Creative Thailand Magazine

Page 1

เนื่องในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒

ขอพระองค์ทรงพระเจริญ ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า คณะผู้จัดทำ�นิตยสาร Creative Thailand สำ�นักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน)


พฤษภาคม 2562 ปีที่ 10 I ฉบับที่ 8 แจกฟรี

INNOVATIVE CRAFT

CREATIVE THAILAND I 38


Creative Startup MUMANa Artisan The Creative มรกต ยศธำ�รง (NOHMEX) Creative City ICONCRAFT

เมื่องานฝีมือ จับคู่กับอุตสาหกรรม CREATIVE THAILAND I 39

จับคู่ทำ�ไม อย่างไร และเกี่ยวอะไรกับผู้บริโภค


ทสมรัชราชาอาศิรพจน์ เฉลิมพระเกียรติยศทสมรัช เฉลิมฉัตรวุฒิไกรแผ่ไพศาล เฉลิมรัตน์บัลลังก์ยั่งยืนนาน เฉลิมศานต์สขุ แท้แก่ปวงไทย ประชานิกรปลื้มเปรมเกษมสันต์ ประคมคัลบรมบพิตรอดิศัย ประชุมพรน้อมถวายพระภูวไนย ประนมใจตั้งสัตย์พร้อมภักดี เจริญชัยเจริญพระชนม์มงคลสวัสดิ์ เจริญคุณพระไตรรัตน์พูนศักดิ์ศรี เจริญพระเดชานุภาพธาษตรี เจริญรุ่งพระบารมีทรงพระเจริญ ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า สำ�นักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) (นายอาทิตย์ ชีรวณิชย์กุล ร้อยกรอง)


Photo by Annie Spratt on Unsplash

CUSTOMIZATION AND SMALL BATCHES ARE NO LONGER IMPOSSIBLE-IN FACT, THEY’RE THE FUTURE. การผลิตแบบเฉพาะและผลิตแบบจำ�นวนน้อย ๆ ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้อีกต่อไป จริง ๆ แล้วมันคืออนาคตด้วยซํ้า Chris Anderson

ภัณฑารักษ์ผู้จัดงาน TED Talk และผู้เขียนหนังสือ Makers: The New Industrial Revolution (2012)


Contents : สารบัญ

The Subject

ท่องโลกไปทำ�มือกับ Airbnb / Wakuneco คืนชีวิตใหม่ให้น้องแมว / Believe in Leaves ใบไม้นี่แหละใช่

6

Insight 20 สินค้าไร้วิญญาณหรือจะสู้งานจากฝีมือ

Creative Startup 22

Creative Resource 8 Report / Online Database / Journal / Book

MDIC 10

INNOVATIVE MATERIAL: From Local to Business Opportunity

MUMANa Artisan งานฝีมือโอต์ กูตูร์ กับความลงตัวบนจังหวะช้า ๆ

Creative City

24

The Creative

28

34

เปิดกลยุทธ์ ICONCRAFT at ICONSIAM ยกระดับงานฝีมือจากคนตัวเล็กสู่ตลาดโลก

Local Wisdom

แกะสลัก : ศาสตร์แห่งการใช้มีดและ(ฝี)มือ

12

มรกต ยศธำ�รง พลังคราฟต์ยุคใหม่ของ NOHMEX แบบรวมกันเราอยู่ รู้จักปรับตัวเรารอด

Cover Story

14

Creative Will

เมื่องานฝีมือจับคู่กับอุตสาหกรรม: จับคูท่ �ำ ไม อย่างไร และเกี่ยวอะไรกับผู้บริโภค

คืนชีวิตให้งานศิลป์ไทย และความตั้งใจของทีมผู้สร้างแอนิเมชัน ‘รามาวตาร’

บรรณาธิการที่ปรึกษา l อภิสทิ ธิ์ ไล่สตั รูไกล บรรณาธิการอำ�นวยการ l มนฑิณี ยงวิกลุ ที่ปรึกษา l พิชติ วีรงั คบุตร, ศิรอิ ร หริม่ ปราณี, เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร, พจน์ องค์ทวีเกียรติ บรรณาธิการบริหาร l พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์ กองบรรณาธิการ l ปิยวรรณ กลิน่ ศรีสขุ , ฐานันดร วงศ์กติ ติธร, ณัฐณิชาต์ ศิรวิ ลั ลภ เลขากองบรรณาธิการ l ณัฐชา ตะวันนาโชติ ศิลปกรรม l ชิดชน นินนาทนนท์ ประสานงานกองบรรณาธิการ l วนบุษป์ ยุพเกษตร ช่างภาพและมัลติมีเดีย l ภีร์รา ดิษฐากรณ์ เว็บไซต์ l นพกร คนไว นักศึกษาฝึกงาน l วรารัตน์ สังข์ศาสตร์ จัดทำ�โดย l สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) (CEA) 1160 อาคารไปรษณีย์กลาง ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10501 โทร. 02 105 7400 แฟกซ์. 02 105 7450 พิมพ์ที่ l บริษัท สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง จำ�กัด โทร. 02 903 8257-9 จำ�นวน 15,000 เล่ม ติดต่อลงโฆษณา: Commu.Dept@tcdc.or.th

พระบรมฉายาทิสลักษณ์ โดย สราวุธ อิสรานุวรรธน์ ศิลปินอิสระ ปัจจุบันทำ�งานด้านภาพประกอบ ออกแบบคาแรคเตอร์เกมส์ งานสตอรีบอร์ด และ เปิดสอน Digital Painting ในนามกลุม่ KAAB House

นิตยสารฉบับนีใ้ ช้หมึกพิมพ์จากนา้ํ มันถัว่ เหลืองทีไ่ ม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทัง้ ยังเป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อม และใช้กระดาษ รีไซเคิล ซึ่งเป็นผลผลิตของผู้ประกอบการไทย จัดทำ�ภายใต้โครงการ “Creative Thailand สร้างเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์” โดยสํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจ สร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) (CEA) ซึ่งมีเป้าหมายในการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) และผลักดันการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส แสดงที่มา-ไมใชเพื่อการคา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย แสดงที ่มา-ไมใTHAILAND ชเพื่อการคา-อนุI ญ4าตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย CREATIVE


pastagrannies.com

Editor’s Note : บทบรรณาธิการ

ครัวคุณย่ากับเมนูพาสต้าร่วมสมัย เมื่อคนรุ่นใหม่มองเห็นความเก่าแก่ และสิ่งที่สืบทอดกันมาคือรากฐานที่ดี ของการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ งานฝีมือที่ดูเหมือนจะสูญหายตามกาลเวลา ก็กลับมามีชีวิตได้อีกครั้ง จูเซปปินา สปิกันติ (Giuseppina Spiganti) คือคุณย่าวัย 92 ปีผู้เป็น ตอนหนึง่ ในรายการ ‘Pasta Grannies’ รายการบนช่องยูทบู ทีน่ �ำ เสนอเรือ่ งราว ของบรรดาคุณย่าคุณยายที่ยังลงมือทำ�พาสต้าด้วยมือ หนึ่งในวิถีชีวิตดั้งเดิม ของครัวอิตาเลียนที่กำ�ลังจะสูญหาย ปัจจุบันรายการกำ�ลังฮอตฮิตในหมู่คนรัก การทำ�อาหารแบบคราฟต์ด้วยจำ�นวนผู้ติดตามช่องเกือบ 4 แสนราย แม้วิธีการทำ�พาสต้านั้นจะมีอยู่เพียงวิธีเดียว แต่สิ่งที่ทำ�ให้การทำ�อาหาร ฝีมือคุณย่ากลายเป็นที่สนใจของคนในยุคออนไลน์วันนี้ ไม่ใช่แค่ความต่าง ในเรื่องสูตรและรสชาติที่เกิดจากถิ่นที่อยู่ที่แตกต่างกัน แต่ประสบการณ์ของ พวกเธอที่เป็นแกนกลางของครอบครัวมาอย่างยาวนาน ทำ�ให้ใครๆ ก็เชื่อว่า พาสต้าที่อร่อยที่สุด ก็คือพาสต้าที่คุณยายหรือคุณย่าของแต่ละบ้านลงมือทำ� ให้กิน จากวิดโี อแรกทีม่ าเรีย อเลสซานโดร หลานสาวของจูเซปปินา จูงมือคุณย่า เข้ า ครั ว เพื่ อ ทำ � ทาญิ อ าเทลเลเส้ น แบนใหญ่ แ ละรากุ ไ ส้ เ นื้ อ สั ต ว์ ร วมและ เครื่องเทศตามแบบฉบับแคว้นมาร์เคทางตอนกลางของอิตาลี เมื่อวิดีโอนี้ถูก อัพโหลดขึ้นในช่องยูทูบของ Pasta Grannies ก็เริ่มมีผู้คนให้ความสนใจ ในรายการทันที ผ่านมากว่า 4 ปีแล้ว หลังวิดีโอตัวแรกนั้น ปัจจุบัน Pasta Grannies มีวิดีโอที่ถ่ายทำ�เรื่องราวของคุณย่าคุณยายซึ่งลงมือทำ�พาสต้าในรูปทรงและ

สไตล์ต่างๆ ตามสูตรเฉพาะตัวแล้วกว่า 200 ตอน วิกกี้ เบนนิสัน (Vicky Bennison) ผู้ผลิตรายการกล่าวว่า “วิดีโอทำ�อาหารเหล่านี้เป็นเหมือนการ บอกเล่าประวัติศาสตร์ผ่านสูตรอาหารเฉพาะแต่ละสูตรของคุณย่าคุณยาย ทั่วประเทศ เมื่อผู้ชมได้ดูแล้วก็อาจรู้สึกถึงความอบอุ่น เหมือนได้ชมสมาชิก ในบ้านที่อาจเป็นคนรุ่นสุดท้ายซึ่งยังคงเข้าครัวและลงมือปรุงเมนูพิเศษนี้ไว้ สำ�หรับสมาชิกคนอื่นๆ ในครอบครัวทุกวัน” ความละเมียดละไมที่ถูกส่งต่อผ่านสูตรลับก้นครัวที่ถูกปรุงด้วยหัวใจ มาทัง้ ชีวติ นี้ คือหนึง่ ในสุดยอดงานฝีมอื ทีถ่ กู ถ่ายทอดจากรุน่ สูร่ นุ่ เป็นงานคราฟต์ ที่คนทุกรุ่นสามารถสัมผัส ซึมซับ หรือแม้แต่ลิ้มรส และเกิดเป็นแรงบันดาลใจ ในการสานต่อได้ไม่ยาก แต่ทว่างานคราฟต์ในสาขาอื่นๆ อาจจะไม่ได้เป็น เช่นนี้ หลายงานฝีมอื ทีถ่ กู มองข้ามและไม่ได้ถกู หยิบจับมาปรับเติมให้เหมาะสม หรือเข้ากับวิถีชีวิตในปัจจุบัน ซึ่งคงเป็นเรื่องน่าเสียดาย หากดาวเด่นด้าน งานฝีมอื หลายแขนงกำ�ลังจะกลายเป็นคนรุน่ สุดท้ายทีเ่ กาะกุมหัวใจของวิถชี วี ติ และวัฒนธรรมที่ส่งต่อกันมาเนิ่นนาน รายการ Pasta Grannies ทีด่ เู หมือนจะเป็นการสอนการทำ�อาหารธรรมดา ที่เห็นมาช้านานนี้ เมื่อออนแอร์ในยุคปัจจุบันที่เส้นพาสต้าหาซื้อได้ทั่วไป คุณค่าของพาสต้าทำ�มือจึงเปล่งประกายขึ้นมา แต่นั่นก็เป็นเพียงส่วนเดียว เพราะการสืบทอดนัน้ คงไม่ใช่การย้อนเวลากลับไป แต่เป็นการถอดประสบการณ์ เก่ า แก่ เ หล่ า นั้ น ให้ ก ลายเป็ น สิ่ ง ร่ ว มสมั ย ที่ ค นรุ่ น ใหม่ ส ามารถซาบซึ้ ง ไป ด้วยกัน มนฑิณี ยงวิกุล บรรณาธิการอำ�นวยการ

CREATIVE THAILAND I 5


The Subject : ลงมือคิด จากคุณยายชาวสิงคโปร์ที่มีประสบการณ์ทำ�งาน มากกว่า 70 ปี การเริ่มต้นของ Airbnb จึงเป็นสัญญาณที่ ทำ�ให้ได้เห็นว่าผูค้ นยังคงสนใจในวัฒนธรรมและ งานฝีมืออันเป็นเอกลักษณ์ที่หลงเหลืออยู่เพียง น้อยนิด ทั้งยังพร้อมเรียนรู้และเผยแพร่ให้ศิลปะ เหล่านี้ได้คงอยู่ต่อไป และหวังว่าจะเป็นแรง ผลักดันให้มผี สู้ บื สานทักษะและช่วยต่อชีวติ ให้กบั ภูมิปัญญาอันมีค่าต่อไปในอนาคต

ezgif.com

ทีม่ า: บทความ “Airbnb Launches New UK Experiences to Save Unique Crafts from Extinction” จาก airbnb.com / บทความ “Categories of risk” โดย heritagecrafts.org.uk

ท่องโลกไปทำ�มือกับ Airbnb เรื่อง : นพกร คนไว

รูห้ รือไม่วา่ 31 เปอร์เซ็นต์ของประชากรในสหราช อาณาจักรจดจำ�ครั้งสุดท้ายที่ตัวเองมีงานอดิเรก ไม่ ไ ด้ ในขณะเดี ย วกั น กลุ่ ม อนุ รั ก ษ์ ง านฝี มื อ Heritage Crafts Association (HCA) ได้เปิดเผย ข้อมูลที่น่ากังวลว่า 37 เปอร์เซ็นต์ของงานฝีมือ ดั้งเดิมในสหราชอาณาจักรกำ�ลังจะสูญหายไป ในไม่ช้า เว็บไซต์ของ HCA ได้จัดทำ�รายชื่อของ งานฝีมือที่เสี่ยงต่อการสูญหายไว้ทั้งหมด 212 รายการ โดยมีงานฝีมือ 4 ประเภทที่ได้สูญหาย ไปอย่างสมบูรณ์แล้ว คือ งานเย็บมือลูกคริกเกต งานทำ�ไม้แร็กเก็ตทำ�มือสำ�หรับกีฬาลาครอส การผลิตแม่พิมพ์แบบทำ�มือ (งานฝีมือดั้งเดิม จากเมืองเมดสโตนของอังกฤษ) และงานตีทอง (โรงงานตีทองแห่งสุดท้ายในอังกฤษเลิกใช้คนงาน ตีทองเนื่องจากขาดผู้ที่ต้องการเรียนรู้) งานฝีมือ เหล่ า นี้ บ้ า งก็ ต ายจากไปด้ ว ยวิ วั ฒ นาการของ เทคโนโลยี ไม่กส็ ญู หายไปพร้อมกับช่างรุน่ สุดท้าย โดยที่ไม่มีผู้สืบทอด สถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงเช่นนี้กลายเป็น แรงผลักดันให้บริษทั ทีเ่ ชีย่ วชาญด้านประสบการณ์ การท่ อ งเที่ ย วและบริ ก ารที่ พั ก อย่ า ง Airbnb ร่วมมือกับ HCA หวังต่อชีวิตให้ช่างฝีมือที่ยัง เหลืออยู่ ให้มีโอกาสได้ถ่ายทอดความรู้และการ มีอยูข่ องศิลปะในการสร้างสรรค์ทก่ี �ำ ลังจะสูญหาย พร้อมด้วยความช่วยเหลือจาก Rankin ช่างภาพ

ชือ่ ดังชาวอังกฤษในการถ่ายทอดภาพอันสวยงาม ของมรดกทางวัฒนธรรมทีม่ มี าอย่างยาวนานของ สหราชอาณาจักร นักท่องเที่ยวและผู้ที่สนใจสามารถเข้าร่วม กิ จ กรรมเพื่ อ การอนุ รั ก ษ์ นี้ ไ ด้ จ ากเมนู ห มวด Experiences ของ Airbnb ซึ่งประกอบด้วย กิจกรรมจากช่างฝีมอื หลายหลากแขนงทีเ่ ปิดคลาส สอนเวิร์กช็อป พร้อมถ่ายทอดประสบการณ์ที่ไม่ อาจหาได้จากที่ไหนให้ผู้ที่สนใจ เช่น ช่างทำ� ล้อเกวียน (ที่สอนวิธีการดั้งเดิมซึ่งสืบทอดมา หลายร้อยปี) ช่างทำ�เครือ่ งเงิน และช่างทำ�กระดาษ ลายหินอ่อนคนสุดท้ายในสหราชอาณาจักร และ ยังมีกิจกรรมอีกมากที่สามารถไปร่วมได้ทั่วทั้ง ประเทศ หลังจากที่โครงการนี้เกิดขึ้น Airbnb ได้ รายงานถึงยอดจองทีเ่ พิม่ ขึน้ ในหมวดการท่องเทีย่ ว แบบกิจกรรม (Experiences) นีถ้ งึ 180 เปอเซ็นต์ ภายในปี 2018 และส่งให้ Airbnb เป็นอีกหนึ่ง แพลตฟอร์มที่มีศักยภาพในการฟื้นฟูวัฒนธรรม และงานฝีมอื ทีก่ �ำ ลังจะตายลงให้ได้เป็นทีร่ จู้ กั จาก ทั่วทุกมุมโลก ซึ่งนอกจากโครงการนี้ ยังมีโฮสต์ จากหลายประเทศที่ เ ป็ น ช่ า งฝี มื อ และได้ ใ ช้ Airbnb เป็นแพลตฟอร์มเพื่อสร้างโอกาสให้ผู้คน ได้เข้ามาเรียนรูว้ ธิ กี ารและวัฒนธรรมของพวกเขา พร้อมด้วยเรื่องราวที่น่าสนใจของผู้เชี่ยวชาญใน สาขาต่างๆ เช่น คินทสึงิ (Kintsugi) ศิลปะเก่าของ ญีป่ นุ่ กับการซ่อมแซมรอยแตกร้าวของเครือ่ งถ้วย หรือการสอนลงสีหุ่นรูปปั้นเทพเจ้าของลัทธิเต๋า CREATIVE THAILAND I 6

