Labour Journal (14th (Oct.-Nov.) 2015)

Page 1

สื่อประชาสัมพันธ์เพื่อข้าราชการ พนักงาน และประชาชน

บริการกระทรวงแรงงานเพื่อประชาชน ประชาชน ส่วนกลาง........................................................................................................... • ส�ำนักงำนปลัดกระทรวงแรงงำน • กรมกำรจัดหำงำน • กรมพัฒนำฝีมือแรงงำน • กรมสวัสดิกำรและคุ้มครองแรงงำน • ส�ำนักงำนประกันสังคม

0-2232-1262-4,1467 0-2247-9423, 0-2248-4743 0-2245-1707 022454310-4 1546 สำยด่วนแรงงำน 1506

WEBSITE............................................................................................................ • ส�ำนักงำนปลัดกระทรวงแรงงำน • กรมกำรจัดหำงำน • กรมพัฒนำฝีมือแรงงำน • กรมสวัสดิกำรและคุ้มครองแรงงำน • ส�ำนักงำนประกันสังคม

www.mol.go.th www.doe.go.th/ www.dsd.go.th/ www.labour.go.th/ www.sso.go.th/

ศูนย์บริการร่วมกระทรวงแรงงาน..................................................................... ศูนย์บริกำรประชำชนกระทรวงแรงงำน ชั้นล่ำง อำคำรกระทรวงแรงงำน ห้ำงสรรพสินค้ำเทสโก้ โลตัส สำขำปิ่นเกล้ำ ชั้น 3 อ�ำเภอแม่สอด จังหวัดตำก อ�ำเภอเกำะสมุย จังหวัดสุรำษฎร์ธำนี อ�ำเภอศรีมหำโพธิ์ จังหวัดปรำจีนบุรี อ�ำเภอเกำะช้ำง จังหวัดตรำด อ�ำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อ�ำเภอตะกั่วป่ำ จังหวัดพังงำ อ�ำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมรำช อ�ำเภอสำมชุก จังหวัดสุพรรณบุรี อ�ำเภอพัฒนำนิคม จังหวัดลพบุรี อ�ำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคำย อ�ำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น อ�ำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม อ�ำเภอแม่สำย จังหวัดเชียงรำย อ�ำเภอสว่ำงแดนดิน จังหวัดสกลนคร อ�ำเภอเกำะลันตำ จังหวัดกระบี่ อ�ำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว อ�ำเภอธำตุพนม จังหวัดนครพนม อ�ำเภอป่ำซำง จังหวัดล�ำพูน ห้ำงสรรพสินค้ำบิ๊กซี จังหวัดระยอง ห้ำงสรรพสินค้ำบิ๊กซี จังหวัดนครสวรรค์

02-232-1462-4 02-433-1855-7 055-533-134 077-420-938 037-279-479 039-551-205 032-513-784 076-421-625 075-411-644 035-571-470 036-491-532 042-471-575 043-313-323 034-241-254 053-733-770 042-722-743 075-668-143 037-425-024-5 042-540-632 053-525-615-6 038-620-282 053-582-240

ห้ำงสรรพสินค้ำบิ๊กซี จังหวัดอุบลรำชธำนี ห้ำงสรรพสินค้ำบิ๊กซี จังหวัดภูเก็ต ห้ำงสรรพสินค้ำบิ๊กซี จังหวัดปทุมธำนี ห้ำงสรรพสินค้ำบิ๊กซี จังหวัดล�ำปำง ห้ำงเดอะมอลล์ จังหวัดนครรำชสีมำ ห้ำงสรรพสินค้ำบิ๊กซี จังหวัดพิษณุโลก อ�ำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย อ�ำเภอโป้งน�้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี ศูนย์รำชกำรฯ จังหวัดยะลำ ศูนย์รำชกำรฯ จังหวัดปัตตำนี อ�ำเภอบึงสำมพัน จังหวัดเพชรบูรณ์ อ�ำเภอปำย จังหวัดแม่ฮ่องสอน อ�ำเภอบำงปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยำ นิคมอุตส่ำหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี ห้ำงสรรพสินค้ำบิ๊กซี จังหวัดบุรีรัมย์ ห้ำงสรรพสินค้ำบิ๊กซี จังหวัดชัยภูมิ ห้ำงสรรพสินค้ำบิ๊กซี สำขำ 2 จังหวัดอุดรธำนี เทศบำลนครอ้อมน้อย จังหวัดสมุทรสำคร อ�ำเภอปัว จังหวัดน่ำน อ�ำเภอแก้งคอย จังหวัดสระบุรี อ�ำเภอตะพำนหิน จังหวัดพิจิตร อ�ำเภอบ้ำนไร่ จังหวัดอุทัยธำนี อ�ำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหำสำรคำม อ�ำเภอด�ำเนินสะดวก จังหวัดรำชบุรี อ�ำเภอค�ำชะอี จังหวัดมุกดำหำร อ�ำเภอเชียงค�ำ จังหวัดพะเยำ อ�ำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ อ�ำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ อ�ำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปรำกำร อ�ำเภอท่ำตูม จังหวัดสุรินทร์ อ�ำเภอเลิงนกทำ จังหวัดยโสธร อ�ำเภอห้วยผึ่ง จังหวัดกำฬสินธุ์ อ�ำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร อ�ำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง ห้ำงสรรพสินค้ำบิ๊กซี จังหวัดตรัง อ�ำเภอเขำย้อย จังหวัดเพชรบุรี อ�ำเภอบำงใหญ่ จังหวัดนนทบุรี อ�ำเภอเชียงยืน จังหวัดมหำสำรคำม

แรงงาน ว

ปีที่ 14 เดือนตุลาคม - พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 045-355-332 076-612-633 02-529-4332 054-222-886 044-288-033 055-248-075 089-960-1858 (มือถือกลำง) 039-447-312 073-274-043 073-335-159-60 056-731-479 053-699-202 035-262-888 038-278-582 083-737-3833 (มือถือ) 044-812-405 042-931-790 02-431-0400 054-791-713 036-220-059 056-613-761 056-520-713 043-971-316 032-337-730 042-691-333 054-452-157 053-341-1273 054-588-078 02-245-0719 086-243-4716 045-781-227 043-869-446 081-891-7047 082-802-2443 075-581-977 098-251-8995 081-020-5035 086-854-0906

ปีที่ 14 ฉบับเดือนมกรำคม - กุมภำพันธ์ 2558

พัฒนาศักยภาพแรงงานไทย สูม ่ าตรฐานสากลและอาเซียน


เมื่อมีโอกาสและมีงานทำ� ควรเต็มใจทำ�โดยไม่จำ�เป็นต้องตั้งข้อแม้ หรือเงื่อนไขอันใด ไว้ให้เป็นเครื่องกีดขวาง คนที่ทำ�งานได้จริงๆ นั้น ไม่ว่าจะจับงานสิ่งใด ย่อมทำ�ได้เสมอ ถ้ายิ่งมีความเอาใจใส่ มีความขยัน และความซื่อสัตย์สุจริต ก็ยิ่งจะช่วยให้ประสบผลสำ�เร็จในงานที่ทำ�สูงขึ้น พระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพิธีพระราชทาน ปริญญาบัตร แก่ผู้ส�ำเร็จการศึกษาจาก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๒๒


|4 / คณะที่ปรึกษา

สารบัญ CONTENT

หน้า 4 / เรื่องเล่าจากปก หน้า 9 / ค�ำ...ต่อ...ค�ำ หน้า 12 / จับตา MOL หน้า 14 / ตามนายไปชิม หน้า 16 / LIFESTYLE หน้า 18 / MOL AROUND THE WORLD หน้า 20 / MOL IT SOCIETY หน้า 22 / เจาะกิจกรรมเด่น ส่วนกลาง หน้า 24 / เจาะกิจกรรมเด่น ส่วนภูมิภาค หน้า 25 / สมาคมแม่บ้าน แรงงาน หน้า 26 / มุมกฎหมาย แรงงาน

|8

|9

| 14

หม่อมหลวงปุณฑริก สมิติ ปลัดกระทรวงแรงงาน นายสุเมธ มโหสถ นายสุรเดช วลีอิทธิกุล นายสุวิทย์ สุมาลา รองปลัดกระทรวงแรงงาน นายอารักษ์ พรหมณี อธิบดีกรมการจัดหางาน นายกรีฑา สพโชค อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน นางสาวพรรณี ศรียุทธศักดิ์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน นายโกวิท สัจจวิเศษ เลขาธิการส�ำนักงานประกันสังคม

/ บรรณาธิการอ�ำนวยการ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักบริหารกลาง

/ บรรณาธิการบริหาร

| 12

ผู้อ�ำนวยการกลุ่มงานเผยแพร่ประชาสัมพันธ์

| 16 | 18

| 20

| 22

/ กองบรรณาธิการ

กลุ่มงานเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ส�ำนักบริหารกลาง ส�ำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน

/ กระทรวงแรงงาน

ถนนมิตรไมตรี แขวงดินแดง เขตดินแดง กทม. 10400 โทรศัพท์ โทรสาร เว็บไซต์ อีเมล

0-2232-1336 0-2232-1341 0-2643-4468 www.mol.go.th pr.mol2556@gmail.com

| 24 | 26 | 25

Ministry of Labour, Kingdom of Thailand


EDITOR TALK

EDITOR TALK

สวัสดีค่ะ วารสารแรงงาน ได้ก้าวเข้าสู่ปีที่ 14 เปิดตัวฉบับประเดือนตุลาคม - พฤศจิกายน 2558 พร้อมกับการต้อนรับรัฐมนตรีวา่ การกระทรวงแรงงาน คนใหม่ พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล และ ปลัดกระทรวง แรงงานคนใหม่ ปลั ด หญิ ง ท่ า นแรกของกระทรวง แรงงาน หม่อมหลวงปุณฑริก สมิติ ที่มาพร้อมๆ กับ ข่าวดี ๆ ทีเ่ ป็นผลส�ำเร็จของความพยายาม ความมุง่ มัน่ ในการแก้ ไขปั ญ หาแรงงานเด็ ก ของรั ฐ บาลไทย ที่กระทรวงแรงงานของสหรัฐอเมริกาได้ออกประกาศ เกี่ ย วกั บ เรื่ อ งการใช้ แรงงานเด็ ก ในสภาวะไม่ ป กติ โดยได้ ป รั บ สถานะของประเทศไทยในเรื่ อ งการใช้ แรงงานเด็ ก จากระดั บ ที่ มี ค วามส� ำ เร็ จ ปานกลาง เมื่อปี 2013 มาเป็นระดับความส�ำเร็จมากในปี 2014 ซึ่งไทยเป็น 1 ใน 13 ประเทศ ที่ได้รับการประเมิน จาก 140 ประเทศ วารสารแรงงานฉบับนี้ จึงขอน�ำเสนอภารกิจ กระทรวงแรงงาน ทั้งในเชิง “ป้องกัน” และ “แก้ไข” ปั ญ หาการใช้ แ รงงานเด็ ก รวมไปถึ ง สาระดี ๆ ในบทความต่างๆ ที่จะช่วยให้ท่านผู้อ่านสามารถ น�ำไปใช้ในชีวิตการท�ำงานได้ ตลอดจนกิจกรรมต่างๆ ของกระทรวงแรงงาน ทัง้ จากส่วนกลางและส่วนภูมภิ าค เชิญติดตามได้ในฉบับค่ะ บรรณาธิการบริหาร



ปีที่ 14, ต.ค. - พ.ย. 2558

ผลส�ำเร็จของ ความพยายาม ความมุ่งมั่นในการ แก้ไขปัญหา แรงงานเด็ก ของรัฐบาลไทย เมื่อวันที่ 30 กันยายนที่ผ่านมา กระทรวงแรงงานของ สหรัฐอเมริกาได้ออกประกาศเกี่ยวกับเรื่องการใช้แรงงานเด็ก ในสภาวะไม่ ป กติ โดยได้ ป รั บ สถานะของประเทศไทย ในเรื่องการใช้แรงงานเด็กจากระดับที่มีความส�ำเร็จปานกลาง เมื่อปี 2013 มาเป็นระดับความส�ำเร็จมากในปี 2014 ซึ่งถือว่า เป็นข่าวดีและเป็นความส�ำเร็จของภาคส่วนต่างๆ กระทรวง แรงงาน โดยกรมสวัสดิการและคุม้ ครองแรงงาน และกระทรวง การต่างประเทศที่ได้มีความร่วมมือกันอย่างต่อเนื่อง ในปี 2552 กระทรวงแรงงานสหรัฐอเมริกาได้เริม่ จัดท�ำ รายงานรายประเทศเกีย่ วกับสถานการณ์การใช้แรงงานเด็กใน รูปแบบที่เลวร้าย แต่นอกเหนือจากรายงานนี้ สหรัฐฯ ยังได้ จัดท�ำบัญชีออกเผยแพร่เป็นครั้งแรกว่าประเทศไทยมีสินค้า อยู่ในบัญชี 5 รายการ ได้แก่ กุ้ง ปลา อ้อย เครื่องนุ่งห่ม และ สื่อลามก ที่มีการใช้แรงงานเด็กและแรงงานบังคับ ซึ่งรายงาน ฉบับดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทย ในตลาดการค้าโลก ผลกระทบอีกประการหนึง่ ทีส่ ง่ ผลต่อระบบ เศรษฐกิจของประเทศไทย นั่นก็คือการถูกกีดกันทางการค้า และท�ำให้รายได้ในการส่งออกของประเทศลดลง โดยในปี 2558 นี้ พบว่ามูลค่าการส่งออกน�้ำตาลของไทย ลดลงถึง 80 ล้านบาท เครื่องนุ่งห่มไทย ลดลง 4.2 พันล้านบาท กุ้งสด กุ้งแช่เย็น กุ้งแช่แข็ง ลดลง 3.16 พันล้านบาท และการส่งออก ปลาสด ปลาแช่เย็น ปลาแช่แข็ง ปลาแห้ง ลดลงถึง 1.1 พันล้านบาท แม้จะไม่มีปัจจัยบ่งชี้ที่เด่นชัดว่า สาเหตุที่มูลค่าการส่งออก สินค้าทั้ง 4 รายการลดลง มีผลมาจากการถูกขึ้นบัญชีรายชื่อ สินค้าดังกล่าวก็ตาม

4

เรื่องเล่าจากปก

รภัสสา พานิกุล ข้อมูล : กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน


5

ที่มา http://media.mehrnews.com/d/2015/06/13/3/1737678.jpg


ที่มา http://www.bangkokpost.com/media/content/20121220/455217.jpg

ที่มา http://www.chiangraitimes.com/wp-content/uploads/2014/07/BurmeseFishingImmigrants011.jpg

