we… animation กระพือปกฝน… ปนหนังแอนิเมชั่น
คำนำ แผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน (สสย.) เป็นหนึ่งในแผนงานภายใต้การสนันสนุนของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) บริหารงานโดยมูลนิธเิ พือ่ การพัฒนาเด็ก เพือ่ ดำเนินงานสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาศักยภาพผู้ผลิตสื่อ ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดสื่อคุณภาพ เพื่อสังคมไทย การที่ภาคีเครือข่ายของ สสย. ทั้งสถาบันการ์ตูนไทย มูลนิธิเด็ก, เครือข่ายนักวิชาการ นิเทศศาสตร์, Bioscope magazine, Flip cafe’, และสถาบัน Thai Rural Net (TRN) ได้รวมตัว กันเป็น เครือข่ายสร้างเสริมผู้ผลิตสื่อสร้างสรรค์ (สส.สส.) จัดกิจกรรมสำหรับคนรุ่นใหม่ ในการประกวดแอนิเมชั่นส่งเสริมการอ่าน ผ่านเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “กระพือปีกฝัน... ปั้นหนัง แอนิเมชั่น” นับเป็นนวัตกรรมที่น่าชื่นชม เนื่องด้วยแอนิเมชั่นเป็นสื่อใหม่ที่ทรงพลัง ครองใจผู้คนได้ทุกวัย โดยเฉพาะเด็ก เยาวชน และคนรุ่นใหม่ ทรงพลังในการสร้างสรรค์สิ่งดี ๆ ความคิดใหม่ ๆ ที่มีคุณค่าได้มาก การอ่าน ยิ่งเป็นพลังสำคัญต่อการพัฒนาเด็กและสังคมไทยในอนาคต การนำปัจจัยทั้ง ๓ ด้านมาเกื้อกูลกัน จึงเป็นยุทธศาสตร์ที่ทรงพลังอย่างยิ่งเมื่อคนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้ศักยภาพของสื่อแอนิเมชั่นจาก แอนิเมเตอร์ระดับแนวหน้า
เมื่อคนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้ทัศนะความสำคัญของการอ่านจากศิลปินแห่งชาติและวิทยากรที่ มีชื่อเสียง และเมือ่ คนรุน่ ใหม่ได้นำสิง่ ทีเ่ รียนรูม้ าตกผลึกกลายเป็นแอนิเมชัน่ ทีก่ ำลังส่งสารเชือ้ เชิญให้ เกิดการอ่านขึ้นในสังคมไทย จึงเป็นสื่อที่องค์กรที่ทำงานด้านหนังสือและยุทธศาสตร์การอ่าน ควรนำไปขยายผลอย่างยิ่ง ขอเชิญชวนไว้ ณ ที่นี้ หวังว่าการเก็บความรู้และถอดความคิดจากกระบวนการทำงานของ “กระพือปกฝน… ปนหนังแอนิเมชั่น : We…Animation” จะเอื้อประโยชน์ต่อการสรรค์สร้างแอนิเมชั่นเพื่อสังคมใน ประเด็นต่าง ๆ ต่อไป เข็มพร วิรุณราพันธ์ ผู้จัดการแผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน (สสย.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
สารบัญ
คำนำ สารบัญ บทนำ มามะ…มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชาว we…animation กันเถอะ รอบที่ ๑ : เมื่อแรกเริ่มกระพือปีก แอนิเมชั่นชิลชิลกับผู้กำกับ “ก้านกล้วย” การทำมอร์ฟ (Morphing) กับอนาคตของ 2D เทคนิคการทำงานของแอนิเมเตอร์มืออาชีพ แอนิเมชั่นที่ได้รับรางวัลรอบปล่อยของ รอบที่ ๒ : เมื่อหนังสือพบแอนิเมชั่น “รู้สึก นึก คิด” ให้สมดุล สตอรี่บอร์ดทั้ง ๑๑ ผลงาน บทสรุปจากคอมเมนเตเตอร์ทั้ง ๕ ท่าน มีมือถือเครื่องเดียวทำแอนิเมติกได้แล้วหรือ ? รอบที่ ๓ : แอนิเมชั่นเด่นโดนใจแอนิเมเตอร์ สุทธิชาติ ศราภัยวานิช : อานิเมะ (Anime) โดนใจ
๒ ๔ ๖ ๗ ๑๐ ๑๒ ๑๓ ๑๔ ๑๕ ๑๙ ๒๑ ๒๔ ๓๖ ๔๐ ๔๑ ๔๒
ชัยพร พานิชรุทติวงศ์ “เรายังพยายามน้อยไป” สละ นาคบำรุง : ไม่มีเส้นแบ่งระหว่าง 2D & 3D Animation คมภิญญ์ เข็มกำเนิด : ง่าย ๆ แต่ได้ใจ แอนิเมติกทั้ง ๑๑ ผลงาน รอบที่ ๔ : จากวันวานถึงพรุ่งนี้แอนิเมชั่นไทย วันวานแห่งความทรงจำ รอยทางแห่งผู้กล้า วันนี้ของแอนิเมชั่นไทย แอนิเมชั่นรอบสุดท้ายทั้ง ๑๓ ผลงาน งานประกาศผลรางวัล ปัญหาแอนิเมชั่นไทย : ผู้สร้างมาก – ตลาดรองรับน้อย จุดเริ่มต้นเพื่อฟันฝ่าของแอนิเมเตอร์มือใหม่ ระบบการศึกษาแอนิเมชั่นไทย : ผู้ใหญ่กำลังหลงทาง ความหวังของแอนิเมเตอร์รุ่นพี่ คำขอบคุณ แผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน (สสย.) ภาคผนวก
๔๕ ๔๖ ๔๗ ๔๘ ๕๘ ๖๐ ๖๑ ๖๓ ๖๔ ๖๘ ๖๙ ๖๙ ๗๐ ๗๑ ๗๕ ๗๘ ๘๕
บทนำ ก่อนกระพือปีกฝัน : ที่มาที่ ไปก่อนก่อเกิดโครงการ “กระพือปีกฝัน ปั้นหนังแอนิเมชั่น” ความฝันที่อยากเห็นเยาวชนผู้ผลิตแอนิเมชั่น (แอนิเมเตอร์) พันธุ์ใหม่หัด “กระพือปีก” เพือ่ โบยบินไปอย่างถูกทิศทางในการก้าวสูก่ ารเป็นแอนิเมเตอร์อาชีพของแผนงานสือ่ สร้างสุขภาวะ เยาวชน (สสย.) โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งให้ความสำคัญต่อสื่อแอนิเมชั่นที่เข้ามามีบทบาทครองใจเด็กและเยาวชนในปัจจุบันนี้เอง ได้ก่อ ให้เกิดการรวมตัวของภาคีต่าง ๆ ที่เคยทำงานกับ สสย. กลายเป็นเครือข่ายสร้างเสริมผู้ผลิตสื่อ สร้างสรรค์ (สส.สส.) ซึ่ ง เกิดจากการผนึกกำลังของสถาบันการ์ตูนไทย มูลนิธิเด็ก, เครือข่ายนักวิชาการ คณะนิเทศศาสตร์, นิตยสาร BIOSCOPE กับ “ฟิว้ ”, บริษัท ทีละเฟรม และสถาบัน Thai Rural Net จัดโครงการ “กระพือปีกฝัน...ปัน้ หนังแอนิเมชัน่ ” We…Animation : series 1 เพือ่ หา “ทีท่ าง” เปิดเวที ให้กับคนพันธุ์ใหม่ที่สนใจปล่อยของ (แอนิเมชั่น) ของตัวเอง ได้อวดผลงานและความคิดสู่สายตา กลุ่มคน “คอเดียวกัน” ที่อาจเป็น ทั้งผู้ผลิต หรือเพียงแค่ผู้เสพแอนิเมชั่นในลักษณะที่ ไ ม่ ใช่ เพียงแค่การจัดประกวดครั้งเดียว ตัดสินหาผู้ชนะจบแล้วก็จบกันไปเหมือนการประกวดแอนิเมชั่น ส่วนใหญ่ “ผู้ ช นะ” รางวั ล ที่ ๑ จึ งไม่ ใ ช่ เ ป้ า หมายหลั ก ของเวที นี้ หากสิ่ ง ที่ เ ราต้ อ งการ คื อ “การแลกเปลี่ยนเรียนรู้” ในระหว่างทางที่จะนำไปสู่การเฟ้นหา “ผู้ชนะ” ต่างหาก
6
we…animation
ÁÒÁÐ...มาร่วมแลกเปลี่ยน
เรียนรู้กับชาว we… animation กันเถอะ เมื่อผู้ชนะเป็นเพียงแค่องค์ประกอบหนึ่งของโครงการ “กระพือปีกฝัน…ปันหนังแอนิเมชั่น” WE...Animation : series 1 จึงมีกจิ กรรมมากกว่าแค่การประกวดแอนิเมชัน่ หัวข้อ “การรักการอ่าน” ความยาวไม่เกิน ๕ นาที ผ่านรูปแบบการ “ปล่อยของ” อวดผลงานทุก ๆ ครั้งที่มีความคืบหน้า ดังนั้นทางโครงการฯ จึงจัดกันเป็นระยะเวลาค่อนข้างยาวนานเกือบครึ่งปี เริ่มตั้งแต่ ๑๘ สิงหาคม ถึง ๑ ธันวาคม ๒๕๕๐ เปิดโอกาสให้คนทีม่ ีใจรักแอนิเมชัน่ ไม่จำกัดเพศ วัย หรืออาชีพใดๆ ทัง้ สิน้ ได้พฒ ั นาผลงานและ “ปล่อยของ” กันถึง ๕ รอบ เริ่มตั้งแต่รอบปล่อยของทีเด็ด ผลงานสุดเจ๋งของตัวเอง ต่อด้วยรอบ Story Line และ Storyboard ตามด้วยรอบแอนิเมติก (Animatic) และปิดท้ายด้วยรอบผลงาน เสร็จสมบูรณ์พร้อมฉายก่อนจะถึงครั้งสุดท้าย การประกาศผลรางวัลผู้ที่จะคว้ารางวัลชนะเลิศ ๕๐,๐๐๐ บาท รางวัลยอดเยีย่ ม ๔๐,๐๐๐ บาท รวมทัง้ รางวัลยอดนิยม และรางวัลสร้างสรรค์รางวัลละ ๑๐,๐๐๐ บาท และนีก่ ค็ อื เป้าหมายของเวที We...Animation ระหว่างทางทีจ่ ะไปถึงรอบสุดท้ายแอนิเมเตอร์ พันธุ์ใหม่ที่นำความคืบหน้าของผลงานมาอวดในแต่ละรอบ ได้ร่วมแบ่งปันเติมเต็มความคิดให้ กันและกัน แถมได้ฟังข้อคิดเห็นจากกลุ่มแอนิเมเตอร์ นักการ์ตูน นักเขียนบทมืออาชีพที่มาเป็น “คอมเมนเตเตอร์” ซึง่ ติ – เพือ่ ก่อ ชม – เพือ่ ให้กำลังใจกันแบบถึงพริกถึงขิง ชนิดทีห่ าการประกวด แอนิเมชั่นแบบนี้ไม่ได้จากเวทีอื่นใด
กระพือปกฝน… ปนหนังแอนิเมชั่น
7
งานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ วันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๐ โดย คุณเข็มพร วิรณ ุ ราพันธ์ ผูจ้ ดั การแผนงานสือ่ สร้างสุขภาวะเยาวชน (สสย.) คุณสุดใจ พรหมเกิด ประธานเครือข่ายสร้างเสริมผูผ้ ลิตสือ่ สร้างสรรค์ คุณสุภาพ หริมเทพาธีป กรรมการเครือข่ายสร้างเสริมผูผ้ ลิตสือ่ สร้างสรรค์
จัดประชุมระดมความคิด ขอความร่วมมือ กับเครือข่ายคณาจารย์จากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ
แม่ชศี นั สนีย์ เสถียรสุด ให้ความสนใจอย่างมาก
อีกส่วนที่นอกเหนือจากการประกวดและหาไม่ได้จากเวทีประกวดอื่นใด คือการ “เสวนา” แบบกันเอง เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในแต่ละขั้นของการสร้างสรรค์แอนิเมชั่น ก่อนเริ่มปล่อยของ
8
we…animation
อวดผลงาน แอนิเมเตอร์น้องใหม่ที่เข้าร่วมโครงการนี้จึงได้เรียนรู้ และถูกจุดไฟในการทำงานผ่าน แอนิเมเตอร์ระดับบรมครู นักเขียนบทมือทอง และเซียนด้านการ์ตูนที่มาร่วมเสวนาในทุกรอบ ความพยายามสร้างกิจกรรมทีแ่ ตกต่าง นัน่ เพราะเราหวังว่า ประชาคม “We…Animation” จะนำไปสู่การสร้างกลุ่มแอนิเมเตอร์พันธุ์ใหม่ ที่อยากกระพือปกบินไปสู่โลกแอนิเมชั่นอัน กว้างใหญ่ไพศาลด้วยผลงานอันสร้างสรรค์กันต่อไป… มามะ… มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชาว WE…Animation กันเถอะ”
โปสเตอรเ์ ชิÞชวนขนาดใหÞ่เตะตา
กระพือปกฝน… ปนหนังแอนิเมชั่น
9
รอบที ่ เม×่อแÃกเÃิ่มกÃо×อ»‚ก
๑
ของดีมีไว้โชว์ : WE...Animation โครงการกระพือปีกฝัน ปั้นหนังแอนิเมชั่น โชว์ตัว ด้วยการแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ ตามด้วยการปล่อย “ของ” (แอนิเมชั่น) ของผู้เข้าร่วมโครงการ แต่ก่อนจะไปดูผลงานของคนพันธุ์ใหม่ เรามาดู “ของ” ของ ๓ แอนิเมเตอร์ชั้นนำของเมืองไทย คือ คมภิญญ์ เข็มกำเนิด ผู้กำกับภาพยนตร์แอนิเมชั่น “ก้านกล้วย” ธวัชพงศ์ ตั้งสัจจะพจน์ แอนิเมเตอร์อิสระ เจ้าของ Flip cafe’ และชัยพร พานิชรุทติวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บ้านอิทธิฤทธิ์ จำกัด เจ้าของผลงาน CG ในเครือเวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ที่มาเป็นวิทยากรร่วมเปิดความคิดบนเส้นทางแอนิเมเตอร์สู่ผู้เข้าร่วมโครงการ ผ่านผลงานที่ (ดูเหมือน) ง่าย ๆ แต่ได้ใจผู้ชม งานชิน้ นีแ้ หละของคมภิÞÞ์ เข็มกำเนิด ทีส่ ะดุดใจจนÎอลลีวดู เรียกตัวไปทำงาน เปิดงานด้วยการแสดงใส ๆ ชักชวนการอ่านหนังสือ จากเยาวชนขบวนการนักอ่าน
บรรยากาศวันแถลงข่าว
กระพือปกฝน… ปนหนังแอนิเมชั่น
11
แอนิเมชั่นชิลชิล
กับผู้กำกับ “ก้านกล้วย”
เริ่ ม ด้ ว ย คมภิ ญ ญ์ เข็ ม กำเนิ ด ผู้ ก ำกั บ ภาพยนตร์ แ อนิ เ มชั่ น “ก้ า นกล้ ว ย” ได้หยิบเอาผลงานมิวสิก วีดิโอ “รักคือ...สายลม” ของจอห์นนี่ อันวา (๒๕๔๕) ที่ใช้เทคนิคการ สร้างสรรค์งานแบบง่าย ๆ กับทีมงานทั้งหมด ๓ คน กินเวลาประมาณ ๒ เดือน เพื่อเป็นตัวอย่าง ให้กับผู้ที่เพิ่งเริ่มสนใจทำแอนิเมชั่น คมภิญญ์สร้าง MV แอนิเมชั่นชิ้นนี้โดยใช้กล้องมินิดีวีตัวเดียว ถ่ายภาพความเคลื่อนไหวของนักร้อง (จอห์นนี่) ก่อนจะโหลดภาพเข้าคอมพิวเตอร์ แล้วสร้าง ลายเส้นตามความเคลือ่ นไหวทีถ่ า่ ยทำมา หรือทีเ่ รียกเทคนิคนีว้ า่ โรโตสโคป (Rotoscope) นัน่ เอง “ตอนที่จอห์น นี่เจอผม เขาก็นึกว่าจะมีกองถ่ายใหญ่โต แต่พอผมบอกว่าแค่นี้แหละ กล้องมินดิ วี ตี วั เดียวกับผมนีแ่ หละ เขาก็ยงั ทำหน้างง ๆ อยูเ่ ลยว่า เพียงเท่านีก้ ส็ ร้างมิวสิกวีดโิ อเพลง เจ๋ง ๆ ได้ด้วยหรือ” ผู้กำกับเล่าถึงความรู้สึกที่จอห์นนี่ อันวา เจอกับเขาในวันถ่ายทำ MV แต่สุดท้ายผลงานมิวสิกวีดิโอโทนสีพาสเทลของผู้กำกับก้านกล้วยชิ้นนี้ ก็พิสูจน์ให้จอห์นนี่ และต้นสังกัดอาร์เอสโปรโมชั่นรู้ว่า แม้จะสร้างตัวละครให้มีลายเส้นเคลื่อนไหวเพียงง่าย ๆ แต่ก็เข้ากับอารมณ์ใส ๆ สบาย ๆ ของเพลง ซึ่งก็ช่วยย้ำเตือนให้พวกเราชาว WE…Animation ที่ได้ชมผลงานชิ้นนี้เข้าใจว่า “แอนิเมชั่นที่ดี ไม่จำเป็นต้องใช้เทคนิคอลังการเสมอไป”
12
we…animation
การทำมอร์¿ (Morphing)
กับอนาคตของ 2D
ถัดจากแอนิเมชั่นใสใสของผู้กำกับก้านกล้วย ธวัชพงศ์ ตั้งสัจจะพจน์ แอนิเมเตอร์อิสระ เจ้าของ Flip cafe’ ก็ได้นำผลงานวิทยานิพนธ์การทำ 2D Animation เมื่อสมัยเรียนปริญญาโท ที่สหรัฐอเมริกามาโชว์แอนิเมเตอร์รุ่นน้องบ้าง โดยเลือกใช้เทคนิคที่ถนัดคือการวาดมือ เป็น แอนิเมชั่น ๒ มิติ เรื่องราวของชายคนหนึ่งผู้ค้นพบโลกของดินสอและพู่กัน ทำให้โลกรอบ ๆ ตัวเขาค่อย ๆ เปลี่ยนไป งานชิ้นนี้เป็นการสร้างภาพระหว่าง in – between shot ต่อ shot ทำให้ ผู้ ช มรู้ สึ ก ลื่ น ไหลไปกั บ ภาพที่ เ คลื่ อ นไหวเปลี่ ย นแปลงต่ อ เนื่ อ งไปเรื่ อ ย ๆ หรื อ ที่ เ รี ย กว่ า การทำมอร์ฟ (Morphing) และแม้แนวโน้มของแอนิเมชั่นในยุคนี้จะนิยมสร้างงาน 3D กันเป็นส่วนใหญ่ แต่ธวัชพงศ์ ก็ยังเชื่อว่าอนาคตของ 2D ในแบบที่เขาชอบยังคงอยู่ต่อไปแน่นอน เห็นได้จากในขณะนี้ทาง Pixar สตูดิโอ ผู้ผลิตแอนิเมชั่นยักษ์ใหญ่ของสหรัฐอเมริกา ก็กำลังรื้อแผนการสร้างภาพยนตร์ 2D กลับมาอีกครั้ง ซึ่งทั้งผลงานและความคิดของแอนิเมเตอร์อิสระคนนี้ก็ได้ช่วยชี้แนะแอนิเมเตอร์ รุ่นใหม่ที่อาจกำลังเดินหลงทางได้เป็นอย่างดีว่า “ควรยึดมั่นในแนวทางของตนเอง (การรักในงาน 2D ของธวัชพงศ์) โดยไม่ต้องเดินไปตามกระแสความนิยมด้านเทคนิคในการผลิตผลงาน (กระแสการสร้าง 3D ที่อีกหน่อยอาจผันแปรไปเป็น 4D) เพราะเทคนิคเหล่านี้เป็นเพียงเครื่องมือ รับใช้ความคิดของแอนิเมเตอร์เท่านั้น”
กระพือปกฝน… ปนหนังแอนิเมชั่น
13
เทคนิ คการทำงาน
ของแอนิเมเตอร์มืออาชีพ
ปิดท้ายการเสวนาในครั้งนี้ด้วยวิถี ในโลกแห่งการทำงานจริงของแอนิเมเตอร์มืออาชีพ อย่าง ชัยพร พานิชรุทติวงศ์ ผู้สร้างคาแรกเตอร์ ปังปอนด์ ดิแอนิเมชั่น นักทำ CG ชั้นนำของ เมืองไทย ซึ่งเนรมิตฉากและตัวละครแสนตื่นตาให้กับรายการในเครือเวิร์คพอยท์ (Workpoint Entertainment) รวมทั้งภาพยนตร์โฆษณาและภาพยนตร์ที่ฉายในโรง เขาจำเป็นต้องทำงานกับคนจำนวนมาก (เฉพาะทีมงานผู้ผลิต พนักงานประจำในบริษั ท ไม่รวมแม่บา้ น ก็มี ๑๘ คนเข้าไปแล้ว) ซึง่ แต่ละคนก็มคี วามต้องการทีแ่ ตกต่าง ผสมผเสปนเปกันไป เทคนิคที่ช่วยให้เขาสามารถทำงานกับทีมงานได้รวดเร็วในเวลาที่จำกัด (งานส่วนใหญ่ของชัยพร ใช้ เ วลาสร้ า ง ๑ ชิ้น ๑–๒ สัปดาห์) คือ “การสร้างงานต้องเดินตามความต้องการของ ‘คนตัดสินสุดท้าย‘ “ เช่น หากต้องสร้างภาพยนตร์แอนิเมชั่น เขาก็ต้องถามความต้องการของ ผู้กำกับ (Director) ให้ละเอียดที่สุด และพยายามจับจุดความชอบของผู้กำกับให้มากที่สุด โดยเฉพาะการสร้างบุคลิกลักษณะเฉพาะ (charactor) ของตัวละคร (เช่น ขนาดความโตของตา จมูก) หรือคุยกับคนคิด Idea แรกเริ่มของเรื่อง เพื่อลดทอนการเสียเวลาในการสร้างงาน ซึ่งข้อแนะนำของสุดยอดมือ CG ผู้นี้คงช่วยให้แอนิเมเตอร์รุ่นใหม่ ๆ สร้างสรรค์ผลงาน ได้รวดเร็วขึน้ ควบคูไ่ ปกับการตอกย้ำแนวทางการทำงานบนโลกแอนิเมเตอร์จริงทีต่ อ้ งตามใจลูกค้า ไม่อาจสร้างงานตามใจฉันได้อีกต่อไป และอีกนัยหนึ่งที่เขาได้สะกิดให้ลองคิด คือ เราควรสร้าง ผลงานออกมาอย่างไรให้ถูกใจลูกค้าโดยไม่สูญเสีย “ตัวตน” ไปพร้อมกัน ?
