มกราคม 2561 ปีที่ 9 I ฉบับที่ 4 แจกฟรี
Local Wisdom แสงความสุข แห่งเทศกาล Creative City 3 ย่านเก่าทำ�ใหม่ใจกลางกรุงเทพฯ Creative Will ซานต้าอาสา
flickr.com/photos/Eva Rinaldi
Festivals promote DIVERSITY, they bring neighbors into DIALOGUE, they increase CREATIVITY, they offer opportunities for CIVIC PRIDE, they improve our general psychological WELL-BEING. In short, they make cities BETTER PLACES TO LIVE. “เทศกาลช่วยเพิ่มความหลากหลาย ทำ�ให้ผู้คนมีปฏิสัมพันธ์ ผลักดันความคิดสร้างสรรค์ เปิดโอกาสให้เมืองแสดงตัวตน และสร้างให้คนมีความสุข นั่นคือ เทศกาลจะทำ�ให้เมืองน่าอยู่มากขึ้น” David Binder โปรดิวเซอร์ละครบรอดเวย์
Contents : สารบัญ
The Subject
6
Limited Edition พิเศษเฉพาะช่วงเทศกาล Festive Food, Festive Move Bangkok Snow Removal ถ้าหิมะตกเมืองไทย
Creative Resource 8 Featured Book / Book Journal / Documentary
MDIC 10 เทคโนโลยีเออาร์ จากการสร้างประสบการณ์ใหม่
Local Wisdom
12
Cover Story
14
แสงความสุขแห่งเทศกาล
วันงานเทศกาลผ่านมา
Insight 20 Lead the World with LILLE Design ลีลล์ : เมืองหลวงแห่งการออกแบบโลก ประจำ�ปี 2020
Creative Startup 22 JUST SKETCH Sketch Your Own Destiny
Creative City
24
The Creative
28
Creative Will
34
Old means Gold 3 ย่านเก่าทำ�ใหม่ใจกลางกรุงเทพฯ
Cloud-Floor เพราะเมืองคือเรื่องของทุกคน
“ซานต้าอาสา” Pass the Happiness forward
บรรณาธิการที่ปรึกษา l อภิสทิ ธิ์ ไล่สตั รูไกล บรรณาธิการอำ�นวยการ l กิตติรตั น์ ปิตพิ านิช ที่ปรึกษา l ศิรอิ ร หริม่ ปราณี, ชมพูนทุ วีรกิตติ, พิชติ วีรงั คบุตร, พจน์ องค์ทวีเกียรติ, เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร บรรณาธิการบริหาร l พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์ กองบรรณาธิการ l มนฑิณี ยงวิกลุ , ชลดา เจริญรักษ์ปญั ญา, รัตมิ า เผือกนาโพธิ,์ ปิยวรรณ กลิน่ ศรีสขุ เลขากองบรรณาธิการ l วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ ศิลปกรรม l ชิดชน นินนาทนนท์ สมาชิกสัมพันธ์ l ปิยะพร สวัสดิ์สิงห์ ประสานงานกองบรรณาธิการ l ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ ช่างภาพและมัลติมเี ดีย l ชาคริต นิลศาสตร์ นักศึกษาฝึกงาน l วะรุง้ คงสัตย์, ณัฏฐา เกียรติสกุลเดชา จัดทำ�โดย l ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) 1160 อาคารไปรษณีย์กลาง ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10501 โทร. 02 105 7400 แฟกซ์. 02 105 7450 พิมพ์ที่ l โรงพิมพ์ดับบลิวพีเอส (ประเทศไทย) จำ�กัด โทร. 02 313 4405 แฟกซ์. 02 313 4445 จำ�นวน 15,000 เล่ม ติดต่อลงโฆษณา: Commu.Dept@tcdc.or.th นิตยสารฉบับนีใ้ ช้หมึกพิมพ์จากนา้ํ มันถัว่ เหลืองทีไ่ ม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทัง้ ยังเป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อม และใช้กระดาษ รีไซเคิล ซึ่งเป็นผลผลิตของผู้ประกอบการไทย จัดทำ�ภายใต้โครงการ “Creative Thailand สร้างเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์” โดยศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ สำ�นักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) ซึง่ มีเป้าหมายในการเผยแพร่ความรูเ้ กีย่ วกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) และผลักดันการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย
อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส CREATIVE THAILAND I 4 แสดงที่มา-ไมใชเพื่อการคา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย
ผูอ้ อกแบบปก: อภิชญ์ บุศยศิริ นักวาดภาพประกอบ นักเขียนอิสระ และผู้ผลิตสื่อสร้างสรรค์สําหรับเด็กและเยาวชน facebook.com/apicworld
Editor’s Note : บทบรรณาธิการ
Maxime Bhm
เทศกาล...งานบันดาลใจ
ขึ้นชื่อว่า “เทศกาล” นอกจากจะเป็นเครื่องมือในการสร้างสีสันให้กับเมืองและ เพิ่มความสนุกสนานให้กับผู้คนแล้ว หลายครั้ง เทศกาลยังทำ�หน้าที่เป็นหนึ่ง ในเครื่องจักรสำ�คัญที่คอยผลักดันระบบเศรษฐกิจของเมืองหรือย่านนั้นๆ ให้ ก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว ไม่วา่ จะเป็นการสร้างสาธารณูปโภคพืน้ ฐานขนาด มหึมาขึ้นใหม่ อย่าง Ventura Lambrate พื้นที่จัดแสดงผลงานสร้างสรรค์ที่ ปรับเปลี่ยนมาจากพื้นที่รกร้างในเมืองมิลานของอิตาลี หรือหอไอเฟลที่ถูก สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์ของงานแสดงสินค้าโลกปี ค.ศ. 1889 ที่ปัจจุบัน ได้กลายมาเป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างที่โด่งดังที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ยังไม่รวมถึง การหล่อหลอมจิตวิญญาณของการเป็นเจ้าภาพให้กับผู้คนในพื้นที่ ซึ่งจะกลาย เป็นสินทรัพย์ที่อยู่ติดตัวไปกับผู้คนในเมืองนั้นๆ ไปอีกยาวนาน ผลกระทบของการจัดเทศกาลแต่ละครั้ง จึงไม่ได้จำ�กัดอยู่เพียงเรื่องของ การกระตุน้ เศรษฐกิจ หรือการสนับสนุนผูป้ ระกอบการให้ซอื้ ง่ายขายคล่องเพียง อย่างเดียว เหมือนเช่นวัตถุประสงค์ของการจัดงานแสดงสินค้าหรืองานเจรจา ธุรกิจเท่านั้น แต่เทศกาลยังสร้างผลกระทบอีกมากมายไปถึงผู้คน ชุมชน และ ความเป็นเมือง ซึ่งเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สำ�คัญของการสร้างระบบนิเวศ ของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นได้อย่างสมบูรณ์
ธุรกิจที่มีจุดขาย ผู้คนที่มีไอเดียและกล้าที่จะลงมือทำ� รวมถึงพื้นที่ที่ได้ รับการเชื่อมต่อเข้าหากัน จนกลายเป็นแพลตฟอร์มสำ�คัญให้กับผู้ที่สนใจใน หัวข้อเฉพาะเจาะจงต่างๆ ได้มาพบปะแลกเปลี่ยนไอเดียสร้างสรรค์ระหว่าง กันนั้น กลายเป็นจุดกำ�เนิดแรงบันดาลใจ และจุดเริ่มต้นของธุรกิจใหม่ๆ ที่ถูก แพร่ขยายออกไปอย่างกว้างขวาง ท่ามกลางบรรยากาศทีส่ นุกสนาน แปลกใหม่ มีสีสัน และสร้างความประหลาดใจให้กับผู้เข้าร่วมงานได้เสมอ นอกจากการได้ออกมาใช้ชีวิตนอกกรอบที่แตกต่างไปจากชีวิตประจำ�วัน ได้คน้ หาความเป็นไปได้ใหม่ๆ และได้เฉลิมฉลองในประเด็นทีส่ นใจกับกลุม่ คน ที่มีความคิดและความเชื่อที่คล้ายกันแล้ว การมีปฏิสัมพันธ์ในงานเทศกาล ยังส่งผลดีต่อธุรกิจแนวร่วมที่ช่วยสนับสนุนในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรงแรม ที่พัก ร้านอาหาร หรือธุรกิจบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ร้านค้า ธุรกิจนำ�เที่ยว การขนส่ง หรือแม้แต่การคิดค้นเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ขึน้ เพือ่ ตอบสนอง ความต้องการของผู้คนในแต่ละเทศกาลโดยเฉพาะ แต่ที่สำ�คัญที่สุดก็คือ เทศกาลนั้นมีส่วนอย่างมากต่อการเรียนรู้ของผู้คน โดยเฉพาะการเรียนรู้จากการได้เห็น ได้พบเจอกับสิ่งที่ตัวเองสนใจจากผู้คนที่ หลงใหลในสิ่งเดียวกัน และการได้ลงมือทำ�...เพียงเปิดใจให้กว้าง เข้าร่วมงาน เทศกาลต่างๆ ที่สนใจ เท่านี้ ก็พร้อมที่จะรับสิ่งใหม่ๆ ได้แบบไร้ข้อจำ�กัดแล้ว กิตติรัตน์ ปิติพานิช บรรณาธิการอํานวยการ
CREATIVE THAILAND I 5
The Subject : ลงมือคิด
Limited Edition พิเศษเฉพาะช่วงเทศกาล เรื่อง: ณัฏฐา เกียรติสกุลเดชา
youtube.com/westjet
เสียงเพลง ไฟประดับ และของตกแต่งร้าน บ่งบอกถึงการเฉลิมฉลองต่างๆ ทีก่ �ำ ลังมาถึง และทีข่ าดไม่ได้เลย ก็คงจะเป็นคำ�ว่า ‘Limited Edition’ ‘พิเศษ เฉพาะช่วงเทศกาล’ ทีด่ งึ ดูดให้เราตัดสินใจซือ้ สินค้าได้มากกว่าทุกช่วงเวลา ซึ่งเป็นผลมาจากการที่แต่ละแบรนด์ตั้งใจจัดเตรียมโปรโมชั่นสำ�หรับโอกาส พิเศษนีท้ นี่ อกจากจะเล่นกับธีมวันสำ�คัญต่างๆ ในปฏิทนิ ได้แล้ว ก็ยงั เป็นช่วง เวลาทีผ่ คู้ นนิยมใช้จา่ ยให้กบั ตัวเองและให้เป็นของขวัญแก่ผอู้ นื่ มากกว่าปกติ อีกด้วย นอกจากการเปลี่ยนกราฟิกหน้าตาของสินค้าให้สอดคล้องไปตาม เทศกาล แต่ละแบรนด์สดุ สร้างสรรค์กย็ งั มีลกู เล่นน่าสนใจมาแข่งกันนำ�เสนอ อย่าง Coca Cola ที่ทำ�ฉลากพันขวดให้ดึงรวบเป็นโบว์คริสต์มาสได้เพื่อส่ง ความสุขต่อไปให้กับผู้อื่น ในทางกลับกัน ห้างหรูในลอนดอนอย่าง Harvey Nichols ก็ได้จัดคอลเล็กชั่นของขวัญคริสต์มาสปี 2013 ในชื่อว่า ‘Sorry, I Spent It On Myself’ ทีต่ ดิ ฉลากเรียบง่ายให้กบั สินค้าราคาไม่กเี่ หรียญจำ�พวก คลิปหนีบกระดาษ ไม้จิ้มฟัน เพื่อจะสื่อว่าซื้อของเหล่านี้ แล้วเก็บเงินไว้ซื้อ ของขวัญให้ตัวเองดีกว่า หรือแคมเปญออนไลน์ที่เอาใจลูกค้าขี้เขิน ให้ ออกแบบการ์ดอวยพรของตัวเองซึ่งปรินต์หรือแชร์ในเฟซบุ๊กได้ โดยมีเนื้อ ความพูดแทนใจว่า “Could I Be Any Clearer” เพราะเจ้าของการ์ดจะ สามารถระบุของทีต่ วั เองต้องการใส่ลงในการ์ดอวยพรได้แบบเนียนๆ ก่อนจะ ส่งต่อให้กบั ใครก็ตามทีจ่ ะซือ้ ของขวัญให้ได้อย่างตรงใจโดยไม่ตอ้ งพูดตรงๆ นอกจากเปลี่ยนที่ตัวสินค้า สายการบิน WestJet ยังได้จัดแคมเปญ Christmas Miracle มาเซอร์ไพรส์ผู้โดยสารเปลี่ยนไปทุกปี เช่น แคมเปญ Real Time Giving ทีใ่ ห้ผโู้ ดยสารบอกความในใจเรือ่ งของขวัญทีอ่ ยากได้กบั ซานต้าก่อนขึ้นเครื่อง แล้วจัดการเซอร์ไพรส์ด้วยการส่งของที่อยากได้ให้ ณ สายพานลำ�เลียงกระเป๋าที่สนามบินปลายทาง และไม่ใช่แค่ในทางธุรกิจ เท่านัน้ แต่องค์กรไม่แสวงหาผลกำ�ไรอย่าง UNICEF ก็เลือกโอกาสช่วงเทศกาล
โปรโมตให้คนใจบุญช่วยกันซือ้ ของขวัญชุด “Basket of Hope” ทีป่ ระกอบด้วย อาหารเพื่อบำ�บัดอาการฉุกเฉิน ยา และวัคซีน เพื่อส่งต่อให้เด็กๆ ทั่วโลกที่ ต้องการให้ได้มีโอกาสรอดชีวิตมากขึ้น โชคดีอาจเป็นของผู้รับและผู้ขายที่เทศกาลนั้นมีอยู่มากมายแตกต่าง กันไปในแต่ละประเทศ เพราะนีค่ อื โอกาสสำ�คัญทีบ่ รรดานักขายจะสร้างสรรค์ โปรโมชั่นทีเด็ดมากระตุ้นยอด พร้อมส่งเสริมภาพลักษณ์ของแต่ละแบรนด์ ได้อย่างมีสีสัน ขณะที่ผู้รับก็มีโอกาสมากขึ้นที่จะได้รับของที่ต้องการใน ช่วงเวลาแห่งการให้เช่นนี้ ที่มา: บทความ “Ad of the Day: Harvey Nichols Plays the Grinch in the Year’s Most Selfish Holiday Campaign” โดย David Gianatasio จาก adweek.com / บทความ “This covert German holding company is buying up all the coffee and doughnuts” จาก fastcompany.com unicef.or.th
Festive Food, Festive Move เรื่อง: วะรุ้ง คงสัตย์
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมากระแส ‘ฟู้ดทรัก’ (Food Truck) ในเมืองไทยเริ่มได้รับ ความนิยมมากขึน้ เรือ่ ยๆ โดยเฉพาะตามงานเทศกาลต่างๆ ซึง่ ส่วนใหญ่มกั เป็นงานเฉลิมฉลองที่ถูกจัดขึ้นเพียงช่วงเวลาสั้นๆ ร้านขายสินค้าแบบ ชั่วคราวหรือป๊อปอัพ สโตร์ และร้านค้าเคลื่อนที่แบบฟู้ดทรักจึงเป็นหนึ่งใน ตัวเลือกทีต่ อบโจทย์ และถือเป็นองค์ประกอบสำ�คัญทีจ่ ะช่วยให้งานเทศกาล มีชีวิตชีวาและสมบูรณ์แบบมากขึ้น ด้วยรูปลักษณ์ที่มีเอกลักษณ์ คุณสมบัติ ที่เข้าถึงได้ง่าย ดัดแปลงให้เหมาะกับพื้นที่ได้สะดวก แถมยังติดตั้งหรือ เคลื่อนย้ายได้รวดเร็ว จึงเหมาะกับพื้นที่ชุมชนในเมืองซึ่งมีขนาดจำ�กัด ย้อนกลับไปเมื่อปี 2011 ในงาน State of Design Festival ซึ่งจัดขึ้นที่ เมืองเมลเบิร์นในออสเตรเลีย บริษัทสถาปนิก HASSEL ได้เข้าร่วมโปรเจ็กต์ การออกแบบในเทศกาล ภายใต้โจทย์ Design that moves โดยได้ออกแบบ ฟู้ดทรักหรือร้านอาหารเคลื่อนที่ จนกลายเป็นผลงานทีช่ อื่ ว่า ‘Chasing Kitsune’ คิตสึเนะ (Kitsune) คือชื่อของสุนัขจิ้งจอกในตำ�นานของญี่ปุ่นซึ่งมี เวทมนตร์และวิชาแปลงกาย โดยจะเผยให้เห็นตัวตนที่แท้จริงผ่านเงาหรือ ภาพสะท้อนในช่วงเวลากลางคืนเท่านั้น เมื่อคิตสึเนะในตำ�นาน ถูกเปลี่ยน ให้ปรากฏกายในบทบาทใหม่ของร้านอาหารแผงลอย ซึ่งมาในรูปแบบของ ฟู้ดทรัก จึงทำ�ให้ในช่วงเวลากลางวัน Chasing Kitsune จะมีบทบาทเป็น เพียงรถบรรทุกธรรมดาๆ แต่เมื่อพระอาทิตย์คล้อยต่ำ� มันจะแปลงกายเป็น ร้านอาหารญี่ปุ่นแบบรถเข็นสไตล์ยาไต (Yatai) ซึ่งเคลื่อนที่ไปตามงาน เทศกาลต่างๆ ยามค่ำ�คืน โดยความสนุกของโปรเจ็กต์นี้อยู่ที่การชักชวนให้ ลู ก ค้ า ได้ ม าร่ ว มกั น ตามล่ า หาที่ ตั้ ง ของคิ ต สึ เ นะในแต่ ล ะคํ่า คื น ตามชื่ อ Chasing Kitsune ด้วยการเข้าไปติดตามข้อมูลผ่านทางเฟซบุก๊ เพจ ทวิตเตอร์ หรือแอพพลิเคชันของร้าน
CREATIVE THAILAND I 6
bonniesavage.com
สำ�หรับการออกแบบ Chasing Kitsune นั้น ประกอบไปด้วยส่วนครัว พืน้ ทีแ่ คชเชียร์ และหลังคากันสาด ไม่ตา่ งกับฟูด้ ทรักทัว่ ไป แต่ความน่าสนใจ อยูท่ กี่ ารออกแบบส่วนของหน้าร้าน ซึง่ มีลกั ษณะเป็นกล่องไม้อดั ขนาดต่างๆ วางสลับสูงต่ำ�เพื่อทำ�หน้าที่เป็นทั้งตัวกำ�หนดขอบเขต ที่นั่ง บันได รวมถึง เป็นงานอินสตอลเลชันทีช่ ว่ ยสร้างสีสนั และดึงดูดความสนใจของผูค้ นทีผ่ า่ น ไปมาได้เป็นอย่างดี โดยชุดกล่องไม้อดั สามารถปรับเปลีย่ นการจัดวางได้ตาม สภาพพื้นที่ตั้ง ไม่ว่าจะเป็นการวางตัวกระจัดกระจายในลานโล่งกว้าง หรือ วางเป็นแนวยาวแคบในพื้นที่ตรอกซอกซอย แต่ละกล่องถูกออกแบบให้มี ขนาดแตกต่างกัน โดยมีสว่ นกลางกลวงเพือ่ ให้ซอ้ นกล่องขนาดเล็กไว้ภายใน กล่องทีม่ ขี นาดใหญ่กว่าได้ ซึง่ เป็นวิธกี ารช่วยประหยัดพืน้ ทีใ่ นการจัดเก็บเมือ่ ไม่ได้ถูกใช้งาน Chasing Kitsune ถือเป็นหนึ่งในตัวอย่างของการออกแบบที่ช่วยเพิ่ม มูลค่าและความน่าสนใจให้กับสิ่งธรรมดาที่คุ้นตา โดยการสร้างเรื่องราวที่ เข้ากับแนวคิดด้านการออกแบบที่ปรับเปลี่ยนสิ่งเดิมๆ ให้กลายเป็นความ แปลกใหม่ อีกทั้งยังสามารถตอบสนองทั้งการใช้งาน และความสวยงามได้ อย่างเหมาะสมอีกด้วย
ภาพประกอบที่ชวนให้ลองหลับตา แล้วนึกภาพกรุงเทพมหานครถูก ปกคลุมไปด้วยหิมะขาวโพลนไปทั้งเมือง นำ�เสนอภาพของสถานที่สำ�คัญๆ อันเป็นแลนด์มาร์กของกรุงเทพฯ อย่างเช่น อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ เอกมัย สวนลุมพินี ไชน่าทาวน์เยาวราช ไปจนถึงแม่น�้ำ เจ้าพระยาทีเ่ ย็นยะเยียบจนแข็งกลายเป็น ลานสเก็ตขนาดมหึมาใจกลางกรุง นอกจากนี้ ศิลปินยังสะท้อนจินตนาการ สุดขอบนี้ในทัศนียภาพอื่นๆ ที่คุ้นตากันดี ไม่ว่าจะเป็นริมทางเท้า ร้านขาย ของชำ� หรือวินมอเตอร์ไซต์รบั จ้างหน้าปากซอย แต่สะดุดตาตรงทีท่ กุ คนนัน้ ล้วนแต่งกายด้วยเครือ่ งกันหนาวครบชิน้ และแทนทีเ่ ด็กๆ จะวิง่ เล่นจนเหงือ่ ซ่ก ก็กลายเป็นจับกลุ่มปั้นหิมะปาใส่กันอย่างสนุกสนานแทน จนทำ�ให้ทุกอย่าง เหมือนตกอยู่ในเวทมนตร์ที่เสกให้กรุงเทพฯ กลายเป็นเมืองที่มีหิมะปกคลุม หนาแน่นน่าสัมผัส ทิม คอร์นวอลล์ ใช้เวลาเกือบ 20 ปีในการทดลองสร้างสรรค์ภาพวาด หิมะตกลงมาปกคลุมกรุงเทพฯ จนกลายเป็นผลงานสร้างชื่อของเขา ทั้งยัง เคยได้ร่วมงานกับศิลปินอีกหลายกลุ่มในเมืองไทย จนในที่สุด ก็สามารถ รวบรวมผลงานจัดแสดงในเว็บไซต์ Bangkoksnowremoval.com เพื่อให้ ภาพประกอบที่เขาสร้างสรรค์ขึ้นถูกนำ�มาใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ อย่าง การนำ�ภาพมาประยุกต์เป็นสินค้าที่ระลึก เช่น ปฏิทิน การ์ดอวยพร หรือ โปสการ์ดเพื่อจำ�หน่ายให้เป็นของขวัญและของที่ระลึกในช่วงเทศกาล ไปจนถึงรับทำ�นามบัตรให้กบั บริษทั ต่างๆ ทว่าสิง่ สำ�คัญทีท่ มิ มอบให้คนไทย นอกจากสินค้าน่ารักที่น่าเป็นเจ้าของแล้ว ก็อาจเป็นความสุขและรอยยิ้ม มุมปากที่เราต่างพร้อมใจกันมอบให้ เมื่อได้เห็นผลงานที่ชวนให้รู้สึกได้ถึง อุณหภูมิติดลบที่เราไม่เคยได้พบมาก่อนเหล่านี้ของเขา ติดตาม Bangkok Snow Removal ได้ท่:ี bangkoksnowremoval.com และ facebook.com/ BangkokSnowRemoval ที่มา: bangkoksnowremoval.com / บทความ “Snow business like it” จาก bangkokpost.com