ที่มา https://savourthejourney.files.wordpress.com/2015/06/imrs.jpg?w=1200

ที่มา http://www.dw.com/image/0,,18712901_303,00.jpg

ปีที่ 14, ต.ค. - พ.ย. 2558

http://d3k7ld4ng8dhji. -b78ab2dfaa49/ima

6


ปีที่ 14, ต.ค. - พ.ย. 2558

ที่มา http://d1jrw5jterzxwu.cloudfront.net/sites/default/files/default/files/uploads/ child_labor_fishing_shores_of_bolivia_-_courtesy_jean_pierre_laffontun_photo.jpg

ที่มา https://plus.google.com/113113338814597692362/posts

ที่มา http://blog.conservation.org/wp-content/uploads/2014/08/girl-in-Indonesia.jpg

.cloudfront.net/contentAsset/image/3cc369a0-4c3c-48af-bff9 age/byInode/1/filter/Resize,Jpeg/jpeg_q/90/resize_w/1400

กระทรวงแรงงาน ในฐานะหน่ ว ยงาน รับผิดชอบหลักเรื่องแรงงาน จึงได้มีความพยายาม ในการด�ำเนินการเพื่อเสนอขอถอดถอนสินค้าไทย ออกจากบั ญ ชี ร ายชื่ อ ดั ง กล่ า ว โดยได้ แ ต่ ง ตั้ ง คณะท� ำ งานเพื่ อ ติ ด ตามและรวบรวมข้ อ มู ล การด� ำ เนิ น งานป้ อ งกั น และแก้ ไขปั ญ หาการใช้ แรงงานเด็ก แรงงานบังคับ ซึ่งประกอบด้วยผู้แทน หน่วยงานจากหลายภาคส่วน ทัง้ ภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ประกอบการรายใหญ่ในแต่ละสินค้า และองค์กร พัฒนาเอกชนต่าง ๆ เพื่อมาร่วมกันด�ำเนินการ ตามข้อแนะน�ำที่ประเทศที่ถูกขึ้นบัญชีสินค้าต้อง ด�ำเนินการ 8 ด้าน ของกระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เพื่อแก้ปัญหาแรงงานเด็ก อันได้แก่ 1. การมีส่วนร่วมด�ำเนินงานกับผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียทุกภาคส่วน (Engage Stakeholder and partners) 2. การประเมินความเสี่ยงและผลกระทบ (Assess risk) 3. การจัดท�ำแนวปฏิบัติที่ดี (Develop Code of Conduct) 4. การสื่อสารและฝึกอบรมตลอดห่วงโซ่ อุปทาน (Communication and Train) 5. การติดตามการปฏิบตั ติ ามแนวปฏิบตั ทิ ดี่ ี (Monitor Compliance) 6. การแก้ ไขให้ ส ามารถปฏิ บั ติ ต ามแนว ปฏิบัติที่ดี (Remediate violation) 7. การทบทวนที่เป็นอิสระ (Review) 8. การรายงานผลการปฏิบัติงาน (Report) จนในที่สุดกระทรวงแรงงานสหรัฐอเมริกา ได้รายงานสถานการณ์การใช้แรงงานเด็กในรูปแบบ ที่เลวร้าย ประจ�ำปี 2557 ว่าประเทศไทยเป็น ประเทศที่ ส ามารถแก้ ไขปั ญ หาแรงงานเด็ ก ใน รูปแบบที่เลวร้ายได้ในระดับที่มีความส�ำเร็จมาก (Significant Advancement) ซึ่งถือเป็นระดับสูงสุด เนือ่ งจากประเทศไทยมีความคืบหน้าทีเ่ ป็นรูปธรรม ส�ำคัญ ๆ 5 ประการ ได้แก่ 1. ประเทศไทยมีการปรับปรุงกฎหมายซึ่ง ยกระดับอายุขั้นต�่ำในการท�ำงานภาคเกษตรกรรม

ขึน้ จาก 13 ปี เป็น 15 ปี และการท�ำงานในเรือประมง ทะเลจาก 16 ปี เป็น 18 ปี 2. มีการแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายการ จัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ ซึ่ ง สะท้ อ นความมุ ่ ง มั่ น ของรั ฐ บาลในการแก้ ไข ปัญหาแรงงานเด็ก 3. รั ฐ บาลได้ จั ด สรรงบประมาณและมี ส่ ว นร่ ว มในหลายโครงการ ที่ มี เ ป้ า หมายเพื่ อ ขจัด หรือป้องกันการใช้แรงงานเด็ก และแรงงานเด็ก ในรูปแบบที่เลวร้าย 4. มี ก ารตรวจแรงงานเชิ ง รุ ก โดยที ม สหวิชาชีพ 5. ด�ำเนินการตามนโยบายและแผนระดับ ชาติเพื่อขจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้าย ฉบับที่ 1 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 – 2557 และ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2558 – 2563 ส�ำหรับรายงานการจัดอันดับประเทศที่มี ความก้ า วหน้ า มากที่ สุ ด ในการด� ำ เนิ น การแก้ ไข ปัญหาการใช้แรงงานเด็กปีนมี้ ี 13 ประเทศ กลุม่ ที่ 2 ระดับทีม่ คี วามส�ำเร็จปานกลาง จ�ำนวน 68 ประเทศ กลุ ่ ม ที่ 3 ระดั บ ที่ มี ค วามก้ า วหน้ า น้ อ ยจ� ำ นวน 44 ประเทศ นอกจากนี้ มี ป ระเทศที่ ไ ม่ มี ความก้าวหน้าเลย 11 ประเทศ ที่เหลือ 4 ประเทศ ไม่สามารถประเมินได้เนื่องจากข้อมูลไม่เพียงพอ อย่างไรก็ตามถือว่าเป็นความก้าวหน้าที่ส�ำคัญของ ประเทศไทย โดยเฉพาะกระทรวงแรงงานเป็ น หน่วยงานหลักที่จะด�ำเนินการภายใต้หลักเกณฑ์ ที่ มี ก ฎหมายเพี ย งพอ การปรั บ อายุ ขั้ น ต�่ ำ ของแรงงานเด็กทัง้ ภาคเกษตรและประมง การบังคับ ใช้กฎหมายมีความเข้มข้น การตรวจแรงงานและน�ำ คดีของการค้ามนุษย์มารวมในรายงานดังกล่าวด้วย กระทรวงแรงงานหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผล การถูกประเมินโดยกระทรวงแรงงานสหรัฐฯ นี้ จะมีส่วนส�ำคัญต่อการจัดระดับในการรายงาน การค้ า มนุ ษ ย์ ข องกระทรวงการต่ า งประเทศ สหรัฐฯ ในปีต่อไป

7


ปีที่ 14, ต.ค. - พ.ย. 2558

PRIME MINISTER’S QUOTE ...“มีรายงานดี ๆ ของทางสหรัฐฯ ว่าประเทศไทยนั้นมีความก้าวหน้ามาก เกี่ยวกับ สถานการณ์และการจัดการการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบเลวร้ายที่สุด ประจ�ำปี ค.ศ. 2014 ซึง่ ได้ประเมินความพยายามและผลการด�ำเนินการในเรือ่ งดังกล่าวของ 140 ประเทศทัว่ โลก ประเทศไทยได้รบั การปรับระดับสูงขึน้ จากระดับทีม่ คี วามก้าวหน้าปานกลาง เป็นระดับทีม่ คี วาม ก้าวหน้าอย่างส�ำคัญ ซึง่ เป็นระดับสูงสุด เป็น 1 ใน 13 ประเทศ ทีไ่ ด้รบั การปรับระดับให้อยูใ่ น กลุม่ นี้ ผมเชือ่ ว่าเป็นเพราะความพยายามของเราทุกฝ่าย ทุกพวก คนไทยทุกคน ในการปฏิบตั ิ หน้าที่อย่างบูรณาการเป็นรูปธรรม ร่วมมือซึ่งกันและกัน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการแต่งตั้ง คณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ ซึ่งสะท้อนความ มุง่ มัน่ ของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาแรงงานเด็ก การออกกฎกระทรวงแรงงานก�ำหนดอายุขนั้ ต�ำ่ ของแรงงานในภาคเกษตรและภาคประมง การจัดสรรงบประมาณของรัฐบาลไทยเพือ่ ยุตกิ ารใช้ แรงงานเด็กและสนับสนุนโครงการต่าง ๆ ของภาคส่วนทีเ่ กีย่ วข้อง การตรวจแรงงานเชิงรุก โดยทีมสหวิชาชีพ และการปฏิบตั ติ ามแผนระดับชาติเพือ่ ขจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบทีเ่ ลวร้าย ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2552-2557 และ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2558-2563”... รายการคืนความสุขให้คนในชาติ ออกอากาศเมื่อวันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม 2558 โดยพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

8


ค�ำต่อค�ำ

ปีที่ 14, ต.ค. - พ.ย. 2558

รภัสสา พานิกุล ข้อมูล : กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

ผลส�ำเร็จของความพยายาม...

กระทรวงแรงงาน แจงข่าวดีเหตุสหรัฐฯ ขยับไทยแก้ปัญหา แรงงานเด็ก ขั้นส�ำเร็จสูงสุด เมือ่ ต้นสัปดาห์ในเดือนตุลาคมทีผ่ า่ นมา ประเทศไทยเรามีขา่ วดี ที่ถือเป็นการคืนความสุขให้กับคนในชาติได้อย่างน่าภูมิใจ นั่นก็คือ การที่กระทรวงแรงงานสหรัฐอเมริกา ได้รายงานสถานการณ์การใช้ แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้าย ประจ�ำปี 2557 ว่า ประเทศไทย เป็นประเทศทีส่ ามารถแก้ไขปัญหาแรงงานเด็กในรูปแบบทีเ่ ลวร้ายได้ ในระดับที่มีความส�ำเร็จมาก (Significant Advancement) ซึ่งถือเป็น ระดับสูงสุด โดยรายงานฉบับนี้ สะท้อนให้เห็นว่า กระทรวงแรงงานสหรัฐอเมริกา รั บ ทราบความมุ ่ ง มั่ น ในการแก้ ไขปั ญ หาแรงงานเด็ ก ของรั ฐ บาลไทย และตระหนักถึงพัฒนาการความคืบหน้าที่ไทยสร้างขึ้น เพื่อขจัดการใช้ แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้าย ช่วงค�ำ่ ของคืนวันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม ทีผ่ า่ นมา พลเอก ศิรชิ ยั ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้ไปร่วมรายการเดินหน้าประเทศไทย และได้บอกถึงความพยายามของรัฐบาลโดยกระทรวงแรงงาน ทีไ่ ด้ทำ� งานกัน อย่างทุ่มเท และมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบ ที่เลวร้ายของประเทศไทยจนเกิดเป็นข่าวดีได้ในวันนี้ได้นั้น มีที่มาอย่างไร “...ความเป็นมาคงต้องเริ่มกันตั้งแต่ปี 2552 ที่กระทรวงแรงงาน สหรัฐอเมริกาได้เริ่มจัดท�ำรายงานเกี่ยวกับสถานการณ์การใช้แรงงานเด็ก ในรูปแบบที่เลวร้าย และยังได้จัดท�ำบัญชีออกเผยแพร่ว่า ประเทศไทย มีสินค้า 5 รายการ ที่มีการใช้แรงงานเด็กและแรงงานบังคับ ได้แก่ กุ้ง ปลา อ้อย เครื่องนุ่งห่ม และสื่อลามก ซึ่งรายงานฉบับดังกล่าวได้ส่งผลต่อ

ประเทศไทยในเวทีการค้าโลก จนไปกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ กระทรวงแรงงาน ความส�ำเร็จครั้งนี้ เกิดจากการที่รัฐบาลได้มีนโยบายที่ ชัดเจนทีจ่ ะไม่ให้มแี รงงานเด็กในประเทศไทย รวมทัง้ ได้มคี วามร่วมมือจาก ส่วนราชการต่าง ๆ อาทิ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการพัฒนา สังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ส�ำนักงานต�ำรวจแห่งชาติ และที่ส�ำคัญ คือ นายจ้างและเจ้าของสถานประกอบกิจการช่วยกันแก้ปญ ั หา และหลังจากนี้ เพื่อให้ได้รับความร่วมมือในวงกว้างมากขึ้น ก็จะได้ขอความร่วมมือจาก ผู้ประกอบการ หรือบรรดาสมาคมการค้าที่เกี่ยวข้อง เช่น สมาคมโรงงาน น�้ำตาล สมาคมชาวไร่อ้อย สมาคมเครื่องนุ่งห่ม สมาคมประมงต่าง ๆ ในการไม่ ใช้ แรงงานเด็ ก หรื อ บั ง คั บ ใช้ แรงงานเด็ ก ให้ ม าด�ำ เนิ น งาน ตามแนวทาง 8 ด้านของกระทรวงแรงงานสหรัฐฯ ต่อไป นอกจากนี้ ก็มแี ผนทีจ่ ะเชิญผูแ้ ทนจากสถานทูตสหรัฐฯ ประจ�ำประเทศไทย ดูงานการ ด�ำเนินงานเพือ่ ป้องกันและแก้ไขปัญหาการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบทีเ่ ลวร้าย ของผูป้ ระกอบการทีด่ ำ� เนินการประสบความส�ำเร็จ เพือ่ ให้เกิดภาพเชิงประจักษ์ ในด้านของการท�ำงานของภาครัฐ โดยเฉพาะกระทรวงแรงงาน หน่ ว ยงานที่ รั บ ผิ ด ชอบโดยตรงในการแก้ ไ ขปั ญ หาของเรื่ อ งนี้ คื อ กรมสวัสดิการและคุม้ ครองแรงงาน ได้วางมาตรการเร่งด่วนไว้ 5 ด้าน ดังนี้ 1. การตรวจแรงงานแบบเข้มข้น กล่าวคือได้มีการแต่งตั้งคณะ ท�ำงานเฉพาะกิจด้านการตรวจแรงงานประมงทะเล เพื่อให้มีการตรวจ แรงงานเข้มข้นมากขึ้น ในกิจการประมงทะเล และกิจการต่อเนื่อง กิจการ ที่มีความเสี่ยงว่าจะมีการใช้แรงงานเด็ก หรือบังคับใช้แรงงานเด็ก