14
we…animation
แอนิเมชั่นที่ได้รับ
รางวัลรอบปล่อยของ หลังจากพูดคุยกับสุดยอดแอนิเมเตอร์ของเมืองไทย ให้คนที่มาร่วมงานนับ ๒๐๐ ชีวิต ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้แล้ว ก็ถึงคราวของไฮไลต์ประจำงาน คือการชมงาน “ปล่อยของ” ผลงาน แอนิเมชั่นสุดเจ๋งแบบไม่จำกัดเทคนิค ซึ่งมีผู้จองเวลาปล่อยของกันทั้งสิ้น ๒๗ ผลงาน มากจนทำให้ ต้องแบ่งพื้นที่แสดงงานบนชั้น ๓๕ ของ สสส. ออกเป็น ๒ เวที แต่ละเวทีก็เปิดให้ผู้ชมโหวต (แบบสนุกสนาน, ชืน่ ชมไม่เน้นแข่งขัน) ผลงานทีช่ น่ื ชอบทีส่ ดุ เพือ่ หาผูค้ ว้ารางวัลพิเศษจากวิทยากร ผู้ชนะทั้ง ๒ เวที (ซึ่งได้คะแนนเท่ากันจนต้องให้วิทยากรโหวตเลือกผู้ชนะสูงสุดกันอีกครั้ง) ทำให้คนทีม่ าร่วมงานนี ้ ไม่เว้นแม้แต่วทิ ยากร ต้องทึง่ กับฝีมอื แอนิเมเตอร์พนั ธุใ์ หม่ไปตาม ๆ กัน แม้ใน การปล่อยของครั้งนี้ จะมีผลงานที่ ใช้เทคนิค 3D Animation เข้าอวดสายตากันมากที่สุด แต่ แอนิเมชัน่ ๓ มิต ิ ความยาวราว ๘ นาที เรือ่ ง ปลามีขน ก็โดดเด่นชนะใจผูช้ มและกรรมการได้ไม่ยาก สิทธิ์ศักดิ์ เจียมพจมาน บัณฑิตหนุ่มจากมหาวิทยาลัยศิลปากร ได้นำเสนอเรื่องราวของ ภัณฑารักษ์ในพิพิธภัณฑ์แห่งหนึ่ง ที่เมื่อครั้งเยาว์วัยเขามักจะเชื่อและเห็นว่า ปลามีขน (ไม่ใช่มี เกล็ดอย่างที่คนทั่วไปเห็นกัน) แต่ความเชื่อนี้กลับเลือนหายไปพร้อม ๆ กาลเวลาที่หล่อหลอมให้ เขากลายเป็นผู้ใหญ่ที่ไร้จินตนาการ และทำงานแบบไร้ชีวิตไปวัน ๆ ผลงานที่บอกคนดูให้เห็นถึงการสร้างจินตนาการเพื่อหล่อเลี้ยงการมีชีวิตชิ้น นี้ ได้รับ เสี ย งโหวตจากกรรมการว่ า เป็ น ผลงานที่ ย อดเยี่ ย มที่ สุ ด จากทั้ ง หมด ๒๗ ผลงาน กระทั่ ง วิทยากรอย่างชัยพร พานิชรุทติวงศ์ ยังเอ่ยปากชม “รายละเอียดของตัวละคร เช่น ฉากที่ตัวเอง ในวัยเด็กเกาก้น เป็นสิ่งที่พนักงานบริษั ทผม (บ้านอิทธิฤทธิ์) เองยังทำไม่ได้เลย แต่นี่เขา ไม่มองข้ามความสำคัญเล็ก ๆ น้อย ๆ การรูจ้ กั สังเกตและใส่ทา่ ทางทีเ่ ป็นธรรมชาติของตัวละคร แบบนีท้ ำให้ผลงานของเขามีเสน่ห์มาก” ในขณะที ่ คมภิญญ์ เข็มกำเนิด ก็ให้ทศั นะว่า “เป็นผลงานทีด่ สู มบูรณ์ทสี่ ดุ บทมาพร้อมเทคนิค ที่สำคัญดูแล้วอมยิ้ม มีความสุขตามไปกับเรื่องราว”
กระพือปกฝน… ปนหนังแอนิเมชั่น
15
ปลามีขน
แอนิเมชั่นแสนอบอุ่น
ไม่ ใช่แค่เรื่องราวของภัณฑารักษ์หนุ่มเท่านั้นที่มัดใจผู้ชม 2D Animation เรื่อง Border ของขจรเดช ถานะวร แอนิเมเตอร์ หนุ่มไฟแรงของบริษัท บลูแฟรี่ อดีตนิสิตคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ก็เป็นอีกผลงานสุดเซอร์ที่ได้ใจคนดูไปไม่นอ้ ย จนคว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ ไปแบบสูสี เด็กหลายคนคงเคยเจอกับภาวะทีพ่ อ่ แม่บงั คับให้เรียนเปียโน ทั้ง ๆ ที่ใจอยากเรียนเต้นฮิปฮอปใจจะขาด ความหวังดีที่บุพการี หยิบยื่นให้โดยไม่ฟังเสียงเรียกร้องของบรรดาลูก ๆ จนกลายเป็น ตีกรอบบีบคั้นให้เด็กอยู่ในขอบเขตที่พ่อแม่ต้องการ สุดท้ายแล้ว ผลลัพธ์ที่พ่อแม่ได้รับคืออะไร ? คำตอบมีอยู่ใน Border ผลงานของขจรเดช ถานะวร แอนิเมชั่น ดาร์ก ๆ ๒ มิติเรื่องนี้ “สตรอว์เบอร์รี – แครอต สตรอว์เบอร์รี – แครอต” เสียงร่ำร้องของลูกตัวน้อยทีอ่ ยากกิน สตรอว์เบอร์รี โดยมีพอ่ คอยคุมเชิงทำลายสตรอว์เบอร์รีไปให้หา่ งตัวลูก แต่ดงึ เอาแครอตมาให้กนิ แทน เหตุการณ์บีบบังคับของพ่อหนักขึ้นเรื่อย ๆ พร้อม ๆ กับเสียงร่ำร้องอยากกินสตรอว์เบอร์รี ของลูกก็ดังขึ้นเรื่อย ๆ เช่นกัน ทำให้ในที่สุดร่างของลูกต้องระเบิดแหลกเหลวไปเพราะการบังคับ ของพ่อแม่
16
we…animation
Border พ่อแม่รังแกฉัน
แอนิเมชัน่ ไร้บทสนทนา มีเพียงดนตรีประกอบ เสียงร้อง และภาษากายของตัวละครเรือ่ ง นี้ กำลังกระตุ้นเตือนให้พ่อแม่ลองช่วยหยุดสำรวจตัวเองดูสักนิดเถิดว่า ได้เผลอขีด “กรอบ” ตามใจฉัน แทนที่จะปล่อยให้ลูกขีดเส้นตามใจตัวเองอยู่หรือเปล่า ? Border ดูจะเป็นแนวทางที่ถูกใจวิทยากรแอนิเมเตอร์อิสระอย่าง ธวัชพงศ์ ตั้งสัจจะพจน์ มากทีเดียว เขาให้ความเห็นว่า “แม้ปลามีขนจะดูสมบูรณ์กว่าในแง่การเล่าเรือ่ งทีเ่ หมือนภาพยนตร์ แต่ Border เป็นตัวอย่างของคนที่เข้าใจแอนิเมชั่น เขาดึงศักยภาพของแอนิเมชั่นมาเล่าเรื่องที่ เหมือนภาพยนตร์ แต่ Border เป็นตัวอย่างของคนทีเ่ ข้าใจแอนิเมชัน่ เขาดึงเอาศักยภาพของแอนิเมชัน่ มาเล่าเรือ่ งสไตล์นามธรรม ผ่านเนือ้ หา และตัวละครทีด่ เู หนือจริง การเลือกใช้แอนิเมชัน่ แบบนีเ้ พือ่ บอกเล่าเรื่องที่เป็นปัญหาสังคม ช่วยถ่ายทอดปัญหาหนัก ๆ ออกมาได้อย่างน่าสนใจมากทีเดียว”
กระพือปกฝน… ปนหนังแอนิเมชั่น
17
เรื่องราว – ผลงานทั้งหมดกับครั้งแรกของการเปิดตัวโครงการบอกเราให้รู้ว่า โลกของ แอนิเมชัน่ ในปัจจุบนั มีความหลากหลาย ทัง้ ในด้านเนือ้ หาและเทคนิควิธสี ร้าง บางคนรักทีจ่ ะเล่าเรือ่ ง บางคนรักที่จะแสดงแนวคิด (Concept) บ้างก็ใช้เทคนิค 2D หรือ 3D มี Clay Animation (แอนิเมชั่นที่ใช้ดินน้ำมันปั้นเป็นหุ่น แล้วถ่ายทำแบบ Stop Motion) สอดแทรกมาเพียง ๑ เรื่อง และแม้ครั้งนี้จะขาดบรรยากาศแลกเปลี่ยนความเห็นกันไปบ้าง เพราะคนมาร่วมงานเยอะ กว่าที่เราตั้งเป้าไว้มาก แต่เมื่อเสร็จสิ้นการ “ปล่อยของ” คณะกรรมการก็เริ่มเห็นแววตาเป็น ประกายของผู้เข้าร่วมโครงการ จนเรา (แอบ) คิดไปว่า Border อาจช่วยขยายกรอบความคิดของ ทุก ๆ คน ไม่เฉพาะแต่พอ่ แม่ ปลามีขน ก็อาจช่วยทำให้บางคนเริม่ ฟุง้ ฝันจินตนาการไปว่า แมวมีเขา นกมีครีบ หรือคนมีปีก และปีกนี้ก็จะเริ่มขยับพร้อมโบยบินไปกับพวกเราชาว We…Animation กันต่อในรอบ Story line และ Storyboard
18
we…animation
รอบที ่ เมื่อหนังสือพบแอนิเมชั่น
๒
หลังจากเปิดตัวโครงการโดยได้รับเสียงตอบรับ แบบเกินคาดไปเมื่อเกือบ ๑ เดือนก่อน พวกเราชาว We...Animation ก็มารวมตัวกันอีกครั้งในด่านแรกของ การประกวดแอนิเมชั่นรักการอ่านรอบ Story line และ Storyboard ความหนักใจของกรรมการในรอบนี้อยู่ที่ หัวข้อการประกวด “รักการอ่าน” ซึ่งสวนทางกับเยาวชน คนรุ่ น ใหม่ ที่ นั่ ง แหมะอยู่ ห น้ า จอคอมพิ ว เตอร์ วั น ละ หลายชั่วโมง ใครกันที่มีพลังพอจะดึงดูดให้พวกเขาหันมา สนใจอ่านหนังสือ ? ครัง้ นีเ้ ราจึงเชิญศิลปินแห่งชาติและ กวีซีไรต์ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ มาจับเข่าสนทนาเติมเต็ม แรงบันดาลใจในหัวข้อ “จับภาพจับใจ” กิจกรรมสนทนา ที่ เ ป็ น การเกริ่ น นำก่ อ นเข้ า สู่ กิ จ กรรมการประกวด “ปล่อยของ” เหมือนเช่นเคย
ศิลปินแห่งชาติและกวี«ไี รต์ เนาวรัตน์ พงษ์ ไพบูลย์
คำบอกเล่าของกวีซีไรต์ทา่ นนีท้ ำให้เกิดแง่คดิ มากมาย โดยเฉพาะแง่คิดในการสร้างสรรค์งาน ศิลปะที่ ไม่มีเส้นแบ่งว่าเป็นศิลปะด้านวรรณกรรม หรือภาพยนตร์แอนิเมชัน่ เนือ่ งจากศิลปะทีด่ ีไม่วา่ จะ แขนงใดก็ตาม ย่อมเกิดจากการสร้างงานที่ยึดมั่น ใน “ปรัชญา” ของศิลปิน
20
we…animation
“รู้สึก นึก คิด” ให้สมดุล “รู้สึก นึก คิด” ๓ คำนี้ คือสรณะในการสร้างงานวรรณกรรมของกวีซีไรต์ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ เขามองว่าศิลปินต้องมีความรู้สึก ไม่ว่าจะเป็นรู้สึกรัก โลภ โกรธ หรือหลง ถ่ายทอด ลงในผลงาน เพือ่ ให้งานมีชวี ติ นึก คือ การหวนนึกถึงภาพความหลัง ประสบการณ์เรือ่ งราวในอดีต นึกถึงเรื่องราวในอนาคต หรือนึกขึ้นมาโดยเฉียบพลัน อาจนึกเป็นภาพหรือเป็นภาษาก็ได้ และคิด คือ การใคร่ครวญ ไตร่ตรอง การประกอบให้เป็นรูปเป็นเรื่องในใจ การที่ศิลปินใช้ความรู้สึก นึก คิด ไปพร้อมกัน จะกลายเป็น “ปรัชญา” ในการสร้างสรรค์ ผลงานของตัวเอง ไม่ว่าจะเขียนหนังสือ วาดการ์ตูน หรือสร้างแอนิเมชั่น การใช้ความรู้สึก นึก คิด พร้อมกันอย่างสมดุล จะกลายเป็นพื้นฐานในการสร้างสรรค์ผลงานอย่างมี “เป้าหมาย” ช่วยให้ ศิลปินสร้างงานอย่างมี “ทิศทาง” กวีซีไรต์กล่าวทิ้งไว้ให้แอนิเมเตอร์รุ่นใหม่คิด เทคนิคอีกประการที่เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ได้กล่าวถึงการทำงานศิลปะ คือ การสร้างงาน ด้วยความรู้สึก ขณะที่อยู่ต่อหน้าสิ่งนั้น เมื่อเรารู้สึกจริง สัมผัสจริง เห็นจริง จะช่วยให้ศิลปิน สร้างงานอย่างมีชีวิตชีวา เหมือนเช่นที่เขาสร้างผลงาน “เขียนแผ่นดิน” ได้ทันทีที่เห็นภาพของ แกรนด์แคนยอนปรากฏอยู่เบื้องหน้า สิ่งสำคัญที่กวีซีไรต์แนะนำศิลปินรุ่นใหม่ คือ “อย่าใช้เพียงความรู้สึกในการทำงาน แต่จงใช้ ปัญญาใส่ลงไปในงานด้วย” งานที่สมบูรณ์ คือ งานที่ทำให้ใจผู้เสพเต็มอิ่ม และเป็นงานที่สามารถ ยกจิตใจขึ้นสู่ปัญญาได้ สิ่งที่ศิลปินแห่งชาติเป็นห่วงก็คือ โลกสมัยใหม่ทำให้คนขาดการอ่านหนังสือตกเป็นเหยื่อ ความเจริญ ยืนอยู่ท่ามกลางความผันแปรที่รวดเร็ว รุนแรง จนผู้คนอารมณ์ปรวนแปร โกรธง่าย เสียใจง่าย ทางบำบัดอาการเหล่านี้ได้ดีที่สุดก็คือ “หนังสือ” เพราะเขาเชื่อว่า “ความล้ำเลิศในการ
กระพือปกฝน… ปนหนังแอนิเมชั่น
21
สร้างงานของมนุษย์ คือ หนังสือ เพราะมนุษย์ยังต้องใช้หนังสือเป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดที่จะนำพาไป สู่ปัญญา” และหนังสือ ๕ เล่มที่ล้ำเลิศที่สุด ที่เยาวชนคนรุ่นใหม่ “ต้องอ่าน” ในทัศนะของเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ก็คือ ๑. ขุนช้างขุนแผน วรรณคดีไทยที่ให้ทั้งสุนทรีและจินตนาการ ๒. วรรณกรรมของไม้เมืองเดิม ที่เป็นกวีร้อยแก้วทั้งหมด แม้ศิลปะการนำเสนออาจดูเชย สำหรับเด็กยุคนี้ แต่เนื้อหากลับทันสมัย ๓. ข้างหลังภาพ ของศรีบรู พา นิยายคลาสสิกสะท้อนสังคมในยุคเปลีย่ นแปลงการปกครอง และฉายภาพสตรีไทยที่ยังไม่สามารถกำหนดสถานะของตัวเองได้ ๔. ความเปนมาของคำสยาม โดยจิตร ภูมิศักดิ์ จะช่วยให้คนไทยรู้รากฐานของสังคมไทย อย่างถ่องแท้ ๕. ภูเขาแห่งวิถีพุทธธรรม งานของท่านพุทธทาสภิกขุ ซึ่งชี้ให้เรารู้จักตัวเอง โลก และ ชีวิตได้ดีที่สุด หนังสือทีต่ อ้ งอ่าน
22
we…animation
แต่เมื่อถามถึงหนังสือ ๓ เล่มของเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ที่น่าอ่านที่สุด คำตอบที่ได้ก็คือ เขียนแผ่นดิน ผลงานที่ได้รับแรงบันดาลใจจากการเห็นภาพของแกรนด์แคนยอน จนจุดประกาย ให้เขียนถึงความงามบนแผ่นดินไทย ๗๓ จังหวัด แผ่วผ่านธารน้ำไหล ซึ่งแสดงให้เห็นว่า มนุษย์ ต้องสยบความผยองของตนต่อหน้าความยิ่งใหญ่ของธรรมชาติ และเรื่องสุดท้ายคือ คำหยาด กลอนรักที่จะช่วยให้ผู้อ่านค่อย ๆ ละเลียดไปกับภาษาและถ้อยคำ แม้จะกินเวลาเพียงราวครึ่งชั่วโมงใน การจับเข่าสนทนาเติมเต็มแรงบันดาลใจกับ ศิลปินแห่งชาติ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ แต่ก็ เป็นครึ่งชั่วโมงที่จะช่วยสร้างสะพานเชื่อมต่อ ระหว่างโลกของคนรักแอนิเมชั่นกับคนรัก หนังสือของเนาวรัตน์ พงษ์ ไพบูลย์ หนังสือให้ทอดยาวมากขึน้ และเมือ่ สะพานเชือ่ ม ทางของคนรักหนังสือกับคนรักแอนิเมชั่นเริ่มเปิดแล้ว ก็ถึงคราวของกุนซือต้องออกโรงคอยช่วยแนะหนทางที่ถูกต้องไปสู่ปลายทาง ดังนั้นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับงาน We…Animation ในแต่ละครั้งก็คือ วิทยากรรับเชิญ ผู้ให้คำแนะนำ (เรียกนักวิจารณ์ก็คงไม่ผิดนัก) หรืออาจเรียกได้ว่า คอมเมนเตเตอร์ ที่จะมาคอย กล่อมเกลา ตบ คลึง ให้งานของแอนิเมเตอร์พนั ธุใ์ หม่ทเ่ี ข้าร่วมโครงการเข้าทีเ่ ข้าทางมากทีส่ ดุ นัน่ เอง และในรอบ Story line และ Storyboard เราก็ได้ผู้เชี่ยวชาญด้านการเขียน ๕ คน คือ อมราพร แผ่นดินทอง นักเขียนบทภาพยนตร์แห่งยุค อ. ปรีดา อัครจันทโชติ นักเขียนวรรณกรรมเยาวชน และ จรูญพร ปรปกษ์ประลัย คอลัมนิสต์และนักวิจารณ์อสิ ระ สุทธิชาติ ศราภัยวานิช นักวาดการ์ตนู สุดฮอต และอาจารย์ ณศรันย์ หวังศรีโรจน์ จากมหาวิทยาลัยศรีปทุม มาเป็นคอมเมนเตเตอร์ให้กบั ผู้เข้าร่วม “ปล่อยของ” ๑๘ ผลงาน
กระพือปกฝน… ปนหนังแอนิเมชั่น
23
อ. ปรีดา อัครจันทโชติ
อมราพร แผ่นดินทอง
จรูญพร ปรปักษ์ประลัย ส่วนหนึง่ ของคอมเมนเตเตอร์ทม่ี าช่วยวิจารณ์งานของผูท้ ม่ี าปล่อยของ
และนี่คือบทสรุปของความคิดเห็นจากใจพวกเขา ด้วยหวังจะเห็นผลงานที่พัฒนามากขึ้น ในรอบต่อ ๆ ไป
สตอรี่บอร์ดทั้ง ๑๑ ผลงาน
Book Shop โดย วรกิจ ฉัตรชุติกิจภิญโญ และ วนิดา ทรัพย์สันธิติกุล “ความสุข” เกิดขึน้ ทีร่ า้ นหนังสือ นีค่ อื แนวคิดของแอนิเมชัน่ เรือ่ งนี้ ซึง่ สะท้อนผ่านปฏิกริ ยิ า ของผู้คนที่อมยิ้มขณะอ่านหนังสือ พร้อม ๆ กับเดินออกจากร้านไปด้วยรอยยิ้มตลอดทั้งเรื่อง ไม่มีปมปัญหา ราบเรียบ ไม่บอกเหตุ – ผล ว่าทำไม “การอ่าน” ช่วยให้เกิดความสุข และประเด็น คือ ภาพยนตร์แอนิเมชั่นเรื่องนี้ สามารถสร้างเป็นภาพยนตร์ที่คนแสดงได้ สิ่งที่ควรปรับปรุงคือ การสร้างฉากแปลกใหม่ ที่ไม่ใช่เพียงแค่ร้านหนังสือ แต่อาจเป็นห้องสมุด มุมหนังสือต่าง ๆ เพื่อ
24
we…animation
สะท้อนว่าการอ่าน ไม่วา่ จะอ่านที่ใด ก็ชว่ ยให้เกิดสิง่ ดีงามได้เหมือนกัน (เพราะการอ่านไม่ได้จำกัด อยูแ่ ค่หอ้ งสมุดเท่านัน้ ) รวมทัง้ ยังขาดการสร้างตัวละครหวือหวาประเภททีร่ อ้ งไห้ไปกับเรือ่ งราวใน หนังสือ ทำให้เห็นภาพน้ำตาเม็ดโป้งเท่าไข่หา่ น หรือวาดรอยยิม้ ของคนอ่านให้ปากฉีกถึงรูห ู เพราะว่า เรื่องที่คุณกำลังทำอยู่มันคือ... แอนิเมชั่น!!
ข้อคิดจากคอมเมนเตเตอร์ : อย่าลืม “ปรัชญา” ของการทำภาพยนตร์แอนิเมชั่น นั่นคือ การทำในสิ่งที่ภาพยนตร์แบบคนแสดงทำไม่ได้ (หรือแสดงได้ยากไม่สมจริง) ให้เป็นไปได้ ดังนั้น เราต้ อ งดึ ง “ศั ก ยภาพ” ของแอนิ เ มชั่ น ที่ ส ามารถเนรมิ ตโลกที่ เ ป็ นไปไม่ ไ ด้ ใ ห้ เ ป็ นไปได้ นำมาใช้ในผลงานอย่างเต็มที่
My Book
โดย กฤษพล วั²นปาน “จินตนาการเกิดขึน้ ได้กบั ทุกคน ไม่วา่ ยากดีมจี นอย่างไร... หากเขาคนนัน้ รักการอ่าน” ผลงาน ชิ้นนี้ ได้ใจกรรมการจากการนำเสนอเรื่องของเด็กชายยากจนผู้รักการอ่านหนังสือแม้ว่าเขาไม่มี โอกาสได้อา่ น ไม่วา่ จะเป็นหนังสือเรียน หรือหนังสืออ่านเล่น สิง่ ทีเ่ ขาได้อา่ นมีเพียง “เงินด่วนทันใจ”
กระพือปกฝน… ปนหนังแอนิเมชั่น
25
ข้อความ – เรื่องราวในเศษกระดาษชิ้นเล็กชิ้นน้อยตามตู้โทรศัพท์สาธารณะที่ผู้คนส่วนใหญ่ มองข้าม แต่แม้เป็นเพียงเศษกระดาษในสายตาของใครคนอื่น มันก็ ไ ม่ ใช่แค่เศษกระดาษ ธรรมดา ๆ ในสายตาของเด็กน้อย เมื่อตัวหนังสือได้แต่งแต้มจินตนาการของเขาให้ฝันถึงอีกโลก ที่น่าค้นหา
จุดเด่นของเรือ่ งนี้ คือ ผลงานเพียงเรือ่ งเดียวที่ไม่พดู ถึงคุณค่าของหนังสือแบบตรงไปตรงมา (หนังสือให้ปัญญา หนังสือคือขุมทรัพย์) แต่กลับเลือกเสียดสีสังคมของเด็กรวย ๆ ที่ ไม่ชอบ อ่านหนังสือ (ทัง้ ๆ ทีม่ หี นังสือกองอยูต่ รงหน้ามากมาย) น่าเสียดายทีเ่ ปิดเรือ่ งราวได้นา่ สนใจแล้ว แต่กลับไม่สานต่อเรื่องราวให้จบ นั่นเพราะเขวไปนำเสนอประเด็นอื่น คือ “หนังสือทำให้ เกิดจินตนาการ” แทน แอนิเมชั่นเรื่องนี้จึงกลายเป็นพูด ๒ ประเด็น คือ การเสียดสีเด็กรวยที่ไม่ชอบอ่านหนังสือ กับ หนังสือทำให้เกิดจินตนาการ แต่กลับไม่ขบั เน้นประเด็นใดให้ชดั เจน ทำให้เมือ่ ถึงเวลาคลีค่ ลาย จึงไม่โดนใจผู้ชมเท่าไหร่ นอกจากนี้ยังขาดเหตุ – ผลของเรื่องราว ทำไมกระดาษเงินด่วนถึงทำให้ เด็กน้อยเกิดจินตนาการ ข้อคิดจากคอมเมนเตเตอร์ : แม้จะเป็นแอนิเมชั่นที่ทำเรื่องเป็นไปไม่ได้ ให้เป็นไปได้ แต่ก็ยังอยู่ บนพื้นฐานของการเล่าเรื่อง ดังนั้นเหตุและผลยังคงอยู่ การจะทำให้เหตุ – ผลในเรื่องหนักแน่น และส่งผลต่อผู้ชมมากพอ จึงต้องเลือกเล่าประเด็นเดียวแทนการเล่าทีเดียวหลายประเด็น!
