10ขั้นตอนกองทุนแม่(คู่มือ)

Page 1

คู่มือ กระบวนการดาเนินงาน“กองทุนแม่ของแผ่นดิน” สนองพระราชเสาวนีย์สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ---------------ตามที่สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ได้มีกระแสพระราชดารัสในโอกาสที่ คณะบุคคลได้เข้าเฝ้าฯถวายพระพรเนื่องในวันเฉลิมพระชนม์พรรษา เมื่อวั นที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๔ ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต นั้น พระองค์ได้แสดงความกังวล พระราชหฤทั ย เป็ น อย่ า งมากต่ อ ปั ญ หาการแพร่ ร ะบาดของยาเสพติ ด และได้ ท รง พระราชทานแนวทางการให้ภาคประชาชนได้ร่วมมือกันช่วยเหลือรัฐบาลในการแก้ไขปัญหา ยาเสพติด ซึ่งแนวทางหนึ่งที่ ได้ทรงมีพระราชปรารภถึงก็คือ “กองทุนแม่ของแผ่นดิน ” ซึ่ง พระองค์ได้ทรงทบทวนว่าเคยพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ให้สานักงาน ป.ป.ส. ตั้งแต่ปี ๒๕๔๖ ซึ่งนับเป็นการเริ่มต้นกองทุนแม่ของแผ่นดินตั้งแต่บัดนั้น เป็นต้นมา ทรงมี ความมุ่งหวังว่ากองทุนแม่ของแผ่นดินจะสามารถช่ วยเหลือการแก้ไขปัญหายาเสพติดของ รัฐบาลได้อย่างมาก เพื่อให้การดาเนินงานกองทุนแม่ของแผ่นดินเป็นไปตามพระราชประสงค์ สามารถ ตอบโจทย์การแก้ไขปัญหายาเสพติดของหมู่บ้าน/ชุมชนได้โดยตรง สานักงาน ป.ป.ส.จึงได้ กาหนดแนวทางกระบวนการดาเนินงานกองทุนแม่ของแผ่นดินขึ้นใหม่ เพื่อให้ผู้นากองทุน แม่ของแผ่นดินและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนาไปใช้ ดาเนินงานได้เอง ให้เป็นแนวทางเดียวกัน โดยให้มีการรายงานผลการดาเนิ นงานในแต่ ละห้วงระยะเวลาได้อย่างเป็นรูปธรรม ทั้ ง หมู่บ้าน/ชุมชนที่มีผลการดาเนินงานในระดับศูนย์เรียนรู้ กองทุนดีเด่น หรือ กองทุนของ หมู่บ้าน/ชุมชนที่อยู่ในระดับทั่วไป เพื่อร่วมกันสนองพระราชปณิธานการแก้ไขปัญหายา เสพติดภายใต้พระบารมีของสถาบันพระมหากษัตริย์ต่อไป


แนวคิดความร่วมมือระหว่างภาคประชาชนกับราชการ ให้วิทยากรให้ข้อคิดกับประชาชนว่าในการดาเนินงานโครงการต่างๆ ของรัฐที่ผ่านมา ไม่ว่าการแก้ไขปัญหาใด ๆ ก็ตาม หากให้รัฐดาเนินการแต่เพียงฝ่ายเดียวจะได้ผลไม่ถึง เป้าหมายที่ต้องการ และหากให้ประชาชนดาเนินการเองทั้งหมดก็ไม่สามารถบรรลุเป้าหมาย ที่สมบูรณ์ได้ เช่นกัน ฉะนั้นหากเห็นแล้วว่า ทั้ง ๒ ภาคส่วนมีเป้า หมายร่วมกั นก็ควรให้ มี การบูรณาการการดาเนินงานร่วมกัน โดยมีบทบาทที่ชัดเจนของแต่ละภาคส่วนอย่างเกื้อกูล ซึ่งกันและกัน ยกตัวอย่างเป็นภาพดังนี้ ๑. ให้นาเสนอเรื่อง เรือ ๓ ลา เพื่อให้ประชาชนมีความเข้าใจความสาคัญของการมี ส่วนร่วมในการขับเคลื่อนโครงการดังนี้ 3

2

สันติสุข

1

เดือดร้อน เรือล่มเพราะ

1. หมดงบ 2. หมดเวลา

อธิบาย เรือลาที่ ๑ : ในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่ผ่านมาจะมี ลักษณะคล้ายกับการช่วยเหลือประชาชนแบบเรือลาที่ ๑ คือ เมื่อประชาชนมีความเดือดร้อน ในเรื่ องใดก็จ ะมี ห น่วยงานหรื อคนภายนอกชุม ชนมาชวนให้ ขึ้น เรื อเพื่ อน าไปสู่ ฝั่ ง โน้ น ที่ เรียกว่า“สันติสุข”หรือแก้ไขปัญหาได้ แต่เรือแล่นไปโดยยังไม่ทันจะถึงฝั่งหรือยังมองไม่เห็น ฝั่งเลยก็ต้องล่มเสี ย อันเป็นสาเหตุม าจาก (๑)หมดงบ หรือ (๒) หมดเวลา (เจ้าหน้า ที่ ขับเคลื่อนโครงการหมดเวลาการปฏิบัติงานเสียก่อน) เรือลาที่ ๒ : คล้ายกับเรือลาที่ ๑ คือ เมื่อประชาชนเดือดร้อนอีก ทางราชการ ก็มีงบประมาณมาอีกก็มาชักชวนประชาชนให้ขึ้นเรือเพื่อจะได้นาไปสู่ฝั่ง “สันติสุข”โน้นอีก แต่เนื่องจากเหตุการณ์ที่เกิดกรณีเรือลาที่ ๑ เป็นเหตุทาให้ประชาชนไม่เชื่อมั่นในการชักชวน ของรั ฐ ว่ า จะไปถึ ง ฝั่ ง ได้ จ ริ ง ท าให้ ร าชการต้ อ งท างานทางความคิ ด เพิ่ ม ขึ้ น เช่ น ต้ อ งมี ค่าตอบแทนเป็นค่าเสียเวลาให้กับชาวบ้านจานวนที่มากพอชาวบ้านจึงจะยอมขึ้นเรือไปด้วย เพื่อให้ราชการสามารถดาเนินโครงการได้ แต่แล่นเรือไปได้ไม่นานเรือก็ต้องล่มอีกเช่นเคย ด้วยสาเหตุเดียวกัน คือ (๑) หมดงบ (๒) หมดเวลา และก็ได้ผลทานองเดีย วกัน คือ ยังไม่ ทันได้เห็นฝั่งโน้นเลยก็ต้องว่ายน้ากลับฝั่งเดิมอีก


