IT’S WHAT YOU ARE
“ NOT TOO LATE AT ALL. YOU JUST DON’T YET KNOW CAPABLE OF.”
ไม่มีอะไรสายเกินไป แต่เราแค่ยังไม่รู้ว่าเราทำ�อะไรได้มากขนาดไหนเท่านั้น มหาตมะ คานธี
นักต่อสู้เพื่ออิสรภาพบนหลักอหิงสาชาวอินเดีย
Contents : สารบัญ
The Subject
6
Insight 20
Creative Resource 8
Creative Startup 22
MDIC 10
Creative City
24
The Creative
28
Creative Will
34
Instock ร้านอาหารเหลือทิ้ง / Zero Waste ธุรกิจยุคใหม่ ปลอดภัยต่อธรรมชาติ / Plastic Roads ถนนแห่งความหวัง Report / Documentary / Book / Research
เทรนด์วัสดุทดแทน (Circular Supplies) กับงานออกแบบ
Local Wisdom
12
Cover Story
14
เปลี่ยน “กองขยะ” เป็น “กองเงิน”
ทำ�ไมต้อง Circular Economy ทางรอดของมนุษย์ในยุค Anthropocene
เมื่อพลาสติกหายไปได้ ‘Biodegradable Plastic’ ทางเลือกใหม่ แห่งความยั่งยืน
Advance BIO บริษัทผลิตพลาสติกปลอดภัยย่อยสลายได้ เรียบง่ายให้ได้อย่าง “คอสตาริกา”
สฤณี อาชวานันทกุล: ไม่เห็นโลงศพ ไม่หลั่งนํ้าตา ระหว่างรอบล็อกเชนมา อย่าเพิ่งซักกางเกงยีนส์ เสียสละหรือรักสบาย? เข้าใจความยั่งยืนใน 12 ข้อ เมืองเล็กๆ กับเป้าหมายสุดยิ่งใหญ่ จะไม่ทิ้งอะไรเป็นขยะภายในปี 2020!
บรรณาธิการที่ปรึกษา l อภิสทิ ธิ์ ไล่สตั รูไกล บรรณาธิการอำ�นวยการ l กิตติรตั น์ ปิตพิ านิช ที่ปรึกษา l ศิรอิ ร หริม่ ปราณี, ชมพูนทุ วีรกิตติ, พิชติ วีรงั คบุตร, พจน์ องค์ทวีเกียรติ, เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร บรรณาธิการบริหาร l พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์ กองบรรณาธิการ l มนฑิณี ยงวิกลุ , ปิยวรรณ กลิน่ ศรีสขุ เลขากองบรรณาธิการ l วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ ศิลปกรรม l ชิดชน นินนาทนนท์ ประสานงานกองบรรณาธิการ l วนบุษป์ ยุพเกษตร ช่างภาพและมัลติมีเดีย l ภีร์รา ดิษฐากรณ์ นักศึกษาฝึกงาน l กิตติภูมิ ใบปก จัดทำ�โดย l สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) (CEA) 1160 อาคารไปรษณีย์กลาง ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10501 โทร. 02 105 7400 แฟกซ์. 02 105 7450 พิมพ์ที่ l โรงพิมพ์ดับบลิวพีเอส (ประเทศไทย) จำ�กัด โทร. 02 313 4405 แฟกซ์. 02 313 4445 จำ�นวน 15,000 เล่ม ติดต่อลงโฆษณา: Commu.Dept@tcdc.or.th นิตยสารฉบับนีใ้ ช้หมึกพิมพ์จากนา้ํ มันถัว่ เหลืองทีไ่ ม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทัง้ ยังเป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อม และใช้กระดาษ รีไซเคิล ซึ่งเป็นผลผลิตของผู้ประกอบการไทย จัดทำ�ภายใต้โครงการ “Creative Thailand สร้างเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์” โดยสํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจ สร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) (CEA) ซึ่งมีเป้าหมายในการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) และผลักดันการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย
อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส แสดงที่มา-ไมใชเพื่อการคา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย แสดงที ่มา-ไมใTHAILAND ชเพื่อการคา-อนุI ญ4าตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย CREATIVE
Editor’s Note : บทบรรณาธิการ
WE ARE THE WORLD หนึ่งในวิธีที่ทำ�ให้มนุษย์ตระหนักถึงปัญหาทางสังคมและสิ่งแวดล้อมได้อย่าง ละเมียดละไมที่สุด อาจเป็นการเกิดขึ้นของคอนเสิร์ตเอิร์ธเดย์เมื่อปี 1990 ซึ่ง จัดขึ้น ณ เซ็นทรัล พาร์ก ในนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา โดยมีศิลปินดังในยุคนั้น เช่น B-52’s, Ben E. King, G.E. Smith, The Saturday Night Live ตบเท้าเข้าร่วม พร้อมกับผู้ชมมากกว่าสามแสนคนจนเป็นภาพใหญ่ในประวัติศาสตร์ ขณะที่ คอนเสิร์ตไลฟ์เอิร์ธในปี 2007 ที่ระดมโชว์ไว้มากกว่า 150 โชว์ พร้อมถ่ายทอด สดทั้งทางวิทยุ โทรทัศน์ และอินเทอร์เน็ตแบบข้ามทวีปใน 7 โลเกชันทั่วโลก ก็ยิ่งตอกยํ้าถึงบทบาทของนักร้อง นักดนตรี ในการเข้ามามีส่วนร่วมกระตุ้น เตือนถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่รอให้ต้องมีการ ออกกฎหมายสนับสนุน บทลงโทษ หรือการบังคับใช้อำ�นาจจากภาครัฐเข้ามา เกี่ยวข้องโดยตรง ในปี 2020 ที่จะถึงนี้ Earth Day หรือวันคุ้มครองโลกจะครบรอบ 50 ปี (หลังจากกำ�หนดให้มขี นึ้ ครัง้ แรกเมือ่ วันที่ 22 เมษายน ปี 1970 ในสหรัฐอเมริกา และนับเป็นการขับเคลือ่ นประเด็นทางสิง่ แวดล้อมทีส่ �ำ คัญของโลกยุคใหม่) และ ยังเป็นวันเดียวกันนีใ้ นปี 2016 ทีอ่ งค์การสหประชาชาติได้ลงนามในความตกลง ปารีส (Paris Agreement) ซึง่ เป็นความตกลงตามกรอบอนุสญั ญาสหประชาชาติ ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อกำ�หนดมาตรการลดการปล่อย คาร์บอนไดออกไซด์ อันเป็นหนึ่งในความพยายามลดภาวะโลกร้อน เป็นปีที่ 50 นี่เอง ที่เครือข่ายผู้จัดงานเอิร์ธเดย์ทั่วโลกตั้งใจจะสร้าง แรงกระเพือ่ มสำ�คัญเพือ่ ปลุกความตระหนักในปัญหาสิง่ แวดล้อมให้ได้มากทีส่ ดุ เป็นประวัตกิ ารณ์อกี ครัง้ โดยได้รว่ มมือกับกว่า 50,000 หน่วยงาน ใน 190 ประเทศ ทั่วโลก เพื่อตอบรับกับรายงานฉบับล่าสุดจากคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่า ด้วยการเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศ (IPCC) ทีร่ ะบุวา่ เรามีเวลาอีกไม่เกิน 12 ปี (ปี 2030) ทีจ่ ะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้อย่างน้อยครึง่ หนึง่ และควบคุม อุณหภูมิโลกไม่ให้สูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียสให้ได้ เพื่อดำ�รงไว้ซึ่งเผ่าพันธุ์ การอยูร่ อดของมนุษย์ และชะลอการก้าวไปถึงจุดจบของอารยธรรม โดยผูจ้ ดั งาน หวังไว้ว่างานครบรอบ ‘วันคุ้มครองโลก’ ปีที่ 50 นี้ จะเป็นงานที่จุดประกาย ความหวังให้กับความเคลื่อนไหวเรื่องสิ่งแวดล้อม และจะได้สรรพกำ�ลังจาก ผู้คนทั่วโลกที่หันกลับมาปกป้องโลกใบนี้ให้อยู่รอดต่อไป
ท่ามกลางความล้มเหลวมากมายที่สร้างผลกระทบอย่างคาดไม่ถึงจาก พฤติกรรมการบริโภคของมนุษย์หลังยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมซึ่งทยอยเกิดขึ้น จนวันนี้ ยังคงมีความพยายามอันยาวนานกว่าครึง่ ศตวรรษในการช่วยกันปกปัก รักษาโลกใบนีใ้ ห้คงอยูเ่ สมอ แม้เราจะยังต้องเผชิญหน้ากับภาวะความเสือ่ มโทรม ของสภาพแวดล้อมที่รุนแรงยิ่งขึ้น ชัดเจนยิ่งขึ้น ความหลากหลายทางชีวภาพ ลดน้อยลง ปัญหาขยะลุกลามใหญ่โต สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว จนดู เหมือนว่าสิ่งที่หลายฝ่ายรณรงค์มาโดยตลอดนั้นตามเก็บตามแก้ปัญหาแทบ ไม่ทนั วันนีเ้ ราจึงกำ�ลังคาดหวังอะไรทีร่ วดเร็วกว่านัน้ จริงจังกว่านัน้ และการลงมือ จัดการให้ได้เดี๋ยวนี้! ในภาวะทีร่ อไม่ได้นี้ Circular Economy หรือเศรษฐกิจหมุนเวียน ดูเหมือน กำ�ลังทำ�หน้าที่ในการช่วยกอบกู้สถานการณ์โลก การผลิตที่เน้นการนำ�วัตถุดิบ กลับมาใช้ใหม่เป็นวงจรแบบปิดเสมือนวงจรของธรรมชาติทไี่ ม่เหลือของเสียไว้ ไม่เหมือนกับการผลิตแบบเดิมที่เน้นการใช้แล้วทิ้งแบบเส้นตรง การเพิ่ม ประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สงู สุด และการทำ�ให้เกิดของเสีย น้อยที่สุดเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จึงอาจเป็นทางรอดเดียวที่เรา เหลืออยู่ แต่การจะทำ�ให้เศรษฐกิจหมุนเวียนเกิดขึ้นได้จริงนั้น จำ�เป็นต้องอาศัย ความร่วมมือจากทุกฝ่าย ตั้งแต่ขั้นของการออกแบบ กระบวนการผลิต การขนส่ง การใช้งาน ไปจนถึงการหมุนเวียนนำ�กลับมาใช้ใหม่ นั่นจึง หมายความว่า ทุกคนบนโลกนี้มีหน้าที่ที่เป็นส่วนสำ�คัญในการทำ�ให้เศรษฐกิจ หมุนเวียนเกิดขึ้นได้จริง โดยไม่อาจขาดส่วนใดส่วนหนึ่งไป นี่จึงเป็นความท้าทายที่เราต้องทำ�หน้าที่ให้ดีที่สุด ในฐานะสิ่งมีชีวิตใน นิเวศเดียวกัน เพื่อให้เกิดความยั่งยืนก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป เพราะเมื่อ เราทุกคนต่างเป็นส่วนหนึ่งของโลก เราอาจไม่ต้องรอให้มีคอนเสิร์ตเอิร์ธเดย์ที่ ยิ่งใหญ่อีกครั้ง หรือรอให้มีการตกลงในพันธสัญญาร่วมกันในระดับนานาชาติ ครั้งต่อไป แค่คิดถึงนํ้าสะอาดที่เราอาจไม่มีให้ด่ืมแล้ววันพรุ่งนี้ หรืออากาศ บริสุทธิ์ที่ไม่มีจะหายใจ...เราจะรอได้อยู่อีกหรือ
กิตติรัตน์ ปิติพานิช บรรณาธิการอํานวยการ CREATIVE THAILAND I 5
The Subject : ลงมือคิด
facebook.com/instock.nl
facebook.com/instock.nl
ในความเป็นจริง อาหารเหลือทิง้ เหล่านีย้ งั คงรับประทานได้ แม้บางชิน้ อาจมีตำ�หนิ เช่น กระป๋องที่ฉลากขาดแต่ไม่ส่งผลต่อคุณภาพของอาหาร ผักทีส่ ไี ม่สด และอาหารทีก่ �ำ ลังจะหมดอายุ ซึง่ อาจทำ�ให้หลายคนเบือนหน้า หนี แต่ Instock คำ�นึงถึงมาตรฐานที่ผ่านคุณสมบัติของกฎหมายคุ้มครอง ผู้บริโภคของเนเธอร์แลนด์เช่นเดียวกับร้านอาหารอื่นๆ ผู้บริโภคจึงไม่ต้อง กังวลว่าอาหารจะไม่ได้มาตรฐาน อีกทั้งหน้าตาของอาหารที่มาจากการ สร้างสรรค์ของเชฟฝีมอื เยีย่ ม ยังสามารถลบภาพอาหารเหลือทิง้ ไปได้สนิทใจ นอกจากร้านอาหารแล้ว Instock ยังมีผลิตภัณฑ์ Food Waste ที่มี แบรนด์เป็นของตัวเอง เช่น Pieper Bier เบียร์ที่ทำ�มาจากมันฝรั่งเหลือทิ้ง และยังมี Bammetjes Bier เบียร์ที่ทำ�มาจากขนมปังเหลือทิ้ง ทั้งนี้ใน กระบวนการผลิตเบียร์ทั้ง 2 ชนิด จำ�เป็นต้องมีส่วนผสมสำ�คัญ คือมอลต์ และฮ็อปส์ในการผลิต Instock เล็งเห็นถึงการใช้ประโยชน์ของวัตถุดิบจนถึง วินาทีสุดท้าย พวกเขาจึงสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์กราโนล่าหรือซีเรียลอาหาร เช้าจากกากเบียร์ (Spent Grain) ที่ยังเต็มไปด้วยสารอาหาร ประกอบกับ การเพิม่ ส่วนผสมของข้าวโอ๊ต ธัญพืช อัลมอนต์ อบเชย และนํา้ ผึง้ เข้าไปด้วย เป้าหมายสูงสุดของ Instock ไม่ใช่เพียงการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จาก อาหารเหลือทิ้ง แต่พวกเขายังต้องการสร้างการตระหนักรู้ของผู้คนและ ผู้ประกอบการรายอื่นๆ เกี่ยวกับอาหารเหลือทิ้งที่ยังนำ�มารับประทานได้ ทั้งยังได้จัดพิมพ์หนังสือทำ�อาหารที่แนะนำ�การทำ�อาหารเหลือทิ้งในบ้านให้ เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้สังคมเริ่มหันมาใส่ใจประเด็น เรื่องอาหารเหลือทิ้งมากขึ้น
Instock ร้านอาหารเหลือทิ้ง
ที่มา: รายงาน “Consumer Food Waste” โดย Netherlands Nutrition Centre จาก ec.europa.eu / instock.nl
ปัญหา Food Waste หรืออาหารเหลือทิ้ง กำ�ลังเป็นประเด็นสำ�คัญของโลก หลายบริษัท องค์กร หรือแม้กระทั่งประชาชนคนธรรมดาต่างหันมาใส่ใจ เรื่ อ งนี้ ม ากขึ้ น เมื่ อ ไม่ น านมานี้ อ งค์ ก ารอาหารและการเกษตรแห่ ง สหประชาชาติ (FAO) เผยตัวเลขทีส่ งู จนน่าตกใจของอาหารทีถ่ กู ทิง้ ไปอย่าง ไร้ประโยชน์ว่าสูงถึง 1.3 พันล้านตันต่อปี อาหารที่สูญเสียไปเหล่านี้มาจาก การผลิตด้านการเกษตร ผลิตผลที่ไม่ผ่านเกณฑ์ของโรงงาน (ขนาดไม่ได้ มาตรฐานหรือมีตำ�หนิ) ตลอดจนการบริโภคในครัวเรือน ร้านอาหาร และ อาหารใกล้หมดอายุจากซูเปอร์มาร์เก็ต จนเป็นแรงผลักดันที่ทำ�ให้ Instock มูลนิธทิ มี่ เี ป้าหมายในการแก้ปญั หาอาหารเหลือทิง้ จากเนเธอร์แลนด์ ได้แสดง ตัวออกมาเพือ่ เป็นตัวอย่างเรือ่ งการจัดการกับอาหารเหลือทิง้ ให้เป็นประโยชน์ มากที่สุด Instock เปิดร้านอาหาร 3 สาขาที่มีเป้าหมายเพื่อเป็นตัวอย่างเรื่อง การจัดการกับอาหารเหลือทิ้งอย่างจริงจัง โดยร่วมมือกับ Albert Heijn ซูเปอร์มาร์เก็ตรายใหญ่ของเนเธอร์แลนด์ ทุกๆ เช้า รถยนต์พลังงานไฟฟ้า ของ Instock จะเดินทางไปรับอาหารเหลือทิ้งจากร้านเหล่านี้ และนำ�ไปส่ง ยังร้านอาหารทัง้ 3 สาขา โดยอาหารทีน่ �ำ เข้ามาในแต่ละวันจะไม่ซาํ้ กัน ทำ�ให้ เชฟของแต่ละสาขาสามารถสร้างสรรค์เมนูประจำ�วันที่หลากหลายจาก อาหารที่ได้มาในวันนั้นๆ
Zero Waste ธุรกิจยุคใหม่ปลอดภัยต่อธรรมชาติ
เรื่อง: นพกร คนไว
เรื่อง: นพกร คนไว
ธุรกิจด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนกำ�ลังเติบโตขึน้ เป็นอย่างมากทัว่ โลก มีตวั อย่าง ของหลากหลายบริษทั ทีเ่ ริม่ ขยายธุรกิจไปสูเ่ ศรษฐกิจหมุนเวียน หรือปรับเปลีย่ น ตัวเองให้เท่าทันสถานการณ์ของโลกทีก่ �ำ ลังเผชิญปัญหาสภาพแวดล้อม โดย มุ่งหน้าใช้ทรัพยากรที่มีอย่างมีประสิทธิภาพ ต่อไปนี้คือตัวอย่างที่น่าสนใจ ของธุรกิจที่สนับสนุนแนวคิดแบบเศรษฐกิจหมุนเวียน Timberland แบรนด์รองเท้าชื่อดังมีแนวคิดการใช้ยาง ซึ่งเป็นวัสดุ สำ�หรับผลิตรองเท้าและยางรถยนต์มาใช้อย่างคุ้มค่า โดยทางแบรนด์ได้รับ ความร่วมมือจาก Omni United บริษัทผลิตยางรถยนต์รายใหญ่ ที่ออกแบบ ยางรถยนต์จากยางทีม่ คี ณุ สมบัตริ ไี ซเคิลได้ และเมือ่ ผ่านการใช้งานจนเสือ่ ม สภาพ ยางรถยนต์ทั้งหมดจะถูกส่งกลับไปยังโรงงานของ Timberland เพื่อ นำ�มาผลิตเป็นพืน้ รองเท้า ซึง่ ถือเป็นการสิน้ สุดวงจรชีวติ ของยางได้อย่างคุม้ ค่า นอกจากแบรนด์รองเท้า Timberland จะหันมาสนใจเรื่องการใช้ ทรัพยากรหมุนเวียน การคำ�นึงถึงผลกระทบของธรรมชาติที่เกิดจากขยะใน ท้องทะเลก็ถูกให้ความสำ�คัญเช่นกัน อย่างที่ Adidas ได้ร่วมมือกับ Parley
CREATIVE THAILAND I 6
facebook.com/vigga.us ที่มา: adidas.com / timberland.com / thecleankilo.co.uk / vigga.us
recyclenow.in.th
for the Oceans องค์กรด้านสิง่ แวดล้อมทีม่ เี ป้าหมายในการฟืน้ ฟูสภาพของ ท้องทะเล ด้วยการนำ�พลาสติกจากชายฝั่งทะเลมาออกแบบเป็นรองเท้า สำ�หรับวิง่ อีกทัง้ ยังนำ�ยางรถยนต์รไี ซเคิลมาเป็นส่วนประกอบของพืน้ รองเท้า ด้วยเช่นกัน ขณะที่ในประเทศไทยก็มีแบรนด์รองเท้า ทะเลจร (Tlejourn) จากปัตตานี ที่นำ�ขยะจากทะเลมาผลิตเป็นรองเท้า และตั้งราคาขายโดย ไม่หวังผลกำ�ไร การนำ�ขยะมาหมุนเวียนให้เป็นประโยชน์อีกครั้ง ไม่ได้เป็นวิธีเดียวที่ ช่วยสนับสนุนแนวทางของเศรษฐกิจหมุนเวียน แนวคิด Zero Waste หรือ การลดการสร้างขยะให้ได้มากที่สุด ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่มีการนำ�มาใช้กัน อย่างแพร่หลาย และเป็นแนวคิดที่กำ�ลังได้รับความนิยม The Clean Kilo ซูเปอร์มาร์เก็ตเล็กๆ ในเมืองเบอร์มิงแฮม ก่อตั้งขึ้นด้วยจิตสำ�นึกเกี่ยวกับ การลดมลพิษต่อธรรมชาติทเ่ี กิดจากการใช้พลาสติก เชิญชวนให้ลกู ค้านำ�กล่อง หรือถุงมาใส่ของเอง อีกทั้งยังจำ�หน่ายเฉพาะพืชผลที่สนับสนุนผู้ผลิตและ เกษตรกรท้องถิ่นเท่านั้น แนวคิดซูเปอร์มาร์เก็ตแบบ Zero Waste ได้ขยาย ไปในหลายประเทศทั่วโลก สำ�หรับประเทศไทยก็มีร้านอย่าง Refill Station หรือปั๊มนํ้ายา ที่ลูกค้าสามารถนำ�ขวดหรือภาชนะที่บ้านมาเติมผลิตภัณฑ์ ทำ�ความสะอาดกลับไปใช้ได้เอง โดยคิดราคาจากการชั่งนํ้าหนัก อุตสาหกรรมเสือ้ ผ้าเป็นอีกหนึง่ อุตสาหกรรมทีส่ ร้างปัญหาซึง่ ส่งผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อม เห็นได้จากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และปริมาณ นํ้าทิ้งที่ใช้ในการผลิตเสื้อผ้า รวมถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ซื้อเสื้อผ้า จำ�นวนมากแต่กลับใส่นอ้ ยครัง้ โดยเฉพาะเสือ้ ผ้าเด็กทารกทีม่ กั ถูกเก็บไว้เฉยๆ ในตูจ้ นกระทัง่ เด็กโตและสวมใส่ไม่ได้ แม้จะสามารถบริจาคและส่งต่อเสือ้ ผ้า ให้ญาติหรือคนรู้จักที่มีลูกเล็กได้ แต่ก็ใช่ว่าจะทำ�เช่นนี้ได้เสมอไป แบรนด์ เสือ้ ผ้าเด็กจากเดนมาร์กชือ่ ว่า Vigga จึงเกิดความคิดในการให้เหล่าคุณพ่อ คุณแม่ “เช่า” เสื้อผ้าสำ�หรับลูกๆ และสามารถส่งคืนได้เมื่อเด็กๆ โตขึ้น ด้วยเล็งเห็นถึงผลกระทบเรือ่ งสิง่ แวดล้อมจากอุตสาหกรรมเสือ้ ผ้า ตลอดจน รายจ่ายที่พ่อแม่ต้องแบกรับในการซื้อเสื้อผ้าเมื่อลูกๆ เริ่มเติบโต ทัง้ หมดนีเ้ ป็นเพียงตัวอย่างส่วนหนึง่ จากหลายธุรกิจทีม่ แี นวคิดเศรษฐกิจ หมุนเวียน ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้ผู้คนหันมามีจิตสำ�นึกเพื่อส่วนรวม และช่วย ลดการใช้ผลิตภัณฑ์ที่จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมก่อนที่จะสายเกินไป
