Creative Thailand Magazine

Page 1

ตุลาคม 2561 ปีที่ 10 I ฉบับที่ 1 แจกฟรี

Creative City เอสโตเนีย Creative Startup Hbot The Creative แชมป์ ทีปกร วุฒิพิทยามงคล



HOW WILL MACHINES KNOW WHAT WE VALUE IF WE DON’T KNOW OURSELVES? เครื่องจักรจะเข้าใจสิ่งที่มนุษย์ให้คุณค่าได้อย่างไร หากเรายังไม่เข้าใจตัวเอง John C. Havens

นักเขียน นักแสดง และผู้เชี่ยวชาญด้าน AI ในมุมมองมนุษยศาสตร์และจริยศาสตร์


Contents : สารบัญ

The Subject

6

Corti ปัญญาประดิษฐ์ช่วยชีวิตมนุษย์ / AI อนาคตของคนรากหญ้า / ชะตาชีวิต ใครกำ�หนด?

Featured Book / Books / TV Series

MDIC 10 ข้อมูลศาสตร์ (Data Science) วิชาบังคับสำ�หรับนักออกแบบ

Local Wisdom

12

Cover Story

14

บทความนี้ใช้หุ่นยนต์เขียน

สอน AI ให้เป็นคนดี

Creative Startup 22

Creative Resource 8

มนุษย์กับ AI ใครวิ่งนำ� ใครตาม

Insight 20

Hbot : สตาร์ทอัพที่อยากให้ทุกคน สร้าง AI ได้ด้วยตัวเอง

Creative City

24

The Creative

28

Creative Will

34

เอสโตเนีย : สร้างชาติใหม่ ไร้พรมแดน

แชมป์ ทีปกร วุฒิพิทยามงคล มนุษย์ AI อคติ และเผด็จการ

หากเศร้าจนรู้สึกว่าไม่มีทางออก Woebot ช่วยคุณได้

บรรณาธิการที่ปรึกษา l อภิสทิ ธิ์ ไล่สตั รูไกล บรรณาธิการอำ�นวยการ l กิตติรตั น์ ปิตพิ านิช ที่ปรึกษา l ศิรอิ ร หริม่ ปราณี, ชมพูนทุ วีรกิตติ, พิชติ วีรงั คบุตร, พจน์ องค์ทวีเกียรติ, เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร บรรณาธิการบริหาร l พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์ กองบรรณาธิการ l มนฑิณี ยงวิกลุ , ปิยวรรณ กลิน่ ศรีสขุ เลขากองบรรณาธิการ l วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ ศิลปกรรม l ชิดชน นินนาทนนท์ สมาชิกสัมพันธ์ l ปิยะพร สวัสดิ์สิงห์ ประสานงานกองบรรณาธิการ l ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ ช่างภาพและมัลติมีเดีย l ภีร์รา ดิษฐากรณ์ นักศึกษาฝึกงาน l กิตติภูมิ ใบปก จัดทำ�โดย l สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) (CEA) 1160 อาคารไปรษณีย์กลาง ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10501 โทร. 02 105 7400 แฟกซ์. 02 105 7450 พิมพ์ที่ l โรงพิมพ์ดับบลิวพีเอส (ประเทศไทย) จำ�กัด โทร. 02 313 4405 แฟกซ์. 02 313 4445 จำ�นวน 15,000 เล่ม ติดต่อลงโฆษณา: Commu.Dept@tcdc.or.th นิตยสารฉบับนีใ้ ช้หมึกพิมพ์จากนา้ํ มันถัว่ เหลืองทีไ่ ม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทัง้ ยังเป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อม และใช้กระดาษ รีไซเคิล ซึ่งเป็นผลผลิตของผู้ประกอบการไทย จัดทำ�ภายใต้โครงการ “Creative Thailand สร้างเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์” โดยสํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจ สร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) (CEA) ซึ่งมีเป้าหมายในการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) และผลักดันการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส แสดงที่มา-ไมใชเพื่อการคา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย แสดงที ่มา-ไมใTHAILAND ชเพื่อการคา-อนุI ญ4าตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย CREATIVE


Editor’s Note : บทบรรณาธิการ

Another I มนุษย์รจู้ กั สรรหาและสร้างสรรค์เครือ่ งไม้เครือ่ งมือนานาชนิดมาช่วยให้การใช้ชวี ติ ง่ายขึน้ ตัง้ แต่สมัยดึกดำ�บรรพ์ จากเครือ่ งมือหินของมนุษย์โบราณ งานหัตถกรรม จักสานเพือ่ การประกอบอาชีพทางการเกษตร มาจนถึงการผลิตแบบอุตสาหกรรม ทีเ่ ปิดโอกาสให้ผคู้ นทุกระดับของสังคมเข้าถึงสิง่ อำ�นวยความสะดวกต่างๆ ได้งา่ ย ยิ่งขึ้นโดยไม่ต้องลงมือผลิตด้วยตนเอง และการเข้าสู่โลกเสรีของอินเทอร์เน็ต ตลอดจนวิวฒั นาการล่าสุดอย่างปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI (Artificial Intelligence) ทีก่ า้ วเข้ามาข้องเกีย่ วกับชีวติ ประจำ�วันของคนทั่วไปมากขึ้น จนเรียกได้วา่ อยูใ่ น แทบทุกมิติของชีวิตเรา เราต่างชืน่ ชมยินดีกบั ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทอี่ �ำ นวยความสะดวก ให้ชีวิต ซึ่งช่วยทั้งประหยัดเวลา ลดต้นทุน ประหยัดทรัพยากร และหลายต่อ หลายครั้งที่มันรู้ใจและเข้าถึงความต้องการลึกๆ ของเราได้อย่างน่าประหลาด เราไว้เนือ้ เชือ่ ใจและพึง่ พาเทคโนโลยีมากขึน้ เรือ่ ยๆ จนถึงขัน้ ทีเ่ ราเองก็อดทีจ่ ะ รู้สึกแคลบแคลงกับวิวัฒนาการเหล่านี้ไม่ได้ว่า เมื่อ AI วิวัฒน์ไปถึงจุดที่ฉลาด เหนือมนุษย์แล้ว นั่นจะเป็นจุดจบของมนุษยชาติหรือไม่ มีงานวิจัยมากมายที่กล่าวถึงวิวัฒนาการของ AI ในหลากหลายมุมมอง ไม่ว่าจะเป็นการก้าวสู่ Super AI ที่มีพัฒนาการในขีดสุดทั้งระดับสติปัญญา ระดับจิตสำ�นึก และระดับการหยั่งรู้ตนเอง การพยายามค้นหาคำ�ตอบว่า คอมพิวเตอร์จะสามารถ “คิด” ได้หรือไม่ และหากมันสามารถคิดได้เช่นเดียว กับมนุษย์ หรือแม้กระทั่งมีความฉลาดทางอารมณ์ และเข้าใจความรู้สึกต่างๆ ของคน AI ที่ยิ่งขยับเข้าใกล้ความเป็นมนุษย์เช่นนี้ จะผันตัวเองจากบทบาท

ของการเป็น “ผู้ช่วยอัจฉริยะ” มาสู่อะไรที่มากกว่านั้นได้อย่างไม่จำ�กัดจริง หรือเปล่า ยิง่ มนุษย์เป็นสิง่ มีชวี ติ ทีเ่ ต็มไปด้วยข้อจำ�กัด มีขดี ความอดทนตํา่ ไม่สมา่ํ เสมอ ทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ไม่มากเท่าเครื่องจักร แถมยังเต็มไปด้วยอารมณ์ ความรู้สึกที่คาดเดาได้ยาก ข้อจำ�กัดเหล่านี้ทำ�ให้เราเริ่มหวาดกลัวว่า เมื่อ AI ก้าวข้ามความเป็นผูช้ ว่ ยอัจฉริยะของมนุษย์มาได้ มันจะกลายมาเป็นผูท้ ที่ �ำ งาน ทดแทนเราได้อย่างสิน้ เชิงหรือไม่ และแม้แต่กลายเป็นผู้ที่คุกคามมนุษย์ได้ในที่สุด อย่างไรก็ตาม ยังมีแนวคิดอีกมากมายที่เชื่อมั่นว่า AI ยังคงไม่สามารถ วิวฒั น์มาสูก่ ารเป็นภัยคุกคามของมนุษย์ ตราบใดเรายังมีทกั ษะอีกมากทีป่ ญั ญา ประดิษฐ์(ยัง)ไม่สามารถก้าวตามได้ทัน โดยเฉพาะงานที่ต้องใช้ทักษะการรับรู้ และการตอบสนองที่ซับซ้อน ความคิดสร้างสรรค์ หรือทักษะทางสังคมขั้นสูง เช่น การทำ�เข้าใจความรูส้ กึ ของผูอ้ นื่ อย่างลึกซึง้ (empathy) ที่ AI ยังไม่สามารถ ทำ�ได้ อย่างน้อยก็ในช่วงเวลาหนึ่งนับจากนี้ และแทนที่เราจะมานั่งวิตกกังวล กับความก้าวล้ำ�ของ AI ก่อนจะถึงเวลานั้น เราอาจต้องเริ่มจากการละวางอคติ ลงก่อน เพราะสุดท้ายแล้ว ปัญญาประดิษฐ์กค็ อื ภาพสะท้อนถึงวิวฒั นาการและ ความต้องการอันเป็นเนื้อแท้ของมนุษย์นั่นเอง เมื่อมนุษย์ยังคงสร้างประโยชน์ให้เกิดขึ้นต่อกันและกันได้ หรืออีกทางคือ ตราบใดที่มนุษย์ยงั เป็นภัยต่อมนุษย์ดว้ ยกันเอง การสร้าง AI ทีส่ ามารถเลียนแบบ มนุษย์ได้แทบทุกอย่างจะมีค่าอะไร ถ้าเราไม่พัฒนาเผ่าพันธุ์ของเราเองให้ดี เสียก่อน กิตติรัตน์ ปิติพานิช บรรณาธิการอํานวยการ

CREATIVE THAILAND I 5


The Subject : ลงมือคิด

Corti ปัญญาประดิษฐ์ช่วยชีวิตมนุษย์ เรื่อง: นพกร คนไว

corti.ai

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเป็นภาวะที่อันตรายและเกิดขึ้นได้กับทุกคน จำ�เป็น อย่างยิ่งที่ผู้ป่วยจะต้องได้รับการช่วยเหลือที่รวดเร็วและถูกต้อง เพราะหาก เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น ระบบการไหลเวียนของเลือดจะหยุดทำ�งานซึง่ ทำ�ให้ ขาดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะสมองจะหยุดทำ�งาน หลังจากไม่ได้รับเลือดใน 4 นาที และจะเสียชีวิตหากไม่รับการช่วยเหลือ ในปัจจุบนั การรอดชีวติ จากภาวะหัวใจหยุดเต้นเริม่ มีความหวังมากขึน้ เมื่อบริษัทซอฟต์แวร์สตาร์ทอัพจากเดนมาร์กชื่อว่า Corti สามารถพัฒนา ระบบ AI ทีช่ ว่ ยลดการเสียชีวติ จากภาวะหัวใจหยุดเต้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย AI จะมาในรูปแบบซอฟต์แวร์ทค่ี อยฟังการสนทนาของเจ้าหน้าทีร่ บั แจ้งเหตุ และมีการทดสอบใช้งานครัง้ แรกในเมืองโคเปนเฮเกน โดยเรียนรูจ้ ากประวัติ การสนทนาเหตุฉกุ เฉินในกรณีของภาวะหัวใจหยุดเต้นกว่า 4,089 ครัง้ ทำ�ให้ สามารถวิเคราะห์ผู้ป่วยที่มีอาการเข้าข่ายและสามารถช่วยชีวิตได้ถึง 93.1 เปอร์เซ็นต์ จากเดิมที่เจ้าหน้าที่ช่วยเหลือได้เพียง 72.9 เปอร์เซ็นต์ การทำ�งานของ Corti ไม่ได้ถกู สร้างมาเพือ่ ทำ�หน้าทีแ่ ทนมนุษย์ แต่สร้าง มาเพือ่ พัฒนาประสิทธิภาพการทำ�งานของเจ้าหน้าทีใ่ ห้ดขี น้ึ เมือ่ ได้รบั แจ้งเหตุ

เจ้าหน้าทีจ่ ะถามชือ่ และทีอ่ ยูเ่ ป็นขัน้ ตอนแรก ในขณะเดียวกัน AI จะตรวจสอบ ที่อยู่และเส้นทางที่ใกล้ที่สุดแล้วจะส่งรถพยาบาลออกไปช่วยเหลือทันที จากนัน้ เจ้าหน้าทีจ่ ะเริม่ ต้นถามอาการของผูป้ ว่ ย หากผูท้ โ่ี ทรมามีการตืน่ ตกใจ และไม่สามารถอธิบายอาการของผู้ป่วยได้ AI จะตรวจจับคำ�ที่เป็นคีย์เวิร์ด เช่น หมดสติ หายใจผิดปกติหรือไม่หายใจ แล้วนำ�คีย์เวิร์ดเหล่านั้นไป วิเคราะห์กบั ฐานข้อมูลว่าเข้าข่ายภาวะหัวใจหยุดเต้นหรือไม่ ซึง่ หากวิเคราะห์ ได้ว่าเข้าข่าย AI จะแสดงวิธี CPR ให้เจ้าหน้าที่สามารถบอกแก่ญาติผู้ป่วย ได้ โดยขั้นตอนทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในเวลาราว 1 นาที ความโดดเด่นของ AI คือการวิเคราะห์เสียงซึ่งสามารถแยกแยะคำ�พูด ได้แม้จะอยู่ในที่ที่มีเสียงรบกวนสูง อีกทั้งยังวิเคราะห์เสียงที่ไม่เป็นคำ�พูดได้ เช่น เสียงไซเรน เสียงบรรยากาศรอบตัว หรือแม้แต่เสียงหายใจที่ผิดปกติ อย่างไรก็ตาม เจ้า AI ตัวนี้ยังคงไม่สามารถวิเคราะห์ความเงียบได้ว่าเป็น สายแกล้งโทรหรือผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือจริงๆ ปัญหาเหล่านี้จึงเป็น ความท้าทายที่ทีมพัฒนากำ�ลังมุ่งหน้าปรับปรุงซอฟต์แวร์ให้มีความแม่นยำ� มากขึ้น อีกทั้งยังมีเป้าหมายว่าจะให้ AI เรียนรู้ภาษาอื่นๆ ได้อีกด้วย ก้าวต่อไปของ Corti คือการร่วมมือกับสมาคมหมายเลขฉุกเฉินแห่ง ยุโรป (The European Emergency Number Association) โดยมีแผนเริ่ม ใช้งานสำ�หรับ 4 ประเทศในยุโรป เพื่อให้ AI ได้เรียนรู้ข้อมูลที่หลากหลาย และพัฒนาความสามารถให้ใช้ได้ในสถานการณ์ทกุ รูปแบบเพือ่ ช่วยชีวติ และ เพิ่มความปลอดภัยของประชาชนได้อย่างทั่วถึง ที่มา: บทความ “Having A Heart Attack? This AI Helps Emergency Dispatchers Find Out” โดย Adele Peters จาก fastcompany.com, บทความ “Europe launches a heart attack-detecting AI for emergency calls” โดย Már Másson Maack จาก thenextweb.com และ corti.ai

AI อนาคตของคนรากหญ้า

corti.ai

เรื่อง: พฤฒ มิ่งศุภกุล

ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบจากนโยบายไทยแลนด์ 4.0 แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมของรัฐบาลชุดปัจจุบัน ขณะที่ สังคมไทยเริ่มตื่นตัวและมีการพัฒนาในด้านต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะ การนำ�เทคโนโลยีเข้ามาใช้กับการทำ�ธุรกิจสตาร์ทอัพ อย่างไรก็ตาม การ พัฒนาสังคมสู่สังคมดิจิทัลส่วนใหญ่ยังคงเป็นเรื่องของผู้คนในเมืองกรุง เพื่อแก้ปัญหาของผู้ที่มีฐานะหรือเป็นชนชั้นกลาง แต่สำ�หรับปัญหาของคน รากหญ้า ยังเป็นที่น่าสนใจว่าเราจะสามารถแก้ปัญหาของพวกเขาด้วย เทคโนโลยีได้อย่างไร หนึง่ ในโครงการทีเ่ กิดขึน้ ของรัฐบาลก็คอื บัตรคนจนสำ�หรับผูท้ มี่ รี ายได้ 30,000-100,000 บาทต่อปี และผู้มีรายได้ตํ่ากว่า 30,000 บาทต่อปี โดยการ มอบบัตรที่มีเทคโนโลยีควบคุมการเงิน ทำ�ให้รัฐบาลควบคุมการทุจริต ทางการเงิน และกำ�หนดรายจ่ายของผู้ถือบัตรได้ โดยสามารถใช้จ่ายได้ กับสินค้าอุปโภคบริโภค ยารักษาโรค สินค้าเพื่อการศึกษา สินค้าเพื่อ เกษตรกรรม นอกจากนี้บัตรคนจนยังใช้ได้กับรถเมล์ รถไฟฟ้า และรถไฟ เพื่อส่งเสริมให้การใช้ชีวิตมีความสะดวกสบายยิ่งขึ้น

CREATIVE THAILAND I 6


Photo by H Heyerlein on Unsplash

ชะตาชีวิต ใครกำ�หนด?

facebook.com/folkrice

เรื่อง: วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ

สำ�หรับการแก้ปัญหาเรื่องปากท้องอย่างยั่งยืนโดยใช้เทคโนโลยีเป็น ทางออก ยังเกิดขึ้นกับเกษตรกรรายย่อยในต่างจังหวัด Folk Rice คือหนึ่ง ในผู้ให้บริการทางเว็บไซต์และแอพพลิเคชั่นที่เปิดให้ผู้ซื้อกับผู้ขายที่เป็น เกษตรกรรายย่อยสามารถติดต่อกันได้โดยตรงโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง นับเป็นช่องทางใหม่ที่ช่วยสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรชาวไทยเพิ่มมากขึ้น และเป็นการสร้างรากฐานทางเศรษฐกิจได้อย่างยั่งยืน ประเด็นของผูค้ นยากจน คงไม่ได้มเี พียงเกษตรกรทีก่ �ำ ลังประสบปัญหา เท่านัน้ แต่รวมถึงประเด็นเกีย่ วกับวัฒนธรรมในด้านต่างๆ เช่น โขน มวยไทย ลิเก หรือผ้าไทย ทีเ่ ริม่ จางหายไปเรือ่ ยๆ อันเป็นผลพวงมาจากการหลากเข้า มาของวัฒนธรรมตะวันตกและเทคโนโลยีซงึ่ เข้ามาแทนที่ แต่ส�ำ หรับประเทศ ญี่ปุ่น กลับสามารถพัฒนาเทคโนโลยีให้ควบคู่ไปกับวัฒนธรรมได้ เพื่อสร้าง รายได้ให้กับผู้คนยากจนในชนบท ยกตัวอย่างเช่น Hyakusenrenma และ TABICA ซึง่ เป็นสตาร์ทอัพทีใ่ ห้บริการทีพ่ กั และจัดทริปให้นกั ท่องเทีย่ วได้พกั ในบ้านพักของชาวนาหรือชาวประมง พร้อมท่องเที่ยวด้วยการสัมผัสกับ ธรรมชาติ และศึกษาชีวิตแบบชนบทของญี่ปุ่นอย่างใกล้ชิด จนได้รับการ ตอบรับอย่างดีจากนักท่องเทีย่ ววิถใี หม่ทใี่ ส่ใจธรรมชาติ ทัง้ หมดนีจ้ งึ สะท้อน ให้เห็นว่าเทคโนโลยีนั้นสามารถนำ�เข้ามาปรับใช้และพัฒนาความเป็นอยู่ ของผูค้ นทีย่ ากจนได้หลากหลายด้าน เหลือก็เพียงรอให้ผทู้ สี่ นใจหยิบใช้อย่าง สร้างสรรค์ เพื่อแก้ปัญหาของประเทศได้อย่างยั่งยืนนั่นเอง ที่มา: บทความ “ชม 7 ตัวอย่างธุรกิจ Startup ญีป่ ุ่นน่าสนใจ ใครๆ ก็ว่าโดน” จาก estopolis.com / บทความ “ชำ�แหละ “บัตรคนจน” ซื้อตรงไหน ใช้อย่างไร ได้กี่อย่าง” จาก sanook.com / บทความ “Folk Rice ตลาด (กลาง) ออนไลน์เพื่อเกษตรกรไทย” จาก isranews.org

คงจะปฏิเสธได้ยากว่า อัลกอริทึมของ AI ในปัจจุบันได้ช่วยเหลือมนุษย์เรา หลากหลายด้าน อาทิ ช่วยเรือ่ งการสือ่ สารอย่างการแปลภาษา ช่วยตรวจจับ ใบหน้ามนุษย์ บล็อกสแปมในอีเมล ตรวจหาการโกงบัตรเครดิต หรือกระทัง่ ช่วยวินจิ ฉัยโรคร่วมกับแพทย์ แต่ความลํา้ หน้าของอัลกอริทมึ เหล่านี้ทเี่ กิดจาก “กระบวนการเรียนรู้ของเครื่องจักร (Machine Learning)” อันเกิดจากการ ป้อนข้อมูลจำ�นวนมหาศาลซึ่งโดยทั่วไปแล้วไม่มีโครงสร้าง และปล่อยให้ ระบบตอบคำ�ถามที่อิงกับความน่าจะเป็นของสิ่งที่มนุษย์กำ�ลังมองหาอยู่ กลับเป็นปัญหาสำ�คัญอย่างหนึ่ง เพราะมนุษย์เรายังไม่อาจรู้ด้วยซํ้าว่า AI สามารถแยกแยะผิดหรือถูกได้จริงหรือไม่ ดูเหมือนจุดอ่อนหนึง่ ทีเ่ ห็นได้ชดั ก็คอื การที่ AI ยังไม่สามารถขจัดอคติ ที่เกิดจากมนุษย์ด้วยกันได้ เมื่อ AI รับข้อมูลจำ�นวนมากที่เต็มไปด้วยอคติ แฝงของมนุษย์ อย่างเช่น เรื่องเพศ เชื้อชาติ หรืออายุ สิ่งที่มนุษย์หวังอยาก ให้เอไอมาช่วยเหลืออย่างระบบการคัดเลือกบุคลากรให้ตรงกับความต้องการ ขององค์กรโดยปราศจากอคติตา่ งๆ ก็อาจพบปัญหาขึน้ เช่น นักวิจยั จำ�นวน มากพบว่า ผูห้ ญิงมักเห็นโฆษณาการหางานในตำ�แหน่งทีไ่ ด้เงินเดือนตํา่ กว่า ผูช้ าย หรือหากผูจ้ า้ งงานค้นหาชือ่ คนสมัครงานทีม่ สี ญั ชาติแอฟริกนั -อเมริกนั ก็มีแนวโน้มจะเจอโฆษณาที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับอาชญากรรม แม้ว่าคนๆ นั้น จะไม่มีประวัติอาชญากรรมก็ตาม เซย์เน็ต ตูเฟ็กซี (Zeynep Tufekci) โปรแกรมเมอร์ผเู้ ชีย่ วชาญด้านเทคโนโลยีและสังคมวิทยาชาวตุรกีได้ท�ำ นายว่า ระบบการคัดคนเข้าทำ�งานโดย AI อาจจะคัดคนที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นโรค ซึมเศร้าในอนาคต หรือผูห้ ญิงทีม่ แี นวโน้มจะตัง้ ครรภ์สงู ในอีกไม่กปี่ ขี า้ งหน้า ออกไป ดังนั้นแล้ว AI ในมุมหนึ่งที่แม้จะช่วยเหลือและเพิ่มโอกาสในชีวิต ให้คนๆ หนึ่งได้ มันก็อาจจะกดชีวิตบางคนให้ตกต่ำ�ได้ด้วยเช่นกัน คำ�ถาม คือ นี่คือสังคมที่เราอยากได้หรือไม่ หากไม่ใช่ การให้อำ�นาจเครื่องจักรใน การตัดสินใจเรื่องบางอย่างแทนมนุษย์ โดยที่เรายังไม่อาจเข้าใจมันได้อย่าง ถ่องแท้ คงต้องมาพิจารณากันเสียใหม่ เพราะแม้ว่ามนุษย์จะเป็นเจ้าของ มันสมองทีช่ าญฉลาดเพียงใด แต่หากยังสอบตกในเรือ่ งคุณธรรมและจริยธรรม อยูซ่ าํ้ แล้วซํา้ เล่า การจะหวังให้ปญั ญาประดิษฐ์มาช่วยแก้ปญั หานีก้ ค็ งจะเป็น เรื่องที่เป็นไปไม่ได้เช่นกัน ที่มา: วิดีโอ “Machine intelligence makes human morals more important” (มิถุนายน 2016) โดย Zeynep Tufekci จาก ted.com

CREATIVE THAILAND I 7


Creative Resource : วัตถุดิบทางความคิด เรื่อง: เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร รัชดาภรณ์ เหมจินดา และ อำ�ภา น้อยศรี

FEAT U RED BOOK The Book of Why: The New Science of Cause and Effect โดย Judea Pearl และ Dana Mackenzie คำ�ว่า “ทำ�ไม” นัน้ เป็นจุดเริม่ ต้นในการสร้างนวัตกรรม เป็นจุดเริม่ ต้นในการ ค้นหาคำ�ตอบ และเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างอนาคต การที่จะตอบคำ�ถาม ว่า “ทำ�ไม” สิ่งที่ต้องเข้าใจลำ�ดับแรกคือ อะไรคือ “สาเหตุ” และเราอาจจะ เคยได้ยินคำ�พูดที่ว่า “Correlation doesn’t imply causation.” ซึ่งเป็นการ ยํ้าเตือนให้ระวังเสมอว่า สิ่งที่มันอาจสัมพันธ์กันนั้น มันอาจไม่เป็นเหตุเป็น ผลระหว่างกัน มันไม่ได้บ่งบอกถึงสาเหตุ และเพื่อไม่ให้ตกหลุมพรางของ ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล ที่บางครั้งคล้ายว่ามีอิทธิพลต่อกัน แต่แท้จริง แล้วมันอาจจะไม่ได้บอกอะไรก็เป็นได้ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์และนักสถิติรู้ดีว่า ต้องอาศัยการพิสจู น์และหาปัจจัยเงือ่ นไขทีส่ ร้างผลกระทบเพือ่ หาสาเหตุตอ่ ไป ในทางคณิตศาสตร์เมื่อมีสมการหนึ่งให้พิสูจน์ เช่น x = yz การที่จะ บอกว่า x เป็นสาเหตุของ z นั้นไม่ถูกต้องเสมอไป เนื่องจากทั้งสามตัวแปร ล้วนสามารถสร้างผลกระทบให้กับตัวแปรที่เหลือ ดังนั้นคงพูดไม่ได้อย่าง ชัดเจนว่าตัวแปรหนึง่ เป็นตัวทำ�ให้เกิดอีกตัวแปรหนึง่ ขึน้ มา และด้วยหลักการนี้ สถิติจึงมุ่งเน้นไปที่การสรุปผลที่ได้จากข้อมูล มากกว่าการตีความ อนุมาน ถึงสาเหตุ ซึ่งศาสตราจารย์เพิร์ล ผู้แต่งหนังสือเล่มนี้เห็นว่าบางสิ่งมีความ