26
we…animation
คืนมหัศจรรย์ (Miracle Night) โดย นครินทร์ คณิวิชาภรณ์
การเจอกันของเด็กชายผูห้ ลงใหลการเล่นเกม กับ นางอายทีโ่ ผล่ออกมาจากหนังสือ นีแ่ หละ คือ คืนมหัศจรรย์... แล้วไงต่อล่ะ ? แค่นางอายโผล่มาจากหนังสือ (ทัง้ ๆ ทีย่ งั ไม่ได้หยิบหนังสือขึน้ มาอ่าน ก็ทำให้เด็กชายรู้สึกเห็นคุณค่าของหนังสือแล้วหรือ ? นั่นเท่ากับว่าเด็กชายสนใจหนังสือ เพราะมีสิ่งมหัศจรรย์ ตื่นตาภายนอกต่างหาก ไม่ได้สนใจเพราะได้ลองอ่านหนังสือจนค้นพบสิ่ง มหัศจรรย์ทอี่ ยูข่ า้ งในแต่อย่างใด เรือ่ งนีจ้ งึ ไม่ตอบโจทย์ “รักการอ่าน” แถมยังมีปญ ั หาตอนจบ เมือ่ นางอายกลายเป็นลำแสงพุง่ ออกไปจากหน้าต่าง ในขณะทีเ่ ด็กชายก็คลุมโปงเข้าทีน่ อน... ทำเอาผูช้ ม ต่างเกิดคำถามว่า แล้วนางอายออกมาทำไม ? ในเมือ่ ยังไม่ได้ทนั สร้างเหตุการณ์ให้เด็กชายประทับใจ (ขาดปมปัญหา) และขาดบทสรุปด้วยว่า การปรากฏตัวของนางอายส่งผลอะไรต่อเด็กชาย (ในเรื่องทิ้งบทสรุปเอาไว้ดื้อ ๆ ไม่รู้เด็กชายจะเลิกเล่นเกมแล้วหันมาอ่านหนังสือหรือไม่) ด้วยการเล่าเรือ่ งทีค่ า้ งคาใจเช่นนี ้ จึงทำให้ความน่าสนใจของลายเส้น และสีสนั ของตัวละคร ตอนเปิดเรื่องถูกลืมเลือนไปเสียสนิท
ข้อคิดจากคอมเมนเตเตอร์ : อย่าใจร้อน! ให้เขียนเรื่องบนหน้ากระดาษให้ดี ให้นิ่งเสียก่อน ก่อนจะลงมือสร้างแอนิเมชัน่ เพราะขัน้ ตอนเรือ่ งเทคนิคนัน้ ใช้เวลาไม่นาน สิง่ ทีค่ วรใช้เวลาให้นานอยูท่ ี่ “เรื่อง” ต่างหาก นั่นเพราะต่อให้เทคนิคดีแค่ไหน ถ้าเรื่องไม่เดิน ขาดบทสรุป ปล่อยคำถามทิ้งไว้ ให้คนดูคาใจ ก็เหมือนพระเอกที่มาตกม้าตายตอนจบนั่นแหละ!
กระพือปกฝน… ปนหนังแอนิเมชั่น
27
มหากาพย์ดาบแห่งปัญญา (The Wisdom Quest) โดย ทศพล พิสิฐโสธรานนท์, ภุชฌงค์ คล่องวานิชกิจ และ ศุภฤกษ์ พลสวัสดิ์
“หนังสือคือขุมทรัพย์” แก่นของเรื่องนี้แม้จะตรงไปตรงมา แต่กลับชนะใจกรรมการ และผู้ชมไปไม่น้อย นั่นเพราะความสนุกสนานในการนำเสนอของเจ้าของผลงาน และเรื่องราว ผจญภัยตามหาขุมทรัพย์ก็ดูจะเร้าอารมณ์ผู้ชมได้ไม่ยาก ที่สำคัญตอนจบแอบมีหักมุม! (ผู้กล้าที่ ออกตามหาดาบแห่งปัญญาได้ขึ้นเวทีรับรางวัลจากจอร์จ บุช ซะอย่างงั้น!) บทสรุปของเรือ่ งเรียกเสียงฮาจากผูช้ มไปไม่นอ้ ย แต่คอมเมนเตเตอร์ขอฮาแบบหึหึ นัน่ เพราะ การจบด้วยมุกที่หวังจะหักมุมนั้น ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเนื้อเรื่อง จึงกลายเป็นขาดความสมเหตุสมผล และไม่เข้ากับตัวเรือ่ ง ในขณะทีร่ ายละเอียดของเรือ่ งยังขาดการแต่งแต้มสีสนั ของการผจญภัย เช่น หนังสือมีปีกงอกขึ้นมาบินได้ หรือตัวประหลาดหล่นมาจากฟ้า ซึ่งถ้าเพิ่มสิ่งเหล่านี้ขึ้นอีกนิด เรื่องราวก็จะสนุกขึ้นอีกมาก นอกจากนีต้ วั ละครเอกในเรือ่ งออกเดินทางปฏิบตั ภิ ารกิจค้นหาขุมทรัพย์เพือ่ ใคร ? เพือ่ ตัวเอง มันจึงไม่ใช่ภารกิจทีย่ ง่ิ ใหญ่จนน่าสรรเสริญ หากเพิม่ ความสำคัญของภารกิจให้มากขึน้ เช่น ได้ขมุ ทรัพย์ แล้วแบ่งปันให้คนอืน่ หรือสามารถช่วยเหลือคนอืน่ ได้ การเติมเนือ้ หาส่วนนีเ้ ข้าไปก็จะช่วยให้เรือ่ ง มีความลุ่มลึก น่าติดตามมากขึ้น
28
we…animation
ข้อคิดจากคอมเมนเตเตอร์ : - บรรยากาศและจังหวะของเรื่องที่ตื่นเต้น ช่วยดึงดูดความสนใจของผู้ชมได้ง่าย แต่หาก ความตื่นเต้นนั้นมาพร้อมแก่นของเรื่องที่ “ให้” อะไรมากกว่าแค่อารมณ์ฉาบฉวย มันจะ เป็นผลงานที่น่าจดจำมากกว่าเยอะ - การจบแบบหักมุมด้วยมุกนั้น ต้องเป็นมุกที่มีเหตุผลสนับสนุนเรื่อง ไม่ใช่มุกที่ใส่ลงไป เพือ่ เอามันอย่างเดียว เพราะนอกจากอาจทำให้มกุ แป้ก! แล้ว ยังอาจทำลายเรือ่ งราวดี ๆ ที่ ได้ปูทางมาตั้งแต่ต้นก็ได้
Book Eater
โดย สิริกาญจน์ บรรจงทัด, พลั®ฐ์ สิงขกร และ นฤมล สิกขะฤทธิ์ หนังสือน่ะเขามี ไว้อ่าน ไม่ใช่ให้กินนะจ๊ะ! แอนิเมชั่นสานสายใยรักในครอบครัวเรื่องนี้ เปรียบเทียบเด็กน้อยเป็นหนอนกำลังกินหนังสือ (หนอนหนังสือ) แม่เลยต้องคอยสอนว่าหนังสือขึน้ ชื่อว่าเป็นอาหารเหมือนกัน แต่เป็นอาหารสมอง จึงเอาไว้อ่าน ไม่ใช่เอาไว้กิน เป็นผลงาน 2D แอนิเมชัน่ ใส ๆ อบอุน่ แต่กร็ าบเรียบ ไร้ความหวือหวา ไร้ปมปัญหาทีช่ ดั เจน (ทำไมเด็กถึงกินหนังสือ ? แล้วกินหนังสือมันก่อให้เกิดผลอย่างไร ? แล้วทำไมเด็กถึงรูปร่างเป็น หนอน ?) เมื่อดูจบแล้วเลยไม่อาจเข้าใจได้ว่า เรื่องนี้ต้องการสื่อแก่นสารอะไร ?
กระพือปกฝน… ปนหนังแอนิเมชั่น
29
ข้อคิดจากคอมเมนเตอร์ : เทคนิคการสร้างแอนิเมชั่นในเวลาจำกัด (เหมือนเช่น We…Animation ให้เวลาไม่เกิน ๕ นาที) ควรคิดเรือ่ งราวทีห่ วือหวา ตัวละครต้องมีปญ ั หา มีความขัดแย้ง (Conflict) ที่ชัดเจน ต้องทำให้กราฟของเรื่องพุ่งสูงให้ได้ตั้งแต่แรก ความเข้มข้นของปัญหาจะทำให้เรื่องราว สนุก แต่หากสถานการณ์ปัญหายังมี ไม่มากพอ แรงจูงใจย่อมไม่เกิด คนดูย่อมไม่อาจ “อิน” ไปกับเรื่องราวได้
เจ้าชายกบ
โดย พิชญ์สินี ศิริ โชติชำนาญ จากคำกล่าวที่ว่า “หนังสือคือสมบัติอันล้ำค่า” เป็นที่มาของเรื่องราวของเจ้ากบผู้ออก ตามหาสมบัติล้ำค่า และค้นพบว่าสมบัติล้ำค่า ไม่ใช่แก้ว แหวน เงิน ทอง ที่ไหน หากแต่เป็น “หนังสือ” นั่นเอง การหยิบเอานิทานคลาสสิกที่ไม่มีใครไม่รจู้ กั มาเล่าใหม่ กลายเป็นจุดอ่อนของเรือ่ ง เพราะแค่ ได้ ยิ น ชื่ อ เรื่ อ งผู้ ช มก็ ค าดเดาตอนจบได้ แ ล้ ว คอมเมนเตเตอร์ จึ ง แนะว่ า หากรั ก ที่ จ ะเล่ น กั บ เทพนิยายดัง ต้องลองกลับไปดูตัวอย่างยักษ์เขียวกับเจ้าหญิงฟีโอน่าใน Shrek แอนิเมชั่นดังของ สตูดิโอดรีมเวิร์กส์ที่ท้าทายต่อเทพนิยายดัง ด้วยการพลิกโฉมหน้าและบทบาทของเจ้าหญิง และ เจ้าชายในแบบที่เราคุ้นชินกันอยู่ แต่เหนือสิ่งอื่นใดของเจ้าชายที่พบว่าหนังสือเป็นสิ่งล้ำค่านั้น ยังไม่มีน้ำหนักมากพอที่จะทำ ให้คนดู “อิน” จนทำให้รกั การอ่าน หากลองเปลีย่ นตัวละครจากกบมาเป็นควาย อาจทำให้เรือ่ งราว ดูมีสีสันมากขึ้น (และ ดูมีเหตุมีผลเชื่อมโยงได้มากกว่าว่า เมื่อควายอ่านหนังสือ แล้วกลายร่าง เป็นคน เพราะควายเป็นสัญลักษณ์ของความโง่เขลาอยู่แล้ว) และเช่นเดียวกับอีกหลาย ๆ ผลงาน ก่อนหน้านี้ที่ ไ ม่สามารถทำให้กราฟของเรื่องพุ่งสูงได้ มีเพียงอารมณ์เรียบเนือย นั่นเพราะ ขาดอุปสรรคใหญ่หลวงระหว่างเดินทางให้ตัวละครต้องฟันฝ่า ดังนั้นหากเพิ่มปัญหาให้มากขึ้น เรื่องราวก็จะน่าติดตามมากขึ้น และการคลายปมในตอนท้ายก็จะน่าเชื่อถือมากขึ้นด้วย
30
we…animation
ข้อคิดจากคอมเมนเตเตอร์ : ไม่มปี ระโยชน์อะไรหากจะนำเรือ่ งเก่า (ทีค่ นรูจ้ กั ดี) มาเล่าใหม่ในขนบ เดิม ๆ (ที่ไม่ได้แปลก และแตกต่างออกไป)
Enlighten
โดย ธิติวั²น์ ชัยศิริรัตน์ แอนิเมชั่นเซอร์ ๆ อีกเรื่อง ว่าด้วยโลกของชาวหลอดไฟอันมืดมิด ที่จู่ ๆ ก็พลันสว่างขึ้น เมื่อมีคนอ่านหนังสือ เป็นผลงานลายเส้นเรียบง่าย เปรียบเทียบสมองคนที่มีปัญญากับหลอดไฟ ที่สว่างไสวว่า มีสาเหตุมาจากการอ่าน การเปรียบเทียบที่ตรงไปตรงมาสะท้อนสิ่งที่เรารู้กันดีว่า “ความรู้ คือ แสงสว่าง” หรือ “หนังสือ คือ แสงสว่างแห่งปัญญา” ผ่านสัญลักษณ์ “หลอดไฟ” ซึ่ง มีหน้าที่ให้แสงสว่างอยู่แล้ว ทำให้แทบไม่เหลืออะไรให้ผู้ชมต้องคาดเดา จนกลายเป็นอีกเรื่องที่ไม่ สามารถสร้างความประหลาดใจได้ในยามคลายปม ขณะเดียวกันการสร้างคาแรกเตอร์ของตัว ละครก็ยังหาความแตกต่างกันได้ไม่มากนัก ทั้ง ๆ ที่แอนิเมชั่นช่วยเนรมิตตัวละครหลอดไฟ กระพือปกฝน… ปนหนังแอนิเมชั่น
31
(ซึ่งเป็นเรื่องนามธรรม) ได้ดังใจ อย่างน้อยหากใส่จินตนาการลงไปในตัวละครให้มากขึ้น พระเอก เป็นหลอดตะเกียบ ตัวโกงเป็นหลอดกลม หรือเพือ่ นพระเอกเป็นหลอดประหยัดไฟ ความหลากหลาย ในการสร้างคาแรกเตอร์อาจนำมาซึ่งเนื้อเรื่องและบทสนทนาอีกมากมาย และอย่างน้อยหาก คาแรกเตอร์โดดเด่นก็จะช่วยให้เมื่อภาพยนตร์จบลง คนดูก็จะไม่ลืมเลือนตัวละคร (เหมือน โดราเอมอน ปีกาจู หรือสไปเดอร์แมน) แม้ว่าเนื้อเรื่องอาจแย่แค่ไหนก็ตาม ข้อคิดจากคอมเมนเตเตอร์ : จงนึกไว้เสมอว่าเรากำลังสร้างแอนิเมชั่น เพราะฉะนั้นใส่จินตนาการ ลงไปในงานได้แบบไม่ยงั้ โดยเฉพาะการสร้างคาแรกเตอร์ตวั ละคร เพราะแอนิเมชัน่ สุดฮิตทัง้ หลาย ต่างให้ความสำคัญกับการสร้างคาแรกเตอร์ตัวละครที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเป็นอันดับแรกเสมอ
Graveville
โดย กฤษ ชัยยศบูรณะ เป็นผลงานทีแ่ ม้จะได้เสียงชืน่ ชมจากผูช้ มไปพอสมควร แต่คอมเมนเตเตอร์กลับถกเถียงกัน มากที่สุดชิ้นหนึ่ง เมื่อออกแบบตัวละคร ทั้งลายเส้น สีสัน และสไตล์ของเรื่องล้วนถอดแบบออก มาจากพิมพ์เดียวกับทิม เบอร์ตัน (Tim Burton) ผู้กำกับภาพยนตร์โทนนัวร์ (noir) เช่น Edward Scissorhands (1990), Corpse Bride (2005) จากฮอลลีวูด และแม้เจ้าของผลงานจะยอมรับว่า จงใจสร้างคาแรกเตอร์ให้เหมือนทิม เบอร์ตัน เพราะความชื่นชอบส่วนตัว แต่ด้วยความเหมือนกัน อย่างกับแกะนี่เอง ที่ทำให้ผ้ชู มไม่มีสมาธิอยู่กับตัวเรื่อง เพราะคาใจกับการออกแบบคาแรกเตอร์ ที่จงใจให้เหมือนเสียจนเกือบจะกลายเป็นลอกเลียนแบบผู้อื่นจนไร้เอกลักษณ์ หากรักที่จะบูชางาน ของทิม เบอร์ตัน คอมเมนเตเตอร์กลับเห็นว่าควรจะสร้างคาแรกเตอร์ของตัวเองขึ้นมาใหม่ ที่ทำ ให้คนดูสัมผัสถึงกลิ่นไอของความเป็นทิม เบอร์ตันออกมาให้ได้จะสวยงามกว่า
32
we…animation
ข้อคิดจากคอมเมนเตเตอร์ : การนำผลงานของผู้อื่นมาใส่ในผลงานไม่ใช่สิ่งไม่ดี แต่ต้องรู้จักเส้น แบ่งของคำว่า “แรงบันดาลใจ” กับ “การลอกเลียนแบบ” เพราะหากรักจะเติบโตด้วยลำแข้งของ ตัวเอง ก็ต้องหาจุดยืนที่รากของเราหยั่งลึกลงไปในแผ่นดินได้อย่างไม่ไหวเอน
Open Your World โดย ภุชงค์ ขาวอุปถัมภ์
“แค่เพียงเธอนั้น จะกล้าเปิด เปิดตา เปิดหู และเปิดใจ มองโลกด้วยมุมมองด้านใหม่ไม่ว่า จะร้ายหรือดี” แอนิเมชั่นใส ๆ ที่ดูแล้วอมยิ้มได้ตั้งแต่เปิดเรื่อง เพราะเลือกใช้ดนตรีประกอบเพลง “เปิด” ของบอย โกสิยพงษ์ มาช่วยสร้างอารมณ์ ว่าด้วยโลกของเด็กชายคนหนึ่งที่เคยมืดมิด แต่เมือ่ พบหนังสือ โลกของเขาก็พลันสว่างไสวขึน้ ทันตา ยังคงเป็นอีกเรือ่ งทีส่ อื่ ว่า “หนังสือคือปัญญา” และแม้จะใช้ศักยภาพความเป็นแอนิเมชั่นช่วยสร้างโลกที่เด็กชายได้ “เปิด” อย่างน่าสนใจกว่า หลาย ๆ เรื่อง แต่เป็นแอนิเมชั่นที่ไร้บทสนทนา มีเพียงภาพและเพลงคอยสื่อความ ทำให้ Open Your World ดูคล้ายงานโฆษณาหรือมิวสิกวีดิโอมากกว่าจะเป็นหนังสั้น เพราะยังขาดแนวคิด (Big Idea) ที่ชัดเจน
กระพือปกฝน… ปนหนังแอนิเมชั่น
33
ข้อคิดจากคอมเมนเตเตอร์: - ภาพยนตร์ไม่ ใช่โฆษณา เพราะฉะนั้นต้องมีเรื่องราวจับเน้นสร้างปมปัญหา และการ คลี่คลายไปสู่บทสรุปที่แจ่มแจ้ง - การใช้เพลงในภาพยนตร์ควรเป็นไปเพื่อช่วยสร้างอารมณ์ และเสริมแต่งเรื่องราวให้ พอดิ บ พอดี แต่ ห ากหยิ บ มาใช้ ทั้ ง เพลงตลอดทั้ ง เรื่ อ ง ภาพยนตร์ อ าจกลายเป็ น มิวสิกวีดิโอไปแทน
Reading Change The World โดย ธตรฐ ชูรัตน์
มาอีกแล้ว แอนิเมชัน่ แสนเซอร์ ทีท่ ำเอาผูช้ มมีอาการ “เหวอ” ตาค้างหลังดูงานชิน้ นีจ้ บลง เพราะอาจเกิดจาก Storyboard ทีเ่ ขียนลายเส้นแบบง่าย ๆ ไร้การปะติดปะต่อ มีทงั้ ระเบิด เครือ่ งบิน สัญลักษณ์สวัสดิกะ ฮิตเลอร์ ฯลฯ ในขณะที่เรื่องราวพรั่งพรูออกจากปากของธตรฐระหว่าง การนำเสนอนัน้ กลับมากมายมหาศาลล้ำหน้าภาพไปหลายเท่านัก เรียกได้วา่ หากไม่รเู้ รือ่ งมาก่อน ได้ดูแค่ภาพ ไม่มีทางเดาเรื่องถูกแน่นอน ทั้ง ๆ ที่แนวคิดหลักของเรื่องนั้นไม่ได้ซับซ้อนซ่อนเงื่อน อะไร แค่เพียง “อ่านสิ่งไหนได้สิ่งนั้น” ผ่านการนำเสนอแง่มุมด้านร้ายของการอ่านหนังสือ
34
we…animation
นีจ่ งึ เป็นแอนิเมชัน่ สุดเซอร์ทถี่ กู ใจใครต่อใครหลายคน แต่อกี หลายคนก็ออกอาการส่ายหน้า เพราะเรื่องยากเกินเข้าใจได้ ในขณะที่คอมเมนเตเตอร์มองว่าโจทย์คือ “รักการอ่าน” จึงควร นำเสนอในมุมกลับ คือ เรื่องของผู้นำที่ดีเกิดจากการอ่านหนังสือในเชิงสร้างสรรค์มากกว่า
ข้อคิดจากคอมเมนเตเตอร์ : หัวใจสำคัญของแอนิเมชัน่ (และภาพยนตร์) คือ “ภาพ” ภาพต้องเล่าเรือ่ ง แอนิเมชั่นที่ดีควรดูแค่ภาพก็เข้าใจได้ แม้ไม่มีเสียงประกอบเลยก็ตาม
ไข่ลิง จริง æ นะ ตอน รักการอ่าน โดย ดิณห์ ไอราวัณวั²น์
3D Animationโทนสีพาสเทล เรือ่ งราวของเจ้า “ไข่ลงิ ” ลิงแสนซนที่ไม่ชอบอ่านหนังสือ กับพวกพ้อง (ลิงหลากประเภททั้งเด็ก สาว หนุ่ม แก่) เรื่องนี้น่าจะโดนใจเด็กเล็กและสาว ๆ ได้ไม่ยาก เพราะด้วยสีสนั การออกแบบคาแรกเตอร์ที่ใช้เส้นโค้งมนเข้าช่วย ทำให้เปิดเรือ่ งได้อย่าง น่าติดตาม แต่การเล่าเรื่องยังขาดความกระชับ ที่สำคัญคือ เมื่อดูแอนิเมชั่นเรื่องนี้จบกลับพบว่า ไม่จำเป็นต้องอ่านหนังสือก็สามารถคลี่คลายปัญหาได้ แค่เพียงมีมนุษ ยสัมพันธ์หรือเพื่อนฝูง มากมายก็เพียงพอแล้ว นั่นเท่ากับหลุดจากกรอบของโจทย์ “รักการอ่าน” ไปไกลเลยทีเดียว
กระพือปกฝน… ปนหนังแอนิเมชั่น
35
ทำให้โดยภาพรวมแล้ว นี่คือผลงานที่คอมเมนเตเตอร์ยอมรับในความสามารถด้านการออกแบบ และสร้างคาแรกเตอร์ตัวละครได้อย่างมีสีสัน แต่ด้านเนื้อหาคงต้องกลับไปเริ่มต้นทำความเข้าใจ กับโจทย์ให้ถี่ถ้วนอีกครั้ง
ข้อคิดจากคอมเมนเตเตอร์ : อย่าลืมว่าแอนิเมชั่นประกวด ย่อมหนีไม่พ้นเงื่อนไขเรื่อง “โจทย์” ที่ ทุกคนต้องยอมรับในกติการ่วมกัน เพราะในโลกการทำงานจริงของมืออาชีพ ย่อมไม่มีใครออกทุน ให้คุณ ทำแอนิเมชั่นอิสระแบบร้อยเปอร์เซ็นต์แน่ ดังนั้นต่อให้ฝีมือด้านเทคนิคล้ำเลิศแค่ไหน หากตีโจทย์ไม่แตก ก็ต้องกลับไปตั้งต้นนับหนึ่งใหม่อยู่ดี ทุกผลงานทีส่ ง่ เข้าประกวดรอบแรกกับ Story line และ Storyboard ต่างก็โดนวิทยากรรับเชิญ ติติงกันแบบตรงไปตรงมา เพราะถือว่าคำชมนั้นหาง่ายจากพ่อแม่พี่น้องและคนใกล้ชิด แต่คำติ แนะนำ ชีท้ างให้เห็นข้อบกพร่องนีส่ หิ ายากกว่า และเมือ่ คอมเมนเตเตอร์แต่ละคนได้ฟงั แนวคิดของ แต่ละผลงานเสร็จสิ้นลง ต่างก็ให้บทสรุปและข้อคิดที่แตกต่างกันออกไป แต่สิ่งที่ทุกคนเห็นปัญหา ของผลงานในครั้งนี้ตรงกันก็คือ “การเล่าเรื่อง”
บมสรุปจากคอมเมนเตเตอร์ทั้ง ๕ ท่าน จรูญพร ปรปักษ์ประลัย “คนทีม่ าพรีเซนต์วนั นี้ไม่คอ่ ยมีใครทีเ่ ป็นนักอ่านเลย ไม่มผี ลงานไหนทีอ่ อกมาจากใจ” นีค่ อื ประโยคแรกที่ออกจากปากนักเขียน นักวิจารณ์หนุ่ม ที่ไม่ประนีประนอมในการแสดงความรู้สึก
