Creative Thailand Magazine

Page 1

พฤษภาคม 2561 ปีที่ 9 I ฉบับที่ 8 แจกฟรี

Creative Startup Issan Rum Creative City สกลนคร The Creative สุรศักดิ์ ป้องศร : ไทบ้านเดอะซีรีส์


m a k e Adisak Wattanatanta Atelier2+ Bora Hong Doonyapol Srichan ease studio Full Scale Studio INLY+กอปร Issaraphap Krit Phutpim - Dots Design Studio MONOW Naroot Pitisongsawat Nuttakorn Tungyouphuvadol Niti Plookvongpanit o-d-a PANTANG Studio PHTAA Studio 248 SATAWAT Secret of Woods Teerapoj Teeropas THINKK Studio 56th Studio สมถวิล wood maker www.anonymouschair.com #anonymouschair #issaraphap


ผญา (ปรัชญาคำ�อีสาน)


Contents : สารบัญ

The Subject

6

Insight 20

Creative Resource 8

Creative Startup 22

Isan New Gen: กลุ่มคนอีสานรุ่นใหม่ ที่พร้อมใจกลับมาเปลี่ยนแปลงบ้านเกิด

Featured Book / Book Website / Movie

MDIC 10 อี (สรร) สาน

Local Wisdom

12

Cover Story

14

New Products of Isan

เจ้าสิเมือเฮือนมื้อได๋ : การกลับบ้าน ของลูกอีสานบนเส้นทางของความสร้างสรรค์

ISAN IS TOO MAINSTREAM. วันทีอ่ สี านรากหญ้าผลิบานมาเป็นกระแสหลัก

ISSAN RUM: Spirit of Isan

Creative City

24

The Creative

28

Creative Will

34

สกลนคร...สีสันยามกลับบ้าน

สุรศักดิ์ ป้องศร: Make a Movie like a ‘Creative Brand’

Mekong Nomad Organic Farm ความมัน่ คงทางอาหารจากสองมือคนธรรมดา

บรรณาธิการที่ปรึกษา l อภิสทิ ธิ์ ไล่สตั รูไกล บรรณาธิการอำ�นวยการ l กิตติรตั น์ ปิตพิ านิช ที่ปรึกษา l ศิรอิ ร หริม่ ปราณี, ชมพูนทุ วีรกิตติ, พิชติ วีรงั คบุตร, พจน์ องค์ทวีเกียรติ, เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร บรรณาธิการบริหาร l พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์ กองบรรณาธิการ l มนฑิณี ยงวิกลุ , ชลดา เจริญรักษ์ปญั ญา, รัตมิ า เผือกนาโพธิ,์ ปิยวรรณ กลิน่ ศรีสขุ เลขากองบรรณาธิการ l วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ ศิลปกรรม l ชิดชน นินนาทนนท์ สมาชิกสัมพันธ์ l ปิยะพร สวัสดิ์สิงห์ ประสานงานกองบรรณาธิการ l ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ ช่างภาพและมัลติมีเดีย l ภีร์รา ดิษฐากรณ์ จัดทำ�โดย l ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) 1160 อาคารไปรษณีย์กลาง ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10501 โทร. 02 105 7400 แฟกซ์. 02 105 7450 พิมพ์ที่ l โรงพิมพ์ดับบลิวพีเอส (ประเทศไทย) จำ�กัด โทร. 02 313 4405 แฟกซ์. 02 313 4445 จำ�นวน 20,000 เล่ม ติดต่อลงโฆษณา: Commu.Dept@tcdc.or.th นิตยสารฉบับนีใ้ ช้หมึกพิมพ์จากนา้ํ มันถัว่ เหลืองทีไ่ ม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทัง้ ยังเป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อม และใช้กระดาษ รีไซเคิล ซึ่งเป็นผลผลิตของผู้ประกอบการไทย จัดทำ�ภายใต้โครงการ “Creative Thailand สร้างเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์” โดยศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ สำ�นักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) ซึง่ มีเป้าหมายในการเผยแพร่ความรูเ้ กีย่ วกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) และผลักดันการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส CREATIVE THAILAND I 4 แสดงที่มา-ไมใชเพื่อการคา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย


Editor’s Note : บทบรรณาธิการ

ไม่มใี ครเคยลืมว่า ประเทศไทยนัน้ ประกอบไปด้วยประชากรจากภาคตะวันออก เฉียงเหนือเป็นจำ�นวนมากที่สุด พวกเขาอาศัยอยู่บนผืนแผ่นดินที่กินอาณา บริเวณครอบคลุมมากถึงหนึ่งในสามของประเทศ และยังเป็นภาคที่มีจังหวัด เหนือกว่าภาคอื่นๆ รวมแล้ว 20 จังหวัด ในจำ�นวนนี้มี 10 จังหวัดที่มีประชากร เกินหนึ่งล้านคน สร้างรายได้จากการทำ�มาหากินและส่งออกแบบไม่น้อยหน้า กว่าประชากรภาคใดๆ ที่สำ�คัญภาคอีสานยังมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่ โดดเด่นที่สุดในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นการเว้าภาษาอีสาน อาหารจานเด่น ดนตรีหมอลำ�เสียงแคน ศิลปะการเซิง้ การแสดง การแต่งกาย ประเพณีการละเล่น ไปจนถึงความคิดสร้างสรรค์ที่ไม่เคยติดกรอบ ซึ่งทำ�ให้หลายๆ คนนึกได้ทันที ว่านี่คือ “อีสานสไตล์”

การมาถึงของเทคโนโลยี โดยเฉพาะการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต และการเติบโตขึน้ แทนที่ของคนในเจเนอเรชันใหม่ๆ ที่คุ้นเคยกับการเลือกใช้เทคโนโลยีอย่าง ชาญฉลาด ยิ่งเสริมให้จุดแข็งของเหล่าอีสานนิวเจนฯ ก้าวขึ้นสู่จุดที่เรียกว่าคน ทุกภาคต้องหันมอง ยิ่งการที่ลูกอีสานมีดีเอ็นเอของนักดัดแปลงมือดี ผู้ไม่เคย ยอมแพ้ให้กับอุปสรรค แต่สามารถปรับตัวและปรับเปลี่ยนสิ่งต่างๆ บนความ จำ�กัดทีม่ ี ไปสูส่ งิ่ ทีใ่ ช้งานได้จริงและเหมาะกับวิถชี วี ติ ของตนเอง พร้อมการก้าว เข้ามาของคลื่นวัฒนธรรมใหม่ๆ ก็ยง่ิ ทำ�ให้ “ลูกอีสานวันนี”้ เต็มไปด้วยข้อได้เปรียบ และสามารถสร้างผลงานที่น่าทึ่งออกมาให้กับประเทศชาติได้อย่างมากมาย เมื่อปีพ.ศ. 2548 ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) เคยจัดแสดง นิทรรศการ “กันดารคือสินทรัพย์: อีสาน” (ISAN RETROSPECTIVE: Deprivation, Creativity and Design) ด้วยการหยิบยกประเด็นที่ว่า คนอีสานซึ่งหลายคน เคยนึกดูถูก สามารถสร้างความสำ�เร็จและสร้างรายได้ให้กับประเทศอย่าง เป็นกอบเป็นกำ�ได้อย่างไร โดยบอกว่าความกันดารแห้งแล้งของผืนดินอีสาน ที่ “ในฟ้าบ่มีนํ้า ในดินซํ้ามีแต่ทราย” ก็คือบ่อเกิดของความคิดสร้างสรรค์ชั้นดี และยังเป็นโรงเรียนที่บ่มเพาะผู้คนให้มีพรสวรรค์ในการเอาตัวรอดจากความ เป็นอยู่ที่แร้นแค้น สู่การสร้างตัวตนอย่างยิ่งใหญ่บนพื้นฐานเศรษฐกิจแบบ สร้างสรรค์มูลค่า (Value Creation Economy) อันประกอบไปด้วยทักษะ เทคโนโลยี และคุณค่าทางวัฒนธรรม เพื่อส่งต่อให้ทั้งในระดับประเทศและ ระดับโลก จากวันนัน้ จนวันนี้ การเอาชนะคำ�สบประมาท เอาชนะสภาวะของทรัพยากร ทีห่ า่ งไกลจากคำ�ว่าอุดมสมบูรณ์ดว้ ยสติปญั ญาและความคิดสร้างสรรค์ เอาชนะ การเลือกใช้เทคโนโลยีอย่างถูกต้องเหมาะสม และเอาชนะจิตใจของตนเพื่อ หวนคืนสู่บ้านเกิดอีกครั้งของลูกอีสานในวันนี้ ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า ไม่เพียง ทีภ่ าคอีสานจะเป็นผืนดืนทีบ่ ม่ เพาะพรสวรรค์มากมายให้เกิดขึน้ แต่ยงั สามารถ ส่งต่อแนวคิดเชิงบวก การมองโลกในแง่ดีแบบสู้ไม่ถอย และสำ�นึกรักบ้านเกิด ที่เคยเป็นคำ�เชยๆ ให้เป็นไปได้จริง ผ่านตัวอย่างความสำ�เร็จของลูกอีสาน นิวเจนฯ เหล่านี้ ทีไ่ ม่วา่ อย่างไรก็ขอกลับคืนสูถ่ นิ่ เพือ่ ทำ�มาหากินจากสินทรัพย์ ทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาที่ได้รับถ่ายทอดจากรังนอนเดิม พร้อมสานต่อ บนแนวคิดและวิถชี วี ติ แบบใหม่ของตนเองได้อย่างไม่แพ้ใคร และอาจจะ “ฮิป” ได้มากกว่าคนอื่นๆ อย่างคาดไม่ถึงอีกต่างหาก แล้วเมื่อทุกอย่างลงตัวขนาดนี้แล้ว เหล่าลูกอีสานวันนี้…เจ้าสิเมือเฮือน มื้อได๋? กิตติรัตน์ ปิติพานิช บรรณาธิการอํานวยการ

CREATIVE THAILAND I 5


The Subject : ลงมือคิด

เรื่อง: นพกร คนไว

การออกไปเผชิญชีวิตในโลกกว้างเพื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์และไขว่คว้าหาความสำ�เร็จ หลายคนอาจตั้งเป้าหมายชีวิตของ ตัวเองไปข้างหน้าเพือ่ เติมเต็มความต้องการให้ชวี ติ แต่บางคนเหลียวหลังกลับมามองตนเอง มองสิง่ ทีผ่ า่ นมาในชีวติ และย้อน มองกลับไปยังต้นกำ�เนิดของตัวเอง กลุ่มคนเหล่านี้คือ “คนอีสาน” ที่กลับมายังบ้านเกิดของตัวเอง พร้อมนำ�เอาความรู้ ความสามารถที่หลากหลายมาใช้เพื่อพัฒนา สร้างสีสัน และสืบสาน ภูมิปัญญาดั้งเดิม จนสามารถพิสูจน์ให้คนภายนอกได้เห็นว่า อีสานก็มีของดีเหมือนกัน เชฟหนุ่ม... ผูส้ านต่อภูมปิ ญ ั ญาพืน้ บ้านสูเ่ มืองใหญ่ เทรนด์อาหารท้องถิน่ กำ�ลังเป็นทีน่ ยิ มอย่างแพร่หลาย ในเวลานี้ การใช้วตั ถุดบิ ทีเ่ ก็บจากป่าโดยชาวบ้าน ยังช่วยเพิ่มรายได้ให้คนในพื้นที่ อีกทั้งยังได้รับ รสชาติใหม่ๆ ไปพร้อมๆ กับเรียนรู้ภูมิปัญญา ท้องถิน่ จากชาวบ้านทีใ่ กล้ชดิ กับธรรมชาติ นับเป็น ประสบการณ์ที่หาไม่ได้จากที่ใด นั่นเป็นสิ่งที่ เชฟหนุม่ วีระวัฒน์ ตริยเสนวรรธน์ ทุม่ เทให้เกิดขึน้ เป็นร้านอาหารที่ชื่อว่า ซาหมวย แอนด์ ซันส์ จากการใช้ชีวิตและศึกษาการทำ�อาหารที่ สหรั ฐ อเมริ ก าเป็ น เวลา 9 ปี และได้ ซึ ม ซั บ แนวคิดเกี่ยวกับการทำ�ร้านอาหารที่สนับสนุน เกษตรกรท้ อ งถิ่ น เชฟหนุ่ ม จึ ง ตั ด สิ น ใจกลั บ มายั ง บ้ า นเกิ ด ที่ จั ง หวั ด อุ ด รธานี ด้ ว ยความ

ตัง้ ใจว่าจะเปิดร้านอาหารไทยในแบบทีต่ นเองรัก และสิ่ ง สำ � คั ญ คื อ การได้ ก ลั บ มาอยู่ ใ กล้ ชิ ด กั บ ครอบครัว เขาลงทุนเปิดร้านอาหารกับน้องชาย เชฟโจ้ วรวุฒิ ตริยเสนวรรธน์ ด้วยแนวคิดที่ว่า “ใช้ของปลอดสารพิษ สนับสนุนท้องถิ่นและ เกษตรกร” เชฟหนุ่ ม มองว่ า กสิ ก รรมเชิ ง เดี่ ย วทำ � ให้ วิถชี วี ติ ของคนเปลีย่ นไป ผูค้ นเริม่ บริโภควัตถุดบิ จากฟาร์ม จนทำ�ให้พืชผักและภูมิปัญญาท้องถิ่น ลดน้อยลง เขาจึงเลือกที่จะอนุรักษ์ภูมิปัญญา เหล่านีเ้ อาไว้ และนำ�มาต่อยอดเพือ่ ทีม่ นั จะสืบต่อ ไปได้ในอนาคต ทำ�ให้ตลอดสามปีที่เปิดร้านมา เชฟหนุ่ ม จะเดิ น ตลาดเองทุ ก วั น เพื่ อ เลื อ กซื้ อ วั ต ถุ ดิ บ จากชาวบ้ า นสำ � หรั บ ประกอบอาหาร ซึ่งนอกจากจะได้พืชผักที่สดใหม่จากป่าและมี รสชาติเฉพาะตัวแล้ว ยังได้เรียนรู้วิธีการปรุง อาหารจากชาวบ้าน และที่มาของพืชผักแต่ละ ชนิด เรื่องราวเหล่านี้กลายเป็นสตอรี่ชั้นดีที่เชฟ หนุ่มเลือกเสิร์ฟด้วยการบอกเล่าต่อไปยังลูกค้า ที่มารับประทานอาหารที่ร้าน “ผมไม่เชือ่ เรือ่ งการเชิดชูในอาหาร ผมเชิดชู ในวิถี เพราะเวลาคนเขาภาคภูมิใจ เขาจะไม่ ภูมิใจว่าอาหารเขาอร่อยหรือไม่ แต่ถ้าเราสร้าง ความภาคภูมใิ จจากคนภายในชุมชน แล้วเปลีย่ น จากอาหารเป็นคำ�ว่าวิถชี วี ติ การเป็นอยู่ สำ�หรับผม มองว่ามันยั่งยืนกว่า เขาก็จะเริ่มหันกลับมามอง เพราะผมเชื่ อ ว่ า อาหารอี ส านที่ รุ่ น ปู่ ย่ า เรากิ น CREATIVE THAILAND I 6

มันก็ไม่เหมือนอาหารอีสานทีเ่ รากิน มันเปลีย่ นไป ตามกาลเวลา” ซาหมวย แอนด์ ซันส์ ไม่ได้เป็นเพียงร้าน อาหารที่ประยุกต์แนวคิดแบบภูมิปัญญาท้องถิ่น เข้ากับเทคนิคสมัยใหม่ แต่ยังอนุรักษ์ภูมิปัญญา พืน้ บ้าน ด้วยการถ่ายทอดเรือ่ งราวและภูมปิ ญั ญา ท้องถิ่นลงไปในอาหาร อีกทั้งยังพร้อมที่จะเล่า ที่มาของวัตถุดิบในแต่ละชนิด อาหารแต่ละเมนู ของซาหมวย แอนด์ ซันส์ จึงเต็มไปด้วยเรือ่ งราว จากชาวบ้ า นและจากตั ว เชฟหนุ่ ม เพื่อ สร้าง ประสบการณ์ร่วมให้แก่ลูกค้าที่ได้ลิ้มรสอาหาร ก้าวต่อไปของซาหมวย แอนด์ ซันส์ สำ�หรับ เชฟหนุ่มแล้ว เขายังอยากให้มันกลายเป็นศูนย์ แลกเปลี่ ย นความรู้ ข องคนรุ่ น ใหม่ ที่ ร่ ว มกั น ต่อยอดความเป็นภูมิปัญญาพื้นบ้าน อีกทั้งยัง สนับสนุนแนวคิดการเปิดร้านอาหารประเภทนี้ ให้มีมากขึ้น เพราะเขาไม่ได้มองว่ามันเป็นการ แข่งขัน แต่เป็นการพัฒนาความคิดเพื่ออนุรักษ์ ให้ภูมิปัญญาพื้นบ้านคงอยู่ตลอดไป อีสานเขียว... การรวมกลุ่มของคนรักสันติภาพ “อีสานเขียว” กลุ่มคนที่รวมตัวกันเพื่อจัดงาน ดนตรี E-San Music Festival งานดนตรีของไทย ทีย่ ง่ิ ใหญ่จนเหล่าฮิปเตอร์ตา่ งเฝ้ารอกันในแต่ละปี เป้าหมายของงานนี้คือส่งต่อความรัก ความ สามัคคี สันติภาพ และการอนุรักษ์ธรรมชาติ จน


facebook.com/ESANMUSICFESTIVAL

ได้รับฉายาว่าเป็น Woodstock เมืองไทย และ เบือ้ งหลังความสำ�เร็จของเทศกาลนี้ มีสมาชิกคน สำ�คัญทีค่ อยผลักดันคือ เดียร์ ไพรจิตร ศรีมว่ งอ่อน อีสานเขียวเริม่ การจากรวมตัวกันของกลุม่ คน ที่ชอบอะไรเหมือนกัน เช่น กลุ่มรักการเดินทาง การออกแคมป์ และกลุ่มฮิปปี้ หัวใจหลักของ อีสานเขียวคือการทำ�งานจิตอาสาด้านการอนุรกั ษ์ ธรรมชาติ แต่การที่พวกเขาเลือกจัดเทศกาล ดนตรี ก็เพราะเชื่อว่าดนตรีคือเครื่องมือที่ส่งผล ต่อจิตใจมนุษย์และเชื่อมความสัมพันธ์ของคน แต่ละกลุ่มให้มารวมตัวกัน ทำ�ให้ในเทศกาลยังมี ช่างภาพ นักวาดเขียน นักปั้น ที่นำ�ผลงานของ ตัวเองมาแสดงและจำ�หน่าย เอกลักษณ์อย่างหนึ่งของเทศกาล E-San Music Festival ก็คอื แนวดนตรี วงดนตรีทมี่ าเล่น ในงานส่วนใหญ่ลว้ นเป็นแนวเพลงจากฝัง่ ตะวันตก เช่น เรกเก้ ร็อก ฟังก์ และโซล ที่ประยุกต์เอา เครื่ อ งดนตรี พื้ น บ้ า นและภาษาอี ส านมาเป็ น ส่วนหนึง่ ของเพลง เช่น วง ISANJAH (อีสานจาร์) และ วง Rin DaRast (รินดาราส) ซึ่งผสมผสาน ทั้งสองวัฒนธรรมจนเข้าถึงผู้ชมทั้งชาวไทยและ ต่างชาติได้เป็นอย่างดี แต่กลุม่ อีสานเขียวก็ไม่ได้ ปิดกั้นวงดนตรีที่ไม่ได้มีกลิ่นอายของความเป็น อีสาน พวกเขาเปิดรับทุกแนวดนตรีที่มีเนื้อหา จรรโลงโลก เพื่อสันติภาพและความสามัคคี จึงทำ�ให้มีศิลปินจากทั่วทุกมุมโลก ไม่ว่าจะมา จากญี่ปุ่น บราซิล หรืออเมริกา หลั่งไหลเข้ามา ติดต่อขอเล่นในเทศกาล กระทั่งในปีที่ผ่านมา เทศกาล E-San Music Festival ปีที่ 6 มีศิลปิน มาร่วมงานแล้วกว่า 60 วง E-San Music Festival เป็นเทศกาลที่ ครองใจเหล่ า ฮิ ป สเตอร์ แ ละคอเพลงจากทั่ ว

ทุกสารทิศ ทั้งยังเป็นที่ชื่นชอบของคนในพื้นที่ อีกด้วย โดยมีการเปิดพื้นที่ให้ชาวบ้านนำ�สินค้า โอท็อปมาจำ�หน่ายในงาน มีการทำ�โรงเรียนอีสาน เขียวและเปิดรับครูอาสาเข้ามาสอนประสบการณ์ เสริ ม ให้ กั บ เด็ ก ๆ ในวั น เสาร์ - อาทิ ต ย์ เช่ น สอนทำ�ผ้ามัดย้อม ทำ�สบู่ และงานฝีมือต่างๆ ที่ สำ�คัญชาวบ้านในพื้นที่จะได้เข้างานฟรี เมื่อ จบงานยั ง นำ � รายได้ ไ ปทำ � บุ ญ กั บ วั ด ในพื้ น ที่ ช่วยเสริมสร้างมิติความสัมพันธ์ในชุมชน Dude Factory... ผู้นำ�สตรีทอาร์ตมาสู่เมืองขอนแก่น กระแสของสตรีทอาร์ตที่เติบโตขึ้นในหลายเมือง ของไทย สะท้อนให้เห็นว่าผู้คนเริ่มเปิดรับศิลปะ แขนงนี้มากกว่าที่ผ่านมา โดยเฉพาะจังหวัด ขอนแก่นที่ฟรอยด์และกลุ่ม Dude Factory เริ่ ม บุ ก เบิ ก ให้ ค นในจั ง หวั ด ได้ รู้ จั ก กั บ คำ � ว่ า สตรีทอาร์ต จากกลุ่มวัยรุ่นที่รักการเล่นกีฬาสเก็ตบอร์ด และบีเอ็มเอ็กซ์ นำ�พาให้พวกเขาได้รู้จักกับโลก ของสตรีทอาร์ต เกิดเป็นความหลงใหลจนเริ่ม ศึกษาด้วยตนเองผ่านวิดีโอและแมกกาซีนศิลปะ ประกอบกับที่พวกเขาเรียนด้านศิลปะ จึงเริ่ม รวมกลุ่มกันสร้างงานศิลปะร่วมสมัยเพื่อให้เป็น ทางเลือกใหม่ ในด้านเอกลักษณ์ ฟรอยด์มองว่าเขาไม่ได้ ยึดติดหรือมีรปู แบบตายตัว แต่จะนำ�เสนอเกีย่ วกับ เรื่องที่เขาสนใจอยู่ในขณะนั้นและจำ�เป็นต้อง เชือ่ มโยงกับผูค้ น เนือ่ งจากว่างานสตรีทอาร์ตต้อง ทำ�ในพื้นที่สาธารณะ ตัวผลงานจึงจำ�เป็นต้องมี ปฏิสมั พันธ์กบั ผูค้ นและสามารถสือ่ สารหรือแสดง ความเห็นต่อบางสิ่งเพื่อกระตุ้นสังคมได้ เพราะ ถ้ า หากงานสตรี ทอาร์ ต ไม่ ส ามารถสื่ อ สารกั บ คนได้ ก็ไม่ต่างอะไรกับการวาดรูปธรรมดาบน กำ�แพง ผลงานที่ น่ า สนใจของเขาคื อ โปรเจ็ ก ต์ Walls o(f)f Oddity หรือในชื่อไทยคือ “วาดแล้ว ลบออก” ที่ทำ�ขึ้นในจังหวัดขอนแก่น ตัวงาน พู ด ถึ ง การที่ ภ าครั ฐ และเอกชนต่ า งสนั บ สนุ น บทบาทของสตรีทอาร์ทเพือ่ ใช้สง่ เสริมการท่องเทีย่ ว ทำ�ให้เกิดคำ�ถามว่างานสตรีทอาร์ตยังจะสามารถ วิพากษ์ประเด็นทางสังคมได้อย่างตรงไปตรงมา อีกหรือไม่ หากต้องอยู่ภายใต้ระบบที่มีภาครัฐ CREATIVE THAILAND I 7

