Creative Thailand Magazine

Page 1



ไม่ว่าจะวัยไหน เราก็ทำ�ในสิ่งที่ฝันได้เสมอ Paulo Coelho นักประพันธ์ชื่อดังชาวบราซิล


Contents : สารบัญ

The Subject

The Silver Runway เซลฟี่ความสุขในแบบฉบับคุณยายวัย 90 New Ground Cohousing อยู่เดี่ยว...ก็เปรี้ยวได้

6

Creative Resource 8 Featured Book / Books

MDIC 10 โอกาสใหม่จากกลุ่ม Silver Tsunami

Local Wisdom

12

Cover Story

14

Your One Wild & Precious Life

The Now Age... Never Too Late

Insight 20 จาก “สวัสดีวนั จันทร์” สู่ “แอพพลิเคชัน่ หาคู”่ ความต้องการของผู้สูงวัยในวันนี้ บอกอะไรกับเรา

Creative Startup 22 Co-Habit เชื่อมสองวัยอยู่ใต้หลังคาเดียว

Creative City

24

The Creative

28

Creative Will

34

แก่อย่างไร ในเนเธอร์แลนด์

กาญจนา พันธุเตชะ เมื่อปลายทางคือจุดเริ่มต้นของการเดินทาง

พิพิธภัณฑ์เล่นได้... สัมผัสเรือ่ งราวเมือ่ ครัง้ คุณตาคุณยายยังเด็ก

บรรณาธิการที่ปรึกษา l อภิสทิ ธิ์ ไล่สตั รูไกล บรรณาธิการอำ�นวยการ l กิตติรตั น์ ปิตพิ านิช ที่ปรึกษา l ศิรอิ ร หริม่ ปราณี, ชมพูนทุ วีรกิตติ, พิชติ วีรงั คบุตร, พจน์ องค์ทวีเกียรติ, เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร บรรณาธิการบริหาร l พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์ กองบรรณาธิการ l มนฑิณี ยงวิกลุ , ชลดา เจริญรักษ์ปญั ญา, รัตมิ า เผือกนาโพธิ,์ ปิยวรรณ กลิน่ ศรีสขุ เลขากองบรรณาธิการ l วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ ศิลปกรรม l ชิดชน นินนาทนนท์ สมาชิกสัมพันธ์ l ปิยะพร สวัสดิ์สิงห์ ประสานงานกองบรรณาธิการ l ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ จัดทำ�โดย l ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) 1160 อาคารไปรษณีย์กลาง ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10501 โทร. 02 105 7400 แฟกซ์. 02 105 7450 พิมพ์ที่ l โรงพิมพ์ดับบลิวพีเอส (ประเทศไทย) จำ�กัด โทร. 02 313 4405 แฟกซ์. 02 313 4445 จำ�นวน 15,000 เล่ม ติดต่อลงโฆษณา: Commu.Dept@tcdc.or.th นิตยสารฉบับนีใ้ ช้หมึกพิมพ์จากนา้ํ มันถัว่ เหลืองทีไ่ ม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทัง้ ยังเป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อม และใช้กระดาษ รีไซเคิล ซึ่งเป็นผลผลิตของผู้ประกอบการไทย จัดทำ�ภายใต้โครงการ “Creative Thailand สร้างเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์” โดยศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ สำ�นักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) ซึง่ มีเป้าหมายในการเผยแพร่ความรูเ้ กีย่ วกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) และผลักดันการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส CREATIVE THAILAND I 4 แสดงที่มา-ไมใชเพื่อการคา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย


agendadorock.com.br

Editor’s Note : บทบรรณาธิการ

การก้าวเข้าสูส่ งั คมผูส้ งู อายุอาจเป็นคำ�กล่าวทีใ่ ห้ทงั้ ความรูส้ กึ แง่ลบและแง่บวก ในด้านหนึง่ อาจหมายถึงการทุม่ เทพลังงานและทรัพยากรมหาศาลเพือ่ การดูแล ความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตของผู้สูงวัยจำ�นวนมากโดยกลุ่มคนวัยแรงงานที่ มีน้อยกว่าในปริมาณมากกว่าครึ่ง แต่ในอีกด้านหนึ่ง ไม่ว่าคุณจะเป็นคนใน เจเนอเรชัน่ ใด การเป็นคนไทยทีม่ วี ถิ ชี วี ติ อยูร่ ว่ มกันแบบครอบครัวใหญ่ ก็ท�ำ ให้ เรามีโอกาสได้อยู่ใกล้ชิดกับผู้สูงอายุมาตั้งแต่สมัยก่อน และการอยู่ร่วมกับ ผู้สูงวัยในวันนี้ จึงไม่ได้หมายถึงความแปลกแยกมากเท่าที่คิด น่าดีใจที่ผลการวิจัยหลายๆ ชิ้นยังคงยืนยันถึงการมีอยู่ของทฤษฎีโค้ง ตัวยู หรือ U-Shaped Curve Theory ว่า การมีอายุมากขึน้ นัน้ ไม่ได้หมายความ ว่าเราจะมีความสุขลดน้อยลงเสมอไป และหลายครั้งคนเราจะยิ่งมีความสุข มากขึน้ เมือ่ เริม่ ก้าวสูช่ ว่ งวัยชรา เพราะส่วนใหญ่แล้ว มนุษย์จะใช้ชวี ติ ได้อย่าง อิสระเสรี เปีย่ มไปด้วยพลัง และมีความสุขมากทีส่ ดุ ในช่วงวัยเด็ก ก่อนจะเติบโต มาพร้อมๆ กับความรับผิดชอบที่มากขึ้นตามวัย โดยส่วนใหญ่พบว่าความสุข จะค่อยๆ เริ่มลดลงเมื่อเราอายุย่างเข้า 18 ปี กระทั่งก้าวเข้าสู่วัยกลางคน ที่หลายคนต้องเผชิญกับภาวะที่เรียกกันว่า Midlife Crisis กับการแบกรับความ รับผิดชอบหลากหลายด้าน ทั้งหน้าที่การงาน ครอบครัว สุขภาพตนเอง การดูแลบุตรหลาน ไปจนถึงการตอบแทนบุพการีที่นับวันก็แก่ชราลง จนทำ�ให้ ปริมาณความสุขของคนวัยนี้ตกลงอย่างมาก พีท ทาวน์เซนด์ (Pete Townsend) นักดนตรีวงร็อกชื่อดังของวง The Who เคยให้สมั ภาษณ์ไว้ในปี 1965 เมือ่ ตอนทีเ่ ขาอายุได้ 20 ว่า “ผมหวังว่า จะตายก่อนแก่” แต่เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาหลังจากที่พีทอายุครบ 70 ปี เขาน่าจะ ได้ค้นพบอีกมุมของความชราที่อาจไม่ได้แย่ขนาดที่เขาเคยคิดไว้ เพราะใน วันนีพ้ ที ก็ยงั คงมีความสุขดี แถมยังมีชวี ติ อยูไ่ ด้ยาวนานถึงปีที่ 72 ของชีวติ แล้ว

ที่เป็นเช่นนี้อาจเป็นเพราะแนวโน้มของความสุขที่ค่อยๆ ลดลงฮวบฮาบ มากถึง 5-10% หลังเราอายุ 30 ปีนั้น จะค่อยๆ เพิ่มขึ้นเมื่อก้าวสู่ช่วงวัย 60 หลังเกษียณอายุ ที่ผลการศึกษาผู้สูงวัยจำ�นวนหลายแสนคนทั้งในสหรัฐฯ และ ยุโรปพบว่า บรรดาคุณตาคุณยายจะมีความสุขเพิ่มมากขึ้นในช่วงนี้ และส่งผล ให้กราฟความสุขที่เคยดิ่งลง กลับทะยานขึ้นอีกครั้งเป็นปลายหางตัวยูที่ตวัด ขึ้น (U-Shaped Curve) ถึงแม้ว่ากราฟดังกล่าวนี้ จะต้องมีปัจจัยสนับสนุนให้ เกิดขึน้ ได้จริง อย่างภาวะเศรษฐกิจทีม่ นั่ คง สภาพความเป็นอยูท่ ดี่ ี และสุขภาวะ ทั้งกายและจิตใจที่เหมาะสมร่วมด้วยก็ตาม ไม่ว่าทฤษฎีดังกล่าวนี้จะเป็นจริงกับทุกๆ คนหรือไม่ แต่ถึงอย่างนั้น โลกของผู้สู งวัยในวั นนี้ ก็ไ ม่ ใ ช่ โ ลกที่ มื ดมนและเศร้า หมองอีก ต่อไปแล้ว โดยเฉพาะกับผู้สูงวัยที่เข้าถึงและเข้าใจในเทคโนโลยีซึ่งถูกคิดค้นขึ้นเพื่อตอบ ความต้องการของพวกเขาโดยเฉพาะ นวัตกรรมใหม่ที่เกิดขึ้น รวมถึงทัศนคติ ที่ไม่ได้แก่ลงตามสภาพร่างกาย ทำ�ให้ผู้สูงวัยหลายๆ คนมีพลัง และความ กระตือรือร้นที่จะเข้าสังคมใหม่ๆ และกล้าที่จะลุกขึ้นทำ�ในสิ่งที่ใจต้องการ อีกครั้งในวัยเกษียณ ไม่น่าแปลกใจที่เราจะเห็นคุณตาคุณยายลุกขึ้นมาแต่งตัวแนวสตรีท อย่างวัยรุ่น สะพายกระเป๋าแบ็คแพ็คออกเดินทางท่องโลกกว้าง เริ่มต้นฝึกฝน ทักษะใหม่ๆ ที่ไม่เคยทำ�มาก่อน ทั้งถ่ายภาพ ร้องเพลง เต้นรำ� เปิดเพจ เล่นเกมออนไลน์ ไปจนถึงการโค้ดโปรแกรมยากๆ ให้เป็นเรื่องง่ายสำ�หรับ คนวัยเดียวกัน เพราะสิ่งสำ�คัญที่จะกำ�หนดว่าคนๆ นั้นแก่หรือไม่ อาจไม่ใช่ ร่างกายที่โรยรา หรือปีพ.ศ. ที่เกิด แต่คือทัศนคติที่ไม่มีคำ�ว่า...สายเกินไป

กิตติรัตน์ ปิติพานิช บรรณาธิการอํานวยการ CREATIVE THAILAND I 5


The Subject : ลงมือคิด

The Silver Runway เรื่อง: วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ

nytimes.com

หลายคนน่าจะชินตากับโฆษณาในวงการความงามและเวทีแฟชัน่ ทีใ่ ห้ความ สำ�คัญกับนางแบบและนายแบบลุคสดใสผิวพรรณเต่งตึง แต่ไม่นานมานี้ กระแสการใช้นางแบบและนายแบบผมสีดอกเลากลับสร้างเสียงฮือฮาบนเวที แคทวอล์กและวงการโฆษณาได้ทั้งฝั่งตะวันออกและตะวันตก เมื่อศิลปินวัย คุณปู่หวาง เต๋อซุ่น (Wang Deshun) อายุ 80 ปีได้ผ่านการเดบิวต์เดินแบบ ในงาน China Fashion Week เป็นครัง้ แรกด้วยลุคเปลือยท่อนบนเผยให้เห็น ความฟิตเฟิร์มจนได้รับฉายา “คุณปู่ชาวจีนสุดฮอต” ไปครอง ล่าสุดในปีที่ ผ่านมาคุณปู่สุดฮอตก็ฮอตสมชื่อเมื่อได้เป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ให้กับ รองเท้ากีฬาชัน้ นำ�อย่าง Reebok ข้ามมาทีฝ่ ง่ั ตะวันตก ฟรานซิส ดันสคอมบ์ (Frances Dunscombe) ก็เพิ่งจะเริ่มต้นอาชีพนางแบบครั้งแรกในวัย 82 ปี เธอประลองเดินแบบบนเวที London Fashion Week ได้อย่างน่าประทับใจ จน Prada เลือกให้เธอเป็นหนึ่งในนางแบบถ่ายโฆษณาลงในนิตยสาร Hunger แถมลูกสาวของเธอทิเนก้า ฟอกซ์ (Tineka Fox) ในวัย 56 ปีก็ เริ่มต้นอาชีพนางแบบจริงจังเมื่ออายุไม่น้อยแล้วเหมือนกัน เบื้องหลังความสำ�เร็จของคู่แม่ลูกนางแบบวัยเก๋าฟราสซิสและทิเนก้า คือเอเจนซีส่ ญั ชาติองั กฤษ “Grey Model Agency” ผูห้ นุนหลังและสนับสนุน ให้นายแบบและนางแบบอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไปได้มีพื้นที่ในอาชีพที่ คนทั่วไปมองว่าเหมาะกับคนรุ่นหนุ่มสาวมากกว่า แต่รีเบกก้า วาเลนไทน์ (Rebecca Valentine) ผู้ก่อตั้งเอเจนซี่ดังกล่าวกลับมีความเชื่อว่า ตอนนี้ ตลาดต้องการเห็นความแปลกใหม่ที่เหนือกว่าความอ่อนเยาว์หรือใบหน้าที่ สวยงามไร้ทตี่ ิ ริว้ รอยและผมสีดอกเลากลับเป็นคาแรกเตอร์ใหม่ทบี่ ง่ บอกถึง ประสบการณ์ชีวิตในแบบของตัวเองของนายแบบและนางแบบในสังกัด ของเธอ และกลายเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่เพิ่มความหลากหลายให้กับวงการ โฆษณาและแฟชั่นในวันนี้ “ตอนนี้ตลาดกำ�ลังเปลี่ยนความคิดจากความ

ต้องการความสมบูรณ์แบบสูก่ ารเป็นคนสูงวัยทีด่ ดู ตี ามอายุจริง หลายแบรนด์ จึงเปลี่ยนความคิดในการพยายามสื่อถึงการคงความอ่อนเยาว์ให้อยู่ได้นาน ที่สุด สู่การเป็นตัวเองที่ดูดีที่สุด งานนี้จึงไม่ใช่เพียงแค่การโชว์ริ้วรอยและ สีผมขาว แต่มันคือการซื่อสัตย์ต่ออายุของตัวเองอย่างภาคภูมิใจ” รีเบกก้า กล่าว และแม้ว่าดีไซเนอร์หลายคนจะเชื่อว่าตอนนี้กระแสนายแบบและ นางแบบรุ่นคุณปู่คุณย่ากำ�ลังมาแรง แต่เมื่อกระแสซาลง นางแบบหนุ่มสาว หุน่ ผอมบางตามมาตรฐานก็จะกลับมาครองบัลลังล์แคทวอล์กและอาจเบียด คนรุ่นปู่ยาตกกระป๋องอีกครั้ง แต่ยังเร็วเกินไปที่จะสรุปแบบนั้น เมื่อพิจารณาถึงผลสำ�รวจของตลาด ผลิตภัณฑ์ความงามที่ต่างก็รายงานผลไปในทางเดียวกันว่า กลุ่มผู้ซื้อ รายใหญ่ทสี่ ดุ ก็คอื กลุม่ ลูกค้าวัย 50 ปีขนึ้ ไป แถมผลสำ�รวจจากแบรนด์เครือ่ ง สำ�อางค์และสกินแคร์รายใหญ่ของโลกอย่าง L’Oreal ที่ได้ทำ�การสำ�รวจ ความมั่นใจในภาพลักษณ์ของกลุ่มตัวอย่างชายและหญิงคละวัยจำ�นวน 2,000 คน ก็ปรากฏผลที่น่าประหลาดใจว่า กลุ่มคนอายุมากกว่า 65 ปีรู้สึก มั่นใจในภาพลักษณ์ของตัวเอง (81%) มากกว่ากลุ่มวัยรุ่นช่วงอายุระหว่าง 16-24 ปี (70%) เสียอีก ดังนั้นแล้วคงเป็นเรื่องที่ฉลาดกว่า หากแวดวงแฟชั่น และโฆษณาจะยังคงเว้นพื้นที่ให้นางแบบและนายแบบรุ่นเก๋าได้แสดงฝีมือ และเป็นต้นแบบของการเป็นตัวเองได้อย่างภูมใิ จเพือ่ จะได้พชิ ติ ใจกลุม่ ลูกค้า รายใหญ่ที่มีทั้งกำ�ลังซื้อและความมั่นใจอยู่เต็มเปี่ยม ที่มา: บทความ “Grey is the new black for models” (มิถนุ ายน 2015) โดย Anita Singh จาก telegraph.co.uk / บทความ “Grey Models: The Mature Modelling Agency Starting An Age Revolution” (กันยายน 2015) โดย Rosy Cherrington จาก huffingtonpost.co.uk / บทความ “The Secrets of the 80-Year-Old Chinese Runway Model” (มีนาคม 2017) โดย Michael Paterniti จาก gq.com / greymodelagency.com

เซลฟี่ความสุข ในแบบฉบับคุณยายวัย 90 เรื่อง: ปิยะพร สวัสดิ์สิงห์

เมื่อปลายปี 2560 หลายสื่อได้ให้ความสนใจนำ�เสนอเรื่องราวของคุณยาย คิมิโกะ นิชิโมโตะ (Kimiko Nishimoto) หญิงสูงวัยขี้เล่นที่รักการถ่ายภาพ เพื่อสะท้อนแง่มุมสนุกสนานในช่วงวัย 90 ปีของตนเอง และชวนให้ทุกคนที่ ได้เห็นยิ้มตามไปกับภาพถ่ายสไตล์ Self Portrait ชวนขันของเธอ จุดเริ่มต้นในการเป็นช่างภาพของคุณยายคิมิโกะนั้น เริ่มจากการที่ ลู ก ชายได้ เ ปิ ด สอนหลั ก สู ต รการถ่ า ยภาพให้ กั บ ช่ า งภาพมื อ สมั ค รเล่ น แล้วคุณยายในขณะนัน้ ทีม่ อี ายุ 72 ปีกน็ กึ ครึม้ ใจอยากเรียนด้วย ตัง้ แต่นน้ั มา คุณยายก็เริม่ ฝึกฝนการถ่ายภาพ ตัง้ แต่การหามุมและโลเกชันทีส่ วยงามตาม คำ�แนะนำ�ของลูก ไปจนถึงฝึกฝนการแต่งภาพ และเรียนรู้การตัดต่อแก้ไข ภาพด้วยตัวเอง กระทั่งพบว่าหลงรักการถ่ายภาพอย่างจริงจังตั้งแต่นั้น เป็นต้นมา โดยที่อายุไม่ได้เป็นอุปสรรคกับการเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ ใน การถ่ายภาพของเธอเองแม้แต่น้อย ใครจะคิดว่าเพียงแค่ภาพถ่ายธรรมชาติ ผู้คน สัตว์ และภาพถ่ายที่ คุณยายตั้งกล้องถ่ายตัวเองแบบเล่นๆ แต่ใส่ความสร้างสรรค์ชวนขบขัน

CREATIVE THAILAND I 6


ติดตามผลงานภาพถ่ายอารมณ์ดีของคุณยายได้ที่: instagram.com/kimiko_nishimoto ทีม่ า: บทความ “89-Year-Old Japanese Grandma Discovers Photography, Can’t Stop Taking Hilarious Self-Portraits Now” โดย James Gould-Bourn จาก boredpanda.com / บทความ “ไขเคล็ดลับอายุยืน 105 ปีจากนายแพทย์ญี่ปุ่น ไม่ยากแค่ทำ�ตาม 6 ข้อนี้!” จาก spokedark.tv / วิดีโอ “คุณยายช่างภาพ” จาก facebook.com/japanparipari

New Ground Cohousing อยู่เดี่ยว...ก็เปรี้ยวได้ เรื่อง: ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ

“พอเริม่ แก่ลง มันเป็นเรือ่ งเลีย่ งไม่ได้ทจี่ ะรูส้ กึ ว่าชีวติ ไม่ปลอดภัย ตอนทีต่ อ้ ง เริ่มอยู่คนเดียวเมื่อหลายปีก่อน ฉันตัดสินใจว่าจะไม่ไปอยู่บ้านพักคนชรา ถึงไม่ได้อยากอยู่ตัวคนเดียว แต่ก็ไม่อยากจะพึ่งพาลูกๆ ก็เลยมองหาทาง เลือกแบบอื่น” นี่คือความรู้สึกของเฮดี ก่อนที่เธอจะตัดสินใจเข้าร่วมเป็น สมาชิกของกลุ่ม OWCH (Older Womens Co Housing) และย้ายมาใช้ชีวิต บั้นปลายที่ New Ground Cohousing โครงการที่พักอาศัยแบบโคเฮ้าส์ซิ่ง สำ�หรับผู้สูงอายุหญิง ที่มีสมาชิกทั้งหมดเป็นผู้หญิงอายุไม่ต่าํ กว่า 50 ปี แต่ละคนมีพน้ื เพ วัฒนธรรม ครอบครัว การงาน สุขภาพ และความสนใจ แตกต่างกัน แต่สิ่งหนึ่งที่เหมือนกัน คือความต้องการที่จะใช้ชีวิตบั้นปลาย อย่างอิสระ แต่ไม่โดดเดี่ยว New Ground นับว่าเป็นโคเฮ้าส์ซิ่งสำ�หรับผู้สูงอายุแห่งแรกในสหราช อาณาจักร ซึ่งเพิ่งสร้างเสร็จสมบูรณ์เมื่อปี 2016 ในย่านไฮ บาร์เน็ต (High Barnet) ของลอนดอน หลักการของโคเฮ้าส์ซง่ิ คือการทีแ่ ต่ละคนเช่าหรือเป็น เจ้าของพื้นที่ของตัวเอง มีห้องนอน ห้องนั่งเล่น ห้องครัวเล็กๆ และระเบียง

architectsjournal.co.uk

es.aleteia.org

แบบที่ไม่เหมือนใคร จะทำ�ให้คุณยายสามารถเป็นเจ้าของนิทรรศการ ภาพถ่ายของตัวเองถึงสองครัง้ แล้ว โดยครัง้ แรกเป็นนิทรรศการเดีย่ วทีจ่ ดั ขึน้ ทีบ่ า้ นเกิดในเมืองคุมาโมโตเมือ่ ปี 2550 และครัง้ ทีส่ องคือนิทรรศการทีม่ ชี อ่ื ว่า “Asobokane” ซึ่งแปลความหมายว่า Let’s play! จัดขึ้นในกรุงโตเกียว ระหว่างวันที่ 15 ธันวาคม 2560 - 18 มกราคม 2561 ที่เพิ่งผ่านไปได้ไม่นาน นายแพทย์ชิเกอากิ ฮิโนะฮาระ (Dr. Shigeaki Hinohara) ผู้โด่งดังชาว ญี่ปุ่น ที่มีอายุถึง 105 ปี เคยให้คำ�แนะนำ�เกี่ยวกับการดูแลตัวเองให้อายุ ยืนยาวเอาไว้ว่า เคล็ดลับหนึ่งในนั้นก็คือ “การหมั่นเติมความสนุกสนานให้ กับชีวิตอยู่เสมอ” และนี่อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำ�ให้คุณยายคิมิโกะมีอายุยืน และมีพลังบวกมากมายส่งให้กับคนรอบตัวได้อย่างไม่จำ�กัดแบบไม่รู้ตัว

