oxford-royale.co.uk
Human beings the world over need freedom and security that they may be able to realize their full potential. มนุษย์ทั่วโลกต้องการอิสรภาพและความปลอดภัย เพื่อที่พวกเขาจะสามารถใช้ศักยภาพของตนอย่างเต็มที่ Aung San Suu Kyi
ออง ซาน ซูจี
สารบัญ The Subject
6
The Object
7
Creative Resource
8
มัดใจชาวพมาดวยคุณภาพแบบไทย
Dawei : Rising Star
Featured DVD/ Book/ Book/ DVD
Cover Story
12
Insight
20
Creative Entrepreneur
22
Creative City
24
The Creative
28
Creative Will
34
Virgin Territory พมากับอนาคตที่ปรารถนา
filmofilia.com
คูแขงหรือหุนสวน?
Matter
10
Classic Item
11
ตัดบัวใหเหลือใย… โอท็อปผาทอแหงทะเลสาบอินเล
Hnyat-phanat
กวยเตี๋ยวสุโขทัยแมศรีวรรณ
เชียงราย การเปลี่ยนผานของฤดูกาล
The Burmese Interpretations
Protecting Burma's Heritage
บรรณาธิการอำนวยการ l อภิสิทธิ์ ไลสัตรูไกล ที่ปรึกษา l กิตติรัตน ปติพานิช, ชมพูนุท วีรกิตติ, พิชิต วีรังคบุตร, กนกพร เกียรติศักดิ์, วราภรณ วศินสังวร, จรินทรทิพย ลียะวณิช บรรณาธิการบริหาร l ศุภมาศ พะหุโล ผูชวยบรรณาธิการ l พัชรินทร พัฒนาบุญไพบูลย กองบรรณาธิการ l ศิริอร หริ่มปราณี, มนฑิณี ยงวิกุล, เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร, กริยา บิลยะลา เลขากองบรรณาธิการ l กมลกานต โกศลกาญจน บรรณาธิการศิลปกรรม l พจน องคทวีเกียรติ, ดุษฎี มุทุกันต, พัชราภรณ เตชะเลิศไพศาล สมาชิกสัมพันธ l ปยะพร สวัสดิ์สิงห จัดทำโดย l ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (TCDC) ชั้น 24 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอร 622 สุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 โทร. 02 664 7667 แฟกซ. 02 664 7670 ติดตอลงโฆษณาไดที่ creativethailand@tcdc.or.th พิมพที่ l บริษัท ทูโฟร พริ้นติ้ง จำกัด โทร. 02 416 7300 แฟกซ. 02 416 7320 จำนวน 50,000 เลม นิตยสารฉบับนี้ใชหมึกพิมพจากน้ำมันถั่วเหลืองที่ไมเปนอันตรายตอสุขภาพ ทั้งยังเปนมิตรตอสิ่งแวดลอม และใชกระดาษรีไซเคิล ซึ่งเปนผลผลิตของผูประกอบการไทย จัดทำภายใตโครงการ “Creative Thailand สรางเศรษฐกิจไทยดวยความคิดสรางสรรค” โดยศูนยสรางสรรคงานออกแบบ สำนักงานบริหารและพัฒนาองคความรู (องคการมหาชน) ซึ่งมีเปาหมายในการเผยแพรความรูเกี่ยวกับเศรษฐกิจสรางสรรค (Creative Economy) และผลักดันการใชความคิดสรางสรรคในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส แสดงที่มา-ไมใชเพื่อการคา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย
EDITOR'S NOTE บทบรรณาธิการ
Democracy and Feel Good เมือ่ เร็วๆ นี้ ประธานาธิบดีเต็ง เส่ง ของพม่าได้ให้สมั ภาษณ์แก่ส�ำ นักข่าวบีบซี ี โดยถ้อยคำ�ทีใ่ ห้สมั ภาษณ์นน้ั ไม่ใช่ขอ้ ความทัว่ ๆ ไปทีเ่ ชิญชวนเรือ่ งการลงทุนหรือเรียกร้องให้ประเทศต่างๆ ยกเลิกมาตรการควํา่ บาตรทาง เศรษฐกิจต่อพม่า แต่เป็นคำ�สัมภาษณ์ดว้ ยท่าทีสงบนิง่ ซึง่ ถือเป็นการเปิดประวัตศิ าสตร์หน้าสำ�คัญของระบอบ ประชาธิปไตยในพม่า เมือ่ เขากล่าวว่า เขาสามารถยอมรับได้ หากชาวพม่าเลือกและสนับสนุนให้นางออง ซาน ซูจี กลายเป็นประธานาธิบดีของพม่า เพราะรัฐบาลพม่าจะต้องยอมรับอุดมการณ์ของประชาชน ไม่วา่ จะมีการเลือกใครก็ตามขึน้ เป็นผูน้ �ำ ในการเลือกตัง้ ครัง้ หน้าในปี 2015 ทัศนะของประธานาธิบดีเต็ง เส่ง ครัง้ นี้ ได้รบั คำ�ชืน่ ชมอย่างกว้างขวางและยังเป็นเหมือนพลุสญั ญาณที่ ส่องทางสดใสให้แก่ประชาธิปไตยของพม่า เพราะหลังจากเก็บตัวอยู่ในเงาของระบอบเผด็จการทหารมา ยาวนานกว่าครึ่งศตวรรษ พม่าก็เดินหน้าสู่ประชาธิปไตยด้วยหนทางที่หลายฝ่ายยังเคลือบแคลงใจ เพราะ การพิสจู น์ความจริงแห่งการปฏิรปู ประเทศนัน้ ต้องมาพร้อมกับการแก้ไขอุปสรรคนานัปการ ทัง้ ปัญหาความ ขัดแย้งของชนกลุ่มน้อย โครงสร้างพื้นฐานของประเทศที่ยังมีไม่ทั่วถึง คุณภาพชีวิตและรายได้ของ ประชาชนที่ยังอยู่ตา่ํ กว่ามาตรฐาน ซึง่ หากไร้การวางทิศทางในการแก้ปญั หาตัง้ แต่ตน้ เมือ่ ประเทศเปิดรับการ ลงทุนครัง้ ใหญ่ มันอาจจะยิง่ ถ่างช่องว่างของชาวพม่าให้เพิม่ ขึน้ ไปอีก โดยเฉพาะอย่างยิง่ เมือ่ เศรษฐกิจโลก ต้องวิง่ วุ่นหาที่พึ่งและหลบเลี่ยงจากวิกฤตการเงินในยุโรป และยังต้องเลี้ยวผ่านจีนซึ่งกำ�ลังมีกรณีพิพาท ที่ลุกลามบานปลายกับญีป่ นุ่ อยูใ่ นขณะนี้ การเปิดประเทศของพม่าจึงกลายเป็นเรือ่ งดีทส่ี ดุ ไม่กเ่ี รือ่ งในสภาวะเศรษฐกิจโลกตอนนี้ และยังถือว่ามี นัยสำ�คัญทางเศรษฐกิจของไทย เพราะพืน้ ทีแ่ ถบนีจ้ ะกลายเป็น "อีโคโนมิกโซน" ทีร่ วมตัง้ แต่พม่า ไทย กัมพูชา ลาว ไปจนถึงเวียดนามหรืออนุภูมิภาคลุ่มแม่นํ้าโขง (Greater Mekong Subregion: GMS) ซึง่ เป็นการ เชื่อมต่อทะเลจีนใต้กับทะเลอันดามันเข้าด้วยกัน ซึ่งจะทำ�ให้เมื่อสินค้าถูกขนส่งมาจากยุโรปหรือแอฟริกา จะสามารถมาพักหรือผลิตที่ไทยเพื่อส่งออกต่อไปยังจีนและญี่ป่นุ ได้โดยไม่ต้องพึ่งเส้นทางที่ผ่านช่องแคบ มะละกา และเมือ่ เชือ่ มต่อกับมณฑลยูนนานของจีนเข้าไปด้วย พืน้ ทีแ่ ห่งนีก้ จ็ ะกลายเป็นพืน้ ทีท่ ม่ี ปี ระชากรซึง่ เป็นตลาดบริโภคทีม่ ขี นาดใหญ่กว่า 250 ล้านคน ทัง้ ยังเต็มไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจนแรงงานอายุ น้อยทีอ่ าศัยอยูท่ ง้ั ในพม่าและเวียดนาม พืน้ ทีเ่ ชือ่ มต่อนีจ้ งึ มีความสำ�คัญในเชิงยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ และเมือ่ มองภาพเป็นผืนเดียวกันแล้ว ประเทศไทยจะอยูต่ รงกลางของโอกาสทีด่ ที ส่ี ดุ ทัง้ หมดนี้ ด้วยบรรยากาศอันดีจากการเปิดกว้างของระบอบประชาธิปไตยและความหวังของชาวพม่าที่จะได้มี โอกาสเลือกชีวติ ของตนเอง จะเป็นแรงส่งสำ�คัญทีห่ นุนให้พม่าผ่านช่วงหัวเลีย้ วหัวต่อทางการเปลีย่ นผ่านของ ประเทศไปได้ ทัง้ การบริหารจัดการภายในประเทศและการเชือ่ มต่อกับอนาคตของกลุม่ ก้อนเศรษฐกิจพิเศษ ทัง้ หลาย และขณะทีก่ ารจัดตัง้ กลุม่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) อยูร่ ะหว่างการแต่งเนือ้ แต่งตัวนัน้ สิง่ ที่ จับต้องได้จริงๆ จากปฏิสัมพันธ์ทางด้านการค้าชายแดน รวมถึงการแลกเปลี่ยนทางด้านวัฒนธรรม และ ความเป็นอยู่ที่เกิดขึ้นแล้วของพม่า ไทย ลาว และจีนนั้น จะยังดำ�เนินอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันที่ชายแดนของไทย สิ่งนี้น่าจะเป็นแรงกระตุ้นให้เราต้องขบคิดและไตร่ตรองถึงอนาคตให้ถี่ถ้วนขึ้น อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล บรรณาธิการอํานวยการ พฤศจิกายน 2555 l Creative Thailand
l5
THE SUBJECT ลงมือคิด
มัดใจชาวพม่าด้วยคุณภาพแบบไทย เรื่อง: ศุภมาศ พะหุโล และ พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์
gotoknow.org
cokethai.com
"การที่คนพม่าได้เปิดกระป๋องดื่มโคคา-โคลา ก็ไม่ต่างอะไรกับตอนที่คนจีนได้ใช้มีดและส้อมในการกินพิซซ่า ซึ่งถือเป็นโอกาสใหม่ใน การสัมผัสวัฒนธรรมจากซีกโลกตะวันตกโดยเฉพาะอเมริกา แต่หากนับเฉพาะการบริโภคสินค้าในภูมิภาคเอเชียด้วยกัน ด้วยการ เลือกระหว่างสินค้าที่ผลิตจากจีนกับไทยแล้ว คนที่นั่นก็ยังเลือกที่จะบริโภคสินค้าจากไทยอยู่ดี เพราะเขามั่นใจในคุณภาพที่มากกว่า และอายุการใช้งานที่นานกว่า" นักลงทุนชาวพม่าทิง้ ท้ายก่อนออกเดินทางไปยังย่างกุง้ เพือ่ ทำ�สัญญาร่วมลงทุนเปิดเชนร้านสะดวกซือ้ สัญชาติญี่ปุ่นที่จะค่อยๆ กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตใหม่ในพม่าในอนาคตไม่ช้านี้
เมื่อภารกิจในการเลี้ยงดูประชากรกว่า 50 ล้านคนของรัฐบาลพม่ายังเป็น งานที่ ห นั ก และท้ า ทายเกิ น ไปสำ � หรั บ ประเทศประชาธิ ป ไตยใหม่ ที่ ขาดแคลนเทคโนโลยีและเงินทุนในการผลิตสินค้าและอุตสาหกรรม แปรรูปต่างๆ เพราะเพียงสินค้าพื้นฐานอย่างนํ้ามันพืช นํ้าตาล อาหารกึ่ง สำ�เร็จรูป หรือรองเท้า ก็ยงั เป็นสินค้าทีพ่ ม่าต้องพึง่ พาการนำ�เข้า เนือ่ งจาก ภาคอุตสาหกรรมสามารถผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคป้อนตลาดได้เพียงร้อยละ 20 ของความต้องการทั้งหมด โดยมีสินค้าไทยเป็นสินค้าหนึ่งในดวงใจ ของผู้บริโภคชาวพม่า ด้วยความเชื่อว่าเป็นสินค้าที่มีคุณภาพดี แม้จะมี ราคาค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับสินค้าจากประเทศคู่แข่งรายใหญ่เช่นจีน ทุกวันนี้เราจึงเห็นชาวพม่าจับจ่ายสินค้าแบรนด์ไทยทั้งอาหารแปรรูป เครือ่ งปรุงรส ขนมขบเคีย้ ว และกาแฟบรรจุกระป๋องทีเ่ ริม่ เป็นทีน่ ยิ มมากขึน้ ตลอดจนสินค้าที่เคยถูกคุมเข้มห้ามนำ�เข้าประเทศนับสิบปีอย่างผงชูรส นํ้าหวานและเครื่องดื่ม อาหารกระป๋อง บะหมี่กึ่งสำ�เร็จรูป ซึ่งเพิ่งได้รับ การยกเลิกมาตรการห้ามนำ�เข้าไปเมื่อเดือนกรกฎาคมปีที่ผ่านมา แม้ไทยจะครองความเป็นเจ้าตลาด แต่การจะเป็นหนึ่งในใจของผู้ บริโภคชาวพม่าให้ได้ยาวนานในวันที่สังคมพม่ากำ�ลังเกิดการเปลี่ยนผ่าน ที่ชัดเจนและรวดเร็วเช่นนี้ ผู้ประกอบการชาวไทยจึงไม่เพียงต้องเข้าใจ
ตลาดส่งออกที่มีมูลค่าต่อปีเกือบ 3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และมีอัตรา การขยายตัวสูงถึงร้อยละ 31 ต่อปีนี้เท่านั้น แต่ยังต้องรู้จักความต้องการ ของผู้บริโภคที่กำ�ลังจะกลายเป็นผู้บริโภครายใหม่ที่โลกต้องหันมาใส่ใจ กันมากขึน้ โดยเฉพาะเมือ่ พม่าแทบจะเป็นประเทศเดียวในเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ที่รอดพ้นจากผลกระทบวิกฤตเศรษฐกิจโลกเนื่องจากการติดต่อ ค้าขายกับโลกตะวันตกยังมีจำ�กัด ซึ่งเราอาจเริ่มทำ�ความรู้จักกับพวกเขา ตั้งแต่เรื่องเล็กๆ อย่างเช่น ชาวพม่าไม่นิยมกินหวาน ชอบกะทิ และไม่ บริโภคกระเพราเพราะเป็นอาหารสัตว์ ไปจนถึงเรือ่ งใหญ่ๆ อย่างการสร้าง เมืองหลวงใหม่ท่ตี ้องนำ�เข้าวัสดุก่อสร้างอย่างเหล็กและเครื่องจักรมากขึ้น รวมถึงการเป็นอนาคตใหม่ในฐานะศูนย์กลางการกระจายสินค้าสู่ตลาด เอเชียใต้ เช่น อินเดีย บังคลาเทศ และจีนตอนใต้ ซึ่งจะกลายเป็นช่อง ทางสำ�คัญในการเพิ่มปริมาณและมูลค่าการส่งออกของไทย การจะรักษาตัวเลขทางการตลาดให้เติบโตอย่างต่อเนือ่ งนัน้ อาจไม่ใช่ เรื่องท้าทายสำ�หรับผู้ประกอบการไทยมากเท่ากับการรักษาความเป็น แบรนด์ไทยที่หนึ่งในใจของชาวพม่าให้คงอยู่ แม้ในวันที่สินค้าไทยต้อง ถูกทดสอบและเปรียบเทียบกับสินค้าจากประเทศคู่แข่งที่กำ�ลังตบเท้าเข้า มาเชิญชวนให้ชาวพม่าเลือกจับจ่ายกันมากขึ้นนับจากนี้ก็ตาม
ที่มา: Myanmar: country profile (13 เมษายน 2012) โดย Euromonitor International ตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคในสหภาพพม่า โดย สำ�นักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เก็บตกจากต่างแดน ตลาดผู้บริโภคในพม่า (พฤษภาคม 2012) โดย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำ�เข้าแห่งประเทศไทย
6 l Creative Thailand l พฤศจิกายน 2555
THE OBJECT คิดแล้วทำ�
DAWEI : RISING STAR เรื่อง: มนฑิณี ยงวิกุล
ในการรบระหว่างไทยและพม่า ทวายคือเมืองเป้าหมายในการยึดครองของแต่ละฝ่าย เพราะเป็นจุดสะสม ไพร่พลและเสบียงในการรบ และเมื่อศึกสงครามผ่านพ้นไป เมืองชายแดนแห่งนี้ไม่เพียงคงครอง ความสำ�คัญสำ�หรับทั้งสองประเทศ แต่ยังได้ก้าวขึ้นมาในฐานะจุดยุทธศาสตร์สำ�คัญแห่งภูมิภาค
To Far East (China, Japan and Korea) DAWEI Land Bridge From Middle East
Malacca Route
ด้วยทำ�เลที่ตั้งของเมืองทวายที่อยู่ติดกับชายฝั่งทะเลอันดามันและอยู่ตรง ข้ามกับตลาดขนาดใหญ่อย่างอินเดีย ทวายจึงเป็นเส้นทางการเดินเรือต่อ ไปยังตะวันออกกลางที่เปี่ยมด้วยศักยภาพ เพราะเป็นเส้นทางที่สั้นกว่า เส้นทางการเดินเรือทีใ่ ช้อยูใ่ นปัจจุบนั ซึง่ ต้องแล่นเรืออ้อมคาบสมุทรมลายู และผ่านจุดเสี่ยงกับกลุ่มโจรสลัดในอดีตอย่างช่องแคบมะละกา ข้อดี ทั้งหมดนี้จึงทำ�ให้โครงการท่าเรือนํ้าลึกทวายกลายเป็นจุดรวมพลสินค้าที่ ส่งตรงมาจากจีน เวียดนาม และไทย เพื่อส่งต่อไปยังฝั่งตะวันตกได้ รวดเร็วและประหยัดต้นทุนมากกว่าเดิม ทัง้ ยังเป็นเสมือนความหวังครัง้ ใหม่ จากก่อนหน้านี้ที่ประเทศไทยเคยมีความพยายามในการร่นระยะทางการ เดินเรือด้วยการนำ�เสนอโครงการขุดคอคอดกระที่จังหวัดระนองให้เป็น เส้นทางเดินเรือ และการดำ�เนินโครงการสะพานเศรษฐกิจเชื่อมโยงทะเล อันดามันและอ่าวไทย หรือโครงการแลนด์ บริดจ์ ที่จังหวัดสงขลาและ สตูล
การเปลี่ยนแปลงของทวายที่ครอบคลุมไปถึงการตั้งเมือง นิคม อุตสาหกรรม และรีสอร์ตนั้น ทำ�ให้ทวายมีแนวโน้มที่จะถูกจัดตั้งเป็นเขต เศรษฐกิจพิเศษและกลายเป็นตลาดที่มีกำ�ลังซื้อสำ�หรับสินค้าจากไทย ทั้งที่เป็นการบริโภคภายในเมืองเองหรือการกระจายสินค้าต่อขึ้นไปทาง ตอนเหนือผ่านเมืองต่างๆ ไปจนถึงเมืองย่างกุ้ง ปัจจุบันแม้ว่าโครงการดังกล่าวจะยังไม่เริ่มก่อสร้างและอาจต้องใช้ เวลาหลายปีกว่าจะแล้วเสร็จ แต่เพียงแค่เส้นทางแห่งอนาคตที่มองเห็น ร่วมกันอย่างชัดเจนของกลุม่ ประเทศในภูมภิ าคเอเชีย ก็ทำ�ให้ทวายไม่เพียง เป็นเมืองที่มีเสน่ห์เย้ายวนนักลงทุนมากที่สุดแห่งหนึ่งในเวลานี้ แต่ยังเผื่อ แผ่แรงดึงดูดนั้นมายังจังหวัดกาญจนบุรีที่จะเป็นจุดเชื่อมต่อกับทวาย โดยตรงของไทยนั้นให้กลายเป็นดาวจรัสแสงไปด้วยเช่นกัน ที่มา : เจาะลึกท่าเรือทวาย: ตอนที่ 3 เปิดแผนมือเศรษฐกิจรัฐบาล ทวายหมากเด็ดตะลุยอินเดีย อนาคตอีก 30 ปีไทย (17 สิงหาคม 2555) จาก thairath.co.th ทวาย พม่า และท่าเรือนลึก เชื่อมเส้นทางขนส่งพม่า-ไทย (13 มีนาคม 2555) จาก thai-aec.com ราคาที่ดินกาญจน์พรวดรับ ‘ทวาย’ หลักหมื่นทะลุแสนบาท/ไร่ ตปท.จ้องผุดรร.รับนักเที่ยว (9 กันยายน 2555) จาก matichon.co.th พฤศจิกายน 2555 l Creative Thailand
l7
CREATIVE RESOURCE วัตถุดิบทางความคิด
เรื่อง: เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร และ กริยา บิลยะลา
filmofilia.com
FEATURED DVD
THE LADY
กำ�กับโดย Luc Besson
การโบกมือลาสามี ดร.ไมเคิล แอริส และลูกๆ เพื่อกลับมาเยี่ยมแม่ที่ป่วยในพม่า ได้เปลี่ยน สถานะของ ออง ซาน ซูจี จากนักศึกษา ภรรยา และแม่ของลูกในโลกเสรีตะวันตก สูก่ ารเริม่ ต้น บทบาทใหม่ในฐานะปัญญาชนที่ให้คำ�แนะนำ� กับเหล่านักศึกษาและนักวิชาการหัวก้าวหน้า ในช่วงวิกฤตทางการเมือง จนกระทั่งก้าวขึ้น เป็นผู้นำ�พรรคเพื่อสานต่อความคิดของบิดา โดยมีเป้าหมายหลักคือการสร้างประชาธิปไตย ในพม่ า ซึ่ ง ถู ก รั ฐ บาลทหารกี ด กั น มาอย่ า ง ยาวนาน ภาพยนตร์โดย ลุค เบซอง ผู้กำ�กับจาก เมืองนํ้าหอม แม้จะฝากฝีมือกับภาพยนตร์แนว แอ็กชัน่ มาแล้วหลายเรือ่ ง แต่การเปลีย่ นรูปแบบ มาสร้างภาพยนตร์แนวอัตชีวประวัติก็ได้รับ เสียงปรบมือไม่น้อย ซึ่งต้องชื่นชมไปยัง มิเชล โยว ผู้รับบท ออง ซาน ซูจี ที่สามารถถ่ายทอด บุคลิกและบทบาทที่เข้มแข็งเด็ดเดี่ยวได้อย่าง ไม่มีที่ติ การดำ�เนินเรื่องสะท้อนเหตุการณ์ที่ 8 l Creative Thailand l พฤศจิกายน 2555
