Creative Thailand Magazine

Page 1

กรกฎาคม 2561 ปีที่ 9 I ฉบับที่ 10 แจกฟรี

Creative City Japanese Spirit Creative Startup Socialgiver The Creative กลุ่มสาธารณะ


m a k e Adisak Wattanatanta Atelier2+ Bora Hong Doonyapol Srichan ease studio Full Scale Studio INLY+กอปร Issaraphap Krit Phutpim - Dots Design Studio MONOW Naroot Pitisongsawat Nuttakorn Tungyouphuvadol Niti Plookvongpanit o-d-a PANTANG Studio PHTAA Studio 248 SATAWAT Secret of Woods Teerapoj Teeropas THINKK Studio 56th Studio สมถวิล wood maker www.anonymouschair.com #anonymouschair #issaraphap


ทรงพระเจริญ ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า นิตยสารคิด (Creative Thailand)


Contents : สารบัญ

The Subject

6

“ยิ้มสู้” ไม่ใช่ภาระ…แต่เป็นพลัง / RUN2GETHER วิ่งไป ดีไป / ส่งความสวยให้สาวหลังกำ�แพง / ศิลปะ ตัวตน และคนจร

Insight 20 I am, because of you เพราะความเห็นแก่ตัวคือการช่วยเหลือกัน

Creative Startup 22

Creative Resource 8

Featured Book / Books / Documentary

Socialgiver มิติใหม่ของการทำ�ความดี ที่มีแต่ได้กับได้

Creative City

24

อวัยวะเทียม...นํ้าใจยิ่งใหญ่เพื่อผู้พิการ

Japanese Spirit จากนํ้าใจชาวญี่ปุ่น ถึง “สปิริต” ประจำ�ชาติ

Local Wisdom

12

The Creative

28

Cover Story

14

Creative Will

34

MDIC 10

นํ้าใจไทยแสนงดงาม

Hello Nam Jai นํ้าใจไทยหายไปไหน

กลุ่มสาธารณะ เมื่องานสาธารณะคือหน้าที่ส่วนบุคคล

ลุงซาเล้งกับขยะที่หายไป

บรรณาธิการที่ปรึกษา l อภิสทิ ธิ์ ไล่สตั รูไกล บรรณาธิการอำ�นวยการ l กิตติรตั น์ ปิตพิ านิช ที่ปรึกษา l ศิรอิ ร หริม่ ปราณี, ชมพูนทุ วีรกิตติ, พิชติ วีรงั คบุตร, พจน์ องค์ทวีเกียรติ, เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร บรรณาธิการบริหาร l พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์ กองบรรณาธิการ l มนฑิณี ยงวิกลุ , ชลดา เจริญรักษ์ปญั ญา, รัตมิ า เผือกนาโพธิ,์ ปิยวรรณ กลิน่ ศรีสขุ เลขากองบรรณาธิการ l วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ ศิลปกรรม l ชิดชน นินนาทนนท์ สมาชิกสัมพันธ์ l ปิยะพร สวัสดิ์สิงห์ ประสานงานกองบรรณาธิการ l ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ ช่างภาพและมัลติมีเดีย l ภีร์รา ดิษฐากรณ์ นักศึกษาฝึกงาน l พฤฒ มิ่งศุภกุล จัดทำ�โดย l ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) 1160 อาคารไปรษณีย์กลาง ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10501 โทร. 02 105 7400 แฟกซ์. 02 105 7450 พิมพ์ที่ l โรงพิมพ์ดับบลิวพีเอส (ประเทศไทย) จำ�กัด โทร. 02 313 4405 แฟกซ์. 02 313 4445 จำ�นวน 15,000 เล่ม ติดต่อลงโฆษณา: Commu.Dept@tcdc.or.th นิตยสารฉบับนีใ้ ช้หมึกพิมพ์จากนา้ํ มันถัว่ เหลืองทีไ่ ม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทัง้ ยังเป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อม และใช้กระดาษ รีไซเคิล ซึ่งเป็นผลผลิตของผู้ประกอบการไทย จัดทำ�ภายใต้โครงการ “Creative Thailand สร้างเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์” โดยศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ สำ�นักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) ซึง่ มีเป้าหมายในการเผยแพร่ความรูเ้ กีย่ วกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) และผลักดันการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส CREATIVE THAILAND I 4 แสดงที่มา-ไมใชเพื่อการคา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย


startupstockphotos.com

Editor’s Note : บทบรรณาธิการ

กุญแจใจ การจะอยูร่ ว่ มกันในสังคมอย่างสงบสุขและมีความสุขได้นนั้ สิง่ หนึง่ ทีจ่ ะขาดไป ไม่ได้เลยก็คอื การมี “นา้ํ ใจ” ทีเ่ อือ้ เฟือ้ เผือ่ แผ่ระหว่างกัน ยิง่ นานวันทีส่ งั คมไทย เปลีย่ นจากสังคมขนาดเล็กทีผ่ คู้ นสามารถเดินทางไปมาหาสู่ รูจ้ กั ซึง่ กันและกัน แบบทักทายได้ทุกบ้านเสมือนญาติพี่น้อง มาสู่การเป็นสังคมขนาดใหญ่ที่ ซับซ้อน ซึง่ การติดต่อสือ่ สารระหว่างกันผ่านอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีให้ความรูส้ กึ สะดวกใจมากกว่าการมีปฏิสมั พันธ์กนั แบบตัวต่อตัว ก็ดเู หมือนว่าปริมาณนา้ํ จิต นํ้าใจของคนไทย รวมไปถึงคนเมืองทั่วโลกนั้น กำ�ลังเหือดแห้งลงทุกที ในทฤษฎีด้านการออกแบบเพื่อการแก้ปัญหาที่ได้รับการยอมรับว่ามี ประสิทธิภาพสูงและเหมาะกับการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ เพือ่ ช่วยยกระดับ คุณภาพชีวิตและสังคมในปัจจุบันอย่าง “กระบวนการคิดเชิงออกแบบ” หรือ Design Thinking นั้น ก็มีองค์ประกอบสำ�คัญที่เริ่มต้นจากการ “มีนํ้าใจ” เช่น เดียวกัน Design Thinking คือกระบวนการคิดที่ใช้เพื่อทำ�ความเข้าใจในปัญหา ต่างๆ อย่างลึกซึ้ง โดยยึดผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง และนำ�ความคิดสร้างสรรค์ ตลอดจนมุมมองที่ได้จากหลากหลายศาสตร์มาสร้างเป็นแนวทางการแก้ไข ก่อนนำ�ไปทดสอบและพัฒนา เพื่อให้ได้นวัตกรรมที่ตอบโจทย์กับผู้ใช้และ สถานการณ์นั้นๆ มากที่สุด ในหลักสูตรของ Stanford d.school ได้แบ่งขัน้ ตอนของ Design Thinking ออกเป็น 5 ขั้นตอน ได้แก่ Empathize, Define, Ideate, Prototype, และ Test

โดยขั้นตอนที่หนึ่ง หรือ Empathize นั้น เป็นขั้นตอนที่นักออกแบบจะนำ� ตัวเองเข้าไปอยูใ่ นปัญหานัน้ ๆ เพือ่ ทำ�ความเข้าใจและตีความปัญหาทีต่ อ้ งการ หาทางออกอย่างลึกซึ้ง เหมือนการ “เอาใจเขามาใส่ใจเรา” เพื่อที่จะเข้าใจ ในต้ น ตอของปั ญ หาที่ ผู้ อื่ น กำ � ลั ง เผชิ ญ อยู่ นั่ น เอง โดยกระบวนการช่ ว ง Empathize นับว่ามีความสำ�คัญอย่างมาก เพราะจะนำ�ไปสู่การพัฒนา คอนเซปต์ที่ใช่และตอบโจทย์ผู้ใช้ได้อย่างแท้จริง จึงถือเป็นก้าวแรกของ ความสำ�เร็จ โดยจากผลวิจัยในช่วงปี 2000 พบว่า 90% ของนวัตกรรมที่ ไม่ประสบความสำ�เร็จในโลกนี้ เกิดจากความผิดพลาดตั้งแต่ช่วง Empathize เหตุเพราะผู้ผลิตนวัตกรรมเหล่านั้นไม่ได้ทำ�ความเข้าใจผู้ใช้อย่างเพียงพอ หรือขาดความต้องการที่จะเข้าถึงปัญหานั้นจริงๆ จึงไม่สามารถสร้างแนวทาง เพื่อแก้ปัญหาขึ้นได้ การ Empathize หรือความพยายามเข้าใจและตระหนักถึงปัญหาของ ผูอ้ น่ื ด้วยใจจริง แท้จริงแล้วอาจมีความหมายใกล้เคียงกับคำ�ว่า “นํา้ ใจ” ในบริบท ทางสังคมทีเ่ ราใช้กนั จึงไม่นา่ แปลกใจทีว่ า่ จุดเริม่ ต้นจากความปรารถนาดีอย่าง จริงใจและเข้าใจนั้น มักนำ�มาซึ่งทางออกที่เหมาะสมเสมอ ความเป็นไทยและ นํ้าใจไทย จึงไม่ได้เป็นแค่เพียง “ภาพลักษณ์” ของประเทศที่เราต้องหวงแหน และรักษาไว้ แต่หลายครั้งที่ “นํ้าใจ” ยังเป็นจุดเริ่มต้นที่เราจะได้ลงมือทำ� ในสิ่งที่ดีต่อกัน เพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมของเราไปในทางที่ดีขึ้นได้นั่นเอง กิตติรัตน์ ปิติพานิช บรรณาธิการอํานวยการ

CREATIVE THAILAND I 5


facebook.com/thaihealth

facebook.com/YimsooCafe

The Subject : ลงมือคิด

“ยิ้มสู้” ไม่ใช่ภาระ…แต่เป็นพลัง

RUN2GETHER วิ่งไป ดีไป

หากพูดถึงการทำ�ความดี คนส่วนใหญ่คงนึกถึงการบริจาคเงินหรือสิง่ ของกับ ผูท้ ดี่ อ้ ยโอกาส และการทำ�นุบ�ำ รุงศาสนา แต่การให้ผทู้ รี่ อรับความช่วยเหลือ เพียงอย่างเดียวคงไม่ใช่การทำ�ความดีอย่างแท้จริง การบริจาคเป็นเรื่องราวที่ดีๆ ระหว่างผู้ให้และผู้รับ แต่การบริจาคนั้น ก็สร้างความไม่เป็นธรรมแก่ผรู้ บั ที่รอคอยการให้เพียงอย่างเดียวโดยไม่มคี วาม พยายามในการสร้างโอกาสให้กบั ชีวติ คุณค่าและโอกาสจึงเป็นสิง่ สำ�คัญของ การให้มากกว่าสิง่ ของ ร้านกาแฟ “ยิม้ สู”้ จึงได้มกี ารริเริม่ ขึน้ ในปี พ.ศ. 2559 โดยศาสตราจารย์ วิริยะ นามศิริพงศ์ฤพันธุ์ ประธานมูลนิธิสากลเพื่อ คนพิการ ได้ให้ผู้พิการนั้นสามารถประกอบอาชีพได้ภายในร้านกาแฟแห่งนี้ ตั้งแต่การชงกาแฟ ทำ�อาหาร รวมถึงการบริการต่างๆ ภายในร้าน เป็นการ สร้างอาชีพให้แก่ผพู้ กิ ารแทนทีจ่ ะรอคอยความช่วยเหลือและความเห็นใจจาก สังคม เปลีย่ นความอ่อนด้อยทางร่างกายเป็นความพยายามสร้างสรรค์คณุ ค่า ให้กับชีวิต การให้บริการของคาเฟ่ “ยิ้มสู้” ไม่เพียงให้คนพิการได้มีโอกาสในการ ทำ�งาน แต่เป็นการสร้างความน่าสนใจให้กับผู้ที่ใช้บริการ ด้วยการให้ผู้ใช้ บริการเรียนรู้การใช้ภาษามือของผู้พิการ ผสมผสานกับการตกแต่งร้านให้ น่าสนใจเสมือนกับร้านคาเฟ่ทั่วไปๆ ที่กำ�ลังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน การทำ� เรื่องราวดีๆ ไม่ได้เป็นแค่การบริจาคเงินหรือสิ่งของเท่านั้น แต่เป็นการ สร้างสรรค์เรื่องราวที่ดีให้กับการใช้ชีวิต และสามารถสร้างเป้าหมายที่ดี ให้กับผู้อื่น

ความไม่พร้อมของร่างกายอาจเป็นอุปสรรคต่อผู้พิการในการออกกำ�ลังกาย จนก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพได้ นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการ “วิ่งด้วยกัน” กิจกรรมวิ่งเพื่อสุขภาพที่เชิญชวนทั้งผู้พิการด้านร่างกายและคนทั่วไป มาวิ่งด้วยกันเพื่อสุขภาพโดยมี ต่อ ฉัตรชัย อภิบาลพูนผล ผู้ก่อตั้งบริษัท กล่องดินสอเป็นผู้ริเริ่มโครงการ กลุ่มวิ่งด้วยกันเริ่มต้นจากงานวิ่งเล็กๆ ที่อยากให้คนพิการทางสายตา ได้มาออกกำ�ลังกาย พร้อมมีอาสาสมัครเป็นไกด์รนั เนอร์คอยดูแลและพูดคุย ไปตลอดทั้งเส้นทาง จากการทดลองวิ่งครั้งแรกเมื่อปี 2558 กิจกรรมวิ่งด้วย กันก็ได้รบั การตอบรับทีด่ มี ากและไม่ใช่เพียงผูพ้ กิ ารทางสายตาเท่านัน้ เพราะ ผู้พิการประเภทอื่นก็สนใจเข้าร่วมกิจกรรมจนเกิดเป็นกิจกรรมวิ่งติดต่อกัน ในทุกเดือนและขยายไปสู่หลายจังหวัดทั่วประเทศ ปัจจุบันกลุ่มวิ่งด้วยกัน มีสมาชิกในเฟซบุ๊คเพิ่มขึ้นถึง 16,000 คน อีกทั้งยังมีงานประจำ�ปีโดยการ สนับสนุนจากสำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โครงการวิ่งด้วยกันมุ่งเน้นให้สังคมตระหนักถึงความเท่าเทียมและ การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน กิจกรรมนี้ไม่ได้เกิดขึ้นจากแนวคิดการทำ�บุญ เหมือนกิจกรรมส่วนใหญ่ทเี่ ป้าหมายเป็นผูพ้ กิ ารเพราะผูเ้ ข้าร่วมทุกคนจะต้อง จ่ายเงินค่าเข้าร่วม ไกด์รนั เนอร์จา่ ยคนละสามร้อยบาทส่วนคนพิการจะจ่าย เท่าไหร่ก็ได้โดยไม่เกินสามร้อยบาท คุณฉัตรชัยอธิบายว่าการที่คนพิการได้ จ่ายค่าเข้าร่วมงานเพราะทุกคนล้วนเท่าเทียมกัน และทำ�ให้พวกเขาสามารถ แสดงศักยภาพของความเท่าเทียมต่อสังคมได้ อีกทั้งยังมีผลตอบรับจาก คนพิการว่าเพียงสามร้อยบาทยังสามารถได้รับมิตรภาพ สุขภาพ ซึ่งเป็น ประโยชน์มากกว่าเงินที่เสียไป

เรื่อง: พฤฒ มิ่งศุภกุล

เรื่อง: นพกร คนไว

คาเฟ่ “ยิ้มสู้”: 27, 27/1-2 ถนนอรุณอัมริน ซอยอรุณอัมริน 39 เปิด: ทุกวัน 7.00-18.00 น. โทร 02 055 1901 ที่มา: บทความ “เมื่อคนพิการทำ�อะไรได้มากกว่าที่คิด !!! พื้นที่เปลี่ยนชีวิต ณ ยิ้มสู้คาเฟ่” จาก edtguide.com / บทความ “เปลีย่ นภาระให้เป็นพลัง ต่อยอดอาชีพให้กบั ผูพ้ กิ าร” “ยิม้ สู้ คาเฟ่” จาก wongnai.com / บทความ “ยิม้ สูค้ าเฟ่ ร้านน่านัง่ กาแฟดี อาหารอร่อย ไอเดีย มูลนิธสิ ากลเพื่อคนพิการ สร้างรายได้ให้ผู้ที่มคี วามบกพร่องทางด้านร่างกาย เดือนละ 1.2 หมืน่ ” จาก sentangsedtee.com

ติดตามข่าวสารกลุ่มวิ่งด้วยกันได้ที่: เฟซบุ๊ค“วิ่งด้วยกัน Fanpage” ที่มา: บทความ “ฉัตรชัย อภิบาลพูนผล: สร้างสรรค์สงั คมด้วยการ ‘หากิน’ กับคนพิการ” จาก thisable.me / บทความ “วิง่ ด้วยกัน 1 2 3 กระตุน้ สังคมสร้างสุขภาพ” จาก thaihealth.or.th

CREATIVE THAILAND I 6


เรื่อง: นพกร คนไว

facebook.com/Siswalksistalk

facebook.com/Siswalksistalk

facebook.com/Siswalksistalk

หลายคนอาจมองว่าปัจจัยพื้นฐานซึ่งได้แก่ อาหาร ที่อยู่ เครื่องนุ่งห่ม และ ยารักษาโรคจะเพียงพอแล้วต่อการใช้ชวี ติ แต่ในสภาพแวดล้อมและกฎระเบียบ ที่จำ�กัดของเหล่าผู้ต้องขังหญิง การมีเครื่องสำ�อางเพื่อแต่งหน้าก็เป็นสิ่ง สำ�คัญที่สามารถเยียวยาจิตใจพวกเธอได้ โครงการ “ส่งมอบความสวยให้ สาวหลังกำ�แพง” จึงเกิดขึน้ เพือ่ รับบริจาคลิปสติกเพือ่ ส่งต่อให้เหล่าผูต้ อ้ งขังหญิง โดยเป็นความร่วมมือกันของเฟซบุ๊คแฟนเพจ SisWalk SisTalk และ เพจ แฟร์ลี่เทล FairlyTell ด้วยการตอบรับจากทัณฑสถานหญิงกลาง โครงการ “ส่งมอบความสวย ให้สาวหลังกำ�แพง” ก็ได้เริ่มต้นขึ้นและประกาศเปิดรับบริจาคลิปสติกเป็น ครั้งแรก ผลตอบรับคือมีผู้คนร่วมบริจาคเป็นจำ�นวนมาก เหล่าอาสาสมัครได้ ช่วยกันคัดเลือกลิปสติกที่อยู่ในสภาพดีเพื่อนำ�ไปหลอมในความร้อนสูงและ บรรจุในตลับใส ซึง่ เป็นวิธกี ารตามระเบียบการของทัณฑสถานทีป่ อ้ งกันการ ลักลอบนำ�เข้าสิง่ ผิดกฎหมายอีกทัง้ ยังเป็นการฆ่าเชือ้ โรคไปในตัว โดยล่าสุด โครงการ “ส่งมอบความสวยให้สาวหลังกำ�แพง” ครั้งที่สอง ก็ได้เปิดรับสบู่ แชมพู และแปรงฟัน เพื่อให้ผู้ต้องขังได้ดูแลเรือนร่างของตน แม้การบริจาคลิปสติกจะเจอกับกระแสที่ไม่เห็นด้วยว่าเป็นการบริจาค สิ่งของฟุ่มเฟือย แต่ความเป็นจริงแล้วสิ่งของที่ดูเกินความจำ�เป็นอย่าง ลิ ป สติ ก กลั บ เป็ น ส่ ว นเติ ม เต็ ม ที่ สำ � คั ญ มากในด้ า นจิ ต ใจของผู้ ต้ อ งขั ง การแต่งหน้าช่วยสร้างความสดใส เกิดเป็นกำ�ลังใจและตอกยํา้ ถึงคุณค่าใน ตัวเองทีจ่ ะส่งไปถึงญาติและผูต้ อ้ งขังคนอืน่ ๆ เพราะทุกคนล้วนมีสทิ ธิท์ จี่ ะสวย และมั่นใจ

ที่มา: facebook.com/Siswalksistalk / บทความ “ลิปสติกเพื่อผู้ต้องขังหญิง ส่งนํ้าใจเพื่อ รอยยิ้มและความสวย” จาก matichonweekly.com

facebook.com/Pairojpichet

ส่งความสวยให้สาวหลังกำ�แพง

ศิลปะ ตัวตน และคนจร เรื่อง: ภีร์รา ดิษฐากรณ์

เมือ่ เราสังเกตเมืองทีเ่ จริญส่วนใหญ่ทวั่ โลก เรามักจะเห็นผูค้ นทีใ่ ช้ทส่ี าธารณะ เป็นที่พักอาศัย เหตุเพราะหลายคนไม่มีที่พักอาศัยที่แท้จริงจึงต้องพักอาศัย ตามที่สาธารณะต่างๆ เช่น ริมฟุตบาทถนน ป้ายรถเมล์ สะพานลอย หรือ สถานีรถไฟ เป็นต้น ปัญหาของคนไร้บ้านนั้นแม้จะมีที่มาจากหลากหลาย สาเหตุ หลากหลายปัจจัย ทว่าหลายๆ คนในสังคมอาจไม่เคยรู้เบื้องลึก เบื้องหลังเกี่ยวกับคนไร้บ้านเหล่านี้ จึงทำ�ให้บางคนมองข้ามปัญหาคนจร และอาจไม่กล้าเข้าไปให้ความช่วยเหลือ ป๊อก ไพโรจน์ พิเชฐเมธากุล ศิลปินไทยที่อาศัยอยู่ในนิวยอร์กกว่า 8 ปี คือหนึ่งในคนที่ตัดสินใจเข้าไปพูดคุย ทำ�ความรู้จักกับเหล่าคนจรไร้บ้าน พร้อมนำ�เอาศิลปะและความสามารถเฉพาะทางของตนเองมาช่วยเหลือผูค้ น เหล่ า นี้ ป๊ อ กมี ผ ลงานที่ เ ป็ น ที่ รู้ จั ก ในนิ ว ยอร์ ก อย่ า งโปรเจ็ ก ต์ ที่ ชื่ อ ว่ า Positivity Scrolls โดยเขาได้ตระเวนวาดรูปคนไร้บา้ นลงบนม้วนผ้าใบจำ�นวน มาก เพื่อให้ผู้คนที่ผ่านไปผ่านมาได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวและร่วม บริจาคให้กบั ผูไ้ ร้บา้ น ไม่วา่ จะเป็นการให้เงิน ให้อาหาร หรือแม้แต่เล่นดนตรี ให้เขาฟัง ป๊อกเผยว่า ช่วงแรกๆ เขาใช้เวลาเป็นชั่วโมงในการรวบรวมความกล้า เพือ่ ไปขอวาดภาพคนเหล่านัน้ “ผมมักจะชวนคุยและถามไถ่เรือ่ งราวของเขา เพือ่ นำ�มาถ่ายทอดลงในภาพด้วยโทนสี ลายเส้น และเน้นอารมณ์ผา่ นสายตา เพื่อสื่อสารถึงเรื่องราวที่แตกต่างกันออกไป ในตอนนั้นผมไม่รู้หรอกว่า งานที่วาดจะช่วยได้จริงหรือเปล่า แต่กว่าที่รูปวาดจะเสร็จสมบูรณ์ก็ใช้เวลา ประมาณ 3-5 ชั่วโมง อย่างน้อยการได้คนนั่งคุยเป็นเพื่อน ก็คงช่วยเยียวยา จิตใจพวกเขาได้บา้ ง” สิง่ ทีป่ อ๊ กได้ท�ำ นอกจากจะช่วยให้คนไร้บา้ นได้รบั เงิน เล็กๆ น้อยๆ หรือได้กินอาหารที่มีคนมอบให้แล้ว ยังช่วยให้พวกเขาเหล่านี้ ได้รสู้ กึ ว่าตัวเองนัน้ ยังมีตวั ตนอยูใ่ นสังคม ไม่ใช่แค่ตวั ตนบนภาพวาดเท่านัน้ ป๊อกได้ฝากถึงคนรุ่นใหม่ที่อยากทำ�ประโยชน์เพื่อสังคมว่า การที่เรา อยากจะทำ�อะไรเพื่อสังคม เราสามารถเริ่มจากสิ่งที่เราถนัดได้เลย ถึงแม้จะ ไม่มคี นเห็นในสิง่ ทีเ่ ราทำ� แต่เราก็หา้ มท้อ แล้ววันหนึง่ สิง่ ทีเ่ ราตัง้ ใจจะปรากฏ ให้คนอื่นเห็นได้อย่างแน่นอน ที่มา: บทความ “ป๊อก ไพโรจน์ พิเชฐเมธากุล ผู้สร้างงานศิลปะ เพื่อช่วยเหลือคนไร้บ้านใน นิวยอร์ก” โดย Nawarit จาก gmlive.com/247 / บทความ “ไพโรจน์ พิเชฐเมธากุล” ศิลปินไทย ทีใ่ ช้ศลิ ปะสร้างความสุขให้กบั คนไร้บา้ นทีน่ วิ ยอร์ค” โดย Linda จาก cosmopolitanthai.com / บทความ “เรื่องราวสร้างแรงบันดาลใจจากศิลปินไทยที่ดังไกลถึงนิวยอร์ก ‘ป๊อก - ไพโรจน์ พิเชฐเมธากุล’” โดย Benjaphan Rungsubhatanond จาก minimore.com

