Creative Thailand Magazine

Page 1

มกราคม 2562 ปีที่ 10 I ฉบับที่ 4 แจกฟรี

Creative City Pattaya Brand The Creative ขอนแก่นพัฒนาเมือง Creative Startup ViaBus

เมื่อแบรนด์สร้างเมือง



Photo by Cem Ersozlu on Unsplash

จุดประสงค์ของเมืองคือการมีทางเลือกที่มากเพียงพอ Jane Jacobs

นักเขียน นักข่าว และนักออกแบบพัฒนาเมืองชาวอเมริกัน


Contents: สารบัญ

The Subject

6

กลับบ้านอย่างปลอดภัยด้วยแอพพลิเคชัน SafetiPin / กีฬาสร้างเมือง / STREET SCAPE เดินเจริญกรุง

Creative Resource 8 Report / Books

MDIC 10 แนวคิดเมืองอัจฉริยะ (Smart City)

Local Wisdom

12

Cover Story

14

คำ�ขวัญจังหวัดกับวิชาการตลาด 101 เมื่อแบรนด์สร้างเมือง

Insight 20

Better Reykjavik: โลกหมุนกลับทีเ่ รคยาวิก

Creative Startup 22 เลิกลุ้น ไม่รอเคว้ง กับการเดินทางที่กำ�หนดได้ด้วย ViaBus

Creative City

24

The Creative

28

Creative Will

34

Pattaya Brand

“ขอนแก่นพัฒนาเมือง” เมื่อเมืองคือส่วนร่วมของทุกฝ่าย นครสีเขียวและผู้พิทักษ์

บรรณาธิการทีป่ รึกษา l อภิสทิ ธิ์ ไล่สตั รูไกล บรรณาธิการอำ�นวยการ l พิชติ วีรงั คบุตร ทีป่ รึกษา l ศิรอิ ร หริม่ ปราณี, ชมพูนทุ วีรกิตติ, พจน์ องค์ทวีเกียรติ, เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร บรรณาธิการบริหาร l พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์ กองบรรณาธิการ l มนฑิณี ยงวิกลุ , ปิยวรรณ กลิน่ ศรีสขุ เลขากองบรรณาธิการ l วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ ศิลปกรรม l ชิดชน นินนาทนนท์ ประสานงานกองบรรณาธิการ l วนบุษป์ ยุพเกษตร ช่างภาพและมัลติมีเดีย l ภีร์รา ดิษฐากรณ์ จัดทำ�โดย l สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) (CEA) 1160 อาคารไปรษณีย์กลาง ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10501 โทร. 02 105 7400 แฟกซ์. 02 105 7450 พิมพ์ที่ l โรงพิมพ์ดับบลิวพีเอส (ประเทศไทย) จำ�กัด โทร. 02 313 4405 แฟกซ์. 02 313 4445 จำ�นวน 15,000 เล่ม ติดต่อลงโฆษณา: Commu.Dept@tcdc.or.th

ภาพปกโดย Jezael Melgoza on Unsplash

นิตยสารฉบับนีใ้ ช้หมึกพิมพ์จากนา้ํ มันถัว่ เหลืองทีไ่ ม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทัง้ ยังเป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อม และใช้กระดาษ รีไซเคิล ซึ่งเป็นผลผลิตของผู้ประกอบการไทย จัดทำ�ภายใต้โครงการ “Creative Thailand สร้างเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์” โดยสํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจ สร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) (CEA) ซึ่งมีเป้าหมายในการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) และผลักดันการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส แสดงที่มา-ไมใชเพื่อการคา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย แสดงที ่มา-ไมใTHAILAND ชเพื่อการคา-อนุI ญ4าตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย CREATIVE


Photo by Element5 Digital on Unsplash

Editor’s Note: บทบรรณาธิการ

แบรนดิ้งเมือง แม้ว่าโลกของเราจะมีอยู่ใบเดียว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราทุกคนจะไม่ถูก แบ่งออกจากกัน อย่างน้อยๆ เราก็ถกู แบ่งออกจากกันตัง้ แต่ระดับใหญ่ๆ อย่าง การแบ่งเป็นทวีป เป็นภูมภิ าค แบ่งโซน ไปจนถึงการแบ่งออกเป็นแต่ละประเทศ เมือง เขต ย่าน ไปจนถึงระดับครัวเรือน (โดยยังไม่นบั การแบ่งแยกเรือ่ งชนชาติ สีผวิ ความเชือ่ ทัศนคติ ฯลฯ ทีเ่ ป็นปัญหาประจำ�ของพลเมืองโลกมาโดยตลอด) เมื่อบวกเข้ากับความชอบแข่งขันของเผ่าพันธุ์มนุษย์ เราจึงได้เห็นสถิติ การจัดอันดับเพือ่ เป็นทีห่ นึง่ ในแง่มมุ ต่างๆ อยูบ่ อ่ ยครัง้ ไม่วา่ จะเป็นการแข่งขัน เชิงกายภาพอย่างขนาดของประเทศ จำ�นวนประชากร จำ�นวนทรัพยากร ธรรมชาติ หรือการแข่งขันด้านความสามารถของประเทศ เช่น ขีดความสามารถ ในการแข่งขันเชิงเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา เทคโนโลยี นวัตกรรม รายได้ การค้าขาย การส่งออก ไปจนถึงการแข่งขันทักษะความสามารถด้านต่างๆ ของพลเมือง ความเป็นชาติ ความเป็นเมือง และความเป็นย่านเหล่านี้ จึงต้องได้รบั การ “แบรนดิ้ง” โดยปฏิเสธไม่ได้ ทั้งนี้ก็เพื่อให้คนในชาติรู้สึกรักและหวงแหน เข้าใจในอัตลักษณ์ของตน เกิดความภูมิใจในการมีส่วนร่วมพัฒนาถิ่นที่อยู่ ให้เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น เพื่อที่จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ การแบรนดิ้งชาติหรือประเทศจึงมีให้เห็นหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น การประชาสัมพันธ์ของดีของประเทศหรือของเมืองเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว การโปรโมตศักยภาพของเมืองเพื่อดึงดูดผู้ที่มีพรสวรรค์ในด้านต่างๆ เข้ามา อาศัยและทำ�ประโยชน์ หรือการแสดงขีดความสามารถทางการแข่งขันเชิงธุรกิจ เพื่อดึงดูดเม็ดเงินการลงทุนจากภายนอก

แนวโน้มความร่วมมือร่วมใจในการสร้างชาติแบบที่ไม่ใช่การทำ�สงคราม เพือ่ ขยายอาณานิคมอย่างในอดีตเหล่านี้ จึงถูกเปลีย่ นมาอยูใ่ นรูปแบบของการ แสวงหาความร่วมมือเพื่อสร้างชาติให้มีฐานะเป็น “แบรนด์” ที่คนทุกคนรัก คำ�ว่า Branded City จึงเกิดขึ้นในหลายๆ พื้นที่ของโลก บนแนวคิดการสร้าง ทางเลือกใหม่ๆ ทีท่ กุ คนในสังคมสามารถตัดสินใจทีจ่ ะเลือกได้รว่ มกัน สามารถ ทีจ่ ะปรับเปลีย่ นพืน้ ทีต่ า่ งๆ หรือการเข้าถึงบริการสาธารณะ และสาธารณูปโภค พื้นฐานได้อย่างเท่าเทียม เสมอภาค ไปจนถึงความสามารถที่จะลุกขึ้นมาเพื่อ พูดและทำ�ในสิ่งที่ตนเองอยากได้ให้เกิดผลจริง แนวคิดความร่วมมือในการสร้างเมืองโดยหน่วยเล็กๆ ของสังคม ที่ไม่ใช่ แค่ภาครัฐ จึงเริ่มปรากฎให้เห็นมากขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่การริเริ่มโครงการเพื่อ พัฒนาสังคมของแบรนด์ใหญ่ต่างๆ ที่มีเป้าหมายทั้งเพื่อการทำ�การตลาดเพื่อ สังคม และการยกระดับความเป็นอยู่ของผู้คนไปพร้อมๆ กัน ไปจนถึงการรวม กลุ่มของประชาชนที่มีแนวคิดคล้ายกันในการปรับปรุงและพัฒนาเมืองใน มุมมองทีแ่ ตกต่างกันไป ทีส่ �ำ คัญความเคลือ่ นไหวเหล่านีม้ กั เป็นไปอย่างรวดเร็ว กระตือรือร้น และสร้างผลกระทบโดยตรงต่อหน่วยย่อยของเมือง ในอนาคตอันใกล้ พลเมืองโลกในหลายๆ ประเทศทั่วโลกอาจไม่ได้มี บทบาทเป็นเพียงประชากรที่รอรับบริการจากภาครัฐเท่านั้น แต่หลายคน สามารถลุกขึ้นมาเป็นแอคทีฟ ซิติเซน ที่แข่งขันกันสร้างเมืองอย่างที่ต้องการ ไปได้ด้วยกัน เพราะเมืองคือเรื่องของคน และคนสำ�คัญที่จะขับเคลื่อนเมือง ก็คือผู้ที่อยู่อาศัยในเมืองต่างๆ เหล่านั้นนั่นเอง พิชิต วีรังคบุตร บรรณาธิการอํานวยการ

CREATIVE THAILAND I 5


The Subject: ลงมือคิด

เรื่อง: นพกร คนไว

safetipin.com

เพราะความปลอดภัยในชีวิตและความเป็นอยู่ของพลเมืองเป็นสิ่งสำ�คัญ โดยเฉพาะในอินเดีย ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการเกิดอาชญากรรม ต่อสตรีสงู โดยรายงานในปี 2014 พบว่า จำ�นวนของอาชญากรรมที่เกิดขึ้น กับผู้หญิงอินเดียนั้นมีมากถึง 337,922 คดี มากถึงขั้นที่องค์กรการกุศล ระดับโลกอย่าง Thomson Reuters Foundation ต้องออกมาประกาศว่า อินเดียคือประเทศที่ไม่ปลอดภัยที่สุดในโลกสำ�หรับผู้หญิง ความรุนแรงจำ�นวนมากทีเ่ กิดขึน้ เป็นเหตุผลหลักทีส่ ร้างความหวาดกลัว ต่อสตรีชาวอินเดีย และนำ�มาสูก่ ารลดทอนเสรีภาพในการใช้ชวี ติ ไม่วา่ จะเป็น ความหวาดกลัวต่อเส้นทางการเดินทาง เช่น การไปโรงเรียน ทำ�งาน หรือ ออกไปผ่ อ นคลายนอกบ้ า น ซึ่ ง นั บ ว่ า สร้ า งปั ญ หาอย่ างมากให้ กั บ การ ดำ�เนินชีวิตที่มีคุณภาพและเป็นปกติสุข นี่จึงเป็นแรงผลักดันสำ�คัญที่ทำ�ให้ เกิดการพัฒนาแอพพลิเคชัน SafetiPin ขึ้นเพื่อเป็นตัวช่วยในการเดินทาง อย่างปลอดภัยสำ�หรับผู้หญิง แอพฯ ดังกล่าวก่อตั้งโดยกัลพานา วิสชวานาธ (Kalpana Viswanath) ผู้เชี่ยวชาญในด้านสิทธิสตรี และอาชิส บาสุ (Ashish Basu) อดีตประธานบริษัท NIIT ที่ส่งเสริมเรื่องการเรียนรู้และ สร้างทักษะความสามารถในด้านเทคโนโลยี SafetiPin จะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถตรวจสอบเส้นทางของตนที่ต้อง สัญจรผ่านว่ามีระดับความปลอดภัยมากน้อยเพียงใด โดยใช้มาตรวัดของ สภาพแวดล้อมต่างๆ เช่น ความสว่างของพื้นที่ ความโล่งของสถานที่ การมองเห็นที่ชัดเจน ความหนาแน่นของผู้คน ความปลอดภัย รวมถึงการ บอกระยะทางของขนส่งมวลชนที่ใกล้ที่สุด ทำ�ให้ผู้ใช้งานสามารถเลือก เส้นทางทีป่ ลอดภัยและหลีกเลีย่ งเส้นทางทีไ่ ม่นา่ ไว้ใจได้ โดยข้อมูลส่วนหนึง่ ถูกรวบรวมจากทีมงาน SafetiPin ขณะที่อีกส่วนเป็นข้อมูลที่ได้มาจากฝั่ง ผูใ้ ช้งานซึง่ สามารถส่งรีววิ ของพืน้ ทีต่ า่ งๆ ว่ามีความปลอดภัยมากน้อยแค่ไหน อีกทัง้ ยังสามารถโพสต์รปู ประกอบของสถานที่จริงไว้ให้ผู้ใช้งานคนอื่นๆ ได้ดู อีกด้วย แอพพลิเคชัน SafetiPin เริม่ เปิดให้ใช้งานทีแ่ รกในกรุงเดลี มหานคร ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศอินเดีย และได้เก็บของมูลของจุดปลอดภัย ไว้มากกว่า 60,000 แห่ง ในบริเวณกว่า 6,000 กิโลเมตรทั่วเขตตัวเมือง ซึ่ง ปัจจุบันมีการรวบรวมจุดปลอดภัยเอาไว้แล้วกว่า 28 เมืองใน 10 ประเทศ ทั่วโลก

ไม่เพียงแค่รายงานความปลอดภัยของเส้นทาง แอพพลิเคชันนี้ยัง สามารถช่วยให้บรรดาญาติหรือเพือ่ นสนิทสามารถติดตามสถานะการเดินทาง ของผูใ้ ช้งานได้ โดยผูใ้ ช้งานมีสทิ ธิใ์ นการอนุญาตผูท้ จี่ ะติดตามได้ดว้ ยตนเอง อีกทัง้ มีระบบ Safety Scores แสดงระดับความปลอดภัยของพืน้ ทีส่ ญั จรหรือ ป้ายรถเมล์เมื่อต้องหยุดรอรถในเวลากลางคืน การรวบรวมเส้นทางทีป่ ลอดภัยไม่เพียงช่วยให้ประชาชนสามารถเลือก เส้ น ทางที่ ดี ที่ สุ ด ในการเดิ น ทางที่ มี ค วามปลอดภั ย เท่ า นั้ น แต่ ยั ง เป็ น การรายงานถึ ง ความบกพร่ อ งของพื้ น ที่ ไ ปยั ง ภาครั ฐ ด้ ว ยเช่ น กัน ทั้ง นี้ กรมโยธาธิการและผังเมือง ตลอดจนเทศบาลของกรุงนิวเดลียังได้ใช้ข้อมูล ของ SafetiPin ในการยกระดับความปลอดภัยของตัวเมือง โดยการเพิ่ม แสงไฟในพื้นที่มีแสงน้อย และเพิ่มจำ�นวนเจ้าหน้าที่ตรวจตรายามคํ่าคืน เพื่อร่วมกันสร้างความปลอดภัยและช่วยอำ�นวยความสะดวกแก่ประชาชน ทุกคนด้วย ที่มา: บทความ “SafetiPin: empowering women to make their world safer” โดย Amrita Sekhar จาก yourstory.com / บทความ “What would a city that is safe for women look like?” โดย Amy Fleming จาก theguardian.com / บทความ “SafetiPin: A Tool to Build Safer Cities for Women” โดย Kalpana Viswanath จาก asiafoundation.org / SafetiPin.com

กีฬาสร้างเมือง เรื่อง: ภีร์รา และรวิภา ดิษฐากรณ์ facebook.com/lcfc

กลับบ้านอย่างปลอดภัย ด้วยแอพพลิเคชัน SafetiPin

ความสัมพันธ์ระหว่างเมืองกับสโมสรฟุตบอล เป็นหนึ่งในรูปแบบความ สัมพันธ์ที่คนไทยอาจไม่คุ้นเคยมากนัก แม้เราจะมีสโมสรฟุตบอลประจำ� จังหวัดที่จัดแข่งกันอย่างเป็นระบบมายาวนาน ถ้าให้พูดถึงความสัมพันธ์ ของสโมสรกับเมืองทีเ่ ด่นชัดทีส่ ดุ เห็นทีจะหนีไม่พน้ สโมสรฟุตบอลในประเทศ อังกฤษ ที่พัฒนาไปจนถึงระดับวัฒนธรรมและฝังรากลึกลงไปในวิถีชีวิต ของชาวเมือง เราจึงมักจะเห็นชาวอังกฤษในแต่ละเมืองจูงมือลูกหลานไป ดูฟุตบอลที่สเตเดียมประจำ�เมืองแทบทุกสุดสัปดาห์ สิ่งเหล่านี้ถูกถ่ายทอด จากรุน่ สูร่ นุ่ จนกลายเป็นสายใยทีย่ ดึ โยงเมืองทัง้ เมืองเข้าเป็นหนึง่ เดียว และ การเติบของเมืองในอังกฤษจึงถูกผูกเข้ากับสโมสรอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แล้วกีฬาฟุตบอลสร้างเมืองได้อย่างไรกัน เมือ่ ผูเ้ ล่นคนที่ 12 ของสโมสร ไม่ใช่เป็นเพียงแค่กองเชียร์ หากแต่เป็นเมืองทัง้ เมือง การประสบความสำ�เร็จ

CREATIVE THAILAND I 6


ของสโมสรจึ ง กลายเป็ น ความภาคภู มิ ใ จและเกี ย รติ ย ศของชาวเมื อ ง สิ่งเหล่านี้สะท้อนผ่านตัวอย่างเหตุการณ์การคว้าแชมป์พรีเมียร์ ลีกในปี 2015/2016 ของเลสเตอร์ ซิ ตี้ สโมสรที่ มี ผู้ บ ริ ห ารเป็ น กลุ่ ม ทุ น จาก ประเทศไทยอย่างคิง พาวเวอร์ และได้กลายเป็นกุญแจสำ�คัญในการเข้าไป ต่อยอดการพัฒนาเมืองเลสเตอร์ผา่ นการทำ�คุณประโยชน์ในด้านต่างๆ อาทิ การบริจาคเงินให้กับโรงพยาบาลเลสเตอร์ส รอยัล อินเฟอร์มารี่ และ มหาวิทยาลัยเลสเตอร์ เพื่อนำ�ไปพัฒนาสิ่งที่ชาวเมืองต้องการเพื่อแสดงการ ตอบแทนชาวเมืองที่คอยให้การสนับสนุนสโมสรมาโดยตลอด จึงกล่าวได้ว่า ความรักและความสามัคคีที่เกิดจากการแข่งขันกีฬาของเมืองนั้น ไม่ได้ เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของเมือง แต่เมืองทั้งเมืองคือสโมสร เหมือนเช่นที่ เลสเตอร์ ซิตี้ทำ�ได้นั่นเอง

STREET SCAPE เดินเจริญกรุง เรื่อง: ทีม Charoenkrung Creative District

เพียงแค่การใช้ชีวิตอยู่ในเมืองหรือในย่านที่มีถนนและสภาพแวดล้อมที่เป็น มิตรต่อการเดิน (walkable city) อย่างการมีทางเท้ากว้าง ป้ายไม่ขวางทาง ไม่ตอ้ งหลบนาํ้ กระเด็น ข้ามถนนบนทางม้าลายได้ปลอดภัย ไม่หลงทาง หรือ มีทัศนียภาพระหว่างทางที่น่ามอง ก็ทำ�ให้คนในเมืองมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ได้แล้วอย่างไม่น่าเชื่อ ความต้องการพัฒนาเมืองให้นา่ เดิน (walkability) นี้ ทำ�ให้เกิดโปรเจ็กต์ เล็กๆ ที่ชื่อ Street Scape ซึ่งต้องการนำ�เสนองานออกแบบที่สร้างความ เปลี่ยนแปลงและกำ�หนดแนวทางการพัฒนาพื้นที่สาธารณะ ทางเท้า และ ป้ายต่างๆ เพื่อส่งเสริมและแก้ปัญหาประสบการณ์การเดินเข้าถึงในย่าน เจริญกรุง ที่กำ�ลังพัฒนาเป็นย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ต้นแบบของกรุงเทพฯ (Charoenkrung Creative District) โดยนำ�ความคิดสร้างสรรค์เข้ามาช่วย แก้ปญั หาและพัฒนาคุณภาพชีวติ รวมไปถึงพลิกฟืน้ พืน้ ทีเ่ จริญกรุงให้กลับมา มีชีวิตชีวาอีกครั้ง จากโจทย์เริม่ ต้นทีว่ า่ “จะทำ�อย่างไรให้เจริญกรุงเป็นย่านทีเ่ ข้าถึงได้งา่ ย น่ามา น่าเดิน และน่าอยู่” สำ�นักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CEA) จึง เป็นสื่อกลางเชื่อมโยงภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน มาร่วมกัน ตีโจทย์นี้ โดยชักชวน Cloud-floor กลุม่ สถาปนิกรุน่ ใหม่ทสี่ นใจงานออกแบบ พื้นที่สาธารณะและเมือง ร่วมกับ ดร. พีรียา บุญชัยพฤกษ์ อาจารย์ประจำ� ภาควิชาการออกแบบและวางผังชุมชนเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มาร่วมในกระบวนการสำ�รวจและวิเคราะห์ปัญหาใน พื้นที่ ทั้งพฤติกรรมผู้ใช้งาน สภาพแวดล้อม ข้อจำ�กัด และกฎหมายในแง่ มุมต่างๆ ไปจนถึงการระดมความคิดเห็นร่วมกันระหว่างผูท้ เ่ี กีย่ วข้องทุกๆ ฝ่าย และมีภาคเอกชนอย่างบริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำ�กัด (มหาชน) เป็นผู้สนับสนุน หลังจากได้ขอ้ มูลจากการสำ�รวจแล้ว จึงนำ�มาวิเคราะห์ และจัดกิจกรรม ระดมความคิดเห็นและสร้างการมีส่วนร่วม (Co-Create) โดยชวนตัวแทน กลุม่ คนทีเ่ ดินในย่านเจริญกรุงจริงๆ ทัง้ คนในชุมชน นักเรียน ผูป้ ระกอบการ ร้านค้าในย่าน ตลอดจนผูท้ ตี่ อ้ งใช้ถนนเส้นนีส้ ญั จรไปมา รวมถึงตัวแทนจาก