เกิดขึ้นจริง โดยใช้ภาพการจากลาครอบครัว ตอนต้นเรื่องเป็นจุดเปลี่ยนสำ�คัญ แต่การเล่า เรื่องที่สลับไปมาระหว่าง ออง ซาน ซูจี ที่ต้อง ต่อสู้ในพม่า และสามีที่ตอ่ สู้อยูภ่ ายนอกประเทศ ทั้งการยื่นขอรางวัลโนเบล หรือการขอความ ช่วยเหลือจากองค์การสหประชาชาติ ก็เป็นการ สร้างมิติความสัมพันธ์ที่แสดงให้เห็นถึงความ รักและพลังของการต่อสู้อันเข้มแข็งซึ่งไม่ได้ เกิดขึ้นเพียงลำ�พัง หากนึกถึงพม่าและการต่อสูข้ อง ออง ซาน ซูจี แล้ว ภาพการปราศรัยและถูกกักบริเวณใน บ้านของเธอเองเป็นสิ่งที่ชินตาในช่วงเกือบสอง ทศวรรษที่ผ่านมา แต่การได้รับอิสรภาพในปี 2010 พร้อมนักโทษการเมืองนับร้อยคน และ โอกาสในการทำ�ภาพยนตร์เรื่องนี้ จึงนับเป็น สัญญาณที่ดีต่อประชาคมโลกที่จะจับจ้องพม่า ในสายตาเชิงบวกมากขึ้น ยิ่งการลงชิงชัยใน การเลือกตั้งซ่อมและได้รับชัยชนะในวันที่ 1 เมษายน ของ ออง ซาน ซูจี กับพรรคสันนิบาต
แห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยในพม่า (NLD) ก็ยิ่ง เป็ น การประกาศเจตนารมณ์ แ ละความ ปรารถนารสประชาธิปไตยแบบเสรีของคนพม่า รวมถึ ง นานาประเทศที่ ได้ แง้ มประตู ต้ อนรั บ พม่าเสมือนเป็นมิตรใหม่ ไม่ว่าจะเป็นสหภาพ ยุโรปที่ประกาศยกเลิกการบอยคอตทางการค้า และการทูต แม้เพือ่ ดูทา่ ทีในระยะเริม่ ต้นเพียง 1 ปี แต่ก็ทำ�ให้บริษัทเอกชนเข้ามาลงทุนในพม่า เพิ่มขึ้นมาก รวมถึงแคนาดาและออสเตรเลีย ที่ต่างก็ขานรับการเป็นมิตรใหม่กับพม่าเช่นกัน ส่วนประเทศยักษ์ใหญ่อย่างอเมริกาก็ได้ยกเลิก การบอยคอตในการช่วยเหลือทางการเงินด้าน มนุษยชน ทั้งหมดนี้พิสูจน์ว่า ออง ซาน ซูจี ไม่ ได้เป็นเพียงตัวละครเอกใน The Lady แต่กลับ เป็นตัวหลักที่สะท้อนภาพรวมและจุดเปลี่ยน ของพม่าในสายตาของประชาคมโลก ซึง่ คงต้อง รอชมว่า การปฏิรูปทางการเมืองครั้งนี้ จะเป็น ก้าวที่ดีต่อการเปลี่ยนแปลงในส่วนอื่นๆ ต่อไป อย่างไร
CREATIVE RESOURCE วัตถุดิบทางความคิด
BOOK BURMESE: DESIGN & ARCHITECTURE
โดย John Falconer, Elizabeth Moore, Daniel Kahrs และ Luca Invernizzi Tettoni แม้ว่าเราจะใช้เขตแดนร่วมกับพม่าในระยะทาง อินเดีย และแฝงไปด้วยความหมายของความเชื่อ รวมเกือบ 2,000 กิโลเมตร แต่ก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ด้านวิญญาณ ศาสนา และการเมือง ผู้แต่งหนังสือ นอกจากเรื่ อ งความสงครามในประวั ติ ศ าสตร์ เล่มนี้เป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขาและ ปัญหาชนกลุ่มน้อย และการเมืองภายใน เราก็ ได้รับความร่วมมืออันดีจากหลายฝ่าย จนทำ�ให้ ไม่ ค่ อ ยรู้ อ ะไรเกี่ ย วกั บ เพื่ อ นบ้ า นฝั่ ง ตะวั น ตกนี้ สามารถลงลึ ก ได้ ถึ ง รายละเอี ย ดพร้ อ มข้ อ มู ล เท่าใดนัก หนังสือเล่มนีจ้ งึ อาจเป็นหนังสือเล่มแรกๆ ที่น่าสนใจทั้งด้านวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ที่พูดถึงการออกแบบ ศิลปะ หัตถกรรมและ ภาพทีป่ รากฏในหนังสือจึงเป็นเสมือนภาพอดีตที่ถูก สถาปัตยกรรมในพม่า หนึ่งในไม่กี่ประเทศในโลก แช่แข็งไว้ด้วยกาลเวลา ก่อนทุกอย่างจะเริ่มก้าวสู่ ปัจจุบนั ทีป่ ดิ กัน้ ตัวเองจากอิทธิพลของโลกภายนอก การเปลี่ยนแปลงและก่อนที่โอกาสใหม่ๆ จะเกิดขึ้น งานออกแบบจึงยังคงเต็มไปด้วยเอกลักษณ์ของ ในอีกไม่ช้า วัฒนธรรมดั้งเดิมที่ได้รับอิทธิพลมาจากจี น และ
OFFICIAL PORTRAITS
โดย Klaus Zwangsleitner สำ � หรั บ รู ป ติ ด บั ต รหรื อ รู ป ที่ ใ ช้ ติ ด ต่ อ ราชการ หลายคนเลือกที่จะหลีกเลี่ยงไม่อยากนำ�ออกมา อวดใคร แต่หนังสือรวมภาพเล่มนี้กลับเลือกรวบ รวมภาพถ่ า ยทางการของผู้ นำ � ประเทศสมาชิ ก ทั้งหมดภายใต้องค์การสหประชาชาติ ทีแ่ ม้จะเป็น ภาพทางการที่ขาดแรงเคลื่อนไหว แต่สง่ิ ทีถ่ า่ ยทอด ให้เห็นได้ก็คือ สัญญะแห่งอำ�นาจ อารมณ์ และ
การวางภาพที่สะท้อนถึงลักษณะในการบริหาร ประเทศของบรรดาผู้นำ�ทั้ง 191 ประเทศ โดย เฉพาะการเลือกนำ�ภาพของพลเอกอาวุโสตานฉ่วย ประธานสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ ผู้นำ� เผด็จการของรัฐบาลทหารพม่าขึ้นมาเป็นภาพปก ที่สามารถสื่อความหมายของ "Official Portraits" ได้อย่างตรงตัวและหนักแน่นมากกว่าใคร
DVD TITANIC 3D
กำ�กับโดย James Cameron ภาพยนตร์ตำ�นานรักระหว่างชนชั้นบนเรือสำ�ราญ ไททานิคที่มีนักแสดงนำ�อย่าง ลีโอนาโด ดิคาปริโอ และ เคท วินสเลต โดย ทเวนตี้ เซ็นจูรี ฟ็อกซ์ ได้ถูกนำ�มาทำ�ใหม่อีกครั้งในระบบสามมิติสมจริง และคงไม่ใช่แค่คอหนังทัว่ โลกทีร่ อสัมผัส แต่คอหนัง ฮอลลี วู ด ชาวพม่ า ก็ จ ะได้ ช มภาพยนตร์ เ รื่ อ งนี้ เป็ น ครั้ ง แรกหลั ง จากที่ พ ลาดชมไปเมื่ อ ครั้ ง ที่ ภาพยนตร์ เ รื่ อ งนี้ โ ด่ ง ดั ง เป็ น อย่ า งมากในช่ ว งปี 1997 นี่จึงนับเป็นภาพยนตร์จากบริษัทอเมริกัน บริ ษั ท แรกที่ ม าเปิ ด ตลาดให้ ค อหนั ง ชาวพม่ า ได้ชมกันในรอบ 50 ปีหลังเกิดรัฐประหาร โดย การร่วมลงทุนกับบริษัทเอกชนยักษ์ใหญ่ในพม่า
อย่ า งบริ ษั ท มิ ง กาลาร์ ที่ ถื อ ส่ ว นแบ่ ง ในตลาด ภาพยนตร์กว่าร้อยละ 80 นอกจากนี้ในส่วนของ โรงภาพยนตร์ก็ยังมีการปรับให้ทันสมัยในระบบ ดิจิทัลและมัลติเพล็กเพื่อรองรับทิศทางของผู้ชม และอุ ต สาหกรรมที่ มี แ นวโน้ ม จะดี ขึ้ น หลั ง จาก ซบเซามานานนับ 10 ปี คงต้องคอยจับ ตาว่า Titanic 3D จะเป็นเรือลำ�ใหญ่ทน่ี �ำ ความเปลีย่ นแปลง ให้พม่าเปิดรับกลิ่นอายของอิสรภาพในการเสพ ภาพยนตร์โดยไร้ข้อจำ�กัดใดๆ ได้เช่นเดียวกับ อ้อมแขนที่เปิดกว้างและเป็นอมตะของแจ็กกับโรส หรือไม่ พฤศจิกายน 2555 l Creative Thailand
l9
MATTER วัสดุต้นคิด
ตัดบัวให้เหลือใย…โอท็อปผ้าทอแห่งทะเล เรื่อง: พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์
© oknation.net
©thippy-thetraveller.blogspot.com
©thippy-thetraveller.blogspot.com
เพราะวัสดุที่ดีที่สุดย่อมเกิดจากวัตถุดิบตามธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นการเลือกใช้วัตถุดิบ จากธรรมชาติอย่างชาญฉลาดแล้ว ก็ไม่เพียงจะสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ แต่ยังสามารถสร้างมูลค่าให้กับวัสดุนั้นๆ ได้มากอย่างคาดไม่ถึง
ชุมชนชาวอินทาทีอ่ าศัยอยูร่ อบๆ ทะเลสาบอินเล ในเขตรัฐฉานตอนใต้ของพม่านั้น มีอยู่มากกว่า 32 หมู่บ้าน รวมประชากรแล้วกว่าหนึ่งแสนคน ส่วนใหญ่ดำ�รงชีพด้วยการทำ�เกษตรกรรมและ การประมง โดยมีอาชีพเสริมหลายๆ อย่างเป็น แหล่งรายได้สำ�คัญให้กับครอบครัวและชุมชน หนึ่ ง ในนั้ น ก็ คื อ การทอผ้ า จากใยบั ว ของชาว หมู่บ้านอินปอคอม ซึ่งเป็นวิธีการทอผ้าที่มีมา แต่ ส มั ย โบราณด้ ว ยการนำ � เอาวั ต ถุ ดิ บ จาก ธรรมชาติอย่าง “ใยของก้านบัวหลวง” มาค่อยๆ ขมวดเกลียวเป็นเส้นยาว ก่อนจะนำ�มาถักทอ เป็ น ผื น ผ้ า และเครื่ อ งนุ่ ม ห่ ม ที่ มี ทั้ ง ความ สวยงามและมีราคา ว่ากันว่าที่ ม าของผ้าทอใยบัวนั้นเกิ ด จาก การที่ ช าวอิ น เลซึ่ ง เป็ น กลุ่ ม คนที่ มี ศ รั ท ธาใน พระพุทธศาสนาเป็นอย่างสูง เริ่มนำ�เอาเส้นใย จากก้ า นบั ว หลวงมาผ่ า นกระบวนการตาม ภูมิปัญญาชาวบ้านเพื่อถักทอเป็นผ้าจีวรหรือ
ผ้าห่มเจดีย์ถวายในพิธีที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนา มาตั้งแต่ครั้งโบราณ แตกต่างจากกลุ่มคนใน ประเทศบ้ า นใกล้ เ รื อ นเคี ย งที่ มั ก นิ ย มเลี้ ย ง หม่อนไหมเพื่อนำ�เส้นใยที่ได้มาถักทอเป็นผืน ผ้าและเครื่องนุ่มห่มแทน ทุกๆ วัน หญิงชาวอินทาจะลุกขึ้นมาผลิต ชิ้นงานสร้างสรรค์ด้วยการดึงใยบัวออกมาจาก ก้านบัวแต่ละก้านที่ผ่านการแช่นํ้าให้นุ่มลงเป็น เวลา 10-15 วันด้วยความระมัดระวัง ก่อนจะ นำ�มาปั่นเป็นด้ายด้วยมือ ซึ่งจะต้องใช้ก้านบัว มากกว่า 30,000 ก้าน เพือ่ ให้ได้ผา้ ทีม่ คี วามยาว 1 หลา กรรมวิธนี จ้ี งึ ต้องใช้ทง้ั แรงงาน เวลา และ ทักษะฝีมือ เพื่อให้เกิดเป็นสิ่งทอที่มีเอกลักษณ์ จากธรรมชาติ ทั้งยังมีคุณสมบัติที่ดีอย่างการ ซึมซับน้าํ และให้ความรู้สึกเย็นสบายเมื่อสวมใส่ จนกลายเป็นผ้าทอที่ได้รับความนิยมในการซื้อ หาจากบรรดานั ก ท่ อ งเที่ ย วที่ ผ่ า นไปในแถบ ทะเลสาบอินเล แม้ว่าจะมีราคาจำ�หน่ายสูงถึง
ผืนละ 500 เหรียญสหรัฐฯ (ราว 15,000 บาท) ก็ตาม ทุกวันนี้ การผลิตเส้นใยจากบัวหลวงได้รับ การพัฒนาให้เข้าสู่กระบวนการอุตสาหกรรม มากขึ้น โดยมีการเพิ่มคุณสมบัติของเส้นใย ด้วยการนำ�ไปปั่นผสมกับใยฝ้าย หรือใช้เทคโน โลยี ใ หม่ ใ นการดึ ง เส้ น ใยและปั่ น ด้ า ยที่ มี ประสิ ท ธิ ภ าพเพื่ อ เพิ่ ม ความแข็ ง แรงและ ปริมาณในการผลิตให้ได้มากขึน้ ขณะที่อุตสาห กรรมผ้าทอใยบัวพื้นเมืองของชาวอินทาก็ยังคง เกิดขึน้ ภายใต้ชายคาของบ้านเรือนริมทะเลสาบ อินเลเช่นกัน และแม้ว่าคุณภาพของผ้าที่ได้จะ ไม่ ส มบู ร ณ์ แ บบเช่ น เดี ย วกั บ เส้ น ใยที่ ผ่ า น เครื่องจักร แต่ผ้าใยบัวของชาวอินปอคอมก็ยัง คงทิ้ ง เส้ น ใยแห่ ง คุ ณ ค่ า ทางวั ฒ นธรรมและ ภูมปิ ญั ญาไว้ให้กบั บรรดานักท่องเทีย่ วได้เรียนรู้ และชื่ น ชมเช่ น เดี ย วกั บ ทุ ก ครั้ ง ที่ พ วกเธอตั ด ก้านบัวนั่นเอง
ที่มา: นวัตกรรมเส้นใยรักษ์โลก: เส้นใยบัวหลวง (Lotus fibers) (14 กันยายน 2554) โดย ดร.ชาญชัย สิริเกษมเลิศ จาก ttistextiledigest.com OTOP ของชาวอินทา และสิ่งที่เห็นว่าเป็นปัญหาของชุมชน (6 ตุลาคม 2555) โดย Supawan จาก oknation.net มหานทีแห่งชีวิต อินเล พม่า ตอนที่ 1: วิถแี ห่งสายนํา้ สู่สายใย จากรายการ “กิน อยู่ คือ” ออกอากาศเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2554 สถานีโทรทัศน์ ThaiPBS
10 l Creative Thailand l พฤศจิกายน 2555
CLASSIC ITEM คลาสสิก
Hnyat-phanat เรื่อง: กมลกานต์ โกศลกาญจน์ และ วิวัฒน์ ฤกษ์อำ�นวยโชค
วัฒนธรรมของคนพม่าในเรื่องการแต่งกายไม่ว่าจะอยู่ในชุดเสื้อผ้าแบบใด แต่เอกลักษณ์ที่เป็นอันหนึ่ง อันเดียวกันเสมอก็คือ การสวมใส่รองเท้าแตะที่เรียกว่า Hnyat-phanat (ซีเหงียะ-พะหนัด) ซึ่งนอกจาก จะสอดคล้องกับประเพณีและค่านิยมของสังคมแล้ว มันยังถูกออกแบบให้ใช้งานได้เหมาะสมกับภูมิประเทศ ที่เป็นชนบทและภูมิอากาศที่มีทั้งร้อนแล้ง ลมมรสุม ไปจนถึงฝนที่ตกหนักระดับท่วมพื้นที่ ความโปร่งสบาย ที่ตอบสนองทุกสภาวะการใช้งานนี้ จึงกลายเป็นอัตลักษณ์ที่เข้าคู่กันอย่างดีกับชาวพม่า
• Hnyat-phanat เป็นรองเท้าแตะคีบขนาด
รับกับรูปเท้าที่ใช้สวมใส่กันมาตั้งแต่สมัย ราชสำ�นัก แม้รูปแบบทางวัฒนธรรมจะเปลี่ยน ไปตามยุคสมัย จนรองเท้าหนังหรือรองเท้าส้นสูง ถูกนำ�มาสวมใส่แทนที่ Hnyat-phanat ในโอกาส งานสำ�คัญต่างๆ แต่ถึงอย่างนั้น Hnyat-phanat ก็ยังคงรักษาบทบาทการเป็นส่วนหนึ่งของการ แต่งกายตามวัฒนธรรมพื้นฐานไว้ได้อย่างเหนียวแน่น
• "ใส่ง่าย ถอดง่าย หายไม่กลัว" คือคุณสมบัติของ
• เพราะไม่ว่าจะเป็นในชีวิตประจำ�วันหรือโอกาสสำ�คัญ • Hnyat-phanat ยังได้รบั การผลิตให้แตกต่างกันสำ�หรับ Hnyat-phanat ยังสามารถปรับรูปแบบให้เข้ากับบริบท ที่เปลี่ยนไปได้อยู่เสมอ โดยรองเท้าแตะคีบนี้จะได้รับ การตกแต่งเป็นพิเศษสำ�หรับใช้สวมใส่ไปงานสำ�คัญ โดยจะต้องผลิตจากกำ�มะหยีเ่ นือ้ ดีจากอินเดียทีเ่ รียกว่า Gadiba (กะดีบะ)
ผู้สวมใส่ที่เป็นผู้ชายและผู้หญิง โดยรองเท้าแตะคีบ สำ�หรับผู้ชายมักทำ�ด้วยกำ�มะหยี่สีพื้นที่เรียบง่ายอย่าง เช่น ดำ� นํ้าตาล หรือแดง ส่วนของผู้หญิงจะเพิ่มราย ละเอียดด้านความสวยงามด้วยการประดับลูกปัดหรือ เลื่อมที่มีลักษณะแวววาว
• Hnyat-phanat ในพม่านัน้ มีอยูห่ ลากหลายยีห่ อ้ แต่ท่ี • นอกจากจะแยกความแตกต่ า งตามเพศแล้ ว ชาวพม่านิยมว่าเป็นของดีมคี ณุ ภาพก็คอื ตราช้างหกตัว ซึง่ มีราคาสูงไปตามคุณภาพคืออาจขึน้ ไปถึง 1,500 จัด๊ (ราว 54 บาท) ในขณะทีร่ องเท้าคีบทัว่ ไปจะอยูท่ ป่ี ระมาณ 300-400 จั๊ดเท่านั้น (ราว 10-14 บาท)
Hnyat-phanat ยังบ่งชี้สถานะและระดับชัน้ ทางสังคม ของผูท้ ส่ี วมใส่ได้ดว้ ย โดยส้นรองเท้า Hnyat-phanat ของผู้ ที่ มี อำ � นาจทางการปกครองในพม่าจะได้รับ การเสริมให้สูงขึ้นกว่าปกติ
Hnyat-phanat ที่ตอบโจทย์ จากกฎข้อห้ามในการ สวมรองเท้าและถุงเท้าเข้าในบริเวณสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งมีอยู่ทั่วไป ทำ�ให้ชาวพม่าต้องถอดรองเท้าออก บ่อยครั้ง ด้วยราคาของ Hnyat-phanat ที่ไม่สูงนัก ทัง้ ยังใส่งา่ ย ถอดไว จึงไม่เพียงเอาชนะใจคนในประเทศ แต่ ยัง สร้ า งความประทั บใจให้ บรรดานักท่องเที่ยว ผู้ แ วะมาเยี่ ย มเยี ย นโบราณสถานและสั ก การะสิ่ ง ศักดิ์สิทธิ์อย่างมากเช่นกัน ถึงขั้นที่กลายเป็นสินค้า ที่ระลึกยอดนิยมที่ขายกันอยู่แทบทุกหัวถนน เพื่อให้ ผู้คนทั่วโลกที่แวะมาที่นี่กว่าปีละ 8 แสนคน ได้สัมผัส ถึงความเป็นพม่าแท้ได้ในอีกรูปแบบหนึ่ง ที่มา: blog.aseankorea.org, lonelyplanet.com พฤศจิกายน 2555 l Creative Thailand
l 11
COVER STORY เรื่องจากปก
VIRGIN TERRITORY พม่ากับอนาคตที่น่าปรารถนา เรื่อง: ศิริอร หริ่มปราณี
น่าสนเท่ห์ว่าเรื่องราวทั้งหมดนี้เกิดขึ้นภายในรอบไม่กี่เดือนทีผ่ า่ นมา ภาพทีส่ ะท้อนความริบหรีก่ บั ความโชติชว่ ง และบ่งบอกถึงดินแดนทีเ่ คยเป็นเครือ่ งการันตีความสำ�เร็จ กับดินแดนที่เคยถูกมองเป็นผู้ร้ายทางเสรีภาพ
โอกาสเกา ยุโรป
EUROPE EUROPE
จีนกุมขมับ สงออกโตแค 1% ผลพวงวิกฤตอียู
มูดีสลดอันดับความนาเชื่อถือ หนี้ระยะยาวอียูเปนติดลบ
UNITED KINGDOM
GERMANY
UNITED STATES
นักธุรกิจอังกฤษเหนื่อย เชื่อมั่นตํ่าสุดรอบ 20 ป
วิกฤตยูโรสอเคาทรุดหนัก เมืองเบียรวางงานพุง
ตลาดหุนสหรัฐฯ ปดไรทิศทาง เหตุวิตกวิกฤตหนี้ยุโรป FRANCE ฝรั่งเศสจอรวงสูภาวะตกต่ำรอบใหม
ITALY เศรษฐกิจอิตาลีทรุดตอเนื่อง 4 ไตรมาส GREECE
SPAIN
EUROPE
ศก.สเปนไตรมาส 2 ถลำลึกยิ่งกวาเดิม
วิกฤตยุโรปยังพนพิษ ญี่ปุนขาดดุลการคาอีกรอบ
SPAIN วางงานสเปนพุงทุบสถิติ ในรอบกวา 3 ทศวรรษ
12 l Creative Thailand l พฤศจิกายน 2555
ผูพิพากษา-แพทยในกรีซ ประทวง มาตรการรัดเข็มขัดรอบใหม
COVER STORY เรื่องจากปก
ขณะทีโ่ อกาสเก่ากับโลกเก่ายังติดอยูใ่ นอาการสะลึมสะลือ โอกาสใหม่กบั โลกใหม่กลับยิง่ แจ่มชัด และเย้ายวนใจ “พม่า” เดินไปข้างหน้าด้วยระบอบประชาธิปไตยที่เป็นใบเบิกทางใหม่ มีผืนดิน สมบูรณ์เขียวชอุม่ มีนา้ํ มัน แร่ธาตุ กับแรงงานทีล่ น้ เหลือ และแต้มต่อของภูมปิ ระเทศทีใ่ ครต่อใคร ก็อยากจะมีปฏิสัมพันธ์ด้วย เมื่อความน่าพิสมัยลบล้างข้อครหาในอดีต โอกาสจึงประดังประเดเข้ามาไม่ขาดสาย และสำ�หรับ ผู้เฝ้ามองปรากฏการณ์อยู่นั้น จะจินตนาการถึงอนาคตนี้อย่างไร
โอกาสใหม พมา
MYANMAR & COCA-COLA
MYANMAR & WORLD BANK
"โคคา-โคลา" บุกตลาดพมา เปดโรงงานครั้งแรกในรอบ 60 ป
ธนาคารโลกใหพมากูเงินครั้งแรกในรอบ 25 ป
MYANMAR & GOOGLE MYANMAR & AUSTRALIA
กูเกิ้ล เจเนอรัล มอเตอร เจเนอรัล อิเล็กทริก เปปซี่โค ตบเทาเขาลงทุนในพมา
ออสเตรเลียเล็งยกเลิกมาตรการ ควํ่าบาตรพมาเพิ่มเงินชวยเหลือสองเทา MYANMAR & JAPAN พมาจับมือกลุมทุนญี่ปุนรวมพัฒนา เขตเศรษฐกิจพิเศษนอกกรุงยางกุง MYANMAR & INDIA อินเดีย-พมาชื่นมื่น สานสัมพันธการคาและพลังงาน
MYANMAR & FOX
MYANMAR & MASTERCARD
Fox จะนำหนังออกฉายในพมาครั้งแรก ในรอบ 50 ป ประเดิมดวย Titanic 3D
มาสเตอรการดเซ็นสัญญาธนาคารพมา เปดตลาด "วีซา " เตรียมบุกพมา รับกระแสเจาภาพซีเกมส
พฤศจิกายน 2555 l Creative Thailand
l 13
COVER STORY เรื่องจากปก