CREATIVE THAILAND I 7


Creative Resource : วัตถุดิบทางความคิด เรื่อง: เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร

F EAT U RED BOOK Empathy: Why It Matters, And How to Get It โดย Roman Krznaric ความเอื้อเฟื้อและการแบ่งปันทำ�ให้สังคมน่าอยู่ขึ้น แต่สิ่งที่เราต้องการจาก ผู้อื่นในลักษณะนํ้าใจนั้น อาจต้องย้อนถามใจตัวเราเองว่า สิ่งที่เราต้องการ นั้นคือความเห็นอกเห็นใจ ความเข้าใจ หรือความสงสาร ซึ่งหากเมื่อมี ฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์และอีกฝ่ายเสียประโยชน์เสมอ สิ่งนั้นมักไม่ยั่งยืน Roman Krznaric ผู้แต่งหนังสือเล่มนี้เชื่อว่า Empathy หรือความเข้าอก เข้าใจผูอ้ น่ื จะกลายเป็นทักษะทีจ่ �ำ เป็นในอนาคต และนับวันคนเรายิง่ สูญเสีย ทักษะนี้มากขึ้นทุกที ตามสภาพสังคมเมืองที่ขยายและเติบโตอย่างรวดเร็ว Empathy คือความเข้าอกเข้าใจผู้อื่นราวกับเข้าไปนั่งในใจเขา เข้าใจ ในสถานการณ์ทผี่ อู้ นื่ นัน้ พบเจอ และเมือ่ เราไม่เอาความรู้ ประสบการณ์ตาม กรอบความคิดของเรา เข้าไปตัดสินผูอ้ นื่ ทีอ่ ยูใ่ นสถานะทีแ่ ตกต่างกัน นัน่ จะ เป็นจุดเริ่มต้นในการทำ�ความเข้าใจปัญหาที่แท้จริง และจะสามารถสร้าง ความเปลีย่ นแปลงให้เกิดขึน้ ซึง่ การปลูกฝังความเข้าอกเข้าใจผูอ้ นื่ จนกลาย เป็นนิสัยนั้น สามารถทำ�ได้ และผู้แต่งนำ�เสนอไว้ 6 แนวทาง โดยเริ่มจาก การมองเห็นคุณค่าของความเข้าอกเข้าใจ ลดอคติโดยมองทุกคนอย่าง

เท่าเทียมว่าเราต่างเป็นพวกเดียวกัน ออกไปค้นพบประสบการณ์ใหม่ๆ เพื่อ เข้าใจโลกที่แตกต่าง ฝึกฝนพูดคุยกับคนแปลกหน้า หัดทำ�ความเข้าใจ ความคิดผู้อื่นผ่านงานศิลปะ หนังสือ ภาพยนตร์ รวมถึงโซเชียลมีเดีย และ สุดท้ายลองใช้ความเข้าอกเข้าใจนี้สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับโลก และ เป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้อื่น เช่นเดียวกับการพัฒนาสินค้าและบริการเพื่อให้ตอบสนองต่อความ ต้องการของผู้บริโภคได้อย่างแท้จริงและยั่งยืน ผู้ผลิตต้องเริ่มต้นจากความ เข้าอกเข้าใจ มองเห็นปัญหาที่ผู้บริโภคจะประสบพบเจอตลอดเส้นทางการ ใช้สนิ ค้าหรือบริการนัน้ ๆ รวมถึงการสร้างประสิทธิภาพและความสะดวกให้ เกิดขึ้นพร้อมๆ กับความเอาใจใส่ในรายละเอียด เพื่อว่าสิ่งนั้นจะส่งผลต่อ คุณค่าของการบริการ มากกว่าการมีจิตใจบริการ (Service Mind) ที่เราเคย เข้าใจ ซึ่งอาจเป็นเพียงการเอาอกเอาใจที่สร้างความประทับใจขึ้นได้เพียง ชั่วคราว

CREATIVE THAILAND I 8


BOOK Against Empathy: The Case for Rational Compassion โดย Paul Bloom เมตตาธรรมเป็นพื้นฐานที่สำ�คัญของการเป็น มนุษย์ การแสดงความรู้สึกเห็นอกเห็นใจเป็น จุดเชื่อมโยงความสัมพันธ์ในสังคม ซึ่งผู้ให้จะได้ รับความรู้สึกที่ดีเป็นการตอบแทน Paul Bloom ผู้เชี่ ยวชาญด้ า นจิ ตวิ ทยาต้ องการชี้ ให้ เห็ นอี ก แง่มุมหนึ่ง และข้อควรระวังในการใช้ความรู้สึก ในการแสดงความสงสารและความเห็ น อก เห็ น ใจเข้ า มาเป็ น หลั ก สำ � คั ญ ในการตั ด สิ น ใจ เรื่องต่างๆ ซึ่งบางครั้งอาจก่อให้เกิดผลกระทบ มากกว่าที่คิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการกำ�หนด นโยบายภาครัฐ เพือ่ ให้ความช่วยเหลือประชาชน ในเรือ่ งต่างๆ และสิง่ ทีอ่ นั ตรายของความเห็นอก เห็นใจ คืออาจสร้างความเป็นพวกเขาพวกเรา และเห็นใจเฉพาะกลุ่มคนที่เราพร้อมจะเข้าใจ เท่านั้น ขณะที่ผลักไสอีกกลุ่มให้ไปอยู่อีกด้าน จนมองไม่เห็นความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นอีกฝั่ง และ นัน่ อาจทำ�ให้สง่ิ ทีเ่ ริม่ ต้นจากความหวังดีกลับกลาย เป็นความโหดร้ายได้ในที่สุด

D OCU M E N TA R Y The Ask: For Business, For Philanthropy, For Everyday Living โดย Laura Fredricks เมื่อมีข้อจำ�กัดในการดำ�เนินการตามความฝัน การขอความช่วยเหลือเพื่อให้ได้รับการสนับสนุน จึงเป็นสิ่งจำ�เป็น การร้องขอจึงเป็นอีกหนึ่งทักษะ พิเศษที่ควรฝึกฝน หนังเล่มนี้ให้รายละเอียด ทีละขั้นตอนอย่างชัดเจน ง่าย และอ่านสนุก เปิดเผยทั้งศิลปะและหลักการทางจิตวิทยาเพื่อ ทำ�ให้เราได้ในสิง่ ทีต่ อ้ งการ ไม่วา่ สิง่ นัน้ จะเป็นเงิน เวลา อาชีพ หรือแม้แต่ชวี ติ ทีด่ ขี นึ้ ซึง่ ต้องเริม่ จาก การเลิกเกรงกลัวต่อความผิดหวัง การถูกปฏิเสธ และกล้าเผชิญกับโอกาสใหม่ในแบบที่ไม่เคย คาดคิดมาก่อน พร้อมสร้างความเข้าใจและความ สัมพันธ์ที่ดีกับเงิน ทรัพยากรพื้นฐานของธุรกิจ ตลอดจนตอบคำ�ถามพื้นฐานที่ว่า ทำ�ไมต้องเป็น เขา ทำ�ไมต้องขอเดีย๋ วนี้ และสิง่ ทีข่ อนัน้ จะเอาไป ทำ�อะไร เมื่อเราตอบ 3 คำ�ถามนี้ได้ นั่นหมายถึง คำ�ตอบในทางบวกที่รออยู่ และหมายถึงความ พร้อมที่จะเตรียมการในขั้นตอนต่อไป

พบกับวัตถุดิบทางความคิดเหล่านี้ได้ที่ TCDC Resource Center CREATIVE THAILAND I 9

Poverty, Inc. กํากับโดย Michael Matheson Miller ภาพยนตร์ ส ารคดี เ รื่ อ งนี้ จ ะพาเราไปสำ � รวจ อีกด้านของ “ความดี” ทุกครัง้ ทีเ่ ราเห็นภาพพืน้ ที่ ทุรกันดาร ผู้คนอดอยาก อาจเกิดความรู้สึก สงสารและอยากให้ความช่วยเหลือจับใจ เมื่อมี หน่วยงานพยายามยืน่ มือลงไปให้ความช่วยเหลือ ผู้ที่กำ�ลังยากลำ�บาก เราก็มักต้องการให้การ สนับสนุนองค์กรที่ทำ�ความดี แต่แท้จริงแล้ว สิ่งต่างๆ ไปถึงผู้รับอย่างไร และใครคือผู้ที่ได้รับ ประโยชน์ ที่ แ ท้ จ ริ ง กั น แน่ สารคดี นำ � เสนอ ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำ�แคมเปญเพื่อต่อสู้ กับความยากจนของหน่วยงานต่างๆ ที่มุ่งหน้า บริจาคด้วยการแจกข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ แต่ กลั บ ทำ � ให้ พ วกเขายิ่ ง จนลงไปกว่ า เดิ ม และ ทางออกของความยั่งยืนที่แท้จริงอาจเป็นการ พัฒนาคน ฝึกอาชีพ แล้วส่งเสริมให้พวกเขา ยืนได้ด้วยตัวของพวกเขาเอง


bbc.com/thai

bbc.com/thai

MDIC : นวัตกรรมและวัสดุ

อวัยวะเทียม...นํ้าใจยิ่งใหญ่เพื่อผู้พิการ เรื่อง: กองบรรณาธิการ

หากการแสดงนํ้าใจต่อกันที่ดีที่สุดในการอยู่ร่วมกันในสังคม คือการเคารพในสิทธิเสรีภาพของตนเอง ปฏิบัติตามหน้าที่ ที่เหมาะสมกับบทบาทของตนทางสังคม รวมทั้งให้เกียรติและเคารพสิทธิและการมีอยู่ของบุคคลอื่นในสังคมอย่างเท่าเทียม กันแล้ว สิ่งหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มพูนและธำ�รงไว้ซึ่งการแสดงออกถึงนํ้าใจต่อกัน ก็คือการช่วยให้ผู้พิการและผู้สูงวัยที่มีข้อจำ�กัด ทางร่างกาย สามารถใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติตามที่ต้องการ เทคโนโลยีมากมายถูกสร้างสรรค์และวิวฒั น์ขนึ้ สำ�หรับคนกลุม่ ดังกล่าว ตัง้ แต่ ยังต้องมีการพัฒนาขั้นต่อไปที่มุ่งสู่การทำ�ให้อวัยวะเทียมสามารถทำ�ในสิ่งที่ การวิจัยด้านการปรับเปลี่ยนพันธุกรรมต่างๆ เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ที่ อวัยวะมนุษย์ทวั่ ไปทำ�ได้งา่ ยโดยสัญชาตญาณ แต่มคี วามซับซ้อนอย่างยิง่ ใน ใช้ได้จริงกับร่างกายมนุษย์อย่างปลอดภัย การนำ�องค์ความรูท้ างจิตวิทยาและ เชิงวิศวกรรมให้ได้เสียก่อน จิตบำ�บัดมาเพือ่ เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กบั จิตใจของกลุม่ ผูป้ ว่ ย ผูพ้ กิ าร การใช้ขาเทียมไบโอนิกก้าวลงบันได นักวิจยั จะนำ�เซ็นเซอร์แบบทีใ่ ช้ใน และผูส้ งู วัย ไปจนถึงการพัฒนา “อวัยวะเทียม” ทีม่ ปี ระสิทธิภาพและเสมือน รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติมาติดตั้ง เพื่อให้ขาเทียมรับรู้สภาพแวดล้อมรอบ จริงมากขึ้น โดยล่าสุดสถาบันเทคโนโลยีแห่งแมสซาชูเซตส์ (เอ็มไอที) ของ ทิศทาง และตัดสินใจเคลื่อนไหวได้อย่างถูกต้อง เช่นเดียวกับที่สมองของ สหรัฐอเมริกา เผยความก้าวหน้าล่าสุดของกลุ่มวิจัยไบโอเมคาโทรนิกส์ มนุษย์มีส่วนคิดสั่งการท่วงท่าการวางเท้าที่บันไดขั้นต่อไปอย่างรวดเร็ว (Biomechatronics) ซึ่งกำ�ลังค้นคว้าพัฒนาอวัยวะเทียมหลายชิ้น โดยมี ตั้งแต่ขณะที่ขาและเท้ายังอยู่เหนือบันได โดยการก้าวลงบันไดแต่ละครั้ง จุดมุง่ หมายให้เทคโนโลยีอวัยวะเทียมก้าวไกลและสามารถทำ�งานได้อย่างเป็น ข้ อ เท้ า เที ย มจะเคลื่ อ นไหวไม่ เ หมื อ นกั น ซึ่ ง ให้ ค วามรู้ สึ ก ในการเดินที่ ธรรมชาติ ผสานกลมกลืนเป็นหนึง่ เดียวกับระบบประสาทและสมองของมนุษย์ เป็นธรรมชาติมากกว่า และจากการทดลองพบว่า ผูใ้ ช้ขาเทียมไบโอนิกสามารถ ศาสตราจารย์ฮิวจ์ เฮอร์ หัวหน้ากลุ่มวิจัยไบโอเมคาโทรนิกส์ของ เดินได้ไกลขึ้นและเร็วขึ้นกว่าการใส่ขาเทียมธรรมดา เอ็มไอทีระบุว่า เรากำ�ลังมาถึงจุดเปลี่ยนผ่านสำ�คัญในหน้าประวัติศาสตร์ ขณะที่อวัยวะเทียมยุคใหม่อีกประเภทหนึ่ง ซึ่งกำ�ลังก้าวข้ามพรมแดน ของมนุษยชาติ โดยกำ�ลังจะก้าวข้ามการใช้อวัยวะเทียมที่ทำ�งานแยกจาก การแบ่งแยกร่างกายมนุษย์ออกจากเครื่องจักรกล ก็คือโครงสร้างกระดูก ร่างกายของตนเอง ไปสูก่ ารใช้อวัยวะ “ไบโอนิก” ซึง่ ทำ�งานเลียนแบบกระดูก ภายนอก (Exoskeleton) ซึ่งกลุ่มวิจัยของศาสตราจารย์เฮอร์และบริษัท และกล้ามเนือ้ ตามธรรมชาติ ซึง่ จะเชือ่ มต่อเข้าเป็นส่วนหนึง่ ของร่างกายอย่าง เอกชนอีกหลายแห่งกำ�ลังพัฒนาเพือ่ ใช้ในวัตถุประสงค์อน่ื นอกเหนือจากการ แท้จริง แก้ไขความพิการ โดยมุง่ ให้เป็นโครงสร้างทีค่ นทัว่ ไปสามารถใช้สวมใส่ภายนอก ศาสตราจารย์เฮอร์ซงึ่ เสียขาทัง้ สองข้างจากอุบตั เิ หตุระหว่างการปีนเขา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำ�งานของร่างกาย เช่น ช่วยผ่อนแรงขณะเดิน ได้เผยให้เห็นขาเทียมไบโอนิกทีเ่ ขาพัฒนาขึน้ มาใช้งานเอง โดยอธิบายหลักการ หรือยกของ ทำ�งานของมันว่า เซ็นเซอร์รับสัญญาณความเคลื่อนไหวที่กล้ามเนื้อขาส่วน ทีย่ งั เหลืออยู่ จะสือ่ สารกับขาเทียมในเวลาทีต่ อ้ งการขยับเดิน ทำ�ให้ขาเทียม ทีม่ า: บทความ “อวัยวะเทียมเข้าสูย่ คุ “ไบโอนิก” ไร้พรมแดนร่างกาย-จักรกล” (15 กรกฎาคม ไบโอนิกเคลือ่ นตัวไปโดยใช้กลไกทีท่ �ำ งานคล้ายธรรมชาติมากทีส่ ดุ นอกจากนี้ 2017) จาก bbc.com/thai พบกับนวัตกรรมและวัสดุสร้างสรรค์ ได้ที่ชั้น 2 ห้อง Material & Design Innovation Center, TCDC CREATIVE THAILAND I 10


พบกับนิตยสาร “คิด” Creative Thailand ได้ที่ ร้านหนังสือ ห้องสมุด สมาคม อาคารสำ�นักงาน และร้านกาแฟใกล้บ้าน ในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ หัวหิน และจังหวัดอื่นๆ รวมถึง miniTCDC

หมดปญหาหยิบนิตยสารไมทัน สมัครสมาชิกรายป คาใชจายในการจัดสง 200 บาท (12 เลม)

ดูสถานที่จัดวางทั้งหมดได้ที่: www.tcdc.or.th/creativethailand/magazine/place

หรือสมัครออนไลนไดที่ tcdc.or.th/creative_thailand

กรุงเทพฯ ร้านหนังสือ • Asia Books • Kinokuniya • B2S • แพร่พิทยา

• MAIIAM Contemporary Art Museum • ชีวิต ชีวา • Minimeal Cafe • Impresso • Restr8to • Penguin Villa (Penguin Getto) ร้านกาแฟ/ร้านอาหาร • กาแฟอาข่า อ่ามา • Au Bon Pain La Fattoria สาขา2 • Starbucks • TOM N TOM’S COFFEE • Happy Hut ถ.นิมมานฯ • True Coffee • ราชดำ�เนิน • Auntie Anne’s • Mai Bakery In Garden • Baskin Robbins • Starbucks The Plaza • Coffee World • Yesterday Hotel • Mister Donut • October • Black Canyon • สุรยิ นั จันทรา นิมมานฯ ซอย 1 • McCafe’ • ร้านมีชามีชัย (กู) • ดอยตุง • Cafe’de nimman • Ninety four coffee • The Booksmith • Puff & Pie • ร้านชา (Drink Club) • Red Mango • Cotto Studio • Iberry • Starbucks Nimmanhemin • Greyhound Cafe’ • Fern Forest Cafe’ • Amazon Cafe’ • 9th Street Cafe • Chester’s Grill นิมมานฯ ซอย 9 • Luv minibar • ดวงกมล (Duang Kamol) • Rustic & Blue - Handgrown พิพิธภัณฑ์/หอศิลป์ • Produce & Artisan Food • หอศิลปวัฒนธรรม นิมมานฯ ซอย 9 แห่งกรุงเทพมหานคร • หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม • มิวเซียม สยาม • อุทยานการเรียนรู้ (TK park) มช. • นำ�ทอง แกลเลอรี่ หัวหิน • ร้านกาแฟ ชุบชีวา หัวหิน สมาคม/ห้องสมุด • อยู่เย็น หัวหิน บัลโคนี่ • ศูนย์ศิลปะนานาชาติ • บ้านใกล้วัง สมาคมฝรั่งเศส • ภัตตาคารมีกรุณา • ห้องสมุดเนลสัน เฮลส์ The Neilson Hays Library • บ้านถั่วเย็น @ แนบเคหาสน์ • ร้านอาหารหัวหิน (โกทิ) • ห้องสมุด - นิด้า • กาแฟข้างบ้าน • สมาคมโฆษณา • IL GELATO ITALIANO แห่งประเทศไทย • Together Bakery & Cafe’ • สมาคมธนาคารไทย • โรงแรม วรบุระหัวหิน • สมาคมสโมสรนักลงทุน • Let’s Sea • ห้องสมุด สสวท. • โรมแรม ดูน หัวหิน • สมาคมหอการค้าไทย • เดอะร็อค หัวหิน • สถาบัน • บ้านจันทร์ฉาย • Wall Street Institute • หัวหิน มันตรา รีสอร์ท • Raffle Design Institute • ลูน่าฮัท รีสอร์ท • Vision Swimming Academy กระบี่ • Nakamanda Resort & Spa เชียงใหม่ • Rawee Warin Resort & Spa • woo cefe • A little Handmade Shop • Kagee • Ristresto lab • ท่าแพอีสต์+ dibdee.binder ขอนแก่น • Hug School • C.A.M.P ,MAYA • True Coffee ,หอสมุด มช. of Creative Arts • ร้านสืบสาน • Punspace, นิมมานฯ • ร้านกาแฟ คอฟฟี่ เด้อ หล่า • asama cafe • มาหาสมุด (บ้านข้างวัด) (Coffee Der La) • see scape gallery เชียงราย • nimmanian club • ร้านหนังสือ herebookafe • 8 days a week • ร้าน Coffee Dad • Bulbul book cafe’ • Graph cafe’ นครราชสีมา • Cefe de museum • Hug station resort • local cafe Think park • Librarista นครปฐม • Artisan วัวลาย • ร้าน Dipchoc Cafe • paper spoon • กาแฟรสนิยม, นครสวรรค์ หลัง มช ทางขึ้นกาแล • The barn : Eatery Design • ร้าน Bitter Sweet • Book Republic น่าน • wake up หน้ามอ • ร้าน Runway Coffee • Fab cafe’ • kum cafe คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ • ร้านคลาสสิค โมเดล น่าน

• ร้านกาแฟปากซอย • ร้าน Nan Coffee Bean ปาย/แม่ฮ่องสอน • ร้านคอฟฟี่อินเลิฟ • ร้าน all about coffee • ร้านปายหวานบ้านนมสด • ร้านเล็กเล็ก • ปายวิมานรีสอร์ท พังงา • Niramaya Villa and Willness Resort • Ranyatavi Resort Phang Nga • The Sarojin เพชรบุรี • Grand Pacific Sovereign • Resort & Spa • DevaSom Hua Hin Resort ภูเก็ต • ร้านหนัง(สือ) ๒๕๒๑ ภูเก็ต • The oddy Apartment & Hotel • At Panta Phuket • Banyan Tree Phuket • Le Meridien Phuket • Millienium Ressort Patong Phuket • Novotel Phuket Resort • Patong Paragon Resort & Spa Phuket • Sheraton grand Lagana Phuket • Sri wanwa Phuket Villa • Thanyapura ระยอง • Le Vimarn Cottage ลำ�ปาง • อาลัมภางค์ เกสท์เฮ้าส์ แอนด์ มอร์ ลำ�ปาง • ร้านเอกาลิเต้ Egalite Bookshop • Lampang Art Center เลย • บ้านชานเคียง • มาเลยเด้ เกสต์เฮาท์ ลพบุรี • ซนดิคอฟฟี่ สมุทรสงคราม/อัมพวา • Baan Amphawa Resort and Spa สุโขทัย • Ananda Co.,Ltd. สุราษฎร์ธานี • Muang Samui Spa Resort • Pavilion Samui Boutique Resort • The Sunset Beach Resort and Spa Taling ngam • Nora Beach Resort Samui อุทัยธานี • ร้านบุ๊คโทเปีย Booktopia • Avatar Miracles

ขอมูลผูสมัครสมาชิก สมาชิกใหม ชื่อ นามสกุล เพศ โทรศัพท

สมาชิกเกา (ตองการตออายุสมาชิก) หญิง อายุ

ชาย

อีเมล

โทรศัพทมือถือ

อาชีพ นักเรียน ครู/อาจารย

นิสิต/นักศึกษา พนักงานบริษัท

นักออกแบบ/ครีเอทีฟ ผูประกอบการ

อาชีพอิสระ อื่นๆ โปรดระบุ

ขาราชการ/รัฐวิสาหกิจ

สาขา/อุตสาหกรรมที่เกี่ยวของกับอาชีพของทาน โฆษณา สถาปตยกรรม แฟชั่น ศิลปะการแสดง ดนตรี ภาพยนตร โทรทัศน/วิทยุการกระจายเสียง