ภาครัฐ อาทิ กทม. เขต ผังเมือง เทศกิจ กรมโยธา การจราจรและการขนส่ง วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว มาร่วมรับฟังข้อมูล พร้อมเสนอไอเดีย และ ความเป็นไปได้ต่างๆ พร้อมตั้งเป็นโจทย์ในการออกแบบ (Design Brief) สำ�หรับใช้ในการปรับปรุงและแก้ปัญหาการเดินในย่านให้ดียิ่งขึ้น 5 ประเด็น ได้แก่ การออกแบบเพื่อสร้างความปลอดภัยในการข้ามถนน (Street Crossing) การออกแบบเพื่อส่งเสริมกิจกรรมระหว่างเดินสัญจรในย่านสร้างสรรค์อย่าง มีสว่ นร่วม (Street Activities) การจัดการพืน้ ทีแ่ ละภูมทิ ศั น์บนทางเท้า (Street Elements) การออกแบบระบบนำ�ทางเดินเท้า (Wayfinding) และการ ออกแบบสภาพแวดล้อมทีป่ ลอดภัยในการเดินเท้าช่วงเวลากลางคืน (Safety Environment) โดยในแต่ละโจทย์ได้มอบหมายให้นักออกแบบจากหลาย สาขาเข้ามาร่วมคิด จนได้ออกมาเป็นงานดีไซน์และกิจกรรมที่มี ค วาม เป็นไปได้ในการพัฒนาเส้นทางเดินและพื้นที่ได้อย่างยั่งยืน เมื่อได้ข้อสรุปแล้ว จึงกลับไปที่กระบวนการ Co-Create อีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้ตัวแทนจากคนในย่าน ภาครัฐและเอกชน ได้มีส่วนร่วมแสดงความ คิดเห็น เสนอแนะ ในแต่ละผลงาน พร้อมนำ�ดีไซน์ไปปรับให้ตอบโจทย์ยง่ิ ขึน้ ก่อนจะนำ�ไปสู่ขั้นตอนการผลิตต้นแบบเพื่อติดตั้งบนพื้นที่สาธารณะในย่าน เจริญกรุง เรียกได้ว่าครบสูตรการออกแบบที่ผสมผสานความต้องการของ ผู้ใช้งานจริงในพื้นที่ โดยไม่ขัดกับข้อกำ�หนดตามมาตรฐานสากล ผู้ที่สนใจ สามารถเข้าชมชิ้นงานทั้งหมดที่จะถูกติดตั้งเพื่อทดลองใช้งานจริงในย่าน เจริญกรุง ตัง้ แต่สะพานตากสินถึงถนนมหาพฤฒารามและตลาดน้อย ในช่วง เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2562 ระหว่างวันที่ 26 มกราคม - 3 กุมภาพันธ์ 2562 และมุ่งหวังว่าจะได้รับการสนับสนุนให้ได้ใช้งานในย่านสร้างสรรค์ เจริญกรุงนีต้ อ่ ไป ตลอดถึงการนำ�ไปเป็นต้นแบบในการพัฒนาสำ�หรับย่านอืน่ ๆ ทั่วกรุงเทพฯ อย่างยั่งยืน ที่มา: โครงการ Street Scape โดย Cloud-Floor และ ดร. พีรียา บุญชัยพฤกษ์ / บทความ “เมืองที่ดีต้องมีองค์ประกอบอะไรบ้าง” จาก the.101.world/urban-design

CREATIVE THAILAND I 7


Creative Resource: วัตถุดิบทางความคิด เรื่อง: ทรงวาด สุขเมืองมา และ เบญจวรรณ ระงับภัย

F EAT U RED REPORT Branded Cities Report โดย The Future Laboratory The Future Laboratory มีแนวคิดที่ต้องการให้เมืองมีความเป็นชุมชน มากกว่าองค์กร เพราะอีกไม่เกิน 30 ปี ความเป็นเมืองจะขยายใหญ่มากขึ้น ด้วยการเชือ่ มต่อของระบบการขนส่งทีก่ า้ วลา้ํ จึงกลายเป็นคำ�ถามทีน่ า่ สนใจว่า ภาคธุรกิจควรทำ�อย่างไรถึงจะ “รู้จัก” ประชากรของเมืองอย่างแท้จริง และ ต้องลงทุนอย่างไรเพื่อให้เรื่องการพัฒนาเมืองและพื้นที่นั้นกลายเป็นความ ร่วมมือและความรับผิดชอบร่วมกันของทุกส่วนฝ่าย Branded Cities Report ได้ นำ � เสนอรายงานเกี่ ย วกั บ เมื อ งที่ ถู ก ขั บ เคลื่ อ นด้ ว ยภาคเอกชนไว้ 3 มุมมองที่น่าสนใจ ได้แก่ มุมมองที่ 1: The preferred city มีแนวโน้มว่า ผู้บริโภคนิยมให้ ‘เอกชน’ เข้ามาพัฒนาระบบเมืองมากกว่า ‘เทศบาล’ เนือ่ งจากความสามารถในการเข้าถึงฐานข้อมูลแบบเรียลไทม์ของภาคเอกชน

ที่มีมากกว่า ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบการร่างนโยบาย ที่ตอบสนองต่อความต้องการของประชากรได้อย่างแท้จริง มุมมองที่ 2: The probable city เมืองที่ถูกขับเคลื่อนด้วยพลังเอกชน สามารถเป็นจริงได้ อย่างไรก็ตาม ประชาชนอาจต้องแลกเปลี่ยนข้อมูล ส่วนตัว (Trade-off) อันเป็นข้อมูลผู้อยู่อาศัยกับการใช้บริการบางอย่างของ ภาคเอกชน ซึง่ จะทำ�ให้ภาคเอกชนมีขอ้ มูลทีส่ ะสมในฐานข้อมูลมากขึน้ และ สามารถนำ�มาใช้ต่อยอดพัฒนาเมืองได้ต่อไป มุมมองที่ 3: The potential city การนำ�เสนอวิธีสร้างความเท่าเทียม ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาเมือง เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้อำ�นาจในการวางระบบ ต่างๆ และเข้าถึงทรัพยากรตกไปอยู่ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

CREATIVE THAILAND I 8


BOOK Brand-Driven City Building and the Virtualizing of Space (Research in Planning and Urban Design) โดย Alexander Gutzmer การใช้ชวี ติ ประจำ�วันในทุกวันนี้ เราจะพบเห็นตราสัญลักษณ์หรือแบรนด์ตา่ งๆ มากมาย เดิมจะเน้นการ โฆษณาเชิงธุรกิจและการค้าเป็นหลัก แต่ปจั จุบนั เราเริม่ เห็นแบรนด์ตา่ งๆ เข้ามาปรับปรุงพืน้ ทีห่ รือย่านให้ ดูนา่ สนใจมากขึน้ ทว่ายังคงแฝงไปด้วยภาพลักษณ์ของแบรนด์นั้นๆ อยู่ ซึ่งหากตีความในบริบทที่เหมาะสม นอกจากจะเป็นประโยชน์ตอ่ แบรนด์เองแล้ว ก็ยงั เป็นการพัฒนาพืน้ ที่เพื่อส่วนรวมในระยะยาวอีกด้วย หนังสือ เล่มนีย้ กตัวอย่างแบรนด์ใหญ่ในยุโรป คือ BMW ทีม่ กี ารพัฒนาพืน้ ที่ BMW Welt ในเมือง มิวนิก ประเทศ เยอรมนี และ สร้าง Anting New Town ในเมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ด้วยสถาปัตยกรรมแบบยุโรปในรูปแบบ เดียวกัน โดยไม่ค�ำ นึงถึงวัฒนธรรมท้องถิน่ จนมีการให้ค�ำ จำ�กัดความว่าเป็น “global mass ornament” ซึง่ เริม่ มีการขยายวงกว้างขึน้ เรือ่ ยๆ จนอาจทำ�ลายวัฒนธรรมท้องถิน่ และเปลีย่ นโฉมโลกของเราได้ Destination Brands: Managing Place Reputation โดย Nigel Morgan, Annette Pritchard และ Roger Pride หลายต่อหลายครั้งเมื่อพูดถึงประเทศใดประเทศหนึ่งขึ้นมา ทุกคนมักจะมีภาพจำ�อยู่ในใจว่าประเทศ นั้นต้องมีสัญลักษณ์หรือเอกลักษณ์อะไร สิ่งที่เป็นภาพจำ�เหล่านั้นอาจเรียกได้ว่าเป็นตราสัญลักษณ์ ของเมือง ที่ผ่านการคิดและวางแผนมาเป็นอย่างดี หนังสือเล่มนี้ทำ�การศึกษาความเป็นมาของแบรนด์ ประจำ�เมืองผ่านกรณีศึกษาของแต่ละเมือง ทั้งในยุโรป อเมริกา แอฟริกา และเอเชียแฟซิฟิก ที่ผ่าน การวางแผนด้านการท่องเที่ยว การตีความ และการวางแผนการตลาดมาแล้วอย่างดี

The IKEA Edge: Building Global Growth and Social Good at the World’s Most Iconic Home Store โดย Anders Dahlvig อิเกีย ธุรกิจเฟอร์นเิ จอร์ ผูเ้ ปลีย่ นพฤติกรรมนักบริโภคยุคใหม่สกู่ ระบวนการเซอร์วสิ ตัวเอง ตัง้ แต่จดรหัส สินค้า เดินหาของที่คลัง และขนส่งของไปเพื่อประกอบเองที่บ้าน เบื้องหลังกลยุทธ์คือการดึงให้ลูกค้า มีส่วนร่วมในกระบวนการกระจายสินค้าเพื่อประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ หนังสือ The IKEA Edge รวบรวมประสบการณ์ตรงของอดีตซีอโี อทีบ่ อกเล่านโยบายหลายอย่างของอิเกียทีช่ ว่ ยผลักดันให้เกิดการ พัฒนามาตรฐานในหมู่คู่ค้า เช่น การหาวิธีแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม การสนับสนุนความหลากหลายใน องค์กร และส่งเสริมคุณภาพชีวิตของเมืองแวดล้อม รวมถึงการยอมรับบทบาทของภาคธุรกิจที่จะต้อง มีส่วนร่วมกับองค์กรของรัฐในการสร้างเศรษฐกิจเสรี ชุมชนธุรกิจ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบาทใน สังคม

พบกับวัตถุดิบทางความคิดเหล่านี้ได้ที่ TCDC Resource Center CREATIVE THAILAND I 9


แนวคิดเมืองอัจฉริยะ (Smart City) เรื่อง: ปิยวรรณ กลิ่นศรีสุข

เมืองอัจฉริยะ (Smart City) อาจเป็นภาพวาดของชาวเมืองหลายคนทั่วโลก ซึ่งแนวคิดดังกล่าวจะเน้นการวางผังเมืองและระบบคมนาคมให้ทำ�งานได้ อย่างเต็มประสิทธิภาพแทนการขยายเมือง โดยใช้ประโยชน์จากที่ดินแบบ ผสมผสาน สร้างความเป็นสถานที่ (Sense of Place) และภาพจำ�ให้แก่ย่าน ควบคู่ไปกับธรรมชาติ ซองโด (Songdo) เมืองศูนย์กลางการค้าเสรีทเี่ กิดจากการถมทะเล คือ ต้ น แบบของเมื อ งที่ มี ก ารเชื่ อ มต่ อ ระบบโครงสร้ า งพื้ น ฐานต่ า งๆ บน อินเทอร์เน็ต มีการพัฒนาอย่างยั่งยืนจากการประหยัดพลังงานในอาคาร ให้ความสำ�คัญกับการพัฒนาความปลอดภัย และการเป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อม ซองโดตั้งอยู่ห่างจากกรุงโซล เมืองหลวงของประเทศเกาหลีใต้ไปราว 65 กิโลเมตร มีพนื้ ทีป่ ระมาณ 1,500 เอเคอร์ ทำ�เลของเมืองอยูใ่ นเขตธุรกิจสากล (International Business District: IBD) อันเป็นศูนย์กลางการค้าเสรีและธุรกิจ ระหว่างประเทศ พื้นที่มีลักษณะเป็นเกาะ เนื่องจากการถมทะเล โดดเด่น ด้วยการสร้างเมืองใหม่ที่มีความทันสมัยด้วยความร่วมมือของบริษัทด้าน เทคโนโลยีสื่อสารชื่อดังอย่าง CISCO ที่ทำ�หน้าที่พัฒนาเทคโนโลยีเครือข่าย ของเมือง เพื่อทำ�ให้ซองโดเป็นเมืองต้นแบบของการเชื่อมต่อ (connected community) ที่ข้อมูลทุกอย่างได้รับการเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายเดียวกันบน อินเทอร์เน็ต เช่น ระบบประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์ การจราจร ฯลฯ นอกจากนี้ ยังมีการออกแบบภายใต้แนวคิดการพัฒนาทีย่ งั่ ยืน โดยเน้นการเชือ่ มต่อพืน้ ที่ ใกล้เคียงเพื่อการเข้าถึงด้านการขนส่ง การออกแบบการใช้พลังงานและ โครงการในอาคารอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งพื้นที่โล่งและที่อยู่อาศัยต้อง คำ�นึงถึงความปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการเพิ่มพื้นที่ สีเขียวภายในเมืองให้มีมากเกือบครึ่งหนึ่งของพื้นที่ทั้งหมด เช่นที่ Central

Park สวนสาธารณะหลักของซองโด ซึ่งมีต้นแบบมาจากสวนสาธารณะ ชื่อเดียวกันในนครนิวยอร์ก Central Park เป็นสวนสาธารณะขนาดใหญ่ที่ เป็นเสมือนปอดใจกลางเมือง มีเนื้อที่ราว 101 เอเคอร์ หรือประมาณร้อยละ 10 ของพื้นที่ทั้งหมดของซองโด สำ�หรับในประเทศไทย มีการนำ�แนวคิด Smart City นี้มาใช้ โดย ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขนั้ สูงเพือ่ สร้างเมืองอัจฉริยะทีต่ อบโจทย์ดา้ นการดูแล และพัฒนาเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลักการคือการเพิ่มความสะดวก ให้แก่ผู้อยู่อาศัยในชุมชน การใช้ทรัพยากรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และลดการใช้พลังงานของเมือง โครงการ นำ�ร่องก็เช่น ภูเก็ต สมาร์ทซิตี้ ซึง่ ร่วมกับหน่วยงานในจังหวัดภูเก็ตทีเ่ ข้าร่วม โครงการในฐานะ Strategic Partner โดยเน้นการพัฒนานวัตกรรมส่งเสริม การท่องเที่ยวด้านสมาร์ท อีโคโนมี พัฒนาระบบซีซีทีวีเพื่อตอบโจทย์ ด้านสมาร์ท ลิฟวิ่ง และผสมผสานเทคโนโลยีคอมมูนิตี้ IoT ด้านสมาร์ท เซ็ น เซอร์ เพื่ อ ตรวจสอบสภาพอากาศในพื้ น ที่ แ ละป้ อ งกั น ภั ย พิ บั ติ โครงการนี้ดำ�เนินการใน 2 พื้นที่ ได้แก่ เขตเทศบาลเมืองป่าตอง และเขต เทศบาลเมืองภูเก็ต ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 28.4 ตารางกิโลเมตร จาก พื้นที่ทั้งหมด 540 ตารางกิโลเมตร โดยตั้งเป้าหมายให้ภูเก็ตเป็น Smart City ในปี 2020 พร้อมภาพลักษณ์ Smile Smart and Sustainable Phuket ที่มา: บทความ “ซิป้า ร่วมเปิดโครงการส่งเสริมพืน้ ที่พิเศษสำ�หรับเศรษฐกิจดิจทิ ลั หรือโครงการ Phuket Smart City” จาก techtalkthai.com / บทความ “Cities of the Future: Songdo, South Korea” จาก newsroom.cisco.com / บทความ “Global Center of Excellence, Cisco Innovation Center Songdo, Beyond Open Innovation, Co-Innovate with Us!” จาก cisco.com / บทความ “Songdo, South Korea Has an Eco-Friendly Design” จาก americarichest.com

พบกับนวัตกรรมและวัสดุสร้างสรรค์ ได้ที่ชั้น 2 ห้อง Material & Design Innovation Center, CEA CREATIVE THAILAND I 10

flickr.com/photos/hwanhyeokkim

MDIC: นวัตกรรมและวัสดุ


พบกับนิตยสาร “คิด” Creative Thailand ได้ที่ ร้านหนังสือ ห้องสมุด สมาคม อาคารสำ�นักงาน และร้านกาแฟใกล้บ้าน ในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ หัวหิน และจังหวัดอื่นๆ รวมถึง miniTCDC

ดูสถานที่จัดวางทั้งหมดได้ที่: www.tcdc.or.th/creativethailand/magazine/place กรุงเทพฯ ร้านหนังสือ • Asia Books • Kinokuniya • B2S • แพร่พิทยา

• MAIIAM Contemporary Art Museum • ชีวิต ชีวา • Minimeal Cafe • Impresso • Restr8to • Penguin Villa (Penguin Getto) ร้านกาแฟ/ร้านอาหาร • กาแฟอาข่า อ่ามา • Au Bon Pain La Fattoria สาขา2 • Starbucks • TOM N TOM’S COFFEE • Happy Hut ถ.นิมมานฯ • True Coffee • ราชดำ�เนิน • Auntie Anne’s • Mai Bakery In Garden • Baskin Robbins • Starbucks The Plaza • Coffee World • Yesterday Hotel • Mister Donut • October • Black Canyon • สุรยิ นั จันทรา นิมมานฯ ซอย 1 • McCafe’ • ร้านมีชามีชัย (กู) • ดอยตุง • Cafe’de nimman • Ninety four coffee • The Booksmith • Puff & Pie • ร้านชา (Drink Club) • Red Mango • Cotto Studio • Iberry • Starbucks Nimmanhemin • Greyhound Cafe’ • Fern Forest Cafe’ • Amazon Cafe’ • 9th Street Cafe • Chester’s Grill นิมมานฯ ซอย 9 • Luv minibar • ดวงกมล (Duang Kamol) • Rustic & Blue - Handgrown พิพิธภัณฑ์/หอศิลป์ • Produce & Artisan Food • หอศิลปวัฒนธรรม นิมมานฯ ซอย 9 แห่งกรุงเทพมหานคร • หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม • มิวเซียม สยาม • อุทยานการเรียนรู้ (TK park) มช. • นำ�ทอง แกลเลอรี่ หัวหิน • ร้านกาแฟ ชุบชีวา หัวหิน สมาคม/ห้องสมุด • อยู่เย็น หัวหิน บัลโคนี่ • ศูนย์ศิลปะนานาชาติ • บ้านใกล้วัง สมาคมฝรั่งเศส • ภัตตาคารมีกรุณา • ห้องสมุดเนลสัน เฮลส์ The Neilson Hays Library • บ้านถั่วเย็น @ แนบเคหาสน์ • ร้านอาหารหัวหิน (โกทิ) • ห้องสมุด - นิด้า • กาแฟข้างบ้าน • สมาคมโฆษณา • IL GELATO ITALIANO แห่งประเทศไทย • Together Bakery & Cafe’ • สมาคมธนาคารไทย • โรงแรม วรบุระหัวหิน • สมาคมสโมสรนักลงทุน • Let’s Sea • ห้องสมุด สสวท. • โรมแรม ดูน หัวหิน • สมาคมหอการค้าไทย • เดอะร็อค หัวหิน • สถาบัน • บ้านจันทร์ฉาย • Wall Street Institute • หัวหิน มันตรา รีสอร์ท • Raffle Design Institute • ลูน่าฮัท รีสอร์ท • Vision Swimming Academy กระบี่ • Nakamanda Resort & Spa เชียงใหม่ • Rawee Warin Resort & Spa • woo cefe • A little Handmade Shop • Kagee • Ristresto lab • ท่าแพอีสต์+ dibdee.binder ขอนแก่น • Hug School • C.A.M.P ,MAYA • True Coffee ,หอสมุด มช. of Creative Arts • ร้านสืบสาน • Punspace, นิมมานฯ • ร้านกาแฟ คอฟฟี่ เด้อ หล่า • asama cafe • มาหาสมุด (บ้านข้างวัด) (Coffee Der La) • see scape gallery เชียงราย • nimmanian club • ร้านหนังสือ herebookafe • 8 days a week • ร้าน Coffee Dad • Bulbul book cafe’ • Graph cafe’ นครราชสีมา • Cefe de museum • Hug station resort • local cafe Think park • Librarista นครปฐม • Artisan วัวลาย • ร้าน Dipchoc Cafe • paper spoon • กาแฟรสนิยม, นครสวรรค์ หลัง มช ทางขึ้นกาแล • The barn : Eatery Design • ร้าน Bitter Sweet • Book Republic น่าน • wake up หน้ามอ • ร้าน Runway Coffee • Fab cafe’ • kum cafe คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ • ร้านคลาสสิค โมเดล น่าน

• ร้านกาแฟปากซอย • ร้าน Nan Coffee Bean ปาย/แม่ฮ่องสอน • ร้านคอฟฟี่อินเลิฟ • ร้าน all about coffee • ร้านปายหวานบ้านนมสด • ร้านเล็กเล็ก • ปายวิมานรีสอร์ท พังงา • Niramaya Villa and Willness Resort • Ranyatavi Resort Phang Nga • The Sarojin เพชรบุรี • Grand Pacific Sovereign • Resort & Spa • DevaSom Hua Hin Resort ภูเก็ต • ร้านหนัง(สือ) ๒๕๒๑ ภูเก็ต • The oddy Apartment & Hotel • At Panta Phuket • Banyan Tree Phuket • Le Meridien Phuket • Millienium Ressort Patong Phuket • Novotel Phuket Resort • Patong Paragon Resort & Spa Phuket • Sheraton grand Lagana Phuket • Sri wanwa Phuket Villa • Thanyapura ระยอง • Le Vimarn Cottage ลำ�ปาง • อาลัมภางค์ เกสท์เฮ้าส์ แอนด์ มอร์ ลำ�ปาง • ร้านเอกาลิเต้ Egalite Bookshop • Lampang Art Center เลย • บ้านชานเคียง • มาเลยเด้ เกสต์เฮาท์ ลพบุรี • ซนดิคอฟฟี่ สมุทรสงคราม/อัมพวา • Baan Amphawa Resort and Spa สุโขทัย • Ananda Co.,Ltd. สุราษฎร์ธานี • Muang Samui Spa Resort • Pavilion Samui Boutique Resort • The Sunset Beach Resort and Spa Taling ngam • Nora Beach Resort Samui อุทัยธานี • ร้านบุ๊คโทเปีย Booktopia • Avatar Miracles


