Creative Thailand Magazine

Page 1

สิงหาคม 2561 ปีที่ 9 I ฉบับที่ 11 แจกฟรี

Creative City Global Classroom Creative Startup insThink Learning The Creative รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี

GET READY, GEN Z IS COMIN’



ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า นิตยสารคิด (Creative Thailand)


Contents : สารบัญ

The Subject

6

คนรุ่นใหม่ ใส่ใจสุขภาพ / เอรอน ฟิลปิ วัยรุน่ ผูส้ ง่ ต่อกำ�ลังใจสูค่ นทัง้ โลก / วางหมากเกม วางหมากชีวิต

Creative Resource 8

Featured Book / Books / Documentary

MDIC 10 Gen Z กับโมเดลธุรกิจใหม่ ของสถาบันการศึกษาและธนาคาร

Insight 20 เมื่อ AI เปลี่ยนโฉมหน้าวงการการศึกษา

Creative Startup 22 insThink Learning โรงเรียนสอนวิชาชีวิตของเด็กยุคใหม่

Creative City

24

The Creative

28

34

Global Classroom

Local Wisdom

12

รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี เราจะสร้าง ‘คน’ ให้เป็น ‘หุ่นยนต์’ ที่แพ้หุ่นยนต์กันไปทำ�ไม

Cover Story

14

Creative Will

วิชาแปลก

ปลูกการเรียนรู้คนรุ่นใหม่ ในเนื้อดินของสุนทรียะและความหลากหลาย

Young Designer Club เปิดประตูสู่เส้นทางใหม่ของวัยมัธยม

บรรณาธิการที่ปรึกษา l อภิสทิ ธิ์ ไล่สตั รูไกล บรรณาธิการอำ�นวยการ l กิตติรตั น์ ปิตพิ านิช ที่ปรึกษา l ศิรอิ ร หริม่ ปราณี, ชมพูนทุ วีรกิตติ, พิชติ วีรงั คบุตร, พจน์ องค์ทวีเกียรติ, เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร บรรณาธิการบริหาร l พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์ กองบรรณาธิการ l มนฑิณี ยงวิกลุ , ชลดา เจริญรักษ์ปญั ญา, รัตมิ า เผือกนาโพธิ,์ ปิยวรรณ กลิน่ ศรีสขุ เลขากองบรรณาธิการ l วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ ศิลปกรรม l ชิดชน นินนาทนนท์ สมาชิกสัมพันธ์ l ปิยะพร สวัสดิ์สิงห์ ประสานงานกองบรรณาธิการ l ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ ช่างภาพและมัลติมีเดีย l ภีร์รา ดิษฐากรณ์ นักศึกษาฝึกงาน l พฤฒ มิ่งศุภกุล จัดทำ�โดย l ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) 1160 อาคารไปรษณีย์กลาง ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10501 โทร. 02 105 7400 แฟกซ์. 02 105 7450 พิมพ์ที่ l โรงพิมพ์ดับบลิวพีเอส (ประเทศไทย) จำ�กัด โทร. 02 313 4405 แฟกซ์. 02 313 4445 จำ�นวน 15,000 เล่ม ติดต่อลงโฆษณา: Commu.Dept@tcdc.or.th นิตยสารฉบับนีใ้ ช้หมึกพิมพ์จากนา้ํ มันถัว่ เหลืองทีไ่ ม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทัง้ ยังเป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อม และใช้กระดาษ รีไซเคิล ซึ่งเป็นผลผลิตของผู้ประกอบการไทย จัดทำ�ภายใต้โครงการ “Creative Thailand สร้างเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์” โดยศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ สำ�นักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) ซึง่ มีเป้าหมายในการเผยแพร่ความรูเ้ กีย่ วกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) และผลักดันการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส CREATIVE THAILAND I 4 แสดงที่มา-ไมใชเพื่อการคา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย

พระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าสิรกิ ติ ์ิ พระบรมราชินนี าถ ในรัชกาลที่ 9 จากกลุม่ เฟซบุก๊ “ฟรีไฟล์ภาพพระบรมฉายาลักษณ์” facebook.com/groups/ArtisticalImage


Katerina Radvanska

Editor’s Note : บทบรรณาธิการ

#เยาวชน2018 “เรากำ�ลังจะสร้างเยาวชนให้เติบโตไปเป็นแบบไหน” สิ่งนี้คือหน้าที่ที่สำ�คัญ ของผูใ้ หญ่ในทุกๆ สังคมในทุกยุคทุกสมัยทีผ่ า่ นมา ในยุคปฏิวตั อิ ตุ สาหกรรม เราต้องเร่งสร้าง “แรงงาน” เพือ่ ป้อนเข้าสูร่ ะบบโรงงานอุตสาหกรรมให้เพียงพอ เพื่อเพิ่มขีดความเจริญเติบโตของสังคมและเศรษฐกิจในยุคนั้น ต่อมาเมื่อ สังคมก้าวเข้าสู่การปฏิวัติทางปัญญา ผู้ใหญ่จึงต้องหันมาสร้างเยาวชนให้เป็น “นักสร้างสรรค์” หรือนักคิดที่สามารถผันต้นทุนทางวัฒนธรรมและปัญญามา สร้างเป็นคุณค่าและมูลค่าเพิม่ ให้ได้ และในวันนีท้ โี่ ลกก้าวสูย่ คุ หลังโลกาภิวตั น์ โลกที่เต็มไปด้วยความก้าวหน้าทางนวัตกรรม เทคโนโลยี และระบบปัญญา ประดิษฐ์...เรากำ�ลังจะสร้างเยาวชนในยุคนี้ในเติบโตไปเป็นแบบไหน เด็กเจเนอเรชั่นซี (Generation Z) ซึ่งเกิดระหว่างช่วงกลางยุคปี 90 ไป จนถึงปี 2010 คือเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่กำ�ลังก้าวขึ้นมาเปลี่ยนแปลงโลกในวันนี้ การที่พวกเขาเติบโตขึ้นในช่วงเศรษฐกิจโลกตกตํ่า ได้หล่อหลอมให้พวกเขามี ทัศนคติต่อเรื่องการใช้เงินแบบอนุรักษ์นิยมมากกว่าเจเนอเรชั่นก่อนหน้า หลีก เลี่ยงการเป็นหนี้สิน และการมีเสถียรภาพทางการเงินอย่างความยั่งยืนคือ ภารกิจหลักของชีวิต พวกเขาจึงเน้นสร้างความมั่นคงตั้งแต่อายุยังน้อย ทั้งยัง มีจิตวิญญาณของการเป็นผู้ประกอบการ หลายๆ ผลการสำ�รวจพบว่า เด็กๆ เจนซีชื่นชอบสภาวะแวดล้อมการทำ�งานแบบอิสระและไม่ขึ้นกับองค์กรใด องค์กรหนึ่ง ขณะที่มีกว่า 72% ที่ต้องการเริ่มต้นธุรกิจของตนเองเมื่อมีโอกาส ในทันที เมื่อบวกกับความรู้และทักษะในการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อ แก้ปัญหาที่ซับซ้อนแล้ว เจนซีจึงกลายเป็นกลุ่มคนที่เป็นเจ้าของโอกาสในการ สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีอยู่มาก่อนในโลกปัจจุบันและอนาคต พวกเขายังเป็นผูบ้ ริโภคทีฉ่ ลาด เชือ่ มัน่ และให้คณุ ค่ากับแบรนด์สนิ ค้าทีม่ ี ความโปร่งใส และมีจริยธรรมในการดำ�เนินธุรกิจที่ตรวจสอบได้ นอกจากนี้

เจนซียังเสพสื่อออนไลน์ที่พวกเขาเติบโตมาพร้อมกันอย่างมีวิจารณญาณ ข้ อ วิ ต กกั ง วลมากมายที่ เ ราห่ ว งเยาวชนกลุ่ ม นี้ ว่ า กำ � ลั ง ถู ก ครอบงำ � ด้ ว ย สื่อออนไลน์ที่มากเกินไป หลายคนอาจต้องคิดใหม่ เพราะผลการศึกษาล่าสุด ในสหรัฐอเมริกาพบว่า 64% ของเจนซีตัดสินใจพักเบรกการเล่นโซเชียลมีเดีย อย่างน้อย 1 แพลตฟอร์ม ขณะที่ 34% ของพวกเขายุติการใช้งานมันตลอดกาล โดยเหตุผลส่วนใหญ่ที่พวกเขาลด ละ เลิก ที่จะใช้สื่อออนไลน์ ก็มาจากการที่ มันส่งผลต่อความรู้สึกของพวกเขามากเกินไป 35% ระบุว่ารู้สึกถึงข้อมูลเชิงลบ ในสื่อออนไลน์ ขณะที่อีก 17% บอกว่าสื่อเหล่านี้ทำ�ให้พวกเขารู้สึกแย่กับตัวเอง นอกจากนี้โซเชียลมีเดียยังมักถูกเชื่อมโยงกับความรู้สึกวิตกกังวล หดหู่ และ ไม่ภาคภูมิใจในตัวเอง ส่วนอีก 18% รู้สึกกดดันที่สื่อออนไลน์เหล่านี้เรียกร้อง ความสนใจจากพวกเขามากจนเกินไป แม้วา่ เจเนอเรชัน่ ซีจะมีแนวโน้มถูกพูดถึงในแง่ของการเป็นผูท้ มี่ คี วามอดทนตํา่ ใจร้อน และค่อนข้างก้าวร้าว แต่แทนทีเ่ ราจะวิตกกังวลถึงภาพอนาคตของเยาวชน กลุม่ นีท้ กี่ �ำ ลังจะกลายเป็นกำ�ลังสำ�คัญของมนุษยชาติตอ่ ไป สิง่ ทีด่ มี ากกว่าอาจ ไม่ใช่การตั้งธงคาดการณ์ปัญหาที่จะเกิดขึ้น พร้อมแสวงหาวิธีการ “ปกป้อง” พวกเขาจากสถานการณ์ที่เรามองว่าจะเป็นวิกฤตอย่างพรั่นพรึง เพราะนั่นอาจ ไม่ได้เปิดโอกาสให้เจเนอเรชั่นซีได้ “เรียนรู้” ที่จะเป็นตัวของพวกเขาเอง แต่การเปิดใจยอมรับ ปรับตัว พร้อมกับติดอาวุธในการใช้ชวี ติ ให้พวกเขา ผ่านการ “ทำ�เป็นตัวอย่าง” ที่ดีต่างหาก ที่เราควรจะทำ� จากนั้นก็แค่เฝ้ารอดู “ประวัติศาสตร์หน้าใหม่” ที่พวกเขากำ�ลังจะสร้างขึ้นให้กับ “คนรุ่นเขา” อย่างแท้จริง…เพราะก่อนจะตอบคำ�ถามว่าเรากำ�ลังจะสร้างเยาวชนให้เติบโต มาเป็นแบบไหน บางครัง้ เราน่าจะปล่อยให้พวกเขาได้เรียนรูท้ จี่ ะเติบโตในแบบ ที่ต้องการมากกว่า กิตติรัตน์ ปิติพานิช บรรณาธิการอํานวยการ

CREATIVE THAILAND I 5


คนรุ่นใหม่ ใส่ใจสุภาพ เรื่อง: นพกร คนไว

ภาพจำ�ทีว่ า่ วัยรุน่ หรือนักศึกษามหาวิทยาลัยต้องใช้ชวี ติ สุดเหวีย่ ง ปาร์ตจ้ี ดั หนัก และเลือกกินอาหารฟาสต์ฟู้ดแบบไม่ยั้ง อาจไม่จริงเสมอไปในโลกทุกวันนี้ เพราะกระแสการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพมาพร้อมการตื่นตัวของคน กลุ่มเจเนอเรชั่นซี (คนที่เกิดระหว่างปี 1996 ถึง 2005 ) กำ�ลังปลุกกระแสให้ สังคมรู้ว่าวัยรุ่นเหล่านี้ห่วงใยสุขภาพของตนเองมากกว่าคนวัยอื่นเสียอีก จากรายงานการวิจยั ของบาร์เคลย์ส (Barclays) กลุม่ ธนาคารยักษ์ใหญ่ แห่งประเทศอังกฤษ ได้เปิดเผยข้อมูลว่าคนวัยเรียนมหาวิทยาลัยไปจนถึง มัธยมปลายหันมาบริโภคอาหารจากพืชเป็นจำ�นวนสูงมาก โดยเมนูยอดฮิต คงหนีไม่พ้นอะโวคาโดซึ่งมีจำ�นวนการบริโภคเพิ่มขึ้นถึง 226% ฮัสมุสหรือ ถั่วลูกไก่บด อาหารที่ประยุกต์กินได้หลากหลายซึ่งฮิตมากถึง 138% และที่ มาแรงมากที่สุดก็คือเหล่าผลิตภัณฑ์นมจากพืชที่ได้รับความนิยมสูงสุดถึง 550% จำ�นวนที่เพิ่มขึ้นนี้ทิ้งห่างคนในวัยที่แก่กว่าอย่างเจเนอเรชั่นเอ็กซ์และ เบบี้บูมเมอร์อย่างไม่เห็นฝุ่น อีกทั้งยังช่วยให้ตลาดผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพ เติบโตขึ้นกว่าพันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งไม่เพียงแต่กระแสของอาหารวีแกน เท่านั้นที่กำ�ลังเป็นเทรนด์ยอดนิยม แต่กลุ่มคนเจนฯ ซียังนิยมดูแลร่างกาย โดยใช้เวลาเข้ายิมมากกว่าการสังสรรค์เพือ่ ดืม่ แอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ และการดืม่ กาแฟอีกด้วย เป็นที่รู้กันดีว่าเจเนอเรชั่นซีมีความใกล้ชิดกับเทคโนโลยีและเปิดรับ ข้อมูลข่าวสารตลอดเวลา อิทธิพลของสือ่ ต่างๆ ทีน่ �ำ เสนอประโยชน์ของอาหาร วีแกนชักชวนให้เหล่าเด็กวัยรุน่ หันมาสนใจประเด็นการรักษาสุขภาพมากขึน้ เช่นกัน สารคดีทางเน็ตฟลิกซ์อย่าง Cowspiracy: The Sustainability Secret (2014) และ What the Health (2017) เป็นตัวอย่างทีด่ ใี นการพูดถึงผลกระทบ ของการทำ�ฟาร์มปศุสัตว์ที่สร้างปัญหาสิ่งแวดล้อมมากที่สุดในโลก อีกทั้งยัง พูดถึงประโยชน์มากมายทีอ่ ยูใ่ นพืชโดยไม่จ�ำ เป็นต้องบริโภคเนือ้ สัตว์ ด้วยการ นำ�เสนอทีเ่ ข้าใจง่ายของสารคดีทง้ั สองเรือ่ งจึงได้สร้างจิตสำ�นึกต่อสิง่ แวดล้อม และทำ�ให้วยั รุน่ หันมาใส่ใจสุขภาพร่างกายของตนเองโดยไม่ตอ้ งเบียดเบียน ชีวิตอื่นๆ

ด้านเหล่าคนดังในโซเชียลมีเดีย เช่น อารีอานา กรานเด และ บียอนเซ่ ต่าง ก็นำ�เสนอเมนูวีแกนประจำ�วันผ่านอินสตาแกรม ชักชวนให้เหล่าสาวกกว่า สิบล้านคนเดินทางสายวีแกนไปตามๆ กัน และยังมีกลุม่ Teen Vegan Network ทีร่ วมตัววัยรุน่ วีแกนผ่านทางโซเชียลมีเดีย พร้อมจัดกิจกรรมเข้าค่าย Teen VGN Summer Camp ทีช่ ว่ ยสร้างสังคมวีแกนให้เกิดขึน้ ในกลุม่ คนวัยเดียวกัน และ ได้พบกับเพื่อนๆ ที่สนใจการรับประทานวีแกนคล้ายๆ กัน อย่างไรก็ดี แม้ว่าประชากรของเหล่าเจนฯ ซีจะมีความพร้อมที่จะดูแล ตัวเองและพิถีพิถันกับการบริโภคอาหาร แต่ก็ไม่อาจบอกได้ว่าเมื่อพวกเขา โตขึ้นเข้าสู่วัยทำ�งาน พฤติกรรมการบริโภคอาหารจะเปลี่ยนไปตามข้อแม้ และภาระหน้าทีต่ า่ งๆ ทีเ่ ข้ามาในชีวติ หรือไม่ จึงต้องรอให้เวลาเป็นเครือ่ งพิสจู น์ ว่ากระแสอาหารวีแกนของเหล่าคนเจนฯ ซีจะดำ�เนินต่อไปอย่างยั่งยืน หรือ เป็นเพียงกระแสอันฉาบฉวยของกลุ่มวันรุ่นเท่านั้น ทีม่ า: บทความ “Are you ready for the Post-milk Generation?” โดย Gillian Chan จาก journal.the-readymade.com / บทความ “Generation Z is creating a $5 billion market for fake meat and seafood” โดย Melia Robinson จาก businessinsider.com / บทความ “Teen Vegan Network: What it’s like to swear off meat and dairy before you’re 20” โดย Kashmira Gander จาก independent.co.uk / บทความ “Thought millennials went crazy for avocados? Meet Generation Z” โดย Nina Edy จาก cityam.com / บทความ “Vegan Milk Popularity Soars by 550% Among Teens” โดย Katie Pevreall จาก livekindly.co / สารคดี Cowspiracy: The Sustainability Secret (2014) และ What the Health (2017) กำ�กับโดย Kip Andersen และ Keegan Kuhn

pahichan.com

Brooke Lark

The Subject : ลงมือคิด

เอรอน ฟิลปิ วัยรุน่ ผูส้ ง่ ต่อกำ�ลังใจสูค่ นทัง้ โลก เรื่อง: นพกร คนไว

การเปิดตัวทีส่ น่ั สะเทือนโลกโซเชียลของ เอรอน ฟิลลิป (Aaron Philip) วัยรุน่ ผิวสีวยั 17 ปี ผูเ้ รียกตนเองว่าเป็น Non-Binary Femme (คนไม่ระบุเพศซึง่ เลือก ความเป็นหญิงในการแสดงตัวตน) และเป็นผูพ้ กิ ารทางสมอง เธอมาพร้อมทัศนคติ ทีไ่ ม่เห็นด้วยกับอุตสาหกรรมแฟชัน่ ซึง่ ให้พน้ื ทีแ่ ต่กบั คนทีม่ รี า่ งกายสมบูรณ์และ จำ�กัดเพศสภาพแค่ชายกับหญิงเท่านั้น เอรอนกล่าวว่าตัวเธอนั้นเป็นทั้งคน ผิวสี พิการทางร่างกาย และยังเป็นคนข้ามเพศ แต่มีความมุ่งมั่นอย่าง เต็มร้อยที่จะทำ�งานในวงการแฟชั่น อยากเดินแบบและถ่ายแบบขึ้นปก แมกกาซีนเหมือนความฝันของวัยรุ่นทั่วไป

CREATIVE THAILAND I 6


หลังจากทีเ่ ธอทวิตข้อความลงทวิตเตอร์สว่ นตัวเพือ่ แสดงถึงความมุง่ มัน่ ทีจ่ ะหาเอเจนซีเพือ่ มาทำ�ให้ความฝันของเธอเป็นจริง พร้อมกับโพสต์รปู ตัวเอง ในลุกย้อมผมขาว เจาะจมูก และนัง่ อยูบ่ นวีลแชร์ ทวิตของเธอก็ถกู แชร์จนกลาย เป็นไวรัลไปอย่างรวดเร็ว พร้อมกับคอมเมนต์ให้กำ�ลังใจอย่างถล่มทลาย จนนิตยสารแฟชั่น Paper ติดต่อขอสัมภาษณ์เธอในที่สุด ล่าสุด ความฝันของเธอเข้าใกล้ความจริงไปอีกขัน้ เพราะสือ่ แฟชัน่ หลาย สำ�นักเริม่ ชวนเธอไปถ่ายแบบและพูดคุยเกีย่ วกับทัศนคติเรือ่ งเพศสภาพและ สถานะของคนพิการ เช่น Refinery29 เว็บไซต์แฟชั่นและความบันเทิงที่ได้ ชวนเธอมาเป็นนางแบบในเสื้อผ้าคอลเล็กชั่น Pride ของแบรนด์ H&M และ นิตยสาร ASOS ได้เนรมิตตัวเธอด้วยดอกไม้สุดอลังการ นอกจากความฝันที่จะเป็นนางแบบ เอรอนยังวางแผนที่จะเรียนต่อใน ระดับมหาวิทยาลัย เธอกำ�ลังสนใจสาขาศิลปกรรมศาสตร์ และจิตวิทยาด้าน การปรึกษาให้ค�ำ แนะนำ� เพราะอยากเรียนรูเ้ กีย่ วกับความรูส้ กึ และจิตใจของ มนุษย์ให้มากขึน้ อีกทัง้ เอรอนยังตัง้ ใจจะสร้างสรรค์งานศิลปะด้านการเขียน ดิจิทัลอาร์ท และการถ่ายภาพ กำ�ลังใจทีด่ ขี องเอรอนมาพร้อมกับครอบครัว และผูค้ นทีค่ อยสนับสนุน ในโลกออนไลน์ แต่ก็มีบ้างที่ต้องรับมือกับความเห็นเชิงลบเกี่ยวกับความ พิการของเธอ อย่างไรก็ตามเอรอนก็ไม่ใส่ใจความคิดเหล่านัน้ เธออยากบอก ให้คนเหล่านั้นได้รู้ว่าตลอดชีวิตของเธอได้ผ่านอะไรมากมายและทุกอย่าง ไม่มีอะไรได้มาฟรีๆ ”ความพิการเป็นส่วนหนึ่งของตัวฉัน แต่มันไม่สามารถ กำ�หนดตัวตน คุณค่าในตัวฉัน หรือบอกว่าฉันทำ�อะไรได้หรือไม่ได้ และเมือ่ ใด ที่ความฝันฉันเป็นจริง นั้นจะเป็นวันที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิต” เอรอน หนึ่งใน ตัวแทนของเด็กๆ เจเนอเรชั่นซีกล่าว ทีม่ า: บทความ “Aaron Philip: Meet the disabled gender-fluid teenager changing the world of modeling” โดย Sarah Young จาก independent.co.uk / บทความ “Aaron Philip: Most Likely to Inspire the Next Generation” โดย Claire Valentine จาก papermag.com / บทความ “Meet the Disabled Trans Model Who’s Here to DOMINATE the Fashion World” โดย D’Arcee Neal จาก them.us / บทความ “This Aspiring Model Is Gender-Fluid And Differently-Abled - And She’s Ready For Her Close-Up” โดย Kadia Blagrove จาก aplus.com

เกมที่แดนไทได้คิดค้นและพัฒนาได้ถูกนำ�ไปเป็นเครื่องมือและอุปกรณ์ใน การเรียนการสอนของหลายๆ โรงเรียนและมหาวิทยาลัยเป็นที่เรียบร้อย นอกจากทีเ่ ราจะต้องยอมรับว่าบอร์ดเกม ไม่ได้มไี ว้เพือ่ ความสนุกสนาน เพียงอย่างเดียว แต่ยงั สามารถช่วยเพิม่ ทักษะในการจดจำ�วิชาเรียน ไปจนถึง ช่วยพัฒนาการเรียนรูแ้ ละการคิดวิเคราะห์ จนสามารถก้าวสูก่ ารเป็นสือ่ การสอน ที่มีประสิทธิภาพในระบบการศึกษาของวันนี้แล้ว อีกหนึ่งประเด็นที่กระตุก ให้ขบคิดก็คือ การเติบโตมาของเด็กรุ่นใหม่อย่างแดนไท ที่มีจุดเริ่มต้นมา จากการที่เขารู้สึกว่าการศึกษาในระบบนั้นยังไม่ใช่แนวทางของตนเอง เขาจึงตัดสินใจปรึกษาคุณพ่อเพื่อขอเข้ารับการศึกษาในแบบทางเลือกอย่าง ระบบโฮมสคูล ที่สามารถลงลึกในเนื้อหาต่างๆ ที่ตนเองสนใจได้มากกว่า โดยไม่มีการจำ�กัดขอบเขตในการศึกษาตามระยะเวลาหรือตามหลักสูตรที่ กำ�หนดไว้เท่านัน้ และยังเปิดโอกาสให้เด็กๆ สามารถสืบค้นเนือ้ หาทีต่ อ้ งการ ได้แบบเชิงลึก จนทำ�ให้แดนไทพัฒนาตนเองมาเป็นผูเ้ ชีย่ วชาญด้านบอร์ดเกม ที่ตนสนใจนั่นเอง ดร.เดชรัต สุขกำ�เนิด หัวหน้าภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คุณพ่อที่ยอมให้ลูกชายได้ เลือกศึกษาด้วยการศึกษาทางเลือกกล่าวว่า ปัญหาสำ�คัญในการศึกษาที่อยู่ ในห้องเรียนคือความไม่เป็นธรรมชาติ โดยเหตุผลที่อนุญาตให้ลูก (แดนไท สุขกำ�เนิด) เลือกเรียนการศึกษาทางเลือก เป็นเพราะตนเองไม่ได้มปี ระสบการณ์ จากการเป็นพ่ออย่างเดียว แต่ดว้ ยความทีเ่ ป็นอาจารย์จงึ เข้าใจดีวา่ นักศึกษา ในห้องเรียนนัน้ ต้องการอะไร อยากได้หอ้ งเรียนแบบไหน ทีท่ �ำ ให้นกั ศึกษามี ความรูส้ กึ ว่าตนเองได้มสี ทิ ธิเ์ ลือกเรือ่ งทีจ่ ะศึกษาซึง่ ตรงกับความต้องการของ พวกเขา และเป็นสิง่ ทีส่ อดคล้องกับแนวคิดและความต้องการของคนรุน่ ใหม่ การจะคิดค้นบอร์ดเกมได้นั้น ไม่ใช่เพียงแค่มีความรู้ในเรื่องเกมเพียง อย่างเดียว แต่จะต้องมีความรู้แบบเจาะลึกในด้านอื่นๆ อีกด้วย แดนไทย สุขกำ�เนิด อาจเป็นตัวอย่างให้เด็กๆ ยุคใหม่ได้รับรู้ว่า ชีวิตคนเราสามารถ เลือกที่จะเรียนรู้ได้ ไม่ว่าจะเรียนในห้องเรียนหรือนอกห้องเรียน ทุกอย่าง สามารถไปด้วยกันได้ เพียงแต่เราต้องจัดการและบริหารทุกอย่างให้ดมี ากพอ

