กุมภาพันธ์ 2559 ปีที่ 7 I ฉบับที่ 5 แจกฟรี
Creative Cit y Lahore, Pakistan
CREATIVE THAILAND I 1
The Creative ดร. คณิศ แสงสุพรรณ
flickr.com/terrykimura
Local Wi sdom ตลาดนํ้า
CREATIVE THAILAND I 2
Hope for the best, but prepare for the worst.
วาดหวังสิ่งที่ดีที่สุด แต่เตรียมพร้อมตั้งรับสิ่งที่เลวร้ายที่สุด
CREATIVE THAILAND I 3
flickr.com/Nagarajan Kanna
(สุภาษิตอังกฤษ)
Contents : สารบัญ
The Subject
6
How to deal with the aftermath of terrorism? / ครั้งแรกของโลก... คลังข้อมูลดีเอ็นเอแห่งชาติ / See Something, Send Something
Creative Resource
8
Featured Book / Magazine / Movies
Matter 10
วัสดุตกแต่งภายในกับมาตรฐานรถไฟฟ้าความเร็วสูง
Local Wisdom
12
Cover Story
14
“ตลาดนํ้า” บรรพบุรุษของศูนย์การค้า
After Paris Attacks เพราะชีวิตยังคงเดินทาง
Insight 20 Run Hide Tell or Fight!
Creative Startup
22
Creative City
24
The Creative
28
Creative Will
34
“เที่ยวเอง” สร้างรายได้จากประสบการณ์
Lahore, Pakistan : Queen of Cities
The Matchmaker: ดร. คณิศ แสงสุพรรณ
การเดินทางที่อะไรก็ไม่อาจต้านทานได้
บรรณาธิการอำ�นวยการ l อภิสทิ ธิ์ ไล่สตั รูไกล ทีป่ รึกษา l ชมพูนทุ วีรกิตติ, พิชติ วีรงั คบุตร, จรินทร์ทพิ ย์ ลียะวณิช, พจน์ องค์ทวีเกียรติ บรรณาธิการ l พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์ กองบรรณาธิการ l ศิริอร หริ่มปราณี, มนฑิณี ยงวิกุล, เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร, กริยา บิลยะลา, ชลดา เจริญรักษ์ปัญญา, อําภา น้อยศรี, ปิยวรรณ กลิ่นศรีสุข, นันท์นรี พานิชกุล เลขากองบรรณาธิการ l วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ ศิลปกรรม l ชิดชน นินนาทนนท์ สมาชิกสัมพันธ์ l ปิยะพร สวัสดิ์สิงห์ ประสานงานกองบรรณาธิการ l ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ นักศึกษาฝึกงาน l ชาคริต นิลศาสตร์ จัดทำ�โดย l ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) ชั้น 24 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอร์ 622 สุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 โทร. 02 664 7667 แฟกซ์. 02 664 7670 ติดต่อลงโฆษณาได้ที่ creativethailand@tcdc.or.th พิมพ์ที่ l บริษัท สยามพริ้นท์ จำ�กัด โทร. 02-509-0068 แฟกซ์. 02-509-2971-2 จำ�นวน 30,000 เล่ม
นิตยสารฉบับนีใ้ ช้หมึกพิมพ์จากนา้ํ มันถัว่ เหลืองทีไ่ ม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทัง้ ยังเป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อม และใช้กระดาษ รีไซเคิล ซึ่งเป็นผลผลิตของผู้ประกอบการไทย จัดทำ�ภายใต้โครงการ “Creative Thailand สร้างเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์” โดยศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ สำ�นักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) ซึง่ มีเป้าหมายในการเผยแพร่ความรูเ้ กีย่ วกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) และผลักดันการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย
อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส CREATIVE THAILAND I 4 แสดงที่มา-ไมใชเพื่อการคา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย
นิตยสาร “คิด” Creative Thailand ขออภัยกรณีลงข้อมูลผิดพลาดใน คอลัมน์ “Creative Startup: เริม่ ต้นคิด” ฉบับเดือน มกราคม 2559 โดย คุณวชิราวุธ ถาคาํ มี ไม่ได้มสี ว่ นเกีย่ วข้องกับโครงการคิดค้นและพัฒนา การจาํ ลองการผ่าตัดให้กบั โรงพยาบาลรามาธิบดีแต่อย่างใด และโครงการ ดังกล่าวเป็นโครงการทีส่ ร้างสรรค์และพัฒนาโดย บริษทั เวอร์นติ ้ี จาํ กัด แต่เพียงผู้เดียว ทางนิตยสาร “คิด” Creative Thailand จึงขอชี้แจง ความถูกต้อง เพื่อขออภัยแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมา ณ ที่นี้
flickr.com/Mohsan’
Editor’s Note : บทบรรณาธิการ
พันธนาการแห่งความแตกต่าง คืนวันที่ 13 พฤศจิกายน 2558 กลายเป็นคํ่าคืนที่ยาวนานและหดหู่ใจอีกครั้ง หนึ่งของโลก เมื่อเหตุการณ์ก่อการร้ายที่กรุงปารีส ก่อให้เกิดการสูญเสียและ บาดเจ็บ ยิง่ กว่านัน้ เหตุการณ์นไี้ ด้ตอกยาํ้ ฝันร้ายทีผ่ คู้ นพยายามจะกลบฝังความ จำ�จากเหตุการณ์ 9/11 หรือการระเบิดกลางกรุงลอนดอน และเช่นเดียวกับ ทุกครั้งที่เหตุก่อการร้ายจบลง ผลพวงของความหวาดหวั่นก็เกิดขึ้นฉับพลันต่อ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและการเดินทาง คลืน่ แห่งความวิตกนัน้ ลุกลามไปในวงกว้าง มีการยกเลิกเทีย่ วบิน ห้องพัก โรงแรม สถานที่ท่องเที่ยว ทั้งพิพิธภัณฑ์ และโรงละคร ตัวอย่างเช่น สำ�นักข่าว เอเอฟพีรายงานว่า โพรดิสส์ (Prodiss) กลุ่มผู้ผลิตในอุตสาหกรรมดนตรีใน กรุงปารีส ระบุวา่ เหตุการณ์กอ่ การร้ายได้สง่ ผลให้ยอดขายบัตรคอนเสิรต์ ต่างๆ ที่มีกำ�หนดวันแสดงในปารีสตกลงไปถึงร้อยละ 80 เนื่องจากทางผู้จัดหรือ โปรโมเตอร์ทนแบกรับค่าใช้จา่ ยในการจ้างทีมเจ้าหน้าทีร่ กั ษาความปลอดภัยที่ ต้องเพิ่มมากขึ้นเป็นพิเศษไม่ไหว ซึ่งรัฐบาลฝรั่งเศสก็ยืนหยัดที่จะกอบกู้วิกฤติ โดยนางเฟลอร์ เปลเลอแรง (Fleur Pellerin) รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรม ได้ ประกาศให้งบประมาณฉุกเฉินเป็นกรณีพิเศษ จำ�นวน 4,000,000 ยูโร (หรือ ราว 153.6 ล้านบาท) เพือ่ ช่วยเหลือภาคธุรกิจคอนเสิรต์ และการแสดงสดต่างๆ ให้สามารถเดินหน้าต่อไปได้ รวมทั้งจะให้ความช่วยเหลือในเรื่องค่าใช้จ่าย
ของการจัดทำ�มาตรการรักษาความปลอดภัยใหม่ที่จะมีขึ้น โดยนางเฟลอร์ ได้แถลงการณ์วา่ “วัฒนธรรมของเราคือโล่ปราการทีแ่ ข็งแกร่งทีส่ ดุ และศิลปิน ของเราคืออาวุธที่ดีที่สุด” เรามิอาจปฏิเสธผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประเทศไทย หรือไม่อาจห้าม เหตุการณ์ร้ายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพราะบริบทอันนำ�ไปสู่ความรุนแรงนั้น เต็มไปด้วยเงือ่ นไขทีอ่ ยูบ่ นฐานความเชือ่ ทีแ่ ตกต่างกัน ความละเอียดอ่อนทาง อารมณ์และจิตใจ ประวัติศาสตร์ของการตกเป็นผู้ถูกกระทำ� หรือเครื่องบ่งชี้ ของเขตแดนทางเศรษฐกิจ เหตุเหล่านี้เมื่อบวกกับเวลาที่เนิ่นนาน จึงเสมือนเป็น โซ่ตรวนทีข่ งึ ความสัมพันธ์ของสังคมโลก ผูค้ น และเชือ้ ชาติ เพราะสถานการณ์ ทีเ่ กิดขึน้ นีไ้ ด้ประกาศตัวอย่างแน่ชดั ว่า ไม่ใช่เหตุบงั เอิญหรือเกิดขึน้ เป็นครัง้ คราว เมือ่ มันกำ�ลังถูกบันทึกว่าเป็นส่วนหนึ่งในการดำ�เนินไปของสังคมโลกเสียแล้ว ดังนัน้ เมื่อเราคือส่วนหนึง่ ของผลผลิตแห่งยุคสมัย เราจึงจำ�เป็นต้องสูบฉีด ความเข้มแข็งเพื่อเป็นเกราะกำ�บังทั้งทางจิตใจและกายภาพ ทั้งการคิดค้น นวัตกรรมเพื่อหลบเลี่ยงผลกระทบของความเชื่อที่แตกต่าง หรือการเอาชนะ และเยียวยาความหวาดวิตก ด้วยการดัดแปลงและสร้างสรรค์การอำ�นวย ความสุขเพื่อคุณภาพชีวิต เพราะที่สุดแล้ว การเอาชนะความหวาดกลัวและ ความมืดมนด้วยความรู้ ก็คือคุณสมบัติที่แข็งแกร่งที่สุดของมนุษยชาตินั่นเอง อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล บรรณาธิการอํานวยการ Apisit.L@tcdc.or.th
CREATIVE THAILAND I 5
The Subject : ลงมือคิด เรื่อง: วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ และ ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ
flickr.com/photos/ericparker
How to deal with the aftermath of terrorism?
“ผู้ก่อการร้ายต้องการเห็นผู้คนแตกตื่น เสียขวัญ จนไม่สามารถใช้ชีวิตเป็น ปกติได้” ดร.แอน มาเรีย อัลเบโน (Dr. Anne Marie Albano) นักจิตวิทยา คลินิกจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นต่อเหตุ ก่อการร้ายในปารีสที่ผ่านมา โดยเธอแนะนำ�ว่าวิธรี บั มือหลังเกิดเหตุกอ่ การร้าย ที่ดีที่สุดก็คือ การออกไปใช้ชีวิตตามปกติ ยกตัวอย่างหลังเกิดเหตุก่อการร้ายที่ปารีสได้ 4 วัน มีผู้คนจากทั่วโลก เดินทางมาร่วมเชียร์ฟุตบอลรอบกระชับมิตรระหว่างทีมชาติฝรั่งเศสและ อังกฤษ ณ สนามเวมบลีย์ ประเทศอังกฤษ ที่เกือบจะถูกยกเลิกเพราะ หวั่นว่าจะเกิดเหตุซํ้ารอยหลังได้เกิดเหตุระเบิดข้างสนามสตาด เดอ ฟรองส์ ที่ฝรั่งเศสได้ไม่นาน โดยศาสตราจารย์ริชาร์ด อิงลิช (Richard English) ผู้เชี่ยวชาญด้านการก่อการร้ายประจำ�มหาวิทยาลัยเซนต์ แอนดรูส์ ได้ออก มาให้ความเห็นว่า “การที่สาธารณชนได้ออกมาเชียร์ฟุตบอลในครั้งนั้นเป็น ตัวอย่างที่ดีในการต่อกรกับผู้ก่อการร้าย เพราะมันแสดงให้เห็นว่าแม้จะเกิด เหตุการณ์เลวร้ายขึ้น แต่การออกมาใช้ชีวิตปกติอย่างการเฉลิมฉลองกับ เพือ่ นฝูง เชียร์กฬี า หรือดูคอนเสิรต์ เป็นสิง่ ทีพ่ สิ จู น์วา่ ความรุนแรงไม่สามารถ
หยุดยั้งเรื่องเหล่านี้ได้ เพราะเมื่อใดก็ตามที่ผู้คนไม่กล้าออกไปไหนอีก นั่น หมายความว่าผู้ก่อการร้ายได้รับชัยชนะแล้ว” และแม้ว่าชาวฝรั่งเศสและ นักท่องเที่ยวจำ�นวนมากจะยังคงหวาดกลัวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจนไม่กล้า ออกจากที่พัก แต่ก็ยังมีผู้คนจำ�นวนไม่น้อยที่พยายามออกมาใช้ชีวิตอย่าง เดิม เช่น คามิลล์ แดนคอร์ (Camille Dancourt) นักศึกษาอายุ 18 ปี ที่ ตัดสินใจออกมาสังสรรค์กบั เพือ่ นหลังเกิดเหตุ แม้จะอาศัยอยูใ่ นละแวกทีเ่ กิด เหตุระเบิดไม่ไกลกันนัก โดยเธอได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อไว้ว่า “ฉันไม่อาจพูด ได้ว่าฉันไม่กลัว เพราะเหตุการณ์ครั้งนี้ทำ�ให้ฉันรู้สึกว่าเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นกับ ใครก็ได้ แต่ในเมือ่ เรามีชวี ติ ทีอ่ สิ ระ การออกมาข้างนอกและใช้ชวี ติ ตามปกติ คือการพิสูจน์ว่าเราจะไม่ยอมเสียอิสรภาพให้กับผู้ก่อการร้าย และพวกเขา จะไม่ชนะ” เพราะแน่นอนว่า ทุกเหตุการณ์กอ่ การร้ายย่อมจบลงด้วยความโศกเศร้า และความหวาดกลัวของผู้คน แต่สิ่งที่อาจจะเลวร้ายกว่า ก็คือการที่เราต้อง ใช้ชีวิตอยู่กับความกลัวตลอดไป
ที่มา: บทความ “French Return to Cafes in a Show of Defiance” (17 พฤศจิกายน 2015) จาก nytimes.com / บทความ “How to Cope With Anxiety During Terror Threats” (19 พฤศจิกายน 2015) จาก nytimes.com / บทความ “How do I ... Live in the Shadow of Terrorism?” (20 พฤศจิกายน 2015) จาก theguardian.com CREATIVE THAILAND I 6
See Something, Send Something
flickr.com/photos/snre
seesomething
ครั้งแรกของโลก…คลังข้อมูลดีเอ็นเอแห่งชาติ
หลังเกิดเหตุระเบิดถล่มมัสยิดนิกายชีอะห์ในเมืองหลวงคูเวตซิตี้เมื่อเดือน มิถุนายน 2015 โดยกลุ่มรัฐอิสลามในอิรักและซีเรียหรือไอซิส ซึ่งทำ�ให้มี ผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บรวมมากกว่า 200 ราย รัฐบาลคูเวตได้ออกบทบัญญัติ ครั้งสำ�คัญ ให้ชาวคูเวตกว่า 1.3 ล้านคน และแรงงานต่างด้าว 2.9 ล้านคน เข้ารับการตรวจดีเอ็นเอเพื่อบันทึกในฐานข้อมูลแห่งชาติ โดยผู้ที่ไม่ให้ความ ร่วมมือจะต้องโทษจำ�คุก 1 ปี และถูกปรับถึง 33,000 เหรียญสหรัฐฯ ส่วน กรณีของนักท่องเทีย่ ว ยังอยูใ่ นระหว่างการพิจารณาว่าจะมีบทบังคับให้ตรวจ ดีเอ็นเอด้วยหรือไม่ คูเวตนับว่าเป็นประเทศแรกของโลกที่ออกกฎหมายเก็บดีเอ็นเอของ ประชาชนได้สำ�เร็จ โดยได้รับอนุมัติงบประมาณ 400 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากรัฐสภาในการจัดทำ�ฐานข้อมูล แม้จะยังมีกระแสวิพากษ์วจิ ารณ์ถงึ ประเด็น ที่อ่อนไหวนี้จากหลายฝ่าย เพราะแม้ว่าปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลก เช่น สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา สวีเดน และออสเตรเลีย จะมีการเก็บข้อมูล ดีเอ็นเอของอาชญากร แต่นี่เป็นครั้งแรกของโลกที่กำ�หนดให้ต้องเก็บข้อมูล พันธุกรรมจากประชาชนทั้งประเทศ หลังจากที่ก่อนหน้านี้เคยมีความ พยายามในการออกข้อบังคับลักษณะเดียวกันในปี 1995 ที่สหราชอาณาจักร โดยรัฐบาลอังกฤษเป็นประเทศแรกที่ริเริ่มการจัดทำ�ฐานข้อมูลดีเอ็นเอของ นักโทษอาชญากรรม และต่อมาก็ได้ขยายขอบเขตการเก็บข้อมูลไปถึง ผู้ต้องหาที่ถูกทางการจับกุมแต่ยังไม่ได้รับการตัดสินความผิด แต่ท้ายที่สุด ในปี 2008 ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปก็ออกมาตัดสินว่า การเก็บข้อมูลพันธุกรรม ของผู้ที่ยังไม่ได้ถูกตัดสินความผิดนั้น เป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานตาม บทบัญญัติของศาลว่าด้วยเรื่องการเคารพสิทธิในความเป็นส่วนตัวและชีวิต ครอบครัว ข้อมูลดีเอ็นเอของผู้บริสุทธิ์ 1.7 ล้านรายจึงถูกทำ�ลายทิ้งในปี 2013 ตามพรบ.คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานแห่งสหราชอาณาจักร