36
we…animation
ผิดหวังทันทีที่การนำเสนอเสร็จสิ้นลง เขามองว่าผลงานที่นำเสนอล้วนแล้วแต่เป็น “สูตรสำเร็จ” งานส่ ว นใหญ่ ต่ า งพู ด ตรงไปตรงมาเหมื อ น ๆ กั น ว่ า “หนั ง สื อ คื อ อาวุ ธ หรื อ หนั ง สื อ คือขุมทรัพย์แห่งปัญญา” ซึ่งคนทั้งโลกรู้ดีอยู่แล้ว แต่การที่จะทำให้ผู้ชมตระหนักในคำกล่าวที่ว่านี้ จริง ๆ ต้องเกิดจากผู้สร้างที่ “อิน” กับความคิดของเรื่องมากกว่านี้ งานโดยภาพรวมจึงยังไม่กระแทก – กระทบใจ ดังนั้นควรคิดงานที่มีความฉีก หรือแปลก ออกไปจากจากแนวความคิดซ้ำซาก เวียนวนเหมือนกับประโยคข้างต้น นอกจากนีย้ งั เสนอแนะด้วย ว่าเวลานำเสนองาน อย่ากลัวว่างานเราจะถูก “เชือด” ต้องมั่นใจในตัวเอง และผลงานเอาไว้ก่อน ดั ง นั้ น จึ งไม่ ค วรออกตั ว ล่ ว งหน้ าไว้ ก่ อ นว่ า “ภาพอาจจะไม่ ค่ อ ยสวยเท่ าไหร่ ” หรื อ “เรื่องยังไม่ค่อยดีนัก” เพราะนั่นเท่ากับเป็นการดูถูกตัวเอง และส่งผลต่อความรู้สึกของผู้ชมให้ คล้อยตาม (จริง ๆภาพอาจยังไม่ได้แย่นัก แต่เมื่อเจ้าตัวบอกว่าภาพไม่สวย คนดูก็เลยพลอยเห็นว่า ไม่สวยตามไปด้วย) ที่สำคัญคือ การนำเสนอผลงานที่ดี จะเป็นตัวช่วยทำให้เรื่องดูน่าสนใจ ขึ้นได้ ณศรัณย์ หวังศรีโรจน์ เช่นเดียวกับวิทยากรรับเชิญหลาย ๆ คนที่อยากเห็นเรื่องราวรักการอ่านในมุมมองใหม่ ๆ บ้าง เขาเชือ่ ว่าจะดึงความสนใจจากผูช้ มได้ ต้องเป็นเรือ่ งที่ไม่มีใครเคยทำมาก่อน หรือถ้าเป็นเรือ่ ง ที่ทำมาจากเทพนิยาย นิทานปรัมปราต่าง ๆ ซึ่งผู้คนคุ้นชินกันดีอยู่แล้ว เช่น เจ้าชายกบ ก็ควร พลิกแพลง เปลี่ยนวิธีคิดใหม่ เพื่อให้เรื่องคาดเดาได้ยากและชวนให้น่าติดตามมากขึ้น แต่ขณะ เดียวกันก็ต้องไม่ลืมที่จะหาเหตุผลมารองรับเรื่องราวที่เล่าด้วย อาจารย์ณศรัณย์ ได้แนะนำเทคนิคในการสร้างสรรค์งานว่า “ต้องคิดให้สุดโต่งเสียก่อน แล้วค่อยเอาสิ่งที่ดูเกิน ๆ ออกไป จนกระทั่งเรื่องสมดุล” และสิ่งสำคัญหลังการทำงานเสร็จแล้ว คือ ถอยออกมาหนึ่งก้าวเพื่อดูงานตัวเองก่อน หากอย่างน้อยเรารู้สึกชื่นชมผลงานของตัวเองด้วย ใจเป็นกลางได้ ก็จะสามารถทำให้คนอื่นชื่นชมผลงานเราได้เช่นกัน
กระพือปกฝน… ปนหนังแอนิเมชั่น
37
อมราพร แผ่นดินทอง นักเขียนบทภาพยนตร์อนั ดับต้น ๆ ของเมืองไทยยอมรับเต็มปากเต็มคำว่า วันนีข้ อ “โหด” สักวัน เพราะวิจารณ์กันแบบมืออาชีพ ไม่เกรงอกเกรงใจแบบวิจารณ์มือสมัครเล่นนั่น เพราะเธอ อยากเห็นผลงานที่ผ่านการคิด เคี่ยวกรำจนเกิดความเข้มข้น จนได้ชิ้นงานที่จริงจังมากขึ้น ซึ่งสิ่งที่เป็นข้อบกพร่องใหญ่ของการนำเสนอรอบแรกนี้ คือ ขาด “ประเด็น” ที่คมคายและ น่าสนใจติดตาม มีแต่เพียงประเด็นซ้ำซากว่า “ความรู้คือขุมทรัพย์” ทั้ง ๆ ที่การคิดตัวประเด็น อันคมคายก่อนอันดับแรก นับเป็น หัวใจสำคัญที่จะนำไปสู่การเลือกสร้างสรรค์ตัวละครและ การดำเนินเรื่อง ดังนั้นเมื่อเรื่องส่วนใหญ่ขาดประเด็น โครงเรื่องจึงไม่ชัดเจน ขาดความขัดแย้ง การคลี่คลาย และมีปัญหาการ “เล่าไม่จบเรื่อง” ดังนั้นสิ่งที่เธอทิ้งท้ายให้บรรดาแอนิเมเตอร์รุ่นเยาว์ที่เข้าร่วมโครงการได้กลับไปฉุกคิดนั้น น่าสนใจอย่างยิง่ ว่า “แอนิเมชัน่ เป็นแค่เครือ่ งมือรับใช้เรือ่ งเท่านัน้ เราจึงต้องให้เวลากับเรือ่ งมากทีส่ ดุ ” ปรีดา อัครจันทโชติ สิง่ ทีน่ กั เขียนวรรณกรรมเยาวชนคนนีต้ อ้ งการเห็นจากเวที We…Animation คือ “ความมุง่ มัน่ ” นีค่ อื สิง่ ทีเ่ ขาเห็นว่ายังหล่นหายจากผูท้ เี่ ข้าร่วมโครงการครัง้ นี้ เขาจึงลองเสนอแนะให้ทกุ คนลองคิด มากขึน้ โดยเริม่ จากการตีโจทย์เสียก่อน “ดังนัน้ จึงต้องคิดจากตัวเรา (Inside Out ไม่ใช่ Outside In) ไม่ใช่ “กลอน” พาไป เช่น คิดจากประโยคที่ได้ยินติดหูว่า “หนังสือคืออาวุธ” ดังนั้นจากเวทีนี้จะเห็นว่าแนวความคิดซ้ำไปซ้ำมา ซึ่งเป็นปัญหาการจัดประกวดงานศิลปะ หลาย ๆ แห่ง รวมทั้งในแวดวงวรรณกรรมที่เขาพบว่ากว่า ๘๐ เปอร์เซ็นต์ ประเด็นของผู้ส่งผลงาน
38
we…animation
มักเป็นเรื่องความฝันและจินตนาการ แต่ขณะเดียวกันเขาก็ให้มุมมองที่ต่างออกไปในการมอง ประโยคยอดฮิตที่ ให้นิยามแก่หนังสือ “ความรู้คือขุมทรัพย์” ว่าการนำแนวคิดนี้ ใส่ลงไปในเรื่อง อาจไม่ใช่เป็นเรื่อง “เชย” เสมอไป เราสามารถนำเสนอประเด็นนี้ได้ แต่ต้องคิดให้ “คม” ตัวงาน จึงจะดึงดูดความน่าสนใจได้ “การเล่นท่าง่ายไม่ได้แปลว่างานธรรมดาเสมอไป หากนำเสนอได้คมชัด และชัดเจน ก็ไม่แพ้งานที่เล่นท่ายากได้เหมือนกัน” อาจารย์ปรีดาทิ้งท้ายไว้อย่างคมคาย สุทธิชาติ ศราภัยวานิช “ทีเด็ด” คือ สิ่งที่เจ้าของผลงานการ์ตูนคาแรกเตอร์หลุดโลกผู้นี้อยากจะเห็นจากงานของ ผู้เข้าร่วมโครงการ เขามองว่า สาเหตุที่งานโดยรวมยังไม่มีชิ้นไหนโดนใจ เพราะขาดวิธีคิดที่เป็น “ทีเด็ด” เขาจึงแนะว่า ก่อนสร้างงาน ต้องคิดก้อนที่เป็น “ทีเด็ด” ที่ตัวเราเองชอบและถูกใจ เสียก่อน “ถ้าเรื่องที่เราคิดทำให้ใจเต้นทุกครั้งที่นึกถึง หรือเรื่องที่ทิ้งไว้ ๑ อาทิตย์ แล้วกลับมาย้อน ดูแล้วยังรู้สึกเจงอยู่ ก็เรื่องนั้นแหละเรียกว่าทีเด็ด” นักเขียนการ์ตูนหนุ่มให้ความหมายของกลวิธี สร้างเรื่องให้น่าสนใจ ซึ่งเขาขยายความต่อว่า ทีเด็ดก็คือการคิดเรื่องให้คนดูเดาเรื่องไม่ถูกได้ ดังนั้นเขาจึงเน้นที่กระบวนการคิดเรื่องให้ตกเสียก่อน แล้วค่อยลงมือทำเทคนิคทีหลัง “ถ้ามีเวลาสร้างงาน ๑๐ วัน ให้สร้างเรื่องซะ ๙ วัน แล้วค่อยลงมือทำ ๑ วันที่เหลือ” สุทธิชาติ ให้ทริกในการทำงานส่งท้าย หลังจากเต็มอิม่ กับการแลกปลีย่ นเรียนรูค้ วามคิดเห็นจากผูเ้ ข้าประกวดและวิทยากรรับเชิญ จนหลายคนได้ก้อนความคิดตกผลึกในหัว เตรียมตัวกลับไปแก้เรื่องราวกันบ้างแล้ว ก็เข้าสู่ช่วง ปิดท้ายกับแอนิเมเตอร์คนเก่งอย่าง คมภิญญ์ เข็มกำเนิด ทีจ่ ะมาช่วยปูบทเรียนพืน้ ฐานสำหรับการ ส่งงานในครั้งต่อไปกับรอบประกวดแอนิเมติก (Animatic)
กระพือปกฝน… ปนหนังแอนิเมชั่น
39
มีมือถือเครื่องเดียวทำแอนิเมติกได้แล้วหรือ ? ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจกันสักนิดว่าแอนิเมติก (Animatic) คืออะไร ? แอนิเมติกก็คือ สตอรี่บอร์ดแบบเคลื่อนไหว มีทั้งแบบที่เขียนด้วยภาพ ๒ มิติ ซึ่งนิยมใช้ในยุคแรก ๆ และแบบ ๓ มิติ ซึ่งใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ประโยชน์ของแอนิเมติกก็เพือ่ วางแผนการถ่ายทำภาพยนตร์และโฆษณา เพือ่ ให้ทมี งานและ นายทุนเห็นภาพรวมของผลงานในทิศทางเดียวกันก่อนถ่ายทำจริง คมภิญญ์จึงยืนยันว่าการทำ แอนิเมติกเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการสร้างแอนิเมชั่นยุคนี้ เพราะการทำภาพเคลื่อนไหวมีราคาแพง การทำแอนิเมติกจึงจำเป็นต้องมีบทบาทเพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายและความผิดพลาดในการทำความ เคลือ่ นไหว แต่กอ่ นจะลงมือทำแอนิเมติกนัน้ ต้อง “ใจเย็น ๆ “ ควรหาคนที่ไว้ใจได้ (เพือ่ นทีเ่ ก่งกว่า) ช่วยดูเรื่องให้นิ่งเสียก่อน ค่อยเข้าสู่กระบวนการถ่ายทำ การถ่ายทำแอนิเมติกสมัยนีแ้ อนิเมเตอร์มอื ใหม่กส็ ามารถหัดทำได้งา่ ย ๆ จากอุปกรณ์ท่ีใคร ๆ ก็มี ไว้ครอบครองนั่นเอง “โทรศัพท์มือถือ” (คมภิญญ์ยืนยันว่ากันตนาแอนิเมชั่นเองบางครั้งยัง เลือกใช้วิธีนี้) เริ่มจากใช้กล้องจากมือถือใกล้ ๆ ตัวถ่ายภาพจากกระดาษ มีการซูมเข้าออกบ้าง พอประมาณ (ไม่ตอ้ งละเอียดเหมือนจริง) แล้วโยนไฟล์เข้าคอมพิวเตอร์ ใช้โปรแกรมในการตัดต่อ ทั่ว ๆ ไป เช่น Premiere หรือ Final Cut Pro (เทคนิคตัดต่อก็ไม่ต้องมากมายแค่ Cut ชนก็พอ) จากนั้นก็ใช้ไมรโครโฟนอัดเสียงบทสนทนา Sound Effect ต่าง ๆ แล้วนำเพลงจาก CD มาโยนใส่ เพื่อให้แอนิเมติกมีจังหวะและมีอารมณ์มากพอให้ทีมงานจินตนาการเรื่องและภาพออกก็เป็นอัน เสร็จสมบูรณ์สำหรับขั้นตอนแอนิเมติก สุ ด ยอดแอนิ เ มติ ก ผู้ นี้ ยั ง ให้ บ ทส่ ง ท้ า ยสำหรั บ การทำแอนิ เ มติ กไว้ อ ย่ า งน่ า คิ ด ด้ ว ยว่ า “การออกแบบลายเส้น ไม่จำเป็นต้องสวยเนีย้ บ แต่ตอ้ งเป็นลายเส้นที่ “เคลียร์” ดูแล้วชัดเจนเข้าใจ ง่ายก็พอแล้ว และอย่าลืม “จังหวะ” เพราะเป็นเป้าหมายสำคัญในการทำแอนิเมติกซึ่งต้องเน้น ความเคลื่อนไหว (Movement) ของตัวละครให้ชัดเจนได้ด้วยเช่นกัน”
40
we…animation
แอนิเมชั่น เด่นโดนใจแอนิเมเตอร์
๓
รอบที่
เมื่อเส้นเรื่องของผู้เข้าร่วมโครงการเริ่ม “นิ่ง” เข้าที่เข้าทางหลังจากได้รับแรงบันดาลใจ พร้อม ๆ กับได้ลับมีด (ที่ไม่ได้เอาไว้ทิ่มแทง เอาไว้ตกแต่งขัดเกลา) จากวิทยากรรับเชิญในรอบ Storyboard และ Story line ในรอบที่ ๓ Animatic ชาว We…Animation ก็ได้รับแรงกระตุ้นจากเกจิด้านแอนิเมชั่นอีก เช่นกัน จากการเสวนาก่อนนำเสนอผลงาน “แอนิเมชั่นเด่นโดนใจแอนิเมเตอร์” ซึ่งครั้งนี้ก็ได้ ๔ แอนิเมเตอร์และนักออกแบบคาแรกเตอร์ชื่อดังอย่าง คมภิญญ์ เข็มกำเนิด ผู้กำกับ “ก้านกล้วย” ชัยพร พานิชรุทติวงศ์ มือ ๑ ด้านการทำซีจขี องเมืองไทย สละ นาคบำรุง ทีมสร้างสรรค์การ์ตนู ทองแดง และแอนิเมชั่นในเครือเวิร์คพอยท์ และ สุทธิชาติ ศราภัยวานิช นักออกแบบคาแรกเตอร์และ เจ้าของผลงานการ์ตูน Joe The Sea – Cret Agent มาร่วมเสวนา และบัดนี้ก็ถึงเวลาของเรื่องราวในโลกแอนิเมชั่นที่โดดเด่นโดนใจแอนิเมเตอร์ทั้ง ๔ ท่าน กันแล้ว สุทธิชาติ ศราภัยวานิช : อานิเมะ (Anime) โดนใจ แอนิเมชัน่ เด่นโดนใจเจ้าของการ์ตนู ฮีโร่หวั ปลาหมึกท่านนีม้ ถี งึ ๓ เรือ่ ง และทัง้ ๓ เรือ่ งก็เป็น ผลงานแอนิเมเตอร์จากแดนปลาดิบทัง้ หมด เริม่ จาก MT. Head (2006) ของ Koji Yamamura
42
we…animation
MT.Head แอนิเมชั่นสุดเซอร์เรื่องนี้ลายเส้นสะดุดตาตั้งแต่แรกเห็น นอกจากความแปลกตาในเรื่อง Character Design (ตัวละครไม่ได้ดูตาโตเป็นประกายน่ารัก รูปร่างไม่ได้ดูสวยงาม ออกจะดู น่าเกลียดน่าชังด้วยซ้ำ) โทนสีของเรือ่ งก็ไม่มีใครเหมือนอีกเช่นกัน เพราะในขณะทีแ่ อนิเมชัน่ ส่วนใหญ่ เลือกใช้สีสันสวยงาม ฉูดฉาด แต่ MT.Head กลับเลือกใช้โทนขาว – ดำ นี่จึงเป็นอานิเมะที่ไม่อาจ เห็นได้ทั่วไปในอุตสาหกรรมอานิเมะด้วยกัน เช่นเดียวกับการใช้มุมภาพก็ให้อารมณ์คล้ายคลึงกับ ภาพยนตร์ที่ใช้คนแสดงผ่านกล้องแทนสายตาของตัวละครและการเจาะภาพแคบ ๆ แต่เหนือสิ่งอื่นใด ลายเส้นแปลกตา สีสันนัวร์ ๆ และมุมภาพที่พิถีพิถันถูกนำมาใช้อย่าง สมเหตุสมผลเพือ่ รับใช้ “เรือ่ งราว” เซอร์แตกทีแ่ สนพิสดารหลุดโลก “ชายคนหนึง่ มีตน้ ไม้งอกบนหัว” นีค่ อื จุดเริม่ ต้นของอานิเมะเรือ่ งนี ้ และเมือ่ ต้นไม้บนหัวค่อย ๆ โตขึน้ เขาก็ตอ้ งเผชิญกับการกระทำ ของผู้อื่นที่ทำร้ายธรรมชาติโดยไม่ตั้งใจ (ฉากที่คนมาเฉลิมฉลองรื่นเริงกับต้นซากุระบนหัวเขา ดูแล้วขำไม่ออกจริง ๆ มันให้อารมณ์คล้ายกับงานนิทานภาพชายมีปกี งอกออกมาอย่าง “เรือ่ งเล่าของ ชายผู้โชคดี” (The Wings ของจิมมี่ เลี่ยว (Jimmy Liao) เหลือเกิน) สิ่งที่สุทธิชาติประทับใจคืองานลายเส้นอันดิบ – เซอร์นั้น ถูกนำมาใช้เรื่องราวจิกกัด พฤติกรรมของผู้คนอันชวนให้ขบคิดอย่างน่าทึ่ง “เราจะหางานที่ทั้งตลกและมีอะไรลึก ๆ ให้ต้อง ตีความไม่ง่ายนักหรอก เขากำลังบอกกับเราในเรื่องที่ใคร ๆ ก็รู้กันอยู่ว่าธรรมชาติเป็นส่วนหนึ่ง ของชีวิตเรา ถ้าเราทำลายธรรมชาติ ก็เหมือนทำลายตัวเอง... โดยสะท้อนผ่านตัวละครที่ได้เป็น ธรรมชาติซะเอง (มีต้นไม้งอกบนหัว) เรื่องแบบนี้ไม่เจอกับตัวเอง ไม่มีทางคิดได้หรอก” Mountain Head พิสจู น์ให้เห็นว่าแก่นของเรือ่ งไม่จำเป็นต้องไป “เล่นท่ายาก” (แนวคิดใหม่ ๆ พิสดาร) เสมอไป เพราะการที่ “เล่นท่าง่าย” (เรื่องที่คนรู้ดีอยู่แล้ว เช่น เราควรอนุรักษ์ธรรมชาติ) ก็สามารถทำออกมาได้โดนใจเหมือนกันหากมีความคิดสร้างสรรค์ในการนำเสนอ
กระพือปกฝน… ปนหนังแอนิเมชั่น
43
Porco Rosso 2D แอนิเมชั่นผลงานของฮายาโอะ มิยาซากิ (Hayao Miyazaki) ปรมาจารย์อานิเมะ แห่งสตูดิโอจิบลิ (Ghibli) เรื่องนี้ เปรียบเหมือนหนังส่วนตัวของผู้กำกับ ผ่านตัวละครหมู (หน้าเป็น หมูตัวเป็นคน) “Porco” อดีตนักบินรบในสมัยสงครามอิตาลีท่ีเบื่อหน่ายชีวิตความเป็นมนุษ ย์ท่ี สร้างสงครามไม่เว้นแต่ละวัน ทำให้ Porco เลือกจะใช้ชีวิตที่เหลือกว่าครึ่งชีวิตด้วยการเป็น หมูมากกว่าเป็นมนุษย์ “งาน 2D มันดูคลาสสิกสำหรับผม ถึงตอนนีม้ นั ก็ไม่ได้เชยเลย มันกลับมีชวี ติ ชีวาอย่างมาก” สุ ท ธิ ช าติ ใ ห้ ค วามเห็ น พร้ อ มเล่ า ถึ ง สาเหตุ ที่ ท ำให้ ง านชิ้ น นี้ มี ชีวิตชีวาไม่ ใช่เกิดจากความเคลื่อนไหว (เหมือนที่ตำราด้าน แอนิเมชั่นว่าไว้) แต่นั่นเพราะ Porco Rosso โดดเด่นที่ “การสร้างคาแรกเตอร์” ทำให้ตวั ละครมีพน้ื เพลึกซึง้ สร้าง ความสงสัยให้ผชู้ มตัง้ แต่เปิดเรือ่ งว่าทำไมพระเอกเป็น หมู แล้วค่อย ๆ คลายปมของตัวละครทีละน้อย เช่น คำพูดของ Porco ในเรื่องที่กล่าวว่า “หมูที่ ไ ม่บิน ก็คอื หมูธรรมดา” เพียงแค่นก้ี ต็ อบโจทย์เรือ่ งราวทัง้ หมด ไม่ต้องค้น หาคำตอบว่าทำไมตัวเอกของเรื่องเป็น “หมู” อีกต่อไป
Neon Genesis Evangelion ไม่ ต้ อ งสาธยายอะไรให้ ม ากความสำหรั บ อานิ เ มะเรื่ อ งนี้ เพราคออานิ เ มะส่ ว นใหญ่ (โดยเฉพาะส่วนใหญ่) ต้องเคยผ่านตาหรืออาจรูจ้ กั กันดีอยูแ่ ล้ว นีค่ อื งานอานิเมะชิน้ ทีส่ าวกอานิเมะ ทั่วโลกยอมรับว่า “ไม่มีทางดูครั้งเดียวรู้เรื่อง” หรือแม้แต่จะดูซ้ำอีกหลายครั้งก็อาจตีความได้ ไม่หมดเช่นกัน
44
we…animation
นีค่ อื ผลงานชือ่ ดังของ Hideaki Anno เรือ่ งราวในโลกอนาคตทีอ่ งค์กรแห่งหนึง่ ต้องปกป้อง ตัวเองให้พ้นจากสิ่งมีชีวิตลึกลับที่เรียกกันว่าเทวทูต (Angels) ที่อาจมีให้เห็นมากมายในแอนิเมชั่น ญี่ปุ่น แต่ Evangelion (1995) ใช้ขนบดั้งเดิมของหนังหุ่นยนต์แทบทุกอย่าง เพียงแต่นำมาเล่าใหม่ ให้ดสู มจริงมากขึน้ ผ่านการออกแบบคาแรกเตอร์สตั ว์ประหลาด ที่คาดเดาไม่ได้เลยว่าตัวละครไหนดี – เลว และที่เหนือชั้นไป จากอานิเมะอื่น ๆ อีกประการก็คือ Evangelion ถูกสร้างเป็น แอนิเมชั่นก่อนหนังสือการ์ตูน (Manga) จึงส่งผลให้เรื่องราว ยิ่งดูลึกลับซับซ้อน ยากจะคาดเดาหนักขึ้นไปอีก และก็ส่งผลให้ Evangelion กลายเป็นอานิเมะทีแ่ ฟน ๆ โดยเฉพาะคอหนังแอนิเมชัน่ จากโลกตะวันตกยกขึ้นหิ้งให้เป็นแอนิเมชั่นในดวงใจไปแล้ว
