ผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเลสถานการณ์ และ ข้อเสนอ

Page 1


สร้ างสรรค์ ปัญญา : ชุดนโยบายสาธารณะ ลําดับที่ 17 สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

ผลประโยชน์ แห่ งชาติทางทะเล สถานการณ์ และ ข้ อเสนอ

รองศาสตราจารย์ ดร. เผดิมศักดิ์ จารยะพันธุ์ และคณะ

สร้ างสรรค์ ปัญญา: ชุดนโยบายสาธารณะ จัดพิมพ์โดยสํานักงานกองทุนสนับสนุน การวิจยั (สกว.) เพื่อนําเสนอข้ อมูลและความรู้ ที่ได้ จากการศึกษาวิจยั อย่างเป็ นระบบ และรอบด้ าน ให้ ผ้ ทู ี่มีส่วนในการกําหนดนโยบาย องค์กร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้ อง ตลอดจนประชาชนทัว่ ไป ได้ เห็นข้ อเท็จจริ งและแนวทางในการกําหนดนโยบายในการ แก้ ไขปั ญหาของประเทศ


ผลประโยชน์ แห่ งชาติทางทะเล สถานการณ์ และ ข้ อเสนอ โดย รองศาสตราจารย์ ดร. เผดิมศักดิ์ จารยะพันธุ์ และคณะ

ปี ที่พมิ พ์ ธันวาคม 2550 พิ มพ์และจัดจําหน่ ายโดย สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิ จยั ชัน้ 14 อาคารเอส เอ็ม ทาวเวอร์ ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กทม. 10400 โทรศัพท์ 0-2278-8200 โทรสาร 0-2298-0476 http://www.trf.or.th ราคา 80 บาท

ข้ อมูลทางบรรณานุกรมของสํานักหอสมุดแห่ งชาติ เผดิมศักดิ์ จารยะพันธุ์. ผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล: สถานการณ์และข้อเสนอ. - - กรุ งเทพฯ: สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั . 2550. 64 หน้า. 1. กฎหมายทะเล. I. ชื่อเรื่ อง 341.45 ISBN: 978-974-13-2751-5


โครงการ “สถานการณ์ปัจจุบนั และแนวโน้ มในอนาคตของประเทศไทย กับการใช้ทะเลอย่างยังยื ่ น” คณะผูว้ ิ จยั 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13. 14. 15.

รองศาสตราจารย์ เผดิมศักดิ ์ จารยะพันธุ์ รองศาสตราจารย์ ศรัณย์ เพ็ชร์พริ ณ ุ นายโกมล จิรชัยสุทธิกุล นางพวงทอง อ่อนอุระ ดร.สมิท ธรรมเชือ้ นางสาวอรชา ธนากร นางสุมาลี สุขดานนท์ นายสมภพ รุง่ สุภา นายเทวัญ ธนมาลารัตน์ นางสุนนั ทา เจริญปญั ญายิง่ อ.ศักดิ ์อนันต์ ปลาทอง นางสาววลัยพร ล้ออัศจรรย์ นางสาวอาภรณ์ โพธิ ์พงศ์ววิ ฒ ั น์ นางสาวพรพรรณ จันทร์แจ้ง นางสาวโสภิต สร้อยสอดศรี

สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.)

หัวหน้าโครงการ นักวิจยั นักวิจยั นักวิจยั นักวิจยั นักวิจยั นักวิจยั นักวิจยั นักวิจยั นักวิจยั นักวิจยั นักวิจยั นักวิจยั นักวิจยั นักวิจยั

3


คํานํา ประเทศไทยควรมียุทธศาสตร์อย่างไรในการใช้ ประโยชน์ ทะเลในน่ านนํ้ าไทย และนอกน่ านนํ้ าไทย? เป็ นจุดตัง้ ต้นของการหาข้อมูลและองค์ความรูใ้ นทุกบริบทที่เกี่ยวข้อง กับ ทะเล สํา นั ก งานกองทุ น สนั บ สนุ น การวิจ ัย (สกว.) ได้ส นั บ สนุ น กลุ่ ม นั ก วิช าการจาก สถาบัน วิจ ัย ทรัพ ยากรนํ้ า และสถาบัน การขนส่ ง จุ ฬ าลงกรณ์ ม หาวิท ยาลัย คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรมประมง กรมสนธิสญ ั ญาและกฎหมาย สํานักงานคณะกรรมการ กฤษฎีกา สถาบันวิชาการทหารเรือชัน้ สูง และสมาคมวิทยาศาสตร์ทางทะเลแห่งประเทศไทย ศึกษาสถานการณ์ปจั จุบนั และแนวโน้มในอนาคตของประเทศไทยกับการใช้ทะเลอย่างยังยื ่ น วิเคราะห์ศกั ยภาพและโอกาสการใช้ประโยชน์ของทางเรือไทยในอนาคต และศึกษามุมมองการ กําหนดนโยบายทะเลและการใช้ประโยชน์ทะเลของประเทศต่างๆ คณะผู้วิจ ยั ได้ป ระมวลข้อมูล และความรู้ถึง ผลประโยชน์ ท างทะเล ผลการประมวล ความรูใ้ นระยะแรกได้ช้ใี ห้เห็นว่าผลประโยชน์ทางทะเลของประเทศไทยมีนัยยะทัง้ ในเชิงพืน้ ที่ ผลประโยชน์ ท างทะเลและมูล ค่ า มหาศาล ข้อ มูล นี้ เ ป็ น จุ ด เริ่ม ต้น ในการขับ เคลื่อ นให้เ ห็น ความสําคัญของการจัดทํานโยบายระดับชาติเพื่อพิทกั ษ์รกั ษาผลประโยชน์ แห่งชาติทางทะเล ไทย ทัง้ นี้ยงั ต้องการองค์ความรูจ้ ากงานวิจยั ทัง้ ในเชิงเทคโนโลยี และมิตทิ างสังคมอีกมาก เพื่อ ทําให้ผลประโยชน์ทางทะเลกลับสู่ประเทศไทยมากขึน้ นําไปสูค่ วามสมดุล พอเพียง และยังยื ่ น ได้ในอนาคต เอกสารสร้างสรรค์ปญั ญา ชุดนโยบายสาธารณะ ฉบับนี้ เป็ นการสกัดเนื้อหาสาระจาก โครงการสถานการณ์ปจั จุบนั และแนวโน้มในอนาคตของประเทศไทยกับการใช้ทะเลอย่างยังยื ่ น เพื่อสือ่ สารออกไปในวงกว้างให้มคี วามเข้าใจถึงความสําคัญทีป่ ระเทศไทยจะต้องมีนโยบายการ จัดการผลประโยชน์ ทางทะเลด้วยการใช้ความรู้ ที่ได้จากการรวมตัวของนักวิจยั ในมุมมองและ บทบาทต่างๆ อย่างบูรณาการ สกว.ใคร่ขอขอบคุณ รองศาสตราจารย์ ดร.เผดิมศักดิ ์ จารยะ พันธุ์ และคณะนักวิจยั ทุกท่าน ทีไ่ ด้ดําเนินงานวิจยั และช่วยเรียบเรียงจัดทําเอกสารนี้จนสําเร็จ ลุลว่ ง

ศ.ดร.ปิยะวัติ บุญ-หลง ผูอ้ าํ นวยการสํานักงานกองทุนสนับสนุ นการวิจยั

สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.)

4


สารบัญ คํานํา บทนํา 1. ผลประโยชน์ แห่งชาติ ทางทะเล 1.1 อาณาเขตพืน้ ทีท่ างทะเล 1.2 มูลค่าผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล 2. สถานการณ์การจัดการผลประโยชน์ แห่งชาติ ทางทะเล 2.1 สถานการณ์ปจั จุบนั ของประเทศไทยกับการใช้ทะเล 2.2 สิง่ แวดล้อมทางทะเล 2.3 นโยบายการรักษาผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล 2.4 กฎหมายทีเ่ กีย่ วข้องกับกิจกรรมการใช้ทะเล 2.5 หน่วยงานรับผิดชอบบริหารจัดการผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล 3. ประเด็นปัญหาและอุปสรรคของการจัดการผลประโยชน์ แห่งชาติ ทางทะเล 3.1 ปญั หาและอุปสรรคของการจัดการผลประโยชน์แห่งชาติ ทางทะเล 3.2 แนวโน้มในอนาคตของประเทศไทยกับการใช้ทะเล 4. ข้อเสนอการจัดการผลประโยชน์แห่งชาติ ทางทะเล บทส่งท้าย ภาคผนวก

สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.)

5


บทนํา

ทะเลเป็ นแหล่งทรัพยากรทีม่ คี วามอุดมสมบูรณ์ เป็ นแหล่งอาหารสําคัญของ คนไทย และทีส่ าํ คัญยิง่ คือการใช้ทะเลเกิดขึน้ ในหลายกิจกรรม หลายระดับ ซึง่ อาจ จัดเป็ น 4 กลุ่มหลัก คือ 1) กลุ่มการแสวงหาทรัพยากรทัง้ ที่มชี วี ติ และไม่มชี วี ติ 2) กลุ่มการคมนาคมขนส่ง การพาณิชยนาวี การสื่อสาร เป็ นกลุ่มทีใ่ หญ่ทส่ี ุดในแง่ของ ผลประโยชน์ทางทะเล 3) กลุ่มการแสวงหาข้อมูลและความรูเ้ ทคโนโลยีทเ่ี กีย่ วข้องกับ การใช้ทะเล และ 4) กลุ่มการสร้างความมันคงของประเทศตลอดถึ ่ งการปกป้อง ผลประโยชน์ทางทะเล เป็ นเรือ่ งสําคัญและเป็ นฐานของทัง้ 3 กลุม่ อาณาเขตทางทะเลของประเทศไทยมีกว่า 350,000 ตารางกิโลเมตร กว่า ครึง่ หนึ่งของอาณาเขตทางบกทีม่ อี ยู่ประมาณ 513,000 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย ั่ พืน้ ทีช่ ายฝงทะเลที ม่ คี วามยาวกว่า 2,800 กิโลเมตร น่านนํ้าภายใน ทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง ไหล่ทวีป และเขตเศรษฐกิจจําเพาะ ซึง่ มีทรัพยากรทางทะเลและชายฝงั ่ ทีห่ ลากหลายต่างกันรวมถึงอํานาจการบริหารจัดการดูแลก็ต่างกัน นอกจากนี้ยงั มี เขตทางทะเลอื่นๆ เช่น ทะเลหลวง ที่สามารถใช้ประโยชน์ ได้ไม่ว่าในการเดินเรือ การบิน การวางสายเคเบิล และท่อใต้ท ะเล การทํา การประมง และการวิจยั ทาง วิท ยาศาสตร์ท างทะเล ซึ่ง มีห ลัก ปฏิบ ัติร ะหว่ า งประเทศ ตลอดจนสิท ธิ หน้ า ที่ เสรีภาพในกฎหมายระหว่างประเทศหลายฉบับ โดยเฉพาะอนุ สญ ั ญาสหประชาชาติ ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 ที่เกี่ยวข้องและมีความสําคัญต่อกิจกรรมการใช้ ทะเลของประเทศไทย จึงอาจกล่าวได้ว่าผลประโยชน์ทางทะเลของประเทศไทยไม่ จํากัดอยู่เฉพาะภายในอาณาเขตทางทะเลของประเทศไทยเท่านัน้ หากยังรวมถึง เขตน่ านนํ้ าของประเทศเพื่อนบ้าน ทะเลหลวงหรือน่ านนํ้ าสากล หรือเขตทะเลของ ประเทศอื่นทัวโลกที ่ ่สามารถทําความตกลงกันได้ ซึ่งมีความสําคัญยิง่ ในอนาคตต่อ เศรษฐกิจ สังคม การเมืองและการปกครองของประเทศ สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.)

6


มีการประเมินว่าผลประโยชน์ ทางทะเลที่ประเทศไทยพึงได้รบั ในแต่ละปี ประมาณมูลค่าเบือ้ งต้นได้ไม่น้อยกว่า 7.5 ล้านล้านบาท แต่ในความเป็ นจริงประเทศ ไทยสูญ เสียผลประโยชน์ อนั พึงจะได้รบั ไปเป็ นจํานวนมาก ซึ่งเป็ นผลมาจาก 1) ทรัพยากรมีอยูอ่ ย่างจํากัด มีการใช้ประโยชน์อย่างไม่ยงยื ั ่ น ส่งผลให้เกิดความเสื่อม โทรมและหมดไปของทรัพยากรธรรมชาติ ผู้เ ชี่ยวชาญคาดว่ามูล ค่าการสูญ เสีย ผลประโยชน์ทางทะเลในปจั จุบนั เช่น การสูญเสียของสัตว์และพืชทะเล เป็ นต้น มี มากกว่าการใช้หลายเท่า 2) ขาดองค์ความรูท้ ่มี คี วามจําเป็ นต่อการบริหารจัดการ ผลประโยชน์ทางทะเล เช่น การบริหารจัดการทรัพยากรประมงในน่ านนํ้ าไทย การ ประมงนอกน่านนํ้าไทย การขนส่งทางนํ้าและการพาณิชยนาวี การวิจยั วิทยาศาสตร์ ทางทะเล เป็ นต้น 3) กฎข้อบังคับในระดับภูมภิ าคหรือระดับโลกมีการเปลีย่ นแปลง ไปโดยที่ประเทศไทยยังไม่ได้ปรับเปลี่ยนให้เท่าทัน 4) ประชาชนในพื้นที่ชายฝงั ่ ทะเลยังขาดโอกาสในการเข้าถึงการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลแบบบูรณา การ และที่สําคัญ คือ 5) ภาครัฐ ขาดนโยบายและแผนยุท ธศาสตร์ใ นการจัด การ ผลประโยชน์ ทางทะเลในภาพรวม ซึ่งทําให้การบริหารจัดการที่ผ่านมาไม่ประสบ ความสําเร็จ ในห้วงเวลา 10 ปี ขา้ งหน้า ผลประโยชน์ทางทะเลของประเทศไทยจะยิง่ มี มูลค่าเพิม่ มากขึน้ อย่างไรก็ตาม ยังมีภยั คุกคามทีส่ ง่ ผลกระทบต่อเสรีภาพในการใช้ ทะเลของประเทศไทยอยู่ ห ลายประการ ทัง้ จากภัย ทางทหาร และภัย อื่ น ๆ โดยเฉพาะการก่อการร้ายในทะเล การกระทําอันเป็ นโจรสลัด และภัยธรรมชาติ ต่างๆ ที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากยิง่ ขึ้น ดังนัน้ ประเทศไทยจึงจําเป็ นจะต้อง สร้างนโยบายแห่งชาติข้นึ เพื่อเกื้อหนุ นการดําเนิ นงานต่ างๆ ในการปกป้ องและ รักษาผลประโยชน์แห่งชาติท่เี กิดจากการใช้ทะเลอย่างเหมาะสม ทัง้ นี้จะต้องได้รบั การสนับสนุ นและความร่วมมือจากผูท้ เ่ี กี่ยวข้องทุกภาคส่วน ทัง้ จากภาคประชาชน ทัวไปและภาครั ่ ฐ โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในระดับสูงอย่างรัฐบาลทีม่ หี น้าทีส่ าํ คัญในการ บริหารนํ าพาประเทศให้เจริญก้าวหน้ าและดํารงอยู่ในประชาคมโลกได้อย่างเต็ม ภาคภูมิ

สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.)

7


เอกสาร “ผลประโยชน์ แห่งชาติทางทะเล สถานการณ์ และ ข้อเสนอ” ได้ ประมวลสาระสําคัญทีเ่ ป็ นผลจากการดําเนินงานพร้อมกัน 3 ด้าน คือ การจัดทํา ข้อมูลและองค์ความรู้ทางวิชาการจากโครงการวิจยั เรื่องสถานการณ์ ปจั จุบนั และ แนวโน้ มในอนาคตของประเทศไทยกับการใช้ทะเลอย่างยังยื ่ น การนํ าเสนอความ ต้องการของสังคมและภาคประชาชน และเจตจํานงทางการเมือง ผ่านการประชุม เชิงปฏิบตั กิ าร เรื่อง “การขับเคลื่อนสังคม” และการทํางานของคณะกรรมการรวม พลังขับเคลื่อนสังคมและคณะอนุ กรรมการขับเคลื่อนการจัดทํานโยบายระดับชาติ เกี่ยวกับผลประโยชน์ แห่งชาติทางทะเล ที่ร่วมกันในการขับเคลื่อนเพื่อผลักดันให้ เกิดการจัดทํานโยบายและยุทธศาสตร์ระดับชาติในการจัดการผลประโยชน์ทางทะเล ทัง้ นี้เพื่อให้ประเทศไทยสามารถใช้ประโยชน์ จากทะเลซึ่งเป็ นแหล่งผลิตที่ สําคัญได้อย่างคุม้ ค่า พอเพียง และยังยื ่ นสืบไป

สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.)

8


1.

ผลประโยชน์ แห่งชาติทางทะเล

ผลประโยชน์ แห่งชาติทางทะเล หมายถึง ผลประโยชน์ ท่ปี ระเทศไทยพึง ได้ร บั จากทะเลหรือ เกี่ย วเนื่ อ งกับ ทะเลทัง้ ภายในน่ า นนํ้ า ไทยหรือ น่ า นนํ้ า อื่น ๆ ั่ รวมถึงชายฝงทะเล เกาะ พืน้ ดินท้องทะเลหรือใต้พน้ื ดินท้องทะเล หรืออากาศเหนือ ท้อ งทะเลด้ ว ย ทัง้ นี้ ไ ม่ ว่ า กิจ กรรมใดในทุ ก ๆ ด้า น เช่ น ทรัพ ยากรธรรมชาติ สิง่ แวดล้อมทางทะเล การขนส่ง การท่องเทีย่ ว ความมันคง ่ ความสงบเรียบร้อย หรือ อื่น ๆ โดยที่มูล ค่ า ผลประโยชน์ แ ห่ ง ชาติท างทะเล ก็น่ า จะหมายถึง คุ ณ ค่ า ของ ผลประโยชน์จากทะเลในทุกมิตทิ ส่ี ามารถประเมินออกมาในรูปตัวเงิน 1.1 อาณาเขตพืน้ ที่ทางทะเล อาณาเขตทางทะเลตามความหมายของอนุ สญ ั ญาสหประชาชาติว่าด้วย กฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 ได้แก่ 1) น่ านนํ้าภายใน (Internal Waters) หมายถึง น่านนํ้าทัง้ หมดทีอ่ ยูถ่ ดั จาก ทะเลอาณาเขตเข้า มาทางผืน แผ่น ดิน แม่ น้ํ า ลํ า คลอง ซึ่ง อยู่ใ นอาณาเขตของ ั ่ อาํ นาจอธิปไตยโดยสมบูรณ์ ประเทศ รัฐชายฝงมี ั่ 2) ทะเลอาณาเขต (Territorial Sea) หมายถึง น่ านนํ้ าชายฝงทะเลของ ั ่ อเกาะ) หรือเส้น ประเทศซึ่งวัดจากเส้นฐานปกติ (แนวนํ้ าลงที่ต่ําสุดตามชายฝงหรื ั ่ าหนดขึน้ ) แล้วแต่กรณี มีความกว้างออกไปใน ฐานตรง (เส้นฐานทีป่ ระเทศชายฝงกํ ั ่ อาํ นาจอธิปไตยเหนืออาณาเขต ทะเลได้ไม่เกิน 12 ไมล์ทะเลจากเส้นฐาน รัฐชายฝงมี และขยายไปถึงห้วงอวกาศเหนือทะเลอาณาเขตจนถึงพื้นดินใต้ท้องทะเล และใต้ พืน้ ดินใต้ทอ้ งทะเลอาณาเขต 3) เขตต่อเนื่อง (Contiguous Zone) หมายถึง พืน้ นํ้าทะเลซึง่ อยูป่ ระชิดกับ ั่ ทะเลอาณาเขตและอยู่ติดต่อจากทะเลอาณาเขตออกไปในทะเล ซึ่งรัฐชายฝงจะมี สิทธิท่จี ะรักษาไว้ซ่งึ อํานาจเด็ดขาดตามอนุ สญ ั ญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมาย สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.)

9


ั่ ทะเล ค.ศ.1982 ให้รฐั ชายฝงขยายเขตต่ อเนื่องออกไปได้ไม่เกิน 24 ไมล์ทะเล รัฐ ั ่ อํานาจควบคุมตามที่จําเป็ นเพื่อป้องกันการละเมิดเกี่ยวกับการศุลกากร ชายฝงมี รัษฎากร การเข้าเมืองและการอนามัยภายในอาณาเขตหรือภายในทะเลอาณาเขต โดยการลงโทษการละเมิด 4) เขตเศรษฐกิจจําเพาะ (Exclusive Economic Zone: EEZ) หมายถึง น่ านนํ้าส่วนทีต่ ่อออกไปจากทะเลอาณาเขต โดยวัดออกไปจากเส้นฐานไปเป็ นระยะ ั ่ ส ิท ธิอ ธิป ไตยในส่ ว นที่เ กี่ย วกับ การแสวงหา ไม่ เ กิน 200 ไมล์ท ะเล รัฐ ชายฝ งมี ประโยชน์ อนุ รกั ษ์และจัดการเกีย่ วกับทรัพยากรธรรมชาติ ทัง้ ทีม่ ชี วี ติ และไม่มชี วี ติ บนพืน้ ดินใต้ทอ้ งทะเลและใต้พน้ื ดินใต้ทอ้ งทะเล และในห้วงนํ้ าเหนือขึน้ ไป รวมทัง้ การใช้ทะเลเพื่อประโยชน์ ทางเศรษฐกิจอื่นๆ กับมีอํานาจทางกฎหมายจําเพาะใน การสร้างเกาะเทียมสิง่ ก่อสร้างในทะเล การค้นคว้าวิจยั วิทยาศาสตร์ทางทะเล และ การป้องกันรักษาสภาวะแวดล้อมทางธรรมชาติสาํ หรับบริเวณเกาะเทียมหรือสถานี ั ่ สทิ ธิกําหนดเขตปลอดภัยรวมสิ่งก่อสร้างตาม ขุดเจาะนํ้ ามันในทะเล รัฐชายฝ งมี ความเหมาะสมทางภูมศิ าสตร์ กว้างสุดไม่เกินระยะ 500 เมตร 5) ไหล่ทวีป (Continental Shelf) หมายถึง พืน้ ดินท้องทะเลและดินใต้ผวิ ดินของบริเวณใต้ทะเล ซึง่ ขยายเลยทะเลอาณาเขตของรัฐตลอดส่วนต่อออกไปตาม ธรรมชาติของดินแดนทางบกของตนจนถึงริมนอกของขอบทวีป หรือจนถึงระยะ 200 ไมล์ทะเลจากเส้นฐานซึ่งใช้วดั ความกว้างของทะเลอาณาเขตในกรณีทร่ี มิ นอก ั ่ สทิ ธิอธิปไตยเหนือทรัพยากรธรรมชาติ ของขอบทวีปขยายไปถึงระยะนัน้ รัฐชายฝงมี บนและใต้ไหล่ทวี ไม่ว่าจะเป็ นทรัพยากรทีม่ ชี วี ติ หรือไม่มชี วี ติ ทรัพยากรธรรมชาติ ของไหล่ทวีปประกอบด้วยแร่และทรัพยากรไม่มชี วี ติ อย่างอื่นของพืน้ ดินท้องทะเล และ ดิน ใต้ผิว ดิน รวมทัง้ อิน ทรีย ภาพมีชีวิต ซึ่งจัด อยู่ใ นชนิ ดพันธุ์ท่ีอยู่ติด ที่ กล่ า วคือ อิน ทรียภาพซึ่งในระยะที่อาจจับ ได้นัน้ ไม่เคลื่อนที่ไปบนหรือใต้พ้นื ดินท้องทะเล หรือไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เว้นแต่โดยการสัมผัสทางกายภาพอยู่เสมอกับพืน้ ดิน ท้องทะเลหรือดินใต้ผวิ ดิน

สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.)