9


ปีที่ 14, ต.ค. - พ.ย. 2558

10


ปีที่ 14, ต.ค. - พ.ย. 2558

2. การบูรณาการชุดตรวจแรงงานและสร้างการรับรูด้ า้ นการใช้ แรงงานบังคับ ปัจจุบนั มีสถานประกอบกิจการมากกว่า 400,000 แห่ง และ มีลกู จ้างทีต่ อ้ งได้รบั การคุม้ ครองมากกว่า 10 ล้านคน เรามีเครือ่ งมือก�ำกับ ดูแลเป็นกฎหมายคุม้ ครองจ�ำนวน 6 ฉบับ กระทรวงแรงงานมีพนักงานตรวจ แรงงานเพียง 600 คน เราจึงต้องเสริมสร้างการรับรูด้ า้ นการใช้แรงงานบังคับ โดยผ่านเครือข่าย ด้วยเหตุนกี้ ระทรวงแรงงานจึงมีนโยบายบูรณาการท�ำงาน ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ โดยการจัดเป็นชุดตรวจเฉพาะกิจ ตัง้ เครือข่ายร่วม กับทหาร ต�ำรวจ เกษตร อุตสาหกรรม และภาคประชาสังคมในการเข้าตรวจ เพือ่ ให้การตรวจแรงงานให้สามารถด�ำเนินการต่อสถานประกอบการได้อย่าง ทัว่ ถึง รวมทัง้ สร้างเครือข่ายเฝ้าระวังการกระท�ำละเมิดสิทธิแรงงาน 3. การจัดท�ำฐานข้อมูลด้านการท�ำงานเด็ก กระทรวงแรงงาน มีความมุ่งมั่นในการจัดท�ำฐานข้อมูลเด็กท�ำงานทั้งประเทศ เพื่อใช้ในการ ด�ำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้าย และจะท�ำให้เรามีข้อมูลที่ชัดเจนว่าสถานการณ์การใช้แรงงานเด็ก รวมถึง การใช้เด็กท�ำงานในรูปแบบที่เลวร้าย ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นหลักฐาน ส�ำคัญที่จะน�ำไปสู่การก�ำหนดมาตรการ นโยบาย รวมทั้งแผนปฏิบัติที่มี ประสิทธิภาพในการจัดการกับปัญหาการใช้แรงงานเด็ก 4. การศึ ก ษาวิ เ คราะห์ ส ภาพงานอั น ตราย ส� ำ หรั บ เด็ ก ใน ประเทศไทย ประเทศไทยในฐานะสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งองค์การแรงงาน ระหว่างประเทศ ตระหนักถึงคุณค่าและเจตนารมณ์ขององค์การแรงงาน ระหว่างประเทศ จึงศึกษาสภาพปัญหา และค้นหา วิเคราะห์งานทีอ่ นั ตราย ส�ำหรับเด็ก เพื่อน�ำไปก�ำหนดมาตรฐานให้เด็กได้รับการคุ้มครองในการ ท�ำงานที่เหมาะสม มีความปลอดภัย รวมทั้งจัดให้มีสภาพแวดล้อมในการ ท�ำงานที่ไม่ขัดต่อพัฒนาการ ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และศีลธรรมของเด็ก เพื่อให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่าง ประเทศฉบับที่ 182 รวมถึงการน�ำไปสู่การแก้ไขกฎหมายและระเบียบ ที่เกี่ยวข้องต่อไป 5. การให้เด็กในวัยเรียนได้เข้าสู่ระบบการศึกษา ประเทศไทย ให้ความส�ำคัญถึงคุณค่าของเด็กซึง่ จะเป็นก�ำลังของชาติ ในอนาคตจะต้อง ได้รบั การศึกษาเรียนรู้ เพือ่ ให้เด็กและเยาวชนเข้ารับการศึกษาตามหลักสิทธิ มนุ ษ ยชนสากล ปั จ จุ บั น รั ฐ บาลได้ จั ด การศึ ก ษาฟรี ใ ห้ กั บ เยาวชน เป็นระยะเวลา 12 ปี ตาม พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ ซึ่งจะเป็นพื้นฐาน ที่ส�ำคัญให้เด็กและเยาวชน มีความรู้ทักษะ และทัศนคติที่ดีก่อนที่จะ ก้าวเข้าสู่ตลาดแรงงานที่มีคุณภาพของชาติต่อไป…” และนีค่ อื ความพยายาม ความมุง่ มัน่ ในการแก้ไขปัญหาแรงงานเด็ก ของรัฐบาลไทย โดยกระทรวงแรงงานไม่เคยหยุดนิง่ ในการขจัดการใช้ แรงงานเด็กในรูปแบบทีเ่ ลวร้าย เพือ่ จะน�ำมาซึง่ การถอดถอนรายการ สินค้าที่ถูกขึ้นบัญชีว่ามีการใช้แรงงานเด็ก แรงงานบังคับได้ในที่สุด เพือ่ ดึงภาพลักษณ์ทดี่ ขี องประเทศไทยให้กลับคืนมาในเวทีการค้าโลกต่อไป

11


จับตา MOL

ปีที่ 14, ต.ค. - พ.ย. 2558

ข่าวดีรับการเปิดศักราชใหม่ของ ปีงบประมาณ 2559 ของประเทศไทย เมื่อกระทรวงแรงงานของสหรัฐอเมริกา ได้ออกประกาศเกีย่ วกับเรือ่ งการใช้แรงงานเด็ก ในสภาวะไม่ปกติ ข่าวดีดงั กล่าว ได้รบั การแถลงข่าว โดย พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรี ว่ า การกระทรวงแรงงาน ร่ ว มด้ ว ย หม่อมหลวงปุณฑริก สมิติ ปลัดกระทรวง แรงงาน และนายทรงศัก สายเชื้อ อธิบดี กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ กระทรวง การต่างประเทศว่าเมือ่ คืนวันที่ 30 กันยายน 2558 กระทรวงแรงงานของสหรัฐอเมริกา ได้ออกประกาศเกีย่ วกับเรือ่ งการใช้แรงงาน เด็กในสภาวะไม่ปกติ โดยได้ปรับสถานะ ของประเทศไทยในเรื่องการใช้แรงงานเด็ก จากระดั บ ที่ มี ค วามส� ำ เร็ จ ปานกลางเมื่ อ ปี 2013 มาเป็นระดับความส�ำเร็จมากใน ปี 2014 ซึ่ ง ถื อ ว่ า เป็ น ข่ า วดี แ ละเป็ น ความส�ำเร็จของภาคส่วนต่างๆ กระทรวง แรงงาน โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครอง แรงงาน และกระทรวงการต่ า งประเทศ ที่ได้มีความร่วมมือกันอย่างต่อเนื่อง

12

วิชชุลดา บัวชัย

วันเดียวกัน (1 ตุลาคม 2558) หม่อมหลวง ปุณฑริก สมิติ ปลัดแรงงานหญิงคนแรกเข้า สักการะสิง่ ศักดิส์ ทิ ธิป์ ระจ�ำกระทรวง เพือ่ ความ เป็นสิรมิ งคลในโอกาสเข้ารับต�ำแหน่งปลัดกระทรวง แรงงาน ณ กระทรวงแรงงาน พร้อมกล่าวว่า จะเดิ น หน้ า ขั บ เคลื่ อ นตามนโยบายรั ฐ บาล และนโยบายของรัฐมนตรีวา่ การกระทรวงแรงงาน พลเอก ศิรชิ ยั ดิษฐกุล ทีม่ ง่ ุ หวังให้กระทรวงแรงงาน น�ำพาประเทศชาติและประชาชนไปสูค่ วามมัน่ คง มัง่ คัง่ และยัง่ ยืน โดยเฉพาะอย่างยิง่ ให้ความส�ำคัญ ในเรื่ อ งของการจั ด หางานให้ ค นไทยทุ ก คน ทัง้ แรงงานในระบบและแรงงานนอกระบบมีงานท�ำ ที่ดี เป็นงานที่มีคุณค่า (Decent Work) ทั้งนี้ ทีผ่ า่ นมากระทรวงแรงงานขยายการเปิดศูนย์บริการ จัดหางานเพือ่ คนไทย (SmartJob Ceter) เพิม่ มากขึน้

การป้ อ งกั น และปราบปรามการค้ า มนุ ษ ย์ ในส่วนของกระทรวงแรงงาน ประจ�ำปี 2559 ทัง้ นี้ การแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ดา้ นแรงงานในปีนี้ มีความก้าวหน้าค่อนข้างมากจากปีที่ผ่านมา ที่ทางสหรัฐอเมริกามองว่าประเทศไทยยังไม่มี ความก้าวหน้า ด้านกฎหมาย การด�ำเนินการต่างๆ ที่ ยั ง ไม่ ชั ด เจน ซึ่ ง ปี นี้ ป ระเทศไทยมี ผ ลการ ด�ำเนินการที่ชัดเจนมากขึ้น เช่น มีการออกกฎ กระทรวงทัง้ ในเรือ่ งของแรงงานประมง แรงงาน ในภาคเกษตร โดยมีการด�ำเนินการที่เข้มข้น ในการใช้กฎหมาย อาทิ หากเป็นเรือ่ งของการตรวจ เรือประมงจะมีการบูรณาการการตรวจอย่างชัดเจน ส�ำหรับการตรวจสถานประกอบการก็จะมีการเร่งรัด ในการตรวจบูรณาการเช่นเดียวกันเพื่อที่จะให้ ครอบคลุมสถานประกอบการที่มีการใช้แรงงาน ต่างด้าวในแต่ละประเภทซึ่งจะรวมไปถึงภาค เกษตรกรรมด้วย

เริม่ ภารกิจงานได้ไม่นาน “ปลัดกระทรวง แรงงาน” เดิ น หน้ า เต็ ม สู บ นั่ ง ประธาน การประชุ ม การแก้ ไขปั ญ หาการค้ า มนุ ษ ย์ ด้ า นแรงงาน เตรี ย มร่ า งรายงานผลการ ด�ำเนินการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ด้านแรงงาน เพือ่ แสดงถึงความก้าวหน้ากว่าปีที่ ผ่านมา เข้มข้นในทุกมิติ หม่อมหลวงปุณฑริก สมิติ ปลัดกระทรวง แรงงาน กล่าวว่า กระทรวงแรงงานเร่งด�ำเนินการ นโยบายด้านการแก้ไขและป้องกันการค้ามนุษย์ ซึง่ รัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายก รัฐมนตรี ให้ความส�ำคัญและประกาศเป็นวาระ แห่งชาติที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือบูรณาการ ร่วมกัน โดยกระทรวงแรงงานได้เตรียมการทีจ่ ะ จัดท�ำรายงานร่างรายงานการด�ำเนินการในเรือ่ งของ

ด้วยภารกิจงานของกระทรวงแรงงาน ในการดูแลประชาชนคนท�ำงาน ผู้ประกันตน ล่าสุดส�ำนักงานประกันสังคม โดยนายสุรเดช วลี อิ ท ธิ กุ ล รองปลั ด กระทรวงแรงงาน พร้อมด้วยนายโกวิท สัจจวิเศษ รักษาการ เลขาธิการส�ำนักงานประกันสังคม ได้แจ้ง ข่าวดีให้ทราบว่า การปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย ประกันสังคมให้มีสิทธิประโยชน์ที่ครอบคลุม ส�ำหรับลูกจ้างผูป้ ระกันตนได้ผา่ นความเห็นชอบ จากสภานิ ติ บั ญ ญั ติ แ ห่ ง ชาติ ป ระกาศเป็ น พระราชบัญญัตปิ ระกันสังคม (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2558 ในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2558 และจะมีผลบังคับใช้ 120 วัน นับแต่วันที่ ประกาศ โดยจะเริ่ ม มี ผ ลบั ง คั บ ใช้ ตั้ ง แต่ วั น ที่ 20 ตุลาคม 2558


ปีที่ 14, ต.ค. - พ.ย. 2558

ทั้ ง นี้ สิ ท ธิ ป ระโยชน์ ข องผู ้ ป ระกั น ตน จะได้ รั บ ตามพระราชบั ญ ญั ติ ป ระกั น สั ง คม ฉบับใหม่ ครอบคลุมในหลายกรณี ได้แก่ กรณี ผู้ประกันตนเจ็บป่วย ตาย ทุพพลภาพ ว่างงาน คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร โดยสาระส�ำคัญ ในการเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้กับผู้ประกันตน

ขั บ เ ค ลื่ อ น ง า น อ ย ่ า ง ต ่ อ เ นื่ อ ง หม่อมหลวงปุณฑริก สมิติ ปลัดกระทรวงแรงงาน ได้หารือ Mr.Maurizio Bussi รักษาการผู้อ�ำนวย การใหญ่ ส�ำนักงานแรงงานระหว่างประเทศ ประจ�ำประเทศไทย กัมพูชา และลาว (ILO) ที่ ป ระชุ ม มี ก ารปรั บ กระบวนการมี ส ่ ว นร่ ว ม ผุดโครงการความช่วยเหลือทางวิชาการเพื่อ ต่อต้านรูปแบบการท�ำงานที่ไม่เป็นที่ยอมรับ ในอุตสาหกรรมประมงและอาหารทะเล “การท�ำงานร่วมกับสหภาพ และ NGO อยากให้มีการท�ำงานร่วมกันแบบไตรภาคีจริงๆ มีภาครัฐเข้าไปร่วมด้วย ไม่เช่นนัน้ ภาพทีอ่ อกมา เหมือนภาครัฐไม่ได้ทำ� อะไรเลย ซึง่ ในความเป็นจริง ประเทศไทยได้มกี ารด�ำเนินการในเรือ่ งของการดูแล แรงงานข้ามชาติดีมาก ทั้งในแง่ทางกฎหมาย เชิงการคุม้ ครอง เรือ่ งของหลักประกันทางสังคม จึงมีการพูดคุยกันว่า อยากให้ภาครัฐมีสว่ นร่วมมากขึน้ ตัง้ แต่กระบวนการวางแผน กระบวนการทีท่ ำ� งาน ร่วมกันตลอดระยะเวลาด�ำเนินงาน ซึง่ รักษาการ ผูอ้ ำ� นวยการการใหญ่ (ILO) เห็นด้วยทีจ่ ะตัง้ เป็น คณะกรรมการเป็นที่ปรึกษาเพื่อที่จะดูแลก�ำกับ โครงการนีร้ ว่ มกัน” ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าว