ชัยพร พานิชรุทติวงศ์ “เรายังพยายามน้อยไป” แอนิเมเตอร์ผู้สร้างคาแรกเตอร์ “ปังปอนด์” เลือกเอางานแอนิเมชั่นที่หาดูไม่ง่ายนัก มาแบ่งปันความรู้สึกโดนใจ โดยชิ้นแรกเป็นผลงานแอนิเมชั่นญี่ปุ่น ซึ่งชัยพรบินไปซื้อถึงพิพิธภัณฑ์ จิบลิ (Ghibli) สถานที่ที่คอแอนิเมชั่นใฝ่ฝัน เรื่อง Tekkon Kinkret ของสตูดิโอ 4 > C ที ม ผู้ ส ร้ า งแอนิ เ มชั่ น Animatrix อั น โด่ ง ดั ง ความฮื อ ฮาของสตู ดิ โ อนี้ อ ยู่ ที่ “ความกล้ า ” ที่จะนำเสนอเรื่องราวโหด ๆ แต่ขณะเดียวกันก็ใส่มุขตลกเข้าไปอย่างถูกที่ถูกเวลาผ่านฉากหลัง (Background) ที่เน้นความละเอียดไม่แพ้งานของฮายาโอะ มิยาซากิเลยทีเดียว ขณะเดียวกัน การเลือกใช้มมุ กล้องทีม่ ลี กู เล่นยิง่ กว่าภาพยนตร์แอ็กชัน่ ที่ใช้คนแสดง เช่น การวาดภาพให้ความรูส้ กึ เหมือนการถ่ายทำภาพยนตร์คนแสดงในลักษณะกระชากซูม (Zoom) ที่ต้องปรับเลนส์กล้อง อย่างรวดเร็วจากฉากหลังมายังตัวละคร ซึ่งแสดงถึงความสามารถของแอนิเมเตอร์ที่ต้องรู้เลนส์ และการใช้กล้องเป็นอย่างดี ทำให้แอนิเมชั่นเรื่องนี้มีมุมภาพแปลกตา (มุมภาพกลับหัว) และ การเคลื่อนกล้องที่ดูดิบ ๆ โดนใจคออานิเมะรุ่นใหม่อย่างมาก และอีกหนึ่งผลงานที่ชัยพรหอบหิ้ว
กระพือปกฝน… ปนหนังแอนิเมชั่น
45
มาจากพิพธิ ภัณฑ์จบิ ลิ ก็คอื เบือ้ งหลังการทำแอนิเมชัน่ ของรัสเซีย ซึง่ เป็นตัวแทนของแอนิเมชัน่ จาก ฝัง่ ยุโรปทีม่ คี วามหลากหลายและไม่เดินตามกระแส 3D แอนิเมชัน่ โดยเป็นผลงานแอนิเมชัน่ สีนำ้ เงิน ซึ่งหาได้ยากมากในบ้านเรา เพราะมีกลุ่มผู้สร้างสรรค์งานในวงแคบ ๆ เนื่องจากต้องอาศัยความ อุตสาหะในการทำงานอย่างมาก สังเกตได้จากวิธีสร้างภาพแต่ละภาพจะต้องร่างด้วยดินสอ แล้ว ใส่ไว้ใต้กระจกเพือ่ เขียนภาพตามร่างโดยทุกเฟรมแยกเป็น Layer บนกระจก และแต่ละเฟรมทีเ่ ขียน เสร็จก็จะใช้นิ้วลบ แล้วค่อย ๆ บรรจงเขียนทีละเฟรมขึ้นมาใหม่เพื่อบันทึกภาพ
ผลงานส่วนใหญ่ใช้ทีมงานไม่เกิน ๕ คน ความยาวเพียงประมาณ ๑๐ นาที แต่ใช้เวลา ในการสร้างนานถึง ๖ ปี โดยแอนิเมชั่นทราย (Sand Animation) ที่นิยมสร้างกันในสหรัฐอเมริกา ซึ่ ง แอนิ เ มชั่ น ในรู ป แบบนี้ คื อ บทพิ สู จ น์ ค วามอดทนและไม่ ย่ อ ท้ อ ของแอนิ เ มเตอร์ ที่ โ ดนใจ ชัยพร พานิชรุทติวงศ์ จนต้องหยิบมาดูทุกครั้งเพื่อบอกกับตัวเองว่า “เรายังพยายามน้อยไป”
สละ นาคบำรุง : ไม่มีเส้นแบ่งระหว่าง 2D & 3D Animation สละ นาคบำรุง แอนิเมเตอร์รุ่นใหญ่ก็เป็นอีกคนที่โดนใจกับผลงานอานิเมะหลาย ๆ เรื่อง และที่เขาเลือกมาให้ชมกันคือ Beyond ผลงานของ โคจิโมริโมโต้ (Koji Morimoto) ๑ ใน ๙ งานแอนิเมชั่นขนาดสั้นสุดในชุด Animatrix งานชิ้นนี้แสดงให้เห็นว่าเทคนิคการทำแอนิเมชั่นเป็น เพียงองค์ประกอบหนึง่ ทีผ่ สู้ ร้างไม่จำเป็นต้องยึดมัน่ ถือมัน่ เสมอไป เพราะ Beyond ใช้การผสมผสาน
46
we…animation
เทคนิค 2D และ 3D ได้อย่างลงตัว เพราะหากเป็นงาน 3D เพียงอย่างเดียวจะทำให้งานดูไร้เสน่หใ์ น สายตาของแอนิเมเตอร์รุ่นเก๋าผู้นี้ แต่หากมีการวาดด้วยมือเป็น 2D เข้าไปก็จะทำให้ผลงานดูเป็น งานเขียนมากขึ้น นอกจากนี้แอนิเมชั่นเรื่องนี้ยังโดดเด่นในการเคลื่อนกล้อง ความสมจริงของ ตัวละคร และการเคลื่อนไหวที่นุ่มนวลอีกด้วย คมภิญญ์ เข็มกำเนิด : ง่าย ๆ แต่ได้ใจ
For the Birds แอนิเมชั่นขนาดสั้นชิ้นนี้คงผ่านตาบรรดาสาวกแอนิเมชั่นไปไม่น้อย เพราะเป็นแอนิเมชั่นที่ ฉายเรียกน้ำย่อยก่อนฉายแอนิเมชัน่ เรือ่ งยาวของสตูดโิ อ Pixar เจ้าพ่อแอนิเมชัน่ แห่งฮอลลีวดู นัน่ เอง แม้จะเป็นเพียงผลงานของนักเรียน แต่กลวิธีเล่าเรื่องกลับเฉียบขาดในแบบที่ผู้กำกับ “ก้านกล้วย” ยกย่องว่า “ ฉายเมื่อไหร่ Success เมื่อนั้น” นกที่เกาะสายไฟ ๒ กลุ่ม กลุ่มขี้โมโหกับกลุ่มตัวใหญ่ มาปะทะกัน เรื่องขำ ๆ จึงเกิดขึ้น ความ “เจง” ของเรื่องนี้อยู่ที่กลวิธีการเล่าเรื่องแบบง่าย ๆ ใช้คาแรกเตอร์ ๒ ตัวละครที่ขัดแย้งกัน ผ่านวิธีนำเสนอที่ ไม่มีบทสนทนา แต่ด้วยท่าทางและ การเคลือ่ นไหวของตัวละคร ทำให้ตงั้ แต่ภาพแรกจนถึงภาพสุดท้าย “ไม่มฟี มุ่ เฟอย” แม้แต่ภาพเดียว และอารมณ์ของเรื่องก็ค่อย ๆ ก้าวหน้าเป็นกราฟที่พุ่งขึ้นเรื่อย ๆ และนี่คือผลงานที่คมภิญญ์
กระพือปกฝน… ปนหนังแอนิเมชั่น
47
ยกนิ้วให้เนื่องจาก “เป็นตัวอย่างของแอนิเมชั่นที่ ใช้ภาษา สากล เพราะสามารถเล่าให้ทุกคนทุกชาติทุกภาษาเข้าใจ ตรงกัน” For The Birds ประสบความสำเร็จทุกครัง้ ที่โชว์ตวั
แอนิเมติกทั้ง ๑๑ ผลงาน ไม่ ว่ า จะเป็ น อานิ เ มะสุ ด เซอร์ แอนิ เ มชั่ น สี น้ ำ มั น แสนประณี ต หรื อ แอนิ เ มชั่ น สั้ น ๆ แต่ เ ปี่ ย มพลั ง ในการเล่ า เรื่ อ ง ผลงานทั้ ง หมดคื อ ความพยายามในการสร้ า งประจุ ค วามคิ ด สะกิดไฟในการสร้างงานดี ๆ ให้กบั ชาว We…Animation ซึง่ เดินทางมาถึงรอบ ๓ Animation และ หากย้อนไปดูตงั้ แต่แรกเริม่ โครงการ เราเปิดเวทีอสิ ระให้ “ปล่อยของ” ดีทมี่ ีในมือ (แม้ไม่เกีย่ วข้อง กับหัวข้อการประกวด “รักการอ่าน”) มีผู้สนใจปล่อยของถึง ๒๗ ผลงาน จนมาถึงรอบ ๒ Storyboard และ Story line มีผู้ร่วมขยับปีกกระพือต่ออีก ๑๖ ผลงาน และครั้งนี้รอบ ๓ Animatic เราก็ได้ผู้ที่ปีกกล้า พร้อมกระพือออกท้าสายลมกัน ๑๕ ผลงาน ซึ่งก็มีทั้งผลงานของผู้ที่ยึดมั่นใน อุดมการณ์ (ของเก่า – เล่าซ้ำอีกครั้ง) ผู้ที่ยอมเปิดใจกลับไปแก้ตามคำคอมเมนเตเตอร์ (ของเก่า – ปรับปรุงใหม่) และมือใหม่ที่เพิ่งส่งเข้าประกวดในรอบนี้ (ของใหม่ – แกะกล่อง) คละเคล้า หลากหลายรสชาติ และนี่ คื อ ข้ อ คิ ด เห็ น โดยรวมจากคอมเมนเตเตอร์ (ซึ่ ง เป็ น วิ ท ยากร) ประจำสัปดาห์นี้ ที่ยังคงชี้แนะ “บท” ให้กับหลาย ๆ ทีม เนื่องจากผลงานส่วนใหญ่ยังไม่ค่อย ตอบโจทย์แอนิเมติกซึ่งต้องการเห็นความเคลื่อนไหวแอ็กชั่นและอารมณ์ของตัวละครมากนัก
48
we…animation
Sword จากรอบที่แล้ว Sword ยังคงสะท้อนแนวคิดเดิม “ปัญญาคืออาวุธ” แต่วิธีเอาชนะคะคาน ในส่วนการคลี่คลายเรื่องกลับเหมือนการ “ฆ่าตัวตาย” เพราะตัวละครกลับเลือกจะตัดสินปัญหา ด้วยการใช้ “อาวุธ” คือการเอาดาบไปฆ่าแม่มด ไม่ได้ใช้ “ปัญญา” ในการแก้ไขปัญหา ดังนั้นหากหาทางคลี่คลายใหม่ จบแบบมีความสุข เช่น แม่มดสามารถเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี ได้ด้วยหนังสือ จะทำให้ตรงกับแนวคิดของเรื่องมากขึ้น
นอกจากนีก้ ารออกแบบตัวละครยังไม่สามารถสร้างความแตกต่างกันได้มากนัก โดยเฉพาะ เด็กกับแม่มด ซึ่งลายเส้นใกล้เคียงกันมาก (เด็กหน้าตาน่ากลัวเหมือนแม่มดทำให้ความน่ากลัว น้อยลง ขณะเดียวกันความน่าเอ็นดูของเด็กก็น้อยลงตามไปด้วย และก็ส่งผลให้คนไม่ลุ้น – เอาใจ ช่วยเด็กมากนัก) ข้อคิดจากคอมเมนเตเตอร์ : - อ่านเรื่องราวของตัวเองให้ถ่องแท้แล้วย้อนไปตอบคำถามถึงสิ่งที่ต้องการจะบอกคนดูอยู่ เสมอว่าเรื่องของเรา “ตอบโจทย์” หรือเปล่า - ตัวละครที่ดี (ในเรื่องเดียวกัน) ต้องมีคาแรกเตอร์แตกต่างกันชัดเจน
กระพือปกฝน… ปนหนังแอนิเมชั่น
49
ต้นไม้แห่งจินตนาการ นีค่ อื เรือ่ งใหม่ – แกะกล่องทีท่ ำให้ผเู้ ข้าร่วมโครงการคนอืน่ ๆ ต้องหนาว ๆ ร้อน ๆ ไปตาม ๆ กัน เพราะแค่เห็นลายเส้นเป็นเอกลักษณ์ที่ดู “จริงใจ” ตั้งแต่เปิดเรื่อง ก็ชวนให้ผู้ชมติดตามด้วย ความรู้สึก “สบายใจ” ไปจนจบได้อย่างง่ายดาย แต่ปัญหาของเรื่องราวที่ว่าด้วย “นิทานซ้อนนิทาน” ที่เปิดด้วยเด็กเล่าเรื่องไปถึงเมืองที่ พระราชาไม่ชอบหนังสือ แต่จู่ ๆ พระราชาก็ค้นพบหนังสือที่ทำให้เกิดจินตนาการ การเล่าเรื่องซึ่ง น่าจะมีเนื้อหา “ยาว” ได้ถึงครึ่งชั่วโมง จึงทำให้ไม่มีเวลาใส่รายละเอียดและความสมเหตุสมผล ลงไปในเรือ่ งทีจ่ ำกัดเวลาเพียง ๕ นาที ทางออกคือ หากยังยืนยันจะทำเรือ่ งนีต้ อ่ ต้องหาเหตุ – ผล มารองรับแรงจูงใจในการหันเข้าหาหนังสือของเจ้าเมืองให้คมคายกว่านี้
ข้อคิดจากคอมเมนเตเตอร์ : ลายเส้นดีมีชัยไปกว่าครึ่ง แต่ถ้าจะให้ถึงใจกรรมการต้องอย่าลืม เหตุและผลเพื่อความหนักแน่นของเรื่องราว
50
we…animation
Open Your World นี่เป็นผลงานเก่า – ปรับปรุงใหม่ ที่อาจไม่ได้แก้ไขตรงจุดตามคำแนะนำของกรรมการ เมื่อเพิ่มตัวละครเด็กผู้หญิงที่เป็น “ผู้ช่วย” ในการเปิดโลกแห่งหนังสือของเด็กชาย แต่กลับทำให้ เรือ่ งดูแข็งมากกว่าเก่า และขาดแรงจูงใจทีจ่ ะทำให้คนดู “เชือ่ ” ว่าหนังสือช่วยเปิดโลกแห่งจินตนาการ ได้ ขณะที่สัญลักษณ์สื่อจินตนาการของเด็กชาย ก็ยังไม่สามารถวาดออกมาเป็นภาพได้ชัดเจน ส่งผลให้คราวนีเ้ พลงเพราะ ๆ ประกอบเรือ่ งราวทีเ่ คยดึงดูดความสนใจจากกรรมการได้เมือ่ ครัง้ ก่อน ก็ไม่อาจกลบเกลื่อนความด้อยของเรื่องราวได้อีกต่อไป
ข้อคิดจากคอมเมนเตเตอร์ : ต้องท่องไว้เสมอว่าเรื่องที่ดีคือหัวใจของภาพยนตร์ (แอนิเมชั่นแบบ เล่าเรื่อง)
หนังสือเก่า (Old Books) นี่คือผลงานที่ไม่ได้ส่งผลเข้าประกวดในรอบ Storyboard Story line มาก่อน แต่แม้จะเพิ่ง ส่งเข้าประกวดครัง้ แรกในรอบ Animatic กลับสร้างเสียงฮือฮาไม่นอ้ ย เพราะเปีย่ มด้วยอารมณ์ขนั อันเหลือร้าย แถมแฝงประเด็นเสียดสีพฤติกรรมการเล่นเกมของเด็กยุคใหม่พอหอมปากหอมคอ เรื่องราวของ ๒ เพื่อนซี้ที่อยากได้เงินไปเล่นเกม ทำให้ตัดสินใจขายหนังสือเก่ากองโตข้างทาง
กระพือปกฝน… ปนหนังแอนิเมชั่น
51
(ถูกคนทิ้งไว้) ที่พวกเขาไม่อาจรู้ได้เลยว่า เนื้อหาในหนังสือเก่าที่เขาได้ยืนอ่านเพียงชั่วครู่เหล่านั้น กลับช่วยชีวิตของพวกเขาเอาไว้ได้ (เนื้อหาในหนังสือเรื่องการปฐมพยาบาลให้เด็กชายรอดชีวิต จากการถูกงูกัดระหว่างเดินทางไปเล่นเกม) แม้การออกแบบลายเส้นตัวละครจะไม่สวยงามหรือดูน่ารักทัดเทียมผู้เข้าประกวดบางคน แต่สงิ่ ทีช่ ดเชยกลับมาคือความ “จริงใจ” ของเรือ่ งราว ทีผ่ ชู้ มไม่ตอ้ งปีนบันไดดู เด็กเล็กยันเด็กโตต่าง ดูแล้วเข้าใจตรงกัน นี่จึงเป็นผลงานชิ้นที่ “เคลียร์” ที่สุด มีความขัดแย้งชัดเจน และคลี่คลาย ได้อย่างไร้ข้อกังขา อาจจะขาดเพียงสีสันของตัวละคร ที่ออกแบบคาแรกเตอร์ให้แตกต่างกัน น้อยเกินไป (ตัวเอกเพื่อนซี้ควรมีนิสัย – รูปร่างหน้าตาต่างกันสุดขั้วได้เป็นยิ่งดี) และหากปรับปรุง ช่วงคลี่คลายซึ่งบอกผู้ชมอย่างตรงไปตรงมาเกินไปสักหน่อย (ว่าที่รอดชีวิตมาได้เพราะอ่านบท ปฐมพยาบาลคนถูกงูกัดในตอนต้นเรื่อง ) ก็จะยิ่งทำให้แอนิเมชั่นชิ้นนี้ดูลงตัวมากขึ้น
ข้อคิดจากคอมเมนเตเตอร์ : ง่าย ๆ ได้ใจความ ก็ได้ใจคนเช่นกัน
52
we…animation
คู่มือ, อ่านหน่อย, และพรุ่งนี้ อีก ๓ ผลงานใหม่ทีมผู้สร้างเดียวกับหนังสือเก่า ที่เพิ่งส่งเข้าประกวดในรอบแอนิเมติก ทั้ง ๓ เรื่องมีลักษณะเหมือนสปอตโฆษณามากกว่าจะเป็นภาพยนตร์ เริ่มจาก “คู่มือ” คนเปิด โทรทัศน์ที่เพิ่งซื้อมาใหม่ แต่เปิดเท่าไหร่ก็ ไม่มีภาพขึ้นมา ก็เลยสำเร็จโทษเจ้ากล่องสี่เหลี่ยมนี้ อย่างเอาเป็นเอาตาย ก่อนจะขึ้นซีจีหน้าจอว่า “คู่มือ มีไว้ให้อ่าน” เป็นการส่งเสริมให้คนรู้จักการ อ่านหนังสือทุกรูปแบบนั่นเอง
แม้ความคิดของเรือ่ งจะชัดเจน แต่เรือ่ งราวกลับดูไม่สมเหตุสมผล เพราะการเปิดเรือ่ งดูเป็น Realistic (คนได้ทีวีใหม่ – เปิดทีวี) แต่จู่ ๆ ก็โดดมาเป็น Fantasy (อยู่ดี ๆ ทีวีก็มีมืองอกออกมา ทำร้ายคนดูซะอย่างงั้น) ทำให้ผู้ชมไม่ “อิน” กับการเข้าสู่โลกแฟนตาซี เพราะการจะดึงให้คนเข้า สูโ่ ลกแฟนตาซีได้นนั้ ต้องมีการปูเรือ่ ง ปูอารมณ์ให้ผชู้ มตามทัน (เช่น จู ่ ๆ ทีวกี ค็ อ่ ย ๆ เริม่ ทำหน้าบูด แล้วต่อด้วยภาพทีวีเริ่มขยับตัว ถัดมาเป็นทีวีค่อย ๆ มีแขนงอกออกมา) ดังนัน้ แม้จะเป็นผลงานทีข่ ำ แต่เนือ้ หายังขาดความสมเหตุสมผลเกินไป ซึง่ ก็สง่ ผลให้จดุ ประสงค์ ทีต่ อ้ งการให้คน “รักการอ่าน” ไม่อาจสัมฤทธิผ์ ลได้ ขณะทีก่ ารออกแบบตัวละครและลายเส้นก็ยงั ดูขาดความพิถีพิถัน (แม้ลายเส้นไม่สวยแต่ขอให้วาดภาพออกมาได้อย่างชัดเจนก็พอ)
กระพือปกฝน… ปนหนังแอนิเมชั่น
53
ส่วน “อ่านหน่อย” เป็นเหมือนซีรี่ส์ต่อเนื่องจาก “คู่มือ” ที่ต้องการส่งเสริมให้รักการอ่าน (จากสิ่งที่ดูไร้คุณค่ารอบตัว) คราวนี้ภาพของคนหน้าตาตื่นวิ่งหนีบางสิ่งบางอย่างมาเป็นการเปิด เรื่องที่สร้างความฉงนอย่างได้ผลมาก และเมื่อตัวละครเอกเดินไปพบว่ามีสิ่งประหลาดอยู่ตรง หน้า – หยิบขึ้นมาดู – ระเบิดก็ตูมตามขึ้น – กล้องแพนไปที่ป้ายข้าง ๆ ระเบิดที่ปักเอาไว้ให้เห็น อยูท่ นโท่วา่ “ระเบิด” ก่อนจะปิดท้ายด้วยการขึน้ ซีจปี ระโยค “ส่งเสริมให้คนไทยรักการอ่านทุกสิง่ ที่อยู่รอบตัว” นี่คืออีกเรื่องที่ผู้ชมขำกลิ้งก่อนจะตามมาด้วยประโยคที่ว่า “โห เล่นกันอย่างนี้เลยรึ” อารมณ์ขนั เป็นสิง่ ทีโ่ ดดเด่นก็จริงอยู่ แต่ยงั ขาดน้ำหนักรองรับทีม่ ากพอ (ระเบิดตรงหน้าเห็นรูปร่าง ชัดเจนมาก จะมีใครซือ่ จนขนาดไปเหยียบระเบิดขึน้ มาเชียวหรือ) ขณะเดียวกันก็ยงั ขาดการปูเรือ่ ง เช่นกัน และกรรมการบางคนยังมองว่ายังตีโจทย์ไม่แตก เพราะความหมายของ “รักการอ่าน” ไม่ใช่การอ่านในรูปแบบนี้ ขณะที่ซีรี่ส์สุดท้ายของชุด “พรุ่งนี้” เรื่องเปิดขึ้นเมื่อเด็กชายคนหนึ่งไม่ยอมอ่านหนังสือที่ แม่ให้มา และบังเอิญเด็กชายเกิดไปปัดหนังสือตกลงบนหัวเจ้าหมาซึง่ นัง่ อยู่ใต้โต๊ะ และก็บงั เอิญอีก เช่นกันที่เจ้าหมาเหวี่ยงหนังสือไปเข้าเตาแก๊สที่กำลังจุดไฟอยู่ ทำให้เกิดระเบิดบ้านบึ้ม! ก่อนจะขึ้น ซีจีประโยค “ส่งเสริมให้คนไทยรักการอ่านหนังสือตั้งแต่วันนี้ ก่อนที่จะไม่มีพรุ่งนี้ให้อ่าน” เรื่องนี้เช่นเดียวกับ “อ่านหน่อย” และ “คู่มือ” ที่ ใช้อารมณ์เป็นตัวนำ แต่การนำเรื่อง “บังเอิญ” ต่อเนือ่ งกัน (เด็กปัดหนังสือตก – หมาโยนหนังสือเข้ากองไฟ) มาเป็นมูลเหตุปไู ปสูไ่ คลแมกซ์ นั้น ย่อมไม่ใช่แรงจูงใจที่มีน้ำหนักมากพอที่จะสะท้อนแนวคิดเรื่องนี้ได้ (เหตุการณ์บ้านบึ้มไม่ได้ เกิดจากผลของการไม่อ่านหนังสือโดยตรง แต่เกิดจากผลของการบังเอิญปัดหนังสือตกไปโดน เจ้าหมาต่างหาก) นี่จึงเป็นผลงานที่ไม่ตอบโจทย์ของการรักการอ่านอีกเช่นกัน ข้อคิดจากคอมเมนเตเตอร์ : แม้ภาพยนตร์แอนิเมชัน่ จะเปิดกว้างให้ทำในสิง่ มหัศจรรย์ทภ่ี าพยนตร์ ที่คนแสดงทำไม่ได้ แต่ก็ต้องไม่ลืมปูเหตุผลให้ตรงกับแก่นแนวคิดของเรื่อง และสร้างอารมณ์ให้ ผู้ชมคล้อยตามด้วยเช่นกัน เพราะนี่คือการเล่าเรื่องแบบภาพยนตร์ ไม่ใช่โฆษณา!