NEW PORTRAIT OF MYANMAR “ผมต้องตื่นนอนตั้งแต่ตี 5 เพื่อออกรอบตีกอล์ฟ เพราะว่าทุกคืนผมดื่มหนักจนแอลกออฮล์มันอยู่ในเลือด แต่ทำ�ไงได้ เราต้องดูแล นักธุรกิจชาวจีนและพวกเขาก็ชอบสังสรรค์” เจ้าของธุรกิจจำ�หน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ของพม่าเล่าถึงกิจวัตรประจำ�วันของเขา ด้วยความสุข และไม่ตอ้ งคาดเดาว่านักธุรกิจจำ�นวนมากในพม่าก็ก�ำ ลังชืน่ มืน่ กับช่วงเวลานี้ เพราะหลังจากปิดประเทศและถูกควา่ํ บาตร ทางเศรษฐกิจจากโลกตะวันตกมายาวนาน ในที่สุดพม่าก็เลือกทางเดินที่ปรองดองกับระบบทุนนิยมและประชาธิปไตย และเมื่อมี กติกาอันเป็นที่ยอมรับระหว่างสากลเป็นเครื่องการันตี พม่าผู้งดงามด้วยทรัพยากรธรรมชาติอันอุดม บวกกับการมีชายแดนที่ ทอดยาวติดกับประเทศมหาอำ�นาจเศรษฐกิจใหม่ทั้งจีนและอินเดีย จึงส่งให้พม่าโดดเด่นและเป็นที่หมายปองจนใครๆ ก็พากันข้ามนํ้า ข้ามทะเลมาหาอนาคตที่นี่
ความพยายามเปลี่ยนโฉมหน้าประเทศเกิดขึ้นภายใต้การบริหาร ของประธานาธิบดีเต็ง เส่ง โดยรัฐบาลประกาศแผนปฏิรูปประเทศ 2 ขั้น โดยขัน้ แรกเน้นการปฏิรปู ทางการเมืองและการปรองดองในชาติเป็นสำ�คัญ ซึ่งการจัดการเลือกตั้งซ่อมในปี 2012 และการกลับมามีบทบาททางการ เมืองและการต่างประเทศของนางออง ซาน ซูจี ถือเป็นข้อพิสูจน์หนึ่ง ขณะที่สาระสำ�คัญของแผนปฏิรูปขั้นที่สองคือการเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวม ภายในประเทศ (GDP) เป็นร้อยละ 7.7 ต่อปีภายในระยะ 5 ปีข้างหน้า รวมไปถึงการเพิ่มการลงทุนจากต่างชาติ ทำ�ให้พม่าจำ�เป็นต้องปรับปรุง กฎหมายการลงทุนเพื่อรองรับแผนปฏิรูป เช่น กฎหมายการลงทุนของ ต่างชาติฉบับใหม่ที่อนุญาตให้บริษัทต่างชาติเข้าถือหุ้นได้ร้อยละ 35-100 ในบริษัทท้องถิ่น และกฎหมายฉบับใหม่ที่กำ�หนดให้มีการลดหย่อนภาษี แก่นักลงทุนต่างชาติเป็นเวลา 5 ปี ซึ่งแก้ไขจากเดิมที่ให้สิทธินี้เพียง 2 ปีเท่านั้น รัฐบาลพม่าเตรียมตัวมาเป็นอย่างดีกับการถูกมองว่าอาจถูกระบบ ทุนนิยมข้ามชาติสูบเลือดสูบเนื้อ ดังนั้นใจความสำ�คัญของกฎหมายการ ลงทุนก็คือการคุ้มครองคนในชาติ เช่น การกำ�หนดให้แรงงานไร้ฝีมือ © Sim Chi Yin/VII Mentor Program/Corbis
ความคิดที่ว่าพม่าล้าหลัง หรือระบบธุรกิจในพม่าดำ�เนินไปอย่างไร้ขื่อแป นั้นอาจจะต้องถูกพิจารณาเสียใหม่ เพราะความเป็นจริงนั้นแตกต่างไป จากความคิดที่ว่านี้อย่างมาก ด้วยพม่าเคยชินกับการรับมือความสงสัย ใคร่รขู้ ององค์กรสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ และสามารถบริหารจัดการ ผลประโยชน์ของการลงทุนจากต่างประเทศมาได้ระยะหนึ่งแล้ว ถึงจะ ถูกประเมินว่าล้าหลังด้านอุตสาหกรรมการเกษตรและยังใช้ประโยชน์ ของผืนดินอันชุ่มฉํ่าได้ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย แต่พม่าก็เป็นผู้ผลิตข้าว หอมมะลิที่ดีท่ี สุดของโลกเมื่อปีก่อน ทิ้งให้ไทยและเวียดนามต้องลอบ มองตากันด้วยความอิจฉา หนำ�ซํ้าพม่ายังตั้งเป้าเป็นผู้ส่งออกข้าวราย ใหญ่ที่สุดของโลกในอนาคต ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในดินแดนที่มีประชากรที่ พูดภาษาต่างกันถึง 18 ภาษา และร้อยละ 85 ของประชากรมีฐานะ ยากจน ระบบไฟฟ้าเข้าถึงชนบทแค่ร้อยละ 16 เท่านั้น แต่บนความ เหลื่อมลํ้าและโดดเดี่ยวนั้น ความวิเศษที่ปรากฏอยู่ก็คือ พม่าไม่ได้รับ ความบอบชํ้าจากสงครามแม้แต่น้อย ต่างจากกัมพูชาหรือเวียดนามที่มี บาดแผลฉกรรจ์ทง้ั ร่างกาย จิตใจ และผืนดินทีเ่ ต็มไปด้วยกับดักทุน่ ระเบิด รวมถึงสารพิษตกค้างจากสงครามเวียดนาม
14 l Creative Thailand l พฤศจิกายน 2555
© U Aung/Xinhua Press/CORBIS
ทั้งหมดในบริษัทต่างชาติต้องเป็นชาวพม่า และแรงงานฝีมือในบริษัท ต้องเป็นชาวพม่าอย่างน้อยร้อยละ 25 และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 50 ใน 5 ปี ต่อไป และเพิ่มเป็นร้อยละ 75 ภายในเวลา 15 ปีนับตั้งแต่เริ่มกิจการ เป็นต้น ทั้งนี้เป็นเพราะพม่ามีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยการเพิ่มการจ้างงานของคนในชาตินั่นเอง ขณะที่แผนปฏิรูปการเงิน ของพม่าก็เริ่มเป็นรูปเป็นร่างด้วยการจัดทำ�โรดแมปแผนพัฒนาตลาดทุน ซึ่งมีเป้าหมายเปิดตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ในปี 2015 เมื่อไม่นานมานี้ รัฐบาลพม่าเพิ่งตัดสินใจให้สิงคโปร์เป็น “ประเทศ พี่เลี้ยง” ในด้านการพัฒนาระบบการบริหารราชการ เนื่องจากสิงคโปร์มี ระบบราชการที่มีประสิทธิภาพสูงและมีการคอร์รัปชันตํ่า ทั้งยังสามารถ บริหารจัดการด้านเศรษฐกิจอย่างโดดเด่นจนได้รบั การยกย่องมาโดยตลอด ซึ่งนอกจากความเอาจริงเอาจังด้านกฎหมายการลงทุนและการพัฒนา ระบบราชการแล้ว พม่ายังเตรียมลงนามเซ็นสัญญาว่าจ้างบริษัทมารุเบนิ แอโรสเปซ คอร์ป (Marubeni Aerospace Corporation) ผู้เชี่ยวชาญ ด้านกิจการอวกาศภาคเอกชนของญีป่ นุ่ เพือ่ ศึกษาความเป็นไปได้ในการส่ง ดาวเทียมขึน้ ไปในอวกาศ ซึง่ หากโครงการดังกล่าวมีขอ้ สนับสนุนเพียงพอ รัฐบาลจะส่งดาวเทียมสำ�รวจภูมิศาสตร์ที่เป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานด้าน
อุตุนิยมวิทยา ชลประทาน และการเกษตร ซึ่งการวางแผนที่ดีด้าน ทรัพยากรธรรมชาติเช่นนี้ จะเป็นการเพิ่มศักยภาพด้านเกษตรกรรมและ การท่องเที่ยวของประเทศได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะการท่องเทีย่ วซึง่ อิงกับ ธรรมชาติและวัฒนธรรมที่น่าค้นหา ปัจจุบันพม่ามีจำ�นวนนักท่องเที่ยว ราว 800,000 คนต่อปี ซึ่งการวางแผนด้านการรักษาทรัพยากรและ การลงทุนอย่างเหมาะสม จะทำ�ให้พม่าได้รบั ผลดีจากการพัฒนาดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้างอาคาร โรงแรม และการพัฒนาสิ่งอำ�นวยความ สะดวกต่างๆ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่หลั่งไหลเข้ามาอย่างไม่ขาดสาย ความสนใจที่โลกมีต่อพม่านั้นรวดเร็วและรุนแรง ขณะที่รัฐบาลพม่า ต้องรักษาสมดุลจากความกระหายอันมหาศาลและเปลี่ยนเป็นโอกาส สูงสุดที่มีต่อการพัฒนาประเทศ อีกด้านหนึ่งยังต้องแก้ไขความเหลื่อมลํ้า ของชนกลุ่มน้อยและกระตุ้นพลังของคนหนุ่มสาว ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 32 ของประชากรทั้งหมด ให้กลายเป็นภาคการผลิตที่มีประสิทธิภาพของ ประเทศ และที่สำ�คัญคือต้องปลดปล่อยให้พวกเขาเหล่านี้ได้มีพื้นที่อิสระ ทางความคิดเพื่อสร้างสรรค์ผลผลิตซึ่งเป็นที่สุดอีกด้วย
พฤศจิกายน 2555 l Creative Thailand
l 15
COVER STORY เรื่องจากปก
ผลิดอกออกผล เมื่อความหวานของประชาธิปไตยได้เดินทางมาสู่พม่า มันยังได้นำ�เอาชีวิตชีวาใหม่ๆ ดังที่ควรจะเป็นให้เดินทางมาในดินแดนแห่งนี้ด้วย
ผ่อนคลายเพื่อสื่อ
ผ่อนปรนเพื่อเกย์
หลังจากใช้ชวี ติ อย่างยากยิง่ มาเกือบ 50 ปี ภายใต้การปกครองระบอบเผด็จการทหาร ชาวเกย์ในพม่าก็เริ่มมีความหวังที่จะไม่ต้องมีชีวิตอยู่ในเงามืดอีกต่อไป แนวคิดเรือ่ งเพศทีส่ ามในพม่าอยูใ่ นแนวอนุรกั ษ์นยิ ม โดยเชือ่ กันว่าผูท้ เ่ี กิดมาเป็น เพศที่สามคือชายที่ต้องรับกรรมจากการมีความสัมพันธ์ทางเพศแบบผิดศีลธรรม กับผู้หญิงในชาติที่แล้ว ซึ่งนอกจากแรงกดดันของสังคมนี้ พม่ายังมีกฎหมายอาญา ทีร่ ะบุวา่ การมีความสัมพันธ์ทางเพศแบบผิดธรรมชาติเป็นการก่ออาชญากรรม และ ผูท้ ก่ี ระทำ�ความผิดจะถูกลงโทษโดยการจำ�คุกไม่เกิน 10 ปี กฎหมายดังกล่าวยังเปิด โอกาสให้มีการจับกุม คุกคาม และข่มขู่บุคคลที่มีพฤติกรรมต้องสงสัยเหล่านี้ ด้วย แต่สังคมของกลุ่มเลสเบียน เกย์ ไบเซ็กชวล และทรานส์เจนเดอร์ หรือกลุม่ LGBT ในพม่าก็กอ่ ตัวขึน้ ช้าๆ โดยปีทแ่ี ล้ว มีรายการแรกของกลุม่ LGBT ออกสู่ สาธารณะในชื่อ Colours Rainbow TV ซึ่งออกอากาศเดือนละครั้งผ่านอินเทอร์เน็ต นำ�เสนอข่าวสารเกี่ยวกับกลุ่ม LGBT พร้อมบทสัมภาษณ์และสกู๊ปจากพม่าและ ประเทศอืน่ ๆ ในโลก มูลนิธอิ องมโยมิน เจ้าของรายการคาดการณ์วา่ มีผชู้ มรายการ ประจำ�ในพม่าอยูร่ าว 3,000 คน แต่ขอ้ จำ�กัดก็ยงั คงอยูท่ ว่ี า่ มีชาวพม่าอยูเ่ พียงร้อยละ 25 เท่านัน้ ทีส่ ามารถเข้าถึงไฟฟ้า โดยยังไม่รวมจำ�นวนผูท้ ส่ี ามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ได้ที่มีอยู่เพียงจำ�นวนจำ�กัด นอกจากนี้องค์กรดังกล่าวยังได้จัดทำ�นิตยสารราย 3 เดือน ชื่อว่า Colours Rainbow เพื่อแจกฟรีในพม่าด้วย ทีม่ า : Myanmar micro-lenders could help reshape rural economy จากหนังสือพิมพ์ Bangkok Post (27 สิงหาคม 2555) สกูป๊ พิเศษ เกย์: บทท้าทายวัฒนธรรมดัง้ เดิมของพม่า วอยซ์ ทีวี (14 พฤษภาคม 2555)
16 l Creative Thailand l พฤศจิกายน 2555
© Dominic Dudley/Domotix/CORBIS
ใบปลิว แผ่นป้ายหาเสียง และเสื้อยืดที่มีใบหน้าของนายพลออง ซานที่ปรากฏอยู่ใน สื่อหาเสียงของพรรค National League for Democracy หรือพรรค NLD เป็น เสมือนชัยชนะกลายๆ ของการเดินหน้าสูอ่ นาคต เพราะหลังจากประกาศใช้มาตรการ ควบคุมสื่อมานานกว่า 48 ปี ในที่สุดรัฐบาลพม่าก็ปลดปล่อยให้สื่อมวลชนทำ�หน้าที่ ของพวกเขาอย่างอิสระมากขึ้น โดยในปัจจุบันสื่อมวลชนไม่จำ�เป็นต้องส่งเนื้อหา ให้คณะกรรมการของรัฐบาลตรวจสอบก่อนเผยแพร่อีกต่อไป แต่ยังมีการเซ็นเซอร์ ภาพยนตร์อยู่ ซึง่ การผ่อนปรนกฎหมายควบคุมสือ่ นี้ เริม่ ขึน้ อย่างต่อเนือ่ ง เช่นปีทแ่ี ล้ว มีการยกเลิกการเซ็นเซอร์ข่าวกีฬา บันเทิง สุขภาพ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และตอนนีก้ ไ็ ด้ยกเลิกการเซ็นเซอร์ขา่ วการเมืองและศาสนาแล้ว ทุกวันนีพ้ ม่ามีสอ่ื สิง่ พิมพ์ เกือบ 140 ฉบับ และมีนิตยสารข่าวรายสัปดาห์อีกราว 60 ฉบับ นอกจากนี้รัฐบาล ยังได้วางแผนการจัดตั้งสภาหนังสือพิมพ์ขึ้นในเร็ววันนี้อีกด้วย
ผ่อนผันเพื่อสร้างชีวิตใหม่
ก่อนหน้านีน้ บั เป็นเรือ่ งยากทีค่ นในชนบทหรือธุรกิจเล็กๆ จะเข้าหาแหล่งเงินกูเ้ พือ่ สร้าง เนือ้ สร้างตัว แต่ ณ วันนี้ ตลาดสินเชื่อขนาดเล็กของพม่ากำ�ลังอยู่ในช่วงหอมหวาน Savings Banks Foundation for International Cooperation (SBFIC) ของ เยอรมนี ได้เล็งเห็นธุรกิจทีถ่ กู ละเลยนี้ และได้รว่ มทีมกับองค์กรทีไ่ ม่แสวงหาผลกำ�ไร เช่น The Myanmar Egress และ Mingalar Myanmar เพื่อเริ่มโครงการรับฝากเงิน กองทุน โดยสหประชาชาติประมาณการณ์ว่า ในชนบทมีความต้องการสภาพคล่อง ทางการเงินไม่ตํ่ากว่า 650 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งการเปิดโอกาสเพื่อให้ชาวบ้าน สามารถเข้าถึงแหล่งเงินได้นี้ จะช่วยเติมช่องว่างในการทำ�งานขององค์กรมนุษยชน ต่างๆ ที่มีอยู่ โดยปัจจุบัน สหประชาชาติได้สนับสนุนองค์กรต่างๆ เป็นเงิน 440 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อก่อตั้งกองทุนให้กู้ยืมตั้งแต่ปี 1997 โดยมีวงเงินกู้อยู่ระหว่าง 100-150 เหรียญสหรัฐฯ ต่อคนหรือกลุ่ม ซึ่งผู้กู้ส่วนใหญ่มักเป็นผู้หญิงที่โดยมาก อาศัยอยู่ในใจกลางประเทศอย่างบริเวณแม่นํ้าอิระวดีและรัฐฉาน อักบาร์ อุสมานี (Akbar Usmani) จากสำ�นักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ยืนยันว่า ถ้าดูจากอัตราการชำ�ระคืนเงินกู้ของโครงการแล้วจะพบว่าเป็นผลงานที่ยอดเยี่ยม เพราะชาวชนบทเหล่ า นี้ ยึ ด มั่ น ต่ อ คำ � มั่ น สั ญ ญาและมี ป ระวั ติ ก ารชำ � ระหนี้ ที่ ดี ปัจจุบันชาวชนบทผู้ห่างไกลมักไม่มีปฏิสัมพันธ์อันดีกับธนาคารในเมือง ดังนั้นพวก เขาจึงต้องหันไปพึ่งเงินกู้นอกระบบที่ให้อัตราดอกเบี้ยน่าสนใจเช่นนี้ แม้จะมีข้อถกเถียงถึงการทำ�ธุรกิจกับผู้ยากไร้โดยวาณิชธนกิจต่างชาติ แต่ก็ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการเปิดโอกาสให้มีแหล่งเงินทุนแก่คนตัวเล็กๆ และธุรกิจเล็กๆ ย่อมเป็นทางออกอันน่าชื่นใจของพวกเขาจริงๆ
COVER STORY เรื่องจากปก
รุ่งอรุณ หรือ สนธยา © REUTERS/Damir Sagoli
เมื่อคราวที่นางออง ซาน ซูจี ได้พบกับนายเดวิด คาเมรอน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ในการเยือนกรุงลอนดอนนั้น นอกจากจะเป็นการ ตอกยํ้าก้าวที่สำ�คัญในเวทีโลกของพม่า ยังเป็นการตอกยํ้าว่า อย่าได้ด่วนมองโลกในแง่ดีจนเกินไป
บทสนทนาของชาติผู้เคยปกครองกับชาติผู้เคยอยู่ใต้อำ�นาจนั้นได้ชี้ให้ เห็นถึงความท้าทายที่รออยู่ และการเปลีย่ นแปลงที่เกิดขึ้นแม้จะเป็น สัญญาณที่ดีแต่ก็ไม่ควรวางใจ และควรจับตามองอย่างใกล้ชิดเพื่อให้ แน่ใจว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นจะเกิดขึ้นอย่างถาวร ราวเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ให้ขวัญกำ�ลังใจแก่พม่าด้วยการระบุว่า พม่าสามารถที่จะกลายเป็น ประเทศทีม่ รี ะบบเศรษฐกิจทีเ่ จริญรุง่ เรืองเป็นรายถัดไปของเอเชีย ถ้าหาก ยั ง มุ่ ง มั่ น เดิ น ไปในเส้ น ทางใหม่ ทั้ ง ทางการเมื อ งและทางเศรษฐกิ จ เพราะพม่ า มี ค วามได้ เ ปรี ย บทั้ ง ความที่ อ ยู่ ใ กล้ ชิ ด กั บ ชาติ ที่ มี ร ะบบ เศรษฐกิจที่มีพลวัตมากที่สุด การมีกำ�ลังคนหนุ่มสาวและทรัพยากรมี สมบูรณ์ แต่กระนั้น ไอเอ็มเอฟก็ตบท้ายถึงอุปสรรคมากมาย อาทิ การ ขยายตัวทางเศรษฐกิจที่เป็นการเติบโตอย่างไม่สมดุล เนื่องจากยังต้อง พึ่งพารายได้จากพลังงานและเกษตรกรรมเป็นหลัก ซึ่งเกษตรกรเองก็ไม่ สามารถเป็นเจ้าของที่ดินทำ�กิน ทำ�ให้ขาดหลักทรัพย์เพื่อนำ�ไปคํ้าประกัน ในการเข้าสูร่ ะบบสินเชือ่ ทัง้ ยังมีประชาชนน้อยคนทีไ่ ด้มสี ว่ นร่วมในระบบนี้ ทำ�ให้ผลพวงและประโยชน์ต่างๆ ไม่กระจายออกไปโดยทั่ว นอกจากนั้น พม่ายังมีปัญหาด้านระบบขนส่งและการขาดแคลนปัจจัยการผลิตต่างๆ ตลอดจนเทคโนโลยีและความรู้ ยิ่งกว่านั้นในส่วนของภาคธุรกิจ ก็ยังติด กับความล่าช้าของกฎระเบียบราชการ ซึ่งทำ�ให้พม่ากลายเป็นประเทศที่ มีต้นทุนในการก่อตั้งธุรกิจที่สูงที่สุดในโลก
ทักษะแรงงานของพม่าก็เป็นอุปสรรคในการก้าวกระโดดเพื่อสร้าง ความรุ่งเรือง จำ�นวนแรงงานส่วนใหญ่ล้วนเป็นแรงงานไร้ฝีมือ ขณะที่ การลงทุนจากต่างชาติต้องการทักษะที่ชํ่าชองในการสร้างธุรกิจ "ในทุกๆ สัปดาห์ นักลงทุนต่างชาติอย่างตํ่า 5 กลุ่ม จะเดินทางมาปรึกษากับ พาร์ตเนอร์ชาวพม่าในประเด็นพนักงานของบริษัท พวกเขามีความรู้ใน ทางเทคนิคแต่ยังขาดประสบการณ์ในการทำ�งาน ซึ่งยากมากที่จะเข้าใจ ได้ในเวลาอันสั้น" นายอู ทิน จอว์ ซาน กรรมการผู้จัดการบริษัท ดีไวซ์ แอนด์ เซอร์วิสเซส บริษัทที่ปรึกษาด้านการจัดการและจัดหาพนักงานใน พม่า กล่าวถึงงานของเขา กำ�ลังแรงงานของพม่านั้นยังอยู่ในสภาพเอาแน่เอานอนไม่ได้ และ ปริมาณก็ไม่ได้เป็นเครื่องการันตีคุณภาพ รัฐบาลจึงต้องปวดหัวกับการ เตรียมตัวฝึกฝนแรงงานไร้ฝีมือจำ�นวนมหาศาลที่วิ่งเข้าออกชายแดน ไทย-พม่า ซึ่งนั่นส่งผลร้ายทั้งปัญหาสังคม คุณภาพชีวิต รายได้ และ จำ�นวนอาชญากรรม ขณะเดียวกันรัฐบาลก็ต้องการดึงดูดแรงงานที่มี ความสามารถให้ทำ�งานในประเทศด้วยผลตอบแทนที่น่าพอใจ กลุม่ ธุรกิจของประเทศญีป่ นุ่ ได้รบั ผลกระทบกระเทือนจากการขาดแคลน ทักษะแรงงานมากที่สุด เพราะญี่ปุ่นได้มุ่งลงทุนในสาขาธุรกิจบริการ ซึ่ง จำ�เป็นต้องได้แรงงานชั้นเยี่ยมมาเป็นฐานสำ�คัญ โดยผู้อำ�นวยการของ กลุ่มเคดันเรน สภาธุรกิจเอกชนญี่ปุ่น ได้กล่าวแสดงความกังวลไว้ว่า สภาพการณ์เช่นนี้อาจจะทำ�ให้ธุรกิจญี่ปุ่นต้องนำ�เข้าแรงงานฝีมือจาก พฤศจิกายน 2555 l Creative Thailand
l 17
COVER STORY เรื่องจากปก
IF YOU LEAVE ME NOW ทันทีทน่ี างออง ซาน ซูจี เดินทางมาเยือนไทย ภารกิจแรกของเธอก็คอื การพบปะแรงงานชาวพม่าทีต่ �ำ บลมหาชัย อำ�เภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร และให้สญ ั ญาว่า ขอให้อดทน เพราะอีกไม่นานเธอจะนำ�พาพีน่ อ้ งกลับบ้าน แต่จะปัน่ ป่วนสักเพียงใด ถ้าวันนีช้ าวพม่าทัว่ ฟ้าเมืองไทยเลือกเดินหันหลังให้นายจ้าง เพือ่ กลับไปกอบโกยโอกาสทีบ่ า้ นเกิดของตนเอง
ใครจะสีข้าว?