Plastic Roads ถนนแห่งความหวัง เรื่อง: ภีร์รา ดิษฐากรณ์
ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เราต่างได้ยินข่าวคราวเกี่ยวกับปัญหาขยะพลาสติก มากมายที่ก่อให้เกิดมลพิษทัว่ โลก รวมทัง้ ส่งผลต่อระบบนิเวศต่างๆ เมื่อผูค้ น เริ่มเข้าถึงข่าวคราวเกี่ยวกับพลาสติกมากขึ้น นั่นทำ�ให้มีคนจากหลากหลาย กลุ่มและองค์กรเริ่มคิดวิธีแก้ปัญหาขยะพลาสติก โดยการนำ�พลาสติกมา รีไซเคิลด้วยวิธีต่างๆ และนำ�ไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป เนเธอร์แลนด์กลายเป็นประเทศแรกที่มีแผนรีไซเคิลขวดพลาสติกเพื่อ นำ�มาสร้างถนน ซึง่ ถนนทีส่ ร้างจากขวดพลาสติกรีไซเคิลนัน้ มีความทนทาน กว่าถนนลาดยางมะตอย และการบำ�รุงรักษายังน้อยกว่าถนนลาดยางมะตอย นอกจากนี้ถนนที่ทำ�จากพลาสติกยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า เพราะ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยออกมาจากถนนพลาสติกน้อยกว่าถนน ลาดยางมะตอย ซึ่งปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงถึง 1.6 ล้านตันต่อปี และปัจจุบนั เนเธอร์แลนด์กป็ ระสบความสำ�เร็จกับการสร้างถนนทีท่ �ำ จากขวด พลาสติกรีไซเคิลสำ�หรับเลนจักรยานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ล่าสุดประเทศไทยมีกลุ่มคนที่เริ่มทำ�ถนนจากขยะพลาสติกเช่นกัน นั่นคือคณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ นำ�โดยผศ.เวชสวรรค์ หล้ากาศ อาจารย์ประจำ�คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีการศึกษา กระบวนการสร้างถนนแอสฟัลติกคอนกรีต ด้วยขยะพลาสติกที่ได้จากการ คัดแยกขยะภายในชุมชนของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่และพืน้ ทีข่ า้ งเคียง วิธีการคือนำ�ขยะพลาสติกที่คัดแยกได้มาตัดเป็นชิ้นเล็กๆ ผสมกับวัสดุ มวลรวมคละ และยางแอสฟัลต์ซเี มนต์โดยใช้ความร้อน หลักการนีน้ �ำ ไปสูก่ าร เกิดขึ้นของโครงการนวัตกรรมทำ�ถนนรีไซเคิลจากถุงพลาสติก ณ องค์การ บริหารส่วนตำ�บลอ่าวนาง อ.เมือง จ.กระบี่ เพื่อรณรงค์ให้ชุมชนและ ประชาชนทำ�การคัดแยกขยะ และนำ�ถุงพลาสติกที่ไม่ใช้แล้วไปใช้ให้เกิด ประโยชน์สูงสุด ที่มา: บทความ “เลิศ! สร้างถนนรีไซเคิลจากขยะถุงพลาสติกทีอ่ า่ วนาง กระบี่ หวังลดปริมาณ ขยะ” จาก mgronline.com / บทความ “สุดสร้างสรรค์! ‘อบต.อ่าวนาง’ ร่วมกับ ‘ม.ราชภัฏ เชียงใหม่’ สร้างถนนจากขยะรีไซเคิล” จาก workpointtv.com / บทความ “A Road Full of Bottlenecks: Dutch Cycle Path Is Made of Plastic Waste” โดย Daniel Boffey จาก theguardian.com / บทความ “Crazy Paving: Rotterdam to Consider Trialling Plastic Roads” โดย Gordon Darroch จาก theguardian.com
CREATIVE THAILAND I 7
Creative Resource : วัตถุดิบทางความคิด เรื่อง: เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร, วัชรี พุ่มจีน, สุทินา เหรียญทอง และ สุชานันท์ สาลีพันธ์
R EPORT The New Plastics Economy: Rethinking the future of plastics โดย World Economic Forum, Ellen MacArthur Foundation และ McKinsey & Company ด้วยประโยชน์มากมายของพลาสติก ทำ�ให้ช่วงเวลา 50 ปีที่ผ่านมา ความ ต้องการพลาสติกได้เพิ่มขึ้นถึง 20 เท่า และอาจเพิ่มสูงขึ้นอีกเท่าตัวในอีก 20 ปีข้างหน้า ทุกวันนี้แต่ละปีมูลค่าของวัสดุพลาสติกหายไปจากระบบ เศรษฐกิจ เฉพาะกลุ่มบรรจุภัณฑ์ก็มีมูลค่าสูงถึงราวสามล้านล้านบาท ซึ่งหนึ่งในสามของบรรจุภัณฑ์พลาสติกเหล่านี้ได้หลุดรอดจากกระบวนการ จัดเก็บด้วยวิธีการต่างๆ ไม่ว่าจะหลุดไปสู่ทะเล วงจรธรรมชาติ หรือแม้ กระทั่งก่อให้เกิดปัญหากับระบบโครงสร้างสาธารณะ โดยที่ผ่านมาพิสูจน์ แล้วว่า เราไม่มกี �ำ ลังมากพอทีจ่ ะจัดการกับปัญหาเหล่านีล้ �ำ พังแค่ปลายทาง ถ้าไม่ย้อนกลับมาแก้ไขยังจุดเริ่มต้น และเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับทุกคน รายงานฉบับนีจ้ ะช่วยให้มองเห็นทางเลือกในการอยูร่ ว่ มกับพลาสติกใน อนาคต กระตุ้นให้ทุกคนในวงจรผลิตภัณฑ์พลาสติก ตั้งแต่นักวิจัย ผู้ผลิต เจ้าของธุรกิจ นักออกแบบ ผู้ใช้ คนเก็บขยะ คนรีไซเคิล ไปจนถึงภาครัฐ
เข้ามามีส่วนร่วมในการออกแบบระบบการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกใหม่ ทั้งหมด ตั้งแต่การผลิต การใช้งาน และการเลิกใช้อย่างเป็นระบบ เพื่อลด การสูญเสียมูลค่า และใช้ประโยชน์ได้สูงสุดจากวัสดุ ตลอดจนนำ�มา หมุนเวียนกลับคืนสู่ระบบการผลิตอีกครั้งได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด เมื่อมองลงไปที่ปัญหาอย่างจริงจัง เราจะพบโอกาสมากมายที่รออยู่ และโอกาสเหล่านั้นมีมูลค่าทางเศรษฐกิจมหาศาล คำ�ถามก็คือ ในยุคที่ ทุกคนตื่นตัวในการสร้างนวัตกรรมเพื่อพลิกโฉมอุตสาหกรรมต่างๆ ด้วย ความคิดสร้างสรรค์ การออกแบบ เทคโนโลยี และโมเดลธุรกิจแบบใหม่ เราจะสามารถสร้างผลิตภัณฑ์และบริการที่เกี่ยวข้องกับพลาสติกอย่างไร ที่จะเปลี่ยนแปลงโลกไปอย่างยั่งยืน ดาวน์โหลดได้ที่ www.ellenmacarthurfoundation.org/publications/the-new-plasticseconomy-rethinking-the-future-of-plastics
CREATIVE THAILAND I 8
DOCU M E N TARY
RESE A RCH
Closing the Loop - A Documentary Film About the Circular Economy โดย Graham Ehlers Sheldon และ Rin Ehlers Sheldon
การนำ� Technical Textiles มาใช้ใน การผลิตสินค้าพืชอินทรีย์ (The use of technical textiles in organic crop production) โดย อังคณา ธนกัญญา
“Unless we go to Circular it’s game over for the planet; it’s game over for society”. คือคำ�โปรย ของภาพยนตร์สารคดีเรือ่ ง Closing the Loop ทีม่ เี นือ้ หาเกีย่ วกับการปฏิวตั เิ ศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ซึ่งมีความยาวมากที่สุดของโลก โดยได้สำ�รวจ 5 กลยุทธ์สำ�คัญที่ใช้ในการบรรลุเป้าหมาย การหมุนเวียน (circularity) คือ การลดการใช้ (reduce) การใช้ซํ้า (reuse) การนำ�กลับมาใช้ใหม่ (recycle) การต่ออายุ (renew) และการบูรณาการ (reinvent) โดยสำ�รวจจาก 3 ทวีป ได้แก่ ยุโรป แอฟริกา และละตินอเมริกา เพื่อสื่อสารหนทางเดียวที่โลกจะอยู่รอด พร้อมกับการสนับสนุนเป้าหมาย การพัฒนาที่ยั่งยืน
BOOK Waste to Wealth: เปลีย่ นขยะเป็นทอง โดย สิงห์ อินทรชูโต “Waste to Wealth” เป็นโครงการที่ได้รับการ สนับสนุนจาก iTAP, TMC, สวทช. และสมาคม อุตสาหกรรมเครื่องเรือนไทย เพื่อนำ�เอาเศษวัสดุ ทีไ่ ม่มคี ณุ ค่าในเชิงอุตสาหกรรมมาสร้างสรรค์เป็น ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าเชิงพาณิชย์ หัวใจหลักของ โครงการนี้ คือการออกแบบและสร้างผลผลิต ชิ้นใหม่ขึ้นจากเศษวัสดุเหลือใช้เพื่อนำ�ไปเพิ่ม มูลค่าของวัสดุ เนื้อหาในเล่มนำ�เสนอแนวคิด ในด้านการออกแบบและการผลิตเพือ่ ยกระดับขยะ เหลือใช้ให้มีมูลค่ามากยิ่งขึ้น ทั้งในรูปแบบของ ชิ้นงานและในเชิงพาณิชย์ นอกจากนี้ยังมีความ สัมพันธ์กบั แนวคิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนอีกด้วย พบกับวัตถุดิบทางความคิดเหล่านี้ได้ที่ TCDC Resource Center CREATIVE THAILAND I 9
รายงานการวิจยั เรือ่ ง “การนำ� Technical Textiles มาใช้ในการผลิตสินค้าพืชอินทรีย์” (The use of technical textiles in organic crop production) เป็นรายงานวิจัยที่ว่าด้วยการนำ�สิ่งทอเทคนิคมา สร้างเป็นผลิตภัณฑ์เพือ่ ช่วยผลิตสินค้าพืชอินทรีย์ อาทิ วัสดุคลุมดินในแปลงอินทรีย์ วัสดุหอ่ ผลมะม่วง นํ้าดอกไม้อินทรีย์ เป็นต้น โดยจุดที่น่าสนใจของ รายงานวิจัยเล่มนี้คือ การนำ�เศษเหลือของสิ่งทอ เทคนิคทีห่ มดอายุการใช้งานมาผสมเป็นวัสดุปลูก ไม้ประดับกระถาง ซึง่ เป็นการฉีกระบบเศรษฐกิจ แบบ“ใช้ - ผลิต - ทิง้ ” และต่อยอดก้าวเข้าสูร่ ะบบ เศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างจริงจัง
MDIC : นวัตกรรมและวัสดุ
เทรนด์วสั ดุทดแทนกับงานออกแบบ (Circular Supplies) เรื่อง: ชมพูนุท วีรกิตติ และ ปิยวรรณ กลิ่นศรีสุข
วัสดุทดแทน (Circular Supplies) ช่วยขับเคลื่อนธุรกิจสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และกำ�ลังสั่นสะเทือนตลาดวัสดุทั่วโลก ด้วยการ นำ�เทคโนโลยีด้านโครงสร้างทางชีวภาพ (Biological Technologies) เช่น Bio-Energy หรือ Bio-Based Materials มาใช้ในการพัฒนาวัสดุทดแทน ที่มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ช่วยให้ธุรกิจลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล การผลิตเพื่อลดการใช้ทรัพยากรในการผลิตและลดของเสีย และการใช้ พลังงานหมุนเวียนในกระบวนการผลิต จึงมีบทบาทในการลดผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีนัยสำ�คัญ ปัจจุบันโมเดลธุรกิจในรูปแบบดังกล่าว ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากและมีการนำ�ไปใช้อย่างแพร่หลายในธุรกิจ ขนาดใหญ่แล้ว หนึง่ ในวัสดุทเี่ ข้ามาเปลีย่ นภาพลักษณ์ของวัสดุรไี ซเคิลด้วยการออกแบบ คือ BioMarble ของ Hannah Elisabeth Jones เป็นแผ่นวัสดุที่ย่อยสลายได้ ทางชีวภาพซึ่งทำ�จากขยะกระดาษรีไซเคิล และกำ�ลังอยู่ในขั้นตอนการจด สิทธิบตั ร เศษกระดาษจะถูกนำ�ไปแปรสภาพให้เป็นวัสดุออ่ นตัว และมีลวดลาย บนพื้นผิวที่เป็นเอกลักษณ์ กระบวนการเริ่มต้นจากการนำ�เศษกระดาษ มารวมกับส่วนผสมที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพซึ่งเป็นสูตรเฉพาะ เพื่อทำ�เป็น เยือ่ สำ�หรับผลิตกระดาษ จากนัน้ นำ�ไปย้อมสีแล้วจึงทำ�ผิวละเอียดเพือ่ ให้เป็น ผลิตภัณฑ์ขน้ั สุดท้าย ขนาดแผ่นใหญ่ที่สดุ ได้ถงึ 15 x 12 นิว้ สามารถตัดเป็น แผ่นรูปเรขาคณิต เย็บต่อกันใหม่ และสร้างเป็นโครงสร้างถักแบบสามมิติ ที่มีขนาดใหญ่ได้ถึง 138 x 138 นิ้ว โดยใช้เทคนิคการปะผ้า วัสดุนี้มีหลายสี ให้เลือก ทั้งยังสามารถกำ�หนดสีพิเศษได้ตามต้องการ เหมาะสำ�หรับใช้ ในงานสถาปัตยกรรมและตกแต่งภายใน เช่น วัสดุปูผนังหรือบรรจุภัณฑ์ อีกหนึ่งแนวโน้มที่บ่งชี้ว่าการใช้วัสดุชีวภาพเพื่อทดแทนพลาสติกได้มี การพัฒนาอย่างต่อเนือ่ ง คือ Mogu Home บริษทั ทีห่ นั มาพัฒนาวัสดุชวี ภาพ สำ�หรับงานออกแบบ โดยบริษัทได้คิดค้นแผ่นคอมโพสิตความหนาแน่น
ปานกลางจากใยเห็ดราที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ 100 เปอร์เซ็นต์สำ�หรับ ใช้งานภายในอาคาร อีกทั้งยังช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจแบบครบวงจร วัสดุนี้ ทำ�จากเส้นใยพืชในสัดส่วนเฉลี่ย 80 เปอร์เซ็นต์ (ผลพลอยได้จากห่วงโซ่ คุณค่าในอุตสาหกรรมการเกษตร ทั้งด้านการผลิตสิ่งทอและอาหาร) และ กลุม่ ใยรา (Mycelium) 20 เปอร์เซ็นต์ เป็นพอลิเมอร์ชวี ภาพทีพ่ บในส่วนราก ของเห็ดรา ปลูกและเติบโตในกระบวนการแบบธรรมชาติโดยการเพาะเห็ด บนต้นพืช เห็ดราเหล่านีจ้ ะกินเซลลูโลสในต้นพืชแล้วเติบโตขึน้ ทัง้ ภายในและ โดยรอบวัสดุปลูก อุดช่องว่างและแผ่โครงสร้างทางอินทรีย์เพื่อเชื่อมโยง เข้าหากัน ใยราเหล่านี้จึงทำ�หน้าที่เป็นสารยึดเกาะ (กาว) ให้กับวัสดุฐาน และทำ�ให้เกิดวัสดุชีวภาพชนิดใหม่ขึ้น หลังจากที่เพาะได้แล้วจะนำ�ไปทำ�ให้ แห้งและผ่านแรงอัดภายใต้ความร้อนสูง วัสดุจงึ มีนา้ํ หนักเบามากเมือ่ เทียบกับ ผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกันในท้องตลาด โดยมีคุณสมบัติยืดหยุ่นและดูดซับเสียง ที่ดีเยี่ยม รวมทั้งมีความทนทานต่อแรงเชิงกลและความร้อนที่มีอยู่ตาม ธรรมชาติของวัสดุ ทำ�ให้สามารถแปรรูปคอมโพสิตเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย เช่น แผ่นปูพื้นยืดหยุ่น หรือผนังเก็บความร้อนที่มีประสิทธิภาพ สามารถ สัง่ ผลิตในขนาด รูปร่าง ผิวสัมผัส สีสนั ความหนา และคุณลักษณะต่างๆ ได้ ตามมาตรฐานของอุตสาหกรรมเฉพาะด้าน มีจำ�หน่ายเป็นผลิตภัณฑ์ สำ�เร็จรูปที่ป้อนให้แก่ตลาดเป้าหมายต่างๆ โมเดลธุรกิจและเทคโนโลยีเหล่านี้ได้ถูกกล่าวถึงและมีบทบาทมากขึ้น เรื่อยๆ ในขณะที่มาตรการต่างๆ เพื่อส่งเสริม Circular Economy ก็เริ่มถูก นำ�มาใช้แล้วเช่นกัน ด้วยความเชื่อมั่นว่ารูปแบบธุรกิจและเทคโนโลยีเหล่านี้ จะช่วยสร้างมูลค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจภายใต้ทรัพยากรทีม่ อี ยูอ่ ย่าง จำ�กัด นำ�ไปสูร่ ะบบเศรษฐกิจทีม่ คี วามยัง่ ยืนไปพร้อมกับการช่วยลดผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อม ที่มา: hannahelisabethdesign.co.uk / mogu.bio
พบกับนวัตกรรมและวัสดุสร้างสรรค์ ได้ที่ชั้น 2 ห้อง Material & Design Innovation Center, CEA CREATIVE THAILAND I 10
พบกับนิตยสาร “คิด” Creative Thailand ได้ที่ ร้านหนังสือ ห้องสมุด สมาคม อาคารสำ�นักงาน และร้านกาแฟใกล้บ้าน ในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ หัวหิน และจังหวัดอื่นๆ รวมถึง miniTCDC
หมดปญหาหยิบนิตยสารไมทัน สมัครสมาชิกรายป คาใชจายในการจัดสง 200 บาท (12 เลม)
ดูสถานที่จัดวางทั้งหมดได้ที่: www.tcdc.or.th/creativethailand/magazine/place
หรือสมัครออนไลนไดที่ tcdc.or.th/creative_thailand
กรุงเทพฯ ร้านหนังสือ • Asia Books • Kinokuniya • B2S • แพร่พิทยา
• MAIIAM Contemporary Art Museum • ชีวิต ชีวา • Minimeal Cafe • Impresso • Restr8to • Penguin Villa (Penguin Getto) ร้านกาแฟ/ร้านอาหาร • กาแฟอาข่า อ่ามา • Au Bon Pain La Fattoria สาขา2 • Starbucks • TOM N TOM’S COFFEE • Happy Hut ถ.นิมมานฯ • True Coffee • ราชดำ�เนิน • Auntie Anne’s • Mai Bakery In Garden • Baskin Robbins • Starbucks The Plaza • Coffee World • Yesterday Hotel • Mister Donut • October • Black Canyon • สุรยิ นั จันทรา นิมมานฯ ซอย 1 • McCafe’ • ร้านมีชามีชัย (กู) • ดอยตุง • Cafe’de nimman • Ninety four coffee • The Booksmith • Puff & Pie • ร้านชา (Drink Club) • Red Mango • Cotto Studio • Iberry • Starbucks Nimmanhemin • Greyhound Cafe’ • Fern Forest Cafe’ • Amazon Cafe’ • 9th Street Cafe • Chester’s Grill นิมมานฯ ซอย 9 • Luv minibar • ดวงกมล (Duang Kamol) • Rustic & Blue - Handgrown พิพิธภัณฑ์/หอศิลป์ • Produce & Artisan Food • หอศิลปวัฒนธรรม นิมมานฯ ซอย 9 แห่งกรุงเทพมหานคร • หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม • มิวเซียม สยาม • อุทยานการเรียนรู้ (TK park) มช. • นำ�ทอง แกลเลอรี่ หัวหิน • ร้านกาแฟ ชุบชีวา หัวหิน สมาคม/ห้องสมุด • อยู่เย็น หัวหิน บัลโคนี่ • ศูนย์ศิลปะนานาชาติ • บ้านใกล้วัง สมาคมฝรั่งเศส • ภัตตาคารมีกรุณา • ห้องสมุดเนลสัน เฮลส์ The Neilson Hays Library • บ้านถั่วเย็น @ แนบเคหาสน์ • ร้านอาหารหัวหิน (โกทิ) • ห้องสมุด - นิด้า • กาแฟข้างบ้าน • สมาคมโฆษณา • IL GELATO ITALIANO แห่งประเทศไทย • Together Bakery & Cafe’ • สมาคมธนาคารไทย • โรงแรม วรบุระหัวหิน • สมาคมสโมสรนักลงทุน • Let’s Sea • ห้องสมุด สสวท. • โรมแรม ดูน หัวหิน • สมาคมหอการค้าไทย • เดอะร็อค หัวหิน • สถาบัน • บ้านจันทร์ฉาย • Wall Street Institute • หัวหิน มันตรา รีสอร์ท • Raffle Design Institute • ลูน่าฮัท รีสอร์ท • Vision Swimming Academy กระบี่ • Nakamanda Resort & Spa เชียงใหม่ • Rawee Warin Resort & Spa • woo cefe • A little Handmade Shop • Kagee • Ristresto lab • ท่าแพอีสต์+ dibdee.binder ขอนแก่น • Hug School • C.A.M.P ,MAYA • True Coffee ,หอสมุด มช. of Creative Arts • ร้านสืบสาน • Punspace, นิมมานฯ • ร้านกาแฟ คอฟฟี่ เด้อ หล่า • asama cafe • มาหาสมุด (บ้านข้างวัด) (Coffee Der La) • see scape gallery เชียงราย • nimmanian club • ร้านหนังสือ herebookafe • 8 days a week • ร้าน Coffee Dad • Bulbul book cafe’ • Graph cafe’ นครราชสีมา • Cefe de museum • Hug station resort • local cafe Think park • Librarista นครปฐม • Artisan วัวลาย • ร้าน Dipchoc Cafe • paper spoon • กาแฟรสนิยม, นครสวรรค์ หลัง มช ทางขึ้นกาแล • The barn : Eatery Design • ร้าน Bitter Sweet • Book Republic น่าน • wake up หน้ามอ • ร้าน Runway Coffee • Fab cafe’ • kum cafe คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ • ร้านคลาสสิค โมเดล น่าน