หลังเกิดเหตุความไม่สงบในปารีส เมืองท่องเทีย่ วใหญ่ของโลกอย่างนิวยอร์ก ได้ตดั สินใจเพิม่ กำ�ลังการป้องกันมากยิง่ ขึน้ เริม่ จากการเพิม่ จำ�นวนเจ้าหน้าที่ ผูเ้ ชีย่ วชาญด้านการป้องกันการก่อการร้ายให้ไปประจำ�ยังจุดต่างๆ กระจาย รอบการขนส่งมวลชนทั่วนิวยอร์ก พร้อมกันนั้นยังได้พยายามรวบรวมพลัง จากประชาชนในการช่วยเป็นหูเป็นตาเมื่อพบสิ่งน่าสงสัยที่อาจนำ�ไปสู่การ ก่อเหตุร้ายขึ้นได้ในอนาคต โดยเมื่อปลายปีที่ผ่านมา ผู้ว่าการรัฐนิวยอร์ก แอนดรูว์ โคว์โม (Andrew Cuomo) ได้ประกาศเปิดตัวโมบายแอพพลิเคชัน “See Something, Send Something” เพื่อให้ชาวเมืองรวมถึงนักท่องเที่ยว ได้ดาวน์โหลดฟรีและใช้เป็นสื่อกลางในการส่งข้อมูล รูปภาพ หรือเบาะแส ต่างๆ ที่ประชาชนพบว่าเข้าข่ายน่าสงสัยให้กับหน่วยงานวิเคราะห์ข้อมูล รัฐนิวยอร์กภายใต้การดูแลของกองกำ�กับการตำ�รวจนิวยอร์ก (New York State Intelligence Center) ในการดำ�เนินการตรวจสอบข้อมูลและค้นหา หลักฐานต่อไป โดยคำ�แนะนำ�ในการใช้งานแอพพลิเคชันนีค้ อื การใช้รายงาน ถึงพฤติกรรมที่ผิดปกติและน่าสงสัย อย่างเช่น การพบเห็นใครบางคนวาง กระเป๋าทิ้งไว้ในที่สาธารณะ แต่ไม่แนะนำ�ให้ใช้เพื่อรายงานถึงความคิด ทัศนคติ หรือผู้ที่มีความเชื่อแปลกแยกโดยที่ยังไม่ได้กระทำ�พฤติกรรมที่น่า สงสัยใดๆ โดยท้ายทีส่ ดุ แล้วทางการรัฐนิวยอร์กได้เน้นยํา้ ว่า แอพพลิเคชันนี้ ไม่ได้มีไว้แทนการโทรแจ้ง 911 เพราะแน่นอนว่าหากเรื่องร้ายได้เกิดขึ้นแล้ว การโทรศัพท์ไปแจ้งเจ้าหน้าที่ย่อมเป็นสิ่งที่เหมาะสมกว่า
ที่มา: บทความ “Kuwait Anti-Terror Program Prepares to Harvest the DNA of Citizens and Foreigners” (15 กรกฎาคม 2015) จาก news.vice.com / บทความ “Kuwait has become the first country to make DNA testing mandatory for all residents” (13 กรกฎาคม 2015) จาก sciencealert.com
ที่มา: บทความ “NYC ISIS Threat Update: New York Unveils App to Help Fight Terrorism With ‘See Something, Send Something’ Campaign” (23 พฤศจิกายน 2015) จาก ibtimes.com / บทความ “Governor Cuomo Announces New Efforts in New York State to Help Fight Terrorism” (23 พฤศจิกายน 2015) จาก governor.ny.gov
CREATIVE THAILAND I 7
Creative Resource : วัตถุดิบทางความคิด เรื่อง: อําภา น้อยศรี และ ชลดา เจริญรักษ์ปัญญา
CREATIVE THAILAND I 8
F EAT U RED BOOK
ความเชือ่ เกิดขึน้ เพือ่ ตอบสนองความต้องการทาง จิตใจของมนุษย์ และพัฒนาต่อมาจนกลายเป็น ศาสนาทีอ่ ยูค่ กู่ บั ผูค้ นมานานหลายพันปี ศาสนา ส่ ง ผลต่ อ การกระทำ � และการดำ � เนิ น ชี วิ ต ของ มนุษย์ในหลายด้าน ไม่ใช่แค่ตัวบุคคลเท่านั้นแต่ ยังรวมถึงการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนขนาดใหญ่ อีกด้วย และบางครั้งต้นกำ�เนิด ความเชื่อ และ แนวทางการปฎิ บั ติ ที่ แ ตกต่ า งกั น ของแต่ ล ะ
ศาสนา ก็อาจสร้างปมความขัดแย้งให้เกิดขึ้น โดยเฉพาะผู้ ที่ ใ ช้ ค วามเชื่ อ ก่ อ ความรุ น แรง บิดเบือน และชักจูงผูค้ นเพือ่ สร้างประโยชน์ให้แก่ ตนเอง ความเข้าใจอย่างถูกต้องต่อทั้งความเชื่อ ของตนเองและผู้อื่นจึงเป็นเรื่องสำ�คัญ Religion 101 จะรวบรวมข้อมูลพื้นฐานของ ศาสนาต่างๆ ซึ่งจะแยกออกเป็น 6 ศาสนาใหญ่ ด้วยกัน คือ คริสต์ อิสลาม พุทธ ยูดาห์ เต๋ากับ ขงจื๊อ และฮินดู โดยจะกล่าวถึงตั้งแต่ต้นกำ�เนิด ศาสดา คำ�สอน รวมถึงความเชื่อและพิธีกรรม สำ�คัญ ซึง่ เมือ่ ศึกษาจะพบว่าความเชือ่ ของแต่ละ ศาสนาหลายส่วนมีความคล้ายคลึงกันเป็นอย่าง มาก เช่น การสอนให้ทำ�สิ่งดี มีความเอื้อเฟื้อให้ แก่ผู้ที่ขัดสน รู้จักช่วยเหลือและแบ่งปัน เป็นต้น ซึง่ นอกจากศาสนาหลักทีถ่ กู กล่าวถึงแล้ว หนังสือ
M AGA ZIN E
MOVIE
2) Condé Nast Traveler, Nov. 2015
3) La Haine กำ�กับโดย Mathieu Kassovitz
1) Religion 101: From Allah to Zen Buddhism, an Exploration of the Key People, Practices, and Beliefs that Have Shaped the Religions of the World โดย David Rose
แม้ผลสำ�รวจจากผู้อ่านนิตยสาร Condé Nast Traveler: Readers’ Travel Awards 2015 จะยก ให้กรุงปารีสครองอันดับ 1 ประเภท The Best Overseas Cities หรือเมืองท่องเที่ยวจุดหมาย ปลายทางทีด่ ที สี่ ดุ ของนักเดินทางทัว่ โลก แต่จาก โศกนาฏกรรมครั้งร้ายแรงกลางกรุงปารีส และ ปัญหาผู้อพยพทะลักเข้ายุโรป ส่งผลให้ปริมาณ นักท่องเที่ยวที่มายังฝรั่งเศสลดจำ�นวนลงอย่าง ต่อเนื่อง เพราะขาดความเชื่อมั่นในเรื่องความ ปลอดภัย โดยนอกจากปารีสแล้ว นิตยสารเล่มนี้ ยังรวบรวมสถานทีน่ า่ ท่องเทีย่ วจากทัว่ ทุกมุมโลก ที่ ไ ด้ รั บ การโหวตจากผู้ อ่ า นที่ เ คยได้ ไ ปสั ม ผั ส บรรยากาศ ทัง้ รีววิ อาหาร ที่พัก โรงแรม จุดแวะพัก แปลกตา วัฒนธรรมท้องถิ่น และการผจญภัย รูปแบบใหม่ ที่ดึงดูดความสนใจให้นักเดินทาง ลองแวะไปเยี่ยมเยือน
เล่มนี้ยังรวบรวมความเป็นมาแรกเริ่มของการ นับถือเทพเจ้าต่างๆ เช่น เทพซุสและโพไซดอน ของกรีก เทพราห์ หรือเทพอนูบิสของอียิปต์ จนถึงศาสนาความเชื่อใหม่ๆ ที่เราคุ้นหูกัน เช่น ลัทธิไซเอนโทโลจี ที่แม้อาจไม่ได้ลงลึกถึงราย ละเอียดทั้งหมด แต่ก็ช่วยให้เข้าใจบริบทและ คำ�สอนหลักของแต่ละศาสนาเบื้องต้นได้อย่าง ชัดเจน หลายครั้งที่ศาสนาถูกนำ�มาเกี่ยวโยงกับ สังคม การเมือง โดยถูกใช้เป็นข้ออ้างในการกระทำ� ความผิด ใช้เป็นเกราะกำ�บังเพื่อหาประโยชน์ให้ แก่ตนเองหรือพวกพ้อง การศึกษาแก่นแท้และ ความต่างของศาสนาอย่างลึกซึ้ง จะทำ�ให้ไม่ถูก ชีน้ �ำ ไปในทางทีถ่ กู บิดเบือน ช่วยให้เปิดใจยอมรับ และลดปัญหาความขัดแย้งได้ในที่สุด
หอไอเฟล หรือ ถนนฌ็องเซลิเซ่ คือสัญลักษณ์แห่งความโรแมนติกและความมัง่ คัง่ ฉากหลังอันสวยงาม ท่ามกลางการจราจลกลางเมือง วิถีชีวิตที่ไม่ได้สวยหรูตามแบบอย่างชาวปาริเซียงที่คุ้นเคยกัน ชุมชน เสือ่ มโทรมย่านชานเมืองทีเ่ ป็นแหล่งมัว่ สุมของเหล่าวัยรุน่ จากหลากหลายชนชาติและวัฒนธรรม ความ ไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจและสังคมกลายเป็นจุดอ่อนให้เจ้าหน้าทีใ่ ช้เพ่งเล็งและคอยสอดส่องพฤติกรรม ความเกลียดชัง ความก้าวร้าว ความรุนแรง ไปจนถึงดนตรีฮิปฮอป กลายเป็นวิถีทางหนึ่งที่พวกเขาใช้ ต่อต้านและแสดงออกให้เห็นว่าพวกเขาเองก็มีสิทธิเท่าเทียมในฐานะประชากรคนหนึ่ง เพราะโลกใบนี้ ไม่ได้เป็นของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นของเราทุกคน 4) The Hundred-Foot Journey กำ�กับโดย Lasse Hallström “ดาว” มักถูกใช้เป็นสัญลักษณ์แสดงลำ�ดับขั้นความพึงพอใจ ร้านอาหารก็หวังดาวมาประดับร้านเพื่อ การันตีคุณภาพและความสำ�เร็จ ฮัสซัน กุ๊กผู้ปรารถนาได้ครอบครองดาวดวงนี้ จึงได้ออกเดินทางสู่ ปารีสด้วยแรงสนับสนุนของครอบครัว แม้จะได้โลดโผนในโลกแห่งศิลปะการปรุงอาหารจนประสบความ สำ�เร็จ แต่ก็ต้องอยู่ลำ�พังอย่างโดดเดี่ยวในเมืองใหญ่ “บ้าน” กลายเป็นสิ่งที่เขาโหยหาและถูกซ่อนอยู่ ในรสชาติของอาหารแต่ละจานทีป่ รุงขึน้ เพราะเขาอยากนำ�ดาวสักดวงทีใ่ ฝ่ฝนั กลับไปเป็นของกำ�นัลให้ ครอบครัว และชีวติ ที่เรียบง่ายในเมืองเล็กๆ หากจะเปรียบชีวิตคนเป็นอาหารสักจาน อาจเปรียบได้กับ “ออมเล็ต” เมนูอาหารพื้นๆ ที่ต้องอาศัยการปรุงให้ละเมียดกลมกล่อม จึงจะได้รสชาติที่อบอวลใน แต่ละคำ�ที่รับประทาน พบกับวัตถุดิบทางความคิดเหล่านี้ได้ที่ TCDC Resource Center CREATIVE THAILAND I 9
Matter : วัสดุต้นคิด
กับมาตรฐานของรถไฟฟ้าความเร็วสูง เรื่อง: ชมพูนุท วีรกิตติ และ ปิยวรรณ กลิ่นศรีสุข
ระบบขนส่งมวลชนทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศในสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ให้ความสำ�คัญกับความปลอดภัยต่อ ชีวิตและทรัพย์สินของผู้ใช้งาน ขณะเดียวกัน ผู้ผลิตของประเทศไทยก็มีศักยภาพสูง สามารถผลิตสินค้าได้ตามมาตรฐาน สากลและส่งออกไปจำ�หน่ายในหลายประเทศ ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้ผู้ผลิตในประเทศได้มีโอกาสแสดง ศักยภาพ และใช้วัสดุของคนไทยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงในอนาคต ทาง TCDC โดยห้องสมุดวัสดุ เพือ่ การออกแบบ จึงได้รว่ มมือกับ ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดทำ�โครงการ นำ�ร่องเพือ่ สรรหาและคัดเลือกวัสดุจากผูผ้ ลิตวัสดุไทยทีม่ ศี กั ยภาพ เพือ่ ให้ได้วสั ดุทไี่ ด้รบั มาตรฐานสากลสำ�หรับการตกแต่ง ภายในและใช้บริการในตู้รถไฟฟ้าความเร็วสูง วัสดุที่จะนำ�มาใช้ตกแต่งภายในสำ�หรับระบบขนส่งมวลชนได้นั้น ต้องผ่าน มาตรฐานการทดสอบสากลที่แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกคือมาตรฐานความ ปลอดภัยสำ�หรับวัสดุที่ใช้ภายในระบบขนส่งมวลชน ได้แก่ มาตรฐานด้าน อัคคีภยั ซึง่ ถือเป็นข้อกำ�หนดของระบบขนส่งมวลชน เช่น การจุดติดไฟ การ ลามไฟ ปริมาณควันไฟ และปริมาณควันพิษ เป็นต้น ส่วนที่ 2 คือมาตรฐาน ทัว่ ไปทีใ่ ช้ควบคุมคุณภาพของวัสดุประเภทต่างๆ ได้แก่ มาตรฐานด้านความ ปลอดภัย เช่น ปริมาณสารพิษ และมาตรฐานด้านกายภาพ เช่น ความ แข็งแรง ความทนทานต่อการใช้งาน รวมถึงมาตรฐานการทดสอบคุณสมบัติ พิเศษที่ผู้ผลิตทำ�ขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้เหมาะแก่การใช้งานมากขึ้น เช่น การต้านแบคทีเรีย เป็นต้น วัสดุไทยที่อยู่ในฐานข้อมูลของ Material ConneXion มากกว่า 300 ชนิด ซึง่ ได้รบั การพิจารณาและคัดเลือกถึงความเหมาะสมต่อการใช้งานเพือ่ ตกแต่งภายใน เช่น พื้นทางเดิน ผ้าหุ้มเบาะ ผ้าม่าน ผ้ารองศีรษะ ฯลฯ ได้แก่ วัสดุปพู นื้ ทีม่ คี ณุ สมบัตปิ อ้ งกันการลืน่ ล้ม จากบริษทั สินเจริญรับเบอร์ จำ�กัด ที่ได้พัฒนาแผ่นวัสดุอ่อนตัวสำ�หรับปูพื้นขึ้นจากส่วนผสมของยาง ธรรมชาติกับยางสังเคราะห์ มีคุณสมบัติป้องกันการลื่นล้ม ทนทาน อ่อนตัว
ดูดซับแรงกระแทกได้ดี และผ่านการทดสอบการกันไฟตามมาตรฐาน DIN 4102 B1 Part 14 ต้านทานการขัดถูตามมาตรฐาน DIN 53516 มีความคงทน ของสีตามมาตรฐาน BS EN ISO 105 B02 ป้องกันการลื่นล้มตามมาตรฐาน DIN 51130 และทนรอยเปื้อนตามมาตรฐาน BS EN 423 ปัจจุบันมีการนำ�ไป ใช้ปูพื้นภายในอาคารกีฬา ศูนย์ออกกำ�ลังกาย สนามบาสเก็ตบอลและ วอลเลย์บอล อีกหนึ่งวัสดุที่น่าสนใจคือ Energy-Saving Curtain ผ้าม่าน คุณภาพสูงสำ�หรับตกแต่งภายใน จากบริษัท เท็กซ์ไทล์ แกลลอรี่ จำ�กัด ทำ�จากโพลีเอสเตอร์ 100 เปอร์เซ็นต์ มีคณุ สมบัตปิ อ้ งกันแสงแดด ความร้อน และรังสียวู ี รวมทัง้ มีการเคลือบผิวอะลูมเิ นียมเมทัลลิกไว้ดา้ นหนึง่ ซึง่ ป้องกัน คลืน่ แม่เหล็กไฟฟ้าได้ ทัง้ ยังช่วยลดการใช้พลังงานของเครือ่ งปรับอากาศได้ 10-40 เปอร์เซ็นต์ ปราศจากส่วนผสมของฟอร์มัลดีไฮด์ และมีเทคโนโลยี การป้องกันฝุ่นละอองและแบคทีเรีย สำ�หรับในประเทศไทย หลายบริษัทมีเทคโนโลยีและการพัฒนาวัสดุ ที่เหมาะจะนำ�มาใช้ในการตกแต่งภายในตู้รถไฟฟ้าความเร็วสูง ทั้งยัง พัฒนาให้ตรงกับความต้องการและมาตรฐานที่ระบบขนส่งมวลชนทั่วโลก ต้องการได้
ที่มา: รายงานฉบับสมบูรณ์ เล่มที่ 1: โครงการรายงานการศึกษาเรื่องการยกระดับและพัฒนาสินค้าประเภทวัสดุและบรรจุภัณฑ์จากวัสดุไทย จัดทำ�โดย ดร.อมรรัตน์ เลิศวรสิริกุล และ ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, เมษายน 2556 / floorament.com / pasaya.com CREATIVE THAILAND I 10
siemens.com
วัสดุตกแต่งภายใน
พบกับนิตยสาร “คิด” Creative Thailand ได้ที่ ร้านหนังสือ ห้องสมุด สมาคม อาคารสำ�นักงาน และร้านกาแฟใกล้บ้าน ในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ หัวหิน และจังหวัดอื่นๆ รวมถึง miniTCDC ดูสถานที่จัดวางทั้งหมดได้ที่: www.tcdc.or.th/creativethailand/magazine/place กรุงเทพฯ ร้านหนังสือ • Asia Books • Kinokuniya • B2S • แพร่พิทยา ร้านกาแฟ/ร้านอาหาร • Au Bon Pain • Starbucks • TOM N TOM’S COFFEE • True Coffee • Auntie Anne’s • Baskin Robbins • Coffee World • Mister Donut • Black Canyon • McCafe’ • ดอยตุง • Ninety four coffee • Puff & Pie • Red Mango • Iberry • Greyhound Cafe’ • Amazon Cafe’ • Chester’s Grill • Luv minibar โรงแรม/ที่พัก • NOVOTEL • Dusit Thani Princess Hotel • Sofitel Silom Bangkok • Grand Millenium Sukhumvit พิพิธภัณฑ์/หอศิลป์ • หอศิลปวัฒนธรรม แห่งกรุงเทพมหานคร • มิวเซียม สยาม • อุทยานการเรียนรู้ (TK park) • นำ�ทอง แกลเลอรี่ สมาคม/ห้องสมุด • ศูนย์ศิลปะนานาชาติ สมาคมฝรั่งเศส • ห้องสมุดเนลสัน เฮลส์ The Neilson Hays Library • ห้องสมุด - นิด้า • สมาคมโฆษณา แห่งประเทศไทย • สมาคมธนาคารไทย • สมาคมสโมสรนักลงทุน • ห้องสมุด สสวท. • สมาคมหอการค้าไทย • สถาบัน • Wall Street Institute • Raffle Design Institute • Vision Swimming Academy เชียงใหม่ ร้านหนังสือ • ดวงกมล • ร้านเล่า • ร้าน Book Re:public • ร้านหนังสืออุดมลายเซ็นต์ ร้านกาแฟ/ร้านอาหาร/ ร้านขายของที่ระลึก • Happy Hut (ถ.นิมมานเหมินทร์ ระหว่างซอย 9-10) • 94 Coffee (ถ.นิมมานเหมินทร์) • Starbucks (ถ.นิมมานเหมินทร์) • เวียงจุมออน ทีเฮาส์ • Fern Forest Cafe’ • October • เชียงใหม่กาแฟ • IMPRESSO espresso bar • กาแฟวาวี • Love at First Bite • ร้านกาแฟดอยช้าง • ร้านกาแฟดอยตุง