ที่มา: บทความ “Chasing Kitsune” จาก drivenxdesign.com และ hassellstudio.com
Bangkok Snow Removal ถ้าหิมะตกเมืองไทย เรื่อง: ปิยะพร สวัสดิ์สิงห์
เพราะความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการนั้นไม่เคยมีกรอบจำ�กัด เมื่อ ทิม คอร์นวอลล์ (Tim Cornwall) ศิลปินชาวแคนาเดียนจากกลุม่ Bangkok Snow Removal ผู้สร้างผลงานภาพประกอบที่ชวนให้ทุกคนที่ได้สนุกไปกับ จินตนาการหลุดโลก เลือกสร้างสรรค์ผลงานภาพวาดที่ช่วยให้คนไทยได้ เข้าถึงบรรยากาศของฤดูหนาวที่มีหิมะโปรยปราย ณ ใจกลางประเทศใกล้ เส้นศูนย์สูตรอย่างประเทศไทย ซึ่งแค่เพียงได้เห็น หลายคนก็คงนึกถึงสีสัน ช่วงเฟสทีฟนิวเยียร์ ทีแ่ ม้จะเป็นจริงไปไม่ได้ แต่กเ็ ป็นเรือ่ งล้อกันเล่นทีห่ ลาย คนนึกฝันอยากให้เกิดขึ้นจริงซักครั้ง CREATIVE THAILAND I 7
Creative Resource : วัตถุดิบทางความคิด เรื่อง: เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร และ ชลดา เจริญรักษ์ปัญญา
F EAT U RED BOOK Serving Artists Serves the Public: Programming Arts Festivals in Asia and Europe โดย Asia-Europe Foundation (ASEF), European Festivals Association (EFA), LASALLE College of the Arts, Singapore เทศกาลนั้นแทนการรวมตัวกันของกลุ่มคนที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน เป็นการร่วมกันเพื่อเฉลิมฉลองให้กับวัฒนธรรมที่เราให้คุณค่า ทั้งยังสร้าง ความหมายใหม่ให้กับพื้นที่ การเกิดขึ้นของเทศกาลต่างๆ ทั่วโลก ล้วนมี เหตุผลทีแ่ ตกต่างกันตามรูปแบบความเชือ่ และความสนใจ หลากหลายระดับ บางเทศกาลเกิดขึน้ และอยู่ตอ่ เนือ่ งยาวนานนับสิบนับร้อยปี แต่บางเทศกาล ก็อาจสูญหาย แปรผันตามสภาพสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป เบือ้ งหลังความครึกครืน้ และความสนุกสนานทีเ่ กิดขึน้ ในเทศกาลต่างๆ นั้นมักเต็มไปด้วยการติดต่อประสานงาน การวางแผน และการจัดการ ความท้าทายเหล่านี้คือการฝึกประสบการณ์ชั้นดีที่จะทำ�ให้ทีมงานเก่งขึ้น และจัดงานได้ดขี นึ้ ในทุกๆ ครัง้ การรวมกลุม่ กันเพือ่ แลกเปลีย่ นประสบการณ์ ดังกล่าวจึงนับเป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยอุดช่องว่างของปัญหาที่อาจเกิดขึ้น และช่วยให้เข้าใจความต้องการใหม่ๆ ของสังคม ในยุโรปจึงได้มกี ารก่อตัง้ เป็น สมาคมเครือข่ายเทศกาลยุโรป (European Festival Association: EFA) ขึ้น เพื่อให้เป็นชุมชนของผู้จัดงานเทศกาลเกี่ยวกับศิลปะในสาขาต่างๆ รวมถึง
ดนตรี การเต้นรำ� และการแสดงละคร โดยในปัจจุบันมีเทศกาลในเครือข่าย กว่า 100 เทศกาลจาก 40 ประเทศทั่วทวีปยุโรป ซึ่งพร้อมจะแลกเปลี่ยน ความรู้ความร่วมมือ ช่วยเหลือ และสร้างแรงบันดาลใจระหว่างกันมากว่า 60 ปี นอกจากนั้น EFA ยังก่อตั้ง The Festival Academy เพื่อทำ�หน้าที่เป็น สถาบันถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการจัดงานเทศกาลให้แก่ผู้ที่สนใจ หรือผู้ที่ กำ�ลังรวมกลุ่มกันเพื่อจัดงานเทศกาลในเมืองหรือกับชุมชนของตนอีกด้วย โดยหลักสูตร Atelier for Young Festival Managers เป็นหลักสูตรเข้มข้น 7 วัน เพื่อฝึกให้ผู้เข้าร่วมซึ่งมุ่งเน้นที่คนรุ่นใหม่ได้เข้าใจถึงแก่นแท้ของการ จัดงานเทศกาล โดยปัจจุบันมีผู้เข้าร่วมการอบรมนี้จากทั่วโลกและมีการ หมุนเวียนสถานที่การอบรมในหลายประเทศ หนั ง สื อ เล่ ม นี้ ไ ด้ ร วบรวม 13 บทความที่ ไ ด้ จ ากการแลกเปลี่ ย น ประสบการณ์ของผู้จัดงานเทศกาลที่มีชื่อเสียงระดับโลก ซึ่งจะทำ�ให้เข้าใจ ถึงแนวทางในการวางโปรแกรมการจัดงาน การตอบโจทย์สาธารณะ บริบท ของแต่ละพื้นที่ รวมถึงผู้เกี่ยวข้องที่ร่วมจัดเทศกาล นับเป็นคู่มือเริ่มต้นที่ดี สำ�หรับทีมงานของเทศกาลต่างๆ ที่กำ�ลังจะเกิด สามารถอ่านหนังสือฉบับออนไลน์ได้ที่: www.asef.org/pubs/asef-publications/2913-serving-artists-serves-the-public
CREATIVE THAILAND I 8
BOOK Around the World in 500 Festivals โดย Steve Davey เทศกาลเป็นการเฉลิมฉลองของชุมชนทีห่ ล่อหลอมมาจากประเพณี วัฒนธรรม และความเชือ่ ของแต่ละ ท้องถิ่นที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน ซึ่งแต่ละปี มีเทศกาลถูกจัดขึ้นกว่าพันครั้งทั่วโลก ผู้เขียนได้ เดินทางสำ�รวจเทศกาลต่างๆ ทั้งพิธีศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนาที่เนปาลและทิเบต เทศกาลที่สนุกสนานเช่น การปามะเขือเทศในสเปน ปาส้มที่อิตาลี สาดสีที่อินเดีย เทศกาลที่น่าตื่นเต้นอย่างการแข่งอูฐ กระทิง หรือควาย ซึง่ นอกจากสีสนั ทีน่ า่ ตืน่ ตาตืน่ ใจของประเพณีตา่ งๆ 500 งานในกว่า 100 ประเทศทัว่ โลกแล้ว เรายังสามารถมองเห็นภาพรวมและความแตกต่างอย่างสุดขั้วหรือความเหมือนอย่างน่าประหลาดใจ ของเทศกาลในประเทศต่างๆ ที่อยู่ห่างกันไปคนละซีกโลก
JOU R N A L TCDC Outlook 4: Creative Economy and Middle Income Trap โดย ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ กับดักรายได้ปานกลาง (Middle Income Trap) คือกรณีของประเทศที่ประชากรติดอยู่ในช่วงรายได้ ประชาชาติต่อหัวในช่วงปานกลาง (1,000 -12,000 เหรียญสหรัฐฯ ) เกินกว่าเวลาเฉลี่ย 42 ปี กลายเป็น สถานการณ์ที่ไม่สามารถแข่งขันกับประเทศที่คา่ แรงต่ำ�ได้ แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่อาจยกระดับตัวเอง ขึ้นไปแข่งขันกับประเทศในกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงได้เช่นกัน TCDC Outlook เล่ม 4 ได้ นำ�เสนอแบบจำ�ลองดุลยภาพทัว่ ไปภายใต้แนวทางของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพือ่ ใช้เป็นตัวกำ�หนดทิศทาง และนโยบาย ตลอดจนเป็นทางออกให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากสถานการณ์กบั ดักรายได้ปานกลางทีเ่ รา กำ�ลังเผชิญอยู่
D OCU M E N TARY The Other Side of Carnival กำ�กับโดย Charysse Harper ตรินิแดดและโตเบโก เป็นรัฐหมู่เกาะหนึ่งในหลากหลายเกาะแถบทะเลแคริเบียน แต่สิ่งที่มีชื่อเสียง โดดเด่นของประเทศคืองานคาร์นวิ ลั ทีข่ นึ้ ชือ่ เรือ่ งขบวนแห่ทคี่ รึกครืน้ เสือ้ ผ้าสีสนั ฉูดฉาดและเสียงเพลง คาลิปโซที่สนุกสนาน สารคดีเรื่องนี้พาเข้าไปสัมผัสอีกด้านของงานเฉลิมฉลองที่เป็นมากกว่าสีสันเพียง ครั้งคราวของนักท่องเที่ยว แต่มองไปถึงความรู้สึกของผู้คนที่อยู่บนเกาะมานานหลายสิบปี โดยการ สัมภาษณ์ผอู้ ยูอ่ าศัยตัง้ แต่นกั ประวัตศิ าสตร์ พยาบาล ตำ�รวจ นักเรียน เจ้าของธุรกิจ ถึงผลกระทบของ งานต่อประเทศทั้งทางบวกและทางลบ ตลอดจนการสำ�รวจรากเหง้าต้นกำ�เนิดของงานว่ายังคงอยู่หรือ ถูกปรับเปลี่ยนลบเลือนไปตามกาลเวลา พบกับวัตถุดิบทางความคิดเหล่านี้ได้ที่ TCDC Resource Center CREATIVE THAILAND I 9
trustedreviews.com
macworld.com
MDIC : นวัตกรรมและวัสดุ
เรื่อง: ปิยวรรณ กลิ่นศรีสุข
เทรนด์การสร้างประสบการณ์แก่ลกู ค้าทำ�ให้เส้นแบ่งระหว่างโลกจริงและโลก เสมือนค่อยๆ จางลง ผู้คนเริ่มคุ้นเคยกับประสบการณ์ที่ได้รับจากการอยู่ใน พืน้ ทีจ่ ริงไม่ตา่ งจากทีไ่ ด้รบั ผ่านอุปกรณ์จ�ำ ลอง และประสบการณ์ทงั้ สองแบบ นั้นก็เริ่มใกล้เคียงกันจนยากจะแยกออก ทำ�ให้เทคโนโลยีเออาร์ (AR หรือ Augmented Reality) กลายเป็นอีกหนึ่งเทรนด์ที่หลายบริษัทกำ�ลังให้ความ สำ�คัญในการนำ�มาใช้ประโยชน์กับธุรกิจ หนึ่งในตัวชี้วัดว่าเทคโนโลยีเออาร์กำ�ลังจะแพร่หลายไปถึงมือผู้บริโภค ทั่วโลก ก็คือเมื่อ Apple พัฒนาให้ iPhone X รองรับการใช้งานเทคโนโลยี เออาร์อย่างเต็มรูปแบบ พร้อมทั้งเผยแพร่เครื่องมือ ARKit ให้กับนักพัฒนา ทั่ ว โลก เป็ น แรงกระตุ้ น ให้ เ กิ ด การสร้ า งแอพพลิ เ คชั่ น ที่ ช่ ว ยให้ ผู้ ใ ช้ มี ปฏิสัมพันธ์กับเทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีการใช้งานระบบจดจำ� ใบหน้า (Facial Recognition) โดยเทคโนโลยีเออาร์จะจำ�ลองลักษณะ โครงหน้าของผู้ใช้ขึ้นมาเป็นแบบสามมิติ และเก็บข้อมูลไว้ในตัวเครื่องเพื่อ เป็นรหัสรักษาความปลอดภัย หรือจะเป็นฟีเจอร์ Facial Tracking ที่ผู้ใช้ สามารถสร้าง Animoji ที่มีการแสดงออกทางอารมณ์ตามใบหน้าในขณะนั้น ซึ่งก็ถือเป็นความบันเทิงอย่างหนึ่งจากเทคโนโลยีเออาร์เช่นเดียวกัน ทำ�ให้ บรรดาบริษัทเทคโนโลยีรายอื่นๆ ทยอยกันพัฒนาแอพพลิเคชั่นที่ใช้งาน เออาร์ออกมามากมาย ทั้งการสร้างแอพพลิเคชั่นหรือคอนเทนต์ที่มีระบบ เออาร์ เพื่อช่วยเพิ่มประสบการณ์การใช้งานที่แปลกใหม่ขึ้นได้
ขณะที่อีกด้านหนึ่ง บางกลุ่มธุรกิจมีการใช้เทคโนโลยีเออาร์เพื่อแก้เกม ธุรกิจที่กำ�ลังซบเซา เช่น กลุ่มธุรกิจค้าปลีก ยักษ์ใหญ่ด้านเฟอร์นิเจอร์อย่าง IKEA ซึ่งได้เดินหน้าทำ� Digital Transformation ลดขนาดร้านเพื่อเข้าใกล้ ผู้บริโภคมากขึ้น เพราะเฟอร์นิเจอร์เป็นสินค้าขนาดใหญ่ที่ไม่ว่าการซื้อหรือ ขนส่งก็ล้วนเป็นเรื่องใหญ่ทั้งนั้น และ IKEA ก็ตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้ดี ดังนั้นจึงได้มองหาหลากหลายวิธีที่จะทำ�ให้คนได้ทดลองใช้สินค้าก่อน ตัดสินใจซื้อ และวิธีที่ดีที่สุด ลดต้นทุน ไม่ทำ�ให้สินค้าเสียหาย ก็คือการแจก เฟอร์นิเจอร์เสมือนจริงให้ลองไปตั้งที่บา้ น ด้วยแอพพลิเคชั่นที่มีเทคโนโลยี เออาร์อย่าง IKEA Place ซึง่ ช่วยให้ลกู ค้าสนุกกับการจัดวางเฟอร์นเิ จอร์เสมือน จริงชิ้นต่างๆ ภายในบ้านได้อย่างเพลิดเพลิน หรือแม้แต่การท่องเที่ยวแห่ง ประเทศไทย (ททท.) ก็ได้น�ำ เสนอภาพลักษณ์ของประเทศไทยในมุมมองใหม่ ผ่ า นโครงการจั ดทำ � สื่ อ โปสเตอร์ มั ล ติ มี เ ดี ย เพื่ อ เผยแพร่ ข้ อ มู ล ทางการ ท่องเที่ยว โดยใช้เทคโนโลยีเออาร์ผ่านแอพพลิเคชั่น Thailand AR Explorer นำ�เสนอประสบการณ์ท่องเที่ยวเมืองไทยเสมือนจริง โดยการเชื่อมต่อข้อมูล การท่องเทีย่ วของประเทศไทยให้กบั นักท่องเทีย่ วทัง้ ชาวไทยและชาวต่างชาติ เพียงสแกนโปสเตอร์กเ็ ข้าถึงข้อมูลและเนือ้ หาทีส่ ามารถโต้ตอบหรือมีลกู เล่น การนำ�เสนอทีแ่ ปลกใหม่ได้ทนั ที ซึง่ นอกจากจะสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กบั ผูบ้ ริโภคแล้ว ก็ยงั เป็นช่องทางในการเผยแพร่ขอ้ มูลการท่องเทีย่ วของไทยได้ อย่างรวดเร็วและกว้างขวางมากขึ้นอีกด้วย และนี่ก็คือปรากฏการณ์ใหม่ที่แสดงให้เห็นว่า เทคโนโลยีได้ขีดฆ่าเส้น แบ่งโลกความจริงและโลกเสมือนจริงให้เลือนรางลงไปเรื่อยๆ นั่นเอง ที่มา: บทความ “ททท. เปิดตัวแอปพลิเคชัน Thailand AR Explorer เปิดประสบการณ์ทอ่ งเที่ยว เมืองไทยเสมือนจริง” จาก thai.tourismthailand.org / บทความ “Smart Companies Are Already Using Apple’s ARkit to Make Cash Registers Ring” โดย Paul Armstrong จาก forbes.com / developer.apple.com/arkit
พบกับนวัตกรรมและวัสดุสร้างสรรค์ ได้ที่ชั้น 2 ห้อง Material & Design Innovation Center, TCDC CREATIVE THAILAND I 10
พบกับนิตยสาร “คิด” Creative Thailand ได้ที่ ร้านหนังสือ ห้องสมุด สมาคม อาคารสำ�นักงาน และร้านกาแฟใกล้บ้าน ในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ หัวหิน และจังหวัดอื่นๆ รวมถึง miniTCDC
หมดปญหาหยิบนิตยสารไมทัน สมัครสมาชิกรายป คาใชจายในการจัดสง 200 บาท (12 เลม)
ดูสถานที่จัดวางทั้งหมดได้ที่: www.tcdc.or.th/creativethailand/magazine/place
หรือสมัครออนไลนไดที่ tcdc.or.th/creative_thailand
กรุงเทพฯ ร้านหนังสือ • Asia Books • Kinokuniya • B2S • แพร่พิทยา
• MAIIAM Contemporary Art Museum • ชีวิต ชีวา • Minimeal Cafe • Impresso • Restr8to • Penguin Villa (Penguin Getto) ร้านกาแฟ/ร้านอาหาร • กาแฟอาข่า อ่ามา • Au Bon Pain La Fattoria สาขา2 • Starbucks • TOM N TOM’S COFFEE • Happy Hut ถ.นิมมานฯ • True Coffee • ราชดำ�เนิน • Auntie Anne’s • Mai Bakery In Garden • Baskin Robbins • Starbucks The Plaza • Coffee World • Yesterday Hotel • Mister Donut • October • Black Canyon • สุรยิ นั จันทรา นิมมานฯ ซอย 1 • McCafe’ • ร้านมีชามีชัย (กู) • ดอยตุง • Cafe’de nimman • Ninety four coffee • The Booksmith • Puff & Pie • ร้านชา (Drink Club) • Red Mango • Cotto Studio • Iberry • Starbucks Nimmanhemin • Greyhound Cafe’ • Fern Forest Cafe’ • Amazon Cafe’ • 9th Street Cafe • Chester’s Grill นิมมานฯ ซอย 9 • Luv minibar • ดวงกมล (Duang Kamol) • Rustic & Blue - Handgrown พิพิธภัณฑ์/หอศิลป์ • Produce & Artisan Food • หอศิลปวัฒนธรรม นิมมานฯ ซอย 9 แห่งกรุงเทพมหานคร • หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม • มิวเซียม สยาม • อุทยานการเรียนรู้ (TK park) มช. • นำ�ทอง แกลเลอรี่ หัวหิน • ร้านกาแฟ ชุบชีวา หัวหิน สมาคม/ห้องสมุด • อยู่เย็น หัวหิน บัลโคนี่ • ศูนย์ศิลปะนานาชาติ • บ้านใกล้วัง สมาคมฝรั่งเศส • ภัตตาคารมีกรุณา • ห้องสมุดเนลสัน เฮลส์ The Neilson Hays Library • บ้านถั่วเย็น @ แนบเคหาสน์ • ร้านอาหารหัวหิน (โกทิ) • ห้องสมุด - นิด้า • กาแฟข้างบ้าน • สมาคมโฆษณา • IL GELATO ITALIANO แห่งประเทศไทย • Together Bakery & Cafe’ • สมาคมธนาคารไทย • โรงแรม วรบุระหัวหิน • สมาคมสโมสรนักลงทุน • Let’s Sea • ห้องสมุด สสวท. • โรมแรม ดูน หัวหิน • สมาคมหอการค้าไทย • เดอะร็อค หัวหิน • สถาบัน • บ้านจันทร์ฉาย • Wall Street Institute • หัวหิน มันตรา รีสอร์ท • Raffle Design Institute • ลูน่าฮัท รีสอร์ท • Vision Swimming Academy กระบี่ • Nakamanda Resort & Spa เชียงใหม่ • Rawee Warin Resort & Spa • woo cefe • A little Handmade Shop • Kagee • Ristresto lab • ท่าแพอีสต์+ dibdee.binder ขอนแก่น • Hug School • C.A.M.P ,MAYA • True Coffee ,หอสมุด มช. of Creative Arts • ร้านสืบสาน • Punspace, นิมมานฯ • ร้านกาแฟ คอฟฟี่ เด้อ หล่า • asama cafe • มาหาสมุด (บ้านข้างวัด) (Coffee Der La) • see scape gallery เชียงราย • nimmanian club • ร้านหนังสือ herebookafe • 8 days a week • ร้าน Coffee Dad • Bulbul book cafe’ • Graph cafe’ นครราชสีมา • Cefe de museum • Hug station resort • local cafe Think park • Librarista นครปฐม • Artisan วัวลาย • ร้าน Dipchoc Cafe • paper spoon • กาแฟรสนิยม, นครสวรรค์ หลัง มช ทางขึ้นกาแล • The barn : Eatery Design • ร้าน Bitter Sweet • Book Republic น่าน • wake up หน้ามอ • ร้าน Runway Coffee • Fab cafe’ • kum cafe คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ • ร้านคลาสสิค โมเดล น่าน
