Creative Thailand Magazine

Page 1

กุมภาพันธ์ 2561 ปีที่ 9 I ฉบับที่ 5 แจกฟรี

Local Wisdom หนังสืออ่านนอกเวลา Creative City Book Towns หนังสือเปลี่ยนเมือง Creative Startup Ookbee



flickr.com/photos/amanda tipton

“คิดก่อนพูด อ่านก่อนคิด” Fran Lebowitz นักข่าวชาวอเมริกัน


Contents : สารบัญ

The Subject

อาร์ตบุ๊ก…แกลเลอรีหน้ากระดาษ พื้นที่การเรียนรู้ ที่ไม่ได้อยู่แค่ในหนังสือ เทรนด์วงการหนังสือต่างประเทศปี 2018

6

Creative Resource 8

Insight 20 Crafting a Book ทำ�หนังสือให้รอดอย่างไรในยุคดิจิทัล

Creative Startup 22

Featured Book / Books / Documentary

วันใหม่ของ Ookbee กับธุรกิจ UGC แห่งอนาคต

MDIC 10

Creative City

24

Local Wisdom

12

The Creative

28

Cover Story

14

Creative Will

34

สวย อยู่ ได้

อ่าน...นอกเวลา

New Value of Publication ลมหายใจของหนังสือ

Book Towns หนังสือเปลี่ยนเมือง

หนุ่ม-อำ�นาจ รัตนมณี คนขายที่เป็นมากกว่าคนขาย... ในร้านเล็กๆ ที่เป็นมากกว่าชั้นวางหนังสือ

สำ�นักพิมพ์ผีเสื้อของเด็กๆ

บรรณาธิการที่ปรึกษา l อภิสทิ ธิ์ ไล่สตั รูไกล บรรณาธิการอำ�นวยการ l กิตติรตั น์ ปิตพิ านิช ที่ปรึกษา l ศิรอิ ร หริม่ ปราณี, ชมพูนทุ วีรกิตติ, พิชติ วีรงั คบุตร, พจน์ องค์ทวีเกียรติ, เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร บรรณาธิการบริหาร l พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์ กองบรรณาธิการ l มนฑิณี ยงวิกลุ , ชลดา เจริญรักษ์ปญั ญา, รัตมิ า เผือกนาโพธิ,์ ปิยวรรณ กลิน่ ศรีสขุ เลขากองบรรณาธิการ l วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ ศิลปกรรม l ชิดชน นินนาทนนท์ สมาชิกสัมพันธ์ l ปิยะพร สวัสดิ์สิงห์ ประสานงานกองบรรณาธิการ l ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ จัดทำ�โดย l ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) 1160 อาคารไปรษณีย์กลาง ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10501 โทร. 02 105 7400 แฟกซ์. 02 105 7450 พิมพ์ที่ l โรงพิมพ์ดับบลิวพีเอส (ประเทศไทย) จำ�กัด โทร. 02 313 4405 แฟกซ์. 02 313 4445 จำ�นวน 15,000 เล่ม ติดต่อลงโฆษณา: Commu.Dept@tcdc.or.th นิตยสารฉบับนีใ้ ช้หมึกพิมพ์จากนา้ํ มันถัว่ เหลืองทีไ่ ม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทัง้ ยังเป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อม และใช้กระดาษ รีไซเคิล ซึ่งเป็นผลผลิตของผู้ประกอบการไทย จัดทำ�ภายใต้โครงการ “Creative Thailand สร้างเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์” โดยศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ สำ�นักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) ซึง่ มีเป้าหมายในการเผยแพร่ความรูเ้ กีย่ วกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) และผลักดันการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส CREATIVE THAILAND I 4 แสดงที่มา-ไมใชเพื่อการคา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย


flickr.com/photos/Eirik Stavelin

Editor’s Note : บทบรรณาธิการ

นี่อาจเป็นยุคที่เรา “อ่าน” กันมากที่สุด และก็เป็นช่วงเวลาที่เราสามารถ “ถ่ายทอด” หรือ “บอกเล่า” ออกมาได้มากที่สุดและง่ายที่สุดเช่นเดียวกัน การ เปิดกว้างของช่องทางในการเล่าเรือ่ งและสือ่ สารผ่านตัวหนังสือนัน้ กำ�ลังขยาย วงเพิ่มมากขึ้นทุกขณะ แต่ในเวลาเดียวกัน เรากลับเห็นปริมาณของสื่อสิ่งพิมพ์ อย่างที่คุ้นเคย ไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือหนังสือลดน้อยถอยลง เช่นเดียวกับอาชีพ “นักเขียน” ทีเ่ คยเป็นอาชีพไกลตัว เข้าถึงได้ยาก และจำ�กัด วงเฉพาะผู้ที่มีสิทธิ์มีเสียงในการครอบครองสื่อ แต่ปัจจุบัน ใครๆ ก็สามารถ จะเป็นนักเขียนได้ แค่มีความต้องการที่จะบอกเล่าออกมา ตามสถิตพิ บว่า ผูใ้ ช้ทวิตเตอร์จะทวีตข้อความราว 6,000 ทวีตในทุกวินาที สอดคล้องไปกับจำ�นวน 350,000 ทวีตต่อนาทีที่ถูกส่งขึ้นมาบนแพลตฟอร์ม ออนไลน์นี้ กลายเป็นผลรวมมหาศาลเท่ากับ 500 ล้านทวีตต่อวัน และ 2 แสนล้านทวีตต่อปี เมื่อเทียบกับเฟซบุ๊ก ก็พบว่าตัวเลขเหล่านี้ไม่ได้ยิ่งหย่อน ไปกว่ากัน นั่นคือในทุกๆ นาที จะมีคอมเมนต์ 510,000 คอมเมนต์ มีการ อัพเดทสเตตัสอีกราว 293,000 สเตตัส และการอัพโหลดรูปอีก 136,000 รูปถูก โพสต์ขึ้นไป ไม่บอกก็รู้ว่า ปริมาณที่ถี่ยิบยิ่งกว่าเข็มวินาทีเดินไปข้างหน้า จะมี ปริมาณ “นักเขียน” ที่อยู่เบื้องหลัง “ตัวอักษร” เหล่านี้มากเพียงใด และจะมี การแข่งขันเพื่อเรียกร้องความสนใจจาก “นักอ่าน” หรือ “ผู้ที่บังเอิญผ่านมา เห็น” มากขนาดไหนในแต่ละวัน

แต่ตัวเลขเหล่านี้จะเป็นตัวแทนลมหายใจใหม่ของสิ่งพิมพ์ได้หรือไม่ คำ�ถามที่ถูกถามกันบ่อยมากที่สุดในวันนี้ก็คือในอนาคตเราจะยังมีหนังสือ กระดาษให้ได้อ่านกันอยู่หรือไม่ หากมองลงไปในบริบทของปัจจุบัน คำ�ตอบ อาจเป็นได้ว่า หนังสืออาจไม่ได้สูญสลายหรือตายลง แต่เมื่อคนทำ�หนังสือต้อง เผชิญหน้ากับโจทย์ใหม่ที่วิวัฒน์ไปพร้อมๆ กับเทคโนโลยี ก็ทำ�ให้หนังสือต้อง ได้รับการต่อยอดให้เกิดเป็นสิ่งใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์คนอ่านมากกว่าเดิม ตัวหนังสืออาจไม่จำ�เป็นต้องถูกบรรจุอยู่เพียงในหน้ากระดาษที่ถูกเย็บ รวมกัน เข้าสันเป็นเล่มอีกต่อไป แต่มันอาจเลื่อนไหลอย่างอิสระไปปรากฏกาย อยู่ในสื่อใหม่ๆ ที่เพิ่มปริมาณขึ้นเรื่อยๆ ไม่เฉพาะแค่สื่อหรือแพลตฟอร์ม ออนไลน์ที่ครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ในยุคนี้ แต่มันอาจจะอยู่ในรูปแบบของ ภาพยนตร์ นิทรรศการ ผลงานศิลปะ หนังสือภาพ หรือแม้แต่หนังสือทำ�มือ เล่มพิเศษที่ตรงกับความต้องการของกลุ่มนักอ่านที่เฉพาะกลุ่มมากขึ้น เพราะที่สุดแล้ว หนังสือก็จะยังคงเป็นหนังสือ ที่ทำ�หน้าที่เป็น “สื่อ” ใน การนำ� “สาร” มาถึงเรา หากวันนี้ลมหายใจของสื่อเก่ากำ�ลังแผ่วลง นั่นก็ไม่ได้ หมายถึงว่าความกระตือรือร้นของสารที่อยู่ภายในจะอ่อนเรี่ยวแรงลงไปด้วย... กลับกันเมื่อมองดีๆ สารเหล่านี้กลับยิ่งเพิ่มปริมาณทวีคูณ เต็มไปด้วยชีวิตชีวา และกำ�ลังถาโถมเข้าใส่ จนเราแทบตั้งตัวไม่ติดเลยต่างหาก กิตติรัตน์ ปิติพานิช บรรณาธิการอํานวยการ

CREATIVE THAILAND I 5


The Subject : ลงมือคิด

อาร์ตบุ๊ก… แกลเลอรีหน้ากระดาษ

ทั่วไป นอกจากนี้ยังมีการถ่ายทอดทัศนคติส่วนตัวเกี่ยวกับสังคม การเมือง และสิ่งรอบตัวได้อย่างเสรี จนทำ�ให้ความเคลื่อนไหวนี้กลายเป็นงานศิลปะ แขนงใหม่ที่หลายคนเริ่มสนใจและสะสม โดยเรียกว่า Artists’ books หรือ Art Book อย่างที่เรารู้จักกันในวันนี้

เรื่อง: นพกร คนไว

aaprintedmatter.com

เมือ่ ธุรกิจสิง่ พิมพ์บางประเภทเริม่ ไม่ตอบโจทย์นกั อ่านรุน่ ใหม่ เหล่านิตยสาร เริ่มทยอยปิดตัวตามกันไป และอีบุ๊กส์ในดิจิทัลแพลตฟอร์มก็อาจไม่ใช่ คำ�ตอบเดียว แต่กลับมีสิ่งพิมพ์อีกประเภทหนึ่ง ที่ยังคงอยู่และยืนหยัดด้วย แรงสนับสนุนที่เหนียวแน่น นั่นก็คือ “หนังสือของเหล่าศิลปิน” หรือที่เรียก กันว่า “อาร์ตบุ๊ก” หากพูดถึงอาร์ตบุ๊ก (Art Book) หรือหนังสือศิลปะ หลายคนคงนึกถึง หนังสือภาพอนิเมะ เกม หรือภาพยนตร์ที่ทำ�ออกมาเพื่อเป็นของสะสมของ กลุม่ แฟนๆ หรืออาจเป็นหนังสือภาพทีร่ วบรวมผลงานของศิลปินเบอร์ตา่ งๆ แต่อาร์ตบุ๊กที่เราเห็นกันนั้น กลับมีประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจมากไปกว่าที่ เข้าใจ เพราะแท้จริงแล้ว สิ่งพิมพ์ประเภทนี้มีต้นกำ�เนิดมาจากความ เคลื่อนไหวสำ�คัญในวงการศิลปะช่วงยุค 70s เมื่อคนในแวดวงศิลปะของ สหรัฐอเมริกาได้ออกมารวมตัวกันเพื่อเปิดร้านที่ชื่อว่า Printed Matter เพื่อ จำ�หน่ายสิง่ พิมพ์ประเภทอาร์ตบุก๊ ทีไ่ ม่เน้นการแสวงหาผลกำ�ไร แต่เปิดโอกาส ให้ศลิ ปินได้ถา่ ยทอดผลงานออกมาในรูปแบบหนังสือศิลปะหรืออาร์ตบุก๊ เป็น ของตัวเอง และยังนับเป็นการเปิดพื้นที่ให้ผู้คนสามารถเสพงานศิลป์ผ่าน หนังสือได้ไม่ต่างจากการเข้าไปชื่นชมผลงานศิลปะที่เคยจัดแสดงเฉพาะใน แกลเลอรีเท่านั้น แต่เมื่อขึ้นชื่อว่าเป็นศิลปิน การทำ�สิ่งพิมพ์ที่เรียกว่าอาร์ตบุ๊ก จึงกลาย เป็นแพลตฟอร์มใหม่ที่ช่วยให้บรรดาศิลปินสามารถปลดปล่อยความคิด สร้างสรรค์ได้อย่างเต็มที่ ด้วยการทำ�สิ่งที่แหวกแนวไปจากวิธีการทำ�หนังสือ

ความนิยมของอาร์ตบุก๊ อาจเห็นได้จากงานแสดงหนังสือศิลปะทีจ่ ดั ขึน้ ในหลายประเทศทั่วโลก เช่น NY Art Book Fair ในสหรัฐอเมริกา หรือ Tokyo Art Book Fair 2017 ในญี่ปุ่น รวมถึงประเทศไทยที่ได้เริ่มมีการจัดเทศกาล หนังสือศิลปะทีช่ อ่ื ว่า Bangkok Art Book Fair 2017 ซึง่ เพิง่ จัดไปเป็นครัง้ แรก เมือ่ ปีทผี่ า่ นมาและได้รบั การตอบรับเป็นอย่างดี งานเหล่านีส้ ะท้อนให้เห็นว่า ยังมีกลุ่มศิลปิน นักออกแบบ ที่ต้องการช่องทางแสดงผลงานของตัวเอง นอกเหนือจากพื้นที่แสดงงานแบบเดิมๆ อีกทั้งยังเป็นโอกาสให้ได้พบปะกับ กลุ่มผู้อ่านโดยตรง กลายเป็นอีกหนึ่งพื้นที่คุณภาพสำ�หรับผู้รักงานศิลป์ที่ ต้องการสุนทรียะผ่านการสัมผัสรูปเล่มและการออกแบบสิ่งพิมพ์โดยศิลปิน ซึ่งไม่อาจทดแทนได้ด้วยไฟล์ดิจิทัล ที่มา: บทความ “Artist’s book” และบทความ “Printed Matter, Inc” จากวิกพิ เี ดีย / บทความ “Bangkok Art Book Fair เพราะหนังสือคือสือ่ ทีไ่ ม่มวี นั ตาย” จาก creativethailand.org / บทความ “Artist Books and Their Meaningful History” จาก widewalls.ch / บทความ “Printed Matter Is the CBGB of Indie Bookstores-Don’t Let It Die” จาก vanityfair.com

พื้นที่การเรียนรู้ ที่ไม่ได้อยู่แค่ในหนังสือ เรื่อง: ณัฏฐา เกียรติสกุลเดชา

หากพูดถึงห้องสมุดในฐานะของ ‘พื้นที่แห่งการเรียนรู้’ ภาพจำ�ที่หลายคน นึกถึงคงจะเป็นชั้นหนังสือเรียงราย ที่นั่งจำ�นวนมาก และผู้คนที่เข้ามานั่ง อ่านหนังสือ ทัง้ นักเรียน นักศึกษาเข้ามาค้นคว้าหาข้อมูล ภายใต้บรรยากาศ ที่ต่างคนต่างก็อยู่ในความเงียบกับสิ่งพิมพ์ตรงหน้า จนสามารถได้ยินแม้ กระทั่งเสียงพลิกหน้าหนังสือ แต่เมื่อเทคโนโลยีกำ�ลังขับเคลื่อนโลกไปข้างหน้า ภาพเหล่านี้จึงกำ�ลัง เปลี่ยนไปตามเวลา เมื่อรูปแบบของสื่อเปลี่ยนจากสิ่งพิมพ์ไปสู่โลกดิจิทัล การค้นคว้าหาข้อมูลก็ทำ�ได้ง่ายในโลกออนไลน์ ทั้งเนื้อหาเชิงวิชาการ หรือ เอกสารงานวิจยั ต่างๆ ทีจ่ �ำ เป็นต่อการศึกษาอ้างอิง ก็เปลีย่ นมาอยูใ่ นรูปแบบ ดิจิทัลมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น วิดีโอหรืออีบุ๊ก ขณะที่ก็ยังมีระบบที่ช่วยอำ�นวย ความสะดวกในการเข้ า ถึ ง ความรู้ ม ากขึ้ น และสะดวกขึ้ น เช่ น การที่ สถานศึกษาในประเทศไทยหลายแห่งเริ่มใช้ระบบ WorldShare Interlibrary Loan (WorldShare ILL) ที่ช่วยค้นหาและสามารถยืมหนังสือจากห้องสมุด ได้จากทั่วโลก เมื่อพฤติกรรมของผู้ใช้และความสำ�คัญของสื่อหลักในพื้นที่เปลี่ยนไป การใช้พื้นที่ก็เปลี่ยนตามไปด้วย ผู้ที่มาใช้บริการห้องสมุดจำ�นวนไม่น้อยที่

CREATIVE THAILAND I 6


aarhuspanorama.dk

ไปห้องสมุดเพื่อใช้เพียงพื้นที่เท่านั้น แต่ไม่ได้ใช้ทรัพยากรสื่อต่างๆ ใน ห้องสมุดเลย ทำ�ให้พื้นที่ของห้องสมุดหลายแห่งต้องได้รับการปรับเปลี่ยน เพือ่ รองรับกิจกรรมทีห่ ลากหลายของผูใ้ ช้มากขึน้ มีการเพิม่ พืน้ ทีส่ �ำ หรับการ เรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ ทั้งพื้นที่จัดกิจกรรมอย่าง Fayetteville Free Library ที่นิวยอร์ก ห้องสมุดสาธารณะแห่งแรกที่จัดให้มีเมคเกอร์สเปซ ให้เป็นพื้นที่ สำ�หรับนักสร้างสรรค์ได้มาใช้อุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ เพื่อสร้างสรรค์ ผลงานต้นแบบได้ นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มพื้นที่สำ�หรับการแลกเปลี่ยน พูดคุย และทำ�งานร่วมกัน ซึ่งเป็นส่วนสำ�คัญในการเรียนรู้ ล่าสุดที่ Dokk1 ห้องสมุดที่ได้รับรางวัล Public Library of the Year 2016 ในเมืองอาร์ฮุส ของเดนมาร์กก็มีการจัดการที่ไม่ได้ยึดติดกับการเป็น ห้องสมุดแบบเดิม ตั้งแต่การออกแบบอาคารที่สามารถปรับรูปแบบการ ใช้สอยได้หลายฟังก์ชั่น ไปจนถึงการจัดการทรัพยากรองค์ความรู้ที่ไม่จำ�กัด แค่สื่อสิ่งพิมพ์หรือสื่อดิจิทัลเท่านั้น เพราะเมื่อโลกเปลี่ยนแปลงไปในอนาคต สิ่งเหล่านี้อาจจะไม่ตอบโจทย์ของผู้ใช้งานอีกต่อไป ทำ�ให้ตั้งแต่เริ่มต้น โครงการดังกล่าวจนถึงปัจจุบนั Dokk1 มีการรับฟังความเห็นจากประชาชน และกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมเสมอ เพื่อให้ความสำ�คัญกับความต้องการ ของผู้คนในสังคม และทำ�ให้ห้องสมุดแห่งนี้เป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้ที่ไม่ได้ มีอยู่แค่เพียงในหนังสืออีกต่อไป ที่มา: บทความ “รู้จัก ‘Dokk1’ ห้องสมุดในเดนมาร์กที่ไม่ได้มีแค่เรื่องของหนังสือ แต่คือ พื้นที่ของทุกคน” โดย พนิชา อิ่มสมบูรณ์ จาก themomentum.com / บทความ “First Public Library to Create a Maker Space”จาก forbes.com / บทความ “ห้องสมุด ดิจทิ ลั ...เปลีย่ นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์?” จาก manager.co.th และ dokk1.dk/english

เทรนด์วงการหนังสือ ต่างประเทศปี 2018 เรื่อง: กรณิศ รัตนามหัทธนะ

เทรนด์ยังเป็นประเด็นที่น่าสนใจเสมอ โดยเฉพาะการวิเคราะห์เทรนด์ธุรกิจ สิ่งพิมพ์ปี 2018 ที่สำ�นักข่าวต่างประเทศหลายรายได้คาดการณ์ไว้ หลายข้อ อาจไม่น่าแปลกใจ แต่ก็ยังมีเทรนด์บางอย่างที่น่าสนใจควรแก่การบอกเล่า ให้อ่านกัน

1. คนจะเริ่มเกิดอาการ “เซ็งโลกออนไลน์” (Digital Fatigue) อีบุ๊กอาจยังไม่เสื่อมความนิยมก็จริง แต่ผู้อ่านจำ�นวนไม่น้อยจะเริ่ม ‘เหนื่อย’ ที่วันๆ ใช้เวลาหลายชั่วโมงอยู่กับหน้าจอโทรศัพท์มือถือ และ คอมพิวเตอร์ คนส่วนหนึ่งจึงเริ่มหันมาหา ‘เพื่อนเก่า’ อย่างหนังสือ ที่หยิบ อ่านได้ทุกเวลา สบายตากว่า และได้ความรู้สึกที่ดีกว่า (อย่างน้อยก็สำ�หรับ นักอ่านจำ�นวนหนึ่ง) ยอดขายส่วนใหญ่ของนวนิยายผู้ใหญ่ในปี 2016 คือ ยอดขายในรูปแบบอีบุ๊ก แต่มีแนวโน้มตกลง สอดคล้องกับที่ยอดขาย ‘หนั ง สื อ ’ ทุ ก ประเภท ส่ ว นแบ่ ง ของอี บุ๊ก ก็ ล ดลงเช่ น กั น เมื่อ เที ย บกั บ หนังสือเล่ม 2. Indie Publishing และ Hybrid Publishing จะเป็นที่นิยม Indie Publishing หมายถึง นักเขียนเขียนเอง พิมพ์เอง ขายเอง ส่วน Hybrid Publishing หมายถึง เอาหลายๆ วิธีมาใช้ร่วมกัน (เช่น เอเย่นต์ที่ เคยมีหน้าที่ติดต่อสำ�นักพิมพ์ เพื่อให้พิมพ์งานของนักเขียน เปลี่ยนมาตั้ง สำ�นักพิมพ์เพื่อพิมพ์หนังสือที่ตัวเองเห็นว่าดี แต่หาสำ�นักพิมพ์พิมพ์ให้ไม่ได้ หรือ นักเขียนใช้วธิ รี ะดมทุนมวลชน (Crowdfunding) เพือ่ มาจัดพิมพ์หนังสือ ของตนเอง ข้อมูลปี 2016 ระบุวา่ เป็นครัง้ แรกทีส่ ว่ นแบ่งตลาดของหนังสือทีน่ กั เขียน จัดพิมพ์เอง หรือพิมพ์โดยสำ�นักพิมพ์เล็กๆ แล่นแซงหน้าสำ�นักพิมพ์ยักษ์ ใหญ่ สาเหตุที่นักเขียนนิยมทำ�งานเองโดยไม่พึ่งสำ�นักพิมพ์อย่างเดิม เป็น เพราะเมือ่ ไม่ตอ้ งแบ่งรายได้ให้ส�ำ นักพิมพ์เป็นค่าผลิตหนังสือ นักเขียนจึงได้ เงินมากขึ้น อีกทั้งยังมีอิสระเต็มที่ในการผลิต (เช่น กำ�หนดวิธีจัดหน้าหรือ ออกแบบปก) 3. จำ�นวนปกหนังสือมากขึน้ แต่ตลาดผูอ้ า่ นของหนังสือแต่ละเล่ม จะแคบลง ตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมา หนังสือที่พิมพ์ออกสู่ท้องตลาดมีจำ�นวนมาก ขึ้นเรื่อยๆ แต่ปริมาณผู้อ่านไม่ได้เพิ่มขึ้น (ประมาณ 73% ของอเมริกันชน อ่านหนังสืออย่างน้อยปีละเล่ม เป็นตัวเลขที่ไม่เปลี่ยนแปลงมากนักตั้งแต่ปี 2012) เท่ากับว่า ต้องทำ�งานหนักกว่าเดิมเพื่อให้หนังสือของตนเป็นที่รู้จัก เช่น พยายามสร้างกลุ่มนักอ่านเฉพาะของตนขึ้นมาผ่านโซเชียลมีเดีย นอกจากนี้ นักเขียนทีพ่ มิ พ์งานเองหลายคนก็ถกู วิจารณ์เรือ่ งคุณภาพต้นฉบับ ที่แย่ลง (เพราะอาจไม่มีบรรณาธิการคอยตรวจแก้ต้นฉบับ) และรูปลักษณ์ ของหนังสือ (ทีแ่ ย่ลงเช่นกัน) จึงมีค�ำ แนะนำ�ว่า การทำ�งานด้วยความประณีต ยังเป็นโอกาสให้โดดเด่นอยู่เสมอ ข้อมูลเหล่านี้ อาจช่วยให้เหล่านักเขียนและคนทำ�หนังสือตัดสินใจ ได้ว่า ปีนี้จะสร้างงานแบบไหนดี ที่มา: บทความ “5 Publishing Trends for 2018” (16 ตุลาคม 2017) โดย Tim Mcconnehey จาก izzardink.com/publishing-trends / บทความ “2018 Book Publishing Predictions Are Indie Authors Losing their Independence?” (5 มกราคม 2018) โดย Mark Coker จาก huffingtonpost.com