10


6) ทะเลหลวงหรือน่ านนํ้าสากล (High Seas) หมายถึง ทุกส่วนของทะเล ซึง่ มิได้รวมอยู่ในเขตเศรษฐกิจจําเพาะในทะเลอาณาเขตหรือในน่ านนํ้ าภายในของ รัฐ หรือในน่ านนํ้ าหมู่เกาะของรัฐหมู่เกาะ และเป็ นเขตที่จะได้รบั การสงวนไว้เพื่อ ความมุง่ ประสงค์ทางสันติ ตลอดจนไม่มรี ฐั ใดทีอ่ าจอ้างเอาส่วนหนึ่งส่วนใดของทะเล หลวงมาอยู่ในอธิปไตยของตนได้ เสรีภาพแห่งทะเลหลวงใช้ได้ภายใต้เงื่อนไขของ กฎหมายระหว่า งประเทศ อาทิเ ช่น เสรีภ าพในการเดิน เรือ เสรีภ าพในการบิน เสรีภาพในการวางสายเคเบิลและท่อใต้ทะเล เสรีภาพในการทําประมง เสรีภาพใน การสร้างเกาะเทียม เสรีภาพในการวิจยั ทางวิทยาศาสตร์ อาณาเขตทางทะเลของประเทศไทยมีกว่า 350,000 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย น่ านนํ้ าภายใน ทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง เขตเศรษฐกิจจําเพาะ และไหล่ทวีป

ภาพที่ 1 อาณาเขตทางทะเลของประเทศไทย1 1

สํานักงานเลขาธิการศูนย์ไทยอาสาป้องกันชาติในทะเล. 2550. อาณาเขตทางทะเลของประเทศไทย. แหล่งที่มา :

http://www.navy.mi.th/thaiasa/, 10 กันยายน 2550.

สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.)

11


1) น่านนํ้าภายใน มีอยู่ 5 บริเวณ ดังนี้ อ่าวประวัติศาสตร์ ได้แก่ พื้นที่บริเวณอ่าวไทยรูปตัว ก. เหนือเส้น ฐานทีก่ ําหนดขอบเขตอ่าวประวัตศิ าสตร์ ตามประกาศในราชกิจจานุ เบกษา เล่ม 76 ฉบับพิเศษ ตอนที่ 91 วันที่ 26 กันยายน 2502 หน้า 1 บริเวณที่ 1 ได้แก่ พืน้ ทีบ่ ริเวณแหลมลิง ถึง หลักเขตแดนไทย-เขมร ตามประกาศสํานักนายกรัฐมนตรีในราชกิจจานุ เบกษา เล่ม 87 ตอนที่ 52 ฉบับ พิเศษ วันที่ 12 มิถุนายน 2513 หน้า 4-7 บริเวณที่ 2 ได้แก่ พื้นที่บ ริเวณตัง้ แต่ แหลมใหญ่ ถึงแหลมหน้ าถํ้ า ตามประกาศสํานักนายกรัฐมนตรีในราชกิจจานุ เบกษา เล่ม 87 ตอนที่ 52 ฉบับ พิเศษ วันที่ 12 มิถุนายน 2513 บริเวณที่ 3 ได้แก่ พืน้ ที่บริเวณตัง้ แต่ เกาะภูเก็ต ถึง พรมแดนไทยมาเลเซีย ตามประกาศสํานักนายกรัฐมนตรีในราชกิจจานุ เบกษา เล่ม 87 ตอนที่ 52 ฉบั บ พิ เ ศษ วัน ที่ 12 มิ ถุ น ายน 2513 และส่ ว นที่ แ ก้ ไ ขตามประกาศสํ า นั ก นายกรัฐมนตรี เชื่อมเส้นฐานตรงและน่ านนํ้ าภายใน ของประเทศไทย ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2536 ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 110 ตอนที่ 18 วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2536 บริเวณที่ 4 ได้แก่พน้ื ทีบ่ ริเวณตัง้ แต่เกาะกงออก ถึง พรมแดนไทยมาเลเซีย ตามประกาศสํานักนายกรัฐมนตรีในราชกิจจานุ เบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 89 วันที่ 19 สิงหาคม 2535 หน้า 1 2) ทะเลอาณาเขต ได้แก่ พื้นที่ซ่งึ อยู่ภายในระยะ 12 ไมล์ทะเล จากเส้น ฐานตรง และเส้นฐานปกติตามทีม่ พี ระบรมราชโองการประกาศความกว้างของทะเล อาณาเขตของประเทศไทย (ราชกิจจานุ เบกษา เล่ม 83 ตอนที่ 92 วันที่ 18 ตุลาคม 2509) 3) เขตต่อเนื่อง ได้แก่ พืน้ ทีท่ อ่ี ยูถ่ ดั จากทะเลอาณาเขตออกไปจนถึงระยะ 24 ไมล์ทะเล จากเส้นฐานตรง ตามทีม่ พี ระบรมราชโองการประกาศเขตต่อเนื่องของ สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.)

12


ราชอาณาจักรไทย เมื่อ วันที่ 14 สิงหาคม 2538 (ราชกิจจานุ เบกษา เล่ม 112 ตอน ที่ 69 วันที่ 29 สิงหาคม 2538 หน้า 1) 4) เขตเศรษฐกิจจําเพาะ ได้แก่พน้ื ทีซ่ ่งึ เป็ นส่วนของมวลนํ้ าลงไปจนถึงผิว ดินก้นทะเล และใต้ผวิ ดิน ซึง่ อยูถ่ ดั จากทะเลอาณาเขตออกไป ราชอาณาจักรไทยได้ ประกาศเขตเศรษฐกิจจําเพาะเมื่อ พ.ศ. 2524 โดยประกาศเขตเศรษฐกิจจําเพาะ ออกไปเป็ นระยะ 200 ไมล์ทะเล จากเส้นฐานตรง และเส้นฐานปกติ ในส่วนที่เขต เศรษฐกิจจําเพาะอยู่ประชิดหรือตรงข้ามกันกับเขตเศรษฐกิจจําเพาะกับรัฐชายฝงั ่ อื่นๆ รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยพร้อมที่จะเจรจา เพื่อกําหนดเขตระหว่างกัน ต่อไป (ตามราชกิจจานุ เบกษา เล่ม 98 ตอนที่ 30 วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2524 หน้า 9) ต่อมาราชอาณาจักรไทยได้ประกาศเขตเศรษฐกิจจําเพาะของราชอาณาจักรไทย ส่วนทีป่ ระชิดกับมาเลเซีย โดยประกาศเขตตามพิกดั ภูมศิ าสตร์ จํานวน 8 จุด (ราช กิจจานุ เบกษา เล่ม 105 ตอนที่ 27 วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2531 หน้า 51,52) และได้ ประกาศเขตเศรษฐกิจจําเพาะด้านทะเลอันดามัน โดยประกาศขอบเขตตามพิกดั ภูมิศ าสตร์ จํา นวน 27 จุ ด (ราชกิจ จานุ เ บกษาเล่ ม ที่ 105 ตอนที่ 120 วันที่ 26 กรกฎาคม 2531 หน้า 231-233) 5) เขตไหล่ทวีป ได้แก่พ้นื ดินก้นทะเล และใต้ผวิ ดิน ราชอาณาจักรไทยมี ประกาศกําหนดเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อ พ.ศ. 2516 ซึง่ อยูใ่ น ขอบเขตของเส้นทีล่ ากเชื่อมต่อตามค่าพิกดั ภูมศิ าสตร์เริม่ ตัง้ แต่จุดหมายเลข 1 ถึง 18 ตามราชกิจจานุ เบกษา เล่ม 90 ตอนที่ 60 วันที่ 1 มิถุนายน 2516 หน้ า 1-2 ต่อมาได้มกี ารเจรจาเขตไหล่ทวีปทีซ่ อ้ นทับกับสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และ ได้กํ า หนดเขตไหล่ ท วีป ระหว่ า งราชอาณาจัก รไทยกับ สาธารณรัฐ สัง คมนิ ย ม เวียดนาม ตามเส้น CK โดยได้แลกเปลีย่ นสัตยาบันสารระหว่างประเทศ เมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2541 การใช้ทะเลไม่ได้จํากัดอยู่เฉพาะอาณาเขตทางทะเลของไทยเท่านัน้ แต่ สามารถใช้ทะเลไปถึงเขตน่ านนํ้ าของประเทศเพื่อนบ้าน ทะเลหลวงหรือน่ านนํ้ า สากล หรือแม้แต่ เขตทางทะเลของประเทศอื่นๆ ที่สามารถทําความตกลงกันได้ สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.)

13


ดังนัน้ พืน้ ทีท่ างทะเลทีจ่ ะสร้างผลประโยชน์แห่งชาติมนี ยั ทีก่ ว้างขวางมากกว่าพืน้ ที่ ทางบก 1.2 มูลค่าผลประโยชน์แห่งชาติ ทางทะเล แนวคิดของการประเมินมูลค่าผลประโยชน์ทางทะเลสามารถประเมินได้จาก มูลค่าโดยรวมทางเศรษฐศาสตร์ของทรัพยากรโดยทัวไป ่ หรือจากมูลค่าทรัพยากร ทางทะเล 1) แนวคิดมูลค่าโดยรวมทางเศรษฐศาสตร์ของทรัพยากรทัวไป ่ แยกเป็ น - มูลค่าจากการใช้ ได้แก่ มูลค่าการใช้โดยตรง เช่น รายได้จากการ จับสัตว์น้ํา รายได้จากการท่องเทีย่ ว การลงทุนในการบูรณะทรัพยากร เป็ นต้น และ มูลค่าการใช้ทางอ้อม เช่น ระบบนิเวศทางทะเลซึ่งเป็ นทีว่ างไข่ เลีย้ งตัวอ่อน เป็ นที่ อยูอ่ าศัยและเจริญเติบโตของทรัพยากรสัตว์และพืชในห่วงโซ่อาหาร เป็ นต้น - มู ล ค่ า จากการมิไ ด้ ใ ช้ ได้ แ ก่ มู ล ค่ า การคงอยู่ และมู ล ค่ า เผื่อ ลูกหลาน 2) แนวคิดมูลค่าทรัพยากรทางทะเล เป็ นการดัดแปลงจากแนวคิดมูลค่าทาง เศรษฐศาสตร์โดยรวมของทรัพยากรทัวไป ่ โดยแยกมูลค่าทรัพยากรออกเป็ นมูลค่า การใช้ประโยชน์ทงั ้ การใช้ประโยชน์ทางตรงและทางอ้อม มูลค่าไม่ได้ใช้ประโยชน์ และมูลค่าเผือ่ การใช้ในอนาคต การศึกษาในครัง้ นี้ได้ประเมินผลประโยชน์ทางทะเลเป็ น 3 ส่วน คือ มูลค่า ทรัพยากรทางทะเลและชายฝงั ่ มูลค่าของกิจกรรมการใช้ทะเล และมูลค่าผลกระทบ จากกิจกรรมการใช้ทะเล โดยในส่วนของมูลค่าทรัพยากรทางทะเลจะนํ ามาจาก งานวิจยั ที่มกี ารศึกษาไว้แล้วเป็ นหลัก ส่วนมูลค่าทรัพยากรในส่วนที่ยงั ไม่พบว่ามี การวิจยั จะใช้การประเมินโดยใช้มูลค่าทรัพยากรที่ผอู้ ่นื ประเมินไว้แล้วจากสถานที่ อื่นมาปรับค่าตามความแตกต่างของสภาพแวดล้อมหรือสภาพทางสังคม เรียกว่าวิธี Benefit Transfer Approach เพื่อให้ได้มลู ค่าทรัพยากรโดยรวมของประเทศทัง้ หมด เป็ น การประมาณการโดยคร่ า วถึง ผลประโยชน์ แ ห่ ง ชาติท างทะเลในส่ ว นของ สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.)

14


ทรัพ ยากร อย่ า งไรก็ต ามตัว เลขมูล ค่ า การใช้ท รัพ ยากรทางทะเลที่แ ท้จ ริง และ ครบถ้วนถูกต้องจะต้องมีการศึกษาวิจยั และประเมินโดยละเอียดต่อไป มูลค่าผลประโยชน์ แห่งชาติ ทางทะเล2 หน่วย: ล้านบาท 1. มูลค่าจากทรัพยากรทางทะเลและชายฝัง่ 1.1 ทรัพยากรมีชวี ติ 1.2 ทรัพยากรไม่มชี วี ติ 2. มูลค่าจากกิ จกรรมการใช้ทะเล 2.1 พาณิชยนาวี 2.2 อุตสาหกรรมต่อเนื่องต่างๆ 2.3 การท่องเทีย่ ว 2.4 อื่นๆ รวมมูลค่าผลประโยชน์ แห่งชาติ ทางทะเล 3. มูลค่าผลกระทบจากกิ จกรรมการใช้ทะเล 3.1 การกัดเซาะ 3.2 นํ้ามันรัวไหล ่ 3.3 สึนามิ รวม

%

234,608.85 499,069.12

3.15 6.71

6,120,901.00 341,061.30 197,390.30 49,786.60 7,442,817.17

82.24 4.58 2.65 0.67 100

หมายเหตุ เป็ นมูลค่าที ่ รวบรวมได้ เท่าทีม่ กี าร ประเมินโดย การศึกษาวิจยั ยังไม่ใช่มลู ค่าที ่ แท้จริงทัง้ หมด

4,657.00 1,919.11 85,084.17 91,660.28

1) มูลค่าจากทรัพยากรทางทะเลและชายฝงั ่ จากการรวบรวมข้ อ มู ล ทุ ติ ย ภู มิท่ี เ กี่ ย วข้ อ งกับ การประเมิน มู ล ค่ า ทรัพยากรทางทะเลและชายฝงั ่ พบว่า ทรัพยากรทางทะเลของประเทศไทยในส่วนที่ มีชวี ติ มีมลู ค่าประมาณ 0.23 ล้านล้านบาท และทรัพยากรไม่มชี วี ติ มีมลู ค่าประมาณ 0.50 ล้านล้านบาท รวมทัง้ สิน้ 0.73 ล้านล้านบาท 2

รายละเอียดการจําแนกมูลค่าผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล ดูได้จากรายงานการศึกษาวิจยั ฉบับสมบูรณ์

สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.)

15


2) มูลค่าจากกิจกรรมการใช้ทะเล กิจกรรมการใช้ทะเลของคนไทยสามารถสร้างมูลค่าได้ถงึ 6.7 ล้านล้าน บาท จากการคิดมูลค่าของผลผลิตหรือบริการทีเ่ กิดจากกิจกรรมนัน้ ๆ ซึ่งส่วนใหญ่ เป็ นมูลค่าราคาตลาดโดยตรง อาจเรียกได้ว่ามูลค่าผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล จากกิจกรรมการใช้ทะเลนี้จดั เป็ นมูลค่าในส่วนของการใช้ประโยชน์ทงั ้ หมด ซึง่ ราคา ของสิน ค้า และบริก ารที่เ กิด ขึ้น ส่ ว นใหญ่ ม กั จะยัง ไม่ ไ ด้คิด รวมไปถึง ต้น ทุ น ทาง สิง่ แวดล้อม มูลค่าของผลประโยชน์ทเ่ี กิดจากกิจกรรมการใช้ทะเลในการศึกษาครัง้ นี้ คิดเป็ นประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าผลประโยชน์ทางทะเลทัง้ หมด กิจกรรมที่ ทําให้เกิดมูลค่ามากทีส่ ุดคือ การขนส่งทางทะเล ซึ่งมีมูลค่าการค้าระหว่างประเทศ ทางทะเลรวมขาเข้าและขาออกในปี 2548 สูงถึง 6.12 ล้านล้านบาท จากปริมาณ การขนส่งทางทะเลเข้า-ออกผ่านประเทศไทยจํานวน 183,527 พันตัน โดยมูลค่า การค้า ระหว่ า งประเทศนี้ เ ป็ น ข้อ มูล จากกระทรวงคมนาคม 3 ซึ่ง รวมมูล ค่ า ของ ค่าบริการท่าเรือ ค่าระวางการขนส่ง และมูลค่าอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งทาง ทะเลไว้ด้วยแล้ว และจากการรวบรวมเอกสารงานวิจยั ในการศึกษาครัง้ นี้ ยังไม่ พบว่ามีการวิจยั เรื่อง ค่าระวางการขนส่งทางทะเลไว้อย่างชัดเจน ทัง้ นี้อาจเนื่องจาก ขนาดของการขนส่งทางทะเล (ขนาดของเรือ) มีห ลายระดับ และมีสินค้า หลาย ประเภทที่ทําการขนส่ง แต่ละขนาดและแต่ละประเภทสินค้าก็จะมีค่าใช้จ่ายในการ ขนส่งทางทะเลแตกต่างกันอย่างมาก เป็ นการยากที่จะทําการศึกษารวมรวมให้ได้ ข้อสรุปทัง้ หมด จึงยังไม่มใี ครทําการศึกษาอย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม จากเอกสารรายงานการประชุมสัมมนาเรื่อง “บทบาทของ ทะเลในการฝ่ า วิก ฤตเศรษฐกิจ ไทย” 4 ของโครงการกฎหมายทะเลแห่ ง เอเซีย อาคเนย์ (SEAPOL) ที่จดั ขึ้นเมื่อปี 2542 มีการพูดในหัว ข้อเรื่อง “ศักยภาพของ 3

กระทรวงคมนาคม. 2550. บริการสถิตคิ มนาคม. ข้อมูลด้านการขนส่ง. แหล่งทีม่ า: http://www.news.mot.go.th, 2 กรกฎาคม 2550. 4 โครงการกฎหมายทะเลแห่งเอเชียอาคเนย์ (SEAPOL). 2542. บทบาทของทะเลในการฝ่ าวิ กฤติ เศรษฐกิ จไทย. เอกสารประกอบการสัมมนาวันที่ 12 พฤษภาคม 2542 ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมแม่น้ํา, กรุงเทพฯ.

สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.)

16


พาณิชยนาวีต่อเศรษฐกิจไทย” โดยคุณสาริน สกุลรัตนะ ได้กล่าวไว้ว่า การคิดอัตรา ค่าระวางจะประมาณที่ 10 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าการค้า ซึ่งถ้าคิดค่าระวางตามนี้จะ พบว่าในปี 2548 มีมลู ค่าจากค่าระวางการขนส่งทางทะเลประมาณ 0.61 ล้านล้าน บาท นอกจากนี้ยงั ระบุวา่ ในการขนส่งทางทะเลนี้ประเทศไทยมีสว่ นอยูป่ ระมาณ 11 เปอร์เซ็นต์ แต่ถา้ คิดเป็ นมูลค่าสินค้าจะประมาณ 8 เปอร์เซ็นต์ แสดงให้เห็นว่ามูลค่า ทีไ่ ด้จากการขนส่งทางทะเลเหล่านี้ตกอยูก่ บั คนไทยน้อยมาก 3) มูลค่าผลกระทบจากกิจกรรมการใช้ทะเล โดยทัวไปแล้ ่ วตามแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์โดยรวมมีวธิ กี ารคิดทีน่ ําเอา มูลค่าการลงทุนในเชิงการป้องกัน การลงทุนทดแทน และการเสียโอกาสไปคํานวณ เป็ นมูลค่าทรัพยากรจากการใช้ประโยชน์ทางอ้อมได้ สําหรับการศึกษาในครัง้ นี้ไม่ได้ นํ ามูลค่าส่วนนี้ไปรวมเป็ นมูลค่าผลประโยชน์ แห่งชาติทางทะเลเนื่องจากยังไม่มี ความชัดเจนเกีย่ วกับการจําแนกประเภทและวิธกี ารคิดมูลค่า อย่างไรก็ตามมูลค่า ผลกระทบจากการใช้ทะเลเท่าทีร่ วบรวมได้เท่ากับ 0.09 ล้านล้านบาท เกิดจากการ กัด เซาะชายฝ งั ่ การรัวไหลของนํ ่ ้ ามัน และมูล ค่าความเสีย หายจากภัยสึน ามิใ น ั ่ นดามันของประเทศไทย เหตุการณ์สนึ ามิปลายปี 2547 ตลอดความยาวชายฝงอั สรุปโดยรวมแล้ว มูลค่าผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเลจึงมีไม่น้อยกว่า 7.4 ล้านล้านบาท และจากการศึกษาในเบื้องต้นพบว่าผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล จากการใช้ทะเลไทยไม่ได้สร้างผลประโยชน์ให้กบั คนในชาติอย่างเต็มที่ มีบางส่วน ถูกส่งไปอยู่ในมือเจ้าของกิจการที่เป็ นชาวต่างชาติ แต่สงิ่ ที่คนไทยได้รบั อย่างเต็ม เม็ด เต็ม หน่ ว ยคือ ผลกระทบที่เ กิด กับ สภาพแวดล้อ มทางทะเลและชายฝ งั ่ เช่น มลพิษทางทะเลที่ทําให้สงิ่ มีชวี ติ ตาย ระบบนิเวศป่าชายเลน หญ้าทะเล ปะการัง ั ่ กกัดเซาะ เป็ นต้น เสือ่ มโทรม ชายฝงถู

สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.)

17


2. สถานการณ์การจัดการผลประโยชน์ แห่งชาติทางทะเล 2.1 สถานการณ์ปัจจุบนั ของประเทศไทยกับการใช้ทะเล ในช่วงหลายสิบปี ท่ผี ่านมาประเทศไทยให้ความสําคัญการใช้ทะเลเพื่อ การแสวงหาทรัพยากรที่มชี ีวติ การคมนาคมขนส่งและการพาณิชยนาวีและการ ท่องเที่ยว การสร้างความมันคงของประเทศตลอดถึ ่ งการปกป้องผลประโยชน์ ทาง ทะเล และเมือ่ 25 ปี มานี้เองประเทศไทยเพิง่ ได้เริม่ การแสวงหาทรัพยากรทีไ่ ม่มชี วี ติ ในทะเลกลุ่มทรัพยากรปิ โตรเลียม สําหรับการแสวงหาข้อมูลและความรูเ้ ทคโนโลยี ทีเ่ กีย่ วข้องกับการใช้ทะเลนัน้ ประเทศไทยยังมีความรูแ้ ละใช้ประโยชน์ได้น้อยมาก 2.1.1 การแสวงหาทรัพยากรทัง้ ทีม่ ชี วี ติ และไม่มชี วี ติ 1) ทรัพยากรที่มชี วี ติ (ทรัพยากรประมง และความหลากหลายทาง ชีวภาพและระบบนิเวศทางทะเล) (1) ทรัพยากรประมง ประเทศไทยจัด เป็ น ประเทศที่ป ระสบความสํ า เร็จ ในด้า นการ พัฒนาการประมงจนสามารถติดอันดับหนึ่งในสิบของโลกที่มผี ลผลิตสูง และยังติด อันดับต้นๆ ของผูส้ ง่ ออกสินค้าประมงมาตัง้ แต่ปี พ.ศ. 2535 โดยผลผลิตมวลรวมใน สาขาประมงมีมูลค่า 98.9 พันล้านบาท คิดเป็ น 12 เปอร์เซนต์ของผลผลิตมวลรวม ของภาคเกษตร หรือ 1.27 เปอร์เซนต์ของผลผลิตมวลรวมของประเทศ ผลผลิตการ ประมงทะเลในปี 2538-2547 มีคา่ ขึน้ ๆลงๆอยูร่ ะหว่าง 2.6-2.8 ล้านตัน ผลผลิตการ ประมงส่วนหนึ่งนํามาใช้บริโภคเป็ นอาหารโปรตีนทีส่ าํ คัญสําหรับคนในประเทศ และ เป็ นภาคการผลิตทีส่ าํ คัญในระบบเศรษฐกิจของประเทศ ั ่ อประมงพื้นบ้าน การทําการประมงของไทยมีทงั ้ ประมงชายฝงหรื ประมงพาณิชย์ในเขตเศรษฐกิจจําเพาะ และประมงนอกน่านนํ้า - สถานการณ์การทําประมงชายฝงั ่ ที่เป็ นปญั หาอย่างชัดเจน คือ ปญั หาการทําการประมงเกินกําลังผลิตเป็ นผลให้เกิดความเสื่อมโทรมของทรัพยากร ั่ ชายฝงทะเล ปญั หาการแย่งพื้นที่ทําการประมง และปญั หาความขัดแย้งในการใช้ ั่ เครื่องมือประมงต่างชนิดกัน เป็ นสาเหตุหลักของปญั หาสังคมประมงชายฝงมาก สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.)

18


ทีส่ ุดในปจั จุบนั ปญั หาต่างๆ สร้างแรงกดดันต่อชาวประมงให้ทําการประมงมีความ พยายามที่จะใช้เครื่องมือที่มปี ระสิทธิภาพสูงแต่ผดิ กฎหมายมากขึน้ ในการช่วงชิง ทรัพยากรทีร่ อ่ ยหรอและมีอยูอ่ ย่างจํากัด - สถานการณ์การทําประมงในเขตเศรษฐกิจจําเพาะ และประมง ั หาอย่า งชัดเจน คือ ความไม่เ ป็ น เอกภาพของผู้ป ระกอบการ นอกนํ้ า ที่เ ป็ นป ญ ประมงไทยในลักษณะต่างคนต่ างไป และแย่งกันเสนอผลประโยชน์ หรือยอมรับ เงื่อนไขทีป่ ระเทศเจ้าของทรัพยากรกําหนด โดยไม่คํานึงว่าจะปฏิบตั ติ ามได้หรือไม่ ทําให้กองเรือประมงไทยอยูใ่ นฐานะผูต้ งั ้ รับในการเจรจาต่อรอง ปญั หาการทําประมง แบบร่วมทุนกับประเทศทีใ่ ห้สมั ปทานการประมง และปญั หาความเสีย่ งในการลงทุน เนื่องจากความไม่แน่ นอนทางการเมืองภายในประเทศและระหว่างประเทศ เป็ นผล ให้การพัฒนาด้านเทคโนโลยี วิธกี ารทําประมง การพัฒนาเรือ เครื่องมือ อุปกรณ์ท่ี ใช้ประกอบการเดินเรือและการทําประมงไม่กา้ วหน้าเท่าทีค่ วร

ภาพที่ 2 ปริมาณและมูลค่าของการจับสัตว์น้ําเค็มของประเทศไทยในปี 2495-25475 5

กรมประมง. 2536-2547. สถิ ติประมงแห่งประเทศไทย. ศูนย์สารสนเทศกรมประมง กรมประมง กระทรวงเกษตร และสหกรณ์, กรุงเทพฯ. และ กรมประมง. 2549. รายงานสถานการณ์ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่ งแวดล้อม เล่ม ที่ 6 ประมง เอกสารส่วนที่ 3 เล่มที่ 6/6. โครงการ UNEP GEF Project on Reversing Environmental Trends in the South China Sea and Gulf of Thailand (UNEP GEF SCS), ศูนย์พฒ ั นาประมงทะเลอ่าวไทยตอนกลาง, ชุม พร..

สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.)

19


ภาพที่ 3 ปริมาณการจับสัตว์น้ําเค็มใน-นอกน่านํ้าไทย ประมาณการ ปี 2538-25506

แนวโน้ มการทําการประมงของไทยคือ การทําการประมงทูน่าใน น่ านนํ้ าสากล หรือทะเลหลวงเพิม่ มากขึน้ การสร้างความตกลงกับประเทศทีอ่ ยู่ไกล ออกไปมากยิง่ ขึน้ เพื่อให้กองเรือประมงไทยสามารถเข้าไปทําการประมงในน่ านนํ้ า เหล่านัน้ ได้อย่างถูกกฎหมายในเขตเศรษฐกิจจําเพาะ การพัฒนาวิธกี ารทําประมงใน ลักษณะที่เป็ นมิตรกับสิง่ แวดล้อมและระบบนิเวศมากยิง่ ขึน้ รวมถึงการเอาใจใส่ใน สวัสดิภาพของแรงงานประมงในกองเรือให้ดขี น้ึ ด้วย และการทําการประมงควบคู่กบั การอนุ รกั ษ์ทรัพยากรประมงให้เกิดความสมดุลระหว่างกันสําหรับการทําประมงใน ั ่ าวไทย น่านนํ้าไทย เนื่องจากถูกจํากัดจากทรัพยากรประมงทีล่ ดลงโดยเฉพาะในฝงอ่ ั ่ แนวโน้ มของปริมาณ ในส่วนที่เป็ นการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ํ าชายฝงมี ผลผลิตโดยรวมที่เ พิม่ ขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี และน่ าจะเป็ นผลผลิตหลักของการ ส่งออกสัตว์น้ําจากประเทศไทยไปสูต่ ลาดโลก เนื่องจากสามารถเลือกชนิดสัตว์น้ําได้ ตามต้องการ ซึ่งจะทําให้ชนิ ดสัตว์น้ํ าที่เพาะเลี้ยงมีความหลากหลาย นอกจากนี้ ระบบการเพาะเลีย้ งเป็ นกระบวนการทีส่ ามารถตรวจสอบได้ในทุกขัน้ ตอน อย่างไรก็ 6

กรมประมง. 2550. ปริ มาณการจับสัตว์นํ้าเค็มทัง้ หมดจากธรรมชาติ ฝัง่ อ่าวไทยและฝัง่ อันดามัน จําแนก เป็ นใน-นอกน่ านนํ้า (ประมาณการปี 2548-2550). ศูนย์สารสนเทศ กรมประมง, กรุงเทพฯ. และกรมประมง, อ้าง แล้วเชิงอรรถที่ 5.

สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.)

20


ตามประเทศไทยควรมีนโยบาย/ยุท ธศาสตร์การเพาะเลี้ยงสัต ว์น้ํ าชนิ ดต่ างๆ ที่ ชัดเจน เพื่อจะสามารถกําหนดและควบคุมราคาของสัตว์น้ํ านัน้ ๆ ได้ตามต้องการ และสร้างตราของสินค้า (Brand Name) ให้กบั ประเทศไทย (2) ความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ ั่ ทรัพยากรธรรมชาติประเภทต่างๆ ตลอดแนวชายฝงทะเลของไทย เช่น ปา่ ชายเลน แนวปะการัง หญ้าทะเล ปา่ ชายหาด เป็ นต้น - ระบบนิเวศปา่ ชายเลน ป่าชายเลนของประเทศไทยนับเป็ นป่าชายเลนที่มคี วามอุดม สมบูรณ์มากแห่งหนึ่งของโลก มีพรรณไม้ 74 ชนิด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 35 ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน 25 ชนิด ปลา 72 ชนิด กุ้ง 15 ชนิด ปู 64 ชนิด หอย 23 ชนิด แมลง 35 ชนิด สัตว์ชนั ้ ตํ่าและพืชจําพวกสาหร่ายอีกจํานวนมาก คุ ณค่าของป่า ชายเลนด้า นเศรษฐกิจ ได้แ ก่ ด้า นป่า ไม้ ด้า น ประมง ด้านการท่องเที่ยว และคุณค่าด้านสิง่ แวดล้อม อาจประเมินตัวเลขมูลค่า โดยประมาณรวม 8,000 ล้านบาทต่อปี - ระบบนิเวศแนวปะการัง แนวปะการังในประเทศไทยมีพ้นื ที่รวมประมาณ 153 ตาราง ั่ ั ่ าวไทย ชายฝงทะเลตะวั ั่ กิโลเมตร กระจายตามชายฝงทะเลอั นดามัน ชายฝงอ่ นออก ั่ และชายฝ งทะเลตะวั น ตก ระบบนิ เ วศปะการัง ถื อ ว่ า เป็ น ระบบนิ เ วศหนึ่ ง ที่มี ความสํา คัญ และมีคุ ณค่ า สูง ทัง้ ในด้า นของระบบนิ เ วศ ด้า นสิ่ง แวดล้อ มและด้า น เศรษฐกิจ เนื่องจากนิเวศแนวปะการังเป็ นแหล่งทรัพยากรที่เป็ นฐานในการเสริม ให้กบั ทรัพยากรทางทะเลอื่นๆ ทีน่ ํามาซึง่ เม็ดเงินในด้านต่างๆ เช่น การประมง การ ท่องเทีย่ ว เป็ นต้น

สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.)

21


ภาพที่ 4 พืน้ ทีแ่ ละสภาพความสมบูรณ์ของแนวปะการังในประเทศไทย7

ตารางที่ 1 การประเมินมูลค่าการใช้ประโยชน์ของแนวปะการังในพืน้ ทีอ่ ุทยาน แห่งชาติทางทะเล8 อุทยานแห่งชาติ หมูเ่ กาะช้าง หาดในยาง หมูเ่ กาะอ่างทอง หมูเ่ กาะสิมลิ นั หมูเ่ กาะสุรนิ ทร์ หมูเ่ กาะลันตา เกาะแหลมหญ้า-เกาะเสม็ด หมูเ่ กาะพีพี หมูเ่ กาะตะรุเตา รวม

มูลค่าการใช้ประโยชน์ ของแนว ปะการัง (ล้านบาท/ ปี ) 2,688 4,800 5,040 5,580 6,123 6,510 7,200 19,895 76,194 134,030

7

อมรพันธุ์ กุลปราณีต. 2547. ประเมิ นมูลค่าความคงอยู่ (Existence Value) ของความหลากหลายทางชีวภาพ ั หา ของดอนหอยหลอด จัง หวัด สมุ ท รสาคร. รายงานฉบับ สมบู ร ณ์ โ ครงการจัด ลํ า ดับ ความสํา คัญ ของป ญ ทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อมปี 2549. สถาบันวิจยั เพือ่ การพัฒนาประเทศไทย, กรุงเทพฯ. 8 ปรับปรุงและดัดแปลงจาก Udonsak Seenprachawong. 2003. An Economic Analysis of Coral Reefs in the Andaman Sea of Thailand. Publication. Available Source: www.worldfishcenter.org/Pubs/coral_reef/pdf/section2-5.pdf, 4 September 2007.

สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.)

22


สถานการณ์ปจั จุบนั ของความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศที่ กําลังประสบอยูท่ ุกวันนี้คอื การลดลงทัง้ คุณภาพและปริมาณจากการใช้ประโยชน์ทงั ้ แบบเฉพาะเจาะจง และแบบรูเ้ ท่าไม่ถงึ การณ์ รวมทัง้ การลดปริมาณจากผลกระทบ ของพิบตั ิภยั ตามธรรมชาติท่ที วีความรุนแรงมากขึน้ ทุกปี ตัวอย่างเช่น การลดลง ของพืน้ ทีป่ า่ ชายเลนจากการกัดเซาะชายฝงั ่ การลดลงของพืน้ ทีห่ ญ้าทะเลและพะยูน จากผลกระทบของการท่องเทีย่ วและการทําการประมงทีไ่ ม่รบั ผิดชอบ การลดลงของ พืน้ ทีแ่ นวปะการังจากพิบตั ภิ ยั สึนามิ เป็ นต้น ผลกระทบเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความ จําเป็ นทีจ่ ะต้องมีมาตรการอย่างทันท่วงทีในการใช้ การฟื้ นฟู การอนุ รกั ษ์ และการ สร้างให้มขี น้ึ ใหม่ เพื่อทีป่ ระเทศไทยจะยังคงมีทรัพยากรทีเ่ ป็ นความหลากหลายทาง ชีวภาพไว้ใช้ได้อย่างยังยื ่ น 2) ทรัพยากรทีไ่ ม่มชี วี ติ ทรัพยากรทีไ่ ม่มชี วี ติ นี้มคี วามสําคัญไม่น้อยในเชิงของการใช้ต่อประเทศ ไทย โดยเฉพาะอย่างยิง่ ทรัพยากรใต้ผวิ ดินพืน้ ท้องทะเล ทีเ่ ป็ นทรัพยากรปิ โตรเลียม กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติได้รายงานแหล่งปิ โตรเลียมที่ค้นพบแล้วในประเทศ (รวม พืน้ ที่พฒ ั นาร่วมไทย-มาเลเซีย) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 มีแหล่งปิ โตรเลียมใน ทะเล 48 แหล่ง ปริมาณสํารองทีพ่ สิ ูจน์แล้วทีเ่ ป็ นก๊าซธรรมชาติ 11.29 ล้านล้านลูก บาศ์ก ฟุ ต ก๊ า ซธรรมชาติเ หลว 265.23 ล้า นบาร์เ รล และนํ้ า มัน ดิบ 149.59 ล้า น บาร์เรล พืน้ ทีพ่ ฒ ั นาปิ โตรเลียมของไทยมีในพืน้ ทีอ่ ่าวไทย พืน้ ทีพ่ ฒ ั นาร่วมไทยมาเลเซีย และพืน้ ทีท่ บั ซ้อนไทย-กัมพูชา พืน้ ทีพ่ ฒ ั นาปิ โตรเลียมในอ่าวไทยมี 22 สัมปทาน 31 แปลงสํารวจ เป็ น พืน้ ที่ประมาณ 112,445 ตารางกิโลเมตร โดยแยกเป็ นพื้นที่สํารวจ 91,416 ตาราง กิโ ลเมตร พื้น ที่ผ ลิต 12,681 ตารางกิโ ลเมตร และพื้น ที่ส งวนในอ่ า วไทย 8,348 ตารางกิโลเมตร ปจั จุบนั ทําการผลิตในแหล่งนํ้ ามันดิบจัสมิน และแหล่งนํ้ ามันดิบ นางนวล

สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.)

23


ภาพที่ 5 แผนทีแ่ สดงแหล่งปิโตรเลียมในประเทศไทย9

พืน้ ทีพ่ ฒ ั นาร่วมไทย-มาเลเซียเป็ นบริเวณที่ประเทศไทยและมาเลเซีย อ้างสิทธิเขตไหล่ทวีปทับซ้อนในบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง ครอบคลุมพื้นที่ 7,250 ตารางกิโ ลเมตร รัฐ บาลไทยและรัฐ บาลมาเลเซีย ร่ว มกันจัด ตัง้ องค์ก รร่ว มไทยมาเลเซี ย ให้มีฐ านะเป็ น นิ ติ บุ ค คล ในการสํ า รวจและแสวงหาประโยชน์ จ าก ทรัพยากรธรรมชาติทไ่ี ม่มชี วี ติ มีแปลงสํารวจ 3 แปลง ในปี 2549 มีรายได้จากการ ผลิตปิโตรเลียมทีน่ ําส่งรัฐบาลไทยประมาณ 2,930 ล้านบาท พื้นที่ทบั ซ้อนไทย-กัมพูชาเป็ นบริเวณที่ประเทศไทยและกัมพูชาอ้าง สิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกันบริเวณอ่าวไทยด้านตะวันออก ประมาณ 25,923 ตาราง 9

กรมเชือ้ เพลิงธรรมชาติ, อ้างแล้วเชิงอรรถที่ 124, หน้า 22.

สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.)

24


กิโลเมตร และได้มบี นั ทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลมีเจตนารมณ์ว่าให้ทงั ้ สองฝ่าย เร่งรัดการเจรจาที่จะดําเนินการจัดทําความตกลงสําหรับการพัฒนาร่วมทรัพยากร ปิ โตรเลียมในพื้นที่กําหนดให้พฒ ั นาร่วม และตกลงแบ่งเขตทางทะเลซึ่งสามารถ ยอมรับได้ร่วมกันในพืน้ ทีท่ ก่ี ําหนดให้มกี ารแบ่งเขต โดยให้ดําเนินการไปพร้อมกัน ในลัก ษณะไม่ แ บ่ ง แยก ซึ่ง มีค ณะกรรมการร่ ว มด้ า นเทคนิ ค ไทย-กัม พู ช าเป็ น ผู้รบั ผิดชอบในการกําหนดเงื่อนไขที่ตกลงร่วมกันของสนธิสญ ั ญาการพัฒนาร่วม รวมถึงพืน้ ฐานซึ่งยอมรับร่วมกันในการแบ่งปนั ค่าใช้จ่ายและผลประโยชน์ของการ ั นาร่วม และการแบ่งเขต แสวงหาประโยชน์ จากทรัพยากรปิ โตรเลียมในพื้นที่พฒ ทะเลอาณาเขต ไหล่ทวีป และเขตเศรษฐกิจจําเพาะระหว่างเขตทีแ่ ต่ละฝา่ ยอ้างสิทธิ อยูใ่ นพืน้ ทีท่ ต่ี อ้ งแบ่งเขตตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศซึง่ ใช้บงั คับ ปจั จุบนั มี 4 สัมปทาน 9 แปลงสํารวจ

ภาพที่ 6 แผนทีแ่ สดงพืน้ ทีท่ บั ซ้อนไทย-กัมพูชา

10

อนึ่ง ทรัพยากรไม่มชี วี ติ ในทะเลไม่ได้มแี ค่กลุ่มปิ โตรเลียมเท่านัน้ ยังมี ทรัพยากรไม่มชี วี ติ กลุ่มอื่นๆ ที่สามารถนํ าขึ้นมาใช้ประโยชน์ ได้อกี มากมาย เช่น 10

กรมเชือ้ เพลิงธรมชาติ. 2550. รายงานประจําปี 2549. กรมเชือ้ เพลิงธรรมชาติ, กระทรวงพลังงาน.

สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.)

25


กลุ่มทรัพยากรจากนํ้าทะเล กลุ่มแร่ธาตุบริเวณพืน้ ดินท้องทะเล และกลุ่มทรัพยากร ในทะเลลึก เช่น ก้อนแมงกานีส (manganese nodules) เป็ นต้น กลุ่มทรัพยากร เหล่านี้จําเป็ นต้องมีการศึกษาวิจยั และพัฒนาด้วยเทคโนโลยีระดับสูงอีกมาก แต่ก็ น่ า จะมีค วามเป็ น ไปได้ ซึ่ง จะทํ า ให้เ กิด ทางเลือ กที่ห ลากหลายสํ า หรับ การใช้ ประโยชน์ในอนาคตมากยิง่ ขึน้ 2.1.2 การคมนาคมขนส่งและการพาณิชยนาวี และการท่องเทีย่ ว 1) การคมนาคมขนส่งและการพาณิชยนาวี มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตสิ ง่ เสริมการพาณิชยนาวี พ.ศ. 2521 ได้ให้ ความหมายว่า การพาณิชยนาวี หมายความว่า การขนส่งทางทะเล การประกันภัย ทางทะเล การเดินเรือ กิจการอู่เรือและกิจการท่าเรือ และหมายความรวมถึงกิจการ อย่างอื่นทีเ่ กีย่ วเนื่องโดยตรงหรือเป็ นส่วนประกอบกับกิจการดังกล่าวตามทีก่ ําหนด ในกฎกระทรวง การค้าทางทะเลของไทยเติบโตอย่างต่อเนื่องโดยปริมาณการขนส่งทาง ทะเลมีส ัด ส่ ว นถึง ร้อ ยละ 95 ของปริม าณการค้า ระหว่ า งประเทศ และเพิ่ม ขึ้น เช่นเดียวกับมูลค่าการค้าทางทะเล ซึง่ เพิม่ ขึน้ อย่างต่อเนื่องจาก 346,315 ล้านบาท ในปี 2525 เป็ น 6,120,901 ล้านบาทในปี 2548 ซึ่งเป็ นผลประโยชน์ จากกิจกรรม การพาณิชยนาวี เช่น ค่าขนส่งทางทะเล ค่าระวางเรือ ค่าประกันภัยทางทะเล เป็ น ต้น หรือกว่า 80 เปอร์เซนต์ของผลประโยชน์ทางทะเล อาจกล่าวได้วา่ พาณิชยนาวี ของไทยประสบความสําเร็จ แต่เมื่อพิจารณาให้ลกึ ลงไปถึงผลประโยชน์ทค่ี นไทยพึง ได้รบั นับว่าน้อยมาก กล่าวคือ

สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.)

26


10,000,000 9,000,000 8,000,000

บาท

7,000,000 6,000,000

ทางทะเล

5,000,000

การขนส่งอืน ่ ิ้ รวมทัง้ สน

4,000,000 3,000,000 2,000,000 1,000,000

2548

2547

2546

2545

2544

2543

2542

2541

2540

2539

2538

2537

2536

2535

2534

2533

2532

2531

2530

2529

2528

2527

2526

2525

0

ภาพที่ 7 มูลค่าการค้าระหว่างประเทศ จําแนกตามรูปแบบการขนส่ง ปี 2525 – 254811

- เมื่อพิจารณาจากระวางบรรทุกของกองเรือเดินสมุทรที่ขนส่งสินค้า ทางทะเลของไทย พบว่าตัง้ แต่ปี 2537-2544 กองเรือไทยมีสดั ส่วนในการขนส่ง สินค้าระหว่างประเทศโดยเฉลี่ยเพียงร้อยละ 2.8 ในขณะที่กองเรือต่างประเทศมี สัดส่วนในการขนส่งสินค้าโดยเฉลี่ยถึงร้อยละ 97.2 ซึ่งหมายความว่ายิง่ ปริมาณ การค้าทางทะเลของไทยเพิม่ สูงขึ้น กองเรือไทยกลับมีสดั ส่วนในการขนส่งสินค้า น้ อ ยลง ทัง้ นี้ เ พราะในรอบ 20 ปี ท่ีผ่า นมากองเรือ ไทยไม่ไ ด้มีข นาดและจํา นวน เพิม่ ขึน้

11

กระทรวงคมนาคม. 2550. สถิ ติการขนส่งปี 2534, 2540. กระทรวงคมนาคม, กรุงเทพฯ. และ กระทรวง คมนาคม. 2550. การขนส่งสิ นค้าระหว่างประเทศ. แหล่งทีม่ า : http://porta.mot.go.th, 4 กันยายน 2550.

สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.)

27


120,000,000 100,000,000

DWT

80,000,000 เรือไทย เรือต่างชาติ

60,000,000

รวม

40,000,000 20,000,000 2537

2538

2539

2540

2541

2542

2543

2544

ภาพที่ 8 กองเรือเดินสมุทรทีข่ นส่งสินค้าระหว่างประเทศของไทย จําแนกตามประเภทกองเรือ12

- เมื่อพิจารณาจากค่าขนส่ง ผูป้ ระกอบการไทยมีส่วนแบ่งในค่าขนส่ง น้อยมากทัง้ นี้เพราะข้อตกลง INCOTERM13 ทีผ่ ปู้ ระกอบการนําเข้า-ส่งออกของไทย นิยมใช้คอื FOB (Free on Board) และ CIF (Cost Insurance and Freight) เป็ น ข้อ ตกลงที่มีเ งื่อ นไขกระทบต่ อ ผู้ป ระกอบการขนส่ ง ทางทะเลของเรือ ไทยและ ประกันภัย ทัง้ นี้เพราะไม่วา่ ผูซ้ อ้ื ตามข้อตกลง FOB หรือผูข้ ายตามข้อตกลง CIF ซึง่ อยู่ในต่างประเทศเป็ นผูม้ อี ํานาจตัดสินใจในการเลือกผูข้ นส่งและบริษทั ประกันภัย โดยส่ ว นใหญ่ ก็ จ ะเลื อ กผู้ ป ระกอบการในประเทศของตน ซึ่ ง หมายความว่ า ผูป้ ระกอบการขนส่งของไทยและประกันภัยมีโอกาสได้รบั ผลประโยชน์จากการค้า ทางทะเลของไทยน้อยมาก อาจกล่าวได้ว่าปญั หาดังกล่าวมีผลต่อสัดส่วนการขนส่ง สินค้าของเรือไทย ในขณะเดียวกัน เพราะกองเรือไทยมีขนาดเล็กไม่เพียงพอกับ 12

คณะกรรมการส่งเสริมการพาณิชยนาวี. 2537-2544. สารสนเทศพาณิ ชยนาวี ปี 2537–2544. สํานักงาน คณะกรรมการส่งเสริมการพาณิชยนาวี กรุงเทพฯ. 13 เป็ นข้อกําหนดในการส่งมอบสินค้า (Term Of Shipment) ระหว่างผูซ้ อ้ื กับผูข้ ายทีเ่ ป็ นสากล ซึง่ กําหนดขึน้ โดยสภา หอการค้านานาชาติ (International Chamber of Commerce) เพื่อให้ค่คู า้ ทัง้ ผูซ้ ้อื และผูข้ ายทราบถึงขอบเขตความ รับผิดชอบภาระค่าใช้จา่ ย และความเสีย่ งต่างๆ โดยช่วยให้ทงั ้ สองฝา่ ยทีม่ คี วามแตกต่างทางวัฒนธรรมมีความเข้าใจ ตรงกัน

สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.)

28


ปริมาณการขนส่งที่เพิม่ ขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว จึงทําให้การขนส่งและการ ประกันภัยทางทะเลอยูใ่ นมือผูป้ ระกอบการชาวต่างประเทศเป็ นส่วนใหญ่ ั่ - ท่ า เรื อ ตลอดชายฝ งของไทยมี จํ า นวนถึ ง 443 ท่ า แต่ ก ลั บ ไม่ มี หน่ วยงานกลางถาวรทีท่ ําหน้าทีใ่ นการกําหนดนโยบาย วางแผน ควบคุม และดูแล ท่าเรือทัง้ หมด ส่งผลให้ท่าเรืออยู่ในความดูแลของหน่ วยงานต่างๆ กันไป ซึ่งส่วน ใหญ่ขาดความรูค้ วามชํานาญเรื่องท่าเรือ ท่าเรือเอกชนขาดหน่ วยงานให้การดูแล และสนับสนุ น รวมถึงบางพืน้ ที่ขาดผูป้ ระกอบการโดยสิน้ เชิง ขาดสิง่ อํานวยความ สะดวกพืน้ ฐานทางบกโดยเฉพาะอย่างยิง่ โครงข่ายคมนาคมทีเ่ ชื่อมต่อพืน้ ทีแ่ นวหลัง กับท่าเรือเอกชน ขาดสิง่ อํานวยความสะดวกพืน้ ฐานทางนํ้าซึง่ มีความสําคัญต่อการ เดินเรือ - กิจกรรมอู่เรือ ซึง่ เป็ นอีกกิจกรรมหนึ่งซึ่งรายได้เกิดจากผลประโยชน์ ทางทะเล เมื่อพิจารณาจากมูลค่าในแต่ละปี อุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรืออาจจะ ไม่มนี ยั สําคัญต่อเศรษฐกิจไทย กล่าวคือ คิดเป็ นร้อยละ 0.048 ของผลผลิตมวลรวม ของภาคอุตสาหกรรม แต่เป็ นกิจการที่สนับสนุ นกองเรือไทย และเป็ นกิจกรรมที่ ก่อให้เกิดการจ้างงาน และอุตสาหกรรมเกีย่ วเนื่องมากมาย แต่อุตสาหกรรมเรือของ ไทยได้รบั การส่งเสริมจากรัฐบาลน้อยมาก ทําให้มขี ดี ความสามารถทีจ่ าํ กัด กล่าวคือ มีขดี ความสามารถต่อเรือได้ขนาดเล็กกว่า 500 ตันกรอสเท่านัน้ และไม่สามารถแข่ง กับตลาดโลกได้

สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.)