ส่วนตัว แต่มพี นื้ ทีส่ ว่ นกลางขนาดใหญ่อย่างห้องรับประทานอาหาร ห้องครัว ห้องซักรีด ระเบียง สวนหน้าบ้าน ให้ทกุ คนได้มาใช้เวลาร่วมกัน สิ่งที่ต่างจากบ้านพักคนชราอย่างสิ้นเชิงก็คือ ที่นี่บริหารจัดการโดย ผู้อยู่อาศัยทั้งหมด พวกเธอมีส่วนร่วมในการออกแบบและตัดสินใจในทุก ขั้นตอน ตั้งแต่วันที่ยังเป็นที่ดินว่างเปล่า จนถึงทุกวันนี้ที่บ้านสร้างเสร็จ สมบูรณ์ พวกเธอจะแบ่งกลุ่มกันรับผิดชอบดูแลเรื่องต่างๆ ทั้งหมดในบ้าน เช่น งานบ้าน งานสวน การเงิน กฎหมาย ฯลฯ “เวลาที่เช่าบ้านอยู่แบบ ทัว่ ไป คุณแค่จา่ ยเงิน แล้วก็ไม่ได้รสู้ กึ ว่าได้อะไรเพิม่ เข้ามาในชีวติ แต่กบั ทีน่ ่ี ฉันได้มีส่วนร่วมในทุกการตัดสินใจที่เกิดขึ้น” เจเน็ตหนึ่งในเจ้าบ้านซึ่งมีกัน ทั้งหมด 26 คนกล่าว มาเรีย เบรนตัน (Maria Brenton) ที่ปรึกษาโครงการยังเล่าอีกว่า การอยู่ร่วมกันแบบพึ่งพาอาศัยคล้ายกับชุมชนในอดีตแบบนี้ ทำ�ให้พวกเธอ พึ่งพาบริการสาธารณะด้านสุขภาพน้อยลงมาก ซึ่งหากมีการนำ�แนวคิดนี้ ไปขยายผล ก็น่าจะช่วยลดค่าใช้จ่ายของรัฐลงได้อีก ตรงกับที่แองเจล่า หนึ่งในเจ้าของบ้านที่เล่าว่า ตอนที่ย้ายเข้ามาใหม่ๆ ความเครียดทำ�ให้เธอ สูญเสียความทรงจำ�บางส่วนไปหลายวัน ในช่วงเวลานั้นเพื่อนบ้านต่างก็ ส่งอีเมลถึงกันเกี่ยวกับอาการของเธอ และในทุกๆ วันเธอจะได้รับอาหารที่ ปรุงสดใหม่จากเพื่อนบ้านคนใดคนหนึ่งเสมอ “ถ้าพูดถึงเรื่องการช่วยเหลือ ดูแลกันในระยะสั้นๆ ฉันว่าการอยู่ด้วยกันแบบนี้ช่วยได้มากจริงๆ” แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะพวกเธอต้องใช้เวลาถึง 20 ปีในการ ผลั ก ดั น แนวคิ ด นี้ ใ ห้ เ ป็ น จริ ง โคเฮ้ า ส์ ซิ่ ง ผ่ า นการล้ ม ลุ ก คลุ ก คลาน ระหว่างทางหลายครั้ง จนได้รับความช่วยเหลือจากองค์กรไม่แสวงผลกำ�ไร Hanover Housing Association ทีเ่ ข้ามารับหน้าทีเ่ ป็นผูพ้ ฒั นาโครงการและ ผู้ลงทุนในการจัดซื้อที่ดิน ทั้งยังได้รับเงินทุนสนับสนุนจาก Tudor Trust กองทรั ส ต์ ซึ่ ง ให้ ก ารสนั บสนุ น โครงการอาสาและงานชุ ม ชนต่างๆ ใน สหราชอาณาจักร นี่จึงเป็นอีกหนึ่งเครื่องพิสูจน์ว่า แท้จริงแล้วผู้สูงอายุนั้นไม่ได้มีความ ต้องการในชีวิตที่ต่างไปจากคนในวัยอื่นๆ เลย “เราอยากจะรับผิดชอบชีวิต ของเราเอง อยากมีชีวิตที่ยืนยาว สร้างสรรค์ และยังมีกำ�ลังที่จะทำ�อะไร กลับคืนให้กับสังคม” หนึ่งในสมาชิกกล่าวอย่างนั้น

ทีม่ า: บทความ “New Ground cohousing development is an inspiring example not only of how we might live as we get older, but of how to live in cities at all” จาก cohousing.org.uk / บทความ “Pollard Thomas Edwards completes UK’s first over 50s co-housing scheme” (2016) จาก dezeen.com / วิดโี อ “Senior Cohousing The Way to Do It SUBS” โดย OWCH จาก vimeo.com / owch.org.uk

CREATIVE THAILAND I 7


Creative Resource : วัตถุดิบทางความคิด เรื่อง: ชลดา เจริญรักษ์ปัญญา และ โครงการ Designing Impact Program

F EAT U RED BOOK ชาญชรา ก้าวสู่สังคมสูงวัยด้วยความรู้และปัญญา โดย วรเวศม์ สุวรรณระดา ตามนิยามขององค์การสหประชาชาติ สังคมสูงวัย (Aging Society) คือการ มีปริมาณสัดส่วนผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ของจำ�นวน ประชากรทัง้ หมด ซึง่ ประเทศไทยได้เข้าสูภ่ าวะนีต้ งั้ แต่ปี 2547 และตามสถิติ ที่คาดการณ์ไว้ ในปี 2574 อาจมีสัดส่วนผู้สูงวัยเพิ่มขึ้นจนถึง 20 เปอร์เซ็นต์ ผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ประชากรวัยทำ�งานลดลง และภาวะเด็กเกิดใหม่มี แนวโน้มลดลงนัน้ คือปัจจัยทีท่ �ำ ให้อตั ราของประชากรสูงวัยเพิม่ ขึน้ เมือ่ เทียบ กับประชากรทั้งหมด สาเหตุสำ�คัญส่วนหนึ่งเป็นเพราะความก้าวหน้าของ เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ช่วยให้เรายืดเวลาการใช้ชีวิตได้ยาวนานขึ้น อีกส่วนคือการเลื่อนช่วงอายุการใช้ชีวิตของคนรุ่นถัดมา จากแต่ก่อนที่ หลายคนเริ่มต้นทำ�งานตั้งแต่เรียนจบชั้นประถม จากนั้นก็แต่งงาน และมี ครอบครัวตั้งแต่วัยต้น 20 แต่เมื่อเศรษฐกิจดีขึ้น เราก็ใช้เวลากับการศึกษา นานขึ้น อายุเมื่อเริ่มทำ�งานหรือเริ่มสร้างครอบครัวจึงขยับตามออกไปอีก ทำ�ให้จำ�นวนประชากรรุ่นหลังลดลงไปด้วย ชาญชรา ก้าวสู่สังคมสูงวัยด้วย ความรูแ้ ละปัญญา ได้รวบรวมของงานวิจยั เกีย่ วกับผูส้ งู อายุในแง่ตา่ งๆ พร้อม บทสัมภาษณ์จาก ศ.ดร.วรเวศม์ สุวรรณระดา อนุกรรมการการส่งเสริมการ ขยายโอกาสด้านอาชีพและการทำ�งานสำ�หรับผูส้ งู อายุ เพือ่ ให้เห็นผลกระทบ

ในทุ ก มิ ติ ข องภาวะสั ง คมสู ง วั ย ที่ กำ � ลั ง จะเกิ ด ขึ้ น ซึ่ ง ผลกระทบของ สถานการณ์นี้มีอยู่ 3 ส่วนหลัก ได้แก่ ผลต่อระดับบุคคล คือการที่ผู้สูงอายุ ที่ไม่มีลูกหลานจะขาดค่าใช้จ่ายในการดำ�เนินชีวิตส่วนหนึ่งไป ทำ�ให้รายได้ ไม่เพียงพอ ผลต่อระดับเศรษฐกิจ คือการทีจ่ �ำ นวนผูเ้ ข้าสูต่ ลาดแรงงานน้อย กว่าผู้ที่เกษียณออกไป ทำ�ให้ขาดแรงงานในการผลิต และผลต่อภาครัฐที่จะ ต้องนำ�งบประมาณจำ�นวนมากเข้ามาดูแลในด้านสวัสดิการต่างๆ เช่น ค่ารักษา พยาบาล และเงินบำ�นาญ เห็นได้ชดั ว่าโครงสร้างของประชากรส่งผลอย่างมากต่อภาพรวมของทัง้ ประเทศ การปรับตัวจึงเป็นเรื่องสำ�คัญ งานวิจัยนี้จึงเป็นเสมือนตัวช่วยย่น ระยะเวลาที่ทำ�ให้เรามุ่งหาวิธีรับมือได้อย่างรวดเร็วและตรงจุดมากขึ้น เช่น การเสนอการขยายเวลาทำ�งาน หรือการยืดอายุการเกษียณออกไปเพื่อลด ปัญหาการขาดแรงงาน การส่งเสริมการออม ส่งเสริมการเกิดที่มีคุณภาพ การสร้างหลักประกันยามชรา ไปจนถึงการสำ�รวจความพร้อมและการปรับตัว ของภาคการผลิตพร้อมกับการสนับสนุน ซึง่ จะเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ที่ทำ�ให้เราร่วมกันก้าวสู่สังคมสูงวัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

CREATIVE THAILAND I 8


BOOK New Aging: Live smarter now to live better forever โดย Matthias Hallwich ความน่าสนใจอย่างแรกคือ หนังสือเล่มนี้ออกแบบโดย Bruce Mau Design กราฟิกดีไซน์สตูดิโอชื่อดัง ที่เลือกเปลี่ยนเนื้อหาหนักๆ ซึ่งมีพื้นฐานเชิงวิจัยทางวิชาการ ให้เป็นหนังสือที่เต็มไปด้วยไอเดียน่าสนใจ อ่านสนุกด้วยภาพประกอบสวยงาม และจัดวางรูปเล่มโดยเน้นให้ตัวหนังสือกระตุ้นประเด็นชวนให้คิดตลอด ทั้งเล่ม ผู้แต่งอย่างมาเธียส ฮอลล์วิช (Matthias Hollwich) ซึ่งเป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทสถาปนิก Hollwich Kushner นั้น มีความสนใจในประเด็นการใช้พื้นที่ร่วมกันระหว่างคนต่างเจเนอเรชัน โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ กับผู้สูงอายุในลักษณะ Co-Living จึงได้รวบรวมและถ่ายทอดแนวคิดนี้ลงในหนังสือเพื่อปลุกเร้าให้เราคิดถึง วันทีเ่ รามีอายุมากขึน้ ไปจนถึงวิธกี ารใช้ประสบการณ์ทม่ี เี พือ่ สร้างประสบการณ์ใหม่ การปรับตัว การรวมตัวกัน และการเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ ตลอดจนไอเดียที่เป็นไปได้แบบที่สามารถหยิบจับไปพัฒนาเป็นธุรกิจ ได้ทันที Young-Old: Urban utopias of an aging society โดย Deane Simpson วัยชรา คำ�ที่เราได้ยินจนชินหูเมื่อนึกถึงผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป แต่วัยชราน้อย (Young-old) คือกลุ่มคนสูงวัย ที่ยังมีพละกำ�ลังและประสบการณ์เต็มเปี่ยม หนังสือเล่มนี้เจาะลึกข้อมูลเชิงสถาปัตยกรรมเมืองที่ศึกษาด้าน สังคม วัฒนธรรม การเมือง และเศรษฐกิจอันเกี่ยวเนื่องกับกลุ่มคนเหล่านี้ โดยสำ�รวจย้อนไปตั้งแต่ช่วง ทศวรรษ 1950 ที่ซันซิตี้ รัฐแอริโซนา สหรัฐอเมริกา ชุมชนเกษียณอายุที่มีสิ่งอำ�นวยความสะดวกพร้อม ทั้งส่วนเล่นกีฬา สันทนาการ และช้อปปิ้งมอลล์ จนนำ�ไปสู่การเกิดเซ็กเมนต์ใหม่ๆ ของอสังหาริมทรัพย์เพื่อ คนชราน้อย และกลายเป็นปรากฏการณ์ทน่ี า่ จับตา อาทิ เดอะวิลเลจทีร่ ฐั ฟลอริดา ชุมชนเมืองทีค่ อสตาเดลโซ ของสเปน และ เฮาส์ เทน บอช ในจังหวัดนางาซากิบนเกาะคิวชู ความเก๋ไก๋ของหนังสือเล่มนี้คือสีสันและ ภาพประกอบที่ฉายภาพการเกิดกลุ่มสถาปัตยกรรมเมืองอย่างไม่เป็นทางการตามลักษณะการใช้ชีวิตของ คนในพื้นที่ ภาพข่าวหนังสือพิมพ์ ภาพกิจกรรม ไทม์ไลน์การพัฒนาเมือง และอินโฟกราฟิกที่แสดงความ สัมพันธ์ของจำ�นวนประชากรกับกิจกรรมและงานสถาปัตย์ตา่ งๆ ทีเ่ กิดขึน้ ทำ�ให้อา่ นง่ายและกลายเป็นเสน่ห์ ที่ดึงดูดให้ต้องพลิกดูแทบทุกหน้า Forever: On the art of longevity (Abstrakt) โดย W.I.R.E. ปัจจุบันโลกกำ�ลังเผชิญกับสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) แต่หากมองไปยังอนาคต เราอาจ กำ�ลังเข้าสู่สังคมไร้อายุ (Ageless Society) แล้วก็เป็นได้ ยุคที่เทคโนโลยีทางการแพทย์ลํ้าสมัย เพื่อมุ่งสู่การ ใช้ชวี ติ และความเป็นอยูท่ ดี่ ี W.I.R.E. คลังสมองออนไลน์ทรี่ วบรวมข้อมูลวิจยั และความรูเ้ ฉพาะด้านทางธุรกิจ สังคม และวิทยาศาสตร์การดำ�รงชีวิต หันมาสนใจประเด็นนี้และจัดทำ�หนังสือดีไซน์สวยลำ�ดับที่ 14 ของชุด ABSTRAKT ในธีมที่ว่าด้วยความเป็นนิรันดร์ โดยสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ อาทิ นักปรัชญา ชาวสวิส บาบาร่า ไบรสซ์ ที่ตั้งคำ�ถามชวนคิดว่า อะไรคือสิ่งที่ทำ�ให้เราอยากมีชีวิตต่อไป ในขณะที่มนุษย์มี แนวโน้มที่จะอยู่บนโลกได้ยาวนานขึ้น ในเล่มยังมีการนำ�เสนอแนวคิดคู่แย้งที่นำ�มาใช้เป็นกลยุทธ์ในการ เอาตัวรอดได้อย่างยั่งยืน อาทิ ความคล่องแคล่วว่องไว (Agility) กับวิสัยทัศน์ (Vision) เมื่อการมีเป้าหมาย และมองไปข้างหน้าช่วยสร้างจุดยืนในการทำ�สิ่งต่างๆ ได้อย่างมั่นคง แต่การปรับตัวได้รวดเร็วทันต่อ เหตุการณ์ ก็เป็นสิง่ ทีข่ าดไม่ได้และต้องดำ�เนินไปด้วยกันแบบคูข่ นาน เป็นต้น และนีเ่ ป็นเพียงตัวอย่างสำ�หรับ แนวทางที่ทำ�ให้เราก้าวเดินได้มั่นคงอย่างไม่หยุดยั้ง บนโลกที่ให้เราจะอยู่ได้นานเท่าที่จะเป็นไปได้ พบกับวัตถุดิบทางความคิดเหล่านี้ได้ที่ TCDC Resource Center CREATIVE THAILAND I 9


MDIC : นวัตกรรมและวัสดุ

เรื่อง: ชมพูนุท วีรกิตติ และ ปิยวรรณ กลิ่นศรีสุข

ผลจากการเกิดคลื่นยักษ์ของกลุ่มผู้สูงอายุ (Silver Tsunami) ที่พยายาม ปรับตัวให้เท่าทันเทคโนโลยี ทำ�ให้ฝั่งผู้สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการ อัจฉริยะต่างๆ ในตลาดสินค้าเพือ่ ชีวติ ทีย่ นื ยาว เร่งพัฒนาชิน้ งานให้เพิม่ ขึน้ อย่างรวดเร็วโดยเน้นตอบสนองกลุ่มลูกค้าที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ข้อมูลจาก American Association of Retired Persons (AARP) ระบุว่าสินค้ากลุ่มนี้มี มูลค่าทางเศรษฐกิจมากถึง 7.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ขณะที่มูลค่าการ ใช้จ่ายของผู้บริโภคในกลุ่มนี้มีอยู่ที่ราว 5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดสินค้าผู้สูงอายุนับเป็นอีกตลาดใหญ่ที่ได้รับการพัฒนาอย่าง กว้างขวาง โดยเฉพาะการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ สำ�หรับผู้สูงวัย และหนึ่งใน ประเทศทีเ่ ป็นผูน้ �ำ ในด้านนีก้ ค็ อื ญีป่ นุ่ ประเทศทีก่ า้ วเข้าสูส่ งั คมผูส้ งู อายุอย่าง เต็มตัว และกำ�ลังผลักดันอย่างเต็มกำ�ลัง ให้มกี ารพัฒนาหุน่ ยนต์ส�ำ หรับการ ดูแลผูส้ งู วัยโดยเฉพาะ เช่น PARO หุน่ ยนต์เชิงโต้ตอบทีใ่ ช้แมวนํา้ เป็นตัวแทน มาดูแลและเป็นเพื่อนกับผู้ป่วยในสภาพแวดล้อมต่างๆ เช่น โรงพยาบาล และสถานทีด่ แู ลผูป้ ว่ ยเรือ้ รัง รวมทัง้ ช่วยสังเกตอาการของโรคและพฤติกรรม ของผู้สูงอายุ พัฒนาโดย National Institute of Advanced Industrial Science and Technology (AIST) ซึ่งเป็นหน่วยงานกระตุ้นเศรษฐกิจของ ญี่ปุ่นด้วยการใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือแม้แต่ แบรนด์รถยนต์อันดับหนึ่งอย่างโตโยต้าเอง ก็กำ�ลังเปลี่ยนทิศทางจากการ พัฒนายานยนต์มาสู่การผลิตหุ่นยนต์ที่มีวิวัฒนาการด้านอารมณ์และความ รู้สึก โดยเมื่อเดือนตุลาคม 2016 โตโยต้าได้เปิดตัวหุ่นยนต์ที่ชื่อ Kirobo Mini ที่สามารถจดจำ�เสียงและสื่อสารกับผู้ใช้งานในฐานะผู้ช่วยในบ้านและใน รถยนต์ได้ “เราต้องมองให้ไกลกว่าแค่การผลิตรถยนต์ และมุ่งสู่การเป็น ผู้ผลิตหุ่นยนต์ที่จะช่วยให้ผู้สูงอายุยังคงเดินทางได้แม้หลังจากที่พวกเขา

ไม่สามารถขับขีไ่ ด้ดว้ ยตนเอง” โตชิยะ อิโซเบะ (Toshiyuki Isobe) เอ็มดีของ โตโยต้าคนปัจจุบันกล่าว นอกจากนี้ โตโยต้ายังกำ�ลังลงทุนในการวิจัยและ ผลิตหุน่ ยนต์ผชู้ ว่ ยสำ�หรับผูส้ งู อายุทมี่ คี วามซับซ้อนยิง่ ขึน้ โดยทำ�งานร่วมกับ มหาวิทยาลัยเชี่ยวชาญด้านการสร้างนวัตกรรมเพื่อการดูแลสุขภาพแบบ องค์รวมอย่าง Fujita Health University อีกด้วย ส่วนด้านงานบริการนั้น ก็ได้เกิดบริการแบบใหม่ในร้านสะดวกซื้อของ ญี่ปุ่น ซึ่งมุ่งเน้นไปที่ตลาดผู้สูงอายุที่มีอยู่ถึง 27% ของจำ�นวนประชากร ทั้งหมดด้วยเช่นกัน เช่น Aeon เน้นกลุ่มลูกค้าผู้สูงวัยที่อยู่ในเมืองโดยเปิด ให้บริการสัง่ ซือ้ สินค้าออนไลน์พร้อมส่งตรงถึงบ้าน ส่วน Lawson เน้นบริการ สำ�หรับผู้สูงอายุแบบครบวงจร โดยการให้บริการคำ�ปรึกษาด้านสุขภาพ สำ�หรับครอบครัว ซึง่ จะมีผเู้ ชีย่ วชาญด้านการดูแลพยาบาลประจำ�อยูใ่ นช่วง กลางวันคอยตอบปัญหาด้านสุขภาพ รวมถึงระบบการประกันสุขภาพ หรือ วิธกี ารแก้ไขปัญหาเกีย่ วกับการดูแลผูส้ งู อายุหรือผูป้ ว่ ยทีบ่ า้ น ทัง้ ยังสามารถ ให้คำ�แนะนำ�เรื่องสถานพยาบาลผู้สูงอายุในบริเวณใกล้เคียงได้อีกด้วย นอกจากนี้ ภายในร้านยังมีการจำ�หน่ายสินค้าสำ�หรับการดูแลผู้สูงวัย เช่น ผ้าอ้อมสำ�หรับผูใ้ หญ่ ถ่านสำ�หรับเครือ่ งช่วยฟัง ผลิตภัณฑ์อาหารทีม่ ปี ริมาณ บรรจุน้อย ฯลฯ ยิ่งไปกว่านั้น เพื่อรองรับผู้สูงวัยที่ใช้วีลแชร์ ร้านค้ายังมีการ ออกแบบให้ทางเดินในร้านกว้างขึ้น พร้อมติดตั้งราวจับที่รถเข็นช้อปปิ้งและ ที่วางตะกร้าให้อยู่ในตำ�แหน่งตํ่ากว่าปกติ พร้อมจ้างงานผู้สูงวัยให้เป็น พนักงานคอยแนะนำ�พื้นที่สันทนาการสำ�หรับลูกค้าที่เป็นผู้สูงวัยให้ได้มี ปฏิสัมพันธ์และรู้จักพูดคุยกัน โดย Lawson มีเป้าหมายที่จะเปิดให้บริการ ร้านค้าเพื่อผู้สูงวัยอย่างครบวงจรเช่นนี้ในเมืองต่างๆ ทั่วญี่ปุ่น หลังจากเปิด ให้บริการแล้วกว่า 30 แห่งแล้วเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ทีม่ า: บทความ “Robot revolution: why technology for older people must be designed with care and respect” (1 กุมภาพันธ์ 2017) จาก theconversation.com, parorobots.com และ toyota.jp/kirobo_mini

พบกับนวัตกรรมและวัสดุสร้างสรรค์ ได้ที่ชั้น 2 ห้อง Material & Design Innovation Center, TCDC CREATIVE THAILAND I 10


พบกับนิตยสาร “คิด” Creative Thailand ได้ที่ ร้านหนังสือ ห้องสมุด สมาคม อาคารสำ�นักงาน และร้านกาแฟใกล้บ้าน ในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ หัวหิน และจังหวัดอื่นๆ รวมถึง miniTCDC

หมดปญหาหยิบนิตยสารไมทัน สมัครสมาชิกรายป คาใชจายในการจัดสง 200 บาท (12 เลม)