Local Wisdom: ภูมิความคิด

คำ�ขวัญจังหวัด กับวิชาการตลาด 101

เรื่อง: วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ

“อะไรที่เกิดขึ้นในเวกัส ก็ปล่อยให้มัน อยู่ ใ นเวกั ส ” (What happens in Vegas stays in Vegas) น่าจะเป็น สโลแกนเมืองทีป่ ระสบความสำ�เร็จด้าน การตลาดเพื่อการท่องเที่ยวมากที่สุด ในประวัติศาสตร์ กว่า 14 ปีที่ลาสเวกัส สามารถสร้ า งประโยคติ ด หู ที่ ดึ ง ดู ด นั ก ท่ อ งเที่ ย วนั บ ล้ า นๆ คนทุ ก ปี ให้ เดิ น ทางมาสร้ า งประสบการณ์ ใ หม่ ที่ พวกเขาอาจจะไม่ อ ยากเปิ ด เผยให้ ใครรู้ ยังคงเย้ายวนใจนักท่องเที่ยวทั้ง หน้าใหม่และเก่าให้มาปลดปล่อยสิ่งที่ อยากทำ�ได้อย่างอิสรเสรีโดยที่ไม่ต้อง แคร์สายตาใคร ซึง่ ได้กลายเป็นจุดเด่น ของเมืองทีใ่ ช้ประกาศก้องจนมีชอื่ เสียง ไปทั่วโลก หากย้อนมาดูที่เมืองไทยบ้านเราเอง คำ�ขวัญ ประจำ�จังหวัดก็นา่ จะเทียบเคียงกับสโลแกนเมือง ของต่างประเทศได้ดที สี่ ดุ มาดูกนั ว่าบ้านเราเมือง เราสามารถสร้างแบรนด์ แสดงตัวตน และสร้าง จุดขายผ่านคำ�ขวัญประจำ�จังหวัดได้ดีแค่ไหน

32 ปี คือช่วงเวลาที่คำ�ขวัญประจำ�จังหวัด ในประเทศไทยถือกำ�เนิดขึ้น โดยในเดือน มกราคม พ.ศ. 2530 รัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เริ่มประกาศให้ทุกจังหวัด คิ ด ค้ น คำ � ขวั ญ ประจำ � จั ง หวั ด ที่ สื่ อ ถึ ง เอกลักษณ์ จุดเด่น และความภาคภูมิใจใน ท้องถิ่น สำ�นักงานแต่ละจังหวัดจึงประกาศ ให้ประชาชนร่วมส่งคำ�ขวัญเข้าประกวด เพื่อคัดเลือกหาคำ�ขวัญที่เหมาะสมที่สุด โดยคำ�ขวัญประจำ�จังหวัดมักจะแต่งเป็น คำ�สัมผัสคล้องจองเพื่อให้คนจดจำ�ได้ง่าย และสะดวกในการใช้เพือ่ ประชาสัมพันธ์ดา้ น การท่องเทีย่ วไทย ซึง่ เป็นเป้าหมายหลักของ การจัดตั้งคำ�ขวัญประจำ�จังหวัดของรัฐบาล ในสมัยนั้น CREATIVE THAILAND I 12

แม้หลายจังหวัดจะตืน่ ตัวกับการคิดค้นคำ�ขวัญ ประจำ�จังหวัดกันมานาน แต่กรุงเทพฯ เพิ่ง จะมี คำ � ขวั ญ ประจำ � จั ง หวั ด ครั้ ง แรกเมื่ อ พ.ศ. 2555 จากโครงการประกวดคำ�ขวัญ กรุงเทพมหานครเพื่อเตรียมฉลองครบรอบ 230 ปีแห่งการสถาปนาเมืองหลวง โดยการ ประกวดครัง้ นัน้ มีประชาชนร่วมส่งคำ�ขวัญ เข้าร่วมทั้งสิ้น 12,207 คำ�ขวัญ ซึ่งคำ�ขวัญ ที่สามารถชนะคะแนนโหวตสูงสุดจากคณะ กรรมการและประชาชนทีร่ ว่ มโหวตผ่านทาง ไปรษณียบัตรจนได้รับรางวัลชนะเลิศเป็น เงินมูลค่า 550,000 บาท เป็นของสุธาทิพย์ พัฒนธีระเดช ทีแ่ ต่งคำ�ขวัญไว้วา่ “กรุงเทพฯ ดุจเทพสร้าง เมืองศูนย์กลางการปกครอง วัด วังงามเรืองรอง เมืองหลวงของประเทศไทย”


หากมองในแง่การตลาด คำ�ขวัญประจำ� จังหวัดนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นในการส่งเสริม การขายสินค้าและบริการที่มีแตกต่างกัน ของแต่ละจังหวัดได้เป็นอย่างดี เพราะถือ เป็นการให้ข้อมูลเบื้องต้นว่าจังหวัดนั้นๆ มีของดีเป็นอะไร หรือมีสถานที่ท่องเที่ยว ไหนที่ควรค่าไปเยี่ยมชม ยกตัวอย่างเช่น “เมืองร้อยเกาะ เงาะอร่อย หอยใหญ่ ไข่แดง แหล่งธรรมะ ชักพระประเพณี” คือคำ�ขวัญ คุ้นหูใครหลายคนของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ทีส่ ามารถบอกเล่าอาหารขึน้ ชือ่ ในท้องถิน่ ไว้ ถึง 3 อย่าง นัน่ คือ เงาะโรงเรียน หอยนางรม และไข่เค็มไชยา แถมยังบอกด้วยว่าเป็น เมืองที่มีเกาะเยอะน่าเที่ยวชม รวมถึงมี ประเพณีชกั พระ-ทอดผ้าป่า และแข่งเรือยาว ทีถ่ อื เป็นธรรมเนียมปฏิบตั ทิ ม่ี มี าอย่างช้านาน ของคนท้องถิ่น ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ที่มี หนึ่งเดียวในโลก

คำ�ขวัญประจำ�จังหวัดสามารถแก้ไข เพิม่ เติม หรือเปลี่ยนแปลงได้ตามยุคสมัย โดยในปี พ.ศ. 2560 จังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้ เพิม่ เติมประโยค “เลอคุณค่ามรดกโลก” ใน คำ�ขวัญประจำ�จังหวัดใหม่เป็น “ราชธานีเก่า อู่ข้าวอู่นํ้า เลิศลํ้ากานท์กวี คนดีศรีอยุธยา เลอคุณค่ามรดกโลก” เพื่อให้ครอบคลุมถึง จุดเด่นของจังหวัดที่ได้รับการขึ้นทะเบียน มรดกโลกจากยูเนสโก และในปี พ.ศ. 2561 จังหวัดบุรีรัมย์ก็ได้เติมประโยค “เลิศลํ้า เมืองกีฬา” ในคำ�ขวัญประจำ�จังหวัดใหม่ เช่นกันเป็น “เมืองปราสาทหิน ถิ่นภูเขาไฟ ผ้าไหมสวย รวยวัฒนธรรม เลิศลํา้ เมืองกีฬา” เพื่อนำ�เสนอมิติของคุณค่าใหม่ในการเป็น เมืองกีฬา ซึ่งเพียบพร้อมด้วยโครงสร้าง พื้นฐานที่ส่งเสริมให้ประชาชนเล่นกีฬาได้ อย่างมีมาตรฐาน ทั้งการมีสนามฟุตบอล มาตรฐานฟีฟ่า สนามแข่งรถ FIA สนาม เทนนิส โรงยิมนาสติกอเนกประสงค์ ฯลฯ

นอกจากคำ � ขวั ญ ประจำ � จั ง หวั ด จะทำ � ให้ นั ก ท่ อ งเที่ ย วจดจำ � ภาพลั ก ษณ์ ข องเมื อ ง นั้นๆ ได้เป็นอย่างดีแล้ว หากมองในระดับ ประเทศ สโลแกนคุน้ หูคนไทยและเทศอย่าง “Amazing Thailand” ก็สามารถสร้างจุดขาย ให้การท่องเทีย่ วไทยได้อย่างต่อเนือ่ ง เพราะ หลังจากทีป่ ระเทศไทยเจอมรสุมทางการเงิน จากวิกฤตต้มยำ�กุ้งปี พ.ศ. 2540 จนไม่มี โอกาสได้เป็นเสือตัวที่ 5 ของเอเชียแล้ว รัฐบาลในสมัยนั้นจึงแก้เกมโดยประกาศใช้ แคมเปญ “Amazing Thailand” ในปี พ.ศ. 2541 เพือ่ กระตุน้ การท่องเทีย่ วให้เข้ามาช่วย พลิกฟื้นสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งถือว่าประสบความสำ�เร็จเป็นที่น่าพอใจ เพราะมีนกั ท่องเทีย่ วเพิม่ ขึน้ จากเดิมมากกว่า 1 ล้านคนภายในปีเดียวหลังจากปล่อยแคมเปญ นีอ้ อกไป และล่าสุดในปี พ.ศ. 2561 แคมเปญ Amazing Thailand ก็ ก ลั บ มาอี ก ครั้ ง ภายใต้คีย์เวิร์ดสำ�คัญอย่าง “Open to the new shades” ทีเ่ ชิญชวนให้นกั ท่องเทีย่ วมา ร่วมสัมผัสกับความหลากหลายของแหล่ง ท่องเที่ยวและความเปิดกว้างของผู้คนที่ไม่ ซํ้าแบบใครของประเทศไทย

น่าน

Quiz คำ�ขวัญไหน จังหวัดอะไร (ฉบับปราบเซียน!) กติกา: จับคู่คำ�ขวัญ กับจังหวัด ให้ถูกต้อง

สระแก้ว

1

แข่งเรือลือเลื่อง เมืองงาช้างดำ� จิตรกรรมวัดภูมินทร์ แดนดินส้มสีทอง เรืองรองพระธาตุแช่แห้ง

2

พังงา

แร่หมื่นล้าน บ้านกลางนํ้า ถํ้างามตา ภูผาแปลก แมกไม้จำ�ปูน บริบูรณ์ด้วยทรัพยากร

4

3

เมืองทองเนื้อเก้า มะพร้าว สับปะรด สวยสด หาด เขา ถํ้า งามลํ้านํ้าใจ

พุทธมณฑลอีสาน ถิ่นฐานอารยธรรม ผ้าไหมลํ้าเลอค่า ตักสิลานคร

5

ถิ่นบัวหลวง เมืองรวงข้าว เชื้อชาวมอญ นครธรรมะ พระตำ�หนักรวมใจ สดใสเจ้าพระยา ก้าวหน้าอุตสาหกรรม

6

ชายแดนเบื้องบูรพา ป่างามนํ้าตกสวย มากด้วยรอยอารยธรรมโบราณ ย่านการค้าไทย-เขมร

ปทุมธานี ประจวบคีรีขันธ์

มหาสารคาม

ที่มา: รายงาน “5 ทศวรรษการท่องเทีย่ วไทย บนการเปลีย่ นผ่านระบบคิดและเศรษฐกิจโลก” โดย กองวิจยั การตลาด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จาก etatjournal.com / บทความ “เมืองกีฬาบุรีรัมย์: คอลัมน์ โลกสองวัย” จาก matichon.co.th / บทความ “ตามรอยคำ�ขวัญประจำ�จังหวัด” จาก snc.lib.su.ac.th / บทความ “A brief history of ‘What happens in Vegas stays in Vegas’” จาก theweek.com / บทความ “อยุธยาเปลีย่ นคำ�ขวัญจังหวัดใหม่ เพิม่ เลอคุณค่ามรดกโลก” จาก matichon.co.t / บทความ “สุขมุ พันธุป์ ลืม้ กทม.มีค�ำ ขวัญแล้ว” จาก komchadluek.net / บทความ “บุรรี มั ย์ปรับคำ�ขวัญใหม่ เพิม่ เลิศลา้ํ เมืองกีฬา” จาก matichon.co.th / บทความ “จากเมืองต้องห้ามพลาด สูเ่ มืองที่ใครๆ ก็ไม่อยากพลาด” จาก thairath.co.th / บทความ “Amazing ยิง่ กว่าเดิม โฆษณาท่องเทีย่ วไทยตัวใหม่ สะกดชาวโลกให้หลงรักไทยอีกครัง้ ” จาก brandbuffet.in.th CREATIVE THAILAND I 13

เฉลย: 1. น่าน 2. พังงา 3. ประจวบคีรขี นั ธ์ 4. มหาสารคาม 5. ปทุมธานี 6. สระแก้ว


เมือ่ แบรนด์สร้างเมือง เรื่อง: ชาลินี วงศ์อ่อนดี

ในเดือนพฤษภาคม ปี 2018 องค์การสหประชาชาติรายงานว่า ในขณะนี้ร้อยละ 55 ของประชากรโลก อาศัยอยู่ในเมืองเป็นส่วนใหญ่ และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 68 ภายในปี 2050 ซึ่งหมายถึง ประชากรสองในสามของโลก โดยประเทศที่ผู้คนจะหลั่งไหลเข้าไปอยู่อาศัยในเมืองมากเป็นอันดับต้นๆ ได้แก่ อินเดีย จีน และไนจีเรีย เมกะซิตจี้ ะมีจ�ำ นวนมากขึน้ เรือ่ ยๆ ในขณะทีป่ ี 1990 มีเมกะซิตอี้ ยูป่ ระมาณ 10 แห่งและมีประชากร 10 ล้านคนโดยประมาณ ในขณะนีเ้ มกะซิตม้ี จี �ำ นวนเพิม่ ขึน้ ถึง 33 แห่ง และคาดว่า น่าจะเพิ่มสูงขึ้นเป็น 43 แห่งภายในปี 2030 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่กำ�ลังพัฒนา อันเนื่องมาจาก ว่าประชากรในเมืองมีโอกาสในการเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุขและการศึกษาที่ดีกว่า จอห์น วิลมอธ (John Wilmoth) ผู้อำ�นวยการแผนกประชากร องค์การสหประชาชาติ มองว่าการกระจุกตัวของ ประชากรอาจไม่ใช่วกิ ฤตแต่เป็นโอกาสในการออกแบบนโยบายและภารกิจให้พร้อมรองรับคลืน่ มหาชน ที่จะหลั่งไหลเข้ามาอยู่อาศัยในเมือง ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบต่อสังคมและสภาพแวดล้อมในอนาคตได้ “ความหนาแน่นของประชากรทีอ่ ยูอ่ าศัยในเมืองทีเ่ พิม่ ขึน้ จะช่วยสร้างให้การบริการต่างๆ มีจ�ำ นวนมากขึน้ เช่นกัน” วิลมอธกล่าว CREATIVE THAILAND I 14

Photo by Anastasia Dulgier on Unsplash

Cover Story: เรื่องจากปก


ในช่วงเวลาที่บรรดาเมืองทั่วโลกกำ�ลังเผชิญหน้า กับสารพัดปัญหาทีเ่ กิดขึน้ จากการขยายตัวของเมือง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาโครงสร้างพื้นฐาน มลภาวะ สิ่งแวดล้อม หรือการเพิ่มขึ้นของความเหลื่อมลํ้า ทางสังคม โครงการเพื่อการพัฒนาเมืองจำ�นวน มากจึงเกิดขึ้นโดยได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิง่ จากภาคเอกชน และมีแนวโน้ม ว่าจำ�นวนโครงการต่างๆ จะมีมากขึ้น แนวคิด เรื่อง ‘สมาร์ทซิตี้’ กำ�ลังกลายเป็นแก่นของการ พัฒนาเมืองครัง้ ใหม่ แบรนด์ชนั้ นำ�ของโลกผูเ้ ป็น เจ้ า ของเทคโนโลยี แ ละนวั ต กรรมในมื อ ต่ า ง พร้ อ มที่ จ ะช่ ว ยหน่ ว ยงานภาครั ฐ พั ฒ นาเมื อ ง อุตสาหกรรมสมาร์ทซิตจ้ี ะเติบโตขึน้ ถึงสามเท่าตัว ภายในปี 2050 นั่นหมายความว่าสภาพแวดล้อม และความเป็นอยู่ของผู้คนจะถูกเชื่อมต่อผ่าน เทคโนโลยีและข้อมูล เซ็นเซอร์ที่ติดตั้งอยู่รอบ เมืองจะมีจำ�นวนเพิ่มมากขึ้นเพื่อช่วยเก็บข้อมูล จากชีวิตประจำ�วันของผู้คนมาพัฒนาให้สังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจของเมืองดีขึ้น อีกทั้ง นวัตกรรมจากแบรนด์ต่างๆ จะมีความสำ�คัญ มากขึน้ เป็นเงาตามตัว เนือ่ งจากกลายเป็นส่วนหนึง่ ของประสบการณ์ของเมือง ในช่วงเวลาทีร่ ฐั บาลเองต้องรับมือกับสารพัด ความเปลีย่ นแปลงทีเ่ กิดขึน้ และเมืองกำ�ลังดิน้ รน เพื่อจัดหาบริการพื้นฐานต่างๆ ให้เพียงพอกับ ความต้องการของผู้อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างสาธารณะหรือรถพยาบาล นีค่ อื ช่วงเวลาทีร่ ฐั บาลหรือเมืองอาจไม่ใช่หวั หอก หลักในการพัฒนาเมืองผ่านนโยบาย แต่กลับกลาย เป็นแบรนด์ต่างๆ ที่นำ�นวัตกรรมและเทคโนโลยี ทีพ่ ฒั นาขึน้ มาใช้เป็นเครือ่ งมือในการพัฒนาเมือง ให้กลายเป็นสมาร์ทซิตเ้ี พือ่ ความเป็นอยูท่ ด่ี กี ว่าเดิม

จากเมืองมุ่งสู่สมาร์ทซิตี้

การพัฒนาเมืองให้พร้อมรับการหลั่งไหลเข้ามา ของผู้คนกำ�ลังเป็นเรื่องที่ทั่วโลกให้ความสนใจ “เมื่อคุณมีประชากรจำ�นวนมากขึ้นๆ สิ่งนี้ทำ�ให้ เกิดการย้ายถิน่ ฐานเข้าเมือง ผลกระทบจะมีความ คล้ายกับการพัฒนาของเมืองที่เกิดขึ้นในช่วง การปฏิวัติอุตสาหกรรม” เอสเมรัลดา ชวอร์ตซ (Esmeralda Swartz) หัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์และ การตลาดสำ�หรับธุรกิจซอฟต์แวร์ของอีริคสัน กล่าว “ตัวอย่างที่ผมชอบกล่าวถึงคือการบริการ ส่วนกลาง ถ้าคุณคิดถึงหนึ่งในปัญหาที่ใหญ่ที่สุด ของคนขับรถในสภาพการจราจรที่ติดขัด คือ

คนขับพยายามวนรถเพื่อมองหาที่จอด ตอนนี้ คนขับรถสามารถเช็กตำ�แหน่งทีว่ า่ งของทีจ่ อดรถ ผ่านแอพพลิเคชัน โดยทีแ่ อพพลิเคชันจะเชือ่ มต่อ กับเซ็นเซอร์บริเวณที่จอด ทำ�ให้คนขับสามารถรู้ ตำ � แหน่ ง ที่ ว่ า งได้ แ ละไม่ จำ � เป็ น ต้ อ งวนรถไป เรื่อยๆ เพื่อหาที่จอด นี่คือเรื่องธรรมดาๆ ที่เรา ชอบมองข้ามเมือ่ พูดถึงบริการสาธารณะของเมือง” แนวคิดเรื่องสมาร์ทซิตี้ หรือเมืองที่ใช้ประโยชน์ จากเซ็นเซอร์ อินเทอร์เน็ตแห่งสรรพสิง่ (Internet of Things) และเทคโนโลยีเชือ่ มต่อส่วนต่างๆ ของ เมืองเข้าด้วยกันในทุกส่วน ไม่วา่ จะเป็นในอากาศ บนถนน หรือกระทัง่ ใต้ดนิ กลายเป็นเรือ่ งทีไ่ ด้รบั ความสนใจจากหลายภาคส่วน เพื่อมุ่งปรับปรุง คุณภาพของประชากรที่อยู่อาศัยในเมือง ผู้คน สามารถใช้แอพฯ เข้าถึงข้อมูลจราจรหรือสภาพ ท้องถนน “คุณทำ�เรือ่ งเหล่านีข้ น้ึ เพราะคุณต้องการ ปรับปรุงและสร้างผลกระทบให้กับชีวิตของผู้คน ในเมือง เรื่องมีแค่นี้เองครับ มันคือเรื่องของการ เปลีย่ นชีวติ ของผูค้ นและทำ�ให้ชวี ติ ของพวกเขามี ประสิทธิภาพมากขึน้ ” จาร์แร็ตต์ เวนด์ต (Jarrett Wendt) รองประธานฝ่ายกลยุทธ์และการพัฒนา ธุรกิจของบริษทั Panasonic Enterprise Solutions Company กล่าว “คุณภาพชีวิตไม่ใช่เรื่องของ การใช้เวลาสามชั่วโมงในรถยนต์ทุกวัน ถ้าคุณ ฉลาดขึ้นและสามารถเชื่อมต่อและใช้ประโยชน์ จากบริการต่างๆ ของเมืองที่มีอยู่ ความทุกข์ ระทมจากการใช้ชีวิตในเมืองจะลดลง” ความสนใจในแนวคิดเรือ่ งสมาร์ทซิตสี้ �ำ หรับ การพัฒนาเมืองทีเ่ พิม่ ขึน้ ทำ�ให้รฐั บาลหลายประเทศ หันมาให้ความสนใจในเรื่องนี้มากขึ้น ในปี 2015 ทีมบริหารของประธานาธิบดีบารัค โอบามา ประกาศแผนสมาร์ทซิตี้แผนใหม่และให้ทุน 160 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สำ�หรับพัฒนาซอฟต์แวร์และ การใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตแห่งสรรพสิง่ เพือ่ ช่วยปรับปรุงการบริการของเมืองให้กับชุมชน ท้องถิ่นในพื้นที่ต่างๆ ในปลายปี 2016 ทำ�เนียบ ขาวประกาศลงทุน 80 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สำ�หรับ แผนสมาร์ทซิตตี้ อ่ เนือ่ ง ทุนดังกล่าวรวมถึงการใช้ ข้ อ มู ล เพื่ อ ปรั บ ปรุ ง ความมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพของ พลังงาน การวิจยั เพือ่ พัฒนาระบบการขนส่ง และ โปรแกรมตอบสนองต่อภัยพิบัติ นอกเหนือจากนี้ มูลนิธวิ ทิ ยาศาสตร์แห่งชาติยงั แบ่งเงินจำ�นวนอีก 60 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ให้กับแผนสมาร์ทซิตี้ โดยทุนนี้ครอบคลุมถึงการวิจัยเพื่อหาทางเลือก ต่างๆ ให้กบั เมือง การขยายเครือข่ายอินเทอร์เน็ต CREATIVE THAILAND I 15