ปลัดแรงงาน’ ให้สัมภาษณ์พิเศษกับ ‘หนังสือพิมพ์ประชาชาติธรุ กิจ’ ถึงแผนปฏิบตั กิ าร ของกระทรวงแรงงาน (Roadmap) ทีต่ อ้ งเร่งท�ำให้ เกิดขึน้ บน 8 แนวทาง คือ การพัฒนาศักยภาพ แรงงานไทย การบริหารจัดการคุม้ ครองดูแลแรงงาน ต่างด้าว การแก้ไขปัญหาแรงงานเด็ก แรงงานบังคับ และการค้ามนุษย์ดา้ นแรงงาน การบริหารจัดการ ศู น ย์ ข ้ อ มู ล แรงงานแห่ ง ชาติ การปรั บ ปรุ ง ประสิทธิภาพบริหารจัดการแรงงาน การพัฒนา เขตเศรษฐกิจพิเศษ การส่งเสริมการเข้าสูป่ ระชาคม อาเซียน และการพัฒนาความร่วมมือด้านแรงงาน ระหว่างประเทศ ทีพ่ ร้อมท�ำงานเชิงรุก “ขณะนี้อยู่ที่กระบวนการในการแก้ไข กฎหมายที่ เ หลื อ ให้ คุ ้ ม ครองดู แ ลแรงงานได้ ชัดเจนมากขึ้น และคาดว่า ในปีหน้าจะมีข่าวดี ในเรื่องการแก้ไขปัญหาดังกล่าว เนื่องจากภาพ ความตั้งใจของรัฐบาลที่ก�ำหนดให้เป็นนโยบาย และวาระแห่งชาติ ได้ด�ำเนินการอย่างต่อเนื่อง และไม่หยุดนิ่ง” ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าว

อย่างไรก็ตาม กระทรวงแรงงาน พร้อมท�ำงานเชิงรุกในทุกด้าน “เปิดศูนย์ ปฏิบตั กิ ารป้องกันการค้ามนุษย์ดา้ นแรงงาน กระทรวงแรงงาน (ศปกค.รง.) (Prevention of Human Trafficking on Labour Operation Center: PHTLOC)” ณ ห้องประชุมปลัด กระทรวงแรงงาน ชั้น 7 อาคารกระทรวง แรงงาน โดย ‘ปลัดแรงงาน’ ย�้ำชัด ท�ำงาน 3 ระยะ จัดเจ้าหน้าทีท่ กุ กรมบูรณาการข้อมูล สรุปผลรายงานโดย พลเอก ศิรชิ ยั ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานทุกวัน พฤหัสบดี พร้อมเดินหน้าจัดท�ำยุทธศาสตร์ ทุก 1 เดือน 3 เดือน 6 เดือน ติดตามก�ำกับ ความก้าวหน้า รวบรวมข้อมูลหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องด้านการป้องกันการค้ามนุษย์ ย�ำ้ จัดท�ำรายงานร่าง Tip Report ให้แล้วเสร็จ ภายในธันวาคม 2558

13


ปีที่ 14, ต.ค. - พ.ย. 2558

ริมน�้ำ

ตามนายไปชิม เชิงชาย ชอบชิม

วั

นนี้วันพระรูปค�ำพูดสมัยเด็กๆ เราเรียกกันแบบนี้ที่จริงคือวันที่ระลึกพระปิยมหาราช เป็นวันหยุดราชการนายผมท่านก็วางแผนนัดไปเที่ยวต่างจังหวัดทุกปีปกติเราจะไป ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ นัก ไปเที่ยวและหาอาหารกลางวันทานกันในกลุ่มสนิทของพวกเรา ปีนี้พี่ไหมก็ชวนนายและสมาชิกกลุ่มไปเที่ยวสุพรรณบุรกี ัน ตั้งใจจะไปแวะตลาดสามชุก ที่ตั้งใจไปคือเพื่อซื้อกุนเชียงปลา ที่แสนอร่อยร้านเฮียกวง ที่ผมคิดว่าเป็นกุนเชียงปลาที่อร่อยที่สุด ในประเทศไทยจริง ๆ ครับ รอพี่บัวไปวางพวงมาลาเสร็จที่ลานพระรูปเราก็ออกรถไปรับป้าแจ๋ว ทีอ่ ยุธยาแล้วตัดออกทางอ�ำเภอลาดบัวหลวงเข้าสุพรรณฯ ผ่านอ�ำเภอเมือง จะเข้าอ�ำเภอศรีประจันต์ นายท่านบอกให้แวะเยี่ยมคนรู้จักกับท่านสนิทกันมาตั้งแต่เรียนมหาวิทยาลัย ถึงต�ำบลบ้านกล้วย เขตศรีประจันต์เลี้ยวรถเข้าไปแวะบ้านหลังใหญ่โตมโหฬาร เอ ! คนเยอะแฮะ ปรากฏว่าเป็นวันเกิด ของท่านผู้นี้พอดี นายบอกว่า เจ้าของบ้านจะเลี้ยงชาวบ้านแถบนั้นทุกปี มิน่าเล่า ผู้คนถึงมากมาย พอเข้าไปพบหน้าเจ้าของบ้าน เราถึงรูว้ า่ ทีแ่ ท้คอื เฮียจอง นีเ่ อง นายท่านเรียกเฮียมาแต่ไหนแต่ไร ท่านคือ ท่านจองชัย เทีย่ งธรรม อดีต ส.ส. คนดังของสุพรรณฯ คุยกันนาน ผมเลยได้โอกาส อวยพรวันเกิดแล้วก็ออกมาเดินทางต่อไปสามชุกเพื่อท�ำตัวเป็นพระยาน้อยชมตลาด 100 ปี ฮ่า “ตลาดสามชุก” นีม่ าครัง้ ใดก็สนุกทุกครัง้ เรือ่ งแวะชิมนัน่ ชิมนี่ ผมกับนายท่านถนัดนักละ เราเดินชิมไปทัว่ พีไ่ หมกะป้าแจ๋วมุง่ ไปร้านเฮียกวงก่อนเลยนัยว่าเสร็จแล้วได้สนิ ค้าอาหารของโปรด สมใจแล้วจะได้ไปจับจ่ายตลาดอืน่ ต่อไป กุนเชียงปลาร้านเฮียกวงนีอ่ ร่อยนักทานกับข้าวเหนียวแทน หมู เ ค็ ม เนื้ อ เค็ ม สบาย ๆ อร่ อ ยกว่ า ด้ ว ยมั้ ง ซื้ อ ของกั น จนพอใจแล้ ว เราก็ อ อกเดิ น ทางต่ อ ตอนแรกเรากะว่ า จะกลั บ ไปทานกลางวั น ที่ ร ้ า นแม่ บ ๊ ว ยที่ บ างปลาม้ า ที่ ไ ปทานกั น เป็ น ประจ� ำ เวลามาเที่ยวสุพรรณฯ คราวนี้มีคนออกความคิดใหม่ครับ ไอ้หน่า พ่อชุมพลกรมสวัสดิการ เสนอว่า เลยไปอีกสัก 50 กิโลเมตรก็จะถึงสิงห์บุรี ที่นั่นไปอ�ำเภออินทร์บุรีมีอาหารจ�ำพวกปลาอร่อยมากน่า จะไปลองดู สมาชิกเราตอบทันทีว่าตกลงแต่ไปถึงแล้วไม่อร่อยหมายถึงเจ้าหน่าจะถูกถล่มเละแล้ว เราก็เดินทางกันต่อราว ๆ 45 นาที เราก็ถึงสิงห์บุรีแล้วเลี้ยวซ้ายต่อไปอินทร์บุรีอีกสิบกว่ากิโลเมตร ก็ถึงอ�ำเภออินทร์บุรี คนเจ้าของความคิดพาพวกเราไปถึงร้านอาหารที่อยู่ริมแม่น�้ำเจ้าพระยา แต่มองไม่เห็นแม่นำ�้ นะครับ เพราะเขาสร้างเขือ่ นริมน�ำ้ สูงมากเราเลยเห็นแต่กำ� แพงเขือ่ นแต่กต็ อนนัน้ ทุกคนมองดูอย่างเดียวครับ เมนู ไงครับแล้วค�ำสัง่ อาหารก็พรัง่ พรูออกมาหลายรายการเลย

14


ปีที่ 14, ต.ค. - พ.ย. 2558

จานแรกก็เสิร์ฟมาหลังจากรอมาสักพักหนึ่งหอมกรุ่นด้วยกลิ่นกะเพราฉุนมาเลย กบสั บ ผั ด กะเพราครั บ ตามมาด้ ว ยข้ า วสวยโถใหญ่ ทุ ก คนรี บ ตั ก ข้ า วเพื่ อ ชิ ม กบผั ด ยกเว้นพี่ไหมกะป้าแจ๋วพี่น�้ำตาลยังทานเลย แต่คนที่ผมสังเกตดูว่ากินอาหารจานนี้มากที่สุดคือ พ่ออ�ำพรครับแกทานด้วยความเอร็ดอร่อย อร่อยมากครับ จานที่สองตามมาด้วยพล่ากุ้งที่ใส่ พริกเผาย�ำมาพร้อมกับตะไคร้รสเข้มโรยสะระแหน่รสเจ็บเลยแล้วก็ตามมาด้วยกบทอดกระเทียมเนือ้ นุม่ อร่ อ ยจั ง แค่ ท านเปล่ า ๆ ก็ จั บ ใจถู ก ใจคอสุ ร านะครั บ ทอดมั น ปลากรายตามมารสปกติ แ ล้ ว จานอร่อยก็ตามมาอีกคือปลาเนื้ออ่อนฉู่ฉี่ใช้ปลาเนื้ออ่อนตัวไม่โตนักทอดกรอบราดพริกแกง แบบฉู่ฉี่แห้งรับรองคุณผู้หญิงทั้งหลายจะติดใจแน่นอนครับเอาไปห้าดาวเลย แล้วห้าดาวอีกจาน ก็ตามมาครับปลาเบี้ยวพวกปลาคางเบือนทอดราดเต้าเจี้ยว โอ๊ยสุดจะอร่อยครับผม ยอมรับเลยว่า สุดแสนอร่อยปลาทอดไม่กรอบนักราดหน้าด้วยเต้าเจี้ยวปรุงรสหอมกลิ่นเต้าเจี้ยวอร่อยนักละ อย่าลืมสัง่ จานนีน้ ะครับ ไม่สงั่ แล้วจะเสียใจ ต้มย�ำปลาม้าถูกน�ำมาวางบนโต๊ะพ่อหน่าตักเสิรฟ์ ทุกคน รสกลมกล่อมหัวหอมทุบพอแตกรสหวาน ใส่ต้มย�ำอร่อยมากครับแล้วอีกชามตามมา คือ ต้มข่า ปลาเค้าเปรีย้ วเจ็บได้ยนิ เสียงพ่ออ�ำพรสัง่ กบผัดกะเพราเพิม่ อีกจานด้วยความอร่อยของมัน ไม่มใี คร ค้านเลยแฮะ อีกจานหนึ่งที่ผมชิมตามนายแล้วยอมรับคือปลาผัดขึ้นฉ่ายครับ ไม่เคยทานปลาผัด ขึ้นฉ่ายร้านไหนอร่อยเท่าที่นี่เลยจริง ๆ ครับ รสจัดจ้านหอมกลิ่นผักขึ้นฉ่ายต้องขอเติมข้าว อีกหน่อยเลยครับ รสเข้มจานสุดท้าย คือ ลาบปลาทอดรสจัดจนต้องสั่งไข่เจียวหมูสับมาแก้เผ็ด แต่แล้วทุกรายการที่สั่งมาหมดเรียบไม่เหลือข้าวสองหม้อไม่พอ ต้องสั่งเพิ่มอีกสองจานน่ะครับ อิม่ แล้วต้องบอกชือ่ ร้านตามธรรมเนียมนะครับร้านนีช้ อื่ “ร้านอาหารริมน�ำ้ ” เขาบอกว่า นึกถึงปลามาริมน�้ำ เขาอยู่เลขที่ 39 ตลาดเก่าอินทร์บุรี อ�ำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรีนะครับ โทรไปได้ ค รั บ ที่ ห มายเลข 0-3658-1390 ผมแนะน� ำ ว่ า ถ้ า จะไปทานผ่ า นทางนั้ น เข้ า ทาง ถนนสายเอเชียหมายเลข 32 ทางเข้าอ�ำเภออินทร์บุรี ตรงเข้าไปผ่านธนาคารกสิกรไทย ไปจนถึง ธนาคารกรุงไทยเลยธนาคารนี้ไปหน่อย ก็เลี้ยวขวาแยกไม่ใหญ่นักสุดถนนจะเห็นร้านอาหารริมน�้ำ ทางซ้ายละครับ ผ่านไปทางอินทร์บุรีก็ลองไปชิมนะครับอาหารประเภทปลาที่เราไม่มีโอกาส หาทานได้ในกรุงเทพฯ มีให้เราได้ลิ้มรสอร่อยๆ ที่นั่นครับไม่ชิมก็ถือว่าผิดแน่ ๆ เลยครับ พบกันใหม่เล่มหน้านะครับ สวัสดีครับ เชิงชาย ชอบชิม

ที่มา https://www.google.co.th/webhp?hl=en

15


ปีที่ 14, ต.ค. - พ.ย. 2558

แค่คุณ ปรับเปลีย ่ น รู ป แบบการท� ำ งานของสาว ๆ ยุคนี้ส่งผลต่อความเจ็บป่วยทางจิตใจ และร่างกายมากทีเดียว จึงมีคนจ�ำนวน ไม่นอ้ ยประสบปัญหาอาการปวดเรือ้ รัง อั น เนื่ อ งมาจากการใช้ ชี วิ ต ที่ รี บ เร่ ง ท�ำงานในพืน้ ทีจ่ ำ� กัด และชีวติ ส่วนใหญ่ ถูกผูกติดอยูก่ บั โต๊ะและจอคอมพิวเตอร์ แทบตลอดเวลา พฤติกรรมเหล่านี้ล้วน เป็นที่มาของอาการออฟฟิศซินโดรม นั่นเองค่ะ

ปัญจิดา อยู่ผาสุข

ที่มา http://i.huffpost.com/gen/1810875/images/o-WORKAHOLIC-facebook.