ดูสถานที่จัดวางทั้งหมดได้ที่: www.tcdc.or.th/creativethailand/magazine/place

หรือสมัครออนไลนไดที่ tcdc.or.th/creative_thailand

กรุงเทพฯ ร้านหนังสือ • Asia Books • Kinokuniya • B2S • แพร่พิทยา

• MAIIAM Contemporary Art Museum • ชีวิต ชีวา • Minimeal Cafe • Impresso • Restr8to • Penguin Villa (Penguin Getto) ร้านกาแฟ/ร้านอาหาร • กาแฟอาข่า อ่ามา • Au Bon Pain La Fattoria สาขา2 • Starbucks • TOM N TOM’S COFFEE • Happy Hut ถ.นิมมานฯ • True Coffee • ราชดำ�เนิน • Auntie Anne’s • Mai Bakery In Garden • Baskin Robbins • Starbucks The Plaza • Coffee World • Yesterday Hotel • Mister Donut • October • Black Canyon • สุรยิ นั จันทรา นิมมานฯ ซอย 1 • McCafe’ • ร้านมีชามีชัย (กู) • ดอยตุง • Cafe’de nimman • Ninety four coffee • The Booksmith • Puff & Pie • ร้านชา (Drink Club) • Red Mango • Cotto Studio • Iberry • Starbucks Nimmanhemin • Greyhound Cafe’ • Fern Forest Cafe’ • Amazon Cafe’ • 9th Street Cafe • Chester’s Grill นิมมานฯ ซอย 9 • Luv minibar • ดวงกมล (Duang Kamol) • Rustic & Blue - Handgrown พิพิธภัณฑ์/หอศิลป์ • Produce & Artisan Food • หอศิลปวัฒนธรรม นิมมานฯ ซอย 9 แห่งกรุงเทพมหานคร • หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม • มิวเซียม สยาม • อุทยานการเรียนรู้ (TK park) มช. • นำ�ทอง แกลเลอรี่ หัวหิน • ร้านกาแฟ ชุบชีวา หัวหิน สมาคม/ห้องสมุด • อยู่เย็น หัวหิน บัลโคนี่ • ศูนย์ศิลปะนานาชาติ • บ้านใกล้วัง สมาคมฝรั่งเศส • ภัตตาคารมีกรุณา • ห้องสมุดเนลสัน เฮลส์ The Neilson Hays Library • บ้านถั่วเย็น @ แนบเคหาสน์ • ร้านอาหารหัวหิน (โกทิ) • ห้องสมุด - นิด้า • กาแฟข้างบ้าน • สมาคมโฆษณา • IL GELATO ITALIANO แห่งประเทศไทย • Together Bakery & Cafe’ • สมาคมธนาคารไทย • โรงแรม วรบุระหัวหิน • สมาคมสโมสรนักลงทุน • Let’s Sea • ห้องสมุด สสวท. • โรมแรม ดูน หัวหิน • สมาคมหอการค้าไทย • เดอะร็อค หัวหิน • สถาบัน • บ้านจันทร์ฉาย • Wall Street Institute • หัวหิน มันตรา รีสอร์ท • Raffle Design Institute • ลูน่าฮัท รีสอร์ท • Vision Swimming Academy กระบี่ • Nakamanda Resort & Spa เชียงใหม่ • Rawee Warin Resort & Spa • woo cefe • A little Handmade Shop • Kagee • Ristresto lab • ท่าแพอีสต์+ dibdee.binder ขอนแก่น • Hug School • C.A.M.P ,MAYA • True Coffee ,หอสมุด มช. of Creative Arts • ร้านสืบสาน • Punspace, นิมมานฯ • ร้านกาแฟ คอฟฟี่ เด้อ หล่า • asama cafe • มาหาสมุด (บ้านข้างวัด) (Coffee Der La) • see scape gallery เชียงราย • nimmanian club • ร้านหนังสือ herebookafe • 8 days a week • ร้าน Coffee Dad • Bulbul book cafe’ • Graph cafe’ นครราชสีมา • Cefe de museum • Hug station resort • local cafe Think park • Librarista นครปฐม • Artisan วัวลาย • ร้าน Dipchoc Cafe • paper spoon • กาแฟรสนิยม, นครสวรรค์ หลัง มช ทางขึ้นกาแล • The barn : Eatery Design • ร้าน Bitter Sweet • Book Republic น่าน • wake up หน้ามอ • ร้าน Runway Coffee • Fab cafe’ • kum cafe คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ • ร้านคลาสสิค โมเดล น่าน

• ร้านกาแฟปากซอย • ร้าน Nan Coffee Bean ปาย/แม่ฮ่องสอน • ร้านคอฟฟี่อินเลิฟ • ร้าน all about coffee • ร้านปายหวานบ้านนมสด • ร้านเล็กเล็ก • ปายวิมานรีสอร์ท พังงา • Niramaya Villa and Willness Resort • Ranyatavi Resort Phang Nga • The Sarojin เพชรบุรี • Grand Pacific Sovereign • Resort & Spa • DevaSom Hua Hin Resort ภูเก็ต • ร้านหนัง(สือ) ๒๕๒๑ ภูเก็ต • The oddy Apartment & Hotel • At Panta Phuket • Banyan Tree Phuket • Le Meridien Phuket • Millienium Ressort Patong Phuket • Novotel Phuket Resort • Patong Paragon Resort & Spa Phuket • Sheraton grand Lagana Phuket • Sri wanwa Phuket Villa • Thanyapura ระยอง • Le Vimarn Cottage ลำ�ปาง • อาลัมภางค์ เกสท์เฮ้าส์ แอนด์ มอร์ ลำ�ปาง • ร้านเอกาลิเต้ Egalite Bookshop • Lampang Art Center เลย • บ้านชานเคียง • มาเลยเด้ เกสต์เฮาท์ ลพบุรี • ซนดิคอฟฟี่ สมุทรสงคราม/อัมพวา • Baan Amphawa Resort and Spa สุโขทัย • Ananda Co.,Ltd. สุราษฎร์ธานี • Muang Samui Spa Resort • Pavilion Samui Boutique Resort • The Sunset Beach Resort and Spa Taling ngam • Nora Beach Resort Samui อุทัยธานี • ร้านบุ๊คโทเปีย Booktopia • Avatar Miracles

ขอมูลผูสมัครสมาชิก สมาชิกใหม ชื่อ นามสกุล เพศ โทรศัพท

สมาชิกเกา (ตองการตออายุสมาชิก) หญิง อายุ

ชาย

อีเมล

โทรศัพทมือถือ

อาชีพ นักเรียน ครู/อาจารย

นิสิต/นักศึกษา พนักงานบริษัท

นักออกแบบ/ครีเอทีฟ ผูประกอบการ

อาชีพอิสระ อื่นๆ โปรดระบุ

ขาราชการ/รัฐวิสาหกิจ

สาขา/อุตสาหกรรมที่เกี่ยวของกับอาชีพของทาน โฆษณา สถาปตยกรรม แฟชั่น ศิลปะการแสดง ดนตรี ภาพยนตร โทรทัศน/วิทยุการกระจายเสียง

ทองเที่ยว/โรงแรม/สายการบิน วรรณกรรม/การพิมพ/สื่อสิ่งพิมพ พิพิธภัณฑ/หองแสดงงาน ซอฟตแวร/แอนิเมชัน/วิดีโอเกม

หัตถกรรม/งานฝมือ การเงิน/ธนาคาร ทัศนศิลป/การถายภาพ อื่นๆ โปรดระบุ

อาหาร การแพทย การออกแบบ

คาปลีก/คาสง โทรคมนาคม

ที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ จังหวัด

ซอย

ถนน รหัสไปรษณีย

หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง

อำเภอ/เขต

หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง

อำเภอ/เขต

ที่อยูในการออกใบเสร็จ เหมือนที่อยูในการจัดสง เลขประจําตัวผูเสียภาษี เพื่อออกใบเสร็จรับเงิน หมูบาน/บริษัท เลขที่ ซอย ถนน จังหวัด รหัสไปรษณีย

ตองการสมัครสมาชิกนิตยสาร Creative Thailand ระยะเวลา 1 ป จำนวน 12 เลม เริ่มตั้งแตฉบับเดือน โดยยินดีเสียคาใชจายในการจัดสงเปนจำนวนเงิน 200 บาท

วิธีการชำระเงิน เช็คสั่งจายศูนยสรางสรรคงานออกแบบ พรอมใบสมัครสมาชิก โอนเงินเขาบัญชีออมทรัพย ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ เลขที่บัญชี 101-808967-0 ธนาคารกรุงเทพ สาขาสำนักงานใหญสีลม • แฟกซใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่ 02-105-7450 • หรือสงไปรษณียมาที่ ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (Creative Thailand) อาคารไปรษณียกลาง 1160 ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10501 • หรือแนบไฟลใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่อีเมล creativethailand@tcdc.or.th สอบถามขอมูลเพิ่มเติมไดที่ 02-105-7400 ตอ 122


Local Wisdom : ภูมิความคิด

เรื่อง: วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ

ในบทกวีของแมรี โอลิเวอร์ (Mary Oliver) นักประพันธ์รางวัลพูลิตเซอร์ท่อนหนึ่งกล่าวไว้ว่า “บอกฉันสิ คุณวางแผนจะทำ� อะไรในหนึ่งชีวิตที่แสนระหํ่าและเลอค่าของคุณ (Tell me, what is it that you plan to do with your one wild and precious life.)” น่าจะเป็นการตั้งคำ�ถามถึงชั่วชีวิตหนึ่งของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี และเมื่อการหาคำ�ตอบนั้นไม่ง่ายและไม่ได้ มีค�ำ ตอบตายตัว การเรียนรูจ้ ากประสบการณ์ชวี ติ ของบุคคลทีผ่ า่ นโลกมาไม่นอ้ ย หรือจากตัวเลขสถิติ รายงาน และผลสำ�รวจ ถึงคุณค่าของการมีชีวิตในช่วงเวลาหนึ่งของมนุษย์ อาจทำ�ให้เราเรียนรู้ได้ว่า ในชีวิตที่แสนสั้นของเรานี้ควรทุ่มเทให้กับอะไร “แทนทีเ่ ราจะพูดกันว่า เราจะช่วยผูส้ งู อายุได้ อย่างไร เราควรหันมาสนใจว่าจะให้พวกท่าน มาช่วยเราอย่างไรมากกว่า” คือคำ�พูดของชาย วัย 92 ปี ผู้เป็นพ่อของลอร่า คาร์สเตนเซ่น (Laura Carstensen) นักสังคมศาสตร์และ ผู้ อำ � นวยการศู น ย์ วิ จั ย ด้ า นสั ง คมสู ง วั ย แห่งสแตนฟอร์ด (Stanford Center On Longevity) และเธอเองก็เห็นด้วยกับพ่อของ เธอ เพราะตลอดการทำ�งานของลอร่าที่ได้ ศึกษาเรือ่ งผลกระทบทีม่ ตี อ่ คุณภาพชีวติ นัน้ เธอได้พบข้อสรุปทีน่ า่ สนใจว่า ‘ยิง่ คนมีอายุ มากขึน้ ก็จะยิง่ มีความสุขเพิม่ ขึน้ ’ สิง่ นีอ้ าจ ดูขัดแย้งกับทัศนคติของคนในสังคมที่มอง ว่า ‘ยิ่งแก่ อะไรๆ ก็ยิ่งแย่ลง’ ไม่ว่าจะเรื่อง ปัญหาสุขภาพ หรือสถานะทางสังคมที่ถูก ลดทอนความสำ�คัญ แต่จากการทดสอบ กลุ่มตัวอย่างวัยเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ จากกรมควบคุมโรคติดต่อ (CDC: Centers

for Disease Control and Prevention) ที่ ได้สำ�รวจระดับความเครียดทางจิตใจกลับ พบว่า กลุม่ ตัวอย่างผูส้ งู วัยมีระดับความเครียด น้อยกว่ากลุม่ คนทีม่ อี ายุนอ้ ยกว่ามาก ลอร่า อธิ บ ายเพิ่ ม เติ ม จากงานวิ จั ย ของเธอว่ า มันคือความสามารถในการรับรูเ้ วลาของคน สูงวัยที่เข้าใจอย่างลึกซึง้ ว่า คนเราไม่สามารถ อยู่ได้ตลอดกาล สิ่งนี้ได้เปลี่ยนมุมมองชีวิต ไปในทางบวกมากขึ้น ผู้สูงอายุจึงยอมรับ ความเศร้าและรับมือกับความรู้สึกลบได้ดี กว่าคนทีอ่ ายุยงั น้อย และหากสังคมจะเลือก ลงทุ น พั ฒ นาคุ ณ ภาพชี วิ ต ของผู้ สู ง อายุ ก็น่าจะเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าที่สุด เพราะ ไม่ ใ ช่ เ พี ย งอายุ ขั ย ที่ ผู้ สู ง วั ย จะมี เ พิ่ ม ขึ้ น เท่านั้น แต่ภูมิความคิดและปัญญาของคน รุ่ น เก๋ า ต่ า งหากที่ จ ะเป็ น กำ � ไรต่ อ ชี วิ ต และสังคมของคนรุ่นหลังที่ประเมินมูลค่า ไม่ได้ CREATIVE THAILAND I 12

เมือ่ ความแก่ไม่ได้เป็นเพียงเรือ่ งสุขภาพ แต่มันคือทัศนคติ อิซาเบล อัลเลนเด (Isabel Allende) นักเขียนนิยายชือ่ ดัง ชาวชิลีในวัย 71 ปีก็คิดแบบเดียวกัน เธอบอกว่า เราต่างก็ร้สู ึกอ่อนวัยกว่า อายุจริง เพราะจิตวิญญาณไม่เคยแก่ ตัวลง แม้ความชราจะพรากเอาความ กระฉับกระเฉงและเพิ่มรอยเหี่ยวย่นที่ ไม่พึงปรารถนาเข้ามาในชีวิต แต่อายุ ที่เพิ่มขึ้นกลับให้บางสิ่งที่คนหนุ่มสาว ไม่เคยได้รู้สึกมาก่อน นั่นคือ “อิสระ” ทีไ่ ด้หลุดพ้นจากความคาดหวังของคน รอบข้างและสังคม ทัง้ ยังไม่ตอ้ งพยายาม ค้นหาตัวตน การไม่ตอ้ งพิสจู น์อะไรอีก ต่อไปคือสิ่งที่วิเศษ นี่จึงเป็นเวลาแห่ง การเฉลิมฉลองของชีวิตที่หากว่าไม่ เจ็บป่วยหรือยากจนมากนัก คนสูงวัย ก็จะมีทางเลือกและสามารถทำ�สิง่ ทีใ่ จ


ต้องการได้อย่างน่าภาคภูมิใจ เหมือนกับ ไอดอลของเธอทีไ่ ด้ใช้ชวี ติ สูงวัยอย่างมีคณุ ค่า คนๆ นั้นก็คือ โอลก้า เมอร์เรย์ (Olga Murray) ทนายหญิงชาวอเมริกันที่ใช้ชีวิต หลังวัยเกษียณอุทิศตัวทำ�งานช่วยเหลือเด็ก ผู้ ห ญิ ง ในเนปาลให้ พ้ น จากการเป็ น ทาส และได้ก่อตั้งมูลนิธิที่ชื่อว่า Nepal Youth Foundation เพื่อส่งเสริมให้เด็กชายและ หญิงได้รับการศึกษาและบริการทางการ แพทย์ที่มีคุณภาพ เมื่ออายุ 90 ปี โอลก้าได้ ช่ ว ยเหลื อ เด็ ก เนปาลเป็ น จำ � นวนกว่ า 45,000 คน และเป็นผู้จุดประกายในการ เปลีย่ นวัฒนธรรมการขายลูกสาวเพือ่ ไปเป็น

คนรั บ ใช้ ใ ห้ ก ลายเป็ น สิ่ ง ผิ ด กฎหมายใน เนปาล และเธอได้เผยเคล็ดลับความสุขให้ เหล่าคนหนุม่ สาวฟังว่า “ให้ลองจินตนาการ ดูว่าหากคุณอายุถึง 90 ปี เมื่อมองย้อนกลับ ไปดูชว่ งชีวติ ทีผ่ า่ นมาทัง้ หมด สิง่ ทีจ่ ะทำ�ให้ คุณรูส้ กึ พึงพอใจและภาคภูมใิ จในชีวติ ทีส่ ดุ นั้น ไม่ใช่รถสปอร์ตหรูที่คุณซื้อเมื่อสมัย หนุ่มๆ เสื้อผ้าแบรนด์ดังที่มีอยู่เต็มตู้ หรือ อุปกรณ์เทคโนโลยีสุดลํ้าที่ครอบครอง แต่ มันคือสิ่งที่คุณทำ�เพื่อคนอื่น เพราะมันจะ กลายเป็ น ความทรงจำ � ที่ เ กาะกุ ม อยู่ เ ต็ ม หัวใจที่จะทำ�ให้คุณมีความสุข”

หากจะพูดถึงเคล็ดลับความสุขและความสำ�เร็จ โรเบิร์ต วาลดิงเจอร์ (Robert Waldinger) ในวัย 67 ปี น่าจะสรุปให้เราฟังได้อย่างน่า เชื่อถือที่สุด โรเบิร์ตคือหัวหน้าคณะวิจัยรุ่น ที่ 4 ด้านพัฒนาการผูใ้ หญ่ของมหาวิทยาลัย ฮาร์ ว าร์ ด (Harvard Study of Adult Development) ประจำ�โครงการศึกษาข้อมูล มนุษย์เกี่ยวกับความสุขและความพอใจใน ชีวิตที่ดำ�เนินมายาวนานถึง 75 ปี โครงการ นี้ได้ตามติดชีวิตผู้ชายในสหรัฐฯ จำ�นวน 724 คน มาตั้งแต่ปี 1938 จนตอนนี้กลุ่ม ตัวอย่างบางคนมีอายุกว่า 90 ปี โรเบิรต์ เผย ถึงกระบวนการศึกษาชีวิตกลุ่มตัวอย่างให้ ฟังว่า เขาไม่ได้แค่ส่งชุดคำ�ถามเพื่อเก็บ ข้อมูลเท่านั้น แต่ทีมงานได้สัมภาษณ์ชีวิต แต่ละคนรวมทั้งพูดคุยกับลูกๆ และภรรยา ของพวกเขาร่วมกับการวิเคราะห์เอกสาร ทางการแพทย์ เพื่อหาคำ�ตอบที่มนุษย์เรา อยากรู้ที่สุดว่า หนทางแห่งความสุขและ สุขภาพดีในบั้นปลายชีวิตนั้นคืออะไร โรเบิรต์ ได้สรุปผลให้ฟงั สัน้ ๆ ว่า ‘ความ สัมพันธ์ที่ดีจะช่วยให้มนุษย์เรามีความสุข และแข็งแรง’ นี่อาจฟังดูไม่น่าตื่นเต้นและ สมเหตุสมผลดีแล้ว แต่โรเบิร์ตอธิบายเพิ่ม เติมว่ามันมีอะไรทีล่ กึ ซึง้ มากกว่านัน้ เพราะ ความสัมพันธ์ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงการมี

เพื่อนหรือญาติเยอะ เพราะข่าวร้ายก็คือ ชาวอเมริกนั มากกว่าหนึง่ ในห้าบอกว่าตัวเอง รู้สึกโดดเดี่ยวแม้พวกเขาจะอยู่ท่ามกลาง ผู้คนมากมายหรือคู่ชีวิตของตัวเอง ความ สัมพันธ์ในที่นี้จึงไม่เกี่ยวกับปริมาณแต่เป็น เรื่องของคุณภาพ โดยผลการสำ�รวจชี้ให้ เห็นว่า เมื่อสุขภาพของกลุ่มตัวอย่างเริ่ม เสื่อมโทรมตั้งแต่ช่วงวัยกลางคน ระดับ คอเลสเตอรอลที่ เ คยตรวจไว้ ต อนอายุ ประมาณ 50 ก็ไม่ได้บ่งชี้ว่าพวกเขาจะมี สุขภาพอย่างไรเมื่อแก่ชรา แต่กลับเป็น ระดับความพึงพอใจต่อความสัมพันธ์ใน ชีวิตของพวกเขาต่างหากที่ส่งผล โดยคนที่ พอใจกับความสัมพันธ์ที่มตี อนอายุ 50 จะ เป็นคนที่แข็งแรงที่สุดเมื่ออายุ 80 และหาก ในวั ย ชรานี้พวกเขาเกิดเจ็บปวดทางกาย อย่างมาก คนที่มคี วามสัมพันธ์ทด่ี กี จ็ ะยังคง มีความสุขอยู่ แต่ความรู้สึกเจ็บปวดจะเพิ่ม ขึ้นเป็นทวีคูณหากคนๆ นั้นมีความสัมพันธ์ ที่แย่ นอกจากนั้นแล้ว การมีความสัมพันธ์ ทีม่ น่ั คงและแน่นแฟ้นยังช่วยในเรือ่ งความจำ� ตอนอายุมากขึน้ อีกด้วย และแม้ครู่ กั วัย 80 ปี บางคูจ่ ะทะเลาะกันบ่อยครัง้ แต่หากพวกเขา ยังรู้สึกว่าพึ่งพากันและกันได้ทุกเมื่อ การมี ปากเสียงกันนั้นก็ไม่ได้ส่งผลแย่ต่อความ สามารถในการจำ�ของพวกเขาเลย

เพราะการสร้างความสัมพันธ์เป็นเรือ่ งยุง่ ยาก ซับซ้อน และไม่สามารถเห็นผลลัพธ์แบบเร็ว ด่วนทันใจคนวัยหนุ่มสาว พวกเขาจึงอาจ มองข้ามการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและมี คุณภาพตั้งแต่อายุยังน้อย เมื่อผลสำ�รวจ คนรุน่ มิลเลนเนียลพบว่า มากกว่าร้อยละ 80 พวกเขาต้องการความรา่ํ รวยและอีกร้อยละ 50 ต้องการมีชอื่ เสียงโด่งดัง ส่วนความต้องการ ในความสัมพันธ์ทด่ี กี ลับไม่ถกู พูดถึง ผลลัพธ์ แบบนีไ้ ม่นา่ แปลกใจ เมือ่ เราถูกสอนให้ทมุ่ เท เวลาให้กับงานและการหาเงินเพื่อไขว่คว้า ความสำ�เร็จให้มากขึ้นและมากขึ้น หากแต่ งานวิจยั ทีน่ า่ เชือ่ ถือจากฮาร์วาร์ดบอกให้เรารูว้ า่ คนทีจ่ ะแข็งแรงและเป็นสุขทีส่ ดุ ในบัน้ ปลาย ชีวติ คือคนทีท่ มุ่ เทเวลาให้กบั ครอบครัว เพือ่ น และสังคมของเขาตั้งแต่ยังหนุ่ม ฉะนั้นแล้ว ช่วงเวลาของความหนุ่มสาวก็น่าจะมีความ สำ�คัญมากเช่นกัน ดร.เม็ก เจย์ (Dr. Meg Jay) นักจิตวิทยาคลินกิ ยืนยันว่าช่วงอายุกอ่ น 35 ปี คือช่วงเวลาทีจ่ ะส่งผลต่อชีวติ มนุษย์มากทีส่ ดุ โดย 8 ใน 10 ของการตัดสินใจที่จะชี้ชะตา ว่าชีวิตจะเป็นอย่างไรต่อจากนี้อยู่ที่ช่วงวัย รุ่นจนถึงวัย 30 กลางๆ ดังนั้นหากใครที่ยัง อายุ 20 กว่าๆ แล้วคิดว่าตัวเองยังมีเวลาอีก เหลือเฟือสำ�หรับการทดลองใช้ชวี ติ จึงไม่ใช่ ความคิดทีฉ่ ลาดนัก ดร.เม็กแนะนำ�ว่า วัยรุน่ ไม่ควรหมกหมุ่นอยู่กบั การแสวงหาตัวตน แต่ ควรพยายามสร้างตัวตนที่ดีที่สุดด้วยการ ลงมือทำ�บางอย่างทีจ่ ะสร้างคุณค่าให้ตวั เอง อย่ า งจริ ง จั ง เพราะเธอเชื่ อ ว่ า ตั ว ตนที่ ยอดเยี่ยมจะนำ�มาซึ่งสิ่งที่ยอดเยี่ยม และ ในช่วงอายุของวัยหนุม่ สาวทีก่ �ำ ลังก่อให้เกิด การเปลีย่ นแปลงในชีวติ ได้อย่างมากมายทัง้ เรื่องงาน ความรัก ความสุขส่วนตัว และ ยังเป็นกำ�ลังหลักในการขับเคลื่อนโลกใบนี้ ด้วยนั้น การลองฟังบทเรียนชีวิตของผู้ที่มี ประสบการณ์ ชี วิ ต มากกว่ า ก็ น่ าจะทำ� ให้ หนุ่มสาวทั้งหลายได้กำ�หนดชะตาชีวิตที่ แสนระหํ่าให้มีคุณค่าอย่างที่ใจต้องการได้ อย่างชัดเจน