Wakuneco คืนชีวิตใหม่ให้น้องแมว เรื่อง : นพกร คนไว การทำ � ตุ๊ ก ตาจากใยขนแกะหรื อ ที่ เ รี ย กกั น ว่ า งานปักเฟลท์ (Needle Felt) กำ�ลังเป็นที่นิยมใน ประเทศญีป่ นุ่ ซึง่ เอกลักษณ์จากใยขนแกะจะช่วย ทำ�ให้ตุ๊กตาดูสมจริงทั้งรูปลักษณ์และการสัมผัส ศิลปินหลายคนนิยมสร้างสรรค์งานเป็นตุก๊ ตาสัตว์ สามมิ ติ รู ป แบบต่ า งๆ แต่ ที่ กำ � ลั ง มาแรงคื อ Needle Felt หน้าแมวผลงานของ Wakuneco ที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์และการบอกเล่าเรื่องราว Wakuneco แปลได้ว่า ‘แมวกรอบรูป’ เริ่มจากการลองทำ�เล่นๆ ของศิลปิน เป็นงาน อดิเรกกับการทำ�หน้าแมวลายต่างๆ และโพสต์ ลงบนโซเชี ย ลเน็ ต เวิ ร์ ก จนมี ค นเข้ า มาสนใจ มากมาย เธอจึงตัดสินใจเปลี่ยนให้มันกลายเป็น


Photo by Caleb Jones on Unsplash

ธุรกิจ โดยเปิดออเดอร์ให้กบั ผูร้ กั แมวจากทัว่ ญีป่ นุ่ เพือ่ สร้างงานเลียนแบบแมวของพวกเขาจากรูปถ่าย ทีไ่ ด้สง่ เข้ามา เกิดเป็นเรือ่ งราวและเอกลักษณ์ของ ผลงานแต่ละชิน้ บางออเดอร์กเ็ ป็นแมวทีย่ งั มีชวี ติ แต่ส่วนใหญ่แล้วลูกค้ามักต้องการผลงานเพื่อ เป็นตัวแทนของแมวทีต่ ายไป ผลงานทุกชิน้ จะถูก ใส่ลงกรอบรูปไม้ไว้สำ�หรับตั้งโชว์ และเป็นที่มา ของชื่อ Wakuneco นั่นเอง งานปัก Needle Felt เป็นงานอดิเรกที่ได้รับ ความนิยมมาก ด้วยผลงานทีด่ นู า่ รักและสามารถ ทำ � ได้ ด้ ว ยอุ ป กรณ์ เ พี ย งไม่ กี่ ชิ้ น แต่ ใ ช้ ค วาม ละเอียดอ่อนและทักษะฝีมือในวิธีทำ�ที่ต้องผ่าน การฝึกฝนหลายครัง้ โดยใช้เข็มชนิดพิเศษในการ เกี่ยวเส้นใยเข้าด้วยกันและจัดให้เป็นไปตามรูป โดยใช้การปักขึ้นลงซํ้าๆ ซึ่งงาน Needle Felt สามารถสร้ า งผลงานสามมิ ติ ไ ด้ อ ย่ า งสมจริ ง และให้ความรู้สึกอ่อนโยน ปัจจุบัน Wakuneco ยังรับออเดอร์แค่ ในประเทศญี่ปุ่น และอาจเปิดรับออเดอร์จาก ต่างประเทศในอนาคต ทาสแมวคนไหนที่สนใจ สามารถเข้าไปติดตามผลงานของเธอได้ทั้งทาง เฟสบุ๊ก อินสตราแกรม และยูทูบ ที่มา: บทความ “Japanese Artist Crafts Incredibly Realistic Cats Out of Felted Wool” โดย Emma Taggart จาก mymodernmet.com / บทความ “Learn How Needle Felting Lets You Craft Your Own Adorably Fuzzy Creations” โดย Sara Barnes จาก mymodernmet.com / บทความ “Wakuneco Will Create Realistic 3D Felt Portraits of Your Cat” โดย JOHNNY จาก spoon-tamago.com / waku-neco.com

Believe in Leaves ใบไม้นี่แหละใช่ เรื่อง : วนบุษป์ ยุพเกษตร ถ้าให้นึกถึงภาชนะใช้ครั้งเดียวทิ้ง ภาพที่ปรากฏ แว้บแรกในหัวหลายคนคงเป็นพลาสติก ไม่กโ็ ฟม อย่างดีหน่อยก็กระดาษ แต่ใครก็รู้ว่ากว่าพลาสติกจะย่อยสลายได้ ต้องใช้เวลาถึง 400 กว่าปี เกิดแล้วเกิดอีกตั้งไม่รู้ กี่ ค รั้ ง เจ้ า พลาสติ ก ก็ ยั ง อยู่ ส ภาพเดิ ม คงทน เหนียวแน่น ส่วนโฟมไม่มีการย่อยสลายตาม ธรรมชาติใดๆ ทั้งสิ้น ใครใช้โฟมอยู่จึงถือว่า หนักสุด Leaf Republic สตาร์ทอัพเชื้อสายเยอรมัน จึงคิดค้นและทดลองผลิตภาชนะที่จะมาทดแทน พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง เป็นภาชนะจาก ธรรมชาติ 100% เพราะทำ�จากใบไม้ ใบไม้ และ ใบไม้ ไร้พลาสติกและส่วนประกอบจากสารเคมี น่าทึ่งตรงที่ย่อยสลายได้ภายใน 28 วัน แถมยัง พิสูจน์แล้วว่า ‘กันนํ้าได้’ ด้วยชั้นของภาชนะถึง 3 ชัน้ ชัน้ แรกสุดจะเป็นใบไม้เพียวๆ ถัดมาจะเป็น เยื่อกระดาษทำ�มาจากใบไม้ที่มีคุณสมบัติกันนํ้า และประกบด้ ว ยใบไม้ อี ก ที เ ป็ น ชั้ น สุ ด ท้ า ย วัตถุดิบที่ถูกนำ�มาใช้มาจากใบที่ร่วงหล่นแล้ว ทำ�ความสะอาดก่อน ถึงค่อยนำ�มาเย็บให้ติดกัน เป็นแผ่นใหญ่ด้วยเส้นใยจากใบปาล์มด้วยมือ ใบไม้ ที่ ว่ า นำ � เข้ า จากเอเชี ย และอเมริ ก าใต้ ส่วนกระบวนการผลิตด้วยมือนี้ จะเริม่ จากทีมงาน CREATIVE THAILAND I 7

ออกแบบร่างภาพตัวอย่างแล้วทำ�เป็นแบบจำ�ลอง สามมิติ (3D Prototype) จากนั้นทำ�พิมพ์เฉพาะ เพื่อขึ้นรูปภาชนะใบไม้ด้วยการใช้เครื่องกัดแบบ CNC Milling1 ทุกชั้นของภาชนะจึงยึดติดกัน ได้ แ บบไม่ ต้ อ งใช้ ก าวหรื อ นํ้ า มั น แต่ ใ ช้ เ พี ย ง ความร้อน จานใบไม้ ไ ม่ ใ ช่ ข องใหม่ สำ � หรั บ คนไทย เพราะบ้านเราก็ใช้ใบตองห่อข้าวปลาอาหารกันมา แต่โบราณ เพียงแต่คุณสมบัติก็ยังไม่เทียบเท่า เพราะใบตองขาดง่าย ดังนั้นจึงต้องยอมรับว่า ‘นวัตกรรม’ กลายเป็นทางออกของงานคราฟต์จาก ธรรมชาติที่ช่วยให้การขึ้นรูปภาชนะด้วยใบไม้ มีความทนทาน อีกทัง้ ยังช่วยเพิม่ ทางเลือกให้เราได้ ทดลองใช้วสั ดุอน่ื ๆ มาผลิตบ้าง ที่นยิ มเห็นจะเป็น กาบหมาก ใบสัก และใบทองกวาว ที่ผ่านการ ทดสอบแล้วว่าเหมาะกับการมาทำ�ภาชนะด้วย คุณสมบัติที่ค่อนข้างเหนียวและแข็งแรง ใช่! ใบไม้เป็นคำ�ตอบของภาชนะใช้ครัง้ เดียวทิง้ ได้อย่างดีเยี่ยม จากวัตถุดิบใกล้ตัวผสานด้วย นวัตกรรม ฝีมอื และความคิดอันหลักแหลม จาน ใบไม้ได้จึงพิสูจน์แล้วว่างานคราฟต์ก็รักษ์โลกได้ และการเปลี่ยนใบไม้ธรรมดาๆ ให้กลายมาเป็น ภาชนะที่มีคุณค่าจากธรรมชาติได้ ก็คือทางออก ที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง 1 เครื่องจักรที่ใช้สำ�หรับงานที่เป็นลักษณะโค้งหรือเดินกัด

ในแนวรัศมีที่ต้องการความแม่นยำ�สูง ที่มา: บทความ “100% leaf one-way plates - flatrate offer” จาก kickstarter.com


Creative Resource : วัตถุดิบทางความคิด เรื่อง : เพ็ญลักษณ์ คำ�โสมศรี และ พวงชมพู ตะวงษา

F EAT U RED REPORT จับกระแสอนาคตเศรษฐกิจสร้างสรรค์ Thailand’s Craft Industry เศรษฐกิจสร้างสรรค์ กับการพัฒนาอุตสาหกรรมงานฝีมือและหัตถกรรมไทย โดย สำ�นักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ปัจจุบันเราเห็นกระแสนิยมงานคราฟต์ (Craft) เซรามิกคราฟต์ วู้ดคราฟต์ ตลอดจนคราฟต์เบียร์และคราฟต์คอฟฟี่ แทรกซึมเข้ามาในไลฟ์สไตล์คนเมือง มากขึน้ ผูค้ นสามารถเข้าถึงงานคราฟต์ผา่ นการลงมือทำ�ด้วยตัวเองได้ ไม่วา่ จะงานทำ�มือ DIY ง่ายๆ ไปจนถึงการนำ�สิ่งของจากธรรมชาติเข้ามาเป็น ส่วนหนึ่งในชีวิตประจำ�วัน ‘แม่ฑีตา’ (ผ้าฝ้ายย้อมครามธรรมชาติ) และ ‘กรกต’ (จักสานไม้ไผ่) ถือเป็นผูป้ ระกอบการสร้างสรรค์ในกลุม่ อุตสาหกรรม งานฝีมอื และงานหัตถกรรมทีป่ ระสบความสำ�เร็จในการสร้างมูลค่าเพิม่ ให้แก่ สินค้าหัตถกรรมและสามารถสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน ตลอดจนขยายฐาน

ผู้บริโภคไปยังตลาดต่างประเทศ โดยยึดจากคุณค่าและคุณสมบัติที่มีของ วัสดุจากธรรมชาติ การพัฒนาต่อยอดจากทักษะทีไ่ ด้รบั การถ่ายทอดจากรุน่ สู่รุ่น แรงบันดาลใจจากธรรมชาติใกล้ตัว ภูมิปัญญาพื้นบ้าน ผสมผสานกับ ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ทตี่ รงกับรสนิยมของคนรุน่ ใหม่ และเหมาะกับการใช้งานในชีวิตประจำ�วันมากยิ่งขึ้น เน้นความเรียบง่าย ดูเป็นสากล และทันสมัย สะท้อนให้เห็นว่างานคราฟต์ในปัจจุบันต่างได้รับ การเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของโลก และกำ�ลังครอบคลุมความหมายที่ กว้างขวางยิ่งขึ้นในชีวิตของผู้คนในสังคมร่วมสมัย

CREATIVE THAILAND I 8


ON LIN E DATA B A SE Contemporary Crafts and Artisan Connections โดย WGSN BY ASCENTIAL

BOOK Mindset: Chaning the way you think to fulfil your potential โดย Carol S. Dweck ไม่ว่าจะอายุเท่าไร เราทุกคนต่างต้องใช้เวลา ในการพิ สู จ น์ ตั ว เองให้ เ ป็ น ที่ ย อมรั บ ในสั ง คม ไม่ว่าจะในฐานะผู้บริหารองค์กร หัวหน้างาน พนักงาน ครู โค้ช ผู้ปกครอง หรือแม้กระทั่งเด็ก บางคนอาจมองว่าแค่พยายามก็ไปถึงความสำ�เร็จได้ แต่แครอล ดเวค (Carol Dweck) ผู้เขียนหนังสือ เล่มนี้กล่าวว่า “ทุกความสำ�เร็จล้วนเป็นผลจาก วิธีคิดของตัวเราเอง” เธอมุ่งมั่นทำ�วิจัยในเรื่องนี้ และได้ข้อสรุปว่าวิธีคิด (Mindset) จะนำ�พาเรา ไปสู่ความสำ�เร็จ เพราะคนเราจะประสบความ สำ�เร็จได้ ต้องได้รับการปลูกฝังความคิดและ ทัศนคติท่ีดีด้วย ดเวคแบ่งความคิดของคนเป็น 2 แบบ คือวิธีคิดแบบตายตัวที่เมื่อเจอความ ล้มเหลวก็จะหนีและคิดว่าทุกอย่างไม่สามารถ พัฒนาต่อไปได้ (Fixed Mindset) และวิธีคิดแบบ พัฒนาที่เมื่อเจอปัญหาจะพร้อมรับมือและแก้ไข (Growth Mindset) อันเป็นพื้นฐานสำ�คัญของ การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ นวัตกรรม การ ลงมือทำ� และยังทำ�ให้เรามองทุกสิ่งที่ทำ�ในชีวิต เป็นโอกาส

หลายคนอาจเคยคิดว่างานจากภูมปิ ญั ญาท้องถิน่ อาจวิง่ ตามยุคสมัยของโลกทีเ่ ปลีย่ นแปลงไปอย่างรวดเร็ว ในปัจจุบนั ไม่ทนั และถ้ากล่าวถึงคำ�ว่า ‘งานฝีมอื ’ หรือ ‘งานคราฟต์’ ก็อาจดูเป็นงานชัน้ สูงเกินกว่าที่จะ จับต้องได้จนไม่เป็นทีน่ ยิ มในหมูค่ นทัว่ ไป อย่างไรก็ตาม ปัจจุบนั งานคราฟต์หรือกระบวนการสร้างงาน ทีเ่ น้นการทำ�ด้วยมือ เริม่ ได้รบั ความสนใจอย่างแพร่หลาย อีกทัง้ พฤติกรรมของผูบ้ ริโภคทีเ่ ปลีย่ นไปก็ท�ำ ให้ งานคราฟต์ตอ้ งปรับตัวไปตามเทรนด์ งานคราฟต์ถกู นำ�มาปรับใช้มากขึน้ เรือ่ ยๆ ทัง้ ในแบรนด์สนิ ค้า แฟชัน่ หรือของตกแต่ง หลายแบรนด์หันมาใช้งานฝีมือเพื่อเชื่อมต่อกับผู้บริโภคที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ทั้งหมดนี้ นำ�ไปสู่การเพิ่มขึ้นของธุรกิจงานฝีมือและการเปิดตลาดใหม่ๆ ในระดับนานาชาติ สร้างแรงบันดาลใจ ให้แก่กลุ่มผู้ประกอบการรุ่นใหม่ หรือผู้ที่ชื่นชอบและหลงใหลในงานคราฟต์ได้เปิดโลกแห่งดีไซน์จาก ภูมิปัญญาดั้งเดิมมาสู่การประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตและค่านิยมในปัจจุบันมากขึ้น