ก็เลี่ยงออฟฟิศซินโดรมได้

LIFESTYLE

ไม่ใช่เพียงแค่ขาดการเคลือ่ นไหว ออฟฟิศซินโดรมยังหมายรวมไปถึง กลุ่มอาการในเรื่องของระบบทางเดินหายใจและภูมิแพ้ ผลจากการอยู่ใน ออฟฟิศที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวก เครื่องปรับอากาศที่ไม่สะอาด รวมไปถึง สารเคมีจากหมึกของเครือ่ งถ่ายเอกสาร เครือ่ งแฟกซ์ และเครือ่ งพิมพ์เอกสาร ซึ่งวนเวียนอยู่ภายในห้องท�ำงานอีกด้วย ออฟฟิศซินโดรม คือ กลุ่มอาการที่พบบ่อยในคนที่ท�ำงานในออฟฟิศ ซึ่งต้องนั่งท�ำงานตลอดเวลา แทบไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกายไปไหนมาไหน ท�ำให้กล้ามเนื้อเกิดการตึงเครียด เมื่อนั่งนาน ๆ เข้าจะก่อให้เกิด อาการกล้ามเนื้ออักเสบ ปวดเมื่อยหลัง ไหล่ คอ บ่า แขน ข้อมือ บางราย ปวดเกร็งอย่างรุนแรงจนหันคอ หรือก้มเงยไม่ได้เลย แต่ทงั้ นี้ คนส่วนใหญ่ทมี่ อี าการปวดเมือ่ ยตามร่างกายแล้วคิดว่าไม่เป็นอะไร คิดว่านวด หรือทายานวดบ่อย ๆ ก็คงหาย แต่หากยังไม่เปลีย่ นพฤติกรรม ปล่อย อาการปวดแบบนีท้ งิ้ ไว้นาน ๆ อาการจะยิง่ หนักขึน้ เรือ้ รังไปถึงขัน้ มีอาการ หมอนรองกระดูกเสือ่ ม หรือหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาทได้เลย ซึง่ จะท�ำให้มอี าการปวดคอ ปวดสะบัก อาจมีหนิ ปูน หรือกระดูกงอกมาเกาะไขสันหลัง ท�ำให้ปวดชาทีแ่ ขน มีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนือ้ ได้

16

ส�ำหรับผูท้ มี่ อี าการหมอนรองกระดูกสันหลังคอเสือ่ ม มักจะปวด ศีรษะ ได้ยินเสียงดังในหู ปวดกระบอกตา วิงเวียนเหมือนบ้านหมุน ยิ่งเคลื่อนไหว คอมากจะยิ่งปวด ต้องพบแพทย์เพื่อรักษา โดยต้องลดการ เคลือ่ นไหวของคอลง และออกก�ำลังกายกล้ามเนือ้ บริเวณคอร่วมกับทานยาระงับ ปวด และท�ำกายภาพบ�ำบัดเพือ่ บรรเทาอาการ แต่หากมีอาการกดทับเส้นประสาท มาก แพทย์จะต้องท�ำการผ่าตัดเพือ่ เอาหมอนรองกระดูกทีเ่ คลือ่ น หรือกระดูกงอก ทีก่ ดทับเส้นประสาทออกมา ซึง่ อาจต้องใช้โลหะดามกระดูกคอร่วมด้วย นอกจากบริเวณหลัง คอ บ่า ไหล่ แล้ว ส่วนข้อมือก็มีโอกาสเกิด อาการปวดได้เช่นกัน เพราะต้องใช้มอื ในการกดคียบ์ อร์ด คลิกเมาส์ เมือ่ กระดกข้อมือขึ้น - ลงซ�้ำ ๆ เป็นเวลานาน ก็ท�ำให้เกิดการอักเสบบริเวณ เส้นเอ็น รวมทัง้ เกิดภาวะพังผืดหนา ท�ำให้เกิดอาการชาบริเวณนิว้ และข้อมือ ตามมา บางคนเป็นถึงขนาดนิ้วล็อก ขยับนิ้วมือได้ล�ำบากต้องผ่าตัดรักษา แบบไหนที่เรียกว่า ออฟฟิศซินโดรม มีข้อมูลยืนยันว่า อาการนี้พบบ่อยและพบมากในกลุ่มคนท�ำงาน โดยเฉพาะกลุม่ สาวออฟฟิศ และด้วยวิถกี ารท�ำงานในพืน้ ทีจ่ ำ� กัดและขาดการ


ปีที่ 14, ต.ค. - พ.ย. 2558

อาการ ใกล้ตวั นีถ้ า้ เป็นมาก จะก่อกวนระบบประสาทอัตโนมัติ บริเวณคอและศีรษะ ท�ำให้ปวดเมื่อยคอ ตาพร่า หูอื้อ มึนศีรษะ หาก ละเลยไม่ใส่ใจอาจถึงขั้นวูบได้ ดังนั้นควรหมั่นสังเกตและใส่ใจตัวเอง อย่างสม�่ำเสมอค่ะ ออฟฟิศซินโดรม...เลีย ่ งได้ไม่ยาก อาการนี้แม้จะมีวิธีการรักษา แต่ก็ท�ำให้เสียทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย คงดีกว่าหากออฟฟิศซินโดรมจะไม่มากล�ำ้ กราย เพราะฉะนัน้ ต้องปรับเปลีย่ น พฤติกรรมรวมถึงอุปกรณ์บางอย่าง เพือ่ ช่วยลดความเสีย่ งกับอาการนีใ้ ห้นอ้ ยลง โดยปรับอุปกรณ์เครื่องใช้ส�ำนักงาน เริ่มจากคอมพิวเตอร์ หมายเลข 1. ตั้งจอคอมพิวเตอร์และคีย์บอร์ดไว้ในแนวตรงกับหน้า หมายเลข 2. ควรให้จออยู่ในมุมที่เหนือกว่าระดับตาเล็กน้อย หมายเลข 3. ขอบบนของจอคอมพิวเตอร์ ควรอยู่ระดับสายตา ในท่านั่งที่คุณรู้สึกสบาย หมายเลข 4. ใช้เมาส์ โดยพักข้อศอกบนที่รองแขน และสามารถ เคลื่อนไหวได้แบบไม่จ�ำกัดพื้นที่ หมายเลข 5. จอคอมพิวเตอร์ควรอยู่ห่างเท่ากับความยาวแขน ซึ่งเป็นระยะที่อ่านสบายตา โต๊ะ-เก้าอี้ หมายเลข 6. ควรปรับให้ขอบของเบาะเก้าอี้ต�่ำกว่าระดับเข่า หมายเลข 7. ปรับให้มีช่องว่างระหว่างขอบเก้าอี้กับขาด้านหลัง หมายเลข 8. ปรับทีว่ างคียบ์ อร์ดให้อยูใ่ นระดับข้อศอก ท�ำมุม 90 องศา หมายเลข 9. ปรับที่รองแขนให้อยู่ระดับข้อศอกและไหล่อยู่ใน ระดับที่ผ่อนคลาย หมายเลข 10. ลองนั่งบนเก้าอี้ แล้ววางเท้าลงบนพื้น ให้ขาท�ำมุม ประมาณ 90 องศา เคลื่อนไหว ท�ำให้เกิดอาการออฟฟิศซินโดรมขึ้นได้ไม่ยาก อยากรู้ว่า ตัวเอง หมายเลข 11. ปรับพนักพิงให้รองรับกับหลังส่วนล่าง ถ้าไม่ เสี่ยงกับอาการนี้หรือไม่ ให้คุณลองสังเกตตัวเองดูว่า สามารถท�ำได้ใช้หมอนหนุนหลังส่วนล่าง - มักจะนั่งท�ำงานติดต่อกันนาน ๆ - เพ่งจอคอมพิวเตอร์ติดต่อกันนานเกิน 1 ชั่วโมง แค่ปรับเปลีย่ นพฤติกรรม และอุปกรณ์หลักทีต่ อ้ งใช้แล้ว ควรให้ - โต๊ะ-เก้าอี้ ที่ใช้นั่งท�ำงานไม่สะดวกสบาย ความส�ำคัญเรื่องออกก�ำลังกายด้วย โยคะเป็นการออกก�ำลังกายที่ - นัง่ ใกล้เครือ่ งถ่ายเอกสาร เครือ่ งแฟกซ์ หรือเครือ่ งพิมพ์เอกสาร เหมาะสมมาก เพราะยืดเหยียดกล้ามเนือ้ ส่วนต่าง ๆ ได้ดี รวมถึงการ ถ้าค�ำตอบคือ ใช่ เพียงแค่ 1 ข้อ ก็ถือว่ามีความเสี่ยงแล้ว แต่อย่าเพิ่ง ออกก�ำลังกายด้วยวิธอี นื่ ๆ เพือ่ เสริมสร้างความแข็งแรงของสุขภาพและ ตกใจไปค่ ะ เพี ย งลุ ก ขึ้ น บิ ด ตั ว ขยั บ ซ้ า ย-ขวา จะช่ ว ยให้ อ าการดี ขึ้ น กล้ามเนือ้ เพียงเท่านี.้ ..ออฟฟิศซินโดรมไม่มากล�ำ้ กรายให้วนุ่ วายแล้วค่ะ เพราะอาการดังกล่าวเกิดมาจากความเมือ่ ยล้าในการท�ำงาน ต�ำแหน่งทีม่ กั จะ เกิดอาการปวดเมื่อย คือ คอ สะบักและศีรษะ รองลงมาคือ บริเวณหลัง บางครั้งมีอาการมือชาด้วย แต่บางคนอาจมีอาการเกีย่ วกับระบบทางเดินหายใจ อาจรูส้ กึ หายใจ ไม่เต็มที่ หายใจไม่สะดวก อึดอัด นอกจากนี้ความเครียดจากการท�ำงาน ไม่ว่าจะเป็นความเครียดจากการท�ำงาน หรือเครียดจากร่างกายซึ่งอยู่ใน ท่าทีไ่ ม่เหมาะ อุณหภูมหิ อ้ งร้อนหรือเย็นเกินไป และเลือดไหลเวียนไม่สะดวก ขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก ท�ำให้อาการออฟฟิศซินโดรมชัดเจนยิ่งขึ้น นิตยสาร Modern Mom และ kapook.com

17


7 ข้อ

ปีที่ 14, ต.ค. - พ.ย. 2558

MOL AROUND THE WORLD ส�ำนักงานแรงงานในประเทศมาเลเซีย

ควรระวัง ก่อนไปท�ำงาน มาเลเซีย การไปท� ำ งานในต่ า งประเทศ เป็นสิง่ ทีใ่ ฝ่ฝนั ส�ำหรับคนไทยหลายๆ คน เพราะคาดหวังว่าจะได้รับค่าจ้างที่สูง และสามารถส่งเงินกลับให้ครอบครัวได้ มาเลเซี ย จึ ง เป็ น จุ ด มุ ่ ง หมายหนึ่ ง ของหลาย ๆ คน อย่างไรก็ตาม ในการ ไปท�ำงานทีม่ าเลเซีย จะต้องตรวจสอบ ข้ อ มู ล ต่ า งๆ เพื่ อ ให้ แ น่ ใจว่ า จะไม่ ถูกหลอก และสามารถท�ำงานเก็บเงิน ได้ตามฝัน

กระทรวงแรงงาน โดยส� ำ นั ก งานแรงงานในประเทศมาเลเซี ย 2. ไม่เห็น/ไม่อ่านสัญญาจ้าง จึ ง ขอให้ แรงงานที่ มี ค วามประสงค์ จ ะไปท� ำ งานในประเทศมาเลเซี ย สัญญาจ้างเป็นสิ่งที่ส�ำคัญมากที่สุด เพราะทันทีที่เราเซ็นแล้ว ตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นก่อนที่จะตกลงเข้าไปท�ำงาน หากการเดินทาง นัน่ หมายความว่าจะต้องผูกพันปฏิบตั ติ าม มีสทิ ธิหน้าที่ และความรับผิดชอบ ไปท�ำงานตรงกับข้อใดข้อหนึง่ แสดงว่าเราอาจเป็นกลุม่ เสีย่ งทีจ่ ะถูกหลอก ตามสัญญาทีท่ า่ นเซ็น ยิง่ ไม่เห็นสัญญาจ้างยิง่ มีความเสีย่ งสูงทีจ่ ะถูกเอาเปรียบ หรือไม่ได้รับความเป็นธรรมในการท�ำงานได้ ดังนัน้ การไปท�ำงานต้องมีสญ ั ญาจ้างทีช่ ดั เจน ถ้าแรงงานไม่เคยเห็นสัญญาจ้าง หรือนายจ้างไม่มสี ญ ั ญาจ้าง เป็นสัญญาปากเปล่า ให้สงสัยไว้กอ่ นว่าอาจจะ ถูกหลอก หรือไม่ได้รับความเป็นธรรมในการท�ำงาน เพราะนายจ้าง 1. ได้รบั การแนะน�ำจากบุคคล/สือ่ ทีไ่ ม่รจู้ กั หรือรูจ้ กั เพียงผิวเผิน อาจยกข้ออ้างต่างๆ เพือ่ เรียกร้องจากแรงงานภายหลัง ปั จ จุ บั น มี ค นท� ำ หน้ า ที่ เ ป็ น นายหน้ า หางานให้ กั บ นายจ้ า ง หากมีสญ ั ญาจ้าง ควรอ่านและตรวจสอบให้ละเอียด โดยเฉพาะ ในมาเลเซียเป็นจ�ำนวนมาก อาจจะเป็นคนทีเ่ รารูจ้ กั หรือบุคคลทีม่ หี น้าตา อัตราค่าจ้าง วันหยุด การลา การหักเงิน ที่พักอาศัย การจัดอาหารให้ ควร ในสังคม หรือได้รบั แจกใบปลิวโฆษณาชวนเชือ่ บนรถทัวร์ เพราะโฆษณาเหล่านี้ ตรวจสอบให้ครบถ้วนว่ามีตามที่แจ้งไว้หรือไม่ รวมไปถึงเงื่อนไขการขอ มั ก จะมี ก ารอวดอ้ า งว่ า จะได้ รั บ การั น ตี เ งิ น เดื อ นขั้ น ต�่ ำ ในอั ต ราที่ สู ง ยกเลิกสัญญา หากแรงงานต้องการจะกลับบ้านก่อนหมดสัญญาจะต้อง (30,000 – 40,000 บาทขึน้ ไป) หรือได้ทปิ เป็นเงินหลายหมืน่ บาท รวมไปถึง จ่ายเงินให้กับนายจ้างจ�ำนวนเท่าใด นายหน้าหลายรายมีการประกาศตามสือ่ ออนไลน์ไม่วา่ จะเป็น Facebook, Line หรือเว็บไซต์ตา่ งๆ ยิง่ ต้องระวังให้มากเพราะเราไม่ได้เห็นภาพทีแ่ ท้จริง 3. เดินทางโดยไม่มีหนังสือขออนุมัติวีซ่า (Calling Visa) อย่าเพิ่งเคลิ้มหลงแค่กับตัวเลขรายได้ที่เขาบอก ถ้าไม่ใช่ผู้ที่เราไว้ใจจริงๆ การเดินทางไปท�ำงานที่ประเทศมาเลเซีย แรงงานจะต้องได้รับ ให้สงสัยไว้กอ่ นว่าอาจจะถูกหลอก หนังสือขออนุมัติวีซ่า (Calling Visa) เพื่อไปขอท�ำ Single Entry Visa

18


ทีม่ า https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Flag_of_Malaysia.svg (ธง) , http://theartmad.com/labor-day-images-wallpapers-and-graphics/ (รูปภาพมือ)