วางหมากเกม วางหมากชีวิต การเรียนการสอนในวิถีของคนยุคก่อนจะทำ�ให้เด็กยุคนี้ท่กี ำ�ลังเติบโตขึ้นมา สามารถใช้ชวี ติ รอดในโลกแห่งการทำ�งานในอนาคตได้หรือไม่? แดนไท สุขกำ�เนิด เด็กรุ่นใหม่ผ้ทู ่เี ลือกศึกษาด้วยการศึกษาทางเลือก จนได้กลายเป็นนักพัฒนาบอร์ดเกมตัง้ แต่อายุ 12 ปี และอีกหนึง่ บทบาทของ แดนไท ก็คอื การเป็นวิทยากรผูใ้ ห้ค�ำ แนะนำ�เกีย่ วกับบอร์ดเกม อาจเป็นอีกหนึง่ คำ�ตอบทีน่ า่ สนใจของการเลีย้ งดูและให้การศึกษาเด็กเจเนอเรชัน่ ใหม่ในวันนี้ ลูกศิษย์ของเด็กชายแดนไทในบางครัง้ คือนักศึกษาทัง้ ระดับปริญญาตรีและโท หรือแม้แต่อาจารย์ และนีค่ อื รายชือ่ บอร์ดเกมทีแ่ ดนไทได้พฒั นา Yellow Card: ฝ่าวิกฤตประมงไทย, School Changer: โรงเรียนเปลี่ยนโลก, ASEAN Line: ท่องประวัติอาเซียน, ASEAN Questination: ที่เที่ยวในอาเซียน, The Next Dream: นโยบายทำ�มือ และ Ricevolution: มหัศจรรย์พันธุ์ข้าว โดยแต่ละ

news.thaipbs.or.th

เรื่อง: ภีร์รา ดิษฐากรณ์

ที่มา: ทบทความ “การศึกษา”แบบไหนที่ผู้เรียนต้องการ? (24 มกราคม 2561) จาก citizenthaipbs.net บทความ “เดชรัต-แดนไท สุขกำ�เนิด พ่อลูกเท่ากันในจักรวาลบอร์ดเกม” (30 พฤษภาคม 2561) จาก thepotential.org / บทความ “BOARDGAME for CHANGE บอร์ดเกมเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง” (23 กุมภาพันธ์ 2561) จาก blog.goodfactory.co

CREATIVE THAILAND I 7


Creative Resource : วัตถุดิบทางความคิด เรื่อง: ภาณี รอดเกลี้ยง, สนธยา พระกํ่า, สิริญา พาแก้ว และสุพิชญา ตันติศิริวัฒน์

FEAT U RED BOOK Mindset: The New Psychology of Success โดย Carol S. Dweck หลายคนคงเคยได้ยินคำ�ว่าเปลี่ยน Mindset ชีวิตเปลี่ยน และชีวิตจะเป็น อย่างไรนั้นก็ขึ้นอยู่กับ Mindset ของเรา ถ้าจะแปลอย่างคร่าวๆ Mindset ก็คือกระบวนการคิดที่ส่งผลต่อพฤติกรรม หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงความคิด 2 รูปแบบระหว่าง Fixed Mindset และ Growth Mindset คนที่มี Fixed Mindset จะมองว่าความสามารถต่างๆ นั้นมีขีดจำ�กัดและไม่สามารถ เปลีย่ นแปลงได้ ความสำ�เร็จทีเ่ กิดขึน้ กับคนกลุม่ นีล้ ว้ นมาจากความสามารถ ไม่ได้เกิดจากความพยายาม ในขณะที่คนที่มี Growth Mindset จะคิด กลับกัน เชื่อว่าความคิดต่างๆ ที่เกิดขึ้นสามารถพัฒนาและปรับปรุงได้ คนกลุ่มนี้จึงขวนขวายและพยายามจนประสบความสำ�เร็จ

ผู้เขียนได้ยกตัวอย่างจากหลายๆ กรณี ทั้งครอบครัว นักเรียน นักกีฬา นักธุรกิจ และคู่รัก โดยกล่าวถึง Mindset ทั้ง 2 รูปแบบ และอธิบายถึงการ เปลี่ยนแปลงจาก Fixed Mindset เป็น Growth Mindset ที่เกิดจาก ความคิ ด ความมุ่ ง มั่ น ที่ จ ะเรี ย นรู้ แ ละเปลี่ ย นแปลง สำ � หรั บ กลุ่ ม คน เจเนอเรชั่นซี (Gen Z) ที่เริ่มจะมีบทบาทในสังคมมากขึ้น ตั้งแต่สังคม วัยเรียนจนถึงวัยทำ�งาน ซึ่งต่างแสวงหาหนทางประสบความสำ�เร็จในชีวิต หนังสือเล่มนี้จะช่วยกระตุ้นการสร้างพลังทางความคิด และนำ�ความสำ�เร็จ มาสู่ชีวิตของพวกเขา

CREATIVE THAILAND I 8


BOOK Intergenerational Engagement: Understanding the Five Generations in Today’s Economy โดย Dillon Knight Kalkhurst ต่างคนต่างวัยทำ�อย่างไรก็ไม่เข้าใจกัน อายุยง่ิ ห่าง ช่องว่างทางความคิดยิ่งต่างกัน ปฏิเสธไม่ได้ว่า ในสังคมการทำ�งานเราย่อมเจอผูร้ ว่ มงานหลากหลาย ช่วงอายุ แต่จะทำ�อย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาใน การทำ�งาน ดิลลอน ไนต์ คอล์คเฮิรส์ต (Dillon Knight Kalkhurst) จึงได้รวบรวมความรู้และ ประสบการณ์หลายสิบปีเพื่อเขียนหนังสือเล่มนี้ ซึ่งจะช่วยให้ผู้คนจากทุกเจเนอเรชั่นเข้าใจกัน และกัน ไม่วา่ จะเจเนอเรชัน่ Silents ไปจนถึง Baby Boomers, Gen X, Millennials, และ Gen Z โดย แสดงให้เห็นจุดแข็งของแต่ละช่วงวัย วิธีการ รับมือ การปรับตัว การเรียนรู้เพื่อลดช่องว่าง ระหว่างวัย รวมถึงการใช้ความแตกต่างของวัย เหล่านัน้ ให้เกิดประโยชน์ หนังสือเล่มนีจ้ ะช่วยให้ คุณเข้าใจตัวเอง รวมถึงลูกค้า พนักงาน ผูจ้ ดั การ เพื่อนร่วมงาน ครูอาจารย์ พ่อแม่ หรือแม้แต่ คนแปลกหน้าที่มีช่วงวัยแตกต่างกัน นับเป็น เครื่องมือที่น่าสนใจ ทั้งยังช่วยสร้างความเข้าใจ ระหว่างวัยได้อย่างดีทีเดียว

D OCU M E N TA R Y Designing Your Life: How to Build a Well-Lived, Joyful Life โดย Bill Burnett และ Dave Evans นอกจากจะเป็นหนังสือขายดีที่สุดของ The New York Times แล้ว Designing Your Life: How to Build a Well-Lived, Joyful Life ยังเหมาะกับ Gen Z เจเนอเรชั่นที่เทคโนโลยีและโซเชียลมีเดีย เข้ า มามี บ ทบาทในชี วิ ต เป็ น อย่ า งมากและ ส่วนใหญ่ต้องการสร้างธุรกิจของตัวเอง ต้องการ เงินเดือนที่ดี มีอิสระ อยากเป็นนายตัวเองมาก กว่าทํางานให้ใคร หนังสือเล่มนี้ บิลล์ เบอร์เนตต์ (Bill Burnett) และเดฟ อีแวนส์ (Dave Evans) แสดงให้เห็นว่า Design Thinking หรือกระบวนการ คิดเชิงออกแบบ สามารถช่วยให้เราสร้างชีวิตที่มี ความหมายและมีความสุขได้ไม่วา่ เราจะเป็นใคร ก็ตาม เช่นเดียวกับกระบวนการคิดเชิงออกแบบ เทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์และพื้นที่สามารถนำ�มาใช้ ในการออกแบบ สร้างอาชีพและชีวติ ที่มคี วามสุข มัน่ คงและประสบความสำ�เร็จได้ แล้วการออกแบบ ชีวติ ทีว่ า่ นัน้ เป็นอย่างไร มาลองพลิกหน้ากระดาษ เพื่อค้นหาคําตอบในหนังสือเล่มนี้ไปด้วยกัน

พบกับวัตถุดิบทางความคิดเหล่านี้ได้ที่ TCDC Resource Center CREATIVE THAILAND I 9

#BKKY กํากับโดย นนทวัฒน์ นำ�เบญจ เกือบ 1 ปีที่ได้พูดคุยและสัมภาษณ์วัยรุ่น Gen Z จากต่างที่มาจำ�นวน 100 คน ทำ�ให้ผู้กำ�กับวัย 34 ปีผู้นี้ ค้นพบหลากหลายประเด็นน่าขบคิด เกี่ ย วกั บ สั ง คมไทย ก่ อ นจะนำ � ข้ อ มู ล ที่ ไ ด้ ม า สร้างสรรค์เป็นบทภาพยนตร์และผสมผสานการ เล่าเรือ่ งแบบสารคดีไว้ดว้ ยกัน เกิดเป็นภาพยนตร์ ที่สะท้อนเสียงอันแท้จริงของวัยรุ่นไทย เนื้อเรื่อง จะเกี่ยวกับความรัก ความฝัน การเรียน และ ปัญหาครอบครัวของวัยรุ่นไทย ภาพยนตร์เรื่องนี้ ยังแสดงให้เห็นถึงมุมมองทีแ่ ตกต่างและความคิด ทีห่ ลากหลายของวัยรุน่ หากวัยรุน่ ได้ดหู นังเรือ่ งนี้ อาจจุ ด ประกายให้ พ วกเขาแชร์ ปั ญ หาต่ า งๆ แลกเปลีย่ นความคิด และช่วยกันแก้ปญั หา ในขณะ เดียวกัน หากผู้ใหญ่ได้ดูหนังเรื่องนี้ ก็อาจจะ เข้าใจมุมมอง ความคิด และความรูส้ กึ ของวัยรุน่ มากขึ้น


MDIC : นวัตกรรมและวัสดุ

Gen Z กับโมเดลธุรกิจใหม่ของสถาบันการศึกษาและธนาคาร เรื่อง: ชมพูนุท วีรกิตติ และปิยวรรณ กลิ่นศรีสุข

เจเนอเรชั่นซี (Generation Z) เป็นกลุ่มคนที่ทำ�ให้เกิดเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก (Disruptive Technology) เพราะเป็นผูใ้ ช้งานหลักของนวัตกรรมหรือเทคโนโลยี ใหม่ทส่ี ร้างมูลค่าทางการตลาด การเติบโตในโลกดิจทิ ลั แบบเต็มตัวของกลุม่ คน ที่เกิดระหว่าง พ.ศ. 2548-2552 ทำ�ให้เกิดบริการและโมเดลธุรกิจใหม่เพื่อ รองรับกลุ่มคนในช่วงวัยนี้ รวมไปถึงการใช้ชีวิตอย่างแท้จริงของพวกเขาใน สถาบันการศึกษาด้วยเช่นกัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคือหนึ่งในสถาบัน การศึกษาที่ได้ร่วมกับธนาคารกสิกรไทย เปิดตัว CU NEX Application แอพพลิเคชัน่ ทีเ่ ชือ่ มโยงทุกมิตใิ นการใช้ชวี ติ ของนิสติ อาจารย์ และบุคลากร ในรั้วมหาวิทยาลัย โดยได้ประกาศนโยบายที่จะก้าวขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย ชั้นนำ�ด้านดิจิทัลไลฟ์สไตล์แห่งทศวรรษ ด้วยการนำ�นวัตกรรมดิจิทัลมาใช้ ยกระดับการเรียนการสอน การพัฒนาองค์ความรู้ เพือ่ สร้างสรรค์การใช้ชวี ติ อย่างมีคุณภาพของนิสิต เปลี่ยนผ่านสู่ยุคแห่งดิจิทัลเทคโนโลยีอย่างเต็ม รูปแบบ ความร่วมมือครัง้ นีท้ เี่ กิดขึน้ ระหว่างสถาบันการเงินและสถานศึกษา นับเป็นโอกาสทางธุรกิจใหม่ในการเข้าไปเชือ่ มโยงการใช้ชวี ติ ของลูกค้าและ เติบโตไปพร้อมกัน ทั้งนี้ธนาคารคาดการณ์ว่าจะสามารถขยายฐานลูกค้า สู่กลุ่มนักศึกษาได้กว่า 38,000 ราย ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพสูง ยิ่งไปกว่า นัน้ ยังทำ�ให้ธนาคารเข้าถึงข้อมูลผูบ้ ริโภคเชิงลึก (Data Driven Insights) เพือ่ นำ�มาพัฒนาและต่อยอดสูด่ จิ ทิ ลั เทคโนโลยีทที่ รงประสิทธิภาพ เป็นประโยชน์ และอำ�นวยความสะดวกให้แก่ทุกคนอย่างตอบโจทย์และครอบคลุมต่อไป การเชือ่ มโยงทุกมิตใิ นการใช้ชวี ติ ทีจ่ ะมารองรับนิสติ ทีเ่ ป็นกลุม่ เจเนเรอชัน่ ซี เริ่มขึ้นในทุกจุดสัมผัสบริการ (Touch Point) ตั้งแต่ก่อนออกเดินทางไปยัง มหาวิทยาลัย นิสิตสามารถตรวจสอบตารางเรียนและห้องเรียน หรือค้นหา e-Book ที่สนใจจากศูนย์หนังสือจุฬาฯ เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้า

ห้องเรียน เมือ่ เดินทางถึงมหาวิทยาลัยแล้ว ยังสามารถตรวจสอบตารางเวลา สถานะ และตำ�แหน่งของรถประจำ�ทางภายในมหาวิทยาลัย เพื่อวางแผน เดินทางไปยังจุดต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัยได้อย่างสะดวกสบายและรวดเร็ว ยิ่งขึ้น นิสิตสามารถค้นหาหนังสือจากทุกห้องสมุดในมหาวิทยาลัยได้อย่าง รวดเร็ว หรือแม้แต่หลังเลิกเรียน ก็ยงั สามารถใช้ชวี ติ อย่างเต็มทีด่ ว้ ยการจอง การเข้าร่วมกิจกรรมภายในของมหาวิทยาลัยทีส่ นใจ หรือจองสถานทีส่ �ำ หรับ การทำ�กิจกรรมต่างๆ นอกจากนีย้ งั มีการให้บริการระบบ SOS ในแอพพลิเคชัน่ เพื่อการใช้ชีวิตที่ปลอดภัยในมหาวิทยาลัยด้วย ในอนาคต CU NEX Application ยังมีแผนจะพัฒนาแพลตฟอร์มอย่าง ต่อเนือ่ ง เพือ่ เพิม่ ประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ของข้อมูลในด้านต่างๆ ไม่วา่ จะเป็นการสร้าง Data Hub ที่ใช้เทคโนโลยี Machine Learning รวบรวม พฤติกรรมของนิสิต และการใช้ Business Intelligence วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อ นำ�ไปพัฒนาหลักสูตรและกิจกรรมในการพัฒนาศักยภาพของนิสติ อย่างเต็มที่ พร้อมทัง้ การจัดการงานเอกสารสำ�คัญต่างๆ ของมหาวิทยาลัยด้วยเทคโนโลยี บล็อกเชน Blockchain ทั้งหมดนี้เป็นการใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีอย่างเต็ม ประสิทธิภาพ ตอบโจทย์การเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่ในยุคดิจิทัล และเทรนด์ เหล่านี้ถือเป็นการตอบโจทย์ธุรกิจในฝั่งการเงินการธนาคารด้วย เนื่องจาก ธุรกิจธนาคารนัน้ เปลีย่ นจากรูปแบบเดิมมาสู่ Mobile Banking ทำ�ให้ไลฟ์สไตล์ ของผู้บริโภคเปลี่ยนไปในทุกระดับ ที่มา: บทความ “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดตัว CU NEX Application ด้วยเทคโนโลยี สุดลํ้าจากกสิกรไทย มุ่งขับเคลื่อนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสู่อนาคตด้วยดิจิทัลเทคโนโลยี” จาก efinancethai.com

พบกับนวัตกรรมและวัสดุสร้างสรรค์ ได้ที่ชั้น 2 ห้อง Material & Design Innovation Center, TCDC CREATIVE THAILAND I 10


พบกับนิตยสาร “คิด” Creative Thailand ได้ที่ ร้านหนังสือ ห้องสมุด สมาคม อาคารสำ�นักงาน และร้านกาแฟใกล้บ้าน ในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ หัวหิน และจังหวัดอื่นๆ รวมถึง miniTCDC

หมดปญหาหยิบนิตยสารไมทัน สมัครสมาชิกรายป คาใชจายในการจัดสง 200 บาท (12 เลม)

ดูสถานที่จัดวางทั้งหมดได้ที่: www.tcdc.or.th/creativethailand/magazine/place

หรือสมัครออนไลนไดที่ tcdc.or.th/creative_thailand

กรุงเทพฯ ร้านหนังสือ • Asia Books • Kinokuniya • B2S • แพร่พิทยา

• MAIIAM Contemporary Art Museum • ชีวิต ชีวา • Minimeal Cafe • Impresso • Restr8to • Penguin Villa (Penguin Getto) ร้านกาแฟ/ร้านอาหาร • กาแฟอาข่า อ่ามา • Au Bon Pain La Fattoria สาขา2 • Starbucks • TOM N TOM’S COFFEE • Happy Hut ถ.นิมมานฯ • True Coffee • ราชดำ�เนิน • Auntie Anne’s • Mai Bakery In Garden • Baskin Robbins • Starbucks The Plaza • Coffee World • Yesterday Hotel • Mister Donut • October • Black Canyon • สุรยิ นั จันทรา นิมมานฯ ซอย 1 • McCafe’ • ร้านมีชามีชัย (กู) • ดอยตุง • Cafe’de nimman • Ninety four coffee • The Booksmith • Puff & Pie • ร้านชา (Drink Club) • Red Mango • Cotto Studio • Iberry • Starbucks Nimmanhemin • Greyhound Cafe’ • Fern Forest Cafe’ • Amazon Cafe’ • 9th Street Cafe • Chester’s Grill นิมมานฯ ซอย 9 • Luv minibar • ดวงกมล (Duang Kamol) • Rustic & Blue - Handgrown พิพิธภัณฑ์/หอศิลป์ • Produce & Artisan Food • หอศิลปวัฒนธรรม นิมมานฯ ซอย 9 แห่งกรุงเทพมหานคร • หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม • มิวเซียม สยาม • อุทยานการเรียนรู้ (TK park) มช. • นำ�ทอง แกลเลอรี่ หัวหิน • ร้านกาแฟ ชุบชีวา หัวหิน สมาคม/ห้องสมุด • อยู่เย็น หัวหิน บัลโคนี่ • ศูนย์ศิลปะนานาชาติ • บ้านใกล้วัง สมาคมฝรั่งเศส • ภัตตาคารมีกรุณา • ห้องสมุดเนลสัน เฮลส์ The Neilson Hays Library • บ้านถั่วเย็น @ แนบเคหาสน์ • ร้านอาหารหัวหิน (โกทิ) • ห้องสมุด - นิด้า • กาแฟข้างบ้าน • สมาคมโฆษณา • IL GELATO ITALIANO แห่งประเทศไทย • Together Bakery & Cafe’ • สมาคมธนาคารไทย • โรงแรม วรบุระหัวหิน • สมาคมสโมสรนักลงทุน • Let’s Sea • ห้องสมุด สสวท. • โรมแรม ดูน หัวหิน • สมาคมหอการค้าไทย • เดอะร็อค หัวหิน • สถาบัน • บ้านจันทร์ฉาย • Wall Street Institute • หัวหิน มันตรา รีสอร์ท • Raffle Design Institute • ลูน่าฮัท รีสอร์ท • Vision Swimming Academy กระบี่ • Nakamanda Resort & Spa เชียงใหม่ • Rawee Warin Resort & Spa • woo cefe • A little Handmade Shop • Kagee • Ristresto lab • ท่าแพอีสต์+ dibdee.binder ขอนแก่น • Hug School • C.A.M.P ,MAYA • True Coffee ,หอสมุด มช. of Creative Arts • ร้านสืบสาน • Punspace, นิมมานฯ • ร้านกาแฟ คอฟฟี่ เด้อ หล่า • asama cafe • มาหาสมุด (บ้านข้างวัด) (Coffee Der La) • see scape gallery เชียงราย • nimmanian club • ร้านหนังสือ herebookafe • 8 days a week • ร้าน Coffee Dad • Bulbul book cafe’ • Graph cafe’ นครราชสีมา • Cefe de museum • Hug station resort • local cafe Think park • Librarista นครปฐม • Artisan วัวลาย • ร้าน Dipchoc Cafe • paper spoon • กาแฟรสนิยม, นครสวรรค์ หลัง มช ทางขึ้นกาแล • The barn : Eatery Design • ร้าน Bitter Sweet • Book Republic น่าน • wake up หน้ามอ • ร้าน Runway Coffee • Fab cafe’ • kum cafe คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ • ร้านคลาสสิค โมเดล น่าน

• ร้านกาแฟปากซอย • ร้าน Nan Coffee Bean ปาย/แม่ฮ่องสอน • ร้านคอฟฟี่อินเลิฟ • ร้าน all about coffee • ร้านปายหวานบ้านนมสด • ร้านเล็กเล็ก • ปายวิมานรีสอร์ท พังงา • Niramaya Villa and Willness Resort • Ranyatavi Resort Phang Nga • The Sarojin เพชรบุรี • Grand Pacific Sovereign • Resort & Spa • DevaSom Hua Hin Resort ภูเก็ต • ร้านหนัง(สือ) ๒๕๒๑ ภูเก็ต • The oddy Apartment & Hotel • At Panta Phuket • Banyan Tree Phuket • Le Meridien Phuket • Millienium Ressort Patong Phuket • Novotel Phuket Resort • Patong Paragon Resort & Spa Phuket • Sheraton grand Lagana Phuket • Sri wanwa Phuket Villa • Thanyapura ระยอง • Le Vimarn Cottage ลำ�ปาง • อาลัมภางค์ เกสท์เฮ้าส์ แอนด์ มอร์ ลำ�ปาง • ร้านเอกาลิเต้ Egalite Bookshop • Lampang Art Center เลย • บ้านชานเคียง • มาเลยเด้ เกสต์เฮาท์ ลพบุรี • ซนดิคอฟฟี่ สมุทรสงคราม/อัมพวา • Baan Amphawa Resort and Spa สุโขทัย • Ananda Co.,Ltd. สุราษฎร์ธานี • Muang Samui Spa Resort • Pavilion Samui Boutique Resort • The Sunset Beach Resort and Spa Taling ngam • Nora Beach Resort Samui อุทัยธานี • ร้านบุ๊คโทเปีย Booktopia • Avatar Miracles

ขอมูลผูสมัครสมาชิก สมาชิกใหม ชื่อ นามสกุล เพศ โทรศัพท

สมาชิกเกา (ตองการตออายุสมาชิก) หญิง อายุ

ชาย

อีเมล

โทรศัพทมือถือ

อาชีพ นักเรียน ครู/อาจารย

นิสิต/นักศึกษา พนักงานบริษัท

นักออกแบบ/ครีเอทีฟ ผูประกอบการ

อาชีพอิสระ อื่นๆ โปรดระบุ

ขาราชการ/รัฐวิสาหกิจ

สาขา/อุตสาหกรรมที่เกี่ยวของกับอาชีพของทาน โฆษณา สถาปตยกรรม แฟชั่น ศิลปะการแสดง ดนตรี ภาพยนตร โทรทัศน/วิทยุการกระจายเสียง