ทองเที่ยว/โรงแรม/สายการบิน วรรณกรรม/การพิมพ/สื่อสิ่งพิมพ พิพิธภัณฑ/หองแสดงงาน ซอฟตแวร/แอนิเมชัน/วิดีโอเกม

หัตถกรรม/งานฝมือ การเงิน/ธนาคาร ทัศนศิลป/การถายภาพ อื่นๆ โปรดระบุ

อาหาร การแพทย การออกแบบ

คาปลีก/คาสง โทรคมนาคม

ที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ จังหวัด

ซอย

ถนน รหัสไปรษณีย

หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง

อำเภอ/เขต

หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง

อำเภอ/เขต

ที่อยูในการออกใบเสร็จ เหมือนที่อยูในการจัดสง เลขประจําตัวผูเสียภาษี เพื่อออกใบเสร็จรับเงิน หมูบาน/บริษัท เลขที่ ซอย ถนน จังหวัด รหัสไปรษณีย

ตองการสมัครสมาชิกนิตยสาร Creative Thailand ระยะเวลา 1 ป จำนวน 12 เลม เริ่มตั้งแตฉบับเดือน โดยยินดีเสียคาใชจายในการจัดสงเปนจำนวนเงิน 200 บาท

วิธีการชำระเงิน เช็คสั่งจายศูนยสรางสรรคงานออกแบบ พรอมใบสมัครสมาชิก โอนเงินเขาบัญชีออมทรัพย ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ เลขที่บัญชี 101-808967-0 ธนาคารกรุงเทพ สาขาสำนักงานใหญสีลม • แฟกซใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่ 02-105-7450 • หรือสงไปรษณียมาที่ ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (Creative Thailand) อาคารไปรษณียกลาง 1160 ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10501 • หรือแนบไฟลใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่อีเมล creativethailand@tcdc.or.th สอบถามขอมูลเพิ่มเติมไดที่ 02-105-7400 ตอ 122


up.ac.th

Local Wisdom : ภูมิความคิด

เรื่อง: ปิยะพร สวัสดิ์สิงห์

แม้จะเป็นสิ่งเล็กๆ น้อยๆ แต่ก็สามารถสร้างรอยยิ้มกว้างและความประทับใจได้เสมอ “นํ้าใจ” อาจฟังดูเป็นนามธรรม แต่ถ้า เราไม่มองผ่านไป ก็อาจพบเห็นร่องรอยของนํ้าใจที่รายล้อมอยู่รอบตัวเราเสมอ ในสังคมไทยตั้งแต่โบราณมา ภาพแห่งความ เอื้อเฟื้อเกื้อกูลกันของคนในสังคมเกิดขึ้นอย่างละเมียดละไม เป็นธรรมชาติ และสวยงามคล้ายภาพในฝัน โดยหลายสิ่งยังคง ดำ�เนินอยู่มาจนถึงปัจจุบัน เพียงแต่อาจจะมีรูปแบบที่เปลี่ยนไปตามวิถีชีวิตของวันใหม่เท่านั้นเอง ต้อนรับขับสู้โดยพืน้ ฐาน นับเป็นธรรมเนียม ไทยแท้แต่โบราณที่ “ใครมาถึงเรือนชานต้อง ต้อนรับ” คนไทยยิ้มแย้มแจ่มใส มีอัธยาศัยดี ชอบทักทายปราศรัย และต้อนรับแขกผูม้ าเยือน อยู่เสมอ ใครมาก็ประทับใจ อบอุ่น และกลาย เป็ น ส่ ว นสำ � คั ญ ส่ ว นหนึ่ ง ที่ ทำ � ให้ ธุ ร กิ จ การ ท่องเทีย่ วและการบริการของไทยติดอันดับต้นๆ ของโลกเสมอมา เพราะการมีมิตรไมตรีเป็นสิ่ง ที่แสดงให้เห็นถึงนํ้าจิตนํ้าใจเป็นด่านแรกก่อน จะนำ�ไปสู่สิ่งดีอื่นๆ ที่ตามมา

ขันเงินใส่นํ้าที่ทุกบ้านต้องมี คนไทยในสมัย ก่อนนิยมเก็บดอกมะลิมาลอยนํ้าฝนเย็นชื่นใจ ทีไ่ ด้รองไว้ในตุม่ หลังบ้าน ขันเงินใส่นาํ้ ฝนลอย ดอกมะลิจงึ เป็นสัญลักษณ์แห่งนํา้ ใจทีถ่ กู ใช้เพือ่ ต้อนรับแขกผู้มาเยือนถึงเรือนชาน หรือแม้แต่ ผู้ที่สัญจรผ่านไปมา กลิ่นหอมและความสวย บริสุทธิ์ของดอกมะลิ ยิ่งทำ�ให้นํ้าในขันเย็น ชืน่ ใจ และทำ�ให้คนทีไ่ ด้ดมื่ นัน้ หายเหนือ่ ยเป็น ปลิดทิ้ง

CREATIVE THAILAND I 12

สำ � รั บ กั บ ข้ า วกั บ การนั่ ง ล้ อ มวงกิ น ข้ า ว คนไทยมีวัฒนธรรมในการนั่งล้อมวงกินข้าว ด้ ว ยกั น บางบ้ า นนั่ ง ล้ อ มวงกั น บนพื้ น ครั ว บางบ้ า นก็ อ อกไปล้ อ มวงกิ น ข้ า วนอกชาน บ้านของคนไทยสมัยก่อนจะปลูกเรียงติดๆ กัน ทำ�ให้มีโอกาสได้ไปมาหาสู่กันเสมอๆ หาก วันไหนบ้านใครทำ�แกงมากหน่อย ก็จะตักไป แบ่งเพื่อนบ้าน หรือแลกกับข้าวกับปลากันกิน หรือหากวันไหนมีเพื่อนบ้านมาเยี่ยมเยียนที่ บ้าน ก็ไม่แคล้วจะต้องชวนนั่งล้อมวงกินข้าว


ไปด้วยกัน เสมือนทุกคนก็เป็นครอบครัว เป็น ญาติพ่ีน้องของเรา สมกับคำ�ทักทายที่ได้รับ ความนิยมอย่าง “ไปไหนมา กินข้าวกินปลามา หรือยัง”

งานบุญทอดผ้าป่าและงานบุญทอดกฐิน ประเพณีการทำ�บุญอีกอย่างหนึง่ ของพุทธศาสนิกชน

ที่มีมาแต่โบราณ มีตั้งแต่การทอดผ้าป่า ที่ทำ� ได้ตลอดทั้งปี ในแต่ละปีที่วัดจะมีการทอด ผ้าป่ากีค่ รัง้ ก็ได้ เป็นการทำ�บุญโดยนำ�ผ้าจีวรไป ถวายพระโดยไม่ระบุเจาะจงพระภิกษุทจ่ี ะมารับ ในปัจจุบนั การทอดผ้าป่านิยมนำ�กิง่ ไม้มาปักไว้ กลางกระถางแล้วนำ�ผ้าสบง จีวร มาผูกแขวนไว้ อีกทั้งยังมีการแขวนสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ที่ จำ�เป็นมาถวายพระ ส่วนงานบุญทอดกฐินก็ คล้ายกันกับการทอดผ้าป่า เพียงแต่จะทำ�กัน ปีละครัง้ โดยมีชว่ งระยะเวลากำ�หนด คือ ตัง้ แต่ วันแรม 1 คา่ํ เดือน 11 ถึงวันขึน้ 15 คํา่ เดือน 12 งานบุญทอดผ้าป่าและทอดกฐินนี้ นับเป็น งานบุญใหญ่ประจำ�ทุกปีที่คนในหมู่บ้าน ญาติ พี่น้อง จะสมัครสมานสามัคคีร่วมแรงร่วมใจ กันสร้างบุญเพื่อถวายแก่วัดและผู้ที่สืบทอด พระพุทธศาสนา การลงแขกเกี่ยวข้าว นับเป็นประเพณีและ วั ฒ นธรรมแห่ ง ความเอื้ อ เฟื้ อ เผื่ อ แผ่ ข อง สังคมไทย การลงแขกเกี่ยวข้าวนอกจากจะ แสดงให้เห็นภาพของสังคมและชุมชนที่ต่าง พึ่งพาอาศัยกันแล้ว ยังเป็นการมอบนํ้าใจที่มี ให้กัน ด้วยการช่วยกันคนละไม้ละมือ ทำ�ให้ งานๆ หนึ่งสำ�เร็จลุล่วง นับเป็นประเพณีอัน งดงามที่สร้างทั้งความรัก ความสมัครสมาน สามัคคีกนั และยังเป็นโอกาสทีด่ ใี ห้คนในชุมชน ได้มาพูดคุยแลกเปลี่ยนทัศนคติระหว่างกัน ช่วยให้ญาติที่อยู่ไกลกันได้กลับมาพบปะกัน อีกด้วย โดยเมื่อมีการ “ลงแขกรวมแรง” แล้ว เมื่อมีคนมาช่วยเราเป็นการตอบแทนหลังจาก ทีเ่ ราเคยไปช่วยไว้จะเรียกว่า “ลงแขกคืนนา้ํ ใจ” เป็นขนบที่นอกจากจะช่วยสานสัมพันธ์คนใน ชุมชน ก็ยังสร้างความสนุกสนาน เกิดเป็น วัฒนธรรมการขับร้องเพลงระหว่างเกี่ยวข้าว อย่างเพลงเต้นกำ�รำ�เคียว ด้วยการถือเคียว ยํ่าเท้าตบมือไปตามจังหวะ เพื่อให้เกิดความ

สนุกสนาน ผ่อนคลาย คลายความเหนื่อยล้า จากงาน และยังถือเป็นการเกีย้ วพาราสีกนั ของ คนหนุ่มสาวสมัยก่อน โดยปัจจุบันการลงแขก ยังถูกนำ�มาปรับใช้ในการขอแรงเพื่อการทำ� สาธารณะประโยชน์อนื่ ๆ ได้แก่ การสร้างศาลา วัด หรือการขุดสระนํ้าของหมู่บ้าน เป็นต้น

การบำ � เพ็ ญ ประโยชน์ ใ นวิ ช าลู ก เสื อ เนตรนารี ชั่วโมงเรียนวิชาลูกเสือ เนตรนารี หรือยุวกาชาดในหลายๆ โรงเรียน ปลูกฝังให้ เด็ ก ๆ มี ค วามเอื้ อ อาทรต่ อ ผู้ อื่ น มี นํ้ า ใจ เกือ้ กูลกัน สอนให้รนุ่ พีไ่ ด้ดแู ลรุน่ น้อง และรูจ้ กั การทำ�งานเพื่อสาธารณะประโยชน์ อย่างที่ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ มีการจัดเป็นค่าย บำ�เพ็ญประโยชน์ “พีช่ ว่ ยน้อง” “เพือ่ นช่วยเพือ่ น” ทีเ่ ป็นกิจกรรมบูรณาการความรูด้ า้ นวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์สอนให้กันอีกด้วย ค่ายอาสาพัฒนา โครงการค่ายอาสา ไม่ว่า จะเป็นในมหาวิทยาลัย หรือโครงการทีจ่ ดั ตัง้ ขึน้ เฉพาะกิจ ล้วนแต่เป็นการแสดงถึงนํา้ ใจทีม่ ใี ห้ กันและกัน ค่ายอาสามีหลากหลายรูปแบบ ขึ้ น อยู่ กั บ ความสนใจและความถนั ด ของ สมาชิก ทั้งเรื่องเกี่ยวกับธรรมชาติ เช่น การ ปลู ก ป่ า ต้ น นํ้ า สร้ า งฝายกั้ น นํ้ า หรื อ งาน เกี่ยวกับสังคมและการศึกษา เช่น การสร้าง และปรับปรุงอาคารเรียน หรือค่ายสอนหนังสือ ให้น้องๆ การลุ ก ให้ เ ด็ ก หญิ ง ตั้ ง ครรภ์ คนชรา พระภิกษุ นัง่ บนรถสาธารณะ ป้ายสัญลักษณ์

บนรถสาธารณะประจำ�ทาง ทัง้ รถเมล์ รถไฟฟ้า บีทีเอส รถไฟฟ้าใต้ดิน มักจะมีป้ายขอให้ แบ่งปันที่นั่งให้กับเด็ก หญิงตั้งครรภ์ คนชรา และพระสงฆ์ เป็นการสร้างนิสยั ในการเอือ้ เฟือ้ ซึง่ กันและกันให้กบั คนในสังคมไทย ปลูกฝังให้ เด็กๆ เติบโตไปพร้อมกับการเรียนรู้ถึงการมี นํ้าใจต่อผู้อื่น โดยเริ่มจากสิ่งเล็กๆ น้อยที่ สามารถทำ�ได้ง่ายๆ ในชีวิตประจำ�วัน

เครือข่ายจิตอาสา หลังจากปีพ.ศ. 2547 ที่ เกิ ด ภั ย ทางธรรมชาติ อ ย่ า งคลื่ น ยั ก ษ์ สึ น ามิ ทำ�ให้เราได้เห็นนํ้าใจของคนไทยที่หลั่งไหลไป CREATIVE THAILAND I 13

ช่วยเหลือเพือ่ นร่วมชาติและชาวต่างชาติอย่าง เสียสละ ก่อเกิดเป็นเครือข่ายที่แน่นหนาและ มีพลังมากยิ่งขึ้น เครือข่ายจิตอาสาเหล่านี้จะ ดำ�เนินการจัดการงานด้านอาสาสมัครอย่าง ต่ อ เนื่ อ งทั้ ง ในสถานการณ์ ภั ย พิ บั ติ และ สถานการณ์ปกติ โดยมุง่ จัดการข้อมูลและระบบ เชือ่ มต่อระหว่างผูใ้ ห้และผูร้ บั ให้มปี ระสิทธิภาพ มีการขับเคลื่อนนโยบายและมาตรการด้าน จิตอาสา ซึง่ เป็นการทำ�งานตัง้ แต่ตน้ ทาง มีการ รณรงค์ แ ละเผยแพร่ ง านจิ ต อาสาด้ ว ยการ สื่อสารที่หลากหลาย นอกจากนั้นยังเน้นการ ส่ ง เสริ ม ประสานงานและพั ฒ นาศั ก ยภาพ ภาคส่วนต่างๆ เพือ่ การขับเคลือ่ นงานจิตอาสา และการปฏิบัติงานในส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนช่วยระดมทุนเพื่อการทำ�งานด้าน จิตอาสาที่ยั่งยืน การระดมทุนออนไลน์ เมื่ อ โลกออนไลน์ เปิดทางให้เราแสดงนํา้ ใจได้งา่ ยยิง่ ขึน้ เว็บไซต์ อย่าง taejai.com จึงนับเป็นอีกหนึ่งช่องทาง เพื่อการช่วยเหลือกันของกลุ่มคนที่อยากทำ� เรื่องดีๆ ให้กับสังคม โดยเทใจทำ�หน้าที่เป็น ตัวกลางในการเปิดระดมทุนออนไลน์ ให้กับ โครงการที่เน้นความคิดสร้างสรรค์ สามารถ สร้างประโยชน์ได้ชัดเจน วัดผลได้จริง และมี ประสิทธิภาพ ตัวอย่างโครงการที่ระดมทุน สำ�เร็จ เช่น โครงการอาหารช่วยหมาป่วย โครงการเตียงลมช่วยเหลือผูป้ ว่ ยจิตเวชติดเตียง โครงการจัดซื้อชุดยาสามัญคนไร้ที่พึ่ง และ โครงการส่งหนังสือให้โรงเรียนที่ถูกนํ้าท่วม ภาคใต้ เป็นต้น โดยแทบทุกโครงการของเทใจ ได้ รั บ การระดมทุ น จากคนใจบุ ญ มากกว่ า เป้าหมายที่ตั้งไว้ ปัจจุบันเว็บไซต์สามารถ สะสมยอดบริจาคได้ทั้งหมด 43,158,892 บาท จากจำ�นวนผูบ้ ริจาคทัง้ หมด 15,475 คน และมี โครงการทีร่ ะดมทุนสำ�เร็จแล้วกว่า 236 โครงการ ที่มา: Manner ฉบับที่ 6: วางตัวอย่างไร เมื่อไปเป็นแขก จาก fb.com/5000sMagazine / บทความ “การลงแขก เกี่ยวข้าว” จาก rakbankerd.com / บทความ “สืบสาน ประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว” จาก nationtv.tv / ประเพณี การทอดผ้าป่า จาก 9bkk.com / สำ�รับกับข้าว I ชาวเมือง ชาววัง จาก fb.com/ComeEatwithUs / taejai.com / volunteerspirit.org


Cover Story : เรื่องจากปก

HELLO NAM JAI นํ้าใจไทยหายไปไหน เรื่อง: อภิชญ์ บุศยศิริ

CREATIVE THAILAND I 14


“ไปไหนมา...กินข้าวกินปลาหรือยัง” ประโยคพื้ น ๆ ที่ เ ล่ า ขานกั น ว่ า เป็ น เอกลั ก ษณ์ ท างนํ้ า ใจของคนไทย แสดงออกถึงความเป็นห่วงเป็นใย และ ความเอื้อเฟื้อที่มีต่อกัน แต่ทุกอย่าง ล้วนตั้งบนความแปรเปลี่ยน เช่นเดียว กั บ นิ สั ย ใจคอของคนไทยที่ ก็ ค งหนี ไม่พ้นความจริงในเรื่องนี้ เพราะแทบ ทุกครั้งในเวลาที่นิ้วของเรากำ�ลังเลื่อน ฟี ด บนหน้ า จอโทรศั พ ท์ มื อ ถื อ หรื อ ใช้นิ้วกดไล่ปุ่มช่องโทรทัศน์เพื่อเสพ ข่าวสาร เรามักจะได้เห็นข่าวการทะเลาะ วิวาทของผู้คนในสังคม และหลายครั้ง ที่ คู่ ก รณี มั ก พู ด ด้ ว ยความบั น ดาล โทสะจนกลายสำ � นวนที่ คุ้ น หู อ ย่ า ง “เป็นคนไทยหรือเปล่า มีนาํ้ ใจบ้างไหม” ทัง้ หมดนีไ้ ด้กลายเป็นคำ�ถามทีน่ า่ สนใจ ว่าปัจจุบัน “นํ้าใจไทย” ยังคงมีอยู่จริง หรื อ ได้ แ ห้ ง เหื อ ดระเหิ ด หายไปจาก สังคมเสียแล้ว นํ้าใจไทยคือวิถีไทยแต่ดั้งเดิม เมื่อเราพูดถึงนํ้าใจ นั่นหมายถึงเรากำ�ลังพูดถึง สิ่งที่เป็นนามธรรมอันเกิดขึ้นจากการทับซ้อนกัน ของหลายๆ องค์ประกอบ อาทิ ภูมิประเทศ ประวัติศาสตร์ และวิถีดั้งเดิมของบรรพบุรุษของ แต่ละพื้นที่ การแสดงออกถึงความมีนํ้าใจใน พืน้ ทีห่ นึง่ อาจจะไม่เป็นทีย่ อมรับในอีกพืน้ ทีห่ นึง่ ก็ได้ เช่น การยิม้ ง่ายของคนไทยทีแ่ สดงถึงความ มีไมตรี ขณะเดียวกันในสังคมของคนรัสเซีย หรือยุโรปบางประเทศ การยิ้มโดยไม่มีเหตุผล อาจทำ�ให้เขารู้สึกว่ากำ�ลังโดนดูถูกได้ ดังนั้น ก่อนที่เราจะตามหานํ้าใจไทยที่หายไป เราจึง ควรเริ่มจากการตั้งคำ�ถามว่าแท้จริงแล้ว นํ้าใจ ไทยมีหน้าตาเป็นอย่างไร หากว่ากันตรงตามตัวอักษร คำ�ว่า ‘นํา้ ใจ’ ตาม ความหมายของพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ความหมายของนํ้าใจคือ ใจแท้ๆ ความรู้สึกนึกคิดจริงๆ เช่น อยู่ด้วยกันไม่นานก็ เห็นนํา้ ใจว่าเขาเป็นคนอย่างไร, ความจริงใจ เช่น เราเห็นว่าเขามีนํ้าใจกับเรา ไม่เคยหลอกลวง เราเลย, นิสัยใจคอ เช่น นํ้าใจชาย นํ้าใจหญิง, ความเอื้ออาทร เช่น เขาเป็นคนมีนํ้าใจ เธอช่าง แล้งนํ้าใจ CREATIVE THAILAND I 15


น่าสังเกตว่า เหตุที่ใช้คำ�ว่า นํ้า และ แล้ง มาร่วมใช้เพื่อแสดงความหมายถึง “นิสัย” มี ความเป็ น ไปได้ ว่ า มาจากวิ ถี ไ ทยแต่ ดั้ ง เดิ ม ที่ ทุกภูมิภาคมีความผูกพันกับสายนํ้า ด้วยเพราะ มีลุ่มนํ้าใหญ่น้อยรวมกันมากกว่า 1,400 แห่ง ทั่ ว ประเทศทำ � ให้ ร ากวั ฒ นธรรม วิ ถี ป ฏิ บั ติ ตลอดจนธรรมเนียมประเพณีของแต่ละชุมชน พัฒนาจากการใช้ชีวิตตามลุ่มนํ้าเป็นหลัก ย้อนไปยังวิถีไทยดัง้ เดิมก่อนยุคโลกาภิวฒั น์ ในสมัยนัน้ การติดต่อสือ่ สารยังมีความยากลำ�บาก เพียงแค่จะเดินทางไปมาหาสูก่ นั จากหมูบ่ า้ นหนึง่ ไปอีกหมู่บ้านยังดูเป็นเรื่องใหญ่ แต่ละชุมชนจึง มีการเติบโตทางเอกลักษณ์ของท้องถิ่น ผู้คนที่ อาศัยอยูใ่ กล้ชดิ กันจึงมีความสัมพันธ์แบบหลวมๆ อย่างเหนียวแน่น คือ อยู่กันอย่างสบายๆ ถ้อยที ถ้อยอาศัยแต่คอยดูแล ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ยามใดที่มีการเกี่ยวข้าวก็จะเรียกพวกพ้องตาม กันไปลงแขกเกี่ยวข้าว ยามใดที่มีงานบุญผู้คน ในหมู่บ้านก็จะรีบมาช่วยเหลือโดยแทบมิต้อง เอ่ยปากขอ แต่เพราะการพึ่งพิงธรรมชาติเป็นหลัก จึง มีบ้างในบางคราวที่เกิดภัยพิบัติ ทำ�ให้อาหาร

ขาดแคลน แต่ก็จะมีธรรมเนียมที่จะช่วยเหลือ เกือ้ กูลกันระหว่างชุมชน อย่างเช่น ในภาคอีสาน จะมีธรรมเนียมเรียกว่า ปลาแดกแลกข้าว คือ การขอแลกเปลี่ยนของที่ขาด แม้ในบางครั้งอีก ฝ่ายจะไม่ได้ขาดแคลน หรือต้องการของทีจ่ ะแลก แต่เมื่อมีคนต่างถิ่นมาขอแบ่ง ก็เป็นธรรมเนียม ที่จะต้องให้ วัฒนธรรม ‘ปลาแดกแลกข้าว’ จึง เป็นเหมือนกระจกสะท้อนภาพสังคมไทยดั้งเดิม ทีผ่ คู้ นเน้นการแบ่งปันกันไปกิน ไม่ได้มงุ่ เน้นแลก ซื้อขายเพื่อทำ�กำ�ไรในเชิงธุรกิจ หรือในบางครัง้ หากปีใดนาล่มข้าวไม่พอกิน คนในชุ ม ชนก็ จ ะไปเยี่ ย มญาติ ใ นพื้ น ที่ ที่ น าดี โดยจะเอาปลาร้า เสื่อ หมอน หรือผ้า ไปเป็น “ของฝากของต้อน” แล้วจะเอ่ยปากขอข้าวไปกิน ในทางกลับกันหากอีกฝ่ายข้าวนาไม่ดี ก็จะเตรียม “ของฝากของต้อน” ไปหาอีกฝ่ายหมุนเวียน ผลัดเปลี่ยนกันไป วิถีแลกเปลี่ยนแบ่งปันกันระหว่างชุมชน เป็นเครื่องการันตีถึงการมีข้าวปลาที่ไม่อดอยาก ทุกคนสามารถอยู่มีชีวิตที่พอเพียงโดยไม่ต้องมุ่ง สะสมทรั พ ย์ สิ น และผลพลอยได้ ที่ สำ � คั ญ อี ก ประการหนึ่งก็คือ นิสัยใจคอของคนในชุมชนก็ CREATIVE THAILAND I 16