เข้ามาเกี่ยวข้อง จุดเด่นของผลงานชิ้นนี้คือเมื่อ มันถูกสร้างขึ้นเสร็จสมบูรณ์ พวกเขาก็เก็บภาพ และเปลี่ยนกำ�แพงเป็นสีดำ� เพื่อตั้งคำ�ถามกลับ ไปยังศิลปินสตรีทอาร์ต และเปิดโอกาสให้รว่ มกัน สานต่อความคิดนั้นเป็นผลงานชิ้นต่อไป นอกจากจะสร้างงานเป็นของตัวเองแล้ว Dude Factory ยังเปิด YMD ART SPACE ให้กับ ผูท้ สี่ นใจและคนทำ�งานศิลปะรุน่ ใหม่ได้มพี นื้ ทีใ่ น การแสดงและเผยแพร่ผลงานของตัวเอง อีกทัง้ ยัง นำ�เอางานศิลปะจากหลากหลายแห่งมาจัดแสดง เพื่อกระตุ้นในเกิดแรงบันดาลใจในการทำ�งาน ศิลปะ และยังทำ�ให้คนในพื้นที่มีทางเลือกที่จะ เสพงานศิลปะมากขึ้น แม้ศลิ ปะร่วมสมัยจะเติบโตไปมากในหลาย ปีที่ผ่านมา แต่ฟรอยด์มองว่าขอนแก่นยังขาด สภาพแวดล้ อ มของสั ง คมคนทำ � งานศิ ล ปะที่ เหนียวแน่นและเอื้อต่อการสร้างสรรค์งาน หาก มองถึ ง ต้ น ทุ น ทางศิ ล ปะที่ มี อ ยู่ ม ากมายใน ภาคอีสาน ที่มีทั้งมหาวิทยาลัยที่สอนในเรื่อง ศิ ล ปะและยั ง มี ห อศิ ล ป์ ที่ สำ � คั ญ อี ก หลายแห่ ง ฟรอยด์และกลุ่ม Dude Factory จึงพยายาม กระตุ้ น ในเกิ ด การเปลี่ ย นแปลงสั ง คมของคน ทำ�งานศิลปะขึน้ ใหม่ โดยการนำ�ศิลปินมาทำ�งาน หรือแสดงงานให้มากขึ้น เพื่อให้เกิดการพบปะ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่เต็มไปด้วยสีสันและ ความสนุกสนาน ที่มา: บทสัมภาษณ์ ON THE WALL: FLOYD X DR. CAS ‘WALLS O(F)F ODDITY’ จาก sprayxbrush.com / รายงานวิจัย จากวัฒนธรรมกราฟฟิตีสู่งานสตรีทอาร์ตในประเทศไทย (From Graffiti Culture to Street Art in Thailand) โดย แมนฤทธิ์ เต็งยะ (Manrit Tengya)


Creative Resource : วัตถุดิบทางความคิด เรื่อง: เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร และ ชลดา เจริญรักษ์ปัญญา

F EAT U RED BOOK ลูกอีสาน โดย คำ�พูน บุญทวี นับเป็นเวลากว่า 40 ปีแล้วที่คำ�พูน บุญทวี ได้เล่าเรื่องราววิถีชีวิตและ ประสบการณ์ที่เขาได้พบเจอในช่วงวัยเด็กผ่านครอบครัวของเด็กชายคูน ชาวบ้านชนบทในภาคอีสานครอบครัวหนึง่ ซึง่ ประสบกับภัยแล้ง ความยากแค้น และการต่อสู้อย่างทรหด เรื่องราวทั้งหมดนี้ถูกถ่ายทอดอย่างมีรายละเอียด สะท้อนวิถีชีวิตความเป็นอีสานที่แท้จริงได้อย่างน่าสนใจ จนเป็นหนึ่งใน หนังสือทีค่ วรค่าแก่การอ่าน และได้รบั รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยีย่ ม แห่งอาเซียน (ซีไรต์) ประจำ�ปี พ.ศ. 2522 ท่ามกลางฤดูแล้งอันโหดร้ายของ ภาคอีสานในอดีต เด็กชายคูน อาศัยอยูใ่ นกระท่อมหลังเล็กๆ กับพ่อ แม่ และ น้องสาวอีกสองคน ฝนไม่ตกที่โคกอีแหลวมานานแล้ว แต่พ่อของคูนก็ยัง ปักหลักที่จะสู้อยู่ที่นี่ ไม่จากไปไหน เพื่อรักษาผืนดินของปู่ย่าตายายไว้ ด้วยเชื่อว่าถ้าสองมือสองเท้ายังมี อย่างไรก็จะไม่อดตาย แม้จะทำ�นาไม่ได้

เหมือนก่อน ก็ยังมีกบ เขียด แย้ พังพอน ให้พอประทังชีวิตไปได้ คูนมัก ตัง้ คำ�ถามต่อสิง่ ต่างๆ อยูเ่ สมอ ในขณะเดียวกันพ่อก็จะคอยอธิบายพรํา่ สอน ให้เขาเข้มแข็งและอดทน ชีวิตในแต่ละวันนั้นไม่ง่ายเลย แต่ความยากลำ�บากกลับเติมเต็มด้วย ความสุขระหว่างคนในครอบครัว สะท้อนให้เห็นถึงความเอื้อเฟื้อเกื้อกูล ระหว่างคนบ้านเดียวกัน ลูกอีสาน เป็นนวนิยายที่พาเราย้อนเวลากลับไปหา อีสานในอดีต ที่ซึ่งบันทึกวิถีชีวิต วัฒนธรรมอีสาน ทั้งอาหารการกิน ความเป็นอยู่ บุคลิกลักษณะของผู้คน การมองโลก และความมีอารมณ์ขัน ซึ่งทำ�ให้เราเข้าใจอีสานในวันนี้มากขึ้น เพราะแม้ความเจริญจะทำ�ให้อีสาน ไม่ได้ดแู ห้งแล้งเหมือนแต่กอ่ น แต่ลกั ษณะเฉพาะและจิตวิญญาณของลูกอีสาน ก็ยังคงอยู่มาจนถึงทุกวันนี้

CREATIVE THAILAND I 8


BOOK ออกแบบอย่างอีสาน: ทางออกจากข้อจำ�กัด โดย ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) ด้วยความที่อีสานไม่ได้รับการสนับสนุนมากเท่าที่ควร ทำ�ให้ภาพของความห่างไกลจากการพัฒนา ยังคงมีอยู่ แต่อีสานก็มีทรัพยากรที่น่าสนใจและมีศักยภาพที่จะเติบโตขึ้นได้อีกมาก โดยเฉพาะในด้าน การออกแบบ ทั้งการพัฒนารถเครื่องสกายแล็บ ลายกราฟฟิกของผ้าไหม ตลอดจนการสานกระติบ ไม้ไผ่ ออกแบบอย่างอีสาน: ทางออกจากข้อจำ�กัด ได้ศึกษา 3 ประเด็นที่สะท้อนถึงงานออกแบบที่มี เอกลักษณ์ของชาวอีสาน คือ ทักษะฝีมือที่เกี่ยวข้องกับการใช้วัสดุในท้องถิ่น การปรับตัวและแก้ปัญหา ในการดำ�รงชีวิตด้วยการสร้างนวัตกรรม และการรับรู้และแสดงออกทางสุนทรียะหรือมุมมองด้าน ความงาม โดยตีแผ่ผ่านแนวคิด “คิดนอกกรอบ ใช้งานดี สวยซื่ออย่างอีสาน”

MOVIE

W EB SIT E

สองพี่น้อง กำ�กับโดย วรวุฒิ หลักชัย

The Isaan Record https://isaanrecord.com

จากความตัง้ ใจทีต่ อ้ งการใช้ภาพยนตร์พฒั นาบ้านเกิด และสนับสนุนให้นกั เรียนทีม่ คี วามสนใจได้มโี อกาสลอง ทำ�หนังด้วยตัวเอง สองพี่น้อง ภาพยนตร์สั้นจากการกำ�กับของวรวุฒิ หลักชัย ครูสงั คมผูเ้ กิดและอาศัย อยูใ่ นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ร่วมมือกันกับนักเรียนในชั้นเพื่อส่งประกวดในโครงการความยุติธรรม จึงเกิดขึน้ ภาพยนตร์เล่าเรือ่ งราวของสองพีน่ อ้ งทีต่ า่ งฝ่ายต่างต้องการเอาชนะและทะเลาะกันเป็นประจำ� จนได้รับบทเรียนของการแบ่งปันและอยู่ร่วมกันจากพ่อ นับเป็นการเติบโตขึ้นของตัวละครหลักผ่าน ฉากหลังที่นำ�เสนอวิถีชีวิตอันเรียบง่ายของชาวชนบทในแถบอีสาน โดยภาพยนตร์เรือ่ งนีไ้ ด้รบั เลือกให้ ฉายในกว่า 10 ประเทศ และได้รบั รางวัลถึง 5 สาขาด้วยกัน

ปัจจุบนั พืน้ ทีแ่ ถบอีสานมีประชากรอาศัยอยูร่ วมกัน มากกว่า 22 ล้านคน แต่สื่อที่ทำ�หน้าที่กระจาย ข่าวต่างๆ กลับมีน้อยมาก ทำ�ให้สื่อออนไลน์ ท้องถิ่นอย่าง เดอะอีสานเรคคอร์ด เว็บไซต์สอง ภาษาได้ถือกำ�เนิดขึ้นมาเพื่อนำ�เสนอข่าวสาร หลากหลายประเด็นทีเ่ กีย่ วข้องกับภูมภิ าคตะวันออก เฉียงเหนือเป็นหลัก รายงานสถานการณ์ตา่ งๆ ที่ เกิดขึ้นและมีผลกระทบต่อคนในภูมิภาค รวมถึง นำ�เสนอบทสัมภาษณ์ทเี่ จาะประเด็นทัง้ ด้านสังคม การเมือง และสิง่ แวดล้อม จากทัง้ นักเขียนอิสระ ชาวไทยและชาวต่างชาติ นับเป็นการตีแผ่เรือ่ งราว เชิงลึกและนำ�เสนอข่าวจากชาวอีสาน ทีไ่ ม่ผา่ นการ ใส่มมุ มองของสื่อใหญ่ซึ่งอาจเห็นภาพของบริบท ไม่ชัดเท่าคนท้องที่ด้วยกันเอง

พบกับวัตถุดิบทางความคิดเหล่านี้ได้ที่ TCDC Resource Center CREATIVE THAILAND I 9


MDIC : นวัตกรรมและวัสดุ

เรื่อง: ทิพย์ เพ็ญพายัพ และ ฉัตรธิดา ผลสุข

แต่ดั้งเดิมนั้น ภาคอีสานนับเป็นสังคมเกษตรกรรมที่ชาวไร่ ชาวนา ชาวสวน ต้องมีอปุ กรณ์สําหรับใช้สอยเพือ่ การประกอบอาชีพและดำ�เนินชีวติ ประจําวัน ส่งผลให้เกิดการสร้างสรรค์งานหัตถกรรมชนิดต่างๆ เป็นจำ�นวนมาก ทัง้ งาน จักสาน เช่น กระติบ ตะกร้า กระบุง ที่จับสัตว์ หรืองานเครื่องปั้นดินเผาซึ่ง ใช้เป็นภาชนะใส่และถนอมอาหาร ไปจนถึงงานทอผ้าสำ�หรับนุง่ ห่ม และงาน หัตถกรรมเพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา อาทิ งานบุญบั้งไฟ การแห่ ผีตาโขน การหล่อเทียนพรรษา หรือการทอธุงเพื่อใช้ในงานบุญ ซึ่งล้วนแต่ เป็นกิจกรรมทีก่ อ่ ให้เกิดการสร้างสรรค์ ด้วยการนำ�ภูมปิ ญั ญามาประกอบกับ การผลิตและแปรรูปวัสดุในท้องถิ่นได้อย่างน่าสนใจ ปัจจุบัน ผู้ประกอบการชาวอีสานรุ่นใหม่ยังได้พัฒนานําเอาภูมิปัญญา ทางด้านหัตถกรรมมาใช้ผลิตสินค้าในเชิงพาณิชย์ และเปลีย่ นงานหัตถกรรม ทำ�มือมาเป็นงานหัตถอุตสาหกรรมและอุตสาหกรรมมากขึ้น เพื่อขับเคลื่อน เศรษฐกิจของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย เริ่มต้นที่ “ผ้าไหม” ซึ่งมี ความสัมพันธ์กบั วัฒนธรรมอีสานมาอย่างยาวนาน เห็นได้จากความหลากหลาย ของผ้าไหมทีส่ ามารถบ่งบอกถึงชาติพนั ธุใ์ นภาคอีสานได้ อาทิ ผ้าไหมแพรวา ของชาวผู้ไท หรือผ้าไหมหางกระรอกซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาวโคราช ซึ่ง ปัจจุบนั ผ้าทอเหล่านีไ้ ด้รบั การพัฒนารูปแบบให้สอดคล้องกับตลาดสมัยใหม่ และยังปรับกระบวนการผลิตให้ดําเนินธุรกิจได้อย่างเหมาะสม เช่น ไหมแต้มหมี่ ที่บ้านชนบท จ. ขอนแก่น ซึ่งคิดค้นดัดแปลงกระบวนการผลิตผ้ามัดหมี่ให้ ผลิตได้ง่ายขึ้นและพัฒนาลวดลายให้ทันสมัย ส่วนผู้ผลิตผ้าไหมบ้านนาโพธิ์ จ. บุรีรัมย์ ก็มีการปรับตัวผลิตผ้าไหมเพื่อสร้างรายได้มาหล่อเลี้ยงช่างฝีมือ ได้เป็นจํานวนมาก ด้วยการใช้วธิ ลี ดต้นทุนทีม่ ปี ระสิทธิภาพ โดยนำ�เศษไหม ทีถ่ กู ทิง้ ในกระบวนการผลิตแบบเดิม มาผลิตเป็นผ้าทีม่ ลี กั ษณะการใช้งานที่ หลากหลายมากขึน้ นอกเหนือจากการเป็นผ้านุง่ จนขยายตลาดในกลุม่ ลูกค้า ใหม่ๆ ได้ดี

นอกจากผ้าไหมแล้ว อีกหนึง่ ภูมปิ ญั ญาทีไ่ ด้รบั การพัฒนาอย่างต่อเนือ่ ง ก็คอื “ผ้าย้อมคราม” ของดี จ. สกลนคร เช่น ผ้าย้อมครามของแม่ฑตี า ผูเ้ ข้าใจ บริบทของงานช่างฝีมือและความต้องการของตลาดเป็นอย่างดี ทําให้ผ้า ย้อมครามของไทยดํารงอยูไ่ ด้ในตลาดโลก หรือผูป้ ระกอบการครามสกล ผูแ้ ตก องค์ประกอบของการผลิตผ้าครามในเชิงวิทยาศาสตร์ ทําให้ผลิตได้ในแบบ อุตสาหกรรม และยังปรับใช้ครามกับเทคนิคสมัยใหม่ได้หลากหลาย ส่วน Mann Craft ก็เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่น่าสนใจในการพัฒนาการย้อมคราม ด้วยการเพียรทดลองแปรสภาพครามในรูปแบบต่างๆ ให้เป็นหมึกคราม และ ครามผง เพื่อให้ครามใช้งานได้บนวัสดุที่หลากหลายและใช้งานได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ ผู้ประกอบการจำ�นวนไม่น้อยยังได้หยิบเอาวัสดุธรรมชาติ จากท้องถิ่นมาผสานกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ สร้างเป็นผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ มากมาย เช่น ผูผ้ ลิตภิญโญวาณิช จ. นครราชสีมา ที่นํากาบหมากมาอัดขึ้นรูป เป็นภาชนะสําหรับใช้แล้วทิ้งซึ่งตอบโจทย์ด้านสิ่งแวดล้อม หรือไทเมืองเพีย จ. ขอนแก่น ที่มุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์จากใยบวบให้มีการใช้งานที่น่าสนใจ สำ�หรับผู้บริโภคยุคปัจจุบันมากยิ่งขึ้น ผูท้ ี่สนใจสามารถชมตัวอย่างวัสดุเด่นของภาคอีสานเพิม่ เติมได้ที่ ISAN Material Innovation Center ศูนย์กลางที่รวบรวมนวัตกรรมวัสดุท้องถิ่นของอีสาน นำ�มาจัดแสดงในรูปแบบที่ทันสมัย ง่ายต่อการใช้งานเชิงพาณิชย์ พร้อมทั้ง ดำ�เนินการสร้างและพัฒนามาตรฐานสินค้า ตรวจสอบคุณสมบัติทางวัสดุ ศาสตร์ เพื่อยกระดับวัสดุท้องถิ่นอีสานให้สามารถผลิตและนำ�ไปใช้ในระดับ อุตสาหกรรมและการส่งออก ตั้งแต่ผ้าทอ เส้นใยธรรมชาติ เครื่องจักสาน เครื่องปั้นดินเผา หินทรายขัด และเครื่องเงิน ทองเหลือง ทีต่ งั้ : ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ ขอนแก่น 123 ถนนมิตรภาพ ตำ�บลในเมือง อำ�เภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40002 (เปิดให้บริการเร็วๆ นี้) Facebook: TCDC Khon Kaen

CREATIVE THAILAND I 10


พบกับนิตยสาร “คิด” Creative Thailand ได้ที่ ร้านหนังสือ ห้องสมุด สมาคม อาคารสำ�นักงาน และร้านกาแฟใกล้บ้าน ในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ หัวหิน และจังหวัดอื่นๆ รวมถึง miniTCDC

หมดปญหาหยิบนิตยสารไมทัน สมัครสมาชิกรายป คาใชจายในการจัดสง 200 บาท (12 เลม)

ดูสถานที่จัดวางทั้งหมดได้ที่: www.tcdc.or.th/creativethailand/magazine/place

หรือสมัครออนไลนไดที่ tcdc.or.th/creative_thailand

กรุงเทพฯ ร้านหนังสือ • Asia Books • Kinokuniya • B2S • แพร่พิทยา

• MAIIAM Contemporary Art Museum • ชีวิต ชีวา • Minimeal Cafe • Impresso • Restr8to • Penguin Villa (Penguin Getto) ร้านกาแฟ/ร้านอาหาร • กาแฟอาข่า อ่ามา • Au Bon Pain La Fattoria สาขา2 • Starbucks • TOM N TOM’S COFFEE • Happy Hut ถ.นิมมานฯ • True Coffee • ราชดำ�เนิน • Auntie Anne’s • Mai Bakery In Garden • Baskin Robbins • Starbucks The Plaza • Coffee World • Yesterday Hotel • Mister Donut • October • Black Canyon • สุรยิ นั จันทรา นิมมานฯ ซอย 1 • McCafe’ • ร้านมีชามีชัย (กู) • ดอยตุง • Cafe’de nimman • Ninety four coffee • The Booksmith • Puff & Pie • ร้านชา (Drink Club) • Red Mango • Cotto Studio • Iberry • Starbucks Nimmanhemin • Greyhound Cafe’ • Fern Forest Cafe’ • Amazon Cafe’ • 9th Street Cafe • Chester’s Grill นิมมานฯ ซอย 9 • Luv minibar • ดวงกมล (Duang Kamol) • Rustic & Blue - Handgrown พิพิธภัณฑ์/หอศิลป์ • Produce & Artisan Food • หอศิลปวัฒนธรรม นิมมานฯ ซอย 9 แห่งกรุงเทพมหานคร • หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม • มิวเซียม สยาม • อุทยานการเรียนรู้ (TK park) มช. • นำ�ทอง แกลเลอรี่ หัวหิน • ร้านกาแฟ ชุบชีวา หัวหิน สมาคม/ห้องสมุด • อยู่เย็น หัวหิน บัลโคนี่ • ศูนย์ศิลปะนานาชาติ • บ้านใกล้วัง สมาคมฝรั่งเศส • ภัตตาคารมีกรุณา • ห้องสมุดเนลสัน เฮลส์ The Neilson Hays Library • บ้านถั่วเย็น @ แนบเคหาสน์ • ร้านอาหารหัวหิน (โกทิ) • ห้องสมุด - นิด้า • กาแฟข้างบ้าน • สมาคมโฆษณา • IL GELATO ITALIANO แห่งประเทศไทย • Together Bakery & Cafe’ • สมาคมธนาคารไทย • โรงแรม วรบุระหัวหิน • สมาคมสโมสรนักลงทุน • Let’s Sea • ห้องสมุด สสวท. • โรมแรม ดูน หัวหิน • สมาคมหอการค้าไทย • เดอะร็อค หัวหิน • สถาบัน • บ้านจันทร์ฉาย • Wall Street Institute • หัวหิน มันตรา รีสอร์ท • Raffle Design Institute • ลูน่าฮัท รีสอร์ท • Vision Swimming Academy กระบี่ • Nakamanda Resort & Spa เชียงใหม่ • Rawee Warin Resort & Spa • woo cefe • A little Handmade Shop • Kagee • Ristresto lab • ท่าแพอีสต์+ dibdee.binder ขอนแก่น • Hug School • C.A.M.P ,MAYA • True Coffee ,หอสมุด มช. of Creative Arts • ร้านสืบสาน • Punspace, นิมมานฯ • ร้านกาแฟ คอฟฟี่ เด้อ หล่า • asama cafe • มาหาสมุด (บ้านข้างวัด) (Coffee Der La) • see scape gallery เชียงราย • nimmanian club • ร้านหนังสือ herebookafe • 8 days a week • ร้าน Coffee Dad • Bulbul book cafe’ • Graph cafe’ นครราชสีมา • Cefe de museum • Hug station resort • local cafe Think park • Librarista นครปฐม • Artisan วัวลาย • ร้าน Dipchoc Cafe • paper spoon • กาแฟรสนิยม, นครสวรรค์ หลัง มช ทางขึ้นกาแล • The barn : Eatery Design • ร้าน Bitter Sweet • Book Republic น่าน • wake up หน้ามอ • ร้าน Runway Coffee • Fab cafe’ • kum cafe คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ • ร้านคลาสสิค โมเดล น่าน