สัมพันธ์กนั อย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิง่ โลกในปัจจุบนั ทีเ่ ต็มไปด้วยข้อมูล หรือที่เรามักได้ยินศัพท์ที่คุ้นหูอย่าง Big Data และอาจทำ�ให้เสียเวลาและ พลาดโอกาส หากไม่นำ�เอาความสัมพันธ์และข้อมูลผลกระทบที่เกิดจาก ปัจจัยต่างๆ เหล่านั้นมาร่วมพิจารณาถึงสาเหตุ ผู้แต่งได้นำ�เสนอระดับขั้นของการหาสาเหตุว่ามี 3 ระดับที่แตกต่างกัน ระดับแรก จากการมองเห็น การสังเกต หรือการเข้าไปมีสว่ นร่วม แล้วอ้างอิง จากข้อมูล องค์ความรู้ ประสบการณ์และเหตุการณ์ในอดีต ซึ่งปัจจุบัน องค์ความรู้ของเทคโนโลยีในกลุ่ม Machine Learning ยังอยู่ในระดับแรกนี้ เท่านั้น ระดับที่สอง จากการลงมือกระทำ�อะไรบางอย่าง แล้วประมวลผลที่ จะเกิดขึ้น ว่าถ้าทำ�เช่นนี้จะเกิดอะไรขึ้น เมื่อไหร่ อย่างไร และระดับที่สาม จากการจินตนาการเชิงเปรียบเทียบกับสิง่ ทีย่ งั ไม่มอี ยูจ่ ริง ซึง่ เป็นการทำ�ความ เข้าใจในสิ่งที่ได้ทำ�ไปแล้ว และทำ�ไมถึงได้ผลเช่นนั้น หนังสือเล่มนี้จะทำ�ให้เราเข้าใจถึงศาสตร์อันเป็นที่มาของเหตุและผล ซึง่ เป็นพืน้ ฐานของการตัดสินใจของมนุษย์ และเป็นองค์ความรูส้ �ำ คัญสำ�หรับ การสร้างปัญญาประดิษฐ์

CREATIVE THAILAND I 8


BOOK Superintelligence โดย Nick Bostrom จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเทคโนโลยีฉลาดมากๆ และ วันหนึ่งมันอาจฉลาดกว่ามนุษย์ แล้วเราจะมั่นใจ ได้อย่างไรว่า เทคโนโลยีที่ฉลาดเหล่านั้นจะไม่ใช่ ภัยคุกคามมนุษยชาติ ผู้แต่งหนังสือเล่มนี้ชี้ให้ เห็นถึงความเป็นไปได้จากความเจริญก้าวหน้า ของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งปัจจุบันถึง ยุคของการเรียนรู้โดยไม่จำ�เป็นต้องรอรับคำ�สั่ง จากมนุษย์แล้ว อีกไม่เกิน 50 ปี เราอาจจะได้เห็น เครื่องจักรสามารถคิดเชื่อมโยงความรู้ในสาขาที่ แตกต่างกัน และมีความสามารถเข้าใกล้สมอง ของมนุษย์เข้าไปทุกที สิ่งที่ต้องกังวลก็คือ เราจะ สามารถควบคุมเทคโนโลยีที่ฉลาดกว่าเรานั้นได้ จริงหรือ เมื่อมันเก่งมากๆ มนุษย์จะเข้าสู่ภาวะ ที่เราขาดเทคโนโลยีเหล่านั้นไม่ได้ และปัญญา ประดิษฐ์อาจกลายเป็นสิง่ สุดท้ายที่มนุษย์จะสร้างขึน้ ดั ง นั้น นอกจากที่จ ะให้ เ ครื่อ งจั ก รคิ ด แต่ เ รื่ อ ง ประสิ ท ธิ ภ าพที่ ดี ที่ สุ ด เพื่ อ จะไปถึ ง เป้ า หมาย เท่ า นั้ น อาจต้ อ งใส่ ค วามรู้ ค วามเข้ า ใจด้ า น จริยธรรม และการอยู่ร่วมกันกับสังคมมนุษย์ให้ เครื่องจักรได้เรียนรู้ไปพร้อมๆ กันด้วย

T V SE R IES HELLO, ROBOT DESIGN BETWEEN HUMAN AND MACHINE โดย Mateo Kries จากนิทรรศการ Hello, Robot. Design between Human and Machine ที่จดั แสดงที่ Vitra Design Museum ในปี 2017 นำ�เสนอให้เห็นถึงบทบาท ของหุน่ ยนต์ในมิตติ า่ งๆ และแนวคิดเรือ่ งหุน่ ยนต์ ซึ่งเกิดขึ้นมานานจนแทบแยกออกจากชีวิตของ เราไม่ได้ หนังสือทีม่ ชี อื่ เดียวกันกับชือ่ นิทรรศการ ได้ถูกจัดทำ�ขึ้นมาหลังจากนั้น พร้อมกับนำ�เสนอ เนื้อหาที่สะท้อนให้เห็นถึงพัฒนาการของคำ�ว่า “Robot” ไปจนถึงความสัมพันธ์ระหว่างหุ่นยนต์ และมนุษย์ที่มีต่อกัน อาทิ การที่การ์ตูนและ ภาพยนตร์ในยุคหลังๆ สร้างมโนทัศน์ว่าหุ่นยนต์ ไม่ได้เป็นแค่ศัตรู แต่เป็นมิตรกับเรา หรือการที่ หุ่นยนต์จะเข้ามาทำ�งานแทนเรา โดยรวมแล้ว แสดงให้เห็นถึงวิวฒั นาการของเทคโนโลยีทไี่ ปไกล จนถึงขั้นที่ว่าหุ่นยนต์และมนุษย์กลายเป็นหนึ่ง เดียวกัน อีกหนึ่งความน่าสนใจของหนังสือเล่มนี้ คือการจัดหน้าหนังสือ (Layout) ด้วยระบบ อัลกอริทึม ถือเป็นการทดลองนำ�หุ่นยนต์มา สร้างสรรค์งานออกแบบ ซึ่งแม้ผลลัพธ์ที่ออกมา จะดูกระจัดกระจาย แต่ก็สะท้อนให้เราเห็นว่า การรับรูค้ วามงาม (Sense of Aesthetics) นัน้ เป็น สิง่ ทีท่ �ำ ให้หนุ่ ยนต์ตา่ งจากมนุษย์ แต่กเ็ ป็นไปได้ที่ ในอนาคตความคิดนีจ้ ะหายไป และเราอาจได้เห็น หุน่ ยนต์สร้างงานออกแบบแทนมนุษย์ได้อย่าง สมบูรณ์

พบกับวัตถุดิบทางความคิดเหล่านี้ได้ที่ TCDC Resource Center CREATIVE THAILAND I 9

Secret Forest (Stranger) กํากับโดย Ahn Gil-Ho ความยุติธรรมจะเกิดขึ้นไม่ได้ หากผู้รักษาความ ยุตธิ รรมนำ�อารมณ์และความรูส้ กึ เข้ามาเกีย่ วข้อง แต่ฮวางชีมก อัยการหนุ่มจากทีวีซีรีย์ Secret Forest คื อ อั ย การมื อ ฉมั ง ทว่ า มี ปั ญ หาด้ า น บุคลิกภาพเรื่องการแสดงออกทางอารมณ์จาก ผลพวงการผ่าตัดสมองในวัยเด็ก เมื่อประสาท ความรู้สึกด้านอารมณ์ธรรมชาติ รัก โลภ โกรธ หลง เยีย่ งมนุษย์ไม่ตอบสนอง เขาจึงไม่ตา่ งอะไร จากสมองกลอัจฉริยะ การพิจารณาคดีความใน ความรับผิดชอบของฮวางซีมกจึงปราศจากความ รู้สึกนึกคิดแบบมนุษย์ กระบวนการพิพากษา ประมวลผลจากหลักฐานทุกประเภทที่เกี่ยวข้อง สามารถชั่ ง น้ำ � หนั ก พยานหลั ก ฐาน ตั้ง -ตอบ คำ�ถามเชิงจริยธรรมว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด จึงเชื่อ ได้ว่าคำ�พิพากษาจากฮวางชีมกนั้นยุติธรรม เพื่อ แก้ปัญหาความอยุติธรรมที่เกิดจากข้อบกพร่อง ของมนุษย์ มีแนวโน้มสูงว่าในอนาคตปัญญา ประดิษฐ์ หรือ Artificial Intelligence จะเป็นหนึง่ ทางเลือกทีเ่ ข้ามารับบทบาทผูผ้ ดุงความยุตธิ รรม แทนที่มนุษย์ก็เป็นได้


MDIC : นวัตกรรมและวัสดุ

ข้อมูลศาสตร์ (Data Science) วิชาบังคับสำ�หรับนักออกแบบ

Photo by Franki Chamaki on Unsplash

เรื่อง: ชมพูนุท วีรกิตติ และ ปิยวรรณ กลิ่นศรีสุข

คำ�ถามที่ว่า AI หรือปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) จะมาเปลี่ยน ธุรกิจในโลกนี้อย่างไร กำ�ลังได้รับความสนใจมากขึ้น เพราะ AI กำ�ลังทำ�ให้ ระบบของธุรกิจเป็นอัตโนมัติมากขึ้น และเข้าถึงประสบการณ์ของลูกค้าได้ ทุกแง่มุม ไม่ว่าจะเป็นการรับมือ การพูดคุยสื่อสารกับลูกค้า การติดตาม ข้อมูลแบบเรียลไทม์ทสี่ ามารถมองเห็นรูปแบบความคิดและการตัดสินใจของ ผู้บริโภคได้ดียิ่งขึ้น เช่น ทำ�นายได้ว่าลูกค้าจะซื้ออะไรต่อไป รวมทั้งการยิง โฆษณาออนไลน์สง่ ตรงถึงลูกค้าเฉพาะรายได้แม่นยำ�ขึน้ ความสามารถพิเศษ ในการตรวจจับรูปแบบ (Pattern) ของกระแสข้อมูล จนถึงการรวบรวมข้อมูล มหาศาลมาวิเคราะห์ จึงกลายเป็นเรื่องจำ�เป็นสำ�หรับการหาโซลูชั่นที่ ตอบโจทย์ประสบการณ์ของลูกค้าอย่างเป็นธรรมชาติ เข้าถึงอารมณ์และ ความรู้สึก โดยไม่ทำ�ให้รู้สึกว่าถูกยัดเยียดทางการตลาดมากไป ด้วยเหตุนี้ IDEO บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านที่ปรึกษาการออกแบบระดับโลก จึงได้ประกาศซื้อบริษัท Datascope ผู้เชี่ยวชาญด้านข้อมูลศาสตร์ (Data Science) เมื่อปีที่ผ่านมา และได้ร่วมกันสร้างวิธีการทำ�งานที่เรียกว่า D4AI: Design for Augmented Intelligence โดยใช้ข้อมูลศาสตร์และความเข้าใจ เชิงลึกเกี่ยวกับมนุษย์ ร่วมกับแนวทางหลักของ IDEO ที่เน้นเรื่องมนุษย์เป็น ศูนย์กลาง (Human-Centered) มาใช้ในกระบวนการออกแบบเพือ่ แก้ปญั หา ให้ลกู ค้า ซึง่ IDEO ตัง้ ใจเลือกใช้ค�ำ Augmented แทนคำ�ว่า Artificial เพราะ ต้องการเน้นถึงความสามารถในการส่งเสริมและขยายความสามารถของ มนุษย์ผา่ นการใช้เทคโนโลยี ในทางกลับกัน นักวิทยาศาสตร์ดา้ นข้อมูลศาสตร์ มีสง่ิ ทีต่ อ้ งเรียนรูม้ ากมายจากการออกแบบทีม่ มี นุษย์เป็นศูนย์กลาง ซึง่ นำ�ไปสู่ การดึงข้อมูลและใช้เทคโนโลยีที่ใส่ใจเรื่องการติดต่อสื่อสารระหว่างคน กับคนได้เป็นธรรมชาติขึ้น เพื่อให้มาเสริมความฉลาดทางอารมณ์ของคน (Emotional Intelligence) รวมถึงความเห็นอกเห็นใจและจริยธรรมในการ

ใช้เทคโนโลยี เกิดเป็นความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสิ่งประดิษฐ์ เช่น ปาก หู และตา ที่กลายเป็นตัวอินเตอร์เฟซ (Interface) เพื่อสั่งงานเทคโนโลยี มากขึ้นแทนนิ้วมือที่สัมผัสหน้าจออยู่ตอนนี้ ระบบจดจำ�ใบหน้า (Facial Recognition) และเสียง (Smart Speaker) จะเป็นจุดเด่นมากกว่าตัวหน้าจอ ข้อมูล อัลกอริทมึ และเทคโนโลยีรวมกัน นับเป็นสือ่ ใหม่ส�ำ หรับการออกแบบ แม้ทาง IDEO และ Datascope ไม่สามารถแบ่งปันรายละเอียดเกีย่ วกับ โครงการที่กำ�ลังจะมีขึ้นได้ แต่ทิม บราวน์ (Tim Brown) ผู้ก่อตั้ง IDEO ได้ พูดถึงกลุม่ ธุรกิจในอนาคตทีเ่ ขาสนใจจะนำ�กระบวนการนีไ้ ปใช้ นัน่ คือระบบ การเคลื่อนที่ในอนาคต (Future of Mobility) และระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่ให้ความสำ�คัญกับการจัดการของเสียจากการผลิต และบริโภค รวมทัง้ ระบบการศึกษา ซึง่ เป็นประเด็นที่บริษทั ยังคงทำ�งานต่อไป ซึง่ จำ�เป็นต้องมีการผสมผสานกันอย่างลงตัวระหว่างการออกแบบและข้อมูล ศาสตร์ อันเป็นรากฐานของการเปลี่ยนแปลงโลกที่อยู่รอบตัวเรา ถึงเวลาที่ เราต้องทำ�ให้แน่ใจแล้วว่าการออกแบบ AI นั้น เป็นไปในทิศทางที่ทำ�ให้เรา ทุกคนมีชีวิตที่ดีขึ้น สุดท้ายนี้ การที่ IDEO ซื้อ Datascope และพยายามออกแบบ กระบวนการทำ�งานร่วมกับอัลกอริทมึ ทีส่ ง่ เสริมจรรยาบรรณ แสดงให้เห็นว่า ธุรกิจ ตลอดจนนักออกแบบ นักจัดการข้อมูล และผู้ใช้ มีความรับผิดชอบ อย่างเท่าเทียมกัน ในการทำ�ให้เกิดความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เป็นไป อย่างเป็นธรรมสำ�หรับทุกคน รวมทั้งผู้ที่ใช้เทคโนโลยีจะสามารถเรียนรู้และ ปฏิสัมพันธ์ได้อย่างไม่เกิดข้อสงสัย ที่มา: บทความ “Design for Augmented Intelligence” โดย Tim Brown, Dean Malmgren และ Mike Stringer จาก medium.com / บทความ “Exclusive: Ideo’s Plan to Stage an AI Revolution” โดย Diana Budds จาก fastcompany.com

พบกับนวัตกรรมและวัสดุสร้างสรรค์ ได้ที่ชั้น 2 ห้อง Material & Design Innovation Center, CEA CREATIVE THAILAND I 10


พบกับนิตยสาร “คิด” Creative Thailand ได้ที่ ร้านหนังสือ ห้องสมุด สมาคม อาคารสำ�นักงาน และร้านกาแฟใกล้บ้าน ในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ หัวหิน และจังหวัดอื่นๆ รวมถึง miniTCDC

หมดปญหาหยิบนิตยสารไมทัน สมัครสมาชิกรายป คาใชจายในการจัดสง 200 บาท (12 เลม)

ดูสถานที่จัดวางทั้งหมดได้ที่: www.tcdc.or.th/creativethailand/magazine/place

หรือสมัครออนไลนไดที่ tcdc.or.th/creative_thailand

กรุงเทพฯ ร้านหนังสือ • Asia Books • Kinokuniya • B2S • แพร่พิทยา

• MAIIAM Contemporary Art Museum • ชีวิต ชีวา • Minimeal Cafe • Impresso • Restr8to • Penguin Villa (Penguin Getto) ร้านกาแฟ/ร้านอาหาร • กาแฟอาข่า อ่ามา • Au Bon Pain La Fattoria สาขา2 • Starbucks • TOM N TOM’S COFFEE • Happy Hut ถ.นิมมานฯ • True Coffee • ราชดำ�เนิน • Auntie Anne’s • Mai Bakery In Garden • Baskin Robbins • Starbucks The Plaza • Coffee World • Yesterday Hotel • Mister Donut • October • Black Canyon • สุรยิ นั จันทรา นิมมานฯ ซอย 1 • McCafe’ • ร้านมีชามีชัย (กู) • ดอยตุง • Cafe’de nimman • Ninety four coffee • The Booksmith • Puff & Pie • ร้านชา (Drink Club) • Red Mango • Cotto Studio • Iberry • Starbucks Nimmanhemin • Greyhound Cafe’ • Fern Forest Cafe’ • Amazon Cafe’ • 9th Street Cafe • Chester’s Grill นิมมานฯ ซอย 9 • Luv minibar • ดวงกมล (Duang Kamol) • Rustic & Blue - Handgrown พิพิธภัณฑ์/หอศิลป์ • Produce & Artisan Food • หอศิลปวัฒนธรรม นิมมานฯ ซอย 9 แห่งกรุงเทพมหานคร • หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม • มิวเซียม สยาม • อุทยานการเรียนรู้ (TK park) มช. • นำ�ทอง แกลเลอรี่ หัวหิน • ร้านกาแฟ ชุบชีวา หัวหิน สมาคม/ห้องสมุด • อยู่เย็น หัวหิน บัลโคนี่ • ศูนย์ศิลปะนานาชาติ • บ้านใกล้วัง สมาคมฝรั่งเศส • ภัตตาคารมีกรุณา • ห้องสมุดเนลสัน เฮลส์ The Neilson Hays Library • บ้านถั่วเย็น @ แนบเคหาสน์ • ร้านอาหารหัวหิน (โกทิ) • ห้องสมุด - นิด้า • กาแฟข้างบ้าน • สมาคมโฆษณา • IL GELATO ITALIANO แห่งประเทศไทย • Together Bakery & Cafe’ • สมาคมธนาคารไทย • โรงแรม วรบุระหัวหิน • สมาคมสโมสรนักลงทุน • Let’s Sea • ห้องสมุด สสวท. • โรมแรม ดูน หัวหิน • สมาคมหอการค้าไทย • เดอะร็อค หัวหิน • สถาบัน • บ้านจันทร์ฉาย • Wall Street Institute • หัวหิน มันตรา รีสอร์ท • Raffle Design Institute • ลูน่าฮัท รีสอร์ท • Vision Swimming Academy กระบี่ • Nakamanda Resort & Spa เชียงใหม่ • Rawee Warin Resort & Spa • woo cefe • A little Handmade Shop • Kagee • Ristresto lab • ท่าแพอีสต์+ dibdee.binder ขอนแก่น • Hug School • C.A.M.P ,MAYA • True Coffee ,หอสมุด มช. of Creative Arts • ร้านสืบสาน • Punspace, นิมมานฯ • ร้านกาแฟ คอฟฟี่ เด้อ หล่า • asama cafe • มาหาสมุด (บ้านข้างวัด) (Coffee Der La) • see scape gallery เชียงราย • nimmanian club • ร้านหนังสือ herebookafe • 8 days a week • ร้าน Coffee Dad • Bulbul book cafe’ • Graph cafe’ นครราชสีมา • Cefe de museum • Hug station resort • local cafe Think park • Librarista นครปฐม • Artisan วัวลาย • ร้าน Dipchoc Cafe • paper spoon • กาแฟรสนิยม, นครสวรรค์ หลัง มช ทางขึ้นกาแล • The barn : Eatery Design • ร้าน Bitter Sweet • Book Republic น่าน • wake up หน้ามอ • ร้าน Runway Coffee • Fab cafe’ • kum cafe คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ • ร้านคลาสสิค โมเดล น่าน

• ร้านกาแฟปากซอย • ร้าน Nan Coffee Bean ปาย/แม่ฮ่องสอน • ร้านคอฟฟี่อินเลิฟ • ร้าน all about coffee • ร้านปายหวานบ้านนมสด • ร้านเล็กเล็ก • ปายวิมานรีสอร์ท พังงา • Niramaya Villa and Willness Resort • Ranyatavi Resort Phang Nga • The Sarojin เพชรบุรี • Grand Pacific Sovereign • Resort & Spa • DevaSom Hua Hin Resort ภูเก็ต • ร้านหนัง(สือ) ๒๕๒๑ ภูเก็ต • The oddy Apartment & Hotel • At Panta Phuket • Banyan Tree Phuket • Le Meridien Phuket • Millienium Ressort Patong Phuket • Novotel Phuket Resort • Patong Paragon Resort & Spa Phuket • Sheraton grand Lagana Phuket • Sri wanwa Phuket Villa • Thanyapura ระยอง • Le Vimarn Cottage ลำ�ปาง • อาลัมภางค์ เกสท์เฮ้าส์ แอนด์ มอร์ ลำ�ปาง • ร้านเอกาลิเต้ Egalite Bookshop • Lampang Art Center เลย • บ้านชานเคียง • มาเลยเด้ เกสต์เฮาท์ ลพบุรี • ซนดิคอฟฟี่ สมุทรสงคราม/อัมพวา • Baan Amphawa Resort and Spa สุโขทัย • Ananda Co.,Ltd. สุราษฎร์ธานี • Muang Samui Spa Resort • Pavilion Samui Boutique Resort • The Sunset Beach Resort and Spa Taling ngam • Nora Beach Resort Samui อุทัยธานี • ร้านบุ๊คโทเปีย Booktopia • Avatar Miracles

ขอมูลผูสมัครสมาชิก สมาชิกใหม ชื่อ นามสกุล เพศ โทรศัพท

สมาชิกเกา (ตองการตออายุสมาชิก) หญิง อายุ

ชาย

อีเมล

โทรศัพทมือถือ

อาชีพ นักเรียน ครู/อาจารย

นิสิต/นักศึกษา พนักงานบริษัท

นักออกแบบ/ครีเอทีฟ ผูประกอบการ

อาชีพอิสระ อื่นๆ โปรดระบุ

ขาราชการ/รัฐวิสาหกิจ

สาขา/อุตสาหกรรมที่เกี่ยวของกับอาชีพของทาน โฆษณา สถาปตยกรรม แฟชั่น ศิลปะการแสดง ดนตรี ภาพยนตร โทรทัศน/วิทยุการกระจายเสียง

ทองเที่ยว/โรงแรม/สายการบิน วรรณกรรม/การพิมพ/สื่อสิ่งพิมพ พิพิธภัณฑ/หองแสดงงาน ซอฟตแวร/แอนิเมชัน/วิดีโอเกม

หัตถกรรม/งานฝมือ การเงิน/ธนาคาร ทัศนศิลป/การถายภาพ อื่นๆ โปรดระบุ

อาหาร การแพทย การออกแบบ

คาปลีก/คาสง โทรคมนาคม

ที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ จังหวัด

ซอย

ถนน รหัสไปรษณีย

หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง

อำเภอ/เขต

หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง

อำเภอ/เขต

ที่อยูในการออกใบเสร็จ เหมือนที่อยูในการจัดสง เลขประจําตัวผูเสียภาษี เพื่อออกใบเสร็จรับเงิน หมูบาน/บริษัท เลขที่ ซอย ถนน จังหวัด รหัสไปรษณีย

ตองการสมัครสมาชิกนิตยสาร Creative Thailand ระยะเวลา 1 ป จำนวน 12 เลม เริ่มตั้งแตฉบับเดือน โดยยินดีเสียคาใชจายในการจัดสงเปนจำนวนเงิน 200 บาท

วิธีการชำระเงิน เช็คสั่งจายศูนยสรางสรรคงานออกแบบ พรอมใบสมัครสมาชิก โอนเงินเขาบัญชี สำนักงานสงเสริมเศรษฐกิจสรางสรรค (องคการมหาชน) ธนาคารกรุงเทพ สาขาสำนักงานใหญสลี ม เลขทีบ่ ญั ชี 101-9-12219-9 • แฟกซใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่ 02-105-7450 • หรือสงไปรษณียมาที่ ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (Creative Thailand) อาคารไปรษณียกลาง 1160 ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10501 • หรือแนบไฟลใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่อีเมล creativethailand@tcdc.or.th สอบถามขอมูลเพิ่มเติมไดที่ 02-105-7400 ตอ 122


Local Wisdom : ภูมิความคิด

มนุษย์กับ AI ใครวิ่งนำ� ใครตาม เรื่อง: ทรงพันธ์ เจิมประยงค์*

มนุษย์มขี อ้ จำ�กัดอยูห่ ลายประการ ทัง้ ขีเ้ กียจ ขีเ้ บือ่ มีพนื้ ทีเ่ ก็บความจำ�จำ�กัด ไม่สมํา่ เสมอ ข้อจำ�กัดเหล่านีท้ �ำ ให้มนุษย์พฒ ั นา AI ที่พยายามจะเรียนรู้และเลียนแบบความเป็นมนุษย์ในหลายมิติ เพื่อขยายขอบเขตของความช่วยเหลือไปในทุกทิศทาง ถ้าวันหนึ่ง AI สามารถเลียนแบบมนุษย์ได้ทุกเรื่องแล้ว เรายังจะเหลืองานอะไรที่เป็นของมนุษย์บ้าง

งานไหนเสี่ยงโดน AI ทดแทน

คาดการณ์กันว่า ประมาณร้อยละ 47 ของ การจ้างงานทัง้ หมดในสหรัฐฯ จะถูกทดแทน ภายใน 10 ถึง 20 ปีข้างหน้า งานที่มีความ เสี่ ย งสู ง ที่ สุ ด อยู่ ใ นกลุ่ ม คมนาคมและ โลจิ ส ติ ก ส์ กลุ่ ม สายงานออฟฟิ ศ กลุ่ ม แรงงานในสายการผลิต และกลุม่ งานบริการ

เว็ บ ไซต์ willrobotstakemyjob.com รายงานความเสี่ ย งของอาชี พ กว่ า 702 ประเภทในสหรัฐอเมริกาว่าจะถูกทดแทนโดย เครื่องหรือไม่ โดยใช้ผลการวิจัยของเฟรย์ (Dr.Carl Benedikt Frey) และออสบอร์น (Michael Osborne) จากมหาวิทยาลัย อ็อกซฟอร์ดเมื่อปี ค.ศ. 2013 เป็นข้อมูล

งานวิจยั ชิน้ นีใ้ ช้เทคนิคการเรียนรูข้ องเครือ่ ง (machine learning) มาช่วยประเมิน ความเสีย่ ง

