผิ ดชอบของคณะกรรมการบริห าร และ กำหนดให้ มี ก ารนำเสนอผลการประเมิ น ต่ อ คณะกรรมการ สรรหาและกำหนดค่าตอบแทน และคณะกรรมการบริษัทเพื่อ รับทราบเป็นประจำทุกปี

»

คณะกรรมการได้ ดู แ ลให้ มี ก ารดำเนิ น กิ จ กรรมต่ า งๆ ตาม กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะ อย่ า งยิ่ ง ในปี 2551 ที่ ไ ด้ มี ก ารประกาศใช้ พ ระราชบั ญ ญั ติ หลักทรั พย์ แ ละตลาดหลักทรัพย์ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2551 นั้น คณะกรรมการ CPN ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยมี


62 .63

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป

2551

การนำประเด็ น ข้ อ เปลี่ ย นแปลงในกฎหมายมาพิ จ ารณาใน การประชุมคณะกรรมการบริษัทเพื่อให้กรรมการได้ทราบถึง บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบในฐานะกรรมการบริษัท ตามกฎหมายใหม่ และการดำเนินการด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อย่ า งจริ ง จั ง เช่ น มี ก ารกำหนดนโยบายเงื่ อ นไขปกติ ธุ ร กิ จ ของบริษทั และนโยบายการทำรายการทีเ่ กีย่ วโยงกัน เป็นต้น

»

»

คณะกรรมการได้ จั ด ให้ มี ม าตรการเพื่ อ ดู แ ลอย่ า งรอบคอบ เมื่อเกิดรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ มีการ กำหนดนโยบายและขั้ น ตอนการอนุ มั ติ ร ายการที่ เ กี่ ย วโยง กั น ไว้ อ ย่ า งชั ด เจน และถื อ ปฏิ บั ติ อ ย่ า งเคร่ ง ครั ด โดย คณะกรรมการตรวจสอบจะสอบทานและให้ ค วามเห็ น ต่ อ การทำรายการระหว่ า งกั น ที่ มี นั ย สำคั ญ ซึ่ ง ไม่ อ ยู่ ใ นอำนาจ การพิ จ ารณาของคณะกรรมการจั ด การและคณะกรรมการ บริ ษั ท ได้ พิ จ ารณาความเหมาะสมอย่ า งรอบคอบ คำนึ ง ถึ ง ประโยชน์ สู ง สุ ด ของบริ ษั ท เป็ น สำคั ญ ซึ่ ง คณะกรรมการที่ มี ส่ ว นได้ เ สี ย จะไม่ เข้ า ร่ ว มประชุ ม และงดออกเสี ย งในการ พิ จ ารณาวาระดั ง กล่ า วและมี ก ารเปิ ด เผยข้ อ มู ล ดั ง กล่ า วทุ ก ไตรมาสในงบการเงิ น รวมถึ ง มี ก ารเปิ ด เผยไว้ ใ นรายงาน ประจำปี และรายงาน 56 - 1 ด้วย คณะกรรมการมี ก ารกำหนดมาตรการในการเปิ ด เผยข้ อ มู ล ส่วนได้เสียของกรรมการ ผู้บริหาร และผู้ที่เกี่ยวข้อง ณ วันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี และทุกครั้งก่อนที่จะมีการพิจารณา เข้ า ทำธุ ร กรรมระหว่ า งบริ ษั ท กั บ ผู้ มี ส่ ว นได้ เ สี ย หรื อ ผู้ ที่ เกี่ ย วข้ อ ง โดยมี เ ลขานุก ารบริ ษัท เป็ นผู้ร วบรวมข้ อมูลและ รายงานต่อคณะกรรมการ นอกจากนี้ กรรมการและผู้บริหาร ต้องตอบแบบชี้แจงรายการที่เกี่ยวโยงกัน ในรอบบัญชีสิ้นสุด วันที่ 31 ธันวาคม เป็นประจำทุกปี

การดูแลการใชขอมูลภายใน CPN มีการกำหนดข้อพึงปฏิบัติเกี่ยวกับการรักษาข้อมูลอันเป็น ความลับไว้ในจรรยาบรรณของกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน นอกจากนี้ ยั ง มี ร ะเบี ย บที่ ใช้ ใ นการควบคุ ม เกี่ ย วกั บ สารสนเทศ ภายใน และระเบี ย บเกี่ ย วกั บ การซื้ อ ขายหลั ก ทรั พ ย์ ข องบริ ษั ท เพื่อให้เกิดความเสมอภาคและยุติธรรมต่อผู้ถือหุ้นทุกราย โดยมี สาระสำคัญของระเบียบและการปฏิบัติดังนี้

»

การควบคุ มเกี่ ย วกั บ สารสนเทศภายใน กำหนดข้ อ ห้ า มบุคคลภายในใช้สารสนเทศที่สำคัญที่ยังมิได้ เปิ ด เผยต่อ ประชาชนเพื่อทำการซื้อหรือขายหุ้น CPN หรื อ เพื่อประโยชน์ส่วนตน และห้ามบุคคลภายในนำสารสนเทศ ภายในออกเปิดเผย ทำให้บุคคลภายนอกได้ประโยชน์จากการ ซื้ อ ขายหุ้น CPN โดยอาศั ย สารสนเทศที่ ยั ง ไม่ไ ด้เปิด เผยนั้ น

ซึ่ ง กรรมการ ผู้ บ ริ ห ารและพนั ก งานทุ ก คนต้ อ งถื อ ปฏิ บั ติ อย่างเคร่งครัด หากละเลยหรือไม่ปฏิบัติตามถือว่าการปฏิบัติ ผิดระเบียบและอาจจะถูกลงโทษ นอกจากนี้บุคคลภายนอก ซึ่งมีโอกาสเข้ามาเกี่ยวข้องหรือมีโอกาสได้ล่วงรู้สารสนเทศ ภายในที่สำคัญของบริษัทต้องลงนามในข้อตกลงการรักษา ความลั บ ข้ อ มู ล ( Confidentiality Agreement) เพื่อให้มั่นใจ ว่าบุคคลเหล่านั้นจะใช้ความระมัดระวัง รั ก ษาความลั บ และ สารสนเทศภายในทำนองเดียวกับผู้บริหารและพนักงานของ บริษัท ซึ่งหากผู้บริหารและพนักงานรายใดฝ่าฝืนไม่ ปฏิบัติ ตามถือเป็นความผิดทางวินัย และถือเป็นความผิดตามมาตรา 241 และ 242 แห่งพระราชบัญญัตหิ ลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535

»

การถือหลักทรัพย์ CPN

1. กรรมการ ผู้ บ ริ ห าร และพนั ก งานของบริ ษั ท ที่ มี โ อกาส ได้ทราบสารสนเทศภายใน ต้องไม่ ซื้อ ขาย โอน หรือรับ โอนหลั ก ทรั พ ย์ CPN โดยอาศั ย สารสนเทศภายในที่ ยั ง ไม่ เปิดเผยของบริษัท สำหรับระยะเวลาตั้งแต่วันที่ได้รับทราบ ผลประกอบการหรื อ สารสนเทศภายในที่ ส ำคั ญ ซึ่ ง ยั ง ไม่ เปิดเผยของ CPN จนถึงวันประกาศและจัดส่งผลประกอบการ ของบริ ษั ท ต่ อ ตลาดหลั ก ทรั พ ย์ แ ห่ ง ประเทศไทยไปแล้ ว 3 วั น ซึ่ ง ในทางปฏิ บั ติ ห น่ ว ยงานกำกั บ ดู แ ลจะแจ้ ง อี เ มลล์ ห้ามกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานซื้อ ขาย โอน หรือ รับโอนหลักทรัพย์ CPN ล่วงหน้า 30 วัน ก่อนวันประกาศ ผลประกอบการและสารสนเทศที่สำคัญ 2. แจ้ ง ให้ ก รรมการ และผู้ บ ริ ห าร ตามคำนิ ย ามของตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รวมถึงผู้อำนวยการฝ่ายการเงิน และฝ่ายบัญชีได้ทราบถึงหน้าที่ในการรายงานการเปลี่ยนแปลง การถือครองหลักทรัพย์ ของตนเอง คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่ บรรลุนิติภาวะ ตามมาตรา 59 และบทกำหนดโทษตามมาตรา 275 แห่ ง พระราชบั ญ ญั ติ ห ลั ก ทรั พ ย์ แ ละตลาดหลั ก ทรั พ ย์ พ.ศ. 2535 3. กำหนดให้กรรมการ ผูบ้ ริหารและพนักงาน ทีม่ กี ารเปลีย่ นแปลง การถื อ ครองหลั ก ทรั พ ย์ CPN มี ห น้ า ที่ จั ด ทำรายงานสรุ ป การถื อ ครองหลั ก ทรั พ ย์ เ พื่ อ แจ้ ง ต่ อ หน่ ว ยงานที่ มี ห น้ า ที่ กำกับดูแลภายในบริษัททุกไตรมาส 4. รายงานสรุ ป การถื อ ครองหลั ก ทรั พ ย์ ข องกรรมการและ ผู้ บ ริ ห ารรวมคู่ ส มรสและบุ ต รที่ ยั ง ไม่ บ รรลุ นิ ติ ภ าวะให้ คณะกรรมการบริษัททราบทุกไตรมาส ทั้ ง นี้ ในปี 2551 CPN ไม่ ไ ด้ รั บ ข้ อ ร้ อ งเรี ย นใดๆ เกี่ ย วกั บ การ กระทำความผิดของกรรมการและผู้บริหารเกี่ยวกับการใช้ข้อมูล ภายในในทางมิชอบ


ค ว า ม รั บ ผิ ด ช อ บ ต อ สั ง ค ม แ ล ะ สิ่ ง แ ว ด ล อ ม มุงมั่น ชวยเหลือ ดูแล เพื่อตอบแทนสังคมอยางสรางสรรค กลุ่มบริษัทในเครือเซ็นทรัล ในการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ชุมชน ในโรงเรียน เพื่อขยายโอกาสการเรียนรู้ผ่านสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง และยั่งยืน CPN ตระหนักถึงความสำคัญในการดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานของ ความมีจริยธรรมและคุณธรรมทีด่ ี ควบคูไ่ ปกับการดูแลและรับผิดชอบ ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเสมอมา และเชื่อมั่นว่าการมีคุณภาพชีวิต ที่ ดี แ ละการแบ่ ง ปั น สิ่ ง ที่ ดี ต่ อ สั ง คมจะเป็ น รากฐานสำคั ญ ต่ อ การ เติบโตที่ยั่งยืนขององค์กร CPN ดำเนินกิจกรรมเพื่อตอบแทนสังคม อย่างต่อเนื่องเป็นรูปธรรมและมุ่งเน้นให้พนักงาน คู่ค้า และ ลูกค้า มีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อสังคมต่างๆ เพื่อสร้างจิตสำนึกในการ ดูแล ช่วยเหลือ สังคม ชุมชน และ สิ่งแวดล้อม อย่างแท้จริง แนวทางในการทำกิจกรรมเพื่อตอบแทนสังคมของ CPN มุ่งเน้น การเข้าไปดูแล ช่วยเหลือ และร่วมสร้างสรรค์สังคมไทยเป็นสำคัญ ทั้งในแง่การสนับสนุนด้านการศึกษาอย่างต่อเนื่อง และร่วมสร้าง ความเป็นอยู่ของชุมชนและสังคมให้ดีขึ้น รวมถึงการปรับสภาพ สิ่ ง แวดล้ อ มให้ ก ลั บ มาสมบู ร ณ์ ห รื อ ดี ยิ่ ง ขึ้ น กว่ า เดิ ม ซึ่ ง สะท้ อ น ผ่านการดำเนินงานของ 3 โครงการหลัก ดังนี้

โครงการ “ซีพีเอ็น เพาะกลาปญญาไทย”

อาทิ วิดิทัศน์ คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต มุมหนังสือ และการ ทดลองวิทยาศาสตร์ เป็นต้น โดยได้ดำเนินการแล้วเสร็จใน 4 โรงเรียน ดังนี้

» » » »

โรงเรียนบ้านคลองม่วง อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ โรงเรียนบำรุงอิสลาม อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี โรงเรียนจระเข้วิทยายน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โรงเรียนตัสดีกียะห์ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

การสนับสนุนชุดซีดีการเรียนรู้ “ชวนคิดส์ ชวนคลิก” ให้การสนุบสนุนเครื่อ งคอมพิว เตอร์แ ละชุดซีดีการเรียนรู้ “ชวน คิดส์ ชวนคลิก” วิธีการฝึกใช้ภาษาอังกฤษง่ายๆด้วยตนเอง ให้แก่ โรงเรียนพระดาบส และมอบชุดซีดีการเรียนรู้ “ชวนคิดส์ ชวน คลิก” ให้กับโรงเรียนในสั งกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 5 เขต ได้ แ ก่ เขตยานนาวา เขตคลองเตย เขตบางรั ก เขตสาทร และ เขตราษฏร์บูรณะ รวม ทั้งสิ้น 23 โรงเรียน

โครงการ “ซีพีเอ็น อาสา”

ที่ผ่านมา CPN ให้การสนับสนุนกิจกรรมหลากหลายประเภทเพื่อ ส่งเสริมและสร้างสรรค์ประสบการณ์การเรียนรู้ในด้านต่างๆ ให้แก่ เยาวชนไทย และเพื่ อ ให้ ก ารสนั บ สนุ น ดั ง กล่ า วดำเนิ น ไปอย่ า ง ต่ อ เนื่ อ งและเป็ น รู ป ธรรมมากยิ่ ง ขึ้ น CPN ได้ จั ด ตั้ ง โครงการ “ซีพี เอ็น เพาะกล้ า ปัญญาไทย” เพื่อให้ ก ารสนั บ สนุ นชุม ชนและ เยาวชนผู้ด้อยโอกาสด้านการศึกษา ผ่านการสร้างศูนย์การเรียนรู้ ในชุมชน สร้างห้องสมุดสำหรับโรงเรียนที่ขาดแคลน รวมถึงการ บริ จ าคอุ ก ปรณ์ ก ารศึ ก ษาให้ แ ก่ เ ยาวชนผู้ ด้ อ ยโอกาส เป็ น ต้ น ในรอบปี 2551 โครงการ ซีพีเอ็น เพาะกล้าปัญญาไทย ได้ดำเนิน กิจกรรมต่างๆ สรุปได้ดังนี้

เพื่อ สังคม รวมถึงให้การสนับสนุนกับภาครัฐในการจัดกิจกรรม เพื่ อ สิ่ ง แวดล้ อ มต่ า งๆ อยู่ เ สมอ และ เพื่ อ ปลู ก ฝั ง จิ ต สำนึ ก ให้ แ ก่ พนักงานของ CPN ให้มีใจรักและให้ความสำคัญกับการตอบแทน สังคม และร่วมทำกิจกรรมเพื่อสังคมด้วยความสมัครใจ CPN ได้ จั ด ตั้ ง กลุ่ ม “ซี พี เ อ็ น อาสา” ขึ้ น อย่ า งเป็ น รู ป ธรรมในปี 2551 มี สมาชิก ณ เริ่มก่อตั้งทั้งหมด 250 คน และได้ดำเนินการกิจกรรม ต่างๆ ในรอบปีที่ผ่านมา สรุปได้ดังนี้

การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ชุมชน

โครงการรักษ์โลก ดูแลโลก ครั้งที่ 1 “วันสิ่งแวดล้อมโลก”

ดำเนิ น การร่ ว มกั บ สถาบั น ส่ ง เสริ ม การสอนวิ ท ยาศาสตร์ แ ละ เทคโนโลยี (สสวท.) และ ด้วยการสนับสนุนจาก คู่ค้า ลูกค้า และ

ดำเนินการจัดงานวันสิ่งแวดล้อมโลกขึ้นเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2551 ณ บริเวณลานหน้าศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ภายใต้ชื่อ “โครงการ

CPN ให้การสนับสนุนสังคมและชุมชมที่อยู่รอบศูนย์การค้าของ CPN โดยผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมกับชุมชนในการจัดกิจกรรม


64 .65

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป

2551

รั กษ์ โ ลก ดู แ ลโลก” ด้ ว ยความร่วมมือระหว่า งกรุง เทพมหานคร บริษัท เซ็นทรัลรีเทล จำกัด และ CPN ภายในงานได้มีการส่งมอบ หลอดไฟ แบตเตอร์รี่ และแบตเตอร์รี่มือถือที่หมดอายุแล้วให้กับ กรมควบคุ ม มลพิ ษ เพื่ อ นำไปทำลายอย่ า งถู ก วิ ธี รวมถึ ง การจั ด กิจกรรมรณรงค์ทำความสะอาดบาทวิถีในพื้นที่ใกล้เคียง โดยแบ่ง เป็น 3 เส้ น ทาง ได้ แ ก่ เส้ นทางที่ 1 จากบริ เวณหน้ าโครงการ เซ็นทรัลเวิลด์ถึงสี่แยกปทุมวัน ถ.พระราม 1 เส้นทางที่ 2 บริเวณ หน้าโครงการเซ็นทรัลเวิลด์ถึงบริเวณหน้าห้างสรรพสินค้าอิเซตัน ถ.ราชดำริ และ เส้นทางที่ 3 บริเวณศูนย์การค้าเกษร พลาซ่า ถึง หน้าห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ชิดลม โดยในวันและเวลาเดียวกัน พนักงาน CPN ของโครงการเซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว โครงการ เซ็นทรัลพลาซา บางนา และ โครงการเซ็นทรัลพลาซา ปิ่นเกล้า ได้ พ ร้ อ มใจร่ ว มกั น ทำความสะอาดพื้ น ที่ บ ริ เวณโดยรอบทั้ ง 3 โครงการ เช่ น เดี ย วกั น ในครั้ ง นี้ มี ส มาชิ ก CPN อาสาเข้ า ร่ ว ม โครงการประมาณ 150 คน โครงการรักษ์โลก ดูแลโลก ครั้งที่ 2 “ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ดูแลเด็ก ด้อยโอกาส” ดำเนิ น การร่ ว มกั บ เทศบาลเมื อ งพั ท ยาและการท่ อ งเที่ ย วแห่ ง ประเทศไทย เขต 3 ในการจัดกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ให้กับ สั ง คมโดยการเก็ บ ขยะริ ม ชายหาดพั ท ยาและบริ จ าคสิ่ ง ของ ที่จำเป็น อาทิ อุปกรณ์การเรียน เครื่องนุ่งห่มและเครื่องตัดหญ้า ให้ กั บ เยาวชน จำนวน 140 คน ณ สถานสงเคราะห์ เ ด็ ก ชาย บ้ า นบางละมุ ง อ.บางละมุ ง จ.ชลบุ รี เมื่ อ วั น ที่ 28 มิ ถุ น ายน 2551 โดยมีสมาชิก CPN อาสา เข้าร่วมโครงการประมาณ 90 คน โครงการรักษ์โลก ดูแลโลก ครั้งที่ 3 “ผ้าป่าพลังงาน” พนักงาน CPN ร่วมกันทำบุญทอดผ้าป่าพลังงาน โดยบริจาค หลอดไฟประหยัดพลังงาน ในครั้งนี้มีสมาชิก CPN อาสา ประมาณ 50 คน ได้ร่วมกันปรับเปลี่ยนหลอดไฟเสื่อมสภาพเป็นหลอดไฟ ประหยั ด พลั ง งาน ซ่ อ มแซมเบรกเกอร์ภ ายใน และล้างทำความ สะอาดเครื่องปรับอากาศ ณ วัดกลางเกร็ด จังหวัดนนทบุรี และ วัดปทุมวนาราม ราชวรวิหาร และวัดบางบำหรุ กรุงเทพมหานคร โครงการรักษ์โลก ดูแลโลก ครั้งที่ 4 “รู้รับ รู้จ่าย ลดค่าไฟบ้าน อยู่ได้อย่างพอเพียง” ด้วยตระหนักถึงภาวะโลกร้อน CPN จึงได้รณรงค์ให้พนักงานใช้ ทรัพยากรธรรมชาติอย่างรู้คุณค่า โดยแข่งขันจากอัตราค่าไฟบ้าน ที่ ล ดลงเป็ น ระยะเวลา 6 เดื อ น ตั้ ง แต่ เ ดื อ นพฤษภาคม ถึ ง พฤศจิกายน 2551

โครงการรักษ์โลก ดูแลโลก ครั้งที่ 5 “ผ้าป่าพลังงานต่อเนื่อง” โครงการต่อเนื่องจากโครงการรักษ์โลก ดูแลโลก ครั้งที่ 3 ผ้าป่า พลั ง งาน สมาชิ ก CPN อาสา และพนั ก งานแผนกอาคารงาน ระบบของ CPN ได้ร่วมกันบำเพ็ญประโยชน์โดยการปรับเปลี่ยน หลอดไฟเสื่อ มสภาพเป็นหลอดไฟประหยัดพลังงาน ซ่อ มแซม หลอดไฟที่ชำรุด ทำความสะอาดวัด ซ่อมแซมและทาสีอาคารที่ เสื่อมสภาพ ณ วัดใหม่สำราญ (เกาะล้าน) จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 8 พฤศจิ ก ายน 2551 และ วั ด ดิ ส หงษาราม (วั ด มั ก กะสั น ) กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 6 - 7 ตุลาคม 2551 โดยได้รับความ อนุเคราะห์เรื่องอุปกรณ์ซ่อมแซมเพิ่มเติมจากพันธมิตรทางการค้า

โครงการ “CPN Green Experience” CPN ตระหนักถึงการดำเนินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่ ง แวดล้ อ ม นอกเหนื อ จากการประยุ ก ต์ ใช้ น วั ต กรรมด้ า น การออกแบบภายใต้ แ นวคิ ด Leadership in Energy & Environmental Design หรื อ LEED ซึ่ ง เน้ น การออกแบบตั ว อาคารให้ สามารถใช้ แ สงธรรมชาติ ไ ด้ ม ากขึ้ น เพื่ อ ช่ ว ยเรื่ อ งการประหยั ด พลังงาน การนำวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาใช้ รวมทั้งเพิ่ม สัดส่วนพื้นที่สีเขียวในตัวอาคาร มาปรับใช้ในการออกแบบและ พัฒนาโครงการใหม่แล้ว CPN ได้กำหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม ที่ชัดเจนและดำเนินกิจกรรมด้านอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม อย่ า งเป็ น รู ป ธรรมภายใต้ โ ครงการ “ CPN Green Experience “ โดยมีโ ครงการนำร่อ ง คือ การนำนวัตกรรมระบบปรับอากาศ ขนาดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพดีที่สุด (High Efficiency Chiller) จาก เทรน (ประเทศไทย) มาเปลี่ ย นใช้ ท ดแทนเครื่ อ งปรั บ อากาศ ขนาดใหญ่ระบบเดิม ในศูนย์การค้าของ CPN จำนวน 10 โครงการ ทั้งโครงการที่ มีอ ยู่เดิม และโครงการที่อ ยู่ ระหว่างการพัฒนา ซึ่ง นวั ต กรรมใหม่ นี้ จ ะช่ ว ยให้ ก ารทำงานของระบบปรั บ อากาศ ภายในอาคารให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ทำให้ประหยัดพลังงาน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อ ม ซึ่งเมื่อ เทียบกับการใช้ระบบเครื่อ ง ปรับอากาศแบบเดิมแล้ว CPN จะสามารถช่วยประหยัดพลังงาน ลงได้ถึง 16% เทียบได้กับการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ สู่ชั้นบรรยากาศได้สูงถึง 40,000 ตัน ต่อปี นอกเหนือจากการดูแลชุมชน สังคม และสิง่ แวดล้อม ผ่านโครงการ หลักทั้ง 3 โครงการดังกล่าวข้างต้นแล้ว ในรอบปี 2551 ที่ผ่านมา CPN ร่วมกับพันธมิตรคู่ค้า บริษัทในเครือเซ็นทรัล และพนักงาน CPN ได้ดำเนินกิจกรรมเพื่อตอบแทนสังคมอื่นอีกมากมาย อาทิ การมอบเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มให้แก่ผู้ประสบภัยหนาว เพื่อช่วยเหลือ ชุมชนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ในถิ่นทุรกันดารในจังหวัดภาคเหนือ


ภายใต้ชื่อ โครงการ “CPN สู้ภัยหนาว” การร่วมกันล้างทำความ สะอาดเครือ่ งปรับอากาศและทาสีอาคารให้แก่ โรงเรียนประชาภิบาล จังหวัดกรุงเทพมหานคร การจัดอบรมและให้ความรูด้ า้ นด้านอัคคีภยั แก่ชุมชนบริเวณโดยรอบศูนย์การต่างๆ ของ CPN การร่วมสร้าง ห้องสมุดและสนับสนุนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ให้แก่ โรงเรียนบ้าน คลอง 1 จังหวัดนครนายก ซึ่งดำเนินการร่วมกับบริษัทในเครือ เซ็นทรัลภายใต้โครงการ “พี่จูงน้อง” และ โครงการ “ส.ค.ส CPN เพื่อเด็กดี” ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องจากปี 2550 โดยพนักงาน CPN ร่วมกันปันน้ำใจเพื่อส่งความสุขให้กับเยาวชนผู้ด้อยโอกาส โดยในปี 2551 ได้ ส่ ง มอบความสุขต้อนรับ ปีใหม่ด้ว ยการจัดหา ของขวั ญ ตามความต้องการของเด็ก พร้อมเลี้ ย งอาหารกลางวั น เพื่ อ เป็ น การเติ ม เต็ ม ความสุ ข และรอยยิ้ ม ให้ กั บ เด็ ก นั ก เรี ย น จำนวน 290 คน ณ โรงเรี ย นบ้ า นโป่ ง แมลงวั น (จิ ร าธิ วั ฒ น์ อุปถัมภ์) จังหวัดนครราชสีมา


66 .67

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป

2551

ป จ จั ย ค ว า ม เ สี่ ย ง แ ล ะ ก า ร บ ริ ห า ร ค ว า ม เ สี่ ย ง ความเสี่ยงจากปจจัยภายนอก 1. ความเสี่ยงจากสภาวะเศรษฐกิจ

2. ความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราดอกเบี้ย/สภาวะเงินตึงตัว

ในปี ที่ ผ่า นมาภาคธุ ร กิ จ ต่า งได้รับ ผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ และเหตุการณ์วนุ่ วายทางการเมืองภายในประเทศ ถึงแม้สถานการณ์ ด้านการเมืองของไทยจะเริ่มมีความชัดเจนมากขึ้นในช่วงปลายปี ที่ ผ่ า นมา แต่ ในปี 2552 นี้ เป็นที่ คาดการณ์ กันว่า เศรษฐกิจโลก โดยรวมจะอยูใ่ นภาวะเศรษฐกิจถดถอย ซึง่ จะส่งผลกระทบต่อตลาด การค้าทั่วโลกซึ่งรวมถึงตลาดการค้าและภาคการจ้างงานของไทย โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง ในด้ า นของการส่ ง ออกและการท่ อ งเที่ ย วซึ่ ง จะได้ รั บ ผลกระทบโดยตรง ถึ ง แม้รั ฐ บาลได้ ป ระกาศใช้นโยบาย การคลังขาดดุลและออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมทั้งธนาคาร แห่ ง ประเทศไทยได้ ป รั บ ลดอั ต ราดอกเบี้ ย เพื่ อ กระตุ้ น เศรษฐกิ จ อย่างต่อเนื่อง แต่ยังคงมีความวิตกกังวลในสภาวะเศรษฐกิจและ ส่งผลกระทบอย่างชัดเจนกับความเชือ่ มัน่ ของผูบ้ ริโภค ทำให้ผบู้ ริโภค มีความระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น ซึ่งหากเศรษฐกิจภายใน ประเทศและเศรษฐกิจโลกใช้เวลายาวนานในการฟืน้ ตัว ผูป้ ระกอบการ จะต้ อ งเตรี ย มรั บ มื อ กั บ ผลกระทบต่ อ ภาคธุ ร กิ จ ค้ า ปลี ก ทั้ ง ในแง่ ของอัตราการเช่าพื้นที่ การปรับเพิ่มอัตราค่าเช่าพื้นที่ และจำนวน ลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการในศูนย์การค้า บริษัทฯ จึงได้ดำเนินธุรกิจ โดยใช้หลักความระมัดระวัง โดยได้ชะลอการลงทุนโครงการใหม่ และรอดูแนวโน้มค่าก่อสร้างที่เริ่มลดลง รวมทั้งได้เน้นการปรับปรุง กระบวนการภายในองค์ ก รเพื่ อ เพิ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพและลดต้ น ทุ น นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้รณรงค์และใช้นโยบายประหยัดต้นทุนและ ค่าใช้จ่ายต่างๆ เพื่อรักษาสภาพคล่องให้เพียงพอ จากประสบการณ์ ในการบริหารศูนย์การค้าที่ยาวนาน ทั้งนี้ บริษัทยังคงมีผลการ ดำเนิ น งานที่ เ ติ บ โตอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง ประกอบกั บ ความมั่ น คงทาง ด้ า นการเงิ น ของบริ ษั ท ฯ เชื่อว่า บริษัท ฯ จะสามารถนำพาธุรกิจ ก้าวผ่านช่วงเวลานี้ไปได้

จากการที่ ธ นาคารแห่ ง ประเทศไทยมี ก ารปรั บ ลดอั ต ราดอกเบี้ ย นโยบายเพื่อกระตุ้นการลงทุนและการบริโภคภายในประเทศ ซึ่ง ส่ ง ผลให้ อั ต ราดอกเบี้ ย เงิ น กู้ ข องสถาบั น การเงิ น มี แ นวโน้ ม ที่ จ ะ ปรับลดลงตามไปด้วย อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของ สถาบันการเงินอาจไม่ถูกปรับลดลงมากเท่ากับขนาดการปรับลด อัตราดอกเบี้ยนโยบาย เนื่องจากธนาคารพาณิชย์จะต้องพยายาม รั ก ษาส่ ว นต่ า งอั ต ราดอกเบี้ ย เงิ น กู้ แ ละเงิ น ฝากเพื่ อ รั ก ษาผล ประกอบการ ประกอบกับธนาคารพาณิชย์ต้องเพิ่มความระมัดระวัง มากขึ้นในการปล่อยสินเชื่อช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำซึ่งทำให้ เกิดสภาวะเงินตึงตัวในระบบการเงิน ในขณะที่บริษัทฯ จะต้อง ใช้ เ งิ น ลงทุ น ตามแผนการพั ฒ นาโครงการใหม่ ซึ่ ง ได้ ด ำเนิ น การ ต่อ เนื่อ งมาตลอด โดยเงิ นกู้ยืม เพื่อ พัฒนาโครงการของบริษัทฯ ส่ ว นใหญ่ เ ป็ น เงิ น กู้ ยื ม ระยะยาวซึ่ ง จะมี ค วามเสี่ ย งจากการ เปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ดังนั้น เพื่ อ เป็ น การลดความเสี่ ย งจากความผั น ผวนของอั ต ราดอกเบี้ ย โดยไม่เสียโอกาสจากอัตราดอกเบี้ยในช่วงขาลง บริษัทฯ จึงได้ คงสั ด ส่ ว นของเงิ น กู้ ยื ม ที่ มี อั ต ราดอกเบี้ ย คงที่ กั บ เงิ น กู้ ยื ม ที่ มี อั ต ราดอกเบี้ ย ลอยตั ว ให้ อ ยู่ ใ นสั ด ส่ ว นที่ ใ กล้ เ คี ย งกั น ในขณะ เดียวกัน บริษัทฯ ได้รับวงเงินกู้เพื่อเตรียมใช้ในการพัฒนาโครงการ ใหม่ซึ่งเพียงพอสำหรับแผนการลงทุนของบริษัทแล้ว นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังคงมองหาโอกาสในทางเลือกอื่นๆ สำหรับการระดมทุน นอกเหนือจากเงินกู้ เช่น การระดมทุนผ่านกองทุนรวมอสังหา ริมทรัพย์ และการหาผู้ร่วมทุนอื่นในการพัฒนาโครงการ ทั้งนี้เพื่อ ให้การบริหารจัดการเงินทุนของบริษทั ฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และมีต้นทุนทางการเงินที่เหมาะสม


3. ความเสี่ยงจากการแข่งขันที่สูงขึ้น ในปี 2552 ธุรกิจค้าปลีกจะต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย ทั้งภายในและภายนอกประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบอย่างชัดเจนกับ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคมีความระมัดระวังในการ ใช้ จ่ า ยมากขึ้ น ส่ ง ผลให้ ธุ ร กิ จ ค้ า ปลี ก จะมี ก ารแข่ ง ขั น ที่ รุ น แรง กว่าเดิมเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดที่มีอยู่ คาดว่าผู้ประกอบธุรกิจ ค้ า ปลี ก จะใช้ ก ารจั ด โปรโมชั่ น และกิ จ กรรมทางการตลาดอื่ น ๆ เพิ่ ม ขึ้ น เพื่ อ ดึ ง ดู ด ลู ก ค้ า ให้ เ ข้ า มาใช้ บ ริ ก ารและเป็ น การกระตุ้ น การตัดสินใจซือ้ ของลูกค้า ในขณะทีก่ ารพัฒนาศูนย์การค้าในรูปแบบ ของคอมมูนิตี้ มอลล์ จะยังคงเป็นรูปแบบที่ผู้ประกอบการหลายราย ให้ความสนใจ เนื่องจากเป็นการขยายฐานลูกค้าไปยังแหล่งชุมชน ได้อย่างทัว่ ถึงมากขึน้ และใช้เงินลงทุนต่ำกว่าการพัฒนาศูนย์การค้า ขนาดใหญ่ ในส่วนของบริษัทฯ ยังคงมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนา ศูนย์การค้าครบวงจรเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าใน ทุกๆ ด้าน ทั้งการเสนอสินค้าและบริการต่างๆ ในชีวิตประจำวัน และในโอกาสพิ เ ศษ เป็ น ศู น ย์ ร วมความบั น เทิ ง สถานที่ พ บปะ สังสรรค์ ตลอดจนเป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ทั้งในเชิงวิชาการและ ด้ า นสัง คม เช่น ศูนย์ ก ารค้ า เซ็ นทรั ล เวิ ล ด์ที่มีอุท ยานการเรียนรู้ สำหรับเด็กและเยาวชน (TK Park) เป็นต้น ประกอบกับทำเลทีต่ งั้ ของ ทุกโครงการเป็นพืน้ ทีท่ มี่ ศี กั ยภาพ มีประชากรหนาแน่น การคมนาคม สะดวก มีแนวโน้มการเติบโตของประชากรและรายได้ในอนาคต และบริ ษั ท ฯ ได้ พั ฒ นาปรั บ ปรุ ง ศู น ย์ ก ารค้ า พร้ อ มทั้ ง ยกระดั บ มาตรฐานการให้ บ ริ ก ารและการบริ ห ารจั ด การอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง เพื่อสร้างความแตกต่างและความได้เปรียบในการแข่งขัน เชื่อว่า ปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลให้บริษัทฯ ยังคงครองความเป็นผู้นำในธุรกิจ พัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้าปลีกต่อไปในอนาคต 4. ความเสี่ยงจากการก่อวินาศกรรม อุบัติภัย และภัยธรรมชาติ ธุ ร กิ จ ศู น ย์ ก ารค้ า แบบครบวงจรเป็ น ธุ ร กิ จ ที่ ใ ห้ ค วามสำคั ญ กั บ การบริ ก ารและการนำเสนอความสะดวกสบายให้กับลูกค้ า แต่ ความเชื่อมั่นก็นับเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญ บริษัทฯ จึงมีนโยบาย ในการรักษาความปลอดภัยอย่างรัดกุมและเข้มงวด และได้มีการ กำหนดมาตรการป้องกั นและแนวทางปฏิบั ติก รณีเกิดเหตุการณ์ ที่ไม่คาดคิด เช่น การก่อวินาศกรรมหรือเหตุการณ์ร้ายอื่นๆ เพื่อ ป้องกันและลดความเสียหายจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยจัดให้มี หน่ ว ยงานบรรเทาสาธารณภั ย ที่ ไ ด้ รั บ การอบรมและทดสอบทั้ ง ภาคทฤษฎีและปฏิบัติประจำอยู่ทุกศูนย์การค้า เพื่อเตรียมรับมือ กับการก่อวินาศกรรม และกำหนดให้มีการตรวจตราทุกพื้นที่อย่าง

เข้มงวด ตลอดจนการติดตามข่าวสารและสถานการณ์บ้านเมือง อย่ า งใกล้ ชิ ด ในขณะเดี ย วกั น บริ ษั ท ฯ ยั ง ได้ จั ด ทำประกั น ภั ย ที่ ครอบคลุม ความเสียหายอันเกิดจากภัยธรรมชาติ อุบัติภั ย และ การก่อ วินาศกรรมไว้ ในทุกโครงการของบริษัทฯ เพื่อเป็น การ ป้องกันความเสียหายทางการเงินอีกด้วย 5. ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ลั ก ษณะการประกอบธุ ร กิ จ ของบริ ษั ท ฯ ที่ ด ำเนิ น ธุ ร กิ จ พั ฒ นา อสังหาริมทรัพย์เพือ่ การค้าปลีกนัน้ มีความเสีย่ งทีจ่ ะได้รบั ผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย และการวางนโยบายจากภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการวางผังเมือง แนวเวนคืน การปรับปรุงระบบ ขนส่งมวลชน หรือกฎหมายเกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อม ล้วนเป็น ปัจจัยที่อยู่เหนือการควบคุมซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อการพัฒนา โครงการใหม่ของบริษัทฯ อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ได้ให้ความสำคัญ กับการเลือกทำเลที่ตั้ง และการกำหนดขนาดที่ดินที่ตั้ง ตลอดจน ตรวจสอบถึงข้อจำกัดทางกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างละเอียด ก่ อ นการตั ด สิ น ใจลงทุ น รวมถึ ง การติ ด ตามสถานการณ์ ค วาม เคลื่อนไหวในประเด็นต่างๆ เหล่านี้อย่างใกล้ชิดตลอดเวลา เพื่อ ให้ ส ามารถกำหนดแผนการพั ฒ นาโครงการได้ อ ย่ า งเหมาะสม หากมีการเปลี่ยนแปลงในข้อกฎหมายหรือนโยบายของรัฐ

ความเสี่ยงจากการดำเนินงานภายใน 6. ความเสี่ยงจากการไม่สามารถต่อสัญญาเช่าที่ดิน เนื่องจากข้อจำกัดในการจัดหาที่ดินเพื่อพัฒนาโครงการที่จะต้อง พิ จ ารณาทำเลที่ มี ค วามเหมาะสมและมี ศั ก ยภาพเพี ย งพอเป็ น หลักนั้น ทำให้ในบางโครงการที่เป็นที่ดินของหน่วยงานราชการ หรือสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ หรือเจ้าของที่ดิน ที่ไม่ต้องการขายที่ดิน บริษัทฯ จึงจำเป็นต้องทำการเช่าที่ดินแทน การซื้อที่ดินมาเป็นกรรมสิทธิ์ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงจากการ ไม่สามารถต่ออายุสัญญาเช่าที่ดินได้ แม้ว่าสัญญาเช่าที่ดินจะได้ มีการระบุถึงเงื่อนไขการต่ออายุสัญญาเมื่อครบกำหนดสัญญาเช่า ไว้ก็ตาม โดยหากเกิดเหตุการณ์ที่บริษัทฯไม่สามารถต่ออายุสัญญา เช่าที่ดินออกไปได้ และทำให้โครงการต้องหยุดดำเนินการ อาจทำ ให้บริษัทฯ ต้องสูญเสียผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ในส่วนที่ควร จะได้ เ พิ่ ม จากโครงการนั้ น ๆ ไป อย่ า งไรก็ ต าม เพื่ อ เป็ น การลด ความเสี่ยงจากการไม่สามารถต่ออายุสัญญาเช่าที่ดิน บริษัทฯ ได้ เตรียมการศึกษาและพัฒนาโครงการใหม่ๆ มาโดยตลอด ทั้งใน บริ เ วณเดี ย วกั บ โครงการที่ สั ญ ญาเช่ า ที่ ดิ น ใกล้ จ ะหมดอายุ ล ง


68 .69

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป

2551

และในพื้นที่อื่นที่มีศักยภาพในการพัฒนาโครงการ เพื่อเป็นการ รักษาอัตราการเติบโตของรายได้และกำไรในภาพรวมให้เพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่องในอนาคต 7. ความเสี่ยงด้านงานก่อสร้าง การพัฒนาโครงการ เพื่อเป็นการรักษาอัตราการเติบโตของรายได้ และกำไรในภาพรวมให้ เ พิ่ ม ขึ้ น อย่ า งต่ อ เนื่ อ งในอนาคตนั้ น บริษัทฯ ได้ให้ความสำคัญกับการควบคุมดูแลการก่อสร้างโครงการ ต่างๆ เพื่อเป็นการรักษาคุณภาพและมาตรฐานของงานก่อสร้าง ตลอดจนการใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปตาม แผนการลงทุน

»

คุ ณภาพและมาตรฐานของงานก่อสร้า ง บริ ษัท ฯ ได้ก ำหนด ระเบี ย บเกี่ ย วกั บ คุ ณ สมบั ติ แ ละขั้ น ตอนในการคั ด เลื อ ก ผู้ อ อกแบบ วิ ศ วกรที่ ป รึ ก ษา วิ ศ วกรควบคุ ม งาน ตลอดจน บริษัทผู้รับเหมาก่อสร้างไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้ กระบวนการ คัดเลือกเป็นไปอย่างโปร่งใส รอบคอบรัดกุม และมีประสิทธิภาพ เพื่ อ ให้ ไ ด้ ผู้ เ ข้ า ร่ ว มพั ฒ นาโครงการที่ มี คุ ณ สมบั ติ แ ละมี ประสบการณ์เป็นที่ยอมรับและเชื่อถือได้

»

ศั ก ยภาพทางการเงิ น และประวั ติ ก ารทำงานของผู้ รั บ เหมา เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงจากการที่ผู้รับเหมาประสบปัญหา ทางการเงิ น จนส่ ง ผลกระทบให้ ก ารก่ อ สร้ า งโครงการต้ อ ง ล่ า ช้ า หรื อ หยุ ด การก่ อ สร้ า งลง บริ ษั ท ฯ จึ ง คำนึ ง ถึ ง ความ มั่นคงทางด้านการเงินและประวัติการทำงานที่ดีของผู้รับเหมา โดยถือเป็นปัจจัยสำคัญอีกส่วนหนึ่งที่จะใช้พิจารณาคัดเลือก ผู้เข้าร่วมพัฒนาโครงการ

»

ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การดูแลความปลอดภัย ในชีวิตและทรัพย์สินของลูกค้าที่เป็นผู้เช่าพื้นที่และลูกค้าที่ เข้ามาใช้บริการในศูนย์การค้า ตลอดจนพนักงานของบริษัทฯ มี ค วามสำคั ญ ไม่ ยิ่ ง หย่ อ นไปกว่ า การให้ ค วามสะดวกสบาย และความครบถ้วนของบริการ ดังนัน้ ในขัน้ ตอนของการพัฒนา โครงการ บริษัทฯ จึงให้ความสำคัญกับขั้นตอนการก่อสร้าง ที่ มี คุ ณ ภาพและได้ ม าตรฐาน เพื่ อ ป้ อ งกั น ความเสี่ ย งอั น จะ ก่ อ ให้ เ กิ ด ความเสี ย หายต่ อ ชี วิ ต และทรั พ ย์ สิ น และยั ง เป็ น การช่วยให้บริษัทฯสามารถควบคุมงบประมาณการลงทุนให้ เป็น ไปอย่ า งมี ป ระสิ ท ธิภ าพ ตลอดจนช่ วยลดต้นทุนในการ ปรับปรุงโครงการในอนาคตอีกด้วย

»

การเพิ่มขึ้นของต้นทุนค่าก่อสร้าง เพื่อเป็นการลดความเสี่ยง จากการเพิ่ ม ขึ้ น ของต้ น ทุ น ค่ า ก่ อ สร้ า ง บริ ษั ท ฯ ได้ น ำเอา วิ ศ วกรรมคุณค่ า (Value Engineering ) เข้ า มาใช้ ในขั้ น ตอน

การออกแบบและก่ อ สร้ า งโครงการ ซึ่ ง เป็ น เทคนิ ค ที่ ท ำให้ บริ ษั ส ามารถนำมาใช้ ใ นการลดต้ น ทุ น การก่ อ สร้ า งได้ เ ป็ น อย่ า งดี โดยที่ ยั ง คงคุ ณ ภาพและมาตรฐานการก่ อ สร้ า งไว้ ในส่ ว นของความเสี่ ย งจากความผั น ผวนของราคาวั ส ดุ ก่อสร้างนั้น ในการทำสัญญาจัดซื้อจัดจ้างกับผู้รับเหมาแต่ละ รายนั้ น จะมี ก ารกำหนดมู ล ค่ า งานตามสั ญ ญาไว้ เ ป็ น จำนวน เงิ น ที่ แ น่ น อน โดยระบุ ร ายละเอี ย ดของวั ส ดุ รู ป แบบ และ ลักษณะของผลงานไว้อย่างชัดเจน ทำให้สามารถลดความเสี่ยง จากความผั นผวนของราคาวั ส ดุก่อ สร้างลงได้ ประกอบกับ ปั จ จุ บั น เศรษฐกิ จ อยู่ ใ นภาวะถดถอยส่ ง ผลให้ ร าคาวั ส ดุ ก่อสร้างลดลง ซึ่งเป็นประโยชน์กับบริษัทฯ ที่ได้มีการพัฒนา โครงการใหม่ในช่วงนี้อีกด้วย 8. ความเสี่ยงจากการปฏิบัติงาน บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญของความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นใน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทั้งจากปัจจัยภายในและ ปัจจัยภายนอกองค์กร ซึ่งส่งผลกระทบให้การปฏิบัติงานไม่เป็นไป ตามเป้าหมายหรือทำให้การปฏิบัติงานไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร บริษัทฯ จึงได้จัดตั้งหน่วยงานบริหารความเสี่ยงขึ้น เพื่อดำเนินการ ให้ มี ก ารควบคุ ม และบริ ห ารความเสี่ ย งในการปฏิ บั ติ ง านอย่ า ง เป็นระบบ โดยหน่วยงานบริหารความเสี่ยงจะดำเนินการสำรวจ เชิงปฏิบัติการในขั้นตอนการทำงานของทุกหน่วยงานของบริษัทฯ และทำการกำหนดประเด็นความเสี่ยงร่วมกันกับแต่ละหน่วยงาน เพื่ อ ที่ จ ะวางมาตรการในการป้ อ งกั น และลดความเสี่ ย งในการ ปฏิบัติงานทั้งประเด็นความเสี่ยงในระดับหน่วยงานและประเด็น ความเสี่ยงในระดับองค์กร โดยมีการติดตามและประเมินผลการ ควบคุ ม ความเสี่ ยงอย่างต่อ เนื่อ ง นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้อยู่ ระหว่างดำเนินการปรับปรุงกระบวนการทำงาน (Business Process Improvement ) เพื่อช่วยลดความซ้ำซ้อนและเพิ่มประสิทธิภาพ ของงาน ซึ่งจะเป็นเครื่องมือสนับสนุนในการบริหารความเสี่ยง และการควบคุมภายในของบริษัทฯ ทั้งนี้ หน่วยงานบริหารความ เสี่ยงจะต้องจัดทำรายงานการบริหารความเสี่ยงเพื่อรายงานผล ในการประชุมคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงของบริษัทฯ ที่จัด ให้มีขึ้นไตรมาสละ 1 ครั้ง


โ ค ร ง ส ร า ง เ งิ น ทุ น ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 CPN มีรายละเอียดของโครงสร้างเงินทุนที่สำคัญดังต่อไปนี้

โครงสรางเงินทุน หุ้นสามัญ ทุนจดทะเบียน ทุนเรียกชำระแล้ว จำนวนหุ้นสามัญ มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ ราคาหุ้น ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2551

2,178,816,000 2,178,816,000 2,178,816,000 1.00 14.30

บาท บาท หุ้น บาท บาท

หุ้นกู้ไม่มีประกัน และไม่ด้อยสิทธิ ชื่อหุ้นกู้ อันดับเครดิต จำนวน วันที่ออก ตราสารหนี้ (ล้านบาท) หุ้นกู้

อายุ (ปี)

รอบการจ่าย ดอกเบี้ย

รอบการจ่าย คืนเงินต้น

วันครบ กำหนด

ยอดคงเหลือ 31 ธ.ค. 2551

CPN093A CPN10DA CPN096A CPN096B CPN126A CPN119A

5.0 6.7 3.0 3.0 5.0 3.0

ทุกๆ 6 เดือน ทุกๆ 6 เดือน ทุกๆ 6 เดือน ทุกๆ 6 เดือน ทุกๆ 6 เดือน ทุกๆ 6 เดือน

เมื่อครบกำหนด เมื่อครบกำหนด เมื่อครบกำหนด เมื่อครบกำหนด เมื่อครบกำหนด เมื่อครบกำหนด

16/3/2552 9/12/2553 14/6/2552 14/6/2552 14/6/2555 25/9/2554

1,000 1,500 1,000 500 3,000 1,500

A+ A+ A+ A+ A+ A+

1,000 1,500 1,000 500 3,000 1,500

16/3/2547 16/3/2547 14/6/2549 14/6/2549 14/6/2550 25/9/2551

หมายเหตุ: อัตราดอกเบี้ยหุ้นกู้ถัวเฉลี่ย 4.8% ต่อปี การดำรงสถานะทางการเงิน ตามข้อกำหนดสิทธิ 1. จำนวนรวมของหนี้สินต่อจำนวนรวมของส่วนของผู้ถือหุ้น 2. จำนวนรวมของเงินกู้ยืมต่อจำนวนรวมของส่วนของผู้ถือหุ้น 3. จำนวนรวมของสินทรัพย์หลังจากหักภาระผูกพันต่อเงินกู้ยืมที่ไม่มีหลักประกัน

การดำรงอัตราส่วน ไม่เกิน 2.5 ไม่เกิน 1.75 ไม่ต่ำกว่า 1.5

ข้อมูล ณ 31 ธ.ค. 2551 1.88 1.09 3.17


70 .71

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป

2551

ผูถือหุน ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 10 อันดับแรก ณ วันที่ 19 พฤศจิกายน 25511 มีดังนี้

1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10.