ทองเที่ยว/โรงแรม/สายการบิน วรรณกรรม/การพิมพ/สื่อสิ่งพิมพ พิพิธภัณฑ/หองแสดงงาน ซอฟตแวร/แอนิเมชัน/วิดีโอเกม

หัตถกรรม/งานฝมือ การเงิน/ธนาคาร ทัศนศิลป/การถายภาพ อื่นๆ โปรดระบุ

อาหาร การแพทย การออกแบบ

คาปลีก/คาสง โทรคมนาคม

ที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ จังหวัด

ซอย

ถนน รหัสไปรษณีย

หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง

อำเภอ/เขต

หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง

อำเภอ/เขต

ที่อยูในการออกใบเสร็จ เหมือนที่อยูในการจัดสง เลขประจําตัวผูเสียภาษี เพื่อออกใบเสร็จรับเงิน หมูบาน/บริษัท เลขที่ ซอย ถนน จังหวัด รหัสไปรษณีย

ตองการสมัครสมาชิกนิตยสาร Creative Thailand ระยะเวลา 1 ป จำนวน 12 เลม เริ่มตั้งแตฉบับเดือน โดยยินดีเสียคาใชจายในการจัดสงเปนจำนวนเงิน 200 บาท

วิธีการชำระเงิน เช็คสั่งจายศูนยสรางสรรคงานออกแบบ พรอมใบสมัครสมาชิก โอนเงินเขาบัญชีออมทรัพย ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ เลขที่บัญชี 101-808967-0 ธนาคารกรุงเทพ สาขาสำนักงานใหญสีลม • แฟกซใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่ 02-105-7450 • หรือสงไปรษณียมาที่ ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (Creative Thailand) อาคารไปรษณียกลาง 1160 ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10501 • หรือแนบไฟลใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่อีเมล creativethailand@tcdc.or.th สอบถามขอมูลเพิ่มเติมไดที่ 02-105-7400 ตอ 122


Local Wisdom : ภูมิความคิด

วิชาแปลก เรื่อง: กองบรรณาธิการ

CREATIVE THAILAND I 12

youtube.com/usc

รายวิชา Wasting Time on the Internet (สหรัฐอเมริกา) ภาควิชาภาษาอังกฤษแห่งมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย ในฟิลาเดเฟีย สหรัฐอเมริกา ได้รังสรรค์รายวิชา สุดแปลกให้กับเหล่านักศึกษาโดยเรียกชื่อวิชานี้ ว่า “ฆ่าเวลาไปกับอินเทอร์เน็ต” (Wasting Time on the Internet) วิชาที่ไม่ต้องมีหนังสือประกอบ การเรียนการสอน ขอแค่มแี ล็ปท็อปและสัญญาณ อินเทอร์เน็ต เด็กๆ ก็ฝึกฝนทักษะการเขียนได้ อย่างสร้างสรรค์ผา่ นการมีปฏิสมั พันธ์ในแพลตฟอร์ม ออนไลน์ต่างๆ เช่น โซเชียลมีเดีย แช็ตรูม หรือ แอพฯ LISTSERV บริการทีอ่ นุญาตให้นกั การศึกษา สมัครเป็นสมาชิกของกลุม่ สนทนาทีม่ คี วามสนใจ ในเรือ่ งเดียวกัน เพือ่ ให้ได้รบั ทราบข้อมูลทีท่ นั สมัย ตลอดเวลา อาจารย์เคนเน็ธ โกลด์สมิธ (Kenneth Goldsmith) ได้เขียนบทความชิน้ หนึง่ ลงในนิตยสาร เดอะ นิวยอร์กเกอร์ ว่าทุกวันนีเ้ ราได้อา่ นและเขียน กันมากกว่าในยุคของเจเนอเรชั่นไหนๆ เพียงแต่ เราอ่านและเขียนมันต่างจากที่เคยเป็นมาเท่านัน้ เช่น การอ่านแบบสแกน การลากผ่านข้อมูลอย่าง รวดเร็ว การทำ�บุ๊กมาร์ก การส่งต่อ การรีทวีต เขียนบล็อก หรือแม้แต่การสร้างภาษาแปลกๆ ที่ เราเองไม่ได้ตระหนักว่ามันเป็นงานเขียนหรือ วรรณกรรมเท่านั้นเอง

รายวิชา #SelfieClass (สหรัฐอเมริกา) ถื อ เป็ น อี ก หนึ่ ง รายวิ ช าที่ เ ข้ า กั บ ยุ ค สมั ย อย่ า ง แท้จริง เมื่อภาควิชาการเขียนแห่งมหาวิทยาลัย เซาท์ เ ธิ ร์ น แคลิ ฟ อร์ เ นี ย ในลอสแอนเจลิ ส สหรัฐอเมริกา เปิดรายวิชาที่ชื่อ “การเขียน 150: การเขียนและการใช้เหตุผลเชิงวิเคราะห์ : การระบุ ตัวตนและความหลากหลาย” (Writing 150: Writing and Critical Reasoning: Identity and Diversity) ซึ่งหนึ่งในใบงานของรายวิชาก็คือ การให้นักศึกษาถ่ายรูปเซลฟี่ของตัวเอง 5 ครั้ง พร้อมกับเขียนบรรยายเป็นคำ�ตอบทันทีวา่ “รูปเซลฟี่ ของคุณสร้างและบดบังความเป็นตัวตนของคุณ อย่างไร” เรียกว่าวิชาสุดแปลกนี้คงทำ�ให้เหล่า นักศึกษาเลิกคิดถึงแอพฯ ที่จะนำ�มาใช้แต่งรูป เซลฟี่ไปสนิท เพราะคงต้องคิดถึงแต่การตีความ อย่างไรให้ได้ใจอาจารย์มากที่สุดไปแทน

twitter.com/MawuenaTendar

globalnews.ca

รายวิชา Drag Queen Story Hour (สหรัฐอเมริกา) เพราะสังคมในวันนีเ้ ต็มไปด้วยความหลากหลาย ทัง้ ความเชือ่ วิถชี วี ติ วัฒนธรรม ค่านิยม หรือแม้แต่ เพศ แล้วเราจะช่วยให้เด็กๆ ยุคใหม่เรียนรู้ความ แตกต่างทางเพศเหล่านีไ้ ด้อย่างไรแบบไม่ขดั เขิน ซํ้ายังช่วยให้พวกเขาอยู่ร่วมกับความแตกต่างได้ อย่างราบรื่น Drag Queen Story Hour (DQSH) คือหนึ่งในกิจกรรมสนุกๆ ที่เกิดขึ้นครั้งแรกใน ซานฟรานซิสโกจากการริเริม่ ของมิเชล ที (Michelle Tea) นักเขียนผู้ขับเคลื่อนประเด็นเรื่องความ หลากหลายทางเพศ ก่อนจะกระจายไปยังห้องสมุด โรงเรียน และร้านหนังสือทั่วสหรัฐฯ เด็กๆ จะได้ สนุกไปกับเหล่าแดร็กควีน (กลุม่ คนทีก่ ายเป็นชาย แต่งตัวเป็นหญิง) ทีผ่ ลัดเปลีย่ นกันมาปรากฏตัวใน เครือ่ งแต่งกายสีสนั สดใสและเปีย่ มด้วยจินตนาการ ชวนเด็กๆ มาล้อมวงฟังนิทานทีบ่ ม่ เพาะให้พวกเขา เปิดรับความหลากหลายในสังคม พร้อมกับปลุก ความมั่นใจให้มีความกล้าที่จะเป็นตัวของตัวเอง เช่น นิทานเรือ่ ง “Everyone is Different” ทีพ่ ดู เรือ่ ง ความแตกต่าง และ “Neither” ทีส่ อนให้พวกเขา เป็นมิตรกับคนอื่น ฯลฯ สอดแทรกด้วยกิจกรรม ดีไอวายสร้างเสริมจินตนาการอย่างง่ายๆ อย่าง การประดิษฐ์มงกุฎหรือหน้ากาก ก่อนจะปิดท้าย ด้วยปาร์ตี้เต้นรำ�แบบสุดเหวี่ยง

gettyimages.com By ED JONES

วิทย์ คณิต สังคม ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ วิชาสามัญที่ใครหลายคนทั้งรักทั้งเกลียดเหล่านี้ยังต้องขอยอมแพ้ เมื่อเจอกับ คอร์สการเรียนรู้ “วิชาแปลก” ของเด็กๆ เจเนอเรชัน่ นี้ ทีไ่ ม่ได้มดี แี ค่ความแปลก แต่ยงั แลกมาด้วยประสบการณ์และการเรียนรู้ แบบเหนือจินตนาการและยังสะท้อนภาพของสังคมยุคใหม่ได้แบบที่วิชาสามัญไหนๆ ก็ให้ได้ไม่เท่า


abertay.ac.uk Joel Muniz

รายวิชา Rap Poetics (แคนาดา) กระแสแรปเปอร์ กำ � ลั ง ฮิ ต ถล่ ม ทลายในหลาย ประเทศ ไม่เว้นแม้แต่บ้านเราที่หลายคนจะพูด อะไรเป็นต้องใส่ทำ�นองและคำ�คล้องจองให้แร็ป ได้ลื่นไหลเป็นพิเศษกันทั้งนั้น เช่นเดียวกับที่ มหาวิทยาลัยโตรอนโต สการ์โบโรห์ ในออนทาริโอ ประเทศแคนาดา ที่หยิบเอาทักษะการแร็ปมา สร้างสรรค์เป็นรายวิชาสุดแปลก โดยการให้ นักศึกษาได้เรียนรูอ้ งค์ประกอบต่างๆ ของการแร็ป ตั้งแต่ทักษะการแร็ปแบบชวนเชื่อ ชนิด ประเภท ความหมาย ไปจนถึงการลำ�ดับเนือ้ ร้องและทำ�นอง ของศิลปะการแร็ป ทีไ่ ม่ใช่แค่การให้เด็กๆ มาฝึก แร็ปกันในคลาสเท่านั้น แต่ยังช่วยให้ได้เรียนรู้ถึง ประวัติศาสตร์และที่มาที่ไปของคำ�ว่า “แร็ปคือ บทกวี” ท่วงทำ�นองที่ได้ใจคนไปค่อนโลกนี้อย่าง ลึกซึ้งทีเดียว

รายวิชา Forever Young: Fang-Ophilia in Contemporary Western Culture (แคนาดา) หากเคยสงสัยว่าอะไรที่ทำ�ให้กระแสแวมไพร์ สุดหล่อในภาพยนตร์เรื่อง Twilight ถึงได้เป็นที่ ชื่นชอบและหมายปองของสาวๆ ที่มีเลือดเนื้อ จริงๆ กันนัก นั่นอาจเป็นเพราะเทคนิคในการ สร้างเสน่ห์ให้กับบรรดาแวมไพร์ผู้เป็นเจ้าของผิว ซีดเซียวและเขี้ยวเสน่ห์แถมยังดูเด็กตลอดกาล แบบไม่มวี นั แก่หรือตาย ในคลาสสุดพิเศษทีช่ อื่ ว่า Forever Young: Fang-Ophilia in Contemporary Western Culture ของมหาวิทยาลัยเวสต์เทิร์น ออนทาริโอ ในแคนาดานี้ จะสอนประวัติศาสตร์ เบื้องหลังของเหล่าแวมไพร์เขี้ยวเสน่ห์ผ่านการ เลคเชอร์เพียวๆ ถึง 3 ชัว่ โมงเต็ม ซึง่ เน้นไปทีก่ าร สะท้อนภาพความเป็นอมตะของเหล่าแวมไพร์ซงึ่ กลายเป็นรูปลักษณ์ทนี่ า่ ปรารถนาในสือ่ ตะวันตก มากมายแห่งศตวรรษที่ 21

หลักสูตร Ethical Hacking (สก็อตแลนด์) มหาวิทยาลัยอเบอร์เทย์ ดันดี เป็นมหาวิทยาลัย ใหม่ทันสมัยใจกลางเมืองดันดีของสก็อตแลนด์ ซึ่งได้รับการจัดอันดับจากนิตยสารไทม์ ให้เป็น ท็อปเท็นมหาวิทยาลัยใหม่ของสหราชอาณาจักร โดยจุดเด่นของทีน่ ยี่ งั อยูท่ คี่ อร์สการเรียนการสอน สุดแปลกทีห่ าไม่ได้จากมหาวิทยาลัยทัว่ ไปในโลก อย่างหลักสูตร 4 ปีดีกรีปริญญาที่ชื่อว่า Ethical Hacking and Countermeasures ซึ่งสนับสนุน ให้นักศึกษามีวิจารณญาณและความสามารถใน การจัดการกับเหล่าแฮ็กเกอร์ได้อย่างสร้างสรรค์ และมีมาตรฐาน โดยนักศึกษาที่เลือกศึกษาใน คอร์สนี้ ซึ่งนับเป็นคอร์สแรกของโลกที่เปิดสอน ครั้งแรกเมื่อปี 2006 จะได้พัฒนาทักษะความ เข้าใจกระบวนการเบื้องหลังการเข้าโจมตีของ แฮ็กเกอร์ ไปจนถึงการพัฒนามาตรการรับมือ และความรู้เชิงเทคนิคเพื่อความปลอดภัยของ ระบบและเครือข่าย เป็นต้น โดยบรรดาศิษย์เก่า ของทีน่ สี่ ว่ นใหญ่ได้กลายไปเป็นบุคลากรสำ�คัญที่ ช่ ว ยจั ด การระบบรั ก ษาความปลอดภัย ในเชิง เทคโนโลยีสารสนเทศแล้วเป็นจำ�นวนมาก ที่มา: abertay.ac.uk/course-search/undergraduate/ ethical-hacking / dragqueenstoryhour.org / บทความ “11 Bizarre College Courses We Actually Want to Take” (26 สิงหาคม 2015) โดย Olivia B. Waxman จาก time.com / บทความ “11 Of The Strangest (And Best) Classes You Can Take At Canadian Universities” (10 ธันวาคม 2015) จาก notablelife.com

CREATIVE THAILAND I 13


Emily Reider

Cover Story : เรื่องจากปก

ปลูกการเรียนรู้คนรุ่นใหม่ ในเนื้อดินของสุนทรียะและความหลากหลาย เรื่อง: ปกรณ์ เลิศเสถียรชัย1 2

CREATIVE THAILAND I 14


Ian Schneider

“...การเร่งเร้าให้นักเรียนรีบๆ เรียนเพื่อเตรียมตัวสอบไล่หรือทดสอบนั้น ไม่เป็นประโยชน์ แก่วิชาการ เพราะนักเรียนส่วนใหญ่ต้องพยายามท่องจำ�เพียงแต่จะให้สอบได้คะแนนดี ไม่ได้วางเป้าหมายในการแสวงหาวิชาอย่างแท้จริง...” ดร. ป๋วย อึ๊งภากรณ์ 3

คำ�กล่าวของอาจารย์ปว๋ ยแม้จะนานเกือบห้าสิบปี มาแล้ว แต่ก็ดูจะยังเป็นสิ่งสะท้อนสถานการณ์ ความโกลาหลของการเข้ า ศึ ก ษาต่ อ ในระดั บ มหาวิทยาลัยในปัจจุบันได้ไม่มากก็น้อย แม้จะ ปรับเปลี่ยนระบบไปมาหลายรอบ จนถึงระบบ บัดนี้ที่ชื่อว่า TCAS ก็ตาม ผมคงโชคดีกว่านักเรียนในสมัยนี้มากที่ไม่ ต้องวิง่ รอกสอบตรง ไม่ตอ้ งตระเวนสอบสัมภาษณ์ เมื่อสักยี่สิบปีที่แล้ว ผมเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัย ด้วยระบบเอ็นทรานซ์สองครัง้ นำ�คะแนนทีด่ ที สี่ ดุ มาใช้ ผมมีเวลาเหลือสำ�หรับการอ่านนอกตำ�รา เรียน ได้สนทนากับครูวิชาสังคมฯ หลังเลิกเรียน

ซึ่งเปิดโลกทัศน์และสร้างความคิดวิพากษ์ พอได้ เข้ามหาวิทยาลัยเราได้เห็นคนที่ผ่านเอ็นทรานซ์ มาด้วยการท่องจำ�คะแนนร่วงกราว ผมใช้ชีวิตปี ท้ายๆ ในมหาวิทยาลัยแถวสามย่าน ด้วยการทำ� กิจกรรมเป็นกลุม่ อิสระ ไม่ขน้ึ กับชมรม จัดวงเสวนา ออกนิตยสารทำ�มือเล่มเล็ก (สิ่งจำ�เป็นในยุคที่ยัง ไม่มีสื่อโซเชียล) วางแผนทำ�หนังสือเล่ม วิพากษ์ ประเพณีของมหาวิทยาลัย แถมยังไปถึงขั้นก่อ หวอดประท้วงรองอธิการบดีด้วย จากนั้นก็ไป ศึกษาต่อแบบสหสาขาวิชา เชือ่ มโยงวิทยาศาสตร์ กับสังคมที่สวีเดน ประเทศที่เด็กจะไม่มีการสอบ จนกระทั่งอายุ 12 ปี

วันนี้ผมกลับมาอยู่ในบทบาทที่ต้องมอบ อะไรให้แก่ “คนรุ่นใหม่” บ้าง ผมพบตั้งแต่คนที่ ตัง้ ใจเก็บเกรดทุกเม็ด คนทีเ่ รียนในสิง่ ทีต่ นอยาก เรียนโดยไม่เกี่ยงผลคะแนน คนที่มีความคิด เพีย้ นๆ แปลกๆ คนหัวขบถพร้อมวิพากษ์วจิ ารณ์ คนมีปญั หาทางจิตใจ คนอารมณ์หว่องๆ ติสต์แตก หรือแม้แต่คนธรรมะธัมโม ผมได้แต่ถามว่ามี บ้างไหม อะไรที่เป็นลักษณะร่วมของการเรียนรู้ เพื่อเติบโตเป็นตัวของตัวเอง ซึ่งผมคิดว่าหนึ่งใน นั้นก็คือ “ศิลปะ”

1 สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2 ร่วมเขียนและค้นข้อมูลโดยสรัลดา เซียศิริวัฒนา บัณฑิตสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา และมารวย มนตรี นิสิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ 3 ตัดตอนจากบทความชื่อ “ข้อคิดเรื่องอุดมศึกษา” ตีพิมพ์ในหนังสือ อุโฆษสาร พ.ศ. 2514-2515 อภิปรายเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2514 ที่ A.U.A. Language Center เผยแพร่

อีกครั้งใน FB: ASSUMPTION ARCHIVE

CREATIVE THAILAND I 15


การขับเคลื่อนโลกนี้ต้องใช้พลังงานของมนุษย์ การมีพื้นที่ที่ให้คนต่างรุ่นต่างวัยได้มาแบ่งปัน ความสนใจร่วมกัน และเราสามารถเป็นประโยชน์ ต่อพวกเขาได้นั้นเป็นเรื่องส�ำคัญ ครูแม่ส้มผู้ให้ชีวิตส่งต่อชีวิต สร้างผู้ประกอบการด้วยศิลปะ

เย็นวันหนึ่ง ผมนัด “ครูแม่ส้ม” ไว้ เพื่อขอพูดคุย กับเธอว่าพ่อแม่มสี ว่ นเกือ้ หนุนให้คนรุน่ ใหม่เรียนรู้ ได้อย่างไร เราเจอกันที่ลานใบไม้ ลานกิจกรรม ของบริษัทยิบอินซอย ซึ่งอยู่ห่างจาก TCDC ไม่ ไกลนัก ครูแม่สม้ มีลกู 3 คน แต่ละคนเติบโตมีเส้นทาง ของตนเองและเป็ น ผู้ ป ระกอบการแล้ ว ทั้ ง นั้ น คนแรกเป็นลูกชาย ชือ่ “ฟ้าใส” เขาเป็นเจ้าฟิตเนส Fit Junctions และเป็นเทรนเนอร์สายสุขภาพที่ มีผู้คนติดตามหลายแสนคน คนรองเป็นผู้ชาย ชื่อ “สายเมฆ” เป็นซีอีโอของบริษัทอาหารคลีน TREEMEALS ส่วนคนท้ายสุดนั้นเป็นผู้หญิง ชื่อ “ใบคา” ซึ่งเป็นที่รู้จักกันจากเพจเฟซบุ๊ก “ชะนี มีกล้าม” และเป็นเจ้าของสถาบันสอนทำ�เบเกอรี่ สุขภาพชื่อ Fit Bakery เพจที่พูดถึงการดูแล สุขภาพ และอาหารที่เหมาะสมกับการพัฒนา ร่างกาย ทั้งสามคนนี้ยังเป็นอินฟลูเอ็นเซอร์หรือ คนที่ใช้ความเป็นตัวของตัวเองเพื่อสร้างอิทธิพล ทางความคิดต่อแบรนด์สินค้าต่างๆ ได้ด้วย ขณะที่ผมเข้าไปพบครูแม่ส้มนั้น ครูแม่ส้ม เพิง่ เสร็จสิน้ การไลฟ์เฟซบุก๊ พอดี ว่าด้วยเรือ่ งของ พ่อแม่ ครั้นเมื่อผมเข้าไปร่วมสนทนา ประโยคที่ ส่งต่อมาถึงผมคือ “พ่อแม่อย่าทิง้ ความฝันตนเอง” ครูแม่ส้มอธิบายต่อไปด้วยการยกตัวอย่าง เรื่ อ งนี้ โ ดยเฉพาะคุ ณ แม่ คุ ณ แม่ ห ลายคนที่ ต้องการเลี้ยงลูกเองก็มักจะเปลี่ยนตนเองเป็น แม่บ้าน แล้วละทิ้งความฝัน ทิ้งบุคลิกภาพ ทิ้ง ไลฟ์สไตล์ ไม่วา่ จะเรือ่ งอาหารการกิน การแต่งเนือ้ แต่งตัว หรือเรียกว่าปล่อยเนื้อปล่อยตัวก็ได้ นี่ เรียกว่าเป็นสัญลักษณ์เบื้องต้นก่อนที่จะปล่อย

อย่างอื่นที่ตนเองเคยเป็น แม้วิธีการนี้จะเป็นการ เลี้ยงลูกที่มุ่งหวังความสำ�เร็จ แต่ก็เป็นวิธีการที่ แยกขาดจากชีวิต ทั้งที่ความเป็นจริงแล้ว ลูกเขา เฝ้าดูและเรียนรู้จากความเป็นตัวเอง (being) ของเรา มนุษย์รนุ่ พีต่ อ้ งใช้ชวี ติ ให้รนุ่ น้องเห็น และ การแยกขาดเช่นนี้ทำ�ให้ไม่มีการส่งต่อชีวิต ครูแม่ส้มเล่าต่อว่าสิ่งที่เธอคิดนั้นเกิดจาก การเรียนรู้สิ่งที่ได้ฟังจากคนอื่น ไม่ได้มาจาก ทฤษฎีอย่างเดียว แล้วย้อนมาถึงพืน้ ฐานชีวติ ของ เธอที่ว่าเธอเป็นคนที่ทำ�งานด้านศิลปะและการ ออกแบบ ทำ�ให้ต้องฟังความต้องการของลูกค้า ให้เยอะ ฟังให้มาก งานถึงออกมาดี ครัน้ เมือ่ มีลกู ก็ตอ้ งเรียนรูเ้ รือ่ งจิตวิทยาเด็ก การศึกษาทางเลือก และแม่สม้ ยังเลีย้ งลูกทัง้ 3 คนด้วยระบบโฮมสคูล จึงเห็นว่าทฤษฎีไม่ใช่เรื่องตายตัว แต่ต้องนำ�มา ประยุกต์กบั เด็กให้ได้ ให้เกิดการด้น (improvise) และเต้นเข้าจังหวะ (dance) ไปกับเขาอย่าง เหมาะสมเป็นรายๆ ไป วิธีการที่เปิดกว้างเช่นนี้สอดคล้องกับความ เป็นตัวเองของครูแม่ส้ม เธอเป็นศิลปินที่ทำ�งาน ศิ ล ปะในแนวแสดงอารมณ์ ค วามรู้ สึ ก ภายใน (expressionism) ที่รปู แบบเป็นนามธรรม (abstract) การได้ใช้ชวี ติ เป็นส่วนหนึง่ กับศิลปะ ทำ�ให้ครูแม่สม้ ตระหนักว่าประสบการณ์นั่นเองคือส่วนสำ�คัญที่ สร้างชีวติ แห่งการเรียนรูใ้ ห้เด็กๆ วัยเด็กเป็นวัยที่ ไม่ตอ้ งรับผิดชอบชีวติ มากนักและไม่ควรมีเงือ่ นไข การสอบเข้ามากดดันเด็ก วัยนีเ้ องทีเ่ ราต้องเกือ้ หนุน ให้เขามีความซาบซึง้ ในศิลปะ (art appreciation) ครูแม่ส้มยํ้าว่า “สมัยนี้ความงามของชีวิตหายไป จากวัฒนธรรมชีวติ และการสอบเข้าได้ฆา่ โอกาส ชีวิตของคนทั้งประเทศ ทั้งที่สมัยก่อนนั้น การ เดินเตะก้อนหินไปโรงเรียนคือสุนทรียภาพ” CREATIVE THAILAND I 16