• ร้านกาแฟปากซอย • ร้าน Nan Coffee Bean ปาย/แม่ฮ่องสอน • ร้านคอฟฟี่อินเลิฟ • ร้าน all about coffee • ร้านปายหวานบ้านนมสด • ร้านเล็กเล็ก • ปายวิมานรีสอร์ท พังงา • Niramaya Villa and Willness Resort • Ranyatavi Resort Phang Nga • The Sarojin เพชรบุรี • Grand Pacific Sovereign • Resort & Spa • DevaSom Hua Hin Resort ภูเก็ต • ร้านหนัง(สือ) ๒๕๒๑ ภูเก็ต • The oddy Apartment & Hotel • At Panta Phuket • Banyan Tree Phuket • Le Meridien Phuket • Millienium Ressort Patong Phuket • Novotel Phuket Resort • Patong Paragon Resort & Spa Phuket • Sheraton grand Lagana Phuket • Sri wanwa Phuket Villa • Thanyapura ระยอง • Le Vimarn Cottage ลำ�ปาง • อาลัมภางค์ เกสท์เฮ้าส์ แอนด์ มอร์ ลำ�ปาง • ร้านเอกาลิเต้ Egalite Bookshop • Lampang Art Center เลย • บ้านชานเคียง • มาเลยเด้ เกสต์เฮาท์ ลพบุรี • ซนดิคอฟฟี่ สมุทรสงคราม/อัมพวา • Baan Amphawa Resort and Spa สุโขทัย • Ananda Co.,Ltd. สุราษฎร์ธานี • Muang Samui Spa Resort • Pavilion Samui Boutique Resort • The Sunset Beach Resort and Spa Taling ngam • Nora Beach Resort Samui อุทัยธานี • ร้านบุ๊คโทเปีย Booktopia • Avatar Miracles

ขอมูลผูสมัครสมาชิก สมาชิกใหม ชื่อ นามสกุล เพศ โทรศัพท

สมาชิกเกา (ตองการตออายุสมาชิก) หญิง อายุ

ชาย

อีเมล

โทรศัพทมือถือ

อาชีพ นักเรียน ครู/อาจารย

นิสิต/นักศึกษา พนักงานบริษัท

นักออกแบบ/ครีเอทีฟ ผูประกอบการ

อาชีพอิสระ อื่นๆ โปรดระบุ

ขาราชการ/รัฐวิสาหกิจ

สาขา/อุตสาหกรรมที่เกี่ยวของกับอาชีพของทาน โฆษณา สถาปตยกรรม แฟชั่น ศิลปะการแสดง ดนตรี ภาพยนตร โทรทัศน/วิทยุการกระจายเสียง

ทองเที่ยว/โรงแรม/สายการบิน วรรณกรรม/การพิมพ/สื่อสิ่งพิมพ พิพิธภัณฑ/หองแสดงงาน ซอฟตแวร/แอนิเมชัน/วิดีโอเกม

หัตถกรรม/งานฝมือ การเงิน/ธนาคาร ทัศนศิลป/การถายภาพ อื่นๆ โปรดระบุ

อาหาร การแพทย การออกแบบ

คาปลีก/คาสง โทรคมนาคม

ที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ จังหวัด

ซอย

ถนน รหัสไปรษณีย

หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง

อำเภอ/เขต

หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง

อำเภอ/เขต

ที่อยูในการออกใบเสร็จ เหมือนที่อยูในการจัดสง เลขประจําตัวผูเสียภาษี เพื่อออกใบเสร็จรับเงิน หมูบาน/บริษัท เลขที่ ซอย ถนน จังหวัด รหัสไปรษณีย

ตองการสมัครสมาชิกนิตยสาร Creative Thailand ระยะเวลา 1 ป จำนวน 12 เลม เริ่มตั้งแตฉบับเดือน โดยยินดีเสียคาใชจายในการจัดสงเปนจำนวนเงิน 200 บาท

วิธีการชำระเงิน เช็คสั่งจายศูนยสรางสรรคงานออกแบบ พรอมใบสมัครสมาชิก โอนเงินเขาบัญชีออมทรัพย ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ เลขที่บัญชี 101-808967-0 ธนาคารกรุงเทพ สาขาสำนักงานใหญสีลม • แฟกซใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่ 02-105-7450 • หรือสงไปรษณียมาที่ ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (Creative Thailand) อาคารไปรษณียกลาง 1160 ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10501 • หรือแนบไฟลใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่อีเมล creativethailand@tcdc.or.th สอบถามขอมูลเพิ่มเติมไดที่ 02-105-7400 ตอ 122


Local Wisdom : ภูมิความคิด

เรื่อง: ปิยะพร สวัสดิ์สิงห์ ภาพประกอบ: กูลชัญญา วีนะกุล

ลืมภาพจำ�เก่าๆ ของอีสานที่แห้งแล้งไปได้เลย เพราะอีสานบ้านเฮาในวันนี้มีผลผลิตใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย และไม่มีอะไรที่เป็น ไปไม่ได้อีกต่อไป เพราะคนอีสานมีทักษะอันทรงคุณค่าที่สืบต่อมาจากปู่ย่าตายาย เมื่อบวกกับความช่างคิด และความ สร้างสรรค์ของคนรุน่ ลูกรุน่ หลานยุคใหม่ ทีน่ �ำ เอาสินทรัพย์ดๆี จากบ้านเกิดมาใช้ ก็ท�ำ ให้ภาพของโปรดักส์แบบเมดอินอีสาน วันนี้ เปลี่ยนเป็นสีสันที่สดใส สนุกสนาน และแปลกใหม่อย่างที่หลายคนอาจนึกไม่ถึงมาก่อน

กาแฟดริปหวดของ The Goose Café & Hostel จ. อุบลราชธานี เครื่ อ งดริ ป กาแฟของที่ นี่ ผ สมผสานระหว่ า ง วัตถุดิบพื้นถิ่นกับวัฒนธรรมการดื่มกาแฟของ เหล่าฮิปสเตอร์สมัยใหม่ไว้อย่างลงตัว ด้วยกิมมิก น่ารักเล็กๆ น้อยๆ ที่หยิบเอาหวดนึ่งข้าวเหนียว มาเป็นตัวแทนสื่อสารวัฒนธรรมอีสาน โดยให้ วัฒนธรรมการดืม่ กาแฟขับเคลือ่ น ปรับขนาดของ หวดให้เล็กลง และเปลี่ยนรูปแบบการใช้งานมา

เป็นที่ดริปกาแฟหน้าตาพิเศษกว่าที่ไหนๆ กลาย เป็นเอกลักษณ์ใหม่ซงึ่ เข้ากันได้เป็นอย่างดีกบั คน ท้ อ งถิ่ น และสร้ า งความประทั บ ใจต่ อ แขกผู้ มาเยือน ซึ่งนอกเหนือไปจากคาเฟ่และโฮสเทลที่ เสิร์ฟกาแฟดริปหวดนี้แล้ว ที่นี่ก็กำ�ลังจะต่อยอด ไปสู่การทำ�ฟาร์มสเตย์ที่เปิดให้ผู้สนใจได้พักพิง กับธรรมชาติอย่างใกล้ชิดอีกด้วย

Facebook: thegoosecafeubon

นวยนาดผลิตภัณฑ์ดูแลผิวจากวัตถุดิบธรรมชาติ แห่งหมู่บ้านซับศรีจันทร์ จ. นครราชสีมา นํา้ ฝนที่ตกจากฟ้ากับนํา้ ซับที่เป็นแหล่งนํา้ สะอาด ผุดขึ้นมาจากพื้นผิวดิน คือวัตถุดิบตั้งต้นของ ผลิ ต ภั ณ ฑ์ น วยนาด ซึ่ ง คุ ณ ปุ้ ม นั น ท์ พั ท ธ์ พูลสวัสดิ์ เจ้าของแบรนด์ตั้งใจที่จะทำ�ผลิตภัณฑ์ ที่ใส่ใจเรื่องผิวพรรณแบบไม่มีสารเคมี และมี ส่วนประกอบหลัก 90% มาจากธรรมชาติ รวมถึง เป็นของที่หาได้ในภาคอีสานเพื่อสนับสนุนคุณค่า ของวัตถุดิบพื้นถิ่น ไม่ว่าจะเป็นสบู่จากเหล้าอุ Facebook: nuaynardhandcraft

CREATIVE THAILAND I 12

หมักข้าวกล้องของนครพนม สบูจ่ ากไวน์หมากเม่า และสบูค่ รามจากสกลนคร นํา้ อบกลิน่ ชืน่ จิต-ชืน่ ใจ จากนํ้ า ฝนธรรมชาติ ข องหมู่ บ้ า นซั บ ศรี จั น ทร์ นครราชสีมา อีกทั้งตลอดกระบวนการผลิตของ นวยนาดก็ต้องไม่ก่อให้เกิดมลพิษ ผลิตภัณฑ์ ทุกชิน้ ของแบรนด์ยงั ค่อยๆ ทำ�ขึน้ ด้วยมือ หีบห่อ ถูกออกแบบอย่างประณีตใส่ใจ สมเป็นสกินแคร์ อีสานที่อีโคอย่างลงตัวไปพร้อมกัน


นาถุง การทดลองทำ�นาแบบใหม่ของกลุ่มเกษตรกร จ. สุรินทร์ จากการทดลองกว่า 3 ปีทลี่ องผิดลองถูกของกลุม่ เกษตรกร วัน วัน วัน จ. สุรินทร์ ซึ่งเคยทดลอง ปลูกข้าวลงในกระแป๋ง ถังน้�ำ บ่อปูน หรือภาชนะ ที่เลิกใช้แล้ว จนในที่สุด นาถุงก็เป็นนวัตกรรม การปลูกข้าวรูปแบบใหม่ที่ขั้นตอนไม่ยุ่งยากและ ได้ผลลัพธ์ดีที่สุด ใช้ต้นทุนน้อยให้ผลผลิตสูง แถมยังใช้พื้นที่เพาะปลูกน้อย ปลูกตรงไหนก็ได้ ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวก็น้อยกว่าเมื่อเทียบกับพื้นที่นา เท่ากัน ไม่มีปัญหาพันธุ์ข้าวปลอมปน และเป็น

ข้าวอินทรีย์ 100% ขั้นตอนการปลูกก็เพียงใส่ดิน ลงไปในถุงดำ� จากนั้นใส่ดินที่มีสารอาหารจาก ธรรมชาติ ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ที่ทางกลุ่มเกษตรกร ทำ�ขึ้นเอง หยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวถุงละ 3 เมล็ด (ใช้พนั ธุข์ า้ วหอมมะลิ 105) เมือ่ เมล็ดงอกจึงรดนํา้ ระยะเวลาเก็บเกี่ยวคือ 4 เดือน เหมาะสำ�หรับผู้ ที่มีพื้นที่น้อยและต้องการพิสูจน์ความสำ�เร็จของ นวัตกรรมที่เรียบง่ายแต่น่าทึ่ง

ปลูกทุเรียนในดินภูเขาไฟ ของดีไม่มีใครเหมือน จ. ศรีสะเกษ แทบไม่น่าเชื่อว่าดินจากภูเขาไฟเก่าทำ�ให้พื้นที่ ของภาคอีสานอย่างศรีสะเกษปลูกทุเรียนได้ผลดี อากาศแห้งแบบทีร่ าบสูง ฝนทีต่ กไม่ชกุ ชุม ทำ�ให้ รสชาติและคุณลักษณะของทุเรียนที่นี่แตกต่าง จากทีอ่ น่ื ๆ ทีน่ ยิ มปลูก ทุเรียนภูเขาไฟมีเปลือกบาง เนือ้ ทุเรียนมีความกรอบนอก เมือ่ กัดเข้าไปข้างใน

กลับมีความนุม่ อีกทัง้ กลิน่ ไม่แรงจนเกินไป พืน้ ที่ ในการปลู ก ทุ เ รี ย นของศรี ส ะเกษนี้ มี ม ากถึ ง 5,000 ไร่ และมีผลผลิตเป็นทุเรียนถึง 1,200,000 ลูก หากใครอยากลิ้มลองทุเรียนภูเขาไฟที่ไม่เหมือน ใคร ก็สามารถไปเสาะหาพันธุแ์ ท้กนิ กันได้ไม่ใกล้ ไม่ไกลที่ศรีสะเกษ

แมนคราฟต์ แบรนด์ย้อมครามที่ไปไกลกว่าแค่สีย้อม จ. สกลนคร ความเข้าใจในภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างลึกซึ้งของ คุณแมน ปราชญ์ นิยมค้า ทำ�ให้การประยุกต์ ผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากผ้าครามถูกออกแบบให้ แปลกใหม่แตกต่างไปจากรูปแบบเดิม ทั้งผ้า ย้อมครามที่ทำ�ให้เป็นสีสันพาสเทลที่หวานชวน ฝันสำ�หรับใช้งานในหลากหลายโอกาสมากขึ้น ไม่ เ ฉพาะแค่ ผ้ า ทอผื น สำ � หรั บ นุ่ ง ห่ ม แต่ ยั ง มี Facebook: Mann craft shop

MEKONG Fisherman Lamp โคมไฟจากแรงบันดาลใจวิถีชีวิตลุ่มนํ้าโขง โคมไฟจากแรงบันดาลใจของวิถชี วี ติ ลุม่ แม่นาํ้ โขง โดยแบรนด์ If I were a carpenter ซึ่งมีคุณน็อต วชิร ทองหล่อ ผู้เป็นทั้งนักออกแบบและเจ้าของ แบรนด์ ไม่เพียงเกิดจากการมองเห็นคุณค่าในวิถี ชีวติ ติดลุม่ นาํ้ ของชาวอีสานเท่านัน้ แต่ยงั สะท้อน เรื่องราวนั้นผ่ านการนำ�วัสดุพ้นื ถิ่นอย่างไม้เก่าที่ ได้จากการรือ้ ถอนบ้านในภาคอีสานมาปรับใช้เป็น

วัสดุตั้งต้นของชิ้นงาน ทำ�ให้ความสนุกของการ ทำ�งานไม้น้ี คือการได้เดินทางไปเลือกซื้อไม้เก่า ยังพื้นที่ตา่ งๆ และความท้าทายในการออกแบบ ผลิตภัณฑ์ให้สามารถโชว์ลายไม้ทส่ี วยงามดัง้ เดิม ได้มากทีส่ ดุ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จึงไม่ได้ให้ความงาม แบบเรียบง่ายร่วมสมัย แต่ยังเต็มด้วยกลิ่นอาย ของความเป็นท้องถิ่นอีสานอย่างแท้จริง

Facebook: nuaynardhandcraft ที่มา: นิทรรศการ “LOOK ISAN NOW : ลูกอีสานวันนี้” ณ TCDC ขอนแก่น ถ. กัลปพฤกษ์ ย่านกังสดาล CREATIVE THAILAND I 13

ผลิตภัณฑ์อื่นๆ อีกมากมาย ทั้งโคมไฟ กระเป๋า หมอนอิง หรือกระทัง่ กระดาษย้อมคราม ทีส่ �ำ คัญ ถึงผลิตภัณฑ์ของที่นี่จะมีสีที่แปลกตากว่าคราม ท้องถิ่น แต่ทุกสีสันก็ไม่ได้เกิดจากสารเคมีแต่ อย่างใด หากเป็นสีสนั จากธรรมชาติและความคิด สร้ า งสรรค์ ล้ ว นๆ ไม่ ใ ช่ แ ค่ ผ ลิ ต ภั ณ ฑ์ ผ้ า ผื น ธรรมดา


Cover Story : เรื่องจากปก

เรื่อง: จิราภรณ์ วิหวา

CREATIVE THAILAND I 14


เปล่า...เราไม่ได้พูดถึงการกลับบ้านช่วงเทศกาลวันหยุดยาว ที่ถนนมิตรภาพแน่นขนัดไปด้วยเหล่าลูกอีสานที่ละทิ้งเมืองกรุง กลับไปซบอกบ้านเกิดชั่วคราว (ก่อนจะเดินทางกลับมาทำ�งานในกรุงเทพฯ อีกครั้งเป็นวงจรประจำ�ปี) แต่เรากำ�ลังพูดถึงคน อีสานรุ่นใหม่ที่เปลี่ยนตัวเองจาก Provider ในตลาดแรงงานโลก เป็น Creator ที่ลุกขึ้นมาสร้างสรรค์และขับเคลื่อนกิจการ ของตัวเอง บนฐานที่มั่น ณ บ้านเกิดเมืองนอน และสิ่งที่น่าสนใจจนต้องหยิบเรื่อง ‘กลับบ้าน’ มาพูดกันยาวๆ ก็เพราะยิ่งนับวันการกลับบ้าน ของเหล่ า ลู ก อี ส านทั้ง หลาย กำ � ลั ง กลายเป็ น กระแสที่สร้างแรงกระเพื่อมน่าสนใจ ทั้งความ โดดเด่นของการสร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ที่ ส ร้ า งสรรค์ การผสมผสานทั ก ษะเก่ า และ เทคโนโลยีใหม่ที่น่าจับตา ไปจนถึงการสร้างผล กระทบเชิงบวก พลิกอีสานให้คึกคักและเป็น ภูมิภาคที่เนื้อหอมที่สุดในตอนนี้ Look Isan Now! บนแผ่นดินทีร่ าบสูงที่ใครๆ ก็มองว่าแห้งแล้ง และไร้ซึ่งโอกาส มาดูกันชัดๆ ว่าเหล่าลูกอีสาน กำ�ลังสร้างโอกาสและการเปลี่ยนแปลงใดบนผืน แผ่นดินนี้

เพราะไม่มี จึงมีโอกาส

“อีสาน บ่มีหยังจั๊กอย่าง” ในอดีต ‘ความไม่มีอะไรสักอย่าง’ ผลักให้ คนอี ส านในพื้ น ที่ ต้ อ งออกไปแสวงหาโอกาส นอกบ้าน ทัง้ ในฐานะผูร้ บั จ้างทีเ่ ป็นฟันเฟืองเล็กๆ ในตลาดแรงงานหลากหลายวงการ และนักเรียน นักศึกษาที่ออกไปหาความรู้ตามระบบและขนบ ที่กระจุกอยู่ในส่วนกลาง คำ�ว่า “เรียนแถวบ้าน จะไปสูใ้ ครเขาได้” “ดักดานอยูบ่ า้ นก็ไม่มงี านดีๆ ให้ท�ำ ” หรือ “หาโอกาสออกไปได้ดบิ ได้ดแี ล้วค่อย กลับมา” คือสิง่ ทีเ่ ราได้ยนิ ได้ฟงั กันจนชินชา และ กลายเป็น ‘ค่ากลาง’ ที่ทุกคนเห็นพ้องต้องกัน แต่การออกไปเห็นโลกกว้าง ทำ�ให้ลูกอีสาน จำ�นวนไม่น้อยได้รู้ว่า บ้านของเขามีเอกลักษณ์ เฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใคร ยิ่งเมื่อโลกปัจจุบัน

กำ�ลังหมุนเข้าสู่การเปลี่ยนแปลง ภูมิภาคที่เคย มองว่ า แล้ ง ไร้ กำ � ลั ง พั ฒ นาอย่ า งก้ า วกระโดด นโยบายรัฐที่เอื้อต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และเศรษฐกิจระหว่างประเทศ สังคมเมืองที่ ขยายตัว เทคโนโลยีการสื่อสารที่ว่องไว และ การคมนาคมขนส่งทีก่ �ำ ลังจะเชือ่ มโลกไว้ดว้ ยกัน ทำ�ให้ผู้คนมีอิสระในการดำ�เนินชีวิตและมีความ ต้องการที่ซับซ้อนขึ้นกว่าที่เคย อะไรที่อีสาน ไม่เคยมีและยังไม่มีใครมาตอบความต้องการ จึงกลายเป็นโอกาสให้เหล่าลูกอีสานที่มองเห็น ช่ อ งว่ า งนี้ กลั บมาสร้ า งสรรค์ ผ ลิ ต ภั ณ ฑ์ แ ละ บริการที่ตอบโจทย์คนอีสานได้ถูกทุกข้อ เพราะ คนบ้านเดียวกันย่อมเข้าใจนิสัยใจคอและความ ต้องการได้ดกี ว่าคนต่างถิน่ จากส่วนกลางแน่นอน ไม่ เ ฉพาะหมู่ เ ฮาชาวอี ส านด้ ว ยกั น ช่ อ งว่ า ง เดียวกันนี้ยังตอบความต้องการที่กว้างออกไป ทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ เพราะเทรนด์ โลกกำ�ลังหมุนมาตกที่อีสานแบบเต็มๆ ไม่ว่าจะ เรื่องสุขภาพที่คนเริ่มให้ความสำ�คัญกับวิถีกินอยู่ ทีเ่ ป็นธรรมชาติ การเลือกบริโภคตามฤดูกาล และ อาหารปลอดสารเคมี ซึง่ เป็นสิง่ ทีอ่ ยูใ่ นภูมปิ ญั ญา และวิถีชีวิตดั้งเดิม เรื่องแฟชั่น-ไลฟ์สไตล์ ที่งาน ฝีมอื พืน้ ถิน่ กลายเป็นสิง่ หรูหรา ไม่ใช่ความเชยเฉิม่ เหมือนเก่า เลยรวมไปถึงงานศิลปะหลายแขนงที่ มีอาวุธเด็ดเป็นเสน่ห์กลิ่นอีสาน ก็ถูกจัดอยู่ใน หมวด Exotic Chic แทนที่จะเป็นความเสี่ยวที่ เคยถูกล้อเลียน ความเป็นไปได้ใหม่ๆ มากมายนี้ ยืนยันว่า บนแผ่นดินอีสาน “บ่มีอิหยังเป็นไปบ่ได้”