JOU R N A L Journal of Design History โดย Penny Sparke Journal of Design History นำ�เสนอการถ่ายทอด รูปแบบความคิดออกมาเป็นผลงานทีผ่ อู้ น่ื สามารถ มองเห็น รับรู้ หรือสัมผัสได้ การออกแบบนีค้ รอบคลุม ถึงการออกแบบวัตถุ ระบบ หรือการปฏิสัมพันธ์ ของมนุษย์ ในการออกแบบแต่ละครั้ง เราจำ�เป็น ต้องพิจารณาด้านสุนทรียศาสตร์ ประโยชน์ใช้สอย ตามหลักเศรษฐศาสตร์ ตลอดจนมุมมองทางสังคม และการเมือง อย่างไรก็ตาม วัฒนธรรมท้องถิ่น ในหลายประเทศยังไม่เป็นที่แพร่หลายในปัจจุบนั ทำ � ให้ เ กิ ด การลดคุ ณ ค่ า ของงานออกแบบลง ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดนี้สะท้อนให้เห็นใน ความสัมพันธ์ระหว่างประวัตศิ าสตร์สถาปัตยกรรม และประวัติศาสตร์การออกแบบ ปัจจุบันการ ออกแบบมีอิสระในการสร้างสรรค์ผลงานต่างๆ มากขึน้ และจากอดีตจนถึงทุกวันนี้ การออกแบบ ก็ได้เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนเราไปจากเดิม

พบกับวัตถุดิบทางความคิดเหล่านี้ได้ที่ TCDC Resource Center CREATIVE THAILAND I 9


MDIC : นวัตกรรมและวัสดุ

INNOVATIVE MATERIAL: From Local Asset to Business Opportunity เรื่อง : ณัฐณิชาต์ ศิริวัลลภ

ผ้าทอจากเปลือกไหม

แก้วจากแกลบ

ปัจจุบันแนวทางการจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อแปรเปลี่ยนสิ่ง ไร้ค่าให้กลับมามีคุณค่าได้อีกครั้งนั้น ช่วยให้วัสดุเหลือใช้เหล่านี้ลดปริมาณ ลงได้ แต่นนั่ อาจยังไม่เพียงพอกับเศรษฐกิจในปัจจุบนั ทีม่ กี ารแข่งขันทางด้าน ธุรกิจสูง แล้วจะมีแนวทางไหนทีจ่ ะช่วยเติมเต็มช่องว่างและสร้างประสิทธิผลนี้ ได้อีกบ้าง นิทรรศการหมุนเวียน INNOVATIVE MATERIAL: From Local Asset to Business Opportunity ส่วนจัดแสดง Design Innovation ห้อง Material & Design Innovation Center ของ TCDC กรุงเทพฯ ที่เพิ่งผ่านไป ได้นำ�เสนอ นวัตกรรมทีส่ ามารถตอบโจทย์ดงั กล่าว โดยนิทรรศการนีไ้ ด้แสดงถึงตัวอย่าง เพียง 3 ผลงาน จากนวัตกรรมนับร้อยชิ้นที่นำ�วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร มาสร้างสรรค์เป็นวัสดุใหม่ สร้างมูลค่าเพิ่ม และกระตุ้นให้เกิดเศรษฐกิจ หมุนเวียนในชุมชน ตลอดจนสร้างอาชีพและรายได้ให้กบั ชุมชนเพือ่ ผลักดัน เศรษฐกิจของประเทศในยุคที่นวัตกรรมเข้ามาเป็นส่วนสำ�คัญในการพัฒนา สิ่งต่างๆ ให้ดียิ่งขึ้นไป ‘ผ้าทอจากเปลือกไหม’ คือ 1 ใน 3 ผลงานที่ผู้ชมนิทรรศการให้ความ สนใจอย่างมาก ด้วยกระบวนการสาวไหมเพื่อให้ได้เส้นใยที่มีความละเอียด เงางามนัน้ จะต้องนำ�ไหมชัน้ ในทีไ่ ด้จากการนำ�เปลือกไหมชัน้ นอกออกไปแล้ว เท่านัน้ จึงจะเป็นทีต่ อ้ งการของตลาด ทำ�ให้มเี ปลือกไหมเหลือทิง้ เป็นจำ�นวน มาก เนื่องจากเส้นไหมที่ได้จากรังไหมชั้นนอกมีลักษณะเส้นใหญ่และหยาบ จึงไม่เป็นทีต่ อ้ งการของตลาดผ้าไหมคุณภาพสูง เกษตรกรหรือช่างทอผ้าจะ กำ�จัดเศษวัสดุเหลือใช้นี้ด้วยการสาวรวมกับไหมคุณภาพดีทำ�ให้ได้ผ้าไหม ทอผืนคุณภาพตํา่ หรือกำ�จัดโดยทิง้ ไปเสียเปล่า จึงเป็นทีม่ าของแนวคิดในการ พัฒนาและออกแบบสิ่งทอด้วยนวัตกรรมเพื่อสร้างโอกาสในการต่อยอด ภูมปิ ญั ญาและฉีกกรอบแนวคิดเดิมๆ เพิม่ ความแตกต่างด้วยการเปลีย่ นเส้นใย จากเปลือกไหมด้อยค่า ราคาถูก ให้กลายเป็นแฟชัน่ สไตล์ใหม่จากเทคนิคการ “ฉีกผ้า” ทีเ่ ป็นนวัตกรรมการทำ�ลายเพือ่ สร้างผิวสัมผัสใหม่ให้กบั เส้นไหม โดย

MACCA Sheets ผลิตภัณฑ์จากเปลือกแมคคาเดเมีย

ผ้าทอจากเปลือกไหมที่ถูกฉีกหรือรื้อทำ�ลายโครงสร้างนี้จะมีลักษณะฟูและ กระจายตัว สามารถนำ�ไปตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าได้หลายรูปแบบ สวมใส่สบาย ในทุกฤดูกาล อีกทั้งเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้สู่ชุมชนได้อีกด้วย นอกจากนี้ ยังมีผลงานทีน่ า่ สนใจอีก 2 ผลงาน คือ ‘แก้วจากแกลบ’ และ ‘MACCA Sheets’ ทีเ่ ป็นการนำ�องค์ความรูท้ างวิทยาศาสตร์และการออกแบบ มาสร้างนวัตกรรมทำ�ให้ได้วัสดุใหม่ที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม อีกทั้ง องค์ความรู้นี้ได้ถูกส่งต่อไปยังคนในชุมชนเพื่อต่อยอดสร้างธุรกิจต่อไปได้ อีกด้วย โดยผลงานทั้งหมดจากนิทรรศการนี้เป็นผลงานของนักวิจัยจาก 3 มหาวิทยาลัยที่อยู่ในโครงการเครือข่ายมหาวิทยาลัยส่งเสริมนวัตกรรม สร้างสรรค์ภายใต้ Innovation Hub จำ�นวณ 9 แห่ง ที่กระจายตัวอยู่ทุก ภูมิภาคของไทย โดยร่วมมือกับภาคธุรกิจและชุมชนเพื่อจัดการนวัตกรรม และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แบบบูรณาการ นิทรรศการนี้ยังมีให้ชมกันอีกที่ miniTCDC CENTER หรือโครงการ กระจายโอกาสสร้างแหล่งเรียนรูด้ า้ นการออกแบบสูภ่ มู ภิ าค โดยจะจัดแสดง ในเดือนกรกฎาคมนี้ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ และจะย้ายไป จัดแสดงต่อ ณ มหาวิทยาลัยบูรพาในเดือนสิงหาคมนี้

พบกับนวัตกรรมและวัสดุสร้างสรรค์ ได้ที่ชั้น 2 ห้อง Material & Design Innovation Center, CEA CREATIVE THAILAND I 10


พบกับนิตยสาร “คิด” Creative Thailand ได้ที่ ร้านหนังสือ ห้องสมุด สมาคม อาคารสำ�นักงาน และร้านกาแฟใกล้บ้าน ในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ หัวหิน และจังหวัดอื่นๆ รวมถึง miniTCDC

หมดปญหาหยิบนิตยสารไมทัน สมัครสมาชิกรายป คาใชจายในการจัดสง 200 บาท (12 เลม)

ดูสถานที่จัดวางทั้งหมดได้ที่: creativethailand.org/contactus

หรือดาวนโหลดใบสมัครออนไลน creativethailand.org/contactus

กรุงเทพฯ ร้านหนังสือ • Asia Books • Kinokuniya • B2S • แพร่พิทยา

• MAIIAM Contemporary Art Museum • ชีวิต ชีวา • Minimeal Cafe • Impresso • Restr8to • Penguin Villa (Penguin Getto) ร้านกาแฟ/ร้านอาหาร • กาแฟอาข่า อ่ามา • Au Bon Pain La Fattoria สาขา2 • Starbucks • TOM N TOM’S COFFEE • Happy Hut ถ.นิมมานฯ • True Coffee • ราชดำ�เนิน • Auntie Anne’s • Mai Bakery In Garden • Baskin Robbins • Starbucks The Plaza • Coffee World • Yesterday Hotel • Mister Donut • October • Black Canyon • สุรยิ นั จันทรา นิมมานฯ ซอย 1 • McCafe’ • ร้านมีชามีชัย (กู) • ดอยตุง • Cafe’de nimman • Ninety four coffee • The Booksmith • Puff & Pie • ร้านชา (Drink Club) • Red Mango • Cotto Studio • Iberry • Starbucks Nimmanhemin • Greyhound Cafe’ • Fern Forest Cafe’ • Amazon Cafe’ • 9th Street Cafe • Chester’s Grill นิมมานฯ ซอย 9 • Luv minibar • ดวงกมล (Duang Kamol) • Rustic & Blue - Handgrown พิพิธภัณฑ์/หอศิลป์ • Produce & Artisan Food • หอศิลปวัฒนธรรม นิมมานฯ ซอย 9 แห่งกรุงเทพมหานคร • หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม • มิวเซียม สยาม • อุทยานการเรียนรู้ (TK park) มช. • นำ�ทอง แกลเลอรี่ หัวหิน • ร้านกาแฟ ชุบชีวา หัวหิน สมาคม/ห้องสมุด • อยู่เย็น หัวหิน บัลโคนี่ • ศูนย์ศิลปะนานาชาติ • บ้านใกล้วัง สมาคมฝรั่งเศส • ภัตตาคารมีกรุณา • ห้องสมุดเนลสัน เฮลส์ The Neilson Hays Library • บ้านถั่วเย็น @ แนบเคหาสน์ • ร้านอาหารหัวหิน (โกทิ) • ห้องสมุด - นิด้า • กาแฟข้างบ้าน • สมาคมโฆษณา • IL GELATO ITALIANO แห่งประเทศไทย • Together Bakery & Cafe’ • สมาคมธนาคารไทย • โรงแรม วรบุระหัวหิน • สมาคมสโมสรนักลงทุน • Let’s Sea • ห้องสมุด สสวท. • โรมแรม ดูน หัวหิน • สมาคมหอการค้าไทย • เดอะร็อค หัวหิน • สถาบัน • บ้านจันทร์ฉาย • Wall Street Institute • หัวหิน มันตรา รีสอร์ท • Raffle Design Institute • ลูน่าฮัท รีสอร์ท • Vision Swimming Academy กระบี่ • Nakamanda Resort & Spa เชียงใหม่ • Rawee Warin Resort & Spa • woo cefe • A little Handmade Shop • Kagee • Ristresto lab • ท่าแพอีสต์+ dibdee.binder ขอนแก่น • Hug School • C.A.M.P ,MAYA • True Coffee ,หอสมุด มช. of Creative Arts • ร้านสืบสาน • Punspace, นิมมานฯ • ร้านกาแฟ คอฟฟี่ เด้อ หล่า • asama cafe • มาหาสมุด (บ้านข้างวัด) (Coffee Der La) • see scape gallery เชียงราย • nimmanian club • ร้านหนังสือ herebookafe • 8 days a week • ร้าน Coffee Dad • Bulbul book cafe’ • Graph cafe’ นครราชสีมา • Cefe de museum • Hug station resort • local cafe Think park • Librarista นครปฐม • Artisan วัวลาย • ร้าน Dipchoc Cafe • paper spoon • กาแฟรสนิยม, นครสวรรค์ หลัง มช ทางขึ้นกาแล • The barn : Eatery Design • ร้าน Bitter Sweet • Book Republic น่าน • wake up หน้ามอ • ร้าน Runway Coffee • Fab cafe’ • kum cafe คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ • ร้านคลาสสิค โมเดล น่าน

• ร้านกาแฟปากซอย • ร้าน Nan Coffee Bean ปาย/แม่ฮ่องสอน • ร้านคอฟฟี่อินเลิฟ • ร้าน all about coffee • ร้านปายหวานบ้านนมสด • ร้านเล็กเล็ก • ปายวิมานรีสอร์ท พังงา • Niramaya Villa and Willness Resort • Ranyatavi Resort Phang Nga • The Sarojin เพชรบุรี • Grand Pacific Sovereign • Resort & Spa • DevaSom Hua Hin Resort ภูเก็ต • ร้านหนัง(สือ) ๒๕๒๑ ภูเก็ต • The oddy Apartment & Hotel • At Panta Phuket • Banyan Tree Phuket • Le Meridien Phuket • Millienium Ressort Patong Phuket • Novotel Phuket Resort • Patong Paragon Resort & Spa Phuket • Sheraton grand Lagana Phuket • Sri wanwa Phuket Villa • Thanyapura ระยอง • Le Vimarn Cottage ลำ�ปาง • อาลัมภางค์ เกสท์เฮ้าส์ แอนด์ มอร์ ลำ�ปาง • ร้านเอกาลิเต้ Egalite Bookshop • Lampang Art Center เลย • บ้านชานเคียง • มาเลยเด้ เกสต์เฮาท์ ลพบุรี • ซนดิคอฟฟี่ สมุทรสงคราม/อัมพวา • Baan Amphawa Resort and Spa สุโขทัย • Ananda Co.,Ltd. สุราษฎร์ธานี • Muang Samui Spa Resort • Pavilion Samui Boutique Resort • The Sunset Beach Resort and Spa Taling ngam • Nora Beach Resort Samui อุทัยธานี • ร้านบุ๊คโทเปีย Booktopia • Avatar Miracles

ขอมูลผูสมัครสมาชิก สมาชิกใหม ชื่อ นามสกุล เพศ โทรศัพท

สมาชิกเกา (ตออายุ) หญิง อายุ

ชาย

อีเมล

โทรศัพทมือถือ

อาชีพ นักเรียน ครู/อาจารย

นิสิต/นักศึกษา พนักงานบริษัท

นักออกแบบ/ครีเอทีฟ ผูประกอบการ

อาชีพอิสระ อื่นๆ โปรดระบุ

ขาราชการ/รัฐวิสาหกิจ

สาขา/อุตสาหกรรมที่เกี่ยวของกับอาชีพของทาน โฆษณา สถาปตยกรรม แฟชั่น ศิลปะการแสดง ดนตรี ภาพยนตร โทรทัศน/วิทยุการกระจายเสียง

ทองเที่ยว/โรงแรม/สายการบิน วรรณกรรม/การพิมพ/สื่อสิ่งพิมพ พิพิธภัณฑ/หองแสดงงาน ซอฟตแวร/แอนิเมชัน/วิดีโอเกม

หัตถกรรม/งานฝมือ การเงิน/ธนาคาร ทัศนศิลป/การถายภาพ อื่นๆ โปรดระบุ

อาหาร การแพทย การออกแบบ

คาปลีก/คาสง โทรคมนาคม

ที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ จังหวัด

ซอย

ถนน รหัสไปรษณีย

หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง

อำเภอ/เขต

หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง

อำเภอ/เขต

ที่อยูในการออกใบเสร็จ เหมือนที่อยูในการจัดสง เลขประจําตัวผูเสียภาษี เพื่อออกใบเสร็จรับเงิน หมูบาน/บริษัท เลขที่ ซอย ถนน จังหวัด รหัสไปรษณีย

ตองการสมัครสมาชิกนิตยสาร Creative Thailand ระยะเวลา 1 ป จำนวน 12 เลม เริ่มตั้งแตฉบับเดือน โดยยินดีเสียคาใชจายในการจัดสงเปนจำนวนเงิน 200 บาท

วิธีการชำระเงิน เช็คสั่งจายสํานักงานสงเสริมเศรษฐกิจสรางสรรค (องคการมหาชน) (CEA) พรอมใบสมัครสมาชิก โอนเงินเขาบัญชี สำนักงานสงเสริมเศรษฐกิจสรางสรรค (องคการมหาชน) ธนาคารกรุงเทพ สาขาสำนักงานใหญสลี ม เลขทีบ่ ญั ชี 101-9-12219-9 • แฟกซใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่ 02-105-7450 • หรือสงไปรษณียมาที่ สํานักงานสงเสริมเศรษฐกิจสรางสรรค (องคการมหาชน) (CEA) อาคารไปรษณียกลาง 1160 ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500 • หรือแนบไฟลใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่อีเมล creativethailand@cea.or.th สอบถามขอมูลเพิ่มเติมไดที่ 02-105-7400 ตอ 116


