สูจิบัตรออนไลน์ ทีฆาดุริยางค์ ทางพระเจนฯ

Page 1


คำนำ รายการฟังดนตรีทจี่ ุฬาฯ จัดเป็นประจำทุกวันศุกร์แรกของเดือน เป็นรายการที่ทำหน้าทีเ่ ผยแพร่งาน ศิลปวัฒนธรรมด้านดนตรีไทย และดนตรีสากลร่วมสมัยเพื่อมอบความสุขให้แก่ประชาคมจุฬาฯ และบุคคลทัว่ ไป โดยมุ่งเน้นคัดสรรดนตรีอันทรงคุณค่าและหาฟังยากมาเสนอแก่ผู้ชมอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรน่า หรือ COVID-19 ทำให้การจัดกิจกรรมดนตรีต้องหยุด ลงชั่วคราวในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ขณะนี้สถานการณ์เริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ รัฐบาลจึง ผ่อนผันมาตรการป้องกันโรคให้มกี ารจัดกิจกรรมดนตรีได้ แต่ยังคงต้องรักษาระยะห่างทางสังคมอยู่เช่นเดิม อย่างไรก็ตาม การจัดการแสดงยังไม่สามารถเปิดให้เข้าชมได้ตามปกติ ผู้สนใจสามารถรับชมการแสดงของสำนัก บริหารศิลปวัฒนธรรม ได้ที่ Facebook: CU Art Culture ครั้งนี้จึงเป็น “รายการฟังดนตรีทจี่ ุฬาฯ ONLINE” ครั้งแรก ในชื่อว่า “ทีฆาดุริยางค์ ทางพระเจนฯ” นำโดย พันตำรวจโททีฆา โพธิเวส ศิษย์ของพระเจนดุริยางค์ พร้อมด้วยนักดนตรี นักร้องผู้มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก อย่างกว้างขวาง อาทิ ร้อยเอกสมนึก แสงอรุณ จ่าสิบเอกนิสันติ์ ยกสวัสดิ์ ดร.กิตตินันท์ ชินสำราญ และดวง พร พงศ์ผาสุก สำนักบริหารศิลปวัฒนธรรมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า รายการฟังดนตรีทจี่ ุฬาฯ ในครั้งนี้จะให้ความสุขสำราญ แก่ผู้ชมทางบ้านเหมือนมาชมการแสดงทีจ่ ุฬาฯ เมื่อสถานการณ์กลับสู่ภาวะปกติ เราจะมาพบกันที่หอแสดง ดนตรี อาคารศิลปวัฒนธรรม เหมือนเช่นเคย สำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


ศาสตราจารย์พระเจนดุริยางค์ ศาสตราจารย์พระเจนดุริยางค์ ชื่อเดิม Peter Fiet (ปี ไฟท์) ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น ปิติ ได้รับพระราชทาน นามสกุลจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ว่า “วาทยะกร” เป็นบุตรของ ร.อ.ยากอบ ไฟท์ (Jacob Fiet) ชาวอเมริกัน เชื้อชาติเยอรมัน มารดาชื่อ นางทองอยู่ สัญชาติไทย เกิดที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2426 ร.อ.ยากอบไฟท์ เป็นครูดนตรีอยู่กองทัพบกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ศาสตราจารย์พระเจนดุริยางค์ได้เรียนวิชาดนตรีกับบิดาตัง้ แต่เรียนอยู่ในโรงเรียน อัสสัมชัญ บางรัก บิดาได้สั่งหนังสือวิชาดนตรีเป็นภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาเยอรมัน จากทุกมุมโลก มาศึกษาด้วยตนเองจนมีความรูแ้ ละเชี่ยวชาญในวิชาดนตรีทกุ สาขา ท่านได้ร่วมมือกับสถานทูตต่างๆ ใน กรุงเทพฯ แสดงดนตรีในโอกาสที่สถานทูตเหล่านั้นจัดขึ้นเสมอ ในปี พ.ศ. 2468 ได้รับตราศิลปวิทยาชั้นหนึ่งของ รัฐบาลฝรั่งเศส และแต่งตั้งให้เป็น Officier de Instruction Publique (ออฟฟิสเซอร์ เดอ อังสตุกลิอองบลูบ ลิก) แต่บิดาท่านได้กำชับไม่ให้ท่านใช้วิชาดนตรีเป็นอาชีพโดยเด็ดขาด ท่านจึงเข้ารับราชการในกรมรถไฟหลวง แผนกเดินรถ จนได้รับราชทินนามว่า ขุนเจนรถรัฐเมื่อ พ.ศ. 2456 ภายหลังจาก ร.อ.ยากอบ ไฟท์ เสียชีวิตแล้ว ประเทศไทยขาดครูดนตรีสากลที่จะทำการฝึ กสอนทุก หน่วยงาน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่าขุนเจนรถรัฐเป็นผู้เหมาะสมที่จะอบรม ฟื้นฟูดนตรีสากลให้แก่หน่วยงานต่างๆ ได้ จึงมีพระบรมราชโองการให้ย้ายจากกรมรถไฟหลวงมาเป็นผู้ช่วยปลัด กรมเครื่องสายฝรั่งหลวงมหรสพ มีหน้าที่ฟื้นฟูปรับปรุงวงดนตรีฝรั่งหลวง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2460 การดำเนินงาน ของท่านภายในระยะเวลา 3 ปีเศษ วงดนตรีฝรั่งหลวงก็สามารถบรรเลงเพลงประเภท Light music ในการแสดง Popular Concert ได้ และได้จัดการบรรเลงให้ประชาชนชาวไทยและชาวต่างประเทศฟังที่สถานกาแฟนรสิงห์ ถนนศรีอยุธยาและศาลาสหทัยในพระบรมมหาราชวังเป็นประจำ เป็นที่สนใจแก่ผู้ชมเป็นอันมาก ต่อมาท่านได้รบั พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงเจนดุริยางค์ และในปี พ.ศ. 2465 ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิเ์ ป็นพระเจน ดุริยางค์