งานแบบไหนยังจะคงอยู่

ลักษณะของงานที่ยังเป็นความท้าทายที่ AI ยังไม่สามารถทำ�เลียนแบบหรือทดแทนมนุษย์ได้ ในอีกหนึ่งหรือสองศตวรรษข้างหน้านี้ ได้แก่ 1. การรับรูแ้ ละการตอบสนองทีซ่ บั ซ้อน การรับรูข้ องมนุษย์เกิดขึน้ ในหลายมิตใิ นเวลา เดียวกัน มนุษย์เลือกทีจ่ ะรับรูแ้ ละตอบสนอง ด้วยเหตุปจั จัยทีซ่ บั ซ้อน โดยเฉพาะการรับรู้ และตอบสนองปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถ ควบคุมได้

* Graduate Programs in Information Studies คณะอักษรศาสตร์​จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย CREATIVE THAILAND I 12

แม้เราจะมีรถที่สามารถรับรู้การจราจรและ สิง่ แวดล้อมจนสามารถขับเคลือ่ นเองได้แล้ว แต่การรับรู้และการตอบสนองของรถยนต์ ขับเคลื่อนด้วยตนเองในปัจจุบันยังจำ�กัดใน เฉพาะสถานการณ์ทกี่ �ำ หนด เช่น ขับเคลือ่ น บนท้องถนนที่มีเส้นจราจรเท่านั้น

แม้ว่าหุ่นยนต์จะสามารถช่วยให้เกิดความ แม่นยำ�ในการผ่าตัดได้มากขึ้น แต่การรับรู้ และตั ด สิ น ใจโดยเฉพาะในสถานการณ์ ฉุกเฉินและไม่เป็นไปตามแผน ยังคงต้อง เป็นหน้าที่ของมนุษย์ต่อไป


2. ความคิดสร้างสรรค์ ถึงแม้วา่ เราจะเริม่ เห็นคอมพิวเตอร์ทสี่ ามารถ แต่งเพลง แต่งกลอน หรือวาดภาพได้บา้ งแล้ว แต่งานเหล่านัน้ ล้วนแล้วแต่เป็นงานทีเ่ กิดขึน้ จากกรอบหรือแบบแผนเดิมๆ ทีม่ นุษย์เคยใช้ มนุษย์ให้คณุ ค่ากับความแปลกใหม่ทแ่ี ตกต่าง ไปจากกรอบเดิมๆ ด้วยการเชือ่ มโยงต่อยอด ความรูเ้ ดิมของตนเองด้วยวิธกี ารใหม่ๆ ทีไ่ ม่ คุ้นเคย จนได้ผลลัพธ์รูปแบบใหม่แต่ยังคง “make sense”

ความคิ ด สร้ า งสรรค์ มี ค วามสั ม พั น ธ์ อั น เหนียวแน่นกับวัฒนธรรม ความเชื่อ และ ฐานความคิดส่วนบุคคลและมักเปลีย่ นแปลง ไปตามกาลเวลา ที่เครื่องยังไม่สามารถ ตรวจวัดได้ ดังนัน้ กระบวนการของความคิด สร้างสรรค์ของมนุษย์จึงยังเป็นเรื่องที่ยากที่ จะศึกษาและตรวจวัด

3. ทักษะทางสังคม ความเป็นมืออาชีพของมนุษย์ในงานหลาย อย่างต้องใช้ทกั ษะทางสังคมขัน้ สูง ไม่วา่ จะ เป็นการต่อรอง การโน้มน้าว การเป็นผู้นำ� หรือการดูแลผู้อื่น อาชีพอย่างเจ้าหน้าที่ ประชาสัมพันธ์ นักจัดงานกิจกรรม นักจิตวิทยา หรือซีอโี อต่างจะต้องใช้ทกั ษะขัน้ สูงนีใ้ นการ ทำ � เข้ า ใจความรู้ สึ ก ของผู้ อื่ น อย่ า งลึ ก ซึ้ ง (empathy) มีวิธีในการสื่อสารและโต้ตอบ อย่างมีกลยุทธ์ และมีพทุ ธิปญั ญาทางอารมณ์ (emotional intelligence) ที่ดี ถึงแม้วา่ จะมีความพยายามทำ�ให้คอมพิวเตอร์ มีทักษะทางอารมณ์เหมือนมนุษย์ เช่น งาน ทางด้านการคำ�นวณเชิงอารมณ์ (affective computing) ทีต่ อ้ งการตรวจจับและตอบสนอง

ตามสถานะอารมณ์ของมนุษย์ และการ พัฒนาหุ่นยนต์ทางสังคมที่ทำ�หน้าที่บริการ (social robotics) แต่อารมณ์ของมนุษย์ที่ ผันผวนอยูเ่ สมอและต้องใช้คอมมอนเซนส์สงู ทำ�ให้การเรียนรู้ของคอมพิวเตอร์ยังตาม ไม่ทันมนุษย์ในเร็ววันนี้อย่างแน่นอน

4. งานควบคุมเทคโนโลยี งานส่วนใหญ่ที่มีโอกาสโดนทดแทนด้วย คอมพิ ว เตอร์ ล้ ว นแล้ ว แต่ เ ป็ น งานที่ ใ ห้ คอมพิวเตอร์เป็นตัวกำ�หนดวิธีและผลลัพธ์ ของงานมากกว่างานทีเ่ กีย่ วข้องกับการสร้าง จัดการและซ่อมแซมเทคโนโลยี ที่เป็นการ ควบคุมขั้นสูง ซึ่งยังคงเป็นงานที่มีความ จำ�เป็นที่จะใช้ควบคุม AI เหล่านี้ แม้ว่าในทางเทคนิค การเรียนรู้ตนเองของ เครื่องจะเริ่มมีการพัฒนาขึ้นแล้ว แต่ข้อ ถกเถี ย งทางจริ ย ศาสตร์ ที่ ว่ า เครื่ อ งจะ สามารถเรียนรู้กระบวนการทางศีลธรรม และจริยธรรมได้มากน้อยเพียงใด ยังคงเป็น เรือ่ งทีม่ นุษย์จะต้องพิจารณาต่อไป ประเด็น ไม่ได้อยู่ที่เครื่องยังเรียนรู้ได้ไม่ครบถ้วน แต่อยูท่ วี่ า่ มนุษย์ยงั ไม่สามารถอธิบายแนวคิด ทางจริยศาสตร์ให้อยู่ในโครงสร้างที่เครื่อง สามารถเรียนรู้ได้ต่างหาก

การใส่ ปั จ จั ย ให้ เ ครื่ อ งเรี ย นรู้ ม ากเกิ น ไป ถึงแม้วา่ จะทำ�ให้ความมัน่ ใจในคำ�ตอบทีไ่ ด้ จากการเรียนรูข้ องเครือ่ งมีมากขึน้ แต่ความ มั่นใจมากเกินไปอาจทำ�ให้เครื่องคาดเดา และยอมรับความแตกต่างของคำ�ตอบที่จะ เกิดขึ้นได้น้อย หรือในทางเทคนิคเรียกว่า overfitting อย่าลืมว่า ความสมบูรณ์แบบ มิใช่คุณสมบัติพื้นฐานของมนุษย์ทุกคน ปัจจัยที่ใช้ในการเรียนรู้ของเครื่องต้องใช้ ข้อมูลเป็นตัวแทนจำ�นวนมาก การเรียนรู้ ของเครื่องอ่อนไหวไปตามอคติของข้อมูลที่ นำ � มาสอน ข้ อ มู ล ที่ ดี ที่ สุ ด เท่ า ที่ มี อ ยู่ ใ น ปัจจุบัน ยังเป็นข้อมูลที่ขาดความเที่ยงตรง หรือมีข้อผิดพลาดอยู่มาก ไม่ ใ ช่ ว่ า ทุ ก ข้ อ มู ล ที่ มี ใ นโลกจะพร้ อ มให้ เครือ่ งเรียนรูไ้ ด้ทนั ที การเรียนรูข้ องเครือ่ งแบบ มีการกำ�กับ (supervised) มนุษย์ยังจำ�เป็น ที่จะต้องเป็นผู้กำ�กับเพื่อบอกความหมาย ของข้อมูลให้กบั เครือ่ งด้วย ความพร้อมของ ข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นการมีอยู่ คุณภาพ และ ช่องทางการเข้าถึง ไม่ได้ขนึ้ อยูก่ บั นักพัฒนา AI เท่านัน้ แต่ยงั อยูท่ มี่ นุษย์ทเี่ ป็นผูส้ ร้างและ ใช้ข้อมูลทุกคน การยอมรั บ และความไว้ ว างใจของผู้ ใ ช้

ข้ อ จำ � กั ด ของการเรี ย นรู้ ข อง เทคโนโลยีมบี ทบาทสำ�คัญ ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ AI สามารถเลือกคำ�ตอบทีถ่ กู ต้องทีส่ ดุ มาให้ เครื่องคืออะไร

เครื่องถูกออกแบบให้เรียนรู้เฉพาะเรื่องใด เรือ่ งหนึง่ โดยเฉพาะ โดยผูพ้ ฒั นาจะต้องระบุ เหตุปจั จัยทีช่ ดั เจนและวัดได้ แต่ปรากฏการณ์ หนึ่งๆ โดยเฉพาะปรากฏการณ์ทางสังคม อาจเกิดขึ้นจากปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ที่ ซับซ้อนและเกีย่ วเนือ่ งกันจำ�นวนมาก จนไม่ อาจสามารถระบุได้ชัดเจนทั้งหมด CREATIVE THAILAND I 13

มนุษย์ได้หรือไม่ แต่อยู่ที่วา่ มนุษย์หรือผูใ้ ช้งาน มีสว่ นร่วมในกระบวนการเลือกคำ�ตอบมากน้อย เพียงใด ดังนัน้ การจะที่เครื่องจะทดแทนมนุษย์ ได้หรือไม่ คำ�ตอบน่าอยู่ที่วา่ เครือ่ งจะทำ�ให้ มนุษย์ไว้วางใจกับคำ�ตอบทีไ่ ด้มากน้อยแค่ไหน โดยเฉพาะในงานที่มีความซับซ้อนและใช้ ความสามารถที่หลากหลายไปพร้อมๆ กัน


Cover Story : เรื่องจากปก

เรื่อง: ดร.อรรถพล ธำ�รงรัตนฤทธิ์*

“Despite these astonishing advances, we are a long way from machines that are as intelligent as humans - or even rats. So far, we’ve seen only 5% of what AI can do.” แม้เราจะได้เห็นความก้าวหน้าที่น่าทึ่งหลายอย่าง แต่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ฉลาดเท่ามนุษย์หรือแม้แต่ฉลาดเท่าหนูนั้น ก็ยังเป็นเรื่องที่ไกลจากความจริงนัก ตอนนี้เราได้เห็นศักยภาพของปัญญาประดิษฐ์เพียงแค่ 5 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น Yann LeCun ผู้อำ�นวยการฝ่ายวิจัย บริษัทเฟซบุ๊ก * หลักสูตร​อ.บ.​เทคโนโลยีภาษาและสารสนเทศ​คณะอักษรศาสตร์​จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย CREATIVE THAILAND I 14


กระแสข่าวตอนนี้หลายคนคงได้ยินว่าปัญญา ประดิษฐ์ (Artificial Intellgence หรือ AI) นั้นจะ ฉลาดจนเข้ามาปั่นป่วนเขมือบทุกวงการ ตลาด แรงงานจะถูกแทนที่ด้วยคอมพิวเตอร์ หุ่นยนต์ และปัญญาประดิษฐ์ โดยที่เห็นตอนนี้ เราเริ่ม เห็ น งานบางสายเริ่ ม ถู ก แทนที่ ด้ ว ยเครื่ อ งไป เยอะแล้ว เช่น หุน่ ยนต์ทรี่ บั รายการสัง่ ซือ้ ออนไลน์ และนำ�ของจัดส่งให้ผู้ซื้อโดยอัตโนมัติ หรือสาย ด่ ว นบริ ก ารลู ก ค้ า ที่ ส ามารถรั บ ฟั ง ปั ญ หาและ ตอบคำ�ถามตามทีล่ กู ค้าต้องการได้ โดยใช้ปญั ญา ประดิษฐ์ทสี่ ามารถใช้ภาษาได้ใกล้เคียงกับมนุษย์ ในด้านนี้ นอกจากนั้นแล้วเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ นักวิจัยและพัฒนาในปัจจุบันกำ�ลังลงมือลงแรง สร้ า งกั น ต่ า งก็ ชี้ ใ ห้ เ ห็ น ถึ ง อนาคตข้ า งหน้ า ที่ ปัญญาประดิษฐ์จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น เช่น เทคโนโลยี พ าหนะที่ ขั บ เคลื่ อ นด้ ว ยตั ว เอง (Autonomous Vehicles) อาจจะนำ�มาใช้เพื่อ แทนที่ ค นขั บ รถที่ เ ป็ น มนุ ษ ย์ ไ ด้ ทั้ ง หมด เมื่ อ เทคโนโลยีมคี วามปลอดภัยกว่านี้ อีกตัวอย่างหนึง่ คือเทคโนโลยีทางภาษาที่ใช้สร้างผู้ช่วยอัจฉริยะ อย่าง Google Assistant ที่สามารถพูดจาโต้ตอบ รั บ คำ � สั่ ง เราและพู ด จาโต้ ต อบกั บ บุ ค คลอื่ น ๆ เฉกเช่นเลขานุการส่วนตัว หรือแปลเอกสารให้ได้ อัตโนมัติโดยไม่ต้องจ้างนักแปลมืออาชีพ เทรนด์นจี้ ะเดินหน้าต่อไปถึงสังคมอนาคตที่ ปัญญาประดิษฐ์ท�ำ หน้าทีแ่ ทนมนุษย์ทกุ สิง่ หรือไม่ หรือว่าจะเดินหน้าต่อไปจนถึงระดับที่ปัญญา ประดิษฐ์ฉลาดจนกระทั่งสามารถพัฒนาตัวมัน เองได้โดยไม่ตอ้ งอาศัยมนุษย์และยึดครองโลกได้ ในที่สุด อีลอน มัสก์ (Elon Musk) ผู้ก่อตั้งบริษัท

เทคโนโลยีลํ้าอนาคตอย่าง SpaceX หรือ Tesla เข้ามาลงทุนในบริษัทที่ทำ�เรื่องปัญญาประดิษฐ์ อย่างจริงจัง เนื่องจากมีความเชื่อที่ว่าปัญญา ประดิษฐ์นั้นจำ�เป็นต้องถูกควบคุมจากทุกฝ่าย เพื่อไม่ให้เกิดเหตุร้าย เช่น เทคโนโลยีทางข้อมูล ขนาดใหญ่อาจถูกนำ�ไปใช้ในการก่อการร้าย หรือ หุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์อาจประกาศสงครามต่อ มนุ ษ ยชาติ ความเชื่ อ เหล่ า นี้ เ ป็ น ความเชื่ อ ที่ เกินจริงหรือไม่ และเรามาถึงจุดนีไ้ ด้อย่างไร ทีเ่ รา จะต้องพูดถึงความอยูร่ อดของมนุษยชาติและภัย คุกคามของปัญญาประดิษฐ์ซึ่งนักวิพากษ์เริ่ม คาดคะเนว่าจะคืบคลานเข้ามาทุกขณะ แล้วเรา จะมีทางรับมือกับสังคมที่จะถูกเปลี่ยนแปลงไป ด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์อย่างไร Deep Learning ปฏิวัติด้านปัญญาประดิษฐ์ เทคโนโลยีทางด้าน Deep Learning ขับเคลื่อน ความก้าวลํ้าของ AI ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ที่จริง แล้วเทคโนโลยี Deep Learning ไม่ใช่เทคโนโลยี ใหม่ แต่เป็นเทคโนโลยีเดียวกันกับที่เมื่อก่อน เรียกกันว่า Neural Network นักวิจัยสมัยนี้ก็ยัง ใช้อยู่ทั้งสองชื่อสลับสับกันได้ Deep Learning หรือ Neural Network เมือ่ 20 ปีทแี่ ล้วมานัน้ เป็น เพียงโมเดลทางคณิตศาสตร์ที่ทฤษฎีอ้างไว้ว่า สามารถเรียนรู้ความเกี่ยวโยงของ Input และ Output ในลักษณะใดก็ได้ หากให้ข้อมูลกับ เครื่องมากพอ แต่เป็นทฤษฎีที่ไม่สามารถพิสูจน์ ได้ในทางปฏิบัติจริง เนื่องจากไม่มีคอมพิวเตอร์ ทีม่ สี มรรถภาพสูงเหมือนสมัยนี้ รวมทัง้ นักวิจยั ยัง

CREATIVE THAILAND I 15

ไม่มีทักษะความเชี่ยวชาญในการปรับจูนโมเดล ให้เรียนรู้ได้เร็วพอเมื่อต้องให้เครื่องเรียนรู้จาก ข้อมูลขนาดมหึมา Deep Learning กลับมาได้รบั ความนิยมอีก ครัง้ จากนักวิจยั ทางด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ เนื่องด้วยอย่างน้อยสองปัจจัย ปัจจัยที่หนึ่งคือ ปัจจุบันนี้เครื่องคอมพิวเตอร์มีความสามารถใน การคำ�นวณได้เร็วขึน้ และมีราคาถูกลง ทำ�ให้การ วิ จั ย พั ฒ นาและการลองผิ ด ลองถู ก เป็ น ไปได้ อย่างรวดเร็วขึ้น ปัจจัยที่สองคืออินเตอร์เน็ตช่วย อำ�นวยให้การสร้างคลังข้อมูลเป็นไปได้อย่าง ราบรื่นและรวดเร็ว เราสามารถใช้ประโยชน์จาก คนหมู่มากบนอินเตอร์เน็ต (Crowdsource) ใน การสร้างคลังข้อมูลขนาดใหญ่ซึ่งเป็นส่วนสำ�คัญ มากเนื่องจาก Deep Learning จำ�เป็นต้องเรียน รู้ความเกี่ยวโยงของ Input และ Output จาก ข้อมูลที่มนุษย์ผลิตขึ้นโดยตรง ช่วงประมาณปี 2012 นักวิจยั ได้น�ำ เทคโนโลยี Deep Learning มาประยุกต์ใช้ได้ส�ำ เร็จ โดยสอน ให้เครื่องคอมพิวเตอร์ดักจับวัตถุชนิดต่างๆ จาก รูปภาพโดยอัตโนมัติ ซึง่ ข้อมูลทีใ่ ช้ในการฝึกเครือ่ ง คอมพิวเตอร์นนั้ มาจากการ Crowdsourcing และ มีขนาดใหญ่มาก เทคโนโลยีและการฝึกเครื่อง คอมพิวเตอร์ในลักษณะเดียวกันนีย้ งั สามารถสอน ให้เครื่องถอดเสียงพูดของมนุษย์ให้เป็นตัวอักษร ได้โดยอัตโนมัติด้วยความแม่นยำ�สูงมาก ซึ่งถ้า เปรี ย บตั ว เลขความแม่ น ยำ � ของเทคโนโลยี Deep Learning กับตัวเลขความแม่นยำ�ของวิธี ที่ผ่านมา เรียกได้ว่าไม่ติดฝุ่นเลยทีเดียว และนับ เป็นเทคโนโลยีที่ปฏิวตั วิ งการของ AI


หลักการการทำ�งานของ Deep Learning คือการแปลง Input ทีม่ ลี กั ษณะเป็นตัวเลข ให้เป็น Output ทีเ่ ราต้องการโดยอาศัยข้อมูลจำ�นวนมาก เช่น ถ้า Input คือเสียงของภาษา Output คือ ตัวหนังสือที่ต้องการจะถอดจากเสียงภาษานั้นๆ เราต้ อ งอาศั ย ข้ อ มู ล Input เสี ย งพู ด ของคน จริงๆ ที่เราไปอัดเก็บ และ Output คือบทถอด เสี ย งคนพู ด ที่ เ รานำ � มาพิ ม พ์ เ องเป็ น ตั ว อั ก ษร ขั้นตอนการทำ�งานขั้นแรกของ Deep Learning คือการเปลี่ยนข้อมูลที่เราต้องการจะประมวลให้ เป็นตัวเลข 100 ตัว 200 ตัว หรือ 8,000 ตัว ตามแต่จุดประสงค์ที่เราต้องการนำ�ไปใช้และ ตามความเหมาะสมกับลักษณะของข้อมูลดิบ หลังจากนั้นแล้วตัวเลขเหล่านี้จะถูกแปลงไปเป็น ค่าอืน่ ๆ ด้วย วิธบี วกลบคูณหารกับค่าต่างๆ โดย เฉพาะอย่ า งยิ่ ง การคู ณ เมทริ ก ซ์ แ ละการใช้ ฟังก์ชันที่ไม่ใช่เชิงเส้น โดยการแปลงค่านี้จะ เป็นการแปลงค่าเพื่อเปลี่ยนไปเป็นค่า Output ที่อยากได้ แล้วกระบวนการแปลงค่านี้เครื่องจะรู้ ได้อย่างไรว่าจะต้องทำ�ในลักษณะไหนจะคูณ 1.2 หรือคูณ 0.4 ดี หรือนำ�ไปคูณกับเมทริกซ์ไหน เครือ่ งจะเรียนรูก้ ระบวนการแปลงค่าต่างๆ นีผ้ า่ น ทางข้อมูลที่เราป้อนให้กับเครื่อง ซึ่งข้อมูลนี้จะ ต้องมีค่า Input ที่เราสนใจและค่า Output ที่ ถูกต้อง วิธกี ารแปลงค่า Input ให้เป็น Output นัน้

เราจะเก็บไว้อยู่ในโมเดล กระบวนการนี้ศัพท์ เทคนิคจะเรียกว่าการ ”ฝึกฝนโมเดล” (Model Training) สรุปได้ว่าการจัดสร้างระบบปัญญา ประดิษฐ์ในยุคปัจจุบนั นีส้ ว่ นใหญ่จ�ำ เป็นต้องระบุ ว่า Input คืออะไร Output คืออะไร โครงสร้าง ของโมเดลเป็นอย่างไร และที่สำ�คัญคือต้องหา ข้อมูลจำ�นวนมากในการฝึกฝนโมเดลที่เราตั้งไว้ ตามทฤษฎีของปัญญาประดิษฐ์ มีปัญญา ประดิษฐ์อยู่ 2 แบบด้วยกันคือปัญญาประดิษฐ์ แบบอ่อน (Weak AI) กับปัญญาประดิษฐ์แบบเข้ม (Strong AI) ปัญญาประดิษฐ์ทั้ง 2 แบบนี้ต่างกัน ด้วยคุณลักษณะทีว่ า่ ปัญญาประดิษฐ์แบบเข้มนัน้ มีปัญญาและความฉลาดโดยทั่วไปที่สามารถนำ� ไปประยุกต์ใช้ท�ำ หน้าทีต่ า่ งๆ ได้มาก ตัวอย่างเช่น เครื่องที่เข้าใจภาษามนุษย์ด้วยปัญญาประดิษฐ์ แบบเข้มนัน้ จะต้องสามารถทำ�หน้าทีท่ างภาษาได้ ในทุกรูปแบบ ไม่วา่ จะเป็นการอ่านทำ�ความเข้าใจ การคุ ย สนทนาเพื่ อ บรรลุ วั ต ถุ ป ระสงค์ ใ นการ สื่อสารต่างๆ การสรุปความ การแปลความจาก ภาษาหนึ่งไปอีกภาษาหนึ่ง หรือว่าการใช้เหตุผล และการตอบคำ�ถามต่างๆ แต่โมเดลปัญญาประดิษฐ์ ที่ใช้ Deep Learning ในปัจจุบันนี้ ล้วนแต่เป็น ปัญญาประดิษฐ์แบบอ่อนเพราะว่าเป็นโมเดลที่ สร้างขึน้ มาเพือ่ ทำ�การใดการหนึง่ เวลาฝึกโมเดล นั้นส่วนใหญ่แล้วจะฝึกด้วยชุดข้อมูลที่เฉพาะ

CREATIVE THAILAND I 16

เจาะจงกับหน้าที่ที่จะต้องทำ� และไม่สามารถต่อ ขยายไปกับหน้าที่อื่นๆ AI ที่ใช้อยู่ในระบบผู้ช่วย อัจฉริยะ เช่น Alexa ของบริษัท Amazon และ Siri ของบริษัท Apple ล้วนเป็นปัญญาประดิษฐ์ แบบอ่อน ระบบเหล่านี้ถูกสร้างมาเพื่อทำ�อยู่ไม่กี่ ตามที่นักเขียนโปรแกรมนั้นจะต้องตั้งไว้ก่อน เพราะฉะนั้น เครื่องไม่ได้มีความสามารถในการ ทำ�ความเข้าใจทุกสิง่ ทุกอย่างทีผ่ ใู้ ช้ระบบต้องการ บุคคลทั่วไปที่บริโภคข่าวด้านสังคมและ เทคโนโลยีที่นำ�เสนอเกี่ยวกับ AI มักจะได้รับรู้ถึง AI ในแง่ทวี่ า่ มันสามารถทำ�แทนมนุษย์ได้ทกุ อย่าง จริงๆ ซึง่ หมายความถึงปัญญาประดิษฐ์แบบเข้ม แต่ที่จริงแล้ว ถ้าลองคิดกลับไปให้ลึกๆ จะพบว่า AI ทุกตัวที่เราใช้อยู่ในชีวิตประจำ�วันนี้ เป็น ปั ญ ญาประดิ ษ ฐ์ แ บบอ่ อ นที่ ไ ม่ ส ามารถนำ � ไป ประยุกต์ใช้กบั Application อืน่ ๆ ได้โดยตรงโดย ไม่ต้องพัฒนาและฝึกโมเดลขึ้นมาใหม่ตั้งแต่ต้น จนจบ ในฐานะสมาชิกของประชาคมดิจิทัลที่ คลุกคลีกบั เทคโนโลยีอยูท่ กุ ครูช่ วั่ วัน เราควรพินจิ รายละเอียดและประเมินผลกระทบของงานวิจัย และพัฒนาสิง่ ทีก่ �ำ ลังเกิดขึน้ ในขณะนีว้ า่ จะนำ�ไป สู่ปัญญาประดิษฐ์แบบเข้มและส่งผลกระทบต่อ สังคมอย่างที่นักคิดหลายคนได้คาดการณ์เอาไว้ หรือไม่