Local Wisdom : ภูมิความคิด

แกะสลัก ศาสตร์แห่งการใช้มีดและ(ฝี)มือ

เรื่อง : ณัฐชา ตะวันนาโชติ

มื้ออาหารที่ดี นอกจากจะต้องมีรสชาติที่อร่อยแล้ว รูปร่างหน้าตาก็ต้องน่ารับประทานไม่แพ้กัน ศิลปะการจัดตกแต่งอาหาร จึงเป็นสิ่งที่ผู้คนให้ความสำ�คัญ และหนึ่งในกลวิธีที่ถูกนำ�มาใช้ในการประดับจานอาหารก็คือ ‘การแกะสลักผักผลไม้’ ซึ่งเป็น ทั้งศาสตร์และศิลป์ที่อยู่คู่กับครัวไทยมาตั้งแต่อดีต โดยต้องใช้ความละเอียดอ่อน ประณีต และทักษะขั้นสูง เพื่อรังสรรค์ให้ ผักผลไม้ธรรมดาๆ กลายเป็นงานศิลปะที่วิจิตรตระการตา แม้จะไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าเริ่มต้นขึ้นในสมัยใด แต่จากการจดบันทึกทางประวัติศาสตร์ของไทย การแกะสลักผักผลไม้มักปรากฏให้เห็นอยู่ร่วมกับ ประเพณีต่างๆ เสมอ และมักถูกกล่าวถึงในวรรณกรรมหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นบทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่สอง อย่าง ‘กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน’ หรือ ‘สังข์ทอง’ ที่พูดถึงการแกะสลักชิน้ ฟักเป็นเรือ่ งราวของพระสังข์และนางจันท์เทวี ใน ‘เสภาเรือ่ งขุนช้างขุนแผน’ นิทานพืน้ บ้านเรื่องดังของไทยทีถ่ กู สันนิษฐานว่า เกิดขึ้นจริงในสมัยกรุงศรีอยุธยา ก็มีรายละเอียดต่างๆ ภายในเนื้อเรื่องที่สะท้อนให้เห็นวิถีการดำ�เนินชีวิตของผู้คนในสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี ทำ�ให้เห็นว่า คนไทยให้ความสำ�คัญกับงานศิลปะบทโต๊ะอาหารมาตัง้ แต่อดีต และการแกะสลักผักและผลไม้เป็นหนึง่ ในคุณสมบัติที่กุลสตรีในอดีตพึงมี เป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้ ฝึกฝน เป็นงานฝีมือที่ถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่อยู่คู่กับคนไทยมาอย่างยาวนาน CREATIVE THAILAND I 12


เรือ่ งราวผ่านลายแกะสลักทัว่ โลก

งานศิลปะเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงเอกลักษณ์ และความแตกต่างทางวัฒนธรรมของแต่ละชาติ ซึง่ การแกะสลักผักผลไม้กถ็ อื เป็นผลงานทางศิลปะ และจัดอยูใ่ นเทคนิคการประกอบอาหารทีผ่ คู้ นใช้กนั อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน โดยมีจุดประสงค์เพื่อ แต่งเติมความสวยงามให้แก่มอื้ อาหารทีม่ รี ปู แบบ แตกต่างกันออกไปตามวัฒนธรรมของแต่ละแห่ง ช่วยเพิ่มคุณค่าและมูลค่าให้กับอาหาร ทั้งเป็น การแสดงออกทางวัฒนธรรมที่เป็นอัตลักษณ์ ประจำ�ของชาติ ขณะทีเ่ บือ้ งหลังลวดลายแกะสลัก ที่แตกต่างกัน ยังสะท้อนถึงภูมิหลังและเรื่องราว ทางความเชื่อและวัฒนธรรมของแต่ละชนชาติ อีกด้วย เช่นของไทย จะนิยมแกะสลักด้วยลวดลาย ที่แสดงออกถึงความเป็นไทย เช่น ลายรวงข้าว ลายดอกรักเร่ หรือ ดอกบานชื่น

มุกิโมโนะ

ญี่ปุ่น ดินแดนอาทิตย์อุทัยอันขึ้นชื่อด้านศิลปวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ก็มีศิลปะ การแกะสลักผักผลไม้แบบดั้งเดิมที่เรียกว่า ‘มุกิโมโนะ’ (剥き物) ซึ่งได้รับความนิยมอย่างสูงในช่วง ศตวรรษที่ 16 หรือ สมัยเอโดะ โดยช่างแกะจะนำ�ผักหรือผลไม้ตา่ งๆ อย่างแครอทและมะเขือมาแกะสลัก ด้วยลวดลายแบบญี่ปุ่น เช่น ลายดอกซากุระ ลายพัด ลายคลื่น หรือ นำ�มาแกะเป็นรูปสัตว์ ประเภทต่างๆ เพือ่ นำ�ไปตกแต่งเพิม่ ความสวยงามให้จานอาหาร และเนือ่ งจากชาวญีป่ นุ่ ให้ความสำ�คัญ กับวัตถุดบิ ทีน่ �ำ มาใช้ประกอบอาหาร ซึง่ มีความหลากหลายและหมุนเวียนสับเปลีย่ นไปตามฤดูกาล ผักผลไม้แกะสลักทีน่ �ำ มาตกแต่งจึงเป็นส่วนทีจ่ ะช่วยแสดงออกถึงอารมณ์และความรูส้ กึ ของฤดูกาล ที่แตกต่างกัน และช่วยทำ�ให้รูปลักษณ์ของอาหารมื้อนั้นน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น

ฉุยกั่วเตียวเค่อ

v.qq.com

ต่อมาการแกะสลักผักผลไม้ของไทยได้ถูกบรรจุ เป็นหนึ่งในศาสตร์ของ ‘ช่างสิบหมู่’ ซึ่งนับเป็น กลุ่มช่างที่เป็นผู้มีฝีมือ ความสามารถ และความ ชำ�นาญในการสร้างสรรค์ผลงานทีเ่ ป็นศิลปกรรม อันถือเป็นประณีตศิลป์และวิจติ รศิลป์อย่างโดดเด่น โดยงานศิ ล ปะประเภทนี้ จ ะจั ด อยู่ ใ นงานของ ‘ช่างแกะ’ ประเภท ‘งานแกะเครือ่ งสด’ เป็นงาน ที่ใช้ความประณีตบรรจงและความชำ�นิชำ�นาญ อย่างมาก เพราะโดยส่วนใหญ่แล้ว งานแกะสลัก ผักผลไม้ของไทยจะใช้มดี แกะสลักเพียงเล่มเดียว เท่านั้น และยังต้องทำ�งานแข่งกับเวลา เพื่อไม่ให้ ผักผลไม้สดทีน่ �ำ มาใช้เหีย่ วเฉาหรือชํา้ ไปเสียก่อน

Youtube: Hiroyuki Deguchi

ศิลปะขึ้นโต๊ะสู่ช่างสิบหมู่

จีน

จีนเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมสืบทอดมาอย่างยาวนาน และหนึ่งในสิ่งที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา ก็คือการแกะสลักผักผลไม้ หรือที่เรียกว่า ‘ฉุยกั่วเตียวเค่อ’ (水果雕刻) คาดว่ามีตน้ กำ�เนิดมาตัง้ แต่ สมัยราชวงศ์ถงั หรือ ช่วงศตวรรษที่ 7 โดยศิลปะการแกะสลักผักผลไม้แบบจีน มักจะทำ�เป็นรูปสัตว์ มงคลต่างๆ ตามความเชือ่ ของชาวจีน เช่น เต่า มังกร หรือ หงส์ ซึ่งเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่ใช้กัน อย่างแพร่หลายตามโอกาสพิเศษต่างๆ ภายในครอบครัวไปจนถึงพระราชพิธีสำ�คัญในวังหลวง เพราะนอกจากจะใช้สร้างความสวยงามแล้ว การแกะสลักยังถือเป็นสือ่ กลางในการเล่าเรือ่ งราวและ ตำ�นานของชาวจีนอีกด้วย

ในยุคที่อาหารอร่อยอย่างเดียวไม่ได้ แต่ยังต้องสวยงามด้วย งานแกะสลักจึงเป็นเหมือนปราการ ด่านแรกในการดึงดูดความสนใจจากนักชิม ดังนั้นการแกะสลักผักผลไม้จึงไม่ได้ใช้เพื่อเพิ่มมูลค่าและ เพิม่ ความสุนทรียใ์ ห้กบั มือ้ อาหารเท่านัน้ แต่ยงั เป็นศาสตร์งานฝีมอื ทีแ่ สดงออกถึงความสร้างสรรค์ และ บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมไปพร้อมๆ กัน ที่มา: หนังสือ “ช่างสิบหมู”่ โดย SACICT / หนังสือ “เสภาเรือ่ งขุนช้างขุนแผน” โดย หอพระสมุดวชิรญาณ https://vajirayana.org / บทความ “Fruit-vegetable Carving Intricate Patterns on Food by Japanese Virtuoso Gaku” จาก wwvalue.com / บทความ “Thailand’s Spectacular Fruit Carving Tradition” จาก theculturetrip.com / บทความ “Vegetable And Fruit Carving” จาก achefshelp.com CREATIVE THAILAND I 13


Cover Story : เรื่องจากปก

เมื่องานฝีมือจับคู่กับอุตสาหกรรม จับคู่ทำ�ไม อย่างไร และเกี่ยวอะไรกับผู้บริโภค เรื่อง : กรณิศ รัตนามหัทธนะ

ช่างเครื่องหนังชาวอิตาลี มาร์เชลโล โกรี (Marcello Gori) ก่อตั้ง Scuola del Cuoio Firenze หรือโรงเรียนเครื่องหนัง แห่งฟลอเรนซ์ขึ้นเมื่อค.ศ.1950 เพื่อช่วยฝึกเด็กที่กำ�พร้าพ่อแม่จากสงครามโลกครั้งที่สอง ให้มีอาชีพเป็นช่างเครื่องหนัง และเลี้ยงตัวเองได้ นักท่องเที่ยวที่อยากได้กระเป๋าหนังฝีมือช่างอิตาลีหรือรองเท้าหนังที่ตัดเย็บอย่างประณีตทุกฝีเข็ม มักไม่พลาดไปที่นี่ เพือ่ เลือกซือ้ ผลิตภัณฑ์เครือ่ งหนังคุณภาพเยีย่ ม ทัง้ กระเป๋าถือสตรี กระเป๋าเอกสาร เข็มขัด กระเป๋าสตางค์ เสือ้ แจ็กเก็ต ฯลฯ แต่ละชิ้นตัดเย็บจากหนังวัว หนังแกะ หนังกวางที่นุ่มพิเศษ ไปจนถึงหนังนกกระจอกเทศ หนังจระเข้ หรือแม้แต่หนังงูเหลือม CREATIVE THAILAND I 14


Photo by Tom Crew on Unsplash

ทั้ ง หมดนี้ ต้ อ งใช้ ค วามชำ � นาญขั้ น สู ง ในการ ฟอกหนัง ตัดหนัง ทำ�แบบ และตัดเย็บด้วยมือ ตามแบบช่างฝีมืออิตาลี ต้องคำ�นึงถึงอุณหภูมิ และค่าความเป็นกรดด่างของนํ้าที่ใช้ฟอกหนัง และวิธีเก็บรักษาหนังให้คงสภาพสวยงาม ปัจจุบันมีสถานที่แบบนี้เหลืออยู่ไม่มากนัก ในโลกเทียบกับหลายร้อยปีก่อน เพราะอาชีพ ช่างฝีมอื ไม่ได้เป็นอาชีพหลักของประชากรเหมือน ยุคโน้น แค่เดินออกจากโรงเรียนเครื่องหนังที่ว่า ออกมาถนนใหญ่ในฟลอเรนซ์ จะเจอแต่ร้านขาย กระเป๋าหนังแท้และหนังเทียมแขวนล่อใจนักช้อป แต่เมื่อพลิกดูด้านใน จะเจอคำ�ว่า Made In China หากโชคดีอาจเจอประโยค Made In Italy แต่ทำ�โดยช่างฝีมือรองๆ ลงไป เทียบไม่ได้กับ โรงเรียนเครือ่ งหนังแห่งฟลอเรนซ์ ทีไ่ ด้รบั เลือกให้ ผลิตเครื่องหนังเป็นของขวัญแก่ประธานาธิบดี ไอเซนฮาวร์แห่งสหรัฐอเมริกา อาชีพช่างฝีมือ โดยเฉพาะในทวีปยุโรป เป็ น อาชี พ เก่ า แก่ ที่ อ ยู่ ม าตั้ ง แต่ ก่ อ นยุ ค กลาง (ศตวรรษที่ 5 ถึง 15) และถูกกระแสธารของ ประวั ติ ศ าสตร์ พั ด ถล่ ม ให้ เ สื่ อ มความนิ ย ม (จนถึงขั้นเรียกได้ว่าล่มสลาย) ในยุคการปฏิวัติ อุตสาหกรรม ที่เครื่องจักรพลิกโฉมหน้าทุกอย่าง ตั้งแต่การผลิตสินค้าไปจนถึงวิธีที่เราใช้ชีวิต แต่เนื่องจากมนุษย์ยังชื่นชอบ ‘งานฝีมือ’ ทำ�ให้จิตวิญญาณของงานเหล่านี้ไม่เคยสูญหาย ไปจนสิน้ จะมีเหตุการณ์อะไรบางอย่าง คนบางกลุม่ ที่ยืนหยัดเพื่อรักษางานฝีมือเอาไว้แม้ในสภาวะ สังคมที่งานฝีมือหมดความหมาย เหตุการณ์ สำ�คัญที่วา่ นัน้ คือ The Arts and Crafts Movement ที่เกิดขึ้นในประเทศอังกฤษ

แม้ว่าในยุคโบราณ คำ�ว่า ‘งานฝีมือ’ และ ‘งานอุตสาหกรรม’ จะแตกต่างกันสุดขั้วทั้งในแง่ ความเร็วในการผลิต วิธกี ารผลิต และการควบคุม คุณภาพ แต่ปจั จุบนั มีอตุ สาหกรรมจำ�นวนไม่นอ้ ย ที่ใช้ ‘ความเป็นช่างฝีมือ’ มาเป็นส่วนสำ�คัญของ ธุรกิจ หลายอุ ต สาหกรรมหรื อ ผู้ ผ ลิ ต รายย่ อ ย เลือกใช้ปจั จัยแห่งยุคสมัย คือเทคโนโลยี เพือ่ ช่วย ทั้งในขั้นตอนการออกแบบ ผลิต และทำ�ตลาด แต่ยังคงคุณสมบัติเดียวกันกับช่างฝีมือในอดีต คือใส่ใจรายละเอียดอย่างสูง ใช้วสั ดุคณุ ภาพเยี่ยม ลบล้างภาพ ‘สินค้าโรงงาน’ ที่ดูไร้ชีวิตจิตใจ ไปโดยสิน้ เชิง และมีความภาคภูมใิ จในผลิตภัณฑ์ เฉกเช่นเดียวกับช่างฝีมือยุคเก่า ยุคสมัยแห่งช่างฝีมอื ก่อนหน้าจะมีการปฏิวัติอุตสาหกรรม ช่างฝีมือ คือใคร และอยูก่ นั อย่างไร ในยุคกลาง (ศตวรรษที่ 5 ถึง 15) ยุโรป ปกครองด้วยระบบฟิวดัล (Feudal) ทำ�ให้มคี นอยู่ สองประเภท คื อ ผู้ป กครองกั บ ผู้ถูก ปกครอง บรรดาช่างฝีมอื อยูใ่ นประเภทหลัง ก่อนถึงการปฏิวัติอุตสาหกรรม (ศตวรรษ ที่ 18) ช่างฝีมอื ทีส่ �ำ คัญมีหลากหลายสาขา ทัง้ ช่าง ฝีมอื งานผ้า งานไม้ งานกระดาษ งานเครือ่ งปัน้ ดินเผาและทำ�แก้ว งานอัญมณี ทำ�เครื่องจักสาน ทำ�เบียร์ ทำ�หนังสือ ทำ�ตุ๊กตา ทำ�เครื่องเคลือบ ช่างงานหนังและโลหะ ช่างทำ�มีดและของเล่น ฯลฯ การผลิตสินค้าเป็นแบบระบบครัวเรือน ช่างฝีมือจะรู้วิธีผลิตสิ่งใดสิ่งหนึ่งตั้งแต่ต้น จนจบ เช่น ทำ�รถม้า ทำ�ปืน ตัดเย็บรองเท้า โดย พักอาศัยอยู่ในบ้านช่างฝีมือเก่งๆ เพื่อเป็นลูกมือ