• ร้านกาแฟปากซอย • ร้าน Nan Coffee Bean ปาย/แม่ฮ่องสอน • ร้านคอฟฟี่อินเลิฟ • ร้าน all about coffee • ร้านปายหวานบ้านนมสด • ร้านเล็กเล็ก • ปายวิมานรีสอร์ท พังงา • Niramaya Villa and Willness Resort • Ranyatavi Resort Phang Nga • The Sarojin เพชรบุรี • Grand Pacific Sovereign • Resort & Spa • DevaSom Hua Hin Resort ภูเก็ต • ร้านหนัง(สือ) ๒๕๒๑ ภูเก็ต • The oddy Apartment & Hotel • At Panta Phuket • Banyan Tree Phuket • Le Meridien Phuket • Millienium Ressort Patong Phuket • Novotel Phuket Resort • Patong Paragon Resort & Spa Phuket • Sheraton grand Lagana Phuket • Sri wanwa Phuket Villa • Thanyapura ระยอง • Le Vimarn Cottage ลำ�ปาง • อาลัมภางค์ เกสท์เฮ้าส์ แอนด์ มอร์ ลำ�ปาง • ร้านเอกาลิเต้ Egalite Bookshop • Lampang Art Center เลย • บ้านชานเคียง • มาเลยเด้ เกสต์เฮาท์ ลพบุรี • ซนดิคอฟฟี่ สมุทรสงคราม/อัมพวา • Baan Amphawa Resort and Spa สุโขทัย • Ananda Co.,Ltd. สุราษฎร์ธานี • Muang Samui Spa Resort • Pavilion Samui Boutique Resort • The Sunset Beach Resort and Spa Taling ngam • Nora Beach Resort Samui อุทัยธานี • ร้านบุ๊คโทเปีย Booktopia • Avatar Miracles
ขอมูลผูสมัครสมาชิก สมาชิกใหม ชื่อ นามสกุล เพศ โทรศัพท
สมาชิกเกา (ตองการตออายุสมาชิก) หญิง อายุ
ชาย
อีเมล
โทรศัพทมือถือ
อาชีพ นักเรียน ครู/อาจารย
นิสิต/นักศึกษา พนักงานบริษัท
นักออกแบบ/ครีเอทีฟ ผูประกอบการ
อาชีพอิสระ อื่นๆ โปรดระบุ
ขาราชการ/รัฐวิสาหกิจ
สาขา/อุตสาหกรรมที่เกี่ยวของกับอาชีพของทาน โฆษณา สถาปตยกรรม แฟชั่น ศิลปะการแสดง ดนตรี ภาพยนตร โทรทัศน/วิทยุการกระจายเสียง
ทองเที่ยว/โรงแรม/สายการบิน วรรณกรรม/การพิมพ/สื่อสิ่งพิมพ พิพิธภัณฑ/หองแสดงงาน ซอฟตแวร/แอนิเมชัน/วิดีโอเกม
หัตถกรรม/งานฝมือ การเงิน/ธนาคาร ทัศนศิลป/การถายภาพ อื่นๆ โปรดระบุ
อาหาร การแพทย การออกแบบ
คาปลีก/คาสง โทรคมนาคม
ที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ จังหวัด
ซอย
ถนน รหัสไปรษณีย
หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง
อำเภอ/เขต
หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง
อำเภอ/เขต
ที่อยูในการออกใบเสร็จ เหมือนที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ ซอย จังหวัด
ถนน รหัสไปรษณีย
ตองการสมัครสมาชิกนิตยสาร Creative Thailand ระยะเวลา 1 ป จำนวน 12 เลม เริ่มตั้งแตฉบับเดือน โดยยินดีเสียคาใชจายในการจัดสงเปนจำนวนเงิน 200 บาท
วิธีการชำระเงิน เช็คสั่งจายศูนยสรางสรรคงานออกแบบ พรอมใบสมัครสมาชิก โอนเงินเขาบัญชีออมทรัพย ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ เลขที่บัญชี 101-808967-0 ธนาคารกรุงเทพ สาขาสำนักงานใหญสีลม • แฟกซใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่ 02-105-7450 • หรือสงไปรษณียมาที่ ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (Creative Thailand) อาคารไปรษณียกลาง 1160 ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10501 • หรือแนบไฟลใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่อีเมล creativethailand@tcdc.or.th สอบถามขอมูลเพิ่มเติมไดที่ 02-105-7400 ตอ 122
Warawut Thichina
Alex Jones
Michal Grosicki
wikipedia.org
Sebastien Gabriel
thaidphoto.com: jay_photo
Ian Schneider
Local Wisdom : ภูมิความคิด
เรื่อง: ชาคริต นิลศาสตร์
หากต้นคริสต์มาสคือสัญลักษณ์แห่งการเฉลิมฉลองในวันคริสต์มาสอีฟของฝัง่ ยุโรปทีเ่ ห็นได้ชดั แล้วล่ะก็ ประเทศไทยเราก็มี ไอเท็มสำ�หรับเทศกาลที่เป็นตัวสร้างมวลความสุขให้กับประชาชนเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่นในภาคเหนือ เมื่อเสียงประทัดดัง กึกก้องไปทัว่ บริเวณ ดอกไม้ไฟระบายสีสนั ลงบนท้องฟ้า โคมไฟลอยระยิบระยับราวกับดวงดาวยามคาํ่ คืน ภาพของบ้านเรือน แต่ละหลังที่ถูกประดับประดาไปด้วยประทีปและโคมไฟพื้นบ้าน ก็คือสัญญาณเริ่มต้นของงานเทศกาลประเพณี ‘ยี่เป็ง’ หรือ ‘ลอยกระทง’ ทีส่ ร้างความอบอุน่ และสีสนั ให้แก่คนท้องถิน่ และผูม้ าเยือน ทัง้ คือความภาคภูมใิ จของชาวล้านนาในการสร้างสรรค์ งานศิลปะตามวัฒนธรรมประเพณี ในฐานะต้นทุนแห่งภูมิปัญญาดั้งเดิมที่ถูกส่งต่อรุ่นสู่รุ่น ซึ่งเปลี่ยนแสงสว่างให้มีชีวิตและ ส่งต่อเป็นพลังแห่งความสุขในวันเทศกาล ที่ล้วนสะท้อนที่มาและเรื่องราวในตัวของมันเอง CREATIVE THAILAND I 12
เมื่อเสียงสัญญาณเทศกาลได้เริ่มต้น หากนึกถึง ‘ประทัด’ หรือที่เรียกว่า ‘บอกถบ’ ใน คำ�เมือง (ภาษาท้องถิน่ ) ตัวอย่างทีเ่ ห็นภาพง่ายๆ คงเป็น ‘บอกไฟข้าวต้ม’ หรือที่วัยรุ่นเมืองเหนือ ปัจจุบันนิยมเรียกว่า ‘แส้ป๊าว (แส้พร้าว)’ จรวด ดอกไม้ไฟเล็กๆ ที่ทะยานพุ่งขึน้ ฟ้าพร้อมกับเสียงวีด๊ หนึง่ ในไอเท็มทีเ่ ป็นกระบอกเสียงให้เทศกาลมีชวี ติ ประทัด ทับศัพท์มาจากคำ�ว่า ‘Petas’ ใน ภาษามลายู ซึ่งแปลว่า น้ำ�ที่ปุดเดือดเป็นฟอง ถูกบันทึกไว้ในหนังสืออภิธานศัพท์คำ�ไทยที่มี ต้นเค้ามาจากภาษาต่างประเทศ โดยพระยา อนุมานราชธน (เสฐียรโกเศศ) แม้ไม่ปรากฏ หลักฐานแน่ชัดว่าประทัดต่างๆ เกิดขึ้นในไทย เมื่ อ ใด มี เ พี ย งบั น ทึ ก ในศิ ล าจารึ ก ที่ ก ล่ า วว่ า “เมืองสุโขทัยนี้ มีสี่ปากประตูหลวง เพียย่อมคน เบียดกันเข้าดูท่านเผาเทียนท่านเล่นไฟ เมือง สุโขทัยมีดังจั๊กแตก” บวกกับในอดีตสุโขทัย มี ลานกว้างทีเ่ รียกว่าพญาพุง่ เรือ ซึง่ เป็นชือ่ เรียกไฟ โบราณของไทยชนิดหนึง่ จึงอนุมานได้วา่ ในสมัย สุโขทัยน่าจะมีการเล่นประทัดหรือดอกไม้ไฟ กันแล้ว มณี พยอมยงค์ ศิลปินแห่งชาติ ได้อธิบาย ในหนังสือ ประเพณีสิบสองเดือนล้านนาไทย ไว้ ว่า ประทัด หรือ บอกไฟ เดิมใช้ในประเพณียี่เป็ง เพือ่ บูชาพระเกศแก้วจุฬามณีตามตำ�นาน หรือใน พิธีเทศน์และตั้งธรรมหลวง เพื่อเป็นพุทธบูชา และให้เด็กๆ ได้เล่นสนุกกัน และยังเป็นความเชือ่ ของคนล้านนาที่ใช้ประทัดมาประกอบพิธีกรรม ตามความเชื่อ เช่น การจุดประทัดในพิธีศพ เป็ น การแจ้ ง ให้ เ ทวดารั บ รู้ ก่ อ นจะทำ � พิ ธี ส่ ง วิ ญ ญาณผู้ เ สี ย ชี วิ ต ขึ้ น สู่ ส วรรค์ หรื อ ในวั น สงกรานต์ ที่เชื่อว่าการจุดประทัดจะขับไล่สิ่ง ชัว่ ร้ายและเรือ่ งไม่ดใี ห้ออกไปจากชีวติ ได้ เป็นต้น แสงไฟสีทองสว่างกระจายไปทั่วฟ้า หลักฐานในพระราชกิจจานุเบกษาในปี พ.ศ.2443 ประกาศว่ า ห้ า มลอยโคมในมณฑลพายั พ เนื่องจากสร้างความเสียหายเพลิงไหม้แก่บ้าน เรือนประชาชน เป็นหนึง่ ในหลักฐานเพียงไม่กชี่ นิ้ ที่อนุมานได้ว่า การลอยโคมเกิดขึ้นนานแล้ว มณี พยอมยงค์ ศิลปินแห่งชาติ อธิบาย คำ�ว่า ‘โคม’ ‘ว่าวควัน’ หรือที่เรียกว่า ‘โกม’ ใน ภาษาท้องถิน่ ว่า มีความหมายสองอย่าง คือ เป็น
เครือ่ งสักการะ และเป็นเครือ่ งส่องสว่าง โคมแบ่ง การใช้งานเป็น 3 ประเภทคือ ลอย แขวน และถือ โดยในอดีตเชื่อว่า ‘การปล่อยโคมลอย’ เป็นการ ปล่อยเคราะห์กรรมลำ�บาก ส่งเคราะห์รา้ ยออกไป จากชีวติ ให้เจอแต่สงิ่ ดีงาม และเพือ่ ให้ขนึ้ ไปบูชา พระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ โดยเฉพาะผูท้ เี่ กิด ปีจอ ซึง่ พระธาตุประจำ�ปีเกิดคือพระแก้วจุฬามณี ซึง่ อยูบ่ นชัน้ ดาวดึงส์ จึงใช้วธิ เี ขียนชือ่ ลงกระดาษ ผู ก ติ ด กั บ โคมแล้ ว ปล่ อ ยขึ้ น ไปบนฟ้ า เป็ น การ กราบไหว้บูชา ส่วนโคมถือ และโคมแขวน ใช้ประดับไว้ ตามซุม้ ประตูปา่ และอาคารบ้านเรือน โดยเชือ่ ว่า โคมจะช่วยส่องประกายให้ชีวิตอยู่เย็นเป็นสุข ใช้เป็นเครื่องนำ�ทางเข้าสู่วัด เนื่องจากในอดีตยัง ไม่มไี ฟฟ้าใช้ แต่ละครอบครัวจึงจุดไฟใส่โคมเพือ่ เป็นแสงนำ�ทางไปประกอบพิธีกรรมที่วัดในเวลา กลางคืน นอกจากนี้ การใช้โคมถือนำ�ขบวนแห่ศพ จะเป็นแสงนำ�ทางผู้ตายให้ไปถึงสุสานก่อนทำ� พิธีกรรมส่งไปสู่สวรรค์ ความอบอุน่ จากถ้วยดินเผาขนาดพกพา ‘ผางประทีป’ หรือ ‘ผางประติด๊ ’ ในภาษาท้องถิน่ เป็นเครือ่ งสักการะบูชาในพระพุทธศาสนา คำ�ว่า ผาง แปลว่า ภาชนะดินเผาคล้ายถ้วยเล็กๆ ส่วน คำ�ว่า ประทีป แปลว่าเครื่องส่องสว่าง พ่อหนานดุสิต ชวชาติ ผู้รู้ด้านประเพณี ล้านนาได้กล่าวถึงการบูชาผางประทีปว่า ชาว ล้านนาจุดผางประทีป เพื่อเป็นพุทธบูชาพระเจ้า ห้าพระองค์ตามตำ�นานแม่กาเผือกที่เล่าไว้ว่า ‘พระพุทธเจ้าทั้งห้าพระองค์ได้ถือกำ�เนิดจาก แม่กาเผือก และมีเหตุให้พลัดพรากจากแม่ เมื่อ ทัง้ หมดเติบโตและได้บวชเป็นฤาษี จึงอธิษฐานขอ ให้พบแม่ทแี่ ท้จริง ทำ�ให้พกาพรหมผูเ้ ป็นแม่แปลง กายเป็นกาเผือกบินลงมาเล่าเรื่องในอดีตให้ฤๅษี ทัง้ ห้าฟัง และบอกว่าหากคิดถึงแม่ ให้น�ำ ด้ายดิบ มาฟั่นเป็นตีนกาจุดเป็นประทีปบูชาในวันยี่เป็ง’ ขณะที่ ศ.ดร.อุดม รุ่งเรืองศรี ผู้เชี่ยวชาญ ด้านประเพณีลา้ นนาได้อธิบายว่า การจุดประทีป เป็นการบูชาพระรัตนตรัย ส่งผลให้เกิดอานิสงส์แก่ ผู้ถวาย ให้มีรูปร่างผิวพรรณงดงาม เป็นที่รักแก่ ผูค้ น และเพือ่ ตอบแทนผูม้ พี ระคุณ ตลอดจนเพือ่ สักการะต่อสิง่ ต่างๆ ทีไ่ ด้ใช้ประโยชน์ เช่น ประตู บ้าน บ่อน้�ำ ยุง้ ข้าว เตาไฟ บันได หน้าต่าง เป็นต้น CREATIVE THAILAND I 13
วินาทีแห่งความสุข ปัจจุบัน กินเนส เวิลด์ เรคคอร์ด ได้บันทึกให้ งานเฉลิมฉลองเคาท์ดาวน์สปู่ ี 2014 ของนครดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เป็นงานแสดงพลุและ ดอกไม้ไฟที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก มีการยิงกระสุน ดอกไม้ไฟถึง 479,651 นัดในหกนาที หรือ 1,332 นัดต่อวินาที ใช้คนกว่า 5,000 คนในการติดตั้ง เป็นเวลากว่า 5,000 ชัว่ โมง ใช้งบประมาณในการ จัดทำ�ถึง 6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 196 ล้านบาท และสามารถมองเห็นดอกไม้ไฟได้ไกล ถึง 94 กิโลเมตร ดอกไม้ไฟนั้นจุดเป็นชุด โดยหนึ่งชุดจะยิง ดอกไม้ไฟขึ้นท้องฟ้าหลายนัด ตั้งแต่ 16 นัด ไป ถึง 205 นัดหรือมากกว่า โดยสนนราคาตั้งแต่ ชุดละ 300-10,000 บาทหรือมากกว่านั้น ตาม ขนาดบรรจุ ความสูงจากพื้น รัศมีการแตกตัว ความสวยงาม และความยากง่ายในการผลิต ปัจจุบนั หลายประเทศทัว่ โลกต่างจัดเทศกาล ชมดอกไม้ไฟเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวและเป็นการ กระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ โดยเทศกาลดอกไม้ ไฟทีห่ ลายคนต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าสวยงาม อลั ง การและน่ า จั บ ตามองทุ ก ปี คื อ เทศกาล ดอกไม้ไฟประเทศญี่ปุ่น ที่มักจัดในช่วงเดือน กรกฎาคมถึงตุลาคมของทุกปี โดยเฉพาะ ‘เทศกาล ดอกไม้ไฟริมแม่น้ำ�สุมิดะ’ ที่มีประวัติศาสตร์ ยาวนานกว่า 300 ปี และเป็นงานใหญ่ที่สุดใน ญี่ปุ่น ที่นักท่องเที่ยวและชาวโตเกียวต่างตั้งตา รอชมงานเทศกาลนี้ และยังมีการถ่ายทอดสด ทางโทรทัศน์ทุกปี นับได้วา่ ดอกไม้ไฟถือเป็นอีกหนึง่ สัญลักษณ์ แห่ ง งานเทศกาลที่ มี ม าตั้ ง แต่ อ ดี ต ซึ่ ง ได้ ถู ก พัฒนาดัดแปลง และนำ�มาใช้จนกลายเป็นสิ่งที่ สร้างรอยยิ้มและความสุขให้กับทุกๆ คนเมื่อได้ พบเห็น ที่มา: หนังสือ “ประเพณีสบิ สองเดือนล้านนาไทย” โดย มณี พยอมยงค์ / หนังสือ “อภิธานศัพท์ คำ�ไทยที่มีต้นเค้าจาก ภาษาต่างประเทศ” โดย เสาวลักษณ์ กีชานนท์ / บทความ “พลุ ประทัดและดอกไม้ไฟ มีวิวัฒนาการอย่างไร” จาก bbcthai.com / บทความ “การทำ�บอกไฟ” โดย สำ�นักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ / บทความ “การบูชาผางประทีป และการทำ�ผางประทีป” โดย สำ�นักหอสมุด มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ / บทความ “Dubai smashes largest fireworks display world record with New Year’s spectacular” จาก guinnessworldrecords.com / บทความ “THE SUMIDA RIVER FIREWORKS FESTIVAL” จาก US.NTO.GO.JP
Cover Story : เรื่องจากปก
เรื่อง: กรณิศ รัตนามหัทธนะ
CREATIVE THAILAND I 14
นิตยสารคิด Creative Thailand ขอ สวัสดีปีใหม่มายังผู้อ่านทุกท่าน เดาว่า ช่วงปีที่ผ่านมา หลายท่านคงได้ไปร่วม งานที่ ค นไทยเราเรี ย กกั น ติ ด ปากว่ า “อีเวนต์” (event) จะชวนเพือ่ นทีกถ็ าม ว่าสุดสัปดาห์นี้มีอีเวนต์อะไรน่าไปบ้าง มีหลายคำ�ที่พอคนไทยเราพูดทับ ศัพท์แล้ว ความหมายคลาดเคลือ่ นจาก ภาษาอั ง กฤษ ถ้ า จะใช้ คำ � ให้ ถู ก ตาม ศัพท์ของฝรั่ง หลายๆ “อีเวนต์” ที่เรา ไปกัน ฝรัง่ กลับเรียกว่า “งานเทศกาล” หรือ festival มากกว่า Event กับ Festival สองคำ�นี้ต่างกันอย่างไร ในความหมายของฝรั่ง Event คือการที่คนมา รวมกันเพื่อจุดหมายอะไรอย่างหนึ่ง เช่น มาทำ� ความรู้จักเพื่อนใหม่ก่อนเริ่มภาคเรียน หรือมา เรียนรู้สิ่งใหม่เพื่อเพิ่มพูนทักษะ ส่วน Festival คืออีเวนต์ประเภทหนึ่ง ที่เน้น ความบันเทิงหรือการเฉลิมฉลองเป็นหลัก งานวิจยั บางชิ้นกล่าวว่าความเป็นเทศกาล มีความเป็น ชุมชน (community) แฝงอยู่อย่างชัดเจน และมี จุดมุง่ หมายให้มผี เู้ ข้าร่วมมากทีส่ ดุ โดยเน้นมอบ ประสบการณ์ ที่ ค นเหล่ า นี้ จ ะไม่ ไ ด้ พ บในชี วิ ต ประจำ�วัน และมักสร้างผลทางบวกในด้านเศรษฐกิจ นี่คือลักษณะกว้างๆ ของคำ�ว่างานเทศกาล เราเห็นงานเทศกาลทัง้ ระดับงานเล็กๆ ใช้คน หลักสิบ จัดแค่วันเดียวในท้องถิ่น ไปจนถึงงาน เทศกาลใหญ่ๆ ระดับนานาชาติ อย่างโอลิมปิก หรือฟุตบอลยูโร ทีก่ นิ เวลาเป็นสัปดาห์ถงึ หลายๆ
สัปดาห์ ใช้งบประมาณมหาศาล และมี “ผูเ้ กีย่ วข้อง” ทั้งคนจัดงาน คนเข้าร่วม และผู้ชมหลักล้าน คนทั่วโลก รัฐบาลหลายๆ ประเทศ เลือกใช้ “งานเทศกาล” เป็นเครือ่ งมือในการพัฒนาชุมชน ทั้งระดับท้องถิ่นและระดับชาติ เหมือนหลายสิ่งในโลกที่มีสองด้าน งาน เทศกาลครั้งหนึ่งๆ ย่อมก่อให้เกิดผลทั้งทางบวก และลบ แต่บทความนีอ้ ยากชวนมาดูวา่ “ผลทาง บวก” ที่ว่านั้นมีอะไรบ้าง เขาจัดเทศกาลต่างๆ กันไปทำ�ไม “เทศกาล” ทั้งหลายคงต้องมีอะไร ดีๆ เป็นแน่ ถึงได้จัดสลับกันไปมาตลอดปี
งานเทศกาลส่ง “ผลทางบวก” อย่างไรแก่ชุมชนบ้าง
ผลทางบวกของงานเทศกาล มีทั้งแบบจับต้องได้ วัดผลได้ และแบบจับต้องไม่ได้ ประเภทวัดผลได้ ทีเ่ ห็นชัดเจนทีส่ ดุ คือ งาน เทศกาล “ทำ�เงิน” ให้ทอ้ งถิน่ ทัง้ จากการขายของ ในงาน ขายบัตรเข้าชม นักท่องเทีย่ วทีม่ างานต้อง จองห้องพัก จองตั๋วเครื่องบินและรถโดยสาร งานเทศกาลเป็นแหล่งรวมผู้คนที่สนใจใน เรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ หากมีของเจ๋งๆ จำ�หน่าย แน่นอนว่ามีคนไม่น้อยยอมควักเงินซื้อ มีเม็ดเงินจำ�นวนมหาศาลหลัง่ ไหลเข้ามา นีจ่ งึ เป็น เหตุผลว่าทำ�ไมงานเทศกาลจึงเป็นตัวขับเคลื่อน เศรษฐกิจของชุมชนนัน้ ๆ ได้ในชัว่ ขณะหนึง่ อาจ ส่งผลในช่วงสั้นๆ หรือยาวข้ามปี ตามแต่ขนาด ของงานที่จัด VisitBritain รายงานว่าปี 2012 งานเทศกาล ดนตรีและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ดึงดูดเม็ดเงินถึง 2.2 พันล้านปอนด์เข้าประเทศ พร้อมๆ กับนักท่องเทีย่ ว ที่มาร่วมงานเทศกาลดนตรีรวม 6.5 ล้านคน เฉพาะ Glastonbury หนึง่ ในเทศกาลดนตรีทใี่ หญ่ และโด่งดังที่สุดของอังกฤษ ก็ทำ�เงินเข้าประเทศ ได้ถงึ 100 ล้านปอนด์แล้ว โดยมีผชู้ มเข้าร่วมงาน หลักแสนคน CREATIVE THAILAND I 15