ในขณะที่รับราชการอยู่ในกรมมหรสพนี้ ได้รับคำสั่งให้ไปปรับปรุงวงโยธวาทิต วงดุริยางค์ทหารเรืออีก ทางหนึ่งด้วย เมื่อประมาณต้นปี พ.ศ. 2475 น.อ.หลวงนิเทศกลกิจ นายทหารชั้นผู้ใหญ่ของกองทัพเรือได้ขอร้อง ให้ท่านประพันธ์เพลงให้บทหนึ่ง ให้เป็นเพลงที่มีทำนองคึกคัก เข้มแข็งแบบทหารให้คล้ายคลึงกับเพลงชาติของ ฝรั่งเศส แต่ท่านได้ปฏิเสธไป แม้จะมีการขอร้องอีกในวันต่อมา ท่านก็ปฏิเสธทุกครั้ง จนถึงวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง หลังจากการปฏิวัติเรียบร้อยแล้วประมาณ 5 วัน น.อ.หลวง นิเทศกลกิจ ก็ได้มาขอร้องให้แต่งเพลงตามที่เคยขอไว้ให้โดยด่วนอ้างว่าเป็นคำสั่งของคณะปฏิวัติ ท่านจึงไม่มที าง ปฏิเสธอีก เมื่อการประพันธ์เพลงเรียบร้อยแล้วก็ได้นำออกบรรเลงโดยวงดุริยางค์ทหารเรือ ณ พระที่นั่งอนันต สมาคม คณะปฏิวัติมีความพึงพอใจในทำนองเพลงนี้จึงมอบหมายให้ขุนวิจิตรมาตราประพันธ์เนื้อร้องขึ้น เรียกว่า เพลงชาติสยาม ต่อมาเมื่อสยามได้เปลี่ยนเป็นประเทศไทยแล้ว รัฐบาลในสมัยนั้นได้จัดให้มีการประกวดเพลงชาติ กันขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง คณะกรรมการได้ตดั สินให้ใช้ทำนองเพลงชาติของศาสตราจารย์พระเจนดุริยางค์ตามเดิม และให้หลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์) ประพันธ์เนื้อร้องขึ้นมาใหม่ รัฐบาลสมัย พลเอกพระยาพหล พลพยุหเสนาจึงประกาศรับรองทำนองเพลงของศาสตราจารย์พระเจนดุริยางค์เป็นเพลงชาติไทย เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2477 ศาสตราจารย์พระเจนดุริยางค์รับราชการอยู่กรมศิลปากรจนถึงกลางปี พ.ศ. 2483 จึงถูกสั่งย้ายไปรับ ราชการที่กองทัพอากาศ เพื่อจัดตั้งวงดนตรีให้แก่หน่วยภาพยนตร์กองทัพอากาศ นอกจากตั้งวงดนตรีให้แก่ หน่วยภาพยนตร์แล้ว ท่านได้ตั้งโรงเรียนดุรยิ างค์กองทัพอากาศขึ้นอีกส่วนหนึ่งและได้แต่งตำราวิชาการดนตรีขึ้น ทุกสาขาวิชา เช่น ทฤษฎีการดนตรี วิชาการประสานเสียงและการขับร้อง แบบฝึกหัดบันทึกตัวโน้ต การปรนนิบัติบำรุงรักษาเครือ่ งดนตรี เหล่านี้ เป็นต้น และได้บัญญัติศัพท์ตัวโน้ตสากลเป็นภาษาไทยอีกด้วย ท่านรับราชการอยู่กองทัพอากาศประมาณ 2 ปีเศษ จึงถูกย้ายมาประจำทีม่ หาวิทยาลัยศิลปากร โดย ได้รับการแต่งตัง้ เป็นศาสตราจารย์การดนตรีประจำมหาวิทยาลัยศิลปากร ต่ อมาได้ย้ายมาประจำในกองการ สังคีต กรมศิลปากร อีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ. 2490 ท่านรับราชการอยู่กองการสังคีตจนถึง พ.ศ. 2497 ขณะนั้น พล ต.อ.หลวงชาติตระการโกศล อธิการบดีกรมตำรวจและ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ รองอธิบดีกรมตำรวจ ได้ดำริ จัดตั้งวงดุริยางค์ขึ้นในกรมตำรวจ จึงขอโอนพระเจนดุริยางค์มาเป็นผู้วางโครงการก่อตั้งวงดุริยางค์และประจำ กรมตำรวจนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2497 ท่านได้รับราชการในกรมตำรวจต่อเนื่องมาโดยตลอดจนถึงวาระสุดท้ายได้ถึง แก่กรรมในวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2511 เมื่อถึงแก่กรรมแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงพระ มหากรุณาธิคุณรับศพไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์และเสด็จพระราชดำเนินมาพระราชทานเพลิงด้วยพระองค์ เอง ณ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512


รายการแสดง สรรเสริญพระบารมี แขกเชิญเจ้า พม่ารำขวาน ต้นวรเชษฐ์ กฤดาภินิหาร ขับร้องโดย ดวงพร พงศ์ผาสุก มาร์ชราชวัลลภ แสงเดือน ขับร้องโดย ดวงพร พงศ์ผาสุก ศรีอยุธยา ขับร้องโดย ดร.กิตตินันท์ ชินสำราญ เพลงชาติไทย