การขั บเคลื่ อนโลกนี้ต้ องใช้ พลังงานของ มนุษย์ การมีพื้นที่ที่ให้คนต่างรุ่นต่างวัยได้มา แบ่งปันความสนใจร่วมกัน และเราสามารถเป็น ประโยชน์ตอ่ พวกเขาได้นนั้ เป็นเรื่องสำ�คัญ ทีจ่ ริง ครูแม่ส้มบอกว่าไม่ควรแบ่งเป็นคนสมัยนี้หรือ คนยุคก่อนด้วยซํ้า เพราะการเรียนรู้ร่วมกันมา จากการเผยตัวตนที่เราเป็นออกมา ไม่ว่ามันจะ เฟอะๆ บ้าง ล้มเหลวบ้าง แต่เราต้องกล้าแซว ตนเองเล่น ซึ่งเป็นสุนทรียะอย่างหนึ่ง เราทุกคน มีความสงสัยในตนเอง ไม่มีใครจะมีความมั่นใจ ในตนเองได้ตลอดเวลา แต่เราต้องการพื้นที่ สำ�หรับการคุยร่วมกัน ต่อเรือ่ งความสงสัยและไม่ มั่นคง พื้นที่สำ�หรับประกาศความเปราะบาง แค่เด็กได้พดู ความกลัวของเขาก็ถอื ว่าได้เรือ่ งแล้ว เด็กคิดเรื่องนามธรรมเองได้ และไม่ได้ต้องการ คำ�สอนใด ครู แ ม่ ส้ ม ปิ ด ท้ า ยว่ า เมื่ อ ย้ อ นมองตนเอง คิดว่าประสบความสำ�เร็จ เพราะเป็น “bad girl” ได้แหกกรอบบ้าง มีความมันส์ในอารมณ์บ้าง ได้โดดเรียนบ้าง เธออนุญาตให้ลูกเป็น bad boy, bad girl ได้ในมุมที่น่ารัก แม้พวกเขาจะ กระฟัดกระเฟียดบ้าง แต่กม็ ปี ระโยชน์ เพราะเด็ก ไม่ได้ต้องการจะเป็นเด็กดีไปทุกคน ซึ่งหมายถึง เด็กที่ดำ�เนินชีวิตแบบสร้างกลเม็ดให้สอดคล้อง กับทัศนะผู้ใหญ่ แต่เด็กต้องการได้ผล อาทิ ได้ เล่นสนุก ได้เหรียญรางวัล และเด็กไม่มีความ สามารถทีจ่ ะอธิบายความรูส้ กึ แย่ทเี่ กิดกับตนเอง ดังนีเ้ อง ครูแม่สม้ จึงไม่ได้สอนความรู้ แต่บอกว่า ลูกต้องสามารถเป็น “นักเขียน” ทีไ่ ม่ได้หมายความ ว่าเขียนหนังสือเป็นเล่ม แต่มคี วามหมายเฉพาะว่า มี “คลังคำ�” ที่สามารถบอกเล่าความรู้สึกภายใน ได้นั่นเอง


แววเล่าและอ่านในสถาบันดนตรี: “ศิลปะส่องทางให้แก่กัน”4

facebook.com/PGVIMLC

อีกหนึ่งกรณีของการเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่คือ เรือ่ งของชมรมวรรณกรรมในสถาบันดนตรี ผูร้ ว่ ม ก่อตัง้ ชมรม “แวว” สรัลดา เซียศิรวิ ฒั นา นักอ่าน นั ก เปี ย โน บั ณ ฑิ ต จบใหม่ จ ากสถาบั น ดนตรี กัลยาณิวัฒนา (Princess Galyani Vadhana Institute of Music: PGVIM) และเป็นนักศึกษา รุ่นแรกของสถาบันนี้ เล่าให้ฟังว่า ชมรม PGVIM Literary Club เพิ่งเริ่มก่อตั้ง เมือ่ ปี พ.ศ. 2560 เพือ่ ส่งเสริมการอ่านและการเขียน ดำ�เนินกิจกรรมโดยนักศึกษาสถาบันดนตรีฯ ที่ เปิดให้บคุ คลภายนอกมีสว่ นร่วมได้ กลุม่ เป้าหมาย มีสองกลุม่ คือกลุม่ ของนักเรียนดนตรี/ นักดนตรี และบุคคลทั่วไป มุ่งหวังให้นักดนตรีอ่านและ เขียนหนังสือมากขึน้ ได้รจู้ กั วรรณกรรมและเรือ่ ง ราวต่างๆ เพื่อจะได้เป็นนักดนตรีที่มีความรอบรู้ และมีคณุ ภาพ ได้เขียนเล่าเรือ่ งราวของตัวเองให้ บุคคลทัว่ ไปได้ทราบถึงมุมมองและการใช้ชวี ติ ของ นักดนตรี ไปจนถึงการได้รู้จักดนตรีและดนตรี คลาสสิกมากขึ้น ชมรมมีธีมหนังสือคือวรรณกรรมที่เกี่ยวกับ ดนตรี เพื่อเป็นแนวทางให้สำ�หรับคนที่ยังไม่รู้ว่า จะอ่านอะไร เพราะเชื่อว่าการปลูกฝังความรัก ในการอ่าน ควรเริ่มจากเรื่องใกล้ตัวที่สนใจก่อน แล้วค่อยต่อยอดขยายความสนใจออกไป ชมรมยังใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นพื้นที่ใน การนำ�เสนอและอัพเดทความเคลื่อนไหวต่างๆ

กิจกรรมของชมรมมีมากมายและคึกคักตลอด เวลา เช่น การรีวิวหนังสือตามความสนใจของ แต่ละคน มีการทำ�คลิปเป็นตอนสั้นๆ นำ�เสนอ กิจกรรมของชมรมและเรื่องที่น่าสนใจ ซึ่งขณะนี้ ทำ�ไปแล้ว 7 ตอน และยังมีสกู๊ปพิเศษสั้นๆ นอกจากนี้ยังมีงานเขียนของสมาชิกในชมรมที่ โพสต์ให้อ่านกันลงในเพจ ซึ่งจะตีพิมพ์หนังสือ รวมเล่มงานเขียนเป็นรายปี มีทั้งการพาเที่ยว พาชมร้านหนังสือ ห้องสมุดต่างๆ ทัง้ ในกรุงเทพฯ ต่างจังหวัด หรือไกลถึงสหราชอาณาจักรอย่าง ลอนดอนและฮัดเดอร์สฟิลด์ก็ไปกันมาแล้ว หรือ ในโลกออฟไลน์ก็จัดกิจกรรม Blind Book Date เมื่อวันวาเลนไทน์และไวท์เดย์ในสถาบันดนตรี ฯลฯ ล่าสุดเพิง่ มีการจัดกิจกรรมนอกสถานที่ โดย เป็นการเปิดตัวครั้งแรกของชมรมฯ นั่นคืองาน “ดนตรีคลาสสิกในเขาวงกต” เป็นการนำ�ดนตรีจาก ในนวนิยายรางวัลซีไรต์ ไส้เดือนตาบอดในเขาวงกต มาบรรเลงสดในร้านหนังสือก็องดิด โดยเพื่อนๆ นักดนตรีในชมรมฯ แถมยังชวนคุณโตมร ศุขปรีชา มาเล่นเปียโนเพลงของโชแปง และพี่บอนเน่จาก โครงการ The Book Fairies Thailand มาเล่น ดนตรีด้วยกัน หลังจากการแสดงดนตรี ก็มกี าร จัดเสวนาให้มานัง่ คุยกันกับคุณวีรพร นิติประภา (ผูเ้ ขียน) คุณโตมร และพีแ่ ป๊ด เจ้าของร้านหนังสือ ก็องดิด เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ที่ผ่านมา แววได้เล่าถึงความเคลือ่ นไหวอืน่ ของคนรุน่ ใหม่ ในวงการดนตรีคลาสสิก ยกตัวอย่างกรณีศึกษา เช่น วง Musica per Tutti Symphony Orchestra

4 คำ�กล่าวของ ศ.ดร. เจตนา นาควัชระ CREATIVE THAILAND I 17

(MPTSO) ที่ท�ำ ออร์เคสตราให้คนทัว่ ไปรูจ้ กั ด้วยการ นำ�ดนตรีไปโยงกับสำ�รับอาหาร ขยายฐานกลุม่ ผูฟ้ งั ออกไปไม่ให้จำ�กัดอยู่แค่เฉพาะกลุ่ม นอกจากนี้ การเรี ย นรู้ข องคนรุ่น ใหม่ ไ ม่ ไ ด้ สุด แค่ ท่ีค วาม เชีย่ วชาญเฉพาะด้านเท่านัน้ นักศึกษาสถาบันดนตรี กัลยาณิวฒั นาได้ทดลองเชือ่ มโยงดนตรีกบั ศิลปะ แขนงต่างๆ ไม่ว่าจะสื่อภาพเคลื่อนไหว การเต้น วรรณกรรม/บทกวี ภาพวาด ความรูด้ า้ นสังคมวิทยา สตรีศกึ ษา ฯลฯ ในงาน Junior และ Senior Recital (การแสดงดนตรีเดี่ยวเพื่อจบปี 3 และปี 4) สุดท้ายแววกำ�ลังจะไปศึกษาต่อทางด้าน ภาษา ทุกคนรอบตัวก็มกั จะประหลาดใจว่าทำ�ไม ไม่เรียนต่อทางด้านดนตรีแล้ว แต่แววอยากฝาก บอกทุกคนว่า “ที่จริงแล้วทุกสิ่งบนโลกใบนี้ล้วน เป็นเรื่องเดียวกัน ที่เราเรียนด้านภาษา การแปล ก็เพราะว่าอยากจะมาทำ�เนือ้ หาและเรือ่ งราวทาง ด้านดนตรีคลาสสิกให้มีเป็นภาษาไทยมากขึ้น เป็นการย้อนกลับมาทำ�สิ่งที่ตัวเองรักด้วยความ ถนัดของตัวเองจริงๆ ไม่จำ�เป็นว่านักดนตรีที่จบ ทางด้านดนตรีมา ทุกคนจะต้องเป็นนักแสดง ดนตรี (performer) คนส่วนใหญ่มักจะมีวิธีคิด กันแบบนี้ ทำ�ให้วงการดนตรีในบ้านเราขาดแคลน นักวิชาการทางด้านดนตรี นักดนตรีวิทยาที่มี คุณภาพ หรือรวมไปถึงนักดนตรีทที่ �ำ อย่างอืน่ ได้” “ปัญหาของยุคสมัยนี้คือศาสตร์สาขาต่างๆ ถูก แบ่งแยกออกจากกัน ทำ�ให้เรามองไม่เห็นความ เชือ่ มโยงของสิง่ ต่างๆ บนโลก เราไม่อาจรูท้ กุ เรือ่ ง แต่การเรียนรูส้ ง่ิ ต่างๆ ให้มากทีส่ ดุ เท่าที่จะมากได้ ก็เพือ่ ทีจ่ ะต่อจิก๊ ซอว์ของความจริงให้เห็นเป็นภาพ ที่กว้างขึ้น เพราะเมื่อเราเรียนดนตรี เราไม่ได้ เรียนรู้เพียงแค่ดนตรี แต่เราเรียนรู้ศิลปะ เรียนรู้ ความเป็นมนุษย์ และทำ�ความเข้าใจในชีวิตและ โลกไปด้วยในเวลาเดียวกัน” หงส์-ชณิตา ผลอุดม รุน่ น้องเอกวิโอลา ปี 2 จากสถาบันเดียวกัน กล่าวเสริมว่า “ดนตรีไม่ใช่ ศาสตร์เดียว เพราะเมื่อมองลึกลงไป มีศาสตร์ อี ก มากมายที่ แ ฝงตั ว อยู่ อ ย่ า งแนบเนี ย น ทั้ ง สั ง คมศาสตร์ คณิ ต ศาสตร์ วิ ท ยาศาสตร์ ภาษาศาสตร์ ศิลปศาสตร์ และอืน่ ๆ อีกมากมาย ทีส่ �ำ คัญดนตรีสอนทักษะบางอย่าง มันเป็นทักษะ ที่สามารถเรียนรู้ได้จากประสบการณ์ตรงเท่านั้น มันฝึกความอดทน ความมีระเบียบวินัย ทักษะ การคิดวิเคราะห์ การจัดการเวลา การทำ�งานร่วม กับผู้อื่น การฝึกที่จะอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ยกตน เป็นใหญ่ และพยายามหาความรูใ้ หม่ๆ เข้ามาเสมอ”


แซนกับมหาวิทยาลัยวิศวภารตี: ให้ธรรมชาติและความหลากหลาย จุดประกายศิลปะ

เมื่อกล่าวถึงการเรียนรู้ข้ามพรมแดน ไม่ว่าจะ พรมแดนศิลปะหลากหลายแขนง พรมแดนของ เชือ้ ชาติ อีกคนหนึง่ ทีผ่ มอดนึกถึงไม่ได้คอื “แซน” สุวัลญา ศักดิ์สมบัติ แซนเป็นจิตรกรรุน่ ใหม่ทผี่ มได้รว่ มงานด้วย เมือ่ ปีทแ่ี ล้ว ปีนน้ั ผมกำ�ลังทำ�หนังสือแปล ชาตินยิ ม (Nationalism) ที่รวบรวมบทบรรยายของกวีเอก ชาวอินเดีย ผูไ้ ด้รบั รางวัลโนเบลคนแรกของเอเชีย รพินทรนาถ ฐากูร (Rabindranath Tagore) เนื้อหาของการบรรยายกล่าวถึงความจำ�เป็นที่ มนุษย์ต้องข้ามพ้นการแบ่งแยกเชื้อชาติ และหัน เข้าหาธรรมชาติ ท่านกวี “คุรเุ ทพ” แสดงถ้อยกถา ดังนีใ้ นญีป่ นุ่ และสหรัฐอเมริกา ระหว่างสงครามโลก ครั้งที่หนึ่ง ในปี ค.ศ. 1916-17 ร้อยปีถัดมา ผม ตัง้ ใจทำ�ฉบับแปลของเล่มนีใ้ ห้เป็นวาระพิเศษ แต่ เนื้อหาหนังสือนั้นหนักมาก ต้องการงานศิลปะ เพื่อพักสายตา เป็นช่องว่างให้ได้คิด ผมจึงเริ่ม ค้นหาศิลปินที่น่าจะตอบโจทย์นี้ได้ แล้วก็ไปค้น

พบแซน ซึ่งกำ�ลังศึกษาต่อด้านจิตรกรรมอยู่ที่ มหาวิทยาลัยวิศวภารตี (Visva-Bharati University) มหาวิทยาลัยที่ท่านรพินทรนาถ ฐากูร ก่อตั้ง แถมทุนรอนในการก่อตัง้ มหาวิทยาลัยแห่งนี้ ก็มา จากค่าตัวที่ท่านได้จากการบรรยายหนังสือเรื่อง ชาตินิยม แซนเป็นศิลปินสาวรุ่นใหม่ที่กล้าทดลอง กล้าเรียนรู้ กล้าใช้ชวี ติ ไดอารี่ของเธอบันทึกเรือ่ งราว ของคนต่างทีต่ า่ งถิน่ ด้วยสีและลายเส้นทีอ่ อ่ นโยน สดใส สีที่เธอระบายนั้นเป็นสีธรรมชาติ ไม่ใช่สีที่ มีองค์ประกอบของเคมีสมัยใหม่ นอกจากสีแล้ว เธอยังพยายามทดลองทำ�กระดาษเพื่อรองรับสี ของเธอด้วยฝีมือเธอเอง อันเป็นความเอาใจใส่ที่ หาได้ยากในโลกอุตสาหกรรมปัจจุบัน แซนยัง ซึมซับงานฝีมือของเบงกอลจากฝีมือชาวบ้าน ธรรมดาทีห่ ัวใจใฝ่ศิลปะมาอย่างเต็มที่ ทัง้ ยังเคย เดินทางด้วยรถไฟไปถึงตอนใต้ของอินเดียเพือ่ ไป เรียนรูก้ ระบวนการทำ�หนังสือแบบงานฝีมอื ทัง้ เล่ม ที่ Tara Books เธอเคยเขียนบันทึกไว้กอ่ นไปเรียน ทีอ่ นิ เดียว่า “วันหนึง่ ฉันนัง่ ใต้ตน้ ไทร ทบทวนความ ทรงจำ�ของเช้าวันที่นํ้าเต็มปริ่มริมคลองอัมพวา CREATIVE THAILAND I 18

หน้าบ้าน ฉันค่อยๆ หยิบพู่กันล้างสีนํ้ามัน เทนํ้า ล้างพูก่ นั สีขนุ่ ๆ กับนํา้ มันสนสีตนุ่ ค่อยๆ กระจาย เป็นวงกว้างออกไป ฉันมองสายนํา้ ทีห่ ล่อเลีย้ งฉัน มาตั้งแต่เกิดอย่างสลดใจ ฉันถามตัวเองว่านี่ฉัน กำ�ลังทำ�อะไรอยู่กับสายนํ้าที่เป็นเหมือนกับแม่ ของตัวเอง...ทีเ่ ป็นเหมือนกับสายเลือดของตัวเอง ฉันมองที่มือของตัวเอง มือที่แพ้ง่ายแตกทุกนิ้ว บางนิ้วมีเลือดไหลซิบๆ เหตุจากการแพ้สารเคมี ในสีและนํ้ามันสน...ฉันสับสนและตั้งคำ�ถามกับ ตัวเองว่า ‘นี่ฉันกำ�ลังทำ�อะไรอยู่’ หลายปีแล้ว หลังจากเรียนจบที่ฉันหันหลังให้กับแคนวาสและ สีนํ้ามัน” แต่กว่าแซนจะตัดสินใจไปเรียนรู้ชีวิตและ ศิลปะในอินเดียนั้น เธอก็ต้องชั่งนํ้าหนักระหว่าง ทางเลือกชีวติ ด้านหนึง่ คือการใช้ชวี ติ ตามแบบแผน อันเริ่มจากการสอบบรรจุรับราชการ ทำ�งาน เก็บเงิน ซื้อรถ ซื้อบ้าน ไปเรื่อยๆ แซนคิดว่าจะ ดำ�เนินไปแบบนีไ้ ด้จนถึงวัยเกษียณหรือไม่ อีกด้าน ใจเธอก็ครุน่ คิดถึงมหาวิทยาลัยวิศวภารตี โรงเรียน ใต้รม่ ไม้ในเมืองศานตินเิ กตัน เธอหยิบหนังสือกวี นิพนธ์ คีตาญชลี ของท่านรพินทรนาถมาพลิก


Akson

ไปมา อ่านเข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง แล้วทันใดก็ ตัดสินใจเก็บกระเป๋าเดินทางไปศานตินเิ กตันทันที มหาวิทยาลัยวิศวภารตีนั้น มีลักษณะที่ สอดคล้องกับทัศนะของท่านรพินทรนาถ ทีไ่ ม่เชือ่ เรื่ อ งกฎเกณฑ์ อั น เคร่ ง ครั ด ของโรงเรี ย นแบบ ตะวันตก ในวัยเยาว์ทา่ นถูกส่งไปเรียนในโรงเรียน ที่อังกฤษ การเรียนในระบบเป็นประสบการณ์ที่ ขมขืน่ สำ�หรับท่าน เมือ่ ท่านเรียนต่อใน University College London ท่านก็ตอ้ งเลิกเรียนกลางคันอีก แต่ทา่ นจดจำ�การเรียนรูต้ ามอัธยาศัยในครอบครัว ท่านท่ามกลางธรรมชาติและศิลปะได้เสมอ ท่าน จึงเชื่อในเรื่องอิสรภาพทางการศึกษาว่า ผู้เรียน ทุกคนสามารถเลือกที่จะเรียนรู้และพัฒนาความ สามารถได้ด้วยตัวเอง ผู้เรียนต้องมีอิสรภาพแม้ อยู่ภายในโรงเรียน ปัจจุบนั ภายในมหาวิทยาลัยวิศวภารตีรม่ รืน่ ด้วยต้นไม้ โดยมีสภาพแวดล้อมเป็นทีอ่ ยูข่ องสัตว์ นานาชนิด เช่น สุนขั ลิง กระรอก ลักษณะอาคาร และการตกแต่งลวดลายบนผนังอาคารกลมกลืน ไปกับธรรมชาติรอบอาคาร อาคารเรียนวาดลาย บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ของแต่ละภาควิชา บริเวณ ด้านหน้าอาคารเรียนตกแต่งด้วยผลงานชิ้นใหญ่ ตามชนิ ด ภาควิ ช าที่ อ าคารนั้ น จั ด การสอน ส่วนอาคารทีพ่ กั นักศึกษาตกแต่งพืน้ ผนังด้วยสีด�ำ วาดลายต้นไม้ให้กลมกลืนไปกับบรรดาต้นไม้ รายรอบ การเรียนระดับก่อนมหาวิทยาลัยจะ เป็นการนั่งล้อมวงใต้ต้นไม้ นั่งได้ไม่เกิน 30 คน ระดับมหาวิทยาลัยจะเรียนในห้องที่มีจิตรกรรม ฝาผนัง ผูเ้ รียนผูส้ อนประชุมกันใต้ตน้ ไม้เป็นปกติ

พบเห็นได้ตลอด แต่ละภาควิชามีจ�ำ นวนนักศึกษา น้อยมาก เช่น ภาควิชาสิง่ ทอมีนกั ศึกษาเพียง 6 คน ภาควิชาจิตรกรรมมีนักศึกษา 14 คน (ข้อมูลปี พ.ศ. 2561) นักศึกษาในที่น้ีมีความหลากหลาย ทางเชื้อชาติ ศิษย์เก่าคนไทยที่สำ�คัญมากของ ที่นี่คือเฟื้อ หริพิทักษ์ ศิลปินแห่งชาติ นักศึกษา ที่นี่ส่วนใหญ่เดินทางด้วยการปั่นจักรยาน รองลง มาคือจักรยานยนต์ และเดิน ส่วนพื้นที่รอบ มหาวิทยาลัยเป็นพื้นที่ชุมชน มีร้านขายของชำ� เล็กๆ ของชาวบ้านที่มีบ้านอยู่แถวนี้ มีซอยร้าน ขายของทีร่ ะลึกสำ�หรับแขกทีม่ าเยือนมหาวิทยาลัย ซึ่งอยู่ข้างถนนก่อนเลี้ยวเข้าสู่มหาวิทยาลัย และ มีตลาดนัดยามเย็นสำ�หรับขายสินค้าทำ�มือโดย ชาวบ้านศานตินิเกตัน ถือเป็นนโยบายช่วยเหลือ เศรษฐกิจภายในชุมชน ในตลาดยังมีการแสดง ดนตรีพื้นเมืองและการเต้นพื้นเมือง ในมหาวิทยาลัยทีม่ บี รรยากาศแห่งธรรมชาติ และความหลากหลายนี้เอง แซนได้วาดและลงสี ภาพประกอบหนังสือชาตินยิ ม ทีข่ า้ มพ้นการแบ่ง ด้วยชาติมาให้ และยังออกแบบปกที่แสดงถึง ความผสานสอดคล้องของสิ่งที่แตกต่าง ผ้าป่าน ซึ่งแสดงถึงตะวันออกและผ้ายีนส์ซึ่งแสดงถึง ตะวันตก ถูกนำ�มาเย็บไว้ด้วยกันให้กลายเป็น ทัศนียภาพเดียวกัน บัดนี้แซนกลับมาที่เมืองไทย แล้ว พร้อมกับผลงานหนังสือ A Journey of Natural Colours from Thailand to India ที่ บ่งบอกการเรียนรู้และแรงบันดาลใจของเธอเอง และพร้อมสำ�หรับงานสร้างสรรค์ รวมถึงจัดเวิรค์ ช็อป สำ�หรับการเรียนรู้ศิลปะต่อไป

“ฟังเขาให้มาก”