CREATIVE THAILAND I 7


Creative Resource : วัตถุดิบทางความคิด เรื่อง: เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร และ ชลดา เจริญรักษ์ปัญญา

F EAT U RED BOOK Visionaire ถ้าต้องการเพียงถ่ายทอดเรือ่ งราวหรือเนือ้ หา สิง่ พิมพ์อาจไม่ใช่ทางเลือกแรก อีกต่อไป และหากเข้าใจเป้าหมายดีพอ ยังมีอีกหลายช่องทางในการส่ง ข้อความเหล่านั้นไปยังผู้รับ ปัจจุบันช่องทางออนไลน์ถูกเข้ามาแทนที่ ช่องทางทางกายภาพอื่นๆ ผนึกกำ�ลังกับสื่อหลากหลายรูปแบบ สร้าง ประสบการณ์และการรับรู้สารนั้นได้ดีกว่า แล้วหนังสือสิ่งพิมพ์ที่เป็นตัวเล่ม จับต้องได้ ยังคงมีคุณค่าอะไรเหลืออยู่อีกบ้าง Visionaire บอกว่าพวกเขาคือคนเล่าเรื่อง แต่สิ่งที่เขาทำ�มากกว่าคือ เขาใช้สิ่งพิมพ์เป็นส่วนหนึง่ ของการสร้างประสบการณ์ ร่วมกับช่องทางอื่นๆ หนังสือ Visionaire ถูกออกแบบมาอย่างสร้างสรรค์สุดจินตนาการ เพื่อ สะท้อนแนวคิดที่แตกต่างกันโดยไม่ยึดติดกับรูปแบบ ซึ่งเป็นการทำ�งาน ร่วมกับนักเขียน ศิลปิน และนักออกแบบที่มชี อื่ เสียงระดับโลก ตีความโจทย์ ที่เปิดกว้างในการแสดงความคิด ทั้งเรื่องศิลปะ แฟชั่น ภาพยนตร์ และ วัฒนธรรมร่วมสมัย โดยได้รับการถ่ายทอดออกมาอย่างที่ไม่เคยมีใครทำ� มาก่อน ทั้งหมดนี้ทำ�ให้ Visionaire ยังคงยืนหยัดอยู่ได้มากว่า 26 ปี ด้วยความ แตกต่างของแต่ละเล่มหนังสือเล่มแรกได้รับการตีพิมพ์ในปี 1991 โดย

เซซิเลีย ดีน (Cecilia Dean) และเจมส์ คาลิอาร์ดอส (James Kaliardos) พวกเขาเริ่มต้นจากความต้องการสร้างพื้นที่ในการนำ�เสนอเรื่องราว ไอเดีย และความคิดสร้างสรรค์ของศิลปินไปสู่วงกว้าง ซึ่งถ้านำ�เสนอในแกลเลอรี แน่นอนว่าย่อมสร้างประสบการณ์ได้ดกี ว่า แต่ทงั้ คูไ่ ม่ตอ้ งการให้พนื้ ทีม่ าเป็น ข้อจำ�กัดในการเข้าถึง และด้วยความที่ในสมัยนั้นยังไม่มีอินเทอร์เน็ต พวกเขาจึงเลือกนำ�เสนอเนือ้ หาในรูปแบบสือ่ สิง่ พิมพ์ และพัฒนาประสบการณ์ โดยไม่จำ�กัดเทคนิคและรูปแบบ ซึ่งโซเชียลมีเดียหรือโลกดิจิทัลให้ไม่ได้ จนกลายเป็นคุณค่าและเอกลักษณ์สำ�คัญของ Visionaire ทั้งคู่ทำ�หนังสือมาแล้วทุกรูปแบบ บางเล่มมีกลิ่นหอม บางเล่มเปิดให้ ได้ลองชิมรสชาติ บางเล่มกลายเป็นของเล่น บางเล่มเป็นการพิมพ์บนเสื้อ บางเล่มสูงเท่าตัวคน และเล่มล่าสุดคือเล่มที่ 67 ภายใต้ธมี Fetish ซึง่ เป็นการ ทำ�งานร่วมกับศิลปินช่างถ่ายภาพระดับตำ�นานอย่างสตีเวน ไคลน์ (Steven Klein) ซึ่งตีพิมพ์เพียง 200 เล่มเท่านั้น ปัจจุบัน Visionaire กลายเป็นเสมือนของสะสม บางฉบับยังมีการ ประมูลกันในตลาดหนังสือมือสองในราคาสูงกว่า 5,000 เหรียญสหรัฐฯ เลย ทีเดียว

CREATIVE THAILAND I 8


BOOK A Living History โดย Martyn Lyons แม้จะมีการคาดการณ์วา่ ตลาดหนังสือจะถูกลดขนาดลง เพราะผูค้ นหันไปพึง่ พาการอ่านแบบดิจทิ ลั มาก ขึ้น แต่สถิติ 12 วันของงานมหกรรมหนังสือระดับชาติครั้งล่าสุด คือมีผู้เข้าร่วมงานถึง 1.8 ล้านคน ยอดจำ�หน่ายรวม 600 ล้านบาท ทำ�ให้เกิดคำ�ถามว่า ทำ�ไมความต้องการสิ่งพิมพ์ยังไม่หมดไปในยุคที่ เราสามารถอ่านอีบุ๊กได้ง่ายกว่า Books: A Living History ได้อธิบายภาพรวมวิวัฒนาการของหนังสือ ตั้งแต่ต้นกำ�เนิด จากกระดาษปาปิรุสไปสู่หน้าจอแท็บเลตในปัจจุบัน แต่ละขั้นของการพัฒนานั้นมา พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ทำ�ให้เรามองเห็นความผูกพันระหว่างมนุษย์กับหนังสือที่มีการ ก้าวข้ามผ่านยุคต่างๆ มาพร้อมกันจนไม่สามารถแยกออกจากกันได้

Print Is Dead: Long Live Print: The World’s Best Independent Magazines โดย Ruth Jamieson เมื่อนิตยสารที่เราคุ้นเคยหลายฉบับได้ปิดตัวลง ประโยคที่ว่า Print Is dead จึงสามารถเห็นได้เด่นชัด ขึ้นทุกที แต่ในขณะที่นิตยสารบางหัวซึ่งตีพิมพ์มากว่าหกสิบปีต้องปิดตัวลง ก็มีนิตยสารหัวใหม่ๆ เกิดขึ้นเช่นกัน ผู้เขียนพาเราสำ�รวจแผงหนังสือที่เปลี่ยนแปลงไป ในอดีตแนวทางของเนื้อหาพยายาม เข้าถึงกลุ่มคนหมู่มาก แต่นิตยสารอิสระรุ่นใหม่ได้เลือกนำ�เสนอเรื่องราวที่เจาะลึกสู่ตลาดเฉพาะกลุ่ม ที่ไม่สามารถหาอ่านได้ทั่วไปมากขึ้น ช่วยให้เห็นว่า นิตยสารต่างๆ อาจไม่ได้ตายลงทั้งหมด แต่อาจ เป็นการคัดกรองให้มีการปรับตัวและจับตลาดให้ตรงจุดมากขึ้นเท่านั้น

DOCU M E N TARY How to Make a Book with Steidl กำ�กับโดย Jörg Adolph, Gereon Wetzel แม้จะอยู่ในช่วงที่การพิมพ์หนังสือลดน้อยลง แต่แกร์ฮาร์ด ชไตเดิล (Gerhard Steidl) เจ้าของโรงพิมพ์ ที่เก่าแก่และมีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งในเยอรมนี กลับยังคงได้รับการว่าจ้างให้ออกแบบและผลิตหนังสือ อย่างต่อเนื่อง สารคดีนี้เล่าเบื้องหลังขั้นตอนการสร้างสรรค์หนังสือแบบเฉพาะตามความต้องการของ ลูกค้าหลายประเภท ตั้งแต่ช่างภาพชื่อดัง แบรนด์หรู ตลอดจนชีคจากตะวันออกกลาง การผลิตที่ พิถีพิถันทั้งการสัมผัส ความละเอียดในการเลือกเฉดสี เนื้อกระดาษ เทคนิคการพิมพ์ หรือแม้กระทั่ง กลิ่นและเสียงพลิกของหน้ากระดาษ รวมออกมาเป็นผลงานคุณภาพซึ่งเกิดจากประสบการณ์ใน การพิมพ์มากว่า 40 ปี และความหลงใหลในงานอย่างแท้จริง

พบกับวัตถุดิบทางความคิดเหล่านี้ได้ที่ TCDC Resource Center CREATIVE THAILAND I 9


wearesparks.com

MDIC : นวัตกรรมและวัสดุ

เรื่อง: ชมพูนุท วีรกิตติ และปิยวรรณ กลิ่นศรีสุข

ด้วยจำ�นวนผู้อ่านที่ลดลง ส่งผลให้นิตยสารด้านความงามทั้งหลายพยายาม หาช่องทางทำ�ธุรกิจแบบใหม่ นัน่ คือธุรกิจค้าปลีก แทนทีจ่ ะโฆษณาผลิตภัณฑ์ ต่างๆ ด้วยวิธีเดิมๆ อย่างการลงโฆษณาในหน้านิตยสาร ทุกวันนี้บรรดา ผู้ผลิตนิตยสารได้หันเข้าสู่เกมการแข่งขันของการกระจายสินค้า ที่ไม่เพียง พิสูจน์ว่ามีประสิทธิภาพ แต่ยังช่วยสร้างภาพพจน์ที่ดีให้แบรนด์ ตลอดจน ช่วยขยายการกระจายสินค้าไปยังลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ ได้อีกด้วย นิตยสาร Marie Claire นิตยสารชื่อดังด้านความงามได้สร้างความ ร่วมมือใหม่ เพื่อเชื่อมโยงเนื้อหาของบทบรรณาธิการเข้ากับการขายสินค้า ในย่านโซโห (SoHo district) ของมหานครนิวยอร์ก โดยร่วมมือกับมาสเตอร์ การ์ดจัดทำ�โครงการที่ชื่อว่า “The Next Big Thing” เพื่อนำ�เสนอผลิตภัณฑ์ ใหม่เป็นครั้งแรกสู่ตลาด และสร้างประสบการณ์ในร้านค้าที่สร้างสรรค์ ขึ้นมาเป็นพิเศษ เพื่อให้ลูกค้าได้ทดลองสินค้าที่มีนวัตกรรมด้านแฟชั่น ความงาม ความบันเทิง เทคโนโลยี รวมทั้งในแง่มุมสุขภาพที่ดี ผ่านการ จัดทำ� “ป็อปอัพ สโตร์” ร้านค้าชั่วคราวที่จะตั้งอยู่เพียงสามสัปดาห์ใน ช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคมปีที่ผ่านมา โดยภายในร้านได้หยิบเอาเนื้อหา จากบทบรรณาธิการของนิตยสารมาใช้สื่อสารกับลูกค้าภายในพื้นที่ เพื่อ สร้างประสบการณ์ตรงที่น่าสนใจ และยังมีการตั้งชื่อบริการต่างๆ ตาม เนื้อหาในแต่ละคอลัมน์ที่เป็นที่นิยม เช่น การให้นีแมน มาร์คัส (Neiman Marcus) สไตลิสต์ประจำ�กองบรรณาธิการ เข้ามาช่วยแนะนำ�เคล็ดลับเรื่อง แฟชั่นของนักออกแบบ ขณะที่แบรนด์ใหญ่อย่าง Clarins ก็ใช้กระจกตรวจ

สภาพผิวเสมือนจริงมาเป็นเทคนิคแนะนำ�ผลิตภัณฑ์รนุ่ ใหม่ ด้านพาร์ทเนอร์ รายใหญ่อย่างมาสเตอร์การ์ดก็อำ�นวยความสะดวกให้ลูกค้าได้สัมผัสกับ ประสบการณ์จับจ่ายแบบดิจิทัลที่สามารถจ่ายเงินได้จากทุกที่ภายในร้าน นอกจากโครงการนี้ Marie Claire ในอังกฤษยังได้ร่วมมือกับ Ocado ออนไลน์ซูเปอร์มาร์เก็ต เพื่อจัดพื้นที่บางส่วนสำ�หรับสินค้าความงามและ สุขภาพ โดยใช้เครือข่ายการส่งของจากร้าน Ocado ที่สามารถจัดส่งได้ ภายใน 24 ชั่วโมง เพื่อขายผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่แนะนำ�โดยบรรณาธิการจาก นิตยสาร Marie Claire นอกจากนี้ นิตยสาร Refinery29 นิตยสารในเครือ เดียวกันก็ยังทำ�งานร่วมกับแบรนด์เครื่องสำ�อางชั้นนำ�อย่าง Nars จัดแสดง งานศิลปะและนำ�เสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ในลอนดอนได้อย่างน่าสนใจ เพราะตราบใดที่ข้อคิดเห็นจากนิตยสารยังคงมีความสำ�คัญและมี อิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภค การทำ�งานร่วมกันอย่าง สร้างสรรค์ระหว่างร้านค้าปลีกและกองบรรณาธิการ ก็ยังสามารถที่จะสร้าง ประโยชน์ร่วมกันในเชิงธุรกิจ และก้าวต่อไปตามแบบฉบับ “สวยอยู่ได้” ใน โลกยุคออนไลน์อย่างแท้จริง ที่มา: บทความ “With readership on the decline, beauty magazines try a new foray: retail” (19 ตุลาคม 2017) โดย Mary Cass และ Nayantara Dutta จาก jwtintelligence.com / บทความ “The Next Big Thing: The New Products a Creative Needs in Her Life” (14 กันยายน 2017) โดย Porter Simmons จาก marieclaire.com

พบกับนวัตกรรมและวัสดุสร้างสรรค์ ได้ที่ชั้น 2 ห้อง Material & Design Innovation Center, TCDC CREATIVE THAILAND I 10


พบกับนิตยสาร “คิด” Creative Thailand ได้ที่ ร้านหนังสือ ห้องสมุด สมาคม อาคารสำ�นักงาน และร้านกาแฟใกล้บ้าน ในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ หัวหิน และจังหวัดอื่นๆ รวมถึง miniTCDC

หมดปญหาหยิบนิตยสารไมทัน สมัครสมาชิกรายป คาใชจายในการจัดสง 200 บาท (12 เลม)

ดูสถานที่จัดวางทั้งหมดได้ที่: www.tcdc.or.th/creativethailand/magazine/place

หรือสมัครออนไลนไดที่ tcdc.or.th/creative_thailand

กรุงเทพฯ ร้านหนังสือ • Asia Books • Kinokuniya • B2S • แพร่พิทยา

• MAIIAM Contemporary Art Museum • ชีวิต ชีวา • Minimeal Cafe • Impresso • Restr8to • Penguin Villa (Penguin Getto) ร้านกาแฟ/ร้านอาหาร • กาแฟอาข่า อ่ามา • Au Bon Pain La Fattoria สาขา2 • Starbucks • TOM N TOM’S COFFEE • Happy Hut ถ.นิมมานฯ • True Coffee • ราชดำ�เนิน • Auntie Anne’s • Mai Bakery In Garden • Baskin Robbins • Starbucks The Plaza • Coffee World • Yesterday Hotel • Mister Donut • October • Black Canyon • สุรยิ นั จันทรา นิมมานฯ ซอย 1 • McCafe’ • ร้านมีชามีชัย (กู) • ดอยตุง • Cafe’de nimman • Ninety four coffee • The Booksmith • Puff & Pie • ร้านชา (Drink Club) • Red Mango • Cotto Studio • Iberry • Starbucks Nimmanhemin • Greyhound Cafe’ • Fern Forest Cafe’ • Amazon Cafe’ • 9th Street Cafe • Chester’s Grill นิมมานฯ ซอย 9 • Luv minibar • ดวงกมล (Duang Kamol) • Rustic & Blue - Handgrown พิพิธภัณฑ์/หอศิลป์ • Produce & Artisan Food • หอศิลปวัฒนธรรม นิมมานฯ ซอย 9 แห่งกรุงเทพมหานคร • หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม • มิวเซียม สยาม • อุทยานการเรียนรู้ (TK park) มช. • นำ�ทอง แกลเลอรี่ หัวหิน • ร้านกาแฟ ชุบชีวา หัวหิน สมาคม/ห้องสมุด • อยู่เย็น หัวหิน บัลโคนี่ • ศูนย์ศิลปะนานาชาติ • บ้านใกล้วัง สมาคมฝรั่งเศส • ภัตตาคารมีกรุณา • ห้องสมุดเนลสัน เฮลส์ The Neilson Hays Library • บ้านถั่วเย็น @ แนบเคหาสน์ • ร้านอาหารหัวหิน (โกทิ) • ห้องสมุด - นิด้า • กาแฟข้างบ้าน • สมาคมโฆษณา • IL GELATO ITALIANO แห่งประเทศไทย • Together Bakery & Cafe’ • สมาคมธนาคารไทย • โรงแรม วรบุระหัวหิน • สมาคมสโมสรนักลงทุน • Let’s Sea • ห้องสมุด สสวท. • โรมแรม ดูน หัวหิน • สมาคมหอการค้าไทย • เดอะร็อค หัวหิน • สถาบัน • บ้านจันทร์ฉาย • Wall Street Institute • หัวหิน มันตรา รีสอร์ท • Raffle Design Institute • ลูน่าฮัท รีสอร์ท • Vision Swimming Academy กระบี่ • Nakamanda Resort & Spa เชียงใหม่ • Rawee Warin Resort & Spa • woo cefe • A little Handmade Shop • Kagee • Ristresto lab • ท่าแพอีสต์+ dibdee.binder ขอนแก่น • Hug School • C.A.M.P ,MAYA • True Coffee ,หอสมุด มช. of Creative Arts • ร้านสืบสาน • Punspace, นิมมานฯ • ร้านกาแฟ คอฟฟี่ เด้อ หล่า • asama cafe • มาหาสมุด (บ้านข้างวัด) (Coffee Der La) • see scape gallery เชียงราย • nimmanian club • ร้านหนังสือ herebookafe • 8 days a week • ร้าน Coffee Dad • Bulbul book cafe’ • Graph cafe’ นครราชสีมา • Cefe de museum • Hug station resort • local cafe Think park • Librarista นครปฐม • Artisan วัวลาย • ร้าน Dipchoc Cafe • paper spoon • กาแฟรสนิยม, นครสวรรค์ หลัง มช ทางขึ้นกาแล • The barn : Eatery Design • ร้าน Bitter Sweet • Book Republic น่าน • wake up หน้ามอ • ร้าน Runway Coffee • Fab cafe’ • kum cafe คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ • ร้านคลาสสิค โมเดล น่าน

• ร้านกาแฟปากซอย • ร้าน Nan Coffee Bean ปาย/แม่ฮ่องสอน • ร้านคอฟฟี่อินเลิฟ • ร้าน all about coffee • ร้านปายหวานบ้านนมสด • ร้านเล็กเล็ก • ปายวิมานรีสอร์ท พังงา • Niramaya Villa and Willness Resort • Ranyatavi Resort Phang Nga • The Sarojin เพชรบุรี • Grand Pacific Sovereign • Resort & Spa • DevaSom Hua Hin Resort ภูเก็ต • ร้านหนัง(สือ) ๒๕๒๑ ภูเก็ต • The oddy Apartment & Hotel • At Panta Phuket • Banyan Tree Phuket • Le Meridien Phuket • Millienium Ressort Patong Phuket • Novotel Phuket Resort • Patong Paragon Resort & Spa Phuket • Sheraton grand Lagana Phuket • Sri wanwa Phuket Villa • Thanyapura ระยอง • Le Vimarn Cottage ลำ�ปาง • อาลัมภางค์ เกสท์เฮ้าส์ แอนด์ มอร์ ลำ�ปาง • ร้านเอกาลิเต้ Egalite Bookshop • Lampang Art Center เลย • บ้านชานเคียง • มาเลยเด้ เกสต์เฮาท์ ลพบุรี • ซนดิคอฟฟี่ สมุทรสงคราม/อัมพวา • Baan Amphawa Resort and Spa สุโขทัย • Ananda Co.,Ltd. สุราษฎร์ธานี • Muang Samui Spa Resort • Pavilion Samui Boutique Resort • The Sunset Beach Resort and Spa Taling ngam • Nora Beach Resort Samui อุทัยธานี • ร้านบุ๊คโทเปีย Booktopia • Avatar Miracles

ขอมูลผูสมัครสมาชิก สมาชิกใหม ชื่อ นามสกุล เพศ โทรศัพท

สมาชิกเกา (ตองการตออายุสมาชิก) หญิง อายุ

ชาย

อีเมล

โทรศัพทมือถือ

อาชีพ นักเรียน ครู/อาจารย

นิสิต/นักศึกษา พนักงานบริษัท

นักออกแบบ/ครีเอทีฟ ผูประกอบการ

อาชีพอิสระ อื่นๆ โปรดระบุ

ขาราชการ/รัฐวิสาหกิจ

สาขา/อุตสาหกรรมที่เกี่ยวของกับอาชีพของทาน โฆษณา สถาปตยกรรม แฟชั่น ศิลปะการแสดง ดนตรี ภาพยนตร โทรทัศน/วิทยุการกระจายเสียง

ทองเที่ยว/โรงแรม/สายการบิน วรรณกรรม/การพิมพ/สื่อสิ่งพิมพ พิพิธภัณฑ/หองแสดงงาน ซอฟตแวร/แอนิเมชัน/วิดีโอเกม

หัตถกรรม/งานฝมือ การเงิน/ธนาคาร ทัศนศิลป/การถายภาพ อื่นๆ โปรดระบุ

อาหาร การแพทย การออกแบบ

คาปลีก/คาสง โทรคมนาคม

ที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ จังหวัด

ซอย

ถนน รหัสไปรษณีย

หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง

อำเภอ/เขต

หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง

อำเภอ/เขต

ที่อยูในการออกใบเสร็จ เหมือนที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ ซอย จังหวัด