ทุกวันนี้ อุตสาหกรรมโรงสีและส่งออกข้าวใช้แรงงานต่างด้าวจากพม่า และกัมพูชา เมื่อเทียบกับแรงงานไทยแล้วคิดเป็นสัดส่วน 60:40 เพราะ เป็นอุตสาหกรรมหนักที่แรงงานไทยไม่นิยมทำ�
ใครจะจับปลา?
เฉพาะอุ ต สาหกรรมอาหารทะเลแช่ แ ข็ ง ที่ ตำ � บลมหาชั ย จังหวัดสมุทรสาคร ใช้แรงงานพม่าสัดส่วนกว่าร้อยละ 70 ส่ ว นพื้ น ที่ จั ง หวั ด ระนองก็ แ ทบจะกลายเป็ น จั ง หวั ด ใหม่ ของพม่า เห็นได้จากโรงพยาบาลประจำ�จังหวัดทีจ่ ะมีชาวพม่า มารอคิวใช้บริการตั้งแต่เช้าตรู่โดยแทบไม่เห็นคนไทยเลย นอกจากเจ้าหน้าที่
ใครจะตัดกล้วยไม้?
การทำ�งานในสวนกล้วยไม้ไม่ใช่เรือ่ งง่ายๆ เพราะต้อง อดทนฉีดนํ้า พ่นยา ตัดดอก และนายกสมาคมผู้ส่ง ออกดอกกล้วยไม้ไทยยืนยันว่า อุตสาหกรรมกล้วยไม้ ต้องพึ่งพาแรงงานพม่าซึ่งเป็นกำ�ลังสำ�คัญอยู่ขณะนี้
ใครจะทำ�งานบ้าน?
เมือ่ นักลงทุนจากต่างประเทศ เอ็นจีโอในองค์กรระหว่างประเทศ นักธุรกิจ สือ่ มวลชน และนักวิจยั ตบเท้าเข้าไปทำ�งานในพม่า ใครจะทำ�งานบ้านให้พวกเขา ทัง้ ขับรถ จ่ายกับข้าว เลี้ยงลูก ชาวต่างชาติในพม่าได้เตรียมตัวแล้วที่จะจ่ายค่าแรงให้ เท่ากับที่พวกเขาได้รบั ในประเทศไทย หรืออาจจะจ่ายแพงกว่าด้วยซํา้ และไม่ต้อง สงสัยเลย เพราะนายจ้างเหล่านี้จะยอมจ่ายเงินเดือนดีๆ ให้กบั แรงงานทีเ่ คยมี ประสบการณ์ท�ำ งานในบ้าน และสามารถเดินทางได้
ใครจะขายไอโฟน?
จากคนงานก่อสร้าง แรงงานพม่าได้เพิ่มทักษะในการ ฝึกพูดภาษาไทย และผันตัวเองมาเป็นคนขายเสื้อผ้า ตามประตูนํ้า สยามสแควร์ และล่าสุด พวกเขาก็เพิ่ม ความชํ่าชองด้วยการก้าวมาเป็นพนักงานขายสินค้า ไอทีและโทรศัพท์มือถือ ไม่ว่าจะเป็นในศูนย์การค้า พันธุ์ทิพย์ พลาซ่า เอ็มบีเค เซ็นเตอร์ (มาบุญครอง) และห้างสรรพสินค้าชานเมือง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาว พม่าเชื้อสายบังกลาเทศ อายุ 20 ต้นๆ ที่สามารถพูด ได้ถึง 4 ภาษา คือ ภาษาพม่า ภาษาอินเดีย ภาษา อังกฤษ และภาษาไทย กระทรวงแรงงานของไทยระบุวา่ จำ�นวนแรงงานต่างด้าวทีไ่ ด้รบั อนุญาตให้ท�ำ งานได้ทว่ั ราชอาณาจักรไทย (ข้อมูล ณ เมษายน 2555) มีจำ�นวนทั้งสิ้น 1,752,100 คน ซึ่งกว่าร้อยละ 80 เป็นชาวพม่า หรือราวๆ 1 ล้านคนนั่นอาจจะน้อยกว่าความเป็นจริงมาก ซึ่งในไม่ช้า เราจะได้พิสูจน์กันว่า ภาคการผลิตของไทย นั้นพึ่งพาพวกเขาอยู่เท่าไหร่กันแน่
18 l Creative Thailand l พฤศจิกายน 2555
ใครจะสร้างรถไฟฟ้าอีก 10 สาย?
ปัจจุบัน การก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าหลายสายมี ความล่าช้ากว่ากำ�หนด ซึง่ สาเหตุเป็นเพราะผูร้ บั เหมา อ้างว่าขาดแคลนแรงงาน เนือ่ งจากผูร้ บั เหมารายเดียว ได้รับชัยชนะในการประมูลรถไฟฟ้าหลายเส้นทาง และทุกสายต้องเริม่ ก่อสร้างในเวลาไล่เลีย่ กัน นอกจากนี้ ยังต้องแย่งชิงแรงงานกับภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งปัญหา ขาดแคลนแรงงานนี้เกิดจากที่แรงงานพม่าเดินทาง กลับประเทศเป็นจำ�นวนมากหลังจากที่มีโครงการ ก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมทวายและท่าเรือทวาย ซึ่ง โครงการนี้ต้องการแรงงานมากถึง 50,000 คน ที่มา : มูลนิธิเพื่อสุขภาพและการเรียนรู้ของแรงงานกลุ่มชาติพันธุ์ (MAP Foundation) สำ�นักงานบริหารแรงงานต่างด้าว กระทรวงแรงงาน mapfoundationcm.org prachachart.co.th
© REUTERS/Soe Zeya Tun
COVER STORY เรื่องจากปก
ไทย ส่วนแรงงานชาวพม่าอาจไม่มีงานทำ�เนื่องจากขาดทักษะซึ่งจะเป็น ปัญหาระยะยาว ดังนัน้ การฝึกงานจึงเป็นเรือ่ งทีส่ �ำ คัญมาก ทำ�ให้กระทรวง การต่างประเทศญี่ปุ่นต้องเร่งวางแผนช่วยเหลือพม่าพัฒนาทรัพยากร มนุษย์เพื่อให้ช่วยพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมในอนาคต การวิ่งไปข้างหน้าของพม่านั้น ได้สร้างแรงกดดันให้แก่ประเทศ รอบข้างที่ต้องออกวิ่งไปด้วยอย่างไม่ต้องสงสัย แต่ถ้าพม่าถึงเส้นชัยก่อน อะไรจะเกิดขึน้ นัน่ เป็นคำ�ถามทีเ่ พือ่ นบ้านทัง้ หลายอาจต้องเตรียมคำ�ตอบ ไว้ให้ดี การเปลีย่ นแปลงนัน้ มีราคาของมันเสมอ เพียงหนึง่ หรือสองปีทผ่ี า่ นมา พม่าอ้าแขนรับโอกาสที่หลั่งไหลเข้ามาไม่หยุดหย่อน ดูเหมือนพม่าได้ ตัง้ ใจพินจิ พิเคราะห์โอกาสนัน้ อย่างถ้วนถี่ แต่กย็ งั ต้องพะวักพะวนกับความใหม่ และความไม่เคยชินทีต่ ดิ มาจากการถือปฏิบตั แิ บบเดิมๆ เช่นกัน แต่ส�ำ หรับ ประเทศที่ต้องหลอมรวมความแตกต่างด้านชาติพันธุ์และภาษาให้เดินไป ข้างหน้าร่วมกัน ประเทศทีเ่ คยตกเป็นอาณานิคมตะวันตกและถูกกอบโกย
ทรัพยากรไปอย่างเจ็บปวด และประเทศทีเ่ คยลิม้ รสก้าวแรกของประชาธิปไตย ในระยะสั้นๆ ก่อนจะเลือนหายไปในระบบเผด็จการทหารอันยาวนานนั้น ประวัติศาสตร์ที่สั่งสมไว้ซึ่งการต่อรอง การเพิกเฉย และความเด็ดขาด เหล่านี้ อาจส่งผลให้ดนิ แดนแห่งนีส้ ามารถรับมือกับราคาของการเปลีย่ นแปลง ได้ดีเกินกว่าความคาดคิดของใครๆ ก็เป็นได้ ที่มา : Brave new world: A reformed Myanmar could have a big effect on its neighbours (2 Jun 2012) จาก The Economist Follow my lead: The government moves, and gets its rewards (21 Jan 2012) จาก The Economist Pragmatic virtues: Unravelling the mysteries of a so far peaceful revolution (11 Feb 2012) จาก The Economist ตลาดผู้บริโภคในพม่า (พฤษภาคม 2555) โดยฝ่ายวิจัยธุรกิจ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำ�เข้า แห่งประเทศไทย จาก หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ (7-9 มิถุนายน 2555) ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี (TMB Analytics) thai-aec.com พฤศจิกายน 2555 l Creative Thailand
l 19
INSIGHT อินไซต์
คู่แข่งหรือหุ้นส่วน? © Sergio Pitamitz/CORBIS
เรื่อง: มนฑิณี ยงวิกุล
กลางเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา แม้ว่าจะเป็นฤดูฝนแต่สนามบินนานาชาติย่างกุ้งและสนามบินในประเทศของพม่ายังคงคราครํ่าไปด้วย ผู้โดยสารที่เดินทางมาเพื่อชื่นชมความงามและดื่มดํ่าไปกับธรรมชาติของแหล่งท่องเที่ยวใหม่ที่เพิ่งเผยโฉมอย่างเป็นทางการ
ณ บริเวณด้านนอกอาคารผูโ้ ดยสารจึงเต็มไปด้วยชายหนุม่ ผิวคลํา้ ร่างสันทัด สวมโสร่งที่กำ�ลังยืนจดจ่อรอคอยการมาถึงของเที่ยวบินต่างๆ ที่นำ�มาซึ่ง ลูกค้าและรายได้จากการให้บริการตัง้ แต่การยกกระเป๋า การขับรถไปจนถึง การจัดโปรแกรมเดินทางต่อไปยังเมืองพุกามและมัณฑะเลย์ ที่ยังคงต้อง อาศัยบริการของเอเยนต์เพื่อความแน่นอนในการจองตั๋วเครื่องบินภายใน ประเทศ เนื่องจากการจองตั๋วผ่านระบบออนไลน์นั้นยังไม่พร้อมเต็มที่ ความนิยมของนักท่องเที่ยวทำ�ให้ค่าโรงแรมในพม่าสวนทางกับ อัตราค่าบริการของโรงแรมทั่วโลกที่ต่างพากันลดราคาเพื่อดึงดูดลูกค้า โดยในปี 2011 ค่าที่พักโรงแรมระดับ 4 ดาวในพม่าเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 240 เหรียญสหรัฐฯ ต่อคืน (7,200 บาท) จากในช่วงไฮซีซันเมื่อสิบปีก่อนที่เคย อยู่ที่ระดับ 60 เหรียญสหรัฐฯ ต่อคืน (1,800 บาท) และที่เป็นเช่นนี้ก็ เนื่องจากอัตราการจองห้องพักในช่วงเวลาดังกล่าวนั้นสูงถึงร้อยละ 95 ขณะที่ช่วงโลว์ซีซันก็ยังอยู่ที่ร้อยละ 60 ในปี 2011 มีนักท่องเที่ยวจำ�นวน 816,369 คนเดินทางไปเยือนพม่า และแม้วา่ จำ�นวนนีจ้ ะเพิม่ ขึน้ จากปีกอ่ นเพียงร้อยละ 3 แต่กลับสร้างรายได้ จากการท่องเที่ยวได้ถึง 319 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (9.5 พันล้านบาท) หรือ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 25 จากปีก่อนที่สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวได้ 254 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (7.6 พันล้านบาท) ตัวเลขทีว่ า่ นีส้ ะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้ม การเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในพม่า ที่แม้ว่าสิ่งอำ�นวยความ สะดวกหลายด้านจะยังไม่พร้อมสรรพ แต่ทว่าก็มีโอกาสที่จะพัฒนาไป พร้อมกับนโยบายต้อนรับนักลงทุนจากต่างประเทศ ที่พม่าได้พยายาม ผ่อนคลายกฎระเบียบด้านต่างๆ ลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้สิทธิ์ ชาวต่างชาติเช่าทีด่ นิ ได้นานถึง 70 ปี และถึงแม้วา่ จะสงวนสิทธิก์ ารประกอบ ธุรกิจโรงแรมระดับ 1-2 ดาวไว้สำ�หรับนักธุรกิจท้องถิ่น แต่ก็ยังเปิดช่อง 20 l Creative Thailand l พฤศจิกายน 2555
ให้นักลงทุนต่างชาติสามารถเข้ามาร่วมทุนกับผู้ประกอบการท้องถิ่นเพื่อ ทำ�ธุรกิจโรงแรมระดับ 3 ดาวได้ อนาคตอันสดใสของพม่านี้อาจจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการ ท่องเทีย่ วของไทยทีอ่ าจต้องสูญเสียการเป็น “ประตูสพู่ ม่า” เมือ่ สายการบิน ในยุโรปหลายแห่งเริ่มวางแผนให้บริการบินตรงไปยังพม่า จากในปัจจุบัน ที่มีสายการบินนานาชาติเพียง 15 สาย ที่บินไปยังย่างกุ้งและอีกหนึ่ง สายการบินที่บินสู่มัณฑะเลย์ “ผู้ประกอบการไทยควรจะหาหุ้นส่วนและ ลงทุ น ในธุ ร กิ จ การท่ อ งเที่ ย วที่ เ พิ่ ม มู ล ค่ า ให้ กั บ โปรแกรมทั ว ร์ จ ากใน ปัจจุบันซึ่งเน้นการท่องเที่ยวในไทยเพียงอย่างเดียว เพราะในอีก 3-5 ปี ข้างหน้า พม่าก็จะพร้อมเป็นคูแ่ ข่งของไทยแล้ว” นายศิษฎิวชั ร ชีวรัตนพร นายกสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (แอตต้า) กล่าว ในปัจจุบัน นักลงทุนไทยเป็นเจ้าของโรงแรม 11 แบรนด์ในพม่า เปิด ให้บริการห้องพักจำ�นวน 1,896 ห้อง คิดเป็นมูลค่าการลงทุน 263.25 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (7.8 พันล้านบาท) ตามหลังสิงคโปร์ที่มาเป็นอันดับ หนึ่งด้วยมูลค่าการลงทุน 597 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (17.9 พันล้านบาท) อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับปริมาณนักท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและ เส้นทางการลงทุนที่ทางการพม่ากำ�ลังจัดเตรียมนั้น จึงนับว่ายังมีโอกาส ให้นกั ลงทุนไทย โดยเฉพาะผูท้ เ่ี ข้าใจในพฤติกรรมของนักท่องเทีย่ วสามารถ หยิบไปใช้ได้อีกมหาศาล ที่มา: Invest in Myanmar: Hotel Sectors จาก offshorepremium.com Myanmar tourism takes off โดย Wanwisa Ngamsangchaikit (May 30, 2012) จาก ttrweekly.com Will Burma Become Asia’s Next Economic Tiger? โดย Michael Schuman (August 22, 2012) จาก business.time.com reuters.com
พบกับนิตยสาร Creative Thailand
ทุกสัปดาหแรกของเดือน ที่ TCDC รานหนังสือ หองสมุด อาคารสำนักงาน และรานกาแฟใกลบาน ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จังหวัดเชียงใหม หัวหิน และ Mini TCDC 13 แหงทั่วประเทศ กรุงเทพฯและปริมณฑล รานหนังสือ สมาคม • Asia Books • สมาคมธนาคารไทย • B2S • สมาคมโฆษณาแหงประเทศไทย • คิโนะคูนิยะ • สมาคมอุตสาหกรรมทอผาไทย • C Book (CDC) • สมาคมหอการคาไทย • Zero Book • สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุงหมไทย • ศึกษิตสยาม • สมาคมสโมสรนักลงทุน • โกมล • สภาอุตสาหกรรมแหงประเทศไทย • สถาบันบุนกะแฟชั่น รานกาแฟ / รานอาหาร • สถาบันราฟเฟลส • Chaho • สถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน • คอฟฟ เวิลด • อาฟเตอร ยู เชียงใหม • ดอยตุง คอฟฟ • รานนายอินทร • October • โอ บอง แปง • รานเลา • Tea House Siam Celadon • ซัมทาม คอฟฟ • ดอยชาง • ดอยตุง คอฟฟ • บานไรกาแฟ เอกมัย • 94 Coffee • Mood Mellow • ทรู คอฟฟ • รานแฮปปฮัท • Little Cook Cafe' • ยูอารสเตชั่น • คาเฟ เดอ นิมมาน • มหาวิทยาลัยเชียงใหม • รานกาแฟวาวี • Kanom • สุริยันจันทรา • Sweets Cafe • รานมองบลังค • Rabbithood Studio • วีวี่ คอฟฟ • หอมปากหอมคอ • Things Called Art • แมคคาเฟ • กูชาชัก & โรตี • หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม • Babushka • จิงเกิ้ล • หอการคาจังหวัดเชียงใหม • คอฟฟ คิส • Impresso Espresso • โรงแรมดุสิต ดีทู • มิลลเครป Bar • เดอะเชดี • ไล-บรา-ลี่ คาเฟ • Minimal • บรรทมสถาน • ก.เอย ก.กาแฟ • Luvv coffee Bar • บานเส-ลา • อะเดยอินซัมเมอร • Gallery Seescape • Yesterday The Village • ชีสเคกเฮาส • คอฟฟแอลลียอินเดอะการเดน • The Salad Concept • Hallo Bar • casa 2511 • บานศิลาดล • รมไมไออุน ทาวนอินทาวน • Cotto Studio (นิมมานฯ) • บานกามปู ทรอปคอล แกลเลอรี่ • กาแฟโสด • รานสวนนม • 9wboutique Hotel • ไอเบอรรี่ • กาแฟวาวี ทุกสาขา • Good Coffee • Take a Seat • Just Milk • รานกวยเตี๋ยวเรือทุงพญาไท • ช็อกโก คาเฟ • Love at first Bite • ไหม เบเกอรี่ • ซูเฟ House Bakery • ดับเบิ้ลซี คุกกี้ แอนด คอฟฟ • Greyhound (Shop and Café) • เวียง จูม ออน • Fern Forest Cafe' บายนิตา • รานกาแฟบางรัก • Just Kao Soi • Hub 53 โรงภาพยนตร / โรงละคร • อิฐภราดร • โรงภาพยนตรเฮาส • เมืองไทย รัชดาลัย เธียเตอร หัวหิน ลําปาง • ภัทราวดีเธียเตอร • เพลินวาน • A little Handmade Shop • ชุบชีวา หัวหิน • อาลัมภางค เกสตเฮาส หองสมุด คอฟฟ แอนด มอร • หองสมุดศศินทร จุฬาฯ • ทรู คอฟฟ หัวหิน • Egalite Bookshop • หองสมุดมารวย • ดอยตุง คอฟฟ • ศูนยหนังสือ สวทช. นาน • ทูเก็ตเตอรเบเกอรี่ • SCG Experience • รานกาแฟปากซอย แอนดคาเฟ • The Reading Room • Nan Coffee Bean • อยูเ ย็น บัลโคนี่ พิพิธภัณฑ / หอศิลป ภูเก็ต • สตารบคั ส หอนาิกา • รานหนัง (สือ) ๒๕๒๑ • มิวเซียม สยาม • อุทยานการเรียนรู (TK park) • วรบุระ รีสอรท แอนด • The Oddy Apartment สปา • หอศิลปวัฒนธรรม & Hotel • หั วหิน มันตรา รีสอรท แหงกรุงเทพมหานคร เลย • การเดน แกลเลอรี่ แอนด คาเฟ • เลท ซี หัวหิน • กบาล ถมอ รีสอรท • มาเลยเด เกสตเฮาส • นับเบอรวัน แกลเลอรี่ • บานชานเคียง • บานใกลวงั • ไวท สเปซ แกลเลอรี่ โคราช • บานจันทรฉาย • HOF Art • Hug Station Resort • ภัตตาคารมีกรุณา โรงแรม • ลู น า ฮั ท รี ส อร ท ปาย • หลับดี (Hotel สีลม) • The Rock • รานเล็กเล็ก • บานถัว่ เย็น นครปฐม (ถนนแนบเคหาสน) • Dipchoc Café