เรื อ ล าที่ ๓ : เป็ น การชี้ ใ ห้ เ ห็ น ว่ า หากเราท าให้ ช าวบ้ า นเห็ น ได้ ว่ า ความ เดื อ ดร้ อ นที่ เ กิ ด ขึ้ น เป็ น ทุ ก ข์ ข องชาวบ้ า นเอง หากไม่ ร่ ว มมื อ ในการแก้ ไ ขปั ญ หาย่ อ ม เดือดร้อนเองอย่างไม่สิ้นสุด ยกตัวอย่าง เรือลาที่ ๑ และ ๒ เมื่อชาวบ้านยอมเห็นด้วยและ ขึ้นเรือมาแล้วแต่ก็ไม่มีส่วนร่วมอะไรเลยต่างก็นั่งกอดอกเฉย ๆ ปล่อยให้ทางราชการขับเรือ ด้วยกาลังงบประมาณของรัฐฝ่ายเดียว ซึ่งวิทยากรต้องชี้ว่าหากชาวบ้านยังต้องการแต่ ที่จะให้ ราชการทาฝ่ายเดียวก็จะได้ผลเท่าที่ผ่านมาอีกอย่างแน่นอน ซึ่งย่อมเสียเวลาทั้ง ๒ ฝ่าย และ ต่างเห็นแล้วว่าไม่ได้ผล เพราะแล่นไปได้ไม่นานเรือก็จะล่มอีก จึงควรชี้แจงชาวบ้านว่าหาก ทุกคนมีความทุกข์จริงเมื่อขึ้นมาบนเรือแล้วสัญญากันว่าจะช่วยกันพายเรือด้วยกาลังของตน ที่มีอยู่ แน่นอนว่าเรือลาที่ ๓ นี้ เมื่อหมดงบแล้วเรือลานี้จะแล่นไปได้ไกลมากกว่าเดิม ซึ่งจะ ทาให้ เ รามองเห็น ฝั่ง ข้างหน้ า ซึ่ งเหลื ออีกไม่ ไ กลแล้ ว จากนั้ น เจ้า หน้ า ที่ก็ถามชาวบ้ า นว่ า ระยะทางที่เหลือไม่ไกลแล้วนี่พวกเราจะพากันไปเองได้ไหม เพื่อให้ชาวบ้านมั่นใจว่า “เขาจะ พากันไปถึงฝั่งข้างหน้าได้อย่างแน่นอน” ๒. หลังจากชี้แจงเรื่องเรือ ๓ ลา ได้แล้ว ให้กล่าวถึงการแก้ไขปัญหายาเสพติด ตาม โครงการ“กองทุนแม่ของแผ่นดิน ” เป็นโครงการที่จะช่วยเหลือพี่น้องประชาชนได้จริง แต่ ต้องดาเนินการในลักษณะเดียวกับเรือลาที่ ๓ คือทุกคนต้องช่วยกัน ต้องถือว่าปัญหายาเสพ ติด เป็ น ทุกข์เป็ นปั ญ หาของชุม ชนที่ ร อการแก้ไ ขมานาน เป็ นความโชคดีอย่า งมากเลยที่ สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ และทางราชการมีน้าใจมาช่วยเหลือด้วยอย่างไม่ ทอดทิ้งให้เป็นปัญหาของประชาชนเพียงฝ่ายเดียว “พลังของประชาชนร่วมกับราชการ ช่วยก่อช่วยสานให้งานยั่งยืน” ๑๐ ขั้นตอนกองทุนแม่ของแผ่นดิน ในการดาเนิ นงานกองทุนแม่ของแผ่นดินตามแนวทางนี้จะเป็นการดาเนินงานโดย คณะกรรมการกองทุนแม่ของแผ่นดินเป็นหลัก โดยให้วิทยากรที่จัดตั้งขึ้นโดยทางราชการ เป็นผู้สนับสนุน หรือเพียงเป็นผู้ คอยให้คาแนะนาเท่านั้น เพื่อมุ่งสร้างความเข้มแข็งให้ เกิดขึ้นแก่ชุมชนให้มีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนในระยะยาว ในลักษณะของการให้ชุมชนดูแล ชุมชนเองให้มากที่สุด ในส่วนของการแก้ไขผู้เสพก็ใช้หลักการใช้หมู่บ้านเป็นโรงพยาบาล กรรมการเป็นหมอ ใช้ครอบครัวเป็นเตียงผู้ป่วย และให้คนในชุมชนเป็นผู้ช่วยหมอให้การ ดูแลรักษา การขับเคลื่อนงานกองทุนแม่ของแผ่นดิน จะมีประสิทธิภาพสูงสุด ได้ก็ต่อเมื่อภาค ประชาชนเป็นผู้ดาเนินงานเอง เพื่อให้เกิดความง่ายในการดาเนินงานโดยภาคประชาชนจึง ได้กาหนดเป็นขั้นตอนในการดาเนินงานไว้ ๑๐ ขั้นตอน หรือ ๑๐ ประเด็นหลักดังนี้


ขั้นที่ ๑ ทาความเข้าใจโครงการทุกครัวเรือน ขั้นที่ ๒ จัดตั้งคณะกรรมการกองทุนแม่ของแผ่นดิน ขั้นที่ ๓ รับสมัครครัวเรือนสมาชิกเข้าร่วมโครงการ ขั้นที่ ๔ จัดตั้งกฎชุมชนเข้มแข็ง ขั้นที่ ๕ ให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องยาเสพติด ขั้นที่ ๖ จัดตั้งกองทุนแก้ไขปัญหายาเสพติด ขั้นที่ ๗ ประชาคมคัดแยกโดยสันติวิธี ขั้นที่ ๘ ทากิจกรรมป้องกันและแก้ไขปัญหา ยาเสพติดร่วมกัน(อย่างต่อเนื่อง) ขั้นที่ ๙ การรับรองครัวเรือนปลอดภัย ขั้นที่ ๑๐ การรักษาสถานะของชุมชนเข้มแข็ง ทั้งนี้ในแต่ ละขั้นตอนนั้นจะมี การดาเนินการซ้ าในทุกรอบ ๑ เดือน บางหมู่บ้าน/ ชุมชนที่มีปัญหามากอาจให้มีการดาเนินงานซ้าทุกขั้นตอนในทุกรอบ ๑ สัปดาห์ แต่สาหรับ การจัดตั้งกองทุนแก้ไขปัญหายาเสพติดจาเป็นต้องดาเนินการเรื่องทุนศรัทธาทุกรอบ ๗ วัน เพื่อให้เกิดกิจกรรมความเคลื่อนไหวในการขับเคลื่อนกองทุนแม่ของแผ่นดินอย่างต่อเนื่อง ตามปรัชญาแนวคิดกองทุนแม่ของแผ่นดินดังที่จะได้กล่าวโดยลาดับต่อไป ขั้นที่ ๑ ทาความเข้าใจคครงการทุกครัวเรือน ในขั้นแรกให้มีการทบทวนความเข้าใจให้กับทุกครัวเรือนในหมู่บ้านที่ได้รับกองทุน แม่ของแผ่นดิน ตั้งแต่ปี ๔๗ ให้ความรู้ความเข้าใจในกระบวนการดาเนินงานใหม่ทั้งหมด และเป็นการทาให้ทุกคนยอมรับว่าหมู่บ้าน/ชุมชนที่มีกองทุนแม่ของแผ่นดินอาจยังมีการ แพร่ระบาดของยาเสพติดอยู่ กระตุ้นให้ชุมชนเกิดการตื่นตัวที่จะแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยน้อมนาเอากระแสพระราชดารัสของสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ และการ กาหนดให้การแก้ไขปัญหายาเสพติดเป็นวาระแห่งชาติของรัฐบาล มากาหนดเป็นภารกิจของ กองทุนแม่ของแผ่นดินว่า กองทุนแม่ของแผ่นดินมีภารกิจ หลักในการขยายพื้นที่สีขาวด้วย แนวทางสันติวิธีให้กับหมู่บ้าน/ชุมชน จากภารกิจ ของกองทุน แม่ฯดั งกล่า ว จึ งได้กาหนดให้กองทุนแม่ฯแต่ ละหมู่ บ้าน/ ชุมชนมีบทบาทหลัก ๒ ประการดังนี้ ๑) รับรองครัวเรือน - กองทุนแม่ของแผ่นดินจะรับรองครัวเรือนที่ปลอดภั ยแล้ว โดยการมอบธงสัญลักษณ์ครัวเรือนปลอดภัยกองทุนแม่ของแผ่นดิน ให้กับครัวเรือนสมาชิก เพื่อรณรงค์ให้มีครัวเรือนที่ปลอดภัยจากยาเสพติดให้ได้มากที่สุด


๒) รับรองบุคคล - กองทุนแม่ของแผ่นดินจะมีบทบาทดูแลผู้ที่เคยหลงผิดไปยุ่ง เกี่ ย วกั บยาเสพติ ด ในลั กษณะของผู้ เ คยค้ า หรื อ เคยเสพที่ สมั ค รเข้า ร่ วมเป็ น สมาชิ กของ โครงการให้เป็นที่ยอมรับของสังคมต่อไป ทั้งนี้เพื่อให้พลังของภาคประชาชนกองทุนแม่ของแผ่นดิน ช่วยเหลืองานการแก้ไข ปัญหายาเสพติดอย่างเป็นรูปธรรมที่จับต้องได้ ซึ่งจะเป็นการแบ่งเบาภาระของภาครัฐได้ อย่างมาก เมื่อจัดลาดับความเร่งด่วนแล้วจะสามารถกาหนดเป้าหมายในการดาเนินงานของ แต่ละกองทุนง่าย ๆ ได้ ๒ เป้าหมาย ดังภาพ