ถนน รหัสไปรษณีย

ตองการสมัครสมาชิกนิตยสาร Creative Thailand ระยะเวลา 1 ป จำนวน 12 เลม เริ่มตั้งแตฉบับเดือน โดยยินดีเสียคาใชจายในการจัดสงเปนจำนวนเงิน 200 บาท

วิธีการชำระเงิน เช็คสั่งจายศูนยสรางสรรคงานออกแบบ พรอมใบสมัครสมาชิก โอนเงินเขาบัญชีออมทรัพย ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ เลขที่บัญชี 101-808967-0 ธนาคารกรุงเทพ สาขาสำนักงานใหญสีลม • แฟกซใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่ 02-105-7450 • หรือสงไปรษณียมาที่ ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (Creative Thailand) อาคารไปรษณียกลาง 1160 ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10501 • หรือแนบไฟลใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่อีเมล creativethailand@tcdc.or.th สอบถามขอมูลเพิ่มเติมไดที่ 02-105-7400 ตอ 122


Local Wisdom : ภูมิความคิด

เรื่อง: ชาคริต นิลศาสตร์

คุณเคยสงสัยหรือฝังใจกับการถูกครูอาจารย์สั่งให้อ่าน “หนังสือนอกเวลา” หรือไม่ เพราะถึงจะชื่อ ‘นอกเวลา’ แต่ก็เหมือน ถู ก บั ง คั บ ให้ อ่ า นแต่ อ ะไรที่ เ ข้ า ใจยาก และยั ง ต้ อ งเอามาใช้ ส อบเพื่ อ วั ด คะแนน แล้ ว หนั ง สื อ นอกเวลาในอุ ด มคติ ที่ เ รา คาดหวังไว้ ควรจะเป็นแบบไหน เพราะไม่ใช่แค่ประเทศไทยเท่านั้นที่มีหนังสือนอกเวลา แต่ประเทศที่มีการศึกษาอันดับต้นๆ ของโลกอย่างฟินแลนด์ เขาก็อ่านหนังสือนอกเวลาเหมือนกัน

CREATIVE THAILAND I 12


อ่านอะไร ในประเทศไทย หนั ง สื อ นอกเวลาอยู่ ภ ายใต้ ความรับผิดชอบของสำ�นักงานคณะกรรมการ การศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน (สพฐ.) สังกัดสำ�นักงานปลัด กระทรวงศึกษาธิการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ฝึกให้เด็กสรุปอ่านจับใจความสำ�คัญ หาข้อคิด เป็นการวิเคราะห์ความสามารถในการอ่านและ การเขียนของเด็ก ตามจุดประสงค์ของกระทรวงฯ อีกทั้งเนื้อหาสาระในหนังสือ ยังมีบทบาทในการ เป็นต้นแบบการขัดเกลาทางสังคม ให้เยาวชนมี คุณลักษณะอันพึงประสงค์ เช่น รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย อยู่อย่างพอเพียง มีความกตัญญู ดำ�รงชีวิตร่วมกันในสังคมอย่าง สันติสุข เป็นต้น นอกจากนี้หนังสือนอกเวลายัง เป็นอีกหนึ่งในตัวชี้วัดประเมินผลที่ถูกใช้ในการ เรียนการสอนมาตั้งแต่ปี 2518 จนปัจจุบัน โดย ประกาศในแต่ละปีทอี่ อกมา ก็จะกำ�หนดเป็นแกน หลักว่าต้องอ่านอะไรบ้าง ขณะที่ ห ลั ก สู ต รการศึ ก ษาของฟิ น แลนด์ ก็ มี จุ ดประสงค์ ใ ห้ นั ก เรี ย นได้ อ่ า นและเข้ า ใจ วรรณกรรม เพือ่ ขัดเกลาเยาวชนเช่นกัน เพียงแต่ เกณฑ์ในการเลือกหนังสือนอกเวลาไม่ได้ขึ้นอยู่ กับหน่วยงานด้านการศึกษาระดับประเทศ แต่ถกู มอบหมายให้เป็นหน้าที่ของครูอาจารย์ในแต่ละ โรงเรียน โดยเชือ่ ว่าแต่ละพืน้ ทีม่ พี นื้ ฐานของเรือ่ ง ราวและประวัติศาสตร์ที่ไม่เหมือนกัน จึงควร จัดหาหนังสือนอกเวลาที่มีเนื้อหาใกล้ชิดกับเด็ก และเยาวชน รวมถึงครูอาจารย์ควรทำ�ความ เข้ า ใจเกี่ ย วกั บ วั ฒ นธรรมในพื้ น ที่ นั้ น ๆ เพื่ อ ออกแบบรายชื่อของหนังสือนอกเวลาให้สัมพันธ์ กับเยาวชนผูอ้ า่ น เป็นเรือ่ งราวทีเ่ กีย่ วข้องและเป็น ที่สนใจของเยาวชน เพื่อช่วยให้ผู้อ่านเกิดความ รู้สึกผูกพันไปด้วย การเลือกหนังสือนอกเวลาจึง เป็นเรื่องสำ�คัญ เพราะจะส่งผลต่อตัวเยาวชน ตั้งแต่ทักษะการอ่านและการเรียน ไปจนถึงมีผล ต่อการศึกษาของชีวิตเด็กคนหนึ่งเลยทีเดียว อ่านอย่างไร ความสนุกของการอ่านหนังสือ อาจเกิดขึ้นจาก การที่คนอ่านหนังสือเล่มเดียวกันมาเจอกัน แล้ว เกิดการพูดคุยแลกเปลี่ยน แสดงความคิดเห็น หรือทัศนคติที่มีต่อหนังสือเล่มนั้น เพื่อทำ�ให้ หนังสือนั้นมีบทบาทในการสร้างปฏิสัมพันธ์ใน

ชี วิ ต จริ ง แต่ สำ � หรั บ เด็ ก ๆ หลายคนที่ เ พี ย ง อ่ า นสรุ ป ไม่ กี่ ห น้ า ก็ เ พื่ อ ที่ จ ะจําไปเขี ย นสอบ กลับกลายเป็นการปลูกฝังให้ “จำ�” และนำ�ไปสู่ การให้คะแนน ไม่ใช่เพื่อให้ความรู้หรือปลูกฝัง การอ่านจริงๆ ในฟินแลนด์ หนังสือนอกเวลาไม่ได้ถูกนำ� มาวั ดผลด้ า นการเรี ย นการสอน แต่ ก ลั บ ถู ก กระตุ้นจากสภาพแวดล้อมและกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้เยาวชนกระตือรือร้นที่จะอ่านหนังสือเอง ยกตัวอย่างหนึ่งในกิจกรรมที่น่าสนใจที่ได้รับ ความร่ ว มมื อ จากรั ฐ บาลอย่ า ง “กิ จ กรรม ประกาศนียบัตรนักอ่าน” ของเมืองโอวลู (Oulo) ที่ใช้เว็บไซต์ของเมืองประชาสัมพันธ์โครงการ นักอ่านประจำ�เมือง โดยมีการประกาศรายการ ชื่อหนังสือที่ก�ำ หนดให้อ่าน รวมถึงกฎกติกาอืน่ ๆ เช่นว่าต้องอ่านหมวดอะไร เรื่องอะไรบ้าง หรือ อ่านขั้นต่ำ�กี่เล่ม ให้เยาวชนที่สนใจได้ไปเลือก อ่านและเขียนเนื้อเรื่องสรุปหรือข้อคิดที่ได้จาก การอ่านเข้ามา เมื่อสะสมเรื่องราวจากการอ่าน ได้ครบ ก็จะได้รับประกาศนียบัตรที่ถูกออกแบบ ให้ มี ดีไ ซน์ ส วยงามน่ า สะสมจากนั ก วาดภาพ ประกอบคนดั ง ของเมื อ งมาเป็ น รางวั ล ให้ ภาคภูมิใจ หรือกิจกรรมที่กระตุ้นให้เด็กๆ ผูกพันกับ หนังสือมากขึ้น อย่างเช่นโครงการ 100 authors, 1,000 of encounters ที่ให้นักเขียนชื่อดังที่เป็น ขวัญใจนักอ่านได้มาพบปะกับผูอ้ า่ นตัวน้อยๆ ถึง ห้องเรียนอย่างทัว่ ถึง นับเป็นแรงบันดาลใจสำ�คัญ ที่จะช่วยกระตุ้นให้เด็กๆ รู้สึกสนใจหนังสือและ ผูกพันกับการอ่านได้มากขึ้นอย่างชัดเจน อ่านด้วยตัวเอง อ่านเพื่อตัวเอง “อยูก่ บั ก๋ง” “กามนิต ภาคพืน้ ดิน” “คำ�พิพากษา” “ไส้เดือนตาบอดในเขาวงกต” คือตัวอย่างหนังสือ นอกเวลาของไทยบางเล่มที่ผู้อ่านต้องอาศัยการ อ่านและตีความเนื้อหาอย่างลึกซึ้ง นอกจากนี้ วรรณกรรมหลายเล่มก็ไม่ได้รับการออกแบบมา เพื่อผู้อ่านรุ่นเยาว์ ทั้งการจัดวางเนื้อหา หน้าปก หรือภาพประกอบ ทีห่ า่ งไกลจากความสนใจของ เยาวชนส่วนใหญ่ จึงอาจเป็นส่วนสําคัญที่ทำ�ให้ เกิดช่องว่างระหว่างหนังสือกับผู้อ่าน อาจเป็นการยากในการเลือกวรรณกรรม ซักเล่มเพือ่ ให้เป็นหนังสืออ่านนอกเวลาในแต่ละปี CREATIVE THAILAND I 13

การศึกษา แต่หากยกตัวอย่างหนังสือนอกเวลา ที่ต้องผ่านตาเด็กๆ ชาวฟินแลนด์ทุกคนอย่าง “เจ็ดภราดร” วรรณกรรมคลาสสิก ที่สื่อสารไป ยังผูอ้ า่ นว่าคุณค่าของการเป็นคนคือการอ่านออก เขียนได้ และเป็นกระบวนการทำ�ให้คนธรรมดา คนหนึง่ กลายเป็นคนฟินแลนด์โดยสมบูรณ์ ซึง่ ตัว วรรณกรรมเป็นเนื้อเรื่องเกี่ยวกับชีวิตผู้คนใน สมั ย นั้ น และชี้ ใ ห้ เ ห็ น ถึ ง ความสำ � คั ญ ของ วัฒนธรรมการอ่านของฟินแลนด์ เพื่อให้ผู้อ่าน เกิดความตระหนักว่าการอ่านออกเขียนได้เป็น กุญแจสำ�คัญอย่างหนึ่งที่ทำ�ให้ฟินแลนด์ใช้สร้าง ความเสมอภาคในประเทศได้สำ�เร็จ อย่างไรก็ตาม การอ่านก็ยงั คงเป็นปัจจัยสำ�คัญ ที่สร้างให้เยาวชนเติบโตขึ้นอย่างสมบูรณ์ ยิ่งมี กลไกในการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำ�นวยให้ เกิดการอ่านอย่างสมัครใจ ก็ยอ่ มช่วยให้ผอู้ า่ นเห็น คุณค่าและประโยชน์จากการอ่านได้มากยิง่ ขึน้ เมื่อถามเยาวชน คละอายุ คละระดับชั้น คละโรงเรียน/มหาวิทยาลัย ในหลายๆ จังหวัด จำ�นวน 100 คน เกี่ยวกับ “หนังสือ นอกเวลา” เฉลี่ย 5 วินาที ทีเ่ ยาวชนจำ�นวน 25 คน ใช้เพือ่ นึกชือ่ หนังสือนอกเวลาทีเ่ คยอ่าน เฉลี่ย 1 นาที ที่เยาวชนจำ�นวน 21 คน ใช้นึกชื่อหนังสือนอกเวลาที่เคยอ่าน 63 คน อ่านหนังสือนอกเวลาเพราะ ออกสอบ และ 34 คน อ่านเพราะความ สนใจส่วนตัว 74 คน ยังคงสงสัยว่าเกณฑ์ในการเลือก หนังสือนอกเวลาคืออะไร 25 คน เท่านัน้ ทีพ่ บว่าอ่านหนังสือนอก เวลาแล้วสนุก 39 คน ต้องซือ้ หนังสือนอกเวลาด้วยเงิน ของตนเอง และ 63 คน เมื่ออ่านเสร็จ แล้วก็วางไว้เฉยๆ ที่บ้าน 52 คน รูส้ กึ ว่าอ่านหนังสือนอกเวลาแล้ว ได้เรียนรู้หรือได้ข้อคิด 50 คน รู้สึกว่าหนังสือนอกเวลาไม่ได้ กระตุ้นให้รักการอ่านมากขึ้น 92 คน เห็นด้วยว่า ควรให้เด็กสามารถ เลือกหนังสือนอกเวลาเพื่ออ่านเองได้ ที่มา: สัมภาษณ์ กุลธิดา รุ่งเรืองเกียรติ นักแปล และ นักวิชาการอิสระ / บทความ “อ่าน-อ่าน-อ่าน แบบ ฟินแลนด์ ตอนที่ 1” โดย กุลธิดา รุ่งเรืองเกียรติ / บทความ “อ่าน-อ่าน-อ่าน แบบฟินแลนด์ ตอนที่ 2” โดย กุลธิดา รุ่งเรืองเกียรติ / บทความ “Literacy in Finland” โดย The European Literacy Policy Network. (ELINET)


Cover Story : เรื่องจากปก

เรื่อง: ปฏิกาล ภาคกาย

CREATIVE THAILAND I 14


แต่ปจั จุบนั ภาพของการอ่านมักมาในรูปแบบของ เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ เราอ่านข่าวสารบ้าน เมืองผ่านสมาร์ทโฟน เราอ่านตัวอย่างหนังสือ เล่มใหม่ของนักเขียนคนโปรดด้วยการเข้าไปใน เว็บไซต์ เราอ่านอะไรต่ออะไรด้วยการรูดสไลด์ ผ่านหน้าจอแท็บเล็ต คงไม่เกินไปนักที่จะบอกว่า พฤติกรรมการ อ่านได้เปลี่ยนไปแล้ว และการเปลี่ยนแปลงเช่นนีย้ อ่ มส่งผลกระทบ ต่อวงการสื่อสิ่งพิมพ์และตัวคนทำ�ไม่ใช่น้อย

ศัตรูของกระดาษ

ปลายปี พ.ศ. 2560 วงการนิตยสารเมืองไทย เกิดข่าวเป็นทีฮ่ อื ฮา เมือ่ นิตยสารทีอ่ ยูค่ กู่ บั แผงมา ยาวนาน 38 ปีอย่าง คู่สร้างคู่สม ประกาศปิดตัว จริงอยู่ว่าก่อนหน้านี้ นิตยสารหรือสื่อหลาย สำ�นักได้มีการปิดตัวกันไปบ้างแล้ว หากข่าวนี้ก็ ยังสร้างความสั่นสะเทือนให้กับคนในแวดวงสื่อ สิ่ ง พิ มพ์ อ ยู่ ดี เพราะสำ � หรั บ กลุ่ ม คนทำ � สื่ อ ใน เมืองไทย คู่สร้างคู่สม เรียกได้ว่าเป็นนิตยสาร อันดับหนึ่งที่มีฐานคนอ่านเหนียวแน่น ยอดพิมพ์ต่อเดือนที่มากถึงแสนฉบับ และ เคยทำ�ยอดขายได้สงู ถึงเดือนละ 1.6 ล้านเล่ม เป็น สถิติที่ใครๆ ก็อยากเจริญรอยตาม แต่เมื่อเวลาผ่านไป คู่สร้างคู่สม กลับทำ� กำ�ไรได้น้อยลง แม้จะมีคอลัมน์เป็นที่นิยมในหมู่ นักอ่านเป็นการดูดวงประจำ�ฉบับอย่าง คู่สมกับ ราศี หากการเฟือ่ งฟูของโซเชียลมีเดียก็ท�ำ ให้ดวง ในหนังสือได้รบั การเผยแพร่ในวงกว้าง โดยทีท่ าง นิตยสารไม่ได้รับผลประโยชน์ใดๆ ดำ�รง พุฒตาล ผู้ก่อตั้งนิตยสารบอกว่า เขา พยายามปรับตัว หาช่องทางสื่อสารกับคนอ่าน โดยตรง เปิดรับสมาชิกเพื่อจัดส่งหนังสือให้ถึง บ้าน แต่นิตยสารที่มียอดพิมพ์หลักแสนเล่มนี้ กลับมีคนสมัครสมาชิกแค่หลักร้อยเท่านั้น

goodereader.com

เมื่อพูดถึง ‘การอ่าน’ คุณนึกถึงอะไร? หากย้อนกลับไปหลายสิบปีก่อน หน้านี้ ภาพของการอ่านถูกผูกติดอยู่ กับหนังสือเป็นเล่มๆ ภาพของผู้คนที่ พกพาหนังสือไปอ่านตามที่ต่างๆ หรือ ภาพของผูค้ นทีห่ ามุมสงบๆ ในบ้าน นัง่ พลิกหนังสือท่ามกลางความเงียบ

เหตุผลทั้งหมด เพียงพอที่จะทำ�ให้ดำ�รง ตัดสินใจหยุด คู่สร้างคู่สม ไว้เพียงเท่านี้ สำ�หรับคนอ่าน การจากลาครัง้ นีเ้ ต็มไปด้วย ความเสียใจและเสียดาย ส่วนผูค้ นทีอ่ ยูใ่ นแวดวง สื่อ การจากลาครั้งนี้ทำ�ให้คำ�พูดที่ว่า “หนังสือ ตายแล้ว” กลับมาดังอีกครั้ง ย้อนกลับไปต้นยุค 90s เวลานัน้ คนในแวดวง สือ่ สิง่ พิมพ์พากันวิง่ วุน่ หาทางเอาตัวรอดจากการ มาเยือนของ ‘อีบกุ๊ ’ ด้วยคุณสมบัตทิ ี่พกพาหนังสือ ไปไหนมาไหนได้เป็นร้อยเล่ม จะหนาเท่าไหร่ ก็ไม่ส่งผลต่อน้ำ�หนัก แถมยังอ่านได้อย่างสบาย ในทีท่ ไี่ ร้แสงไฟ นักการตลาดพากันฟันธงว่าอีบกุ๊ คือตัวตายตัวแทนของหนังสือเล่ม สือ่ หลายสำ�นัก จึงต้องเตรียมลู่ทาง ทำ�หนังสือทั้งในรูปแบบ กระดาษและอีบุ๊กควบคู่กันไป หากความจริงแล้ว แม้แต่ตลาดนักอ่านอีบกุ๊ ที่ใหญ่ที่สุดอย่างสหรัฐอเมริกา ยอดขายของ หนังสือเล่มก็ยังคงมากกว่า หรือในประเทศที่ วัฒนธรรมการอ่านแข็งแรงอย่างเยอรมนี ยอดซือ้ ขายของอีบุ๊กเทียบได้กับ 5% ของการซื้อหนังสือ ทั้งปี รัสเซลล์ กรานดิเนตติ (Russell Grandinetti) ผู้ดูแลภาพรวมของ Kindle พูดติดตลกไว้ว่า หนังสือกระดาษได้เปรียบอีบุ๊กตรงที่พกพาง่าย แข็งแรง และมีแบตเตอรีท่ ยี่ าวนานกว่า ข้อดีอย่าง CREATIVE THAILAND I 15

เดียวที่อีบุ๊กมี อาจเป็นการเพิ่มขนาดตัวหนังสือ ได้ตามใจชอบ นอกจากนี้ เขายังเสริมอีกว่า เทคโนโลยี ที่ เ กี่ ย วกั บ การอ่ า นทั้ ง หลายมี ก าร อัพเดตมากเกินไป ซึง่ หลายครัง้ ทำ�ให้อารมณ์ของ นักอ่านต้องสะดุดลง ถ้าอีบกุ๊ ไม่สามารถโค่นล้มสือ่ สิง่ พิมพ์ได้ แล้ว เหตุใด สื่อทั้งหลายจึงค่อยๆ ปิดตัว? บางทีคำ�ตอบอาจอยู่ใกล้ตัวกว่าที่เราคิด

ออนไลน์ 24 ชั่วโมง

ในแต่ละวัน คุณหยิบสมาร์ทโฟนขึ้นมาเช็ก บ่อยแค่ไหน แล้วระหว่างที่นั่งทำ�งาน คุณสลับ หน้าจอไปเช็กโซเชียลมีเดียบ่อยหรือเปล่า ไม่ต้องกลัวที่จะตอบว่า “บ่อย” เพราะมี หลายคน (รวมถึงเราด้วย) ที่เป็นแบบนี้เช่นกัน Mediakix บริษทั ดิจทิ ลั เอเจนซีท่ �ำ การติดต่อ โซเชียลมีเดียต่างๆ เพื่อขอเข้าไปเก็บข้อมูลผู้ใช้ บริการในช่วงวัยตั้งแต่ 13-79 ปี เพื่อนำ�มาหาค่า เฉลี่ยว่าในแต่ละวัน เราใช้เวลากับสิ่งเหล่านี้มาก น้อยขนาดไหน 116 นาทีคือค่าเฉลี่ยที่เราใช้ไปในแต่ละวัน แบ่งออกเป็น ยูทูบ 40 นาที เฟซบุ๊ก 35 นาที สแน็ปแชต 25 นาที อินสตาแกรม 15 นาที และ ทวิตเตอร์ 1 นาที


ตัวเลขข้างต้นอาจดูน้อยและกว้างเกินไป Common Sense Media องค์กรที่มุ่งหวังให้ ความรู้ผู้ปกครองเพื่อคอยเฝ้าสำ�รวจพฤติกรรม การใช้เทคโนโลยีของลูกๆ จึงไปเก็บข้อมูลวัยรุ่น (13-19 ปี) ชาวอเมริกัน ก่อนพบว่า พวกเขาใช้ เวลา 9 ชัว่ โมงต่อวันไปกับการออนไลน์ในโซเชียล มีเดีย พร้อมหมายเหตุแนบว่า เวลาดังกล่าวไม่ นั บ รวมช่ ว งที่ ใ ช้ อิ น เทอร์ เ น็ ต เพื่ อ ทำ � งานเลย ด้วยซ้ำ�! ข้อมูลเหล่านี้เกี่ยวข้องกับวงการหนังสือ อย่างไร? ปฏิเสธไม่ได้วา่ เมือ่ ผูค้ นไปรวมตัวกันในโลก ออนไลน์ สื่อหลายเจ้าก็ต้องพากันตบเท้าเข้ามา ช่วงชิงพื้นที่ การปรากฏตัวบนอินเทอร์เน็ตกลาย เป็นช่องทางที่แทบทุกสื่อต้องมี แรกๆ การเคลื่อนย้ายถ่ายข้อมูลไปสู่โลก ออนไลน์อาจไม่ต่างอะไรกับการที่ต้องทำ�อีบุ๊ก ควบคู่กันไป แต่ทันทีที่เฟซบุ๊ก หรือทวิตเตอร์ได้ รับความนิยม สื่อแต่ละเจ้าต่างต้องช่วงชิงความ สนใจให้ได้มากกว่าเดิม เพราะนอกจากจะต้อง นำ�เสนอให้รวดเร็วและพิเศษสุดกว่าสือ่ สำ�นักอืน่ ๆ แล้ว เนือ้ หาทีห่ มัน่ เพียรทำ�กันมา ยังต้องดึงความ สนใจให้ได้มากกว่าสเตตัสจากเพือ่ นๆ ของนักอ่าน และต้องมีวิธีการนำ�เสนอที่น่าดึงดูดพอให้อ่าน จนจบ Slate.com เว็บไซต์แม็กกาซีนออนไลน์แห่ง สหรัฐอเมริกา ร่วมมือกับ Chartbeat องค์กรที่

