จูนหาคลื่นวิทยุเด็ก

Page 1

¨Ù¹ËÒ...¤Å×è¹ÇÔ·ÂØà¾×èÍà´ç¡

งานวิ จั ย เส้ น ทางวิ ท ยุ ไ ทยสื่ อ ของเยาวชนและครอบครั ว

อาจารย์เสาวณีย์ ฉัตรแก้ว


งานวิจัยเส้นทางวิทยุไทยสื่อของเยาวชนและครอบครัว เขียนโดย :

อาจารย์เสาวนีย์ ฉัตรแก้ว นักวิจยั โครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ รายการวิทยุเพือ่ เด็ก เยาวชน และครอบครัว มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

ISBN : พิมพ์ครั้งที่ 1: จำนวน : ออกแบบปก/รูปเล่ม :

978-616-7309-02-6 ตุลาคม 2552 1,000 เล่ม สำนักพิมพ์ ปิ่นโต พับลิชชิ่ง โทรศัพท์: 02–884–5174

ดำเนินการโดย :

โครงการส่งเสริมพัฒนาศักยภาพรายการวิทยุเพือ่ เด็ก เยาวชน และครอบครัวภายใต้มลู นิธเิ ครือข่ายครอบครัว

สนับสนุนโดย :

แผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน (สสย.)

บริหารแผนงานโดย :

มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)


คำนำ สื่อมวลชนนับเป็นเครื่องมือถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารที่สามารถเข้าถึงผู้ รับสารได้เป็นจำนวนมากในเวลาอันรวดเร็ว ในยุคปัจจุบัน ผู้รับสารมิได้เป็นเพียง ฝ่ายตั้งรับ (Passive) หรือจำยอมต้องรับข้อมูลข่าวสารจากสื่อมวลชนแต่เพียง ฝ่ายเดียวอีกต่อไป หากแต่มีบทบาทในเชิงรุก (Active) ในการสะท้อนทัศนคติ ความคิดเห็น หรือข้อเสนอแนะต่างๆ ไปยังสื่อมวลชน ภายใต้การเปลี่ยนแปลง ทางสังคมและเทคโนโลยีการสื่อสารที่เอื้อให้ทั้งสื่อมวลชนและผู้รับสารสามารถ โต้ตอบระหว่างกัน (Interactive) ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะ กับผูร้ บั สารทีเ่ ป็นเด็กและเยาวชน ซึง่ มีความต้องการและมีรปู แบบของการใช้สอื่ ที่เปลี่ยนแปลงไปจากในอดีตอย่างเห็นได้ชัด การศึกษาวิจัยครั้งนี้ จึงเป็นก้าวสำคัญที่จะเปิดโลกการสื่อสารของเด็กและ เยาวชน ตลอดไปจนถึงบุคคลในครอบครัว ท่ามกลางกระแสการแข่งขันใน วงการสื่อสารมวลชนที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งน่าจับตามองว่า สื่อมวลชน โดยเฉพาะวิทยุกระจายเสียง ซึ่งเคยเป็นสื่อที่ครองความนิยมในหมู่เด็กและ เยาวชน จะยังคงรักษาความนิยมต่อไปได้หรือไม่ สื่อวิทยุจะต้องปรับตัวไปสู่ ทิ ศ ทางใด ขณะที่ อิ น เทอร์ เ น็ ต และโทรศั พ ท์ เ คลื่ อ นที่ ก ำลั ง ก้ า วมาเป็ น ส่วนหนึ่งที่สำคัญในการดำเนินชีวิตของเด็กและเยาวชน


สารบัญ

เส้นทางวิทยุไทย...สื่อของเยาวชนและครอบครัว • ทบทวนเส้นทางวิทยุของเด็ก เยาวชน และครอบครัว หน้า 6 • มติ ครม. กับความจริงเรื่องสัดส่วนรายการวิทยุเพื่อเด็ก เยาวชน และครอบครัว หน้า 10 • เจาะลึกเนื้อหารายการวิทยุในดวงใจของเด็ก เยาวชน และครอบครัว หน้า 20 • วิทยุออนไลน์ ท่ามกลางกระแสความนิยมของโลกไซเบอร์สเปซ หน้า 42 • เมื่อรายการวิทยุขอแบ่งพื้นที่ในโทรศัพท์มือถือ หน้า 50


ทบทวนเส้นทางวิทยุของเด็ก เยาวชน และครอบครัว


6 เส้นทางวิทยุไทย...สื่อของเยาวชนและครอบครัว

“วิทยุ” ยังคงเป็นสื่อกระแสหลักที่ประชาชนให้ความสำคัญ โดยผลการ สำรวจของมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก เมื่อวันที่ 18 – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 พบว่า ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานคร เลือกเปิดรับสื่อ ดังนี้

- โทรทัศน์ - หนังสือพิมพ์ - วิทยุ - นิตยสาร/วารสาร - อินเทอร์เน็ต

ร้อยละ 93.9 ร้อยละ 61.1 ร้อยละ 51.1 ร้อยละ 23.4 ร้อยละ 23.2

ทั้ ง นี้ มี ก ลุ่ ม ตั ว อย่ า งถึ ง ร้ อ ยละ 55.9 ที่ เ ปิ ด ฟั ง วิ ท ยุ ทุ ก วั น โดย ส่วนใหญ่เลือกรับฟัง “รายการเพลง” ถึงร้อยละ 76.9 ตามมาด้วยรายการ ข่าวสาร/การจราจร และการถ่ายทอดสดกีฬา สอดคล้องกับงานวิจยั ของบริษทั ฟาร์อสี ท์ ดีดบี ี จำกัด ซึง่ สำรวจพฤติกรรม การฟังวิทยุของคนกรุงเทพฯ จำนวน 852 ตัวอย่าง ในเขตกรุงเทพมหานคร เมื่อเดือนมกราคม – มิถุนายน พ.ศ. 2548 พบว่า รายการที่กลุ่มผู้ฟังอายุ 15 – 49 ปี มีโอกาสรับฟังมากที่สุด คือ “รายการเพลง”


เส้นทางวิทยุไทย...สื่อของเยาวชนและครอบครัว 7

เช่นเดียวกับผลการสำรวจในหัวข้อ “วาทวิเคราะห์รายการวิทยุสำหรับ เด็ก” ของนัฎฐา เอื้อภราดร (2545) พบว่า เด็กอายุ 3 – 12 ปี ในเขตกรุงเทพ มหานคร รับฟัง “รายการเพลง” มากที่สุดเช่นกัน อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณา ถึงเนื้อหารายการที่ผู้ฟังกลุ่มดังกล่าวให้ความชื่นชอบมากที่สุดคือเนื้อหาสาระ เกี่ยวกับ “การท่องเที่ยว” รองลงมาคือ เรื่องราวเกี่ยวกับสัตว์ ธรรมชาติรอบตัว และกีฬา จากการสำรวจ “รายการเด็กในฝัน” ของเยาวชน ผู้ปกครอง ครู/อาจารย์ และประชาชนทั่วไป ซึ่งสำรวจโดยสวนดุสิตโพลล์ เมื่อวันที่ 8 – 11 ธันวาคม พ.ศ. 2546 พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ (ร้อยละ 59.02) เห็นว่าสารประโยชน์ที่ นำเสนอในรายการวิทยุสำหรับเด็กยังมีไม่เพียงพอ มีการเน้นเนื้อหาบันเทิงมาก เกิ น ไป นอกจากนี้ ค วรเปิ ด โอกาสให้ เ ด็ ก ได้ แ สดงออกถึ ง ความสามารถ ความคิ ด สร้ า งสรรค์ และมี ส่ ว นร่ ว มแสดงความคิ ด เห็ น ในรายการ โดยนำเสนอด้วยรูปแบบที่สนุกสนาน ไม่น่าเบื่อ มีจุดเด่น ดึงดูดความสนใจ ให้ทั้งสาระและความบันเทิง สำหรับเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการเผยแพร่รายการ วิทยุสำหรับเด็กคือ 17.01 – 18.00 น. ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่อยู่ในระหว่างการ เดินทาง


8 เส้นทางวิทยุไทย...สื่อของเยาวชนและครอบครัว

สำหรับกลุ่มผู้ฟังอายุ 18 – 35 ปี เสนอให้มีการนำเสนอรายการอันเป็น สารประโยชน์ด้วยรูปแบบการนำเสนอดังนี้ - ผูด้ ำเนินรายการควรมีการพูดคุยเพือ่ เสริมเกร็ดความรู ้ สาระเล็กๆ น้อยๆ โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องใกล้ตัวและครอบครัว - ควรมี ก ารจั ด ทำสารคดี ที่ ให้ ส ารประโยชน์ แ ก่ ผู้ ฟั ง ในรายการ เช่ น เกร็ ด ความรู้ ต่ า งๆ โดยมี ค วามยาว 1 นาที และความถี่ ใ นการนำเสนอ 1 ครั้งต่อชั่วโมง - ควรมีการนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์สังคม จากผลการวิจัยต่างๆ ข้างต้น สื่อวิทยุ ซึ่งเป็นสื่อที่สามารถเข้าถึง กลุม่ ผูฟ้ งั ได้อย่างรวดเร็วและครอบคลุมกลุม่ เป้าหมายเป็นจำนวนมากนัน้ นับได้วา่ มี อิทธิพลต่อการเรียนรู้ของเด็ก เยาวชน และครอบครัว จากที่ผ่านมาการผลิต รายการเพื่อเด็ก เยาวชน และครอบครัวที่มีคุณภาพมีปริมาณน้อย หากเทียบกับ สัดส่วนสื่อวิทยุที่มีอยู่ในประเทศไทย


เส้นทางวิทยุไทย...สื่อของเยาวชนและครอบครัว 9

อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ขาดพื้นที่สื่อเพื่อเด็กและการผลิตรายการดีๆ เพื่อ เด็ก เยาวชน และครอบครัวเกิดขึน้ จากหลายปัจจัย โดยการรวบรวมข้อมูลหลักๆ จากการพูดคุยกับผู้ผลิตรายการเพื่อเด็ก เยาวชน และครอบครัว คือ - การสนองตอบนโยบายของผูส้ นับสนุนรายการเป็นหลัก ทำให้ขาดเอกภาพ ในการผลิตรายการที่มีประสิทธิภาพ - การปรับเปลี่ยนเวลาของรายการเด็ก เยาวชน และครอบครัวที่ขาด ความแน่นอน - ขาดการให้ความสำคัญจากผู้สนับสนุนรายการเพราะคิดว่าเด็ก เยาวชน ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายของสินค้า จากผลการสำรวจของเอแบคโพลล์ สัญญาณของสื่ออันตรายกับวัยรุ่น วัยใสเมืองกรุง : กรณีศึกษานิสิต/นักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า พฤติกรรมการใช้สื่อต่างๆ ของกลุ่มเป้าหมายเลือกที่จะรับฟังวิทยุร้อยละ 77.4 และรับฟัง 3 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการขาดพื้นที่สื่อที่เหมาะกับกลุ่ม เป้าหมาย รวมทั้งรายการที่ดีและมีคุณภาพ


10 เส้นทางวิทยุไทย...สื่อของเยาวชนและครอบครัว

ทั้งนี้ เพื่อให้เห็นภาพรวมและสถานการณ์สื่อวิทยุที่จัดทำเป็นการเฉพาะ สำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัวได้อย่างกระจ่างชัด โครงการพัฒนารายการ วิทยุเพื่อเด็ก เยาวชน และครอบครัว ภายใต้แผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงได้ทำการศึกษา วิจัย ซึ่งครอบคลุมการศึกษาถึงสัดส่วนและเนื้อหารายการวิทยุสำหรับเด็ก เยาวชนและครอบครั ว การศึ ก ษาถึ ง ทั ศ นคติ แ ละความคาดหวั ง ของเด็ ก เยาวชน และครอบครัว ทีม่ ตี อ่ รายการวิทยุ ตลอดจนการปรับตัวของรายการวิทยุ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางการสื่อสารยุคใหม่ กับโอกาสในการเผยแพร่ รายการผ่านทางสือ่ ออนไลน์ และโทรศัพท์เคลือ่ นที่ โดยจะได้มกี ารนำเสนอผลการ วิจัยอย่างละเอียดในลำดับต่อไป