ที่มา: วิดีโอ “How to live passionately no matter your age” (กันยายน 2014) โดย Isabel Allende จาก ted.com / วิดีโอ “Older people are happier” (เมษายน 2012) โดย Laura Carstensen จาก ted.com / วิดีโอ “What if you could live a joyful and vibrant life at any age?” (พฤศจิกายน 2015) โดย Olga Murray จาก tedxvienna.at / วิดีโอ “What makes a good life? Lessons from the longest study on happiness” (ธันวาคม 2015) โดย Robert Waldinger จาก ted.com / วิดีโอ “Why 30 is not the new 20” (พฤษภาคม 2013) โดย Meg Jay จาก ted.com CREATIVE THAILAND I 13


Cover Story : เรื่องจากปก

เรื่อง: กมลกานต์ โกศลกาญจน์

เมื่อพูดถึงสังคมผู้สูงอายุ เรามักจะมีภาพของคุณปู่คุณย่าปรากฏขึ้นก่อนเสมอ ท่ามกลางข้อเท็จจริงว่าเวลาที่ผ่านไป เร็วไวนั้น อาจทำ�ให้ “ผู้สูงวัย” ในอนาคตอันใกล้นั้น...แท้จริงแล้วก็คือ “เรา” ในวันนี้

CREATIVE THAILAND I 14


สูงวัยเข้าใจเทคโนโลยี

meytarrd.co.il

หลังจากเลยคลื่นของ “สวัสดีวนั จันทร์” ภาพดอกไม้ สีสดติดข้อความสวัสดีหรือข้อความให้ขอ้ คิดและ กำ � ลั ง ใจที่ ฮิ ต ถล่ ม ทลายในโปรแกรมไลน์ เ มื่ อ หลายปีก่อน ในวันนี้เราก็เริ่มเห็นผู้สูงวัยบางส่วน ที่รู้เท่าทันเทคโนโลยี (Digital Literacy) กัน มากขึ้น โดยที่เทคโนโลยีสำ�หรับผู้สูงวัยในวันนี้ ไม่ ไ ด้ เ ป็ น เพี ย งช่ อ งทางในการสื่ อ สารเท่ า นั้ น แต่ยังมีบทบาทสำ�คัญในการเป็นเครื่องมือที่ช่วย รองรับผู้สูงวัยที่ต้องอยู่อาศัยโดยลำ�พัง เพราะ ช่วยป้องกันภาวะโรคเรื้อรัง เพิ่มความสามารถ ในการเคลื่อนไหว และช่วยให้ไม่เหงาใจเกินไป ด้วยจำ�นวนของประชากรที่เข้าสู่การเป็นผู้สูงวัย มากขึ้นเรื่อยๆ จึงทำ�ให้ธุรกิจด้านเทคโนโลยีต้อง คำ � นึ ง ถึ ง ผลิ ต ภั ณ ฑ์ แ ละบริ ก ารอั จ ฉริ ย ะที่ จ ะ เติบโตตาม เพื่อรองรับความต้องการของกลุ่ม ตลาดอายุ 50 ปีขึ้นไปได้อย่างต่อเนื่อง

หนึง่ ในรูปแบบของเทคโนโลยีทนี่ า่ จับตามอง คือ Voice Activation หรือการสั่งการด้วยเสียง ซึ่งเหมาะจะเป็นผู้ช่วยคนสำ�คัญสำ�หรับผู้สูงวัยที่ มีเงื่อนไขด้านการมองเห็นหรือการเคลื่อนไหว ลดอั ต ราการแยกตั ว ออกจากสั ง คม เพราะ สามารถเป็นสือ่ กลางทีช่ ว่ ยให้ผสู้ งู วัยได้ตดิ ต่อกับ สมาชิกในครอบครัว เพื่อน หรือผู้ดูแลได้อย่าง ง่ายดาย ตัวอย่างจาก ElliQ อุปกรณ์และหน้าจอ สือ่ สารสำ�หรับผูส้ งู วัยทีม่ โี ปรแกรมการจดจำ�เสียง เป็ น เพื่ อ นคนสำ � คั ญ ที่ มี ป ฏิ สั ม พั น ธ์ แ ละแสดง อารมณ์ ได้ การเข้ าถึงกลุ่มตลาดผู้สูงวัยของ ElliQ นี้ ทำ�ให้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2017 บริษัท นี้สามารถระดมทุนจาก iRobot ได้ถึง 6 ล้าน เหรียญสหรัฐฯ เพือ่ พัฒนาให้ใช้งานได้จริงสำ�หรับ พลเมืองผู้สูงอายุ

techcrunch.com

facebook.com/rendever

ปี พ.ศ. 2561 จะเป็ น ปี แ ห่ ง ประวั ติ ศ าสตร์ สำ�นักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติได้คาดการณ์ไว้ว่า ในปีนี้ ประเทศไทยมีจำ�นวนผู้สูงอายุแซงหน้าจำ�นวน ประชากรเด็กเป็นครั้งแรก สังคมผู้สูงอายุไม่ใช่ เรือ่ งใหม่ ประเทศไทยได้กา้ วเข้าสูส่ งั คมผูส้ งู อายุ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 จากอัตราการเกิดที่ลดลง แบบรวดเร็วต่อเนื่องมากว่า 30 ปี ในขณะที่ จำ�นวนแรงงานกำ�ลังลดลง จำ�นวนผู้สูงอายุจะ เพิม่ ขึน้ ในอัตราเร่งแบบทวีคณู * โดยจากรายงาน ขององค์การสหประชาชาติระบุวา่ อัตราส่วนของ ผู้สูงอายุวัยมากกว่า 60 ปีขึ้นไปนั้น จะเพิ่มขึ้น จาก 16.5% ในปี 2030 เป็น 21.5% ในปี 2050 ความท้าทายจากการขยายตัวอย่างรวดเร็วของ สังคมผู้สูงอายุนี้ จึงเป็นการผลักดันให้เกิดทั้ง ทางเลื อ กและโอกาสใหม่ ใ นหลายธุ ร กิ จ และ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ด้วยอายุที่ยืนยาวขึ้นจากเทคโนโลยีทาง การแพทย์ อัตราการเกิดทีล่ ดลงสวนทาง รวมทัง้ การเข้าสูว่ ยั เกษียณของเจเนอเรชัน่ “เบบีบ้ มู เมอร์” การเปลี่ ย นแปลงด้ า นข้ อ มู ล ประชากรนี้ ชี้ ใ ห้ เห็นถึงความท้าทายของอนาคต ทั้งในด้านการ ยกระดั บ ของความสนใจด้ า นสุ ข ภาพ การมี ไลฟ์สไตล์ใหม่ และมาตรฐานของการมีคุณภาพ ชีวิตที่ดี เพราะผูส้ งู วัยอาจไม่ได้อยากอยูย่ าวนานขึน้ แต่อยากอยู่อย่างดีขึ้นมากกว่า

ตัวอย่างการเข้าถึงเทคโนโลยีของผูส้ งู วัย: ผูก้ �ำ กับเจค คาฮานา (Jake Kahana) ทำ�ภาพยนตร์สน้ั ทีแ่ สดงให้เห็นว่าเทคโนโลยี VR ให้ความบันเทิงกับผูส้ งู วัยได้ ไม่ใช่แค่เจนมิลเลนเนียลเท่านัน้

*ที่มาข้อมูล: การคาดประมาณประชากรของประเทศไทย พ.ศ.2553-2583, สำ�นักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ CREATIVE THAILAND I 15


อยู่ติดบ้าน

คำ�ว่าอยูต่ ดิ บ้านในทีน่ ไี้ ม่ได้หมายถึงการทีผ่ สู้ งู วัย นัง่ เหงาซึมอยูใ่ นบ้าน ไม่กระตือรือร้น แต่หมายถึง การเปิดพื้นที่ในบ้านให้กับเพื่อนใหม่ แบ่งปัน ทรัพยากรที่มีอย่างสูตรอาหาร สวนสีเขียว พื้นที่ ส่วนกลาง ตลอดจนประสบการณ์ที่สั่งสมมาทั้ง ชั่วอายุ เหล่าธุรกิจด้านที่อยู่อาศัยต่างก็ตอบรับ กับโจทย์ใหญ่ครั้งนี้ได้เป็นอย่างดี อย่าง Airbnb แพลตฟอร์มแชร์พน้ื ทีพ่ กั อาศัยให้กบั คนแปลกหน้า ที่คนส่วนมากมักจะนึกว่า กลุ่มผู้ใช้งานหลักจะ เป็นเหล่าเจนมิลเลนเนียลทีช่ อบเดินทางออกท่อง โลกเท่านั้น แต่ Airbnb ก็ขยับปรับรูปแบบธุรกิจ ให้ตอบรับสังคมผู้สูงอายุด้วยกลยุทธ์สำ�คัญ โดย ในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ Airbnb ร่วมมือกับ

OverSixty เว็บไซต์ด้านการท่องเที่ยวสำ�หรับคน อายุ 60 ปีขึ้นไป ร่วมกันสร้างเนื้อหาเกี่ยวกับการ ท่องเที่ยวสำ�หรับผู้สูงวัยที่ทั้งเป็นฝ่ายเดินทางเอง หรือเป็นเจ้าบ้านต้อนรับนักเดินทาง ในระดับโลก เจ้ า บ้ า นของ Airbnb ที่ เ ป็ น ผู้ สู ง วั ย คื อ กลุ่ ม คอมมูนิตี้ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะใน สหรัฐอเมริกาที่ตลาดกลุ่มเจ้าบ้านผู้สูงวัยนั้น เติบโตสูงสุดที่ 100%

ค้นพบ “ฉัน” คนใหม่

คำ�ว่า “แก่” อาจไม่ใช่ค�ำ ถูกหูเท่าไหร่นกั ด้วย 43% ของผูท้ ี่มีอายุระหว่าง 60-64 ปีในสหราชอาณาจักร ได้เปิดเผยว่าพวกเขาไม่ได้แก่ แต่พวกเขาเป็น แค่ผู้ใหญ่วัยกลางคน (Middle Adulthood) CREATIVE THAILAND I 16

แอชตัน แอปเปิ้ลไวต์ (Ashton Applewhite) นั ก เขี ย นและนั ก กิ จ กรรมด้ า นการต่ อ สู้ เ พื่ อ สิทธิของผู้สูงวัย เคยกล่าวไว้ว่า “เราไม่เห็นว่า ผู้สูงวัยเป็นปัญหาที่ต้องแก้ไข หรือเป็นโรคที่ ต้องรักษา แต่เป็นสิ่งที่เรียกว่า พลัง ธรรมชาติ กระบวนการของชีวิตที่เชื่อมโยงกับเราทุกคน” คำ�ว่า “เกษียณอายุ” สำ�หรับเบบี้บูมเมอร์ จึงไม่ได้หมายถึงชีวิตที่หยุดชะงัก แต่หมายถึง การค้นพบชีวิตใหม่ผ่านการทำ�งาน การเรียนรู้ การท่องเที่ยว และงานอดิเรก จากการพบพาน กับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ตลอดช่วงชีวิต ตั้งแต่ วั น ที่ ลู ก หลานเติ บ โตจนย้ า ยออกจากบ้ า น ผ่านโมงยามของความเศร้าโศกจากการสูญเสีย บุคคลอันเป็นที่รัก บ้างผ่านการหย่าร้างหรือการ


refinery29.com

rollingstones.com

เผชิญกับอาการเจ็บป่วย เหตุการณ์เหล่านี้ทำ�ให้ ผูส้ งู วัยได้ตระหนักถึงความสำ�คัญของ “ช่วงอายุ” ที่เหลืออยู่ จึงเป็นที่มาของการปรับมุมมองใหม่ และโฟกัสไปในจุดที่ถูกต้องมากขึ้น มองเห็น ตัวเองชัดเจนมากขึ้น โดยที่ไม่มีข้อจำ�กัดทาง สังคมอย่างที่พวกเขาเคยต้องเจอมาในช่วงชีวิต ก่อนหน้า แนวคิด “ฉันคนใหม่” จึงเป็นความรู้สึกถึง การมีตัวตนที่ชัดเจนและการได้ลงมือทำ�ในสิ่ง ที่ชอบ Midorexia คือคำ�ที่ใช้เรียกกลุ่มผู้บริโภค สูงวัยที่กล้าแสดงออกเหมือนอายุยังหนุ่มสาว คำ�เรียกนี้เป็นการแสดงให้เห็นถึงสถานะที่ถูก เปลีย่ นแปลงและเปลีย่ นความคาดหวังต่อประชากร ที่มีชีวิตมายาวนาน แสดงให้เห็นความสำ�คัญกับ ความสนุกในช่วงท้ายของชีวติ การรูจ้ กั ชืน่ ชมกับ ช่วงอายุและความเชื่อว่า ฉันคือคนที่น่าสนใจ ไม่ใช่เคยน่าสนใจอย่างในอดีต แต่ฉนั น่าสนใจได้ เลยทันที วันนี้ เดี๋ยวนี้ ดึงดูดใจได้มากขึ้นกว่า ที่เคยเป็น ดังนั้นฉันจึงจะเต็มที่กับชีวิตวันนี้ให้ ดีที่สุด

ท่องเที่ยว ออกเดท และไปเทศกาลดนตรี

3 คำ�นี้ไม่ได้เป็นกิจกรรมสำ�หรับเฉพาะคนหนุ่มสาวเหมือนอย่างที่เคยเป็นมา ด้วยทัศนคติใหม่ในการ มองโลกทำ�ให้ผู้สูงวัยตัดสินใจลุกขึ้นมาทำ�กิจกรรมที่ตอบรับกับความต้องการ การออกเดินทางผจญภัยของผู้สูงวัยอายุเกิน 60 ปีแบบที่เราเห็นตัวอย่างในประเทศไทยจาก ป้าแป๋ว-กาญจนา พันธุเตชะ อดีตข้าราชการที่ใช้เวลาหลังวัยเกษียณไปกับการแพ็คกระเป๋า ออกเดินทางฉายเดีย่ วไปยังประเทศต่างๆ ทัว่ โลก และแทนทีจ่ ะเดินทางอย่างสบายด้วยเครือ่ งบิน หรือเรือ กลุม่ นักท่องเทีย่ วสูงวัยนีก้ ลับเลือกทีจ่ ะเดินทางราวหนุม่ สาวทีเ่ ต็มไปด้วยพลัง ทัง้ โบกรถ ต่อเรือ และชอบเข้าร่วมเทศกาลเชิงวัฒนธรรมและการท่องเทีย่ วเชิงอนุรกั ษ์ อย่างเช่น การเข้าร่วม พิธีกรรม Ayahuasca ในอเมริกาใต้ เทศกาลโฮลีในอินเดีย (Holi Festival) หรือไปแช่ออนเซ็น ที่ญี่ปุ่น อีกหนึง่ ตลาดสำ�คัญคือแอพพลิเคชัน่ จับคู่ เมือ่ มองดูอตั ราการหย่าร้างในสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และอังกฤษ จะพบการแยกกันอยู่ของคนสูงวัย รายงานจาก The Economist ระบุว่า สำ�หรับ ผู้สูงวัยที่อายุมากกว่า 60 ปีในสหรัฐอเมริกานั้นมีอัตราการหย่าร้างเพิ่มเป็นสองเท่า สอดคล้อง กับงานวิจยั จาก Pew Research ที่ระบุว่าแอพฯ Tinder นัน้ มีผใู้ ช้อายุระหว่าง 55-64 ปีเพิ่มขึ้นเป็น สองเท่าในระหว่างปี 2005-2015 โดยรายงานยังระบุอีกว่า 12% ของคนอายุระหว่าง 55-64 ปี เคยใช้เว็บไซต์เดทออนไลน์หรือแอพฯ หาคู่ เทศกาลดนตรีชื่อดังอย่างแกลสตันบูรี จากงานสำ�รวจของ Staysure พบว่า 1 ใน 5 ของผู้เข้า ร่วมงานมีอายุมากกว่า 45 ปี โดย 20% อายุระหว่าง 45-65 ปี และ 3% อายุ 65 ปีขึ้นไป หรือ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือความสำ�เร็จของเทศกาลดนตรี Desert Trip หรืออีกชื่อที่รู้จักกันว่า Oldchella ที่รวบรวมนักร้องรุ่นใหญ่จากยุค 60 มาแสดงรวมกันในเวทีเดียว ทั้งบ๊อบ ดีแลน (Bob Dylan) พอล แมคคาร์ตนีย์ (Paul McCartney) เดอะโรลลิงสโตนส์ (The Rolling Stones) และเดอะฮู (The Who) ที่ไปตั้งเวทีในแคลิฟอร์เนีย บนพื้นที่เดียวกับ Coachella เทศกาลดนตรี ระดับโลกของคนหนุ่มสาว

CREATIVE THAILAND I 17


สูงวัยอย่างไทย เรื่องอะไรที่ควรรู้

กลุ่ ม วิ จั ย และพั ฒ นาความเป็ น อยู่ ที่ ดี ข องผู้ สูงอายุ (ABLE Lab) ที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือ กันระหว่างศูนย์บริการวิจัยและออกแบบ คณะ สถาปั ต ยกรรมศาสตร์ แ ละการออกแบบ มหาวิ ท ยาลั ย เทคโนโลยี พ ระจอมเกล้ า ธนบุ รี (มจธ.) (REDEK) และศูนย์เทคโนโลยีสิ่งอำ�นวย ความสะดวกและฟื้นฟู มจธ. โดยให้ความสำ�คัญ กับการศึกษาบริบทในหลายมิติที่เกี่ยวกับการ เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เรามีโอกาสได้พูดคุยกับ หัวหน้าโครงการ ABLE Lab อย่างอาจารย์พรยศ ฉัตรธารากุล ที่มาร่วมแชร์มุมมองเกี่ยวกับการ ออกแบบเพื่อผู้สูงอายุภายใต้บริบทสังคมไทย เราอาจยังสับสนว่าการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล (Universal Design) เป็นเรื่องการออกแบบ เพื่อผู้สูงอายุด้วย จริงๆ สองแนวคิดนี้เหมือน หรือต่างกันอย่างไร

ยกตัวอย่างง่ายๆ อย่างเก้าอี้ ทางเดิน ลิฟต์ ราวจับบันไดในที่สาธารณะ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ คนอื่ น หรื อ สาธารณะสามารถใช้ ง านด้ ว ยได้ ตรงนี้เป็นเรื่องของ Universal Design แต่เมื่อ พู ด ถึ งการออกแบบเพื่ อ ผู้ สู ง อายุ แต่ ก่อ นคน ส่วนใหญ่มักคิดถึงเรื่องการแพทย์ก่อน จนมาถึง ในช่วงหลังๆ นี้ที่คนเริ่มตื่นตัวมากขึ้น เราก็เริ่ม ค้นพบว่าประเทศไทยยังมีของเหล่านี้ไม่เยอะ การออกแบบเพื่อผู้สูงอายุนั้นเฉพาะมาก เป็น การออกแบบมาเพื่อผู้ใช้กลุ่มหนึ่งๆ เท่านั้น เช่น เสื้อผ้า เสื้อผ้าสำ�หรับผู้สูงอายุในบ้านเรามีการ รับรู้ในเชิงลวดลาย สีสัน รูปแบบ แต่ไม่ใช่เรื่อง ของการใช้งานหรือคุณค่าอืน่ เป็นต้นว่าคนสูงอายุ มีขอ้ จำ�กัดเรือ่ งการเคลือ่ นไหว ถ้าเสือ้ ผ้าไปจำ�กัด การเคลือ่ นไหวอย่างผ้าทีม่ เี นือ้ แข็งหรือเข้ารูปมาก ก็จะทำ�ให้ยกแขนหรือเคลื่อนไหวลำ�บาก หรือ เนื้ อ ผ้ า สวยแต่ ผู้ สู ง วั ย สวมใส่ เ องได้ ค่ อ นข้ า ง ลำ�บาก ก็ไม่ใช่เหมือนกัน

การสร้างองค์ความรู้ในประเทศไทยเรื่องสังคม ผู้สูงอายุก็มีอยู่มาก ปัญหาคืออะไร

ทุกวันนีท้ กุ คนต่างทำ�เรือ่ งผูส้ งู อายุ ปัญหาคือการ ขาดศูนย์กลาง ส่วนใหญ่มันไปจบในเรื่องทาง กายภาพ ที่เราทำ�งานมาทั้งหมดเราค้นพบว่ามัน เกีย่ วข้องกับเรือ่ งเชิงจิตวิทยาและสังคม เป็นเรือ่ ง

ที่มาก่อนกายภาพทั้งนั้น แต่ในปัจจุบันส่วนใหญ่ จะไปเน้นเรื่องกายภาพ ส่วนเรื่องจิตวิทยาต่างก็ เดาและคิดแทนกันเอาเอง กายภาพเป็นเรือ่ งของ มาตรฐานและการออกแบบ แต่การออกแบบก็ เป็ น เรื่ อ งของการนำ � มาตรฐานมายื ด หยุ่ น ต่ อ บริบทหรือสถานการณ์ต่างๆ ผมมักพูดเสมอว่าสังคมเรา (คนทั่วไป) ไม่ พูดถึงเรื่องผู้สูงอายุ ญาติผู้ใหญ่ของเราที่เป็นคน ทำ�งานปกติ พอวันหนึ่งที่เขาต้องหยุดทำ�งาน เขาก็ไม่รู้ว่าต้องทำ�อย่างไร สิ่งที่เกิดขึ้นตามมา คื อ เรื่ อ งของอารมณ์ ร่ า งกายก็ ต กตํ่ า ตาม อย่างไรก็ตาม สิง่ หนึง่ ทีเ่ ราไม่ตอ้ งพึง่ พาจากรัฐคือ การใช้เทคโนโลยี ในต่างประเทศนั้นไปได้ไกล แต่ในไทยก็มีการเริ่มต้นบ้างแล้วเหมือนกัน และ น่าจะพัฒนาไปได้ดี เช่น แอพพลิเคชัน่ ช่วยเหลือ ผู้สูงอายุ เริ่มจากการเรียกแท็กซี่ แค่ไม่ต้องเดิน ออกจากซอยไปเพื่อเรียกรถ หรือการใช้แอพฯ เพื่อบอกสถานะว่าอยู่ตรงไหนของการเดินทาง เรื่องเหล่านี้เราสามารถกระโดดข้ามบริการจาก รัฐได้ รวมถึงการไปซื้อยา ผู้สูงอายุอ่านฉลาก ไม่ออก เขาค้นหาชื่อยาในมือถือแล้วขยายขนาด ตัวอักษรได้ ถ้ามัวแต่รอให้กฎหมายมาบังคับ บริ ษั ท ยามาขยายตั ว หนั ง สื อ ให้ ใ หญ่ ก็ ไ ม่ มี วั น ได้ซื้อ แต่ถ้าผู้สูงวัยใช้วิธีแบบนี้ ถึงแม้จะซับซ้อน ขึ้ น มาหน่ อ ย แต่ มั น ก็ เ ป็ น ทางออกได้ ผ่ า น เทคโนโลยี นับตั้งแต่ก่อตั้ง ABLE Lab ผลของโครงการ ขั บ เคลื่ อ นหรื อ สร้ า งความเปลี่ ย นแปลงได้ อย่างไรบ้าง