อุทัยธานี
หมายเหตุ: แสดงเพียงบางสวนของสถานที่จัดวางเทานั้น สามารถดูสถานที่จัดวางทั้งหมดไดที่ creativethailand.org
• Booktopia
หมดปญหาหยิบนิตยสารไมทัน สมัครสมาชิกรายป โดยมีคาใชจายในการจัดสง 180 บาท (12 เลม) และรอรับนิตรสารสงถึงบาน (ถายเอกสารใบสมัครได)
ขอมูลผูสมัครสมาชิก
สมาชิกใหม
ชื่อ นามสกุล เพศ ชาย โทรศัพทบาน โทรสาร
สมาชิกเกา (ตองการตออายุสมาชิก)
หญิง อายุ โทรศัพทที่ทำงาน โทรศัพทมือถือ
อีเมล
อาชีพ นักเรียน ครู/ อาจารย
นิสิต/นักเรียน ผูประกอการ
นักออกแบบ/ครีเอทีฟ ผูประกอการ
อาชีพอิสระ
ขาราชการ/รัฐวิสาหกิจ
พนักงานบริษัท
สาขา/อุตสาหกรรมที่เกี่ยวของกับอาชีพของทาน โฆษณา แฟชั่น การออกแบบ โทรทัศน/วิทยุ การกระจายเสียง
สถาปตยกรรม ศิลปะการแสดง ภาพยนตร อื่นๆ โปรดระบุ
ทองเที่ยว/โรงแรม/สายการบิน วรรณกรรม/การพิมพ/สื่อสิ่งพิมพ พิพิธภัณฑ/หองแสดงงาน
หัตถกรรม/งานฝมือ คาปลีก/คาสง ดนตรี
อาหาร การแพทย ทัศนศิลป/ การถายภาพ
โทรคมนาคม การเงิน/ธนาคาร ซอฟแวร/แอนิเมชัน วิดีโอเกม
ที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ จังหวัด
ซอย
ถนน รหัสไปรษญีย
หนอยงาน/แผนก ตำบล/แขวง
อำเภอ/เขต
หนอยงาน/แผนก ตำบล/แขวง
อำเภอ/เขต
ที่อยูในการออกใบเสร็จ เหมือนที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ ซอย จังหวัด
ถนน รหัสไปรษญีย
ตองการสมัครสมาชิกนิตยสาร Creative Thailand จำนวน 12 เลม เริ่มตั้งแตฉบับเดือน
โดยยินดีเสียคาใชจายในการจัดสงเปนจำนวนเงิน 180 บาท
วิธีการชำระเงิน (ระยะเวลา 1 ป จำนวน 12 เลม) เช็คสั่งจายนาม ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ พรอมใบสมัครสมาชิก โอนเงินเขาบัญชีออมทรัพยธนาคารกรุงเทพสาขาสำนักงานใหญสีลม เลขที่บัญชี 101-808967-0 ในนาม ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ กรุณาแฟกซใบสมัครพรอมใบนำฝาก-โอนเงินมาที่เบอร 02-664-7670 หรือสงไราณียมาที่ ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (Creative Thailand) 622 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอรชั้น 24 ถนนสุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 สอบถามขอมูลเพิ่มเติมไดที่ 02-664-7667 ตอ 122 สำหรับเจาหนาที่ Creative Thailand 1. เลขที่สมาชิก ………………………………………. 2. วันที่ ………………………………………………… 3. เริ่มตั้งแตฉบับเดือน ……………………………….
สำหรับเจาหนาที่การเงิน 1. เจาหนาที่การเงิน …………………………………. 2. วันที่ ………………………………………………… พฤศจิ Creative Thailand 3. วันกทีายน ่โอนเงิ2555 น ………………………………………..
l
l 21
CREATIVE ENTREPRENEUR คิด ทำ� กิน
ก๋วยเตี๋ยวสุโขทัยแม่ศรีวรรณ
“สร้างประวัติศาสตร์ข้าม(รส)ชาติ” เรื่อง: ปิยพร อรุณเกรียงไกร ภาพ: อดิเดช ชัยวัฒนกุล
หากเอ่ยถึงความแตกต่างจากร้านก๋วยเตี๋ยวทั่วไป ก๋วยเตี๋ยวสุโขทัยแม่ศรีวรรณนั้นโดดเด่นด้วยความคิดต่างในทุกรายละเอียด ไม่ว่าจะเป็นการนำ�นวัตกรรมทางอาหารมาสร้างสรรค์ “ผงนํ้าซุป” และ “ผงสามรส” ที่รวบรวมรสชาติทั้งหวาน เผ็ด และเปรี้ยวมาไว้ ในชามเดียวกัน ทำ�ให้ก๋วยเตี๋ยวทุกชามอร่อยพร้อมทานโดยปราศจากผงชูรส ทั้งยังมีความชัดเจนในการสร้างธุรกิจแบบแฟรนไชส์ จนสามารถขยายกิจการได้ถึง 4 สาขา และเมื่อได้ลิ้มลองอย่างละเมียดละไม จะพบว่าเบื้องลึกของความสำ�เร็จในแต่ละชามคือ รสชาติ ที่ ศรีวรรณ อมรพูนชัย เคีย่ วด้วยความรักความชอบในการทำ�อาหารทีส่ ง่ั สมมาตัง้ แต่เด็ก และในปลายเดือนพฤศจิกายนนี้ เธอกำ�ลัง จะเปิดสาขาใหม่นอกประเทศไทยเป็นสาขาแรกในนครย่างกุง้ ของพม่า พร้อมกับความมุง่ มัน่ ทีจ่ ะปรุงอาหารของบ้านเกิดให้เป็นที่ “รูจ้ กั ” และเป็นที่ “รัก” ไปทั่วโลก ก้าวแรก…ไม่จำ�เป็นต้องเริ่มต้นจากศูนย์
จากประสบการณ์การทำ�งานในฐานะหัวเรือใหญ่ ของสถาบันการเงินชือ่ ดังมากว่า 20 ปี ประกอบ กับความรูด้ า้ นการเงินและการบริหารทีส่ ง่ั สมมา จากรัว้ มหาวิทยาลัย ทำ�ให้ศรีวรรณมีกระบวนการ คิดที่แตกต่างจากผู้ประกอบการมือใหม่ ตั้งแต่ การวางรากฐานธุรกิจแฟรนไชส์อย่างเป็นระบบ การพัฒนาและขยายธุรกิจโดยอาศัยเครือข่าย รวมทั้งการสร้างภาพลักษณ์ซึ่งสะท้อนถึงตัวตน และเจตนารมณ์ที่ต้องการจะสืบสานรสชาติ ต้นตำ�รับจากคุณแม่ในทุกๆ รายละเอียดได้อย่าง ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นคอนเซ็ปท์ การตกแต่งร้าน โลโก้รูปซุ้มเรือนไทยสมัยสุโขทัย ไปจนถึงเมนู 22 l Creative Thailand l พฤศจิกายน 2555
อาหารต่างๆ “เราแตกต่างจากคนอื่นตรงที่เริ่ม จากทำ�ธุรกิจแฟรนไชส์เลย ด้วยความที่เราเป็น ผู้บริหารมาก่อน ทำ�ให้เราคิดอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่ต้นจนจบ มีแพลนนิงที่กำ�หนดไทม์ไลน์ ชัดเจน เพือ่ สร้างความมัน่ ใจให้คนทีต่ อ้ งการซือ้ แฟรนไชส์ของเรา มันไม่ได้เริ่มจากศูนย์ เพราะ เรามีต้นทุนความคิดและต้นทุนชีวิตมากกว่า คนอื่น”
CREATIVE ENTREPRENEUR คิด ทำ� กิน
ไม่ใช่แค่เก็บข้อมูล แต่เรียนรู้วิถีชีวิต
แม้วา่ ทีผ่ า่ นมา พม่าจะถูกสังคมภายนอกตีกรอบ ด้ ว ยสถานการณ์ ท างการเมื อ งอั น ร้ อ นระอุ แต่ศรีวรรณกลับมองว่า ชาวพม่ามีวัฒนธรรม และวิถีชีวิตไม่แตกต่างจากคนไทยนัก เมื่อมี โอกาสได้รู้จักกับ ยิน นอน (Yin Non) นักธุรกิจ สาวชาวพม่า เจ้าของร้านอาหารไทยในนคร ย่างกุง้ ซึง่ คุน้ เคยกับรสชาติจดั จ้านและมากเสน่ห์ ของอาหารไทยเป็นอย่างดี ทำ�ให้ความตัง้ ใจทีจ่ ะ ขยายแฟรนไชส์ไปสู่ประเทศพม่ายิ่งเป็นรูปเป็น ร่างมากขึ้น เธอเดินทางไปศึกษาข้อมูล สำ�รวจ พฤติกรรมและวัฒนธรรมการกินของคนท้องถิน่ ด้วยตนเอง จึงพบว่าคนพม่าชอบทานก๋วยเตี๋ยว เป็นอาหารเช้า ขณะทีใ่ นตลาดท้องถิน่ ก็มวี ตั ถุดบิ ครบครัน ซึ่งนับเป็นข้อได้เปรียบทั้งด้านการ ลงทุนและยังรักษารสชาติที่เป็นออริจินัลไว้ได้ “ก่อนที่จะตั ด สิ น ใจขายแฟรนไชส์ เราต้อง ศึกษาเยอะ เพราะไม่ใช่ธุรกิจที่ซื้อมาขายไป แล้วจบ ถ้าไม่เคยลองชิมก๋วยเตี๋ยวแม่ศรีวรรณ หรื อ ไม่ เ คยลองชิ ม ก๋ ว ยเตี๋ ย วสุ โ ขทั ย มาก่ อ น เราจะไม่ขายแฟรนไชส์ให้ไม่วา่ กรณีใดๆ ทัง้ สิน้ เราทำ�ธุรกิจบนพื้นฐานของความรัก ใครก็ตาม ที่ซื้อแฟรนไชส์เราไป แสดงว่าเขารักของเรา เราเลยฝากให้เขาดูแลต่อได้”
โอนถ่ายวัฒนธรรมผ่านเส้นก๋วยเตี๋ยว
หากเปรียบในเชิงธุรกิจ การขยายแฟรนไชส์ ไปสู่พม่าครั้งนี้นับเป็นสัญญาณอันดีที่บ่งบอก ถึงความก้า วหน้ าของธุ ร กิ จ เอสเอ็ มอี ไทยใน ภูมภิ าคอาเซียน แต่เมือ่ มองในอีกมุมหนึง่ เราจะ พบว่านี่คือการส่งต่อวัฒนธรรมผ่านรสชาติของ อาหารได้อย่างกลมกล่อม เพราะเครือ่ งปรุงต่างๆ ที่ถูกจัดสรรลงในชามอย่างพิถีพิถัน ล้วนแสดง ถึงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ทั้งสิ้น อย่างเช่น การรั บ วั ฒ นธรรมการทานก๋ ว ยเตี๋ ย วจากจี น มาปรุงแต่งรสเผ็ดร้อนจัดจ้านให้ถูกปากคนไทย และนำ�พืชผลทางการเกษตรอย่างถั่วฝักยาว มาใช้เป็นส่วนประกอบ ทำ�ให้ก๋วยเตี๋ยวสุโขทัย มีเอกลักษณ์เฉพาะไม่เหมือนใคร “ยิน นอน สนใจ ก๋วยเตี๋ยวสุโขทัย เขามองว่าคำ�ว่า ‘ก๋วยเตี๋ยว สุโขทัย’ แสดงถึงเรื่องราวที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ในตัวของมันเอง ไม่ใช่แค่ก๋วยเตี๋ยวเรือทั่วไป หรือก๋วยเตี๋ยวเป็ด และเราก็เป็นคนที่ชอบเล่า เรื่องราวให้คนอื่นได้ฟังด้วย ยิ่งเป็นการตอกยํ้า ในสิ่งที่ทำ�อยู่ และทำ�ให้เราไม่ลืมชาติกำ�เนิด ของตนเอง” ยิ่งไปกว่านั้น ภายในร้านของ ก๋วยเตี๋ยวสุโขทัยแม่ศรีวรรณทุกสาขา จะมีมุม เล็กๆ ที่ให้ความรู้ทางประวัติศาสตร์ ประเพณี วั ฒ นธรรมและความเป็ น มาของก๋ ว ยเตี๋ ย ว สุโขทัยอีกด้วย
เป้าหมายที่เหนือกว่าเดิม
แม้ว่าในวันนี้ ก๋วยเตี๋ยวสุโขทัยแม่ศรีวรรณทั้ง 4 สาขาในประเทศ จะได้รับคะแนนนิยมเป็น อย่างดี จนสามารถส่งต่อความอร่อยไปประเดิม สาขาแรกที่นครย่างกุ้งได้สำ�เร็จและวางแผนที่ จะเปิดอีกหนึ่งสาขาที่เมืองมัณฑะเลย์เร็วๆ นี้ แต่วสิ ยั ทัศน์ความเป็นผูน้ �ำ ของเธอบอกกับเราว่า เธอตัง้ เป้าหมายไว้ไกลกว่านัน้ นัน่ คือ การลงทุน ในกลุม่ ประเทศอาเซียนให้ครบ ก่อนจะเบนเข็ม ไปสู่ระดับโลก เพื่อให้ก๋วยเตี๋ยวสุโขทัยขึ้นหิ้ง เป็ น เมนู อ าหารสากลที่ ไ ด้ รั บ ความนิ ย มเช่ น เดียวกับต้มยำ�กุ้งและผัดไทย โดยยังคงรักษา มาตรฐานด้านคุณภาพและการเสิรฟ์ รสชาติแบบ ไทยเป็นหัวใจสำ�คัญ “การทำ�ธุรกิจให้ประสบ ความสำ�เร็จคือความยิง่ ใหญ่ แต่ในการทำ�ธุรกิจ แฟรนไชส์ เราต้องประคับประคองดูแลอีกคน ให้สำ�เร็จด้วย มันเป็นเรื่องที่ยากกว่า เราไม่ได้ เลือกคนที่มีเงิน แต่เลือกคนที่มีแนวคิด รู้ว่า ธุรกิจมีขาขึ้นและขาลง จริงๆ แล้ว ทุกคนมี โอกาสทีจ่ ะประสบความสำ�เร็จเท่ากัน ขึน้ อยูก่ บั ว่าระหว่างเรามีความอดทนที่จะไปถึงตรงนั้น มากพอหรือเปล่า”
พฤศจิกายน 2555 l Creative Thailand
l 23
CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
เชียงราย การเปลี่ยนผ่านของฤดูกาล
งดงาม สงบ และหนาวเย็น คือเหตุผลที่ทำ�ให้เชียงรายเป็นเมือง ที่จับใจผู้คนมาเนิ่นนาน แต่เมืองที่มีอายุเก่าแก่กว่า 750 ปีนี้ ย่อมมีแรงดึงดูดได้มากกว่าการท่องเที่ยวตามฤดูกาล เพราะ เชียงรายถูกมอบหมายหน้าที่ให้เป็นตัวแทนของความชิดใกล้ กับเพื่อนบ้านทั้งด้านภาษา ศิลปะ ไปจนถึงอาหารการกิน หากแต่ บนวิถชี วี ติ ทีร่ อ้ ยเรียงเข้าด้วยกันนัน้ กำ�ลังถูกสัน่ สะเทือนด้วยคลืน่ ความถีท่ างเศรษฐกิจ จากฝัง่ พม่า ทีม่ าพร้อมกับความรุง่ เรือง และ มั่งคั่งของจีน และผลลัพธ์จากโอกาสที่จะสูบฉีดไปทั่วเมืองนั้น อาจกลายเป็นพิมพ์เขียวใหม่ของเมืองอันน่าหลงใหลแห่งนี้
24 l Creative Thailand l พฤศจิกายน 2555
flickr.com/photos/frdalix
เรื่อง: ศิริอร หริ่มปราณี
CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
ดินแดนแห่งความอิ่มเอม
โอกาสให้ผู้คนได้เยี่ยมเยือนและซึมซับผลงาน ศิลปะ รวมถึงความอุตสาหะของศิลปิน เช่น บ้านดำ�ของถวัลย์ ดัชนี หอศิลป์ไตยวนของฉลอง พินจิ สุวรรณ สตูดิโอดอยดินแดงของสมลักษณ์ ปันติบญุ รวมถึงศิลปินอย่างอภิรกั ษ์ ปันมูลศิลป์ และเฉลิมชัย โฆษิตพิพฒั น์ เป็นต้น ซึง่ ทางจังหวัด ได้ให้การสนับสนุนด้านการประชาสัมพันธ์ เพือ่ ให้เกิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งสร้างแรง บันดาลใจแก่เด็กๆ และศิลปินรุ่นใหม่ เพื่อว่า วันหนึง่ ข้างหน้า พวกเขาจะได้เติบโตเป็นศิลปิน ผูเ้ ปีย่ มทักษะต่อไป นอกเหนือจากความอิ่มเอมทางใจและทาง ปัญญา เชียงรายยังเป็นแหล่งผลิตพืชผลทางการ เกษตรทีส่ ร้างความอิม่ ท้องอีกด้วย โดยความอุดม สมบูรณ์บนที่ราบสูงนี้มาพร้อมกับการพัฒนา เมล็ดพันธุแ์ มคคาเดเมียหรือกาแฟอาราบิกาจาก ดอยวาวี ดอยช้าง และดอยตุง รวมถึงฟาร์ม ดอกไม้ เมืองหนาว และยังเพิม่ ชัน้ เชิงของราคา ด้วยการเป็นแหล่งผลิตเกษตรออร์แกนิกให้แก่ ข้าวหอมมะลิและสมุนไพรนานาชนิด นอกจาก นั้นโครงการพัฒนาชาวเขาบนพื้นที่ราบสูงที่ ห่างไกลหลายโครงการยังได้เปลี่ยนชีวิตใหม่ให้ คนชายขอบเหล่านีซ้ ง่ึ ครัง้ หนึง่ เคยพัวพันกับการ ปลูกฝิ่น ให้สามารถลบล้างภาพจำ�เก่าๆ จาก ดินแดนทีไ่ ด้รบั การเรียกขานว่าสามเหลีย่ มทองคำ� ให้กลายเป็นประสบการณ์ในการเดินทางท่องเทีย่ ว รูปแบบใหม่ทจ่ี ะได้มองเห็นจุดบรรจบของพรมแดน ไทย ลาว และพม่า ทัง้ ยังสามารถล่องแม่นา้ํ โขง ลัดเลาะไปทางตอนใต้ของประเทศจีนเพื่อไปยัง สิบสองปันนาและคุนหมิงได้อกี ด้วย © RedDeaD:~Jook