แต่เงินมหาศาลไม่ใช่ผลทางบวกประการเดียว ของการจัดเทศกาล ผลอื่นๆ ที่เห็นได้ชัดก็เช่น บางเทศกาลต้องมีการจัดสร้างสถานทีห่ รือเครือ่ งใช้ อะไรบางอย่าง (เช่น สนามกีฬา โรงละคร) ทำ�ให้ ชุมชนนัน้ ๆ มี “สัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม” ทีเ่ ห็น ชัดเจนและน่าภาคภูมใิ จ บางอย่างยังสร้างรายได้ เข้าชุมชนต่ออีกแม้วา่ เทศกาลจะจบไปแล้ว สนาม กีฬาแห่งชาติปักกิ่ง (Beijing National Stadium) หรือทีร่ จู้ กั กันในนามสนามกีฬารังนกในกรุงปักกิง่ ที่สร้างขึ้นเพื่อรองรับการจัดงานมหกรรมกีฬา โอลิมปิกในปี 2008 ทุกวันนี้ยังถูกใช้เป็นสถานที่ จัดงานยักษ์ใหญ่ต่างๆ เช่น งานแสดงรถยนต์ งานแข่งขันฟุตบอล งานคอนเสิร์ตของศิลปิน แถวหน้า “งานเทศกาล” ยังก่อให้เกิดผลทางบวกที่ จับต้องไม่ได้อกี หลายประการ เป็นผลกระทบทาง สังคม วัฒนธรรม และการเมือง หลายๆ เทศกาล ยังเป็นงานแจ้งเกิดผู้ประกอบการรายใหม่ การมี งานเทศกาลต่างๆ ถือเป็นช่องทางการขายและ ประชาสัมพันธ์ที่สำ�คัญของพ่อค้าแม่ขายเหล่านี้ หากคุณเป็นวัยรุ่นที่อยากขายของอะไรสักอย่าง หนึ่ง แต่ไม่มีเงินก้อนใหญ่สำ�หรับจ่ายค่าเช่าร้าน การรวบรวมเงินเล็กๆ น้อยๆ จ่ายค่าเช่าที่ (หรือ อาจไม่ต้องเสียเงินเลย ในงานเปิดท้ายขายของ) นี่ก็อาจเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีไม่น้อย ผลทางบวกที่จับต้องไม่ได้ แต่รู้สึกได้ เช่น การเชือ่ มความสัมพันธ์ของผูค้ นในชุมชน พัฒนา คน ยกระดับทักษะแขนงใดแขนงหนึ่งของคนใน ชุมชนนัน้ ๆ สร้างความภาคภูมใิ จ หรืออาจถึงขัน้ สร้างแรงบันดาลใจแก่คนจำ�นวนมาก ผลเหล่านี้ เป็น “แรงขับเคลื่อน” ทางสังคม ที่เห็นได้ชัดว่า เกิดจากงานเทศกาลต่างๆ และต่อยอดให้เกิด แรงกระเพือ่ มที่ดีอีกมากมาย ดังจะได้เห็นต่อไปนี้
1: Hay Festival เทศกาลวรรณกรรมที่ สร้างแรงบันดาลใจ
hayfestival.com
Hay Festival คื อ งานเทศกาลวรรณกรรม (Literature Festival) ระดับแม่เหล็กของเวลส์ จัดขึ้นช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายนของทุกปี ปีเตอร์ ฟลอเรนซ์ (Peter Florence) ผูอ้ �ำ นวยการ จัดงานกล่าวว่า “ประโยชน์ทางสังคมที่ยิ่งใหญ่ ที่สุดของงาน Hay Festival คือการที่เยาวชนใน ท้องถิ่นได้เข้าใจคำ�ว่า ‘ความเป็นเลิศ’ ในระดับ เดียวกับงานของลอนดอนหรือนิวยอร์ก” เมืองเฮย์-ออน-ไวย์ (Hay-on-Wye) หรือเรียก ย่อๆ ว่าเฮย์ (Hay) มีชื่อเล่นว่า The Town of Books เพราะมีรา้ นหนังสือมากมาย งานเทศกาล วรรณกรรมที่จัดขึ้นเป็นการรวมตัวของนักเขียน และหนอนหนังสือ กิจกรรมทีจ่ ดั มีทงั้ งานนักเขียน พบนักอ่าน วงเสวนาวรรณกรรม วิจารณ์หนังสือ เปิดตัวหนังสือใหม่ การแสดงดนตรี ฉายหนัง ตัวอย่าง ฯลฯ นับเป็นสวรรค์ของคนรักหนังสือ และการอ่านอย่างแท้จริง จากผลสำ�รวจของงานในปี 2016 พบว่าราว 48% ของผูร้ ว่ มงานมาจากท้องถิน่ อืน่ ทีต่ อ้ งขับรถ เกินกว่าสองชั่วโมงเพื่อมาร่วมงาน ราว 40% ของ ผู้ ร่ ว มงานเข้ า พั ก ในโรงแรมและที่ พั ก ท้ อ งถิ่ น มีระยะเวลาเฉลี่ย 3.8 คืน เรียกได้ว่าอยู่กันจน เต็มอิ่ม เพราะงานจัดทั้งสิ้น 10 วัน คนเหล่านี้ ใช้จ่ายเพื่อซื้อหนังสือ ซื้ออาหารและเครื่องดื่ม ตลอดระยะเวลาที่มาเที่ยวงาน
ระยะเวลาเพียงสิบวันของงานเช่นนี้ อาจก่อ ให้เกิดผลดีทั้งในระดับชุมชนและระดับบุคคล ฟลอเรนซ์กล่าวถึงนักแสดงฝีมือดีคนหนึ่งจาก Royal Shakespeare Company (RSC บริษัท ผลิตภาพยนตร์และละครรายใหญ่ของอังกฤษ) นักแสดงรายนีเ้ ปิดเผยถึงแรงบันดาลใจทีท่ �ำ ให้เขา อยากเป็นนักแสดงว่า “ตอนเก้าขวบ แม่พาผมไป ร่วมงาน Hay Festival และผมได้เห็นอาร์เธอร์ มิลเลอร์ (Arthur Miller นักเขียนบทละครชื่อ ก้องโลกชาวอเมริกนั ) ทีง่ าน นัน่ เป็นจุดเปลีย่ นใน ชีวิตของผมเลย” ฟลอเรนซ์ยงั ให้ความเห็นว่าสำ�หรับเขา Hay Festival เป็นรูปแบบหนึ่งของ “องค์กรท้องถิ่น” ที่สำ�คัญมาก เพราะคนทำ�งานทุกคนล้วนเป็น คนในพื้นที่ การอยู่ร่วมกันเป็นชุมชนทำ�ให้เกิด สายใยเหนียวแน่นระหว่างกัน “ถ้าเราช่วยชุมชน ชุมชนก็จะช่วยเรา” โดยเขายกตัวอย่างการจัดงาน ในปี 2001 ทีเ่ กือบจะไม่เกิดขึน้ เพราะมีโรคระบาด ในปศุสตั ว์ “เราคิดว่าจะต้องล้มเลิกการจัดงานแล้ว แต่ชมรมเกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Farmers Club) ของเมืองมาหาเราและบอกว่า ‘ฟาร์มเรา ต้องปิดทำ�การ ถ้าพวกคุณล้มเลิกการจัดงาน เมืองเฮย์ของเราแย่แน่ๆ’ ดังนัน้ แทนทีจ่ ะเลือกไม่ จัดงานในปีนั้น เหล่าเกษตรกรกลับรวมตัวกันจัด บูธล้างรถและทำ�ความสะอาดรองเท้าแก่ผู้เข้า ร่วมงาน เพือ่ ให้คนเหล่านัน้ มาเทีย่ วและออกจาก เมืองเฮย์ไปอย่างไม่ตอ้ งกังวลว่าจะติดโรคไปด้วย กลายเป็นว่างาน Hay Festival เป็น ‘สมบัติร่วม’ ของชุมชนที่ทุกคนช่วยกันออกแรงรักษาไว้”
2: Fuji Rock เทศกาลดนตรี ที่ ส ร้ า ง วัฒนธรรมข้ามรุ่นของญี่ปุ่น
Fuji Rock คือเทศกาลดนตรีรอ็ กทีว่ า่ กันว่า “ดีทสี่ ดุ ” ของญี่ปุ่น และเดินทางมาครบ 21 ปีในปี 2017 งานจัดในหุบเขาที่ต้องใช้เวลาเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมงจากกรุงโตเกียว แต่ขาร็อกก็ไม่ยั่น เพื่อ ไปชมการแสดงจากศิลปินที่พวกเขารัก ไม่ได้ มากันแค่ศิลปินสัญชาติญี่ปุ่น แต่รวมถึงศิลปิน แนวหน้าของโลกจากฝั่งยุโรปและสหรัฐอเมริกา ด้วย (เช่น Oasis, Bjork, Eminem และ Red Hot Chili Peppers) ในแต่ละปี ผู้เข้าชมอย่างน้อย 1 แสนคนเข้าร่วม Fuji Rock ทีก่ นิ เวลาทัง้ สิน้ สามวัน Fuji Rock (และเทศกาลดนตรีอื่นๆ) เป็น เวทีขัดเกลาฝีมือนักดนตรี เพิ่มโอกาสให้ได้งาน CREATIVE THAILAND I 16
insidejapantours.com
ผลทางบวกของงานเทศกาล: กรณีศึกษาจาก 5 งานเทศกาล หลากรูปแบบทั่วโลก
ดีๆ หรือโอกาสไปทำ�งานต่างประเทศหากฝีมือ เข้าตาใครบางคน สำ�หรับนักดนตรีบางส่วน การแสดงดนตรีในงานเทศกาลเป็นรายได้หลัก สำ�หรับเลี้ยงครอบครัว เป็นเวทีอวดแนวดนตรี ใหม่ๆ ที่เพิ่งแต่งขึ้น อุตสาหกรรมดนตรีทุกวันนี้ ยังมักเปิดตัวอัลบัม้ ใหม่ของศิลปินในช่วงมหกรรม ดนตรีสำ�คัญๆ มหกรรมดนตรียังเป็นแหล่งรวม ฝีมอื นักออกแบบ ทีฝ่ ากความคิดและทักษะชัน้ สูง ไว้ในสื่อประชาสัมพันธ์ทั้งหลาย สำ�หรับชาวร็อก “วัฒนธรรม” ของงานดนตรี Fuji Rock คือความทรงจำ�ที่พวกเขาไม่เคยลืม มาซาฮิโระ ฮิดากะ (Masahiro Hidaka) ผู้ร่วม ก่อตั้งมหกรรมดนตรีร็อกแห่งชาติญี่ปุ่น กล่าวว่า อายุเฉลี่ยของผู้เข้าชมงาน Fuji Rock เพิ่มขึ้น ทุกปี จากวัยรุน่ ขาร็อก เติบโตไปมีครอบครัว ก็ยงั พาลูกมาดูคอนเสิร์ตด้วยกัน “ความฝันหนึ่งของ ผมคือการเห็นคน 3 รุ่นมาดู Fuji Rock ด้วยกัน มาดูดนตรีท่ีเขารักด้วยกัน” พ่อแนะนำ�ให้ลูกฟัง วงที่พ่อรัก เป็นการทำ�ให้ครอบครัวได้ใช้เวลา ร่วมกัน สร้างความเข้าใจซึง่ กันและกันผ่านดนตรี Fuji Rock ยังทำ�ให้เกิดมิตรภาพใหม่ๆ ใน หมู่คนรักดนตรีร็อก เป็น “วัฒนธรรม” อีกอย่าง ทีแ่ ข็งแรง ไซม่อน บารต์ซ (Simon Bartz) นักเขียน เคยระบุไว้ในหนังสือพิมพ์ The Japan Times ว่า “คนที่มาเที่ยว Fuji Rock ถ้ามาคนเดียว คุณก็จะ ได้เพื่อนใหม่ทันที มันเป็นเรื่องธรรมชาติเวลา มนุษย์อยู่ตามลำ�พัง พอเที่ยว Fuji Rock ด้วยกัน สักสามวัน คุณจะสร้างมิตรภาพกับคนใหม่ๆ อีก มากมาย นั่นเป็นหนึ่งในสิ่งดีที่สุดของ Fuji Rock เลยนะ”
4: Terra Madre เทศกาลอาหารที่สร้าง แรงกระเพื่อมเชิงนโยบายการเมือง
ไม่มีอีกแล้ว
ศาสตราจารย์ไซม่อน ชิบลิ (Simon Shibli) หัวหน้าศูนย์วิจัยด้านอุตสาหกรรมกีฬา (Sport Industry Research Centre) ของมหาวิทยาลัย เชฟฟีลด์ฮัลลัม (Sheffield Hallam University) กล่าวว่า “โอลิมปิกฤดูรอ้ นและฟุตบอลโลกคือสอง มหกรรมกีฬาที่ ‘ยึดครองพื้นที่สื่อ’ ได้มากที่สุด ในโลก เทศกาลกีฬาอื่นๆ อย่างฟุตบอลยูโรหรือ ซูเปอร์โบวล์ อย่างมากก็เป็นได้แค่ ‘อันดับสาม’ (Third Biggest) นี่ล่ะที่ทำ�ให้โอลิมปิกมีจุดขายที่ โดดเด่นสุดๆ สำ�หรับธุรกิจต่างๆ ทีต่ อ้ งการสร้าง ผลกำ�ไรให้ได้มากที่สุด และหน่วยงานที่ต้องการ สนับสนุนการจัดงาน” ถ้าจะงัดข้อกันจริงๆ มหกรรมโอลิมปิกยัง “ใหญ่ ” กว่ า ฟุ ต บอลโลกด้ ว ยซ้ำ � โอลิ ม ปิ ก ที่ ลอนดอนในปี 2012 มีผู้เกี่ยวข้องในการจัดงาน ทั้งสิ้น 8.2 ล้านคน (เทียบกับ 3.4 ล้านคนของ มหกรรมฟุตบอลโลกที่บราซิลในปี 2014) มี นักกีฬาเข้าร่วม 10,903 คน (736 คนที่บราซิล) มี ป ระเทศเข้ า ร่ ว มทั้ ง สิ้ น 204 ประเทศ (32 ประเทศที่ บ ราซิ ล ) และถ่ า ยทอดไปยั ง 220 ประเทศทั่วโลก (ข้อนี้บราซิลพอสู้เขาได้ เพราะ ถ่ายทอดไปยัง 219 ประเทศทั่วโลก) ตัวเลขต่างๆ เหล่านีบ้ อกอะไร มหกรรมกีฬา ระดั บ บิ๊ ก สร้ า งแรงกระเพื่ อ มทางเศรษฐกิ จ มหาศาลจากการจ้างงาน ไม่ใช่แค่ระหว่างช่วง จัดงาน แต่นบั เป็นปีๆ ก่อนงานจริงจะเริม่ เพราะ ต้องสร้างและจัดหาสิง่ อำ�นวยความสะดวกมากมาย เพื่อการนี้ (เช่น สนามกีฬา ห้องพักนักกีฬา รถ รับส่ง โรงอาหารนักกีฬา รวมถึงการจ้างงาน
bespoqe.com
3: มหกรรมโอลิมปิกฤดูร้อน ใหญ่กว่านี้
งานเทศกาลอาหารทั่วๆ ไปอาจจัดงานออกร้าน ขายอาหาร อวดผลผลิตใหม่ๆ ทางการเกษตร อวดฝีมือเชฟที่เข้าร่วมงาน แต่ไม่มีงานเทศกาล อาหารใดที่สร้างแรงกระเพื่อมทางสังคมได้เท่า งาน “อาหารเนิบช้า” Terra Madre Salone del Gusto งานเทศกาลอาหารระดับนานาชาติใน เมืองตูรินของอิตาลี ที่จัดโดยองค์กร Slow Food งาน Terra Madre แต่ละปี นอกจากการ ออกร้านขายอาหารแล้ว จุดขายที่ทรงพลังที่สดุ คือ เป็นงานเทศกาลอาหารทีร่ วมบุคลากรด้านนโยบาย ในสายงานอาหารระดับท้องถิ่นหรือระดับชาติ ตัวแทนและผูร้ ว่ มงานประมาณ 7,000 คน จาก 143 ประเทศทัว่ โลกมารวมกัน เพือ่ เข้าร่วมการประชุม และแสดงความคิดเห็นตามแนวคิดของงานในปี นั้นๆ พร้อมต่อยอดเป็นโครงการที่จะสร้างความ ตระหนักรูใ้ ห้คนทัง้ โลกรูจ้ กั การรับประทานอาหาร ที่ดี สะอาด และ “แฟร์” (Good, Clean and Fair Food for All) นั่นคือการสร้างความยั่งยืนในโลก ทรัพยากรอาหาร ทั้งนี้ แนวคิดของงานแต่ละปี จะเกีย่ วข้องกับธุรกิจการเกษตร รวมถึงปัจจัยทาง สังคมและวัฒนธรรมอื่นๆ ที่มีผลต่อการกิน วิคทอเรีย ทาลี-คอร์ปัซ (Victoria TauliCorpuz) ผู้ตรวจการพิเศษแห่งสหประชาชาติ
CREATIVE THAILAND I 17
ด้านสิทธิพลเมืองพืน้ ถิน่ (United Nations Special Rapporteur on the rights of indigenous peoples) กล่าวว่างานเทศกาลอาหาร Terra Madre ไม่ใช่เพียงเทศกาลขายอาหาร แต่เป็น เวทีที่สร้างผลกระทบเชิงการเมือง โดยคนที่มี บทบาทและอาจเป็ น ผู้ กำ � หนดอนาคตของ ทรัพยากรอาหารโลก รวมถึงอนาคตของสิทธิ มนุษยชน ผ่านสิ่งที่เราบริโภคทุกวัน
5: New York Fashion Week ความ
สำ�เร็จทีท่ �ำ ให้นวิ ยอร์กเป็นศูนย์กลางแฟชัน่ ของโลก
นิ ว ยอร์ ก แฟชั่ น วี ก จั ดปี ล ะสองครั้ ง ในเดื อ น กุมภาพันธ์และกันยายน เป็นหนึ่งใน 4 เทศกาล แฟชั่นหลักของโลก (จัดที่นิวยอร์ก ลอนดอน ปารีส และมิลาน) ผูเ้ ข้าร่วมคือแบรนด์เสือ้ ผ้าและ เครื่องประดับชั้นนำ�ของโลก เทศกาลแฟชั่นที่ นิวยอร์กนับเป็น “งานเทศกาลแฟชั่น” งานแรก ในโลก เริ่ ม จั ด ช่ ว งต้ น ทศวรรษ 1940 เพื่ อ “ประกาศศักดา” ผลงานของนักออกแบบเสื้อผ้า ชาวอเมริกัน เม็ดเงินกว่า 900 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หลัง่ ไหล เข้าสู่เมืองในช่วงการจัดงาน (ประมาณ 530 ล้าน เหรียญสหรัฐฯ เป็นการใช้จ่ายโดยตรงของผู้ เข้าร่วมงาน) ทำ�ให้เทศกาลนี้กลายเป็นหนึ่งใน เทศกาลสำ�คัญทีส่ ดุ ของมหานครนิวยอร์ก ทำ�เงิน ได้มากยิ่งกว่า New York City Marathon การ แข่งขันเทนนิสแกรนด์สแลม US Open หรือแม้แต่ การแข่งซูเปอร์โบวล์ในบางครั้ง งานแต่ละครั้งอวดโฉมเทรนด์แฟชั่นใหม่ ล่าสุด จากมันสมองนักออกแบบที่ร่วมกันทำ�ให้
huffingtonpost.com
wallpaper-gallery.net
บุคลากรทีเ่ กีย่ วข้อง) สร้างรายได้สงู ปรีด๊ จากยอด ขายบัตรเข้าชมกีฬา รายได้จากนักท่องเทีย่ วทีม่ า เที่ยวเมืองเจ้าภาพ และค่าโฆษณาในพื้นที่สื่อ ต่างๆ ที่ต้องการช่วงชิงความสนใจจากผู้ชม จำ�นวนมากที่สุดในโลก
นิวยอร์กกลายเป็นศูนย์กลางแฟชัน่ ของโลก ธุรกิจ แฟชั่นในเมืองนิวยอร์กมีมูลค่ากว่า 98 ล้าน เหรี ย ญสหรั ฐ ฯ มี ก ารจ้ า งงานกว่ า 175,000 ตำ�แหน่ง หรือราว 6% ของตลาดงานในเมือง นิวยอร์ก แคโรลิน บี. มาโลนีย์ (Carolyn B. Maloney) สมาชิกสภาคองเกรส เคยกล่าวถึงนิวยอร์กแฟชัน่ วีก ไว้วา่ “นิวยอร์กแฟชัน่ วีกส่งผลทางเศรษฐกิจอย่าง ใหญ่หลวงทีเดียว แฟชั่นเป็นมากกว่าสไตล์การ แต่งตัว มันเป็นธุรกิจขนาดยักษ์ที่ทำ�ให้เกิดการ จ้างงานที่จ่ายค่าตอบแทนสูง ชนชั้นกลางกว่า 180,000 คนมีงานดีๆ ทำ�เพราะธุรกิจแฟชั่น จะ เห็นได้ว่า สไตล์การแต่งตัวดีๆ ไม่เพียงทำ�ให้ นิวยอร์กเป็นมหานครทางแฟชั่น แต่ทำ�ให้เหล่า นิวยอร์กเกอร์มีงานทำ�ด้วย” ความสำ � เร็ จ ของงานเทศกาลแฟชั่ น แห่ ง นิวยอร์ก ทำ�ให้เมืองใหญ่แห่งนี้เป็น “ฮับ” ของ ธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่เป็นที่ตั้งสำ�นักงานใหญ่ ของบริษัทแฟชั่นชั้นสูงกว่า 900 แห่ง เช่น Anna Sui, Calvin Klein, Kenneth Cole, Marc Jacobs และอีกนับไม่ถ้วน อีกทั้งยังเป็นตลาดค้าปลีก เสื้อผ้าที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ (ยอดขายรวมต่อปี กว่า 15 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ) นอกจากนีน้ วิ ยอร์ก ยังเป็นแหล่งรวมของนิตยสารแฟชัน่ และความงาม ทีท่ รงอิทธิพลหลายต่อหลายฉบับ รวมถึงสถาบัน สอนการออกแบบชัน้ นำ�ของโลก โรงเรียนแฟชัน่ ดีๆ ล้วนรวมตัวกันอยู่ท่นี ่ี ทั้ง Parsons School of Design, Pratt Institute และ Fashion Institute of Technology
กรณีศกึ ษาของไทย: Fisherfolk in Bangkok งานเทศกาลอาหารทะเล จากชาวประมงพื้นบ้าน
มาดูกรณีศึกษาจากประเทศไทยบ้าง ที่เทศกาล ชื่อน่ารักอย่าง Fisherfolk in Bangkok ครั้งที่ 4 ตอน “เรือ่ งเล่าจากทะเล” ซึง่ ผูจ้ ดั เลือกใช้ค�ำ โปรย ว่า “เทศกาลอาหารทะเล เคล้าเสียงดนตรี และ เรื่องเล่าจากคนเลที่คุณวางใจ” เพิ่งจัดไปเมื่อ 16-17 ธันวาคม ที่ผ่านมา ยกทะเลใต้มาไว้กลาง กรุง ทีส่ วนครูองุน่ มาลิก สวนเล็กๆ ใจกลางกรุง ณ ทองหล่อ ซอย 3 รูปแบบการจัดงานก็เรียบง่าย แต่อาหาร ทะเลอร่อยและเป็นประสบการณ์เที่ยวเทศกาลที่ น่าประทับใจ คือมีการออกร้านขายอาหารทะเล