• ร้านฝ้ายเบเกอรี่ (หอสมุดในมหาวิทยาลัย เชียงใหม่) • Things Called Art • minimal • ร้านยังไว้ลาย • ร้านรสนิยม • ร้านภคมน • ร้านโครงการหลวง • จัส ข้าวซอย (Just Kao Soy) • Ginger (The House Restaurant ) • หอมปากหอมคอ • ทีเฮาส์ สยามศิลาดล • Rabbithood studio • The Meeting Room Art Cafe’ • HuB 53 Bed&Breakfast • ร้าน Charcoa Cafe’ • ร้าน Akha Ama coffee • ร้านกาแฟพาคามาร่า • เดอะ สลัด คอนเซปท์ (Salad Concept) • Gallery Seescape • ร้านขนม (Kanom) • ร้าน Chin Ngan • ร้าน Mood Mellow โรงแรม/ที่พัก • สุริยันจันทรา ถ.นิมมานเหมินทร์ ซอย 1 • บรรทมสถาน เกสเฮาท์อารมณ์บ้าน • yesterday Hotel • โรงแรมดุสิต ดีทู (Dusit D2) • โรงแรมเชดี • ฮาโหล บาร์ (Hallo Bar Hotel) • โรงแรม At Nimman • โรงแรม Tamarind Village • โรงแรม The Rim • 9wboutique hotel • พิงค์ภูเพลส เชียงใหม่ • โรงแรม Casa 2511 พิพิธภัณฑ์/หอศิลป์ • หอศิลปวัฒนธรรม เมืองเชียงใหม่ • หอนิทรรศการ ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หัวหิน ร้านกาแฟ/ร้านอาหาร • ร้านกาแฟ ชุบชีวา หัวหิน • อยู่เย็น หัวหิน บัลโคนี่ • บ้านใกล้วัง • ภัตตาคารมีกรุณา • บ้านถั่วเย็น @ แนบเคหาสน์ • ร้านอาหารหัวหิน (โกทิ) • กาแฟข้างบ้าน • IL GELATO ITALIANO • Together Bakery & Cafe’ โรงแรม/ที่พัก • โรงแรม วรบุระหัวหิน • Let’s Sea • โรมแรม ดูน หัวหิน • เดอะร็อค หัวหิน • บ้านจันทร์ฉาย • หัวหิน มันตรา รีสอร์ท • ลูน่าฮัท รีสอร์ท กระบี่ • Nakamanda Resort & Spa • Rawee Warin Resort & Spa • A little Handmade Shop ขอนแก่น • Hug School of Creative Arts • ร้านสืบสาน • ร้านกาแฟ คอฟฟี่ เด้อ หล่า (Coffee Der La)
เชียงราย • ร้านหนังสือ herebookafe • ร้าน Coffee Dad นครราชสีมา • Hug station resort นครปฐม • ร้าน Dipchoc Cafe นครสวรรค์ • ร้าน Bitter Sweet น่าน • ร้าน Runway Coffee • ร้านคลาสสิค โมเดล น่าน • ร้านกาแฟปากซอย • ร้าน Nan Coffee Bean ปาย/แม่ฮ่องสอน • ร้านคอฟฟี่อินเลิฟ • ร้าน all about coffee • ร้านปายหวานบ้านนมสด • ร้านเล็กเล็ก • ปายวิมานรีสอร์ท พังงา • Niramaya Villa and Willness Resort • Ranyatavi Resort Phang Nga • The Sarojin เพชรบุรี • Grand Pacific Sovereign • Resort & Spa • DevaSom Hua Hin Resort ภูเก็ต • ร้านหนัง(สือ) ๒๕๒๑ ภูเก็ต • The oddy Apartment & Hotel • At Panta Phuket • Banyan Tree Phuket • Le Meridien Phuket • Millienium Ressort Patong Phuket • Novotel Phuket Resort • Patong Paragon Resort & Spa Phuket • Sheraton grand Lagana Phuket • Sri wanwa Phuket Villa • Thanyapura ระยอง • Le Vimarn Cottage ลำ�ปาง • อาลัมภางค์ เกสท์เฮ้าส์ แอนด์ มอร์ ลำ�ปาง • ร้านเอกาลิเต้ Egalite Bookshop • Lampang Art Center เลย • บ้านชานเคียง • มาเลยเด้ เกสต์เฮาท์ ลพบุรี • ซนดิคอฟฟี่ สมุทรสงคราม/อัมพวา • Baan Amphawa Resort and Spa สุโขทัย • Ananda Co.,Ltd. สุราษฎร์ธานี • Muang Samui Spa Resort • Pavilion Samui Boutique Resort • The Sunset Beach Resort and Spa Taling ngam • Nora Beach Resort Samui หาดใหญ่/สงขลา • ร้าน NIQOLO อุทัยธานี • ร้านบุ๊คโทเปีย Booktopia • Avatar Miracles
หมดปญหาหยิบนิตยสารไมทัน สมัครสมาชิกรายป คาใชจายในการจัดสง 200 บาท (12 เลม) หรือสมัครออนไลนไดที่ tcdc.or.th/creative_thailand
ขอมูลผูสมัครสมาชิก สมาชิกใหม ชื่อ นามสกุล เพศ โทรศัพท
สมาชิกเกา (ตองการตออายุสมาชิก) หญิง อายุ
ชาย
อีเมล
โทรศัพทมือถือ
อาชีพ นักเรียน ครู/อาจารย
นิสิต/นักศึกษา พนักงานบริษัท
นักออกแบบ/ครีเอทีฟ ผูประกอบการ
อาชีพอิสระ อื่นๆ โปรดระบุ
ขาราชการ/รัฐวิสาหกิจ
สาขา/อุตสาหกรรมที่เกี่ยวของกับอาชีพของทาน โฆษณา สถาปตยกรรม แฟชั่น ศิลปะการแสดง ดนตรี ภาพยนตร โทรทัศน/วิทยุการกระจายเสียง
ทองเที่ยว/โรงแรม/สายการบิน วรรณกรรม/การพิมพ/สื่อสิ่งพิมพ พิพิธภัณฑ/หองแสดงงาน ซอฟตแวร/แอนิเมชัน/วิดีโอเกม
หัตถกรรม/งานฝมือ การเงิน/ธนาคาร ทัศนศิลป/การถายภาพ อื่นๆ โปรดระบุ
อาหาร การแพทย การออกแบบ
คาปลีก/คาสง โทรคมนาคม
ที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ จังหวัด
ซอย
ถนน รหัสไปรษณีย
หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง
อำเภอ/เขต
หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง
อำเภอ/เขต
ที่อยูในการออกใบเสร็จ เหมือนที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ ซอย จังหวัด
ถนน รหัสไปรษณีย
ตองการสมัครสมาชิกนิตยสาร Creative Thailand ระยะเวลา 1 ป จำนวน 12 เลม เริ่มตั้งแตฉบับเดือน โดยยินดีเสียคาใชจายในการจัดสงเปนจำนวนเงิน 200 บาท
วิธีการชำระเงิน เช็คสั่งจายศูนยสรางสรรคงานออกแบบ พรอมใบสมัครสมาชิก โอนเงินเขาบัญชีออมทรัพย ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ เลขที่บัญชี 101-808967-0 ธนาคารกรุงเทพ สาขาสำนักงานใหญสีลม • แฟกซใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่ 02-664-7670 • หรือสงไปรษณียมาที่ ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (Creative Thailand) 622 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอรชั้น 24 ถนนสุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 • หรือแนบไฟลใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่อีเมล creativethailand@tcdc.or.th CREATIVE THAILAND I 11 สอบถามขอมูลเพิ่มเติมไดที่ 02-664-7667 ตอ 122
Local Wisdom : ภูมิความคิด
flickr.com/kat nienartowicz
เรื่อง: ชิน วังแก้วหิรัญ
CREATIVE THAILAND I 12
วิถชี วี ติ การแบ่งปันหรือซือ้ ขายแลกเปลีย่ น สินค้าระหว่างกันภายในชุมชน เมือ่ รวมเข้า กับปัจจัยเชิงกายภาพในอดีต ทีค่ นไทยมัก อาศัยอยูร่ มิ นํา้ และใช้วธิ สี ญ ั จรทางนํา้ เป็น หลัก ได้ถูกนำ�มาใช้เป็น “ต้นทุน” เพื่อ แสดงถึงเอกลักษณ์ในการดำ�เนินชีวติ ทัง้ ยังเป็นเสน่ห์สำ�คัญของวัฒนธรรมและ ชุมชนแบบไทยทีพ ่ บเห็นได้นอ้ ยลงทุกทีใน วันนี้ การหยิบยกเอาความแตกต่างที่เป็น เอกลักษณ์นี้มาปรับใช้ให้เข้ากับยุคสมัย และความต้องการของนักท่องเทีย่ วรุน่ ใหม่ ทัง้ ชาวไทยและชาวต่างชาติ ในรูปแบบของ “ตลาดนํา้ ” ทีต่ อ้ งการสัมผัสหรือเป็นส่วน หนึ่ ง ของประสบการณ์ ก ารซื้ อ ขาย แลกเปลี่ยนบนวิถีชีวิตริมนํ้า จึงกลายเป็น กลไกสำ�คัญทีช่ ว่ ยขับเคลือ่ นอุตสาหกรรม การท่องเที่ยวในปัจจุบัน
ตลาดนํ้าที่เราเห็นกันในปัจจุบัน ส่วน ใหญ่เป็นการจำ�ลองภาพของตลาดนํ้า ในอดีตเพือ่ การอนุรกั ษ์และการท่องเที่ยว โดยก่อนหน้านี้ ตลาดนํ้ามีแนวโน้ม ซบเซาลง เพราะวิถชี วี ติ ของผูค้ นค่อยๆ ปรับเปลี่ยนเคลื่อนย้ายจากสายนํ้ามา อยูบ่ นท้องถนน และตลาดบกจึงค่อยๆ เข้ามาแทนที่ตลาดนํ้า เช่นเดียวกับ ศูนย์การค้าติดรถไฟฟ้าในปัจจุบันที่ เริ่ ม เข้ า มาแทนที่ ต ลาดบกในเมื อ ง หลวง อย่างไรก็ตาม ต่อมาได้มกี ารนำ� เอาเสน่หแ์ ละเอกลักษณ์ทโี่ ดดเด่นของ การซื้ อ ขายแลกเปลี่ ย นสิ น ค้ า กั น ภายในชุมชนที่อาศัยอยู่ริมนํ้าให้กลับ มามีความน่าสนใจอีกครัง้ เพือ่ เป็นอีก หนึ่ ง กลยุ ท ธ์ ใ นการสนั บ สนุ น ความ คึกคักของการท่องเที่ยวไทย
ตลาดนํ้า (Floating Market) คือพื้นที่ ที่พ่อค้าแม่ขายพายเรือบรรทุกสินค้า มาขายในย่านที่มีชุมชนริมนํ้า โดยมัก นำ�ข้าวของที่ตนมีอยู่ในละแวกที่อยู่ อาศัยมาซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน โดยมี จุดเริ่มต้นมาจากการตั้งถิ่นฐานของ คนไทยในอดีตที่อาศัยเส้นทางนํ้าเป็น เส้นทางหลักในการคมนาคม เนือ่ งจาก มีภูมิประเทศเป็นพื้นที่ราบลุ่มอุดมไป ด้วยแม่นา้ํ ลำ�คลองหลายสาย ทัง้ ทีม่ อี ยู่ ตามธรรมชาติและที่ ขุ ด ขึ้ น เพื่ อ การ เกษตรกรรมหรือการสัญจร ตลาดนา้ํ จึง เป็นสิ่งที่อยู่คู่กบั คนไทยมาร่วมศตวรรษ
ตลาดนํ้าที่ผุดขึ้นหลายแห่งในเวลานี้ จึงเกิดขึน้ จากการปลูกสร้างเพือ่ จำ�ลอง บรรยากาศของวิถีชีวิตริมนํ้าในอดีต และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เพื่ อ สร้ า งการเรี ย นรู้ เ ชิ ง วั ฒ นธรรม อย่าง ตลาดนํ้าสี่ภาค พัทยา ที่รวม วั ฒ นธรรมไทยจากทุ ก แหล่ ง มาให้ นักท่องเที่ยวได้สัมผัสบนพื้นที่เดียว หรือ ตลาดนํ้าขวัญเรียม กรุงเทพฯ ที่ มีพระสงฆ์มาบิณฑบาตริมนํ้า ซึ่งเป็น ภาพที่พบเห็นได้ยากในเมืองหลวง
เหตุที่ผู้ค้าในตลาดนํ้าในสมัยก่อนนั้น มักเป็น “แม่คา้ ” มากกว่า“พ่อค้า” เป็น เพราะในอดีตชายไทยจะต้องถูกเกณฑ์ เข้ารับราชการ และนี่ยังเป็นเหตุผลที่ ทำ�ให้พ่อค้าส่วนใหญ่ในตลาดนํ้าเป็น “ชายชาวจีน” ด้วยความที่ชาวจีนได้ สิทธิในการเดินทางค้าขายได้ทั่วราช อาณาจักร โดยที่ไม่ต้องเข้าเวรรับ ราชการเหมือนชายไทย ตลาดนํ้าจึง เป็ น พื้ น ที่ ก ารค้ า ที่ มี ผู้ ห ญิ ง ไทยและ ผู้ชายจีนเป็นประชากรหลัก
แม้จะขึน้ ชือ่ ว่าเป็น “ตลาดเช้า” แต่ชว่ ง เวลาที่ดีที่สุดที่จะได้สัมผัสวิถีชุมชนที่ แทบจะไม่แปรเปลี่ยนไปจากอดีตของ “ตลาดนํา้ ดำ�เนินสะดวก” คือช่วงสายๆ ของวันที่เป็นช่วงตลาดวาย เพราะ เป็นเวลาที่พ่อค้าแม่ค้ามีปฏิสัมพันธ์ ต่อกันฉันคนในชุมชนอย่างแท้จริง ทำ� ให้ตลาดนํ้าดำ�เนินสะดวกยังคงเป็น ภาพแทนของตลาดนํ้าไทยดั้งเดิมที่ เปีย่ มไปด้วยมนต์ขลัง และเป็นจุดหมาย ปลายทางการท่องเที่ยวระดับโลก CREATIVE THAILAND I 13
ห่างจากตลาดนํ้าดำ�เนินสะดวกไป 15 กิโลเมตร เป็นทีต่ งั้ ของ “ตำ�บลอัมพวา” ต้นแบบความสำ�เร็จของเศรษฐกิจชุมชน (Community Economy) ทีใ่ ช้ตลาดนํา้ เป็ น ต้ น ทุ น ที่ ส ร้ า งความได้ เ ปรี ย บ ช่วยพลิกฟืน้ ชุมชนทีค่ รัง้ หนึง่ เป็นเพียง เมืองร้างอันไร้ความหวัง ให้กลายเป็น ศูนย์กลางคมนาคมทางนํ้า ด้วยการ บริหารชุมชนอย่างเข้าใจในอัตลักษณ์ ท้องถิน่ การตลาดทีต่ อบโจทย์กลุม่ ลูกค้า คนเมือง ไปจนถึงการวางยุทธศาสตร์ ให้ ตั ว เองแตกต่ า งจากตลาดนํ้ า ดำ�เนินสะดวกในทุกมิติ โดยเฉพาะ การวางตำ�แหน่งแบรนด์อมั พวาให้เป็น “ตลาดนา้ํ ยามเย็น” เป็นเจ้าแรกในตลาด ทีป่ ระสบความสำ�เร็จอย่างมากจนเกิด ปรากฏการณ์ใหม่ที่เรียกว่า “อัมพวา โมเดล” เพือ่ กระตุน้ การท่องเทีย่ วตลาดนา้ํ ในเมือง กรุง ที่ตลาดบกและห้างสรรพสินค้า กลายเป็นทางเลือกหลักในการจับจ่าย ใช้สอย ปีที่ผ่านมาการท่องเที่ยวแห่ง ประเทศไทยได้จดั งาน “ตลาดนา้ํ วิถไี ทย” ด้ ว ยการเนรมิ ต พื้ น ที่ บ ริ เ วณคลอง ผดุงกรุงเกษมจากการรวมตัวกันของ 5 ตลาดบก 6 ตลาดนํ้า สำ�หรับการ จัดจำ�หน่ายสินค้าของดีของอร่อยจาก หลายเขต ร่วมด้วยกิจกรรมหวนคืนสู่ อดีตกับการละเล่นท้องถิ่น ไปจนถึง การบริการให้นักท่องเที่ยวได้ล่องเรือ ชมสถานที่อันทรงคุณค่าของสองฝั่ง คลอง ถือเป็นการส่งเสริมการท่องเทีย่ ว เชิงอนุรกั ษ์ทรี่ จู้ กั หยิบคุณค่าเฉพาะตัว ของตลาดนํ้ามาสร้างกลิ่นอายท้องถิ่น ให้แก่นักท่องเที่ยวในบรรยากาศเมือง หลวงได้อย่างน่าสนใจ
ที่มา: บทความ “ตลาดนํ้า” โดย สารานุกรมไทยสำ�หรับ เยาวชน เล่มที่ 28 จาก kanchanapisek.or.th / บทความ “อัมพวา..โมเดลสร้างสรรค์ เศรษฐกิจชุมชน” โดย สุกญั ญา ศุภกิจอำ�นวย จาก trutheveryeveryday.blogspot.com
flickr.com/Anna & Michal
Cover Story : เรื่องจากปก
เรื่อง: มนฑิณี ยงวิกุล
เหตุระเบิดกลางกรุงอิสตันบูลและจาการ์ตาตั้งแต่เริ่มต้นปี 2016 ที่ต่อเนื่องกับ เหตุโจมตีกรุงปารีสถึงสองครั้งในปีที่ผ่านมา ทำ�ให้รัฐบาลของประเทศต่างๆ ตั้ง กำ�แพงรักษาความปลอดภัยขัน้ สูงสุดเพือ่ รักษาชีวติ พลเรือน ขณะเดียวกันก็ตอ้ ง ประคับประคองอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่เป็นความหวังในการหารายได้ท่ามกลาง การฟื้นตัวอันเปราะบางของเศรษฐกิจโลก ด้วยมาตรการที่ถูกสร้างสรรค์มาเพื่อ ขับเคลื่อนให้นักท่องเที่ยวยังคงมาเยี่ยมเยือนอย่างไม่เสื่อมคลาย
CREATIVE THAILAND I 14
นายโนเวียนดิ มะกะลาม (Noviendi Makalam) โฆษกกระทรวงท่องเที่ยวอินโดนีเซียคาดว่า ยอดนักท่องเทีย่ วทีเ่ ดินทางมาเยือนจาการ์ตาน่าจะลดลงในช่วง 2-3 เดือน สอดคล้องกับการคาดการณ์ ของเทอเรนซ์ ชอง (Terence Cheong) ผู้อำ�นวยการบริษัทโอเรียนต์ทราเวลแอนด์ทัวร์ส ที่เชื่อว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นน่าจะส่งผลในระยะสั้น ต่างจากตอนที่เกิดเหตุระเบิดในบาหลีเมื่อปี 2002 ที่ส่ง ผลกระทบยาวนาน นอกจากนี้ ความไม่สงบทางการเมืองก็ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวเช่นกัน แต่เป็น ผลกระทบเฉพาะพื้นที่ เพราะนักท่องเที่ยวยังมีทางเลือกในการเดินทางไปยังพื้นที่อื่นๆ ของเมืองหรือ ประเทศนัน้ ๆ อย่างเช่นกรณีของประเทศไทยทีม่ กี ารปฏิวตั แิ ละการประท้วงยาวนาน รวมทัง้ การปิดสนาม บินสุวรรณภูมิ ส่งผลให้ยอดจองโรงแรมในกรุงเทพฯ ได้รบั ผลกระทบมากทีส่ ดุ ขณะทีย่ อดจองโรงแรมทัว่ ประเทศ โดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยวสำ�คัญ เช่น ภูเก็ต และเกาะสมุย กลับได้รับผลกระทบไม่มาก
จํานวนเหตุการณ์ก่อการร้าย
จำ�นวนเหตุการณ์ก่อการร้ายตั้งแต่ปี 2000-2014 16,000 14,000 12,000 10,000 8,000 6,000 4,000 2,000 0
Rest of the world Afghanistan, Pakistan and Syria Nigeria Iraq
2000 2001 2002 2003 2004 2005 2006 2007 2008 2009 2010 2011 2012 2013 2014 ที่มา: Global Terrorism Database (GTD)
ปี
90
Boston Marathon Bombing Murder Of Lee Rigby (London)
Greater London United Kingdom New York United States Greater Madrid Spain
Eurozone Recession