กรณีทไี่ ด้น�ำ เสนอไปนัน้ คงยากทีจ่ ะสรุปเป็นสูตร สำ�เร็จหรือเป็นโมเดลให้ไปใช้ตอ่ แต่ลกั ษณะทีเ่ รา สัมผัสได้คือความมีชีวิตและชีวิตที่งอกเงยอย่าง เป็นมนุษย์ ทีส่ ง่ ต่อกันจากรุน่ สูร่ นุ่ และไม่มที ส่ี น้ิ สุด พลังแห่งมนุษย์นี้เป็นอย่างที่ปราชญ์ชาวญี่ปุ่น โอคะคุระ คะคุโซ (Okakura Kakuzo) กล่าวว่า “เขาเป็นมนุษย์เมือ่ ยกระดับขึน้ เหนือความจำ�เป็น ขัน้ พืน้ ฐานตามธรรมชาติ เขาเข้าสูอ่ าณาจักรแห่ง ศิลปะเมือ่ สามารถรับรูค้ ณุ ค่าอันละเมียดละไมใน สิ่งที่ดูไร้ค่า”5 แล้ ว ในบรรยากาศของการศึ ก ษาที่ ก าร ขับเคี่ยวแข่งขันรุนแรงมากขึ้น เราจะทำ�สิ่งใดให้ คนรุ่นต่อไปได้เล่า บางทีการที่เราคิดเป็นระบบ แทนเขา อาจจะทำ�ให้ปัญหาซับซ้อนขึ้นไปอีก ไม่ต่างจากระบบการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย ในปั จ จุ บั น ผมนึ ก ถึ ง ครั้ ง เมื่ อ นั ก การศึ ก ษา ปาสิ ซอห์ลเบิร์ก (Pasi Sahlberg) จากประเทศ ฟินแลนด์ที่เป็นต้นแบบการปฏิรูปการศึกษามา บรรยายทีจ่ ฬุ าฯ6 เมือ่ ถูกถามว่าถ้าท่านเป็นรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ ท่านจะทำ�อะไร เขาตอบว่า เขาจะเริม่ ต้นจากการลงไปคุยกับทุกคน เช่นเดียวกัน เมื่อต้องพูดถึงคนรุ่นใหม่ ปัญญาชนสยามและ ครูของผม สุลักษณ์ ศิวรักษ์ บอกว่า “เราต้องฟัง เขาให้มาก”

5 จากหนังสือ The Book of Tea ตีพิมพ์ปี ค.ศ. 1906 6 openworlds book talk เรือ่ ง “Finnish Lessons 2.0 บทเรียนการปฏิรปู การศึกษาจากฟินแลนด์” บ่ายวันศุกร์ท่ี 9 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ณ ห้อง 111 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย CREATIVE THAILAND I 19


Martin Sanchez

Insight : อินไซต์

แม้การพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของปัญญาประดิษฐ์หรือ Artificial Intelligence (AI) จะดู ‘น่ากลัว’ ว่าสักวันหนึ่งมันอาจแทนที่มนุษย์ในงานหลายๆ อย่าง แต่ใน เรื่องการศึกษาและการเรียนรู้ AI นับว่ามีประโยชน์หลายอย่างทีเดียว เพราะ AI ‘เปลี่ยนวิธีเรียน’ และ ‘เปลี่ยนวิธีสอน’ บางอย่างที่แม้อาจจะยังไม่เห็นในระบบ การศึกษาของประเทศไทย แต่เชือ่ ว่าอีกไม่นานเกินรอแน่นอนทีเ่ ด็กรุน่ ใหม่จะได้พบ กับการเรียนการสอนของคุณครู AI เหล่านี้ เรื่อง: กรณิศ รัตนามหัทธนะ

เริม่ ตัง้ แต่ท่ี AI ทำ�ให้วธิ เี รียนเปลีย่ นไป จากวิธเี ดิมๆ ในอดีตทีน่ กั เรียนจะต้องเดินทางไปโรงเรียน นัง่ โต๊ะ ฟังครูสอนหน้าห้อง แล้วจดบันทึก มาสู่รูปแบบ การเรียนรู้ใหม่ๆ ที่ปฏิวัติระบบการศึกษาไปโดย สิ้นเชิง นอกจากนี้ AI ยังช่วยให้คุณครูสามารถ ลดเวลาทำ�งานต่างๆ เช่น งานที่ต้องทำ�ซํ้าไป ซํ้ามา หรืองานจัดเก็บเอกสารได้อีกด้วย มีการคาดการณ์กนั ว่า การใช้ AI ในกิจกรรม ทางการศึกษาจะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 48 จนกระทั่ง CREATIVE THAILAND I 20

ถึงปี 2021 ผลกระทบเชิงบวกของ AI จะปรากฏ ให้เห็นตัง้ แต่การเรียนของเด็กๆ ชัน้ อนุบาลจนถึง การศึกษาขั้นสูง ทั้งจะมีการสร้างสรรค์เครื่องมือ เพื่อการเรียนรู้อีกหลายอย่าง และบางอย่างจะ สามารถปรับให้เข้ากับผู้เรียนเป็นรายบุคคลได้ (Personalized Tool) เพื่อให้ได้ผลด้านการเรียน สูงสุด ต่อไปนีค้ อื ประโยชน์ของ AI ในภาคการศึกษา ที่เห็นชัดที่สุด


AI เป็นอาจารย์ “เสมือนจริง” ได้

AI ช่วยลดเวลาทำ�งานซํ้าๆ

AI ช่วยจัดการงานที่ต้องทำ�ซํ้าๆ หรืองานแบบ ที่เราเรียกกันว่า ‘งานแอดมิน’ สำ�หรับคุณครู ได้ กิจกรรมที่ครูอาจารย์ต้องใช้เวลามากที่สุด หนีไม่พน้ การตรวจการบ้าน ให้คะแนนเรียงความ และให้ค�ำ ปรึกษาแก่นกั เรียน AI ช่วยได้ในบางเรือ่ ง เช่น ตรวจงานที่เป็นแบบตัวเลือก (Multiple Choice) เพื่อให้อาจารย์มีเวลาไปให้คำ�ปรึกษา แบบตั ว ต่ อ ตั ว กั บ นั ก เรี ย นมากขึ้ น นั ก พั ฒ นา ซอฟต์ แ วร์ กำ � ลั ง หาวิ ธี ต รวจงานที่ เ ป็ น แบบ เขียนตอบ (Essay) แม้แต่กระบวนการรับนักเรียน เข้าเรียน (Admission) ก็ใช้ AI ช่วยจัดการและ จำ�แนกงานเอกสารต่างๆ ได้

AI ช่วยครูสร้างสรรค์เนื้อหา สำ�หรับสอน

ปัจจุบนั AI สร้าง ‘เนือ้ หาการสอน’ ทีใ่ ช้ไวยากรณ์ ถูกต้องได้ดีเยี่ยมพอๆ กับครูที่เป็นมนุษย์ อีกทั้ง ยังช่วยทำ�อีบุ๊ก (e-book) สร้างช่องทางเรียนรู้ แบบดิจิทัลที่เหมาะแก่นักเรียนในช่วงอายุต่างๆ ระบบที่ใช้กันอยู่เช่น Cram101 คือระบบที่ AI ประมวลเนื้อหาทั้งหมดในหนังสือเรียน แล้วทำ� เป็ น แนวเนื้ อ หาการเรี ย นการสอนที่ มี เ นื้ อ หา ย่อยง่าย มีบทสรุปของทุกบท มีแบบทดสอบ และ บัตรคำ� (Flashcards) สำ�หรับให้นักเรียนใช้เรียน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนอีกเครื่องมือหนึ่ง ที่ชื่อ Netex Learning ช่วยอาจารย์ผู้สอนในการ

ออกแบบหลักสูตรการเรียนการสอนโดยใช้อปุ กรณ์ ช่วยหลายชนิด เช่น สื่อเสียง (Audio) วิดีโอ และ มีผู้ช่วยออนไลน์ นอกจากนี้ การสอนแบบวิดีโอ คอนเฟอเรนซ์ ก็เป็นอีกรูปแบบของ AI ที่ถูกนำ� มาใช้กันอย่างแพร่หลายมากขึ้นเรื่อยๆ การ พัฒนาของ AI ทำ�ให้มีแอพพลิเคชันสารพัดที่ ช่วยให้นักเรียนไม่ต้องเดินทางมาถึงห้องเรียน เพียงแค่มคี อมพิวเตอร์หรือสมาร์ตโฟนก็สามารถ เรียนได้จากทุกที่ทุกเวลา

AI ช่วยเป็นติวเตอร์ประสิทธิภาพสูง

AI มีความสามารถช่วยติวนักเรียนโดยคำ�นึง ถึงปัญหาของผู้เรียนเป็นรายบุคคลได้ ช่วยลด ข้อจำ�กัดหลายอย่างในการไปติวหรือขอความ ช่วยเหลือจากอาจารย์ เช่น การที่เวลาว่างของ อาจารย์แต่ละท่านอาจมีจำ�กัด บางครั้งนักเรียน ไปเข้าพบแต่อาจารย์ไม่วา่ ง หรืออาจารย์ตอ้ งดูแล นักเรียนหลายๆ คนพร้อมกัน แต่โปรแกรมติวเตอร์ อย่าง Carnegie Learning สามารถประมวลผล ข้อมูลทางการเรียนของนักเรียนแต่ละคน เพือ่ ให้ คำ�แนะนำ�ได้แบบตัวต่อตัว แม้โปรแกรมนี้จะยัง อยูใ่ นระยะเริม่ ต้นพัฒนา แต่อกี ไม่นานก็จะกลาย เป็น “อาจารย์ดิจิทัล” อย่างเต็มตัวเพื่อช่วยเหลือ นักเรียนนักศึกษาให้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ มากขึน้ จากการวิเคราะห์ขอ้ มูลส่วนตัวของเด็กๆ แต่ละคน ที่แม้แต่อาจารย์ตัวจริงก็อาจจะทำ�ได้ ไม่ดีเท่า CREATIVE THAILAND I 21

สักวันหนึ่งข้างหน้า อาจารย์ตัวจริงอาจถูกแทนที่ โดยอาจารย์หุ่นยนต์ แม้ในขณะนี้ บุคลากรบาง อาชี พ ก็ ถู ก แทนที่ ด้ ว ยหุ่ น ยนต์ ไ ปแล้ ว เช่ น มัคคุเทศก์ ทีม่ กี ารนำ�ระบบนำ�เทีย่ วด้วยเสียงหรือ AR และ VR เข้ามาเสริมประสบการณ์การท่องเทีย่ ว แบบไม่ตอ้ งใช้มคั คุเทศก์ หรือพนักงานประสานงาน ด้านต่างๆ ที่ AI สามารถทำ�หน้าที่แทนได้อย่าง แม่นยำ� เพราะหุ่นยนต์เหล่านี้ ‘คิด’ ได้ จึงมี ปฏิสมั พันธ์กบั มนุษย์ได้ดมี ากขึน้ เรือ่ ยๆ มหาวิทยาลัย บางแห่งเช่น University of Southern California Institute for Creative Technologies ได้พัฒนา สภาพแวดล้อมเสมือนจริงและเครื่องมือเสมือน จริง (Visual Environments and Platforms) ที่ ‘ฉลาด’ โดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ เกมสามมิติ และ คอมพิวเตอร์แอนิเมชันเพื่อสร้างสภาพแวดล้อม ดังกล่าวสำ�หรับใช้ในการเรียน ดังนั้นในอนาคต ‘คน’ ที่ยืนบรรยายอยู่หน้าห้อง อาจไม่ใช่ ‘คน’ จริงๆ ทีม่ เี ลือดเนือ้ แต่จะแปลกอะไรหากหุน่ ยนต์ ก็ให้ความรู้ได้ไม่ต่างจากคน และอาจารย์ที่เป็น คนจริงๆ ต่างหาก ที่กำ�ลังถูกท้าทายให้ต้องรีบ ปรับตัว เพราะอีกไม่นาน ประโยชน์ขอ้ นีข้ องปัญญา ประดิษฐ์ อาจทำ�ให้คุณไม่มีงานทำ�ก็เป็นได้ อย่างไรก็ตาม แม้ AI จะเข้ามาทำ�หน้าที่ใน ระบบการศึกษาได้ดีและครอบคลุมเกือบทุกด้าน และยังท้าทายอำ�นาจและอาชีพในระบบเดิมอย่าง ครู อาจารย์ หรือผู้บริหารสถาบันการศึกษาด้วย แต่ถึงอย่างนั้น การจะปล่อยให้ AI ทำ�หน้าที่ ที่สำ�คัญอย่างยิ่งในการหล่อหลอมอนาคตของ มวลมนุษยชาติ ก็จำ�เป็นต้องได้รับการควบคุม ดูแลทีด่ มี ากพอ โดยเฉพาะต้องไม่ลมื ว่า การที่ AI จะคิดเป็นและถ่ายทอดได้นน้ั จะต้องมาจากการที่ มนุษย์ ‘สอน’ และป้อนข้อมูลทีถ่ กู ต้องและเหมาะสม ให้กับ AI ไม่เช่นนั้น AI ก็คงมีสภาพไม่ต่างจาก เด็กมีปญั หาทีส่ บั สนกับข้อมูลจำ�นวนมหาศาลซึง่ ไม่ได้ผ่านการคัดกรองที่ดีพอนั่นเอง ที่มา: บทความ “4 Ways AI is Changing the Education Industry” (14 เมษายน 2018) โดย Karl Utermohlen จาก towardsdatascience.com / บทความ “How AI Impacts Education” (27 ธันวาคม 2017) โดย Adrien Schmidt จาก forbes.com


Creative Startup : เริ่มต้นคิด

โรงเรียนสอนวิชาชีวิตของเด็กยุคใหม่ เรื่อง: กรณิศ รัตนามหัทธนะ ภาพ: ภีร์รา ดิษฐากรณ์

พ่อแม่ยคุ ไหนๆ ก็ลว้ นอยากให้ลกู เป็นเด็ก ‘เก่งและดี’ แต่ยง่ิ โลกหมุนเร็วขึน้ เด็กๆ โตมาพร้อมกับเทคโนโลยีสารพัดและข้อมูล มหาศาล เรากลับพบเห็นปัญหาของ ‘เด็กรุน่ ใหม่’ อยูเ่ นืองๆ เช่น ทำ�งานไม่เป็น สือ่ สารไม่รเู้ รือ่ ง ความรับผิดชอบตํา่ สมาธิสน้ั อยากรวยเร็ว ติดเกม ติดมือถือ หรือเป็นโรคซึมเศร้าเพราะหาทางออกจากปัญหาชีวติ ทีร่ มุ เร้าไม่ได้ ทำ�ให้เกิดคำ�ถามว่า แล้วเรา ต้องเตรียมทักษะอะไรให้เด็กยุคนีบ้ า้ ง เพือ่ ให้เอาตัวรอดในสังคมได้

วิชาแรก วิชาชีวิต

“Technical Skill คือคุณเรียนหนังสือ เทควันโด ดนตรี เรียนเทคนิคบางอย่าง เพื่อนำ�ไปใช้ เรียนเพื่อเป็นวิศวกรหรือหมอ แต่มันมีอีกด้านคือ Life Skill สิง่ นีโ้ รงเรียนมักไม่ได้สอน แต่ปล่อยให้เด็กลองผิดลองถูกกันเอง คือการรูว้ า่ อะไรควรไม่ควร จะเอาตัวรอดในสังคมนี้ยังไง เด็กคนไหนบังเอิญเกิดมา คิดเป็น ก็ดีไป แต่ไม่ใช่ทุกคนจะมีทักษะตรงนี้ ผมพยายามสอนให้เด็ก คิดเป็น สมมติเขาชอบเล่นเกมคอมพิวเตอร์ ก็ต้องวิเคราะห์ให้เป็นว่าข้อดี และข้อเสียของการเล่นเกมมีอะไรบ้าง ต้องมีเหตุมีผล” คุณเป๊ก (ปิติ คุณกฤตยากร) ผู้สอนและหนึ่งในหุ้นส่วนของ insThink Learning กล่าว

“ทีน่ เี่ ราใช้หลัก Six Thinking Hats ในการสอน ในแง่หนึง่ คือสอนให้เด็กเข้าใจ อารมณ์ตัวเอง ให้รู้ว่าเวลาเขาชอบอะไรบางอย่าง มันไม่ได้ดีไปหมด” คุณติก๊ (ณัฐญา ขันติวงวาร) ภรรยาคุณเป๊ก ผูด้ แู ลงานหลังบ้านของ insThink Learning เสริม “นั่นเป็นความคิดของเด็ก เวลาเขาชอบเกมนี้ ของเล่น ชิ้นนี้ มันไม่มีข้อเสียเลย ยังไงก็ต้องซื้อ ต้องได้มา แต่เราสอนให้เด็กมอง ทั้งสองมุม ให้เขารู้ว่ามันมีบวกกับลบเสมอ ทุกอย่างมีสองด้าน” โรงเรียนนี้ก่อตั้งมาแล้ว 7 ปี ก่อนหน้านั้น ทั้งคุณติ๊กและคุณเป๊กเป็น พนักงานบริษัทสายไอทีทั้งคู่ คุณเป๊กถูกส่งไปเรียนคอร์ส Six Thinking Hats ที่โด่งดังและนำ�กลับมาใช้กับทีมงานที่บริษัทจนเห็นการเปลี่ยนแปลง

CREATIVE THAILAND I 22


“ตอนนั้นรู้สึกชอบมาก เฮ้ย มีวิธีการแบบนี้ด้วย แล้วมันใช้ได้ผล ผมก็ ตั้งคำ�ถามกับตัวเองว่า ทำ�ไมเราเพิ่งได้เรียนเรื่องนี้ตอนอายุจะ 30 การเรียน ที่ผ่านมาของผมมีแต่เรื่องวิชาการ” คุณเป๊กเล่า ประกอบกับค้นพบความ ชอบของตัวเองที่ชอบทำ�งานกับเด็ก จึงตัดสินใจศึกษาเพิ่มเติมอย่างจริงจัง ทั้งอ่านหนังสือและลงทะเบียนเรียนเรื่องพัฒนาการเด็ก ติดต่อไปยังเจ้าของ ลิขสิทธิท์ ตี่ า่ งประเทศ เพือ่ นำ�แนวคิด Six Thinking Hats มาออกแบบหลักสูตร สำ�หรับเด็ก ปัจจุบัน insThink Learning มีหลักสูตรให้เลือก 3 แบบ คือ Thinking Skill, Public Speaking และ Board Games แต่ละหลักสูตรเริ่มที่อายุไม่ เท่ากันเพื่อให้ได้ผลเต็มเม็ดเต็มหน่วยที่สุด คุณติ๊กเปิดเผยว่า อาจมีการ พัฒนาหลักสูตรใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้อง และจัดคอร์สออนไลน์สำ�หรับน้องๆ ต่างจังหวัด การขยายสาขาก็เป็นแผนการหนึง่ แต่ตดิ ทีต่ อ้ งใช้เวลา ‘สร้างครู’ นานมากกว่าจะปล่อยให้คุมเด็กและคุยกับผู้ปกครองได้ เพราะที่นี่เน้นดูแล เด็กอย่างใกล้ชดิ มีการคุยกับผูป้ กครองหลังเรียนเพือ่ แจ้งว่า วันนีพ้ ฒั นาการ ลูกเป็นอย่างไรบ้าง

วิธีสอนที่เด็กบอกว่า ‘สนุก’! และได้ผล

ระหว่างการสัมภาษณ์ มีเสียงเฮ เสียงวิง่ และเสียงหัวเราะดังมาจากห้องข้างๆ เป็นระยะ เมือ่ คุณเป๊ก หรือ ‘ครูเป๊ก’ เปิดประตูเข้าไป จะมีเสียงโห่รอ้ งต้อนรับ ยินดีจากเด็กๆ แสดงให้เห็นว่านี่คือคนที่เด็กๆ ยอมรับ “สิ่งที่ผู้ปกครอง สมัยใหม่ต้องทำ�คือ เข้าไปอยู่ในโลกของเขาให้ได้ สมัยผมเด็กๆ พ่อแม่ ไม่เคยสนใจว่าอ่านการ์ตูนอะไร เล่นเกมอะไร ห้ามอย่างเดียว แต่ถ้าจะให้ เด็กเชื่อ เราต้องเป็นเพื่อนกับเขา” คุณเป๊กแนะนำ� “ลูกสาวผม 3 ขวบ กำ�ลัง ชอบดูการ์ตูน Peppa Pig เรานั่งดูกับลูกเลย แล้วสอนเขา เห็นไหม Peppa Pig ลงบ่อโคลนแล้วไม่อาบนํ้า มันจะเป็นอย่างไร เขาก็...อ๋อ คือเข้าใจเลย วิธีนี้ใช้ได้กับเด็กถึงวัยสิบกว่าขวบเลยนะครับ เมื่อเช้าผมคุยกับเด็กคนหนึ่ง เป็นชั่วโมง คุยเรื่องเกม เขาเป็นเด็กถามคำ�ตอบคำ� แต่เราต้องคุยเรื่องเดียว กับเขาให้ได้ ต้องเอาตัวไปทำ�สิ่งเดียวกับเขา ดังนั้นถึงผู้ปกครองจะไม่ชอบ ทำ�กิจกรรมนั้นๆ แต่ทำ�เถอะ ไม่ใช่เพื่อตัวคุณเอง แต่คุณกำ�ลังทำ�เพื่อลูก” วิธีสอนของที่นี่ ไม่ใช่การให้ครูยืนพูดที่หน้าห้อง แต่เป็นการคุยกันถึง สถานการณ์ต่างๆ ให้เด็กเขียนสิ่งที่คิดลงกระดาษ แล้วนำ�มาคุยกันทั้งห้อง คอร์สบอร์ดเกม ไม่ใช่เพียงการนั่งเล่นเกม แต่เป็นการโค้ชเด็กโดยใช้ บอร์ดเกมเป็นสื่อ เช่น วันนี้เล่นได้ดีอย่างไร ต้องพัฒนาอะไร พอเล่นไม่ได้ ดังใจแล้วเห็นอารมณ์ตัวเองหรือเปล่าว่า ‘ปรี๊ด’ แค่ไหน คำ�สะท้อนจากคุณพ่อคุณแม่คือ ลูกผ่านคอร์สนี้ไปแล้วกลายเป็นเด็ก นิ่งขึ้น อดทนกับสิ่งต่างๆ มากขึ้น เห็นวิธีคิดของตัวเอง เห็นจุดแข็งและ จุดอ่อนของวิธคี ดิ นัน้ ได้ฝกึ การวางแผนและประเมินผลงานของตัวเองอย่าง เป็นระบบ รู้แพ้รู้ชนะ ไม่ล้มเลิก ไม่ยอมแพ้กับความล้มเหลว “เราไม่ได้ตอ้ งการให้เด็กเล่นเกมเพือ่ ให้เป็นแชมป์บอร์ดเกม แต่จะสอน เรื่องการวางแผน การคิดเป็นระบบ การทำ�งานเป็นทีม เด็กหลายคน คุณพ่อคุณแม่อยากให้มาเรียน เพราะลูกเป็นคนแพ้ไม่เป็น ถ้าเล่นเกมกับ พ่อแม่ก็ต้องยอมให้เขาชนะ ไม่งั้นจะโมโห ซึ่งในชีวิตจริง เด็กต้องเรียนรู้ว่า ทุกอย่างมีแพ้มีชนะ คุณได้เรียนรู้อะไรบ้างล่ะ วันนี้อาจแพ้เพราะเดินหมาก พลาด แต่มันไม่ใช่จุดจบของชีวิต” คุณติ๊กกล่าว

ทักษะที่ต้องมีของเด็กยุคนี้

โรงเรียนลักษณะนี้ยังถือว่า ‘ใหม่’ สำ�หรับพ่อแม่ชาวไทย ที่มักเน้นให้ลูกมี ความแข็งแกร่งด้านวิชาการก่อน โรงเรียนที่สอนทักษะการคิดวิเคราะห์ พูด และวางแผน ถูกจัดให้มีความสำ�คัญรองลงมา แต่คุณติ๊กและคุณเป๊ก บอกว่า ยุคสมัยเปลี่ยนไปแล้ว “ตอนเด็กๆ เราท่องจำ�ไปสอบ แต่เด็กรุ่นนี้ ไม่ใช่ยุคท่องจำ�แล้วจะรอด ข้อมูลมีเยอะ เด็กต้องรู้ว่าจะไปหาข้อมูลที่ไหน และจะเอาข้อมูลมาใช้ประโยชน์ยงั ไงจึงจะตอบโจทย์ คำ�ถามคืออะไร เรายัง ขาดข้อมูลอะไร ถ้าเขายังเรียนแบบเดิม ยังไม่รู้วิธีจัดการข้อมูล โตไปเขาจะ เหนื่อย” คุณติ๊กกล่าวถึงสิ่งที่เด็กยุคนี้ต้องเผชิญ “เราสอนคอร์ส Young Speakers เพราะอยากให้เด็กสื่อสารรู้เรื่อง ทั้งการเขียน การพูด ถ้าทำ�ไม่ได้ก็เท่ากับนำ�เสนอไอเดียไม่ได้ เทียบกับคน ที่เก่งน้อยกว่าแต่นำ�เสนอเป็น เขาจะไปได้ไกลกว่า” คุณเป๊กเสริมว่า “เด็กยุคใหม่ต้องคิดเพื่อบริหารอารมณ์ตัวเองให้ได้ เวลาไม่ได้ดังใจ เวลาเสียโอกาส ผิดพลาด โมโห เขาล้มแล้วยืนได้ไหม พ่อแม่เลี้ยงเขาให้สู้หรือเปล่า ผมว่าสิ่งนี้ต้องมีไม่ว่าจะอายุเท่าไร พรสวรรค์ เป็นสิ่งดี แต่ถ้ามีแล้วไม่สู้ คุณไปไม่ถึงดวงดาวแน่นอน” “เด็กรุ่นนี้ ทุกอย่างมาง่ายและเร็ว ความอดทนตํ่าลง ความสู้เขาลดลง เยอะมาก มันคือสิ่งที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Grit ประมาณว่า สู้ไม่ถอย คือ วินัยก็ต้องมี แต่ Grit คือต้องไม่ยอมแพ้ แม้จะเจ็บแต่ต้องสู้ไป เด็กรุ่นนี้ขาด สิ่งนี้เยอะมาก ใครมี ผมบอกเลยว่าสบาย” “สิ่งที่ยังทำ�ให้ผมไปต่อ คือเมื่อได้คุยกับเด็ก แล้วรู้ว่าเขาได้ประโยชน์ จากสิ่งที่เราพยายามสอน เห็นการเปลี่ยนแปลงของเด็ก คือความคิดอ่าน ของพวกเขาทีเ่ ติบโตมาก นีท่ �ำ ให้ผมภูมใิ จ” คุณเป๊กปิดท้ายถึงเหตุผลสำ�คัญ ที่ทำ�ให้ insThink Learning ยังยืนหยัดอยุ่ในธุรกิจที่หลายครั้งต้องสู้งานหนัก แบบ 7 วันต่อสัปดาห์เช้ายันเย็น เพราะที่ยังทำ�งานนี้อยู่ไม่ใช่เหตุผลด้าน รายได้ แต่เป็นความภาคภูมิใจ insThink Learning ชั้น 6 Genius Planet Zone, CentralWorld insthinklearning.com และ fb.com/insthinklearning