มติ ครม. กับความจริง เรื่องสัดส่วนรายการวิทยุเพื่อเด็ก เยาวชน และครอบครัว


12 เส้นทางวิทยุไทย...สื่อของเยาวชนและครอบครัว

ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 เห็นชอบให้เพิ่ม บทบาทสื่อของรัฐเพื่อการศึกษาและการเรียนรู้ของเด็ก เยาวชน และครอบครัว โดยให้ขอความร่วมมือสื่อวิทยุกระจายเสียงจัดสัดส่วนเวลาสำหรับเนื้อหาสาระ ของรายการวิ ท ยุ เ พื่ อ เด็ ก เยาวชน และครอบครั ว ร้ อ ยละ 10 - 15 ของเวลาออกอากาศ โดยให้เริ่มจากรายการวิทยุกระจายเสียงของกรมประชา สัมพันธ์ก่อน ในขณะที่รายการวิทยุสถานีอื่นๆ ให้ดำเนินการตามความพร้อมของ แต่ละสถานีนั้น โครงการพัฒนารายการวิทยุเพื่อเด็ก เยาวชน และครอบครัว ภายใต้แผน งานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน (สสย.) บริหารแผนโดยมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก และสำนักกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้สำรวจสัดส่วน เวลาการออกอากาศรายการวิทยุเพือ่ เด็ก เยาวชน และครอบครัว ในพืน้ ทีก่ รุงเทพ มหานครและปริมณฑล ระหว่างเดือนเมษายน - พฤษภาคม พ.ศ. 2550 กับระหว่างเดือนกันยายน – ธันวาคม พ.ศ. 2550 ครอบคลุมการกระจายเสียง ทั้งในระบบเอฟเอ็ม (FM) 40 สถานี และระบบเอเอ็ม (AM) 36 สถานี พบว่า รายการสำหรับ “เด็กและเยาวชน” และรายการสำหรับ “ครอบครัว” มีสดั ส่วน ที่เพิ่มขึ้นทั้งที่กระจายเสียงในระบบเอฟเอ็ม (FM) และระบบเอเอ็ม (AM) ดังรายละเอียดปรากฏในตาราง


เส้นทางวิทยุไทย...สื่อของเยาวชนและครอบครัว 13

รายการ การกระจายเสียง

เด็กและ เยาวชน

ครอบครัว

สำรวจ เม.ย. - พ.ค. 50 ร้อยละ เวลา (นาที/สัปดาห์)

สำรวจ ก.ย. - ธ.ค. 50 ร้อยละ เวลา (นาที/สัปดาห์)

การเปลี่ยนแปลง ของสัดส่วน

ระบบเอฟเอ็ม ระบบเอเอ็ม รวม

3,060 5,735 8,795

0.80 1.86 1.28

3,095 6,876 9,971

0.82 2.23 1.45

เพิ่มขึ้น เพิ่มขึ้น เพิ่มขึ้น

ระบบเอฟเอ็ม ระบบเอเอ็ม รวม

2,130 2,190 4,320

0.56 0.71 0.63

3,520 2,100 5,620

0.93 0.68 0.82

เพิ่มขึ้น ลดลง เพิ่มขึ้น

อย่ า งไรก็ ต าม เมื่ อ เปรี ย บเที ย บสั ด ส่ ว นรายการวิ ท ยุ ส ำหรั บ เด็ ก เยาวชน และครอบครั ว จำแนกตามเครื อ ข่ า ยในการกระจายเสี ย งระบบ เอฟเอ็ม (FM) พบว่า สถานีวิทยุแทบทุกเครือข่าย ทั้งสถานีวิทยุเครือข่ายกรม ประชาสัมพันธ์ สถานีวทิ ยุเครือข่ายสถาบันการศึกษา สถานีวทิ ยุเครือข่ายกองทัพ สถานีวิทยุเครือข่าย อสมท. สถานีวิทยุเครือข่าย 1 ปณ.กทช. และสถานีวิทยุ เครื อ ข่ ายวิ ท ยุ รัฐสภา กลับมีสัดส่วนรายการเด็ ก เยาวชน และครอบครั ว ไม่ถึงร้อยละ 10 ตามที่กำหนดไว้ในมติคณะรัฐมนตรี โดยพบว่า มีสถานีวิทยุ เพียงเครือข่ายเดียวคือ สำนักพระราชวัง (ออกอากาศระบบคลืน่ สัน้ Short Wave ซึง่ กระจายเสียงในพืน้ ทีจ่ ำกัด) ทีอ่ อกอากาศรายการวิทยุสำหรับเด็กและเยาวชน เกินกว่าร้อยละ 10 ดังรายละเอียดปรากฏในตาราง


14 เส้นทางวิทยุไทย...สื่อของเยาวชนและครอบครัว

เครือข่ายระบบเอฟเอ็ม

รายการสำหรับเด็กและเยาวชน เม.ย. - พ.ค. 50 ก.ย. - ธ.ค. 50 เวลา ร้อยละ เวลา ร้อยละ (นาที/สัปดาห์)

สถาบันการศึกษา กองทัพ กรมประชาสัมพันธ์ อสมท. 1 ปณ. กทช. สำนักพระราชวัง วิทยุรัฐสภา รวม

(นาที/สัปดาห์)

1,020 4.21 1,320 770 0.39 690 620 1.05 490 330 0.47 270 0 0 0 260 17.45 270 60 0.84 55 3,060 3,095

รายการสำหรับครอบครัว เม.ย. - พ.ค. 50 ก.ย. - ธ.ค. 50 เวลา ร้อยละ เวลา ร้อยละ นาที/สัปดาห์)

5.42 1,860 0.34 0 0.92 120 0.38 0 0 0 18.75 0 0.77 150 2,130

(นาที/สัปดาห์)

7.67 2,075 0 1,195 0.20 100 0 0 0 0 0 0 2.10 150 3,520

8.52 0.59 0.19 0 0 0 2.10

ขณะที่สัดส่วนรายการวิทยุสำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัวที่กระจาย เสียงในระบบเอเอ็ม (AM) ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล กลับ ไม่ปรากฏว่ามีสถานีวิทยุเครือข่ายใดที่ออกอากาศในสัดส่วนที่เกินกว่าร้อยละ 10 แม้จะพบว่า มีสถานีวิทยุเครือข่ายกรมประชาสัมพันธ์ที่มีการเพิ่มสัดส่วนเวลา ในการออกอากาศรายการสำหรับ “เด็กและเยาวชน” ส่วนเครือข่ายกองทัพก็ ได้ เ พิ่ ม สั ด ส่ ว นเวลาในการออกอากาศรายการสำหรั บ “ครอบครั ว ” ดังรายละเอียดปรากฏในตาราง


เส้นทางวิทยุไทย...สื่อของเยาวชนและครอบครัว 15

เครือข่ายระบบเอฟเอ็ม

รายการสำหรับเด็กและเยาวชน เม.ย. - พ.ค. 50 ก.ย. - ธ.ค. 50 เวลา ร้อยละ เวลา ร้อยละ (นาที/สัปดาห์)

(นาที/สัปดาห์)

กรมประชาสัมพันธ์ 1 ปณ. กทช. สถาบันการศึกษา กองทัพ อสมท. อื่นๆ รวม

1,620 810 230 2,235 180 660 5,735

5.46 4.49 1.84 1.20 0.92 1.56

2,305 810 220 2,406 180 955 6,876

รายการสำหรับครอบครัว เม.ย. - พ.ค. 50 ก.ย. - ธ.ค. 50 เวลา ร้อยละ เวลา ร้อยละ (นาที/สัปดาห์)

7.62 4.49 1.76 1.44 0.92 2.23

120 1.50 0 0 60 0.59 0 0 0 0 2,010 4.74 2,190

(นาที/สัปดาห์)

100 0 60 30 0 1,910 2,100

0.33 0 0.48 0.02 0 4.46

ทัง้ นี้ เมือ่ พิจารณาสัดส่วนรายการวิทยุ โดยจำแนกเป็น “รายสถานี” พบว่า มีสถานีวิทยุจำนวน 6 สถานีที่นำเสนอรายการสำหรับ “เด็กและเยาวชน” เกินกว่าร้อยละ 10 ของเวลาออกอากาศของสถานี และมี 2 สถานีที่เสนอ รายการสำหรับ “ครอบครัว” เกินกว่าร้อยละ 10 ของเวลาออกอากาศของ สถานีดังนี้สถานีที่มีสัดส่วนรายการวิทยุสำหรับ “เด็กและเยาวชน” เกินกว่า ร้อยละ 10 ได้แก่ - FM 104 สถานีวิทยุ อส.พระราชวัง นำเสนอร้อยละ 18.75 - FM 101.5 สถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเสนอร้อยละ 11.11 - AM 1467 สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยเพื่อการศึกษาส่วนกลาง นำเสนอร้อยละ 25.88 - AM 1521 สถานีวิทยุกระจายเสียง 919 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา นำเสนอร้อยละ 21.88 - AM 1332 สถานีวิทยุ อส.พระราชวัง นำเสนอร้อยละ 18.75 - AM 1575 สถานีวิทยุสราญรมย์ นำเสนอร้อยละ 14.28


16 เส้นทางวิทยุไทย...สื่อของเยาวชนและครอบครัว

สถานีที่มีสัดส่วนรายการวิทยุสำหรับ “ครอบครัว” เกินกว่าร้อยละ 10 ได้แก่ - FM 92 สถานีวิทยุศึกษา นำเสนอร้อยละ 26.19 - AM 1161 สถานีวิทยุศึกษา นำเสนอร้อยละ 26.19

จากการสำรวจสัดส่วนรายการวิทยุ ครัง้ ที่ 2 พบว่า มีรายการใหม่สำหรับ “เด็กและเยาวชน” เพิ่มขึ้นจากการสำรวจในครั้งแรก จำนวน 5 รายการ และมีรายการใหม่สำหรับครอบครัว เพิ่มขึ้นจำนวน 9 รายการดังรายละเอียด ด้านล่าง

รายการสำหรับ “เด็กและเยาวชน” ที่เพิ่มขึ้นมา ได้แก่ - รายการโลมาลั้น...ลา นำเสนอทางสถานีวิทยุศึกษา FM 92 และ AM 1161 - รายการเยาวชนคนเก่ง นำเสนอทางสถานีวิทยุยานเกราะ FM 89 - รายการออมสินความคิด นำเสนอทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ช่อง 7 FM 103.5 - รายการละครพื้นบ้านสำหรับเด็ก นำเสนอทางสถานีวิทยุกระจายเสียง วพท. AM 792 - รายการเยาวชนที่รัก นำเสนอทางสถานีวิทยุ ขส.ทบ. AM 1269


เส้นทางวิทยุไทย...สื่อของเยาวชนและครอบครัว 17

รายการสำหรับ “ครอบครัว” ที่เพิ่มขึ้นมา ได้แก่

- รายการครอบครัวเยาวชน นำเสนอทางสถานีวิทยุวิทยาลัยอาชีวศึกษา FM 89.5 - รายการบ้านยิ้ม นำเสนอทางสถานีวิทยุวิทยาลัยอาชีวศึกษา FM 89.5 - รายการ Saturday Music นำเสนอทางสถานีวิทยุวิทยาลัยอาชีวศึกษา FM 89.5 - รายการชีวิตครอบครัว นำเสนอทางสถานีวิทยุวิทยาลัยอาชีวศึกษา FM 89.5 - รายการครอบครัวแห่งรัก นำเสนอทางสถานีวิทยุยานเกราะ FM 89 - รายการเพื่อเยาวชนและครอบครัว นำเสนอทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ช่อง 7 FM 103.5 - รายการ DNA RADIO นำเสนอทางสถานีวิทยุ วทพ.กรุงเทพ กองบัญชาการทหารสูงสุด FM 90.5 - รายการครอบครัวที่รัก นำเสนอทางสถานีวิทยุกระจายเสียง วพท. AM 792 - รายการโลกของเรา นำเสนอทางสถานีวิทยุศึกษา AM 1161