CREATIVE THAILAND I 15


เฮ็ดคือเก่า แต่บ่คือเก่า

อี ส านคื อ ดิ น แดนที่ รุ่ ม รวยไปด้ ว ยทรั พ ยากร ลํ้าค่า วัฒนธรรมพื้นถิ่น และทักษะดั้งเดิมที่ สืบทอดมาจากบรรพบุรษุ เราคุน้ เคยกับข้าวหอม มะลิจากทุ่งกุลาร้องไห้ ผ้าไหมมัดหมี่มากฝีมือ ไก่ยา่ งเขาสวนกวางในตำ�นาน และของดีของเด่น ประจำ�ถิ่นมากมาย แต่แน่นอนว่า ความคุ้นเคย ย่อมกลายเป็นความธรรมดา ไม่ชวนให้ตื่นเต้น ตื่นตาเหมือนเก่า ลูกอีสานวันนี้จึงหยิบเครื่องมือ ชือ่ ความสร้างสรรค์มาเติมมูลค่าและคุณค่าให้กบั สิง่ เก่าๆ อย่างเข้าใจในแก่นทีแ่ ท้จริง...ผลลัพธ์ทไ่ี ด้ จึงไปได้ไกลกว่าเงาตัวเอง กลุ่มข้าวหอมดอกฮัง สกลนคร ผืนแผ่นดินทีแ่ ล้งทีส่ ดุ ย่อมให้ขา้ วทีห่ อมอร่อยทีส่ ดุ ชาวนากลุ่มนี้จึงรวมตัวกันปลูกข้าวปีละครั้งตาม วิถีเดิม และใช้แนวคิดป่าโคกล้อมนาเพื่อป้องกัน สารเคมี รวมไปถึงการเก็บรักษาและปลูกข้าว อีสานพันธุ์พื้นเมืองที่กำ�ลังค่อยๆ หายไปได้กว่า ร้อยสายพันธุ์ เสิร์ฟความหลากหลายและยั่งยืน ให้คนที่เห็นคุณค่าของข้าวไทย และคนสนใจ สุขภาพที่มองหาข้าวปลอดเคมีและมีคุณค่าทาง อาหารสูงกว่าข้าวพันธุ์ฮิตในท้องตลาด

facebook.com/Homdokhung

ไก่ย่าง KKU1 ตำ�ราเรียนบอกเราว่าการทำ�ปศุสตั ว์คอื อาชีพหลัก ของชาวอีสาน แต่ลูกอีสานยุคใหม่บอกเราว่า นอกจากโคขุนโพนยางคำ� และโคราชวากิวเกรด

การดำ�นาแปลงอนุรักษ์ฟื้นฟูพันธุ์ข้าว

พรีเมียม ยังมีผลงานวิจยั ของโครงการไก่พนื้ เมือง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ ปรับปรุงพันธุ์ลูกผสมไก่พื้นเมือง ไก่ KKU1 หรือ ไข่มุกอิสาน 2 ให้มียูริกตํ่า ไขมันน้อย เนื้อ เหนียวนุ่ม เลี้ยงง่าย ตอบโจทย์ทั้งเรื่องสุขภาพ และความอร่อย ทั้งยังทำ�ตลาดไก่ย่างพร้อมอิ่ม ต่อยอดตำ�นานไก่ยา่ งเขาสวนกวางอีกทางหนึง่ ด้วย บ้านคำ�ปุน อุบลราชธานี บ้านที่กลายเป็นแบรนด์จากการสืบทอดทักษะ ทอผ้าไหมจากบรรพบุรุษ ด้วยการใช้เครื่องไม้ เครื่องมือและกระบวนการแบบดั้งเดิม แต่เพิ่ม เทคนิคการทอให้ซับซ้อนขึ้น ทั้งมัดหมี่ ขิด จก ล้วง เกาะ มับไม ยกดิ้นเงินดิ้นทอง ไปจนถึงการ ร้อยลูกปัด ที่แม้ราคาจะสูงถึงเลข 6 หลักต่อหลา ก็ยังมีคนขอซื้อ! กลุ่มทอผ้าไหมมัดหมี่บ้านหัวฝาย ขอนแก่น การรวมกลุ่มกันของชาวบ้านที่สืบทอดการทอ ผ้าไหมจากปู่ย่าตาทวด และเป็นแหล่งผลิตครบ วงจรตั้งแต่ต้นนํ้าอย่างการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จนถึงการจัดจำ�หน่าย จนเมื่อทางกลุ่มได้ร่วมกับ มหาวิ ท ยาลั ย ขอนแก่ น พั ฒ นานวั ต กรรม ‘ไหมแต้มหมี่’ โดยใช้การแต้มสีแทนการมัดย้อม ทีละสีแบบเดิมๆ ทำ�ให้ได้ลายผ้าที่แปลกใหม่ CREATIVE THAILAND I 16

ผ้าไหมมัดหมี่บ้านหัวฝาย

มีความเป็นกราฟิกร่วมสมัย และไม่ซํ้ากันเลย แม้แต่ผืนเดียว ทั้งยังลดเวลาการทอให้สั้นลง ราคาถู ก ลง จึ ง สามารถจำ � หน่ า ยได้ ม ากขึ้ น โดยเฉพาะในต่างประเทศ


คึดเล็น เห็นต่าง

คนอีสานมีทรัพย์อยู่ในดิน สินอยู่ในวิถีชีวิต แม้ คนภายนอกจะมองว่าแร้นแค้นขาดแคลน แต่ ภูมปิ ญั ญาทีส่ อดแทรกอยูใ่ นวิถชี วี ติ สอนลูกอีสาน ให้หาอยู่หากินอย่างชาญฉลาด แต่ ยุ ค สมั ย และสั ง คมที่ เ ปลี่ ย นแปลงไป อาจทำ�ให้หลายคนหลงลืม มองข้าม หรือยํ่าซํ้า จนเหือดหาย การจะกลับมาเป็นผู้รํ่ารวยด้วย ทรัพยากรและวิถีของตัวเองได้อีกครั้ง จึงต้อง อาศัยการ ‘เล็น’ หรือ ‘บิด’ ทรัพย์สนิ นัน้ ให้กลาย เป็นทุนที่แตกต่าง แล้วสร้างมุมมองที่เปลี่ยนไป จากเดิมให้กับผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ที่ ตอบได้ทั้งเทรนด์และเม็ดเงิน ทรัพย์ในดิน สินในนํ้า ดินเหนียวสีแดงที่เกิดจากการทับถมผุพังของ หินบะซอลต์จากภูเขาไฟโบราณ บวกกับความ แห้งของดินแดนทีร่ าบสูงทีม่ ฝี นน้อย ทำ�ให้การนำ� ทุเรียนหมอนทองมาปลูกในพืน้ ทีจ่ งั หวัดศรีสะเกษ ให้รสชาติทเี่ ป็นเอกลักษณ์ กรอบนอก นุม่ ใน กลิน่ ไม่ฉุน จนสามารถชูจุดขาย ทุเรียนภูเขาไฟ แห่งเดียวในโลก ส่วนนํ้าฝนจากฟ้าและนํ้าซับผุดจากใต้ดิน แห่งบ้านซับศรีจันทร์ จังหวัดนครราชสีมา คือ ส่ ว นผสมหลั ก ของแทบจะทุ ก ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ข อง นวยนาด แบรนด์สกินแคร์จากธรรมชาติทชี่ คู วาม เป็นอีสานในรูปแบบร่วมสมัย ซึ่งนอกจากส่วน ประกอบที่ เ ป็ น นํ้ า บริ สุ ท ธิ์ จ ากธรรมชาติ แ ล้ ว นวยนาดยังดึงเอาสมุนไพรและของดีท้องถิ่นที่ เข้ามาเป็นส่วนผสมเพิ่มคุณค่า อาทิ ต้นชะลูดที่ มีฤทธิ์ช่วยต้านแบคทีเรียแทนการใส่สารกันเสีย ว่านสาวหลงแก้ผดผืน่ คัน เลยรวมไปถึงใบย่านาง เหล้าอุ ไวน์หมากเม่า และคราม ทีส่ ร้างเอกลักษณ์ แบบอีสานให้กับแบรนด์ มูลค่าในท้องไร่ท้องนา เปลีย่ นท้องไร่ทอ้ งนาให้สมาร์ทขึน้ ด้วยนวัตกรรม และการต่อยอดที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการ เลิกพึ่งฟ้าพึ่งฝนด้วยนวัตกรรม นาถุง ปลูกข้าว อินทรีย์ในถุงดำ�ได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องพื้นที่ นํ้าแล้ง และสายพันธุ์ปลอมปน ทั้งยังสามารถทำ� นาได้ทุกฤดู และได้ผลผลิตต่อไร่สูงกว่านาทั่วไป 2-3 เท่า

การนำ � เทคโนโลยี ม าสร้ า งแพลตฟอร์ ม Folk Rice เพื่อเป็นสื่อกลางระหว่างผู้บริโภคที่ ต้องการข้าวคุณภาพ และชาวนาทีร่ กั ษาพันธุข์ า้ ว ท้องถิ่น และเลือกปลูกแบบปลอดเคมี ให้ซื้อขาย กันได้โดยไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง รวมไปถึ ง นั ก รั ก บี้ ที ม ชาติ แ ละลู ก ชาวนา เมืองสุรินทร์ที่ลุกขึ้นมาสร้างแบรนด์ Proengy energy bar แปรรูปข้าวและผลไม้ท้องถิ่นเป็น ธัญพืชอบกรอบแบบแท่ง ตอบความต้องการเรือ่ ง โภชนาการสำ�หรับนักกีฬาโดยเฉพาะ คุณค่าในคราม วิถีครามในการย้อมผ้าอยู่กับคนอีสานมาช้านาน แต่เมื่อเข้าใจในธรรมชาติของครามและหยิบ มาใช้อย่างร่วมสมัย คุณค่าก็ถูกส่งต่อออกไปได้ กว้างขวางขึ้น เช่น แม่ฑีตา แบรนด์ที่สืบทอด วิธีการก่อหม้อครามและการทอดั้งเดิม ที่มีวิถี สร้ า งสรรค์ ล วดลายตามจิ น ตนาการของกู รู นักทอเก่าแก่ในพื้นที่ แต่นำ�มาออกแบบตัดเย็บ เป็นเสื้อผ้าร่วมสมัย ตอบเทรนด์แฟชั่น เปลี่ยน ภาพลักษณ์จากเสื้อผ้าชาวบ้านชาวนาสู่รันเวย์ และแฟชั่นแมกกาซีน

Mann Craft CREATIVE THAILAND I 17

ครามสกล ที่มีฐานความเข้าใจคุณสมบัติ ของครามในแง่วิทยาศาสตร์ จึงพยายามเป็นสื่อ กลางพัฒนานวัตกรรมที่ช่วยส่งต่อครามเข้าสู่ อุตสาหกรรมแฟชั่นอย่างยั่งยืน ในขณะเดียวกัน ก็ออกแบบพื้นที่เรียนรู้ครามแบบครบวงจรให้กับ นักท่องเที่ยวและดีไซเนอร์ที่สนใจเข้ามาเรียนรู้ Mann Craft อีกแบรนด์ดังที่เลือกศิลปะ มาเป็นเครื่องมือในการสร้างมูลค่าเพิ่ม คิดค้น เทคนิคใหม่ๆ ที่สร้างความเป็นไปได้ให้คราม มากกว่าแค่การย้อมและทอ

นวยนาด


ราคาในความม่วน ความสนุกสนานและจริงใจเป็นอีกสินทรัพย์ทคี่ น อีสานมีตดิ ตัว Goose Hostel & Cafe อุบลราชธานี โฮลเทลและคาเฟ่ ที่ ป ระยุ ก ต์ วิ ถี แ บบอี ส านให้ คนต่างถิ่นเข้าถึง ทั้งการสื่อสารด้วยภาษาอีสาน รายละเอียดในการออกแบบตกแต่งทีห่ ยอดข้าวของ พื้นเมืองลงไปในบริบทร่วมสมัย รายละเอียด ช่างคิดอย่างกาแฟดริปหวด ไปจนถึงการเปิด สาขาเดอะกูส๊ ฟาร์มสเตย์ทผี่ เู้ ข้าพักจะได้เรียนรูว้ ถิ ี อีสานจากเวิร์กช็อปการอยู่และกินแบบท้องถิ่น แล้วแต่ กะเพราแท้ ร้านข้าวผัดกะเพรา สนุกสนานที่ลูกค้าต้องลุ้นว่าจะได้กินข้าวราด ผัดกะเพราแบบไหน และใส่มาในภาชนะอะไร ซึง่ มีตง้ั แต่ชามดินเผา หม้อหุงข้าว กะละมัง ไปจนถึง ตราชั่ง!

facebook.com/thegoosecafeubon Goose Hostel & Cafe

รวมกันเราใหญ่

นอกจากความเข้มแข็งผ่านจารีตและงานบุญ พืน้ บ้านใน ‘ฮีตสิบสองคองสิบสี’่ และการร่วมไม้ ร่วมมือเกื้อหนุนกันในโอกาสต่างๆ อย่างการ ลงแขกเกีย่ วข้าวหรือขอเรีย่ วขอแรงกันในอดีตแล้ว ลู ก อี ส านยุ ค ใหม่ ยั ง คงรวมพลั ง กั น ขั บ เคลื่ อ น สิ่งต่างๆ เหมือนเช่นเดิม เพียงแต่อยู่ในรูปแบบ และกระบวนการใหม่ๆ ผ่านเทศกาลสร้างสรรค์ แหล่งท่องเที่ยวประจำ�ปี พื้นที่แสดงออกทาง ศิลปะ ไปจนถึงการรวมตัวของกลุม่ คนที่สนใจใน สิ่งเดียวกัน มากไปกว่านัน้ หน่วยงานทัง้ ในระดับชุมชน และเมืองที่เคยถูกมองว่าอุ้ยอ้าย ขยับช้า และ ต้ อ งรอนโยบายจากส่ ว นกลางเสมอ กลั บ กระฉั บ กระเฉงและสร้ า งการเปลี่ ย นแปลง ทัง้ โครงสร้างพื้นฐานและนโยบาย โดยไม่ต้องรอ ให้ภาครัฐยื่นมือมาช่วย ซึ่งทั้งหมดนี้ ล้วนสร้าง บรรยากาศใหม่ๆ ให้ชุมชน เมือง และภูมิภาค คึกคัก (และม่วนคักคัก) อย่างมีนัยสำ�คัญ

รวมกันเราเฮ็ด Meanwhile Woodwork

สกลเฮ็ด: นอกจาก Human of Sakon กลุ่ม คนรุ่ น ใหม่ ข องเมื อ งจะรวมตั ว กั น นำ � เสนอ ภาพลักษณ์นา่ รักของสกลนครผ่านสือ่ โซเชียลมีเดีย พวกเขายังเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการจัดงานแฟร์ เก๋ ไ ก๋ ชวนนั ก สร้ า งสรรค์ ง านมื อ หลากหลาย แบรนด์ ทัง้ งานคราม งานไม้ งานเซรามิก ไปจนถึง CREATIVE THAILAND I 18

facebook.com/Columbocraftvillage

ทุนความสร้างสรรค์ อีกผลลัพธ์ของงานออกแบบสร้างสรรค์ทหี่ ยิบเอา วัฒนธรรม ความเป็นอยู่ และเรื่องราวแบบอีสาน มาเล่าใหม่ เช่น สตูดิโอ ก-ฮ ที่ออกแบบฟอนต์ สำ�เนียงอีสาน โดยหยิบเอกลักษณ์ของฮูปแต้ม ศิลปะถํ้า ลวดลายในศิลปะสมัยบ้านเชียง ซึ่งมี เฉพาะถิ่นอีสานเท่านั้นมาเป็นแรงบันดาลใจใน การออกแบบฟอนต์และกราฟิก เลยรวมไปถึงการ ทำ�งานกับชาวบ้านในฐานะวิทยากรที่มอบอาวุธ ด้านการออกแบบให้ชมุ ชนหรือกลุม่ โอท็อปต่างๆ Meanwhile Woodwork ศิลปินและช่างไม้ เมืองบุรีรัมย์ที่ให้ความสำ�คัญกับกระบวนการใน งานไม้ทำ�มือร่วมสมัยที่แสนเท่ สร้างคุณค่าให้ไม้ พื้นถิ่นในรูปแบบที่แตกต่าง อีสานกูตูร์ ผลงาน ออกแบบแฟชั่นชั้นสูงที่นำ�เทคนิคการปักลูกปัด แบบแฟชัน่ โอต์กตู รู ม์ าประยุกต์เข้ากับเทคนิคการ ทอผ้ามัดหมี่ โดยเลือกใช้ไหมอีรี่ ซึ่งเป็นไหมที่ เลีย้ งด้วยมันสำ�ปะหลัง ต่อยอดความเป็นไปได้ใน การพัฒนาไหมทางเลือกด้วยการออกแบบ

Columbo Craft Village

ของดีประจำ�จังหวัด มาออกร้านในบรรยากาศ น่ารักๆ อยู่เป็นประจำ� Columbo Craft Village: หมูบ่ า้ นคราฟท์ ขนาดจิ๋วบนถนนโคลัมโบที่เปลี่ยนป่ารกร้างใกล้ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้กลายเป็นชุมชนที่ สร้างวิถีทำ�มือยุคใหม่จนเข้มแข็ง และกลายเป็น ฮอตสปอตที่ ใ ครไปเยื อ นขอนแก่ น ต้ อ งขอไป เช็กอิน มาดี อีสาน: พืน้ ทีเ่ ล็กๆ ในอุดรธานีทที่ �ำ หน้าที่ เป็นแม่สอื่ แม่ชกั ให้ชาวอีสานทีอ่ ยากลงมือทำ�เพือ่ สังคมได้รู้จักและเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย ร่วม กันแก้ปัญหาในอีสานทั้งในรูปแบบของธุรกิจเพื่อ สังคมและผู้ประกอบการทางสังคม


facebook.com/NOIRROW Noir Row Art Space

รวมกันเราอาร์ต

Home Flick: เจ้าของสโลแกน ‘บ้านเดียวกัน ดูด้วยกัน’ กับการคัดสรรหนังกระแสรองทั้งไทย และเทศที่ไม่เข้าโรงหนังท้องถิ่นของโคราช แล้ว จัดฉายให้คนบ้านเดียวกันมาเสพศิลปะบนจอ ร่วมกันตั้งแต่ในร้านกาแฟ โรงหนังเก่า ไปจนถึง ดาดฟ้า Noir Row Art Space: พื้นที่ศิลปะแห่ง เมืองอุดรธานีที่อ่านว่านัวโรว์อาร์ตสเปซ เลือก นำ�เสนอศิลปะผ่านรสนัวแบบอีสาน เป็นทั้งพื้นที่ แสดงงานของศิลปินท้องถิน่ และเวิรก์ ช็อปศิลปะ น่าสนใจในราคาเป็นมิตร ZAAP Records & Pusch-A-Head: พืน้ ทีท่ างดนตรี ห้องสมุดเพลง ร้านขายแผ่นเสียง และแกลเลอรี ข องเมื อ งขอนแก่ น ที่ ตั้ ง เป้ า จะ ขับเคลือ่ นวงการศิลปะในขอนแก่นให้เป็นระบบขึน้

รวมกันเราเฮ

เมืองบุรีรัมย์: การเปลี่ยนแปลงเมืองครั้งใหญ่ หลังการก่อตัง้ สโมสรฟุตบอลบุรรี มั ย์ ยูไนเต็ด คือ การพลิกโฉมเศรษฐกิจให้กับเมืองด้วยการสร้าง

Event Entertainment ที่ดึงดูดคนมหาศาลเข้า มาในสนามฟุตบอลและสนามแข่งรถ moto GP เปลี่ยนเมืองทางผ่านให้กลายเป็นจุดหมายปลาย ทางด้านการกีฬา ทีไ่ ม่วา่ จะมองไปทางไหนก็เห็น แต่ความคึกคักของกองเชียร์ ที่รวมพลังกันสร้าง ความคึกคักให้กับเมือง

รวมกันเราสมาร์ท

เมืองขอนแก่น: แผนการพัฒนาเมืองในระยะ ยาวที่มีเป้าหมายในการเปลี่ยนขอนแก่นให้เป็น เมืองแห่งนวัตกรรม เกิดจากการรวมตัวและพยายาม แก้ ปัญ หาเมื อ งของกลุ่ม ธุ ร กิ จ ชั้น แนวหน้ า ใน จังหวัด และก่อตัง้ เป็น บริษทั ขอนแก่นพัฒนาเมือง จำ�กัด (KKTT) ขับเคลื่อนให้เกิดการสร้างระบบ คมนาคมและโครงสร้างพืน้ ฐาน ทัง้ รถไฟฟ้ารางเบา และสมาร์ทบัส ที่เชื่อมต่อและขนส่งอย่างเป็น ระบบ นอกจากนี้ ยังมีภาคเอกชน ทีพ่ ยายามสร้าง นิเวศสร้างสรรค์ของเมืองให้เอื้อต่อสตาร์ทอัพ หน้าใหม่ ในการพัฒนานวัตกรรมที่จะเปลี่ยน เมืองให้สมาร์ทได้ในอนาคต

CREATIVE THAILAND I 19

ฟ่าวเมือเฮือน

อ่านมาถึงบรรทัดนี้ เชื่อว่าหลายคนคงลบมายา คติเดิมๆ ที่เคยมีต่ออีสานไปได้บ้าง หรืออาจจะ อยากไปเยือนอีสานโฉมใหม่ และทำ�ความรู้จัก กับ ‘ดินแดนที่ทุกอย่างเป็นไปได้’ นี้ด้วยตัวเอง สักครั้ง แต่หากตัวหนังสือเหล่านี้จะทำ�ปฏิกิริยา กั บ ลู ก อี ส านที่ จ ากบ้ า นมา คงได้ แ ต่ บ อกว่ า “ฟ่าวเมือเฮือน!” รีบกลับบ้านเถอะ ที่มา: นิทรรศการ “Look Isan Now: ลูกอีสานวันนี”้ ณ TCDC ขอนแก่น ถ. กัลปพฤกษ์ ย่านกังสดาล


Insight : อินไซต์

เรื่อง: สลิลา มหันต์เชิดชูวงศ์

จากที่เคยเป็นตัวแทนของคนบ้านนา วันนี้ ‘อีสาน’ กลับกลายเป็นขุมพลังขนาดใหญ่ในทุกแขนงอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ การผลิดอกออกผลของวัฒนธรรมอีสาน ก่อให้เกิดการขยายตัวของกำ�ลังซื้อ กำ�ลังผลิต ความเป็นไปได้ใหม่ๆ จนพูดได้ว่า ความนิยมอีสานวันนี้คือเมนสตรีม!