เครื่องคอมพิวเตอร์ เข้าใจภาษามนุษย์ได้อย่างไร ภาษาเป็นสิง่ ทีส่ ะท้อนให้เห็นถึงปัญญาของมนุษย์ มนุษย์สอื่ สารกันด้วยการเขียนสัญลักษณ์ตา่ งๆ ที่ ประกบประกอบขึน้ ตามระเบียบแบบแผน หรือใช้ ปาก ลิ้น และหลอดลมในการสร้างเสียงต่างๆ ที่ ทำ�ให้สง่ ข้อความไปสูผ่ ฟู้ งั ได้ โดยไม่จ�ำ กัดว่าสาร นั้นมีความซับซ้อนขนาดใด นักภาษาศาสตร์ หลายคณะพบหลั ก ฐานว่ า สั ต ว์ บ างชนิ ด นั้ น สามารถสื่อสารด้วยภาษา แต่ยังไม่มีหลักฐานใด ที่พบว่าสารที่สัตว์เหล่านี้สื่อมีความซับซ้อนเท่า สารของมนุษย์ ภาษานอกจากเป็นเครื่องมือใน การสื่อสารแล้ว ยังเป็นสิ่งที่แสดงถึงปัญญาใน ฐานะสิ่งที่รวบรวมความคิด และการใช้เหตุผล ของมนุษย์ เช่น การตอบคำ�ถามนัน้ ผูต้ อบจะต้อง เข้าใจคำ�ถามว่าเป็นคำ�ถามชนิดใด และความหมาย ของแต่ละคำ�ที่ใช้ในบริบทนั้นๆ มีความหมายว่า อย่างไร เช่น “นายกรัฐมนตรีเปิดโครงการใหม่ที่ จังหวัดนครราชสีมาเวลากีโ่ มง” ผูฟ้ งั จะต้องทราบว่า นายกรัฐมนตรีนั้นหมายถึงนายกรัฐมนตรีคน ปัจจุบนั ไม่ใช่คนก่อนๆ ถึงแม้วา่ ประโยคนัน้ ไม่ได้ บอกไว้โดยตรงก็ตาม คำ�ว่า ‘เปิด’ หมายถึงเริม่ ต้น ไม่ ไ ด้ ห มายถึ ง เปิ ด กล่ อ งหรื อ เปิ ด ตู้ จั ง หวั ด ‘นครราชสีมา’ หมายถึงที่ที่หนึ่งที่มีอยู่จริงใน โลกนี้ กล่าวคือต้องเข้าใจความหมายของประโยค ลงลึกไปกว่าระดับคำ� ต้องเข้าใจความหมายของ คำ�ที่ต่างออกไปในแต่ละบริบท รวมถึงความรู้ เกี่ยวกับโลก เมื่อผู้ฟังต้องการจะตอบคำ�ถามนี้ นอกจากจะต้องให้คำ�ตอบที่ถูกต้องแล้ว คำ�ตอบ ทีต่ อ้ งเปล่งออกมาหรือเขียนออกมานัน้ จะต้องถูก ต้ อ งตามไวยากรณ์ เ พื่ อ ที่ จ ะทำ � ให้ สื่ อ สารได้ รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะเป็น แบบแผนทีส่ งั คมตกลงกันไว้แล้วว่า ประธานควร จะขึ้นก่อนหรือว่ากริยาควรจะขึ้นก่อน หรือกริยา จะต้องเปลี่ยนรูปตามประธานหรือไม่ ปัญญา ประดิ ษ ฐ์ ท างด้ า นภาษานั้ น จึ ง เป็ น สิ่ ง ที่ น่ า จับตามอง เนื่องจากเป็นปัญญาที่มีความเป็น มนุษย์อยู่มากที่สุด เทคโนโลยี ท างด้ า นภาษาถู ก เรี ย กกั น ใน วงการว่าการประมวลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing) และเป็นแขนงหนึ่งของ ศาสตร์ด้านปัญญาประดิษฐ์ ทั้งยังเป็นแขนงหนึ่ง ที่เทคโนโลยี Deep Learning เข้ามามีบทบาท อย่างมากในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์และนักภาษาศาสตร์ได้ร่วมมือกัน

พัฒนาและวิจัยเทคโนโลยีการประมวลภาษา ธรรมชาติเพือ่ ให้คอมพิวเตอร์นน้ั สามารถทำ�หน้าที่ ต่างๆ ทางภาษาแทนมนุษย์ได้ นักภาษาศาสตร์ จะทำ�หน้าที่เป็นผู้ตั้งทฤษฎีเกี่ยวกับกลไกการ ทำ�งานของภาษาทัง้ ด้านโครงสร้างไวยากรณ์และ ด้านความหมาย ส่วนนักวิชาการคอมพิวเตอร์นนั้ เป็ น ผู้ นำ � ทฤษฎี ไ ปทดสอบเพื่ อ ประยุ ก ต์ ใ ช้ กั บ เทคโนโลยีทต่ี อ้ งการ ว่ากันว่าความสำ�เร็จสูงสุดของ การประมวลภาษาธรรมชาตินน้ั คือการสร้างหุน่ ยนต์ นักสนทนา (Chatbot หรือ Conversational Agent) ทีส่ ามารถโต้ตอบกับมนุษย์ได้โดยทีเ่ ราเอง ไม่สามารถแยกออกเลยว่าเรากำ�ลังคุยกับคนหรือ หุน่ ยนต์อยู่ นอกจากนัน้ แล้วหุน่ ยนต์นกั สนทนานี้ จะต้องสามารถหาความรูต้ า่ งๆ จากอินเทอร์เน็ต และทำ�ความเข้าใจเพื่อที่จะนำ�ความรู้มาตอบ คำ�ถามต่างๆ ทีม่ นุษย์ถามได้อย่างถูกต้อง หุน่ ยนต์ นักสนทนานั้นมีส่วนประกอบใหญ่ๆ อยู่ 2 ส่วน คือ หน่วยการถอดเสียงพูดเป็นตัวอักษร และ หน่วยการทําความเข้าใจภาษา ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้านการถอด เสียงพูดเป็นตัวอักษร (Speech Recognition) ได้ ผลเก่งเทียบเท่าหรือเกินคนไปแล้วในบางกรณี เครือ่ งถอดความนัน้ ผิดพลาดเพียง 4-5 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น และแน่นอนว่า Speech Recognition นี้ ใช้โมเดล Deep Learning เป็นแกนหลักในการ แปลงเสียงให้เป็นคำ� แต่ว่าผลการศึกษาค้นคว้า เหล่านี้มาจากการทดสอบกับข้อมูลภาษาที่เป็น ภาษาอังกฤษจากฝั่งอเมริกาเท่านั้น ไม่มีสิ่งที่ รับประกันว่า ถ้าเราใช้วธิ เี ดียวกันนีก้ บั ภาษาอืน่ ๆ แล้วจะได้คณุ ภาพของการถอดความจากเสียงใน CREATIVE THAILAND I 17

ระดับเดียวกัน ข้อจำ�กัดของเทคโนโลยีนนั้ ยังมีอยู่ มาก ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากล มีผู้พูดภาษา อังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศเป็นพันล้านคน และ ยังไม่มีผลการศึกษาออกมาว่า ถ้าพูดสำ�เนียงอื่น ติดปนเข้ามานั้น คุณภาพของการถอดความจะ ลดลงไปเท่าไร ถ้าผู้อ่านอยากลองพิสูจน์ด้วย ตัวเอง ให้ลองหยิบโทรศัพท์ขึ้นมา แล้วลองใช้ ฟังก์ชัน เสียงเป็นอักษร (Speech to Text) แล้ว พูดด้วยสำ�เนียงไทยๆ หรือพูดแล้วมีผดิ ไวยากรณ์ ไปบ้าง แล้วสังเกตว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร สิง่ นีเ้ ป็นสิ่งที่สะท้อนให้รู้ว่า เทคโนโลยีที่ข่าวและ นักวิทยาศาสตร์เองนำ�เสนอนั้นเมื่อดูผิวเผินอาจ จะสวยหรูขนาดที่ทำ�ให้เราเชื่อไปว่า AI นั้นมาถึง จุดสูงสุดแล้ว เครื่องสามารถฟังสิ่งที่เราพูดแล้ว เข้าใจได้เหมือนกันกับคนเจ้าของภาษา ข้อด้อย ในประเด็นนีไ้ ม่ได้มนี ยั ยะสำ�คัญต่อการวิจยั เท่านัน้ แต่ยังมีผลต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆ ด้วย เช่น ถ้า Siri ทำ�งานได้ไม่สมบูรณ์ถา้ ผูใ้ ช้ไม่พดู ภาษา อังกฤษเป็นภาษาแม่ กลุ่มลูกค้าจำ�นวนไม่น้อยก็ จะไม่รสู้ กึ ปลืม้ กับผลิตภัณฑ์เท่ากับผูใ้ ช้ชาวอเมริกนั ที่ พู ด โดยไม่ มี สำ � เนี ย ง ข้ อ สั ง เกตที่ สำ � คั ญ อี ก ประการหนึง่ คือ โมเดลต้องใช้ขอ้ มูลในการฝึกฝน จำ�นวนมหาศาล ตัวอย่างเช่น ระบบ Speech Recognition ของบริษัท Google นั้น ต้องใช้ ข้อมูลเสียงจากมนุษย์เป็นจำ�นวน 12,500 ชั่วโมง และจะต้องใช้คนจริงๆ ถอดความเป็นตัวอักษร ทั้งหมดทั้ง 12,500 ชั่วโมง เพื่อจะนำ�ไปฝึกโมเดล ให้กบั Speech Recognizer ข้อมูลเหล่านีเ้ ก็บมา จากผูใ้ ช้ผลิตภัณฑ์ของ Google จริงๆ แต่ส�ำ หรับ บางภาษาแล้ว แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะเก็บ


ข้ อ มู ล ได้ ม ากพอที่ จ ะทำ � เป็ น ผลิตภัณฑ์ข้ึนมา ปั ญ หาข้ อ มู ล ไม่ เ พี ย งพอในลั ก ษณะนี้เ รี ย กว่ า Cold Start Problem ไม่มีผลิตภัณฑ์ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูลไม่มีผลิตภัณฑ์ นอกจากนั้นแล้วบาง ภาษาอาจจะไม่ มี เ จ้ า ของภาษามากพอที่ จ ะ รวบรวมข้อมูลได้เพียงพอที่จะฝึกโมเดล Deep Learning ให้ได้ความสามารถระดับทีเ่ ราต้องการ ส่ ว นประกอบอี ก ส่ ว นหนึ่ ง ของหุ่ น ยนต์ นักสนทนาคือหน่วยวิเคราะห์ความหมาย เครื่อง ต้องสกัดความหมายออกมาจากคำ�ที่ได้ยินมา ปัจจุบันยังคงเป็นเรื่องถกเถียงกันอย่างมากว่า ความเข้าใจของภาษาคืออะไร และสามารถบวก เข้าสูก่ ารถกเถียงทางปรัชญาได้อย่างมากมายว่า อะไรคือความหมายของคำ� รูไ้ ด้อย่างไรว่าเราเข้าใจ คำ�คำ�หนึ่งอย่างแท้จริง ผลคือเราไม่มีกฎเกณฑ์ แน่นอนว่าความหมายของคำ�แต่ละคำ�นั้นมันมี ทีม่ าที่ไปอย่างไร เราจะสอนให้เครือ่ งเข้าใจภาษา อย่างทีค่ นเข้าใจได้อย่างไร แล้วถ้าพิจารณาโมเดล ที่เราใช้ในในปัจจุบันนี้ เรามีศักยภาพเพียงใดใน การพัฒนาไปสูโ่ มเดลความเข้าใจภาษาธรรมชาติ โดยทั่วไปกล่าวคือไม่ได้ทำ�มาเพื่อจุดประสงค์ใด จุดประสงค์หนึ่งโดยเฉพาะ โมเดลที่เราสร้างไว้ เพื่อ Application พวกผู้ช่วยอัจฉริยะต่างๆ นั้น จะต้องใช้ความเข้าใจภาษาใน 3 ระดับ คือ ความเข้าใจความหมายระดับบทสนทนา เครื่องจะต้องจำ�ว่าถามอะไรไปบ้างแล้ว และ กำ�ลังพูดเรื่องอะไรอยู่ นอกจากจะต้องแปลเสียง เป็นคำ�ได้อย่างถูกต้องแล้วเราจะต้องเข้าใจบริบท ของบทสนทนาด้วย เช่นก่อนหน้านี้ผู้ใช้ซอฟต์แวร์ ถามคำ�ถามมาหรือเปล่า หรือพูดจาทักทายเฉยๆ แล้ ว เครื่ อ งนี้ ต้ อ งจำ � ให้ ไ ด้ ด้ ว ยว่ า ถามคำ � ถาม อะไรไปแล้วบ้าง และบทสนทนานี้กำ�ลังมุ่งหน้า ไปทางไหน ผู้สนทนามีจุดประสงค์อะไรเป็นหลัก เช่น ต้องการคุยเพลินๆ ต้องการให้เครือ่ งช่วยจอง โรงแรม หรือต้องการให้เครื่องปรับอุณหภูมิห้อง ความเข้าใจความหมายระดับประโยค กล่าวคือ การเข้าใจเจตนาของผู้พูดอย่างที่กล่าว แปลว่า โมเดลทีเ่ รากำ�ลังใช้อยูใ่ นปัจจุบนั นีจ้ ะถูกทำ�ขึน้ มา เพื่อจุดประสงค์ใดจุดประสงค์หนึ่งโดยเฉพาะ เพราะฉะนั้นเมื่อผู้พูดพูดสิ่งใดสิ่งหนึ่งมา เครื่อง ก็ต้องเข้าใจว่าผู้พูดนั้นมีจุดประสงค์อะไร เช่น ถามคำ�ถามบอกให้ไปทำ�สิง่ ใดสิง่ หนึง่ หรือทักทาย หรือตอบคำ�ถามทีเ่ ครือ่ งเคยถามไป หรือต้องการ ให้ขยายความ หรือต้องการให้พูดอีกครั้งหนึ่ง และอืน่ ๆ ซึง่ ในทางภาษาศาสตร์แล้วเป็นสิง่ ทีย่ าก

เช่นกัน เช่นการสั่งให้เครื่องไปทำ�สิ่งใดสิ่งหนึ่ง แทนเรา แล้วไม่จำ�เป็นต้องพูดออกคำ�สั่งเสมอไป แต่อาจจะพูดอ้อมๆ เช่น “ช่วยตั้งเวลาปลุกอีก 10 นาทีได้ไหมครับ” ประโยคนีโ้ ดยทางโครงสร้าง แล้วไม่ได้เป็นประโยคคำ�สั่ง แต่เป็นประโยค คำ�ถาม อย่างไรก็ตามเมื่อนำ�ไปใช้ในบทสนทนา จริงๆ แล้ว จะเป็นประโยคคำ�ถามที่มีเจตนาใน การออกคำ�สั่ง ซึ่งจุดนี้เองจะต้องนำ�ทฤษฎีทาง ภาษาศาสตร์มาเป็นกรอบความคิดว่าในการออก คำ�สั่งนั้นสามารถทำ�ได้ในลักษณะใดบ้าง ระดับล่างสุด คือความรู้ความเข้าใจระดับ คำ�ศัพท์ เช่นถ้าผู้ใช้บอกให้ตั้งเวลา 10 นาที ควร จะรู้ว่า 10 นาทีนี้ไม่ใช่ 10 โมงแต่เป็นระยะเวลา ที่ต้องการตั้งปลุกเพราะว่า 10 มีความหมาย ต่างกันใน 2 ประโยคนี้ หรือยกตัวอย่างที่ซับซ้อน ขึ้ น มาอี ก ระดั บ หนึ่ ง เช่ น ผู้ ใ ช้ อ าจจะพู ด ว่ า “เปิดเพลงอะไรก็ได้ของ Imagine Dragons” ประโยคนี้พูดถึงวง Imagine Dragons ซึ่งเป็น วงดนตรีวงหนึง่ ในโลกนีไ้ ม่ใช่ชอ่ื ละคร หรือชือ่ เมือง เพราะฉะนั้นเครื่องก็ต้องรับรู้และเข้าใจด้วยว่า กำ�ลังพูดถึงชื่อวงที่อยู่ในโลกจริงๆ ซึ่งในตอนนี้ โมเดลส่วนใหญ่สามารถจัดการได้อย่างเหมาะสม แล้ว โดยอิงฐานความรู้จาก Wikipedia ซึ่งมี ความรู้ค่อนข้างครบถ้วน และเราเรียกระบบนี้ว่า Named-entity Recognition หรือการรูจ้ �ำ ตัวตน ที่มีชื่อ ซึ่งหมายความถึงชื่อคน ชื่อวงดนตรี ชื่อ สถานที่ ชื่อประเทศ ชื่อองค์กร ชื่อเหล่านี้ไม่ใช่ ชือ่ ลอยๆ แต่เป็นชือ่ ทีพ่ ดู ถึงตัวตนทีม่ อี ยูจ่ ริงในโลก ระบบนี้เป็นส่วนประกอบที่มีความสำ�คัญมาก นอกจากจากจะต้องรู้จำ�ชื่อของตัวตนต่างๆ ที่ รู้จักกันโดยกว้างแล้ว โมเดลก็จะต้องดูด้วยว่าถ้า ผู้ใช้บอกว่า “ช่วยต่อสายคุณแม่หน่อย” คุณแม่ ในประโยคนี้ ผูใ้ ช้พดู ถึงคุณแม่ของผูใ้ ช้เอง ถึงแม้ ว่าในประโยคไม่ได้บอกตรงๆ ว่าคุณแม่ของใคร คุณแม่คนไหน ซึ่งความเข้าใจตรงนี้แสดงถึง ความเข้าใจของคำ�ศัพท์ว่าศัพท์คำ�นี้ไม่ได้หมาย ถึงคอนเซ็ปต์โดยรวม แต่หมายถึงคน ตัวตน หรือ องค์กรที่มีอยู่จริงในโลก ความรู้ ร ะดั บ คำ � ศั พ ท์ น้ั น เป็ น สิ่ ง ที่ นั ก ภาษาศาสตร์ศึกษากันมาอย่างกว้างขวางและมี โมเดลทางความหมายระดับคำ�หลากหลายแบบ เทคโนโลยีด้าน Deep Learning นั้นก็ถูกนำ�มา ช่วยในการสอนให้เครื่องเข้าใจความหมายของ คำ�ได้ดีในระดับหนึ่ง แต่ยังคงห่างไกลจากระดับ ความสามารถของมนุษย์เจ้าของภาษา ปัจจุบัน CREATIVE THAILAND I 18

ความเข้าใจระดับบทสนทนานัน้ ถึงระดับทีส่ ามารถ นำ�มาใช้ในเชิงพาณิชย์ได้จริงแล้ว ชาวเน็ตผู้ ติดตามเทคโนโลยีกท็ งึ่ ไปตามๆ กัน ตอนทีบ่ ริษทั Google เปิดตัว Google Assistant ที่สามารถ ต่อโทรศัพท์พดู คุยสนทนากับร้านอาหารและจอง โต๊ะได้อย่างคล่องแคล่วเหมือนกับมนุษย์ เป็น หลักฐานให้เห็นถึงความก้าวหน้าของความเข้าใจ บทสนทนาของเครือ่ ง แต่วาทกรรมหรือบทสนทนา ในบริบทของการจองโต๊ะอาหารนั้นมีวงจำ�กัด เพราะต่างคนต่างรู้เจตนาของบทสนทนาตั้ ง แต่ ต้นแล้ว แต่ในบทสนทนาทั่วไป ผู้พูดอาจจะไม่รู้ ถึงจุดมุ่งหมายหลักของบทสนทนา ทำ�ให้ความรู้ เข้ า ใจโดยรวมของบทสนทนาขาดความ สอดคล้องกัน เทคโนโลยีความเข้าใจระดับประโยค และระดับบทสนทนานั้นยังคงพร่องความรู้ทาง ทฤษฎี และทางโมเดล Deep Learning ที่สามารถ นำ�มาประยุกต์ใช้ให้เครือ่ งเข้าใจภาษาในระดับนีไ้ ด้ ทำ�ให้ไม่สามารถนำ�ไปประยุกต์ใช้ได้กว้างขวาง กว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ และยังห่างไกลจาก ระดับปัญญาประดิษฐ์แบบเข้มที่สามารถเข้าใจ ประโยคและบทสนทนาในทุกบริบททุกรูปแบบได้ ปัญญาประดิษฐ์ ที่รู้และเข้าใจทุกสิ่งทุกอย่างในโลก อี ก ด้ า นหนึ่ ง ที่ ผู้ วิ จั ย จากหลายที่ ทั่ ว โลกกำ � ลั ง ประชันกับปัญญาประดิษฐ์ที่ตนประดิษฐ์ขึ้นเอง คื อ เวที ก ารสร้ า งระบบการตอบคำ � ถามโดย อัตโนมัติ ซึ่งผู้ใช้จะถามคำ�ถามอะไรก็ได้ที่มี คำ�ตอบแน่นอน เช่น ใครคือนายกฯ คนปัจจุบัน ของประเทศแคนาดา และถามได้โดยไม่ตอ้ งจํากัด หัวข้อ ขอให้เป็นคำ�ถามทีม่ คี �ำ ตอบก็เพียงพอแล้ว แล้วเครื่องก็พยายามจะสรรหาคำ�ตอบและตอบ มาให้เป็นภาษาคน งานวิจัยทางด้านนี้ ยังไม่ สามารถขยายให้ตอบคำ�ถามโดยไม่มีการจำ�กัด หัวข้อและไม่บอกก่อนว่าความรู้ที่จะนำ�มาตอบ จะต้องดึงมาจากแหล่งไหน งานวิจัยในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมานี้ทดสอบการตอบคำ�ถาม โดยการ ทดสอบระบบการอ่านทำ�ความเข้าใจ (Reading Comprehension) กล่าวคือเครื่องได้ข้อมูลมา เป็นคำ�ถาม พร้อมกับย่อหน้า 1 ย่อหน้าและจะ ต้องตอบคำ�ถามให้ถูกโดยใช้ข้อมูลจากย่อหน้าที่ ได้รับมา หรือบอกให้ได้ว่าย่อหน้าที่ได้มานั้นมี ข้อมูลไม่เพียงพอ ถึงแม้ว่าปัญหาหลักของการ ตอบปัญหาทุกหัวข้อนั้นถูกย่อยลงมาให้เหลือ จำ�กัดเพียงหัวข้อทีย่ อ่ หน้านัน้ กำ�หนด แต่วา่ ระบบ


ที่ ดี ที่ สุ ด เท่ า ที่ มี ม าในตอนนี้ นั้ น ยั ง ไม่ มี ค วาม สามารถเทียบเท่ากับความสามารถของมนุษย์ได้ ความสามารถของมนุษย์ในการทดสอบชุดนีอ้ ยูท่ ี่ ประมาณ 88 เปอร์เซ็นต์แต่วา่ ระบบทีด่ ที ส่ี ดุ เท่าที่ เราเคยเห็นมาสามารถทำ�ได้เพียง 75 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น แต่ถ้านำ�ไปทดสอบโดยไม่แนะว่าคำ�ตอบ จะต้องมาจากภายในย่อหน้าที่กำ�หนดให้ ความ สามารถของเครื่องนั้นก็คงมีตัวเลขตํ่าลงไปอีก นอกจากนั้นแล้ว ระบบคำ�ถามอัตโนมัติใน ระดับที่เรามีอยู่ในตอนนี้นั้นจำ�กัดอยู่ที่คำ�ถามที่ เป็นเกร็ดความรู้ เช่น แม่นํ้าสายใดยาวที่สุด สงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้นเมื่อปีใด เป็นต้น แต่ ยังไม่มีความสามารถในการตอบคำ�ถามที่เป็น ปลายเปิด เช่นทำ�ไมท้องฟ้าถึงเป็นสีฟา้ หรือภาวะ โลกร้อนนั้นเป็นเรื่องจริงหรือเป็นเรื่องเท็จ เพราะ อะไร เป็นต้น ข้อจำ�กัดของปัญญาประดิษฐ์ที่ใช้ ตอบคำ�ถามอัตโนมัตทิ เี่ ราได้ยกตัวอย่างขึน้ มานัน้ สะท้อนให้เห็นถึงว่าความก้าวหน้าของปัญญา ประดิษฐ์ในเชิงของภาษาและในเชิงความรู้ ว่ายัง ด้อยกว่าระดับทีเ่ ทียบเท่ากับมนุษย์เป็นอย่างมาก หากเรามีปญั ญาประดิษฐ์ทเี่ ก่งจริง เราก็ควรจะมี ระบบที่สามารถตอบคำ�ถามใดก็ได้ ในหัวข้อใด ก็ได้ และในลักษณะใดก็ได้ เพราะว่าเครื่องนั้นมี ความสามารถเปิดหาความรูจ้ ากอินเทอร์เน็ตโดย อัตโนมัติ และดึงมาตอบคำ�ถามได้อย่างถูกต้อง แต่ในปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีนั้นยังห่างไกลจากใน ระดับนั้นมาก และความก้าวหน้าของงานวิจัยก็ ไม่ได้เป็นไปอย่างก้าวกระโดด แต่เป็นไปอย่าง

ค่อยเป็นค่อยไป และยังไม่เห็นแนวโน้มว่าจะมี การปฏิวตั คิ รัง้ ใหม่อกี ครัง้ หนึง่ ทางด้านเทคโนโลยี เร็วๆ นี้ ที่สามารถทำ�ให้เรากระโดดจากระดับที่ เป็นอยู่นี้ ถึงระดับที่เทียบเท่ากับมนุษย์อย่าง แท้จริงได้ในเวลาอันใกล้ AI จะมาครองโลกเร็วๆ นี้หรือเปล่า ตอบสัน้ ๆ คือ ไม่ เมือ่ ดูจากความก้าวหน้าทางการ วิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางภาษาและปัญญา ประดิษฐ์เกี่ยวกับภาษาตามที่ยกตัวอย่างและ อธิ บ ายขึ้ น มาข้ า งต้ น แล้ ว การพั ฒ นาปั ญ ญา ประดิษฐ์ในปัจจุบันนี้เป็นการพัฒนาเฉพาะชิ้น ไม่ได้เน้นการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ที่มีความ สามารถในการใช้ภาษาหรือแก้ปัญหาโดยทั่วไป เมื่ อ ตั ด สิ น จากอั ต ราความก้ า วหน้ า ทางด้ า น เทคโนโลยีของปัญญาประดิษฐ์ในขณะนี้ พอจะ บอกได้ว่า เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์นั้นยังไม่ สามารถมาแทนทีม่ นุษย์ได้ทงั้ หมดในเวลาอันใกล้ แต่วา่ จะนำ�มาช่วยย่นเวลาในการทำ�งานต่างๆ ลง เช่น เราอาจจะใช้เครื่องในการตอบปัญหาที่ไม่ ซับซ้อนยุง่ ยากนัก เพือ่ เป็นการเปิดเวลาให้มนุษย์ จริงๆ เป็นผูต้ อบคำ�ถามทีซ่ บั ซ้อน ส่วนงานทีต่ อ้ ง อาศั ย ความคิ ด สร้ า งสรรค์ ความแปลกใหม่ เทคโนโลยีทางด้านปัญญาประดิษฐ์นั้นก็ยังด้อย กว่ามนุษย์อยู่มาก แต่ว่าเทคโนโลยีอาจจะมีส่วน ช่วยในการสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้ที่ทำ�งานใน ด้านงานสร้างสรรค์ได้พัฒนางานของตนต่อไป หรือนักแปลอาจจะใช้ปญั ญาประดิษฐ์ในการแปล CREATIVE THAILAND I 19