ปีที่ 14, ต.ค. - พ.ย. 2558

โดยในตอนนี้มี 3 โรงพยาบาล คือ โรงพยาบาลนอร์ทอีสเทอร์นวัฒนา (อุดรธานี) โรงพยาบาลเอกชัย (สมุทรสาคร) และโรงพยาบาลเปาโล เมโมเรียล โชคชั ย 4 (กรุ ง เทพฯ) หากนายจ้ า งบอกให้ แรงงานไปตรวจสุ ข ภาพ โรงพยาบาลอืน่ หรือขอรับใบรับรองแพทย์จากคลินกิ ใดก็ได้ ให้ตงั้ ขอสงสัย ว่าผู้ให้ข้อมูลนั้นอาจหลอกลวงหรือไม่รู้ข้อมูล ครั้งที่สอง เมื่อแรงงาน เดินทางถึงประเทศมาเลเซีย นายจ้างจะรีบจัดการให้ท่านไปตรวจสุขภาพ กับคลินกิ ในสังกัด FOMEMA อีกครัง้ เพือ่ ประกอบการขอใบอนุญาตท�ำงาน (Work Permit) ถ้านายจ้างไม่ด�ำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือนแรก แรงงานจะไม่สามารถขอใบอนุญาตท�ำงาน (Work Permit) ได้ 6. เดินทางเข้ามาทดลองท�ำงานก่อน 1 เดือน นายจ้างหรือนายหน้าหลายรายมักเสนอทางเลือกให้แรงงาน เข้าไปทดลองท�ำงานก่อน 1 เดือน และแจ้งว่าหากแรงงานไม่พอใจจะ สามารถเดินทางกลับโดยไม่ต้องท�ำงานต่อได้ ซึ่งแรงงานไทยจ�ำนวนมาก โดยเฉพาะพนักงานนวด มักจะได้รับข้อมูลเหล่านี้ และมักจะลงเอยด้วย การถูกนายจ้างหลอกให้ท�ำงานฟรี และต้องเสียค่าใช้จ่ายจ�ำนวนมาก หากจะเดินทางกลับ หรืออาจถูกบังคับให้ท�ำงานโดยไม่มีใบอนุญาตด้วย

7. ใจบอกว่าการเดินทางไปท�ำงานครั้งนี้มีความเสี่ยง ข้อสุดท้าย คือ ลองถามใจตัวเองว่า รู้สึกว่าเราก�ำลังเสี่ยงหรือ ก�ำลังจะถูกหลอกหรือไม่ ถ้ารูส้ กึ เอะใจขึน้ มา ขอให้ทบทวนตรวจสอบข้อมูล โดยละเอียด โดยเฉพาะอย่างยิง่ ต้องรูช้ อื่ นายจ้าง บริษทั /ร้านทีจ่ ะไปท�ำงาน พิกัดสถานที่ท�ำงาน หมายเลขโทรศัพท์ หากจะเดินทางไปแล้วยังไม่ทราบ (วีซ่า 3 เดือน) ที่สถานเอกอัครราชทูตมาเลเซียในกรุงเทพมหานคร หรื อ ไม่ ไ ด้ รั บ แจ้ ง ข้ อ มู ล เหล่ า นี้ ให้ สั น นิ ษ ฐานเลยว่ า ก� ำ ลั ง ตกอยู ่ ใ น หรือสถานกงสุลในจังหวัดสงขลาตามที่หนังสือระบุ หากเดินทางโดยไม่ได้ สถานการณ์เสี่ยง และที่ส�ำคัญอย่าหลอกหรือปลอบใจตัวเองว่าไม่เป็นไร Calling Visa แสดงว่ายังไม่ได้รับอนุญาตให้ไปท�ำงานในมาเลเซีย และ เพราะเมื่อพลาดไปแล้วผลที่จะได้รับมันจะไม่คุ้มกัน และอาจหมายถึง เราจะกลายเป็นผู้เดินทางไปท�ำงานโดยผิดกฎหมายทันที ความสูญเสียที่ไม่สามารถแก้ไขหรือเยียวยาได้ 4. อายุเกิน 45 ปี มาเลเซียก�ำหนดให้แรงงานต่างชาติที่จะมาท�ำงานที่ประเทศ มาเลเซียต้องมีอายุไม่เกิน 45 ปี (ยกเว้นแรงงานทีไ่ ด้รบั ใบอนุญาตประเภท เชี่ยวชาญระดับสูง ซึ่งถือใบอนุญาตท�ำงานประเภท Employment Pass) โดยจะไม่ออกใบอนุญาตท�ำงาน (Work Permit) ให้ ดังนั้น หากแรงงาน มีอายุเกิน 45 ปี จะไม่สามารถไปท�ำงานที่ประเทศมาเลเซียได้โดยเด็ดขาด

ท้ายนี้ สิ่งที่จะต้องจ�ำให้ขึ้นใจก็คือ หากจะเข้าไปท�ำงานโดย ผิดกฎหมาย จะไม่สามารถเรียกร้องใดๆ ได้เลย ไม่วา่ เป็นนายจ้าง หรือ จากทางการมาเลเซีย ด้วยเหตุผลทีว่ า่ เมือ่ เข้าไปท�ำงานโดยผิดกฎหมาย ก็จะไม่สามารถเรียกร้องสิทธิตามกฎหมายได้ หากต้องการปรึกษา สามารถติดต่อได้ที่ส�ำนักงานจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ทั่วประเทศ หรื อ ส� ำ นั ก งานแรงงานในประเทศมาเลเซี ย หมายเลขโทรศั พ ท์ +603 2145 5868 หรือ +603 2145 6004 เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้ให้ 5. ไม่ได้ตรวจสุขภาพทัง้ ก่อนการเดินทางออกจากประเทศไทย ความช่วยเหลือต่อไป และเมื่อเดินทางไปถึงประเทศมาเลเซีย การไปท�ำงานที่มาเลเซีย แรงงานจะต้องตรวจสุขภาพ 2 ครั้ง ครัง้ แรก ก่อนทีจ่ ะได้รบั Calling Visa แรงงานจะต้องเข้ารับการตรวจสุขภาพก่อน โดยสามารถไปตรวจได้เฉพาะโรงพยาบาลที่ติดตั้งระบบ FWCMS เท่านั้น

19


MOL ปีที่ 14, ต.ค. - พ.ย. 2558

IT SOCIETY

ปริยรณ พรหมสาขา ณ สกลนคร

WinZip VS WinRAR - ต่างกันไหม...? -

Q: มี ป ั ญ หาเรื่ อ งโปรแกรมจะถาม คือว่า WinZip กับ WinRAR ใช้งานต่างกัน หรือไม่ จ�ำเป็นต้องใช้ทงั้ สองตัวเลยหรือเปล่า หรือว่าสลับกันใช้ได้ ติดตั้งด้วยกันได้หรือไม่ จะมีผลต่อระบบหรือเปล่า A: WinZip และ WinRAR ต่างก็เป็น โปรแกรมที่ใช้ส�ำหรับบีบอัดข้อมูลด้วยกันทั้งคู่ ในอดีต WinZip มาก่อน ไฟล์ตระกูล ZIP จึงเป็น มาตรฐานที่ค่อนข้างกว้างขวางมากกว่า มีใช้กัน

20

ทั่ ว ไปและเป็ น มาตรฐานส� ำ หรั บ ไฟล์ บี บ อั ด แต่สว่ น WinRAR เป็นโปรแกรมทีเ่ กิดขึน้ มาทีหลัง จุดเด่นของมันก็คือไฟล์ RAR ที่ได้รับความนิยม มากขึ้นจนเทียบเท่ากับ ZIP แล้ว แถมยังมีอัตรา การบีบอัดข้อมูลที่สูงกว่าท�ำให้ไฟล์เล็กและตัว WinRAR เองยังสามารถรองรับไฟล์บีบอัดได้ หลายตระกู ล รวมถึ ง ZIP และไฟล์ แ ปลกๆ อย่ า ง ISO ด้ ว ย ท� ำ ให้ ค นนิ ย มใช้ WinRAR กั น มากกว่ า เพราะตั ว เดี ย วใช้ ไ ด้ กั บ ไฟล์ เกือบทุกนามสกุล


ปีที่ 14, ต.ค. - พ.ย. 2558

- ตั้งค่ารับมือ -

ไฟล์ Word เสีย ในการท�ำงานเอกสารหรือซอฟต์แวร์ ออฟฟิ ศ บางครั้ ง ก� ำ ลั ง พิ ม พ์ ง านอยู ่ อ ย่ า ง เมามันปรากฏว่าไฟดับ ฟ้าผ่า เพาเวอร์ระเบิด เกิ ด อาการชั ก กระตุ ก จนท� ำ ให้ เ ครื่ อ งดั บ เปิดเครื่องมาอีกทีไฟล์ที่พิมพ์เกิดเปิดไม่ได้ หรือไฟล์หายไปดือ้ ๆ แน่นอนว่า วิกฤตเกิดขึน้ แน่ น อนจะมานั่ ง พิ ม พ์ ใ หม่ ก็ เ สี ย เวลา นึ ก เนือ้ หาก็ไม่ออก หากไม่ตอ้ งการให้เป็นเช่นนัน้ ต้องมาดูวิธีป้องกันด้วยการตั้งค่าให้ระบบ ท� ำ การตั้ ง ไฟล์ ส� ำ รองและท� ำ การบั น ทึ ก ให้ อัตโนมัติ

2. เลื่ อ นไปที่ หั ว ข้ อ Save แล้ ว ใส่ เครื่องหมายที่ Always Create Backup copy จากนัน้ คลิก OK เพือ่ เป็นการยืนยันการท�ำงาน

3. เสร็จแล้วไปที่หัวข้อ Save ที่เมนูหลัก ด้านซ้ายมือ ดูทหี่ วั ข้อ Save Document แล้วเลือก ที่หัวข้อ Save AutoRecover Information Every จากนั้นก�ำหนดว่า ต้องการให้ระบบเซฟงาน ให้อัตโนมัติทุกๆ กี่นาที จากนั้น คลิกที่ OK อีกครั้ง เพียงเท่านี้ระบบก็จะมีการส�ำรองไฟล์ งานดั ง กล่ า วไว้ หากเกิ ด ความเสี ย หายกั บ ไฟล์หลัก ก็จะมีไฟล์เก็บไว้ก่อนหน้านี้น�ำมาใช้ได้ 1. เริ่มด้วยการเปิดหน้าโปรแกรม Word ด้วยการเข้าไปที่ C:\Users\xxx\AppData\Roamขึ้นมาเสียก่อน หากเป็น Office 2003 และ 2007 ing\Microsoft\Word ซึ่ ง ขึ้ น อยู ่ กั บ การตั้ ง ค่ า ให้ไปคลิกที่มุมบนด้านซ้ายที่เป็นโลโก้ Office การเซฟด้วยว่ามีความถี่มากน้อยเพียงใด จากนั้นเลือกที่ Option ส่วนถ้าเป็น Office 2010 ให้คลิกที่แทป File แล้วเลือกที่ Option จากนั้น คลิกที่เมนู Advance

21


เจาะกิจกรรมส่วนกลาง

ปีที่ 14, ต.ค. - พ.ย. 2558

ปริยรณ พรหมสาขา ณ สกลนคร ข้อมูล : ฝ่ายข้อมูลข่าวสาร

รมว.แรงงาน รับเครือ่ งราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดทางทหาร จากรัฐบาลสิงคโปร์ รั ฐ มนตรี ว ่ า การกระทรวงแรงงาน รั บ มอบเครื่ อ งราชอิ ส ริ ย าภรณ์ ชั้ น สู ง สุ ด ทางทหารจากประธานาธิบดีสิงคโปร์ เนื่องในความสัมพันธ์ที่ดีและให้การสนับสนุนการ แลกเปลี่ยนการฝึกทางทหารสมัยด�ำรงต�ำแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหม พร้อมตรวจเยี่ยม ความเป็นอยูข่ องแรงงานไทย ย�ำ้ ห่วงใยสุขภาพแรงงานไทย ชืน่ ชมทุกคนท�ำงานอย่างเต็มที่ มีฝีมือเป็นที่ยอมรับของนายจ้างสิงคโปร์

รมว.แรงงาน ต้อนรับ รมว.แรงงานและทรัพยากร มนุษย์แห่งราชอาณาจักรภูฏาน กระชับความร่วมมือด้านแรงงาน เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2558 H.E. Lyonpo Ngeema Sangay Tshempo รั ฐ มนตรี ว ่ า การกระทรวงแรงงานและ ทรัพยากรมนุษย์ภูฏาน ได้เข้าพบรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงแรงงาน (พลเอก ศิรชิ ยั ดิษฐกุล) เพื่อแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสเข้ารับ ต� ำ แหน่ ง ใหม่ และกระชั บ ความร่ ว มมื อ ด้านแรงงานระหว่างสองประเทศ โดยได้มี การหารือถึงความก้าวหน้าการจัดท�ำบันทึก ความเข้ า ใจระหว่ า งกระทรวงแรงงาน ของไทยและกระทรวงแรงงานและ ทรัพยากรมนุษย์ภฏู าน ซึง่ ทัง้ สองฝ่ายยืนยัน จะด�ำเนินการร่วมกันและจะมีการหารือใน รายละเอียดเพือ่ น�ำไปสูก่ ารลงนามในบันทึก ความเข้าใจฯ ในโอกาสต่อไป

22

รมว.แรงงาน ย�้ำ วิสัยทัศน์ปี ’63 ไทย ‘ปลอด’ การใช้แรงงานเด็ก ในรูปแบบทีเ่ ลวร้าย รั ฐ มนตรี ว ่ า การกระทรวงแรงงาน ย�้ ำ วิสยั ทัศน์ปี 2563 ประเทศไทยไม่มกี ารใช้แรงงาน เด็ ก ในรู ป แบบที่ เ ลวร้ า ย หารื อ ทุ ก ภาคส่ ว น พิจารณาจัดท�ำร่างยุทธศาสตร์ชาติฯ ปี 2558-2563 พร้อมน�ำสูก่ ารปลดล็อกสินค้า 5 รายการ ก�ำหนด เป้ า หมายความส� ำ เร็ จ รั บ ยุ ท ธศาสตร์ ช าติ ฯ คืบหน้าเตรียมเสนอรายงานสถานการณ์การ ใช้ แรงงานเด็ ก ในรู ป แบบที่ เ ลวร้ า ย ปี 2558 ให้ ครม.พิจารณาภายในเดือนพฤศจิกายนนี้