CREATIVE THAILAND I 23


Creative City : จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

เรื่อง: วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ

CREATIVE THAILAND I 24

Matese Fields

“ในวันที่คุณนั่งเรียนและเตรียมตัวสอบ คุณคงหวังว่าจะ ไม่เจอเรือ่ งเซอร์ไพรส์อะไรในข้อสอบ ส่วนครูกค็ งจะคิดว่า พวกเขาเตรียมพร้อมทุกอย่างเพื่อให้เด็กๆ ทำ�ข้อสอบได้ แต่ในความเป็นจริง ทุกวันเต็มไปด้วยเรื่องเซอร์ ไพรส์ การศึกษาจึงควรเตรียมตัวให้เด็กรับมือกับเรือ่ งไม่คาดฝัน และความไม่มั่นคงที่ต้องเจอในอนาคต”


เก่งอย่างมีหัวใจ

จากข่าวสะเทือนวงการการแพทย์เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ คุณหมอ AI ชื่อว่า “ไบโอมายด์ (Biomind)” จาก ศูนย์วิจัยปัญญาประดิษฐ์เพื่อการวิจัยโรคทาง ประสาทประจำ�โรงพยาบาทปักกิ่งได้เอาชนะทีม หมอชัน้ นำ�ของประเทศจีนด้วยการวินจิ ฉัยโรคได้ แม่นยำ�กว่าทีมหมอตัวจริง คงจะสร้างความ หวาดวิตกให้หลายวิชาชีพไม่นอ้ ยว่า ขนาดคนเก่ง ระดับหัวกะทิและมีความเชีย่ วชาญสูงอย่างแพทย์ ยังอาจถูกแทนที่ด้วย AI ในอนาคต แต่หากลองจินตนาการในสถานการณ์จริงดู ว่า เมื่อเราถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคร้าย เราจะอยาก ให้คุณหมอ AI มาเผยความจริงที่น่าโหดร้ายและ สะเทือนจิตใจหรือไม่ คำ�ตอบก็คงจะไม่ เพราะ คุณหมอเสมือนจริงทีอ่ ยูต่ รงหน้าไม่ได้มหี วั ใจและ จิตวิญญาณเหมือนกับเรา การแสดงความเสียใจ ที่ถูกโปรแกรมมาคงไม่สามารถเยียวยาสภาพ จิตใจของเราให้ดขี นึ้ มาได้มากนัก ในสถานการณ์

อันอ่อนไหวเช่นนี้ ก็คงมีแต่มนุษย์ด้วยกันเท่านั้น ทีจ่ ะทำ�หน้าทีน่ ไี้ ด้ดที สี่ ดุ ดังนัน้ บทเรียนทีส่ อนให้ นักเรียนมีความเห็นอกเห็นใจและเคารพความ เป็นมนุษย์ด้วยกัน จึงถูกบรรจุไว้ในหลักสูตรของ หลายโรงเรียนทั่วโลก THINK Global School สอนนักเรียนให้เป็นพลเมืองโลก

แม้จะมีส�ำ นักงานหลักที่นวิ ยอร์ก แต่ THINK Global School เป็นโรงเรียนมัธยมปลายที่ไม่มีรั้วและ กำ�แพงกั้น เพราะนักเรียนที่นี่มีโลกทั้งใบเป็น ห้องเรียน ในแต่ละเทอม พวกเด็กๆ จะเดินทางไปอยู่ กับโฮสต์ตา่ งแดนเพือ่ เรียนรูป้ ระวัตศิ าสตร์ การเมือง และซึ ม ซั บ วั ฒ นธรรมท้ อ งถิ่น อั น หลากหลาย ได้เข้าใจวิทยาศาสตร์จากการศึกษาและเปรียบเทียบ ธรรมชาติในนิเวศทีแ่ ตกต่าง ได้ฝกึ ฝนจินตนาการ ผ่านการอ่านวรรณกรรมคลาสสิกในเวลาว่าง และ มี ก ารบ้ า นครั้ ง ใหญ่ คื อ การส่ ง โปรเจ็ ก ต์ ที่ เ ป็ น แนวทางหรือสามารถแก้ปัญหาสังคมในประเทศ ที่ตนเรียนรู้อยู่ได้จริง ทั้งหมดนี้เป็นจุดประสงค์ ของโรงเรียนทีม่ งุ่ มัน่ ผลิตนักคิดรุน่ เยาว์ให้เติบโต ขึ้นเป็นนักเปลี่ยนแปลงสังคมในอนาคต ตัวอย่างโปรเจ็กต์หนึง่ ทีน่ กั เรียนเคยทำ�ตอน ไปเยือนสวีเดน ประเทศที่มีปัญหาผู้อพยพเป็น อันดับต้นๆ ของโลก คือการนำ�ประสบการณ์ทเี่ ด็กๆ รู้สึกหลังจากได้พบเจอและเรียนรู้จากผู้อพยพ มาถ่ายทอดเป็นละครเวทีทผ่ี สมผสานการเล่าเรือ่ ง ผ่านบทกวี ดนตรีสด และบทละครที่พวกเขา ช่วยกันคิดและร่วมกันแสดงกับศิลปินท้องถิ่น CREATIVE THAILAND I 25

facebook.com/THINKGlobalSchool

facebook.com/THINKGlobalSchool

สตีเฟน เฮพเพลล์ (Stephen Heppell) นักการศึกษา ชาวอังกฤษได้กล่าวไว้ในสารคดี “Networked Society: The Future of Learning” ซึ่งดูเหมือน ว่าจะเป็นความจริงไม่น้อย และอาจจะจริงที่สุด ด้วยซาํ้ เพราะเรือ่ งเซอร์ไพรส์ทวี่ า่ นีไ้ ด้เกิดขึน้ แล้ว เมื่อรายงานจาก Dell Technologies Research ออกมาประกาศว่า “85% ของงานที่จะเกิดขึ้นใน ปี 2030 ยังไม่ถูกคิดค้นขึ้น” แต่เด็กในภาคการศึกษาทีม่ งุ่ เน้นการเรียนรู้ และท่องจำ�เพื่อเตรียมสอบในวันนี้ ต้องเผชิญกับ คู่แข่งสำ�คัญอย่างโรบอตและปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence - AI) ที่กำ�ลังมีบทบาท ในตลาดแรงงาน ทัง้ การมาแทนทีม่ นุษย์ดา้ นพละ กำ�ลังและยังมีพัฒนาการด้านทักษะที่ซับซ้อนขึ้น เรื่อยๆ จึงอดสงสัยไม่ได้ว่า เมื่อนักเรียนที่จบ หลักสูตรการศึกษาสำ�เร็จรูปแบบนี้แล้ว พวกเขา จะสามารถรับมือกับเรื่องไม่คาดฝันที่ต้องเผชิญ ในอนาคตได้ดีอยู่หรือไม่ ในวันนี้ การศึกษาที่มุ่งพัฒนาทักษะของ มนุษย์ที่ไม่ถูกทดแทนด้วยเทคโนโลยีใดได้ง่ายๆ อย่างความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) การคิด เชิงวิพากย์ (Critical Thinking) และความเข้าอก เข้าใจผู้อื่น (Empathy) จึงถูกชูความสำ�คัญมาก ขึ้นกว่าที่เคย

เรื่องราวทั้งหมดมีจุดประสงค์เพื่อช่วยให้ผู้ชมได้ เข้าถึงจิตใจของผูอ้ พยพทีต่ อ้ งเผชิญกับการค้นหา ตัวตนและตำ�แหน่งแห่งทีใ่ นประเทศใหม่ทพ่ี วกเขา เข้ามาอาศัยอยู่ โดยสุดท้ายเด็กๆ ได้นำ�รายได้ จากการแสดงทั้งหมดไปบริจาคให้กับ Refugee Solidarity Network หรือองค์กรปกป้องสิทธิ มนุษยชนให้กับผู้อพยพในประเทศต่างๆ ทั่วโลก “ช่วงเวลาที่เรียน ฉันมีโอกาสไปสำ�รวจ ประเทศต่างๆ ใน 6 ทวีป ได้เรียนรู้เพื่อปรับตัว เข้ากับวัฒนธรรมที่แปลกและแตกต่าง ฉันเห็น ความฝันชัดเจนขึ้นผ่านการเรียนรู้ท่อี ยู่นอกเหนือ ตำ�รา ครัง้ หนึง่ ฉันได้ถกประเด็นเรือ่ งประชาธิปไตย กับเพื่อนๆ ที่วิหารพาร์เธนอนในกรุงเอเธนส์ ได้ เรียนชีววิทยาในป่าดิบชื้นที่ประเทศคอสตาริกา และเป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ในสหประชาชาติ จำ � ลอง (Model United Nations) เพื่อเรียนรู้การทำ�งาน ของสหประชาชาติที่สำ�นักงานใหญ่ในมหานคร นิวยอร์ก” โซรา อูฮาบี (Zora Ouhabi) ศิษย์เก่าของ


โรงเรียน THINK Global School ได้เล่าประสบการณ์ ที่ น่ า ตื่ น เต้ น ให้ ฟั ง ซึ่ ง สะท้ อ นถึ ง คำ � ขวั ญ ของ โรงเรียนนีไ้ ด้เป็นอย่างดีวา่ “อย่าพรา่ํ สอนว่าฉันต้อง คิดอะไร แต่สอนให้ฉนั เรียนรู้ที่จะคิด (Don’t teach me what to think, teach me how to think.”) ความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการเล่าเรือ่ ง ของมนุษย์อาจจะไม่ได้พิเศษอีกต่อไป เมื่อ AI สามารถแต่งเรื่องสั้นได้ดีเสียจนเกือบเอาชนะ รางวัลใหญ่ของ Hoshi Shinichi Literary Award ทีป่ ระเทศญีป่ นุ่ ไปได้เมือ่ ปีทแี่ ล้ว นักเขียน AI ฝีมอื ดีนามว่า “โนเวลล่า (Novella)” ได้ถูกยกย่องให้ เป็นนักเขียนร่วมกับทีมงานทีพ่ ฒั นาโนเวลล่าขึน้ มา เพือ่ ช่วยกันเขียนเรือ่ งสัน้ “The Day a Computer Writes a Novel” โดยมีทมี งานช่วยคิดพล็อตเรือ่ ง กว้างๆ และกำ�หนดเพศของตัวละครในเรื่องสั้น เท่านั้น “ผมประทับใจกับโครงเรื่องที่ถูกวางไว้ อย่างดี แต่พบจุดอ่อนที่การบรรยายคาแรกเตอร์ ของตัวละคร” ซาโตชิ ฮาเซ (Satoshi Hase) หนึง่ ในคณะกรรมการได้กล่าวเอาไว้ ราวกับว่าสิ่งที่มนุษย์สามารถทำ�ได้ในวันนี้ ปั ญ ญาประดิ ษ ฐ์ อ าจจะทำ � ได้ ดี ก ว่ า ในวั น หน้ า โรงเรียนหลายแห่งในขณะนี้จึงเตรียมตัวตั้งรับ ความเปลี่ยนแปลงที่ว่าวันหนึ่งโรบอตจะเข้ามา ทำ�งานแทนมนุษย์ การบ่มเพาะเด็กนักเรียนให้มี ทักษะที่ดูเหมือนว่ามนุษย์เท่านั้นจะยังทำ�หน้าที่ ได้ดที ส่ี ดุ อย่างการเป็น “นักแก้ปญั หา” ทีต่ อ้ งอาศัย ความคิดสร้างสรรค์ขั้นสูงและความสามารถใน การคิดเชิงวิพากย์ที่ซับซ้อน จึงเป็นทักษะที่กำ�ลัง ถูกสอนอย่างจริงจังให้เด็กมัธยมเพือ่ เตรียมตัวให้ พวกเขาพร้อมรับมือกับความเปลีย่ นแปลงครัง้ ใหญ่ ที่กำ�ลังจะเกิดขึ้นในอนาคต High Tech High สอนนักเรียนให้เป็นนักแก้ปัญหารุ่นเยาว์

“สอนแบบบูรณาการ” น่าจะเป็นคำ�นิยามทีใ่ กล้เคียง ที่สุดสำ�หรับการอธิบายสไตล์การเรียนการสอน ของโรงเรียน High Tech High ในซานดิเอโก ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยตัวอย่างบทเรียนหนึ่ง ทีส่ อนอย่างบูรณาการก็คอื บทเรียนประวัตศิ าสตร์ ทีส่ อนทฤษฎีวา่ ด้วยเหตุผลทีท่ �ำ ให้อารยธรรมรุง่ โรจน์ หรือล่มสลาย ขั้นแรกคุณครูผู้สอนจะเปิดโอกาส ให้นกั เรียนแต่ละคนได้ออกมาวิเคราะห์และวิพากษ์ ถึงจุดแข็งและจุดอ่อนของทฤษฏีที่ถูกสอนใน

facebook.com/MLTSfilm

เก่งพร้อมรับความเปลีย่ นแปลง

ห้ อ งเรี ย น ต่ อ มานั ก เรี ย นจะนำ � ความคิ ด เชิ ง นามธรรมเหล่านัน้ มาแปลงเป็นโปรเจ็กต์ให้เห็นเป็น รูปธรรม โดยมีคณุ ครูเป็นเสมือนโค้ชแนะนำ�อย่าง ใกล้ชิด เช่น นักเรียนกลุ่มหนึ่งพยายามอธิบาย ทฤษฎีทตี่ นเชือ่ มัน่ ผ่านการประดิษฐ์บอร์ดทีบ่ รรจุ ภาพวาด งานแกะสลัก และวงล้อเครือ่ งจักร พวกเขา จึงต้องมีความรู้ด้านประวัติศาสตร์ ศิลปะ และ ฟิสกิ ส์ เพื่อทำ�ให้เครือ่ งกลหมุนไปตามเหตุการณ์ และความเป็นเหตุและผลที่อธิบายความเป็นไป ของอารยธรรมในยุคสมัยหนึ่งได้ โดยท้ายที่สุด โปรเจ็กต์ของนักเรียนทุกกลุ่มจะถูกนำ�เสนอใน รูปแบบนิทรรศการให้บุคคลทั่วไปได้เข้าชมและ ซักถามได้อย่างเสรี นับเป็นความท้าทายทีน่ กั เรียน จะได้ฝกึ ฝนการนำ�เสนองานกับสาธารณชนเสมือน ได้ลงสนามทำ�งานจริง ซึ่งความท้าทายนี้ยังรวม ไปถึงการให้เด็กๆ ได้รับประสบการณ์ตรงที่ว่า พวกเขาอาจทำ�มันสำ�เร็จหรือล้มเหลวก็ได้ โรงเรียน High Tech High จึงนับเป็นอีก ตัวอย่างทีน่ า่ จับตามองสำ�หรับการมุง่ หน้าพัฒนา ศักยภาพมนุษย์ในอนาคตให้แข็งแกร่งและมีคณุ ค่า เหนือกว่าโรบอต เพราะโรงเรียนแห่งนี้เลือกที่จะ เชิดชูความคิดสร้างสรรค์ ความสามารถในการ ทำ�งานเป็นทีม การคิดเชิงวิพากษ์ และยังช่วยยํ้า เตือนอีกว่าเด็กๆ ทุกคนสามารถผิดพลาด ล้มเหลว และลุกขึน้ มาพัฒนาตัวเองเพือ่ สูต้ อ่ ได้เช่นกัน ซึง่ นั้นน่าจะเป็นความสามารถพิเศษของมนุษย์ที่ จำ�เป็นที่สุดสำ�หรับการศึกษาในยุคนี้ CREATIVE THAILAND I 26

ไม่จำ�เป็นต้องเก่ง แต่จำ�เป็นต้องเรียนรู้

อาจจะดูโลกสวยเกินไปหากจะนำ�เสนอตัวอย่าง การศึกษาทางเลือกทีย่ กมาให้ทงั้ หมดโดยไม่บอก ความจริงสำ�คัญทีว่ า่ ไม่ใช่ใครก็สามารถเข้าเรียน ที่โรงเรียนเหล่านี้ได้ เพราะค่าเทอมของโรงเรียน ทางเลือกนัน้ ก็สงู ซะจนราวกับว่ามีเพียงเด็กทีอ่ ยูใ่ น กลุ่มอภิสิทธิ์ชนเท่านั้นถึงจะมีโอกาสได้เข้าเรียน แต่ความจริงข้อนี้ก็ใช่ว่าจะเป็นจุดสิ้นสุดของ ความหวังสำ�หรับผู้มีใจใฝ่เรียนรู้อย่างแท้จริง โรงเรียนบนก้อนเมฆ

“การรูก้ ลายเป็นเรือ่ งทีล่ า้ สมัยสำ�หรับโลกปัจจุบนั นักเรียนไม่จ�ำ เป็นต้องไปโรงเรียนเพียงเพือ่ รูบ้ างสิง่ เพราะพวกเขาสามารถหาคำ�ตอบได้เองทันทีที่ ต้องการ” ซูกาตา มิตรา (Sugata Mitra) นักการ ศึกษาชาวอินเดียผูม้ งุ่ มัน่ สนันสนุนการสร้างนิเวศ การเรียนรูด้ ว้ ยตัวเอง (Self-organized Learning Environment - SOLE) กล่าวเอาไว้ โดยเขาได้ รายงานผลการทดลองที่ น่ า ประหลาดใจให้ สาธารณชนได้รับทราบ อย่างการให้เด็กอินเดีย อายุ 12 ปี 26 คนที่ไม่รู้ภาษาอังกฤษเรียนเรื่อง เทคโนโลยีชีวภาพเป็นภาษาอังกฤษด้วยตัวเอง ภายในเวลา 2 เดือนผ่านวิดีโอบทเรียนที่เขา เตรียมไว้ให้ ผลที่ได้คือเด็กๆ ทำ�คะแนนสอบได้ ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ซึ่งถือว่ายังไม่ผ่าน แต่ เมื่อเขาไหว้วานให้เด็กสาวที่โตกว่าในหมู่บ้าน


เดียวกันซึ่งไม่มีความรู้เรื่องเทคโนโลยีชีวภาพมา รับหน้าทีเ่ ป็นครูผชู้ ว่ ยสอนด้วยวิธกี ารกล่าวชืน่ ชม และให้กำ�ลังใจเด็กๆ ตลอดการเรียนรู้ ผลที่ได้ อีก 2 เดือนต่อมา เด็กๆ เหล่านี้สามารถทำ� ข้อสอบได้ผ่าน 50 เปอร์เซ็นต์พอดิบพอดี มีอกี หนึง่ ตัวอย่างทีน่ า่ ทึง่ ไม่แพ้กนั เมือ่ ซูกาตา เดินทางไปยังเมืองตูรนิ ประเทศอิตาลี เพือ่ ทำ�การ ทดลองกับเด็กอายุ 10 ขวบทีย่ งั ไม่รภู้ าษาอังกฤษ ด้วยการเขียนคำ�ถามว่า “ใครคือพิธากอรัสและเขา ทำ�อะไร?” บนกระดานดำ�เป็นภาษาอังกฤษ เมื่อ เวลาผ่านไป 20 นาที ภาพสามเหลี่ยมมุมฉากก็ ปรากฏขึน้ บนหน้าจอของเขาซึง่ เป็นคำ�ตอบทีส่ ง่ มา จากเด็กๆ โดยเขาสังเกตเห็นว่าเด็กน้อยวัยเพียง 10 ขวบได้หาคำ�ตอบด้วยตัวเองผ่านการพิมพ์ คำ�ถามลงในกูเกิลเพื่อแปลเป็นภาษาอิตาเลียน และค้นหาคำ�ตอบนั้นอีกครั้งโดยไม่ต้องมีใครมา คอยบอกวิธีการให้

“ผมเชือ่ ว่าเด็กๆ สามารถใช้อนิ เทอร์เน็ตเพือ่ บรรลุถึงเป้าหมายทางการศึกษาของตนเองได้” นีค่ อื ความเชือ่ ของซูกาตา และก็ควรเป็นความเชือ่ ของเราทุกคนด้วยเช่นกัน เพราะปัจจุบันการเข้า ถึงการเรียนรูท้ มี่ คี ณุ ภาพได้อยูใ่ กล้เพียงปลายนิว้ คลิกเรียบร้อยแล้ว ไม่ว่าคุณจะอายุเท่าไหร่หรือ อยูส่ ว่ นไหนของโลก หากเชือ่ มต่ออินเทอร์เน็ตได้ ทุกคนก็สามารถเรียนแทบทุกเรือ่ งได้ดว้ ยตัวเองผ่าน แพลตฟอร์มการเรียนอย่าง Coursera, Udacity, edX, FutureLearn ฯลฯ ทีจ่ บั มือร่วมกับมหาวิทยาลัย ชั้นนำ�ของโลกเปิดสอนหลักสูตรออนไลน์ที่เรียกว่า ‘หลักสูตรการเรียนออนไลน์ระบบเปิด’ (Massive Open Online Course - MOOC) ทีน่ อกจากจะ ฟรีแล้ว (หากต้องการใบรับรองต้องเสียค่าใช้จ่าย เพิ่มเติม) ระบบการเรียนแบบนี้ยังทำ�ให้ผู้เรียน กลายเป็ น ผู้ กำ � หนดและเลื อ กทั ก ษะความรู้ ที่ ตนเองต้องการได้อย่างแท้จริง