รายชื่อผู้ถือหุ้น

จำนวนหุ้น

สัดส่วนการถือหุ้น (%)

บริษัท เซ็นทรัลโฮลดิ้ง จำกัด กองทุนเพื่อการร่วมลงทุน บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด HSBC ( Singapore ) Nominees Pte Ltd

588,171,980 106,670,600 98,591,680 92,540,797 89,159,270 76,597,510 64,346,900 41,730,200 33,652,400 32,801,350

27.00% 4.90% 4.53% 4.25% 4.09% 3.52% 2.95% 1.92% 1.54% 1.51%

Mrs. Arunee Chan The Bank of New York (Nominees) Limited State Street Bank and Trust Company for London นายสุทธิเกียรติ จิราธิวัฒน์ นางสุจิตรา มงคลกิติ

EFG Bank

หมายเหตุ : 1 วันปิดสมุดทะเบียนเพื่อรวบรวมรายชื่อผู้ถือหุ้นครั้งล่าสุดของบริษัท

กลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่โดยพฤติการณ์มีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายหรือการดำเนินงานของ CPN อย่างมีนัยสำคัญ บริ ษั ท เซ็ น ทรั ล โฮลดิ้ ง จำกั ด และบุ ค คลในตระกู ล จิ ร าธิ วั ฒ น์ รวมถื อ หุ้ น ประมาณร้ อ ยละ 60 เป็ น กลุ่ ม ผู้ ถื อ หุ้ น รายใหญ่ ที่ โ ดย พฤติ ก ารณ์ มี อิ ท ธิ พ ลต่ อ การกำหนดนโยบายหรื อ การดำเนิ น งานของ CPN อย่ า งมี นั ย สำคั ญ เนื่ อ งจากมี ผู้ แ ทนเข้ า ร่ ว มเป็ น คณะกรรมการบริ ษัท จำนวน 8 ท่า น จากจำนวนกรรมการทั้งสิ้ น 13 ท่าน ข้อจำกัดการถือครองหลักทรัพย์ของบุคคลต่างด้าว CPN มีข้อจำกัดการถือครองหลักทรัพย์ของบุคคลต่างด้าว (Foreign Limit ) ไว้ร้อยละ 30 ของทุนชำระแล้ว โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 มีบุคคลต่างด้าวถือครองหลักทรัพย์ของ CPN ร้อยละ 24.13 ของทุนชำระแล้ว


รายชื่อกรรมการและผู้บริหารที่ถือครองหลักทรัพย์ของ CPN กรรมการและผู้บริหารที่มีการถือครองหลักทรัพย์ของ CPN ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 มีดังนี้ ลำดับ

รายชื่อกรรมการและผู้บริหาร

ตำแหน่ง

จำนวนหุ้น

สัดส่วนการถือหุ้น (%)

1. 2. 3. 4. 5. 6 7. 8. 9. 10. 11.

นายสุทธิชัย นายสุทธิเกียรติ นายปริญญ์ นายกอบชัย นายสุทธิธรรม นายสุทธิชาติ นายสุทธิเดช นายสุทธิศักดิ์ นายสุทธิภัค นางสาววัลยา นายนริศ

กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กรรมการ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่

41,994,000 41,730,200 30,150,550 26,668,500 25,729,900 23,295,400 20,142,100 14,173,200 12,794,800 8,634,900 100,000

1.93% 1.92% 1.38% 1.22% 1.18% 1.07% 0.92% 0.65% 0.59% 0.40% 0.005%

จิราธิวัฒน์ จิราธิวัฒน์ จิราธิวัฒน์ จิราธิวัฒน์ จิราธิวัฒน์ จิราธิวัฒน์ จิราธิวัฒน์ จิราธิวัฒน์ จิราธิวัฒน์ จิราธิวัฒน์ เชยกลิ่น

นโยบายการจายเงินปนผล บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีนโยบายการจ่ายเงินปันผลในอัตราประมาณร้อยละ 40 ของกำไรสุทธิประจำปี (กรณีไม่มีเหตุผลจำเป็นอื่นใด)


72 .73

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป

2551

ผังองคกร คณะกรรมการบริษัท

คณะกรรมการตรวจสอบ

คณะกรรมการบริหาร

สำนักตรวจสอบภายใน

กรรมการผู้จัดการใหญ่

รองกรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ และประธานเจ้าหน้าทีก่ ารเงิน

สายงานพัฒนา และบริหารทรัพย์สิน

สายงานพัฒนาธุรกิจและ บริหารโครงการก่อสร้าง

ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ

ฝ่ายปฏิบัติการ ศูนย์การค้า เขต 1

ฝ่ายบริหาร โครงการก่อสร้าง

ฝ่ายปฏิบัติการ ศูนย์การค้า เขต 2 ฝ่ายปฏิบัติการ ศูนย์การค้า เขต 3 ฝ่ายปฏิบัติการ ศูนย์การค้า เขต 4 ศูนย์การค้า เซ็นทรัลเวิลด์ ศูนย์การค้า เชียงใหม่

ฝ่ายส่งเสริมและกำกับ ดูแลมาตรฐาน (สสม.)

ฝ่ายพัฒนา และบริหารทรัพย์สิน


คณะกรรมการสรรหา และกำหนดค่าตอบแทน

สำนักกรรมการผู้จัดการใหญ่

สำนักเลขานุการบริษัท สำนักวางแผนกลยุทธ์ และนโยบาย

สายงานขาย

สายงานการตลาด

สายงานบัญชี และการเงิน

ฝ่ายขาย 1

ฝ่ายกลยุทธ์การตลาด

ฝ่ายบัญชี

ฝ่ายขาย 2

ฝ่ายการตลาด เซ็นทรัลเวิลด์

ฝ่ายบริหารการเงิน

ฝ่ายการตลาด เซ็นทรัลพลาซา

ฝ่ายปฏิบัติการเงิน ฝ่ายบัญชีธุรการ-จัดซื้อ บริหารสำนักงาน ฝ่ายเทคโนโลยี สารสนเทศ แผนกกฎหมาย

ฝ่ายทรัพยากร มนุษย์


74 .75

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป

2551

โ ค ร ง ส ร า ง ก า ร จั ด ก า ร CPN มีโครงสร้างการจัดการประกอบด้วย คณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการจัดการ และมีคณะกรรมการชุดย่อย จำนวน 4 คณะ ได้แก่ คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง และ คณะกรรมการบรรษัทภิบาล โดยรายละเอียดของคณะกรรมการแต่ละคณะมีดังนี้

คณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการบริ ษั ท ประกอบด้วยกรรมการ 13 คน โดยมีประธานกรรมการเป็ นตั ว แทนของผู้ ถือ หุ้ น และไม่ ได้เป็ นบุ ค คลเดียวกั บ กรรมการผู้ จั ด การใหญ่ ซึ่ ง คณะกรรมการประกอบด้ ว ยกรรมการที่ ไ ม่ เ ป็ น ผู้ บ ริ ห าร 11 คน และกรรมการที่ เ ป็ น ผู้ บ ริ ห าร 2 คน รายละเอียดดังนี้ 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13.

นายวันชัย จิราธิวัฒน์ 1 นายเอนก สิทธิประศาสน์ นายไพฑูรย์ ทวีผล นายจักก์ชัย พานิชพัฒน์ นางสุนันทา ตุลยธัญ นายครรชิต บุนะจินดา 1 นายสุทธิชัย จิราธิวัฒน์ 1 นายสุทธิเกียรติ จิราธิวัฒน์ 1 นายสุทธิชาติ จิราธิวัฒน์ 1 นายสุทธิศักดิ์ จิราธิวัฒน์ 1 นายสุทธิธรรม จิราธิวัฒน์ 1 นายกอบชัย จิราธิวัฒน์ 1 นายปริญญ์ จิราธิวัฒน์ 1

ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ กรรมการอิสระ กรรมการอิสระ กรรมการอิสระ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ

(กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร) (กรรมการที่เป็นผู้บริหาร) (กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร) (กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร) (กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร) (กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร) (กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร) (กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร) (กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร) (กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร) (กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร) (กรรมการที่เป็นผู้บริหาร) (กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร)

หมายเหตุ : 1 กรรมการที่เป็นตัวแทนจากผู้ถือหุ้น

กรรมการผู้ มี อ ำนาจลงลายมื อ ชื่ อ แทนบริ ษั ท คื อ นายเอนก สิ ท ธิ ป ระศาสน์ นายสุ ท ธิ ธ รรม จิ ร าธิ วั ฒ น์ นายปริ ญ ญ์ จิ ร าธิ วั ฒ น์ นายกอบชัย จิราธิวัฒน์ กรรมการสองในสี่คนนี้ลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของบริษัท


หน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัท 1. ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ และข้อบังคับของบริษัท ตลอดจนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต (Duty of Loyalty) ระมัดระวัง (Duty of Care) และมีความรับผิดชอบ (Accountability) อย่างสม่ำเสมอ และดำเนินงานโดยรักษา ผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นทุกรายอย่างเท่าเทียมกัน 2. กำหนดวิสัยทัศน์ กลยุทธ์ นโยบายและทิศทางการดำเนินงานของบริษัทและควบคุมดูแลให้ฝ่ายจัดการดำเนินงานตามนโยบาย ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อเพิ่มมูลค่าสูงสุดให้แก่บริษัทและผู้ถือหุ้นอย่างมั่นคงและยั่งยืน 3. ต้ อ งจั ด ให้ มี ก ารเปิ ด เผยข้ อ มู ล ต่ อ ผู้ ถื อ หุ้ น ผู้ ล งทุ น และผู้ มี ส่ ว นได้ ส่ ว นเสี ย ทุ ก กลุ่ ม อย่ า งถู ก ต้ อ ง ครบถ้ ว น มี ม าตรฐาน โปร่ ง ใส และทันเวลา 4. จัดให้มีระบบควบคุมภายในและการตรวจสอบภายในที่มีประสิทธิภาพ 5. จัดให้มีกระบวนการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพและมีการติดตามผลอย่างสม่ำเสมอ 6. จัดให้มีและกำกับดูแลให้มีการดำเนินงานตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีและมีการติดตามผลอย่างสม่ำเสมอ 7. จัดให้มีเลขานุการบริษัทเพื่อช่วยดูแลกิจกรรมต่างๆ ของคณะกรรมการและช่วยให้คณะกรรมการและบริษัทปฏิบัติให้เป็นไปตาม กฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง 8. จัดให้มีระเบียบจรรยาบรรณธุรกิจของกรรมการ ผู้บริหารและพนักงาน เพื่อเป็นมาตรฐานการปฏิบัติงานภายในบริษัท 9. กรรมการที่เป็นอิสระควรใช้ดุลยพินิจอย่างเป็นอิสระในการพิจารณากำหนดกลยุทธ์ การบริหารงาน การใช้ทรัพยากร การแต่งตั้ง กรรมการและการกำหนดมาตรฐานการดำเนินธุรกิจ รวมทั้งพร้อมที่จะคัดค้านการกระทำของฝ่ายจัดการหรือกรรมการอื่น ในกรณี ที่มีความเห็นขัดแย้งในเรื่องที่มีผลกระทบต่อความเท่าเทียมกันของผู้ถือหุ้นทุกราย 10. คณะกรรมการสามารถแสวงหาความเห็นทางวิชาชีพที่เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจด้วยการว่าจ้างที่ปรึกษาภายนอกด้วยค่าใช้จ่าย ของบริษัท

เลขานุการบริษัท บริษัทมีการจัดตั้งสำนักเลขานุการบริษัท เพื่อดูแลการดำเนินการงานด้านเลขานุการบริษัทให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และคณะกรรมการ บริษัทเป็นผู้พิจารณาแต่งตั้งผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมเพื่อปฏิบัติหน้าที่เลขานุการบริษัท ปัจจุบันผู้ที่ดำรงตำแหน่งเลขานุการบริษัท คือ นางสาวนภารัตน์ ศรีวรรณวิทย์ หน้าที่และความรับผิดชอบของเลขานุการบริษัท 1. จัดทำและเก็บรักษาเอกสาร ดังต่อไปนี้ ทะเบียนกรรมการ รายงานประจำปีของบริษัท หนังสือนัดประชุมคณะกรรมการบริษัท และรายงานการประชุมคณะกรรมการบริษัท หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น และรายงานการประชุมผู้ถือหุ้น 2. เก็บรักษารายงานการมีส่วนได้เสียที่รายงานโดยกรรมการหรือผู้บริหาร 3. จัดส่งสำเนารายงานการมีส่วนได้เสียของกรรมการและผู้บริหาร หรือบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องให้ประธานกรรมการและประธาน กรรมการตรวจสอบทราบภายใน 7 วันทำการนับแต่วันที่บริษัทได้รับรายงานนั้น 4. จัดการประชุมคณะกรรมการบริษัท และการประชุมผู้ถือหุ้นให้เป็นไปตามระเบียบ ข้อบังคับ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 5. ดูแล ตรวจสอบ และให้คำแนะนำในการดำเนินงานของบริษัทและคณะกรรมการบริษัทให้เป็นไปตามหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อบังคับ ของบริษัท พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 6. เป็นศูนย์กลางการติดต่อสื่อสารข้อมูลข่าวสารระหว่างกรรมการ ผู้บริหาร และผู้ถือหุ้น

» » » »


76 .77

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป

2551

7. ประสานงาน และติดตามการดำเนินงานตามมติของกรรมการ และผู้ถือหุ้น 8. ดูแลให้มีการเปิดเผยข้อมูลและรายงานสารสนเทศในส่วนที่รับผิดชอบต่อหน่วยงานที่กำกับดูแลตามระเบียบและข้อกำหนดของ หน่วยงานทางการ 9. ดำเนินการอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด หรือตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมาย ทั้งนี้ กำหนดให้ ฝ่ายกฎหมาย มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดทำรายงานการประชุมคณะกรรมการบริษัท และรายงานการประชุม ผู้ถือหุ้น ตลอดจนดูแล ตรวจสอบ และให้คำแนะนำในการดำเนินงานของบริษัทและคณะกรรมการให้เป็นไปตามระเบียบ ข้อบังคับ และกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

คณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการบริหาร ซึ่งผ่านการแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริษัท ประกอบด้วยกรรมการ 6 คน ดังนี้ 1. 2. 3. 4. 5. 6.

นายสุทธิชัย จิราธิวัฒน์ นายสุทธิเกียรติ จิราธิวัฒน์ นายสุทธิชาติ จิราธิวัฒน์ นายสุทธิศักดิ์ จิราธิวัฒน์ นายสุทธิธรรม จิราธิวัฒน์ นายปริญญ์ จิราธิวัฒน์

ประธานกรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ

หน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริหาร 1. พิจารณากลั่นกรองในเรื่องดังต่อไปนี้ เพื่อนำเสนอให้คณะกรรมการบริษัทพิจารณาอนุมัติ แผนยุทธศาสตร์ของบริษัท งบประมาณประจำปี (Annual Estimate ) ซึ่งเป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์ของบริษัท งบประมาณรายจ่ายลงทุนที่มีวงเงินเกิน 200 ล้านบาทขึ้นไป กิจกรรมและการปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับการควบรวมและซื้อกิจการ การแต่งตั้งกรรมการผู้จัดการใหญ่ 2. ติดตามผลประกอบการของบริษัทให้เป็นไปตามงบประมาณและเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ 3. อนุมัติรายการที่เกี่ยวกับธนาคาร และสถาบันการเงิน อันเป็นการประกอบธุรกิจทางการค้าปกติของบริษัท 4. อนุมัติรายการที่เกี่ยวกับบริษัทย่อย และเงินลงทุนในหลักทรัพย์ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท 5. อนุมัติการดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับศูนย์การค้าทุกแห่งของบริษัทและบริษัทย่อย อันเป็นการประกอบธุรกิจ ทางการค้าปกติหรือรายการสนับสนุนธุรกิจปกติของบริษัท 6. อนุมัติการเข้าทำบันทึกข้อตกลงเพื่อการทำสัญญาร่วมทุน (MOU - Joint Venture Agreement) ในโครงการลงทุนต่างๆ และการทำสัญญา ร่วมทุน (Joint Venture Agreement ) ซึ่งมีมูลค่าการลงทุนจำนวนไม่เกิน 200 ล้านบาท 7. อนุมัติการตั้ง การเพิ่ม การลด หรือการยกเลิกสำรองทางบัญชีต่างๆ อาทิ ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ค่าเผื่อผลขาดทุนจากการด้อยค่า ของเงินลงทุน ค่าเผื่อผลขาดทุนของโครงการระหว่างการพัฒนา เป็นต้น ในวงเงินรวมไม่เกินครั้งละ 100 ล้านบาท 8. อนุมัติการจัดสรรกำไรเป็นสำรองตามกฎหมาย 9. อนุมัติงบประมาณรายจ่ายการลงทุนที่มีวงเงินไม่เกิน 200 ล้านบาท 10. รับผิดชอบการบริหารทรัพยากรบุคคลสำหรับผู้บริหารระดับสูง 11. เสริมสร้างและผลักดันให้เกิดแรงจูงใจของพนักงาน 12. อนุมัติรายการอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทเป็นคราวๆ ไป

» » » » »


คณะกรรมการจัดการ คณะกรรมการจัดการ ประกอบด้วยกรรมการ 8 คน ดังนี้ 1. 2. 3. 4 5. 6. 7. 8.

นายกอบชัย จิราธิวัฒน์ นายสุทธิเดช จิราธิวัฒน์ นายนริศ เชยกลิ่น นายสุทธิภัค จิราธิวัฒน์ นางสาววัลยา จิราธิวัฒน์ นายธีระชาติ นุมานิต ดร.ณัฐกิตติ์ ตั้งพูลสินธนา นางปณิดา สุขศรีดากุล

กรรมการผู้จัดการใหญ่ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้อำนวยการอาวุโส

สายงานพัฒนาธุรกิจและบริหารโครงการก่อสร้าง สายงานการเงิน บัญชี และบริหารทรัพย์สิน สำนักกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายพัฒนาธุรกิจและบริหารโครงการก่อสร้าง ฝ่ายบริหารโครงการก่อสร้าง ฝ่ายการตลาด ฝ่ายบริหารทรัพย์สิน

หน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการจัดการ 1. จัดทำและนำเสนอแผนยุทธศาสตร์ 2. จัดทำและนำเสนองบประมาณประจำปี (Annual Estimate) 3. นำเสนองบประมาณรายจ่าย เพื่อการลงทุนที่มีวงเงินเกิน 50 ล้านบาท 4. นำเสนอการแต่งตั้งผู้บริหารที่รายงานตรงต่อกรรมการผู้จัดการใหญ่ 5. พิจารณาอนุมัติการดำเนินการต่างๆ แทนคณะกรรมการบริษัท และคณะกรรมการบริหารตามที่ได้รับมอบหมาย ดังนี้ รายการที่เกี่ยวกับธนาคาร และสถาบันการเงิน อันเป็นการประกอบธุรกิจทางการค้าปกติของบริษัท รายการที่เกี่ยวกับบริษัทย่อย และเงินลงทุนในหลักทรัพย์ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท และคณะกรรมการบริหาร การดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับศูนย์การค้าทุกแห่งของบริษัทและบริษัทย่อย อันเป็นการประกอบธุรกิจ ทางการค้าปกติหรือรายการสนับสนุนธุรกิจปกติของบริษัท อนุมัติงบประมาณการลงทุนที่มีวงเงินไม่เกิน 50 ล้านบาท รายการอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทหรือคณะกรรมการบริหารเป็นคราวๆ ไป

» » » » »

คณะกรรมการชุดย่อย

คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการตรวจสอบ ซึ่งผ่านการแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริษัท ประกอบด้วยกรรมการอิสระที่มิได้เป็นผู้บริหารของบริษัททั้งหมด 3 คน มีประธานกรรมการตรวจสอบเป็นผู้มีความรู้และประสบการณ์ด้านการบัญชี โดยรายชื่อคณะกรรมการมีดังนี้ 1. นายไพฑูรย์ ทวีผล 2. นายจักก์ชัย พานิชพัฒน์ 3. นางสุนันทา ตุลยธัญ

ประธานกรรมการตรวจสอบ (กรรมการอิสระและไม่เป็นผู้บริหาร) กรรมการตรวจสอบ (กรรมการอิสระและไม่เป็นผู้บริหาร) กรรมการตรวจสอบ (กรรมการอิสระและไม่เป็นผู้บริหาร)

หน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ 1. สอบทานรายงานทางการเงินให้บริษัทมีกระบวนการจัดทำและการเปิดเผยข้อมูลในรายงานทางการเงินของบริษัทให้มีความถูกต้อง ครบถ้วน เชื่อถือได้และทันเวลา โดยการประสานงานกับผู้สอบบัญชีและผู้บริหารที่รับผิดชอบจัดทำรายงานทางการเงินทั้งรายไตรมาส และประจำปี 2. พิ จ ารณารายการที่ เกี่ ย วโยงกัน และรายการที่ อ าจมีค วามขั ดแย้งทางผลประโยชน์ ให้เป็ นไปตามกฎหมายและข้ อ กำหนดของ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อให้มั่นใจว่ารายการดังกล่าวสมเหตุสมผล และเป็นประโยชน์สูงสุดต่อบริษัท


78 .79

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป

2551

3. พิจารณาการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทในกรณีที่เกิดรายการเกี่ยวโยงหรือรายการที่เกี่ยวข้องหรือรายการที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้ง ทางผลประโยชน์ให้มีความถูกต้องและครบถ้วน 4. สอบทานให้บริษัทมีระบบการควบคุมภายในที่เหมาะสมและมีประสิทธิผล 5. พิจารณาผลการตรวจสอบและข้อเสนอแนะของผู้สอบบัญชีและสำนักตรวจสอบภายใน เกี่ยวกับระบบการควบคุมภายใน และเสนอ ให้ฝ่ายบริหารปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะ รวมทั้งติดตามผลการดำเนินการตามข้อเสนอแนะนั้น 6. สอบทานให้บริษัทมีหน่วยงานตรวจสอบภายในที่มีความเป็นอิสระ และมีระบบการตรวจสอบภายในที่มีประสิทธิผล 7. สอบทานกิจกรรมและโครงสร้างของสำนักตรวจสอบภายใน และอนุมัติกฎบัตรของสำนักตรวจสอบภายใน 8. พิจารณาให้ความเห็นในการแต่งตั้ง ถอดถอน โยกย้าย เสนอความดีความชอบหรือเลิกจ้าง รวมทั้งการกำหนดและปรับค่าตอบแทน ผู้จัดการสำนักตรวจสอบภายใน 9. สอบทานแผนการตรวจสอบภายในร่วมกับผู้จัดการสำนักตรวจสอบภายใน โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับระบบควบคุมภายใน และกระบวนการ จัดการทางการเงิน 10. พิจารณาให้ความเห็นและให้ข้อสังเกตงบประมาณและอัตรากำลังของสำนักตรวจสอบภายใน เพื่อเสนอฝ่ายบริหารเป็นผู้อนุมัติ 11. พิ จ ารณาแผนงานตรวจสอบ และขอบเขตการตรวจสอบของผู้ ต รวจสอบภายในและผู้ ส อบบั ญ ชี ข องบริ ษั ท ให้ มี ค วามสั ม พั น ธ์ ที่ เกื้อกูลกัน ไม่ซ้ำซ้อน 12. พิจารณาคัดเลือก เสนอแต่งตั้งและเสนอค่าตอบแทนผู้สอบบัญชี เพื่อให้ได้ผู้สอบบัญชีที่มีความเป็นอิสระ โดยคำนึงถึงความน่าเชื่อถือ ความเพียงพอของทรัพยากร ปริมาณงานตรวจสอบของสำนักงานตรวจสอบบัญชีนั้น และประสบการณ์ของบุคลากรที่ได้รับมอบหมาย ให้ตรวจสอบบัญชีของบริษัท รวมถึงผลการปฏิบัติงานในปีที่ผ่านมาตลอดจนพิจารณาถอดถอนผู้สอบบัญชี 13. สอบทานขอบเขตและวิธีการตรวจสอบที่เสนอโดยผู้สอบบัญชี รวมทั้งพิจารณาเหตุผลในการเปลี่ยนแปลงแผนการตรวจสอบ (กรณี มีการเปลี่ยนแปลงแผนการตรวจสอบในภายหลัง) 14. เสนอแนะให้ผู้สอบบัญชีสอบทานหรือตรวจสอบรายการใดๆ ที่เห็นว่าจำเป็นและเป็นเรื่องสำคัญระหว่างการตรวจสอบบัญชีของ บริษัทและบริษัทย่อยได้ 15. สอบทานรายงานของผู้สอบบัญชีที่จัดทำเสนอให้ฝ่ายบริหารปรับปรุงแก้ไข และติดตามผลการดำเนินการตามข้อเสนอแนะนั้น 16. พิจารณาความเพียงพอและความมีประสิทธิภาพในการประสานงานระหว่างผู้สอบบัญชีและผู้ตรวจสอบภายใน 17. รับทราบจากผู้สอบบัญชีโดยไม่ชักช้าในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติการณ์อันควรสงสัยว่ากรรมการ ผู้จัดการหรือบุคคลซึ่งรับผิดชอบ ในการดำเนินงานของบริษัทได้กระทำความผิดตามมาตรา 281/2 วรรค 2 มาตรา 305, 306, 308, 309, 310, 311, 312 หรือมาตรา 313 ของพรบ.เมื่อผู้สอบบัญชีได้พบ และดำเนินการตรวจสอบต่อไปโดยไม่ชักช้า รวมทั้งต้องรายงานผลการตรวจสอบเบื้องต้น ให้แก่สำนักงานคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์และผู้สอบบัญชีทราบ ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากผู้สอบบัญชี 18. สอบทานให้บ ริ ษั ทปฏิบั ติ ต ามกฎหมายว่า ด้วยหลัก ทรัพย์แ ละตลาดหลั กทรั พย์ ข้อ กำหนดของตลาดหลักทรัพย์ หรื อกฎหมาย ที่ เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท 19. รายงานผลการดำเนินงานต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท เพื่อทราบและพิจารณา อย่างน้อยไตรมาสละครั้ง 20. จัดทำรายงานผลการดำเนินงานประจำปีของคณะกรรมการตรวจสอบโดยแสดงรายการตามที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กำหนด และให้ลงนามโดยประธานกรรมการตรวจสอบ รวมทั้งเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปีของบริษัท


21. รายงานคณะกรรมการบริษัท หากพบหรือมีข้อสงสัยว่ามีรายการที่เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ มีการทุจริต หรือฝ่าฝืนกฎหมาย ว่ า ด้ ว ยหลั ก ทรั พ ย์ แ ละตลาดหลั ก ทรั พ ย์ ข้ อ กำหนดของตลาดหลั ก ทรั พ ย์ หรื อ กฎหมายที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ ธุ ร กิ จ ของบริ ษั ท ซึ่ ง อาจ ส่งผลกระทบอย่างมีนยั สำคัญต่อฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษทั และหากคณะกรรมการบริษทั หรือผูบ้ ริหารไม่ดำเนินการ ให้มีการปรับปรุงแก้ไข ภายในเวลาที่คณะกรรการตรวจสอบเห็นสมควร กรรมการตรวจสอบอาจรายงานต่อสำนักงานคณะกรรมการ กำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 22. สอบทานให้บริษัทมีกระบวนการพัฒนาการกำกับดูแลกิจการที่ดีอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งให้แนวทางและข้อเสนอแนะที่จำเป็นเพื่อ การพัฒนา 23. ให้ความสำคัญโดยส่งเสริมให้บริษัทกำหนดเรื่องการกำกับดูแลกิจการที่ดี ไว้เป็นวาระประจำของการประชุมคณะกรรมการบริษัท และการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัท 24. ติดตามให้ประธานกรรมการตรวจสอบต้องได้รับสำเนารายงานการมีส่วนได้เสียตามมาตรา 89/14 ตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ จากเลขานุการบริษัท ภายใน 7 วันทำการนับแต่วันที่บริษัทได้รับรายงานนั้น 25. สอบทานให้บริษัทมีกระบวนการบริหารความเสี่ยงอย่างเป็นระบบมาตรฐานที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล 26. ร่วมกับคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง คณะทำงานบริหารความเสี่ยง และฝ่ายบริหารในการพิจารณาและให้ความเห็นในรายงานผล และรายงานความคืบหน้าการบริหารความเสี่ยงของบริษัท 27. ปฏิบัติการอื่นใด ตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมายด้วยความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจสอบ โดยที่คณะกรรมการตรวจสอบ มีความรับผิดชอบต่อคณะกรรมการบริษัทตามหน้าที่และความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท ในขณะที่ ความรับผิดชอบในกิจกรรมทุกประการของบริษัทต่อบุคคลภายนอกยังคงเป็นของคณะกรรมการบริษัททั้งคณะ 28. ทบทวนและปรั บ ปรุ ง กฎบั ต รเกี่ ย วกั บ คณะกรรมการตรวจสอบให้ ทั น สมั ย และเหมาะสมกั บ สภาพแวดล้ อ มของบริ ษั ท เป็ น ปกติ ปีละครั้ง

คณะกรรมการสรรหาและกำหนดคาตอบแทน คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน ซึ่งผ่านการแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริษัท ประกอบด้วยกรรมการ 3 คน โดยมีกรรมการ 2 ใน 3 คน เป็นกรรมการอิสระ และประธานเป็นกรรมการอิสระ รายชื่อคณะกรรมการมีดังนี้ 1. นายจักก์ชัย พานิชพัฒน์ 2. นางสุนันทา ตุลยธัญ 3. นายครรชิต บุนะจินดา

ประธานกรรมการ (กรรมการอิสระและไม่เป็นผู้บริหาร) กรรมการ (กรรมการอิสระและไม่เป็นผู้บริหาร) กรรมการ (กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร)

และมีการแต่งตั้งที่ปรึกษาคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนจำนวน 4 คน ดังนี้ 1. 2. 3. 4.

นายสุทธิชาติ จิราธิวัฒน์ นายสุทธิศักดิ์ จิราธิวัฒน์ นายสุทธิธรรม จิราธิวัฒน์ นายปริญญ์ จิราธิวัฒน์

ที่ปรึกษา ที่ปรึกษา ที่ปรึกษา ที่ปรึกษา

(กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร) (กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร) (กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร) (กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร)


80 .81

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป

2551

หน้าที่และความรับผิดชอบในการสรรหา 1. เสนอนโยบายการคัดเลือกและสรรหากรรมการ โดยต้องมีวิธีการและหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน เป็นธรรมและสมเหตุสมผล เพื่อนำเสนอ ให้คณะกรรมการบริษัทพิจารณา แล้วจึงเสนอที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติ 2. เสนอนโยบายการคัดเลือกและสรรหากรรมการผู้จัดการใหญ่ โดยต้องมีวิธีการและหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน เป็นธรรมและสมเหตุสมผล เพื่อนำเสนอให้คณะกรรมการบริษัทพิจารณาอนุมัติ 3. ทบทวนและนำเสนอขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริษัทในเรื่องเกี่ยวกับนโยบายและกลยุทธ์ด้านทรัพยากรบุคคลซึ่งต้องสอดคล้อง กับกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจของบริษัท 4. สรรหา คั ด เลื อ กและเสนอชื่ อ บุ ค คลที่ ท รงคุ ณ วุ ฒิ มี คุ ณ ธรรม จริ ย ธรรมและคุ ณ สมบั ติ เ หมาะสมที่ ส มควรได้ รั บ การแต่ ง ตั้ ง เป็ น กรรมการและหรือกรรมการผู้จัดการใหญ่แล้วแต่กรณี 5. ทบทวนสัดส่วน จำนวน และประสบการณ์ของกรรมการบริษัท รวมถึงให้ข้อเสนอแนะในการสรรหากรรมการแทนตำแหน่งที่ว่างลง 6. ดูแลให้มีแผนสืบแทนตำแหน่งที่เฉพาะเจาะจงของกรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ 7. กำหนดระยะเวลาและเงื่อนไขต่างๆ ในสัญญาจ้างกรรมการผู้จัดการใหญ่ รวมทั้งประเมินผลงานและเสนอแนะผู้สืบแทนตำแหน่ง หน้าที่และความรับผิดชอบในการกำหนดค่าตอบแทน 1. กำหนดนโยบายและรูปแบบการให้ผลประโยชน์ตอบแทนกรรมการ ให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจของบริษัท โดยต้อง มีวิธีการและหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน เป็นธรรมและสมเหตุสมผล เพื่อนำเสนอให้คณะกรรมการบริษัทพิจารณา แล้วจึงเสนอที่ประชุม ผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติ 2. กำหนดนโยบายและรูปแบบการให้ผลประโยชน์ตอบแทนกรรมการผู้จัดการใหญ่ให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจของ บริษัท โดยต้องมีวิธีการและหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน เป็นธรรมและสมเหตุสมผล เพื่อนำเสนอให้คณะกรรมการบริษัทพิจารณาอนุมัติ 3. เสนอแนวทางและวิธีการจ่ายค่าตอบแทนทั้งที่เป็นตัวเงิน หรือค่าตอบแทนรูปแบบอื่นๆ ให้แก่ คณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการ ชุดต่างๆ ที่คณะกรรมการบริษัทแต่งตั้ง และกรรมการผู้จัดการใหญ่ของบริษัท 4. พิจารณาและทบทวนโครงสร้างและระบบการจ่ายค่าตอบแทนและอัตราค่าตอบแทนให้สอดคล้องกับสภาวะตลาด ณ ปัจจุบัน และ เหมาะสมกับผลการดำเนินงานของบริษัทและผลการปฏิบัติงานของกรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่แต่ละคน 5. ดูแลให้กรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสมกับหน้าที่และความรับผิดชอบที่มีต่อบริษัท 6. กำหนดแนวทางการประเมินผลงานของกรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ เพื่อพิจารณาปรับผลตอบแทนประจำปี โดยคำนึงถึง หน้าที่ ความรับผิดชอบและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการให้ความสำคัญกับการเพิ่มมูลค่าของส่วนของผู้ถือหุ้นในระยะยาว ประกอบการพิจารณาประเมินผลด้วย 7. พิ จ ารณากำหนดค่ า ตอบแทนประจำปี แ ก่ ก รรมการและกรรมการผู้ จั ด การใหญ่ เป็ น รายบุ ค คล ก่ อ นนำเสนอขออนุ มั ติ ต่ อ คณะกรรมการบริษัท


คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ประกอบด้วยกรรมการ 10 คน ซึ่งเป็นผู้บริหารจากส่วนงานต่างๆ ดังรายชื่อต่อไปนี้ 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10.

นายนริศ เชยกลิ่น นางสุวดี สิงห์งาม นางสาววัลยา จิราธิวัฒน์ นายธีระชาติ นุมานิต นางปณิดา สุขศรีดากุล นายวิวัฒน์ เจริญสวัสดิ์พงศ์ นางภัทรา ทรัพยะประภา นายอธิวุฒิ สุวรรณจินดา นายธนสมบัติ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา นางประไพรัตน์ คณาวิทยา

ประธานคณะกรรมการ รองประธานคณะกรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ

และได้แต่งตั้งที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง 3 คน ซึ่งเป็นกรรมการ และผู้บริหารบริษัท ดังรายชื่อต่อไปนี้ 1. นายไพฑูรย์ ทวีผล 2. นายปริญญ์ จิราธิวัฒน์ 3. นายกอบชัย จิราธิวัฒน์

ประธานที่ปรึกษา รองประธานที่ปรึกษา รองประธานที่ปรึกษา

หน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง 1. นำเสนอและให้การสนับสนุนคณะกรรมการบริษัทในการกำหนดนโยบายการบริหารความเสี่ยง และระดับความเสี่ยงที่สามารถ ยอมรับได้ 2. กำหนดกรอบการบริหารความเสี่ยงของบริษัทฯ ให้สอดคล้องกับนโยบายการบริหารความเสี่ยง และติดตามการนำไปปฏิบัติ รวมทั้ง การสอบทานประสิทธิผลของกรอบการบริหารความเสี่ยง 3. นำเสนอภาพรวมความเสี่ยงของบริษัทฯ วิธีการจัดการ และผลการติดตามความเสี่ยงต่อคณะกรรมการบริษัท 4. สอบทานรายงานการบริหารความเสี่ยง และดำเนินการเพื่อให้มั่นใจได้ว่าการจัดการความเสี่ยงมีความเพียงพอและเหมาะสม สามารถ จัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ และการบริหารความเสี่ยงได้ถูกนำไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง 5. ประสานงานร่ ว มกั บ คณะกรรมการตรวจสอบอย่ า งสม่ ำ เสมอโดยการแลกเปลี่ ย นความรู้ แ ละข้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ ความเสี่ ย งและ การควบคุมภายในที่มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อบริษัทฯ 6. ดำเนินการตัดสินใจและให้คำแนะนำเกี่ยวกับปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นในกระบวนการบริหารความเสี่ยง 7. สนับสนุนให้เกิดมีวัฒนธรรมการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในที่เหมาะสม


82 .83

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป

2551

คณะกรรมการบรรษั ท ภิ บ าล คณะกรรมการบรรษัทภิบาล ประกอบด้วยกรรมการ 6 คน ซึ่งเป็นผู้บริหารจากส่วนงานต่างๆ ดังรายชื่อต่อไปนี้ 1. 2. 3. 4. 5. 6.

นายนริศ เชยกลิ่น ดร.ณัฐกิตต์ ตั้งพูลสินธนา นางผุสดี พันธุมพันธ์ นางสาวนภารัตน์ ศรีวรรณวิทย์ นางสุวดี สิงห์งาม นายอุทัย ก้องกิตติวงศ์

ประธานกรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ

หน้าที่และความรับผิดชอบคณะกรรมการบรรษัทภิบาล 1. กำหนดและทบทวนนโยบาย ข้อกำหนด และวีธีการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี 2. กำหนดนโยบายและวางแผนเกี่ยวกับกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบต่อสังคม 3. ประชุมรายไตรมาสเพื่อติดตามความคืบหน้าของแผนงานบรรษัทภิบาล และความรับผิดชอบต่อสังคม รวมทั้งให้ข้อแนะนำและ การสนับสนุนที่จำเป็นแก่คณะทำงานบรรษัทภิบาล 4. ตรวจประเมินภายในด้วยเกณฑ์บรรษัทภิบาล เพื่อกำหนดประเด็นที่ควรปรับปรุง 5. เป็นตัวแทนบริษัทในการสื่อสารและการดำเนินกิจกรรมด้านบรรษัทภิบาลทั้งกับผู้บริหาร พนักงาน และหน่วยงานภายนอก นอกจากนี้ คณะกรรมการบรรษัทภิบาลได้แต่งตั้งคณะทำงานด้านการรณรงค์ส่งเสริมและประชาสัมพันธ์บรรษัทภิบาล ซึ่งประกอบด้วย ตัวแทนจากแผนกต่างๆ โดยมีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้ 1. กำหนดแผนการดำเนินงาน การรณรงค์ และประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างความตระหนัก เรื่องบรรษัทภิบาลและความรับผิดชอบต่อ สังคมให้กับผู้บริหารและพนักงานทุกระดับ 2. ให้ความรู้และสร้างความเข้าใจในบทบาทของตนเองที่มีต่อหลักบรรษัทภิบาล และความรับผิดชอบต่อสังคมให้กับผู้บริหารทุกระดับ 3. ติด ตามความคืบ หน้า ทบทวน และปรับ ปรุ ง ผลการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผนที่ กำหนดไว้ และจัดทำสรุปเพื่อ รายงานต่ อ คณะกรรมการการกำกับดูแลกิจการทุกไตรมาส


ก า ร ส ร ร ห า ก ร ร ม ก า ร แ ล ะ ผู บ ริ ห า ร การสรรหากรรมการ ตามข้ อ บัง คั บ ของบริ ษั ท กำหนดว่า ในการประชุมสามั ญประจำปีทุกครั้ ง ให้กรรมการออกจากตำแหน่ง 1 ใน 3 ถ้าจำนวนกรรมการ ที่จะแบ่งออกให้ตรงเป็นสามส่วนไม่ได้ ให้ออกจำนวนใกล้ที่สุดกับส่วน 1 ใน 3 โดยให้กรรมการคนที่อยู่ในตำแหน่งนานที่สุดนั้นเป็น ผู้ออกจากตำแหน่ง และกรรมการที่ออกจากตำแหน่งมีสิทธิได้รับเลือกตั้งกลับมาดำรงตำแหน่งใหม่ได้ ทั้งนี้ ในการสรรหากรรมการ บริษัทเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน ในการพิจารณาคัดเลือกและกลั่นกรองบุคคลที่มี คุณสมบัติเหมาะสม ตามข้อบังคับของบริษัท และนำเสนอขอความเห็นชอบจากกรรมการ จากนั้นนำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเป็น ผู้เลือกตั้งกรรมการตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังต่อไปนี้ 1. ในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งกรรมการให้ใช้เสียงข้างมาก โดยให้ถือว่าผู้ถือหุ้นแต่ละคนมีคะแนนเสียงเท่ากับหนึ่งหุ้นต่อหนึ่งเสียง 2. ให้ผู้ถือหุ้นลงคะแนนเสียงทั้งหมดที่ตนมีอยู่เลือกบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นกรรมการทีละคน 3. บุ ค คลซึ่ ง ได้ รั บ คะแนนเสี ย งสู ง สุ ด ตามลำดั บ ลงมาเป็ น ผู้ ไ ด้ รั บ เลื อ กตั้ ง เป็ น กรรมการเท่ า จำนวนกรรมการที่ จ ะพึ ง มี หรื อ พึ ง จะ เลื อ กตั้ ง ในครั้ ง นั้ น ในกรณี ที่ บุ ค คลซึ่ ง ได้ รั บ เลื อ กตั้ ง ในลำดั บ ถั ด ลงมามี ค ะแนนเสี ย งเท่ า กั น เกิ น จำนวนกรรมการที่ จ ะพึ ง มี ให้ ประธานที่ประชุมออกเสียงได้เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเสียง เป็นเสียงชี้ขาด ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการสรรหากรรมการอิสระ บริษัทได้กำหนดคุณสมบัติความเป็นอิสระไว้เข้มกว่าข้อกำหนดของสำนักงานคณะกรรมการ กำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ รายละเอียดดังนี้

คุณสมบัติของกรรมการอิสระ 1. ถือหุ้นไม่เกิน 0.5% ของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วมหรือนิติบุคคลที่อาจ มีความขัดแย้ง โดยให้นับรวมหุ้นที่ถือโดยผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย 2. ไม่ เ ป็ น หรื อ เคยเป็ น กรรมการที่ มี ส่ ว นร่ ว มบริ ห ารงาน ลู ก จ้ า ง พนั ก งาน ที่ ป รึ ก ษาที่ ไ ด้ รั บ เงิ น เดื อ นประจํ า หรื อ ผู้ มี อํ า นาจ ควบคุม ของบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม บริษัทย่อยลำดับเดียวกัน หรือนิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง เว้นแต่จะ พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปีก่อนได้รับการแต่งตั้ง 3. ไม่เป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์​์ทางสายโลหิตหรือโดยการจดทะเบียนตามกฎหมาย ในลักษณะที่เป็นบิดามารดา คู่สมรส พี่น้อง และบุตร รวมทั้งคู่สมรสของบุตร กับผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้มีอำนาจควบคุม หรือบุคคลที่จะได้รับการเสนอให้เป็นผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัทหรือบริษัทย่อย 4. ไม่มีหรือเคยมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือนิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง ในลักษณะ ที่ อ าจขั ด ขวางการใช้ วิ จ ารณญาณอย่ า งอิ ส ระของตน รวมทั้ ง ไม่ เ ป็ น หรื อ เคยเป็ น ผู้ ถื อ หุ้ น รายใหญ่ กรรมการซึ่ ง ไม่ ใช่ ก รรมการ อิสระ หรือผู้บริหาร ของผู้ที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือนิติบุคคลที่อาจมีความ ขัดแย้ง เว้นแต่จะพ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปีก่อนได้รับการแต่งตั้ง ความสัมพันธ์ทางธุรกิจ รวมถึงการทำรายการทางการค้าที่กระทำเป็นปกติเพื่อประกอบกิจการ การเช่าหรือให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ รายการเกี่ยวกับสินทรัพย์หรือบริการ การให้หรือรับความช่วยเหลือทางการเงินด้วยการรับหรือให้กู้ยืม ค้ำประกัน การให้สินทรัพย์


84 .85

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป

2551

เป็นหลักประกันหนี้สิน รวมถึงพฤติการณ์อื่นทำนองเดียวกัน ซึ่งมีมูลค่าของการทำรายการเกินกว่า 20 ล้านบาท หรือ เกินกว่า 3% ของสินทรัพย์ที่มีตัวตนสุทธิ แล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่า ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามวิธีการคำนวณมูลค่าของรายการที่เกี่ยวโยงกัน ตามประกาศคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ว่าด้วยการเปิดเผยข้อมูลและการปฏิบัติของบริษัทจดทะเบียนใน รายการที่เกี่ยวโยงกัน โดยให้นับรวมมูลค่ารายการที่เกิดขึ้นระหว่าง 1 ปี ก่อนวันที่มีการทำรายการในครั้งนี้ด้วย 5. ไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้สอบบัญชีของบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือนิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง และไม่เป็นผู้ถือหุ้น รายใหญ่ กรรมการซึ่งไม่ใช่กรรมการอิสระ ผู้บริหาร หรือหุ้นส่วนผู้จัดการของสำนักงานสอบบัญชี ซึ่งมีผู้สอบบัญชีของบริษัท บริษัท ใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือนิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งสังกัดอยู่ เว้นแต่จะพ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปีก่อนได้รับการแต่งตั้ง 6. ไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้ให้บริการทางวิชาชีพใดๆ ซึ่งรวมถึงการให้บริการเป็นที่ปรึกษากฎหมายหรือที่ปรึกษาทางการเงิน ซึ่งได้รับ ค่าบริการเกินกว่า 2 ล้านบาทต่อปี จากบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือนิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง ทั้งนี้ ในกรณี ที่ผู้ให้บริการทางวิชาชีพเป็นนิติบุคคลให้รวมถึงการเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ กรรมการซึ่งไม่ใช่กรรมการอิสระ ผู้บริหาร หรือหุ้นส่วน ผู้จัดการ ของผู้ให้บริการทางวิชาชีพนั้นด้วย เว้นแต่จะพ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปีก่อนได้รับการแต่งตั้ง 7. ไม่เป็นกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของกรรมการของบริษัท ผู้ถือหุ้นรายใหญ่หรือผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นผู้เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้น รายใหญ่ของบริษัท 8. ไม่มีลักษณะอื่นใดที่ทำให้ไม่สามารถให้ความเห็นอย่างเป็นอิสระเกี่ยวกับการดำเนินงานของบริษัท บริษัทเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นสามารถมีส่วนร่วมในการเสนอชื่อบุคคลเพื่อรับการพิจารณาเลือกตั้งเป็นกรรมการได้ล่วงหน้า โดยบริษัท ได้เผยแพร่วิธีการเสนอ และขั้นตอนการพิจารณาไว้บนเว็บไซต์ www.cpn.co.th และได้แจ้งให้ผู้ลงทุนทราบผ่านช่องทางการแจ้งสารสนเทศ ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งในปี 2551 ไม่มีผู้ถือหุ้นรายใดเสนอชื่อบุคคลเพื่อรับการพิจารณาเลือกตั้งเป็นกรรมการ กรรมการใหม่ที่ได้รับแต่งตั้งจะได้รับทราบบทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบ ข้อมูลเกี่ยวกับข้อบังคับของคณะกรรมการต่างๆ แผนกลยุทธ์ และนโยบายที่ ส ำคัญ ของบริษัท โครงสร้ า งการจัด การ ลั กษณะการประกอบธุรกิ จ ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของบริ ษัท เพื่อ สร้า ง ความเข้าใจแก่กรรมการเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของกรรมการและการประกอบธุรกิจของบริษัท นอกจากนี้ ยังมีการส่งเสริมให้กรรมการ ได้รับการอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับกรรมการต่างๆ อย่างเต็มที่ เพื่อให้กรรมการมีความรู้ความเข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่ในฐานะกรรมการ ตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี รวมถึงกฎระเบียบและข้อพึงปฏิบัติของหน่วยงานกำกับดูแลได้ดียิ่งขึ้น เพื่อการปฏิบัติหน้าที่กรรมการ ของบริษัทได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ในปี 2551 คณะกรรมการบริษัทยังคงเป็นคณะกรรมการชุดเดิม ซึ่งไม่มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนและตัวบุคคล แต่อย่างไรก็ตามคณะกรรมการ สรรหาและกำหนดค่าตอบแทนมีแผนที่จะดำเนินการสรรหากรรมการอิสระเพิ่มเติมเพื่อให้สัดส่วนกรรมการอิสระไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของคณะกรรมการทั้งหมด เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ภายในปี 2553

การสรรหาผูบริหาร การสรรหากรรมการผู้จัดการใหญ่ ทางคณะกรรมการบริ หารจะเป็นผู้พิจ ารณาเบื้องต้น ในการกลั่นกรองสรรหาบุค คลที่ มีคุ ณสมบัติค รบถ้ว นเหมาะสม มีค วามรู้ ค วาม สามารถและประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานของบริษัท และนำเสนอต่อคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน พิจารณาให้ความเห็นชอบ เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทพิจารณาอนุมัติต่อไป

การสรรหาผู้บริหาร กรรมการผู้จัดการใหญ่เป็นผู้พิจารณาสรรหาและแต่งตั้งบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับตำแหน่งและหน้าที่ความรับผิดชอบ รวมถึงมี ความรู้ ค วามสามารถและประสบการณ์ ที่ เ ป็ น ประโยชน์ ต่ อ การดำเนิ น งานของบริ ษั ท โดยการคั ด เลื อ กเป็ น ไปตามระเบี ย บในการ สรรหาบุคคลของฝ่ายทรัพยากรมนุษย์


ค า ต อ บ แ ท น ก ร ร ม ก า ร แ ล ะ ผู บ ริ ห า ร คาตอบแทนกรรมการ บริ ษั ท มีก ารกำหนดนโยบายค่า ตอบแทนกรรมการอย่างเป็นธรรมและสมเหตุส มผล ผ่ านการพิจารณากลั่ นกรองจากคณะกรรมการ สรรหาและกำหนดค่า ตอบแทน โดยคำนึง ถึง ความสอดคล้ อ งกั บหน้าที่ค วามรั บผิดชอบของกรรมการ ผลการดำเนิ นงานของบริษั ท และพิจารณาเปรียบเทียบกับบริษัทในกลุ่มธุรกิจเดียวกันหรือใกล้เคียงกันกับบริษัท ทั้งนี้ ค่าตอบแทนรวมที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุม ผู้ถือหุ้นประจำปี 2551 มีวงเงินไม่เกิน 8,500,000 บาท โดยโครงสร้างอัตราค่าตอบแทนกรรมการที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2551 มีดังนี้ ประเภทค่าตอบแทน 1. ค่าตอบแทนประจำไตรมาส (บาท/ไตรมาส) ประธานกรรมการ กรรมการอิสระที่เป็นประธานกรรมการตรวจสอบ กรรมการอิสระที่เป็นกรรมการตรวจสอบ กรรมการอิสระ และกรรมการ

จำนวนเงิน (บาท)