ยังได้รับการบ่มเพาะจากรุ่นสู่รุ่น ในการเรียนรู้ที่ จะแบ่งปัน และมีนํ้าใจเอื้อเฟื้อต่อกัน วิถีไทยเปลี่ยนไป นํ้าใจก็เปลี่ยนแปลง ดูเหมือนว่ากระแสลมแห่งความเจริญของโลก ที่ รุ น แรงได้ ถ าโถมวิ ถี นํ้ า ใจไทยมาโดยตลอด ดังทีป่ รากฏในบทความ “การวิเคราะห์เอกลักษณ์ วัฒนธรรมไทย” ของศาสตราจารย์พเิ ศษ ดร. เอกวิทย์ ณ ถลาง ทีก่ ล่าวว่า ตัง้ แต่ชว่ งปีพ.ศ. 2520 สภาพ ความเป็นอยู่ของครอบครัว และวิถีของผู้คน ในชุมชนเริ่มมีความ “แปลกแยก” เกิดขึ้น และ มากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อตัวเลขจีดีพีเข้ามามีบทบาทเป็นตัวชี้วัด มาตรฐานความเป็นอยู่ของประชาชน วิถีคนไทย จากเดิมที่เป็นชุมชนเกษตรกรรม ก็เริ่มผันแปร มุง่ สูภ่ าคอุตสาหกรรมมากขึน้ เส้นทางนํา้ ลำ�คลอง หนองบึงหลายแห่งจึงถูกแทนที่ด้วยถนนหนทาง เพื่อให้การเดินทางขนส่งสะดวกสบายมากขึ้น สภาพเดิมของภูมศิ าสตร์ และวิถชี มุ ชนถูกปรับเปลีย่ น อย่างรวดเร็ว แต่ผลพวงจากความสะดวกสบาย และคุณภาพชีวติ ตามมาตรฐานตะวันตกทีพ่ ฒั นา ขึน้ ในช่วงไม่กสี่ บิ ปีทผี่ า่ นมา ได้สง่ ผลให้นสิ ยั ของ


คนเจเนอเรชั่นใหม่มุ่งยึดความต้องการส่วนตัว มากขึน้ เพราะพวกเขาเหล่านัน้ ไม่มโี อกาสเรียนรู้ ความสำ�คัญของการเอือ้ อาทรและแบ่งปัน ก็ในเมือ่ รูปแบบเศรษฐกิจทุกวันนีใ้ ช้เงินเพือ่ แลกซือ้ สิง่ ของ ทุกอย่างสามารถหาได้ง่ายที่ร้านสะดวกซื้อ หรือ คลิกสั่งสินค้าออนไลน์ผ่านหน้าจอมือถือก็มา ส่งถึงหน้าบ้านอย่างรวดเร็ว ด้วยเหตุนี้วิถีไทย ที่สำ�คัญเช่น ปลาแดกแลกข้าว ก็ย่อมค่อยๆ จางหายไป การแบ่งปันกันเริม่ หมดความสำ�คัญ ความเอือ้ อาทรกำ�ลังกลายเป็นส่วนเกินของชีวิต สมัยใหม่ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้กล่าวไว้ ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2513 โดยมี ความตอนหนึ่งว่า “...สังคมไทยเป็นสังคมที่มี ลักษณะสับสน ขาดความอยูต่ วั การเปลีย่ นแปลง เกิดขึ้นไม่หยุดยั้ง เปรียบเสมือนเรือที่กำ�ลังอยู่ใน กระแสอันเชี่ยวกราก ยังไม่รู้ว่าจะลอยล่องไป ทางไหน นอกจากกาลเวลานั้นที่จะบอกได้ว่า ความเปลีย่ นแปลงของสังคมจะหันไปทางทิศใด...” แม้ถ้อยคำ�นี้จะเอื้อนเอ่ยมานานหลายสิบปี ทว่านับวันยิง่ พิสจู น์จนแจ่มแจ้งแล้วว่าความกังวล ของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ในครัง้ นัน้ ไม่ได้เกิน จริงเหนือจินตนาการแต่อย่างใด หากเราสังเกตความเปลีย่ นแปลงของวิถไี ทย ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยไร้ทิศทาง ทำ�ให้ ปัจจุบนั ประเทศไทยมีจ�ำ นวนผูใ้ ช้สอื่ โซเชียลมีเดีย อันดับต้นๆ ของโลก แต่ก็ยังคงความเชื่อในเรื่อง ทรงเจ้าเข้าผี คนไทยรีบเร่งในการขับรถจนเกิด อุบัติเหตุบนท้องถนนติดอันดับต้นของโลก ทั้งๆ ที่มีภาพลักษณ์ว่าคนไทยมีนิสัยใจเย็น สบายๆ หรือการใช้ถ้อยคำ�วิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงไป มาในโซเชียลมีเดีย ทั้งที่นิยามของเราคือความ เป็นผู้รักสงบ ในมุมหนึ่ง ความขัดแย้งของภาพ ลักษณ์คนไทย และสิ่งที่เกิดจริงในสังคมขณะนี้ จึงสะท้อนผันผวนของนํ้าใจไทยได้เป็นอย่างดี

เสียหาย ทางผูข้ ายในตลาดได้รบี ทำ�การถ่ายคลิป และแชร์บนโซเชียลมีเดียอย่างว่องไว พร้อมนำ� เสนอด้วยมุมมองที่ว่าเจ้าของบ้านช่างแล้งนํ้าใจ จอดรถหน้าบ้านไม่นานไม่ควรทำ�ถึงขนาดนั้น ด้วยอารมณ์รว่ มของผูเ้ ข้าชมคลิป จึงได้มกี ารแชร์ ออกไปอย่างล้นหลาม ในระยะแรกมีเสียงวิพากษ์ วิจารณ์ถึงนํ้าใจเจ้าของบ้าน ที่มีทั้งเห็นด้วยและ ไม่เห็นด้วย แล้วผลสุดท้าย เรื่องราวก็จบแบบ กลับตาลปัตร ในมุมที่เจ้าของตลาดนั้นทำ�ผิด กฎหมาย จนนำ�ไปสู่คำ�สั่งศาลที่ให้ปิดตลาดใน ที่สุด แต่กระนั้นผู้ขายทั้งหลายต่างก็ยังพยายาม ออกมาเรียกร้องความเห็นใจที่จะขอค้าขายใน พื้นที่เดิมต่อไป ขณะเดียวกันผู้คนในสังคมโซเชียลมีเดีย เมื่อได้เห็นคลิปที่อัพโหลดบนหน้าจอโทรศัพท์ มือถือ พวกเขาเหล่านั้นก็มักสวมวิญญาณเป็น ผู้พิพากษาและอัยการอินเทอร์เน็ต สืบเสาะหา ข้อมูล พร้อมวิพากษ์วิจารณ์บุคคลในคลิปด้วย ถ้อยคำ�ที่รุนแรงหยาบคาย เมื่อพิจารณาแล้ว น่าตั้งคำ�ถามว่าผู้ที่ทำ�หน้าที่ถ่ายทอดเรื่องราว และผู้ที่วิพากษ์ผู้อื่นนั้น แท้จริงกำ�ลังทำ�สิ่งที่แล้ง นํ้าใจอยู่หรือไม่

เมื่อสังคมไทยอ้าง “นํ้าใจ” มาใช้ในทางที่ผิด ทุกวันนี้ นํ้าใจไทย มักถูกหยิบยกมาใช้อย่าง พรํ่าเพรื่อ โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นข้อเรียกร้อง สำ�หรับให้ตนและพวกพ้องได้รับผลประโยชน์ เหนืออีกฝ่าย อย่างเช่นกรณีลูกค้าของตลาด แห่งหนึง่ ไปจอดรถหน้าบ้านจนเกิดเหตุเจ้าของบ้าน ออกมาใช้ขวานฟันไปที่รถยนต์ของลูกค้าตลาด CREATIVE THAILAND I 17

ในมุ ม มองของนํ้ า ใจในพระพุ ท ธศาสนา อาจจะเป็นมุมมองทีน่ า่ สนใจและนำ�มาปรับใช้ใน สังคมทุกวันนีไ้ ด้ ใน บาลี จตุกกฺ . อํ. ๒๑/๔๒/๓๒. กล่าวถึง สังคหวัตถุ หรือ ธรรมเป็นทีต่ งั้ แห่งการ สงเคราะห์ สี่ ป ระการ ได้ แ ก่ ทาน (การให้ ) เปยยวัชชะ (การพูดถ้อยคำ�อันเป็นทีร่ กั ) อัตถจริยา (การประพฤติประโยชน์) สมานัตตา (ความมีตน เสมอกัน) หากเราใช้องค์ประกอบตามนี้เพื่อวัด การกระทำ�ว่าผู้ใดมีนํ้าใจ เชื่อว่าแทบทุกคนที่ ใช้ โ ซเชี ย ลมี เ ดี ย สำ � หรั บ วิ พ ากษ์ วิ จ ารณ์ อ ย่ า ง เมามันนั้นสอบตกในความเป็นผู้มีนํ้าใจ ทำ�อะไรตามใจคือไทยแท้? เมือ่ เศรษฐกิจและวิถผี คู้ นทีว่ นุ่ วายมากขึน้ ผนวก กับจำ�นวนประชากรทีเ่ พิม่ สูงขึน้ การมีนาํ้ ใจเพียง อย่างเดียว อาจจะไม่เพียงพอ สิ่งสำ�คัญในการ อยู่ร่วมกัน อาทิ การรู้หน้าที่ตนเอง การเคารพ กฎระเบียบ การเคารพสิทธิผ์ อู้ นื่ หรือการมีความ รับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม กำ�ลังมีบทบาทในการ สร้างความสงบร่มเย็นในการอยู่ร่วมกันมากกว่า เราปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ทุกวัฒนธรรมมีทั้ง ข้อดีและข้อเสีย นํา้ ใจไทยก็เช่นกัน ในแง่มมุ หนึง่


Photo by Hirata Minoru on japantimes.co.jp Photo by Kevin Hong on wired.co.uk

กิจกรรมทําความสะอาดและการรณรงค์ครั้งใหญ่ในญี่ปุ่น ปีค.ศ.1964

วันที่ 14 มิถนุ ายน ค.ศ. 2014 รัฐบาลจีนประกาศแผนการบังคับใช้ระบบคะแนนทางสังคมเป็นครัง้ แรก

นํ้าใจทำ�ให้เกิดการเอื้ออาทร แบ่งปันกัน แต่ใน ขณะเดียวกัน เมื่อใช้นํ้าใจไปในทางที่ผิด ก็ทำ�ให้ เกิดวัฒนธรรม ‘หยวนๆ กันไป’ ในบางครั้ง บางคราว การหยวนกั น บ้ า งแม้ เ ป็ น สิ่ ง ที่ ควร สำ�หรับบางโอกาส แต่หากกระทำ�บ่อยครั้งแล้ว ย่อมก่อให้เกิดความรู้สึกว่า ใครๆ ก็ทำ�กันเป็น เรื่องธรรมดา อาทิ การขับรถจักรยานยนต์บน ทางเท้า หรือขับย้อนศร และเปิดไฟสูง ซึ่งเป็น สิ่ ง ที่ ผิ ด กฎหมาย แต่ ปั จ จุ บั น กลายเป็ น เรื่ อ ง

ธรรมดาไปแล้ว ทัง้ ทีย่ อ้ นกลับไปเมือ่ สักยีส่ บิ ปีกอ่ น การขับขี่จักรยานยนต์แบบตามใจขนาดนี้อาจ พบเห็นไม่บ่อยครั้งเท่าในปัจจุบัน กรณีเหตุการณ์ที่ยกตัวอย่างก็คือ ในช่วง กราบถวายบังคมพระบรมศพพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในพระบรม มหาราชวัง เราจะได้เห็นข่าวผู้มีนํ้าใจจากทุก สารทิศมาร่วมกันแจกนํ้าและอาหาร แก่ผู้มา กราบบังคมพระบรมศพ ทว่าเราก็จะได้เห็นภาพ CREATIVE THAILAND I 18

ข่าวความน่าสะเทือนใจของปริมาณขยะที่ผู้คน ทิ้งไว้กลาดเกลื่อนทั่วทุกมุมถนน ในช่วงเวลานั้น หลายคนเอื้ อ นเอ่ ย คำ � สอนของพ่ อ แต่ ว่ า ใน ขณะเดียวกันผู้คนจำ�นวนไม่น้อยไม่ได้นำ�คําของ พ่อมาปรับใช้ในชีวิตประจำ�วันเลยแม้แต่น้อย เมือ่ กล่าวถึงการสอนคนไทยให้รจู้ กั รับผิดชอบ และเคารพกฎหมาย ก็ยิ่งดูเป็นเหมือนยาขมที่ ผู้ใหญ่จำ�นวนไม่น้อยมักชอบพูดปัดไปทีอย่าง รวดเร็วว่า เป็นไปไม่ได้หรอก ทำ�ตามใจคือไทยแท้ แต่ในความจริงแล้วประเทศญีป่ นุ่ ซึง่ เป็นประเทศ ที่ผู้คนมีวินัย ปฏิบัติตามกฎระเบียบ และรักษา ความสะอาดบ้านเมืองได้อย่างสุดยอดนัน้ ครัง้ หนึง่ ก็มีปัญหาที่คล้ายคลึงกับเราในขณะนี้ ในรายการหนึ่งทางช่อง TBS ของญี่ปุ่น ได้น�ำ เสนอเรือ่ งราวในอดีตของญี่ปนุ่ ที่แม้แต่ผชู้ ม ในห้องส่งยังประหลาดใจ โดยในช่วงปี ค.ศ. 1963 อันเป็นช่วงเวลาที่เศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่น เติบโตอย่างรวดเร็ว ทว่าผูค้ นในช่วงเวลานัน้ กลับ ขาดระเบียบวินัย มีพฤติกรรมคายหมากฝรั่ง ทิ้งขยะไม่เป็นที่เอาเสียเลย แต่เพราะประเทศ ญีป่ นุ่ กำ�ลังจะต้องทำ�หน้าทีเ่ จ้าภาพกีฬาโอลิมปิก ในปี ค.ศ.1964 รัฐบาลจึงรณรงค์อย่างหนักในการ เปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนตัวเอง ให้มี ระเบี ย บวิ นั ย ในการจั ด การขยะอย่ า งถู ก ต้ อ ง ด้วยความเอาจริงเอาจังในการรณรงค์อย่างยาวนาน ความเคยชินในการปฏิบัติตามกฎระเบียบ และ รักษาความสะอาดบ้านเมืองอย่างหมดจดก็คอ่ ยๆ ซึ ม ซั บ จนกลายเป็ น ดี เ อ็ น เอของคนญี่ ปุ่ น ใน ปัจจุบันไปแล้ว หรื อ อี ก กรณี ตั ว อย่ า งที่ ชั ด เจนที่ สุ ด คื อ ประเทศจี น ที่ มี ปัญ หาในเรื่ อ งผู้ ค นไร้ซึ่ง การ เคารพกฎกติกามารยาทอย่างรุนแรงอันดับต้นๆ ของโลก จนภายหลังรัฐบาลจีนจึงได้รเิ ริม่ ใช้วธิ กี าร “คะแนนทางสังคม” (Social Credit) ซึ่งรัฐบาล จะเก็บข้อมูลกิจกรรมของประชากรทุกคนใน แต่ละวัน หากใครทำ�ผิดฝ่าฝืนกฎระเบียบก็จะถูก หักคะแนนไปเรื่อยๆ โดยจะมีบทลงโทษในการ ห้ามขึน้ เครือ่ งบิน และใช้บริการรถไฟความเร็วสูง หลั ง จากที่ ม าตรการนี้ ถู ก นำ � มาใช้ ดำ � เนิ น การ ตัง้ แต่วนั ที่ 1 พฤษภาคมทีผ่ า่ นมา ถึงแม้จะเป็นเพียง การทดลองใช้ในบางส่วน แต่ก็ส่งผลให้ชาวจีน มากกว่า 10 ล้านคน ถูกระงับการซือ้ ตัว๋ เครือ่ งบิน และซื้ อ ตั๋ ว รถไฟชั้ น ธุ ร กิ จ เป็ น ที่ เรียบร้อยแล้ว


การมี วิ สั ย ทั ศ น์ ที่ ชั ด เจน และเอาจริ ง เอาจั ง ของรัฐบาลจีนยุคใหม่จึงเป็นที่น่าจับตาว่าจะ สามารถเปลี่ยนวิถีผู้คนได้อย่างรวดเร็วภายใน เวลาไม่นาน เมื่อหันมามองย้อนกลับมาที่ประเทศไทย อาจเกิดความรูส้ กึ ว่าการเปลีย่ นแปลงคนไม่นา่ จะ เกิดขึ้นได้จริง แต่อย่าลืมว่า การพูดสวัสดี หรือ การยืนตรงเคารพธงชาติในเวลาแปดโมงเช้าและ หกโมงเย็ น ก็ เ พิ่ ง เริ่ ม มี ใ นยุ ค สมั ย ที่ จ อมพล ป.พิบูลสงคราม ดำ�รงตำ�แหน่งนายกรัฐมนตรี แต่ก็ซึมซับจนกลายเป็นวัฒนธรรมที่คนไทยทุก คนทำ�โดยอัตโนมัตไิ ม่มคี วามเคอะเขินแต่อย่างใด ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงวิถีคนไทยให้รู้จักหน้าที่ เคารพกฎหมายและสิ ท ธิ์ ข องผู้ อื่ น ให้ ม ากขึ้ น ก็น่าจะพอมีความหวังอยู่

นํ้าใจไทย เพียงแค่รอวันตื่นรู้อีกครั้ง แม้ในขณะนี้ ทิศทางของวิถีไทยยังอยู่ท่ามกลาง ความเปลี่ยนแปลงที่ไร้ทิศทาง ระบบระเบียบ กฎเกณฑ์ยังคงถูกท้าทายทุกวัน ไม่นับถึงปัญหา ความยากลำ�บากในการทำ�มาหากิน จนผู้คน เรียกขานว่าเป็นยุครวยกระจุก จนกระจาย แต่แม้ คนไทยจะอยู่ในช่วงยากลำ�บากจนราวกับว่าการ เรียกร้องนํ้าใจในเวลานี้ดูเป็นเรื่องไร้สาระ ทว่า จากกรณีโครงการ “ก้าวคนละก้าว เพื่อ 11 โรง พยาบาล” ที่นักร้อง ตูน บอดี้สแลม วิ่งระดมเงิน ช่วยเหลือโรงพยาบาล และจัดซื้ออุปกรณ์การ แพทย์ ทีค่ นในประเทศต่างตืน่ ตัว และช่วยกันจน ได้ยอดบริจาคมากกว่าหนึง่ พันล้านบาท หรือกรณี การเกิดนํ้าท่วมใหญ่ในปี พ.ศ. 2554 ที่คนไทย ต่างแสดงนํ้าใจ ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน

ด้ ว ยกรณี ที่ ห ยิ บ ยกมานี้ อ าจกล่ า วได้ ว่ า นํ้าใจไทยเป็นเหมือนเสือหลับ ที่ปลุกให้ตื่นได้ ตลอดเวลาในยามที่มีเหตุร้ายอย่างกระชั้นชิด ความกระพร่องกระแพร่ง ความผิดพลาดในนํา้ ใจ ย่ อ มเกิ ด ขึ้ น ตามศั ก ยภาพที่ พ อจะมี แต่ ก าร พร้อมใจช่วยเหลือกัน ท่ามกลางความไม่พร้อม อะไรเลยนีล่ ะ่ ทีเ่ ป็นเสน่หแ์ ละสีสนั ของคนไทยใน อีกรูปแบบหนึ่งซึ่งรอการตื่นรู้และลงมือทำ� สุ ด ท้ า ยแล้ ว หากเราต้ อ งการให้ คำ � ว่ า “นํ้าใจไทย” เกิดขึ้นได้อย่างยั่งยืนจริง สามารถ เริ่มจากสิ่งเล็กๆ และเรียบง่าย เช่น เข้าห้องนํ้า สาธารณะก็คดิ ถึงคนทีก่ �ำ ลังจะเข้าต่อจากเรา หรือ เก็บขยะของตัวเองมาทิ้งที่บ้าน เป็นต้น เพราะ บางทีเมื่อเราทุกคนรับผิดชอบในการกระทำ�ของ ตัวเราเองแล้ว ผู้คนในสังคมอาจจะแทบไม่ต้อง เรียกร้อง “นํ้าใจ” กันอีกต่อไปเลยก็เป็นได้

ที่มา: พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ / บทความ “สายนํ้าสงครามคู่นํ้าโขงสายเลือดใหญ่อีสาน รากฐานวัฒนธรรมปลาแดก” โดย วิวัฒน์ พันธวุฒิยานนท์ จาก หนังสือ “วิถีไทยกับสายนํ้า”/ บทความ การวิเคราะห์เอกลักษณ์วัฒนธรรมไทย โดย ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. เอกวิทย์ ณ ถลาง / บทความ “วิกฤตเชิงคุณค่ากับมุมมองด้านมนุษยศาสตร์” โดย ชวน เพชรแก้ว จาก วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ฉบับวันที่ 14/5/2558 ทาง e-journal.sru.ac.th, รายการ 教えてもらう前と後 ช่อง TBS เผยแพร่และแปลภาษาไทยทาง www.facebook.com/JapaneseBaobao/videos/806797536175967/ หนังสือ พุทธวจน หมวดธรรม ฉบับ 13 ทาน (การให้) ปี พ.ศ. 2557 / บทความ “China has started ranking citizens with a creepy ‘social credit’ system-here’s what you can do wrong, and the embarrassing, demeaning ways they can punnish you.” โดย Alexandra Ma จาก www.bussinessinsider.com

CREATIVE THAILAND I 19


Insight : อินไซต์

เรื่อง: วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ

“หากปรารถนาให้ผู้อื่นทำ�สิ่งใดกับท่าน ท่านก็ควรทำ�สิ่งนั้นกับพวกเขาเช่นกัน” คือความเชือ่ เชิงศีลธรรมอันหนักแน่นของนักธรรมชาติวทิ ยาเลือ่ งชือ่ นามว่าชาร์ลส์ ดาร์วนิ (Charles Darwin) คนเดียวกับ เจ้าของทฤษฎีคี ดั สรรตามธรรมชาติ ทีว่ า่ ด้วยกระบวนการคัดเลือกสิง่ มีชวี ติ ตามความสามารถในการเอาตัวรอดและสืบพันธุ์ ซึ่งหากพิจารณาจากคำ�ว่า “เอาตัวรอด” ก็ย่อมไม่เห็นถึงความสอดคล้องกับพฤติกรรมเห็นแก่ผู้อื่นในประโยคข้างต้น แม้แต่น้อย แล้วจะเป็นไปได้หรือที่มนุษย์จะทำ�เพื่อคนอื่นก่อนตัวเอง หรือแท้จริงแล้ว เราเป็นเพียงสิ่งมีชีวิตเผ่าพันธุ์หนึ่งที่ เห็นแก่ตัวอย่างมาก จนสามารถขึ้นมากุมอำ�นาจเหนือสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในโลกทั้งมวล

เพราะรัก (ตัวเอง)… คือการให้

ไมเคิล กีเซลิน (Michael Ghiselin) คือหนึ่งใน นั ก ทฤษฎี วิ วั ฒ นาการที่ พ ยายามชี้ ใ ห้ เ ห็ น ว่ า วิวัฒนาการที่เกิดจากการไม่มีที่ยืนของผู้อ่อนแอ เพื่อหลีกทางให้กับผู้ที่เหมาะสมที่สุดที่มีโอกาส อยูร่ อด และผลิตลูกหลานออกมาเพือ่ สืบเผ่าพันธุ์ เป็นเหตุผลหลักที่ทำ�ให้คนเรา “เห็นแก่ตัว” โดย เขาบอกเอาไว้วา่ “หากทฤษฎีคดั สรรตามธรรมชาติ เป็นเรื่องจริง อีกทั้งมีนํ้าหนักเพียงพอ ย่อมเป็น ไปไม่ได้เลย ทีพ่ ฤติกรรมแบบไม่เห็นแก่ประโยชน์ ส่วนตัวอย่างแท้จริง หรือยึดถือประโยชน์สว่ นรวม เป็นสำ�คัญจะวิวัฒน์ขึ้นมาได้” แต่หากเป็นจริง ดังนั้นแล้ว เราจะอธิบายพฤติกรรมของพ่อแม่ที่ เสียสละให้ลูกๆ ของตนได้รับสิ่งที่ดีที่สุดหรือ กระทั่งดีกว่าตนเองได้อย่างไร ในเชิงจิตวิทยา