ผมเคยได้ยินผู้ประกอบการคนหนึ่งพูดว่าสังคม ผู้สูงอายุนั้นเห็นผู้ใช้ (user) อยู่จำ�นวนมาก แต่ มองไม่เห็นตลาด (market) เลยว่าอยู่ตรงไหน นี่ เป็นคำ�ทีน่ า่ สนใจ เพราะฉะนัน้ ทิศทางในช่วงแรก ABLE Lab ได้ทำ�วิจัยกับผู้สูงอายุราว 60-80 คน ทั้งสัมภาษณ์เชิงลึกและสังเกตพฤติกรรมในบ้าน เราค้นพบว่ามันมีความต้องการจริงๆ แต่พอทำ� เป็นผลิตภัณฑ์ไปแล้วกลับไม่มีคนซื้อ หรือเพราะ ผู้ สู ง อายุ ไ ม่ ไ ด้ มี กำ � ลั ง ซื้ อ หรื อ เข้ า ถึ ง แหล่ ง จัดจำ�หน่ายได้ ไม่เหมือนกับสินค้าเด็ก เพราะ ตลาดเด็กพ่อแม่คือคนซื้อ ธุรกิจที่ผลิตสินค้าเพื่อ ผู้สูงอายุเลยต้องปรับวิธีการขาย เช่น ถ้านำ�ขาย หน้าร้านจะขายได้น้อยมากหรือไม่ได้เลย แต่พอ

CREATIVE THAILAND I 18

ขายแบบเปิดบูธที่งานแฟร์ต่างๆ กลับขายได้ดี เพราะผูส้ งู อายุชอบไปเดินงานแฟร์ อย่างเช่นงาน OTOP แต่ในระยะ 1-2 ปีที่ผ่านก็ตื่นตัวกัน มากขึน้ เริม่ มีการพูดถึงสินค้าเพือ่ ผูส้ งู อายุมากขึน้ คนรุ่นหลังจะสามารถรับมือกับสังคมผู้สูงอายุ ต่อจากนี้อย่างไร

คิดว่าคนจะมีระดับการเรียนรู้ (Learning Curve) ทีเ่ ร็วขึน้ ภูมหิ ลัง การศึกษา ความเข้าใจในข้อมูล ต่างๆ แต่ในแง่ของ influencer หน่วยงานต่างๆ หรือภาครัฐเองก็ไม่สามารถรอได้ ไม่สามารถ ปล่อยให้เขาสร้างระดับการเรียนรู้ด้วยตัวเองได้ เราต้องช่วยกันด้วยการใช้วิธีที่อาจจะ passive มากๆ มันก็เลยกลับมาเป็นเรือ่ งของการทำ�ความ เข้าใจกลุ่มผู้สูงอายุอย่างจริงจัง เช่น การศึกษา ลักษณะของผูส้ งู อายุในประเทศไทยจริงๆ ว่าเป็น อย่างไร ทัศนคติที่มีต่อเรื่องต่างๆ เป็นอย่างไร ทำ�อย่างไรให้ Learning Curve นั้นสั้นและเรา ผ่านช่วงนี้ไปได้อย่างรวดเร็ว เราจะใช้ประโยชน์จากความทรงจำ� ความรู้ และ ความเชี่ยวชาญของผู้สูงวัยได้อย่างไร

ต้องบอกว่าประเทศไทยยังมีระบบการจัดการ ความรู้ไม่ดี ทำ�ให้ Local Wisdom ผูกติดกับ ตัวคน คนรุ่นหลังจึงต้องพึ่งพาเรื่องความรู้จาก ผู้สูงอายุ ทั้งนี้ถ้าเรามีระบบจัดการที่ดี ความรู้ จะถูกส่งต่อมาเรื่อยๆ แต่หากระบบจัดการไม่ดี ความรู้ก็จะไปอยู่กับผู้สูงอายุอย่างเดียว เราเลย เสียดายความรู้ตรงนั้น ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับ ความหลงใหล (passion) ยกตัวอย่างคนญี่ปุ่นที่ เริ่มต้นทำ�ธุรกิจในช่วงสูงวัย คนเหล่านั้นอาจจะ ไม่ได้เริ่มจากงานหรือสิ่งที่เขาทำ�เพื่อเลี้ยงชีพ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาเลย แต่เป็นสิ่งที่เป็น แพชชัน่ ของเขาล้วนๆ ไม่ใช่เรือ่ งทีเ่ ขาทำ�เป็นงาน กันมาตลอดชีวิต ตั ว อย่ า งนี้ เ ป็ น คนละเรื่ อ งกั บ Local Wisdom เราชอบคิดว่าเอาความรู้ของเขามา ทำ�ให้เกิดธุรกิจ แต่เราไม่เคยมองว่าผู้สูงอายุ ต่างจังหวัดทอผ้าขาย เขาเบื่อกันไหม มันไม่ได้ แค่แง่มุมว่าเขาเชี่ยวชาญอะไร เลยคิดว่าถ้ามี แพลตฟอร์มที่ให้ผู้สูงวัยได้ลองทำ�ดูก็น่าจะเป็น เรื่องดี แต่เพราะบ้านเราไม่ได้มีกลไกให้ค้นหา ตัวเองกันตั้งแต่เด็ก แม้แต่คนรุ่นเราเองยังสงสัย


กั น เลยว่ า ที่ ทำ � งานกั น อยู่ ทุ ก วั น นี้ เ ป็ น สิ่ ง ที่ ใ ช่ หรือไม่ และสังคมไทยก็ไม่ใช่สงั คมทีส่ ง่ เสริมงาน อดิเรก ซึ่งงานอดิเรกนี้เองคือตัวช่วยให้ผู้สูงอายุ มีอะไรทำ� เพราะงานอดิเรกมักจะมาจากแพชชัน่ พอวันหนึ่งที่ผู้สูงวัยมีเวลาโดยไม่ต้องทำ�งานอีก งานอดิ เ รกตรงนั้ น ก็ เ ป็ น สิ่ ง ที่ ส ร้ า งกิ จ กรรม สร้างความสุข สร้างรายได้ได้

การออกแบบสำ�หรับผู้สูงอายุ และปัจจัยที่ควรคํานึงถึง

ในส่วนของการออกแบบเพื่อผู้สูงอายุ นอกจากปัจจัยสำ�คัญอย่าง Human Factors หรือลักษณะ และวิธีการที่มนุษย์ปฏิสัมพันธ์ต่อสิ่งรอบข้าง ยังมีปัจจัยอื่นที่ควรคำ�นึงถึงอย่างสังคมและวัฒนธรรม และการเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจ เหล่านี้เป็นข้อควรคำ�นึงที่ทำ�ให้การออกแบบสำ�หรับผู้สูงอายุนั้น สอดรับกับความต้องการที่แท้จริง

การเปลี่ยนแปลงด้านสังคมและวัฒนธรรม: ถิ่นที่อยู่อาศัย วัฒนธรรม อาชีพ สถานะทางสังคม พฤติกรรม ภูมิหลัง ประสบการณ์ อาจส่งผลให้เกิดการวิตกกังวลและความสามารถในการ สื่อสาร

การเปลี่ยนแปลงด้านกายภาพ: กายภาพและความสามารถในการควบคุมร่างกาย ประกอบด้วย กายภาพทีเ่ ปลีย่ นไป การควบคุมทีเ่ ปลีย่ นไป ไม่วา่ จะเป็นการควบคุมการเคลือ่ นไหว ความแข็งแรง ระบบอัตโนมัติ ทั้งการรับรู้และการตอบสนอง

ที่มา: agelab.mit.edu / เนื้อหาจากนิทรรศการ “Dear Elder สวัสดีตัวฉันในอนาคต” โดย ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) / บทความ “เทรนด์เจเนอเรชัน Baby Boomer” จาก wgsn.com / บทสัมภาษณ์อาจารย์พรยศ ฉัตรธารากุล หัวหน้า โครงการ ABLE Lab วันที่ 19 มีนาคม 2561 / วิดีโอ “BETTVR WITH AGE” โดย Jake Kahana จาก vimeo.com / วิดีโอ “ELLIQ - The active aging companion” (12 มกราคม 2017) โดย Intuition Robotics จาก youtube.com / วิดีโอ “Let’s end ageism” โดย Ashton Applewhite / หนังสือ New Aging เขียนโดย Matthias Hollwich, Bruce Mau Design Inc CREATIVE THAILAND I 19

blog.bluegatescube.com.ph

การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ อารมณ์ ความรู้สึก: ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิธีคิด วิธีการ มองโลก แรงผลักดัน วิถีชีวิต มองเหตุการณ์ ท้ายที่สุดจะส่งผลต่อพฤติกรรม ประสิทธิภาพของ ร่างกาย การเปลี่ยนแปลงระดับความสามารถ


Insight : อินไซต์

เรื่อง: ปิยพร อรุณเกรียงไกร

นั่งถักนิตติ้งข้างเตาผิง เล่นหมากรุกฝาขวดนํ้าอัดลม หรือจิบโอเลี้ยงและถกข่าวการเมืองอย่างออกรสในสภากาแฟเก่า ใกล้บา้ น ลืมภาพเดิมๆ เหล่านีอ้ อกไปก่อน เพราะเรากำ�ลังพูดถึงความหลากหลายของการสือ่ สารและกิจกรรมพบปะสังสรรค์ ในกลุ่มผู้สูงวัยปัจจุบัน ที่มีอะไรน่าสนใจมากกว่าแค่การส่งรูปและคลิปข้อความประจำ�วันทางไลน์ ปรากฏการณ์ “สวัสดีวันจันทร์” คือตัวอย่างที่ สะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของเทคโนโลยีที่เข้ามา เปลี่ ย นแปลงพฤติ ก รรมและการใช้ ชี วิ ต ของ ผู้สูงอายุไทยได้ชัดเจนมากที่สุดกรณีหนึ่ง ทำ�ให้ นักการตลาด ธุรกิจแบรนด์ หรือแม้แต่สื่อ หันมา สนใจและทำ�ความเข้าใจอินไซต์ของผู้สูงอายุกัน ใหม่ โดยเฉพาะในยุคที่ข้อมูลมีมูลค่าดั่งนํ้ามัน เช่นนี้

โจทย์ใหม่ของธุรกิจ-การตลาด เมื่อผู้สูงวัย Go Online

จากการเสวนาในงาน Thailand Zocial Awards 2018 เมือ่ เดือนมีนาคมทีผ่ า่ นมา นรสิทธิ์ สิทธิเวชวิจติ ร ผูอ้ �ำ นวยการฝ่ายขายและสือ่ โฆษณา

แห่ง LINE ประเทศไทย กล่าวถึงเทรนด์ใหม่ที่น่า จับตาในเวลานี้ ว่ากลุม่ ผูส้ งู อายุตงั้ แต่เจเนอเรชัน่ เบบี้บูมเมอร์ ไปจนถึงเจนเอ็กซ์ ได้กลายมาเป็น ‘คนรุ่นใหม่ (New Generation)’ ที่เริ่มเข้าสู่โลก อินเทอร์เน็ต ส่งผลให้พื้นที่โฆษณาเข้าถึงกลุ่ม ผู้บริโภควัยนี้มากขึ้นด้วย “ผู้ ใ ช้ ที่ เ ราเห็ น ว่ า มี สั ด ส่ ว นที่ ม ากขึ้ น คื อ “คนรุน่ ใหม่” (New Generation) ของอินเทอร์เน็ต ซึ่ ง ไม่ ใ ช่ เ ด็ ก ๆ แต่ ห มายถึ ง คนที่ เ พิ่ ง เริ่ ม เล่ น อินเทอร์เน็ต คนที่เราเห็นชอบส่งรูปดอกไม้ตอน เช้าๆ ทำ�ให้สัดส่วนประชากร (ผู้ใช้งานในไทย) ขยายออกไป ทำ�ให้แบรนด์เข้ามาทำ�การตลาด มากขึ้น เพราะรู้ว่าไม่ได้มีแค่เด็กๆ หรือวัยรุ่น แต่ได้คนทำ�งานและผู้สูงวัยด้วย” ในทางกลับกัน CREATIVE THAILAND I 20

ชนะชัย ไชยปัญญา จาก Twitter ประเทศไทย เผยว่าปีทผ่ี า่ นมากลุม่ วัยรุน่ ไทยหันมาใช้ทวิตเตอร์ กันเยอะขึน้ จนทำ�ให้ยอดผูใ้ ช้ทงั้ หมดเพิม่ ขึน้ กว่า 10.1 ล้านราย ส่วนหนึง่ เพราะต้องการรักษาความ เป็นส่วนตัวจากพ่อแม่ผปู้ กครองทีน่ ยิ มเล่นเฟซบุก๊ เป็นโซเชียลมีเดียหลัก

ปัดซ้ายขวา หาคู่เดต

อายุไม่ใช่อุปสรรคสำ�หรับรักแท้หรือการมองหา ‘คู่เดต’ ที่ตรงกับความต้องการอีกต่อไป เพราะ วั น นี้ โ ลกออนไลน์ ก ลายเป็ น พื้ น ที่ สำ � คัญ ที่เปิด โอกาสให้คนทุกเพศ ทุกวัย ทุกรสนิยม เข้ามา คว้าโอกาสดังกล่าว ไม่เว้นแม้แต่ผู้ใหญ่และวัย สูงอายุ!


Cognitive Fitness เข้ายิม ออกกำ�ลังสมอง

“เราอยากจะแก่ตวั ลงไปแบบไหน” แน่นอนว่าทุกคน ย่อมอยากมีความสุข และมีสุขภาพที่สมบูรณ์ แข็งแรง การดูแลและเตรียมตัวก่อนเข้าสู่วัย สู ง อายุ จึ ง สำ � คั ญ และถู ก ผนวกเป็ น หนึ่ ง ใน ยุ ท ธศาสตร์ ก ารเตรี ย มความพร้ อ มสู่ สั ง คม ผู้สูงอายุของหลายประเทศทั่วโลก ข้อมูลการสำ�รวจปัญหาสุขภาพของผูส้ งู อายุ ไทยปี 2551 ระบุว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่เจ็บป่วย เป็นโรคเรือ้ รังจนต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ด้วยโรคทางสมองและจิตเวช โดยเฉพาะภาวะ สมองเสื่อม ทุกวันนี้จึงเกิดการออกแบบกิจกรรม CREATIVE THAILAND I 21

manager.co.th

‘ที่’ สำ�หรับพวกเขาอีกต่อไป ที่สำ�คัญการพบปะ สังสรรค์กับผู้คนใหม่ๆ ก็ถือเป็นการเติมเต็ม ประสบการณ์และความพึงพอใจตามธรรมชาติ ของมนุษย์อยู่แล้ว เพียงแต่วันนี้เรามีเทคโนโลยีที่ ฉลาดขึ้นเข้ามาอำ�นวยความสะดวก สอดรับกับ ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต และเวลาที่แสนจะจำ�กัด (หรือไม่ก็สร้างปัญหาหัวใจให้ใหญ่โตกว่าเดิม) แน่นอนว่าธุรกิจหาคู่ออนไลน์ตระหนักถึง ความต้องการของ ‘ผู้มาใหม่’ เหล่านี้ ปี 2015 Tinder แอพฯ หาคู่ที่ได้รับความนิยมในกลุ่มวัย รุ่นทั่วโลก ได้เปิดบริการสมัครสมาชิกรายเดือน Tinder Plus โดยคิ ด ค่ า บริ ก ารตามช่ ว งอายุ อย่างไรก็ดี ทัง้ สือ่ ต่างประเทศและผูใ้ ช้บริการพากัน โจมตีว่าเป็นการเลือกปฏิบัติและกีดกันทางอายุ (Discrimination) เนื่องจากค่าบริการรายเดือน สำ�หรับคนอายุตํ่ากว่า 30 ปี อยู่ที่ 9.99-14.99 ดอลลาร์ ขณะทีค่ นอายุ 30 ปีขนึ้ ไปต้องจ่าย 19.99 ดอลลาร์/เดือน หลังจากมีการฟ้องร้องคดีมานาน เมื่ อ เดื อ นกุ ม ภาพั น ธ์ ที่ ผ่ า นมา ศาลอุ ท ธรณ์ แคลิฟอร์เนียได้ตัดสินว่าเป็นการเลือกปฏิบัติ ถือว่าละเมิดกฎหมายป้องกันการแข่งขันทีไ่ ม่เป็น ธรรมของสหรัฐอเมริกา (Unfair Competition Law) และกฎหมายเลือกปฏิบัติโดยเฉพาะตาม เพศเชื้อชาติศาสนาเชื้อสายกำ�เนิด (Unruh Act) เป็นไปได้สงู ว่าตลาดนีจ้ ะขยายตัวจากตลาด นิชมาสูแ่ มส เมือ่ โลกเข้าสูส่ งั คมสูงวัยโดยสมบูรณ์ ตราบใดทีค่ นเรายังโหยหาความรัก หรือใครสักคน ที่ ต อบสนองความต้ อ งการทางกายและใจ อุ ต สาหกรรมนี้ ก็ พ ร้ อ มเดิ น หน้ า ต่ อ ไปอี ก นาน แสนนาน

manager.co.th

เราเชื่อว่าหลายคนน่าจะพอรู้จัก Stitch แอพพลิเคชั่นหาคู่สำ�หรับผู้สูงวัยแต่ใจไม่โรยรา ซึง่ มาแรงตัง้ แต่เปิดตัวในปี 2014 ทุกวันนีก้ ลุม่ คน ที่จะกลายเป็นผู้สูงอายุในอนาคต เปิดใจยอมรับ แอพฯ หรือเว็บหาคูก่ นั มากกว่าคนรุน่ ก่อน เพราะ มองว่าเป็นช่องทางทีท่ �ำ ให้พวกเขามีโอกาสได้เจอ ‘พาร์ตเนอร์ทใี่ ช่’ และตลาดนีก้ ด็ จู ะมีตวั เลือกเพิม่ ขึน้ เรื่อยๆ เช่น SeniorPeopleMeet คอมมูนิตี้ ออนไลน์ที่เน้นเจาะกลุ่มคนวัย 55 ปีขึ้นไป และ กำ�ลังมองหาความสัมพันธ์ฉันเพื่อนไปจนถึงคู่รัก โดยอ้างว่ามีผใู้ ช้มากถึง 2.4 ล้านราย/เดือน เว็บนี้ ยังโตเร็ว 400% ภายใน 3 ปีและขยายช่องทางไป สูแ่ อพฯ อีกด้วย นอกจากนีเ้ ว็บบริการหาคูเ่ ก่าแก่ อย่าง Match, eHarmony และ OkCupid ทีเ่ จาะ ตลาดแมส ก็ยังมีกลุ่มผู้ใช้งานสูงวัยเช่นกัน จากผลสำ�รวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการ หาคู่ทางออนไลน์ในปี 2015 โดยสถาบัน Pew Research Center พบว่า 15% ของผู้ใหญ่ใน สหรัฐอเมริกาใช้เว็บหรือแอพฯ หาคู่ โดยสัดส่วน ของกลุม่ ช่วงอายุ 55-65 ปีเคยใช้เว็บ/แอพฯ หาคู่ คิดเป็น 12% ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าจาก 6% ในปี 2013 ไม่เพียงเท่านัน้ 28% ของกลุม่ ดังกล่าวยอมรับ ว่ า เคยสานสั ม พั น ธ์ ร ะยะยาวกั บ คู่ เ ดตที่ รู้ จั ก ผ่านช่องทางหาคู่ออนไลน์ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้สะท้อนถึงอะไร ได้บ้าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี Swinburne ใน ออสเตรเลียได้ศึกษาวิจัยเรื่องความสัมพันธ์และ การหาคู่ เ ดตของชาวออสเตรเลี ย ตั้ ง แต่ อ ายุ 60-92 ปี พบว่าสาเหตุหนึง่ ของการเลือกหาคูท่ าง ออนไลน์นั้น เป็นเพราะว่าพวกเขาหรือพวกเธอ รู้ สึ ก ว่ า แทบไม่ มี โ อกาสเจอคนที่ ถู ก ใจในชี วิ ต ประจำ�วัน โดยเฉพาะเมื่อผับและไนต์คลับไม่ใช่

และนวัตกรรมใหม่ๆ ให้เข้ามาช่วยกระตุ้นการ รู้คิดและพัฒนาสมรรถภาพสมองของผู้สูงอายุ เช่น เกมฝึกสมอง การเล่นไพ่จบั คู่ หนึง่ ในเทรนด์ ที่น่าสนใจคือฟิตเนสสำ�หรับออกกำ�ลังกายสมอง ในบ้านเราก็มี Cognitive Fitness Center ฟิตเนส ฝึ ก สมองก่ อ ตั้ ง โดยโรงพยาบาลจุ ฬ าลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยแบ่งกลุม่ ผูใ้ ช้บริการเป็นกลุม่ วัย 55 ปีขึ้นไปที่ไม่เป็นโรคสมองเสื่อม กับกลุ่ม ผู้ป่วยที่เริ่มมีความเสี่ยง แต่ยังไม่เป็นโรคสมอง เสื่อม (Mild Cognitive Impairment) กิจกรรม จะถูกออกแบบมาเพื่อกระตุ้นสมรรถภาพสมอง ทางตรงและทางอ้อม เช่น ดนตรีบ�ำ บัด ร้องเพลง งานศิลปะ ออกกำ�ลังกาย เล่นโยคะ และยังมี กิจกรรมแบบกลุ่ม ซึ่งได้กลุ่มคนทำ�ละครเวทีเข้า มาช่ ว ยออกแบบกิ จ กรรมการบำ � บั ด ด้ ว ยการ เคลื่อนไหว หรือ Creative Movement Therapy ที่เหมาะกับผู้สูงอายุ ที่มา: บทความ “Cognitive Fitness Center ฟิตเนสฝึกสมอง ผู้สูงอายุ” จาก chulalongkornhospital.go.th / รายงาน “สมรรถนะสมองของผู้ใหญ่และผู้สูงอายุไทย: ปัจจัยเสี่ยง ต่อภาวะสมองเสื่อม”, วารสารพิษวิทยาไทย 2558 ; 30(1) : 41-59 / รายงาน “Love, Sex and Intimacy in New Late-Life Romantic Relationships” โดย Sue Malta จาก researchbank.swinburne.edu.au / รายงาน “15% of American Adults Have Used Online Dating Sites or Mobile Dating Apps” โดย Aaron Smith จาก pewinternet.org / รายงาน “40 Is the New 65? Older Adults and Niche Targeting Strategies in the Online Dating Industry” โดย Derek Blackwell จาก mdpi.com / เว็บไซต์ thothzocial.com


Creative Startup : เริ่มต้นคิด

Co-Habit เชื่อมสองวัยอยู่ใต้หลังคาเดียว

เรื่อง: กรณิศ รัตนามหัทธนะ ภาพ: นัทธ์ชนัน เพชรดี

ผู้สูงวัย อาศัยอยู่ตัวคนเดียวในบ้านบริเวณกว้างใจกลางกรุง ต้องการ ‘ชีวิตชีวา’ และ ‘เพื่อน’ คนทำ�งานรุ่นใหม่ ต้องการสถานที่สำ�หรับทำ�งาน ในทำ�เลดี เดินทางสะดวก และค่าเช่าที่เป็นมิตร คนสองวัย เติมเต็มความต้องการซึ่งกันและกันพอดิบพอดี แต่คงยากที่จะมาเจอกัน เพราะรูปแบบการใช้ชีวิตแตกต่างกันเหลือเกิน Co-Habit คือคำ�ตอบ ด้วยดีกรีปริญญาโทจาก Academia di Architecture a Mendrisio สวิตเซอร์แลนด์ และมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา พิม-พิมพิพัฒน์ ห้องดุลย์ และ เดียร์-จารวี บุญศิริ สองสถาปนิกสาว ได้ก่อตั้ง Primary Workshop บริษัทสถาปนิกของตัวเอง และในวัยยังไม่ถึงเลขสาม สองสาวมองเห็นโอกาส ‘เชื่อม’ คนสองวัย เข้าด้วยกัน ผ่านแพลตฟอร์มจับคู่ทางออนไลน์ (Online Matchmaking Platform) อย่าง Co-Habit ที่แปลว่า ‘อยู่ร่วมกัน’