เชี่ยวชาญด้านการเก็บข้อมูลบนโลกออนไลน์ ศึกษาพฤติกรรมการอ่านของผู้ใช้บริการเว็บไซต์ Slate และเว็บไซต์จ�ำ พวกเดียวกันอีกหลายเว็บว่า เมื่อผู้คนกดเข้ามาอ่านบทความ พวกเขาเลื่อน เมาส์หรือสไลด์อ่านจนจบหรือไม่ ผลก็คอื มีผใู้ ช้งานทีค่ ลิกเข้ามา แล้วปิดทันที โดยไม่เลื่อนดูอะไรเลยประมาณ 5% ส่วนคนที่ให้ ความสนใจ อ่านไปได้จนถึงครึ่งทางมีแค่ 25 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น นอกจากนี้ เว็บไซต์ที่เผยแพร่ บทความออนไลน์อย่าง Upworthy.com ยังได้ ทำ�การเก็บข้อมูลว่า คนทีแ่ ชร์บทความของพวกเขา ไปนั้นได้อ่านมันจริงๆ บ้างหรือเปล่า ก่อนพบว่า คนที่กดแชร์ส่วนใหญ่ เพิ่งอ่านบทความไปได้แค่ 10 เปอร์เซ็นต์ และยังมีขอ้ มูลบ่งชีด้ ้วยว่า เนือ้ หา ทีม่ ภี าพถ่ายหรือวิดโี อเป็นหลักจะถูกแชร์มากกว่า เนื้อหาที่มีแต่ตัวอักษรมากถึง 40 เท่า! เมื่อพฤติกรรมการอ่านเป็นเช่นนี้ ผู้คนใน แวดวงสื่อจึงต้องปรับตัวขนานใหญ่ คนที่เคย คลุกคลีกับการสื่อสารผ่านหน้ากระดาษ เว้น จังหวะให้อ่านได้อย่างราบรื่น เมื่อมาอยู่ในโลก ออนไลน์ก็ต้องปรับตัว เขียนหัวข้อให้ชวนดึงดูด นำ�ใจความที่อยากสื่อมาพูดตั้งแต่ย่อหน้าแรก แถมยังต้องย่อยข้อมูลให้กระชับ และนำ�เสนอ ควบคูไ่ ปกับภาพประกอบทีจ่ ะชวนให้คนหยุดดูได้ แต่เมื่อโพสต์ใหม่ๆ บนอินเทอร์เน็ตเกิดขึ้น วันละไม่ต่ำ�กว่าสองล้านโพสต์ ประกอบกับผู้คน ใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับโลกออนไลน์ ในทางหนึ่ง CREATIVE THAILAND I 16

มันจึงส่งผลกระทบต่อวงการหนังสือกระดาษ อย่างช่วยไม่ได้ ผูค้ นไม่เปิดอ่านหนังสือเล่ม ยอดขายหนังสือ ตกเป็นประวัตกิ ารณ์ วนเวียนเป็นวัฏจักรจนทำ�ให้ หลายสำ�นักหมดแรงที่จะแข่งขัน จากที่ อิ น เทอร์ เ น็ ต กลายเป็ น ช่ อ งทางที่ ต้องมี สำ�หรับบางเจ้ากลายเป็นช่องทางเดียวที่ เหลืออยู่ แต่ นั่ น ไม่ ไ ด้ ห มายความว่ า เป็ น เรื่ อ งร้ า ย เสมอไป เมือ่ ข้อดีของอินเทอร์เน็ตคือความว่องไว สือ่ บางประเภทจึงช่วงชิงความได้เปรียบในเรือ่ งนี้ เอาไว้ได้ โดยเฉพาะวงการแฟชั่นและดาราที่ ยอดขายแบบเป็นเล่มลดลงอย่างชัดเจน ส่วนหนึง่ เป็นเพราะความเฟื่องฟูของอินสตาแกรม และ การที่ดาราสามารถมีช่องทางในการพูดคุยหรือ อัพเดตข่าวสารได้โดยตรง กิจกรรมหลายอย่างจึง ไม่ใช่เรื่องลับอีกต่อไป รวมถึงการติดตามเทรนด์ แฟชั่น ที่ระยะเวลาในการวางแผงของนิตยสาร อาจทำ�ให้เทรนด์นั้นหายลับไปแล้ว นีจ่ งึ อาจเป็นเหตุผลทีท่ �ำ ให้ชว่ งปลายปี 2017 Condé Nast Inc. บริษทั สือ่ ยักษ์ใหญ่แห่งอเมริกา ประกาศว่าจะหยุดการตีพิมพ์ Teen Vogue นิตยสารแฟชั่นวัยรุ่นในแบบรูปเล่ม และหันไป สื่อสารผ่านทางออนไลน์อย่างเต็มรูปแบบ เช่น เดียวกับอีกหนึ่งนิตยสารแฟชั่นต่างเครืออย่าง NYLON ที่จะหันไปเอาดีทางออนไลน์เช่นกัน


ต้นทุนของโลกออนไลน์

แม้การตัดสินใจเลิกพิมพ์หนังสือเล่ม แล้ว พาตัวเองเข้าสู่โลกออนไลน์จะเป็นทางเลือกของ สื่อสิ่งพิมพ์หลายเจ้า แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ารูปแบบ ของธุรกิจนั้นยังไม่ต่างจากไปเดิม หากการทำ�หนังสือในรูปแบบเดิม ต้องหาค่า โฆษณาเพือ่ มาช่วยค่าใช้จา่ ยในส่วนของการผลิต และรายได้ของทีมงาน การทำ�เนือ้ หาเพือ่ เผยแพร่ บนโลกออนไลน์ ก็ตอ้ งมีคา่ ใช้จา่ ยในส่วนเหล่านัน้ เช่นกัน สำ�หรับต่างประเทศ ปัญหาหลักๆ คือการ ที่นายทุนส่วนใหญ่หันไปลงโฆษณากับกูเกิลและ เฟซบุ๊กโดยตรง ทำ�ให้หลายสำ�นักต้องหาทางเอา ตัวรอดกันอย่างหนักหน่วง บ้างก็ได้สายสัมพันธ์ อันดีที่มีมายาวนาน บ้างก็ได้นายทุนหน้าใหม่ๆ ที่ ใ ห้ ก ารสนั บ สนุ น แต่ บ้ า งก็ เ ลื อ กใช้ วิ ธีวั ด ใจ คนอ่านด้วยการให้สมัครสมาชิก ย้อนกลับไปช่วงปี 2012 The New York Times หนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่แห่งสหรัฐอเมริกา บอกว่า จะให้สิทธิ์ในการอ่านข่าวบนเว็บไซต์ฟรี แค่เดือนละสิบครั้งเท่านั้น (ก่อนปรับเป็นห้าครั้ง ในปลายปี 2017) ถ้าใครอยากอ่านมากกว่านี้ คุณต้องเสียเงินเพื่อสมัครสมาชิก ช่วงแรกที่ The New York Times ประกาศ เช่นนี้ เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนาหูว่าการ อ่านข่าวออนไลน์จ�ำ เป็นต้องเสียเงินด้วยหรือ และ ถ้าต้องเสียเงินจริงๆ ยอมซื้อแบบเป็นเล่มจะดี กว่าไหม แต่เหล่าผู้บริหารและทีมงานก็ไม่สนใจ มุง่ มัน่ ทำ�หน้าทีข่ องตัวเองอย่างแข็งขัน จนพิสจู น์ ได้ว่าข่าวสารในโลกออนไลน์ของพวกเขาคุ้มค่า กับการเสียเงิน จากเดิมที่ในปี 1995 The New York Times มีสมาชิกที่รับหนังสือพิมพ์แบบเป็นรูปเล่ม 1.5 ล้านคน ในปี 2015 พวกเขามีสมาชิกในรูปแบบ ดิจทิ ลั เพียงอย่างเดียว 1.2 ล้านคน และในปี 2017 The New York Times ก็สามารถเก็บเงินจาก โมเดลนี้ได้มากถึง 2.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่ง ถือว่ามากเป็นประวัติการณ์ จนทำ�ให้ตัวเลขที่ The New York Times ได้จากการรับสมัครสมาชิก นั้นมากกว่าค่าโฆษณาที่ได้จากลูกค้าไปแล้ว เช่นเดียวกับนิตยสารข่าวอย่าง The Economist ที่ ก็เน้นให้ ผู้อ่านสมัครสมาชิก โดยใช้ช่องทาง โซเชียลมีเดียเผยแพร่บทความทางออนไลน์ให้

มากขึ้น และหันไปเอาจริงเอาจังกับการกระจาย ขายตัวสิ่งพิมพ์ทั่วโลก เพื่อที่จะได้สมาชิกใหม่ๆ จากทั้งสองช่องทาง ความพยายามของ The Economist สำ�เร็จ เป็นผลอย่างงดงาม โดยเฉพาะในปี 2017 หลัง จากที่โลกเกิดเหตุการณ์สำ�คัญๆ อย่าง Brexit หรือการได้รบั เลือกเป็นประธานาธิบดีของโดนัลด์ ทรัมป์ ยอดขายและยอดสมัครสมาชิก ไม่วา่ จะทาง รูปเล่มหรือออนไลน์พุ่งขึ้นเป็นเท่าตัว และไม่ใช่ แค่กับ The Economist เท่านั้น หากยังรวมไปถึง นิตยสารหรือหนังสือพิมพ์ในแนวเดียวกันอีกด้วย เฟรเซอร์ เนลสัน (Fraser Nelson) บรรณาธิการ ของ The Spectator นิตยสารเกี่ยวกับสังคม การเมืองในอังกฤษ แสดงความเห็นเกี่ยวกับ เรือ่ งนีไ้ ว้วา่ “ข่าวในโลกออนไลน์มใี ห้เสพมากมาย แต่ในบรรดาข่าวเหล่านั้น ก็มีข่าวปลอมอยู่เยอะ ถ้ า นิ ต ยสารและหนั ง สื อ พิ ม พ์ ส ามารถผลิ ต บทความทีม่ คี ณุ ภาพกว่าในโลกออนไลน์ได้ ผูค้ น ก็ยินดีที่จะซื้อมัน” CREATIVE THAILAND I 17

หนังสือตายแล้ว

ข้อมูลที่กล่าวไปก่อนหน้านี้ อาจชวนให้คิด ว่าหนังสือเล่มคงถึงคราวใกล้จุดจบจริงๆ แต่ ความจริงแล้ว หนังสือเล่มยังคงมีชีวิตและยังมี ผู้คนอีกมากมายที่พร้อมจะโอบอุ้มมัน Mintel สำ�นักวิจัยการตลาดจากอังกฤษ พยากรณ์ว่าหนังสือเล่มจะยังคงอยู่ต่อไป อ้างอิง จากการสำ�รวจที่พบแนวโน้มว่า ในปี 2022 ยอด ขายหนังสือเล่มที่อังกฤษมีสิทธิ์พุ่งขึ้นไปถึง 2.1 พันล้านปอนด์ โดยหนึ่งเหตุผลที่สอดคล้องกันดี กับยุคสมัยคือ การทีเ่ จ้าของหนังสือจะดูนา่ สนใจ เวลาโพสต์ภาพลงโซเชียลมีเดีย หรือในสายตา ของแขกที่มาเยี่ยมบ้าน แน่นอนว่ากลุ่มคนทำ�หนังสือต่างรับรู้และ สอดรับพฤติกรรมนี้อย่างดี หากมองไปที่หนังสือ ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะในหรือนอกประเทศ เราจะ พบกับหนังสือที่คุ้มค่าแก่การมีไว้ในครอบครอง และควรค่าที่จะนำ�ไปโพสต์ไว้บนอินสตาแกรม


artasiapacific.com

รีเบคกา แมคกรัธ (Rebecca McGruth) นักวิเคราะห์สื่อจาก Mintel เสริมว่า ชั้นหนังสือ กลายเป็นอีกสิ่งที่ผู้คนโหยหา เพราะนอกจาก เหตุผลข้างต้นแล้ว ชั้นหนังสือยังให้ความรู้สึก เหมือนได้อยูบ่ า้ น การมีหนังสือประดับประดาจึง เป็นสิง่ ช่วยชุบชูใจให้กบั ผูท้ ตี่ อ้ งเช่าทีพ่ กั อาศัยอยู่ ได้อย่างดี นอกจากนี้ อีกเหตุผลทีผ่ คู้ นนิยมซือ้ หนังสือ เล่มมากขึ้น เป็นเพราะระหว่างวันต้องจ้องจอ อุปกรณ์ตา่ งๆ มากเกินไป อีกทัง้ ยังอยากพักผ่อน จากความว่องไวของข้อมูลข่าวสาร และข้อมูลที่ ทะลักล้นเกินจำ�เป็น พวกเขาจึงอยากหาทาง หลีกหนีจากมัน โดยนอกจากจะมีหนังสือไว้ใน ครอบครองสั ก เล่ ม แล้ ว พวกเขายั ง ต้ อ งการ หนั ง สื อ ที่ จ ะตอบสนองความสนใจในเรื่ อ งที่ ต้องการได้จริงๆ สิ่งนี้สอดคล้องกับการปรากฏตัวของคนทำ� สื่อสิ่งพิมพ์กลุ่มหนึ่ง เราอาจเรียกพวกเขาได้ว่า กลุม่ คนทำ�หนังสือนอกกระแส เพราะนอกจากจะ ยื น ยั น ที่ จ ะนำ � เสนอเนื้ อ หาผ่ า นกระดาษเป็ น หลักแล้ว พวกเขายังพิถีพิถันกับการทำ�เนื้อหา การคัดเลือกภาพประกอบ การออกแบบรูปเล่ม ไปจนถึงการเลือกระยะเวลาที่เหมาะสมของการ วางจำ�หน่าย และจากเดิมที่นิตยสารหรือหนังสือ ต้องพูดให้กว้างๆ เข้าไว้ กลุม่ คนเหล่านีก้ ลับเลือก ที่จะตีกรอบให้เล็กลง แล้วเลือกทำ�แค่ในสิ่งที่ พวกเขาสนใจ จากเดิมที่ควรเสพข่าวสารกันอย่างว่องไว Delayed Gratification นิตยสารรายสีเ่ ดือนจาก อังกฤษเลือกโผล่ออกมากลางวง แล้วประกาศตัว

ว่าจะทำ�ตัวเป็น Slow Journalism หรือกลุ่มคน ข่าวที่จะย้อนกลับไปมองว่าในช่วงระยะเวลาที่ ปิดเล่มอยู่นั้น มีข่าวใดที่ผู้คนหลงลืมมันไปแล้ว พวกเขาจะพากลับไปสำ�รวจเหตุการณ์ที่เราเคย เห็นในหน้า Breaking News อีกครัง้ ว่าทีจ่ ริงแล้ว จบลงอย่างไร มีเบือ้ งลึกเบือ้ งหลังแบบไหน พร้อม นำ � เสนอในรู ป แบบของบทความเชิ ง สารคดี ประกอบกับอินโฟกราฟิกสวยงาม จากเดิมทีข่ า่ วสารวงการบันเทิง ถูกนำ�เสนอ ควบคู่ ไ ปกั บ เรื่ อ งราวในมุ้ ง และภาพกอสซิ ป Little White Lies นิตยสารรายสองเดือนจาก อังกฤษเปิดโอกาสให้คนที่สนใจโลกภาพยนตร์ ได้ตดิ ตามในเรือ่ งทีเ่ กีย่ วกับภาพยนตร์ลว้ นๆ โดย นอกจากให้พื้นที่ครึ่งเล่มไปกับการทำ�เนื้อหาที่ เกี่ยวกับภาพยนตร์ที่ขึ้นปกเพียงเรื่องเดียวแล้ว ยังให้ความสำ�คัญกับภาพประกอบถึงขั้นลงทุน จ้างศิลปินมาวาดใหม่ทุกเล่ม จากเดิมที่ต้องติดตามข่าวสารของคนดัง Benji Knewman นิตยสารรายสองเดือนจากลัตเวีย (ที่ นำ � เสนอในรู ป แบบสองภาษา ลั ต เวี ย และ อังกฤษ) เลือกไปสัมภาษณ์คนปกติธรรมดาที่ ไม่ได้มีชื่อเสียงอะไรนัก เพราะพวกเขาเชื่อว่า เรื่องราวของมนุษย์ทุกคนล้วนน่าสนใจไม่แพ้กัน และจากเดิมที่นิตยสารต้องนำ�เสนอในธีมที่ ยิ่งใหญ่อลังการหรือมีความครีเอทีฟที่หลายคน คาดไม่ถึง MacGuffin จากเนเธอร์แลนด์ ให้ ความสนใจสิง่ ของทีเ่ ราเห็นจนชินในชีวติ ประจำ�วัน อย่างเตียงนอน หน้าต่าง เชือก แล้วค่อยๆ ขุดไป หารากว่าสิ่งของเหล่านี้มีความเป็นมาอย่างไร สัมพันธ์กับมนุษย์แบบไหน CREATIVE THAILAND I 18

ขณะที่กลุ่มคนทำ�สำ�นักพิมพ์ขนาดเล็กนั้น ด้วยขนาดขององค์กรที่กะทัดรัด ทำ�ให้ปริมาณ หนังสือทีต่ อ้ งผลิตไม่จ�ำ เป็นต้องเยอะเท่า พวกเขา มีเวลากับการดูแลต้นฉบับเพิม่ ขึน้ อีกทัง้ สามารถ กำ�หนดช่วงเวลาในการขายได้ด้วยตัวเอง ไม่ จำ�เป็นต้องวางแผนล่วงหน้านาน ซึ่งหลายครั้งที่ หนังสือของสำ�นักพิมพ์ขนาดเล็กสามารถทำ�ผลงาน ได้ ดีห รื อ เที ย บเท่ า กั บ สำ � นั ก พิ ม พ์ ข นาดใหญ่ อย่างในอังกฤษนั้นพบว่า อัตราการขายหนังสือ พ็อคเก็ตบุ๊กของเหล่าสำ�นักพิมพ์ขนาดเล็กในปี 2017 เพิ่มขึ้นมากกว่าปีก่อน 79 เปอร์เซ็นต์ นอกจากฝั่งทีมงานแล้ว ไม่ว่าเทคโนโลยีจะ เปลี่ยนไปขนาดไหน อาชีพนักเขียนก็ยังเป็นสิ่งที่ ผู้คนอยากเป็น และการมีหนังสือของตัวเองสัก เล่มก็น่าจะเป็นความฝันของใครหลายคน บ้าง เลือกส่งต้นฉบับไปตามที่ต่างๆ บ้างลงทุนพิมพ์ หนังสือด้วยตัวเอง (Print on Demand) หรือบ้าง ก็เลือกใช้บริการที่จัดทำ�ขึ้นมาเพื่อนักอยากเขียน โดยเฉพาะ Book in a Box คือบริการทีจ่ ะทำ�ให้ความฝัน เหล่านัน้ เป็นจริง (แต่คณุ ต้องจ่าย 25,000 เหรียญ สหรัฐฯ) โดยจะใช้เวลาอย่างน้อยเจ็ดเดือน ทำ�การ สัมภาษณ์ เรียบเรียงต้นฉบับ ขัดเกลา ตรวจแก้ ดูแลให้เสร็จเป็นรูปเล่ม พร้อมนำ�ไปจัดจำ�หน่าย แต่ทั้งหมดนี้ต้องเกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไขที่ว่า นักอยากเขียนทุกคนต้องมีไอเดียต้นฉบับอยูใ่ นหัว และมองภาพเห็นแล้วว่า หนังสือเล่มนี้มีผู้อ่าน เป็นใคร


Radu Marcusu

ชีวิตของหนังสือ

ว่ากันว่าหนังสือเล่มหนึ่งจะเดินทางครบ วงจรชีวิตก็ต่อเมื่อถูกเปิดอ่าน แต่ก่อนไปถึงจุดนั้น สิ่งที่หนังสือเล่มหนึ่ง ควรทำ�ให้ได้คือ หานักอ่านของตัวเองให้เจอ ย้อนเวลาไปก่อนหน้านี้ การที่หนังสือได้มี พืน้ ทีอ่ ยูใ่ นร้านถือเป็นโอกาสอันดีทจี่ ะทำ�ให้ผอู้ า่ น หน้าใหม่ได้ลองทำ�ความรู้จัก แต่กับช่วงเวลาที่ ร้านหนังสือเริม่ หดหาย แถมพืน้ ทีใ่ นการวางยังถูก จำ�กัดให้กับสื่อยักษ์ใหญ่ หนังสือของกลุ่มคนตัว เล็กๆ จึงแทบไม่ได้ผุดขึ้นมาหายใจ กับช่วงเวลาปัจจุบัน ยุคที่ทุกอย่างอยู่ที่ ปลายนิว้ และทุกคนเข้าถึงโซเชียลมีเดีย กลุม่ คน ทำ � เหล่ า นิ ต ยสารนอกกระแสและสำ � นั ก พิ ม พ์ ขนาดเล็ก จึงไม่รอช้าที่จะใช้ช่องทางเหล่านี้ ให้ เ ป็ น ประโยชน์ พวกเขาใช้ เ ฟซบุ๊ ก ในการ

ประชาสัมพันธ์ ใช้ทวิตเตอร์เพื่อรายงานความ เคลื่อนไหว กระทั่งร้านหนังสือก็ไม่จำ�เป็นต้องง้อ ยักษ์ใหญ่อกี ต่อไป เพราะนอกจากกลุม่ คนทำ�แล้ว ร้านหนังสืออิสระก็เกิดขึ้นทั่วทุกมุมโลก ไม่ว่าจะ ในรูปแบบของร้านขนาดเล็ก หรือร้านที่ตั้งตัว อยู่ในโลกออนไลน์ก็ตาม stackmagazines.com คือหนึ่งในเว็บไซต์ ที่โดดเด่น มีถิ่นฐานอยู่ในอังกฤษ เปิดตัวมาด้วย ความตั้งใจจะเป็นศูนย์กลางให้กับเหล่านิตยสาร นอกกระแสได้ มี พื้ น ที่ ใ นการประชาสั ม พั น ธ์ พร้อมทำ�ให้นิตยสารจากทั่วทุกมุมโลกเหล่านั้น กลายเป็นที่รู้จัก โดยไม่เพียงแค่เขียนบทความ แนะนำ� หากยังมีระบบสมัครสมาชิกที่น่าสนใจ แต่ ล ะเดื อ น STACK จะเปิ ดรั บ สมาชิ ก จากนั้นพวกเขาจะคัดเลือกนิตยสารที่โดดเด่น โดนใจจัดส่งไปให้คุณถึงบ้าน โดยไม่บอกก่อน

ด้วยว่า นิตยสารเล่มนัน้ เกีย่ วกับอะไรหรือเจ้าไหน แน่นอนว่าอย่างหนึง่ เพือ่ สร้างความเซอร์ไพรส์ แต่ อย่างหนึ่งก็เพื่อที่คุณจะได้ทำ�ความรู้จักนิตยสาร เล่มนั้นด้วยตัวเอง วิธีการของ STACK ในทางหนึ่งอาจเป็น เหมือนการทำ�มาค้าขายในโลกธุรกิจ แต่ในทาง หนึ่ง มันคือการทำ�ให้ผู้ที่อยู่เบื้องหลังได้เห็นว่า สิ่ ง ที่ พ วกเขาทุ่ ม เททำ � ไปนั้ น มี ผู้ ค นรั บ รู้ แ ละ สนใจมัน หนังสือเล่มหนึ่งคงไม่มีวันเดินทางได้ครบ วงจรชีวิต ถ้าเกิดไม่มีคนที่คอยปลุกปั้น และนี่อาจเป็นการต่อลมหายใจให้กับผู้คน เหล่านัน้ ได้มเี รีย่ วแรงต่อไป ไม่วา่ สิง่ ทีท่ �ำ อยูจ่ ะถูก นำ�เสนอในรูปแบบของกระดาษหรือออนไลน์ ก็ตาม