2

1

แก้ไข ส่วนเสีย

2 เป้าหมายกองทุนแม่ จากภาพ : เมื่อวิเคราะห์สถานการณ์ยาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชนแล้ว จะเห็นว่า มี ครัวเรือนที่มีปัญหายาเสพติดส่วนหนึ่ง และครัวเรือนที่ยังไม่มีปัญหายาเสพติดอีกส่วนหนึ่ง ภารกิจของกองทุนแม่ฯจึงกาหนดเป้าหมายในการดาเนินการในระดับหมู่บ้าน/ชุมชนไว้ ๒ เป้าหมาย ได้แก่ เป้าหมายที่ ๑ ป้องกันส่วนดี เป้าหมายที่ ๒ แก้ไขส่วนเสีย ให้ทาความเข้าใจเพิ่มเติม ว่าต่อจากนี้ไปโครงการกองทุนแม่ของแผ่นดินจะต้องมี กลุ่มสมาชิกที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการและทากิจกรรมร่วมกัน อย่างชัดเจน ไม่ได้หมายถึง การดาเนินงานทั้งหมู่บ้าน แต่อาจมีผลดีต่อประชาชนทั้งหมู่บ้านด้วย ซึ่งมีเป้าหมายในการ ขยายสมาชิกอย่างมีคุณภาพให้เกิดขึ้นทั้งหมู่บ้านในที่สุด ในการสมัครเข้ามาเป็นกลุ่มสนใจ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดร่วมกันนั้นจาเป็นต้องมี กฎกติกาในการอยู่ร่วมกัน ในลักษณะของชุมชนเข้มแข็ง ซึ่งจะต้องมีการร่วมบริจาคเพื่อจัดตั้ง เป็นกองทุนแก้ไขปัญหา ยาเสพติด และมีการจัดกิจกรรมร่วมกัน เพื่อสร้างหลักประกันความปลอดภัยจากยาเสพติด


ให้กับครัวเรือนสมาชิก โครงการนี้จะใช้แนวทางสันติวิธีในการลดผู้ค้า-ผู้เสพ คือเราจะไม่มี เรื่องกับผู้ค้าและไม่มีปัญหากับผู้เสพอย่างเด็ดขาด.. ในการทาความเข้าใจโครงการนี้จาเป็นต้องดาเนินการให้กับประชาชนทุกครัวเรือนที่ อยู่ ใ นหมู่ บ้า น/ชุ ม ชนที่ ไ ด้ รั บกองทุ น แม่ ข องแผ่ น ดิ น โดยเมื่ อได้ รั บทราบจนเข้ า ใจแล้ ว ครัวเรือนนั้นอาจสมัครหรือไม่สมัครเข้าร่วมโครงการก็ได้.. ขั้นที่ ๒ การจัดตั้งคณะกรรมการกองทุนแม่ของแผ่นดิน ในขั้นตอนนี้เป็น การจัดตั้งคณะกรรมการกองทุน แม่ ของแผ่นดิน ขึ้ นมาใหม่ โดย หลั ง จากที่ ไ ด้ มี ก ารท าความเข้ า ใจภารกิ จ ของกองทุ น แม่ ข องแผ่ น ดิ น และแนวทางการ ขับเคลื่อ นใหม่แล้ว ให้ มีการรับสมัค รผู้ นาทุ กฝ่ ายในหมู่บ้าน/ชุ ม ชนเป็ นคณะกรรมการ กองทุนแม่ของแผ่นดิน โดยยึดหลักความสมัครใจและทุกคนที่เป็นกรรมการต้องมีบทบาท หน้าที่อย่างชัดเจนด้วย บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการกองทุนแม่ของแผ่นดิน มี ๑๐ ประการได้แก่ ๑) รักษาความศักดิ์สิทธิ์ของกองทุนแม่ของแผ่นดิน ๒) เป็นตัวอย่างในการแสดงความจงรักภักดีอย่างสูงสุดในหมู่บ้าน/ชุมชน ๓) ร่ วมบริ ห ารและด าเนิ น งานกองทุ น แม่ ข องแผ่ น ดิ น ไม่ ใ ห้ ห ยุ ด นิ่ ง ให้ มี ค วาม ต่อเนื่องอยู่เสมอ ๔) ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในหมู่บ้านและประชาชนทั่วไปมีความศรัทธากองทุน แม่ของแผ่นดินด้วยการปฏิบัติและด้วยการเชิญชวน ๕) ดูแลครัวเรือนสมาชิกของกองทุน แม่ของแผ่นดิน ตามที่ได้อาสาดูแลหรือได้รับ มอบให้ดูแลอย่างใกล้ชิด ๖) ร่วมพิจารณาการใช้จ่ายเงินกองทุนแม่ของแผ่นดินให้เป็นไปตามปรัชญาแนวคิด ของโครงการ ๗) ดาเนินการจัดเก็บเงินกองทุนแห่งศรัทธาจากสมาชิกสัปดาห์ละ ๑ ครั้ง ๘) ร่วมพิจารณาการจัดกิจกรรมเพื่อขยายกองทุนตามแนวทางแห่งปัญญา ๙) ร่วมขับเคลื่อนกองทุนให้นาไปสู่การแก้ไขปัญหายาเสพติดของชุมชนอย่างยั่งยืน ๑๐) ดาเนินการใด ๆ ตามความคิดริเริ่มที่เป็นประโยชน์ต่อกองทุนแม่ของแผ่นดิน ในการจัดตั้งคณะกรรมการให้ผู้นาธรรมชาติมีบทบาทให้มากที่สุด คือเป็นประธาน กรรมการ และให้ผู้นาทางการได้แก่ผู้นาท้องที่/ผู้นาท้องถิ่นเป็นที่ปรึกษา (หากผู้นาทางการ ยัง มี บทบาทในการเป็น ประธานอย่ างต่ อเนื่องอยู่ใ ห้ ยั ง คงปฏิ บัติห น้ า ที่ นั้น ต่ อไปจนกว่ า คณะกรรมการจะพิจารณาเห็นสมควร)