หาความต้องการที่เข้ากันพอดี โจทย์ที่ Co-Habit รับหน้าที่ เชื่อมต่อ ความคิดทำ�แอพพลิเคชัน่ น้องใหม่ เกิดขึน้ วันหนึง่ เมือ่ คุณพิมวิง่ จ๊อกกิง้ ผ่าน บ้านคุณป้าคํ้าคูน วัย 85 ปี “เราเป็นสถาปนิก ตอนแรกทีท่ �ำ โครงการร่วมกับ TCDC ก็คดิ อย่างเดียว ว่าออกแบบเป็นบ้าน บ้านสำ�หรับผู้สูงอายุ แต่พอทำ�ไปก็ได้รู้ว่า ผู้สูงอายุเขา ไม่ได้ต้องการบ้านสวย สิ่งที่เขากลัวที่สุดก็คือความเหงาที่ต้องอยู่คนเดียว”

CREATIVE THAILAND I 22


คุณพิมกล่าว ช่วงนั้นเธอกำ�ลังมองหาทำ�เลสำ�หรับทำ�ออฟฟิศพอดี และที่นี่ ติดป้ายให้เช่า ราคาค่าเช่าทีเ่ ป็นมิตร และทำ�เลแสนสะดวก มีรถไฟใต้ดนิ วิง่ ผ่าน และ กำ�ลังจะมีรถไฟฟ้าในอีกไม่กี่ปี นับว่าตอบโจทย์คนทำ�งานรุ่นใหม่ จนไม่เห็น ความจำ�เป็นจะต้องไปสำ�รวจดูย่านยอดนิยม อย่างสีลม สาทร ที่แน่นอนว่า ราคาที่ดินสูงปรี๊ด “คำ�ทีส่ ะดุดใจเราคือ คุณป้าเขาไม่ได้ตอ้ งการผูเ้ ช่า แต่เขาต้องการเพือ่ น” คุณเดียร์เล่าให้ฟงั ผูส้ งู วัยจำ�นวนไม่นอ้ ยมีฐานะดีพอสมควรอยูแ่ ล้ว มีเงินเก็บ มีบำ�นาญ มีเงินจากลูกหลาน จึงอาจไม่ได้สนใจเรื่องเงินค่าเช่า เท่ากับการ มีคนดี ไว้ใจได้ มาอยู่ร่วมชายคาให้อบอุ่นใจ บ้านหลังนีอ้ ยูต่ รงข้ามห้างสรรพสินค้าใหญ่ใจกลางย่านชุมชน รถไฟฟ้า กำ�ลังจะสร้างเสร็จผ่านหน้าปากซอยในอีกไม่กี่ปี นับเป็นทำ�เลทอง ที่เดาได้ ว่าราคาที่ดินมีแต่จะพุ่งสูงขึ้น มีคอนโดมิเนียม อพาร์ตเมนต์หลากหลาย แบรนด์ ผุดขึ้นรายรอบตามธรรมเนียม เจ้าของบ้านเดี่ยวในทำ�เลดีๆ แบบนี้ คือคนที่ซื้อบ้านไว้ตั้งแต่ 50-60 ปี ที่แล้ว และปัจจุบันลูกๆ แต่งงานแยกบ้านไปกันหมด การได้เงินค่าเช่า นับเป็นผลพลอยได้ที่น่ายินดี แต่ที่ยิ่งไปกว่านั้นคือ มีคนหนุ่มสาวมาอยู่ร่วม ชายคาให้คลายเหงา บรรเทาความกังวลที่เคยต้องอยู่ตัวคนเดียวไปได้ โลกใต้หลังคาเดียวกัน มิใช่เพียง ‘ผู้เช่า’ และ ‘ผู้ให้เช่า’ การคัดเลือกคนทีจ่ ะมาอยูด่ ว้ ย ต้องดูกนั หลายด้าน หาคนทีเ่ ข้ากันได้ทง้ั ความ สนใจส่วนตัว ลักษณะนิสยั หรือผลประโยชน์ทต่ี อ้ งการ ซึง่ ไม่ใช่เรือ่ งง่ายทีจ่ ะรู้ ข้อมูลทัง้ หมดนีจ้ ากคนแปลกหน้า Co-Habit จึงจะให้ผใู้ ช้กรอกข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ เพือ่ ทำ�หน้าที่ ‘จับคู’่ คนสองคน ทีม่ คี วามต้องการตรงกันทีส่ ดุ คุณพิมเล่าบรรยากาศน่ารักๆ ในช่วงแรกที่เข้ามาอยู่ร่วมชายคาบ้าน หลังนี้ ตอนนัน้ งานยังไม่รดั ตัวมาก เธอยังมีเวลาว่างพอที่จะไปร่วมโต๊ะอาหาร เช้า และแลกเปลีย่ นบทสนทนากับคุณป้า “คุณป้าเขาจะทำ�อาหารเช้าไว้ให้ เขากินคนเดียวก็ไม่หมด บางทีพิมทำ�งานอยู่คนเดียว เขาก็เอากับข้าวเป็น สำ�รับมาเสิรฟ์ ” คุณเดียร์เสริมว่า การอยูร่ ว่ มบ้านกับผูส้ งู วัย ทำ�ให้คนหนุ่มสาว ได้เรียนรูอ้ ะไรใหม่ๆ เพราะจะได้ฟงั ประสบการณ์ชวี ติ ทีอ่ าจเอามาต่อยอดได้ “ธรรมะ ทีเ่ ราไม่เคยคิดจะสนใจเลย ก็ได้ฟงั ” คุณพิมยิม้ เป็นทีน่ า่ เสียดายว่าพักหลังๆ คุณป้าคา้ํ คูนป่วย จึงพักผ่อนอยูใ่ นบ้านเป็น ส่วนใหญ่ แต่กย็ งั ให้แม่บา้ นนำ�ขนมนมเนย ผลไม้ มาฝากสาวๆ สถาปนิก ด้วยมิตรจิตมิตรใจอันดี แอพพลิเคชั่นที่ตั้งใจรักษาผลประโยชน์ให้ทั้งสองฝ่าย ห้องกระจกที่ออกแบบอย่างดีและใช้วัสดุคุณภาพ ดึงดูดสายตาผู้มาเยือน ดูแตกต่างจากตัวบ้านหลังนี้และบ้านอื่นๆ ที่รายรอบ ด้วยตัวตึกเหล่านั้น สร้างเมื่อหลายสิบปีมาแล้ว ย่อมดูเก่าไปตามกาลเวลา เมื่อเราชมว่าออฟฟิศสวยดี คุณพิมเล่าว่า “ตอนแรกไม่ได้เป็นอย่างนี้ เราต้องมารีโนเวทเยอะเหมือนกัน ต้องทุบกำ�แพงทิ้งไปเยอะ” แต่อยู่ดีๆ มา ทุบบ้านเขาทิง้ อย่างนี้ คงต้องคุยกันยาว เพราะนีค่ อื การผูกมัดระยะยาว ไม่ใช่ จะย้ายออกวันนี้พรุ่งนี้ก็ทำ�ได้เลย เพราะลงทุนตกแต่งไปแล้ว

คุณพิมยอมรับว่า จากประสบการณ์ทพ่ี บ ทำ�ให้คดิ ว่าไม่วา่ จะเป็นผูเ้ ช่า และผู้ให้เช่าคู่ไหน ก็คงเจอปัญหาบ้าง ที่อาจป้องกันล่วงหน้าได้ระดับหนึ่ง หากมีการทำ�สัญญาที่รัดกุม ครบถ้วน ทั้งคุณพิมและคุณเดียร์ ตั้งใจว่า Co-Habit จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหา เรื่องนี้ ด้วยการเป็นตัวกลางในการจัดการเรื่องต่างๆ ระหว่างผู้เช่าและผู้ ให้เช่า อะไรที่ต้อง ‘ล้อมคอก’ ไว้ก่อน Co-Habit จะทำ�ให้ เพราะผู้ก่อตั้ง ทั้งสองต่างมีประสบการณ์ตรงแล้ว เรื่องที่ควรคุยกันให้ชัด คือขอบเขตไหนเป็นของใคร ตรงไหนเป็นพื้นที่ ที่ใช้ร่วมกัน ค่าเช่าเป็นอย่างไร ต้องแยกมิเตอร์นํ้า มิเตอร์ไฟ บางครั้งผู้สูงอายุอาจไม่คิดอะไร เมตตาผู้มาเช่าใหม่เหมือนลูกหลาน แต่ลูกๆ หลานๆ ตัวจริงของท่านผู้สูงวัยเหล่านั้น อาจมีความคิดเห็นที่ต่าง ไป และทำ�ให้ความสัมพันธ์เปลีย่ น จากตอนแรกที่ ‘เป็นเพือ่ นกัน’ อาจทำ�ให้ เสียความรู้สึกได้ เมื่ออีกฝ่ายเปลี่ยนใจ ไม่อยากทำ�ตามที่เคยให้คำ�มั่นไว้ รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ บางอย่างอาจไม่ได้ระบุในสัญญา เมื่อเกิด ความเห็นไม่ตรงกันบ้าง แล้วจะทำ�อย่างไร ในเมื่อลงทุนต่อเติมห้องไปแล้ว ในกรณีของคุณพิมและคุณเดียร์ ป้าคํา้ คูนเจ้าของบ้านกังวลเรือ่ งประตู หน้าของส่วนทีเ่ ป็นออฟฟิศ ทีค่ ณุ พิมตกลงไว้แต่แรกว่าขอเปิดไว้ แต่ภายหลัง ป้าคํ้าคูนไม่สบายใจเพราะเป็นทางเดินเข้าตัวบ้านได้เลย “ก็ต้องอดทน คิดว่าเรามาทำ�งาน ถ้าจะทำ�ให้สำ�เร็จ เราต้องไปต่อ บางอย่างเราต้องยอมกัน เราได้มากกว่าเสีย เพราะค่าเช่าคุณป้าเขาคิด ไม่แพง อีกหน่อย BTS มา เราหาทำ�เลอย่างนี้ไม่ได้แล้ว” สถาปนิกสาว เผยวิธีคิดที่ทำ�ให้ผ่านปัญหาต่างๆ มาได้ เทรนด์ Sharing Economy หรือเศรษฐกิจแบบแบ่งปันที่ก่อกำ�เนิดเป็น ผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ไปทั่วโลก อย่าง Airbnb หรือ Uber บัดนี้ มีน้องใหม่ร่วมขบวนอย่าง Co-Habit ที่มุ่งสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่าง สองวัย ปกป้องผลประโยชน์ให้ทั้งสองฝ่ายด้วยสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร ทำ�ให้โมเดลธุรกิจทีด่ นู า่ รักและรูส้ กึ ดีก�ำ ลังค่อยๆ เป็นจริงขึน้ มาได้ โดยไม่ตอ้ ง มีใครเสียความรู้สึก หรือเสียน้อยที่สุด เพราะผู้เช่าและผู้ให้เช่าต่างมีโอกาส ในการคัดเลือกซึง่ กันและกัน และทำ�ความตกลงล่วงหน้าบนแผ่นกระดาษได้ ก่อนจนกว่าจะพึงพอใจ อดคิดไม่ได้วา่ นีอ่ าจเป็นโมเดลธุรกิจทีม่ รี ากฐานมาจากความน่ารักของ คนไทย คือความโอบอ้อมอารีและใจดีนั่นเอง

CREATIVE THAILAND I 23


Creative City : จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

openbaarladen.nl

เรื่อง: ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ

“เราต้องหยุดสร้างเมืองด้วยความคิดว่าทุกคนอายุ 30 และสุขภาพแข็งแรงกันได้แล้ว” คำ�พูดสั้นๆ ของกิล เปญาโลซา (Gil Penalosa) ผู้เชี่ยวชาญการวางแผนเมืองอย่างยั่งยืนทำ�ให้เราพยักหน้าตามอย่าง เห็นด้วย เขาเป็นผู้ก่อตั้ง 8 80 Cities องค์กรไม่แสวงผลกำ�ไรที่ทำ�งานพัฒนาเมืองร่วมกับองค์กรทั่วโลกบนพื้นฐาน ความเชื่อว่า “ถ้าเราสร้างเมืองที่เหมาะสมสำ�หรับเด็ก 8 ขวบและคนแก่อายุ 80 เราก็จะได้เมืองที่ดีสำ�หรับทุกคน” ตัวเลขผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องได้รับการ อ้างถึงตลอดระยะเวลาหลายปีทผ่ี า่ นมา แต่นน่ั ย่อม ไม่สำ�คัญเท่ากับคำ�ถามที่ตามมาว่า เมืองต่างๆ ต้องปรับตัวอย่างไรเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง ด้านประชากรครัง้ นี้ หลายคนเริม่ ตระหนักว่านีเ่ ป็น ปัญหาใหญ่ แต่นนั่ ไม่ได้หมายความว่าวิธแี ก้ไขจะ ต้องยากตามไปด้วย เนเธอร์แลนด์ซึ่งรั้งอันดับ 6 ของประเทศที่ดีที่สุดสำ�หรับผู้สูงวัยจากการจัด อันดับของ Global AgeWatch Index คือตัวอย่าง ที่ดีในเรื่องนี้

เดินอย่างไร

การเดินทางเป็นหนึ่งอุปสรรคใหญ่ในการใช้ชีวิต ของคนแก่จ�ำ นวนมาก แม้การเห็นภาพคนแก่เดิน ไปไหนมาไหนด้วยตนเองจะทำ�ให้หลายคนรู้สึก เป็นห่วงบ้าง แต่หากมองในมุมของผู้สูงวัย นี่คือ หนึง่ ในเรือ่ งพืน้ ฐานทีส่ ะท้อนอิสรภาพในชีวติ ของ พวกเขา โนด รอมเมน (Noud Rommen) ชาว เนเธอร์แลนด์วยั 71 ปี คือหนึง่ ในคนเหล่านัน้ บ้าน ของเขาซึ่งอยู่ในเมืองทิลเบิร์ก (Tilburg) ซึ่งตั้งอยู่ CREATIVE THAILAND I 24

ห่างจากร้านขายของไปไม่ถึง 100 เมตร แต่การ จะเดินไปถึงร้านได้นั้น เขาจะต้องเดินข้ามถนน ขนาด 6 เลนภายในเวลาไม่กี่วินาที “ถ้าให้ทำ� ตามกฎ ผมจะเดินไปได้ถึงแค่เกาะกลางถนน เท่านั้น ก่อนที่สัญญาณไฟจะเปลี่ยนเป็นสีแดง แล้วก็ต้องกดปุ่มขอข้ามถนนอีกรอบ แต่ไม่มีใคร อยากทำ�อย่างนั้นหรอก ส่วนใหญ่ก็จะเดินต่อไป เลย ซึ่งมันไม่ดี แต่นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้น” ตอนนี้ ร อมเมนไม่ ต้ อ งเสี่ ย งทำ � อย่ า งนั้ น อีกแล้ว เพราะเมือ่ เดือนเมษายนปี 2017 เทศบาล


nytimes.com @Jasper Juinen

nytimes.com @Jasper Juinen

เมืองได้เริ่มทดลองใช้ระบบควบคุมสัญญาณไฟ จราจรแบบใหม่ ซึ่งทำ�งานคู่กับระบบจีพีเอสและ แอพพลิเคชั่นในมือถือของเขารวมถึงเพื่อนอาสา สมัครรุน่ เก๋าคนอืน่ ๆ ทันทีทเี่ ซนเซอร์จบั สัญญาณ ได้ว่าเขากำ�ลังเดินมาที่จุดรอข้ามถนน ระบบ สัญญาณไฟก็จะเพิ่มเวลาข้ามถนนให้เป็นพิเศษ วิธีคิดที่ทำ�ให้เกิดโปรเจ็กต์ทดลองของเมือง ทิ ล เบิ ร์ ก นี้ ตรงกั บ สิ่ ง ที่ ส เตฟาโน เรกั ล กาติ (Stefano Recalcati) หัวหน้าโครงการจัดทำ� รายงาน “Shaping Ageing Cities” ของ Arup บริ ษั ท ผู้ นำ � ด้ า นการออกแบบและวิ ศ วกรรม เคยกล่าวไว้เกี่ยวกับวิธีรับมือกับความท้าทาย เรื่ อ งประชากรผู้ สู ง อายุ ที่ มี จำ � นวนเพิ่ ม ขึ้ น ว่ า “แค่ น วั ต กรรมเล็ ก ๆ ก็ ส ามารถสร้ า งความ เปลี่ยนแปลงได้” “โดยปกติเมื่อแก่ตัวลง ผู้สูงอายุมักจะไม่ ค่อยขับรถ แต่จะหันมาใช้ขนส่งมวลชนหรือการ เดินเท้าแทน ผู้สูงวัยอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปจะมี ความเร็วเฉลี่ยในการเดินประมาณ 3 กม.ต่อชม. และลดเหลือ 2 กม.ต่อชม.เมื่ออายุ 80 ปี ขณะที่ คนวัยทำ�งานทั่วไปเดินได้ 4.8 กม.ต่อชม.” เขา อธิบาย “ดังนั้นหากเราเพิ่มระยะเวลาในการ ข้ามถนน ลดระยะทางระหว่างป้ายรถเมล์ ร้าน ขายของ ห้องนํ้าสาธารณะ ม้านั่ง และต้นไม้ที่ ให้ร่มเงา รวมถึงปรับปรุงบาทวิถีให้เรียบร้อย ทัง้ หมดนีจ้ ะช่วยอำ�นวยความสะดวกและกระตุน้ ให้ผู้สูงอายุออกจากบ้านมากขึ้น”

ล้มอย่างไร

ณ โรงยิมแห่งหนึ่งของเมืองลูสเดน (Leusden) เด็กๆ กำ�ลังวิ่งเล่นกันอย่างคึกคักข้างนอก ขณะที่ใน โรงยิมก็มีเสียงหัวเราะหยอกล้อคิกคักดังก้องออกมาเช่นกัน ต่างกันเพียงว่า เสียงที่ดังจากในโรงยิมนั้น ไม่ใช่เสียงของเด็กๆ แต่เป็นแก๊งคุณปู่คุณย่าที่มา “เข้าเรียน” ด้วยกัน หากมองเข้าไปในโรงยิม ก็จะพบว่ามีผนื พรม ทางลาด กระดานกระดก แผ่นพลาสติกผิวลืน่ และ พื้นจำ�ลองรูปแบบอื่นๆ ติดตั้งอยู่ อุปกรณ์เหล่านี้ออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ เพื่อใช้ในชั้นเรียนที่เปิดสอน โดยศูนย์กายภาพบำ�บัด WIJKfysio ซึ่งไม่ได้แค่สอนให้นักเรียนผมสีดอกเลารู้จักวิธีป้องกันตัวเองจาก การลื่นล้มเท่านั้น แต่ยังสอนให้พวกเขา “ล้มให้เป็น” ด้วย สถิติพบว่า ในปี 2016 มีชาวเนเธอร์แลนด์อายุ 65 ปีขึ้นไปเสียชีวิตจากการล้ม 3,884 คน ซึ่ง เพิม่ ขึน้ จากสองปีกอ่ นหน้าถึง 38% โดยผูเ้ ชีย่ วชาญวิเคราะห์วา่ สาเหตุสว่ นหนึง่ เกิดจากปัจจัยเรือ่ งกิจวัตร ประจำ�วันของผูส้ งู วัยยุคใหม่ทไี่ ม่คอ่ ยได้เคลือ่ นไหวร่างกาย นอกจากไลฟ์สไตล์ทเี่ ปลีย่ นไปตามยุคสมัย แล้ว อีกหนึง่ สาเหตุทที่ �ำ ให้ลม้ ยังเป็นเรือ่ งความกลัวอีกด้วย “การทีค่ ณุ กลัวล้มมันไม่ใช่เรือ่ งแย่ แต่ความ กลัวจะยิ่งทำ�ให้คุณมีโอกาสเสี่ยงที่จะล้มมากขึ้นอีก” นักกายภาพบำ�บัดของศูนย์อธิบาย วิชาฝึกล้มที่ว่านี้ พัฒนาหลักสูตรโดยโรงพยาบาล Sint Maartens เมืองไนเมเคิน (Nijmegen) ซึ่งแม้จะเพิ่งเปิดสอนได้ไม่เกินสิบปี แต่ด้วยจำ�นวนผู้สูงวัยที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกวันนี้จึงเกิดคลาสเรียน ลักษณะเดียวกันซึ่งเปิดสอนโดยนักกายภาพบำ�บัดที่ลงทะเบียนในระบบแล้วหลายร้อยคลาสใน เนเธอร์แลนด์ ถึงขนาดทีร่ ฐั บาลเนเธอร์แลนด์กม็ กี ารให้คะแนนคอร์สทีแ่ ต่ละสถาบันจัด ขณะทีป่ ระกัน สุขภาพบางประเภทก็ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการเข้าเรียนด้วย นักเรียนที่เข้ามาเรียนที่นี่มีสุขภาพแตกต่างกันไป บางคนขี่จักรยานมาเอง บางคนเดินมาพร้อม ไม้เท้า ขณะที่บางคนมีญาติช่วยจูงมาส่งถึงชั้นเรียน การเรียนการสอนในคลาสครอบคลุมตั้งแต่วิธีนั่ง และลุกจากเก้าอี้ ก่อนจะให้นักเรียนฝึกเดินบนพื้นจำ�ลองรูปแบบต่างๆ และค่อยๆ ทิ้งตัวลงบนเบาะ ยิมนาสติกแผ่นหนา ภาพของเพื่อนร่วมชั้นที่ล้มลุกคลุกคลานบนเบาะทำ�ให้นักเรียนรุ่นลายครามอด ไม่ได้ที่จะหยอกล้อกันไปมาอย่างอารมณ์ดี แน่นอนว่าตอนแรกพวกเขาไม่ได้สนใจชั้นเรียนแบบนี้นัก แต่เมื่อได้ลองฝึกจนพบว่าตัวเองทำ�ได้ พวกเขาก็รู้สึกสนุกไม่ต่างจากเด็กๆ แต่ก็อย่าคิดว่าชั้นเรียนนี้จะทำ�ให้นักเรียนเพลิดเพลินจนหลงลืมอายุที่แท้จริงของพวกเขา เพราะ เมือ่ เฮอร์แมน วาน ลอวิงค์ ชายชราซึง่ ขีจ่ กั รยานมาเรียนถามครูผสู้ อนด้วยนํา้ เสียงจริงจัง (แต่เรียกเสียง หัวเราะจากเพือ่ นทัง้ ชัน้ ) ว่าเขาจะได้เรียนวิธยี นื ด้วยขาข้างเดียวด้วยหรือเปล่า เพราะอยากจะใส่กางเกง ได้ถนัดขึ้น ดีเดค ฟาน เวค (Diedeke van Wijk) ครูผู้สอนก็แนะนำ�นักเรียนของเธอว่า พวกเขาควร จะเปลี่ยนมานั่งใส่กางเกงแทนจึงจะถูก “นี่แหละคือสิ่งที่คุณจะได้จากศาสตร์ด้านกายภาพบำ�บัดและ เวชศาสตร์ผู้สูงวัย คุณจะได้ฝึกทำ�สิ่งที่คุณรู้ว่าตัวเองทำ�ได้ ไม่ใช่สิ่งที่คุณทำ�ไม่ได้”