• ร้านกาแฟปากซอย • ร้าน Nan Coffee Bean ปาย/แม่ฮ่องสอน • ร้านคอฟฟี่อินเลิฟ • ร้าน all about coffee • ร้านปายหวานบ้านนมสด • ร้านเล็กเล็ก • ปายวิมานรีสอร์ท พังงา • Niramaya Villa and Willness Resort • Ranyatavi Resort Phang Nga • The Sarojin เพชรบุรี • Grand Pacific Sovereign • Resort & Spa • DevaSom Hua Hin Resort ภูเก็ต • ร้านหนัง(สือ) ๒๕๒๑ ภูเก็ต • The oddy Apartment & Hotel • At Panta Phuket • Banyan Tree Phuket • Le Meridien Phuket • Millienium Ressort Patong Phuket • Novotel Phuket Resort • Patong Paragon Resort & Spa Phuket • Sheraton grand Lagana Phuket • Sri wanwa Phuket Villa • Thanyapura ระยอง • Le Vimarn Cottage ลำ�ปาง • อาลัมภางค์ เกสท์เฮ้าส์ แอนด์ มอร์ ลำ�ปาง • ร้านเอกาลิเต้ Egalite Bookshop • Lampang Art Center เลย • บ้านชานเคียง • มาเลยเด้ เกสต์เฮาท์ ลพบุรี • ซนดิคอฟฟี่ สมุทรสงคราม/อัมพวา • Baan Amphawa Resort and Spa สุโขทัย • Ananda Co.,Ltd. สุราษฎร์ธานี • Muang Samui Spa Resort • Pavilion Samui Boutique Resort • The Sunset Beach Resort and Spa Taling ngam • Nora Beach Resort Samui อุทัยธานี • ร้านบุ๊คโทเปีย Booktopia • Avatar Miracles
ขอมูลผูสมัครสมาชิก สมาชิกใหม ชื่อ นามสกุล เพศ โทรศัพท
สมาชิกเกา (ตองการตออายุสมาชิก) หญิง อายุ
ชาย
อีเมล
โทรศัพทมือถือ
อาชีพ นักเรียน ครู/อาจารย
นิสิต/นักศึกษา พนักงานบริษัท
นักออกแบบ/ครีเอทีฟ ผูประกอบการ
อาชีพอิสระ อื่นๆ โปรดระบุ
ขาราชการ/รัฐวิสาหกิจ
สาขา/อุตสาหกรรมที่เกี่ยวของกับอาชีพของทาน โฆษณา สถาปตยกรรม แฟชั่น ศิลปะการแสดง ดนตรี ภาพยนตร โทรทัศน/วิทยุการกระจายเสียง
ทองเที่ยว/โรงแรม/สายการบิน วรรณกรรม/การพิมพ/สื่อสิ่งพิมพ พิพิธภัณฑ/หองแสดงงาน ซอฟตแวร/แอนิเมชัน/วิดีโอเกม
หัตถกรรม/งานฝมือ การเงิน/ธนาคาร ทัศนศิลป/การถายภาพ อื่นๆ โปรดระบุ
อาหาร การแพทย การออกแบบ
คาปลีก/คาสง โทรคมนาคม
ที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ จังหวัด
ซอย
ถนน รหัสไปรษณีย
หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง
อำเภอ/เขต
หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง
อำเภอ/เขต
ที่อยูในการออกใบเสร็จ เหมือนที่อยูในการจัดสง เลขประจําตัวผูเสียภาษี เพื่อออกใบเสร็จรับเงิน หมูบาน/บริษัท เลขที่ ซอย ถนน จังหวัด รหัสไปรษณีย
ตองการสมัครสมาชิกนิตยสาร Creative Thailand ระยะเวลา 1 ป จำนวน 12 เลม เริ่มตั้งแตฉบับเดือน โดยยินดีเสียคาใชจายในการจัดสงเปนจำนวนเงิน 200 บาท
วิธีการชำระเงิน เช็คสั่งจายศูนยสรางสรรคงานออกแบบ พรอมใบสมัครสมาชิก โอนเงินเขาบัญชี สำนักงานสงเสริมเศรษฐกิจสรางสรรค (องคการมหาชน) ธนาคารกรุงเทพ สาขาสำนักงานใหญสลี ม เลขทีบ่ ญั ชี 101-9-12219-9 • แฟกซใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่ 02-105-7450 • หรือสงไปรษณียมาที่ ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (Creative Thailand) อาคารไปรษณียกลาง 1160 ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10501 • หรือแนบไฟลใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่อีเมล creativethailand@tcdc.or.th สอบถามขอมูลเพิ่มเติมไดที่ 02-105-7400 ตอ 122
Local Wisdom : ภูมิความคิด
เปลี่ยน “กองขยะ” เป็น “กองเงิน” เรื่อง: วนบุษป์ ยุพเกษตร
คงปฏิเสธไม่ได้ว่า “ปัญหาขยะ” เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมอันดับต้นๆ ที่บ้านเราประสบกันมาเนิ่นนานหลายสิบปี ซึ่งประเด็นนี้ นำ�ไปสู่ปัญหาอื่นๆ ด้วย ทุกกิจกรรมของมนุษย์ล้วนก่อให้เกิดขยะ แต่ละวันมีขยะเกิดขึ้นมากมายเหยียบแสนตันและเพิ่ม มากขึ้นทุกๆ ปี โดยที่ตัวเราเองอาจไม่รู้ตัวด้วยซํ้าว่ากำ�ลังสร้างขยะปริมาณมหาศาลแค่ไหน จากสถิติปริมาณขยะมูลฝอย พบว่า จำ�นวนขยะรวมทัง้ ประเทศในปีทแ่ี ล้ว มีทง้ั หมด 27.37 ล้านตัน หรือเท่ากับว่าวันๆ หนึง่ เราสร้างขยะเฉลีย่ แล้วเป็นจำ�นวน 74,998 ตันเลยทีเดียว1...แล้วถ้าหากขยะที่ถูกทิ้งไปสามารถเปลี่ยนเป็นเม็ดเงินได้ จะดีสักแค่ไหน
1 ข้อมูลจาก
กรมควบคุมมลพิษ ปี 2560
CREATIVE THAILAND I 12
ย้อนกลับไปเกือบ 10 ปีที่แล้ว
ขยะ “เพื่อนยาก” ทุกยุคสมัย
พนักงานบริษัทวงศ์พาณิชย์ บริษัทรีไซเคิล ยักษ์ใหญ่ข องประเทศไทย ผุดแนวคิดขึ้น หลังจากเห็นเด็กๆ นำ�เงินที่ได้จากการขาย ขยะรีไซเคิลไปฝากธนาคาร พลางคิดว่าหาก มีธนาคารที่รับฝากขยะโดยตรงจะต้องดีแน่ “ธนาคารขยะ” แห่งแรกจึงถือกำ�เนิดขึ้น ที่โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดพิษณุโลก
ในปัจจุบนั ผลพวงจากเทคโนโลยีทกี่ า้ วหน้า ธนาคารขยะรุ่นบุกเบิกจึงกำ�ลังเปลี่ยนผ่าน รูปแบบไปตามยุคสมัย และเกิดเป็นธุรกิจ สตาร์ ท อั พ ด้ า นสิ่ ง แวดล้ อ มขึ้ น มากมาย ที่เข้ามาช่วยเรื่องการจัดการกำ�จัดขยะเพื่อ นำ�ไปแปลงเป็น “เงินสด” ที่มีมูลค่ามากขึ้น
ลักษณะการดำ�เนินงานของธนาคารขยะ ไม่ได้มีอะไรผิดแปลกไปจากธนาคารทั่วไป มากนัก คือ ธนาคารจะทำ�หน้าทีเ่ ป็นศูนย์กลาง รับขยะรีไซเคิล และนำ�ไปขายต่อให้โรงงาน หรือร้านรับซือ้ ขยะรีไซเคิลอีกทอดหนึง่ โดย การชัง่ ขายเป็นกิโล อ้างอิงราคาจากสถานที่ รับซื้อ แล้วนำ�เงินที่ได้มาแจกจ่ายให้กับ สมาชิกทีน่ �ำ ขยะมาขาย “สิง่ ทีน่ �ำ มาฝากคือ ขยะ และสิ่งที่ได้กลับไปก็คือ เงิน นั่นเอง”
ผลการดำ�เนินงานของธนาคารขยะเป็นไปได้ สวยและประสบความสำ�เร็จมากในระดับ ชุมชน ไม่นานจังหวัดอืน่ ๆ ก็พากันมาศึกษา ดูงานและได้นำ�หลักการ ตลอดจนรูปแบบ ธนาคารไปใช้ตอ่ ส่วนมากจะเปิดตามโรงเรียน และเทศบาล
ระยะหลังธนาคารขยะได้รับการตอบรับ ขยายวงกว้างมากขึน้ ทำ�ให้ตามมหาวิทยาลัย ต่างๆ เริ่มตื่นตัวกับปัญหาขยะและได้นำ� โครงการขยะนี้มาปรับใช้ ในขณะเดียวกัน หลักการของโครงการ ธนาคารขยะก็ ส นั บ สนุ น หลั ก เศรษฐกิ จ หมุนเวียน (Circular Economy) ได้เป็น อย่างดีและตรงเป้าสุดๆ โดยเฉพาะในเรื่อง การนำ�กลับมาใช้ใหม่ (รีไซเคิล) แม้ธนาคารขยะจะประสบความสำ�เร็จ แต่ ก็ยังคงเป็นการดำ�เนินงานในระดับชุมชน เท่านั้น หากการจัดการรูปแบบนี้สามารถ ขยายไปถึงระดับประเทศ เป็นไปได้ว่าจะ ช่ ว ยคลี่ ค ลายปั ญ หาขยะท่ ว มเมื อ งได้ ดี ทีเดียว
ไม่วา่ จะเป็น “เอีย่ มดี รีไซเคิล” ซาเล้งรับซือ้ ของเก่ารูปแบบใหม่ ที่รับจ้างจัดการและ รับซือ้ ขยะตามครัวเรือน และอาคารสำ�นักงาน ต่างๆ ถึงที่ โดยมีแนวคิดเพื่อสังคมอย่าง แท้จริง เพราะรายได้สว่ นหนึง่ จะนำ�ไปบริจาค แบ่งปันให้กบั เด็กๆ ผูด้ อ้ ยโอกาสและคนพิการ รวมถึงใช้พฒั นาคุณภาพชีวติ ของเหล่าซาเล้ง ทีส่ �ำ คัญคือสามารถแก้ไขปัญหาคัดแยกขยะ ตัง้ แต่ตน้ ทางได้อย่างเบ็ดเสร็จ ไม่ตอ้ งลงไป คุย้ ขยะตามถังหรือตามหลุมเช่นซาเล้งแบบ ดั้งเดิม
หรือจะเป็น “กูกรีน (GooGreen)” อีกหนึ่ง สตาร์ทอัพหัวคิดคนรุน่ ใหม่ทพ่ี ฒั นาความคิด มาจากธนาคารขยะออมทรัพย์ โดยสร้างเป็น แอพพลิเคชันขึ้นมาเพื่อให้คนหันมาสนใจ และใส่ใจต่อการเก็บขยะมากขึน้ โดยหลักการ ก็จะคล้ายกับธนาคารขยะ แต่สิ่งที่เรานำ� กลับไปจะเป็นคะแนนสะสมเพื่อแลกรางวัล เป็นสินค้าอุปโภคบริโภคต่างๆ แทนทีจ่ ะเป็น เงินสดนั่นเอง
ล่าสุด “อีโคไลฟ์ (EcoLife)” แอพพลิเคชัน ทีป่ ระกาศตัวว่าเป็น “แอพช่วยโลก” ทีช่ วนให้ เรามาลดขยะพลาสติกโดยเน้นไปทีพ่ ลาสติก แบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single Use Plastic) ไม่ว่าจะเป็นถุง หลอด ช้อนส้อม และแก้ว ซึ่งเป็นพลาสติกที่เราใช้เร็วและทิ้งเร็วมาก ที่สุด โดยออกแบบเป็นเกมเก็บแต้มเพื่อ ขยายอาณาจักรไปเรื่อยๆ สร้างทั้งความ สนุกสนานให้ผู้ใช้ และจิตสำ�นึกที่ดีต่อการ ใช้พลาสติกอย่างถูกวิธีไปพร้อมๆ กัน
CREATIVE THAILAND I 13
เทคโนโลยี ไ ด้ เ ข้ า มามี ส่ ว นช่ ว ยให้ ผู้ ค น จำ�นวนมาก ตั้งแต่ผู้ผลิต ผู้บริโภค ไปจนถึง คนทำ�งานให้สามารถจัดการกับปัญหาขยะได้งา่ ย และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งการคิดหาทาง จัดการและกำ�จัดขยะได้สะดวกขึน้ การเพิม่ มูลค่า ของสิ่งเหลือใช้ให้กลับมามีค่าในระบบเศรษฐกิจ อีกครั้งหนึ่ง รวมถึงการที่หน่วยงานต่างๆ ไม่ว่า จะเป็นภาครัฐหรือภาคเอกชนต่างก็ร่วมรณรงค์ การลดใช้พลาสติกซึ่งเป็นตัวที่ก่อขยะมากที่สุด โดยชักชวนให้ใช้วัสดุแบบใช้ซํ้าได้หรือวัสดุที่ทำ� มาจากธรรมชาติซึ่งย่อยสลายได้ง่ายกว่า แต่นั่น ก็ไม่ได้หมายความว่า ขยะจะหมดไปหรือสามารถ เปลี่ยนเป็นเงินได้ทุกรูปแบบ เพราะขยะบาง ประเภทก็ไม่อาจทำ�แบบนั้นได้ และยังคงเป็น ปัญหาคาราคาซังทีต่ อ้ งการวิธกี ารจัดการทีล่ กึ ซึง้ ตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ รวมถึงต้องอาศัย ความร่วมมือของทุกส่วนฝ่ายที่เกี่ยวข้องนั่นเอง แม้ทุกวันนี้ธนาคารขยะจะยังคงอยู่คู่ชุมชน โรงเรียน และมหาวิทยาลัยในหลายๆ ที่ของ ประเทศ แต่ไม่วา่ อนาคตของธนาคารขยะจะเป็น อย่างไร เราก็ยงั คงต้องร่วมมือร่วมใจกันสร้างและ รักษาสังคมปลอดขยะ ด้วยการเริ่มต้นลดขยะ ในรูปแบบของตัวเอง เช่น การนำ�ปิ่นโตมาใช้ ใส่อาหารแทนถุงพลาสติก หรือจะเป็นการนำ� ใบตองทัง้ สดและแห้งมาใช้แทนภาชนะ ไปจนถึง การเริม่ ลดและแยกขยะตัง้ แต่ตวั เราเองทีย่ อ่ มเป็น ทางที่ง่ายที่สุดซึ่งทั่วโลกต่างยอมรับ แต่หากขยะ สามารถนำ � มาเปลี่ ย นเป็ น เงิ น ได้ นั่ น แหละ ทีเ่ รียกว่าเป็น “ผลพลอยได้” จากสิง่ ทีไ่ ม่อยากได้ อย่างแท้จริง ลองหันกลับมามองตัวเราเองว่า วันนี้เราได้ ทิ้ง “เงิน” ลงถังขยะไปบ้างหรือเปล่า ที่มา: บทความ “ธนาคารขยะ ความบังเอิญของวิกฤตเศรษฐกิจ” จาก pcd.go.th / บทความ “GooGreen” สตาร์ทอัพพิฆาต “ขยะ” จาก startupthailand.org / บทความ “เอี่ยมดี รีไซเคิล ซาเล้งแนวคิดใหม่ ชวนคนไทยเปลี่ยนขยะให้เป็น โอกาสและความสุข” จาก greenery.org
Cover Story : เรื่องจากปก
ทำ�ไมต้อง Circular Economy เรื่อง: เพชร มโนปวิตร*
* นักวิทยาศาสตร์ด้านการอนุรักษ์ที่ผ่านการทำ�งานในองค์กรสิ่งแวดล้อมระดับโลกหลายแห่งทั้ง IUCN, WWF และ WCS ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา พร้อมๆ กับเป็นนักเขียนและนักแปล บทความด้านสิ่งแวดล้อมและทางออกด้านการอนุรักษ์ ปัจจุบันขับเคลื่อนประเด็นเศรษฐกิจหมุนเวียน ขยะทะเลและการอนุรักษ์ปะการังกับ ReReef บริษัทสตาร์ทอัพที่เน้นการแก้ปัญหา สิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนด้วยพลังผู้บริโภค CREATIVE THAILAND I 14
Photo by Cristian Newman on Unsplash
ทางรอดของมนุษย์ ในยุค Anthropocene
ข่าวสำ�คัญมากๆ เมื่อต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา คือคำ�เตือนครั้งสุดท้ายของนักวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับสถานการณ์การ เปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของโลก โดยสรุปก็คือ รายงานล่าสุดจากคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ (IPCC) ชี้ชัดว่าถ้ามนุษย์จะรักษาโลกนี้เอาไว้ได้ ทุกฝ่ายทุกประเทศต้องลงมือปฏิวัติรูปแบบเศรษฐกิจ การผลิตและการบริโภคตั้งแต่เดี๋ยวนี้ และเรามีเวลาอีกไม่เกิน 12 ปีเท่านั้น ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้อย่าง น้อยครึ่งหนึ่ง โดยเปลี่ยนไปใช้พลังงานหมุนเวียนแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล รายงานฉบับนีเ้ น้นยา้ํ ว่า เรากำ�ลังอยูใ่ นช่วงหัวเลีย้ ว หัวต่อทีส่ �ำ คัญทีส่ ดุ ครัง้ หนึง่ ในประวัตศิ าสตร์โลก และหากเราไม่สามารถควบคุมอุณหภูมไิ ม่ให้สงู ขึน้ เกิน 1.5 องศาเซลเซียสได้ นั่นหมายความว่า “เรา” ในความหมายของเผ่าพันธุ์มนุษย์กำ�ลังมุ่ง หน้าสู่หายนะ และจะต้องเผชิญกับวิบากกรรม จากภัยพิบตั ทิ างธรรมชาติมากขึน้ เรือ่ ยๆ จนอาจ นำ�ไปสู่จุดจบของอารยธรรมในที่สุด สิ่ ง ที่ เ กิ ด ขึ้ น คื อ หลั ก ฐานสำ � คั ญ ล่ า สุ ด ว่ า เรากำ � ลั ง อยู่ ใ นยุ ค ที่ นั ก วิ ท ยาศาสตร์ บ างกลุ่ ม เรียกว่า Anthropocene หรือยุคมนุษย์ครองโลก หมายความว่ากิจกรรมของมนุษย์ได้สง่ ผลกระทบ ต่อโลกโดยรวมอย่างมีนัยสำ�คัญ จนทำ�ให้เกิด การเปลี่ยนแปลงทางนิเวศวิทยาและธรณีวิทยา ในระดับสุดขั้ว ไม่ว่าจะการเปลี่ยนแปลงทางเคมี ในชั้นบรรยากาศอันเนื่องมาจากสภาวะโลกร้อน การสูญพันธุ์อย่างรวดเร็วครั้งใหญ่ครั้งที่ 6 ของ สิ่งมีชีวิตหลากหลายสายพันธุ์ ความเสื่อมโทรม อย่างหนักของทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศ ตัง้ แต่ยอดเขาไปจนถึงมหาสมุทร รวมไปถึงวิกฤติ ขยะพลาสติกทีค่ กุ คามความอยูร่ อดของสิง่ มีชวี ติ ในทะเลและกำ�ลังย้อนกลับมาส่งผลต่อมนุษย์เอง ท่ามกลางวิกฤตินานัปการ โดยเฉพาะการ ขาดแคลนทรัพยากรและปัญหามลภาวะอันเนือ่ ง มาจากขยะ แนวทางหนึ่งที่ถูกหยิบยกมาพูดถึง อยู่บ่อยครั้งในระยะหลังว่าจะเป็นทางออกของ มนุษย์ในการก้าวข้ามไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน คือ Circular Economy หรือ เศรษฐกิจหมุนเวียน Circular Economy คือการออกแบบเศรษฐกิจที่ เน้นการนำ�วัตถุดบิ กลับมาใช้ใหม่เป็นวงจรไม่รจู้ บ แทนการผลิต-ใช้-แล้วทิง้ แบบเส้นตรง ตามรูปแบบ อุตสาหกรรมรูปแบบเดิมที่เน้นกำ�ไรเป็นตัวตั้ง โดยใช้หลักว่ายิ่งผลิตออกมามากเท่าไหร่ก็ยิ่ง สร้ า งกำ � ไรมากเท่ า นั้ น โดยไม่ ต้ อ งคำ � นึ ง ว่ า เมื่อหมดอายุการใช้งานแล้วสินค้าเหล่านั้นจะไป ถูกทิ้งอยู่ที่ไหนหรือสร้างผลกระทบอะไรบ้าง หลายคนอาจเข้าใจว่า Circular Economy ก็คอื ระบบการผลิตทีม่ กี ารรีไซเคิลวัตถุดบิ กลับมา
ผลิตซํ้าเท่านั้น แต่ความจริง Circular Economy เป็ น แนวคิ ด แบบองค์ ร วมที่ แ ทบจะเปลี่ ย น กระบวนทัศน์ของการผลิต การบริโภค และการ ใช้ชวี ติ เลยก็วา่ ได้ เริม่ ตัง้ แต่ การออกแบบผลิตภัณฑ์ นวัตกรรมบริการ การประสานเชื่อมโยงระหว่าง องค์ประกอบต่างๆ จนคล้ายกับการทำ�งานของ ระบบนิเวศ เพือ่ ให้เกิดการรักษาต้นทุนธรรมชาติ เพิม่ ประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์ สูงสุด ทำ�ให้เกิดของเสียน้อยทีส่ ดุ และส่งผลกระทบ เชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อม หัวใจสำ�คัญของ Circular Economy คือ การกลับไปทำ�ความเข้าใจการออกแบบและการ ทำ�งานของธรรมชาติ ซึ่งเป็นระบบการผลิตแบบ หมุนเวียนที่ทรงประสิทธิภาพที่สุดและไม่เคยมี ของเหลือใช้เกิดขึ้นเลย เพราะมีกลไกในการนำ� ทรัพยากร แร่ธาตุ พลังงาน หมุนเวียนกลับมา ใช้ได้อย่างสมบูรณ์ ดังคำ�กล่าวทีว่ า่ สสารทุกอย่าง ไม่มีวันสูญหายไปจากโลก หลักการผลิตและการใช้ทรัพยากรหมุนเวียน อย่างครบวงจร ของ Circular Economy คือ ความหวังว่าเราจะสามารถปฏิวตั สิ งั คมจากระบบ เศรษฐกิจแบบเดิม สามารถออกแบบโมเดลธุรกิจ และผลิตภัณฑ์แบบใหม่ เพื่อให้เกิดความยั่งยืน ทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ลองมาทำ�ความรู้จักที่มา ที่ไป และทำ�ไม โลกจำ�เป็นต้องเปลี่ยนไปหา Circular Economy ขีดจำ�กัดของการเติบโต ตอนทีร่ ายงาน “ขีดจำ�กัดของการเติบโต หรือ The Limit to Growth โดย The Club of Rome กลุ่มนักวิชาการนักคิดสายความยั่งยืนที่เก่าแก่ ที่สุดของโลก ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี 1972 โลกยัง ไม่รู้จักกับคำ�ว่าการพัฒนาอย่างยั่งยืน รายงานฉบับสำ�คัญฉบับนั้นตั้งคำ�ถามถึง ความยัง่ ยืนในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเพือ่ การ พัฒนา โดยใช้โมเดลคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยที่สุด ในสมัยนั้นของมหาวิทยาลัยเอ็มไอที ทำ�แบบ จำ�ลองหลายชุด โดยใช้ขอ้ มูลการเติบโตของ CREATIVE THAILAND I 15