ภายในเมือง ความมีประสิทธิภาพในการคมนาคม ขนส่ง การวิจัยเพื่อสุขภาพ และระบบเครือข่าย คอมพิวเตอร์ แต่ในยุคสมัยที่โลกจริงและโลกออนไลน์ เชื่อมถึงกันอย่างไร้รอยต่อ ความสามารถใน การพาเมืองมุง่ หน้าสูส่ มาร์ทซิตไี้ ม่ได้ขนึ้ อยูก่ บั มือ ของรัฐบาลแต่เพียงผู้เดียว แบรนด์ต่างๆ ผู้เป็น เจ้าของนวัตกรรมและเทคโนโลยีตา่ งมีความสามารถ ในการพั ฒ นาเมื อ งไม่ น้ อ ยหน้ า กั น ทุ ก วั น นี้ แบรนด์สามารถติดตามผู้คนไปได้ทุกที่ ทำ�ความ รู้จักพวกเขาได้อย่างดีขึ้น เกิดเป็นความสามารถ ในการสร้างสินค้าและบริการที่ตรงใจ นำ�มาซึ่ง ผลตอบแทนที่งดงาม เครื่องสำ�อาง Elizabeth Arden นำ�ข้อมูลของระดับมลพิษมาใช้โปรโมต ครีมบำ�รุงผิว ศูนย์การค้า Westfield Shopping Centre ในกรุงลอนดอน ทดลองการโฆษณาผ่าน บิลบอร์ดที่จะติดตามนักช้อปปิ้งไปทุกที่ในห้าง หรือ บริการกูเกิลเพลย์ ที่รวมข้อมูลจากอีเมล ปฏิทิน และยูทูบ เข้ากับพยากรณ์อากาศและ ข้อมูลจากแต่ละพืน้ ทีเ่ พือ่ สร้างเพลย์ลสิ ต์ทเี่ ข้ากับ แต่ ล ะสถานการณ์ เมื่ อ แบรนด์ เ ริ่ ม ถื อ ครอง เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ช่วยทำ�ให้ได้มาซึ่ง ข้อมูลต่างๆ ในการปรับปรุงสินค้าบริการเพื่อ เอาใจลูกค้า การทีแ่ บรนด์จะก้าวขึน้ มาเป็นผูพ้ ฒั นา บริการต่างๆ ควบคู่ไปกับรัฐบาลหรือเมือง เพื่อ ช่วยให้เมืองให้มุ่งสู่สมาร์ทซิตี้ก็ไม่ใช่เรื่องที่ไกล เกินเอื้อมอีกต่อไป

คงจะดีถ้ามีงบและเวลา

จากจำ�นวนผู้คนที่ใช้บริการขนส่งสาธารณะใน กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ทีเ่ พิม่ ขึน้ อย่างต่อเนือ่ ง เป็นเวลาหลายปีจนในปัจจุบนั มีผใู้ ช้บริการขนส่ง สาธารณะกว่า 7 ล้านคนต่อวัน เทศบาลของกรุงโซล จึงเริ่มโครงการ Transport Operation and Information Service (TOPIS) ในปี 1998 ที่ดูแล จัดการโดย Seoul Metropolitan Government ขึน้ เพื่อสร้างศูนย์ควบคุมการจราจรที่ครอบคลุมทั่ว ทั้งเมือง กรุงโซลคือเมืองแรกที่รัฐบาลท้องถิ่น พัฒนาระบบการจราจรอัจฉริยะโดยมีงบประมาณ ของโครงการอยู่ที่ประมาณ 200 พันล้านวอน ระบบ TOPIS จะรวบรวมและแปรข้อมูลการจราจร บนท้องถนนรวมถึงระบบรถไฟใต้ดนิ แบบเรียลไทม์ เพื่อช่วยให้เมืองสามารถจัดการการเดินทางของ รถประจำ�ทาง ลดความหนาแน่นของการจราจร และดำ�เนินการแก้ไขปัญหาเมื่อเกิดอุบัติเหตุได้


เพื่ อ กระตุ้ น ให้ ผู้ค นอยากใช้ ก ารบริ ก ารขนส่ ง สาธารณะมากขึน้ TOPIS เกิดขึ้นจากการเชื่อมต่อ กล้อง CCTV จำ�นวน 741 ตัวรอบเมือง เพื่อให้ ประเมิ น สภาพท้องถนนโดยรวมและแชร์ข้อมูล การควบคุมท้องถนน รวมทั้งอุบัติเหตุต่างๆ ที่ เกิดขึ้นกับกรมตำ�รวจของกรุงโซล ประชาชนจึง สามารถตรวจสอบเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ จากเว็บไซต์ของเมือง แอพพลิเคชัน หรือ ทวิตเตอร์ เมื่ อ โครงการดั ง กล่ า วสร้ า งความสนใจให้ กั บ เมืองอื่นๆ เป็นอย่างมาก รัฐบาลกลางจึงหันมา ให้ ค วามสนใจและเล็ ง เห็ น ถึ ง ประโยชน์ ข อง โครงการนี้ ส่งผลให้ในกรุงโซลได้รบั ความช่วยเหลือ ทางด้านการเงินจากรัฐบาลในการสนับสนุนบาง โครงการของเมือง อัตราอาชญากรรมทีเ่ กีย่ วกับปืนทีเ่ ป็นปัญหา สังคมเรื้อรังทำ�ให้สหรัฐฯ เสาะหาวิธีลดอัตรา อาชญากรรมดังกล่าวเรือ่ ยมาโดยในเดือนเมษายน ปี 2018 หนังสือพิมพ์ Independent รายงานว่า ปื น เป็ น สาเหตุ ที่ ก่ อ ให้ เ กิ ด การเสี ย ชี วิ ต ของ ผู้คนในสหรัฐอเมริกาถึงร้อยละ 75 ในปี 2018 สภาเทศบาลเมืองแทมปาในรัฐฟลอริดา อนุมัติ งบประมาณ 430,000 เหรียญสหรัฐฯ จากทุน เทคโนโลยี น วั ต กรรมเพื่ อ ความปลอดภั ย ของ สาธารณะ เพื่อว่าจ้าง ShotSpotter ให้เป็นผู้ช่วย คนใหม่ของตำ�รวจในเมืองแทมปาในการเฝ้า ระแวดระวังอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับปืนที่อาจ เกิดขึ้น เทคโนโลยีดังกล่าว คือ ระบบเซ็นเซอร์ที่ ทำ�งานร่วมกันเพื่อตรวจจับ ระบุตำ�แหน่ง และ แจ้งเตือนเหตุการณ์ยิงกัน เซ็นเซอร์จะได้รับการ ติดตั้งตามหลังคาบ้านเรือนและเสาโทรศัพท์โดย ทุกๆ ระยะทาง 2.5 ตารางกิโลเมตร จะมี เซ็นเซอร์ประมาณ 15-20 ตัว ข้อมูลจากเซ็นเซอร์ ดั ง กล่ า วครอบคลุ ม ตั้ ง แต่ ตำ � แหน่ ง ที่ เ กิ ด เหตุ ประเภทของอาวุธทีใ่ ช้ และจำ�นวนกระสุน ข้อมูล ดั ง กล่ า วไม่ เ พี ย งแต่ ช่ ว ยลดความเสี่ ย งให้ กั บ ตำ�รวจที่ทำ�งานในพื้นที่ แต่ยังช่วยให้การดำ�เนิน คดีมีประสิทธิภาพมากขึ้น และช่วยให้ตำ�รวจ ตรวจจับเหตุการณ์การยิงกันได้ก่อนจะมีการ แจ้งเรื่องไปยัง 911 อีกทั้งสามารถเข้าควบคุม เหตุการณ์ได้อย่างรวดเร็ว ประสิทธิภาพดังกล่าว ทำ�ให้ ShotSpotter ได้รบั ความนิยมในหลายเมือง ทัว่ สหรัฐฯ ไม่วา่ จะเป็นซานดิเอโก ซานฟรานซิสโก นิวเจอร์ซยี ์ นิวยอร์กซิตฝี้ งั่ ตะวันออก ไมอามี หรือ ชิคาโก

Seoul Transport Operation and Information Service (TOPIS)

ShotSpotter

TOPIS และ ShotSpotter คือ ตัวอย่างความ พยายามในการแก้ปัญหาของเมืองและพัฒนา เมืองให้น่าอยู่มากขึ้นโดยอาศัยการสนับสนุน ทั้งในด้านนโยบายและทุนจากภาครัฐ จริงอยู่ ที่ว่ากรุงโรมไม่ได้สร้างเสร็จในวันเดียว โครงการ การพัฒนาเมืองทั้งหลายต่างใช้ทั้งเงินและเวลา แต่ในยุคสมัยที่ผู้คนหลั่งไหลกันเข้ามาอยู่อาศัย ในเมืองใหญ่ คงจะเป็นการยากที่จะหวังพึ่งให้ ภาครัฐพัฒนาเมืองแต่เพียงลำ�พังในเมื่อความ ท้าทายของการพัฒนาเมืองไม่ได้มีแค่เรื่องของ การจราจร คมนาคมขนส่ง และอาชญากรรม ในขณะทีร่ ฐั บาลกำ�ลังง่วนกับสารพัดปัญหาทีต่ อ้ ง เร่งแก้ไขแต่นโยบายและงบประมาณไม่สามารถมา ได้ทนั เวลา บทบาทในการพัฒนาเมืองในศตวรรษ ที่ 21 อาจถูกเปลี่ยนผ่านไปยังแบรนด์ต่างๆ ผู้มี พร้อมทั้งเงินทุน นวัตกรรม และเทคโนโลยี

เมื่ออำ�นาจเปลี่ยนมือ จากรัฐสู่แบรนด์

บริษทั ที่ปรึกษาด้านธุรกิจ McKinsey & Company เผยว่ า อุ ต สาหกรรมสมาร์ ท ซิ ตี้ มี มู ล ค่ า อยู่ ที่ ประมาณ 400 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2020 จาก 600 กว่าเมืองทั่วโลก และคาดว่าจะ สร้างจีดีพีของโลกได้ร้อยละ 60 ภายในปี 2025 CREATIVE THAILAND I 16

ในอุ ต สาหกรรมนี้ เ อง แบรนด์ ยั ก ษ์ ใ หญ่ ด้ า น เทคโนโลยีและนวัตกรรมไม่วา่ จะเป็น Intel, IBM, GE, Ericsson และ Siemens ต่างพากันสนับสนุน ให้สมาร์ทซิตี้เกิดขึ้น แบรนด์เหล่านี้ไม่ได้มีแค่ เครือ่ งมือแต่ยงั มีทนุ ซึง่ เป็นสิง่ จำ�เป็นต่อวิวฒั นาการ ของเมือง นิตยสาร Fast Company เผยว่า สถาบันการเงินกว่า 30 แห่งมีทรัพย์สินรวมกัน มากกว่า 50 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ส่งผลให้ สถาบันเหล่านั้นมีอำ�นาจและอิทธิพลมากกว่า รัฐเอกราชอีกหลายๆ รัฐ ตลาดหุ้นแนสแด็กราย งานว่า มูลค่าหุน้ ของ Amazon, Apple, Facebook และ Google รวมกันมีมูลค่าอยู่ที่ 2.8 ล้านล้าน เหรียญฯ บริษัทวิจัย Market and Market เผย ว่า แบรนด์เหล่านี้มองว่ามูลค่าของสมาร์ทซิตี้จะ เพิม่ สูงขึน้ เป็น 1.2 ล้านล้านเหรียญเหรียญสหรัฐฯ ภายในสี่ปีข้างหน้า ปี 2018 รายงานของ Edelman TRUST BAROMETER เผยถึงผลสำ�รวจในสหรัฐฯ ว่าความ คาดหวังต่อประธานกรรมการบริหาร คือการช่วย เติมช่องว่างทางการเปลี่ยนแปลงทางสังคมให้ เกิดขึ้นแทนรัฐบาล ร้อยละ 22 เห็นว่าภาคธุรกิจ คื อ สถาบั น ที่ ส ร้ า งอนาคตที่ ดี ก ว่ า ให้ กั บ เมื อ ง ร้อยละ 15 คิดว่ารัฐบาลคือสถาบันที่จะพาเมือง ไปสู่อนาคตที่ดีกว่า และร้อยละ 64 กล่าวว่า


ใช้งานที่สะดวก ทำ�ให้ CityMapper ได้รับความ นิยมเป็นอย่างมาก ชาวลอนดอนไม่เพียงหลงรัก CityMapper จากความมีประสิทธิภาพและความ เรียบง่ายในการใช้งาน แต่ยังรวมถึงอารมณ์ขันที่ ซ่อนอยู่ในแอพฯ นี้ เช่น การแสดงให้เห็นว่าถ้า ผูใ้ ช้เลือกทีจ่ ะเดินเท้าแทนการนัง่ รถบัสจากจุดเอ ไปจุดบี พวกเขาสามารถเบิรน์ แคลอรีของโดนัทได้ ทัง้ หมดกีช่ น้ิ หนังสือพิมพ์ Independent รายงาน ว่า “แผนที่ของ Google อาจจะครอบคลุมกว่า มีให้บริการในหลายพื้นที่ทั่วโลกมากกว่า แต่ หลายคนคิดว่า CityMapper ถึงแม้จะมีพื้นที่ให้ บริการในจำ�นวนเมืองที่น้อยกว่า แต่กลับใช้งาน ง่ายกว่ามาก” CityMapper ค่อยๆ เพิ่มพื้นที่ให้ บริการมากขึ้นกว่าใน 30 เมืองทั่วโลก ไม่ว่าจะ เป็นมาดริด เซาเปาโล ซานฟรานซิสโก และเมือง อื่นๆ อีกอย่างไม่หยุดยั้ง เว็บไซต์ The Medium รายงานว่า “มันไม่ใช่แค่ลอนดอน นิวยอร์ก หรือ ปารีส อีกต่อไป ความท้าทายครั้งใหม่เกี่ยวข้อง กับการเกิดขึน้ ของเมืองอีกจำ�นวนมากทีโ่ ครงสร้าง พื้นฐานมีจำ�กัด กฎของการเดินทางแตกต่างกัน ข้อมูลอาจะมีน้อย และแม้แต่พฤติกรรมการใช้ สมาร์ทโฟนและแอพพลิเคชันของผู้คนในเมืองก็ ไม่เหมือนกัน” ในเดือนกุมภาพันธ์ 2018 รถตู้สีดำ�เริ่มออก วิง่ บนท้องถนนในกรุงลอนดอนควบคูไ่ ปกับรถเมล์ สีแดงที่เป็นสัญลักษณ์ของกรุงลอนดอน รถคัน ดังกล่าวคือผลงานชิน้ ใหม่ลา่ สุดของ CityMapper ในการเพิม่ บริการจากผูช้ ว่ ยนำ�ทางในการเดินทาง มาเป็นผู้ให้บริการการเดินทางในรูปแบบใหม่ใน ชื่อ Smart Ride หรือบริการรถสาธารณะจำ�นวน 8 ทีน่ งั่ ทีไ่ ด้รบั การขับโดยคนขับทีไ่ ด้รบั ใบอนุญาต

ในการขับขีท่ จี่ ะพาผูโ้ ดยสารไปยังจุดหมายต่างๆ ตามเครือข่ายเส้นทางเดินรถในกรุงลอนดอน “Smart Ride เปรียบเสมือนบริการลูกผสม มีความ คล้ายรถประจำ�ทางเพราะว่ามีป้ายจอด มีความ คล้ายรถแท็กซี่เพราะว่าคุณต้องจองที่น่ัง และมี ความคล้ายรถไฟใต้ดนิ เพราะว่ามีเครือข่ายเส้นทาง เดินรถ” โอมิด แอชทาริ (Omid Ashtari) ประธาน บริษัทและหัวหน้าฝ่ายธุรกิจของ CityMapper กล่าวว่า “เราเชือ่ ในอนาคตของการเดินทางแบบ แบ่งปันในเมือง มันคงไม่มวี ธิ อี นื่ ทีเ่ ราจะแก้ปญั หา เรื่องการจราจรติดขัดและมลภาวะทางอากาศ” Smart Ride ให้บริการภายใต้ใบอนุญาตจากการ คมนาคมของลอนดอน (Transport for London TfL) บริการดังกล่าวก่อให้เกิดความสนใจในวง นักยุทธศาสตร์ของเมืองดังจะเห็นได้จากความเห็น ของพวกเขาที่มองว่า เมืองต่างๆ ควรเตรียมตัว ให้พร้อมกับ “ความต้องการในการเดินทางที่ ได้รับการตอบสนอง” ดังที่จะเห็นได้จากการที่ CityMapper เริม่ ทำ�งานกับระบบขนส่งสาธารณะ ลิลลิ แมตสัน (Lilli Matson) ผู้อำ�นวยการฝ่าย กลยุทธ์ของการคมนาคมลอนดอนกล่าวว่า “TfL ควร กำ�หนดกรอบแผนงานให้กบั บริษทั เช่น Ford และ CityMapper สามารถดำ�เนินการในกรุงลอนดอน พวกเรายินดีเป็นอย่างยิ่งในการต้อนรับพวกเขา แต่อยากให้พวกเขาพร้อมทีจ่ ะทุม่ เทให้กบั จุดประสงค์ ของเมือง” แซม มูลลินส์ (Sam Mullins) ผูอ้ �ำ นวยการ ของพิพิธภัณฑ์การเดินทางแห่งลอนดอนกล่าว สนับสนุนเรือ่ งนีไ้ ว้วา่ “ท้ายทีส่ ดุ แล้วพวกเราเล็งเห็น ว่ารัฐบาลและเอกชนต้องร่วมมือกันเพื่อรักษาไว้ ซึ่งความสามารถในการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว เพราะว่าเมืองของเราต้องพึ่งพาสิ่งนี้” citymapper.com

ประธานกรรมการบริหารคือบุคคลที่ควรสร้าง การเปลี่ยนแปลงมากกว่ารอให้รัฐบาลเข้าแก้ไข ปัญหา ในขณะทีค่ วามเชือ่ ใจในการแก้ปญั หาของ รัฐบาลมีนอ้ ยลง แบรนด์ตา่ งๆ กลับครองใจผูค้ น มากขึ้น โดยไม่เพียงแค่เติบโตอย่างก้าวกระโดด ในทางธุรกิจ แต่ยังเข้าใจความต้องการของ ผูบ้ ริโภคและสามารถเป็นส่วนหนึง่ ในชีวติ ประจำ� วันของพวกเขาได้ เมื่อสถานการณ์เป็นเช่นนี้ เมืองจึงเริ่มทำ�งานกับหลากหลายแบรนด์เพื่อ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีที่จำ�เป็น รัฐบาลท้องถิน่ ร่วมมือกับแบรนด์ทโี่ ดดเด่นในเรือ่ ง ของนวั ต กรรมและเทคโนโลยี ไ ม่ ว่ า จะเป็ น Google, Samsung, Nissan หรือ Panasonic เพื่ อ พั ฒ นานวั ต กรรมและเทคโนโลยี สำ � หรั บ สมาร์ ท ซิ ตี้ แบรนด์ เ หล่ า นี้ ต่ า งพากั น พั ฒ นา โปรเจ็กต์ตา่ งๆ โดยใช้ความถนัดเฉพาะด้านของ พวกเขาไม่ว่าจะเป็นการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ ข้ อ มู ล การพั ฒ นาสิ น ค้ า หรื อ การออกแบบ อินเทอร์เฟซเพือ่ พาเมืองของพวกเขามุง่ สูเ่ ส้นทาง แห่งการเป็นสมาร์ทซิตี้อย่างแท้จริง ในปี 2011 อัสมัต ยูซฟุ (Azmat Yusuf) อดีต พนั ก งาน Google ชาวปากี ส ถาน พั ฒ นา แอพพลิเคชั น CityMapper ขึ้นสำ� หรับชาว ลอนดอนให้เป็นผูช้ ว่ ยในการเดินทาง เพือ่ ช่วยให้ ชีวติ ของพวกเขาง่ายขึน้ และมีคณุ ภาพชีวติ ทีด่ ขี นึ้ ยูซุฟ ใช้ประโยชน์จากโทรศัพท์เคลื่อนที่และ ข้อมูลในการพัฒนาแอพพลิเคชันที่บอกเส้นทาง ได้ดที ส่ี ดุ และให้ขอ้ มูลทีด่ ที ส่ี ดุ สำ�หรับผูท้ กี่ �ำ ลังจะ เดินทาง ไม่วา่ จะอยากจะเดินเท้า ขีจ่ กั รยาน หรือ ใช้บริการขนส่งสาธารณะในกรุงลอนดอน ข้อมูล ที่ครอบคลุมในทุกเส้นทางการเดินทางและการ

CREATIVE THAILAND I 17


จะเป็ น อย่ า งไรถ้ า เราใช้ ชี วิ ต อยู่ ใ นเขตที่ เ มื อ ง สามารถติดตามกิจกรรมทีผ่ คู้ นทำ�ในแต่ละวันได้ เมืองรู้ว่าคุณใช้เวลาบนถนนนานเท่าไร หรือ รู้ว่า คุณใช้พลังงานไฟฟ้าในแต่ละวันเป็นจำ�นวนเท่าไร และนำ�ข้อมูลดังกล่าวไปปรับปรุงระบบการจราจร หรือระบบการใช้พลังงานของเมืองให้มปี ระสิทธิภาพ ยิ่งขึ้น เรื่องเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องที่มีอยู่แค่ในนิยาย แฟนตาซีโลกอนาคตอีกต่อไป หากแต่ก�ำ ลังเกิดขึน้ จริงใน Quayside โครงการที่อยู่อาศัยแห่งใหม่ บริเวณริมแม่นํ้าโตรอนโต ประเทศแคนาดา ในปี 2017 Alphabet Inc. บริษัทผู้เชี่ยวชาญด้าน นวั ต กรรมสำ � หรั บ เมื อ งและบริ ษั ท ลู ก ภายใต้ Google เซ็นสัญญาข้อตกลงทีจ่ ะสร้างชุมชมใหม่ บริเวณริมแม่นํ้าของเมืองโตรอนโตที่สามารถ แสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีและข้อมูลสามารถ ปรับปรุงคุณภาพชีวิตคนเมืองได้อย่างไร Sidewalk Labs หน่วยงานภายใต้บริษัท Alphabet Inc. และ Waterfront Toronto หน่วย งานของรัฐบาลแคนาดา ประกาศความร่วมมือ กันพัฒนา Quayside หรือพืน้ ทีข่ นาด 12 เอเคอร์ บริ เ วณริ ม แม่ นํ้ า โตรอนโตฝั่ ง ตะวั น ออกด้ ว ย