ทิวเขาทีท่ อดตัวเป็นทิวทัศน์สลับซับซ้อน นอกจาก จะแสดงถึงความสมบูรณ์ของธรรมชาติ ยังเป็น เหมือนเกราะกำ�บังให้ผ้คู นเอื้อมมือถึงเชียงราย ได้ยากขึน้ แม้เชียงรายจะเดินทางเข้าถึงได้ทง้ั ทาง เครือ่ งบิน ถนน และการล่องเรือทางแม่นา้ํ โขง แต่ อุปสรรคทางการสัญจรจากเส้นทางรถไฟที่ลาก มาหยุดอยูแ่ ค่จงั หวัดเชียงใหม่ ก็ได้กลายเป็นส่วน ทีช่ ว่ ยชะลอความสูญเสียของธรรมชาติในดินแดน แห่งนีไ้ ด้บา้ ง เมืองทีอ่ ยูเ่ หนือสุดของประเทศไทย นี้จึงเต็มเปี่ยมด้วยความน่าพิสมัย และเมื่อการ ดั้นด้นยิ่งสร้างแรงปรารถนา ณ เวลาที่ผู้คนได้ เดินทางผ่านป่าเขาอันเลีย้ วลด กระทัง่ ได้ไปสัมผัส แหล่งท่องเทีย่ วสุดพิเศษของทีน่ ่ี จึงเป็นห้วงเวลา ทีห่ ลายคนได้เข้าใจความหมายของคำ�ว่า “งาม จนลืมหายใจ” ความสมบูรณ์แบบของเชียงรายเกิดจาก ภูมปิ ระเทศและภูมอิ ากาศ ซึง่ ได้สะท้อนผ่านอาหาร การแต่งกาย พืชพรรณในตลาดสด ขณะที่การ เดินไปรอบๆ เมืองจะเผยให้เห็นความเปลีย่ นแปลง และความเป็นพื้นเมืองที่เป็นเสน่ห์ของเชียงราย โดยในตัวเมืองยังได้รบั อิทธิพลตะวันตกจากการ ที่กลุ่มมิชชันนารีได้เข้ามาเผยแผ่ศาสนาและ วิทยาการต่างๆ ตั้งแต่เมื่อต้นทศวรรษ 1900 โดยเฉพาะการวางผังเมือง การออกแบบศาลากลาง จังหวัด เรือนจำ� โรงพยาบาลโอเวอร์บรุค๊ โรงเรียน บริกส์อนุสรณ์ (เชียงรายวิทยาคมในปัจจุบนั ) และ โบสถ์คริสตจักรที่ 1 เวียงเชียงรายกับรูปแบบ สถาปัตยกรรมแบบโคโลเนียล (Colonial Style)1 การเปิดกว้างทางจิตใจที่เปิดรับความเชื่อ ค่านิยมใหม่ บนรากฐานของวัฒนธรรมอันเก่า แก่ได้นำ�ไปสู่สังคมที่สร้างสรรค์ด้วยงานศิลปะ หลากหลายแขนง ที่นี่จึงเป็นทั้งบ้านเกิดและที่ พำ�นักของศิลปินระดับนานาชาติ ระดับชาติ และ ระดับท้องถิ่นมากกว่า 200 ชีวิต ซึ่งปัจจุบัน ภาครัฐและส่วนท้องถิน่ ได้จบั มือกันอย่างแน่นแฟ้น กับเครือข่ายศิลปินพื้นเมืองโดยการจัดโครงการ เปิดบ้านศิลปินซึง่ มีมากกว่า 10 แห่งขึน้ เพือ่ เปิด
1 ปัจจุบนั "โบสถ์คริสตจักรที่ 1 เวียงเชียงราย" กำ�ลังอยูท่ า่ มกลางกรณีความขัดแย้งระหว่างคณะกรรมการโบสถ์คริสต์ทเ่ี ชียงรายบางส่วนที่ มีความประสงค์จะสร้างโบสถ์หลังใหม่แทนที่อาคารเดิม กับกระแสการคัดค้านของนักอนุรักษ์ที่มีมาตั้งแต่กุมภาพันธ์ปี 2009 พฤศจิกายน 2555 l Creative Thailand
l 25
CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
26 l Creative Thailand l พฤศจิกายน 2555
ประเทศอิตาลี ได้รว่ มมือกันวางแผนผลิตข้าวหอมมะลิ อินทรีย์ข้นึ เป็นครั้งแรกในประเทศไทยภายใต้โครงการ “ข้าวอินทรีย์ทุ่งลอ” โดยเป็นพื้นที่รอยต่อระหว่าง เชียงรายและพะเยา ทิวเขาทีห่ อ้ มล้อมพืน้ ทีท่ งุ่ ลอ ทำ�ให้ พืน้ ทีแ่ ห่งนีเ้ ป็นทำ�เลทองทีห่ า่ งไกลจากมลพิษใดๆ การเพาะ ปลูกข้าวหอมมะลิออร์แกนิกดำ�เนินไปอย่างจริงจัง โดยพื้นที่ต้องผ่านมาตรฐาน IFORM (International Federation of Organic Agriculture Movements) และตลอดการเพาะปลูกจะมีบริษัทตรวจสอบรับรอง ระบบเกษตรอินทรียเ์ ข้าไปติดตามตรวจสอบทุกขัน้ ตอน ตั้งแต่กระบวนการผลิต แปรรูป ไปถึงการส่งออก สำ�หรับในแปลงเพาะปลูก เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบว่า เกษตรกรเพาะปลูกข้าวได้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่ กำ�หนดหรือไม่ รวมทัง้ ประเมินสภาพแวดล้อมรอบแปลง เพาะปลูกด้วย และเมื่อข้าวเปลือกถูกส่งเข้าไปเก็บ เพื่อรอการแปรรูปในโรงสี ก็จะถูกตรวจสอบว่ามีการ เก็บข้าวอินทรียถ์ กู ต้องตามระบบหรือไม่ รวมทัง้ ติดตาม ไปตรวจสอบขั้นตอน การเก็บรักษาข้าวในโกดังก่อน การส่งออกด้วยเช่นกัน หลัง 20 ปีผ่านไป มีเกษตรกร ในพื้นที่ทุ่งลอสนใจเข้าร่วมการปลูกข้าวออร์แกนิกนี้ จำ�นวน 4 กลุม่ รวมประมาณ 200 ครอบครัว บนเนือ้ ที่ เพาะปลูกทั้งหมด 6,000 ไร่ รวมผลผลิตข้าวเปลือก ป้อนตลาดได้เกือบ 3,000 ตันต่อปี สร้างเม็ดเงิน กลับสู่พื้นถิ่นได้ถึง 40 ล้านบาท flickr.com/photos/The CopperCat
Tea Time ที่อำ�เภอแม่ลาวเป็นไร่ชาบนที่ราบ แห่งแรกของประเทศไทย ซา้ํ ยังเป็นไร่ชาออร์แกนิก 100 เปอร์เซ็นต์ ทีก่ �ำ ลังรอคำ�รับรองตามมาตรฐานออร์แกนิก ของสหรัฐอเมริกา (USDA) ในอดีต ห้างหุ้นส่วนจำ�กัด สุวริ ฬุ ชาไทย มีไร่ชาอยูบ่ นดอยวาวีและแม่สลองอยู่ ก่อนแล้วซึง่ เป็นพืน้ ทีเ่ นินเขา จนกระทัง่ ได้องค์ความรู้ ใหม่จากนักวิจัยชาวไต้หวัน จึงทำ�ให้ทดลองปลูกชา บนที่ราบในอำ�เภอแม่ลาวเกิดขึ้น ซึ่งความแตกต่าง ระหว่างการปลูกชาบนทีเ่ นินและทีร่ าบก็คอื ชาบนทีร่ าบ จะเติบโตดีได้ดีกว่าชาบนดอย เพราะบนที่ราบจะใช้ ต้นกล้าเพียง 800 ต้นต่อไร่ ขณะที่บนดอยต้องใช้
ต้นกล้าถึง 1,200 ต้นต่อไร่ แต่สามารถให้ผลผลิตต่อไร่ เท่ากัน นอกจากนี้ ชาบนดอยยังปลูกขึ้นหน้าเดียว เพราะไม่ได้รับแสงแดดตลอดทั้งวัน ต่างจากไร่ชาบน พื้นราบที่ได้รับแสงแดดตลอดวัน รวมทั้งยังได้ลมเช้า และลมเย็นสมํา่ เสมอ จากการทดลองปลูกชาเพียง 5 ไร่ กับงบลงทุน 2 ล้านบาท ปัจจุบันไร่ชาดังกล่าวมีพื้นที่ ขยายออกไปกว่า 240 ไร่ และมีโรงงานแปรรูปชาใน พืน้ ทีเ่ ดียวกัน โดยผลผลิตครึง่ หนึง่ ส่งออกยังต่างประเทศ Pineapple Sherbet ต้องขอบคุณความสร้างสรรค์ ของ เอนก ประทีป ณ ถลาง อาจารย์มหาวิทยาลัย ราชภัฏเชียงราย ซึ่งได้นำ�พันธุ์สับปะรดมาจากจังหวัด ภูเก็ตเพื่อมาปลูกในตำ�บลนางแล และได้มีการปรับ เปลี่ยนวิธีการปลูกให้เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศ และภูมอิ ากาศ โดยไม่ใช้ยาฆ่าแมลงและใส่ปยุ๋ วิทยาศาสตร์ จนได้สับปะรดพันธุ์ใหม่ที่ชื่อว่าพันธุ์ "ภูแล" โดยเป็น การผสมชื่อระหว่างตำ�บลนางแล กับสับปะรดพันธุ์ ภูเก็ต ไม่ใช่มาจากพันธุ์ภูเก็ตผสมกับพันธุ์นางแลตาม ที่เข้าใจกัน ด้วยรสชาติ สีสัน และขนาดที่น่าเอ็นดู ทำ�ให้สับปะรดภูแลได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว รวมถึงยังกลายเป็นเชอร์เบตยอดนิยมของร้านฟาร์ม ทู เทเบิล ออร์แกนิก (Farm to Table Organic) ที่ส่ง ไปขายถึงกรุงเทพฯ ด้วย The best rice and the best price เมือ่ ปี 1991 บริษทั นครหลวงค้าข้าว โรงสีเชียงใหม่ไชยวิวัฒน์ และ บริษัทริเซเรีย มอนเฟอร์ราโต (Riseria Monferrato) jack-phulae.blogspot.com
flickr.com/photos/the Coppercat
Coffee Route มีการนำ�กาแฟพันธุ์อาราบิกา (Arabica) มาปลูกในเชียงรายตั้งแต่ปี 1973 โดย โครงการปลูกพืชทดแทนและพัฒนาเศรษฐกิจชาวไทย ภูเขา ไทย/สหประชาชาติ เพือ่ จูงใจให้ชาวเขาปลูกพืช ชนิดใหม่ทดแทนการปลูกฝิ่น โดยมีการทดลองปลูก ณ พื้นที่ของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ดอยตุง สถานีทดลอง เกษตรที่สูงจังหวัดเชียงราย ต่อมาจึงได้แจกจ่ายไปสู่ เกษตรกรและชาวไทยภูเขา ซึง่ สามารถปลูกได้ผลผลิตดี เกษตรกรจึงสนใจมาปลูกกาแฟเป็นจำ�นวนมาก ปัจจุบนั กาแฟกลายเป็ น พื ช เศรษฐกิ จ ที่ สำ � คั ญ ของจั ง หวั ด เพราะสามารถเติบโตและให้ผลผลิตได้ดีในพื้นที่สูงที่ มีอากาศหนาวเย็นเกือบตลอดทัง้ ปี ปัจจุบนั เชียงรายมี พืน้ ทีป่ ลูกกาแฟทัง้ หมด 39,391ไร่ ใน 8 อำ�เภอ สร้าง ผลผลิตประมาณ 3,500 ตันต่อปี เช่น กาแฟจากดอยช้าง ดอยวาวี อำ�เภอแม่สรวย, บ้านพนาสวรรค์ อำ�เภอ แม่ฟา้ หลวง, บ้านปางขอน ตำ�บลห้วยชมภู อำ�เภอเมือง, บ้านผาฮี้ ตำ�บลโป่งงาม อำ�เภอแม่สาย เป็นต้น ซึ่ง นอกจากจะสร้างรายได้จากการเพาะปลูกแล้ว ในช่วง กุมภาพันธ์ถึงมีนาคมของทุกปี ดอกกาแฟที่บนดอย เชียงรายจะบานสะพรั่งและกลายเป็นเส้นทางท่ อ ง เที่ยวที่หอมกรุ่นดึงดูดนักท่องเที่ยวจำ�นวนมาก
flickr.com/photos/fifth feet
ขอบคุณผืนดินที่เชียงราย
CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
ปฏิกิริยาต่อสิ่งเร้า
การมีความสัมพันธ์กับชายแดนที่ดีเยี่ยมได้เป็น สะพานเชือ่ มต่อโอกาสทีจ่ ะสร้างความกระตือรือร้น ใหม่ให้กับเมือง และอาจนำ�ความเปลี่ยนแปลง แบบสุดขัว้ มาสูเ่ ชียงราย ช่วงเวลา 10 ปีทผ่ี า่ นมาอัตราเศรษฐกิจของ เชียงรายเติบโตสูงเป็น 6 เท่า โดยปี 2011 มี ปริมาณการค้าชายแดนสูงถึง 29,771.51 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 41.25 จากปีก่อน โดยเป็น มูลค่านำ�เข้าราว 3,600 ล้านบาท และมูลค่าส่ง ออกกว่า 26,000 ล้านบาท จึงทำ�ให้เชียงรายได้ ดุลการค้าจากการค้าขายผ่านชายแดนที่ด่าน ถาวร 4 จุดใน 3 อำ�เภอ ได้แก่ อำ�เภอเชียงแสน และเชียงของตรงข้ามกับฝัง่ ลาว และอำ�เภอแม่สาย ตรงกับอำ�เภอท่าขีเ้ หล็กของพม่า นอกจากนีย้ งั มี จุดผ่อนปรนอีก 10 แห่ง รวมถึงธุรกิจและธุรกรรม กับ 3 ประเทศ คือ พม่า จีน และลาวนัน้ ก็คกึ คัก และเต็มไปด้วยขบวนรถบรรทุกสินค้าทีแ่ ล่นผ่าน ด่านแบบล้นคัน ซึง่ สินค้าอุปโภคบริโภคของไทย เป็นทีต่ อ้ งการอย่างสูงในประเทศเพือ่ นบ้านเหล่า นี้เพราะได้รับความเชื่อมั่นว่าเป็นสินค้าคุณภาพ ดี แม้จะมีราคาสูง ขณะทีส่ นิ ค้านำ�เข้าผ่านชายแดน ส่วนใหญ่คือพืชผลทางการเกษตร โดยเฉพาะ ผลไม้และดอกไม้จากจีนที่คิดเป็นปริมาณกว่า ร้อยละ 80 ของสินค้าทั้งหมดทีเดียว ปัจจุบัน เชียงรายกำ�ลังเพิ่มความคล่องตัวของระบบ ขนส่ ง และโลจิกติกส์ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เพราะรัฐบาลไทยและลาว กำ�ลังดำ�เนินโครงการ สร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 4 เพือ่ ข้าม แม่นา้ํ โขงบริเวณเชียงของ-ห้วยทราย ซึง่ จะทำ�ให้ ปัญหาความยุง่ ยากจากการขนส่งบนแพขนานยนต์ ถูกกำ�จัดออกไป อานิสงส์ของความร่วมมือใน การจัดตัง้ เขตเศรษฐกิจพิเศษ เช่น การเปิดประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน (AEC) หรือข้อตกลงทางการค้า FTA ของไทยและจีน รวมถึงการผลักดันให้ เชียงรายเป็นประตูส่กู ารค้าของกลุ่มภูมิภาคลุม่ แม่นา้ํ โขง GMS (จีนยูนนาน พม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชา ไทย) และกลุ่ม BIMSTEC (อินเดีย บังคลาเทศ พม่า ศรีลงั กา ภูฏาน เนปาล ไทย) ส่งผลให้เชียงรายที่เคยสงบเงียบต้องลุกขึ้นมา
Kunming
China
Jinghong
Myanmar Keng Tong
Louangnamtha
Chiang Rai
Lao
Thailand พื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจแนวเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridor)
รับมือกับความพลุกพล่านทีค่ อ่ ยๆ ก่อตัวขึน้ ด้าน หนึง่ เศรษฐกิจทีเ่ ติบโตจะสร้างบรรยากาศทีค่ กึ คัก ให้กบั เมือง การหลัง่ ไหลของแรงงานต่างชาติ และ ต่างเมืองก็จะนำ�มาซึ่งสีสันใหม่ท่สี ่งพลังงานทั้ง ด้านบวกและด้านลบ เช่น ปัญหาความแออัด อาชญากรรม หรือกระทัง่ การจราจรทีค่ บั คัง่ และ นอกเหนื อ จากการค้ า และการลงทุ น แล้ ว อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการยังเป็น ที่น่าจับตา โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย มีแผนเปิดตลาดการท่องเที่ยวของเชียงรายเพื่อ ให้เป็นจังหวัดต้นแบบการท่องเทีย่ วรับ AEC เพราะ เชียงรายมีจดุ เชือ่ มโยงกับสิบสองปันนา ฝัง่ โขงพม่า รวมถึงการผลักดันสายการบินต่างประเทศให้ บินตรงจากประเทศต่างๆ มาสูเ่ ชียงรายให้มากขึน้ อาทิ สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย โดยปัจจุบนั เชียงราย มีรายได้จากการท่องเทีย่ วเฉลีย่ ปีละ 5 หมืน่ ล้าน บาท ซึ่งหากมีการส่งเสริมด้านการท่องเที่ยว การปรับปรุงมาตรฐานและรูปแบบสินค้าให้มี ความเป็นนานาชาติมากขึ้น ควบคู่กับรักษา ความเป็นพืน้ เมือง การเพิม่ สิง่ อำ�นวยความสะดวก การปรับปรุงเรือ่ งสุขอนามัยและความสะอาด ก็ จะทำ�ให้บรรลุเป้าหมายการเพิ่มรายได้จากการ
ท่องเที่ยวเป็น 1 แสนล้านบาท และเพิ่มจำ�นวน นักท่องเที่ยวให้ได้เฉลี่ย 2 ล้านคนต่อปีภายใน ปี 2015 เชียงรายคุ้นเคยกับการเป็นเจ้าบ้านที่ดีมา ยาวนาน ทั้งการเปิดรับคำ�สอนทางศาสนาจาก เหล่ามิชชันนารีเมือ่ ร้อยกว่าปีกอ่ น การสร้างสรรค์ ศิลปะแบบร่วมสมัยบนวัฒนธรรมแบบล้านนา หรือแม้แต่การขับกล่อมนักท่องเทีย่ วให้ดม่ื ดา่ํ กับ ธรรมชาติอนั สมบูรณ์แบบ แต่สถานะเช่นนีจ้ ะยัง ต้านทานต่อแรงสัน่ ไหวได้มากน้อยแค่ไหน หาก แรงกระตุน้ ของสิง่ เร้ารอบตัวได้ด�ำ เนินไป เพราะ ทีส่ ดุ แล้ว ผูค้ นทีต่ กหลุมรักเมืองแห่งนีก้ ค็ อื ผูท้ จ่ี ะ ต้องเร่งพิสูจน์ความแข็งแกร่งในการรับมือกับ ความเปลี่ยนแปลงของอนาคต เพื่อว่าเชียงราย จะยังคงกอดเก็บเสน่ห์ของแรงดึงดูดให้คงอยู่ ร่วมกับโอกาสที่หลั่งไหลเข้ามาได้อย่างสมดุล และน่าประทับใจเสมอไป
ที่มา: chiangrai.net kasetdoichang.com หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ 4 ตุลาคม 2555 เอกสารการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดเชียงราย โดยสำ�นักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงราย เอกสารแผนพัฒนาจังหวัดเชียงราย พ.ศ.2553-2556 โดยสำ�นักงานจังหวัดเชียงราย พฤศจิกายน 2555 l Creative Thailand
l 27
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
The Burmese Interpretations