29


ตารางที่ 2 รายได้อุตสาหกรรมต่อเรือ/ซ่อมเรือเปรียบเทียบกับมูลค่าการค้าทางทะเล ปี 2545 – 2549 14 ปี 2545 2546 2547 2548

มูลค่าการค้าทางทะเล (1) 3,686,461 4,192,588 5,117,800 6,120,901

รายได้อุตสาหกรรมต่อเรือ/ซ่อมเรือ (2) 2,935 4,024 4,533 5,767

หน่วย : ล้านบาท สัดส่วน 0.080% 0.096% 0.089% 0.094%

2) การท่องเทีย่ วและนันทนาการ ั่ พืน้ ทีบ่ ริเวณชายฝงทะเลของไทยมี ทรัพยากรการท่องเทีย่ วสร้างรายได้ เข้าประเทศเป็ นจํานวนมาก กิจกรรมการท่องเที่ยวทางทะเล เช่น กิจกรรมดํานํ้ า กิจกรรมการเดินใต้ทะเล กิจกรรมผักผ่อนชายหาด การชมหมู่บ้านชาวประมงและ ชาวเล กิจกรรมการแล่นเรือ กิจกรรมการเดินศึกษาเส้นทางศึกษาทางธรรมชาติ การดูนก การปี น/ไต่ภูเขา กิจกรรมตัง้ แคมป์ การเดินปา่ กิจกรรมศึกษาท้องฟ้าและ ดาราศาสตร์ การชมทิว ทัศ น์ การเล่ น กีฬ าทางนํ้ า การตกปลา การศึก ษาทาง ประวัตศิ าสตร์และโบราณคดี ฯลฯ เป็ นต้น ในแต่ ล ะปี ป ระเทศไทยสามารถรองรับ จํ า นวนนั ก ท่ อ งเที่ย วได้เ ป็ น จํานวนมาก ทัง้ นักท่องเทีย่ วทีเ่ ดินทางมาจากต่างประเทศ และนักท่องเทีย่ วชาวไทย เอง เกิดเป็ นรายได้เข้าสู่ประเทศ และก่อเกิดการหมุนเวียนเงินตราภายในประเทศ เนื่องจากความสวยงามของทะเลไทยเป็ นทีย่ อมรับไปทัวโลก ่ อีกทัง้ ก่อให้เกิดอาชีพ แก่ประชาชนในพืน้ ทีเ่ ป็ นจํานวนมาก

14

Transport Statistics 1991,1997. และ การขนส่งสิ นค้าระหว่างประเทศ. [สายตรง].กระทรงคมนาคม. แหล่งทีม่ า : http://porta.mot.go.th [4 กันยายน 2550] และ ข้อมูลโรงงานแบ่งตามประเภทอุตสาหกรรม. [สายตรง]. กรมโรงงาน อุตสาหกรรม แหล่งทีม่ า : www.diw.go.th. ตรวจค้นข้อมูลงบการเงิ น. [สายตรง]. กรมพัฒนาธุรกิ จการค้า แหล่งทีม่ า : http://www.dbd.go.th. [19 - 26 กันยนยน 2550].และสมาคมต่อเรื อและซ่อมเรื อไทย

สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.)

30


อย่างไรก็ตามความเสื่อมโทรมของแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลกําลังเป็ น ปญั หาเนื่องจาก 1)ประชาชนขาดความสนใจ และขาดการมีส่วนร่วมในการอนุ รกั ษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ และมีทศั นคติเชิงลบต่อการประกาศเขตอนุ รกั ษ์ 2) ขาด ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ มีงบประมาณไม่เพียงพอ 3) ขาดแคลนบุคลากร ทีม่ คี วามรูค้ วามสามารถอย่างเพียงพอต่อการบริหารจัดการพืน้ ที่ 4) กฎระเบียบที่ เกี่ย วข้องยังไม่มีป ระสิท ธิภาพเพียงพอต่ อการบริหารจัดการพื้นที่ท างทะเลและ ชายฝงั ่ 5) ขาดประสิทธิภาพในการอนุ รกั ษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ อย่างยังยื ่ น 6) ขาดองค์ความรูท้ ม่ี คี วามจําเป็ นต่อการบริหารจัดการพืน้ ที่ และ 7) นั ก ท่ อ งเที่ย วและประชาชนทัว่ ไปขาดทัก ษะ และความรู้ค วามตระหนัก ในการ อนุ รกั ษ์ และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยังยื ่ น 2.1.3 การสร้างความมันคงของประเทศตลอดถึ ่ งการปกป้องผลประโยชน์ทาง ทะเล ทะเลเป็ นแหล่งก่อเกิดถึงรายได้และความเจริญรุ่งเรืองของประเทศ อย่างมหาศาล การทีจ่ ะทําให้สามารถแสวงประโยชน์จากทะเลให้ได้อย่างเต็มทีน่ ัน้ จําเป็ นจะต้องมีการเสริมสร้างกําลังอํานาจของชาติทเ่ี รียกว่า สมุททานุภาพ ให้อยู่ ในระดับทีส่ ามารถแข่งขันกับประเทศอื่น ๆ ได้ โดยจะต้องมีการพัฒนาทัง้ ในส่วน และ ขององค์ประกอบที่เสริมสร้างความมังคั ่ ง่ คือ กําลังอํานาจทางทะเล องค์ประกอบที่เป็ นส่วนป้องกันกําลังอํานาจทางทะเลดังกล่าว คือ กําลังทางเรือ ทัง้ นี้ รัฐบาลหรือผูม้ หี น้าทีใ่ นการกําหนดนโยบายด้านกิจกรรมทางทะเลของชาติ จะต้องดําเนินการอย่างสมดุลย์ระหว่างปจั จัยต่าง ๆ ทีเ่ กีย่ วข้อง โดยไม่ละเลยด้านใด ด้านหนึ่ง ในอนาคตผลประโยชน์ทางทะเลของประเทศไทยจะยิง่ มีมลู ค่าเพิม่ มาก ขึน้ ในขณะเดียวกันก็ยงั มีภยั คุกคามทีส่ ่งผลกระทบต่อเสรีภาพในการใช้ทะเลของ ประเทศไทยอยู่หลายประการ ทัง้ จากภัยทางทหาร และภัยอื่นๆ โดยเฉพาะการก่อ การร้ายในทะเล การกระทําอันเป็ นโจรสลัด และ ภัยธรรมชาติต่างๆ ทีน่ ับวันจะทวี ความรุนแรงมากยิง่ ขึน้ ดังนัน้ การพัฒนาและเพิม่ ขีดความสามารถให้กบั หน่วยงาน สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.)

31


ทีม่ คี วามรับผิดชอบด้านการรักษาความมันคงทางทะเล ่ เพื่อให้สามารถคุม้ ครองและ รักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงเป็ นสิง่ ทีจ่ ําเป็ น จะต้องดําเนินการให้เกิดผลอย่างเป็ นรูปธรรม อันจะทําให้สมุททานุ ภาพของประเทศ ไทยสามารถตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ทก่ี ําหนดไว้ได้อย่างแท้จริง ซึ่งจะต้องได้รบั การสนับสนุ นและความร่วมมือจากผูท้ ่เี กี่ยวข้องทุกฝ่าย ทัง้ รัฐบาลและหน่ วยงาน ระดับสูง หน่ วยปฏิบตั ทิ ม่ี ภี ารกิจเกีย่ วข้องโดยตรงกับการแสวงประโยชน์และรักษา ความมันคงในทะเล ่ หน่วยงานสนับสนุ น และประชาชนทัวไป ่ 2.2 สิ่ งแวดล้อมทางทะเล ปญั หาสิง่ แวดล้อมจากกิจกรรมการใช้ทะเล ได้แก่ ปญั หาการรัวไหล ่ ของนํ้ามัน การกัดเซาะชายฝงั ่ ปรากฏการณ์น้ําทะเลเปลีย่ นสี การเปลีย่ นแปลงของ ั หาเหล่ า นี้ ส่ง ผลกระทบต่ อ ระดับ นํ้ า ทะเลเนื่ อ งจากสภาวะโลกร้อ น เป็ น ต้น ป ญ ทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อมทางทะเล กล่าวคือทําให้สงิ่ แวดล้อมทางทะเล เสื่อมโทรมลง เช่น เกิดมลภาวะหรือมลพิษในทะเล คุณภาพนํ้ าเสื่อมโทรมลง ความ งดงามของทัศนียภาพของทะเลลดน้อยลง เป็ นต้น และยังก่อให้เกิดการสูญสิน้ ของ ทรัพยากรธรรมชาติท่มี ชี วี ติ เช่น สิง่ มีชวี ติ ใกล้สูญพันธุ์และสัตว์สงวนไว้เพื่อความ ยังยื ่ นในอนาคต ได้แก่ พะยูน ฉลาม หอยเมือเสือ เป็ นต้น ั่ รายงานสถานการณ์คุณภาพสิง่ แวดล้อมชายฝงและทะเล ปี 254815 2549 ชีใ้ ห้เห็นว่า คุณภาพนํ้าในบริเวณอ่าวไทยตอนในอยูใ่ นสภาพเสือ่ มโทรมมาก โดยเฉพาะบริเวณปากแม่น้ําบางปะกง แม่กลอง ท่าจีน และแม่น้ํ าเจ้าพระยา ซึง่ จะ พบปญั หากลุ่มแบคทีเรียค่อนข้างสูงและปริมาณออกซิเจนทีล่ ะลายนํ้าอยู่ในระดับที่ ตํ่ากว่าเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพนํ้ าทะเลและชายฝงั ่ ส่วนปริมาณรวมของโพลิไซ คลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (PAHs)16 ทีต่ รวจพบในนํ้าทะเลส่วนใหญ่ยงั คงมีค่า 15

กรมควบคุมมลพิษ. 2549. รายงานสถานการณ์ มลพิ ษของประเทศไทย 2549. กรมควบคุมมลพิษ กระทรวง ทรัพยกรและสิง่ แวดล้อม, กรุงเทพฯ. 16 Polycyclic Aromatic Hydrocarbons (PAHs) เป็ นกลุ่มของสารเคมีทม่ี มี ากกว่า 100 ชนิด เกิดจากปฏิกริยาการ เผาไหม้ของไขมันในอาหาร หรือสารอินทรีย์ มักพบในเขม่า ควัน ถ่านหิน ยาอบไม้เพื่อฆ่าเชือ้ ยางราดถนน ควันรถ

สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.)

32


ตํ่ากว่าขีดจํากัดการตรวจวัด ซึง่ มีค่าระหว่าง 0.01-0.5 ไมโครกรัมต่อลิตร คุณภาพ ดินตะกอนพบว่ามีปริมาณโลหะหนักบางชนิด เช่น ปรอทและตะกัว่ เป็ นต้น ทีม่ คี ่า เกินมาตรฐานแต่ยงั ไม่มคี วามเป็ นพิษต่อสิง่ มีชวี ติ ใดๆ ในทะเล พบโลหะหนักทีม่ คี ่า เกินมาตรฐานทีอ่ าจจะมีความเป็ นพิษต่อสิง่ มีชวี ติ ในทะเล คือ สังกะสีและตะกัว่ ซึ่ง พบในบริเวณปากแม่น้ําท่าจีนและปากนํ้าเจ้าพระยา อย่างไรก็ตาม บริเวณอ่าวไทย ตอนในมีปากแม่น้ํ าที่สําคัญ 4 สาย ที่สําคัญไหลมาตอนเหนือและตอนกลางของ ประเทศ จึงเป็ นแหล่งรองรับนํ้าจืดทีม่ ขี องเสียและสารพิษปะปนมาจากต้นนํ้า กล่าว ได้วา่ บริเวณนี้เป็ นจุดวิกฤตเกีย่ วกับคุณภาพสิง่ แวดล้อมเพราะโดยตลอดเส้นทางนํ้า ั ่ านํ้า เช่น แหล่งชุมชน ตัวเมือง อุตสาหกรรม ท่า จะมีกจิ กรรมต่างๆ ตลอดสองฝงลํ เทียบเรือสินค้า พืน้ ทีเ่ กษตรกรรม และพืน้ ทีเ่ พาะเลีย้ งสัตว์น้ํา เป็ นต้น ถ้าของเสีย และสารพิษนี้จะไหลลงสูแ่ ม่น้ําก็จะเป็ นมลพิษต่อนํ้าทะเลและดินตะกอนด้วย17 ั ่ นออกเป็ นแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลซึ่งเป็ นที่ บริเวณอ่าวไทยฝงตะวั นิยม เนื่ องจากมีชายหาดและเกาะต่างๆ ที่มที ศั นียภาพสวยงาม นอกจากนี้ยงั มี แหล่งนิคมอุตสาหกรรมที่สําคัญ เช่น นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี และมีท่าเทียบเรือขนส่งสินค้าและคลัง ั ่ กมากมายซึ่งมีวธิ กี าร นํ้ ามันขนาดใหญ่ รวมทัง้ ยังมีแหล่งเพาะเลี้ยงสัตว์น้ําชายฝงอี เลี้ยงทีแ่ ตกต่างกันออกไป ทําให้ส่วนคุณภาพนํ้ าเสื่อมโทรม ซึ่งจะพบในบริเวณทีม่ ี แหล่งกิจกรรมหนาแน่น แต่มบี างบริเวณทีค่ ุณภาพนํ้าอยูใ่ นเกณฑ์ดนี นั ้ พบในบริเวณ สถานที่ท่องเที่ยวที่มชี ายหาดและแนวปะการังสมบูณ์ คุณภาพดินตะกอนชายฝงั ่ บริเวณนี้มปี ริมาณโลหะหนักบางชนิดทีม่ คี า่ เกินมาตรฐานแต่ยงั ไม่มคี วามเป็ นพิษต่อ สิง่ มีชวี ติ คือ ทองแดง สารหนู และตะกัว่ นอกจากนี้ยงั พบปริมาณสังกะสีและตะกัว่ ทีม่ คี ่าเกินมาตรฐานทีอ่ าจจะมีความเป็ นพิษต่อสิง่ มีชวี ติ ในทะเลโดยจะพบในบริเวณ นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และแหลมฉบัง จังหวัดระยอง ในบริเวณนี้ยงั โลหะหนัก ควันจากการเผาไม้ และควันบุหรี่ สาร PAHs สามารถจับกับอนุ ภาคของฝุน่ ละอองและแพร่กระจายสู่ ดิน นํ้ า และ อากาศได้ รวมถึงสามารถทําปฏิกริยากับไนเตรทในอาหาร ทําให้เกิดเป็ นสารพิษต่อสิง่ มีชวี ติ ได้ 17 กรมควบคุมมลพิษ. 2548. สรุ ปสถานการณ์ มลพิษของประเทศไทยปี 2548. กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้ อม, กรุงเทพฯ.

สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.)

33


จําพวกแคดเมียม และปรอทในเนื้อเยื่อของสัตว์ทะเล ได้แก่ หอยแมลงภู่ และปู และ ั ่ นออกนี้กเ็ ป็ นจุด สาร PAHs ได้ในช่วงฤดูฝน อย่างไรก็ตาม บริเวณอ่าวไทยฝงตะวั ั ่ บ่อย เนื่องจากกิจกรรมใน วิกฤตที่เกิดความเสื่อมโทรมของคุณภาพนํ้ าชายฝงได้ บริเวณนี้ค่อนข้างรุนแรงและหนาแน่ น จึงเป็ นพืน้ ทีเ่ สีย่ งต่อการเกิดมลพิษทางทะเล ได้งา่ ย ั ่ นตกมีคุณภาพนํ้ าอยู่ในเกณฑ์ดี แต่มอี ยู่บาง บริเวณอ่าวไทยฝงตะวั บริเวณที่มคี วามเสื่อมโทรมโดยเฉพาะบริเวณปากแม่น้ํ าที่มแี หล่งที่ตงั ้ ชุมชนและมี ั ่ เ่ ลีย้ งกันอย่างหนาแน่น ยังพบคราบนํ้ามันในบริเวณ แหล่งเพาะเลีย้ งสัตว์น้ําชายฝงที ทีเ่ ป็ นแหล่งจอดเรือประมง นอกจากนี้ ยังพบว่าบริเวณแหล่งเลีย้ งหอย ณ ปากคลอง บ้า นบางตะบูน บ้านแหลม อ่า วบ้านดอน มีปริม าณแบคทีเ รีย ชนิ ด Vibrio 18 parahaemolyticus สูง โดยเฉพาะอย่างยิง่ บริเวณอ่าวบ้านดอน ซึง่ เป็ นแหล่งเลีย้ ง หอยนางรมทําให้มปี ริมาณแบคทีเรียชนิดนี้สงู ถึง 300 CFU ต่อมิลลิลติ ร19 จึงอาจมี ความเสี่ยงที่จะทําให้ผูบ้ ริโภคหอยนางรมสดเกิดโรคอาหารเป็ นพิษได้ ดินตะกอน บริเวณนี้พบปรอททีเ่ กินมาตรฐานแต่ยงั ไม่มคี วามเป็ นพิษต่อสิง่ มีชวี ติ นอกจากนี้ยงั พบสารหนู บริเวณปากแม่น้ํ าปตั ตานี และยังพบค่าตะกัวเกิ ่ นมาตรฐานที่อาจจะมี ความเป็ นพิษต่อสิง่ มีชวี ติ ในบริเวณคลองกระแดะ จังหวัดสุราษฎร์ธานีดว้ ย ั่ ในบริเวณชายฝงทะเลอั นดามัน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็ นแหล่งท่องเที่ยวที่ สําคัญ เป็ นทีน่ ิยมของนักท่องเทีย่ วชาวไทยและต่างชาติ ทําให้มกี ารพัฒนากิจกรรม ั ่ น้ เพื่อรองรับปริมาณนักท่องเที่ยว เช่น ร้านอาหาร โรงแรมหรือรี บริเวณชายฝงขึ สอร์ท ท่าเทียบเรือ นอกจากนี้ ยังเป็ นแหล่งที่ตงั ้ ถิ่นฐานของชุมชน ท่าเทียบเรือ สินค้า ท่าเรือประมง แพปลา แหล่งประมงทะเล แหล่งเพาะเลี้ยงสัตว์น้ํ า โรงงาน อุตสาหกรรม และพืน้ ทีเ่ กษตรกรรม เป็ นต้น กิจกรรมต่างๆ เหล่านี้สง่ ผลให้คุณภาพ 18

เชือ้ Vibrio parahaemolyticus เป็ นแบคทีเรีย รูปแท่ง อาศัยอยูใ่ นนํ้ าทะเลและนํ้ ากร่อย สามารถพบได้ในตัวกุง้ หอย ปลา และปูหลายชนิด ก่อโรคอาหารเป็ นพิษหรือทางเดินอาหารอักเสบ (ศรีวรรณา หัทยานานนท์. 2550. ความรู้ทวไปเกี ั่ ่ยวกับ โรคติดต่ อเชื้อและพาหะนํ าโรค. สาระน่ า รู้เกี่ ยวกับเชื้ อ Vibrio parahaemolyticus. แหล่งทีม่ า : http://webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_nih/a_nih_1_001c.asp?info_id=890, 5 กันยายน 2550.) 19 CFU คือ Colony forming Unit เป็ นหน่ วยนับจํานวนแบคทีเ่ รียภายใต้กล้องจุลทรรศน์ ซึง่ ผลจากการนับจะได้ CFU ต่อมิลลิลติ ร

สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.)

34


ั ่ ่อมโทรม แต่ถงึ กระนัน้ คุณภาพนํ้ าส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ดถี งึ ดีมากคือ นํ้ าชายฝงเสื ั ่ อย และเป็ นบริเวณทีต่ งั ้ ของอุทยานแห่งชาติทางทะเล บริเวณทีม่ กี จิ กรรมชายฝงน้ สาเหตุสําคัญประการหนึ่งของปญั หามลพิษทางทะเล คือ การรัวไหล ่ ของนํ้ามันจากเหตุการณ์ต่างๆ หลายกรณี เช่น กรณีเรือโดนกัน การอับปางของเรือ การถ่ายนํ้ามันระหว่างเรือกับท่าเทียบเรือ หรือเรือกับเรือ การแอบทิง้ นํ้าทีป่ นนํ้ามัน ในท้องเรือ หรือแอบถ่ายนํ้ ามันเครื่องลงสู่ทะเล การขุดเจาะนํ้ ามันหรือขุดสํารวจ ปิ โตรเลียมในทะเล เกิดจากการรัวไหลของปิ ่ โตรเลียมโดยธรรมชาติ เกิดจากการ ลักลอบขนถ่ายนํ้ามันในทะเล เกิดจากการทิง้ นํ้ามันจากแหล่งชุมชน เป็ นต้น ในช่วง 9 ปี ทผ่ี ่านมา (2540-2549) ประเทศไทยมีความถี่ในการเกิดการรัวไหลของนํ ่ ้ ามัน บ่อยครัง้ มลพิษจากการรัวไหลของนํ ่ ้ ามันมีค่าใช้จ่ายในการกําจัด ฟื้นฟู และป้องกัน สูงมาก จึงนับเป็ นการสูญเสียผลประโยชน์ ของชาติทงั ้ ทางตรงและทางอ้อม กรม ควบคุมมลพิษ (2546)20 ได้มกี ารศึกษาและประเมินมูลค่าสิง่ แวดล้อมและทรัพยากร ทางทะเลทีม่ ชี วี ติ และไม่มชี วี ติ ทีไ่ ด้รบั ผลกระทบจากการรัวไหลของนํ ่ ้ ามันในบริเวณ อ่าวไทยซึ่งมูลค่าที่ต้องสูญเสียไปเนื่องจากได้รบั ผลกระทบจากคราบนํ้ ามัน ได้แก่ ป่า ชายเลนประมาณ 183,600 บาทต่ อไร่ ส่ว นปะการังและหญ้า ทะเลประมาณ 4,700 และ 9,600 บาทต่ อตารางเมตร ตามลําดับ และสัตว์น้ํ าอื่นๆ ในทางการ ประมงจะคิดมูลค่าการสูญเสียซึง่ คํานวณจากปริมาณสัตว์น้ําทีจ่ บั ได้กบั ราคาปจั จุบนั ทีจ่ บั สัตว์น้ําชนิดนัน้ ๆ นอกจากนี้ ยังมีทรัพยากรบางประเภททีไ่ ด้รบั ผลกระทบจาก คราบนํ้ ามันแล้วจะต้องทําการฟื้ นฟูให้กลับสู่สภาพสมดุล ได้แก่ ปะการังประมาณ 2,300 บาทต่ อ ตารางเมตร หาดทรายและหาดโคลนประมาณ 1,542,000 และ 6,822,000 บาทต่อสองพันลูกบาศก์เมตร และนกทะเลประมาณ 78,456,000 ตัวต่อ นกหนึ่งร้อยตัว 2.3 นโยบายการรักษาผลประโยชน์ แห่งชาติ ทางทะเล 20

กรมควบคุมมลพิษ. 2546. สรุปมูลค่าสิ่ งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตที่จะได้รบั ผลกระทบจากกรณี นํ้ามันรัวไหล ่ เฉพาะบริ เวณอ่าวไทยตอนในและอ่าวไทยฝัง่ ตะวันออก. ส่วนแหล่งนํ้ าทะเล กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม, กรุงเทพฯ.

สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.)