54
we…animation
My Book หลังจากได้รับเสียงชื่นชมกับเรื่องราวของเด็กยากจนแต่ขวนขวายรักการอ่านจากป้าย เงินด่วนตามตู้โทรศัพท์ กลับมาครั้งนี้ในรอบแอนิเมติก เรื่องราวเริ่มแยบคายลึกซึ้งมากขึ้น เมื่อ เด็กชายจินตนาการไปถึงอีกโลกสมมติ ที่มีตัวประหลาด หอคอย เจ้าชายน้อย ฯลฯ รายละเอียด ทีม่ ากมาย ประกอบกับเรือ่ งที่ไร้เสียงบรรยาย แต่ใช้ Subtitle ขึน้ แทน (เพือ่ ส่งเสริมให้คนอ่านบ้าง) กลับทำให้ผู้ชมไม่สามารถตามเรื่องราวที่เปลี่ยนแต่ละ Shot อย่างรวดเร็วได้ทัน ขณะทีป่ ระเด็นเด็กขวนขวายอ่านหนังสือของเด็กชาย กลับไม่ยอมสานต่อจากคำแนะนำของ คอมเมนเตเตอร์ในรอบที่แล้ว (ซึ่งแนะว่าน่าจะให้เด็กไปเก็บถุงกล้วยแขก เศษหนังสือพิมพ์ ใบปลิวมาเย็บอ่านเป็นเล่ม) ทำให้ Theme หลักของเรื่องดูเลื่อนลอย ไม่รู้จะเลือกเน้นประเด็น “เด็กที่ขวนขวายรักการอ่าน” หรือ “การอ่านทำให้เกิดจินตนาการ” กันแน่ ข้อคิดจากคอมเมนเตเตอร์ : เรื่องที่ดีต้องมีประเด็นเดียว
Magic Tree เรือ่ งใหม่มาแรงชิน้ นี ้ ดึงดูดผูช้ มด้วยลายเส้นและสีสนั สดใส เล่นกับจังหวะ อารมณ์ของดนตรี ประกอบทีส่ นุกสนานเข้ากับเรือ่ ง โดยไม่ตอ้ งใช้บทสนทนาใด ๆ ทำให้ผชู้ มเพลิดเพลินไปกับเรือ่ งราว แต่หากลองพิจารณาดูเพียงแค่ชื่อเรื่องก็จะพบข้อบกพร่องอยู่ชัดเจน “ต้นไม้มหัศจรรย์” ไม่ใช่ “หนังสือมหัศจรรย์” และเรือ่ งราวก็วา่ ด้วยต้นไม้มหัศจรรย์ทงี่ อกออกมาเป็นตัวหนังสือ (คำว่า Book) จึงเป็นเรื่องที่แม้จะสนุกสนานแค่ไหนแต่ก็ไม่ตอบโจทย์อีกเช่นกัน ข้อคิดจากคอมเมนเตเตอร์ : ผลงานดีคือเรื่องที่สนุก และตอบโจทย์ในเวลาเดียวกัน
กระพือปกฝน… ปนหนังแอนิเมชั่น
55
My Dear เป็นเพียงเรื่องเดียวที่ผู้กำกับกลับไปเปลี่ยนผลงานใหม่ ที่กลายเป็นคนละเรื่องกับผลงานใน รอบทีแ่ ล้ว (จากเจ้าชายกบ มาเป็นทีร่ กั ของฉัน) หลังจากรับเอาคำแนะนำของกรรมการทีอ่ ยากเห็น ความหมายในอีกมุมมองของหนังสือที่ ไม่ได้ให้ปัญญาเป็นอาวุธหรือให้จินตนาการ แต่หนังสือ ในความหมายของเรื่องนี้ให้ทุกสิ่ง (ความสุขใจอิ่มใจจากทั้งหนังสือและความรัก) ผ่านตัวละคร บรรณารักษ์หนุ่มที่หลงรักหนังสือ และหนังสือก็เป็นสะพานเชื่อมต่อมิตรภาพไปยังคนรัก นี่เป็นผลงานที่โรแมนติกที่สุด (ในบรรดาผลงานทั้งหมดที่เข้าร่วมโครงการ) เป็นผลงานที่ดู เป็นแอนิเมติกที่สุด (คนอื่น ๆ ดูเหมือนสตอรี่บอร์ดมากกว่า) มุมกล้อง วิธีเล่าก็ดูลงตัวที่สุด แต่... น่าเสียดายตอนจบทีเ่ รือ่ งคลีค่ ลายได้คลุมเครือเกินไป เมือ่ บรรณารักษ์หนุม่ กลับเข้าไปเอาของทีล่ มื ไว้ และพบว่าเจ้าของคนอ่านหนังสือเล่มที่เขาตามหาอยู่นั้น คือบรรณารักษ์สาวเพื่อนร่วมงาน กล้องก็ค่อย ๆ ซูมออกมาจากห้องสมุดอันมืดมิดพร้อมเสียงบรรยายว่า “หนังสือให้อะไรมากกว่าที่ คุณคิด” ภาพที่เฟดดำสนิทพร้อมคู่หนุ่ม – สาว ที่อยู่ด้วยกัน ๒ ต่อ ๒ ในห้องสมุดอันมืดมิด (พร้อม กับเสียงบรรยายหนังสือให้อะไรมากกว่าที่คุณคิด) ต่างทำให้ผู้ชมชวนคิดถึงเหตุการณ์โรแมนติก (หรือเหตุการณ์สยิ้วกิ้ว) ที่น่าจะเกิดขึ้น ดังนั้นหากเปลี่ยนตอนจบเสียใหม่ ก็จะเป็นเรื่องที่สมบูรณ์ ที่สุดอีกเรื่องหนึ่ง ข้อคิดจากคอมเมนเตเตอร์ : เป็นตัวอย่างของแอนิเมเตอร์ที่ยอมสำรวจข้อผิดพลาดของตัวเอง ตามเสียงวิพากษ์ของคอมเมนเตเตอร์และแก้ไขได้ถูกจุด
Slime Story ผลงานใหม่อีกเรื่องที่ลายเส้นสวยแปลกตา โทนสีขาว–ดำทั้งเรื่อง และการเลือกนำเสนอ เรื่องราวของบรรดา Slime (คอเกมจะรู้จักดี ตัวประหลาดที่แตกตัวได้หน้าตาน่ารัก) ก็ทำให้เข้าถึง คนพันธุใ์ หม่ได้งา่ ย แต่ดว้ ยเรือ่ งทีย่ าว ดูยาก และขาดองค์ประกอบสำคัญ คือ “เสียง” ที่ไม่มที งั้ ดนตรี และบทสนทนา ทำให้เมื่อดูจบทำเอาคอมเมนเตเตอร์ออกอาการ “มึน”ไปตาม ๆ กัน แต่ด้วย
56
we…animation
ลายเส้นที่สวยและมีความชัดเจน ทำให้กรรมการเอ่ยปากอยากลองดูเวอร์ชันที่ลงเสียงแบบเต็ม ๆ กันอีกครั้ง
ข้อคิดจากคอมเมนเตเตอร์ : “เสียง” เป็นองค์ประกอบที่จำเป็นอย่างยิ่งในการทำแอนิเมติก การขาด “เสียง” ก็เหมือนกับขาด “อารมณ์” ขาด “จังหวะ” ที่จะช่วยถ่ายทอดเรื่องราว ทัง้ หมดนีค้ อื ประกายความคิดจากวงเสวนาแอนิเมชัน่ โดนใจ และข้อคิดจากคอมเมนเตเตอร์ ในรอบแอนิเมติก ต่างเป็นสิ่งที่ชาว WE...Animation สามารถนำกลับไปปรับแต่ง คละเคล้าให้เข้า เนื้อกับผลงานของตนเพื่อไปสู่ปลายทางกับผลงานสุดท้ายใน “รอบแอนิเมชั่น”
กระพือปกฝน… ปนหนังแอนิเมชั่น
57
จากวันวาน ถึงพรุ่งนี้แอนิเมชั่นไทย
รอบที่
๔
โอม รัชเวทย์ และ รศ. ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์
แฟนแอนิเมชั่นมากันจนเต็มพื้นที่
เมื่อชาว We...animation ได้เรียนรู้ที่จะ ฝึกปรือฝีมือ กระพือปีกฝันสู่โลกแอนิเมเตอร์มาจน เกือบสุดทาง ก็ถึงเวลาของการทบทวน “ตัวตน” เพื่อค้นหา “ทิศทาง” ให้ก้าวย่างต่อไปบนถนนสาย แอนิเมชัน่ ผ่านวงเสวนา “จากวันวานถึงพรุง่ นีแ้ อนิเมชัน่ ไทย” ที่ได้วิทยากรผู้บุกเบิกแอนิเมชั่นในยุควันวาน อย่าง โอม รัชเวทย์ และนักวิชาการผู้สนใจศึกษา แอนิเมชัน่ ไทยในอดีตอย่าง รศ. ถิรนันท์ อนวัชศิรวิ งศ์ อาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และทีป่ รึกษาเครือข่ายสร้างเสริมผูผ้ ลิตสือ่ สร้างสรรค์ มาช่วยกันย้อนรำลึกถึงแอนิเมชั่นในวันวาน จวบจน วันนี้ ไปจนถึงวันพรุ่งนี้ แฟนแอนิเมชั่นรุ่นเยาว์
กระพือปกฝน… ปนหนังแอนิเมชั่น
59
วันวานแห่งความทรงจำ ความทรงจำแรกที่คุณโอม รัชเวทย์ แอนิเมเตอร์ยุคบุกเบิกย้อนรอยได้เมื่อกล่าวถึง ประวัติศาสตร์แอนิเมชั่นในประเทศไทยก็คือ การออกอากาศของการ์ตูนญี่ป่นุ ที่ฉายทางโทรทัศน์ เรื่อง “เจ้าหนูลมกรด” ซึ่งความนิยมจากอามิเนะทางโทรทัศน์เรื่องนี้ก็ทำให้เกิดการ์ตูนเล่ม (Manga) ตามมา ต่อจากเจ้าหนูลมกรดก็เป็นแอนิเมชั่นยอดมนุษย์พิทักษ์โลกประเภทไอ้มดแดง และ อีกหลาย ๆ ซีรี่ส์ฮีโร่ยอดมนุษย์ที่สร้างกระแสฮิตในบ้านเราจวบจนทุกวันนี้ นั่นคือจุดเริ่มต้นของกลุ่มผู้เสพแอนิเมชั่นในบ้านเราที่ส่วนใหญ่คุ้นเคยกับอามิเนะจาก แดนปลาดิบ แต่ประวัติศาสตร์หน้าแรกของการสร้างสรรค์แอนิเมชั่นไทยตั้งแต่ยุคบุกเบิกนั้น ก็ไม่ แตกต่างไปจากวงการอามิเนะญี่ปุ่น ที่ได้รับอิทธิพลมาจาก Waltz Disney ราชาการ์ตูนโลกอย่าง เลี่ยงไม่ได้ “ในยุคแรก ๆ เราต้องซือ้ หนังสือการทำแอนิเมชัน่ ของดิสนียม์ าเลยละ” คุณโอมกล่าวพร้อมเล่า ให้ฟังถึงจุดเริ่มต้นแอนิเมชั่นไทย ในช่วงประมาณปี พ.ศ. ๒๕๒๖ ที่แอนิเมเตอร์ต้องขวนขวาย ใช้ความพยายามมากกว่าปัจจุบัน โดยเฉพาะเรื่องอุปกรณ์ “เราใช้อุปกรณ์โต๊ะโลหะกลม ๆ มีล้อเลื่อนให้หมุนรูปได้สะดวก แท่นถ่าย และใช้วิธีเขียนรูปบนแผ่นอะซิเตตที่ยิ่งใสยิ่งราคาแพง เพื่อใช้ซ้อนทับเซล (cel)” คุณโอมยังกล่าวถึงความยากลำบากในการทำงานต่ออีกว่า เวลาลง สีอะคริลิกแต่ละครั้งก็ต้องต่อชั้นตู้วางเซลเป็นร้อย ๆ ชั้น เพื่อตากเซลให้แห้ง ส่วนกระบวนการ ถ่ายทำก็จะถ่ายทีละเฟรม เป็นจำนวนหลายหมื่นรูป ขณะที่แท่นถ่ายก็ต้องมีการแกะแบบหนังสือ ของดิสนีย์ แล้วจ้างช่างกลึงต่อแท่นถ่ายเอง “สังเกตสิิว่าหนังการ์ตูนในยุคต้น ๆ ที่ยังไม่มีคอมพิวเตอร์ทันสมัยเช่นยุคนี้ บางทีดูแล้วจะมี แสงวูบวาบไปมา เพราะขณะถ่ายทำเราจะมองระดับไฟด้วยตาเปล่าไม่เห็น ว่าไฟมันสม่ำเสมอมั้ย ไฟตกมัย้ โดยเฉพาะถ้าเป็นสตูดโิ อทีท่ ำกันเอง แต่พอล้างฟิลม์ ก็เห็นทันที “ทัง้ อุปกรณ์กระบวนการ ทำงานที่กลุ่มแอนิเมเตอร์รุ่นใหม่เพิ่งเริ่มคลำทางเหล่านี้ทำให้กว่าจะเป็นภาพยนตร์แอนิเมชั่นใน
60
we…animation
ยุควันวานใช้เวลานานมาก งานแอนิเมชัน่ ส่วนใหญ่จงึ ถูกนำมาใช้ในงานโฆษณามากกว่าภาพยนตร์ เต็มรูปแบบ โฆษณา ๑ วินาที จะใช้ภาพต้นฉบับเพียง ๑๔-๑๕ ภาพ มีทีมงานผลิต ๖-๗ คน/ชิ้น สำหรับงานที่ไม่ใหญ่นัก แต่ถ้าเป็นงานใหญ่ ๆ ก็ต้องระดมคนจำนวนมาก ในขณะที่คุณโอมฉายภาพแห่งความอุตสาหะของเหล่าแอนิเมเตอร์ผู้กรุยทางแอนิเมชั่น ไทยในอดีต รศ. ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์ ก็ ได้รื้อฟ้นประวัติศาสตร์หน้าแรกของผู้แผ้วถางทาง แอนิเมชั่นไทย
รอยทางแห่งผู้กล้า เกือบ ๗๐ ปีมาแล้วที่แอนิเมชั่นไทยปรากฏสู่สายตาประชาชน โดยหากย้อนกลับไปดูต้น กำเนิดแอนิเมชั่นในบ้านเราอย่างแท้จริงนั้น เริ่มนับหนึ่งมาจากแวดวงโฆษณา ตัวการ์ตูนมักออก มาโลดแล่นบนจอทีวีผ่านโฆษณาต่าง ๆ เช่น ตัวการ์ตูนหนูหล่อของยาหม่องบริบูรณ์ปาล์ม โดย อาจารย์สรรพสิริ วิริยสิริ ซึ่งเป็นผู้สร้างแอนิเมชั่นคนแรกของไทย และยังมีหมีน้อยจากนมตราหมี แม่มดกับสโนไวท์ของแป้งน้ำควินนา
การ์ตนู หนูหล่อ โดยอาจารย์สรรพสิริ วิรยิ สิริ
แต่ ห น้ า แรกแห่ ง ประวั ติ ศ าสตร์ ที่ ถู ก จดจารในฐานะภาพยนตร์ แ อนิ เ มชั่ น ขนาดสั้ น (ที่ไม่ใช่โฆษณา) เกิดขึน้ เมือ่ วันที ่ ๕ กรกฎาคม ๒๔๙๘ จากสุดยอดฝีมอื นักวาดภาพเคลือ่ นไหว
กระพือปกฝน… ปนหนังแอนิเมชั่น
61
ปยุต เงากระจ่าง ได้สานต่อแนวความคิดของผู้มีพระคุณอย่าง เสน่ห์ คล้ายเคลื่อน จิตรกรชื่อดัง แห่งยุคด้วยการสร้าง “เหตุมหัศจรรย์” ภาพยนตร์แอนิเมชั่น ความยาว ๑๒ นาทีที่นำออกฉายเป็น รายการพิเศษสำหรับสือ่ มวลชนและผูช้ มเฉพาะทีโ่ รงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมไทยซึง่ ก็ได้รบั การกล่าว ขวัญถึงอย่างกว้างขวางตามหน้าหนังสือพิมพ์ อ. ปยุต เงากระจ่างกับแอนิเมชัน่ เรือ่ งยาวเรือ่ งแรกของไทย “สุดสาคร”
ทำให้ในอีก ๒ ปีต่อมา เหตุมหัศจรรย์ได้นำออกฉายสู่สาธารณชนประกอบการฉาย ภาพยนตร์เรื่อง “ทุรบุรุษ ทุย” ของ ส. อาสนจินดา ที่โรงภาพยนตร์บรอดเวย์ พระนคร ด้วยความสามารถของอาจารย์ปยุต ทำให้ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ สำนักข่าวสารอเมริกนั ได้ให้ทนุ ในการ สร้างภาพยนตร์แอนิเมชัน่ ต่อต้านคอมมิวนิสต์เรือ่ ง “หนุมานผจญภัย (ครัง้ ใหม่)” แต่กลับไม่สามารถ ออกฉายในบ้านเราได้ เพราะตัวละครทีเ่ ป็น “ลิง” ไปเสียดสี จอมพลสฤษดิ์ ธนรัตน์ ผูน้ ำในสมัยนัน้ ซึ่งเกิดปีวอกโดยบังเอิญ แต่ท้ายที่สุดแอนิเมชั่นเรื่องนี้ก็ ได้ออกฉายในปี พ.ศ. ๒๕๐๓ หลังมีการส่งคาแรกเตอร์ ทีอ่ าจารย์ปยุตได้ออกแบบแล้วต่อไปให้สตูดโิ อวอร์เนอร์ทำความเคลือ่ นไหว และหลังจากนัน้ ก็ยงั มี ผลงานออกมาอย่างต่อเนื่อง ในทีส่ ดุ ความฝันทีอ่ ยากจะเห็นภาพยนตร์แอนิเมชัน่ เรือ่ งยาวเรือ่ งแรกของไทยเป็นรูปเป็นร่าง ก็ประสบความสำเร็จในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๒๒ เมื่อ สุดสาคร ภาพยนตร์แอนิเมชั่นขนาดยาว ที่สร้างกับลูกสาว นันทนา เงากระจ่าง ได้ออกฉายอวดสายตาประชาชน และสร้างรายได้ประสบ ความสำเร็จพอสมควร (๒ ล้าน จากทุน ๓ ล้านบาท) แต่สิ่งที่ชายผู้เปิดโลกแอนิเมชั่นไทยต้อง แลกมาก็คือ การสูญเสียดวงตาข้างซ้ายจากการตรากตรำทำงาน
62
we…animation
วันนี้ของแอนิเมชั่นไทย เมือ่ มีผกู้ รุยทางภาพยนตร์แอนิเมชัน่ ขนาดยาว หลังจากนัน้ ในปี พ.ศ. ๒๕๒๖ จึงมีแอนิเมชัน่ ทางโทรทัศน์ฝีมือคนไทยเป็นเรื่องแรกที่เกิดขึ้นคือ ผีเสื้อแสนรัก ตามมาด้วย เด็กชายคำแพง ผลงานแอนิเมเตอร์เพื่อสังคมอย่าง เตรียม ชาชุมพร และผลงานอื่น ๆ ตามมาอีกประปราย เช่น หนูน้อยเนรมิต เทพธิดาตะวัน จิงโจ้ ฯลฯ แต่เนื่องจากการทำแอนิเมชั่นต้องใช้ต้นทุนสูงก็เลย ทำให้แวดวงแอนิเมชั่นเมืองไทยหยุดอยู่ที่การนำไปใช้กับงานโฆษณาเพื่อการค้าและเพื่อรณรงค์ (เช่น โครงการตาวิเศษ) มากกว่า แอนิเมเตอร์ เพือ่ ชีวติ รุน่ แรก ๆ “เตรียม ชาชุมพร”
จนกระทั่งในช่วงประมาณปี พ.ศ. ๒๕๔๒ แอนิเมชั่นของคนไทยที่ทำท่าว่าจะตายไปแล้ว กลับฟน้ คืนชีพขึน้ มาอีกครัง้ จากความพยายามของบริษัทบรอดคาสท์ไทย เทเลวิชนั่ ที่ได้นำการ์ตนู ดัดแปลงจากวรรณคดีฝีมือคนไทยออกฉายทางโทรทัศน์ และได้รับการตอบรับอย่างดีตามมาด้วย แอนิเมชั่น ๓ มิติ ขวัญใจเด็กเล็กอย่างปังปอนด์ ดิแอนิเมชั่น และสุดสาคร ที่สร้างปรากฏการณ์ ในแง่การขายคาแรกเตอร์ จวบจน ก้านกล้วย ภาพยนตร์แอนิเมชั่นเรื่องยาวของบริษั ทกันตนา
กระพือปกฝน… ปนหนังแอนิเมชั่น
63
เรื่องแรกที่ “โกอินเตอร์” และประสบความสำเร็จในด้านรายรับอย่างมาก ประสบการณ์แห่งความ ยากลำบากของบรมครูในวันวานที่เด็กรุ่นใหม่ไม่เคยสัมผัส หรือแม้แต่จะรู้ไว้เป็นบทเรียน คือสิ่งที่ แอนิเมเตอร์ร่นุ บุกเบิกอย่างโอม รัชเวทย์ตระหนักถึง และต้องกล่าวทิ้งท้ายเพื่อกระตุกบางสิ่งว่า “เมื่อก่อนการทำแอนิเมชั่นมันยากมาก คนทำก็เลยน้อย โอกาสที่ผลงานจะโดดเด่นก็เลยมีสูง แต่เดี๋ยวนี้การทำแอนิเมชั่นมันง่ายแล้ว แต่ไอ้ความง่ายนี่แหละ ทำให้เราไม่พยายาม ทั้ง ๆ ที่มันยิ่ง เป็นโจทย์ทา้ ทายเรามากขึน้ ว่า จะทำงานออกมายังไงให้โดดเด่นเหนือคนอืน่ ๆ ทีม่ อี ยูเ่ ป็นร้อยให้ได้” และอีกสิ่งหนึ่งที่คุณโอมต้องการฝากให้แอนิเมเตอร์พันธุ์ใหม่ได้ลองทบทวนก่อนลงมือ ทำงานก็คอื “ต้องไม่ลมื การตลาด คุณอาจเป็นแอนิเมเตอร์ทเี่ ก่งก็จริง แต่เวลาทำงานคุณต้องนึกถึง ‘คนเสพงาน’ ด้วย ต้องทำความเข้าใจเขา ไม่ลืมนำตัวตนจูนเข้าหาผู้ชม... หากคุณแชร์สองสิ่งนี้ เข้าด้วยกันได้ ความสำเร็จก็จะตามมา”
แอนิเมชั่นรอบสุดท้ายทั้ง ๑๓ ผลงาน
จาก “วันวาน” แห่งความทรงจำ สู่รอยทางของผู้กล้า จวบจน “วันนี้” ของแอนิเมชั่นไทย คงช่วยให้เหล่าแอนิเมเตอร์รุ่นใหม่ได้ทบทวนตัวตนเพื่อ “พรุ่งนี้” ของแอนิเมชั่นไทยอย่างมี ทิศทางมากขึ้น ที่เหลือก็คงอยู่ที่การแสวงหา ความอุตสาหะ (และอาจรวมถึงโชคชะตา) ที่จะนำพา คนเหล่ า นี้ ไ ปสู่ ป ลายทางได้ แต่ ต อนนี้ ผ ลการประกวดแอนิ เ มชั่ น รั ก การอ่ า นของโครงการ We…Animation ก็มาถึงปลายทางเช่นกัน โดยในรอบสุดท้ายมีผลงานทั้งหมด ๑๓ เรื่อง (รวมเรื่องที่ส่งตามมาหลังวันงานด้วย) ดังนี้ ๑. My Dear “หนังสือให้อะไรมากกว่าที่คิด” เรื่องราวความรักของบรรณารักษ์หนุ่มที่เกิดจากการอ่านหนังสือ แอนิเมชั่นเรื่องนี้ครองใจ ผู้ชมไม่น้อยในรอบแอนิเมติก ซึ่งก็กลับมาด้วยความสมบูรณ์พร้อมกว่าเดิม ทั้งเนื้อเรื่องและ ลายเส้น จนทำให้ผู้ชมรวมทั้งกรรมการและคอมเมนเตเตอร์ (รอบนี้เป็นคุณโอม รัชเวทย์ ที ม สร้ า งสรรค์ ก าร์ ตู น ทองแดง และเจ้ า เก่ า อย่ า งสุ ท ธิ ช าติ ศราภั ย วานิ ช เจ้ า ของการ์ ตู น นักสืบหัวปลาหมึก) ต้องยกนิ้วให้
64
we…animation
๒. Old book “การ์ตูนสุดฮาว่าด้วยสองเพื่อนซี้ที่รอดชีวิตได้เพราะหนังสือ” เมื่อเห็นผลงานสุดท้ายของ Old book ก็ทำเอาคณะกรรมการต่างแปลกใจว่า ลายเส้นที่ไม่ ค่อยเข้าตานักกลับออกมาเป็นแอนิเมชั่นที่สีสันสดใส ลายเส้นเฉียบคม น่าสนใจกว่าเดิมมาก และเมือ่ ปรับคาแรกเตอร์ตวั ละครเอกคูห่ ใู ห้ดแู ตกต่างกันมากขึน้ ตามคำแนะนำในรอบทีแ่ ล้ว ทำให้ นี่เป็นผลงานดีที่สุดชิ้นหนึ่งในรอบสุดท้าย ๓. ต้นไม้แห่งจินตนาการ “จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อพระราชาเกลียดหนังสือ จนสั่งห้ามมิให้ อาณาจักรของเขามีหนังสือแม้แต่เล่มเดียว“ ด้วยลายเส้นจริงใจ มีเอกลักษณ์โดดเด่น แค่นี้ก็ดึงดูดให้คนติดตามงานชิ้นนี้ ไปจนจบได้ อย่างง่ายดาย และเมื่อไปปรับทอนเนื้อหาให้สั้น กระชับขึ้น จึงทำให้เป็นผลงานชิ้นที่ลงตัวที่สุด ชิ้นหนึ่ง แต่ก็ยังมีข้อติติงในความเป็น “แอนิเมชั่น” ที่ภาพส่วนใหญ่ดู “นิ่ง” เกินไป น่าจะสร้างภาพ เคลื่อนไหวให้มากกว่านี้ ๔. The Wisdom Quest มหากาพย์ดาบแห่งปญญา “ความรู้คือขุมทรัพย์ ขุมทรัพย์นำไปสู่ จอร์จ บุช !! ( … แต่เอ๊ะ แล้วจอร์จ บุช มาเกี่ยวข้องได้อย่างไร ?)” แม้ไม่มีบทสนทนาตลอดทั้งเรื่อง แต่ด้วยดนตรีประกอบที่เร้าใจ ปลุกอารมณ์ให้คึกคักได้ ตั้งแต่ต้นจนจบ ทำให้เรื่องราวที่ดูง่ายของเหล่ากลุ่มผู้กล้าที่ออกค้นหาขุมทรัพย์ (และยังคงแอบ ตบท้ายด้วยมุกกลุ่มผู้กล้าขึ้นไปรับรางวัลแห่งชัยชนะกับจอร์จ (บุช) กลายเป็นแอนิเมชั่นขวัญใจ ผู้ชมได้ไม่ยาก ๕. Beda Reader ไข่ลิงจริง ๆ นะ ตอน รักการอ่าน “เมื่อลิงน้อยจอมซนเจอปญหา เขาต้องเรียนรู้ที่จะแก้ไขมันด้วยการอ่านหนังสือ” วันแรกเป็นอย่างไง วันสุดท้ายเป็นอย่างงัน้ นีค่ อื ผลงานทีผ่ กู้ ำกับยึดมัน่ ในทางของตน เพราะ เรื่องราวเหมือนกับที่นำมาปล่อยของตั้งแต่รอบ Story line โดยยังคงสะท้อนเรื่องราวของฝูงลิง ที่เปรียบดั่งมนุษ ย์ผู้ไม่ชอบอ่านหนังสือ แต่ท้ายที่สุดหนังสือก็ ไม่ได้เป็นกุญแจสำคัญในการแก้ กระพือปกฝน… ปนหนังแอนิเมชั่น