สรุปผลการวิจัย

ตามทีก่ ำหนดไว้ในมติคณะรัฐมนตรี ตัง้ แต่เมือ่ วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 ให้มีการเพิ่มรายการวิทยุสำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว เป็นสัดส่วนร้อยละ 10 – 15 ของเวลาออกอากาศทั้งหมด แต่จากการศึกษาสัดส่วนรายการวิทยุที่ ส่งกระจายเสียงครอบคลุมพืน้ ทีก่ รุงเทพมหานครและปริมณฑล ทัง้ ในระบบเอเอ็ม (AM) และเอฟเอ็ม (FM) ระหว่างเดือนกันยายน – ธันวาคม พ.ศ. 2550 สามารถสรุปผลได้ดังนี้


18 เส้นทางวิทยุไทย...สื่อของเยาวชนและครอบครัว

1. มีการนำเสนอรายการสำหรับกลุ่มเป้าหมายอายุ 25 ขึ้นไปมากที่สุด ร้อยละ 78.65 รองลงมาคือรายการที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นศาสนิกชน ร้อยละ 10.74 อันดับสามคือรายการทีม่ กี ลุม่ เป้าหมายเป็นวัยรุน่ /คนรุน่ ใหม่ ร้อยละ 4.66 2. มีการนำเสนอรายการสำหรับเด็กและเยาวชนเพียงร้อยละ 1.45 โดย สถานีวิทยุกระจายเสียงระบบเอฟเอ็ม (FM) มีการนำเสนอร้อยละ 0.449 ส่วน สถานีวิทยุกระจายเสียงระบบเอเอ็ม (AM) มีการนำเสนอร้อยละ 0.999 ทั้งนี้ สถานีวิทยุกระจายเสียงระบบเอฟเอ็ม (FM) มีการนำเสนอรายการสำหรับเด็ก และเยาวชนจำนวน 14 สถานี และมีเพียง 2 สถานีเท่านั้นที่มีการนำเสนอ มากกว่าร้อยละ 10 ของเวลาออกอากาศของสถานี คือ สถานีวิทยุ อส. พระราชวัง FM 104 มีการนำเสนอร้อยละ 17.45 รองลงมาคือ สถานีวิทยุแห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย FM 101.5 มีการนำเสนอร้อยละ 11.11 ในขณะที่ สถานีวิทยุกระจายเสียงระบบเอเอ็ม (AM) มีจำนวน 16 สถานีที่มีการนำเสนอ รายการสำหรับเด็กและเยาวชน มี 4 สถานีที่มีการนำเสนอรายการเด็กและ เยาวชนมากกว่าร้อยละ 10 ของเวลาออกอากาศของสถานี คือ สถานีวิทยุ กระจายเสียงแห่งประเทศไทยเพือ่ การศึกษาส่วนกลาง AM 1467 มีการนำเสนอ ร้อยละ 25.88 สถานีวิทยุกระจายเสียง 919 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา AM 1521 มีการนำเสนอร้อยละ 21.88 สถานีวิทยุกระจายเสียง อส. AM 1332 มี ก ารนำเสนอร้ อ ยละ 18.75 และสถานี วิ ท ยุ ส ราญรมย์ AM 1575 มีการนำเสนอร้อยละ 14.28


เส้นทางวิทยุไทย...สื่อของเยาวชนและครอบครัว 19

3. มีการนำเสนอรายการสำหรับครอบครัวร้อยละ 0.82 โดยสถานีวิทยุ กระจายเสียงระบบเอฟเอ็ม(FM) มีการนำเสนอร้อยละ 0.513 ส่วนสถานีวิทยุ กระจายเสียงระบบเอเอ็ม (AM) มีการนำเสนอร้อยละ 0.306 ทั้งนี้สถานีวิทยุ กระจายเสียงระบบเอฟเอ็ม (FM) มีเพียงสถานีเดียวเท่านั้นที่นำเสนอมากกว่า ร้อยละ 10 ของเวลาออกอากาศของสถานี คือสถานีวิทยุศึกษากระทรวง ศึกษาธิการ FM 92 มีการนำเสนอร้อยละ 26.19 เช่นเดียวกับสถานีวิทยุ กระจายเสียงระบบเอเอ็ม (AM) ก็มีเพียง 1 สถานีเท่านั้น ที่มีการนำเสนอ รายการสำหรับครอบครัวมากกว่าร้อยละ 10 ของเวลาออกอากาศของสถานี คือ สถานีวิทยุศึกษา AM 1161 มีการนำเสนอร้อยละ 26.19 4. เครือข่ายวิทยุกองทัพเป็นเครือข่ายที่มีการนำเสนอรายการสำหรับเด็ก และเยาวชนมากที่สุด คือ ร้อยละ 0.45 ของเวลาออกอากาศของวิทยุกระจาย เสียงทีส่ ง่ กระจายเสียงในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และมีเพียงเครือข่าย เดี ย วที่ มี เวลาออกอากาศของรายการเด็ก และเยาวชนมากกว่ า ร้ อ ยละ 10 ของเวลาออกอากาศของเครือข่าย คือ สำนักพระราชวัง มีการนำเสนอ ร้อยละ 18.75 5. เครือข่ายวิทยุสถาบันการศึกษา เป็นเครือข่ายที่มีการนำเสนอรายการ สำหรับครอบครัวมากที่สุด คือ ร้อยละ 0.31 ของเวลาออกอากาศของวิทยุ กระจายเสียงที่ส่งกระจายเสียงในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และไม่มี เครื อ ข่ า ยใดที่ น ำเสนอรายการสำหรั บ ครอบครั ว เกิ นกว่ า ร้ อ ยละ 10 ของ เวลาออกอากาศของเครือข่าย


20 เส้นทางวิทยุไทย...สื่อของเยาวชนและครอบครัว

6. วิ ท ยุ ก ระจายเสี ย งที่ ส่ ง กระจายเสี ย งในเขตกรุ ง เทพมหานครและ ปริมณฑล ระหว่างเดือนกันยายน - ธันวาคม 2550 กับระหว่างเดือนเมษายน ธั น วาคม 2550 พบว่ า รายการสำหรั บ ครอบครั ว เพิ่ ม ขึ้ น ร้ อ ยละ 0.19 ส่วนรายการสำหรับเด็กและเยาวชน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.17 7. จากการศึกษาระหว่างเดือนกันยายน – ธันวาคม พ.ศ. 2550 พบ รายการวิทยุสำหรับเด็กและเยาวชนเพิ่มขึ้นทางสถานีวิทยุกระจายเสียงระบบ เอฟเอ็ม (FM) คือ รายการโลมาลัน้ ...ลา นำเสนอทาง FM 92 รายการออมสินความคิด นำเสนอทาง FM 103.5 และ รายการเยาวชนคนเก่ง นำเสนอทาง FM 89 ส่วนสถานีวิทยุกระจายเสียงระบบเอเอ็ม (AM) คือ รายการโลมาลั้น...ลา นำเสนอทาง AM 1161 รายการละครพืน้ บ้านสำหรับเด็ก นำเสนอทาง AM 792 และรายการเยาวชนที่รัก นำเสนอทาง AM 1269 8. จากการศึกษาระหว่างเดือนกันยายน – ธันวาคม พ.ศ. 2550 พบรายการ วิทยุสำหรับครอบครัวเพิม่ ขึน้ ทางสถานีวทิ ยุกระจายเสียงระบบเอฟเอ็ม (FM) คือ รายการความรู้เกี่ยวกับครอบครัวเยาวชน รายการบ้านยิ้ม รายการ Saturday Music รายการชีวิตครอบครัว ซึ่งทั้ง 4 รายการนี้นำเสนอทาง FM 89.5 รายการครอบครัวแห่งรัก นำเสนอทาง FM 89 รายการเพือ่ เยาวชนและครอบครัว นำเสนอทาง FM 103.5 และรายการ DNA RADIO นำเสนอทาง FM 90.5 ส่วนสถานีวิทยุกระจายเสียงระบบเอเอ็ม (AM) คือ รายการครอบครัวที่รัก นำเสนอทาง AM 792 และรายการโลกของเรา นำเสนอทาง AM 1161


เจาะลึกเนื้อหารายการวิทยุในดวงใจ ของเด็ก เยาวชน และครอบครัว


22 เส้นทางวิทยุไทย...สื่อของเยาวชนและครอบครัว

ขณะที่ สั ด ส่ ว นการนำเสนอรายการวิ ท ยุ ส ำหรั บ เด็ ก เยาวชน และ ครอบครัว มีอยูอ่ ย่างจำกัด โดยในช่วงทีม่ กี ารวิเคราะห์เนือ้ หารายการวิทยุสำหรับ เด็ก เยาวชน และครอบครัว ระหว่างเดือนพฤษภาคม – กรกฎาคม พ.ศ. 2550 โดยโครงการพัฒนารายการวิทยุเพือ่ เด็ก เยาวชน และครอบครัว ภายใต้แผนงาน สื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน (สสย.) บริหารแผนโดยมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก และสำนั ก งานกองทุ น สนั บ สนุ น การสร้ า งเสริ ม สุ ข ภาพ (สสส.) พบว่ า มีรายการวิทยุสำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว ที่ออกอากาศจำนวนทั้งสิ้น 45 รายการ โดยแบ่งเป็นรายการที่ออกอากาศในระบบเอฟเอ็ม (FM) 9 รายการ ออกอากาศในระบบเอเอ็ม (AM) 21 รายการ และออกอากาศพร้อมกันทั้งใน ระบบเอฟเอ็ม (FM) และเอเอ็ม (AM) จำนวน 15 รายการ ทั้ ง นี้ ช่องทางการเผยแพร่รายการวิ ท ยุ ส ำหรั บ เด็ ก เยาวชน และ ครอบครัว นับว่ายังมีอยูอ่ ย่างจำกัด โดยออกอากาศในระบบเอฟเอ็ม (FM) จำนวน 12 สถานี จากทั้งหมด 40 สถานี และออกอากาศในระบบเอเอ็ม (AM) จำนวน 14 สถานี จากทั้งหมด 37 สถานี


เส้นทางวิทยุไทย...สื่อของเยาวชนและครอบครัว 23

รายการวิทยุสำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว ส่วนใหญ่ได้รับการเผยแพร่ ทางสถานีวิทยุซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษา ได้แก่ -สถานีวิทยุศึกษา -สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยเพื่อการศึกษา (วิทยุโรงเรียนและนอกโรงเรียน) -สถานีวิทยุกระจายเสียงของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย -สถานีวิทยุกระจายเสียงของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นอกจากนี้ ผู้ที่รับผิดชอบในการผลิตรายการยังขาดความหลากหลาย โดยจำกั ด อยู่ แต่ เฉพาะหน่ ว ยงานที่ ก ำกั บ ดู แ ลด้ า นการศึ ก ษาเป็ น หลั ก เช่ น ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิ ท ยาลั ย เกษตรศาสตร์ , มหาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร์ แ ละมหาวิ ท ยาลั ย สุโขทัยธรรมาธิราช ซึ่งมีรายการวิทยุสำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัวอยู่ถึง 18 รายการ จากทั้งหมด 45 รายการ ขณะที่มีผู้ผลิตเอกชนอยู่เพียง 3 บริษัท และองค์กรพัฒนาเอกชนอีก 3 องค์กร นอกเหนือจากนั้นเป็นรายการวิทยุที่ผลิต โดยหน่วยงานของรัฐ อาทิ กรมประชาสัมพันธ์, อ.ส.ม.ท., กองทัพบก, รัฐสภา และกระทรวงการต่างประเทศ เป็นต้น