35


1) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้มกี ารกําหนดแนวทางการพัฒนา เรือ่ งของทรัพยากรโดยรวมไว้ - ในส่วนของทรัพยากรประมงได้มนี โยบายทีร่ ะบุเฉพาะเจาะจงชัดเจน เช่น ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 มีการตัง้ เป้าหมายทําผลผลิต จากการประมงทะเลให้ได้ 88 เปอร์เ ซ็นต์ ในปี 2509 และเพิ่มผลผลิตให้ได้ 93 เปอร์เซ็นต์ในปี 2514 ซึ่งตรงกับช่วงของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 2 ต่อมาได้มกี ารกําหนดเป้าหมายการผลิตประมงทะเล เป็ น 2.0, 2.1 และ 3.2 ล้ า นตัน ในแผนพัฒ นาเศรษฐกิจ และสัง คมแห่ ง ชาติ ฉ บับ ที่ 4, 5 และ 6 ตามลําดับ นอกจากนี้ ช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 เป็ นต้น มา เป็ นช่วงทีท่ รัพยากรการประมงของประเทศไทยประสบกับภาวะการเสื่อมโทรม ทําให้เกิดนโยบายเพื่อการฟื้ นฟูทรัพยากรประมงในน่ านนํ้ าขึ้น ซึ่งเป็ นจุดเปลี่ยน ทางด้านแนวคิดเรื่องการจัดการการประมงที่คํานึงถึงสภาพแวดล้อมเพื่อให้การทํา ประมงเป็ นไปอย่างยังยื ่ นมากยิง่ ขึน้ จนกระทังป ่ จั จุบนั เป็ นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 ก็ได้มกี ารกําหนดแผนเรื่องการประมงไว้อย่างชัดเจน โดย มุง่ เน้นถึงการประกอบอาชีพการทําการประมง การใช้ทรัพยากรสัตว์น้ําให้เหมาะสม และกําหนดหลักการเกีย่ วกับการพัฒนาความเป็ นอยูข่ องชาวประมง - ในส่วนของกิจการพาณิชยนาวี ได้มนี โยบายส่งเสริมกิจการพาณิชยนาวี มาตัง้ แต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 โดยมุง่ เน้นทีก่ ารส่งเสริม กองเรือและท่าเรือ ซึ่งเป็ นองค์ประกอบทีส่ ําคัญทีส่ ุดของการขนส่งทางทะเล จนถึง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 6 การพัฒนากิจการพาณิชยนาวีจงึ มุ่งเน้นทีก่ ารพัฒนาท่าเรือโดยให้มกี ารเชื่อมโยงระหว่างรูปแบบการขนส่งต่างๆ ให้ ประสานสอดคล้องกัน และการให้เอกชนมีส่วนร่ว มในการลงทุนและดําเนิ นงาน ท่าเรือที่สร้างขึ้นใหม่และที่มอี ยู่แล้ว และยังคงพัฒนากองเรืออย่างต่อเนื่ อง โดย มุ่งเน้นทีก่ ารตลาดและการจัดการเพื่อเพิม่ ปริมาณสินค้าทีข่ นส่งโดยเรือไทย ต่อมา ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 ได้มกี ารยุบรวมสํานักงาน สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.)

36


คณะกรรมการส่งเสริมการพาณิชยนาวีกบั กรมเจ้าท่า โดยใช้ช่อื ใหม่ว่า กรมการ ขนส่งทางนํ้ าและพาณิชยนาวีและการโอนกิจการต่อเรือและซ่อมเรือให้อยู่ในความ ดูแ ลของกระทรวงอุ ต สาหกรรม และกิจ การพาณิ ช ยนาวีก ลายเป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ใน ยุทธศาสตร์การเพิม่ สมรรถนะและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดย ถือเป็ นโครงสร้างพืน้ ฐานทีต่ ้องได้รบั การพัฒนาให้มคี ุณภาพอยู่ในระดับมาตรฐาน สะดวกรวดเร็ว เพื่อสนับสนุ นการเพิม่ สมรรถนะของภาคการผลิตและบริการของ ประเทศ และในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 การพาณิชยนาวี และการขนส่งรูปแบบต่างๆ ได้อยู่ในระบบการจัดการขนส่งแบบเบ็ดเสร็จทีเ่ รียกว่า “การจัดการโลจิสติกส์” เพือ่ สนับสนุนการปรับโครงสร้างการผลิต 2) นโยบายและยุทธศาสตร์การรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล การจัดทํานโยบายและยุทธศาสตร์การรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ได้เริม่ ตัง้ แต่ปี 2536 และผ่านการพิจารณาจากคณะรัฐมนตรีและแต่งตัง้ คณะกรรมการ ดูแล จนถึงปจั จุบนั มีทงั ้ สิน้ 3 แผน คือ - นโยบายและยุทธศาสตร์การรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล พ.ศ. 2536 – 2542 มีคณะกรรมการอํานวยการและประสานการ ดําเนินการตามนโยบายและยุทธศาสตร์การรักษาผลประโยชน์ของ ชาติทางทะเล (อปท.) จํานวน 28 คน - นโยบายความมันคงแห่ ่ งชาติทางทะเล พ.ศ. 2542– 2546 มี คณะกรรมการอํ า นวยการและประสานการปฏิบ ัติต ามนโยบาย ความมันคงแห่ ่ งชาติทางทะเล (อปท.) จํานวน 40 คน - นโยบายความมันคงแห่ ่ งชาติทางทะเล พ.ศ. 2548 – 2552 มี คณะกรรมการอํา นวยการและประสานการปฏิบ ัติต ามนโยบาย ความมันคงแห่ ่ งชาติทางทะเล (อปท.) จํานวน 44 คน นโยบายความมันคงแห่ ่ งชาติทางทะเล พ.ศ. 2548 – 2552 มีวตั ถุประสงค์ หลัก 4 ข้อ คือ 1) เพื่อให้มแี ละธํารงไว้ซ่งึ อํานาจอธิปไตย การรักษาและคุ้มครอง สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.)

37


สิทธิอธิปไตยของชาติทางทะเล และการสนับสนุ นพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของ ชาติ 2) เพื่อให้ระบบการคมนาคมขนส่งทางทะเลที่สําคัญของประเทศ สามารถใช้ ประโยชน์ได้อย่างเต็มทีแ่ ละต่อเนื่อง 3) เพื่อให้พน้ื ทีผ่ ลประโยชน์ของชาติทางทะเล มีความสงบเรียบร้อยและมีความปลอดภัย สามารถพัฒนาให้เกิดประโยชน์สงู สุดของ ชาติทางทะเล และ 4) เพื่อให้มกี ารศึกษา ค้นคว้า วิจยั และพัฒนาระบบข้อมูลทาง สมุทรศาสตร์ ธรณีวทิ ยา นโยบายและยุทธศาสตร์เกี่ยวกับความมันคงทางทะเล ่ สําหรับใช้ประโยชน์รว่ มกันและปกป้องผลประโยชน์ของชาติทางทะเล 3) นโยบายพัฒนาการประมงแห่งชาติ (2545-2549) นโยบายพัฒนาการประมงแห่งชาติ ได้กําหนดนโยบายหลักสําคัญ ได้แก่ นโยบายพัฒนาเกษตรกรประมงและองค์กรทีเ่ กี่ยวข้อง นโยบายการบริหารจัดการ ทรัพ ยากรประมงและสิ่ง แวดล้อ ม นโยบายพัฒ นาการประมงนอกน่ า นนํ้ า และ นโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมและธุรกิจการประมง 4) นอกจากนี้ ย ัง มีน โยบายของหน่ ว ยงานภาครัฐ หลายหน่ ว ยงานที่ เกี่ยวข้องกับการรักษาผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล ซึ่งรูปแบบหรือลักษณะของ นโยบายต่ า งๆ เหล่ า นี้ เ ป็ น ไปในลัก ษณะแบ่ ง ส่ ว น แบ่ ง เรื่อ งโดยมีห น่ ว ยงาน รับผิดชอบแต่ละเรื่องแต่ละส่วนอย่างชัดเจน โดยขาดการพิจารณาจากผลประโยชน์ แห่งชาติทางทะเลที่ไ ด้รบั อย่างแท้จริง ที่เ ห็นได้ชดั และส่งผลกระทบโดยรวมต่ อ ประเทศ คือ เรื่องของกฎหมายทีย่ งั ขาดนโยบายด้านการพัฒนากฎหมายภายในให้ สอดคล้องกับผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเลทีก่ ฎหมายระหว่างประเทศกําหนดหรือ เป็ นทีย่ อมรับโดยทัวไป ่ ทําให้การปฏิบตั เิ พือ่ รักษาผลประโยชน์จงึ กระทําได้ไม่เต็มที่ ตามสิทธิทค่ี วร 2.4 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกิ จกรรมการใช้ทะเล กฎหมายทีเ่ กีย่ วข้องกับกิจกรรมการใช้ทะเลไทย มีประมาณกว่า 50 ฉบับ จัดเป็ น 4 กลุ่ม ได้แก่ กฎหมายด้านการพาณิชยนาวี กฎหมายด้านทรัพยากรมีชวี ติ กฎหมายด้านทรัพยากรไม่มชี วี ติ กฎหมายเกี่ยวกับสิทธิในเขตต่อเนื่อง กฎหมาย สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.)

38


เกีย่ วกับความมันคงหรื ่ อความสงบเรียบร้อยทางทะเล กฎหมายเกีย่ วกับสิง่ แวดล้อม และกฎหมายเกีย่ วกับกิจกรรมทางทะเลอื่นๆ จากการศึกษากฎหมายไทยไม่ว่าจะในแง่ของการใช้อาํ นาจตามกฎหมาย ของเจ้าหน้าที่เพื่อการควบคุมกิจกรรมการใช้ทะเลหรือในบทบัญญัตขิ องกฎหมาย โดยพิจารณาประกอบกับอนุ สญ ั ญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 พบว่า การควบคุมกิจกรรมทางทะเลของประเทศไทยยังคงมีความบกพร่องในด้าน ต่างๆ ทีท่ ําให้การดําเนินกิจกรรมทางทะเลของประเทศไทยยังไม่เป็ นไปอย่างยังยื ่ น และอาจไม่ เ ป็ น เครื่อ งมือ ในการรัก ษาผลประโยชน์ แ ห่ ง ชาติ ท ะเลได้ อ ย่ า งมี ประสิท ธิภ าพ โดยที่ผ ลประโยชน์ ท างทะเลของประเทศไทยไม่จํา กัด อยู่เ ฉพาะ ภายในอาณาเขตทางทะเลของประเทศไทยเท่านัน้ หากยังรวมถึงเขตน่ านนํ้ าของ ประเทศเพื่อนบ้าน เขตทะเลหลวงหรือน่ านนํ้ าสากล หรือเขตทะเลของประเทศอื่น ทัวโลกที ่ ส่ ามารถทําความตกลงกันได้ 1) บทบัญญัตขิ องกฎหมายของประเทศไทย เขตทางทะเลไม่ว่าจะเป็ นในเขตเศรษฐกิจจําเพาะ ในเขตไหล่ทวีป ใน ทะเลหลวง บทบัญญัตขิ องกฎหมายของประเทศไทยยังไม่เข้าไปครอบคลุมทุกกรณี กฎหมายของประเทศไทยยังมีขอ้ บกพร่องทีไ่ ม่สามารถทําการควบคุมกิจกรรมการ ั ญาฯ ได้ ยกตัวอย่างเช่น ใช้ทะเลในแต่ละเขตนัน้ ๆ ตามอนุสญ - กรณีทไี ่ ม่มบี ทบัญญัตขิ องกฎหมายภายในบัญญัตไิ ว้ในเรือ่ งนัน้ ๆ หมายความถึง กรณี ท่ีอ นุ ส ญ ั ญาฯ ได้กํา หนดในเรื่อ งใดเรื่อ งหนึ่ ง เอาไว้ แต่ ไ ม่มี กฎหมายภายในทีเ่ กีย่ วข้องหรือบัญญัตถิ งึ เรื่องนัน้ เลย ยกตัวอย่างเช่น อนุ สญ ั ญาฯ ได้กําหนดเรื่องเกี่ยวกับการวิจยั วิทยาศาสตร์ทางทะเลเอาไว้ แต่หากพิจารณาตาม กฎหมายภายในของประเทศไทยแล้วจะเห็นได้ว่าไม่มกี ฎหมายฉบับใดทีก่ ําหนดไว้ โดยตรงครอบคลุ ม การวิจ ยั วิท ยาศาสตร์ท างทะเลในทุ ก เรื่อ ง นอกจากนี้ ใ นเขต เศรษฐกิจจําเพาะมีหลายกิจกรรมทีไ่ ทยไม่มกี ฎหมายบังคับใช้ เช่น หลักเกณฑ์การ วางสายหรือ ท่ อ ใต้ท ะเล หรือ การสร้า งเกาะเทีย มหรือ สิ่ง ติด ตัง้ หรือ การรัก ษา สิง่ แวดล้อม เป็ นต้น สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.)

39


- กรณี ทีบ่ ทบัญ ญัติข องกฎหมายภายในกํ า หนดไว้แ ตกต่ า งจาก อนุ สญ ั ญาฯ หมายความถึงกรณีทก่ี ฎหมายภายในได้บญ ั ญัตเิ รื่องตามทีอ่ นุ สญ ั ญาฯ กําหนดไว้ แต่บทบัญญัตขิ องกฎหมายภายในแตกต่างจากอนุ สญ ั ญาฯ ยกตัวอย่าง เช่น การกําหนดโทษจําคุกไว้สาํ หรับการกระทําความผิดในเขตเศรษฐกิจจําเพาะซึง่ ต้องห้ามตามอนุ สญ ั ญาฯ แต่พระราชบัญญัตกิ ารประมง พ.ศ. 2490 ได้กําหนดกรณี การทํา การประมงในเขตเศรษฐกิจ จํา เพาะของไทยในลัก ษณะที่เ ป็ น การฝ่า ฝื น ข้อกําหนดของรัฐมนตรีท่กี ําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการทําการประมงในพืน้ ที่จบั สัตว์น้ํ าตามมาตรา 32 ก็จะต้องรับโทษตามมาตรา 65 ซึง่ กําหนดโทษปรับตัง้ แต่ 5 พันบาทถึง 1 หมืน่ บาท หรือจําคุกไม่เกิน 1 ปีหรือทัง้ ปรับทัง้ จํา - กรณีทมี ่ บี ทบัญญัตขิ องกฎหมายภายในแต่ไม่ครอบคลุมถึงขอบเขต ตามอนุ สญ ั ญาฯ หมายความถึงกรณีท่มี กี ฎหมายภายในมีบทบัญญัติในเรื่องนัน้ ๆ ตามทีอ่ นุ สญ ั ญาฯ ได้กําหนดเอาไว้ แต่ทว่าในบทบัญญัตขิ องกฎหมายภายในยังไม่ ครอบคลุมขอบเขตตามทีก่ าํ หนดไว้ในอนุ สญ ั ญาฯ ยกตัวอย่างเช่น ในเขตทะเลหลวง รัฐมีหน้าทีใ่ นการออกกฎหมายเพื่อกําหนดโทษสําหรับกรณีเรือซึง่ ชักธงของตนหรือ โดยบุคคลทีอ่ ยูภ่ ายใต้เขตอํานาจของตนทําให้สายเคเบิลใต้ทะเลหลวง ทางท่อ หรือ สายไฟแรงสูงใต้ทะเลแตกหักหรือเสียหายไม่ว่าโดยเจตนาหรือประมาทอันเป็ น ความผิด ซึ่งในเรื่องนี้พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่ านนํ้ าไทย พ.ศ.2456 ก็ได้ กํา หนดควบคุ มในเรื่องนี้ เ อาไว้ ซึ่งกํา หนดไว้ใ นหมวดที่ 3 ข้อบังคับ ว่าด้ว ยการ ทอดสมอใกล้ เ คี ย งหรื อ เกาสมอข้า มสายท่ อ หรือ สิ่ง ก่ อ สร้ า งที่ท อดใต้ น้ํ า แต่ พระราชบัญญัตนิ ้ีกถ็ ูกจํากัดไว้เพียงทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่องเท่านัน้ 2) การบังคับใช้กฎหมาย - ความซํ้าซ้อนในอํานาจหน้าทีข่ องเจ้าหน้าทีห่ ลายหน่ วยงานแต่ขาด การประสานกัน โดยทีก่ จิ กรรมทางทะเลบางประเภทนัน้ อยูใ่ นความควบคุมดูแลของ กฎหมายหลายฉบับ ส่งผลให้เจ้าหน้าทีผ่ มู้ อี ํานาจหน้าทีใ่ นการควบคุมกิจกรรมนัน้ ั่ อ มาจากหลายหน่ วยงาน ตัวอย่างเช่น กรณีท่เี รือต่างชาติท้งิ สิง่ ปฏิกูลที่ชายฝงหรื น่ า นนํ้ า ภายใน ซึ่ง จะเป็ น ความผิด ตามมาตรา 20(1) แห่ ง พระราชบัญ ญัติก าร สาธารณสุข พ.ศ. 2535 ในกรณีทไ่ี ด้มกี ารออกข้อบัญญัตทิ อ้ งถิน่ ตามมาตรานี้แล้ว สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.)

40


และเป็ นความผิดตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัตริ กั ษาความสะอาดและความ เป็ น ระเบีย บเรีย บร้อ ยของบ้า นเมือ ง พ.ศ. 2535 ซึ่ง กฎหมายทัง้ 2 ฉบับ มีเ จ้า พนักงานท้องถิน่ เป็ นผูบ้ งั คับใช้กฎหมาย และนอกจากความผิดตามกฎหมายทัง้ 2 ฉบับดังกล่าวแล้ว ยังเป็ นความผิดตามมาตรา 119 แห่งพระราชบัญญัตกิ ารเดินเรือ ในน่านนํ้าไทย พ.ศ. 2456 ซึง่ เจ้าท่าของกรมการขนส่งทางนํ้าและพาณิชยนาวีเป็ นผู้ มีอํา นาจดํา เนิ น คดี และอาจมีค วามผิด ตามมาตรา 19 แห่ง พระราชบัญ ญัติก าร ประมง พ.ศ.2490 อีกด้วย ซึง่ การดําเนินการตามกฎหมายฉบับนี้เป็ นอํานาจหน้าที่ ของพนักงานเจ้าหน้าทีส่ งั กัดกรมประมง นอกจากนี้ เจ้าหน้าทีต่ ํารวจของกองบังคับ การตํารวจนํ้าและเจ้าหน้าทีท่ หารเรือก็มอี าํ นาจดําเนินคดีสาํ หรับการกระทําดังกล่าว อีกเช่นเดียวกัน จึงเห็นได้วา่ เป็ นกรณีทก่ี ารกระทําความผิดกรรมเดียวเป็ นความผิด ต่อกฎหมายหลายบทและมีเจ้าหน้ าที่ของหลายหน่ วยงานเข้ามาเกี่ยวข้อง การมี เจ้าหน้ าที่เข้ามาตรวจสอบดูแลในเรื่องนี้อาจเป็ นผลดีหากมีการเชื่อมโยงประสาน ข้อมูลระหว่างเจ้าหน้าทีเ่ ข้าด้วยกัน ซึง่ จะส่งผลให้การนํ าตัวผูก้ ระทําผิดมาลงโทษมี ประสิทธิภาพ แต่ถา้ ไม่มกี ารเชื่อมโยงประสานระหว่างเจ้าหน้าทีแ่ ต่ละฝา่ ยแล้วย่อม ส่งผลให้เกิดปญั หาในการบังคับใช้กฎหมายตามมา ไม่ว่าจะเป็ นเรื่องของบทลงโทษ ตามกฎหมายที่ค วรนํ า มาใช้กบั ผู้ท่ีก ระทํา ความผิด หรือช่ อ งทางในการแสวงหา ผลประโยชน์โดยมิชอบของเจ้าหน้าที่ การใช้อํานาจตามกฎหมายเพื่อควบคุมกิจกรรมในการใช้ทะเลมีความ จําเป็ นอย่างยิง่ ทีจ่ ะต้องมีการประสานงานระหว่างหน่วยงานหลายหน่วยงาน เพื่อให้ การควบคุมกิจกรรมการใช้ทะเลเป็ นไปอย่างมีประสิทธิภาพ - ความชัดเจนของหน่ วยงานผู้รบั ผิดชอบเพือ่ บังคับให้เป็ นไปตาม กฎหมาย ยกตัว อย่า งเช่ น กรณีเ รือ ต่ า งชาติท้ิง สิ่ง ปฏิกูล ในน่ า นนํ้ า ภายในหรือ ั่ ชายฝงทะเลและก่ อให้เกิดความเสียหายต่อนํ้ าทะเลโดยอาจทําให้เน่ าเสียหรือเกิด ภาวะมลพิษต่อทรัพยากรธรรมชาติทม่ี ชี วี ติ ก็ยงั ไม่แน่ ชดั ว่าหน่ วยงานใดทีจ่ ะถือว่า เป็ นผูเ้ สียหายทีม่ สี ทิ ธิฟ้องร้องให้เรือต่างชาติทาํ การกําจัดมลพิษทีเ่ กิดขึน้ หรือฟื้ นฟู ทรัพยากรธรรมชาติให้กลับมาเป็ นเช่นเดิม หรือเรียกค่าใช้จ่ายกรณีทห่ี น่ วยงานของ รัฐ ที่เ กี่ย วข้อ งได้ทํา การขจัด หรือ แก้ไ ขภาวะมลพิษ ที่เ กิด ขึ้น ไปแล้ว หรือ ในการ สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.)

41


เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในทางแพ่ง ก็ยงั ไม่มคี ําพิพากษาศาลฎีกาเป็ นบรรทัด ฐานว่ารัฐบาลไทยสามารถใช้สทิ ธิเรียกร้องค่าสินไหมผ่านทางศาลในกรณีน้ีได้ ซึ่ง ั ่ เขตอํานาจทางแพ่งบนเรือต่างชาติใน ตามอนุ สญ ั ญาฯ ก็ได้กําหนดให้รฐั ชายฝงมี ทะเลอาณาเขตด้วย ั หาในส่ ว นนี้ มีค วามสํา คัญ อย่า งยิ่ง เนื่ อ งจากความไม่ช ัด เจนใน ปญ หน้าทีข่ องหน่ วยงานของรัฐในการควบคุมกิจกรรมทางทะเลจะส่งผลให้การควบคุม กิจกรรมทางทะเลเป็ นไปอย่างไม่มปี ระสิทธิภาพเนื่องจากเจ้าหน้าทีผ่ เู้ กีย่ วข้องย่อม ไม่กล้าทีจ่ ะดําเนินการตามกฎหมายของตนได้อย่างเต็มที่ เพราะไม่แน่ ใจว่าแท้จริง แล้วตนมีอํานาจหน้าทีต่ ามกฎหมายทีจ่ ะเข้าไปควบคุมกิจกรรมการใช้ทะเลในกรณี นัน้ ๆ หรือไม่ - การบังคับใช้กฎหมายโดยเจ้าหน้าทีผ่ มู้ หี น้าทีร่ บั ผิดชอบกฎหมาย ั่ นัน้ ๆ ยังไม่มปี ระสิทธิภาพ เช่น ปญั หาการบุกรุกทีด่ นิ ชายฝงทะเลอั นเป็ นทีข่ องป่า สงวนหรืออุทยานแห่งชาติทางทะเลหรือทีส่ าธารณสมบัตขิ องแผ่นดิน อันก่อให้เกิด ปญั หาปา่ ชายเลนหรืออุทยานแห่งชาติทางทะเลเสือ่ มโทรมหรือลดน้อยลง และส่งผล ั่ ั่ ให้เกิดการกัดเซาะพืน้ ทีช่ ายฝงทะเล และระบบนิเวศของชายฝงทะเลต้ องสูญเสียไป ั ่ อพืชทะเลบางชนิด ปญั หาตามกรณีทย่ี ก ไม่วา่ หาดทราย ปะการัง หรือพืชชายฝงหรื มานี้ มีก ฎหมายหลายฉบับ ที่เ กี่ย วข้อ งและมีม าตรการทางกฎหมายเพื่อ ที่จ ะ ดําเนินการกับผู้กระทําผิดอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็ นกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ กฎหมายว่ า ด้ว ยอุ ท ยานแห่ ง ชาติ หรือ กฎหมายว่ า ด้ว ยการส่ ง เสริม และรัก ษา ั หานี้ ส ามารถทํ า ได้ย าก คุ ณ ภาพสิ่ง แวดล้อ มแห่ ง ชาติ เป็ น ต้น ซึ่ง การแก้ไ ขป ญ เนื่องจากเป็ นปญั หาเกีย่ วกับพฤติกรรมของผูท้ บ่ี งั คับใช้กฎหมาย - ข้ อ จํ า กั ด เชิ ง พื้ น ที ใ่ นการปฏิ บ ั ติ ข องเจ้ า หน้ า ที ่ บางครั ง้ การ ดํา เนิ น การตามกฎหมายบางประการ เช่น การดํา เนิ น คดีต ามกฎหมายที่มีก าร กระทําความผิดในกิจกรรมการใช้ทะเล ยังมีขอ้ จํากัดในเรื่องพืน้ ทีส่ าํ หรับการปฏิบตั ิ หน้าทีข่ องเจ้าหน้าทีอ่ ยู่ ยกตัวอย่างเช่น กรณีการดําเนินคดีอาญาตามกฎหมายกับผู้ ที่กระทําความผิดในท้องทะเล ซึ่งหากความผิดนัน้ ไม่ใช่ความผิดอาญาแผ่นดินก็ จะต้องทําการร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนเสียก่อนจึงจะดําเนินคดีต่อไป สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.)