พ่ อ แม่ ที่ เ สี ย สละสิ่ ง ที่ ค วรเป็ น ของตนให้ ลู ก ๆ อย่างเต็มใจนั้น เรียกได้ว่าพวกเขาเป็นผู้ที่เห็น แก่ผู้อื่น แต่เมื่อกลับมามองในมุมของชีววิทยา การคัดสรรตามธรรมชาติอาจคัดเลือกพ่อแม่ที่ ห่วงใยลูกหลานของตนโดยการยอมมอบทรัพยากร ต่างๆ เพื่อให้ลูกๆ มีสุขภาพดีกว่า ก็เพื่อไว้ สืบทอดพันธุกรรมของตัวเอง กลับเป็นเพียงความ เห็นแก่ตัวแบบหนึ่งเท่านั้น ในความเป็นจริงแล้ว พฤติกรรมเห็นแก่ตัว ทางชีววิทยาอาจเข้าข่ายพฤติกรรมเห็นแก่ผู้อื่น ทางจิตวิทยา และการคัดสรรตามธรรมชาติยัง ช่วยเก็บเอาลักษณะเห็นแก่ผอู้ นื่ ทางจิตวิทยาต่อผู้ ที่ไม่ใช่ญาติพี่น้องเอาไว้ด้วย ดังตัวอย่างเช่น ในสังคมหนึ่งมีคนใจแคบและคนใจกว้างปะปน กันไป คนใจกว้างมักแบ่งทรัพยากรของตัวเองให้ CREATIVE THAILAND I 20

ผู้อื่นอย่างเต็มใจ ขณะที่คนใจแคบจะไม่ยอม แบ่งปันสิง่ ใดให้ผอู้ นื่ พวกใจแคบจึงย่อมมีโอกาส ประสบเคราะห์ได้มากกว่าเมื่อถึงคราวลำ�บาก เพราะยากจะหาใครมาคอยช่วยเหลือ ต่างกับ พวกใจกว้างที่มีคนใจดีเหมือนกันคอยช่วยเหลือ อยู่ พวกเขาจึงมีอายุยนื ยาวกว่าและมีแนวโน้มว่า จะมีลกู ๆ สุขภาพดีกว่าเช่นกัน นีค่ อื ปรากฏการณ์ ในเชิงวิวฒั นาการทีเ่ รียกว่า “การเห็นแก่ผอู้ นื่ แบบ ต่างตอบแทน” (Reciprocal Altruism) ที่อธิบาย โดยโรเบิรต์ ไทรเวอร์ส (Robert Trivers) นักชีววิทยา สังคมชาวอเมริกัน โดยรอย เออร์เคนส์ (Roy Erkens) อาจารย์สอนวิชาชีววิทยาวิวัฒนาการ ประจำ�มหาวิทยาลัยมาสทริชท์ (Maastricht University) ประเทศเนเธอร์แลนด์ ยังสนับสนุน แนวคิดของไทรเวอร์สและเสริมอีกด้วยว่า มนุษย์


อาจไม่ใช่สิ่งมีชีวิตที่ดีเลิศและเห็นแก่ผู้อื่นมาก ไปกว่าสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ บนโลก แต่สิ่งที่ทำ�ให้ เรารูส้ กึ อยากช่วยเหลือใครก็ตามแม้วา่ เขาเหล่านัน้ จะไม่ใช่ญาติพี่น้องหรือเคยพบกันมาก่อน เป็น เพราะมนุษย์คือสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวที่เชื่อมั่นใน “ชือ่ เสียง (Reputation)” ดังนัน้ แล้วคนทีไ่ ด้ชอื่ ว่า เป็นคนดีมนี าํ้ ใจ อาจหมายถึงคนผูน้ นั้ กำ�ลังสร้าง ชือ่ เสียงให้ตวั เองและหวังอยูล่ กึ ๆ ว่าในยามทีต่ น ตกทุกข์ได้ยากจะมีใครก็ตามที่รับรู้ได้ว่าเขาเป็น คนดีมาช่วยเหลือกลับคืนเช่นกัน นีอ่ าจฟังดูเป็นการ ทำ�ดีเพื่อหวังผลหรือแฝงซึ่งเจตนาอันเห็นแก่ตัว แต่เออร์เคนส์อธิบายว่ามันเป็นการกระทำ�ทีส่ มเหตุ สมผล เพราะทุกคนต่างได้รับผลประโยชน์ และ เชื่อว่าพฤติกรรมเห็นแก่ตัวโดยการหยิบยื่นนํ้าใจ ช่วยเหลือผูอ้ นื่ ก่อนในลักษณะนีค้ อื วิธกี ารทีด่ ที สี่ ดุ ของการดูแลตัวเอง หรือสรุปได้อีกอย่างหนึ่งว่า การทีเ่ ราต้องแคร์คนอืน่ ก็เพราะเราแคร์ตวั เราเอง นั่นเอง ทั้ ง หมดนี้ ค ล้ า ยกั บ คำ � กล่ า วโบราณของ แอฟริกาใต้ที่ว่า “Ubuntu” หรือแปลเป็นภาษา อังกฤษได้ว่า “I am, because of you.” ฉันเป็น ฉันได้ก็เพราะว่าคุณ หากปราศจากผู้อื่น ตัวตน ของเราก็ยอ่ มไร้ความหมาย ความเชือ่ นีจ้ งึ สะท้อน ให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของมนุษยชาติผา่ นความ ห่วงใย แบ่งปัน และการดูแลผูท้ อี่ ยูร่ อบตัวเรา

มนุษย์สุดยิ่งใหญ่?

แม้ว่าคำ�อธิบายแบบชีววิทยาวิวัฒนาการจะมีแนวโน้มสรุปว่ามนุษย์นั้นมีพฤติกรรมแบบเห็นแก่ตัวมากกว่า เห็นแก่ผอู้ น่ื แต่รชิ าร์ด ดอว์กนิ ส์ (Richard Dawkins) นักพฤติกรรมวิทยาผูเ้ ขียนหนังสือเรือ่ ง “The Selfish Gene” กลับให้มุมมองที่ละเอียดอ่อนเอาไว้ว่า ความเห็นแก่ตัวทางพันธุกรรมไม่ได้บอกเราตรงๆ เกี่ยวกับลักษณะนิสัย ทางศีลธรรม หรือสามารถตีความได้วา่ เบือ้ งหลังแรงจูงใจของคนใจกว้างคือการเห็นแก่ประโยชน์สว่ นตัวแต่อย่างใด นักวิชาการอีกหลายกลุ่มเสริมว่า การจะอธิบายพฤติกรรมเห็นแก่ผู้อื่นไม่ควรละเลยเรื่องอิทธิพลทางวัฒนธรรม ทีเ่ กิดจากการเรียนรูจ้ ากรุน่ สูร่ นุ่ เราเรียนรูท้ จ่ี ะช่วยเหลือกันได้โดยไม่จ�ำ เป็นต้องได้รบั การถ่ายทอดผ่านยีน นีอ่ าจ เป็นจุดเริ่มต้นของคำ�ถามที่ว่า เหตุใดเราจึงมีแนวโน้มจะช่วยเหลือผู้คนที่เราไม่เคยพบเจอกันมาก่อน นักทฤษฎีวิวัฒนาการสมัยใหม่ มาร์ติน โนวัก (Martin Nowak) ได้พยายามอธิบายถึงคำ�ถามดังกล่าวเช่นกัน โดยเขาอธิบายไว้ในหนังสือ “SuperCooperators” ว่า “การร่วมมือกันเป็นความสามารถทีน่ า่ ทึง่ ของมนุษย์และ ยังเป็นกุญแจแห่งความสำ�เร็จที่ทำ�ให้เราเป็นสายพันธุ์เดียวที่สามารถอยู่รอดได้ในทุกระบบนิเวศบนโลก ตั้งแต่ แดดร้อนแรงแผดเผากลางทะลทรายไปจนถึงความหนาวเหน็บแช่แข็งในแอนตาร์กติกา” มนุษย์ไม่ไช่สิ่งมีชีวิตที่อยู่บนสุดของห่วงโซ่อาหาร หากเทียบในลำ�ดับขั้นการบริโภค (Trophic Level) อันดับ ของเราเทียบเท่ากับหมูและปลาแอนโชวี่เท่านั้น ในขณะที่พืชคือสิ่งมีชีวิตที่อยู่ชั้นบนสุดเพราะมันสามารถผลิต อาหารได้ด้วยตัวเอง อย่างไรก็ตาม ในหนังสือ “Sapiens: A Brief History of Humankind” โดยยูวาล โนอาห์ ฮาราริ (Yuval Noah Harari) นักประวัติศาสตร์ชาวอิสราเอลได้ให้ความเห็นไว้ว่า การที่ Homo sapiens หรือ มนุษย์เผ่าพันธุ์ปัจจุบันสามารถขึ้นมากุมอำ�นาจเหนือสัตว์สายพันธุ์อื่นทั้งมวลได้ เป็นเพราะมนุษย์คือสิ่งมีชีวิต ชนิดเดียวที่เชื่อใน “จินตนาการ” หรือสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง เช่น ตำ�นานเรื่องเล่าขานต่างๆ พระเจ้า ระบบ ทุนนิยม ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน ฯลฯ ความเชื่อเหล่านี้ได้สร้างสมาชิกที่เชื่อในสิ่งเดียวกันให้ร่วมมือและ ช่วยเหลือกัน ทำ�ให้ความเป็นมนุษยชาติแข็งแกร่งขึ้นได้ในที่สุด ที่มา: หนังสือ วิทยาศาสตร์: ปรัชญา ปริศนา และความจริง (The Meaning of Science) หน้า 182-209 โดย Tim Lewens / บทความ “Book Summary: Sapiens: A Brief History of Humankind” (กันยายน 2017) จาก ashishb.net / บทความ “Humans Aren’t At The Top Of The Food Chain” (ธันวาคม 2013) โดย Alex Berezow จาก forbes.com / บทความ “Review of Martin Nowak, SuperCooperators: Altruism, Evolution, and Why We Need Each Other to Succeed” โดย Herbert Gintis จาก umass.edu / วิดีโอ “Selfishness is nature” (พฤษภาคม 2017) โดย Roy Erkens จาก TEDxYouth@Maastricht / วิดโี อ “What I learned from Nelson Mandela” (ธันวาคม 2013) โดย Boyd Varty จาก ted.com CREATIVE THAILAND I 21


Creative Startup : เริ่มต้นคิด

เรื่อง: ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ ภาพ: ภีร์รา ดิษฐากรณ์

เคยไหม เวลาเดินผ่านอาสาสมัครทีย่ นื ถือกล่องรับบริจาค แล้วก็นกึ สงสัยว่า “นอกจากการบริจาคหรือการลงแรงช่วยเหลือแล้ว ยังมีวิธีอื่นๆ ที่คนทั่วไปอย่างเราจะสามารถช่วยสังคมได้แบบง่ายๆ แต่ให้ประโยชน์อย่างยั่งยืนบ้างไหม” หากคุณก็สงสัยเหมือนเรา อลิสา นภาทิวาอำ�นวย ผู้ร่วมก่อตั้ง Socialgiver ธุรกิจเพื่อสังคมน้องใหม่ซึ่งเพิ่งอายุครบ 3 ปีเมื่อเดือนพฤษภาคม จะมาเสนอไอเดียธุรกิจฉลาดลํ้า ที่จะปลดล็อกวิธีรับเงินสมทบทุนขององค์กรการกุศลให้มี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น แถมยังช่วยสร้างสีสันให้ชีวิตสำ�หรับคนใจดีที่ชอบการหยิบยื่นเงินเพื่อบริจาคได้อีกด้วย

“Living is Giving” แค่ใช้ชีวิต ก็ได้ช่วยชีวิต

“คนไทยใจดี” ใครๆ ก็บอกอย่างนั้น แต่ความเป็นจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ก็คือ เราเป็นคนธรรมดาทีม่ คี า่ ใช้จา่ ยประจำ�วันต้องรับผิดชอบ แม้ใจจะอยากช่วย แต่การแบ่งเงินในกระเป๋าให้องค์กรการกุศลซึง่ มีให้เลือกมากมาย เราก็ท�ำ ได้ แบบมีขีดจำ�กัด สถิติจากรายงานของกรมสรรพากรพบว่า โดยทั่วไปคนเราบริจาคเงิน เพื่อสังคมประมาณ 0.36% ของรายได้ แต่ใช้เงินกว่า 70% ไปกับไลฟ์สไตล์ ในการใช้ชวี ติ ประจำ�วัน นอกจากนี้ คนส่วนใหญ่จะนิยมระดมทุนและทำ�งาน อาสาแบบครัง้ เดียวจบ โดยเฉพาะในช่วงทีเ่ กิดวิกฤตการณ์ตา่ งๆ แต่ในความ เป็นจริงแล้ว องค์กรการกุศลต้องมีคา่ ใช้จา่ ยในการทำ�งานทีต่ อ่ เนือ่ ง จึงเป็น ทีม่ าของการก่อตัง้ สตาร์ทอัพเพือ่ สังคมจากการริเริม่ ของอลิสา นภาทิวาอำ�นวย

และอาชว์ วงศ์จินดาเวศย์ “Socialgiver เกิดจากการที่เราตั้งคำ�ถามว่า จะทำ�ยังไงให้การทำ�ความดีเข้าไปเป็นส่วนหนึง่ ของไลฟ์สไตล์และการใช้จา่ ย ประจำ�วันของเรา ทำ�ยังไงให้เราไปกินข้าว ไปเที่ยว ดูหนัง ดูคอนเสิร์ต แล้ว ได้ช่วยโครงการเพื่อสังคมไปด้วย” อลิสาเท้าความ ฟังดูเหมือนเป็นโจทย์ทเี่ ป็นไปไม่ได้ แต่สองผูก้ อ่ ตัง้ ก็คน้ พบทางออกเมือ่ พบว่า ธุรกิจในภาคท่องเที่ยวและบริการมักจะมี “บริการคงเหลือ (Spare Service Capacity)” ที่สูญหายไปโดยไม่เกิดประโยชน์ คิดเป็นสัดส่วนถึง 45% ของขีดความสามารถการบริการ (Capacity)i เช่น ห้องว่างในโรงแรม ช่วงโลว์ซีซ่ันที่มียอดการจองไม่เต็มจำ�นวน โดยที่ผ่านมาธุรกิจบริการใน บ้านเรามีมูลค่าบริการสูญหายไปถึงปีละ 6 แสนล้านบาท หรือวันละ 1.6 พันล้านบาทii

i ข้อมูลจาก World Travel & Tourism Council ii ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย CREATIVE THAILAND I 22


ไอเดียของพวกเขา ก็คือรับสมัคร ‘ธุรกิจใจดี’ ที่พร้อมอาสาบริจาค มูลค่าบริการคงเหลือให้ Socialgiver นำ�ไปจำ�หน่ายบนเว็บไซต์ในรูปแบบ ของบัตรกํานัลอิเล็กทรอนิกส์ที่เรียกว่า ‘GiveCard’ เช่น บัตรรับประทาน อาหาร โรงแรม ตั๋วหนัง ฟิตเนส ในราคาพิเศษ ผู้บริโภคสามารถซื้อเพื่อ ใช้เองหรือจะส่งเป็นบัตรของขวัญให้เพื่อนก็ได้ โดยกําไรทั้งหมดจะนำ�ไป สมทบทุนโครงการพัฒนาสังคมทีค่ ดั สรรมาแล้ว “การกินเทีย่ วมันเป็นแรงกระตุน้ ของคนส่วนใหญ่อยู่แล้ว เท่ากับว่าเขาสามารถทำ�ความดีได้อย่างต่อเนื่อง ที่สำ�คัญคือเราไม่ได้พูดถึงแต่คนที่สนใจประเด็นสังคม เพราะคนเหล่านั้น เขามักจะทำ�ความดีด้วยการบริจาคหรือไปทำ�งานอาสาอยู่แล้ว ซึ่งอาจจะมี แค่ 1% แต่เราเชื่อว่าถ้าเราทําให้คนส่วนใหญ่เข้ามามีส่วนร่วมได้ นี่แหละคือ คนที่จะทำ�ให้เกิดความเปลี่ยนแปลง” อลิสาอธิบาย

Win-Win-Win ทั้งผู้บริโภค ธุรกิจ และสังคม

นอกจากผู้บริโภคจะได้ ‘ช้อป’ และ ‘ช่วย’ สังคมไปพร้อมๆ กันแล้ว หาก มองจากมุมของภาคธุรกิจ นีก่ เ็ ป็นทางเลือกใหม่ในการช่วยเหลือสังคมทีต่ อบ โจทย์ไม่แพ้กัน “เราอยากท้าทายให้ธุรกิจตั้งคำ�ถามว่า นอกจากการทำ� CSR แบบเดิม เขายังสร้างผลกระทบให้สังคมในรูปแบบไหนได้อีก หลายคนอาจ จะพูดถึง CSR in process (การรับผิดชอบต่อสังคมในทุกขัน้ ตอนการทำ�งาน) กันเยอะ แต่มันเป็นสิ่งที่คุณอาจจะควรทำ�อยู่แล้วหรือเปล่า” “เราให้ความสำ�คัญกับการนัดเข้าไปคุยกับผู้บริหารเพื่อทำ�ความเข้าใจ ก่อนว่าเราทำ�แบบนี้ทำ�ไม เพราะมันเป็นเรื่องใหม่ที่ไม่มีคนเคยทำ�มาก่อน ต้องสร้างความเชื่อใจให้เขาเห็นว่าเราทำ�งานอย่างต่อเนื่องและจริงจัง ว่าการเข้ามาร่วมกับเรา เขามีแต่ได้กับได้ คนมาใช้บริการเขา เขาก็ได้ ทำ�ความดีดว้ ย อย่างร้านอาหารทีต่ อ้ งเปิดร้านทุกวัน การจัดเวลาให้พนักงาน ไปทำ�งานอาสามันยากมาก แต่พอมาเข้าร่วมกับเรา แค่มีคนมาใช้บริการ แค่เขาทำ�งานของเขา ก็เท่ากับได้ช่วยสังคมแล้ว เจ้าของธุรกิจที่เข้าร่วม ก็บอกกับเราว่าพนักงานเขาแฮปปี้”

ของทั้งสองแห่งเข้าด้วยกันเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ใหญ่ที่สุด คือการแก้ปัญหา เช่น มูลนิธิหนึ่งอาจจะเก่งด้านการสื่อสาร อีกมูลนิธิถนัดงานภาคสนาม” “ทีส่ �ำ คัญคือเขาวางแผนป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาแบบนัน้ ซํา้ อีกในอนาคต ยังไง คือปัญหาเดิมต้องไม่เกิดซํ้าอีก (Irreversibility) นั่นคือเป้าหมายใน อุดมคติ ดังนั้นเวลาเลือกโครงการที่จะสนับสนุน เราก็จะถามตัวเองด้วยว่า เราได้ช่วยเขาแก้ปัญหาที่เป็นต้นนํ้าจริงๆ หรือเปล่า หรืออย่างน้อยคือเขามี แผนที่จะจัดการกับปัญหาต้นนํ้าตรงนั้นหรือเปล่า เพราะเราเข้าใจว่าปัญหา มันซับซ้อน ปัจจัยรอบด้านมันเยอะมาก” ปัจจุบัน Socialgiver มีธุรกิจใจดีมาเข้าร่วมแล้วมากกว่า 200 แบรนด์ สนับสนุนโครงการพัฒนาสังคมไปแล้วเกือบ 40 โครงการ รวมแล้วได้สร้าง ผลกระทบเชิงบวกให้คนและสัตว์มากกว่า 45,000 ชีวิต และตั้งเป้าว่าจะ สนับสนุนโครงการให้ครอบคลุมตาม ‘เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals)’ ที่ UNDP บัญญัติไว้ทั้ง 17 ข้ออีกด้วย

โครงการที่ดี ต้องแก้ปัญหาที่ต้นนํ้า

เชื่อมต่อโลกแห่งการแบ่งปัน

จริงอยู่ว่าโมเดลการทำ�งานของ Socialgiver นั้นช่วยสร้างความแข็งแกร่ง ให้โครงการเพื่อสังคมได้รับเงินสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง แต่นั่นคงไม่สำ�คัญ เท่ากับว่า เงินสนับสนุนเหล่านีถ้ กู ส่งต่อไปสูโ่ ครงการทีม่ คี วามโปร่งใสในการ ทำ�งานและมีประสิทธิภาพในการสร้างผลกระทบทางสังคม (Social Impact) อย่างแท้จริง ความท้าทายจึงอยูท่ กี่ ารคัดสรรโครงการทีจ่ ะได้รบั เงินสนับสนุน Socialgiver มีพาร์ทเนอร์ภายนอกที่ช่วยประเมินประสิทธิภาพของ โครงการ ในขณะเดียวกันก็มีเกณฑ์การพิจารณาภายในที่เข้มข้นไม่แพ้กัน “เราจะดูตั้งแต่ขั้นตอนการทำ�งาน กลยุทธ์ในการแก้ปัญหา ไปจนถึงว่าเขา ยินยอมให้เราเข้าไปตรวจสอบการทำ�งานส่วนไหนบ้าง รวมถึงการตัง้ ตัวชีว้ ดั ความสำ�เร็จในการทำ�งาน เพราะบางโครงการก็เริ่มจากคนตัวเล็กๆ ที่ทำ� ด้วยใจ อาจจะไม่เคยคำ�นึงถึงเรือ่ งนีม้ าก่อน เราก็เข้าไปคุยเพือ่ ให้เขาตกผลึก ว่าผลลัพธ์ที่เขาคาดหวังคืออะไร นอกจากนี้ โครงการควรจะมีพันธมิตรที่ ทำ�งานร่วมกันด้วย เพราะทุกวันนี้หลายมูลนิธิแข่งกันระดมทุนโดยไม่มอง ภาพใหญ่ของการแก้ปัญหา มองในเชิง KPI ของตัวเองให้สำ�เร็จไป บางแห่ง ทำ�งานคล้ายกันแต่เสียดายทีไ่ ม่คอ่ ยได้รว่ มมือกัน หรือไม่เคยเชือ่ มโยงทักษะ

หลังจากที่ก่อร่างสร้างเครือข่ายระหว่างภาคธุรกิจและหน่วยงานเพื่อสังคม มาครบ 3 ปีเต็ม Socialgiver ก็ได้ฤกษ์เปิดตัวแอพพลิเคชั่นเพื่อเพิ่มความ สะดวกของผูใ้ ช้งานไปเมือ่ เดือนเมษายนทีผ่ า่ นมา โดยในเร็วๆ นี้ จะปรับเพิม่ ฟีเจอร์ให้ผู้บริโภคเลือกได้เองว่าต้องการให้เงินที่จ่ายไปสมทบทุนโครงการ ไหน และยังติดตามความคืบหน้าของแต่ละโครงการบนแอพฯ ได้เช่นเคย ทัง้ ยังมีแผนจะนำ�เทคโนโลยีบล็อกเชนเข้ามาต่อยอด เพือ่ สร้างความโปร่งใส ในการบริหารจัดการเงินที่โครงการได้รับอีกด้วย “เราอยากจะเป็นแพลตฟอร์มระดับโลก เพราะศักยภาพของธุรกิจ บริการมีอยูท่ วั่ โลก ถ้าในอนาคตเราไปเทีย่ วต่างประเทศ แล้วการเลือกไปพัก โรงแรมนั้น หรือกินอาหารที่ร้านนี้ มันทำ�ให้เราได้ช่วยเหลือโครงการพัฒนา สังคมในเมืองนั้นด้วย ก็คงจะดี ดังนั้นตอนนี้สิ่งสำ�คัญที่สุดคือเราพยายาม จะสร้างการรับรูใ้ ห้ผบู้ ริโภคเข้ามาใช้บริการมากขึน้ ให้ธรุ กิจรูส้ กึ ตืน่ ตัวว่าเขา ต้องมาทำ�ตรงนี้ เพราะท้ายที่สุดแล้วเราคิดว่า CSR มันไม่ใช่ Corporate Social Responsibility มันคือ Citizen Social Responsibility เราทุกคนควร ต้องมีบทบาทรับผิดชอบต่อสังคมด้วยกันทั้งหมด”