24 เส้นทางวิทยุไทย...สื่อของเยาวชนและครอบครัว

อย่างไรก็ตาม การจัดทำรายการวิทยุสำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว พบว่า มีความครอบคลุมกลุ่มผู้ฟังในทุกช่วงวัย อันได้แก่ กลุ่มเด็กระดับประถม ศึกษา (อายุ 6 - 12 ปี) กลุ่มวัยรุ่นระดับมัธยมศึกษา (อายุ 13 – 18 ปี) และกลุ่ ม เยาวชนระดั บ อุ ด มศึ ก ษา (19 – 25 ปี ) ตลอดจนครอบครั ว ซึ่ ง ครอบคลุมทัง้ ผูท้ เี่ ตรียมตัวมีครอบครัว ไปจนถึงผูท้ มี่ คี รอบครัวแล้ว โดยมีขอ้ ยกเว้นก็ แต่กลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นเด็กปฐมวัยอายุ 3 – 5 ปี ที่รายการวิทยุมิได้เผยแพร่ เนื้อหาเพื่อกลุ่มเป้าหมายนี้เป็นการเฉพาะ หากแต่มุ่งนำเสนอถึงหลักเกณฑ์ และคำแนะนำสำหรับครอบครัวในการเลี้ยงดูเด็กในวัยดังกล่าว ทั้งนี้ กลุ่มเป้าหมายที่รายการวิทยุให้ความสำคัญมากที่สุดคือวัยรุ่นระดับ มัธยมศึกษา (อายุ 13 – 18 ปี) จำนวนทั้งสิ้น 16 รายการ โดยส่วนใหญ่ เป็นรายการที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับวิชาเรียนและแนะแนวการศึกษาต่อในระดับ อุดมศึกษา กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับความสนใจรองลงมาคือ เด็กประถมศึกษา อายุ 6 – 12 ปี มีจำนวนทั้งสิ้น 15 รายการ โดยเป็นรายการที่มีความหลากหลายมากกว่า ครอบคลุมทั้งดนตรี, นิทาน, การอ่านหนังสือให้ฟัง รวมถึงการส่งเสริมการแสดง ความสามารถพิเศษในรายการอีกด้วย


เส้นทางวิทยุไทย...สื่อของเยาวชนและครอบครัว 25

ส่วนรายการสำหรับครอบครัว ซึ่งมีอยู่ 7 รายการนั้น เป็นรายการที่มี เนือ้ หามุง่ สร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีในครอบครัวอยูเ่ พียง 3 รายการ นอกนั้นเป็นรายการที่มุ่งให้สาระเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตซึ่งเหมาะสำหรับคน ทุกเพศทุกวัยเป็นหลัก โดยมีเนื้อหาบางส่วนเท่านั้นที่เกี่ยวโยงถึงการดำเนิน ชีวิตในครอบครัว เช่น โภชนาการของบุคคลในวัยต่างๆ การป้องกันโรคติดต่อ ในเด็ก การรณรงค์ประหยัดพลังงานในครัวเรือน เป็นต้น สำหรับช่วงเวลาออกอากาศที่เหมาะสมสำหรับเด็กและเยาวชน คือ - ช่วงวันธรรมดา (จันทร์ – ศุกร์) ระหว่างเวลา 7.00 – 8.00 น. และ 17.00 – 20.00 น. มีรายการวิทยุที่ออกอากาศในช่วงเวลาดังกล่าว จำนวน 5 รายการ - ช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ (เสาร์ – อาทิตย์) ระหว่างเวลา 8.00 – 11.00 และ 13.00 – 20.00 น. มีรายการวิทยุที่ออกอากาศในช่วงเวลาดังกล่าว จำนวน 23 รายการ อย่างไรก็ตาม พบว่ามีรายการที่ออกอากาศในช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสมเนื่องจาก ตรงกับช่วงเวลาเรียน จำนวน 6 รายการ นอกจากนั้นเป็นรายการที่ออกอากาศ ในช่วงเวลาที่เช้าเกินไป เช่น เวลา 06.00 – 06.20 น. และ 06.10 – 07.00 น. ซึ่ ง เป็ น เวลาที่ เด็ ก และเยาวชนต้ อ งเตรี ย มตั ว ไปโรงเรี ย น รวมถึ ง เวลาออก อากาศในช่วงที่ดึกเกินไปสำหรับเด็กระดับประถมศึกษา (อายุ 6 – 12 ปี) เช่น รายการ “โรงเรียนอนุบาลฝันในฝัน” ออกอากาศในเวลา 19.30 – 23.30 น.


26 เส้นทางวิทยุไทย...สื่อของเยาวชนและครอบครัว

การพิจารณาความหลากหลายของรูปแบบการนำเสนอรายการ รายการวิทยุสำหรับเด็กและเยาวชน รายการสำหรับเด็กและเยาวชนส่วนใหญ่มีรูปแบบนิตยสารทางอากาศ โดยมี อ ยู่ จ ำนวนทั้ ง สิ้ น 14 รายการ ทั้ ง นี้ มี ก ารนำเสนอที่ ห ลากหลาย โดยแบ่งรายการออกเป็นช่วงต่าง ๆ ซึ่งเน้นทั้งสาระความรู้และความบันเทิง อย่างไรก็ตาม การกำหนดช่วงต่างๆ ในรายการนิตยสารทางอากาศมี ลักษณะที่คล้ายคลึงกัน กล่าวคือ ส่วนใหญ่เริ่มต้นรายการด้วยข่าว ตามมาด้วย การเล่าเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยและความรู้รอบตัว จากนั้นจะเป็นการสัมภาษณ์ หรื อ สนทนาในประเด็ นที่ ก ำลั ง เป็ นที่ ส นใจ โดยในรายการอาจสอดแทรก ด้วยการเปิดเพลง และเล่านิทานหรืออ่านหนังสือให้ฟัง ซึ่งการที่รายการต่างๆ มี รูปแบบการนำเสนอในลักษณะเดียวกันเช่นนี้ อาจขาดความเป็นเอกลักษณ์ เฉพาะตัวในการดึงดูดความสนใจของผู้ฟัง


เส้นทางวิทยุไทย...สื่อของเยาวชนและครอบครัว 27

รูปแบบรายการวิทยุสำหรับเด็กและเยาวชนที่มีการนำเสนอรองลงมา คือ รายการประเภทสัมภาษณ์และสนทนา ซึ่งมีอยู่จำนวน 9 รายการ ความน่า สนใจของรายการดังกล่าวขึ้นอยู่กับความสามารถในการซักถามของผู้ดำเนิน รายการ, แขกรับเชิญ และประเด็นของการสัมภาษณ์หรือสนทนา ส่วนรายการที่เน้นให้ความรู้ในสาขาวิชาต่างๆ ซึ่งมีอยู่จำนวน 7 รายการ นั้น มักนำเสนอในลักษณะการบรรยายในรูปแบบเดียวกับการเรียนการสอน ซึ่ง อาจเป็นอุปสรรคต่อผู้ฟังในการรวบรวมสมาธิและติดตามเนื้อหาให้ทัน เนื่องจาก วิทยุมีข้อจำกัดในด้านการได้ยินเฉพาะเสียง ขาดภาพที่ช่วยสร้างความเข้าใจ อีก ทั้ ง ผู้ ฟั ง ยั ง ไม่ ส ามารถทบทวนเนื้ อ หาโดยการย้ อ นกลั บ ไปฟั ง รายการได้ แต่อย่างใด รายการวิทยุสำหรับครอบครัว รายการวิทยุสำหรับครอบครัวส่วนใหญ่มีรูปแบบนิตยสารทางอากาศ เช่นเดียวกับรายการเด็กและเยาวชน โดยมีการแบ่งเป็นช่วงข่าว/เล่าข่าว ช่วงสัมภาษณ์ โดยสอดแทรกเกร็ดความรู้ เพลง นิทาน ในลักษณะที่คล้ายคลึง กับรายการเด็กและเยาวชน


28 เส้นทางวิทยุไทย...สื่อของเยาวชนและครอบครัว

การพิจารณาความเหมาะสมของเนื้อหาการนำเสนอรายการ รายการวิทยุสำหรับเด็กและเยาวชน เนื้ อ หารายการส่ ว นใหญ่ มุ่ ง เผยแพร่ เ กี่ ย วกั บ สาระความรู้ แ ละ ความบั น เทิ ง ซึ่ ง เนื้ อ หารายการมี ค วามหลากหลาย โดยหากเป็ น สาระ ความรู้ เนื้ อ หารายการจะเป็ น ไปในลั ก ษณะเล่ า ข่ า วและเหตุ ก ารณ์ ใ น ปั จ จุ บั น ข่ า วประชาสั ม พั นธ์ การสอนทั ก ษะความรู้ เบื้ อ งต้ น เกี่ ย วกั บ ภาษา ทัง้ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เรือ่ งของความรูร้ อบตัว การสัมภาษณ์ผเู้ ชีย่ วชาญ ในสาขาวิชาต่างๆ ในประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน ประเด็น เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพร่างกาย หรือประเด็นเกี่ยวกับธรรมะ เป็นต้น หากเป็นสาระบันเทิง มักมีการนำเสนอเนื้อหารายการเกี่ยวกับการเล่า นิ ท าน เพลง เกม หรื อ อาจเปิ ด โอกาสให้ เด็ ก และเยาวชนได้ แ สดงความ สามารถในด้ า นต่ า ง ๆ เช่ น ร้ อ งเพลง เล่ น ดนตรี เล่ า นิ ท าน เล่ น เกม ที่ทางรายการกำหนด เป็นต้น นอกจากนี้ ยังเปิดโอกาสให้ผู้ฟังทางบ้านได้มี ส่วนร่วมกับทางรายการ โดยการแสดงความคิดเห็น เล่าประสบการณ์ ตอบคำถาม หรือเขียนจดหมายเข้ามาในรายการได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม แม้ว่าแต่ละรายการจะมุ่งนำเสนอเนื้อหาในรายการให้มี ความหลากหลาย แต่เมื่อนำเนื้อหารายการต่างๆ เหล่านั้นมาเทียบเคียงกัน จะพบว่า หลายรายการมีการนำเสนอเนื้อหาหรือเรื่องราวที่ใกล้เคียงกัน โดยมี เพียงไม่กี่รายการที่นำเสนอเนื้อหาเฉพาะ ซึ่งโดดเด่นและแตกต่างจากราย การอื่น ดังนี้


เส้นทางวิทยุไทย...สื่อของเยาวชนและครอบครัว 29

- รายการสโมสรเพื่อนงาน มุ่งนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ และแรงงานเด็ก - รายการเพื่อนน้อง มุ่งนำเสนอเนื้อหาเพื่อเด็กและเยาวชนในสถานพินิจ และคุ้มครองเด็กและเยาวชน - รายการโรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา มุ่งนำเสนอเนื้อหาคำสอนและ ธรรมะสำหรับเด็กและเยาวชนโดยเฉพาะ เนื้อหาหลักเป็นการหยิบยกเรื่อง ใกล้ ตั ว มี ก ารใช้ ภ าษาที่ เข้ า ใจง่ า ย อี ก ทั้ ง มี บ ทเพลงและนิ ท านสอดแทรก ธรรมะร่วมด้วย - รายการขบวนการนักอ่าน มุ่งส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน - รายการ Crossword Game มุ่งเล่นเกมเพื่อชิงรางวัล อย่างไรก็ตาม รายการนีม้ ลี กั ษณะของการสอดแทรกผลกระโยชน์ทางการตลาด โดยเกม Crossword ซึ่งเป็นเกมหลักของรายการนั้น มุ่งส่งเสริมการใช้ภาษาอังกฤษ ซึ่ง สามารถผูกโยงกับผู้สนับสนุนหลักของรายการ คือ Cyber Dictionary ซึ่ง เป็นพจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างชัดเจน ทั้งนี้อาจกล่าวได้ว่า ในบรรดารายการต่างๆ ที่นำเสนออยู่นั้น มักจะมี รูปแบบการนำเสนอเนื้อหาในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งหากมีการปรับเปลี่ยน โดยกำหนดเป้าหมายเฉพาะของการนำเสนอที่ชัดเจน ก็อาจส่งผลให้การนำ เสนอรายการมีความน่าสนใจและโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ได้มากยิ่งขึ้น