G20 Recession
Glasglow International Airport Attack
London 7/7 Bombings
100
Madrid Train Bombings
Early 2000S Recession 9/11 Attacks (New York)
อัตราการเข้าพักของโรงแรมในพื้นที่ก่อการร้าย
อัตราการเข้าพัก (%)
แม้ว่าในรอบ 15 ปีที่ผ่านมาเหตุก่อการร้ายจะ เพิ่มจำ�นวนขึ้นอย่างก้าวกระโดด โดยเฉพาะในปี 2014 ที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึงร้อยละ 54 ด้วย จำ�นวนเหตุการณ์กว่า 10,000 ครั้งและยอด ผู้เสียชีวิตมากกว่า 16,000 ราย1 แต่เมื่อเทียบกับ วิ ก ฤตการณ์ เ ศรษฐกิ จ ที่ ส่ ง ผลต่ อ รายได้ ข อง นักเดินทางโดยตรงนั้น พบว่าความหวาดกลัว จากการก่อการร้ายฟืน้ ตัวได้เร็วกว่าเงินในกระเป๋า ที่หดหาย จากรายงานของดีลอยท์ แอลแอลพี (Deloitte LLP) ที่ศึกษาสถานการณ์อุตสาหกรรมท่องเที่ยว ในช่วงปี 2001-2014 พบว่าการท่องเทีย่ วของโลก มีความอ่อนไหวต่อภาวะเศรษฐกิจตกตาํ่ มากทีส่ ดุ แม้ว่าในช่วง 15 ปี นับตั้งแต่ปี 2000 จะมีการ ก่อการร้ายเพิ่มขึ้นถึง 5 เท่า แต่การฟื้นตัวของ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวจากการก่อการร้ายก็ใช้ เวลาน้อยลงเรื่อยๆ นับตั้งแต่เหตุวินาศกรรมตึก เวิลด์เทรด 911 เมือ่ ปี 2001 ทีน่ วิ ยอร์ก สหรัฐอเมริกา ผนวกกับการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ จึงทำ�ให้ยอด จองโรงแรมในตลาดสหรัฐอเมริกาใช้เวลาฟื้นตัว นานถึง 45 เดือน ขณะที่การระเบิดรถไฟใน กรุงมาดริดของสเปน ในปี 2014 ใช้เวลาในการ ฟื้นตัวประมาณ 12 เดือน ส่วนการระเบิดใน กรุงลอนดอนใช้เวลา 9 เดือน และการระเบิดใน การแข่งขันมาราธอนที่บอสตัน สหรัฐอเมริกา มี ผลกระทบจำ�กัดเฉพาะในระดับเมืองเท่านั้น ล่าสุดรัฐบาลอินโดนีเซียยังคงยึดมัน่ เป้าหมาย ในการเพิม่ นักท่องเที่ยวในปี 2019 เป็น 20 ล้านคน เช่นเดิมภายหลังจากเกิดการโจมตีกรุงจาการ์ตา เมื่อวันที่ 14 มกราคมที่ผ่านมา หลังจากการวาง ระเบิดกลางแหล่งท่องเที่ยวในกรุงอิสตันบูลของ ตุรกีเพียง 2 วัน ซึ่งนับเป็นการเปิดศักราช 2016 ด้วยวินาศกรรมต่อเนื่องจากการโจมตีกรุงปารีส ฝรั่งเศส เมื่อปลายปี 2015
80 70 60 50
Jan July Jan July Jan July Jan July Jan July Jan July Jan July Jan July Jan July Jan July Jan July Jan July Jan July Jan July
ปี
2001 2002 2003 2004 2005 2006 2007 2008 2009 2010 2011 2012 2013 2014 ที่มา: STR Global and Deloitte Analysis
1 ข้อมูลจาก Global Terrorism Index 2014 จากฐานข้อมูล Global Terrorism Database (GTD) ที่จัดทำ�โดยสถาบันศึกษาและการรับมือการก่อการร้าย (National Consortium for the
Study of Terrorism and Responses to Terrorism: START) ของมหาวิทยาแมริแลนด์ (University of Maryland) ประเทศสหรัฐอเมริกา CREATIVE THAILAND I 15
การฟื้ น ตั ว ที่ ร วดเร็ ว ขึ้ น นั้ น มาจากหลาย สาเหตุ ที่ ช่ ว ยผลั ก ดั น อุ ต สาหกรรมท่ อ งเที่ ย ว ตั้งแต่มาตรการของรัฐบาลที่สามารถตอบสนอง ต่ อ เหตุ ก ารณ์ ก่ อ การร้ า ยที่ ร วดเร็ ว และทรง ประสิทธิภาพมากขึน้ การออกข้อปฏิบตั เิ พือ่ ความ ปลอดภั ย ในการเดิ น ทางที่ ล ดโอกาสในการ ก่อการร้ายที่สนามบิน ข่าวสารและข้อมูลเพื่อ การตัดสินใจที่ทันเหตุการณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ราคาทีด่ งึ ดูดของสายการบินโลว์คอสต์ (Low-Cost Carrier: LLC) ล้วนแล้วแต่เป็นแรงส่งสำ�คัญทีท่ �ำ ให้ ตลาดท่องเทีย่ วกลับมาเป็นปกติอกี ครัง้ ดังจะเห็น ว่าในรอบทศวรรษที่ผ่านมา จำ�นวนนักท่องเที่ยว ยังคงมีการเดินทางเพิม่ ขึน้ อย่างต่อเนือ่ งและทะลุ 1 พันล้านคนเป็นครั้งแรกตั้งแต่ในปี 2012 พร้อม กับการเติบโตของสายการบินโลว์คอสต์แม้จะได้ ส่วนต่างกำ�ไรไม่ถึงร้อยละ 3 แต่ความนิยมที่เพิ่ม ขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งในประเทศพัฒนาแล้วและ กำ�ลังพัฒนา ก็ทำ�ให้สายการบินประเภทนี้เข้ามา ครองส่วนแบ่งตลาดการบินโลกถึงร้อยละ 25
Norway Attack 22/07/2011
whitenationnetwork.com
Boston Marathon Bombings 15/04/2013
September 11 Attacks 911 New York 11/09/2001 Madrid Train Bombings 11/03/2004
911-conspiracy-theories.weebly.com
จำ�นวนนักท่องเที่ยวที่ออกเดินทาง (International Tourist Arrivals) ปี
จำ�นวนผู้โดยสารที่คาดว่าจะเดินทางโดยเครื่องบินในปี 2034
จำ�นวนนักท่องเที่ยว (ล้านคน)
ประเทศ
จำ�นวนผู้โดยสาร (ล้านคน) 856 559 266 183 170
ที่มา: UNWTO World Tourism Barometer
ที่มา: IATA CREATIVE THAILAND I 16
Istanbul Bombings 15 /11/2003 US Embassy Bombing In Ankara 01/02/2013 Istanbul Bombing 12/01/2016
London Bombings 7/07/2005 lancashiretelegraph.co.uk
Malaysian Airlines Missing 2014 cnn.com
Paris Attacks 13/11/2015
Bangkok Bombings 17/08/2015
Mumbai Train Bombings 11/07/2006 26/11/2008 Sharm el-Sheikh Attack 23/07/2005 Cairo Terrorist Attacks 22/02/2009
Bali Bombings 12/10/2002 Jakarta Attack 14/01/2016
todayonline.com
นอกจากนี้ สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่าง ประเทศหรือไออาตา (International Air Transport Association: IATA) ยังได้คาดการณ์จ�ำ นวนผูโ้ ดยสาร ที่เดินทางในอีก 20 ปีข้างหน้าว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 7.3 พันล้านคนในปี 2034 โดยเพิม่ ขึน้ เป็นสองเท่า จากในปัจจุบันที่ 3.3 พันล้านคน ทั้งนี้จำ�นวน ผูโ้ ดยสารชาวจีนจะมีจ�ำ นวนเพิม่ ขึน้ แซงหน้าชาว อเมริกนั และทำ�ให้ตลาดการบินในสหรัฐอเมริกา เสียแชมป์ให้กับจีนภายในปี 2030 “เป็นเรื่องน่าตื่นเต้นที่ในอีก 20 ปีข้างหน้า จะมีคนอีกเท่าตัวมีโอกาสเดินทางด้วยเครื่องบิน ซึ่งจะช่วยสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้กับคนนับ ล้าน จากในปัจจุบันที่อุตสาหกรรมการบินมีการ จ้างงาน 58 ล้านคนและมีมูลค่าทางเศรษฐกิจถึง 84 ล้านล้านบาท (2.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ) จะเพิม่ การจ้างงานเป็น 105 ล้านคน และมีมลู ค่า
ถึง 210 ล้านล้านบาท (6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ)” โทนี่ ไทเลอร์ ผูอ้ �ำ นวยการและประธานกรรมการ บริหารไออาตากล่าว อย่างไรก็ตาม ไออาตาระบุว่าการเพิ่มขึ้น ของจำ�นวนผู้โดยสารการบินนั้นประเมินจากการ เติบโตของจำ�นวนประชากร รายได้ที่สูงขึ้นตาม การพัฒนาทางเศรษฐกิจในอนาคต และแนวโน้ม ราคาของการเดินทางที่ลดลง แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับ นโยบายของรัฐบาลทีจ่ ะสนับสนุนให้อตุ สาหกรรม การบินมีการเติบโตจากการขยายเส้นทางการบิน และการพั ฒ นาทางเศรษฐกิ จ ที่ นำ � ไปสู่ ค วาม สามารถในการเดินทางได้ตามต้องการ ปัจจุบัน รัฐบาลในหลายประเทศต้องหาทางรับมือกับ เหตุการณ์กอ่ การร้ายทีก่ �ำ ลังคุกคามอุตสาหกรรม ท่องเที่ยวเพื่อไม่ให้เศรษฐกิจต้องเสียหายมากไป กว่านี้
CREATIVE THAILAND I 17
disque9.com.br
ดุลยภาพความปลอดภัย บทความเรื่อง “The Effects of Terrorism on the Travel and Tourism Industry” ทีต่ พี มิ พ์ในวารสาร International Journal of Religious Tourism and Pilgrimage 2 ระบุว่าสื่อและแคมเปญต่างๆ ใน การสร้างการรับรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยและ ทางเลือกอืน่ ๆ ของแหล่งท่องเทีย่ ว เป็นเครือ่ งมือ สำ�คัญในการประคองอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ซึ่ ง เป็ น สิ่ ง ที่ ฝ่ า ยส่ ง เสริ ม การท่ อ งเที่ ย วและ รักษาความปลอดภัยจะต้องหาทางร่วมกันเพื่อ สร้ า งความเชื่ อ มั่ น ในชนิ ด ที่ ไ ม่ ตึ ง เครี ย ดจน ส่งผลเสียแทน ภายหลังจากทีม่ กี ารโจมตีกรุงปารีสและการ สืบพบว่าเมืองโมเลนบีก (Molenbeek) ในเบลเยียม เป็นแหล่งกบดานของผู้ก่อการร้าย รัฐบาลกลาง จึงดำ�เนินมาตรการฉุกเฉินปิดกรุงบรัสเซลส์เพื่อ ค้นหาตัวผู้ต้องสงสัยและป้องกันจุดเสี่ยงที่จะ เป็ น เป้ า หมายของการก่ อ การร้ า ย (Brussels Lockdown) ตัง้ แต่บริการขนส่งสาธารณะ โรงเรียน และร้านค้าเป็นเวลา 6 วัน พร้อมประกาศยกระดับ ความเสี่ยงภัยขึ้นเป็นระดับ 4 ซึ่งเป็นระดับสูง
ที่สุด ก่อนที่จะลดลงเหลือระดับ 3 ในวันที่ 26 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ซึ่งมีการประเมินความ เสียหายทีเ่ กิดขึน้ ไม่ตาํ่ กว่า 1,900 ล้านบาทต่อวัน (50 ล้านยูโร) นอกจากนี้ ภาพของกองกำ�ลังทหารกลาง จัตรุ สั กรองด์ปลาซ (Grand Place) ทีแ่ ม้วา่ จะสร้าง ความรูส้ กึ ปลอดภัย แต่ส�ำ หรับองค์กรส่งเสริมการ ท่องเที่ยวเขตปกครองพิเศษบรัสเซลส์-มหานคร (Visit.brussels) มองว่ า ภาพดั ง กล่ า วทำ � ให้ นักท่องเที่ยวเข้าใจว่าบรัสเซลส์ก�ำ ลังตกอยู่ในภาวะ สงคราม ควรหลีกเลี่ยงการเดินทางมาท่องเที่ยว เมื่อวันที่ 7 มกราคมที่ผ่านมา รูดิ เวอร์วูร์ต (Rudi Vervoort) ประธานมนตรีเขตปกครอง พิเศษบรัสเซลส์-มหานคร (Minister-President of the Brussels-Capital Region) และแพทริก บอนติก (Patrick Bontinck) ประธานกรรมการ บริหาร Visit.brussels ร่วมกันแถลงข่าวแคมเปญ ใหม่ลา่ สุดเพือ่ พลิกฟืน้ ภาพลักษณ์การท่องเทีย่ วที่ ชือ่ ว่า #CallBrussels โดยจัดตัง้ ตูโ้ ทรศัพท์สเี หลือง ทีว่ างกระจายไปตามจุดต่างๆ เพือ่ ให้นกั ท่องเที่ยว สามารถโทรศัพท์หาอาสาสมัครชาวเบลเยียมให้ ช่วยอธิบายถึงสถานการณ์ที่เป็นอยู่ ด้วยเหตุที่ว่า
คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่น่าจะเป็นคนบอกเล่าถึง ความเป็นอยู่ของที่นี่ได้ดีกว่าภาพของกองกำ�ลัง บนท้องถนนที่ถูกสื่อนำ�เสนอออกไป และชาว เบลเยียมเองควรจะเป็นส่วนหนึ่งในการกอบกู้ เศรษฐกิจของเมือง “โลกทุกวันนี้เน้นเรื่องของภาพลักษณ์และ การสื่อสาร แคมเปญนี้ไม่ได้พยายามต่อต้าน มาตรการรักษาความปลอดภัยที่มีอยู่ในปัจจุบัน แต่เป็นเรื่องสำ�คัญมากที่ต้องมีการลดช่องว่าง ระหว่างภาพลักษณ์กับสถานการณ์จริง ซึ่งต้องมี การหารืออย่างจริงจังเรื่องระดับการเตือนภัยกับ ความเข้าใจของคนทัว่ ไป” ประธานมนตรีฯ กล่าว อย่างไรก็ตาม ถ้าหากแคมเปญต่างๆ ได้ผล และ การอ้างอิงตามรายงานของดีลอยท์ แอลแอลพี ฉบับดังกล่าวเป็นจริง อาการเงียบเหงาของการ ท่องเทีย่ วทีป่ กคลุมบรัสเซลส์และปารีสน่าจะกลับ สู่สภาวะปกติได้ในไม่ช้า ภายใต้การประกาศ ภาวะฉุกเฉินเป็นเวลา 3 เดือน และการจัดวาง กำ�ลังทหารและตำ�รวจเกือบ 10,000 นายรอบๆ กรุงปารีสเพื่อรักษาความปลอดภัย
2 วารสาร International Journal of Religious Tourism and Pilgrimage จัดทำ�โดย Dublin Institute of Technology, Cathal Brugha Campus, Dublin, Ireland. CREATIVE THAILAND I 18
แต่จากการวิเคราะห์ของสื่อหลายๆ สำ�นัก กล่าวว่า อุตสาหกรรมท่องเทีย่ วในปารีสและยุโรป ยังอยูใ่ นความเสีย่ งมากกว่าทีจ่ ะฟืน้ ตัวได้รวดเร็ว เหมือนเหตุการณ์ในปีอนื่ ๆ เนือ่ งจากรูปแบบของ การก่ อ การร้ า ยที่ เ ปลี่ ย นจากการบุ ก เดี่ ย วมา เป็นการวางแผนโจมตีหลายแห่งพร้อมกัน มีการ วางแผนผ่านเครื่องมือสื่อสารอันสลับซับซ้อน และผูก้ อ่ การร้ายแฝงมากับกลุม่ ผูอ้ พยพ จึงทำ�ให้ มาตรการรักษาความปลอดภัยนั้นทับซ้อนลงบน มาตรการรับมือวิกฤตผู้อพยพ และทำ�ให้การฟื้น ตัวของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นเรื่องที่ต้อง อาศัยเวลามากขึ้นกว่าเดิม เมื่อวันที่ 4 มกราคมที่ผ่านมา ทางการ สวีเดนประกาศข้อบังคับใหม่ให้มีการตรวจเช็ก บั ต รประจำ � ตั ว ผู้ โ ดยสารของการเดิ น ทางทุ ก ประเภทที่เข้าสู่สวีเดน เนื่องจากมีผู้อพยพที่เดิน ทางเข้าสวีเดนแล้วถึง 160,000 คน โดยส่วนใหญ่ มาจากภาคตะวันออกกลางและเดินทางโดยรถไฟ ต่อจากเดนมาร์ก ข้อบังคับดังกล่าวทำ�ให้เอสเจ (SJ) ผู้ให้บริการรถไฟแห่งชาติในสวีเดนประกาศ ยกเลิกเส้นทางจากเดนมาร์กมายังสวีเดนชัว่ คราว เนือ่ งจากบริษทั ไม่มกี �ำ ลังจะดำ�เนินการตรวจเช็ก ผู้โดยสารได้อย่างรวดเร็ว น่าจะทำ�ให้เกิดความ คับคัง่ บริเวณสถานี จึงยกเลิกการขายตัว๋ ชัว่ คราว จนกว่าจะหาทางแก้ปัญหาความสะดวกของการ เดินทางไปพร้อมๆ กับการตรวจเช็กตามมาตรการ รักษาความปลอดภัยได้ ล่าสุดเมื่อสวีเดนตั้ง กำ � แพงตรวจคน ประเทศนอร์ เ วย์ ก็ ป ระกาศ มาตรการเพื่อป้องกันคนไหลจากสวีเดนมายัง นอร์เวย์ เช่นเดียวกับที่เดนมาร์กก็ต้องยกระดับ
ความเข้มงวดกับผูเ้ ดินทางจากเยอรมนี ท้ายทีส่ ดุ สำ�นักข่าวบีบซี รี ายงานว่า คณะกรรมาธิการสหภาพ ยุโรป (European Commission) กำ�ลังทบทวน การแก้ไขระเบียบการเดินทางแบบเสรีภายใต้ ความตกลงเชงเกน (Schengen Agreement)3 เพื่อให้มีการตรวจเช็กบัตรประจำ�ตัวก่อนการ เดิ น ทางทุ ก ครั้ ง ทั้ ง พลเมื อ งสหภาพยุ โ รปและ ผู้เดินทาง อีกทั้งรัฐบาลเบลเยียมกำ�ลังพิจารณา ที่จะยกเลิกการขายซิมโทรศัพท์ชั่วคราวที่ไม่ต้อง มีการลงทะเบียน ขณะเดี ย วกั น กระทรวงความมั่ น คงแห่ ง มาตุภูมิ (Department of Homeland Security) กำ�ลังพิจารณายกเลิกโปรแกรมยกเว้นการขอวีซา่ เดินทางเข้าสหรัฐอเมริกา (US Visa Waiver Program: VWP) ให้กับ 38 ประเทศที่ส่วนใหญ่ อยู่ในทวีปยุโรปเพื่อลดความเสี่ยงเช่นกัน การตรวจเช็กประวัติให้มากที่สุดดูจะเป็น หนทางที่รัฐบาลยุโรปนำ�มาใช้ในการรักษาความ ปลอดภัยทีส่ ง่ ผลกระทบต่อการดำ�รงชีวติ และการ ท่องเที่ยวน้อยกว่าบางข้อเสนอที่มาแบบสุดขั้ว เช่น การดักฟังการสื่อสารหรือถอดรหัสข้อความ ออนไลน์เพือ่ ป้องกันการก่อการร้าย ซึง่ มีประเด็น ให้โต้แย้งเรื่องการรุกลํ้าความเป็นส่วนตัว ดังนั้น มาตรการป้องกันทีท่ ยอยออกมาจึงไม่เพียงแต่ตอ้ ง ทำ�ความเข้าใจได้ง่าย ไม่สร้างความตื่นตระหนก แต่ยังต้องเห็นผลในการป้องกันด้วย ส่วนที่เหลือ ก็ เ ป็ น การตั ด สิ น ใจของนั ก เดิ น ทางว่ า จะทิ้ ง ประสบการณ์ไปกับความหวาดกลัว หรือจะออก เดินทางไปกับความเสี่ยงที่ใกล้จะเป็นเรื่องปกติ ของชีวิตในยุคนี้