CREATIVE THAILAND I 15

และเรียนรู้ไปด้วย การ ‘ฝึกงาน’ นี้อาจใช้เวลา เป็นปีๆ เมื่อลูกมือคนนัน้ เก่งพอแล้ว ก็อาจออกไป เปิ ด ร้ า นเป็ น ของตนเองอย่ า งภาคภู มิ ใ จใน ‘งานฝีมือ’ ที่ตนเองทำ�ได้ด้วยฝีมือจริงๆ อย่างไรก็ตาม สิ่งหนึ่งที่เกิดแก่ช่างฝีมือ ทุกแขนงในยุคที่ยังไม่มีเครื่องไม้เครื่องมือหรือ อุปกรณ์ไฟฟ้าช่วยก็คือ ความเหนื่อยที่เกิดจาก การทำ�ทุกอย่างหรือแทบทุกอย่างด้วยมือและ ต้องอาศัยธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ วัสดุหลายอย่างทีช่ า่ งฝีมอื ใช้ ต้องไปเสาะหา มาจากแหล่ ง ธรรมชาติ ซึ่ ง อยู่ ก ลางแจ้ ง เช่ น ดินเหนียวจากริมแม่นํ้า หินปูนและหินทรายจาก ธรรมชาติ ช่างทำ�เบียร์กต็ อ้ งเก็บเกีย่ วข้าวบาร์เลย์ งานที่ต้องเจาะหรือระเบิดหินแข็งก็ต้องใช้นํ้า เดือดๆ เทลงไปในรูที่เจาะไว้ รอให้นํ้ากลายเป็น นํ้าแข็ง ซึ่งมันจะเพิ่มปริมาณและระเบิด แต่ก็ ต้องรอจนถึงฤดูหนาว ความ ‘ลำ�บาก’ ต่างๆ เหล่านี้ของอาชีพ ช่างฝีมือ เป็นเหตุผลหนึ่งที่เมื่อเกิดการปฏิวัติ อุตสาหกรรม ทำ�ให้คนทั่วไปไม่อยากเป็นช่าง และเลือกอพยพเข้าเมืองมาทำ�งานในโรงงาน อุตสาหกรรม เมือ่ มีชา่ งฝีมอื มากๆ เข้า จึงเกิดการรวมตัวกัน เพื่อพิทักษ์ผลประโยชน์ของคนบางกลุ่ม สมาคม ช่างฝีมอื (Craft Guilds) เกิดขึน้ ในยุโรปตัง้ แต่ราว ค.ศ. 1250-1850 หมายถึงสมาคมทีเ่ ป็นการรวมตัว ของช่างฝีมือแขนงต่างๆ เช่น สมาคมช่างทอง สมาคมช่างเหล็ก และในบางครั้งก็มีผู้ค้าส่งหรือ ค้าปลีกที่ทำ�งานกับช่างฝีมือแขนงนั้นๆ เข้าร่วม สมาคมด้วย จุดประสงค์ที่ก่อตั้งสมาคมช่างฝีมือต่างๆ ขึ้นมา ก็เพื่อให้สมาคมมีอำ�นาจเบ็ดเสร็จเหนือ


ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับอาชีพนั้นๆ เพื่อควบคุม ปริมาณและคุณภาพของสินค้าที่ผลิตออกขาย แต่ข้อเสียก็คือ ทำ�ให้ไม่เกิดการแข่งขันแบบเสรี ไม่ มี ก ารพั ฒ นาคุ ณ ภาพผลิ ต ภั ณ ฑ์ เ ท่ า ที่ ค วร สมาคมแบบนี้มีอยู่ทั่วไปแทบทุกเมืองในยุโรป ตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 16 การแทรกแซง ของรัฐเพื่อล้มล้างการผูกขาดอำ�นาจดังกล่าว ทำ�ให้สมาคมช่างฝีมือทั้งหลายต่างค่อยๆ เสื่อม อำ�นาจลง ปฏิวัติอุตสาหกรรม ปฏิวตั สิ งั คมช่างฝีมอื การปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) ทีเ่ ริม่ ต้นในสหราชอาณาจักรในศตวรรษที่ 18 ราว ค.ศ.1750 คือจุดเปลีย่ นจาก ‘สังคมเกษตรกรรม’ และ ‘สังคมช่างฝีมอื ’ สูร่ ะบบเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สัญลักษณ์แห่งยุคคือ ‘เครื่องจักร’ เป็นกระบวนการ ทีเ่ ปลีย่ นวิธที �ำ งานและวิธผี ลิตสินค้าไปโดยสิน้ เชิง อีกทั้งยังส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ คนจากภาคเกษตรและคนทีเ่ คยเป็นลูกศิษย์ ของช่างฝีมอื กลับย้ายเข้าเมืองมาเป็นสาวโรงงาน และหนุ่มโรงงาน ค่าจ้างที่ได้นั้นดีกว่าการทำ�นา ทำ�ไร่และนั่งหลังขดหลังแข็งเย็บรองเท้าหนึ่งคู่ หรื อ ทำ � ขวานสั ก เล่ ม แต่ สิ่ ง ที่ ข าดหายไปคื อ ‘ความภูมิใจในงาน’ ที่โรงงานอุตสาหกรรม ไม่มี

การฝึกงานนานนับปีกบั ช่างฝีมอื แต่มซี เู ปอร์ไวเซอร์ คอยสอนให้ ‘เป็นงาน’ ให้เร็วทีส่ ุดและส่งไปทำ� ในแผนกต่างๆ อาชีพช่างฝีมือ มีคนทำ�น้อยลงๆ ทุกที อาชีพใหม่ที่เกิดขึ้นได้แก่ วิศวกร นักออกแบบ และคนงาน การปฏิวัติอุตสาหกรรม ที่ทำ�ผลิตภัณฑ์ เหมือนกันเป๊ะได้คราวละมากๆ ยิง่ เป็นตัวเร่งเครือ่ ง ให้ ส มาคมช่ า งฝี มื อ และอาชี พ ช่ า งฝี มื อ หมด ความสำ�คัญ เกิดเป็นบริษทั ต่างๆ ขึน้ แทน จนใน ทีส่ ดุ สมาคมช่างฝีมอื ก็หายไปจากหลายประเทศ ในยุโรป เริ่มจากฝรั่งเศส (ค.ศ.1791) อังกฤษ (ค.ศ.1835) สเปน (ค.ศ.1840) ออสเตรียและ เยอรมนี (ค.ศ.1860) และอิตาลี (ค.ศ. 1864) เมือ่ สมาคมช่างฝีมอื ‘ล่ม’ ไป ก็เท่ากับการ สิ้นสุดของยุคที่ช่างฝีมือเป็นกระดูกสันหลังของ ระบบเศรษฐกิจ กระดูกสันหลังชิน้ นัน้ กลายร่างเป็นเครือ่ งจักร และโรงงานแทน กรรมวิธกี ารผลิตทีไ่ ด้มาตรฐานและ รวดเร็ว แม้จะได้ของที่ ‘สวย’ น้อยกว่าผลิตภัณฑ์ ของช่างฝีมอื แต่เป็นสิง่ ที่ ‘ตอบโจทย์’ สภาพสังคม ยุโรปในสมัยนัน้ ทีต่ อ้ งการของคุณภาพเหมือนกัน ครั้งละมากๆ ในราคาที่ไม่แพงเกินไป ในยุคช่างฝีมอื คนหนึง่ คนจะรูว้ ธิ ที �ำ ของอะไร บางอย่างตั้งแต่ต้นจนจบ แต่ในยุคการปฏิวัติ CREATIVE THAILAND I 16

อุตสาหกรรม คนงานไม่จำ�เป็นต้องรู้วิธีผลิตของ ชิ้ น หนึ่ ง ตั้ ง แต่ ต้ น จนจบ รู้ แ ค่ ห นึ่ ง ขั้ น ตอนใน กระบวนการผลิต แล้วทำ�ซํ้าๆ ไปเรื่อยๆ ทั้งวัน จนชำ�นิช�ำ นาญ เพราะขัน้ ตอนอืน่ ๆ ก็จะมีคนงาน ส่วนอื่นคอยทำ� สำ�หรับช่างฝีมอื ความภาคภูมใิ จและชือ่ เสียง ทีล่ กู ค้าจะบอกกันปากต่อปาก มาจากฝีมอื ล้วนๆ ทัศนคติแบบนีถ้ กู ส่งผ่านจากรุน่ สูร่ นุ่ จากช่างฝีมอื อาวุ โ สสู่ ลู ก ศิ ษ ย์ แต่ ใ นโรงงานอุ ต สาหกรรม คนหนึง่ คนไม่จ�ำ เป็นต้อง “ทำ�ได้ทง้ั หมด” และอาจ ไม่รดู้ ว้ ยซํา้ ว่าผลิตภัณฑ์ขนั้ สุดท้ายจะเป็นอย่างไร เพียงทำ�ส่วนของตัวเองให้เรียบร้อยและเร็วทีส่ ดุ เป็นพอ มีการตรวจสอบคุณภาพตามมาตรฐานโรงงาน แต่ไม่ใช่ในลักษณะการสอนงานของช่างฝีมือ จอห์น พี. ราฟเฟอร์ตี (John P. Rafferty) วิเคราะห์ไว้ในบทความชื่อ The Rise of the Machines: Pros and Cons of the Industrial Revolution ว่าการปฏิวัติอุตสาหกรรมมีราคาที่ ต้องจ่าย ข้อดีทเี่ ห็นชัดๆ จากการปฏิวตั อิ ตุ สาหกรรม คือ สินค้าราคาถูกลงและมีมากพอให้คนซื้อได้ เพราะเครือ่ งจักรผลิตข้าวของจำ�เป็นอย่างรองเท้า เสื้อผ้า ของใช้ในบ้าน และเครื่องมือทำ�มาหากิน ได้เร็วกว่าและราคาต่อหน่วยถูกกว่าผลิตด้วยมือ และมีมากพอให้ทุกคนหาซื้อได้ ทำ�ให้คุณภาพ


The Art and Craft Movement การเคลื่อนไหวที่ทำ�ให้ช่างฝีมือ ยังไม่ถกู ลบไปจากหน้าประวัตศิ าสตร์ เมือ่ ความเป็นช่างฝีมอื ถูกทำ�ให้ลม่ สลายด้วยการ ปฏิวัติอุตสาหกรรม ก็มีคนกลุ่มหนึ่งที่ลุกขึ้นสู้ เพื่อรักษามันไว้ The Arts and Crafts Movement เกิดขึน้ ใน สหราชอาณาจักร (ประเทศเดียวกับที่การปฏิวัติ อุตสาหกรรมเริม่ ต้นนัน่ เอง) ในช่วงค.ศ.1860 - 1920 โดยส่ ง ผลกระทบข้ า มนํ้ า ข้ า มทะเลไปไกลถึ ง สหรัฐอเมริกาด้วย ผู้ริเริ่มการเคลื่อนไหวที่เรียกว่า The Arts and Crafts Movement นี้ก็คือเหล่านักวิจารณ์ ตัวเอ้ของการปฏิวัติอุตสาหกรรม หนึ่งในนั้นคือ วิลเลียม มอร์ริส (William Morris) และพวกเขา ไม่ชอบทิศทางสังคมในยุคนัน้ (ศตวรรษที่ 19) ที่ ‘อะไรๆ ก็เครือ่ งจักร’ ตัง้ แต่การผลิตอาหาร เสือ้ ผ้า เครือ่ งแต่งกาย ไปจนถึงการคมนาคม แต่อยาก หวนกลับไปสู่วิถีชีวิตที่เรียบง่ายและให้ค่ากับการ ใช้วัสดุคุณภาพสูงและการออกแบบที่คำ�นึงถึง วัตถุประสงค์การใช้งาน มอร์ริสเป็นเจ้าของร้านงานศิลปะ ที่คิดจะ ฟื้นฟูงานฝีมือในยุคที่เครื่องจักรรุ่งเรือง มอร์ริส

ชืน่ ชอบความคิดของจอห์น รัสกิน (John Ruskin) นักวิจารณ์งานศิลป์ที่เชื่อว่า ความงามของศิลปะ ยุคกลางนั้นเป็นความภาคภูมิใจล้นเหลือของ บรรดาศิลปินและช่างฝีมือที่มีความเชี่ยวชาญ เฉพาะด้าน ร้านของมอร์รสิ ผลิตงานหลากหลายประเภท ทัง้ หมดเป็นงานทำ�ด้วยมือ ตัง้ แต่ผา้ ทอ หนังสือ กระดาษปิดฝาผนัง เครือ่ งเรือน ในยุคที่อะไรๆ ก็ ผลิตโดยเครื่องจักร การมีจุดขายเป็นของทำ�มือ ที่ราคาค่อนข้างสูง ทำ�ให้ร้านของมอร์ริสได้รับ ความนิยมมากในหมูค่ นรํา่ รวย การกระทำ�ของมอร์ริสเป็นแรงบันดาลใจให้ ช่างฝีมือและครูบาอาจารย์ด้านงานศิลป์ที่ยังพอ หลงเหลือ ตั้งสมาคมขึ้นมาใหม่ใน ค.ศ.1884 เรียกว่า The Artworkers Guild โดยมีจุดประสงค์ เพื่อสนับสนุนการร่วมมือระหว่างคนทำ�งานฝีมือ ทุกแขนง และเป็นแรงบันดาลใจต่อมาให้เกิด การเคลื่อนไหวรูปแบบต่างๆ ทางศิลปะ ได้แก่ Art Nouveau Art Deco และได้ชื่อว่าเป็น ต้ น กำ � เนิ ด ของแนวศิ ล ปะแบบมิ นิ มั ล ลิ ส ม์ (Minimalism) ที่ส่งผลต่องานศิลปะหลากหลาย แขนงในปัจจุบัน ทั้งสถาปัตยกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม และศิลปะประยุกต์อื่นๆ

Art Nouveau Furniture: Desk and Chair by Hector Guimard CREATIVE THAILAND I 17

wikipedia.org

ชีวติ ดีขนึ้ อีกทัง้ ทำ�ให้นวัตกรรมทีช่ ว่ ยผ่อนแรงคน เกิดการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด มีถนนสมัยใหม่ รถไฟ โทรเลข โทรศัพท์ การสือ่ สารทีด่ ขี นึ้ นีม้ สี ว่ น ช่วยพลิกโฉมหน้าผลิตภัณฑ์อื่นๆ อย่างอุปกรณ์ ทีช่ ว่ ยในการเก็บเกีย่ ว การผลิตพลังงาน เกิดการ พัฒนาอย่างก้าวกระโดดทางการแพทย์ การปฏิวตั ิ อุตสาหกรรมทำ�ให้เครื่องมือทางการแพทย์ เช่น มีดผ่าตัด เลนส์กล้องจุลทรรศน์ หลอดทดลอง ฯลฯ ผลิตได้เร็วขึ้นและราคาถูกลง การสื่อสารที่ พัฒนาขึ้นก็ทำ�ให้บรรดาหมอและบุคลากรทาง การแพทย์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลเกี่ยวกับวิธี รักษาโรคได้เร็วและดีขึ้น ปรากฏการณ์อีกข้อที่เกิดจากการปฏิวัติ อุตสาหกรรมคือ ทำ�ให้เกิดผูเ้ ชีย่ วชาญเฉพาะทาง คนงานถูกฝึกให้ทำ�งานเฉพาะอย่าง เพื่อให้เกิด ประสิทธิภาพสูงสุดในการผลิต เช่น คนกลุม่ หนึง่ อาจ รับผิดชอบเฉพาะการขนส่งวัตถุดิบ อีกกลุ่มหนึ่ง ทำ�งานกับเครือ่ งจักร A อีกกลุม่ ควบคุมเครือ่ งจักร B สิง่ ทีต่ ามมาคือ เกิดอาชีพผูฝ้ กึ สอนหรือผูเ้ ชีย่ วชาญ ที่จะต้องส่งต่อทักษะแก่คนงานรุ่นใหม่ไปเรื่อยๆ และเกิดอาชีพที่รองรับความต้องการด้านต่างๆ ต่อไปอีก เช่น แพทย์เฉพาะทาง นักกฎหมาย การมีเครื่องจักรและโรงงานใหม่ๆ ย่อม หมายถึงมีงานให้ทำ�มากขึ้น ในยุคก่อน ความ รํ่ารวยขึ้นอยู่กับว่าเป็นเจ้าของที่ดินกว้างแค่ไหน แต่ในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม คนธรรมดาที่ไม่มี ทีด่ นิ เป็นของตัวเองก็มสี ทิ ธิล์ มื ตาอ้าปากจากการ ทำ�งานในโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เพราะ งานเหล่านี้ทำ�รายได้ดีกว่างานกสิกรรม เมื่อมีเงินเหลือเก็บ คนทั่วไปก็เริ่มลงทุนทำ� กิจการเพื่อความก้าวหน้าของตนเอง เกิดชนชัน้ กลาง ที่เริ่มมีอำ�นาจซื้อและมีสิทธิ์มีเสียง จนในยุค ต่อๆ มานำ�ไปสู่การแก้ไขกฎหมายบางอย่างที่ ทำ�ให้เหมาะสมกับสภาพสังคมมากขึ้นกว่ายุคที่ ผู้เป็นใหญ่คือเจ้าของที่ดิน อย่างไรก็ตาม ‘ข้อดี’ ต่างๆ เหล่านีแ้ ลกมาด้วย ต้นทุนทางสังคมหลายอย่าง ทั้งปัญหาประชากร แออัดในเมืองใหญ่ มลภาวะ ค่าครองชีพที่ถีบตัว สูงขึน้ และแลกมาด้วยอาชีพช่างฝีมอื โบราณทีแ่ ทบจะ เรียกได้วา่ สูญไปเลย เพราะคนไม่อยากใช้เวลานาน นับปีไปเรียนวิชาจากช่าง สูเ้ ข้าเมืองมาทำ�งานใน โรงงานดีกว่า