ประชากรหลั ง สงครามโลกครั้ ง ที่ ส อง อั ต รา การเกิด อัตราการตาย สถานภาพของทรัพยากร ธรรมชาติ อัตราการบริโภค ผลผลิตอุตสาหกรรม ผลปรากฏว่า ข้อสรุปของแบบจำ�ลองหลายชุด ได้ ผ ลตรงกั น ว่ า ถ้ า ไม่ มี อ ะไรเปลี่ ย นแปลง เศรษฐกิจโลกจะเติบโตต่อเนือ่ งอย่างไร้การควบคุม จนเกิดขีดจำ�กัดของต้นทุนทางธรรมชาติ และ โลกเริ่มเข้าสู่ภาวะล่มสลายของภาคการผลิต และประชากรทั่วโลกระหว่างปี 2050-2070 ผลการศึกษารายงาน “ขีดจำ�กัดของการ เติบโต” อายุ 45 ปี สอดคล้องกับผลการศึกษา ล่าสุดของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วย การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) อย่าง น่าทึง่ แม้แต่ชว่ งเวลาทีค่ าดว่าจะเกิดการล่มสลาย ของเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมก็สอดคล้องกันคือ เป็นช่วงหลังปี 2050 ข้อสรุปอีกอย่างที่ตรงกัน ก็คือ หากทุกประเทศเปลี่ยนแปลงการเติบโต เศรษฐกิจรูปแบบเดิมๆ ได้เร็วเท่าไหร่ ก็จะมี โอกาสหลีกเลี่ยงหายนะได้มากขึ้น หรืออีกนัย หนึง่ ก็คอื เราต้องเร่งปรับเปลีย่ นวิถกี ารผลิตแบบ เดิมโดยเร็วที่สุด ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป
1900 1950 2000 ทรัพยากร อัตราการเกิด อัตราการตาย อาหารตอหัว บริการตอหัว ประชากร ผลผลิตอุตสาหกรรมตอหัว มลพิษ
2050
2100
แบบจำ�ลองจากรายงาน ขีดจำ�กัดของการเติบโตภาษาไทย โดยมูลนิธิโลกสีเขียว
ป
กลับมาหาความยั่งยืน “We don’t have plan B because there is no planet B!” Ban Ki-moon, Former Secretary General United Nation
Global Material Extraction in Billion Tons, and Global GDP in Trillion US$ (2005 Prices), 1970 - 2015 90 80 70 60 50 40 30 20 10 0
70 60 50 40 30 20 10 1970 1975 1980 1985 1990 1995 2000 2005 2010 2015
GDP Trillion US$, 2005 Prices
Material Extraction (Used) Billion Tonnes
หากจะสรุปปัญหาสำ�คัญของการพัฒนา เศรษฐกิจทีผ่ า่ นมา ก็คอื ระบบการผลิตแบบเส้นตรง ที่ พึ่ ง พาทรั พ ยากรธรรมชาติ ที่ ใ ช้ แ ล้ ว หมดไป โดยตรง เช่น ถ่านหิน นํ้ามัน สินแร่ รวมทั้งที่ดิน ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยจำ�กัด หมายความว่า เมื่อ ประชากรโลกเพิ่มขึ้นแบบทวีคูณ เศรษฐกิจยิ่งโต ก็ยิ่งต้องใช้ทรัพยากรธรรมชาติเพิ่มขึ้นเท่านั้น ในขณะที่ปัญหามลภาวะ มลพิษ ของเสียก็ยิ่ง รุนแรงขึ้นเป็นเงาตามตัว การเติบโตแบบนีน้ �ำ มาซึง่ การใช้ทรัพยากรแบบ ไร้การควบคุม ทำ�ลายถิน่ ทีอ่ ยูอ่ าศัยตามธรรมชาติ จนเกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ขนานใหญ่ และการเพิม่ ขึน้ อย่างผิดธรรมชาติของ ก๊าซเรือนกระจกอย่างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และมีเทน ทีผ่ า่ นมาอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การใช้เชือ้ เพลิงฟอสซิล และสินแร่จึง พุ่งสูงควบคู่ไปกับการเติบโตของจีดีพีประเทศ ต่างๆ ทัว่ โลก ยิง่ เศรษฐกิจโตเร็วเท่าไหร่ ก็ยิ่งมี อัตราเร่งในการใช้ทรัพยากรรวดเร็วแบบทวีคูณ ยกตัวอย่างอินเดียซึง่ มีการเติบโตของเศรษฐกิจ สูงสุดแห่งหนึ่งของโลก ในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา อินเดียมีประชากรเพิม่ ขึน้ ประมาณ 2.2 เท่า แต่มี ความต้องการใช้วัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้นถึง 12 เท่า ความต้องการใช้แร่ 11 เท่า เชือ้ เพลิงฟอสซิล 8 เท่า ชีวมวล 2.4 เท่า หรือรวมแล้วมีการใช้ทรัพยากร รายปีเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 8 เท่า มีอัตราการปล่อยก๊าซ เรือนกระจกเพิม่ ขึน้ 13 เท่า ด้วยเศรษฐกิจแบบเดิม เราจะเห็นอัตราการใช้ทรัพยากรเพิ่มสูงขึ้นแบบ ก้าวกระโดด จนเข้าใกล้ “ขีดจำ�กัด” ของโลก เข้าไปทุกขณะ ความสามารถในการถลุงใช้ทรัพยากรแบบ ไร้ขอบเขตของมนุษย์ สวนทางกับความจริงที่ว่า ทรัพยากรของโลกมีอยูจ่ �ำ กัด แม้เราจะมีเทคโนโลยี ทีก่ า้ วลาํ้ หน้าไปขนาดไหน แต่สดุ ท้ายความมัน่ คง ทางอาหาร สภาพภูมอิ ากาศทีป่ ลอดภัยและความ อยู่รอดในระยะยาวของมนุษย์ ล้วนแล้วแต่ต้อง พึ่งพาสมดุลของระบบนิเวศ หากเราไม่สามารถ ฟื้นฟูธรรมชาติและลงมือแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม อย่างจริงจัง โอกาสทีน่ เิ วศบริการต่างๆ จะพังทลาย สภาพเศรษฐกิจสังคมล่มสลายก็ดจู ะไม่ไกลเกินจริง
0
Biomass Fossil Fuels Metal Ores Non-Metallic Minerals GDP
อัตราการใช้วัตถุดิบเทียบกับอัตราการเติบโตของ GDP โดยรวมทั่วโลก (1970-2015)
จริงอย่างที่อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ ระหว่างปี 2007-2016 บัน คี มูน กล่าวไว้ “เราไม่มแี ผนสำ�รอง เพราะเราไม่มโี ลกใบทีส่ อง!” แนวคิดที่ว่าไม่มีอะไรสำ�คัญไปกว่าโลกใบนี้อีก แล้วนั้น ได้นำ�ไปสู่การพัฒนาเป้าหมายร่วมกัน ของโลก (Global Goals) เพื่อเปลี่ยนทิศทางการ พัฒนาให้หันกลับมาเน้นในเรื่องของความยั่งยืน และให้ความสำ�คัญกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มากขึ้น ในวันที่ 25 สิงหาคม 2015 สมัชชาใหญ่ แห่งสหประชาชาติ ซึง่ มีตวั แทนจาก 193 ประเทศ ได้ให้การรับรองรายงานสำ�คัญ “Transforming our world: the 2030 Agenda for Sustainable Development” ซึง่ เป็นเอกสารทีก่ �ำ หนดเป้าหมาย การพัฒนาอย่างยัง่ ยืน (Sustainable Development Goals - SDGs) ไว้ 17 เป้าหมายใหญ่ตง้ั แต่ประเด็น ความยากจน (SDG1) ความหิวโหย (SDG2) สุขภาวะ (SDG3) การศึกษา (SDG4) ความเท่าเทียม ทางเพศ (SDG5) นํ้าสะอาด (SDG6) พลังงาน หมุนเวียน (SDG7) การงานและเศรษฐกิจที่ เหมาะสม (SDG8) นวัตกรรมและโครงสร้างพืน้ ฐาน (SDG9) การลดความเหลือ่ มลํา้ (SDG10) ไปจนถึง เมืองและชุมชนทีย่ งั่ ยืน (SDG11) การบริโภคและ CREATIVE THAILAND I 16
การผลิตอย่างรับผิดชอบ (SDG12) การแก้ปญั หา ด้านสภาพภูมอิ ากาศ (SDG13) การอนุรกั ษ์ปา่ ไม้ (SDG14) การคุม้ ครองท้องทะเล (SDG15) สันติภาพ (SDG16) และ ความร่วมมือเพือ่ ให้บรรลุเป้าหมาย (SDG17) โดยมีเป้าหมายรองที่เกี่ยวข้องอีกทัง้ หมด 169 หัวข้อ ภายในเวลาไม่นาน SDGs กลายเป็นฉันทามติ ร่วมกันของประเทศเกือบทุกประเทศทัว่ โลก และ ช่วยให้ฝา่ ยอนุรกั ษ์และฝ่ายพัฒนาหันมาพูดภาษา เดียวกันก็ว่าได้ คือไม่ว่าจะอยู่ฝ่ายไหน เราก็ควร ร่ ว มมื อ กั น ผลั ก ดั น เป้ า หมายการพั ฒ นาอย่าง ยัง่ ยืนให้ส�ำ คัญ ไม่ล�ำ พังรัฐบาลเท่านั้นที่ใช้ SDGs ในการกำ�หนดยุทธศาสตร์ของประเทศ SDGs ได้ กลายเป็นมาตรวัดความก้าวหน้าที่สำ�คัญของ ภาคธุรกิจเอกชนด้วยเช่นกัน จึงไม่น่าแปลกใจ ที่บริษทั ขนาดใหญ่ตา่ งนำ�เอา SDGs มาใช้ก�ำ หนด ทิศทางงานด้านความยั่งยืนและความรับผิดชอบ ต่อสังคม รวมไปถึงการประเมินความสำ�เร็จของ โครงการต่างๆ ในปี 2015 ยังมีงานวิจยั สำ�คัญระดับโลกอีกชิน้ ที่ตีพิมพ์ใน Science วารสารวิทยาศาสตร์ชื่อดัง เรื่องขยะพลาสติกจากบกสู่ทะเล (Plastic waste inputs from land into the ocean) โดย ดร.เจนนา
เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals)
เจมเบก (Jenna Jambeck) แห่งวิทยาลัยวิศวกรรม มหาวิทยาลัยจอร์เจีย ซึ่งนับเป็นงานวิจัยแรกที่มี การคำ�นวณปริมาณขยะพลาสติกที่หลุดรอดจาก บนบกสูท่ ะเลในระดับโลก งานวิจยั ดังกล่าวเปิดเผย ว่าทุกปีมขี ยะพลาสติกเกิดขึน้ มากถึง 275 ล้านตัน และในจำ�นวนนีไ้ ด้หลุดรอดลงสูท่ ะเลระหว่าง 4.8 ล้านตันถึง 12.7 ล้านตัน หรือโดยเฉลี่ยมากกว่า 8 ล้านตันต่อปี ขยะเหล่านี้ย่อยสลายยากและ หมุนเวียนอยู่ในทะเลหลายร้อยปี นักวิทยาศาสตร์พบว่ามีนกทะเลกว่าร้อยชนิด และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลกว่า 30 ชนิด กินพลาสติกจนเป็นอันตรายถึงชีวิต โครงการ สิง่ แวดล้อมของสหประชาชาติ (UN Environment) ประเมินว่าแต่ละปี ขยะพลาสติกสร้างความเสียหาย ให้กับระบบนิเวศทางทะเลทั่วโลกถึงปีละ 2.8 แสนล้านบาท เมือ่ กระแสความยัง่ ยืนและวิกฤตการณ์ดา้ น ขยะทะเลกลายเป็นความสนใจร่วมกันของคน ทั้งโลก จึงไม่แปลกใจที่แนวคิดเรื่องเศรษฐกิจ หมุนเวียนได้รบั การชูโรงว่าจะเป็นเครือ่ งมือสำ�คัญ ที่ช่วยให้มนุษยชาติบรรลุเป้าหมายการพัฒนา อย่างยั่งยืน ควบคู่ไปกับการแก้ปัญหาทรัพยากร ขาดแคลนและขยะล้นโลกไปด้วยในคราวเดียวกัน เปลี่ยนเส้นตรงให้เป็นวงกลม เมื่อพลังงานและวัตถุดิบเป็นปัจจัยจำ�กัด และ การถดถอยทางเศรษฐกิจไม่ใช่ทางเลือก เศรษฐกิจ แนวใหม่ทท่ี �ำ ให้การใช้ทรัพยากรเกิดการหมุนเวียน
มีประสิทธิภาพจึงกลายเป็นเรื่องจำ�เป็น เพื่อเปลี่ยน ระบบผลิตทางตรง (Linear: Make-Use-Dispose) เป็นระบบผลิตแบบหมุนเวียน (Circular: MakeUse-Return) ซึ่งเป็นพื้นฐานของการผลักดัน เศรษฐกิจหมุนเวียนในภาพรวม เศรษฐกิจหมุนเวียนยังเน้นการเปลี่ยนผ่าน ไปสู่การใช้พลังงานหมุนเวียนที่สะอาดเพื่อสร้าง ต้นทุนด้านสังคม เศรษฐกิจและธรรมชาติอย่าง เข้มแข็ง โดยอาศัยหลักการสามด้าน ได้แก่ 1) การออกแบบที่ปราศจากขยะและมลภาวะ 2) รักษาผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบให้ใช้ได้นานที่สุด และ 3) ฟื้นฟูระบบนิเวศธรรมชาติ โดยเศรษฐกิจ หมุนเวียนยังเน้นความสำ�คัญของการทำ�งาน ร่วมกันในทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ หรือขนาดเล็ก องค์กรหรือตัวบุคคล ทั้งในระดับ โลกและระดับท้องถิ่น ในแง่นี้เศรษฐกิจหมุนเวียนจึงไม่ใช่แค่การ ลดผลกระทบของระบบผลิตแบบทางตรง แต่เป็น การเปลี่ยนกระบวนทัศน์เพื่อเพิ่มความสามารถ ในการปรับตัวและโอกาสทางธุรกิจในระยะยาว ที่จะส่งผลบวกแก่สิ่งแวดล้อมและสังคมโดยรวม คงจะเป็ น การยากที่ จ ะชี้ ชัด ว่ า เศรษฐกิ จ หมุนเวียนเกิดขึน้ ตัง้ แต่เมือ่ ไหร่และใครเป็นผูค้ น้ คิด เพราะแนวความคิดแบบวงกลม หรือการหมุนวน เป็นวงจรมีรากลึกในทางประวัตศิ าสตร์และปรัชญา หลายสำ�นัก หากสังเกตสิ่งต่างๆในธรรมชาติจะ พบว่าแทบทุกสิ่งล้วนหมุนเวียนเป็นวัฏจักร เป็น วงรอบ ถ่ายทอด เปลี่ยนผ่าน สอดประสานกัน CREATIVE THAILAND I 17
อย่างลงตัว ของเสียจากสิ่งหนึ่งกลายเป็นอาหาร ให้กบั อีกสิง่ หนึง่ แร่ธาตุและพลังงานถูกถ่ายทอด และหมุนวนกลับมาใช้ได้ใหม่ไม่มีที่สิ้นสุด ในช่วงปลายทศวรรษ 1970 นับเป็นช่วงเวลา เบ่งบานของสำ�นักคิดโดดเด่นหลายแห่งที่เริ่ม นำ�เสนอเกีย่ วกับการพัฒนาทางเลือก ไม่วา่ จะเป็น Performance Economy ของ สถาปนิก วอลเตอร์ สตาเฮล (Walter Stahel) ทีน่ �ำ เสนอวิสยั ทัศน์ของ Economy in Loops เศรษฐกิจวงจรปิดที่เน้นการ ยืดอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์ การประหยัด ทรัพยากร และลดการเกิดของเสียจากการผลิต Industrial Ecology ซึ่งเป็นการศึกษาการ เคลื่อนย้ายวัสดุและพลังงานในระบบการผลิต อุตสาหกรรม เพื่อพัฒนากระบวนการผลิตแบบ วงจรปิด นำ�เอาของเหลือจากการผลิตมาใช้เป็น วัตถุดบิ ใหม่ Natural Capitalism ทีใ่ ห้ความสำ�คัญ ของต้นทุนธรรมชาติ ได้แก่ นํ้า ดิน อากาศและ สิ่งมีชีวิตทั้งหมดทั้งมวล โดยเน้นการปฏิวัติการ ออกแบบให้ผลิตภัณฑ์มีอายุการใช้งานที่นานขึ้น พัฒนาระบบการผลิตวงจรปิดเพื่อให้เกิดของเสียน้อย ทีส่ ดุ รวมไปถึงการเปลีย่ นรูปแบบการซือ้ ขายเป็น บริการ เพือ่ ให้เกิดการแบ่งปันทรัพยากรอย่างคุม้ ค่า อีกแนวคิดสำ�คัญที่นบั ว่าเป็นเบ้าหลอมแนวคิด เศรษฐกิ จ หมุ น เวี ย นในปั จ จุ บั น ก็ ว่ า ได้ ก็ คื อ กระบวนทัศน์แบบ “จากอูส่ อู่ ”ู่ (Cradle to Cradle) ของสองคู่หู ไมเคิล บรอนการ์ต (Michael Braungart) นักเคมีชาวเยอรมัน กับวิลเลียม แม็กโดโน (William McDonaugh) สถาปนิกชาวอเมริกัน ทั้งสองชี้ว่าลำ�พังการทำ�ธุรกิจตามหลัก 3R คือ Reduce (ลด) Reuse (นำ�กลับมาใช้ซํ้า) และ Recycle (นำ�กลับมาแปรรูปใหม่) นั้นไม่เพียงพอ เพราะรากปัญหาของการพัฒนาแบบล้างผลาญ ตั้งแต่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมอยู่ที่โมเดลการผลิต ในปั จ จุ บั น ซึ่ ง ทั้ ง สองขนานนามว่ า เป็ น แบบ “Cradle-to-Grave” (“จากอู่สู่สุสาน”) ซึ่ง หมายถึงเริ่มต้นด้วยการตักตวงทรัพยากรจาก แหล่งกำ�เนิด (Cradle) แล้วไปจบที่สู่สุสานขยะ กองโต (Grave) โมเดลการผลิตแบบ “อู่สู่อู่” มองวัสดุและ วั ต ถุ ดิ บ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งในกระบวนการผลิ ต ทาง อุตสาหกรรมทั้งหมดเป็นเหมือนกับสารอาหาร และแร่ธาตุ โดยแบ่งออกเป็นกลไกทางชีวภาพ (biological metabolism) สำ�หรับสินค้าอุปโภค บริโภคที่ใช้แล้วหมดไป เช่น อาหาร แชมพู สบู่ และ กลไกทางเทคนิค (technical metabolism) สำ�หรับ
สินค้าอืน่ ๆ ทีใ่ ช้แล้วไม่หมดไป เช่น รถยนต์ เสือ้ ผ้า โทรศัพท์ และการให้บริการรูปแบบอื่นๆ สามแนวทางหลักของ Cradle-to-Cradle ทีม่ คี วามคล้ายคลึงกับ Circular Economy มากๆ ก็คือ เน้นการออกแบบผลิตภัณฑ์ท่ีจะไม่สร้าง ของเสีย หรือเน้นการใช้พลังงานหมุนเวียน และ ให้ความเคารพต่อชุมชนท้องถิ่นและระบบนิเวศ เพื่อส่งเสริมการฟื้นฟูธรรมชาติให้กลับคืนมา Cradle-to-Cradle (C2C) ถูกยกระดับและ พัฒนาขึ้นเป็นมาตรฐานรับรองให้กับสินค้าที่ได้ รับการออกแบบด้วยแนวคิดดังกล่าว และให้การ รับรองโดย Cradle to Cradle Products Innovation Institute โดยมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณา 5 ด้าน คือ 1. คุณสมบัตขิ องวัสดุ (ความปลอดภัยทางเคมี และความสามารถในการย่อยสลาย) 2. ความ สามารถในการนำ�กลับมาใช้ประโยชน์ได้ใหม่ 3. แหล่งพลังงานหมุนเวียน 4. การดูแลจัดการนํา้ และ 5. ความเป็นธรรมทางสังคม ปัจจุบันมีบริษัทกว่า 260 แห่งที่เข้าร่วม กระบวนการออกแบบและผลิตสินค้าให้เป็น C2C และมี ผ ลิ ต ภั ณ ฑ์ ป ระมาณ 600 ชนิ ด ที่ ไ ด้ รั บ ตรารับรอง C2C แล้ว ซึง่ แสดงถึงความยัง่ ยืนของ การผลิตและวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ท่ีเป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น นวัตกรรมจากธรรมชาติ “โลกที่ยั่งยืนนั้นมีอยู่แล้ว...แค่เรามองเข้าไปใน ธรรมชาติ” คือคำ�ยืนยันของ เจนีน เบนยัส (Janine Benyus) ผูเ้ ขียนหนังสือ ชีวลอกเลียน: นวัตกรรม บันดาลใจจากธรรมชาติ (Biomimicry: Innovation Inspired by Nature) เมื่อปี 1997 และร่วมก่อตั้ง สถาบันชีวลอกเลียน Biomimicry Institute ขึ้น เมื่อปี 2006 ซึ่งนับว่าเป็นศาสตร์แขนงใหม่ที่เธอ ให้นยิ ามว่าเป็นการศึกษารูปแบบและกระบวนการ ทำ�งานของธรรมชาติที่น่าทึ่งที่สุดเพื่อนำ�มาใช้ แก้ปัญหาของมนุษย์ เจนีน บอกว่านักออกแบบผลิตภัณฑ์ต้อง ศึกษางานออกแบบมากมายเพื่อที่จะรวบรวม ความคิด ตัดนูน่ แปะนี่ เพือ่ มองหาว่าจะนำ�ไอเดีย ต่างๆ มาปรับปรุงให้ดีขึ้นได้อย่างไร เธอเชื่อว่า นักออกแบบสามารถลอกเลียน ไอเดียดีๆ จากธรรมชาติได้มากมาย เพราะมี สิ่งมีชีวิตอยู่บนโลกใบนี้มากถึง 5-10 ล้านชนิด แต่ ล ะชนิ ด ผ่ า นวิ วั ฒ นาการมานั บ พั น ล้ า นปี