65
อุปสรรคให้กับตัวเอกในเรื่องอย่างไข่ลิงอยู่ดี นี่จึงเป็นผลงานที่กรรมการยากจะให้ความคิดเห็น แต่ก็ขอชมในงานภาพที่สีสันสดใส
๖. My Book “แอนิเมชั่นเคล้าน้ำตาว่าด้วยเด็กชายขอบที่ขาดโอกาสในการอ่านหนังสือ แต่กลับขวนขวายอ่านทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัว” ผลงานสุดท้ายของเรื่องนี้ยิ่งดูซับซ้อนขึ้นไปอีก เด็กชายผู้ยากจนแต่ขวนขวายอ่านหนังสือ แม้จะเป็นข้อความสัน้ ๆ จากเศษใบปลิว และเรือ่ งกลับลึกลงไปกว่านัน้ เมือ่ เด็กชายผูน้ ม้ี นี อ้ งตาบอด และรักการอ่านด้วยเช่นกัน เรื่องราวพยายามขับเน้นไปที่อารมณ์ดราม่า เรียกต่อมน้ำตาเต็มที่ แต่ ด้วยเนือ้ หาทีม่ มี ากเกินกว่าภาพจะบรรยายออกมาได้ในเวลาอันจำกัด ทำให้ผชู้ มไม่อาจปะติดปะต่อ เรื่องราวในหัวได้ แต่นี่ก็เป็นผลงานที่พยายามสะท้อนสังคมและให้อารมณ์หม่นเทาในแบบที่ เรื่องอื่นทำไม่ได้ ๗. Love to Read “หนังสือเขามีไว้อ่าน ไม่ได้มีไว้กินนะจ๊ะ” สายใยแห่งรักทีถ่ กั ทอผ่านหนังสือ ส่งผลให้งานชิน้ นีด้ อู บอุน่ ทีส่ ดุ เรือ่ งหนึง่ ประกอบกับโทนสี พาสเทลแสนหวาน ทำให้โดยภาพรวมเรื่องราวความรักที่ส่งถ่ายไปรุ่นแล้วรุ่นเล่า ผ่าน (การกิน) หนังสือ ทำให้ผู้ชมอดอมยิ้มตามไม่ได้ ๘. Slime Story “การอ่านคือทางออกของผู้รอดชีวิต” แอนิเมชั่นโทนสีขาวดำ ผ่านลายเส้นง่าย ๆ แต่มีเอกลักษณ์ เรื่องราวของเหล่า Slime (ตัวละครในเกมที่แตกตัวออกมาได้เรื่อย ๆ) ชิ้นนี้ น่าเสียดายที่ผลงานสุดท้ายยังไม่สมบูรณ์ เต็มร้อย เสียงประกอบก็ยังไม่มาตามเดิม ทำให้ความเข้าใจต่อเรื่องราวขาดหายไปกว่าครึ่ง แต่ลายเส้นหนักแน่นผสมเซอร์ (ปนหวานถูกใจวัยรุ่น) และความคิดหลักของเรื่องที่ต้องการบอก ความยิ่งใหญ่ของหนังสือว่าสามารถช่วยชีวิตได้นั้น ก็ได้ใจกรรมการไปไม่น้อย
66
we…animation
๙. Open your world open our world “หนังสือจินตนาการ” “อยู่ที่เธอนั้นจะกล้าเปิด เปิดตา เปิดหู และเปิดใจ” เพลงหวาน ๆ ยังคงเป็นจุดเด่นของงาน ชิ้นนี้เช่นเคย แต่ผลงานสุดท้ายก็ ไม่ได้แตกต่างไปจากรอบแอนิเมติกมากนัก โลกของเด็กชาย อันมืดมิดทีถ่ กู เปิดให้สว่างไสวด้วยหนังสือ แม้จะตอบโจทย์หนังสือคือจินตนาการชัดเจน แต่เป็นการ ตอบโจทย์ที่ตรงเกินไปเกือบจะไร้ชั้นเชิง ๑๐. Mode “กระทัง่ มนุษย์ตา่ งดาวยังเห็นคุณค่าของหนังสือ แล้วมนุษย์เดินดินอย่างเราล่ะ ควรจะเห็นคุณค่าของหนังสือแล้วรึยัง ?” Flash แอนิเมชั่นเรื่องของมนุษย์ต่างดาวผู้คอยสำรวจตรวจสอบความเป็นไปบนโลกมนุษย์ ว่าสิ่งที่มีค่าบนโลกมนุษย์นั้นมีอะไรบ้าง ? และสิ่งที่มนุษย์ต่างดาวเลือกติดมือกลับยานไปด้วยนั้น ไม่ใช่เครื่องมือสื่อสารล้ำยุค หรือขีปนาวุธทำลายโลก แต่เป็น “หนังสือ!!” ความคิดหลักเรื่องนั้น น่าสนใจไม่น้อย แต่วิธีนำเสนอยังสื่อให้คนเข้าใจได้ยากเกินไป (มนุษย์ต่างดาวตรวจสอบของมีค่า ผ่านกล้องเอกซเรย์ที่ส่องเห็นทุกสิ่งภายใน) ทำให้ผู้ชมออกอาการมึนงงหลังชมจบไปไม่น้อย ๑๑. Time “ความรู้และปญญาเกิดขึ้นจากการอ่านด้วยตนเอง” 3D แอนิเมชั่นเรื่องนี้มีดีที่ลายเส้น สีสันสวยงาม และองศาของการเคลื่อนกล้องที่โดดเด้ง ออกมาจากงานอื่นอย่างมาก แต่ด้วยความยาวของผลงาน (เพียง ๔๕ วินาที) ที่สั้นแค่เพียงอึดใจ จนคนดูต้องร้องออกมาว่า “จบแล้วเหรอ” ทำให้ประเด็นของเรื่อง (สิ่งที่ได้จากการอ่านจะเกิดขึ้น กับคุณต่อเมื่อคุณลงมืออ่านด้วยตัวเอง) ส่งไปไม่ถึงคนดู ๑๒. Chamber of Knowledge “เด็กน้อยทั้งหลายโปรดฟง… ถ้าไม่รักษาความรู้ให้ดี ระวังปศาจจะมาขโมยไป!!” Clay แอนิเมชั่นเพียงเรื่องเดียวในการประกวดครั้งนี้ ว่าด้วยเรื่องของเด็กนักเรียนที่ ไม่ ชอบอ่านหนังสือ แต่ต้องหาคำตอบของคำถามในห้องเรียนให้ได้ แต่จู่ ๆ โทนเรื่องที่ดูจริงจังของ
กระพือปกฝน… ปนหนังแอนิเมชั่น
67
นักเรียนกับครู กลับหลุดไปเป็นโลกแห่งความฝัน ทีค่ รูกลายเป็นปีศาจมาขโมยความรู้ และจินตนาการ ของเด็กไปดื้อ ๆ นี่จึงถูกยกให้เป็นผลงานสุดเซอร์ที่ยากจะตีความว่าต้องการสื่ออะไร ? ๑๓. อ่านหน่อย “อ่านหน่อย... น่านะ เชื่อเถอะ มิเช่นนั้นอาจเป็นเช่นนี้!” หลังจากไปปรับแก้ตามคำแนะนำของแอนิเมเตอร์ในรอบที่แล้ว ทำให้เรื่องราวของชายผู้ไม่ ยอมอ่านหนังสือจนโดนกับระเบิดเรื่องนี้สมบูรณ์มากขึ้น เมื่อมีการปูเรื่องเพิ่มเติมเข้ามา แถมยัง ฉลาดเลือกหยิบเอาคาแรกเตอร์ของพิธีกรรายการโทรทัศน์ที่คนรู้จักดีมาล้อเลียน (สรยุทธ์ สุทัศนะจินดา) ทำให้แอนิเมชั่นรณรงค์ให้คนอ่านทุกสิ่งรอบตัว ผ่านอารมณ์ขันแบบเจ็บตัว (slapstick) ชิ้นนี้โกยคะแนนจากผู้ชมไปเต็ม ๆ และทัง้ หมดก็เป็น ๑๓ ผลงานแอนิเมชัน่ รณรงค์รกั การอ่าน ทีม่ าอวดความคิดและจินตนาการ ให้ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ซึ่งก็ทำเอาคณะกรรมการหนักใจไม่น้อยกับการตัดสิน เพราะหลายชิ้นงานนั้น “ดูดีผิดหูผิดตา” แต่หลังจากผ่านการคัดกรองจากคณะกรรมการผู้ทรง คุณวุฒิในแวดวงแอนิเมชั่น การ์ตูน ตัวแทนเยาวชน ครอบครัว และคณะกรรมการจัดงาน ที่ให้ ความสำคัญกับการถ่ายทอดเรื่องราวเป็นหลัก และการนำศักยภาพของแอนิเมชั่นมาใช้ได้เต็มที่
ในที่สุด ก็ถึงเวลาที่ทุกคนรอคอย... งานประกาศผลรางวัล ก่อนประกาศผลรางวัลเพื่อปิดฉากโครงการ ชาว We…Animation ก็ได้ร่วมกันค้นหา เส้นทางบนโลกแอนิเมชัน่ จากการเสวนา “ก้าวฝันของแอนิเมเตอร์รนุ่ ใหม่บนเส้นทางแอนิเมชัน่ ไทย” ที่ ได้วิทยากรเป็นแอนิเมเตอร์จากหลากหลายวงการ ทั้งมืออาชีพของสตูดิโอใหญ่อย่าง สุเทพ ตันนิรัตน์ กรรมการผู้จัดการบริษัท Anya Animation ผู้กำกับแอนิเมชั่น “อภินิหารนิทานเวตาล”
68
we…animation
และ “4 Angels” แอนิเมเตอร์รุ่นใหม่มาแรง คอมพิวเตอร์กราฟิกซูเปอร์ไวเซอร์ ผลงานแอนิเมชั่น “ไตร” อย่าง พิชติ จันทราประภาวัฒน์ และธวัชพงศ์ ตัง้ สัจจะพจน์ แอนิเมเตอร์อสิ ระและคอลัมนิสต์ ซึ่งต่างก็ได้เปิดใจกล่าวถึงปัญหา พร้อมกับความหวังของก้าวต่อไปในวงการแอนิเมชั่นไทย ปัญหาแอนิเมชั่นไทย : ผู้สร้างมาก - ตลาดรองรับน้อย แม้แอนิเมชัน่ ไทยมีทที า่ จะไปได้สวยหลัง “ก้านกล้วย” ช่วยเปิดศักราชใหม่ แต่ปญ ั หาทีแ่ ท้จริง ยังมีอีกมาก สุเทพให้ความเห็นว่า ในยุคนี้มีสตูดิโอผลิตแอนิเมชั่นจำนวนมากลงทุนกันเองเป็น กลุ่มใหญ่ แต่ปัญหาคือ ยังขาดตลาดรองรับ ซึ่งต้องขอความช่วยเหลือจากภาครัฐอีกเช่นเคย แต่ การสนับสนุนก็ยังไม่มีทิศทางชัดเจน ขณะที่แอนิเมเตอร์อิสระอย่าง ธวัชพงศ์ ก็เล่าถึงความ ยากลำบากในการทำงานของแอนิเมเตอร์อิสระ ซึ่งวางแผนการทำงานกันแบบปีต่อปีและ ต้องพยายามสร้างงานไปขายตามสถานีเอง ทำให้เขาต้องการจะเห็นหน่วยงานที่เป็นศูนย์กลาง การรวมงานให้โอกาสกับแอนิเมเตอร์อิสระที่ขาดพลังเจรจาต่อรองในการซื้อขายงาน ส่วนแอนิเมเตอร์หนุม่ อย่าง พิชติ ตัง้ ข้อสังเกตผ่านประสบการณ์การสร้างแอนิเมชัน่ “ไตร” ที่แม้จะได้ทุนสร้างไปไม่น้อย แต่เขากลับเห็นว่า เราใช้ทุนทุ่มให้กับเทคโนโลยีทั้งฮาร์ดแวร์และ ซอฟต์แวร์มากเกินไป จ�ดเริ่มต้นเพื่อฟันฝาของแอนิเมเตอร์มือใหม่ ปัญหาแรกที่แอนิเมเตอร์มือใหม่ควรขบคิดคือ การ “ค้น หาตัวเอง” ที่สุเทพแนะว่า อันดับแรกก่อนเข้าสู่วงการควรตระหนักถึงสิ่งเหล่านี้ ๑. “ถามใจตัวเองให้ด”ี ว่าอยากเดินทางไหน บางคนไม่ชอบทีมงานใหญ่ เหมือนเช่นธวัชพงศ์ ที่พอใจกับการทำงานกับทีมเล็กแค่ ๖ คน และมุ่งไปที่งานมิวสิกวีดิโอหรือโฆษณา แต่บางคนชอบ กระโดดเข้าสู่อุตสาหกรรมหลัก ทำงานระยะยาว อย่างเขาที่ใช้ทีมเวิร์ก ๓๐-๕๐ คน ดังนั้นจึงต้อง เลือกเดินให้มั่นคงสักทาง และที่สำคัญไม่แพ้กันคือ
กระพือปกฝน… ปนหนังแอนิเมชั่น
69
๒. “ต้องหาทีมที่ดี” ให้ได้ หากทีมเวิร์กดี การทำงานก็จะสนุกราบรื่นและมีความสุข นอกจากนั้นคือ ๓. “ต้องมีความหวังอยู่เสมอ” ใจเราต้องแอบมีความหวังว่าผลงานที่เราทำจะต้องเป็น ไปได้โดยเฉพาะการทำผลงานชิ้นใหญ่ แอนิเมชั่นเรื่องยาว ที่เมื่อลงมือทำขึ้นมาจริง ๆ มักจะมี รายละเอียดยิบย่อยที่ทำให้ทุนบานปลายเกินคาดอยู่เสมอ ในขณะที่แอนิเมเตอร์ผลงานเรื่อง “ไตร” ให้ความเห็นว่า สิ่งสำคัญของแอนิเมเตอร์ พันธุใ์ หม่ ไม่ตอ้ งใช้สงิ่ ใดให้มากมายเกินกว่าความรูส้ กึ “รัก” ในการ์ตนู เหมือนทีเ่ ขาสนุกกับสิง่ ทีท่ ำ เพราะได้สนองความต้องการของตัวเองตั้งแต่เยาว์วัย แต่ความ “รัก” งานอย่างเดียวไม่เพียงพอ ต่อการก้าวไปข้างหน้า เพราะยังมีบริบทรายล้อมแอนิเมเตอร์อีกมากที่เป็นขวากหนามสำคัญให้ ต้องหนักใจ ระบบการศึกษาแอนิเมชั่นไทย : ผู้ใหญ่กำลังหลงทาง
แม้อินเทอร์เน็ตจะช่วยให้คนทำแอนิเมชั่นได้ง่ายขึ้น เพราะหาโปรแกรมคอยแนะแนวทาง ได้สะดวกขึน้ จนสถาบันการศึกษาทีเ่ ปิดสอนแอนิเมชัน่ ต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยทุม่ เทให้กบั การฝึกฝน นิสิตนักศึกษาให้ใช้โปรแกรมให้เป็นตั้งแต่ปี ๑ และผลักดันให้ทำ 3D ให้ได้ แต่พิชิตกลับเห็นว่า สิง่ ทีห่ ลักสูตรการศึกษาแอนิเมชัน่ ควรใช้เวลาให้มาก คือการกลับไปสอน “พืน้ ฐาน” ของการวาดรูป (Drawing) การร่างภาพ (Sketch) จังหวะและเวลา (Timing) ให้แน่นเสียก่อน เพราะการใช้โปรแกรม นั้นเสียเวลาไม่นาน (เนื่องจากโปรแกรมง่ายขึ้นเรื่อย ๆ) “หลักสูตรการศึกษากำลังมาผิดทาง ต้องเปลี่ยนทิศได้แล้ว เราไม่ควรตามเทคโนโลยีคนอื่นให้ทันอย่างเดียว แต่เราต้องเรียนรากฐาน ของศิลปะให้แน่น เพราะวันหนึง่ ข้างหน้า แอนิเมชัน่ อาจไม่เป็น 3D อีกต่อไป มันอัพเกรดขึน้ เรือ่ ย ๆ แต่ไม่ว่าเทคโนโลยีจะเปลี่ยนไปแค่ไหน เราก็ไม่ต้องกลัว ตราบใดที่เรายังมีฝีมือด้านศิลปะอยู่กับ ตัว” แอนิเมเตอร์หนุ่มทิ้งท้ายด้วยการระบายความอึดอัดกับระบบการเรียนการสอนแอนิเมชั่นใน บ้านเราได้อย่างตรงจุด
70
we…animation
ความหวังของแอนิเมเตอร์รุ่นพี่ ด้าน ธวัชพงศ์ ได้ชี้ปัญหาของแอนิเมเตอร์อิสระที่แม้ปัจจุบันจะมีเวทีการประกวด แอนิเมชั่นกับแทบทุกเดือน แต่เมื่อมีการประกาศผลรางวัลเสร็จสิ้นลงกลับขาดเวทีที่จะสานต่อ ทำ ให้กลุม่ แอนิเมเตอร์อสิ ระหน้าใหม่ ๆ อาจหมดกำลังใจ เขาจึงหวังจะเห็นหน่วยงานทีเ่ ป็นศูนย์รวมคน ทำแอนิเมชัน่ อิสระ เหมือนเช่นต่างประเทศทีม่ กี ารตัง้ เป็นสมาคม และมีการจัดงานพบปะกันระหว่าง แอนิเมเตอร์อิสระกับแอนิเมเตอร์จากสตูดิโอใหญ่ เพื่อช่วยให้เกิดความหลากหลายทางความคิด และเกิดการพัฒนามุมมองใหม่ ๆ ในแอนิเมชั่นทั้งระบบ ขณะที่เจ้าของผลงาน 4 Angels หวังที่จะเห็นแอนิเมชั่นเข้าถึงคนได้ทุกเพศทุกวัย ไม่ใช่แค่ เรื่องของเด็ก เหมือนญี่ปุ่นเขาก้าวไปมากแล้ว และหากเป็นไปได้เขาก็หวังจะได้เห็นว่าแอนิเมชั่น ไทยได้รับความนิยมถึงขึ้นแข่งกับละครหลังข่าวได้เลยทีเดียว ส่วนเจ้าของแอนิเมชั่นแอ็กชั่นเรื่อง “ไตร” ก็หวังเช่นกันว่า ความนิยมของแอนิเมชั่นจะไม่ ใช่เรื่องของ “แฟชั่น” ที่ผ่านมาเดี๋ยวเดียวแล้วก็ผ่านไป แต่เขาหวังจะให้คนมองว่าแอนิเมชั่นเป็น เครื่องมือนำเสนอเรื่องราวอย่างหนึ่ง เป็นสื่อชนิดหนึ่งที่คงอยู่คู่สังคมไทยและมีการพัฒนาอย่าง ต่อเนื่อง ขณะที่รัฐบาลหากคิดจริงจังกับการพัฒนาแอนิเมชั่น ต้องเริ่มจาก “เด็ก” ทำให้พื้นฐาน ก้าวไกลกว่าที่เป็น ก่อนจะกล่าวทิ้งท้ายฝากให้ผู้ใหญ่ ในแวดวงการศึกษาบ้านเราต้องกลับไป ทบทวนถึงทิศทางของแอนิเมชั่นไทยกันอย่างถ่องแท้ว่า “อย่าเห่อกับแฟชั่นซอฟต์แวร์ใหม่ ๆ คิดเสียว่ามันเป็นแค่พู่กันที่ดีมาก แต่เราจะระบายสีได้ สวยหรือไม่ สุดท้ายก็มาจาก “หัว” มาจากการรู้จัก – เข้าใจ และรักในศิลปะจริง ๆ” ข้อคิดจากวงเสวนาสุดท้ายจากโครงการ แม้จะเป็นปัญหาซ้ำซากที่ต้องถกกันอยู่บ่อยครั้ง แต่ก็ยังเป็นปัญหาที่รอคอยการแก้ไขอย่างจริงจังกันต่อไป แต่สิ่งที่ ไม่ต้องปล่อยให้รอคอยก็คือ การประกาศผลรางวั ล การประกวดแอนิ เ มชั่ น รั ก การอ่ า น We...Animation : กระพื อ ปี ก ฝัน ปั้นหนังแอนิเมชั่น ซึ่งปรากฏว่าผลงานชนะเลิศที่ได้รับรางวัล ๕๐,๐๐๐ บาทไปนั้น กินกันไม่ลง
กระพือปกฝน… ปนหนังแอนิเมชั่น
71
เนื่องจากมีข้อดีกันคนละด้าน จึงทำให้รางวัลชนะเลิศสูงสุดนั้นมี ๒ ผลงาน ที่คว้ารางวัลนี้ไปครอง นั่นคือ My Dear “หนังสือให้อะไรมากกว่าที่คิด” 2D แอนิเมชั่นแสนอบอุ่นของ พิชญ์สินี ศิ ริ โ ชติ ช ำนาญ ที่ ส ะท้ อ นแง่ ง ามของหนั ง สื อ ที่ แ ตกต่ า งไปจากคนอื่ น นั้ น กิ น ใจกรรมการ มากเท่าเทียมกับ Old Book “การ์ตูนสุดฮาว่าด้วยสองเพื่อนซี้ที่รอดชีวิตได้เพราะหนังสือ” ของทีม Rider Frog ซึ่งถ้าหากMy Dear เป็นแอนิเมชั่นขวัญใจสาว ๆ Old Book ก็เป็น 2D แอนิเมชั่นที่ ดูง่ายแต่แสนสนุกจนเป็นขวัญใจเด็ก ๆ ไม่แพ้กัน โฉมหน้าผู้ ได้รบั รางวัลชนะเลิศ ยอดเยี่ยม
ชนะเลิศ
ชนะเลิศและ popular vote ส่วนรางวัลยอดเยี่ยมที่คว้าเงินรางวัลไป ๔๐,๐๐๐ บาทตกเป็นของต้นไม้แห่งจินตนาการ “จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อพระราชาเกลียดหนังสือ จนสั่งห้ามมิให้อาณาจักรของเขามีหนังสือแม้แต่เล่ม เดียว” แอนิเมชั่นสองมิติของ อิทธิวัฐก์ สุริยมาตย์ ที่โดดเด่นด้านการออกแบบคาแรกเตอร์ และลายเส้น แต่ยังขาดการสร้างภาพเคลื่อนไหวที่แสดงถึงศักยภาพความเป็นแอนิเมชั่นตาม หลักเกณฑ์การตัดสิน
72
we…animation
และรางวัลยอดนิยม Popular Vote นั่นก็คือ อ่านหน่อย “อ่านหน่อยน่า…น่านะ เชื่อเถอะ มิเช่นนั้นอาจเป็นเช่นนี้” ผลงานจากทีม rider frog อีกเช่นกัน ที่ได้รับคะแนนเสียงอย่างท่วมท้น หลังจากเปิดฉายให้ผู้ชมในวันตัดสินได้เลือกโหวตกันแบบสด ๆ เพราะเปี่ยมด้วยอารมณ์ขันปน เสียดสีคนที่ไม่ชอบอ่านหนังสือได้อย่างตรงใจผูช้ ม โดยมีประธานในงาน ศ. ดร. อภินนั ท์ โปษยานนท์ ประธานกรรมการสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ ที่มารับหน้าที่แทนคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี มามอบโล่รางวัลเป็นกำลังใจ ส่วนทั้งหมดที่เหลืออีก ๙ เรื่อง คือ The Wisdom Quest มหากาพย์ดาบแห่งปัญญา, Beda Reader ไข่ลิงจริง ๆ นะ ตอน รักการอ่าน, My Book, Love to Read, Slime Story, Open your world open our world, Mode, Time และ Chamber of Knowledge ต่างก็ได้รับรางวัล สร้างสรรค์ ผลงานละ ๑๐,๐๐๐ บาท พร้อมเกียรติบัตรจาก คุณเข็มพร วิรุณราพันธ์ ผู้จัดการ แผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน (สสย.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) แม้โครงการ “We…Animation : กระพือปกฝน ปนหนังแอนิเมชั่น”จะปิดฉากด้วยการ ประกาศผลรางวัล แต่คำว่าผู้ชนะและผู้แพ้ไม่เกิดขึ้นสำหรับเวทีนี้ คือทุกคนล้วนเป็น “ผู้ชนะ” ที่อย่างน้อยก็ชนะใจตนเอง ผลักดันผลงานมาจนสุดทาง และเป้าหมายที่แท้จริงของเราคือ การ “เผยแพร่ผลงานของผู้ชนะ” ทั้งหมดไปสู่มือสื่อมวลชนและองค์กรที่ทำงานสนับสนุนการอ่าน ที่ต่างตบเท้ามาร่วมพิธีรับมอบผลงานแอนิเมชั่นในครั้งนี้กันแบบเกินคาด เพื่อส่งต่อความคิดที่เกิด จากการร่วมแบ่งปันความเห็นซึง่ กันและกันจากโครงการ ผ่านไปยังแอนิเมเตอร์พนั ธุใ์ หม่ทกุ แห่งหน ด้วยหวังจะเห็นคนกลุม่ นีก้ ล้าจะกระพือปีกฝันปัน้ หนังแอนิเมชัน่ ในวันพรุง่ นีอ้ ย่างมัน่ คงและมีทศิ ทาง
กระพือปกฝน… ปนหนังแอนิเมชั่น