Power of Majority

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือคือภูมิภาคที่มีจำ�นวน ประชากรมากที่สุดในประเทศไทย ตลาดอีสาน จึงมีมูลค่าและกำ�ลังซื้อที่สูง นี่เป็นชุดข้อมูลที่ ทุกคนรู้กันดีมาแต่ไหนแต่ไร แต่หลายสิบปีที่ ผ่านมา การเคลื่อนย้ายถิน่ ฐานของคนอีสานออกไป แสวงหาโอกาสชีวิตยังต่างถิ่น การนำ�พาตัวเอง เข้าสูส่ งั คมโลกผ่านเทคโนโลยีการสือ่ สารทีว่ อ่ งไว และการคมนาคมที่สะดวกขึ้น ทำ�ให้คำ�ว่าอีสาน ถูกนิยามใหม่ พลังของคนอีสานที่มากไปกว่าการเป็นคน หมูม่ ากของประเทศ คืออัตลักษณ์ของการเปิดรับ โอกาสใหม่ๆ ด้วยพื้นฐานของนิสัยคนอีสานที่ อ่อนโยนแต่หนักแน่น รักความรืน่ เริง ยืดหยุน่ ปรับ ตัวง่าย เปิดรับสิง่ ใหม่ได้งา่ ยโดยแทบไม่เกิดความ ขัดแย้ง คุณลักษณะของชาวอีสานดั้งเดิมจึงได้ ปรับเปลี่ยนเข้ากับสังคมโลกสมัยใหม่ เกิดความ

กลมกลืนทางเชื้อสาย ประชากร ชาติพันธุ์ และ ถิ่นที่อยู่มากขึ้น การเปลี่ยนแปลงของคนอีสานที่เนื่องไปกับ การเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกนี้เอง ทำ�ให้การ ส่งออกทางวัฒนธรรมผลิดอกออกผล กลายเป็น ความนิยมอีสานทีค่ นไทยสัมผัสได้ในชีวติ ประจำ�วัน

Isan is Everywhere

การนำ�เสนอความเป็นอีสานในสื่อกระแสหลัก อย่างละครโทรทัศน์ สะท้อนความนิยมอีสานที่ เห็นได้ชัดที่สุด ละครเรต ติ้งถล่มทลายประจำ�ปี 2559 ที่พูดอีสานทั้งเรื่องอย่าง ‘นาคี’ (จากบท ประพันธ์ของ ตรี อภิรมุ ) หยิบเอาความเชือ่ ในสิง่ เหนือธรรมชาติและเรื่องเล่าในตำ�นานของอีสาน มาเล่าใหม่ ผสมกับการใช้คอมพิวเตอร์กราฟิก สร้างภาพพญานาค ความนิยมในละครเรื่องนี้ แพร่หลายผ่านสือ่ สมัยใหม่อย่างโซเชียลเน็ตเวิรก์ CREATIVE THAILAND I 20

และการบอกต่อกันของผู้ศรัทธาอย่างรวดเร็ว ปลุ ก กระแสการบวงสรวงพญานาคขึ้ น ในทุ ก จังหวัดริมแม่นํ้าโขง ส่งผลถึงความนิยมและ ศรัทธาในการบูชาพญาศรีสุทโธนาคในตำ�นาน ของเกาะลอยคำ�ชะโนด จังหวัดอุดรธานี และ ทำ�ให้นางเอกละครอย่าง แต้ว-ณฐพร เตมีย์รักษ์ ได้รับความนิยมอย่างมาก นาคียังฟีเวอร์ข้ามฝั่งโขงไปถึง สปป.ลาว ศิลปินพื้นบ้านและหมอลำ�นำ�เรื่องนาคีมาแสดง และดัดแปลงผ่านสื่อต่างๆ ความเชื่อศรัทธาใน ดินแดนคำ�ชะโนดเป็นข่าวใหญ่ จนคำ�ชะโนด กลายเป็นแหล่งแสวงบุญของผู้นับถือพญานาค มีการปรับพืน้ ทีจ่ ดั การและเดินรถประจำ�ทางเป็น พิเศษโดยการควบคุมของหน่วยทหารในท้องที่ ขณะที่ภาพยนตร์เมดอินอีสาน ‘ไทบ้าน เดอะซีรสี ’์ สิง่ ทีน่ า่ สนใจกว่าการกวาดรายได้กว่า 50 ล้าน จากต้นทุนการสร้างแค่ 2 ล้าน คือการ


นิยามอัตลักษณ์วัยรุ่นอีสานยุคใหม่โดยผู้กำ�กับ และที ม งานคนรุ่ น ใหม่ ท่ี เ ป็ น ลู ก หลานอี ส าน บ่ ง บอกความเป็ น อี ส านที่ แ ท้ จ ริ ง ตามสมั ย ผ่านภาพยนตร์และโซเชียลมีเดียซึ่งมียอดไลก์ เป็ น หลั ก ล้ า น ซึ่ ง แม้ ตั ว หนั ง จะใช้ ก ลยุ ท ธ์ ป่าล้อมเมืองด้วยการเริม่ เข้าฉายเฉพาะภาคอีสาน ก่ อ น แต่ เ มื่อ เข้ า ฉายในกรุ ง เทพมหานคร ก็ สามารถยืนโรงอยู่ได้ 4 สัปดาห์ มียอดรายได้รวม ในกรุงเทพมหานคร 7.27 ล้านบาท ทำ�ให้ผกู้ �ำ กับ ตัดสินใจสร้างภาคต่อ 2.1 ภาค 2.2 รวมถึง ภาค 3 ที่เรียงคิวเข้าโรงกวาดรายได้ งานทอล์กสร้า งแรงบั น ดาลใจ ‘TEDX KHONKAEN’ ก็เช่นกัน สะท้อนให้เห็นการสร้าง นิยามอีสานใหม่โดยฝั่งกลุ่มคนรุ่นใหม่ลูกหลาน อีสานทีม่ ที นุ มีความรู้ และสามารถทุม่ เทแรงกาย แรงใจที่ จ ะสร้ า งสรรค์ ค วามเป็ น อี ส านที่ แ ยก เป็นเอกเทศจากกรุงเทพมหานคร และไม่เป็น ‘ลาว’ ได้ ศิลปินนักร้องอีสานเลือดใหม่ยังคงสร้าง เพลงฮิตเช่นหลายสิบปีก่อน แต่ด้วยวิธีการที่ ต่างไปจากเดิม ปรากฏการณ์ล้านวิวชั่วข้ามคืน ในยูทูบของ ‘ก้อง ห้วยไร่’ ‘แซ็ค ชุมแพ’ ‘ลำ�ไย

ไหทองคำ�’ คือโมเดลธุรกิจอีสานใหม่ในยูทูบ ขณะที่การเกิดขึ้นของเพลงอีสานอินเตอร์อย่าง ‘รัสมี อีสานโซล’ ศิลปินสาวชาวอุบลฯ ที่หยิบ กลิ่นอายของแจ๊ส ร็อก โซล มาผสมผสานกับ หมอลำ�ได้อย่างน่าสนใจ และ ‘พาราไดซ์ บางกอก’ วงดนตรีหมอลำ�ร่วมสมัยที่เกิดจากการรวมตัว ของคนดนตรีหลากแนว ซึ่งโกอินเตอร์ด้วยการ ถูกเชิญไปเล่นที่เทศกาลดนตรีระดับโลก คือการ รุกเข้าสู่ส่วนกลางและตลาดโลกของดนตรีอีสาน ที่น่าจับตามอง ฝั่งนักออกแบบแฟชั่นก็สร้างงานสร้างสรรค์ ใหม่ๆ บนฐานความนิยมอีสาน คอลเลกชั่น Sakol Project ที่ต่อยอดผ้าไทยย้อมครามให้ ออกมามีสไตล์รว่ มสมัยของแบรนด์แฟชัน่ ‘SSAP’ ก็ได้รับเสียงตอบรับอย่างดี ไม่นับความนิยมของ เสื้อผ้าฝ้ายย้อมครามที่ฮิตไปทั่วจนเกิดแบรนด์ เล็กใหญ่มากมาย และถ้าขยับมามองใกล้ตวั ขึน้ อีกนิด จะเห็น ว่าความนิยมอีสานในแง่วัฒนธรรมการกินก็ยัง พัฒนาต่อมาได้เรื่อยๆ อาหารอีสานที่นิยมวันนี้ มาไกลกว่าแค่ส้มตำ�ธรรมดา การเกิดเมนูอาหาร อี ส านประยุ ก ต์ ที่ ฮิ ต ไปทั่ ว บ้ า นทั่ ว เมื อ งอย่ า ง CREATIVE THAILAND I 21

‘ตำ�ถาด’ เป็นการดัดแปลงส้มตำ�ให้มสี สี นั มากขึน้ โดยนำ�เอาของแกล้มและอาหารทีม่ กั กินกับส้มตำ� เช่น แหนม ไส้กรอก ผัดหมี่ หอยแครง ฯลฯ เข้ามาผสมกันแล้วจัดวางบนถาด เช่นเดียวกับ การกินอาหารร่วมกันเป็นหมู่ของชาวบ้านอีสาน ดั้งเดิม แต่กลับตอบโจทย์คนเมืองและกลายเป็น เมนูยอดฮิตที่ร้านอาหารอีสานแนวใหม่ต้องมีไว้ เรียกลูกค้า การเกิดขึ้นของ ‘เทพ บาร์’ บาร์เก๋ที่เสิร์ฟ ยาดองเคล้าดนตรีอีสานในบรรยากาศร่วมสมัย และ ‘Insects In The Backyard’ ร้านอาหาร ไฟน์ไดนิ่งที่เสิร์ฟแต่เมนูจากวัตถุดิบที่คนอีสาน คุน้ เคยอย่างแมลง ก็ก�ำ ลังบอกเราเช่นเดียวกันว่า ความนิยมอีสานวันนีไ้ ม่ใช่เรือ่ งของคนเฉพาะกลุม่ อีกต่อไปแล้ว แต่ได้กลายมาเป็นวัตถุดิบที่สร้าง ให้เกิดความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในวงการสร้างสรรค์ สำ�หรับทั้งวันนี้และอีกมากมายในอนาคต

ทีม่ า: รายงานภูมทิ ศั น์ใหม่อสี าน สำ�หรับนิทรรศการ “LOOK ISAN NOW: ลูกอีสานวันนี้” โดย ธีรภัทร เจริญสุข


Creative Startup : เริ่มต้นคิด

เรื่อง: ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ ภาพ: ภีร์รา ดิษฐากรณ์

ใครจะไปคิดว่า นอกจากอ้อยจะเป็นพืชเศรษฐกิจที่ไทยนำ�มาแปรรูปเป็นนํ้าตาลจนเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลกแล้ว พืชเมืองร้อนชนิดนี้ยังเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตเหล้ารัมตำ�รับดั้งเดิม ที่มีต้นกำ�เนิดและแพร่หลายในหมู่เกาะแคริบเบียน ทั้งยังเป็นหนึ่งในตระกูลเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ได้รับความนิยมสูงสุด เปิดโอกาสให้สองสามีภรรยาหัวใจอีสาน เดวิด จิอัลลอเรนโซ และ หนูรัก วรโคตร์ ได้ทดลองนำ�วัตถุดิบท้องถิ่นบนผืนดินกว้างใหญ่มาสร้างมูลค่าใหม่ สร้างชื่อให้อีสาน บ้านเฮาจนเป็นที่จับตามอง จากอ้อยสู่รัม เดวิด จิอัลลอเรนโซ (David Giallorenzo) ผู้ปลุกปั้น ISSAN RUM แบรนด์ เหล้ารัมสัญชาติอสี าน ต้อนรับเราอย่างอบอุน่ ทีโ่ รงกลัน่ เล็กๆ ของเขาในจังหวัด หนองคาย พร้อมเล่าให้ฟังถึงที่มาที่ไปของการย้ายมาตั้งรกรากและบุกเบิก ธุรกิจในเมืองไทยเมื่อ 7 ปีก่อน หลังจากทำ�งานในสายการเงินมากว่า 20 ปี อาชีพการงานทีม่ นั่ คงและกำ�ลังไปได้สวยกลับทำ�ให้เขานึกอยากจะหันมาเริม่

สร้างอะไรขึ้นมาด้วยตัวเอง ด้วยวัยขึ้นเลขสี่ ชาวฝรั่งเศสคนนี้คิดว่าการได้ เริ่มต้นธุรกิจของตัวเองในยุโรปหรือประเทศที่เขาชื่นชอบอย่างแอฟริกาใต้ คงเป็นความคิดที่ไม่เลว แต่หลังจากคิดอยู่หลายเดือนก็ยังไม่ได้ไอเดีย เป็นชิ้นเป็นอัน จึงตามเพื่อนมาเที่ยวเมืองไทย และได้ค้นพบความเป็นไปได้ ในการนำ�อ้อยซึ่งปลูกกันมากในภาคอีสานมาผลิตเป็นเหล้ารัม และนั่นก็คือ จุดเริ่มต้นไอเดียธุรกิจที่ชื่อ “อีสานรัม” ของเขา

CREATIVE THAILAND I 22


ปัจจุบนั ผลผลิตทัง้ หมดของอีสานรัมส่งออกไปขายในยุโรป แต่หลังจาก เปิดตัวในตลาดต่างประเทศอย่างงดงามแล้ว เร็วๆ นี้ก็เริ่มมีร้านอาหาร หลายแห่งในไทยที่นำ�อีสานรัมไปเป็นวัตถุดิบในการสร้างสรรค์เมนูค็อกเทล ไม่ว่าจะเป็น 100 Mahaseth ร้านอาหารไทย-อีสานร่วมสมัยย่านเจริญกรุง ทีโ่ ดดเด่นด้วยการเลือกใช้สว่ นประกอบของเนือ้ หมูและเนือ้ วัวแบบทัง้ ตัว หรือ Asia Today บาร์คอ็ กเทลย่านเยาวราชทีเ่ น้นการใช้วตั ถุดบิ พืน้ บ้านมารังสรรค์ เป็นเครื่องดื่มแปลกใหม่ “ตอนนี้เรากำ�ลังพยายามขยายตลาดในไทย แต่ อุปสรรคใหญ่ก็คือคนไทยส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยรู้จักเหล้ารัมมากนัก คนมักจะ นึกถึงแต่เหล้าขาว ดังนัน้ ผมคิดว่าเราคงต้องใช้เวลาอีกนานพอสมควรในการ สร้างการรับรู้ให้ผู้บริโภค” เดวิดอธิบาย

รายงานปี 2018 ขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ระบุว่า ไทยเป็นประเทศที่ผลิตอ้อยมากที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลก รองจากบราซิล อินเดีย และจีน โดยมีอีสานเป็นภูมิภาคที่มีพื้นที่เพาะปลูก อ้อยมากที่สุดคือ 4.8 ล้านไร่ ปริมาณผลผลิตอยู่ที่ 44 ล้านตันต่อปี* และ ผลผลิตส่วนใหญ่ถูกนำ�มาแปรรูปเป็นนํ้าตาล เมื่อได้ไอเดียสร้างธุรกิจ เดวิดและภรรยา พี่เล็ก-หนูรัก วรโคตร์ จึง เริ่มต้นจากการปลูกอ้อยในแปลงของตัวเองเพื่อให้แน่ใจว่าจะได้ผลผลิต ตามที่ต้องการ ทดลองสูตรหมักบ่มจนได้รสชาติที่พอใจ ขั้นตอนการผลิต เริ่มจากนำ�อ้อยที่เก็บเกี่ยวได้มาคั้น ก่อนจะบ่มด้วยยีสต์ทิ้งไว้ประมาณ 3-4 วัน แล้วกลั่นด้วยไฟอ่อนๆ เพื่อรักษารสชาติของนํ้าอ้อยไว้ให้มากที่สุด เก็บไว้ 1 ปีก่อนจะบรรจุขวดส่งไปจำ�หน่าย จุดเด่นของอีสานรัมคือการใช้ นํ้าอ้อยสดเป็นวัตถุดิบ นำ�มากลั่นเป็นเหล้ารัมที่เรียกว่า “รัม อากริโคล์ (Rhum Agricole)” ต่างจากรัมส่วนใหญ่ในตลาด (ประมาณ 95%) ที่นิยม ผลิตด้วยกากนํ้าตาล (Molasses) ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่เหลือจากการผลิตนํ้าตาล ในโรงงาน และมีต้นทุนการผลิตตํ่ากว่า จากอีสานสู่ยุโรป ความตั้งใจแรกของเดวิดคืออยากจะนำ�เสนอตัวเลือกใหม่ให้ตลาดเหล้ารัม อากริโคล์ ซึ่งส่วนใหญ่ผลิตในประเทศแถบทะเลแคริบเบียนและละติน อเมริกา ทันทีที่อีสานรัมขวดแรกเสร็จสมบูรณ์ เขาจึงนำ�ไปส่งเข้าประกวด ในการแข่งขัน IWSC (International Wine and Spirit Competition) ปี 2014 จนคว้าเหรียญเงินคูก่ บั Neisson แบรนด์รมั จากโรงกลัน่ บนเกาะมาร์ตนี กิ ของ ฝรั่งเศสซึ่งดำ�เนินกิจการมาเกือบหนึ่งร้อยปี ตามมาด้วยรางวัลเหรียญ ทองแดงในการแข่งขันประเภทเหล้ารัมขาวตํ่ากว่า 50 ดีกรี (Rum Agricole Blanc < 50°) และเหรียญทองประเภทขวัญใจกรรมการจาก Rhum Festival Paris ปี 2015 “ผมเชื่อว่าในอีก 5-10 ปีข้างหน้า เวลาที่มีคนพูดถึงเหล้ารัม คนจะ ไม่ได้นึกถึงแค่แคริบเบียนหรืออเมริกาใต้อีกแล้ว แต่พวกเขาจะนึกถึงเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ด้วย เพราะสิ่งที่ผมทำ�ที่อีสาน ยังสามารถนำ�ไปปรับใช้ใน ประเทศเพื่อนบ้านอย่างลาวหรือเวียดนามซึ่งมีการปลูกอ้อยได้เหมือนกัน”

เมดอินอีสาน ข้อมูลตลาดเหล้ารัมจากสำ�นักวิจัยด้านการตลาดยูโรมอนิเตอร์ระบุว่า ในปี 2016 มีการบริโภคเหล้ารัมทั่วโลก 1.3 พันล้านลิตร และคาดว่าระหว่างปี 2016-2021 ตลาดเหล้ารัมจะมีการเติบโตในเชิงปริมาณ 1.9% โดยปัจจุบัน ตลาดผู้บริโภครัมที่ใหญ่ที่สุดในโลก ได้แก่ อินเดีย ฟิลิปปินส์ ฝรั่งเศส และ สหราชอาณาจักร เชือ่ ได้วา่ เส้นทางข้างหน้าของอีสานรัมไม่นา่ จะมีอปุ สรรค มากนัก เมื่อถามถึงจุดหมายต่อไป เดวิดบอกว่าเป้าหมายหลักไม่ใช่เรื่องการ ขยายธุรกิจ แต่เป็นการทำ�งานร่วมกับเกษตรกรทีม่ แี ปลงอยูบ่ ริเวณใกล้เคียง “ในปีนเี้ ราตัง้ ใจว่าจะทำ�งานกับเกษตรกรท้องถิน่ มากขึน้ ผมอยากจะทำ�งาน กับเกษตรกรรายเล็กๆ ที่มีพื้นที่ไม่มาก ประมาณ 3-5 ไร่ เพราะเมื่อมีพื้นที่ เล็ก พวกเขาจะดูแลมันอย่างตัง้ ใจ เกษตรกรรายใหญ่จะมีระเบียบการทำ�งาน ของเขา การทีจ่ ะโน้มน้าวให้เขาลองเปลีย่ นวิธที �ำ งานมันไม่งา่ ย ส่วนขัน้ ตอน หลังจากเก็บเกี่ยวอ้อยเราก็ยังใช้แรงงานคนเหมือนเดิม พยายามจะใช้ เครื่องจักรให้น้อยที่สุด” “การทำ�งานกับคนอีสานทำ�ให้ผมได้เห็นวิถชี วี ติ ทีเ่ รียบง่าย การแบ่งปัน และความเป็นนํ้าหนึ่งใจเดียวกัน เวลาพวกเขาได้ค่าจ้าง พวกเขาจะไปซื้อ อาหารมาแบ่งกันกิน คนทีน่ ที่ �ำ งานแบบสบายๆ แต่กม็ ชี ว่ งทีเ่ ราต้องเร่งผลิต ของ ช่วงนั้นผมกับภรรยาไม่เคยได้กินข้าวสองคนเลย เพราะเราอยู่ด้วยกัน กับคนงานแบบเป็นคอมมูนิตี้ มีอะไรก็แบ่งกันกิน ในฝรั่งเศสไม่มีแบบนี้แล้ว ทุกคนตัวใครตัวมัน” สำ�หรับปีนี้ เดวิดตั้งปริมาณการผลิตคร่าวๆ ไว้ที่ 10,000 ขวด แม้จะ เป็นตัวเลขที่ไม่สูง แต่นี่ก็เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างธุรกิจที่มองเห็นศักยภาพของ ภูมิภาคที่วันหนึ่งเคยถูกมองข้าม และเปิดประตูความเป็นไปได้ใหม่ๆ ใน การสร้างมูลค่าให้แก่สินทรัพย์บนผืนดินกันดารนี้ได้อย่างน่าสนใจ “หลายคนคิดว่าผมมาทีน่ เี่ พราะแค่อยากจะมาใช้ชวี ติ แบบเงียบสงบ แต่ ผมไม่ได้ต้องการแค่นั้น ผมอยากจะสร้างอะไรขึ้นมาด้วยตัวเอง ผมอยาก สร้างแบรนด์ และผมเชื่อว่าผมทำ�ได้ เพราะว่าทุกวันนี้โลกของการทำ�เหล้า เปลี่ยนไปมาก มีโรงกลั่นเล็กๆ เกิดใหม่มากมายที่พยายามผลิตสินค้า คุณภาพออกมา และลูกค้าก็ชอบแบบนัน้ พวกเขามีแนวโน้มทีจ่ ะไม่ดมื่ อะไร ที่มีอยู่ทั่วไปในท้องตลาด แล้วผมก็หวังด้วยว่าวันหนึ่งข้างหน้า คนอีสานจะ ภูมิใจที่อีสานรัมเป็นสินค้าที่ผลิตในบ้านเกิดของพวกเขาเอง”