ปั ญ หาหลายอย่ า งที่ ม นุ ษ ย์ เ จออยู่ ทุ ก วั น นี้ เป็นปัญหาเดียวกับที่ธรรมชาติเจอมาแล้ว ซึ่งเรา สามารถเลียนแบบธรรมชาติได้ 3 แบบตั้งแต่ 1. รูปแบบรูปทรง (shape and form) 2. กระบวนการ ทำ�งาน (process) และ 3. ระบบนิเวศ (ecosystem) การลอกเลียนธรรมชาตินบั ว่าเป็นหนึง่ ในแนวทาง สำ�คัญของการออกแบบเพื่อความยั่งยืน ความก้าวหน้าของศาสตร์ดา้ นนีไ้ ด้กา้ วไปถึง ขึน้ ลอกเลียนกระบวนการทำ�งานของธรรมชาติได้ สำ�เร็จบ้างแล้ว เช่น แผงโซลาร์เซลล์เลียนแบบ ใบไม้ของสถาบันวิจยั เทคโนโลยีแห่งแคลิฟอร์เนีย (Caltech) ที่มีขนาดเล็กและมีความยืดหยุ่นกว่า แผงโซลาร์แบบเก่าและยังผลิตกระแสไฟได้เพียง พอกับการใช้งานภายในบ้าน การผลิตซีเมนต์ของ บริษัท Calera ซึ่งเลียนแบบการสร้างหินปูนของ ปะการัง ด้วยการนำ�เอาคาร์บอนไดออกไซด์กลับ มาแปลงให้เป็นแคลเซียมคาร์บอเนต ใช้เป็นวัสดุ ก่อสร้างได้ ซึง่ เป็นเรือ่ งทีน่ า่ ตืน่ เต้นมากๆ เพือ่ ลด ผลกระทบต่อสิง่ แวดล้อมจากการระเบิดภูเขาของ อุตสาหกรรมการผลิตซีเมนต์ เจนีนทิง้ ท้ายว่าพัฒนาการที่น่าตืน่ เต้นมากๆ ในวงการออกแบบตอนนี้ที่จะมาช่วยสนับสนุน การเปลี่ ย นผ่ า นไปสู่ เ ศรษฐกิ จ หมุ น เวี ย นคื อ เครื่องพิมพ์สามมิติ เพราะเป็นการสร้างสิ่งของ ที่ ค ล้ า ยกระบวนการผลิ ต ของธรรมชาติ ที่ สุ ด และยังมีโอกาสผสมผสานวัสดุตา่ งๆ ไม่วา่ จะเป็น พอลิเมอร์อย่างการ Upcycle พลาสติก หรือ พอลิ เ มอร์ จ ากวั ต ถุ ดิ บ ในธรรมชาติ ซึ่ ง เป็ น ของเหลือใช้ เช่น ไคตินจากเปลือกกุ้ง เปลือกปู มาแปลงร่ า งเป็ น ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ที่ ท ดแทนการใช้ ทรัพยากรได้ ในสหรัฐอเมริกามีการคาดการณ์วา่ ระหว่างปี 2010-2025 ผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีที่ออกแบบ ตามแนวทางชีวลอกเลียนจะสร้างรายได้สูงถึง 3 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ และช่วยลดการสูญเสีย ทรัพยากรและความหลากหลายทางชีวภาพได้ สูงถึง 5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ นวัตกรรมที่ เกิดจากการศึกษาการทำ�งานของธรรมชาติจงึ นับเป็น องค์ความรูส้ �ำ คัญทีจ่ ะช่วยขับเคลือ่ นสังคมโดยรวม ไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนได้ ประเทศไทยกับเศรษฐกิจหมุนเวียน ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา แนวโน้มการบริโภค ทรัพยากรและการใช้พลาสติกของคนไทยไม่มี CREATIVE THAILAND I 18
แนวโน้มลดลงเลย และสอดคล้องกับการคาดการณ์ ไว้ของนักวิทยาศาสตร์ ว่าจีดีพียิ่งเพิ่มขึ้น ก็ยิ่งมี การใช้ทรัพยากรเพิม่ ขึน้ แบบทวีคณู ทางรอดเดียว ในการรับมือกับวิกฤติขยะและทรัพยากรธรรมชาติ ต่างๆ ที่ร่อยหรออย่างรวดเร็ว ก็คือการหันไป ส่งเสริมการพัฒนาแบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ประเทศไทยจำ�เป็นต้องปฏิวตั คิ วามสัมพันธ์ ของผูบ้ ริโภคกับการใช้พลาสติกอย่างจริงจัง และ ปฏิรูปการออกแบบ การผลิต การใช้และการ รีไซเคิลผลิตภัณฑ์พลาสติกในประเทศทั้งระบบ แน่นอนว่าการปรับเปลี่ยนในที่นี้ต้องใช้เวลา แต่ ก็จะทำ�ให้เกิดการลงทุนและการจ้างงานซึง่ สามารถ ใช้เป็นตัวขับเคลื่อนประเทศตามเป้าหมายการ พัฒนาอย่างยั่งยืนได้ไปในตัว เราจำ�เป็นต้องหาทางเลือกเพื่อทดแทนการ ใช้พลาสติกแบบใช้แล้วทิง้ (Single-use Plastic) ที่ ไม่จ�ำ เป็นเลยหลายๆ ประเภท เช่น หลอดพลาสติก จานชามพลาสติก ช้อนส้อมพลาสติก ก้านสำ�ลี ที่คนกาแฟ เหล่านี้เราสามารถปรับเปลี่ยนไปใช้ วัสดุธรรมชาติประเภทอื่นๆ ได้ ประเทศไทยนับว่าโชคดีที่ตั้งอยู่ในระบบ นิเวศเขตร้อน ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์อย่างมาก ทั้ ง ทางบกและทางทะเลในแง่ ข องทรั พ ยากร ชีวภาพ เราจึงมีโอกาสพัฒนาและออกแบบวัสดุ จากพืชพันธุ์ท้องถิ่นได้อีกมาก การหวนกลับไป ศึกษาศักยภาพของวัสดุท้องถิ่นอย่างเช่นไม้ไผ่ หวาย สาหร่ายทะเล สามารถใช้เป็นเครื่องมือใน การขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนได้เป็นอย่างดี ขอยกตัวอย่างแค่ไผ่ ซึ่งเป็นพืชมหัศจรรย์ที่ สามารถโตได้ในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย ไผ่เป็นทรัพยากรหมุนเวียนทีโ่ ตเร็วและมีระยะเวลา เก็บเกี่ยวสั้นมาก ไผ่บางชนิดสามารถโตได้กว่า 1 เมตรภายใน 24 ชั่วโมง ไผ่ส่วนใหญ่จึงโตเต็ม ทีแ่ ละพร้อมเก็บเกีย่ วได้ภายในเวลา 1-3 ปีเท่านัน้ ในขณะที่ ไ ม้ เ นื้ อ แข็ ง ต้ อ งใช้ เ วลานั บ สิ บ ปี ห รื อ มากกว่ากว่าจะสามารถนำ�มาใช้ประโยชน์ได้ การปลูกไผ่ไม่จำ�เป็นต้องใส่ปุ๋ยหรือใช้ยา ฆ่าแมลง ระบบรากที่กว้างขวางและแข็งแรงของ ไผ่ยังช่วยตรึงไนโตรเจน ปรับปรุงคุณภาพดินให้ ดีขน้ึ และช่วยป้องกันการกัดเซาะหน้าดิน นอกจากนี้ ไผ่ยงั ไม่ตอ้ งปลูกใหม่ทกุ ครัง้ ทีเ่ ก็บเกีย่ ว เพียงเหลือ หน่อและรากเอาไว้ไผ่ก็จะฟื้นคืนกลับมาได้อีก เท่ากับว่าเราสามารถมีไม้ใช้ได้อย่างยัง่ ยืนภายใน ระยะเวลาไม่ก่ีปี ทั่วโลกมีไผ่กว่า1,200 ชนิด
Photo by Daniel Hjalmarsson on Unsplash Photo by Daniel Funes on Unsplash
ในไทยพบได้มากกว่า 60 ชนิด แต่มนุษย์นำ�มา ใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลายประมาณ 10-20 ชนิด เท่านั้น เราจึงยังมีโอกาสศึกษาวิจัยคัดเลือก สายพันธุแ์ ละพัฒนาการใช้ประโยชน์จากไผ่ได้อกี มากมาย เราสามารถนำ�ไผ่มาแปรรูปได้แทบจะทุกส่วน หน่อเพือ่ การบริโภค ขุยนำ�มาทำ�เป็นปุย๋ ใยใช้เป็น เครื่องขัดผิว ลำ�สำ�หรับใช้ในการก่อสร้าง ที่อยู่อาศัย หรือใช้เป็นวัตถุดิบสำ�หรับอุตสาหกรรมในครัว เรือน อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ เฟอร์นิเจอร์ที่ ออกแบบอย่างทันสมัย ไปจนถึงตะเกียบที่ใช้กัน อยู่ทั่วไป ความจริงไผ่สามารถแปรรูปได้หลากหลาย มาก และสามารถนำ�มาแทนที่การใช้ไม้ได้เกือบ
ทุกประเภท ตัง้ แต่กระดาษ แผ่นปูพนื้ เฟอร์นเิ จอร์ ถ่าน วัสดุกอ่ สร้าง ถ้าเทียบกันใยต่อใย เส้นใยของ ไผ่แข็งแกร่งพอๆ กับเหล็ก ทนทานพอๆ กับซีเมนต์ และมีโอกาสผิดรูปบิดงอจากการเปลี่ยนแปลง สภาพแวดล้อมน้อยกว่าไม้เนื้อแข็งอื่นๆ ปัจจุบนั ยังสามารถนำ�ไผ่มาใช้เป็นหลอดดูด ช้อนส้อม ก้านสำ�ลี แปรงสีฟนั เหล่านีช้ ว่ ยทดแทน การใช้พลาสติกและลดการสร้างขยะได้อย่างมี ประสิทธิภาพ การขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่เศรษฐกิจ หมุนเวียนจึงต้องทำ�ควบคูก่ นั ไประหว่างการส่งเสริม ให้บริษัทขนาดใหญ่ นำ�เอาแนวคิดเศรษฐกิจ หมุนเวียนไปปรับใช้เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากร อย่างคุ้มค่า มีระบบรีไซเคิลและรับผิดชอบต่อ
สินค้าและผลิตภัณฑ์นั้นๆ ตลอดช่วงวงจรชีวิต ในขณะเดียวกันก็ต้องส่งเสริมให้นักออกแบบ ทำ�งานร่วมกับชุมชนท้องถิ่นในการเสาะแสวงหา นวัตกรรมใหม่ๆ จากธรรมชาติในชุมชน รวมไปถึง ภูมิปัญญาพื้นบ้านที่สามารถนำ�มาผสมผสานกับ ความรูใ้ นการออกแบบสมัยใหม่ ให้เน้นเรื่องของ ความสวยงาม มีประสิทธิภาพ และยั่งยืน หากทำ�ได้ส�ำ เร็จทัง้ ในเชิงนโยบายของภาครัฐ และภาคเอกชน จะทำ�ให้ประเทศไทยเดินตาม แนวเศรษฐกิจหมุนเวียน และเป็นหลักประกันว่า เราได้เสริมสร้างต้นทุนทางสังคม เศรษฐกิจและ สิ่งแวดล้อมตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน อย่างแท้จริง
ที่มา: Benyus, J. 2002. Biomimicry: Innovation inspired by Nature. / Ellen MacArthur Foundation. 2015. Towards a circular economy: business rationale for an accelerated transition. / European Union. 2018. EU Strategy for Plastics in a Circular Economy. / Jambeck, J. et al. 2015. Plastic waste inputs from land into the ocean. Science. Vol. 347 Issue 6223. / McDonough, W. and Braungart, M. 2002 Cradle to Cradel: Remaking the way we make things. / Rockstrom, J. 2017. Beyond the Anthropocene. Presentation during World Economic Forum 2017. / UN. 2018. The Sustainable Development Goals Report 2018. CREATIVE THAILAND I 19
Insight : อินไซต์
เมื่อพลาสติกหายไปได้
‘Biodegradable Plastic’ ทางเลือกใหม่แห่งความยั่งยืน เรื่อง: กิตติภูมิ ใบปก
‘ใช้ง่าย ทิ้งง่าย’ คือคุณสมบัติเด่นของพลาสติกหลายรูปแบบในโลกนี้ หนึ่งในลักษณะเด่นของมันที่เรารู้เป็นอย่างดีข้อหนึ่ง ก็คือ พลาสติกหนึ่งชิ้นต้องใช้เวลาเป็นร้อยๆ ปีในการย่อยสลาย หรือแทบจะไม่สามารถหายไปจากโลกนี้ได้เลย ข้อเท็จจริงนี้ เกิดขึ้นมาพร้อมๆ กับอุตสาหกรรมพลาสติกเมื่อราวปี 1950 ที่มนุษย์เริ่มผลิตพลาสติกสังเคราะห์เรียกว่า ‘เบเคอไลต์’ (Bakelite) ด้วยสารสกัดจากนํ้ามันดิน และพัฒนาต่อมาเป็นสารพัดพลาสติกที่แพร่หลายในอุตสาหกรรม การผลิตซํ้าใน ปริมาณมหาศาลเพื่ออำ�นวยความสะดวกให้กับชีวิตของผู้คน ไม่เพียงทวีปริมาณการใช้พลาสติกบนโลก แต่ยังกลายเป็น ต้นตอของปัญหาจากขยะพลาสติกที่เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว โดยปัจจุบันตัวเลขของขยะพลาสติกมีมากถึง 8.3 พันล้านตัน ผลกระทบที่เกิดขึ้นจึงไม่ใช่แค่สิ่งแวดล้อมที่ถูกทำ�ลาย หรือภาวะโลกร้อนจากการกำ�จัดขยะด้วยการเผาแล้วปล่อยสารเคมีสู่ อากาศ หากพลาสติกยังเป็นอันตรายต่อชีวติ บนโลก และเป็นวาระสำ�คัญทีท่ วั่ โลกต้องหาทางแก้ไขให้ได้ผลอย่างเร็วทีส่ ดุ ด้วย
พลาสติกกับธรรมชาติ
ปัจจุบนั พลาสติกทีน่ �ำ มาใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ มักนำ�ส่วนประกอบจากธรรมชาติมาสังเคราะห์ ร่วมด้วย เช่น มันสำ�ปะหลัง ข้าวโพด และอ้อย เนื่ อ งจากมี ส่ ว นช่ ว ยให้ พ ลาสติ ก มี คุ ณ สมบั ติ
ในการย่อยสลายทางชีวภาพได้ กลายเป็นพลาสติก ทางเลือกอย่าง Biodegradable Plastic ที่ สามารถแยกตามวัตถุดิบตั้งต้นได้ 2 ประเภท ประเภทแรกคื อ พลาสติ ก ย่ อ ยสลายได้ ทางชี ว ภาพที่ ผ ลิ ต จากผลิ ต ภั ณ ฑ์ ปิ โ ตรเคมี CREATIVE THAILAND I 20
(Petroleum-based biodegradable plastics) พบได้ใน แป้ง เซลลูโลส ไม้ หรือการนำ�ผลิตภัณฑ์ ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียมมาใช้ อย่างสาร ในกลุ่มโอเลฟิน (Olefins) เช่น มีเทน อีเทน โพรเพน บิวเทน และเพนเทน และสารในกลุ่ม
อะโรแมติก (Aromatics) เช่น เบนซีน และ อนุพันธ์ของเบนซีน สารทั้ง 2 กลุ่ม สามารถนำ� มาผลิตมอนอเมอร์ ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการผลิต พลาสติกในกลุ่มนี้เมื่อย่อยสลายแล้ว อาจจะยัง เหลือ Biomass คือกลุ่มแก๊สต่างๆ เนื่องจาก มีสารตั้งต้นจากปิโตรเลียม ประเภทที่ ส อง พลาสติ ก ย่ อ ยสลายได้ ทางชี ว ภาพที่ ผ ลิ ต จากวั ต ถุ ดิ บ มวลชี ว ภาพ (Bio-based biodegradable plastics) เช่น แป้งจากมันสำ�ปะหลัง ข้าว ข้าวโพด โฮลวีท ข้ า วโพด ข้ า วสาลี และนํ้ า มั น จากพื ช ต่ า งๆ เนื่ อ งจากโครงสร้ า งทางเคมี ค ล้ า ยพอลิ เ มอร์ (Polymer) ซึ่งต้องผ่านกระบวนการหมักด้วย จุลินทรีย์เพื่อจะได้กรดแลกติก แล้วจึงนำ�กรด แลกติกนั้นมาทำ�ปฏิกิริยาสังเคราะห์พอลิเมอร์ คุณสมบัตดิ า้ นชีวภาพหลังการย่อยสลายจึงดีกว่า ประเภทแรก นอกจากสารประกอบที่ ไ ด้ ม าจากพื ช อุตสาหกรรมส่วนใหญ่แล้ว การค้นคว้าและวิจัย ต่างๆ ยังทำ�ให้พบจากสารออร์แกนิกจากธรรมชาติ อย่างเมล็ดข้าวสาร กล้วย อะโวคาโด้ หรือแม้แต่ สาหร่ายทะเลทีน่ �ำ มาผลิตเป็นขวดนา้ํ ชีวภาพ และ ต่อยอดสูน่ วัตกรรมใหม่ๆ เช่น บริษทั Novamont ประเทศอิตาลีคน้ พบสารทีใ่ ช้แทนไมโครพลาสติก ในเครื่องสำ�อางค์ หรือการผสมผสานศาสตร์ที่ เกี่ยวข้อง อาทิ วัสดุศาสตร์ และการออกแบบ เพื่อลดการสร้างขยะให้กับสิ่งแวดล้อมให้น้อย ที่สุด (Zero Waste) ส่ ว นระยะเวลาในการย่ อ ยสลายของ Biodegradable Plastic นั้น ขึ้นอยู่กับชนิดของ องค์ ป ระกอบ หากเป็ น สารสั ง เคราะห์ จ าก ออร์แกนิกทั้งหมดจะย่อยได้ง่าย บางชนิดอาจใช้ เวลาเพียง 6 เดือน เพราะโครงสร้างเคมีภายใน เปลีย่ นแปลงตามสภาวะแวดล้อมทีเ่ หมาะต่อการ ย่อยสลาย เช่น พลาสติกที่มีพอลิแลกติกแอซิด (Polylactic Acid) มักมีแป้งหรือนํ้าตาลเป็น องค์ประกอบหลัก จึงมีลักษณะโปร่งใส เป็น มันเงา แข็งแรง เหมาะนำ�มาใช้ในอุตสาหกรรม บรรจุ ภั ณ ฑ์ แ ละเครื่ อ งดื่ ม หลั ง ใช้ เ สร็ จ แล้ ว สามารถนำ�มาผ่านกระบวนการย่อยสลายที่เรียก ว่าพอลิเมอร์ไรเซชั่น (Polymerization) คือการ กลั่นในระบบสุญญากาศเพื่อเปลี่ยนโครงสร้าง
พลาสติกให้ได้พอลิเมอร์ และนำ�มาเป็นสารตัง้ ต้น ในการผลิตพลาสติกได้อีกครั้ง (Renewable Resource) หรือหากปล่อยให้ยอ่ ยตากระบวนการ ตามธรรมชาติ ต้องอาศัยความชืน้ และความร้อน เป็นปัจจัยสำ�คัญเพื่อเปลี่ยนสถานะไปเป็นก๊าซ ซึ่งอาจใช้เวลา 6-24 เดือน
ตลาดของ Biodegradable Plastic ในปัจจุบัน
จากรายงานผลของการใช้ Biodegradable Plastic ในอุตสาหกรรมบรรจุภณั ฑ์พบว่า ทัว่ โลก มีการใช้งานมากขึ้นกว่า 600% ในครึ่งศตวรรษที่ ผ่านมา ถือว่าเติบโตขึ้นจากเดิมเป็นอย่างมาก และจากคาดการณ์ของ Energy and Gold Ltd. บอกว่า ตลาดพลาสติกทั่วโลกในปี 2030 จะมี การใช้ Biodegradable Plastic เพิ่มขึ้นถึง 60% เพื่ อ ทดแทนการใช้ พ ลาสติ ก แบบเดิ ม ที่ เ ป็ น อันตรายต่อสิ่งแวดล้อม และจากรายงาน ความ สามารถในการผลิตพลาสติกชีวภาพทั่วโลกในปี 2017 ระบุวา่ มีความสามารถในการผลิตเพิม่ ขึน้ ถึง 2.05 ล้านตัน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 2.44 ล้านตัน ในปี 2022 โดยมีนวัตกรรมการผลิต พอลิเมอร์ชวี ภาพทีน่ า่ สนใจ เช่น PLA (Polylactic acid) และ PHAs (Polyhydroxyalkanoate) เป็นตัวการหลักในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรม บรรจุภัณฑ์
พลาสติก อนาคต สิ่งแวดล้อม
นอกจากที่ Biodegradable Plastic จะช่วยลด ของเหลื อ จากการผลิ ต ปิ โ ตรเลี ย มแล้ ว ก็ ยั ง ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับพืชผลทางเกษตร ช่วยลด ก๊าซพิษต่างๆ ที่เป็นตัวการของภาวะโลกร้อนได้ มากถึง 35% และกลายเป็นทางออกทีช่ ว่ ยให้ขยะ พลาสติกสามารถหายไปจากโลกของเรา นอกจากนี้ วิธีการกำ�จัดพลาสติกในรูปแบบใหม่ยังช่วยเร่ง กระบวนการย่อยสลายได้เร็วขึ้น หลายประเทศ ในทวีปยุโรปออกแบบให้ Biodegradable Plastic กลายเป็นของเสียน้อยที่สุด ผ่านกระบวนการที่ เรียกว่า Organic Recycling เพื่อเปลี่ยนของเสีย ทั้งหมดให้อยู่ในรูปของก๊าซก่อนนำ�มาใช้เป็น พลังงานหมุนเวียนต่อไป ทั้งยังออกแบบโรงงาน เผาขยะหรือแปรรูปขยะให้สอดคล้องกับประเภท CREATIVE THAILAND I 21
พลาสติกอย่างการใช้เตาหลอมอุณหภูมิสูง หรือ การค้นพบความสามารถของหนอนผีเสื้อราตรี Galleria Mellonella ที่นํ้าย่อยของมันสามารถ ย่อยพลาสติกทางชีวภาพโดยการทำ�ลายโครงสร้าง ทางเคมีของพลาสติกได้ เป็นต้น ขณะที่ในประเทศไทยเองก็มีการเปลี่ยน ขยะพลาสติกให้เกิดประโยชน์ เพิ่มมูลค่า และ มีนวัตกรรมทีเ่ รียกว่า อัพไซคลิง่ (Upcycling) โดย บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล (GC) ร่วมมือกับ บริ ษั ท แมกโนเลี ย ควอลิ ตี้ ดี เ วล็ อ ปเมนต์ คอร์ปอเรชัน่ (MQDC) ทำ�การแปรรูปขยะจำ�พวก โฟม ไนลอน หรือขยะจากท้องทะเลมาเป็นอิฐ บล็อก เฟอร์นเิ จอร์ แท็งก์นาํ้ ม่าน พรม ฝ้าเพดาน กระเบื้องยางปูพื้น ฉนวนกันความร้อน ฉนวน กันเสียง และวัสดุอื่นๆ ที่มีทั้งความสวยงามและ ความแข็งแรง เหมาะกับการใช้งานทีห่ ลากหลาย ตามความต้องการ ในอนาคตอันใกล้ พลาสติกหรือขยะจาก พลาสติกจึงไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัวอีกต่อไป เพราะ แท้จริงแล้วพลาสติกก็สามารถย่อยสลายได้เช่นเดียว กับวัสดุจากธรรมชาติอนื่ ๆ ด้วยนวัตกรรมต่างๆ ที่ถูกคิดค้นขึ้น ตั้งแต่การวางแผน กระบวนการ ผลิต การออกแบบ การใช้งาน และการย่อยสลาย ให้น�ำ กลับมาใช้ซาํ้ ๆ ได้ ทัง้ ยังเป็นสิง่ ทีท่ า้ ทายว่า อุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพนี้ จะสามารถเป็น อะไรได้อีกบ้างเพื่อโลกและอนาคตที่ยั่งยืน ทีม่ า: บทความ “Biodegradable Plastic Packaging - It’s Time to Also Use It for Food” โดย Volker Joksch จาก innovationorigins.com / บทความ “Biodegradable Polymers for Food Packaging: A Review” จาก sciencedirect.com / บทความ “Bioplastics and Biodegradable Plastics” โดย Chris Woodford จาก explainthatstuff.com / บทความ “Bioplastics & Biopolymers Market: Forecast Until 2023” จาก reportlinker.com / บทความ “What Are Bioplastics?” จาก european-bioplastics.org / บทความ “What Are the Benefits of Biodegradable Plastic?” โดย Milton Kazmeyer จาก sciencing.com / รายงาน “Bio-Based and Biodegradable Plastics: Facts and Figures: Focus on Food Packaging in the Netherlands” โดย Martien van den Oever, Karin Molenveld, Maarten van der Zee, Harriëtte Bos (Wageningen Food & Biobased Research) จาก edepot.wur.nl / รายงาน “Bioplastics Market Data 2017” โดย European Bioplastics จาก european-bioplastics.org / รายงาน “Global Polylactic Acid Market Forecast 2017-2025” โดย Inkwood Research จาก inkwoodresearch.com / รายงาน “Thailand Bio-Plastics Industry 2014” โดย Thailand Board of Investment จาก boi.go.th