ประวัติและคำอธิบายเพลง สรรเสริญพระบารมี เป็นเพลงสำคัญของชาติเพลงหนึ่งที่พระเจนดุริยางค์ได้มโี อกาสเรียบเรียงเสียงประสานขึ้น ทั้งในรูปแบบ วงดุริยางค์สากล วงขับร้องประสานเสียงสี่แนว เนื้อร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีฉบับปัจจุบันนั้น เดิมเป็นเนื้อ ร้องที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติ วงศ์พระนิพนธ์ขึ้น เพื่อใช้ในพระราชพิธีลงสรง ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ต่อมาเมื่อถึงรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนำเพลงสรรเสริญพระบารมีมานิพนธ์คำร้องขึ้นใหม่ โดยทรงรักษา คำร้องเดิมเอาไว้เกือบทุกประการ ยกเว้นแต่ทรงเปลี่ยนคำร้องในท่อนสุดท้าย ฉะนี้ ให้เป็น ชโย และประกาศใช้ ในวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2456 และใช้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน แขกเชิญเจ้า เป็นเพลงไทยสำเนียงแขก เกิดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หวั จ่าแผ่นผยองยิ่ง (โคม) ครูสักวาที่มีชื่อในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นผู้แต่งทำนองทางร้อง เพื่อใช้เป็นเพลงอำลา พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) ได้นำมาแต่งเป็นทำนองดนตรี จนเป็นที่รู้จั กอย่างแพร่หลาย ต่อมาครูมนตรี ตราโมท ได้นำเพลงแขกเชิญเจ้า สองชั้น มาบรรจุเนื้อร้องใหม่ แล้วประดิษฐ์ทา่ รำเป็นระบำเทพบันเทิง ประกอบใน การแสดงละครเรื่องอิเหนา ตอนลมหอบ พระเจนดุริยางค์นำเพลงแขกเชิญเจ้านี้มาเรียบเรียงเสียงประสานทั้งใน รูปแบบวงออร์เคสตราและวงโยธวาทิตได้อย่างไพเราะ และยังคงใช้บรรเลงประกอบในงานพิธีสำคัญต่างๆ มา จนถึงปัจจุบัน พม่ารำขวาน เพลงพม่ารำขวาน ซึ่งเป็นเพลงในจังหวะกลองยาวในสมัยก่อน ใช้ในการร่ายรำและใช้ในกระบวนแห่ พระเจนดุริยางค์ ได้นำมาเรียบเรียงเสียงประสาน ในรูปแบบวงดุรยิ างค์สากลและวงโยธวาทิต ต้นวรเชษฐ์ เพลงต้นวรเชษฐ์หรือต้นบรเทศ เพลงต้นบรเทศเป็นเพลงทำนองเก่าสมัยอยุธยาอยู่ในเพลงประเภทสองไม้ เเละเพลงเร็วเรื่องเต่ากินผักบุ้ง พระเจนดุริยางค์ ได้นำมาเรียบเรียงเสียงประสาน ในรูปแบบวงดุริยางค์สากลและ วงโยธวาทิต


กฤดาภินิหาร เป็นเพลงที่กรมศิลปากรสร้างสรรรค์ขึ้นใหม่เมื่อ พ.ศ. 2486 เพื่อประกอบการแสดงระบำกฤดาภินิหารใน ละครเรื่อง เกียรติศักดิ์ไทย ประดิษฐ์ทา่ รำโดยนางศุภลักษณ์ ภัทรนาวิก (หม่อมครูต่วน) และนางลมุล ยมะคุปต์ พระเจนดุริยางค์เป็นผู้เรียบเรียงเสียงประสานไว้สำหรับวงดุรยิ างค์สากล กรมศิลปากรโดยใช้เพลงไทยหลายเพลง ประกอบเข้าด้วยกัน ได้แก่ เพลงรัวดึกดำบรรพ์ ครวญหา จีนถอนและจีนรัว ประพันธ์คำร้องโดยครูมนตรี ตรา โมท เนื้อหาของเพลงนี้เป็นการกล่าวยอพระเกียรติของพระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระราชกฤดาภินิหารอันยิ่งใหญ่ ของชาวไทย ที่พระเกียรติลือเลื่องถึงเทวดาชั้นฟ้า ผู้แสดงชายหญิงแต่งกายยืนเครื่องพระนาง สมมติเป็นเทวดา นางฟ้า รำใช้บทตามเนื้อร้อง ในตอนท้ายจึงถือพานดอกไม้ออกโปรย แสดงการอวยชัยให้พร ภายหลังนิยมใช้วงปี่ พาทย์ไม้นวมบรรเลงเพลงนี้ และแยกออกเป็นชุดระบำเบ็ดเตล็ดที่นิยมใช้ในการอวยพรในงานมงคลต่างๆ พันตำรวจโททีฆา โพธิเวส ได้นำมาเรียบเรียงสำหรับวงดุริยางค์เครื่องลมให้วงดุรยิ างค์ตำรวจได้ใช้บรรเลง มาร์ชราชวัลลภ เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 7 ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้น ในปี พ.ศ. 2491 ในครั้งแรกชื่อเพลง "ราชวัลลภ" และพระราชทานให้เป็นเพลงประจำกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ เพื่อไว้ใช้ในพิธีสวนสนาม หลังจากนั้น ผู้บัญชาการกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษา พระองค์ได้มอบหมายให้พันตรี ศรีโพธิ์ ทศนุต เป็นผู้แต่งคำร้องภาษาไทยประกอบเพลงถวาย แต่ มีห้องเพลงยาว กว่าเดิม จึงขอพระราชทานทำนองเพิ่มเติมเพื่อให้เข้ากับคำร้อง ในการแก้ไขทำนองให้เข้ากับคำร้องนี้ ทรงพระ กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจนดุรยิ างค์ (ปิติ วาทยกร) ได้ช่วยตรวจทาน และได้พระราชทานนามเพลงพระราช นิพนธ์นี้ว่า "มาร์ชราชวัลลภ" หรือ The Royal Guards March เมื่อ พ.ศ.2495 และเพลงนี้ถูกนำมาใช้เป็น เพลงประกอบในพิธีสวนสนามในวันถวายสัตย์ปฏิญาณ และสาบานตนต่อธงชัยเฉลิมพลของกองทัพไทยนับแต่ เวลานั้นตลอดมา จนถึงปัจจุบันนี้ แสงเดือน เพลงพระราชนิพนธ์ "แสงเดือน" (Magic Beams) เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 27 ในพระบามสม เด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในปี พ.ศ. 2501 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าว รวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย เพลงพระราชนิพนธ์แสง เดือนมีลีลาชดช้อย อ่อนหวาน สง่างาม เหมาะสำหรับประกอบการเต้นบัลเล่ต์ จึงได้พระราชทานให้อัญเชิญไป ประกอบการแสดงบัลเล่ต์ในงาน สมาคมนักเรียนเก่าอังกฤษในพระบรมราชูปถัมภ์ ณ เวทีลีลาศสวนอัมพร เมื่อ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501 ต่อมาได้นำออกบรรเลงในงานสมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกาในพระบรม ราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501 ในการแสดงครั้งนี้ เป็นการเรียบเรียงในรูปแบบวงดุริยางค์เครื่อง ลมโดย พันตำรวจโททีฆา โพธิเวส