ในขั้นตอนนี้วิทยากรภายนอกอาจมีส่วนช่วยสาคัญในการใช้เทคนิคการค้นหาผู้นา ธรรมชาติให้กับหมู่บ้าน/ชุมชน ซึ่งเราจะได้รับทราบว่าบุคคลใดมีความเป็นผู้นาธรรมชาติ แต่ ที่ ผ่ า นมาอาจถู ก ปกปิ ด บทบาทโดยระบบต่ า ง ๆ ไว้ โ ดยตลอด เมื่ อ ได้ ค้ น พบผู้ น า ธรรมชาติแล้วจึงให้ชุมชนมีมติเชิญชวนเขาให้มีบทบาทในการร่วมแก้ไขปัญหายาเสพติด ให้กับหมู่บ้าน/ชุมชน การแบ่งความรับผิดชอบ : กรรมการแต่ละคนต้องมีความพร้อมในการดูแลคนใน ชุมชนเองในสัดส่วนกรรมการ ๑ คน ต่อครัวเรือนสมาชิกไม่เกิน ๔ ครัวเรือน (๑ : ๔) ซึ่ง ครัวเรือนสมาชิกที่จะอยู่ในการดูแลของกรรมการคนใดนั้นกรรมการคนนั้นอาจเป็นผู้นามา สมัครเข้าร่วมโครงการเอง หรืออาจเป็นครัวเรือนที่คณะกรรมการมอบหมายให้กรรมการ ดูแลก็ ไ ด้ สาหรั บหน้ า ที่ ต่ า ง ๆ เพื่ อให้ การท างานของคณะกรรมการเป็น ไปด้ วยความ เรียบร้อยนั้นให้พิจารณาดาเนินการแบ่งมอบหน้าที่ตามความเหมาะสมเช่นรองประธาน กรรมการ เลขานุการ ฝ่ายประสานงานส่วนราชการ ฝ่ายบัญชี ฝ่ายการเงิน ฝ่ายพิธีการ ฯลฯ ที่ปรึ กษา : ให้ คณะกรรมการจั ด ตั้ง ที่ ปรึ กษา ๒ ประเภท ได้ แก่ ที่ ปรึกษาที่ เ ป็ น ชาวบ้ า น และที่ ป รึ ก ษาจากส่ ว นราชการ เพื่ อ ให้ มี บ ทบาทเข้ า มาให้ ค าแนะน าในการ ดาเนินงานของคณะกรรมการกองทุนแม่ฯ ให้มีประสิทธิภาพเพิ่ม ขึ้น และเป็นการสร้าง ความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องด้วย ในส่วนของที่ปรึกษาชาวบ้านอาจ ได้แก่ผู้อาวุโส ผู้ทรงคุณวุฒิในหมู่บ้าน หากแต่ไม่มีเวลาช่วยทาหน้าที่เป็นกรรมการ สาหรับ ที่ปรึกษาจากส่วนราชการนั้นอาจได้แก่เจ้าหน้าที่ ป.ป.ส. , วิทยากรกระบวนการ , เจ้าหน้าที่ ศตส.จ. , เจ้า หน้าที่ ศตส.อ. , เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง , เจ้า หน้าที่ตารวจ – ทหาร หรื อ เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานอื่น ๆ ตามแต่ที่คณะกรรมการจะพิจารณาเห็นสมควร ทั้งนี้ให้มี บทบาทสาคัญในการให้คาแนะนาปรึกษา การร่วมประชุมคณะกรรมการ และร่วมกิจกรรม ตามโอกาสเป็ น ครั้ ง คราว และไม่ มี ค่ า ตอบแทนใด ๆ จากกองทุ น แม่ ฯ นอกจากความ ภาคภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมในการดาเนินงานกองทุนแม่ของแผ่นดินสนองพระราชปณิธาน วาระของคณะกรรมการ : การจัดตั้งคณะกรรมการให้มีวาระการปฏิบัติหน้าที่ คราวละ ๑ ปี โดยให้มีการเลือกคณะกรรมการใหม่ในเดื อนตุลาคมของทุกปี ซึ่งคณะกรรมการคน เดิมอาจได้รับการคัดเลือกใหม่อีกก็ได้ไม่จากัดจานวนครั้ง ในแต่ละเดือนอาจมีการแต่งตั้งคณะกรรมการเพิ่มเติมได้ตามจานวนของสมาชิกใหม่ ที่เพิ่มขึ้นจากการมาขอสมัครเป็นสมาชิกเพิ่มเติม หมายความว่าหากมีสมาชิกเพิ่มขึ้นก็ให้มี กรรมการที่คอยดูแลเพิ่มขึ้นด้วยตามสัดส่วน แต่เมื่อครบกาหนดแล้วก็จะให้มีการคัดเลือก กันใหม่ในกลุ่มสมาชิกตามวาระพร้อมกับกรรมการทั้งคณะ(เดือนตุลาคม)


เงื่อนไขของคณะกรรมการ : กรรมการทุกคนต้องยอมรับว่า จะไม่ขอรับเงินเดือน เบี้ยเลี้ยง หรือค่าตอบแทนใด ๆ จากการปฏิบัติงานกองทุ นแม่ของแผ่นดิน นอกจากความ ภาคภูมิใจที่ได้ร่วมสนองพระราชปณิธานในการแก้ไขปัญหายาเสพติดให้กับ หมู่บ้าน/ชุมชน ของตน และเพื่อขอใช้ความเป็นกรรมการเป็นโอกาสในการทาความดีเพื่อแผ่นดินเท่านั้น ขั้นที่ ๓ รับสมัครครัวเรือนสมาชิกเข้าร่วมคครงการ เป็นการจัดตั้งสมาชิกของโครงการด้วยความสมัครใจ โดยอาจเป็นสมาชิกที่สมัครอยู่ ในความดูแลของผู้ที่สมัครเป็นกรรมการ(Down Line) หรือสมัครโดยตรงต่อคณะกรรมการ ก็ได้ ซึ่งคณะกรรมการจะพิจารณาให้อยู่ในความดูแลของกรรมการคนใดคนหนึ่งต่อไป การก าหนดให้ ส มาชิ ก กองทุ น แม่ ฯ ต้ อ งมาจากการสมั ค รนั้ น ก็ เ พื่ อ ที่ จ ะให้ ก าร ดาเนินงานกองทุนแม่ของแผ่นดินจะไม่มีความขัดแย้ง หรือถูกขัดขวางจากผู้ที่ ยังไม่ศรัทธา เพราะเราจะมี กิจ กรรมดาเนิ นการต่อเฉพาะกั บสมาชิกเท่ านั้ น ผู้ใ ดยั งไม่สมัค รก็ จะไม่ มี กิจกรรมด้วย ครัวเรือนที่สมัครเข้าร่วมโครงการกองทุนแม่ของแผ่นดินมี ๒ ประเภทได้แก่ ๑) ครัวเรือนที่มีความปลอดภัยจากยาเสพติดมาก่อนแล้ว ๒) ครัวเรือนที่อาจไม่ปลอดภัยจากยาเสพติดมาก่อน ในการสมัครของครัวเรือนประเภทแรกก็เพื่อต้องการให้คณะกรรมการกองทุนแม่ ของแผ่น ดิน รับรองความปลอดภั ยให้กับครัวเรื อนของเขา และเพื่ อร่ วมแสดงศรั ทธาว่ า ครัวเรือนของเขาต้องการสนับสนุนให้เกิดหมู่บ้าน/ชุมชนปลอดภัยจากยาเสพติดตลอดไป ภายใต้พระบารมีแม่ของแผ่นดิน ในการสมั ค รของครั วเรือนประเภทที่ สองก็เ พื่ อให้ ค ณะกรรมการกองทุ นแม่ ข อง แผ่นดินให้การดูแลคนในครอบครัวของเขา เพื่อให้ได้รับการแก้ไขด้วยระบบของสังคมของ ชุมชนเข้มแข็ง ซึ่งการสมัครเข้ าร่วมเป็นสมาชิกแสดงว่า คนในครอบครัวของเขาพร้อมให้ คณะกรรมการและสมาชิกในชุมชนดูแลเขาได้ ไม่เกิดความขัดแย้งขึ้นภายหลัง เงื่อนไขในการรับสมั ครครัวเรื อนเข้าร่วมเป็นสมาชิกของโครงการกองทุนแม่ของ แผ่นดินนั้น..กาหนดไว้ ๓ ประการ ได้แก่ ๑) ครัวเรือนต้องยอมรับกฎชุมชนเข้มแข็ง ๗ ประการ (กฎหลัก) ๒) ยินดีบริจาคเงินเป็นทุนศรัทธา ๑ บาท/คน/สัปดาห์ ๓) ต้องยอมรับการดูแลของกรรมการในการตักเตือนคนในครอบครัวได้ การสมัครใจเข้าร่วมเป็นสมาชิกโครงการของหัวหน้าครอบครัวหมายถึงทุกคนใน ครัวเรือนนั้นได้เป็นสมาชิกกองทุนแม่ของแผ่นดินด้วย


การให้ ค รั วเรื อนสมาชิ กมาจากความสมั ค รใจนั้ น จะท าให้ ต่ อไปกองทุ น แม่ ข อง แผ่นดินจะมีทุนทางสังคมที่ชัดเจน เป็นกลุ่มเป้าหมายในการดาเนินการของคณะกรรมการ ไม่ใช่ต้องดาเนินการทั้งหมู่บ้านซึ่งอาจจะทาให้มีปัญหากับผู้ไม่สมัครใจ แต่ก็เปิดโอกาสให้มี การรับสมัครสมาชิกเพิ่มเติมได้ทุกเดือนเมื่อเขามีความศรัทธาขึ้นในภายหลัง เพื่อให้กองทุนแม่ของแผ่นดินมีความเข้มแข็งในการขับเคลื่อนงานแก้ไขปัญหายา เสพติดในรูปแบบของชุมชนเข้มแข็งได้ จึงควรมีสมาชิกกองทุนแม่ของแผ่นดินในแต่ละ หมู่บ้าน/ชุมชนไม่น้อยกว่าร้อยละ ๓๐ หากหมู่บ้าน/ชุมชนใดมีขนาดใหญ่มากให้พิจารณา ดาเนินการเฉพาะส่วนเป็นพื้นที่ไปก่อนก็ได้... ผูป้ ระสานงานการพัฒนา (ทีป่ รึกษา)

อาเภอ หมูบ่ ้าน

ชุมชนเข้มแข็ง

( กม.)