Creative Startup : เริ่มต้นคิด
Advance BIO บริษัทผลิตพลาสติกปลอดภัยย่อยสลายได้ เรื่อง: วรรณกานต์ โอภาสเสถียร ภาพ: ภีร์รา ดิษฐากรณ์
“เราอยู่โดยไม่มีพลาสติกแทบจะไม่ได้เลย เพราะแม้แต่ถุงขนม ซองอาหาร เสื้อผ้า เลนส์แว่นตา นาฬิกา ชิ้นส่วนเครื่องบิน ก็ตอ้ งใช้พลาสติก” คุณจ๋า - จรัสพร นิม่ กิตติกลุ ผูจ้ ดั การฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์บริษทั แอดวานซด์ โนวฮาว จำ�กัด (แอดวานซ์ ไบโอ) อธิบาย เมื่อการลดใช้ปริมาณพลาสติกให้เป็นศูนย์ อาจทำ�ได้ไม่ง่าย แต่อีกมุมหนึ่งของภาคการผลิต ยังมีบริษัท ผูผ้ ลิตพลาสติกในประเทศไทยทีเ่ ลือกนำ�เทคโนโลยีมาเข้าช่วย เพือ่ ให้ผลิตภัณฑ์พลาสติกทีอ่ อกสูต่ ลาดเป็นมิตรกับสิง่ แวดล้อม ดังนั้น คำ�ถามหรือเป้าหมายสำ�คัญของผู้ผลิตพลาสติกย่อยสลายได้รายนี้ตั้งแต่วันแรก จึงเป็นการทำ�อย่างไรให้พลาสติกที่ ผลิตออกมานั้นเป็นประโยชน์ที่สุดและเบียดเบียนโลกนี้น้อยที่สุด ทำ�เพื่อโลกตั้งแต่แรกเริ่ม “แอดวานซ์ ไบโอ ก่อตัง้ มาแล้ว 15 ปี เราเป็นบริษทั แรกในประเทศไทยทีค่ ดิ จะ ผลิตพลาสติกชีวภาพ (Bioplastic) และพลาสติกย่อยสลายได้ (Environmentally degradable plastic) หรือที่เรียกว่าพลาสติกรักษ์โลก ณ วันนั้น เรานำ� เทคโนโลยีที่มีทั้งหมดมาดู ว่าจะใช้ทางเลือกไหนดีที่เหมาะกับประเทศไทย ในแง่ของเศรษฐกิจ ค่าครองชีพ ทัง้ การเก็บรักษา นิสยั การบริโภคของคนไทย ไปจนถึงการทำ�ลาย” คุณจ๋ากล่าวถึงจุดเริม่ ต้นของธุรกิจทีก่ อ่ ตัง้ มาตัง้ แต่สมัย คุณแม่ โดยในช่วงแรกแอดวานซ์ ไบโอ เริม่ ศึกษาและนำ�เข้าพลาสติกย่อยสลาย
ได้ทางชีวภาพ (PLA) แต่พลาสติกประเภทนีอ้ าจไม่เหมาะกับสภาพบ้านเมือง ทีม่ อี ากาศร้อนอย่างบ้านเรา และยังต้องอาศัยการย่อยสลายแบบการหมักปุย๋ (Compose) ที่หมายถึงการนำ�พลาสติก 1 ชิน้ ไปรวมกับขยะอินทรีย์ ผสมหัวเชือ้ จุลินทรีย์ ปรับสัดส่วนของคาร์บอนต่อไนโตรเจน และมีการหมุนหน้าดิน ให้ย่อยสลาย ซึ่งวิธีนี้ยังไม่ตรงกับการกำ�จัดขยะในเมืองไทยที่ส่วนใหญ่ใช้ การเผาหรือบ่อฝังกลบ บริษทั จึงปรับใช้และพัฒนาอีก 2 เทคโนโลยีทเี่ หมาะสมกว่า นั่นคือการใช้มันสำ�ปะหลังผสมกับพลาสติกทดแทน ทำ�ให้ใช้พลาสติกเพียง 30-40 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอีกสูตรเป็นหัวเชือ้ ธรรมชาติทชี่ ว่ ยย่อยสลายพลาสติก
CREATIVE THAILAND I 22
ธรรมดาได้ โดยผสมหัวเชื้อนี้กับพอลิเมอร์ในระดับโมเลกุลเวลาขึ้นรูป ชิ้นงาน ซึ่งนวัตกรรมนี้เป็นวิธีล่าสุดที่แพร่หลายในประเทศแถบเอเชียและ ตะวันออกกลาง ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ตอบโจทย์ประเทศไทย การใช้พลาสติกที่ผลิตจากชีวภาพ หรือพลาสติกจากพืช 100 เปอร์เซ็นต์ อาจฟังดูแล้วเข้าท่าและน่าจะเข้าสู่กระบวนการย่อยสลายได้ง่ายที่สุด แต่ ความเป็นจริงแล้ว การรีไซเคิลพลาสติกชนิดนี้กลับเป็นไปได้ยากมาก “แก้วใบหนึง่ เราทำ�จากข้าวโพด 100 เปอร์เซ็นต์ การจะรีไซเคิลให้ได้ครบถ้วน จริงๆ จะต้องทำ�กับแก้วที่ผลิตจากข้าวโพดด้วยกันเองทุกใบ สมมติเรา กระจายสินค้าไปทัว่ ประเทศ พอผูใ้ ช้ใช้งานเสร็จนำ�ไปทิง้ ขยะ คนทีเ่ ก็บขยะมา จะต้องเก็บแก้วชนิดนี้ทั้งหมดมารวมกันให้อยู่ที่เดียวกัน แล้วจัดการรีไซเคิล พร้อมกัน ในทางทฤษฎีมนั อาจจะเป็นไปได้ แต่ในทางปฏิบตั แิ ล้ว มันเป็นไป แทบไม่ได้เลย” คุณจ๋ายกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดเกี่ยวกับความเข้าใจเรื่อง การจัดการรีไซเคิลพลาสติกย่อยสลายได้ในสถานการณ์วันนี้ “เราเลยคิดว่า ลองใช้พลาสติกที่รีไซเคิลได้ และย่อยสลายได้ดีไหม หมายความว่าการใช้ หัวเชือ้ ธรรมชาติผสมกับพอลิเมอร์ จะทำ�ให้เมือ่ ไหร่ทน่ี �ำ แก้ว 1 ใบหรือถุง 1 ใบ กลับมารีไซเคิลก็ทำ�ได้ หรือถ้าจะปล่อยไว้ในบ่อขยะที่มีขยะหลายประเภท รวมกัน มันก็ยังย่อยสลายได้เองโดยไม่เป็นอันตรายกับสิ่งแวดล้อม” “ถ้าดูปริมาณเม็ดพลาสติกทีผ่ ลิตได้กบั การรีไซเคิลในประเทศไทยวันนี้ จะเห็นว่าเรารีไซเคิลพลาสติกได้น้อยกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ หลักการ 3R (Reduce - Reuse - Recycle) มันดีแน่ แต่ทุกวันนี้การใช้พลาสติกมันเร็ว มากจนตามเก็บไม่ทัน ดังนั้นเราอยากจะอุดช่องโหว่ตรงนั้น เราโอเคกับการ รีไซเคิล แต่หากรีไซเคิลไม่ได้ ก็ขอเพิ่ม 4R ให้มันสามารถกลับคืนสู่ดิน (Return to Earth) ได้โดยไม่เป็นอันตรายก็พอ” นอกจากนี้ การใช้พลาสติกย่อยสลายหัวเชือ้ ธรรมชาติผสมกับพอลิเมอร์ ยังทำ�ให้สินค้ารักษ์โลกอย่างพลาสติกของคุณจ๋ามีราคาที่จับต้องได้มากกว่า เทคโนโลยีอน่ื ๆ เช่นเมือ่ เทียบกับพลาสติกจากมันสำ�ปะหลัง จะมีราคาสูงกว่า พลาสติกทีม่ สี ว่ นผสมของหัวเชือ้ ธรรมชาติ 1 เท่าตัว ดังนัน้ ทางออก ณ ขณะนี้ ก็คือการปรับโครงสร้างพลาสติกให้มีการผสมผสานระหว่างพลาสติกและ หัวเชือ้ ธรรมชาติ เพือ่ ควบคุมต้นทุนได้ มีราคาขายไม่สงู เกินไป และย่อยสลาย ได้ตามธรรมชาติ ซึ่งช่วยย่นระยะเวลาการย่อยสลายจาก 500 ปี ลงมาอยู่ที่ แค่ 5 ปี “พลาสติกย่อยสลายได้หมายถึง เมื่อพลาสติกแตกตัวจากการหมัก ความร้อน หรือความชื้น โมเลกุลของพลาสติกจะต้องเล็กพอจนจุลินทรีย์ ย่อยสลายพลาสติกนั้นได้ตามหลักชีวภาพ ดังนั้นเราจึงต้องผลิตนวัตกรรม จากธรรมชาติที่ทำ�ให้โมเลกุลพลาสติกเล็กลง ซึ่งพลาสติกย่อยสลายตาม ธรรมชาติของเรา เมือ่ ผลิตออกมาและถูกทิง้ ไปอยูใ่ นบ่อขยะจะย่อยสลายได้ เองภายใน 5 ปี หรือถ้าเริ่มระบบรีไซเคิลก็รีไซเคิลได้” พร้อมปรับเพื่อรับมือกับอนาคตเสมอ ทุกวันนี้แอดวานซ์ ไบโอ มีเทคโนโลยีผลิตเม็ดพลาสติกและขึ้นรูปเพื่อนำ�ไป ผลิตเป็นสินค้าและบรรจุภณั ฑ์ทค่ี รอบคลุมในกลุม่ บรรจุภณั ฑ์แบบ Single use หรือใช้แล้วทิง้ แทบทัง้ หมด เช่น ถุงหูหวิ้ ถุงขยะ ช้อน ส้อม มีด กล่องอาหาร ถ้วยนํ้า และหลอด โดยที่ทั้งหมดย่อยสลายได้ แต่แอดวานซ์ ไบโอ ยังคง ต่อยอดการนำ�เทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้ให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพอยูเ่ สมอ
“จากรุ่นแรกๆ ที่เรามีหลายเทคโนโลยี เราก็ค่อยๆ ตัดให้เหลือเทคโนโลยีที่ เหมาะกับคนไทย เรามีเหตุผลว่าทำ�ไมถึงเลือกใช้หัวเชื้อธรรมชาติผสม พลาสติก ให้พลาสติกธรรมดาย่อยสลาย เพราะจริงๆ แล้วพลาสติกเป็น ผลิตภัณฑ์ผลพลอยได้จากการผลิตนํ้ามัน ซึ่งทุกวันนี้ประเทศไทยส่งออก พลาสติกติดอันดับโลก และเราก็ยงั ใช้นํ้ามันมหาศาล ถ้าเราไม่ท�ำ แบบนี้ แล้ว พลาสติกธรรมดาจะย่อยสลายได้อย่างไร ในเมื่อการหยุดผลิตเม็ดพลาสติก แทบจะเป็นไปไม่ได้ แต่ถ้าวันไหนที่เราใช้ Tesla หรือรถยนต์ไฟฟ้ากันทั้ง ประเทศ วันนั้นเราจะบอกเลยว่า เราควรจะหยุดในสิ่งนี้ และนำ�พลาสติก จากมันสำ�ปะหลังมาใช้แทนได้ทันที” คุณจ๋าเล่าถึงการเตรียมความพร้อม ของบริษทั สูอ่ นาคต ทีจ่ ดุ มุง่ หมายวันนี้ คือการลดขยะและการทำ�ให้ขยะนัน้ ย่อยสลายได้ พร้อมกับการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออนาคตควบคู่กันไป “โลกนี้ไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบ 100 เปอร์เซ็นต์ หากรอแต่เทคโนโลยี สมบูรณ์แบบทีย่ อ่ ยสลายได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ทำ�จากธรรมชาติ 100 เปอร์เซ็นต์ และราคาก็ตอ้ งไม่เพิม่ ขึน้ เกิน 100 เปอร์เซ็นต์ มนุษย์อาจจะรอได้ แต่สง่ิ แวดล้อม คงรอไม่ไหว วันนี้เราจึงเริ่มใช้อะไรที่ใช้ได้ก่อนเพื่อหมุนความต้องการใน ตลาด ถ้ามีความต้องการเพิ่มมากขึ้น กำ�ลังในการผลิตก็จะตามมา ราคาก็ จะตอบโจทย์ตลาดขนาดใหญ่ การขยับขยายจะเริ่มง่าย” ไม่ว่าเทคโนโลยีการผลิตพลาสติกในอนาคตจะเป็นอย่างไร แต่สำ�หรับ บริษทั ผูผ้ ลิตย่อยสลายได้อย่างแอดวานซ์ ไบโอแล้ว ยังคงยึดมัน่ กับหลักการ บริหารที่ไม่เอาเปรียบใคร เช่นเดียวกับที่ต้องการเห็นผู้บริโภคชาวไทย ตระหนักถึงปัญหาการจัดการขยะพลาสติกอย่างรับผิดชอบ “เราเชือ่ ในการทําธรุ กิจ แบบโตไปด้วยกัน ทุกวันนี้เรามีเทคโนโลยีการผลิตที่ดี เราก็อยากหาเพื่อน ในวงการเดียวกันเข้ามาช่วยกันผลิต ช่วยกันขาย ทุกวันนีจ้ า๋ มีหน้าทีไ่ ปพูดคุย ทำ�ความเข้าใจกับทัง้ เจ้าของ ฝ่ายการขาย ฝ่ายผลิตในโรงงานขึน้ รูปพลาสติก เกือบทั่วประเทศ เพื่อสร้างแนวร่วมของผู้ผลิตพลาสติกที่ย่อยสลายได้ว่า มันมีแนวโน้มการเติบโตที่ดี เพราะเราเชื่อว่าสิ่งที่เราสร้างมันคืออนาคต ขณะที่ความยากคือเรือ่ งจิตใต้ส�ำ นึกของคน เพราะการทีเ่ ราอยูใ่ นเมือง ไม่ได้ ออกไปเห็นบ่อขยะ ไม่ได้เห็นว่าเราสร้างปัญหาให้กบั คนอืน่ มากแค่ไหน ขยะที่ เราทิง้ มันแค่ย้ายจากบ้านของเรา ไปในที่ของคนอื่น มันไม่ได้หายไป วันนี้ สัญญาณที่ดีเริ่มมีมากขึ้นแล้ว การรณรงค์ช่วยได้ แต่จะทำ�อย่างไรให้ยั่งยืน นั่นคือความท้าทาย” คุณจ๋าทิ้งท้าย
CREATIVE THAILAND I 23
Creative City : จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
เรียบง่ายให้ได้อย่าง
“คอสตาริกา” เรื่อง: วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ
CREATIVE THAILAND I 24
Photo by Samuel Charron on Unsplash
มี ค วามมั่ น ใจอะไรให้ ป ระเทศเล็ ก ๆ ที่ แ ม้ แ ต่ ชื่ อ ยั ง ไม่ ติ ด หู อ ย่ า ง คอสตาริกา กล้าประกาศกับชาวโลกว่าจะยกเลิกการใช้พลาสติก แบบใช้แล้วทิ้งและลดการปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ให้มีสุทธิ เท่ากับศูนย์ (Carbon Neutral) ภายในปี 2021 ซึ่งคาดว่าจะทำ�ได้ สำ�เร็จเป็นชาติแรกของโลก
ประวัติศาสตร์ของชาติ ประชาธิปไตยใบสีเขียว อาจนับได้ว่าเป็นความโชคดีทางภูมิศาสตร์ ที่ใน ยุคจักรวรรดิสเปนยังเรืองอำ�นาจเหนือดินแดนใน ทวีปอเมริกาใต้ได้มองข้ามคอสตาริกา อาณาจักร เล็กๆ ที่อยู่ล่างสุดของเขตแดนการปกครอง บวกกับทีภ่ มู ปิ ระเทศมีลกั ษณะเป็นภูเขาล้อมรอบ ตัดขาดจากดินแดนอืน่ ใกล้เคียง และมีชนพืน้ เมือง ทีส่ ามารถนำ�มาใช้เป็นแรงงานทาสได้เป็นจำ�นวน น้อย ทำ�ให้ชาวสเปนน้อยคนนักจะเลือกลงหลัก ปักฐานที่ดินแดนแห่งนี้ จนหลังยุคอาณานิคม สเปนสิ้นสุดลง คอสตาริกากลายเป็นดินแดนที่ ล้าหลังที่สุดในหมู่เพื่อนบ้าน แต่ความที่ใครๆ ก็ ยังไม่สนใจคอสตาริกากลับกลายเป็นความโชคดี อย่างหนึ่ง เพราะในช่วงทศวรรษ 1980 ยุคที่เกิด สงครามเย็นและสหรัฐอเมริกาพยายามเข้ามา แทรกแซงการเมืองในกลุม่ ประเทศละตินอเมริกา คอสตาริกากลับรอดพ้นการแทรกแซงครั้งนี้ แต่ ก็ถูกเลือกให้เป็นประเทศกันชนฝ่ายคอมมิวนิสต์ ของประเทศติดกันอย่างนิการากัว โดยสหรัฐฯ เลือกจ่ายเงินมูลค่ากว่าพันล้านเหรียญฯ เพื่อ แลกกับการให้ทหารฝ่ายต่อต้านคอมมิวนิสต์ของตน ตั้งการ์ดอยู่ในดินแดนคอสตาริกา ดังนั้น ในขณะที่เพื่อนบ้านสัญชาติละติน อเมริกาด้วยกันเกิดรัฐประหารซํ้าแล้วซํ้าเล่าจาก การยุแยงโดยสหรัฐฯ คอสตาริกากลับได้รับการ ปกป้องโดยปริยาย และเม็ดเงินมหาศาลจำ�นวนนัน้ ก็ เ ป็ น เกราะป้ อ งกั น ประเทศอย่ า งดี ใ นช่ ว ง เศรษฐกิจถดถอยหลังยุคสงครามเย็นสิ้นสุดลง แถมรากฐานความเป็นประชาธิปไตยแบบไร้ทหาร ตามบทบัญญัตริ ฐั ธรรมนูญของคอสตาริกาตัง้ แต่ ปี 1948 ยังช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายที่ประเทศต้อง ใช้ไปกับกองทัพ รัฐบาลยุคนั้นจึงมีเงินเหลือมา
ลงทุ น ด้ า นการศึ ก ษาและสาธารณสุ ข ให้ กั บ ประชาชน ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ก็ทำ�ให้ชาวคอสตาริกา ในปัจจุบันอ่านออกเขียนได้ถึงร้อยละ 98 และ องค์การอนามัยโลก (WHO) ยังจัดอันดับให้ คอสตาริกาเป็นที่หนึ่งในเรื่องการให้บริการด้าน สุขภาพทีย่ อดเยีย่ มในภูมภิ าคอเมริกากลางอีกด้วย และดูเหมือนว่าไม่ใช่เพียงพลเมืองเท่านัน้ ที่ อยูด่ มี สี ขุ ในประเทศเล็กๆ แห่งนี้ เพราะนอกจาก รายงานความสุขโลก (World Happiness Index) ประจำ�ปี 2017 จะชี้ว่าชาวคอสตาริกามีความสุข ทีส่ ดุ ในบรรดาคนชาติละตินอเมริกาด้วยกันเองแล้ว (อันดับที่ 12 ของโลก) ความสุขนี้น่าจะรวมไปถึง สัตว์ป่าน้อยใหญ่ที่อยู่ในดินแดนอันแสนสงบสุข แห่งนีด้ ว้ ยเช่นกัน เพราะคอสตาริกาเป็นประเทศแรก ในทวีปอเมริกาทีอ่ อกกฎหมายห้ามล่าสัตว์ทกุ ชนิด และ New Economics Foundation (NEF) ยัง ยกย่องให้คอสตาริกาเป็นประเทศทีม่ ผี นื ป่าสีเขียว และอุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก จากการ มีเขตป่าสงวนถึงร้อยละ 25 ของประเทศ จึงไม่ แปลกใจเลยว่าทำ�ไมดินแดนแห่งนี้ถึงได้รับการ ยกย่องให้เป็น “สวิตเซอร์แลนด์ของอเมริกากลาง” ดีต่อโลก ดีต่อคอสตาริกา ดีต่อเรา โดยปกติแล้ว ธุรกิจที่ต้องคืนประโยชน์กลับสู่ สิง่ แวดล้อมก็เพราะพวกเขาได้พรากบางอย่างไปจาก สังคม แต่แนวคิดนี้ไม่ใช่ในกรณีของคอสตาริกา หากมาดูในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิง นิเวศ (Ecotourism) ที่เป็นเสาหลักขับเคลื่อน เศรษฐกิจให้ประเทศนี้ ชาวคอสตาริกาต่างรู้ดีว่า
หากพวกเขาไม่ดูแลรักษาสิ่งที่ธรรมชาติมอบให้ อย่างผืนป่า ภูเขา และทะเล รายได้ที่น�ำ มาหล่อเลีย้ ง ครอบครัวและธุรกิจก็จะหายไป ปัจจุบันธุรกิจ ประเภทโรงแรมรีสอร์ตไม่ว่าขนาดเล็กหรือใหญ่ จึงพยายามรบกวนสิง่ แวดล้อมให้นอ้ ยทีส่ ดุ อย่าง เช่น โรงแรม Olas Verdes ที่ตั้งอยู่ใกล้เขตรักษา พันธุส์ ตั ว์ปา่ ในกัวนาคาสเต (Guanacaste) หนึง่ ใน พืน้ ทีเ่ ขตสีฟา้ ทีไ่ ด้ชอื่ ว่ามีผอู้ ยูอ่ าศัยสุขภาพดีและ มีอายุยนื ยาวทีส่ ดุ ในโลก ก็ได้ด�ำ เนินการผลิตไฟฟ้า โดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ด้วยตัวเองในสัดส่วน 20-35% ใช้สง่ิ อำ�นวยความสะดวกทีใ่ ห้บริการกับแขก ที่เข้าพักทั้งหมดด้วยวัสดุที่สามารถย่อยสลายได้ รวมทั้งใช้นํ้ายาทำ�ความสะอาดที่ไม่เป็นอันตราย ต่อสิง่ แวดล้อมเพือ่ ให้แน่ใจว่าหลังทำ�ความสะอาด เสร็จแล้วนํ้าทิ้งที่ไหลกลับคืนสู่ระบบนิเวศจะไม่ เป็นพิษต่อแม่นาํ้ ลำ�คลองและท้องทะเล พร้อมทัง้ จัดเตรียมจักรยานให้แขกได้ปนั่ ชมธรรมชาติแทน การเช่ า รถยนต์ ห รื อ จั ก รยานยนต์ เ พื่ อ ลดการ ปล่อยคาร์บอนและเสียงรบกวน รวมทัง้ ร้านอาหาร ฟิวชั่น El Manglar ในโรงแรมก็ใช้แผนธุรกิจที่ คำ�นึงถึงสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรกเช่นกัน โดย ทุกเช้า เจ้าของร้านจะเลือกซื้อวัตถุดิบออร์แกนิก ที่มาจากท้องถิ่นกว่า 70% ในครัวมีระบบจัดการ ของเหลือทิ้งโดยการนำ�มาทำ�เป็นปุ๋ยหมักต่อไป ทั้งหมดนี้ไม่ได้เป็นผลดีต่อสิ่งแวดล้อมรอบบ้าน ของพวกเขาเท่านั้น แต่ในแง่ธุรกิจ โรงแรม Olas Verdes มียอดการเติบโตพุ่งสูงขึ้นถึง 47% ในปี 2017 ด้วยส่วนใหญ่เพราะพวกเขาสามารถลด ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไปได้มาก
facebook.com/olasverdes
แต่ดว้ ยความเชือ่ ทีว่ า่ “สิง่ ทีเ่ ราทำ�กับโลก ย่อมส่งผล ถึงตัวเรา” (What you do to the Earth, you do to yourself.) ตามแบบฉบับของชาวคอสตาริกานัน้ อาจเป็นพลังแรงกล้าไม่น้อยที่คอยส่งเสริมให้คำ� ประกาศิตที่ให้ไว้ดังกล่าวเป็นจริงขึ้นมาได้ และ วิธกี ารทำ�คำ�มัน่ สัญญานีใ้ ห้ส�ำ เร็จเห็นเป็นรูปธรรม ก็เริม่ ต้นขึน้ แล้วจากการลงมือจัดการขยะหลังบ้าน ของพลเมือง การบริหารธุรกิจภายในชาติที่ต้อง ยั่งยืน และการมีนโยบายของรัฐที่ส่งเสริมด้าน สิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กัน
CREATIVE THAILAND I 25
Photo by Perry Grone on Unsplash facebook.com/CoopeTarrazuRL