ประโยคที่ง่ายๆ เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระ และ ให้เครื่องเป็นตัวช่วยแนะว่าประโยคใดที่มนุษย์ นั ก แปลนั้ น ควรจะใส่ ใ จเป็ น พิ เ ศษเพื่ อ พั ฒ นา คุณภาพของการแปลโดยรวม ขณะนี้นักวิจัย จำ�นวนมากทัง้ ทางด้านภาษาศาสตร์และทางด้าน วิทยาการคอมพิวเตอร์ได้ร่วมมือกันสรรค์สร้าง และพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ทำ�ให้เครื่องเข้าใจ ภาษาได้มากขึน้ เราในฐานะส่วนหนึง่ ของประชาคม ดิจทิ ลั ควรติดตามข้อมูลทางด้านปัญญาประดิษฐ์ และทักษะทางด้านเทคโนโลยีอย่างสมํ่าเสมอ และพิ จ ารณาว่ า เทคโนโลยี ที่ มี อ ยู่ แ ล้ ว และ เทคโนโลยีที่กำ�ลังจะมาในอนาคตนั้นสามารถนำ� มาประยุกต์ใช้เพื่อทำ�ให้การงานของเรากินเวลา น้อยลง และเปิดเวลาให้เราพัฒนางานของเราใน ส่วนอื่นๆ ได้มากขึ้นหรือไม่ โดยไม่ต้องกลัวว่า วั น หนึ่ ง หุ่ น ยนต์ จ ะมี ค วามคิ ด อ่ า นของตั ว เอง ขึ้นมาและยึดครองโลก หรือทำ�ให้คนเป็นล้าน ตกงานกันอย่างที่ใครหลายคนสะพรึงกลัวกัน ปัญญาประดิษฐ์ยงั มีศกั ยภาพทีจ่ ะพัฒนาขึน้ ไปได้ อีกมาก แต่ปัญญาประดิษฐ์ที่ทำ�งานโดยเต็ม ศักยภาพนั้นยังเพียงเป็นภาพวาดในอนาคต * บทความนี้ผู้เขียนใช้เครื่องถอดเสียงพูดเป็นตัวอักษรใน การเขียนทั้งหมด ที่มา: เอกสารวิ ช าการ “STATE-OF-THE-ART SPEECH RECOGNITION WITH SEQUENCE-TO-SEQUENCE MODELS” โดย บริษทั Google (23 กุมภาพันธ์ 2018) จาก arxiv.org / เอกสารวิชาการ “QANet: Combining Local Convolution with Global Self-Attention for Reading Comprehension” (23 เมษายน 2018) จาก arxiv.org


สอน AI ให้เป็นคนดี เรื่อง: ปิยพร อรุณเกรียงไกร

หากเป็นเมือ่ 10 ปีกอ่ น เราคงนึกไม่ออกว่า AI (Artificial Intelligence) จะเกีย่ วข้องกับชีวติ ประจำ�วันของคนทัว่ ไปได้อย่างไร วันนี้เทคโนโลยี AI ออกจากห้องแล็บมาสู่สมาร์ทโฟน ไปจนถึงอุปกรณ์อัจฉริยะทั้งในบ้านและนอกบ้าน บริษัท Gartner คาดการณ์ว่า 10 ปีนับจากนี้ปัญญาประดิษฐ์จะแทรกซึมในทุกมิติของชีวิต และทุกหนทุกแห่ง ขณะเดียวกันก็เกิดการถกเถียงอย่างกว้างขวางว่า เมื่อ AI วิวัฒน์ไปถึงจุดที่ฉลาดเหนือมนุษย์แล้ว จะเป็นจุดจบของมนุษยชาติหรือไม่ เรย์ เคิร์ซวีล (Ray Kurzweil) นักอนาคตศาสตร์ชอ่ื ดัง ของกูเกิล เคยทำ�นายไว้ว่าปี 2045 อารยธรรมของมนุษย์เครื่องจักรจะรุ่งเรืองถึงขีดสุด และเข้าสู่ยุคของ ซิงกูลาริตี้ (Singularity) ซึ่งไม่มีใครทํานายได้ว่า จะเกิดอะไรขึ้นต่อไป ด้านทำ�เนียบขาว รัฐสภา แห่งสหภาพยุโรป และรัฐบาลอีกหลายประเทศ ทั่ ว โลกได้ เ ตรี ย มแผนรั บ มื อ เชิ ง นโยบายและ กฎหมายควบคุมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ คำ�ถามคือ เราจะสร้าง AI ที่ไม่ย้อนกลับมา ทำ�ร้ายมนุษย์ในวันหน้าได้ไหม และอย่างไร

บทที่ 1 การเรียนรู้ของเครื่อง: แมว หมา และหมากล้อม

ถ้าเป็นเมื่อ 10 ปีก่อน นักวิจัยเองก็แทบนึกภาพ ไม่ออกเช่นกันว่าคอมพิวเตอร์จะแยกแยะความ แตกต่างระหว่างรูปภาพของสุนขั กับแมวซึง่ ต่างก็ เป็นสัตว์สขี่ าได้อย่างไร โจเซฟ เรดมอน (Joseph Redmond) นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ได้เล่าว่า ปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์วิชันสามารถระบุว่า รูปไหนเป็นสุนัขและแมวได้แม่นยำ�ถึง 99% ด้วย เทคโนโลยี Image Classification หรือการสอน ให้คอมพิวเตอร์จำ�แนกประเภทของรูปภาพโดย ป้อนรูปและแคปชั่นเข้าไป แต่การพัฒนารถยนต์ ขับอัตโนมัติต้องอาศัยสิ่งที่ซับซ้อนกว่า เพราะ AI CREATIVE THAILAND I 20

จะต้องเป็นฝ่ายตัดสินใจรักษาความปลอดภัยของ ผู้ขับและชีวิตอื่นๆ บนท้องถนน ในทัศนะของ มนุษย์ทกุ ชีวติ ล้วนมีคา่ แต่เราไม่อาจล่วงรูไ้ ด้เลย ว่า AI จะตัดสินใจอย่างไร การแยกแยะรู ป ภาพแมวกั บ สุ นั ข คงไม่ สัน่ สะเทือนวงการมากเท่ากับข่าว AlphaGo Zero ปั ญ ญาประดิ ษ ฐ์ เ ซี ย นโกะเวอร์ ชั่ น ใหม่ ข อง DeepMind รอบนีม้ นั สามารถเรียนรูก้ ารเล่นเกม หมากล้อมเองโดยไม่ต้องพึ่งข้อมูลการเล่นเกม ของคนเลย แค่ 3 วัน AlphaGo Zero ก็เอาชนะ AlphaGo รุน่ เก่าทีเ่ คยโค่นลี เซโดล และเวอร์ชนั่ อืน่ ทัง้ หมด ภายใน 40 วัน!

flickr.com/photos/Michael Cordedda

Insight : อินไซต์


อย่าพึ่งตกใจว่า AI จะฉลาดเกินมนุษย์แล้ว เพราะ AlphaGo และปัญญาประดิษฐ์ในโครงการ ทดลองอื่นๆ ยังจัดอยู่ในระดับความสามารถ เฉพาะทาง (Narrow Artificial Intelligence) หรือ Norrow AI แต่ยงั ห่างไกลจาก AI ทีร่ คู้ ดิ เชิงเหตุผล และบูรณาการศาสตร์ความรูห้ ลากหลาย หรือทำ� ทุกอย่างได้เหมือนกับมนุษย์ (Artificial General Intelligence: AGI) หรือ Strong AI

บทที่ 2: AI ก็มีหัวใจ?

ปัจจุบันมีกลุ่มนักวิจัยที่เห็นตรงกันว่าการพัฒนา AI ให้มีความฉลาดทางอารมณ์ และเข้าใจความ รูส้ กึ ของคน หรือ Emotion AI จะเป็นกุญแจสำ�คัญ ที่พา AI เข้าใกล้ความเป็นมนุษย์ ริชาร์ด ยองค์ (Richard Yonck) ผู้เขียนหนังสือ Heart of the machine: our future in a world of artificial emotional intelligence มองว่าอารมณ์เป็นหัวใจ ของความเป็นมนุษย์ ทุกวันนี้ AI อยู่ในชีวิต ประจำ�วันแล้ว และจะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งใน ครอบครัวของเราด้วยซ้�ำ การออกแบบเทคโนโลยี ให้เข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของคนจึงเป็นเรื่อง สำ�คัญ ไม่ใช่แค่แวดวงนักวิจัยและนักวิชาการที่ ตืน่ ตัวกับเรือ่ งนี้ บริษทั ใหญ่ๆ อย่างเช่น Huawei, Samsung, Apple และ Amazon ต่างก็ทุ่มงบใน การวิจยั พัฒนาซอฟต์แวร์ของระบบผูช้ ว่ ยอัจฉริยะ (Voice Assistant) ให้ปฏิสัมพันธ์กับอารมณ์ของ ผู้ใช้ทุกรายในอนาคต เพื่อยกระดับการมอบ ประสบการณ์ท่ีตรงใจผูใ้ ช้มากทีส่ ดุ (Personalised User Experience) การพัฒนา Emotion AI ส่วนใหญ่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลจากการตรวจจับ สีหน้า ท่าทาง นํ้าเสียง และรูปแบบพฤติกรรม ของคน ทางฝั่งเฟซบุ๊กและยูทูบเองก็มีข่าวลือ ว่ า กำ � ลั ง ซุ่ ม พั ฒ นาด้ า นนี้ เ พื่ อ ให้ ค นเสพติ ด คอนเทนต์และอยู่บนแพลตฟอร์มนานทีส่ ดุ รายงาน Affective Computing Market เปิดเผยว่ามูลค่า ตลาดของระบบคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ ที่เกีย่ วข้องกับ Emotion AI จะเติบโตจาก 12,200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็น 53,980 ล้านเหรียญในปี 2021 เช่น ระบบรูจ้ �ำ เสียง (Speech Recognition) ระบบรู้จำ�ท่าทาง (Gesture Recognition) เฟย เฟย ลี (Fei-Fei Li) ผู้อำ�นวยการ สถาบันวิจัยด้าน AI มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด

มองประเด็นนี้ว่าเป็นภารกิจที่ยากยิ่ง ลำ�พังแค่ ความรูด้ ้านคอมพิวเตอร์ (Computer Science) ย่อมไม่เพียงพอที่จะพัฒนา AI ให้เรียนรู้อารมณ์ ความรู้สึกของมนุษย์ได้เลย เธอเชือ่ มั่นว่าการ พัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ไปในทิศทางที่ ดีควรจะยึดโยงมนุษย์เป็นศูนย์กลาง (Humancentered AI) โดยประการแรก AI จะต้องสะท้อน ความฉลาดของมนุษย์ได้อย่างลึกซึง้ คำ�นึงถึงการ มองโลกผ่านสายตาของมนุษย์ เพราะเครื่องจักร ยังเรียนรู้ได้จำ�กัด บ่อยครั้งที่การทดลองล้มเหลว เพราะ AI ขาดความเข้าอกเข้าใจ (Empathy) ไม่ สามารถรับรู้แง่งามหรือสัมผัสความลึกซึ้งของ สิ่งรอบตัวซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์ชื่นชมกันเป็นปกติ ประการทีส่ อง การสร้าง Human-centered AI ควรอยู่บนแนวคิดการนำ�เทคโนโลยีมาใช้เพิ่ม ประสิทธิภาพ ไม่ใช่มาแทนที่ การใช้หุ่นยนต์ ผ่ า ตั ด นั้ น ไม่ ค วรเป็ น ระบบอั ต โนมั ติ ที่ จ ะทำ � ทุกอย่าง แต่เป็นผู้ช่วยคอยแบ่งเบาภาระงาน บางส่วนที่ทำ�ให้เกิดความเหนื่อยล้า หรือความ ประมาท ทำ�ให้แพทย์มีสมาธิในการผ่าตัดดีขึ้น ประการสุดท้าย การพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ ต้องดำ�เนินควบคู่ไปกับการคำ�นึงถึงผลกระทบที่ จะเกิดขึ้นกับมนุษย์เสมอ

บทส่งท้าย: อคติทางเพศ ชาติพนั ธุ์ และประชาธิปไตย

จอห์น จิอนั นันเดรีย (John Giannandrea) หัวหน้า ฝ่าย Machine Learning and AI Strategy ของ Apple เคยกล่าวเตือนว่าหุ่นยนต์สังหารยังไม่น่า กังวล เมือ่ เทียบกับ AI ที่มีอคติ (Bias) ซึง่ มาจาก ข้ อ มู ล บนโลกออนไลน์ ที่ เ ต็ ม ไปด้ ว ยอคติ ท าง เชือ้ ชาติ เพศ และอุดมการณ์ทางการเมือง เพราะถ้าหาก AI ในชีวิตประจำ�วันของเรา มีอคติตอ่ เพศใดเพศหนึง่ หรือเชือ้ ชาติใดเชือ้ ชาติ หนึง่ ผลลัพธ์ทตี่ ามมาย่อมหนีไม่พน้ ความขัดแย้ง โกลาหล เมื่ อ ถึ ง จุ ด นั้ น มนุ ษ ย์ อ าจจะไม่ ไ ว้ ใ จ เทคโนโลยีอีกต่อไป จึงเป็นเรื่องสำ�คัญมากที่ทีม วิจยั จะคัดกรองและตรวจสอบข้อมูลให้เกิดความ โปร่งใส ปราศจากอคติ และสอนให้ AI เรียนรู้ที่ จะแยกแยะข้ อ มู ล ลวงและมี อ คติ ไ ด้ เ ช่ น กั น ทางรัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักรก็ได้เสนอประเด็น ดังกล่าวต่อรัฐบาลให้เร่งกำ�หนดจริยธรรมการ พัฒนาและการใช้เทคโนโลยี AI และดำ�เนิน CREATIVE THAILAND I 21

มาตรการตอบโต้ดว้ ยเครือ่ งมือและระบบป้องกัน เพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดของ AI ที่มีอคติใน อนาคต ยังไม่มบี ทสรุปว่าการพัฒนา AI ทีป่ ราศจาก อคติทุกๆ ด้านจะลงเอยอย่างไร เฟย เฟย ลี กล่าวว่าวงการวิจัยด้าน AI ควรจะสนับสนุนให้มี นั ก วิ จั ย หญิ ง มากกว่ า นี้ เพื่ อ ลดอคติทางเพศ บางคนมองว่าการใช้เสียงผู้หญิงในระบบผู้ช่วย ส่วนตัวเป็นการเหยียดเพศอย่างหนึง่ ทัง้ Siri และ ระบบปฏิบตั กิ ารอืน่ ๆ มักจะถูกถามเชิงล่อแหลม หยาบคาย หรือแม้แต่ถูกล่วงละเมิดทางเพศผ่าน คำ�พูด ที่สำ�คัญมันไม่ได้ถูกโปรแกรมหรือสอนให้ โต้ตอบปฏิเสธต่อการล่วงละเมิดอย่างเหมาะสม เท่าที่ควร มีนักคิดนักวิจัยเสนอว่าการสร้าง AI นั้นไม่ควรระบุเพศ (Neutral Gender) หรือไม่มี เพศเลย (Genderless) เพื่ อ ส่ ง เสริ ม ความ เท่าเทียมอย่างแท้จริง มีอีกหลายบทเรียนที่ AI ต้องเรียนรู้จนกว่า มั น จะเข้ า ใจและหลี ก เลี่ ย งอคติ ข องมนุ ษ ย์ ก่อนจะถึงเวลานัน้ เราอาจต้องเริม่ จากละวางอคติ ของตนเองลงก่อน สุดท้ายแล้วปัญญาประดิษฐ์ จะเป็นตัวสะท้อนถึงวิวัฒนาการและเนื้อแท้ของ มนุษย์เอง ที่มา: บทความ “Deep Reinforcement Learning: Is the Future Perfect?” โดย Sopon Supamangmee จาก bookster.blog / หนังสือ “ประวัติศาสตร์ปรัชญา ฉบับ กะทัดรัด” โดย ไนเจล วอร์เบอร์ตัน / การบรรยาย “How Computers Learn to Recognize Objects Instantly” โดย Joseph Redmon จาก ted.com / บทความ “Affective Computing Market Worth 53.98 Billion USD by 2021” จาก marketsandmarkets.com / บทความ “AlphaGo Zero: Learning from Scratch” จาก deepmind.com / บทความ “China’s Largest Smartphone Maker Is Working on an A.I. That Can Read Human Emotions” โดย Uptin Saiidi จาก cnbc.com / บทความ “Forget Killer Robots-Bias Is the Real AI Danger” โดย Will Knight จาก technologyreview.com / บทความ “From Narrow to General AI” โดย Peter Voss จาก medium.com / บทความ “Google AI Chief Claims Biased Algorithms Are a Big Danger” โดย Ken Hanly จาก digitaljournal.com / บทความ “How to Make A.I. That’s Good for People” โดย Fei-Fei Li จาก nytimes.com / บทความ “If We Want Humane AI, It Has to Understand All Humans” โดย Davey Alba จาก wired.com / บทความ “The Rise of Emotionally Intelligent AI” โดย Mikko Alasaarela จาก machinelearnings.co / หนังสือ “Heart of the Machine: Our Future in a World of Artificial Emotional Intelligence” โดย Richard Yonck


Creative Startup : เริ่มต้นคิด

ธนานนท์ เงินถาวร (Tech Lead), ธัญทัต อังศุพิสิฐ (Regional Head), สิริน พรหมสูตร (Project Manager), ทรงพล บัวสถิต (CEO)

เรื่อง: ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ ภาพ: ภีร์รา ดิษฐากรณ์

ตัง้ แต่เว็บขายตัว๋ เครือ่ งบินทีป่ รับราคาขึน้ ลงตามจำ�นวนการคลิกของลูกค้า จนถึงแอพพลิเคชัน่ ฟังเพลงทีป่ ระมวลเพลงโปรด ของเราขึ้นมาให้ในหน้าแรก จะเห็นได้ว่า AI เข้ามาแทรกซึมในชีวิตของเรานานแล้ว แต่คงจะดีไม่น้อย ถ้าคนธรรมดาอย่างเรา จะสามารถเป็นเจ้าของและสอนให้จักรกลอัจฉริยะเรียนรู้ที่จะทำ�งานแทนเราได้บ้าง โอกาสนั้นมาถึงแล้ว ด้วยฝีมือของ “เฮ็ดบอท” (Hbot) สตาร์ทอัพไทยที่ ออกแบบโปรแกรมสร้างแชทบอท (Chatbot) ที่ช่วยให้แม้แต่ผู้ประกอบการ รายเล็กๆ ในยุคดิจิทัล ก็สามารถสร้างสรรค์แชทบอทของตัวเองให้เป็น ผู้ช่วยทำ�ธุรกิจออนไลน์ได้อย่างง่ายดาย แชทบอท...ก้าวแรกของ AI จากฝีมือคนธรรมดา “เฮ็ดบอท” เป็นแพลตฟอร์มทีช่ ว่ ยให้องค์กรธุรกิจ หน่วยงานรัฐ ไปจนถึงคน ธรรมดาทั่วไป สามารถสร้างแชทบอทเพื่อตอบคำ�ถามและสื่อสารกับลูกค้า หรือลูกเพจในช่องทางออนไลน์ได้ด้วยตัวเอง ซึ่งช่วยลดภาระงานรายวันที่ ต้องทำ�ซ้ำ�ๆ (Automated Task) เช่นการตอบคำ�ถามเดิมๆ ที่ถูกส่งเข้ามา

นับครั้งไม่ถ้วนจากลูกค้า ทั้งยังช่วยลดต้นทุนของธุรกิจเมื่อเทียบกับการ พัฒนาแอพพลิเคชัน่ บนมือถือ ทีต่ อ้ งใช้เวลานานกว่า หรือมีคา่ ใช้จา่ ยสูงกว่า จุดเด่นที่ทำ�ให้เฮ็ดบอทต่างจากคู่แข่งในตลาด คือเป็นแพลตฟอร์มที่ เปิดให้ใช้งานได้ฟรี ทั้งยังออกแบบแพลตฟอร์มให้เข้าใจง่าย ไม่จำ�เป็นต้อง เขียนโค้ดเป็นก็สามารถสร้างแชทบอทได้ “สตาร์ทอัพหลายเจ้ามักจะเริม่ จาก สร้าง AI-based Chatbot เลย คือสร้างแพลตฟอร์มยากๆ ทีใ่ ห้ AI นำ�ข้อมูล มาประมวลผล แล้วมันสามารถสร้างคำ�ตอบเองได้ แต่เฮ็ดบอทจะเริ่มจาก การสร้างแพลตฟอร์มให้คนทัว่ ไปใช้งานได้งา่ ยเพือ่ ดึงผูใ้ ช้งานกลุม่ แรกให้เข้า มาเริม่ ใช้กอ่ น หลังจากนัน้ จึงค่อยๆ พัฒนาให้ระบบทำ�งานได้เก่งขึน้ เรือ่ ยๆ” ธัญทัต อังศุพิสิฐ Regional Head ของเฮ็ดบอทกล่าว

CREATIVE THAILAND I 22


ลูกค้าหลายคนยังไม่เข้าใจว่าแชทบอท ท�ำอะไรได้บ้าง ขีดจ�ำกัดของเทคโนโลยี มันอยู่ตรงไหน เขาคิดว่ามันจะฉลาดมาก ซึ่งมันเป็นได้แน่แต่อาจจะต้องรอถึงสิบปี ตอนนี้ทุกคนรู้สึกว่า AI มันเหมือนกล้อง ที่ ต ้ อ งมี ใ นมื อ ถื อ ทุ ก รุ ่ น ทุ ก คนอยาก มี AI แต่ เ อาไปท�ำอะไรได้ บ ้ า งเป็ น อี ก เรื่องหนึ่ง ความง่ายในการใช้งานที่ว่า ก็คือการที่เฮ็ดบอทเลือกให้แชทบอทของ พวกเขาโต้ตอบกับคนด้วยบทสนทนาแบบ Flow-based โดยผู้สร้างบอท สามารถตั้งค่าให้แชทบอทแสดงคำ�ถามหรือหัวข้อต่างๆ ให้ลูกค้าคลิกเลือก ตัวเลือกทีต่ รงกับความต้องการ เพือ่ นำ�ไปสูค่ �ำ ตอบหรือคำ�ถามต่อๆ ไปตาม ที่ตั้งค่าไว้ เช่น ‘สอบถามรายละเอียดสินค้า’ ‘ขอข้อมูลโปรโมชั่น’ ฯลฯ “ปีที่ผ่านมาหลังจากทำ�แพลตฟอร์มแบบ Flow-based เราพบว่า 85% ของ ข้อความของลูกค้าที่วิ่งเข้ามา แพลตฟอร์มแชทบอทเอาอยู่ บริษัทประกัน เจ้าหนึ่งที่ใช้แพลตฟอร์มของเราเพิ่มยอดขายผ่านเฟซบุ๊กได้ 39% ทั้งๆ ที่ แพลตฟอร์มที่ใช้มันยังไม่มี AI (ระบบที่ประมวลข้อมูลแล้วตอบคำ�ถาม เองได้) เลย เรียกว่าเป็นพลังของการออกแบบล้วนๆ” ธัญทัตอธิบาย ชุมชนคนสร้างบอท ปัจจุบันมีเพจที่สร้างแชทบอทด้วยโปรแกรมของเฮ็ดบอทเกือบ 5,000 เพจ โดยไม่ได้มีแค่บรรดาพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงอาจารย์ที่นำ� แชทบอทไปใช้ในการสอนนักศึกษา และเพจคลินกิ หมอฟันทีใ่ ช้แชทบอทเพือ่ ให้บริการคนไข้อีกด้วย นอกจากนี้ ผู้ที่ใช้งานโปรแกรมก็มีความเข้าใจ เทคโนโลยีมากขึ้นและเริ่มสนใจที่จะเรียนรู้วิธีเขียนโค้ดเพื่อพัฒนาแชทบอท ของตัวเองให้ทำ�งานได้ดียิ่งขึ้น “ลูกค้าบอกว่าเขาเริ่มอยากได้ฟีเจอร์ที่มัน ยากขึ้น คือเมื่อก่อนถ้าเราสร้างโปรแกรมแชทบอทแล้วเขารู้ว่าเขาต้อง โค้ดเอง คนธรรมดาอย่างเจ้าของคลินกิ ร้านกาแฟ หรือร้านขายเสือ้ ผ้าไม่มี ใครอยากใช้แน่นอน เพราะบางคนยังไม่รู้จกั เลยด้วยซํา้ ว่าแชทบอทคืออะไร แต่พอเราเริม่ จากสร้างอะไรที่ใช้ง่าย เขาก็จะลองใช้ แล้วพอเขาเห็นประโยชน์ จากมัน เขาก็เริม่ ต้องการฟีเจอร์ที่ฉลาดขึ้น เริ่มต้องการ AI ตอนนี้เราก็เริ่ม มีข้อมูลมากขึ้นจากแต่ละธุรกิจที่เข้ามาใช้งาน เมื่อมีคนเข้ามาใช้งานเยอะ ในอนาคตเราก็สามารถเอาข้อมูลทีไ่ ด้มาสร้าง AI หรือ Deep Tech ได้งา่ ยขึน้ ” นอกจากนี้ เฮ็ดบอทยังรับเป็นที่ปรึกษาและให้บริการสร้างแชทบอทให้ องค์กรและธุรกิจขนาดใหญ่หลายแห่ง ทัง้ ธุรกิจการเงินการธนาคาร ประกันภัย ไปจนถึงอาหารและเครื่องดื่ม เช่น ‘SETBOT’ บริการแชทบอทบนเฟซบุ๊ก แมสเซนเจอร์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่ช่วยในการลงทุนและ วางแผนการออม