starbucksreserve.com

การปรับตัวร่วมกันของช่างฝีมือ และโรงงานอุตสาหกรรม การออกแบบเชิงอุตสาหกรรม (Industrial Design) ถือได้ว่าเป็นผลผลิตของการปฏิวัติอุตสาหกรรม เป็นยุคที่ช่างฝีมอื แบบเก่า ‘แพ้’ โรงงานอุตสาหกรรม ทุกอย่าง ตัง้ แต่การออกแบบจนถึงการขาย เทคโนโลยี เริ่มมีบทบาททั้งในขั้นตอนการออกแบบและผลิต งานของศิลปิน สถาปนิก ช่างฝีมือ นักประดิษฐ์ วิศวกร ช่างเทคนิค การเคลื่อนไหว The Arts and Crafts Movement ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำ�ให้ผู้คนหันมา ตระหนักว่า เราเคยมีงานฝีมอื ทีผ่ ลิตได้โดยไม่ตอ้ ง อาศัยโรงงาน และค่อยๆ ได้รบั ความนิยมมากขึน้ เรื่อยๆ ผู้บริโภคในศตวรรษที่ 20 เริ่มเบื่อหน่าย ความ ‘เหมือนกัน’ ของผลิตภัณฑ์จากโรงงาน และให้ราคากับความมีเอกลักษณ์เฉพาะและ ความเป็นต้นตำ�รับ เฉพาะผลิตภัณฑ์อาหารในสหรัฐอเมริกา มีรายงานจาก USA Today ว่า ปัจจุบนั มีกว่า 800 ผลิตภัณฑ์ที่ใช้คำ�ว่า Artisan หรือ ช่างฝีมือ เป็น ส่วนหนึ่งของข้อความโฆษณา เทียบกับเพียง 80 ผลิตภัณฑ์ที่ใช้คำ�นี้ในค.ศ. 2007 ธุรกิจใดหาวิธีจับคู่ระหว่างความพิถีพิถัน ใส่ใจแบบช่างฝีมอื และกรรมวิถกี ารผลิตทีไ่ ด้เยอะ ได้เร็วแบบโรงงานอุตสาหกรรมได้ ก็เตรียมตัว รับทรัพย์ได้เลย จึงเกิดปรากฏการณ์ทว่ี า่ ธุรกิจและ อุตสาหกรรมต่างๆ ต่างพยายามปรับภาพลักษณ์ ให้มีความเป็น ‘ช่างฝีมือ’ มากขึ้น แม้ค�ำ ว่าช่างฝีมอื มักหมายถึงผูผ้ ลิตรายย่อย แต่ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา หลักฐานที่ยืนยันว่า กระแส ‘งานฝีมือ’ กำ�ลังมาแรง คือเมื่อ ‘ผู้เล่น รายใหญ่’ (ที่อาจเคยมีภาพลักษณ์เป็นผลิตภัณฑ์ ‘อุตสาหกรรม’) ต่างปรับตัวเพื่อชิงส่วนแบ่งเค้ก ก้อนนี้ และเริม่ ใช้ค�ำ ว่าช่างฝีมอื ในผลิตภัณฑ์ตา่ งๆ ธุ ร กิ จ อาหารจานด่ ว นยั ก ษ์ ใ หญ่ อ ย่ า ง McDonald’s นำ�เสนอเบอร์เกอร์ชา่ งฝีมอื (Artisan Burger) หลากหลายรู ป แบบ เช่ น Bacon Smokehouse ที่ระบุว่า ใช้เบคอนรมควันด้วยไม้ แอปเปิล้ เสิรฟ์ กับไก่ยา่ งช่างฝีมอื (Artisan Grilled Chicken) และขนมปังช่างฝีมือ (Artisan Roll) Starbucks ก็เปิดตัว Starbucks Reserve Roastery ที่เป็นทั้งร้านกาแฟ และพื้นที่เรียนรู้กระบวนการ ทำ�กาแฟ ควบคู่ไปกับการออกรสชาติกาแฟและ กรรมวิธีการทำ�ใหม่ๆ ที่ชูจุดขายความพิเศษ

Starbucks Reserve Roastery

ต่างๆ เช่นใช้วัตถุดิบและภูมิปัญญาท้องถิ่นใน การทำ� ไม่เฉพาะอุตสาหกรรมอาหารและเครือ่ งดืม่ เว็บไซต์ค้าปลีกชื่อดัง Amazon.com เปิดตัว ‘Handmade at Amazon’ ในปี 2015 เพือ่ ท้าชน กับ Etsy เว็บไซต์อันดับหนึ่งด้านการขายงานทำ� มือโดยเฉพาะ ทัง้ เครือ่ งประดับ เครือ่ งเขียน และ ข้าวของเครื่องใช้กระจุกกระจิก Target แบรนด์ ห้างสรรพสินค้าสัญชาติสหรัฐฯ จับมือกับช่างฝีมอื ท้องถิน่ เพือ่ วางจำ�หน่ายผลิตภัณฑ์จากผูผ้ ลิตรายย่อย ทั้งเสื้อผ้า ผลิตภัณฑ์ความงาม ของแต่งบ้าน เครื่องประดับ อาหาร ผลิตภัณฑ์กีฬาและการ ดูแลสุขภาพ ร้านผลิตภัณฑ์ความงาม Sephora จำ�หน่ายเครื่องสำ�อางที่ผลิตโดยช่างฝีมือร่วมกับ นักออกแบบชั้นนำ� เป็นต้น แต่เหนือสิ่งอื่นใด สิ่งที่ยืนยันว่า กระแส งานฝี มื อ ไม่ มี วั น ตาย คื อ ปรากฎการณ์ ที่ ค น ตัวเล็กๆ ลาออกจากงานประจำ� มาผลิตและ ขายงานฝีมือที่ตัวเองถนัด จนลืมตาอ้าปากได้ คนกลุ่มนี้มีจำ�นวนมากขึ้นเรื่อยๆ ทั่วโลก โดย เฉพาะอย่างยิง่ ในยุคทีใ่ ครๆ ก็อยากเป็นนายตัวเอง นี่ไม่ต่างอะไรกับเมื่อ 400-500 ปีก่อน ที่ช่างฝีมือ ผลิต ขายงาน และยึดเป็นอาชีพได้โดยไม่ตอ้ งพึง่ เงินเดือนจากโรงงาน ช่างฝีมือสมัยใหม่บางส่วนรู้จักใช้ปัจจัยที่ มาพร้อมยุคสมัย สร้างความเข้มแข็งให้แก่อาชีพ ช่างฝีมือ ช่างทำ�ของเล่นชาวอิตาลี เดวิด คลีเมนโตนี (David Clementoni) ผูเ้ ป็นรุน่ ทีส่ ามของตระกูล CREATIVE THAILAND I 18

ช่างฝีมือผลิตของเล่นเด็ก ก่อตั้ง Italian Artisan เครือข่ายออนไลน์ทท่ี �ำ ให้ลกู ค้ากับช่างฝีมอื ได้เจอกัน โดยลูกค้าไม่ต้องเปลืองค่าเครื่องบินและพลิก แผ่นดินหาผู้ผลิตที่ต้องการ ผู้ผลิตก็ไม่ต้องวิ่งหา ลูกค้าหรือกังวลว่าผลิตของแล้วจะขายไม่ออก วิ ธี ก ารของเขาคื อ ช่ า งฝี มื อ ชาวอิ ต าลี อัพโหลดผลงานของตนเองขึ้นบนเว็บไซต์ ลูกค้า (ซึง่ อาจเป็นได้ทง้ั ลูกค้ารายย่อยหรือบริษทั ค้าปลีก) เลือกดูประวัติและสินค้าของช่าง แล้วติดต่อ กันเอง ปัจจุบันมีช่างฝีมือ 278 คนในเครือข่าย ผลิตสินค้ามากถึง 3,154 แบบ คลีเมนโตนีสร้างเครือข่ายนี้ขึ้นมาเพราะ ตระหนักว่า อิตาลีมมี รดกทางวัฒนธรรมช่างฝีมือที่ แข็งแกร่ง ธุรกิจขนาดเล็กที่ช่างฝีมอื เป็นเจ้าของนัน้ เป็นเส้นเลือดของประเทศมาช้านานแล้ว ช่างฝีมอื ชาวอิตาลีต่างภูมิใจกับเทคนิคการผลิตที่ส่งต่อ กันมาในตระกูล คุณสมบัติที่จะทำ�ให้นักออกแบบ ยังมีงานทำ� คือต้องมีความเป็นช่างฝีมอื จัสติน แมคเกิร์ก (Justin McGuirk) นักวิจารณ์ งานออกแบบ วิเคราะห์ไว้ในบทความปี 2011 ของหนังสือพิมพ์ The Guardian ว่า อาชีพ ‘นักออกแบบ’ (Designer) ถูกแยกออกมาเด่นชัด ในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม (คือเป็นคนออกแบบ วิธีการทำ�งานและหน้าตาผลิตภัณฑ์ ให้คนงาน ทำ�งานกับเครื่องจักรเพื่อผลิตของออกมาเป็น ร้อยๆ พันๆ ชิ้น โดยไม่ต้องลงมือผลิตของเอง) เขายังระบุว่า การบริโภคปริมาณมหาศาลของ


kinto.co.jp artecnica.com

Kinto

Artecnica

ศตวรรษที่ 20 นั้นได้รับการตอบสนองด้วยพลัง ของระบบการผลิตแบบอุตสาหกรรม แต่ในปี 2017 อูเดย์ กาเจนดาร์ (Uday Gajendar) นักออกแบบและนักเขียน ระบุว่า ในยุ ค ที่ เ ทคโนโลยี มี บ ทบาทกั บ งานออกแบบ อุตสาหกรรมอย่างยิง่ (เช่น เครือ่ งตัดแบบเลเซอร์ ดิจทิ ลั พรินต์ตงิ้ และปัญญาประดิษฐ์ “คุณสมบัติ ที่จะทำ�ให้นักออกแบบยังมีงานทำ� คือต้องมี ความเป็นช่างฝีมือ” เช่นเดียวกับช่างฝีมือสมัยเก่า นักออกแบบ ผลิตภัณฑ์ในปัจจุบันควรต้องรู้วิธีผลิตตั้งแต่ต้น จนจบ และทุ่มสรรพกำ�ลังไปกับทุกรายละเอียด ของผลิ ต ภั ณ ฑ์ เครื่ อ งไม้ เ ครื่ อ งมื อ สมั ย ใหม่ ยิ่ ง ทำ � ให้ ก ารออกแบบสิ น ค้ า อุ ต สาหกรรมมี ลักษณะพิเศษต่างๆ เป็นเรื่องที่ทำ�ได้ง่ายขึ้น เรื่อยๆ

นักออกแบบผลิตภัณฑ์ยคุ ใหม่จงึ ต้องแข่งกัน ออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ ‘สื่อสาร’ กับผู้บริโภค เพื่อ ให้ได้ผลิตภัณฑ์ทพี่ ดู ได้เต็มปากว่าเป็นผลิตภัณฑ์ ที่ออกแบบมาอย่างดีและถี่ถ้วน (Well-crafted product) ไม่ใช่เป็นเพียงผลิตภัณฑ์ (Product) เฉยๆ ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ที่ ‘ออกแบบมาอย่างดี’ และคิดแทนผู้บริโภคมาหลายชั้น เช่น แบรนด์ Kinto ผู้ผลิตกระบอกนํ้าและภาชนะสำ�หรับโต๊ะ อาหารสัญชาติญี่ปุ่น กระติกนํ้าและแก้วกาแฟ ยี่ ห้ อ นี้ อ อกแบบโดยคำ � นึ ง ถึ ง สรี ร ะมนุ ษ ย์ แ ละ ท่ ว งท่ า ขณะใช้ ข องเหล่ า นั้ น (เช่ น การถื อ การรินนํ้า การดื่มนํ้าจากภาชนะ) เพื่อให้ตรงใจ ผู้บริโภคมากที่สุด แก้วนํ้าแบบพกพาออกแบบ ให้มีฝาปิดแต่ดื่มสะดวก และมีแก้วแบบรักษา อุณหภูมิ แก้วกันแตก กระติกนํ้าสำ�หรับคน ออกกำ�ลังกายออกแบบให้เบาและถือง่าย เปิดฝา ได้โดยไม่ตอ้ งแยกชิน้ ส่วน มีชอ่ งสำ�หรับใส่นาํ้ แข็ง เพิ่มและวัดปริมาณเครื่องดื่มในกระติก มีสาย คล้องไว้ให้ติดกับชุดออกกำ�ลังกาย ฯลฯ ยูนิโคล่ (Uniqlo) เป็นอีกแบรนด์จากญี่ปุ่น ที่ใส่ความเป็นช่างฝีมือลงไปในสินค้าที่เคยเป็น เส้นเลือดของการผลิตระบบอุตสาหกรรมอย่าง เสือ้ ผ้า โดยยูนโิ คล่กบั บริษทั โทเร (Toray) ร่วมกัน คิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีที่เพิ่มรายละเอียด ต่างๆ ให้เสื้อผ้า กลายเป็นเสื้อผ้าสำ�หรับสวมใส่ ทุกวันทีต่ อบโจทย์วถิ ชี วี ติ ผูบ้ ริโภคมากทีส่ ดุ ในโลก เช่น ผ้ารุ่น Heattech, AIRism, Dry-Ex และ Ultra Light Down ที่คำ�นึงถึงรายละเอียดระดับ โมเลกุลและอุณหภูมิร่างกายของผู้สวมใส่ Artecnica เป็นบริษัทออกแบบของตกแต่ง บ้านและโคมไฟสัญชาติสหรัฐฯ ผลิตภัณฑ์ของ ทีน่ ี่ นอกจากเป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อม ใช้วสั ดุทนี่ �ำ กลับมาใช้ใหม่ได้ และจัดส่งไปทั่วโลกโดยใช้ บรรจุ ภั ณ ฑ์ ที่ ก่ อ ให้ เ กิ ด ก๊ า ซเรื อ นกระจกน้ อ ย ที่สุดแล้ว จุดเด่นของ Artecnica ยังเป็นการ ร่ ว มมื อ กั บ ชุ ม ชนช่ า งฝี มื อ ต่ า งๆ ในประเทศ กำ�ลังพัฒนา เพื่อผลิตของที่มีเอกลักษณ์และ ความสวยงามเฉพาะถิ่น โดยไม่เลือกเชื้อชาติ วั ฒ นธรรม หรื อ ศาสนา เพราะต้ อ งการให้ งานออกแบบอุตสาหกรรมช่วยมอบโอกาสและ การเปลี่ยนแปลงโลกให้ดีขึ้น อีกตัวอย่างของการจับมือกันระหว่างภาค อุตสาหกรรมกับงานฝีมอื ในปัจจุบนั คือ ZenZulu บริษัทค้าส่งและค้าปลีกที่เน้นผลิตและจำ�หน่าย CREATIVE THAILAND I 19

งานทำ�มือของท้องถิน่ ต่างๆ ในประเทศแอฟริกาใต้ ที่ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย มิใช่เพียงเพื่อการ ประดับตกแต่งอย่างเดียว โครงการแรกๆ ของ มาริสา ฟิก-จอร์ดานน์ (Marisa Fick-Jordaan) นักออกแบบทีเ่ ป็นผูก้ อ่ ตัง้ ZenZulu คือการสอนให้ ช่ า งฝี มื อ จั ก สานท้ อ งถิ่ น ที่ เ ชี่ ย วชาญการสาน ตะกร้า ได้ลองใช้เทคนิคการสานตะกร้านีก้ บั การ สานสายโทรศัพท์ ให้เป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น ชาม แจกัน เครื่องประดับ และเครื่องแขวน คริสต์มาส โดยชูจุดเด่นคือใช้ลายแบบท้องถิ่น เป็นการสร้างงานสร้างอาชีพแก่ผู้หญิงพื้นเมือง ที่ไม่มีรายได้ การที่งานฝีมือได้รับความนิยมเรื่อยมาและ ไม่มีทีท่าว่าจะตกเทรนด์ตั้งแต่การเคลื่อนไหว The Arts and Crafts Movement (ค.ศ.1860-1920) เป็ น ต้ น มาจนวั น นี้ อาจมี เ หตุ ผ ลหลายอย่ า ง ประกอบกัน เช่นว่า ใครๆ ก็ชนื่ ชอบคุณภาพ และ การทำ�งานของช่างฝีมอื ทีส่ งั่ สมความรูแ้ ละทักษะ ต่อๆ กันมาจากรุ่นสู่รุ่น ย่อมอุดรูรั่วข้อผิดพลาด จนได้ของคุณภาพดีทสี่ ดุ อีกทัง้ ราคาของงานฝีมอื ในปัจจุบันยังมีทุกระดับ ทั้งแพงจนเอื้อมไม่ถึง และระดับที่คนส่วนใหญ่ซื้อได้ ในแง่การตลาดที่ พยายาม ‘มอบประสบการณ์เฉพาะ’ แก่ผบู้ ริโภค งานฝี มื อ ก็ ยิ่ ง ตอบโจทย์ เพราะมี เ รื่ อ งราวที่ นำ � เสนอได้ ทั้ ง เรื่ อ งราวประวั ติ ข องช่ า งฝี มื อ สถานที่และวิธีที่ของชิ้นนั้นถูกผลิตขึ้น เมื่องานฝีมือยัง ‘สื่อสารและเชื่อมต่อ’ กับ ผู้บริโภค มันจึงช่วยยํ้าเตือนว่า นิ้วมือมนุษย์ ทำ�อะไรได้มากกว่าแค่กดปุ่มควบคุมเครื่องจักร แต่สร้างสรรค์ของสวยงามทีม่ คี ณุ ค่าทางใจ ซึง่ ทำ� หน้าที่เป็นประตูที่เชื่อมต่อเรากับอารยธรรมและ คนรุ่ น ก่ อ น อย่ า งที่ ผ ลิ ต ภั ณ ฑ์ ห น้ า ตาพิ ม พ์ เดียวกันเป็นร้อยๆ ชิ้นจากโรงงานอุตสาหกรรม ไม่มีทางให้ได้เลย ทีม่ า: บทความ “Back To Craftsmanship: Lessons from the Arts and Crafts Movement” โดย Laetitia Vitaud จาก medium.com / บทความ “5 Reasons Craftsmanship Is Making A Return” โดย Terri Alpert จาก youngupstarts.com / บทความ “Italian Artisan”, “the network that brings together designers, brands and retailers” โดย (ไม่ปรากฏชือ่ ผู้เขียน) จาก italianshoes.com / บทความ “The Rise of the Machines: Pros and Cons of the Industrial Revolution” โดย John P. Rafferty จาก britannica.com / บทความ “Industrial Revolution” โดย The Editors of Encyclopaedia Britannica จาก britannica.com / zenzulu.co.za / florencewebguide.com/ florence-leather-school.html / artecnica.com