(กองทุนแม่ฯ) เริม่ ต้นกองทุนแม่ฯร้อยละ ๓๐ และขยายออกไปทัง้ หมูบ่ า้ นในทีส่ ุดให้ได้

จากภาพจะเห็นว่าคณะกรรมการกองทุ นแม่ของแผ่นดินจะต้ องรณรงค์หาสมาชิ ก ให้ได้อย่างน้อยร้อยละ ๓๐ ของหมู่บ้าน/ชุมชน เพื่อให้กลุ่มสมาชิกมีจานวนมากพอที่จะ ต้านกระแสการแพร่ระบาดของยาเสพติดและกระแสสังคมอื่นในหมู่บ้าน/ชุมชนได้ เพื่อให้ เกิดความเข้าใจง่ายขึ้นจึงขอเสนอภาพกระแสน้ากับเกาะกลางน้าเป็นภาพเปรียบเทียบในการ จัดตั้งชุมชนเข้มแข็งดังนี้


อธิบายภาพ : เกาะ ๑ – มีขนาดเล็กเกินไปหรือน้อยกว่า ๓๐%ไม่สามารถต้านกระแสน้าได้ เกาะ ๒ – มีขนาด ๓๐% สามารถต้านกระแสน้าได้ในระยะเวลาหนึ่ง (เป็นเป้าหมายขั้นต้นของการมีสมาชิกกองทุนแม่ของแผ่นดิน) เกาะ ๓ – มีขนาด ๑๐๐ % สามารถเปลี่ยนทิศทางของกระแสน้าได้ (เป็นเป้าหมายสูงสุดของกองทุนแม่ของแผ่นดิน) ขั้นที่ ๔ จัดตั้งกฎชุมชนเข้มแข็ง การรวมตัวกันของคนที่ต้องการสร้างชุมชนใหม่ซ้อนหมู่บ้านเดิมขึ้นมาให้เข้มแข็ง ตามที่ได้ดาเนินการในขั้นที่ ๓ นั้น มีความจาเป็นที่เราต้องเสนอให้มีกฎในการอยู่ร่วมกัน ซึ่งเป็นข้อตกลงกันในกลุ่มว่าจะใช้ในการดูแลกัน เป็นกฏพิเศษที่ใช้เฉพาะผู้ที่สมัครเข้ามา เป็นสมาชิกด้วยกันเท่านั้นไม่ใช้กับคนที่ไม่ใช่สมาชิก กฏชุมชนเข้มแข็งจะเป็นเครื่องมือช่วยคณะกรรมการกองทุนแม่ของแผ่นดิน ในการ เสริมสร้างให้ชุมชนที่รวมตัวกันด้วยความสมัครใจจากขั้นที่ ๓ แล้วให้มีความเข้มแข็งมีความ เชื่อมั่นในการรวมตัวกันมากขึ้น กฎชุมชนเข้มแข็ง ประกอบด้วยกฎหลักและกฎรอง โดยกฎหลักเป็นกฎที่กาหนดให้ ทุกหมู่บ้าน/ชุมชนที่มีกองทุนแม่ของแผ่นดินนาไปใช้ปฏิบัติเป็นอันเดียวกันทั้งประเทศ และ กฎรองเป็นกฎที่ชุมชนร่วมกันจัดตั้งขึ้นตามความเหมาะสมของสถานการณ์ กฎหลักของชุมชนเข้มแข็ง กาหนดให้ใช้เหมือนกันทุกกองทุน ในทางพุทธเรียกว่า หลักอปริหานิยธรรม มี ๗ ประการ ประกอบด้วย ข้อ ๑ สมาชิกร่วมประชุมกันเป็นนิตย์ ข้อ ๒ สมาชิกหมั่นเริ่มประชุมและเลิกประชุมพร้อมกัน ทากิจทีพ่ ึงกระทาโดยพร้อมเพรียงกัน ข้อ ๓ สมาชิกยอมรับมติส่วนใหญ่ของที่ประชุมใน การแก้ไขปัญหาก่อน ข้อ ๔ สมาชิกให้การยอมรับและเคารพผู้อาวุโส ข้อ๕ สมาชิกให้การสงเคราะห์และช่วยเหลือผู้ด้อย โอกาสในสังคม เช่นเด็ก สตรี คนชรา คนพิการ และคนที่ยากจนกว่า ข้อ ๖ สมาชิกส่งเสริมและรักษาวัฒนธรรมประเพณี ที่ดีงามข้อ ๗ สมาชิกช่วยกันทานุบารุงศาสนา


ในเรื่ องนี้ อาจมีการใช้ จ่า ยเงิน กองทุ น แก้ไ ขปั ญหายาเสพติด หรือกองทุ นแม่ข อง แผ่นดิน หรือมีการดาเนินการทุกอย่างเพื่อดารงรักษากฎชุมชนเข้มแข็งนี้ไว้ เพราะหาก ชุมชนมีความเข้มแข็งแล้วจะสามารถแก้ไขปัญหาได้ทุกเรื่อง และจะสามารถป้องกันปัญหา ในอนาคตที่จะเกิดขึ้นได้อีกด้วย.. กฎรองเป็นกฎซึ่งเป็นที่ยอมรับของชุมชนในการแก้ไขปัญหาเฉพาะด้านยาเสพติด เป็นไปตามความเหมาะสมของแต่ละชุมชน แต่การกาหนดกฎใด ๆ ต้องไม่ขัดกับหลักการ สันติวิธีอย่างเด็ดขาด เช่นกาหนดให้มีการลงโทษทางสังคมที่ทาให้เกิดความรู้สึกคับข้องใจ ของสมาชิก การตัดสิทธิ์ในชุมชน ฯลฯ ควรกาหนดให้มีการส่งเสริมให้มีความรู้สึกในเชิงบวก ขั้นที่ ๕ ให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องยาเสพติด ในการขั บ เคลื่ อ นของชุ ม ชนเพื่ อ แก้ ไ ขปั ญ หายาเสพติ ด ด้ ว ยพลั ง ของชุ ม ชนนั้ น จาเป็นต้องให้มีการรวมตัวของคนในชุมชนที่เห็นทุกข์ร่วมกัน เห็นทุกข์ภัยของยาเสพติดใน ในทิศทางเดียวกันก่อน โดยเฉพาะปัญหายาเสพติดในระดับหมู่บ้าน/ชุมชน ต้องให้ทุกคนมี มุม มองในปั ญหายาเสพติด ร่วมกั น หากต่ างมุม มองกั น การตัด สิน ใจในการแก้ไ ขปั ญหา ร่วมกันอาจเกิดความขัดแย้งขึ้นได้ สมาชิกที่รวมตัวกันเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติด นั้นจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเรื่อง ปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างแท้จริง เรื่องสาคัญได้แก่.. ๑) โทษพิษภัยของยาเสพติด และลักษณะของคนใช้ยาเสพติด ๒) คนเราติดยาเสพติดได้อย่างไร ๓) ประเภทและชนิดของยาเสพติด ๔) กฎหมายยาเสพติดที่ควรรู้ ๕) การแก้ไขปัญหายาเสพติดของภาครัฐ ๖) ปัญหายาเสพติดไม่สามารถแก้ไขได้ด้ วยเงิน หรือด้ วยการปราบปรามเพีย ง อย่างเดียว หรือด้วยการบาบัดรักษา(สายเกินไป) ๗) ความเชื่อมั่นว่าชุมชนมีศักยภาพในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ของชุมชนได้ด้วย พลังของชุมชนเอง ตามแนวทางสันติวิธี มีการให้อภัยกันเองต่อทุกคนที่พร้อมจะเริ่มต้นใหม่ ในสังคมที่อบอุ่นของชุมชนเข้มแข็ง ขั้นที่ ๖ จัดตั้งกองทุนแก้ไขปัญหายาเสพติด การจัดตั้งกองทุนแก้ไขปัญหายาเสพติด ไม่ใช่เน้น การจัดตั้งทุนจากทรัพย์เป็นหลัก แต่เป็นการทดสอบศักยภาพของทุนทางสังคมที่มีในชุมชน โดยแสดงออกมาเป็นกองทุน