100,000 100,000 80,000 60,000

2. ค่าเบี้ยประชุมกรรมการบริษัท (บาท/ครั้ง) ประธานกรรมการ กรรมการอิสระ กรรมการ

40,000 20,000 20,000

3. ค่าเบี้ยประชุมกรรมการตรวจสอบ (บาท/ครั้ง) ประธานกรรมการตรวจสอบ กรรมการตรวจสอบ

40,000 22,500

4. ค่าเบี้ยประชุมกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน (บาท/ครั้ง)

20,000

5. ค่าเบี้ยประชุมที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง (บาท/ครั้ง)

20,000

ค่ า ตอบแทนรวมของคณะกรรมการที่ ไ ด้ รั บ จากบริ ษั ท ในฐานะกรรมการบริ ษั ท กรรมการตรวจสอบ กรรมการสรรหาและกำหนด ค่ า ตอบแทน และที่ ป รึ ก ษาคณะกรรมการบริ ห ารความเสี่ ย ง สำหรั บ กรรมการ 13 คน ซึ่ ง ได้ รั บ เงิ น ค่ า ตอบแทนประจำ และ ค่ า เบี้ ยประชุม ในปี 2551 รวมทั้งสิ้น 6,170,000 บาท ทั้งนี้ รายละเอียดการเข้าร่วมประชุมและค่าตอบแทนกรรมการ ปี 2551 มีดังนี้


รวม

12. นายกอบชัย จิราธิวัฒน์ 13. นายปริญญ์ จิราธิวัฒน์

11. นายสุทธิธรรม จิราธิวัฒน์

10. นายสุทธิศักดิ์ จิราธิวัฒน์

7. นายสุทธิชัย จิราธิวัฒน์ 8. นายสุทธิเกียรติ จิราธิวัฒน์ 9. นายสุทธิชาติ จิราธิวัฒน์

6. นายครรชิต บุนะจินดา

5. นางสุนันทา ตุลยธัญ

4. นายจักก์ชัย พานิชพัฒน์

ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ กรรมการ, ประธานกรรมการ ตรวจสอบ, ประธานที่ปรึกษา คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง กรรมการ, กรรมการตรวจสอบ, ประธานกรรมการสรรหา และกำหนดค่าตอบแทน กรรมการ, กรรมการตรวจสอบ, กรรมการสรรหา และกำหนดค่าตอบแทน กรรมการ, กรรมการสรรหา และกำหนดค่าตอบแทน กรรมการ กรรมการ กรรมการ, ที่ปรึกษากรรมการ สรรหาและกำหนดค่าตอบแทน กรรมการ, ที่ปรึกษากรรมการ สรรหาและกำหนดค่าตอบแทน กรรมการ, ที่ปรึกษากรรมการ สรรหาและกำหนดค่าตอบแทน กรรมการ กรรมการ, ที่ปรึกษากรรมการ สรรหาและกำหนดค่าตอบแทน, ที่ปรึกษาคณะกรรมการ บริหารความเสี่ยง

ตำแหน่ง

2/4 2/3 4/7 4/4 2/3 6/7

4/4 3/3 7/7

4/4 3/3 7/7

4/4 2/3 6/7 4/4 2/3 6/7 3/4 3/3 6/7

4/4 3/3 7/7

4/4 2/3 6/7

4/4 3/3 7/7

4/4 1/3 5/7 - - 4/4 3/3 7/7

-

-

-

-

-

11/11

11/11

11/11

2/2

2/2

2/2

2/2

2/2

2/2

2/2

-

4/4

-

-

-

-

-

-

4/4

3,090,000

200,000 200,000

200,000

200,000

200,000 200,000 200,000

200,000

300,000

300,000

320,000 200,000 370,000

1,590,000

80,000 120,000

140,000

140,000

120,000 120,000 120,000

140,000

130,000

150,000

180,000 150,000

1,090,000

-

-

-

-

-

347,500

347,500

395,000

280,000

40,000

40,000

40,000

40,000

40,000

40,000

40,000

-

120,000

60,000

-

-

-

-

-

-

60,000

การเข้าร่วมประชุม (ครั้ง) ค่าตอบแทน ค่าเบีย้ ประชุม ค่าเบีย้ ประชุม ค่าเบีย้ ประชุม ค่าเบีย้ ประชุม คณะกรรมการ คณะ คณะกรรมการ ที่ปรึกษา รายไตรมาส กรรมการ กรรมการ กรรมการ ทีป่ รึกษา บริษัท กรรมการ สรรหาและ คณะกรรมการ บริษทั ตรวจสอบ สรรหา คณะกรรมการ วาระ วาระ รวม ตรวจสอบ กำหนด บริหาร และกำหนด บริหาร ปกติ พิเศษ ค่าตอบแทน ความเสี่ยง ค่าตอบแทน ความเสีย่ ง

6,170,000

280,000 420,000

380,000

380,000

320,000 320,000 360,000

380,000

817,500

837,500

500,000 200,000 975,000

รวม

หน่วย : บาท

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป

1. นายวันชัย จิราธิวัฒน์ 2. นายเอนก สิทธิประศาสน์ 3. นายไพฑูรย์ ทวีผล

รายชื่อกรรมการ

คาตอบแทนกรรมการ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ป 2551

86 .87 2551


คาตอบแทนผูบริหาร บริษัทมีการกำหนดนโยบายค่าตอบแทนผู้บริหารอย่างเป็นธรรมและสมเหตุสมผล โดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับผลการดำเนินงาน และผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารแต่ละคน รวมทั้งพิจารณาเปรียบเทียบกับบริษัทในกลุ่มธุรกิจเดียวกันกับบริษัท โดยค่าตอบแทนที่ ให้แก่ผู้บริหาร มีดังนี้

เงินเดือนและโบนัส บริษัทมีการให้ผลตอบแทนแก่ผู้บริหารเป็นเงินเดือนและโบนัส สำหรับผู้บริหารจำนวน 9 คน ในปี 2551 รวมทั้งสิ้น 49,097,890 บาท

เงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัทได้สมทบเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพสำหรับผู้บริหาร จำนวน 8 คน ในปี 2551 รวมทั้งสิ้น 2,706,720 บาท


88 .89

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป

2551

ร า ย ก า ร ร ะ ห ว า ง กั น บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ประกอบธุรกิจหลักในการให้เช่าพื้นที่ศูนย์การค้า และประกอบธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่องและส่งเสริม การประกอบธุ ร กิ จ ของบริษัท ฯ ซึ่ง ตลอดระยะเวลาการดำเนิ นธุ รกิ จตั้ งแต่อ ดี ตจนถึ งปั จจุ บัน ปัจจัยหนึ่ งที่ส่ งเสริ ม จุดแข็ งให้บริ ษัทฯ ประสบความสำเร็จและเป็นผู้นำในตลาด คือ การมีพันธมิตรทางการค้าเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทฯ ได้แก่ กลุ่มเซ็นทรัล ซึ่งถือหุ้น ในบริษัทฯ ประมาณ 27% และกลุ่มจิราธิวัฒน์ ซึ่งถือหุ้นในบริษัทประมาณ 33% รวมเป็นสัดส่วนประมาณ 60% โดยกลุ่มเซ็นทรัลซึ่ง ถือหุ้นใหญ่โดยตระกูลจิราธิวัฒน์ เป็นผู้นำในธุรกิจค้าปลีกมายาวนานกว่า 60 ปี มีธุรกิจที่หลากหลายทั้งธุรกิจห้างสรรพสินค้า ธุรกิจ โรงแรม ธุรกิจร้านอาหาร และธุรกิจค้าปลีกสินค้าหลากหลายประเภท และธุรกิจในกลุ่มดังกล่าวเป็นผู้เช่าพื้นที่ใหญ่และผู้เช่าพื้นที่ร้าน ค้าในแต่ละศูนย์ของบริษัทฯ จึงอาจกล่าวได้ว่าธุรกิจต่างๆ ในกลุ่มเซ็นทรัลเป็นพันธมิตรทางการค้ากับบริษัทฯ ที่ช่วยเพิ่มอัตราการเช่า และสร้างความมั่นใจแก่ลูกค้ารายอื่นๆ ให้มาเช่าพื้นที่ภายในศูนย์การค้าของบริษัทฯ ซึ่งมีส่วนช่วยยืนยันความสำเร็จของโครงการต่างๆ และสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ จากความสัมพันธ์ทางการค้าดังกล่าวข้างต้นระหว่าง บริษัทฯ และกลุ่มเซ็นทรัล ซึ่ ง เป็ น บุ ค คลที่ เกี่ ย วโยงกัน จึง เป็ นจุด แข็ ง ในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทได้ ตระหนักถึงความโปร่งใสใน การทำรายการระหว่างกันที่จะต้องไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และต้องให้ผู้ถือหุ้นมั่นใจในกระบวนการดำเนินงานที่ เป็นรายการที่เกี่ยวโยงกัน ดังนั้น คณะกรรมการบริษัทจึงได้กำหนดเงื่อนไขทางการค้าที่เป็นปกติธุรกิจในการทำรายการกับบุคคลที่ เกี่ยวโยงกันเพื่อความชัดเจนและเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ และคณะกรรมการบริษัทร่วมกับคณะกรรมการตรวจสอบ ได้กำกับดูแลให้มีการทำรายการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง มีการพิจารณาราคาและเงื่อนไขให้เป็น ไปตามปกติ ธุ ร กิ จ มี ก ารสรุ ป รายการที่ เ กี่ ย วโยงกั น ให้ ค ณะกรรมการตรวจสอบทราบเป็ น ระยะๆ และมี ก ารเปิ ด เผยสารสนเทศต่ อ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และการขออนุมัติตามเกณฑ์ที่สำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทยกำหนด

รายการระหวางกันกับกิจการและบุคคลที่เกี่ยวของ สามารถสรุปได ดังตอไปนี้ 1. รายได้จากกิจการและบุคคลที่เกี่ยวข้องกัน ประกอบด้ ว ย รายได้ จ ากการให้ เช่ า พื้ น ที่ แ ละการให้ บ ริ ก ารสาธารณู ป โภคภายในศู น ย์ ก ารค้ า , รายได้ จ ากการให้ เช่ า ที่ ดิ น , รายได้ ค่ า บริ ห ารงาน และรายได้ อื่ น ๆ จากค่ า เบี้ ย ประกั น ภั ย , ค่ า ภาษี โรงเรื อ น, ค่ า ใช้ จ่ า ยส่ ง เสริ ม การขาย, ค่ า ธรรมเนี ย มค้ ำ ประกั น และ ค่ า บริการต่างๆ ที่เรียกเก็บจากกิจการและบุคคลที่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งในปี 2551 รวมจำนวน 1,499 ล้านบาท ความจำเป็นและความสมเหตุสมผลของรายการ บริษัทฯ ประกอบธุรกิจหลักในการให้เช่าและให้บริการพื้นที่ค้าปลีกภายในศูนย์การค้า อาคารสำนักงาน อาคารที่พักอาศัย ศูนย์อาหาร สวนน้ำและสวนพักผ่อน ที่ตั้งอยู่ในบริเวณโครงการศูนย์การค้า ตลอดจนเป็นผู้ให้บริการสาธารณูปโภคภายในศูนย์การค้าของบริษัทฯ ในขณะเดียวกันบริษัทในกลุ่มเซ็นทรัลมีการประกอบธุรกิจ ห้างสรรพสินค้า, ซูเปอร์มาร์เก็ต, ร้านค้าปลีกและร้านอาหารแบรนด์ชั้นนำ ต่ า งๆ ซึ่ง เป็ น กิ จ การที่ เกี่ย วเนื่องและส่ ง เสริ มธุรกิจ ของบริษัทฯ ทำให้บริษัทฯ มีรายได้จากรายการค้าที่เป็นไปตามปกติธุรกิจและ เงื่อ นไขการค้ า ทั่ ว ไปจากกิ จ การในกลุ่ มเซ็นทรัล ซึ่ ง เป็ นองค์กรที่ มีศักยภาพในการเติบโตและมีฐานะทางการเงินที่มั่นคง นอกจากนี้ ห้างสรรพสินค้า, ซูเปอร์มาร์เก็ต, ร้านค้าปลีกและร้านอาหารแบรนด์ชั้นนำในศูนย์การค้าจะเป็นส่วนที่ดึงดูดให้ลูกค้าเข้ามาใช้บริการ ในศูนย์การค้ามากขึ้น ซึ่งเป็นการเพิ่มผลตอบแทนให้กับบริษัทฯ และผู้ถือหุ้นโดยรวม โดยบริษัทฯ มีนโยบายการกำหนดอัตราค่าเช่า และค่าบริการต่างๆ เพื่อเรียกเก็บจากกิจการและบุคคลที่เกี่ยวข้องกัน ดังนี้ อั ต ราค่ า เช่ า ค่ า บริ ก าร และค่ า บริ ก ารสาธารณู ป โภค จากการให้ เช่ า พื้ น ที่ ใ นศู น ย์ ก ารค้ า ที่ บ ริ ษั ท ฯ เรี ย กเก็ บ จากกิ จ การที่ เกี่ยวข้องกันจะเป็นไปตามราคาตลาด ซึ่งหากเทียบเคียงกับร้านค้าอื่นที่เช่าอยู่บริเวณติดกันหรือใกล้เคียงกัน และอยู่ในชั้นเดียวกัน จะมีอัตราค่าเช่าและค่าบริการใกล้เคียงกัน ทั้งนี้อัตราค่าเช่าจะขึ้นอยู่กับ ทำเล ขนาดพื้นที่ รูปแบบการเช่า ระยะเวลาที่เช่า และ ประเภทของการเช่า และเป็นไปตามหลักการของรายการค้าที่เป็นปกติธุรกิจ

»


»

รายได้อื่ น ที่ เกิ ด ขึ้ นจากการเรี ย กเก็ บ ค่า เบี้ย ประกันภั ย, ค่าภาษีโรงเรื อ น, ค่าใช้จ่ ายส่ งเสริ ม การขาย, ค่ าธรรมเนียมค้ ำประกั น และค่าบริการต่างๆ ที่เรียกเก็บจากลูกค้าที่เช่าพื้นที่ในศูนย์การค้านั้น บริษัทฯ มีนโยบายและหลักเกณฑ์ที่จะเรียกเก็บค่าใช้จ่าย ดังกล่าวเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งกับกิจการที่เกี่ยวข้องกันและลูกค้าทั่วไป โดยคิดจากต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงในการดำเนินงานของ บริษัทฯ และเป็นไปตามประเภท ลักษณะการเช่าพื้นที่ และหลักการของรายการค้าที่เป็นปกติธุรกิจ

»

รายได้จากการให้เช่าที่ดิน โครงการของบริษัทฯ บางโครงการมีการพัฒนาศูนย์การค้าขึ้นมาบนที่ดินแปลงเดียวกันกับโครงการ ของบริ ษั ท ในกลุ่มเซ็ นทรัล โดยพิ จ ารณาจากการส่ งเสริม ความได้เปรียบทางการตลาด และขนาดโครงการที่เหมาะสม ซึ่ง การ พัฒนาโครงการขึ้นมาบนที่ดินแปลงเดียวกันนั้น จะดำเนินการโดยให้บริษัทใดบริษัทหนึ่งเป็นผู้ซื้อหรือเช่าที่ดินทั้งแปลงจากเจ้าของ ที่ดิน และนำที่ดินให้อีกบริษัทหนึ่งเช่าหรือเช่าช่วงตามสัดส่วนพื้นที่ที่ต้องการในราคาทุนบวกดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจริง หรือในราคา ตลาดที่ประเมินโดยผู้ประเมินอิสระ โดยเป็นไปตามกฎหมายและกฎระเบียบของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ/หรือ หน่วยงานอื่นใดที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรายได้ในการให้เช่าที่ดินทุกรายการ จะได้รับการสอบทานและตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ เป็นประจำทุกปี

»

รายได้จากการให้เช่าพื้นที่ขนาดใหญ่ในโครงการศูนย์การค้า จะมีการตกลงในส่วนของค่าตอบแทนกันตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ โครงการ โดยอัตราค่าเช่าจะคำนวณจากต้นทุนค่าที่ดินและค่าก่อสร้างรวมด้วยดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจริงและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ซึ่งรายได้จากค่าตอบแทนการเช่าพื้นที่ใหญ่ในโครงการศูนย์การค้าทุกรายการจะได้รับการสอบทานและตรวจสอบจากผู้สอบบัญชี ของบริษัทฯ เป็นประจำทุกปี

รายละเอียดรายได้จากกิจการและบุคคลที่เกี่ยวข้องกัน

กิจการและบุคคลที่เกี่ยวข้องกัน

มูลค่ารายการระหว่างกัน

ลักษณะรายการ

(ล้านบาท)

1.1 กลุ่มบริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (CRC ) (กลุ่มจิราธิวัฒน์เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่)

928

Ļ บริษัทฯ มีรายได้ค่าเช่า ค่าบริการ ค่าบริการ สาธารณูปโภค และรายได้อื่นๆ จากการให้เช่า พื้นที่ในศูนย์การค้าแก่ธุรกิจในกลุ่ม CRC ซึ่งเป็น รายการปกติธุรกิจ

Ļ บริษัทฯ มีรายได้จากการให้เช่าที่ดินแก่ บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็น บริษทั ในกลุม่ CRC โดยเป็นการเช่าทีด่ นิ บางส่วน ของโครงการขอนแก่น อัตราค่าเช่าที่ดินเป็นไป ตามหลั ก การคำนวณค่ า เช่ า ที่ ดิ น ของบริ ษั ท ฯ ดังกล่าวข้างต้น

Ļ บริ ษ ั ท ฯ มี ร ายได้ ค ่ า บริ ห ารงานจาก บริ ษ ั ท ห้างเซ็นทรัล ดีพาร์ทเม้นท์สโตร์ จำกัด (เจ้าของธุรกิจ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่ม CRC) โดยเป็นการเรียกคืนค่าตอบแทน ผู้บริหาร จากการมีผู้บริหารร่วมกันกับบริษัทฯ และมีการ คิดค่าตอบแทนในอัตราเดียวกับที่กิจการอื่นใน ธุรกิจเดียวกันเรียกเก็บ ǰ ÖúčŠöïøĉþĆìǰđàĘîìøĆúöćøŤđÖĘêêĉĚÜÖøčŢðǰÝĈÖĆéǰ ( CMG ) (กลุ่มจิราธิวัฒน์เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่)

ǰ

Ļǰ ïøĉþĆìĄǰ öĊøć÷ĕéšÙŠćđߊćǰ ÙŠćïøĉÖćøǰ ÙŠćïøĉÖćø สาธารณูปโภค และรายได้อน่ื ๆ จากการให้เช่าพื้นที่ ในศูนย์การค้าตามปกติธรุ กิจแก่กจิ การในกลุม่ CMG


90 .91

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป

2551

กิจการและบุคคลที่เกี่ยวข้องกัน

มูลค่ารายการระหว่างกัน

ลักษณะรายการ

(ล้านบาท)

1.3 กลุ่มบริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน)

ǰ

ǰ

68

ǰ

ǰǰ

1.4 กลุ่มบริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด (CRG) (กลุ่มจิราธิวัฒน์เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่)

173

1.5 กิ จ การอื ่ น ที ่ ม ี บ ุ ค คลที ่ เ กี ่ ย วโยงกั น เป็ น ผู ้ ถ ื อ หุ ้ น หรื อ ดำรงตำแหน่ ง กรรมการ

168

Ļ บริษัทฯ ให้ บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน) เช่าพื้นที่ในส่วน Bangkok Convention Center ของโครงการศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าวซึง่ บริษทั ได้รบั ค่าตอบแทนเป็นรายได้คา่ เช่า และค่าบริการ โดยสัญญาเช่าพื้นที่เป็นสัญญาเช่า ระยะยาวมีอายุสญ ั ญา17ปี สิน้ สุดสัญญาในวันที่18 ธันวาคม 2551 Ļ กองทุนรวมธุรกิจไทย 4 ได้ทำสัญญาให้เช่าช่วง ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างส่วนหนึ่งกับ บริษัท โรงแรม เซ็นทรัลเวิลด์ จำกัด โดยเป็นที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง บริเวณโครงการเซ็นทรัลเวิลด์ บริษัท โรงแรม เซ็นทรัลเวิลด์จำกัด ตกลงจะใช้พนื้ ทีแ่ ละสิง่ ปลูกสร้าง ดังกล่าวพัฒนาโครงการโรงแรม ที่จอดรถ และ Convention Hall โดยสัญญาให้เช่าช่วงที่ดินและ สิ่งปลูกสร้างมีอายุ 29 ปี สิ้นสุดสัญญาในปี 2575 อัตราค่าเช่าที่คิดนั้นเป็นไปตามหลักการคำนวณ ค่าเช่าที่ดินของบริษัทฯและต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง โดยมีการคิดค่าเช่าเป็น 2 ส่วน คือ ค่าเช่าเซ้งจ่าย ในปีที่ทำสัญญาและค่าเช่ารายปี

Ļ บริษัทฯ มีรายได้ค่าเช่า ค่าบริการ ค่าบริการ สาธารณูปโภคและรายได้อื่นๆ จากการให้เช่า พื้นที่ในศูนย์การค้าแก่ธุรกิจในกลุ่ม CRG ซึ่ง เป็นรายการค้าปกติธุรกิจ

Ļ บริ ษ ั ท ฯ มี ร ายได้ ค ่ า เช่ า ค่ า บริ ก าร ค่ า บริ ก าร สาธารณู ป โภค และรายได้ อ ื ่น จากการให้ เช่ า พื ้นทีในศูนย์การค้แก่บริษ ัทอื ่นๆ ที ่ม ีกรรมการ ของบริษทั ฯ เป็นผูถ้ อื หุน้ และ/หรือดำรงตำแหน่ง กรรมการอยู่ เช่น ภัตตาคารญี่ปุ่น ฟูจิ, เซน, ห้องอาหารซากุระ, ไทยพรีวิลเลจเฮลธ์แคร์ สปา, ลี คูเปอร์, เดอะ บอดี้ ช็อป, รากาซเซ ฯลฯ โดยเป็นรายการปกติธุรกิจ

หมายเหตุ : 1) กลุ่ มบริษั ท เซ็ น ทรั ล รีเ ทล คอร์ป อเรชั่น จำกัด (CRC) ดำเนินธุร กิ จ ค้าปลี กโดยประกอบไปด้ ว ย ห้ างสรรพสิ นค้ าเซ็ นทรั ล , ห้ างสรรพสิ น ค้า โรบิน สั น , ห้า งสรรพสิ นค้าเซน, ท็อปส์ ซูเ ปอร์ มาร์เ ก็ ต,ร้ านเพาเวอร์บาย, บีทู เ อส, ซู เ ปอร์ ส ปอร์ ต , โฮมเวิ ร์ ค , ออฟฟิ ศ ดี โ ปท์ (franchise), มาร์ซ แอนด์ สเปนเซอร์ (franchise), วัตสัน (joint venture), มูจิ (franchise) และ บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ (joint venture) 2) กลุ่มบริษัท เซ็นทรัลมาร์เก็ตติ้งกรุ๊ป จำกัด (CMG) ดำเนินธุรกิจนำเข้า ผลิต จัดจำหน่าย และขายสินค้าอุปโภคและบริโภคทั้งที่เป็น International Brands และ House Brands ประกอบด้วย 2.1) สินค้าประเภทเสื้อผ้า เครื่องประดับ เช่น Guess, Calvin Klein, FCUK, G2000, U2, Benetton, Casualist 2.2) สินค้าประเภทเครื่องสำอาง เช่น CLARINS, YVES SAINT LAURENT, Elizabeth Arden, Laura Mercier, H2O+, PAYOT 2.3) สินค้าประเภทนาฬิกา เช่น Guess, Casio, Marc Ecko, Nautica, Nike, Timberland 2.4) กระเป๋าเดินทาง, อุปกรณ์กีฬา และอื่นๆ 3) กลุ่มบริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน) (CHR) ดำเนินธุรกิจโรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารา ทั้งในกรุงเทพฯ และเมืองท่องเที่ยว ต่างๆ ในประเทศไทย 4) กลุ่มบริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด (CRG) ดำเนินธุรกิจร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด “Quick Service Restaurants” ได้แก่ Mister Donut, KFC, Auntie Anne’s, Baskin-Robbins, Pizza Hut, Pepper Lunch และ Steak Hunter


2. ค่าใช้จ่ายที่จ่ายให้กับกิจการและบุคคลที่เกี่ยวข้องกัน ประกอบด้วยค่าใช้จ่ายในการเช่าพื้นที่ในศูนย์การค้า ค่าเช่าที่ดิน และค่าใช้จ่ายในการบริหารงาน โดยในปี 2551 บริษัทฯ มีค่าใช้จ่าย ที่จ่ายให้กับกิจการที่เกี่ยวข้องกันจำนวน 197 ล้านบาท ความจำเป็นและสมเหตุสมผลของรายการ การเช่าที่ดินจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน โครงการของบริษัทฯ บางโครงการมีการพัฒนาศูนย์การค้าขึ้นมาบนที่ดินแปลงเดียวกันกับ โครงการของบริษัทในกลุ่มเซ็นทรัล โดยพิจารณาจากการส่งเสริมความได้เปรียบทางการตลาด และขนาดโครงการที่เหมาะสม ซึ่งการพัฒนาโครงการขึ้นมาบนที่ดินแปลงเดียวกันนั้นจะดำเนินการโดยให้บริษัทใดบริษัทหนึ่งเป็นผู้ซื้อหรือเช่า ที่ดินทั้งแปลง จากเจ้าของที่ดิน และนำที่ดินให้อีกบริษัทหนึ่งเช่าหรือเช่าช่วงตามสัดส่วนพื้นที่ที่ต้องการในราคาทุนบวกดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจริง หรื อ ในราคาตลาดที่ ป ระเมิ น โดยผู้ ป ระเมิ น อิ ส ระ โดยเป็ น ไปตามกฎหมายและกฎระเบี ย บของสำนั ก งานคณะกรรมการกำกั บ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ/หรือ หน่วยงานอื่นใดที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการจ่ายค่าตอบแทน การเช่าที่ดินทุกรายการจะได้รับการสอบทานและตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ เป็นประจำทุกปี การเช่าพื้นที่ในศูนย์การค้า ในบางโครงการที่บริษัทฯ มีการร่วมลงทุนกับห้างสรรพสินค้าในกลุ่มเซ็นทรัล อาคารจะถูกแบ่งเป็น 2 ส่ ว นคื อ อาคารศู น ย์ ก ารค้ า และอาคารห้ า งสรรพสิ น ค้ า ซึ่ ง ในบางกรณี บ ริ ษั ท ฯ จะเข้ า ไปเช่ า พื้ น ที่ ข นาดใหญ่ จ ากส่ ว นอาคาร ห้างสรรพสินค้าเพื่อพัฒนาเป็นพื้นที่ขาย โดยพิจารณาจากผลตอบแทนที่จะได้รับเป็นรายได้ค่าเช่าและค่าบริการ เทียบกับต้นทุน ค่าเช่าพื้นที่ที่บริษัทฯ ต้องจ่ายให้กับห้างสรรพสินค้าเป็นหลัก ซึ่งจะมีการตกลงค่าตอบแทนในการให้เช่าพื้นที่ขนาดใหญ่ตั้งแต่ ขั้น ตอนการออกแบบโครงการ โดยใช้ หลัก การเดียวกันกับกรณีที่บริษัทฯ ให้ เช่าพื้ นที่ ข นาดใหญ่แ ก่ กิจการที่เกี่ยวข้อ งกั น ซึ่งค่า ตอบแทนการเช่าพื้นที่ใหญ่ทุกรายการจะได้รับการสอบทานและตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ เป็นประจำทุกปี การว่าจ้างกิจการที่เกี่ยวข้องกันเป็นที่ปรึกษาทางธุรกิจ โดยการว่าจ้างที่ปรึกษาทางธุรกิจนั้น บริษัทฯ จะพิจารณาจากประสบการณ์ ในการบริหารงานด้านการค้าปลีก และความเข้าใจในลักษณะการประกอบธุรกิจและกลยุทธ์ของบริษัทฯ เป็นสำคัญ โดยผลตอบแทน ที่บริษัทฯ จ่ายให้แก่ที่ปรึกษาทางธุรกิจซึ่งเป็นกิจการที่เกี่ยวข้องกันนั้นเป็นอัตราค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงของผู้ให้บริการจัดสรรตาม ความเหมาะสมในการให้บริการแก่ทุกธุรกิจในกลุ่มเซ็นทรัล การทำประกันภัยกับบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน เป็นรายการที่เป็นปกติธุรกิจตามเงื่อนไขการค้าทั่วไป ซึ่งมีการกำหนดราคาและเงื่อนไข ตามราคาตลาด หรือราคาเปรีย บเทีย บจากการเสนอราคาของนายหน้ าประกันที่มี ราคาและเงื่อ นไขที่เป็ นประโยชน์กับบริษัท มากที่สุด ทั้งนี้ ในกรณีที่ไม่มีผู้เสนอราคาเปรียบเทียบ บริษัทจะพิจารณาอนุมัติทำรายการในราคาเทียบเคียงกับปีที่ผ่านมา โดย ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขการทำประกันและสภาวะตลาดด้านการประกันในขณะนั้น ลักษณะรายการค่าใช้จ่ายที่จ่ายให้กับกิจการและบุคคลที่เกี่ยวข้องกัน

»

»

» »

2.1 บริ ษั ท ฯ เช่ า ที่ ดิ น จาก บริ ษั ท ห้ า งเซ็ น ทรั ล ดี พ าร์ ท เม้ น ท์ ส โตร์ จำกั ด ซึ่ ง เป็ น บริ ษั ท ที่ มี ก ลุ่ ม จิ ร าธิ วั ฒ น์ เ ป็ น ผู้ ถื อ หุ้ น รายใหญ่ เพื่ อ

เป็นที่ตั้งศูนย์การค้าในโครงการเซ็นทรัลพลาซา รามอินทรา และเซ็นทรัลพลาซา ปิ่นเกล้า 2.2 บริษัทฯ เช่าช่วงที่ดินจาก บริษัท เซ็นทรัลอินเตอร์พัฒนา จำกัด (“CID ”) ซึ่งเป็นบริษัทที่มีกลุ่มจิราธิวัฒน์เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่

เพื่อเป็นที่ตั้งศูนย์การค้าในโครงการเซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว (เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินคือการรถไฟแห่งประเทศไทย) ซึ่งสัญญาเช่า ได้สิ้นสุดลงในวันที่ 18 ธันวาคม 2551 ปัจจุบันบริษัทฯ ได้เข้าลงนามในบันทึกข้อตกลงกับ CID เพื่อรักษาสิทธิและยืนยันการใช้ สิทธิในการเข้าทำสัญญาเช่าช่วงใหม่กับ CID โดย CID ได้แจ้งให้บริษัทฯ จ่ายเงินประกันสิทธิการเช่าช่วงที่ดินและ/หรืออาคาร ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว จำนวน 300 ล้านบาท ในวันที่ CID เข้าทำสัญญาเช่ากับการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยที่ สัญญาเช่าช่วงใหม่ระหว่างบริษัทฯ และ CID ยังไม่ได้สรุปมูลค่าที่แน่นอน ดังนั้น เงินประกันสิทธิการเช่าช่วงที่ดินดังกล่าวจึงเป็น มู ล ค่ า จากการเจรจาตกลงกั น เบื้ อ งต้ น ระหว่ า งบริ ษั ท ฯ และ CID เท่ า นั้ น ทั้ ง นี้ รายการดั ง กล่ า วได้ ผ่ า นความเห็ น ชอบจาก คณะกรรมการตรวจสอบและคณะกรรมการบริษัท โดยกรรมการที่มีส่วนได้เสียมิได้ร่วมพิจารณาอนุมัติรายการดังกล่าว บริษัทฯ เปิดเผยรายละเอียดการทำรายการดังกล่าวข้างต้นต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2551 2.3 บริ ษั ท ฯ เช่ า ช่ ว งที่ ดิ น จาก บริ ษั ท เซ็ น ทรั ล พั ท ยา จำกั ด ซึ่ ง เป็ น บริ ษั ท ที่ มี ก ลุ่ ม จิ ร าธิ วั ฒ น์ เ ป็ น ผู้ ถื อ หุ้ น รายใหญ่ เพื่ อ เป็ น ที่ ตั้ ง

ศูนย์การค้าในโครงการเซ็นทรัล เซ็นเตอร์ พัทยา (เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นบุคคลธรรมดา)


92 .93

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป

2551

2.4 บริษัทฯ เช่าพื้นที่ในอาคารบางส่วนของ บริษัท ห้างเซ็นทรัลดีพาร์ทเม้นท์สโตร์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่มีกลุ่มจิราธิวัฒน์เป็นผู้ถือหุ้น

รายใหญ่ ในโครงการ เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว, เซ็นทรัลพลาซา ปิ่นเกล้า และเซ็นทรัลพลาซา รัชดา - พระราม 3 เพื่อนำพื้นที่ มาพัฒนาเป็นพื้นที่ขายเพิ่มเติมจากส่วนที่บริษัทฯ เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือสิทธิการเช่าที่ดิน 2.5 บริษัทฯ ได้ว่าจ้างให้ บริษัท ห้างเซ็นทรัลดีพาทเมนท์สโตร์ จำกัด (“HCDS”) ซึ่งเป็นบริษัทที่มีกลุ่มจิราธิวัฒน์เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่

เป็นผู้บริหารและเป็นที่ปรึกษาในการบริหารงาน ตลอดจนการกำหนดนโยบายต่างๆ รวมถึงการให้ข้อแนะนำที่เป็นประโยชน์ ทางธุรกิจกับบริษัทฯ โดยมีอายุสัญญาตั้งแต่ 1 มกราคม 2551 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2552 ซึ่งตามสัญญาดังกล่าวนี้ บริษัทฯ จะต้อง ชำระค่าบริการให้กับ HCDS ในอัตรา 0.75% ของรายได้ค่าเช่าและค่าบริการรวม แต่ละเดือน ทั้งนี้อัตราค่าบริการรายเดือนจะ ต้องไม่ต่ำกว่า 4,950,000 บาท และไม่สูงกว่า 7,420,000 บาทต่อเดือน และกำหนดให้มีการปรับเพิ่มค่าบริการขั้นต่ำและขั้นสูง ในอัตราร้อยละ 5 ต่อปี ทั้งนี้ รายการดังกล่าวได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจสอบและคณะกรรมการบริษัท โดย กรรมการทีม่ สี ว่ นได้เสียมิได้รว่ มพิจารณาอนุมตั ริ ายการดังกล่าว บริษทั ฯ เปิดเผยรายละเอียดการทำรายการดังกล่าวต่อตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2550 2.6 บริษัทฯ ทำประกันภัยศูนย์การค้าและอาคารสำนักงาน เพื่อคุ้มครองความเสี่ยงภัย อันมีสาเหตุมาจาก อุบัติเหตุ อุบัติภัย และภัยอื่นๆ

และมีการใช้บริการบริษัทนายหน้าประกันภัยกับบริษัท ซี จี โบรกเกอร์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่มีกลุ่มจิราธิวัฒน์เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 2.7 คณะกรรมการบริษัทฯ ได้มีมติอนุมัติในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2551 ให้บริษัทฯ เช่าที่ดินจากบริษัท โรบินสันนครินทร์ จำกัด ซึ่ง

เป็ น บริ ษัท ที่ มี ก ลุ่มจิ ราธิ วัฒน์เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ เพื่อ พัฒนาศูนย์ การค้าในรู ปแบบของไลฟ์ส ไตล์ เซ็ นเตอร์ ซึ่ งที่ดิ นที่จะเช่ามี เนื้อที่รวม 20 ไร่ 1 งาน 49 ตารางวา ตั้งอยู่บนถนนศรีนครินทร์ และซอยอ่อนนุช 39 (ซอยอนามัย) แขวงสวนหลวง (พระโขนง ฝั่งเหนือ) เขตสวนหลวง (พระโขนง) กรุงเทพมหานคร โดยมูลค่าสิทธิการเช่าที่ดินคิดจากราคาตลาดที่ประเมินโดยผู้ประเมินอิสระ เป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 387 ล้านบาท โดยแบ่งการชำระเป็น 4 งวด คิดเป็นมูลค่าปัจจุบันเท่ากับ 340 ล้านบาท (อัตราคิดลด 12%) คณะกรรมการบริษัทพิจารณาแล้วเห็นว่าทำเลที่ตั้งมีความเหมาะสมในการพัฒนาโครงการและจะช่วยเพิ่มมูลค่าให้แก่บริษัทใน ระยะยาว นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของบริษัทฯ ที่ต้องการพัฒนาศูนย์การค้ารูปแบบใหม่เพื่อตอบสนองความต้องการ ของผู้บริโภค สำหรับการพัฒนาโครงการบริษัทฯ จะพิจารณาช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเริ่มพัฒนาโครงการ โดยคำนึงถึงภาวะ เศรษฐกิจและภาวะตลาดเป็นสำคัญ ซึ่งรายการดังกล่าวได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจสอบและคณะกรรมการบริษัท โดยกรรมการที่มี ส่วนได้เสีย มิ ไ ด้ร่วมพิจ ารณาอนุมั ติรายการดังกล่าว บริษัทฯ เปิดเผยรายละเอี ยดการทำรายการดังกล่าวต่อ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2551 ทั้งนี้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 บริษัทยังอยู่ระหว่างการทำ สัญญาเช่าที่ดินกับ บริษัท โรบินสันนครินทร์ จำกัด

3. การกู้ยืมและการให้กู้ยืมกับกิจการและบุคคลที่เกี่ยวข้องกัน

นโยบายการกู้ยืมและการให้กู้ยืมกับกิจการและบุคคลที่เกี่ยวข้องกัน รายการกู้ ยื ม และให้ กู้ ยื ม ทุ ก รายการจะต้ อ งอยู่ ภ ายใต้ น โยบายการกู้ ยื ม และการให้ กู้ ยื ม กั บ กิ จ การหรื อ บุ ค คลที่ เ กี่ ย วข้ อ งของบริ ษั ท ฯ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

»

กรณีการกู้ยืมและการให้กู้ยืมแก่บริษัทย่อย (ซึ่งบริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 99.99) บริษัทฯ มีนโยบายให้บริษัทย่อยกู้ยืมเงินจากบริษัทฯ ได้ ในกรณีที่มีความต้องการใช้เงิน ในขณะเดียวกันบริษัทย่อยสามารถให้ เงินกู้ยืมแก่บริษัทฯ ได้ หากบริษัทย่อยมีเงินสดคงเหลือเกินจากเงินทุนหมุนเวียนที่ใช้ในการดำเนินงานและบริษัทฯ มีความต้องการ ใช้เงิน กู้ จ ากบริ ษั ท ย่ อย โดยจะเปิ ด เป็นบัญชีเดินสะพั ดระหว่างกัน และจัดทำตั๋ว สัญญาใช้เงินเป็นหลั กฐานการกู้ยืม ระหว่างกัน โดยคิดอัตราดอกเบี้ยเท่ากับอัตราดอกเบี้ยถัวเฉลี่ยของตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัท โดยผู้อนุมัติรายการระหว่างกัน ได้แก่ ผู้อำนวยการ ฝ่ายการเงิน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานการเงินและบัญชี และกรรมการผู้จัดการใหญ่ ตามลำดับ


»

กรณีการกู้ยืมและการให้กู้ยืมแก่บริษัทร่วมค้า (ซึ่งบริษัทถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละ 50 แต่น้อยกว่าร้อยละ 99.99) บริษัทฯ มีนโยบายให้บริษัทร่วมค้าหาแหล่งเงินกู้ของตัวเอง เว้นแต่กรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วนในการใช้เงินบริษัทร่วมค้าจะกู้ จากผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนการถือหุ้น โดยผ่านการอนุมัติรายการจากรองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานการเงินและบัญชี กรรมการ ผู้จัดการใหญ่ และคณะกรรมการบริษัท ตามลำดับ และมีการจัดทำตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นหลักฐานในการกู้ยืมระหว่างกัน โดยคิด อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงกับอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมแก่ลูกค้าชั้นดีของธนาคาร

»

กรณีการกู้ยืมและการให้กู้ยืมแก่บริษัทร่วม (ซึ่งบริษัทถือหุ้นน้อยกว่าร้อยละ 50) หรือกิจการและบุคคลที่เกี่ยวข้องกัน ปัจจุบันบริษัทฯ ไม่มีนโยบายที่จะให้บริษัทร่วมซึ่งบริษัทฯ ถือหุ้นในสัดส่วนที่ต่ำกว่าร้อยละ 50 หรือกิจการและบุคคลที่เกี่ยวข้อง กันกู้ยืมเงิน โดยภายใน 5 ปีที่ผ่านมาบริษัทฯ ไม่มีการให้กู้ยืมเงินแก่บริษัทที่มีการถือหุ้นในสัดส่วนที่ต่ำกว่าร้อยละ 50 รวมถึง กิ จ การและบุคคลที่ เกี่ ย วข้ องกัน ในขณะที่ต ามระเบียบหากมีการให้บริษัทร่ ว มกู้ ยืม เงิน การอนุมั ติทำรายการจะต้องผ่านการ อนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท และมีการจัดทำตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นหลักฐานการกู้ยืมระหว่างกัน โดยคิดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง กับอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมแก่ลูกค้าชั้นดีของธนาคาร

รายการกู้ยืมและให้กู้ยืมกับกิจการและบุคคลที่เกี่ยวข้องกัน

ประเภทรายการ

ณ 31 ธันวาคม 2551

หมายเหตุ

(ล้านบาท)

3.1 เงินกู้ยืม 1 1) เงินกู้ยืมจากบริษัทย่อย

3,976

2) เงินกู้ยืมจากบริษัทร่วมค้า

165

งบการเงินเฉพาะบริษัท งบการเงินรวม

3.2 เงินให้กู้ยืม 2 1) เงินให้กู้ยืมแก่บริษัทย่อย

8,215

2) เงินให้กู้ยืมแก่บริษัทร่วมค้า

-

งบการเงินเฉพาะบริษัท งบการเงินรวม

หมายเหตุ :1เป็น การกู้ ยืมประเภทไม่มีหลัก ประกั น และมี กำหนดชำระคื นเมื่ อ ทวงถาม คิ ด ดอกเบี้ ย เท่ ากั บอั ต ราดอกเบี้ย ถั ว เฉลี่ ย ของตราสารหนี้ ที่ออกโดยบริษัท 2 เป็นการให้กู้ยืมประเภทไม่มีหลักประกัน (ยกเว้นเงินให้กู้ยืมแก่ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา ขอนแก่น จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่มีหลักประกัน เป็นที่ดิน) และมีกำหนดชำระคืนเมื่อทวงถาม คิดดอกเบี้ยเท่ากับอัตราดอกเบี้ยถัวเฉลี่ยของตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัท

กรณีที่บริษัทฯ มีการให้กู้ยืมแก่ บริษัท สยาม รีเทล ดีเวลล็อปเม้นท์ จำกัด (บริษัทร่วมที่บริษัทฯ ถือหุ้น 15%) จำนวน 162.7 ล้านบาท เป็นการให้เงินกู้ยืมเพื่อใช้ในการพัฒนาโครงการตามสัดส่วนการถือหุ้น แต่เนื่องจากบริษัทร่วมดังกล่าวอยู่ในกระบวนการปรับ โครงสร้างหนี้ตามแผนฟื้นฟู ซึ่งบริษัทฯ มีโอกาสจะได้รับชำระหนี้บางส่วนในอนาคต แต่ไม่สามารถกำหนดเวลาและประมาณการ จำนวนเงินที่บริษัทฯ จะได้รับชำระหนี้ดังกล่าวได้ จึงมีการตั้งสำรองหนี้สูญเต็มจำนวน ซึ่งปัจจุบันไม่มีนโยบายให้เงินกู้แก่บริษัท ร่วมเพิ่มเติมอีก

4. การค้ำประกันหนี้สินให้กับกิจการและบุคคลที่เกี่ยวข้องกัน ความจำเป็นและความสมเหตุสมผลของรายการ บริ ษั ท ฯ มี น โยบายค้ ำ ประกั นให้แก่ บ ริษัท ย่ อย ตามสัดส่ว นการถื อ หุ้นของบริ ษัทฯ และไม่มีนโยบายวางหลักประกั นเพื่อ ค้ ำประกั น หนี้ สิน ใดๆ ให้ กั บ บริ ษั ท ย่ อย บริษัท ฯ จะค้ำ ประกั น ให้ในฐานะบริ ษัทแม่ เท่ านั้ น และมี การเรียกเก็บค่าธรรมเนี ยมการค้ำประกัน จาก บริษัทนั้นๆ


94 .95

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป

2551

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 บริษัทฯ มีภาระการค้ำประกันแก่บุคคลที่เกี่ยวโยงกัน อยู่ 4 ประเภท ดังต่อไปนี้ ประเภทภาระการค้ำประกัน

จำนวนเงิน (ล้านบาท)

4.1 ภาระการค้ำประกันเงินกู้ให้กับบริษัทย่อย

» กองทุนรวมธุรกิจไทย 4 » กองทุนรวมธุรกิจไทย 5

2,265

รวม

3,194

929 (1)

4.2 ภาระการค้ำประกันวงเงินเบิกเกินบัญชีให้กับบริษัทย่อย

69

4.3 ภาระค้ำประกันวงเงินอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินให้กับบริษัทย่อย

147

4.4 ภาระค้ำประกันวงเงินค้ำประกันสาธารณูปโภคของบริษัทย่อยกับธนาคารพาณิชย์ไทย

168

หมายเหตุ : 1 ณ 31 ธันวาคม 2551 ไม่มีภาระหนี้วงเงินเบิกเกินบัญชี

ขั้นตอนการอนุมัติทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน การทำธุรกรรมกับกิจการหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับบริษัทฯ นั้น จะต้องผ่านขั้นตอนการอนุมัติตามระเบียบวิธีการปฏิบัติงานของบริษัทฯ เช่นเดียวกับการทำธุรกรรมปกติ โดยผ่านการพิจารณาจากผู้มีอำนาจตามสายงานที่รับผิดชอบและเกี่ยวข้องในเรื่องนั้น โดยผู้รับผิดชอบ และผู้ ที่ เ กี่ย วข้ อ งกั บ การทำรายการจะต้ องทำหน้า ที่พิจ ารณาว่าการทำรายการมีค วามสมเหตุ ส มผล และเป็นไปตามปกติธุ รกิ จ โดย คำนึงถึงประโยชน์ของบริษัทและผู้ถือหุ้น เสมือนเป็นรายการที่กระทำกับบุคคลภายนอก และการทำธุรกรรมเป็นไปอย่างถูกต้องตาม กฎหมาย เพื่อให้การอนุมัติการทำธุรกรรมกับกิจการหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับบริษัทฯ เป็นไปด้วยความโปร่งใสและเป็นไปตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง บริษัทฯ กำหนดให้รายการปกติธุรกิจและรายการสนับสนุนธุรกิจปกติที่มีการดำเนินการตามเงื่อนไขการค้าทั่วไป ที่คณะกรรมการกำหนด อยู่ในอำนาจของฝ่ายจัดการในการพิจารณารายการ โดยให้เป็นไปตามระเบียบขั้นตอนการอนุมัติของบริษัท ส่วนรายการประเภทอื่นๆ จะพิจารณาจากประเภทและขนาดของรายการ โดยมีสำนักเลขานุการบริษัทช่วยกำกับดูแลให้มีการปฏิบัติ ตามเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และมีการรวบรวมและสรุปรายการที่เกี่ยวโยงกันให้คณะกรรมการตรวจสอบรับทราบ เป็นระยะๆ โดยบริษัทฯ ได้มีการออกประกาศว่าด้วยเรื่อง “นโยบายการทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน” และมีการสื่อสารให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง ทุกฝ่ายนำไปปฏิบัติ ทั้งนี้ กรรมการและผู้บริหารจะต้องลงนามรับรองทุกๆ สิ้นปีว่าในปีที่ผ่านมาไม่มีการทำรายการที่มีความขัดแย้ง ทางผลประโยชน์ หรื อ หากมีก็ไ ด้ ด ำเนิ นการตามข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ เรี ยบร้อ ยแล้ ว โดยการทำธุรกรรมกับกิจการหรื อ บุค คลที่ เกี่ ย วข้ อ งกั บ บริษั ท ฯ จะถู ก ตรวจสอบจากสำนั ก ตรวจสอบภายในของบริษัทฯ และผู้ส อบบัญชี เพื่ อ ให้มั่นใจได้ ว่าบริษัทได้ ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง

นโยบายหรือแนวโนมการทำรายการระหวางกันในอนาคต เนื่องจากการทำธุรกรรมกับกิจการหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับบริษัทฯ เป็นรายการค้าที่เกิดขึ้นตามปกติธุรกิจ ดังนั้น การทำธุรกรรมกับ กิจการหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกันจึงมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอีกอย่างต่อเนื่องในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งรายการเกี่ยวกับการพัฒนา ศู น ย์ ก ารค้า ร่ ว มกั บ บริ ษัท ในกลุ่มเซ็นทรั ล ซึ่ง เป็นจุด แข็ง ที่ช่ ว ยส่งเสริม ให้ การดำเนิ นธุรกิจของบริ ษัทฯ ประสบความสำเร็ จและเป็น ผู้นำในตลาดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ นโยบายหรือแนวโน้มการทำรายการระหว่างกันยังคงยึดหลักการเช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา คือ ปฏิบัติตามเงื่อนไขการค้าทั่วไปและยึดถือประโยชน์ของบริษัทฯ และผู้ถือหุ้นเป็นสำคัญ ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทได้อนุมัติเงื่อนไข การค้าทั่วไปในการทำธุรกรรมระหว่างบริษัทและบริษัทย่อยกับบุคคลที่เกี่ยวโยงกันไว้อย่างชัดเจน เพื่อความโปร่งใสในการประกอบธุรกิจ และเป็นแนวทางปฏิบัติให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้


1. การพัฒนาโครงการศูนย์การค้าร่วมกับบริษัทในกลุ่มเซ็นทรัล

เป็นหลักการที่เปิดเผยและถือปฏิบัติตั้งแต่บริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อปี 2538*** การพัฒนาโครงการศูนย์การค้าให้ครบวงจร จำเป็นต้องมีองค์ประกอบที่จะช่วยส่งเสริมให้ธุรกิจของบริษัท มีความแข็งแกร่งมากขึ้น ซึ่งบริษัทในกลุ่มเซ็นทรัลมีการประกอบธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับบริษัท ได้แก่ ธุรกิจห้างสรรพสินค้า ธุรกิจค้าปลีกต่างๆ และธุรกิจโรงแรม เป็นต้น โดยบริษัทในกลุ่มเซ็นทรัลมีประสบการณ์ในธุรกิจมายาวนาน และมี Brand ที่แข็งแกร่ง ซึ่งจะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือของ โครงการ ส่ง ผลให้ก ารประกอบธุ รกิ จ ของบริ ษั ท มีค วามแข็งแกร่งมากขึ้น เป็นการเพิ่ม มู ลค่าแก่ บริษัท และผู้ถือ หุ้นโดยรวม ทั้งนี้ การพัฒนาโครงการศูนย์การค้าร่วมกับบริษัทในกลุ่มเซ็นทรัล มีลักษณะดังนี้ การ ซื้อ/ขาย หรือ เช่า/ให้เช่าที่ดิน