ที่มา: บทความ “ลาแผงจริง! เปิดใจ ‘ดำ�รง พุฒตาล’ ปิดตำ�นานนิตยสาร ‘คู่สร้างคู่สม’…โซเชียลทำ�ให้เราท้อใจ” จากprachachat.net / บทความ “Condé Nast to Cease Teen Vogue in Print, Cut 80 Jobs and Lower Mag Frequencies” จาก wwd.com / บทความ “E-Books Sales to Drop as Bookshelf Resurgence Sparks ‘Shelfie’ Craze” โดย Katie Morley จาก telegraph.co.uk / บทความ “From Papyrus to Pixels: The Digital Transformation Has Only Just Begun” จาก economist.com / บทความ “How Much Time Do We Spend on Social Media?” จาก mediakix.com / บทความ “Internet Stats & Facts for 2017” โดย John Stevens จาก hostingfacts.com /บทความ “Reading in the Digital Age” จาก commonsensemedia.org / บทความ “Small Indie Publishers Report Booming Sales” โดย Danuta Kean จาก theguardian.com / บทความ “3 Interesting Things Attention Minutes Have Already Taught Us” จาก upworthy.com / บทความ “You Won’t Finish This Article” โดย Farhad Manjoo จาก slate.com / บทความ “Why People Pay to Read The New York Times” โดย Lydia Polgreen จาก medium.com CREATIVE THAILAND I 19


surfacefragments.blogspot.com

Insight : อินไซต์

เรื่อง: ศรัณย์ วงศ์ขจิตร

คงไม่มียุคสมัยใดที่คนเราต้อง “อ่าน” มากเท่ากับทุกวันนี้ เพราะแม้แต่การคุยกัน เรายังต้องพิมพ์และอ่านผ่านสมาร์ตโฟน หรือแท็บเล็ต เรายังคงอ่านเพื่อรับข้อมูลข่าวสาร ความรู้ และความบันเทิง เพียงแต่เราอาจจะไม่ได้อ่านผ่านหนังสือกระดาษ แต่เพียงอย่างเดียวและมากเท่าเดิมอีกแล้ว ในปี 2010 The Washington Post Company ตัดสินใจขาย Newsweek นิตยสารข่าวราย สัปดาห์ให้กับนักลงทุนอย่างซิดนีย์ ฮาร์แมน (Sidney Harman) เพื่ อ หวั ง ให้ ช่ ว ยกอบกู้ สถานการณ์ทางการเงิน โดยมีแผนควบรวม กิจการเข้ากับ The Daily Beast เว็บไซต์ข่าวที่ เปิดตัวในปี 2008 ราวสองปีหลังเปลีย่ นมือเจ้าของ Newsweek ประกาศว่า ฉบับวันที่ 31 ธันวาคม 2012 จะเป็นฉบับ “#Last Print Issue” กล่าวคือ

จะพิมพ์นิตยสารฉบับสุดท้ายหลังจากที่เริ่มวาง แผงตั้งแต่ปี 1933 โดยมุ่งเป็นนิตยสารออนไลน์ เต็มตัว สถานการณ์ขา้ งต้นกำ�ลังบอกถึงอนาคตของ สื่อสิ่งพิมพ์ที่เชื่อกันว่ากำ�ลังจะตายได้เป็นอย่างดี แต่ เ หมื อ นหลุ ม ฝั ง ศพจะยั ง กลบกองกระดาษ ไม่มิด เพราะหลังจากที่ Newsweek เปลี่ยนมือ เจ้าของอีกครั้งในปี 2013 โดย IBT Media บริษัท สื่อดิจิทัลซึ่งมีเจ้าของและบริหารโดยเอเตียนน์ CREATIVE THAILAND I 20

อูแซก (Etienne Uzac) และโจนาธาน เดวิส (Johnathan Davis) ได้ตดั สินใจพิมพ์ Newsweek ฉบับกระดาษวางจำ�หน่ายอีกครั้งเมื่อต้นปี 2014 เพียงแต่คราวนี้ มองว่าฉบับกระดาษเป็นของ พรีเมียม จึงขึ้นราคาปกเกือบเท่าตัว และหวังพึ่ง รายได้จากยอดบอกรับสมาชิกและยอดขายจริง มากกว่าค่าโฆษณา โดยปัจจุบันมียอดพิมพ์ที่ 100,000 ฉบับต่อปกเท่านัน้ จากทีเ่ คยมียอดพิมพ์ สูงสุดถึง 3.3 ล้านฉบับ


สำ�หรับคนรักสิ่งพิมพ์ สถานการณ์ข้างต้น อาจเป็ น ข่ า วดี ว่ า คนจะยั ง ชอบอ่ า นหนั ง สื อ กระดาษ แต่ จำ � นวนยอดพิ ม พ์ ที่ ล ดลงอย่ า ง มหาศาลก็เป็นสัญญาณบอกด้วยว่า สือ่ สิง่ พิมพ์คง จะไม่ได้เป็นธุรกิจทีท่ �ำ กำ�ไรมหาศาลอีกต่อไปแล้ว และหนังสือที่พิมพ์ลงบนกระดาษดูจะกลายเป็น ของพรีเมียมและกลายเป็นตลาดแบบเฉพาะกลุม่ มากขึ้นทุกที คำ � ถามที่ ถ ามกั น บ่ อ ยในยุ ค ดิ จิ ทั ล ก็ คื อ ในอนาคตจะยังมีหนังสือกระดาษอยู่หรือไม่? ข้อเขียนจำ�นวนหนึง่ (ดูบทความในทีม่ า) ให้ค�ำ ตอบ ตรงกันว่า “หนังสือจะยังคงอยู่” แต่คงไม่ใช่ใน สถานะเดิม การอ่านหนังสือที่พิมพ์ลงบนกระดาษให้ ประสบการณ์แบบที่การอ่านบนหน้าจอทำ�ไม่ได้ กลิน่ ของหมึกทัง้ ใหม่และเก่า สัมผัสระหว่างนิว้ มือ กับกระดาษ เสียงเวลาพลิกหน้ากระดาษ การ ยืม-คืนหนังสือระหว่างเพื่อน การให้หนังสือเป็น ของขวัญ หรือความสุขทีไ่ ด้เห็นหนังสือวางอยูบ่ น ชัน้ โชว์ทเี่ จ้าของบ้านภูมใิ จ ฯลฯ เหล่านีค้ อื เหตุผล ที่ ค่ อ นข้ า งจะโรแมนติ ก และถวิ ล หาอดี ต (nostalgic) สักหน่อยที่คนรักหนังสือเชื่อว่าจะ ทำ�ให้หนังสือยังอยู่ต่อไป ด้ ว ยคุ ณ ลั ก ษณะข้ า งต้ น ที่ จ ะถู ก ขั บ เน้ น มากขึน้ เรือ่ ยๆ หนังสือจะกลายเป็นสิง่ พิเศษ ของ สะสม และอาจกลายเป็นชิ้นงานศิลปะขึ้นทุกที และหากเรามองหนังสือแบบสเปกตรัม ปลายทาง ด้านหนึง่ คงเป็นหนังสือทีเ่ ราคุน้ ชินกัน ส่วนปลาย ทางอีกด้านคงเป็นงานศิลปะ ตัวอย่างหนังสือที่กลายเป็นงานศิลปะ เรา อาจเห็นได้ชดั เจนจากงานของไบรอัน เด็ตต์เมอร์ (Brian Dettmer) ศิลปินชาวอเมริกันที่นำ�หนังสือ เก่ า มาตกแต่ ง แกะสลั ก ราวกั บ เป็ น ชิ้ น งาน ประติมากรรมเพือ่ มอบชีวติ ใหม่ให้กบั มัน หรือหาก ไปให้สุดทางยิ่งขึ้น เราก็อาจจะเห็นหนังสือกลาย เป็นไส้กรอก เช่นงานศิลปะที่ชื่อ Literaturwurst (Literature Sausage หรือ ไส้กรอกวรรณกรรม) โดยดีเทอร์ รอธ (Dieter Roth) ศิลปินเชื้อสาย สวิส-เยอรมัน ผูท้ นี่ �ำ หนังสือมาผสมกับเครือ่ งปรุง ต่างๆ สำ�หรับทำ�ไส้กรอกจริงๆ โดยในปี 1974 รอธใช้งานฉบับสมบูรณ์จ�ำ นวน 20 เล่ม ของจอร์จ วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิล (Georg Wilhelm Friedrich

Hegel) นักปรัชญาคนสำ�คัญของโลกมาทำ�เป็น เนื้อไส้กรอก!!! หากเราขยับจากปลายทางด้านศิลปะเข้ามา สักหน่อย เราก็จะพบหนังสือของแกร์ฮาร์ด ชไตเดิล (Gerhard Steidl) เจ้าของโรงพิมพ์และสำ�นักพิมพ์ Steidl สำ�นักพิมพ์ขนาดย่อมในเยอรมนีทเี่ น้นผลิต หนังสือภาพถ่ายศิลปะ โดย Steidl จะร่วมงานกับ ศิลปินทั่วโลกในการทำ�หนังสือศิลปะสักเล่มที่ทั้ง ประณีตและพิมพ์ดว้ ยคุณภาพขัน้ สูง หนังสือของ Steidl มีตงั้ แต่ราคาไม่กสี่ บิ ยูโรไปจนกระทัง่ เกือบ 8,000 ยูโร ราคาก็ขึ้นอยู่กับทั้งกระดาษและ เทคนิคที่ใช้ จำ�นวนยอดพิมพ์ เวลา และความ ยากง่ายในการทำ�งานของแต่ละเล่ม ดังนัน้ การมี หนังสือของ Steidl อวดอยู่บนชั้นจึงอาจเป็น เหมือนการมีของประดับหรืองานศิลปะหรูหราโชว์ อยู่ในบ้าน นอกจากความสัมพันธ์ที่ดีกับศิลปิน และแบรนด์ที่แข็งแรงแล้ว หนังสือศิลปะในแบบ Steidl มีตน้ ทุนและราคาสูง มีกลุม่ ผูอ้ า่ นหรือผูซ้ อ้ื เฉพาะ จึงไม่ใช่ว่าใครๆ จะทำ�แบบนี้ได้ ขณะที่สำ�นักพิมพ์ขนาดย่อมอย่าง Hoxton Mini Press ในเขตแฮกนียข์ องลอนดอนตะวันออก กลับเลือกใช้ความเป็นย่านมาเป็นเนื้อหาและ จุดขายของหนังสือ ในปี 2007 มาร์ติน อัสบอร์น (Martin Usborne) ช่างภาพชาวอังกฤษบังเอิญ พบกับโจเซฟ มาร์โกวิตช์ (Joseph Markovitch) ชายชราผู้ใช้ชีวิต 80 กว่าปีในลอนดอนโดยแทบ จะไม่ได้ไปไหนเลย อัสบอร์นตั้งใจจะถ่ายภาพ พอตเทรตของมาร์โกวิตช์ เพื่อส่งประกวด ทั้งคู่ กลายเป็นเพื่อนกัน โดยอัสบอร์น ตามเก็บภาพ และบันทึกเรือ่ งราวชีวติ ของมาร์โกวิตช์เป็นเวลาถึง 5 ปี ก่อนจะตัดสินใจพิมพ์หนังสือรวมภาพถ่าย เล่มเล็กทีต่ พี มิ พ์จ�ำ นวน 750 เล่ม คูก่ บั นิทรรศการ ของมาร์โกวิตช์ และขายหมดภายในไม่กสี่ ปั ดาห์ ตรงนีเ้ องทีท่ �ำ ให้อสั บอร์น และแอนน์ วอลด์โวเจล (Ann Waldvogel) ภรรยาชาวอเมริกัน ตระหนัก ถึงความต้องการของตลาดหนังสือทีม่ ตี อ่ เรือ่ งราว ย่านท้องถิน่ ทีแ่ ม้จะเต็มไปด้วยเอกลักษณ์เฉพาะตัว และแปลกๆ ก็ตาม ลอนดอนฝัง่ ตะวันออกดูจะตอบโจทย์นพี้ อดี เพราะเต็มไปด้วยประชากรที่มีความหลากหลาย ทางวัฒนธรรมและส่วนใหญ่เป็นคนจน ความ มั่งคั่งทางเศรษฐกิจตํ่ากว่าฝั่งตะวันตก จึงทำ�ให้ CREATIVE THAILAND I 21

เกิดการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ตลอดเวลา เมื่อ จับภาพเอกลักษณ์ของเมืองและความต้องการ ของตลาดได้ ผนวกเข้ า กั บ ความรั ก หนั ง สื อ อัสบอร์นและวอลด์โวเจล จึงเริ่มทำ�สำ�นักพิมพ์ ในปี 2013 โดยตัง้ ใจทำ�หนังสือด้วยความประณีต สวยงามเพื่อการสะสม ทั้งสองเลือกใช้บริการ เว็บไซต์ Kickstarter เพื่อช่วยในการระดมทุนทำ� หนังสือสองเล่มแรกของสำ�นักพิมพ์ เล่มหนึ่งคือ 50 People of East London เป็นหนังสือลายเส้น การ์ตูนวาดโดยอดัม แดนต์ (Adam Dant) ส่วน อีกเล่มหนึ่งก็คือ I’ve Lived in East London for 86½ Years หนังสือรวมภาพถ่ายประกอบถ้อยคำ� คัดสรรของมาร์โกวิตช์นั่นเอง ซึ่งพิมพ์ถึงครั้งที่ 5 แล้วในปี 2016 โดยเล่มนีย้ งั เป็นหนังสือเล่มแรกใน ชุด East London Photo Stories ซึ่งเล่มต่อๆ มา มี ตั้ ง แต่ เ ล่ ม ที่ ว่ า ด้ ว ยนั ก ว่ า ยนํ้ า คนขั บ รถใน ทศวรรษ 1980 ฟุตบอลวันอาทิตย์ ฯลฯ จนถึง ตอนนี้หนังสือในชุดมีมากถึง 12 เล่ม เมื่อรวมกับ จำ�นวนปกเล่มอื่นๆ ก็พอจะบอกถึงความสำ�เร็จ ของ Hoxton Mini Press ได้เป็นอย่างดี ท่ามกลางความไม่แน่นอนของสิง่ พิมพ์วา่ ใน อนาคตจะอยู่หรือตาย แต่สำ�นักพิมพ์ขนาดย่อม อย่าง Hoxton Mini Press ก็พอจะเป็นประจักษ์ พยานให้เชื่อได้ว่า จะมีคนเล็กๆ จากมุมหนึ่งใน โลก ที่ยังคงทำ�ให้หนังสือมีชีวิตอยู่ต่อไป ด้วยวิถี ทางและโจทย์เฉพาะตัว ที่มา: ยอดพิมพ์ในปัจจุบัน Newsweek Sale 2017 จาก www.newsweek.com / บทความ “Newsweek Plans Return to Print” (3 ธันวาคม 2013) และ “Tiny Digital Publisher to Put Newsweek Back in Print” (3 มีนาคม 2014) จาก nytimes.com / บทความ “What Wil Become of the Paper Book?” (8 พฤษภาคม 2012) จาก www.slate.com / บทความ “What is a Book in the Digital Age?” (12 พฤศจิกายน 2013) จาก www.theconversation.com / บทความ “Why the Smart Reading Device of the Future May Be … Paper” (1 พฤษภาคม 2014) จาก www.wired.com, บทความ “Are Paper Books Really Disappearing?” (25 มกราคม 2016) จาก www.bbc.com / Ted Talk “Old Books Reborn as Intricate Art” (6 กุมภาพันธ์ 2015) จาก www.youtube.com / สารคดี How to Make a Book with Steidl (2010) / หนังสือ I’ve Lived in East London for 86.5 Years, www.hoxtonminipress.com / บทสัมภาษณ์ “Interview: Hoxton Mini Press” (8 กันยายน 2014) จาก www.paper-journal.com, “An Interview with Hoxton Mini Press” (18 พฤษภาคม 2015) จาก www.studiohirefirstoption.com, “Hoxton Mini Press: collectable books about East London” (2013) จาก www.kickstarter.com/project


Creative Startup : เริ่มต้นคิด

วันใหม่ของ Ookbee กับธุรกิจ UGC แห่งอนาคต เรื่อง: ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ ภาพ: ชานนท์ บุญเรือง

‘อุ๊คบี’ น่าจะเป็นชื่อของสตาร์ทอัพไทยเจ้าแรกๆ ที่คนส่วนใหญ่นึกถึง และถือเป็นต้นแบบความสำ�เร็จที่จุดประกายให้ สตาร์ทอัพรุ่นน้องบ้านเราเดินตามรอย แต่โลกที่หมุนเร็วในวันนี้ ก็ทำ�ให้แอพพลิเคชั่นร้านหนังสือดิจิทัลที่ได้ชื่อว่าใหญ่ที่สุด ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างอุ๊คบี เดินมาถึงจุดที่ดูเหมือนทางตัน แต่ถึงอย่างนั้น ณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ ผู้ก่อตั้ง และซีอีโออุ๊คบีกลับบอกกับเราว่า เพียงแค่ปรับมุมมอง ก็จะพบว่านี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการเดินทางบทใหม่ที่ท้าทายกว่า เดิมก็เท่านั้น เมื่อ ‘อุ๊คบี’ ไม่ได้ทำ�แค่ ‘อีบุ๊ก’ ขึ้นชื่อว่า อุ๊คบี แน่นอนว่านับตั้งแต่เริ่มธุรกิจเมื่อปี 2012 อุค๊ บีกท็ �ำ ธุรกิจอีบกุ๊ มาตลอด โดยนำ�นิตยสารมาแปลงไฟล์เป็นหนังสือออนไลน์ ถูกใจผู้อ่านใน ยุคที่บริษัทแอปเปิลเพิ่งเปิดตัวสินค้าใหม่อย่างไอแพด ซึ่งตอบโจทย์การอ่าน หนังสือบนหน้าจอ “ต้องบอกว่าธุรกิจในปีแรกๆ ของอุ๊คบีได้เสียงตอบรับที่ดี ลูกค้าที่อ่านอีบุ๊กส่วนใหญ่ก็จะเป็นคนที่เคยอ่านนิตยสารกระดาษอยู่แล้ว หลายคนจึงหันมาอ่านอีบกุ๊ ทีเ่ ขามองว่าดีกว่า เร็วกว่า ถูกกว่า แต่พอถึงจุดหนึง่ ที่คนใช้สมาร์ทโฟนกันมากขึ้น ส่วนใหญ่ก็หันไปเสพเนื้อหารายวันบน โซเชียลมีเดียอย่างเฟซบุ๊กซึ่งเร็วกว่า และยังสามารถคอมเมนต์ ไลก์ หรือ แชร์ได้ เพราะเอาเข้าจริงแล้วอีบกุ๊ ก็เป็นเพียงตัวแทนของนิตยสารกระดาษที่ ยังคงรูปเล่มแบบเดิม ปริมาณคอนเทนต์เท่าเดิม ไม่สามารถแชร์หรือแสดง ความเห็นได้เหมือนโซเชียลมีเดีย”

นอกจากการเข้ามาของโซเชียลมีเดีย ตัวแปรสำ�คัญที่เปลี่ยนไปยังรวม ถึงการปิดตัวลงของนิตยสารหลายฉบับ รวมถึงบางฉบับที่หยุดพิมพ์เล่ม กระดาษ แล้วหันมาผลิตคอนเทนต์บนโซเชียลมีเดียแทน “สิ่งที่เกิดขึ้นคือ หนึ่ง อุ๊คบีต้องพึ่งคอนเทนต์จากผู้ผลิตนิตยสาร มองในกรณีที่แย่ที่สุดคือถ้า นิตยสารปิดตัวกันหมด เราก็ได้รับผลกระทบแน่นอนถ้ายังทำ�ธุรกิจแบบเดิม สอง เราพบว่าคนอ่านอุ๊คบีไม่มีกลุ่มที่อายุต่ำ�กว่า 30 ปีเลย คนที่จะอ่านอีบุ๊ก คือคนทีเ่ คยอ่านนิตยสารฉบับนัน้ ทีเ่ ป็นกระดาษมาก่อน ในขณะทีค่ นรุน่ ใหม่ ซึ่ ง โตมากั บ โซเชี ย ลเขาไม่ ไ ด้ คิ ด ถึ ง อี บุ๊ ก หรื อ นิ ต ยสารกระดาษอยู่ แ ล้ ว ยกตัวอย่างเวลาเขาอยากได้รูปสวยๆ เขาไม่ได้จะซื้อบ้านและสวน เขาแค่ เปิดกูเกิลแล้วเสิร์ชเลย ดังนั้นโอกาสที่ลูกค้าใหม่จะเข้ามาอ่านอีบุ๊กก็ไม่ เกิดขึ้น เรามีสมาชิกอยู่ล้านกว่าคน แต่คนที่ใช้ประจำ�มีน้อยกว่านั้นมาก เพราะบางคนเข้ามาลองอ่านดู แล้วก็กลับไปใช้โซเชียลเหมือนเดิม”