“การอยูใ่ นประเทศเล็กๆ ทีเ่ ป็นเจ้าของความ หลากหลายทางชีวภาพสูงถึง 5% (หนึง่ ในประเทศ ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงที่สุดในโลก) มีประโยชน์มากก็จริง แต่มันก็มาพร้อมกับความ รับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่ การดำ�เนินงานอย่างยั่งยืน ไม่ได้เป็นทางเลือก แต่มนั คือความรับผิดชอบหลัก ในฐานะผูบ้ ริโภค เรามีพลังในการเปลีย่ นรูปแบบ ธุรกิจโดยการสนับสนุนธุรกิจทีย่ ดึ มัน่ ว่าจะรับผิดชอบ ต่อสังคม” หลุยส์ ปาร์โด (Luis Pardo) ผู้จัดการ โรงแรมกล่าวทิ้งท้าย นอกจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่เป็น พระเอกหลักของประเทศนีแ้ ล้ว อุตสาหกรรมทาง การเกษตรก็มบี ทบาทไม่นอ้ ยหน้าไปกว่ากัน โดย เฉพาะกาแฟที่เป็นผลผลิตส่งออกมูลค่ามากกว่า 300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี นาธาเนล จอห์นสัน (Nathanael Johnson) นักข่าวชาวอเมริกันที่
เดินทางไปสำ�รวจไร่กาแฟในคอสตาริกาวิเคราะห์ ให้ฟงั ว่า แม้ชาวไร่ทน่ี จ่ี ะเป็นเจ้าของพืน้ ทีไ่ ร่กาแฟ เล็กๆ แต่ก็มีการรวมกลุ่มกันที่เข้มแข็งมาก โดย เฉพาะกลุม่ CoopeTarrazú ที่เกษตรกรกว่า 400 เจ้าผนึกกำ�ลังกันบริหารและจัดการผลผลิตกาแฟ ภายในกลุม่ เป็นอย่างดี เริม่ ตัง้ แต่การปลูก เก็บเกีย่ ว ทำ�ความสะอาด ทำ�ให้แห้ง และส่งขายเมล็ดกาแฟ คุณภาพเยีย่ มให้กบั บริษทั ผลิตเครือ่ งดืม่ ชัน้ นำ�ของ ประเทศสหรัฐอเมริกา “รัฐบาลจะไม่ท�ำ อะไรทีส่ ง่ ผลกระทบกับเรื่องกาแฟโดยไม่ปรึกษาพวกเรา ก่อน” เฟลิกซ์ มองจ์ (Félix Monge) ผูจ้ ดั การ ฝ่ายธุรกิจของกลุม่ อธิบายสัน้ ๆ ให้เห็นถึงบทบาท ทีช่ ดั เจนของการรวมกลุม่ เกษตรกรที่นี่ นอกจาก เรื่อ งความเข้ ม แข็ ง ของกลุ่ม ชาวไร่ ก าแฟแล้ ว สมาชิกเกินกว่าครึง่ ของกลุม่ CoopeTarrazú ยัง สามารถผลิตกาแฟคุณภาพทีไ่ ด้รบั ตราสัญลักษณ์ รับรองจาก Rainforest Alliance อันเป็นหลักฐาน ยืนยันว่าไร่กาแฟของพวกเขาเป็นมิตรต่อสัตว์ป่า ดิน นา้ํ และชุมชนโดยรอบ รวมทัง้ มีการใช้แรงงาน ทีโ่ ปร่งใสด้วยเช่นกัน เราจะทำ�ตามสัญญา ขอเวลาอีกไม่นาน... คำ�ประกาศของกาลอส อัลวาราโด (Carlos Alvarado) ประธานาธิบดีของประเทศคอสตาริกา ทีบ่ อกว่าจะลดการปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ให้ได้สุทธิเท่ากับศูนย์ (Carbon Neutral) ให้ได้ ภายในปี 2021 คงไม่เกินจริงไปนัก เมือ่ การไฟฟ้า แห่งคอสตาริกาได้เฉลิมฉลองความสำ�เร็จจาก การใช้พลังงานหมุนเวียนภายในประเทศแบบ 100 CREATIVE THAILAND I 26
เปอร์เซ็นต์ ได้นานถึง 300 วัน (พลังงานส่วนใหญ่ มาจากพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานนํ้า และ พลังงานความร้อนใต้พิภพที่ประเทศสามารถ ผลิตได้เอง) ความสำ � เร็ จ ที่ เ พิ่ ง เกิ ด ขึ้ น ในปี 2017 นี้ เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของนโยบายระดับชาติใน การเป็นผูน้ �ำ ประเทศสายเขียว เพราะคอสตาริกา เริม่ ฟูมฟักการปลูกต้นไม้นบั ล้านๆ ต้นไว้ตงั้ แต่ปี 1984 ซึ่งในขณะนั้น ประเทศมีพื้นที่ป่าเพียง ร้อยละ 26 จนกระทั่งวันนี้พื้นที่ป่ามีมากกว่า ร้อยละ 52 อีกทัง้ ยังเป็นประเทศแรกทีม่ กี ารจัดตัง้ หน่วยงานที่ดูแลด้านสิ่งแวดล้อมแบบครบวงจร เป็นหน่วยงานเดียวกันภายใต้ชอื่ “Ministry of Environment, Energy and Telecommunications: MINAET” เพือ่ ลดความซํา้ ซ้อนของหน่วยงานทีด่ แู ล เรื่องสิ่งแวดล้อมภายในประเทศ อีกทั้ง MINAET ยังให้เงินสนับสนุนเจ้าของที่ดินที่เลือกบริจาค ที่ดินส่วนบุคคลเพื่อฟื้นฟูเป็นพื้นที่สีเขียวสำ�หรับ การอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า ด้วยเหตุผลที่ว่าพื้นที่ สี เ ขี ย วของพวกเขาจะกลายเป็ น แหล่ ง ต้ น นํ้ า ธรรมชาติทเี่ ป็นประโยชน์กบั อุตสาหกรรมท้องถิน่ ต่อไป เช่น การประมงและการท่องเที่ยว เป็นต้น รวมทั้งรัฐบาลยังมีเงินอุดหนุนสำ�หรับธุรกิจที่ สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้ โดย เงินสนับสนุนทีน่ �ำ มาใช้กม็ าจากต้นทุนการนำ�เข้า พลังงานเชือ้ เพลิงซึง่ คิดเป็นร้อยละ 3.5 ในปัจจุบนั นั่นเอง นอกจากเรื่องการส่งเสริมการผลิตพลังงาน สะอาดและคิดค้นวิธกี ารลดคาร์บอนในประเทศแล้ว ในเรื่องของมาตรการการลดใช้ถุงพลาสติกของ คอสตาริกาที่มีผลกับการช่วยลดคาร์บอนอีกทาง หนึ่งก็น่าสนใจไม่น้อย เมื่อกระทรวงสาธารณสุข สิ่งแวดล้อม และพลังงานของคอสตาริการ่วมมือ กับสำ�นักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ประกาศว่าจะยกเลิกการใช้ถุงพลาสติก แบบใช้แล้วทิ้ง (Single Use Plastic) ภายใน ประเทศให้ได้ภายในปี 2021 และระหว่างนี้ นักศึกษาและนักวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมยังช่วยกัน ระดมสมองเพื่อคิดค้นพลาสติกที่ผลิตจากพืช โดยเฉพาะการใช้กล้วยซึง่ ถือเป็นผลผลิตทางการ เกษตรอันดับต้นๆ ของประเทศ มาเป็นส่วนประกอบ ในการผลิตถุงพลาสติกไร้พิษภัยครั้งนี้ด้วย โดย ถุงพลาสติกจากกล้วยของพวกเขานั้นมีความ
CUBA BELIZE GUATEMALA
ทนทานมากกว่าถุงพลาสติกทั่วไปถึง 5 เท่า สามารถย่อยสลายได้เองภายใน 18 เดือน และ ยังปล่อยสารที่มีคุณสมบัติกำ�จัดศัตรูพืชระหว่าง การย่อยสลายได้อกี ต่างหาก อีกทัง้ คอสตาริกายัง วางแผนจะแทนทีถ่ งุ พลาสติกปกติ ด้วยพลาสติก ทีส่ ามารถละลายนํา้ ได้ภายใน 6 เดือนโดยไม่เป็น พิษกับท้องทะเล ด้วยความกังวลทีว่ า่ ปัจจุบนั ชาว คอสตาริกาสร้างขยะมูลฝอยรวมกันกว่า 4 พันตัน ต่อปี แต่มีเพียง 1 ใน 5 ของขยะทั้งหมดเท่านั้น ที่ถูกนำ�กลับมาใช้ใหม่ นั่นหมายความว่าขยะที่ เหลือยังคงถูกทิง้ อยูใ่ นระบบนิเวศอย่างในท้องทะเล และผืนป่าที่ชาวคอสตาริกาหวงแหน และหาก คนในประเทศยังคงนิ่งเฉยกับปัญหาดังกล่าว ภายในปี 2050 ท้องทะเลในประเทศจะมีพลาสติก แหวกว่ายอยูม่ ากกว่าจำ�นวนปลาทัง้ หมดของพวก เขาเสียอีก ดังนั้นแล้วจึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า ทำ�ไมคอสตาริกาจึงตืน่ ตัวในเรือ่ งการจัดการขยะ กันอย่างจริงจังตั้งแต่วันนี้ คอสตาริกา ประเทศที่ (กำ�ลัง) พัฒนาแล้ว หลายคนคงคิดว่าชาวคอสตาริกาโชคดีที่ได้เป็น เจ้ า ของทรั พ ยากรธรรมชาติ ที่ ส วยงามและ อุ ด มสมบู ร ณ์ ทั้ ง ยั ง นำ � มาสร้ า งเป็ น พลั ง งาน สะอาดใช้กนั ในประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพอีก แต่ ก็ ต้ อ งไม่ ลื ม ว่ า คอสตาริ ก าก็ เ ป็ น หนึ่ ง ใน ประเทศที่กำ�ลังพัฒนาซึ่งเผชิญหน้ากับความ ท้าทายทีต่ อ้ งการจะยกระดับความเจริญให้ทวั่ ถึง อยู่เช่นกัน แต่การถลุงใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มี อยู่มาพัฒนาประเทศให้ได้รับการยอมรับจาก สากลว่าเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ก็ไม่ได้เป็น ข้ออ้างที่คอสตาริกาจะเลือกแทนที่การมุ่งมั่น พัฒนาชาติให้ยง่ั ยืนเฉกเช่นทีท่ �ำ อยูท่ กุ วันนี้ และนี่ อาจสรุปได้เพียงคำ�เดียวสั้นๆ ว่า “¡Pura Vida!” คำ � พู ด ติ ด ปากของชาวคอสตาริ ก าที่ ใ ช้ ก ล่ า ว ทักทาย ปิดท้ายประโยค รวมทั้งเป็นคำ�บอกลา ซึ่งแปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า “Pure Life” (ชีวิต ทีบ่ ริสทุ ธิ)์ และการดำ�เนินชีวติ ให้บริสทุ ธิข์ องผูค้ น ที่นี่ก็คือ การมีวิถีชีวิตที่เรียบง่ายด้วยการใช้หลัก คิดที่ว่า ‘สิ่งที่มีอยู่นั้นดีอยู่แล้ว’ ชาวคอสตาริกา จึงรู้สึกขอบคุณในทรัพยากรธรรมชาติที่พวกเขา ได้เป็นเจ้าของ และพยายามช่วยกันรักษาสิง่ แวดล้อม รอบตัวอย่างดีที่สุดนั่นเอง
HONDURAS
EL SALVADOR NICARAGUA
UNITED STATES OF AMERICA
COSTA RICA
PANAMA
THE BAHAMAS
MEXICO
CUBA
COL
PUERTO RICO (USA)
BELIZE GUATEMALA
HONDURAS
EL SALVADOR NICARAGUA
COSTA RICA
VENEZUELA
PANAMA
ECUADOR
GUYANA
COLOMBIA
SURINAME
FRENCH GUIANA
ECUADOR
PERU
BRAZIL
FIVE FUN FACTS ABOUT COSTA RICA
ว่ากันว่าที่มาของ “¡Pura Vida!” มาจากภาพยนตร์เม็กซิโกเรื่อง PuraBOLIVIA Vida ที่โด่งดังใน คอสตาริกาตั้งแต่ปี 1956 โดยตัวละครหลักมักพูดคำ�นี้เสมอ ไม่ว่าจะตกอยู่ในสถานการณ์ เลวร้ายแค่ไหน ทำ�ให้ความหมายของ Pura Vida ทีใ่ ช้กนั โดยทัว่ ไปไม่ได้หมายถึงชีPARAGUAY วติ ทีบ่ ริสทุ ธิ์ ตรงตัว แต่ใช้ได้หลายความหมาย ตัง้ แต่ “I’m doing well”, “Everything’s cool”, “That’s life!”, “No worries”, “That’s great!” อย่างไรก็ตาม ในความเห็นของชาวคอสตาริ กา ความหมาย CHILE ที่ใช่ที่สุดของคำ�นี้ก็คือ “Nothing But Life” URUGUAY เพื่อลดมลพิษในซานโฮเซ เมืองหลวงของคอสตาริกา ชาวเมืองจะไม่ได้รARGENTINA ับอนุญาตให้ขับรถ หนึ่งวันต่อสัปดาห์ โดยวันที่ถูกห้ามขับรถจะถูกกำ�หนดจากเลขตัวสุดท้ายของทะเบียนรถ เช่น หากลงท้ายด้วยเลข 1-2 คือการห้ามขับรถในวันจันทร์ เป็นต้น หากประเทศฝรัง่ เศสขึน้ ชือ่ เรือ่ งไวน์จนต้องมีนกั ชิมไวน์มอื อาชีพ คอสตาริกาทีข่ นึ้ ชือ่ เรือ่ งกาแฟ ก็มีนักชิมกาแฟมืออาชีพเช่นกัน โดยเหล่านักชิมต้องผ่านการเทรนไม่ตํ่ากว่า 5 ปีเพื่อเรียนรู้ วิธีการแยกแยะรสชาติของกาแฟ อาจเรียกว่าคอสตาริกาเป็นเมืองหลวงของฮัมมิงเบิร์ดก็ได้ เพราะหนึ่งในสี่ของฮัมมิงเบิร์ด จำ�นวนกว่า 300 สายพันธุ์อาศัยอยู่ที่นี่ ชาวคอสตาริกาขึ้นชื่อว่ารักสงบและไม่ชอบทำ�ร้ายความรู้สึกของผู้อื่น ดังนั้นแทนที่จะบอกว่า ‘ไม่’ (No) พวกเขานิยมใช้คำ�ว่า ‘อาจจะ’ (Maybe) เพื่อใช้ในการปฏิเสธมากกว่า ที่มา: ข้อมูลประเทศคอสตาริกา โดยสำ�นักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงเม็กซิโกซิต้ี (มิถนุ ายน 2556) / บทความ “Costa Rica Sets Goal To Become The First Country To Ban Single-Use Plastic” (เมษายน 2018) จาก greenmatters.com / บทความ “Costa Rica has an ambitious new climate policy - but no, it’s not banning fossil fuels” (กรกฎาคม 2018) จาก vox.com / บทความ “Costa Rica has run on green energy for 300 days” (พฤศจิกายน 2017) จาก weforum.org / บทความ “Costa Rica modernized without wrecking the environment. Here’s how.” (ธันวาคม 2016) จาก grist.org / บทความ “How Costa Rica is going green” (พฤษภาคม 2012) จาก costarica.com / บทความ “How This Costa Rican Business Makes Sustainability Profitable” (มีนาคม 2018) จาก forbes.com / บทความ “Want to avert the apocalypse? Take lessons from Costa Rica” (ตุลาคม 2017) จาก theguardian.com / บทความ “What is the Meaning of Pura Vida?” (ตุลาคม 2018) จาก internationalliving.com / บทความ “Why getting rid of Costa Rica’s army 70 years ago has been such a success” (มกราคม 2018) จาก usatoday.com CREATIVE THAILAND I 27
PERU
The Creative : มุมมองของนักคิด
สฤณี อาชวานันทกุล
ไม่เห็นโลงศพ ไม่หลั่งนํ้าตา ระหว่างรอบล็อกเชนมา อย่าเพิ่งซักกางเกงยีนส์ เสียสละหรือรักสบาย? เข้าใจความยั่งยืนใน 12 ข้อ เรื่อง: Little Thoughts ภาพ: กวินท์ อ่อนหิรัญ
นีค่ ือบทสัมภาษณ์ที่เต็มไปด้วยความชัดเจนในทุกคำ�ตอบแบบไม่มอี ะไรให้เสียเวลาคิด ไม่ใช่เรื่องแปลก ก่อนทีค่ ำ�ว่าเศรษฐกิจ หมุนเวียนจะเป็นที่รู้จัก และความยั่งยืนจะเป็นภาคบังคับของเราทุกคน ใครที่ติดตามผลงานของสฤณี อาชวานันทกุล คงเห็น ตรงกันว่า เธอเกาะติดเรื่องนี้มานาน ล่วงเลยมาจนถึงวันที่เค้าลางหายนะระบบนิเวศมาเยือน จึงเป็นเวลาเหมาะสมที่จะกลับไป อัพเดตความรู้จากเธอ ไม่ว่าจะในฐานะนักวิชาการอิสระ นักสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อม นักเคลื่อนไหวทางสังคม ไปจนถึงในฐานะ ผู้บริโภค โดยเฉพาะในฐานะนักธุรกิจผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทวิจัย “ป่าสาละ” ซึ่งมีพันธกิจในการปลูกธุรกิจที่ยั่งยืน จนถึงตอนนี้ เธอมีหนังสือออกมาแล้วกว่า 60 เล่ม ไม่แปลกหากคนที่ ติดตามผลงานของเธอจะพลาดอะไรไปบ้าง แต่จงอย่าพลาดที่จะอ่าน บทความนี้ ทีเ่ ป็นส่วนผสมของความหวังและความจริงซึง่ เราทุกคนอาจต้อง ยอมรับ และช่วยกันตอบให้ได้ว่าจะปักธงไว้ตรงไหน-อย่างไร 1. ตั้งคำ�ถามให้ง่าย อะไรคือความไม่ยั่งยืน แม้ปา่ สาละคือพืน้ ทีป่ ลูกความยัง่ ยืน แต่สฤณีบอกว่าความไม่ยงั่ ยืนกลับทำ�ให้ เห็นภาพชัดเจนกว่า “เท่าที่ทำ�งานมา ความเข้าใจที่ถูกต้องว่าความยั่งยืน คืออะไรยังน้อย อาจจะแค่รู้สึกว่ามีปัญหา แต่การมองให้ชัดมันก็สำ�คัญ ไม่อย่างนั้นคนที่เริ่มตื่นตัวเขาจะคิดว่าใช้ถุงผ้าก็โอเคแล้ว ซึ่งไม่ใช่
ก็เลยกลับไปที่คำ�กล่าวของอาจารย์อมาตยา เซน (ผู้เขียนหนังสือ The Idea of Justice) ว่าความยุติธรรมนั้นเป็นนามธรรม มันต้องเถียงกัน เยอะทำ�ให้ขบั เคลือ่ นยาก แต่ถา้ เราตัง้ ต้นด้วยคำ�ว่าความอยุตธิ รรม มันมองเห็น เป็นรูปธรรมมากกว่า มีกรณีให้เห็นเยอะแยะ ดังนั้นแทนที่จะถามว่าทำ�ยังไง ให้มีความยุติธรรมมากขึ้น เราเปลี่ยนมาถามว่าทำ�ยังไงให้ความอยุติธรรม น้อยลง มันจะมองเห็นตรงกันมากกว่า ความยั่งยืนก็เหมือนกัน ถ้าบอกว่า บริษัทเราจะยั่งยืนมากขึ้น เราพูดได้แต่ฟังดูลอยมาก แต่หากบอกว่าความ ไม่ยงั่ ยืนมันสร้างผลกระทบอะไร แล้วเราจะค่อยๆ ลดผลกระทบนัน้ ได้ยงั ไง อย่างนี้มันชัดกว่า” 2. ธรรมชาติไม่มีเส้นตรง และตลาดที่ตกคำ�นวณ “จริงๆ แล้วภาวะโลกร้อน ในทางเศรษฐศาสตร์มันคือความล้มเหลวของ ตลาดที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่ผ่านมาเศรษฐกิจแบบเส้นตรง มันเป็นเศรษฐกิจ ที่ตักตวงต้นนํ้า ตักตวงทรัพยากรธรรมชาติ คุณเอาทรัพยากรมาผลิตสินค้า ซึง่ ในกระบวนการผลิตมันมีมลพิษ มีอะไรต่างๆ โดยคุณอาจจะรูห้ รือไม่กไ็ ด้ ผลิตเสร็จก็ขาย พอเอามาใช้ปลายทางคือทิง้ กลายเป็นขยะ มันจึงมีแนวคิด เรื่อง externalities หรือการวัดผลกระทบภายนอกที่เกิดขึ้นจากการผลิต สินค้าและบริการ ซึ่งเป็นต้นทุนที่ธุรกิจอาจไม่ได้รับไว้ทั้งหมด
CREATIVE THAILAND I 28
ในวันทีม่ าตรฐานส่วนใหญ่ยงั มีปัญหาเรื่องความน่าเชื่อถือ เทคโนโลยีจึงเป็นที่พึ่งส�ำคัญ “มาตรฐานต่างๆ มันเป็นสินค้า ในตัวมันเอง มันต้องมีเรื่อง ความน่าเชื่อถือ ซึ่งมีปัญหา มาก แต่เทคโนโลยีใหม่ๆ อย่าง บล็อกเชนช่วยได้
CREATIVE THAILAND I 29
แต่ในระบบเส้นตรงต่อให้เราพยายามบริหารจัดการผลกระทบภายนอก ดีแค่ไหน ถ้าคนยังบริโภคมากขึ้น มันก็ยากที่จะจัดการ นำ�มาซึ่งความคิด เรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียนหรือระบบปิด ซึ่งจุดเริ่มต้นมาจากสายสิ่งแวดล้อม ทีบ่ อกว่าเห็นไหมระบบเส้นตรงมันแย่ แต่ถา้ ลองไปดูธรรมชาติ ดอกไม้ปล่อย เกสรเป็นแสนเป็นล้าน ไม่ใช่วา่ เกสรทุกดอกทีป่ ล่อยออกมาจะเติบโตเป็นต้นไม้ แต่ท�ำ ไมเราไม่เคยใช้ค�ำ ว่าขยะหรือของเสียกับธรรมชาติ เพราะต่อให้มนั ไม่เป็น ต้นใหม่มนั ก็ยงั กลายเป็นอาหารให้จลุ นิ ทรีย์ เพราะฉะนัน้ ถ้าเราทำ�ระบบของ มนุษย์ให้เหมือนระบบธรรมชาติ อะไรที่พ่นออกมาแล้วสามารถนำ�ไปใช้ ประโยชน์ได้ มันก็จะเป็นระบบปิด ไม่มีคำ�ว่าของเสียอีกต่อไป 3. คำ�ถามใหญ่ใกล้ตัว เสียสละหรือรักสบาย มีบางแนวคิดที่มองว่า เศรษฐกิจหมุนเวียนนำ�ไปสู่ความยั่งยืนได้โดยไม่ต้อง ลดทอนความสามารถในการบริโภค “คิดว่าเรือ่ งนีม้ นั เชิงปรัชญาแล้วนะ คือ มันมีสองฝ่าย ฝ่ายแรกเชือ่ ว่าเทคโนโลยีแก้ปญั หาได้ทกุ อย่างในโลก เราไม่ตอ้ ง เสียสละอะไรเลย สบายมายังไงเราต้องสบายได้ต่อไป กับอีกฝ่ายที่เชื่อว่า ต้องจัดการกับพฤติกรรมหรือแรงจูงใจเราด้วย คุณต้องเสียสละบ้างสิ เพราะ คุณก็สบายมานานแล้ว อย่างที่ประชุมโลกร้อนก็เถียงกันเรื่องนี้ คนจีนก็บอกว่าเมื่อก่อนแก ปล่อยฟอสซิลมาก่อน จะมีหน้ามาบอกให้ฉนั หยุดปล่อยได้ไง แกก็ลดของแกสิ เพราะแกรวยแล้ว เถียงกันอยู่แค่นี้แหละ แต่สุดท้ายแล้วมันเห็นภาพชัดขึ้น ว่าต้องทำ�ทั้งคู่ เป็นไปไม่ได้ที่จะไม่มีใครเสียสละเลย เพราะระบบเส้นตรง ที่เราเคยใช้มามันสิ้นเปลืองมาก”