ปีที่ 14, ต.ค. - พ.ย. 2558

ก.แรงงาน จับมือเครือข่าย เข้าถึงคนพิการ ส่งเสริมอาชีพ ให้มงี านท�ำในชุมชน ก.แรงงาน จับมือมูลนิธินวัตกรรมเพื่อ สังคม และหลายภาคส่วนพิจารณาแนวทางการ จ้ า งงาน และส่ ง เสริ ม อาชี พ คนพิ ก ารได้ มี งานท�ำในชุมชน และองค์กรสาธารณประโยชน์ ด้าน ‘ปลัดแรงงาน’ เผย หลายภาคส่วนต้องเดิน เข้าหาคนพิการ พร้อมบริหารจัดการให้มีการ จ้างงาน ส่งเสริมอาชีพภายใต้แนวทางเดียวกัน คาดปลายเดื อ นตุ ล าคมนี้ ไ ด้ แ นวทางข้ อ สรุ ป ที่ชัดเจน

ก.แรงงาน เดินหน้า...‘ท�ำงาน เชิงรุก’ หนุนเครือข่ายให้เข้มแข็ง สร้างวัฒนธรรมความ ปลอดภัย เน้น!! การป้องกัน

ก.แรงงาน เปิดศูนย์ปฏิบต ั กิ าร ป้องกันการค้ามนุษย์ฯ พร้อมท�ำงาน 3 ระยะ รายงานผลทุกพฤหัสฯ หม่ อ มหลวงปุ ณ ฑริ ก สมิ ติ ปลั ด กระทรวงแรงงาน เปิดศูนย์ปฏิบัติการป้องกัน การค้ า มนุ ษ ย์ ด ้ า นแรงงาน ก.แรงงาน ย�้ ำ ท�ำงาน 3 ระยะ จัดเจ้าหน้าทีท่ กุ กรมบูรณาการ ข้อมูล สรุปผลรายงาน ‘รัฐมนตรีแรงงาน’ ทุก วันพฤหัสบดี พร้อมเดินหน้าจัดท�ำยุทธศาสตร์

ทุก 1 เดือน 3 เดือน 6 เดือน ติดตามก�ำกับ ความก้าวหน้า รวบรวมข้อมูลหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องด้านการป้องกันการค้ามนุษย์ ย�้ำจัด ท�ำรายงานร่าง (Tip Report) ให้แล้วเสร็จ ภายในธันวาคมนี้

ห ม ่ อ ม ห ล ว ง ปุ ณ ฑ ริ ก ส มิ ติ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวในฐานะประธาน เปิดการอบรมการบูรณาการโครงการสร้าง ความปลอดภัยขั้นพื้นฐานในองค์กรภาครัฐ และรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2559 -2561 และ โครงการประชุมชี้แจงมาตรฐานกฎหมาย ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพ แวดล้ อ มในการท� ำ งานแก่ เจ้ า หน้ า ที่ ว ่ า พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงแรงงาน ให้ความส�ำคัญในเรื่อง ข อ ง ค ว า ม ป ล อ ด ภั ย เ ป ็ น อ ย ่ า ง ม า ก การอบรมฯ ดังกล่าวนับว่ามีความส�ำคัญ เป็นอย่างยิ่งที่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานทั้งใน ส่วนกลางและส่วนภูมิภาคจะได้น�ำความรู้ ตลอดทั้ ง ข้ อ กฎหมายที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การ ปฏิบตั งิ าน เพือ่ แนะน�ำ ชีแ้ จงให้แก่หน่วยงาน ราชการ นายจ้ า ง ลู ก จ้ า ง ด� ำ เนิ น การ ตามมาตรฐาน ในการบริหารจัดการด้าน ความปลอดภั ย และสามารถบั ง คั บ ใช้ กฎหมายได้อย่างถูกต้องและเป็นธรรม

23


ปีที่ 14, ต.ค. - พ.ย. 2558

/1

/2

เจาะกิจกรรมเด่นส่วนภูมิภาค ปัญจิดา อยู่ผาสุข

เจาะกิ จ กรรมเด่ น ส่ ว นภู มิ ภ าคฉบั บ นี้ สร้างรอยยิ้มให้ประชาชนในพื้นที่ต�ำบลแม่วะ ได้รวบรวมภาพความประทับใจในการท�ำงาน หลวง ณ โรงเรี ย นบ้ า นแม่ อ มกิ จั ง หวั ด ตาก ของหน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงานในส่วน โดยมีผวู้ า่ ราชการจังหวัดตาก เป็นประธานโครงการ ภูมภิ าค เก็บไว้ในความทรงจ�ำและเล่าสูก่ นั ฟัง เพือ่ เป็นขวัญและก�ำลังใจในการท�ำงานกันต่อไป 3. หน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงาน จังหวัดมหาสารคาม ออกให้บริการประชาชนฟรี 1. หน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงาน เพือ่ ให้ความสะดวกในการรับบริการแก้ไขปัญหา จังหวัดกาฬสินธุ์ ออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ความเดือดร้อนของประชาชน โดยมี ผูว้ า่ ราชการ พอ.สว. โครงการจังหวัดเคลื่อนที่บ�ำบัดทุกข์ จั ง หวั ด มหาสารคาม เป็ น ประธานในพิ ธี เ ปิ ด บ�ำรุงสุข จังหวัดกาฬสินธุ์ ณ โรงเรียนจุมจังอุปกรณ์ โครงการฯ เจริญเวทย์ จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยมี ท่านผู้ว่า ราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นประธานในงาน 4. หน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงาน จังหวัดนครนายก ร่วมออกให้บริการประชาชน 2. หน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงาน ในโครงการ บ�ำบัดทุกข์ บ�ำรุงสุข สร้างรอยยิ้ม จังหวัดตาก ออกหน่วยบริการเคลื่อนที่ตาม ให้ แ ก่ ป ระชาชนจั ง หวั ด นครนายก ครั้ ง ที่ 1 โครงการจังหวัดเคลื่อนที่ บ�ำบัดทุกข์ บ�ำรุงสุข ประจ�ำปีงบประมาณ 2559

/3

24

/4


สมาคมแม่บ้านแรงงาน

ปีที่ 14, ต.ค. - พ.ย. 2558

ปริยรณ พรหมสาขา ณ สกลนคร ข้อมูล : ฝ่ายข้อมูลข่าวสาร

สมาคมแม่บ้าน แรงงานกับ ภารกิจ “อาทร” ต่อสังคม สวัสดีครับ ท่านผูอ้ า่ นวารสารแรงงาน ที่รักทุกท่าน คอลัมน์สมาคมแม่บ้านแรงงาน กับภารกิจ “อาทร” ต่อสังคม กลับมาพบกับ ทุกท่านพร้อมกิจกรรมดี ๆ มาให้ทา่ นผูอ้ า่ น ได้รบั ทราบกันเช่นเคยนะครับ • กระทรวงแรงงาน ส่ งมอบงานนายก สมาคมแม่บ้านแรงงาน นางวนิดา ศิลปอาชา นายกสมาคม แม่บ้านแรงงาน ส่งมอบงานสมาคมแม่บ้าน แรงงานให้กับ หม่อมหลวงปุณฑริก สมิติ อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ว่าที่ นายก สมาคมแม่บ้านแรงงานคนใหม่ และมอบ ของที่ ร ะลึ ก ให้ กั บ สมาชิ ก สมาคมแม่ บ ้ า น แรงงานที่ เ กษี ย ณอายุ ร าชการ เมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๕๘ เวลา ๑๑.๓๐ น. ณ ร้านสมบูรณ์โภชนา อาคารจามจุรสี แควร์

25


ปีที่ 14, ต.ค. - พ.ย. 2558

กฎหมายแรงงาน ต้องรู้ส�ำหรับ คนท�ำงาน

เมื่อเอ่ยถึงกฎหมาย คนท�ำงานหลายคนจะรู้สึกว่าเป็นเรื่อง ไกลตัว และไม่ค่อยจะเกี่ยวข้องกับการท�ำงานสักเท่าไรนัก แต่ในความ เป็นจริงแล้ว กฎหมายแรงงานไม่ใช่เรือ่ งไกลตัว แต่เป็นเรือ่ งทีค่ นท�ำงาน ทุกคนต้องรู้ เพราะเราจะได้ปกป้องสิทธิของตนเอง ไม่ให้นายจ้างมา เอารัดเอาเปรียบเราได้ กฎหมายแรงงานที่ ค นท� ำ งานทุ ก คนต้ อ งรู ้ นั้ น มี อ ะไรบ้ า ง ที่คนท�ำงานทุกคนต้องรู้ หากปฏิเสธว่าไม่จ�ำเป็นต้องรู้ ไม่เพียงแต่เรา จะคุยกับคนท�ำงานคนอืน่ ๆ ไม่รเู้ รือ่ งเท่านัน้ แต่ยงั ท�ำให้เราอาจจะต้อง เสียสิทธิที่เราควรจะมีไปอย่างง่ายดาย กฎหมายแรงงานพื้นฐานที่คน ท�ำงานควรรู้ มีดังต่อไปนี้ หลักฐานการท�ำงาน นายจ้างทีม่ ลี กู จ้างตัง้ แต่ 10 คนขึน้ ไป ต้องจัด ให้มขี อ้ บังคับเกีย่ วกับการท�ำงานปิดประกาศโดยเปิดเผย ณ สถานทีท่ ำ� งาน ของลูกจ้าง เงินประกัน ห้ามเรียกเงินประกันการท�ำงานหรือความเสียหายใน การท�ำงานจากลูกจ้าง ยกเว้นลูกจ้างที่ท�ำงานเกี่ยวกับการเงินหรือทรัพย์สิน ของนายจ้าง ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้างได้ เมื่อนายจ้างเลิกจ้าง หรือลูกจ้างลาออก หรือสัญญาประกันสิ้นอายุ ให้นายจ้างคืนเงินประกันพร้อมดอกเบี้ยให้แก่ลูกจ้างภายใน 7 วัน ห้ามเรียกหรือรับเงินประกันจากลูกจ้างเด็ก (อายุ 15 ปี ถึงต�ำ่ กว่า 18 ปี) การเปลีย่ นตัวนายจ้าง กรณีเปลีย่ นตัวนายจ้าง ให้นายจ้างใหม่ รับ ทั้งสิทธิและหน้าที่ของลูกจ้างที่มีอยู่เดิมทุกประการ การปฏิบัติที่เท่าเทียมกัน นายจ้างต้องปฏิบัติต่อลูกจ้างชายและ หญิงเท่าเทียมกันในการจ้างงาน เว้นแต่ลักษณะหรือสภาพของงานไม่อาจ ปฏิบัติเช่นนั้นได้ การล่วงเกินทางเพศ ห้ามนายจ้าง หรือหัวหน้างาน ผูค้ วบคุมงาน หรือผูต้ รวจงานกระท�ำการล่วงเกินทางเพศต่อลูกจ้างหญิงหรือเด็ก เวลาท�ำงานปกติ งานทุกประเภทไม่เกิน 8 ชั่วโมง/วัน และไม่เกิน 48 ชั่วโมง/สัปดาห์ งานที่ อ าจเป็ น อั น ตรายต่ อ สุ ข ภาพและความปลอดภั ย ไม่ เ กิ น 7 ชั่วโมง/วัน และไม่เกิน 42 ชั่วโมง/สัปดาห์

26

มุมกฎหมายแรงงาน

รภัสสา พานิกุล ข้อมูล : กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน


ที่มา http://www.constructionequipmentguide.com/viewpicture.asp?id=16174

ท่ีมา http://images.medicaldaily.com/sites/medicaldaily.com/files/2014/04/26/tired-office-worker.jpg

ปีที่ 14, ต.ค. - พ.ย. 2558

การท�ำงานล่วงเวลา ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง แต่ถ้าเป็น งานซึ่งต้องท�ำติดต่อกันไปถ้าหยุดจะเสียหายแก่งาน หรือเป็นงานฉุกเฉิน นายจ้างอาจให้ลูกจ้างท�ำงานล่วงเวลาได้เท่าที่จ�ำเป็น การท�ำงานในวันหยุด ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง เว้นแต่ งานที่ต้องท�ำติดต่อกันไป ถ้าหยุดจะเสียหายแก่งาน และงานฉุกเฉิน หรือ กิจการโรงแรม สถานมหรสพ งานขนส่ง ร้านอาหาร ร้านขายเครื่องดื่ม สโมสร สมาคม หรือสถานพยาบาล นายจ้างอาจให้ลกู จ้างท�ำงานในวันหยุด ได้เท่าที่จ�ำเป็น ชัว่ โมงท�ำงานล่วงเวลาและชัว่ โมงท�ำงานในวันหยุดในงานทุกประเภท รวมแล้วไม่เกิน 36 ชั่วโมง เว้นแต่งานซึ่งท�ำติดต่อกันไป และงานฉุกเฉิน นายจ้างสั่งให้ท�ำได้เท่าที่จ�ำเป็น ห้ามท�ำงานล่วงเวลาและในวันหยุดในงานที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และความปลอดภัยของลูกจ้าง เวลาพัก ไม่น้อยกว่าวันละ 1 ชั่วโมง หลังจากลูกจ้างท�ำงานมาแล้ว ไม่เกิน 5 ชั่วโมงติดต่อกัน ส�ำหรับลูกจ้างเด็ก หลังจากท�ำงานมาแล้วไม่เกิน 4 ชั่วโมงติดต่อกัน ถ้าท�ำงานล่วงเวลาต่อตั้งแต่ 2 ชั่วโมงขึ้นไปต้องให้ลูกจ้างพักก่อน ท�ำงานล่วงเวลาไม่น้อยกว่า 20 นาที วันหยุด วันหยุดประจ�ำสัปดาห์ไม่น้อยกว่า 1 วัน/สัปดาห์ วันหยุดตามประเพณีไม่นอ้ ยกว่า 13 วัน/ปี โดยรวมวันแรงงานแห่งชาติ ลูกจ้างทีท่ ำ� งานติดต่อกันครบ 1 ปี มีสทิ ธิหยุดพักผ่อนประจ�ำปีไม่นอ้ ย กว่า 6 วันท�ำงาน/ปี วันลา ลาป่วย ได้เท่าทีป่ ว่ ยจริง ได้รบั ค่าจ้างตลอดระยะเวลาทีล่ าแต่ ไม่เกิน 30 วัน/ปี ลาเพื่อท�ำหมัน ได้ตามที่แพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งก�ำหนดและ ออกใบรับรองโดยได้รับค่าจ้าง ลากิจ ได้ตามที่ก�ำหนดในข้อบังคับการท�ำงาน ลาเพื่อรับราชการทหาร ในการเรียกระดมพลเพื่อฝึกวิชาทหาร หรือทดลองความพรัง่ พร้อมโดยได้รบั ค่าจ้างตลอดระยะเวลาทีล่ า แต่ไม่เกิน 60 วัน/ปี ลาเพื่อฝึกอบรมหรือพัฒนาความรู้ความสามารถ เพือ่ ประโยชน์ ต่อการแรงงานฯ และเพือ่ เพิม่ ทักษะ ความช�ำนาญ และเพือ่ การสอบวัดผล ทางการศึกษาทีท่ างราชการจัดหรืออนุญาตให้จดั วันลาเพือ่ คลอดบุตร ลูกจ้างหญิงมีสทิ ธิลาเพือ่ คลอดบุตรครรภ์หนึง่ ไม่ เกิน 90 วัน นับรวมวันหยุดทีม่ รี ะหว่างวันลาด้วยโดยได้รบั ค่าจ้างไม่เกิน 45 วัน การรับรูถ้ งึ สิทธิทคี่ นท�ำงานควรจะได้รบั เบือ้ งต้น ไม่เพียงแต่จะท�ำให้ เราได้รบั ความคุม้ ครองทางกฎหมาย แต่ยงั ช่วยให้เราได้เรียนรูส้ ทิ ธิและหน้าที่ ในการท�ำงานอีกด้วย เพราะหากเราไม่รู้เรื่องราวเหล่านี้ จะท�ำให้เราไม่ สามารถเข้าใจได้ว่าเหตุผลเราจึงต้องท�ำตามกฎเกณฑ์ และมีสิ่งใดบ้างที่เรา ไม่สามารถท�ำได้