งบประมาณ 50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อนำ�เสนอ ตั ว อย่ า งของสมาร์ ท ซิ ตี้ ที่ ใ หญ่ ที่ สุ ด ในทวี ป อเมริกาเหนือ Quayside ได้รับการพัฒนาให้ เป็นพื้นที่ใช้สอยอเนกประสงค์สำ�หรับออฟฟิศ ร้านค้า ทีอ่ ยูอ่ าศัย และเมกเกอร์สเปซ เข้าด้วยกัน โดยโครงการดังกล่าวจะถูกสร้างขึน้ ด้วยเทคโนโลยี และข้อมูลต่างๆ เช่น ข้อมูลการจราจร เสียง คุณภาพอากาศ รวมไปถึงประสิทธิภาพของระบบ ต่างๆ เช่น การทิ้งขยะและไฟฟ้า วิล ฟลาซิก (Will Fleissig) ประธานกรรมการของ Waterfront Toronto กล่าวถึงโครงการนีว้ า่ “ในพืน้ ทีน่ ้ี เราไม่ได้ อยากแค่สร้างคอนโดเพิ่มขึ้น เราต้องการที่จะ ทดลองแนวคิดใหม่ๆ นวัตกรรมใหม่ๆ รวมถึง ความร่วมมือใหม่ๆ ที่ถ้าประสบความสำ�เร็จได้ เราจะสามารถประยุ ก ต์ ใ ช้ กั บ โตรอนโตและ เมืองอืน่ ๆ ในแคนาดา รวมไปถึงเมืองอืน่ ๆ ทัว่ โลก” ข้อเสนอของ Sidewalk Labs ต่อโครงการนี้ ให้สัญญาถึงโอกาสที่จะนำ�เสนอว่าเทคโนโลยี ใหม่ๆ จะสามารถทำ�ให้เมืองต่างๆ มีคา่ ครองชีพ ที่ตํ่าลง เดินทางไปไหนมาไหนในเมืองได้สะดวก ขึ้น และมีความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ดังนัน้ แนวคิดของโครงการ Quayside จึงสะท้อน

ให้ เ ห็ น ถึ ง นวั ต กรรมในงานสถาปั ต ยกรรม การก่อสร้าง และการออกแบบเมืองอย่างทีไ่ ม่เคย เกิดขึน้ มาก่อน ภายในพืน้ ทีข่ องโครงการ รถยนต์ ส่วนบุคคลคือของต้องห้าม ถนนสร้างขึ้นสำ�หรับ ยานพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยตนเองและหุ่นยนต์ ส่งสินค้าที่วิ่งกันขวักไขว่ในอุโมงค์ใต้ดิน ระบบ สัญญาณอัจฉริยะจะควบคุมการใช้ถนนที่เหมาะ แก่ ก ารเดิ น เท้ า อาคารต่ า งๆ จะได้ รั บ การ ออกแบบขึ้นให้สามารถปรับเปลี่ยนการใช้งานได้ และได้รบั การก่อสร้างในระบบโมดูลา่ ร์ เซ็นเซอร์ จะได้รบั การติดตัง้ เพือ่ วัดความหนาแน่นของการ จราจร คุณภาพอากาศ เสียง และอัตราการใช้ อาคาร ซึง่ ระบบเซ็นเซอร์จะช่วยให้การดำ�เนินการ หลายๆ เรือ่ งง่ายและสะดวกขึน้ ไม่วา่ จะเป็นเรือ่ ง การควบคุมอุณหภูมิของอาคารหรือการลดการ ใช้พลังงาน “เราเชื่อว่าการใช้ประโยชน์จาก เทคโนโลยีเข้ากับการออกแบบเมืองที่มีผู้คนเป็น ศูนย์กลางอย่างชาญฉลาดนัน้ จะสร้างผลกระทบ อันยิ่งใหญ่ให้กับคุณภาพชีวิต” ดาเนียล แอล. ด็อคตโรฟฟ์ (Daniel L. Doctoroff) ผู้ก่อตั้ง Sidewalk Labs กล่าว

sidewalktoronto.ca

สร้างเมืองจากข้อมูล

CREATIVE THAILAND I 18


sidewalklabs.com

โปร่งใสและซื่อตรง

เมื่อโครงการ Quayside ได้รับการประกาศ ออกสูส่ าธารณะ โครงการนีส้ ร้างความตืน่ เต้นให้ กับผู้คนเป็นอย่างมาก จัสติน ทรูโด (Justin Trudeau) นายกรัฐมนตรีของแคนาดากล่าวว่า ชุ ม ชนนี้ จ ะเปลี่ ย นพื้ น ที่ ริ ม แม่ นํ้า ให้ ก ลายเป็ น แหล่งนวัตกรรมที่เฟื่องฟู ในขณะที่ชาวเมือง หลายคนอ้าปากค้างกับความเป็นไปได้ของการใช้ เทคโนโลยีและข้อมูลในการสร้างสมาร์ทซิตี้ที่จะ กลายเป็นเมืองที่สามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้ มากที่สุดในโลก แต่หลายคนกลับคิ้วขมวดด้วย ความกังวลในเรื่องความเป็นส่วนตัวและรู้สึก ไม่สบายใจในเรื่องของการเก็บข้อมูลจากชีวิต ประจำ�วันของพวกเขา โครงการนี้ที่รัฐบาลมุ่ง สร้างเพือ่ ประชาชนชาวโตรอนโตได้รบั การวิพากษ์ วิ จ ารณ์ อ ย่ า งหนาหู ม ากขึ้ น ในช่ ว งปี ที่ ผ่ า นมา หนึง่ ในความหวัน่ กลัวทีเ่ กิดขึน้ ทัว่ เมืองคือ ข้อมูล ต่างๆ อาจจะได้รับการแชร์กับรัฐบาลอื่นๆ หรือ ภาคส่วนอื่นๆ นอกแคนาดา ความหวั่นกลัว เหล่านีเ้ กิดขึน้ ท่ามกลางความสัมพันธ์อนั ตึงเครียด ที่เพิ่มขึ้นระหว่างสาธารณะและบริษัทเทคโนโลยี ต่างๆ ที่แชร์ข้อมูลของผู้คน แม้ว่า Sidewalk Labs สัญญาว่าจะไม่เปิดเผยนามของเจ้าของ ข้อมูลเหล่านี้ แต่ไม่ได้ตกลงว่าจะเก็บข้อมูลอยู่ ภายในพื้นที่เช่นกัน

ท่ามกลางกระแสของสมาร์ทซิตี้ที่ทั่วโลกต่างให้ ความสนใจและคาดหวังว่าเมืองของตนจะเป็น สมาร์ทซิตี้ในเร็ววันนั้น กลับมีเรื่องตลกร้ายที่ ทำ�ให้ข�ำ ไม่คอ่ ยออกซ่อนอยู่ เรือ่ งทีว่ า่ นัน้ คือ ผูค้ น ทีอ่ ยูอ่ าศัยในเมืองนัน้ มีความเข้าใจในแนวคิดของ สมาร์ทซิตี้อย่างถ่องแท้หรือเปล่า รายงานของ Economist Intelligence Unit ปี 2016 เผยถึง ผลสำ � รวจในเรื่ อ งนี้ จ ากการสำ � รวจประชาชน 2,000 คนจาก 20 ประเทศในอาเซียนและเอเชีย แปซิฟิก โดยมีจุดประสงค์ในการทำ�ความเข้าใจ เกีย่ วกับทัศนคติของผูค้ นต่อเรือ่ งความยัง่ ยืนและ สมาร์ทซิตี้ ผลสำ�รวจดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าผูค้ น ส่วนมากยังขาดความรู้ความเข้าใจว่าสมาร์ทซิตี้ คืออะไร ร้อยละ 25 บอกว่าพวกเขาคุ้นเคยกับ สมาร์ทซิตี้ ในขณะที่ร้อยละ 55 บอกว่าไม่แน่ใจ และไม่คุ้นเคยกับเรื่องนี้ ถ้ า พิ จ ารณาจากโปรเจ็ ก ต์ ใ นการพั ฒ นา เมืองต่างๆ ทีก่ �ำ ลังเกิดขึน้ คงจะไม่เป็นการกล่าว เกินจริงไปนักถ้าจะบอกว่า นี่คือช่วงเวลาที่ความ

เชี่ ย วชาญเฉพาะด้ า นของแบรนด์ ต่ า งๆ มี ประสิ ท ธิ ภ าพมากกว่ า ที่ ห น่ ว ยงานภาครั ฐ จะ สามารถทำ�ได้ และแบรนด์ต่างๆ กำ�ลังถือไพ่ เหนือกว่ารัฐบาล เมือง และประชาชน ในแง่ของ เงินลงทุนและการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีใน การพาเมืองไปยังจุดที่ดีกว่าเดิม ความซื่อสัตย์ และซื่อตรงของแบรนด์ต่อเมืองและผู้คนนั้นเป็น สิ่ ง ที่ สำ � คั ญ ไม่ แ พ้ กั น ในเมื่ อ ผู้ ค นอาจจะยั ง ไม่ เข้าใจถึงเรื่องดังกล่าวดีเท่าที่ควร และอาจจะยัง ไม่ทราบว่าพวกเขาต้องแลกอะไรบางอย่าง ไม่วา่ จะเป็นเรื่องของข้อมูลหรือความเป็นส่วนตัวเพื่อ ให้ได้มาซึ่งเมืองในอุดมคติที่พวกเขาปรารถนา ถ้าโครงการอย่าง Quayside สามารถสำ�เร็จได้ อย่างมีโปร่งใสและเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ผู้คนในเมืองสามารถควบคุมสภาพแวดล้อมและ บริการต่างๆ ตามเวลาที่เกิดขึ้นจริงได้ โฉมหน้า ของเมืองในปี 2050 คงเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก และกลายเป็นเมืองที่สภาพแวดล้อมสามารถ เปลี่ยนไปตามความต้องการในการอยู่อาศัยของ ผู้คนได้อย่างแท้จริง

ที่มา: บทความ “Branded Cities: Can We Avoid an Urban Dystopia?” จาก thefuturelaboratory.com / บทความ “Citymapper Launches Bus-Taxi Hybrid Smart Ride in London” โดย Alex Hern จาก theguardian.com / บทความ “Edelman Trust Barometer: Expectations for CEOS” จาก edelman.com / บทความ “Smart Cities Are in Demand, Even If We’re Unsure of What They Actually Are” โดย Eisha Gupta จาก foreground.com.au / บทความ “SXSW: Is the Future of Our Cities a Branded Utopia or Commercial Dystopia?” โดย Adela Locsin จาก storybench.org / บทความ “Tampa Police to Test Gunshot-Tracking Software” โดย Aaron Mesmer จาก fox13news.com / บทความ “Two-Thirds of World Population Will Live in Cities by 2050, Says UN” จาก theguardian.com CREATIVE THAILAND I 19


BETTER REYKJAVIK โลกหมุนกลับทีเ่ รคยาวิก เรื่อง: นันทกานต์ ทองวานิช

วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นกับประเทศไอซ์แลนด์ในปี 2008 คือจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ต่อระบบประชาธิปไตย ในเมืองหลวงของประเทศอย่างเรคยาวิก แม้หน้าที่อย่างหนึ่งของรัฐคือการเป็นผู้กำ�หนดทิศทางในการพัฒนาเมืองและ ออกกฎหมาย แต่ดเู หมือนว่ารัฐบาลเมืองเรคยาวิกจะมองเห็นแล้วว่า บทบาทของชาวเมืองในระบอบประชาธิปไตยไม่ได้สนิ้ สุด ลงที่การเลือกตั้งผู้แทน และรัฐจะมีอำ�นาจเบ็ดเสร็จนับแต่นั้น หากแต่ยังมีวิธีอื่นที่ประชาชนจะมีส่วนร่วมในการดูแลเมืองด้วย ตัวเอง โดยใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตและสมาร์ทโฟน ให้สมกับทีไ่ ด้ชอื่ ว่าเป็นประเทศทีม่ อี สิ รภาพในการแสดงความคิดเห็น และมีอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตสูงที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง Better Reykjavik เรียกความเชื่อมั่นให้กลับคืน Better Reykjavik คือเว็บไซต์ที่เปิดให้ชาวเมือง เรคยาวิ ก นำ � เสนอไอเดี ย ในการพั ฒ นาเมื อ ง สามารถโหวตให้คะแนน และแสดงความคิดเห็น ต่ อ ไอเดี ย ที่ ผู้ อื่ น เสนอได้ โดยไอเดี ย ที่ ไ ด้ รั บ การโหวตสูงสุดในแต่ละเดือน จะได้ผ่านเข้า สู่กระบวนการพิจารณาและนำ�ไปพัฒนาให้เกิด ขึ้นจริง เว็บไซต์ทวี่ า่ นีเ้ กิดขึน้ จากความต้องการทีจ่ ะ สร้ า งความเชื่ อ ใจในตั ว รั ฐ บาลให้ ก ลั บ คื น มา

หลังจากการพังทลายของเศรษฐกิจไอซ์แลนด์ใน ปี 2008 ที่ทำ�ให้ธนาคารพาณิชย์ของไอซ์แลนด์ ต้องปิดตัวลงถึง 3 แห่ง ผลิตภัณฑ์มวลรวมของ ประเทศ (GDP) ลดตํา่ ลงถึง 10% รวมไปถึงอัตรา การว่างงานจำ�นวนมหาศาลอย่างทีไ่ ม่เคยเกิดขึน้ มาก่อนในประเทศ ที่ก่อนเกิดวิกฤตเพียงปีเดียว ได้รับการจัดอันดับโดยองค์การสหประชาชาติว่า มีการเติบโตทางเศรษฐกิจทีแ่ ข็งแรงเป็นอันดับหนึง่ ของโลก โรเบิรต์ บียาร์นาสัน (Robert Bjarnason) หนึง่ ในสองผูก้ อ่ ตัง้ Better Reykjavik ให้สมั ภาษณ์ ว่า “ระบบประชาธิปไตยของรัฐบาลจำ�เป็นต้องมี CREATIVE THAILAND I 20

การคิดและปรับปรุงเสียใหม่ แทนที่จะให้ประชาชน เลือกตั้งทุกๆ 4 ปี เราสามารถใช้ประโยชน์จาก อิ น เทอร์ เ น็ ต ในการอำ � นวยความสะดวกให้ ประชาชนเข้าถึงและมีสว่ นในการกำ�หนดนโยบาย ต่างๆ ของเมืองและประเทศได้มากกว่านั้น” No more a regulator, here’s a facilitator ไม่ว่าจะเป็นเพราะโชคช่วยหรือเหตุผลใดก็ตาม ที่ทำ�ให้ Better Reykjavik ประสบความสำ�เร็จ แต่การเมืองในเรคยาวิคได้เปลี่ยนไปแล้วอย่าง

flickr.com/photos/Mariusz Kluzniak

Insight: อินไซต์


สิ้นเชิง เพราะรัฐไม่ใช่ผู้กำ�หนดทิศทางของการ พัฒนาเมืองแต่เพียงผู้เดียวอีกต่อไปแล้ว แต่เป็น ชาวเมืองต่างหากที่มีส่วนช่วยควบคุมมันด้วย ตัวเอง ในปี 2010 ซึ่งเป็นช่วงเวลาเลือกตั้งนายก เทศมนตรี ข องเมื อ งเรคยาวิ ก บี ย าร์ น าสั น เสนอพื้นที่บนเว็บไซต์ Better Reykjavik ให้ ผู้ ล งสมั ค รทุ ก พรรคใช้ เ ปิ ด รั บ ความคิ ด เห็ น และข้อเสนอในการพัฒนาเมืองจากประชาชน โดยพรรคการเมือง Best Party ของนักแสดงตลก ยอน นาร์ (Jón Gnarr) ใช้แพลตฟอร์มนีม้ ากทีส่ ดุ เขาสนับสนุนให้ชาวเมืองเสนอแนะนโยบายต่างๆ ผ่านทางแพลตฟอร์มนี้ และเขาก็ได้รับเลือกตั้ง ในระยะเวลาเพียง 1 สัปดาห์ มีไอเดียกว่า 2,000 ไอเดียและความคิดเห็นกว่า 10,000 ข้อทีห่ ลัง่ ไหล เข้ามา รวมถึงผู้เข้าชมเว็บไซต์กว่า 50,000 คน นาร์รับเอาแพลตฟอร์มนี้เป็นช่องทางหนึ่งในการ ปฏิบัติหน้าที่ดูแลและพัฒนาเมืองของเขาต่อมา อีก 4 ปี และแสดงให้เห็นว่า เมืองจะก้าวต่อไป อย่างไรนั้น ส่วนหนึ่งมาจากความคิดและความ ต้องการของประชาชนจริงๆ Better Reykjavik มีลักษณะคล้าย open forum คือใครก็สามารถเข้าไปอ่านข้อมูลได้ เพียง แต่ผู้ที่ลงทะเบียนด้วยเลขบัตรประชาชนเท่านั้น จึงจะสามารถโพสต์ไอเดีย กดโหวต และเสนอ ความคิดเห็น โดยช่องแสดงความคิดเห็นจะแบ่ง ออกเป็น 2 ช่อง คือช่องความเห็นที่เห็นด้วย และ ช่องที่ไม่เห็นด้วย ผู้ใช้จะไม่สามารถแสดงความ คิดเห็นด้วยการกดตอบ (reply) ความคิดเห็นของ

ผู้อื่นได้ นั่นหมายความว่าแต่ละความคิดเห็นจะ มีจุดยืนและข้อโต้แย้ง (argument) เป็นของ ตัวเอง สามารถช่วยลดปัญหาการโต้แย้งที่ตัว บุคคลมากกว่าที่ความคิดเห็น ในแต่ละเดือน ห้าไอเดียที่ได้รับคะแนน โหวตสูงสุด ตลอดจนความคิดเห็นและข้อโต้แย้ง ที่ มี ต่ อ ไอเดี ย นั้ น ๆ จะถู ก นำ � ไปพิ จ ารณาโดย คณะกรรมการที่นำ�โดยเทศบาลเมือง รวมไปถึง ไอเดียที่ได้รับคะแนนสูงสุดจากแต่ละหมวดหมู่ ทั้งการบริหารจัดการเมือง การให้บริการและ ปฏิบัติงานของรัฐ สิทธิมนุษยชน สิ่งแวดล้อม การศึกษา การคมนาคม สวัสดิการ ผังเมือง ไปจนถึงประเด็นเรื่องการท่องเที่ยว การพักผ่อน และสั น ทนาการ กี ฬ า และศิ ล ปวั ฒ นธรรม เป็นต้น และในแต่ละไอเดียก็อาจจะต้องผ่าน การพิจารณาจากคณะกรรมการมากกว่า 1 คณะ ตามความเหมาะสม โดยไอเดียทีไ่ ด้รบั ความเห็น ชอบจะถูกนำ�ไปทำ�ให้เกิดขึน้ จริง ส่วนไอเดียอืน่ ๆ ที่ไม่ได้รับเลือกหรือได้คะแนนโหวตน้อยกว่าก็จะ ยังคงเปิดให้แสดงความคิดเห็นต่อไป และยัง ถือเป็นข้อมูลสำ�คัญทีจ่ ะช่วยแสดงให้เจ้าหน้าทีร่ ฐั เห็นทิศทางความต้องการหรือปัญหาของประชาชน From crowd-sourced policy-making to participatory budgeting ตัวเลขในปี 2017 แสดงให้เห็นว่า Better Reykjavik มีผู้ใช้งานกว่า 20,000 คน และมีผู้เข้าเยี่ยมชม กว่า 70,000 คน จากจำ�นวนประชากรของเมือง CREATIVE THAILAND I 21

ซึ่งอยู่ที่ 120,000 คน โดยมีไอเดียกว่า 750 ไอเดีย ที่ผ่านการพิจารณาและถูกนำ�ไปใช้จริง ไม่ว่าจะ เป็นเรือ่ งใหญ่อย่างการเพิม่ งบประมาณช่วยเหลือ คนไร้บ้าน การเปลี่ยนอดีตโรงงานไฟฟ้าให้เป็น ศูนย์เยาวชน ไปจนถึงการมีห้องนํ้าที่ไม่แบ่งเพศ หรือแม้แต่การตั้งชื่อถนนว่า Svarthöfði ซึ่งเป็น ชือ่ ไอซ์แลนดิกของ ดาร์ธ เวเดอร์ (Darth Vader) ตัวละครในภาพยนตร์สตาร์ วอร์ส (Star Wars) ไม่เพียงแต่อำ�นาจในการเสนอแนวทางเพื่อ เปลีย่ นเมือง ชาวเรคยาวิกยังสามารถตัดสินใจว่า จะใช้จ่ายงบประมาณในแต่ละปีได้อย่างไรบ้าง My Neighborhood คือแคมเปญย่อยภายใต้ Better Reykjavik ที่ให้อำ�นาจนั้นกับพวกเขา โดย 6% ของงบประมาณในแต่ละปี หรือประมาณ 3.5 ล้านยูโร จะถูกแบ่งมาให้ประชาชนตัดสินว่า จะใช้เงินจำ�นวนนี้อย่างไรเพื่อพัฒนาทั้ง 10 เขต ของเมืองผ่านกระบวนการนำ�เสนอไอเดียและ โหวตตามปกติ ภายในช่วงเวลา 7 ปีนบั ตัง้ แต่เริม่ แคมเปญนี้ในปี 2011 มีการใช้งบประมาณไป แล้วกว่า 25 ล้านยูโร สำ�หรับกว่า 600 ไอเดียที่ ได้รับอนุมัติ E-democracy: a new global norm การเปลี่ ย นแปลงที่ เ กิ ด ขึ้ น กั บ เมื อ งเรคยาวิ ก สร้างความตื่นตัวให้กับทั้งรัฐและประชาชนใน ระบอบประชาธิปไตยทั่วโลก และอาจกลายเป็น แนวโน้ ม ใหม่ ข องความเป็ น ประชาธิ ป ไตยใน ศตวรรษที่ 21 Citizens Foundation ทีมงานผู้อยู่ เบื้องหลัง Better Reykjavik สร้างเว็บไซต์อีกแห่ง ที่มีชื่อว่า Your Priorities (yrpri.org) เพื่อเป็น แพลตฟอร์ ม แบบเดี ย วกั น ให้ กั บ ประชาชนใน ประเทศอืน่ ๆ ปัจจุบนั มีหลายประเทศทีเ่ ห็นความ สำ�คัญและรับนำ�ไปใช้ เช่น เอสโตเนีย ออสเตรเลีย สก็อตแลนด์ นอร์เวย์ มอลตา เป็นต้น ทีม่ า: วิกพิ เี ดีย / betrireykjavik.is / citizens.is / reykjavik.is / สารคดีเกี่ยวกับ Better Reykjavik, Your Priorities and the Citizens Foundation (2013) โดย Citizens Foundation / บทความ “Reykjavík names a street after Darth Vader from Star Wars” (2015) จาก icelandmag.is / บทความ “The World Watches Reykjavik’s Digital Democracy Experiment” (2017) จาก ft.com / บทความ “Rebel Cities 9: Iceland’s Slow-Burning Digital Democratic Revolution” (2018) จาก occupy.com / บทความ “Updating Democracy: The Citizens Foundation” (2018) จาก impakter.com