แห่งความสามัคคี เพราะปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาทางสังคมซึ่งต้องแก้ไขหรือป้องกันด้วย พลังทางสังคม เมื่อชุมชนต้องการแก้ไขปัญหายาเสพติด อย่างแท้จริงแล้วการจัดตั้งกองทุน แก้ไขปัญหายาเสพติดขึ้นก็เพื่อเป็นอุบายในการดาเนินการเพื่อให้เกิดทุนทางสังคมขึ้น ทุนศรัทธา : เป็นทุนตั้งต้นของกองทุนแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยทุนนี้จะแสดงถึง ศรัทธาของสมาชิกว่าหากต้องการป้องกันปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดให้ได้อย่าง ต่อเนื่องแล้วจาเป็นที่พวกเราจะต้องมีศรัทธาอย่างต่อ เนื่องด้วย โดยในการจัดตั้งกองทุนนี้ จะเป็นลักษณะคล้ายกับการซื้อประกันภัยยาเสพติด ซึ่งมีราคาเพียง ๑ บาท/คน/สัปดาห์ เท่านั้น เช่นหากครัวเรือนใดมีสมาชิก ๕ คน ก็ให้บริจาค ๕ บาท/สัปดาห์ให้กับกรรมการ ทั้งนี้วัตถุประสงค์สาคัญก็เพื่อให้มีการคิดห่วงใยทุกคนในครอบครัวทุก ๗ วันนั่นเอง ทุนปัญญา : คณะกรรมการต้องมีการพิจารณากันเป็นระยะว่าหากต้องมีกิจกรรม ใดๆ บางกิจกรรมอาจต้องใช้งบประมาณ ฉะนั้นจาเป็นต้องมีการขยายกองทุนด้วยปัญญา ของคณะกรรมการแต่ละกองทุนด้วยวิธีการต่าง ๆ ทุนศักดิ์สิทธิ์ : เป็นส่วนของเงินที่ได้รับพระราชทาน โดยเมื่อนามาผสมรวมกับทุน ศรัทธาและทุนปัญญาแล้วทาให้ทุนทั้งหมดมีความศักดิ์สิทธิ์ และทาให้กองทุนยาเสพติด เปลี่ยนชื่อเป็น“กองทุนแม่ของแผ่นดิน” การใช้จ่ายเงินกองทุ น : กาหนดกรอบการใช้จ่ายเงินจากกองทุนแม่ของแผ่นดิน อย่างมีคุณภาพ โดยแบ่งเป็น ๔ กรอบใหญ่ ๆ ได้แก่ ๑) การจัดหาธงสัญลักษณ์กองทุนแม่ของแผ่นดินเพื่อรับรองครัวเรือนปลอดภัย ๒) การสนับสนุนกิจกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดต่อกลุ่มเป้าหมาย ๓) การใช้จ่ายเพื่อรักษากฎชุมชนเข้มแข็ง ๔) การจัดกิจกรรมเพื่อแสดงถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์

ศรัทธา ปัญญา ขวัญถุง

ต่อเนื่อง ขยายกองทุน ศักดิ์สท ิ ธิ์


ขั้นที่ ๗ ประชาคมคัดแยกด้วยสันติวิธี ในขั้นนี้เป็นขั้นตอนที่สาคัญมาก โดยหลังจากที่เราได้ทดสอบพลังของทุนทางสังคม ด้วยการให้มีการบริจาคร่วมทุนแห่งศรัทธามาระยะเวลาหนึ่งแล้ว(โดยประมาณ ๔ สัปดาห์) ก็จะท าให้ชุ มชนเกิดความรักความไว้วางใจกัน ไม่ มีการหวาดระแวงกัน ในเรื่องการแก้ไ ข ปัญหายาเสพติดร่วมกันอีกต่อไป พร้อมที่จะทาประชาคมคัดแยกผู้ค้า -ผู้เสพ-ผู้สงสัยโดย สันติวิธีแล้ว ในการทาประชาคมครั้งนี้ก็เพื่อให้ประชาคมเป็นผู้บอกว่าใครเป็นปัญหาของชุมชน บ้า งที่ ชุ มชนจะต้ องช่ วยกั นแก้ ไข ทั้ ง ผู้เ สพ – ผู้ค้ า หรื อผู้ อยู่ใ นข่ า ยต้ องสงสัย เพื่ อจะได้ ดาเนินการด้วยวิธีการของชุมชนเข้มแข็งต่อไป ไม่ส่งต่อผู้ที่เป็นปัญหาให้กับ คนนอกชุมชน หรือเจ้าหน้าที่รัฐดาเนินการ ในขั้นนี้จะทาให้เราได้ทราบจานวนผู้เสพ-ผู้ค้าในชุมชนที่ค้นพบ โดยประชาคมหมู่บ้านว่าเพิ่มขึ้น/ลดลงอย่างไรเป็นรายเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลที่แท้จริง เป็น การทราบสถานการณ์ยาเสพติดในระดับหมู่บ้านอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะนาไปเป็นข้อมูลในการ ประมาณสถานการณ์การแก้ไขปัญหายาเสพติดต่อไป การปฏิบัติ : ให้จัดประชุมคณะกรรมการกองทุนแม่ของแผ่นดินขึ้นแล้วให้ดาเนินการ ตามลาดับดังนี้ ๑) ให้กรรมการทุกคนเขียนรายชื่อบุคคลที่อยู่ในครัวเรือนสมาชิก ที่เกี่ยวข้องกับยา เสพติด ทั้งในฐานะผู้ค้า-ผู้เสพ หรือผู้สงสัย ใส่กล่องกระดาษที่เตรียมไว้ โดยให้มีการชี้แจง ว่าพวกเขาเป็นกลุ่มปัญหาที่เราต้องช่วยแก้ไขให้เขา ไม่มีเจตนาในด้านลบแต่อย่างใด ๒) เมื่อกรรมการส่งรายชื่อครบทุกคนแล้วให้คัดเลือกว่าจะให้ใครเป็นผู้ เปิดรายชื่อ แล้วเขียนลงในกระดาษบัญชีรายชื่อผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด(มีแบบฟอร์มแนบท้ายคู่มือนี้) ให้เลือกคนที่ไว้ใจได้เพื่อ ให้การส่งรายชื่อของกรรมการเป็นความลับที่สุด เป็นการป้องกัน ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในภายหลังจากการทราบว่าใครเขียนรายชื่อผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดจาก ลายมือที่เขียนในกระดาษแผ่นเล็กนั้น แม้กรรมการที่เขียนรายชื่อส่งให้ จะมีจิตใจบริสุทธิ์ ต้องการช่วยเหลือกลุ่มปัญหาด้วยความจริงใจก็ตาม แต่ อาจมีบางคนยังมีความคิดในการ แก้ไขปัญหาแบบเก่า ๆ อยู่ การทาเช่นนี้จึงเพื่อเป็นการป้องกันปัญหาให้กับกรรมการ ๓) เมื่อกรรมการที่ถูกเลือกคัดรายชื่อจากกระดาษแผ่นเล็กลงในบัญชีผู้เกี่ยวข้องกับ ยาเสพติดเรียบร้อยแล้วให้เก็บรักษาไว้เป็นความลับที่สุด ที่ประธานกรรมการ จะไม่มีใครรู้ และห้ามส่งรายชื่อนี้ให้กับเจ้าหน้าที่รัฐอย่างเด็ดขาด เพราะแนวทางการแก้ไขปัญหาแบบนี้ เป็นการให้ชุมชนดูแลชุมชนเอง ซึ่งหากเจ้าหน้าที่รัฐรู้อาจนาไปดาเนินการด้วยมาตรการอื่น ที่ขัดกับแนวทางสันติวิธีของกองทุนแม่ฯได้แล้วจะทาให้เกิดผลเสียอย่างยิ่งกับการดาเนิ นงาน ชุมชนเข้มแข็งกองทุนแม่ของแผ่นดิน