* รายงานพื้นที่ปลูกอ้อย ปีการผลิต 2558/59 โดยสำ�นักงานคณะกรรมการอ้อยและนํ้าตาลทราย จาก ocsb.go.th CREATIVE THAILAND I 23


Creative City : จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

เรื่อง: วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ ภาพ: ภีร์รา ดิษฐากรณ์

เวลาที่เร่งรีบของกรุงเทพมหานครราวกับเป็นเรื่องโกหก เมื่อเดินทางมาถึงสกลนคร จังหวัดที่สะท้อนความเรียบง่ายขนาด ไม่เล็กไม่ใหญ่แต่เปี่ยมเสน่ห์แถบแดนอีสาน การพูดคุยกับคนท้องถิ่นในครั้งนี้ มีสิ่งหนึ่งที่สะท้อนความเป็นไปของเมืองแห่งนี้ ได้เป็นอย่างดี นั่นคือการที่ลูกหลานชาวสกลนครสามารถมองเห็นคุณค่าของ “ความไม่มีอะไร แต่กลับมีเหลือเฟือ” ให้กลาย เป็นพลังขับเคลื่อนเมืองในทางสร้างสรรค์ และนีค่ อื เรือ่ งราวของลูกหลานชาวสกลนครทีเ่ ลือกกลับมาใช้ชวี ติ อยูท่ บี่ า้ นเกิด กับเหตุผลทีส่ ะท้อนถึงความเป็นสกลนคร ในวันนี้ได้อย่างชัดเจนที่สุด Green...Go Back to Nature ภาพอีสานแล้ง พืน้ ดินแตกระแหง ถูกลบไปหมดสิน้ เมื่อได้ย่างก้าวเข้าสู่บ้านไร่นาสวนผสมริมป่าเล็ก ของอุ๋มอิ๋ม-รติกร ตงศิริ เกษตรกรที่ผันตัวจาก การทำ�งานสื่อในเมืองกรุง สู่การลงมือทำ�เกษตร ตามฤดูกาลทีเ่ ธอใส่ใจดูแลทุกกระบวนการ ตัง้ แต่ การเก็บเมล็ดพันธุ์ เพาะปลูก เก็บเกี่ยว และ แปรรูป “แผ่นดินไทยมันอุดมสมบูรณ์ เกิดมาอยู่ แผ่นดินนี้มันควรจะเพาะปลูกถึงจะคุ้มค่า” คือ

ความคิดเห็นและอาจจะเป็นจุดยืนของอุ๋มอิ๋ม ที่เลือกหันหลังจากเมืองกรุงมุ่งหน้ากลับบ้าน เมื่ออายุกำ�ลังจะย่างเข้าเลขสาม ด้วยจุดเริ่มต้น ของความบังเอิญทีไ่ ด้เข้าร่วมฟังเสวนาเรือ่ งพืชผัก สมุนไพรที่สกลนคร ผนวกกับความตั้งใจที่อยาก ลงมื อ ทำ � อะไรด้ ว ยตั ว เองให้ เ ป็ น ชิ้ น เป็ น อั น “เราตัดสินใจไปเรียนรู้กับตุ๊หล่าง นักพัฒนาพันธุ์ ข้าวที่ยโสธร ไปอยู่กับเขา 5-6 วัน เขาก็ให้เมล็ด ผักเริ่มต้นมา ก็ลองปลูกและได้เก็บเกี่ยวผลผลิต กินได้ หลังจากนั้นไม่นานแม่ตรวจเจอมะเร็ง CREATIVE THAILAND I 24

ขั้นที่หนึ่ง ซึ่งก็ควรจะกินผักเข้าไปใหญ่ ตอนนั้น คิดว่าไม่รู้จะให้อะไรเขาดี คิดว่าถ้าปลูกผักให้ เขากิน เขาก็ได้เลย และเป็นสิง่ ทีเ่ ขาหาไม่ได้จาก ทีอ่ นื่ ด้วย หลังจากนัน้ ก็คอ่ ยๆ ทำ�มาเรือ่ ยๆ ทีด่ นิ ผืนนีเ้ พิง่ จะเป็นรูปเป็นร่างเมือ่ ปีทผี่ า่ นมา เราปลูก พืชพรรณมากขึ้น วางระบบนํ้า ปลูกบ้านไว้อยู่ และแบ่งพื้นที่บางส่วนให้นักศึกษามาพักเพื่อให้ เขาประหยัดค่าใช้จา่ ยและให้ชว่ ยดูแลสวนไร่หรือ รดนํ้าให้เราตอนเช้า ซึ่งเรามีข้าวเหนียวและ ข้าวเจ้าให้กินเพราะมีโรงสีอยู่หลังบ้าน”


Blue...Bring Wisdom to Business แม้สกลนครจะขึ้นชื่อในเรื่องภูมิปัญญาของการ ทำ�คราม แต่ลูกหลานชาวสกลนครแท้ๆ อย่าง ปลา-กุลธิดา อุปพงษ์ เจ้าของแบรนด์สุขชม ที่มี สินค้าโดดเด่นอย่างงานต่อผ้าย้อมครามประเภท Patchwork กลับเลือกที่จะศึกษาเรื่องครามด้วย

“หน้าฝนเราจะปลูกข้าวกับพืชใบเลี้ยงเดี่ยว และผั ก ที่ ขึ้ น ค้ า งอย่ า งผั ก เลื้ อ ยๆ ที่ หนี ฝ นได้ พอหลังทำ�นาเมือ่ ใกล้หมดฤดูฝนก็ปลูกกระเทียม และหัวหอมแบบอินทรีย์ และรอปลูกอีกทีหลัง ทำ�นาตอนเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคมเป็นต้นไป เมือ่ ถึงหน้าแล้งก็จะปลูกผักทีไ่ ม่ชอบฝน อย่างเช่น มะเขือเทศ ผักสลัด พริก พอถึงหน้าฝนอีกครั้งก็ จะย้ายที่ปลูกผักพวกนี้มาปลูกตามระเบียงบ้าน เอาแค่พอได้เก็บกิน เพราะเราอยากทำ�เป็นและเก็บกินเอง เลยไม่ เน้นเรือ่ งการขายขนาดนัน้ อย่างผักสลัดจะขายให้ คนเมืองได้งา่ ยหรือขายทีห่ น้าร้านคำ�หอมของพีส่ าว

นํา้ สมุนไพรฤทธิเ์ ย็นอย่างย่านาง ใบเตย ก็ท�ำ แล้ว แช่ขายในตู้แช่ อีกอย่างคือทำ�สบู่จากวัตถุดิบ ธรรมชาติเท่าที่ตัวเองมีและนำ�ไปวางขายที่ร้าน คำ�หอมเช่นกัน ส่วนข้าวที่อายุยนื จะแพ็กสุญญากาศ ขายให้ครอบครัวของเพื่อนที่อยู่กรุงเทพฯ อะไร แบบนี้ก็พอทำ�ให้เรามีรายได้บ้าง” เธอเล่าให้ฟัง พร้อมกับเด็ดยอดใบหญ้าหวานและแบล็กมินต์ รสชาติหอมสดชืน่ ขึน้ จมูกให้ลองชิม ก่อนจะพาไป ดูหลังบ้านที่มีโรงเพาะ เล้าข้าว และบ่อนํ้าหมัก ชีวภาพที่ท�ำ เองซึง่ อยูต่ ดิ กับป่าชืน้ ทีม่ เี ฟิรน์ ต้นใหญ่ เป็นการแสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของ ผืนดินบ้านเกิดแบบที่ไม่ต้องพูดอะไรกันมาก

ตัวเองแทนที่จะถามหาสูตรการทำ�สำ�เร็จจาก ผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้าน ด้วยเหตุผลน่าเอ็นดูที่ว่า “เพราะเราเกรงใจชาวบ้าน การทำ�ครามมันเป็น ภูมปิ ญั ญาของเขา เขาอาจจะไม่อยากบอก ก็ลองผิด ลองถูกมาประมาณ 3 ปี ช่วงแรกๆ การดูแลคราม เป็นเรื่องยาก เพราะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและการ

สังเกตเยอะๆ พอเริ่มก่อครามเป็นแล้ว ก็อยากรู้ ต่อว่าเนื้อครามเป็นยังไง ก็เริ่มปลูกเอง การลอง ด้วยตัวเองแบบนี้ ทำ�ให้เรารักมันมากขึ้น เพราะ มันไม่ได้มาเพราะความฉาบฉวย” และคงเป็นจริงอย่างที่คุณปลาได้กล่าวไว้ เมื่อพิจารณาจากรายละเอียดของบ้านไม้ใต้ถุน สู ง โปร่ ง ที่ ด้ า นล่ า งเปิ ด เป็ น พื้ น ที่ ค ล้ า ยสตู ดิ โ อ ทำ�งานฝีมือ ด้านหนึ่งของบ้านมีหม้อย้อมคราม เกือบ 10 หม้อ รายล้อมด้วยผืนผ้าครามและชิน้ งาน ที่ยังต้องใช้เวลาเก็บรายละเอียดอยู่รอบบ้านนั้น ก็เป็นสิง่ ยืนยันให้ได้รวู้ า่ เธอจริงจังกับมันมากแค่ไหน ความหลงใหลในงานฝีมือและความเชื่อมั่นใน ภูมปิ ญั ญาท้องถิน่ อาจก่อร่างมาจากการได้ท�ำ งาน ส่งเสริมชุมชนในจังหวัดสกลนคร สังกัดกระทรวง อุตสาหกรรมร่วม 10 ปี ที่ทำ�ให้เธอมีโอกาส คลุกคลีอยูก่ บั ชาวบ้านทอผ้าและทำ�ครามจนรูซ้ งึ้ ถึงวิถชี วี ติ ของคนสกลนครทีผ่ กู พันอยูก่ บั ครามอย่าง แยกไม่ขาด พร้อมกันนัน้ ยังเป็นการจุดประกายให้ เธอได้เห็นถึงคุณค่าของสิง่ เล็กๆ น้อยๆ ทีห่ ลายคน อาจมองข้าม “ตอนทำ�งานประจำ�ออกไปช่วยเหลือชุมชน เราเห็นเศษผ้า ‘สืบค้น’ ที่เป็นจุดเริ่มต้นของการ

CREATIVE THAILAND I 25


ทอผ้า ชาวบ้านเห็นว่ามันไม่ได้มีค่าอะไร ก็นำ�ไป มัดรัว้ แทนลวด หรือไม่กเ็ อาไม่ทง้ิ พอเราไปเห็นก็ รูส้ กึ เสียดาย ก็เลยขอมาทำ�เป็นยางรัดผม หรืองาน ประดิษฐ์เล็กๆ น้อยๆ อย่างตุก๊ ตานกฮูก แล้วก็น�ำ ไป แลกเอาเศษผ้าของชาวบ้านมา ทีนช้ี าวบ้านก็เริ่ม เห็นว่าเศษผ้ามันก็มคี ณุ ค่าและนำ�มาทำ�งานต่อได้ จากทีไ่ ม่เคยเห็นคุณค่าเพราะว่าเคยแต่ทอให้เป็น

ผืนๆ พอเขาเริ่มได้รายได้จากการแปรรูปเศษผ้า เราก็ปล่อยให้เขาทำ�เองและขายเอง” เมือ่ เริม่ รูต้ วั ว่าใจรักงานอดิเรกนีม้ ากกว่างาน ประจำ�ที่ท�ำ อยู่ เธอจึงลงมือพิสจู น์ตวั เองกับพ่อและ แม่ว่างานที่เธอรักนัน้ จะสร้างรายได้ที่เพียงพอ และ ตัดสินใจลาออกจากงานประจำ�เมื่อปีกลายเพื่อ ทำ�งานสุขชมอย่างเต็มตัว “เราสามารถทำ�งาน

Brown...Shape Dirt to Dream ในคํา่ คืนสุดท้ายของงาน “สกลเฮ็ด” เทศกาลรวมตัว ของเหล่านักสร้างสรรค์ในสกลนครทีไ่ ด้ “ลงมือทำ�” งานฝีมอื งานศิลปะ และงานสร้างสรรค์ตา่ งๆ ได้ จบลงด้วยมื้ออาหารสุดพิเศษกับกิจกรรมที่ชื่อว่า “Chef’s Table” ทีเ่ หล่าเชฟฝีมอื ดีทวั่ เมืองไทยซึง่ เรียกตัวเองว่า “Those Fcuking Chef” จะลงมือ ทำ�อาหารด้วยวัตถุดบิ ท้องถิน่ โดยมีกฎข้อหนึง่ ว่า ผู้สร้างสรรค์ภาชนะบนโต๊ะอาหารจะเป็นผู้เลือก ภาชนะให้กับเชฟ และเชฟต้องออกเดินป่าเพื่อ ค้นหาแรงบันดาลใจและวัตถุดิบท้องถิ่นในการ ปรุงอาหารใส่บนภาชนะทีถ่ กู เลือก แน่นอนว่ามือ้ คํ่าคืนนั้นจบลงด้วยความประทับใจทั้งจากแขก ผู้เข้าร่วมงาน ผูร้ งั สรรค์อาหาร และที่ส�ำ คัญคือเหล่า สมาชิกสกลเฮ็ด ที่หนึ่งในนั้นก็คือผู้อยู่เบื้องหลัง การสร้างสรรค์ภาชนะให้เหล่าเชฟนั่นเอง เปิน้ -วัลย์รยิ า เพ็งสว่าง ผูเ้ ป็นตัวตัง้ ตัวตีในการ จัดงานสกลเฮ็ดแนะนำ�ตัวกับเราในฐานะ “ช่างปัน้ ” เธอเป็นคนสกลนครโดยกำ�เนิดทีอ่ าศัยอยูใ่ นหมูบ่ า้ น วิถีชาวนาเล็กๆ ประมาณ 20 หลังคาเรือนชือ่ ว่า ‘ดอนหมู’ และเมื่อเธอตัดสินใจกลับมาอยู่ที่หมู่บา้ น

แห่งนีถ้ าวรพร้อมกับก่อตัง้ สตูดโิ อเซรามิกของตัวเอง เธอจึงเลือกตั้งชื่อว่า “ดอนหมูดิน” “สำ�หรับเรา เมื่อเราออกมาจากผูค้ นมากมาย แล้ว เราจะไม่มาเร่งอะไรกับที่นี่ เพราะมันเป็นการ เดิน ไม่ใช่การวิง่ เรามาจากอุตสาหกรรม เลยเข้าใจ ว่าวิ่งแล้วเหนื่อยยังไง เลยคิดว่ากลับบ้านมาเดิน ดีกว่า” คุณเปิ้นเล่าถึงจังหวะชีวิตของการทำ�งาน ทีบ่ า้ นให้ฟงั ก่อนหน้านัน้ เธอเป็นนักออกแบบพรม ทีม่ ฝี มี อื เจนจัดให้บริษทั ใจกลางกรุงมาเกือบ 15 ปี ต้องคลุกคลีอยูใ่ นอุตสาหกรรมที่ทง้ั กดดันและเร่งรีบ จนทำ�ให้อยากเบรกช่วงที่วุ่นวายด้วยการเข้าร่วม เวิรก์ ช็อปต่างๆ ทีส่ นใจ “เมือ่ ว่างจากงานประจำ� ช่วงเสาร์-อาทิตย์ ก็เข้าเวิร์กช็อปเป็นงานคราฟต์ ทัง้ หมด ทัง้ ตัดเย็บเสือ้ ผ้า จัดดอกไม้ และงานปัน้ เราได้ เ รี ย นรู้ วิ ธี การทำ � งานปั้ น พื้ น ฐานมาจาก ศิลปินคืออาจารย์บทั ม์ แก้วงอก แต่เราคิดว่ายังไง มันก็ตอ้ งมาทำ�เองและเรียนรูด้ ว้ ยตัวเองต่อ ก็เริม่ ทำ�ของใช้ในครัวเรือน ตั้งแต่ที่กรุงเทพฯ เราก็มี เตาแล้ว ก็ยกเตากลับบ้าน ไปๆ มาๆ 2-3 ปี ก็ วางแผนเตรียมกลับบ้าน และต่อเติมบ้านหลังนี้ เองหลังออกจากงานประจำ�”

CREATIVE THAILAND I 26

Patchwork ที่เอาเศษผ้าย้อมครามมาปะติดเป็น ชิน้ งานใหม่ได้ไม่มเี บือ่ ส่วนมากจะเป็นงานกระเป๋า และเสื้อผ้า ตั้งใจว่าปีหนึ่งจะทำ�ออกมาให้ได้ 3 คอลเล็กชั่น เรารู้สกึ มีความสุขกับการทำ�งานแบบนี้ และอยากบอกน้องๆ รุ่นหลังว่า ให้พยายามหาสิ่งที่ ชอบให้เจอและทำ�สิ่งนั้น ซึ่งแรกๆ เราก็ไม่เข้าใจ หรอก แต่พอเรารูว้ า่ ชอบอะไร ถึงได้เข้าใจมันจริงๆ”

จริงอย่างทีเ่ ธอเล่า ว่าการกลับบ้านครัง้ นีเ้ ป็น จังหวะของการเดิน ไม่ใช่การวิ่ง เพราะเธอใช้ เวลาทดลองและพัฒนาหาสูตรดินและสูตรเคลือบ เฉพาะตัวอย่างใจเย็นเพื่อให้มั่นใจว่าปลอดภัย และใช้ได้จริง ถึงเริ่มเปิดขายเซรามิกดอนหมูดิน ทางอิ น สตาแกรมเมื่ อ เดื อ นตุ ล าคมปี 2558 “เราเชื่อว่าถ้ารู้ไปซะทุกอย่างแล้วจะทำ�ทำ�ไมอีก เลยเรียนรู้จากการทดลองมาเยอะมาก บางครั้ง ทำ�ได้อย่างที่หวัง บางครั้งก็ไม่ได้ มันก็ทำ�ให้ใจ เราวางไปเยอะ แล้วเราก็ได้สงั เกตตัวเองว่า เราชอบ ทำ�อาหาร คิดว่าเรือ่ งปากท้องเป็นสิง่ สำ�คัญ จึงชอบ ทำ�งานปั้นที่เป็น Tableware หรือถ้าจะทำ�เป็น Sculpture ก็จะทำ�แบบที่ใส่อาหารได้ และเพราะ เราชอบเดินป่าด้วย ก็จะไปเก็บพวกใบไม้หรือวัสดุ ธรรมชาติอย่างพวกทรายหรือดินแปลกๆ กลับมา เป็น Raw Material บ้าง อย่างใช้ครามในสกลนคร มาทำ�เป็นสูตรเคลือบที่คิดว่าไม่เคยมีใครใช้กัน” คุณเปิน้ เล่าให้ฟงั พร้อมชักชวนให้ชมิ มันหวานและ ดื่มชาตะไคร้อ่นุ ๆ ในถ้วยเซรามิกใบจิ๋วที่ปั้นเอง กับมือ ซึง่ นอกจากรสชาติของวัตถุดบิ ธรรมชาติแล้ว เราก็วางใจได้วา่ อาหารทุกอย่างที่ถกู บรรจุในภาชนะ ดินเผาของเธอนั้น ไม่มีสิ่งใดอีกเลยนอกจาก ความปลอดภัย และความตั้งใจจริงของเธอ


ดาวบนดิน

Black...Back Home with Purpose ใครจะไปคิดว่า ที่สกลนครจะมีร้านกาแฟดริป คุณภาพดีเปิดขายอยู่ริมถนนใหญ่ในบรรยากาศ บ้านๆ แบบไม่ประดิษฐ์ กระท่อมไม้หลังเล็ก ที่ ห น้ า ร้ า นติ ด ป้ า ยบรรจุ ข้ อ ความน่ า รั ก ว่ า ‘หน่วยบรรเทาสาธารณะใจ’ คือที่ตั้งของร้าน “กาแฟดริปยิปซี” แม้หลายเมนูของร้านจะตั้งชื่อ แบบดิบๆ ว่า กาแฟเถื่อน หวานอมขมกลืน ยังไม่สิ้นกลิ่นนํ้านม กว่าจะรู้เดียงสา ฯลฯ แต่ การพูดคุยกับเจ้าของร้าน ยิปซี จันทร์เพ็งเพ็ญ หลานคุ ณ ย่ า ฑี ต า แบรนด์ ค รามชื่ อ ดั ง ของ สกลนครถึ ง เหตุ ผ ลของการกลั บ มาอยู่ บ้ า น กลับเต็มเปี่ยมไปด้วยความอบอุ่นและจริงใจ “จริงๆ เราไม่อยากออกจากบ้านหรอก แต่ ตอนเรียนจบเราก็ตอ้ งไป เพราะเราก็ไม่มคี �ำ ตอบ ให้ทบี่ า้ นว่า จะอยูส่ กลนครแล้วดูแลตัวเองโดยไม่ อาศัยพ่อแม่ได้ยังไง ก็ต้องออกไปเพื่อเรียนรู้โลก ภายนอกก่อน แต่ลึกๆ แล้วเราก็อยากกลับบ้าน เพราะผู้เฒ่าผู้แก่ยังอยู่ได้เลย แล้วเราก็ชอบการ เป็นครอบครัวใหญ่” ยิปซีเผยให้ฟังถึงความรู้สึก ก่อนที่จะเล่าว่า หลังจากที่เขาเรียนจบบัญชี และ เข้าทำ�งานด้านวิจยั ที่กรุงเทพฯ มาสักพัก ก็ตดั สินใจ กลับมาอยู่บ้านถาวร หลังเหตุการณ์นํ้าท่วมหนัก ที่เมืองสกลเมื่อปี 2553 “ตอนแรกกลับมาทำ�บ้านดินพักหนึ่ง พบว่า มันต้องใช้เงิน แล้วเราก็ตอบคนอืน่ ไม่ได้วา่ เราจะ หารายได้ยังไง มันเหมือนความฝันโรแมนติก มากกว่า ก็เริ่มมีมุมมองว่า นอกจากเอาผ้าคราม ไปขายแล้ว เราจะทำ�อะไรได้อกี มีวนั หนึง่ คนญี่ปุ่น มาเวิร์กช็อปที่บ้าน แล้วเขาอยากกินกาแฟดริป ก็ถามหาร้าน ซึ่งนั่นเลยจุดประกายว่ามันทำ�เป็น ร้านได้ จนเราได้ไปญี่ปุ่นแล้วไปเห็นร้านกาแฟ