จากชุ ม ชนในพื้ น ที่ ภ าคใต้ สามารถเลื อ กซื้ อ อาหารทะเลสดๆ ไม่มีสารเคมีเจือปน เลือกกุ้ง หอยปูปลา แล้วคนขายจะปิง้ ย่างให้กนิ กันตรงนัน้ เลย เสิร์ฟพร้อมน้ำ�จิ้มรสเด็ด กินอาหารทะเลไป ฟังดนตรีไป สลับกับชมกิจกรรมบนเวที (ที่มีทั้ง การสาธิตทำ�อาหารโดยพ่อครัวและพิธีกรชื่อดัง และล้อมวงคุยกับชาวประมงพืน้ บ้านตัวจริงเสียง จริง ว่าจับปลาอย่างไรจึงจะยั่งยืนและปลอดภัย) คนขายอาหารทะเลในงานนีย้ ิ้มอวดฟันขาว พูดติดสำ�เนียงใต้กันทุกร้าน และทุกคนล้วน เป็น “ชาวประมง” หรือคนในครอบครัวประมง เดินทางมาจากจังหวัดสงขลา นครศรีธรรมราช ประจวบคีรีขันธ์ สตูล และตราด เพื่อนำ�เอา ผลผลิตจากท้องทะเลที่เขาจับด้วยตัวเอง มาให้ คนกรุงได้ลิ้มรส คุณจักรชัย โฉมทองดี ผู้ประสานงานด้าน นโยบายและรณรงค์ องค์กรออกซ์แฟม (Oxfam) ประเทศไทย หนึง่ ในผูจ้ ดั งานได้บอกเล่าเรือ่ งราว กว่าจะเป็น “งานเทศกาลอาหารทะเลปลอดภัย ใจกลางกรุง” ไว้ว่า “การจั ด เทศกาลอาหารทะเลของเรา เป็นการเปิดโอกาสให้ได้ย้อนกลับมาสัมผัสการ สื่อสารที่ทำ�ให้คนได้เจอกัน พูดคุย และสื่อสาร กับต้นทางจริงๆ หมายถึงระหว่างผู้บริโภคกับ ผู้ผลิต คนขายที่เห็นวันนี้ไม่ใช่แค่คนขาย เขาคือ คนจับปลาจริงๆ และทีเ่ ลือกจัดเทศกาลรูปแบบนี้ เพราะเป็นการทำ�ให้คนสองกลุม่ ได้มาเจอกัน ก็คอื ร้าน Fisherfolk ที่ไม่ใช่แค่ร้านขายอาหารทะเล แต่เป็นการรวมตัวกันของชาวประมงพื้นบ้าน ให้ได้มาเจอกับผู้ซื้อ กลุ่มเอ็นจีโอในพื้นที่จังหวัด CREATIVE THAILAND I 18
ต่างๆ ร่วมมือกับชาวประมงพื้นบ้าน ทำ�เป็นร้าน คนจับปลาขึน้ มา โดยการสนับสนุนของออกซ์แฟม ถามว่างานวันนี้ มีฝา่ ยไหนได้ประโยชน์บา้ ง ผมคิดว่าการมีกิจกรรมต่างๆ ช่วยทำ�ให้การ สื่อสารระหว่างกันง่ายขึ้น เพราะไม่ใช่มนุษย์ ทุกคนจะเป็น extrovert (กล้าแสดงออก พูดเก่ง เข้าสังคมเก่ง) เป็นนักพูด หรือเก่งไปหมด มนุษย์ บางคนอาจจะพูดน้อย แต่เขามีเรื่องราวที่จะ สื่อสารได้ผ่านการทำ�อาหาร เขาเล่าวิธีการทำ� อาหารของเขาได้ ถ้ามีคนถามนำ�ให้ เขาก็เล่าได้ พูดได้ งานเทศกาลที่จัดวันนี้เป็นเครื่องมือที่จะ ทำ�ให้คนเข้าใจกัน เราสนับสนุนชาวประมงที่เขาจับปลาแบบ ยั่งยืน ปลอดสาร คอนเซ็ปต์สำ�คัญมี 3 ข้อ คือ green / clean / fair ชาวประมงเลือกใช้เครื่อง มือจับเฉพาะปลาสายพันธุ์นั้นๆ ไม่ใช่จับมั่วไป หมด หรือไปจับสัตว์น้ำ�วัยอ่อน ต้องจับแบบไม่ ทำ�ร้ายทะเล อยู่คู่กับธรรมชาติ จับตามฤดูกาล ถ้าชาวประมงจับแบบนี้ ทะเลไทยจะอุดมสมบูรณ์ มาก จะอยูไ่ ปได้ชว่ั ลูกชัว่ หลาน และตัวชาวประมง เองก็จะอยู่ได้ อุตสาหกรรมทางทะเลขนาดใหญ่ทุกวันนี้ อาจจะใช้เรืออวนลาก ช้อนเอาทุกสิ่งทุกอย่างใน ทะเลขึ้นมา ปะการัง แมงกะพรุน ลากมาหมด จนทะเลจะกลายเป็นทะเลทราย แต่ถา้ จับปลาแบบ ยั่งยืน ทรัพยากรจะกลับมา คนนับล้านๆ คนที่ อยู่ตามแนวชายฝั่งจะอยู่ได้ ในขณะที่ผู้บริโภค ก็ได้กินของที่ตอบโจทย์ความต้องการ ความ ปลอดภัย ความคลีน ไร้สารพิษให้กังวลใจ
การเพาะเลีย้ งพืชและสัตว์ในน้�ำ (Aquaculture) ซึ่งมีเยอะมากในบ้านเรา ก็มีการใช้ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) เพือ่ ฆ่าเชือ้ แต่วา่ ชาวประมงพืน้ บ้าน เขาไม่ใช้ และไม่คุ้มทางเศรษฐศาสตร์ที่จะใช้ เขาเอาเรือเล็กออกไป 5-6 ชั่วโมง อย่างมากก็ ข้ามคืน กลับมาปุบ๊ เขานำ�ปลามาขายเลย จึงไม่มี ความจำ�เป็นต้องใช้ทงั้ ฟอร์มาลินและยาปฏิชวี นะ ใดๆ ทัง้ สิน้ แต่ประเด็นคือถ้าเขามาขายทีแ่ พปลา ปลาของเขาก็จะมาปนกับปลาที่มาจากเรือใหญ่ เทมากองรวมกัน แพปลาก็ใส่ฟอร์มาลินอยู่ดี เพื่อกันไม่ให้มันเน่าเสียเร็ว ชาวประมงพื้นบ้าน จับปลามาอย่างดี เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ ไม่ใช้สาร แต่พอมาส่งแพปลา ก็ถกู นำ�ไปปนกันอยูด่ ี ดังนั้นเราเลยจัดให้ชาวประมงพื้นบ้านมา รวมกลุม่ กัน มาขายตรงให้แก่รา้ นคนจับปลา แล้ว ร้านคนจับปลาส่งตรงถึงผู้บริโภคเลย หรือเป็น ซูเปอร์มาร์เก็ตทีแ่ บรนด์รบั รอง อย่างเลมอนฟาร์ม สุ ดท้ า ยก็ ไ ด้ ร าคาที่ แ ฟร์ ไ ปถึ ง มื อ ผู้ ผ ลิ ต คื อ ชาวประมงพื้นบ้าน วิธีที่เราทำ� โดยไม่ต้องใช้ฟอร์มาลิน ก็คือ หนึง่ อัดน้�ำ แข็ง สอง ฟรีซมาเลย วิธนี ที้ างเลมอน ฟาร์มพิสูจน์แล้ว ว่าฟรีซที่ -16 องศา จะอยู่ได้ 240 วัน นีว่ นั นีเ้ ราก็ลองนำ�เอามาให้เชฟทำ�ดู แล้ว กินเลย ฟรีซในตู้เย็นบ้านเราก็เก็บได้เป็นเดือนๆ อย่างผู้มาร่วมน้องมางานวันนี้ก็จะได้กินอาหาร ทะเล โห สดๆ เลย อยากกิน ซื้อไปหลายกิโล ไม่มีทางกินหมด ยังไงเราก็ต้องไปฟรีซอยู่ดี สู้ให้ เขาฟรีซมาจากทะเลเลยไม่ดีกว่าเหรอ นั่นล่ะดี ที่สุด สำ�หรับงานเทศกาลนี้ เราอยากสื่อสารว่า ปลาแช่แข็งอร่อยได้แน่นอน มันขัดกับความเชื่อ ของคนทั่วไป แต่เราพยายามสื่อสารว่าเพราะ อะไรจึงเป็นอย่างนั้น งานนี้เรานำ�ปลาแช่แข็งมา ทำ�อาหาร ร้านคนจับปลาตอนนี้เราก็ขายปลาแช่ แข็งเป็นหลัก เพราะว่าถ้าไม่ใช้วธิ นี ี้ เรามองว่ามัน ใช้ไม่ได้จริง เพราะเรือ่ งขนาดทางธุรกิจ เรายังทำ� ไม่ได้ ถ้าจะขายสด การขนส่ง (Logistics) ต้อง มหากาฬกว่านี้อีก ก่อนหน้านีค้ นก็บอกว่า ปลานีต่ อ้ งสดๆ ห้าม แช่แข็ง คือถ้าจับมาจากทะเลแล้วกินเลยนี่เรื่อง หนึ่งนะ แต่ในความเป็นจริงแล้ว บ้านไม่ได้อยู่ ใกล้ทะเลนี่ ถึงบ้านอยู่ใกล้ทะเลคุณก็ไม่ได้กิน การอยากกินปลาสดๆ บางทีมันเป็นมายาคติ ที่ เราอยากจะทำ�ให้หายไป
การจัดงานเทศกาลครั้งนี้ เราอยากสื่อสาร เรือ่ งนี้ เพือ่ จะสือ่ ความเป็นคนจับปลาให้มากทีส่ ดุ ผ่านกิจกรรมต่างๆ กิจกรรมทำ�อาหาร เราก็สอ่ื ว่า ปลาแช่แช็งหรืออาหารของชาวประมงพืน้ บ้านนัน้ ความสดต่างจากทีเ่ ราไปซือ้ ยังไง นีค่ อื ข้อความที่ เราอยากสื่อ ว่าปลาแช่แข็งก็อร่อยได้ เป็นการ สร้างความเข้าใจ ให้มีเรื่องราว มีความเป็นมา จำ � นวนชาวประมงที่ เ ข้ า ร่ ว มทั้ ง หมดใน โครงการมีทั้งหมด 500 ครัวเรือนโดยประมาณ โครงการนีม้ อี ายุ 2 ปีแล้ว ส่วนการจัดงานเทศกาล Fisherfolk ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 4 เราจัดอย่างน้อย ปีละครัง้ ถ้าปีไหนจัดสองครัง้ ก็เพราะคนเรียกร้อง และทุกคนพร้อม ตอนนี้ภาคใต้น้ำ�ก็เริ่มท่วมแล้ว ชาวประมงเขาก็จะเดินทางมากันลำ�บาก จับปลา หน้าอืน่ ก็ล�ำ บาก คือต้องจับปลายปี ถ้าน้�ำ ไม่ทว่ ม และมีของเยอะ ก็อาจจะจัดช่วงต้นปีอีกครั้งหนึ่ง สุ ด ท้ า ยแล้ ว การทำ � โครงการนี้ ทำ � ให้ เ กิ ด ราคา อาหารทะเลที่เป็นธรรม คือราคาที่ชาวบ้านได้ ประโยชน์ กำ�ไรจากร้านขายถูกแบ่งปันลงไปให้ คนที่อยู่ต้นทาง คืนสู่ธรรมชาติด้วย นับเป็น กิจการเพือ่ สังคม (Social Enterprise) อย่างเต็มตัว” จะเห็นได้ว่า “งานเทศกาล” เป็นมากกว่า งานสนุ ก ๆ แต่ เ มื่ อ คนจำ � นวนหนึ่ ง ที่ รั ก ในสิ่ ง เดียวกัน มารวมตัวกัน ทำ�กิจกรรมที่ทั้งสนุกและ สร้างสรรค์ ทำ�ให้เกิดการสร้างความสัมพันธ์ ระหว่างมนุษย์ ทั้งในระดับชุมชนเล็กๆ ไปจนถึง ระดับนานาชาติ งานเทศกาลจึงมีส่วนช่วยทำ�ให้ ชุมชนนั้นๆ “แข็งแรง” ขึ้น เพราะเป็นแหล่งรวม ของคนทีค่ ดิ อะไรเหมือนๆ กัน (และบางเทศกาล ก็ต้องแข่งกันเพื่อให้โดดเด่นที่สุด อย่างงานแข่ง กีฬาหรืองานเทศกาลแฟชั่น) ผลดีของงานเทศกาลทัง้ หลาย จึงย่อมไม่ใช่ แค่การทำ�เงินจำ�นวนมหาศาล แต่สิ่งที่ได้รับจาก “งานเทศกาล” จะถูกนำ�ไปต่อยอด อ้างอิง ปรับใช้ เพื่อสร้างผลงานที่จะช่วยขับเคลื่อนสังคมต่อไป อีกได้อย่างไม่รู้จบ
CREATIVE THAILAND I 19
ที่มา: บทความ “Community Festivals-Big Benefits, But Risks, Too” โดย Eliza Grames & Mary Vitcenda จาก extension.umn.edu / บทความ “Festival Attendance and the Development of Social Capital” โดย Charles Arcodia PhD และ Michelle Whitford PhD จาก tandfonline.com / บทความ “From Glyndebourne to Glastonbury: The Impact of British Music Festivals” โดย Emma Webster และ George McKay จาก ahrc.ac.uk / บทความ “Fuji Rock Festival” จาก japantimes.co.jp / บทความ “Glastonbury’s Festival Economics Signals Hope for Entrepreneurial Spirit.” โดย Michael B. Duignan จาก theconversation.com / บทความ “How the Arts Impact Communities” โดย Joshua Guetzkow จาก princeton.edu / บทความ “Is There a Future for Fuji Rock?” โดย Kunihiro Miki จาก timeout.com / บทความ “Music Festivals’ Impact on Life in Britain” จาก uea.ac.uk / บทความ “New York Fashion Week Has a Huge Economic Impact in the Big Apple” จาก azureazure.com / บทความ “Rain No Pain for Japanese Rock Festival” โดย Brady Haran และ Kylie Pentelow จาก bbc.com / บทความ “Report Outlines the Economic Impact of Fashion Week” โดย Holly Dutton จาก rew-online.com / บทความ “Rio Olympics 2016: Economic Gain or Loss?” โดย Harriet King จาก worldfinance.com / บทความ “Six Factors Driving the Massive Growth of Music Festivals” โดย Trips Reddy จาก umbel.com / บทความ “Terra Madre Salone del Gusto 2016 Concludes with a Wave of Positive Energy” จาก slowfood.com / บทความ “The Economic Impact of the Olympics” จาก manningnapier.com / บทความ “The Economic Impacts of NYFW” โดย Kristopher Fraser จาก fashionunited.com บทความ “The Economics of Music Festivals” โดย Kelsey Clark จาก huffingtonpost.com / บทความ “The Food of Love: How Festivals Support Local Communities” โดย Mark Blayney Stuart จาก aatcomment.org.uk / บทความ “The Impact of Events on Host Areas Tourism Essay” จาก ukessays.com / บทความ “The Importance of the Social Impacts of Events” โดย Sinead O’Mahony จาก cuckoo.ie / บทความ “The Surprising Ways That Music Festivals Are Affecting Society” โดย Adam De Gree จาก guff.com / บทความ “The Ten Most Iconic Music Festivals in the World” โดย Helen Armitage จาก theculturetrip.com / บทความ “Throwback Thursday: 20 Years of Japan Fuji Rock Festival” โดย Juan Alderete จาก pedalsandeffects.com / บทความ “Understanding the Social Impacts of Festivals on Communities” โดย Katie Elizabeth Small จาก researchdirect.uws.edu.au / บทความ “What Is the Economic Impact of Hosting the Olympics?” โดย Jennifer Wil s จาก investopedia.com
Insight : อินไซต์
เรื่อง: พัณณิตา มิตรภักดี และ ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ
แม้จะเป็นเพียงเมืองเล็กๆ ทางตอนเหนือของประเทศฝรั่งเศส แต่ลีลล์ (Lille Metropole) ก็ได้รับเลือกจาก World Design Organization ให้เป็น “เมืองหลวงแห่งการออกแบบโลกประจำ�ปี 2020” จากการเสนอชื่อเข้าชิงภายใต้หัวข้อ “Eldorado: the greatest design experiment” (เอลโดราโด้: การทดลองด้านการออกแบบที่ยิ่งใหญ่ที่สุด) ที่มุ่งเน้นให้การออกแบบ เป็นหัวใจของการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของเมือง เมืองหลวงแห่งการออกแบบโลก หรือ World Design Capital เป็นโครงการทีจ่ ดั ขึน้ โดยองค์กร การออกแบบโลก (WDO: World Design Organization) หรือที่ก่อนหน้านี้รู้จักกันในชื่อ สมาคมออกแบบอุตสาหกรรมนานาชาติ (ICSID: International Council of Societies of Industrial Design) เพื่อส่งเสริมให้เมืองต่างๆ ทั่วโลก ตระหนักถึงความสำ�คัญของการออกแบบในฐานะ เครือ่ งมือทีช่ ว่ ยสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม โดยจัดขึ้น ต่อเนือ่ งทุกๆ สองปีตงั้ แต่ปี 2008 เมืองหลวงแห่ง การออกแบบโลกที่ผ่านมา ได้แก่ ตูริน (2008) โซล (2010) เฮลซิงกิ (2012) เคปทาวน์ (2014) ไทเป (2016) เม็กซิโกซิตี้ (2018)
สำ�หรับเกณฑ์ในการคัดเลือก คณะกรรมการ จะมองหาเมืองที่ประสบความสำ�เร็จในการนำ� การออกแบบเข้ามาใช้ในการแก้ปญั หาและพัฒนา เมืองในบริบทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพชีวิต ของพลเมือง การปรับปรุงสิ่งแวดล้อม ส่งเสริม วัฒนธรรม ไปจนถึงเสริมสร้างความแข็งแกร่งทาง เศรษฐกิจ เมืองที่ได้รับยกย่องเป็นเมืองหลวง แห่งการออกแบบโลกแต่ละครั้ง จะจัดกิจกรรม เพื่อนำ�เสนอแนวทางการพัฒนานโยบายและ นวัตกรรมต่างๆ ของเมืองตลอดปี เพื่อสะท้อน ให้เห็นการนำ�วิธีคิดเชิงออกแบบเข้ามาใช้ในการ จัดการกับความท้าทายที่เกิดขึ้น ซึ่งนอกจากจะ เป็นการสร้างภาพลักษณ์ใหม่ให้เป็นที่รู้จักใน ระดับสากลในฐานะเมืองศูนย์กลางแห่งความ CREATIVE THAILAND I 20
สร้างสรรค์และงานออกแบบแล้ว โครงการนี้ยัง เป็นการเสริมสร้างการพัฒนาเศรษฐกิจฐานความรู้ (knowledge-based economy) ดึงดูดการ ลงทุนและบุคลากรสร้างสรรค์ (creative people) เข้ามาในประเทศอีกด้วย สำ�หรับการเสนอชือ่ World Design Capital 2020 ครั้งนี้ มีเมืองที่เสนอชื่อเข้าชิงตำ�แหน่ง ทั้งหมด 5 เมือง ก่อนที่จะประกาศชื่อผู้เข้ารอบ คัดเลือกเหลือเพียง 2 เมือง คือลีลล์และซิดนีย์ จนเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2017 คณะกรรมการจึง ได้ ป ระกาศให้ ลี ล ล์ เ ป็ น เมื อ งหลวงแห่ ง การ ออกแบบโลกปี 2020 ซึ่งนับว่าเป็นเมืองแรกของ ฝรั่งเศสที่ได้รับตำ�แหน่งนี้ “การเสนอชื่อครั้งนี้ เมืองลีลล์น�ำ เสนอจุดแข็งด้านมรดกทางประเพณี
flickr.com/photos/dronepicr
สร้างสรรค์ ควบคูไ่ ปกับการออกแบบโดยมีมนุษย์ เป็ น ศู น ย์ ก ลาง (human-centred design thinking) เข้ามาใช้ในระดับเมือง” Prof. Mugendi M’Rithaa ประธานองค์กรการออกแบบโลกและ หนึ่งในคณะกรรมการประจำ�ปี 2020 กล่าว หลังจากการตกต่ำ�ของอุตสาหกรรมอย่าง ถ่านหินและสิ่งทอในช่วงปลายทศวรรษที่ 1970 นัน้ เมืองลีลล์ได้ปรับทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยมุง่ เน้นไปทีภ่ าคบริการเป็นหลักและกลายเป็น จุดหมายปลายทางด้านการท่องเทีย่ วทีส่ �ำ คัญแห่ง หนึง่ ในยุโรป จนได้รบั การขนานนามว่า “เมืองแห่ง ศิลปะและประวัติศาสตร์ (City of Art and History)” และต่อมาในปี 2014 สหภาพยุโรปยัง ได้ยกย่องให้ลลี ล์เป็น “เมืองหลวงทางวัฒนธรรม ของยุโรป (European Capital of Culture)” คู่กับเมืองเจนัว (Genua) ของอิตาลีอีกด้วย แม้ว่าจะมีประชากรแค่ราวๆ 2.1 ล้านคน แต่ลีลล์ก็มีประชากรคนหนุ่มสาวที่อายุน้อยกว่า 25 ปี สูงถึง 36 เปอร์เซ็นต์ ทำ�ให้เมืองมีชีวิตชีวา และไม่หยุดนิ่ง ประกอบกับเป็นเมืองวัฒนธรรม เก่าแก่ และมีนักออกแบบมากกว่า 1,600 คน ส่ง