ศรีอยุธยา เป็นเพลงประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดเท่าทีม่ ีหลักฐานบันทึกไว้ พระเจนดุริยางค์ ได้นำทำนองมาจากเพลง เก่า ซึ่งมีโน้ตเพลงปรากฏเป็นครั้งแรกในหนังสือ จดหมายเหตุลาลูแบร์สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เรียกกัน ว่า Siamese Song ซึ่งคนทั่วไปเรียกกันว่า เพลงสายสมร พระเจนดุริยางค์ จึงได้นำเพลงสายสมรมาเรียบเรียง เสียงประสาน มีการแทรกทำนองเพลงขับไม้บณ ั เฑาะว์ไว้ในท่อนกลาง และประพันธ์ทำนองในท่อนท้ายขึ้นใหม่ นาวาอากาศเอกขุนสวัสดิ์ ทิฆัมพร ได้ประพันธ์คำร้องใส่ลงไปและตั้งชื่อใหม่ว่า "ศรีอยุธยา" เป็นเพลงประกอบ ภาพยนต์เรื่อง "พระเจ้าช้างเผือก" เมื่อสมเด็จพระเจ้าจักราเสด็จออกวงดนตรีก็จะบรรเลงเพลงบทนี้เสมอถือว่า เป็นเพลงหลักของเรื่อง ต่อมามีการปรับปรุงคำร้องโดยครูมนตรี ตราโมท พันตำรวจโททีฆา โพธิเวส ได้นำมา เรียบเรียงสำหรับวงดุริยางค์เครือ่ งลมให้วงดุริยางค์ตำรวจได้ใช้บรรเลง เพลงชาติไทย ประพันธ์ทำนองโดยพระเจนดุริยางค์ ในช่วงหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อปี พ.ศ. 2475 คำร้อง ฉบับแรกประพันธ์โดยขุนวิจิตรมาตรา คำร้องฉบับทีส่ องประพันธ์โดยนายฉันท์ ขำวิไล ต่อมาเมื่อประเทศสยาม เปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยจึงได้มีการปรับปรุงเพลงชาติขึ้นอีกครั้งโดยใช้คำร้องที่ประพันธ์โดยหลวงสารานุ ประพันธ์เป็นฉบับที่รอ้ งสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน


พันตำรวจโททีฆา โพธิเวส ผู้อำนวยการดนตรี เกิดเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2474 ที่กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันอายุ 89 ปี