ดริปจริงๆ จึงกลับมาสร้างบ้านหลังนี้เป็นช็อป ก่ อ นหน้ า นั้ น ก็ ปั่ น จั ก รยานไปขายกาแฟและ ขนมปังปิง้ แถวหน้าตลาด คนในหมูบ่ า้ นก็รจู้ กั เรา หมดเลยว่ า คนนี้ ไ งที่ เ รี ย นจบแล้ ว กลั บ มาปั่ น จักรยานขายกาแฟข้างเซเว่นฯ น่ะ (หัวเราะ) ปรากฏว่ามีเด็กมาซือ้ เยอะ เราก็สนุกกับการขาย ก็ พยายามคิดหลายๆ มุมว่าจะทำ�ให้มนั อยูไ่ ด้ยงั ไง ตอนนี้เราก็ไม่ได้ขายแค่กาแฟ แต่เรายังมีไข่ไก่ อารมณ์ดี และเริ่มเอาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับ สิง่ แวดล้อมทีเ่ คยคิดตัง้ แต่ตอนทำ�บ้านดินมาขาย ควบคู่กันด้วย อันนี้เลยเป็นคำ�ตอบสำ�หรับเราว่า คนที่กลับมาบ้านจะอยู่ยังไง” ประสบการณ์การกลับบ้านเพือ่ ทำ�ในสิง่ ทีต่ วั เอง เชือ่ ของยิปซีครัง้ นี้ ยังต่อยอดให้เขามองเห็นคนที่ มีความคิดคล้ายกัน และกลายเป็นจุดเริม่ ต้นของ การจัด “ยิปซีแคมป์” หรือพื้นที่ปล่อยของของ ชาวสกลนคร ไม่วา่ จะเป็นงานแฮนด์เมด ของเก่า หรืองานศิลปะ ที่จุดประสงค์หลักไม่ใช่เพียงเพื่อ การขาย แต่คอื การได้แบ่งปันเรือ่ งราวของคนบ้าน เดียวกัน โดยยังรับหน้าที่ต่อจากเปิ้น ดอนหมูดิน ในการดูแลการจัดเฟสติวัล “สกลเฮ็ด” ที่เขา นิยามมันว่าไม่ใช่งานคราฟต์ แต่มันคือวิถีชีวิต หรือไลฟ์สไตล์ของคนสกลนคร “เป้าหมายของการกลับบ้านไม่ใช่การหาเงิน หรือมาเพือ่ สร้างอะไรใหญ่โต แต่เราได้มจี งั หวะชีวติ ที่มีปฏิสัมพันธ์กัน เราคิดว่าเงินเป็นแค่ฟันเฟือง หนึ่งที่จะทำ�ให้ชีวิตดำ�เนินไปได้ เราไม่ได้ปฏิเสธ เงินหรือปฏิเสธโลก เพียงแต่วา่ ตอนนีผ้ มก็มคี �ำ ตอบ ให้พ่อแม่แล้วว่า ผมอยู่ได้แบบไหน แล้วคนที่คิด จะกลับบ้านก็ตอ้ งมีค�ำ ตอบให้กบั พ่อแม่และตัวเอง เหมือนกันว่าคุณจะกลับมาทำ�อะไร”

ขอขอบคุณ: คุณกุลธิดา อุปพงษ์ / คุณยิปซี จันทร์เพ็งเพ็ญ / คุณรติกร ตงศิริ / คุณวัลย์ริยา เพ็งสว่าง / ร้านคำ�หอม ติดตามความเคลื่อนไหวของนักสร้างสรรค์ชาวสกลนครได้ท่ี Facebook: กาแฟดริปยิปซี / Facebook: คำ�หอม สกลนคร / Facebook: ดอนหมูดิน / Facebook: สุขชม / Facebook: สกลเฮ็ด CREATIVE THAILAND I 27

มากกว่า 100 ปีแล้วที่แสงของดวงดาวน้อยใหญ่ ได้เปล่งประกายสุกสว่างช่วงวันคริสต์มาสในชุมชน บ้านท่าแร่ ชุมชนชาวคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ทีใ่ หญ่ทสี่ ดุ ของประเทศไทย ในช่วงเวลาแห่งการ เฉลิ ม ฉลองการบั ง เกิ ด ของพระเยซู ที่ เ รี ย กว่ า “เทศกาลแห่ดาว” เทศกาลสืบสานความศรัทธานี้ เต็มเปี่ยมด้วยสีสัน ความมีชีวิตชีวา และความ สนุกสนานในสไตล์คนอีสาน เมื่อเดินทางมาถึงชุมชนบ้านท่าแร่ สิ่งที่ สะดุดตามากที่สุดก็คงหนีไม่พ้นดาวประดิษฐ์ที่ ถูกแขวนอยู่หน้าบ้านแต่ละหลังอย่างสวยงาม และหากไม่เฝ้ามองดวงดาวบนดินจนเพลินเกินไป ก็จะสังเกตได้ไม่ยากว่า หมูบ่ า้ นแห่งนีม้ คี วามเป็น ระเบียบไม่ต่างจากหมู่บ้านในหนังฝรั่ง ด้วย เพราะในสมัยแรกเริ่มที่ก่อตั้งหมู่บ้าน บาทหลวง ยอแซฟ กอมมูรเิ ออร์ ผูน้ �ำ ศาสนาและหนึง่ ในผูก้ อ่ ตัง้ หมู่บ้านชาวคริสต์ให้เกิดขึ้นที่บ้านท่าแร่ ได้ช่วย พัฒนาผังเมืองให้มลี กั ษณะเป็นตารางคล้ายชุมชน ในยุโรป ซึง่ ถือได้วา่ เป็นเอกลักษณ์ทหี่ าชมได้ยาก ในหมูบ่ า้ นต่างจังหวัด นอกจากนัน้ แล้วสไตล์บา้ น แต่ละหลังยังบ่งบอกให้ได้รู้ว่า ที่นี่มีการอาศัยอยู่ ร่วมกันของคนต่างเผ่าพันธุ์ได้อย่างสงบสุขและ กลมกลืน ทั้งบ้านทรงเรือนเกยที่เป็นบ้านโบราณ ของคนอีสาน บ้านเรือนแถวสองชั้นซึ่งได้รับ อิทธิพลจากเวียดนาม บ้านทรงตึกที่ก่อด้วยอิฐ สไตล์ฝรั่งเศส ฯลฯ ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่พิสูจน์ให้เห็นว่า การอยู่ ร่วมกันในความต่างนั้นเป็นไปได้ และความต่าง ยังสร้างเอกลักษณ์ทยี่ ากจะเลียนแบบ เหมือนกับ เทศกาลแห่ดาวที่มีจุดเริ่มต้นที่หมู่บ้านแห่งนี้ซึ่ง เป็นเทศกาลทีม่ อี ยูท่ เี่ ดียวในโลก และสามารถดึงดูด นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติให้เดินทาง มายังสกลนครในแต่ละปีได้มากที่สุดอีกด้วย

ที่มา: tharaesakon.go.th


The Creative : มุมมองของนักคิด

เรื่อง: นที มีประเสริฐ ภาพ: นัทธ์ชนัน เพชรดี

นับเป็นโชคดีที่เราไม่ต้องเดินทางไปไกลถึงจังหวัดศรีสะเกษเพื่อพูดคุยกับผู้กำ�กับวัยเพียง 26 ปีคนนี้ เพราะนี่คือช่วงเวลาที่ ศักดิ์ - สุรศักดิ์ ป้องศร กำ�ลังพานักแสดงและทีมงานจาก ‘ไทบ้านเดอะซีรีส์’ มาที่กรุงเทพฯ เพื่อร่วมงานประกาศผลรางวัล ทางภาพยนตร์หลายๆ งานที่จัดติดๆ กันในช่วงเวลานั้นพอดี แม้ใจจริงจะรู้สึกเสียดายไม่น้อยที่ไม่ได้ไปสัมผัสบรรยากาศ ความเป็นอีสานแท้ๆ ที่ถูกเล่าผ่านในหนังเรื่องนี้ CREATIVE THAILAND I 28


อีสานใน ‘ไทบ้านเดอะซีรสี ’์ อาจไม่ใช่อสี านอันแร้นแค้นยากลำ�บากห่างไกล ความเจริญที่มักถูกนำ�เสนอผ่านสื่อต่างๆ จนกลายเป็นภาพจำ�อีกแล้ว ภายใต้บรรยากาศชนบทแบบดั้งเดิม การมาของอินเทอร์เน็ตที่เร็วและ ราคาถูกลง เขยิบให้พวกเขาไม่ได้รู้สึกห่างไกลจากความศิวิไลซ์อีกต่อไป ในขณะทีโ่ ซเซียลมีเดียก็กลายเป็นสะพานทีเ่ ชือ่ มผูค้ นให้เข้ามารูจ้ กั และสัมผัส ความเป็นอีสานไทบ้านได้ถึงถิ่นที่ จากรายได้ 30 ล้านบาทของ ‘ไทบ้านเดอะซีรีส์’ ในภาคแรก จนมาถึง ภาค 2.1 ทีข่ ยับไปสูห่ ลัก 50 ล้านบาท ถูกต่อยอดไปสูเ่ พลงประกอบภาพยนตร์ ระดับร้อยล้านวิวอย่างเพลง ทดเวลาบาดเจ็บ และ สเตตัสถืกถิม่ คือส่วนหนึง่ ในความสำ�เร็จที่สุรศักดิ์และกลุ่มเพื่อนพี่น้องในนาม เซิ้ง โปรดักชั่น กำ�ลัง มุ่งมั่นแสดงให้พวกเราเห็นว่า อีสานยังมีวัตถุดิบอีกมากมายที่รอคอยให้ ถูกใช้ในมุมมองใหม่ๆ เพื่อสร้างมูลค่าได้เสมอ เริ่มต้นสนใจการทำ�หนังตั้งแต่เมื่อไหร่ ประมาณ ม.1 - ม.2 ตอนนัน้ ยังเป็นยุคกล้อง DV อยู่ ซึง่ ราคากล้องมันสูงมาก แต่โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 29 (จ. ศรีสะเกษ) ที่เราอยู่ตอนนั้นอยู่ใน โครงการศูนย์ขา่ วเยาวชนไทย เราก็เข้าร่วมและเริม่ ทำ�หนังสัน้ ตัง้ แต่ตอนนัน้ คือถ่ายเอง เขียนบทตัดต่อเอง หลังจากนัน้ ก็เริม่ ขยับมารับงาน ถ่ายรับปริญญา บ้าง ทำ�วิดีโอพรีเซ็นเทชั่นให้อาจารย์บ้าง คืออาจารย์ที่ปรึกษาก็จะหางาน มาให้ มีสกู๊ปข่าวบ้าง มีทำ�เอ็มวีเพลงลูกทุ่งเพื่อชีวิตบ้าง เราก็ทำ�ไป อย่าง เอ็มวีนี่ส่วนใหญ่จะเป็นเหมามา คือบางทีก็ทำ�ทั้งอัลบั้ม เหมาแบบหมื่นห้า ทำ�กันสิบสองเพลง เป็นราคาแบบทีท่ �ำ แล้วแทบไม่ได้อะไรเลย แต่กท็ �ำ เพราะ ช่วงเรียนต้นทุนมันตํา่ ทีพ่ กั ก็ไม่เสียเพราะเรียนโรงเรียนประจำ� กินอยูก่ แ็ ทบ ไม่เสีย เลยไม่ได้กังวลเรื่องเงินอยู่แล้ว ตอนนั้นเราเรียนรู้วิธีการทำ�หนังอย่างไรบ้าง ก็ศึกษาเอง อาจารย์ที่ปรึกษาก็บอกเราว่า ปุ่มทุกปุ่มบนกล้องกดได้หมดนะ ลองกดดู ลองใช้ดู เราก็เริ่มเดินสายทำ�หนังสั้นส่งประกวด ตั้งแต่ระดับภาค ยันระดับประเทศ ได้รางวัลบ้างไม่ได้บา้ ง ตอน ม.3 ก็รบั งานตัดต่อจากรุน่ พี่ ทีร่ จู้ กั กัน เป็นสกูป๊ ข่าวสัน้ ๆ ในรายการหนึง่ ทางช่อง 7 รายได้วนั ละ 120 บาท เรียกว่าใช้แรงงานมาตั้งแต่เด็ก (หัวเราะ) พอขึ้น ม.4 เราก็ได้รางวัลเป็น ตัวแทนไปถ่ายทำ�สารคดีที่อินเดียกับเนปาล 12 วัน โดยโจทย์มีอยู่ว่าให้ใช้ กล้อง DV ถ่ายยังไงก็ได้ แต่ไม่มอี ปุ กรณ์ตดั ต่อให้นะ ต้องส่งม้วนเทปฟุตเตจ วิดีโอกลับมาที่ไทย แล้วก็คุยวิดีโอข้ามประเทศกลับมาที่โรงเรียนของเราให้ ทีมตัดต่ออีกที ซึ่งมันเป็นโปรเจ็กต์ที่บังคับให้เราต้องคิดทุกอย่างก่อนถ่าย หมดเลย จะสัมภาษณ์อะไร insert ภาพนีแ้ ล้วจะบรรยายอะไรต่อ หรือมุมกล้อง ถ่ายมาข้ามกันไหมชนกันไหม ซึ่งสำ�หรับเด็ก ม.4 มันยากมากๆ ต่อมา ม.5 เราก็ได้มาทำ�งานกับพระมหาพงษ์นรินทร์ ฐิตวํโส แห่งวัด สุทัศน์เทพวราราม คือไปอยู่เดินสายกับพระอาจารย์ประมาณปีหนึ่ง ตาม ท่านไปจัดอบรมตามที่ต่างๆ หลังจากนั้นก็เริ่มมาจัดค่ายอบรมของตนเอง ทั้งในโรงเรียนตัวเองและโรงเรียนอื่นในจังหวัด เขียนโครงการขอทุนมา ทำ�ค่ายอมรบเกี่ยวกับการทำ�หนังสั้นบ้าง หรือขอทุน ปปส. (สำ�นักงาน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด) ก็จัดเกี่ยวกับการรณรงค์

ต่อต้านยาเสพติด จนเริ่มมีเครือข่ายขยายไปตามอำ�เภอตามตำ�บลต่างๆ ในขณะเดียวกันก็ยังทำ�หนังสั้นส่งประกวดอยู่เรื่อยๆ จนตอน ม.6 เราได้รับคัดเลือกจากมูลนิธิหนังไทยให้เป็น 1 ใน 18 คน ไปญี่ปุ่นในโครงการ JENESYS นำ�หนังสั้นไปประกวดในเทศกาลภาพยนตร์ เยาวชนเอเชีย และไปได้รางวัลหนังสัน้ ยอดเยีย่ มกลับมา (รางวัลใหญ่สดุ ของ การประกวดครั้งนั้น จากเรื่อง ‘เสียดายเวลา’) ซึ่งมันเป็นจุดสูงสุดที่ทำ�ให้ เราอิ่มตัวกับการทำ�หนังสั้น หลังจากนั้นก็ไม่เอาละ ทั้งหนังสั้น ทั้งกิจกรรม ช่วงมหาวิทยาลัยเป็นอย่างไรบ้าง พอเข้าปีหนึ่งปั๊บก็หางานทำ�เลย ทั้งงานประจำ� งานฟรีแลนซ์ เหมือนที่เรา เคยทำ�ตอนสมัยมัธยมฯ พอทำ�งานประจำ�มา 1 ปี ก็เริ่มรู้สึกว่าไม่ไหว จริงๆ งานน่ะโอเค แต่เรารู้สึกกดดัน มันมีความกดดันสูง อย่างในมหาวิทยาลัยก็ อาจจะมีกลุ่มอาจารย์ที่แบ่งฝักแบ่งฝ่าย ในออฟฟิศก็เหมือนกัน เรามองเห็น ระบบบางอย่างที่ขับเคลื่อนอยู่ ซึ่งเราเองก็ตั้งคำ�ถามว่าทำ�ไมมันต้องเป็น แบบนัน้ แบบนี้ สุดท้ายก็ลาออกจากงานประจำ�มาทำ�ฟรีแลนซ์ จนมีโปรเจ็กต์ ใหม่ คือทำ�เกี่ยวกับรูปนํ้าตก ที่ช่วงหนึ่งฮิตทำ�รูปที่เป็นนํ้าตกตกลงมาเป็น หน้าคนบ้าง เป็นตัวหนังสือบ้าง ก็วิจัยกับมันประมาณ 2-3 ปีโดยมีพี่จั๊ก (จักรพล จันทวิมล) เป็นนายทุนให้ พี่จั๊กเป็นหนึ่งในผู้บริหารกลุ่มซีคอน ซึ่งเขาก็จะสอนวิธีคิดทางธุรกิจให้เรา การมองธุรกิจมันมีทั้งระดับล่าง ระดับกลาง ระดับสูง แล้วระดับสูงเขาจะมองอีกแบบหนึง่ ไปเลย เราก็ซมึ ซับ ประสบการณ์ตรงนั้นมาเรื่อยๆ จนกระทั่งเราออกมาตามความฝันต่อ คือเราอยากทำ�หนังเข้าโรง ก็ลาออกจากพี่จั๊กมา แล้วก็ไปดร็อปเรียนเอาไว้ ตอนนั้นปีสี่แล้ว ทำ�โปรเจ็กต์จบอะไรเรียบร้อย เหลือเรียนอีกประมาณ 4 ตัว หลังจากดร็อปเรียนก็เลยตัดสินใจอยู่กับตัวเองเป็นเวลา 2 ปี คือตัด ทุกอย่างเลย ค่าโทรศัพท์มือถือตัดออก เหลือแค่มือถือเติมเงินไว้รับสาย อย่างเดียว ตัดครอบครัว ตัดแฟน อยู่กับตัวเอง แล้วก็ไปอาศัยกับรุ่นพี่ที่เคย ไปทำ�งานออฟฟิศกับเขา คือลาออกจากเขามาแต่ก็ไปอาศัยอยู่กับเขา (หัวเราะ) นอนคิดถึงสิ่งที่เราอยากทำ� นอนแต่นอนไม่หลับ ตกกลางคืนก็ คิดไปเรื่อย คิดจนเช้า มานอนหลับจริงๆ ตอนแปดโมงเช้า ตื่นอีกทีก็เย็น ทำ�ตัวชิลล์มาก คนอื่นทำ�งาน แต่เราไม่ทำ� ช่วงเวลานั้นเราหมกมุ่นกับอะไรอยู่ คิดบทหนัง วางแผนชีวิต คิดแผนการตลาดจะทำ�ยังไงให้สำ�เร็จ เรามา ทบทวนว่าเรามีตน้ ทุนอะไรบ้าง หนึง่ คือทฤษฏีภาพยนตร์เราแม่น เรามีพนื้ เพ หรือฐานทีด่ ที จี่ ะทำ�หนังในอีสาน ขาดอย่างเดียวคือการทำ�มันออกมาให้เป็น รูปร่าง เพราะเราอยากวางแผนทุกอย่างให้ดีที่สุดก่อน เคยไปสมัครงานตามค่ายหนังต่างๆ บ้างไหม ไม่เคย เพราะเราไม่อยากทำ�งานประจำ� เราไม่อยากเป็นลูกน้องเขา สมมติ ว่าผมไปสมัครที่ GTH (หรือ GDH ในปัจจุบัน) แล้วเข้าไปได้ ผมก็ต้องใช้ เวลาอีก 5 ปี 10 ปีกว่าที่จะก้าวไปถึงจุดที่เราอยากทำ� เราขอวิธีลัดดีกว่า สมมติคิดแบบนักธุรกิจ สิ่งหนึ่งที่ได้จากการไปอยู่ในระบบสตูดิโอ คือ คอนเน็กชั่น แต่สิ่งที่ไม่ได้เลยคือ เราไม่มีทางจะโตไปกว่าเขา เต็มที่คือเป็น

CREATIVE THAILAND I 29


ที่สองรองจากเขาหรือเท่าเขา แต่สมมติว่าเราทำ�เอง เรามีสิทธิ์ทั้งที่จะเจ๊ง หรือไม่กป็ ระสบความสำ�เร็จกว่าเขาก็เป็นได้ ถ้าหากเรามีโมเดลทีด่ พี อในการ ทำ�งาน “โมเดลที่ดีพอ” สำ�หรับศักดิ์คืออะไร ระบบ วิธีการ หรือแนวคิดในการทำ�งานที่แข็งแรงพอ ยกตัวอย่าง GTH เราไปดูซิว่าเขามีอะไรบ้าง แกรมมี่มีอะไรบ้าง ทำ�ทั้งเพลง ทั้งละคร แบ่ง ออกมาทำ�หนังบ้าง มีการบริหารศิลปิน มันครบวงจร เราก็ตอ้ งวางเป้าหมาย อย่างนั้นไว้เหมือนกัน คือตอนนั้นเรามีความเชื่อเล็กๆ ว่าเราทำ�ได้ แต่ไม่รู้ ว่าเวลาไหน มันอาจจะใช้เวลานานก็ได้ แต่เราเชื่อเสมอว่า เฮ่ย! มันเป็น ไปได้น่ะ แค่น้ันเอง แล้วก็พยายามทำ�ให้แนวคิดตรงนั้นให้ชัดเจนมากขึ้น เรื่อยๆ เมื่อเรามีข้อมูลที่แน่นพอ และมากพอ เราจะเชื่อมั่นว่าทุกอย่าง เป็นไปได้

พอเรามีองค์ความรูท้ คี่ รบ เราก็จะ สามารถมองโลกได้กว้างขึน้ จากที่ เรามองแคบแค่ แ ก้ ว เราจะมอง กว้ า งเห็ น ทั้ ง โต๊ ะ ได้ ยิ่ ง มองเห็ น กว้างขึ้น มั น ท�ำให้ เ ราเชื่ อ มั่ น ว่ า มั น เป็ น ไปได้ มองไปถึ ง ว่ า เรามี พื้นที่แค่ไหน เรามีคู่แข่งเป็นใคร บ้าง ทั้ง ประเทศอยู่ในระดับ ไหน แล้ว ตัวเราอยู่ในระดับไหน ถ้ า มองเห็นเราก็มีความมั่นใจแล้วว่า เราจะเดินทางไปได้ไกลแค่ไหน