ผลให้เมืองมีความพร้อมที่จะพัฒนาโครงการที่ ขับเคลื่อนด้วยการออกแบบ (Design-driven projects) และสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาค ส่วนในเมือง ในช่วงเวลาที่ดำ�รงตำ�แหน่งเมืองหลวงแห่ง การออกแบบนี้ ลีลล์วางแผนที่จะจัดกิจกรรม ทั้งหมด 4 ครั้ง บนแนวคิดจากการตั้งคำ�ถามว่า ‘การออกแบบคืออะไร?’ ‘การออกแบบได้เปลีย่ น สังคมและแคว้นของเราอย่างไรบ้าง?’ ‘และเราจะ นำ�ผลตอบรับจากโครงการพัฒนาต่างๆ ทั่วโลก มาช่วยพัฒนาเมืองของเราให้เป็นเมืองดีทสี่ ดุ เท่า ที่จะเป็นได้อย่างไรบ้าง?’ นอกจากนี้ ยังได้มีการ จัดตั้งกลุ่มที่เรียกว่า “Republic of Design” ซึ่ง ประกอบด้วยกลุม่ นักมานุษยวิทยา นักสังคมวิทยา ประชาชน นักวางแผนเมือง (urban planners) ผู้นำ�ชุมชน และอื่นๆ เพื่อประสานความร่วมมือ จากทุกภาคส่วน และดึงทักษะที่หลากหลายของ แต่ละฝ่ายให้มาร่วมกันระดมความคิดเพื่อสร้าง เป็นโครงการต้นแบบที่เกิดขึ้นได้จริงต่อไป การนำ � เสนอโครงการด้ ว ยแผนงานที่ สร้างสรรค์และหวังผลลัพธ์ในระยะยาวของลีลล์ CREATIVE THAILAND I 21
ในครั้งนี้ ทำ�ให้เอาชนะเมืองใหญ่อย่างซิดนีย์ เมื อ งหลวงของรั ฐ นิ ว เซาท์ เ วลส์ ประเทศ ออสเตรเลีย ซึง่ นำ�เสนอชือ่ ภายใต้หวั ข้อ “Inclusive. Resilient.” (การมีส่วนร่วม และความยืดหยุ่น) ไปได้ โดยตัวแทนคณะกรรมการซึ่งเดินทางไป สำ�รวจเมืองผู้เข้าชิงในสนามจริงกล่าวว่า ซิดนีย์ นัน้ ได้รบั แรงผลักดันอย่างแข็งขันจากภาคเอกชน ในหลายระดับ แต่ก็ยังขาดการสนับสนุนอย่าง จริงจังจากภาครัฐ ซึ่งนับว่าเป็นปัจจัยสำ�คัญที่จะ รับรองความสำ�เร็จในการดำ�เนินโครงการ
ติดตามความเคลือ่ นไหวได้ท่ี wdo.org และ Facebook: World Design Organization ทีม่ า: บทความ “Lille Metropole named World Design Capital 2020” จาก wdo.org / บทความ “The History of Lille” จาก en.lil etourism.com / บทความ “Lille Metropole Named World Design Capital 2020” (15 ตุลาคม 2017) จาก dexigner.com / wdo.org / บทความ “Sydney loses bid for 2020 World Design Capital” (20 ตุลาคม 2017) โดย Kirsty Sier จาก architectureanddesign.com.au / บทความ “Lille named World Design Capital 2020” (27 ตุลาคม 2017) จาก nordfranceinvest.com
Creative Startup : เริ่มต้นคิด
เรื่อง: วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ ภาพ: ชาคริต นิลศาสตร์
การบันทึกความทรงจำ�มีหลายวิธี บางคนชอบเขียนบันทึก บางคนชอบถ่ายภาพ ในขณะที่บางคนชอบ “สเก็ตช์ภาพ” เพื่อ บันทึกความทรงจำ� ซึง่ หากเลือกอย่างหลัง ก็จ�ำ เป็นต้องใช้ทงั้ เวลาและความตัง้ ใจในการเลือกเก็บรายละเอียดทีค่ วรค่าแก่การ วาดเก็บบันทึก สิ่งเหล่านี้ไม่ต่างจากการทำ�ธุรกิจ ที่ต้องอาศัยเวลาและการเลือกใช้บทเรียนเพื่อนำ�มาพัฒนาให้ธุรกิจเติบโต ไปได้อย่างมั่นคง เหมือนเส้นทางการเติบโตของ Just Sketch ธุรกิจสเก็ตช์ภาพที่หลายคนมองว่าเป็นเพียงงานอดิเรก แต่สองสตาร์ทอัพชาวไทยได้ทำ�ให้การสเก็ตช์ภาพกลายเป็นธุรกิจสร้างรายได้ที่ไปได้ไกลในสิงคโปร์ CONNECT THE DOTS “Sketch Design Solution” น่าจะเป็นคำ�อธิบายของสตาร์ทอัพน้องใหม่ “Just Sketch” ของสองสามีภรรยาผู้ก่อตั้ง “คุณโอม-อุรุดง จงธนาตระกล” และ “คุณต่าย-ปารณีย์ สงวนพงษ์” ได้เหมาะสมที่สุด เพราะทั้งคู่ตั้งใจว่า จะทำ�ทุกอย่างเกี่ยวกับการสเก็ตช์ให้ขายได้ ตั้งแต่การจัดเวิร์กช็อปสอนวาด ภาพสเก็ตช์ รับสเก็ตช์ภาพบนผนัง ขายโปรดักส์ทเี่ กิดจากภาพสเก็ตช์ตา่ งๆ อาทิ โปสการ์ด แก้วน้�ำ เสือ้ ยืด กระเป๋าผ้า งานไม้ฉลุลายสเก็ตช์ เป็นต้น โดย ผลงานทั้งหมดที่ Just Sketch เคยทำ� ได้ชิมลางลุยตลาดสิงคโปร์มาตั้งแต่ ปี 2014 จากเริ่มแรกที่ทั้งคู่ไม่ได้ตั้งใจว่าจะลาออกจากงานประจำ�ที่มั่นคง และทำ�มาเป็น 10 ปีที่สิงคโปร์ แล้วหันมาเริ่มต้นธุรกิจเป็นของตัวเอง
“เริม่ ต้นตัง้ แต่ตา่ ยลาออกจากงานโรงแรมก่อน แล้วผมตัง้ ใจจะย้ายงาน เพื่ออัพเงินเดือน ผมทำ�งานออกแบบภายใน ซึ่งที่สิงคโปร์ค่อนข้างการค้า มาก เลยไม่ได้ชอบทำ�ที่สุด แล้วอีกส่วนหนึ่งก็มาจากที่ผมพยายามคิดหา อะไรที่เราสองคนช่วยกันได้ และเริ่มเห็นว่าเพจ Just sketch ที่ผมลงผลงาน ตัวเองไว้มาตัง้ แต่ปี 2014 ค่อยๆ โตขึน้ ” คุณโอมกล่าว “มีวนั หนึง่ ทีโ่ อมอยาก ได้เสื้อลายสเก็ตช์ของตัวเอง ก็ไปสั่งปรินต์มา 1 ตัว แล้วใส่ถ่ายรูปโพสต์ จากนั้นมีคนมาออร์เดอร์เต็มไปหมด เราก็เลยลองทำ�ดู ปรากฏว่ามันก็ไม่ แย่นะ แล้วพอลองทำ�โปรดักส์อื่นๆ แล้วเอาไปฝากขาย ก็พบว่านอกจาก เพื่อนเราซื้อ คนอื่นก็ซื้อด้วย” คุณต่ายเสริม
CREATIVE THAILAND I 22
REFINE THE LINE เพราะเชื่อว่าทุกอย่างคือการทดลอง คุณโอมและคุณต่ายจึงค่อยๆ ทดลอง ทำ�และปรับธุรกิจของตัวเองอยูเ่ รือ่ ยๆ ส่วนหนึง่ คือการค้นหาตัวตนของทัง้ คู่ อีกส่วนคือการค้นหาตลาดและลูกค้าทีเ่ หมาะสม ส่วนเคล็ดลับสำ�คัญทีท่ �ำ ให้ Just Sketch ยังคงเดินหน้าอย่างสู้ไม่ถอยแม้จะเพิ่งเริ่มต้นธุรกิจได้ไม่นานก็ คือ การไม่ปิดกั้นโอกาสที่เข้ามา และพร้อมเดินหน้าเข้าหาการเรียนรู้อย่าง ไม่หยุดยั้ง “ทุกคนจะบอกว่าออกมาทำ�ธุรกิจเองแล้วจะมีอิสระในการใช้ชีวิต แต่ เขาไม่รู้หรอกว่าเราซัฟเฟอร์ขนาดไหน ไหนจะทำ�ออกมาแล้วไม่ปัง อย่าง ตอนที่เราทำ�ดีไซน์แก้ว ก็ไปหาผู้ผลิตในไทย สุดท้ายได้แก้วตะปุ่มตะป่ำ� ร้อยกว่าใบ แต่ผมว่าทุกสิ่งทุกอย่างมันคือการทดลองไปเรื่อยๆ ทุกวันนี้ก็ยัง ทดลองอยู่ ผมจะเขียนมายด์แมพว่า ปีๆ หนึ่งมันต้องเกิดอะไรขึ้นบ้าง แล้วก็รีวิวทุกปี อย่างตอนนี้เราทำ�หลักๆ อยู่ 3 อย่าง คือ 1. ขายสินค้าที่ เกี่ยวข้องกับภาพสเก็ตช์ (merchandise) 2. ทำ�งานตามที่ลูกค้าต้องการ (made to order) และ 3. จัดเวิร์กช็อป (workshop) ในแพลตฟอร์มของ Airbnb ในฟีเจอร์ใหม่ที่ชื่อว่า Experience ผมได้ลองสมัครเป็นโฮสต์จัด เวิรก์ ช็อปดู ก็มคี นมาเรียน ซึง่ มันก็เป็นการขยายตลาดของเราด้วย อีกอย่าง คือ ถ้ามันมีโอกาสอะไรเข้ามาผมก็จะคว้าไว้หมดเลย” คุณโอมเล่า แม้อาจจะดูแปลกสักหน่อยทีส่ องคนไทยจะเป็นเจ้าแรกทีบ่ กุ เบิกการจัด เวิร์กช็อปสอนวาดภาพสเก็ตช์ทัศนียภาพของเมือง พร้อมเป็นไกด์พาเที่ยว ชมประเทศสิงคโปร์ให้กบั นักท่องเทีย่ ว แต่สงิ่ นีก้ ลับเป็นจุดเด่นทีแ่ ตกต่างเมือ่ เทียบกับเวิรก์ ช็อปทีจ่ ดั โดยคนสิงคโปร์เอง “ผมเชือ่ ว่าคนไทยมีเซอร์วสิ มายด์ ยิม้ แย้ม คนสิงคโปร์จะเครียดๆ ไม่ตลก เราจะขำ�กว่า ผมก็จะพาเขาไปเทีย่ ว ไปดูนั่น เล่านี่ และสุดท้ายก็ไปนั่งวาดรูปด้วยกัน ปัญหาในการสอนคือ จะทำ�ยังไงให้มันง่าย ผมจึงคิดว่า มันไม่ใช่สอนเพื่อให้เขาวาดเป็นหรือ วาดเหมือน แต่วาดเพื่อความสุข ผมว่าแบบนี้สนุกกว่า ไม่ต้องเพอร์เฟ็กต์ ทุกอย่าง เพราะคุณไม่สามารถพกยางลบไปได้ทุกที่”
DEFINE THE FUTURE ในปีนี้ ทั้งคู่ต้ังใจกลับมาลุยตลาดเมืองไทยอีกครั้ง โดยเริ่มต้นจากการเข้า ร่วมเป็นหนึง่ ในผูป้ ระกอบการทีน่ �ำ ผลงานมาแสดง ในเทศกาลงานออกแบบ กรุงเทพฯ 2561 (Bangkok Design Week 2018) เพื่อหวังให้ Just Sketch เป็นทีร่ จู้ กั ของลูกค้ากลุม่ ใหม่ในอนาคต “เราก็คาดหวังให้คนรูจ้ กั ผลงานของ เรามากขึน้ เป็นโอกาสให้เราไปเจอกับตลาดทีก่ ว้างขึน้ และต่อให้ไม่ได้อะไร จากการขาย เราก็ได้มาเจอผูป้ ระกอบการอีกหลายๆ คนทีเ่ พิง่ เริม่ เหมือนเรา หรือบางคนมีสินค้าเข้าไปขายตามร้านต่างๆ แล้ว เขาก็แนะนำ�ว่าความจริง มันควรจะเป็นอย่างไร เราได้อะไรเยอะจากการมางานนี้ นอกจากความรู้ที่ ได้จาก TCDC เราก็ได้คอนเน็กชั่นดีๆ ด้วย” คุณต่ายกล่าวทิ้งท้าย แม้ว่าตอนนี้ Just Sketch จะกำ�ลังอยู่ในช่วงค้นหาช่องทางที่เหมาะสม สำ�หรับการตีตลาดในเมืองไทย แต่ความหวังครั้งใหม่ของทั้งคู่ได้เริ่มต้น ขึ้นแล้ว แค่เพียงรอดูว่า ความพยายามของพวกเขาจะพา Just Sketch เดินหน้าต่อไปในทิศทางใด
CREATIVE STARTUP TIPS • Don’t just Sell Things, Sell Stories
“Sketch Your Good Memory Back” คือสโลแกนของแบรนด์ Just Sketch หลังจาก พบว่า การขายสินค้าที่บรรจุเรื่องราวในอดีตผ่านการสเก็ตช์ภาพลงในสินค้าต่างๆ สามารถดึงดูดลูกค้าในสิงคโปร์ทถ่ี วิลหาอดีตเก่าๆ (Nostalgia) ได้เป็นอย่างดี “ลูกค้า ไม่ได้มองว่า นีค่ อื กระดาษหนึง่ แผ่นหรือเสือ้ หนึง่ ตัว แต่เขามองว่ามันคือศิลปะ และมัน เล่าเรือ่ งในอดีตของเขาได้ มันมีคณุ ค่าต่อจิตใจ อีกอย่างคือ ตลาดสิงคโปร์เป็นตลาด เล็กก็จริง แต่เขามีก�ำ ลังซือ้ นัน่ หมายความว่า ถ้าเราทำ�แล้ว เขาถูกใจ เขาก็ไม่มปี ญั หา เรือ่ งราคา”
• Don’t Be Afraid of Failure
“เราไม่ได้กลัว ถ้าจะล้มอีกครัง้ ” คือความในใจของทัง้ คู่ หลังจากทีเ่ คยลองทำ�สินค้า ขายในเมืองไทยครัง้ แรก แต่กไ็ ม่ปงั เหมือนทีต่ ง้ั ใจไว้ “จุดทีเ่ ราไปขายมันไม่ใช่จดุ ทีท่ �ำ ให้ มันขายได้ เราไม่ได้รจู้ กั กลุม่ เป้าหมายของเราว่าเป็นใคร สุดท้ายมันเฟล เราก็เลยกลับ สิงคโปร์ แต่ครัง้ นีเ้ รากลับมาใหม่ เรามีประสบการณ์มากขึน้ และพร้อมจะเรียนรู”้
• Aim High and Keep Going
“ตัง้ ความหวังให้สงู เริม่ ให้เล็ก แล้วพยายามต่อไป” คือสูตรไม่ลบั ทีส่ ตาร์ทอัพสำ�เร็จ กันมานักต่อนัก “จริงๆ ผมก็มคี วามฝัน ผมอยากเห็นสินค้าของผมขายใน 7-Eleven ผมรู้นะว่ามันยาก แต่เราต้องมีเป้าหมายใหญ่ และการทำ�สตาร์ทอัพ สิ่งสำ�คัญคือ Crazy Idea ทีต่ อ้ งคิดออกมาให้เยอะทีส่ ดุ แล้วค่อยมาฟิลเตอร์เอาว่ามันเอาไปพัฒนา ต่อได้หรือไม่” พบกับผลงานของ Just Sketch ได้ในเทศกาล Bangkok Design Week 2018 วันที่ 27 มกราคม - 4 กุมภาพันธ์ 2561 รายละเอียดเพิ่มเติม www.bangkokdesignweek.com และติดตามความเคลือ่ นไหวได้ท่ี Facebook : Just Sketch / Instagram : ohmjustsketch / Website : just-sketch.com CREATIVE THAILAND I 23
Creative City : จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
เรื่อง: ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ และ วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ ภาพ: ชาคริต นิลศาสตร์
ทุกที่ในเมืองล้วนบรรจุเรื่องราวเฉพาะตัว และเป็นธรรมดาที่วันเวลาจะนำ�พาผู้คนหน้าใหม่ ที่พกเอาความหวังและความฝัน มาเติมเรื่องราว ความหมาย และคุณค่าใหม่ให้แก่พื้นที่ ในโอกาสที่ TCDC กำ�ลังเตรียมจัดงานเทศกาลออกแบบกรุงเทพฯ 2561 หรือ Bangkok Design Week 2018 เทศกาล ที่จะสร้างเครือข่ายและแรงกระเพื่อมให้กับเมือง พร้อมกับเฉลิมฉลองให้กับพลังสร้างสรรค์ของกรุงเทพฯ ผ่านกิจกรรมจาก ผูร้ ว่ มจัดงานจากทุกภาคส่วนบนพืน้ ทีม่ ากกว่า 50 จุด เราจึงคัดเลือก 3 โลเคชัน่ เก่าแก่ในกรุงเทพฯ ทีไ่ ม่เพียงรักษามนต์เสน่ห์ จากวันวานไว้ได้ แต่ยงั เติมฟังก์ชนั่ การใช้งานใหม่ให้สอดรับกับยุคสมัย ซึง่ จุดประกายให้เรามองเห็นเรือ่ งของ ‘ความสัมพันธ์’ ระหว่างพื้นที่กับผู้คน ในมุมมองที่ต่างออกไป CREATIVE THAILAND I 24
นอนพักในโรงหนัง แม้จะเกิดไม่ทนั แต่เชือ่ ว่าชือ่ ของ “โรงหนังปริน๊ ซ์ ราม่า” น่าจะเป็นทีค่ นุ้ หูคนรุน่ ใหม่อยูบ่ า้ ง แต่หาก ถามถึงที่ตั้งหรือเรื่องราวเกี่ยวกับที่นี่ คงยากที่จะ ได้คำ�ตอบ เพราะหลังจากกิจการมีอันต้องปิดตัว ลง โรงหนังแห่งย่านบางรักซึง่ เคยมีผคู้ นแวะเวียน เข้ามาไม่ขาดสายในยุคที่โรงหนังสแตนด์อโลน เฟื่องฟูในไทย ก็เงียบเหงาร้างผู้คน เหลือเพียง ชุมชนเก่าแก่ที่บ้างก็เคยทำ�งานในโรงหนัง บ้างก็ อาศัยอยู่ที่นี่มาเนิ่นนาน แต่ข่าวดีสำ�หรับวันนี้ก็คือ หลังจากที่กรม ธนารักษ์เปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามามีสว่ นร่วมใน การพั ฒ นาพื้ น ที่ ท้ อ งถิ่ น เพื่ อ พั ฒ นาเป็ น แหล่ ง ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ อาคารอายุกว่า 100 ปีของ ปริ๊นซ์ราม่าและพื้นที่โดยรอบซึ่งบางส่วนกลาย เป็นที่ทิ้งขยะของชุมชน กำ�ลังได้รับการชุบชีวิต ใหม่อีกครั้ง ด้วยฝีมือของบริษัท Heritage Stay ซึ่งเกิดจากการร่วมทุนระหว่างบริษัท มนทาระ โฮลดิ้งส์ จำ�กัด, วรพันธุ์ คล้ามไพบูลย์ สถาปนิก เจ้าของโรงแรมบูติก Samsen 5 Lodge และ จิตติพันธ์ ศรีกสิกรณ์ ผู้ร่วมก่อตั้ง Lub d Hostel โครงการทีช่ อื่ ว่า “Prince Theatre Heritage Stay” มีพื้นที่การใช้งานหลักคือส่วนของที่พัก ซึ่งเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามาสัมผัส
ประสบการณ์การพักอาศัยในอาคารประวัตศิ าสตร์ โดยพยายามรักษาองค์ประกอบเดิมของโรงหนัง ไว้ให้มากที่สุด นั่นคือหน้าต่างกระจกสีสไตล์ Art Deco ด้านหน้าตึก และจอฉายหนังขนาดยักษ์ที่ ใช้งานได้จริง รวมถึงนำ�ห้องพักส่วนตัว 4 ห้องมา ตกแต่งตามยุคสมัย เพื่อบอกเล่าเรื่องราวแต่ละ ช่วงชีวิตของปริ๊นซ์ราม่า ทั้งยังจับมือกับชุมชน โดยรอบซึง่ ส่วนใหญ่เติบโตและผูกพันกับโรงหนัง เพื่อร่วมกันพัฒนาพื้นที่และเข้ามามีส่วนร่วมใน กิจกรรมต่างๆ ของโรงแรม เช่น การเสิรฟ์ อาหาร ด้วยเมนูท้องถิ่นขึ้นชื่อของย่านบางรัก ขณะที่ บริ เ วณเวที ด้า นหน้ า จอหนั ง ก็ ยั ง เป็ น พื้ น ที่ อเนกประสงค์ทบี่ คุ คลภายนอกสามารถเข้ามาจัด กิจกรรมเวิร์กช็อปและอีเวนต์ต่างๆ ได้อีกด้วย นอกจากที่พักแล้ว พวกเขายังตั้งใจให้ที่นี่ เป็นจุดนัดพบของกลุ่มเพื่อนและนักเดินทาง ให้ แวะเข้ามาเทีย่ วชมหรือนัง่ เล่น เลือกทานเมนูขนม และเครื่องดื่มที่ได้รับแรงบันดาลจากหนังดังใน ยุคต่างๆ และยังมีแผนจะจัดกิจกรรมพิเศษอย่าง การฉายหนังเก่า พาเดินชมจุดทีน่ า่ สนใจในชุมชน และชิมอาหารขึน้ ชือ่ ในย่านอีกด้วย โดยพนักงาน ของทีน่ จี่ ะได้รบั การฝึกอบรมให้ถา่ ยทอดเรือ่ งราว ความเป็ น มาเกี่ ย วกั บ โรงภาพยนตร์ แ ละย่ า น บางรักได้เป็นอย่างดี CREATIVE THAILAND I 25
“การอนุรกั ษ์มนั เป็นเรือ่ งทีแ่ ล้วแต่มมุ มองแต่ละ คน บางคนอาจจะอยากให้เก็บทุกอย่างไว้อย่าง เดิม ซึ่งก็เป็นเรื่องของสถาปัตยกรรมที่จับต้องได้ แต่สิ่งที่เราศึกษาค้นคว้าลงไปมันเป็นเรื่องของ จิตใจและเรือ่ งราวของสถานทีม่ ากกว่า จากทีเ่ รา ค้นคว้าข้อมูลหลายแหล่ง ก่อนที่จะเป็นโรงหนัง ปริ๊นซ์ ที่นี่เคยเป็นโรงบ่อนหลวงที่สร้างในพ.ศ. 2455 แถมยังเป็นหนึ่งในห้าโรงบ่อนสุดท้ายของ กรุงเทพฯ อีกด้วย สมัยนั้นโรงบ่อนหลวงทยอย เปลี่ยนตัวเองเป็นโรงหนัง ซึ่งเป็นผลจากการ ยกเลิกโรงบ่อนในสมัยรัชกาลที่ 5 เริ่มจากฉาย หนังเงียบขาวดำ� จนถึงยุคเฟือ่ งฟู และยุคทีก่ ลาย มาเป็นโรงหนังชั้นสองที่ฉายหนังผู้ใหญ่ ก่อนจะ ปิดตัวลง...เราเชื่อว่าเรื่องราวเหล่านี้คือสิ่งที่คน ยุ ค นี้ม องหา เขาไม่ ไ ด้ ม าแค่ น อนพั ก ดั ง นั้น Heritage Stay จึงไม่ได้ตั้งเป้าหมายแต่แรกว่าจะ ต้องทำ�โรงแรมเท่านั้น แต่เราจะเลือกพื้นที่ที่มี เรื่องราวที่น่าสนใจ เพื่อเล่าให้คนที่มาพักฟัง” จิตติพันธ์ ศรีกสิกรณ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท Heritage Stay อธิบาย ที่อยู่: หลังร้านโจ๊กปริ๊นซ์ (ตรงข้ามโรบินสัน บางรัก) ถ.เจริญกรุง เขตบางรัก กรุงเทพฯ การเดินทาง: BTS สะพานตากสิน (ทางออก 3) princeheritage.com