4. รักสบายน้อยหน่อย เปิดทางให้เทคโนโลยีมากหน่อย แต่ใช่ว่าการตัง้ ความหวังกับเทคโนโลยีจะเป็นเรือ่ งเสียหาย ตรงกันข้าม ในวันที่ มาตรฐานส่วนใหญ่ยังมีปัญหาเรื่องความน่าเชื่อถือ เทคโนโลยีจึงเป็นที่พึ่ง สำ�คัญ “มาตรฐานต่างๆ มันเป็นสินค้าในตัวมันเอง มันต้องมีเรื่องความ น่าเชือ่ ถือ ซึง่ มีปญั หามาก แต่เทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างบล็อกเชนช่วยได้ อย่าง ตอนนี้ก็มีแนวร่วมอันหนึ่งชื่อ Food Trust ที่ไอบีเอ็มจับมือกับวอลมาร์ต รวมถึงบริษัทอาหารใหญ่ๆ เอาบล็อกเชนมาทำ�ระบบตรวจสอบย้อนกลับ ของอาหาร สืบสาวกลับไปว่าต้นทางมาจากไหนอย่างไร ถ้าเกิดบล็อกเชน มันเวิร์กจริงแล้วเอาไปใช้อย่างแพร่หลาย มาตรฐานก็อาจไม่จำ�เป็นแล้ว ก็ได้” 5. เปลี่ยนวัสดุ เปลี่ยนสินค้าเป็นบริการ “เทคโนโลยีมีอะไรใหม่ๆ ที่น่าตื่นเต้นเยอะมาก เช่นวัสดุศาสตร์ท่ีมีการ ค้นคว้าทดลองรวดเร็วมาก อย่างตอนนี้ก็มีเรื่องวัสดุชีวภาพ สารสังเคราะห์ ที่มีส่วนประกอบเป็นสารอินทรีย์ที่ไม่เป็นอันตราย ประจวบเหมาะกับช่วงนี้ ทีโ่ ลกเข้าสูเ่ ศรษฐกิจดิจทิ ลั พอดี มันก็ชว่ ยในการเปลีย่ นแนวคิดจากสินค้าเป็น บริการได้ดีมาก ของหลายอย่างกลายเป็นแพลตฟอร์ม บริษัทอย่างอูเบอร์ แกร็บ เหล่านี้แม้จะมีปัญหา เช่น ไม่ดูแลพนักงาน ปัดความรับผิดชอบทาง กฎหมาย แต่ข้อดีของมันคือไม่ผลิตอะไรเลย เป็นแค่แพลตฟอร์มให้คนที่ ต้องการใช้รถมาเจอคนที่มีรถ ซึ่งมันเป็นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่ ไม่ได้ใช้ประโยชน์เต็มที่”
CREATIVE THAILAND I 30
ต้องยอมรับว่าธุรกิจมีสองแบบ เขาโดนด่า หรือเขามีวิสัยทัศน์ เป็นเรื่องที่ปกติมากที่ธุรกิจจะ โดนด่า คือถ้าเราท�ำธุรกิจเรา จะไปรู้เหรอว่าป่าไม้จะเป็นยังไง หรือจะมองเห็นไหมว่าคนที่อยู่ ต้นน�้ำเป็นยังไง มันไม่ใช่เรื่องที่ เขาเชี่ยวชาญ
6. โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี และไม่มีอะไรง่าย “แต่ตัวอูเบอร์หรือแกร็บก็ไม่ใช่ไม่มีต้นทุน เพราะต้องใช้พลังงานมหาศาล ในการสร้างศูนย์ขอ้ มูลทัง้ หลาย แล้วต่อให้คณุ เปลีย่ นวัสดุ เปลีย่ นสินค้าเป็น บริการ แต่สุดท้ายแล้วถ้าคุณยังบริโภคมโหฬาร มันก็ยากอยู่ดี ยกตัวอย่าง ผู้ นำ � ด้ า นธุ ร กิ จ ยั่ ง ยื น อย่ า งยู นิ ลี เ วอร์ ซึ่ ง มี ตั ว ชี้ วั ด หนึ่ ง เป็ น การเปลี่ ย น พฤติกรรมให้คนที่ใช้ของยูนิลีเวอร์ประหยัดมากขึ้น เขาก็ยอมรับว่าคืบหน้า ช้ามาก ตัง้ เป้าไว้แล้วไปไม่ถงึ ดังนัน้ เทคโนโลยีอย่างเดียวไม่พอ แต่เป็นเรือ่ ง ที่ว่าคุณจะเปลี่ยนพฤติกรรมคนได้ยังไงด้วย อย่างตอนนี้มีเรื่องเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมซึ่งสนุกมาก มีสตาร์ทอัพ รายหนึ่งในอเมริกาชื่อ Opower ขายไอเดียว่าจะทำ�ให้คนประหยัดไฟด้วย วิธตี า่ งๆ ทำ�แอพพลิเคชันด้วย ปรากฏว่าสิง่ ทีท่ �ำ ให้ประสบความสำ�เร็จไม่ใช่ เทคโนโลยี แต่เป็นเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม เช่น ในบิลค่าไฟฟ้าจะเปรียบเทียบ ให้เห็นเลยว่าเดือนที่ผ่านมาคุณใช้ไฟไปเท่านี้นะ เปรียบเทียบกับเพื่อนบ้าน แล้วคุณอยู่ตรงไหน มีหน้ายิ้ม หน้าเศร้า คือถ้าคุณรู้สึกว่าใช้ไฟน้อยแล้ว แต่พอเปรียบกับเพื่อนบ้านเราใช้เยอะกว่าก็จะมีหน้าบึ้ง ซึ่งได้ผลมากเพราะ คนต้องการแข่งขัน ฉันต้องประหยัดกว่าแกสิ” 7. จากต้นนํ้าถึงปลายนํ้า บทเรียนจากลีวายส์ น่าดีใจว่าธุรกิจที่ใส่ใจเรื่องความยั่งยืนพยายามหาวิธีสร้างแรงจูงใจเพื่อแก้ พฤติกรรมผูบ้ ริโภคมากขึน้ หนึง่ ในนัน้ ก็คอื ซีอโี อของลีวายส์ทอ่ี อกมาบอกลูกค้า ว่าอย่าซักกางเกงยีนส์ “มันเข้าใจง่ายมาก และมีจุดขายด้วย ใช่…ถ้าไม่ซัก สีมันเท่กว่า คือลีวายส์ศึกษาทั้งวงจรของตัวเอง แล้วพบว่าปัญหาใหญ่ก็คือ ต้นนํา้ กับปลายนํา้ เพราะจุดทีใ่ ช้นา้ํ เยอะมากคือในไร่ฝา้ ย กับในเครื่องซักผ้า ของลูกค้า ฝัง่ ต้นนํา้ เขาก็แก้ปญั หาด้วยการใช้มาตรฐาน BCI (Better Cotton Initiative) ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ดูแลเรื่องต้นนํ้าและควบคุมการใช้พลังงาน ในการผลิตฝ้าย โดยทางลีวายส์วางนโยบายว่าจะพยายามสั่งซื้อฝ้ายเฉพาะ จากไร่ที่มีตรานี้ ส่วนทางปลายนํ้าก็ทำ�เคมเปญ (อย่าซักกางเกงยีนส์) ส่วนการผลิตที่อยู่ตรงกลางก็อยู่ในอำ�นาจที่ลีวายส์จัดการเองได้อยู่แล้ว ซึง่ ก็เป็นเรือ่ งคล้ายกันกับหลายบริษทั ทีซ่ เี รียสเรือ่ งความยัง่ ยืน คือทำ�ในสิง่ ที่ เขาควบคุมได้ก่อน หลังจากนั้นมองไปข้างหลัง คือ supply chain แล้วก็ มองไปที่ value chain คือปลายนํ้า” 8. แค่ไหนเรียกจริงจัง การเปลี่ยนผ่านของสตาร์บัคส์ เมือ่ พูดถึงการแก้ปญั หาทีต่ น้ นํา้ แน่นอนว่าธุรกิจจำ�นวนมากเผชิญแรงกดดัน แต่ใช่ว่าการเปลี่ยนแปลงจะทำ�ได้ง่ายๆ ระยะเวลาเปลี่ยนผ่านจึงเป็นเรื่อง สำ�คัญมาก “ยกตัวอย่างข้าวโพดทีม่ ปี ญั หาเรือ่ งการทำ�ลายป่า สมมติวา่ บริษทั อาหารสัตว์ทุกรายประกาศเลยว่าพรุ่งนี้เลิกรับซื้อข้าวโพด แล้วเกษตรกร จะเป็นยังไง เพราะเขาซื้อข้าวโพดมาเตรียมปลูกแล้ว สำ�หรับเกษตรกรอันนี้ คือไม่รับผิดชอบ ถ้าจะแก้ปัญหา คนก็ต้องอยู่ได้ ธรรมชาติก็ต้องอยู่ได้ ซึ่งมันมีวิธีแต่มันต้องใช้เวลา ต้องมีสิ่งที่เรียกว่า transition period (ระยะ เปลี่ยนผ่าน) ถ้าบริษัทใหญ่กำ�หนดมาตรฐานมาตูมเดียว แต่ไม่มีใครทำ�ได้ ก็ไม่มี ประโยชน์ กรณีทนี่ า่ สนใจมากคือสตาร์บคั ส์ ซึง่ มีมาตรฐานเป็นของตนเองที่
ชื่อว่า C.A.F.E ลองคิดดูว่าห่วงโซ่อุปทานของสตาร์บัคส์มันยาวขนาดไหน แต่เขาไม่ได้ไปด้วยมาตรฐานนี้ตัวเดียว เขาคิดด้วยว่าทำ�ยังไงให้เกษตรกร ไม่แย่ เลยไปจับมือกันกับ Conservation International ซึ่งเป็นเอ็นจีโอที่มี ความรู้เรื่องการปลูกกาแฟใต้ต้นไม้ พอไม่ต้องตัดต้นไม้ก็แปลว่าต้นไม้ช่วย ดูดซับคาร์บอนต่อ ตรงนี้สามารถเอาคาร์บอนเครดิตไปขาย แล้วเอาเงินไป อุดหนุนเกษตรกรให้เปลี่ยนผ่าน เขาพยายามคิดแล้วปรับเป็นหลายๆ ชั้น สำ�หรับซัพพลายเออร์ใหญ่หน่อยก็อาจจะเข้มกว่า ทั้งหมดนี้ใช้เวลา 7-8 ปี แต่ประเด็นคือเราเรียนรู้จากเขาได้” 9. ด่าธุรกิจได้ แต่ต้องเข้าใจด้วย “ต้องยอมรับว่าธุรกิจมีสองแบบ เขาโดนด่า หรือเขามีวิสัยทัศน์ เป็นเรื่องที่ ปกติมากที่ธุรกิจจะโดนด่า คือถ้าเราทำ�ธุรกิจเราจะไปรู้เหรอว่าป่าไม้จะเป็น ยังไง หรือจะมองเห็นไหมว่าคนที่อยู่ต้นนํ้าเป็นยังไง มันไม่ใช่เรื่องที่เขา เชีย่ วชาญ อย่างบริษทั ในอเมริกาหรือยุโรปเขาก็พดู ชัดเจนว่า เขาไม่ได้ท�ำ สิง่ พวกนี้เพราะเขารักสิ่งแวดล้อม เขาแค่อยากอยู่รอด อยากรักษาความเป็น ผู้นำ� และเขาเชื่อว่าจะรักษาความเป็นผู้นำ�ไม่ได้ ถ้าไม่จัดการเรื่องความ ยั่งยืน” 10. เบื่อเอ็นจีโอก็ได้ แต่ก็ต้องเข้าใจด้วย “หากไม่มีเอ็นจีโอ หลายปัญหาเราอาจจะไม่เห็นก็ได้ แต่ช่องว่างอย่างหนึ่ง ในเมืองไทยคือมีเอ็นจีโอจำ�นวนไม่น้อยที่เกลียดธุรกิจ ยังไงก็เลว ต้องเข้าใจ ว่ า เอ็ น จี โ อมี ห ลายประเภท อย่ า งในต่ า งประเทศถ้ า เป็ น เอ็ น จี โ อสาย สิ่งแวดล้อมจะเป็น dark green มีหน้าที่ตรวจสอบอย่างเดียวแต่ไม่มีวันที่จะ ไปเข้าร่วมกับธุรกิจได้ กับที่เป็นสาย bright green ร่วมมือกับธุรกิจได้ ซึ่ง ต้องอาศัยทั้งสองแบบ ถ้าคุณเป็นสายไบรท์ไปทำ�งานกับธุรกิจแล้วไม่มีสาย
CREATIVE THAILAND I 31
ดาร์กมาบอกว่าเป้าหมายในอุดมคติคอื อะไร คุณอาจจะหลงทางเพราะธุรกิจ อาจเลือกเป้าหมายที่ง่ายกับตัวเอง แต่ถ้ามีแต่สายดาร์ก คุณก็พูดได้อย่าง เดียวว่าธุรกิจต้องอนุรักษ์วิ่งแวดล้อม แต่ว่าธุรกิจไม่มีคนไปช่วยเขา” 11. ธุรกิจไทยทำ�ได้ แต่ทำ�คนเดียวไม่ได้ เมือ่ ขอให้ยกตัวอย่างธุรกิจไทยทีจ่ ริงจังเรือ่ งความยัง่ ยืน ปูนซีเมนต์ไทย (SCG) คือชื่อแรกที่เธอนึกออก “SCG เขาค่อนข้างบูรณาการจริงๆ แล้วมีการตั้ง เป้าหมายให้ชดั เจน เขาประกาศด้วยว่าจะเป็นผูน้ �ำ ด้านความยัง่ ยืนในระดับ อาเซียน ซึ่งแปลว่าเวลาเขาไปเทคโอเวอร์บริษัทนอกประเทศ เขาต้อง พยายามเปลีย่ นวัฒนธรรมองค์กรให้มองเรือ่ งความยัง่ ยืนด้วย แต่มนั เหมือน กับการวิ่งแข่ง แล้วเขาวิ่งอยู่คนเดียว เพราะที่สองห่างจากเขาเยอะมาก ประเด็นคืออยูค่ นเดียวจะสนุกยังไง คุณจะตัง้ เป้าอะไรให้ตวั เอง คุณลองตัง้ เป้า ทีท่ า้ ทายได้ไหม เช่น ในระดับอุตสาหกรรม คุณมีบทบาทยังไงในการเปลีย่ น อุตสาหกรรมปูนหรืออุตสาหกรรมกระดาษให้มีความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น 12. นรกมีจริง และสิ่งที่ต้องทำ� “ไม่ทัน” คือคำ�ตอบแบบไม่ต้องคิดเมื่อถามว่าเราจะหยุดยั้งหายนะระบบ นิเวศทันไหม “ไม่เห็นโลงศพ ไม่หลั่งนํ้าตา ขนาดมีรายงานมาเป็นสิบปีแล้ว ว่ากรุงเทพฯ จะจมนํา้ มีการประเมินค่าเสียหายกันเป็นแสนล้าน ก็ไม่เห็นมีการ พูดเรื่องนี้กันเลย ทุกอย่างต้องเริม่ จากความตระหนักว่าถ้าไม่ท�ำ แล้วจะแย่ แล้วต้องสร้าง แรงจูงใจให้ถกู ต้องด้วยการเปิดข้อมูลให้โปร่งใส ยกตัวอย่างเช่น กรมควบคุม มลพิษซึ่งมีข้อมูลเยอะไปหมด อย่างในอเมริกาคุณสามารถเข้าไปดูข้อมูล แต่ละรายพื้นที่ได้เลย ดูได้เลยว่าโรงงานนี้ปล่อยสารอะไรบ้าง กลไกทีส่ �ำ คัญมากก็คอื ภาษีคาร์บอน ซึง่ ตรงไปตรงมามาก ถ้าคุณคิดว่า การปล่อยคาร์บอนวันนี้มันเกินขนาดและทำ�ให้เกิดปัญหา คุณต้องลงโทษ และการลงโทษที่ชัดเจนคือเก็บภาษีคาร์บอนไปเลย เพื่อไม่ให้เกิดความได้ เปรียบเสียเปรียบ ไม่อย่างนัน้ คนทีท่ �ำ กับไม่ท�ำ (เรือ่ งความยัง่ ยืน) มันก็ตา่ งกัน ความยากคือเราจะปักธงตรงไหนให้เกิดความคืบหน้าทีแ่ ท้จริง บางปัญหา มันปักง่ายกว่าปัญหาอืน่ เช่นเรือ่ งภาวะโลกร้อน เพราะมีขอ้ มูลและหลักฐาน ชัดเจน IPCCi ก็บอกแล้วว่าต้องคุมให้โลกร้อนขึ้นไม่เกิน 1.5 องศาภายใน 2030 เพราะฉะนัน้ เราก็ถอยกลับมาได้ในระดับของประเทศ ระดับของบริษทั ว่าเราควรจะปักธงเล็กๆ ของเราทีป่ ระมาณไหน ตัง้ เป้าหมายยังไงให้นา่ เชือ่ ถือ แล้วนำ�ไปคำ�นวณและวางแผนได้ แล้วการพัฒนายั่งยืนต้องนึกถึงการมี ส่วนร่วม ทำ�ยังไงให้ประชาชนในแต่ละท้องถิ่นมีส่วนร่วม มีอำ�นาจตัดสินใจ คนไทยอาจจะมักง่าย ใจเย็น แต่จุดแข็งของเราคือเราร่วมไม้ร่วมมือ กันได้เป็นอย่างดีถ้าเป็นวิกฤตที่ถึงตัวแล้ว ดังนั้นต้องวาดภาพให้เห็นก่อนว่า นรกมีจริง”
นอกจากเป็นคนทำ�งานด้านความยัง่ ยืน สฤณียงั เป็นนักท่องพิพธิ ภัณฑ์ (ดูเพจโลกในนิทรรศการ) ผู้ชื่นชอบการเล่นเกม (อ่านได้จากสํานักข่าว ออนไลน์ The Matter คอลัมน์ Game Theory) ไปจนถึงบทบาท ล่าสุดอย่างการเป็นผู้ร่วมก่อตั้งสำ�นักพิมพ์มาแรงอย่าง SALT ที่เน้น พิมพ์หนังสือด้านวิทยาศาสตร์และปรัชญา หากอยากรูจ้ กั เธอให้มากทีส่ ดุ เตรียมเรีย่ วแรงให้พร้อมแล้วลอง แอบส่องหนังสือกว่า 1,700 เล่มที่เธออ่าน และอีกกว่า 60 เล่ม ที่เธอเขียนและแปล ทาง Goodreads หรือหากอยากตามต่องานวิจัยที่ป่าสาละทำ� สามารถเข้าไปดู ได้ที่ www.salforest.com
i Intergovernmental Panel on Climate Change - คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วย
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
CREATIVE THAILAND I 32
Creative Will : คิด ทํา ดี
youtube.com/watch?v=SVKUsmjfh8U
เมืองเล็กๆ กับเป้าหมายสุดยิ่งใหญ่ จะไม่ทิ้งอะไรเป็นขยะภายในปี 2020! เรื่อง: กรณิศ รัตนามหัทธนะ
บ้านเรา เจอถังแยกขยะ 4 สี 4 แบบยังต้องดูดีๆ ก่อนจะหย่อนขยะในมือ ลงไป แต่เมืองเล็กๆ ในญีป่ นุ่ อย่างคามิคทั สึ (Kamikatsu) พลเมือง 1,580 คน อาศัยในบ้านราว 800 หลังคาเรือน ต้องแยกขยะ 45 อย่าง 13 ประเภททุกวัน! ตั้งแต่ปี 2003 ชาวเมืองนี้ตั้งเป้าหมายสุดเจ๋งว่า “ภายในปี 2020 จะต้องเป็น เมือง zero-waste ให้ได้” แปลง่ายๆ ว่าจะไม่เหลืออะไรทิ้งเป็นขยะให้เผา หรือฝังกลบเลยแม้แต่ชิ้นเดียว “เรารีไซเคิลทุกอย่างที่ทำ�ได้” คาซึยูกิ คิโยฮาระ (Kazuyuki Kiyohara) ผูจ้ ดั การสถานีขยะประจำ�เมืองกล่าว “อะไรทีย่ งั นำ�กลับมาใช้ใหม่ได้ เราขาย เป็นรายได้ของเมือง ส่วนที่เหลือเราพยายามหาวิธีจัดการในราคาย่อมเยา หากขยะทั้งหมดนำ�กลับมาใช้ใหม่ได้ นั่นก็คือ zero-waste” ในอดีต ก่อนทศวรรษ 1950 ญีป่ นุ่ เป็นสังคมรีไซเคิลตัวยงอยูแ่ ล้ว โดยมี อัตราการรีไซเคิลขยะสูงกว่าปัจจุบนั เสียอีก แต่เมื่อสงครามโลกครัง้ ทีส่ องสงบ ญีป่ นุ่ ฟืน้ ประเทศ เศรษฐกิจเฟือ่ งฟูและโรงงานอุตสาหกรรมผุดขึน้ เต็มไปหมด ทำ�ให้ญี่ปุ่นมีขยะอุตสาหกรรมจำ�นวนมาก ประกอบกับการขยายตัวอย่าง รวดเร็วของสังคมเมือง ทำ�ให้เกิดขยะจากการก่อสร้าง และขยะจากบ้านเรือน ภายในเวลา 20 ปี (1960-1980) ปริมาณขยะทัว่ ญีป่ นุ่ เพิม่ ขึน้ ถึงห้าเท่า ทำ�ให้ ทางการต้องขึน้ ภาษีเพือ่ จัดสร้างเตาเผาขยะและหาวิธจี ดั การขยะทีม่ ปี ระสิทธิภาพ จนปัจจุบัน ญี่ปุ่นไม่ถือว่าเป็นประเทศที่โดดเด่นเรื่องการรีไซเคิลอีกต่อไป แม้ว่าเมืองคามิคัทสึจะไม่ใช่เมืองอุตสาหกรรม แต่ก็ตื่นตัวในเรื่องการ จัดการขยะมากกว่าเมืองอื่นๆ ในญี่ปุ่น จนถูกยกให้เป็นต้นแบบ บ้านเรือน บางส่วนในเมืองตั้งอยู่ห่างๆ กัน หากจัดให้มีรถเก็บขยะไปเก็บทุกบ้านแล้ว นำ�มาเผา จะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมาก ในปี 1994 ส่วนราชการท้องถิ่นของ เมืองจึงระดมสมองกันเพือ่ คิดวิธลี ดและจัดการขยะ การสำ�รวจเบือ้ งต้นพบว่า ขยะสดมีปริมาณสูงถึงร้อยละ 30 ซึง่ เป็นขยะทีม่ ปี ริมาณความชืน้ สูง จึงสิน้ เปลือง เชื้อเพลิงในการเผาหนักเข้าไปอีก ทางการจึงลองวิธีที่ดีกว่านั้น คือทำ�เป็น ปุ๋ยหมัก และให้เงินอุดหนุนแก่ชาวบ้านที่ต้องการซื้อเครื่องแปรรูปขยะสด
youtube.com/watch?v=SVKUsmjfh8U
(ซึง่ เป็นของใหม่ส�ำ หรับญีป่ นุ่ ในขณะนัน้ ) บ้านเรือนร้อยละ 97 ต่างซือ้ เครือ่ งนี้ มาใช้ ก่อนจะเริ่มใช้กระบวนการรีไซเคิลขยะอื่นๆ ในปี 1997 เป็นต้นมา ชาวเมืองคามิคทั สึตอ้ งปรับตัวในระยะแรกๆ เพื่อ ‘เตรียม’ ขยะก่อนนำ�ไป ส่งมอบให้สถานีจดั การขยะ โดยต้องล้างให้สะอาดและแยกเองก่อนหนึง่ รอบ และทางการท้องถิน่ จะจัดหาผูป้ ระกอบการทีจ่ ะนำ�วัสดุตา่ งๆ ไปรีไซเคิลเป็น ผลิตภัณฑ์ใหม่ เมือ่ จำ�นวนผูป้ ระกอบการมากขึน้ เรือ่ ยๆ ทำ�ให้คนเมืองนีต้ อ้ งแยก วัสดุต่างๆ ที่ต้องการทิ้งออกเป็น 45 อย่างเพื่อนำ�มาให้ “สถานีจัดการขยะ” ประจำ�เมืองที่สะอาดสะอ้านและเป็นระเบียบเรียบร้อย มีเจ้าหน้าที่คอยช่วย เหลือชาวบ้านที่ไม่แน่ใจว่าขยะนี้จะลงถังไหนดี โลหะถูกแยกทิ้งเป็น 5 ชนิด พลาสติก 6 ชนิด และกระดาษ 9 ชนิด ขยะบางประเภททีร่ ไี ซเคิลไม่ได้จริงๆ เช่น พีวีซี ยาง ผ้าอ้อมเด็กแบบใช้แล้วทิ้ง ผ้าอนามัย จะถูกนำ�ไปเผา ในเมือง มีรา้ นทีช่ าวบ้านนำ�เสือ้ ผ้าหรือเครือ่ งเรือนทีไ่ ม่ใช้แล้วไปฝากไว้ ใครเอาของไปให้ จะแลกกับของชิ้นอื่นๆ ที่ร้านก็ได้ นอกจากนี้ยังมีโรงงาน ที่เหล่าพนักงานช่วยกันทำ�ผลิตภัณฑ์ใหม่จากวัสดุเหลือใช้ เช่น เอากิโมโน เก่าๆ มาทำ�ตุ๊กตาหมี เป็นต้น การคัดแยกวัสดุเหลือทิง้ แบบ ‘ละเอียดสุดๆ’ ทำ�ให้ขายขยะได้ราคาสูง เฉพาะกระดาษกับโลหะสามารถขายนำ�เงินเข้าชุมชนได้มากถึง 2.5-3 ล้าน เยนต่อปี (ราว 7.3-8.7 แสนบาท) และเงินจำ�นวนนีจ้ ะถูกนำ�กลับมาสนับสนุน การจัดการขยะของเมืองต่อไป ทำ�ให้ชาวเมืองร่วมแรงร่วมใจกันคัดแยกขยะ จนปัจจุบันมีอัตราการรีไซเคิลขยะอยู่ที่ 81% ซึ่งสูงมากๆ (เมื่อเทียบกับใน ระดับประเทศที่ญี่ปุ่นรีไซเคิลขยะได้เพียง 19% สหรัฐอเมริกา 35% อังกฤษ 43% เกาหลีใต้ 59% และออสเตรีย 58%) แน่นอนว่า เมืองเล็กๆ อย่างคามิคัทสึจะบริหารจัดการขยะได้ง่ายกว่า ประเทศใหญ่ที่มีประชากรหลักสิบล้าน ร้อยล้าน แต่หากลองเปรียบเทียบว่า เมืองๆ นีก้ ม็ ปี ระชากรไม่มากไม่นอ้ ยไปกว่าละแวกบ้านของเราในรัศมีไม่ถงึ สิบกิโลเมตร หากเขารีไซเคิลขยะได้ถงึ 81% เราก็ยอ่ มทำ�ได้ในชุมชนของเรา บ้านของเรา แค่ลองช่วยกันแยกขยะและนำ�วัสดุที่ยังใช้ได้กลับมาใช้ใหม่ โดยไม่ปล่อยให้หน้าที่นี้เป็นของคุณลุงซาเล้งแต่เพียงผู้เดียว
ทีม่ า: บทความ “Kamikatsu: The Japanese town working towards a zero-waste goal by 2020” โดย Jake Sturmer จาก abc.net.au, บทความ “The Kamikatsu Zero Waste Campaign: How a Little Town Achieved a Top Recycling Rate” จาก nippon.com, บทความ “The simple way this Japanese town has become nearly zero-waste” โดย Leanna Garfield จาก businessinsider.com CREATIVE THAILAND I 34