CREATIVE THAILAND I 23


Creative City : จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

เรื่อง: กรณิศ รัตนามหัทธนะ

ราวกับว่า พระเจ้าส่งบททดสอบมาให้ชาวญี่ปุ่นอยู่เรื่อยๆ ช่วง 70-80 ปีมานี้ ถือได้วา่ ญีป่ นุ่ เป็นชาติทโ่ี ดน “จัดหนัก” มากที่สดุ ชาติหนึ่งในโลก ตั้งแต่ระเบิดนิวเคลียร์ที่ฮิโรชิมาปี 1945 แผ่นดินไหวที่โกเบปี 1955 วินาศกรรมแก๊สซารินในรถไฟใต้ดิน ที่โตเกียว ปี 1955 (สองเดือนหลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวโกเบ) แผ่นดินไหวและสึนามิถล่มภูมิภาคโทโฮกุ ปี 2011 และล่าสุด แผ่นดินไหวเขย่าเมืองโอซาก้า ในวันที่กำ�ลังเขียนต้นฉบับชิ้นนี้พอดี (18 มิถุนายน 2561) CREATIVE THAILAND I 24


ชาติที่มาพร้อมคำ�ว่า “จิตอาสา” 11 มีนาคม 2011 พสุธากัมปนาทเขย่าชายฝั่ง ตะวันออกเฉียงเหนือของญีป่ นุ่ ความรุนแรงขนาด 9.1 แมกนิจดู นับเป็นเหตุแผ่นดินไหวครัง้ ร้ายแรง ที่สดุ ในญีป่ นุ่ ก่อให้เกิดคลืน่ สึนามิสงู ทีส่ ดุ ถึง 40.5 เมตร กวาดชุมชนชายฝัง่ พังยับ คลืน่ สึนามิยงั ส่งผล ให้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟกุ ชุ มิ ะระเบิด ประชาชนที่ อาศัยในบริเวณใกล้เคียงถูกสั่งอพยพทันที มีรายงานผูเ้ สียชีวติ กว่า 15,729 ราย บาดเจ็บ 5,719 ราย สูญหาย 4,539 ราย อาคารถูกทำ�ลาย หรื อ ได้ รั บ ความเสี ย หายกว่ า 125,000 หลั ง ถนนพังเละ รางรถไฟบิดเบีย้ ว เขือ่ นแตก เกิดเหตุ เพลิงไหม้ บ้านเรือนราว 4.4 ล้านหลังคาเรือนไม่มี กระแสไฟฟ้าใช้ อีก 1.5 ล้านคนไม่มีนํ้าใช้ 93% ของผู้เสียชีวิตทั้งหมดเสียชีวิตเพราะจมนํ้า 65% ของผู้เสียชีวิตทั้งหมดอายุ 60 ปีหรือมากกว่า 24% ของเหยื่อทั้งหมดอยู่ในวัย 70 กระทรวง สาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการของญี่ปุ่น แถลงว่า มีเด็กอย่างน้อย 82 คนต้องกลายเป็น เด็กกำ�พร้าจากภัยพิบัติดังกล่าว นับเป็นตัวเลขทีฟ่ งั แล้วหดหูใ่ จอย่างยิง่ เมือ่ ลองนึกสภาพตัวเราเองหากต้องเจอเหตุการณ์เช่นนี้ แต่สิ่งที่เห็นผ่านสื่อต่างๆ คือ ชาวญี่ปุ่นทั้ง ในท้องถิ่นและส่วนอื่นของประเทศ ยื่นมือเข้า “ช่วย” เพื่อนร่วมชาติทันที 2-3 วันแรกหลังคลื่นสึนามิถล่ม ความช่วย เหลือยังมาไม่ถึง ผู้คนค้นหาอาหารกระป๋องหรือ อาหารสำ�เร็จรูปที่ยังพอกินได้ และแบ่งกัน ไม่มี

flickr.com/photos/Warren Antiola

แต่เหตุการณ์ที่ตามมาหลังหายนะแต่ละครั้งก็ ทำ�ให้ชาวโลกต้องทึ่ง เพราะญี่ปุ่นฟื้นตัว “เร็ว” ชนิดทำ�สถิติ หลังแผ่นดินไหว (บางครั้งมีแถม คลื่นสึนามิ) กวาดเมืองราบเป็นหน้ากลอง ภาพ ที่เห็นผ่านสื่อต่างๆ คือชาวญี่ปุ่นเข้าแถวรออย่าง เป็นระเบียบนานนับชั่วโมงอย่างอดทนเพื่อรอรับ อาหารปันส่วน ศูนย์ผอู้ พยพทีเ่ ป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่มกี ารก่อจลาจล หรือฉวยโอกาสปล้นสะดมร้าน ขายของเหมือนในหลายประเทศ อาสาสมัคร จำ�นวนมากเดินทางมาจากต่างเมืองเพื่อหยิบยื่น ความช่วยเหลือ พร้อมความร่วมแรงร่วมใจขั้น สูงสุดเท่าที่จะเคยเห็นในโลกนี้ น่าคิดว่าทำ�ไมเราไม่เห็นภาพนี้ในประเทศ อื่นบ้าง หรือญี่ปุ่นมีอะไรที่ต่างจากชาติอื่นๆ การเก็บไว้กินคนเดียวหรือกินเฉพาะครอบครัว ของตน บางบ้านที่ระบบแก๊สยังพอใช้ได้และ อาบนํา้ ได้ ก็เปิดให้คนทัว่ ไปเข้ามาอาบนํา้ ร้อนได้ เมื่ อ ข่ า วแพร่ อ อกไป นอกจากเงิ น บริ จ าคที่ หลั่งไหลเข้ามา ยังมีอาสาสมัครกว่า 1.4 ล้านคน (ส่วนใหญ่เป็นประชาชนชาวญีป่ นุ่ ) เดินทางไปใน พื้นที่ประสบภัยเพื่อช่วยเหลือ โดยเฉพาะจังหวัด ที่ “โดนหนัก” ที่สุด ได้แก่ อิวาเตะ มิยางิ และ ฟุ กุ ชิ ม ะ นั บ ตั้ ง แต่ เ ดื อ นเมษายนถึ ง สิ ง หาคม (คือ 6 เดือนหลังเกิดเหตุ) Japan National Council of Social Welfare ระบุวา่ จำ�นวนอาสา สมัครที่ไปช่วย 3 จังหวัดนี้รวมกัน มีมากกว่า แสนคนทุกเดือน สูงสุดในเดือนพฤษภาคม 2011 ที่จำ�นวนอาสาสมัครพุ่งสูงถึง 1.8 แสนคน อาสา สมัครเหล่านี้ช่วยทำ�อาหาร เสิร์ฟอาหาร ขุดลอก ท่อสำ�หรับระบายนํ้า ขุดค้นหาข้าวของเครื่องใช้ จากบ้านและอาคารที่ถูกคลื่นสึนามิถล่ม และทำ� งานอื่นๆ อีกหลายอย่างที่ต้องใช้แรงกายและ ความเข้มแข็งทางจิตใจไม่น้อย อาสาสมัครหลายคนเปิดเผยความรู้สึกเมื่อ เดินทางมาเห็นสถานที่ประสบภัยเป็นครั้งแรกว่า ตกใจที่เห็นระดับความสูญเสีย “เมื่ อ ผมเดิ น ทางมาถึ ง หลั ง เหตุ เ กิ ด แล้ ว เป็นเดือน ก็คดิ ว่าสภาพทัว่ ไปคงเรียบร้อยขึน้ บ้าง แล้ว แต่ไม่อยากเชือ่ สายตาตัวเองเลย” มาโกโตะ ยานางิซาวะ อาสาสมัครรายหนึ่งกล่าว ก็ไม่น่า แปลกใจ เพราะวันที่เดินทางมาถึง ดูราวกับว่า CREATIVE THAILAND I 25

สึนามิเพิง่ มาถล่มเมือ่ ไม่กว่ี นั ก่อน ซากตึก ห้างร้าน และรถที่ยับเยินยังคงอยู่เกลื่อนถนน ตอนแรก มาโกโตะตั้งใจจะอยู่ช่วยงานไม่ กี่วัน แต่ลงเอยด้วยการอยู่เป็นเดือน เขาเป็น นักวิจัยด้านสเต็มเซลล์ที่สหรัฐอเมริกา ตำ�แหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แต่ยอมทิ้งงานมาเพื่อเป็น อาสาสมัคร เขากล่าวว่า วิทยาศาสตร์สำ�คัญ แต่ สิง่ ทีเ่ ขาเห็นตรงหน้านัน้ สำ�คัญยิง่ กว่า และเขาคง ไม่มีกำ�ลังใจทำ�งานวิจัยถ้าหันหลังให้เพื่อนร่วม ชาติที่กำ�ลังเดือดร้อน อาสาสมัครทำ�งานวันละ 16 ชัว่ โมง เข้านอน 4 ทุ่ม ตื่น 6 โมงเช้า ตลอดเวลาที่ตื่นอยู่ ทุกคน “ทำ�งาน” ยูกิ ฮาราโมโตะ นักศึกษาเศรษฐศาสตร์วัย 22 ปี กล่าวว่า จะลาหยุดไปสัก 2-3 วันก็ได้ไม่มี ใครว่า แต่ไม่มีใครอยากทำ�อย่างนั้น ตอนนี้เธอ พักการเรียนไว้ก่อนเพื่อทำ�งานอาสาสมัครอย่าง เต็มตัว และยังไม่มีแผนจะกลับไปเรียน เคสุเกะ คาจิวาระเป็นอาสาสมัครอีกคนที่ เดินทางกว่า 1,600 กม. จากฟุกุโอกะเพื่อมาช่วย กว่าหกเดือนแล้วทีเ่ ขาไม่ได้กลับบ้านเลย เคสุเกะ ช่วยงานรับโทรศัพท์จากผู้ประสบภัย บางคนโทร มาขอแบตเตอรีใส่เครือ่ งช่วยฟัง บ้างโทรมาขอให้ ช่วยปะยางจักรยาน และบางคนโทรมาเพียงเพื่อ ต้องการใครสักคนที่รับฟัง ในช่วงเวลาแห่งความสูญเสีย มีรายงานว่า ชาวญี่ปุ่นบางบ้านเหลือนํ้า 2 ขวดสุดท้าย แต่


แบ่งให้ผู้ประสบภัยขวดหนึ่ง บ้านใครที่พอจะ เจียดเนื้อที่ให้นอนได้ จะเปิดบ้านต้อนรับเพื่อน ร่วมชาติที่ไม่เหลือแม้ข้าวของสักชิ้นติดตัว หนังสือ Roots of the Japanese Sun เขียน โดย โบริส ปิลเนียก (Boris Pilnyak) กล่าวถึงเหตุ เพลิงไหม้ครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นว่า เมื่อ เพลิงสงบแล้ว ผู้รอดชีวิตช่วยกันกลับไปขุดศพ เพื่อนบ้านเพื่อนำ�ไปฝัง แต่กลับพบศพผู้ใหญ่ หลายคนเรียงกันอย่างเป็นระเบียบ ใต้ศพเหล่านัน้ คือเด็กๆ ที่ยังไม่ตาย เท่ากับว่าพวกผู้ใหญ่นอน เรียงกันและยอมถูกเผาเพือ่ ช่วยชีวติ เด็กเหล่านัน้ สปิริตประจำ�ชาติ ในสายตาคนนอก สิ่งที่เห็นอาจถูกแปลความ หมายว่า “คนญี่ปุ่นเป็นคนใจดี” แต่สิ่งที่เราเห็นนั้น มันอาจเป็นยิ่งกว่าคำ�ว่า นาํ้ ใจ การทีค่ นญีป่ นุ่ ยอมสละทรัพย์สนิ เวลา หรือ แม้แต่ชวี ติ เพือ่ ช่วยกูส้ ถานการณ์อนั เลวร้าย เป็น ลักษณะประจำ�ชาติอย่างหนึ่งที่พวกเขาเลือกจะ “สูไ้ ม่ถอย” ด้วยพลังใจมหาศาล แบบทีฝ่ รัง่ เรียกว่า Japanese Spirit แม้จะเกิดหายนะสักกี่ครั้ง แต่ คนญีป่ นุ่ ต่างก็รว่ มใจกัน ช่วยกัน และมีส�ำ นึกเรือ่ ง บทบาททางสังคมที่สูงเป็นพิเศษ นีค่ อื กุญแจสำ�คัญทีท่ �ำ ให้ญปี่ นุ่ “ฟืน้ ตัว” ได้ ครั้งแล้วครั้งเล่า อย่างที่ประเทศอื่นๆ ไม่อาจ จินตนาการได้ว่า ถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้กับ ประเทศตนเองบ้าง จะเป็นอย่างไร Japanese Spirit ทีน่ �ำ ไปสูค่ วามเป็นนํา้ หนึง่ ใจเดียวกันของคนญีป่ นุ่ มีพนื้ ฐานมาจากแนวคิด ประจำ�ชาติหลายอย่าง หนึ่งคือ “พรแสวง สำ�คัญกว่าพรสวรรค์” ช่วงหลังการปฏิวัติเมจิในปี 1868 ญี่ปุ่น พลิกฟื้นตัวเองจากชาติที่ไม่มีอุตสาหกรรมหนัก ใดๆ เลย รัฐบาลคัดนักเรียนระดับหัวกะทิ ส่งไป เรียนทุกอย่างจากประเทศตะวันตก แล้วกลับมา พัฒนาประเทศ จนกลายเป็นชาติมหาอำ�นาจทาง เศรษฐกิจในเวลาน้อยกว่าหนึ่งชั่วอายุคน ชาวตะวันตกจำ�นวนไม่น้อยมองว่า ทักษะ บางอย่าง ถ้าเกิดมาไม่มีก็คือไม่มี แต่คนญี่ปุ่น ไม่คิดเช่นนั้น องค์ความรู้ในเรื่องต่างๆ จะถูก ศึกษาอย่างละเอียด และคนญี่ปุ่นจะ ‘ฝึก’ ให้ หนักจนกว่าจะทำ�ได้ ไม่สนใจว่าจะเบื่อแค่ไหน คนญีป่ นุ่ ให้ความสำ�คัญน้อยมากกับคำ�ว่า ‘ความ สามารถพิเศษ’ เพราะหากฝึกให้นานและหนักพอ ก็ไม่มีอะไรที่ทำ�ไม่ได้

Japanese Spirit มีให้เห็นตั้งแต่ระดับ ปัจเจกชน โรเบิร์ต ทวิกเกอร์ (Robert Twigger) ชาวต่างชาติที่มาญี่ปุ่นเพื่อฝึกวิชาป้องกันตัวเล่า ว่า ในสำ�นัก (Dojo) ที่เขาฝึกฝน มีผู้ชายญี่ปุ่น คนหนึง่ ฝึกไม่หยุด ยอมโดนทุม่ จนศีรษะกระแทก พืน้ อยูน่ านนับชัว่ โมง แม้จะบ่นปวดศีรษะ แต่ชาย คนนั้นไม่ยอมเลิกฝึก จนกระทั่งยืนไม่ไหว และ เสียชีวิตในอีกไม่กี่นาทีถัดมา คุ ณ สมบั ติ อีก ข้ อ ที่ โ ดดเด่ น ของชาวญี่ ปุ่น คือ ความเห็นอกเห็นใจที่มีต่อคนแปลกหน้า ทวิกเกอร์กล่าวว่า เมือ่ ครัง้ เขาอาศัยอยูใ่ นโตเกียว และต้องขึ้นรถไฟกลับบ้าน จะเห็นหนุ่มมนุษย์ เงินเดือนที่ดื่มเหล้าเมาแอ๋ขึ้นรถไฟมา แต่คน ญี่ปุ่นที่เขาเห็นจะไม่แสดงอาการ ‘รังเกียจ’ หรือ พยายามเดินออกห่างเหมือนในสังคมตะวันตก แต่คณุ ป้าหรือคุณลุงวัยกลางคนจะหยิบยืน่ กระดาษ ทิชชูให้เจ้าหนุ่ม ทวิกเกอร์บอกว่า ชาวตะวันตก มัก ‘ตัดสิน’ คนจากภายนอกมากกว่า แต่ในญีป่ นุ่ คนทีก่ �ำ ลังต้องการความช่วยเหลือ ก็จะได้รบั การ ช่วยเหลือ ไม่แปลกทีว่ า่ นักท่องเทีย่ วไทยผูน้ ยิ มชมชอบ การเดินทางไปท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่น จะได้พบ กับประสบการณ์นา่ ประทับใจมากมายทีช่ าวญีป่ นุ่ มักจะหยิบยื่นความช่วยเหลือและนํ้าใจให้อย่าง เหลือเฟือ ไม่ว่าจะเป็นในการเดินทาง การซื้อ สินค้า หรือแม้แต่การใช้ชีวิตตามปกติ ซึ่งล้วน ตอกยํ้าให้หลายคนรู้สึกว่า คนญี่ปุ่นน่ารัก สุภาพ เรียบร้อย มีหัวใจบริการโดยแท้จริง และเป็น นํ้าหนึ่งใจเดียวกันชนิดหาตัวจับยาก CREATIVE THAILAND I 26

นักเขียนชือ่ อเล็กซานเดอร์ เอ็น. เมชเชรยาคอฟ (Alexander N. Meshcheryakov) ระบุไว้ใน บทความปี 2016 ของเขาว่า เขาเคยได้ยินหลาย เสียงวิจารณ์ว่า ญี่ปุ่นเปลี่ยนไปมาก คนญี่ปุ่นไม่ สวมกิโมโน ฟังเพลงตะวันตก กินขนมปังแทนข้าว แต่เขาคิดว่านัน่ เป็นเพียงเปลือกนอก จิตวิญญาณ ของคนญี่ปุ่นยังคงเดิม โดยเฉพาะค่านิยมเรื่อง การขโมยเป็นสิง่ ผิด อัตราอาชญากรรมจึงตํา่ มาก และเราจะไม่เห็นการเอารัดเอาเปรียบกันเมือ่ เกิด ภัยพิบัติอย่างแน่นอน เมชเชรยาคอฟยังระบุว่า คนญี่ปุ่นรุ่นใหม่ มักถูกครหาว่า “สู้” คนรุ่นพ่อแม่ (ที่สร้างชาติขึ้น มาใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง) ไม่ได้ เด็ก รุ่นใหม่สนใจแต่เรื่องของตัวเอง ไม่ค่อยสนใจ สังคม อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดภัยพิบัติ จะเห็น ได้ชัดว่าเรื่องนี้ไม่เป็นความจริง อาสาสมัคร จำ�นวนมากเป็นคนรุน่ ใหม่ เขาเองยังพบช่างตัดผม วัยรุ่นที่อาสาตัดผมให้ผู้ประสบภัยฟรี การเคารพกฎกติกาของสังคม ทำ�หน้าทีข่ อง ตัวเองให้ดีที่สุด นับเป็นคุณสมบัติที่คนญี่ปุ่นมี ไม่แพ้ชาติใดในโลก โรเบิร์ต ทวิกเกอร์เล่าใน บทความ Japan: Triumph of the Spirit ของ หนังสือพิมพ์ The Independent ว่า เด็กหนุ่ม ร้านแซนด์วชิ ในกรุงโตเกียวดูเบือ่ งานทีต่ อ้ งทำ�มาก แต่แซนด์วชิ ทุกชิน้ ทีเ่ ขาทำ�เสิรฟ์ ลูกค้านัน้ สมบูรณ์ แบบเท่ากันเป๊ะทุกชิ้น ทำ�นองแม้จะเบื่อแสนเบื่อ แต่ ไ ม่ มี วั น ละทิ้ ง หน้ า ที่ ไม่ เ หมื อ นเด็ ก หนุ่ ม ในอังกฤษที่อาจทำ�งานขันแข็งเมื่อ “อยากทำ�” เท่านัน้ หรือข่าวล่าสุดทีพ่ สิ จู น์ถงึ การเคารพหน้าที่


บางที เหตุผลทีพ่ ระเจ้ามอบ ‘ข้อสอบ’ สุดโหด ให้ญี่ปุ่นครั้งแล้วครั้งเล่า อาจเป็นเพราะทรงเห็น ว่า หายนะภัยแต่ละครัง้ ล้วนดึงคุณสมบัตชิ นั้ เลิศ ของชาวญี่ปุ่นออกมาให้โลกเห็น คงไม่ ใ ช่ ค รั้ ง สุ ด ท้ า ยที่ ภั ย ธรรมชาติ ห รื อ แม้แต่ภยั จากนํา้ มือมนุษย์จะเกิดขึน้ ในประเทศนี้ แต่ไม่ว่าจะเกิดอีกกี่ครั้ง คนญี่ปุ่นคงพร้อมรับมือ ได้เสมอ เพราะเขามี “กันและกัน” มีสิ่งที่เป็นยิ่ง กว่านํา้ ใจ ได้แก่ การสำ�นึกในหน้าทีท่ ที่ กุ คนมีตอ่ สังคม โดยไม่ตอ้ งรอเทพเจ้าคาชิมะตืน่ เพือ่ เอาหิน ทับปลาดุกไม่ให้ดิ้น แต่ลงมือลุยกันเอง ช่วยกัน ฟื้นฟูประเทศ คนละไม้คนละมือ เหตุการณ์รา้ ยแรงอย่างแผ่นดินไหวหรือคลืน่ สึนามิเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากเจอ แต่หากจะมี ชาติใด “ฝ่าวิกฤต” ไปได้ด้วยความร่วมแรง ร่ ว มใจของคนในชาติ ก็ ค งเป็ น ใครไปไม่ ไ ด้ นอกจากญี่ปุ่นนี่เอง

facebook.com/yunachanoil

ไม่มีเทพเจ้ามาช่วย ตำ�นานญี่ปุ่นกล่าวว่า มีปลาดุกขนาดยักษ์อาศัย ในโคลนใต้พื้นโลก เทพเจ้าองค์หนึ่งนามว่าเทพ คาชิมะ มีหน้าทีค่ อยเอาหินก้อนใหญ่ทบั ตัวปลาไว้ แต่บางครัง้ เทพคาชิมะแอบหลับระหว่างทำ�หน้าที่ ปลาดุกจึงดิ้นอย่างแรงเพื่อหนี ทำ�ให้เกิดแผ่นดิน ไหวอยู่เรื่อยๆ เมื่อคาชิมะตื่นขึ้นและเอาหินวาง ทับปลาไว้เช่นเดิม แผ่นดินไหวจึงหยุด ปี 1945 หลังเมืองฮิโรชิมาและนางาซากิถูก ถล่มด้วยระเบิดนิวเคลียร์ จักรพรรดิฮโิ รฮิโตตรัสกับ ประชาชนผู้รอดชีวิตว่า “We have resolved to endure the unendurable and suffer what is insufferable.” (ชาวญีป่ นุ่ ได้แสดงให้เห็นว่า เราเป็น ชนชาติท่ีอดทนและรับมือกับความทุกข์ยากแสน สาหัสที่มนุษย์ไม่นา่ จะทนรับได้) ราวกับจะบอกว่า ปลาดุกจะดิน้ จนบ้านเมืองพังพินาศอีกกีค่ รัง้ คนญีป่ นุ่ ก็พร้อมจะสู้เพื่อกอบกู้ประเทศขึ้นมาใหม่เสมอ

jpninfo.com

เหนือสิ่งอื่นใดของชาวญี่ปุ่น เมื่อเจ้าหน้าที่การ ประปาในเมืองโกเบแถลงขอโทษสังคม ทีเ่ ขาแอบ ใช้เวลาทำ�งานราวครั้งละ 3 นาที เดินออกไปซื้อ ข้าวกล่องที่ร้านค้าใกล้เคียงนอกสำ�นักงานเป็น ระยะเวลา 7 เดือน รวมทัง้ สิน้ 26 ครัง้ เพือ่ เปลีย่ น บรรยากาศ จนทำ�ให้เขาถูกลงโทษด้วยการลด เงิ น เดื อ นลงครึ่ ง หนึ่ ง ซึ่ ง เขาเองก็ ย อมรั บ ว่ า เหมาะสมแล้วกับการละเลยหน้าที่ของตนเอง นอกจากนี้ ทวิกเกอร์ยังตั้งข้อสังเกตว่า ชาวญีป่ นุ่ ทำ�งานร่วมกันเป็นกลุม่ ได้มปี ระสิทธิภาพ อย่างยิ่ง โดยทั่วไปแล้ว ชาวญี่ปุ่นชอบสังเกต มากกว่าถามคำ�ถาม ในงานส่วนรวมใดๆ ก็ตาม แต่ละคนจะคอยดูวา่ มีอะไรที่ท�ำ ได้บา้ งและลงมือทำ� ยิง่ ในงานอาสาสมัครช่วยผูป้ ระสบภัย อาสาสมัคร แต่ละคนไม่รอให้มีใครมาสั่งหรือมอบหมายงาน แต่ “ทำ�งานตลอดเวลาที่ตื่นอยู่” และจะ “ทำ�ทุก อย่างที่ทำ�ได้” เพื่อช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้น