Creative Startup: เริ่มต้นคิด

เลิกลุ้น ไม่รอเคว้ง

กับการเดินทางที่กำ�หนดได้ด้วย เรื่อง: วนบุษป์ ยุพเกษตร ภาพ: ภีร์รา ดิษฐากรณ์

ป้ายรถเมล์ที่เต็มไปด้วยผู้โดยสารมากหน้าหลายตาต่างชะเง้อคอรอคอยรถเมล์สายที่ต้องการจะขึ้น สายไหนมาถี่หน่อย ก็ถือว่าโชคดีไป แต่บางสายนานๆ มาครั้งหรือที่บางคนอาจเรียกว่า “ชาติหนึ่งมาที” ก็ทำ�เอาสาวกรถเมล์ต่างปวดหัวและ อารมณ์เสียมานานนับหลายปี ใครที่เคยใช้บริการขนส่งสาธารณะ มั่นใจว่าคงจะเคยประสบปัญหากันมา หลากหลายรูปแบบ ทัง้ รถไม่จอดป้ายบ้าง รถหมดระยะ (แบบไม่บอกกล่าว) บ้าง รถขาดช่วงบ้าง หรือจู่ๆ ก็เปลี่ยนเส้นทางเดินรถกะทันหัน ซึ่งปัญหาเหล่านี้ จะไม่เป็นปัญหาอีกต่อไป เมือ่ แฟนคลับรถเมล์ได้รจู้ กั กับ ViaBus แอพพลิเคชัน นำ�ทางและติดตามรถโดยสารสาธารณะประจำ�ทางแบบเรียลไทม์ทจี่ ะมาช่วย ร่นเวลา คำ�นวณ และวางแผนชีวิตการเดินทางให้สะดวกมากขึ้น ตกรถไม่ใช่เรื่องตลก จุดกำ�เนิดของเวียบัส “ถ้ามองเรื่องขนส่งสาธารณะในประเทศไทย ต้องบอกว่าไทยเป็นประเทศที่ มีการให้บริการขนส่งสาธารณะที่ค่อนข้างครอบคลุมและหลากหลาย บางที อาจจะมากกว่าหลายๆ ประเทศด้วยซํ้า มีประเทศไหนบ้างที่มีรถรับ-ส่ง ถึงในซอยอย่างบ้านเราที่มีทั้งรถสองแถว รถกระป๊อ ซึ่งพวกนี้เป็นสิ่งที่คน มองข้ามไปว่าเมืองไทยก็มขี องดีอยู่ แต่วา่ ขาดการรับรู้ ขาดการใช้งานเท่านัน้ เอง”

อินทัช มาศวงษ์ปกรณ์ ผู้ร่วมก่อตั้งและผู้บริหารเวียบัสกล่าวในช่วงระหว่าง สัมภาษณ์ ก่อนจะมาเป็นเวียบัส อินทัชเล่าถึงประสบการณ์ตกรถโดยสาร ภายในมหาวิทยาลัย ที่ทำ�ให้ตารางชีวติ รวนไปหมด จึงทำ�ให้เขาอยากจะเข้ามา ช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ด้วยตนเอง อินทัช มาศวงษ์ปกรณ์ อดีตนิสติ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ที่ผนั ตัว มาเป็ น ผู้ ป ระกอบการภายในเวลาไม่ ถึ ง ปี ห ลั ง จากจบการศึ ก ษาเล่ า ว่ า “ช่วงปี 3 ได้มีการเริ่มทดสอบโครงการร่วมกับ ขสมก. CU Engineering Innovation Hub และ AIS ขึ้น โดยมีผู้เข้าร่วมทดสอบ 2,000 คน กับรถเมล์ 3 สายก่อนคือสาย 36 54 และ 204 โดยได้ผลตอบรับค่อนข้างดี จึงมีการ พัฒนาต่อยอดและขยายผลต่อไป” “ในการทดสอบรอบที่ 2 ได้เพิ่มจำ�นวนสายรถถึงหลักร้อยสาย มีคน เข้ามาทดลองและให้ฟีดแบ็กประมาณ 10,000 คน ตอนนั้นเรารู้สึกแล้วว่า มันตอบโจทย์ และเราแก้ปัญหาได้ค่อนข้างตรงจุด ด้วยความที่ได้ฟีดแบ็ก

CREATIVE THAILAND I 22


โดยตรงจากผู้ใช้” หลังจากนั้นจึงมีแอพพลิเคชันเวียบัสเปิดให้ใช้งานอย่าง เป็นทางการในมีนาคม 2561 โดยอินทัชย้ำ�อีกว่า “เราอยากเข้ามาแก้ปัญหา ระบบขนส่งในประเทศไทยให้ดีไม่แพ้ต่างชาติ” พัฒนาจากประสบการณ์ของผู้ใช้งานจริง จุดแข็งอย่างหนึง่ ของเวียบัสก็คอื การได้รบั ข้อมูลความต้องการจากผูใ้ ช้บริการ โดยตรง “ฟีเจอร์ต่างๆ ภายในแอพฯ เกิดจากผู้ใช้บริการเอง เพราะเขาจะ บอกได้หมดว่าควรมีอะไร แบบไหน คือเราพยายามเปิดรับทั้งฟีดแบ็กจาก ทางผู้ใช้บริการที่เป็นผู้โดยสาร รวมทั้งผู้ให้บริการที่เป็นบริษัทขนส่งต่างๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและใช้งานได้ง่ายมากที่สุด” ทัง้ นีข้ อ้ แนะนำ�จากผูใ้ ห้บริการก็ถกู นำ�มาใช้เพือ่ ปรับปรุงการใช้งานด้วย เช่นกัน “ในเรือ่ งของเส้นทางการให้บริการ อย่างเช่น เส้นทางนีเ้ ป็นยังไงบ้าง การให้บริการเป็นยังไง มีจุดจอดตรงไหนบ้าง อยากให้แสดงผลเป็นยังไง เหมาะกับผู้ใช้บริการไหม ตรงนี้เราพยายามจะเปลี่ยนให้ได้แบบเรียลไทม์ เพื่อที่ผู้ใช้บริการจะได้ทราบข้อมูลแบบทันท่วงที เช่น มีรถวิ่งรับ-ส่งงาน เฉพาะกิจต่างๆ อย่างงานอุ่นไอรัก คลายความหนาว เราก็จะเพิ่มเส้นทาง ตรงนี้เข้าไปได้” ในจุดนีเ้ วียบัสจึงเป็นเหมือนตัวกลางทีร่ บั ข้อมูลจากผูโ้ ดยสาร และเข้ามา ช่วยผูป้ ระกอบการเดินรถทัง้ หลายให้สามารถปรับการให้บริการให้สอดคล้อง กับความต้องการได้อย่างเหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อให้เกิดประโยชน์ทั้งสองฝ่าย คลี่ปมอย่างแยบคาย หากเวียบัสมองที่ผู้รับบริการเป็นหลักโดยไม่หันกลับมามองผู้ให้บริการ แล้วนั้น ก็คงจะไม่เกิดผลอะไรที่สร้างความเปลี่ยนแปลง เพราะถ้าปัญหา ที่ต้นเหตุยังไม่คลี่คลาย การแก้ไขที่ปลายเหตุไปก็เท่านั้น นั่นจึงเป็นจุดที่ อินทัชได้เล็งเห็น “เราต้องการทำ�ให้มันเกิดผลทั้งประเทศ ต้องการสร้าง

ประโยชน์ให้แก่ทั้งทางผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ ซึ่งตอนนี้เราก็เน้นเข้ามา ช่วยเหลือผูใ้ ห้บริการก่อน อย่างการปล่อยรถ เดิมทีอาจจะปล่อยรถไปเรือ่ ยๆ เราก็เข้าไปช่วยให้เขารู้ว่าประสิทธิภาพการปล่อยรถหรือการเดินรถของเขา เป็นอย่างไร แล้วควรจะปรับปรุงไปในทิศทางไหน” รวมทัง้ การใช้แอพฯ เวียบัส ในการเพิม่ ประสิทธิภาพในการทำ�งาน จากเดิมที่ตอ้ งรับโทรศัพท์หรือตอบคำ�ถาม เรื่องเส้นทางเดินรถ ว่ารถผ่านป้ายใด จุดใดบ้าง เพียงแนะนำ�ให้ผู้โดยสาร โหลดแอพเวียบัส ก็สามารถดูเส้นทาง ป้ายจุดจอดได้เอง เป็นการอำ�นวย ความสะดวกด้านการให้บริการโดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย เชื่อมการขนส่งสาธารณะทั่วประเทศ “สิง่ ทีอ่ ยากทำ�ต่อไป คือเราอยากเปลีย่ นระบบขนส่งสาธารณะของทัง้ ประเทศ ให้คนทั่วไปรู้สึกอยากเดินทางด้วยรถขนส่งสาธารณะ” อินทัชบอกถึง วัตถุประสงค์อันแน่วแน่นี้ ลองคิดดูกันเล่นๆ ว่าหากระบบขนส่งสาธารณะ ถูกนำ�มาแปรรูปให้อยู่ในโหมดที่ง่าย สะดวก และปลอดภัย จะดีแค่ไหน แม้วนั นีจ้ ะเป็นเพียงแค่จดุ เริม่ ต้น แต่เวียบัสก็ตงั้ เป้าจะขยายเครือข่ายการให้ บริการให้ครอบคลุมทั่วประเทศต่อไป “อย่างจากสนามบินเชียงใหม่ ภูเก็ต นครศรีธรรมราช เราก็เริ่มไปให้บริการแล้ว เพราะมีนักท่องเที่ยวเยอะ หรือ จังหวัดที่กำ�ลังพัฒนาไปเป็นสมาร์ทซิต้ี ตรงนี้ก็จะช่วยเรื่องส่งเสริมการ ท่องเทีย่ วไทยได้ ยกตัวอย่างเช่น รถซิตบ้ี สั ทีเ่ ชียงใหม่ ทีเ่ ป็นของ RTC ก็เป็น การร่วมมือกับทางภาคเอกชนที่ต้องการพัฒนาระบบการขนส่งในเมืองให้ ดีขึ้น จึงเข้ามาร่วมมือกันกับเวียบัส” และเพื่อให้การบริการนัน้ ทัดเทียมและรองรับการใช้งานของนักท่องเที่ยวได้ เวียบัสจึงไม่ลืมที่จะพัฒนาระบบการให้ข้อมูลเป็นหลากหลายภาษา เพื่อ รองรับนักท่องเทีย่ วทีห่ ลัง่ ไหลเข้ามาเทีย่ วในบ้านเราอย่างต่อเนือ่ งไม่ขาดสาย “ตอนนี้เวียบัสมีทั้งระบบภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพราะเราต้องการให้ บริการทั้งคนในบ้านเราเอง และนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในบ้านเราด้วยเช่นกัน ซึ่งในอนาคตมองว่าต้องมีการทำ�เป็นภาษาจีนเพิ่มขึ้นด้วย” เห็นอย่างนี้แล้ว แฟนๆ รถเมล์หรือขนส่งสาธารณะรูปแบบอื่นๆ ไม่ว่า จะเป็นเรือ รถตู้ รถทัวร์ หรือแม้แต่รถสองแถว (ที่เวียบัสเริ่มมีเส้นทางการ เดินรถให้ดูบ้างแล้ว) คงชื่นอกชื่นใจที่อย่างน้อยก็มีใครสักคนลุกขึ้นมา เปลี่ยนแปลงการเดินทางให้ค่อยๆ ดีขึ้น ทั้งนี้การที่เวียบัสยังยืนอยู่ได้ก็ด้วย ความเห็นและข้อแนะนำ�ของผูใ้ ช้งานที่เป็นส่วนสำ�คัญ และการเปลีย่ นแปลงนี้ อาจไม่ดำ�เนินต่อไปได้หากขาดความร่วมมือร่วมใจของผู้โดยสารและ ผู้ประกอบการ “ไม่เพียงแก้ปัญหาการรอคอยอย่างไร้ความหวังอย่างเดียว แต่มันยังทำ�ให้คนวางแผนในการเดินทางได้ คำ�นวณเวลาได้ ทุกวันนี้บางที ก็มคี นส่งรูปก๋วยเตีย๋ วมาให้ดู บอกว่าเพราะรูเ้ วลาทีร่ ถจะมาแน่ๆ ก็เลยมีเวลา ได้ทานก๋วยเตีย๋ วก่อนสักชาม หรือแม้แต่ค�ำ ขอบคุณจากพนักงานกะดึกที่บอกว่า ไม่ตอ้ งไปเสีย่ งกับการนัง่ รอรถเมล์ทป่ี า้ ยเปลีย่ วๆ ในยามดึกแล้ว เพราะเวียบัส ทำ�ให้ออกไปขึ้นรถได้ในเวลาที่แม่นยำ�ขึ้น จากสถิติการใช้งาน ViaBus ช่วย ให้ลดเวลาการรอคอยขนส่งสาธารณะไปแล้ว 1,170 ล้านนาที คิดเป็นมูลค่า เชิงเศรษฐกิจกว่า 750 ล้านบาท ซึ่งพอมองในมุมพวกนี้แล้ว ผมว่ามันสร้าง ประโยชน์ต่อสังคมได้มหาศาล เรียกว่ามากกว่าตอนแรกที่ทีมงานมองไว้ แต่แรกด้วยซํ้า” อินทัชสรุป

CREATIVE THAILAND I 23


Creative City: จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

PATTAYA BRAND จากริเวียร่า สู่พัฒน์พงศ์ริมทะเล และจุดหมายปลายทางระดับโลก? เรื่อง: Little Thoughts

บนถนน “ทัพพระยา” ในแถบพัทยาใต้ มีร้านกาแฟติดอันดับวงใน ที่นักท่องเที่ยวจากกรุงเทพมหานครหลายคนเคยไป เยี่ยมเยียน หากนักท่องเที่ยวเหล่านั้นมองมายังฟากตรงข้าม เฉียงๆ กับร้านกาแฟสไตล์อาร์ตคาเฟ่แห่งนั้น ก็จะพบร้านอาหารฝรั่ง ที่แปะป้ายบอกให้นึกถึงคำ�ว่าภาคพื้นยุโรป ในเวลาสายๆ ร้านอาหารแห่งนี้จะเนืองแน่นด้วยลูกค้าที่มารับประทานอาหารเช้า ในบรรยากาศแบบครอบครัว หรือไม่ก็ เป็นที่พบปะคนรู้จัก บางคนอาจเลือกนั่งสูบบุหรี่-อ่านหนังสือพิมพ์ อันเป็นกิจกรรมที่คนผู้มีเวลาเลือกทำ�ระหว่างอาหารเช้า อยู่กันตามโต๊ะที่จัดไว้บนระเบียงหน้าร้าน ขณะที่ภายในร้านจะอบอวลด้วยกลิ่นขนมปังอบใหม่ซึ่งคงไม่ต่างจากคำ�ทักทายต้อนรับลูกค้า ซึ่งในจำ�นวนไม่น้อยน่าจะ เป็นลูกค้าประจำ�ของร้าน และที่สำ�คัญ ลูกค้าแทบทั้งร้านเป็น “คนท้องถิ่น” ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นชาวตะวันตก ไม่ใช่คนไทยแต่อย่างใด CREATIVE THAILAND I 24


ประวัติศาสตร์ที่บอกเล่าโดยเมืองพัทยา ใช้คำ�ว่า “ทัพพระยา” อันหมายถึงทัพของพระยาตากทีม่ า แวะพักก่อนเคลื่อนทัพไปจันทบุรี เป็นจุดเริ่มต้น ประวัติศาสตร์ของเมือง ก่อนจะเพี้ยนมาเป็น “พัทธยา” และลดรูป จนเหลือ “พัทยา” ในปัจจุบัน แต่ประวัติศาสตร์ที่ทำ�ให้พัทยาเกิดขึ้นและ ดำ�รงอยู่ในฐานะเมืองท่องเที่ยวริมทะเลอย่าง ทุกวันนี้ ไม่ได้เริ่มต้นมานานขนาดนั้น มิหนำ�ซํ้า ยังเริ่มต้นจากคนต่างถิ่น ไม่ว่าจะเป็นคนจาก กรุงเทพฯ ที่มาจับจองที่ดิน แรงงานจากจังหวัด ต่างๆ ที่อพยพเข้ามาทำ�มาหากิน ไปจนถึงคน ต่างชาติ ที่มาปักหลักอาศัยกันในพัทยา ปีละ 3 เดือน 6 เดือน หรืออยู่อาศัยถาวรจนเรียกได้ว่า เป็นบ้านของพวกเขา ไม่ว่าพัทยาจะมีภาพจำ�ในใจของหลายคน อย่างไร เมืองแห่งนี้ก็ไม่มีอะไรเลยที่เหมือนใคร นีค่ อื เมืองทีเ่ ริม่ ต้นจากความเป็นสากล บ่มเพาะ ให้เติบโตโดยทุนจากเมืองหลวงและนโยบาย รัฐบาล และขยายใหญ่โดยผู้ประกอบการจากทั้ง ในและนอกประเทศจนถึงปัจจุบัน

แต่พทั ยาไม่ตา่ งจากเมืองอืน่ ๆ ทีม่ ชี ว่ งเวลา รุง่ เรือง ตกตํา่ และกลับฟืน้ ขึน้ มาใหม่ คำ�ถามก็คอื เมืองที่มีความเปิดกว้างเป็นพื้นฐาน มีพิกัดเป็น จุดแข็ง และมีนโยบายเขตเศรษฐกิจของรัฐเป็น โอกาสมหาศาลที่รออยู่ตรงหน้า จะทำ�ข้อสอบใน การสร้างแบรนด์พัทยาขึ้นใหม่ ให้แข็งแกร่งกว่า เดิมอย่างไร เริ่มจากคนต่างถิ่น อาจกล่าวได้วา่ ประวัตศิ าสตร์พทั ยาสมัยใหม่นนั้ เริ่มขึ้นก่อน พ.ศ. 2500 ไม่นาน มีสองปัจจัยทีส่ ร้างให้เกิดพัทยาไปพร้อมกัน นั่นคือ ความเป็นสากลที่พาเอากีฬาทางนํ้ามาสู่ ประเทศไทย และถนนสุขุมวิทที่พํานักพัฒนา อสังหาริมทรัพย์จากกรุงเทพฯ ไปบุกเบิกพัทยา ในความเป็นสากล หมายถึงชาวต่างชาติ ที่มาอาศัยในกรุงเทพฯ มากขึ้นหลังสงครามโลก ครัง้ ทีส่ อง อันเนือ่ งจากการยกระดับความสัมพันธ์ ไทย-อเมริกา กับอีกส่วนคือนักเรียนนอกที่กลับมา จากยุโรป คนสองกลุ่มนี้นำ�เข้าวัฒนธรรมใหม่ๆ อย่างการแล่นเรือใบ เข้ามาในประเทศไทย และ CREATIVE THAILAND I 25

พัทยาใต้ก็คือจุดที่นักแล่นเรือใบชอบมาใช้เป็น จุดพัก แต่ในเวลานัน้ พัทยายังเป็นเพียงป่ารกๆ กับ พื้นที่เกษตรกรรม ไม่มีถนนอื่นใดนอกจากทาง เกวียน ไม่ตอ้ งถามหาร้านค้าร้านอาหาร นักแล่น เรือใบในยุคแรกๆ ต้องเตรียมอาหารและนํ้าดื่ม กันมาเอง จนกระทั่ ง นั ก พั ฒ นาอสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ ม า บุกเบิกผืนดินพัทยา หักร้างถางพง จัดสรรพื้นที่ และชักชวนคนจากเมืองหลวงมาปลูกบ้านพัก ตากอากาศ จนเริ่มมีนํ้าและไฟฟ้า และที่สำ�คัญ คือการระดมทุนของคนเมืองหลวงเหล่านี้เพื่อ ตัดถนนจากบ้านนาเกลือทางตอนเหนือ ลงมาถึง ส่วนทีเ่ ป็นพัทยาใต้ กลายเป็นถนนพัทยาสายหนึง่ หรือถนนเลียบชายหาดพัทยาทีเ่ รารูจ้ กั ความเป็น เมืองจึงเริ่มต้นขึ้น นั่นหมายถึงการเปลี่ยนจากการคมนาคม ทางทะเลสู่ทางบก ชาวประมงเริ่มขึ้นบกมาเปิด ร้านค้าร้านอาหาร บางส่วนแปรสภาพเรือของ ตนเองเพื่อรับนักท่องเที่ยวที่เริ่มรู้จักพัทยาจาก หน้าหนังสือพิมพ์ และการประชาสัมพันธ์สง่ เสริม


การท่องเที่ยวของรัฐบาล หลังผู้นำ�รัฐบาลไทย เดินทางเยือนอเมริกาใน พ.ศ. 2501 และกลับมา พร้อมนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยว รวมถึงการ จัดตั้งองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยว (อสท.)