30 เส้นทางวิทยุไทย...สื่อของเยาวชนและครอบครัว

รายการวิทยุสำหรับครอบครัว เนื้อหารายการสำหรับครอบครัวยังมีอยู่อย่างจำกัด สาเหตุประการแรก เกิดจากจำนวนรายการวิทยุสำหรับกลุ่มเป้าหมายนี้ยังมีน้อย คือมีเพียง 3 รายการเท่านั้น ส่วนอีก 4 รายการที่เหลือไม่ได้มุ่งนำเสนอไปยังกลุ่มเป้าหมาย ซึ่ ง เป็ น บุ ค คลในครอบครั ว เป็ น การเฉพาะ โดยเนื้ อ หาที่ อ าจกล่ า วได้ ว่ า ยังขาดไปคือ เนื้อหาเกี่ยวกับคำแนะนำสำหรับการเลี้ยงดูบุตรในวัยต่างๆ ซึ่งที่ ผ่านมามักเป็นการกล่าวถึงโดยรวม มิได้มุ่งเน้นช่วงวัยใดเป็นพิเศษ หรือมีความ หลากหลายของรูปแบบในครอบครัว เช่น ครอบครัวที่มีพ่อหรือแม่เพียงคนเดียว (Single Parent) ครอบครัวที่พ่อหรือแม่เป็นบุคคลพิการ หรือติดเชื้อเอชไอวี กิจกรรมที่ส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีภายในครอบครัวและต่อสังคม เช่น เกมการ แข่ ง ขั น เพื่ อ รณรงค์ส่งเสริมสิ่งดีงามในสังคม รวมถึ ง เนื้ อ หาเฉพาะเกี่ ย วกั บ กลุ่มผู้สูงอายุในครอบครัว


เส้นทางวิทยุไทย...สื่อของเยาวชนและครอบครัว 31

การพิจารณาคุณภาพของผู้ดำเนินรายการ ผู้ ด ำเนิ น รายการส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ ป ระมาณ 30 – 35 ปี ซึ่งดำเนินรายการเพียงคนเดียว และดำเนินรายการร่วมกัน 2 – 3 คน โดยส่วน ใหญ่มีลีลาการจัดรายการที่เน้นความเป็นกันเองกับผู้ฟัง ทั้งลักษณะน้ำเสียง วิธีการออกเสียง และเทคนิคการนำเสนอ ทำให้มีความแตกต่างกัน ซึ่งถือเป็น เอกลั ก ษณ์ เฉพาะตั ว ของแต่ ล ะบุ ค คล ทั้ ง นี้ ผู้ ด ำเนิ น รายการสำหรั บ เด็ ก เยาวชน และครอบครัวส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการออกเสียงให้ถูกต้อง ตามอักขรวิธี ยกเว้นรายการประเภทข่าวและเล่าข่าว บางรายการยังไม่ให้ ความสำคัญกับความถูกต้องในการออกเสียงเท่าที่ควร


32 เส้นทางวิทยุไทย...สื่อของเยาวชนและครอบครัว

อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสังเกตว่า มีผู้ดำเนินรายการที่เป็นเด็กและเยาวชน อยู่เพียง 2 รายการ คือ รายการวิทยุเด็กและเยาวชน และรายการขบวนการ นักอ่าน จากตัวเลขดังกล่าว จึงนับได้ว่าเด็กและเยาวชนยังมีโอกาสได้เข้าไปมี ส่วนร่วมในรายการวิทยุอย่างจำกัด กล่าวคือ โดยส่วนใหญ่เด็กและเยาวชนมี ส่ ว นร่ ว มในฐานะของผู้ ฟั ง ซึ่ ง อาจได้ มี โอกาสแสดงความคิ ด เห็ น การตอบ คำถามในช่วงเกมของรายการ และการแสดงความสามารถพิเศษต่างๆ ทั้งนี้หาก เปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนได้มีโอกาสจัดรายการของตนเอง เด็กและเยาวชน ก็ จ ะได้ มี บ ทบาทในการกำหนดทิ ศ ทางของรายการวิ ท ยุ ให้ กั บ คนในวั ย เดี ย ว กันได้เพิ่มมากขึ้น ขณะทีจ่ ำนวนรายการวิทยุสำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว ยังมีปริมาณ ที่จำกัด ด้านเนื้อหารายการนั้นพบว่า ส่วนใหญ่ยังจำกัดอยู่เฉพาะรายการเด็ก และเยาวชนซึ่งมุ่งเน้นการให้ความรู้ในสาขาวิชาต่างๆ เป็นหลัก ซึ่งอาจไม่ สามารถดึงดูดความสนใจของผู้ฟังเท่าที่ควร โดยรูปแบบและเนื้อหาการนำ เสนอยั ง ขาดความหลากหลาย และรายการวิ ท ยุ ส่ ว นใหญ่ ไม่ ได้ เปิ ด โอกาส ให้เด็กและเยาวชนได้มีส่วนร่วมในการดำเนินรายการเท่าใดนัก


เส้นทางวิทยุไทย...สื่อของเยาวชนและครอบครัว 33

ทั้งนี้ เพื่อให้รับทราบถึงความคิดเห็นและทัศนคติของเด็ก เยาวชน และ ครอบครั ว ที่ มี ต่ อ รายการวิ ท ยุ ใ นปั จ จุ บั น ตลอดจนความต้ อ งการในด้ า น รูปแบบเนื้อหา และผู้ดำเนินรายการที่เหมาะสมและตรงตามความสนใจของ กลุ่ ม เป้ า หมายดั ง กล่ า วอย่ า งแท้ จ ริ ง โครงการพั ฒ นารายการวิ ท ยุ เพื่ อ เด็ ก เยาวชน และครอบครัว จึงได้ทำการวิจัยเรื่อง “การสำรวจพฤติกรรมการเปิด รั บ สื่ อ , ทั ศ นคติ และอิ ท ธิ พ ลของรายการวิ ท ยุ ส ำหรั บ เด็ ก เยาวชน และ ครอบครั ว ในพื้ น ที่ ก รุ ง เทพมหานคร” โดยใช้ วิ ธี ก ารวิ จั ย เชิ ง สำรวจ (Survey Research) ด้ ว ยการแจกแบบสอบถาม (Questionnaires) แก่นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 300 คน และนั ก เรี ย นระดั บ ชั้ น มั ธ ยมศึ ก ษาตอนต้ น ในเขตกรุ ง เทพมหานคร จำนวน 300 คน รวมทั้งการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) นักเรียนอีกจำนวน 20 คน ปรากฏผลการวิจัยดังนี้ 1. การสำรวจ “ประเภท” รายการวิทยุสำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว ที่ผู้ตอบแบบสอบถามต้องการให้มีมากที่สุด เรียงลำดับได้ดังนี้ อันดับ 1 รายการเพลงสำหรับเด็ก อันดับ 2 รายการแนะนำสถานที่ติว โรงเรียนดนตรี ค่ายเยาวชน ทัศนศึกษา อันดับ 3 รายการสารคดี สำรวจโลก ความรู้รอบตัว อันดับ 4 รายการฝึกสมองประลองปัญญา ถามปัญหา เกม อันดับ 5 รายการสารคดีแปลกๆ ลึกลับ ตื่นเต้น อันดับ 6 รายการแนะนำเกมคอมพิวเตอร์ เกมออนไลน์


34 เส้นทางวิทยุไทย...สื่อของเยาวชนและครอบครัว

ส่ ว นรู ป แบบรายการที่ ผู้ ต อบแบบสอบถามต้ อ งการน้ อ ยที่ สุ ด คื อ รายการธรรมะสำหรับเยาวชน การฝึกสมาธิ รายการแนะนำสินค้าสำหรับเด็ก เสื้อผ้า ของเล่น รายการแนะนำสัตว์เลี้ยง การเลี้ยงและดูแลสัตว์เลี้ยงต่างๆ 2. การสำรวจ “เนื้อหา” รายการวิทยุสำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว ที่ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ให้ความสนใจมากที่สุด เรียงลำดับได้ดังนี้ อันดับ 1 คือ พ่อ แม่ คู่คิด คนสำคัญของน้องๆ อันดับ 2 คือ ทำอย่างไรจึงจะมีวินัยในตนเอง อันดับ 3 คือ การประหยัด อดออมจำเป็นอย่างไร อันดับ 4 คือ ประโยชน์ของการมีวินัยในตนเอง อันดับ 5 คือ เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของน้องๆ 3. การสำรวจ “รูปแบบ” รายการวิทยุสำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว ที่ผู้ตอบแบบสอบถามต้องการให้มีมากที่สุด เรียงลำดับได้ดังนี้ อันดับ 1 รายการเพลงสำหรับเด็กที่พร้อมสอดแทรกความรู้ อันดับ 2 รายการที่เป็นเวทีความคิด สานฝันให้กับเด็กและเยาวชน อันดับ 3 รายการที่มีดีเจเป็นผู้ใหญ่ อันดับ 4 รายการเพลงไทยสากล (สตริง) พร้อมสอดแทรกความรู้ที่น่าสนใจ


เส้นทางวิทยุไทย...สื่อของเยาวชนและครอบครัว 35

4. การสำรวจ “ความคาดหวัง” จากรายการวิทยุสำหรับเด็ก เยาวชน และ ครอบครั ว ที่ ผู้ ต อบแบบสอบถามคาดว่ า จะได้ รั บ ประโยชน์ ม ากที่ สุ ด เรียงลำดับได้ดังนี้ อันดับ 1 การส่งเสริมการเรียนรู้และปัญญา อันดับ 2 การนำเกร็ดความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตของนักเรียน อันดับ 3 การส่งเสริมสุขภาวะที่ดี เช่น ด้านร่างกายและจิตใจดี อันดับ 4 การสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ดีขึ้น อันดับ 5 การเข้าใจผู้อื่นมากขึ้น อันดับ 6 การให้คำปรึกษาหรือช่วยแก้ปัญหาที่กำลังประสบอยู่ของเพื่อนนักเรียน หรือบุคคลอื่น 5. การสำรวจ “ช่วงเวลา” ที่ผู้ตอบแบบสอบถามเปิดรับสื่อวิทยุมาก ที่สุด เรียงลำดับได้ดังนี้ -วันธรรมดา (จันทร์-ศุกร์) ช่วงเวลาทีส่ ามารถรับฟังรายการวิทยุได้ดี โดยภาพรวม ส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงเช้า (32.8%) รองลงมาคือ ช่วงสาย (24.9%) ช่วงเที่ยง (15.3%) และช่วงค่ำ (14.7%) ตามลำดับ -วันหยุด (เสาร์-อาทิตย์) ช่วงเวลาที่สามารถรับฟังรายการวิทยุได้ดี โดยภาพรวม ส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงสาย (43.5%) รองลงมาคือ ช่วงเที่ยง (18.0%) ช่วงบ่าย (13.0%) และช่วงเย็น (10.9%) ตามลำดับ


36 เส้นทางวิทยุไทย...สื่อของเยาวชนและครอบครัว

เพื่อให้รับทราบความคิดเห็นของผู้ฟังกลุ่มดังกล่าวอย่างลึกซึ้ง โครงการ พัฒนารายการวิทยุเพื่อเด็ก เยาวชน และครอบครัว จึงได้ทำการสัมภาษณ์ เจาะลึกนักเรียนจำนวน 20 คน ถึงรูปแบบรายการ เนื้อหาสาระ และช่วงเวลา ออกอากาศ ที่กลุ่มเป้าหมายดังกล่าวคาดหวังให้เกิดขึ้นมากที่สุดในรายการวิทยุ สำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว ทั้งนี้ รูปแบบของรายการวิทยุสำหรับเด็กที่ผู้ให้ข้อมูลต้องการให้มีนั้น สามารถสรุปรูปแบบรายการที่นำเสนอได้เป็น 3 ประเภท คือ 1. รายการประเภทให้ความรู้ 2. รายการประเภทให้ความบันเทิง และ 3. รายการประเภทที่ให้ทั้งความรู้และความบันเทิงควบคู่กัน


เส้นทางวิทยุไทย...สื่อของเยาวชนและครอบครัว 37

โดยผู้ ให้ ข้ อ มู ล เกื อ บทั้ ง หมดต้ อ งการรายการที่ ให้ ค วามรู้ ในรู ป แบบที่ สนุกสนาน มีประโยชน์สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ และสามารถโทรศัพท์ เข้าไปแสดงความคิดเห็นในรายการได้ โดยรายการที่ผู้ให้ข้อมูลนำเสนอนั้น ส่วนหนึ่งคิดว่าน่าจะเป็นรูปแบบรายการ นิทานประกอบเพลงที่ให้ข้อคิดและ คติสอนใจ อาทิ “…อยากให้มีรูปแบบความรู้ด้านวิชาการต่างๆ ของเด็ก ม.ต้น จะได้เพิ่มความรู้ ให้มากขึ้นกว่าในชั้นเรียน...” (ด.ช. วีระพร เนื้อขำ) “…ควรเป็นรายการที่ให้ประโยชน์ และสนุกสนานควบคู่กันไป...” (ด.ญ. เบญจพร มาติพร) “... เป็นรายการที่ทันต่อยุคสมัยและได้ประโยชน์ ตัวอย่างเช่น รายการ ITV เด็ก...” (ด.ช. กิตติพงศ์ บุญมาศ) “…อยากให้เป็นรายการที่มีประโยชน์สำหรับนักเรียน เช่น นิทานสอดแทรกคติ การทำตัวให้เป็นเด็กดีต่อพ่อแม่...” (ด.ช. สงกรานต์ ภู่นาศ)