“ยูนะจัง” นํ้ามันคาโนลาที่ช่วยพลิกฟื้นเศรษฐกิจชุมชนฟุกุชิมะ

หลังคลื่นสึนามิถล่มเมื่อปี 2011 ชาวบ้านบางส่วนค่อยๆ คืนถิ่นฐานและฟื้นฟูแหล่งทำ�กินเดิมที่เสียหาย คิโยชิเกะ ซึกิอุจิ เป็นชาวนาจากเมืองมินะมิโซมะ ที่อยู่ห่างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิจิไปเพียง 20-30 กิโลเมตร เขาปลูกข้าวในที่ดินเดิมไม่ได้เพราะปัญหาเรื่องรังสีรั่วไหล ทำ�ให้ดินเป็นพิษ แต่เขาศึกษา ประวัติศาสตร์วิกฤตการณ์เชอร์โนบิล (Chernobyl) ในยูเครนจนรู้ว่า การปลูกต้นเรพซีด (Rapeseed) ช่วยฟื้นฟูดินที่มีสารพิษตกค้างได้ ต้นเรพซีดหรือที่คนญี่ปุ่นเรียกว่านาโนะฮานะ (Nanohana) มีดอกสีเหลืองสวย ต้นไม้นี้ใช้ทำ�นํ้ามันคาโนลา ซึกิอุจิจึงลงมือปลูกต้นไม้นี้ในที่ดินของเขา และเป็นตัวอย่างให้เกษตรกรอื่นๆ ในพื้นที่หันมาทำ�ตาม โดยสารพิษในดิน (Cesium) จะถูกกักเก็บไว้ในใบ ลำ�ต้น และรากพืช แต่พิษจะไม่เข้าไปในนํ้ามัน ที่สกัดจากเมล็ดของเรพซีด ปัจจุบัน ซึกิอุจิและเกษตรกรรายอื่นๆ ได้แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันเรื่องการปลูกต้นเรพซีด พร้อมกับการจัดตั้งองค์กรชื่อว่า Minamosa Agricultural Council เพื่อเป็นตัวแทนเกษตรกรในพื้นที่ ชื่อ “ยูนะจัง” ซึ่งเป็นชื่อแบรนด์ของพวกเขานั้น มาจากตัวอักษรคันจิ 油 (นํ้ามัน) และ 菜 (Rapeseed) นั้น นอกจากจะหมายถึงนํ้ามันที่ผลิตใน ท้องถิ่นแล้ว ก็ยังเป็นสัญลักษณ์แห่งความหวังสำ�หรับเกษตรกรในฟุกุชิมะมาจนถึงวันนี้อีกด้วย ที่มา: บทความ “Japan quake: Strong tremor shakes Osaka, killing at least 4” โดย Junko Ogura และ Susannah Cullinane จาก edition.cnn.com / บทความ “Japan: Triumph of the spirit” โดย Robert Twigger จาก independent.co.uk / บทความ “From volunteers to voluntours: shifting priorities in post-disaster Japan” โดย Chris McMorran จาก tandfonline.com / บทความ “Japan is rich in resilience” โดย Peter Tasker จาก ft.com / บทความ “In Japan’s disaster zone, recovery is just beginning” โดย Tom Wilson/ Tono จาก content.time.com / บทความ “Japanese, Waiting in Line for Hours, Follow Social Order After Quake” โดย Susan และ James Russell Goldman จาก abcnews.go.com / บทความ Disaster and the Japanese Spirit โดย Alexander N. Meshcheryakov จาก nippon.com / บทความ “Yuna-Chan”: The New Project Helping Revive Fukushima Prefecture จาก jpninfo.com CREATIVE THAILAND I 27


The Creative : มุมมองของนักคิด

จากซ้ายไปขวา: ศา - ศานนท์ หวังสร้างบุญ เต - เตชิต จิโรภาสโกศล ตวง - ภัทรมน สุขประเสริฐ เนย - สุวิชา พิทักษ์กาญจนกุล และ ฮิน - ฐากูร ลีลาวาปะ

เรื่อง: พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์ และ พฤฒ มิ่งศุภกุล ภาพ: ภีร์รา ดิษฐากรณ์

ลองจินตนาการถึงบ้านเมืองและสังคมที่ผ้คู นใส่ใจและให้ความสำ�คัญกับงานสาธารณะโดยไม่เกี่ยงงอน คิดถึงการดูแลรักษา ความสะอาดและความสวยงามที่กินอาณาบริเวณมากกว่าแค่ภายในรั้วบ้าน แต่คือพื้นที่หน้าบ้าน พื้นที่ส่วนกลาง ไปจนถึง พื้นที่สาธารณะขนาดใหญ่ออกไป หรือลองมองให้ต่างบนความจริงที่ว่า เราทุกคนล้วนเป็นส่วนหนึ่งของโลกใบใหญ่ และงาน ใดๆ ที่เป็นงานสาธารณะ ก็คือหน้าที่รับผิดชอบของเราทุกคน CREATIVE THAILAND I 28


“กลุ่มสาธารณะ” ที่ประกอบด้วย ศา - ศานนท์ หวังสร้างบุญ เต - เตชิต จิโรภาสโกศล ตวง - ภัทรมน สุขประเสริฐ เนย - สุวิชา พิทักษ์กาญจนกุล และ ฮิน - ฐากูร ลีลาวาปะ คือตัวแทนของคนรุ่นใหม่ที่มาจากหลากหลาย สาขาอาชีพ ต่างแบ็กกราวด์ ต่างความคิด แต่ทุกๆ คนกลับเชื่อมั่นและ ศรัทธาในสิ่งเดียวกัน นั่นคือ งานสาธารณะต้องเป็นเรื่องของเราทุกคนที่ ไม่อาจมองข้ามหรือเพิกเฉยได้ การลุกขึ้นมาตั้งใจมองให้เห็นถึงต้นตอของ ปัญหา ระดมสมอง เงินทุน ตลอดจนพละกำ�ลังที่มี เพื่อค้นหาวิธีแก้ไขและ คลี่คลายประเด็นปัญหาสาธารณะมากมายของกลุ่ม ไม่เพียงบอกให้เรารู้ ว่าการทำ�ความดีไม่ได้มีจุดคุ้มทุนที่ความคุ้มค่าของผลตอบแทน แต่คือ การได้เห็นคนใหม่ๆ ในสังคมที่ไม่วางเฉยกับเรื่องสาธารณะว่าเป็นเพียง “เรื่องของคนอื่น” มากยิ่งขึ้น กลุ่มสาธารณะมีวิธีทำ�งานอย่างไรบ้าง ศานนท์: จริงๆ เรามีหลายทีมครับ แต่ที่มาวันนี้จะเป็นทีมกลางซึ่งทำ�งาน ในส่วนของคอนเทนต์ส�ำ หรับสือ่ และกระบวนการมีสว่ นร่วมกับ Stakeholder (ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ) ซึ่งจริงๆ แล้วงานของทุกทีมก็จะผลิตคอนเทนต์ และทำ�เรื่องกระบวนการมีส่วนร่วมเหมือนกัน แต่เจาะประเด็นเฉพาะ เช่น Maydayi จะทำ�เรื่องระบบขนส่ง ก็ต้องไปทำ�งานกระบวนการมีส่วนร่วม กับเขา กับประชาชน หรือว่าถ้าทำ�งานท่องเที่ยว ก็ต้องไปทำ�งานกับชุมชน แปลว่าทุกคนทำ�งานเพื่อซัพพอร์ทกลุ่มงานต่างๆ อีกทีหนึ่ง ศานนท์: คุณเนยกับคุณตวงจะทำ�คอนเทนต์ อย่างคุณฮิน ผม และคุณเต ก็ จะทำ�เรื่องกระบวนการมีส่วนร่วมกับคน กับชุมชน กับ Stakeholder ซึ่งก็ แล้วแต่ว่า Stakeholder จะเป็นประเด็นไหน แล้วก็จะมีทีมโปรดักชันที่จะ ทำ�งานด้วย สมมติว่าต้องผลิตงานกราฟิก ถ่ายภาพ หรือวิดีโอ ส่วนนี้ก็จะ อยู่ในทีมแต่ละทีมเป็นเฉพาะด้านไปเลย เช่น ทีม Trawellii ทีม Mayday ทีม CROSSsiii หรือทีม Once Again Hosteliiii ก็จะมีทมี โปรดักชันของตัวเอง ดู เ หมื อ นว่ า ทางกลุ่ ม จะให้ ค วามสำ�คั ญ กั บ กระบวนการมี ส่วนร่วมค่อนข้างมาก เต: จริงๆ บางทีภาครัฐหรือว่านายทุนทีเ่ ขามาสนับสนุนก็ไม่ได้มโี จทย์ตายตัว ว่าอยากจะได้ออกมาเป็นอะไร เพราะสุดท้ายเวลาไปลงมือทำ�กับผู้ที่ได้รับ ผลกระทบจริงๆ มันก็จะรูไ้ ด้เองว่าควรจะออกมาเป็นอะไร หรือเป็นโปรเจ็กต์ แบบไหน สิ่งที่เราทำ�จึงเป็นการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม ลงไปเรียนรู้ ทำ�ความเข้าใจปัญหา แล้วเอาก้อนปัญหานั้นมาผ่านกระบวนการออกแบบ จากนั้นค่อยเอาไปนำ�เสนอกับนายทุนอีกที เพราะสุดท้ายหนทางจัดการมัน มักจะไม่ได้มีแบบเดียว ศานนท์: คือเหมือนทุกคนที่มาจะมีเป้าใหญ่เหมือนกัน คือเรื่องของการ พัฒนาเมืองทีม่ กี ระบวนการมีสว่ นร่วมของคน เห็นคนเป็นทีต่ ง้ั คือหลวมๆ แล้ว

ข้อดีของการท�ำงานเมืองก็คอื ไม่วา่ คุณจะจับใครมาโยน ไม่วา่ จะมีทกั ษะ อะไร คุณจะเป็นนักบัญชี นักกฎหมาย สถาปนิก ผูป้ ระกอบการ หรือหมอ ทุ ก ทั ก ษะมี ป ระโยชน์ ห มดเลย เพราะว่ า พื้ น ที่ ใ นการแก้ ป ั ญ หา มันกว้างมาก แต่ส�ำคัญคือคุณต้อง รู้ว่าปัญหามันมีอยู่ เราเห็นเหมือนกัน แต่พอลงมือทำ�จริงๆ แต่ละคนก็จะมีความชำ�นาญต่างกัน อย่างคุณฮินก็จะเป็นสถาปนิก คุณเนยกับคุณตวงทำ�งานเกี่ยวกับสื่อมาก่อน คุ ณ เตก็ จ ะทำ � เรื่อ งออกแบบ นอกจากนี้ยัง มี ทีม อื่น ๆ ที่มีแ บ็ ก กราวด์ ไม่เหมือนกัน มีน้องที่ชอบเรื่องขนส่งมาก รู้จักรถเมล์ทุกสาย เราก็รู้สึก ว่าสิ่งที่เขามีกับสิ่งที่ทีมมีมันสามารถสร้างอะไรได้ แล้วค่อยมาแตกไป อย่างตอนผมมาเริ่มทำ�โฮสเทลที่นี่ (Once Again Hostel) มันก็เกี่ยวกับการ ท่องเทีย่ ว แล้วพอได้ทมี เพิม่ อีก ก็เลยตัง้ เป็นบริษทั เกีย่ วกับการพัฒนาชุมชน และร้านค้าต่างๆ ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว จากนั้นก็ขยายตั้งอีกบริษัทขึ้นมา แล้วก็เริ่มทำ� เริ่มโปรโมตของดีในชุมชน แถวนี้มีร้านค้าอะไรที่เป็นตำ�นาน มีอะไรอร่อย ก็เริม่ ขยายขึน้ แล้วก็จะมีงานทีล่ กึ กว่านัน้ เป็นงานเชิงโครงสร้าง เลย เช่น ปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย เรื่องสุขภาพ ทำ�ให้เราไม่สามารถทำ�แค่ ปัญหาผิวๆ ในระดับท่องเทีย่ วได้แล้ว แต่ตอ้ งกระจายไปในมิตอิ น่ื ๆ ซึง่ ตรงนี้ เราอาจจะทำ�เอง หรืออาจจะชวนคนรู้จักอื่นๆ ที่เก่งอยู่แล้วมาช่วยก็ได้ ถ้าย้อนไปตัง้ แต่โจทย์ตงั้ ต้น อะไรคือโจทย์แรกทีท่ างกลุม่ คิด ว่าต้องแก้ไขก่อน เต: ผมรู้สึกว่ามันน่าจะเป็นเรื่องของ Ignorance (การเพิกเฉย) คือมันต้อง มีการสร้าง Awareness (การรับรู้) ฉะนั้นสิ่งที่มันต้องเริ่มสำ�หรับผมก็คือ ก่อนทีจ่ ะลงมือทำ�อะไร คุณต้องรูก้ อ่ นว่า มันมีปญั หานีอ้ ยูใ่ นเมือง มันมีเรือ่ ง แบบนี้อยู่ แค่หลายปัญหามันไม่ถูกค้นพบหรือไม่ถูกพูดถึง แล้วเขาก็ไม่รู้ หรอกว่าจริงๆ เขาสามารถทำ�อะไรได้ สามารถมีส่วนร่วมอะไรได้ หรือว่า

i กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ต้องการนำ�เสนอข้อมูลเกี่ยวกับการเดินทางในเมืองกรุงด้วยระบบขนส่งสาธารณะให้เข้าใจง่าย และใช้งานได้จริง ii บริษทั แนะนำ�และพัฒนาการท่องเทีย่ วทีเ่ กิดขึน้ จากแนวคิดการนำ�ศักยภาพของการท่องเทีย่ วมาผสมกับโอกาสในการพัฒนาเมือง เพื่อปรับเปลี่ยนชุมชนที่กำ�ลังจะสูญหายไปตามกาลเวลา ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ ควบคู่ไปกับการร่วมมือกันสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ต่อยอดจากของดีในชุมชน เพื่อคุณภาพชีวิตและสังคมที่ดีขึ้น iii กลุ่มสถาปนิกรุ่นใหม่ มุ่งหวังที่จะผลักดันงานพัฒนา ผ่านกระบวนการออกแบบอย่างมีส่วนร่วม นำ�ไปสู่ความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกทางกายภาพและสังคม iiii โฮสเทลกลางย่านเก่าของกรุงเทพฯ ที่มีคอนเซ็ปต์ Where your stays better a city ด้วยการดึงชุมชนมามีส่วนร่วมในการจ้างงานและช่วยพัฒนาชุมชนไปพร้อมกับเมือง CREATIVE THAILAND I 29


ผมคิ ด ว่ า การท�ำงานสาธารณะ คื อ การยอมรั บ ว่ า ก�ำลั ง ท�ำอะไร เพื่ อ ตั ว เองด้ ว ย อั น นี้ ย ากที่สุด เพราะคนไทยมักจะคิดว่าการท�ำ เพื่ อ สาธารณะคื อ การท�ำบุ ญ คื อ การให้ โ ดยปราศจากการ ตอบแทน ซึ่งมันไม่ใช่ เพราะการ ท�ำเพื่อสาธารณะ มันก็คือการท�ำ เพื่อเราเองด้วย

เมืองมันมีมิติอื่นๆ ที่ต้องเคลื่อนไหวไปพร้อมๆ กัน ผมเลยคิดว่าเรื่อง Awareness เป็นเรื่องสำ�คัญ ข้อดีของการทำ�งานเมืองก็คือ ไม่ว่าคุณจะจับ ใครมาโยน ไม่ ว่ า จะมี ทั ก ษะอะไร คุ ณ จะเป็ น นั ก บั ญ ชี นั ก กฎหมาย สถาปนิก ผู้ประกอบการ หรือหมอ ทุกทักษะมีประโยชน์หมดเลย เพราะว่า พื้นที่ในการแก้ปัญหามันกว้างมาก แต่สำ�คัญคือคุณต้องรู้ว่าปัญหามัน มีอยู่ หมายถึงการสร้าง Awareness เพื่อกระตุ้นการมีส่วนร่วม ของคนใช่ไหม เต: ใช่ครับ ในเชิงนักออกแบบการสื่อสาร ผมรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องที่ทำ�ได้ พอเขารับรูแ้ ล้ว เราก็จะสื่อสารในส่วนอื่นๆ ต่อ เช่น มีกิจกรรมอะไร เข้าหา ได้อย่างไร อย่างตรงนี้มันมีพื้นที่ เราก็ต้องการให้คนรับรู้ว่าประเด็นปัญหา คืออะไร ที่นี่มีอะไรบ้าง แล้วจะเข้าหาอย่างไร ศานนท์: จริงๆ วิสยั ของกลุม่ เราไม่ได้เป็นคนแก้ปญั หาโดยตรง แต่เราอยาก จะให้คนทัง้ เมืองรูส้ กึ เป็นเจ้าของอะไรทีเ่ ป็นสาธารณะด้วย บางทีเขาก็จะคิด ว่าประเด็นนี้มีคนทำ�อยู่แล้ว หรือเป็นหน้าที่รัฐ แต่ในมุมเรา ถ้าเราทำ�อะไร ได้กอ่ น เราอยากจะกระตุน้ ให้ทกุ คน “ไปทำ�สิ” เพราะจริงๆ แล้วคนกับเมือง มันสัมพันธ์กนั แต่วา่ เราดันมีภาพว่ามันมีอ�ำ นาจบางอย่างทีม่ ากัน้ แล้วทำ�ให้ สิ่งที่เป็นสาธารณะ หรือสิ่งที่มากกว่าตัวเองกลายเป็นเรื่องของคนอื่น แต่สิ่ง ที่เราทำ� หรือเวลาที่เราชวนคิด เราคิดอะไรที่เริ่มจากเล็กๆ ก่อน แล้วมันก็ จะเริ่มใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เช่น คิดถึงบ้านตัวเองก่อน บ้านพี่น้องล่ะ ชุมชนล่ะ ย่านนี้ล่ะ แล้วเมืองล่ะ มันก็จะเริ่มใหญ่ขึ้นไป ไม่ใช่ว่าพออะไรที่มันมากกว่า ตัวเรา กลายเป็นว่าเราไม่สนใจเลย

แล้วเราต้องทำ�อย่างไรให้คนอืน่ รูส้ กึ ว่าตัวเองเชือ่ มโยงกับสิง่ ที่เป็นสาธารณะ ศานนท์: อย่างโครงการแรกทีเ่ ราได้เจอคนเยอะมากๆ คือตอนป้อมมหากาฬ ทีน่ า่ จะสะท้อนทัศนคติของคนได้ชดั ว่า เขาไม่ได้รสู้ กึ เกีย่ วข้องกับชุมชนทีอ่ ยู่ หลังกำ�แพงนี้เท่าไหร่ เพราะดูเป็นเรื่องของสาธารณะที่มันมี authority บางอย่าง ทำ�ให้เขารูส้ กึ ตัดขาดกับสิง่ อืน่ ๆ แล้วถูกทับด้วยกฎหมายอีกชัน้ หนึง่ ว่าชุมชนนี้เป็นชุมชนผิดกฎหมาย แต่สิ่งที่เราเข้าไปแล้วเรารู้สึกคือ หนึ่งเขา ไม่ได้ผดิ กฎหมายมาตัง้ แต่วนั แรก เขามาก่อน สองคือถ้าเราคิดถึงความเชือ่ มโยง ของชุมชนป้อมฯ กับชุมชนพระนคร เราจะรูไ้ ด้วา่ ชุมชนมีประวัตศิ าสตร์ มีการ ก่อร่างสร้างบ้าน คือเราจะรู้สึกเชื่อมโยง และเราก็อยากจะเชื่อมโยงให้กับ ทุกๆ คนด้วย อันนี้น่าจะเป็นโปรเจ็กต์แรกที่เราทำ� เต: คือเราอาจจะเคยผ่านพื้นที่หนึ่งๆ แต่คุณรู้สึกว่านี่ไม่ใช่ที่ของเรา ทั้งๆ ที่มันเป็นเมืองของคุณ หรือเราอาจจะเป็นเจ้าของย่านนี้ แต่รู้สึกมันวุ่นวาย ก็อาจจะถอยออกมา ขอเป็นแค่เจ้าของหมูบ่ า้ นนีแ้ ล้วกัน จากนัน้ ก็รสู้ กึ วุน่ วายอีก งัน้ ก็เป็นแค่เจ้าของบ้านตัวเองแล้วกัน และคุณก็รสู้ กึ อีกว่าทำ�ไมแม่วนุ่ วายจัง งั้นเป็นเจ้าของแค่ห้องตัวเองแล้วกัน ไม่สื่อสารกับใคร ติดต่อเอาแค่ใน อินเทอร์เน็ตก็ได้ แต่โลกจริงๆ มันมีการเปลีย่ นแปลงอยูต่ ลอด สุดท้ายผมก็ยงั รูส้ กึ ว่ามนุษย์ตอ้ งติดต่อสือ่ สารกันด้วยการพบปะ พูดคุย และเจอกันมากกว่า นั่นคือสิ่งที่เราอยากสร้างให้ทุกคนออกมามีส่วนร่วม หลังจากเหตุการณ์ป้อมมหากาฬ เราต่อยอดกระบวนการมี ส่วนร่วมอย่างไร ฮิน: ตอนทีเ่ ราไปร่วมทำ� ไปร่วมใช้ชวี ติ ไปร่วมรับรู้ ไปร่วมรูส้ กึ กับเขา ไปร่วม ทานอาหาร ไปร่วมส่งสายตาให้กำ�ลังใจกัน ผมว่าตอนนั้นสิ่งที่เราได้คือชุด ความรูท้ เี่ ราจะพยายามไม่ให้เกิดแบบนีซ้ าํ้ อีก และนำ�ไปต่อยอดกับพืน้ ทีอ่ นื่ ๆ ได้ เหมือนเราได้แสดงกับสังคมว่ามันมีกลุม่ คนแบบนี้ ทีม่ กี ารรวมตัวกันเพือ่ ทำ�อะไรบางสิ่งให้ชุมชนของเขาดีขึ้น เต: ประเด็นป้อมมหากาฬมันค่อนข้างจะเป็นประเด็นร้อน แล้วมีคนที่อยาก จะเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องเยอะ แต่เราเป็นเหมือนแค่อาสาของภาควิชาชีพ แล้วก็เป็นคนรุ่นใหม่ เราก็จะมีวิธีที่จะทำ�ในแบบของเรา พยายามจะหาสิ่งที่ เราพอทำ�ได้ หรือสิ่งที่เราทำ�ได้ดี ศานนท์: เวลาเราลงไปเจอกับอะไรแบบนี้ เราก็ค่อนข้างหมดหวังนะ คือเรา เห็นปัญหาอะไรเยอะ แต่ในขณะนั้นเราก็มองมันเป็นความท้าทายด้วย เราก็มาดูว่า คนแบบเราทำ�ส่วนไหนได้บ้าง ก็เลยออกมาเป็นเหมือนที่เล่า ให้ฟัง คือจะมีงานที่เราอยากจะทำ�สื่อ เพื่อเชื่อมโยงคนอื่นให้เขาเข้าไปถึงที่ นั่นได้ด้วย เราต้องการกระบวนการที่คนกลางสามารถดึงคนมามีส่วนร่วม มาศึกษาได้ เพื่อให้เขาเข้าใจและเห็นว่าเรื่องนี้มันสำ�คัญอย่างไร แสดงว่าเราทำ�หน้าที่เป็นคนกลางที่คอยสร้างความเข้าใจที่ ถูกต้องให้กับสังคมใช่ไหม ตวง: เราไม่ได้คิดว่าสิ่งที่เราทำ�มันคือสิ่งที่ถูกอย่างเดียว แต่เราอาจจะหยิบ แง่มุมที่พวกเราเชื่อว่าคนตัวเล็กตัวน้อยก็สำ�คัญ และพยายามเปิดพื้นที่ให้ ใครๆ ก็สามารถเข้ามาทำ�อะไรๆ หรือเริ่มเห็นปัญหาเล็กๆ น้อยๆ ได้ หรือ ช่วยผลักดันให้มันเกิดขึ้นมาได้ด้วย