หลักการ : บริษัทหรือบริษัทในกลุ่มเซ็นทรัล ซื้อหรือเช่าที่ดินจากบุคคลภายนอก เพื่อนำมาพัฒนาโครงการศูนย์การค้าร่วมกับธุรกิจ ของบริษัทในกลุ่มเซ็นทรัล โดยให้บริษัทใดบริษัทหนึ่งซื้อหรือเช่าที่ดินทั้งแปลงจากเจ้าของที่ดิน เมื่อออกแบบโครงการแล้วเสร็จ บริษัทที่เป็นผู้ซื้อหรือเช่าที่ดินจะขายหรือให้เช่าที่ดินให้อีกบริษัทหนึ่ง ตามสัดส่วนพื้นที่ที่แต่ละบริษัทใช้พัฒนาโครงการของตนเอง (ต่างฝ่ายต่างรับผิดชอบค่าที่ดินในส่วนของตนเอง) การกำหนดราคาและเงื่อนไข : ราคาทุนบวกต้นทุนของเงินลงทุน การก่อสร้างอาคารศูนย์การค้า กับอาคารห้างสรรพสินค้า หรือ BU ต่างๆ หลักการ : แต่ละฝ่ายเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่อาคารของตนตั้งอยู่ ดังนั้น ต่างฝ่ายต่างรับผิดชอบค่าก่อสร้างอาคารในส่วน ของตนเองด้วย

การกำหนดราคาและเงื่อนไข : ต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง โดยมีวิศวกรที่ปรึกษาโครงการอิสระเป็นผู้คำนวณค่าก่อสร้างและงานระบบให้เป็น ไปตามสัดส่วนพื้นที่ใช้งานจริงอย่างยุติธรรม การก่อสร้างพื้นที่ร่วม ได้แก่ อาคารจอดรถ และพื้นที่รอบนอกอาคารศูนย์การค้า (Landscape)

หลักการ : บริษัทเป็นเจ้าของสิทธิอาคารที่จอดรถ และพื้นที่รอบนอกอาคารศูนย์การค้า โดยบริษัทจะรับผิดชอบต้นทุนพื้นที่ส่วนร่วม ทั้งหมด โดยถือเป็นการบริการให้แก่ลูกค้าที่มาเช่าพื้นที่ศูนย์การค้า โดยห้างสรรพสินค้า หรือ BU ต่างๆ จะช่วยออกค่าก่อสร้างตามแนวทาง ปฏิบัติดังนี้ 1) อาคารที่จอดรถ : ช่วยออกค่าก่อสร้างไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของค่าก่อสร้างในส่วนที่ห้างสรรพสินค้า และ BU ต่างๆ ต้องจัด ให้มีตามกฎหมาย 2) พื้นที่ร่วม : ช่วยออกค่าก่อสร้างตามสัดส่วนของพื้นที่ทั้งหมด (Gross Area ) การกำหนดราคาและเงื่อนไข : ต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง โดยมีวิศวกรที่ปรึกษาโครงการอิสระเป็นผู้คำนวณค่าก่อสร้างให้เป็นไปตามสัดส่วน พื้นที่ใช้งานจริงอย่างยุติธรรม การเช่า หรือให้เช่า พื้นที่ใหญ่ในโครงการศูนย์การค้า

หลักการ : บริษัทอาจมีการเช่า หรือให้เช่าพื้นที่ใหญ่ กับห้างสรรพสินค้า หรือ BU ต่างๆ ซึ่งจะมีการตกลงค่าตอบแทนในการให้เช่า พื้นที่ขนาดใหญ่ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบโครงการ การกำหนดราคาและเงื่อนไข : ต้นทุนค่าที่ดินและค่าก่อสร้าง รวมต้นทุนของเงินลงทุน และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน

2. การคิดค่าเช่าพื้นที่ ค่าบริการร่วม และค่าสาธารณูปโภค หลักการ : การคิดราคาค่าเช่าพื้นที่ระยะสั้น หรือค่าเช่าระยะยาว การคิดค่าบริการร่วม และ ค่าสาธารณูปโภค จากร้านค้าที่เป็น ของกลุ่มเซ็นทรัลหรือบุคคลที่เกี่ยวโยงที่มาเช่าพื้นที่ศูนย์การค้า หรือพื้นที่เช่าในการประกอบธุรกิจอื่นๆ ของบริษัท จะกำหนดราคา โดยใช้หลักการเทียบเคียงกับการกำหนดราคาพื้นที่สำหรับลูกค้าชั้นดี โดยพิจารณาถึงทำเลที่ตั้ง ขนาดพื้นที่ รูปแบบการเช่า ระยะ เวลาการเช่า ประเภทของการเช่ า ประโยชน์ ท ี่บ ริษัทจะได้ร ับนอกจากราคาค่ าเช่า ค่ าบริการร่ว ม และค่าสาธารณูปโภค ศั กยภาพ ในการประกอบธุรกิจ ตลอดจนประสบการณ์และความสำเร็จในการประกอบธุรกิจร่วมกันในอดีตจนถึงปัจจุบัน


96 .97

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป

2551

การกำหนดราคาและเงื ่ อ นไข : กำหนดราคาโดยใช้หลักการเทียบเคียงกับการกำหนดราคาพื้นที่สำหรับลูกค้าชั้นดี “ลูกค้าชั้นดี” หมายถึง ลูกค้าที่มีศักยภาพสูงซึ่งมีการเช่าพื้นที่จำนวนมาก หรือมีการเช่าพื้นที่ในหลายโครงการ และมีส่วนสนับสนุน ทั้งทางตรงและทางอ้อมให้การดำเนินธุรกิจของบริษัทประสบความสำเร็จ เนื่องด้วยกลุ่มเซ็นทรัลมีการประกอบธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับบริษัทหลากหลายประเภทและอาจมีการทำรายการระหว่างกัน ซึ่งตลอดระยะ เวลาการดำเนินงานตั้งแต่ก่อตั้งบริษัท กลุ่มเซ็นทรัลเป็นพันธมิตรทางการค้าที่มีศักยภาพ ช่วยสนับสนุนต่อความสำเร็จในการประกอบ ธุรกิจของบริษัทมายาวนาน ดังนั้น บริษัทจึงยังคงมีการทำรายการระหว่างกันอย่างต่อเนื่อง โดยในการพิจารณาเกี่ยวกับเรื่องราคา และเงื่อนไข บริษัทยังคงคำนึงถึงประโยชน์ของบริษัทเป็นสำคัญ

3. การเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน “ค่ า ใช้ จ่ า ยในการดำเนิ น งาน” ได้ แ ก่ ค่ า เบี้ ย ประกั น ภั ย ค่ า ภาษี โรงเรื อ น ค่ า ใช้ จ่ า ยส่ ง เสริ ม การขาย ค่ า ธรรมเนี ย มค้ ำ ประกั น และ ค่าบริการต่างๆ ที่เรียกเก็บจากผู้เช่าพื้นที่

หลักการ : ในการดำเนินการบริหารสินทรัพย์จะมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเกิดขึ้น ซึ่งโดยปกติธุรกิจบริษัทจะเรียกเก็บค่าใช้จ่าย เหล่านี้โดยคำนวณจาก ต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงในการดำเนินงานของบริษัท ทั้งนี้ อัตราที่เรียกเก็บจะขึ้นอยู่กับประเภทของการเช่า และ ลักษณะการเช่าพื้นที่ซึ่งอัตราที่เรียกเก็บเป็นมาตรฐานเดียวกันกับลูกค้าทั่วไป การกำหนดราคาและเงื่อนไข : ต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง

4. การทำประกันภัย / ประกันสุขภาพกลุ่ม หลักการ : ให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องและจำเป็นต่อการเสนอราคาอย่างครบถ้วนและเท่าเทียมกัน แก่นายหน้าประกันแต่ละราย โดยมี คณะกรรมการเป็นผู้พิจารณาคัดเลือกบริษัทนายหน้าประกัน ซึ่งในขั้นตอนการพิจารณาคัดเลือกจะต้องไม่มีกรรมการหรือผู้บริหาร ของบริษัทที่มีส่วนได้เสียและเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องกันเข้าร่วมพิจารณา การกำหนดราคาและเงื่อนไข : ราคาตลาด หรือราคาเปรียบเทียบจากการเสนอราคาของนายหน้าประกันที่มีราคาและเงื่อนไขที่เป็น ประโยชน์กับบริษัทมากที่สุด ทั้งนี้ ในกรณีที่ไม่มีผู้เสนอราคาเปรียบเทียบ บริษัทจะต้องพิจารณาอนุมัติทำรายการในราคาเทียบเคียง กับปีที่ผ่านมา โดยขึ้นอยู่กับเงื่อนไขการทำประกันและสภาวะตลาดด้านการประกันในขณะนั้น

5. การจัดซื้อ-จัดจ้าง “การจัดซื้อ” หมายถึง การจัดซื้อวัสดุ เครื่องมือเครื่องใช้หรือสินค้า รวมทั้งการเช่าและเช่าซื้อ “การจัดจ้าง” หมายถึง การว่าจ้างผู้ขาย ผู้ผลิต ผู้รับเหมาหรือผู้จัดทำ ดำเนินการผลิต จัดทำ จัดการ จัดประกอบหรือก่อสร้าง ตั้งแต่ เริ่มต้นจนเสร็จสิ้นเป็นชิ้นงาน รวมทั้งการให้บริการต่างๆ การจ้างเหมาบริการและการขนส่ง ทั้งนี้ให้หมายความรวมถึงการจัดซื้อพัสดุ หรือจัดจ้างผู้รับเหมาเข้าก่อสร้างอาคารและติดตั้งอุปกรณ์ส่วนควบ สำหรับงานบริหารโครงการ ก่อสร้างด้วย

หลักการ : ปฏิบัติตามระเบียบและวิธีการจัดซื้อ - จัดจ้างของบริษัท ซึ่งในการพิจารณาคัดเลือกผู้ขาย หรือผู้รับเหมา จะดำเนินการตาม ระเบียบดังกล่าวด้วยความโปร่งใสและเป็นธรรม ตามนโยบายการจัดซื้อ - จัดจ้างที่กำหนดไว้ โดยในขั้นตอนการพิจารณาคัดเลือกจะ ต้องไม่มีกรรมการหรือผู้บริหารของบริษัทที่มีส่วนได้เสียและเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องกันเข้าร่วมพิจารณา การกำหนดราคาและเงื่อนไข : ราคาตลาด หรือราคาเปรียบเทียบจากการเสนอราคาของผู้เสนอราคาที่มีราคาและเงื่อนไขที่เป็นประโยชน์ กับบริษัทมากที่สุด


ค ำ อ ธิ บ า ย แ ล ะ ก า ร วิ เ ค ร า ะ ห ฐ า น ะ ก า ร เ งิ น ประจำปี 2551 สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551

ภาพรวมผลการดำเนินงาน สำหรับผลการดำเนินงานประจำปี 2551 บริษัทเซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) มีรายได้จำนวน 9,310.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.6% จากปี ที่ผ่านมา และมีกำไรสุทธิจำนวน 2,185.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 22.6% จากปีก่อน อนึ่ง ผลการดำเนินงานประจำปี 2551 ได้รวมรายได้ที่ ไม่ เกิ ด ขึ้น เป็ น ประจำจำนวน 214.3 ล้า นบาท จากรายได้ ค่ าชดเชยอั นเนื่อ งมาจากการเสี ยสิ ทธิ การใช้ ที่ดินบางส่ว น ณ ศูน ย์ การค้า เซ็นทรัลเวิลด์ให้แก่ห้างสรรพสินค้าเซ็น หากไม่นับรวมรายได้ที่ไม่เกิดขึ้นเป็นประจำดังกล่าวแล้ว รายได้รวมและกำไรสุทธิของ CPN สำหรั บ รอบปี 2551 จะเติบ โต 12.4% และ 39.3% ตามลำดับ โดยเป็ นผลหลั กจากผลการดำเนินงานที่ ดีขึ้นอย่างต่อ เนื่อ งของธุรกิจ ศูนย์การค้าและการบริหารต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่มีประสิทธิภาพ ในด้านการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ ณ สิ้นปี 2551 พื้นที่ให้เช่าในศูนย์การค้าของบริษัทฯ มีอัตราการเช่าพื้นที่ (Occupancy Rate ) เฉลี่ยอยู่ที่ 97% เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 96% ณ สิ้นปี 2550 สำหรับอาคารสำนักงานของ CPN มีอัตราการเช่าพื้นที่เฉลี่ยอยู่ที่ 94% เพิ่มขึ้น จาก 92% ณ สิ้นปี 2550 สำหรับอัตราค่าเช่าพื้นที่ (Rental Rate ) ศูนย์การค้าในปี 2551 เฉลี่ยอยู่ที่ 1,259 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน เพิ่มขึ้น 3.2% จากอัตราเฉลี่ยของปีก่อน อนึ่ง นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 บริษัทฯ เปลี่ยนแปลงมาตรฐานการบัญชี เรื่องการรวมธุรกิจในการบันทึกส่วนเกินของส่วนได้ ส่วนเสียของผู้ซื้อในมูลค่ายุติธรรมสุทธิของสินทรัพย์ หนี้สิน และหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นที่ระบุได้ของผู้ถูกซื้อสูงกว่าต้นทุน ซึ่งเดิมบันทึกเป็น “ค่าความนิยมติดลบ” จะถูกรับรู้เป็นกำไรหรือขาดทุน การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีดังกล่าวมีผลต่องบการเงินรวมของบริษัทฯ (ดูรายละเอียดในหมายเหตุประกอบงบการเงินสำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 ข้อ 29)

ภาพรวมดานการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 บริษัทฯ บริหารพื้นที่ให้เช่ารวมทั้งหมด 778,496 ตารางเมตร (เพิ่มขึ้น 8.8% จากไตรมาสเดียวกันปีก่อน และ 9.1% จากไตรมาสที่ผ่า นมา) ประกอบด้ วย พื้นที่ค้ าปลีกในศู นย์ การค้า 627,843 ตารางเมตร พื้ นที่อ าคารสำนักงาน 144,280 ตารางเมตร และพื้นที่อาคารที่พักอาศัย 6,373 ตารางเมตร อนึ่ง พื้นที่ให้เช่าดังกล่าวข้างต้นไม่นับรวมพื้นที่ให้เช่า 133,268 ตารางเมตร ในโครงการเซ็นทรัลพลาซาพระราม 2 และเซ็นทรัลพลาซา รัชดา - พระราม 3 ซึ่งผลการดำเนินงานถูกโอนไปยังกองทุน CPNRF แต่ยังอยู่ ภายใต้การบริหารของบริษัทฯ ในฐานะของผู้บริหารสินทรัพย์ของกองทุน ณ สิ้นปี 2551 บริษัทฯ มีอัตราการเช่าพื้นที่ศูนย์การค้าเฉลี่ยอยู่ที่ 97% เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยอัตรา การเช่าพื้นที่ของโครงการเซ็นทรัลเวิลด์เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 97% จากการเปิดให้บริการของผู้เช่าหลัก “เซ็นเตอร์พ้อยท์” และร้านค้าแฟชั่น รายย่อยอื่นๆ ในขณะที่อัตราการเช่าพื้นที่ของโครงการใหม่ คือ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา แจ้งวัฒนะ เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 91% ณ สิ้นปี 2551 จาก 85% ณ วันที่เปิดให้บริการศูนย์การค้า ในด้านของอัตราค่าเช่ายังคงปรับขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง โดย มีอัตราค่าเช่าโดยเฉลี่ยทั้งปี 2551 อยู่ที่ 1,259 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน เติบโต 3.2% จากปีก่อน สำหรับการเปรียบเทียบเพื่อให้เห็นผลการเปลี่ยนแปลงของอัตราค่าเช่าอย่างชัดเจน หากไม่รวมอัตราค่าเช่า พื้นที่โครงการเปิดใหม่คือ เซ็นทรัลพลาซา แจ้งวัฒนะ อัตราค่าเช่าเฉลี่ยพื้นที่ศูนย์การค้าอื่นของ CPN สำหรับปี 2551 เท่ากับ 1,260 บาท ต่อตารางเมตรต่อเดือน (เติบโต 3.3% จากปีก่อน) อนึ่ง ค่าเช่าเฉลี่ยดังกล่าวได้รวมส่วนลด (พิเศษ) ค่าเช่าพื้นที่ซึ่งให้กับผู้เช่าบางราย ณ โครงการเซ็นทรัลเวิลด์ ในส่วนของอาคารสำนักงาน ณ สิ้นปี 2551 มีอัตราการเช่าพื้นที่เฉลี่ยอยู่ที่ 94% เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 92% ณ สิ้นปี 2550


98 .99

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป

2551

สรุปผลการดำเนินงานทางการเงิน รายได้รวม (รายได้จากค่าเช่าและบริการ และ ค่าอาหารและเครื่องดื่ม) สำหรับผลประกอบการประจำปี 2551 CPN มีรายได้รวม 9,310.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.6% จากปีที่ผ่านมา โดยเป็นรายได้จากค่าเช่า และค่าบริการ ค่าอาหารและเครื่องดื่มจำนวน 8,598.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.9% จากปีก่อน อนึ่ง ผลการดำเนินงานปี 2550 นับรวมรายได้ ที่ไม่เกิดขึ้นเป็นประจำจำนวน 214.3 ล้านบาท จากค่าชดเชยอันเนื่องมาจากการเสียสิทธิการใช้ที่ดินบางส่วน ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ให้แก่ห้างสรรพสินค้าเซ็น หากไม่นับรวมรายได้ที่ไม่เกิดขึ้นเป็นประจำดังกล่าว รายได้รวมและรายได้จากค่าเช่าและค่าบริการ ค่าอาหาร และเครื่องดื่มของ CPN สำหรับรอบปี 2551 จะเติบโต 12.4% และ 11.9% ตามลำดับ ซึ่งเป็นผลมาจาก 1. การเพิ่มขึ้นของรายได้ค่าบริการ ภายหลังการปรับขึ้นอัตราค่าบริการร่วมและค่าบริการไอเย็น (“CAM Charge ”) เมื่อเดือนมกราคม ปี 2551 2. รายได้ที่เพิ่มขึ้นจากโครงการเซ็นทรัลเวิลด์ จากอัตราการเช่าพื้นที่ที่สูงขึ้นและการปรับลดส่วนลด (พิเศษ) ค่าเช่าพื้นที่ 3. อัตราค่าเช่าพื้นที่ที่ปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกโครงการ 4. รายได้ส่วนเพิ่มจากการเปิดให้บริการศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา แจ้งวัฒนะ

CPN มีรายได้ค่าอาหารและเครื่องดื่มสำหรับทั้งปี 2551 จำนวน 456.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20.7% เมื่อเทียบกับปีก่อน เป็นผลจากการ เปิดให้บริการศูนย์อาหาร (Food Park ) ที่โครงการเซ็นทรัลพลาซา รัชดา - พระราม 3 และโครงการเซ็นทรัลพลาซา ปิ่นเกล้า ภายหลัง การปรับปรุงแล้วเสร็จ ประกอบกับรายได้ค่าอาหารและเครื่องดื่มที่เพิ่มเข้ามาในไตรมาสที่ 4 ปี 2551 จากเปิดให้บริการศูนย์อาหาร ณ โครงการเซ็นทรัลพลาซา แจ้งวัฒนะ ต้นทุนรวม ต้นทุนรวม ได้แก่ ต้นทุนจากการให้เช่าพื้นที่และการให้บริการ ต้นทุนอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงค่าสาธารณูปโภค ค่าเสื่อมราคาและ ค่าตัดจำหน่ายสินทรัพย์ให้เช่า ค่าใช้จ่ายพนักงานผู้ปฎิบัติงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการให้เช่าและให้บริการพื้นที่โครงการ ค่าใช้จ่าย ในการซ่อมแซมและบำรุงรักษาสินทรัพย์ให้เช่า และ ภาษีโรงเรือน สำหรับปี 2551 CPN มีต้นทุนรวมเท่ากับ 4,889.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.3% จากปีก่อน โดยมีต้นทุนจากการให้เช่าพื้นที่และการให้บริการเท่ากับ 4,516.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.9% จากปีก่อน เนื่องจาก 1. การรั บ รู้ ค่ า เสื่ อ มราคาและค่ า ตั ด จำหน่ า ยสิ น ทรั พ ย์ ใ ห้ เช่ า โครงการเซ็ น ทรั ล เวิ ล ด์ ที่ เ พิ่ ม ขึ้ น ตามความคื บ หน้ า ที่ แ ล้ ว เสร็ จ โดยรวม ของโครงการ 2. ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายสินทรัพย์โครงการเซ็นทรัลพลาซา แจ้งวัฒนะ ที่เพิ่มเข้ามาภายหลังเปิดให้บริการ 3. ค่าเช่าที่ดินและอาคารโครงการเซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว ที่เพิ่มขึ้นสำหรับช่วงอายุสัญญาใหม่ ซึ่งค่าเช่าดังกล่าวบันทึกโดยใช้ ตัวเลขประมาณการที่คาดว่าบริษัทฯ จะต้องจ่ายสำหรับช่วงอายุสัญญาใหม่ ซึ่งยังอยู่ระหว่างดำเนินการต่อสัญญาและจะนำเสนอ ขออนุมัติต่อที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นที่จะจัดขึ้นในวันที่ 25 มีนาคม 2552 สำหรับต้นทุนอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น 29.5% จากปีก่อน ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับรายได้ค่าอาหารและเครื่องดื่มที่เพิ่มขึ้น ดังที่ ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ได้แก่ ค่าใช้จ่ายของพนักงานส่วนกลางของบริษัทฯและผู้บริหาร ค่าโฆษณาประชาสัมพันธ์ ค่าเครื่องใช้ สำนักงาน ค่าธรรมเนียมและค่าที่ปรึกษาต่างๆ และค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายสำหรับอุปกรณ์สำนักงาน สำหรับปี 2551 บริษัทฯ มี ค่ า ใช้ จ่ า ยในการขายและบริหารรวมเท่ า กับ 1,556.8 ล้านบาท หรือ เพิ่ม ขึ้ น 2.8% จากปีก่อ น จากการเพิ่ม ขึ้นของค่ าใช้ จ่ ายด้าน บุคลากรตามจำนวนบุคคลากรที่เพิ่มขึ้นเพื่อสนับสนุนการขยายตัวทางธุรกิจ ในขณะที่ค่าใช้จ่ายค่าโฆษณาและประชาสัมพันธ์ลดลง ทั้งนี้ ในช่วงภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวและการอุปโภคและบริโภคที่ลดลง บริษัทฯ บริหารจัดการค่าใช้จ่ายในการโฆษณาและประชาสัมพันธ์


เชิ ง กลยุ ท ธ์ โดยอิ ง กั บ รายได้ แ ละพิ จ ารณาควบคู่ ไ ปกั บ ผลตอบแทนทั้ ง ในด้ า นการกระตุ้ น ยอดขายและจำนวนผู้ เข้ า มาใช้ บ ริ ก ารใน ศูนย์การค้าที่จะเกิดขึ้นตามมา สำหรับปี 2551 หากไม่นับรวมค่าใช้จ่ายพิเศษสำหรับการประชาสัมพันธ์การเปิดตัวโครงการใหม่คือ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา แจ้งวัฒนะ แล้ว บริษัทฯ จะมีค่าใช้จ่ายในการโฆษณาและประชาสัมพันธ์รวมเท่ากับ 461.5 ล้านบาท ลดลง 18.4% จากปีก่อน ซึ่งคิดเป็น 5.4% ของรายได้รวมของปี 2551 ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับ 7.4% ของรายได้รวมในปี 2550 กำไรสุทธิ

CPN มีกำไรสุทธิสำหรับปี 2551 เท่ากับ 2,185.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 22.6% จากปีก่อน ซึ่งหากไม่รวมรายได้ที่มิได้เกิดขึ้นเป็นประจำ ดั ง กล่ า วข้ า งต้ น ในปี ที่ผ่า นมา CPN จะมี ก ำไรสุท ธิ ใ นปี 2551 เติบโต 39.3% จากปีก่อ น จากผลประกอบการที่เติ บโตอย่ างต่อเนื่อง ของธุรกิจศูนย์การค้า

ฐานะทางการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 สินทรัพย์รวม ณ วั น ที่ 31 ธั น วาคม 2551 บริษั ท ฯ มีสินทรัพ ย์รวมจำนวน 43,783.8 ล้ านบาท เพิ่ม ขึ้ น 6,579.1 ล้ านบาท หรือ เพิ่ม ขึ้ น 17.7% จาก ณ สิ้นปี 2550 โดยเป็นผลหลักจากที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ และสิทธิการเช่า (คิดเป็น 80.0% ของสินทรัพย์รวม) ที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 6,178.0 ล้านบาท จากการซื้อที่ดินในจังหวัดเชียงใหม่ การรับรู้มูลค่างานก่อสร้างเพิ่มเติมของโครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนาและ โครงการเปิดใหม่ - ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา แจ้งวัฒนะ หนี้สินรวม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 บริษัทฯ มีหนี้สินรวมเท่ากับ 28,610.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5,045.1 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 21.4% จาก ณ สิ้นปี 2550 จากการกู้ ยื มเงินระยะสั้นจำนวน 1,450 ล้า นบาท (ตั๋ ว สั ญญาใช้ เงิ นและตั๋ว แลกเงิน) การออกหุ้ นกู้ ระยะยาวไม่มีหลักประกัน จำนวน 1,500 ล้ า นบาท และการเบิก ใช้วงเงิ นกู้ ยืม ระยะยาว จำนวน 2,500 ล้านบาท โดย ณ สิ้นปี 2551 บริษัทฯ มีหนี้สิน ที่มีภาระ ดอกเบี้ยจ่ายเพิ่มขึ้น 4,400.2 ล้านบาท หรือ 36.5% จาก ณ สิ้นปี 2550 มาอยู่ที่ 16,445.1 ล้านบาท คิดเป็น 57.5% ของหนี้สินรวม ณ สิ้นปี 2551 ส่วนของผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 บริษัทฯ มีส่วนของผู้ถือหุ้นเท่ากับ 15,173.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,534.0 ล้านบาท หรือ 11.2% จาก ณ สิ้นปี 2550 โดย ณ สิ้นปี 2551 บริษัทฯ มีกำไรสะสม 10,307.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,586.7 ล้านบาท จาก ณ สิ้นปี 2550 โดยเป็นผลมาจาก 1. กำไรสุทธิประจำปี 2551 จำนวน 2,185.8 ล้านบาท 2. การจ่ายเงินปันผลสำหรับผลการดำเนินงานปี 2550 จำนวน 718.9 ล้านบาท (0.33 บาทต่อหุ้น) ซึ่งจ่ายในปี 2551 3. การรั บ รู้ ค่ า ความนิย มติ ด ลบเป็ นกำไรจำนวน 211.1ล้านบาท โดยบั นทึกเป็นรายการปรั บปรุ งในกำไรสะสม ซึ่ งเป็นผลสืบเนื่ อง การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี * (*ดูรายละเอียดในหมายเหตุประกอบงบการเงินสำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 ข้อ 29)

โครงสรางทางการเงิน จากภาวะตลาดทุนที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการระดมทุนผ่านกองทุน CPNRF เพื่อใช้สนับสนุนการขยายธุรกิจ บริษัทฯ จึงได้จัดหาเงินทุน จากแหล่งเงินทุนอื่นทดแทน ในระหว่างปี 2551 CPN ได้ทำการกู้ยืมเงินเป็นจำนวนรวม 5,450 ล้านบาท ประกอบด้วยเงินกู้ยืมระยะสั้น จำนวน 1,450 ล้านบาท (อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3.80% ต่อปี) หุ้นกู้ระยะยาวไม่มีหลักประกันจำนวน 1,500 ล้านบาท (อายุ 3 ปี ชำระคืน เงินต้นเมื่อครบกำหนด และอัตราดอกเบี้ยคงที่ 4.80% ต่อปี) และเงินกู้ยืมระยะยาวจากธนาคารพาณิชย์ จำนวน 2,500 ล้านบาท (ระยะเวลาผ่อนชำระคืนเงินต้น 7 ปี อัตราดอกเบี้ย MLR -2% ต่อปี) ส่งผลให้อัตราส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ณ สิ้นปี 2551 อยู่ที่ 0.8 เท่า เพิ่มขึ้นจาก 0.6 เท่า ณ สิ้นปี 2550


100 .101

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป

2551

ณ สิ้ น ปี 2551 เงิ น กู้ ยื ม ที่มี ภ าระดอกเบี้ย ของบริษัท ฯ ประกอบด้ ว ยเงิ นกู้ยื ม อัตราดอกเบี้ยคงที่ ในสั ดส่ ว น 65% และอัตราดอกเบี้ ย ลอยตั ว ในสัด ส่ว น 35% โดยมีอัต ราดอกเบี้ย ถัวเฉลี่ย ถ่วงน้ำหนั กอยู่ ที่ 5.2% ต่ อ ปี ลดลงจากปีก่ อ น ซึ่ งอยู่ ที่ 5.5% ในปี 2551 CPN มีดอกเบี้ยจ่ายและค่าใช้จ่ายในการกู้ยืมรวมจำนวน 543.4 ล้านบาท ลดลง 6.4% จาก ณ สิ้นปี 2550 ภายใต้ภาวะการณ์ที่อัตราดอกเบี้ย มีแนวโน้มลดลง บริษัทมีนโยบายที่จะรักษาอัตราส่วนของเงินกู้ยืมที่มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัวประมาณ 40%

การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานบัญชี ฉบับที่ 43 เรื่อง “การรวมธุรกิจ” ซึ่งถือปฏิบัติกับงบการเงินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มใน หรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2551 กำหนดให้ส่วนเกินของส่วนได้เสียของผู้ซื้อในมูลค่ายุติธรรมสุทธิของสินทรัพย์ หนี้สิน และหนี้สิน ที่อาจเกิดขึ้นที่ระบุได้ของผู้ถูกซื้อสูงกว่าต้นทุน ซึ่งเดิมบันทึกเป็น “ค่าความนิยมติดลบ” จะสามารถรับรู้กำไรหรือขาดทุนทันที ซึ่งการ เปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีดังกล่าวมีผลต่องบการเงินรวมของบริษัทฯ ดังนี้ รายการปรับปรุงในงบดุลของงบการเงินรวม* สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 ดังนี้ ปรั บ ลดมู ล ค่ า ยอดยกมาของค่ า ความนิ ย มติ ด ลบเป็ น จำนวน 112.6 ล้ า นบาท และปรั บ เพิ่ ม ในยอดยกมาของกำไรสะสมเป็ น จำนวนที่เท่ากัน ปรับเพิ่มมูลค่าสินทรัพย์ไม่มีตัวตนเป็นจำนวน 98.5 ล้านบาท และปรับเพิ่มในยอดยกมาของกำไรสะสมเป็นจำนวนที่เท่ากัน

» »

รายการปรับปรุงในงบกำไรขาดทุนของงบการเงินรวม สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 ดังนี้ ปรับลดค่าตัดจำหน่ายค่าความนิยมติดลบภายใต้นโยบายบัญชีเดิมประมาณ 6.7 ล้านบาท ส่งผลให้กำไรสำหรับงวดลดลง

»

(*ดูรายละเอียดในหมายเหตุประกอบงบการเงินสำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 ข้อ 29)



102.103 102 .103

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป

2551


ร า ย ง า น ข อ ง ผู ส อ บ บั ญ ชี รั บ อ นุ ญ า ต เสนอ ผู้ถือหุ้น บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน)

ข้าพเจ้าได้ตรวจสอบงบดุลรวมและงบดุลเฉพาะกิจการ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550 งบกำไรขาดทุนรวมและงบกำไรขาดทุน เฉพาะกิ จ การ งบแสดงการเปลี่ ย นแปลงส่ ว นของผู้ ถื อ หุ้ น รวมและงบแสดงการเปลี่ ย นแปลงส่ ว นของ ผู้ ถื อ หุ้ น เฉพาะกิ จ การ และ งบกระแสเงินสดรวมและงบกระแสเงินสดเฉพาะกิจการ สำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกันของแต่ละปีของบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย และของเฉพาะบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ตามลำดับ ซึ่งผู้บริหารของกิจการเป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้อง และครบถ้ว นของข้ อมูล ในงบการเงินเหล่ า นี้ ส่ วนข้ าพเจ้าเป็นผู้ รับผิดชอบในการแสดงความเห็นต่อ งบการเงิ นดังกล่าวจากผลการ ตรวจสอบของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติงานตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป ซึ่งกำหนดให้ข้าพเจ้าต้องวางแผนและปฏิบัติงานเพื่อให้ได้ ความเชื่ อ มั่ น อย่ า งมี เ หตุ ผ ลว่ า งบการเงิ น แสดงข้ อ มู ล ที่ ขั ด ต่ อ ข้ อ เท็ จ จริ ง อั น เป็ น สาระสำคั ญ หรื อ ไม่ การตรวจสอบรวมถึ ง การใช้ วิธีการทดสอบหลักฐานประกอบรายการทั้งที่เป็นจำนวนเงินและการเปิดเผยข้อมูลใน งบการเงิน การประเมินความเหมาะสมของ หลักการบัญชีที่กิจการใช้และประมาณการเกี่ยวกับรายการทางการเงินที่เป็นสาระสำคัญซึ่งผู้บริหารเป็นผู้จัดทำขึ้น ตลอดจนการประเมิน ถึงความเหมาะสมของการแสดงรายการที่นำเสนอใน งบการเงินโดยรวม ข้าพเจ้าเชื่อว่าการตรวจสอบดังกล่าวให้ข้อสรุปที่เป็นเกณฑ์ อย่างเหมาะสมในการแสดงความเห็นของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเห็นว่างบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการข้างต้นนี้ แสดงฐานะการเงินรวมและฐานะการเงินเฉพาะกิจการ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550 ผลการดำเนินงานรวมและผลการดำเนินงานเฉพาะกิจการ และกระแสเงินสดรวมและกระแสเงินสด เฉพาะกิ จ การ สำหรั บ ปี สิ้ น สุ ด วั น เดี ย วกั น แต่ ล ะปี ข องบริ ษั ท เซ็ น ทรั ล พั ฒ นา จำกั ด (มหาชน) และบริ ษั ท ย่ อ ย และของเฉพาะ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ตามลำดับ โดยถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป

เทอดทอง เทพมังกร ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เลขทะเบียน 3787 บริษัท เคพีเอ็มจี ภูมิไชย สอบบัญชี จำกัด กรุงเทพมหานคร 20 กุมภาพันธ์ 2552


104 .105

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป

2551

ง บ ดุ ล บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550

(บาท)

งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2551

2550

2551

2550

2,407,345,899 1,269,355,534 536,595,036 1,179,220,612

1,026,000,685 2,957,083,995 378,804,711 860,376,970

1,281,730,192 701,201,863 204,119,356 136,137,000 717,600,438

242,189,056 693,922,567 63,391,213 152,530,877 443,980,500

5,392,517,081

5,222,266,361

3,040,788,849

1,596,014,213

2,354,751,757 1,895,194 31,660,922,018 3,312,126,806 183,676,622 734,424,504 143,465,533

2,306,473,984 1,000,000 12,167,165 25,433,988,733 3,361,056,285 93,494,999 655,162,109 119,031,566

19,017,121,850 1,000,000 8,078,815,376 7,333,334,398 297,497,530 347,228,719 61,577,986

17,932,495,806 1,000,000 5,600,027,642 4,373,524,141 249,984,215 319,631,752 63,024,156

รวมสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน

38,391,262,434

31,982,374,841

35,136,575,859

28,539,687,712

รวมสินทรัพย์

43,783,779,515

37,204,641,202

38,177,364,708

30,135,701,925

สินทรัพย์

หมายเหตุ

สินทรัพย์หมุนเวียน เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด เงินลงทุนชั่วคราว ลูกหนี้การค้า เงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น

5 6 7 4 8

รวมสินทรัพย์หมุนเวียน

สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน เงินลงทุนในบริษัทย่อยกิจการที่ควบคุม ร่วมกันและบริษัทร่วม เงินลงทุนระยะยาว - กิจการที่เกี่ยวข้องกัน เงินลงทุนระยะยาวอื่น เงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ สิทธิการเช่า สินทรัพย์ไม่มีตัวตน สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัดบัญชี สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น

9 10 6 4 11 12 13 14 15

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้


ง บ ดุ ล บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550

(บาท)

งบการเงินรวม หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น

หมายเหตุ

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2551

2550

2551

2550

53,325,273

54,711,489

6,001,278

12,907,740

4,16

3,429,068

3,300,159

159,225,914

159,339,285

16 16

3,320,419,636 1,450,000,000 316,571,142 851,814,659

1,233,591,261 252,448,562 379,211,889

2,500,000,000 1,450,000,000 130,915,406 432,394,404

120,206,365 10,667,141

17

2,355,265,883

2,611,788,665

878,373,559

563,548,243

8,350,825,661

4,535,052,025

5,556,910,561

866,668,774

161,587,774 11,674,686,104 715,324,822 4,817,191,627 2,857,708,211 33,132,999

40,885,256 10,770,470,484 759,512,233 4,893,018,074 2,405,361,563 161,049,067

3,816,640,030 8,500,000,000 779,516,137 1,175,625,408 -

3,767,662,567 7,000,000,000 830,883,827 992,893,134 410,692

รวมหนี้สินไม่หมุนเวียน

20,259,631,537

19,030,296,677

14,271,781,575

12,591,850,220

รวมหนี้สิน

28,610,457,198

23,565,348,702

19,828,692,136

13,458,518,994

หนี้สินหมุนเวียน เจ้าหนี้การค้า เงินกู้ยืมระยะสั้นจากบุคคล หรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ส่วนของเงินกู้ยืมระยะยาว ที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี เงินกู้ยืมระยะสั้นอื่น ภาษีเงินได้ค้างจ่าย เจ้าหนี้ผู้รับเหมาก่อสร้าง หนี้สินหมุนเวียนอื่น รวมหนี้สินหมุนเวียน

หนี้สินไม่หมุนเวียน เงินกู้ยืมระยะยาวจากบุคคล หรือกิจการ ที่เกี่ยวข้องกัน เงินกู้ยืมระยะยาวอื่น หนี้สินภาษีเงินได้รอตัดบัญชี รายได้ค่าเช่าและค่าบริการรับล่วงหน้า เงินมัดจำรับจากลูกค้า เงินค้ำประกันสิทธิการเช่า

4,16 16 14

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้


106 .107

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป

2551

ง บ ดุ ล บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550

(บาท) งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2551

2550

2551

2550

2,178,816,000

2,178,816,000

2,178,816,000

2,178,816,000

2,178,816,000

2,178,816,000

2,178,816,000

2,178,816,000

2,007,565,850 5,319,194 -

2,007,565,850 1,277,030 112,594,465

2,007,565,850 387,921 -

2,007,565,850 1,334,644 -

217,881,600

217,881,600

217,881,600

217,881,600

10,089,338,299

8,502,680,424

13,944,021,201

12,271,584,837

รวมส่วนของผู้ถือหุ้นเฉพาะกิจการ ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย

14,498,920,943

13,020,815,369

18,348,672,572

16,677,182,931

674,401,374

618,477,131

-

-

รวมส่วนของผู้ถือหุ้น

15,173,322,317

13,639,292,500

18,348,672,572

16,677,182,931

รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น

43,783,779,515

37,204,641,202

38,177,364,708

30,135,701,925

หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น

หมายเหตุ

ส่วนของผู้ถือหุ้น ทุนเรือนหุ้น ทุนจดทะเบียน ทุนที่ออกและชำระแล้ว สำรอง ส่วนเกินมูลค่าหุ้น การเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรม ค่าความนิยมติดลบ กำไรสะสม จัดสรรแล้ว - สำรองตามกฎหมาย ยังไม่ได้จัดสรร

18 19

19

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้


ง บ ก ำ ไ ร ข า ด ทุ น บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550

(บาท)

งบการเงินรวม

หมายเหตุ

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2551

2550

2551

2550

รายได้จากการให้เช่าและให้บริการ 4 8,142,321,686 รายได้จากการขายอาหารและเครื่องดื่ม 456,309,095 ดอกเบี้ยรับ 4 166,696,909 รายได้เงินปันผล 60,146 รายได้อื่น 4,21 711,953,116 ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสีย 361,907,080

7,517,298,536 377,986,619 110,030,776 - 601,147,514 316,469,454

3,250,956,557 - 354,437,373 1,566,937,497 509,116,466 -

3,066,185,687 177,464,236 3,949,311,444 479,177,025 -

รวมรายได้

9,839,248,032

8,922,932,899

5,681,447,893

7,672,138,392

4 4,516,397,860 4 373,199,836 4, 22 1,551,534,959 4 5,290,000

4,185,223,693 288,138,833 1,511,107,980 3,400,000

1,389,852,919 - 1,063,546,935 5,290,000

1,262,616,216 910,542,098 3,400,000

รวมค่าใช้จ่าย 6,446,422,655

5,987,870,506

2,458,689,854

2,176,558,314

กำไรก่อนดอกเบี้ยจ่ายและภาษีเงินได้ 3,392,825,377 ดอกเบี้ยจ่าย 4, 24 (543,386,101) ภาษีเงินได้ 25 (650,702,311)

2,935,062,393 (580,753,116)

3,222,758,039 (498,770,685)

5,495,580,078 (427,585,110)

(563,439,437)

(332,656,154)

(343,214,187)

2,198,736,965

1,790,869,840

2,391,331,200

4,724,780,781

ส่วนของกำไรสำหรับปีที่เป็นของ ผู้ถือหุ้นบริษัทใหญ่ 2,185,786,248 ผู้ถือหุ้นส่วนน้อย 12,950,717

1,783,405,830

2,391,331,200

4,724,780,781

7,464,010

-

-

กำไรสำหรับปี 2,198,736,965

1,790,869,840

2,391,331,200

4,724,780,781

0.82

1.10

2.17

รายได้

ค่าใช้จ่าย

ต้นทุนค่าเช่าและค่าบริการ ต้นทุนอาหารและเครื่องดื่ม ค่าใช้จ่ายในการบริหาร ค่าตอบแทนกรรมการ

กำไรสำหรับปี

กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน

26

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

1.00


หมายเหตุ

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

2,178,816,000

-

รวมส่วนของรายได้และค่าใช้จ่ายที่รับรู้ เงินปันผล

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551

-

รายได้ (ค่าใช้จ่าย) สุทธิของรายการ ที่รับรู้โดยตรงในส่วนของผู้ถือหุ้น กำไรสำหรับปี

27

-

-

2,007,565,850

-

-

-

2,007,565,850

-

2,178,816,000

2,007,565,850 -

2,007,565,850

การเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้ถือหุ้น สำหรับปี 2551 การเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรม การเปลี่ยนแปลงสัดส่วนการลงทุน ในบริษัทย่อย

ยอดคงเหลือที่ปรับปรุงแล้ว

2,178,816,000 -

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 1 มกราคม 2551 การเปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชี

29

2,178,816,000

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550

-

รวมส่วนของรายได้และค่าใช้จ่ายที่รับรู้ เงินปันผล -

-

-

27

-

-

-

-

-

รายได้ (ค่าใช้จ่าย) สุทธิของรายการ ที่รับรู้โดยตรงในส่วนของผู้ถือหุ้น กำไรสำหรับปี

2,007,565,850

5,319,194

4,042,164 -

4,042,164 -

-

4,042,164

1,277,030

1,277,030 -

1,277,030

102,386 -

-

102,386

-

102,386

1,174,644

ส่วนเกิน การเปลี่ยนแปลง มูลค่าหุ้น ในมูลค่ายุติธรรม

ส่วนเกินทุน

2,178,816,000

ทุนเรือนหุ้น ที่ออกและ ชำระแล้ว

-

-

-

-

-

-

112,594,465 (112,594,465)

112,594,465

-

-

-

-

-

112,594,465

รวมส่วน ของผู้ถือหุ้น เฉพาะบริษัท

1,783,405,830

(114,683,770)

(114,683,770)

-

1,668,824,446 (675,432,960)

1,783,405,830

(114,581,384)

(114,683,770)

102,386

(91,366,009)

-

2,098,462,403 (718,894,836)

(87,323,845) 2,185,786,248

(91,366,009)

4,042,164

217,881,600 10,089,338,299 14,498,920,943

- 2,094,420,239 - (718,894,836)

(91,366,009) - 2,185,786,248

-

-

217,881,600 8,713,812,896 13,119,353,376

217,881,600 8,502,680,424 13,020,815,369 - 211,132,472 98,538,007

217,881,600 8,502,680,424 13,020,815,369

- 1,668,722,060 - (675,432,960)

-

-

-

-

217,881,600 7,509,391,324 12,027,423,883

ค่าความนิยม จัดสรรเป็นสำรอง ยังไม่ได้จัดสรร ติดลบ ตามกฎหมาย

กำไรสะสม

13,639,292,500

1,790,972,226 (725,864,823)

1,790,869,840

102,386

-

102,386

12,574,185,097

รวมส่วน ของผู้ถือหุ้น

674,401,374

104,316,726 (48,392,483)

91,366,009 12,950,717

91,366,009

-

618,477,1314

15,173,322,317

2,202,779,129 (767,287,319)

4,042,164 2,198,736,965

-

4,042,164

13,737,830,507

618,477,131 13,639,292,500 98,538,007

618,477,131

122,147,780 (50,431,863)

7,464,010

114,683,770

114,683,770

-

546,761,214

ส่วนของ ผู้ถือหุ้น ส่วนน้อย

(บาท)

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 1 มกราคม 2550 การเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้ถือหุ้น สำหรับปี 2550 การเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรม การเปลี่ยนแปลงสัดส่วนการลงทุน ในบริษัทย่อย

งบการเงินรวม

บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550

ง บ แ ส ด ง ก า ร เ ป ลี่ ย น แ ป ล ง ส ว น ข อ ง ผู ถื อ หุ น 108 .109 2551


หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

2,178,816,000

-

รวมส่วนของรายได้และค่าใช้จ่ายที่รับรู้ เงินปันผล

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551

-

รายได้ (ค่าใช้จ่าย) สุทธิของรายการ ที่รับรู้โดยตรง ในส่วนของผู้ถือหุ้น กำไรสำหรับปี

27

-

-

2,007,565,850

-

-

2,007,565,850

2,178,816,000

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 1 มกราคม 2551 การเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้ถือหุ้นสำหรับปี 2551 การเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรม

2,007,565,850

2,178,816,000

-

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550

-

รวมส่วนของรายได้และค่าใช้จ่ายที่รับรู้ เงินปันผล

-

-

-

2,007,565,850

ส่วนเกิน มูลค่าหุ้น

2,178,816,000

-

27

หมายเหตุ

ทุนเรือนหุ้น ที่ออกและ ชำระแล้ว

รายได้ (ค่าใช้จ่าย) สุทธิ ของรายการที่รับรู้โดยตรงในส่วนของผู้ถือหุ้น กำไรสำหรับปี

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 1 มกราคม 2550 การเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้ถือหุ้นสำหรับปี 2550 การเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

387,921

(946,723) -

(946,723) -

(946,723)

1,334,644

1,334,644

160,000 -

160,000 -

160,000

1,174,644

การเปลี่ยนแปลง ในมูลค่ายุติธรรม

ส่วนเกินทุน

บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550

กำไรสะสม

217,881,600

-

-

-

217,881,600

217,881,600

-

-

-

217,881,600

จัดสรรเป็นสำรอง ตามกฎหมาย

ง บ แ ส ด ง ก า ร เ ป ลี่ ย น แ ป ล ง ส ว น ข อ ง ผู ถื อ หุ น

13,944,021,201

2,391,331,200 (718,894,836)

2,391,331,200

-

12,271,584,837

12,271,584,837

4,724,780,781 (675,432,960)

4,724,780,781

-

8,222,237,016

ยังไม่ได้ จัดสรร

18,348,672,572

2,390,384,477 (718,894,836)

(946,723) 2,391,331,200

(946,723)

16,677,182,931

16,677,182,931

4,724,940,781 (675,432,960)

160,000 4,724,780,781

160,000

12,627,675,110

รวมส่วน ของผู้ถือหุ้น บริษัท

(บาท)


110 .111

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป

2551

ง บ ก ร ะ แ ส เ งิ น ส ด บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550

(บาท)

งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะบริษัท

2551

2550

2551

2550

2,198,736,965

1,790,869,840

2,391,331,200

4,724,780,781

1,329,232,991 133,429,816 (60,146) (166,532,814) 543,386,101 598,795 (3,729,504) (773,285,328) (361,907,080) (127,916,069) 650,702,311

1,122,429,325 123,693,776 (110,030,776) 580,753,116 (550,380) (938,919) (6,658,672) (501,998,997) (316,469,454) (3,903,150) 563,439,437

203,528,001 24,780,351 (1,566,937,497) (354,437,372) 498,770,685 513,207 (2,838,735) (127,503,182) (410,692) 332,656,154

182,526,556 24,965,264 (3,949,311,444) (177,464,236) 427,585,110 (181,105) (264,516) (125,433,468) (3,903,150) 343,214,187

3,422,656,038

3,240,635,146

1,399,452,120

1,446,513,979

(158,389,121) (331,153,746) (16,077,583) (1,386,216) 272,442,695 288,860,096 798,427,574 (346,080,927) (710,029,536)

(111,286,694) (331,780,043) 517,425,603 51,001,423 54,141,075 474,786,967 907,226,053 (614,596,642) 13,740,207 (823,123,343)

(141,241,350) (276,579,814) 1,446,170 (6,906,462) 304,387,941 76,135,492 280,498,917 (97,766,643) (349,544,080)

9,172,009 (78,929,865) 2,180,940 7,716,912 44,655,844 42,119,473 359,307,184 (232,312,098) (400,267,399)

3,219,269,274

3,378,169,752

1,189,882,291

1,200,156,979

กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน กำไรสุทธิสำหรับปี รายการปรับปรุง ค่าเสื่อมราคาและรายจ่ายตัดบัญชี ตัดจำหน่ายสิทธิการเช่า รายได้เงินปันผล ดอกเบี้ยรับ ดอกเบี้ยจ่าย กลับรายการค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ กำไรจากการจำหน่ายอุปกรณ์ ตัดจำหน่ายค่าความนิยมติดลบ รับรู้รายได้ค่าเช่าและค่าบริการรับล่วงหน้า ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสีย ตัดจำหน่ายเงินค้ำประกันสิทธิการเช่า ภาษีเงินได้

การเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์และหนี้สินดำเนินงาน ลูกหนี้การค้า สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น เจ้าหนี้การค้า หนี้สินหมุนเวียนอื่น รายได้ค่าเช่าและค่าบริการรับล่วงหน้า เงินมัดจำรับจากลูกค้า เงินมัดจำรับจ่ายคืนลูกค้า เงินค้ำประกันสิทธิการเช่า จ่ายภาษีเงินได้ เงินสดสุทธิได้มาจากกิจกรรมดำเนินงาน