CREATIVE THAILAND I 25


twitter.com/Dynniq_NL

ค้างไว้จนกว่าครูที่ดูแลจะกดปุ่มยืนยันว่าเด็กๆ ข้ามถนนเรียบร้อยทั้งหมดแล้ว” เทคโนโลยีใหม่นี้ยังสามารถนำ�ไปขยายผล ได้อีกหลากหลาย เช่น การให้ไฟเขียวตลอดทาง สำ�หรับรถพยาบาล รถดับเพลิง และรถบรรทุก ขนาดใหญ่ ซึ่งสร้างประโยชน์ให้แก่สิ่งแวดล้อม เพราะหากเปิดทางให้รถขนาดใหญ่วงิ่ ผ่านได้โดย ไม่ ติด ไฟแดง ก็ จ ะช่ ว ยลดปริ ม าณการปล่ อ ย มลพิษในอากาศ มลภาวะทางเสี ย งในเมื อ ง รวมถึงช่วยชะลอการเสื่อมสภาพของพื้นถนน อีกด้วย โปรเจ็ ก ต์ ท ดลองนี้ เ ป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของ นโยบายพั ฒ นาการสั ญ จรของเมื อ งทิ ล เบิ ร์ ก ซึง่ ต้องการปรับปรุงเครือข่ายถนนและผลักดันให้ ชาวเมืองหันมาใช้จกั รยานและเดินเท้ากันมากขึน้ “เราอยากให้ความสำ�คัญกับคนข้ามถนนก่อน รถยนต์ ซึ่งเป็นการพลิกวิธีคิดให้ต่างจากเดิม” CREATIVE THAILAND I 26

twitter.com/Dynniq_NL

twitter.com/Dynniq_NL

นอกจากอำ�นวยความสะดวกให้คนชราแล้ว ระบบสัญญาณจราจรอัจฉริยะที่พัฒนาขึ้นใหม่นี้ ยั ง อยู่ ใ นระหว่ า งการต่ อ ยอดให้ ส ามารถส่ ง สั ญ ญาณเสี ย งสำ � หรั บ ผู้ พิ ก ารทางสายตา เพื่อให้พวกเขารู้ว่าขณะนี้ไฟจราจรเป็นสีอะไร รวมถึ ง สามารถเปลี่ ย นสั ญ ญาณไฟให้ เ ร็ ว ขึ้ น เมื่ อ จั บ สั ญ ญาณได้ ว่ า มี จั ก รยานกำ � ลั ง วิ่ ง มาที่ ทางแยก เพื่อสร้างความสะดวกสบายให้ผู้ขับขี่ จักรยานมากยิ่งขึ้น “จุดเด่นของระบบนี้คือการที่ สั ญ ญาณไฟตอบสนองกั บ ผู้ ใ ช้ ง านแต่ ล ะกลุ่ ม ต่างกันออกไป” ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ของ Dynniq บริ ษั ท ผู้ พั ฒ นาระบบกล่ า ว “เมื่ อ ก่ อ นถ้ า ใคร กดปุ่ ม ขอข้ า มถนน ระบบจะไม่ รู้ เ ลยว่ า มี ค น รอข้ามถนนอยู่กี่คน แต่ระบบใหม่ที่เรากำ�ลัง พัฒนาจะสามารถแยกประเภทของผูข้ า้ มถนนได้ เช่น ถ้ามีเด็กนักเรียนกลุ่มใหญ่กำ�ลังรอข้ามถนน เราก็สามารถกำ�หนดให้เปิดสัญญาณไฟเขียว

มาร์ค คลิจเซน (Mark Clijsen) ผู้เชี่ยวชาญการ วางแผนเมืองของสภาเมืองกล่าว นับตัง้ แต่ปี 2013 รัฐบาลเนเธอร์แลนด์ลงทุน ในโครงการท้องถิ่นที่ผลักดันการใช้ท้องถนนที่ หลากหลาย (More Diverse Road Use) จำ�นวน 350 โครงการ คิดเป็นเม็ดเงิน 600 ล้านยูโร โดยให้ ความสำ�คัญกับการพัฒนาระบบสัญญาณไฟเป็นหลัก เนือ่ งจากหลายเมืองในเนเธอร์แลนด์มจี �ำ นวนผูอ้ ยู่ อาศัยหนาแน่นขึน้ รวมถึงผูส้ งู วัย โดยปัจจุบนั 18.5% ของประชากรชาวดัตช์ทั้งประเทศมีอายุ 65 ปี ขึน้ ไป โดยภายในสิน้ ปี 2017 ไฟสัญญาณอัจฉริยะ ทัว่ ประเทศจะได้รบั การอัพเกรดจำ�นวน 1,250 ชุด ขณะที่กระทรวงโครงสร้างพื้นฐานก็คาดคะเนว่า ในอนาคตเมื่อปรับระบบสัญญาณไฟได้ครบทัง้ หมด 5,500 ชุด ก็จะช่วยเพิม่ ความปลอดภัย บรรเทาภาวะ แออัดของการจราจร และมลภาวะบนท้องถนน ซึง่ จะช่วยลดค่าใช้จา่ ยของรัฐลงได้ถงึ 90 ล้านยูโรต่อปี


inhabitat.com

citylab.com

goodnet.org

by

อยู่อย่างไร

นานมาแล้ว ก่อนที่แนวคิดเรื่องการสร้างบ้านพักคนชราจะเกิดขึ้น การอยู่อาศัยร่วมกับคนรุ่นปู่ย่าเคยเป็นค่านิยมในยุโรปและสหรัฐฯ เช่นเดียวกับหลายประเทศใน เอเชียและแอฟริกา แต่ดูเหมือนว่าหลายปีที่ผ่านมานี้ การอยู่อาศัยร่วมกันของคนต่างวัยกำ�ลังหวนคืนมาอีกครั้ง หลายปีก่อน บ้านพักคนชรา Humanitas ในเนเธอร์แลนด์ถูกรัฐบาลตัดงบดูแลผู้สูงอายุ พวกเขาจึงคิดหาทางออกใหม่ ซึ่งต่อมากลายเป็นต้นแบบที่หลาย ประเทศทั่วโลกเข้ามาขอศึกษาดูงานเพื่อนำ�กลับไปปรับใช้ นั่นคือการริเริ่มให้นักศึกษา 6 คนเข้ามาพักร่วมชายคาเดียวกับเพื่อนวัยเกษียณ 150 คน โดยไม่เสีย ค่าใช้จ่ายใดๆ แต่มีข้อแม้ว่า พวกเขาจะต้องทำ�ตัวเป็น “เพื่อนบ้านที่ดี” ด้วยการใช้เวลาอยู่กับผู้พักอาศัยสูงวัย 30 ชม.ต่อเดือน โครงการนีเ้ หมือนยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว เพราะนอกจากจะช่วยให้คนแก่มชี วี ติ ชีวาและได้รบั การดูแลอย่างใกล้ชดิ ขึน้ แล้ว ยังช่วยบรรเทาภาระค่าใช้จา่ ย ให้นักศึกษาอีกด้วย การมาอยู่ร่วมกันแบบนี้ทำ�ให้ผู้พักอาศัยวัยเกษียณมีเรื่องพูดคุยมากขึ้น ตั้งแต่คลาสสอนกราฟิตี้ที่นักศึกษาคนหนึ่งเปิดสอนในบ้าน ปาร์ตี้ ชุดนอนที่คนวัยเก๋ารู้สึกไม่ค่อยเข้าใจ หรือเรื่องเช้าวันหนึ่งที่ก๊วนวัยรุ่นนึกสนุก ลุกขึ้นมาเป่าลูกโป่งนับร้อยให้ลอยทั่วบ้าน แต่หัวข้อสนทนายอดนิยมก็คงจะหนี ไม่พ้นเรื่องหัวใจของหนุ่มๆ สาวๆ ในบ้าน “เราไม่ต้องซื้อนิตยสารมาอ่านเลย แค่คุยกับเด็กๆ ว่าชีวิตรักของพวกเขาเป็นยังไงก็ทำ�ให้ฉันรู้สึกเด็กลงแล้ว” หนึ่งใน สมาชิกผมสีดอกเลากล่าว เช่นเดียวกับแอนนี่ มิดเดิลเบิร์กวัย 85 ที่รู้สึกไม่ต่างกัน “ถ้าไม่มีพวกเขาก็คงจะเบื่อ เรามีความสุขมากกว่าแต่ก่อนมาก” ในอีกมุมหนึ่ง การได้มีปฏิสัมพันธ์กับคนรุ่นปู่ก็ทำ�ให้คนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้ชีวิตจากมุมมองใหม่ที่หาไม่ได้จากการอยู่ในหอพักนักศึกษาทั่วไป “เมื่อก่อนผมเคย มองคนแก่แล้วเห็นแต่ข้อจำ�กัด แต่ตอนนี้ผมเห็นความเป็นไปได้ เห็นสิ่งที่พวกเขาทำ�ได้ คุณต้องมองว่าเขาเป็นคนธรรมดา ไม่ใช่คนแก่” ซอเรส ดูมานซึ่งพักอยู่ที่ นี่มานานกว่า 9 เดือนกล่าว “และคุณต้องฟังพวกเขาด้วย ผมว่ามันสนุกดีนะ พอเอากาแฟไปให้ เขาก็จะเล่าเรื่องชีวิตตัวเองให้ฟัง” เจอร์เรน เมนทิงค์ นักศึกษา ด้านการออกแบบเมืองเล่าอย่างยิ้มแย้ม “มันทำ�ให้ผมมีมุมมองชีวิตที่กว้างขึ้น แล้วเราก็จะเล่าเรื่องของเรา เรื่องของโลกที่กำ�ลังเปลี่ยนไปให้เขาฟัง มันเป็นสิ่งที่ พวกเขาต้องการนะ...พอโลกของเราได้มาเจอกัน มันกลายเป็นการปะทะกันที่ดีมาก” แนวคิดการอยู่ร่วมกันของคนต่างวัย (Intergenerational Living) ของ Humanitas ปลุกความสนใจจากหน่วยงานทั่วโลก และจุดประกายให้เกิดที่พักอาศัย ที่มีพื้นฐานความคิดเดียวกันจำ�นวนมาก ตั้งแต่บ้านพักหลังเกษียณ Judson Manor และ Judson Park ที่เมืองคลีฟแลนด์ของสหรัฐฯ ซึ่งริเริ่มให้นักศึกษาด้านศิลปะ และดนตรี 8 คนได้เข้าไปอยู่ฟรี แลกกับการจัดการแสดงดนตรีและงานศิลปะในบ้านพักเป็นประจำ� หรือโครงการ “The House That Fits” ในเฮลซิงกิที่มีหนุ่มสาว ฟินแลนด์ส่งใบสมัครคัดเลือกเข้าโครงการถึง 300 คนเพื่อจะได้เช่าห้องในบ้านพักคนชราในราคาพิเศษ แลกกับการทำ�งานดูแลผู้สูงวัย 5 ชม.ต่อสัปดาห์ เนื่องจาก ปัจจุบันค่าที่พักในเฮลซิงกินั้นสูงลิ่วเกินกว่าที่วัย 20 ต้นๆ จะรับไหว ขณะที่ในฝรั่งเศสก็ไม่น้อยหน้า เพราะตลอด 10 ปีที่ผ่านมาโครงการการกุศลที่ชื่อว่า “Ensemble2Generations” ได้ช่วยจับคู่ผู้สูงวัยที่มีห้องว่างในบ้านกับนักศึกษาที่มองหาที่พักราคาถูกให้มาอยู่เป็นเพื่อนแล้วมากกว่า 3,000 คู่

การเตรียมพร้อมสำ�หรับการมาถึงของสังคมที่มีผู้สูงอายุมากกว่าเด็กๆ อาจไม่ใช่เรื่องใหญ่ที่น่ากลัวอย่างที่คิด หากเราเริ่มลงมือกันตั้งแต่วันนี้ และหัน มามองอย่างเข้าใจว่านี่คือโอกาสดีที่สังคมจะได้ตระหนักถึงความสำ�คัญของการออกแบบเมืองที่ตอบโจทย์ชีวิตของคนทุกวัยและทุกๆ คน ไม่ใช่แค่ผู้สูงวัย แต่ยังรวมถึงผู้พิการ เด็ก หรือแม้แต่คนอายุ 30 ที่สุขภาพแข็งแรง แต่ก็พบว่ายังมีหลายสิ่งในเมืองที่ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นได้อีกอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ที่มา: บทความ “Afraid of Falling? For Older Adults, the Dutch Have a Cure” (2018) โดย Christopher F. Schuetze จาก nytimes.com / บทความ “How adding youth to a Dutch old age home is improving life for all” (2016) จาก csmonitor.com / บทความ “Improving with age? How city design is adapting to older populations” (2016) จาก theguardian.com / บทความ “This Magic Dutch Traffic Light Helps Bicyclists Avoid Stopping” (2017) จาก citylab.com / บทความ “The slow lane: Dutch app allows elderly to ‘hack’ traffic lights” (2017) จาก theguardian.com / วิดีโอ “Why These Millennials Live in a Retirement Home” จาก youtube.com / helpage.org/global-agewatch CREATIVE THAILAND I 27


The Creative : มุมมองของนักคิด

กาญจนา พันธุเตชะ เมื่อปลายทางคือจุดเริ่มต้นของการเดินทาง เรื่อง: ศรัณยู นกแก้ว ภาพ: อดิเดช ชัยวัฒนกุล

“...ก่อนเเม่เกษียณผมก็ถามเเม่วา่ เกษียณเเล้วจะไปทำ�อะไรล่ะเเม่? อยูบ่ า้ นทุกวันจะเบือ่ มัย้ ล่ะนัน่ ?? คำ�ตอบ ของเเม่ก็ตอบกลับมาคล้ายๆ กับคนที่ใกล้ๆ เกษียณหลายๆ คนนะครับ คือ ว่าจะเที่ยว มีเวลาเเล้วนี่นา...” Pantip.com 14 พฤษภาคม 2558

ชื่อของ ป้าแป๋ว-กาญจนา พันธุเตชะ หรือที่หลายคนเรียกติดปากว่า ป้าแบ็คแพ็ค กลายเป็นทอล์กออฟเดอะทาวน์ในหมู่ นักเดินทางทันทีหลังจากที่กระทู้ “แม่ผมเกษียณไปเป็น Backpacker” ซึ่งเขียนโดยลูกชาย นรพิชญ์ พันธุเตชะ ถูกเผยแพร่ ลงในเว็บไซต์ Pantip.com เมื่อ14 พฤษภาคม 2558 CREATIVE THAILAND I 28


facebook.com/hipsterpaew

ด้วยวัย 63 ปี กับการสะพายเป้ลุยเดี่ยวไปในเมืองมะละแหม่ง ประเทศ เมียนมา ย่อมทำ�ให้เกิดคำ�ถามตามมาว่าทำ�ไมผู้หญิงที่คนรอบข้างให้นิยาม ว่า “สูงวัย” ถึงไม่ซื้อแพ็กเกจทัวร์เที่ยวสบายเหมือนที่คนสูงวัยในนิยาม เดียวกันนิยม มิหนำ�ซํา้ ในอีกหนึง่ เดือนถัดมา คุณป้าแบ็คแพ็คคนนีก้ เ็ ปิดเพจ นักเดินทางในเฟซบุ๊กที่ชื่อ “hipsterpaew” จนชีวิตพลิกผันจากข้าราชการ วัยเกษียณมาเป็นบล็อกเกอร์ด้านการท่องเที่ยวที่มีผู้ติดตามไม่ตํ่ากว่า 6,000 คน ซึง่ ในแต่ละเส้นทางทีไ่ ป ไม่ได้หมายถึงการเปิดโลกใหม่ แต่ปา้ แบ็คแพ็ค คนนีย้ งั พร้อมส่งต่อแรงบันดาลไปยังคนวัยเกษียณให้ได้ลกุ ขึน้ มาทำ�สิง่ ใหม่ๆ ที่ช่วงเวลาแห่งวัยไม่สามารถมาจำ�กัดขีดความสามารถได้ ทำ�ไมถึงเลือกแบกเป้เที่ยวลำ�บากในยามเกษียณ เพราะแต่ก่อนตอนเป็นข้าราชการทำ�งานอยู่ที่กรมควบคุมโรค ก็มีโอกาสได้ ไปเที่ยวกับเพื่อนๆ อยู่เรื่อยๆ ตามที่ราชการจะลาได้ ไปชาร์จแบตเตอรี่ สัก 10 วัน แล้วค่อยกลับมาทำ�งานต่อ กระทั่งปี 57 จึงเกษียณ และใช้ชีวิต แบบแม่บ้านทั่วไป ตื่นเช้าปั่นจักรยาน รำ�กระบี่กระบอง เลี้ยงหมา ทำ�งาน บ้าน และที่เพิ่มเข้ามาคือการไปห้องสมุดที่สำ�นักงานเขต ไปอ่านหนังสือ อัพเดทข่าวสารจากหนังสือพิมพ์ นิตยสาร โชคดีว่าที่ชั้นหนังสือมีหนังสือ หมวดท่องเทีย่ วเยอะมาก ก็เลยพลิกอ่านไปเรือ่ ยๆ จนมาเจอหนังสือเล่มหนึง่ ที่ บอกถึงวิธกี ารเดินทางด้วยตัวเอง เขาบอกหมดตัง้ แต่การจองตัว๋ จองโรงแรม ทำ�วีซา่ ผ่านแดน หารถ ก็เลยคิดว่าเดินทางคนเดียวไม่ได้ยากอย่างทีค่ ดิ ก็อา่ น ไปเรื่อยๆ จนเมื่อแน่ใจว่าเรามีข้อมูลเพียงพอ ก็เลยต้องลองภาคปฏิบัติ จึงตัดสินใจวางแผนออกเดินทางคนเดียวด้วยเป้แบ็คแพ็คของลูกชาย

ทริปแรกแบกเป้ไปไหน ทริปแรกเลือกไปเมืองมะละแหม่ง พม่า ไปเพื่อตามรอยมะเมียะกับเจ้าน้อย ศุขเกษม ป้าแป๋วเกษียณปี 2557 พอปี 2558 ก็ออกเดินทางคนเดียวเลย ที่ เลือกเส้นทางนี้เพราะเราอ่านหนังสือและประทับใจทั้งมะเมียะ และเจ้าน้อย ศุขเกษม ก็เลยอยากรู้ว่าเรื่องราวของเขาทั้งคู่มีจริงไหม เลยตัดสินใจนั่ง รถทัวร์ไปเมืองมะละแหม่ง เริม่ จากกรุงเทพฯ นัง่ รถไปแม่สอด แล้วข้ามด่าน ที่เมียวดี ส่วนขากลับมีเปลี่ยนแผนไปแวะเที่ยวมะริด และค่อยกลับเข้าไทย ทางด่านทวาย จ. กาญจนบุรี กลัวไหมกับการเดินทางคนเดียวครั้งแรก เป็นความตื่นเต้นมากกว่าว่าไปครั้งแรกจะเจออะไร จะเจอสิ่งที่เราตามหา รึเปล่า แต่ก็มีการทำ�ใจไว้ก่อนล่วงหน้าแล้วว่า ถ้าเจอเหตุการณ์อะไร เฉพาะหน้าขณะเดินทางก็ให้ยอมรับ เพราะเราอยากไป การเดินทางครัง้ แรก เป็นรถทัวร์ ถนนฝั่งพม่าเหมือนผิวพระจันทร์ บางครั้งก็ต้องนั่งรถที่ชาวบ้าน เอามาดัดแปลง จะเปิดกระจกสลับกับแอร์ ซึ่งเปิดเฉพาะตอนที่รถคันอื่น สวนมาฝุ่นท่วมถนน พอไปถึงก็ตื่นเต้นว่าพม่าเป็นอย่างนี้นี่เอง มะละแหม่งเป็นแบบนี้ โรงเรียนของเจ้าน้อยก็ยังอยู่ วัดที่ทั้งคู่สาบานรักกันเราก็ตามไป พอกลับมา เมืองไทย ใจมันรู้สึกโล่งว่าการเดินทางคนเดียวไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด เราก็ต้องขึ้นรถบัส ก็ขึ้นเหมือนคนอื่นๆ กินเหมือนคนอื่นๆ คนพม่ามอง เรามา เราก็ยิ้มให้ การสื่อสารอาจจะต้องพยายามหน่อย แต่ก็ไม่ได้ยาก เกินไป ไม่มีอะไรที่น่ากลัว หลังจากการเดินทางคนเดียวครั้งแรกก็ทำ�ให้เรา

CREATIVE THAILAND I 29


facebook.com/hipsterpaew facebook.com/hipsterpaew

มั่นใจ อยากไปเที่ยวเพิ่มขึ้น คราวนี้ภาพเมืองตองอูก็มา เมืองของบุเรงนอง จะมีหน้าตาเป็นอย่างไรนะ อยากไปเห็นไกลถึงสีป้อซึ่งเป็นที่มาของนิยาย สิ้นแสงฉาน อยากไปเห็นพม่าให้หมดทั้งทะเลสาบอินเล เมืองอมรปุระ พอกลับมาจากมะละแหม่งก็เตรียมตัวขอวีซ่าไปรอบสองเลย คนส่วนใหญ่มักเริ่มต้นทริปแรกด้วยเส้นทางที่ง่าย สบาย ทำ�ไมป้าแป๋วถึงตรงกันข้าม ความอยากเห็นมันมีมากกว่าความกลัว เรารูข้ อ้ มูลพม่าจากหนังสือเยอะมาก ไม่ว่าจะเป็น พม่าเสียเมือง ของคุณคึกฤทธิ์ (ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช) รวมทั้งมะเมียะ และสิ้นแสงฉาน แต่ถ้าเราไม่ไปสักที เราก็จะรู้อยู่แค่นี้ แค่ ตัวหนังสือ

จริงๆ แล้วเดินทางคนเดียวก็ใช้กระเป๋าลากได้ไม่จำ�เป็นต้อง สะพายเป้ ไปคนเดียว เราเลยต้องการความคล่องตัว เป้หน้าหลังสองใบวิ่งขึ้นรถได้ สบายกว่าลากกระเป๋า จากนักเดินทางมาเป็นบล็อกเกอร์อย่างไร เริม่ จากการแนะนำ�ของนักเขียนจากนิตยสารดิฉนั ทีม่ าสัมภาษณ์เราคนแรกๆ เขาก็แนะนำ�ว่าน่าจะทำ�แฟนเพจนะ จะได้แบ่งปันประสบการณ์ดีๆ ให้ คนอื่นบ้าง ปกติป้าแป๋วจะเล่าการเดินทางในแต่ละวันให้ครอบครัว เพื่อนๆ ได้รับรู้ทางไลน์อยู่แล้ว ตกเย็นของแต่ละวันก็จะส่งไลน์ไปเล่า เขาก็แนะนำ� ว่าป้าแป๋วไม่ต้องทำ�อะไรเพิ่มจากที่เคยทำ�อยู่ เพียงแต่เปลี่ยนจากการเล่าใน ไลน์มาเล่าบนเฟซบุ๊ก จริงไหมที่เขาว่าผู้สูงวัยมักปิดตัวเองจากเทคโนโลยี ตอนช่วงใกล้เกษียณ ทางกรมควบคุมโรคก็เริม่ ให้ขา้ ราชการใช้เทคโนโลยีใน การทำ�งานมากขึ้น เช่น ส่งอีเมล เราก็เริ่มศึกษาอินเทอร์เน็ตตั้งแต่ตอนนั้น พอมีคนมาแนะนำ� ป้าก็เลยไปปรึกษาลูกชายว่าจะทำ�ดีไหม ลูกชายก็บอก ว่าทำ�สิ เขาก็ทำ�การเปิดเพจให้ แต่แม่ต้องเป็นคนเขียนข้อมูลเองนะ เพราะ ลูกก็ต้องทำ�งาน เราก็เลยฝึกมาเรื่อยๆ เหมือนการบันทึกเรื่องราวการ เดินทางในแต่ละวัน ซึง่ ก็เป็นประโยชน์กบั เรา เพราะช่วยให้เราได้เขียนบันทึก ก่อนที่จะลืม และก็ทำ�ให้เราต้องค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มขึ้นด้วย สรุปคนอ่าน ไม่ได้ได้ประโยชน์อย่างเดียวนะ แต่ป้าแป๋วก็ได้ประโยชน์ด้วย