42


ได้ หรือในกรณีท่ที ําการลงโทษ ผูต้ ระเตรียมการหรือพยายามกระทําความผิดใน กรณีท่กี ฎหมายบัญญัตใิ ห้การตระเตรียมการหรือการพยายามกระทําความผิดนัน้ เป็ นความผิดแม้ว่าจะกระทําลงไปนอกราชอาณาจักร หากการกระทําการนัน้ ไปจน ผิดความสําเร็จแล้วผลจะเกิดขึน้ ในราชอาณาจักร ก็มปี ญั หาว่าจะมีเจ้าหน้าทีใ่ ดทีท่ ํา การจับ กุ ม ผู้ก ระทํ า ความผิด นอกราชอาณาจัก รในกรณี น้ี (เช่ น อาจอยู่ ใ นเขต เศรษฐกิจจําเพาะ) และในกรณีทก่ี ารกระทําดังกล่าวไม่ใช่ความผิดอาญาแผ่นดิน ก็ จะต้องมีการ้องทุกข์กล่าวโทษเพื่อดําเนินคดีอาญาตามที่ได้กล่าวไปแล้ว และเจ้า พนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาจะจํากัดอยู่เฉพาะพนักงานฝ่ายปกครองหรือ ตํารวจที่มอี ํานาจสืบสวน ส่วนอํานาจสอบสวนเป็ นของพนักงานฝ่ายปกครองหรือ ตํารวจชัน้ ผูใ้ หญ่ซ่งึ โดยปกติประจําการอยู่บนฝงั ่ อันจะเห็นได้ว่าเป็ นข้อจํากัดเชิง พื้น ที่สํา หรับ การดํ า เนิ น การตามกฎหมายของเจ้า หน้ า ที่ อีก ตัว อย่ า งหนึ่ ง ของ ข้อจํากัดเชิงพืน้ ที่ในการปฏิบตั ขิ องเจ้าหน้าที่ ได้แก่ กรณีทส่ี ามารถจับผูก้ ระทําผิด บนเรือในทะเลอาณาเขตได้ ในกรณีทไ่ี ม่มกี ารแบ่งความรับผิดชอบระหว่างพนักงาน สอบสวนภายในทะเลอาณาเขตไว้ดงั เช่นทีม่ กี ารกําหนดเขตจังหวัดในอ่าวไทยตอน ในซึง่ ถือเป็ นน่านนํ้าภายในของประเทศไทย จะต้องนําส่งอัยการสูงสุดหรือพนักงาน สอบสวนทีอ่ ยั การสูงสุดมอบหมาย ซึง่ เป็ นขัน้ ตอนทีม่ คี วามยุง่ ยากในการปฏิบตั ิ 2.5 หน่ วยงานรับผิดชอบการจัดการผลประโยชน์แห่งชาติ ทางทะเล หน่ วยงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องผลประโยชน์ แห่งชาติทางทะเลอยู่ในความ รั บ ผิ ด ชอบในระดั บ กระทรวงรว ม 16 กระทรวง ไ ด้ แ ก่ 1) ก ร ะ ท ร ว ง ทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม 2) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 3) กระทรวง อุตสาหกรรม 4) กระทรวงพลังงาน 5) กระทรวงคมนาคม 6) กระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี 7) กระทรวงศึ ก ษาธิ ก าร 8) กระทรวงการต่ า งประเทศ 9) กระทรวงกลาโหม 10) กระทรวงมหาดไทย 11) กระทรวงวัฒนธรรม 12) กระทรวง การท่ อ งเที่ย วและกีฬ า 13) กระทรวงสาธารณสุ ข 14) กระทรวงพาณิ ช ย์ 15) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมันคงของมนุ ่ ษย์ และ 16) สํานักนายกรัฐมนตรี โดยลักษณะการปฏิบตั ิงานที่ผ่านมาจะเป็ นแบบแยกส่วน คือ หน่ วยงานใดมีส่วน สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.)

43


เกีย่ วข้องกับเรื่องใดก็จะรับผิดชอบดูแลทัง้ ด้านนโยบาย การจัดการ และกฎหมายที่ เป็ น เฉพาะของเรื่อ งนั น้ ไป เช่ น เรื่อ งเกี่ย วกับ การประมงดู แ ลโดยกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องพาณิชยนาวีดูแลโดยกรมการขนส่งทางนํ้ าและ พาณิ ช ยนาวี กระทรวงคมนาคม ส่ว นกรมทรัพ ยากรทางทะเลและชายฝ งั ่ กรม ควบคุมมลพิษ สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติแ ละสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อมเป็ นผู้ดูแลทรัพยากรทางทะเลและ ั ่ ่ น ๆ เป็ น ต้ น เหล่ า นี้ ย ัง ไม่ ร วมถึง องค์ก รอิส ระ หน่ ว ยงานเอกชน และ ชายฝ งอื หน่ วยงานระหว่างประเทศอื่นๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องในมิติต่างๆ อีกมากมาย ทัง้ นี้ หน่ ว ยงานต่ า งๆ ที่เ กี่ย วข้อ งนี้ อ าจไม่มีก ารประสานงานเพื่อ รัก ษาผลประโยชน์ แห่งชาติทางทะเลกันอย่างทีค่ วรจะเป็ น เนื่องจากไม่มอี งค์กร/ หน่ วยงานกลางทีท่ ํา หน้าทีด่ แู ลนโยบายผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเลในภาพรวมทัง้ หมดนันเอง ่ อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. 2540 ได้มกี ารจัดตัง้ หน่วยงานทีจ่ ะทําหน้าทีใ่ นการ ปกป้องและรักษาผลประโยชน์ชาติทางทะเล นัน่ คือ ศูนย์ประสานการปฏิบตั ใิ นการ รักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) ซึง่ เป็ นหน่วยงานเฉพาะกิจทีจ่ ดั ตัง้ ขึน้ ตามนโยบายของรัฐบาล ขึน้ ตรงต่อสภาความมันคงแห่ ่ งชาติ ทัง้ นี้ มีจุดมุง่ หมายเพื่อ เป็ นศูนย์กลางในการประสานงานต่างๆ เกีย่ วกับกิจการทางทะเลในทุกๆ ด้าน แนว ทางการปฏิบตั ิการภายใต้นโยบายความมันคงแห่ ่ งชาติทางทะเลของ ศรชล. จะ มุ่งเน้นไปในเชิงการประสานการปฏิบตั ิงานในเชิงตัง้ รับเป็ นส่วนใหญ่ และยังไม่มี นโยบายในการดูแลเรื่องผลประโยชน์ แห่งชาติทางทะเลให้ครอบคลุมทัง้ ในเชิงรุก และรับ ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซียมีหน่ วยงานที่ควบคุมดูแลเรื่อง ของทะเลทีเ่ รียกว่า Maritime Institute of Malaysia (MIMA) ซึง่ หน่วยงานนี้จะเป็ นผู้ กําหนดนโยบายแห่งชาติทางทะเลของมาเลเซียอย่างชัดเจน รวมทัง้ ควบคุมดูแล กิจกรรมทัง้ หมดทีจ่ ะเกีย่ วข้องให้เป็ นไปตามนโยบายแห่งชาตินนั ้ 21 นอกจากประเทศมาเลเซียแล้ว อินโดนีเซีย ก็มหี น่ วยงานทีด่ ูแลรับผิดชอบ ด้านการจัดการการใช้ทะเลโดยเฉพาะ เกาหลีใต้กเ็ ป็ นอีกประเทศหนึ่งทีม่ กี ระทรวง 21

Maritime Institute of Malaysia. 2550. Available Source: http://www.mima.gov.my, 10 กันยายน 2550.

สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.)

44


The Ministry of Maritime Affairs and Fisheries ซึง่ เป็ นหน่ วยงานทีร่ บั ผิดชอบ เรื่องเกีย่ วกับทะเลโดยเฉพาะ มีการกําหนดนโยบาย/ทิศทางเรื่องการใช้ทะเลอย่าง ชัดเจน22 ประเทศในภูมภิ าคอื่นก็มหี น่ วยงานที่ทําหน้าที่ในการบริหารจัดการเรื่อง การใช้ทะเลทีป่ ระสบความสําเร็จ เช่น แคนาดา มี Canadian Coast Guard ภายใต้ Department of Fisheries and Oceans23 เป็ นต้น ซึง่ ลักษณะการดําเนินการ บทบาทและหน้าทีข่ องหน่ วยงานบริหารจัดการด้านการใช้ทะเลของประเทศเหล่านี้ น่ าจะเป็ นแบบอย่างที่ดที ่ปี ระเทศไทยควรศึกษาเพื่อนํ ามาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม กับสถานการณ์ปจั จุบนั ของประเทศได้

22

Ministry of Maritime Affairs and Fisheries of Korea .2550. Available Source: http://www.momaf.go.kr/english/policy/ocean/P_ocean.asp, 10 กันยายน 2550. 23 Canadian Coast Guard. 2550. Overview. The CCG Fleet. Available Source: http://www.ccggcc.gc.ca/fleet-flotte/overview_e.htm, 10 กันยายน 2550.

สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.)

45


3. ประเด็นปัญหาและอุปสรรคของการจัดการผลประโยชน์ แห่งชาติทางทะเล 3.1 ปัญหาและอุปสรรคของการบริ หารจัดการผลประโยชน์ แห่งชาติ ทาง ทะเล แม้ว่าผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเลของไทยจะมีอยู่มาก แต่ในความ เป็ นจริงประเทศไทยสูญเสียผลประโยชน์อนั พึงจะได้รบั ไปเป็ นจํานวนมาก ซึ่งเป็ น ผลมาจาก 1) ทรัพยากรมีอยู่อย่างจํากัด มีการใช้ประโยชน์ อย่างไม่ยงยื ั ่ น ส่งผล ให้เกิ ดความเสื่อมโทรม และหมดไปของทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรบางอย่างอาจเติบโตหรือเพิม่ จํานวนขึน้ มาแทนทีไ่ ด้ (ทรัพยากร คืนรูป; renewable resources) แต่บางอย่างเมื่อใช้หมดแล้วก็หมดเลย (ทรัพยากร ไม่คนื รูป; non-renewable resources) ในขณะทีท่ ุกวันนี้ผใู้ ช้ทะเลมีจาํ นวนเพิม่ มาก ขึ้นเรื่อยๆ ตามระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งทําให้รูปแบบของ ั ่ ความหลากหลายและซับซ้อนเพิม่ ความต้องการใช้ทรัพยากรทางทะเลและชายฝงมี ั่ มากขึน้ ส่งผลให้ทรัพยากรทางทะเลและชายฝงลดลงทั ง้ ปริมาณและคุณภาพ เกิด ความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อม นอกจากนี้ ยังเกิดการจัดสรรการใช้ทรัพยากร อย่างไม่เป็ นธรรม เกิดความขัดแย้งในการใช้ประโยชน์ในหลายพืน้ ที่ ทัง้ คนในพืน้ ที่ เดียวกันแย่งกันใช้ทรัพยากร หรือถูกกลุ่มบุคคลจากต่างถิน่ เข้าไปใช้ มีระบบการใช้ แบบมือใครยาวสาวได้สาวเอา ไม่ได้คํานึงถึงข้อจํากัดของตัวทรัพยากร จนบางครัง้ ทําให้สญ ู เสียโอกาสทีจ่ ะได้ใช้ทรัพยากรอย่างคุม้ ค่า ผูใ้ ช้ทรัพยากรทีเ่ ป็ นคนในท้องที่ ั่ บริเวณชายฝงทะเลส่ วนใหญ่มกั สูญเสียโอกาสที่จะเข้าใช้ทรัพยากรทางทะเลและ ั่ ชายฝงในอาณาบริ เวณของตน ซึ่งอาจเนื่องมาจากการไม่ได้รบั ทราบข่าวสาร หรือ ความรูเ้ กี่ยวกับเทคโนโลยีและวิทยาการในการนํ าเอาทรัพยากรไปใช้เพียงพอหรือ เท่าเทียมกับผูป้ ระกอบกิจการจากภายนอก

สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.)

46


2) องค์ค วามรู้ที่ มี ค วามจํา เป็ นต่ อ การบริ ห ารจัด การผลประโยชน์ แห่งชาติ ทางทะเล เช่ น วิ ทยาศาสตร์ทางทะเล การบริ หารจัดการทรัพยากร ประมงในน่ านนํ้าไทย การประมงนอกน่ านนํ้าไทย กิ จการทางทะเล การขนส่ง ทางนํ้าและพาณิ ชยนาวี เป็ นต้น ยังมีงานวิ จยั น้ อย การศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล และศาสตร์สาขาต่างๆ ทีเ่ กีย่ วข้องกับ การใช้ประโยชน์ทางทะเลยังมีอยูน่ ้อยมาก และทีม่ กี ารดําเนินการอยู่ในปจั จุบนั ก็มกั เป็ นการดําเนินการในพืน้ ทีใ่ กล้ชายฝงั ่ ยังไม่สามารถสร้างนักวิทยาศาสตร์และองค์ ความรูด้ า้ นวิทยาศาสตร์ทางทะเลได้อย่างเพียงพอต่อความต้องการ ซึง่ สาเหตุหนึ่ง คือ การขาดการสนับสนุ นงบประมาณในการศึกษาวิจยั และการมีตําแหน่ งรองรับที่ มันคง ่ ส่ง ผลให้ค วามรู้ค วามเข้า ใจและโอกาสในการใช้ป ระโยชน์ จ ากทะเลของ ประเทศไทยลดลง ทัง้ ๆ ที่ประเทศไทยมีสทิ ธิในการใช้ประโยชน์ ท งั ้ จากน่ านนํ้ า ภายใน น่ านนํ้ าอาณาเขต เขตต่อเนื่อง เขตเศรษฐกิจจําเพาะ ทะเลหลวง และยัง รวมถึงน่านนํ้าของประเทศอื่นๆ ทีส่ ามารถทําข้อตกลงกันได้ นอกจากนี้ บุ ค ลากรที่มีท กั ษะ และความรู้ ในด้า นการขนส่ง ทางนํ้ าและ พาณิชยนาวี ท่าเรือ การเดินเรือ ระบบโลจิสติกส์ และการสร้างโครงข่ายการขนส่ง ทางทะเลของประเทศไทย ก็ยงั มีอยู่น้อยมาก ทําให้กองเรือไทยไม่มคี วามเข้มแข็ง ธุรกิจพาณิชยนาวีในปจั จุบนั ส่วนใหญ่มเี จ้าของเป็ นชาวต่างชาติ ทําให้ผลประโยชน์ จากการใช้บริการทางทะเล (การขนส่งทางทะเล) ของประเทศไทยตกอยู่ในมือของ คนไทยเพียงไม่กเ่ี ปอร์เซ็นต์ 3) กฎข้อบังคับในระดับภูมิภาค หรือระดับโลกที่ มีการเปลี่ยนแปลง ไป โดยที่ประเทศไทยยังไม่ได้ปรับเปลี่ยนให้เท่าทัน การทีป่ ระเทศไทยใช้ระบบกฎหมายแบบ Civil Law เป็ นสาเหตุทท่ี ําให้ รัฐ ธรรมนู ญ บัญ ญัติใ ห้ก ารเข้า เป็ น ภาคีส นธิส ัญ ญาใดไม่ ว่ า จะเป็ น แบบทวิภ าคี (bilateral) หรือพหุภาคี (multilateral) หากต้องตรากฎหมายภายในเพื่อรองรับตาม ั ญานัน้ จะต้องได้รบั ความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อน ทัง้ นี้ เพื่อให้มผี ลผูกพัน สนธิสญ ต่อรัฐสภาทีต่ ้องให้ความเห็นชอบเมื่อรัฐบาลเสนอกฎหมายต่อรัฐสภา และตราเป็ น กฎหมายใช้ บ ัง คับ ต่ อ ไปอัน ทํ า ให้ร ัฐ บาลมีเ ครื่อ งมือ ในการปกครองประเทศ สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.)

47


ตอบสนองต่อพันธกรณีทไ่ี ด้ทาํ สนธิสญ ั ญาไว้ได้ (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 บัญญัตไิ ว้ในมาตรา 190) .และในการจะเข้าเป็ นภาคีอนุ สญ ั ญาสหประชาชาติ ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 ก็เช่นเดียวกัน บรรดากฎหมายภายในของไทยที่เกี่ยวข้องกับทะเลทัง้ หมดมีกฎหมายที่ สอดคล้องกับอนุ สญ ั ญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 เพียงไม่ก่ี ฉบับ และในจํานวนไม่กฉ่ี บับนัน้ ก็มไิ ด้สอดคล้องไปเสียทัง้ หมด ดังนัน้ หากประเทศ ไทยจะเข้าเป็ นภาคีอนุ สญ ั ญาฉบับนี้โดยการให้สตั ยาบัน ประเทศไทยจะต้องแก้ไข กฎหมายภายในจํา นวนมาก รวมทัง้ ต้อ งตรากฎหมายขึ้น ใหม่ห ลายฉบับ อาทิ กฎหมายรองรับสถานะขององค์กรตามอนุ สญ ั ญา (องค์กรแสวงประโยชน์จากมรดก ร่วมกันของมนุ ษยชาติทอ่ี ยูใ่ นใต้พน้ื ดินท้องทะเลหรือพืน้ ดินท้องทะเล หรือองค์กรระงับ ข้อพิพาทใดๆ เกี่ยวกับการใช้และตีความอนุ สญ ั ญา) หรือกฎหมายรองรับการวิจยั วิท ยาศาสตร์ทางทะเล หรือกฎหมายรองรับการรักษาสิ่งแวดล้อมทางทะเลโดย เฉพาะทีอ่ ยูน่ อกทะเลอาณาเขต จากปญั หาทางด้านกฎหมายนี้เองทีส่ ง่ ผลให้รฐั บาล ใดที่ประสงค์จะให้สตั ยาบันอนุ ส ญ ั ญาฉบับนี้ ต้องสามารถอธิบายต่ อรัฐสภาได้ว่า จะต้องตรากฎหมายภายในใดบ้าง ไม่ว่าจะเป็ นการปรับปรุงแก้ไขหรือตราขึน้ ใหม่ รวมทัง้ ต้องอธิบายได้ว่า ไทยจะได้ประโยชน์จากอนุ สญ ั ญานี้อย่างไรบ้าง และต้อง เสียประโยชน์หรือไม่ สิง่ ต่างๆ เหล่านี้นบั ว่าเป็ นอุปสรรคทีส่ าํ คัญต่อการเข้าเป็ นภาคี อนุ สญ ั ญาสหประชาชาติต่างๆ จนบางครัง้ ทําให้กฎหมายภายในของประเทศไทยดู จะล้าสมัยไม่สอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศใหม่ๆ ทีเ่ กิดขึน้ ในปจั จุบนั 4) ประชาชนในพื้น ที่ ช ายฝัง่ ทะเลยัง ขาดโอกาสในการเข้ า ถึ ง การ บริ หารจัดการทรัพยากรทางทะเลแบบบูรณาการ ประชาชนยังขาดความรูค้ วามเข้าใจถึงอาณาเขตทางทะเล ส่งผลให้คนไทย สูญเสียโอกาสทีเ่ กิดจากผลประโยชน์ทางทะเล รวมทัง้ ขาดความรูค้ วามเข้าใจ และ จิตสํานึกเกีย่ วกับผลประโยชน์ชาติทางทะเล และส่งผลให้ไม่มสี ่วนร่วมในการรักษา ผลประโยชน์ชาติทางทะเล สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.)

48


5) ขาดนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ในการจัดการผลประโยชน์ ชาติ ทางทะเล ส่งผลให้ภาครัฐ ขาดวิสยั ทัศน์ ในการบริหารจัดการผลประโยชน์ ชาติทาง ทะเลร่วมกัน ทําให้ไม่สามารถสร้างความร่วมมือในการบริหารจัดการแบบองค์รวม ได้ท งั ้ ในส่ว นของนโยบายและองค์กร/หน่ ว ยงานที่มีหน้ า ที่ใ นการบริห ารจัด การ ตัวอย่างทีเ่ ห็นได้อย่างชัดเจน เช่น ความไม่พร้อมในระบบการขนส่งสินค้าทางทะเล และบุคลากรทีม่ คี วามรูท้ างด้านการขนส่งทางนํ้าและพาณิชยนาวี การเดินเรือ ซึง่ ทํา ให้สูญเสียโอกาสในการใช้ ควบคุม หรือรักษาผลประโยชน์ ชาติทางทะเลที่ควรจะ ได้รบั ในขณะทีก่ ารอนุ รกั ษ์และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเป็ นไปอย่างไม่สอดคล้อง กัน 3.2 แนวโน้ มในอนาคตของประเทศไทยกับการใช้ทะเล ด้วยสถานการณ์การใช้ทะเลทีไ่ ด้นําเสนอในแง่มุมต่างๆ จากอดีตจนถึง ปจั จุบนั ที่ขาดทัง้ นโยบายและการปฏิบตั ิการที่เหมาะสมจนทําให้เกิดสภาพความ เสื่อมโทรมลงในทุกมิติ ทําให้พอที่จะคาดการณ์ได้ว่าการใช้ทะเลในอนาคตจะเกิด ข้อจํากัดอย่างมากมาย หลากหลายและซับซ้อนจนต้องเพิม่ ความระมัดระวังและต้อง มีการจัดการในแต่ละมิตขิ องการใช้อย่างเหมาะสมทีส่ ุด เช่น ในมิตดิ า้ นการขนส่งซึง่ มีสดั ส่วนผลประโยชน์ทางทะเลมากทีส่ ุดและจะยิง่ ทวีเพิม่ มากขึน้ เรื่อยๆ เนื่องจาก การพัฒนาด้านเศรษฐกิจที่ต้องมีการขนส่งเป็ นปจั จัยเสริมทีส่ ําคัญและจําเป็ น และ การขนส่งทางทะเลยังคงเป็ นทางเลือกที่ดูจะมีความคุม้ ทุนในการลงทุนด้านนี้มาก ที่สุด ดังนัน้ การใช้ทะเลในมิติของการขนส่งจึงอาจเป็ นกิจกรรมที่จะถูกจัดอันดับ ความสําคัญไว้เป็ นอันดับต้นทีป่ ระเทศไทยจะต้องมีนโยบายส่งเสริมการใช้ อย่างไรก็ ตามหากประเทศไทยจะหันมาเน้นนโยบายส่งเสริมการขนส่งทางทางทะเลก็จะต้องมี การปรับ เปลี่ย นวิธีก ารบริห ารจัด การเพื่อ ให้ผ ลประโยชน์ ท่ีมีอ ยู่อ ย่า งมากมาย มหาศาลกลับคืนมาอยูใ่ นมือคนไทยให้ได้มากกว่าเดิม สําหรับมิตขิ องทรัพยากรมีชวี ติ ซึ่งเป็ นปจั จัยพื้นฐานที่สําคัญจะต้องมี การสร้า งหลัก ของการจัด การอัน ได้แ ก่ การใช้ อนุ ร กั ษ์ ฟื้ น ฟู และสร้า งใหม่ ให้ เหมาะสมกับทรัพยากรแต่ละประเภท โดยคํานึงถึงความสมดุล พอเพียงและยังยื ่ น สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.)