ถามทาง Tube Gallery ก่อน รู้สึกอย่างไรเมื่อเห็นนิทรรศการนี้เป็นครั้ง ศักดิ์สิทธิ์: แล้วการใช้สีของเขากับของ Tube Gallery มีความใกล้เคียง แรก กันชกุอยูล ่แภาพ: ล้ว กัตัลย์้งธแต่ีรา งสงวนตั านชุด้ง แรกๆ ของคริสเตียน รวมถึงสีของ Tube Galเรื่อง: นันท์นรี พานิ ศักดิ์สิทธิ์: ผมเคยเห็นงานของคริสเตียนอยู่ก่อนแล้วแต่ยังไม่รู้จักเป็นการ lery เองก็มีการใช้สีที่ชัดเจนมาโดยตลอด พอยิ่งรวมกับรูปกับลายเส้นที่ ส่วนตัว แต่ครั้งที่สองที่ไปเห็นคือที่งานเปิดนิทรรศการที่ภูเก็ต คือเป็นผล เราไม่เข้าใจ ด้วยโครงสร้างของหน้าและเส้นที่เราไม่ได้คิดด้วยซ้ำ�ว่ามัน งานชุดนี้ ซึ่งไม่มีในสมองเลยว่าคือหน้าใคร มาจากชนเผ่าอะไร มันดู คือลายสัก ดูแล้วตื่นตา ตื่นเต้น ยิ่งดูยิ่งกลับไปคิดถึง คือภาพมันแรงมาก ของผู่ ้หญิมังนเผ่ ชินที่เจอในตลาดโดยบั งเอิดญว่างานศิลปะสำ�คัญตรงนี้ ที่มัน เป็นเทคโนเสียด้จากความประทั วยซ้ำ� พอเจอกัน บได้ใจในลวดลายสั ทำ�ความรู้จักกันกก็บนใบหน้ เลยมาเยี่ยามชมที ทิ้งาอะไรบางอย่ างไว้กับเรา ผมคิ นทางไปยั งพม่า ศิชอบทุ ลปินกคริอย่สาเตี และปีเตอร์ สมิตอนในใจ ส์ หุ้นส่ให้ วนผู นี่ ก็ประทับใจพืเมื้น่อทีครั ่มาก้งเดิชอบวิ ธีการแสดงาน ง ยก็กนลัเดอเวลเตอร์ บไปนั่ง สามารถเข้ าไปแอบซ่ เราคิ้ร่วดมถึงมันอยู่เรื่อยๆ ก่อตัง้ แกลลอรี ดโิ อ พWarp 54่นี่มในพื คิดกันว่าอยากแสดงงานที ่นี่ แต่ศ่ อลิ ยูปะกึ ่ดีๆ ง่ สตู จะมาใช้ ื้นที่ของที ันก็ดน้ ูไม่ทีมโ่ กดั ี งเก่าย่านเจริญกรุงริมแม่นา้ํ เจ้าพระยา งดั้นด้นตามไปศึกษาวิาอยากทำ ถีชีวิต�และการสั ลวดลายถึ เรื่องราว ก็เจึลยลองทาบทามทางเขาว่ งานด้วยกันกไหม ที่ งถิ่นฐานในรัฐชินซึ่งมีพรมแดนติดกับ อิ น เดี ย และบั ง กลาเทศ เพื อ ่ สร้ า งสรรค์ เ ป็ น ภาพวาดใบหน้ งสาวชาวเอเชี ยร่วมสมั ยที่มี ยอะไรกับทางคุณบ้าง แล้ว ประหลาดใจมากคือพอเราบอกว่าอยากใช้พื้นที่แสดงงาน เขาก็โอเคบอก กลับาหญิ มาทาง Warp54 ดีไซเนอร์ ทั้งสองคนมาคุ เส้นสายบนดวงหน้าสะกดสายตา เป็นวิถกี ารให้คา่ ความงามและความเป็นชนเผ่าของพวกเขา ว่าใช้ได้เลย เราก็ โอย ดีใจจัดงChin, เอาใหม่Urban ขอเพิ่ม+ Tribal เพราะเราอยากให้ มันพมีสิ ฐิ จงนรั ทางคุงณสิเล่น าและศั อะไรให้ ในผลงานชุ ซึง่ ดึงดูดให้ กดิฟส์ ังทิ ธิ์ พิศาลสุพงศ์ ความสัมพันธ์ตคู่อด่กันไี ซเนอร์ ทำ�งานด้ ยกัน ได้ด้วยกัTube น ความที ่เราชอบศิเข้ลาไปทำ�ความรู ปะกัน คริจ้สเตี ยน: เราเล่าเรืย่ ่อมชมผลงานของ งแนวคิดทั้งหมดและการเดินทางไปพม่าให้ทั้งสอง เจ้าวของแบรนด์ Gallery กั และตามไปเยี อยู่แล้ว เราก็ เลยขอทำงแกลลอรี �เสื้อผ้าคอลเล็ กชั่นหนึ่งทีน่อความร่ ิงจากภาพวาดที ่เรา คนฟัง ซึ่งได้กรับชัการตี ่มเติมขึล้นปะ มาใหม่เป็นเสื้อผ้าได้อย่างน่าสนใจ ทั้งสองถึ ่ จนกลายเป็ วมมือในงานแสดงคอลเล็ ่นเสื้อคผ้วามเพิ าและงานศิ ชื่นชมอยู่แล้ว สุซึด่งก็พิคเศษ ืองานภาพวาดชุ องคริสเตียน ซึ่งวตอนนั ยัง อย่คาวามผลงานซ้ งเรื่องการใช้ผีเอสืนทั ้อและการใส่ ที่ถือกำ�เนิดดใหม่ ขึ้นขจากความชอบส่ นตัว้นและการตี บลงไปได้งานกราฟิ อย่าง กเข้ามาในลวดลายมากขึ้น ไม่ได้เป็นนิทรรศการด้ ำ� โดยมีกำ�หนดจะจัดแสดงทีแ่ กลลอรี่ Warpปี54 เตอร์ปลายพฤศจิ : เราชอบมากทีกายนนี ่ทาง Tube มีเอกลัวกยซ้ษณ์ ้ Gallery ตัดสินใจใช้ผีเสื้อในงานเพราะ พิสิฐ: ต้องเล่าก่อนว่า ผมกับศักดิ์สิทธิ์อยากทำ�เสื้อผ้าคอลเล็กชั่นหนึ่ง สื่อถึงป่า สื่อถึงธรรมชาติ รวมถึงผีเสื้อเองก็มีโครงเส้นสีดำ�ของลวดลาย เกี่ยวกับพม่าก่อนที่จะเปิดประเทศ แต่ตอนนั้นเรายังไม่รู้ว่าทิศทางจะไป บนปีกอยู่แล้ว พอเราเห็นงานออกแบบของ Tube Gallery เราคิดว่ามัน ทางไหน เพราะเสื้อผ้าของพม่าที่เป็นเครื่องแต่งกายแบบดั้งเดิมของเขา เป็นวิธีการตีความใหม่ที่ได้ผลดีกับทั้งสองฝ่าย เพราะตอนนั้นงานภาพ มันมีทั้งแบบสุดกู่ แบบเยอะมากๆ และแบบที่เรียบมากๆ พอทาง วาดก็ยังอยู่ในขั้นตอนการทำ�งานอยู่ สิ่งที่พวกเขาเห็นในภาพวาดที่ก็ยัง คริสเตียนกับปีเตอร์ได้เล่าที่มาให้ฟังว่ามันเป็นมาอย่างไร เรื่องราวก็ยิ่ง ไม่ เ สร็ จ สมบู ร ณ์ ไ ด้ เ ติ บ โตขึ้ น เป็ น ผลงานอี ก ชิ้ น หนึ่ ง ซึ่ ง มี ค วามเป็ น น่าสนใจเพราะจากภาพดูโมเดิร์นมาก ไม่ใช่พม่าเลย ออร์แกนิกอยู่มาก ช่วงที่เจอกันเพื่อคุยโครงการนี้น่าจะเป็นตอนเดือน จากซ้ายไปขวา: พิสฐิ จงนรังสิน, ปีเตอร์ สมิตส์, ศักดิส์ ทิ ธิ์ พิศาลสุพงศ์ และคริสเตียน เดอเวลเตอร์
28 l Creative Thailand l พฤศจิกายน 2555
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
พฤศจิกายน 2555 l Creative Thailand
l 29
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
ถามทาง Tube Gallery ก่อน รูส้ กึ อย่างไรเมือ่ เห็นนิทรรศการนีเ้ ป็นครัง้ แรก ศักดิ์สิทธิ์: ผมเคยเห็นงานของคริสเตียนอยู่ก่อนแล้วแต่ยังไม่รู้จักเป็นการ ส่วนตัว แต่ครัง้ ทีส่ องทีไ่ ปเห็นคือทีง่ านเปิดนิทรรศการทีภ่ เู ก็ต คือเป็นผลงาน ชุดนี้ ซึ่งไม่มีในสมองเลยว่าคือหน้าใคร มาจากชนเผ่าอะไร มันดูเป็น เทคโนเสียด้วยซํ้า พอเจอกัน ได้ทำ�ความรู้จักกัน ก็เลยมาเยี่ยมชมที่นี่ ก็ประทับใจพื้นที่มาก ชอบวิธีการแสดงาน ชอบทุกอย่าง ก็กลับไปนั่งคิด กันว่าอยากแสดงงานทีน่ ่ี แต่อยูด่ ๆี จะมาใช้พน้ื ทีข่ องทีน่ ม่ี นั ก็ดไู ม่มเี รือ่ งราว ก็เลยลองทาบทามทางเขาว่าอยากทำ�งานด้วยกันไหม ทีป่ ระหลาดใจมากคือ พอเราบอกว่าอยากใช้พน้ื ทีแ่ สดงงาน เขาก็โอเคบอกว่าใช้ได้เลย เราก็ โอย ดีใจจัง เอาใหม่ ขอเพิ่ม เพราะเราอยากให้มันมีความสัมพันธ์ต่อกัน ทำ�งานด้วยกัน ได้ด้วยกัน ความที่เราชอบศิลปะกันอยู่แล้ว เราก็เลยขอ ทำ�เสื้อผ้าคอลเล็กชั่นหนึ่งที่อิงจากภาพวาดที่เราชื่นชมอยู่แล้ว ซึ่งก็คือ งานภาพวาดชุดใหม่ของคริสเตียน ซึ่งตอนนั้นยังไม่ได้เป็นนิทรรศการ ด้วยซํ้า พิสิฐ: ต้องเล่าก่อนว่า ผมกับศักดิ์สิทธิ์อยากทำ�เสื้อผ้าคอลเล็กชั่นหนึ่ง เกี่ยวกับพม่าก่อนที่จะเปิดประเทศ แต่ตอนนั้นเรายังไม่รู้ว่าทิศทางจะไป ทางไหน เพราะเสื้อผ้าของพม่าที่เป็นเครื่องแต่งกายแบบดั้งเดิมของเขา มันมีทง้ั แบบสุดกู่ แบบเยอะมากๆ และแบบทีเ่ รียบมากๆ พอทางคริสเตียน กับปีเตอร์ได้เล่าที่มาให้ฟังว่ามันเป็นมาอย่างไร เรื่องราวก็ยิ่งน่าสนใจ เพราะจากภาพดูโมเดิร์นมาก ไม่ใช่พม่าเลย ศักดิส์ ทิ ธิ:์ แล้วการใช้สขี องเขากับของ Tube Gallery มีความใกล้เคียงกัน อยูแ่ ล้ว ตัง้ แต่งานชุดแรกๆ ของคริสเตียน รวมถึงสีของ Tube Gallery เอง ก็มกี ารใช้สที ช่ี ดั เจนมาโดยตลอด พอยิง่ รวมกับรูปกับลายเส้นทีเ่ ราไม่เข้าใจ ด้วยโครงสร้างของหน้าและเส้นทีเ่ ราไม่ได้คดิ ด้วยซํา้ ว่ามันคือลายสัก ดูแล้ว ตื่นตา ตื่นเต้น ยิ่งดูยิ่งกลับไปคิดถึง คือภาพมันแรงมาก มันทิ้งอะไร บางอย่างไว้กับเรา ผมคิดว่างานศิลปะสำ�คัญตรงนี้ ที่มันสามารถเข้าไป แอบซ่อนในใจ ให้เราคิดถึงมันอยู่เรื่อยๆ
,,
กลับมาทาง Warp54 ดีไซเนอร์ทั้งสองคนมาคุยอะไรกับทางคุณบ้าง แล้วทางคุณเล่าอะไรให้ฟัง คริสเตียน: เราเล่าเรือ่ งแนวคิดทัง้ หมดและการเดินทางไปพม่าให้ทง้ั สองคน ฟัง ซึ่งได้รับการตีความเพิ่มเติมขึ้นมาใหม่เป็นเสื้อผ้าได้อย่างน่าสนใจ
มันเหมือนคุณมีทง้ั งานศิลปะ งานเชิงมานุษยวิทยา แล้วก็งานแฟชั่น ที่ได้จากการเดินทาง เราหวังว่า งานแสดงครั้งนี้คนจะรู้จักชาวชินมากขึ้น และลองเดินทางเข้าไปทำ�ความรูจ้ กั พวกเขา 30 l Creative Thailand l พฤศจิกายน 2555
,,
อย่างเรื่องการใช้ผีเสื้อและการใส่งานกราฟิกเข้ามาในลวดลายมากขึ้น ปีเตอร์: เราชอบมากที่ทาง Tube Gallery ตัดสินใจใช้ผีเสื้อในงานเพราะ สื่อถึงป่า สื่อถึงธรรมชาติ รวมถึงผีเสื้อเองก็มีโครงเส้นสีดำ�ของลวดลาย บนปีกอยูแ่ ล้ว พอเราเห็นงานออกแบบของ Tube Gallery เราคิดว่ามันเป็น วิธกี ารตีความใหม่ทไ่ี ด้ผลดีกบั ทัง้ สองฝ่าย เพราะตอนนัน้ งานภาพวาดก็ยงั อยู่ในขั้นตอนการทำ�งานอยู่ สิ่งที่พวกเขาเห็นในภาพวาดที่ก็ยังไม่เสร็จ สมบูรณ์ ได้เติบโตขึน้ เป็นผลงานอีกชิน้ หนึง่ ซึง่ มีความเป็นออร์แกนิกอยูม่ าก ช่วงทีเ่ จอกันเพือ่ คุยโครงการนีน้ า่ จะเป็นตอนเมษายน แต่เราเจอกันทีภ่ เู ก็ต ตั้งแต่ช่วงธันวาคมปีที่แล้ว เราให้พวกเขาดูรูปวาดชุดนี้ แล้วก็ภาพถ่าย ทั้งหมดจากการเดินทางไปยังรัฐชิน ให้เห็นวัสดุและสีที่ผู้หญิงชาวชิน ใช้ทอผ้าจริงๆ เรานำ�ตัวอย่างผ้าทอฝีมอื ผูห้ ญิงชาวชินกลับมาบางส่วนและ ได้เอาให้ทั้งสองคนดู แล้วพวกเขาก็กลับไปเริ่มงานออกแบบคอลเล็กชั่น ใหม่ ซึ่งถ้าผมจำ�ไม่ผิดพวกเขาเริ่มจากการออกแบบลายกราฟิกก่อน แต่ไม่ได้จะใช้ผ้าเลยโดยตรง แต่จะเป็นลักษณะใช้แนวคิดมากกว่า ศักดิส์ ทิ ธิ:์ เราก็ดผู า้ จากทีค่ ริสเตียนกับปีเตอร์เอามา แล้วก็ท�ำ การค้นคว้า ลองเข้าไปดูในอินเทอร์เน็ต สิ่งหนึ่งที่ได้จากตอนที่คุยกันคือ เขาบอกว่า เขาเอาเส้นของชนเผ่าชาวชินมาใช้ แต่เอามาใช้บนหน้าทีเ่ ป็นหน้าสมัยใหม่ เป็นหน้าร่วมสมัย เพราะฉะนั้นเราเลยอยากให้ตัวงานของเรามันสะท้อน วิธคี ดิ ของเขา เราก็มาเลือกโครงสร้างของเสือ้ ผ้าทีม่ คี วามร่วมสมัย มีความ เป็นฤดูกาลหน้า แล้วก็เป็นเรา ส่วนความเป็นชนเผ่าจะเข้ามาในแง่ของ ลายและการใช้สี เราใช้สีที่มาจากงานภาพวาดโดยตรง และจากสีที่มา จากเครื่องแต่งกายที่ชาวชินสวมใส่ ส่วนใหญ่จากที่เห็นคือผ้านุ่งจะมี ลักษณะลายเป็นลายเส้นของสี เช่น นา้ํ เงิน ดำ� เหลือง เราเอารูปแบบของ สีตรงนีม้ าทำ�ลายผ้าของเราเอง พิมพ์ลายลงบนไหมซาติน บนผ้าเลื่อม เนื่ อ งจากว่ า เราไม่ ไ ด้ อ ยากให้ เ สื้ อ ผ้ า ออกมาเป็ น แบบชนเผ่ า ซึ่ ง มั น ก็ สะท้อนวิธคี ดิ ของพวกเขาเหมือนกัน จะเห็นว่ารูปออกมาเราก็ดไู ม่รวู้ า่ เป็น ชนเผ่า เหมือนเราเอาสีผ้ามาใช้แต่ไม่ใช่เห็นแล้วทุกคนต้องรู้ แต่เราก็มี ข้อมูล มีวิธีการเอามาคิด คริสเตียน: สิ่งหนึ่งในแนวคิดงานของทั้งสองคนที่เหมือนกันกับวิธีการ สร้างงานของผมคือ ผมไม่อยากให้งานออกมาดูมีความเป็นชนเผ่ามาก เกินไป ผมเลยทำ�ให้มันมีความทันสมัยขึ้นด้วยใบหน้าของนางแบบ ปีเตอร์: ความน่าสนใจคือมันดูราวกับสร้างขึ้นด้วยคอมพิวเตอร์ แต่มัน ไม่ใช่เลย ลายต่างๆ มีอายุย้อนไปได้หลายร้อยปีแล้ว มาจากชนเผ่าที่ อาศัยอยู่ในป่าจริงๆ มันน่าทึ่งมาก และเมื่อคุณแยกเอาเฉพาะตัวลาย ออกมา มันก็แทบจะเหมือนเป็นสิ่งที่มาจากจินตนาการ ความหมายของ ลายบางลายสูญหายไปตามกาลเวลา แต่คนส่วนใหญ่ยงั จดจำ�ได้วา่ ลวดลาย เป็นของชนเผ่าไหนและสื่อถึงอะไร เช่น ลายนกยูงหรือลายเสือ มันมี เรื่องราวของมัน สำ�หรับผู้หญิงชินแล้วการสักลวดลายเป็นเหมือนกับการ เสริมความงามให้ตัวเอง และยังมีความเชื่อมโยงกับการสร้างอำ�นาจหรือ
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
สถานะของพวกเธอในเผ่าอีกด้วย ผูห้ ญิงทีม่ ลี วดลายสักบนหน้าจะมีสถานะ ในเผ่าที่สูงกว่า ซึ่งก็ยังเกี่ยวกับความจริงที่ว่าเพราะมันเป็นกระบวนการที่ สร้างความเจ็บปวดมาก พวกเธอยังเล่าเป็นเรื่องตลกเลยว่ามีแต่ผู้หญิง เท่านัน้ ทีส่ กั หน้า เพราะผูช้ ายทนเจ็บไม่ไหว มันเหมือนคุณมีทง้ั งานศิลปะ งานเชิงมานุษยวิทยา แล้วก็งานแฟชั่นที่ได้จากการเดินทาง เราหวังว่า งานแสดงครั้งนี้คนจะรู้จักชาวชินมากขึ้น และลองเดินทางเข้าไปทำ�ความ รูจ้ กั พวกเขาโดยยังให้ความเคารพในวัฒนธรรมประเพณีของพวกเขา มีคน บอกว่าการสักลายบนหน้ากำ�ลังค่อยๆ จางหายไปจากโลกสมัยใหม่และ ความจริงที่ว่ามันผิดกฎหมาย แต่จากที่เราเดินทางเข้าไปถึงเผ่าที่ยังมีอยู่ ในป่าจริงๆ ผู้หญิงสาวๆ ก็ยังคงสักหน้ากันอยู่ ศักดิส์ ทิ ธิ:์ ตอนเราเห็นรูปพวกนี้ครั้งแรกที่พวกเขาเอาให้ดูว่าเป็นภาพของ ชาวชินในพม่า สิง่ แรกทีแ่ ว่บเข้ามาในหัวคือทำ�ไมเราถึงไม่รกู้ นั ได้ขนาดนี้ เขา อยูห่ า่ งแค่บนิ ไปชัว่ โมงเดียวเอง แต่เราไม่รอู้ ะไรเลย เวลาทีเ่ ขาเล่าให้เราฟัง ก็ยิ่งสร้างแรงบันดาลใจ ยิ่งอยากทำ�งานให้ออกมาดี ส่วนทีว่ า่ เราไม่รอู้ ะไร เลยเกีย่ วกับมันได้สร้างแรงบันดาลใจให้เรามากทีส่ ดุ และความจริงทีว่ า่ มัน เป็นลายสักบนใบหน้าของผูห้ ญิง มันเป็นความงามบนความเจ็บปวดทีเ่ ราไม่ สามารถจะจินตนาการได้ และบางครั้งเราก็บอกไม่ได้ว่าทำ�ไมเราถึงคิดว่า มันสวย แต่ในแง่หนึ่งมันสวยจริงๆ ปีเตอร์: ผมคิดว่ามันเป็นแนวคิดทีแ่ ตกต่างกันไปในแต่ละวัฒนธรรม แต่ละที่ มีนิยามความงามของตนเอง สิ่งที่เราดูแล้วหวาดกลัวอาจดึงดูดพวกคุณ ก็ได้ ในกรณีนี้อาจจะดูสุดโต่งไปพอสมควร พวกเขาเริ่มสักหน้าตอนเริ่ม เป็นสาว บางคนสักทีเดียวให้เสร็จไปเลย ใช้เวลาหลายวันหน่อย บางคน อาจใช้เวลาสักเป็นปีสองปี บางคนสักไปได้ครึ่งหน้าก็เลิกสักไปก็มี คริสเตียน: เป็นเหมือนเรือ่ งต้องห้าม ในบางวัฒนธรรมอาจเป็นเรือ่ งผิดประเพณี อย่างมาก แต่สำ�หรับพวกเขาแล้ว ประเพณีการสักหน้า เป็นเรื่องธรรมดา มากจริงๆ แล้วพวกเรากลับเหมือนตัวประหลาดในสายตาของพวกเขา มากกว่าเสียอีก เพราะมีชาวต่างชาติน้อยมากที่เคยเดินทางไปถึงที่นั่น
พวกคุณสนใจพม่าอยูแ่ ล้วหรือว่าเป็นชาวชินทีท่ �ำ ให้พวกคุณสนใจในขัน้ แรก ปีเตอร์: เป็นพม่าที่เราสนใจก่อน แต่ทุกอย่างเริ่มตอนเราเห็นผู้หญิงชิน คนหนึ่งที่ตลาดในพม่า คุณคงพอนึกออกว่าพวกเราจะงงกันแค่ไหนว่านี่ คืออะไร แล้วเราก็พยายามสื่อสารกับเธอ แต่โชคไม่ดีที่คุยกันไม่รู้เรื่อง แต่เราก็ถามเอาจนทราบว่าเธอเป็นชนเผ่าในรัฐชิน เพราะว่าอยู่ลึกเข้าไป ในภูเขามาก ชาวชินเลยค่อนข้างโดดเดีย่ ว และไม่คอ่ ยมีใครรูจ้ กั มีหนังสือ เรื่องพวกเขาน้อยมาก และจริงๆ ถ้ากลับมาพูดเรื่องประเพณีการสักหน้า ของชาวชิน ชาวอังกฤษพยายามจะหยุดประเพณีนต้ี ง้ั แต่สมัยอาณานิคมแล้ว แต่กไ็ ม่ประสบความสำ�เร็จ ต่อมารัฐบาลพม่าก็พยายามจะห้ามประเพณีน้ี เช่นกัน แต่ก็ทำ�ไม่ได้ คริสเตียน: การเดินทางครั้งนั้น เราตั้งใจบุกเข้าไปหาพวกเขาจริงๆ ผม วาดภาพไว้บา้ งสองสามภาพแล้วก่อนจะเดินทางเข้าไปทีน่ น่ั เรามีไฟล์ภาพ อยู่ในไอแพดที่เราเอาติดไปด้วย แล้วเราก็เอาให้พวกเขาดู ซึ่งพบว่าจริงๆ แล้วลายสักต่างกันไปตามภูมิภาค พวกเขาบอกได้ทันทีว่าลายนี้เป็นของ เผ่าไหน อย่างไร ซึ่งน่าสนใจมาก ปีเตอร์: พวกเขาเริ่มนำ�เสนอลายอื่นๆ ที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน อธิบาย ทีม่ าทีไ่ ปให้เราฟัง พาเราเข้าไปในป่าแล้วก็ชต้ี น้ ไม้ทใ่ี ช้ท�ำ หมึกสักลายให้ดู แล้วก็อธิบายให้ฟงั ถึงวิธกี ารคัน้ นา้ํ จากใบไม้ผสมเข้ากับขีเ้ ถ้าและเลือดสดๆ จากไก่หรือวัวขึ้นเป็นนํ้าหมึก อะไรก็ตามที่พวกเขาบอกเราที่ย่างกุ้งว่ามัน ไม่มแี ล้ว ประเพณีนก้ี �ำ ลังหายไปแล้วบ้าง ส่วนหนึง่ มันก็อาจจะจริงเพราะราว 90 เปอร์เซ็นต์ของผูห้ ญิงทีเ่ ราเห็นสักหน้าจะเป็นผูส้ งู อายุ แต่กไ็ ม่ใช่ทง้ั หมด พวกเธอภูมใิ จกับลายสักบนหน้านะ เหมือนเวลาผูห้ ญิงแต่งหน้าน่ะ แต่เรา คิดว่าหลังจากนีไ้ ป พอเปิดประเทศแล้ว การทีจ่ ะคงประเพณีไว้นา่ จะยากขึน้ นอกจากนี้ อีกเรื่องที่เราวิตกกันมาก และเป็นสาเหตุที่เราอยากทำ�เรื่องนี้ และสือ่ ออกไปให้เป็นทีร่ จู้ กั มากขึน้ คือเราไม่อยากให้พวกเธอได้รบั การปฏิบตั ิ เหมือนที่เกิดขึ้นกับสาวๆ กะเหรี่ยงคอยาวทั้งที่ในพม่าและในไทย ที่คน พากันนัง่ รถบัสไปดูพวกเธอ เราควรให้ความเคารพวิถีชีวิตของพวกเธอซึ่ง พฤศจิกายน 2555 l Creative Thailand