73
74
we…animation
คำขอบคุณ แอนิเมชั่น นับเป็นสื่อใหม่ที่ท้าทายความใฝ่รู้ของเยาชนยุคปัจจุบัน ขณะเดียวกันยังเป็นสื่อที่ทรงพลัง สามารถสื่อสารได้หลากกลุ่มเป้าหมาย การเปิดเวทีแลกเปลีย่ นความรูแ้ ละจัดประกวดแอนิเมชัน่ ของโครงการ อบรมผู้ผลิตสื่อแอนิเมชั่นรุ่นใหม่ จึงได้รับความสนใจจากคนรุ่นใหม่ไม่น้อย ขอขอบคุณผูท้ รงคุณวุฒแิ ละคณะกรรมการแผนงานสือ่ สร้างสุขภาวะ เยาวชน (สสย.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่เปิดวิสัยทัศน์นำสื่อแอนิเมชั่นมารับใช้สังคม ขอขอบคุณ คุณเข็มพร วิรณ ุ ราพันธ์ ผูจ้ ดั การแผนงานสือ่ สร้างสุขภาวะ เยาวชน (สสย.) ทีห่ นุนเสริมก่อเกิดโครงการอบรมผูผ้ ลิตสือ่ แอนิเมชัน่ รุน่ ใหม่ จนนำมาสู่การทำงานร่วมกันของ ๕ องค์กรเพื่อกิจกรรมในครั้งนี้ ขอขอบคุณ คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ และ ดร. อภินนั ท์ โปษยานนท์ ผู้ใหญ่ใจดีที่ให้ความสำคัญต่อกิจกรรมสื่อสร้างสรรค์ของเยาวชน
กระพือปกฝน… ปนหนังแอนิเมชั่น
75
ขอขอบคุณ รศ. ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์ กับภารกิจสำคัญมากไปกว่า ทีป่ รึกษา ทัง้ ร่วมคิด ร่วมปฏิบตั ิ ตลอดจนการนำไปสูก่ ารขยายผลสูเ่ วทีอน่ื ๆ ขอขอบคุณ คุณเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ กับการเปิดโลกทัศน์ศิลปะ ส่องทางพลังแห่งการอ่าน ขอบคุณ คุณจรูญพร ปรปักษ์ประลัย อาจารย์ปรีดา อัครจันทโชติ คุณอมราพร แผ่นดินทอง และอาจารย์ณศรัณย์ หวังศรีโรจน์ ที่ส่องทาง การเขียนเรื่องและการเขียนบท รากสำคัญของศิลปะแขนงนี้ ขอบคุณ คุณโอม รัชเวทย์ ที่ย้อนตำนานแอนิเมชั่นไทย และร่วมเป็น กรรมการคัดสรรผลงานหลายรอบ ขอบคุ ณ คุ ณ พั ศ พงษ์ พานิ ช , คุ ณ สละ นาคบำรุ ง , คุ ณ ชั ย พร พานิชรุทติวงศ์ กับผลงานแอนิเมชั่นหลากหลายยุค ขอบคุณ คุณสุเทพ ตันนิรัตน์ คุณพิชิต จันทราประภาวัฒน์ ที่ร่วม ปูทางสร้างฝันแก่แอนิเมชั่นรุ่นใหม่ ขอบคุณเป็นอย่างยิง่ สำหรับ คุณคมภิญญ์ เข็มกำเนิด และคุณสุทธิชาติ ศราภัยวานิช คุณธวัชพงศ์ ตั้งสัจจะพจน์ ที่ร่วมเปิดโลกความเป็นจริงของ แอนิเมชั่นอย่างครบสูตร ขอบคุณ คุณประสพโชค จันทรมงคล เดอะดวง และเยาวชนจากนิตยสาร Gloze ที่เข้าร่วมเป็นตัวแทนตัดสินผลงาน รวมทั้งผู้เข้าร่วมกิจกรรมรอบ สุดท้ายที่ร่วมโหวตผลงานยอดนิยม ขอบคุ ณ คณาจารย์ แ ละสถาบั น การศึ ก ษาที่ ส นั บ สนุ น ให้ นั ก เรี ย น นักศึกษา เข้าร่วมกิจกรรมและส่งผลงานแอนิเมชั่นร่วมประกวด ขอบคุณสือ่ มวลชนทุกแขนงกับการเผยแพร่ขา่ วสารและให้ความสำคัญ ต่อกิจกรรมสื่อสร้างสรรค์ของเยาวชน และองค์กรทุกองค์กรที่เข้าร่วมกัน มอบผลงานรางวัลชนะการประกวดเพือ่ สานต่อการขยับปีกฝันของคนรุน่ ใหม่
76
we…animation
สุดท้ายขอขอบคุณ คุณแวมะรอดิง อิแมลอดิง และทีมงาน สสย. ที่ประสานติดตามอย่างใกล้ชิด ร่วมคลี่คลายปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างทาง ขอบคุณหลายต่อหลายคนที่มิได้เอ่ยนาม ณ ที่นี้ ทั้งมวลล้วนก้าวสู่ เส้นทางเดียวกัน เพราะรักในสิง่ เดียวกัน จึงเป็นทีม่ าของกิจกรรมดี ๆ สูส่ งั คม We...Animation : กระพือปีกฝัน ปั้นหนังแอนิเมชั่น ในครั้งนี้ สุดใจ พรหมเกิด ประธานโครงการเบิกเวทีเพื่อผู้ผลิตสื่อแอนิเมชั่นรุ่นใหม่ We...Animation : กระพือปีกฝัน ปั้นหนังแอนิเมชั่น
กระพือปกฝน… ปนหนังแอนิเมชั่น
77
แผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน (สสย.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ความสำคัญ วัยเด็ก คือ วัยเรียนรู้ เราพบว่าแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญของเด็กคือ ครอบครัว โรงเรียน เพื่อน ชุมชน และสื่อ “สื่อ” ได้รุกคืบเข้ามามีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของเด็กเพิ่มขึ้นทุกขณะ ด้วยสาเหตุสภาพ ครอบครัวและชุมชนเปลี่ยนแปลงไป ทำให้เด็กใช้เวลาอยู่กับ “สื่อ” ทั้งโทรทัศน์ วิทยุ ภาพยนตร์ นิตยสาร เกมคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต เทป วีซีดี โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ มากกว่ากิจกรรมอื่น ๆ “สื่ อ ” จึ ง กลายเป็ น แหล่ ง เรี ย นรู้ ที่ ท รงอิ ท ธิ พ ลมากในการถ่ า ยทอดค่ า นิ ย ม ทั ศ นคติ และแบบอย่างแก่เด็ก สิ่งที่ตามมาคือ ผลกระทบของสื่อที่มีต่อเด็กและเยาวชน เพราะสื่อในขณะนี้ เปิดกว้างและสามารถเข้าถึงกลุ่มคนทุกวัย ดังนั้นเด็กจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องเสพสื่อซึ่งมีเนื้อหา ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะพฤติกรรมทางเพศ ความรุนแรง และพฤติกรรมการบริโภคนิยม จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้ “สื่อ” มาเป็นกลไกการพัฒนาและเสริมสร้างสุขภาวะ ของเด็กและเยาวชน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงสนับสนุน ให้เกิด “แผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน (สสย.)” โดยความร่วมมือกับองค์กรภาคีต่าง ๆ ทั้งหน่วยงานเชิงนโยบาย กลุ่มกิจกรรม สถาบันวิชาการ เครือข่ายสังคม ผู้ผลิต ผู้บริโภค ฯลฯ
78
we…animation
วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาระบบการสร้างสรรค์สื่อและการเผยแพร่สื่อที่มีคุณภาพต่อเยาวชน ครอบครัว และสังคม ผ่านกระบวนการมีสว่ นร่วมทัง้ ภาครัฐ เจ้าของสือ่ ผูผ้ ลิตสือ่ ภาคธุรกิจ ภาคสังคม ชุมชน ครอบครัว ตลอดจนเด็กและเยาวชน เปาหมาย • เด็กและเยาวชนเข้าถึงสื่อสร้างเสริมสุขภาวะผ่านช่องทางการเผยแพร่ต่าง ๆ • มีต้นแบบของสื่อสร้างเสริมสุขภาวะเยาวชน • ผู้ผลิตสื่อเพื่อเยาวชนได้รับการเสริมพลังและสามารถผลิตสื่อคุณภาพสู่สังคม • ผู้ผลิตสื่อโดยเฉพาะเด็ก เยาวชน และครอบครัว ได้เรียนรู้สื่อ สามารถเลือกบริโภคสื่อ และมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์สื่อเพื่อเยาวชน • นโยบายพัฒนาเด็กและเยาวชนได้รับการสนับสนุนในฐานะเป็นวาระแห่งชาติและได้รับ การตอบรับจากสาธารณชน ยุทธศาสตร์การดำเนินงาน ๓ ป (พ.ศ. ๒๕๕๐-๒๕๕๒) ยุทธศาสตร์หลักของแผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน (สสย.) เพื่อสร้างเสริมให้เกิดสื่อที่ดี สร้างสรรค์สำหรับเยาวชน แบ่งออกเป็น ๕ ด้าน ดังนี้ ๑. การพัฒนาช่องทางการเผยแพร่สื่อสร้างสรรค์ ๒. การสนับสนุนการผลิตสื่อ ๓. การพัฒนาศักยภาพผู้ผลิตสื่อ ๔. การสร้างกระแสสังคม และการมีส่วนร่วม ๕. การผลักดันนโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสื่อเพื่อเด็ก เยาวชน และครอบครัว
กระพือปกฝน… ปนหนังแอนิเมชั่น
79
ยุทธศาสตร์ที่ ๑ การพัฒนาช่องทางการเผยแพร่สื่อ สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาช่องทางเผยแพร่สื่อสร้างสรรค์เพื่อการสร้างสุขภาวะของ เยาวชน ทั้งในช่องทางสื่อกระแสหลักและสื่อทางเลือก ซึ่งเป็นช่องทางที่เยาวชน ครอบครัว และชุมชน มีส่วนร่วมในการเผยแพร่ หรือร่วมพัฒนาช่องทางของชุมชนเองได้ • การพัฒนาสถานี ETV ให้เป็นช่องทางเผยแพร่รายการสร้างสรรค์สำหรับเด็กและ เยาวชนทุกวัย และเตรียมพร้อมสำหรับสถานีโทรทัศน์เพื่อเด็กและครอบครัว • การพัฒนาช่องทางการเผยแพร่รายการโทรทัศน์เด็กที่มีคุณภาพ เข้าถึงเด็กมากยิ่งขึ้น โดยผ่านช่องทางโทรทัศน์ เคเบิลท้องถิ่น อินเทอร์เน็ตทีวี IPTV ฯลฯ • การพัฒนาเครือข่ายวิทยุสำหรับเด็กและเยาวชน เพื่อเผยแพร่รายการวิทยุที่มีคุณภาพ และเข้าถึงเด็กหลากหลายมากยิ่งขึ้น • การพัฒนาช่องทางและกลไกการเผยแพร่หนังสือเด็ก เพือ่ ให้หนังสือทีม่ คี ณ ุ ภาพกระจาย เข้าถึงเด็กทุกกลุ่ม • การพัฒนาสื่อทางเลือก เช่น ลิเก ละคร สื่อพื้นบ้าน ฯลฯ เพื่อศึกษา ส่งเสริม และพัฒนา การใช้สื่อทางเลือกที่มีเนื้อหาส่งเสริมสุขภาวะเยาวชน ฯลฯ ยุทธศาสตร์ที่ ๒ การสนับสนุนการผลิตสื่อเด็กและเยาวชนที่มีเนื้อหาส่งเสริมคุณลักษณะที่พึง ประสงค์ สนับสนุนให้มรี ายการวิทยุโทรทัศน์ทเี่ หมาะสมกับเด็ก เยาวชน และครอบครัว โดยจัดระบบ การให้ทุนอุปถัมภ์แก่โครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ที่มุ่งผลิตสื่อที่มีเนื้อหาเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะ แก่เด็กและเยาวชน • สนับสนุนการผลิตสื่อ (รายการโทรทัศน์ รายการวิทยุ หนังสือ) สำหรับเด็กและเยาวชน • สนับสนุนการผลิตสือ่ ต้นแบบสำหรับเด็ก เช่น รายการโทรทัศน์ วิทยุ มัลติมเี ดีย แอนิเมชัน่ ภาพยนตร์สั้น ฯลฯ เพื่อกระตุ้นให้มีการพัฒนาวงการสื่อเด็ก • การระดมทุนและทรัพยากรเพือ่ การผลิตสือ่ เด็ก และผลักดันเรือ่ งนี้ให้เป็นนโยบายรัฐ ฯลฯ
80
we…animation
ยุทธศาสตร์ที่ ๓ พัฒนาศักยภาพผู้ผลิตสื่อสำหรับเด็ก สนับสนุนให้เกิดการร่วมมือในกลุ่มผู้ผลิตสื่อสร้างสรรค์สำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว เพื่อนำไปสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การถ่ายทอดประสบการณ์ผู้ผลิตมืออาชีพสู่ผู้ผลิตรุ่นใหม่ ทำให้ เกิดการพัฒนาศักยภาพของผูผ้ ลิตสือ่ สร้างสรรค์ รวมทัง้ สนับสนุนให้เยาวชนครอบครัวและผูบ้ ริโภคสือ่ ได้มีส่วนร่วมในการผลิตสื่อ ซึ่งสามารถพัฒนามาเป็นผู้ผลิตสื่อสร้างสรรค์ได้ต่อไป • สร้างเครือข่ายผู้ผลิตและเครือข่ายวิชาชีพด้านสื่อเด็ก • การจัดอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มผู้ผลิต ถ่ายทอดประสบการณ์จากมืออาชีพสู่ คนรุ่นใหม่ • ส่งเสริมให้เกิดผู้ผลิตสื่อเด็กรายใหม่/รายย่อย และสนับสนุนโอกาสเข้าสู่ช่องทาง เผยแพร่สื่อ รวมถึงการผลิตสื่อโดยเยาวชน • พัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการผลิตสื่อสำหรับเด็ก • พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนเรื่องสื่อเด็กในสถาบันการศึกษา • การให้รางวัลแก่ผู้ผลิตสื่อเด็กที่ดีมีคุณภาพ • พัฒนาระบบสนับสนุนผู้ผลิตสื่อเด็ก เช่น มาตรการภาษี เวลาออกอากาศ ช่องทาง เผยแพร่ ฯลฯ ยุทธศาสตร์ที่ ๔ การสร้างกระแสสังคม และการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสื่อ สนับสนุนการสร้างกระแสสังคม กระตุน้ ให้สงั คมเกิดการตืน่ ตัว โดยใช้กลไกการรณรงค์สอื่ สาร และส่งเสริมให้ผู้บริโภคสื่อมีส่วนร่วมในการพัฒนาสื่อเด็ก เยาวชน และครอบครัว • พัฒนาเครือข่ายเฝ้าระวังตรวจสอบสื่อ และเครือข่ายทางสังคม • พัฒนาหลักสูตรและกิจกรรมเรียนรู้เท่าทันสื่อ (Media Education) เพื่อให้การศึกษา แก่ผู้บริโภค • สร้างเครือข่ายเยาวชน ครอบครัว และชุมชน ฯลฯ
กระพือปกฝน… ปนหนังแอนิเมชั่น
81
ยุ ท ธศาสตร์ ที่ ๕ การผลั ก ดั น นโยบายและกฎหมายที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ สื่ อ เพื่ อ เด็ ก เยาวชน และครอบครัว ร่วมผลักดันและขับเคลือ่ นนโยบายรวมทัง้ กฎหมายและกฎระเบียบต่าง ๆ ทีเ่ กีย่ วข้องกับสือ่ เพือ่ เด็ก เยาวชน และครอบครัว โดยทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายทัง้ กับภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม เครือข่ายเยาวชนและครอบครัว เช่น • กองทุนสื่อสร้างสรรค์เพื่อเด็ก เยาวชน และครอบครัว • สื่อมวลชนศึกษา • การส่งเสริมการอ่านหนังสือ • พัฒนามาตรฐานสำหรับเด็ก เช่น การจัดระดับและจำแนกสือ่ ตามเนือ้ หาและกลุม่ ผูร้ บั สือ่ ฯลฯ • คณะกรรมการกำกับทิศทางแผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน ดร. จรวยพร ธรณินทร์ ศ. นพ. ประกิต วาทีสาธกกิจ นายเกียรติชัย พงษ์พานิชย์ นายแพทย์ฐิตศักดิ์ บุยไทย นางมัทนา ถนอมพันธุ์ หอมลออ รศ. ดร. อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ นายแพทย์ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ผศ. ดร. วิลาสินี อดุลยานนท์ นายแพทย์บุญชัย สมบูรณ์สุข นางสาวเข็มพร วิรุณราพันธ์ นายรัชฏะ ศรีบุญรัตน์
82
we…animation
• ที่ปรึกษาแผนงานฯ อาจารย์ศรีสว่าง พั่ววงศ์แพทย์ ดร. อภิญญา เวชยชัย • กรรมการแผนงานฯ ดร. โคทม อารียา ประธานกรรมการแผนงานฯ รศ. ดร. อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ กรรมการแผนงานฯ รศ. ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์ กรรมการแผนงานฯ ดร. เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์ กรรมการแผนงานฯ คุณสุดา ติวยานนท์ กรรมการแผนงานฯ ดร. นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี กรรมการแผนงานฯ นายแพทย์ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ กรรมการแผนงานฯ ดร. สายฤดี วรกิจโภคาทร กรรมการแผนงานฯ คุณเข็มพร วิรุณราพันธ์ กรรมการแผนงานฯ
กระพือปกฝน… ปนหนังแอนิเมชั่น
83
• ผู้จัดการแผนงานฯ คุณเข็มพร วิรุณราพันธ์ • องค์กรบริหารแผนงานฯ มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก Website: http://www.iamchild.org • ติดต่อแผนงานฯ แผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน (สสย.) 979/116-120 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ ชั้น 15 ถ. พหลโยธิน สามเสนใน พญาไท กทม. 10400 โทรศัพท์ 0-2298-0222-24 โทรสาร 0-2298-0222-24 #707 Email : childmedia@yahoo.com, Website : http://www.childmedia.net
84
we…animation
ภาคผนวก
ใครเปนใครใน “ เครือข่ายสร้างเสร�มผู้ผลิตสื่อสร้างสรรค (สส.สส.)
กระพือปกฝน… ปนหนังแอนิเมชั่น
85
คณะกรรมการเครือข่ายฯ เกิดจากการรวมตัวกันของผู้ทำงานด้านสื่อสารมวลชน อาทิ
๑. สถาบันการ์ตูนไทย มูลนิธิเด็ก
- สุดใจ พรหมเกิด: ผู้จัดการ (ประธานเครือข่ายฯ)
- พวงผกา แสนเขื่อนสี: ฝ่ายประชาสัมพันธ์ (ผู้ช่วยกรรมการเลขานุการเครือข่ายฯ)
๒. เครือข่ายนักวิชาการนิเทศศาสตร์
86
- อ. ไศลทิพย์ จารุภูมิ: ภาควิชาภาพยนตร์และภาพนิ่ง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (กรรมการเครือข่ายฯ)
- อ. สุกัญญา สมไพบูลย์: ภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (กรรมการเครือข่ายฯ)
- อ. นับทอง ทองใบ: ภาควิชาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม (กรรมการเลขานุการเครือข่ายฯ)
we…animation
๓. Bioscope Magazine
- สุภาพ หริมเทพาธิป: กรรมการผู้จัดการ (กรรมการเครือข่ายฯ)
- โชคชัย ชยวัทโฒ: ผู้จัดการทั่วไป (กรรมการเครือข่ายฯ)
- นพพร ศักดานเรศว์: ผู้จัดการฝ่ายกิจกรรมพิเศษ (กรรมการเครือข่ายฯ)
๔. Flip Cafe
- ธวัชพงศ์ ตั้งสัจจะพจน์: คอลัมนิสต์อิสระและแอนิเมเตอร์อิสระ (กรรมการเครือข่ายฯ)
๕. สถาบัน Thai Rural Net (TRN)
- สุนิตย์ เชรษฐา: ผู้อำนวยการ (กรรมการเครือข่ายฯ)
กระพือปกฝน… ปนหนังแอนิเมชั่น
87
ผู้ทรงคุณวุฒิของโครงการฯ
ดร. โคทม อารียา ประธานคณะกรรมการแผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน (สสย.)
คุณเข็มพร วิรุณราพันธ์ ผู้จัดการแผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน (สสย.) และผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก
รศ. ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
we…
animation
กระพือปกฝน… ปนหนังแอนิเมชั่น
ISBN : 978-616-7309-08-8 เรียบเรียง : นับทอง ทองใบ บรรณาธิการ : สุดใจ พรหมเกิด ประสานงานผลิต : พวงผกา แสนเขื่อนสี, จิรายุ ศรีขาว ออกแบบปก/รูปเล่ม : สำนักพิมพ์ ปิ่นโต พับลิชชิ่ง จัดพิมพ์ : โครงการอบรมผู้ผลิตสื่อแอนิเมชั่นรุ่นใหม่ We...Animation กระพือปีกฝัน... .ปั้นหนังแอนิเมชั่น สนับสนุนโดย : แผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน (สสย.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พิมพ์ครั้งแรก : มีนาคม 2551 พิมพ์ครั้งที่ 2 : ตุลาคม 2552 จำนวน : 3,000 เล่ม