แม้ว่าแชทบอทจะสามารถนำ�ไปใช้งานในอุตสาหกรรมที่หลากหลาย แต่ด้วยเหตุที่ยังเป็นเรื่องใหม่ในบ้านเรา ทั้งยังมีบุคลากรที่เชี่ยวชาญด้านนี้ ไม่มากนัก อีกหนึ่งภารกิจสำ�คัญของทีมเฮ็ดบอทก็คือการเปิดสถาบัน H-Academy ให้ความรู้และแบ่งปันประสบการณ์ เพื่อสร้างคอมมูนิตี้ของ นักสร้างบอทที่ทุกคนจะเข้ามาแลกเปลี่ยนความรู้กันได้อย่างอิสระ โดยเริ่ม เปิดสอนออนไลน์ผ่านเฟซบุ๊กไลฟ์บนเพจ Hbot เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา อนาคตตลาด AI ในมุมมองของทีมเฮ็ดบอท เทคโนโลยี AI ในตลาดบ้านเราโตขึ้นมากจากปี ทีแ่ ล้ว ธุรกิจทีม่ บี กิ๊ เดต้าเริม่ วิง่ หา AI เพือ่ บริหารจัดการและใช้ประโยชน์จาก ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ แต่สำ�หรับธุรกิจระดับกลางถึงระดับล่าง ยังต้อง สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเทคโนโลยีอีกระยะหนึ่ง “ลูกค้าหลายคน ยังไม่เข้าใจว่าแชทบอททำ�อะไรได้บ้าง ขีดจำ�กัดของเทคโนโลยีมันอยู่ ตรงไหน เขาคิดว่ามันจะฉลาดมาก ซึ่งมันเป็นได้แน่แต่อาจจะต้องรอถึง สิบปี ตอนนี้ทุกคนรู้สึกว่า AI มันเหมือนกล้องที่ต้องมีในมือถือทุกรุ่น ทุกคน อยากมี AI แต่เอาไปทำ�อะไรได้บ้างเป็นอีกเรื่องหนึ่ง” พวกเขาคาดว่า ภายในสามปีแพลตฟอร์มสร้างแชทบอททั้งหมดใน ตลาดจะเปิดให้ใช้งานฟรี และแชทบอทจะพัฒนาเป็น ‘วอยซ์บอท’ ที่รบั คำ�สัง่ และโต้ตอบด้วยเสียงแทนการส่งข้อความ ในขณะที่อุตสาหกรรมต่างๆ จะ มองหาหนทางที่จะนำ� AI มาใช้ประโยชน์อย่างจริงจัง โดยในเร็วๆ นี้ เฮ็ดบอท ก็กำ�ลังจะเปิดตัวแพลตฟอร์มโอเพ่นซอร์สเพื่อให้สาธารณชนสามารถนำ�ไป ใช้งาน แก้ไข และต่อยอดกันได้อย่างอิสระ ก่อนหน้านี้ เฮ็ดบอทได้จับมือกับ BotNoi (AI Chatbot ฝีมือคนไทยที่ ได้รับรางวัล Conversation Engine Award จากการประกวด LINE Bot Awards ปี 2017) เพื่อร่วมกันพัฒนาการทำ�งานของแชทบอทให้แข็งแกร่งขึน้ สามารถรับมือกับคำ�ถามของลูกค้าที่ไม่ได้ตั้งค่าไว้ในระบบได้ ทั้งยังเผยว่า มีแผนจะสร้าง “พจนานุกรมเฉพาะทาง (Data Dictionary)” ทีเ่ ปิดให้บคุ คล ภายนอกได้มาช่วยกันรวบรวมคำ�ศัพท์และบริบทการพูดคุยที่ต่างกันไปใน แต่ละอุตสาหกรรม เพือ่ ให้นกั พัฒนาแชทบอทในอนาคตสามารถหยิบข้อมูล ไปใช้ได้เลย “เรารู้ดีว่าการจะยืนอยู่ในตลาดได้ต้องทำ�งานร่วมกับหลายฝ่ายที่มี ความเชีย่ วชาญ ณ วันนีก้ �ำ แพงใหญ่ทที่ �ำ ให้รายใหญ่ในตลาดโลกอย่างกูเกิล หรื อ แอปเปิ ล ยั ง เจาะเข้ ามาในไทยไม่ ไ ด้ คื อ กำ � แพงทางภาษา แต่ ห าก นักพัฒนาภาษาสำ�หรับแชทบอทและผู้เชี่ยวชาญไม่ร่วมมือกัน อีกไม่นาน เราก็อาจจะถูกกลืนทั้งหมด...สำ�หรับเฮ็ดบอทเองตอนนี้เรายังเป็น Early Stage Startup แต่ทีมของเราตั้งใจไว้ตั้งแต่วันแรกแล้วว่า ไม่ได้มองแค่ ตลาดในประเทศ ตอนนีเ้ ราก็ก�ำ ลังมองหาหนทางทีจ่ ะสเกลอัพด้วยการเพิม่ ฐานยูสเซอร์ ซึ่งรวมถึงการขยายไปตลาดต่างประเทศอย่างเวียดนาม พม่า และไต้หวันด้วย”

ติดตามความเคลื่อนไหวของ Hbot ได้ที่ hbot.io และ facebook.com/HbotThailand

CREATIVE THAILAND I 23


flickr.com/photos/Jonathan

Creative City : จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

เอสโตเนีย

สร้างชาติใหม่ ไร้พรมแดน เรื่อง: ชาลินี วงศ์อ่อนดี

จากที่เคยตกอยู่ภายใต้การปกครองของสหภาพโซเวียตเป็นเวลาเกือบครึ่งศตวรรษ ประชาชนมีฐานะยากจน โทรศัพท์ไม่มี ใช้ และไร้ซึ่งทรัพยากรหรือความสามารถในการแข่งขันดั่งเช่นประเทศอื่น เอสโตเนีย ประเทศขนาดเล็กที่ในอดีตมีน้อยคนนัก ที่จะบอกตำ�แหน่งที่ตั้งของพวกเขาบนแผนที่โลกได้ สามารถล้างกระดานแห่งอดีตและผันตัวเองให้กลายเป็นสังคมดิจิทัลที่ ประกาศให้ “อินเทอร์เน็ต” เป็นสิทธิ์พื้นฐานของมนุษยชน ประชาชนสามารถทำ�ธุรกรรมต่างๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ได้ตลอด 24 ชม. ไม่วา่ จะเป็นเลือกตัง้ จ่ายภาษี หรือจดทะเบียนบริษทั อีกทัง้ เป็นแหล่งรวมโปรแกรมเมอร์มากฝีมอื จนได้รบั สมญานาม ว่าเป็น “ซิลิคอนแวลลีย์แห่งยุโรป” พลิกฟื้นเศรษฐกิจให้กลายเป็นประเทศที่รํ่ารวยภายในช่วงเวลาไม่กี่สิบปี CREATIVE THAILAND I 24


ล้มกระดาน สร้างชาติใหม่ “พวกเราไม่มอี ะไรเลย” ริโฮ แตร์ราส (Riho Terras) ผู้บังคับการกองกำ�ลังติดอาวุธของเอสโตเนีย เล่าถึงช่วงเวลาที่เอสโตเนียได้เอกราชคืนมาจาก การล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี 1991 หลัง จากทีอ่ ยูภ่ ายใต้การปกครองของโซเวียตเป็นเวลา เกือบ 50 ปี ประชาชนได้รับเงินคนละประมาณ 10 ยูโรเพือ่ เริม่ ต้นชีวติ ใหม่ “เรามีแค่นน้ั เราเริม่ ต้น ทุกอย่างจากเงินในกระเป๋าคนละ 10 ยูโร” ในขณะ ที่ ป ระเทศเพื่ อ นบ้ า นอย่ า งนอร์ เ วย์ มี นํ้ า มั น เหลือเฟือ สวีเดนมีลายเซ็นงานออกแบบทีช่ ดั เจน เอสโตเนียไม่มแี ม้แต่ทรัพยากรหรือความสามารถ ในการแข่งขันทีน่ า่ จดจำ� “คุณคิดถึงอะไรเมือ่ คุณ ได้ยนิ ชือ่ ลิทวั เนียหรือสโลเวเนีย นึกอะไรไม่ออกเลย” เตวิ กอตกา (Taavi Kotka) ผู้บริหารเทคโนโลยี สารสนเทศระดับสูงแห่งเอสโตเนียกล่าว ด้วย ทรัพยากรทีจ่ �ำ กัดและจำ�นวนประชากรเท่าหยิบมือ ผู้นำ�เอสโตเนียในเวลานั้นจึงมองหาวิธีพลิกฟื้น ประเทศจากความซบเซาหลังสงคราม การมาถึง ของอินเทอร์เน็ตและเวิล์ดไวด์เว็บทำ�ให้พวกเขา มองเห็นอนาคตของประเทศไปไกลกว่าสภาพ ความจริงและเลือกเดินบนเส้นทางทีจ่ ะพาเอสโตเนีย ไปสู่ ก ารเป็ น สั ง คมดิ จิ ทั ล ที่ ก้ า วหน้ า มากที่ สุ ด แห่งหนึ่งของโลก พวกเขาฝันไกลและรู้ว่าต้องทำ� อย่างไรให้ไปถึงฝัน ในปี 1996 โทมัส เฮ็นดริก อิลเวส (Toomas Hendrik Ilves) อดีตประธานาธิบดีของเอสโตเนีย ปูทางให้ชาวเอสโตเนียนพร้อมเดินบนเส้นทางที่ มุ่งหน้าสู่สังคมดิจิทัลด้วยโครงการ Tiger’s Leap ที่ มุ่ ง ลงทุ น ในการพั ฒ นาและขยายเครื อ ข่ า ย คอมพิวเตอร์ในประเทศสำ�หรับภาคการศึกษา คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตกลายเป็นส่วนหนึ่ง ของทุกห้องเรียนในเอสโตเนีย นักเรียนชัน้ ประถม ทุ ก คนรู้ วิ ธี ก ารเขี ย นและออกแบบโปรแกรม ในขณะที่ เ อสโตเนี ย กำ � ลั ง สร้ า งคนผ่ า นระบบ การศึกษา พวกเขายังเตรียมสร้างเมืองให้พร้อม เป็นสังคมดิจิทัลในเวลาเดียวกัน ความจริงที่ว่า แค่ในช่วงเวลานัน้ มีแค่ครึง่ ประเทศทีม่ โี ทรศัพท์ใช้ ไม่ได้ทำ�ให้เอสโตเนียย่อท้อแต่อย่างใด พวกเขา ปฏิเสธทีจ่ ะเริม่ ต้นสร้างเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจาก ระบบโทรศัพท์บา้ นและเริม่ ลงทุนในระบบอินเทอร์เน็ต ใยแก้วนำ�แสงแบบไร้สาย ภายในปี 2000 เอสโตเนีย กลายเป็นประเทศแรกของโลกที่ประกาศให้การ เข้าถึงอินเทอร์เน็ตเป็นสิทธิพ์ นื้ ฐานของมนุษยชน

ไม่ต้องไปสถานที่ราชการ บริการทุกอย่างทำ�ออนไลน์ เมื่ อ อิ น เทอร์ เ น็ ต กลายเป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ที่ ผู้ ค น สามารถเข้าถึงได้ และภาษาคอมพิวเตอร์กลาย เป็นภาษาที่สองสำ�หรับชาวเอสโตเนีย เอสโตเนีย จึงเริ่มยุทธศาสตร์ที่จะช่วยพัฒนาความเป็นอยู่ ของผู้คนให้ดีขึ้นพร้อมกับผลักดันให้กลายเป็น ความสามารถในการแข่งขันของประเทศเพือ่ มุง่ สู่ การเป็นสังคมดิจทิ ลั ทีแ่ ท้จริง ในปี 1997 เอสโตเนีย เริ่มโปรเจ็กต์ e-Governance ผ่านเว็บไซต์ e-Estonia (https://e-estonia.com/) ที่เปิดให้ ประชาชนเข้าถึงบริการของภาครัฐและเอกชน รวมทั้งสามารถทำ�ธุรกรรมตามเวลาที่สะดวกได้ ตลอด 24 ชัว่ โมง ภาษีออนไลน์ คือหนึง่ ในบริการ แรกๆ ทีไ่ ด้รบั การจัดทำ�ขึน้ และช่วยให้ประชาชน สามารถจ่ายภาษีได้เสร็จเรียบร้อยภายใน 5 นาที ความสะดวกรวดเร็ ว นี้ ทำ � ให้ ใ นแต่ ล ะปี มี ช าว เอสโตเนียใช้บริการยืน่ ภาษีออนไลน์ถงึ ร้อยละ 95 หลังจากนัน้ บริการออนไลน์อนื่ ๆ อีกมากมายก็ได้ ถูกจัดทำ�ขึน้ ไม่วา่ จะเป็นการเลือกตัง้ การจดทะเบียน การค้า การเซ็นรับรองเอกสาร การเปิดบัญชีธนาคาร CREATIVE THAILAND I 25

ประกันสุขภาพ หรือการนัดพบหมอ เมื่อประชาชน ไม่มีความจำ�เป็นต้องไปสถานที่ราชการเพื่อรับ บริการ เจ้าหน้าที่รัฐไม่มีความจำ�เป็นต้องอยู่ ประจำ�การตามสถานที่ราชการ ค่าใช้ในจ่ายใน การดูแลงานส่วนนี้จึงค่อยๆ ลดลง จะมีเพียงแค่ ไม่กบ่ี ริการทีย่ งั ไม่สามารถทำ�ผ่านช่องทางออนไลน์ ได้ เช่น การจดทะเบียนสมรส การจดทะเบียนหย่า และการโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ ในปี 2002 การทำ�ธุรกรรมออนไลน์สมบูรณ์แบบมากขึน้ เมือ่ ชาวเอสโตเนียเริม่ ถือบัตรดิจทิ ลั ไอดีหรือบัตร ประชาชนอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นมากกว่าแค่บัตร แสดงตัวตน แต่เป็นบัตรสำ�หรับใช้เข้ารับบริการต่างๆ บนเว็บไซต์ e-Estonia “เมือ่ คุณเล่าถึงบัตรดิจทิ ลั ไอดีนี้ หลายคนจะถามว่าทำ�ไมฉันถึงจะต้องการ ใช้บตั รทีว่ า่ แต่เมือ่ คุณเพิม่ บริการต่างๆ ทีส่ ามารถ ทำ�ผ่านบัตรใบนีไ้ ด้ คุณสามารถซือ้ รถยนต์จากห้อง นั่งเล่นของคุณ หรือเมื่ออากาศข้างนอกติดลบ 40 องศาและคุณเพิง่ คลอดลูกเล็ก คุณคงไม่อยากไปที่ เขตเพื่อลงทะเบียนชื่อของลูก คุณสามารถทำ� ธุรกรรมต่างๆ ออนไลน์ได้” ซิเร็ต ชัตติง (Siret Schutting) เจ้าหน้าประจำ�โปรเจ็กต์ e-Estonia กล่าว


รีบูตประเทศถ้าหากเกิดการโจมตีทางไซเบอร์ใน อนาคต e-Residency ประชากรออนไลน์ สังคมดิจิทัลที่เอสโตเนียต้องการสร้างขึ้นไม่ได้ จำ�กัดอยู่แค่พื้นที่ทางกายภาพและประชากรที่ อาศัยอยูใ่ นประเทศ ประเทศเล็กๆ แห่งนีต้ อ้ งการ ไปให้ไกลกว่านัน้ ด้วยการเป็นสังคมดิจทิ ลั ที่เปิดรับ ผูค้ นจากทัว่ โลกให้เข้ามาใช้พน้ื ที่ร่วมกัน เอสโตเนีย เริ่มโครงการ e-Residency ในปี 2014 เพื่อเปิด ประเทศแบบไร้พรมแดน ต้อนรับชาวต่างชาติที่ สนใจสมัครเข้ามาเป็นประชากรออนไลน์เพื่อได้ รับสิทธิ์ในการดำ�เนินธุรกิจได้เช่นเดียวกับชาว เอสโตเนีย ผู้ที่ได้รับสิทธิ์ e-Residency จะได้รับ บั ต รดิ จิ ทั ล ไอดี สำ � หรั บ เข้ า ใช้ บ ริ ก ารออนไลน์ ต่างๆ เช่น การลงชื่อและการเซ็นรับรองแบบ ดิจิทัลเพื่อยืนยันตัวตนในการจัดตั้งบริษัทที่ใช้ เวลาแค่ประมาณ 15 นาที และจดทะเบียนกับ ธนาคารในเอสโตเนียเพื่อเริ่มทำ�ธุรกิจ รวมทั้ง ดำ � เนิ น การด้ า นภาษี ไ ด้ อ ย่ า งสะดวกสบาย เนือ่ งจากว่ากรมสรรพากรของเอสโตเนียเชือ่ มต่อ ระบบเข้ากับธนาคาร การกรอกข้อมูลภาษีจึง สามารถทำ�ได้อย่างสะดวกผ่านบัตรดังกล่าว การ เข้าร่วม e-Residency ทำ�ได้สะดวกเพียงกรอก ข้อมูลสมัครออนไลน์พร้อมอธิบายเหตุผลสัน้ ๆ ว่า ทำ�ไมถึงอยากเข้าร่วม แนบพาสปอร์ตพร้อมรูปถ่าย

ชำ�ระเงินประมาณ 100 ยูโรและยืนยันการสมัครที่ สถานทูตเอสโตเนีย ถ้าคุณได้รบั สิทธิ์ e-Residency ทางสถานทูตจะแจ้งให้ไปรับบัตรดิจิทัลไอดีซึ่ง ขั้นตอนทั้งหมดใช้เวลาเพียงประมาณหนึ่งเดือน แม้วา่ การถือสิทธิ์ e-Residency ไม่ได้หมายถึง การได้สญั ชาติเป็นชาวเอสโตเนียนหรือได้สทิ ธิใ์ น การเดินผ่านตม. ที่สนามบินเพื่อเข้าประเทศ แต่ สำ�หรับผูป้ ระกอบการและนักธุรกิจ นีค่ อื โอกาสที่ น่าสนใจไม่น้อยเพราะการถือสิทธิ์ e-Residency เปรียบเสมือนใบเบิกทางที่น่าเชื่อถือสำ�หรับการ ทำ�ธุรกิจในยุโรป อีกทั้งสามารถบริหารจัดการ ธุรกรรมต่างๆ ของบริษัทที่ไหนเมื่อไรก็ได้ตาม สะดวก ความสะดวกสบายนีเ้ ปรียบเสมือนแม่เหล็ก ดึงดูดให้ผู้ประกอบการและนักธุรกิจต่างชาติ สนใจเข้าร่วมมากขึ้น และคือจุดแข็งที่เอสโตเนีย มุ่ ง สร้ า งเพื่ อ ดึ ง ดู ด ชาวต่ า งชาติ ถ้ า ต่ า งชาติ สามารถดำ�เนินธุรกรรมต่างๆ ผ่านระบบออนไลน์ ของเอสโตเนียได้อย่างสะดวก พวกเขาอาจจะสนใจ ตั้งธุรกิจที่นี่ ใช้บริการของธนาคารเอสโตเนีย จ่ายค่าบริการนิดหน่อยเพือ่ รับบริการต่างๆ เพราะ เอสโตเนียสามารถมอบบริการต่างๆ ที่ทำ�ให้การ จัดการธุรกิจง่ายขึ้นกว่าการทำ�ธุรกิจในประเทศ ของเขาเอง “เอสโตเนียกำ�ลังแข่งขันกับเพือ่ นบ้าน ในเรื่ อ งคุ ณ ภาพของส่ ว นที่ ติ ด ต่ อ กั บ ผู้ ใ ช้ ง าน (UI : User Interface) คุณอาจจะเปลีย่ นไปใช้บริการ ของอีกธนาคารเพียงเพราะโมบายแอพพลิเคชัน

twitter.com/e_Residents

เมื่อเอสโตเนียต้องการส่งเสริมให้ผู้คนใช้ บริการออนไลน์ตา่ งๆ ของภาครัฐ รัฐบาลจึงมอบ สิทธิใ์ นการควบคุมข้อมูลส่วนตัวเพือ่ เป็นการซือ้ ใจ เรื่องความปลอดภัยของข้อมูลจากประชาชน ชาวเอสโตเนียสามารถใช้บัตรดิจิทัลไอดีล็อกอิน เข้าระบบ เพือ่ ตรวจสอบว่ามีใครที่เข้ามาดูข้อมูล ของตนอย่างไม่ชอบมาพากลหรือไม่ ถ้าพบว่า แพทย์ที่ไม่ใช่แพทย์ประจำ�ตัวของตนเข้ามาดู ประวัติเรื่องยาหรือการรักษา เจ้าตัวมีสิทธิ์แจ้ง ผู้ตรวจสอบข้อมูลของรัฐสภาเพื่อขอตรวจสอบ สาเหตุการรุกลํ้าข้อมูลได้ บริการมากมายบน เว็บไซต์ e-Estonia สามารถเกิดขึ้นได้จากการ เชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆ เข้าไว้ดว้ ยกันบน X-Road ทีเ่ ป็นเส้นทางหลักของ ระบบเน็ตเวิร์กที่ถูกสร้างขึ้นในปี 2001 เพื่อช่วย ส่ ง ต่ อ ข้ อ มู ล ระหว่ า งระบบคอมพิ ว เตอร์ ข อง หน่วยงานต่างๆ X-Road ได้รับการพัฒนาขึ้นใน ลักษณะการกระจายข้อมูลไว้ตามเซิร์ฟเวอร์ของ แต่ ล ะหน่ ว ยงานและสามารถเรี ย กข้ อ มู ล เพื่ อ ทำ�การแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ตามต้องการ เมื่อ ข้อมูลทัง้ หมดไม่ได้ถกู รวมอยู่ที่เดียวกัน การจัดการ เรื่องความปลอดภัยจึงมีประสิทธิภาพมากกว่า ระบบการรวมศูนย์ขอ้ มูล อีกทัง้ ช่วยลดค่าใช้จา่ ย ในการจัดการและดูแล นอกจากนี้ X-Road ยัง เชื่อมต่อกับระบบคอมพิวเตอร์ได้หลากหลาย รูปแบบทำ�ให้สามารถขยายระบบข้อมูลทีเ่ ชือ่ มต่อ กันนี้ได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด การรวมบริการจากหน่วยงานต่างๆ ไว้ใน รูปแบบออนไลน์เป็นไปได้ด้วยดี จนกระทั่งเกิด เหตุการณ์โจมตีทางไซเบอร์ในเดือนเมษายนปี 2007 ทีท่ �ำ ให้ระบบธนาคาร รัฐสภา โทรคมนาคม ตลอดจนระบบเทคโนโลยีสารสนเทศล้มเหลว ทั้ ง หมด “พวกเราพึ ง พาระบบออนไลน์ เ ป็ น อย่างมาก เราไม่มเี อกสารทีเ่ ป็นหลักฐานต้นฉบับ เก็บไว้” มาร์ติน รูเบล (Martin Ruubel) ประธาน Guardtime บริษทั ซอฟต์แวร์รกั ษาความปลอดภัย กล่าว เหตุการณ์ครั้งนั้นทำ�ให้เอสโตเนียมุ่งสร้าง ระบบรักษาความปลอดภัยทีม่ ปี ระสิทธิภาพมากขึน้ ให้กับสังคมดิจิทัลของพวกเขา และนำ�มาสู่การ ก่อตัง้ ศูนย์ความร่วมมือป้องกันไซเบอร์แห่งนาโต้ ในกรุงทาลลินน์ เมืองหลวงของเอสโตเนีย อีกทั้ง ก่อตัง้ “สถานทูตแห่งข้อมูล” ในประเทศลักเซมเบิรก์ สถานทูตแห่งนีท้ �ำ หน้าทีเ่ สมือนเป็นแหล่งแบ็กอัพ ข้อมูลทั้งหมดของเอสโตเนียเพื่อให้พร้อมต่อการ

CREATIVE THAILAND I 26


ซิลิคอนแวลลีย์แห่งยุโรป การเตรียมพร้อมด้านการศึกษา โครงสร้างพืน้ ฐาน และบริการต่างๆ ให้พร้อมสำ�หรับเส้นทางสูส่ งั คม ดิ จิ ทั ล ทำ � ให้ เ อสโตเนี ย กลายเป็ น แหล่ ง รวม โปรแกรมเมอร์มากฝีมือและบริษัทสตาร์ทอัพ ชั้ น นำ � แห่ ง หนึ่ ง ของโลกภายในไม่ กี่ ท ศวรรษ เกิดเป็นความสามารถในการแข่งขันทีช่ ดั เจนของ ประเทศอย่างทีต่ ง้ั ใจ โปรแกรมสือ่ สารแบบวีโอไอพี (VoIP ย่อมาจาก Voice over Internet Protocol คือการสื่อสารทางเสียงผ่านอินเทอร์เน็ต) ทำ�ให้ คนทั่วโลกสามารถติดต่อกันได้ผ่านเครือข่าย อินเทอร์เน็ต Skype คือหนึ่งในผลงานการันตี ความสามารถของชาวเอสโตเนีย “ฟินแลนด์มี โนเกีย เราไม่มีแบรนด์ชื่อดัง แต่หลังจาก Skype ถูกคิดค้นขึ้น ทุกคนเริ่มใช้ Skype ก็เป็นเหมือน นามบัตรสำ�หรับเอสโตเนีย เราภูมิใจมาก” ไฮดี เฮอินพาลู (Heidy Heinpalu) ผู้จัดการออฟฟิศ Skype ประจำ�เอสโตเนียกล่าว โทมัส เฮ็นดริก อิลเวส ประธานาธิบดีของเอสโตเนียเคยพูด ติดตลกเกีย่ วกับเรือ่ งนีไ้ ว้วา่ “มีไม่กค่ี นหรอกทีร่ วู้ า่ เอสโตเนียอยู่ที่ไหน แต่ทุกคนรู้จัก Skype ผม เป็นประธานาธิบดีของประเทศที่เป็นต้นกำ�เนิด Skype ครับ” นิคลัส เซนน์สตรอม (Niklas Zennström) เยนุส ฟรีส (Janus Friis) อาห์ติ เฮอินลา (Ahti Heinla) ปรีต์ คาเซซาลู (Priit Kasesalu) และ ญานน์ ทาลลินน์ (Jaan Tallinn) โปรแกรมเมอร์ ชาวเอสโตเนียร่วมกันพัฒนา Skype และเปิดตัว โปรแกรมในเดือนสิงหาคมปี 2003 Skype มี จำ�นวนผู้ใช้งานสูงถึง 19.8 ล้านคนในเวลาเพียง หนึง่ ปี ความสำ�เร็จนีเ้ ชิญชวนให้แบรนด์ยกั ษ์ใหญ่ อย่าง eBay ซื้อ Skype ไปในราคา 2.6 พันล้าน เหรียญสหรัฐฯ ในปี 2005 และ Microsoft ซื้อ

transferwise.com

ดีกว่าธนาคารที่คุณใช้อยู่ ชาวเอสโตเนียต่าง หวั ง ว่ า คุ ณ จะย้ า ยธุ ร กิ จ ของคุ ณ มาอยู่ ใ น ประเทศที่มีระบบโครงสร้างที่ใช้ง่ายมากกว่า” เบน แฮมเมอร์สลีย์ (Ben Hammersley) นักเขียน ชาวอังกฤษกล่าว

Skype ไปในราคา 8.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ใน ปี 2011 การซื้อขายครั้งนั้นทำ�ให้มีเงินหมุนเวียน ในประเทศมากขึน้ เพราะร้อยละ 44 ของพนักงาน Skype ยังทำ�งานอยูใ่ นเอสโตเนีย ความสำ�เร็จอัน ท่วมท้นของ Skype คือประตูแห่งโอกาสที่พา พวกเขาไปทำ�งานที่ไหนก็ได้ดั่งใจฝัน แต่อดีต พนักงานของ Skype เลือกที่จะอยู่และลงทุนใน เอสโตเนีย พวกเขาก่อตั้งบริษัทสตาร์ทอัพใหม่ๆ และควักกระเป๋าจ่ายเงินลงทุนให้กบั ธุรกิจเหล่านัน้ “ผูค้ นคิดว่าถ้าชาวเอสโตเนียสามารถสร้างผลงาน อย่าง Skype ได้ ฉันเองก็ทำ�ได้เหมือนกัน” แอนดราส อกส์ (Andrus Oks) จากบริษัท Terra Venture Partners บริษทั เงินลงทุนในกรุงทาลลินน์ กล่าวในปี 2014 อาห์ติ เฮอินลา และเยนุส ฟรีส จาก Skype ร่วมก่อตั้ง Starship Technologies บริษัทสัญชาติเอสโตเนียนที่นำ�เสนอ Starship หุน่ ยนต์สง่ อาหารทีว่ งิ่ ให้บริการในเมืองเรดวูด ซิต้ี รัฐแคลิฟอร์เนียและกรุงวอชิงตันดีซี เมือ่ สัง่ อาหาร ผ่านแอพพลิเคชัน DoorDash หรือ Postmates ความสนใจในบริการนีม้ มี ากขึน้ จนกระทัง่ ปี 2017 บริษัท Domino Pizza ใช้บริการของ Starship ส่งอาหารให้กับผู้คนในเมืองฮัมบรูก์ ประเทศ เยอรมนี นอกจากนี้ Starship กำ�ลังทดลองระบบ การส่งอาหารในเมืองใหญ่ๆ อีกมากมาย ซึง่ รวมถึง กรุงเบิรน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ในปี 2011 ตาเวต ฮินริคุส (Taavet Hinrikus) พนักงานคนแรกของ Skype