27


ที่มา http://www.sino-us.com/UploadFiles/2013/6/21/201306211613031383.jpg

ปีที่ 14, ต.ค. - พ.ย. 2558

ค่าจ้าง จ่ายไม่น้อยกว่าเดือนละหนึ่งครั้ง และไม่น้อยกว่าอัตรา ค่าจ้างขั้นต�่ำ ค่าล่วงเวลาในวันท�ำงาน จ่ายไม่นอ้ ยกว่า 1.5 เท่าของค่าจ้างปกติ ต่อชั่วโมง ค่าท�ำงานในวันหยุด ลูกจ้างรายเดือน นายจ้างจ่ายเพิ่มขึ้นไม่ น้อยกว่า 1 เท่าของค่าจ้างปกติต่อชั่วโมง ลูกจ้างรายวัน นายจ้างจ่ายเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 2 เท่าของค่าจ้าง ปกติต่อชั่วโมง ค่าล่วงเวลาในวันหยุด จ่ายไม่น้อยกว่า 3 เท่าของค่าจ้างปกติ ต่อชั่วโมง งานเฝ้าดูแลสถานที่หรือทรัพย์สินและงานขนส่งไม่มีสิทธิได้รับค่า ล่วงเวลาในวันท�ำงานปกติและค่าล่วงเวลาในวันหยุด แต่มีสิทธิได้รับค่า ตอบแทนเป็นเงินเท่ากับอัตราค่าจ้างเพิ่มขึ้นตามจ�ำนวนชั่วโมงที่ท�ำได้ การหยุดกิจการชั่วคราว ถ้านายจ้างจ�ำเป็นถึงขนาดต้องหยุด กิจการชั่วคราวโดยเหตุซึ่งมิใช่เหตุสุดวิสัย ให้นายจ้างจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้าง 50% ของค่าจ้างตลอดเวลาทีไ่ ม่ได้ให้ลกู จ้างท�ำงาน และต้องแจ้งให้ลกู จ้าง และพนักงานตรวจแรงงานทราบล่วงหน้าก่อนวันเริ่มหยุดกิจการ การพักงาน ห้ามนายจ้างสั่งพักงานเพื่อสอบสวนความผิดของ ลูกจ้าง เว้นแต่มีข้อบังคับหรือข้อตกลงก�ำหนดให้มีการพักงานได้ แต่ นายจ้างจะสัง่ พักงานได้ไม่เกิน 7 วัน และต้องจ่ายเงินในช่วงพักงานไม่นอ้ ย กว่า 50% ของค่าจ้าง ถ้าผลการสอบสวนปรากฏว่าลูกจ้างไม่ผดิ ให้นายจ้าง จ่ายค่าจ้างเต็มจ�ำนวนย้อนหลังตั้งแต่วันที่ถูกสั่งพักงานจนถึงวันที่ลูกจ้าง กลับเข้าท�ำงาน ค่าชดเชย นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างลูกจ้าง โดยไม่มีความผิด ในอัตราตามอายุงานดังต่อไปนี้ ท�ำงานครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี ให้จา่ ยไม่นอ้ ยกว่าค่าจ้างอัตรา สุดท้าย 30 วัน

28

ท�ำงานครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตรา สุดท้าย 90 วัน ท�ำงานครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตรา สุดท้าย 180 วัน ท�ำงานครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตรา สุดท้าย 240 วัน ท�ำงานครบ 10 ปีขนึ้ ไป ให้จา่ ยไม่นอ้ ยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน ข้อยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ลูกจ้างลาออกเองโดยสมัครใจ ลูกจ้างที่มีก�ำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน และเลิกจ้างตาม ก�ำหนด ส�ำหรับงานที่ต้องแล้วเสร็จภายใน 2 ปี โดยนายจ้างและลูกจ้างได้ ท�ำสัญญาเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง และเป็นการจ้างงานโครงการ เฉพาะที่มิใช่งานปกติ ธุรกิจหรือการค้าซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและ สิน้ สุดของงานทีแ่ น่นอน หรืองานอันมีลกั ษณะเป็นครัง้ คราวทีก่ ำ� หนดการ สิ้นสุดหรือความส�ำเร็จของงาน หรืองานที่เป็นไปตามฤดูกาลและได้จ้าง ในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้น ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระท�ำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง จงใจท�ำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รบั ความเสียหายอย่างร้ายแรง ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการท�ำงานหรือระเบียบหรือค�ำสั่งของ นายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็น หนังสือแล้ว หนังสือเตือนมีอายุไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันกระท�ำผิด เว้นแต่ กรณีร้ายแรงไม่จ�ำเป็นต้องตักเตือน ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันติดต่อกัน ไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ ก็ตาม โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ได้รบั โทษจ�ำคุกตามค�ำพิพากษาถึงทีส่ ดุ ให้จำ� คุก เว้นแต่โทษส�ำหรับ ความผิดที่ได้กระท�ำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ค่าชดเชยพิเศษ ถ้านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างเพราะเหตุที่ปรับปรุง หน่วยงาน กระบวนการผลิต จ�ำหน่าย หรือบริการ เนือ่ งจากน�ำเครือ่ งจักรมา ใช้ เปลีย่ นแปลงเครือ่ งจักรหรือเทคโนโลยี ซึง่ ต้องลดจ�ำนวนลูกจ้าง นายจ้าง ต้องแจ้งต่อลูกจ้างและพนักงานตรวจแรงงานล่วงหน้า 60 วัน และถ้าลูกจ้าง มีอายุงานเกิน 6 ปี ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษเพิม่ ขึน้ จากค่าชดเชยปกติ ไม่นอ้ ยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 15 วันต่อการท�ำงานครบ 1 ปี แต่รวมแล้ว ค่าชดเชยพิเศษอัตราสูงสุดต้องไม่เกินค่าจ้างอัตราสุดท้าย 360 วัน ถ้านายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการไปตั้งสถานที่อื่น ซึ่งมี ผลกระทบต่อการด�ำรงชีวติ ตามปกติของลูกจ้างหรือครอบครัว นายจ้าง ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และถ้าลูกจ้างไม่ประสงค์ไปท�ำงานด้วยก็มสี ทิ ธิ บอกเลิกสัญญาจ้างได้โดยมีสทิ ธิได้รบั ค่าชดเชยพิเศษ 50% ของอัตรา ค่าชดเชยปกติ


เมื่อมีโอกาสและมีงานทำ� ควรเต็มใจทำ�โดยไม่จำ�เป็นต้องตั้งข้อแม้ หรือเงื่อนไขอันใด ไว้ให้เป็นเครื่องกีดขวาง คนที่ทำ�งานได้จริงๆ นั้น ไม่ว่าจะจับงานสิ่งใด ย่อมทำ�ได้เสมอ ถ้ายิ่งมีความเอาใจใส่ มีความขยัน และความซื่อสัตย์สุจริต ก็ยิ่งจะช่วยให้ประสบผลสำ�เร็จในงานที่ทำ�สูงขึ้น พระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพิธีพระราชทาน ปริญญาบัตร แก่ผู้ส�ำเร็จการศึกษาจาก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๒๒


สื่อประชาสัมพันธ์เพื่อข้าราชการ พนักงาน และประชาชน

บริการกระทรวงแรงงานเพื่อประชาชน ประชาชน ส่วนกลาง........................................................................................................... • ส�ำนักงำนปลัดกระทรวงแรงงำน • กรมกำรจัดหำงำน • กรมพัฒนำฝีมือแรงงำน • กรมสวัสดิกำรและคุ้มครองแรงงำน • ส�ำนักงำนประกันสังคม

0-2232-1262-4,1467 0-2247-9423, 0-2248-4743 0-2245-1707 022454310-4 1546 สำยด่วนแรงงำน 1506

WEBSITE............................................................................................................ • ส�ำนักงำนปลัดกระทรวงแรงงำน • กรมกำรจัดหำงำน • กรมพัฒนำฝีมือแรงงำน • กรมสวัสดิกำรและคุ้มครองแรงงำน • ส�ำนักงำนประกันสังคม

www.mol.go.th www.doe.go.th/ www.dsd.go.th/ www.labour.go.th/ www.sso.go.th/

ศูนย์บริการร่วมกระทรวงแรงงาน..................................................................... ศูนย์บริกำรประชำชนกระทรวงแรงงำน ชั้นล่ำง อำคำรกระทรวงแรงงำน ห้ำงสรรพสินค้ำเทสโก้ โลตัส สำขำปิ่นเกล้ำ ชั้น 3 อ�ำเภอแม่สอด จังหวัดตำก อ�ำเภอเกำะสมุย จังหวัดสุรำษฎร์ธำนี อ�ำเภอศรีมหำโพธิ์ จังหวัดปรำจีนบุรี อ�ำเภอเกำะช้ำง จังหวัดตรำด อ�ำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อ�ำเภอตะกั่วป่ำ จังหวัดพังงำ อ�ำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมรำช อ�ำเภอสำมชุก จังหวัดสุพรรณบุรี อ�ำเภอพัฒนำนิคม จังหวัดลพบุรี อ�ำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคำย อ�ำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น อ�ำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม อ�ำเภอแม่สำย จังหวัดเชียงรำย อ�ำเภอสว่ำงแดนดิน จังหวัดสกลนคร อ�ำเภอเกำะลันตำ จังหวัดกระบี่ อ�ำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว อ�ำเภอธำตุพนม จังหวัดนครพนม อ�ำเภอป่ำซำง จังหวัดล�ำพูน ห้ำงสรรพสินค้ำบิ๊กซี จังหวัดระยอง ห้ำงสรรพสินค้ำบิ๊กซี จังหวัดนครสวรรค์

02-232-1462-4 02-433-1855-7 055-533-134 077-420-938 037-279-479 039-551-205 032-513-784 076-421-625 075-411-644 035-571-470 036-491-532 042-471-575 043-313-323 034-241-254 053-733-770 042-722-743 075-668-143 037-425-024-5 042-540-632 053-525-615-6 038-620-282 053-582-240

ห้ำงสรรพสินค้ำบิ๊กซี จังหวัดอุบลรำชธำนี ห้ำงสรรพสินค้ำบิ๊กซี จังหวัดภูเก็ต ห้ำงสรรพสินค้ำบิ๊กซี จังหวัดปทุมธำนี ห้ำงสรรพสินค้ำบิ๊กซี จังหวัดล�ำปำง ห้ำงเดอะมอลล์ จังหวัดนครรำชสีมำ ห้ำงสรรพสินค้ำบิ๊กซี จังหวัดพิษณุโลก อ�ำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย อ�ำเภอโป้งน�้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี ศูนย์รำชกำรฯ จังหวัดยะลำ ศูนย์รำชกำรฯ จังหวัดปัตตำนี อ�ำเภอบึงสำมพัน จังหวัดเพชรบูรณ์ อ�ำเภอปำย จังหวัดแม่ฮ่องสอน อ�ำเภอบำงปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยำ นิคมอุตส่ำหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี ห้ำงสรรพสินค้ำบิ๊กซี จังหวัดบุรีรัมย์ ห้ำงสรรพสินค้ำบิ๊กซี จังหวัดชัยภูมิ ห้ำงสรรพสินค้ำบิ๊กซี สำขำ 2 จังหวัดอุดรธำนี เทศบำลนครอ้อมน้อย จังหวัดสมุทรสำคร อ�ำเภอปัว จังหวัดน่ำน อ�ำเภอแก้งคอย จังหวัดสระบุรี อ�ำเภอตะพำนหิน จังหวัดพิจิตร อ�ำเภอบ้ำนไร่ จังหวัดอุทัยธำนี อ�ำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหำสำรคำม อ�ำเภอด�ำเนินสะดวก จังหวัดรำชบุรี อ�ำเภอค�ำชะอี จังหวัดมุกดำหำร อ�ำเภอเชียงค�ำ จังหวัดพะเยำ อ�ำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ อ�ำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ อ�ำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปรำกำร อ�ำเภอท่ำตูม จังหวัดสุรินทร์ อ�ำเภอเลิงนกทำ จังหวัดยโสธร อ�ำเภอห้วยผึ่ง จังหวัดกำฬสินธุ์ อ�ำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร อ�ำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง ห้ำงสรรพสินค้ำบิ๊กซี จังหวัดตรัง อ�ำเภอเขำย้อย จังหวัดเพชรบุรี อ�ำเภอบำงใหญ่ จังหวัดนนทบุรี อ�ำเภอเชียงยืน จังหวัดมหำสำรคำม

แรงงาน ว

ปีที่ 14 เดือนตุลาคม - พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 045-355-332 076-612-633 02-529-4332 054-222-886 044-288-033 055-248-075 089-960-1858 (มือถือกลำง) 039-447-312 073-274-043 073-335-159-60 056-731-479 053-699-202 035-262-888 038-278-582 083-737-3833 (มือถือ) 044-812-405 042-931-790 02-431-0400 054-791-713 036-220-059 056-613-761 056-520-713 043-971-316 032-337-730 042-691-333 054-452-157 053-341-1273 054-588-078 02-245-0719 086-243-4716 045-781-227 043-869-446 081-891-7047 082-802-2443 075-581-977 098-251-8995 081-020-5035 086-854-0906

ปีที่ 14 ฉบับเดือนมกรำคม - กุมภำพันธ์ 2558

พัฒนาศักยภาพแรงงานไทย สูม ่ าตรฐานสากลและอาเซียน


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.