ชมงานอาร์ตกลางโกดัง จากโกดังเก่าแก่ร่วม 40 ปีย่านราชเทวีในซอย เกษมสันต์ 1 ที่มีหน้าที่เก็บอุปกรณ์ของโรงพิมพ์ ดูแน่นิ่งไร้ชีวิตชีวา สะดุดตาก็แต่สีเหลืองที่ถูกทา ไว้ในวันก่อน แม้จะเก่าเต็มที แต่หากมองแล้ว กลับรู้สึกกระปรี้กระเปร่าและเต็มเปี่ยมไปด้วย ความหวังและความเป็นไปได้ใหม่หากจะนำ�กลับ มาใช้งานอีกครั้ง ศัลยเวทย์ ประเสริฐวิทยาการ กรรมการผูจ้ ดั การแห่งบริษทั Atelier Of Architects คือผู้ที่มองเห็นศักยภาพของโกดังสีเหลืองแห่งนี้ เขาจึงได้เชิญชวนพาร์ตเนอร์อีก 3 ชีวิต นั่นคือ ฮันส์ แวร์เนอร์ มุลเลอร์ (Hans Werner Muller) ผู้อำ�นวยการฝ่ายศิลป์แห่งบริษัท HWM, สุวรรณี สุวรรณแสงโรจน์ ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท Chamni’s Eye และธนัตถ์ สิงหสุวิช ช่างภาพชื่อดัง ที่ ทั้งหมดมีความเชื่อเดียวกันว่า การลงทุนชุบชีวิต โกดังเก่าให้กลายเป็นครีเอทีฟคอมมูนิตี้แห่งใหม่ ใจกลางกรุงคือโอกาสที่คุ้มค่า พร้อมกับร่วมกัน ตั้งชื่อใหม่ให้ว่า YELO ที่ส่วนหนึ่งมาจากสีเหลือง อันเป็นเอกลักษณ์เดิมที่โดดเด่นเห็นมาแต่ไกล
ทั้งยังแฝงความหมายที่ลึกซึ้งอย่างประโยคที่ว่า “You Ever Live Once” ในพืน้ ที่ประมาณ 480 ตารางเมตร กับความสูง จากพืน้ ถึงเพดานร่วม 7 เมตร “YELO House” ยังคง โครงสร้างเก่าทั้งภายในและภายนอกเอาไว้แทบ จะเหมือนเดิม ที่เพิ่มเติมคือการเก็บรายละเอียด ปลีกย่อยให้พื้นที่มีความปลอดภัย และใช้งานได้ หลายฟังก์ชั่น โดยตั้งต้นจากการวิเคราะห์ถึง ศักยภาพของพื้นที่เดิมก่อนว่า เหมาะแก่การ ใช้สอยด้านใดบ้าง โถงด้านหน้าซึง่ มีลกั ษณะเป็น ดับเบิลสเปซ จึงถูกแปลงให้เป็นพื้นที่โชว์งาน ศิลปะหลากหลายประเภท ทัง้ งานประติมากรรม ขนาดใหญ่และสูง งานภาพวาดศิลปะขนาดรอง ลงมา รวมทั้งเปิดแกลเลอรี่ช้อปควบคู่ไปด้วยกัน และเมื่อเห็นว่า ทางทิศเหนือของโกดังมีแสง ธรรมชาติสาดเข้าถึงได้ดใี นบริเวณชัน้ 2 จึงจัดเป็น พื้นที่เวิร์กช็อปสำ�หรับทำ�งานสร้างสรรค์ต่างๆ ตัง้ แต่งานวาดภาพศิลปะ จัดดอกไม้ ไปจนถึงการ เขียนลายมือแบบ Calligraphy
CREATIVE THAILAND I 26
นอกจากนี้ พื้นที่ที่เหลือยังถูกแบ่งให้เป็น ห้องประชุมขนาดต่างๆ ที่รองรับคนได้ 2-9 คน โดยเปิดให้เช่าในระยะยาว ด้านล่างเป็นพื้นที่ สร้างสรรค์ที่พร้อมปรับเปลี่ยนฟังก์ชั่นได้ตลอด เช่นการจัดป๊อปอัพมาร์เก็ตทีผ่ า่ นพ้นมา ส่วนด้าน บนเป็นทีต่ งั้ ของร้านอาหาร Hungry Me และคาเฟ่ Thirsty You ซึ่งเปิดให้บริการพร้อมวิวบ้านๆ สบายๆ ริมคลองแสนแสบ ด้านหลังของ YELO House ยังเปิดเป็นทางออกให้ผมู้ าเยือนได้เดินชม ใจเมืองกรุงเทพฯ ในบรรยากาศติดริมคลองที่ แวดล้อมไปด้วยกราฟฟิตี้วอลล์ทั้งสองฝั่ง พร้อม ทั้งเป็นทางเดินเชื่อมต่อไปถึงพิพิธภัณฑ์บ้านไทย จิม ทอมป์สนั ซึง่ สามารถเดินถึงท่าเรือได้ในระยะ เดินเพียง 90 เมตรเท่านั้น ที่อยู่: 20/2 ซ.เกษมสันต์ 1 (ใกล้กับ BACC) ถ.พระราม 1 เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ การเดินทาง: BTS สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ หรือสถานี ราชเทวี / ท่าเรือสะพานหัวช้าง (ราชเทวี) เวลาทำ�การ: 11.00 - 20.00 น. (ปิดทุกวันอังคาร) yelohouse.com
เรียนดำ�นํ้าในเก๋งจีน ข้ามกลับมาทีต่ ลาดน้อย หนึง่ ในย่านเก่าแก่ ของกรุ ง เทพฯ ที่ มี ค วามเป็ น มาตั้ ง แต่ ส มั ย รัตนโกสินทร์ตอนต้น ท่ามกลางตรอกซอกซอย เล็กๆ บริเวณนี้ยังมีคฤหาสน์จีนอายุมากกว่า 200 ปี แ ห่ ง หนึ่ ง ซ่ อ นตั ว อยู่ ห ลั ง ประตู บ านคู่ สี แดงสด “โซวเฮงไถ่” คือชื่อที่คนส่วนใหญ่เรียก สถานที่แห่งนี้ ซึ่งในอดีตเป็นบ้านของเจ้าสัวจาด (พระอภัยวานิช) นายอากรรังนกผู้เป็นเจ้าของ ที่ดินกว่าครึ่งในตลาดน้อยในสมัยรัชกาลที่ 2-3 รวมถึงท่าเรือโปเส็งริมแม่น้ำ�เจ้าพระยาซึ่งตั้งอยู่ ไม่ไกลจากหน้าคฤหาสน์ กลุม่ อาคารทีห่ น้าตาเหมือนหลุดออกมาจาก ภาพยนตร์จีนของโซวเฮงไถ่ เป็นสถาปัตยกรรม แบบ “ซื่อเหอย่วน” หรือสี่เรือนล้อมลาน เรือน ด้านหน้าทำ�หน้าที่เป็นซุ้มประตูทางเข้าซึ่งเปิดสู่ ลานโล่งกลางแจ้ง ล้อมรอบด้วยเรือนไม้ทั้งสาม ด้าน แต่สิ่งที่ดึงดูดความสนใจของเราคือลาน ส่วนกลาง ที่ถูกดัดแปลงให้เป็นสระว่ายน้ำ�ลึกถึง 4 เมตรตั้งแต่ปีพ.ศ. 2547 จากความคิดของ ภู่ศักดิ์ โปษยะจินดา ลูกชายคนโตของดวงตะวัน โปษยะจินดา เจ้าของบ้านรุ่นที่ 7 เขาเป็นครูสอน
ดำ � น้ำ � และรั บ หน้ า ที่ ห ลั ก ในการดู แ ลคฤหาสน์ โบราณหลั ง นี้ เมื่ อ ได้ เ วลามองหาทำ � เลสร้ า ง สระน้ำ�เพื่อเปิดเป็นโรงเรียนสอนดำ�น้ำ� ภู่ศักดิ์จึง ตัดสินใจใช้พื้นที่ลานบ้านให้เป็นประโยชน์ “โจทย์ของเราคือต้องการสระที่มีความลึก พอสำ�หรับการดำ�น้�ำ ตามมาตรฐาน ซึง่ ลึกกว่าสระ ว่ายน้ำ�ทั่วไป ดังนั้นแปลว่าเราต้องใช้เงินทุน สมมติ ว่ า ไปเช่ า ที่ ข้ า งนอกเพื่ อ ทำ � สระ ก็ ต้ อ ง รีโนเวทพื้นที่ด้วย เราก็เลยกลับมาคิดว่าทำ�ไมไม่ เอาเงินก้อนเดียวกันนี้มาสร้างสระในบ้าน แล้ว บู ร ณะบ้ า นซึ่ ง ตอนนั้ น ก็ โ ทรมแล้ ว ด้ ว ยเลยล่ ะ เพราะสิง่ ทีเ่ กิดขึน้ ตอนนัน้ คือเราออกไปสอนดำ�น้�ำ หาเงินเข้าบ้าน แต่บ้านกลับเป็นสินทรัพย์ที่มีแต่ ทำ�ให้เราเสียเงิน” ภู่ศักดิ์เท้าความ แม้ ก ารมี ส ระว่ า ยน้ำ � ปรากฏอยู่ ก ลาง กลุ่มเรือนเก๋งจีน อาจดูแปลกตาสำ�หรับบางคน แต่ เ มื่ อ มองให้ดี ก็จะพบว่าความขัดแย้งทาง สถาปัตยกรรมนีด้ ูกลมกลืนกันอย่างน่าประหลาด นั่นเพราะเจ้าของบ้านคิดมาอย่างดีแล้วว่าจะ ทำ�ให้ของใหม่กับของเก่าอยู่ร่วมกันได้อย่างไร พืน้ สระทีน่ จี่ งึ ไม่ได้ปกู ระเบือ้ งสีฟา้ หรือลายโมเสก ทันสมัย แต่ใช้หินแกรนิตแบบเดียวกับพื้นบ้าน CREATIVE THAILAND I 27
แผ่นไม้ทถี่ กู นำ�มาวางพาดบนขอบสระดูสบายตา และไปได้ดีกับเรือนไม้ที่โอบล้อมทั้งสี่ด้าน ปัจจุบัน คฤหาสน์แห่งนี้อยู่ในการดูแลและ ให้ทุนในการบูรณะจากดวงตะวัน โปษยะจินดา และลูกๆ ทัง้ สาม โดยนอกจากจะเปิดรับนักเรียน ที่มาฝึกฝนวิชาใน “สำ�นักดำ�น้ำ�” มานานกว่า สิบปี ทุกวันนี้ บ้านโซวเฮงไถ่ยังเปิดบ้านต้อนรับ ผู้ที่สนใจให้เข้ามานั่งดื่มด่ำ�บรรยากาศ พร้อมจิบ เครื่องดื่มจากคาเฟ่แบบโฮมเมดในพิพิธภัณฑ์มี ชี วิ ต แห่ ง นี้ ไ ด้ ทุ ก วั น “ที่ เ ราเปิ ดบ้ า นทุ ก วั น นี้ เหตุผลหลักก็คือเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ ไม่ให้คน รุ่นใหม่ลืมว่าบรรพบุรุษเราแบกเสื่อผืนหมอนใบ มาตัง้ รกรากทีไ่ ทยต้องลำ�บากแค่ไหน และเพือ่ ให้ เขาเห็นว่าสมัยก่อนบรรยากาศมันเป็นยังไง ซึ่ง ตลาดน้อยนี่ถือว่าน่าจะเป็นที่สุดท้ายแล้วที่ยังมี บรรยากาศแบบนั้นอยู่ ถ้าเราปิดประตูบ้านไม่ให้ ใครเข้ามา เท่ากับเป็นปิดกั้นความรู้ ปิดกั้น ประวัติศาสตร์” ภู่ศักดิ์กล่าวทิ้งท้าย ที่อยู่: 282 ซ.ดวงตะวัน (เจริญกรุง 22) แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ เวลาทำ�การ: ทุกวัน 9.00 - 18.00 น. โทร. 02 639 6262 facebook.com/Sohengtai
The Creative : มุมมองของนักคิด
เรื่อง: ศุภาศัย วงศ์กุลพิศาล ภาพ: ชาคริต นิลศาสตร์
หัวใจหลักของการสร้างสถาปัตยกรรมที่มักถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงมีอยู่ด้วยกัน 3 ประการ คือ ความแข็งแรงมั่นคง (Firmitas) ประโยชน์ใช้สอย (Utilitas) และความสวยงาม (Venustas) สิ่งก่อสร้างใดที่ตอบโจทย์ขั้นพื้นฐานทั้งสามนี้ได้ ก็จะจัดได้ว่าเป็นสถาปัตยกรรมที่สมบูรณ์ หากแต่เมืองไม่ได้สร้างจากอาคารที่ตอบสนองแค่การใช้งานที่มั่นคงและยาวนาน อย่างเดียว ที่จริงแล้ว เมืองนั้นสร้างขึ้นบนพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตที่ไม่ได้มีรูปแบบที่ถูกกำ�หนดไว้ตายตัวชัดเจน หนำ�ซํ้า หลากหลายเมืองยังถูกพัฒนาขึน้ จากโมเดลซึง่ มีขนาดเล็กและถูกสร้างขึน้ อย่าง ‘ชัว่ คราว’ เพือ่ ทดลองนำ�เสนอแบบแผนการ ใช้ชีวิตแบบใหม่ๆ อย่างเช่น เมืองจำ�ลองประชาธิปไตยหรือดุสิตธานีในรัชกาลที่ 6 เป็นต้น CREATIVE THAILAND I 28
ปี ค.ศ. 1893 สถาปนิกแดเนียล เบิร์นแฮม ได้นำ�เสนอการวางผังเมืองที่ เน้ น เรื่ อ งการจั ด ระเบี ย บกลุ่ ม อาคารและมุ ม มองของเมื อ งให้ ส วยงาม (beautification) และการสร้างอนุสาวรียเ์ พือ่ เป็นจุดศูนย์กลางทีแ่ สดงความ โอ่อ่าของเมือง (monumental grandeur) ผ่านการวางผังงานเวิร์ลส์ โคลัมเบียน เอ็กซ์โปซิชั่น (World’s Columbian Exposition) ในเมืองชิคาโก สหรัฐอเมริกา และพาวิลเลียนต่างๆ (pavilions) ที่ถูกเสกขึ้นให้ดูสวยงาม ในงานนี้ ก็ถูกสร้างขึ้นมาแบบหลอกๆ ด้วยไม้อัดทาสีและทำ�รูปแบบเสมือน หนึ่งว่าเป็นอาคารสร้างจากการก่ออิฐปั้นปูนจากยุโรป การจัดงานเอ็กซ์โป (Expo) แบบชั่วครั้งคราวในช่วงเวลาอันสั้น เพื่อนำ� เสนอเทคโนโลยีใหม่ๆ จึงไม่ได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้นักออกแบบได้ แสดงผลงานเพียงอย่างเดียว แต่แท้จริงแล้วความตั้งใจเหล่านี้สร้างขึ้นบน ความต้องการที่จะนำ�เมืองไปสู่สิ่งใหม่ เป็นต้นว่า การรวมตัวแบบใหม่ กิจกรรมแบบใหม่ หรือการจัดผังเมืองแบบใหม่ เพราะเป็นการทดลองที่เห็น ผลได้รวดเร็ว และนี่เองก็เป็นความต้องการเดียวกันกับสองสถาปนิกรุ่นใหม่ อย่างโจ-ดลพร ชนะชัย และฟิวส์-นัฐพงษ์ พัฒนโกศัย ผู้ก่อตั้ง Cloud-Floor กลุ่มสถาปนิกผู้รับหน้าที่ออกแบบพาวิลเลียนในงานเทศกาลงานออกแบบ กรุงเทพฯ 256 หรือ Bangkok Design Week 2018 ในครั้งนี้ ก่อนที่จะตั้งออฟฟิศ Cloud-Floor ทั้งคู่เจอกันได้อย่างไร ฟิวส์: ฟิวส์และโจเรียนจบสถาปัตย์มา และมีโอกาสไปเรียนต่อที่เยอรมัน ด้วยกันทัง้ คู่ พอกลับมาก็เปิดออฟฟิศด้วยกัน โดยเราจะเน้นเรือ่ งการให้คณุ ค่า เกี่ยวกับเมือง สังคม และพื้นที่สาธารณะ คือการยึดประโยชน์ส่วนรวมและ พื้นที่สาธารณะเป็นหลัก ก่อนจะมองย้อนกลับมาที่งานออกแบบ ตรงนี้คือ เป้าหมายหลักของออฟฟิศ ซึ่งส่งผลต่อแนวคิดของงานที่เราทำ�ด้วย เราไม่ เพียงท้าทายตัวเองด้วยเรือ่ งของสถาปัตยกรรม แต่ยงั ท้าทายสิง่ ทีเ่ ราออกแบบ ว่าจะเกิดคุณค่าต่อผู้คนและสังคมเมืองได้อย่างไร โจ: พี่ฟิวส์เรียนด้าน Lightweight Structures ส่วนโจเรียน Advanced Architecture พอทำ�งานที่เยอรมันสักพัก มันเหมือนเราทำ�เกี่ยวกับเรื่อง เมืองและพื้นที่สาธารณะเยอะ เลยได้แนวคิดที่จะเปลี่ยนจากการมอง สถาปัตยกรรมว่าต้องสร้างให้เกิดทฤษฎีและความงามยังไง มามองว่าสิ่งที่ จะทำ�นั้นก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้คนและอนาคตของเขาอย่างไรได้บ้าง พอจะกลับมาก็คุยกันว่าแล้วจะทำ�อะไรดี ก็ลองมาเรื่อยๆ ซึ่งปีแรกคนก็ยัง ไม่เข้าใจว่าทำ�อะไรกันอยู่ อยากให้ยกตัวอย่างงานที่ทำ�ช่วงเริ่มแรกแล้วคนไม่เข้าใจ ฟิวส์: เริ่มแรกเลยคือทำ�เวิร์กช็อปก่อนครับ เพราะเราต้องการบอกให้ทุกคน รู้ก่อนว่าเราอยากทำ�อะไร แรกๆ เราไม่มีงานเข้ามาเลยเพราะเราก็ค่อนข้าง ใหม่ ก็เลยลงทุนทำ�เวิร์กช็อปเองเกี่ยวกับการสร้างเครื่องมือที่จะทำ�ให้คนใน เมืองมารู้จักกัน เพราะเราเชื่อว่าการที่เราสร้างคอมมูนิตี้เล็กๆ ขึ้นมา มันเป็นจุดเริ่มต้นง่ายๆ ที่จะทำ�ให้คนมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์อะไร บางอย่าง ก็เลยจัดเวิร์กช็อปประมาณ 50 คน แล้วแจกต้นทานตะวันให้ ทุกคนนำ�กลับไปปลูก เราไม่ได้หวังผลให้มันโต แต่เราหวังผลว่าต้นไม้ต้นนี้
การท�ำอะไรก็ตามให้ ‘ประหยัด’ ที่ สุ ด มั น เหมื อ นเป็ น การท้ า ทาย ตัวเองว่าเมือ่ เรามีงบน้อยเหลือเกิน เราจะท�ำอย่างไรให้มนั เกิดอิมแพ็ก ได้มากที่สุด
จะเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะทำ�ให้คน 50 คนได้มาแชร์ประสบการณ์ร่วมกัน ทางโซเชียลมีเดีย ตลอดจนให้ต้นไม้ต้นนี้เป็นสื่อกลาง ทำ�ให้คนที่นำ�ต้นไม้ กลับไปปลูกที่บ้านหรือที่ทำ�งานได้มาคุยกัน แล้วมันก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ การเรี ย น Lightweight Structures ทำ � ให้ ไ ด้ ม องเห็ น มุมต่างๆ ที่นำ�มาใช้กับเมืองไทยได้อย่างไรบ้าง ฟิวส์: ถ้าเป็นเรื่องที่ทำ�อยู่ในปัจจุบัน สิ่งหนึ่งที่นำ�มาใช้เลยคือการทำ�อะไร ก็ตามให้ ‘ประหยัด’ ที่สุด ดังนั้นตอนฟิวส์กับโจทำ�โปรเจ็กต์ ยิ่งงบน้อยๆ ยิง่ ชอบ มันเหมือนเป็นการท้าทายตัวเองว่าเมือ่ เรามีงบน้อยเหลือเกิน เราจะ ทำ�อย่างไรให้มันเกิดอิมแพ็กได้มากที่สุด คล้ายๆ กับกระบวนการคิดเชิง ออกแบบ (Design Thinking) ที่เวลาที่ทำ�ตัวต้นแบบ (prototype) จะต้องใช้ งบน้อยแต่เกิดอิมแพ็กมากที่สุด ดังนั้นถ้าเปิดไปดูผลงานของออฟฟิศ ชิ้นไหนที่เรารู้สึกว่ามันเป็นตัวตนเรามากๆ ก็มักจะเป็นชิ้นที่ใช้งบน้อย และ เรามักมีความสุขกับงานที่งบน้อยๆ มากกว่างานที่งบเยอะๆ โจ: ตอนที่เรียนคือทุกอย่างมันแพงไปหมด อย่างของพี่ฟิวส์คือเรียนเกี่ยวกับ Membrane Structure เช่น สเตเดียมโครงสร้างเหล็กขนาดใหญ่ ของโจคือ Fiber Plastic ทุกอย่างมันดูแพง แต่พอกลับมา เราก็ไม่รู้ว่าการใช้เงินมาก ขนาดนั้นมาลงกับสิ่งที่มีความงามแบบนั้น แล้วใครได้ประโยชน์บ้าง ก็เลย คิดเรื่องนี้เยอะ ยิ่งแบบงบน้อย เราก็ยิ่งคิดว่าจะนำ�สิ่งที่เคยเรียนที่ราคาแพง มาประยุกต์ใช้กับความถูกของวัสดุอย่างไรได้บ้าง แล้วพาวิลเลียนของงาน Bangkok Design Week 2018 ในครั้งนี้ ความตั้งใจของ Cloud-Floor คืออะไร ฟิวส์: โจทย์หลักคือการทีเ่ ราได้ท�ำ งานร่วมกับบริษทั พีทที ี โกลบอล เคมิคอล จำ�กัด (มหาชน) (PTTGC) และทาง TCDC โดยร่วมมือกันจัดนิทรรศการ ขึน้ มา เพือ่ บอกเล่าเรือ่ งราวเกีย่ วกับพลาสติกที่ PTTGC เป็นผูผ้ ลิต ว่าจะสร้าง คุณค่าใหม่ๆ ขึ้นมาอย่างไรได้บ้าง เป็นการสร้างคุณค่าให้ ‘เม็ดพลาสติก’ ไม่วา่ จะเป็นการนำ�มาใช้ซาํ้ (Reuse) แปรรูปแล้วนำ�กลับมาใช้ใหม่ (Recycle)
CREATIVE THAILAND I 29
หรือสถาปัตยกรรมขึ้นมานั้น แน่นอนว่ามันเกิดวัสดุที่ไม่ได้ใช้ (Waste) แต่ เราจะพยายามออกแบบให้มนั มีวสั ดุทไี่ ม่ได้ใช้ให้นอ้ ยทีส่ ดุ ได้อย่างไร และทำ� ยังไงให้นำ�มาใช้ประโยชน์ต่อได้ โดยเราอยากจะขยายประโยชน์ใช้สอยจาก วัสดุต่างๆ ที่นำ�มาใช้ทำ�พาวิลเลียนหลังจากที่ได้ถูกรื้อถอนแล้ว เช่นการนำ� เรือ่ งของยูนติ ทีส่ ามารถเคลือ่ นย้ายและใช้งานได้งา่ ยทีส่ ดุ มาออกแบบให้เป็น ‘เก้าอี้’ ซึ่งง่ายต่อการใช้งาน ยูนิตที่เราออกแบบเวลาที่ถอดออกมาแล้ว เราแค่เติมขาให้มันก็จะกลายเป็นเก้าอี้ได้เลยจำ�นวน 2,500 กว่าตัว โจ: ตอนแรกคิดถึงขนาดที่ว่าจะนำ�ไปใช้เป็นที่พักอาศัยชั่วคราวเพื่อช่วย ผู้ประสบภัยต่อ แต่คิดไปคิดมามันต้องใช้เงินซ้ำ�หลายๆ ครั้ง และอาจมี ปัญหาเรื่องการขนส่ง ก็เลยถูกย่อยลงมาเป็นสเกลของเฟอร์นิเจอร์แทน ให้ นำ�ไปใช้ที่อื่นต่อได้ เช่น ไปให้ห้องสมุด ไปบริจาคตามโรงเรียน หรือไปใช้ กับอีเวนต์ซํ้าแล้วซํ้าเล่าก็ได้ เราเลยลดขนาดลงมาเป็นเก้าอี้แทน
หรือลดการใช้ (Reduce) ก็ตาม อยากให้คนมองว่าพลาสติกทำ�อะไรได้ หลากหลาย ไม่ใช่มองว่าเป็นผู้ร้ายเสมอไป โดยนำ�มาประยุกต์ใช้ในงาน สถาปัตยกรรม ตั้งแต่ส่วนด้านหน้าอาคาร (Façade) หรือส่วนต่างๆ ของ อาคาร อย่างการนำ�เม็ดพลาสติกมารีไซเคิลใหม่แล้วทำ�เป็นผนังของอาคาร เป้าหมายหลักในการทำ�พาวิลเลียนครั้งนี้ คือทาง PTTGC ต้องการจะ แสดงศักยภาพของวัสดุเม็ดพลาสติก TCDC ต้องการจะสื่อเรื่องความคิด สร้างสรรค์ ส่วนทาง Cloud-Floor ก็ต้องการจะสร้างคุณค่าให้สังคม ก็เลย ออกมาเป็ น แนวคิ ด ที่ ว่ า เราตั้ ง ใจที่ จ ะออกแบบให้ เ กิ ด คุ ณ ค่ า ต่ อ เนื่ อ ง แม้หลังจากที่พาวิลเลียนนี้ถูกรื้อถอนออกไปแล้ว โดยใช้พาวิลเลียนนี้เป็น เครือ่ งมือสือ่ สารระหว่างนักออกแบบกับบุคคลอืน่ ๆ ว่า การสร้างพาวิลเลียน