CREATIVE THAILAND I 22


เปลี่ยนนักอ่านเป็นนักเขียน เมือ่ อีบกุ๊ ไม่ใช่สง่ิ ที่ตอบโจทย์ตลาด อุค๊ บีกค็ อ่ ยๆ ขยับตัวออกจากกรอบการทำ� ธุรกิจแบบเดิมที่เคยอาศัยคอนเทนต์จากมืออาชีพ (Professional Generated Content: PGC) จนปัจจุบันมูลค่าธุรกิจในส่วนของอีบุ๊กนั้นคิดเป็นสัดส่วน ไม่ถึง 20% ของธุรกิจทั้งหมดของอุ๊คบี กลยุทธ์หลักในการปรับเข็มทิศธุรกิจของอุ๊คบี คือการหันมาขยาย อาณาจักรคอนเทนต์ออนไลน์ โดยการสร้างแพลตฟอร์มใหม่ๆ เพื่อรองรับ คอนเทนต์ทสี่ ร้างขึน้ โดยผูใ้ ช้งาน (User-Generated Content: UGC) ตัง้ แต่ เว็บคอมมูนติ ค้ี นรักการ์ตนู ‘Ookbee Comics’ อาณาจักรเพลงไทย ‘Fungjai’ แพลตฟอร์มนิยายและบล็อกออนไลน์ ‘ธัญวลัย’ ‘Storylog’ และ ‘Fictionlog’ และล่าสุดกับแอพพลิเคชัน่ นิยายขวัญใจวัยรุน่ ‘จอยลดา (Joylada)’ นอกจากนี้ ยังจับมือกับสือ่ วิดโี อไลฟ์สไตล์จากญี่ปุ่น ‘C Channel’ เพื่อร่วมกันขยายธุรกิจ ในประเทศไทยอีกด้วย “ทำ�ไมต้องเป็น UGC” หลายคนอาจเกิดคำ�ถามแบบนีข้ น้ึ ในใจ หนึง่ ใน คำ�ตอบที่น่าจะทำ�ให้เห็นภาพมากขึ้น คือสถิติที่พบว่า “2 ใน 3 ของข้อมูล ที่เกิดขึ้นบนโลกออนไลน์ยุคนี้เป็นข้อมูลที่สร้างขึ้นโดยผู้ใช้งาน” ซึ่งทำ�ให้ ณัฐวุฒเิ ชือ่ ว่า อำ�นาจในการกำ�หนดทิศทางของอินเทอร์เน็ตในอนาคตจะอยู่ ในมือของผู้ใช้งานที่จะเป็นทั้ง ‘ผู้สร้าง’ และ ‘ผู้บริโภค’ ในคนเดียว เมื่อโมเดลการสร้างธุรกิจคือการเปลี่ยน ‘คนอ่าน’ ให้เป็น ‘คนสร้าง’ คอนเทนต์ ความยากง่ายในการใช้งานแพลตฟอร์ม จึงเป็นตัวกำ�หนดว่า ผู้ใช้งานจะโพสต์คอนเทนต์มากน้อยแค่ไหน “อินสตาแกรมเป็นตัวอย่างที่ดี เพราะแค่หยิบมือถือขึ้นมาถ่ายรูปรูปเดียวก็จบแล้ว แต่ถ้าให้เขียนนิยายก็จะ ยากขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง คนใช้ก็จะน้อยลงมาหน่อย หรือถ้าให้วาดการ์ตูน ยาวๆ ก็ยิ่งยากเข้าไปใหญ่ ดังนั้นหน้าที่ของเราก็คือการมาวิเคราะห์ดูว่าจะ ทำ�ยังไงให้แพลตฟอร์มของเราใช้งานได้ง่ายที่สุด ซึ่งนี่ก็เป็นที่มาที่ทำ�ให้เกิด จอยลดา เพราะเราคิดว่าการให้คนวาดการ์ตูนหรือเขียนนิยายมันไม่ง่าย แต่ถา้ ลองเปลีย่ นเป็นการแต่งนิยายในรูปแบบแชท มันอาจจะง่ายกว่าสำ�หรับ เด็กรุ่นใหม่” ซึ่งก็เป็นไปตามความคาดหมาย เพราะภายในเวลาเพียง 12 สัปดาห์ หลังเปิดตัว ยอดผู้ใช้งานของจอยลดาก็เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว แซงหน้า แพลตฟอร์ม UGC อื่นๆ ทั้งหมดของอุ๊คบี และกลายเป็นคอมมูนิตี้หัวหอก ที่มีผู้ใช้งานโพสต์นิยายใหม่เข้ามาถึงวันละ 15,000 เรื่อง นอกจากนี้ ล่าสุด อุ๊คบียังได้ทดลองนำ�นิยายเรื่องท็อปบนจอยลดาชื่อ “กุเชอร์รี่” มารวมเล่ม พิมพ์จำ�หน่ายโดยเปิดให้จองออนไลน์ สร้างรายได้เกือบ 1 ล้านบาท และ นักเขียนได้รับส่วนแบ่งหลักแสนบาท ห้องเรียนที่กว้างกว่า นอกจากการออกแบบแพลตฟอร์มให้ใช้ง่ายและสอดรับกับไลฟ์สไตล์ของ ผู้ใช้งานแล้ว พวกเขายังต้องสร้างแรงจูงใจอื่นๆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดนักสร้าง คอนเทนต์ “ปัจจุบันคอนเทนต์ส่วนใหญ่เราเปิดให้อ่านฟรี ส่วนอีก 20% ซึ่ง ได้รับความนิยมอาจจะเก็บค่าอ่านเริ่มต้นตอนละ 3 บาทขึ้นอยู่กับความ สมัครใจของนักเขียน หรือไม่อย่างนั้นก็ต้องดูโฆษณาคั่น เงินที่ได้เราก็จะ มาแบ่งกับนักเขียน ต้องบอกว่ารายได้คอื หนึง่ ในสิง่ ทีเ่ ราใช้จงู ใจให้คนทีท่ มุ่ เท

ทำ�ผลงานดีๆ ได้ผลตอบแทนมากกว่าคนอื่นๆ แต่ต่อให้ไม่มีรายได้ คนก็ ยินดีจะโพสต์ เพราะการโพสต์บนจอยลดาและแพลตฟอร์มอืน่ ๆ ของเรามัน มีแรงจูงใจว่าจะมีคนเข้ามาไลก์ คอมเมนต์ หรือแชร์ต่อ ซึ่งไม่ใช่แค่ระดับ บุคคลเหมือนการโพสต์ในโซเชียล แต่คือการที่มีคนสนใจผลงานของเขา” มากกว่าแรงจูงใจ ณัฐวุฒิอธิบายว่า สิ่งที่เกิดขึ้นคือการสร้างสังคมแห่ง เรียนรู้ การได้เห็นผลงานของคนเก่งๆ ทีม่ คี นติดตามหลายล้านคน มันก็ท�ำ ให้ เกิดการเรียนรูอ้ ย่างรวดเร็ว...หรือถ้าลองย้อนกลับไปดูฟดี ส์อนิ สตาแกรมในปี แรกของเราเอง แล้วเทียบกับรูปล่าสุดที่โพสต์ จะเห็นเลยว่าเรามาไกลมาก ตอนนี้บนภาพบนฟีดส์มันสวยงามไปหมด เหมือนทุกคนเป็นช่างภาพมือ อาชีพ ทัง้ หมดนีค้ อื การเรียนรูจ้ ากการดูตวั อย่างคนอืน่ ๆ โดยมีคอมเมนต์หรือ การกดไลก์เป็นแรงจูงใจ” UGC คอนเทนต์ฟรีที่มีมูลค่า ล่าสุดเมื่อต้นปี 2017 อุ๊คบีได้ประกาศความร่วมมือกับ Tencent บริษัท อินเทอร์เน็ตยักษ์ใหญ่จากจีน ด้วยมูลค่าเงินลงทุน 19 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 681 ล้านบาท) และตั้งบริษัทร่วมทุนในนาม Ookbee U เพื่อดูแล แพลตฟอร์ม UGC ในเครืออุ๊คบี ซึ่งเชื่อได้ว่าความสำ�เร็จในการระดมทุน ครั้งนี้ จะขับเคลื่อนให้อุ๊คบีออกเดินทางครั้งใหม่ได้อย่างเต็มกำ�ลัง นอกจากตั้งใจจะพัฒนาแพลตฟอร์มใหม่โดยเน้นกลุ่มเป้าหมายที่เป็น ผู้ใหญ่มากขึ้นแล้ว อุ๊คบียังมีแผนจะนำ�คอนเทนต์ที่เหล่าผู้ใช้งานสร้างสรรค์ ขึน้ บนแพลตฟอร์มมาสร้างมูลค่า ด้วยการดัดแปลงเป็นสือ่ อืน่ ๆ “ถ้าเรามอง ในเรือ่ งของ IP (ทรัพย์สนิ ทางปัญญา) หนังหรือซีรยี ด์ งั ๆ ส่วนใหญ่ไม่ได้เขียน ขึ้นใหม่ แต่เป็นการดัดแปลงจากต้นฉบับที่เป็นหนังสือหรือการ์ตูน ทุกวันนี้ คนที่เข้ามาสร้างผลงานเขาไม่ได้เขียนเพื่อเก็บเงิน แต่ว่ามันจะมีค่าขึ้นมา ทันทีทมี่ คี นมาตามอ่าน และเมือ่ มันอยูบ่ นออนไลน์แพลตฟอร์ม เราสามารถ วัดความนิยมของคอนเทนต์ได้ง่ายมาก ดังนั้นการนำ�คอนเทนต์เหล่านี้ไป สร้างมูลค่าต่อมันน่าจะเกิดง่ายขึน้ ในอนาคต...โดยปกติแล้วลิขสิทธิค์ อนเทนต์ จะเป็นของนักเขียนทัง้ หมด อุค๊ บีท�ำ หน้าทีเ่ ป็นแค่แพลตฟอร์ม เราจึงมีไอเดีย ว่าปีนี้เราจะนำ�คอนเทนต์มาทำ�เป็นซีรีย์ และในอนาคตอาจจะเป็นผู้ลงทุน ถ้ามีใครอยากจะเอาเรื่องไหนไปดัดแปลงเป็นสื่ออื่นๆ ซึ่งในเฟสนี้เราไม่ได้ คิดว่าส่วนของธุรกิจ IP จะต้องได้กำ�ไร ยังอยู่ในระหว่างการศึกษาว่าจะทำ� อะไรต่อมากกว่า” จากวันแรกที่ตั้งเป้าจะเป็นเพียงร้านหนังสือดิจทิ ลั วันนีห้ วั เรือใหญ่ของ อุ๊คบีบอกว่าพวกเขามาไกลกว่าที่คิดแล้ว “เรากลับมองว่านี่เป็นก้าวแรก เพราะเราไม่ได้เป็นอีบกุ๊ ทีจ่ ะไปแข่งกับกระดาษแล้ว แต่มนั คือโอกาสทีเ่ ราจะ สร้างโปรดักต์ใหม่ๆ ทุกวันนี้เป้าหมายของเราต้องวัดด้วย ‘เวลา’ ว่ามีคน อยู่กับเรานานเท่าไหร่ เพราะว่าตอนนี้เราต้องแข่งกันหมด ถ้าเขาเคยอ่าน นิยายของเราทุกวัน แต่วันหนึ่งไปดูซีรีย์ ก็เท่ากับว่าเวลาที่เคยอยู่กับเรามัน ลดลงไปแล้ว…เราทำ�วิดีโอ C Channel ถ่ายกันสามสี่ชม. ก็ต้องตัดให้เหลือ แค่หนึง่ นาทีทงั้ หมด นีแ่ สดงให้เห็นว่าการหาเวลาเพือ่ ทำ�อะไรในโลกยุคนีม้ นั ยากมาก คนทำ�คอนเทนต์ก็ต้องปรับตัวให้เหมาะกับยุค แต่เราก็ยังต้องแข่ง กันด้วยคุณภาพเหมือนเดิม

CREATIVE THAILAND I 23


Creative City : จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

เรื่อง: วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ

เรื่องเริ่มต้นจากริชาร์ด บูธ (Richard Booth) เดินทางกลับมาเยี่ยมบ้านเกิดที่เมืองเฮย์ ออน ไวย์ (Hay-on-Wye) แห่ง เวลส์ หลังจากเรียนจบจากมหาวิทยาลัยอ็อกซฟอร์ด แล้วพบว่าเมืองของเขาช่างเงียบเหงาและไร้ซึ่งความเคลื่อนไหว เขาตั้ง ข้อสงสัยว่ามีทางไหนบ้างไหมทีจ่ ะทำ�ให้เมืองแห่งนีค้ รึกครืน้ ขึน้ ได้ ประจวบกับทีเ่ ขาได้รบั มรดกเป็นอาคารเก่าจากคุณลุงริชาร์ด จึงกลับมาเปิดร้านหนังสือที่บ้านเกิด เพราะนึกถึงความสุขสมัยวัยเยาว์ที่เติบโตมากับหนังสือ เขาลงทุนซื้อหนังสือจากห้อง สมุดทีป่ ดิ ตัวลงจากอเมริกา และขนกลับมาโดยเรือยังเฮย์ ออน ไวย์ ในปี 1962 หลังจากนัน้ เมืองเล็กๆ ทีเ่ คยเงียบเหงาก็คอ่ ยๆ มีร้านหนังสือเพิ่มขึ้นอีกกว่า 30 ร้าน และเติบโตขึ้นอีกครั้งในฐานะเมืองของหนังสือเก่าและหนังสือหายากที่นักอ่านทั่วโลก ใฝ่ฝันอยากไปเยี่ยมเยือน ต่อมาเชื่อกันว่าที่นี่คือต้นแบบ “เมืองหนังสือ” (Book Town) เมืองแรกของโลก CREATIVE THAILAND I 24


facebook.com/hayfestival fmcm.co.uk

commons.wikimedia.org

จนกระทั่งปี 1988 เทศกาล “Hay Festival of Literature & Arts” ก็ถูกจัดขึ้นจากผลพวงการ เติบโตของสือ่ สิง่ พิมพ์ทม่ี เี อกลักษณ์ในเมืองแห่งนี้ โดยแรกเริม่ เป็นงานขายหนังสือลดราคาขนาดเล็ก จากนั้นจึงค่อยๆ ปรับรูปแบบกิจกรรมตามการ เปลี่ ย นผ่ า นของสื่ อ สิ่ ง พิ ม พ์ ใ ห้ เ ข้ า กั บ ยุ ค สมั ย จนปัจจุบัน Hay Festival กลายเป็นเทศกาลของ คนรักหนังสืออันดับหนึง่ ของโลก เทศกาลนีไ้ ม่ได้ จำ�กัดอยู่ที่หนังสือเล่มเท่านั้น แต่ยังพาผู้คนที่ หลงรักตัวหนังสือไปสำ�รวจความคิดและความรูท้ ี่ ต่อยอดได้อย่างไม่รู้จบ ด้วยกิจกรรมหลากหลาย รูปแบบที่มีมากกว่า 1,900 กิจกรรม เช่น การ วิพากษ์เรื่องราวในหนังสือและภาพยนตร์ งาน แสดงดนตรี งานนิทรรศการด้านศิลปะ และ แน่นอนว่างานจัดแสดงหนังสือยังคงเป็นไฮไลต์ ของเทศกาล โดยแต่ละปี Hay Festival จัดขึ้น เพียง 10 วัน และดึงดูดผูค้ นทัว่ โลกมาร่วมงานได้

กว่า 250,000 คน หากเปรียบเทียบกับประชากร ที่อาศัยในเฮย์ ออน ไวย์ ที่มีอยู่เพียง 1,500 คน ความเชื่อที่ว่า ‘สื่อสิ่งพิมพ์กำ�ลังจะตาย’ ก็ไม่น่า จะเป็นจริงในเมืองแห่งนี้ในเร็ววันแน่นอน และด้วยโมเดลเมืองหนังสือที่ประสบความ สำ�เร็จระดับโลกของเฮย์ ออน ไวย์ แห่งนี้เอง ที่ กลายเป็นแรงบันดาลใจให้กบั คนตัวเล็กจากเมือง เล็กๆ อีกหลายเมืองทั่วโลก ได้สร้างสรรค์เมือง หนังสือในแบบฉบับของตัวเองขึ้นมา Redu, Belgium จิตวิญญาณแห่ง Book Lover ในปี 1979 หลั ง จากที่ นั ก หนั ง สื อ พิ ม พ์ ช าว เบลเยียม โนล อองซโลต์ (Noel Anselot) กลับ จากทริปเยือนเมืองหนังสือเฮย์ ออน ไวย์ ทีท่ �ำ ให้ เขาประทับใจแล้ว เมื่อกลับมายังบ้านเกิดใน หมู่บ้านเล็กๆ ของเมืองริดู (Redu) ทางตอนใต้ CREATIVE THAILAND I 25

ของเบลเยียม โนลจึงตัดสินใจเขียนจดหมายไป หาตัวแทนจำ�หน่ายหนังสือหลายเจ้าที่อาศัยอยู่ นอกเมือง เพื่อหว่านล้อมให้เขาเหล่านั้นเดินทาง มาเปิดร้านหนังสือในหมู่บ้าน ซึ่งมีสถานที่ว่าง เหมาะกับการเปิดร้านเล็กๆ อย่างบ้านเก่า โรงนา และกระท่อมที่มีอยู่แล้ว คำ�ร้องขอของเขาได้ผล เมือ่ มีรา้ นหนังสือมาเปิดเกือบ 20 ร้าน โดยเฉพาะ ร้านหนังสือมือสองและคอมมิคบุ๊ก ต่อมาเมือง เล็กๆ แห่งนี้ยังรับหน้าที่เป็นเจ้าภาพจัดงาน เกี่ยวกับหนังสืออย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีไฮไลต์อย่าง งาน The Night of Books ที่ร้านหนังสือในเมือง จะพร้อมใจกันเปิดตลอดทั้งคืนเพื่อเอาใจขาช้อป กระทั่งปี 1984 หลังประสบความสำ�เร็จจากการ จัดงานเทศกาลหนังสือของตัวเองเป็นครั้งแรก เมืองริดกู ไ็ ด้รบั ยกย่องให้เป็น “เมืองหนังสือเมือง แรกในยุโรป” และว่ากันว่าเป็นแฝดผู้น้องของ เมืองหนังสือต้นแบบอย่างเฮย์ ออน ไวย์ ปัจจุบัน


hindustantimes.com Katrin Schönig

แต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางไปเยือนเมือง หนังสือเล็กๆ ในเบลเยียมทีม่ ปี ระชากรเพียง 500 กว่าคนเมืองนี้ เป็นจำ�นวนกว่า 100,000 คนเลย ทีเดียว ส่วนความพิเศษทีท่ �ำ ให้รดิ อู าจจะไม่เหมือน กับเมืองหนังสือเมืองไหน คือนอกจากจะมีร้าน หนังสือกระจายอยูท่ ว่ั เมืองแล้ว เมืองเล็กๆ แห่งนี้ ยังมีการผสมผสานเรื่องราวของคนรักหนังสือ รุ่ น เก่ า และใหม่ ไ ด้ อ ย่ า งลงตั ว ทั้ ง ยั ง อนุ รั ก ษ์ ประวัติศาสตร์ของเรื่องราวช่างฝีมือด้านหนังสือ ที่มีอยู่แต่เดิมมาตลอด ก่อนที่ริดูจะถูกยกย่องให้ เป็นเมืองหนังสือเสียอีก หลักฐานแรกทีส่ บื สาวไป ได้ก็คือสตูดิโอสิ่งพิมพ์เล็กๆ ที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1760 ซึ่งภายหลังถูกทำ�ให้เป็นมิวเซียมแสดงงาน พิมพ์ โดยตั้งอยู่ชั้นบนของห้องสมุด La Librairie Ardennaise ส่วนทักษะการทำ�หนังสือแบบแฮนด์ เมดก็ยังมีให้เห็นอยู่ในเมืองนี้จนถึงปัจจุบันที่ ร้านเย็บหนังสือของโรแลนด์ แวนเดอร์เฮย์เดน (Roland Vanderheyden) ผู้สืบทอดกิจการ รุน่ ที่ 3 โรแลนด์เล่าว่า เขายังคงใช้เทคนิคการเย็บ หนังสือแบบดั้งเดิมที่แทบจะไม่เปลี่ยนไปจาก ร้อยกว่าปีก่อน โดยมีขั้นตอนการทำ�กว่า 50 ขั้นตอน ยิ่งกว่านั้น เมืองรักหนังสือแห่งนี้ยังคงมี ช่างทำ�กระดาษแฮนด์เมดเพือ่ นำ�มาใช้ท�ำ หนังสือ

หรือใช้สร้างศิลปะแบบพิเศษอีกด้วย เรเน่ ลีเฟอร์ (Rene Lefer) ในวัยเกษียณคือผู้ที่สร้างสรรค์ กระดาษให้เมืองริดมู าตัง้ แต่ปี 1988 โดยกระดาษ ทีเ่ ขาทำ�เองกับมือมากว่า 30 ปีนนั้ ทำ�มาจากวัสดุ ธรรมชาติแทบร้อยเปอร์เซ็นต์ มาถึงเรือ่ งราวของคนรุน่ ใหม่อย่างคูร่ กั แอนธี วริจลันดต์ (Anthe Vrijlandt) ชาวดัตช์ และโยฮัน เดอแฟลนเดอร์ (Johan Deflander) ชาว เบลเยียม ที่ตัดสินใจย้ายมาใช้ชีวิตที่เมืองเล็กๆ แห่งนี้ หลังจากเคยใช้ชีวิตอยู่ที่แอฟริกามาเกือบ 20 ปี โดยทั้งคู่ได้ซื้อร้านหนังสือเก่าเพื่อปรับปรุง ให้เป็นมากกว่าแค่รา้ นหนังสือธรรมดาๆ ปัจจุบนั เป็นที่รู้จักกันว่า “Bookshop & Literary Café La Reduiste” กับคอนเซ็ปต์ทใี่ ห้บริการแบบ B&B&B หรือ Bed & Books & Breakfast ซึ่งเป็นทั้ง เกสต์เฮาส์ คาเฟ่สำ�หรับคนกินมังสวิรัติ และร้าน หนังสือ ทั้งยังเป็นสถานที่จัดอีเวนต์แสดงดนตรี และผลงานศิลปะอีกด้วย เหตุผลที่ทำ�ให้ท้ังคู่ ตกหลุมรักริดูและตัดสินใจย้ายไปอยู่ที่นั่นถาวร ก็เพราะนอกจากริดจู ะเป็นสถานทีท่ สี่ วยงามและ เงียบสงบแล้ว ยังเปีย่ มไปด้วยเรือ่ งราวของหนังสือ ที่ ซ่ อ นตั ว อยู่ ทุ ก อณู และหากใครก็ ต ามที่ รั ก หนังสือ ก็คงต้องตกหลุมรักเมืองริดูเหมือนอย่าง ทั้งคู่แน่นอน CREATIVE THAILAND I 26

Bhilar, Maharashtra, India หมู่บ้านสตรอเบอร์รี่ หมู่บ้านหนังสือ ต่างจากเมืองหนังสือข้างต้น เมืองหนังสือน้องใหม่ ที่เกิดขึ้นล่าสุดเมื่อปี 2017 อย่างเมืองบิลาร์ (Bhilar) ในรัฐมหาราษฏระ (Maharashtra) ซึ่ง เป็นเมืองหนังสือแห่งแรกของอินเดีย กลับไม่ได้มี เรื่องราวเริ่มต้นมาจากคนธรรมดาตัวเล็กๆ ที่รัก หนังสือ แต่เมืองหนังสือแห่งนี้กลับเกิดขึ้นจาก หน่วยงานและภาครัฐบาลท้องถิ่น ที่ตั้งใจใช้ โมเดลเมืองหนังสือของเฮย์ ออน ไวย์ เพื่อดึงดูด นั ก ท่ อ งเที่ ย วให้ ล องเดิ น ทางมายั ง เมือ งบิล าร์ ซึ่งเป็นเมืองเกษตรกรรม ที่ปกติแล้วประชากร ประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ทำ�ไร่สตรอเบอร์รี่ นอกจากจะหวังผลเรื่องการโปรโมตการ ท่องเที่ยวให้กับเมืองแล้ว การเผยแพร่การใช้ ภาษามราฐี (Marathi) ซึ่งเป็นภาษาทางการของ รัฐมหาราษฏระก็เป็นหนึ่งในจุดประสงค์หลัก เช่นเดียวกัน โดยภาครัฐได้ลงทุนซื้อสื่อสิ่งพิมพ์ กว่า 10,000 รายการ ทั้งหนังสือทั่วไป นิตยสาร หัวเก่าและใหม่ รวมถึงหนังสืออ้างอิงที่มีเนื้อหา เกี่ยวกับรัฐมหาราษฏระและภาษามราฐี แล้วนำ� ไปวางตามจุดวางหนังสือทั่วเมืองประมาณ 25 สถานที่ เพื่อให้นักท่องเที่ยวและคนท้องถิ่นได้ หยิบอ่านตามใจชอบ ความพิเศษของสถานทีว่ าง หนังสือทีม่ อี ยูท่ วั่ เมืองคือทางภาครัฐยังได้ชกั ชวน ศิลปินท้องถิ่นและที่อยู่นอกเมืองจำ�นวนกว่า 75 ชีวติ ให้มาสร้างสรรค์ผลงานศิลปะทีส่ อื่ ถึงหมวด หมูห่ นังสือทีอ่ ยูต่ ามจุดวางหนังสือต่างๆ ด้วยหวัง จะสือ่ สารกับนักอ่านทัง้ หลายว่า สถานทีเ่ หล่านีม้ ี หนังสือประเภทไหนน่าอ่านบ้าง แถมยังช่วยสร้าง สี สั น และความแปลกใหม่ ใ ห้ กั บ ตั ว เมื อ งเป็ น อย่างดี โดยข้อแม้ข้อเดียวที่มีต่อนักท่องเที่ยวที่ อยากหยิบยืมหนังสือไปอ่าน ก็คือการเสียค่า มัดจำ�เพียงเล็กน้อย เพื่อเป็นการรับประกันว่า