ประวัติการศึกษา พ.ศ. 2485 สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จากโรงเรียนนันทนศึกษา กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2486 สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนดนตรีทหารอากาศ กองภาพยนตร์ กองทัพอากาศ พ.ศ. 2556 ได้รับปริญญาปรัชญาดุษฎีบณ ั ฑิตกิตติมศักดิ์ (ปร.ด.) สาขาวิชาดนตรีศึกษา จากมหาวิทยาลัย ราชภัฏร้อยเอ็ด ประวัติการทำงาน พันตำรวจโท ทีฆา โพธิเวส สำเร็จมัธยมศึกษาตอนต้น จากโรงเรียนนันทนศึกษา เป็นนักเรียนดนตรี รุ่นที่ 1 โรงเรียนดนตรีทหารอากาศ กองทัพอากาศ เรียนวิชาดนตรีกับศาสตราจารย์พระเจนดุริยางค์ เรียนไวโอลิน จากพันจ่าอากาศเอก อุดมนภาดรโอฬาร ในปี พ.ศ. 2487 รับราชการกองดุริยางค์ กองทัพอากาศ เรียนกลองชุด จาก นาวาอากาศโทปรีชา เมตรไตรย์ เข้าเป็นสมาชิกวงหัสดนตรีของกองดุริยางค์ทหารอากาศ เข้าร่วมวงลูกฟ้า และวงชุมชนศิลปิน ของครูสมาน กาญจนผลิน (ศิลปินแห่งชาติ) ต่อมาได้เป็นหัวหน้าวงโยธวาทิตของกอง ดุริยางค์ทหารอากาศ เรียบเรียงเสียงประสานเพลงบ้านน้อยหลังนี้ และรับหน้าที่ในการปรับวงดนตรีให้แก่วงของ สุรพล สมบัติเจริญ ในปี พ.ศ. 2510 ได้โอนสังกัดมารับราชการทีแ่ ผนกดุริยางค์ กองสวัสดิการ กรมตำรวจ โดยมี ครูสง่า อารัมภีร เป็นผู้ประพันธ์เพลงและควบคุมดนตรีประกอบการแสดง ปี พ.ศ. 2513 ได้เลื่อนตำแหน่งเป็น หัวหน้าแผนกดุริยางค์ กองสวัสดิการ กรมตำรวจ ในระหว่างนั้นได้มโี อกาสเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เพื่อถวายงานการ บรรเลงดนตรีเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันราชาภิเษกสมรส ณ พระราชวังไกลกังวล ในฐานะผู้ควบคุมวงโยธวาทิต และวงหัสดนตรี เป็นประจำทุกปี ทั้งยังได้รับการไว้วางพระราชหฤทัยให้จัดหาเครือ่ งดนตรีถวายตามพระราช ประสงค์เพื่อจัดตั้งวงดนตรีส่วนพระองค์ที่ทรงให้ข้าราชบริพารเป็นผู้บรรเลง ซึ่งทรงฝึกสอนและควบคุมวงดนตรี ด้วยพระองค์เอง พ.ศ. 2529 ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นสารวัตรแผนกดุริยางค์ กองสวัสดิการ กรมตำรวจ


ยศพันตำรวจโท จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2532 ได้ลาออกจากราชการ เพื่อทำหน้าที่เป็นวิทยากรละผู้ถ่ายทอดวิชา ความรู้ด้านดนตรีให้แก่เยาวชน ทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดทัว่ ประเทศ ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ผู้เชี่ยวชาญ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม อาจารย์พิเศษ สาขาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ ด อาจารย์พิเศษ สาขาดุริยางคศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ สมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และผู้ตรวจการศูนย์ ประสานงานสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผลงานสร้างสรรค์ด้านดนตรี พันตำรวจโท ทีฆา โพธิเวส เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และเชี่ยวชาญดนตรี ทั้งในด้านการอำนวยเพลง การเรียบเรียงเสียงประสาน และการสอน ตลอดจนได้ให้การสนับสนุน และทำคุณประโยชน์ด้านดนตรีแก่ทาง ราชการและสังคม เป็นอย่างมาก โดยได้สร้างสรรค์ผลงานมากมาย เช่น 1. ใช้ดนตรีเป็นสื่อให้ความบันเทิงแก่ชุมชนในพื้นที่เสี่ยงภัยตามโครงการปฏิบัตกิ ารจิตวิทยาเพื่อการต่อสู้ คอมมิวนิสต์ช่วงปี พ.ศ. 2513 – 2515 และ พ.ศ. 2518 – 2524 โดยใช้วงหัสดนตรีของกรมตำรวจ 2. เรียบเรียงเสียงประสานเพลงต่างๆ เช่น เพลงพระราชนิพนธ์แสงเดือน อาทิตย์อับแสง ความฝันอัน สูงสุด ฯลฯ เพลงปลุกใจและเพลงมาร์ช เช่น เพลงเกิดเป็นไทยตายเพื่อไทย เราสู้ มาร์ช ป.ด.ส. มาร์ชตำรวจ ท่องเที่ยว เป็นต้น โดยเรียบเรียงเสียงประสานสำหรับบรรเลงประกอบการขับร้องของศิลปินที่มีชื่อเสียง เช่น สุเทพ วงศ์กำแหง สวลี ผกาพันธุ์ ธานินทร์ อินทรเทพ และดาวใจ ไพจิตร 3. คิดค้นรูปแบบใหม่ในการนำเสนอการแสดงดนตรี และเรียบเรียงเสียงประสานดนตรีประกอบการ แสดงนาฏศิลป์ โดยใช้การผสมผสานระหว่างดนตรีพื้นบ้าน ดนตรีไทยเดิม และดนตรีตะวันตก เช่น เพลง ประกอบการรำสี่ภาค โหมโรงมหาราชองค์ราชัน และเพลงส้มตำ บทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระกนิษฐาธิราช เจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพลงบายศรีสู่ขวัญ เพลงสดุดีสุนทรภู่ และเพลง จำปาศรี ซึ่งประพันธ์และเรียบเรียงเสียงประสานขึ้นเพื่อใช้บรรเลงในงานสถาปนา 35 ปี มหาวิทยาลัย มหาสารคาม เมื่อปี พ.ศ.2545 รวมถึงเพลงประกอบงานคีตนฤมิต สถิตในดวงใจ ไทยทั่วหล้า สำหรับวงดุริยางค์ สากล และวงดนตรีพื้นเมืองของวิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม บรรเลงเมื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนพรรษา ณ จังหวัดนครพนม 4. เป็นที่ปรึกษาด้านดนตรีให้แก่สถาบันการศึกษา ที่ได้ริเริ่มสร้างสรรค์รูปแบบการแปรขบวนดนตรีสนาม แบบใหม่ให้กับวงโยธวาทิตในส่วนภูมิภาค ด้วยการประยุกต์ใช้เทคนิควิธีแบบตะวันตกให้กับวัฒนธรรมพื้นถิ่น ของไทย โดยมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในด้านการกำกับวงโยธวาทิตในส่วนภูมิภาค ที่ได้รบั รางวัลชนะเลิศการ ประกวดในเวทีระดับชาติและระดับนานาชาติมากมายหลายแห่ง เช่น วงโยธวาทิตราชสีมาวิทยาลัย วงโยธวาทิต โรงเรียนเมืองพัทยา เป็นต้น