49


เป็ นหลัก เช่น ทรัพยากรประมงต้องมีการเพิม่ ประสิทธิภาพของการใช้ ใช้ให้สมดุล กับการเกิดทดแทนใหม่ หรือหาแหล่งของการใช้ใหม่ๆ ที่มคี วามเป็ นไปได้ไม่ว่าจะ เป็ นขยายการประมงไปนอกน่ านนํ้า หรือการส่งเสริมการเพาะเลีย้ งเพื่อทดแทนการ จับ เป็ นต้น ส่วนทรัพยากรทีเ่ ป็ นระบบนิเวศซึง่ มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงแต่ มีแนวโน้มทีจ่ ะลดลงทัง้ ในเชิงปริมาณและคุณภาพก็จะต้องถูกอนุ รกั ษ์และฟื้ นฟูเป็ น ส่วนใหญ่ เนื่องจากทีผ่ า่ นมามีการใช้อย่างเกิดขีดความสามารถในการรองรับไปแล้ว การท่องเที่ยวเป็ นอีกหนึ่งกิจกรรมการใช้ทะเลที่ก่อให้เกิดผลกระทบ อย่างมากต่อสิง่ แวดล้อมทางทะเลและก็จะเพิม่ มากขึน้ ตามลําดับ ที่ผ่านมาการคิด ผลประโยชน์ทไ่ี ด้จากการท่องเทีย่ วไม่ได้คาํ นึงถึงต้นทุนทางสิง่ แวดล้อมทีเ่ ป็ นต้นทุน แอบแฝงอยู่ดว้ ย ทําให้การบริหารจัดการยังไม่มคี วามเหมาะสม ดังนัน้ ถ้าประเทศ ไทยจะยังต้องการรักษาอันดับของการเป็ นประเทศที่มแี หล่งท่องเที่ยวทางทะเลที่ สวยงามอันดับต้นๆ ของโลกเอาไว้ ก็จําเป็ นจะต้องหาทางสร้างหลักการท่องเทีย่ ว ทางทะเลให้มคี วามเหมาะสมกับแหล่งท่องเทีย่ วต่อไป รวมทัง้ ต้องตระหนักไว้เสมอ ว่าการท่องเทีย่ วไม่ใช่การได้เปล่าแต่มตี น้ ทุนทางสิง่ แวดล้อมและทรัพยากรทีเ่ ราต้อง เสียไป ดังนัน้ จะใช้อย่างไรให้คมุ้ กับต้นทุนทีต่ อ้ งเสียไปนี้ นอกจากนี้ แนวโน้มการใช้ทะเลในอนาคตยังอาจมีประเด็นทีท่ ําให้เกิด ความขัด แย้ง ขึ้น ได้ ทัง้ นี้ เ พราะหากกิจ กรรมการใช้ท ะเลมีเ พิ่ม มากขึ้น จนเกิน ขอบเขตบางครัง้ ก็อาจทําให้เกิดความขัดแย้งเพื่อแย่งชิงขึน้ ได้ทงั ้ ภายในมิติเดียว กันเอง เช่น ปญั หาการประมงพืน้ บ้านกับประมงพาณิชย์ เป็ นต้น และระหว่างมิติ ด้วยกัน เช่น ปญั หาระหว่างการประมงกับการท่องเทีย่ ว เป็ นต้น โดยสรุปแล้วภาพรวมของการใช้ทะเลในอนาคตคือ มีการใช้เพิม่ มาก ขึ้น ในขณะที่ส ถานภาพของทรัพ ยากรมีแ ต่ จ ะลดน้ อ ยถอยลงในอัต ราเร่ง อย่า ง ต่อเนื่องอันจะส่งผลกระทบทัง้ ภายในมิตนิ นั ้ ๆ และยังมีแนวโน้มทีจ่ ะก่อให้เกิดความ ขัดแย้งระหว่างมิตกิ ารใช้หากไม่มกี ารจัดการทีเ่ หมาะสม ดังนัน้ เราจึงต้องพิจารณา ว่าจะใช้อย่างไรให้มคี วามสมดุลกัน ใช้อย่างไรไม่ให้เลื่อมลํ้าเกิดการขัดแย้งกันได้ ทัง้ ยังต้องพยายามรักษาสถานภาพของทรัพยากรให้คงมีไว้ใช้ได้ถงึ รุน่ ลูกรุน่ หลานด้วย

สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.)

50


แนวทางหนึ่ ง ที่จ ะเป็ น ไปได้ใ นการใช้ท ะเลให้เ กิด ความสมดุ ล และ สอดคล้องกัน คือ ต้องตระหนักถึงความซับซ้อนของกิจกรรมทางทะเลที่มคี วาม หลากหลายแต่ต้องสร้างหลักของการใช้ทะเลที่มองทะเลเป็ นภาพเดียวกันทัง้ หมด และมีตวั ชีว้ ดั ทีจ่ ะใช้เป็ นตัวประเมินผลหรือตัดสินร่วมกัน ซึ่งตัวชีว้ ดั ทีน่ ่ าจะมีความ เป็ นไปได้มี 3 ประการ คือ ความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิ จ การอยู่ดมี สี ุขของคน ั ่ เกิดการเสื่อมโทรม ซึง่ เครื่องมือที่ ในสังคม และสิ่ งแวดล้อมทางทะเลและชายฝงไม่ จะช่วยเสริมสร้างให้การใช้หลักการนี้ประสบผลสําเร็จ คือ กฎหมาย และการศึกษา วิจยั ในลักษณะต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งความรูท้ ่ถี ูกต้อง ครบถ้วนและทันเหตุการณ์ ตามความจําเป็ น ดังนัน้ เพื่อ เตรียมความพร้อมไปสู่การสร้างหลักการใช้ท ะเลที่ เหมาะสมในอนาคต จะต้องพัฒนาบทบัญญัติทางกฎหมายทัง้ ภายในและระหว่าง ประเทศให้เหมาะสมและเข้มแข็ง นอกจากนี้ยงั ต้องสร้างองค์ความรูท้ เ่ี กี่ยวข้องกับ การใช้ทะเลในทุกมิตจิ ากการศึกษาวิจยั และพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อใช้สนับสนุ น การตัดสินใจ ไว้ใช้เป็ นเครื่องมือในการบริหารประเทศอีกด้วยซึง่ สิง่ ต่างๆ เหล่านี้จะ เกิดขึ้นได้จะต้องมีนโยบายทางทะเลที่ชดั เจนและคลอบคลุมประเด็นทัง้ หมดที่ว่า ด้วยผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเลเป็ นสําคัญ

สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.)

51


4. ข้อเสนอการจัดการผลประโยชน์ แห่งชาติทางทะเล 4.1 ข้อเสนอเชิ งนโยบายจากการประมวลผลการศึกษาวิ จยั และการ ประชุมผูเ้ ชี่ยวชาญ ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อให้การบริหารจัดการผลประโยชน์ แห่งชาติทาง ทะเลสามารถดําเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควรจะต้องมีการดําเนินการ ดังนี้ 1) การจัดตัง้ คณะกรรมการนโยบายผลประโยชน์ แห่งชาติ ทางทะเล เพื่อทําหน้ าที่กาํ หนดนโยบายและยุทธศาสตร์ผลประโยชน์ ชาติ ทางทะเล และ เพื่อทําหน้ าที่ สนับสนุ น ส่งเสริ มและผลักดันให้หน่ วยงานของรัฐที่ เกี่ยวข้อง ดําเนิ นการตามกรอบยุทธศาสตร์ที่ตงั ้ ไว้ ฯพณฯ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและ ความมันคงของมนุ ่ ษ ย์ (นายไพบูล ย์ วัฒ นศิริธ รรม) ได้ใ ห้ข้อคิด ในระหว่า งการ ปาฐกถาพิเศษงานประชุมสัมมนา เรื่อง 7.5 ล้านล้านบาท ผลประโยชน์ชาติทาง ทะเล ซึ่งสามารถสรุปได้ว่า การจัดการผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเลจะต้องมีการ จัดการอย่างบูรณาการจึงจะมีประสิทธิภาพ ทัง้ นี้ การกําหนดนโยบายการจัดการ ทะเลจําเป็ นต้องอาศัยองค์ความรู้ เนื่องจากทะเลมีหลายมิติ ความรูท้ างวิชาการเป็ น เรื่องทีส่ าํ คัญทีจ่ ะต้องศึกษาต่อไปและเจาะลึกอย่างต่อเนื่อง โดยกระบวนการมีส่วน ร่วมของหลายฝ่าย ในขณะที่แผนการจัดการหรือการสร้างนโยบายก็เ ป็ นเรื่องที่ สํา คัญ ที่จ ะเป็ น ตัว กํ า หนดเป้ าหมายและการมุ่ง ไปสู่ เ ป้ าหมายด้ว ยวิธีก ารและ กระบวนการต่างๆ เพื่อเป็ นแนวทางให้รฐั บาลกําหนดนโยบายและประสานนโยบาย ให้กบั หน่ วยงานต่างๆ ซึง่ มีหลายกรมจากหลายกระทรวง ไปปฏิบตั อิ ย่างบูรณาการ ทัง้ เรื่องของแผนงาน งบประมาณ ตลอดจนช่วงเวลา และสถานที่ เพื่อให้การจัดการ ผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเลสามารถดําเนินการไปได้อย่างดี และยังยื ่ น ดั ง นั ้น การจัด การผลประโยชน์ แห่ ง ชาติ ทางทะเลที ่ดี ค วรจะมี องค์ประกอบทีส่ าํ คัญ 5 ส่วน คือ 1) ความรู้ทางวิ ชาการ 2) การจัดการ (นโยบาย พัฒนานโยบาย และข้อเสนอแนะเพือ่ การจัดการนโยบาย) ทัง้ สอง สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.)

52


ส่วนแรกจะสนับสนุนการกําหนดนโยบายให้กบั ส่วนที ่ 3) คือคณะรัฐมนตรี ซึ ง่ มี ห น้ า ที ป่ ระสานงานในระดับ นโยบาย เพื อ่ ให้ ส่ ว นที ่ 4) คื อ หน่ ว ยงาน ต่ างๆ ของรัฐ ซึ ง่ เป็ นหน่ วยปฏิ บตั ิ จะทําหน้ าที ส่ นองนโยบาย ซึ ง่ อาจจะมี หน่ วยงานเฉพาะกิ จที ป่ ระกอบด้วยเจ้าหน้ าทีจ่ ากหน่ วยงานต่างๆ มาทํางาน ประสานงานกัน และส่วนที ่ 5) คือ ภาคสังคมซึ ง่ จะต้ องสร้างความเข้าใจให้ ประชาชนที เ่ กี ย่ วข้ อ งกับ การใช้ ป ระโยชน์ จ ากทะเล ทัง้ ภาคประชาชนใน ท้องถิ น่ กลุ่มธุรกิ จต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการบริ หารจัดการผลประโยชน์ แห่งชาติ ทางทะเลตัง้ แต่การกําหนดนโยบายไปจนถึงการปฏิ บตั ิ งานต้นแบบที่ เห็น อย่ า งเป็ น รูป ธรรมในป จั ุ บ ัน คือ ศู น ย์ก ารศึก ษาและพัฒ นาอัน เนื่ อ งมาจาก พระราชดําริฯ ซึง่ มีหลายหน่วยงานมาทํางานร่วมกันอย่างบูรณาการ ทัง้ นี้ เพื่อให้การจัดการผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเลสามารถดําเนินไปได้ อย่างมีประสิทธิภาพ จึงควรมีคณะทํางานหนึ่งทีม่ ุ่งเน้นในการเป็ นหน่ วยประมวล ความรู้ (Think Tank) ช่วยจัดการผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเลทุกมิตใิ นภาพรวม และเพื่อให้ครอบคลุมกลุ่มผูเ้ กีย่ วข้องในเรื่องดังกล่าวครบทุกภาคส่วน องค์ประกอบ ของคณะทํางานจึงควรประกอบไปด้วยผูแ้ ทนจากหน่ วยงานราชการ ภาควิชาการ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ทีเ่ กีย่ วข้อง มีอาํ นาจหน้าที่ ดังนี้ (1) เสนอแนะและให้คําแนะนํ าทางวิชาการเกี่ยวกับนโยบาย มาตรการ แผนงาน หรือโครงการใดๆ ทีเ่ กีย่ วข้องกับผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเลเพื่อความ มันคงแห่ ่ งชาติทางทะเลในทุกด้านทัง้ ทางเศรษฐกิจ สังคม ฯลฯ ของหน่ วยงานของ รัฐ ภาคเอกชน หรือองค์ก รประชาชนเพื่อให้การปฏิบ ตั ิตามนโยบาย มาตรการ แผนงาน หรือโครงการนัน้ เป็ นไปอย่างสอดคล้องกันหรือ มีการประสานงานกันและ มีประสิทธิภาพ (2) ประสานงานกับ หน่ ว ยงานของรัฐ ภาคเอกชน หรือ องค์ ก ร ประชาชนที่เ กี่ย วข้อ งกับ ผลประโยชน์ แ ห่ง ชาติท างทะเลเพื่อ ขอข้อ มูล เกี่ย วกับ นโยบาย มาตรการ แผนงาน หรือโครงการใดๆ ทีเ่ กีย่ วข้องกับผลประโยชน์แห่งชาติ ทางทะเล สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.)

53


(3) ติด ตามและประเมิน ผลในการปฏิบ ัติต ามนโยบาย มาตรการ แผนงาน หรือโครงการใดๆ ทีเ่ กีย่ วข้องกับผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล (4) จัดทํากรอบนโยบายทางทะเลเพื่อคุม้ ครองและรักษาผลประโยชน์ แห่งชาติทางทะเลในทุกๆ ด้าน เพือ่ ให้นโยบายและยุทธศาสตร์บรรลุผลสําเร็จ (5) ให้ความรูท้ างวิชาการเพื่อประสานและสนับสนุ นกระบวนการเข้าเป็ น ภาคีสมาชิกอนุ สญ ั ญาสหประชาชาติวา่ ด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (6) ดําเนินการศึกษารูปแบบและให้ขอ้ เสนอแนะในการจัดตัง้ องค์กร อิส ระหรือ องค์ ก รในรู ป แบบที่เ หมาะสม เพื่อ ทํ า หน้ า ที่กํ า กับ ดู แ ลผลประโยชน์ แห่งชาติทางทะเลทัง้ หมดอย่างบูรณาการ (7) ดํ า เนิ น การให้มีก ารตรากฎหมายกลางขึ้น ใช้บ ัง คับ เพื่อ รัก ษา ผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล ซึง่ กฎหมายดังกล่าวต้องไม่ซ้าํ ซ้อนกับกฎหมายอื่นที่ มีอยูแ่ ล้ว 2) การดําเนิ นการเรื่องการให้ สตั ยาบันเพื่อเข้าเป็ นภาคี อนุ สญ ั ญา สหประชาชาติ ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (ลงนามรับรองไว้ตงั ้ แต่ ค.ศ. 1982 (2525)) เพื่อสร้างโอกาสที่ จะสงวน รักษา และปกป้ องสิ ทธิ ที่พึ่งมีพึ่งได้ จากการใช้ทะเลของคนในชาติ การเข้าเป็ นภาคีอนุ สญ ั ญาฯ กฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 จะมีผลดีต่อประเทศ ไทย เช่น 1) จะช่วยให้สามารถปกปกั ษ์รกั ษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลได้อย่างมี ประสิทธิภาพ และสามารถอ้างสิทธิและเสรีภาพในทะเลตามทีก่ ฎหมายบัญญัตไิ ว้ได้ อย่างเต็มที่ อีกทัง้ สามารถปกป้องสิทธิของคนในชาติท่อี อกไปทําการประมงนอก น่ านนํ้ าได้อย่างเต็มที่ กล่าวคือสามารถนํ าข้อพิพาทในระหว่างรัฐภาคีอนุ สญ ั ญาฯ กฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 ด้วยการขึน้ สูก่ ารพิจารณาของศาลกฎหมายทะเลระหว่าง ประเทศ (International Tribunal for the Law of the Sea) เพื่อให้พจิ ารณาตัดสิน ระงับข้อพิพาทระหว่างกันได้ ทําให้ประเทศไทยสามารถเรียกร้องความเป็ นธรรมใน ฐานะภาคีได้อย่างเต็มที่ เช่น ใช้สทิ ธิเรียกร้องความเป็ นธรรมจากศาลกฎหมายทะเล สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.)

54


ระหว่างประเทศ ในกรณีทางการมาเลเซียใช้อาวุธปืนยิงเรือประมงไทย ซึง่ ถือว่าเป็ น การขัดต่อบทบัญญัตมิ าตรา 73 ของอนุ สญ ั ญาฯ กฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 ดังกล่าว อย่างยิง่ แต่ในทางปฏิบตั ิประเทศไทยไม่สามารถฟ้องร้องรัฐบาลมาเลเซียต่อศาล กฎหมายทะเลระหว่างประเทศได้ เพราะประเทศไทยยังมิได้เข้าเป็ นภาคีอนุ สญ ั ญา ดังกล่าว ในขณะทีป่ ระเทศมาเลเซียมีสถานะเป็ น “ภาคี” แล้วตัง้ แต่ปี ค.ศ. 1996 จึง ส่งผลให้ประเทศไทยอยูใ่ นฐานะทีเ่ สียเปรียบประเทศมาเลเซียเป็ นอย่างยิง่ 2) หลังจากทีเ่ ข้าเป็ นภาคีแล้วทําให้ประเทศไทยต้องนํ าหลักปฏิบตั ริ ะหว่าง ประเทศ ตลอดจนสิทธิ หน้ าที่ เขตอํานาจ และบทบาทของรัฐตามบทบัญญัติของ อนุ สญ ั ญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 มาใช้ประกอบการจัดทํา แผนปฏิบตั ิการระดับชาติว่าด้วยการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเล เพื่อเป็ น กรอบนโยบายแห่งรัฐในการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลให้มปี ระสิทธิภาพ และ มีแผนการดําเนินการทีช่ ดั เจน เพื่อเร่งฟื้ นฟูสภาพแวดล้อมทางทะเล และความอุดม สมบูรณ์ของทรัพยากรสัตว์น้ําและความหลากหลายทางชีวภาพในทะเลของไทยทัง้ ั่ ด้านอ่าวไทยและฝงทะเลอั นดามัน อนึ่ง การรับรองสนธิสญ ั ญานัน้ จะต้องได้รบั ความเห็นชอบจากรัฐสภา ก่อน ทัง้ นี้ เพื่อให้มผี ลผูกพันต่ อรัฐสภาที่ต้องให้ค วามเห็นชอบเมื่อรัฐ บาลเสนอ กฎหมายต่อรัฐสภา และตราเป็ นกฎหมายใช้บงั คับต่อไป 3) การจัดทํานโยบายและยุทธศาสตร์ระดับชาติ เกี่ยวกับผลประโยชน์ ชาติ ทางทะเลในทุกมิ ติอย่างเป็ นระบบที่สอดคล้องกัน ด้วยกระบวนการมี ส่วนร่วมของทุกฝ่ าย ประเทศไทยจะต้องจัดทํากรอบนโยบายและยุทธศาสตร์ระดับชาติเกีย่ วกับ ผลประโยชน์ชาติทางทะเลเพื่อรักษาผลประโยชน์ของชาติให้เป็ นรูปธรรม เมื่อกรอบ นโยบายได้รบั การจัดทําเสร็จแล้วก็จะต้องเริม่ จัดทํากรอบด้านกฎหมายทางทะเล ั่ เพื่อให้ครอบคลุมกิจกรรมทางทะเลทัง้ หมดที่เกิดขึ้น ซึ่งประกอบด้วยชายฝงและ น่ านนํ้ าภายใน ทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง ไหล่ทวีป เขตเศรษฐกิจจําเพาะ และ ทะเลหลวง ได้แก่ สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.)

55


- การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อมเพือ่ การ อนุ รกั ษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยังยื ่ น - การบริหารจัดการทรัพยากรประมงพืน้ บ้าน ประมงในน่านนํ้า และ ประมงนอกน่านนํ้า - การบริหารจัดการทรัพยากรแร่ธาตุ และพลังงาน - การคมนาคม การขนส่งทางทะเล และพาณิชยนาวี - การบริหารจัดการการท่องเทีย่ วอย่างยังยื ่ น - การปกป้องอธิปไตย และความมันคงของชาติ ่ ทางทะเล - การศึกษาวิจยั ด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล และกิจการทางทะเล 4) การจัดทํากฎหมายกลางเพื่อเป็ นกลไกในการขับเคลื่อนนโยบาย ระดับชาติ เกี่ยวกับผลประโยชน์ ชาติ ทางทะเล รวมทัง้ ปรับปรุงกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับกรอบด้านกฎหมายทางทะเล นอกจากการเร่งเข้าเป็ นภาคีอนุ สญ ั ญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 โดยเร็วแล้ว รัฐบาลควรเร่งจัดตัง้ คณะกรรมการ หรือคณะทํางานเฉพาะ กิจเพื่อศึกษาถึงความไม่ชดั เจนของอํานาจหน้าทีแ่ ละกฎหมายทีใ่ ห้อํานาจดังกล่าว ความซํ้าซ้อนของการใช้อาํ นาจ ความไม่ครอบคลุมของบทบัญญัตขิ องกฎหมายทีใ่ ช้ อยูใ่ นปจั จุบนั กับกิจกรรมทางทะเลและธุรกิจทีเ่ กีย่ วข้อง เพื่อสรุปปญั หาและอุปสรรค ของการพัฒนากฎหมายทางทะเลทัง้ หมดโดยเร็ว และเร่งหาแนวทางแก้ไขปญั หา โดยด่วน หรือกล่าวโดยย่อคือ เร่งสังคายนากฎหมายทางทะเลโดยเร็ว และอย่างเป็ น รูปธรรม ทัง้ นี้ เพื่อให้กฎหมายสามารถเป็ นเครื่องมือในการใช้คุ้มครอง และรักษา ผลประโยชน์ทางทะเลให้เป็ นไปอย่างยังยื ่ น โดยทีก่ ารสังคายนากฎหมายภายในที่เกี่ยวข้องกับทะเลมีจํานวนมาก อาจ ทําให้เกิดความล่าช้าได้ภายใต้ระบบการตรากฎหมายของไทย ดังนัน้ ในระหว่าง การสังคายนาควรเร่งจัดทํากฎหมายกลางเพื่อคุม้ ครองสิทธิและหน้าทีท่ ป่ี ระเทศไทย พึงมีและทําให้ไทยมีเขตอํานาจของรัฐในทะเลต่างๆ ทีอ่ ยูน่ อกทะเลอาณาเขตอันเป็ น การแก้ไขปญั หาทางกฎหมายไปพลางก่อน และเมื่อการสังคายนากฎหมายในแต่ละ สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.)

56


ฉบับเสร็จสิน้ ลงก็อาจยกเลิกกฎหมายกลาง คงไว้แต่เพียงกฎหมายจัดตัง้ สํานักงาน อิสระ เพือ่ แก้ไขปญั หาในทางปฏิบตั ดิ งั ทีก่ ล่าวไว้ขา้ งต้น อนึ่ง แม้ป ระเทศไทยจะไม่ ใ ห้ส ัต ยาบัน อนุ ส ัญ ญาฯ ก็ ต าม (เนื่ อ งจาก อุปสรรคดังทีก่ ล่าวไว้ขา้ งต้น) แต่กค็ วรเร่งดําเนินการตามข้อ 4 นี้โดยเร็ว ทัง้ นี้ อาจ ตัง้ คณะกรรมการขึน้ ชุดหนึ่งศึกษาในการจัดทํากรอบด้านนโยบายฯ และกรอบด้าน กฎหมายฯ เพื่อนํ าไปสู่การสังคายนากฎหมายต่อไป ซึ่งจะเกิดประโยชน์ท่ที ําให้มี เครื่อ งมือ รัก ษาผลประโยชน์ แ ห่ง ชาติท างทะเลทัง้ หมด และเป็ น เครื่อ งมือ ที่ล ด อุปสรรคทําให้การให้สตั ยาบันนัน้ เป็ นไปโดยง่ายยิง่ ขึน้ อีกด้วย 5) การส่งเสริ มการศึกษาวิ จยั อย่างบูรณาการที่ครอบคลุมทุกมิ ติ การส่งเสริมการวิจยั อย่างบูรณาการที่ครอบคลุมทุกมิติ เช่น วิทยาศาสตร์ ทางทะเล การประมงนอกน่ า นนํ้ า กิ จ การทางทะเล การขนส่ ง ทางนํ้ า และ พาณิชยนาวี กฎหมายระหว่างประเทศ เป็ นต้น ซึ่งต้องศึกษาทัง้ ในเชิงวิชาการ เพื่อให้ได้องค์ความรูโ้ ดยเฉพาะอย่างยิง่ ในด้านของผลประโยชน์ทางทะเลทีม่ องไม่ เห็น ซึ่งเป็ นพื้นฐานสําคัญของการจัดการ และงานวิจยั ในเชิงนโยบาย เพื่อให้หา แนวทางการบริหารจัดการผลประโยชน์ชาติทางทะเลทีด่ ที ส่ี ดุ มีกลไกการผลักดันทีส่ าํ คัญ คือ การจัดทํานโยบายและยุทธศาสตร์ชาติเพื่อ กําหนดทิศทางการศึกษาวิจยั ด้านผลประโยชน์ชาติทางทะเล เพื่อเป็ นกรอบให้กบั หน่ วยงานต่างๆ ทีเ่ กีย่ วข้อง จัดสรรงบประมาณเพื่อส่งเสริมการศึกษาวิจยั และการ เพิม่ อัตราการจ้างงานในสาขาที่มคี วามสําคัญต่อการรักษาผลประโยชน์ ชาติทาง ทะเล 6) การรณรงค์สร้างจิ ตสํานึ กสาธารณะเกี่ยวกับผลประโยชน์ชาติ ทาง ทะเลในทุกมิ ติให้กบั กลุ่มคนทุกระดับอย่างเป็ นรูปธรรม ดํ า เนิ น การประชาสัม พัน ธ์ และสร้า งสื่อ ความรู้เ กี่ย วกับ อาณาเขตและ ผลประโยชน์ชาติทางทะเล เพื่อสร้างกลไกการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการ บริหารจัดการผลประโยชน์ชาติทางทะเล เน้นให้ภาคประชาชนรูจ้ กั คิด วางแผน และ สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.)