3 ความตกลงเชงเกน (Schengen Agreement) เป็นความตกลงระหว่างประเทศส่วนใหญ่ในทวีปยุโรป อันให้สัตยาบัน
ทีม่ า: บทความ “การปกครองท้องถิน่ ในประเทศสหพันธรัฐเบลเยียม” โดย ศาสตราจารย์พเิ ศษนรนิติ เศรษฐบุตร วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิน่ สถาบันพระปกเกล้า จาก kpi.ac.th / งานวิจยั “The Effects of Terrorism on the Travel and Tourism Industry” โดย International Journal of Religious Tourism and Pilgrimage จาก arrow.dit.ie / บทความ “A Month on from Terror Attacks, Tourist Paris Has Little Christmas Cheer” โดย John Lichfield จาก independent.co.uk / บทความ “As France and Belgium Strengthen Security, a Classic Debate Arises” โดย Steven Erlanger และ Kimiko De Freytas-Tamura จาก nytimes.com / บทความ “Brussels Launches Tourism PR Offensive after Terror Lockdown” จาก euractiv.com / บทความ “Global Terror Attack Deaths Rose Sharply in 2013, Says Report” โดย Helier Cheung จาก bbc.com / บทความ “How Tourism Hotspots Can Bounce Back After Terrorist Attacks โดย Tiffany Misrahi จาก weforum.org / บทความ “IATA Economics” จาก iata.org / บทความ “In a World Used to Terror, Travel Industry Still Faces Risks After Paris Attacks” โดย David Z. Morris จาก fortune.com / บทความ “It’s Basically Every Country for Itself Now” จาก cbsnews.com / บทความ “Jakarta Terror Attacks Could Hit Jokowi’s Plan to Double Tourism Numbers” จาก cnbc.com / บทความ “Norway to Step Up Border Controls: PM” จาก globaltimes.cn CREATIVE THAILAND I 19
flickr.com/Richard
เมื่อ ปี 1985 สาระสำ�คัญเป็นการอนุญาตให้สมาชิกในกลุ่มสามารถเดินทางระหว่างกันโดยไม่ต้องถือหนังสือเดินทาง ซึ่ง ครอบคลุม 26 ประเทศในปัจจุบัน
Insight : อินไซต์
nbcnews.com
เรื่อง: มนฑิณี ยงวิกุล
รูปแบบการก่อการร้ายในกรุงปารีสที่กระจายหลายจุดและพุ่งเป้าไปยังประชาชนในพื้นที่แตกต่างกัน ทำ�ให้หน่วยงาน ด้านการรักษาความปลอดภัยออกมายอมรับว่า ประชาชนต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกัน ตั้งแต่การช่วยระแวดระวัง ไปจนถึงการเรียนรู้ที่ปกป้องตัวเอง “If You See Something, Say Something™” เป็นหนึ่งในแคมเปญของ สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นตัวอย่างของการเชิญชวนให้พลเมืองยุคใหม่มีส่วนใน การป้องกันเหตุการณ์การก่อการร้ายที่กำ�ลังเกิดขึ้นทั่วโลก โดยกระทรวง ความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ (Department of Homeland Security) ได้ร่วมกับ กระทรวงยุติธรรม (Department of Justice) จัดทำ�แคมเปญดังกล่าวมา ตั้งแต่ในปี 2010 เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงพฤติกรรมและสิ่งบ่งชี้การ ก่อการร้าย และสามารถช่วยเป็นหูเป็นตาให้กับรัฐบาลกลางและรัฐบาล ท้องถิ่นในการแจ้งเบาะแสที่สำ�คัญ จิม แมคโดเนล (Jim McDonnell) นายอำ�เภอประจำ�ลอสแอนเจลิส เคาน์ตี้ กล่าวว่า หลังจากที่เกิดเหตุในกรุงปารีส การกระตุ้นให้สาธารณชน ช่วยรายงานสิ่งที่พวกเขาเห็นนั้นเป็นเรื่องสำ�คัญมาก เพราะในบางพื้นที่ที่มี ขนาดใหญ่ การบังคับใช้กฎหมายหรือกำ�ลังเจ้าหน้าที่อาจจะไม่ครอบคลุม จำ�เป็นต้องอาศัยชุมชนในการช่วยจับตาและเรียนรู้ที่จะป้องกันตนเอง ในสหภาพยุโรปก็มีการออกประกาศคำ�แนะนำ�การดูแลตัวเองเช่นกัน อย่างเช่นในสหราชอาณาจักรที่สภาผู้นำ�ตำ�รวจแห่งชาติ (National Police Chief Council) ได้จัดทำ�วิดีโอแนะนำ�การปฏิบัติตัวเมื่อเจอเหตุการณ์บุกยิง ใน 3 ขั้นตอนคือ “วิ่ง ซ่อน แจ้ง” (Run Hide Tell) เพราะการแกล้งตายไม่ใช่ ทางออกทีด่ แี ละอาจจะตกเป็นเป้านิง่ ในการสังหาร ดังนัน้ ถ้าหากมีโอกาสให้ ผู้ประสบภัยวิ่งหนีออกจากอาคารหรือบริเวณดังกล่าว ในกรณีที่ติดอยู่ใน
อาคารให้หาที่หลบซ่อนตัวและถ่วงเวลาไม่ให้ถูกพบตัวโดยง่ายด้วยการใช้ เฟอร์นิเจอร์ต่างๆ มาขวางประตูห้องพร้อมปิดไฟและเสียงอุปกรณ์สื่อสาร ทุกชนิด และท้ายสุด คือการโทรศัพท์แจ้งเจ้าหน้าที่ทันทีเมื่อพ้นออกจากที่ เกิดเหตุและพยายามกันไม่ให้คนอื่นๆ เข้าไปในอาคาร ซึ่งแตกต่างไปจาก สหรัฐอเมริกา ทางสำ�นักงานเอฟบีไอ ได้เผยแพร่วดิ โี อแนะนำ�การปฏิบัติตนของผู้อยู่ใน สถานการณ์ท่ถี ูกโจมตีใน 3 ขั้นตอน โดยคล้ายกันในสองข้อแรก คือการ วิ่งหนีและหลบซ่อน แต่สำ�หรับข้อสุดท้าย ถ้าหากวิ่งหนีหรือซ่อนไม่ได้ ก็ แนะนำ�ให้ลกุ ขึน้ มาปกป้องตัวเองด้วยการค้นหาอาวุธใกล้มอื เพือ่ “ต่อสู”้ (Fight) เพราะการใช้หลักปฏิบัติเดิมๆ ที่ให้ผู้อยู่ในเหตุการณ์แจ้งตำ�รวจแล้วรออยู่ นิ่งๆ จนกว่าเจ้าหน้าที่จะมาถึงนั้นอาจใช้ไม่ได้แล้วในสถานการณ์ปัจจุบัน มาร์ค ฟิชเชอร์ (Mark Fisher) หัวหน้าส่วนรักษาความปลอดภัยในชุมชน มหาวิทยาลัยโรเชสเตอร์ (Department of Public Safety, University of Rochester) กล่าวว่า เจ้าหน้าทีท่ เี่ พิง่ เข้าทำ�งานในมหาวิทยาลัยจะได้รบั การ อบรมเรื่องแนวทางการปฏิบัติตัวต่อผู้ก่อการร้ายทั้ง 3 ขั้นตอนนี้ พร้อมกับ มีการร่วมมือกับสำ�นักงานตำ�รวจโรเชสเตอร์ในการซักซ้อมแผนการรับมือ อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งเขากล่าวว่า “อาจจะดูน่ากลัวสำ�หรับคนทั่วไป แต่สิ่งที่ น่ากลัวกว่า คือเหตุการณ์ก่อการร้ายที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง การสื่อสารกับชุมชน ให้เข้าใจวิธีการรับมือเหล่านี้จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดเท่าที่ทำ�ได้”
CREATIVE THAILAND I 20
วิ่ง
ซ่อน
วิ่ง
แจ้ง
ซ่อน
ต่อสู้
ที่มา: บทความ “If There’s An Active Shooter at Workplace, FBI Says Run, Hide or Fight” โดย Cristina Domingues (3 ธันวาคม 2015) จาก twcnews.com / บทความ “Police terror video advises public to ‘run, hide, tell’” (18 ธันวาคม 2015) จาก bbc.com/news CREATIVE THAILAND I 21
Creative Startup : เริ่มต้นคิด
สร้างรายได้จากประสบการณ์ เรื่อง: ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ / ภาพ: ชาคริต นิลศาสตร์
ในยุคที่ข้อมูลข่าวสารและธุรกรรมทางการเงินเกิดขึ้นง่ายเพียงคลิก การคมนาคมสะดวกรวดเร็ว และธุรกิจสายการบินทุก ระดับต่างแข่งขันกันอย่างดุเดือด ทำ�ให้โอกาสในการออกท่องเที่ยวเปิดกว้างกว่าที่เคย และไม่ได้จำ�กัดอยู่เพียงในกลุ่มคนที่มี เงินเก็บหรือบางช่วงอายุอีกต่อไป การออกเดินทางเพื่อเรียนรู้จากประสบการณ์จริงกลายเป็นหนึ่งในเป้าหมายชีวิตที่คนยุค ใหม่ต่างตั้งเป้าหมาย พร้อมๆ กับที่ผู้คนมีแนวโน้มจะหันมาท่องเที่ยวด้วยตนเองกันมากขึ้น ด้วยเทคโนโลยีและการเชี่อมต่อที่ ทำ�ให้การแบ่งปันข้อมูลและเทคนิคการเที่ยวผ่านสื่อสังคมออนไลน์ กลายเป็นผู้ช่วยชั้นดีในการเดินทาง นั่นจึงเป็นโอกาสใหม่ที่ผู้ผลิตคอนเทนท์ออนไลน์ด้านการท่องเที่ยวจะ สร้างรายได้จากข้อมูล ความรู้ และประสบการณ์ เช่นเดียวกับ คุณก้อ วรุตม์ โอนพรัตน์วิบูล ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์และเฟซบุ๊กเพจ “เที่ยวเอง” ที่เกิดขึ้น จากความชอบในการท่องเที่ยว และปัจจุบันมีจำ�นวนแฟนเพจมากกว่า 80,000 คน ประสบการณ์ที่ขายได้ “ตอนเด็กๆ ที่บ้านผมชอบพาไปเที่ยวต่างจังหวัดบ่อยมาก เช่ารถตู้ขับไป เที่ยวกันตลอด แต่ไม่เคยไปต่างประเทศเลย ครั้งแรกที่ได้ไปคือตอนม.4 ที่
บ้านซื้อทัวร์ไปมาเลย์-สิงคโปร์ ส่วนที่ไปเที่ยวกันเองจริงๆ คือไปญี่ปุ่นกับ พี่สาว ก็รู้สึกติดใจว่านี่แหละคือสิ่งที่เราชอบ จริงๆ ไม่จำ�เป็นว่าต้องไปเที่ยว เมืองนอกนะ แต่ชอบเวลาที่เราได้เห็นสิ่งที่แปลกตา ได้เจอสิ่งแวดล้อมและ วัฒนธรรมที่มันต่างไปจากเดิม” คุณก้อเท้าความ “หลังจากเรียนจบปริญญาตรีกม็ โี อกาสได้ไปเทีย่ วยุโรปเองกับครอบครัว เราก็เป็นคนวางแผนเองทุกอย่าง หลังจากกลับมาก็คิดจะไปเที่ยวอังกฤษ เพราะว่ามีเพื่อนไปเรียนอยู่หลายคน ตอนนั้นไปกันสองคน เราเป็นคน วางแผนเองทั้งหมดเหมือนกัน เพื่อนก็ทักว่ารู้เยอะขนาดนี้ ทำ�ไมไม่ลองทำ� เพจดู เราก็คดิ ว่ายังไม่ตอ้ งทำ�หรอก เพิง่ เคยไปมาไม่เท่าไหร่เอง แต่หลังจาก
CREATIVE THAILAND I 22
นั้นเพื่อนคนนั้นก็ไปเที่ยวอีกรอบ เวลาติดปัญหาอะไรก็จะสไกป์กลับมาถาม เราตลอด” เฟซบุ๊กเพจในชื่อตรงไปตรงมาอย่าง “เที่ยวเอง” จึงเกิดขึ้นโดย มีเพือ่ นคนดังกล่าวเป็นผูร้ ว่ มก่อการณ์รว่ มกับหุน้ ส่วนอีก 2 คนจนถึงปัจจุบนั บริการแรกและบริการเดียวของเที่ยวเอง เริ่มต้นจากการเป็น “ผู้ช่วย” ของนักท่องเที่ยว “สิ่งที่เราทำ�คือวางแผนและจัดโปรแกรมการเดินทางตาม ความต้องการของลูกค้าแต่ละคน มีตัวเลือกโรงแรมมาให้เลือกเข้าไปกด จองเอง ให้คำ�ปรึกษาและให้ความช่วยเหลือในเรื่องต่างๆ เช่น การจองตั๋ว รถไฟตั๋วเครื่องบิน ฯลฯ” ลูกค้าเป้าหมายที่รับบริการเป็นกลุ่มที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไปซึ่งมีเงิน เก็บพร้อมเทีย่ ว แต่ไม่อยากเดินทางกับบริษทั ทัวร์ “บางคนเคยไปกับทัวร์แล้ว แต่ยังไม่พอใจ หรืออยากมีประสบการณ์เที่ยวเอง แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นวางแผน ยังไง” มองในมุมหนึ่ง ดูเหมือนว่าบริการผู้ช่วยนี้จะตอบโจทย์กลุ่มผู้ใหญ่ที่ ยังไม่คุ้นชินกับการใช้เทคโนโลยีด้านการท่องเที่ยวด้วยตนเอง แต่ในความ เป็นจริง เทคโนโลยีไม่ใช่เหตุผลเดียวที่ลูกค้ากลุ่มนี้เลือกใช้บริการจาก เที่ยวเอง “ลูกค้าจะแบ่งเป็น 2 ประเภท กลุ่มหนึ่งคือทำ�ไม่เป็น สองคือทำ� เป็น ใช้เทคโนโลยีคล่อง แต่ไม่มีเวลา เขามองเราว่าเป็นเหมือนบริษัททัวร์ เราจัดเส้นทางให้เขา เพียงแต่เราไม่ได้เดินทางไปด้วย ไม่ได้ดแู ลเรือ่ งการทำ� วีซ่าหรือเอกสารอะไรให้ แต่ถ้าเป็นกลุ่มที่เด็กลงมาเขาจะไม่จ้างเราหรอก เพราะรู้สึกว่าทำ�เองได้ จ่ายเงินไปเที่ยวแล้วทำ�ไมต้องเสียเงินตรงนี้อีก” Just pack & go! เที่ยวแบบเรียลิตี้ ตลอดเวลาหลายปีนับตั้งแต่ก่อตั้งเพจ บทบาทของเที่ยวเองคือให้บริการรับ วางแผนและการเขียนรีวิวในพันทิปเป็นครั้งคราว จนเมื่อยอดแฟนเพจแตะ หลักหมืน่ จึงเริม่ ได้รบั การติดต่อให้โพสต์ประชาสัมพันธ์โปรโมชัน่ สินค้าและ บริการทีเ่ กีย่ วข้องกับการท่องเทีย่ ว รายได้จากการขายโฆษณาสะท้อนให้เห็น โอกาสในการต่อยอดจากฐานแฟนเพจให้เป็นมากกว่าที่เป็นอยู่ “เราคิดอยู่ ตลอดว่าต้องพัฒนา แต่เรายังไม่พร้อม เหตุผลหนึ่งคือเพราะทุกคนทำ�งาน ประจำ� อีกเหตุผลคือเรารู้สึกว่ายังไม่ได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์ความรู้เยอะ ถึงขนาดที่จะตั้งตัวเองว่าเป็นเว็บที่รวบรวมคอนเทนท์เกี่ยวกับการเที่ยว ทัง้ หมด เราคิดว่าถ้าจะทำ�อย่างนัน้ เราต้องรูล้ กึ รูจ้ ริงก่อน ก็เลยใช้เวลาค่อยๆ สะสมประสบการณ์ไปเรื่อยๆ เราเขียนรีวิวลงในพันทิปเพื่อดึงคนเข้ามาใน เพจ นั่นคือกลยุทธ์ในช่วงเริ่มต้น จนพอรู้สึกว่าพร้อมแล้ว เราก็เลยปรับ เว็บไซต์ใหม่ เพื่อให้สามารถฟีดคอนเทนท์ที่มีประโยชน์เป็นรายวันได้เลย และเหมาะกับการแชร์บนเฟซบุ๊ก” ในขณะที่สื่อสังคมออนไลน์เต็มไปด้วยเรื่องราวการเดินทางนับไม่ถ้วน จากเหล่านักเที่ยวยุคไซเบอร์ ที่เข้ามาแชร์ประสบการณ์และอวดภาพการ ท่องโลกกว้างกันอย่างกระตือรือร้น กระทูท้ มี่ าแรงและน่าดึงดูดเป็นพิเศษจึง หนีไม่พ้นบรรดารีวิวทริปที่ชูจุดเด่นเรื่องค่าใช้จ่ายแสนถูก แต่การที่ผู้อ่านจะ เดินตามรอยเจ้าของกระทูด้ ว้ ยงบประมาณจำ�กัดแบบเดียวกันได้นนั้ ไม่ใช่เรือ่ ง ง่าย ด้วยมีปัจจัยมากมายที่ส่งผลถึงค่าใช้จ่ายในแต่ละทริป ตั้งแต่โปรโมชั่น ตั๋วเครื่องบิน ค่าที่พัก ข้อจำ�กัดเรื่องเวลาเดินทาง (หรือแม้กระทั่งดวง) หัวใจ ของการสร้างคอนเทนท์ทอ่ งเทีย่ วในสไตล์ “เทีย่ วเอง” จึงมีโจทย์หลักว่าต้อง อยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง “เราไม่ใช่เพจนำ�เที่ยวแบบแบ็กแพ็ก ไม่นอน