แต่คงง่ายเกินไปทีจ่ ะสรุปว่าระบบการศึกษา ที่นำ�เสนอมาทั้งหมด จะเป็นคำ�ตอบที่ใช่ที่สุด สำ�หรับนักเรียนทุกคนในวันนี้ เพราะเด็กแต่ละคน มีความแตกต่างกัน ดังนั้นการศึกษาอาจมีได้ หลายแบบเพื่อรองรับการเรียนการสอนที่เหมาะ สำ � หรั บ เด็ ก ที่ ห ลากหลาย และมั น ก็ ไ ม่ ไ ด้ หมายความว่านักเรียนทีผ่ า่ นการศึกษาในระบบที่ เน้นการท่องจำ�จะต้องล้มเหลวในสังคมที่ AI รุง่ โรจน์ หากเขาไม่หยุดพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนือ่ ง ในทำ�นองเดียวกัน เด็กทีไ่ ด้รบั การศึกษาแบบใหม่ ก็ไม่ได้ถูกรับประกันว่า พวกเขาจะเหนือกว่าเด็ก คนอืน่ ๆ เช่นกัน ดังนัน้ ในวันนีส้ ง่ิ ทีเ่ ราควรพุง่ เป้า อาจไม่ใช่ระบบการศึกษา แต่เป็นการสนับสนุน ให้เด็กๆ กล้าสงสัยและตัง้ คำ�ถาม เพราะหากความ อยากรู้และความสนใจได้เกิดขึ้นแล้ว การศึกษา ก็ย่อมเกิดขึ้นเช่นกัน

facebook.com/greenschool

ไม่ใช่แค่การใส่ใจจิตใจของเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเท่านั้นที่จะกลายเป็นทักษะสำ�คัญในอนาคต แต่จิตสำ�นึก ของการใส่ใจสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติที่มนุษย์เรายังต้องพึ่งพาอาศัยก็สำ�คัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน โรงเรียนนานาชาติสายเขียว Green School ในบาหลี ประเทศอินโดนีเชีย จึงมีหลักการสอนที่มุ่งปลุกปั้น ให้เด็กๆ ในวันนี้กลายเป็นผู้นำ�แห่งความยั่งยืนในวันหน้า “คุณรูห้ รือไม่ครับว่าลูกหลานของพวกเราใช้เวลา 181 วันไปโรงเรียน และอยูใ่ นห้องสีเ่ หลีย่ มแคบๆ ทีอ่ อกแบบและใช้วสั ดุไม่ตา่ งจากคุกและสถานทีพ่ กั ฟืน้ สำ�หรับผูป้ ว่ ยวิกลจริต...ผมจึงตัง้ ใจสร้างห้องเรียน สีเขียวแบบไม่มีผนัง และให้คณุ ครูสอนหนังสือบนกระดานไม้ไผ่ โต๊ะเรียนไม่ใช่ทรงสีเ่ หลี่ยมแต่ให้นั่งล้อม กันเป็นวงกลม ทีโ่ รงเรียนสีเขียว เด็กๆ มักมีรอยยิม้ ทีน่ เ่ี ราจะสอนทฤษฎี ‘องค์รวม (Holistic Education)’ ที่ให้เด็กเรียนรู้โลกทั้งใบเพื่อใช้ชีวิต...เราสอนเด็กๆ ว่าโลกใบนี้ไม่ได้คงอยู่ตลอดไป” จอห์น ฮาร์ดี (John Hardy) ผูก้ อ่ ตัง้ โรงเรียนกล่าวในเวทีเท็ดทอล์ก ซึง่ น่าจะเป็นจริงดังทีเ่ ขาว่าไว้ เพราะนอกจากองค์ประกอบ ภายนอกของโรงเรียนที่ทุกอย่างล้วนถูกสร้างจากวัสดุธรรมชาติ ทั้งยังใช้พลังงานสะอาดอย่างพลังงานนํ้า วนเพื่อผลิตไฟฟ้าใช้เองแล้ว โรงเรียนแห่งนี้ยังมุ่งเน้นสอนบทเรียนที่นอกเหนือจากวิชาสามัญอย่าง คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษา เพราะเด็กๆ จะได้เรียนรูว้ ชิ าชีวติ ที่ใช้ได้จริงอย่างการปลูกพืชอินทรีย์ เก็บเกีย่ วผลผลิต ทำ�อาหารจากพืชผักที่ปลูกเอง รู้จักการแบ่งปันกับเพื่อนบ้าน และอยู่ร่วมกันเป็นชุมชน เพือ่ สุดท้ายแล้วเด็กๆ จะได้ตระหนักถึงคุณค่าของธรรมชาติทมี่ นุษย์เราต้องอาศัย และช่วยกันยืดอายุโลก ใบนี้ให้อยู่กับเราและคนรุ่นถัดไปได้นานยิ่งขึ้น

greenbyjohn.com

Green School โรงเรียนหัวใจสีเขียว

ที่มา: บทความ “85% of Jobs that will Exist in 2030 haven’t been Invented yet: Dell” (กรกฎาคม 2017) โดย Daniel Tencer จาก huffingtonpost.ca / บทความ “China plans to dominate AI, with a vanguard of robotic doctors like Biomind” (กรกฎาคม 2018) โดย Robyn Dixon จาก latimes.com / บทความ “Japanese AI Writes a Novel, Nearly Wins Literary Award” โดย Natalie Shoemaker จาก bigthink.com / บทความ “Refugee aid at the heart of student production Meet Me in Dreamland” (พฤศจิกายน 2015) โดย Lindsay Clark จาก thinkglobalschool.org / บทความ “The 14 most innovative schools in America” (พฤษภาคม 2016) โดย Chris Weller จาก businessinsider.com / วิดโี อ “My Green School Dream” (พฤศจิกายน 2010) โดย John Hardy จาก ted.com / วิดีโอ “The Child-driven Education” โดย Sugata Mitra จาก ted.com / สารคดี “Most Likely to Succeed” โดย Greg Whiteley / สารคดี “Networked Society: The Future of Learning” โดย Ericsson CREATIVE THAILAND I 27


The Creative : มุมมองของนักคิด

รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี

เราจะสร้าง ‘คน’ ให้เป็น ‘หุ่นยนต์’ ที่แพ้หุ่นยนต์กันไปทำ�ไม เรื่อง: ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ ภาพ: ภีร์รา ดิษฐากรณ์

แม้วา่ ปัญหาทีเ่ กิดจากระบบสอบคัดเลือก TCAS ทีผ่ า่ นมาจะทำ�ให้เกิดกระแสตืน่ ตัวและตอกยํา้ ให้สงั คมเห็นผลกระทบจากระบบ การศึกษาทีข่ นานนามกันว่า “ระบบแพ้คดั ออก” ชัดเจนขึน้ แต่หลายคนคงตระหนักดีวา่ นีเ่ ป็นเพียงเศษเสีย้ วของความท้าทายที่ คนรุน่ ใหม่และสังคมไทยกำ�ลังเผชิญ CREATIVE THAILAND I 28


รศ.นพ.สุรยิ เดว ทรีปาตี เจ้าของงานวิจยั ต้นฉบับเรื่อง “ทุนชีวติ ” เป็นกุมารแพทย์ ผูเ้ ชีย่ วชาญด้านเด็กและวัยรุน่ และอดีตผูอ้ �ำ นวยการสถาบันแห่งชาติเพือ่ การ พัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งทำ�งานใกล้ชิดกับปัญหา มาอย่างยาวนาน ทั้งยังมีบทบาทในเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูป การศึกษาอีกหลายกลุม่ เช่น สำ�นักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพ การศึกษา (สมศ.) อนุกรรมการเด็กเล็กของคณะกรรมการเพื่อปฏิรูป การศึกษา วิเคราะห์แบบเจาะลึกว่า ความท้าทายในวันนี้ไม่ได้อยู่ที่ระบบ การศึกษาเพียงอย่างเดียว แต่คอื สังคมทัง้ ระบบทีก่ �ำ ลังพราก “ความเป็นมนุษย์” ไปจากเราอย่างช้าๆ จนไม่แน่ว่าวันหนึ่งเด็กรุ่นใหม่อาจมีสภาพไม่ต่างจาก หุ่นยนต์ แถมยังเป็นหุ่นยนต์ตกกระป๋องที่แพ้หุ่นยนต์ด้วยกันอีกด้วย ทุนชีวิตคืออะไร ทำ�ไมคุณหมอจึงให้ความสำ�คัญกับเรื่องนี้ ก่อนอื่นต้องทำ�ความเข้าใจก่อนว่า “ทุนชีวิต” นั้นกว้างกว่า “ทักษะชีวิต” เพราะทักษะชีวิตจะพูดถึงแค่ตัวเรา ไม่ได้พูดถึงระบบนิเวศ แต่ “ทุนชีวิต” พูดถึงทัง้ ทักษะชีวติ และจิตสำ�นึกทีม่ ตี อ่ ตนเอง รวมถึงทักษะและจิตสำ�นึกใน การอยู่ร่วมในสังคมที่ตนเองอาศัยอยู่ด้วย เหตุผลที่หมอลุกขึ้นมาทำ�วิจัยเรื่องทุนชีวิต เพราะว่าตอนที่หมอทำ� คลินิกวัยรุ่น ครึ่งหนึ่งของเคสที่เข้ามาขอคำ�ปรึกษา หมอต้องรักษาพ่อแม่ที่ พาเด็กมา และอีก 25% คือตามไปซ่อมคนทีส่ ง่ เด็กมา นัน่ คือโรงเรียน ดังนัน้ จะเห็นว่า 75% ของเคสทัง้ หมด กลายเป็นว่าเราต้องซ่อมระบบนิเวศรอบตัวเด็ก ไม่ใช่ซ่อมเด็ก แม้เราจะสร้างทักษะชีวิตให้ตัวเด็กอย่างเต็มที่ แต่ถ้าระบบ นิเวศป่วย เด็กก็ลำ�บาก ทุนชีวิตมี 5 องค์ประกอบ คือ บ้าน ชุมชน โรงเรียน เพื่อน และตัวตน ถ้า 4 องค์ประกอบแรกแข็งแรง ก็จะคุมองค์ประกอบสุดท้ายคือตัวตนของ เด็กไว้ได้ เช่น ทักษะการจัดการอารมณ์ การมีจิตสำ�นึกที่ดี ฯลฯ ทุนชีวิตจึง เป็นเครือ่ งมือในการวัดจิตสำ�นึกของเด็ก วัดว่าเด็กรูส้ กึ ยังไงกับตัวเอง กับบ้าน กับชุมชน กับโรงเรียน กับเพือ่ น เขาต้องรูส้ กึ กับมันในแง่บวกนะ ถ้าพลังบวกที่ เด็กคนไหนรู้สึกกับมิติเหล่านี้ลดลงเยอะ บ่งบอกได้เลยว่าเด็กคนนี้มีโอกาส ที่จะไปสู่พฤติกรรมเสี่ยงแน่นอน สิ่งที่ค้นพบจากการทำ�วิจัยเป็นอย่างไรบ้าง เราไปทำ�สำ�รวจเด็ก 3 กลุ่ม กลุ่มแรกคือค่าเฉลี่ยของเด็กทั้งประเทศ กลุ่มที่ สองคือเด็กที่เรียนเก่งที่สุดในประเทศที่กำ�ลังเข้าค่ายโอลิมปิก และกลุ่ม สุดท้ายคือเด็กทีร่ ะบบการศึกษาไทยไม่เอาเขาแล้ว เชือ่ ไหมว่าเด็กกลุม่ ทีเ่ รียน เก่งที่สุดมีพลังทุนชีวิตตํ่าที่สุด เด็กกลุ่มนี้สอบตกทุกตัวชี้วัดที่เราตั้งไว้ เช่น ฉันมีโอกาสแบ่งปันนํ้าใจให้คนอื่น ฉันมีเพื่อนที่สนใจและมีกำ�ลังใจ ฉันเห็น คุณค่าในชุมชน ฯลฯ คือเด็กเหล่านีเ้ ขาไม่ได้มปี ฏิสมั พันธ์กบั ชุมชน วันๆ เขา นั่งอ่านหนังสืออยู่กับตัวเอง เขาใช้สมองในการคิดชั้นสูง (EF: Executive Function) อย่างมีประสิทธิภาพมากเลย แต่เขาไม่มีทักษะในการอยู่ร่วมกับ สังคม หมอขอใช้ค�ำ ว่า “นัง่ วงไหนก็แตกวงนัน้ ” คือถ้าอยูใ่ นการประชุม ก็จะ เป็นคนที่อัตตาสูงมาก ไม่สามารถจัดการกับอัตตาตัวเองได้ นี่ถือว่าเขามี EF สูง แต่จิตสำ�นึกตํ่า EF เป็นเรื่องของการทำ�งานของสมองให้มีประสิทธิภาพสูงสุด รวมถึง การพัฒนาสมองชั้นสูงที่ทำ�ให้มีทักษะในการตัดสินใจต่างๆ แต่มีคำ�พูดของ ผู้ใหญ่ท่านหนึ่งคือท่านอานันท์ ปันยารชุน บอกไว้ว่า “ถ้าสมองทำ�งานได้

ครึง่ หนึง่ ของเคสทีเ่ ข้ามาขอค�ำปรึกษา หมอต้องรักษาพ่อแม่ที่พาเด็กมา และอีก 25% คือตามไปซ่อมคนที่ ส่งเด็กมา นั่นคือโรงเรียน...เราต้อง ซ่อมระบบนิเวศรอบตัวเด็ก ไม่ใช่ ซ่อมเด็ก แม้เราจะสร้างทักษะชีวิต ให้ ตั ว เด็ กอย่างเต็มที่ แต่ถ้าระบบ นิเวศป่วย เด็กก็ล�ำบาก อย่างมีประสิทธิภาพสูงมากนีม่ นั ดีนะ ถ้าใช้ในทางดีมนั ก็ดี แต่ถา้ ใช้ไปทางชัว่ มันก็หนักเลย” นั่นคือเหตุผลหนึ่งที่เราพูดถึงจิตสำ�นึก เพื่อตั้งคำ�ถามว่าการ มี EF อย่างเดียวจะทำ�ให้เด็กเติบโตเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้จริงหรือ เพราะอะไรวันนี้เราถึงต้องยํ้าเรื่องการสร้าง “จิตสำ�นึก” ที่ ผ่านมาเราไม่ได้พูดกันอยู่เสมอหรอกหรือว่า “ลูกไม่ต้อง เป็นคนเก่งก็ได้ แต่ขอให้เป็นคนดี” ส่วนหนึ่งเพราะวันนี้สังคมเปลี่ยน ระบบนิเวศรอบตัวเด็กเปลี่ยน เริ่มจาก ครอบครัว ทำ�ไมสมัยก่อนการฝึกเด็กให้มีจิตสำ�นึกเขาฝึกกันได้ เพราะเด็ก สมัยก่อนจะได้เห็นพ่อแม่ดูแลปู่ย่าตายาย แม่ไม่ต้องสอนเลยว่าต้องทำ�อะไร แต่แม่ทำ�ให้ดู แม่พาคุณย่าเข้าห้องนํ้า พามานวด ป้อนอาหาร เราซึ่งเป็นลูก ตัวเล็กๆ พอได้เห็นแม่ทำ�อย่างนั้น ก็จะอยากแชร์บ้าง ช่วยทำ�งานบ้านบ้าง แบบฝึกหัดจึงเกิดขึ้นเป็นกิจวัตร จนกิจวัตรกลายเป็นวิถีชีวิต เป็นการเรียน รู้แบบซึมซาบ หลายประเทศอย่างสิงคโปร์หรือญี่ปุ่น บ้านเป็นบ้าน วินัยใน ชุมชนก็มี เรียกว่าเด็กไปทีไ่ หนก็สมั ผัสได้ถงึ ความดีตรงนัน้ เมือ่ เป็นอย่างนัน้ เขาก็เปลี่ยนพฤติกรรมของเด็กได้ทันที แต่ของเราวันนีค้ รอบครัวเล็กลง การทีพ่ อ่ แม่จะทำ�ความดีให้ปยู่ า่ ตายาย มันหาไม่เจอ แม่กจ็ ะใช้วธิ อี บรมสัง่ สอน แต่ไม่ได้ท�ำ ให้ดู แถมไม่เป็นกิจวัตรด้วย อีกอย่างคือพ่อแม่สมัยนี้แทบไม่เหลือเวลาเลี้ยงลูกเลย พ่อแม่เปลี่ยนไปจาก สมัยก่อน แต่เดิมพ่อแม่เลีย้ งลูก เขาไม่ได้มคี วามรูห้ รอก แต่เขาใช้จติ วิญญาณ ของการเป็นพ่อแม่ แต่วันนี้ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด เพราะจิตวิญญาณ มันหายไป เวลาเลี้ยงลูก ลูกก็รู้นะ แต่หมอไม่ได้จะโทษพ่อแม่นะ แต่เพราะ สภาพสังคมมันเปลีย่ นไป พ่อแม่จงึ ไปเสียเวลากับวัตถุนยิ มและการทำ�มาหากิน กลับมาบ้านเหนือ่ ยล้าก็ไม่ได้ตอ้ งการทุม่ เทอะไรเพิม่ เติม แต่ถา้ บ้านไหนสวน กระแส กลับมาบ้านแล้วใช้จิตวิญญาณเลี้ยงลูก บ้านนั้นลูกจะได้ดีทุกคน นอกจากบ้านเปลีย่ น โรงเรียนก็เปลีย่ น ถ้าให้หมอมาเป็นนักเรียนสมัยนี้ ก็ไม่แน่ใจว่าจะสอบติดหรือเปล่า เพราะข้อสอบเราเป็นระบบแพ้คดั ออก เมือ่ เป็นระบบนี้ วิธีออกข้อสอบวิธีเดียวก็คือต้องออกแบบให้มีคนแพ้ ทุกคนก็ ต้องดิ้นรนเพื่อชนะ ก็ต้องอ่านหนังสือให้หนักขึ้น เด็กอนุบาลไปเรียนคอร์ส ป.1 เด็กป.1 ก็ไปเรียนของป.4 ทั้งหมดนี้ทำ�ไปเพื่อแค่เอาชนะข้อสอบให้ได้

CREATIVE THAILAND I 29


แล้วข้อสอบก็ยิ่งออกยากขึ้นไปอีกเพื่อจะหาผู้แพ้ให้ได้ วิชาเรียนปัจจุบันจึง แน่นไปด้วยแบบเรียนมากกว่าแบบฝึกหัด อัดทฤษฎีเข้าไปตัง้ แต่เล็ก ยากกว่า ที่คนสมัยก่อนต้องเจอมาก สมัยก่อนตอนบ่ายเราสามารถเล่นได้อิสรเสรี เดีย๋ วนีเ้ ด็กไม่เล่นแล้ว เพราะต้องเอาเวลาไปเตรียมตัวเพือ่ เอาชนะเพือ่ น และ เมื่อมีผู้ชนะ ก็ต้องมีผู้แพ้ ผู้แพ้จะรู้สึกอย่างไรถ้าเขารู้สึกเป็นผู้แพ้ตั้งแต่ อนุบาล และแพ้มาตลอดอย่างต่อเนื่อง การทีโ่ รงเรียนเปลีย่ นไปมุง่ เน้นแต่วชิ าเรียน ถามว่าทำ�ไปทำ�ไม ก็เพราะ ต้องการเป็นโรงเรียนดังทีม่ อี นั ดับ ความดังเขาวัดกันทีต่ รงไหน ก็วดั ทีค่ ะแนน ที่เด็กทำ�ได้ในการสอบ แต่ถามว่าข้อสอบพวกนี้มันวัดความเป็นศิลปินใน ตัวเด็กไหม วัดทักษะการเป็นนักกิจกรรมที่ทำ�งานให้ส่วนรวมของเขาไหม วัดระดับความสุขในการเรียนของเด็กไหม ไม่ได้วัด ชุมชนก็เปลีย่ น ถึงขนาดทีว่ นั นีธ้ นาคารโลกบอกเลยว่า 40% ของชุมชน ในประเทศไทยไม่มีความยั่งยืน อยู่แบบตัวใครตัวมัน ไม่เหมือนสมัยก่อนที่ ทุกคนในละแวกบ้านรู้จักกันหมด คนแปลกหน้าเข้ามาในชุมชนเราก็รู้ เดี๋ยวนี้เดินกันขวักไขว่ แต่ผู้สูงวัยอยู่ในชุมชนแท้ๆ ตอนเสียชีวิตไปไม่มีใคร รู้เลย นี่คือความอ่อนแอที่เกิดขึ้น ชุมชน โรงเรียน ครอบครัว สามอย่างนี้คือระบบนิเวศของเด็กที่จะ หล่อหลอมเขา การเติบโตของเด็กต้องผ่านการเลียนแบบพฤติกรรม เมื่อ ระบบนิเวศเป็นแบบนี้ เขาจะหาต้นแบบที่ดีได้ยาก นี่คือจุดอ่อนที่หมอ พยายามจะวิเคราะห์ให้เห็นว่า ในขณะทีเ่ รามุง่ หวังให้เด็กเป็นคนดี แต่ท�ำ ไม เด็กสมัยนี้เขาให้ความสำ�คัญกับความเก่งมากกว่า ก็เพราะระบบทุกอย่าง รอบตัวมันถูกวางให้เขาเดินไปแบบนั้น

พอจะยกตัวอย่างได้ไหมว่า การเรียนรู้แบบไหนที่จะพัฒนา จิตสำ�นึกของเด็ก จิตสำ�นึกและคุณธรรมมันไม่ได้เกิดขึน้ ได้เอง แต่ตอ้ งเกิดขึน้ จากการร่วมทุกข์ ร่วมสุขไปด้วยกัน ถ้าเอาตั้งแต่เด็กเล็กๆ เลย การปัดกวาดซักผ้าล้างจาน นี่คือเรื่องพื้นฐาน ถ้าพ่อแม่ไม่ปล่อยให้เด็กเผชิญกับความยากลำ�บาก ไม่ดึง เขาให้เข้ามามีส่วนร่วมในเรื่องง่ายๆ แค่นี้ ลองคิดดูว่าจิตสำ�นึกต่อส่วนรวม จะเกิดได้ยังไง

เขาเป็นได้ถงึ ขนาดนีเ้ ลย แต่นนั่ คือพัฒนาการปกติของเด็กวัยรุน่ เขาสามารถ พูดอะไรที่ทำ�ให้แม่รู้สึกตบะแตกในตอนเช้าแต่ตกเย็นก็ลืมแล้ว แต่แม่ไม่ลืม แม่เก็บไว้แล้วรอวันระเบิด เรื่องแบบนี้ทำ�ให้หมอก็แปลกใจ เพราะถ้าเป็น ต่างประเทศ เขาเตรียมพ่อแม่เขาไว้หมดเลยนะ เขามีโรงเรียนพ่อแม่ (Parenting School) ความรู้เหล่านี้มันแทรกอยู่ในระบบการศึกษา วันนี้ เมืองไทยมีสาระการเรียนรู้ 8 สาระ แต่ไร้สาระไปเยอะ มันไม่ได้ใช้ในวิถชี วี ติ แต่เรื่องแบบนี้ที่ต้องใช้กลับไม่มีสอน พ่อแม่รุ่นนี้ส่วนหนึ่งก็มาจากระบบ การศึกษาที่เราวางไว้นั่นแหละ แต่ระบบเราก็ยังยํ่าอยู่กับระบบแบบนี้ มีค�ำ พูดหนึง่ ของเด็กทีม่ าคลินกิ ทีท่ �ำ ให้หมอจีด๊ มาก เด็กคนนีก้ อ่ นทีห่ มอ จะเข้าไปเจอ นักจิตวิทยาก็บอกหมอว่าเคสนี้เป็นเคสที่โรงพยาบาลดังแห่ง หนึง่ วินจิ ฉัยว่าเด็กมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD: Learning Disabilities) และจากการทดสอบไอคิวพบว่าเป็นเด็กทึม่ เราก็รบั รูว้ า่ ไอคิวเขาจะตํา่ หน่อย และจะมีปัญหาทักษะการอ่านเขียน หมอก็เข้าไปนั่งลงแล้วถามเขาว่า “ตั้ม (นามสมมติ) เป็นยังไงบ้างครับ” เขาถามกลับมาว่า “หมอจะเอาอะไร กับผมอีก ผมถูกผู้ใหญ่กระทำ�มามากพอแล้ว” หมอเกิดคำ�ถามในใจเลยว่า ตกลงคนนี้ทึ่มเหรอ แล้วพอเขาพูดต่อว่า “อย่ายํ่าจุดอ่อนของผมจนแม้แต่ แกนชีวิตผมเสียสิครับ” หมอยกเลิกแล็บนั้นทันที หมอไม่เชื่อว่าเด็กคนนี้ทึ่ม ไม่มีทึ่มคนไหนต่อล้อต่อเถียงแบบนี้กับหมอ และพอเรามุ่งไปดูที่ตัวเด็กก็ได้ รู้ว่าเด็กคนนี้ถูกระบบการศึกษารังแก เขาต้องผ่านข้อสอบที่ยํ้าจุดอ่อนเรื่อง การอ่านเขียนและคำ�นวณ ทำ�ให้สอบตกแล้วตกอีก ย้ายโรงเรียนไปเรื่อยๆ ทัง้ โรงเรียนไทยและนานาชาติ เด็กคนนีม้ าหาหมอหลังจากทีเ่ ขาเขียนจดหมาย ให้ผอ.โรงเรียนนานาชาติที่ตัวเองอยู่ เพื่อบอกว่าตั้งแต่พรุ่งนี้ผมจะเลิกเรียน ในระบบการศึกษาประเทศไทย เด็กไม่มอี �ำ นาจหรอก แต่เขาทำ�แบบนัน้ แล้ว วันต่อมาก็ไม่มาโรงเรียนอีกเลย นั่งเล่มเกมอยู่ที่บ้าน แม่ถึงได้พามาหาหมอ เด็กบอกหมอว่าตอนอยู่ที่โรงเรียนนานาชาติ ทุกครั้งที่จัดงาน โรงเรียน จะให้เขาเป็นพิธกี รทุกครัง้ เพราะเขามีทกั ษะการพูดและฟังดีทสี่ ดุ ในโรงเรียน เขาถามหมอว่า “ทำ�ไมโรงเรียนไม่วัดที่จุดแข็งของผมบ้างล่ะ ทำ�ไมต้องยํ่า กันอยู่ที่จุดอ่อนผมอย่างเดียว” หมอก็ถามว่าแล้วคุณจะใช้ชีวิตยังไงในเมื่อ คุณอ่านอะไรไม่ออกเลย เขาก็เล่าว่าวันหนึ่งเขาบังเอิญไปเห็นวิธีประกอบ คอมพิวเตอร์ทพี่ นั ธุท์ พิ ย์ กลับมาบ้านก็เลยรือ้ คอมทีบ่ า้ น แป๊บเดียวก็ตอ่ หูฟงั เข้ากับคอม แล้วทำ�ให้คอมพิวเตอร์อ่านประโยคที่เมาส์ลากผ่านให้ฟังได้ เด็กแก้ปญั หาด้วยวิธขี องเด็ก เขาเอาตัวรอดได้ หลังจากนัน้ เราก็เลยเซ็ตโปรแกรม โฮมสคูลให้เด็กคนนี้ เน้นทักษะฟัง-พูด และเชิญครูทเี่ ก่งคอมพิวเตอร์เข้ามา สอน จนวันนีเ้ ด็กไปเรียนต่อต่างประเทศ จบโปรแกรมเมอร์และมีงานทำ�แล้ว นี่คือเด็กที่ระบบการศึกษาวินิจฉัยว่าเป็นเด็กทึ่ม ถ้าวันนั้นเรายังยํ่าอยู่กับ การศึกษาแบบเดิม วันหนึ่งเด็กคนนั้นก็จะลุกขึ้นมาเป็นอาชญากรใช่ไหม เพราะเขาไม่มสี มั มาอาชีพทีท่ �ำ ได้เลย นีใ่ ช่ไหมทีเ่ รียกว่าระบบรังแก นีใ่ ช่ไหม ที่จะต้องปรับทัศนคติคนที่ส่งเด็กมา