คาดหวั ง ว่ า อยากให้ เ กิ ด กิ จ กรรมอะไรภายในพื้ น ที่ ข อง พาวิลเลียนบ้าง โจ: เราแบ่งออกเป็น 3 โซน โซนแรกคือโซนอินโทรฯ ก็จะเล่าเรื่องตามสเกล จากสเกลที่ใหญ่ก่อน ซึ่งก็คือตัวสถาปัตยกรรม จะเป็นการอธิบายขั้นตอน และทีม่ าทีไ่ ปของพาวิลเลียนนี้ ตัง้ แต่ชว่ งผลิต การติดตัง้ เจอความผิดพลาด และสิ่งที่จะนำ�ไปพัฒนาต่อในอนาคตในเชิงสถาปัตยกรรมได้ ส่วนที่สองจะ เป็นการเฉลิมฉลองพลาสติกในสเกลทีเ่ ล็กลงมา ซึง่ ก็คอื แฟชัน่ และไลฟ์สไตล์ โปรดักส์ มีเสื้อผ้าจากแบรนด์ต่างๆ มาร่วมออกแบบเสื้อผ้า เพื่อจัดเป็น โชว์เคส ตรงนี้จะมีการนำ�พลาสติกรีไซเคิลมาทำ�เป็นสินค้าแฟชั่น และ เครื่องประดับที่ใส่ได้ทุกวัน ส่วนโซนสุดท้ายก็จะเชิญดีไซเนอร์คือ THINKK Studio มา โดยให้โจทย์ว่าอยากให้มีอะไรสักอย่างที่คนมาทำ�กิจกรรมแล้ว นำ�ติดตัวกลับบ้านไปได้ ซึง่ ทีมดีไซเนอร์เขาก็จะออกแบบเป็นโซนกึง่ เวิรก์ ช็อป
CREATIVE THAILAND I 30
ให้คนมานัง่ ทำ�อะไรกับพลาสติกแล้วออกมาเป็นชิน้ งานเล็กๆ เป็นของทีร่ ะลึก นำ�กลับบ้านไปได้ ระหว่างทางการทำ�งานขั้นตอนไหนที่คิดว่ายากบ้าง ฟิวส์: ส่วนใหญ่เป็นเรื่องทางเทคนิคเกี่ยวกับตัวพลาสติกมากกว่าครับ และเราเจอปัญหาเรื่องเวลาว่าทำ�ยังไงให้มันทัน โจ: พอมั น เป็ น กระบวนการผลิ ต ที่ ต้ อ งเข้ า โรงงาน มั น เหมื อ นกั บ ว่ า กระบวนการผลิตมันจบในที่เดียวไม่ได้ ต้องถูกแยกการผลิตไปสองสามที่ แล้วทุกอย่างต้องประสานกันกลับไปมาทัง้ หมด 5-6 ทีม ซึง่ สิง่ ทีเ่ ราทำ�ขึน้ มา ก็ถือว่าค่อนข้างใหม่สำ�หรับโรงงาน จึงกลายเป็นว่าต้องทดสอบตัวต้นแบบ หลายรอบ เพื่อให้ได้ตัวต้นแบบที่ตอบโจทย์เราที่สุด เราทำ�งานร่วมกับ PTTGC และ TCDC อย่างไรบ้าง ฟิวส์: นอกจากเรื่องเทคนิคและข้อจำ�กัดของแต่ละเครื่องมือที่แตกต่าง ซึ่ง เราต้องทำ�งานภายใต้ขอ้ จำ�กัดทีม่ อี ยูแ่ ล้ว ก็จะเป็นปัญหาเรือ่ งของวิธกี ารคิด จริงๆ แล้วฟิวส์อยากจะได้รับความเห็นของคนในวงการด้วย เรามอง ว่าสถาปนิกหรือดีไซเนอร์แต่ละคนมีความคิดที่ไม่เหมือนกัน ตัวเราก็กดดัน พอสมควรทีพ่ าวิลเลียนนีจ้ ะตัง้ อยูห่ น้า TCDC แล้วก็เป็นปีแรกของ Bangkok Design Week ซึ่งเราได้รับโอกาสที่จะทำ�ตรงนี้ ความเป็นตัวตนของเราที่จะ แสดงศักยภาพทางความคิด และยึดมัน่ ในสิง่ ทีเ่ ป็นตัวเราเอง อย่างการสร้าง คุณค่าใหม่ๆ ขึ้นมา นี่คือสิ่งที่เราอยากบอกกับประชาชนทุกคนหรือกับ ดีไซเนอร์ทุกคน ว่าคุณค่าของผลงานเราในครั้งนี้ คือการทำ�ให้เกิดวัสดุที่ ไม่ได้ใช้หรือเกิดขยะน้อยที่สุด และสามารถขยายการใช้งานต่อไปอีกใน อนาคตได้ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าคนที่รับไม้ต่อจากเรา จะนำ�ไปใช้ประโยชน์ได้ มากน้อยขนาดไหน สำ�หรับครัง้ แรกของ Bangkok Design Week คุณคาดหวัง จะเห็นอะไรจากเทศกาลนี้บ้าง โจ: โจคิดว่าดีไซน์วีกที่จัดที่เจริญกรุงครั้งนี้ น่าจะเป็นอะไรที่แตกต่างจาก ที่อื่น เพราะมีการพูดถึงเรือ่ ง ‘ย่าน’ เยอะ มีความต้องการการมีสว่ นร่วมของ คนในย่านสูง ซึ่งเข้าใจว่าตรงนี้ TCDC ได้เริ่มต้นเดินทางมาแล้วระดับหนึ่ง Bangkok Design Week จะมาช่วยกระตุ้นกระแสของการฟื้นฟูย่านให้ มีอะไรเกิดขึ้นเรื่อยๆ ทำ�ให้จุดประสงค์หรือความตั้งใจที่จะทำ�ให้พื้นที่ เจริญกรุงกลายเป็นพืน้ ทีส่ ร้างสรรค์ไม่หายไป กลายเป็นเหมือนคลืน่ กระเพือ่ ม เข้ามากรุงเทพฯ มันใหญ่ ซับซ้อน มีพื้นที่เยอะ แต่มันไม่เคยถูกรวมตัวใน งานใหญ่ๆ ก็รู้สึกว่างาน Bangkok Design Week ครั้งนี้น่าจะช่วยดึง นักออกแบบและคนที่กระจายอยู่ตามที่ต่างๆ ในกรุงเทพฯ ให้มารวมตัวกัน แล้วทำ�ให้ยา่ นๆ เป็นตัวต้นแบบทีด่ ี ซึง่ ในเชิงทดลอง มันจะช่วยให้ยา่ นขยับขึน้ ไปได้แค่ไหน แล้วเราจะได้รู้ว่าปีหน้าเราต้องการอะไรที่จะช่วยเสริมให้ย่าน ดีขึ้นไปอีก เลยรู้สึกว่าเมื่อพูดถึง Bangkok Design Week ก็น่าจะเกิดการ สร้างคุณค่าบางอย่าง โดยเฉพาะในเชิงการเพิม่ ศักยภาพของคนในพืน้ ทีใ่ ห้ได้
ทั้งคู่คิดว่า ‘การร่วมมือกัน’ สำ�คัญอย่างไร ฟิวส์: ส่วนตัวคิดว่าสำ�คัญมากครับ ตั้งแต่ตอนที่ทำ�เวิร์กช็อปแล้ว จนมาถึง การทำ�พาวิลเลียนในครั้งนี้ แต่ละคนมีหลากหลายความคิด เราต้องการดึง ศักยภาพของความต่างมาเป็นจุดเด่นให้ได้ อย่ามองว่าเขามาแย้งเราอย่าง เดียว เขาก็มีมุมมองในความหวังดีอยู่ และมีศักยภาพที่แตกต่างกัน ดังนั้น เราต้องอาศัยความหวังดี ดึงเอาศักยภาพมาช่วยกันทำ�ให้มันดีขึ้นให้ได้ครับ Cloud-Floor ถือเป็นนักออกแบบรุ่นใหม่เมื่อเทียบกับคน ในวงการที่กล้าที่จะนำ�เสนอไอเดียใหม่ๆ ให้กับเมือง อะไรคือ แรงบันดาลใจให้กล้าที่จะมาทำ�อะไรใหม่ๆ แบบนี้ ฟิวส์: เราต้องมองก่อนว่าพื้นที่ที่เราอยู่เป็นพื้นที่คนจริงๆ บ้านเป็นพื้นที่ของ คนในครอบครัว แต่ในชีวิตจริงๆ แล้ว 50% เราอยู่ในพื้นที่นอกบ้าน อยู่ใน ออฟฟิศ ในพื้นที่สาธารณะ ห้าง หรืออะไรก็แล้วแต่ พื้นที่ที่เรียกว่า ‘เมือง’ แบบนี้ เป็นพื้นที่ของทุกคน ตอนนี้หลายคนมักมองว่า พื้นที่ส่วนกลางเป็น พื้นที่ของรัฐบาล แต่ถ้าเราผลักภาระให้เป็นหน้าที่ของเขาเพียงอย่างเดียว มันไม่มที างเป็นไปได้ดว้ ยดีแน่นอน กลับกันถ้าเราคิดว่าพื้นที่ตรงนีเ้ ป็นพื้นที่ ของเรา เราก็มสี ทิ ธิท์ จี่ ะทำ�อะไรกับมันก็ได้ ถ้าถูกต้องตามกระบวนการทีม่ นั พอจะเป็นไปได้ เลยมองว่าถึงเวลาแล้วที่ทุกคนจะต้องใช้สิทธิ์ของตัวเองใน การคิดว่าพื้นที่ตรงนี้เป็นของทุกคนนะ อยากให้มาร่วมกันสร้างสรรค์หรือ ออกแบบ ช่วยกันแก้ไข ทำ�ให้องค์ประกอบต่างๆ ที่ทุกคนก็รู้อยู่แก่ใจว่าไม่ ชอบตรงนี้ อยากจะพัฒนาตรงนัน้ ให้มนั ดีขนึ้ คำ�ถามก็คอื ทุกวันนีเ้ ราทำ�อะไร กันอยู่บ้างและเราทำ�อะไรได้บ้าง ถ้าคุณโพสต์เฟซบุ๊กด่า ตรงนี้คือสิ่งที่ คุณทำ�ได้ แต่มีคำ�พูดหนึ่งที่ฟิวส์ไปอ่านเจอตรงต้นไม้ใหญ่ที่เชียงใหม่มา เขียนว่า “โลกเปลี่ยนเพราะลงมือทำ� ไม่ใช่คำ�พูด” ฉะนั้นเราจึงเชื่อว่าสิ่งนี้ มันสร้างขึ้นได้จากการช่วยกันลงมือทำ� การที่เราชอบหรือไม่ชอบอะไร เราพูดออกไปในโซเชียลมีเดียหรือบ่นกับใครสักคน มันไม่เกิดประโยชน์ เปลี่ยนมาร่วมกันลงมือทำ�ดีกว่า มันจะดีน้อยดีมากก็ไม่เป็นไร เพราะถ้า อันนีด้ นี อ้ ย เดีย๋ วก็จะมีคนรูว้ า่ ดีนอ้ ย แล้วเขาก็จะช่วยพัฒนาให้ดขี นึ้ มากเอง แต่สิ่งสำ�คัญก็คือต้องลงมือทำ� ณ บัดนี้ ฟิวส์: อยากจะฝากถึงน้องๆ หรือเพื่อนๆ หรือบุคคลใกล้เคียงว่าจริงๆ แล้ว มันขึ้นอยู่กับว่าเราจะให้คุณค่าของการออกแบบไปในทิศทางไหน ถ้าเรา อยากจะเป็นซูเปอร์ฮีโร่ทางด้านดีไซน์ เราก็เป็นได้ แต่ว่าส่วนตัวของเราสอง คนเอง เราอยากที่จะเป็นบุคคลหนึ่งที่บอกให้ทุกคนได้รู้ว่า การออกแบบให้ กับเมือง พื้นที่สาธารณะ และคนหมู่มากมันเป็นไปได้เช่นกัน ถ้าเราเชื่อว่านี่ คือสิง่ ทีเ่ ราอยากทำ� เราต้องทำ�ให้ได้ เพราะว่าเราไม่รวู้ า่ เราจะหมดลมหายใจ เมื่อไหร่ เพราะฉะนั้นขณะที่เรามีชีวิต ในการทำ�งานเราต้องทำ�ในสิ่งที่เรา อยากทำ� แล้วทำ�ให้สำ�เร็จให้ได้ ถึงแม้วันนี้จะยังไม่สำ�เร็จ แต่บุคคลรุ่นหลัง ก็จะรู้แล้วว่ามีคนเดินทางมาทางนี้ให้แล้ว เพราะฉะนั้นเขาจะเลือกเดินทาง ตามทางเราหรือเปล่า ตรงนี้คือเรื่องของเขา แต่ว่าเราจะบอกเขาเสมอว่านี่ คืออีกทางหนึ่งที่ดีไซเนอร์และสถาปนิกเคยเลือกเดินมาแล้ว
CREATIVE THAILAND I 31
นักออกแบบหรือผลงานที่ชอบเป็นพิเศษ โจ: บริษทั ทีเ่ ยอรมันชือ่ Raumlabor เขาไปจัดการพืน้ ทีท่ ไี่ ม่มใี ครใช้แล้ว พืน้ ทีร่ า้ งในเบอร์ลนิ ใช้การระดมทุนสาธารณะ (Crowdfunding) หรือถ้ามีผสู้ นับสนุน ทางการเงินก็จะเกิดเป็นโปรเจ็กต์ขึ้นมา เขาไม่ได้กำ�หนดหน้าตาสุดท้ายว่างานจะออกแบบมามีดีไซน์หรือเส้นสายเป็นอย่างไร แต่ว่าเขาจะดึงผู้คนเข้ามามี ส่วนร่วมให้เกิดโปรเจ็กต์ให้ได้ บริษัทนี้เลยเป็นไอดอลเลย ชอบมาก ปัจจุบันก็ยังติดตามผลงานอยู่ ฟิวส์: ของฟิวส์มีเยอะมากครับ ตั้งแต่ญาน เกห์ล (Jan Gehl) หรือคนอื่นๆ แต่ส่วนใหญ่แรงบันดาลใจมาจากคำ�พูดและทัศนคติของบุคคลหลายๆ ท่าน อย่างท่าน ว.วชิรเมธี กับพระอาจารย์สมปอง ถึงแม้ท่านจะพูดฮาๆ หน่อย แต่สิ่งที่ท่านพูดออกมาแต่ละคำ�คือต้นทุนด้านกำ�ลังใจที่ดีที่สุด อย่างที่ท่าน พูดว่า “คนเรา ถ้าไม่ทำ�งาน ก็ตายดีกว่า” คือไม่ได้ผิดหรือถูกนะ แต่จับได้ความได้ว่า ทุกคนต้องทำ�งาน งานอะไรก็ตามที่สุจริตและมีความตั้งใจ ขอให้คุณ ตื่นมา ทำ�งานซะ การที่คุณคิดไปว่าอนาคตข้างหน้ามันจะโอเค แต่อย่าลืมว่าวันนี้คุณก็ต้องทำ�ให้ดีที่สุดเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นจงมีสติกับวันนี้ แต่ให้คิด วางแผนล่วงหน้าได้ ไม่งั้นเราจะฟุ้งเฟ้อ จะจินตนาการว่าอีกสิบวันจะเป็นอย่างไร อีกหนึ่งเดือนจะเป็นอย่างไร แต่ก็ต้องไม่ลืมทำ�วันนี้ให้ดีที่สุดก่อน CREATIVE THAILAND I 32
RICE
+ Innovation =
รางวัล
RICE PLUS AWARD “ข้าว...ก้าวใหม่”
่ น ก้าวใหม่ของอุตสาหกรรมข้าวไทยในยุค 4.0 ขับเคลือ ด้วยนวัตกรรมสร้างสรรค์ พร้อมต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่ ม ในเชิงพาณิชย์ การประกวดผลิตภัณฑ์นวัตกรรมจากข้าวไทย
INNOVATIVE RICE PRODUCT CONTEST ขอเชิญผู้สนใจร่วมส่งผลงานผลิตภัณฑ์ต้นแบบ หรือผลิตภัณฑ์นวัตกรรม ที่มีศักยภาพทางการตลาดเข้าประกวดชิงถ้วยรางวัลเกียรติยศระดับประเทศ พร้อมเงินรางวัล และโอกาสต่อยอดทางธุรกิจ
เปิดรับผลงานเข้าประกวดตั้งแต่วันนี้ – 28 กุมภาพั นธ์ 2561
สนใจสมัครหรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการดำเนินการประกวด
“RICE PLUS AWARD 2018” 23/15 ซอยร่วมฤดี ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพ 10330
02 254 6898 ต่อ 56, 26 www.riceplusaward.com riceplusaward@gmail.com Rice Plus Award
จัดโดย
กระทรวงพาณิชย
กรมการคาตางประเทศ
Creative Will : คิด ทํา ดี
เรื่อง: ปิยะพร สวัสดิ์สิงห์
มากไปกว่าความสุขใจกับบรรยากาศดีๆ ในช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับ ปีใหม่ คงไม่มอี ะไรเทียบได้กบั ความอิม่ ใจในการได้มอบสิง่ ดีๆ ให้ผคู้ นทีเ่ รา รักและคนอืน่ ๆ แล้วถ้ายิง่ เป็น “ของพิเศษ สำ�หรับ คนพิเศษ” ด้วยแล้ว ก็คง ยิ่งทำ�ให้ความสุขนั้นสวยงามเกินบรรยาย ย้อนกลับไปเมื่อปี 2554 โปรเจ็กต์ Mom made toys ได้เกิดขึ้น โดย มีวตั ถุประสงค์เพือ่ สร้างของเล่นพิเศษสำ�หรับเด็กทีม่ คี วามต้องการพิเศษ โดย มีทมี่ าจากกลุม่ คุณแม่ทตี่ อ้ งการทำ�ของเล่นให้ตรงกับความต้องการของลูกๆ ซึ่งยังไม่มีในท้องตลาด การทำ�ของเล่นสุดพิเศษในครั้งนี้มีจิ๊กซอว์สำ�คัญ สามชิ้นด้วยกัน จิ๊กซอว์แรก คือกลุ่มคุณแม่ของเด็กที่มีความต้องการ พิเศษ ผู้ระดมความคิดในการออกแบบจากหัวใจและประสบการณ์ตรง จนกลายมาเป็นโปรโตไทป์ของเล่นที่ตรงตามความต้องการและเหมาะกับ พัฒนาการของลูกๆ ให้ได้เล่นสนุกไปพร้อมๆ กับพัฒนาร่างกาย และจิตใจ ไปจนถึงเป็นการฝึกสมาธิ และฝึกการเข้าสังคม ส่วนจิ๊กซอว์ที่สอง คือ บริษัทแปลนทอยส์ ผู้ให้คำ�แนะนำ�และสนับสนุนการผลิตของเล่นพิเศษใน โปรเจกต์นี้ เริ่มตั้งแต่การรวมทีมดีไซเนอร์ของบริษัทให้มาร่วมกันทำ� เวิร์กช็อปและเป็นพี่เลี้ยงให้กับกลุ่มคุณแม่ ดูแลการผลิตของเล่นให้มี มาตรฐานระดับสากลในราคาต้นทุน พร้อมกับสนับสนุนของเล่นชนิดอื่นๆ ที่เด็กที่มคี วามต้องการพิเศษสามารถเล่นได้ และจิ๊กซอว์สุดท้ายคือครีเอทีฟ เอเจนซี่อย่าง ชูใจ กะ กัลยาณมิตร ผู้เข้ามาสร้างเรื่องราวและการรับรู้ให้ ภาคสังคมได้เข้ามามีส่วนร่วมกับโครงการ โดยช่วยคิดวิธีการสื่อสารให้คน หมูม่ ากได้ตระหนักถึงโลกของเด็กๆ ทีม่ คี วามต้องการพิเศษเหล่านี้ ด้วยการ ถ่ายทอดผ่านเรือ่ งเล่าชีวติ ของคนเป็นแม่ทตี่ อ้ งดูแลลูกทีม่ คี วามต้องการพิเศษ
และเชิญชวนให้ผู้ที่อยากสนับสนุนโครงการมาร่วมกันระดมทุนเพื่อผลิต ของเล่น จนในที่สุด ของเล่นสำ�หรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษก็ได้ถูกผลิต ออกมาเป็นหลักแสนชิ้นซึ่งเพียงพอสำ�หรับแจกจ่ายให้กับเด็กๆ ที่มีความ ต้องการพิเศษทั่วประเทศ หลังจากที่ผลิตของเล่นเสร็จแล้ว ”ซานต้าอาสา” จึงเป็นโปรเจ็กต์ภาคต่อที่ช่วยเติมเต็มให้ Mom made toys สมบูรณ์มาก ยิง่ ขึน้ ด้วยการชวนคนใจดีทกี่ �ำ ลังจะเดินทางออกไปเทีย่ วหรือกลับภูมลิ �ำ เนา ทีต่ า่ งจังหวัดในช่วงปีใหม่ ให้มาเป็นซานต้าอาสาด้วยการทำ�หน้าทีส่ ง่ ของเล่น ให้กับเด็กๆ ที่มีความต้องการพิเศษทั่วประเทศตามสถานที่ที่กำ�หนดและ ที่ซานต้าอาสาสะดวก โดยในกล่องของขวัญทุกกล่องนั้นบรรจุจดหมายจาก ลายมือคุณแม่ในกลุ่มที่ถ่ายทอดเรื่องราวการออกแบบของเล่นแต่ละชิ้น ไปจนถึงคู่มือข้อแนะนำ�การเล่นและการดูแลเด็กๆ แต่ละกลุ่ม ได้แก่ เด็กที่ มีความบกพร่องทางการมองเห็น เด็กที่มีภาวะออทิสซึ่ม และเด็กพิการทาง สมอง การส่งมอบของเล่นครั้งนี้จึงเป็นมากกว่าการให้ธรรมดาๆ แต่คือการ ส่งต่อความเข้าใจให้คนปกติได้เข้าถึงหัวใจของคุณแม่และคุณครูผดู้ แู ลเด็กๆ ที่มีความต้องการพิเศษอีกด้วย ซึ่งโครงการ “ซานต้าอาสา” ในปี 2560 นี้ มีซานต้าคลอสใจดีอาสาสมัครเข้ามาเป็นจำ�นวนมาก ทำ�ให้ของเล่นในสต็อก จากแสนกว่าชิ้นได้ส่งถึงมือเด็กๆ จนหมดแล้ว หลังจากได้ทยอยส่งมาใน ทุกๆ ปี นับเป็นความสำ�เร็จของโครงการที่แม้จะกินเวลาหลายปี แต่ก็ เชื่อมั่นได้ว่า โครงการดีๆ เช่นนี้จะไม่ได้หยุดลงเพียงเท่านี้แน่นอน หากเรา ทุกคนยังพร้อมที่จะมีใจเป็น “ผู้ให้” ต่อไป ติดตามโครงการน่ารักๆ ของ Mom made toys ได้ที่ facebook.com/mommadetoys ที่มา: สัมภาษณ์คุณประสิทธิ์ วิทยสัมฤทธิ์ จาก บริษัท ชูใจ กะ กัลยาณมิตร จำ�กัด
CREATIVE THAILAND I 34
0
0 00
P
E
00 0
0
P
0
0
L
0
E
0
เปลี่ยนให้ทัน STEPPING AHEAD จังหวะโลก OF THE CURVE
0
0
The Postal Heritage Hall, The Grand Postal Building, Charoenkrung road
0
0
0
0
L
00 0
Join the renowned thinkers, creators, entrepreneurs and policy makers leading the world’s major current and future movements. Let’s understand the big picture and stay in the game of new global rhythm in the event CU 2018 on the theme of "Pulse: Stepping ahead of the Curve”.
0
00
0
0
0 S
0
L Corporate Supporters
0
www.cu-tcdc.com
0
00
For more information
0
P
00 0
BUY TICKET
U
0
มาร่วมทํ าความเข้ าใจสถานการณ์ ภาพรวม เพื่ อให้ คุณ พร้อมปรับตั วให้ เท่ าทั นจังหวะความเคลื่ อนไหวใหม่ กั บนั กคิ ด นั กสร้างสรรค์ ผู้ประกอบการ และผู้จัดทํ า นโยบายที่ เกี่ ยวข้ องกั บความเคลื่ อนไหวของโลก ทั้ งในปัจจุ บันและอนาคต ในการชุ มนุ มทางความคิ ด ประจําปี CU 2018 ซึ่งจัดโดยศูนย์ สร้างสรรค์ งาน ออกแบบภายใต้หัวข้อ “Pulse เปลี่ยนให้ทันจังหวะโลก”
0
9:00
00
Registration
ห้ องไปรษณี ย์นฤมิ ต ชั้น 1 อาคารไปรษณี ย์กลาง ถนนเจริญกรุง
0
10:00 — 18:00
S
3 — 4 FEB 2018