TOT Telephone Directory, Bangkok-Thonburi, January, 1969)

Brand I : ริเวียร่า “เสน่ห์แบบไทยที่ไม่เหมือนใครเริ่มต้นที่โรงแรม โอเรียนเต็ล และจบลงอย่างสุขใจที่นิภาลอดจ์” (“Exotic Thailand starts at the Oriental Hotel… Ends delightfully at the Nipa Lodge”) ก็อบปี้โฆษณาบนหน้านิตยสารในอดีต คือ หลักฐานชิ้นดีที่ทำ�ให้เราเข้าใจความเป็นสถาน ตากอากาศระดับไฮเอนด์ของพัทยา ซึ่งบ้างก็ เปรียบกับชายหาดริเวียร่าทางตอนใต้ของฝรัง่ เศส บ้างก็เปรียบกับหาดไวกิกิของฮาวาย นิภาลอดจ์ คือโรงแรมมาตรฐานสากลแห่งแรก ของพัทยาที่เปิดให้บริการใน พ.ศ. 2507 แน่นอน ว่าต้องอาศัยความกล้าหาญอย่างมากที่จะสร้าง โรงแรมมาตรฐานสากลขึ้นในพื้นที่ซึ่งแทบไม่มี อะไรเลยในเวลานั้น แต่ความนิยมในหมู่ชาวไทย ทีเ่ ริม่ รูจ้ กั พัทยา และการมาถึงของทหารอเมริกนั ที่ร่วมรบในสงครามเวียดนาม ซึ่งทำ�สัญญาว่าจะ ส่งทหารมาพักที่นิภาลอดจ์ เป็นเครื่องการันตีว่า ธุรกิจนี้จะไม่ล้มพับลงกลางทาง นิภาลอดจ์กลายเป็นสัญลักษณ์ของวัฒนธรรม ตากอากาศแบบมีระดับ และพัทยาในเวลานัน้ คือ ชายหาดเดียวในประเทศที่มีนักท่องเที่ยวใส่บิกินี เล่ น นํ้ า อาบแดดแบบฝรั่ ง โดยมี จุ ด ขายเป็ น กิจกรรมชายหาดกับกิจกรรมทางนํา้ แถมยังไม่มี สถานบันเทิงยามราตรีนอกเหนือจากไนต์คลับ ไม่กแี่ ห่งทีท่ หารอเมริกนั จะมาพบปะพูดคุยกันเท่านัน้ หากลองหาข้อมูลทีอ่ ดีตทหารอเมริกนั พูดถึง พัทยาก่อนทศวรรษ 1970 เราจะพบว่าสิง่ ที่พวกเขา ต่างจดจำ�ก็คือกีฬาทางนํ้ามากกว่าบาร์เบียร์และ เซ็กซ์ทัวร์

Brand II : พัฒน์พงศ์ริมทะเล สำ�หรับประเทศไทย สงครามกับการท่องเที่ยว อาจมีความสัมพันธ์กนั อย่างลึกซึง้ กว่าทีเ่ รากล่าวมา ทัง้ หมด ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า สงครามคือปัจจัยสำ�คัญ ในการกำ�หนดรูปร่างหน้าตาของการท่องเทีย่ วใน ประเทศไทยอย่างจริงจังและหยัง่ รากลึกมาจนถึง ปัจจุบัน ไม่วา่ จะเป็นโรงแรมหลายแห่งในกรุงเทพฯ ที่ สร้างขึ้นเพื่อรองรับทหารอเมริกันในช่วงนั้น หรือ จำ�นวนหญิงขายบริการที่เพิ่มขึ้นจากเรือนหมื่น เป็นหลายแสน เปรียบเทียบก่อนและหลังสงคราม เวียดนาม แต่สำ�หรับพัทยา การมาถึงของสงคราม ไม่ใช่สาเหตุของภาพลักษณ์ยํ่าแย่ เท่ากับการ สิ้นสุดของสงคราม เมื่อโรงแรมมากมายที่กำ�ลังอยู่ระหว่างการ ก่อสร้าง และผู้ประกอบการที่เคยทำ�รายได้จาก อุตสาหกรรมท่องเทีย่ ว ต้องเผชิญกับการถอนทหาร ของอเมริกา และตลาดทีเ่ คยเฟือ่ งฟูกลับหดแฟ่บลง เมื่อมีผู้ประกอบการหัวใสเกิดไอเดียเปลี่ยน ร้านอาหารของตนให้เป็นบาร์เบียร์ เรื่องราวใหม่ จึงถือกำ�เนิดขึ้น เพราะบาร์เบียร์ หรือการประกอบสถานบันเทิง ยามคํ่าคืนในที่โล่งแจ้ง ไม่ใช่สิ่งที่มีคนเคยเห็น มาก่อน มันเป็นไอเดียขายได้ที่กลายเป็นจุดขาย ใหม่ของพัทยา ก่อนจะมีคนพัฒนาการท่องเที่ยว แบบเซ็กซ์ทัวร์ตามมาหลังจากนั้นไม่นาน บวกกับนโยบายรัฐบาลในช่วงสิน้ สุดสงคราม เวียดนาม ทีต่ อ้ งการผลักดันให้พทั ยาเป็นสถานที่ ท่องเที่ยวหลากวัตถุประสงค์ มีกิจกรรมให้เลือก CREATIVE THAILAND I 26

หลายชนิด สำ�หรับคนทุกเพศ ทุกวัย ทุกกลุ่ม ทุกระดับ แต่ยงั ต้องการเก็บลูกค้าทัง้ กลางวันและ กลางคืนอีกด้วย พัทยาเปลี่ยนจาก Sea, Sand & Sun เป็น Sea, Sand, Sun & Sex แต่ดูเหมือน Sex จะ เติบโตมากที่สุด Brand III : พัทยาที่มีทุกอย่างให้เธอ พั ท ยาช่ ว ง พ.ศ. 2520 โตเร็ ว เกิ น กว่ า ที่ สาธารณูปโภคพื้นฐานจะตามทัน ไม่แปลกที่ มันจะนำ�มาซึ่งปัญหาแบบเมืองๆ ทุกประเภท เท่าที่จะเกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นมลภาวะ ของเสีย และขยะ การจราจร และปัญหาสิง่ แวดล้อมอืน่ ๆ ไม่นับปัญหาภาพลักษณ์ นำ�มาสู่ความคิดที่ว่าระบบบริหารท้องถิ่น แบบสุขาภิบาลนั้นไม่เหมาะกับเมืองท่องเที่ยวที่ ขยายตัวเร็ว ตามด้วยแนวคิดในการหันมาใช้ ระบบผู้ จั ด การเมื อ ง (City Manager) ใน พ.ศ. 2521 จึงมีการเปลี่ยนรูปแบบการปกครอง มาเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ทีเ่ รียกว่า “เมืองพัทยา” พร้อมกับการใช้แผนพัฒนา เมืองพัทยาฉบับแรก โดยในช่วงเริ่มแรกยังไม่มี การเลือกตั้งนายกเมืองฯ เหมือนกับในปัจจุบันที่ โครงสร้างการบริหารเมืองพัทยาแบ่งออกเป็น 2 ขา คือสภาเมืองพัทยา (ฝ่ายนิติบัญญัติ) กับนายก เมืองพัทยา (ฝ่ายบริหาร) ทัง้ สองฝ่ายล้วนมาจาก การเลือกตั้ง ตามมาด้วยโครงการอีสต์เทิรน์ ซีบอร์ด และ การออกพระราชบัญญัติอาคารชุด ที่ทำ�ให้พัทยา กลายเป็นพืน้ ทีป่ ระชันกำ�ลังของโครงการทีอ่ ยูอ่ าศัย


ในรูปแบบใหม่ บวกกับทุกอย่างทีเ่ ป็นของใหม่ซงึ่ เริม่ เห็นกันในยุคนัน้ ไม่วา่ จะเป็นห้างสรรพสินค้า หรือสถานที่ท่องเที่ยวหลากรูปแบบ ที่ผุดขึ้นใน ทศวรรษ 1980-1990 แต่ ใ นขณะที่ พั ท ยาเต็ ม ไปด้ ว ยสถานที่ ท่องเทีย่ วเพือ่ รองรับความต้องการของผูค้ นทุกกลุม่ โรงแรมที่ ส ร้ า งขึ้ น ในยุ ค นี้ ส่ ว นใหญ่ ก ลั บ เป็ น โรงแรมชั้นสาม ไม่มีใครกล้าพูดว่าการปกครอง ตนเองของพัทยาคือความสำ�เร็จ เมือ่ ปัญหาทีเ่ คย มีไม่ได้นอ้ ยลงแต่อย่างใด แถมภาพลักษณ์ตดิ ลบ ของการท่องเที่ยวที่สื่อต่างชาติพากันนำ�เสนอ อันได้แก่ ปัญหาโสเภณี เอดส์ และความเสือ่ มโทรม ยังถูกเชื่อมโยงกับพัทยาราวกับเป็นภาพเดียว Brand IV : สากลและยั่งยืน? แต่พัทยาก็คือพัทยา เมืองที่มีความได้เปรียบทาง ภูมิศาสตร์และโอกาสจากนโยบายรัฐบาลอย่างที่ ไม่มีใครเทียบได้ เมื่อเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 แผนการพัฒนา สนามบินอู่ตะเภา บวกกับการเปิดใช้สนามบิน สุวรรณภูมิ ได้จุดความสนใจให้โรงแรมเครือ ระดับโลกหันมามองพัทยาอย่างจริงจัง ในฐานะที่ พั ท ยาอยู่ ห่ า งจากสนามบิ น สุวรรณภูมิเพียงแค่ระยะเวลาขับรถชั่วโมงนิดๆ และห่ า งจากอู่ ต ะเภาแค่ ค รึ่ ง ชั่ ว โมงหน่ อ ยๆ ไม่ นั บ ความจริ ง ที่ ว่ า หากรถไฟความเร็ ว สู ง เกิดขึน้ นักท่องเที่ยวก็สามารถเดินทางจากสถานี

ลาดกระบังมาถึงพัทยาได้ในเวลาเพียงครึ่งชั่วโมง เช่นกัน ไม่นบั ผลพวงจากการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจ ภาคตะวันออก (EEC) ที่กำ�ลังจะเกิดขึ้น พัทยา จะใช้ประโยชน์จากทุนทางเศรษฐกิจมหาศาลที่ รัฐบาลทุ่มให้กับภาคตะวันออกอย่างเต็มเม็ด เต็มหน่วยได้หรือไม่ เมืองจะเก็บเกี่ยวประโยชน์ จากการเป็นจุดบริการ ณ ใจกลางเขตเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมอย่างไร และไม่นับความจริงที่ว่าพัทยายังคงเป็น เมืองชายทะเลที่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ และทะเล ของพัทยาที่นับรวมความยาวได้หลายกิโลเมตร นั้นสามารถกลับมาสวยงามได้หากได้รับการ จัดการอย่างจริงจัง ในปัจจุบัน เราเริ่มเห็นพัทยากลับมาเป็น สถานที่ท่องเที่ยวของครอบครัว ของคนรุ่นใหม่ ของนักท่องเที่ยวกลุ่มเดิมอย่างรัสเซีย และของ นักท่องเที่ยวกลุ่มใหม่อย่างจีนและอินเดีย แต่ความท้าทายก็คอื พัทยาจะขายของให้ได้ ราคา หรือเก็บผลประโยชน์ไว้กับเมืองของตนได้ อย่างไร ในวันทีผ่ ปู้ ระกอบการตัวแทน (ชาวต่างชาติ ที่มาตั้งธุรกิจในนามคนไทย) เต็มเมือง บทเรียนจากอดีตบอกกับเรา พัทยาเคยมี ช่วงเวลา “ยิ่งขายของยิ่งไม่ได้ราคา” โดยเฉพาะ เมือ่ เมืองทีเ่ คยเปรียบกับสถานตากอากาศชัน้ หนึง่ ถูกถมด้วยโรงแรมชั้นสามในทศวรรษแห่งการ เติบโตแบบไม่มีอะไรมาหยุดยั้ง

นั่นอาจเป็นเพราะเมืองปราศจากคานงัด เมื่ อ ผู้ ค นเข้ า มาประกอบธุ ร กิ จ โดยปราศจาก ความรู้สึกเป็นเจ้าของ คำ�ถามจึงมีอยู่ว่า พัทยาที่ สร้างขึน้ โดยคนต่างถิน่ และเติบโตบนพืน้ ฐานของ สังคมพหุวัฒนธรรม จะให้โอกาสใครก็ตามที่มา อยู่อาศัยในเมืองแห่งนี้ได้เป็น “คนท้องถิ่น” ที่มี ความเป็นเจ้าของเมืองแห่งนี้อย่างแท้จริงหรือไม่ เพื่อที่พวกเขาจะหวงแหน และเป็นคานงัดให้กับ การพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน นับตัง้ แต่ พ.ศ. 2552 พัทยาได้รบั การกำ�หนด ให้เป็น “พื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เมืองพัทยาและพืน้ ทีเ่ ชือ่ มโยง” ทีค่ รอบคลุมพืน้ ที่ เมืองพัทยาเดิม บวกกับพื้นที่อีกจำ�นวนมากของ อำ�เภอบางละมุงไปจนถึงอำ�เภอสัตหีบ นัน่ หมายถึง งบประมาณอีกจำ�นวนมากทีไ่ ด้รบั การจัดสรรเพือ่ นำ�มาบริหารจัดการให้เกิดความยั่งยืน หากจัดการเรื่องความยั่งยืนและนักลงทุน ตัวแทนได้ และไม่ลมื ว่าสินทรัพย์ทไี่ ม่มใี ครพราก ไปได้ก็คือ ‘ทะเล’ และ ‘ทำ�เล’ รวมถึงความใจ กว้างอันเป็นพื้นฐานให้กับความหลากหลายของ พัทยาในวันนี้ ก็ไม่เห็นจะมีอะไรที่พัทยาทำ�ไม่ได้ รวมถึงการเป็นจุดหมายปลายทางของการท่องเทีย่ ว ระดับโลก ที่ขายของได้ราคาอย่างที่ควรจะเป็น

ที่มา: หนังสือ “ตามรอยตำ�นานเมืองพัทยา กับปริญญา ชวลิตธำ�รง ผู้พลิกผืนแผ่นดินเมืองพัทยา”, โจนาธาน, จัดพิมพ์โดยนริสชัย ป้อมเสือ, 2546 / หนังสือ “Tourism and War (Contemporary Geographies of Leisure, Tourism and Mobility)”, Richard Butler (Editor), Wantanee Suntikul (Editor), Routledge, 2555 / บทความทางวิชาการ “Managing a mature coastal destination: Pattaya, Thailand”, Chootima Longjit and Douglas G. Pearce, Journal of Destination Marketing & Management, Vol.2 Issue 3, ตุลาคม 2556 CREATIVE THAILAND I 27


The Creative: มุมมองของนักคิด

“ขอนแก่นพัฒนาเมือง” เมื่อเมืองคือส่วนร่วมของทุกฝ่าย เรื่อง: ประเสริฐ สุวรรณสิทธิ์ ภาพ: รัชพงศ์ พันเดชา

หากพูดถึง “ขอนแก่น” หลายคนคงนึกถึงภาพของหัวเมืองภาคอีสานของไทยที่มีการพัฒนาที่ก้าวหน้าในภูมิภาค เมืองที่ เป็นแหล่งของสถาบันการศึกษาขึ้นชื่อ เต็มไปด้วยสินทรัพย์ทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิต ล่าสุดเมืองขอนแก่นยังได้ขึ้นเป็น “โมเดลการพัฒนาเมือง” ที่สำ�คัญให้กับจังหวัดอื่นๆ ทั้งในจังหวัดใกล้เคียง และจังหวัดในภูมิภาคอื่น ที่น่าศึกษาและจับตา มองว่าโมเดลการพัฒนาเมืองแห่งนี้เป็นอย่างไร CREATIVE THAILAND I 28


สิ่งที่น่าสนใจที่สุดของจังหวัดขอนแก่นนั้น อาจไม่ใช่เพียงการพัฒนาที่เป็น รูปธรรมอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะระบบการขนส่งคมนาคมทีเ่ น้นความสุขและ สะดวกสบายของพลเมืองชาวขอนแก่นเป็นหลัก แต่คือโมเดลในการร่วมมือ ร่วมใจกันพัฒนาเมืองของผูค้ นหลายส่วนฝ่าย ทีไ่ ม่ได้มเี พียงภาครัฐทำ�หน้าที่ เป็นตัวตั้งตัวตีแต่ฝ่ายเดียว คุณกมลพงษ์ สงวนตระกูล และคุณกังวาน เหล่าวิโรจนกุล 2 ตัวแทนนักบริหารจาก “กลุม่ ขอนแก่นพัฒนาเมือง รุน่ ที่ 2” ได้ร่วมพูดคุยกับเรา ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการก่อตั้งกลุ่มฯ ความคิดร่วมกันที่ จะพัฒนาเมือง ความกล้าที่จะเสี่ยงกับปัญหาและอุปสรรคระดับจังหวัด มากมาย ไปจนถึงการแสวงหาแนวทางร่วมกันที่จะแก้ไขและพัฒนาเมือง ให้ได้อย่างยั่งยืน เพื่อส่งมอบเมืองที่พัฒนาแล้ว เมืองที่น่าอยู่ และเมืองที่ เจริญเติบโต ให้เป็นมรดกตกทอดแก่ลูกหลานคนขอนแก่นต่อไปในอนาคต จุดเริ่มต้นของกลุ่มขอนแก่นพัฒนาเมืองเกิดขึ้นได้อย่างไร มีภาคส่วน หรือหน่วยงานใดที่มีส่วนร่วมกับทางกลุ่มบ้าง คุณกมลพงษ์ สงวนตระกูล: เริ่มจากความคิดของกลุ่มบริษัทในพื้นที่จังหวัด ขอนแก่นที่รวมตัวกัน 20 บริษัท จัดตั้งและจดทะเบียนเป็น บริษัท ขอนแก่น พัฒนาเมือง จำ�กัด (KKTT) โดยมีเป้าหมายอยากส่งต่อเมืองขอนแก่นที่มีการ พัฒนาให้กับคนรุ่นต่อๆ ไป เพราะเราเชื่อว่าการพัฒนาของประเทศไทย ส่วนใหญ่จะมาจากส่วนกลาง แต่คนทีร่ จู้ กั ปัญหาทีส่ ดุ คือคนในท้องถิน่ ซึง่ ใน ต่างประเทศที่พัฒนาแล้ว ส่วนใหญ่การพัฒนาพื้นที่เหล่านี้ก็มาจากท้องถิ่น จึงมีความคิดอยากให้คนในท้องถิ่นสามารถยืนได้ด้วยตัวเอง และเป็นการ ลดภาระการสนับสนุนและช่วยเหลือต่างๆ จากส่วนกลาง อันเป็นที่มาของ กลุ่มพัฒนาเมือง วิธกี ารทำ�งานหรือโปรเจ็กต์ทกี่ �ำ ลังดำ�เนินการอยูใ่ นขณะนีข้ อง ทางกลุ่มฯ คุณกังวาน เหล่าวิโรจนกุล: โปรเจ็กต์ที่ดำ�เนินการอยู่จะเป็นการทำ�งาน ร่วมกัน ทั้งส่วนปกครองท้องถิ่น ส่วนของจังหวัด และภาคการศึกษา มหาวิทยาลัยต่างๆ ในจังหวัดขอนแก่น การจัดตัง้ บริษทั ฯ ขึน้ มาก็เพือ่ ให้เรา ได้ทำ�หน้าที่ขับเคลื่อนในส่วนของการค้นคว้า หาข้อมูล หรือวิธีการทำ�งาน ร่วมกับทางองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ระดับจังหวัด รวมไปถึงการที่จะ หาข้อมูลมาซัพพอร์ต การประชุมร่วมกัน ทุกอย่างต้องดำ�เนินการ แล้วก็ ผ่านท่านผู้ว่าราชการจังหวัด และทุกโครงการจะมีการทำ�งานร่วมกัน รูปแบบการทำ�งานของกลุม่ ฯ เราจะเรียกกันว่า ‘สามเหลีย่ มเขยือ้ นภูเขา’ คือทำ�งานร่วมกันทั้ง 3 ภาค คือภาคประชาสังคมหรือภาคประชาชน ภาครัฐซึ่งก็คือองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัด และภาคการศึกษา ที่ช่วยในการทำ�งานและการขับเคลื่อนโครงการไปได้ โดยโปรเจ็กต์ที่เรา ดำ�เนินการอยูใ่ นปัจจุบนั ก็คอื เรือ่ งของ ‘ซิตบี้ สั ’ หรือทีบ่ างคนเรียกว่า ‘Smart bus’ ซึง่ รถบัสเป็นทีเ่ ป็นระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ วิง่ อยูใ่ นเมืองสายหนึง่ วิ่งอยู่ในมหาวิทยาลัยขอนแก่นอีกสายหนึ่ง มีแอพพลิเคชันที่สามารถดูได้ว่า ตอนนี้ ร ถบั ส วิ่ ง อยู่ ที่ ไ หนแล้ ว เพื่ อ อำ � นวยความสะดวกให้ กั บ ผู้ โ ดยสาร นอกจากนี้ ก็จะมีเรื่องของศูนย์ประชุมที่ชื่อว่า KICE ที่เราได้มีการขับเคลื่อน แล้วก็มีคนเห็นประโยชน์ และได้สร้างให้มีศูนย์ประชุมระดับชาติเกิดขึ้น

คุณกมลพงษ์ สงวนตระกูล

ทีจ่ งั หวัดขอนแก่น อีกเรือ่ งก็มรี ะบบรถไฟฟ้ารางเบา ทีเ่ ราเร่งขับเคลือ่ นจนเกิด บริษัทที่ทางเทศบาลท้องถิ่นจดทะเบียนในชื่อ ‘บริษัท ขอนแก่น ทรานซิท ซิสเต็ม จำ�กัด’ ขึ้นมา ซึ่งบริษัทนี้เป็นบริษัทที่ได้สิทธิในการที่จะดำ�เนินการ รถไฟฟ้ารางเบาภายในพื้นที่ของเมืองได้ อะไรที่ ทำ� ให้ ม องเห็ น ศั ก ยภาพในการรวมกลุ่ ม กั น เองของ ภาคการศึกษา ธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน คุณกังวาน เหล่าวิโรจนกุล: การรวมกลุม่ กันของทัง้ ภาคการศึกษา ภาคเอกชน และภาคประชาชน ทำ�ให้เห็นศักยภาพของความร่วมมือของเมืองขอนแก่น ที่ถือว่าเป็นจุดเด่นมาแต่ในอดีต เนื่องจากจังหวัดเราเองไม่มีจุดเด่นด้านอื่น ขอนแก่ น ไม่ ไ ด้ เ ป็ น เมื อ งที่ มี ส ถานที่ ท่ อ งเที่ ย วฮิ ต ไม่ ไ ด้ เ ป็ น เมื อ งนิ ค ม อุตสาหกรรม ไม่ได้มีการส่งเสริมเป็นพิเศษแต่อย่างใด ทำ�ให้เราเติบโตด้วย ความร่วมมือกันจริงๆ เป็นสิง่ ทีส่ ร้างศักยภาพ และกลายเป็นจุดแข็งมากขึน้ หลังจากที่เราได้เริ่มตั้งบริษัท แล้วก็ทำ�ให้ช่วยสร้างความร่วมมือตรงนี้ได้ ชัดเจนมากขึ้น โดยการเพิ่มในส่วนความร่วมมือขององค์การปกครอง ส่วนท้องถิ่นและภาคจังหวัดเข้ามา ก็ถือเป็นจุดที่ทำ�ให้เราทำ�อะไรแล้วมี ความคล่องตัวมากขึ้น