57


ปฏิ บ ัติ ด้ ว ยตนเองเพื่ อ ตนเอง อัน จะทํ า ให้ เ กิ ด จิ ต สํ า นึ ก สาธารณะเกี่ ย วกั บ ผลประโยชน์ ชาติทางทะเลในทุกมิติร่วมกัน และมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ ผลประโยชน์ แห่ง ชาติท างทะเล เป็ น การขับ เคลื่อนการพัฒ นาประเทศให้ เจริญก้าวหน้าอย่างยังยื ่ น 7) การพัฒนาและเพิ่ มขี ดความสามารถให้ กบั หน่ วยงานที่ มีความ รับผิ ดชอบด้านการรักษาความมันคงทางทะเล ่ เพื่อให้สามารถคุ้มครองและ รักษาผลประโยชน์ ของชาติ ทางทะเลไว้ได้อย่างมีประสิ ทธิ ภาพ การทีจ่ ะทําให้สามารถแสวงประโยชน์จากทะเลให้ได้อย่างเต็มทีน่ นั ้ จําเป็ น จะต้องมีการเสริมสร้างกําลังอํานาจของชาติทเ่ี รียกว่า สมุททานุภาพให้อยูใ่ นระดับ ที่สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ได้ โดยจะต้องมีการพัฒนาทัง้ ในส่วนของ องค์ประกอบทีเ่ สริมสร้างความมังคั ่ ง่ คือ กําลังอํานาจทางทะเล และองค์ประกอบ ทีเ่ ป็ นส่วนป้องกันกําลังอํานาจทางทะเลดังกล่าว คือ กําลังทางเรือ ทัง้ นี้ รัฐบาลหรือ ผูม้ หี น้าทีใ่ นการกําหนดนโยบายด้านกิจกรรมทางทะเลของชาติ จะต้องดําเนินการ อย่างสมดุลระหว่างปจั จัยต่างๆ ทีเ่ กีย่ วข้อง โดยไม่ละเลยด้านใดด้านหนึ่ง ในห้วงเวลา 10 ปี ขา้ งหน้า ผลประโยชน์ ทางทะเลของประเทศไทยจะยิง่ มี มูลค่าเพิม่ มากขึน้ อย่างไรก็ตามยังมีภยั คุกคามทีส่ ่งผลกระทบต่อเสรีภาพในการใช้ ทะเลของประเทศไทยอยู่ ห ลายประการ ทัง้ จากภัย ทางทหาร และภัย อื่ น ๆ โดยเฉพาะการก่อการร้ายในทะเล การกระทําอันเป็ นโจรสลัด และ ภัยธรรมชาติ ต่ า งๆ ที่ นั บ วัน จะทวี ค วามรุ น แรงมากยิ่ง ขึ้น ดัง นั ้น การพัฒ นาและเพิ่ม ขีด ความสามารถให้กบั หน่ วยงานที่มคี วามรับผิดชอบด้านการรักษาความมันคงทาง ่ ทะเล เพื่อให้สามารถคุม้ ครองและรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลไว้ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ จึงเป็ นสิง่ ทีจ่ าํ เป็ นจะต้องดําเนินการให้เกิดผลอย่างเป็ นรูปธรรม อันจะ ทําให้สมุททานุ ภาพของประเทศไทยสามารถตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ทก่ี ําหนดไว้ ได้อย่างแท้จริง ซึ่งจะต้องได้รบั การสนับสนุ นและความร่วมมือจากผูท้ เ่ี กี่ยวข้องทุก ฝ่าย ทัง้ รัฐบาลและหน่ วยงานระดับสูง หน่ วยปฏิ บตั ิ ที่มีภารกิ จเกี่ ยวข้อง สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.)

58


โดยตรงกับการแสวงประโยชน์ และรักษาความมันคงในทะเล ่ สนับสนุน เอกชนและประชาชนทัวไป ่

หน่ วยงาน

4.2 การดําเนิ นการเพื่อผลักดันข้อเสนอเชิ งนโยบายสู่การปฏิ บตั ิ คณะอนุ ก รรมการขับ เคลื่ อ นการจัด ทํ า นโยบายระดับ ชาติ เ กี่ ย วกั บ ผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล ภายใต้คณะกรรมการรวมพลังขับเคลื่อนสังคมได้นํา ข้อเสนอเชิงนโยบายเรือ่ งการจัดตัง้ คณะกรรมการนโยบายผลประโยชน์แห่งชาติทาง ทะเล และการเข้าเป็ นภาคีอนุสญ ั ญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 เสนอเข้าสู่ท่ปี ระชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2550 คณะรัฐมนตรีมมี ติให้ สํานักงานสภาความมันคงแห่ ่ งชาติ รับเรื่องดังกล่าวไปศึกษาในรายละเอียดร่วมกับ หน่วยงานและนักวิชาการทีเ่ กีย่ วข้อง แล้วนํามาเสนอคณะรัฐมนตรีอกี ครัง้ สํานักงานสภาความมันคงแห่ ่ งชาติ (สมช.) ได้ทาํ การศึกษารายละเอียดตาม มติดงั กล่าว จนมีขอ้ สรุปร่วมกันกับคณะกรรมการรวมพลังขับเคลื่อนสังคม ดังนี้ 1) เรือ่ งการจัดตัง้ คณะกรรมการนโยบายผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล จากการพิจ ารณา นโยบายความมันคงแห่ ่ ง ชาติท างทะเล (พ.ศ. 25482552) ของสภาความมันคงแห่ ่ งชาติ ซึง่ มีคณะกรรมการอํานวยการและประสานการ ปฏิบตั ิตามนโยบายความมันคงแห่ ่ งชาติทางทะเล (อปท.) เป็ นผู้ดูแลแล้วเห็นว่า นโยบายดังกล่าวมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับความมันคง ่ (National Security) เป็ นหลัก แต่กจ็ ะสัมพันธ์กบั นโยบายและยุทธศาสตร์ดา้ นอื่นๆ ในทะเล ซึ่งจะเป็ นกรอบและ แนวทางให้ ส่ ว นราชการที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ ทะเลนํ าไปใช้ ไ ด้ แต่ เ นื่ องจาก คณะกรรมการนโยบายผลประโยชน์ แ ห่ ง ชาติ ท างทะเลที่เ สนอให้จ ัด ตัง้ นั น้ มี วัต ถุ ป ระสงค์เ พื่อ การบริห ารจัด การผลประโยชน์ แ ห่ ง ชาติท างทะเล (National Interests) ในภาพรวมมากกว่าด้านใดด้านหนึ่งเป็ นการเฉพาะ และมุ่งดําเนินการ เพื่อ ช่ ว ยเสริม หรือ ผลัก ดัน การดํา เนิ น งานของหน่ ว ยงานต่ า งๆ ให้ไ ปในทิศ ทาง เดียวกัน โดยใช้องค์ความรูท้ างวิชาการในมิตติ ่างๆ เป็ นเครื่องมือ อย่างไรก็ดี จาก การพิจ ารณาองค์ป ระกอบและอํา นาจหน้ า ที่ข อง อปท. พบว่ า มีอ งค์ป ระกอบที่ ค่อ นข้า งครบถ้ว น ทัง้ ยัง มีอํา นาจหน้ า ที่ใ นการดําเนิ น การเกี่ย วกับ ผลประโยชน์ สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.)

59


แห่ ง ชาติท างทะเลอย่ า งกว้า งขวาง สอดคล้อ งกับ องค์ ป ระกอบและหน้ า ที่ข อง คณะกรรมการนโยบายผลประโยชน์ แห่งชาติทางทะเลที่เสนอจัดตัง้ เพื่อมิให้เป็ น การซํ้ า ซ้อ น คณะอนุ ก รรมการฯ จึง เห็น ชอบตามข้อ เสนอของสภาความมันคง ่ แห่งชาติทจ่ี ะปรับเปลีย่ นการจัดตัง้ คณะกรรมการนโยบายผลประโยชน์แห่งชาติทาง ทะเล ทีม่ นี ายกรัฐมนตรีเป็ นประธานโดยตรง เป็ นการจัดตัง้ คณะอนุ กรรมการภายใต้ อปท. ซึง่ อยูใ่ นการดูแลของสภาความมันคงแห่ ่ งชาติ โดย คณะอนุ ก รรมการชุ ด ดัง กล่ า ว จะมุ่ง เน้ น ในการเป็ น หน่ ว ยประมวล ความรู้ (Think Tank) ช่วยจัดการผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเลทุกมิตใิ นภาพรวม ซึ่ง จะเป็ น การช่ ว ยเสริม ให้ก ารดํ า เนิ น การตามอํา นาจหน้ า ที่ข อง อปท. มีค วาม ครบถ้วนมากยิง่ ขึน้ ในชื่อของ คณะอนุกรรมการจัดการความรู้เพื่อผลประโยชน์ แห่งชาติ ทางทะเล โดยมีอาํ นาจหน้าที่ ดังนี้ (1) เสนอแนะและให้คาํ แนะนําทางวิชาการเกีย่ วกับนโยบาย มาตรการ แผนงาน หรือโครงการใดๆ ทีเ่ กีย่ วข้องกับผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเลเพื่อความ มันคงแห่ ่ งชาติทางทะเลในทุกด้านทัง้ ทางเศรษฐกิจ สังคม ฯลฯ ของหน่ วยงานของ รัฐ ภาคเอกชน หรือองค์ก รประชาชนเพื่อให้การปฏิบ ตั ิตามนโยบาย มาตรการ แผนงาน หรือโครงการนัน้ เป็ นไปอย่างสอดคล้องกันหรือ มีการประสานงานกันและ มีประสิทธิภาพ (2) ประสานงานกับ หน่ ว ยงานของรัฐ ภาคเอกชน หรือ องค์ก ร ประชาชนที่เ กี่ย วข้อ งกับ ผลประโยชน์ แ ห่ ง ชาติท างทะเลเพื่อ ขอข้อ มูล เกี่ย วกับ นโยบาย มาตรการ แผนงาน หรือโครงการใดๆ ทีเ่ กีย่ วข้องกับผลประโยชน์แห่งชาติ ทางทะเล (3) ติดตามและประเมินผลในการปฏิบตั ิตามนโยบาย มาตรการ แผนงาน หรือโครงการใดๆ ทีเ่ กีย่ วข้องกับผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล (4) จั ด ทํ า กรอบนโยบายทางทะเลเพื่ อ คุ้ ม ครองและรั ก ษา ผลประโยชน์ แ ห่ ง ชาติท างทะเลในทุ ก ๆ ด้า น เพื่อ ให้น โยบายและยุ ท ธศาสตร์ บรรลุผลสําเร็จ สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.)

60


(5) ให้ความรูท้ างวิชาการเพื่อประสานและสนับสนุ นกระบวนการเข้า เป็ นภาคีสมาชิกอนุสญ ั ญาสหประชาชาติวา่ ด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (6) ดําเนินการศึกษารูปแบบและให้ขอ้ เสนอแนะในการจัดตัง้ องค์กร อิส ระหรือ องค์ก รในรู ป แบบที่เ หมาะสม เพื่อ ทํ า หน้ า ที่กํ า กับ ดู แ ลผลประโยชน์ แห่งชาติทางทะเลทัง้ หมดอย่างบูรณาการ (7) ดําเนินการให้มกี ารตรากฎหมายกลางขึ้นใช้บงั คับเพื่อรักษา ผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล ซึง่ กฎหมายดังกล่าวต้องไม่ซ้าํ ซ้อนกับกฎหมายอื่นที่ มีอยูแ่ ล้ว และเพื่อ ให้ค รอบคลุ ม กลุ่ ม ผู้เ กี่ย วข้อ งในเรื่อ งดัง กล่ า วครบทุ ก ภาคส่ว น องค์ประกอบของคณะอนุกรรมการจัดการความรูเ้ พื่อผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล จึงควรประกอบไปด้วยผูแ้ ทนจากหน่ วยงานราชการ ภาควิชาการ ภาคเอกชน และ ภาคประชาชน ทีเ่ กีย่ วข้อง นอกจากนี้ เพื่อให้คณะอนุ กรรมการจัดการความรูเ้ พื่อผลประโยชน์แห่งชาติ ทางทะเล สามารถดํา เนิ น งานได้อ ย่ า งสอดคล้อ งและมีป ระสิท ธิภ าพ เป็ น หนึ่ ง เดีย วกับ คณะกรรมการ อปท. จึง มีก ารแต่ ง ตัง้ ประธานคณะอนุ ก รรมการ และ ผู้ท รงคุ ณวุ ฒ ิอีก 1 ท่ าน ซึ่ง เป็ น อนุ ก รรมการ เข้า เป็ น คณะกรรมการของ อปท. เพิม่ เติม 2) การเข้าเป็ นภาคีอนุ สญ ั ญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 ในนโยบายความมันคงแห่ ่ งชาติทางทะเล (พ.ศ. 2548-2552) ได้กําหนดใน ข้อ 3.1 ให้ เ ร่ ง รัด การเข้ า เป็ น ภาคี อ นุ ส ัญ ญาดัง กล่ า วไว้ ซึ่ ง มีก ระทรวงการ ต่ า งประเทศโดยคณะกรรมการกฎหมายทะเลเป็ น หน่ ว ยงานรับ ผิด ชอบหลัก ดํา เนิ น การ อย่า งไรก็ต าม การดํา เนิ น การในเรื่อ งนี้ จะต้อ งมีก ารแก้ไ ขกฎหมาย ภายในที่เกี่ยวข้องหลายฉบับรองรับจึงทําให้ล่าช้า ทัง้ นี้ กระทรวงการต่างประเทศ เห็นว่า แนวทางที่เป็ นไปได้เพื่อให้เข้าเป็ นภาคีได้เร็วขึ้น คือ การจัดทํากฎหมาย กลางให้ครอบคลุมทุกเรื่องทีเ่ กีย่ วข้องเพื่อรองรับการเข้าเป็ นภาคีอนุ สญ ั ญาดังกล่าว สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.)

61


ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศได้ยกร่างไว้แล้ว ทัง้ นี้ หากคณะรัฐมนตรีเห็นชอบกับ แนวทางประการหลั ง กระทรวงการต่ า งประเทศจัก ได้ ห ารื อ กับ สํ า นั ก งาน คณะกรรมการกฤษฎีกาและหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องดําเนินการต่อไป สมช. ได้นําข้อสรุปทัง้ 2 ข้อข้างต้นเสนอต่อทีป่ ระชุมคณะรัฐมนตรีอกี ครัง้ ใน วันที่ 27 พฤศจิกายน 2550 คณะรัฐมนตรีมมี ติเห็นชอบกับข้อเสนอตามข้อ 1) และ 2) แล้ว

สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.)

62


บทส่งท้าย จากที่ไ ด้ ก ล่ า วมาทัง้ หมดจะเห็น ได้ถึง ความสํ า คัญ ของผลประโยชน์ แห่ง ชาติท างทะเลซึ่ง มีค วามหมายและความสําคัญต่ อความเป็ น อยู่ข องคนไทย มากกว่าที่คดิ และนับวันจะทวีความสําคัญเพิม่ มากขึ้นตามลําดับทัง้ ในบริบทของ ประเทศไทยเอง ในระดับภูมภิ าคไปจนถึงระดับโลก การบริหารจัดการผลประโยชน์ แห่งชาติทางทะเลเป็ นโจทย์ในเชิงการจัดการทีท่ า้ ทายเป็ นอย่างมากซึง่ สามารถมอง ได้ทงั ้ ในแง่ของวิกฤตถ้าการดําเนินการดังกล่าวไม่ประสบความสําเร็จ ในทางตรงกัน ข้ามถ้าบริหารจัดการได้ดแี ละเหมาะสมผลประโยชน์ ดงั กล่าวก็จดั ได้ว่าเป็ นโอกาส ของประเทศไทย อย่างไรก็ดมี ผี ทู้ รงคุณวุฒทิ ่านหนึ่งทีไ่ ด้กรุณารับเป็ นทีป่ รึกษาโดย ไม่ประสงค์จะออกนามได้กรุณาให้ขอ้ คิดว่าการบริการจัดการผลประโยชน์แห่งชาติ ทางทะเลนัน้ เป็ นงานในลักษณะ supra macro เลยทีเดียว การบริหารจัดการ ผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเลดังกล่าวจําเป็ นจะต้องเกี่ยวข้องกับหลายตัวแปรที่ หลากหลายซึง่ พอจะแบ่งออกเป็ นกลุ่มหลัก ๆ อันได้แก่ 1) กลุ่มของทรัพยากร ซึง่ ก็ มีความหลากหลายและสถานภาพที่แตกต่างกัน 2) กลุ่มของคนซึ่งมีหลายระดับ ตัง้ แต่ผมู้ อี าํ นาจตัดสินใจจะต้องมี political will และ political turf ร่วมกัน ตลอดจน การสร้างความตระหนักให้ประชาชนทัวไปเข้ ่ ามีส่วนร่วม (public concern) และ 3) กลุ่มของระบบทัง้ ในประเด็นของข้อมูลและเครื่องมือทีส่ ามารถนํ ามาใช้ได้หรือที่ ต้องสร้างขึน้ มาอีก ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีความเป็ นทัง้ ลักษณะร่วมและลักษณะเฉพาะที่ แตกต่างกันรวมถึงความซับซ้อนและมีหลายมิติ การบริหารจัดการผลประโยชน์ ดงั กล่าวก็มกี ารดําเนินการกันอยู่แล้วใน ระดับต่าง ๆ แต่จากทีน่ ําเสนอมาจะเห็นได้ว่าเป็ นการดําเนินงานในระดับหน่วยย่อย เมื่อเทียบกับผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเลทีแ่ ท้จริง การขาดนโยบายกลางในเรื่อง ดังกล่าวรวมถึงผู้รบั ผิดชอบที่ต้องทําหน้ าที่ใ นการประสานส่ว นต่ าง ๆ ที่มคี วาม ซับซ้อนเป็ นอย่างมากให้มกี ารดําเนินการไปในทิศทางเดียวกัน ทีเ่ สริมพลังกันดูจะ เป็ นวิธใี นการแก้ปญั หาทางเดียวที่สําคัญและเป็ นไปได้ในกรณีน้ี ซึ่งยังคงขาดอยู่ การตัดสินใจดังกล่าวเป็ นการตัดสินใจเชิงนโยบายก้าวที่สําคัญก้าวแรกและเป็ น สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.)

63


หน้ าที่ท่สี ําคัญของผูม้ อี ํานาจในการตัดสินใจในระดับสูงโดยคํานึงถึงผลประโยชน์ แห่งชาติทางทะเลที่แท้จริงทัง้ หมดเป็ นตัวตัง้ และอยู่บนฐานแห่งการใช้ความรู้ท่ี หลากหลายอย่างถูกต้องและเหมาะสมเป็ นสําคัญ จากวันแรกทีท่ างสกว. ได้เริม่ เห็นความสําคัญของการสร้างความรู้ จึงได้ สนับสนุ นโครงการ ต่อมาทางคณะกรรมการขับเคลื่อนสังคมได้เห็นความสําคัญของ ประเด็น และคณะรัฐมนตรี ได้เห็นสอดคล้องจนทําให้เกิดคณะอนุ กรรมการขึน้ ทํา ให้อ งค์ป ระกอบในการจัดทํา นโยบายชาติท างทะเลมีค วามชัด เจนและครบถ้ว น ลําดับเหตุ การณ์ ต่างๆ ที่กล่าวข้างต้นเป็ นจุดเริม่ ต้นที่สําคัญที่จะนํ าไปสู่การสร้าง ความพร้อมให้ประเทศไทยมีนโยบายระดับชาติหรือยุทธศาสตร์ทะเลทีส่ มบูรณ์เพื่อ ผลประโยชน์ แห่งชาติทางทะเลทัง้ หมดจะได้ตกสู่มอื ของประชาชนคนไทยอย่าง สมเหตุสมผล และอาจจะเป็ นก้าวสําคัญที่จะนํ าไปสู่การใช้ประโยชน์จากทะเลเพื่อ ประโยชน์ของมนุ ษย์ชาติสมกับคําทีว่ ่า “ทะเลเป็ นสมบัติร่วมกันของมนุษย์ชาติ ” (Common Heritage of Mankind) อีกด้วย

สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.)

64


ภาคผนวก รายนามคณะกรรมการรวมพลังขับเคลื่อนสังคม24 1. รองนายกรัฐมนตรี (นายไพบูลย์ วัฒนศิรธิ รรม) ประธานกรรมการ และรัฐมนตรีวา่ การกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมันคงของมนุ ่ ษย์ 2. รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงศึกษาธิการ รองประธานกรรมการ 3. รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงมหาดไทย รองประธานกรรมการ 4. รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงสาธารณสุข รองประธานกรรมการ 5. รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงวัฒนธรรม รองประธานกรรมการ 6. รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รองประธานกรรมการ 7. รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงแรงงาน รองประธานกรรมการ 8. รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ รองประธานกรรมการ และสิง่ แวดล้อม 9. รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงวิทยาศาสตร์และ รองประธานกรรมการ เทคโนโลยี 10. รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ รองประธานกรรมการ และการสือ่ สาร 11. รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี รองประธานกรรมการ (คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์) 12. นายสงขลา วิชยั ขัทคะ กรรมการ 13. นายบัณฑูรย์ สุภคั วณิช กรรมการ 14. นายกิตศิ กั ดิ ์ สินธุวนิช กรรมการ 15. นายทศพร ศิรสิ มั พันธ์ กรรมการ 16. นายยงยุทธ วงศ์ภริ มย์ศานติ ์ กรรมการ 17. ศาสตราจารย์วริ ยิ ะ นามศิรพิ งศ์พนั ธุ์ กรรมการ 18. รองศาสตราจารย์จติ ตินนั ท์ เตชะคุปต์ กรรมการ 24

คําสัง่ สํานักนายกรัฐมนตรี ที่ 141/2550 เรื่ องแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนสังคม ลงวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ.

2550

สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.)

65


19. 20. 21. 22. 23. 24. 25. 26. 27. 28. 29. 30. 31. 32. 33. 34. 35. 36.

นายอมรวิชช์ นาครทรรพ รองศาสตราจารย์ดร.อิศรา ศานติศาสน์ นางสาวจิรกิ า นุตาลัย นายณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ นายสมบัติ บุญงามอนงค์ นางสีลาภรณ์ บัวสาย ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์อทิ ธิพล ศรีเสาวลักษณ์ นายชัยพันธ์ ประภาสะวัต นายโสภณ ตะติโชติพนั ธ์ ศาสตราจารย์วชิ ยั บุญแสง รองศาสตราจารย์เผดิมศักดิ ์ จารยะพันธุ์ นางสาวอรจิตต์ บํารุงสกุลสวัสดิ ์ นางลัดดา ดําริการเลิศ รองศาสตราจารย์จนั ทร์จรัส เรีย่ วเดชะ นายสุนยั เศรษฐบุญสร้าง นางสาวมิชดิ า จําปาเทศ รอดสุทธิ นางเพ็ญพรรณ จิตตะเสนีย์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝา่ ยการเมือง (นายกฤษดา เรืองอารียร์ ชั ต์) 37. นางสาวดวงพร เฮงบุณยพันธ์ 38. นางเบญจมาภรณ์ จันทรพัฒน์

สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.)

กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการและเลขานุการ กรรมการและผูช้ ว่ ยเลขานุการ กรรมการและผูช้ ว่ ยเลขานุการ

66


รายนามคณะกรรมการขับ เคลื่ อ นการจัด ทํา นโยบายระดับ ชาติ เกี่ยวกับผลประโยชน์ แห่งชาติ ทางทะเล25 1. ศาสตราจารย์ทวีศกั ดิ ์ ปิ ยะกาญจน์ ทีป่ รึกษา 2. พลเรือตรี ศิรวิ ฒ ั น์ ธนแพทย์ ทีป่ รึกษา 3. นายพิพฒ ั น์ ตัง้ สืบกุล ประธานอนุกรรมการ 4. รองศาสตราจารย์เผดิมศักดิ ์ จารยะพันธุ์ รองประธานอนุกรรมการ อนุ กรรมการ 5. รองศาสตราจารย์สชุ าตา ชินะจิตร 6. นายเจิดจินดา โชติยะปุตตะ อนุ กรรมการ 7. รองศาสตราจารย์ศรัณย์ เพ็ชร์พริ ณ ุ อนุกรรมการ 8. นายโกมล จิรชัยสุทธิกุล อนุ กรรมการ 9. นาวาเอกศูนย์ปืน โสมภีร์ อนุกรรมการ 10. นางพวงทอง อ่อนอุระ อนุกรรมการ 11. นางสาวอรชา ธนากร อนุกรรมการ 12. นางสุมาลี สุขดานนท์ อนุกรรมการ 13. รองศาสตราจารย์ดวงพรรณ กริชชาญชัย อนุกรรมการ 14. นายศักดิ ์อนันต์ ปลาทอง อนุกรรมการและเลขานุ การ 15. นางสาวอาภรณ์ โพธิ ์พงศ์ววิ ฒ ั น์ อนุกรรมการและผูช้ ว่ ยเลขานุการ

25

คําสั่งคณะกรรมการรวมพลังขับเคลื่อนสังคม ที่ 1/2550 เรื่ อง แต่งตั้งคณะอนุ กรรมการรวมพลังขับเคลื่อน

สังคม ลงวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2550

สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.)

67



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.