Insight : อินไซต์

สินค้าไร้วิญญาณ หรือจะสู้งานจากฝีมือ เรื่อง : วนบุษป์ ยุพเกษตร

สินค้านานาชนิดออกวางขายในรูปร่างหน้าตาแบบเดียวกันเปี๊ยบ พ่อค้าแม่ค้า รายใหม่ทเี่ ลือกกลยุทธ์แบบซือ้ มาขายไปผุดขึน้ ราวกับดอกเห็ด แต่ละรายหยิบของ ชนิดเดียวกันมาจำ�หน่าย สินค้าขายดี ต้นทุนถูก มักจะเป็นตัวเลือกแรกๆ ในการ ตัดสินใจรับมาขายต่อ แต่นั่นคือคำ�ตอบของธุรกิจยุคใหม่จริงหรือ

CREATIVE THAILAND I 20

Photo by Dane Deaner on Unsplash

เมื่อของส่วนใหญ่ที่มีอยู่ในท้องตลาด ทั้งตลาดนัด ร้านขายของราคาเดียว หรือมาร์เก็ตเพลสออนไลน์ ไม่ได้แข่งกันทีก่ ารออกแบบหรือการใส่ไอเดียความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดความแตกต่าง ราคาจึงกลายเป็น ตัวชีข้ าดชนิดทีว่ า่ ใครขายถูกทีส่ ดุ คนนัน้ ได้ลกู ค้าไป วัฏจักรการซือ้ ขายแบบนีป้ ดิ กัน้ โอกาสของผูบ้ ริโภค ให้เห็นแต่ของเดิมๆ ซํา้ ๆ เป็นของทีม่ าจากแหล่งผลิตเดียวกัน ส่วนใหญ่เป็นผลผลิตจากเครือ่ งจักรและ วัตถุดิบราคาถูก จนอาจลืมไปว่า ‘สองมือของเราก็สร้างชิ้นงานได้เช่นเดียวกัน’ อาจจะช้าหน่อย แต่ก็ เปี่ยมไปด้วยคุณค่าเหลือหลาย


จุดพลิกผันของงานทำ�มือ ย้อนกลับไปช่วงก่อนปฏิวตั อิ ตุ สาหกรรม1 ยุคสมัย ที่ผู้คนยังผลิตสิ่งต่างๆ ด้วยมือ ข้าวของทุกชิ้น ต้องใช้เวลาและแรงงานอย่างค่อยเป็นค่อยไป เมื่อมีเครื่องจักรเข้ามาแทนที่แรงงานคนในช่วง คริ ส ต์ ศ ตวรรษที่ 18 นั บ แต่ นั้ น เป็ น ต้ น มา เครื่ อ งจั ก รได้ เ ปลี่ ย นวิ ถี ก ารผลิ ต งานฝี มื อ ไป ตลอดกาล เกิดโรงงานอุตสาหกรรมขึ้นมากมาย สินค้าจากโรงงานทีผ่ ลิตสินค้าได้ครัง้ ละมหาศาล ราคายิ่งถูกลง สวนทางกับงานฝีมือที่ต้องรอคอย การประดิดประดอย จึงมีราคาต่อหน่วยทีส่ งู กว่า เครื่องจักรผลิตของได้มากชิ้นกว่าในเวลาที่ น้อยกว่ามากๆ จึงไม่แปลกที่สินค้าจากโรงงาน กลายเป็นที่นิยมมากกว่าในหมู่ผู้ประกอบการทั้ง มือใหม่และเก่า ยกตัวอย่างเทียบง่ายๆ ให้เห็นภาพ กระเป๋าสานมือกับกระเป๋าแฟชั่น ไม่จำ�เป็นต้อง จับเวลาก็รทู้ นั ทีวา่ แบบไหนจะเสร็จก่อนกัน ยิง่ เมือ่ ผู้คนบริโภคด้วยความเร็วที่มากขึ้น เราเปลี่ยน ข้ า วของเครื่ อ งใช้ ใ นรอบการใช้ ง านที่ เ ร็ ว ขึ้ น เพราะไม่ได้ขึ้นอยู่กับอายุการใช้งานอีกต่อไป สังคมของการผลิตสิง่ ต่างๆ ด้วยมือจึงเริม่ ถดถอย และมีเครื่องจักรไร้ชีวิตพลังสูงเข้ามาแทนที่ เส้นทางธุรกิจของ ‘หน้าใหม่’ ดูเหมือนนอกจากเส้นทางพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ ยุคใหม่ที่เน้นการซื้อมาขายไป และทำ�ธุรกิจบน การแข่งขันเรื่องโปรโมชันแล้ว อีกทางเลือกหนึ่ง หากใครพอจะมีทักษะฝีมือและรู้ตัวเองว่าชอบ อะไรหรือถนัดสิง่ ไหน ก็คงไม่ยากทีจ่ ะเริม่ จับทาง ธุรกิจงานฝีมือได้ “ไอเดียอาจสำ�คัญ แต่หากไม่ ลงมือทำ�ก็เป็นได้แค่ความคิด” กลุ่มคนเหล่านี้ เลือกเส้นทางการทำ�ธุรกิจจากความต่าง ไม่ก้าว เข้าสูส่ มรภูมขิ องหน้าตาเหมือนกัน แต่ตอ้ งหํา้ หัน่ ด้วยราคา แต่พวกเขาเลือกจะคิด ผลิต และ (อาจจะ) ขายเองด้วยซํ้า ตลาดที่รองรับงานฝีมือในวันนี้ก็มีไม่น้อย การสร้างคอนเนคชันไว้มากๆ นัน้ เป็นผลดีกบั ธุรกิจ ในอนาคตอย่างแน่นอน เจ้าของงานสามารถ

ส่งออกสินค้าไปยังช่องทางร้านค้าปลีกมากมายที่ ปัจจุบันให้ความสนใจกับการเปิดพื้นที่จำ�หน่าย งานฝีมืออย่างจริงจัง หรือแม้แต่การออกร้าน ขายเองตามตลาด งานแฟร์ หรือแม้แต่โลก ออนไลน์ที่มีตลาดเฉพาะกลุ่ม ส่วนการพัฒนา ฝีมอื และทักษะก็เป็นเรือ่ งสำ�คัญ เพราะสิง่ เหล่านี้ อาจไม่อยู่ไปตลอด หากเราไม่หมั่นฝึกฝนอยู่ สมํ่าเสมอ ทุกวันนี้มีพื้นที่ให้ลงมือทำ�และทดลอง ต้นแบบอย่างที่เรียกว่า Maker Space มากมาย รองรับเหล่าผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่รักจะใช้ฝีมือ เครื่องมือเครื่องไม้ครบครัน พร้อมสำ�หรับการ ลงมือคุย คิด และทำ� ซึง่ น่าจะเป็นเส้นทางทีย่ งั่ ยืน กว่าการรับมาแล้วขายออกไปเพียงอย่างเดียว เอนก กุลทวีทรัพย์ เจ้าของแบรนด์เครือ่ งหนัง Labrador ทิง้ เคล็ดลับไว้ให้ส�ำ หรับการเริม่ ต้นใหม่ ว่า “วิธีที่ง่ายที่สุด คือให้ดูว่าเราอยากทำ�อะไร แบบไหน ให้ตัวเองใช้ก่อน” เวิร์กช็อปช่วยได้ เส้นทางธุรกิจของเหล่าผู้ค้าหน้าใหม่คงไม่ยาก เย็นอย่างที่คิดฝันเอาไว้ เพราะทุกวันนี้มีเส้นทาง มากมายทีป่ รู อไว้ส�ำ หรับคนทีส่ นใจในงานฝีมอื แต่ (คิดว่า)ไม่มที กั ษะ รวมถึงผูป้ ระกอบการทีม่ ที กั ษะ เด่นชัดแล้ว แต่ตอ้ งการฝึกฝนและหาไอเดียใหม่ๆ ‘เวิรก์ ช้อป’ เป็นจุดเริม่ ต้นสำ�คัญทีจ่ ะช่วยกระตุน้ ความคิดสร้างสรรค์และอาจเป็นทางที่เราจะได้ พบทักษะซ่อนเร้นในตัวเอง ว่าเราถนัดอะไรและ ต้องการประกอบธุรกิจแบบไหน เวิร์กช้อปทำ�ให้ เราได้ลงมือทำ� เกิดความชอบ และได้เรียนรูใ้ นสิง่ ที่ เราลงมือ คราวนัน้ เราอาจพบว่า การก้าวเข้าสูเ้ ส้นทาง ของผู้ประกอบการสร้างสรรค์แบบมีทักษะติดตัว ไม่ใช่เรือ่ งยากจนเกินไป อย่างทีค่ ริส แอนเดอร์สนั ภัณฑารักษ์ผจู้ ดั งาน TED Talk และผูเ้ ขียนหนังสือ เรือ่ ง Makers รวยเป็นล้าน ผลิต คิด ขายเอง (2557) ได้กล่าวไว้วา่ “เราทุกคนล้วนเป็นนักประดิษฐ์ และ เราเกิดมาเพื่อเป็นนักประดิษฐ์” Bambouinque แบรนด์เฟอร์นิเจอร์จาก ไม้ไผ่ทมี่ เี จ้าของอย่างอมรเทพ คัชชานนท์ คืออีก

หนึ่งเสียงที่พิสูจน์ว่าการเป็นผู้ประกอบการงาน ฝีมือ ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ “เราไม่จำ�เป็นต้อง ผลิตเองทุกอย่าง แต่เราต้องหาพาร์ทเนอร์ หาคน มาช่วย เพื่อให้งานมันเกิดขึ้นได้จริง” เขามัก เริ่มต้นการสร้างงานด้วยการเรียนรู้คุณสมบัติ และเทคนิคที่จะนำ�มาใช้กับวัสดุชิ้นต่างๆ ว่ามี คุณสมบัติอย่างไรบ้าง แล้วจึงนำ�มาต่อยอดทาง ธุรกิจ “จริงอยู่ที่คนเราไม่สามารถถนัดรอบด้าน แต่ถ้าเราตั้งใจ และคิดหากระบวนการทำ�งานที่ ลงตัวได้ งานสร้างสรรค์ก็เกิดขึ้นได้เช่นกัน” สองมือไม่มีวันตาย ลืมไปได้เลยเรือ่ งการไปแข่งขันราคากับผูค้ า้ รายอืน่ เพราะคำ�ตอบของงานทำ�มืออยู่ที่ ‘เอกลักษณ์ เฉพาะตัว’ ที่ไม่มใี ครเหมือน ซึง่ ช่วยขับให้ชน้ิ งานนัน้ ‘ทรงคุณค่า’ ท่ามกลางของเหมือนกันทุกชิ้นแล้ว หากมีของทำ�มือโดดเด่นขึ้นมา แน่นอนว่าสิ่งนั้น จะต้ อ งพิ เ ศษและจั บ ใจได้ อ ย่ า งไม่ มี เ งื่ อ นไข ที่สำ�คัญหากวันนี้เราไม่เริ่มที่จะลงมือสร้างสินค้า ด้วยตนเอง อนาคตอาจไม่เหลือร่องรอยของงาน ประดิษฐ์ที่สืบสานกันมา “พยายามเลือกหาด้าน ที่เราเด่น แล้วดึงมาเป็นจุดแข็งให้ได้ เราต้องรู้ ก่อนว่าตัวเองแตกต่างจากคนอืน่ อย่างไร” อีกข้อคิด หนึ่งข้อจาก Bambounique ที่ยังคงใช้ได้จริง ก้าวแรกมักยากเย็นเสมอ การหันหลังและ โบกมือลาให้สนิ ค้าจากโรงงานอุตสาหกรรมไม่ได้ แย่ไปเสียทุกอย่าง ตราบใดที่เรายังมีสองมือและ สมองทีเ่ ต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ การสานต่อ งานทำ�มือก็ไม่ได้ไกลเกินเอือ้ ม และประสบการณ์ จะบอกเราเองว่าเราสามารถทำ�อะไรได้บา้ ง อย่างที่ คริส แอนเดอร์สันให้ข้อคิดเกี่ยวกับการผลิตแบบ ดีไอวาย หรือที่เราเรียกกันง่ายๆ ว่างานฝีมือว่า “การผลิตแบบเฉพาะและผลิตแบบจำ�นวนน้อยๆ ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้อีกต่อไป จริงๆ แล้วมัน คืออนาคตด้วยซํ้า” เพื่อเป็นการตอกยํ้าว่างาน ทำ�มือไม่มีวันหมดสิ้น แถมยังทรงพลัง มีเสน่ห์ และมากคุณค่า แล้วทำ�ไมเราจะไม่อยากลงมือ บ้างล่ะ

1 ปัจจุบันอยู่ในช่วงยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 และมีทีท่าว่าต้องปฏิวัติกันอีกเพื่อสร้างวงจรอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ที่มา: หนังสือ “Makers รวยเป็นล้าน ผลิต คิด ขายเอง” เขียนโดย Chris Anderson แปลโดย วิญญู กิ่งหิรัญวัฒนา / เอกสาร “ความเป็นมาของโลกสมัยใหม่ ตอนที่ 2 : การปฏิวัติ อุตสาหกรรมครั้งที่ 1 - ปัจจุบัน” จาก human.cmu.ac.th / บทความ “ ‘คราฟต์’ แค่ไหน ถามใจดู” (สิงหาคม 2559) จาก bangkokbiznews.com / บทความ “THE MAKER & THE NEW AGE OF CRAFT เมคเกอร์ กับงานทำ� ‘มือ’ ยุคใหม่” (เมษายน 2562) จาก baanlaesuan.com CREATIVE THAILAND I 21


Creative Startup : เริ่มต้นคิด

MUMANa ARTISAN งานฝีมือโอต์ กูตูร์กับความลงตัวบนจังหวะช้าๆ เรื่อง : ปิยะพร สวัสดิ์สิงห์ ภาพ : ภีร์รา ดิษฐากรณ์