จากประสบการณ์ ก ารให้ คำ � ปรึ ก ษาเด็ ก และครอบครั ว มีปัญหาอะไรบ้างที่พบบ่อย สิง่ ทีเ่ ราเจอเยอะมากในคลินกิ วัยรุน่ คือปัญหาเชิงพฤติกรรม ความไม่เข้าใจกัน และจิตสำ�นึกในการเลีย้ ง ณ วันนีพ้ อ่ แม่ลกู คุยกันไม่รเู้ รือ่ งเยอะมาก ครึง่ หนึง่ ของเคสเราต้องไปปรับทัศนคติของคนที่พามา พ่อแม่เองไม่รู้ว่าวัยรุ่นยุคนี้

มีคำ�แนะนำ�สำ�หรับพ่อแม่และผู้ใหญ่ ในการรับมือกับเด็กยุค นี้อย่างไรบ้าง การเป็นผู้ใหญ่ที่จะไม่มีปัญหากับเด็กยุคใหม่ อย่างน้อยต้องมี 5-6 ข้อ หนึ่ง คือ รักและไว้วางใจ แต่อย่าสำ�ลักความรัก เรื่องนี้สำ�คัญมาก เพราะถ้า พ่อแม่รักลูกแบบที่ยอมโอบอุ้มความทุกข์ไว้จนลูกไม่พร้อมร่วมทุกข์ร่วมสุข

แล้วเราจะเริม่ แก้ไขเรือ่ งนีอ้ ย่างไรดี ในเมือ่ ปัญหามันเชือ่ มโยง กันไปหมด เวลามองภาพใหญ่ระดับประเทศ เราจะรูส้ กึ ท้อแท้วา่ ไม่มที างทำ�ได้หรอก แต่ถา้ ลองมองมาที่บ้านกับโรงเรียนก่อนก็จะเห็นว่าไม่ยากขนาดนั้น เอาแค่ระบบ นิเวศรอบตัวเด็กสองจุดนี้ ก็สามารถแก้ปญั หาของเด็กไปได้ 75% เลย ถ้าเรา ทำ�บ้านและโรงเรียนให้มีคุณธรรม ต่อให้สื่อหรืออย่างอื่นกระหนํ่าเข้าใส่ แต่ เด็กจะมีพลังบวก แล้วถ้าแก้ทช่ี มุ ชนได้อกี รับรองว่าจะเกิดประสิทธิภาพสูงมาก

CREATIVE THAILAND I 30


ไปกับครอบครัว นั่นไม่ใช่รักที่ถูกต้อง ถ้าครอบครัวตกทุกข์ได้ยาก ต้องดึง ลูกเข้ามามีส่วนร่วมในการรับรู้วิกฤตไปด้วยกัน แต่ดูให้เหมาะกับวัย สอง ต้องเป็นนักฟังที่ดี ไม่ใช่ผู้พูดที่เก่ง การฟังมี 3 ระดับ แบบแรก คือฟังอย่างเดียว บางบ้านแค่คนฟังเฉยๆ ก็หาไม่เจอแล้ว เพราะเด็กกลายเป็น คนฟัง เราไม่เคยฟังเสียงหัวใจของลูก แบบทีส่ องคือฟังแล้วสะท้อนความรูส้ กึ ที่ ดีทที่ �ำ ให้คนเล่าอยากเล่าต่อ และแบบสุดท้ายคือฟังแล้วเหลาความคิดให้เขา สาม บ้านต้องมีวินัย บ้านไหนไม่มีวินัยจะลำ�บาก วินัยที่พูดถึงนี้ต้อง เป็นมาตรฐานเดียวกัน ไม่ใช่วา่ แม่ดดุ นั แต่พอ่ ใจดี และวินยั ต้องอยูบ่ นเมตตา ธรรม ไม่ใช้อารมณ์ ยืดหยุ่นได้บนหลักการและเหตุผล สี่ ผู้ใหญ่ต้องคุมอารมณ์ตัวเองให้เป็น ถ้าเราน็อตหลุดตลอด แต่ขอให้ ลูกเป็นคนดี มันเป็นไปไม่ได้หรอก เราต้องเป็นต้นแบบที่ดีก่อน ห้า ยอมรับความสามารถของลูกและมีทศั นคติแบบเปิดกว้าง (Growth mindset) จำ�ไว้ว่าเด็กไม่ใช่ผ้าขาว แต่ละคนเป็นผ้าสีพื้นที่ไม่เหมือนกันเลย อย่าเลี้ยงลูกแบบเปรียบเทียบ หมออยากจะบอกครอบครัวทั้งประเทศว่าถ้าทำ�แบบนี้ ไม่ว่าลูกจะเป็น เด็กเจนไหนก็ไม่มปี ญั หา เราจะรังสรรค์บา้ นของเราให้เป็นบ้านแห่งการเรียน รู้ไปได้ด้วยกัน เด็กยุคนี้ต่างจากยุคก่อนอย่างไรบ้าง ที่แน่ๆ คือเด็กรุ่นนี้จะมีความอดทนและรู้จักรอคอยน้อยกว่ารุ่นก่อน เพราะ เทคโนโลยีการสื่อสารที่เปลี่ยนไป สองคือเขาจะไม่ค่อยรักรากเหง้าของ ตัวเอง สมัยก่อนเวลาเล่นกับเพื่อน เราก็เล่นด้วยกันแบบตัวเป็นๆ ชุมชนที่ เราอยู่ก็เป็นชุมชนที่ทุกคนร่วมทุกข์ร่วมสุข เวลาได้กลับไปที่บ้านเกิดที่ เคยอยู่ เราจะหวนระลึกถึงอดีตว่าเมือ่ ก่อนเคยเจอเหตุการณ์อะไรทีเ่ ผชิญภัย ด้วยกัน แต่เด็กรุ่นนี้ชุมชนที่เขามีปฏิสัมพันธ์ด้วยมีแค่สังคมกลางอากาศ หรือต่อให้ได้มาเจอกันก็มาเจอกันบนการร่วมสุข ไม่ใช่ร่วมทุกข์ เด็กไม่ได้ รับรู้ความทุกข์ของชุมชน จริงอยู่ว่าเทคโนโลยีทำ�ให้สังคมไม่มีเส้นแบ่ง พรมแดน เขาได้เจอเพื่อนจากอีกซีกโลก มาเล่นเกมออนไลน์ด้วยกัน มี ไมโครโฟนให้สื่อสารกันได้ แต่การมีเพื่อนของเขามันไม่ได้มาจากการร่วม ทุกข์รว่ มสุข เขาไม่จ�ำ เป็นต้องรักความเป็นเพือ่ น ความรักรากเหง้า รักบ้านเกิด รักองค์กร จึงหายไป และจุดอ่อนที่สามคือ เมื่อเขาไม่จำ�เป็นต้องแคร์คำ�ว่า เพือ่ น เขาสามารถอยูก่ บั ตัวเองได้โดยใช้สอ่ื โซเชียล ทักษะการอยูร่ ว่ มในสังคม (Social Competency) จึงอ่อนลง เท่ากับว่าเด็กยุคนีจ้ ะไม่รจู้ กั อดทนรอ ไม่รกั รากเหง้า องค์กร หรือส่วนรวม และไม่มีการปฏิสัมพันธ์กับสังคมแบบแนบแน่น อย่างน้อยที่สุดบ้านและ โรงเรียนต้องเติมเต็มในจุดอ่อนนี้ให้ได้

เจนอัลฟ่าจะเข้าถึงแหล่งข้อมูลอย่างมหาศาลมาก (Robust education) เพราะฉะนั้นเขาจะเป็นเด็กที่รอบจัด หมอไม่ค่อยห่วงเรื่อง EF ในเด็กยุคใหม่ เพราะเขาจะคิดนอกกรอบได้หมดเลย ไม่จำ�เป็นต้องพึ่งระบบการศึกษา แบบเดิม แต่จติ สำ�นึกของเขาจะบกพร่อง ทักษะการอยูร่ ว่ มกับสังคมมีปญั หา และเมื่อการเรียนรู้ของเขาเป็น Robust education เขาจึงพร้อมที่จะทำ�งาน หลากหลายอาชีพในคราวเดียว อาจจะเป็นหมอ 2 วัน เป็นเซลส์แมนอีก 3 วัน แล้วเป็นผู้จัดการอีก 2 ที่ ก็เป็นไปได้ คำ�ถามว่าโตขึ้นหนูอยากเป็น อะไรจะกลายเป็นคำ�ถามทีเ่ ปิน่ มากสำ�หรับเขา เพราะในยุคของเขาไม่จ�ำ เป็น ต้องเลือกเป็นแค่อย่างใดอย่างหนึ่ง อีกอย่างคือเด็กเจนนี้ไม่ค่อยเจอความยากลำ�บาก พลังความอึด (Resiliency) และความรักรากเหง้าจะไม่มี เขาพร้อมจะเปลี่ยนงานทันทีที่ ได้ผลประโยชน์ ไม่มีอีกแล้วที่จะทำ�งานที่เดียวนานๆ เป็นสิบปี มองมุมหนึง่ มันก็ดดู นี ะ เขาจะเป็นคนทีฉ่ ลาดและคุน้ เคยกับเทคโนโลยี มาก สามารถรังสรรค์ผลผลิตออกมาได้มหาศาล แต่ใจข้างในของเขาจะ เปราะบางมาก นี่จะเป็นจุดอ่อนที่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อ เราไม่รู้เลยว่าถ้าเกิด อะไรขึน้ มามันพร้อมจะพังได้ทนั ที เพราะเขามีปญั หาแม้แต่กบั ตัวเอง กับเพือ่ น กับที่บ้าน เขาคบกับทุกคนแบบผิวๆ หมดเลย เขาไม่พร้อมร่วมทุกข์ร่วมสุข กับใคร เขาจะเสวยสุขอย่างเดียว

แล้ ว เด็ ก รุ่ น ใหม่ อ ย่ า งเจเนอเรชั่ น อั ล ฟ่ า มี ลั ก ษณะพิ เ ศษ อย่างไร ทำ�ไมคุณหมอจึงออกมาพูดถึงเด็กกลุ่มนี้ เขาจะมีความเป็นตัวของตัวเองสูง (Individualism) ครอบครัวของเขาจะมี ลูกน้อยลง ไม่เกิน 2 คน การมีลูกน้อยลงและมีลูกช้า มักจะทำ�ให้พ่อแม่ ประคบประหงมลูกเหมือนไข่ในหิน แต่ถ้าเด็กไม่เคยพบความยากลำ�บาก และแพ้ไม่เป็น ฝันไปเถอะครับว่าจะได้ลูกเป็นสุดยอดเด็ก วันที่เด็กเจอ เชื้อโรคในสังคม เขาจะเอาไม่อยู่ CREATIVE THAILAND I 31


ถ้าระบบการศึกษาของเราท�ำลาย ซึง่ คุณลักษณะส�ำคัญทีท่ �ำให้มนุษย์ อยู่เหนือหุ่นยนต์ อย่างจินตนาการ ความรักความผูกพัน และจิตส�ำนึก นั่นแปลว่าเราก�ำลังพัฒนาลูกหลาน ของเราให้กลายเป็นหุน่ ยนต์ แถมยัง เป็นหุ่นยนต์ที่แพ้หุ่นยนต์ด้วย ทำ�ไมฟังดูแล้วเขาเหมือนไม่ใช่คน ถ้าคุณรู้สึกอย่างนั้น หมอก็จะเล่าว่ายิ่งกว่านั้นคือตอนนี้วงการมนุษย์กำ�ลัง สั่นสะเทือน ตอนที่หมอไปประชุมจิตวิทยาระดับโลก (International Congress of Psychology) ที่โยโกฮามาครั้งล่าสุด วันนั้นมีองค์ปาฐกถาถึง 2 คน คนหนึง่ เป็นคน อีกคนเป็นหุน่ ยนต์ แล้วมาลุกขึน้ โต้กบั มนุษย์เลย ญีป่ นุ่ บอกเลยว่าเขาจะสร้างเมืองหุ่นยนต์ มนุษย์คือส่วนเกินของชุมชนนั้น แล้ว หุน่ ยนต์ของเขาเป็นหนุม่ หล่อเลือกได้กบั สาวสวยไม่ขงี้ อนไม่ใจน้อย หุน่ ยนต์ ของเขาไม่พูดโกหกและไม่มีสหภาพแรงงาน ทำ�งานได้ตลอด 24 ชม.โดย ไม่มานั่งคิดว่าค่าแรงขั้นตํ่าที่ตัวเองควรได้คือเท่าไหร่ มนุษย์ที่ทำ�งานที่ไม่ ต้องใช้ทักษะจะตกงานเพียบ เมือ่ เป็นอย่างนี้ นักจิตวิทยาก็มานัง่ วิเคราะห์กนั ว่า แล้วมนุษย์จะมีอะไร ดีกว่าหุ่นยนต์ล่ะ คำ�ตอบคือ ต่อให้โลกนี้กลายเป็นสตาร์วอร์สที่มีหุ่นยนต์ บินว่อน สิ่งที่มนุษย์จะมีเหนือหุ่นยนต์มีอยู่ 3 อย่าง คือ จินตนาการและ ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) สายใยรัก (Bonding and attachment) หรือความรักที่เกิดจากความเจ็บปวด ความรักแบบไม่มีเงื่อนไข เรื่องแบบนี้ ไม่เกิดขึ้นกับหุ่นยนต์ ในเมื่อมันไม่จำ�เป็นต้องร่วมทุกข์ไปด้วยกัน มันไม่มี ความทุกข์ และสุดท้ายคือคุณธรรมและจิตสำ�นึก (Morality) ดังนั้นขอบอกเลยว่า ถ้าระบบการศึกษาของเราทำ�ลายซึ่งคุณลักษณะ สำ�คัญทีท่ �ำ ให้มนุษย์อยูเ่ หนือหุน่ ยนต์ อย่างจินตนาการ ความรักความผูกพัน และจิตสำ�นึก นัน่ แปลว่าเรากำ�ลังพัฒนาลูกหลานของเราให้กลายเป็นหุน่ ยนต์ แถมยังเป็นหุน่ ยนต์ทแ่ี พ้หนุ่ ยนต์ดว้ ย และไม่ใช่แค่ระบบการศึกษา แต่รวมถึง ระบบการพัฒนาคนในทุกมิติ หรือทีบ่ างคนเรียกกันว่า “แผนพัฒนาทุนมนุษย์” นัน่ แหละ ถ้าทำ�ลายซึง่ สิง่ เหล่านีแ้ ล้ว โปรดจงรับรูไ้ ว้เลยว่านีค่ อื กระบวนการ ผลิตหุ่นยนต์ดีๆ เท่านั้น ไม่ใช่การผลิตมวลมนุษยชาติ เรากำ�ลังทำ�หรือ ทำ�ลายกันแน่ กลับไปคิดดูให้ดี

วิธีเลี้ยงลูก ภรรยาหมอเป็นพยาบาล มีลูก 2 คน แต่ก็ไม่มีใครเรียนหมอเลย เวลา อยูบ่ า้ นก็จะเล่นกับลูกแบบสบายๆ ไม่มหี มวกว่าเราเป็นใคร จนลูกสาว เคยแหย่เล่นว่าอยากจะถ่ายรูปตอนพ่ออยูบ่ า้ นให้คนอืน่ ดูมาก ว่านีเ่ หรอ คณบดี นี่เหรอผู้อำ�นวยการสถาบันแห่งชาติ ผมก็จะบอกเขาว่าห้าม ถ่ายเด็ดขาดนะ (หัวเราะ) งานอดิเรก ผมว่าผมเป็นนักอ่านตัวยงเหมือนกันนะ ได้อะไรมาก็อา่ นหมด หนังสือ อ่านเล่นจะเป็นหนังสือทั่วไป แต่ชอบอ่านหนังสือเชิงปรัชญาเยอะ เหมือนกัน ลูกก็ถามว่านี่พ่ออ่านเล่นเหรอ อย่างหนังสือเรื่อง Equality (ความเท่าเทียม) เวลาว่างบางทีก็วิ่งออกกำ�ลังกาย วิ่งไปเกิดมีไอเดียอะไรขึ้นมาก็ มานั่งวาดรูป วาดแผนผังความคิด (Mind Map) เล่น ลูกผมก็เลยชอบ เขียนผังความคิดเหมือนกัน ร้องเพลงก็เป็นอีกอย่างที่ทำ�บ่อย เพลงโปรด เพลงที่ชอบร้องมากคือเพลงของอัสนี-วสันต์เกือบทุกเพลง โดยเฉพาะ เพลง “คนสุดท้าย” นอกจากนั้นก็มีเพลง “ศรัทธา” ของหินเหล็กไฟ กับเพลงของแจ้-ดนุพล

CREATIVE THAILAND I 32



Creative Will : คิด ทํา ดี

เปิดประตูสู่เส้นทางใหม่ ของวัยมัธยม

เรื่อง: ปิยะพร สวัสดิ์สิงห์

“หนูชอบที่ได้ลงมือทำ�จริง และช่วงเวลาที่สนุกที่สุดก็คือตอนที่ได้ออกไป ข้างนอก ออกไปสำ�รวจ” คำ�บอกเล่าทีส่ ะท้อนอินไซต์ของน้องๆ วัยมัธยมทีไ่ ด้ มาร่วมทดสอบโปรโตไทป์ชาเลนจ์ของชมรมแนวใหม่ทช่ี อ่ื ว่า Young Designer Club (YDC) ทำ�ให้ทิศทางการเริ่มต้นโครงการได้รับการโอบล้อมไปด้วย พลังงานดีๆ ด้วยว่าเด็กๆ รุน่ ใหม่ตา่ งพร้อมเปิดใจ และกระตือรือร้นกับการ ที่จะได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ รอบตัว Young Designer Club (YDC) หรือชมรมนักออกแบบรุ่นเยาว์ โดย ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) คือ ชมรมแนวใหม่ที่จะพาน้องๆ วัย มัธยมปลายให้ได้ฝกึ ฝนทักษะกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) ผ่านกิจกรรมแบบออนไลน์ทคี่ ล้ายกับกำ�ลังเล่นเกมซึง่ เรียกกันว่า “ชาเลนจ์” (Challenge) โดยทุกๆ กิจกรรมและภารกิจในแต่ละชาเลนจ์จะสอดแทรก ทักษะทีส่ �ำ คัญต่อการนำ�ไปใช้พฒั นาศักยภาพหลากหลายด้าน ได้แก่ การใช้ ความคิดสร้างสรรค์ การทำ�งานร่วมกับผู้อื่น การลงมือทำ� และความเป็น ผูป้ ระกอบการ ไปจนถึงทักษะเรือ่ งการสือ่ สาร การคิดและมองแบบองค์รวม การเข้าใจปัญหา รู้เท่าทันเทคโนโลยีและวัสดุ ตลอดจนการจัดการความ เปลีย่ นแปลงและความล้มเหลว ซึง่ ล้วนแต่เป็นทักษะทีจ่ �ำ เป็นสำ�หรับเยาวชน คนรุ่นใหม่ การร่วมทำ�ชาเลนจ์แต่ละครั้งของเด็กๆ ยังมีการเพิ่มสีสันและ ความน่าดึงดูดใจด้วยรูปแบบการแข่งขันกับเพือ่ นๆ โรงเรียนอืน่ ๆ เพือ่ ให้การ เรียนรู้ทักษะยากๆ นั้นสนุกสนาน ไม่เครียด และเหมาะกับช่วงวัยของเด็ก มัธยมปลาย ทีส่ �ำ คัญ แต่ละชาเลนจ์ทจ่ี ะช่วยพัฒนาน้องๆ ก็เกิดมาจากความ ร่วมมือของบรรดาผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ อาทิ สตูดิโอ ด้านการออกแบบ บริษทั เอกชน ไปจนถึงองค์กรต่างๆ ทีเ่ ข้ามาร่วมสร้างมิติ ที่หลากหลายให้กับชาเลนจ์ได้อย่างน่าสนใจ เป้าหมายหลักของ YDC นั้นเกิดจากความต้องการที่จะทำ�ให้ชั่วโมง ชมรมของเด็กๆ มีอะไรทีแ่ ปลกใหม่มากกว่าเดิม โดยดึงเอาความสำ�คัญของ การสร้างความรู้ความเข้าใจด้านการคิดเชิงออกแบบ ความคิดสร้างสรรค์ ไปจนถึงการฝึกฝนการเป็นผูป้ ระกอบการขัน้ พืน้ ฐาน อีกทัง้ ยังเป็นการส่งเสริม

ให้น้องๆ วัยมัธยมรู้จักประยุกต์ใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบร่วมกับองค์ ความรู้ต่างๆ เพื่อพัฒนาตนเอง และสังคมที่อยู่ใกล้ตัวกับพวกเขามากที่สุด อย่างโรงเรียนหรือชุมชนโดยรอบ ชมรม YDC จะรวบรวมกิจกรรมที่ย่อย กระบวนการต่างๆ มาให้เรียนรู้อย่างง่ายและสนุกสนานผ่านเว็บไซต์ Youngdesignerclub.com ซึ่งแม้ว่าจะเป็นภารกิจแบบออนไลน์ แต่ก็เน้น การทำ�งานร่วมกันเป็นกลุม่ ในชมรมจริงๆ โดยเด็กๆ ทุกคนในชมรมจะต้อง ช่วยกันเพื่อทำ�ให้ภารกิจสำ�เร็จ หลังจากช่วยกันทำ�ภารกิจสำ�เร็จ น้องๆ จะ ได้รับคอมเมนต์และข้อเสนอแนะต่างๆ จากผู้เชี่ยวชาญของแต่ละชาเลนจ์ เพือ่ นำ�ไปแก้ไขปรับปรุงจนสามารถรวบรวมเป็นพอร์ทโฟลิโอสำ�หรับใช้ในการ สมัครเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยต่อไป ตัวอย่างชาเลนจ์ออนไลน์ที่ น้องๆ จะได้เรียนรู้ ได้แก่ ชาเลนจ์ Design your YDC’S LOGO โดย Studio Dialogue ทีจ่ ะมาสอนน้องๆ ให้เรียนรูก้ ระบวนการออกแบบโลโก้อย่างง่ายๆ ชาเลนจ์ Uniform for fun โดย สถาบันบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน์ ที่ จะมาชวนฝึกจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ให้ออกแบบเครือ่ งแบบนักเรียน ในแบบที่ชอบ หรือชาเลนจ์ห่วงใยโลกอย่าง Way to zero waste design โดย PTT Global Chemical Public Company Limited (PTTGC) เป็นต้น วาย.ดี.ซี ยังมีกิจกรรมในรูปแบบออฟไลน์พิเศษอื่นๆ เช่น YDC Weekend (Work) Shop @TCDC ที่จัดขึ้นทุกวันเสาร์สุดสัปดาห์ เพื่อให้ น้องๆ ได้มาเรียนรู้สิ่งที่สนใจเพิ่มเติม หรือได้ลองทำ�อะไรใหม่ๆ เพื่อค้นพบ ความชอบของตัวเองได้เร็วมากยิ่งขึ้น ได้แก่ การสอนทำ�พอร์ทโฟลิโอให้น่า สนใจ หรือการฝึกทำ�งานฝีมืออย่างงานปั้นเซรามิก โดยทุกๆ กิจกรรมทั้ง ออนไลน์และออฟไลน์ของโครงการ YDC คาดหวังว่าสิง่ เล็กๆ เหล่านีจ้ ะช่วย เสริมสร้างทักษะใหม่ เชื่อมโยงความรู้ ประสบการณ์ เพื่อสร้างทักษะที่มี คุณค่าในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับน้องๆ อันเป็นกำ�ลังสำ�คัญในการ ขับเคลื่อนประเทศ และขยายวงกว้างออกไปจากโรงเรียนในกรุงเทพฯ สู่ โรงเรียนในต่างจังหวัดต่อไป

ติดตามความเคลื่อนไหวของโครงการได้ที่: www.youngdesignerclub.com และ facebook.com/youngdesignerclub CREATIVE THAILAND I 34




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.