โฮสเทลห้องรวม แต่ก็ไม่ได้นอนโรงแรมห้าดาว เพราะเรารู้ดีว่าการเที่ยวเอง มันมีความลำ�บากอยูแ่ ล้ว บนความลำ�บากเราจึงต้องมีความสบายระดับหนึง่ คาแรกเตอร์ของเราจึงอยูต่ รงกลางระหว่างแบ็กแพ็กกับลักชัวรีท่ ริป ซึง่ เท่าที่ ดูยังมีคนเลือกทำ�คอนเทนท์ในระดับนี้ไม่มากนัก” “อีกอย่างทีเ่ ป็นจุดเด่นคือเราเป็นเพจทีเ่ น้นให้ขอ้ มูลมากกว่าแรงบันดาลใจ คอนเซ็ปต์ของเราคือ ‘Just pack & go’ เราอยากให้คนอ่านแล้วสามารถ วางแผนไปได้เลย ไม่ใช่แค่ให้รู้สึกว่า ‘โอ้โห! น่าไปจังเลย อ้าวแล้วต้องทำ� ยังไงต่อล่ะ’ ซึ่งตอนนี้มีเพจสร้างแรงบันดาลใจแบบนี้เยอะมาก ของเราก็ ไม่ใช่ว่าคุณเข้ามาอ่านบทความในเว็บบทความเดียวแล้วจบเลยนะ แต่ถ้า คุณรวมข้อมูลจากหลายๆ บทความมาประกอบกัน คุณจะได้ไอเดียในการ วางแผนไปต่อไปได้” “ที่สำ�คัญคือ การเที่ยวในแบบของเราเป็นการเที่ยวที่ต้องวางแผน จะ หลวมหรือเป๊ะก็แล้วแต่ แต่ต้องมีแพลน ไม่ใช่ไปตายเอาดาบหน้า เพราะใน ความเป็นจริง คนทั่วไปไม่ว่าจะทำ�งานประจำ�หรือมีธุรกิจส่วนตัว ทุกคนมี เวลาจำ�กัดหมด เขาไม่ได้สามารถไปเที่ยวยาวๆ ได้โดยไม่มีกำ�หนด” ชุมชนนักเที่ยวเอง เมื่อถามถึงอนาคตของเที่ยวเอง คุณก้อตอบอย่างมุ่งมั่นถึงเป้าหมายที่ ตัง้ ใจไว้ตงั้ แต่วนั แรกทีเ่ ริม่ ทำ�เพจ “อนาคตทีม่ องไว้คอื เราต้องการสร้างเทีย่ ว เองให้เป็นคอมมูนติ ี้ เราอยากจะเปิดพืน้ ทีเ่ หมือนห้องบลูแพลเน็ตของพันทิป แบบย่อมๆ ให้คนทีอ่ ยากจะแชร์ได้เข้ามาเขียนเรือ่ งราวการท่องเทีย่ วของเขา แล้วเราเป็นคนเอาหยิบคอนเทนท์มาแชร์ในแชนแนลของเรา แต่ไม่ใช่ว่าเรา จะไม่เขียนเองเลยนะ เพียงแต่วา่ เราอาจจะเขียนน้อยลง ส่วนบริการวางแผน เที่ยวก็จะยังมีอยู่แต่คงจะไม่ขยาย เพราะว่ามันเหมือนการตัดเสื้อใหม่ให้ ลูกค้าอยู่ตลอด ซึ่งเราไม่มีกำ�ลังมากพอ เราคิดว่าเราควรจะเป็นสื่อมากกว่า ที่จะไปทำ�ตัวเป็นแทรเวล เอเจนซี่ นี่เป็นเป้าหมายตั้งแต่แรกของเราเลย ด้วยซํา้ เพียงแต่วา่ การทีเ่ ราจะไปถึงจุดนัน้ ได้เราต้องพร้อมมากกว่านัน้ และ ต้องติดตลาดก่อน แต่ถามว่ามีคนอยากเขียนเยอะไหม ตอนนี้ก็มีคนถาม เข้ามาเยอะมากว่าอยากเขียน” เรื่องราวการเดินทางและเติบโตของ “เที่ยวเอง” เป็นตัวอย่างหนึ่งของ กิจการขนาดย่อมทีต่ อบสนองพฤติกรรมของผูบ้ ริโภคยุคใหม่ ซึง่ กำ�ลังทยอย แพ็กกระเป๋าออกมาท่องเทีย่ วด้วยตนเองกันมากขึน้ จึงนับว่าเป็นโอกาสใหม่ ของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ที่รอคอยให้ผู้ประกอบการหน้าใหม่เข้ามา นำ�เสนอสินค้าและบริการที่ตรงใจ
เว็บไซต์: tieweng.com เฟซบุ๊ก: เที่ยวเอง ขอขอบคุณสถานที่ : The Commons (ซ.ทองหล่อ 17)
CREATIVE THAILAND I 23
filckr.com/photos/imranthetrekker
Creative City : จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
เรื่อง: วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ
ปากีสถานคือดินแดนที่เปี่ยมด้วยเรื่องราวทางประวัติศาสตร์มายาวนาน ในอดีตประเทศนี้เคยเป็นส่วนหนึ่งของอินเดียโบราณ จนกระทั่งเข้าสู่ยุค ล่าอาณานิคมที่จักรวรรดิอังกฤษเรืองอำ�นาจและเข้ามาปกครองอินเดีย และดิ น แดนโดยรอบ ซึ่ ง ขณะนั้ น ชาวมุ ส ลิ ม ในอิ น เดี ย มี ค วามคิ ด ที่ จ ะ สถาปนาดินแดนอิสระสำ�หรับชาวมุสลิมในนามว่า ‘ดินแดนปากีสถาน’ ต่อมาเมื่ออินเดียสามารถเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษได้สำ�เร็จในวันที่ 14 สิงหาคม 1947 นั่นคือวันเดียวกันกับวันก่อตั้งประเทศปากีสถาน
CREATIVE THAILAND I 24
เพื่อนรัก เพื่อนร้าย ปากีสถานและอัฟกานิสถาน เนือ่ งจากปากีสถานเป็นเป้าหมายทีก่ ลุม่ ก่อการร้ายตาลีบนั พยายาม
เข้ายึดครองเพือ่ ใช้เป็นฐานการโจมตีสนั ติภาพของโลก ทำ�ให้ปากีสถานยังคงประสบปัญหาการก่อการร้าย ทีร่ นุ แรงและต่อเนือ่ ง โดยทีผ่ า่ นมากลุม่ ตาลีบนั มักก่อเหตุในรูปแบบระเบิดฆ่าตัวตายและระเบิดรถยนต์ ที่ทางปากีสถานก็ยังไม่สามารถคาดการณ์เวลาและสถานที่ที่จะเกิดเหตุการณ์ก่อการร้ายได้ ปากีสถานและสหรัฐอเมริกา รัฐบาลสหรัฐอเมริกาภายใต้การนำ�ของประธานาธิบดีบารัค โอบามา ได้พยายามให้ความช่วยเหลือปากีสถาน โดยมีจุดประสงค์เพื่อช่วยลดความยากจนของประชาชน โดยเฉพาะผู้ที่อยู่บริเวณเขตแดนติดต่อกับอัฟกานิสถาน ซึ่งเป็นฐานที่มั่นของกลุ่มตาลีบัน เพราะ สหรัฐอเมริกาเชือ่ ว่าสิง่ นีค้ อื รากเหง้าของปัญหาการก่อการร้าย การมาเยือนปากีสถานอย่างเป็นทางการ ของนางฮิลลารี คลินตัน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี 2009 ทางการสหรัฐอเมริกาได้ประกาศให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ปากีสถานเป็นมูลค่า 125 ล้าน เหรียญสหรัฐฯ เพื่อช่วยพัฒนาระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ในประเทศ รวมทัง้ ยังตกลงให้ความร่วมมือ ทางการทหารและความมั่นคงระหว่างทั้งสองประเทศอีกด้วย ปากีสถานและจีน หลายฝ่ายเชื่อว่าจีนให้ความร่วมมือและช่วยเหลือปากีสถานเพื่อถ่วงดุลอำ�นาจ ระหว่างอินเดียและสหรัฐอเมริกาทีก่ �ำ ลังกระชับความสัมพันธ์กนั อย่างใกล้ชดิ โดยปีทผี่ า่ นมา จีนและ ปากีสถานได้ตกลงร่วมมือกันพัฒนาโครงการระเบียงเศรษฐกิจจีน-ปากีสถาน (China-Pakistan Economic Corridor: CPEC) โดยโครงการนี้เน้นพัฒนาเครือข่ายถนน ทางรถไฟ รวมถึงโครงการ พัฒนาพลังงานระหว่างสองประเทศ นอกเหนือจากเรื่องการคมนาคม จีนยังมีแผนที่จะช่วยเหลือ ปากีสถานเรือ่ งการพัฒนาเศรษฐกิจ การค้า วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมุง่ หวังให้ปากีสถานเป็น ประเทศทีม่ คี วามเจริญในภูมภิ าคเอเชียกลางเพือ่ ว่าในอนาคตจีนจะสามารถเข้าถึงตลาดในภูมภิ าคนี้ ได้เร็วขึ้น ปากีสถานและอินเดีย ปากีสถานและอินเดียยังคงมีประเด็นความขัดแย้งเพื่อแย่งชิงอธิปไตยเหนือ ดินแดนแคชเมียร์ และมีการแข่งขันกันสะสมอาวุธระหว่างทั้งสองชาติ โดยอินเดียเชื่อว่าเหตุการณ์ ก่อการร้ายที่เกิดขึ้นในอินเดียหลายครั้งนั้นมีปากีสถานเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง อย่างไรก็ตามบริเวณเขต พรมแดนวากาห์ ณ เมืองลาฮอร์ พื้นที่ติดต่อกันระหว่างปากีสถานและอินเดียจะมีตำ�รวจท้องถิ่นฝั่ง ปากีสถานและกองกำ�ลังรักษาความปลอดภัยจากอินเดียมาเดินเฝ้าระวังเขตแดนประเทศของตนตลอด ทั้งวัน ซึ่งดูราวกับว่าทั้งสองประเทศพร้อมที่จะเข้าประชันกันอยู่เสมอ แต่ที่จริงแล้วพิธีการเหล่านี้ถือ เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำ�วันของพรมแดนทั้งสอง และด้วยความแปลกตาที่มีกลิ่นอายของความ รุนแรงแต่ปลอดภัยนี้เอง ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มารับชมขบวนพาเหรดของกองกำ�ลังจากทั้งสอง ประเทศ ยิง่ ไปกว่านัน้ พรมแดนทัง้ สองฝัง่ ยังได้เตรียมอัฒจันทร์ขนาดใหญ่ไว้ส�ำ หรับรองรับนักท่องเทีย่ ว ที่มาเยี่ยมชมอีกด้วย
CREATIVE THAILAND I 25
filckr.com/photos/snikologiannis
หากย้ อ นกลั บ ไปก่ อ นที่ อั ง กฤษจะเข้ า มาล่ า อาณานิคม “ลาฮอร์ (Lahore)” ซึ่งปัจจุบันคือ เมืองหลวงของจังหวัดปัญจาบของปากีสถาน แต่เดิมเคยเป็นใจกลางที่ตั้งของจักรวรรดิโมกุล (Mughal Empire) โดยในยุคของจักรพรรดิชาห์ ชะฮัน (Shah Jahan) พระองค์เป็นบุคคลผูโ้ ดดเด่น เรือ่ งการสร้างสถาปัตยกรรมทีง่ ดงามอย่างทัชมาฮาล ในอินเดีย ส่วนที่ลาฮอร์ พระองค์ทรงสร้างป้อม เมืองลาฮอร์ (Lahore Fort) ซึ่งปัจจุบันได้ถูกยก ให้เป็นหนึง่ ในเขตมรดกโลก นอกจากนีล้ าฮอร์ยงั มีพิพิธภัณฑ์ลาฮอร์ (Lahore Museum) ที่สร้าง ขึ้นตั้งแต่ปี 1865 ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดใน ปากีสถานและมีความสวยงามทั้งภายนอกและ ภายใน โดยพิพธิ ภัณฑ์แห่งนีจ้ ดั แสดงชิน้ ส่วนสำ�คัญ ทางประวัติศาสตร์ของปากีสถาน ทั้งโบราณวัตถุ และงานศิลปะในสมัยจักรวรรดิโมกุลและซิกข์ รวมถึงในยุคอาณานิคมสมัยอังกฤษเข้ามาปกครอง ความงดงามที่ถูกถ่ายทอดจากอัจฉริยภาพของ คนในยุ ค เก่ า ล้ ว นสะท้ อ นผ่ า นผลงานทาง สถาปัตยกรรม ภาพวาด งานเขียน วรรณกรรม รวมทั้งศิลปะการตกแต่งสวนอันเลื่องชื่อของดิน แดนนี้ ทำ � ให้ ล าฮอร์ ไ ด้ รั บ การยกย่ อ งให้ เ ป็ น “ราชินีแห่งเมืองทั้งปวง (Queen of Cities)” กระทั่งมีคำ�พูดหนึ่งจากคนโบราณเล่าสืบต่อกัน ว่า “ผู้ใดที่ไม่เคยเยือนลาฮอร์ ก็เหมือนไม่เคยมี ชีวิตอยู่” แต่เมือ่ มองกลับมายังปัจจุบนั ความสวยงาม ของเมืองซึ่งเป็นมรดกทางศิลปะและวัฒนธรรม สำ�คัญแห่งหนึ่งของโลกนี้กลับถูกบดบังด้วยภาพ ลักษณ์ความรุนแรงจากผู้ก่อการร้ายทั้งภายใน และต่างประเทศ ซึ่งเกิดจากมิติความสัมพันธ์ที่ ซับซ้อนและละเอียดอ่อนในประเด็นความแตกต่าง ทัง้ ด้านความเชือ่ หลักการปกครอง และผลประโยชน์ ทางการเมืองกับประเทศเพื่อนบ้านและประเทศ มหาอำ�นาจ แต่เมื่อไม่มีใครตัดสินใครได้ว่าเขา เหล่านั้นเป็นผู้ร้ายหรือผู้บริสุทธิ์ การพยายาม ทำ�ความเข้าใจทัง้ คนและเมืองน่าจะเป็นสิง่ ทีด่ ใี น การเริ่มต้นการเดินทางครั้งใหม่ เพื่อว่าเราจะได้ ไม่มองข้ามความงดงามที่ถูกบดบัง
filckr.com/photos/kaiban
ราชินี (ที่ถูกลืม) แห่งเมืองทั้งปวง
filckr.com/photos/liviacolare
filckr.com/photos/mariachily
pimff.com
สื่อสารด้วยความรู้สึก อาจเพราะปากีสถานเป็นประเทศที่มีภาพลักษณ์ เรื่องความรุนแรง นั่นทำ�ให้นักท่องเที่ยวและผู้ เดินทางยังคงลังเลที่จะไปเยี่ยมเยือนประเทศ แห่งนี้ แต่ชาวปากีสถานรูด้ วี า่ บ้านเกิดของพวกเขา ยังคงซ่อนเสน่ห์ทางวัฒนธรรม ผู้คนที่เป็นมิตร และความงดงามทางธรรมชาติอนั เป็นเอกลักษณ์ ไม่แพ้ชาติใด แต่จะทำ�อย่างไรให้สงิ่ เหล่านีไ้ ม่ตอ้ ง ถูกหลบซ่อนภายใต้ภาพลักษณ์ความรุนแรงแบบ เดิมๆ หนึ่งในวิธีการที่น่าสนใจก็คือการสื่อสาร ด้วยความรู้ สึ ก การบอกเล่ า และการส่ ง ต่ อ เรื่องราว เทศกาลภาพยนตร์ น านาชาติ ค รั้ ง แรกที่ จัดขึ้นที่ปากีสถาน Pakistan International Mountain Film Festival (PIMFF) คือกระบอก เสียงที่เริ่มต้นขึ้นเมื่อปีที่ผ่านมา คณะผู้จัดอย่าง Eyebex Films ผู้ผลิตรายการท่องเที่ยวแนว แอดแวนเจอร์ทางโทรทัศน์ของปากีสถาน ได้
ร่วมมือกับภาคส่วนงานอุตสาหกรรมการท่องเทีย่ ว ของปัญจาบ เพื่อจัดเทศกาลภาพยนตร์นี้ขึ้นที่ หอศิลปวัฒนธรรม Alhamra Arts Council ณ เมืองลาฮอร์ ภายในงานมีการจัดฉายภาพยนตร์ 40 เรื่องที่ได้รับการคัดเลือกจากภาพยนตร์กว่า 500 เรื่องจาก 80 ประเทศทั่วโลก โดยภาพยนตร์ ที่จัดฉายจะเน้นเรื่องราวเกี่ยวกับภูเขาทั้งจาก ปากีสถานและทั่วโลก นั่นเพราะทีมงานผู้จัดและ ทางภาครัฐต่างเห็นพ้องกันว่า ธรรมชาติและภูเขา ของประเทศเป็นสมบัติของชาติที่จะเป็นพระเอก ดึงดูดนักเดินทางจากทัว่ ทุกมุมโลกได้ ทัง้ ยอดเขา เคทู (K2) และยอดเขานังกาปาร์บัต (Nanga Parbat) ที่ขึ้นชื่อเรื่องความสูงชัน หรือยอดภูเขา นํา้ แข็งและธารนา้ํ แข็งทีข่ น้ึ ชือ่ เรือ่ งความสวยงามกับ ระยะทางยาวติดอันดับโลกอย่างบีอาโฟ (Biafo) และบัลโตโร (Baltoro) ทัง้ หมดนีต้ า่ งเป็นจุดหมาย ปลายทางของนักเดินทางและนักปีนเขาจากทัว่ โลก แบบไม่จำ�เป็นต้องประชาสัมพันธ์กันให้มากนัก เพียงแต่การเกิดขึ้นของเทศกาลนี้ได้ขยายภาพ CREATIVE THAILAND I 26
การเป็นประเทศท่องเทีย่ วสำ�หรับกลุม่ นักท่องเทีย่ ว ฐานใหม่ให้กว้างยิ่งขึ้น นักสร้างภาพยนตร์และ สารคดี ผูก้ �ำ กับภาพยนตร์ นักข่าว นักเขียน หรือ ผูอ้ ยูเ่ บือ้ งหลังสายอาชีพในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ จากทัว่ โลก ได้มารวมตัวกันและร่วมเป็นส่วนหนึง่ ของงาน เพื่อพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ที่ สำ�คัญได้ลองสัมผัสกับปากีสถานผ่านเรื่องราว ของภาพยนตร์จากในจอ และเรื่องราวนอกจอ จากการได้พบเห็น พูดคุยและเข้าถึงผู้คน เข้าใจ ชีพจรของเมือง รวมทั้งสัมผัสกับธรรมชาติที่ รายล้อมอยู่ในปากีสถานได้อย่างเต็มที่ เป็นหนึ่ง ในเครื่องมือเริ่มต้นของชาวปากีสถานในการ ป่าวประกาศว่าดินแดนแห่งนี้มีครบแล้วสำ�หรับ นักเดินทางและกำ�ลังเฝ้ารอให้เหล่านักสำ�รวจ จากทั่วโลกมาสัมผัสและค้นหา โดยทางการ ปั ญ จาบถื อ ว่ า เทศกาลนี้ ไ ด้ เ สี ย งตอบรั บ ที่ ดี จนตัดสินใจที่จะจัด PIMFF เป็นประจำ�ทุกปีใน ที่สุด
ที่มา: บทความ “จีนทุ่มเงินลงทุน ‘ระเบียงศก.จีน-ปากีสถาน’ คานอิทธิพลสหรัฐฯ-อินเดีย” (22 เมษายน 2015) จาก prachachat.net / บทความ “สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน” โดย สถาบันศึกษาความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จาก apecthai.org / บทความ “China’s New Silk Road: What’s in It for Pakistan?” (20 เมษายน 2015) จาก dawm.com / บทความ “Literary Festival Breathes Life into Lahore” (15 กุมภาพันธ์ 2015) โดย Ahmed Rashid จาก bbc.com / บทความ “Mountain Film Festival to Bring Change in Tourism Industry” (11 มิถุนายน 2015) จาก thenews.com.pk / บทความ “The Great Divide” (18 กุมภาพันธ์ 2015) โดย Mohsin Hamid จาก nytimes.com / หนังสือ “Pakistan, From Mountains to Sea” โดย Mohamed Amin, Duncan Willetts และ Brendan Farrow CREATIVE THAILAND I 27
facebook.com/Lahorelitfest
ที่ผ่านมา ทุกปีหลังช่วงฤดูหนาวผ่านพ้นไป ชาว ลาฮอร์จะต้อนรับฤดูใบไม้ผลิด้วยเทศกาลว่าว ประจำ�ปี Basant Kite Flying ช่วงนั้นท้องถนนจะ เต็มไปด้วยผูค้ นทัง้ จากเมืองลาฮอร์และเพือ่ นบ้าน รวมทั้งนักท่องเที่ยวที่ต่างเงยหน้าขึ้นมองท้องฟ้า ซึ่งเต็มไปด้วยว่าวหลากหลายรูปแบบนับพันที่ กำ�ลังบินว่อนให้เห็นความสวยงาม สีสนั สดใสของ มันตัดกับสีท้องฟ้าใส นอกจากนี้ในงานยังมีการ แสดงศิลปะพื้นบ้าน พร้อมการบรรเลงดนตรี ประกอบการเต้นรำ�ของชาวเมือง แต่สิ่งเหล่านี้ อาจเป็นเพียงอดีตแห่งความสนุกสนานของชาว เมือง เพราะปัจจุบันทางการได้สั่งห้ามการเล่น ว่าว เนื่องจากบ่อยครั้งที่ผู้เล่นว่าวมักจะนำ�เศษ แก้ ว หรื อ โลหะมี ค มมาผสมแป้ ง เปี ย กชุ บ กั บ สายป่านเพื่อเป็นอาวุธใช้ตัดสายป่านว่าวของฝั่ง ตรงข้าม ทำ�ให้ทุกปีจะมีผู้เสียชีวิตและผู้ได้รับ บาดเจ็บจากการเล่นว่าวในลักษณะนี้เป็นจำ�นวน หลายสิบคน ทางการปากีสถานจึงตัดสินใจระงับ การเล่นว่าวในที่สุด