5. เป็นผู้ที่ได้ทำหน้าที่ในการอำนวยเพลง การปรับวง และกำกับดนตรี ให้แก่คณะละครเพลงต่างๆ เช่น กำกับวงดนตรีประกอบการแสดงละครเวทีเรื่องพันท้ายนรสิงห์ ของคณะละครศิวารมณ์ ซึ่งมีบทเพลงน้ำตาแสง ไต้ที่โด่งดังจากละครเพลงเรื่องนี้ กำกับการแสดงโดย สักกะ จารุจินดา รวมถึงทำหน้าทีใ่ นการอำนวยเพลง และ ปรับวงให้แก่วงดนตรีกรมตำรวจ เพื่อใช้บรรเลงประกอบการแสดงละคร และบรรเลงดนตรีในวันคล้ายวัน สถาปนากรมตำรวจ ที่แพร่ภาพทางทีวีสีช่อง 3 เป็นประจำทุกปี 6. ผลงานการเรียบเรียงเสียงประสานและประพันธ์ทำนองเพลง เช่น 1) เพลงชะตาเอ๋ยช่างเลวทราม ประพันธ์คำร้องโดยพลตำรวจเอกพจน์ บุณยะจินดา จากละครเพลง สรรเสริญเกียรติคุณตำรวจตระวนชายแดน เนื่องในวันตำรวจแห่งชาติ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2527 2) เพลงศรีอยุธยา ทำนองไทยเดิม ประพันธ์คำร้องโดย นาวาอาศเอกขุนสวัสดิ์ทิฆัมพร เรียบเรียงเสียง ประสานแนวทางของพระเจนดุริยางค์ ให้กับวงโยธวาทิตและนักร้องของกรมตำรวจ ซึ่งได้รับคำชมและเป็นที่ ยอมรับในวงการโยธวาทิต ว่าเป็นฉบับที่ดที สี่ ุดสำหรับวงดนตรีประเภทวงโยธวาทิต 3) เพลงมาร์ชสุรนารีเกมส์ เพื่อใช้เป็นเพลงประจำการแข่งกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 32 เมื่อปี พ.ศ. 2548 4) เพลงอีสานโอเวอร์เจอร์ และเพลงอีสาน หมายเลข 1 ซึ่งเป็นบทเพลงที่มีแนวเพลงพื้นบ้านอีสาน เพื่อให้วงซิมโฟนีออร์เคสตราแห่งมหาวิทยาลัยมหาสารคามใช้บรรเลงในโอกาสต่างๆ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ พ.ศ. 2524 ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.) พ.ศ. 2528 ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นตริตาภรณ์ช้าเผือก (ต.ช.) รางวัลและเกียรติคุณที่ได้รับ พ.ศ. 2547 ได้รับรางวัลพระราชทาน พระธาตุนาดูนทองคำ ประจำปีพุทธศักราช 2547 ประเภททำ คุณประโยชน์ให้มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม พ.ศ. 2561 ได้รับรางวัลบุคคลดีเด่น ประจำปี 2561 สาขาทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไทย จาก มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม


จ่าสิบเอกนิสนั ติ์ ยกสวัสดิ์ หัวหน้าวง

สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนดุริยางค์ทหารบก รุ่นที่ 8/31 มนุษยศาสตร์บัณฑิตสาขาดุริยางคศาสตร์ สากล มหาวิทยาลัยนเรศวร ปัจจุบันกำลังศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต(ดนตรี) คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รับราชการตำแหน่งครูโรงเรียนดุรยิ างค์ทหารบก เป็นอาจารย์พิเศษและหัวหน้าผู้ ฝึกสอนวงโยธวาทิต วิทยาลัยเทคโนโลยีอรรถวิทย์ พณิชยการ กรุงเทพมหานคร ได้รับรางวัลชนะเลิศถ้วย พระราชทานจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ในการแข่งขันวงโยธวาทิตนักเรียน นักศึกษาชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ได้รับรางวัลชนะเลิศถ้วยพระราชทานในการแข่งขันวงโยธวาทิต YAMAHA All Thailand Marching Band Competitionได้รับรางวัลชนะเลิศถ้วยพระราชทานรุ่น Open Class Division ในการแข่งขัน Thailand International Wind and Ensemble Competition ได้รับรางวัลชนะเลิศถ้วย พระราชทานรุ่น Senior Division ในการแข่งขัน Thailand Drum Line Competition และได้รับรางวัลเหรียญ ทองเกียรตินิยมอันดับ ๑ Day Prize Award จากการแข่งขันรายการ World Music Contest 2005 ณ เมือง Kerkrade ประเทศ Netherland เป็นคณะกรรมการตัดสินการประกวดวงโยธวาทิตหลายรายการ อาทิ YAMAHA All Thailand Marching Band Competition, Thailand International Marching Band การ แข่งขัน วงโยธวาทิตนักเรียน นักศึกษา แห่งประเทศไทย และเป็นอาจารย์พิเศษ เป็นวิทยากรบรรยายให้กับ หลายสถาบัน