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้


ง บ ก ร ะ แ ส เ งิ น ส ด บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550

(บาท)

งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะบริษัท

2551

2550

2551

2550

รับดอกเบี้ย รับเงินปันผล เงินลงทุนชั่วคราวลดลง (เพิ่มขึ้น) ซื้อตราสารทุน เงินสดรับคืนหน่วยลงทุนในกองทุนรวม เงินให้กู้ยืมแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน รับชำระคืนเงินให้กู้ยืมจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ซื้ออาคารและอุปกรณ์ สิทธิการเช่า ขายอุปกรณ์ เจ้าหนี้ค่าก่อสร้างเพิ่มขึ้น (ลดลง)

181,302,918 313,689,454 1,690,875,431 12,167,165 (6,556,854,107) (142,931,666) 16,130,293 (379,211,889)

101,499,288 289,812,897 (1,890,208,845) (33,153,740) (2,049,241) (3,455,824,787) (42,513,378) 43,735,892 481,602,373

252,985,677 1,576,946,673 (8,226,019) (1,161,985,106) 77,359,062 (4,053,217,618) 1,693,266,599 (2,678,855,018) (20,666) 3,100,199 (10,667,141)

175,298,201 3,756,261,237 (691,559,014) (1,236,788,289) 58,021,766 (1,525,219,105) 522,663,573 (1,277,166,379) (125,374) 13,171,261 (38,940,369)

เงินสดสุทธิใช้ไปในกิจกรรมลงทุน

(4,864,832,401)

(4,507,099,541)

(4,309,313,358)

(244,382,492)

จ่ายดอกเบี้ย เงินเบิกเกินบัญชีธนาคารลดลง เงินสดรับจากการกู้ยืมจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน เงินสดรับจากการกู้ยืม จ่ายชำระคืนเงินกู้ยืมจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน จ่ายชำระคืนเงินกู้ยืม จ่ายชำระหนี้สินตามสัญญาเช่าการเงิน จ่ายเงินปันผล

(761,187,415) 115,000,000 6,200,000,000 (1,758,956,005) (698,281) (767,249,958)

(663,128,247) (11,719,321) 40,730,360 2,959,269,640 (2,067,140,401) (823,343) (725,816,849)

(617,684,931) 1,807,000,000 6,200,000,000 (1,760,787,110) (750,000,000) (698,281) (718,857,475)

(595,072,842) 2,889,131,760 3,000,000,000 (4,717,231,572) (1,000,000,000) (823,343) (675,384,986)

เงินสดสุทธิได้มาจาก (ใช้ไปใน) กิจกรรมจัดหาเงิน

3,026,908,341

(468,628,161)

4,158,972,203

(1,099,380,983)

เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด เพิ่มขึ้น (ลดลง) - สุทธิ เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ วันต้นปี

1,381,345,214 1,026,000,685

(1,597,557,950) 2,623,558,635

1,039,541,136 242,189,056

(143,606,496) 385,795,552

เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ วันสิ้นปี

2,407,345,899

1,026,000,685

1,281,730,192

242,189,056

กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน

กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน

รายการที่ไม่กระทบเงินสด บริษัทมีหนี้สินคงค้างจากการก่อสร้างโครงการระหว่างการพัฒนา ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 จำนวนเงินประมาณ 432.4 ล้านบาท (2550 : 1.0 ล้านบาท) กลุ่มบริษัทมีหนี้สินคงค้างจากการก่อสร้างโครงการระหว่างการพัฒนา ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551จำนวนเงินประมาณ 851.8 ล้านบาท (2550: 9.7 ล้านบาท)

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้


112 .113

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป

2551

ห ม า ย เ ห ตุ ป ร ะ ก อ บ ง บ ก า ร เ งิ น บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550

หมายเหตุ สารบัญ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17

ข้อมูลทั่วไป เกณฑ์การจัดทำงบการเงิน นโยบายการบัญชีที่สำคัญ รายการที่เกิดขึ้นและยอดคงเหลือกับบุคคลหรือ กิจการที่เกี่ยวข้องกัน เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด เงินลงทุนอื่น ลูกหนี้การค้า สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น เงินลงทุนในบริษัทย่อย กิจการที่ควบคุมร่วมกัน และบริษัทร่วม เงินลงทุนระยะยาว - กิจการที่เกี่ยวข้องกัน ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ สิทธิการเช่า สินทรัพย์ไม่มีตัวตน ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย หนี้สินหมุนเวียนอื่น

หมายเหตุ สารบัญ 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 35

ทุนเรือนหุ้น ส่วนเกินทุนและสำรองตามกฎหมาย ข้อมูลทางการเงินจำแนกตามส่วนงาน รายได้อื่น ค่าใช้จ่ายในการบริหาร ค่าใช้จ่ายพนักงาน ดอกเบี้ยจ่าย ภาษีเงินได้ กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน เงินปันผลจ่าย การลงทุ น ในหน่ ว ยลงทุ น เพิ่ ม ทุ น และการให้ เ ช่ า / เช่าช่วงอสังหาริมทรัพย์ การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี เครื่องมือทางการเงิน ภาระผู ก พั น กั บ บุ ค คลหรื อ กิ จ การที่ ไ ม่ เ กี่ ย วข้ อ งกั น หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น เหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบดุล มาตรฐานการบัญชีไทยที่ยังไม่ได้ใช้ การจัดประเภทบัญชีใหม่

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้ งบการเงินนี้ได้รับอนุมัติให้ออกงบการเงินจากกรรมการเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2552

1. ขอมูลทั่วไป บริ ษั ท เซ็น ทรั ล พั ฒ นา จำกั ด (มหาชน) “บริ ษัท ” เป็ น นิ ติ บุ ค คลที่ จั ด ตั้ ง ขึ้ น ในประเทศไทย และมี ที่ อ ยู่ จ ดทะเบี ย น ตั้ ง อยู่ เ ลขที่ 999/9 ถนนพระราม 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 บริษัทจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเมื่อเดือนมีนาคม 2538 ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในระหว่างปีได้แก่ บริษัท เซ็นทรัล โฮลดิ้ง จำกัด (ถือหุ้นร้อยละ 27) ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นในประเทศไทย บริษัทดำเนินธุรกิจหลักเกี่ยวกับการเป็นผู้พัฒนาโครงการใหม่ๆ และรับบริหารโครงการต่างๆ โดยได้รับรายได้จากการให้เช่าและบริหารงาน รายละเอียดของบริษัทย่อย กิจการที่ควบคุมร่วมกันและกองทุนรวม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550 มีดังนี้


(ร้อยละ)

ชื่อกิจการ

ลักษณะธุรกิจ

ประเทศ สัดส่วนความเป็นเจ้าของ ที่ดำเนินธุรกิจ 2551 2550

(1) (1), (2) และ (4) (3) (1) (2) (4) (1) (2) และ (4) (1) (1) (1) (1) (1) (7) (1)

ประเทศไทย ประเทศไทย ประเทศไทย ประเทศไทย ประเทศไทย ประเทศไทย ประเทศไทย ประเทศไทย ประเทศไทย ประเทศไทย ประเทศไทย ประเทศไทย ประเทศไทย ประเทศไทย ประเทศไทย

100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 92.5 92.5 78.1 87.1 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0

100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 92.5 92.5 78.1 87.1 100.0 100.0 -

(1) และ (5) (1) ถึง (5) (2)

ประเทศไทย ประเทศไทย ประเทศไทย

100.0 99.9 100.0

100.0 99.9 100.0

(1)

ประเทศไทย

-

60.0

(6)

ประเทศไทย

100.0

100.0

(6) (6)

ประเทศไทย ประเทศไทย

92.5 100.0

92.5 100.0

บริษัทย่อยทางตรง บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา พระราม 2 จำกัด บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา เชียงใหม่ จำกัด บริษัท หลังสวน เรียลตี้ จำกัด บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา รัตนาธิเบศร์ จำกัด บริษัท เซ็นทรัล เรียลตี้ เซอร์วิส จำกัด บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ดอเวนิว จำกัด บริษัท เซ็นทรัล เวิลด์ ทาวเวอร์ จำกัด (อยู่ระหว่างการชำระบัญชี) บริษัท เซ็นทรัล เวิลด์ จำกัด บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา ขอนแก่น จำกัด บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา ไนน์ สแควร์ จำกัด บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา พระราม 3 จำกัด บริษัท ซีพีเอ็น พัทยา บีช จำกัด บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา ชลบุรี จำกัด บริษัท โรงแรม ซีพีเอ็น พัทยา บีช จำกัด บริษัท ซีพีเอ็น คอนสตรัคชั่น แมเนจเม้นท์ จำกัด

บริษัทย่อยทางอ้อม บริษัท เซ็นทรัล เพลย์ แลนด์ จำกัด บริษัท บางนา เซ็นทรัล พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด บริษัท เซ็นทรัลเรียลตี้ เซอร์วิส พระราม 3 จำกัด

กิจการที่ควบคุมร่วมกัน บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา ชลบุรี จำกัด

กองทุนรวม กองทุนรวมธุรกิจไทย 2 กองทุนรวมธุรกิจไทย 4 (รวมร้อยละ 6.3 ที่ถือโดย บริษัทบางนา เซ็นทรัล พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด) กองทุนรวมธุรกิจไทย 5

ลักษณะธุรกิจ (1) (2) (3) (4) (5) (6) (7)

ก่อสร้างอาคารสำนักงานและอาคารศูนย์การค้าเพื่อให้เช่า ให้บริการด้านสาธารณูปโภคภายในศูนย์การค้า ก่อสร้างห้องชุดพักอาศัยและอาคารร้านค้าเพื่อให้เช่า ขายอาหารและเครื่องดื่ม ให้บริการสวนสนุกและสวนน้ำบนศูนย์การค้า ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจโรงแรม

2. เกณฑการจัดทำงบการเงิน งบการเงินนี้นำเสนอเพื่อวัตถุประสงค์ของการรายงานเพื่อใช้ในประเทศไทย และจัดทำเป็นภาษาไทย งบการเงินฉบับภาษาอังกฤษได้จัด ทำขึ้นเพื่อความสะดวกของผู้อ่านงบการเงิน งบการเงินนี้จัดทำขึ้นตามมาตรฐานการบัญชีไทย (“มาตรฐานการบัญชี”) รวมถึงการตีความและแนวปฏิบัติทางการบัญชีที่ประกาศใช้ โดยสภาวิชาชีพบัญชีฯ (“สภาวิชาชีพบัญชี”) และจัดทำขึ้นตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปของประเทศไทย กลุ่มบริษัทได้ใช้มาตรฐานการบัญชีที่ออกและปรับปรุงใหม่โดยสภาวิชาชีพบัญชีในระหว่างปี 2550 ต่อไปนี้ ซึ่งมีผลบังคับสำหรับงบการเงิน ที่มีรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2551 เป็นต้นไป


114 .115

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป

2551

มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 25 (ปรับปรุง 2550) มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 29 (ปรับปรุง 2550) มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 33 (ปรับปรุง 2550) มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 35 (ปรับปรุง 2550) มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 39 (ปรับปรุง 2550) มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 41 (ปรับปรุง 2550) มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 43 (ปรับปรุง 2550) มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 51

เรื่องงบกระแสเงินสด เรื่องสัญญาเช่า เรื่องต้นทุนการกู้ยืม เรื่องการนำเสนองบการเงิน เรื่องนโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี และข้อผิดพลาด เรื่องงบการเงินระหว่างกาล เรื่องการรวมธุรกิจ เรื่องสินทรัพย์ไม่มีตัวตน

การใช้มาตรฐานการบัญชีฉบับใหม่และฉบับปรับปรุงเหล่านี้ ไม่มีผลกระทบที่เป็นสาระสำคัญกับงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ ยกเว้นที่ได้เปิดเผยข้อมูลในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 29 ในระหว่างปี 2551 สภาวิชาชีพบัญชีได้ออกมาตรฐานการบัญชีฉบับปรับปรุงใหม่หลายฉบับ ซึ่งมีผลบังคับสำหรับงบการเงินที่มีรอบระยะ เวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2552 และไม่ได้มีการนำมาใช้สำหรับการจัดทำงบการเงินนี้ มาตรฐานการบัญชีที่ได้ปรับปรุง ใหม่เหล่านี้ได้เปิดเผยในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 34 งบการเงินนี้แสดงหน่วยเงินตราเป็นเงินบาท และมีการปัดเศษในหมายเหตุประกอบงบการเงินเพื่อให้แสดงเป็นหลักพันบาท ยกเว้นที่ระบุไว้ เป็นอย่างอื่น งบการเงินนี้ได้จัดทำขึ้นโดยถือหลักเกณฑ์การบันทึกตามราคาทุนเดิม ยกเว้นที่กล่าวไว้ในนโยบายการบัญชี ในการจัดทำงบการเงินให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี ผู้บริหารต้องใช้การประมาณและข้อสมมติฐานหลายประการ ซึ่งมีผลกระทบต่อ การกำหนดนโยบายและการรายงานจำนวนเงินที่เกี่ยวกับ สินทรัพย์ หนี้สิน รายได้ และค่าใช้จ่าย การประมาณและข้อสมมติฐานมาจาก ประสบการณ์ในอดีต และปัจจัยต่างๆ รวมถึงผลกระทบที่สำคัญต่อผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของกลุ่มบริษัทอันเนื่องมาจากวิกฤตการณ์ เศรษฐกิจโลก ผลที่เกิดขึ้นจริงอาจแตกต่างจากที่ประมาณไว้ ประมาณการและข้อสมมติฐานที่ใช้ในการจัดทำงบการเงินจะได้รับการทบทวนอย่างต่อเนื่อง การปรับประมาณการทางบัญชีจะบันทึกใน งวดบัญชีที่ประมาณการดังกล่าวได้รับการทบทวน หากการปรับประมาณการกระทบเฉพาะงวดนั้นๆ และจะบันทึกในงวดที่ปรับ และงวด ในอนาคต หากการปรับประมาณการกระทบทั้งงวดปัจจุบันและอนาคต ข้อมูลเกี่ยวกับการประมาณความไม่แน่นอนและข้อสมมติฐานที่สำคัญในการกำหนดนโยบายการบัญชี มีผลกระทบสำคัญต่อการรับรู้จำนวนเงิน ในงบการเงินซึ่งประกอบด้วยหมายเหตุประกอบงบการเงินต่อไปนี้ หมายเหตุประกอบงบการเงิน 30 หมายเหตุประกอบงบการเงิน 32

การวัดมูลค่าของเครื่องมือทางการเงิน หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น

3. นโยบายการบัญชีที่สำคัญ (ก) เกณฑ์ในการทำงบการเงินรวม งบการเงินรวมประกอบด้วยงบการเงินของบริษัท บริษัทย่อย กิจการที่ควบคุมร่วมกัน (รวมกันเรียกว่า “กลุ่มบริษัท”) และส่วนได้เสียของ กลุ่มบริษัทในบริษัทร่วม รายการที่มีสาระสำคัญซึ่งเกิดขึ้นระหว่างบริษัทกับบริษัทย่อย และกิจการที่ควบคุมร่วมกันได้ถูกตัดรายการในการทำงบการเงินรวม บริษัทย่อย บริษัทย่อยเป็นกิจการที่อยู่ภายใต้การควบคุมของบริษัท การควบคุมเกิดขึ้นเมื่อบริษัทมีอำนาจควบคุมทั้งทางตรงหรือทางอ้อมในการกำหนด นโยบายทางการเงินและการดำเนินงานของบริษัทนั้น เพื่อได้มาซึ่งประโยชน์จากกิจกรรมของบริษัทย่อย งบการเงินของบริษัทย่อยได้รวมอยู่ใน งบการเงินรวม นับแต่วันที่มีการควบคุมจนถึงวันที่การควบคุมสิ้นสุดลง กิจการที่ควบคุมร่วมกัน กิจการที่ควบคุมร่วมกัน เป็นกิจการที่กลุ่มบริษัทมีส่วนร่วมในการควบคุมกิจกรรมเชิงเศรษฐกิจตามที่ตกลงไว้ในสัญญา งบการเงินรวมของ กลุ่มบริษัทได้รวมสินทรัพย์ หนี้สิน รายได้ และค่าใช้จ่าย ของกิจการที่ควบคุมร่วมกัน โดยใช้วิธีรวมตามสัดส่วน และนำเฉพาะส่วนที่เป็น ของกลุ่มบริษัท มารวมกับรายการชนิดเดียวกันตามเกณฑ์แต่ละบรรทัด นับแต่วันที่มีการร่วมควบคุมจนถึงวันที่การร่วมควบคุมสิ้นสุดลง บริษัทร่วม บริษัทร่วมเป็นกิจการที่กลุ่มบริษัทมีอิทธิพลอย่างเป็นสาระสำคัญโดยมีอำนาจเข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายทางการเงิน และการดำเนินงานแต่ไม่ถึงระดับที่จะควบคุมนโยบายดังกล่าว งบการเงินรวมของกลุ่มบริษัทได้รวมส่วนแบ่งกำไรหรือขาดทุนของบริษัท ร่วมตามวิธีส่วนได้เสีย นับจากวันที่มีอิทธิพลอย่างเป็นสาระสำคัญจนถึงวันที่การมีอิทธิพลอย่างเป็นสาระสำคัญสิ้นสุดลง เมื่อผลขาดทุนที่ กลุ่มบริษัทได้รับปันจากบริษัทร่วมมีจำนวนเกินกว่าเงินลงทุนในบริษัทร่วม เงินลงทุนจะถูกทอนลงจนเป็นศูนย์และหยุดรับรู้ส่วนผลขาดทุน เว้นแต่กรณีที่กลุ่มบริษัทมีภาระผูกพันตามกฎหมายหรืออนุมานหรือยินยอมที่จะชำระภาระผูกพันของบริษัทร่วม


การรวมธุรกิจ การรวมธุรกิจของกิจการหรือการรวมธุรกิจภายใต้การควบคุมเดียวกันบันทึกบัญชีโดยใช้วิธีเสมือนว่าเป็นวิธีการรวมส่วนได้เสีย

(ข) เงินตราต่างประเทศ รายการบัญชีที่เป็นเงินตราต่างประเทศ รายการบัญชีที่เป็นเงินตราต่างประเทศแปลงค่าเป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่เกิดรายการ สินทรัพย์และหนี้สินที่เป็นตัวเงินและเป็นเงินตราต่างประเทศ ณ วันที่ในงบดุล แปลงค่าเป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันนั้น กำไรหรือ ขาดทุนจากการแปลงค่าบันทึกในงบกำไรขาดทุน (ค) การป้องกันความเสี่ยง การป้องกันความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย บริษัทใช้สัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยผลต่างที่เกิดจากสัญญาแลกเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ยรับรู้และบันทึกโดยปรับปรุงกับดอกเบี้ยจ่ายของเงินกู้ยืมที่ได้รับการป้องกันความเสี่ยงนั้น (ง) เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดประกอบด้วย ยอดเงินสด ยอดเงินฝากธนาคารประเภทเผื่อเรียก และ เงินลงทุนระยะสั้นที่มีสภาพคล่องสูง เงินเบิกเกินบัญชีธนาคารซึ่งจะต้องชำระคืนเมื่อทวงถามถือเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมจัดหาเงินในงบกระแสเงินสด (จ) ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่นรวมถึงยอดคงเหลือกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน แสดงในราคาตามใบแจ้งหนี้หักค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญประเมินโดยการวิเคราะห์ประวัติการชำระหนี้ และการคาดการณ์เกี่ยวกับการชำระหนี้ในอนาคตของลูกค้า ลูกหนี้จะ ถูกตัดจำหน่ายบัญชีเมื่อทราบว่าเป็นหนี้สูญ (ฉ) เงินลงทุน เงินลงทุนในบริษัทย่อย กิจการที่ควบคุมร่วมกัน และบริษัทร่วม เงินลงทุนในบริษัทย่อย กิจการที่ควบคุมร่วมกัน และบริษัทร่วม ในงบการเงินเฉพาะกิจการของบริษัท บันทึกบัญชีโดยใช้วิธีราคาทุน ส่วน การบันทึกบัญชีเงินลงทุนในบริษัทร่วมในงบการเงินรวมใช้วิธีส่วนได้เสีย เงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุนอื่น ตราสารหนี้และตราสารทุนซึ่งเป็นหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาดซึ่งถือไว้เพื่อค้า จัดประเภทเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนและแสดงในมูลค่า ยุติธรรม กำไรหรือขาดทุนจากการตีราคาหลักทรัพย์ได้บันทึกในงบกำไรขาดทุน ตราสารหนีซ้ งึ่ กลุม่ บริษทั ตัง้ ใจและสามารถถือจนกว่าครบกำหนด แสดงในราคาทุนตัดจำหน่ายหักด้วยขาดทุนจากการด้อยค่าของเงินลงทุน ผลต่าง ระหว่างราคาทุนที่ซื้อมากับมูลค่าไถ่ถอนของตราสารหนี้จะถูกตัดจ่ายโดยวิธีอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุของตราสารหนี้ที่เหลือ ตราสารหนี้และตราสารทุนซึ่งเป็นหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด นอกเหนือจากที่ถือไว้เพื่อค้าหรือตั้งใจถือไว้จนครบกำหนด จัดประเภท เป็นหลักทรัพย์เผื่อขายและแสดงในราคายุติธรรม กำไรหรือขาดทุนจากการตีราคาหลักทรัพย์ได้บันทึกในส่วนของผู้ถือหุ้นโดยตรง ยกเว้นขาดทุน จากการด้อยค่าของเงินลงทุนและกำไรขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนจะรับรู้ในงบกำไรขาดทุน เมื่อมีการจำหน่ายเงินลงทุน จะรับรู้ผลกำไรหรือ ขาดทุนที่เคยบันทึกในส่วนของผู้ถือหุ้นโดยตรงเข้าในงบกำไรขาดทุน ในกรณีที่เป็นเงินลงทุนประเภทที่มีดอกเบี้ยจะต้องบันทึกดอกเบี้ยใน งบกำไรขาดทุนโดยวิธีอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง เงินลงทุนในตราสารทุนซึ่งไม่ใช่หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาดแสดงในราคาทุนหักขาดทุนจากการด้อยค่า มูลค่ายุติธรรมของเครื่องมือทางการเงินสำหรับหลักทรัพย์เพื่อค้าและหลักทรัพย์เผื่อขายจะใช้ราคาเสนอซื้อ ณ วันที่ในงบดุล การจำหน่ายเงินลงทุน เมื่อมีการจำหน่ายเงินลงทุน ผลต่างระหว่างจำนวนเงินสุทธิที่ได้รับและมูลค่าตามบัญชีและรวมถึงกำไรหรือขาดทุนจากการตีราคาหลักทรัพย์ ที่เกี่ยวข้องที่เคยบันทึกในส่วนของผู้ถือหุ้น จะถูกบันทึกในงบกำไรขาดทุน ในกรณีที่กลุ่มบริษัทจำหน่ายบางส่วนของเงินลงทุนที่ถืออยู่ การคำนวณต้นทุนสำหรับเงินลงทุนที่จำหน่ายไปและเงินลงทุนที่ยังถืออยู่ ใช้ วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (ช) ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ประกอบด้วยที่ดิน สินทรัพย์ให้เช่าและเครื่องตกแต่ง ติดตั้งและอุปกรณ์ แสดงด้วยราคาทุนหักค่าเสื่อมราคาสะสม และขาดทุนจากการด้อยค่า


116 .117

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป

2551

ค่าเสื่อมราคา ค่าเสื่อมราคาบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน คำนวณโดยวิธีเส้นตรงตามเกณฑ์อายุการใช้งานโดยประมาณของสินทรัพย์แต่ละรายการ ประมาณการอายุการใช้งานของสินทรัพย์แสดงได้ดังนี้ อาคารและส่วนปรับปรุง 25-30 ปี เครื่องตกแต่ง ติดตั้งและเครื่องใช้สำนักงาน 5-15 ปี ยานพาหนะ 5 ปี กลุ่มบริษัทไม่คิดค่าเสื่อมราคาสำหรับที่ดินและสินทรัพย์ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง

(ซ) สิทธิการเช่า สิทธิการเช่าแสดงในราคาทุนหักค่าตัดจำหน่ายสะสมและขาดทุนจากการด้อยค่า ค่าตัดจำหน่าย สิทธิการเช่าตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน คำนวณโดยวิธีเส้นตรงตามระยะเวลาของสัญญาเช่าดังนี้ สิทธิการเช่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง สิทธิการเช่าที่ดิน

30 ปี (ตามอายุสัญญาเช่า) 25-30 ปี (ตามอายุสัญญาเช่า)

(ฌ) สัญญาเช่าระยะยาว กรณีที่กลุ่มบริษัทเป็นผู้เช่า สัญญาเช่าที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ที่ความเสี่ยงและผลตอบแทนของความเป็นเจ้าของส่วนใหญ่ได้โอนไปให้กับผู้เช่าถือเป็นสัญญาเช่าการเงิน สัญญาเช่าการเงินจะบันทึกเป็นรายจ่ายฝ่ายทุนตามมูลค่าปัจจุบนั สุทธิของจำนวนเงินทีต่ อ้ งจ่ายตามสัญญาเช่า โดยจำนวนเงินทีต่ อ้ งจ่ายจะปันส่วน ระหว่างหนี้สินและค่าใช้จ่ายทางการเงินเพื่อให้ได้อัตราดอกเบี้ยคงที่ต่อหนี้สินคงค้างอยู่ ภาระผูกพันตามสัญญาเช่าหักค่าใช้จ่ายทางการเงิน จะบันทึกเป็นหนี้สินระยะยาว ส่วนดอกเบี้ยจ่ายจะบันทึกในงบกำไรขาดทุนตลอดอายุของสัญญาเช่า สินทรัพย์ที่เกิดจากสัญญาเช่าการเงินจะคิด ค่าเสื่อมราคาตลอดอายุการใช้งานของสินทรัพย์นั้น สัญญาเช่าสินทรัพย์โดยที่ความเสี่ยงและผลตอบแทนของความเป็นเจ้าของส่วนใหญ่ตกอยู่กับผู้ให้เช่าจะจัดเป็นสัญญาเช่าดำเนินงาน เงินทั้งหมด ที่ต้องจ่ายภายใต้สัญญาเช่าดำเนินงานจะบันทึกในงบกำไรขาดทุนโดยใช้วิธีเส้นตรงตลอดอายุของสัญญาเช่านั้น ในส่วนของสัญญาเช่าสินทรัพย์ ที่กลุ่มบริษัทไม่ได้เข้าครอบครองพื้นที่ของสินทรัพย์นั้นทั้งหมดตั้งแต่วันแรกที่ทำสัญญาเช่า เงินทั้งหมดที่ต้องจ่ายภายใต้สัญญาเช่าดำเนินงาน จะบันทึกในงบกำไรขาดทุนโดยใช้วิธีตัดจ่ายที่เป็นระบบซึ่งอ้างอิงจากจำนวนพื้นที่ที่ได้ครอบครองในแต่ละปี ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการยกเลิกสัญญาเช่าดำเนินงานก่อนหมดอายุการเช่า เช่น เบี้ยปรับที่ต้องจ่ายให้แก่ผู้ให้เช่า จะบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายใน รอบระยะเวลาบัญชีที่การยกเลิกนั้นเกิดขึ้น

กรณีที่กลุ่มบริษัทเป็นผู้ให้เช่า สินทรัพย์ที่ให้เช่าภายใต้สัญญาเช่าดำเนินงานแสดงรวมอยู่ในที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ในงบดุล และตัดค่าเสื่อมราคาตลอดอายุการใช้งาน ของสินทรัพย์เช่นเดียวกับสินทรัพย์ถาวรที่มีลักษณะเหมือนกัน รายได้ค่าเช่ารับรู้โดยวิธีเส้นตรงตามระยะเวลาการให้เช่า สัญญาเช่าสินทรัพย์โดยที่กลุ่มบริษัทได้มีการโอนความเสี่ยงและผลประโยชน์ของความเป็นเจ้าของส่วนใหญ่ไปให้กับผู้เช่าจะจัดเป็นสัญญาเช่า การเงิน และสินทรัพย์ที่ถือไว้ภายใต้สัญญาเช่าการเงินจะบันทึกในงบดุลเป็นลูกหนี้ภายใต้สัญญาเช่าการเงิน รายได้จากการขายที่บันทึก ณ วันเริ่มต้นของสัญญาเช่าการเงินของผู้ให้เช่าใช้ราคายุติธรรมของทรัพย์สินหรือราคาที่ต่ำกว่าของมูลค่าปัจจุบัน ของผลรวมของจำนวนขั้นต่ำที่ต้องจ่ายตามสัญญาเช่าแก่ผู้ให้เช่าซึ่งการคำนวณมูลค่าปัจจุบันนี้ใช้อัตราดอกเบี้ยทางการค้าที่เหมาะสม ต้นทุนขาย ของสัญญาเช่าการเงิน บันทึกเป็นต้นทุน ณ วันที่เริ่มสัญญาเช่า โดยใช้ราคาทุนของสินทรัพย์ที่ให้เช่าหรือใช้ราคาตามบัญชี ถ้าราคาตามบัญชี ต่างจากราคาทุนผลต่างระหว่างรายได้จากการขายและต้นทุนขาย บันทึกเป็นกำไรจากการขายซึ่งจะรับรู้ตามนโยบายการบัญชีที่กลุ่มบริษัทใช้ รับรู้การขายตามปกติ

(ญ) สินทรัพย์ไม่มีตัวตน ค่าความนิยมติดลบ ค่าความนิยมติดลบจากการรวมธุรกิจได้แก่มูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์สุทธิที่ระบุได้ ส่วนที่เกินกว่าต้นทุนการได้มาของสินทรัพย์สุทธินั้น กลุ่ม บริษัทได้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีสำหรับค่าความนิยมติดลบ ซึ่งมีผลบังคับใช้ต้ังแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 ตามที่ได้กล่าวไว้ใน หมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 29 ค่าความนิยมติดลบที่ได้มาก่อนวันที่ 1 มกราคม 2551 ค่าความนิยมติดลบที่ได้รับรู้ไว้ก่อนหน้า แสดงในราคาทุน ค่าความนิยมติดลบในงบการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 รับรู้ทั้งจำนวนในยอดกำไร สะสม ณ วันที่ 1 มกราคม 2551


ค่าความนิยมติดลบที่เกิดจากการซื้อกิจการภายหลังวันที่ 1 มกราคม 2543 ซึ่งเป็นระยะเวลาภายหลังจาก มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 43 เรื่อง การรวมธุรกิจ มีผลบังคับใช้จะจัดประเภทเป็นสินทรัพย์และแสดงค่าความนิยมติดลบนั้นเป็นรายการหักจากสินทรัพย์อื่นในงบดุล เนื่องจาก ค่าความนิยมติดลบนี้มิได้สัมพันธ์กับผลขาดทุนและค่าใช้จ่ายในอนาคต ดังนั้นจึงจะรับรู้ค่าความนิยมติดลบส่วนที่ไม่เกินมูลค่ายุติธรรมของ สินทรัพย์ที่ไม่เป็นตัวเงิน เป็นรายได้ในงบกำไรขาดทุนโดยใช้วิธีเส้นตรงตลอดอายุการใช้งานถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักและอายุการให้ประโยชน์ ที่เหลืออยู่ของสินทรัพย์ที่เสื่อมสภาพได้ ค่าความนิยมติดลบที่เกิดก่อนวันที่ 1 มกราคม 2543 ซึ่งเกิดจากมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์สุทธิของบริษัทย่อยแห่งหนึ่ง ซึ่งได้แก่ ที่ดิน มีมูลค่าสูงกว่าต้นทุนในการซื้อ ที่แสดงภายใต้ส่วนของผู้ถือหุ้นในงบดุลเป็นค่าความนิยมติดลบก่อนมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 43 เรื่อง การรวมธุรกิจมีผลบังคับใช้ กลุ่มบริษัทเลือกที่จะไม่ปรับย้อนหลังค่าความนิยมติดลบดังกล่าว อย่างไรก็ตาม หากได้มีการปรับย้อนหลังกำไร สะสมจะเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนเดียวกันกับค่าความนิยมติดลบ

ค่าความนิยมและค่าความนิยมติดลบที่ได้มาในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2551 ค่าความนิยมแสดงในราคาทุน ค่าความนิยมติดลบรับรู้ทันทีในงบกำไรขาดทุน การวัดมูลค่าหลังการรับรู้เริ่มแรก ค่าความนิยมวัดมูลค่าด้วยราคาทุนหักค่าเผือ่ การด้อยค่า ในกรณีเงินลงทุนบันทึกตามวิธสี ว่ นได้เสียค่าความนิยมได้ถกู รวมในมูลค่าตามบัญชีเงินลงทุน สิทธิการใช้สินทรัพย์ สิทธิการใช้สินทรัพย์ที่กลุ่มบริษัทซื้อมาแสดงในราคาทุน หักค่าตัดจำหน่ายสะสมและขาดทุนจากการด้อยค่า ค่าตัดจำหน่าย ค่าตัดจำหน่ายบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน คำนวณโดยวิธีเส้นตรงตามเกณฑ์ระยะเวลาที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจของ สินทรัพย์ไม่มีตัวตนแต่ละประเภท ระยะเวลาที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจแสดงได้ดังนี้ สิทธิการใช้สินทรัพย์

10 และ 28 ปี

(ฎ) การด้อยค่า ยอดสินทรัพย์ตามบัญชีของกลุ่มบริษัท ได้รับการทบทวน ณ ทุกวันที่ในงบดุลว่า มีข้อบ่งชี้เรื่องการด้อยค่าหรือไม่ ในกรณีที่มีข้อบ่งชี้ จะทำการ ประมาณมูลค่าสินทรัพย์ที่คาดว่าจะได้รับคืน ขาดทุนจากการด้อยค่ารับรู้เมื่อมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ หรือมูลค่าตามบัญชีของหน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสดสูงกว่ามูลค่าที่จะได้รับคืน ขาดทุนจากการด้อยค่าบันทึกในงบกำไรขาดทุน เมื่อมีการลดลงในมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ทางการเงินเผื่อขาย ซึ่งได้บันทึกในส่วนของผู้ถือหุ้น และมีความชัดเจนว่าสินทรัพย์ดังกล่าว มีการด้อยค่า ยอดขาดทุนซึ่งเคยบันทึกในส่วนของผู้ถือหุ้นจะถูกบันทึกในงบกำไรขาดทุนโดยไม่ต้องปรับกับยอดสินทรัพย์ทางการเงินดังกล่าว ยอดขาดทุนที่บันทึกในงบกำไรขาดทุนเป็นผลต่างระหว่างราคาทุนที่ซื้อกับมูลค่ายุติธรรมในปัจจุบันของสินทรัพย์ หักขาดทุนจากการด้อยค่า ของสินทรัพย์ทางการเงินนั้นๆ ซึ่งเคยรับรู้แล้วในงบกำไรขาดทุน การคำนวณมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืน มูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนของหลักทรัพย์ของกลุ่มบริษัทที่ถือไว้จนกว่าจะครบกำหนด คำนวณโดยการหามูลค่าปัจจุบันของประมาณการ กระแสเงินสดที่จะได้รับในอนาคต คิดลดด้วยอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง มูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนของสินทรัพย์ทางการเงินสำหรับหลักทรัพย์เผื่อขาย คำนวณโดยอ้างอิงถึงมูลค่ายุติธรรม มูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนของสินทรัพย์ที่ไม่ใช่สินทรัพย์ทางการเงิน หมายถึงราคาขายสุทธิของสินทรัพย์ หรือมูลค่าจากการใช้ของสินทรัพย์ แล้วแต่มูลค่าใดจะสูงกว่า ในการประเมินมูลค่าจากการใช้ของสินทรัพย์ ประมาณการกระแสเงินสดที่จะได้รับในอนาคตจะคิดลดเป็นมูลค่า ปัจจุบันโดยใช้อัตราคิดลดก่อนคำนึงภาษีเงินได้เพื่อให้สะท้อนมูลค่าที่อาจประเมินได้ในตลาดปัจจุบัน ซึ่งแปรไปตามเวลาและความเสี่ยงที่มีต่อ สินทรัพย์ สำหรับสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดกระแสเงินสดรับโดยอิสระจากสินทรัพย์อื่น ให้พิจารณามูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนรวมกับ หน่วย สินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสดที่สินทรัพย์นั้นเกี่ยวข้องด้วย การกลับรายการด้อยค่า ขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ทางการเงินจะถูกกลับรายการเมื่อมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนเพิ่มขึ้นในภายหลัง และการเพิ่มขึ้นนั้น สัมพันธ์โดยตรงกับขาดทุนจากการด้อยค่าที่เคยรับรู้ สำหรับสินทรัพย์ทางการเงินที่บันทึกโดยวิธีราคาทุนตัดจำหน่ายและตราสารหนี้ที่จัดประเภท เป็นหลักทรัพย์เผื่อขาย การกลับรายการจะถูกบันทึกในงบกำไรขาดทุน ส่วนสินทรัพย์ทางการเงินที่เป็นตราสารทุนที่จัดประเภทเป็นหลักทรัพย์ เผื่อขาย การกลับรายการจะถูกรับรู้โดยตรงในส่วนของผู้ถือหุ้น ขาดทุนจากการด้อยค่าของค่าความนิยมจะไม่มีการปรับปรุงกลับรายการ ขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ที่ไม่ใช่สินทรัพย์ทางการเงินอื่นๆ ที่เคยรับรู้ในงวดก่อนจะถูกประเมิน ณ ทุกวันที่ที่ออกรายงานว่ามีข้อบ่งชี้เรื่องการด้อยค่าหรือไม่ ขาดทุนจากการด้อยค่าจะถูกกลับรายการ หากมีการเปลี่ยนแปลงประมาณการที่ใช้ในการคำนวณมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืน ขาดทุนจากการด้อยค่าจะถูกกลับรายการเพียงเท่าที่มูลค่า ตามบัญชีของสินทรัพย์ไม่เกินกว่ามูลค่าตามบัญชีภายหลังหักค่าเสื่อมราคาหรือค่าตัดจำหน่าย เสมือนหนึ่งไม่เคยมีการบันทึกขาดทุน จากการ ด้อยค่ามาก่อน


118 .119

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป

2551

(ฏ) หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย หนี้สินประเภทมีดอกเบี้ยบันทึกเริ่มแรกในมูลค่ายุติธรรม (ฐ) เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่นแสดงในราคาทุน (ฑ) ประมาณการหนี้สิน ประมาณการหนี้ สิ น จะรั บ รู้ ใ นงบดุ ล ก็ ต่ อ เมื่ อ กลุ่ ม บริ ษั ท มี ภ าระหนี้ สิ น ตามกฎหมายที่ เ กิ ด ขึ้ น ในปั จ จุ บั น หรื อ ที่ ก่ อ ตั ว ขึ้ น อั น เป็ น ผลมาจาก เหตุ ก ารณ์ ใ นอดี ต และมี ค วามเป็น ไปได้ ค่ อ นข้ า งแน่น อนว่ า ประโยชน์ เชิ ง เศรษฐกิ จ จะต้ อ งถู ก จ่ า ยไปเพื่ อ ชำระภาระหนี้ สิ น ดั ง กล่ า ว และ สามารถประมาณจำนวนภาระหนี้สินได้อย่างน่าเชื่อถือ ถ้าผลกระทบดังกล่าวมีจำนวนที่เป็นสาระสำคัญ ประมาณการหนี้สินพิจารณาจาก การคิดลดกระแสเงินสดที่จะจ่ายในอนาคตโดยใช้อัตราคิดลดในตลาดปัจจุบันก่อนคำนึงภาษีเงินได้ เพื่อให้สะท้อนจำนวนที่อาจประเมิน ได้ในตลาดปัจจุบันซึ่งแปรไปตามเวลาและความเสี่ยงที่มีต่อหนี้สิน (ฒ) รายได้ รายได้ที่รับรู้ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มและแสดงสุทธิจากส่วนลดการค้า รายได้ค่าเช่าและให้บริการ รายได้ค่าเช่ารับรู้ในงบกำไรขาดทุนโดยวิธีเส้นตรงตลอดอายุสัญญาเช่า และรายได้จากการให้บริการรับรู้เมื่อมีการให้บริการแก่ลูกค้าแล้วค่าใช้จ่าย เริ่มแรกที่เกิดเป็นการเฉพาะเพื่อให้เกิดสัญญาเช่ารับรู้เป็นส่วนหนึ่งของรายได้ค่าเช่าทั้งสิ้นตามสัญญา รายได้ค่าเช่าและค่าบริการรับล่วงหน้า รับรู้เป็นรายได้ตามวิธีเส้นตรงตามระยะเวลาของสัญญาเช่า รายได้จากการขายอาหารและเครื่องดื่ม รายได้จากการขายอาหารและเครื่องดื่ม รับรู้เป็นรายได้เมื่อจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มให้ลูกค้าแล้วเสร็จ ดอกเบี้ยรับและเงินปันผลรับ ดอกเบี้ยรับบันทึกในงบกำไรขาดทุนตามเกณฑ์คงค้าง เงินปันผลรับบันทึกในงบกำไรขาดทุนในวันที่กลุ่มบริษัทมีสิทธิได้รับเงินปันผล ซึ่งตามปกติ ในกรณีเงินปันผลที่จะได้รับจากหลักทรัพย์ในการความต้องการของตลาด จะพิจารณาจากวันที่มีการประกาศสิทธิการรับปันผล

(ณ) ค่าใช้จ่าย สัญญาเช่าดำเนินงาน รายจ่ายภายใต้สัญญาเช่าดำเนินงานบันทึกในงบกำไรขาดทุนโดยวิธีเส้นตรงตลอดอายุสัญญาเช่า ประโยชน์ที่ได้รับตามสัญญาเช่าจะรับรู้ใน งบกำไรขาดทุนเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าทั้งสิ้นตามสัญญา รายจ่ายทางการเงิน ดอกเบี้ยจ่ายและค่าใช้จ่ายในทำนองเดียวกันบันทึกในงบกำไรขาดทุนในงวดที่ค่าใช้จ่ายดังกล่าวเกิดขึ้น ยกเว้นในกรณีที่มีการบันทึกเป็นต้น ทุนส่วนหนึ่งของสินทรัพย์ อันเป็นผลมาจากการใช้เวลายาวนานในการจัดหาหรือ ก่อสร้างสินทรัพย์ดังกล่าวก่อนที่จะนำมาใช้เองหรือเพื่อขาย

(ด) ภาษีเงินได้ ภาษีเงินได้จากกำไรหรือขาดทุนสำหรับปีประกอบด้วยภาษีเงินได้ปัจจุบันและภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ภาษี เงินได้รับรู้ในงบกำไรขาดทุน ภาษีเงินได้ปัจจุบัน ภาษีเงินได้ปัจจุบันได้แก่ภาษีที่คาดว่าจะจ่ายชำระโดยคำนวณจากกำไรประจำปีที่ต้องเสียภาษี โดยใช้อัตราภาษีที่ประกาศใช้ ณ วันที่ในงบดุล ซึ่งเกี่ยวกับรอบบัญชีที่คำนวณภาษีเงินได้ ตลอดจนการปรับปรุงทางภาษีที่เกี่ยวกับรายการในปีก่อนๆ ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี กลุ่มบริษัทบันทึกบัญชีโดยวิธีหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี โดยคำนวณจากผลแตกต่างชั่วคราวที่เกิดขึ้นระหว่าง มูลค่าตามบัญชีของ สินทรัพย์และหนี้สินและจำนวนที่ใช้เพื่อความมุ่งหมายทางภาษี โดยผลต่างชั่วคราวต่อไปนี้ไม่ได้ถูกนำมาร่วมพิจารณาได้แก่ ค่าความนิยม ซึ่งไม่สามารถถือเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษี การรับรู้สินทรัพย์และหนี้สินในครั้งแรกซึ่งไม่กระทบต่อทั้งกำไรทางบัญชีหรือกำไรทางภาษี จำนวน ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีพิจารณาจากรายการ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจริง หรือมูลค่าหรือประโยชน์ของสินทรัพย์ที่คาดว่าจะได้รับและหนี้สินที่คาดว่า จะต้องชำระ โดยใช้ อัตราภาษีที่มีการประกาศใช้ ณ วันที่ในงบดุล สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีจะบันทึกต่อเมื่อมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่นอนว่ากำไรเพื่อเสียภาษีในอนาคตจะมีจำนวนเพียงพอกับ การใช้ประโยชน์จากการตั้งสินทรัพย์ดังกล่าว สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีจะถูกปรับลดลงเท่าที่ประโยชน์ทางภาษีจะมีโอกาสถูกใช้จริง


4. รายการที่เกิดขึ้นและยอดคงเหลือกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวของกัน บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกันได้แก่บุคคลหรือกิจการต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มบริษัทและบริษัทโดยการเป็นผู้ถือหุ้น หรือมีผู้ถือหุ้น ร่วมกัน หรือมีกรรมการร่วมกัน รายการบัญชีระหว่างบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกันได้กำหนดขึ้นโดยใช้ราคาตลาดหรือในราคาที่ตกลงกัน ตามสัญญาหากไม่มีราคาตลาดรองรับ รายละเอียดความสัมพันธ์ที่บริษัท/กลุ่มบริษัทมีกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกันซึ่งมีการควบคุม หรือควบคุมร่วมกันในบริษัท หรือเป็น กิจการที่บริษัทควบคุม หรือควบคุมร่วมกัน หรือเป็นบุคคลหรือกิจการที่มีรายการบัญชีกับบริษัท/กลุ่มบริษัท มีดังนี้

ชื่อกิจการ

ประเทศที่จัดตั้ง/ สัญชาติ

ลักษณะความสัมพันธ์

บริษัท เซ็นทรัล โฮลดิ้ง จำกัด บริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด บริษัท สรรพสินค้าเซน จำกัด บริษัท ห้างเซ็นทรัลดีพาร์ทเมนท์ สโตร์ จำกัด บริษัท เซ็นทรัลเทรดดิ้ง จำกัด บริษัท เซ็นทรัลซูปเปอร์สโตร์ จำกัด บริษัท พาวเวอร์ บาย จำกัด บริษัท ไทย พริวิลเลจ เฮ็ลธแคร์ จำกัด บริษัท ไทย พริวิลเลจ เซ็นเตอร์ จำกัด บริษัท ซีอาร์ซี สปอร์ต จำกัด บริษัท ซีอาร์ซี เพาเวอร์ รีเทล จำกัด บริษัท บีทูเอส จำกัด บริษัท ออฟฟิซ คลับ (ไทย) จำกัด บริษัท เอิร์ธแคร์ จำกัด บริษัท ซีอาร์ เชียงใหม่ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท เซ็นทรัลการ์เม้นท์แฟคทอรี่ จำกัด บริษัท แซมโซไนท์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท โรงแรม เซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน) บริษัท โรงแรม เซ็นทรัลเวิลด์ จำกัด บริษัท เซ็นทรัล เรสตรองส์ กรุ๊ป จำกัด บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด บริษัท ฟู้ดส กิมมิคส์ จำกัด บริษัท เซ็นทรัล เฟรนด์ จำกัด บริษัท ห้องอาหารซากุระ จำกัด บริษัท ฟู้ดส์ เอคเซ็ลเล็น จำกัด บริษัท เซ็นทรัลอินเตอร์ พัฒนา จำกัด บริษัท โรบินสันนครินทร์ จำกัด บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน) บริษัท เซ็นทรัลวัตสัน จำกัด บริษัท เอฟแอนด์ดี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัท ฟู้ด เฟสติวัล จำกัด บริษัท ฟู้ด มิลเลนเนียม จำกัด บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด บริษัท แฟรี่พลาซ่า จำกัด บริษัท บิ๊กซี แฟรี่ จำกัด บริษัท สยาม รีเทล ดีเวลล็อปเม้นท์ จำกัด บริษัท อยุธยาเกษตรธานี จำกัด บริษัท สเเควร์ริทซ์ พลาซ่า จำกัด

ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย

เป็นบริษัทผู้ถือหุ้นรายใหญ่ และมีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท


120 .121

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป

2551

รายละเอียดความสัมพันธ์ที่บริษัทมีกับบริษัทย่อย กิจการที่ควบคุมร่วมกันและกองทุนรวมได้เปิดเผยไว้แล้วในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 1 นโยบายการกำหนดราคาสำหรับแต่ละรายการอธิบายได้ดังต่อไปนี้ รายการ รายได้ค่าเช่าและค่าบริการ รายได้ค่าบริหารงาน ดอกเบี้ยที่คิดกับบริษัทย่อยที่บริษัทถือหุ้นร้อยละ 100 ดอกเบี้ยที่คิดกับบริษัทย่อยอื่นและกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ต้นทุนค่าเช่าและค่าบริการ ต้นทุนขายอาหารและเครื่องดื่ม รายได้อื่น ค่าใช้จ่ายในการบริหาร

นโยบายการกำหนดราคา ราคาตลาดโดยขึ้นอยู่กับทำเล จำนวนพื้นที่ รูปแบบการเช่า ระยะเวลาที่เช่า และประเภทของการเช่า อัตราเดียวกับอัตราที่กิจการอื่นในธุรกิจเดียวกันเรียกเก็บ อัตราดอกเบี้ยถัวเฉลี่ยของตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัท อัตราดอกเบี้ยถัวเฉลี่ยของตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัท ราคาตลาด ราคาตลาด อัตราเดียวกับอัตราที่กิจการอื่นในธุรกิจเดียวกันเรียกเก็บ ราคาต้นทุน

รายการที่สำคัญกับกิจการที่เกี่ยวข้องสำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550 สรุปได้ดังนี้ (พันบาท)

งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2551

2550

2551

2550

รายได้จากการให้เช่าและให้บริการ บริษัทย่อย กิจการที่เกี่ยวข้องกัน

1,384,671

1,403,413

169,935 538,143

132,130 501,468

รวม

1,384,671

1,403,413

708,078

633,598

รายได้ค่าบริหารงาน บริษัทย่อยและกองทุนรวม กิจการที่เกี่ยวข้องกัน

2,960

2,388

112,066 2,960

99,043 2,321

รวม

2,960

2,388

115,026

101,364

ดอกเบี้ยรับ บริษัทย่อย กิจการที่เกี่ยวข้องกัน

132

308

328,762 18

144,893 175

รวม

132

308

328,780

145,068

รายได้อื่น บริษัทย่อยและกองทุนรวม กิจการที่เกี่ยวข้องกัน

111,137

48,490

82,804 35,632

84,007 19,062

รวม

111,137

48,490

118,436

103,069

รายได้


(พั น บาท)

งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2551

2550

2551

2550

ต้นทุนค่าเช่าและค่าบริการ บริษัทย่อยและกองทุนรวม กิจการที่เกี่ยวข้องกัน รวม

111,628 111,628

93,850 93,850

310,796 107,689 418,485

286,328 89,654 375,982

ต้นทุนขายอาหารและเครื่องดื่ม กิจการที่เกี่ยวข้องกัน

56

37

-

-

ค่าบริหารงาน บริษัทย่อย กิจการที่เกี่ยวข้องกัน รวม

72,115 72,115

76,657 76,657

20 72,115 72,135

24 76,657 76,681

ค่าใช้จ่ายในการบริหาร บริษัทย่อยและกองทุนรวม กิจการที่เกี่ยวข้องกัน รวม

12,737 12,737

25,757 25,757

27,685 5,845 33,530

25,192 11,032 36,224

-

-

180,084 180,084

139,391 139,391

ค่าใช้จ่าย

ดอกเบี้ยจ่าย บริษัทย่อย รวม

ยอดคงเหลือกับกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550 มีดังนี้

ลูกหนี้การค้า (พั น บาท)

งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2551

2550

2551

2550

บริษัท บางนาเซ็นทรัล พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา เชียงใหม่ จำกัด บริษัท เซ็นทรัล เรียลตี้ เซอร์วิส จำกัด บริษัท เซ็นทรัล เวิลด์ จำกัด บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา รัตนาธิเบศร์ จำกัด อื่นๆ

-

-

3,907 3,645 9,699 2,967 1,590 3,004

4,268 4,074 5,793 2,189 1,794 576

รวมบริษัทย่อย

-

-

24,812

18,694

54,479 92,919

48,730 86,780

24,209 2,829

5,534 1,235

147,398 147,398

135,510 135,510

27,038 51,850

6,769 25,463

บริษัทย่อย :

กิจการที่เกี่ยวข้องกัน : กลุ่มห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล อื่นๆ รวมกิจการที่เกี่ยวข้องกัน รวม


122 .123

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป

2551

เงินทดรองจ่ายและเงินให้กู้ยืมแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน (พั นบาท)

อัตราดอกเบี้ย (ร้อ ยละต่อ ปี)

งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2551

2550

2551

2550

2551

2550

เงินทดรองจ่ายแก่ บริษัทย่อย: บริษัท เซ็นทรัล เรียลตี้ เซอร์วิส จำกัด

4.69

2.25

-

-

-

303

เงินกู้ยืมระยะสั้น บริษัทย่อย: กองทุนรวมธุรกิจไทย 5

6.50

6.50

-

-

136,137

152,228

รวมเงินให้กู้ยืมระยะสั้น

-

-

136,137

152,228

รวมเงินทดรองจ่ายและเงินให้กู้ยืมระยะสั้น

-

-

136,137

152,531

-

12,167 -

3,516,741 756,138 1,455,277 1,056,393 333,442 761,700 71,257 127,867

3,298,794 943,690 781,910 340,630 204,586 30,418 -

-

12,167

8,078,815

5,600,028

162,739 (162,739) -

162,739 (162,739) -

162,739 (162,739) -

162,739 (162,739) -

รวมเงินให้กู้ยืมระยะยาว

-

12,167

8,078,815

5,600,028

รวมเงินให้กู้ยืมแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน - สุทธิ

-

12,167

8,214,952

5,752,559

เงินให้กู้ยืมระยะยาว บริษัทย่อยและกิจการที่ควบคุมร่วมกัน : บริษัท เซ็นทรัล เวิลด์ จำกัด บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา รัตนาธิเบศร์ จำกัด บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา ขอนแก่น จำกัด บริษัท ซีพีเอ็น พัทยา บีช จำกัด บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา เชียงใหม่ จำกัด บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา ชลบุรี จำกัด บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ดอเวนิว จำกัด อื่นๆ

กิจการที่เกี่ยวข้องกัน: บริษัท สยาม รีเทล ดีเวลล็อปเม้นท์ จำกัด หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ

4.69 4.69 4.69 4.69 4.69 4.69 4.69 4.69

7.00

2.25 2.25 5.50 2.25 2.25 5.50 5.50

7.00

สรุปเงินทดรองจ่ายและเงินให้กู้ยืมแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน (พันบาท)

งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2551

2550

2551

2550

เงินทดรองจ่ายและเงินให้กู้ยืมระยะสั้น เงินให้กู้ยืมระยะยาว

162,739

174,906

136,137 8,241,554

152,531 5,762,767

หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ

162,739 (162,739)

174,906 (162,739)

8,377,691 (162,739)

5,915,298 (162,739)

-

12,167

8,214,952

5,752,559

รวมเงินทดรองจ่ายและเงินให้กู้ยืมแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน - สุทธิ


รายการเคลื่อนไหวของเงินทดรองจ่ายและเงินให้กู้ยืมแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกันสำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550 มีดังนี้ (พั น บาท)

งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2551

2550

2551

2550

บริษัทย่อย ณ วันที่ 1 มกราคม เพิ่มขึ้น ลดลง

-

-

152,531 14,031 (30,425)

147,229 21,381 (16,079)

ณ วันที่ 31 ธันวาคม

-

-

136,137

152,531

บริษัทย่อย ณ วันที่ 1 มกราคม เพิ่มขึ้น ลดลง

-

-

5,600,028 4,367,949 (1,889,162)

4,596,440 1,667,887 (664,299)

ณ วันที่ 31 ธันวาคม

-

-

8,078,815

5,600,028

12,167 (12,167)

10,118 3,595 (1,546)

-

-

-

12,167

-

-

12,167 (12,167)

10,118 3,595 (1,546)

5,600,028 4,367,949 (1,889,162)

4,596,440 1,667,887 (664,299)

-

12,167

8,078,815

5,600,028

ระยะสั้น

ระยะยาว

กิจการที่ควบคุมร่วมกัน ณ วันที่ 1 มกราคม เพิ่มขึ้น ลดลง ณ วันที่ 31 ธันวาคม รวมเงินให้กู้ระยะยาวแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน ณ วันที่ 1 มกราคม เพิ่มขึ้น ลดลง ณ วันที่ 31 ธันวาคม

เงินให้กู้ยืมแก่บริษัทย่อยและบริษัทที่เกี่ยวข้องกันเป็นเงินให้กู้ยืมที่ไม่มีหลักประกันในสกุลเงินบาท ยกเว้นเงินให้กู้ยืมแก่บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา ขอนแก่น จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยมีหลักประกันเป็นที่ดินของบริษัทย่อยดังกล่าว โดยมีราคาตามบัญชีของที่ดินจำนวนเงิน 572 ล้านบาท (2550 : 572 ล้านบาท) เงินให้กู้ยืมดังกล่าวมีกำหนดชำระคืนเมื่อทวงถาม ในปี 2550 เงินให้กู้ยืมแก่บริษัทย่อยที่บริษัทถือหุ้นร้อยละ 100 มี ดอกเบี้ยเท่ากับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำธนาคารของบริษัท เงินให้กู้ยืมแก่บริษัทย่อยอื่นและกิจการที่เกี่ยวข้องกันมีอัตราดอกเบี้ยเท่ากับ อัตราเงินกู้ยืมจากธนาคารของบริษัท ทั้งนี้ในปี 2551 เงินให้กู้ยืมแก่บริษัทย่อย และกิจการที่เกี่ยวข้องกันดังกล่าวมีอัตราดอกเบี้ยเท่ากับ อัตราดอกเบี้ยถัวเฉลี่ยของตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัท


124 .125

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป

2551

เงินทดรองจ่ายและเงินกู้ยืมจากบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน (พันบาท)

อัตราดอกเบี้ย (ร้อยละต่อปี) 2551

2550

งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2551

2550

2551

2550

เงินทดรองจ่ายจาก บริษัทย่อย : บริษัท เซ็นทรัล เรียลตี้ เซอร์วิส จำกัด บริษัท หลังสวน เรียลตี้ จำกัด

4.69 4.69

2.25 -

-

-

17 219

349 -

6.50

6.50

-

-

158,990

158,990

5.50

5.50

3,429

3,300

-

-

รวมเงินกู้ยืมระยะสั้น

3,429

3,300

158,990

158,990

รวมเงินทดรองจ่ายและเงินกู้ยืมระยะสั้น

3,429

3,300

159,226

159,339

เงินกู้ยืมระยะสั้น บริษัทย่อย : กองทุนรวมธุรกิจไทย 2 บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน : อื่นๆ

เงินกู้ยืมระยะยาว : บริษัทย่อย : บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา พระราม 2 จำกัด บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา พระราม 3 จำกัด กองทุนรวมธุรกิจไทย 2 บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา ไนน์สแควร์ จำกัด บุคคลที่เกี่ยวข้องกัน : อื่นๆ รวมเงินกู้ยืมระยะยาว

4.69 4.69 6.50 4.69

2.25 2.25 6.50 2.25

-

-

1,835,403 1,390,182 335,623 255,432

1,497,321 1,104,544 494,802 670,996

5.50

5.50

161,588

40,885

-

-

161,588

40,885

3,816,640

3,767,663

165,017

44,185

3,975,866

3,927,002

รวมเงินกู้ยืมจากบุคคลหรือกิจการ ที่เกี่ยวข้องกัน

รายการเคลื่อนไหวของเงินทดรองจ่ายและเงินกู้ยืมจากกิจการที่เกี่ยวข้องกันสำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550 มีดังนี้ (พันบาท)

งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2551

2550

2551

2550

-

-

159,339 1,073,185 (1,073,298) 159,226

159,592 1,286,893 (1,287,146) 159,339

บุคคลและกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ณ วันที่ 1 มกราคม เพิ่มขึ้น

3,300 129

3,171 129

-

-

ณ วันที่ 31 ธันวาคม

3,429

3,300

-

-

รวมเงินทดรองจ่ายและเงินกู้ยืมระยะสั้น จากกิจการที่เกี่ยวข้อง ณ วันที่ 1 มกราคม เพิ่มขึ้น ลดลง

3,300 129 -

3,171 129 -

159,339 1,073,185 (1,073,298)

159,592 1,286,893 (1,287,146)

ณ วันที่ 31 ธันวาคม

3,429

3,300

159,226

159,339

ระยะสั้น บริษัทย่อย ณ วันที่ 1 มกราคม เพิ่มขึ้น ลดลง ณ วันที่ 31 ธันวาคม


(พั น บาท)

งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2551

2550

2551

2550

บริษัทย่อย ณ วันที่ 1 มกราคม เพิ่มขึ้น ลดลง

-

-

3,767,663 913,900 (864,923)

5,693,619 1,741,978 (3,667,934)

ณ วันที่ 31 ธันวาคม

-

-

3,816,640

3,767,663

บุคคลและกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ณ วันที่ 1 มกราคม เพิ่มขึ้น

40,885 120,703

40,885

-

-

ณ วันที่ 31 ธันวาคม

161,588

40,885

-

-

รวมเงินกู้ยืมระยะยาวจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ณ วันที่ 1 มกราคม เพิ่มขึ้น ลดลง

40,885 120,703 -

40,885 -

3,767,663 913,900 (864,923)

5,693,619 1,741,978 (3,667,934)

ณ วันที่ 31 ธันวาคม

161,588

40,885

3,816,640

3,767,663

ระยะยาว

เงินกู้ยืมจากกิจการที่เกี่ยวข้องกันเป็นเงินกู้ยืมที่ไม่มีหลักประกันในสกุลเงินบาท เงินกู้ยืมดังกล่าวมีกำหนดชำระคืนเมื่อทวงถาม ในปี 2550 เงินกู้ยืมจากบริษัทย่อยและกิจการที่เกี่ยวข้องกันมีดอกเบี้ยในอัตราเงินฝากประจำของธนาคารประเภท 3 เดือนและเงินกู้ยืมจากกองทุนรวม มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 6.0 ถึงร้อยละ 7.0 ต่อปี ทั้งนี้ในปี 2551 เงินกู้ยืมจากบริษัทย่อยและกิจการที่เกี่ยวข้องกันมีดอกเบี้ยในอัตราดอกเบี้ย ถัวเฉลี่ยของตราสารหนี้ประเภทไม่มีหลักประกันที่ออกโดยบริษัท บริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้ทำสัญญากับบริษัท โรงแรม เซ็นทรัล พลาซ่า จำกัด (มหาชน) โดยบริษัทย่อยตกลงจะให้โรงแรมเช่าช่วงที่ดิน และ สิ่งก่อสร้างส่วนหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่บริเวณเซ็นทรัล เวิลด์ เป็นเวลา 29 ปี โดยผู้เช่าตกลงจะใช้พื้นที่และสิ่งก่อสร้างดังกล่าวพัฒนาโครงการโรงแรม ที่จอดรถ และ Convention Hall

ภาระผูกพันที่มีกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน กลุ่มบริษัทได้ทำสัญญาเช่าบริการและเช่าอาคารกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกันหลายแห่ง ทั้งนี้บริษัทต้องจ่ายค่าเช่าและค่าบริการ เป็น จำนวนดังนี้ (ล้านบาท)

งบการเงินรวม

ภาระผูกพันตามสัญญาเช่าดำเนินงาน ภายในระยะเวลา 1 ปี ระยะเวลามากกว่า 1 ปี - 5 ปี ระยะเวลามากกว่า 5 ปี รวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2551

2550

2551

2550

9 37 13 59

10 37 23 70

450 919 13 1,382

334 1,009 23 1,366

ในปี 2550 บริษัทได้ลงนามในสัญญาเช่าอาคารศูนย์การค้า เซ็นทรัลพลาซ่า ปิ่นเกล้า กับ กองทุนรวมธุรกิจไทย 2 ซึ่งเป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน สัญญาเช่านี้มีระยะเวลา 3 ปี สิ้นสุดในเดือนธันวาคม 2553 ตามเงื่อนไขของสัญญาบริษัทจะต้องจ่ายค่าเช่าเป็นรายเดือน โดยค่าเช่าอาจจะ ปรับเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ตั้งแต่เดือนมกราคม 2552 ในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของค่าเช่าเฉลี่ยในปีที่ผ่านมา สัญญาสามารถต่ออายุต่อไปได้ อีกคราวละ 3 ปี โดยจะมีอายุสัญญารวมไม่เกิน 10 ปี เพื่อเป็นหลักประกัน การปฏิบัติตามข้อกำหนด ในสัญญาเช่านี้ บริษัทได้ทำสัญญาโอน สิทธิการเช่าและหน้าที่ภายใต้สัญญาเช่าที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล พลาซ่า ปิ่นเกล้า และให้บริษัท เซ็นทรัลเรียลตี้ เซอร์วิส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อย จำนำงานระบบเพื่อเป็นหลักประกัน ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2551 มีมติอนุมัติการเข้าทำสัญญาเช่าที่ดินกับบริษัท โรบินสันนครินทร์ จำกัด ซึ่งเป็น บริษัทย่อยของบริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน) ซึ่งถือหุ้นร้อยละ 99.86 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 บริษัทอยู่ระหว่างการ ทำสัญญากับบริษัทดังกล่าว


126 .127

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป

2551

5. เงินสดและรายการเทียบเทาเงินสด (พันบาท)

งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2551

2550

2551

2550

เงินสด 5,388 เงินฝากธนาคารประเภทจ่ายคืนเมื่อทวงถาม 2,401,958 เงินฝากธนาคารประเภทเงินฝากประจำ และตั๋วเงินฝาก สถาบันการเงิน ระยะเวลาน้อยกว่า หรือเท่ากับ 3 เดือน รวม 2,407,346

4,247 1,020,550

2,904 1,278,826

1,783 240,406

1,203 1,026,000

1,281,730

242,189

6. เงินลงทุนอื่น (พันบาท)

งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2551

2550

2551

2550

151,698 429,618 682,720 5,319 1,269,355

1,059,691 1,419,380 469,659 8,354 2,957,084

11 249,778 451,025 388 701,202

4 691,559 1,025 1,335 693,923

1,895

1,000

1,000

1,000

1,271,250

2,958,084

702,202

694,923

ส่วนที่หมุนเวียน เงินฝากระยะสั้น ตราสารหนี้ประเภทหลักทรัพย์เผื่อขาย ตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกำหนด ตราสารทุนประเภทหลักทรัพย์เผื่อขาย บวก ค่าเผื่อการปรับมูลค่า

ส่วนที่ไม่หมุนเวียน ตราสารทุนอื่น รวม

เงินฝากระยะสั้นจำนวน 4.3 ล้านบาท (2550 : 4.3 ล้านบาท) ได้นำไปใช้ค้ำประกันการให้ธนาคารออกหนังสือค้ำประกันให้กลุ่มบริษัท

7. ลูกหนี้การคา (พันบาท)

งบการเงินรวม หมายเหตุ

ลูกหนี้การค้า - กิจการที่เกี่ยวข้องกัน ลูกหนี้การค้า - กิจการอื่น

หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ รวม หนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญสำหรับปี

4

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2551

2550

2551

2550

147,398 391,509

135,510 245,009

51,850 153,103

25,463 38,249

538,907 (2,312)

380,519 (1,714)

204,953 (834)

63,712 (321)

536,595

378,805

204,119

63,391

609

-

504

-


การวิเคราะห์อายุหนี้ของลูกหนี้การค้าและเงินมัดจำรับจากลูกค้า มีดังนี้ : (พั น บาท)

งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2551

2550

2551

2550

กิจการที่เกี่ยวข้องกัน ยังไม่ครบกำหนดชำระ เกินวันครบกำหนดชำระ : น้อยกว่า 3 เดือน 3 - 6 เดือน 6 - 12 เดือน มากว่า 12 เดือน รวม

37,367

103,220

50,430

23,354

11,902 3,934 313 93,882 147,398

11,173 2,513 15,158 3,446 135,510

782 144 97 397 51,850

370 187 1,406 146 25,463

เงินมัดจำรับจากลูกค้า

126,798

103,821

29,371

20,468

106,586

52,195

103,686

26,037

หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ

115,926 71,838 41,820 55,339 391,509 (2,312)

66,395 47,851 55,553 23,015 245,009 (1,714)

36,563 5,850 3,481 3,523 153,103 (834)

8,422 1,188 1,008 1,594 38,249 (321)

สุทธิ

389,197

243,295

152,269

37,928

เงินมัดจำรับจากลูกค้า

830,929

332,443

412,039

101,705

กิจการอื่น ยังไม่ครบกำหนดชำระ เกินวันครบกำหนดชำระ : น้อยกว่า 3 เดือน 3 - 6 เดือน 6 - 12 เดือน มากว่า 12 เดือน

โดยปกติระยะเวลาการให้สินเชื่อแก่ลูกค้าของกลุ่มบริษัทมีระยะเวลาตั้งแต่ 1 – 30 วัน

8. สินทรัพยหมุนเวียนอื่น (พั น บาท)

งบการเงินรวม

รายได้ค้างรับ เงินประกันสิทธิการเช่า ลูกหนี้อื่น ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า อื่นๆ รวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2551

2550

2551

2550

471,543 300,000 290,802 50,080 66,796 1,179,221

534,782 202,127 35,367 88,101 860,377

321,560 300,000 48,568 32,473 14,999 717,600

357,337 16,705 16,166 53,772 443,980

เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2551 บริษัทได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงกับบริษัท เซ็นทรัลอินเตอร์พัฒนา จำกัด (“เซ็นทรัล”) เพื่อรักษาสิทธิและยืนยัน การใช้สิทธิในการเข้าทำสัญญาเช่าช่วงใหม่กับเซ็นทรัล โดยเซ็นทรัลได้แจ้งให้บริษัทจ่ายเงินประกันสิทธิการเช่าช่วงที่ดินและ/หรืออาคาร ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว จำนวน 300 ล้านบาท ในวันที่เซ็นทรัลเข้าทำสัญญาเช่ากับการรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อยืนยันการ ใช้สิทธิดังกล่าว ทั้งนี้ บริษัทบันทึกค่าเช่าจ่ายสำหรับระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2551 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551 โดยการประมาณการค่าเช่าที่คาดว่า จะจ่ายในอนาคต เนื่องจากสัญญาฉบับใหม่อยู่ระหว่างการเจรจากับบริษัทที่เกี่ยวข้องกันดังกล่าว


128 .129

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป

2551

9. เงินลงทุนในบริษัทยอย กิจการที่ควบคุมรวมกัน และ บริษัทรวม (พันบาท)

งบการเงินรวม

ณ วันที่ 1 มกราคม ส่วนแบ่งกำไรสุทธิจากการลงทุนวิธีส่วนได้เสีย ซื้อเงินลงทุน รายได้เงินปันผล จำหน่ายและรับคืนหน่วยลงทุน ณ วันที่ 31 ธันวาคม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2551

2550

2551

2550

2,306,474 361,907 (313,629) 2,354,752

2,246,664 316,469 33,154 (289,813) 2,306,474

17,932,496 1,161,985 (77,359) 19,017,122

16,753,729 1,256,128 (77,361) 17,932,496

บริษัท เซ็นทรัลเวิลด์ จำกัด และ บริษัท เซ็นทรัลเวิลด์ ทาวเวอร์ จำกัด ในปี 2550 บริษัทได้มีการปรับโครงสร้างภายในสำหรับบริษัทย่อย 2 แห่ง ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่บริษัทถือหุ้นทั้งทางตรงและทางอ้อมรวมร้อย ละ 92.5 และมีผู้ถือหุ้นส่วนน้อยรายเดียวกัน ดังนี้ 1. ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัท เซ็นทรัลเวิลด์ ทาวเวอร์ จำกัด เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2550 และวันที่ 28 พฤศจิกายน 2550 มี มติพิเศษให้จดทะเบียนเลิกบริษัท เซ็นทรัลเวิลด์ ทาวเวอร์ จำกัด ซึ่งประกอบธุรกิจบริหารอาคารสำนักงานเซ็นทรัลเวิลด์ โดยมีทุน จดทะเบียน 1,850 ล้านบาท บริษัทได้ดำเนินการจดทะเบียนเลิกบริษัทเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2550 ขณะนี้บริษัท เซ็นทรัลเวิลด์ ทาวเวอร์ จำกัด อยู่ระหว่างการชำระบัญชี 2. ทีป่ ระชุมวิสามัญผูถ้ อื หุน้ ของบริษทั เซ็นทรัลเวิลด์ จำกัด เมือ่ วันที่ 27 พฤศจิกายน 2550 และวันที่ 12 ธันวาคม 2550 มีมติพเิ ศษให้จดทะเบียน เพิ่มทุนบริษัท เซ็นทรัลเวิลด์ จำกัด ซึ่งประกอบธุรกิจให้บริการสาธารณูปโภคภายในศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ โดยบริษัทได้ดำเนิน การจดทะเบียนเพิ่มทุนกับกระทรวงพาณิชย์แล้วเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2550 จาก 1,000 ล้านบาท เป็น 2,511 ล้านบาท เพื่อรองรับ การรับโอนสินทรัพย์และหนี้สินทั้งหมดของบริษัท เซ็นทรัลเวิลด์ ทาวเวอร์ จำกัด โดยบริษัท เซ็นทรัลเวิลด์ จำกัดจะจัดสรรหุ้นเพิ่ม ทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม ซึ่งเป็นสัดส่วนเดียวกันกับผู้ถือหุ้นของบริษัท เซ็นทรัลเวิลด์ ทาวเวอร์ จำกัด การปรับโครงสร้างดังกล่าวไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อสัดส่วนการถือหุ้นและส่วนได้เสียของบริษัท บริษัทย่อย และ ผู้ถือหุ้นส่วนน้อยแต่อย่างใด เนื่องจากผู้ถือหุ้นในบริษัทย่อยทั้ง 2 แห่งเป็นกลุ่มเดียวกันและมีการถือหุ้นในสัดส่วนที่เท่ากัน บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา ไนน์สแควร์ จำกัด ในปี 2550 บริษัทได้มีการปรับโครงสร้างการถือหุ้นในโครงการพระราม 9 ด้วยการซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นส่วนน้อยในบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา ไนน์สแควร์ จำกัด (“บริษัทย่อย”) จำนวน 792,000 หุ้น ในราคาตามมูลค่าที่ได้มีการเรียกชำระในขณะนั้นคือหุ้นละ 67 บาท จากราคา หุ้นที่ตราไว้หุ้นละ 100 บาท ทำให้บริษัทมีสัดส่วนการถือหุ้นเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 60 เป็นร้อยละ 73.2 และบริษัทย่อยได้เรียกให้ผู้ถือหุ้น ชำระค่าหุ้นส่วนที่ยังมิได้เรียกชำระจำนวนหุ้นละ 33 บาท เพื่อให้ครบตามมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100 บาท ของจำนวนหุ้นเดิม 6 ล้านหุ้น ซึ่งบริษัทได้จ่ายชำระรวมทั้งสิ้น 198 ล้านบาท หลังจากนั้นบริษัทย่อยได้เพิ่มทุนจดทะเบียนจำนวน 26 ล้านหุ้น ราคาตามมูลค่าหุ้นละ 100 บาท และเรียกชำระหุ้นละ 25 บาทเป็นทุนที่ออก และชำระแล้ว ทั้ ง สิ้ น 650 ล้ า นบาท ในครั้ ง นี้ ผู้ ถื อ หุ้ น ส่ ว นน้ อ ยไม่ป ระสงค์ เ พิ่ ม ทุ น บริ ษั ท จึ ง ได้ ซื้ อ หุ้ น เพิ่ ม ทุ น ดั ง กล่ า วที่ เ หลื อ อยู่ ทั้ ง จำนวน ทำให้บริษัทมีสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทย่อยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 73.2 เป็นร้อยละ 87.14 ขณะเดียวกันงบการเงินของบริษัทย่อย ณ วันซื้อ หุ้นเพิ่มทุนมียอดขาดทุนสะสมจำนวน 420 ล้านบาท ผลจากการที่บริษัทจ่ายซื้อหุ้นเพิ่มทุนในราคาตามมูลค่าทั้งจำนวนทำให้เกิดส่วนต่าง ในราคาที่สูงกว่าสินทรัพย์สุทธิของบริษัทย่อยจำนวน 114 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 27.14 ของขาดทุนสะสมของบริษัทย่อยจำนวน 420 ล้านบาท) ซึ่งได้แสดงเป็นรายการหักจากกำไรสะสมยังไม่ได้จัดสรรและแสดงเป็นรายการเพิ่มขึ้นในส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยในงบดุลรวม ผู้บริหารเชื่อว่า ผลต่างจากราคาหุ้นดังกล่าวเกิดจากการที่บริษัทได้ตั้งค่าเผื่อการด้อยค่าของสินทรัพย์ไว้เต็มจำนวน ซึ่งจะสามารถชดเชย กลับมาได้จากผลประกอบการของโครงการดังกล่าวในอนาคต บริษัท ซีพีเอ็น พัทยา บีช จำกัด ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2550 และวันที่ 31 มกราคม 2550 ของบริษัท ซีพีเอ็น พัทยา บีช จำกัดซึ่งเป็นบริษัทย่อย มีมติให้เพิ่มทุนจดทะเบียนจำนวน 14.99 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 100 บาท และเรียกชำระค่าหุ้น 25 บาท เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 375 ล้านบาท บริษัทย่อยได้ดำเนินการจดทะเบียนเพิ่มกับกระทรวงพาณิชย์แล้วเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2550


เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2551 บริษัทย่อยเรียกให้ผู้ถือหุ้นชำระค่าหุ้นส่วนที่ยังไม่ได้เรียกชำระหุ้นละ 75 บาท เพื่อให้ครบมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100 บาท เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 1,128 ล้านบาท

บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา ชลบุรี จำกัด เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2551 คณะกรรมการของบริษัทมีมติอนุมัติให้ดำเนินการซื้อหุ้นสามัญของบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา ชลบุรี จำกัด (CPC ซึ่งเป็นกิจการที่ควบคุมร่วมกันที่บริษัทถือหุ้นอยู่เดิมในสัดส่วนร้อยละ 59.99 จาก ออคมาดอร์ ไทยแลนด์ บี.วี. ซึ่งถือหุ้น CPC ในสัดส่วน ร้ อ ยละ 40 เป็ น จำนวนเงิ น ทั้ ง สิ้ น 35 ล้ า นบาท ภายหลั ง การซื้ อ หุ้ น ดั ง กล่ า วบริ ษั ท จะมี สัด ส่ ว นการถื อ หุ้ น ร้ อ ยละ 99.99 ใน CPC บริ ษั ท ดำเนินการซื้อหุ้นแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2551 บริษัท โรงแรม ซีพีเอ็น พัทยา บีช จำกัด เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2551 ฝ่ายบริหารอนุมัติให้ซื้อหุ้นร้อยละ 100 ของทุนที่ออกของบริษัท โรงแรม ซีพีเอ็น พัทยา บีช จำกัด (“บริษัทย่อย”) จากบริษัท เซ็นทรัล เฟรนด์ จำกัด จำนวน 9,993 หุ้นในราคาหุ้นละ 31.155 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 0.3 ล้านบาท เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2551 บริษัทย่อยเรียกให้ผู้ถือหุ้นชำระค่าหุ้นส่วนที่ยังไม่ได้เรียกชำระจำนวนหุ้น 75 บาท เพื่อให้ครบมูลค่าที่ตราไว้ หุ้นละ 100 บาท เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 0.7 ล้านบาท บริษัท ซีพีเอ็น คอนสตรัคชั่น แมเนจเม้นท์ จำกัด เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2551 คณะกรรมการของบริษัทมีมติอนุมัติให้ดำเนินการซื้อหุ้นร้อยละ 100 ของทุนที่ออกของบริษัท ซีพีเอ็น คอนสตรัคชั่น แมเนจเม้นท์ จำกัด จำนวน 9,993 หุ้น ในราคาหุ้นละ 100 บาท เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 1.0 ล้านบาท กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ CPN รีเทล โกรท ในระหว่างปี 2550 บริษัทได้ลงทุนเพิ่มในหุ้นของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ CPN รีเทล โกรทในสัดส่วนประมาณร้อยละ 0.33 ของหน่วย ลงทุนที่ออกและเสนอขายทั้งหมดเป็นจำนวนเงิน 33.2 ล้านบาท


2550

33.3

บริษัทร่วม กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ CPN รีเทล โกรท 33.3

2551

10,915,000

2550

ทุนชำระแล้ว

10,915,000

สัดส่วนความเป็นเจ้าของ (ร้อยละ)

2551

งบการเงินรวม

3,635,104

2551

2550

3,635,104

วิธีราคาทุน

เงินลงทุนในบริษัทย่อย กิจการที่ควบคุมร่วมกันและบริษัทร่วม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550 และเงินปันผลรับสำหรับแต่ละปี มีดังนี้

2,354,752

2551

2,306,474

2550

วิธีส่วนได้เสีย

313,629

2551

289,813

2550

เงินปันผลรับ

(พั น บาท)

130 .131

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป 2551


100.0 86.2 100.0

-

100.0 86.2 100.0

60.0

154.3 4,600.0 236.8

-

10,915.0

1,850.0 2,511.9 260.0 1,250.0 126.7 1,500.0 315.1 1.0 1.0

1,500.0 1,000.0 830.0 800.0 1.0 1.0

2551

203.7 4,600.0 264.7

315.1

10,915.0

1,850.0 2,511.9 260.0 1,250.0 126.7 375.1 -

1,500.0 1,000.0 830.0 800.0 1.0 1.0

2550

(279,210)

19,296,332 18,211,706

-

-

(101,505) (177,705) -

-

2551

-

189,084

3,635,104

1,526,249 824,999 203,148 1,089,200 1,933,776 375,074 -

1,500,000 1,000,000 830,000 589,998 1,000 1,000

2550

203,722 4,044,608 264,744

154,347 4,044,608 236,760

-

3,635,104

1,526,249 824,999 203,148 1,089,200 1,933,776 1,499,999 224,084 1,061 999

1,500,000 1,000,000 830,000 589,998 1,000 1,000

2551

วิธีคิดราคาทุน

154,347 4,044,608 236,760

-

3,635,104

1,526,249 824,999 101,643 911,495 1,933,776 1,499,999 224,084 1,061 999

1,500,000 1,000,000 830,000 589,998 1,000 1,000

2551

261,511 556,018 191,064

-

313,629

69,667 -

174,988 -

2551

3,949,257

226,868 588,307 157,182

-

289,813

112,100 -

2,400,000 167,838 7,149

2550

เงินปันผลรับ

17,932,496 1,566,877

203,722 4,044,608 264,744

189,084

3,635,104

1,526,249 824,999 101,643 911,495 1,933,776 375,074 -

1,500,000 1,000,000 830,000 589,998 1,000 1,000

2550

วิธีคิดราคาทุน - สุทธิ

(279,210) 19,017,122

-

-

-

(101,505) (177,705) -

-

2550

การด้อยค่า

(พั น บาท)

ทุนชำระแล้วและสัดส่วนการลงทุนในกองทุนรวมธุรกิจไทย 2 กองทุนรวมธุรกิจไทย 4 และกองทุนรวมธุรกิจไทย 5 เป็นทุนและสัดส่วนของหน่วยลงทุนที่มีสิทธิในการรับเงินปันผลหลังจากที่หน่วยลงทุน ประเภทอื่นได้รับไปแล้ว

กองทุนรวมธุรกิจไทย 2 กองทุนรวมธุรกิจไทย 4 กองทุนรวมธุรกิจไทย 5

กองทุนรวม

เซ็นทรัลพัฒนา ชลบุรี จำกัด กองทุนรวมกองทุนรวมธุรกิจไทย 2

กิจการร่วมค้า

33.3

92.5 92.5 78.1 87.1 100.0 100.0 -

92.5 92.5 78.1 87.1 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0

กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ CPN รีเทล โกรท 33.3

บริษัทร่วม

100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0

100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0

2550

(ล้านบาท)

(ร้อยละ)

2551

ทุนชำระแล้ว

สัดส่วนความเป็นเจ้าของ

บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา พระราม 2 จำกัด บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา เชียงใหม่ จำกัด บริษัท หลังสวน เรียลตี้ จำกัด บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา รัตนาธิเบศร์ จำกัด บริษัท เซ็นทรัล เรียลตี้ เซอร์วิส จำกัด บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ดอเวนิว จำกัด บริษัท เซ็นทรัล เวิลด์ ทาวเวอร์ จำกัด. (อยู่ระหว่างการชำระบัญชี) บริษัท เซ็นทรัล เวิลด์ จำกัด บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา ขอนแก่น จำกัด บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา ไนน์ สแควร์ จำกัด บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา พระราม 3 จำกัด บริษัท ซีพีเอ็น พัทยา บีช จำกัด บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา ชลบุรี จำกัด บริษัท โรงแรม ซีพีเอ็น พัทยา บีช จำกัด บริษัท ซีพีเอ็น คอนสตรัคชั่น แมเนจเม้นท์ จำกัด

บริษัทย่อย

งบการเงิน เฉพาะกิจ การ


132 .133

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป

2551

ข้อมูลทางการเงินโดยสรุปของบริษัทร่วมซึ่งกลุ่มบริษัทบันทึกเงินลงทุนในบริษัทดังกล่าวตามวิธีส่วนได้เสีย ตามสัดส่วนที่ถือหุ้นโดยกลุ่มบริษัท

แต่ไม่ได้ปรับปรุงให้แสดงข้อมูล (พันบาท)

สัดส่วนความเป็นเจ้าของ (ร้อยละ)

สินทรัพย์รวม

หนี้สินรวม

รายได้รวม

กำไรสุทธิ

11,935,795

603,652

1,333,341

1,085,830

11,935,795

603,652

1,333,341

1,085,830

11,749,859

562,564

1,270,834

958,042

11,749,859

562,564

1,270,834

958,042

2551 กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ CPN รีเทล โกรท

33.3

รวม

2550 กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ CPN รีเทล โกรท รวม

33.3


รวม

60 750

750

หมุนเวียน

เจ้าของ (ร้อยละ)

บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา ชลบุรี จำกัด

2550

สินทรัพย์

สัดส่วนความเป็น

178,007

178,007

ไม่หมุนเวียน

สินทรัพย์

178,757

178,757

รวม

สินทรัพย์

6,861

6,861

หมุนเวียน

หนี้สิน

ข้อมูลทางการเงินโดยสรุปของกิจการที่ควบคุมร่วมกันโดยแสดงตามสัดส่วนที่กลุ่มบริษัทได้นำไปจัดทำงบการเงินรวม หนี้สิน

31,905

31,905

ไม่หมุนเวียน

38,766

38,766

รวม

หนี้สิน

139

139

รวม

รายได้

6,826

6,826

รวม

ค่าใช้จ่าย

(6,687)

(6,687)

สุทธิ

ขาดทุน

(พัน บาท)


134 .135

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป

2551

10. เงินลงทุนระยะยาว - กิจการที่เกี่ยวของกัน (พันบาท)

สัดส่วนความเป็น เจ้าของ (ร้อยละ)

บริษัท สยาม รีเทล ดีเวลล็อปเม้นท์ จำกัด บริษัท อยุธยาเกษตรธานี จำกัด บริษัท สเเควร์ริทซ์ พลาซ่า จำกัด รวมเงินลงทุน - ราคาทุน หัก ค่าเผื่อการด้อยค่า สุทธิ

2551

2550

15 12 12

15 12 12

งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2551

2550

2551

2550

66,250 50,397 15,000

66,250 50,397 15,000

-

-

131,647 (131,647)

131,647 (131,647)

-

-

-

-

-

-


11. ที่ดิน อาคารและอุปกรณ งบการเงินรวม

(พัน บาท)

ที่ดิน

อาคารและ ส่วนปรับปรุง

ยานพาหนะ และอุปกรณ์ สำนักงาน

งานระหว่าง ก่อสร้าง

โครงการ ระหว่างการ พฒนา

รวม

3,496,546 9,363 -

22,808,214 150,479 761,482 (25,550) (116,897)

745,705 55,543 41,706 (75,537) -

395,591 640,618 (803,188) -

3,789,152 3,044,895 -

31,235,208 3,900,898 (101,087) (116,897)

3,505,909

23,577,728

767,417

233,021

6,834,047

34,918,122

874,426 -

160,727 3,637,604 (1,246,229) (74,733)

138,500 34,717 (80,101) -

422,160 165,141 -

6,921,912 (4,711,888) (87,663) -

7,643,299 (1,413,993) (74,733)

4,380,335

26,055,097

860,533

820,322

8,956,408

41,072,695

ณ วันที่ 1 มกราคม 2550 ค่าเสื่อมราคาสำหรับปี จำหน่าย โอนมาจากสิทธิการเช่า

-

6,923,547 1,032,097 (19,435) 98,117

529,460 86,781 (66,415) -

-

896,429 3,552 -

8,349,436 1,122,430 (85,850) 98,117

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 และ 1 มกราคม 2551 ค่าเสื่อมราคาสำหรับปี จำหน่าย / ตัดจำหน่าย

-

8,034,326 1,189,228 (1,234,391)

549,826 92,861 (79,539)

-

899,981 47,144 (87,663)

9,484,133 1,329,233 (1,401,593)

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551

-

7,989,163

563,148

-

859,462

9,411,773

ภายใต้กรรมสิทธิ์ของกลุ่มบริษัท ภายใต้สัญญาเช่าการเงิน

3,505,909 -

15,543,402 -

214,429 3,162

233,021 -

5,934,066 -

25,430,827 3,162

รวม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550

3,505,909

15,543,402

217,591

233,021

5,934,066

25,433,989

ภายใต้กรรมสิทธิ์ของกลุ่มบริษัท ภายใต้สัญญาเช่าการเงิน

4,380,335 -

18,065,934 -

295,520 1,865

820,322 -

8,096,946 -

31,659,057 1,865

รวม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551

4,380,335

18,065,934

297,385

820,322

8,096,946

31,660,922

ราคาทุน ณ วันที่ 1 มกราคม 2550 เพิ่มขึ้น โอน - สุทธิ จำหน่าย โอนไปสิทธิการเช่า ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 และ 1 มกราคม 2551 เพิ่มขึ้น โอน - สุทธิ จำหน่าย / ตัดจำหน่าย โอนไปสิทธิการเช่า ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551

ค่าเสื่อมราคาสะสม

มูลค่าสุทธิทางบัญชี


136 .137

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป

2551

งบการเงินเฉพาะกิจการ

(พันบาท)

ที่ดิน

อาคารและ ส่วนปรับปรุง

ยานพาหนะ และอุปกรณ์ สำนักงาน

งานระหว่าง ก่อสร้าง

โครงการ ระหว่างการ พฒนา

รวม

ณ วันที่ 1 มกราคม 2550 เพิ่มขึ้น โอน - สุทธิ จำหน่าย

209,681 -

3,954,538 21,283 78,687 (13,593)

343,803 24,353 1,602 (59,819)

107,165 32,288 (80,289) -

993,869 1,278,733 -

5,609,056 1,356,657 (73,412)

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 และ 1 มกราคม 2551 เพิ่มขึ้น โอน - สุทธิ จำหน่าย / ตัดจำหน่าย โอนไปสิทธิการเช่า

209,681 874,426 -

4,040,915 2,453 3,389,539 (1,190,438) (74,733)

309,939 71,862 21,728 (70,579) -

59,164 74,070 426,195 -

2,272,602 3,089,948 (4,711,888) -

6,892,301 3,238,333 (1,261,017) (74,733)

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551

1,084,107

6,167,736

332,950

559,429

650,662

8,794,884

ณ วันที่ 1 มกราคม 2550 ค่าเสื่อมราคาสำหรับปี จำหน่าย โอนไปสิทธิการเช่า

-

2,162,919 147,857 (9,315) (4,795)

239,641 34,670 (51,189) (1,010)

-

-

2,402,560 182,527 (60,504) (5,805)

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 และ 1 มกราคม 2551 ค่าเสื่อมราคาสำหรับปี จำหน่าย / ตัดจำหน่าย

-

2,296,666 164,531 (1,190,438)

222,112 38,997 (70,319)

-

-

2,518,778 203,528 (1,260,757)

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551

-

1,270,759

190,790

-

-

1,461,549

ภายใต้กรรมสิทธิ์ของกลุ่มบริษัท ภายใต้สัญญาเช่าการเงิน

209,681 -

1,744,249 -

84,665 3,162

59,164 -

2,272,602 -

4,370,361 3,162

รวม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550

209,681

1,744,249

87,827

59,164

2,272,602

4,373,523

ภายใต้กรรมสิทธิ์ของกลุ่มบริษัท ภายใต้สัญญาเช่าการเงิน

1,084,107 -

4,896,977 -

140,295 1,865

559,429 -

650,662 -

7,331,470 1,865

รวม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551

1,084,107

4,896,977

142,160

559,429

650,662

7,333,335

ราคาทุน

ค่าเสื่อมราคาสะสม

มูลค่าสุทธิทางบัญชี

ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ส่วนใหญ่เป็นสินทรัพย์ซึ่งมีไว้ให้เช่าลักษณะสัญญาเช่าดำเนินงาน กลุ ่ ม บริษ ัท ได้ น ำที ่ ดิ น อาคาร และส่ ว นปรั บ ปรุ ง อาคารซึ่ ง มี มู ล ค่ า ตามบั ญ ชี จ ำนวน 7,767 ล้ า นบาท (2550: 7,177 ล้ า นบาท) ไปวางเป็ น หลักประกันสำหรับเงินกู้ยืมตามที่กล่าวไว้ในหมายเหตุ 16 กลุ่มบริษัทมีหนี้สินตามบัญชีภายใต้สัญญาเช่าระยะยาวจำนวน 1,152 ล้านบาท (2550: 1,021 ล้านบาท) ที่เกิดจากผลแตกต่างของจำนวนเงิน ที่จ่ายไปจริงตามสัญญาเช่ากับวิธีตัดจ่ายที่เป็นระบบตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 29 เรื่องสัญญาเช่า กลุ่มบริษัทได้นำหนี้สินภายใต้สัญญา เช่าระยะยาวมาหักกลบลบกับสิทธิการเช่าอาคารพร้อม สิ่งปลูกสร้างที่จ่ายออกไปล่วงหน้า เนื่องจากหนี้สินและสินทรัพย์ดังกล่าวเป็นจำนวน ที่ต้องจ่ายและได้จ่ายไปเพื่อให้ได้มาซึ่งโครงการเดียวกัน


โครงการระหว่างการพัฒนาเป็นศูนย์การค้าและสำนักงานของกลุ่มบริษัทประกอบด้วยโครงการทั้งหมด 6 โครงการ ในปี 2551 โครงการดั ง กล่ า วจำนวน 2 โครงการ ในเขตกรุ ง เทพและต่ า งจั ง หวั ด ได้ ถู ก ชะลอเป็ น การชั่ ว คราว การตั ด สิ น ใจของผู้ บ ริ ห าร ในการพั ฒ นาโครงการดั ง กล่ า วขึ้ น อยู่ กั บ สถานการณ์ ท างเศรษฐกิ จ ในอนาคตและความสามารถในการหาเงิ น ทุ น เพิ่ ม เติ ม มู ล ค่ ารวมของ โครงการทั้งหมดที่ถูกชะลอไว้ชั่วคราว และค่าเผื่อการด้อยค่าของโครงการ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 มีจำนวน 6,200 ล้านบาท และ 407 ล้านบาท ตามลำดับ (2550: 4,000 ล้านบาท และ 407 ล้านบาท ตามลำดับ)

12. สิทธิการเชา (พั น บาท)

งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

ณ วันที่ 1 มกราคม 2550 เพิ่มขึ้น ตัดจำหน่าย โอนมาจากอาคารและอุปกรณ์

5,095,316 42,514 (33,375) 116,897

568,416 126 -

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 และ 1 มกราคม 2551 เพิ่มขึ้น ตัดจำหน่าย โอนมาจากอาคารและอุปกรณ์ โอนไปสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น

5,221,352

568,542

142,932 (74,733) 74,733 (2,460)

20 (74,733) 74,733 (2,460)

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551

5,361,824

566,102

ณ วันที่ 1 มกราคม 2550 ค่าตัดจำหน่ายสำหรับปี ตัดจำหน่าย หนี้สินภายใต้สัญญาเช่าดำเนินงานระยะยาว โอน (ไป) มาจากอาคารและอุปกรณ์

1,629,393 123,694 (5,815) 211,141 (98,117)

287,787 24,965 5,805

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 และ 1 มกราคม 2551 ค่าจัดจำหน่ายสำหรับปี ตัดจำหน่าย หนี้สินภายใต้สัญญาเช่าดำเนินงานระยะยาว

1,860,296 133,430 (74,733) 130,704

318,557 24,780 (74,733) -

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550

2,049,697

268,604

มูลค่าสุทธิทางบัญชี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551

3,361,056 3,312,127

249,985 297,498

ราคาทุน

ค่าตัดจำหน่ายสะสม


138 .139

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป

2551

13. สินทรัพยไมมีตัวตน งบการเงินรวม

(พันบาท)

ค่าความนิยม ติดลบ

สิทธิการใช้ สินทรัพย์

รวม

ณ วันที่ 1 มกราคม 2550 เพิ่มขึ้น

(133,173) -

207,695 8,944

74,522 8,944

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 กลับรายการ ณ วันที่ 1 มกราคม 2551 (หมายเหตุ 29)

(133,173) 133,173

216,639 -

83,466 133,173

ณ วันที่ 1 มกราคม 2551 เพิ่มขึ้น

-

216,639 673

216,639 673

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551

-

217,312

217,312

ณ วันที่ 1 มกราคม 2550 ค่าตัดจำหน่ายสำหรับปี

(27,976) (6,659)

15,765 8,841

(12,211) 2,182

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 กลับรายการ ณ วันที่ 1 มกราคม 2551 (หมายเหตุ 29)

(34,635) 34,635

24,606 -

(10,029) 34,635

ณ วันที่ 1 มกราคม 2551 ค่าตัดจำหน่ายสำหรับปี

-

4,606 9,029

24,606 9,029

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551

-

33,635

33,635

(98,538) -

192,033 183,677

93,495 183,677

ราคาทุน

ค่าตัดจำหน่ายสะสม

มูลค่าสุทธิทางบัญชี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551

ในระหว่างปี 2551 และ 2550 กลุ่มบริษัทมีต้นทุนในการได้มาซึ่งสิทธิการใช้สินทรัพย์เพื่อเอื้ออำนวยประโยชน์ต่อการประกอบธุรกิจของ กลุ่มบริษัท ต้นทุนดังกล่าวจะเริ่มตัดจำหน่าย นับแต่วันเริ่มใช้สิทธิประโยชน์นั้น


14. ภาษีเงินไดรอตัดบัญชี สินทรัพย์และหนี้สินภาษีเงินได้รอตัดบัญชี จำนวนดังต่อไปนี้ แสดงอยู่ในงบดุลรวมและงบดุลเฉพาะบริษัท (พั น บาท)

งบการเงินรวม

สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัดบัญชีสุทธิ หนี้สินภาษีเงินได้รอตัดบัญชีสุทธิ สุทธิ

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2551

2550

2551

2550

734,425 (715,325) 19,100

655,162 (759,512) (104,350)

347,229 347,229

319,632 319,632

การเคลื่อนไหวของสินทรัพย์และหนี้สินภาษีเงินได้รอตัดบัญชี (ก่อนรายการหักกลบลบกันของยอดดุล) มีรายละเอียดดังต่อไปนี้:

งบการเงินรวม

(พั น บาท)

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 1 มกราคม 2551

บันทึกเป็น (รายจ่าย) รายได้ใน งบกำไรขาดทุน (หมายเหตุ 25)

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551

สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัดบัญชี ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ค่าเผื่อการด้อยค่า อาคารภายใต้สัญญาขายฝาก เงินมัดจำรับจากลูกค้า สำรองอื่น ๆ รวม

49,336 207,630 750,568 203,110 194,153 1,404,797

180 (1,010) (43,271) 32,189 46,351 34,439

49,516 206,620 707,297 235,299 240,504 1,439,236

(749,635) (759,512) (1 ,509,147)

44,824 44,187 89,011

(704,811) (715,325) (1,420,136)

(104,350)

123,450

19,100

หนี้สินภาษีเงินได้รอตัดบัญชี รายได้รับล่วงหน้า กำไรจากสัญญาเช่าทางการเงิน รวม สุทธิ

งบการเงินเฉพาะกิจการ

(พั น บาท)

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 1 มกราคม 2551

บันทึกเป็น (รายจ่าย) รายได้ใน งบกำไรขาดทุน (หมายเหตุ 25)

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551

สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัดบัญชี ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ค่าเผื่อการด้อยค่า อาคารภายใต้สัญญาขายฝาก เงินมัดจำรับจากลูกค้า สำรองอื่นๆ รวม

48,918 111,130 358,138 137,166 21,484 676,836

154 (20,754) 22,700 3,191 5,291

49,072 111,130 337,384 159,866 24,675 682,127

(357,204)

22,306

(334,898)

319,632

27,597

347,229

หนี้สินภาษีเงินได้รอตัดบัญชี รายได้รับล่วงหน้า สุทธิ


140 .141

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป

2551

งบการเงินรวม

(พั นบาท)

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 1 มกราคม 2551

บันทึกเป็น (รายจ่าย) รายได้ใน งบกำไรขาดทุน (หมายเหตุ 25)