38 เส้นทางวิทยุไทย...สื่อของเยาวชนและครอบครัว

สำหรับความคิดเห็นของผู้ให้ข้อมูลที่มีต่อการนำเสนอรายการสำหรับเด็กใ นตอนเช้าระหว่างการเดินทางไปโรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลทั้งหมดเห็นด้วยหากมีการ กระทำดังกล่าว โดยส่วนใหญ่เล็งเห็นถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการฟังรายการ สำหรับเด็กระหว่างการเดินทางไปโรงเรียน สามารถสรุปเป็น 3 ประเด็น ดังนี้ 1. จะทำให้ได้ความรู้เพิ่มเติม 2. จะช่วยให้เกิดความกระตือรือร้น สดชื่นก่อนไปเรียน และ 3. ทำให้ผ่อนคลายระหว่างการเดินทาง

ผ่อนคลาย

ได้ความรู้

สร้างความ กระตือรือร้น


เส้นทางวิทยุไทย...สื่อของเยาวชนและครอบครัว 39

“…เห็นด้วย เพราะเราจะได้ฟังว่าสถานการณ์ตอนนี้เป็นอย่างไร ลม ฟ้า อากาศ เป็นอย่างไร และมีอื่นๆ อีกมากมายที่เป็นความรู้กับเรา…” (ด.ญ. รัตนพร รัตนพล) “…มีความเห็นว่าดี จะได้ไม่หลับบนรถ ตื่นเช้าฟังรายการเพลงนิทาน จะได้สดชื่น เวลาไปโรงเรียนไม่งัวเงียอยากนอน…” (ด.ช. เสถียร โรจน์ภัยสาร) “…เห็นด้วย จะได้ไม่ง่วงนอนเวลาเดินทาง และได้ความรู้ระหว่างการเดินทางไป โรงเรียนพร้อมๆ กัน อยากให้มีเปิดในรถเมล์ตอนเช้าๆ ทุกคัน…” (ด.ช. วีระพร เนื้อขำ) “…เห็ นด้ ว ย และควรเปิ ด รายการที่ เป็ น ประโยชน์ แ ละสนุ ก สนานควบคู่ กั น ไปด้วย ไม่เครียด…” (ด.ญ. เบญจพร มาติพร)


40 เส้นทางวิทยุไทย...สื่อของเยาวชนและครอบครัว

ทั้งนี้ หากต้องการสร้างการรับรู้สำหรับรายการสำหรับเด็กและเยาวชน แล้ว มีความจำเป็นจะต้องปรับปรุงรายการวิทยุใน 3 ด้าน คือ 1. ด้านเนื้อหา 2. ด้านรูปแบบรายการ และ 3. เวลาการออกอากาศ ให้สอดคล้องกับพฤติกรรม การรับข่าวสารและความคาดหวังที่มีต่อรายการสำหรับเด็กของกลุ่มเด็กและ เยาวชน เพื่อกระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายเลือกเปิดรับสื่อวิทยุและสนใจรายการ วิทยุสำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว ดังนี้ ส่วนที่ 1 เนื้อหา : เนื้อหาของรายการนั้น ผลการศึกษาพบว่ารายการที่ มี เ นื้ อ หาประเภทรายการเพลงสำหรั บ เด็ ก รายการแนะนำสถานที่ ติ ว โรงเรียนดนตรี ค่ายเยาวชน ทัศนศึกษา และรายการสารคดี สำรวจโลก ความรูร้ อบตัว เป็น 3 ประเภทรายการแรกทีผ่ ฟู้ งั ซึง่ เป็นเด็กและเยาวชนต้องการ ให้มี ส่วนเนื้อหาที่เกี่ยวกับพ่อ แม่ และครอบครัว เรื่องการมีวินัยในตนเอง และเรื่องการประหยัดอดออม เป็นเนื้อหาที่ผู้ฟังซึ่งเป็นเด็กและเยาวชนคาด ว่าจะเลือกรับฟังมากตามลำดับ ส่วนที่ 2 รูปแบบรายการ : สำหรับรูปแบบการนำเสนอที่ผู้ฟังซึ่งเป็น เด็กและเยาวชนต้องการนั้น จากการศึกษาพบว่า กลุ่มผู้ฟังต้องการรายการ เพลงสำหรับเด็กที่สอดแทรกความรู้มากที่สุด โดยเป็นการให้ความรู้ด้วยรูปแบบ การนำเสนอที่สนุกสนาน มีประโยชน์สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ และ สามารถโทรเข้าไปแสดงความคิดเห็นในรายการได้ เช่น อาจเป็นรายการใน รูปแบบนิทานประกอบเพลงที่ให้ข้อคิดและคติสอนใจ


เส้นทางวิทยุไทย...สื่อของเยาวชนและครอบครัว 41

ส่วนที่ 3 เวลา : เวลาในการรับฟังรายการวิทยุสำหรับเด็กและเยาวชน

ที่กลุ่มผู้ฟังเห็นว่ามีความเหมาะสมในวันธรรมดานั้นคือ ช่วงเวลาเช้าและสาย โดยเฉพาะช่วงเช้าระหว่างการเดินทางไปโรงเรียน โดยกลุ่มผู้ฟังเล็งเห็นถึง ประโยชน์ที่จะได้รับจากการฟังรายการ ดังนี้ 1. จะทำให้ได้ความรู้เพิ่มเติม 2. จะช่วยให้เกิดความกระตือรือร้น สดชื่นก่อนไปเรียน 3. ทำให้ผ่อนคลายระหว่างการเดินทาง ในวันเสาร์ – อาทิตย์ เวลาที่กลุ่มผู้ฟังเห็นว่ามีความเหมาะสมจะเป็นช่วง เวลาสายและเที่ยง แต่ปรากฏว่ารายการวิทยุสำหรับเด็กที่มีส่วนใหญ่ในขณะนี้ ออกอากาศในวันธรรมดาและวันเสาร์ – อาทิตย์ ส่วนใหญ่เป็นช่วงเวลาเย็น - ค่ำ ซึ่ ง ไม่ ส อดคล้ อ งกั บ พฤติ ก รรมการเปิ ด รั บ ข่ า วสารผ่ า นวิ ท ยุ ข องผู้ ฟั ง กลุ่ ม ดังกล่าวแต่อย่างใด


42 เส้นทางวิทยุไทย...สื่อของเยาวชนและครอบครัว

นอกจากนี้กลุ่มผู้มีบทบาทสำคัญที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนเปิด รับฟังรายการวิทยุที่มีคุณภาพก็คือ พ่อแม่ ผู้ปกครอง เนื่องจากเป็นผู้เปิดรับฟัง รายการวิทยุและเลือกรายการทีจ่ ะฟัง ซึง่ บุตรหลานจะมีโอกาสร่วมรับฟังรายการ ด้วย โดยเฉพาะกับเด็กระดับประถมศึกษาทีม่ พี ฤติกรรมในการรับฟังรายการวิทยุ ขณะที่ นั่ ง รถ มากเป็ น อั บ ดั บ ที่ 2 รองจากการฟั ง วิ ท ยุ แ ละทำการบ้ า นไป ด้วย สะท้อนให้เห็นว่าพ่อแม่เป็นกลุ่มที่มีโอกาสสูงที่จะทำหน้าที่สนับสนุนการ รับฟังรายการวิทยุ ดังนั้นกลุ่มพ่อแม่ที่ถึงแม้ไม่ได้เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักสำหรับ รายการวิทยุสำหรับเด็กและเยาวชน แต่ก็ควรจัดเป็นกลุ่มเป้าหมายรองที่สำคัญ เพราะสามารถทำหน้ า ที่ ส่ ง เสริ ม การฟั ง รายการสำหรั บ เด็ ก และเยาวชน ให้เกิดขึ้นได้


วิทยุออนไลน์ ท่ามกลางกระแสความนิยม ของโลกไซเบอร์สเปซ


44 เส้นทางวิทยุไทย...สื่อของเยาวชนและครอบครัว

รายงานพฤติกรรมการรับสื่อวิทยุของนิตยสาร Positioning ฉบับเดือน มิถุนายน 2545 ระบุว่า นอกเหนือจากการฟังวิทยุจากเครื่องรับวิทยุทั่วไปแล้ว เยาวชนส่ ว นใหญ่ ยั ง ฟั ง วิ ท ยุ จ ากทางช่ อ งทางอื่ น ทั้ ง จากอิ น เทอร์ เ น็ ต และโทรศัพท์มือถือ โดยเฉพาะกลุ่มนักเรียนอายุ 15 – 19 ปีนั้น แทบจะมี เสียงเพลงจากรายการวิทยุอยู่คู่กาย นอกจากนี้เยาวชนยังได้ร่วมกิจกรรมที่ รายการวิทยุจัดขึ้น โดยพบว่าส่วนใหญ่สนใจเข้าร่วมรายการ โดยอาจเป็นการส่ง SMS หรือโทรศัพท์เข้าไปร่วมตอบคำถามและเล่นเกม ซึ่งการเล่นเกมที่นิยม นั้นส่วนใหญ่สามารถรู้ผลและรับรางวัลได้ทันที จากการสำรวจของ “ทรูฮิต” (www.truehits.net) ซึ่งเป็นระบบให้บริการ ตรวจสอบเว็ บ ไซต์ ข องสำนั ก บริ ก ารเทคโนโลยี ส ารสนเทศภาครั ฐ (สบทร.) ภายใต้ ศู น ย์ เ ทคโนโลยี อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ แ ละคอมพิ ว เตอร์ แ ห่ ง ชาติ พบว่ า ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 7,229 คน ซึ่งส่วนใหญ่อายุตั้งแต่ 12 – 35 ปี อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีความสนใจเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ ประเภทเพลงหรือภาพยนตร์มากที่สุด คือร้อยละ 56.98 รองลงมาคือ เนื้อหา เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต และหนังสือ ร้อยละ 42.62 และ 38.86 ตามลำดับ


เส้นทางวิทยุไทย...สื่อของเยาวชนและครอบครัว 45

การจัดอันดับเว็บไซต์วทิ ยุออนไลน์จำนวนทัง้ สิน้ 29 อันดับ โดยผูใ้ ห้บริการ ทรูฮิต เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2550 มีรายละเอียดดังนี้ - เว็บไซต์ทจี่ ดั ทำวิทยุออนไลน์ควบคูไ่ ปกับการกระจายเสียงในระบบเอเอ็ม (AM) และเอฟเอ็ม (FM) 22 เว็บไซต์ - เว็บไซต์ที่จัดทำวิทยุออนไลน์ควบคู่ไปกับวิทยุชุมชน 5 เว็บไซต์ - เว็บไซต์ซึ่งมุ่งเผยแพร่เฉพาะทางวิทยุออนไลน์ 1 เว็บไซต์ - เว็บไซต์ที่มุ่งนำเสนอความเคลื่อนไหวในวงการดนตรีและผู้จัดรายการเพลง 1 เว็บไซต์ ทั้ ง นี้ เว็ บ ไซต์ วิ ท ยุ อ อนไลน์ ที่ ไ ด้ รั บ ความนิ ย มสู ง สุ ด 5 อั น ดั บ แรก มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ อันดับที่ 1.

ชื่อเว็บไซต์ VirginRadioThailand - FM 95.5 Virgin Hitz - FM 103 Virgin Soft

จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชม เว็บไซต์ต่อวัน

ประเภท

องค์กรผู้ผลิตเว็บไซต์

25,752

ดนตรีและเพลง

บริษัท เวอร์จิ้น เรดิโอ ไทยแลนด์ และบริษัท เวอร์จิ้น บีอีซี-เทโร เรดิโอ (ประเทศไทย) จำกัด

17,984

ดนตรีและเพลง

บริษัท สไมล์ อินเทอร์แอคทีฟ จำกัด

16,752

ดนตรีและเพลง

บริษัท ดนตรีสีสัน จำกัด

9,557

ข่าวสาร

ผู้จัดการออนไลน์

9,057

ดนตรีและเพลง

- FM 105.5 Eazy FM

2.