หากแต่เรื่องไม่ได้สิ้นสุดอย่างน่าเศร้าเช่นนี้ เสมอไป เพราะในช่ ว งเวลาใกล้ เ คี ย งกั น กั บ เทศกาลว่าวที่ถูกแบน ลาฮอร์ยังคงมีอีกหนึ่ง เทศกาลที่ชาวเมืองจะได้เฉลิมฉลองด้วยการเสพ ศิลป์และศาสตร์ไปพร้อมกัน นั่นคือเทศกาล Lahore Literary Festival (LLF) เทศกาลทีถ่ า่ ยทอด ความคิด ความเชื่อ ประเพณีและวัฒนธรรมของ ชาวปากีสถาน ผ่านงานเขียน วรรณกรรม งาน ศิลปะ ดนตรี และภาพยนตร์ ให้ชาวเมืองได้ ร่วมชื่นชม ถกเถียง หรือเป็นส่วนหนึ่งในการ จุดประกายความคิด อาจเพราะปากีสถานเป็น ประเทศทีผ่ า่ นเรือ่ งราวยิง่ ใหญ่มายาวนาน ตัง้ แต่ การเป็นดินแดนทีต่ งั้ ของจักรวรรดิโมกุล ผ่านการ ถูกปกครองโดยอังกฤษ การต้องอยู่กับการเมือง ภายใต้ระเบียบข้อบังคับและข้อห้ามทางศาสนา รวมถึงการต้องประสบปัญหาการก่อการร้ายที่ ยังคงไม่สิ้นสุดในปัจจุบัน ทั้งหมดนี้ส่งผลให้ชาว ปากีสถานมีวตั ถุดบิ ทางความคิดชัน้ ดีในการสร้าง องค์ความรู้ ถ่ายทอดความคิดและความรูส้ กึ ผ่าน งานเขียนให้ชาวปากีสถานรุ่นหลังและชาวโลก ทุกวันนี้ ปากีสถานได้ผลิตนักเขียนที่ยอดเยี่ยม
facebook.com/Lahorelitfest
latitude.blogs.nytimes.com
เมื่องานศิลป์ ติดลมบน
หลายต่อหลายคน หนึ่งในนั้นคือโมห์สิน ฮามิด (Mohsin Hamid) นักเขียนชาวลาฮอร์รุ่นใหม่ที่ เคยฝากผลงานการเขี ย นบทความเรื่ อ ง The Great Divide ลงในเว็บไซต์เดอะนิวยอร์กไทมส์ ในประเด็นทีว่ า่ ความแตกต่างและการถูกแบ่งแยก ของผู้คนไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในปากีสถานเท่านั้น เขาคิดว่ามันเป็นประเด็นสากลที่เกิดขึ้นบนโลก ฮามิ ด ให้ ค วามเห็ น ส่ ว นหนึ่ ง ที่ น่ า ขบคิ ด ไว้ ว่ า “เราต่างไม่ได้อยู่ในโลกที่เสรีภาพมีชัยชนะเหนือ อำ�นาจเผด็จการ เราอยู่บนโลกที่ทั้งสองสิ่งได้ ผสานรวมกัน แม้เรามีสิทธิ์ที่จะพูดได้อย่างเสรี แต่ทกุ คำ�พูดของเรากลับถูกจับตามอง หรือแม้วา่ เราจะไปไหนได้อย่างอิสระ แต่ดเู หมือนว่าทางเข้า กลับถูกล็อกไว้อยู่ดี”
The Creative : มุมมองของนักคิด
The Matchmaker ดร. คณิศ แสงสุพรรณ เรื่อง: ศิริอร หริ่มปราณี / ภาพ: ธนกร จึงเลิศวัฒนา และชาคริต นิลศาสตร์
ศักยภาพที่ขาดการเชื่อมต่อ ก็เหมือนเส้นขนานที่ไม่มีจุดบรรจบ และท่ามกลางบริบทการแข่งขันทางเศรษฐกิจที่ขึงเกลียว กับความสัน่ ไหวด้วยปัจจัยการก่อการร้ายทัว่ โลกทีถ่ าโถมแรงกดดันเข้ามานัน้ เราจำ�เป็นต้องเพิม่ วิสยั ทัศน์บนน่านฟ้าเศรษฐกิจ ประสบการณ์และมุมมองของ ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท การบินไทย จำ�กัด (มหาชน) และ ประธานกรรมการ บริษัท ไทยสมายล์แอร์เวย์ จำ�กัด ผู้ที่อยู่เบื้องหลังการเปลี่ยนความเสี่ยงให้เป็นโอกาส เปลี่ยนเส้นขนาน ทางธุรกิจระหว่างภาครัฐและเอกชน จะนำ�ไปสู่คำ�ตอบเรื่องจุดหมายใหม่ของอนาคตเศรษฐกิจไทย
CREATIVE THAILAND I 28
เหตุการณ์การก่อการร้ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ ทั้งที่ จาการ์ตาและอิสตันบูล ในฐานะผูบ้ ริหารทีด่ เู รือ่ งธุรกิจการบิน และยั ง มี ป ระสบการณ์ ด้ า นนโยบายการเงิ น ที่ ธ นาคาร แห่งประเทศไทย มองเรื่องนี้อย่างไรบ้าง สิ่งแรกเลยคือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้มันไม่ใช่การ Random (สุ่ม) อีกต่อไป แล้ว ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ที่เมืองไทย ปารีส อิสตันบูล แล้วก็กลับมาที่จาการ์ตา ถ้าไม่นับเมืองไทย ที่เหลืออีก 3 เหตุการณ์นี่ชัดเจนแล้วว่ามาจากเจ้าเดียว กันหมด เพราะฉะนั้นในอนาคตเราจะเห็นเรื่องของการเผชิญหน้ากับกลุ่ม ไอซิสหรือกับเหตุการณ์พวกนี้มากขึ้น คือเราเริ่มรู้สกึ ว่ามันไม่ใช่ว่าอยู่ๆ ใคร ไม่พอใจเรื่องอะไรก็เกิดการก่อการร้ายเหมือนอย่างในอเมริกาที่ไม่พอใจก็ แบกปืนออกไปยิงคนแบบนั้น นี่มันเกิดเป็นเหตุการณ์ต่อเนื่อง แล้วความ ตึงเครียดในตะวันออกกลางกับโลกตะวันตกก็คอ่ นข้างเยอะ มีอกี หลายเรือ่ ง ที่ยังไม่ลงตัว สำ�หรับธุรกิจการบินก็ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด แต่ก็เป็นเรื่อง ยากมาก ว่าเฝ้าระวังแล้วจะทำ�อะไรได้ เพียงแต่ว่าเวลาที่เกิดสถานการณ์ ขึ้นแล้ว ต้องมีแผนรองรับทันที ทีนี้มาถึงเรื่องการบิน ความจริงการบินไทยจะโดนผลกระทบเยอะกว่า เพราะมีเส้นทางบินตรงไปที่ปารีส อิสตันบูล แล้วก็จาการ์ตา ผลที่เข้ามา โดยตรงในระยะสั้นก็คือ เที่ยวขาออกของไทยที่จะไปตรงนั้นจะหยุดเลย สาเหตุก็เพราะว่าการท่องเที่ยวนี่มันเป็นกึ่ง Luxury Good (สินค้าฟุ่มเฟือย) คือไม่มใี ครอยากจะจ่ายเงินไปเทีย่ วแล้วไปตาย การลดค่าใช้จา่ ยหรือยกเลิก การเดินทางก็ท�ำ ได้งา่ ย ก็จะเหลือแต่คนทีท่ �ำ ธุรกิจแล้วจำ�เป็นต้องเดินทางไป แต่ระยะทีส่ องนีค่ อ่ นข้างน่ากลัว เพราะว่าพอคนไปเริม่ น้อย มันก็เลยไม่มคี น ขากลับ เราก็จะเห็นว่ามันลดลงทั้งขาไปและขากลับพร้อมกัน อันนี้อันตราย กรณีปารีสกับอิสตันบูลก็เป็นแบบนี้ ส่วนที่จาการ์ตาเราก็กำ�ลังตรวจสอบอยู่ และคงเห็นสัญญาณเรื่องผลกระทบในไม่ช้า แต่ยังโชคดีที่ช่วงฤดูการ ท่องเที่ยว มันเริ่มตั้งแต่พฤศจิกายน-มกราคม สายการบินที่มาเมืองไทยก็ จะมากันตั้งแต่เดือนธันวาคมแล้ว ผลจากจาการ์ตาเลยยังไม่ค่อยกระทบ เท่าไหร่ คือถ้ามองความเป็นจริง หลังเกิดวิกฤติเศรษฐกิจโลก นักท่องเทีย่ วจาก ยุโรปและอเมริกาก็น้อยลง ไทยเราเลยไปกระตุ้นทางฝั่งจีนแทน ตอนนี้ เศรษฐกิจจีนก็ไม่ดีอีก ขณะที่ยุโรปกำ�ลังดีๆ อยู่ ก็เกิดเหตุการณ์ที่ปารีส เข้ามา ยุโรปก็เลยไม่ขึ้นอย่างที่ควรจะเป็น เพราะฉะนั้นธุรกิจการบินก็ รับผลกระทบจากตรงนี้โดยตรง ภาพที่เรากลัวกันในภูมิภาคก็คือ สมมติว่า มันมีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นในภูมิภาคเราติดต่อกันหลายๆ ครั้ง คนก็จะ ไม่มาทั้งภูมิภาค เหมือนโรคระบาดซึ่งอาจจะเกิดขึ้นได้ ผมก็กำ�ลังดูอยู่ว่า ผลข้างเคียงจะเป็นอย่างไร
ในส่วนของธุรกิจการบิน โดยเฉพาะในกลุ่มสายการบินราคา ประหยัดทีม่ จี �ำ นวนเพิม่ ขึน้ เรือ่ ยๆ จะมีสว่ นช่วยในสถานการณ์ แบบนี้ไหม โดยทัว่ ไปแล้วการท่องเทีย่ วมันถือเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย ไม่ว่าจะเป็นสายการบิน ระดับราคาไหน จะเฟิร์สคลาส หรือชั้นประหยัด เพราะถึงแม้ว่าจะอยากไป เที่ยวแบบผจญภัย แต่ถ้าเขายิงกันก็คงไม่มีใครไป ประเด็นก็คือเรื่องของ กระแสทีเ่ กิดขึน้ หลังเกิดเหตุการณ์ เช่นเรือ่ งค่าประกันนีม่ นั มีผลแน่ๆ สมมติ ตอนนีท้ จี่ าการ์ตามีคนแคนาดาถูกยิงคนหนึง่ ประกันภัยการเดินทางของคน แคนาดาและคนยุโรปที่ไปจะมีปัญหาแน่ๆ ในหลายครั้งที่เรามีเรื่องปฏิวัติ หรือเรือ่ งอะไรกัน ทัง้ นักธุรกิจและนักท่องเทีย่ วก็จะบอกว่าเขามาไม่ได้ เพราะ ว่าประเทศเขาไม่สนับสนุนให้มาและบริษัทประกันก็จะไม่จ่ายค่าเสียหายให้ ถ้าเกิดปัญหาอะไร เรื่องนี้มันผูกพันกันอยู่ เพราะฉะนั้นผมว่าอินโดนีเซียจะ ได้รับผลกระทบหนัก เพราะว่าพอมีคนตะวันตกเสียชีวิต แล้วระบบประกัน มันจะกระตุกทันที เพราะทุกอย่างเป็นลูกโซ่กันไปหมด อย่างตลาดหุ้น ในช่วงที่เกิดเหตุก่อการร้าย นักลงทุนก็ต้อง ปรับพอร์ตหุ้นว่าจะไปเล่นตัวไหน ถ้าเป็นธุรกิจการบินจะปรับ อย่างไร เพราะดูจะเป็นเรื่องระยะยาวกว่า มันทำ�ได้ยากมากครับ เช่นกรณีของปารีส ถ้าอยู่ๆ เราจะลดไฟลท์หรือ ปรับตั๋วก็ค่อนข้างยาก เพราะวางตารางล่วงหน้าเป็นปี สมมติระเบิดลงที่ ปารีสผมอยากจะดึงเครื่องบินลง ผมก็ทำ�ไม่ได้ เพราะขายตั๋วล่วงหน้าไป เยอะ แล้วผู้โดยสารมีสิทธิ์ยกเลิก แต่ผมต่างหากที่ไม่มีสิทธิ์ ในธุรกิจการบิน ที่แข่งกันเยอะ สายการบินหลายแห่งจะขาดทุน นี่เป็นเรื่องปกติที่เราเห็นใน ธุรกิจนี้ อย่างเช่น มาเลเซียแอร์ไลน์ จุดหมายปลายทางที่เคยมีปัญหาก็จะ ขาดทุนหมด กว่าจะกู้คืนได้ก็เป็นปี เพราะว่าเป็นเรื่องของความเชื่อมั่นด้วย ผมคิดว่าคนที่จะไปเที่ยว เขาก็จะวางแผนล่วงหน้าระยะหนึ่ง อย่างของ การบินไทย เส้นทางทีไ่ ด้รบั ความนิยม คนจะเริม่ จองตัว๋ ล่วงหน้ากันประมาณ 70-90 วันก่อนเดินทาง ถ้าบินในประเทศก็อาจจะสั้นหน่อย ประมาณ 20 วัน เมื่อเป็นแบบนี้ ถามว่าถ้าวางแผนขายไปแล้วจะทำ�ยังไง ก็ทำ�อะไร ไม่ได้ จะไม่มีเครื่องบินก็ไม่ได้ ถึงผู้โดยสารจะยกเลิกตั๋วซักครึ่งหนึ่งของ จำ�นวน Cabin Factor (อัตราส่วนการบรรทุกผู้โดยสาร) สมมติว่าเคยบิน 70-75 เปอร์เซ็นต์ คือ 100 ที่นั่งมีผู้โดยสาร 75 คน อาจจะหายไป 40 คน ถามว่าอีก 35 คน จะไม่บนิ ให้เขาได้ไหม ก็ไม่ได้ มันเลยค่อนข้างบริหารยาก
CREATIVE THAILAND I 29
อุ ต สาหกรรมท่ อ งเที่ ย วยั ง เป็ น หนึ่ ง ในอุ ต สาหกรรมเป้ า หมาย ของเรา หมายความว่าจะได้รบั การ ดูแลเป็นพิเศษ อันที่เราอยากจะ ได้ คื อ นั ก ท่ อ งเที่ ย วที่ เ ป็ น กลุ่ ม ระดับบนให้เข้ามามากขึ้น เพราะ เหมือนเขาหายไปนาน แต่ไทยก็ ไม่เคยปฏิเสธนักท่องเที่ยวแบบ แบ็กแพ็ก
การบินไทยและไทยสไมล์มีกลยุทธ์แตกต่างกันอย่างไร ไทยสไมล์เป็นบริษัทในเครือของการบินไทย แต่บินในปลายทางใกล้ๆ ซึ่ง ไม่ใช้เครือ่ งบินใหญ่ ตอนนีท้ งั้ โลกเปลีย่ นไปแล้ว คนไม่นยิ มนัง่ บิสซิเนสคลาส แต่จะเป็นสมาร์ทคลาสแทน เช่น เป็นเก้าอี้ธรรมดาแต่ว่าพับข้างๆ ได้ให้มี พืน้ ทีม่ ากขึน้ ซึง่ เดีย๋ วนีก้ เ็ ปลีย่ นมาเป็นแบบนีห้ มด เราก็เลยเปลีย่ นระบบของ การบินไทย มีไทยสไมล์เป็นตัวป้อนในระยะบินใกล้ๆ ต้นทุนก็ถูกลงทั้งเรา และผูโ้ ดยสาร ทีนใี้ นทางกลยุทธ์แน่นอนว่าต่างกัน คือหนึง่ มีผลกระทบเรือ่ ง การเชือ่ มต่อเส้นทาง เพราะอย่างคนยุโรปทีบ่ นิ การบินไทยมากรุงเทพฯ แล้ว จะไปมัณฑะเลย์ สมมติถ้าเราไม่มีคนจากลอนดอนมากรุงเทพฯ จาก กรุงเทพฯ ไปมัณฑะเลย์ก็จะมีผลกระทบที่เกี่ยวข้องกัน ฉะนั้นไทยสไมล์ก็ เลยต้องหาวิธีโปรโมตการเดินทางของคนในพื้นที่มากขึ้น ในขณะเดียวกัน การบินไทยก็จะลำ�บากนิดหนึ่ง อาจต้องเปลี่ยนเส้นทางไปในบางจุด และ ต้องไปทำ�ตลาดเสริมในบางที่ เรือ่ งของปัจจัยระยะยาวอืน่ ๆ อย่างการก่อการร้าย โรคระบาด หรือข้อพิพาทต่างๆ ทำ�ให้ต้องมองตลาดอื่นไว้ด้วยไหม เวลาที่เขาวางแผนตลาดการบิน จะวางล่วงหน้าค่อนข้างไกล สาเหตุคือการ จะบินเข้าไปในที่ใดที่หนึ่ง ไม่ใช่ขอพรุ่งนี้แล้วบินได้ ต้องขออนุญาต ต้อง ตรวจเครื่องบิน ต้องทำ�หลักฐานอะไรต่ออะไร เร็วสุดก็น่าจะประมาณ 6 เดือนหรือปีหนึ่ง อันที่สอง กระบวนการบินนี่ก็ซับซ้อนมาก เพราะแค่มี
เครื่องบินใหม่มา จะเอาเก้าอี้หรืออุปกรณ์อะไรขึ้นเครื่อง ก็ต้องใช้เวลา ตรวจสอบมาตรฐานเกือบ 2 ปี เช่นต้องเป็นโลว์ คาร์บอน เมื่อมันไหม้ ผู้โดยสารจะต้องปลอดภัย หรืออยู่ๆ สอบไปแล้วมาตรฐานเพิ่มขึ้น อุปกรณ์ บางอย่างก็ตกมาตรฐานได้ เพราะฉะนัน้ เวลาวางแผนที จะวางแผน 5 ปีขน้ึ ไป และถ้าจะวางแผนว่าจะมีเครื่องบินประเภทไหนบ้างใน 5 ปี ก็ต้องวางแผน ว่าจะบินที่ไหนใน 5 ปีเช่นเดียวกัน มันต้องสอดคล้องกัน อย่างตอนมีปัญหา ที่ปารีส ถ้าตามข่าวมันก็ไม่ใช่ปารีสอย่างเดียว เพราะมีที่สวิตเซอร์แลนด์ เจนีวา อะไรพวกนี้ก็เป็นแหล่งซ่องสุม ยิ่งในยุโรปที่ตอนนี้เชื่อมต่อกันหมด เวลาทีจ่ ะปรับหรือวางแผนอะไรก็จะปรับยาก เพราะระบบการท่องเทีย่ วและ สายการบินมันค่อนข้างอ่อนไหวเมื่อเทียบกับภัยคุกคามแบบนี้ เมือ่ มีเหตุการณ์ทสี่ ง่ ผลกระทบต่อธุรกิจการบินแบบนีเ้ กิดขึน้ เรื่อยๆ ต้องมีอะไรมารองรับเพิ่มขึ้นไหม ประเด็นว่าจะช่วยได้ยังไง ผมลองยกตัวอย่างเหตุการณ์ระเบิดที่อินโดนีเซีย ผมคิดว่าระบบประกันภัยของภูมิภาค ของประเทศสำ�หรับนักท่องเที่ยว จำ�เป็นต้องมี อย่างน้อยก็ช่วยให้ทุกคนสบายใจว่าถ้ามีปัญหาจะมีการ ช่ ว ยเหลื อ อั น ที่ ส องคื อ ระบบที่ จ ะต้ อ งร่ ว มมื อ ช่ ว ยเหลื อ ซึ่ ง กั น และกั น หมายความว่าทุกคนเสีย่ งเท่ากัน ถ้ามาร่วมมือกันก็จะช่วยกันได้มากขึน้ เช่น มีครั้งหนึ่งเครื่องบินลาวตก ก็ปรากฏว่าคนที่ไปเป็นทีมช่วยเหลือ มีทั้งไทย อินโดนีเซียไปช่วย ระบบก็อย่างเดียวกัน เวลาที่มีการก่อการร้ายก็ต้องมีการ ให้ข้อมูล บอกข้อเท็จจริงให้ชัดเจน แต่ถ้าถามว่าทำ�อะไรได้มากกว่านั้นไหม ผมก็ยังนึกไม่ออก มันค่อนข้างเสี่ยง แล้วในบ้านเรา มีการดำ�เนินการอะไรบ้างไหมที่จะดึงดูดให้ นักท่องเที่ยวยังคงเข้ามาเที่ยวอยู่ อันนี้ก็ทำ�เต็มที่นะครับถึงแม้ว่าจะมีหรือไม่มี เพราะอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ยังเป็นหนึง่ ในอุตสาหกรรมเป้าหมายของเรา หมายความว่าจะได้รบั การดูแล เป็นพิเศษ อันที่เราอยากจะได้คือนักท่องเที่ยวที่เป็นกลุ่มระดับบนให้เข้ามา มากขึ้น เพราะเหมือนเขาหายไปนาน แต่ไทยก็ไม่เคยปฏิเสธนักท่องเที่ยว แบบแบ็กแพ็กนะครับ เรื่องของการโปรโมตการท่องเที่ยว เราก็ต้องสร้าง สาธารณูปโภคพื้นฐานต่างๆ เรื่องหอประชุม เรื่องพื้นฐานเกี่ยวกับการท่อง เที่ยวหรือวัฒนธรรมต่างๆ ต้องเข้ามาทำ�ให้ไทยเป็นจุดหมายปลายทางที่ยัง น่ามาอยู่ อันทีจ่ ริงแล้ว ตอนนีม้ นี กั ท่องเทีย่ วมากขึน้ ทีไ่ ม่ได้เทีย่ วไทยประเทศ เดียว แต่เขาเข้าไปเขมร เวียดนาม พม่าด้วย ดังนั้น เรื่องความร่วมมือ การท่องเทีย่ วระดับภูมภิ าคมันต้องมี เหมือนคนไปยุโรปหลังๆ ทีแ่ ทบไม่คอ่ ย คิดว่าไปประเทศไหน เพราะไปไหนก็ไปได้ทั้งนั้น ซึ่งในที่สุดแล้วแถบนี้ก็ ต้องเป็นแบบนั้น แต่เรายังไม่ถึง ถ้าถามว่าเรายังขาดอะไร ก็คงยังขาดแรง ขับเคลื่อนที่จะเป็นแบบนั้น