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551

สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัดบัญชี ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ค่าเผื่อการด้อยค่า อาคารภายใต้สัญญาขายฝาก เงินมัดจำรับจากลูกค้า สำรองอื่น ๆ รวม

49,501 207,142 855,520 161,972 107,542 1,381,677

(165) 488 (104,952) 41,138 86,611 23,120

49,336 207,630 750,568 203,110 194,153 1,404,797

(855,335) (796,080) (1,651,415)

105,700 6,568 142,268

(749,635) (759,512) (1,509,147)

(269,738)

165,388

(104,350)

หนี้สินภาษีเงินได้รอตัดบัญชี รายได้รับล่วงหน้า กำไรจากสัญญาเช่าทางการเงิน รวม สุทธิ

งบการเงิ น เฉพาะกิ จ การ

(พันบาท)

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 1 มกราคม 2551

บันทึกเป็น (รายจ่าย) รายได้ใน งบกำไรขาดทุน (หมายเหตุ 25)

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551

48,972 111,130 378,835 105,558 27,127 671,622

(54) (20,697) 31,608 (5,643) 5,214

48,918 111,130 358,138 137,166 21,484 676,836

(378,650)

21,446

(357,204)

292,972

26,660

319,632

สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัดบัญชี ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ค่าเผื่อการด้อยค่า อาคารภายใต้สัญญาขายฝาก เงินมัดจำรับจากลูกค้า สำรองอื่นๆ รวม

หนี้สินภาษีเงินได้รอตัดบัญชี รายได้รับล่วงหน้า สุทธิ

15. สินทรัพยไมหมุนเวียนอื่น (พั นบาท)

งบการเงินรวม

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เงินมัดจำและค่าสิทธิ เงินประกันสิทธิการเช่า รวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2551

2550

2551

2550

84,115 39,460 19,891 143,466

60,955 35,700 22,377 119,032

42,287 19,291 61,578

2 40,645 22,377 63,024


16. หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย (พั น บาท)

หมายเหตุ

งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2551

2550

2551

2550

3,429

3,300

159,226

159,339

1,450,000

-

1,450,000

-

-

199,421

-

-

820,420 2,500,000 3,320,420 4,773,849

820,420 213,750 1,034,170 1,236,891

2,500,000 2,500,000 4,109,226

159,339

161,588

40,885

3,816,640

3,767,663

183,750

-

-

-

2,500,000

-

2,500,000

-

2,990,936 6,000,000 8,990,936 11,836,274 16,610,123

3,770,471 7,000,000 10,770,471 10,811,356 12,048,247

6,000,000 6,000,000 12,316,640 16,425,866

7,000,000 7,000,000 10,767,663 10,927,002

ส่วนที่หมุนเวียน เงินกู้ยืมระยะสั้นจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ที่ไม่มีหลักประกัน เงินกู้ยืมระยะสั้น จากสถาบันการเงิน ที่ไม่มีหลักประกัน

4

เงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน ส่วนที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี ที่มีหลักประกัน เงินกู้ยืมระยะยาวจากผู้ลงทุนสถาบัน ส่วนที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี - ส่วนที่มีหลักประกัน - ส่วนที่ไม่มีหลักประกัน

ส่วนที่ไม่หมุนเวียน เงินกู้ยืมระยะยาวจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ที่ไม่มีหลักประกัน เงินกู้ยืมระยะยาวจากกิจการอื่น ที่ไม่มีหลักประกัน เงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน ที่มีหลักประกัน เงินกู้ยืมระยะยาวจากผู้ลงทุนสถาบัน - ส่วนที่มีหลักประกัน - ส่วนที่ไม่มีหลักประกัน

รวม

4

หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย แสดงตามระยะเวลาครบกำหนดการจ่ายชำระ ณ วันที่ 31 ธันวาคม ได้ดังนี้ (พั น บาท)

งบการเงินรวม

ครบกำหนดภายในหนึ่งปี ครบกำหนดหลังจาก 1 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี ครบกำหนดหลังจาก 5 ปี รวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2551

2550

2551

2550

4,773,849 10,961,404 874,870 16,610,123

1,236,891 10,108,959 702,397 12,048,247

4,109,226 11,441,770 874,870 16,425,866

159,339 7,000,000 3,767,663 10,927,002


142 .143

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป

2551

หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยส่วนที่มีหลักประกัน ณ วันที่ 31 ธันวาคม มีรายละเอียดของหลักประกันซึ่งเป็นสินทรัพย์ดังนี้ (พันบาท)

งบการเงินรวม

ที่ดิน สิทธิการเช่าที่ดิน อาคารและส่วนปรับปรุง รวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2551

2550

2551

2550

1,000,612 313,554 6,452,390 7,766,556

784,071 331,868 6,061,033 7,176,972

-

-

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 กลุ่มบริษัทมีวงเงินสินเชื่อซึ่งยังมิได้เบิกใช้เป็นจำนวนเงินรวม 5,177 ล้านบาท (2550: 3,348 ล้านบาท) บริษัทย่อยแห่งหนึ่งมีเงินกู้ยืมจากธนาคารเป็นเงินกู้ยืมในสกุลเงินบาทจากธนาคารแห่งหนึ่งในประเทศไทย ซึ่งมีกำหนดชำระภายในเดือน ธันวาคม 2551 และมีอัตราดอกเบี้ยเท่ากับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับลูกค้าชั้นดีต่อปี เงินกู้ยืมดังกล่าวมีวงเงินทั้งสิ้น 800 ล้านบาท และ ค้ำประกันโดยโฉนดที่ดินของบริษัทย่อยดังกล่าว ในเดือน ธันวาคม 2551 บริษัทย่อยได้จ่ายคืนเงินกู้ยืมดังกล่าวแล้วทั้งจำนวน ในระหว่างปี 2547 บริษัทได้กู้ยืมเงินในสกุลเงินไทยบาทในรูปของหุ้นกู้ชนิดไม่มีประกันและไม่ด้อยสิทธิจากนักลงทุนสถาบัน หุ้นกู้นี้มีกำหนด ไถ่ถอนในปี 2552 และ 2553 และมีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.20 และ 5.24 ต่อปี ตามลำดับ ในระหว่างปี 2548 บริษัทได้กู้ยืมเงินในสกุลเงินบาทในรูปของหุ้นกู้ชนิดไม่มีประกันและไม่ด้อยสิทธิจากนักลงทุนสถาบันจำนวน 1,000 ล้านบาท หุ้นกู้นี้มีกำหนดไถ่ถอนในปี 2550 และมีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3.80 ต่อปี ในระหว่างปี 2549 บริษัทได้กู้ยืมเงินในสกุลเงินบาทในรูปของหุ้นกู้ชนิดไม่มีประกันและไม่ด้อยสิทธิจาก นักลงทุนสถาบันจำนวน 1,500 ล้านบาท หุ้นกู้นี้มีกำหนดไถ่ถอนในปี 2552 และมีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 6.39 ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับลูกค้าชั้นดีต่อปี ลบร้อยละ 1.55 ในระหว่างปี 2550 บริษัทได้กู้ยืมเงินในสกุลเงินบาทในรูปของหุ้นกู้ชนิดไม่มีประกันและไม่ด้อยสิทธิจาก นักลงทุนสถาบันจำนวน 3,000 ล้านบาท หุ้นกู้นี้มีกำหนดไถ่ถอนในปี 2555 และมีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.25 ต่อปี ในระหว่างปี 2551 บริษัทได้กู้ยืมเงินในสกุลเงินบาทในรูปของหุ้นกู้ชนิดไม่มีประกันและไม่ด้อยสิทธิจาก นักลงทุนสถาบันจำนวน 1,500 ล้านบาท หุ้นกู้นี้มีกำหนดไถ่ถอนในปี 2554 และมีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.80 ต่อปี ในระหว่างปี 2551 บริษัทได้กู้ยืมเงินในสกุลเงินบาทจากสถาบันการเงินแห่งหนึ่งจำนวน 2,500 ล้านบาท กำหนดระยะเวลา 7 ปี ปลอดชำระ เงินต้น อัตราดอกเบี้ยร้อยละ MLR – 2.0 ต่อปี ผ่อนชำระงวดแรกในเดือนตุลาคม 2553 เป็นต้นไป รวม 60 งวดๆ ละไม่น้อยกว่า 41.67 ล้านบาท โดยบริษัทได้นำที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นหลักประกันเงินกู้ยืมดังกล่าว


4.75 4.96

2551 เงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน และผู้ลงทุนสถาบัน

2550 เงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน และผู้ลงทุนสถาบัน

อัตราดอกเบี้ย ที่แท้จริง (ร้อยละ)

5.49

2550 เงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน และผู้ลงทุนสถาบัน

งบการเงินเฉพาะกิจการ

5.16

อัตราดอกเบี้ย ที่แท้จริง (ร้อยละ)

2551 เงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน และผู้ลงทุนสถาบัน

งบการเงินรวม

อัตราดอกเบี้ยแท้จริงและการวัดมูลค่าใหม่ / การวิเคราะห์การครบกำหนดชำระ

500,000

3,000,000

อัตราดอกเบี้ย ลอยตัว

3,832,079

5,757,263

อัตราดอกเบี้ย ลอยตัว

4,518,350

6,962,239 3,178,608

-

-

2,000,000

6,500,000

6,000,000

-

-

ภายใน 1 ปี เกินกว่า 1 ปี ถึง 5 ปี เกินกว่า 5 ปี

อัตราดอกเบี้ยคงที่ครบกำหนดชำระ

475,025

2,275,604

ภายใน 1 ปี เกินกว่า 1 ปี ถึง 5 ปี เกินกว่า 5 ปี

อัตราดอกเบี้ยคงที่ครบกำหนดชำระ

7,000,000

11,000,000

รวมมูลค่า ตามบัญชี

12,004,062

14,995,106

รวมมูลค่า ตามบัญชี

7,152,436

11,024,568

มูลค่า ยุติธรรม

(พันบาท)

12,611,005

15,208,815

มูลค่า ยุติธรรม

(พั น บาท)


144 .145

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป

2551

17. หนี้สินหมุนเวียนอื่น (พั นบาท)

งบการเงินรวม

ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย เงินประกันผลงานค้างจ่าย เจ้าหนี้อื่น ดอกเบี้ยค้างจ่าย รายได้รับล่วงหน้า อื่นๆ รวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2551

2550

2551

2550

1,187,887 505,140 236,113 50,083 125,705 250,338 2,355,266

1,333,349 298,294 678,558 39,120 65,976 196,492 2,611,789

422,321 161,670 87,340 49,810 54,049 103,184 878,374

261,054 50,415 106,062 38,711 29,267 78,039 563,548

18. ทุนเรือนหุน (พันหุ้ น/พั นบาท)

2551

2550

ราคาตามมูลค่าหุ้น (บาท)

จำนวนหุ้น

มูลค่า

จำนวนหุ้น

มูลค่า

ณ วันที่ 1 มกราคม - หุ้นสามัญ

1

2,178,816

2,178,816

2,178,816

2,178,816

ณ วันที่ 31 ธันวาคม - หุ้นสามัญ

1

2,178,816

2,178,816

2,178,816

2,178,816

หุ้นที่ออกและชำระเต็มมูลค่าแล้ว ณ วันที่ 1 มกราคม - หุ้นสามัญ

1

2,178,816

2,178,816

2,178,816

2,178,816

ณ วันที่ 31 ธันวาคม - หุ้นสามัญ

1

2,178,816

2,178,816

2,178,816

2,178,816

ทุนจดทะเบียน

19. สวนเกินทุนและสำรองตามกฎหมาย ส่วนเกินมูลค่าหุ้น ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 มาตรา 51 ในกรณีที่บริษัทเสนอขายหุ้นสูงกว่ามูลค่าหุ้นที่จดทะเบียนไว้ บริษัทต้องนำค่าหุ้นส่วนเกินนี้ตั้งเป็นทุนสำรอง (“ส่วนเกินมูลค่าหุ้น”) ส่วนเกินมูลค่าหุ้นนี้จะนำไปจ่ายเป็นเงินปันผลไม่ได้ การเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรม การเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมที่บันทึกไปยังส่วนของผู้ถือหุ้น รวมผลสะสมของการเปลี่ยนแปลงสุทธิในมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุน เผื่อขายจนกระทั่งมีการจำหน่ายเงินลงทุนนั้น สำรองตามกฎหมาย ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 มาตรา 116 บริษัทจะต้องจัดสรรทุนสำรอง (“สำรองตามกฎหมาย”) อย่างน้อยร้อยละ 5 ของกำไรสุทธิประจำปีหลังจากหักขาดทุนสะสมยกมา (ถ้ามี) จนกว่าสำรองดังกล่าวมีจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของทุนจดทะเบียน เงินสำรองนี้จะนำไปจ่ายเป็นเงินปันผลไม่ได้

20. ขอมูลทางการเงินจำแนกตามสวนงาน ข้อมูลทางการเงินจำแนกตามส่วนงานจะแสดงข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการประเภทต่างๆ ของกลุ่มบริษัทและข้อมูลเกี่ยวกับเขตภูมิศาสตร์ ที่กลุ่มบริษัทดำเนินงานอยู่ กลุ่มบริษัทนำเสนอส่วนงานธุรกิจเป็นรูปแบบหลักในการรายงาน โดยพิจารณาจากระบบการบริหาร การจัดการ และโครงสร้างการรายงานทางการเงินภายในของกลุ่มบริษัทเป็นเกณฑ์ในการกำหนดส่วนงาน ผลได้เสียและสินทรัพย์ตามส่วนงานเป็นรายการที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับส่วนงานหรือที่สามารถปันส่วนให้กับส่วนงานได้อย่างสมเหตุสมผล


ส่วนงานธุรกิจ กลุ่มบริษัทเสนอส่วนงานธุรกิจที่สำคัญ ดังนี้ ส่ ว นงานที ่ 1 ธุ ร กิ จ ให้ เช่ า อาคารศู น ย์ ก ารค้ า อาคารสำนั ก งานห้ อ งชุ ด พั ก อาศั ย และให้ บ ริ ก ารด้ า นสาธารณู ป โภค สวนสนุ ก และ สวนน้ำในอาคารดังกล่าว ส่ ว นงานที ่ 2 ธุรกิจขายอาหารและเครื่องดื่มในศูนย์การค้า ข้อมูลทางการเงินตามส่วนงานธุรกิจ (พั น บาท)

ส่วนงานที่ 1 2551

ส่วนงานที่ 2

รวม

2550

2551

2550

2551

2550

รายได้

8,142,322

7,517,299

456,309

377,987

8,598,631

7,895,286

ผลการดำเนินงานตามส่วนงาน

3,625,924

3,332,075

83,109

89,848

3,709,033

3,421,923

ดอกเบี้ยรับ รายได้อื่น ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสีย ค่าใช้จ่ายในการบริหาร ค่าตอบแทนกรรมการ

166,697 712,013 361,907 (1,551,535) (5,290)

110,031 601,148 316,469 (1,511,108) (3,400)

กำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย และภาษีเงินได้ ดอกเบี้ยจ่าย ภาษีเงินได้

3,392,825 (543,386) (650,702)

2,935,063 (580,753) (563,440)

กำไรหลังภาษีเงินได้ กำไรสุทธิส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย

2,198,737 (12,951)

1,790,870 (7,464)

กำไรสำหรับปี

2,185,786

1,783,406

สินทรัพย์ถาวรของส่วนงาน (ณ วันที่ 31 ธันวาคม) 31,574,959

25,430,389

85,963

3,600 31,660,922

25,433,989

สินทรัพย์รวมของส่วนงาน (ณ วันที่ 31 ธันวาคม)

37,181,040

116,678

23,601 43,783,780

37,204,641

43,667,102

21. รายไดอื่น (พั น บาท)

งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2551

2550

2551

2550

ค่าใช้จ่ายเรียกเก็บจากร้านค้า รายได้ค่าธรรมเนียมการจัดการ อื่นๆ

237,892 169,726 304,335

175,650 181,121 244,377

68,894 273,694 166,528

61,914 267,445 149,818

รวม

711,953

601,148

509,116

479,177


146 .147

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป

2551

22. คาใชจายในการบริหาร (พันบาท)

งบการเงินรวม

ค่าใช้จ่ายการตลาด ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบุคลากร ค่าใช้จ่ายบริหาร ค่าใช้จ่ายอื่น รวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2551

2550

2551

2550

506,309 681,152 109,054 255,020 1,551,535

565,686 548,432 102,969 294,021 1,511,108

221,584 578,111 94,652 169,200 1,063,547

204,166 473,378 83,024 149,974 910,542

23. คาใชจายพนักงาน (พันบาท)

งบการเงินรวม

เงินเดือนและค่าแรง จ่ายสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ อื่นๆ รวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2551

2550

2551

2550

719,980 15,680 92,668 828,328

609,331 12,827 39,854 662,012

558,617 13,318 79,102 651,037

475,039 10,690 52,585 538,314

กลุ่ ม บริ ษั ท ได้ จั ด ตั้ ง กองทุ น สำรองเลี้ ย งชี พ สำหรั บ พนั ก งานของกลุ่ ม บริ ษั ท บนพื้ น ฐานความสมั ค รใจของพนั ก งานในการเป็ น สมาชิ ก ของ กองทุน โดยพนักงานจ่ายเงินสะสมในอัตราร้อยละ 3 ถึง อัตราร้อยละ 10 ของเงินเดือนทุกเดือน และบริษัทจ่ายสมทบในอัตราร้อยละ 3 ถึง อัตราร้อยละ 10 ของเงินเดือนของพนักงานทุกเดือน กองทุนสำรองเลี้ยงชีพนี้ได้จดทะเบียนเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามข้อกำหนด ของกระทรวงการคลังและจัดการกองทุนโดยผู้จัดการกองทุนที่ได้รับอนุญาต

24. ดอกเบี้ยจาย (พันบาท)

หมายเหตุ

ดอกเบี้ยจ่ายและค้างจ่ายแก่ - กิจการที่เกี่ยวข้องกัน - สถาบันการเงินและผู้ลงทุนสถาบัน รวมค่าใช้จ่ายทางการเงิน ต้นทุนทางการเงินที่บันทึกเป็น ราคาทุนของสินทรัพย์ รวม

4

งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2551

2550

2551

2550

543,386

580,753

180,084 318,687

139,391 288,194

543,386

580,753

498,771

427,585

234,671 778,057

88,485 669,238

18,660 517,431

74,446 502,031

ค่าใช้จ่ายทางการเงินสำหรับปี 2551 และ 2550 บันทึกเป็นต้นทุนของโครงการระหว่างการพัฒนาในอัตรา ร้อยละ 4.77 และร้อยละ 5.09 ตามลำดับ ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของเงินกู้ยืมทั้งสิ้นที่กู้ยืมมาเพื่อวัตถุประสงค์ทั่วไป


25. ภาษีเงินได (พั น บาท)

หมายเหตุ

งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2551

2550

2551

2550

774,152 774,152

728,827 728,827

360,253 360,253

369,874 369,874

(123,450)

(165,388)

(27,597)

(26,660)

(123,450) 650,702

(165,388) 563,439

(27,597) 332,656

(26,660) 343,214

ภาษีเงินได้ในปัจจุบัน สำหรับปีปัจจุบัน

ภาษีเงินได้รอตัดบัญชี การเปลี่ยนแปลงของผลต่างชั่วคราว รวม

14

การกระทบยอดเพื่อหาอัตราภาษีที่แท้จริง งบการเงินรวม 2551 อัตราภาษี (ร้อยละ)

2550 พันบาท

กำไรก่อนภาษีเงินได้

อัตราภาษี (ร้อยละ)

พันบาท

2,849,439

2,354,309

ภาษีเงินได้ตามอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ของ ประเทศไทย การลดภาษีเงินได้ รายได้ที่ไม่ต้องเสียภาษี ค่าใช้จ่ายต้องห้ามทางภาษี

30 (1) (9) 2

854,832 (15,000) (249,643) 60,513

30 (8) 2

706,293 (194,447) 51,593

รวม

22

650,702

24

563,439

งบเฉพาะกิจการ 2551 อัตราภาษี (ร้อยละ) กำไรก่อนภาษีเงินได้ ภาษีเงินได้ตามอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ของประเทศไทย การลดภาษีเงินได้ รายได้ที่ไม่ต้องเสียภาษี ค่าใช้จ่ายต้องห้ามทางภาษี รวม

2550 พันบาท

อัตราภาษี (ร้อยละ)

2,723,987 30 (1) (18) 1 12

817,196 (15,000) (490,835) 21,295 332,656

พันบาท 5,067,995

30 (23) 7

1,520,399 (1,184,794) 7,609 343,214

การลดภาษีเงินได้นิติบุคคล พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากรฉบับที่ 475 พ.ศ. 2551 ลงวันที่ 29 กรกฎาคม 2551 ให้สิทธิ ทางภาษีแก่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยโดยลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจากอัตราร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 25สำหรับ กำไรสุทธิทางภาษีเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 300 ล้านบาท เป็นเวลาสามรอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกันนับแต่รอบระยะเวลาบัญชีแรกที่เริ่มในหรือ หลังวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ แต่ไม่เกินรอบระยะเวลาบัญชีที่สิ้นสุดในหรือหลังวันที่ 31 ธันวาคม 2553


148 .149

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป

2551

26. กำไรตอหุนขั้นพื้นฐาน กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐานสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550 คำนวณจากกำไรสำหรับปีที่เป็นส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัท และ จำนวนหุ้นสามัญที่ออกจำหน่ายแล้วระหว่างปีโดยแสดงการคำนวณดังนี้ (พันบาท/พันหุ้ น )

งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2551

2550

2551

2550

กำไรที่เป็นส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัท (ขั้นพื้นฐาน)

2,185,786

1,783,406

2,391,331

4,724,781

จำนวนหุ้นสามัญที่ออกจำหน่ายแล้ว

2,178,816

2,178,816

2,178,816

2,178,816

1.00

0.82

1.10

2.17

กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน (บาท)

27. เงินปนผล ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2550 ผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัติการจัดสรรกำไรเป็นเงินปันผลจากผลการดำเนินงานปี 2549 จำนวน 0.31 บาทต่อหุ้น (รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 675.4 ล้านบาท) เงินปันผลดังกล่าวได้จ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นในเดือนพฤษภาคม 2550 ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2551 ผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัติการจัดสรรกำไรเป็นเงินปันผลจากผลการดำเนินงานปี 2550 จำนวน 0.33 บาทต่อหุ้น (รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 719.0 ล้านบาท) เงินปันผลดังกล่าวได้จ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นในเดือนพฤษภาคม 2551

28. การลงทุนในหนวยลงทุนเพิ่มทุนและการใหเชา/เชาชวงอสังหาริมทรัพย ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 3/2551 เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2551 มีมติอนุมัติในหลักการสำหรับการลงทุนในหน่วยลงทุนเพิ่มทุน ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ซีพีเอ็น รีเทล โกรท (“CPNRF”) และการให้เช่าช่วงที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังนี้

» ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของบริษัทที่เป็นศูนย์การค้า (บางส่วน) จำนวน 1 อาคารและอาคารสำนักงานจำนวน 2 อาคาร ซึ่งตั้งอยู่ใน โครงการเซ็นทรัลพลาซา ปิ่นเกล้า รวมทั้งพื้นที่จอดรถยนต์และงานระบบที่เกี่ยวข้อง ถนนรอบโครงการและทางเข้าออกของโครงการ โดยการให้เช่าหรือให้เช่าช่วงอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว เป็นระยะเวลาประมาณ 16 ปี

» ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา เชียงใหม่ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทที่เป็นอาคารศูนย์การค้า (บางส่วน) จำนวน 1 อาคารซึ่งตั้งอยู่ในโครงการเซ็นทรัลพลาซา เชียงใหม่ แอร์พอร์ต รวมทั้งพื้นที่จอดรถยนต์ภายในและนอกอาคารและระบบ งานที่เกี่ยวข้อง ถนนรอบโครงการ และทางเข้าออกของโครงการ โดยการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวเป็นระยะเวลา 40 ปี เมื่ อ วั น ที่ 13 ตุ ล าคม 2551 ที่ ป ระชุ ม คณะกรรมการบริษั ท ครั้ ง ที่ 5/2551 มี ม ติ ใ ห้ ช ะลอการให้ เช่ า /เช่ า ช่ ว งทรั พ ย์ สิน แก่ ก องทุ น รวม อสังหาริมทรัพย์ ซีพีเอ็น รีเทล โกรท จนกว่าภาวะตลาดทุนจะเอื้ออำนวย

29. การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีของกลุ่มบริษัทต่อไปนี้ไม่มีผลกระทบต่องบการเงินเฉพาะของกิจการของบริษัท จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2550 บริษัทแสดงค่าความนิยมติดลบที่เกิดจากการรวมธุรกิจในราคาทุนสำหรับ ค่าความนิยมติดลบที่เกิดก่อนวันที่ 1 มกราคม 2543 และราคาทุนหักด้วยค่าตัดจำหน่ายสะสมสำหรับค่าความนิยมติดลบที่เกิดหลังวันที่ 1 มกราคม 2543 ค่าตัดจำหน่าย บันทึกเป็นรายได้ในงบกำไรขาดทุนตามระยะเวลาที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์เป็นเวลา 20 ปี ในระหว่างปี 2550 สภาวิชาชีพบัญชีได้ประกาศใช้มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 43 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง การรวมธุรกิจ ซึ่งให้ถือปฏิบัติกับ งบการเงินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2551 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 43 (ปรับปรุง 2550) กำหนดให้ ส่วนเกินของส่วนได้เสียของผู้ซื้อในมูลค่ายุติธรรมสุทธิของสินทรัพย์ หนี้สิน และหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นที่ระบุได้ของผู้ถูกซื้อสูงกว่าต้นทุน ซึ่ง เดิมบันทึกเป็น “ค่าความนิยมติดลบ” จะรับรู้ในกำไรหรือขาดทุนทันที กลุ่มบริษัทได้เปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีสำหรับค่าความนิยมติดลบตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 เป็นต้นไป ผลกระทบจากการเปลี่ยน นโยบายการบัญชีของงบการเงินรวมของกลุ่มบริษัทสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 คือ ลดมูลค่ายอดยกมาของค่าความนิยมติดลบ และเพิ่มในยอดยกมาของกำไรสะสม ณ วันที่ 1 มกราคม 2551 เป็นจำนวน 211.1 ล้านบาท และลดรายได้ในงบกำไรขาดทุน ซึ่งเป็นผลมา จากการตัดจำหน่ายค่าความนิยมติดลบภายใต้นโยบายการบัญชีเดิมประมาณ 6.7 ล้านบาท ส่งผลให้กำไรสำหรับงวดลดลง


30. เครื่องมือทางการเงิน ความเสี่ยงทางการเงินที่สำคัญสำหรับกลุ่มบริษัทได้แก่ ความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย และความเสี่ยงจากสินเชื่อโดยกลุ่มบริษัทได้กู้ยืมเงินเพื่อ ใช้ในการดำเนินงานซึ่งต้องจ่ายอัตราดอกเบี้ยทั้งแบบคงที่และแบบลอยตัว ความเสี่ยงจากสินเชื่อเกิดจากความสามารถในการเรียกเก็บค่าเช่า

ความเสี่ยงจากการให้สินเชื่อ กลุ่มบริษัทมีนโยบายปัจจุบันที่กำหนดไว้เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการให้สินเชื่อ ได้แก่ กำหนดให้มีการเรียกเก็บเงินมัดจำค่าเช่าล่วงหน้า ซึ่งโดยทั่วไป เป็นจำนวน 6 เท่าของค่าเช่ารายเดือน บอกเลิกสัญญาเช่าสำหรับลูกค้าที่ค้างชำระค่าเช่าเกินกว่า 90 วัน

» »

ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ความเสี่ยงด้านสภาพคล่องคือความเสี่ยงที่กลุ่มบริษัทจะเผชิญความยุ่งยากในการระดมทุนให้เพียงพอและทันเวลาต่อการปฏิบัติตามภาระ ผูกพันที่ระบุไว้ในเครื่องมือทางการเงิน วัตถุประสงค์ของการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของกลุ่มบริษัท คือ การมีเงินทุนที่เหมาะสมและเพียงพอสำหรับกระแสเงินสดจ่าย เพื่อการลงทุนทั้งในปัจจุบันและอนาคต ในขณะเดียวกัน ยังสามารถนำเงินทุนไปลงทุนให้เกิดผลตอบแทนที่เหมาะสมภายใต้นโยบายการลงทุน ของกลุ่มบริษัท การบริหารความเสี่ยง : กลุ่มบริษัทมีแหล่งเงินทุนสำคัญจากส่วนของผู้ถือหุ้น และหนี้สินระยะยาว ตลอดจนการจัดหาเงินทุนผ่านตลาดเงิน และตลาดทุ น ภายในประเทศทั้ ง การออกหุ้ น กู้ แ ละการโอนสิ น ทรัพ ย์ เข้ า กองทุ น อสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ ภายใต้ น โยบายด้ า นโครงสร้ า งเงิ น ทุ น ที่ ระมัดระวัง คือ การดำรงอัตราส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้นในระดับประมาณ 1 เท่า จัดหาเงินทุนที่มีต้นทุนเงินทุน ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาวะตลาด และมีการรักษาสัดส่วนเงินกู้ยืมที่มีอัตราดอกเบี้ยคงที่ให้สูงกว่าเงินกู้ยืมที่มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัว เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยอีกทางหนึ่ง มูลค่ายุติธรรม ราคาตามบัญชีของสินทรัพย์ทางการเงินและหนี้สินทางการเงิน อันได้แก่ เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด เงินลงทุน ลูกหนี้ และเจ้าหนี้ การค้า ลูกหนี้และเจ้าหนี้อื่น เงินให้กู้ยืมแก่บริษัทย่อย เงินกู้ยืมระยะสั้นและเงินกู้ยืมระยะยาวแบบอัตราดอกเบี้ยลอยตัวมีมูลค่าใกล้เคียง กับมูลค่ายุติธรรม ข้อมูลเกี่ยวกับมูลค่ายุติธรรมของเงินกู้ยืมได้แสดงไว้ในหมายเหตุ 16

31. ภาระผูกพันที่มีกับบุคคลหรือกิจการที่ไมเกี่ยวของกัน (ล้ านบาท)

งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2551

2550

2551

2550

2 2,414 2,416

3 3,621 3,624

2 1 3

3 1,689 1,692

278 1,404 14,554 16,236

276 1,181 14,449 15,906

-

-

287

192

121

81

ภาระผูกพันของรายจ่ายฝ่ายทุนสัญญาที่ยังไม่ได้รับรู้ ยานพาหนะ อาคารและงานระบบ รวม

ภาระผูกพันจากสัญญาเช่าดำเนินงานที่ยกเลิกไม่ได้ ภายในระยะเวลาหนึ่งปี ระยะเวลามากกว่าหนึ่งปีถึงห้าปี ระยะเวลามากกว่าห้าปี รวม

ภาระผูกพันอื่นๆ หนังสือค้ำประกันจากธนาคาร


150 .151

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป

2551

(ก) กลุ่มบริษัทได้ลงนามในสัญญาเช่าที่ดินกับบุคคลภายนอกเพื่อใช้ในการก่อสร้างศูนย์การค้าให้เช่า สัญญาเช่านี้มีระยะเวลา 30 ปี สิ้นสุด ในเดือนพฤษภาคม 2570 ตามเงื่อนไขของสัญญากลุ่มบริษัทต้องจ่ายค่าเช่าล่วงหน้า ซึ่งได้บันทึกไว้ในงบดุลภายใต้ “สิทธิการเช่า” และจะต้องจ่ายค่าเช่าเป็นรายเดือน โดยค่าเช่าจะปรับเพิ่มทุก 5 ปี ในอัตราร้อยละ 10 ของค่าเช่าสุดท้าย (ข) กลุม่ บริษทั ได้ลงนามในสัญญาเช่าพืน้ ทีก่ บั บริษทั ในประเทศแห่งหนึง่ เพือ่ ใช้ในการก่อสร้างศูนย์การค้าให้เช่า สัญญาเช่านีม้ รี ะยะเวลา 30 ปี สิ้ น สุด ในเดื อ นมิ ถุ น ายน 2573 ตามเงื่อ นไขของสั ญ ญากลุ่ ม บริ ษั ท จะต้อ งจ่า ยค่า เช่ า ล่ ว งหน้า โดยส่ ว นที่ จ่ า ยแล้ ว ได้ บั น ทึ ก ไว้ ใ นงบดุ ล ภายใต้โครงการระหว่างการพัฒนา และต้องจ่ายค่าเช่าเป็นรายเดือน โดยค่าเช่าจะปรับเพิ่มทุก 3 ปี ในอัตราร้อยละ 15 ของค่าเช่า ปี สุ ด ท้า ย สั ญ ญาสามารถต่ อ อายุ ต่ อ ไปได้ อี ก โดยมีก ำหนดระยะเวลาเช่า เช่ น เดี ย วกั บ ที่ ผู้ ใ ห้ เช่ า ได้ เช่ า จากเจ้ า ของที่ดิน กรรมสิท ธิ์ ใน อาคารและสิ่งปลูกสร้างบนพื้นที่ดังกล่าวจะตกเป็นของผู้ให้เช่าเมื่อสิ้นสุดสัญญาเช่า ในระหว่างปี 2549 กลุ่มบริษัทมิได้จ่ายค่าเช่าล่วงหน้า ตามสัญญาที่กล่าวไว้ข้างต้นเพิ่มเติมเนื่องจากโครงการได้ถูกชะลอไว้เป็นการชั่วคราว กำหนดระยะเวลาเช่าและเงื่อนไขในการเช่าอยู่ ในระหว่างการพิจารณาแก้ไขโดยคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย อย่างไรก็ตามในระหว่างปี 2550 กลุ่มบริษัทได้ยกเลิกสัญญาเช่าดังกล่าว ซึ่งมีผล ทำให้กลุ่มบริษัทต้องจ่ายค่าชดเชยจากการยกเลิกสัญญาให้แก่เจ้าของที่ดินจำนวน 377 ล้านบาท เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2550 กลุ่มบริษัทได้ลงนามในสัญญาเช่าที่ดินกับบริษัทในประเทศอีกแห่งหนึ่งเพื่อใช้ในการก่อสร้างศูนย์การค้า ให้เช่ารวม 2 ฉบับ ตามเงื่อนไขของสัญญาเช่า บริษัทย่อยจะต้องจ่ายค่าเช่าล่วงหน้า ซึ่งบันทึกไว้ในงบดุลภายใต้ “สิทธิการเช่า” ฉบับแรกเป็นสัญญาเช่าที่ดิน ระยะเวลา 3 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2550 สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2553 ปลอดค่าเช่ารายเดือน ฉบับที่ 2 เป็นสัญญาเช่าที่ดิน ระยะเวลา 30 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2553 สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2583 ตามเงื่อนไขของสัญญา เช่าฉบับที่ 2 กลุ่มบริษัทต้องจ่ายค่าเช่าที่ดินรายเดือน 700,000 บาท โดยปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 15 ทุก 3 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2553 และมีสิทธิต่ออายุการเช่าที่ดินได้อีก 10 ปี (จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2593) โดยจ่ายชำระเพียงค่าเช่ารายเดือนตามอัตราเดือน สุดท้าย ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2583 ตลอดระยะเวลา 10 ปี กลุ่มบริษัทนำสิทธิการเช่าที่ดินทั้ง 2 ฉบับดังกล่าวไปค้ำประกันการอาวัล ตั๋วสัญญาใช้เงินกับธนาคาร โดยมีบริษัทค้ำประกันวงเงินอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินทั้งจำนวน (ค) กลุ่ ม บริ ษั ท ได้ ล งนามในสั ญ ญาเช่ า ที่ ดิ น ที่ ใช้ ใ นการก่ อ สร้ า งศู น ย์ ก ารค้ า ให้ เช่ า และสั ญ ญาเช่ า อาคารพาณิ ช ย์ กั บ บุ ค คลภายนอกรวม 3 ฉบับสัญญาเช่า 2 ฉบับเป็นสัญญาเช่าที่ดิน มีระยะเวลา 30 ปี สิ้นสุดในเดือนสิงหาคม 2568 และเดือนมิถุนายน 2573 และสัญญาเช่า อีก 1 ฉบับเป็นสัญญาเช่าอาคารพาณิชย์ มีระยะเวลา 26 ปี สิ้นสุดในเดือนกรกฎาคม 2564 ตามเงื่อนไขของสัญญากลุ่มบริษัทจะต้อง จ่ายค่าเช่าล่วงหน้าและเงินค้ำประกันสิทธิ ซึ่งได้บันทึกไว้ในงบดุลภายใต้ “สิทธิการเช่า” นอกจากนี้ กลุ่มบริษัทต้องจ่ายค่าเช่าเป็น รายเดือนและจะปรับค่าเช่าทุก 5 ปี โดยกลุ่มบริษัทได้รับชำระคืนเงินค้ำประกันสิทธิการเช่าจำนวน 20 ล้านบาทในปี 2540 และจะได้รับ ชำระคืนเงินค้ำประกันสิทธิการเช่าจำนวน 298.6 ล้านบาท นับแต่ปีการเช่าที่ 21 จนถึงปีการเช่าที่ 30 สัญญาเช่าที่ดินสามารถต่ออายุ ต่อไปได้อีกไม่น้อยกว่า 15 ปี ในอัตราและผลประโยชน์ตอบแทนตามที่ได้มีการตกลงร่วมกันใหม่ โดยการแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร ล่วงหน้าหนึ่งปีก่อนครบกำหนดอายุการเช่า และเมื่อสิ้นสุดสัญญาเช่า กลุ่มบริษัทจะมอบกรรมสิทธิ์ในอาคารศูนย์การค้าและสิ่งปลูกสร้าง บนที่ดินดังกล่าวให้แก่ผู้ให้เช่า สำหรับสัญญาเช่าอาคารพาณิชย์เมื่อครบกำหนดระยะเวลาการเช่า ผู้ให้เช่าให้คำมั่นว่าจะให้สิทธิบริษัท เป็นอันดับแรกในการต่ออายุสัญญาเช่า กลุ่มบริษัทได้ลงนามในสัญญาเช่าที่ดินที่ใช้ในการก่อสร้างศูนย์การค้าให้เช่ากับบุคคลภายนอกรวม 3 ฉบับ สัญญาเช่านี้มีระยะเวลา 30 ปี สิ้นสุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2581 ตามเงื่อนไขของสัญญา กลุ่มบริษัทจะต้องจ่ายค่าเช่าล่วงหน้า โดยส่วนที่จ่ายแล้วได้บันทึกไว้ใน งบดุลภายใต้สิทธิการเช่า และต้องจ่ายค่าเช่าเป็นรายปี โดยค่าเช่าจะปรับเพิ่มทุก 3 ปีในอัตราร้อยละ 12 สัญญาสามารถต่ออายุออกไป ได้อีกคราวละ 10 ปี โดยทำสัญญาก่อนครบกำหนดอายุการเช่า 2 ปีในอัตราและผลประโยชน์ตอบแทนตามที่ได้มีการตกลงร่วมกันใหม่ (ง) ในปี 2546 กลุ่ ม บริ ษั ท ได้ ล งนามในสั ญ ญาเช่ า ที่ ดิ น พร้ อ มสิ่ ง ปลู ก สร้ า งกั บ สำนั ก งานทรั พ ย์ สิ น ส่ ว นพระมหากษั ต ริ ย์ (“สำนั ก งาน ทรั พ ย์ สิน ”) สั ญ ญาเช่ า นี้ มี ร ะยะเวลา 30 ปี สิ้น สุ ด ในเดื อ นธั น วาคม 2575 ตามเงื่ อ นไขของสั ญ ญากลุ่ ม บริ ษั ท จะต้ อ งจ่ า ยค่ า เช่ า เป็ น รายเดือน โดยสัญญาสามารถต่ออายุออกไปได้อีกคราวละ 30 ปี ในอัตราและผลประโยชน์ตอบแทนตามวิธีการที่ได้มีการตกลงร่วมกัน และสิ่งปลูกสร้างใดๆ เพิ่มเติมในโครงการนี้จะตกเป็นของผู้ให้เช่าทันทีในวันทำสัญญาเช่า ในปี 2550 กลุ่มบริษัทได้ทำบันทึกข้อตกลงเบื้องต้น 2 ฉบับ ฉบับแรกกลุ่มบริษัทตกลงยกเลิกการเช่าที่ดินตามสัญญาหลักบางส่วนกับ สำนักงานทรัพย์สิน (ผู้ให้เช่า) ฉบับที่ 2 กลุ่มบริษัทได้ดำเนินการให้บริษัทที่เกี่ยวข้องกันเข้าเป็นผู้เช่าที่ดินแทนภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด ในสัญญาระหว่างผู้ให้เช่าและบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน สัญญาเช่ามีระยะเวลา 25 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550 ถึงวันที่ 22 ธันวาคม 2575 อย่างไรก็ตามกลุ่มบริษัทยังคงมีภาระในการจ่ายค่าเช่าที่ดินให้แก่สำนักงานทรัพย์สินหลังจากที่ได้คืนสิทธิการเช่าในส่วนดังกล่าวแล้ว (จ) ในปี 2548 กลุ่มบริษัทได้ลงนามในสัญญาเช่าที่ดินกับบริษัทในประเทศแห่งหนึ่ง ก่อสร้างศูนย์การค้าและอาคารที่จอดรถ สัญญาเช่า มีระยะเวลา 28 ปี 10 เดือน สิ้นสุดในเดือน กันยายน 2577 ตามเงื่อนไขของสัญญา กลุ่มบริษัทจะต้องจ่ายค่าเช่าเป็นรายเดือน นับแต่เดือน กันยายน 2549 โดยค่าเช่าจะปรับเพิ่มทุก 5 ปี ในอัตราร้อยละ 5 ของค่าเช่าสุดท้าย สัญญาเช่าที่ดินสามารถต่ออายุต่อไปได้อีก โดยแจ้ง เป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 6 เดือน ก่อนครบกำหนดอายุการเช่าในอัตราและผลประโยชน์ตอบแทนตามที่ได้มีการตกลง ร่วมกันใหม่ เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2550 กลุ่มบริษัทได้ลงนามในสัญญาเช่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างกับบุคคลภายนอก สัญญาเช่ามีระยะเวลา 30 ปี สิ้นสุดวันที่ 31 สิงหาคม 2580 ตามเงื่อนไขของสัญญาเช่า บริษัทจะต้องจ่ายค่าเช่าเป็นรายปี โดยค่าเช่าจะปรับเพิ่มทุก 5 ปี ในอัตรา ร้อยละ 35 ของค่าเช่าสุดท้าย สัญญาเช่าที่ดินสามารถต่ออายุได้โดยแจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 1 ปีก่อนครบกำหนดอายุสัญญาเช่า


32. หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น ภาระค้ำประกัน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 บริษัทมีภาระค้ำประกันเงินกู้ของบริษัทย่อยในวงเงิน 3,578 ล้านบาท (2550: 4,732 ล้านบาท) คดีความ คดีความที่มีสาระสำคัญกับบริษัท และความคืบหน้าของคดีจนถึง วันที่ 31 ธันวาคม 2551 มีดังนี้ (ก ในปี 2539 บริ ษั ท ในประเทศแห่ ง หนึ่ง ได้ ฟ้อ งร้ อ งบริ ษั ท ฐานผิ ด สั ญ ญาเช่ า จำนวนทุ น ทรั พ ย์ 83.4 ล้ า นบาท บริ ษั ท ได้ ฟ้ อ งแย้ ง เรี ย ก ค่าเสียหายฐานละเมิด โดยเรียกค่าเสียหายจำนวน 2.5 ล้านบาท ในเดือนตุลาคม 2544 ศาลชั้นต้นพิพากษาให้บริษัทชนะคดี และในเดือน กันยายน 2547 ศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษากลับให้บริษัทแพ้คดี ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิพากษาของศาลฎีกา (ข) ในปี 2546 บุคคลธรรมดาได้ฟ้องร้องบริษัทเพื่อเรียกเงินชดเชยค่าเสียหายจากการก่อสร้าง จำนวนทุนทรัพย์ 64.9 ล้านบาท ในเดือน สิงหาคม 2548 ศาลชั้นต้นพิพากษาให้บริษัทชนะคดี ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิพากษาของศาลอุทธรณ์

33. เหตุการณภายหลังวันที่ในงบดุล ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2552 อนุมัติมติที่สำคัญดังนี้

» อนุมัติการเข้าทำสัญญาเช่าช่วงหลักของทรัพย์สินบริเวณศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว กับบริษัท เซ็นทรัลอินเตอร์พัฒนา จำกัด ซึ่ ง มี มู ล ค่ า รวมของผลประโยชน์ ต อบแทนและค่ า เช่ า ช่ ว งรายปี ข องทรั พ ย์ สิ น ตลอดอายุ สั ญ ญา 20 ปี รวมเป็ น เงิ น ทั้ ง สิ้ น 16,178.3 ล้านบาท ทั้งนี้รายการดังกล่าวต้องได้รับการอนุมัติการเข้าทำรายการจากที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2552 ของบริษัท ซึ่งจะจัด ขึ้นในวันที่ 25 มีนาคม 2552

» อนุมัติการประกาศจ่ายเงินปันผลสำหรับผลการดำเนินงานปี 2551 จำนวน 0.33 บาทต่อหุ้น (รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 719.0 ล้านบาท) » อนุมัติการออกและเสนอขายหุ้นกู้วงเงินรวมไม่เกิน 5,000 ล้านบาท ประเภทหุ้นกู้มีประกันและ/หรือหุ้นกู้ไม่มีประกันชนิดไม่ด้อย สิทธิอายุไม่เกิน 10 ปี เพื่อใช้สนับสนุนแผนการลงทุนของบริษัท

34. มาตรฐานการบัญชีไทยที่ยังไมไดใช กลุ่มบริษัทยังไม่ได้ใช้มาตรฐานการบัญชีที่ปรับปรุงใหม่ดังต่อไปนี้ ณ วันที่ในงบดุล เนื่องจากยังไม่มีการบังคับใช้ มาตรฐานการบัญชีที่ ปรับปรุงใหม่ต่อไปนี้กำหนดให้ถือปฏิบัติกับงบการเงินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2552 เป็นต้นไป มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 36 (ปรับปรุง 2550) มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 54 (ปรับปรุง 2550)

เรื่องการด้อยค่าของสินทรัพย์ เรื่องสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนถือไว้เพื่อขายและการดำเนินงานที่ยกเลิก

กลุ่มบริษัทคาดว่าการกำหนดให้ใช้มาตรฐานการบัญชีที่ปรับปรุงใหม่ดังกล่าวข้างต้น จะไม่มีผลกระทบต่องบการเงินรวม หรืองบการเงิน เฉพาะกิจการอย่างมีสาระสำคัญ

35. การจัดประเภทบัญชีใหม รายการในงบการเงินของปี 2550 บางรายการได้จัดประเภทใหม่ให้สอดคล้องกับรายการในงบการเงินของปี 2551 ดังนี้

2550

(ล้ านบาท)

งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

ก่อนจัด จัด หลังจัด ก่อนจัด จัด หลังจัด ประเภทใหม่ ประเภทใหม่ ประเภทใหม่ ประเภทใหม่ ประเภทใหม่ ประเภทใหม่

งบดุล ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ สิทธิการเช่า หนี้สินหมุนเวียนอื่น เงินกู้ยืมระยะยาวจาก กิจการที่เกี่ยวข้องกัน เงินกู้ยืมระยะยาวอื่น รายได้ค่าเช่าและค่าบริการรับล่วงหน้า

28,795 2,546 10,881 4,959

(3,361) 3,361 66 41 (41) (66) -

25,434 3,361 2,612 41 10,770 4,893

4,624 534 860

(250) 250 29 (29) -

4,374 250 563 831

การจัดประเภทบัญชีใหม่นี้ เนื่องจากผู้บริหารเห็นว่ามีความเหมาะสมกับธุรกิจของกลุ่มบริษัทมากกว่า และเพื่อให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติ สำหรับการบันทึกบัญชีสิทธิการเช่า


152.153 152 .153

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป

2551

คาตอบแทนของผูสอบบัญชี 1. ค่าตอบแทนจากการสอบบัญชี ในปี 2551 บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย จ่ายค่าตอบแทนการสอบบัญชี ให้แก่ สำนักงานสอบบัญชีที่ผู้สอบบัญชีสังกัด เป็นจำนวนเงินรวม 4,280,000 บาท 2. ค่าบริการอื่น - ไม่มี -


ร า ย ล ะ เ อี ย ด เ กี่ ย ว กั บ ผู บ ริ ห า ร แ ล ะ ผู มี อ ำ น า จ ค ว บ คุ ม ข อ ง บ ริ ษั ท 1. นายวันชัย จิราธิวัฒน ประธานกรรมการ อายุ สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัท

82 ปี 0%

คุณวุฒิทางการศึกษา ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาจิตวิทยา มหาวิทยาลัย รามคำแหง ตำแหน่งอื่นในปัจจุบัน ประธานกรรมการ บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด ประธานกรรมการ บริษัท ห้างเซ็นทรัลดีพาทเมนท์สโตร์ จำกัด ประธานกรรมการ บริษัท เซ็นทรัลเทรดดิ้ง จำกัด ประธานกิตติมศักดิ์ บริษัท มาลีสามพราน จำกัด(มหาชน) ประธานกรรมการ บริษทั โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน) ประธานกิตติมศักดิ์ บริษัท โพสต์ พับลิชชิง จำกัด(มหาชน) ประธานกิตติมศักดิ์ถาวร มูลนิธิส่งเสริมศีลธรรม รองประธาน มูลนิธิโรงพยาบาลเทียนฟ้า กรรมการ กรมการส่งเสริมการลงทุนการค้าไทย – จีน นายกกิตติมศักดิ์ถาวร สมาคมไหหลำแห่งประเทศไทย กรรมการ บริษัท อินทรประกันภัย จำกัด (มหาชน)

» » » » » » » » » » » »

2. นายเอนก สิทธิประศาสน รองประธานกรรมการ อายุ สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัท

80 ปี 0%

คุณวุฒิทางการศึกษา ปริญญาตรี สาขารัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโท สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยอินดีอานา สหรัฐอเมริกา ปริ ญ ญาดุ ษ ฎี บั ณ ฑิ ต กิ ต ติ ม ศั ก ดิ์ สาขารั ฐ ประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเคนชิงตัน สหรัฐอเมริกา ปริญญาบัตร วิทยาลัยป้องกัน ราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ 21

» » » »

ประสบการณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ประธานกรรมการ องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงมหาดไทย อธิบดีกรมการปกครอง การผ่านการอบรมหลักสูตรที่จัดโดย สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD ) ปี 2550 - หลักสูตร Director Accreditation Program (DAP) ปี 2546 - หลักสูตร Finance for Non Finance Director (FND) ปี 2545 - หลักสูตร CG Workshop 1/2002 "Board Policy "

» » » » » » » »

3. นายไพฑูรย ทวีผล กรรมการอิสระ ประธานกรรมการตรวจสอบ ประธานที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง อายุ สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัท

59 ปี 0%

คุณวุฒิทางการศึกษา ปริญญาตรี สาขาบริหารธุรกิจ (บัญชี) มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประกาศนี ย บั ต รบั ณ ฑิ ต ทางการสอบบั ญ ชี มหาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร์ ประสบการณ์ กรรมการผู้ อ ำนวยการ บริ ษั ท ที่ ป รึ ก ษาธุ ร กิ จ อาร์ เ ธอร์ แอนเดอร์เซ่น จำกัด กรรมการและกรรมการบริหาร บริษัท สำนักงาน เอส จี วี ณ ถลาง จำกัด กรรมการ, อุปนายกสมาคม สมาคมตรวจสอบภายในแห่ง ประเทศไทย (2541 - 2543) กรรมการ, อุปนายกสมาคม สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชี รับอนุญาตแห่งประเทศไทย (2534 - 2546) ประธานและเลขาธิการ สหพันธ์นกั บัญชีอาเซียน (2534 - 2548)

» » » » » » » »


154 .155

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป

2551

» กรรมการผูจ้ ดั การ บริษทั บีที ทีป่ รึกษาธุรกิจ จำกัด (2546 - 2548) » กรรมการ บริษัท ยูเนี่ยนพาวเวอร์ จำกัด » กรรมการ บริษัท ซาน มิเกล เบียร์ (ประเทศไทย) จำกัด ตำแหน่งอื่นในปัจจุบัน » กรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบและธรรมาภิบาล บริษัท » กรรมการ บริษัท ซาน มิเกล มาร์เก็ตติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด การผ่านการอบรมหลักสูตรที่จัดโดย สมบูรณ์ แอ็ดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD ) » กรรมการอำนวยการ โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย » นายกสมาคม สมาคมผูป้ กครองและครูโรงเรียนมาแตร์เดอีวทิ ยาลัย » ปี 2550 - หลักสูตร Role of the Compensation Committee (RCC) » กรรมการ มูลนิธิมาแตร์เดอีวิทยาลัย » ปี 2549 - หลักสูตร Director Certification Program (DCP) » ปี 2548 - หลักสูตร Finance for Non-Finance Director (FND) การผ่านการอบรมหลักสูตรที่จัดโดย » ปี 2546 - หลักสูตร Director Accreditation Program (DAP) สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD ) » ปี 2551 - หลักสูตร Chartered Director Class (CDC) » ปี 2548 - หลักสูตร Audit Committee Program (ACP) 5. คุณสุนันทา ตุลยธัญ - หลักสูตร The Role of Chairman Program (RCP ) สระ » ปี 2546 - หลักสูตร Director Certification Program (DCP) กรรมการอิ กรรมการตรวจสอบ - หลักสูตร Director Accreditation Program (DAP )

อายุ สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัท

4. นายจักกชัย พานิชพัฒน กรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบ ประธานคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน อายุ สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัท

71 ปี 0%

คุณวุฒิทางการศึกษา ปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโท สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยเทกซัส, ออสติน, สหรัฐอเมริกา ปริญญาบัตร วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) ประสบการณ์ รองเลขาธิ ก ารคณะกรรมการส่ ง เสริ ม การลงทุ น สำนั ก งาน คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ตำแหน่งอื่นในปัจจุบัน กรรมการอิสระกรรมการทีป่ รึกษา บริษทั สหยูเนีย่ น จำกัด (มหาชน) กรรมการและกรรมการบริ ห าร บริ ษั ท อมตะ คอร์ ป อเรชั่ น จำกัด (มหาชน) กรรมการอิสระ, ประธานกรรมการตรวจสอบ, กรรมการสรรหา และกำหนดค่าตอบแทน บริษัท เทพธานีกรีฑา จำกัด (มหาชน) กรรมการอิสระ, กรรมการตรวจสอบ, ประธานกรรมการสรรหา และกำหนดค่าตอบแทน บริษทั กันยงอีเลคทริก จำกัด (มหาชน) ที่ปรึกษา บริษัท ฐิติกร จำกัด (มหาชน) ประธานกรรมการ บริษัท แมกเนคอมพ์ พรีซิชั่น เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) ประธานกรรมการ บริษัท พรีซิพาร์ท จำกัด ประธานกรรมการ บริษัท อมตะวอเตอร์ จำกัด ประธานกรรมการ บริษัท อมตะเวียตนาม จำกัด

» » » » » » » » » » » » »

กรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน 63 ปี 0%

คุณวุฒิทางการศึกษา ปริญญาตรี สาขาศิลปศาสตร์ คอลเลจออฟนิวโรเชล, นิวยอร์ค, สหรัฐอเมริกา ประสบการณ์ ประธาน กลุ่มบริษัท โอกิลวี่ แอนด์ เมเธอร์ ประเทศไทยและ เวียดนาม กรรมการบริหาร โอกิลวี่ แอนด์ เมเธอร์ ภาคพื้นเอเซีย แปซิฟิค กรรมการบอร์ด โอกิลวี่ แอนด์ เมเธอร์ เวิลด์วายด์ ตำแหน่งอื่นในปัจจุบัน ประธาน กลุ่มบริษัท WPP GROUP ประเทศไทย และเวียดนาม การผ่านการอบรมหลักสูตรที่จัดโดย สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD ) ปี 2548 - หลักสูตร Audit Committee Program (ACP ) - หลักสูตร Finance for Non - Finance Director (FND) ปี 2547 - หลักสูตร Director Accreditation Program (DAP )

» » » » » » »


» ผูช้ ว่ ยผูจ้ ดั การใหญ่ บริษทั ห้างเซ็นทรัลดีพาร์ทเมนท์สโตร์ จำกัด » รองประธานกรรมการบริหารและประธานอำนวยการฝ่าย

6. นายครรชิต บุนะจินดา กรรมการ กรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน อายุ สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัท

42 ปี 0%

คุณวุฒิทางการศึกษา ปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมศาสตร์ (โยธา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโท สาขาการเงินและธุรกิจระหว่างประเทศ สถาบันบัณฑิต บริหารธุรกิจ ศศินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Kellogg Graduate School Management, Northwestern University ภายใต้โครงการแลกเปลีย่ น สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประสบการณ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวานิชธนกิจ หัวหน้าคณะทำงานด้าน การควบรวมกิจการ บริษทั หลักทรัพย์ เมอร์รลิ ลินช์ ภัทร จำกัด (หรือในปัจจุบันคือ บริษัทหลักทรัพย์ ภัทรจำกัด) ตำแหน่งอื่นในปัจจุบัน รองกรรมการผูจ้ ดั การ บริษทั ไพรเวท อิควิตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (บริษัทในเครือ ลอมบาร์ด อินเวสเมนท์ กรุ๊ป) กรรมการ บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) กรรมการ บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน) กรรมการตรวจสอบ บริษัท ทรู วิชั่น จำกัด (มหาชน) กรรมการร่วม Asian Corporate Governance Association Limited , ฮ่องกง การผ่านการอบรมหลักสูตรที่จัดโดย สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD ) ปี 2549 - หลักสูตร Audit Committee Program (ACP ) ปี 2548 - หลักสูตร Director Accreditation Program (DAP) ปี 2546 - หลักสูตร Director Certification Program (DCP )

» » » » » » » » » » » »

7. นายสุทธิชัย จิราธิวัฒน กรรมการ อายุ สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัท

69 ปี 1.93%

คุณวุฒิทางการศึกษา ปริ ญ ญาบั ต ร สาขาวิ ศ วกรรมโยธา Kingston College of Technology , ลอนดอน, อังกฤษ ปริญญาดุษฎีบณ ั ฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัย ราชภัฏเชียงราย ประสบการณ์ ผู้ช่วยผู้จัดการสาขา ห้างเซ็นทรัล สาขาสีลม ผู้จัดการสาขา ห้างเซ็นทรัล สาขาสีลม

» » » »

การเงินและบัญชี บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด ตำแหน่งอื่นในปัจจุบัน ประธานกรรมการบริหาร บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด กรรมการบริหาร บริษทั โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน) การผ่านการอบรมหลักสูตรที่จัดโดย สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD ) ปี 2549 - หลักสูตร Director Accreditation Program (DAP) ปี 2543 - หลักสูตร The Role of Chairman Program (RCP )

» » » »

8. นายสุทธิเกียรติ จิราธิวัฒน กรรมการ อายุ สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัท

67 ปี 1.92%

คุณวุฒิทางการศึกษา ปริ ญ ญาบั ต ร สาขาวิ ศ วกรรมเครื่ อ งกล South West Essex Technical College , ประเทศอังกฤษ ปริญญาบัตร วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปรอ.) หลักสูตร ภาครัฐร่วมเอกชน รุ่นที่ 1 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หลักสูตรการจัดการสมัยใหม่ รุ่นที่ 1 (วปรอ.กจ1) ปริญญาตรี สาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปริญญาโท สาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการสื่อสาร มวลชน คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ประสบการณ์ ผู้ช่วยผู้จัดการ บริษัท เซ็นทรัลเทรดดิ้ง จำกัด ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัลดีพาร์ทเมนท์สโตร์ จำกัด เป็นหนึง่ ในผูร้ เิ ริม่ โครงการ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว เป็นผู้นำเข้า และเป็นผู้ริเริ่มเป็นคนแรกที่นำบาร์โค้ดมาใช้ใน ประเทศไทย เป็นผู้ก่อตั้งและนายกสมาคมผู้ค้าปลีกห้างสรรพสินค้า เป็นผูร้ เิ ริม่ ระบบเฟรนไชส์ในด้านอาหารเป็นคนแรกในประเทศไทย เช่น Mister Donut , Baskin Robbins , KFC กรรมการสมาคม สมาคมอัสสัมชัญ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ตำแหน่งอื่นในปัจจุบัน กรรมการ สมาคมการค้าไทย อุตสาหกรรมเพื่อการท่องเที่ยว สมาชิกสมาคมนักเรียนเก่าอังกฤษ กรรมการที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ สมาคมนิตยสารแห่งประเทศไทย กรรมการและประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท โรงแรม เซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน) กรรมการและประธานคณะกรรมการบริ ห าร บริ ษั ท โพสต์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)

» » » » » » » » » » » » » » » » » » »


156 .157

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป

2551

» กรรมการและรองประธานกรรมการบริหาร บริษทั กลุม่ เซ็นทรัล จำกัด การผ่านการอบรมหลักสูตรที่จัดโดย สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD ) ปี 2551 - หลักสูตร Director Accreditation Program (DAP)

»

9. นายสุทธิศักดิ์ จิราธิวัฒน กรรมการ ที่ปรึกษาคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน อายุ สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัท

64 ปี 0.65%

คุณวุฒิทางการศึกษา ปริ ญ ญาตรี สาขาคณิ ต ศาสตร์ St . John Fisher College , สหรัฐอเมริกา ประสบการณ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เซ็นทรัลมาเก็ตติ้งกรุ๊ป จำกัด กรรมการผู้จัดการ บริษัท เซ็นทรัลกาเมนท์แฟคทอรี่ จำกัด กรรมการผู้จัดการ บริษัท ปริญญ์อินเตอร์เทรด จำกัด ตำแหน่งอื่นในปัจจุบัน กรรมการบริหาร บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด กรรมการและกรรมการบริหาร บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน) ประธานกรรมการ บริษทั ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน) กรรมการ บริษัท เซ็นทรัลกาเมนท์แฟคทอรี่ จำกัด กรรมการ บริษัท เซ็นทรัลรีเทลลอจิสติกส์ จำกัด กรรมการ บริษัท ห้างสรรพสินค้าเชียงใหม่ จำกัด กรรมการ บริษัท เซ็นทรัลเทรดดิ้ง จำกัด การผ่านการอบรมหลักสูตรที่จัดโดย สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD ) ปี 2550 - หลักสูตร Director Accreditation Program (DAP )

» » » » » » » » » » » »

10. นายสุทธิชาติ จิราธิวัฒน กรรมการ ที่ปรึกษาคณะกรรมการสรรหาและ กำหนดค่าตอบแทน อายุ สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัท

69 ปี 1.07%

คุณวุฒิทางการศึกษา ปริญญาตรี สาขาบัญชี (เกียรตินิยมดีเด่น ) St. Joseph’s College, สหรัฐอเมริกา ปริญญาบัตร วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปรอ.) หลักสูตร ภาครัฐร่วมเอกชน รุ่นที่ 4111

» »

ประสบการณ์ ประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัลรีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด ประธาน สมาคมผู้ค้าปลีกไทย ประธานคณะกรรมการ ธุรกิจการค้าปลีก หอการค้าไทย ที่ปรึกษา สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กรรมการและเหรัญญิก มูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อม ตำแหน่งอื่นในปัจจุบัน ประธานกรรมการ บริษัท บิ๊กซีซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) กรรมการและเหรัญญิก สมาคมกีฬาบิลเลียดแห่งประเทศไทย กรรมการ บริษัท เดอะวินเทจ คลับ จำกัด กรรมการและกรรมการบริหาร บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน) กรรมการบริหาร บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด กรรมการ มูลนิธิเตียง จิราธิวัฒน์ การผ่านการอบรมหลักสูตรที่จัดโดย สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD ) ปี 2547 - หลักสูตร Director Accreditation Program (DAP ) ปี 2546 - หลักสูตร Finance for Non-Finance Director (FND) - หลักสูตร Board and CEO Assessment ปี 2543 - หลักสูตร The Role of Chairman Program (RCP )

» » » » » » » » » » » » » »

11. นายสุทธิธรรม จิราธิวัฒน กรรมการ ที่ปรึกษาคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน อายุ สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัท

62 ปี 1.18%

คุณวุฒิทางการศึกษา ปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมศาสตร์ ไฟฟ้า University of Maryland (College Park ), สหรัฐอเมริกา ปริ ญ ญาโท สาขาบริ ห ารธุ ร กิ จ ( Operations Research ), Iona University, New York, สหรัฐอเมริกา ประสบการณ์ กรรมการ สภาหอการค้าไทย นายกสโมสรโรตารี่ บางเขน ประธานกรรมการ บริษทั คอฟฟีพ่ าร์ทเนอร์ส จำกัด (Starbucks) นายกและผู้ก่อตั้งสมาคมศูนย์การค้าไทย รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ / ประธานฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายการตลาด ฝ่ายวางแผนธุรกิจ / ผู้อำนวยการฝ่ายขาย และฝ่ายการตลาด บริษัท ห้างเซ็นทรัลดีพาร์ทเมนท์สโตร์ จำกัด (2523 - 2535) กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) (2533 - 2545) ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

» » » » » » » » »


ตำแหน่งอื่นในปัจจุบัน กรรมการบริหาร บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด กรรมการ บริษัท เซ็นทรัลโฮลดิ้ง จำกัด กรรมการ บริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) กรรมการ บริษัท เดอะวินเทจคลับ จำกัด กรรมการ บริษัท โรงแรมเซ็นทรัล พลาซา จำกัด (มหาชน) กรรมการบริหารและรองประธานกรรมการ บริษทั ห้างสรรพสินค้า โรบินสัน จำกัด (มหาชน) สมาชิก / กรรมาธิการพาณิชย์ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ การผ่านการอบรมหลักสูตรที่จัดโดย สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD ) ปี 2546 - หลักสูตร Director Certification Program (DCP )

» » » » » » » »

12. นายกอบชัย จิราธิวัฒน กรรมการ ที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง อายุ สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัท

54 ปี 1.22%

คุณวุฒิทางการศึกษา ปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริ ญ ญาโท สาขารั ฐ ศาสตร์ University of Norte Dame , Indiana , สหรัฐอเมริกา ปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ สถาบันบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยชิคาโก สหรัฐอเมริกา ประสบการณ์ รองกรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ บริษทั เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ผู้อำนวยการฝ่ายอาคารและทรัพย์สิน บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) รองกรรมผู้จัดการ บริษัท เซ็นทรัลเทรดดิ้ง จำกัด ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท เซ็นทรัลเทรดดิ้ง จำกัด ผู้ช่วยผู้จัดการสาขา บริษัท เซ็นทรัลเทรดดิ้ง จำกัด ตำแหน่งอื่นในปัจจุบัน กรรมการ บริษัท ห้องอาหารซากุระ จำกัด กรรมการ บริษัท เซ็นทรัลแอ๊ดวานซ์ซิสเต็ม จำกัด กรรมการ บริษัท เจเนซิส คอร์ปอร์เรชั่น จำกัด กรรมการ บริษัท เซ็นทรัลโฮลดิ้ง จำกัด กรรมการ บริษัท เซ็นทรัลแคปิตอล จำกัด กรรมการ บริษัท ซีพีเอ็น โกบอล จำกัด การผ่านการอบรมหลักสูตรที่จัดโดย สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD ) ปี 2544 - หลักสูตร Director Certification Program (DCP )

» » » » » » » » » » » » » » » »

13. นายปริญญ จิราธิวัฒน กรรมการ ที่ปรึกษาคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน ที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง อายุ สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัท

47 ปี 1.38%

คุณวุฒิทางการศึกษา ปริญญาตรี สาขาบัญชี Skidmore College , สหรัฐอเมริกา ปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประสบการณ์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายวาณิชธนกิจ บริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ ธนชาต จำกัด (มหาชน) (2531 - 2532) กรรมการบริหาร บริษทั อินเตอร์ไลฟ์ จอห์นแฮนคอค ประกันชีวติ จำกัด (มหาชน) (2541 - 2547) กรรมการ บริษทั อินทรประกันภัย จำกัด (มหาชน) (2542 - 2549) กรรมการ บริษทั ธนมิตร แฟคตอริง่ จำกัด (มหาชน) (2545 - 2549 ) กรรมการ บริษทั เจเนอรัล คาร์ด เซอร์วสิ เซส จำกัด (2538 - 2550) ตำแหน่งอื่นในปัจจุบัน กรรมการและกรรมการบริหาร บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน) กรรมการและกรรมการบริ ห าร บริ ษั ท เซ็ น ทรั ล รี เ ทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด กรรมการ บริษัท มาลีสามพราน จำกัด (มหาชน) กรรมการบริหาร บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน) ที่ปรึกษา ตลาดหลักทรัพย์ใหม่ (MAI ) คณะกรรมการส่ ง เสริ ม กิ จ การมหาวิ ท ยาลั ย มหาวิ ท ยาลั ย ราชภัฎเชียงราย กรรมการ บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน) กรรมการ บริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด การผ่านการอบรมหลักสูตรที่จัดโดย สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD ) ปี 2549 - หลักสูตร Chief Financial Officer (CFO ) ปี 2548 - หลักสูตร Director Accreditation Program (DAP) - หลักสูตร Audit Committee Program (ACP ) - หลักสูตร The Role of Chairman Program (RCP ) ปี 2543 - หลักสูตร Director Certification Program (DCP )

» » » » » » » » » » » » » » » » » » »


158 .159

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป

2551

14. นายสุทธิเดช จิราธิวัฒน

16. นายสุทธิภัค จิราธิวัฒน

รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานพัฒนาธุรกิจ และบริหารโครงการก่อสร้าง

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักกรรมการผู้จัดการใหญ่

อายุ สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัท

59 ปี 0.92%

คุณวุฒิทางการศึกษา ปริญญาตรี Prince George College , สหรัฐอเมริกา ประสบการณ์ ผูอ้ ำนวยการฝ่ายขายและการตลาด บริษทั เซ็นทรัล เทรดดิง้ จำกัด ผู้อำนวยการ บริษัท ฟู้ดพาร์ค จำกัด ผูอ้ ำนวยการฝ่ายขาย บริษทั บางนาเซ็นทรัลพร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ผู้อำนวยการฝ่ายขาย บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ผู้ ช่ ว ยกรรมการผู้ จั ด การใหญ่ สายงานพั ฒ นาโครงการและ บริหารงานก่อสร้าง บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) กรรมการ บริษทั เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) (2545 - 2547)

» » » » » » »

15. นายนริศ เชยกลิ่น รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการเงิน บัญชี และบริหารทรัพย์สิน ประธานคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง อายุ สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัท

48 ปี 0.005%

คุณวุฒิทางการศึกษา ปริญญาตรี สาขาบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปริญญาโท สาขาบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประสบการณ์ หั ว หน้ า แผนกผู้ต รวจสอบด้า นเทคโนโลยีคอมพิ วเตอร์ บริษัท สำนักงาน เอสจีวี ณ ถลาง จำกัด ผูอ้ ำนวยการฝ่ายบัญชีและการเงิน บริษทั ธนายง จำกัด (มหาชน) กรรมการและผู้อำนวยการฝ่ายการเงินและบริหาร กลุ่มบริษัท ไทยวา จำกัด (มหาชน) ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายการบัญชี ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) (2539-2541) กรรมการและกรรมการบริ หาร บริ ษัท สยามซิตี้ อินชัวรันส์ จำกัด (2539 - 2541)

» » » » » » »

อายุ สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัท

48 ปี 0.59%

คุณวุฒิทางการศึกษา Mini MBA สาขาอสังหาริมทรัพย์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Mini MBA คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย Real Estate Investment, สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Executive MBA , สถาบั น บั ณ ฑิ ต บริ ห ารธุ ร กิ จ ศศิ น ทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประสบการณ์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท เซ็นทรัลการ์เมนท์แฟคทอรี่ จำกัด ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัลการ์เมนท์แฟคทอรี่ จำกัด ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยอินเตอร์เนชั่นแนล ฟาสต์ฟู้ด จำกัด ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายขายและการตลาด บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ผูอ้ ำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษทั เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด(มหาชน) ผูช้ ว่ ยกรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ฝา่ ยการตลาด บริษทั เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ผูช้ ว่ ยกรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ฝา่ ยพัฒนาธุรกิจ บริษทั เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ฝ่ายขาย บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน)

» » » » » » » » » » » »

17. นายธีระชาติ นุมานิต ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายบริหารโครงการก่อสร้าง กรรมการคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง อายุ สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัท

52 ปี 0%

คุณวุฒิทางการศึกษา ปริญญาตรี สาขาวิทยาศาสตร์ Polytechnic University, Brooklyn, นิวยอร์ค, สหรัฐอเมริกา ประสบการณ์ หัวหน้าฝ่ายประมาณการ จอห์น ฮอลแลนด์ (ประเทศไทย) ผู้จัดการโครงการ การทางแห่งนครนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา วิศวกรโครงการ พาร์สนั บรินเคอร์ฮอฟ, นิวยอร์ค, สหรัฐอเมริกา ผู้จัดการโครงการพิเศษ ฟิลลิป ฮอสแมน (ประเทศไทย)

» » » » »


» ผู้อำนวยการโครงการพิเศษ เคเทค คอนสตรัคชั่น แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (2540-2544) » ผูอ้ ำนวยการโครงการ อิโตชู (ประเทศไทย) จำกัด (2544 - 2546) 18. ดร.ณัฐกิตติ์ ตั้งพูลสินธนา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายการตลาด อายุ สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัท

44 ปี 0%

คุณวุฒิทางการศึกษา ปริญญาตรี สาขานิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ, สาขานิเทศศาสตร์ การสื่อสาร การตลาด มหาวิทยาลัยนอร์ธ เท็กซัส, สหรัฐอเมริกา ปริ ญ ญาเอก สาขานิ เ ทศศาสตร์ วิ ท ยานิ พ นธ์ (การสร้ า ง มาตรฐานโทรทัศน์ไทย) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประสบการณ์ ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายการตลาด บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคทรอนิกส์ จำกัด (2547 - 2549) ตำแหน่งอื่นในปัจจุบัน อาจารย์ พิ เ ศษ ภาควิ ช าสื่ อ สารมวลชน คณะนิ เ ทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ ป รึ ก ษารั ฐ มนตรี ก ระทรวงวิ ท ยาศาสตร์ แ ละเทคโนโลยี กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

» » » » » »

19. นางสาววัลยา จิราธิวัฒน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ และบริหารโครงการก่อสร้าง กรรมการคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง อายุ สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัท

47 ปี 0.40%

คุณวุฒิทางการศึกษา ปริญญาตรี สาขาบริหารธุรกิจ University of California, Los Angeles (UCLA ), สหรัฐอเมริกา ปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ University of Hartford, สหรัฐอเมริกา Advanced Management Program Executive Course, Harvard Business School, สหรัฐอเมริกา ประสบการณ์ ผู้อำนวยการ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล (2528 - 2531) กรรมการผู้จัดการ เซ็นทรัล ซุปเปอร์มาร์เกต (2531 - 2539) กรรมการผูจ้ ดั การใหญ่รว่ ม ท๊อป ซุปเปอร์มาร์เกต (2539 - 2541) ผู้ ช่ ว ยกรรมการผู้ จั ด การใหญ่ บริ ษั ท เซ็ น ทรั ล รี เ ทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (2541 - 2547)

» » » » » » »

20. นางปณิดา สุขศรีดากุล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายพัฒนาและบริหารทรัพย์สิน กรรมการคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง อายุ สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัท

54 ปี 0%

คุณวุฒิทางการศึกษา ปริญญาตรี สาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปริญญาโท สาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ประสบการณ์ ผู้จัดการศูนย์การค้า บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) (2538 - 2548)

» » »


160 .161

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป

2551

ส รุ ป ข อ มู ล ทั่ ว ไ ป ข อ ง นิ ติ บุ ค ค ล ที่ บ ริ ษั ท ถื อ ร อ ย ล ะ 10 ขึ้ น ไ ป บริษัท

1. บริษัท เซ็นทรัลเรียลตี้ เซอร์วิส จำกัด 999/9 ถ.พระราม 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กทม.10330 โทร + 66 (0) 2667 - 5555

2. บริษัท เซ็นทรัลฟู้ดอเวนิว จำกัด

ประเภทธุรกิจ

ทุนจดทะเบียน สัดส่วนการถือหุ้น

ให้บริการสาธารณูปโภคภายใน ศูนย์การค้า

1,000,000

99.99 %

ศูนย์อาหารภายในศูนย์การค้า

1,000,000

99.99 %

อาคารที่พักอาศัย และพื้นที่ร้านค้าให้เช่า 1,000,000,000

99.99 %

1697 ถ.พหลโยธิน แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กทม.10900 โทร + 66 (0) 2793 - 6000

3. บริษัท หลังสวนเรียลตี้ จำกัด 95/3 ซอยหลังสวน แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กทม.10330 โทร + 66 (0) 2652 - 2277

4. บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา พระราม 2 จำกัด

1,500,000,000

99.99 %

5. บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา เชียงใหม่ จำกัด

1,000,000,000

99.99 %

ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา รัตนาธิเบศร์

800,000,000

99.99 %

ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา รัชดา - พระราม 3

126,667,000

99.99 %

ศูนย์การค้า

260,000,000

78.13 %

ศูนย์การค้า

350,000,000

99.99 %

ศูนย์การค้า

3,200,000,000

94.97 %

175,000,000

99.99 %

ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา พระราม 2 128 หมู่ 6 ถ.พระรามที่ 2 แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กทม.10150 โทร + 66 (0) 2866 - 4300 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา เชียงใหม่ 2 ถ.มหิดล 252-252/1 ถ.วัวลาย ต.หายยา อ.เมือง แอร์พอร์ต เชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ 50100 โทร + 66 (0) 5399 - 9199

6. บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา รัตนาธิเบศร์ จำกัด 68/100, 68/919 หมู่ 8 ถ.รัตนาธิเบศร์ ต.บางกระสอ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 โทร + 66 (0) 2834 - 6000

7. บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา พระราม 3 จำกัด 79 ถ.สาธุประดิษฐ์ แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กทม. 10120 โทร + 66 (0) 2649 - 6000

8. บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา ขอนแก่น จำกัด 999/9 ถ.พระราม 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กทม. 10330 โทร + 66 (0) 2667 - 5555

9. บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา ชลบุรี จำกัด 999/9 ถ.พระราม 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กทม. 10330 โทร + 66 (0) 2667 - 5555

10. บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา ไนน์ สแควร์ จำกัด 999/9 ถ.พระราม 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กทม. 10330 โทร + 66 (0) 2667 - 5555

11. บริษัท เซ็นทรัลเรียลตี้ เซอร์วิส พระราม3 จำกัด

ให้บริการสาธารณูปโภคภายใน 79 ถ.สาธุประดิษฐ์ แขวงช่องนนทรี ศูนย์การค้า เขตยานนาวา กทม. 10120 โทร + 66 (0) 2649 - 6000

12. บริษัท บางนา เซ็นทรัล พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด 1091,1093 หมู่ 12 ถ.บางนา - ตราด (กม.3) บางนา กทม.10260 โทร + 66 (0) 2763 - 6000

ศูนย์การค้า/อาคารสำนักงาน/ ที่พักอาศัย/สวนน้ำ โครงการเซ็นทรัลพลาซา บางนา

(ถือผ่าน บจ.เซ็นทรัลพัฒนา พระราม 3 )

600,000,000

99.99 %

(ถือผ่านบจ.หลังสวนเรียลตี้)


บริษัท

13. บริษัท ซีพีเอ็น พัทยา บีช จำกัด

ประเภทธุรกิจ

ทุนจดทะเบียน สัดส่วนการถือหุ้น

ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเฟสติวัล พัทยา บีช

1,500,000,000

99.99 %

333/99 หมู่ 9 ต.หนองปรือ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี 20260 โทร.+ 66 (0) 3764 - 1601 ถึง 10

14. บริษัท เซ็นทรัลเวิลด์ จำกัด 1

ให้บริการสาธารณูปโภคภายในศูนย์การค้า 2,511,938,100 92.50 % 4, 4/1 - 4/2, 4/4 ถ.ราชดำริห์ แขวงปทุมวัน เซ็นทรัล เวิลด์, ให้เช่าพื้นที่อาคารสำนักงาน (ถือผ่านบจ.บางนา เขตปทุมวัน กทม. 10330 โทร + 66 (0) 2640 - 7000 ดิออฟฟิศเศส แอท เซ็นทรัลเวิลด์ เซ็นทรัล พร็อพเพอร์ตี้ 10.00%)

15. บริษัท เซ็นทรัล เพลย์ แลนด์ จำกัด 1094 หมู่ 12 ถ.บางนา - ตราด (กม.3) บางนา กทม. 10260 โทร + 66 (0) 2763 - 6000

16.บริษัท สยาม รีเทล ดีเวลล็อปเม้นท์ จำกัด

ให้เช่าพื้นที่ค้าปลีกภายในศูนย์การค้า เซ็นทรัลพลาซา บางนา

518,000,000

ศูนย์การค้าแฟชั่น ไอส์แลนด์

500,000,000

(ถือผ่านบจ.บางนา เซ็นทรัล พร็อพเพอร์ตี้)

5/5 - 6 หมู่ 7 ถ.รามอินทรา เขตคันนายาว กรุงเทพฯ โทร + 66 (0) 2947 - 5000

17. บริษัท สแควร์ ริทซ์ พลาซ่า จำกัด

พัฒนาอสังหาริมทรัพย์

125,000,000

12.00 %

(ถือผ่านบจ.หลังสวนเรียลตี้)

พัฒนาอสังหาริมทรัพย์

400,000,000

47 หมู่ 2 ถ.บางนา - ตราด ต.บางโฉลง อ.บางพลี สมุทรปราการ 10540 โทร + 66 (0) 2399 - 4510

19. กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ CPN รีเทล โกรท บริหารงานโดย บมจ.หลักทรัพย์ จัดการกองทุนทหารไทย

15.00 %

(ถือผ่าน บจ.หลังสวนเรียลตี้ 12% และ บจ. สแควร์ ริทซ์ พลาซ่า 3%)

5/5 หมู่ 7 ถ.รามอินทรา เขตคันนายาว กรุงเทพฯ โทร + 66 (0) 2947 - 5000

18. บริษัท อยุธยาเกษตรธานี จำกัด

99.99 %

11.85 %

(ถือผ่านบจ.หลังสวนเรียลตี้)

ลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โครงการเซ็นทรัลพลาซา พระราม 2 และเซ็นทรัลพลาซา รัชดา - พระราม 3

10,915,000,000

33.33 %

990 อาคารอับดุลราฮิม เพลส ชั้น 32 ถ.พระราม 4 แขวงสีลม เขตบางรัก กทม. 10500 โทร. + 66 (0) 2636 - 1800

20. กองทุนรวมธุรกิจไทย 2 บริหารงานโดย บมจ.หลักทรัพย์ จัดการกองทุนกรุงไทย

154,340,000 2

100.00 %

4,600,000,000 2

92.50 %

ลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โครงการเซ็นทรัลพลาซา ปิ่นเกล้า

11 อาคารคิวเฮ้าส์สาทร ชั้น M,G ถ.สาทรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กทม. 10120 โทร. + 66 (0) 2670 - 4900

21. กองทุนรวมธุรกิจไทย 4 บริหารงานโดย บมจ.หลักทรัพย์ จัดการกองทุนกรุงไทย

ลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โครงการเซ็นทรัลเวิลด์

11 อาคารคิวเฮ้าส์สาทร ชั้น M,G ถ.สาทรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กทม. 10120 โทร. + 66 (0) 2670-4900

22. กองทุนรวมธุรกิจไทย 5 บริหารงานโดย บมจ.หลักทรัพย์ จัดการกองทุนกรุงไทย

(ถือผ่านบจ.บางนา เซ็นทรัล พร็อพเพอร์ตี้)

ลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โครงการเซ็นทรัลพลาซา บางนา

236,760,000 2

100.00 %

1,000,000

99.93 %

1,000,000

99.93 %

11 อาคารคิวเฮ้าส์สาทร ชั้น M,G ถ.สาทรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กทม. 10120 โทร. + 66 (0) 2670 - 4900

23. บริษัท ซีพีเอ็น คอนสตรัคชั่น แมเนจเม้นท์ จำกัด บริหารและจัดการเกี่ยวกับงานก่อสร้างอาคาร 999/9 ถ.พระราม 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กทม. 10330 โทร + 66 (0) 2667 - 5555

24. บริษัท โรงแรม ซีพีเอ็น พัทยา บีช จำกัด

สิ่งปลูกสร้าง และงานระบบสาธารณูปโภคต่างๆ โรงแรม

999/9 ชั้น 30 ถ.พระราม 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กทม. 10330 โทร + 66 (0) 2667 - 5555 หมายเหตุ : 1 บริษัท เซ็นทรัล เวิลด์ ทาวเวอร์ จำกัด ได้ควบรวมกิจการกับบริษัท เซ็นทรัลเวิลด์ จำกัด เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2550 2 แสดงเฉพาะทุนที่ได้รับจากผู้ถือหน่วยประเภทเจ้าของ


162 .163

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป

2551

Ļ Ļ Ļ Ļ Ļ Ļ Ļ Ļ Ļ Ļ Ļ Ļ Ļ -

-

-

Ļ Ļ Ļ Ļ Ļ Ļ - Ļ Ļ - Ļ Ļ

-

-

-

-

-

-

Ļ Ļ Ļ Ļ

Ļ Ļ Ļ Ļ

Ļ Ļ Ļ Ļ

Ļ Ļ Ļ Ļ

Ļ Ļ Ļ Ļ

Ļ Ļ -

-

-

-

-

-

-

-

-

-

Ļ Ļ Ļ Ļ Ļ Ļ Ļ Ļ Ļ - - - Ļ -

Ļ Ļ Ļ Ļ Ļ Ļ - Ļ - Ļ Ļ - - Ļ Ļ

-

-

-

Ļ -

-

-

-

Ļ Ļ Ļ Ļ

-

Ļ Ļ Ļ -

-

Ļ Ļ Ļ

-

-

-

-

-

-

Ļ

Ļ Ļ Ļ Ļ Ļ Ļ Ļ

-

-

Ļ Ļ Ļ Ļ Ļ - - Ļ Ļ Ļ Ļ Ļ Ļ - - - - - - - - Ļ Ļ - - - - - - - - - Ļ - - - - - - - Ļ - - - - - - - Ļ - - - - - - - Ļ - - - - - - - Ļ - - - - - -

Ļ

-

Ļ

-

บจ. ซีพีเอ็น คอนสตรัคชั่น แมเนจเม้นท์

-

-

Ļ Ļ Ļ Ļ

บจ. โรงแรมซีพีเอ็น พัทยา บีช

-

-

บจ. เซ็นทรัล เวิลด์

-

Ļ Ļ Ļ Ļ

-

บจ. เซ็นทรัลเรียลตี้ เซอร์วิส พระราม 3

Ļ - Ļ - - Ļ Ļ Ļ Ļ Ļ Ļ Ļ Ļ Ļ Ļ Ļ Ļ Ļ

-

-

บจ. บางนา เซ็นทรัล พร็อพเพอร์ตี้

Ļ Ļ - Ļ Ļ Ļ Ļ Ļ Ļ Ļ Ļ Ļ

Ļ Ļ Ļ Ļ Ļ Ļ Ļ Ļ Ļ

-

บจ. เซ็นทรัลพัฒนา ไนน์ สแควร์

บจ. เซ็นทรัลพัฒนา ชลบุรี

บจ. เซ็นทรัลพัฒนา ขอนแก่น

บจ. เซ็นทรัลพัฒนา พระราม 3

บจ. เซ็นทรัลพัฒนา รัตนาธิเบศร์

บจ. เซ็นทรัลพัฒนา เชียงใหม่

บจ. เซ็นทรัลพัฒนา พระราม 2

บจ. หลังสวนเรียลตี้

บจ. เซ็นทรัลฟู้ดอเวนิว

บจ. ซีพีเอ็น พัทยา บีช

นายวันชัย จิราธิวัฒน์ นายสุทธิชัย จิราธิวัฒน์ นายสุทธิธรรม จิราธิวัฒน์ นายปริญญ์ จิราธิวัฒน์ นายกอบชัย จิราธิวัฒน์ นายเอนก สิทธิประศาสน์ นายสุทธิเกียรติ จิราธิวัฒน์ นายสุทธิชาติ จิราธิวัฒน์ นายสุทธิศักดิ์ จิราธิวัฒน์ นายไพฑูรย์ ทวีผล นายจักก์ชัย พานิชพัฒน์ นางสุนันทา ตุลยธัญ นายครรชิต บุนะจินดา นายสุทธิเดช จิราธิวัฒน์ นายสุทธิพันธ์ จิราธิวัฒน์ นางสาววัลยา จิราธิวัฒน์ นายสุทธิภัค จิราธิวัฒน์ นายสุทธิลักษณ์ จิราธิวัฒน์ นายวิญญู คุวานันท์ นายโยธิน บุญดีเจริญ นายเจตรศิริ บุญดีเจริญ นายเปรมชัย กรรณสูต นายทวีผล คงเสรี นายเจริญ จิรวิศัลย์ นายอุทัย ก้องกิตติวงศ์ นายพีระพล พัฒนพีระเดช นายนพดล พัฒนพีระเดช นายวรพงษ์ พัฒนพีระเดช นายชนวัฒน์ เอื้อวัฒนะสกุล นายสรรคนนท์ จิราธิวัฒน์ นายอิศเรศ จิราธิวัฒน์

บจ. เซ็นทรัลเพลย์แลนด์

1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13. 14. 15. 16. 17. 18. 19. 20. 21. 22. 23. 24. 25. 26. 27. 28. 29. 30. 31.

บจ.เซ็นทรัลเรียลตี้ เซอร์วิส

กรรมการ

บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา

ร า ย ล ะ เ อี ย ด เ กี่ ย ว กั บ ก ร ร ม ก า ร ข อ ง บ ริ ษั ท ย อ ย

-

-

-

Ļ -

Ļ Ļ -


บุ ค ค ล อ า ง อิ ง อื่ น นายทะเบียนหุน

บริษัทจัดอันดับเครดิตองคกรและตราสารหนี้

บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด ชั้น 4 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เลขที่ 62 ถนนรัชดาภิเษก แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 ประเทศไทย โทรศัพท์ : + 66 (0) 2229 - 2888 โทรสาร : + 66 (0) 2359 - 1262, + 66 (0) 2359 - 1263

บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ชั้น 24 อาคารสีลมคอมเพล็กซ์ เลขที่ 191 ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 ประเทศไทย โทรศัพท์ : + 66 (0) 2231 - 3011 โทรสาร : + 66 (0) 2231 - 3681

ผูแทนผูถือหุนกู หุ้นกู้ CPN093A และ CPN10DA ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) เลขที่ 393 ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 ประเทศไทย โทรศัพท์ : + 66 (0) 2230 - 6061 โทรสาร : + 66 (0) 2266 - 8150

หุ้นกู้ CPN074A, CPN074B, CPN096A CPN096B, CPN126A และ CPN119A ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) เลขที่ 44 ถนนหลังสวน แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 ประเทศไทย โทรศัพท์ : + 66 (0) 2626 - 7503 โทรสาร : + 66 (0) 2626 - 7542

ผูสอบบัญชี บริษัท เคพีเอ็มจี ภูมิไชย สอบบัญชี จำกัด โดยนายเทิดทอง เทพมังกร (ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขที่ 3787) ชั้น 50-51 เอ็มไพร์ทาวเวอร์ เลขที่ 195 ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 ประเทศไทย โทรศัพท์ : + 66 (0) 2677 - 2000 โทรสาร : + 66 (0) 2677 - 2222


164 .165

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป

2551

โ ค ร ง ก า ร ภ า ย ใ ต ก า ร บ ริ ห า ร ง า น ของ CPN 1. ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว ผู้อำนวยการเขต 3 : นายอธิวุฒิ สุวรรณจินดา ผู้จัดการทั่วไปศูนย์การค้า : นางสาวดวงหทัย ศิริชาติชัย ที่อยู่ : 1693 ถนนพหลโยธิน แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ : + 66 (0) 2793 – 6000 โทรสาร : + 66 (0) 2541 – 1341

4. ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา ปิ่นเกล้า ผู้อำนวยการเขต 2 : นางภัทรา ทรัพยะประภา ผู้จัดการทั่วไปศูนย์การค้า : นายสุรสิทธิ์ มานะวัฒนากิจ ที่อยู่ : 7/222 ถนนบรมราชชนนี แขวงอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700 โทรศัพท์ : + 66 (0) 2877 – 5000 โทรสาร : + 66 (0) 2884 – 9280

2. ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา รามอินทรา ผู้อำนวยการเขต 3 : นายอธิวุฒิ สุวรรณจินดา ผู้จัดการทั่วไปศูนย์การค้า : นางสาววันเพ็ญ กอบัวแก้ว ที่อยู่ : 109/10 หมู่ 3 ถนนรามอินทรา แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพฯ 10220 โทรศัพท์ : + 66 (0) 2790 – 3000 โทรสาร : + 66 (0) 2552 – 5513

5. ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา รัชดา - พระราม 3 ผู้อำนวยการเขต 2 : นางภัทรา ทรัพยะประภา ผู้จัดการทั่วไปศูนย์การค้า : นางสาวทัณฑิกา เพียงพอ ที่อยู่ : 79 ถนนสาธุประดิษฐ์ แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ : + 66 (0) 2649 – 6000 โทรสาร : + 66 (0) 2673 – 6009

3. ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา บางนา ผู้อำนวยการเขต 3 : นายอธิวุฒิ สุวรรณจินดา ผู้จัดการทั่วไปศูนย์การค้า : นายสาธิต วิกรานต์ธนกุล ที่อยู่ : 1091, 1093 หมู่ 12 ถนนบางนา – ตราด (กม.3) แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ : + 66 (0) 2763 – 6000 โทรสาร : + 66 (0) 2398 – 8941

6. ศูนย์การค้าเซ็นทรัล เซ็นเตอร์ พัทยา ผู้อำนวยการเขต 4 : นายธนสมบัติ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้จัดการทั่วไปศูนย์การค้า : นางธีราพร จิตนาวา ที่อยู่ : 78/54 หมู่ 9 ถนนพัทยาสาย 2 ต.หนองปรือ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี 20260 โทรศัพท์ : + 66 (0) 3836 – 1456 โทรสาร : + 66 (0) 3836 – 1443 ต่อ 1225, 1226


7. ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา เชียงใหม่ แอร์พอร์ต ผู้จัดการทั่วไปศูนย์การค้า : นางสาวอรชร จันทร์วิวัฒนา ที่อยู่ : 2 ถนนมหิดล ต.หายยา อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50100 โทรศัพท์ : + 66 (0) 5399 – 9199 โทรสาร : + 66 (0) 5399 – 9122, + 66 (0) 5399 – 9123 8. ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา พระราม 2 ผู้อำนวยการเขต 4 : นายธนสมบัติ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้จัดการทั่วไปศูนย์การค้า : นายโอฬาร วัยอุดมวุฒิ ที่อยู่ : 128 หมู่ 6 ถนนพระราม 2 แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ 10150 โทรศัพท์ : + 66 (0) 2866 – 4300 โทรสาร : + 66 (0) 2872 – 4560 9. ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา รัตนาธิเบศร์ ผู้อำนวยการเขต 2 : นางภัทรา ทรัพยะประภา ผู้จัดการทั่วไปศูนย์การค้า : นางอรณีย์ พูลขวัญ ที่อยู่ : 68/100, 68/919 หมู่ 8 ถนนรัตนาธิเบศร์ ต.บางกระสอ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 โทรศัพท์ : + 66 (0) 2834 – 6000 โทรสาร : + 66 (0) 2526 – 6092

10. ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ผู้อำนวยการศูนย์การค้า : นางนุจรีย์ มารัตนะฤกษ์ ผู้จัดการทั่วไปศูนย์การค้า : นายวิสิทธิ์ อุดมกิจโชติ ที่อยู่ : เลขที่ 4, 4/1–4/2, 4/4 ถนนราชดำริห์ แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทรศัพท์ : + 66 (0) 2640 – 7000 โทรสาร : + 66 (0) 2255 – 9767 11. ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา แจ้งวัฒนะ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายพัฒนาและบริหารทรัพย์สิน : นายวิวัฒน์ เจริญสวัสดิ์พงศ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาและบริหารทรัพย์สิน / ผู้จัดการทั่วไปศูนย์การค้า : นายอมร อมรกุล ที่อยู่ : 99,99/9 หมู่ที่ 2 ถนนแจ้งวัฒนะ ต.บางตลาด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120 โทรศัพท์ : + 66 (0) 2101– 0000 โทรสาร : + 66 (0) 2101 – 1343 12. ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเฟสติวัล พัทยา บีช ผู้อำนวยการเขต 4 : นายธนสมบัติ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้จัดการทั่วไปศูนย์การค้า : นายสรัล ตันติจำนรรจ์ ที่อยู่ : 333/99 หมู่ที่ 9 ต.หนองปรือ อ.บางละมุง จ. ชลบุรี 20260 โทรศัพท์ : + 66 (0) 3300 – 3999 โทรสาร : + 66 (0) 3300 – 3999 ต่อ 1225


166 .167

| CPN ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ป

2551

ข อ มู ล ส ำ ห รั บ นั ก ล ง ทุ น

ทุนจดทะเบียน 2,178,816,000 บาท ทุนที่ออกและชำระแลว 2,178,816,000 บาท ประกอบด้วยหุ้นสามัญ 2,178,816,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้ (ราคาพาร์) หุ้นละ 1 บาท

ขอมูลหลักทรัพย หุ้นสามัญของ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) เข้าจดทะเบียนและทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย โดยใช้ชื่อย่อหลักทรัพย์ “CPN”

การประชุมสามัญผูถือหุน คณะกรรมการบริษัทมีมติให้กำหนดวันประชุมสามัญ ผู้ถือหุ้นประจำปี ครั้งที่ 1/2552 ในวันที่ 30 เมษายน 2552 เวลา 10.00 น. ณ ห้องชิดลม ชั้น 30 อาคารดิออฟฟิศเศส แอท เซ็นทรัลเวิลด์ เลขที่ 999/9 ถนนพระราม 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหาคร 10330 ประเทศไทย

ติดตอนักลงทุนสัมพันธ ผู้ติดต่อ : คุณเชิญพร สุภธีระ หรือ คุณเกวลี ทองสมอางค์ ที่อยู่ : บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ชั้น 31 อาคารดิออฟฟิศเศส แอท เซ็นทรัลเวิลด์ เลขที่ 999/9 ถนนพระราม 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 ประเทศไทย โทรศัพท์ : +66(0) 2667 5555 ต่อ 1614 หรือ 1669 โทรสาร : +66(0) 2264 5593 อีเมลล์ : ir@cpn.co.th เว็บไซต์ : www.cpn.co.th


นโยบายการจายเงินปนผล : CPN มีนโยบายการจ่ายเงินปันผลในอัตราประมาณร้อยละ 40 ของกำไรสุทธิจากการดำเนินงานประจำปี (กรณีไม่มีเหตุผลจำเป็นอื่นใด) ข้ อ มู ล ราคาหลั ก ทรั พ ย์ แ ละการจ่ า ยเงิ น ปั น ผลในช่ ว งเวลา 5 ปี ย้อนหลัง (ปี 2547 – 2551) ราคาสูงสุด 1 10.90 14.50 26.50 37.00 29.75

ปี 2547 2548 2549 2550 2551

หน่วย : บาทต่อหุ้น

ราคาต่ำสุด 1 7.75 7.30 13.80 18.50 7.60

เงินปันผลจ่าย 0.25 0.40 0.31 0.33 0.33

หมายเหตุ : 1 ปรับปรุงราคาหลักทรัพย์ตามราคาพาร์เท่ากับ 1 บาทต่อหุ้น

การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาหลักทรัพย์ CPN เปรียบเทียบกับดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและดัชนีราคาหมวดธุรกิจ พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ การเพิ่มค่าของดัชนี ราคาหลักทรัพย์ ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ ดัชนีราคาหมวดธุรกิจพัฒนา อสังหาริมทรัพย์ ดัชนีราคาหลักทรัพย์ CPN

5 ปี ย้อนหลัง

3 ปี ย้อนหลัง

1 ปี ย้อนหลัง

(42%)

(38%)

(48%)

(71%) 44%

(47%) (3%)

(53%) (43%)

เปรียบเทียบการเคลื่อนไหวของราคาหลักทรัพย์ CPN กับดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และดัชนีราคาหมวดธุรกิจพัฒนา อสังหาริมทรัพย์ 5 ปี ย้อนหลัง (เทียบราคาปี 2547 เป็นฐาน) ดัชนีเปรียบเทียบฐาน 100 400 350

ดัชนีราคาหลักทรัพย์ CPN

300

ดัชนีราคา SET

250

ดัชนีราคาหมวดธุรกิจ PROP

200 150 100 50 0 ม.ค. 2547

ก.ค. 2547

ม.ค. 2548

ที่มา : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ก.ค. 2548

ม.ค. 2549

ก.ค. 2549

ม.ค. 2550

ก.ค. 2550

ม.ค. 2551

ก.ค. 2551

ธ.ค. 2551


Designed by: Pink Blue Black and Orange Co., Ltd. Tel. +66 (0) 2300 - 5124 www.colorparty.com




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.