เหมือนศักดิเ์ ชือ่ ใน “ระบบการทำ�งาน” มากกว่า “ตัวบุคคล” ตอนเด็กๆ เราคิดแค่ว่าจะทำ�ยังไงให้ตัวเองเป็นที่หนึ่ง ต้องเก่งกว่าเขา แต่วา่ มันไม่ใช่ พอโตมาเรารูว้ า่ ยิง่ เก่งกว่าเขา เรายิง่ ต้องทำ�งานหนักกว่าเขา จนเราได้มาเรียนรู้จากพี่ๆ หลายคน เขาสอนให้เราเป็นคนฉลาด ใช้คนเก่ง ทำ�งาน ถ้าเราเป็นคนเก่งเราทำ�งานได้แค่ทีละชิ้น แต่ถ้าเราเป็นคนฉลาด เราใช้คนเก่งทำ�งานได้หลายชิ้น แต่ละคนก็มีความเก่งแตกต่างกัน เราแค่ จับมันไปวางให้ถูกจุด และใช้มันให้เป็นประโชยน์สูงสุด คือพอเรามีองค์ความรู้ที่ครบ เราก็จะสามารถมองโลกได้กว้างขึ้น จากทีเ่ รามองแคบแค่แก้ว เราจะมองกว้างเห็นทัง้ โต๊ะได้ ยิง่ มองเห็นกว้างขึน้ มันทำ�ให้เราเชื่อมั่นว่ามันเป็นไปได้ มองไปถึงว่าเรามีพื้นที่แค่ไหน เรามี คู่แข่งเป็นใครบ้าง ทั้งประเทศอยู่ในระดับไหนแล้ว ตัวเราอยู่ในระดับไหน ถ้ามองเห็นเราก็มคี วามมัน่ ใจแล้วว่าเราจะเดินทางไปได้ไกลแค่ไหน เมือ่ ก่อน ผมยังมองไม่เห็นเพราะยังทำ�ไม่สำ�เร็จ เมื่อไหร่ที่เราทำ�อะไรสำ�เร็จสัก อย่างหนึ่ง โลกเราจะกว้างขึ้นและมองไปได้ไกลยิ่งขึ้น คิดว่าการเป็น “คนทำ�หนัง” ในบ้านเรา มันเลี้ยงชีพได้ไหม ส่วนมากคนที่ทำ�ตรงนี้คือคนที่รักการทำ�หนัง แต่เลี้ยงชีพจริงๆ ไม่ได้ เพราะว่ามันไม่ได้มีเงินมากขนาดนั้น เราไม่อยากเป็นอย่างนั้น คือถ้าเรา สบายเราคงไม่อยากทำ�อะไร เพราะเราลำ�บากไงเราถึงต้องทำ�มัน แต่จะทำ� อะไรนั้นก็ต้องมาถามตัวเราเองว่าเราถนัดอะไร เราถนัดการทำ�หนังที่สุด เราก็เลยต้องทำ�ตรงนี้เพื่อไปต่อยอดสู่สิ่งอื่นๆ ต่อไป สมมติว่า ‘ไทบ้าน เดอะซีรีส์’ ลงทุน 2 ล้าน ได้รายได้ 30 ล้าน กำ�ไรเหลือมาถึงเราจริงๆ น้อยมาก โรงหนังหักไปแล้ว 65 เปอร์เซ็นต์ ภาษี ก็แพงมาก ซึ่งเป็นเรื่องที่คนทั่วไปไม่รู้ แบ่งคืนนายทุนอีก ตกถึงเราจริงๆ ก็นา่ จะประมาณ 10 ล้าน อันนีค้ อื ระดับโลคอลนะ แต่ถา้ จะไประดับประเทศ ต้องลงทุนเพิม่ อีกอย่างน้อย 30 ล้าน ทัง้ การตลาดและการทำ�หนัง เมือ่ ต้นทุน สูงขึ้น ความเสี่ยงก็สูงขึ้น ถ้าเราอยากจะไปให้ถึงรายได้ระดับ 200 ล้าน ก็ต้องมาดูว่า เขาทำ�ได้อย่างไร เขาอาจใช้เวลา 1-2 ปีในการพัฒนาบท คือ คนชอบบ่นว่าหนังไทยบทไม่ดี ไม่ใช่วา่ เราทำ�บททีด่ ไี ม่ได้ จะทำ�ให้ดไี ด้กต็ อ้ ง

CREATIVE THAILAND I 30


เราใส่เนือ้ หาเกีย่ วกับธุรกิจเข้ามามากขึน้ เพราะ เราอยากให้คนอี ส านสนใจแนวคิ ดในการท�ำ ธุรกิจมากขึ้น เมื่อไหร่ก็ตามที่คนอีสานเข้าใจ วิธกี ารท�ำธุรกิจ เรามีตน้ ทุนมีวตั ถุดบิ ทีเ่ ยอะกว่า เขาจะได้เปรียบทันที

ใช้เวลา ไหนบทดีแล้วก็ตอ้ งมาลุน้ ต่อว่าคนจะเข้ามาดูไหม คือถ้ามาเทียบจริงๆ 200 ล้านของหนังซักเรื่อง หักให้โรงหนังไป หักภาษีไป อาจจะเหลือจริงๆ แค่ 60 ล้าน หักอีกก็เหลือแค่ทุน 30 ล้าน ถามว่ามันเป็นวงจรที่ยั่งยืนหรือ คนที่ได้จริงๆ คือโรงหนัง ในขณะที่โรงหนังโตแบบก้าวกระโดด คนทำ�หนัง กลับโตได้แบบทีละก้าวๆ ทำ�สิบปียี่สิบปีก็ไปไม่ได้ไกลกว่านี้ ระบบการทำ� หนังในไทยมันไม่เอื้อให้กับคนทำ�เลย ตอนนี้รายได้หลักของกลุ่ม เซิ้ง โปรดักชั่น คืออะไร ไม่ได้มาจากหนัง แต่มาจากเพลง จากยูทูบ คนอีสานเข้าถึงอินเทอร์เน็ต มากขึน้ และนิยมฟังเพลงจากยูทบู มากขึน้ ไปเลีย้ งวัวเลีย้ งควายเขาก็ดยู ทู บู ทำ�งานก็เปิดเพลงจากยูทูบฟัง เพลงมันสามารถเปิดวนซํ้าๆ ได้ตลอด เราฟังเพลงซาํ้ ได้เป็นร้อยรอบ แต่รายการแค่รอบสองรอบก็เบือ่ การสร้างราย ได้จากเพลงจากยอดวิวในยูทูบมันเลยมีสูงกว่า สำ�หรับเราความสำ�เร็จของเพลงอย่าง ‘ทดเวลาบาดเจ็บ’ มันไม่ได้มา แบบฟลุก๊ ๆ แต่มนั เกิดจากการวางแผน วิเคราะห์หมดว่าคนฟังต้องการอะไร อยากฟังเนื้อหาแบบไหน อย่างคนส่วนใหญ่ชอบฟังเพลงอกหัก เพราะคน ทั่วไปอกหักมากกว่าสมหวัง ทุกข์มาก็บอกว่าอกหักบ้าง เขาเฉยชาก็บอกว่า อกหัก เขาไปคุยกับคนอืน่ ก็อกหัก คนอกหักมันเลยมีเยอะกว่า เราก็จบั ตลาด คนอกหักเป็นหลักเนี่ยล่ะ ต่อมาคือจะทำ�เพลงอกหักยังไงให้มันทรงพลัง เพลงมั น ต้ อ งมี เ รื่ อ งราวที่ ดี เราก็ เ ลยใช้ ห นั ง มาเป็ น เรื่ อ งราวของเพลง ให้คนฟังเพลงเชือ่ มโยงไปสูเ่ นือ้ หาในหนังได้ ซึง่ มันทำ�ให้คนเกิดอารมณ์รว่ ม ได้มากกว่าเพลงทีไ่ ม่มสี ตอรี่ คือถ้าเพลงไม่มสี ตอรี่ เพลงนัน้ มันต้องใช่จริงๆ โดนใจจริงๆ มันถึงจะดังได้ ทำ�ไมถึงคิดว่าสตอรี่เป็นเรื่องสำ�คัญ มันกลายเป็นโมเดลใหม่ ตอนนี้เป้าหมายในการทำ�หนังของเราก็เพื่อสร้าง สตอรี่ และการสร้างแบรนด์ให้กับอีกหลายอย่างที่เราจะทำ�ต่อไปในอนาคต ซึ่งต้นคิดมันมาจากตัวละคร เฮียป่อง (แสดงโดย สมชาย สายอุทา ซึ่งยัง

เป็นโปรดิวเซอร์ท�ำ เพลงต่างๆ ในบริษทั อีกด้วย) จาก ‘ไทบ้านเดอะซีรสี ’์ ใน ภาคแรก ที่อยากเปิดเซเว่นฯ คนพูดถึงเยอะมาก ป่องเปิดเซเว่นฯ ได้ไหม หรือแม้แต่เบรนด์ “ข้าวท้องป่อง” ที่มีในหนังคนก็ถามหา สมมติถ้าเราทำ� จริงๆ มันก็น่าจะพอขายได้ งัน้ เรามาลองคิดถึงการทำ�หนังเพือ่ สร้างแบรนด์ และขายแฟรนไซส์ คือธุรกิจต่างๆ ถ้าเราไม่ได้คิดให้มันพร้อมเป็นรูปแบบ แฟรนไซส์มันจะโตได้ช้า เราอยากให้มันโตเร็วขึ้น โตแบบก้าวกระโดด ตัวอย่างเช่นถ้าเราเปิดร้านตัดผมแค่รา้ นเดียวก็คงได้เงินประมาณหนึง่ แต่ถา้ เป็นแบรนด์เดียวกันแล้วขายแฟรนไซส์เปิดหลายๆ สาขา มันก็มีโอกาสได้ เงินมากขึ้นโดยที่เราอาจจะไม่ต้องทำ�อะไรมากไปกว่าการบริหารก็ได้ แนวคิดนี้มันก็มาสู่เป้าหมายใหม่ของตัวละคร เฮียป่อง ใน ‘ไทบ้าน เดอะซีรีส์ 2.1’ นั่นคือการเปิดสโตร์ผัก เราไม่ได้คิดแค่การทำ�หนัง แต่เรา กำ�ลังจะสร้างแบรนด์ และวางแผนการตลาดไปพร้อมๆ กัน ทั้งแพ็คเกจ ของสินค้า รูปแบบผลิตภัณฑ์ หรืออื่นๆ ที่เห็นในหนัง เราคิดในฐานที่มัน เป็นไปได้แล้วลงค่าใช้จ่ายลงมา คือในหนังมันต้องทำ�ให้โอเวอร์กว่าไปอีก สเต็ปหนึ่ง หมายความว่าการสร้างสโตร์ผักและแบรนด์ ในภาค 2.1 ทำ�ขึ้นเพื่อมาขายจริงๆ ด้วย อันนี้ยังตอบไม่ได้ (หัวเราะ) ต้องไปรอดูต่อในภาคที่ 2.2 คือเราอาจจะไม่ได้ ถนัดในแง่การบริหารธุรกิจ แต่เราถนัดในเรือ่ งการสร้างแบรนด์ ก็ตอ้ งหาคน มาร่วมทำ� ร่วมลงทุนกับเรา เราต้องคิดลงลึกไปถึงขั้นตอนการผลิต เหมือน ที่ในหนังภาคแรกเราพาผู้ชมไปดูขั้นตอนการทำ�นาของเฮียป่อง มาเทียบกับ การทำ�นาแบบทั่วไป ซึ่งคนดูเขาไม่ได้คาดหวังกับเนื้อหาตรงนี้หรอก เขาแค่ อยากได้ความบันเทิง อยากตลกอยากฮา ถึงได้มคี นบ่นว่า ภาค 2.1 มันตลก น้อยลง เพราะเราใส่เนื้อหาเกี่ยวกับธุรกิจเข้ามามากขึ้น เพราะเราอยากให้ คนอีสานสนใจแนวคิดในการทำ�ธุรกิจมากขึ้น เมื่อไหร่ก็ตามที่คนอีสาน เข้าใจวิธีการทำ�ธุรกิจ เรามีต้นทุนมีวัตถุดิบที่เยอะกว่า เขาจะได้เปรียบ ทันที

CREATIVE THAILAND I 31


ภาพจากภาพยนตร์ไทบ้านเดอะซีรีส์

คอนเน็กชั่นสำ�คัญที่สุด “...วิธีที่จะทำ�ให้โปรเจ็กต์เกิดขึ้นได้จริง หนึ่งเราต้องเชื่อมั่นว่าสิ่งนี้เป็นไปได้ก่อน อาจจะนับเป็น 25 เปอร์เซ็นต์ของทั้งหมด คอนเน็กชั่นคืออีก 50 เปอร์เซ็นต์ที่จะทำ�ให้สิ่งนี้มันเป็นไปได้เลย ต่อให้มีวิธีคิดดีแค่ไหน มีข้อมูลเพียบพร้อมแค่ไหน แต่ถ้าไม่มีคอนเน็กชั่น ไม่มีคนมาลงทุนด้วยมันก็ เป็นไปไม่ได้ ฉะนั้นวิธีการเข้าหาคอนเน็กชั่น มันควรจะถูกบรรจุไว้สอนคนทำ�หนังเลยด้วยซํ้า” ประสบการณ์จริง ทำ�ให้หนังสมจริง “เราดูหนังเยอะนะแต่จำ�ชื่อเรื่องไม่ค่อยได้ คือเราไม่ได้มีผู้กำ�กับคนไหนที่ชื่นชอบเป็นพิเศษ สิ่งสำ�คัญคือต้องใช้ชีวิตให้เยอะๆ เพราะมีผลต่อการ เขียนบทและกำ�กับ เช่นถ้าคุณจะทำ�ฉากรถชน พอชนแล้วเราจะรู้สึกอย่างไร จะทำ�อะไรก่อน จะเป็นห่วงตัวเองก่อนหรือคนข้างๆ หางตาเป็นยังไง จะเดินไปทางไหน หยิบจับอะไรก่อน ทั้งหมดนี้มันเกิดจากประสบการณ์จริงทั้งหมด” CREATIVE THAILAND I 32



Creative Will : คิด ทํา ดี ปลูกผักอินทรีย์ เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมและอัตลักษณ์ชุมชน “ที่นี่เราทำ�เกษตรอินทรีย์ ดูแลดิน เพราะดินเป็นหัวใจในการปลูกอาหารที่ เรากิน ทีฟ่ าร์มเราไม่มอี ะไรเป็นขยะเลย เศษอาหารเราให้เป็ดไก่กนิ มูลสัตว์ ใช้เป็นปุ๋ยให้พืช ส่วนการเพาะต้นกล้า เราเพาะไว้ปลูกเองและแบ่งปันให้คน ที่สนใจ ต้นกล้าคือเครื่องมือในการสื่อสารของเราว่าอย่าใช้สารเคมีเลย นอกจากเพาะต้นกล้า เรายังแจกเมล็ดพันธุ์ด้วย คนรุ่นก่อนอย่างคุณยายจะ เก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ปลูกต่อ คนสมัยนี้ไม่ค่อยเก็บ พอจะปลูกที ก็ต้องไปซื้อ เมล็ดพันธุ์ที่เขาตัดต่อพันธุกรรมมาแล้ว” ฟาร์มแห่งนี้ปลูกต้นไม้พื้นบ้านอย่างทองกวาว แคนา ลำ�ดวน เพราะ ต้องการอนุรักษ์พืชพันธุ์ท้องถิ่น ปัจจุบันคนมักจะตัดไม้พื้นบ้านเพื่อเอาที่ไว้ ปลูกยางพาราและมันสำ�ปะหลัง อันเป็นพืชที่ “ขายได้” แต่เน้ตติง้ กลับเห็นว่า ถ้ายังมีคนปลูกไม้พื้นบ้าน ก็จะยังมีคนรู้จักและบริโภคผลิตผลจากพันธุ์ไม้ เหล่านั้น “ถ้ามีคนปลูกก็จะมีคนกิน หากไม่ปลูก พันธุ์ไม้นั้นจะสูญพันธุ์ วัฒนธรรมอาหารเราก็สูญหาย”

เรื่อง: กรณิศ รัตนามหัทธนะ

“ทุกคนเป็น change maker ได้” เป็นความเชือ่ มัน่ ของเกษตรกรสาววัย 34 ปี อดีตเอ็นจีโอมูลนิธอิ าสาสมัครเพือ่ สังคม เน้ตติง้ -จารุวรรณ สุพลไร่ ผูต้ ดั สินใจ ลาออกจากงานที่รัก เพื่อกลับมาต่อยอดงานเกษตรกรรมของครอบครัว ที่อ. พิบูลมังสาหาร จ. อุบลราชธานี “แม้เราจะเป็นคนจำ�นวนน้อย แต่เราอยากเห็นการเปลีย่ นแปลงเกิดขึน้ ในทุกมิติ เคยทำ�งานเอ็นจีโอมา 7-8 ปี ได้เห็นคนตัวเล็กๆ ที่เปลี่ยนแปลง สังคม ทั้งระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ ก็รู้สึกว่าเราต้องเพิ่มปริมาณคนที่ คิดแบบนี้ ทุกคนเป็น change maker ได้ แค่ทำ�สิ่งเล็กๆ น้อยๆ ในชุมชน ในครอบครัวตนเอง” เธอกล่าว ภายใต้พื้นที่ 18 ไร่ เน้ตติ้งค่อยๆ พลิกฟื้นผืนดินทีละน้อย เธอเริ่มงาน อย่างจริงจังตัง้ แต่ตน้ ปี 2559 จนกลายเป็น Mekong Nomad Organic Farm ที่พิสูจน์ว่า การสร้างพื้นที่เพาะปลูกอย่างยั่งยืนบนผืนดินที่ขึ้นชื่อว่าแห้งแล้ง ทีส่ ดุ นัน้ “เป็นไปได้” จากสองมือของเกษตรกรตัวเล็กๆ และเพือ่ นๆ จากใน และต่างประเทศที่มาช่วยกันด้วยใจ ไม่มีงานหรือโครงการใดดำ�เนินได้อย่างยั่งยืนหากไร้ซึ่งปรัชญาการ ทำ�งานทีม่ นั่ คงและบ่งบอก “แรงบันดาลใจ” ของคนทำ�งาน สำ�หรับ Mekong Nomad Organic Farm ก็เช่นกัน Take care of the soil, Grow seedlings, Plant more trees, Grow food forest, Keep local seeds, Empower young learners และ Make natural buildings คือปรัชญาการทำ�งานที่เธอยึดถือ ผลที่ได้มีทั้งสิ่งที่จับต้องได้ คือ ผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ การจัดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ต่างๆ ส่วนสิ่งที่ จับต้องไม่ได้ก็คือการสื่อสารระหว่างคนหัวใจเดียวกัน และแรงบันดาลใจที่ งอกงามอยู่ในตัวผู้เกี่ยวข้องทุกคน

สร้างเยาวชนคนรุ่นใหม่หัวใจอินทรีย์ นอกจากการปลูกผักและต้นไม้ตา่ งๆ ทีน่ ย่ี งั มีโครงการเพือ่ สร้างเมล็ดพันธุ์ ทีเ่ ป็นคนรุน่ ใหม่ดว้ ย ฟาร์มแห่งนีจ้ ดั ค่ายมาแล้ว 4 ครัง้ และกำ�ลังจะมีครัง้ ที่ 5 ในเดือนพฤษภาคมนี้ ค่ายทุกครัง้ มีผเู้ ข้าร่วมแตกต่างกันไป ตัง้ แต่เด็กประถม นักศึกษามหาวิทยาลัย ไปจนถึงคนทำ�งานที่มุ่งมั่นกลับมาเป็นเกษตรกรที่ ภูมิลำ�เนาเดิม “การทำ�ฟาร์ม ทำ�คนเดียวมันเหนื่อยนะคะ ถ้ามีเพื่อนคู่คิด มีที่ปรึกษา เราจะไปต่อได้” เน้ตติ้งกล่าวถึงโครงการค่ายที่เป็นเสมือนพื้นที่ แลกเปลี่ยนความรู้และแรงบันดาลใจ ซึ่งมี “หัวใจ” ร่วมกันคือการปลูกฝัง เรื่องความมั่นคงทางอาหาร และความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ ทุกค่ายจัดขึ้นโดยการระดมทุนจากวิธี Crowdfunding หรือหาผู้สนับสนุน กิจกรรมของแต่ละค่ายแตกต่างกันไป เช่น ค่ายของนักศึกษามหาวิทยาลัย ทั้งเด็กไทยและเด็กๆ ต่างชาติ เป็นการนำ�เยาวชนรุ่นใหม่ 8 คน มาใช้ชีวิต ร่วมกัน 9 วัน 9 คืน เพื่อแลกเปลี่ยนทั้งวัฒนธรรม วิถีชีวิตแบบเกษตรกร ไปจนถึงประเด็นทางสังคม อนาคตของฟาร์มวิถโี นแมดแห่งนี้ เจ้าของฟาร์มตัง้ ใจว่าอยากพัฒนาให้ ไปไกลถึงขัน้ เป็นครัวชุมชนได้ “2-3 ปีแรกเราสร้างรากฐาน ให้คนปลูกได้ ปลูกเป็น แต่ในอนาคตอยากให้เป็นพื้นที่สำ�หรับอาหารปลอดภัย ต่อยอดไปทำ�อาหาร แบบธรรมชาติบ�ำ บัด เพราะความเจ็บป่วยต่างๆ มีตน้ ตอมาจากอาหารทีก่ นิ ทัง้ นัน้ ในอนาคตอาจทำ� Farm Stay ให้คนทีม่ าพักได้ดแู ลร่างกายและได้ทกั ษะ กลับไปดูแลตนเองด้วยวิธีธรรมชาติ เราอยากทำ�ให้เห็นว่าการกินอาหารดีๆ จากธรรมชาติ คือวิธีที่ยั่งยืน เป็นพื้นที่ของชุมชนที่จะเป็นแหล่งความรู้ได้” เกษตรกรสาวที่หัวใจใหญ่เกินตัวกล่าวว่า ทุกอย่างที่เธอทำ� ดูเหมือน เป็นภารกิจทีย่ งิ่ ใหญ่และหนักมาก แต่เธอไม่ได้ท�ำ อยูค่ นเดียว เพือ่ นเกษตรกร รุน่ ใหม่ในเครือข่ายทัง้ ในประเทศและภูมภิ าคลุม่ นํา้ โขง ทีม่ คี วามฝันคล้ายๆ กัน กำ�ลังช่วยกันทำ�งานขับเคลื่อนและเดินไปด้วยกันอย่างมีเป้าหมาย เพราะเราไม่ควรรอให้ภาครัฐหรือใครยื่นมือเข้ามาช่วยอย่างเดียว สุขภาพดีไม่มีขาย อยากได้ต้องทำ�เอง และ Mekong Nomad Organic Farm พิสูจน์แล้วว่า ทุกอย่างเป็นไปได้ด้วยสมองและสองมือ ติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่ Facebook: Mekong Nomad Organic Farm

CREATIVE THAILAND I 34




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.