ร้อยเอกสมนึก แสงอรุณ ผู้อำนวยเพลง

สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนดุริยางค์ทหารบก รุ่นที่ 8/31 ครุศาสตร์บณ ั ฑิต และครุศาสตร์มหาบัณฑิต ดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศึกษาวิชาดนตรีจาก พ.ท.เสนาะ หลวงสุนทร ครูจำเนียร ศรีไทยพันธ์ พ.ท.วิชิต โห้ไทย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พ.อ.ชูชาติ พิทักษากร อาจารย์แมนรัตน์ ศรีกรานนท์ พ.อ. ประสิทธิ์ จินดาอินทร์ อาจารย์ไพทูรย์ อุณหกะ อาจารย์อานันท์ นาคคง ผู้ช่วยศาสตราจารย์สงบศึก ธรรมวิหาร รองศาสตราจารย์ ดร.ณรุทธิ์ สุทธจิตร อาจารย์ดำริห์ บรรณวิทยกิจ ศาสตราจารย์ ดร.ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร ศาสตราจารย์ ดร.วีรชาติ เปรมานนท์ และคณาจารย์ทางดนตรีทสี่ ำคัญอีกหลายท่าน เป็นครูด นตรีโรงเรียน ดุริยางค์ทหารบก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บ้านละครมรดกใหม่ สถาบันดนตรีสาธุการ และมูลนิธิหลวง ประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) เป็นนักดนตรี นักประพันธ์เพลง นักเรียบเรียงเสียงประสาน ผู้อำนวยเพลง เป็นผู้ก่อตั้งวงดนตรีโจงกระเบนบรรเลงในรายการคุณพระช่วย ก่อตั้งวงดนตรีสไบ คณะแตรวงแต้ติ๊ดตู๋ ร่วมงาน กับ วงกอไผ่ วงฟองน้ำ วงบอยไทย วงสวนพลูคอรัส วงไหมไทย วงบางกอกซิมโฟนีออร์เคสตร้า วงสยามฟิวฮาโม นิค ละครเพลงสี่แผ่นดินเดอะมิวสิคคัล สุริโยทัยบัลเล่ต์โอเปร่า มีผลงานการประพันธ์และเรียบเรียงมากมายเช่น ประพันธ์และออกแบบดนตรีไทยในละครเพลงรอยดุรยิ างค์เดอะมิวสิคคัล เรียบเรียงดนตรีและอำนวยเพลงวง มหาดุริยางค์ไทยสากลในงานยุวสังคีตศิลป์แผ่นดินไทยถวายชัยองค์ภูมิพล เรียบเรียงเพลงออเคสตร้า ประกอบการแสดงโขนของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ เป็นคณะกรรมการตัดสินการประกวดดนตรีต่างๆใน ระดับชาติและนานาชาติหลายรายการ ปัจจุบันเป็นคณะทำงานด้านศิลปะสภาการศึกษาแห่งชาติ ปัจจุบันเป็น ผู้อำนวยการดนตรีสถาบันดนตรีสาธุการ เป็นอาจารย์พิเศษ และวิทยากรให้กับมหาวิทยาลัย สถาบันดนตรีหลาย แห่ง


ดร. กิตตินันท์ ชินสำราญ นักร้องรับเชิญ นักร้องเสียงทรงพลังจากรายการ The Voice Thailand Season 2 ครุศาสตร์บัณฑิตและศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบณ ั ฑิตจากจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย และมหาบัณฑิตทางด้านการแสดงขับร้องจาก San Francsico Conservatory of Music ประเทศสหรัฐอเมริกา มี ความสามารถในการร้องเพลงหลากหลายลีลาทัง้ เพลงสมัยนิยม แจ๊ส ลูกกรุง ละครเพลง และอุปรากร ฝากผลงานทั้งระดับชาติและระดับ นานาชาติไว้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้นยังเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้เสียง และอยู่เบื้องหลังความสำเร็จของละคร เพลงและศิลปินชื่อดังของไทยหลายท่าน ปัจจุบันเป็นอาจารย์ด้านการขับร้องประจำสาขาวิชาดุริยางคศิลป์ ตะวันตก คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดวงพร พงศ์ผาสุก นักร้องรับเชิญ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิชาดนตรีศกึ ษา คณะครุ ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระดับปริญญาโทเอกสื่อสารการแสดง คณะ นิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกาศนียบัตรด้านการขับร้องเพลง คลาสสิคจาก International Sommerakademie, Universiteit Mozarteum สอบร้องคลาสสิคของ Trinity Guildhall โดยได้รับรางวัล คะแนนสอบสูงสุดในประเทศไทยในปีนั้น จากนั้นได้รับประกาศนียบัตรดนตรีศึกษา เอกการแสดงร้องคลาสสิ ก จาก New England Conservatory เมืองบอสตัน สหรัฐอเมริกา ผลงานอัลบั้ม Nostalgia สี่แผ่นดินและ Bangkok Acoustic ทำให้เป็นที่รจู้ ักและเป็นจุดเริ่มต้นบน เส้นทางสายดนตรี ได้ร้องเพลงประกอบละคร และภาพยนตร์หลายเรื่อง ปัจจุบัน เป็นนักร้องนำให้กับวง The Sound of Siam & The Jazz Brothers by koh Mr.Saxman และเป็นนักร้องรับเชิญให้กับวง Bangkok Symphony Orchestra ดวงพร พงศ์ผาสุก ผู้เข้าประกวด 4 คนสุดท้ายของทีมแสตมป์ จากรายการ THE VOICE THAILAND SEASON 1 มีผลงานด้านการสอน มานานกว่า 15 ปี ปัจจุบันเป็นอาจารย์สอนขับร้องที่ Viemus International School of Music และเป็นวิทยากรพิเศษในเรื่อง การใช้เสียงให้แก่หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน


วงวินเทจวินแบนด์ VINTAGE WIND BAND อำนวยเพลง หัวหน้าวง

ร้อยเอกสมนึก แสงอรุณ จ่าสิบเอกนิสันติ์ ยกสวัสดิ์

Flute/piccolo จ่าเอกยศพล คุ้มจั่น สิบตำรวจโทดำรงพล ดุลสริ Oboe ด.ช.สาธุการ แสงอรุณ Bb Clarinet สิบตรีเมธา ยวนเขียว สิบตำรวจโทปวริศ เรืองรอง จ่าสิบเอกอนุสรณ์ พ่วงเจริญ สิบเอกธนภาค ไชยศร Bassoon เรืออากาศตรีประทีป นพกิจ Alto Saxophone ร้อยโท ธงชัย ธงเงิน นางสาวจิรัชฏ์ญา เกษทรัพย์ Tenor saxophon จ่าสิบเอกนิสันติ์ ยกสวัสดิ์ Baritone Saxophone นางสาวอาภรณ์ บุญพรม


F Horn นายสิทธานต์ สุขคะตะ สิบโทวีรชัย พรหมมินทร์ ด.ช.นิธิ ยกสวัสดิ์ Bb Trumpet สิบตำรวจโทวรกฤช กัตติกมาส นางสาวธันย์รดา ศุทธวีร์สกุล นายธนรัตน์ กาศเกษม จ่าสิบเอกสมเจต โคสี Trombone นายสรวิชญ์ สังข์ทอง สิบเอกวาณิช ราชาเดช สิบเอกอธิปัตย์ เขียวสวัสดิ์ Euphonium จ่าสิบเอกอภิชาต พงษ์พิพัฒน์ จ่าสิบเอกอาณัติ โพธิ์เขียว Bass Tuba อาจารย์สิทธิเดช เสาหงษ์ Percussion จ่าสิบเอกฐนกร สุวรรณ์ นายธรรมศาสตร์ ทองแกมแก้ว จ่าสิบเอกธีรพงษ์ โพธิเวส ผู้ช่ายศาสตราจารย์พนัส ต้องการพานิช สิบเอกปณิธาน คุณมารดา สิบโทจาตุรนค์ ยิ้มศิริ


นักร้องรับเชิญ ดร.กิตตินันท์ ชินสำราญ ดวงพร พงศ์ผาสุก นักร้องประสานเสียง นางสาวชนัญชิด สนสง นางสาวณริษฎา จันทรศุภแสง เด็กหญิงกันติชา กันคนิกข์ พิธีกร อาจารย์อานันท์ นาคคง ประสานงาน นางอัญชรินทร์ แสงอรุณ นางสาวภัทราพร พืชจันทร์ ขอขอบคุณ กองดุริยางค์กองทัพไทย กรมดุริยางค์ทหารบก กองดุริยางค์ทหารเรือ กองดุริยางค์ทหารอากาศ แผนกดุริยางค์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มหาวิยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โรงเรียนหอวัง สถาบันดนตรีสาธุการ คุณรัตนาวดี กันตังกุล(ทายาท พระเจนดุริยางค์) อาจารย์อานันท์ นาคคง พันตำรวจเอกมนูโห้ไทย อาจารย์ดำริห์ บรรณวิทยกิจ อาจารย์ประยุทธ ชาญอักษร ดาบตำรวจวิทยา เดือนแจ่ม


เรืออากาศตรีประทีป นพกิจ อาจารย์สิทธิพงษ์ ยอดนนท์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์เฉลิมพล โลหะมาตย์ คณะทำงานคอนเสิร์ต “ทีฆาดุริยางค์ ทางพระเจนฯ” พันตำรวจโททีฆา โพธิเวส ผู้อำนวยการดนตรี และประธานที่ปรึกษา คุณรัตนาวดี กันตังกุล (ทายาท พระเจนดุริยางค์) ที่ปรึกษา อาจารย์อานันท์ นาคคง ที่ปรึกษา พันตำรวจเอกมนู โห้ไทย ที่ปรึกษา อาจารย์ดำริห์ บรรณวิทยกิจ ที่ปรึกษา นาวาตรีพิรุณ เจ๊ะวงศ์ ที่ปรึกษา คณะทำงาน อาจารย์ประยุทธ ชาญอักษร จ่าสิบเอกธีรพงษ์ โพธิเวส ร้อยเอกสมนึก แสงอรุณ จ่าสิบเอกนิสันติ์ ยกสวัสดิ์ พันจ่าเอกหญิงนฤมล โพธิเวส อาจารย์อภิวุฒิ มินาลัย ดาบตำรวจวิทยา เดือนแจ่ม เรืออากาศตรีประทีป นพกิจ สิบเอกวาณิช ราชาเดช อาจารย์สิทธิพงษ์ ยอดนนท์ นางอัญชรินทร์ แสงอรุณ นางสาวภัทราพร พืชจันทร์ สิบโทจาตุรนค์ ยิ้มศิริ ด.ช.สาธุการ แสงอรุณ

ประธานคณะทำงาน รองประธานคณะทำงาน ผู้อำนวยการผลิตและผู้อำนวยเพลง หัวหน้าวง ฝ่ายดนตรี ฝ่ายดนตรี โน้ตเพลง โน้ตเพลง โน้ตเพลง โน้ตเพลง ประสานงานศิลปิน ข้อมูลสูจิบัตรและประสานงาน ผู้จัดการเวที และประสานงาน ออกแบบโลโก้


สำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 254 ถนนพญาไท วังใหม่ ปทุมวัน กรุงเทพฯ ๑๐๓๓๐ โทร. ๐๒-๒๑๘๓๖๓๔ – ๕ cuartculture@chula.ac.th www.cuartculture.chula.ac.th CU Art Culture @cuartculture CU Art Culture


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.