ร่วมก่อตั้ง TransferWise กับบริษัทให้บริการ โอนเงินออนไลน์ ที่คิดค่าบริการโอนเงินต่างประเทศ ในราคาที่ เ หมาะสมและช่ ว ยให้ ผู้ ใ ช้ ส ามารถ โอนเงินได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว จุดแข็งดังกล่าว ทำ�ให้ในปัจจุบัน TransferWise ดูแลการโอนเงิน จากทั่วโลกมูลค่ากว่าหนึ่งพันล้านบาทต่อเดือน มีออฟฟิศทั้งหมด 9 แห่งและมีพนักงานกว่า 600 คนใน 4 ทวีป ในปี 2017 เอสโตเนียมีจ�ำ นวนธุรกิจสตาร์ทอัพ ทัง้ หมด 413 ราย อาจจะฟังดูเป็นจำ�นวนทีไ่ ม่มาก แต่เมื่อเทียบกับจำ�นวนประชากรในเอสโตเนีย ทั้งหมด ถือว่ามีจำ�นวนธุรกิจสตาร์ทอัพสูงถึง 31 ธุรกิจต่อ 100,000 คน ในขณะที่ค่าเฉลี่ยของ จำ�นวนธุรกิจสตาร์ทอัพในยุโรปคือ 5 ธุรกิจต่อ จำ�นวนคน 100,000 คน คงจะไม่เป็นการกล่าว เกินจริงไปนักว่าเอสโตเนียอาจจะยังไม่ได้ครอง ความสำ�เร็จด้านเทคโนโลยีได้เหมือนรุ่นพี่อย่าง สหรัฐอเมริกา จีน หรือญี่ปุ่น แต่จากประเทศที่ ไม่มีแม้แต่ทรัพยากรหรือความสามารถทางการ แข่งขันใดๆ ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศเล็กๆ แห่งนี้สามารถสร้างรากฐานที่ แข็งแรงด้านเทคโนโลยีให้กับทรัพยากรคน และ โครงสร้างพื้นฐานของประเทศจนสามารถพลิก สถานการณ์สร้างชาติใหม่ให้เป็นสังคมดิจิทัลไร้ พรมแดนที่ก้าวหน้ามากที่สุดแห่งหนึ่งของโลกได้ ภายในเวลาไม่กสี่ บิ ปี เพียงแค่นกี้ ถ็ อื ว่าเป็นความ สำ�เร็จที่ยิ่งใหญ่ไม่แพ้ใคร

ที่มา: บทความ “Concerned about Brexit? Why Not Become an E-Resident of Estonia” โดย Ben Hammersley จาก wired.co.uk / บทความ “Chapter 2: Welcome to Estonia, Silicon Valley with a Moat” จาก microsoft.com / บทความ “Don’t Skype Me: How Microsoft Turned Consumers Against a Beloved Brand” โดย Dina Bass และ Nate Lanxon จาก bloomberg.com / บทความ “Is This Tiny European Nation a Preview of Our Tech Future?” โดย Vivienne Walt จาก http://fortune.com / บทความ “Skype, eBay Divorce: What Went Wrong” โดย Jeff Bertolucci จาก pcworld.com / e-estonia.com / starship.xyz CREATIVE THAILAND I 27


The Creative : มุมมองของนักคิด

แชมป์ ทีปกร วุฒิพิทยามงคล มนุษย์ AI อคติ และเผด็จการ เรื่อง: ปิยพร อรุณเกรียงไกร ภาพ: ภีร์รา ดิษฐากรณ์

“การพัฒนา AI ทำ�ให้เรากลับมาตั้งคำ�ถามกับความเป็นมนุษย์” แชมป์ทีปกร วุฒพ ิ ทิ ยามงคล คอลัมนิสต์สายเทคโนโลยี และผูก้ อ่ ตัง้ สำ�นักข่าว ออนไลน์ The MATTER กล่าวประโยคนีบ้ อ่ ยครัง้ ระหว่างสนทนากันเรือ่ ง ความก้าวหน้าของปัญญาประดิษฐ์หรือ AI เขาเริม่ สนใจเกีย่ วกับปัญญาประดิษฐ์ตงั้ แต่ตอนเรียนม.1 หลังได้คอมพิวเตอร์เครือ่ งแรก จากพ่อ และหัดเขียนโปรแกรมเองด้วยวัย 11 ปี เมื่อเรียนจบคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขา วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อาชีพการงานและความสนใจของเขา ยังคงข้องเกี่ยวกับเทคโนโลยีจนถึงวันนี้ ช่วงต้นปีที่ผ่านมาเขาร่วมก่อตั้งสำ�นักพิมพ์ Salt Publishing เน้นผลิตหนังสือแนวปรัชญาและวิทยาศาสตร์ และมีผลงานแปลหนังสือ Rise of the Robots ของมาร์ติน ฟอร์ด (Martin Ford)

CREATIVE THAILAND I 28


จะด้วยข่าวความก้าวหน้าของ AI ที่สะพัดไปทั่วโลก หรือองค์การ แรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ของสหประชาชาติเปิดเผยว่าแรงงาน 140 ล้านคนในอาเซียนมีโอกาสถูกแทนที่ด้วยระบบอัตโนมัติใน 20 ปีข้างหน้า เทคโนโลยีนี้ก็ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป เราชวนแชมป์มาถกกันเรื่องจักรกล อัจฉริยะที่กำ�ลังรุดหน้าท้าทายประเด็นเชิงจริยธรรม และความเป็นไปได้ ไม่รู้จบในอนาคต ทำ�ไมคุณถึงสนใจปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในเชิงปรัชญา เมื่อก่อนเราพูดถึง AI ในแง่ของอัลกอริทึม เช่น เรียงตัวเลขยังไงให้เร็วที่สุด หรือใช้พลังประมวลผลน้อยทีส่ ดุ แต่ชว่ งหลังคำ�ว่า AI พูดถึงความเฉลียวฉลาด ของคอมพิวเตอร์ที่ใกล้เคียงกับมนุษย์มากขึ้น เมื่อก่อนเทคโนโลยีดูเป็นสิ่งที่ แยกขาดกับสังคม ตอนนีเ้ วลาพูดถึงโปรแกรมเมอร์ แฮกเกอร์ ทุกคนจะคิดถึง ภาพลักษณ์ของผูน้ �ำ ทีเ่ อาเทคโนโลยีมาสูช่ วี ติ ของทุกคน จะเห็นได้วา่ กระบวนทัศน์ ของเทคโนโลยีกับสังคมเปลี่ยนไป ในฐานะคนทำ�งานสื่อสารเรื่องนี้ เราเห็น ผลกระทบและผลลัพธ์ของเทคโนโลยีทเี่ ปลีย่ นแปลงพฤติกรรมมนุษย์ ระบอบ การปกครอง การคิดเชิงเศรษฐศาสตร์ ทั้งหมดนี้ย้อนกลับไปสู่คำ�ถามทาง ปรัชญา การพัฒนา AI ทำ�ให้เราตัง้ คำ�ถามว่าความเป็นมนุษย์คอื อะไร บางคน มองว่า AI สร้างศิลปะได้ แต่ไม่มคี วามเป็นมนุษย์เลย แล้วศิลปะทีด่ ตี อ้ งเป็น ยังไง การจะตอบคำ�ถามเหล่านี้ได้ เราต้องย้อนกลับไปที่รากว่ามนุษย์คิด ยังไง สิ่งที่มนุษย์รับรู้และสร้างขึ้นถูกวัดค่าด้วยอะไร ความเป็นมนุษย์คืออะไรสำ�หรับคุณ ยิง่ เทคโนโลยีพฒั นาขึ้นเรื่อยๆ ผมว่ามันไม่มี (คำ�นิยาม) เหมือนกัน เรารับรู้ ว่าคนนีเ้ ป็นมนุษย์เพราะเห็นเขาเป็นมนุษย์ ก็จะมีเรือ่ งการทดสอบของทัวริง (Turing Test)1 เข้ามา The Most Human Human เป็นหนังสือทีส่ นุกมากของ ไบรอัน คริสเชียน (Brian Christian) เขาไปแข่งชิงรางวัลล็อบเนอร์ไพรซ์ (Loebner Prize) นักพัฒนาจะสร้างระบบ AI มาแชทหลอกกรรมการ 5 คน เพื่อตัดสินว่า AI ตัวไหนหลอกเก่งที่สุด ไบรอันเป็นตัวหลอกว่าเป็น AI ที่ หลอกกรรมการว่าเป็นมนุษย์อีกที มันมีวิธีโกงเยอะมาก เช่น สร้างบุคลิก ราวกับเป็นคุณป้าทีไ่ ม่รเู้ รือ่ งอะไรหลังสงครามโลกครัง้ ที่ 2 ดังนัน้ เราไม่รหู้ รอก ว่าตอบแบบมนุษย์เป็นยังไง เพราะความเป็นมนุษย์ไม่มีคำ�นิยามตายตัว ทำ � ไมแรงงานในประเทศไทยและอาเซี ย นจึ ง มี อั ต ราเสี่ ย ง สูงมากที่จะถูกทดแทนด้วย AI และระบบอัตโนมัติ เพราะระบบการผลิตที่ใช้เทคโนโลยี AI สามารถลดต้นทุนการผลิตได้ ทำ�ให้ เกิดปรากฏการณ์ Reshoring เมื่อก่อนเราจะชินกับคำ�ว่า Offshore ประเทศ ผู้ผลิตจะให้ประเทศอย่างเรา (ที่มีต้นทุนค่าแรงถูกกว่า) ผลิตสินค้า เช่น ชิ้น ส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนรถยนต์ แต่เราไม่เคยได้รับองค์ความรู้ทั้งหมด เมื่อหุ่นยนต์หรือเครื่องจักรที่ใช้ AI ทำ�งานบางอย่างได้โดยไม่ต้องใช้แรงงาน คน ก็จะสามารถลดต้นทุนการผลิต ทำ�ให้เกิดการกวาดงานกลับเข้าประเทศ

เมือ่ ก่อนแรงงานไทยเคลือ่ นย้ายจากภาค เกษตรกรรมมาเป็น ภาคอุ ต สาหกรรม ตอนนี้ภาคอุตสาหกรรมก็สู้ไม่ได้แล้ว จะ กลับไปภาคเกษตรกรรมก็ถูกเครื่องจักร ครอบครองเหมื อ นกั น เรามี เครื่ อ งมื อ เก็บเกี่ยว เครื่องมือถ่ายภาพทางอากาศ แล้ววิเคราะห์ได้เลยว่าพืน้ ทีไ่ หนต้องใส่ปยุ๋ เท่าไร โดยไม่ตอ้ งใช้องค์ความรูท้ สี่ งั่ สมมา 30 ปี นีค่ อื เรือ่ งทีเ่ ราต้องค�ำนึงถึง และผูน้ �ำ ของเราต้องคิดแล้วว่าเราจะไปอยูต่ รงไหน ในสมการของโลกใหม่นี้ ประเด็นนี้อาจทำ�ให้แรงงานภาคการผลิตของไทยตกงานในเร็วๆ นี้ ซึ่งมัน เจ็บปวดมาก เมื่อก่อนแรงงานไทยเคลื่อนย้ายจากภาคเกษตรกรรมมาเป็น ภาคอุตสาหกรรม ตอนนี้ภาคอุตสาหกรรมก็สู้ไม่ได้แล้ว จะกลับไปภาค เกษตรกรรมก็ถูกเครื่องจักรครอบครองเหมือนกัน เรามีเครื่องมือเก็บเกี่ยว เครือ่ งมือถ่ายภาพทางอากาศแล้ววิเคราะห์ได้เลยว่าพืน้ ทีไ่ หนต้องใส่ปยุ๋ เท่าไร โดยไม่ต้องใช้องค์ความรู้ที่สั่งสมมา 30 ปี นี่คือเรื่องที่เราต้องคำ�นึงถึง และ ผู้นำ�ของเราต้องคิดแล้วว่าเราจะไปอยู่ตรงไหนในสมการของโลกใหม่นี้ มีอาชีพไหนบ้างที่เสี่ยงตกงาน นักบัญชีเป็นอันดับต้นๆ ที่จะถูกจัดการด้วย AI เพราะคนทำ�งานเกี่ยวกับ ข้อมูล (Information-Based) ถูกทดแทนด้วยระบบแบบเดียวกันได้ไม่ยาก สายงานนักเขียนก็ไม่รอดนะครับ เช่น คนเขียนข่าวกีฬา ข่าวหุ้น หรือบริษัท จัดการหลักทรัพย์ เพราะระบบอัตโนมัติผลิตข้อมูลนี้ได้ง่ายกว่า แถมทำ� ข้อมูลเฉพาะให้กับลูกค้าที่ถือพอร์ตไม่เหมือนกันได้ด้วย แม้แต่คนเรียนจบ ทนายความจากมหาวิทยาลัยไอวีลีกในสหรัฐอเมริกาก็เสี่ยงตกงานสูง ตอนนี้มีบริษัทพัฒนาระบบผู้ช่วยทนายความ โดยจ้างผู้ช่วยทนายจบใหม่ (Paralegal) มาฝึก AI หน้าทีข่ องเขาคือ แค่คลิกคำ�ตอบว่าสำ�นวนนีเ้ กีย่ วข้อง (Relevant) กับ ไม่เกี่ยวข้อง (Non-Relevant) กับคดี เมื่อระบบมีข้อมูล มากพอก็ไม่จ�ำ เป็นต้องใช้คนอีกแล้ว แต่อาจจะยังต้องอาศัยการตัดสินใจของ ทนายระดับหัวหน้า เมื่องานที่ใช้ประสบการณ์น้อยที่สุดหายไปโดยอัตโนมัติ ต่อไปงานที่ใช้ประสบการณ์มากกว่าก็จะเสี่ยง ตำ�แหน่งงานอื่นๆ ที่จะเข้า มาเรี ย นรู้ ง านตรงนั้ น ก็ จ ะหายไป เด็ ก รุ่ น ใหม่ จ ะไม่ มี โ อกาสได้ เ รี ย นรู้ ประสบการณ์ ทำ�ให้ AI เข้ามาทดแทนง่ายขึ้น กลายเป็นวงจรอุบาทว์

1 อลัน

ทัวริง นักคณิตศาสตร์ได้เสนอแนวคิดการทดสอบความสามารถของปัญญาประดิษฐ์ว่าใกล้เคียงกับมนุษย์แล้วหรือยัง โดยให้คนพิมพ์บทสนทนาโต้ตอบกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นคน และคอมพิวเตอร์ หากคู่สนทนาไม่สามารถแยกแยะได้ว่าอีกฝ่ายเป็นคอมพิวเตอร์หรือคน ก็ถือว่าเครื่องจักรนั้นผ่านการทดสอบของทัวริง (ที่มา: วิกิพีเดีย) CREATIVE THAILAND I 29


มีอาชีพไหนบ้างที่มีโอกาสอยู่รอด กวีอาจมีโอกาสทดแทนได้ยาก แต่ใช่ว่าไม่ได้เลย มีสิ่งที่เรียกว่า คอขวดทาง ด้านการคำ�นวณ (Computational Bottleneck) ซึ่งเป็นจุดที่ทำ�ให้ AI ทดแทนอาชีพได้ยากอยู่ 3 อย่าง คือ ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) การเข้าใจเพือ่ นมนุษย์ (Empathy) และความคล่องแคล่วแม่นยำ� (Dexterity) เช่น การให้ AI รับของที่หล่นลงมา ที่จริงการหยิบจับของมนุษย์ถือว่า ยากมาก เราคิดว่าง่ายเพราะมันคือคอมมอนเซนส์ ร่างกายมนุษย์มีความ ยืดหยุ่นมากกว่าที่คิด ก็เป็นเรื่องหนึ่งที่ AI อาจจะยังทำ�ไม่ได้ในตอนนี้ ในฐานะคนทำ�งานสือ่ มีวธิ คี ดั กรองข้อมูลและนำ�เสนอข่าวสาร เกี่ยวกับ AI อย่างไร เรารู้สึกว่า AI ฉลาด มีประสิทธิภาพมากกว่ามนุษย์ แต่ต้องไม่ลืมว่า AI ก็ ถูกสร้างขึ้นโดยมนุษย์ หนังสือ Weapons of Math Destruction โดย เคธี โอนีล (Cathy O’Neil) พูดถึงพิษภัยของ AI เมื่อถูกใช้ในการปกครอง มนุษย์ เช่น ระบบ COMPAS ที่ผู้พิพากษาในสหรัฐฯ ใช้ในการพิจารณาคดี เพือ่ ดูวา่ จำ�เลยมีโอกาสกระทำ�ความผิดซํา้ ไหม ระบบจะคำ�นวณจากสถิตขิ อง คนทีเ่ หมือนกัน เช่น จำ�เลยเป็นคนผิวดำ� อาศัยอยู่ในย่านยากจน หรือมีญาติ เคยกระทำ�ความผิดเหมือนกัน การคำ�นวณแบบนีค้ อื การทำ�ซํา้ ประวัตศิ าสตร์ ที่ผ่านมาคนผิวดำ�อาจมีเปอร์เซ็นต์ของการกระทำ�ความผิดมากกว่าคน ผิวขาว แต่ไม่ได้แปลว่าจำ�เลยตรงหน้าจะเป็นคนแบบนั้น ดังนั้นทำ�ไมสิ่งที่ อยู่ในประวัติศาสตร์จะต้องถูกใช้เพื่อกำ�หนดชะตากรรมของคนๆ นี้ด้วย อีกเรื่องหนึ่งคือการคัดเลือกพนักงาน บริษัทต่างประเทศใช้ระบบอ่าน เรซูเมด้วยคอมพิวเตอร์ โดยดู​ูคะแนนทางโซเชียลเน็ตเวิร์กว่าเรารู้จักกับใคร แล้วตีค่าออกมาเป็นตัวเลข ผู้สมัครจะไม่รู้ว่าได้คะแนนเท่าไร หรือคำ�นวณ ตัวเลขจากอะไร จากเดิมที่เป็นเรื่องอคติของแต่ละคน ก็กลายเป็นอคติที่ถูก ทำ�ให้เป็นมาตรฐาน ในไทยอาจจะยังไม่มีระบบอ่านเรซูเม แต่เวลาสมัคร ประกันหรือบัตรเครดิต เขาจะใช้ระบบคำ�นวณความเสี่ยงของการเบี้ยวหนี้ จากข้อมูลของเราและคนที่เหมือนกับเรา แต่ยังพัฒนาไปไม่ถึงขั้นเป็นระบบเครดิตทางสังคม (Social Credit Scoring) ใช่ไหม ยังไม่ถึงขั้นนั้น ปัญหาหนึ่งของการใช้ระบบ AI ในสถาบันทางการเงินหรือ สถาบันความยุติธรรม คือ ปัญหากล่องดำ� (Black Box) เราไม่รู้ว่ามีข้อมูล อะไรเข้าไปในกล่อง รู้แค่ว่ามีอะไรออกมา เราเปิดกล่องดูไม่ได้ด้วยซํ้าว่ามัน ทำ�งานยังไง สมมติเราได้ 60/100 คะแนน เราคิดว่าต้องทำ�ยังไงให้ได้คะแนน ดีขึ้น เพราะเป็นเพื่อนกับคนที่ติดหนี้เยอะ หรือแม่มีหนี้กู้บ้านเยอะ บางครั้ง บริษัทพวกนี้ไม่จำ�เป็นต้องอธิบาย และไม่มีกฎหมายที่ทำ�ให้เขาต้องอธิบาย มีประเทศไหนที่มีกฎหมายรองรับเรื่องนี้แล้วบ้าง สหภาพยุโรปมีกฎหมายว่าเฟซบุก๊ ต้องเปิดเผยข้อมูลทัง้ หมดให้กบั ลูกค้า เวลา เราขอเปิดเผยข้อมูล เฟซบุก๊ จะส่งไฟล์กลับมาให้ประมาณ 800 หน้า ซึง่ ตัง้ ใจ ทำ�ให้ลำ�บากอย่างชัดเจน แต่ไม่ได้ครอบคลุมทุกอย่าง เป็นเรื่องที่เขาต้องสู้

กันต่อไป ในบางกรณีบริษัทจะใช้คำ�ว่า ‘Secret Source’ เหมือนกับสูตร ความลับทางการค้าที่ไม่สามารถเปิดเผยได้ เพื่อไม่ให้คนอื่นลอกเลียนแบบ ถ้าหากระบบนี้ถูกนำ�มาใช้ในสังคมวงกว้าง จะเกิดอะไรขึ้น ประเทศจีนใช้ระบบเครดิตทางสังคม (Social Credit Score) หลายแบบ มีระบบหนึ่งที่เรียกว่า ‘คะแนนถั่วงา (Sesame Credit)’ หรือคะแนนความ ประพฤติทางสังคมของบริษัท Ant Financial (ผู้ให้บริการทางการเงิน รายใหญ่ในจีน เช่น Alipay) ที่น่ากลัวคือ สถาบันทางการเงินมีสายสัมพันธ์ กับรัฐบาลอย่างเหนียวแน่นและขอฟุตเทจกล้องวงจรปิดจากรัฐบาลได้หมด เพื่อตีค่าเป็นคะแนนสังคม โดยที่รัฐบาลสามารถใช้ประโยชน์จากตัวเลขนี้ เพื่อจำ�กัดสิทธิ์การเข้าถึงบางอย่าง เช่น คนมีคะแนนเครดิตตํ่ามากๆ จะ ไม่สามารถจองสายการบินชั้นหนึ่ง พักโรงแรมหรู หรือนั่งเครื่องบินได้ ต้อง นั่งรถไฟแทน ซึ่งเป็นวิธีการลงโทษทางสังคมแบบหนึ่ง แต่คะแนนเครดิตจะ เพิม่ หรือลดไม่ได้มาจากการเป็นอาชญากรเท่านัน้ บางครัง้ เกิดจากการโพสต์ ข้อความต่อต้านรัฐบาลด้วยก็มี แสดงว่าไม่ได้มอง AI เป็นภัยคุกคามด้วยตัวของมันเอง ตอนนี้นะครับ ถ้าดูจากงานเขียนงานวิจัยที่ผ่านมา การพัฒนา General AI ในอนาคตไม่มีผลลัพธ์ที่ดีต่อมนุษย์เลย หากมองในมุมที่สมเหตุสมผลมาก ที่สุด มนุษย์ก็ไม่มีเหตุผลที่จะมีอยู่เหมือนกัน ถ้ามองว่ามนุษย์ยังมีข้อดี การบอกว่าคนนี้เป็นคนที่ดีถือเป็นการตัดสินด้วยคุณค่าความคิดแบบหนึ่งที่ ไม่ได้เป็นสากล ปัจจุบันมีแนวคิดการพัฒนา AI ที่ไม่เป็นภัยคุกคาม โดยใส่ ความเป็นมนุษย์เข้าไป คิดเห็นกับประเด็นนี้อย่างไร ถ้าเราใส่ความเป็นมนุษย์ให้กบั AI รูไ้ ด้ยงั ไงว่ามันจะไม่เป็นภัย ในเมือ่ มนุษย์ ยังเป็นภัยกับมนุษย์ด้วยกันเอง สมมติว่าถ้าฆ่าเด็กคนนี้แล้วจะช่วยคนได้ ร้อยคน คุณจะทำ�ไหม คำ�ถามนี้มนุษย์ยังตอบไม่ได้เลย แล้ว AI จะตอบ คำ�ถามนี้ได้ด้วยความเป็นมนุษย์เหรอ หนทางแก้น่าจะไม่ใช่การเพิ่มความ เป็นมนุษย์ใน AI เพราะเราให้คำ�นิยามของความเป็นมนุษย์ไม่ได้ ถ้าเราใส่ ความเป็นมนุษย์ของคนๆ หนึ่งเข้าไปใน AI การตัดสินใจบางอย่างอาจไม่ สมบูรณ์ เราจะยอมรับได้ไหม สุดท้ายแล้วก็จะวกกลับมาเรื่องปรัชญา ใช่ เพราะมนุษย์ไม่มีค่านิยมร่วมที่ทุกคนเชื่อเหมือนกันหมดทั้งโลก สิ่งหนึ่ง ที่เป็นประโยชน์และปัญหาของ AI คือ การขยายขนาดความสามารถ (Scalability) จากหนึ่งให้กลายเป็นล้าน ถ้าเราขยายความเชื่อแบบหนึ่งให้ กลายเป็นความเชื่อที่ปกครองคนล้านคน เราจะเอาความเชื่อแบบหนึ่งมา ปกครองล้านคนได้ยังไง ในเมื่อมนุษย์ไม่ได้มีความเชื่อร่วม