l 31
,,
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
มีอะไรจะสอนเรามากเหลือเกิน จริงๆ แล้ว ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็มอี ะไรแบบนีเ้ หมือนกัน มันน่าทึง่ มาก พวกเธอสักลวดลายเพือ่ ดึงดูดสายตา ก็จริง ซึ่งไม่ได้หมายถึงดึงดูดความสนใจจากผู้ชายในเผ่าด้วยนะ แต่เป็น การสักเพือ่ ตัวของพวกเธอเอง เหมือนทีส่ าวๆ อย่างพวกคุณแต่งหน้า คุณ แต่งหน้าเพื่อให้ดูสวยในสายหนุ่มๆ ก็จริง แต่ส่วนหนึ่งผมเชื่อว่าพวกคุณ แต่งหน้าเพือ่ ความสุขของตัวเอง แนวคิดนีเ้ หมือนกัน แทบไม่มอี ะไรต่างกันเลย จากที่ทางคริสเตียนกับปีเตอร์เล่าให้ฟัง เมื่อเปลี่ยนมาเป็นกระบวนการ ออกแบบเสือ้ ผ้าแล้ว มีขั้นตอนการแปลงแนวคิดและภาพวาดที่ทั้งเห็นและ ได้ฟังมาอย่างไร ศักดิส์ ทิ ธิ:์ อันดับหนึง่ เลย เราพยายามเอารูปมาคิดถึงว่าเราต้องทำ�กราฟิก ยังไงก่อน สมมติวา่ มีเรือ่ งเดียวกัน ก็ตา่ งคนต่างไปคิดว่าจะทำ�ยังไง ต่างคน ต่างหาข้อมูล ของผมจะเอาหน้ามาแล้วลบผิวออกให้หมดจนเหลือแค่โครง เป็นเส้นหน้ากากแล้วก็ลองซ้อนรูปให้กลายเป็นลายกราฟิกต่างๆ ขึ้นมา ก็ได้มาเป็น 2-3 แบบ เสร็จแล้วหลังจากนัน้ ต่างคนก็ตา่ งเอางานมารวมกัน เพราะฉะนั้นพอมาทำ�งานจริงๆ ในตัวลายภาพพิมพ์ลายหนึ่งมันจะมีทั้ง ที่เป็นแค่ลายเส้น บางทีเป็นหน้า เป็นผีเสื้อ มันรวมกันไปหมด อันที่สอง เป็นเรื่องของสี หนึ่ง เราก็เอาสีที่อยู่ในคอลเล็กชั่นของคริสเตียนโดยตรง ทัง้ งานใหม่แล้วก็งานเก่าๆ ทีเ่ ราเคยประทับใจมา สองคือสีจากผ้าทอของ ชาวชิน สามคือเรื่องของแพทเทิร์น ทั้งในแง่เทรนด์ของแพทเทิร์นที่กำ�ลัง เป็นอยู่และแพทเทิร์นที่เราถนัด ซึ่งปกติเราก็จะถนัดอะไรที่เป็นผู้หญิงมี ความดรามาติกอยู่ เราก็จะเอาพวกนีม้ ารวมกัน เช่น เอาลายทางมาจับเล่น กันเอง ให้เกิดมิติอะไรแปลกๆ พิสฐิ : พอดูรปู แล้วก็เอาไปย่อยมา ก็ลองถอดหน้าออกมาดู มันก็เป็นเส้นๆ ผมก็คิดว่าเส้นๆ นี่เอาไปสัมพันธ์กับอะไรได้บ้าง ก็เรื่องของผู้หญิง คิดถึง ดอกไม้แต่ก็ไม่ชัดเจน ก็เลยคิดถึงผีเสื้อ ว่ามันสวยเพราะมันมีโครงสร้าง ของเส้น เป็นการสัมพันธ์กันระหว่างเส้นที่เป็นหน้ากับเส้นบนปีกผีเสื้อ ซึ่ง เป็นเรื่องเดียวกัน เลยเอามารวมกัน เราคุยกันตั้งแต่แรกแล้วว่า ในเมื่อ มันมาขนาดนีแ้ ล้วเอาลายชนลายไปเลยแล้วกัน จะเห็นว่าในหนึง่ ชุด จะมีทง้ั แบบลายดอก ลายทาง ลายผีเสื้อ ทุกอย่าง เอาให้มันชนกันไปทั้งหมดให้ รูแ้ ล้วรูร้ อดไปเลย ก็เลยออกมาเป็นทิศทางนี้ เอาสิง่ ทีเ่ ป็นประเพณีมาผสม กับความเป็นสมัยใหม่ เราก็ดงึ ตรงนีอ้ อกมา แล้วก็มาทำ�เป็นหน้ากากอะคริลกิ เลเซอร์คัท ปักอยู่บนเสื้อให้เป็นหน้ากากกระจก คนจะได้รู้สึกว่านี่มันคือ อะไร แต่วา่ ในคอลเล็กชัน่ บอกชัดเจนเลยว่า จริงๆ นำ�มาจากผลงานของคริสเตียน เหมือนกับปั้นมาด้วยกัน ศักดิส์ ทิ ธิ:์ ใช่ เพราะทุกอย่างมันอยูท่ เ่ี รือ่ งราว เหมือนดูรปู เขาแล้วประทับใจ ไป 95 เปอร์เซ็นต์ พอมาฟังเรือ่ งนีข่ น้ึ ไปเป็น 180 เปอร์เซ็นต์ ยิง่ ได้ยนิ วิธกี าร 32 l Creative Thailand l พฤศจิกายน 2555
เราสนใจและอยากเห็นว่า ความคิดของเราจะเปลี่ยนไปยังไง ในมุมมองอีกมุมหนึ่ง คนจากอีกวัฒนธรรมหนึ่งจะตีความ สิ่งที่เราทำ�มันลงไปยังไง ซึ่งเราคิดว่าในการจะทำ�เช่นนั้นได้ ต้องให้อิสระซึ่งกันและกัน
,,
คิดของคนทำ�แล้วยิง่ น่าสนใจ แล้วอีกอย่างหนึง่ ก็คอื มันเป็นเครดิตของเขา การที่ต้องเคารพเขา ในคอลเล็กชั่นจะขายในฤดูนี้เราจะขึ้นป้ายเลยว่า มาจากงานของคริสเตียน ปีเตอร์: เรากำ�ลังจะแสดงร่วมกันทั้งภาพวาดและงานเสื้อผ้าคอลเล็กชั่นนี้ ของ Tube Gallery ที่ Warp 54 เดือนหน้า จะเป็นการแสดงที่รวมเอาทั้ง สองสื่อเข้าด้วยกัน คริสเตียน: สิ่งที่น่าสนใจมากอีกอย่างก็คือเมื่อเกิดการซ้อนทับกันระหว่าง ศิลปะและงานสร้างสรรค์สาขาอื่นๆ ซึ่งผมคิดว่าเป็นแนวคิดที่ค่อนข้าง ใหม่ ก่อนหน้านี้จิตรกรก็ทำ�งานของตัวเองไป หรือประติมากรก็สร้างงาน ปั้นไป แต่ตอนนี้ทุกคนสร้างสรรค์งานร่วมกัน ศักดิส์ ทิ ธิ:์ เราคงไม่ได้ท�ำ อะไรเยอะมากครับ เพราะอยูใ่ นสถานทีจ่ ดั แสดงงาน ภาพวาดทีเ่ หมือนเป็นหัวใจหลักของงานอยูแ่ ล้ว แค่นางแบบเดินใส่เสื้อผ้า ออกมา ผมคิดว่าภายในนาทีเดียวคนดูกส็ ามารถเชือ่ มโยงเสือ้ ผ้ากับภาพวาด บนผนังได้แล้วเข้าใจแนวคิดทัง้ หมด ซึ่งก็คือแนวคิดว่าผู้หญิงในภาพมีชีวิต ขึน้ มา เหมือนเดินออกมาจากภาพวาด ทางคริสเตียนเขามีพน้ื หลังทางด้าน แฟชัน่ อยูแ่ ล้ว ก็เลยยิง่ ทำ�งานด้วยได้งา่ ย เขาเข้าใจสิง่ ทีพ่ วกเราทำ� ตอนแรก เรากังวลนิดหน่อยเพราะจากที่คุยกันตั้งแต่ตอนแรกๆ เราก็เห็นแล้วว่า พวกเขามีใจให้กบั งานชุดนี้ กับเรือ่ งราวเบือ้ งหลังมากแค่ไหน เราเลยกังวล กันว่าเราจะทำ�งานนี้สำ�เร็จอย่างที่อยากให้มันออกมาไหม งานเราจะโดน คริสเตียนว่าหรือเปล่าว่านี่มันไม่ใช่งานวาดของเขา เหมือนมาเพิ่มอะไร ลงไปให้งานเขาหรือเปล่า แต่เราก็เอางานของเราให้คริสเตียนดู และถาม เขาว่าคิดยังไงกับงานของเรา มันยังเป็นงานของคุณอยูน่ ะแต่เราพัฒนาขึน้ จากแรงบันดาลใจทีค่ ณุ มีให้เรา ซึง่ ทัง้ สองคนก็โอเคกับสิง่ ทีเ่ ราทำ�ตัง้ แต่แรก เริ่มเลย เป็นเรื่องของการร่วมมือกันจริงๆ ของการให้เครดิตกัน เป็นเรื่อง ของเครดิตมากกว่า เพราะว่าท้ายที่สุด TUBE ก็เป็นแบรนด์เล็กๆ ถ้าเป็น หลุยส์ วิตตองคงต้องคุย (หัวเราะ) สิ่งที่เราได้จากตรงนี้ มันคงไม่ได้อะไร มากมาย เป็นเรื่องของการทำ�งานร่วมกัน ปีเตอร์: เราสนใจและอยากเห็นว่าความคิดของเราจะเปลี่ยนไปยังไงใน มุมมองอีกมุมหนึ่ง คนจากอีกวัฒนธรรมหนึ่งจะตีความสิ่งที่เราทำ�มันลง ไปยังไง ซึ่งเราคิดว่าในการจะทำ�เช่นนั้นได้ ต้องให้อิสระซึ่งกันและกัน
ถ้าต้องนิยามพม่า ในความคิดของพวกคุณแล้วพม่าคือ ปีเตอร์: พม่าเคยได้ชื่อว่าเป็น The Golden Land และผมคิดว่าเป็นชื่อที่เหมาะมาก เป็นประเทศที่ น่าตื่นตาตื่นใจ มีความหลากหลายและวัฒนธรรมหลายอย่างที่เหมือนหยุดนิ่งและที่ยืนยงผ่านกาล เวลา ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะว่าตกเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งก็เป็นเรื่องเศร้าแต่ในขณะ เดียวกันก็ทำ�ให้เรามีโอกาสได้สัมผัสวัฒนธรรมเหล่านั้นในปัจจุบัน พม่ายังมีธรรมชาติที่สวยงาม มี วัฒนธรรมทีค่ ล้ายคลึงกับวัฒนธรรมไทยหลายอย่าง ซึง่ หลายๆ ครัง้ เหมือนกับคนไทยจะลืมเสียด้วย ซํา้ ไป ผมรูเ้ รือ่ งสงครามในอดีตกับอยุธยา แต่รอู้ ะไรไหม ผมว่าพม่าและไทยมีอะไรเหมือนกันมากกว่า ที่คุณคิด และชาวพม่าเอาเข้าจริงก็เป็นแค่ชนเผ่าหนึ่ง พวกเขามองเมืองไทยดีมากนะ มองว่าเป็น ประเทศทีพ่ วกเขาสามารถเรียนรูส้ ง่ิ ต่างๆ ได้ ผมหวังว่าคนไทยจะเอาชนะความกลัวทีม่ ตี อ่ พม่าและลอง ไปเที่ยวที่นั่นกันมากขึ้น คริสเตียน: พม่ามีชนเผ่าต่างๆ มากมายเหลือเกิน ในแง่ประเทศแล้วพวกเขา อาจถูกเรียกรวมๆ กัน ว่าเมียนมาร์ แต่ความเป็นประเทศเป็นชาติของเขา ประกอบขึ้นจากหลากเผ่าพันธุ์ พิสิฐ: พม่าสำ�หรับเราเหมือนอดีต เป็นยุคทองที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน รู้สึกว่ายังมีอะไรให้ค้นหา มี งานศิลปะที่ยิ่งใหญ่ ศักดิ์สิทธิ์: พม่าสำ�หรับผมเหมือนเพชรดิบ ผมไม่แน่ใจว่าต้องการการเจียระไนหรือเปล่านะ หลายๆ คนอาจบอกว่าเพชรที่เจียระไนแล้วสวยกว่า แต่อย่างที่เราก็รู้กันว่าในขั้นตอนการเจียระไนนั้น ก็จะ มีเพชรบางส่วนสูญเสียไปเหมือนกัน ผมคิดว่าพม่ายังเป็นประเทศที่มีอะไรรอให้ค้นพบอีกมาก พวก เราเองก็จะไปพม่ากันเป็นครั้งแรกในเดือนธันวาคมที่จะถึงนี้ ก็ตื่นเต้นมาก เรารู้อะไรน้อยมากเกี่ยว กับพม่าแต่เราก็อยากไป ต้องไปเพื่อไปทำ�ความเข้าใจให้มากขึ้น
Creative Ingredients นักออกแบบที่หรือศิลปินที่ชอบ ศักดิส์ ทิ ธิ:์ ฟิลปิ สตาร์ค เพราะว่าชอบวิธคี ดิ การทีเ่ อาของเก่ามาเล่นให้เป็นของใหม่ ชอบความหรูหรา แบบดรามาติก คือมีความเยอะ แต่วา่ มีตน้ ตอมีสาเหตุ ไม่ได้มาจากความเป็นอาว็อง-การ์ดอย่างเดียว พิสิฐ: คริสเตียน ดิออร์ เป็นคนที่ทำ�ให้ผู้หญิงเป็นผู้หญิง เห็นอก เอว ให้รู้สึกเป็นผู้หญิงที่น่าค้นหา เป็นผู้หญิงพิเศษ เป็นเสื้อผ้าที่มีรายละเอียด ปีเตอร์: ศิลปินชาวเฟลมมิชสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 15 ชือ่ ปีเตอร์ บรูเกล ดิ เอลเดอร์ (Pieter Bruegel the Elder) เขานำ�เสนอประวัตศิ าสตร์ของเราได้อย่างน่าสนใจ ความบ้าคลัง่ ของชีวติ เนือ้ หาของงาน จะเป็นภาพชนบท ภาพหมู่บ้าน แต่ก็พูดถึงสวรรค์และนรกด้วยเหมือนกัน คริสเตียน: ผมชอบงานของศิลปินหลายคนเลยเลือกลำ�บาก แต่ชอบอองรี มาตีส (Henri Matisse) เพราะการใช้สีรวมถึงการใช้เทคนิคอื่นๆ เช่นการตัดแปะ ทำ�งานกับรูปทรงค่อนข้างดิบ วาดและสื่อ รูปทรงออกมาอย่างเรียบง่ายตรงไปตรงมา
พฤศจิกายน 2555 l Creative Thailand
l 33
Protecting Burma’s Heritage เรื่อง: กมลกานต์ โกศลกาญจน์
© Ralf-Andre Lettau
© Yoyolise
CREATIVE WILL คิด ทำ� ดี
หลังจากทศวรรษแห่งการอยู่ภายใต้ระบบการปกครองแบบเผด็จการ ในวันนี้ที่ประตูแห่งอนาคตถูกเปิดออกเพื่อต้อนรับการมา เยือนของบรรดานักท่องเที่ยวที่หลั่งไหลเข้ามาจำ�นวนมาก พื้นที่ที่เต็มไปด้วยร่องรอยประวัติศาสตร์แห่งนี้ นอกเหนือจากการรับมือ กับการลงทุนและเงินหมุนสะพัดจำ�นวนมหาศาลแล้ว ภารกิจการอนุรกั ษ์โบราณสถานก็ไม่อาจมองข้าม ตราบทีร่ อ่ งรอยแห่งความงดงาม จากอดีตจะยังถูกจารึกให้ปรากฏสูส่ ายตาผูค้ นจนถึง ณ เวลานี้
ในปี 2011 กองทุนมรดกโลก (Global Heritage Fund: GHF) ประกาศ ให้ “Global Heritage Network (GHN)” เป็นโครงการแรกที่เริ่มทำ�การ สำ�รวจแนวโน้มและคาดการณ์การอนุรกั ษ์มรดกโลกอย่างยัง่ ยืน โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในพื้นที่ที่คาดว่าจะมีแนวโน้มการลงทุนผ่านแผนการบริหาร จัดการที่ไม่รัดกุม อาจนำ�มาซึ่งความสูญเสียที่ยากหาหนทางแก้ไขได้ ทันท่วงที โดยการทำ�งานนัน้ จะอยูภ่ ายใต้สโลแกนเพือ่ การดูแลและแสวงหา ความร่วมมือในการอนุรักษ์แหล่งมรดกทางวัฒนธรรมในประเทศกำ�ลัง พัฒนา หรือ “"Treat Monitoring and Collaborative Solutions for Cultural Heritage Sites in the Developing World" ซึ่งจะดำ�เนินการ ร่วมกับ Google Earth ในการใช้ดาวเทียมเพือ่ การสำ�รวจ และผูเ้ ชีย่ วชาญ ด้านโบราณคดี ตลอดจนผู้นำ�ชุมชนในแต่ละท้องถิ่น พุกาม (Pagan) พื้นที่เก่าแก่ทางประวัติศาสตร์ ที่ตั้งโบราณสถาน ที่สำ�คัญของเขตพม่าตอนบน (ประกอบด้วยเมืองอังวะ อมรปุระ สะกาย มิงกุน และมัณฑะเลย์) แม้จะเป็นเมืองที่ผ่านพ้นมาทั้งภัยธรรมชาติ การ คุกคามเพื่อลักลอบปูชนียวัตถุ หรือแผ่นดินไหวครั้งยิ่งใหญ่ในปี 1975 แต่ ในวันนี้ที่พุกามได้รับตำ�แหน่งเมืองอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งใหม่ของ พม่า พร้อมถูกยกระดับให้เป็นพื้นที่ที่มีสถานะน่าเคารพนับถือสำ�หรับ ทีม่ า: irrawaddy.org ghn.globalheritagefund.org
34 l Creative Thailand l กันยายน 2555
ผู้มาเยือน แต่ GHN กลับระบุว่าพื้นที่แห่งนี้เป็น “พื้นที่เสี่ยง” เพราะการ ลงทุนด้านการท่องเที่ยวลงบนพื้นที่ที่อ่อนประสบการณ์ อาจได้กำ�ไรมา เป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นกับพื้นที่ทางประวัติศาสตร์มากกว่าเม็ดเงิน แต่ทั้งนี้การต้านทานกระแสการลงทุนที่หลั่งล้นก็ไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีนัก ฝ่ายบริหารระดับท้องถิ่นของพม่าจึงต้องทำ�งานอย่างหนัก เพื่อให้พม่า กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวปลายทางหน้าใหม่ ที่เน้นการสร้างคุณค่าเพิ่ม ให้กบั โบราณสถานมากยิง่ ขึน้ พร้อมขยายขอบเขตความรู้แห่งเมืองท่่ีอุดม ด้วยวัฒนธรรม และเพิ่มมูลค่าแห่งการลงทุนให้ทวีตัว เหตุเพราะพื้นที่ทางประวัติศาสตร์หลายแห่งของพม่ามีพิกัดอยู่ใน เขตพื้นที่ยากจน ดังนั้นทางออกอาจเป็นเรื่องของการอนุรักษ์และปกป้อง โบราณสถานไปพร้อมกับการแก้ไขปัญหาเรื่องปากท้องของคนในพื้นที่ การแก้ไขปัญหาการคุกคามและทำ�ลายทรัพยากรธรรมชาติที่อาจได้รับ ผลกระทบ ด้วยการสร้างโอกาสเพือ่ ขับเคลือ่ นระบบเศรษฐกิจ พัฒนาเมือง และบรรเทาความยากจนในชุมชน นีอ่ าจเป็นหนทางเพือ่ ยกระดับร้อยละ 90 ของจำ�นวนประชากรที่อาศัยอยู่ในระดับจีดีพีที่ตํ่ากว่าเกณฑ์ ให้พบกับ ทางออกแห่งอนาคตอันสดใสผ่านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ดำ�เนิน ภายใต้ความรับผิดชอบสูงสุดของทั้งผู้อาศัยและผู้มาเยือน