CREATIVE THAILAND I 30
แล้ ว ถ้ า ประเทศไทยมี ร ถไฟความเร็ ว สู ง คล้ า ยกั บ ยุ โ รปจะ กระทบกับอุตสาหกรรมการบินไหม ผมว่าทุกอย่างจะดีขนึ้ หมด ผมก็ชว่ ยทำ�เรือ่ งรถไฟอยู่ ผมเรียนตรงๆ ว่าเวลา ทำ�เรื่องรถไฟ อย่าไปพูดถึงรถไฟ ให้พูดถึงเรื่องการท่องเที่ยว การพัฒนา อุตสาหกรรม คือถ้าทำ�รถไฟมา คนก็จะถามว่าทำ�ไปขนอะไร ถ้าบอกว่าทำ� ไปขนของ เขาก็จะบอกว่าก็ไม่จำ�เป็นต้องเร็ว แต่ถ้าจะทำ�รถไฟความเร็วสูง แสดงว่าจะต้องมีอุตสาหกรรมที่มารองรับความเร็วจริงๆ ต้องเป็นแหล่ง ท่องเที่ยวใหญ่ แหล่งธุรกิจใหญ่ที่เชื่อมเมืองเพื่อที่จะได้ประโยชน์ ซึ่งใน เมืองจีนพิสูจน์แล้วว่ามันไปได้ดีมาก อย่างของเราก็มีหลายเส้นที่ทำ�ได้ ถามว่ากระทบไหม คือเครื่องบินนี่ ถ้าน้อยกว่าชั่วโมงเขาก็ไม่บินกัน เพราะต้นทุนมันแพงมาก ต้นทุนของเครื่องบินมันอยู่ที่ตอนลง เวลาที่บินใน อากาศมันมีแต่คา่ นํา้ มัน แต่เวลาลง จะมีทง้ั ค่าสึกหรอ ค่าจอด ต้องนูน่ ต้องนี่ ดังนี้ปกติแล้วเส้นทางการบินก็ต้องประมาณชั่วโมงหนึ่ง หรือ 40 นาทีเป็น อย่างน้อยทีส่ ดุ อย่างกรุงเทพฯ - เชียงใหม่ แต่ถา้ จะไปสุโขทัย คุณบินไปไม่ได้ ถ้าขับรถทีกต็ อ้ งใช้ถงึ 4 ชัว่ โมง สุโขทัยก็เลยเป็นเมืองปิด แต่ถา้ คุณไปด้วยรถไฟ ความเร็วสูงไปสักหนึง่ ชัว่ โมงหรือชัว่ โมงครึง่ ก็ไปเช้าเย็นกลับได้ มันก็เป็นการ เปิดพืน้ ที่ รถไฟความเร็วสูงได้รบั การยอมรับว่าเป็นการเปิดพืน้ ทีร่ ะหว่างทางที่ เครือ่ งบินบิน แล้วปัญหาตอนนีก้ ค็ อื ว่า หนึง่ การขนส่งทางรถมันถูกหมายความ ว่าเป็นการสิน้ เปลือง สอง ไม่วา่ จะสร้างถนนเยอะแค่ไหนมันก็ไม่ใช่ขนส่งมวลชน ยังไงมันก็ต้องเต็ม เพราะฉะนั้นถ้าจะเปิดพื้นที่ หรือเชื่อมต่อสนามบินอย่าง สุวรรณภูมิกับอู่ตะเภา พวกนี้มันก็เกิดขึ้นได้ด้วยรถไฟความเร็วสูง
ในอนาคตเนี่ย เรื่อง Connectivity (การเชื่อมต่อ) จะเป็นเรื่องใหญ่ มนุ ษ ย์ กำ � ลั ง ต่ อ สู้ กั บ สิ่ ง หนึ่ ง ที่ ต่อสู้มาโดยตลอดก็คอื การเดินทาง ที่เร็วขึ้น อันนี้เป็นการต่อสู้ครั้ง ยิ่งใหญ่ของมนุษย์ จากที่เคยทำ� เกวียน ทำ�ล้อ ในวันนีเ้ ราบินได้
เพราะฉะนั้นหากมีรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสนามบินจะมีความ เชื่อมต่อกันมากขึ้น อาจจะดีขึ้นด้วยซํ้า ความจริงโหมดของการพัฒนาคือเกิดจากการตัดถนน แล้วรถวิ่งก่อน ต่อมาก็เป็นเครื่องบิน ซึ่งมันเป็นการเดินทางระหว่างจุดหนึ่ง ไปอีกจุดหนึ่ง สุดท้ายก็เป็นรถไฟความเร็วสูง เป็นโหมดที่ใช้กันโดยทั่วไปใน ปัจจุบัน ถ้าลงทุนช้า ก็ยิ่งแพงขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็ต้องอธิบายว่าได้ประโยชน์ ยังไง ตอนนี้เขาก็เริ่มส่งสองทีม รุ่นที่ 2 ไปเรียนเรื่องเกี่ยวกับรถไฟ แล้ว มหาวิทยาลัยหลายแห่งก็เริม่ มีสาขานี้อยู่ ในอนาคตเนี่ย เรื่อง Connectivity (การเชื่อมต่อ) จะเป็นเรื่องใหญ่ มนุษย์กำ�ลังต่อสู้กับสิ่งหนึ่งที่ต่อสู้มาโดย ตลอดก็คือการเดินทางที่เร็วขึ้น อันนี้เป็นการต่อสู้ครั้งยิ่งใหญ่ของมนุษย์ จากทีเ่ คยทำ�เกวียน ทำ�ล้อ ในวันนีเ้ ราบินได้ ซึง่ ถ้าคิดว่าบินในชัน้ บรรยากาศ มันช้า เราก็จะบินในอวกาศแล้วค่อยลง มันเป็นการพยายามที่จะต่อสู้ Gravity (แรงโน้มถ่วง) ของโลกที่เป็นอยู่ เพราะฉะนั้นเรื่อง Connectivity ยังเป็นเรื่องที่ไปได้อีกไกล อย่างเครื่องพิมพ์สามมิติที่ก็ไม่ต้องส่งของแล้ว ส่งแค่แบบอย่างเดียวไปพิมพ์ ก็ลดเวลาการส่งของลง อันนี้ก็เป็นความ พยายามของมนุษย์ที่จะต่อสู้กับแรงโน้มถ่วง หรือระบบการบิน การขนส่ง ผมก็เลยคิดว่าเมืองไทยเองคงหนีไม่พน้ ไม่ใช่แค่เรือ่ งรถไฟความเร็วสูงอย่าง เดียว เรื่องเครื่องบิน เรื่องเรือ เรื่องอะไรพวกนี้ก็จะเข้ามา
CREATIVE THAILAND I 31
ในหลายประเทศเวลาลงทุนโครงสร้างพื้นฐานใหญ่ๆ มักจะ ทำ�ขึ้นเพื่อเหตุการณ์บางอย่าง อย่างตอนที่ญี่ปุ่นพัฒนา ชินคันเซน ก็ทำ�เพื่อโอลิมปิก ทีนี้เราจะต้องมีการวางอนาคต ร่วมกันไหม เพื่อที่จะทำ�เรื่องนี้ให้สำ�เร็จ โลกทุกวันนี้มันเป็นดิจิทัลแล้ว อย่างจีนกับไทยกับอาเซียน คนต้องคอนเนค กัน แล้วก็ต้องปรับปรุงเรื่อง Connectivity ประเด็นของอาเซียนเป็นเรื่องที่ ต้องคุยกันมาเป็นสิบปีแล้ว อาเซียนมีสตางค์ตั้งเยอะแยะ ทำ�ไมมาตรฐาน ความเป็นอยู่ของคนยังแย่อยู่ คำ�ถามคือ ตอนนี้วิชั่นต้องมองว่าจะทำ�ยังไง บ้างกับเรื่องที่สำ�คัญ ทั้งเรื่องรถไฟความเร็วสูง เรื่องการคอนเนค เรื่อง เครื่องบิน แล้วการเชื่อมโยงกับจีนกับอาเซียนจะเป็นธีมใหม่ที่เกิดขึ้น การเชื่อมโยงกับจีน ที่มีความแตกต่างกันในแต่ละภูมิภาค เราต้องทำ�ความเข้าใจกับความต้องการแต่ละส่วนด้วยใช่ไหม แน่นอน เพราะฉะนั้นเป็นเรื่องระดับรัฐบาลต้องทำ� ผมคิดว่าสิ่งหนึ่งที่เป็น ความสามารถของมนุษย์ก็คือ ความสามารถในการเจรจาและตกลงเรื่องที่ เป็นความแตกต่าง ไม่งั้นเราคงพัฒนามาได้ไม่ถึงตรงนี้ แต่เราก็ต้องยอมรับ ว่า การพัฒนามรดกตรงนี้มันไม่มีใครได้ 100 เปอร์เซ็นต์ มันก็ต้องมีการ แลกเปลีย่ นซึง่ กันและกัน ซึง่ ทัง้ สองฝ่ายจะดีขนึ้ อย่างกรณีแบบนี้ ผมเองเคย พูดถึงไทยว่า คนไทยจะเข้าใจจีนใน 10 ปีหลังหรือ 5 ปีหลังน้อยมาก นอกจาก
พวกที่เดินทางเยอะๆ แล้วพบว่าจีนพัฒนาเร็วมาก ภายใน 15 ปี ขนาด เศรษฐกิจของจีนที่เริ่มจากใกล้ๆ 1 หรือ 2 เปอร์เซ็นต์ เป็นประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์ของเศรษฐกิจโลก แบบที่ไม่เคยมีประเทศไหนทำ�ได้มาก่อน การ พัฒนาในจีนเร็วมากและเริม่ มีเทคโนโลยีมากขึน้ คนรุน่ เก่ายังมองจีนเหมือน สมัยสังคมนิยม หรือมองว่าจีนยังต้องพึง่ ไทยทำ�นูน่ นี่ แต่วนั นีเ้ ป็นอีกมุมแล้ว เพราะฉะนัน้ การทีจ่ ะเชือ่ มโยงกันหรือทำ�ข้อตกลงกัน การเจรจาก็ตอ้ งเปลีย่ น ไปตามสถานการณ์ ต้องเข้าใจ และให้เป็นประโยชน์ทั้งคู่ จีนเอาเงินหยวนลงตะกร้าเงินโลกจะมีผลกระทบยังไงบ้าง อำ�นาจการต่อรองของจีนจะต้องสูงขึ้นใช่ไหม คือจีนไม่ได้เพิ่งเริ่มทำ�เรื่องนี้ แต่ว่าเตรียมมาเป็น 10 ปี อย่างในช่วง 5 ปีหลัง มานี้ รัฐบาลไทยและรัฐบาลอาเซียนก็ส�ำ รองเงินเป็นสกุลหยวนแล้ว เพียงแต่ ว่าจีนก็พัฒนาตัวเองขึ้นไป จนถึงวันหนึ่งก็ขอเป็นเงินสกุลหลักของโลก การที่เป็นสกุลหลัก หมายความว่า สามารถจะสนับสนุนเรื่องการก่อสร้าง และการลงทุนในภูมภิ าคง่ายขึน้ ผมคิดว่าการใช้หยวนเป็นอัตราแลกเปลีย่ น จะมากขึน้ ตามโครงการความร่วมมือทีว่ างไว้ สมมติวา่ ต่อไปนี้ ถ้าเรานำ�เข้า ของจากเมืองจีนเราก็ไม่จ�ำ เป็นต้องเสนอราคาเป็นเหรียญสหรัฐฯ แล้ว ตัง้ เป็น หยวนก็ได้ ซึ่งรัสเซียกับจีนก็ทำ�อยู่ ตอนนี้รัสเซียกับจีนซื้อนํ้ามันกันก็ใช้สกุล เงินรูเบิลกับหยวนแลกกัน เรื่องแบบนี้ก็คงตามมาตามสถานะของเงินหยวน ที่เกิดขึ้น
เวลาว่าง: ส่วนใหญ่ผมจะไม่คอ่ ยว่าง ถ้าว่างก็มเี ล่นกีฬาบ้าง ไม่กเ็ ล่นดนตรีอย่างกีตา้ ร์หรือเปียโน ที่เล่นมาตั้งแต่เด็ก ตอนนี้ก็ยังได้เล่นอยู่บ้าง แต่ก็น้อยลงเยอะเพราะไม่ค่อยมีเวลาจริงๆ หนังสือที่ชอบอ่าน: ที่ บ้า นผมมี ทั้ง หนั ง สื อ เศรษฐศาตร์ และประวั ติศ าสตร์ ถึ งผมจะจบ เศรษฐศาสตร์ แต่คิดว่าวิชาการมันไม่มีสาขา อย่างเวลาเรียนปริญญาเอกเขาเรียกว่า PhD หรือ ปรัชญา ไม่ได้เรียกว่าจบเศรษฐศาสตร์หรือรัฐศาสตร์ เพราะสังคมศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์มัน ผสมผสานกัน อาจารย์ที่ผมชอบคุยด้วยตอนเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยโตรอนโต เขาเป็นหมอ แต่ ตอนหลังก็ไปสนใจเรื่องทฤษฎีเกม แล้วในที่สุดมันก็เป็นปรัชญา เรื่องพวกนี้เชื่อมโยงถึงกันหมด คุณทำ�งานศิลปะ คุณจะไม่เข้าใจเรื่องวัฒนธรรมก็ไม่ได้ มันเป็นสิ่งเดียวกัน ถ้าทุกคนพยายามเรียน รู้เรื่องอื่นที่ตัวเองยังไม่รู้ ทุกคนก็จะไปที่จุดเดียวกัน สิ่งที่อยากทำ�ต่อไป: ผมอยากทำ�ให้ตรงนี้มันดีขึ้น อย่างที่เป็นประธานกรรมการบริหาร สำ�นักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (OKMD) ซึ่งงานตรงนี้สำ�คัญมาก คือนอกจากต้องผลักดัน เศรษฐกิจไทยจาก 3 เปอร์เซ็นต์เป็น 5 เปอร์เซ็นต์แล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องเตรียมไว้ข้างหน้า ก็คือการ ทำ�ให้ผคู้ นรูค้ ณุ ค่าในการใช้ชวี ติ อย่างการเสพงานศิลปะหรืองานด้านความคิดสร้างสรรค์ เพือ่ ให้เป็น สังคมที่มีความสุข แต่ก็ต้องอาศัยทั้งความเข้าใจและความอดทน
CREATIVE THAILAND I 32
CREATIVE THAILAND I 33
How I Learned to Stop Worrying and Ig nore the Bomb
flickr.com/David McKelvey
Creative Will : คิด ทํา ดี
การเดินทางที่อะไรก็ไม่อาจต้านทานได้ เรื่อง: วิป วิญญรัตน์
ภายหลังเหตุการณ์เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2001 นายกเทศมนตรีกรุงนิวยอร์ก รูดอล์ฟ จูลิอานี (Rudolph Giuliani) ต้อง ออกมาเรียกร้องและสนับสนุนให้ชาวอเมริกนั หันมาจับจ่ายใช้สอย และกลับมาเทีย่ วนิวยอร์กอีกครัง้ ดิค เชนีย์ (Dick Cheney) อดีตรองประธานาธิบดีในขณะนั้นก็เรียกร้องให้ประชาชนออกจากบ้านมาบริโภค เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและเป็นการ “เอาคืน” ผู้ก่อการร้าย วิธีนี้ถูกเรียกว่าชาตินิยมทางการตลาด (Market Patriotism) ในระดับของการใช้ชีวิตประจำ�วันนั้น ดูเหมือนการต่อต้านการก่อการร้าย ไม่ปลอดภัยขึน้ มา แต่กรุงมิวนิก เยอรมนี ใช้วธิ สี ร้างมาตรการป้องกันมากกว่า หรือการทำ�ให้การก่อการร้ายไร้ผลที่สุด คือการทำ�ให้ชีวิตประจำ�วันอยู่ใน ที่จะโฆษณาตรงๆ เช่น ในช่วงเทศกาล Oktoberfest ซึ่งมีนักท่องเที่ยวกว่า สภาวะปกติที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อแนวคิดของการก่อการร้ายคือการ 7 ล้านคน กรุงมิวนิกได้เพิ่มจำ�นวนตำ�รวจทั้งในและนอกเครื่องแบบ มีล่าม ใช้ความรุนแรงเพือ่ ป่าวประกาศหรือสร้างข้อเรียกร้องทางการเมือง บางครัง้ กระจายอยู่ทั่วเมือง รวมทั้งลดอัตราการว่างงานลงด้วย ความรู้สึกต้องการ “เอาคืน” ผู้ก่อการร้ายอาจมาจากประชาชนทั่วไป เช่น อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าในยุคของการก่อการร้ายสากล การเดินทาง หลังเหตุการณ์ระเบิดที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 14 ระหว่างประเทศทั้งการท่องเที่ยวและเดินทางเพื่อธุรกิจกลับไม่ได้ลดลง มกราคม 2016 นั้น มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าคนขายของหาบเร่แผงลอยในบริเวณ มากนัก ภายหลังการก่อการร้ายที่นิตยสารชาร์ลี เอ็บโด (Charlie Hebdo) ที่เกิดเหตุการณ์ก่อการร้ายกลับสามารถขายของกันได้อย่างคึกคัก อีกทั้ง เมือ่ วันที่ 7 มกราคม 2015 การเดินทางเพือ่ การท่องเทีย่ วมายังกรุงปารีสของ กระแสตามสือ่ สังคมยังให้ความสนใจตำ�รวจหน้าตาดี ไปจนถึงเกิดปรากฏการณ์ ฝรั่งเศสกลับไม่ลดลงเลย อันที่จริงในไตรมาสแรกของปี 2015 การท่องเที่ยว เซลฟี่กับสถานที่เกิดเหตุด้วย นับเป็นการแสดงความไม่สนใจผู้ก่อการร้าย กลับขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.9 (เมื่อเทียบกับร้อยละ 2.7 ในไตรมาสแรกของ ของชาวอินโดนีเซียส่วนใหญ่ ปี 2014) ในขณะที่กรณีที่แย่ที่สุดเกิดขึ้นภายหลังเหตุการณ์ 11 กันยายน การเรียกร้องของรัฐบาลให้ประชาชนเริ่มบริโภค จนถึงปฏิกิริยาแบบ 2001 ตอนนั้นความต้องการเดินทางท่องเที่ยวลดลงอย่างรุนแรงร้อยละ 4 “สบายๆ” ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ (และอาจเป็นลักษณะเฉพาะทาง และกลับมาเติบโตแทบจะทันทีในปีถดั มาเมือ่ มีการเพิม่ มาตรการรักษาความ วัฒนธรรม) แสดงให้เห็นว่าสภาวะที่แลดูปกติเป็นมูลค่าที่สำ�คัญ และอาจ ปลอดภัย สำ�คัญยิ่งขึ้นในประเทศที่ให้ความสำ�คัญต่อระบบเศรษฐกิจที่มีรากฐานมา ถึงแม้ว่าการก่อการร้ายจะส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวในเมืองใหญ่ จากชื่อเสียง (Reputation Economy) และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว แต่การท่องเทีย่ วนอกเมืองใหญ่ตามส่วนต่างๆ ของประเทศทีม่ กั ไม่ใช่เป้าหมาย สำ�หรับผู้ประกอบการท่องเที่ยวและผู้บริหารเมืองนั้น สภาวะลักลั่น ของการก่อการร้ายก็สามารถช่วยแบ่งเบารายได้ที่ลดลง และนั่นอาจเป็นวิธี เกิดขึน้ เมือ่ มีการโฆษณาว่าเมืองปลอดภัยอาจเป็นจุดทีท่ �ำ ให้นกั เดินทางรูส้ กึ การต่อกรกับการก่อการร้ายของประชากรนักเดินทางในปัจจุบัน ทีม่ า: บทความ “Five Things That Prove the Terror Attack in Indonesia Is a Failure” จาก hermansaksono.com / บทความ “How Did Spending Become Our Patriotic Duty?” โดย Robert Reich จาก prospect.org / บทความ “How European Cities Are Tackling Tourists Safely” จาก cities-today.com / บทความ “Potential Impact of Paris Terrorist Attacks on Global Tourism Demand” โดย Caroline Bremner จาก blog.euromonitor.com / บทความ “Shop or We’ll Drop” จาก newsweek.com / บทความ “The Rise of the Reputation Economy” โดย Erica Swallow จาก forbes.com / wikpedia.org CREATIVE THAILAND I 34
CREATIVE THAILAND I 35
CREATIVE THAILAND I 36