CREATIVE THAILAND I 30


ศานนท์: ถึงแม้เราจะเป็นเจ้าของโปรเจ็กต์ แต่เราก็จะไปชวนคนอื่นอยู่ดี คือด้วยความที่ หนึ่งเราไม่ได้มีความเชี่ยวชาญจนแบบเก่งที่สุดในประเทศนี้ ที่เรามีก็คือแรงในการลงไปในพื้นที่ต่างๆ แล้วเราเห็น เสร็จแล้วเราแค่บอก ออกมา ว่าตรงนีต้ อ้ งการอะไรแบบนี้ แล้วเราก็จะชวนคนทีน่ า่ จะเป็นผูเ้ ชีย่ วชาญ จริงๆ มามากกว่า เต: ผมว่าคําว่า “ถูกต้อง”มันน่ากลัวนิดหนึ่ง เวลาที่เราทำ�งานกับปัญหาที่ มันยากแล้วเราไปเชื่อว่าเราจัดการมันได้ พอเราเชื่อว่าจัดการมันได้ เราจะ ตั้งตัวเองเป็น Organizer เป็น Founder เป็น Head of Project เป็น Owner แต่สุดท้ายเราทำ�ไปด้วยประสบการณ์ที่ผ่านมา เราจะรู้สึกเลยว่า ปัญหาที่เราเห็นว่ามันง่ายๆ อาจจะเป็นแค่เรื่องฟุตบาท เรื่องถังขยะ พอเอา จริงๆ มันมีรากที่ลึกมาก สุดท้ายเราก็ต้องชวนคนอื่นมาขุดรากถอนโคนให้ มันออกมา แล้วเวลาชวน เราชวนว่าทุกคนมาช่วยเราหน่อยไม่ได้หรอก เราต้องบอกว่าทุกคนมาช่วยแก้ปัญหาของทุกคนกันเถอะ

มันต้อง Empower (ช่วยให้ทำ�ได้) เขา แต่ต้อง Empower เราก่อนด้วย แล้ว ก็ชวนกันมา Empower สังคม เปลี่ยนโครงสร้างเท่าที่ทำ�ได้ เต: ผมว่าถ้าคนเรามีชอยส์ให้เลือกได้ เขาคงจะเลือกไปในทางที่ไปต่อ ได้เรื่อยๆ แต่ปัญหาคือเมื่อชอยส์มันน้อย หรือไม่มีทางไหนเลย เขาก็ต้อง เลือกเท่าที่มี ผมไม่รู้หรอกว่าการที่เราชวนคนมาทำ�นู่นทำ�นี่ มันเป็นชอยส์ ที่ดีรึเปล่า แต่อย่างน้อยก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่เรารู้สึกว่าทำ�มันแล้วสนุก มีรอยยิ้ม มีพลังงานแลกเปลี่ยนกัน

ส่วนใหญ่คนที่มามีส่วนร่วมกับเราเป็นใคร เนย: ถ้าที่เคยทำ�มาจะมีหลากหลายกลุ่ม แต่ว่าทุกคนมีจุดร่วมเดียวกัน เช่น รักเด็ก หรืออยากทำ�อะไรดีๆ เพื่อสังคม ถ้าย้อนกลับไปที่ Mayday ก็จะ พบว่าไม่ได้มีแค่ดีไซเนอร์ที่สนใจงานออกแบบป้ายเท่านั้น แต่ก็มีคนที่ไม่ได้ ใช้รถเมล์ด้วยซํ้าที่เข้ามาช่วย เพราะเขาอยากทำ�ให้มันดีขึ้น อยากให้เมืองนี้ ดีขึ้น และหวังว่าถ้าวันหนึ่งมันดี เขาอาจจะขึ้นรถเมล์ง่ายขึ้น ศานนท์: อย่าง Trawell ที่จัดทัวร์ เราคิดว่าอาจจะเจอแค่คนชอบเที่ยว แต่พอเข้ามา แล้วเราพาไปเจออะไรที่ทําให้เขารู้สึกว่ามีแบบนี้ด้วยเหรอ เขาลำ�บากแบบนั้นเลยเหรอ มันก็กลายเป็นว่าได้เรียนรู้ไปด้วย เขาก็อาจจะ กลับไปด้วยทัศนคติอีกแบบหนึ่ง เนย: นอกเหนือจากที่เราไปหาเขา บางทีก็อยากจะมีคนที่ทำ�อะไรดีๆ เข้า มาหาเราเหมือนกัน เช่น มีบริษัทที่อยากทำ� CSR แล้วเกิดเบื่อปลูกป่า เบื่อ ทำ�ฝาย เขาก็มามองว่าในชุมชน ในเมืองมีอะไรทำ�บ้าง แล้วก็มาดีไซน์ กิจกรรมลงพื้นที่ด้วยกัน

ความท้าทายทีส่ ดุ ในการทำ�งานสาธารณะคืออะไร ฮิน: คือการทีเ่ ราบอกว่านํา้ ใจของเรามีมลู ค่า เพราะทุกสิง่ ทีเ่ ราทำ�มันมีตน้ ทุน สิ่งที่ยากสำ�หรับผม ก็คือการบอกที่บ้านว่ากำ�ลังทำ�อะไรอยู่ อันนี้แหละยาก ที่สุดแล้ว เพราะสิ่งที่ยากที่สุดในงานสาธารณะก็คือการที่จะแปลงนํ้าใจให้ เป็นกายภาพจับต้องได้ ตวง: มันคือการที่เราไม่รู้ว่าโซลูชันที่เราพยายามจะเสนอหรือทำ�ไป มันจะ เวิร์กจริงๆ ใช่ไหม โดยเฉพาะกับพื้นที่ที่เขามีปัญหา ก็เลยรู้สึกว่าวิธีที่มีอาจ จะใช้ได้ส่วนหนึ่ง แต่เราก็ต้องใจกว้างพอที่จะเปิดรับ เวลาทำ�อะไร เราต้อง ไม่มีคำ�ตอบถูกผิดไป เพราะเราไม่รู้ว่าคำ�ตอบของเราถูกแน่ๆ รึเปล่า เนย: เพราะว่าการทำ�งานสาธารณะคือเรื่องของทุกคน ไม่ใช่ของเราเพียง คนเดียว อย่างตอนที่ทำ� Mayday มันมีข้อจำ�กัดเยอะมาก โดนคนด่าว่า ทำ�ไมไม่เปลี่ยนเป็นป้ายดิจิทัล ทำ�แบบนู้นได้แล้ว หรือว่าทำ�ไมเกะกะ ใหญ่ ขวางทางเท้า ซึ่งเราก็จะถือเป็นโอกาสดีที่เราได้ไปเรียนรู้ว่ามีข้อจำ�กัด อะไรบ้าง แต่ละหน่วยงานมีขอ้ จำ�กัดอะไรบ้าง และมันยากมากทีจ่ ะต้องตอบ โจทย์ทุกคน ตอนนี้ก็ทำ�ได้แค่ทำ�ไปทีละนิดๆ ซึ่งก็คิดเหมือนกันว่าถ้ามัน เปลีย่ นได้เลยแบบทีใ่ จเราอยากให้เป็น มันก็อาจจะไม่เป็นวิธกี ารทีด่ ที สี่ ดุ ก็ได้ ก็ควรจะต้องยากแบบนีแ้ หละ ถึงจะแฟร์กบั ทุกๆ ฝ่าย ให้ทกุ ฝ่ายได้มสี ว่ นร่วม ในการแสดงความเห็นกันไป ศานนท์: ผมคิดว่าการทำ�งานสาธารณะ คือการยอมรับว่ากำ�ลังทำ�อะไรเพื่อ ตัวเองด้วย อันนีย้ ากทีส่ ดุ เพราะคนไทยมักจะคิดว่าการทำ�เพือ่ สาธารณะคือ การทำ�บุญ คือการให้โดยปราศจากการตอบแทน ซึ่งมันไม่ใช่ เพราะการทำ� เพื่อสาธารณะ มันก็คือการทำ�เพื่อเราเองด้วย เพราะว่าเราเองก็อยู่ที่นี่ คือ พอเราเริ่มรู้สึกเชื่อมโยงกับอะไรที่มันมากกว่าเรา มันแปลว่าเรากับสิ่งนั้น มันเป็นเรื่องเดียวกัน แต่ว่าในบริบทไทยมันยาก สมมติว่าเราทำ�เพื่อสังคม แล้วเรามาบอกว่าเรามีค่าตัวนะ มันจะเป็นอะไรที่คุยยากเลย พอพูดไปมัน จะกลายเป็นว่าทำ�ธุรกิจหรือเปล่า ทั้งที่จริงๆ แล้ว ถ้ามองเหมือนสิงคโปร์ ค่าครองชีพของคนที่เป็นรัฐบาลหรือคนที่ทำ�เพื่อคนอื่น เขาได้มากกว่าคนที่ ทำ�งานเอกชนด้วยซํ้า ซึ่งน่าจะเป็นสิ่งที่ถูกต้องกว่า ผมเลยคิดว่าอันนี้น่าจะ เป็นชาเลนจ์ที่ยากที่สุด

คุณคิดว่าคนที่ทำ�งานเพื่อสังคมได้ จะต้องมีความเชื่อมั่นใน มนุษย์ก่อนหรือเปล่า ศานนท์: ผมว่าลึกๆ ทีมคงเชื่อกันแบบนั้น เราเชื่อในมนุษย์มาก ถ้าเรามอง แค่ผวิ เผินเราอาจจะมองเห็นแค่คนติดยา แต่ถา้ เราเชือ่ ว่าคนไม่ได้อยากติดยา แต่ดว้ ยประสบการณ์บางอย่างทีท่ �ำ ให้เขากลายเป็นคนไม่ดใี นมุมมองคนอืน่ หรือโครงสร้างทางสังคมต่างหากทีท่ �ำ ให้เขาจน เรารูส้ กึ ว่าการทำ�อะไรแบบนี้

คิดอย่างไรกับคนที่มองว่างานสาธารณะคืองานของภาครัฐ ไม่ใช่งานของตัวเอง เต: อย่างทีบ่ อกคือถ้าทุกคนมี Awareness เมือ่ อยูใ่ นพืน้ ทีส่ าธารณะ ทุกคนต้อง เป็นเจ้าของดูแล สังคมปัจจุบัน ระบบทุกอย่างมันถูกติดตั้งไว้ครบแล้ว และขนาดเมืองมันใหญ่ขน้ึ มาก ทำ�ให้เราไปกำ�หนดตัวเองทันทีเลยว่าฉันจะเป็น อย่างนี้ ฉันจะทำ�แค่นี้ ซึ่งจริงๆ แล้วมันมีพื้นที่ที่ทุกคนเป็นเจ้าของร่วม

แล้วอะไรคือตัวชีว้ ดั ความสำ�เร็จในการลงมือทำ�แต่ละโปรเจ็กต์ ศานนท์: หนึง่ คือเราวัดจากจำ�นวนคนทีม่ สี ว่ นร่วมในโปรเจ็กต์ตา่ งๆ สองคือ วัดความสำ�เร็จของโปรเจ็กต์เองด้วย ถึงบางงานคนมีส่วนร่วมเยอะมาก แต่ มันไม่เกิดเลย มันก็คงไม่สำ�เร็จ แต่เราเชื่อว่า จำ�นวนคนมีส่วนร่วมมันจะ เป็นเชื้อที่เดินต่อได้ ทุกๆ ครั้งเราจะวัดว่ามีคนมาเข้าร่วมเท่าไหร่ เช่น ตอนทำ� Mayday โปรเจ็กต์นนั้ มีปา้ ยรถเมล์ขนึ้ มาจริงๆ แต่ละป้ายคนมีสว่ น ร่วมเยอะแค่ไหน รัฐบาลเรียนรู้อะไรจากกระบวนการมีส่วนร่วมรึเปล่า หรือ ว่าเขาเห็นภาพว่ากระบวนการมีสว่ นร่วมนีม้ นั ดีอย่างไร นัน่ คือสิง่ ชีว้ ดั ของเรา

CREATIVE THAILAND I 31


และช่วยกันได้ ถ้าพูดตามตรงโครงสร้างเมืองตอนนี้มันใหญ่มาก การจะรอ ภาครัฐให้ลงดีเทลได้ทุกอย่างมันยาก เนย: บางทีสง่ิ ทีร่ ฐั ทำ�ก็อาจไม่ได้ตอบโจทย์กบั สิง่ ทีป่ ระชาชนต้องการเสมอไป ถ้าเราอยากให้เมืองของตัวเองเป็นอย่างไร เราอาจไม่ต้องรอให้ภาครัฐทำ� อะไรให้ แต่เราสามารถสร้างนวัตกรรมบางอย่างเอาไปให้ภาครัฐลองใช้หรือ ว่านำ�เสนอกลับเข้าไปได้เหมือนกัน เรามองว่าเป็นอีกหนึง่ ข้อเสนอทีอ่ ยากให้ ทุกคนช่วยกันคิด ช่วยกันออกความคิดเห็นว่าอยากได้ด้วยรึเปล่า ศานนท์: ผมคิดว่าต้องคิดกันแบบนี้ก่อน คือมันไม่มีสังคมอุดมคติที่มี ผู้นำ�เดี่ยว แต่มันจะมีสังคมอุดมคติที่คนมาช่วยกัน พอเราลองทำ�อะไรที่มัน มากกว่าตัวเองแล้วมันดีต่อสังคมจริงๆ ผมว่าหลายๆ คนก็เสพติดเหมือน กันนะ มันจะรู้สึกว่าเราทำ�ได้ เราเปลี่ยนได้ แล้วมันเปลี่ยนมุมมอง มันจะ ฮึกเหิม ผมว่าเซนส์นี้แหละที่มันขาด คิ ด ว่ า ในอนาคตข้ า งหน้ า งานของกลุ่ ม สาธารณะจะเป็ น อย่างไรบ้าง ฮิน: ผมอยากให้คนมี Awareness มากขึ้น เกิดการรวมตัวกันเอง สนใจใน ประเด็นถิ่นที่อยู่ของตัวเองมากขึ้น ลุกขึ้นมาส่งสัญญาณกันเองว่าเราเห็น เรือ่ งนีอ้ ยู่นะ คือผมอยากเห็นทีมอเวนเจอร์สในโลกมากขึ้น อยากให้มองว่า ใครทำ�อะไรอยู่ แล้วเราควรจะลุกขึ้นมาต่อสู้หรือโต้ตอบกับประเด็นเหล่านั้น ยังไง ศานนท์: ถ้ามองเชิงกายภาพผมว่ามันคงมีไม่รู้จบ ผมเลยไม่ได้มีเป้าที่ชัด แต่ว่าถ้ามองในเชิงของการมามีส่วนร่วม อันนี้น่าจะเป็นเป้าที่สำ�คัญที่สุด อย่างผมเองเวลาขึ้นรถเมล์จะรู้สึกขอบคุณคนที่อยู่บนรถเมล์มากว่านี่คือคน ทีไ่ ม่เพิม่ ปริมาณรถให้ถนน รูส้ กึ ว่านีค่ อื คนทีม่ จี ติ สาธารณะมากๆ ทัง้ ทีจ่ ริงๆ แล้ว การขึ้นรถเมล์คือสิ่งที่ทั่วไปมาก หรือคนที่เดือดร้อนกับการตัดต้นไม้ ผมว่ามันสุดยอดแล้ว ถ้าเรามีคนแบบนี้มากขึ้น ก็ยิ่งจะทำ�ให้สังคมดีขึ้น แต่ ทั้งนี้ทั้งนั้นก็คงไม่ใช่แค่ติอย่างเดียว ก็ต้องมาคิดสร้างสรรค์ด้วยว่าจะทำ� อย่างไรให้มันดีขึ้นได้

ได้อะไรจากการทำ�งานสาธารณะ เนย: ได้เรียนรู้ว่าทุกๆ คนมีปัญหา และมีข้อจำ�กัดของตัวเอง อยู่ที่ว่า เราจะหาโอกาสในการทำ�งานด้วยกันได้หรือเปล่านัน่ เอง ฮิน: ได้รู้ว่าการที่เราไม่ตัดสิน มันทำ�ให้เราเห็นโอกาสมากขึ้น ให้เรามี โอกาสในการถาม หรือให้เขามีโอกาสในการเล่า แล้วก็ทำ�ให้รู้จักเปิดใจ ยอมรับความล้มเหลว ว่าคือข้อดีที่เรานำ�ไปต่อยอดกับที่อื่นๆ ได้ และ เป็นข้อเรียนรู้สำ�หรับคนอื่นๆ ได้ ศานนท์: การทำ�แบบนี้ ทำ�ให้เราได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง ได้ เรียนรูว้ า่ อย่าด่วนตัดสิน ได้รวู้ า่ ความง่าย บางครัง้ มันก็ไม่งา่ ยเหมือนกัน ได้เรียนรูก้ ารเข้าถึงคนทีล่ กึ มากๆ ผมว่ามันเป็นเหมือนปริญญาเลยนะ ดีกว่าเรียนป.โทอีก เต: ทำ�งานตรงนี้มันทำ�ให้ผมเกลียดตัวเองน้อยลง รู้สึกมีความหวัง ทัง้ กับตัวเอง มีความหวังกับคนอืน่ แล้วพอเราเริม่ เกลียดตัวเองน้อยลง เราก็มีความสามารถในการรักคนอื่นกลับคืนมา ตวง: น่าจะเป็นความหลากหลาย พอเราได้เข้าใกล้สิ่งๆ นั้น เราก็ได้ เห็นอะไรมากขึ้น แล้วก็มักจะพบว่าไม่มีอะไรผิด ไม่มีอะไรถูก ทำ�ให้ เรายอมรับอะไรได้กว้างขึ้น คิดอะไรรอบๆ ขึ้น

CREATIVE THAILAND I 32



Creative Will : คิด ทํา ดี

ลุงซาเล้งกับขยะที่หายไป เรื่อง: ปิยะพร สวัสดิ์สิงห์

เพียงแค่เห็นคลิปวิดีโอข่าวสั้นๆ ของการช่วยดึงเอาหลอดพลาสติกที่ติดอยู่ในจมูกของเต่าทะเล หรือภาพวาฬนำ�ร่อง คลีบสัน้ ตายทีอ่ �ำ เภอจะนะ จังหวัดสงขลา ซึง่ เมือ่ ผ่าท้องออกมาก็พบว่ามีถงุ พลาสติกถึง 85 ใบอยูใ่ นท้อง ก็ท�ำ ให้ใครหลายคน รู้สึกปวดใจจากพฤติกรรมที่ละเลยเรื่องการจัดการขยะของผู้คนในวันนี้ เพราะนี่เป็นเพียงตัวอย่างแค่ด้านเดียวของปัญหา การทิ้งขยะลงทะเล ในความเป็นจริงแล้ว ยังคงมีสิ่งมีชีวิตในท้องทะเลอีกมากมายที่ไม่เดียงสาและไม่สามารถรู้ได้ว่าสิ่งที่กิน เข้าไปนั้นไม่ใช่อาหาร แต่คือสิ่งที่เป็นอันตรายแปลกปลอมเข้ามาอยู่ในบ้านของพวกเขา จากเหตุการณ์ความสูญเสียซํา้ แล้วซํา้ อีกในระยะทีผ่ า่ นมา จึงเกิดเป็นกระแส การตืน่ ตัวเรือ่ งขยะทีก่ ลับมาแรงอีกครัง้ การปฏิเสธและการลดใช้ถงุ พลาสติก ตลอดจนการนำ�สิ่งที่ใช้ซํ้าได้กลับมาใช้ใหม่ หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำ�ให้เกิดขยะ ปริมาณมาก การแยกขยะ ไปจนถึงการรีไซเคิลแบบจริงจัง เหล่านี้ล้วนเป็น วิธกี ารทีถ่ กู กระตุน้ ขึน้ อีกครัง้ ในสังคมไทย แม้จะเป็นการรณรงค์ระดับโลกที่ ทำ�กันมาอย่างยาวนานแล้วก็ตาม เฟซบุค๊ เพจ “ลุงซาเล้งกับขยะทีห่ ายไป” คืออีกหนึง่ ช่องทางการสือ่ สาร ทีช่ วนให้ทกุ คนมามีสว่ นร่วมรับผิดชอบต่อสังคมได้งา่ ยๆ ด้วยตัวเอง ด้วยการ นำ�เสนอวิธีการแยกขยะที่เข้าใจง่ายอย่างละเอียด เป็นขั้นเป็นตอน สามารถ ทำ�ตามได้อย่างสะดวก ซึ่งหากค่อยๆ ติดตามเพจดังกล่าว ก็จะมีการ บอกเล่าหรือแชร์เนื้อหาที่ช่วยให้เราเข้าใจวิธีลดการใช้และจัดการกับขยะ ที่เพิ่มมากขึ้นอยู่บ่อยครั้ง ที่นอกจากจะชวนให้เราทุกคนตระหนักถึงความ สำ�คัญของการแยกขยะแล้ว ก็ยงั มีตวั อย่างของผลกระทบจากการทิง้ ขยะโดย ขาดความรับผิดชอบไว้เป็นข้อเตือนใจ ทั้งยังมีการให้ความรู้เรื่องการสร้าง

ขยะโดยที่ไม่มีความจำ�เป็น เช่น เรื่อง Cap Seal หรือพลาสติกหุ้มฝาขวดที่ ได้รบั การรณรงค์ให้ยตุ กิ ารใช้งาน การสอนวิธดี ฉู ลากบรรจุภณั ฑ์ทรี่ ไี ซเคิลได้ ยากหรือง่าย บทความตัวอย่างการแยกขยะสุดเจ๋ง ไปจนถึง 11 ไอเดีย บอกลาหลอดพลาสติกแบบเก๋ๆ เป็นต้น นอกจากนี้ ทางเพจยังให้ขอ้ มูลของ ร้านเครื่องดื่มที่เข้าร่วมโครงการลดปริมาณขยะ ด้วยการจัดโปรโมชั่นให้กับ ลูกค้าทีน่ �ำ แก้วมาเองซึง่ จะได้รบั ส่วนลดพิเศษ หรือข้อมูลร้านสะดวกซือ้ และ ห้างสรรพสินค้าที่มีการให้คะแนนสะสม หรือลดราคาเมื่อลูกค้าไม่รับถุง พลาสติก เรียกว่าครบถ้วนใจความจักรวาลของเรื่องขยะ (แบบเข้าใจง่ายๆ) กันเลยทีเดียว ถึงตอนนี้ก็เหลือเพียงแค่การลงมือทำ� เพราะเพียงเราช่วยกันคนละไม้ คนละมือ ทีละนิดตามกำ�ลัง ก็สามารถช่วยดูแลรักษาโลกและเพื่อนสัตว์ น้อยใหญ่ที่อาศัยอยู่บนโลกใบเดียวกับเรา และยังได้มีส่วนร่วมทำ�ให้โลก ใบนี้น่าอยู่และยั่งยืนด้วยความรับผิดชอบและสำ�นึกดีๆ ที่ออกมาจากหัวใจ ของเราทุกคนอีกด้วย

ทีม่ า: fb.com/3WheelsUncle / fb.com/greennewsagency / บทความ “เปิดใจทีมสัตวแพทย์ ยือ้ ชีวติ วาฬนำ�ร่อง กินถุงพลาสติก 85 ชิน้ ” จาก bbc.com/thai / บทความ “เห็นแล้วเจ็บแทน! นักวิจยั ช่วยดึงเศษขยะออกจากจมูกเต่าทะเล” จาก spokedark.tv CREATIVE THAILAND I 34




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.