จนอาจารย์มหาวิทยาลัย นักศึกษา และนักวิชาการ ที่อยู่ในโตเกียว ต่างพากันมาหาซื้อหนังสือที่ร้าน ของอิวะนะมิ ต้นแบบความสำ�เร็จนี้เองที่ทำ�ให้ ย่านจินโบโชมีร้านหนังสือมือสองและหนังสือหา ยากเพิ่มขึ้นอีกมากมาย จนปัจจุบันได้รับการ ขนานนามว่าเป็น “หนึ่งในเมืองหนังสือที่ใหญ่ ที่สุดในโลก”

moshimoshi-nippon.jp

Jinbōchō, Tokyo, Japan ย่านเก่าปัญญาชน หากจะยกเครดิตโมเดลเมืองหนังสือให้เฮย์ ออน ไวย์ ทั้งหมดก็คงไม่ถูกนัก ถ้าพิจารณาถึงความ จริงที่ว่าในมหานครอย่างโตเกียวก็มีย่านเล็กๆ อย่างจิมโบโช (Jinbōchō) ที่เป็นที่รู้จักกันดีของ หนอนหนังสือชาวญี่ปุ่นมานานกว่า 100 ปีแล้ว ปัจจุบันย่านนี้มีร้านหนังสืออยู่กว่า 180 ร้านกับ จำ�นวนหนังสือรวมกันกว่า 10 ล้านเล่ม โดย เฉพาะหนังสือมือสอง หนังสือหายาก รวมถึง หนังสือเฉพาะทางด้านต่างๆ ถึงขนาดว่าหากใคร อยากอ่านหนังสือเก่าเกือบร้อยปีกห็ าได้ไม่ยากใน จิมโบโช และเพราะเป็นย่านทีร่ อดพ้นจากการถูก ทำ�ลายในสมัยสงครามโลกครัง้ ทีส่ อง ร้านหนังสือ ในจิมโบโชตัง้ อยูใ่ นตึกและอาคารทีม่ สี ถาปัตยกรรม เก่ า แก่ ร่ ว มสมั ย ซึ่ ง ดึ ง ดู ดนั ก ท่ อ งเที่ ย วให้ ม า เที่ยวชม และอาจเผลอซื้อหนังสือติดไม้ติดมือ กลับไปได้ไม่ยาก

เหตุผลที่จิมโบโชกลายเป็นย่านรวบรวม หนังสือเก่าจำ�นวนมากมาย เริ่มมาจากอาจารย์ สอนประจำ�ในมหาวิทยาลัยผู้หญิงที่เชื่อมั่นใน การศึกษาที่เท่าเทียมนามว่า ชิเกะโอะ อิวะนะมิ (Shigeo Iwanami) ผู้ชื่นชอบการวิพากษ์เรื่อง วิชาการและปรัชญากับเพื่อนสนิท จนตัดสินใจ ลาออกจากการเป็นอาจารย์มาเปิดร้านหนังสือ มือสองและก่อตัง้ สำ�นักพิมพ์เล็กๆ ชื่อว่า “อิวะนะมิ โชเทน” (Iwanami Shoten) เพื่อต่อยอดแพสชั่น ที่เขาเชื่อมั่นในคุณค่าทางปัญญาจากการได้อ่าน หนั ง สื อ ดี ๆ และสิ่ ง ที่ ทำ � ให้ ร้ า นหนั ง สื อ และ สำ�นักพิมพ์ของเขามีชื่อเสียงได้ในที่สุด ก็คือการ สนับสนุนนักเขียนหน้าใหม่อย่างนัทซึเมะ โซเซะคิ (Natsume Sōseki) เพื่อตีพิมพ์นวนิยายเรื่อง โคะโคะโระ (Kokoro) ที่เล่าเรื่องราวความรักไม่ สมหวังของตัวละครไร้ชื่อ โดยมีนัยยะสื่อถึงการ ค้นหาตัวตนของคนญี่ปุ่นครั้งใหม่ ในช่วงรอยต่อ การเปลีย่ นผ่านของยุคสมัยเมจิกบั การเปิดรับโลก สมัยใหม่แบบตะวันตก ภายหลังหนังสือเล่มนี้ กลายเป็นนวนิยายขึ้นหิ้งของสังคมญี่ปุ่น ส่งผล ให้นทั ซึเมะกลายเป็นนักเขียนปัญญาชนคนสำ�คัญ และยังสร้างชื่อให้กับสำ�นักพิมพ์อิวะนะมิ โชเทน อีกด้วย ต่อมาสำ�นักพิมพ์ได้ตีพิมพ์ผลงานของ นักปรัชญาตะวันตกเป็นภาษาญี่ปุ่นอีกหลายชิ้น flickr.com/photos/isobrown

จะนำ � หนั ง สื อ กลั บ มาคื น ในสภาพที่ ส มบู ร ณ์ ในอนาคตทางภาครั ฐ ตั้ ง ใจว่ า จะวางหนั ง สื อ หลากหลายภาษามากขึ้นทั้งภาษาอังกฤษและ ฮินดู เพือ่ รองรับความต้องการของนักอ่านทัว่ โลก ทีก่ �ำ ลังเดินทางมาเยือนเมืองหนังสือแห่งนีน้ นั่ เอง

Read & Sleep @BOOK AND BED TOKYO

สำ�หรับคนชอบอ่านหนังสือ คงไม่มีอะไรสุขใจ เกินกว่าการได้นอนอ่านหนังสือเงียบๆ บนเตียง นุม่ ๆ และอยูๆ่ ก็ผล็อยหลับไปแบบไม่รตู้ วั โฮสเทล ที่ชื่อตรงตัวสำ�หรับคนรักหนังสือ BOOK AND BED TOKYO จึงเกิดมาเพื่อเสิร์ฟความสุขของ หนอนหนังสือทั้งหลาย และแน่นอนว่ามีไฮไลต์ อยูท่ หี่ นังสือทีถ่ กู คัดสรรไว้จ�ำ นวนมากราวกับห้อง สมุดขนาดย่อม เพื่อให้แขกที่พักได้เลือกอ่านกัน อย่างจุใจ สนนราคาเริ่มต้นต่อคืนอยู่ที่ประมาณ พันบาทต้นๆ โฮสเทลเจ้านี้มีสาขาแรกตั้งอยู่ใน ย่านอิเคะบุคโุ ระ (Ikebukuro) ก่อนจะขยายสาขา ไปทีย่ า่ นอาซากุสะ (Asakusa) และด้วยความนิยม จากหนอนหนังสือทีม่ าเข้าพักทัว่ โลก จึงเปิดสาขา เพิม่ อีก 2 จังหวัด คือจังหวัดเกียวโต (Kyoto) และ ฟุกุโอกะ (Fukuoka) ที่มา: บทความ “‘โคะโคะโระ’ หรือดวงใจที่เดียวดายไร้ ซึ่งวิญญาณ” จาก prachatai.com / บทความ “From Strawberries to Books: Maharashtra’s Bhilar to Become Readers’ Haven” โดย Yogesh Joshi จาก hindustantimes.com / บทความ “Jimbocho; The World’s Largest Book Town” จาก en.tokyodeep.info / บทความ “The Book Village of Redu and Its Protagonist Veggie Literary Cafe la Reduiste” โดย Marina Kazakova จาก seanema.eu / บทความ “The Unlikely Story of the Village of Redu” โดย Marina Kazakova จาก thewordmagazine.com / bookandbedtokyo.com / wikipedia.org

CREATIVE THAILAND I 27


The Creative : มุมมองของนักคิด

เรื่อง: กรณิศ รัตนามหัทธนะ ภาพ: ชาคริต นิลศาสตร์

สิ่งพิมพ์กำ�ลังจะตาย ออนไลน์จะมาแทน ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เราได้ยินประโยคทำ�นองนี้ถี่ขึ้นเรื่อยๆ ผู้เกี่ยวข้องในสายการผลิตหนังสือต้องปรับตัวอย่างหนักเพื่อ ให้อยู่รอดได้ ปรับกันจนบางเจ้าล้มหายตายจากแผงหนังสือไปโดยถาวร ร้านหนังสือรายใหญ่ประกาศปิดสาขา หรือต้องหา ของอย่างอื่น เช่น เครื่องสำ�อาง ขนม มาวางจำ�หน่ายในร้าน เพื่อพยุงยอดขาย CREATIVE THAILAND I 28


แต่คุณหนุ่ม - อำ�นาจ รัตนมณี แห่ง ‘ร้านหนังสือเดินทาง’ ยังคงกล่าวว่า “พี่เชื่อมั่นในพลังของหนังสือ” ร้านเล็กๆ ย่านถนนพระสุเมรุแห่งนี้ มีอายุย่างเข้าปีที่ 16 ไม่เคยทำ� โปรโมชั่น ไม่เคยลดราคาหนังสือ แต่ยังคงอยู่คู่เกาะรัตนโกสินทร์ให้บรรดา หนอนหนังสือได้อุ่นใจ หยิบหนังสือในร้านมาอ่านแกล้มกาแฟรสดี จะอ่าน นานแค่ไหนก็ได้ (แต่ต้องก่อนร้านปิดนะ) แล้วค่อยตัดสินใจซื้อ คุณหนุ่ม ไม่เคยว่า บทสนทนากับคุณหนุ่มในเย็นยํ่าวันนั้น ทำ�ให้เราได้คำ�ตอบมากกว่า แค่ว่า “ทำ�ร้านหนังสืออย่างไรให้อยู่รอด” แต่กลับได้แง่คิดที่น่าจะทำ�ให้ บรรดาคนรักหนังสือ คนทำ�หนังสือ ยังมีกำ�ลังใจทำ�งานต่อไป และเห็นวิธี ปรับตัวให้อยู่รอดในยุคนี้ ทำ�ไมจึงเลือกอาชีพทำ�ร้านหนังสือ เพราะพีเ่ ชือ่ ในพลังของหนังสือ สิง่ หนึง่ ทีท่ �ำ ให้ชวี ติ พีเ่ ปลีย่ นแปลงคือหนังสือ ครอบครัวพี่ไม่ได้เป็นครอบครัวที่รักหนังสือ ในบ้านแทบจะไม่มีหนังสือเลย ด้วยซ้�ำ ไป สิง่ ทีท่ �ำ ให้ชวี ติ เปลีย่ นแปลงก็คอื การอ่าน เริม่ จากอ่านหนังสือสอบ เข้ามหาวิทยาลัย จากเด็กหลังห้อง หนังสือทำ�ให้เราสอบได้ที่ต้นๆ ของห้อง พอมาอยู่มหาวิทยาลัย ก็เลยรู้ว่า หนังสือมันเปลี่ยนชีวิตเราจริงๆ นะ นำ�มาสูก่ ารอ่านวรรณกรรม เริม่ เข้าใจว่าการอ่านเนีย่ มันยกระดับคนได้ เรียน ธรรมศาสตร์ก็มาเจอวรรณกรรมเพื่อชีวิต ฟุ้งเลย เฮ้ย! ตัวละครที่เราอ่านก็ เดินอยู่ตามมหาวิทยาลัยนี่ ก็เลยรู้สึกว่าการอ่านมันมีผลต่อชีวิตคนจริงๆ นำ�มาสู่คำ�ตอบหนึ่งที่บอกกับตัวเองว่า ทำ�ไมไม่ลองส่งมอบสิ่งนั้นให้แก่ คนอื่น ลองเอาสิ่งที่เราคิดว่ามีประโยชน์ มาทำ�เป็นอาชีพ เลี้ยงดูเราได้ด้วย ทำ�ไมจึงคิดว่า สิ่งพิมพ์ยังไม่ตาย เมื่อได้ยินคนพูดว่าสิ่งพิมพ์กำ�ลังจะตาย ก็รู้สึกว่าทุกคนพูดจากมุมมองของ ตัวเอง ฟังแล้วทำ�ไมมันหดหู่จัง ในส่วนหนังสือพิมพ์ แมกกาซีน อันนั้นพี่ก็ เห็นด้วยว่ามันคงไม่รอด พี่คิดว่ามันเป็นเนื้อหาที่ต้องแข่งกับเวลา ทำ�ให้ช้า กว่าออนไลน์ ออนไลน์มันเห็นเลย แต่คุณยังต้องไปจัดหน้า ไปโรงพิมพ์ มัน ไม่ได้อกี แล้ว สิง่ พิมพ์มนั เล่นกับกระแสอีกต่างหาก กระแสมันวูบวาบวูบไหว พอเอ้าท์ปุ๊บ คนก็ไม่มาสนใจคุณแล้ว มันไม่อมตะน่ะครับ ดังนั้นพี่คิดว่า สิ่งพิมพ์เหล่านี้คงไม่รอด แต่ตราบใดที่คนยังต้องการเนื้อหาที่ลึกซึ้งมากขึ้น ตราบใดที่คนยังเจอวิกฤตในชีวิต พี่เชื่อว่าเขาจะกลับมาหาหนังสือ พี่คิดว่า เป็นเพราะหนังสือบรรจุเนื้อหาอีกแบบหนึ่ง แมกกาซีนอาจจะไม่ตายก็ได้ ถ้าคุณทำ�เนื้อหาที่ต่างจากคนอื่น แบบที่ ต้องหาอ่านจากคุณนั่นแหละ ทำ�ไม เนื้อหาออนไลน์บางแห่ง พี่ไม่เอ่ยชื่อนะ ตอนแรกก็ดนู า่ สนใจดี บางทีเหมือนยัว่ ให้เราอยากรู้ ดูนา่ สนใจ แต่พอเข้าไป อ่านจริงๆ แล้ว อ้าว ไปไม่สุด จบแล้วเหรอ นี่คือความรู้สึกของพี่เองนะ พอเจออย่างนั้นพี่เลยรู้สึกว่า งั้นฉันอ่านหนังสือเล่มดีกว่า ทีเดียวจบ แล้วเรา รู้ลึกไปเลยในเรื่องนั้นๆ สิ่งพิมพ์ต้องยึดให้มั่นว่าเรามีอะไรแตกต่างจากเขา เพราะถ้าไม่ต่างก็ แพ้เขา พี่ไม่คิดว่าออนไลน์จะมาแทนนะ คิดว่ามันคือทางเลือกหนึ่ง ไม่ใช่ สิ่งที่จะมาแทน หลายคนที่มา ‘ร้านหนังสือเดินทาง’ ก็อ่านควบคู่กันไป

สิ่งหนึ่งที่พี่บอกตัวเองคือ ถ้าเรา ไม่เชื่อ มันก็จะไม่ออกมา ถ้าเราไม่ ศรัทธา เราก็จะทนท�ำมันอยู่ไม่ได้ พีไ่ ม่คดิ ว่าเป็นจริงเฉพาะธุรกิจร้าน หนังสือ แต่น่าจะทุกอาชีพ ถ้าคุณ ไม่เชื่อว่าสิ่งที่ท�ำอยู่มันมีประโยชน์ คุ ณ จะตื่ น เช้ า ไปท�ำงานได้ ยั ง ไง ในช่วงเวลาที่ไม่มีลูกค้า คุณคง เบื่อตาย เฉาตาย เขารู้ว่าจะอ่านอะไรบนออนไลน์ แล้วอ่านหนังสือเขาจะได้อะไร เพียงแต่คน ทำ�สื่อ อย่าสับสนแล้วกันว่าจะเอาทางไหนกันแน่ วิธีทำ�ร้านหนังสืออิสระให้อยู่รอดในยุคนี้ ทิ้งภาพร้านหนังสือเดิมๆ ไปได้เลย ที่เราเอาหนังสือยัดเข้าร้านแล้วรอให้ คนมาเลือก รอว่าเมื่อไรคนจะเดินเข้ามา ร้านคุณสามารถมีอะไรก็ได้ ถ้าคุณอธิบายได้ว่ามีไว้เพื่ออะไร แล้วคุณจะหากลุ่มของตัวเองเจอ สิ่งหนึ่งที่พี่บอกตัวเองคือ ถ้าเราไม่เชื่อ มันก็จะไม่ออกมา ถ้าเราไม่ ศรัทธา เราก็จะทนทำ�มันอยูไ่ ม่ได้ พีไ่ ม่คดิ ว่าเป็นจริงเฉพาะธุรกิจร้านหนังสือ แต่น่าจะทุกอาชีพ ถ้าคุณไม่เชื่อว่าสิ่งที่ทำ�อยู่มันมีประโยชน์ คุณจะตื่นเช้า ไปทำ�งานได้ยังไง ในช่วงเวลาที่ไม่มีลูกค้า คุณคงเบื่อตาย เฉาตาย พี่ทำ�ร้านมา 15-16 ปี ทุกเช้าพี่ยังอยากมาร้านไหม พี่ยังอยากมานะ แสดงว่ามันมีอะไรบางอย่างที่ทำ�ให้เรามีความสุข สิ่งนั้นก็คือ เพราะเรา เชื่อว่าสิ่งที่ทำ�มันมีประโยชน์ ถ้าเรามองหนังสือเป็นแค่สินค้าชนิดหนึ่ง พีค่ ดิ ว่าไม่เพียงพอ ไม่วา่ คุณจะทำ�แมกกาซีน หรือทำ�สำ�นักพิมพ์ ถ้าคุณมอง แค่วา่ นีค่ อื สินค้าชนิดหนึง่ ทีค่ ณุ ทำ�เพือ่ ขาย แล้วก็มงุ่ ไปสูก่ �ำ ไรสูงสุดอย่างเดียว (เน้นเสียง) พี่คิดว่านั่นจะทำ�ให้ธุรกิจของคุณอยู่ไม่ได้นาน แต่ถ้าคุณคิดว่านี่คือสินค้าอีกชนิดหนึ่งที่มันมีผลกระทบเชิงบวกสูง มันจะนำ�มาสูค่ วามประณีต ถ้าคุณทำ�สำ�นักพิมพ์ ก็ตอ้ งคิดเยอะล่ะว่า ดีไซน์ จะเป็นยังไง เนือ้ หาจะยังไง พี่ทำ�ร้านก็ต้องคิดว่า หนังสือเล่มนี้สมควรจะอยู่ ในร้านของพีไ่ หม ลูกค้ามาถามพีจ่ ะแนะนำ�ดีหรือเปล่า ถ้าเขาส่งมา พีก่ ต็ อ้ ง คิดก่อนนะว่าจะวางหรือไม่วาง ในยุคที่เราทำ�เนื้อหาออนไลน์ให้คนอ่านได้ ออนไลน์คือเครื่องมือ แต่ ตั ว เนื้ อ หาต่ า งหากที่ คุ ณ จะต้ อ งกลั บ มาคิ ด อะไรกั น แน่ ที่ คุ ณ กำ � ลั ง ทำ � วิธีน่ะมันมี แต่ถ้าคุณไม่มีเนื้อหา พี่คิดว่าเครื่องมือมันก็ไม่ได้ช่วยอะไร คุณนะ ก็เป็นแค่ข้อมูลที่โผล่มาแล้วหายไป ปราศจากการจดจำ�ของผู้คน

CREATIVE THAILAND I 29


พี่ขายออนไลน์น้อยมาก แทบจะหน้าร้าน 100% ก็อยู่มาได้ ถามว่า เพราะอะไร พี่คิดว่าเป็นเพราะบรรยากาศ คนอาจจะชอบความช้า ในโลกที่ มันเร็วๆ ยังมีคนเลือกที่จะเอาความช้า ยังมีคนที่มาร้านพี่แล้วเลือกที่จะไม่ ไปงานสัปดาห์หนังสือ เพราะเขาแลกได้กบั ส่วนลด แลกมาได้ดว้ ยบรรยากาศ ที่มีที่ให้นั่ง มีเพลงให้ฟัง ค่อยๆ เลือกหนังสือไป มันมีบรรยากาศที่เขา เข้ามาแล้วจะได้เจอคนโน้นเจอคนนี้ พี่คิดว่าเหตุผลหนึ่งที่ทำ�ให้มันอยู่มาได้ เพราะมันได้ทำ�หน้าที่มากกว่าเป็นแค่ร้านขายหนังสือไปแล้ว คัดเลือกหนังสือเข้าร้านอย่างไร เราเป็นร้านเล็ก จะไปแข่งเชิงปริมาณกับร้านใหญ่เราแข่งไม่ได้แน่นอน ต้องแข่งในเชิงคุณภาพ ก็หันมาถามตัวเองว่าคุณภาพแบบไหนที่มันเป็นเรา พี่ไม่ใช่แนวบริหาร แนวคอมพิวเตอร์ ถ้าจะทำ�ให้มันคงอยู่ถาวร ก็ต้องเป็น สิ่งที่เป็นเราจริงๆ ถึงแม้ไม่มีลูกค้าเราก็ยังสนุกกับมันได้ ลูกค้าไม่เดินเข้า ร้าน พี่ก็นั่งอ่านหนังสือในร้านนั่นแหละ ถึงไม่เปิดร้าน พีก่ จ็ ะไปหาหนังสือเหล่านัน้ มาอ่านอยูด่ ี ก็คดิ ว่า เออ เรา ชอบเดินทางท่องเทีย่ ว ก็เอาคำ�ว่าเดินทางท่องเทีย่ วมาแปลงเป็นร้านหนังสือ สักร้านหนึ่งสิ จะเป็นอะไรได้บ้าง การเดินทางของพี่ ไม่ได้จำ�กัดแค่ว่าต้อง เป็นหนังสือสารคดีหรือไกด์บุ๊ก ไปไกลถึงขั้นที่ว่า เวลาคนเดินทางมันต้องมี เหตุ ทำ�ไมคนมีตงั ค์หลายคนไม่กล้าออกไปไหน เคสหนึง่ ทีพ่ ชี่ อบเล่าให้หลาย

คนฟังก็คือว่า โตมาจากต่างจังหวัด แล้วมากรุงเทพฯ ใหม่ๆ ก็มาเจออาม่า นัง่ อยูใ่ นบ้านทีม่ ลี กู กรงปิดอยู่ แกก็ชะโงกมองข้างนอก แต่ไม่กล้าออกไป แต่ ครั้นจะปิดไปถาวร แกก็คงอยากรู้ว่าข้างนอกเป็นยังไง ในมุมของพี่มันเป็น ภาวะที่สะเทือนใจนะ ถ้าเป็นพี่ อยากไปไหน พี่คงไปตั้งแต่ยังเป็นหนุ่มเป็น สาวนะ เจอฝรั่งบางคนไม่เห็นมีตังค์เลย แต่เขาก็ยังไปไหนมาไหนได้ พีก่ เ็ ลยคิดว่า ในร้านของพี่ ก็จะเริม่ จากหนังสือทีก่ ระตุน้ ให้คนเดินทาง อ่านแล้วได้แรงบันดาลใจ อาจเป็นนิยาย เรื่องสั้น อะไรก็ได้ที่อ่านแล้วรู้สึก ว่าฉันต้องทำ�ชีวิตให้ต่างจากเดิม จะทนดักดานไม่ได้อีกต่อไปแล้ว พี่ก็เลยมี หนังสือเดินทางในความหมายทีก่ ว้างออกไปอีก ในเชิงข้อมูลการเดินทางพีม่ ี แน่นอน พอเดินทางกลับมา เฮ้ยทำ�ไมประเทศนัน้ คนเขาเป็นแบบนัน้ ทำ�ไม เขายากไร้ ทำ�ไมเขาเป็นอย่างนี้ พี่ก็เลยจะมีหนังสือในหมวดสังคมศาสตร์ ปรัชญา ศาสนา เติมให้ครบวงจร เรื่องสนุกๆ (และไม่สนุก) ระหว่างเจ้าของร้านกับลูกค้า ลูกค้าพี่มีทั้งคนไทยและต่างชาติ ก็แปลกใจบางทีพี่ถามว่า รู้จักร้านพี่ได้ ยังไง เขาบอกว่าเสิร์ชคำ�ว่า bookshop in Bangkok แล้วก็มาเลย ไกด์บุ๊ก ของ Monocle ก็ไปไกลกว่าที่เราคิด ไม่เคยคิดมาก่อนเลย ลูกค้าพี่ไม่ได้ จำ�กัดอยู่แค่กรุงเทพฯ แล้ว ลูกค้าฝรั่งเขาอ่านหนังสือไทยนะ บางทีเขาชอบ ดีไซน์ แม้จะอ่านไม่ออกถ้าชอบ เขาก็ซอ้ื แล้ววรรณกรรมไทยทีแ่ ปลเป็นภาษา