Radio In Thailand

3.

ดนตรีสีสัน - FM 88 Season FM - FM 98.75 Modern life - FM 101.5 Kiss FM - FM 102.5 Easy FM FM 97.75 MHz

4. 5.

คลื่นยามเฝ้าแผ่นดิน A-time Media - FM 89 Banana FM - FM 91.5 Hot wave - FM 94 EFM - FM 106.5 Green wave

บริษัท จีเอ็มเอ็ม มีเดีย จำกัด (มหาชน)และ บริษัท เอ-ไทม์ มีเดียจำกัด


46 เส้นทางวิทยุไทย...สื่อของเยาวชนและครอบครัว

วิทยุออนไลน์ที่เจาะกลุ่มเป้าหมายเด็กและเยาวชน โดยส่วนใหญ่มุ่งนำเสนอ เนื้ อ หาเกี่ ย วกั บ ดนตรี แ ละเพลง โดยมี อ งค์ ป ระกอบของเว็ บ ไซต์ ดั ง ต่ อ ไปนี้ มีการออกอากาศรายการสด (Live Radio)

มีการนำเสนอภาพถ่ายทอดสดของดีเจขณะจัดรายการ (Live Web Cam)


เส้นทางวิทยุไทย...สื่อของเยาวชนและครอบครัว 47

มีการจัดทำรายการเพลงย้อนหลัง (Radio on Demand) เพื่อให้ผู้เยี่ยมชม สามารถเลือกรับฟังรายการที่เคยออกอากาศไปแล้ว

มีมิวสิกวิดีโอให้เลือกชมได้

มีการจัดทำช่องทางการสนทนาโต้ตอบกัน (Live Chat) เพื่อเปิดโอกาสให้ ผู้เยี่ยมชมแสดงความคิดเห็นหรือส่งข้อความไปยังผู้จัดรายการ


48 เส้นทางวิทยุไทย...สื่อของเยาวชนและครอบครัว

มีการจัดทำหน้ากระดานข่าวสาร (Web Board) เพื่อเป็นเวทีสนทนา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในกระทู้หรือประเด็นต่าง ๆ

มีประวัติและรายละเอียดส่วนตัวของผู้จัดรายการ

มีการเปิดให้ผู้เยี่ยมชมสามารถขอเพลง และมีการจัดอันดับเพลง


เส้นทางวิทยุไทย...สื่อของเยาวชนและครอบครัว 49

มีการเล่นเกมเพื่อจัดรายการส่งเสริมการขาย

มีการเรียนภาษาอังกฤษผ่านเพลง

มีการจัดกิจกรรมพิเศษร่วมกับผู้ฟังรายการ


50 เส้นทางวิทยุไทย...สื่อของเยาวชนและครอบครัว

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาควบคู่กับผลการศึกษาของโครงการพัฒนารายการ วิทยุเพื่อเด็ก เยาวชน และครอบครัว ภายใต้แผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งทำการสัมภาษณ์ เชิงลึกกลุ่มผู้ฟังที่เป็นนักเรียน ปรากฏข้อมูลที่สอดคล้องกัน กล่าวคือ กลุ่มผู้ฟัง ซึ่งเป็นเยาวชนส่วนใหญ่จะใช้อินเทอร์เน็ตเกือบทุกวัน ถึงแม้ตัวเลขของกลุ่มผู้ฟัง วิทยุผา่ นอินเทอร์เน็ตจะน้อยกว่าการฟังรายการวิทยุผา่ นเครือ่ งรับวิทยุกต็ าม แต่ หากการเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ตมีเป้าหมายเพื่อการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับ รายการวิทยุสำหรับเด็ก เช่น ผังรายการ รายละเอียดของเนือ้ หารายการ ประวัต ิ ผูจ้ ดั รายการ หรือฟังรายการย้อนหลังแล้ว สือ่ อินเทอร์เน็ตนับว่ามีความเหมาะสม อย่างมาก เพราะกลุ่มตัวอย่างที่ใช้อินเทอร์เน็ตส่วนมากนั้น มีวัตถุประสงค์ เพื่อหาข้อมูลและความรู้ต่างๆ ผ่านอินเทอร์เน็ตอยู่แล้ว อีกทั้งการเผยแพร่รายการวิทยุผ่านอินเทอร์เน็ต จะเป็นส่วนสำคัญที่ สามารถช่วยเติมเต็มจุดด้อยของสือ่ วิทยุทมี่ เี พียงเสียง ทำให้ไม่นา่ ดึงดูดใจเท่ากับ สื่ออื่นๆ โดยผู้ให้ข้อมูลซึ่งเป็นเด็กนักเรียนส่วนใหญ่ปฏิเสธที่จะเปิดรับข่าวสาร ผ่านวิทยุเพียงอย่างเดียวโดยไม่ใช้อินเทอร์เน็ต เพราะมีความเห็นว่าอินเทอร์เน็ต เป็นช่องทางที่มีความน่าสนใจ มีเนื้อหาและรูปแบบการนำเสนอที่หลากหลาย ซึ่งจะทำให้ได้รับความรู้ ความสนุกสนาน ดังนั้นหากมีการเผยแพร่รายการวิทยุ ผ่ า นอิ น เทอร์ เ น็ ต ประกอบกั บ การพั ฒ นาเพิ่ ม เติ ม วิ ธี ก ารนำเสนอ เช่ น มี ภ าพเคลื่ อ นไหวประกอบนิ ท าน มี ภ าพดี เ จพู ด คุ ย ในขณะจั ด รายการ ควบคู่ไปกับการแพร่กระจายเสียง ก็จะเป็นการดึงเอาจุดแข็งของอินเทอร์เน็ต มาเสริมความน่าสนใจของรายการ ซึ่งน่าจะส่งผลให้เกิดการเปิดรับรายการ วิทยุสำหรับเด็กมากขึ้นอีกทางหนึ่งด้วย


เส้นทางวิทยุไทย...สื่อของเยาวชนและครอบครัว 51

เมื่อรายการวิทยุขอแบ่งพื้นที่ ในโทรศัพท์มือถือ


52 เส้นทางวิทยุไทย...สื่อของเยาวชนและครอบครัว

ขณะที่เด็กและเยาวชนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการเปิดรับสื่อวิทยุ กระจายเสียง และวิทยุออนไลน์กันอย่างกว้างขวาง โทรศัพท์เคลื่อนที่ก็นับเป็นสื่ ออีกประเภทหนึ่งที่แทรกเข้าไปมีส่วนสำคัญในการดำเนินชีวิตของกลุ่มเป้าหมาย ดังกล่าว ซึง่ ธุรกิจผูใ้ ห้บริการโทรศัพท์เคลือ่ นที่ นับเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ทม่ี ศี กั ยภาพ เติ บ โตอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง มี ก ารแข่ ง ขั นกั น อย่ า งเข้ ม ข้ น เพื่ อ ช่ ว งชิ ง ฐานลู ก ค้ า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กและเยาวชน โดยโทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งแต่เดิมมีไว้เพื่อการ สนทนาพูดคุยกันเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ในปัจจุบันกลายเป็นอุปกรณ์พกพา ที่จำเป็นอย่างยิ่ง ทำให้เราสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกับผู้อื่นและ เชื่อมโยงสู่ระบบออนไลน์ได้ครอบคลุมหลายพื้นที่ ด้วยพัฒนาการของเทคโนโลยี โทรศั พ ท์ เคลื่ อ นที่ ที่ เป็ น ส่ ว นช่ ว ยอำนวยความสะดวกทำให้ ผู้ ที่ อ าศั ย ในพื้ นที่ ห่างไกล สามารถรับรู้ข่าวสารที่รวดเร็วและทันสมัยทัดเทียมกับผู้ที่อาศัยในเขต เมืองหลวงอย่างไร้ขีดจำกัดในเรื่องของเวลาและสภาพภูมิศาสตร์


เส้นทางวิทยุไทย...สื่อของเยาวชนและครอบครัว 53

การเผยแพร่รายการวิทยุผา่ นเครือข่ายโทรศัพท์เคลือ่ นที่ (Radio on Mobile) จึงนับเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้ฟัง ซึ่งเป็นเด็กและเยาวชนได้ อย่างทั่วถึงยิ่งขึ้น ซึ่งการให้บริการรายการวิทยุดังกล่าว เป็นการผสมผสานการ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีของโทรศัพท์เคลื่อนที่ และบริการอินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์ เคลื่อนที่เข้าไว้ด้วยกัน กล่าวคือ มีการแปลงสัญญาณคลื่นความถี่ในการกระจาย เสียงวิทยุให้เป็นแบบดิจิทัล เพื่อให้กลุ่มผู้ฟังสามารถรับฟังรายการวิทยุที่กำลัง ออกอากาศทางคลืน่ ความถีม่ าตรฐาน (FM/AM) ได้ โดยเสียค่าบริการผ่านระบบ WAP/GPRS หรืออินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทั้ ง นี้ จากการสำรวจของโครงการพั ฒ นารายการวิ ท ยุ เ พื่ อ เด็ ก เยาวชน และครอบครัว ภายใต้แผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน (สสย.) บริ ห ารแผนโดยมู ล นิ ธิ เพื่ อ การพั ฒ นาเด็ ก และสำนั ก กองทุ น สนั บ สนุ นการ สร้ า งเสริ ม สุ ข ภาพ (สสส.) ซึ่ ง ทำการสั ม ภาษณ์ เชิ ง ลึ ก ตั ว แทนผู้ ให้ บ ริ ก าร ระบบโทรศัพท์เคลือ่ นทีเ่ อกชนขนาดใหญ่ทงั้ 3 ราย ได้แก่ บริษทั แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ควบคู่กับการศึกษาจากเอกสารที่ เกีย่ วข้อง พบว่า มีผใู้ ห้บริการเพียงรายเดียว คือ บริษทั แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วสิ จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ที่ให้บริการรายการวิทยุผ่านบริการของโทรศัพท์ เคลื่อนที่ (Radio on Mobile) โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ ผู้ที่นิยมรับรู้ข่าวสาร ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งอาศัยอยู่ในเมืองหลวง และผู้ที่อาศัยอยู่ในถิ่นห่างไกล ที่สัญญาณคลื่นวิทยุเอฟเอ็ม (FM) ไม่ครอบคลุม แต่ต้องการบริโภคข่าวสารจาก รายการวิทยุเอฟเอ็มคลื่นยอดนิยม


54 เส้นทางวิทยุไทย...สื่อของเยาวชนและครอบครัว

อย่างไรก็ตาม ทางเอไอเอสไม่ได้ทำหน้าที่ผลิตรายการวิทยุ หากแต่เป็น เพียงผู้พัฒนาช่องทางใหม่ให้เป็นทางเลือกสำหรับผู้ประกอบการสถานีวิทยุและ กลุ่มผู้ฟัง ซึ่งนอกเหนือจากการสร้างพันธมิตรกับสถานีวิทยุยอดนิยมของวัยรุ่น แล้ว เอไอเอสยังได้สร้างพันธมิตรกับคลื่นวิทยุที่มีผู้ฟังเฉพาะกลุ่ม เช่น กีฬา และข่าววิเคราะห์หุ้น ส่งผลให้มีกลุ่มผู้ฟังที่ขยายวงกว้าง นอกจากนี ้ เอไอเอสยังมีโครงการพัฒนา Visual Radio ซึง่ เป็นวิทยุประเภท อิ น เทอร์ แ อคที ฟ ที่ ผู้ ฟั ง สามารถรั บ รู้ ข้ อ มู ล ทั้ ง ภาพและเสี ย งในขณะที่ ฟั ง เพลงผ่านทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ พร้อมกับโต้ตอบแสดงความคิดเห็นและร่วม กิจกรรมต่างๆ ซึ่งจะมีการทดลองบริการ Visual Radio นี้ในโอกาสต่อไป ดา้ นบริษทั ทรู คอร์ปอเรชัน่ จำกัด (มหาชน) หรือ ทรู มุง่ เน้นกลุม่ เป้าหมาย ช่วงอายุ 15-35 ปี ที่มีความต้องการเปิดรับข่าวสารประเภทบันเทิงและกีฬา ผ่านระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยทรูมีแนวคิด Technology Convergence คือ การผนวกรวมสื่อภายใต้เครือข่ายของทรู ได้แก่ โทรศัพท์เคลื่อนที่ อินเทอร์เน็ต เคเบิลทีวี โทรศัพท์บ้าน และวิทยุเข้าด้วยกัน โดยทรูได้ให้บริการเฉพาะคลื่นวิทยุ ทรู มิวสิก ของตนเอง ซึ่งเป็นคลื่นวิทยุดิจิทัล เรดิโอที่มุ่งเน้นการสื่อสารแบบ อิ น เทอร์ แ อคที ฟ สร้ า งการมี ส่ ว นร่ ว มกั บ ผู้ ฟั ง และยั ง มี เว็ บ ไซต์ น ำเสนอ ข่ า วสารในแวดวงดนตรี แ ละคลื่ น วิ ท ยุ อ อนไลน์ ซึ่ ง กลุ่ ม ผู้ ฟั ง ที่ เป็ น ลู ก ค้ า ของระบบทรูจะสามารถรับทราบข้อมูลข่าวสารได้จากหลากหลายช่องทาง ภายใต้เครือข่ายทรู