๔) ให้นากระดาษแผ่นเล็กที่กรรมการแต่ละคนเขียนรายชื่อส่งนั้นไปเผาทาลายเสีย โดยให้คัดเลือกผู้ที่จะทาการเผาทาลายจากกรรมการอีกชุดหนึ่ง(๒-๓ คน)เพื่อให้ทาหน้าที่ เผาท าลาย เพราะในการเผาท าลายนั้ น ผู้ ที่ เ ผาจะต้ อ งเป็ น อี ก คนหนึ่ ง ที่ จ ะไ ด้ เ ห็ น ชื่ อ ผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดที่กรรมการส่งให้และเห็นลายมือชื่อของกรรมการคนที่เขียนชื่อส่ง ซึ่งอาจเป็นอีกขั้นหนึ่งที่จะทาให้เกิดปัญหาได้หากให้บุคคลที่ไม่ไว้วางใจดาเนินการ ๕) วิทยากร ที่ปรึกษา หรือผู้ช่วยเหลือจากภายนอก รวมทั้งเจ้าหน้าที่รัฐจะได้รับ ทราบเฉพาะจานวนผู้ค้า-ผู้เสพ-ผู้สงสัย จากการทาประชาคมเท่านั้น จะไม่ทราบรายชื่อ อย่างเด็ ดขาด จานวนกลุ่มปัญ หาที่เพิ่ม ขึ้น -ลดลงเจ้าหน้ าที่จะน าไปใช้ประโยชน์ในการ ประมาณสถานการณ์ยาเสพติดในการเตรียมการสนับสนุนช่วยเหลือตามสายงานของตน ต่อไป ๖) รายชื่อของผู้ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดหากอยู่ในครัวเรือนใดครัวเรือนนั้นจะไม่ได้ รับการนาไปสู่การรับรองครัวเรือนปลอดภัยในขั้นที่ ๙ ขั้นที่ ๘ จัดกิจกรรมป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดร่วมกันของสมาชิก(อย่างต่อเนื่อง) เมื่อได้กลุ่มปัญหาที่เป็นเป้าหมายในการแก้ไขของชุมชนแล้ว ชุมชนก็จะร่วมกันทา กิจกรรมในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดต่อกลุ่มเป้าหมายเป็นลาดับแรก และต่อ กลุ่ ม เสี่ ย งเป็ น ล าดั บ ที่ ส อง โดยให้ มี ก ารด าเนิ น การอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง ซึ่ ง จะมี ก ารใช้ จ่ า ย เงินกองทุนในการนี้เป็นสาคัญ การดาเนินการในขั้นนี้เป็นประเด็นที่นามาแทรกต่อจากการทาประชาคมคัดแยกแล้ว เพื่ อให้ การท ากิ จ กรรมป้ องกั น และแก้ ไ ขปั ญ หายาเสพติ ด ของกองทุ น แม่ ข องแผ่ น ดิ น มี กลุ่ ม เป้ า หมายหลั กที่ ชั ด เจน โดยให้ กาหนดบุ ค คลที่ มี ร ายชื่ อจากบั ญ ชี ใ นขั้ น ที่ ๗ เป็ น เป้าหมายในการให้การดูแลอันดั บแรก เพราะครอบครัวที่สมัค รเข้าร่ วมเป็นสมาชิกกั บ กองทุนแม่ฯนั้นมีความต้องการให้กองทุนแม่ดูแลช่วยเหลืออย่างเต็มใจอยู่แล้ว ให้แบ่งกลุ่มเป้าหมายที่จะทากิจกรรมออกเป็น ๔ กลุ่ม ได้แก่ ๑) ผู้ค้ายาเสพติด (แยกเป็นรายสาคัญ และรายย่อย) ๒) ผู้เสพ (แยกเป็นเสพติดหนัก เสพติด เสพยังไม่ติด) ๓) ผู้ต้องสงสัย (กลุ่มเสี่ยงที่มีพฤติกรรมต้องสงสัยว่าอาจไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด) ๔) กิจกรรมต่อครอบครัวของกลุ่มปัญหาทั้ง ๓ กลุ่มขั้นต้น กิจกรรมที่ดาเนินการต่อกลุ่มปัญหาหลักนั้นให้คณะกรรมการร่วมกันพิจารณาตาม ความเหมาะสม ได้แก่


๑) การให้กาลังใจด้วยการที่คณะกรรมการไปสร้างความเข้าใจว่าสมาชิกกองทุนแม่ฯ ทุกคนพร้อมให้กาลังใจในการเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่ดีของเขา ๒) การช่วยเหลือด้วยการสงเคราะห์ให้กับผู้ที่เป็นกลุ่มปัญหาและครอบครัวของเขา ซึ่งหากต้องใช้เงินก็ให้คณะกรรมการพิจารณาใช้เงินจากกองทุนแม่ของแผ่นดิน และให้มี การรับความช่วยเหลือจากหน้าพระบรมฉายาลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ตามขั้นตอนที่คณะกรรมการกาหนด ๓) การพบปะเยี่ยมเยียนอย่างใกล้ชิดของกรรมการอย่างต่อเนื่องเป็นระยะ ๆ เพื่อ สร้างความไว้วางใจให้กับกลุ่มปัญหาว่ากองทุนแม่มีความจริงใจที่จะช่วยเหลือเขา ๔) สาหรับผู้ เสพติด มากที่ ต้องการเข้ า รับการบาบั ด รักษาก่ อนให้ คณะกรรมการ พิจารณาให้ความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนแล้วให้กลับมาฟื้นฟูที่ชุมชนโดยเร็ว สาหรับการจัดกิจกรรมต่อกลุ่มเสี่ยงที่อาจเป็นกลุ่มปัญหาในอนาคตของชุมชนนั้น ให้ คณะกรรมการพิจารณาดาเนินการจัดกิจกรรมให้กับเยาวชนที่เป็นสมาชิกของกองทุนแม่ฯ เป็นลาดับสองต่อจากการจัดกิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาให้กับกลุ่มปัญหาโดยตรง ซึ่งอาจเป็น กิจกรรมการส่งเสริมด้านกีฬา การศึกษา และนันทนาการต่าง ๆ เป็นต้น ขั้นที่ ๙ รับรองครัวเรือนปลอดภัย เป็ น การจัด การประชุ ม คณะกรรมการกองทุ น แม่ เพื่ อให้ ค วามเห็ น ในการรั บรอง ครัวเรือนที่ปลอดภัยจากยาเสพติดเดือนละ ๑ ครั้ง และจัดพิธีรับมอบธงสัญลักษณ์ครัวเรือน ปลอดภัยต่อหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ ฯ โดยธงสัญลักษณ์ดังกล่าวต้องจัดหาโดยเงินจาก กองทุนแม่ของแผ่นดินเท่านั้น ซึ่งจะทาให้ธงมีความสาคัญอย่างมากต่อครัวเรือนที่ได้รับและ มีความศักดิ์สิทธิ์สื่อถึงพระบารมีแม่ของแผ่นดิน ที่ทาให้ครอบครัวของเขาได้รับการรับรอง ความปลอดภัย ไม่ต้องหวาดระแวงใครในชุมชนเรื่องยาเสพติดอีกต่อไป เป็นพื้นฐานใน การสนับสนุนการสร้างวัฒนธรรมความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ให้กับประชาชน ด้วยงานแก้ไขปัญหายาเสพติดด้วย การปฏิบัติ : แบ่งออกเป็น ๒ ขั้นตอนย่อย ได้แก่ การรับรองครัวเรือน และ การ มอบธงสัญลักษณ์ครัวเรือนปลอดภัย ดังนี้ การรับรองครัวเรือน ๑) จัดการประชุมคณะกรรมการกองทุนแม่ฯแบบเต็มคณะ  จัดพิธีเปิดการประชุมอย่างเหมาะสม ให้มีการแสดงความเคารพพระบรม ฉายาลักษณ์ฯร่วมกันก่อนเริ่มการประชุมด้วย