CREATIVE THAILAND I 30


อังกฤษ ทีร่ า้ นพี่ ขายได้ ของพีช่ าติ กอบจิตติ คำ�พิพากษา ฉบับภาษาอังกฤษ ที่นี่ขายเยอะมาก พี่ยังบอกหลายคนเลยว่า นักเขียนไทยนะ ถ้าทำ�ได้ ควร ให้คนแปล แปลดีๆ หน่อย แล้วคุณจะขายได้ราคาสูงกว่าภาษาไทย ด้วยซํ้าไป อันนี้เป็นช่องทางการตลาด พี่ยืนยันเลยครับว่ามี เรายังขาด เยอะมาก ลูกค้าไทยก็มีตั้งแต่เด็กทารกยันผู้สูงวัย อย่างหนังสือเด็ก พี่ไม่เคย คิดว่าหมวดนั้นจะน่าสนใจ จนกระทั่งเราเติบโตไปกับลูกค้า ลูกค้าโตเป็น วัยทำ�งาน มีลูก เขาก็พาลูกมา ก็เลยมีหนังสือเกี่ยวกับการเดินทางสำ�หรับ เด็กเยอะมาก นั่นก็เป็นการสืบทอดจากรุ่นหนึ่งสู่รุ่นหนึ่ง ทำ�ให้พี่รู้สึกว่า ร้านหนังสือเดินทางมันไม่ตายหรอกครับ คนกลุ่มนี้ไม่ใช่คนกลุ่มใหญ่โต แต่ ก็ทำ�ให้ร้านอยู่ได้ ลูกค้าก็เติบโตไปกับเรา วันหนึ่งเมื่อเขามีโอกาส ก็กลับมา ตลกคือชอบมีคนโทรมาถามว่า วันนี้เปิดหรือเปล่าครับ จะมาทำ� หนังสือเดินทาง ต้องใช้รูปถ่ายกี่รูป บางทีพระโทรมา อาตมาจะไปลาวน่ะ โยม เราก็ตอ้ งจดเบอร์กองหนังสือเดินทางไว้ แล้วก็ โอเค หลวงพีโ่ ทรไปเบอร์ นี้นะ วันนี้เขาอาจจะทำ�งาน ก็สนุกดี (หัวเราะ) หรือบางทีมีฝรั่งพรวดเข้ามา จะทำ�วีซ่าไปประเทศนี้ก็มี คนทีไ่ ม่โอเคก็มเี ยอะ ก็มฝี รัง่ มาซือ้ ของในร้าน หรือนักท่องเทีย่ วจำ�นวน ไม่น้อยที่ถูกอะไรสักอย่างอบรมมาว่า ของทุกอย่างในเมืองไทยต่อราคาได้ หมด ไม่ว่าอะไรก็ตาม (หัวเราะ) คนไทยตั้งราคาเผื่อไว้แล้วล่ะ ต่อเหอะ ซึ่ง มันไม่ใช่สำ�หรับร้านหนังสือเดินทาง โปสการ์ดนี่มันเป็นสินค้าที่คนอื่นนำ�มา ฝากขาย เขาก็มานั่งเลือกๆ แล้วถามว่าราคาเท่าไร พี่บอกราคาไป เขาก็ต่อ ราคา พีบ่ อกว่าไม่ได้ และอธิบาย สิง่ ทีเ่ ขาทำ�คือ เขาถอดรองเท้าออกมา เอา เงินใส่รองเท้า แล้วก็เทให้พี่ พี่ก็ได้แต่ถอนหายใจ พวกนี้มันเป็นบททดสอบ นีก่ ไ็ ด้มาจากการอ่าน อารมณ์ที่มนั เป็นพิษ พีจ่ ะไม่เก็บไว้นาน พีเ่ ชือ่ ว่าเดีย๋ ว มันก็ผ่านไป ถ้ามันเป็นอารมณ์ร้าย ถือมันไว้ เดี๋ยวมันก็ไป อย่าให้มันทำ� อะไรมากกว่านั้น แค่นั้นมันก็ทำ�ร้ายเราเพียงพอแล้ว จบคือจบ เคยเจอโจรวิ่งราวในร้านก็มี ตอนนั้นยังอยู่ที่ถนนพระอาทิตย์ คนเยอะ มาก พี่เลยต้องเปิดสองชั้น ตอนนั้นพี่ผู้หญิงยังทำ�งานประจำ�อยู่ พี่ขึ้นไป เสิร์ฟชาข้างบน แล้วก็ได้ยินเสียงประตูปิดปัง!! พร้อมกับเสียงชั้นหนังสือ หล่น พอลงไปดู Lonely Planet มันหายไปล็อกหนึ่ง พี่เดินไปหน้าร้าน แล้ว จะเอายังไงล่ะ พี่จะไปซ้าย หรือขวาดี แล้วถ้าพี่วิ่งไป พี่จะทำ�ยังไงกับลูกค้า ข้างบน สุดท้ายก็ฝึกให้เราต้องดูคนให้ละเอียดขึ้นนะ พี่ว่ายุคนั้น เขาก็คง เอาไปขาย จะได้เห็นความเปลีย่ นแปลงอะไรในวงการสิง่ พิมพ์และหนังสือ ของไทยอีกบ้าง มีคนอธิบายว่า นิเวศทางธุรกิจกำ�ลังเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง สายส่งที่ปิดไป อาจจะเป็นสายส่งที่ส่งแมกกาซีนเป็นหลัก สำ�หรับพ็อกเกตบุ๊กก็เปลี่ยนไป ไม่น้อย ตอนนี้นักเขียนขายได้ด้วยตัวของเขาเอง นักอ่านจำ�นวนไม่น้อยก็ ไม่จำ�เป็นต้องซื้อผ่านร้านหนังสือ เขาจะซื้อผ่านนักเขียนหรือสำ�นักพิมพ์เอง ก็ได้แล้ว นักเขียนต้องเป็นคนดังไหม ไม่เสมอไปนะ กลายเป็นว่านักเขียนหน้าใหม่ กลับง่ายเสียอีกนะ ถ้าคุณหากลุ่มของตัวเองเจอ ตอนนี้กระบวนการผลิต

สุดท้ายพีย่ งั เชือ่ ในแก่นแท้อยูด่ นี ะ ถ้าคุณใส่ใจ คุณชัดเจน คุณประณีต คุณให้ความส�ำคัญ มันอาจเป็น ปัจจัยที่ไม่เหมาะกับโลกปัจจุบัน ก็ ไ ด้ แต่ มั น ท�ำให้ ‘ร้ า นหนั ง สื อ เดินทาง’ อยูม่ าได้ พีว่ า่ ออนไลน์เป็น แค่ เ ครื่ อ งมื อ ไม่ ใ ช่ เ ป้ า หมาย... ถ้าเราเป็นเหมือนใครๆ คนอื่นจะรู้ ได้ยังไงว่าคนไหนคือคุณ หนังสือกำ�ลังเปลี่ยนไปมากมาย อีกสิบปีก็คงเปลี่ยนไปอีกเยอะ ร้านหนังสือ ทางกายภาพอาจไม่จ�ำ เป็นสำ�หรับนักอ่านกลุม่ หนึง่ แล้วก็ได้ การพิมพ์หนังสือ อาจไม่พิมพ์ 3,000 เล่ม 5,000 เล่ม เหมือนที่เคยเป็นมาในอดีต อาจจะพิมพ์ แค่ร้อยเล่ม ถ้าขายดีก็พิมพ์อีกร้อยเล่ม แล้วเขาก็ซื้อขายของเขาเอง ไม่ต้อง ผ่านใคร คุณภาพหนังสือเป็นไปได้สองทางคือแย่ลง เพราะระบบบรรณาธิการ อาจจะแย่ลง อาจจะไม่ต้องมีชื่อสำ�นักพิมพ์แล้ว ก็ในเมื่อคนอ่านพอใจกับ ภาษาอย่างนี้ ภาษาสเตตัสก็เอามาทำ�เป็นพ็อกเกตบุ๊กได้ ซึ่งไม่ใช่ความผิด แต่ส�ำ หรับนักอ่านอีกกลุม่ หนึง่ เขาอาจจะไม่ชอบก็ได้ พีไ่ ม่รู้ แต่ตราบใดทีเ่ ขา หากลุ่มผู้อ่านของเขาเจอ เขาก็อาจจะทำ�ได้ หรือคุณภาพหนังสืออาจจะดี ขึน้ มากๆ อาจเป็นหนังสือเกรดพรีเมียม เป็นงานคราฟต์ไปเลย จะมีงานดีๆ ทีน่ �ำ กลับมาพิมพ์ใหม่ ทำ�เนีย้ บจนคนอ่านรูส้ กึ ว่า แม้จะเคยอ่านแล้ว ก็พร้อม ที่จะควักตังค์ซื้อเพื่อเก็บไว้ท่ีบา้ น ถึงเคยอ่านแล้ว แต่ก็ทนไม่ไหวแล้วปกนี้ ก็มีนะครับ บางเล่มก็มีที่อ่านแล้วรู้สึกว่า มันเป็นหนังสือได้แล้วหรือ (ยิ้ม) อย่าให้ ต้องเอ่ยชื่อเลย (หัวเราะ) พี่ว่ามันก็ไม่ใช่ความผิดหรอก ถ้าเขาใส่ใจ น้อยหน่อย การยืนระยะมันก็อาจจะน้อยตาม ทุกคนก็มีวิถีทางของตัวเอง ตอนนี้ทุกคนมีเครื่องมือแล้ว สุดท้ายพีย่ งั เชือ่ ในแก่นแท้อยูด่ นี ะ ถ้าคุณใส่ใจ คุณชัดเจน คุณประณีต คุณให้ความสำ�คัญ มันอาจเป็นปัจจัยที่ไม่เหมาะกับโลกปัจจุบันก็ได้ แต่มัน ทำ�ให้ ‘ร้านหนังสือเดินทาง’ อยู่มาได้ พี่ว่าออนไลน์เป็นแค่เครื่องมือ ไม่ใช่ เป้าหมาย ถ้าเราเป็นเหมือนใครๆ คนอื่นจะรู้ได้ยังไงว่าคนไหนคือคุณ คำ�นี้พี่ ชอบมาก ถ้าพี่ขายหนังสือที่คนอื่นก็มี แล้วมีเหตุผลอะไรที่เขาจะมาหาพี่ ถ้าพีข่ ายในสิ่งที่พี่เองก็ไม่เชื่อ พี่จะมีความสุขไหม มีคนเดินเข้ามา เนี่ยกำ�ลัง

CREATIVE THAILAND I 31


อยู่ในอารมณ์นี้ คุณหนุ่มช่วยแนะนำ�หนังสือหน่อยสิ ถ้าบางเล่มพี่ไม่ได้เชื่อ พี่จะไปกระตือรือร้นแนะนำ�หนังสือเล่มนั้นไหม ก็ไม่ ก็เลยพูดยาก นอกจาก จะต้องศรัทธา ต้องเชื่อ คุณเองก็ต้องบริโภคสิ่งนั้นด้วยนะ ถ้าพี่ไม่อ่าน พี่ก็ คงตอบไม่ได้ว่าหนังสือเล่มนี้มันดีหรือไม่ดียังไง ถ้าพี่ไม่อิน พี่ก็คงตอบไม่ได้ ว่าหนังสือเล่มนี้มันจะเอาไปประยุกต์ใช้กับชีวิตของคนได้มากน้อยแค่ไหน เวลาเราแนะนำ�ใครในสิง่ ทีเ่ ราเชือ่ จริงๆ มันทำ�ให้เขากลับมาอีก เหมือน เราไปร้านอาหาร ถ้าเรากินแล้วอร่อย ก็อยากกลับไป อยากพาเพื่อนไปกิน ด้วย บางทีเราอาจจำ�เป็นต้องยืนยัน แต่ว่าต้องยืนยันแบบรับฟังนะ ต้อง รับฟังเพื่อให้รู้ว่าตอนนี้กระแสมันเป็นแบบนี้ อะไรกำ�ลังมา การทำ�ร้านหนังสือด้วยกรรมวิธีเดิมๆ มันอาจไม่ได้แล้ว ร้านหนังสือ เล็กๆ พีย่ นื ยันเลยว่าอยูไ่ ด้ แต่คณุ ต้องอยูใ่ ห้เป็น พีค่ ดิ ว่าเมืองนอกเขาชัดเจน บุคลิกของร้านชัดเจน กลุ่มลูกค้าชัดเจน เข้าไปในร้านจะมีอะไรบ้าง บางทีร้านไม่ได้ใหญ่เลยนะ แต่เข้าไปเนี่ยมีเอกลักษณ์มาก ร้านเล็กๆ ใน ต่างประเทศเขาอยูไ่ ด้เยอะมาก ในขณะทีร่ า้ นใหญ่เขาก็ตายเหมือนกัน ทำ�ไม ร้านหนังสือแบบนั้นมันไม่เกิดในประเทศเราบ้าง สิ่งหนึ่งที่ทำ�ให้หลายธุรกิจขึ้นๆ ลงๆ หรืออยู่ไม่ได้คือ คุณยังอธิบาย ไม่ได้เลยว่า คุณจะเอายังไงกันแน่ เป็นใครกันแน่ ทำ�สิ่งนั้นมาด้วยเหตุผล อะไร ในเมื่อพื้นที่วางหนังสือมันมีแค่นี้ มันคงเป็นทุกอย่างไม่ได้ ไม่เป็น ตัวเรา ก็อยู่ไม่ได้ ถ้าคนเขาไม่เชื่อ เขาไปที่ไหนก็ได้ คุณเองก็จะต้องทน ทรมานขายในสิ่งที่คุณเองก็ไม่ได้เชื่อ ถ้าจะทำ�แค่เอาเงิน พี่กลับไปทำ�งาน ประจำ�ไม่ดีกว่าหรือ (ยิ้ม)

วิธีมองโลก ตอนพี่เปิดร้านใหม่ๆ คุณปกรณ์ พงศ์วราภา จาก GM เขาพูดดีมาก เขาบอกว่าญี่ปุ่นมีคนอ่านหนังสือ 90% อีก 10% คือไม่อ่าน แต่เมือง ไทยกลับกัน คน 90% ไม่อ่านหนังสือ ถ้ามองในแง่ความหดหู่ก็คือ โห! คนไม่อ่านหนังสือจริงๆ แต่ถ้ามองอีกแง่ มีอีกตั้ง 90% ที่เราจะทำ�ให้ เขาอ่านได้ (หัวเราะ) พี่ว่าต้องคิดบวกมากๆ และต้องกล้า ถ้ามองแต่ ในเชิงลบ พี่ว่ามันก็จะดำ�ดิ่งลงไปเรื่อยๆ บางทีเราต้องชูประเด็นทาง บวกขึ้นมาบ้าง หนังสือที่อ่านบ่อยๆ ตอนนีพ้ อี่ า่ นทุกแนว ทัง้ fiction / non-fiction ทัง้ ไทยและภาษาอังกฤษ พี่ชอบอ่านวรรณกรรม เพราะมันสอนทักษะการใช้ชีวิตให้เรา สอน วิธีการรับมือในช่วงที่สมหวัง ผิดหวัง ผ่านเรื่องราวของตัวละคร เวลา เจอความทุกข์กจ็ ะนึกถึงตัวละครบางตัวว่าเขาผ่านมาได้ยงั ไง แล้วก็ชอบ อ่านสารคดี ไม่ใช่แค่เรือ่ งท่องเทีย่ ว สารคดีอาจจะเป็นเชิงธุรกิจก็ได้ พี่ก็ อ่านเยอะทั้งไทยและอังกฤษ พี่เป็นคนใช้เทคโนโลยีค่อนข้างน้อย อ่าน ออนไลน์กอ็ า่ นข่าว เฟซบุ๊กก็ไม่ได้เยอะ แต่ไม่ดูทีวีเลยเป็น 10-20 ปีแล้ว

CREATIVE THAILAND I 32



Creative Will : คิด ทํา ดี

เรื่อง: ปิยะพร สวัสดิ์สิงห์

คำ�กล่าวที่ว่า “A good book is a great friend. หรือหนังสือดีคือเพื่อนที่ดี ทีส่ ดุ ” ยังคงเป็นจริงอยูเ่ สมอแม้ในยุคดิจทิ ลั โดยเฉพาะสำ�หรับนักอ่านตัวจิว๋ ที่นอกจากคนในครอบครัว โรงเรียน เพื่อนๆ และของเล่นเสริมทักษะแล้ว หนังสือก็เป็นเหมือนโลกอีกใบที่ช่วยให้เด็กๆ ได้รู้จักกับโลกกว้างของ พวกเขา ยิ่งมีการคัดสรรเรื่องราวที่ดีและน่าสนใจ เด็กๆ ก็จะได้รู้จักและ เข้าใจถึงโลกใบใหม่นั้นได้อย่างมีคุณภาพมากขึ้น ปฏิ เ สธไม่ ไ ด้ เ ลยว่ า หากพู ดถึ ง หนั ง สื อ สำ � หรั บ เด็ ก ของเมื อ งไทย “สำ�นักพิมพ์ผีเสื้อ” คือหนึ่งในสำ�นักพิมพ์ชื่อแรกๆ ที่หลายคนนึกถึง ด้วยผลงานการสร้างสรรค์วรรณกรรมเยาวชนคุณภาพมานานนับสิบๆ ปี ทัง้ วรรณกรรมเรือ่ งดังทีห่ ลายคนเติบโตมาด้วยกันอย่าง โต๊ะโตะจัง เด็กหญิง ข้างหน้าต่าง, ปุ่มเตียงวิเศษ, หุ่นจอมซ่า, แมรี่ ป๊อบปิ้นส์ หรือ ฅนตัวจิ๋ว ซึง่ เป็นเพียงตัวอย่างส่วนหนึง่ ของผลงานวรรณกรรมเยาวชนจากสำ�นักพิมพ์ เท่านั้น และด้วยหลักการคัดสรรเรื่องราวและความพิถีพิถันในการจัดทำ� วรรณกรรมเยาวชนทุกหัวเรื่องให้เหมาะสมกับนักอ่านรุ่นเยาว์ ก็ทำ�ให้ใน แต่ละขั้นตอนการทำ�งานของกองบรรณาธิการเต็มไปด้วยความใส่ใจ วรรณกรรมแปลทุกเรื่องที่ปรากฏบนชั้นวางหนังสือในร้านเพื่อรอให้ เยาวชนนักอ่านมาเลือกสรรไปเป็นเจ้าของนั้น เริ่มต้นจากกระบวนการ คัดสรรเป็นพิเศษ ปกหนังสือแต่ละเล่มถูกออกแบบให้สะท้อนเรือ่ งราวทีบ่ รรจุ ภายใน อีกทั้งต้องดึงดูดใจเด็กๆ ด้วยสีสันที่สดใสและเป็นเอกลักษณ์ การเลือกใช้กระดาษก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สำ�นักพิมพ์ผีเสื้อให้ความสำ�คัญ โดย สำ�นักพิมพ์ผีเสื้อนับเป็นสำ�นักพิมพ์รายแรกๆ ของประเทศไทยที่เลือกใช้ กระดาษถนอมสายตาในการพิมพ์ ไปจนถึงขั้นตอนการเข้าเล่มที่ยังคงเลือก วิธีการแบบ “เย็บกี่” เพื่อให้มีความสวยงามและแข็งแรงทนทานที่สุด เรียก

ได้วา่ ทุกขัน้ ตอนและทุกกระบวนการนัน้ เกิดจากความเอาใจใส่และตัง้ ใจจริง ในการผลิตหนังสือคุณภาพเพื่อเยาวชนคนอ่าน ซึ่งหากพบว่ากระดาษใน หนังสือหลุดออกมาจากการเข้าเล่ม ทางสำ�นักพิมพ์ก็ยินดีที่จะเปลี่ยนเล่ม ให้ใหม่ทันที ความใส่ใจในการปลูกฝังเรื่องการอ่านให้กับเยาวชนไทย ยังทำ�ให้ สำ�นักพิมพ์ดำ�เนินการเปิด “สำ�นักพิมพ์ผีเสื้อเด็กๆ” เพื่อรวบรวมผลงาน การเขียนของเยาวชนให้ได้รับการเผยแพร่ในวงกว้างมากขึ้น โดยเริ่มจาก การเขี ย นบั น ทึ ก ของเด็ ก หญิ ง ตัวน้อยอย่าง บันทึกส่วนตัวซายูริ โดย ซายูริ ซากาโมโตะ เด็กหญิงวัย 8 ขวบ ทีห่ ลงใหลการเขียนบันทึกและสามารถ ถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆ ออกมาได้อย่างเป็นธรรมชาติในมุมมองที่บริสุทธิ์ แบบเด็กๆ ซึ่งหลายครั้งก็ชวนให้ผู้ใหญ่คิดตาม กระทั่งได้ข้อคิดที่น่าสนใจ จากนักเขียนวัยเยาว์แบบที่ไม่เคยคิดถึงมาก่อน ล่าสุด สำ�นักพิมพ์ผีเสื้อยังมีโครงการทำ�ปกผ้าปักมือกับหนังสือ 3 เล่ม ได้แก่ ครูไหวใจร้าย, ผีเสือ้ และดอกไม้ และโต๊ะโตะจัง เด็กหญิงข้างหน้าต่าง โดยมีความตั้งใจที่จะสร้างสรรค์ปกหนังสือเป็นพิเศษด้วยลายผ้าปัก และ เปิดรับผู้ที่สนใจและผู้ที่มีฝีมือในการปักผ้ามาร่วมกันทำ�ปกปักเอง หรือทำ� เพื่อส่งต่อให้ลูกหลาน ซึ่งตอนนี้มีสมาชิกกลุ่มแล้วกว่าหกร้อยคน โครงการที่ดูเหมือนเป็นเรื่องเล็กน้อยเหล่านี้ กำ�ลังขะมักเขม้นในการ ปลูกสร้างอนาคตของเยาวชนนักอ่านให้เติบโตขึ้นอย่างแข็งแรง พร้อมกับ ความหวังที่จะเป็นส่วนหนึ่งในสร้าง “นักอ่านที่ดี” ในอนาคตต่อไป ที่มา: bflybook.com/AboutUsHistory.aspx ภาพประกอบ: facebook.com/butterflybook / facebook.com/sayurithailand

CREATIVE THAILAND I 34



Supported by


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.