เส้นทางวิทยุไทย...สื่อของเยาวชนและครอบครัว 55

ทางด้านบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค มุ่งเน้นที่บริการเสริม (Value Added Service) จำพวกดาวน์โหลดริงโทน เพลง ข่าวสารด้านกีฬา ละคร ข่าวธุรกิจ เศรษฐกิจ เจาะกลุ่มเยาวชนวัยรุ่น โดยดี แ ทคไม่ มี น โยบายที่ จ ะลงทุ น ในด้ า นรายการวิ ท ยุ บ นโทรศั พ ท์ เคลื่อนที่ (Radio on Mobile) และ Visual Radio แต่อย่างใด โดยเล็งเห็น ว่ามีโอกาสทางการตลาดน้อย เนื่องจากกลุ่มผู้ฟังจะต้องเสียค่าบริการ GPRS เพื่อการเชื่อมต่อรายการวิทยุผ่านทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งถือเป็นค่าใช้จ่าย ที่ เพิ่ ม สู ง มากขึ้ น เมื่ อ เที ย บกั บ การรั บ ฟั ง รายการวิ ท ยุ จ ากเครื่ อ งรั บ ปกติ หรือจากอินเทอร์เน็ต (วิทยุออนไลน์) นอกจากนี้ยังเห็นว่า ปัจจุบันยังคงมี ข้อจำกัดในด้านการพัฒนาเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งไม่สามารถเผยแพร่ ภาพและเสียงได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ส่งผลให้การรับ-ส่งข้อมูลติดขัด และล่ า ช้ า ประกอบกั บ พฤติ ก รรมการบริ โ ภคของคนไทยที่ ใ ช้ ร ะยะเวลา ในการเรียนรู้นานและยอมรับกับเทคโนโลยีใหม่ค่อนข้างยาก เพราะฉะนั้นจึงยัง ไม่มีแนวโน้มที่จะลงทุนในบริการวิทยุบนระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ในช่วงระยะนี้


56 เส้นทางวิทยุไทย...สื่อของเยาวชนและครอบครัว

สำหรับการพัฒนาเทคโนโลยีของระบบการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่

ขณะนี้ประเทศไทยกำลังอยู่ในยุค 2.75G ซึ่งเป็นยุคที่มีการพัฒนาระบบรับ – ส่ง ข้อมูลได้รวดเร็วในระดับหนึง่ โดยยังคงใช้ระบบ GPRS เพือ่ รองรับบริการเสริมต่างๆ ในอนาคตหากประเทศไทยก้าวสู่ยุค 3G ซึ่งเป็นระบบที่มีการรับ - ส่งข้อมูล ได้ด้วยความเร็วสูงถึง 7.2 Mbps การโอนถ่ายข้อมูลก็จะมีประสิทธิภาพมาก ยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบริการระบบเสียงต่างๆ มัลติมีเดีย ดาวน์โหลด ภาพยนตร์ Visual Radio และการประชุมทางไกล เป็นต้น จากข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึกดังกล่าวในข้างต้น อาจสรุปได้ว่า รายการวิทยุบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Radio on Mobile) เป็นเพียงบริการ เสริ ม รู ป แบบหนึ่ ง ที่ เ ป็ น ทางเลื อ กเพื่ อ ให้ ค วามบั น เทิ ง แก่ ก ลุ่ ม ผู้ ใ ช้ ง าน แต่ยังคงอยู่ภายในวงจำกัด เนื่องจากอุปสรรคในด้านการพัฒนาเทคโนโลยี และค่าใช้จ่ายที่ผู้ใช้บริการจะต้องรับภาระเพิ่มมากขึ้นตลอดระยะเวลาของ การรับฟังรายการวิทยุ โอกาสในการนำเสนอรายการวิทยุผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ จึงยังไม่เป็นที่แพร่หลายในปัจจุบัน ทั้งนี้ หากจะเลือกใช้สื่อโทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อเป็นช่องทางในการสื่อสาร หรือทำประชาสัมพันธ์โครงการและกิจกรรมต่างๆ ควรพิจารณาดำเนินการ ดังต่อไปนี้


เส้นทางวิทยุไทย...สื่อของเยาวชนและครอบครัว 57

1. SMS - Short Message Service ถือเป็นการส่งข้อความสั้นถึงกัน โดยสามารถส่งข้อความเดียวกันไปถึงผู้รับได้ไม่จำกัดจำนวนในคราวเดียว ซึ่ง การส่งข้อความเดียวกันถึงผู้รับจำนวนมากนี้มีความรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ เข้าถึงเฉพาะบุคคล โดยมีต้นทุนที่ต่ำและยังสามารถสร้างการมีส่วนร่วมให้กับ ผู้รับได้อีกด้วย เช่น การโหวตหรือแสดงความคิดเห็น แต่มีข้อจำกัดอยู่ที่ผู้ส่ง ข้อความจะต้องมีฐานข้อมูลหรือเบอร์โทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้รับปลายทางซึ่ง อาจต้องซื้อข้อมูลบุคคลหรือใช้เวลาในการรวบรวม 2. การดาวน์โหลดภาพ เสียงรอสาย เสียงเรียกเข้า ถือเป็นบริการ ยอดนิยมติดอันดับของกลุ่มเยาวชน การสื่อสารด้วยวิธีนี้จะต้องใช้ความบันเทิง ด้านภาพและเสียงเพลง ซึ่งสามารถจัดทำเพลงในแนวรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ กลุ่มผู้ใช้บริการได้โหลดหรือแลกเปลี่ยนระหว่างกันได้ 3. การใช้สื่อภายในของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ การสื่อสารข้อความ ไปยังกลุ่มเยาวชนเป้าหมายโดยผ่านสื่อภายในของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที ่ ด้วยการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์แนบไปกับตัวผลิตภัณฑ์หรือบริการของโทรศัพท์ เคลื่อนที่ ได้แก่ การประชาสัมพันธ์ผ่านบัตรเติมเงิน ซิมการ์ด แผ่นพับส่งพร้อม บิลเรียกเก็บค่าโทรศัพท์ จดหมาย วารสาร และบริการรายงานข่าวบนโทรศัพท์ เคลื่อนที่ ซึ่งสื่อเหล่านี้จะมีประสิทธิภาพในการทำหน้าที่ย้ำเตือน สร้างการจดจำ ได้ดี แต่มีข้อจำกัดคือ เป็นสื่อที่อายุสั้น ขาดรายละเอียดเชิงลึก และเป็นสื่อที่ ผู้อ่านมีพฤติกรรมการเปิดรับ โดยเมื่อรับรู้ข้อมูลแล้วอาจทิ้งทันที


สรุป


เส้นทางวิทยุไทย...สื่อของเยาวชนและครอบครัว 59

ขณะที่รายการวิทยุสำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว ยังมีสัดส่วนที่ไม่ เหมะสมและไม่ ส อดคล้ อ งตามมติ ค ณะรั ฐ มนตรี เมื่ อ วั นที่ 4 พฤศจิ ก ายน พ.ศ. 2546 ทีก่ ำหนดให้มกี ารเพิม่ รายการวิทยุสำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว เป็นสัดส่วนร้อยละ 10 – 15 ของเวลาออกอากาศทั้งหมด แต่จากการสำรวจ รายการวิ ท ยุ ที่ ก ระจายเสี ย งในพื้ นที่ ก รุ ง เทพมหานครและปริ ม ณฑล กลั บ ปรากฏว่า รายการวิทยุสำหรับเด็กและเยาวชนมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 1.45 ของเวลาออกอากาศทั้งหมด ขณะที่รายการวิทยุสำหรับครอบครัวมีสัดส่วน เพียงร้อยละ 0.82 ของเวลาออกอากาศทั้งหมด เมื่อพิจารณาถึงเนื้อหารายการวิทยุสำหรับเด็กและเยาวชนพบว่า ส่วนใหญ่ นำเสนอด้ ว ยรู ป แบบรายการที่ ค ล้ า ยคลึ ง กั น ในลั ก ษณะ “นิ ต ยสารทาง อากาศ” กล่าวคือ มีการนำเสนอข่าว เรื่องเล่า เกร็ดความรู้ และสัมภาษณ์หรือ สนทนาในประเด็นที่กำลังเป็นที่สนใจ โดยในรายการอาจมีการสอดแทรกด้วย การเปิดเพลง และเล่านิทานหรืออ่านหนังสือให้ฟงั ทัง้ นี้ จากการสำรวจความคิดเห็น ของเด็ ก และเยาวชน พบว่ า ส่ ว นใหญ่ ต้ อ งการรั บ ฟั ง รายการวิ ท ยุ ป ระเภท รายการเพลงมากที่สุด โดยมีการสอดแทรกความรู้และเปิดโอกาสให้แสดง ความคิดเห็น


60 เส้นทางวิทยุไทย...สื่อของเยาวชนและครอบครัว

นอกเหนือจากรายการวิทยุจะเผยแพร่ออกอากาศผ่านการกระจายเสียง แล้ว ยังมีการนำเสนอผ่านเว็บไซต์อีกด้วย เรียกว่า “วิทยุออนไลน์” (Radio online) โดยพบว่า วิทยุออนไลน์ที่มีผู้เข้าชมมากที่สุด ส่วนใหญ่มุ่งนำเสนอเนื้อหา เกี่ ย วกั บ ดนตรี และเพลง โดยมีการออกอากาศรายการสด (Live Radio) มีการนำเสนอภาพขณะจัดรายการ (Live Web Cam) มีการเปิดโอกาสให้ ผู้ชมสามารถขอเพลง และรับฟังรายการย้อนหลังได้ (Radio on demand) มี มิ ว สิ ก วิ ดี โ อให้ เ ลื อ กชม มี ก ารจั ด หน้ า กระดานข่ า วสาร (Web board) และการสนทนาโต้ตอบ (Live Chat) กันได้ ตลอดจนมีการเล่นเกมและกิจกรรม พิเศษร่วมกับผู้ฟังรายการอีกด้วย สำหรับการจัดทำวิทยุผา่ นเครือข่ายโทรศัพท์เคลือ่ นที่ หรือทีเ่ รียกว่า Radio on Mobile นั้น พบว่ายังไม่เป็นที่นิยมแพร่หลายเท่าใดนัก เนื่องด้วยข้อจำกัด ในด้ า นเทคโนโลยี ก ารสื่ อ สารและค่ า บริ ก ารที่ ยั ง จั ด เก็ บ ในอั ต ราที่ สู ง อยู่ อย่างไรก็ตาม คาดว่าในอนาคตเมื่อระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้รับการพัฒนา ไปสู่ ร ะบบ 3G อย่ า งเต็ ม รู ป แบบ วิ ท ยุ บ นโทรศั พ ท์ เ คลื่ อ นที่ จ ะได้ รั บ ความนิยมมากยิ่งขึ้น


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.