 ประธานกรรมการกล่าวเปิดประชุม แสดงความรู้สึกถึงการทาหน้าที่ที่ยิ่งใหญ่ ของคณะกรรมการในการช่ ว ยเหลื อแก้ ไ ขปั ญ หายาเสพติ ด ให้ กั บ สมาชิ ก กองทุนแม่ของชุมชนสนองพระราชปณิธาน  ให้คณะกรรมการทาการลงมติรับรองว่าเป็นครัวเรือนปลอดภัยจากยาเสพติด หรือไม่ ครัวเรือนที่จะผ่านการรับรองต้องได้รับมติรับรองเป็นเอกฉันท์ หาก มีกรรมการไม่รับรองหรือไม่ยกมือให้แม้เพียงคนเดียวก็จะถือว่าครัวเรือนนั้น ยังไม่ผ่านการรับรอง ลาดับการปฏิบัติ - ให้เลขานุการอ่านรายชื่อครัวเรือนที่ไม่มีชื่อบุคคลเกี่ยวข้องกับยาเสพติดใน ขั้นที่ ๗ (ครัวเรือนที่มีรายชื่อเกี่ยวข้องจะไม่ถูกนามารับรองในขั้นตอนนี้) และถามคณะกรรมการเป็นลาดับ โดยดาเนินการเป็นเครือข่าย ๆ (ข่ายครัวเรือนที่อยู่ในความดูแลของกรรมการแต่ละคน ๑ : ๔) - เรียกชื่อกรรมการ.............”ขอถามว่าครัวเรือนที่คุณดูแลได้แก่.............. ..................................และ..................ปลอดภัยจากยาเสพติดหรือไม่ - กรรมการที่ถูกเรียกตอบ..“ปลอดภัยทั้งหมด” หรือ “บางส่วนไม่ปลอดภัย” - ขอถามกรรมการทั้งหมดว่า ครัวเรือนของ.......(กรรมการที่ถูกเรียกชื่อ)... ปลอดภัยจากยาเสพติดหรือไม่ ถ้าปลอดภัยกรุณายกมือด้วย..... - ถ้ากรรมการยกมือทุกคนให้ฝ่ายเลขาขานว่า “ผ่าน” แต่ถ้ากรรมการยกมือ ไม่ครบทุกคนให้ขานว่า“ไม่ผ่าน” แล้วบันทึกผลไว้ - ขอถามกรรมการทั้งหมดว่า ครัวเรือนของ.......(สมาชิกแต่ละครัวเรือน)... ปลอดภัยจากยาเสพติดหรือไม่ ถ้าปลอดภัยกรุณายกมือด้วย..... - ถ้ากรรมการยกมือทุกคนให้ฝ่ายเลขาขานว่า“ผ่าน” แต่ถ้ากรรมการยกมือ ไม่ครบทุกคนให้ขานว่า “ไม่ผ่าน” - ให้ดาเนินการรับรองครัวเรือนเช่นนี้ไปจนครบทุกข่ายทุกครัวเรือน ๒) ให้บันทึกผลการรับรองลงในแบบทะเบียนคุมสมาชิกกองทุนแม่ของแผ่นดิน


การมอบธงสัญลักษณ์ครัวเรือนปลอดภัย

๑) ให้นาผลการรับรองครัวเรือนมาบันทึกลงในใบรับรองครัวเรือนปลอดภัย และลง นามโดยกรรมการที่ ล งมติ ใ ห้ ก ารรั บ รองเป็ น หลั ก ฐานประกอบการรั บ ธง สัญลักษณ์ครัวเรือนปลอดภัย ๒) จัดพิธีมอบธงสัญลักษณ์อย่างมีเกียรติในวันที่เหมาะสม  เชิญเจ้าหน้าที่รัฐทั้งฝ่ายปกครอง พลเรือน ตารวจ ทหาร(ถ้ามี)เข้าร่วมพิธี เพื่อเป็นพยานด้วย  การจัดสถานที่ให้มีโต๊ะหมู่บูชาพร้อมเครื่องสักการะพระบรมฉายาลักษณ์ของ สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถตามภาพตัวอย่าง (ภาพ)  จัดให้มีพิธีกรรมทางศาสนาอย่างเหมาะสมในการมอบธงสัญลักษณ์ครั้งใหญ่ ครั้งแรกเพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่ผู้ที่ได้รับธงสัญลักษณ์ สาหรับการ มอบธงรายย่อยประจาเดือนให้ดาเนินการตามความเหมาะสม ลาดับการปฏิบัติ - ให้ เชิญ ผู้มีเ กียรติเป็ นประธานในพิธีจุ ดเที ยนธู ปบูช าพระรัต นตรั ยแล้ วเปิ ด กรวยถวายราชสั ก การะที่ ห น้ า พระบรมฉายาลั ก ษณ์ ส มเด็ จ พระนางเจ้ า ฯ พระบรมราชินีนาถ


- เชิญประธานและคณะกรรมการกองทุนแม่ของแผ่นดินยืนเรียงกันที่ด้านซ้าย ของโต๊ะหมู่บูชาฯ และขอเชิญเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง พลเรือน ตารวจ ทหาร ยืน เรียงกันเป็นเพื่อเป็นสักขีพยานที่ด้านขวาของโต๊ะหมู่บูชาฯด้วย - คณะกรรมการอ่านรายชื่อครัวเรือนที่ผ่านการรับรองครัวเรือนปลอดภัยเข้ารับ ธงสัญลักษณ์จากพานที่หน้าพระบรมฉายาลั กษณ์ฯ (เปิดเพลงกองทุนแม่ของ แผ่นดินประกอบ) ๓) การนาธงสัญลักษณ์ไปประดับที่ครัวเรือน  ให้คณะกรรมการและเพื่อนบ้านไปร่วมแสดงความยินดีด้วย  ให้ทุกคนในครัวเรือนนั้นออกมาต้อนรับธงที่หน้าบ้านด้วย ขั้นที่ ๑๐ รักษาสถานะของชุมชนเข้มแข็ง เพื่อเป็นการติดตั้งระบบการป้องกันปัญหายาเสพติดให้กับชุมชนเข้มแข็งกองทุนแม่ ของแผ่นดินให้เป็นชุมชนที่สามารถควบคุมสถานการณ์ยาเสพติดของชุมชนได้ตลอดไปด้วย ชุมชนเอง ในขั้น นี้จึ งถือเป็ นขั้น ตอนการเสริม ความมั่ นคงโดยเป็นการที่สมาชิ กยอมให้ คณะกรรมการพิจารณาลงความเห็น ต่อครัวเรือนที่เคยผ่านการรับรองแล้วว่าหากปล่อยให้ คนในครัวเรือนไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดหรืออยู่ในข่ายสงสัยอีก จะยอมให้ยกเลิกการรับรอง และปลดสัญลักษณ์คืนให้กับคณะกรรมการ ซึ่งจะมีการพิจารณาทุกรอบ ๑ เดือน โดยเป็น การพิ จ ารณาในที่ ป ระชุ ม คณะกรรมการต่ อ จากวาระการพิ จ ารณารั บ รองครั ว เรื อ น ประจาเดือน. เมื่อมีการติดตั้งระบบนี้ได้แล้วจะทาให้ครัวเรือนช่วยกันดูแลครัวเรือนเองอย่างมั่นคง ซึ่งจะส่งผลให้ชุมชนดูแลชุมชนเอง ทาให้ชุมชนมีความเข้มแข็งในการป้องกันภัยยาเสพติด ได้อย่างยั่งยืน..

กองทุนแม่ของแผ่นดิน ชัยชนะยาเสพติดที่ยั่งยืน สนองพระราชปณิธาน


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.