CREATIVE THAILAND I 30


การมอง AI เป็นภัยคุกคามมักจะถูกเชื่อมโยงกับความเชื่อ ทางศาสนาเกี่ยวกับวันสิ้นโลก คิดเห็นอย่างไรกับประเด็นนี้ ภาวะล้างโลก (Apocalypse) อาจเกิดจากข้อผิดพลาดจุดหนึ่ง แต่คูณด้วย ล้าน เช่น บริษัทกูเกิลมีศูนย์ข้อมูล (Data Center) ที่มีระบบเซิร์ฟเวอร์กว่า หมื่นเครื่อง ปัจจุบันนิตยสาร MIT ชี้ว่ากูเกิลย้ายภาระการควบคุมอุณหภูมิ ของศูนย์ข้อมูลไปให้ AI ทำ�แล้ว ดังนั้นถ้า AI ทำ�ให้เซิร์ฟเวอร์ทั้งหมดร้อน ทั้งโลกก็ใช้งานไม่ได้ หรือถ้ากูเกิลขายระบบนี้ให้กับที่อื่นแล้วเกิดความ ผิดพลาด ภาวะโลกแตกไม่ได้เกิดจาก AI ลุกขึ้นมายิงมนุษย์ แต่เกิดจาก ทุกสิ่งที่เราพึ่งพิงถูกตัดขาดทันทีแบบลับๆ โดยที่เราไม่รู้ว่าจะอยู่ยังไงต่อไป จริงๆ แล้วมนุษย์เป็นฝ่ายสร้างปัญหาขึ้นมาเอง เราสร้างสิ่งที่พึ่งพาและพึ่งพามัน ซึ่งถ้าเราไม่ได้พึ่งพาเทคโนโลยีเหล่านี้ ก็ไม่สามารถพัฒนาอารยธรรมมาถึงจุดนีด้ ว้ ย แต่เราต้องยอมรับว่าเราไว้เนือ้ เชื่อใจมันเยอะมาก ผมคิดว่าการเมืองการปกครองต้องมีระบบตรวจสอบ ความสมดุลบางอย่างที่จะทำ�ให้รัฐบาลเข้าไปตรวจสอบได้ว่า AI ทำ�งาน ถูกต้องตรงตามประสิทธิภาพไหม มีอคติกับคนบางกลุ่มไหม เพราะสิ่งที่ น่ากลัวไม่ใช่คนที่คิดจะสร้าง AI เพื่อครองโลก แต่เป็นคนที่คิดว่าเขาก็แค่ ขายของ แค่โฆษณา แค่ทำ�หน้าที่ให้ดีที่สุด มันเป็นจริยธรรมอีกแบบหนึ่ง ซึ่งผมว่าแบบนี้น่ากลัวกว่า แต่ดูเหมือนว่าเราจะต้องพึ่งพา AI มากยิ่งขึ้นในอนาคต คิดว่าเทคโนโลยีนี้จะช่วยให้มนุษย์ฉลาดขึ้น หรือโง่ลงกันแน่ คิดว่าเป็นความฉลาดที่แตกต่างไปจากเดิม เช่น การเข้าถึงข้อมูลได้มากขึ้น เรารูว้ า่ ความรูน้ หี้ าได้จากทีไ่ หน แต่มนั ทำ�ให้เราไม่จ�ำ ข้อดีกค็ อื เราไม่จ�ำ เป็น ต้องแบกข้อมูลบางอย่างไว้ในหัวตลอดเวลา แต่เราจะไม่มีข้อมูลที่เป็น เชื้อตั้งต้นในหัว เมื่อไม่มีความคิดสร้างสรรค์ ก็ไม่เกิดผลผลิตใหม่ๆ แต่สิ่ง ที่เพิ่มมากขึ้นคือ การจำ�ให้ได้ว่าต้องไปหาที่ไหน (Transactive Memory) มนุษย์มีองค์ความรู้ส่วนนี้เพิ่มขึ้น เด็กยุคนี้อาจไม่ต้องท่องกลอน ทีนี้ทุกคน จะสอนวิธีการเรียนรู้แบบให้เด็กจำ�ได้ว่าต้องไปหาที่ไหน เชื่อข้อมูลที่หามา ได้ยังไง เชื่อมโยงข้อมูลยังไง ซึ่งอาจทำ�ให้เขามีทักษะที่เหมาะสมกับการ ใช้ชีวิตใน 20-30 ปี แต่ก็ยังขาด Input ในหัว ถ้าหากเราหาข้อมูลแล้ว ใช้เวลาคิดด้วย เราจะได้ความจำ�แบบ Transactive Memory และ Input ในหัวพร้อมกัน นี่เป็นความท้าทายของคนยุคนี้ รัฐบาลหลายประเทศมีแนวโน้มจะใช้ AI ในระบบรักษาความ ปลอดภัย ทำ�ให้เข้าถึงข้อมูลของประชาชนได้ ไม่เว้นแม้แต่ ประเทศที่เป็นประชาธิปไตย สุดท้ายแล้ว AI จะกลายเป็น เครื่องมือส่งเสริมระบอบเผด็จการหรือเปล่า สิ่งหนึ่งที่ระบบปัญญาประดิษฐ์หรือโซเชียลเน็ตเวิร์กทำ� คือ การรวมศูนย์ ข้อมูล (Centralise) เข้าไปในที่ๆ หนึ่ง การเปิดเผยข้อมูลไม่ใช่เรื่องแย่ แต่ การเปิดเผยข้อมูลเพื่อให้คนกลุ่มหนึ่งหรือบริษัทใดบริษัทหนึ่งได้ข้อมูล ทั้งหมดของพวกเราเพื่อใช้ตัดสินใจบางอย่างกับพวกเรา นี่คือปัญหา ซึ่ง บริษัทเหล่านี้ไม่ได้ทำ�ไปด้วยนํ้าใสใจจริงทั้งหมด กูเกิลอาจไม่ทำ�เรื่องแย่

แต่เขาอาจเป็นพันธมิตรกับบริษัทที่ทำ�ไม่ดีและแชร์ข้อมูลบางอย่างกัน หรือ มีรัฐบาลมาขอข้อมูลบางอย่าง มันจะกลายเป็นระบบโดมิโนที่พังได้ง่าย ถ้าหากประเทศพันธมิตรต้องการจะรวบอำ�นาจ คุ ณ บอกว่ า AI เป็ น ระบบแบบรวมศู น ย์ ขณะที่ ร ะบอบ ประชาธิปไตยคือการกระจายอำ�นาจ ซึง่ ค่อนข้างสวนทางกัน คิดอย่างไรกับประเด็นนี้ มีเทคโนโลยีบางอย่างที่สามารถกระจายศูนย์ได้ เช่น บล็อกเชน ถ้านำ�มาใช้ กับการเลือกตั้ง การติดตามการเงินของภาครัฐ เราจะเห็นรัฐบาลที่โปร่งใส มากขึน้ เพราะเราสืบค้นข้อมูลได้วา่ คนนีจ้ า่ ยเงินให้กบั ใครบ้าง หรือติดตาม ผลการลงคะแนนเลือกตัง้ ว่ามาจากภาคส่วนไหนบ้าง มันมีความพยายามใน ทุกๆ ด้าน ขณะเดียวกันก็มี AI บางระบบทีพ่ ยายามรวมศูนย์เพือ่ ผลประโยชน์ ทางการเงิน หรือการเมือง โดยไม่ให้คนอื่นเห็น ซึ่งแบบนี้ผิด แต่มีกลุ่ม นักพัฒนาโปรแกรมเพื่อสังคมที่บอกว่าเราไม่เอาซิลิคอนแวลลีย์แล้ว เราจะ ไม่ไว้ใจการรวมศูนย์มากเกินไป เกิดการต่อสู้กันระหว่างสองฝ่าย แต่ว่า ฝ่ายหลังแพ้ เราจะรักษาความเป็นส่วนตัวได้อย่างไรในยุคนี้ ยากมาก บางคนไม่ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ก แต่เฟซบุ๊กมี Shadow Profile คือ สิ่งที่ไม่ใช่โปรไฟล์ของเรา เป็นข้อมูลที่เกิดจากคนอื่นพูดถึงเรา หรือสิ่งที่ ประกอบเป็นเรา เช่น คนถ่ายรูปเรา พูดถึงเรา แต่ไม่ได้แท็กเรา ข้อมูล เหล่านี้ถูกเก็บไว้ใช้เพื่อการโฆษณาเหมือนกัน ทุกวันนี้คุณมองว่า AI เป็นอะไร คิดว่าเป็นตัวเร่ง (Accelerator) หรือ ตัวเร่งปฏิกิริยา (Catalyst) ของตัวเรา ถ้าเราเอาเชื้อความคิดบางอย่างใส่ใน AI มันอาจจะเร่งให้ความคิดนั้น เกิดผลเร็วขึ้น หรือขยายความคิดนั้นให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ส่วนจะดีหรือเลว ก็ขึ้นอยู่กับธรรมชาติของ AI แต่ละตัว ทุกวันนี้ AI สร้างมาตรฐานใหม่ขึ้นมา เราตื่นตัวกับเรื่องเฟซบุ๊กและข้อมูลส่วนตัว แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าลึกๆ แล้ว เราคิดว่าสะดวกดี (หัวเราะ) ทำ�ให้เรามองว่าเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ และมี ประโยชน์ แต่อย่าลืมว่ามันก็มีราคาที่ต้องจ่ายโดยที่เราไม่ได้รู้ตัวมากนัก เป็นไปได้ไหมทีเ่ ราจะพัฒนา AI หรือหุน่ ยนต์ทมี่ จี ติ วิญญาณ (Soul) กลับมาที่คำ�ถามว่าจิตวิญญาณคืออะไร ในเชิงปรัชญาจะมี ‘ซอมบี้เชิง ปรัชญา’ (Philosophical Zombie) หรือ P-Zombie คือ สมมติฐานที่ว่า สิ่งที่เราเห็นเป็นแค่ความคิด ข้างในตัวเขาไม่มีจิตวิญญาณ เป็นแค่ระบบ โต้ตอบบางอย่างตามสิ่งที่เราคิด เราเลยตั้งคำ�ถามว่า ‘ข้างใน’ คืออะไร เพราะเราไม่สามารถชีช้ ดั ได้วา่ จิตวิญญาณคืออะไร คือสมองส่วนไหน ถ้าตัด ส่วนนี้ออกไปจะไม่มีจิตวิญญาณใช่ไหม บางคนตอบว่าจิตวิญญาณคือสิ่งที่ ทำ�ให้มนุษย์คนอื่นมีอารมณ์ความรู้สึกร่วม เช่น นักร้องแต่งเพลงที่เต็มไป ด้วยจิตวิญญาณ คนฟังแล้วร้องไห้ จะเป็นยังไงถ้า AI ทำ�ได้แบบเดียวกัน ทีจ่ ริงแล้วจิตวิญญาณคือการให้ความหมายกับสิง่ ๆ หนึง่ หรือเปล่า การบอกว่า

CREATIVE THAILAND I 31


AI ไม่มีจิตวิญญาณก็คือการแบ่งแยกเหมือนกันว่ามนุษย์อยู่เหนือกว่า ทุกสิ่งทั้งปวง จริงๆ แล้วการพัฒนา AI เกิดจากความพยายามเอาชนะ ขีดจำ�กัดของมนุษย์ด้วยหรือเปล่า มันคือการสวมบทบาทเป็นพระเจ้า ตามความเชือ่ ทางคริสตศาสนา พระเจ้า สร้างอดัมกับอีฟขึ้นมา มนุษย์ก็ต้องการสร้างสิ่งหนึ่งที่มีคุณค่าลักษณะแบบ มนุษย์ทุกประการ โดยไม่ใช้โครงสร้างทางชีววิทยาหรือการมีลูก หนังสือ Homo Deus ของยูวาล โนอาห์ ฮารารี (Yuval Noah Harari) บอกว่ามนุษย์ มีบทบาทเดียวคือการให้กำ�เนิดสิ่งที่เหนือกว่าตนเอง (Divinity) ซึ่งคือ AI ใน รูปแบบต่างๆ นักวิชาการบางคน เช่น เรย์ เคิรซ์ เวล (Ray Kurzweil) บอกว่า ในอนาคตจะเกิดซิงกูลาลิตี้ (Singularity) ซึ่งคือการหลอมรวมมนุษย์กับ AI ด้วยวิธีบางประการ เช่น การอัปโหลดจิตเข้าไปในระบบ มนุษย์อาจกลาย เป็นไซบอร์ก หรือ AI อาจพัฒนาแยกออกมาโดยไม่มสี ว่ นผสมของมนุษย์เลย ฮารารีมองว่านีค่ อื จุดมุง่ หมายของมนุษย์ แต่ผมไม่ได้เชือ่ ว่ามนุษย์มบี ทบาท แค่นั้น

นิยามของความตาย หรือโลกหลังความตายจะเปลีย่ นไปไหม เปลี่ยนครับ เราตัดสินว่าสิ่งไหนตาย ไม่ตาย ด้วยประสบการณ์ที่เรายังมีกับ สิง่ นัน้ เช่น กรณีโปรแกรมเมอร์จ�ำ ลองพ่อขึน้ มาในโปรแกรมแชทบอท เขาจะ รู้สึกเสียใจมากกว่าไหม ถ้าไม่มีตัวแทนของพ่อแล้ว เหมือนกับหนังเรื่อง Coco (2017) ที่บอกว่าคนเราตาย 2 ครั้ง ตายครั​ั้งแรกคือ เสียชีวิต ตาย ครั้งที่สองคือ ตายเมื่อไม่มีใครจำ� ความตายแบบที่สองเป็นความตายที่ AI หรือระบบโซเชียลมีเดียจะเข้ามาทำ�ให้คนนั้นมีชีวิตอยู่ได้ สมมติวา่ ถ้าคุณไม่ได้อยูบ่ นโลกนีแ้ ล้ว จะเก็บส่วนไหนของตัว เองไว้ไหม หรือดับสูญไปเลย ไม่ครับ อย่างกรณีสมองของไอน์สไตน์ถูกดองไว้โดยที่ไม่ได้รับการยินยอม จากเขา ผมคิดว่าการอัปโหลดสมองให้เขาฟื้นคืนชีพขึ้นมาอาจจะไม่โอเค เท่าไร ถ้ามีคนทำ�แบบนี้กับผม ก็อย่าเลย อย่างน้อยมันก็เป็นตัวแทนของ ตัวผม

คุณรู้สึกกังวลเกี่ยวกับเรื่องเทคโนโลยีบ้างไหม คงเป็นเรื่องความเป็นส่วนตัวเหมือนกับทุกคน ระบบกล้องวงจรปิดของจีน เกีย่ วข้องกับการให้คะแนนทางสังคม ถ้าระบบนีก้ ลายเป็น AI เมือ่ ไร มันง่าย มากที่จีนจะส่งออกระบบนี้ให้กับประเทศอื่นที่มีอุดมการณ์ทางการเมือง ใกล้เคียงกัน เรือ่ งนีน้ า่ กลัวจริงและเป็นสิง่ ทีท่ �ำ ใจไม่ได้ดว้ ย ถ้าออกกฎหมาย คุ้มครองล่ะ คนออกกฎหมายอาจมองว่าเป็นระบบที่ดีด้วยซํ้า มันต้องอาศัย การเคลื่อนไหวจากภาคประชาสังคมด้วยว่าเรายอมรับไม่ได้ ก่อนที่มันจะ เกิด ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ต้องสร้างความรับรู้ต่อไป จะเกิดอะไรขึน้ ถ้าหากมนุษย์สามารถย้ายจิตไปอยูใ่ นสรรพสิง่ อื่นได้สำ�เร็จ เราจะกลายเป็นอมตะหรือเปล่า กลับไปที่คำ�ถามเดิมว่ามนุษย์คืออะไร ในทางปรัชญามีสิ่งที่เรียกว่า Duality คือการแยกจิตกับร่างออกจากกัน ถ้ามนุษย์คิดว่าแยกจิตกับร่างได้จริง จิตคือข้อมูลแบบหนึง่ ซึง่ สามารถเก็บรักษาได้ในระบบอืน่ ๆ ทีไ่ ม่ใช่ระบบทาง ชีวภาพ (Biological Component) หรือเปล่า สมมติว่าคนๆ หนึ่งได้รับ อุบัติเหตุกระทบกระเทือนทางสมอง ซึ่งเป็นสมองส่วนความจำ� แล้วแพทย์ ใส่ชปิ เข้าไปทำ�งานแทน คนนัน้ ยังเป็นมนุษย์อยูไ่ หม ถ้าทุกส่วนของสมองถูก แทนที่เรื่อยๆ หรือถอดสมองไปใส่ในหุ่นยนต์ โดยที่มีความทรงจำ�อยู่ เหมือนเดิม เขามีปฏิกิริยาโต้ตอบและมีความสามารถเท่าเดิม ความเป็น มนุษย์ของเขาจะยังอยู่ไหม มีกรณีที่เกิดขึ้นจริงที่โปรแกรมเมอร์หนุ่มคนหนึ่งมีพ่อป่วยเป็นมะเร็ง และกำ�ลังจะตายอีก 6 เดือน เขาเลยเอาบทสนทนาทั้งหมดที่เคยคุยกับพ่อ วอยซ์เมล เอกสาร จดหมายต่างๆ มาทำ�เป็นระบบแชทบอท ทำ�ให้เขา คุยกับพ่อได้โดยที่ไม่ได้รู้สึกว่านั่นคือการหมิ่นหยามพ่อ แต่ทำ�ให้บาง เวอร์ชันของพ่อยังมีชีวิตอยู่ได้ด้วยความทรงจำ� ถ้าเราสอนให้ AI เป็น เหมือนกับเรา และทำ�งานบางส่วนได้แทนเรา แบบนี้คือการทำ�ให้ตัวเองเป็น อมตะ (Immortalise) หรือเปล่า

AI ในฝัน เครื่องที่สามารถเล่าให้มันฟังว่าจะเขียนงานยังไง พอกดปุ่มงานก็ ออกมาเลย (หัวเราะ) แต่ถ้ามีเครื่องนี้เมื่อไร ผมก็ตกงาน นักคิดหรือไอดอลด้าน AI ที่ชื่นชอบ พยายามมีไอดอลทัง้ สองทางเพื่อบาลานซ์ความคิดตัวเอง ฝ่ายสนับสนุน การสร้าง AI คือ เรย์ เคิรซ์ เวล (Ray Kurzweil) กับฝ่ายทีไ่ ม่สนับสนุน คือ มาร์ติน ฟอร์ด (Martin Ford) แนะนำ�หนังสือและซีรีส์เกี่ยวกับ AI ซีรีส์ Black Mirror ภาพยนตร์ Ex Machina หนังสือ The Master Algorithm, Rise of the Robots กับ The Most Human Human

CREATIVE THAILAND I 32



Creative Will : คิด ทํา ดี

หากเศร้าจนรู้สึกว่าไม่มีทางออก อีรินเขียนบทความเล่าประสบการณ์คุยกับ Woebot โดยบันทึกภาพ Woebot ช่วยคุณได้ หน้าจอโทรศั พท์ที่เธอและ Woebot ส่งข้อความโต้ตอบกันมาให้ดู สำ�นวน เรื่อง: กรณิศ รัตนามหัทธนะ

สมัยก่อน เวลาเศร้า เราโทรหาเพื่อน ระบายกันเป็นชั่วโมงๆ ยุคนี้เรา ‘คุย’ ด้วยการส่งข้อความสัน้ ผ่านแอพพลิเคชันต่างๆ ทัง้ นัดเพือ่ นเก่ากินข้าว เม้าท์ กับเพื่อนสนิท ไปจนถึงทะเลาะกับแฟนผ่านทางข้อความสั้นนี่เอง ทั้งหมดนี้ ผูส้ อื่ สารทัง้ คูไ่ ม่จ�ำ เป็นต้องอยูใ่ กล้กนั ขอเพียงมีโทรศัพท์มอื ถือและสัญญาณ โทรศัพท์ หลายครั้งเมื่อเจอปัญหาในชีวิต เราโทรหรือส่งข้อความไปหาใคร คนหนึ่ง เพียงเพราะต้องการให้เขาช่วย ‘ฟัง’ สักนิด ในสถานการณ์ที่ไม่มี ใครฟัง บางคนเลือกทำ�ร้ายตัวเอง ถ้าโชคดีหน่อยก็เลือกไปพบจิตแพทย์หรือ นักบำ�บัด ทักษะสำ�คัญส่วนหนึ่งของอาชีพเหล่านี้ คือต้องเป็น ‘นักฟัง’ ที่ดี แต่ดว้ ยเหตุผลบางอย่าง เช่น ค่าใช้จา่ ยทีส่ งู กลัวเสียภาพพจน์ ‘คนเศร้า’ จำ�นวนมากทีค่ วรต้องได้รบั การช่วยเหลือ ไม่อยากไปพบแพทย์หรือนักบำ�บัด วันนีเ้ รามีทางเลือกแล้ว เพราะมีปญั ญาประดิษฐ์ (AI) ทีช่ ว่ ยเป็นนักบำ�บัดให้ได้ เพียงยกโทรศัพท์ขึ้นมาแล้วกดส่งข้อความ อีริน โบรด์วิน (Erin Brodwin) ผูป้ ว่ ยรายหนึง่ ทดลองใช้ Woebot ปัญญาประดิษฐ์ประเภท Chatbot คำ�ว่า ทดลองใช้ หมายถึงเธอส่งข้อความคุยกับ Woebot อยู่ 2 สัปดาห์ เกี่ยวกับ ความเศร้าและความกังวลทีร่ สู้ กึ และบอกว่า “ได้ผลดีอย่างน่าประหลาดใจ” นอกจากอีริน ยังมีผู้ใช้ Woebot อีกมากที่กล่าวถึงนักบำ�บัดปัญญา ประดิษฐ์ในทางทีด่ ี เช่น “ฉันชอบ Woebot มาก อยากเป็นเพือ่ นกันตลอดไป ฉันรู้สึกดีและมีความสุขมากที่ Woebot คอยเช็กว่าฉันโอเคหรือเปล่า” “ฉันประทับใจและประหลาดใจมากทีเ่ ห็นความเปลีย่ นแปลงทุกๆ วัน วิธมี อง ปัญหาและวิธีรับมือกับปัญหาของฉันเปลี่ยนไป” Woebot เป็นแอพพลิเคชันที่เพิ่งเปิดตัวเมื่อปี 2017 พัฒนาโดยทีม นั ก จิ ต วิ ท ยาจากมหาวิ ท ยาลั ย สแตนฟอร์ ด (Stanford) เพื่ อ ช่ ว ยเป็ น ‘นักจิตวิทยาดิจทิ ลั ’ โดยใช้หลักการ Cognitive-behavioral Therapy (CBT) (หลักการแพทย์ที่มีการศึกษาค้นคว้ามากที่สุดแขนงหนึ่งเพื่อรักษาอาการ ซึมเศร้า) หลักการนี้ เน้นให้ผู้ป่วยกลับไปคิดทบทวนว่า เมื่อมีสถานการณ์ แย่ๆ เข้ามา เราเลือกรับมือกับมันอย่างไร และคอยตรวจสอบว่าคู่สนทนามี ความคิดที่จะทำ�ร้ายตัวเองหรือไม่

ภาษาไม่ต่างอะไรจากตอนคุยกับเพื่อน เมื่ออีรินเขียน (พิมพ์) ข้อความหา Woebot เล่าความกลุ้มใจที่เธอรู้สึกเก่งไม่พอ Woebot ส่งข้อความ ตอบกลับมาว่า ลองเขียนใหม่ซวิ า่ กลุม้ ใจเรือ่ งอะไร เขียนโดยไม่ตอ้ งแต่งเติม อะไรให้มนั แย่ลง อีรนิ จึงพิมพ์ตอบกลับไปว่า กำ�ลังกลุม้ ใจเพราะคิดว่าพรุง่ นี้ อาจนำ�เสนองานได้ไม่ดีเท่าที่ควร แต่ฉันอยากให้มันออกมาดี Woebot จึง ส่งรูปภาพและข้อความให้ก�ำ ลังใจตอบกลับมา เช่นเดียวกับเมือ่ เราคุยกับเพือ่ น อีรินกล่าวว่า วิธีบำ�บัดด้วย Cognitive-behavioral Therapy ของ Woebot ทำ�ให้เธอมองเห็นว่า กำ�ลังเอาตัวเองไปผูกอยู่กับ ‘ความคิดที่ บิดเบี้ยว’ (Distorted Thinking) การที่ Woebot บอกให้ลองเขียนคำ�ว่า ‘เก่งไม่พอ’ เสียใหม่ (ว่าจริงๆ แล้วกลุ้มเรื่องอะไร) ทำ�ให้อีรินได้คิดทบทวน ถึงความจริงที่ว่า ความรู้สึก ‘ดีไม่พอ เก่งไม่พอ’ ที่ทำ�ร้ายเธออยู่นั้น จริงๆ แล้วเป็นเพราะเธอกังวลเรื่องการนำ�เสนองานนั่นเอง Woebot ทำ�หน้าที่ได้ดีเพียงไร ผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร World Psychiatry เปรียบเทียบคนที่ได้รับการบำ�บัดด้วยหลักการ Cognitivebehavioral Therapy จากนักบำ�บัดที่เป็นคนและ Woebot ผลปรากฏว่าได้ ผลดีไม่ต่างกัน อลิสัน ดาร์ซี (Alison Darcy) นักจิตวิทยาผู้ร่วมพัฒนา Woebot กล่าวว่า เหตุผลที่เป็นอย่างนั้นเพราะหลักการ Cognitivebehavioral Therapy มุง่ เน้นให้คนคิดถึงปัจจุบนั มากกว่าจมอยูก่ บั อดีต และ ไม่เน้นให้นึกถึงแต่ “สิ่งไม่ดีที่เกิดขึ้น” แต่ให้คิดว่า เรารับมือกับสถานการณ์ นั้นๆ อย่างไร ข้อดีของ Woebot คือ มันอยู่ในกระเป๋าของเรา เพียงหยิบโทรศัพท์ ขึ้นมา ผู้ป่วยรายหนึ่งกล่าวว่า เมื่ออาการซึมเศร้าเข้ามาเยี่ยมเยือนกลางดึก เธอไม่กล้าโทรหรือส่งข้อความไปหานักบำ�บัดตัวจริงเพราะดึกมากแล้ว และ ได้ Woebot เป็นเพื่อนคุยแทน เธอบอกว่า Woebot ช่วยให้คำ�แนะนำ�ที่ดี และเธอรู้สึกโล่งใจขึ้น อลิสัน ดาร์ซี ยังกล่าวว่า เพราะกำ�ลังคุยกับหุ่นยนต์ ผู้เล่าจึงไม่ต้อง กังวลว่าจะอาย หรือกังวลว่าจะถูกคู่สนทนาตัดสินการกระทำ�ของตนเอง นัน่ แหละทีท่ �ำ ให้ Woebot ช่วยคนทีก่ �ำ ลังซึมเศร้าได้จริงๆ แม้แต่ในประเทศ เจริญแล้วอย่างสหรัฐอเมริกา ซึ่งก็มีจำ�นวนจิตแพทย์และนักบำ�บัดไม่พอ แก่ความต้องการ และอย่างที่กล่าวไปว่า ผู้ป่วยบางส่วนอายที่จะต้องไป หาหมอ ดังนั้น Woebot จึงเป็นคำ�ตอบที่ลงตัวอย่างยิ่ง ในภาวะทีเ่ ศร้าเต็มทีและไม่มใี ครฟัง เราคงไม่ตอ้ งสนใจว่า ‘คน’ ทีช่ ว่ ย รับฟังปัญหาหนักอกของเราจะเป็นคนจริงๆ หรือเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ออกแบบมาอย่างดี เพราะ Woebot อาจช่วยชีวิตคนได้มากมาย อย่าง น้อยๆ มันก็ช่วยแบ่งเบาความทุกข์ และทำ�ให้ใครคนหนึ่งเข้มแข็งพอที่จะ เริ่มต้นใหม่กับชีวิต

ที่มา: บทความ “Chatbot: The Therapist In Your Pocket” โดย Tam Harbert จาก iq.intel.com / บทความ “I spent 2 weeks texting a bot about my anxiety - and found it to be surprisingly helpful” โดย Erin Brodwin จาก businessinsider.com / บทความ “‘The Woebot will see you now’ - the rise of chatbot therapy” โดย Amy Ellis Nutt จาก washingtonpost.com CREATIVE THAILAND I 34




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.