CREATIVE THAILAND I 29


มีคนชอบ ก็ตอ้ งมีคนไม่ชอบ มีคนรัก ก็มีคนไม่รัก แต่เราก็ยึดเป้าหมายที่ หนักแน่น ทีอ่ ยากเห็นสิง่ ใหม่ๆ เกิดขึน้ ในจังหวัด การท�ำงานอยูต่ รงนีเ้ รียกว่า มีท้ังคนเชียร์ และคนไม่เชียร์ แต่เรา คิดว่าจุดประสงค์ของเรา เป้าหมาย ของเรามันยิง่ ใหญ่ นอกเหนือเกินกว่า ที่ ค วามรู ้ สึ ก ตรงนั้ น มั น จะท�ำให้ เ รา สัน่ คลอนได้ เราก็อยากจะอยูจ่ งั หวัดนี้ แล้ ว ก็ เ ห็ น มั น โตต่ อ ไป มี ค�ำชมก็ ดี ค�ำติชมก็น�ำมาปรับใช้ เพือ่ เป็นก�ำลังใจ ในการท�ำงานต่ อ ไป และได้ ส ่ ง มอบ จังหวัดนีใ้ ห้กบั คนรุน่ ต่อไปได้ในอนาคต ความท้าทายในการทำ�งานเพื่อผลักดัน Smart City ให้ เกิดขึ้นจริง คุณกมลพงษ์ สงวนตระกูล: ท้าทายหลายอย่าง แต่ที่สุดคือจะทำ�ยังไงถึงจะ เกิดความเป็นนํา้ หนึง่ ใจเดียวกันของคนขอนแก่นในทุกภาคส่วน นีค่ อื ความ ท้าทายอย่างยิ่งใหญ่ เพราะว่าปัจจุบันทุกๆ คนก็จะเดินแยกกัน อย่างส่วน ราชการก็เดินแบบราชการ มีโปรเจ็กต์แบบราชการ เอกชนก็จะเดินของ เอกชน ภาคศึกษาก็เดินการศึกษา ประชาชนก็เดินของประชาชน คือต่างคน ต่างเดินอย่างทีเ่ ราไม่เคยมาคุยกัน เดินกันไปคนละทิศคนละทาง ทำ�ให้ทกุ คน เสียแรง และเกิดการต้านแรงกัน ทำ�ให้จังหวัดไม่ได้เคลื่อนไปในทิศทางหรือ ความเร็วที่ถูกต้อง ความท้าทายก็คือการรวมตัวกัน สิ่งที่ทางกลุ่มฯ ได้ทำ�ก็คือการเป็น ผูป้ ระสานงาน กับทัง้ ทางภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงานต่างๆ ในอนาคต จะมีโปรเจ็กต์อะไรกับขอนแก่น เป็นต้น ซึ่งหน่วยงานที่เราต้องทำ�งานด้วย ก็มีตั้งแต่สภาธนาคาร ธนาคารแห่งประเทศไทย เอสเอ็มอีต่างๆ หอการค้า จังหวัด สภาอุตสาหกรรมจังหวัด มหาวิทยาลัยในจังหวัดขอนแก่นและจังหวัด ใกล้เคียง นอกจากนีก้ ย็ งั มีภาคประชาชน ทัง้ กลุม่ เอ็นจีโอหรือแอคทีฟ ซิตเิ ซ็น ที่เราต้องไปคุยว่าแต่ละกลุ่มมีโปรเจ็กต์อะไร แล้วเราจะมาเป็นคนกลางใน การรวบรวมข้อมูลทุกอย่างเพือ่ มาทำ�แผน Smart City ทีม่ าจากทุกภาคส่วน ที่กล่าวมาทั้งหมดจริงๆ ทั้งนี้ก็เพื่อทำ�ให้เห็นภาพว่า ขอนแก่นจะเดินไป อย่างไร โดยได้รบั ความร่วมมือกันทัง้ ภาคประชาชน ภาคราชการ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา ผมว่าจุดนีม้ พี ลังเป็นอย่างมากครับ เพราะถ้าทุกคนเห็นภาพ

สุดท้ายเดียวกันว่าจังหวัดของเราจะเดินไปตรงไหน มันจะมีพลังที่ทุกคนจะ มุ่งไปสู่ทางเดียวกันได้มากขึ้น นี่คือความท้าทายซึ่งตัวอย่างความท้าทายที่ เกิดขึน้ ในการทีท่ �ำ งานโปรเจ็กต์รถไฟฟ้ารางเบา ซึง่ มีผลกระทบกับรถสองแถว มากที่สุด แต่เราไม่ต้องการให้การมีสิ่งใหม่เกิดขึ้นแทนที่แล้วสิ่งเก่าต้อง ตายไป เพราะคงไม่ถือว่าเป็น “Smart City” แต่เราเชื่อว่าทุกคนต้องอยู่ ร่วมกันได้ จึงเกิดการ ‘โสเหล่’ หรือการพูดคุยหาข้อสรุปกันกับรถสองแถว เพื่อหาจุดร่วมประสานจุดต่างให้ลงตัว ความแตกต่างในวิธกี ารทำ�งานของแต่ละภาคส่วนเป็นอย่างไร คุณกังวาน เหล่าวิโรจนกุล: มีหลายส่วน ก็ต้องเข้าใจรูปแบบการทำ�งานของ แต่ละภาคส่วนที่จะไปร่วมมือ แล้วเข้าไปช่วยเสริมในส่วนที่ขาดไป อย่างใน เรือ่ งของกระบวนการการทำ�งานหรือความคล่องตัวเป็นสิง่ ทีม่ คี วามแตกต่าง แต่พอเราเข้าใจกับหน่วยงานหรือกับคนที่เราเข้าไปประสานด้วยแล้ว มันก็ ทำ�ให้เกิดความร่วมมือได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะเรื่องของความชัดเจนใน วัตถุประสงค์ที่เข้ามาร่วมถือเป็นสิ่งที่สำ�คัญมาก ถ้าเราสามารถอธิบายให้ เห็นได้วา่ สิง่ ทีท่ �ำ ทำ�ไปเพือ่ ประโยชน์สว่ นรวมและสิง่ ทีจ่ ะเกิดขึน้ คืออะไรบ้าง ถ้าสร้างความเข้าใจตรงนีไ้ ด้ ก็จะทำ�ให้การประสานงาน ไม่วา่ จะเป็นภาคเอกชน ภาคประชาสังคม หรือทัง้ ภาคส่วนของการปกครองส่วนท้องถิน่ ก็จะมีความ ชัดเจนและทำ�งานร่วมกันได้

คุณกังวาน เหล่าวิโรจนกุล

CREATIVE THAILAND I 30


การเป็น “ขอนแก่นโมเดล” ให้กับการทำ�งานของจังหวัดอื่นๆ คุณกมลพงษ์ สงวนตระกูล: บางมุมก็ดีใจ บางมุมก็รู้สึกหนักใจ ท้อใจ เป็นกังวลหลายอย่างครับ มีคนชอบ ก็ตอ้ งมีคนไม่ชอบ มีคนรัก ก็มคี นไม่รกั แต่เราก็ยึดเป้าหมายที่หนักแน่น ที่อยากเห็นสิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้นในจังหวัด การทำ�งานอยู่ตรงนี้เรียกว่ามีทั้งคนเชียร์ และคนไม่เชียร์ แต่เราคิดว่า จุดประสงค์ของเรา เป้าหมายของเรามันยิง่ ใหญ่ นอกเหนือเกินกว่าทีค่ วามรูส้ กึ ตรงนัน้ มันจะทำ�ให้เราสัน่ คลอนได้ เราก็อยากจะอยูจ่ งั หวัดนี้ แล้วก็เห็นมันโต ต่อไป มีค�ำ ชมก็ดี คำ�ติชมก็น�ำ มาปรับใช้ เพือ่ เป็นกำ�ลังใจในการทำ�งานต่อไป และได้ส่งมอบจังหวัดนี้ให้กับคนรุ่นต่อไปได้ในอนาคต คุณกังวาน เหล่าวิโรจนกุล: ความร่วมมือของทุกภาคส่วนต้องมีการเปิดใจ ฟังในทุกมิติ มีการพูดคุย คิดหาไอเดียของแต่ร่วมกัน และสามารถเป็น ตัวอย่างให้จังหวัดอื่นนำ�ไปปรับใช้เพื่อพัฒนาต่อได้ ทำ�ให้ประเทศของเรา ก้าวไปเร็วขึ้น คุณกมลพงษ์ สงวนตระกูล: อย่างภูเก็ตพัฒนาเมือง หรือเชียงใหม่พฒั นาเมือง ต่างก็ไม่ใช่คแู่ ข่ง แต่คอื พันธมิตร ทีแ่ ลกเปลีย่ นความคิดเห็นกันได้ มีแนวคิด ร่วมกัน ตัง้ ใจอยากเห็นแต่ละเมืองในประเทศไทยเกิดการพัฒนาเมืองร่วมกัน แต่ก็ต้องยอมรับกับคำ�ว่า “เมกะโปรเจ็กต์” หรือรถไฟรางเบาขนส่งมวลชน ที่ยอ่ มมาพร้อมกับคำ�ว่าเอือ้ ประโยชน์ ผลประโยชน์ นายทุนหรือเปล่า อันนี้ ก็ต้องยอมรับ เพราะการพัฒนาเมืองมีผลกระทบกับนักธุรกิจรถยนต์บ้าง แต่หากการพัฒนาเมืองใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ธุรกิจรถยนต์ก็จะโตตามไปด้วย เช่นกัน ก็ต้องมาดูว่าประโยชน์ที่ได้รับนั้นยั่งยืนกับทุกฝ่ายด้วย

เหตุใดจึงคิดว่าการพัฒนาเมืองเป็นเรื่องสำ�คัญ และทุกคน เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองร่วมกันได้อย่างไร คุณกังวาน เหล่าวิโรจนกุล: เป้าหมายของเราก็คือการส่งมอบเมืองที่น่าอยู่ ทีเ่ จริญเติบโต ให้กบั ลูกหลานคนขอนแก่นต่อไปในอนาคต แต่กอ่ นทุกคนจะ ย้ายเข้าไปที่กรุงเทพฯ หรือไปที่ส่วนกลางกันหมด ในต่างจังหวัดเองก็ไกล ถิ่นฐาน แต่ถ้าเมืองขอนแก่นเรามีสภาวะแวดล้อมที่ดี มีงานที่ดี ทุกคนก็ สามารถทำ�งานทีจ่ งั หวัด ได้อยูใ่ กล้บา้ น อยูใ่ กล้ครอบครัว ปัญหาสังคมต่างๆ ก็จะน้อยลง ดังนั้นคนรุ่นหลังจึงถือเป็นส่วนสำ�คัญในการพัฒนาเมืองให้ น่าอยู่มากยิ่งขึ้น เราเพียงต้องการพัฒนาโครงสร้างของเมืองให้มีคุณภาพ เพื่อรองรับให้คนรุ่นหลังอยู่แล้วมีความสุข การจะเป็น “Smart City” ใน ความหมายของเรา เป้าหมายคือคำ�ว่าความสุขทีถ่ อื ว่าเป็นเรือ่ งสำ�คัญ เพราะ ฉะนั้นถ้าทุกคนต้องการมีความสุข ทุกคนก็สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการ ทำ�ความเข้าใจ เปิดใจ และรับฟังในสิ่งที่จะพัฒนาต่อไปร่วมกันได้ ความต้องการและเป้าหมายในอนาคตของทางกลุ่มฯ คุณกมลพงษ์ สงวนตระกูล: เป้าหมายในอนาคตก็คือการส่งต่อให้กับรุ่น ต่อไป ผมอยากเห็นเมืองที่ยืนได้ด้วยตัวเอง อยากให้ทุกคนเปิดใจรับฟัง อาจจะยังไม่เห็นด้วยกับวิธีการทำ�งาน แต่อยากให้หาช่องทางที่ลงตัวกับ ความต้องการของทุกส่วน ซึ่งก็ต้องพยายามทำ�ให้ดีที่สุด เพราะเราเชื่อว่า ถ้าทุกคนอยากเห็นขอนแก่นไปในทางเดียวกัน แต่วิธีการอาจจะต่างกัน หากมีการพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เปิดใจรับฟังโดยไม่มีอคติต่อกัน การมีส่วนร่วม ก็จะทำ�ให้ขอนแก่นเป็นเมืองที่น่าอยู่ได้ในอนาคต

CREATIVE THAILAND I 31


Smart City ในแบบของกลุ่มขอนแก่นพัฒนาเมือง Smart City ของขอนแก่น โครงสร้างมี 6 ด้าน คือ Smart Mobility, Smart Living, Smart Economy, Smart Citizen, Smart Governance และ Smart Environment แต่ความแตกต่างคือเราจะมองโครงสร้างก่อนที่จะมาเป็น Smart City เช่น ระบบขนส่งมวลชน ซึ่งไม่ใช่เติบโตเฉพาะระบบไอทีด้านเดียว แต่ปัจจัยหลักที่จะทำ�ให้ประชาชน มีความสุขได้ คือเรื่องของการเดินทางและที่อยู่อาศัย และใช้เทคโนโลยีเป็นปัจจัยเสริม หากเป็นเมืองที่ทันสมัย แต่เกิดปัญหารถติด ย่านธุรกิจแออัดอยูท่ เ่ี ดียว ประชาชนก็จะหาความสุขไม่ได้ จึงเล็งไปทีก่ ารวางผังเมืองด้วยระบบ ขนส่งมวลชน ระบบขนส่งสาธารณะ ไฟฟ้ารางเบา สมาร์ทบัส สมาร์ทสองแถว ที่กำ�ลังขับเคลื่อนเพื่อสร้างเป็น โครงข่ายเพื่อให้เข้ากับการใช้ชีวิตของคนเมืองสะดวกมากยิ่งขึ้น โปรเจ็กต์ประทับใจที่ได้ลงมือทำ�ร่วมกัน โปรเจ็กต์ City bus ก่อนจะไปเป็นระบบรถไฟฟ้ารางเบาในอนาคต จากการลงพื้นที่หาข้อมูลจริงจากผู้ที่เดินทาง ถึงปัญหาของระบบขนส่งมวลชน เราได้นำ�มาพัฒนาเป็นแอพฯ ติดระบบจีพีเอสที่รู้พิกัดของรถที่จะมาถึงได้ และ ยังมีการติดตัง้ กล้อง CCTV ในรถจำ�นวน 3 จุด เพือ่ ความปลอดภัยของผูใ้ ช้บริการ สุดท้ายเรือ่ งของความเชือ่ มต่อระบบ ขนส่งมวลชน ในอนาคตสมาร์ทบัสจะเป็นจุดเชื่อมต่อของรถไฟฟ้ารางเบา หรือการขนส่งที่มาจากกรุงเทพฯ และ จังหวัดต่างๆ เช่น รถไฟรางคู่ รถไฟความเร็วสูง เครื่องบิน จะมีความสะดวกสบายในความเชื่อมต่อในอนาคต การประสานความร่วมมือระหว่างรัฐ-เอกชน ทางกลุ่มฯ ยินดีและพร้อมรับการสนับสนุนจากทุกหน่วยของภาครัฐ เพื่อจะพัฒนาเมืองขอนแก่นให้เข้าสู่ Smart City เช่นเดียวกับหากนักธุรกิจต้องการร่วมมือเพือ่ สร้างมูลค่าแบรนด์ให้แข่งขันกับต่างประเทศได้ ก็สามารถ มาร่วมไม้ร่วมมือกันเพื่ออนาคตที่สดใสของเมืองขอนแก่นต่อไปครับ

CREATIVE THAILAND I 32



Creative Will: คิด ทํา ดี

นครสีเขียวและผู้พิทักษ์

“หมอต้นไม้มคี วามสำ�คัญมากกับเมือง ตราบเท่าที่ตอ้ งการพืน้ ทีส่ เี ขียว ก็ควร มีหมอต้นไม้อยู่กับเมือง” อาจารย์บรรจง สมบูรณ์ชัย หมอต้นไม้เชียงใหม่ กล่าวไว้แบบนั้น ท่ามกลางตึกรามบ้านช่องที่แออัดในเมืองใหญ่ ไม่ว่าจะมองไปทางใด ก็เห็นเพียงตึกสูงระฟ้า น้อยมากทีจ่ ะเห็นต้นไม้ใหญ่สงู เสียดฟ้าเช่นสิง่ ปลูกสร้าง การเจริญเติบโตของเมืองและต้นไม้มักจะขัดแย้งกันเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการ ขยายถนน การเดินสายไฟ และอีกสารพัดที่เป็นเหตุให้ต้องมีการตัดต้นไม้ หรือทำ�ให้ต้นไม้อยู่ในสภาพที่เรียกว่า ‘อัปลักษณ์’ ปัญหาต้นไม้ในเมืองปะทุขึ้นเมื่อภาพข่าวการตัดต้นไม้อย่างผิดวิธีของ หน่วยงานผูร้ บั ผิดชอบถูกเผยออกมาให้เห็นทางสือ่ ต่างๆ แม้แต่ขา่ วต้นไม้ใหญ่ ล้มเวลาเกิดฝนตก ลดพัดแรง ก็เป็นแรงขับให้เหล่าหมอต้นไม้ รวมถึง กลุ่มคนรักต้นไม้ตื่นตัวอย่างฉับพลัน งานนี้บ้านเมืองจึงต้องการ ‘มืออาชีพ’ เช่นหมอต้นไม้เข้ามาช่วยเหลือ หมอต้นไม้หรือศัพท์อย่างเป็นทางการว่า รุกขกร1 ผู้ชำ�นาญการด้าน ต้นไม้ใหญ่ ที่ทำ�หน้าที่คอยจัดการ ดูแลและรักษาโดยเฉพาะไม้ในเมือง อาชีพนี้ไม่ได้เพิ่งเกิด ทว่ามีมาตั้งแต่ปี 1980 โดยประเทศแรกที่เริ่มคือ สหราชอาณาจักร เพราะสภาพแวดล้อมในเมืองและในป่าต่างกันราว คนละโลก เราจึงต้องคอยดูแลอย่างใกล้ชดิ ในป่าไม่มสี งิ่ ก่อสร้างรบกวนการ เจริญเติบโตใดๆ จึงทำ�ให้ต้นไม้เติบโต งดงาม และอยู่ได้ด้วยตนเอง ผิดกับ ต้นไม้ในเมืองทีต่ อ้ งพบกับสภาพแวดล้อมและสภาวะทีไ่ ม่เอือ้ อำ�นวย ทัง้ จาก สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นและจากตัวมนุษย์เอง บรรดาหมอต้นไม้จงึ เป็นผูข้ บั เคลือ่ นสำ�คัญทีช่ ว่ ยฟืน้ ฟูตน้ ไม้ในเมืองให้ มีชีวิตชีวาและเขียวชอุ่ม ทำ�ให้ต้นไม้ที่ป่วยกลับมามีสุขภาพดี และปกป้อง ไม่ให้ต้นไม้ ทรัพยากรธรรมชาติอันมีค่าถูกทำ�ร้ายอีกครั้ง โครงการต่างๆ 1พจนานุกรมฉบับบัณฑิตยราชสถาน:

ทางด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับต้นไม้จึงต้องอาศัย ความรู้และความสามารถของเหล่ารุกขกรมาช่วยในการดำ�เนินการ ทั้งของ ภาครัฐและภาคเอกชน ตลอดถึงความร่วมมือร่วมใจกันของคนทุกฝ่ายใน สังคมทีจ่ ะไม่ท�ำ ลาย และช่วยเหลือให้การทำ�งานของเหล่าหมอต้นไม้นนั้ เป็น ไปได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้น “เป้าหมายสุดท้ายคือให้ตน้ ไม้กบั มนุษย์อยูร่ ว่ มในสังคมเดียวกันได้อย่าง ปลอดภัยทั้งสองฝ่าย” ครูต้อ ธราดล ทันด่วน รุกขกรมืออาชีพกล่าว คุณภาพของเมืองและมนุษย์ผู้อยู่อาศัยจะดีได้ก็ต่อเมื่อมีพื้นที่สีเขียว ที่มีคุณภาพมากเพียงพอนั่นเอง ฉะนั้นแล้วการมีพื้นที่สีเขียวจึงเป็นปัจจัย สำ�คัญในการที่เมืองจะพัฒนาไปได้ดียิ่งขึ้น เราอาจไม่ต้องมองไกลถึง ชาติตะวันตก ประเทศเพือ่ นบ้านใกล้ตวั อย่างสิงค์โปร์นบั เป็นตัวอย่างชัน้ ยอด ในการพัฒนาพื้นที่สีเขียวและได้ประจักษ์แล้วว่า “ต้นไม้ในเมือง” เป็น รากฐานของการพัฒนาอย่างยัง่ ยืนในทุกๆ ด้าน และคงจริงอย่างทีน่ กั วิชาการ จากทีดีอาร์ไอที่ได้กล่าวไว้ว่า “การเติบโตของธุรกิจจำ�เป็นต้องแลกกับการ สูญเสียทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แต่ความจริงในโลกยุคใหม่ ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า เศรษฐกิจสามารถเติบโตไปพร้อมกับการรักษา สิ่งแวดล้อมได้” ที่มา: หนังสือ “ต้นไม้ใหญ่ในงานก่อนสร้างและพัฒนาเมือง” ของ เดชา บุญคํ้า / หนังสือ “วนศาสตร์ในนคร” ของ กริต สามะพุทธิ / รายการ “กบนอกกะลา: ไต่ ตัด แต่ง” จาก youtube.com / บทความ “ต้นไม้ในเมืองใหญ่” จาก ngthai.com / บทความ “ทำ�ไม ‘สิงคโปร์’ เมืองแห่งทุนนิยมจึงเต็มไปด้วย ‘ต้นไม้’” จาก becommon.co / จากบทความ “L’arboriste grimpeur élaguere” จาก elagage.net / รายการ “Perspective : ครูตอ้ ธราดล ทันด่วน รุกขกร ครูต้นไม้ [20 ต.ค 61]” จาก youtube.com / บทความ “เปลี่ยนสิ่งแวดล้อมสีเทา ด้วยโมเดลการพัฒนาสีเขียว” จาก สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย / tdri.or.th

รุกข- แปลว่าต้นไม้ใหญ่ -กร แปลว่าผู้ทำ� CREATIVE THAILAND I 34

Photo by Chuttersnap on Unsplash

เรื่อง: วนบุษป์ ยุพเกษตร




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.