CREATIVE THAILAND I 30


เสียงตอบรับจากลูกเพจเป็นอย่างไรบ้าง ก็มีคนทักมานะว่าอยากเดินทางแบบเราบ้าง จะตามรอย ป้าก็ตอบไปว่า ป้าทำ�ได้ หนูเป็นหนุ่มเป็นสาวอายุน้อยกว่าป้า ทำ�ไมจะเดินทางคนเดียว ไม่ได้ ก็รู้สึกดีที่เราเป็นส่วนหนึ่งที่ทำ�ให้เขากล้าที่จะออกเดินทาง 3 ปีที่ออกเดินทาง ไปมาทั้งหมดกี่ประเทศ ในเอเชียเหลือแต่ฟิลิปปินส์กับอินโดนีเซียที่ยังไม่ได้ไป แล้วตอนนี้ก็เริ่มเดิน ทางไปยุโรป ทริปที่กำ�ลังจะไปในเดือนเมษายนคืออิสราเอล กับจอร์แดน ความรู้สึกระหว่างการเดินทางครั้งแรกกับครั้งล่าสุด ก็ยังคงตื่นเต้นทุกครั้งที่ได้ไปเยือนสถานที่ใหม่ๆ ความรู้สึกไม่ต่างอะไรจาก ทริปแรก เพราะเราไม่รู้ว่าจะไปเจออะไรบ้าง เส้นทางที่ประทับใจที่สุด แต่ละที่ที่ไปก็จะมีความประทับใจแตกต่างกัน เช่น เวียดนาม เราก็จะทึ่งว่า คนเวียดนามถึงแม้จะตัวเล็ก แต่เขากลับเอารูปร่างทีเ่ ป็นข้อเสียเปรียบมาเป็น ข้อได้เปรียบ จนสามารถต่อสู้ทำ�ให้ประเทศมีอิสระได้เสรีภาพกลับมา อย่าง มะละกาทีเ่ ป็นศูนย์กลางการเดินเรือ เราก็ประทับใจในความหลากหลายของ วิถีชีวิตในเมืองนั้น เหตุการณ์ระหว่างทางที่ลืมไม่ลง ครั้งหนึ่งตอนไปเวียดนามเราให้โรงแรมจองรถจากซาปามาฮาลองเบย์ ซึ่งตามแพลนคือจะต้องนอนบนรถไปแล้วถึงฮาลองเบย์เช้า ก็ปรากฏขึ้นรถ ไปเรียบร้อยแล้วเราก็นอนหลับ สักพักเที่ยงคืน พนักงานมาปลุกบอกว่าถึง ฮาลองเบย์แล้ว เราก็งงสิว่ามาถึงเร็วขนาดนี้เลยหรอ แล้วตรงนี้คือตรงไหน ของฮาลองเบย์ และที่ที่ต้องลงคือข้างทางเปลี่ยวมาก ไม่ใช่สถานีขนส่ง แต่ ในเมื่อคนขับรถยืนยันว่านี่คือฮาลองเบย์ก็ต้องลง จากนั้นไม่มีทางเลือกต้อง นั่งรถแท็กซี่ซึ่งก็ไม่รู้ว่าเขาจะพาไปไหนยังไง รถแท็กซี่ขึ้นทางด่วนไปเกือบ ครึ่งชั่วโมงยังไม่ถึงสักที ก็เริ่มกลัวนะ แต่ไม่มีทางเลือก สุดท้ายเขาก็พาไป ส่งอีกเมืองซึ่งเป็นท่าเรือสำ�หรับไปฮาลองเบย์

จากประสบการณ์ครั้งนี้ทำ�ให้รู้เลยว่าการหาข้อมูลไปเที่ยวไม่ใช่เพียง จองโรงแรม จองตัว๋ เครือ่ งบินแล้วจบ แต่ตอ้ งหาข้อมูลไปให้หมดทัง้ เรือ่ งการ เดินทาง ระยะทาง และจุดขึ้นรถต่างๆ แล้วก็ต้องเตรียมใจเผื่อว่าข้อมูลที่ เราหาอาจไม่ถูกต้องเสมอไปก็ได้ เราเองก็ต้องพร้อมรับมือกับเหตุการณ์ เฉพาะหน้าให้ได้ กิจกรรมที่ต้องทำ�เสมอในแต่ละทริป เข้าพิพิธภัณฑ์ อาจเพราะเราสนใจประวัติศาสตร์ด้วย เลยทำ�ให้ไม่ว่าจะไป เมืองไหนต้องตรงดิ่งไปพิพิธภัณฑ์ ข้อดีก็คือพิพิธภัณฑ์มักจะมีข้อมูลที่เรา ไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน มีรูปเก่าๆ ของเมือง ประวัติศาสตร์ทำ�ให้เราเที่ยว สนุกขึ้น เตรียมตัวอย่างไรก่อนออกเดินทาง นอกจากหาข้อมูลสถานที่ที่เราจะไปแล้วก็ต้องออกกำ�ลังกาย แต่ออกกำ�ลัง กายนี่ไม่ใช่พอจะเกษียณแล้วค่อยมาออกนะ เราต้องเตรียมร่างกายเราให้ แข็งแรงตั้งแต่เนิ่นๆ คิดถึงเรื่องสุขภาพตั้งแต่ยังไม่เกษียณ เพื่อที่จะได้ไม่ ป่วยเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องกินยาประจำ� เวลาออกเดินทางท่องเที่ยวจะได้ ไม่ต้องกังวล การจัดสรรงบประมาณในแต่ละครั้ง ไม่เคยกำ�หนดวงเงิน ใช้วงเงินตามความจำ�เป็น อย่างที่พัก เราก็เลือกเกสต์ เฮาส์ราคาถูก ห้องพักรวม บางทีกเ็ ป็นห้องพัดลม อาหารท้องถิน่ ก็กนิ ได้ไม่มี ข้อจำ�กัด นอกจากไปนานๆ กินเบอร์เกอร์ แซนด์วิชเย็นๆ บ่อยๆ ก็จะเริ่ม คิดถึงข้าวแกงร้อนๆ แล้ว ในกระเป๋าแบ็คแพ็คมีอะไรบ้าง พยายามจัดของลงกระเป๋าให้คุมนํ้าหนักอยู่ที่ประมาณ 12 กิโลกรัม เพื่อ ไม่ให้หลังเรามีปัญหาเวลาต้องแบกเป้เดินหาที่พักนานๆ เพราะหลายครั้งที่ เราต้องไปหาที่พักเอาข้างหน้า ส่วนเสื้อผ้าปกติก็จะเน้นเสื้อผ้าบางๆ ใส่ เครื่องอบในเกสต์เฮาส์แป๊บเดียวก็แห้ง นํ้าหนักมากสุดที่เคยแบกคือ 15 กิโลกรัม ตอนนัน้ ไปยุโรปเหนือประมาณ 40 กว่าวัน ต้องเตรียมเสือ้ กันหนาว ไปด้วย ที่สำ�คัญที่สุดคือ ก่อนไปประเทศไหน เราต้องศึกษาวัฒนธรรมเขา ไปก่อนว่าที่นั่นเขาแต่งกายอย่างไร ประเทศมุสลิมต้องคลุมผ้าไหม เราต้อง เคารพวัฒนธรรมของที่ที่เราจะไปด้วย ส่วนกล้องถ่ายรูปไม่มี ใช้โทรศัพท์ มือถือนี่แหละถ่ายภาพเก็บไว้ เดินทางแต่ละครั้ง คนที่บ้านเป็นห่วงไหม แน่นอน แต่ด้วยความที่เราทำ�อะไรด้วยตัวเองมาตั้งแต่ยังไม่เกษียณ อยาก ไปไหนไป อยากทำ�อะไรทำ� ไม่ต้องรอลูก ลูกก็เลยมั่นใจในตัวเรา แม่อยาก จะไปไหน ไปเลยให้เต็มที่ ไปเทีย่ วช่วงแรกๆ ก็จะส่งไลน์ให้ลกู ดูตลอดว่าเรา อยู่ไหน ถ่ายภาพให้เห็นว่าแต่ละที่เป็นอย่างไร พอมีแฟนเพจเราก็จะอัพเดท กิจกรรมในแต่ละวันผ่านแฟนเพจในเฟซบุ๊กทุกเย็นที่กลับเข้าที่พัก ลูกและ คนที่ติดตามเราก็จะได้เห็นพร้อมกันอยู่แล้ว

CREATIVE THAILAND I 31


ส�ำหรับคนวัยเกษียณอาจไม่ต้อง เที่ยวแบบป้า เพราะการเดินทาง ไม่ไ ด้ เป็น ความชอบของทุ ก คน แต่ขอให้ทุกคนอย่าหยุดอยูก่ ับที่ เพราะจะท�ำให้ ตั ว เราเองที่ เ ฉา เกษียณแล้วต้องหาอะไรท�ำตาม ความชอบ ท�ำอะไรได้ ท�ำเลย ไม่ต้องรอให้ใครมาท�ำให้ อายุเป็นขีดจำ�กัดในการออกเดินทางรึเปล่า คิดว่าเราเองมากกว่าที่เป็นคนขีดว่าตัวเองทำ�อะไรได้ หรือไม่ได้ เราขีดเอง ว่าทำ�ไม่ได้หรอก ไปไม่ได้หรอก แต่จริงๆ คือทุกคนทำ�ได้ ทุกวัยออกเดิน ทางได้ สำ�หรับคนวัยเกษียณอาจไม่ต้องเที่ยวแบบป้า เพราะการเดินทาง ไม่ได้เป็นความชอบของทุกคน แต่ขอให้ทุกคนอย่าหยุดอยู่กับที่ เพราะจะ ทำ�ให้ตัวเราเองที่เฉา เกษียณแล้วต้องหาอะไรทำ�ตามความชอบ ทำ�อะไรได้ ทำ�เลย ไม่ต้องรอให้ใครมาทำ�ให้ เคยคิดจะเดินทางเป็นกรุ๊ปไหม ไม่เคยชวนเพื่อนไป แต่มักมีคนขอไปด้วย เราก็จะบอกตรงๆ ว่าอย่าเลย เราเกรงใจหากจะให้เขาไปลำ�บากกับเรา ไปคนเดียวถ้าเจอเหตุการณ์อะไร ไม่คาดฝัน หรือต้องเดินมากๆ ก็ไม่เป็นไร แต่ไปกับคนอื่น เราจะกังวลว่า เขาจะไหวไหม อย่างพ่อบ้านเรา เขาชอบเที่ยวสบาย ให้ไปลำ�บากแบบเรา เขาไปไม่ได้ เวลาเราจะไปไหน เขาก็จะไปส่งเราที่สนามบินแทน ถ้าหยุดเดินทางแล้วจะทำ�อะไร จริงๆ แล้วอยู่บ้านก็มีอะไรให้ทำ�เยอะ อ่านหนังสือก็ได้ ไม่มีแรงไปเที่ยว ต่างประเทศก็เที่ยวแค่ในเมืองไทย หรือปั่นจักรยานอยู่ในหมู่บ้านก็ยังดี ขออย่างเดียวคือ อย่าอยู่เฉย เดี๋ยวจะเฉา คิดว่าจะเลิกเดินทางตอนไหน เคยคิดไว้ว่า 65 ก็คงจะหยุดเดินทาง แต่พอเราออกเดินทางกลับพบผู้สูงอายุ มากมายที่เดินทางท่องเที่ยว อายุ 70 กว่าก็ยังเดินทางไกลอยู่ ล่าสุดที่เจอ คือคนอายุ 70 กว่าสองคนถือไม้เท้าจะไปเดินป่า ก็เลยตัดสินใจว่าจะ เดินทางต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าร่างกายจะบอกเราเองว่าไม่ไหว

ถ้าไม่ได้ออกเดินทาง เวลาว่างชอบทำ�อะไร ปั่นจักรยาน ออกกำ�ลังกาย ดูแลหมา และก็ไปห้องสมุด โดยเฉพาะ หอสมุดกลาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมีหนังสือประวัตศิ าสตร์เยอะ ก่อนจะเริม่ ต้นวางแผนทริปไหน ก็จะต้องมาหาข้อมูลด้านประวัตศิ าสตร์ ของเมืองนั้นๆ ก่อน เมื่อได้ข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ จึงค่อยวางแผน เที่ยวตามเส้นทางประวัติศาสตร์ จุดหมายในฝันที่ต้องไปให้ได้ยังมีอีกไหม อยากไปเห็นความยิ่งใหญ่ของนํ้าตกไนแอการ่าและอลาสก้าด้วยตา ตัวเองสักครั้ง อยากไปให้มันสุดๆ ที่ที่ไปยากๆ อยู่ไกลๆ อยากไป ให้ได้ก่อน ก่อนที่จะไม่มีแรงไป สิ่งของที่ขาดไปไม่ได้ในแบ็คแพ็ค ยาพื้นฐานทั่วไป ยาลดไข้ แก้ท้องเสีย ปวดท้อง ฯลฯ กระเป๋ายานี่ขาด ไม่ได้ ต่อมาก็ปลั๊กยูนิเวอร์แซลที่ใช้ได้ทั่วโลก รองเท้าฟองนํ้า เพราะ ส่ ว นใหญ่ เ ราจะพั ก ในเกสต์ เ ฮาส์ ห้ อ งรวมที่ มี ห้ อ งนํ้ า แยกออกไป จะเข้าไปอาบนํา้ ก็ตอ้ งใส่รองเท้าฟองนํา้ และทีข่ าดไม่ได้เลยคือเสือ้ ขนเป็ด กันหนาวแบบทีพ่ บั เก็บได้เล็กๆ เพราะอากาศต่างประเทศเปลีย่ นแปลง ได้ตลอด ถ้าหนาวขึ้นมา ก็สู้ไม่ไหวเหมือนกัน การออกเดินทางในวัยเกษียณ ให้อะไรบ้าง ให้ความมีชีวิตชีวา ถ้าอยู่บ้านเฉยๆ ใช้ชีวิตประจำ�วันแบบซํ้าซาก เหมือนเดิมทุกวัน ร่างกายจะเฉา เตรียมรอป่วยได้เลย แต่การเดินทาง ทำ�ให้เราต้องคิดตลอดเวลา คิดวางแผน ได้ใช้ทั้งสมองและก็ได้ใช้ ร่างกายในการเดิน เพราะป้าแป๋วมักจะเดินมากกว่านั่งรถ ดังนั้นการ เดินทางจึงเป็นการบริหารทั้งสมอง จิตใจ และร่างกาย เหมือนการ ออกกำ�ลังกายที่มีแรงบันดาลใจ

CREATIVE THAILAND I 32



Creative Will : คิด ทํา ดี

พิพิธภัณฑ์เล่นได้

สัมผัสเรื่องราวเมื่อครั้งคุณตาคุณยายยังเด็ก

“พิพิธภัณฑ์เล่นได้” ไม่ได้เป็นเพียงพื้นที่จัดแสดงสิ่งของในประวัติศาสตร์ เท่านัน้ หากแต่เป็นพืน้ ทีท่ ส่ี ร้างการมีสว่ นร่วมของชุมชน โดยมีของเล่นพืน้ บ้าน เป็นสื่อกลาง และช่วยเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุได้นำ�องค์ความรู้ ประสบการณ์ และทักษะความสามารถที่มีค่ามาถ่ายทอดให้กับเด็กๆ รุ่นหลัง ได้เรียนรู้ เรื่องราวของวัฒนธรรมในท้องถิ่น ซึ่งจะช่วยสานสัมพันธ์และลดช่องว่าง ระหว่างวัยได้เป็นอย่างดี นอกจากสภาพร่างกายทีเ่ ปลีย่ นแปลงไปจะทำ�ให้ผสู้ งู วัยต้องการสิง่ อำ�นวย ความสะดวกทางกายภาพเพิ่มขึ้นเป็นพิเศษแล้ว ทางด้านจิตใจและสังคม ก็มีความสำ�คัญเป็นอย่างมากเช่นกัน ย้อนไปกว่า 20 ปีก่อน คุณวีรวัฒน์ กังวานนวกุล หนึ่งในผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์เล่นได้ ได้สังเกตเห็นความเป็นไปใน ชุมชนบ้านป่าแดด อ.แม่สรวย จ.เชียงราย ทีม่ กี ารเปลีย่ นแปลงไปค่อนข้างมาก เมือ่ คนหนุม่ สาวเลือกเดินทางเข้าไปทำ�งานในเมือง ชุมชนแห่งนีจ้ งึ เหลือเพียง คนเฒ่าคนแก่กับเด็กๆ เท่านั้น ด้วยช่องว่างระหว่างวัยที่แตกต่างกันมากนี้ จึงส่งผลให้คนสองวัยสื่อสารกันไม่เข้าใจ และขาดการมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกัน และกัน ด้วยโจทย์ที่ท้าทายที่ว่า จะเชื่อมโยงคนสองวัยเข้าหากันได้อย่างไร จึงเป็นที่มาของการรวมตัวกันจัดตั้ง “กลุ่มคนเฒ่าคนแก่” ด้วยการชักชวน ผู้สูงอายุในพื้นที่ให้ได้มาพูดคุยร่วมกัน จนพบว่าแต่ละคนต่างก็มีความถนัด และความสามารถในการประดิษฐ์ของเล่นพืน้ บ้านจากวัสดุธรรมชาติในท้องถิน่ และจากจุดเริม่ ต้นนี้ ก็ยงั ต้องใช้เวลาอีกหลายปีตอ่ มา กว่าจะค่อยๆ พัฒนา มาเป็น “พิพิธภัณฑ์เล่นได้” เช่นทุกวันนี้ แล้วของเล่นพืน้ บ้านจะช่วยสร้างการมีปฏิสมั พันธ์ระหว่างคนสองวัยได้ อย่างไร? ในช่วงแรกๆ พิพธิ ภัณฑ์ได้น�ำ ของเล่นทีผ่ สู้ งู อายุในชุมชนประดิษฐ์ขน้ึ มา จัดวางไว้เท่านัน้ แล้วค่อยๆ ปรับรูปแบบพัฒนาให้มลี กู เล่นมากขึน้ ด้วยการ เล่าเรือ่ งราว มีภาพประกอบ และจัดชัน้ วางใหม่ เพือ่ เชิญชวนให้เด็กๆ อยาก เข้ามาทดลองสัมผัส หรือลองหยิบจับของขึน้ มาเล่นเพือ่ จะได้เรียนรูผ้ า่ นการ เล่นนั้นๆ โดยมีเหล่าพ่ออุ้ย แม่อุ้ย ซึ่งเป็นสมาชิกกลุ่มคนเฒ่าคนแก่ มาร่วม สาธิตการทำ�ของเล่นพื้นบ้าน เกิดเป็นการพูดคุยซักถามระหว่างคนสองวัย ตัง้ แต่วธิ กี ารประดิษฐ์ไปจนถึงเรือ่ งราวทีแ่ ฝงมากับของเล่นแต่ละชิน้ ซึง่ บอกเล่า

facebook: พิพิธภัณฑ์เล่นได้

sac.or.th

sac.or.th

sac.or.th

เรื่อง: ณัฏฐา เกียรติสกุลเดชา

ความเป็นมาและองค์ความรู้ในท้องถิ่น ตั้งแต่วัสดุที่ใช้ ไปจนถึงเรื่องราว ความทรงจำ�ในอดีตเมื่อสมัยปู่ ย่า ตา ยาย ยังเป็นเด็กที่ทำ�ของเล่นเหล่านี้ เล่นกันเอง นอกจากนี้ ของเล่นบางชิ้นยังนำ�ไปสู่การพูดคุยที่สอดแทรกเรื่อง คุณธรรมและศีลธรรมในการใช้ชวี ติ ขณะทีข่ องเล่นบางชิน้ ก็ไม่เคยมีมาก่อน ในอดีต แต่เกิดขึ้นจากวิถีชีวิตของคนสมัยก่อน ที่ถูกนำ�มาออกแบบเป็น ชิ้นงานใหม่ เพื่อถ่ายทอดให้เด็กรุ่นหลังได้เห็นภาพและเข้าใจเรื่องราวความ เป็นมาต่างๆ ได้ง่ายขึ้น เช่น ของเล่นคนเลื่อยไม้ หรือคนตำ�ข้าว เป็นต้น เรื่ิองราวเหล่านี้เองที่เชื่อมโยงคนสองวัยให้ได้มาพูดคุยและเข้าใจกัน มากยิง่ ขึน้ เด็กๆ ได้คอ่ ยๆ ซึมซับถึงความเป็นมาของวิถชี มุ ชน การเล่นของเล่น ทีส่ ร้างสรรค์ยงั มีสว่ นช่วยในพัฒนาการทัง้ ทางด้านทักษะการใช้กล้ามเนือ้ มือ สมาธิ และจินตนาการ ในส่วนของผู้สูงอายุที่มาร่วมกิจกรรมนี้ ก็ได้รับผลดี ต่อสุขภาพจากการลงมือประดิษฐ์ของเล่น ที่ทำ�ให้ได้ออกแรงกายและได้ ใช้ความคิดอยู่เรื่อยๆ ที่สำ�คัญคือการที่แต่ละคนได้ใช้ความถนัดและ ความสามารถที่แตกต่าง มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ยังทำ�ให้เกิด ความภาคภูมิใจในคุณค่าของตัวเอง และรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งกับสังคม พิพธิ ภัณฑ์ทมี่ ชี วี ติ แห่งนีย้ งั คงพัฒนาต่อไปเรือ่ ยๆ เพือ่ ให้คนในพืน้ ทีไ่ ด้ มีส่วนร่วม ด้วยการจัดกิจกรรมต่างๆ หมุนเวียนกันไป ดึงดูดให้เด็กๆ ใน ชุมชนยังคงกลับมาเรียนรู้ร่วมกันอย่างสมํ่าเสมอ ส่วนของเล่นที่ประดิษฐ์ ขึ้นมา ก็ได้มีการนำ�ไปจำ�หน่ายสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน และไม่เพียง สำ�หรับคนในพืน้ ทีเ่ ท่านัน้ แต่พพิ ธิ ภัณฑ์แห่งนีย้ งั เปิดให้ทกุ คนสามารถเข้ามา เล่นและเยีย่ มชมได้ ซึง่ นอกจากตัวอาคารพิพธิ ภัณฑ์แล้ว ยังมีบา้ นของคนเฒ่า คนแก่ทตี่ า่ งก็มเี รือ่ งราวหลากหลายและน่าสนใจต่างกันไป ทำ�หน้าทีเ่ ป็นพืน้ ที่ แห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการทำ�งานด้านการพัฒนาสังคมหรือชุมชน ท้องถิ่น เพื่อส่งต่อให้กับชุมชนอื่นๆ ต่อไป ข้อมูลเพิ่มเติม: fb.com/พิพิธภัณฑ์เล่นได้ ที่มา: บทความ “10คนทำ�พิพิธภัณฑ์” จาก sac.or.th / บทความ “พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นผลิต ความสุข” โดย ปณิตา สระวาสี จาก sac.or.th / บทความ “พิพิธภัณฑ์เล่นได้” จาก museumsiam.org / บทความ “วัยเก่าที่ยังเก๋า : กลุ่มคนเฒ่าคนแก่ กับ พิพิธภัณฑ์เล่นได้” และ “กลุ่มคนเฒ่าคนแก่” จาก schoolofchangemakers.com

CREATIVE THAILAND I 34




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.