MUMANa เป็นคำ�ในภาษาไทยมาจากคำ�ว่า ‘มุมานะ’ ทีห่ มายถึงความมุง่ มัน่ อุตสาหะ เพียรพยายาม บากบัน่ หรือตัง้ ใจอย่าง เอาจริงเอาจัง ส่วนคำ�ว่า Artisan นั้นก็หมายถึงช่างฝีมือผู้มีความชำ�นาญและความรู้ในศาสตร์นั้นๆ เป็นอย่างดี เมื่อนำ� สองคำ�นี้มารวมกัน MUMANa Artisan คงชวนให้เรานึกภาพของผู้ที่ก่อตั้งสตูดิโอนี้ขึ้นมาได้แบบไม่ยากนัก คุณตา้ํ -ประยุทธ ศิรกิ ลุ เลือกใช้ชื่อ MUMANa Artisan ให้เป็นทัง้ ตัวแทนของตัวเอง ตัวแทนแบรนด์ ผลงาน สตูดโิ อทำ�งาน และโรงเรียนสอนทำ�งานฝีมอื ที่มคี วาม พิเศษอยูท่ ผ่ี ลงานอันละเอียดประณีตแบบหาตัวจับยาก ทัง้ ยังมีความตัง้ ใจที่จะ ส่งต่อความรูแ้ ละทักษะที่มเี พือ่ ผูท้ ส่ี นใจต่อไป โดยนอกจากคอลเล็กชันต่างๆ ของ แบรนด์ทเ่ี คยนำ�งานปักมาผสมผสานให้เป็นงานเครือ่ งประดับ (Jewelry) เพื่อ จัดแสดงนิทรรศการร่วมกับกลุม่ เพือ่ นๆ นักออกแบบ ทีมช่างฝีมอื ของทีน่ ก่ี ย็ งั เป็นส่วนหนึง่ ของคอลเล็กชันทรงออกแบบ ภายใต้แบรนด์ ‘SIRIVANNAVARI’ ของพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ อีกด้วย ภายในพืน้ ที่ทาวน์โฮมสีขาวสะอาด 3 ชัน้ ขนาดกำ�ลังดี บรรยากาศสบาย ย่านถนนกรุงเทพกรีฑาแห่งนี้ จึงทำ�หน้าทีเ่ ป็นทัง้ สตูดโิ อทีเ่ พิง่ เปิดทำ�การมาได้ ปีกว่า เป็นที่ทำ�งาน และโรงเรียนฝึกฝนช่างฝีมือรุ่นใหม่ที่มีความสนใจงาน คราฟต์ประเภทงานปักโดยเฉพาะ ไม่วา่ จะเป็นงานปักสำ�หรับจิลเวลรี อาร์ต งานปักสำ�หรับเสื้อผ้าโอต์ กูตูร์ ไปจนถึงการออกแบบแฟชั่นที่ส่งต่อทักษะ อันงดงามและมีคณุ ค่าในตัวเองไปสูผ่ ทู้ มี่ ใี จรักในความละเอียดละเมียดละไม ของงานฝีมือ ซึ่งค่อนข้างเฉพาะทางและหายากขึ้นทุกที ทยอยปักเส้นทางของ MUMANa Artisan จากพื้นฐานของสิ่งที่เรียน งานที่ทำ� และความสนใจของคุณตํ้า ทุกอย่าง หลอมรวมกันเป็นงานที่รัก ความรู้จากคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหาสารคาม วิชาเอกศิลปะการแสดง สาขาบัลเลต์ (รุน่ แรกของมหาวิทยาลัย)

ทำ�ให้คุณตํ้าค่อยๆ ซึมซับองค์ประกอบต่างๆ ของการแสดง ที่นอกเหนือ ไปจากการเต้น ”บัลเลต์สอนให้เราต้องเรียนกระบวนการคิด ได้ซึมซับเรื่อง เวที ฉาก เพลง คอสตูม เมคอัพ ไปจนถึงการออกแบบตกแต่งเวที เรียกได้วา่ เรียนทุกอย่างที่เป็นการแสดงหรือ Performance ทั้งหมด เมื่อไปทำ�งาน ถึงจะเป็นงานปัก ก็ชวนให้คดิ ตามว่าหากงานปักเหล่านีไ้ ปอยูบ่ นร่างกายทีม่ ี การเคลื่อนไหวจะเป็นอย่างไร” นั่นคือเบื้องหลังวิธีคิดและการผลิตชิ้นงาน ของมุมานะทีไ่ ม่ได้เพียงสร้างสรรค์ชนิ้ งานเพือ่ ความงาม แต่คอื ชิน้ งานทีเ่ ป็น องค์ประกอบหนึ่งของการเคลื่อนไหวของร่างกาย จากพืน้ ฐานด้านศิลปะการแสดงและความชืน่ ชอบงานเบือ้ งหลัง ทำ�ให้ คุณตํ้าก้าวเข้าสู่อาชีพครีเอทีฟ ไดเรคเตอร์ในฝ่ายผลิตและสร้างสรรค์ คอนเสิรต์ ทีบ่ ริษทั จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ พร้อมสัง่ สมประสบการณ์เป็นเวลานาน กว่าสิบปี แต่ส่งิ หนึ่งที่เติบโตคู่ขนานไปกับหน้าที่การงานในวันนั้น ก็คือ ความชื่นชอบงานฝีมือที่เป็นหนทางที่ช่วยให้คุณตํ้าพบกับความสุขในใจ “ตลอดระยะเวลาทั้งที่ทำ�งานที่แกรมมี่และบริษัทคอนเสิร์ตหลังจากนั้น คือเราพบว่าตัวเองมักจะพกเข็มกับด้ายและสะดึงไปนัง่ ทำ�งานปักกระจุกกระจิก ที่ข้างๆ เวทีด้วยเสมอ” ความหลงใหลสู่ความกระตือรือร้นและการเรียนรู้สิ่งใหม่ การเปลี่ยนแปลงสำ�คัญที่นำ�มาสู่การเป็น ‘มุมานะ’ ในวันนี้ เกิดขึ้นจากการ อ่านนิตยสารพลอยแกมเพชรฉบับหนึ่ง เวลานั้นคุณตํ้าพลิกหน้านิตยสาร

CREATIVE THAILAND I 22


แล้วไปเจอผลงานของอาจารย์จักรพันธุ์ โปษยกฤต จนเกิดแรงบันดาลใจ นำ�มาสู่การเขียนจดหมายเข้าไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์อาจารย์เพื่อขอเรียน ปักผ้า ซึง่ ในตอนนัน้ อาจารย์จกั รพันธุไ์ ม่ได้เปิดรับสอนคนทัว่ ไป แต่หลังจาก หนึ่งเดือนผ่านไป คุณตํ้าก็ได้รับจดหมายตอบกลับมาจากอาจารย์ และนั่น จึงเป็นจุดเริ่มต้นวิชางานปักแบบไทยของมุมานะนั่นเอง นอกจากงานปักแบบไทยแล้ว คุณตํา้ ยังหมัน่ เพิม่ เติมวิชาความรูโ้ ดยไป ศึกษาต่อเฉพาะทางงานปักชั้นสูงโดยใช้เข็มฝรั่งเศส (Lunéville) ที่สถาบัน Lemmikko L’ARTISAN de la broderie d’art ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ซึง่ อาจารย์ทนี่ นั่ ได้รบั การศึกษามาจากสถาบันงานปักชัน้ สูงของฝรัง่ เศสอย่าง Lesage และยังเป็นช่างที่ทำ�ฉลองพระองค์ให้กับสมาชิกราชวงศ์ของญี่ปนุ่ จึงนับได้วา่ อาจารย์ที่คณุ ตํา้ ได้เข้าไปศึกษารํา่ เรียน ล้วนได้ถ่ายทอดวิชาและ ศาสตร์งานปักชั้นสูงของสองวัฒนธรรมทั้งไทยและฝรั่งเศสก็ดูจะไม่ผิดนัก “งานปักของญี่ปุ่นมีความจริงจังสูงมาก งานที่ทำ�ออกมาจะต้องมีความ เรียบร้อยที่สุด ทั้งข้างหน้าข้างหลัง มีความแยบยลในการใช้วัสดุ มีความ ประณีตจริงจัง การที่เราได้ไปเรียนทำ�ให้ร้สู ึกว่ามันคือการเรียนการสอนที่ แท้จริงเพือ่ สอนให้เราเป็นช่างฝีมอื ทีด่ แี ละมีความรับผิดชอบ เพราะต่อให้เรา จะเก่งแค่ไหน แต่ถ้ารับผิดชอบงานไม่จบ ก็สร้างความเสียหายได้มาก พอสมควร เพราะฉะนั้นการเป็นช่างที่ดี ต้องมีความรับผิดชอบที่ดีด้วย” MUMANa Artisan กับจังหวะที่ลงตัว จากความพร้อมแบบค่อยเป็นค่อยไปของ ‘มุมานะ’ เริ่มจากเป็นสตูดิโอ ทำ�งานส่วนตัว จนกระทั่งค่อยๆ บ่มเพาะความตั้งใจให้ที่นี่เป็นที่ที่ทุกคน นึกถึงถ้าอยากมาเรียนเรื่องงานปัก “การที่จะทำ�ให้คนหนึ่งคนเป็นช่างฝีมือ เพิม่ มากขึน้ ๆ นอกจากการสอนเรือ่ งเทคนิคงานปักแบบต่างๆ แล้ว เรายังคิด ไปถึงการให้นกั เรียนได้มผี ลงานเป็นของตัวเอง จนถึงขัน้ ได้แสดงงานส่วนตัว เพื่อสร้างความมั่นใจและความกล้าให้กับนักเรียนมากขึ้น และทุกคนเป็น ที่หนึ่งในทางที่ตัวเองชอบได้ ดังนั้นตอนนี้ที่นี่ก็เป็นเสมือนโรงเรียนสอน งานปักและในทุกๆ ปีก็จะเปลี่ยนคอร์สให้ได้เรียนหลากหลายเทคนิค หลากหลายฟอร์ม ไปเรื่อยๆ ไม่ให้ซํ้ากัน” ปกติที่นี่จะอุทศิ เวลาทำ�ส่วนงานคอลเล็กชันทรงออกแบบ SIRIVANNAVARI ประมาณ 6 เดือน ซึ่งคุณตํ้าเล่าถึงความประทับใจและความภาคภูมิใจที่ได้ ทำ�งานนี้ไว้ว่า “เราได้เริ่มต้นตั้งแต่การทดลองเทคนิคการทำ�งานจาก แรงบันดาลพระทัยของพระองค์หญิง จากนั้นจึงแตกย่อยเป็นไอเดียว่าจะ นำ�เสนอออกมาเป็นอะไรได้บ้าง ใช้วัสดุอะไร ผลิตยังไง แล้วจึงเริม่ ลงมือทำ� วัสดุบางอย่างพอไปอยู่กับเสื้อผ้า หรืออยู่บนตัวแบบ มันอาจจะหนักมาก

เทคนิคการใช้เข็มฝรั่งเศส (Lunéville)

เกินไปหรือบอบบางเกินไป ก็ต้องเปลี่ยน หรือบางอย่างซื้อมาแล้ว พอจะสั่ง อีกทีไม่มขี าย เราก็ตอ้ งแก้ปญั หา จบงานปัก เราก็ตอ้ งเอาไปเข้าตัว ซึง่ ก็ตอ้ ง เช็กอีกที พวกรอยต่อต้องถูกกลืนไปให้หมด ดังนั้นจึงเรียกได้วา่ งานปักอยูใ่ น ทุกกระบวนการตัง้ แต่ตอนคิด วางไอเดีย ปัก เก็บบนตัว และแก้ไขงานจน เรียบร้อย” ส่วนครึง่ ปีทเ่ี หลือ คุณตํา้ แบ่งเวลาไว้ท�ำ งานส่วนตัว ทำ�งานสอน แล้วก็งาน ทดลอง “ตอนสอนผมก็ได้รปู้ ญั หาว่าอันนีเ้ วิรก์ ไม่เวิรก์ ไปในตัว เพราะว่าผ่าน คอลเล็กชันมา เราก็จะเหมือนโดนเทรนด์มาทุกปีๆ เพื่อที่จะมาสอน แล้วก็ ถูกเทรนด์ใหม่ ทุกวันผมจะพยายามยืนระยะให้มนั นานทีส่ ดุ จะไม่เป็นเวิรก์ ช็อป ตามกระแส ส่วนนักเรียนที่มา มาด้วยความมุ่งมัน่ ตัง้ ใจมากๆ ก็มเี ยอะ อย่างเช่น เวลาทำ�งานคอลเล็กชันจริงๆ ผมก็จะรับนักศึกษาฝึกงาน แต่คนพวกนีไ้ ม่ใช่ นักศึกษา แต่เป็นคนทำ�งานออฟฟิศ บางคนก็ชอบและมีความตัง้ ใจ ซึง่ ถ้าเขา ไปต่อได้ก็จะชวนมาทำ�งานด้วยกันเลย เพราะเหตุผลหนึ่งที่ทำ�ให้มุมานะ เปิดโรงเรียนสอนงานปักก็คอื การหาทีมทำ�งาน เพราะงานฝีมอื แบบนีไ้ ม่สามารถ ทำ�คนเดียวได้และมันเป็นสิง่ ทีค่ วรค่าแก่การส่งต่อ เพราะคนทำ�งานปักเข็ม ฝรั่งเศสในบ้านเรายังมีน้อย ถ้าส่งต่อได้ก็คงยิ่งมีประโยชน์” เพราะงานปักไม่ใช่เพียงประดับ แต่คือการสื่อสารตัวตน คนทั่วไปอาจมองงานปักเป็นการประดับตกแต่ง หรือลูกเล่นที่เพิ่มเข้ามาให้ เสือ้ ผ้ามีความสวยงาม แต่ส�ำ หรับมุมานะกลับมองว่า งานปักเมือ่ นำ�มาอยูบ่ น เสื้อผ้า มันคือส่วนหนึ่งของร่างกายมนุษย์ที่ควรจะอยู่ให้สมดุล เป็นความ กลมกลืน ความละมุน และการทำ�อย่างไรให้จังหวะมันพอดี ไม่เยอะเกินไป หรือไม่น้อยเกินไป ที่สำ�คัญคือต้องสามารถสื่อสารตัวตนที่คนเลือกมาไว้ ประดับบนร่างกาย “การสือ่ สารผ่านงานปักของแต่ละประเทศก็ไม่เหมือนกัน อย่างถ้าเป็นฝรั่ง ก็อาจจะเลือกใช้สีแยบยลและเทคนิคหวือหวาไปพร้อมกัน หรือถ้าเป็นญี่ปุ่น ก็จะนุ่มๆ มีความจริงจังสูง มีความเรียบร้อยที่สุด ส่ ว นงานปั ก ของไทย มั ก จะถู ก กำ � หนดด้ ว ยลวดลายที่ เ ฉพาะตั ว เช่ น ลายไทย ทำ�ให้ช่างนอกจากมีความชำ�นาญแล้ว ยังต้องมีความอดทนและ ประณีตสูง การปักไม่ว่าจะเป็นเทคนิคใด ควรผ่านการทดลองว่าสิ่งที่ทำ�นั้น ดีที่สุดหรือไม่ หลังจากผ่านการทดลองแล้ว เราก็เข้าสู่กระบวนการทำ�ให้ ชำ�นาญ รู้จริง เพราะงานปักมันต้องเกิดการลองทุกครั้ง ไม่มีงานไหนที่ทำ� อย่างที่เคยทำ�แล้วจะออกมาเหมือนกันทุกครั้ง เพราะอย่างน้อยมันคือ งานฝีมือ ดังนั้นเล็กๆ น้อยๆ ก็ต้องทดลอง” ในโลกทีอ่ ะไรก็รวดเร็ว ทุกอย่างมีพร้อมสำ�เร็จเตรียมไว้ให้เราได้มาอย่าง ง่ายดาย ทักษะงานฝีมือแบบช้าๆ ได้พร้าเล่มงามที่ MUMANa Artisan ยัง คงเดินหน้าสานต่อไปอย่างต่อเนือ่ ง และมีกลุม่ คนทีห่ ลงใหลในแบบเดียวกัน ให้ความสนใจและให้ความสำ�คัญ แสดงให้เห็นว่าความหมายของความ ประณีตบนความช้าว่ายังเป็นสิง่ ทีม่ คี ณุ ค่าในโลกใบนีอ้ ยูเ่ สมอ “มุมานะ ในมุม ของผม มันคือการทำ�อะไรไปเรือ่ ยๆ โดยทีเ่ ราไม่ได้มองว่าจุดหมายปลายทาง ของมันอยู่ตรงไหน ชัยชนะหรือเส้นชัยมันอยู่ตรงไหน มันคือการเดินไป เรื่อยๆ โดยทำ�สิ่งที่ตัวเองชอบโดยไม่ได้หวังอะไรง่ายๆ แค่นั้นเอง” Mumana Artisan: หมู่บ้าน Nirvana พระราม 9 ถนนกรุงเทพกรีฑา แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ / ติดต่อ: facebook.com/mumanaartisan

CREATIVE THAILAND I 23


Creative City : จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

เปิดกลยุทธ์

ICONCRAFT at ICONSIAM ยกระดับงานฝีมือจากคนตัวเล็กสู่ตลาดโลก เรื่อง : ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ ภาพ : ภีร์รา ดิษฐากรณ์

เป็นที่รู้กันดีในหมู่นักสร้างสรรค์ ธุรกิจ และคนทำ�งานเพื่อสังคม ว่าการสร้างสรรค์สินค้าที่ต่อยอดจากงานฝีมือและ ภูมิปัญญาไทยให้ไปรอดในตลาดนั้นไม่ง่าย สินค้างานคราฟต์ไอเดียสดใหม่จำ�นวนไม่น้อยจบลงแค่ขั้นตอนการทดลองทำ� ต้นแบบสินค้าด้วยเหตุผลง่าย ๆ ที่น่าเสียดาย คือช่างฝีมอื หรือผูผ้ ลิตมองไม่เห็นปลายทางว่าสินค้าที่ผลิตตามแนวทางใหม่น้ี จะขายได้ที่ไหน และขายอย่างไร ‘ไอคอนคราฟต์’ (ICONCRAFT) พื้นที่พิเศษบนชั้น 4 และ 5 ของ ‘ไอคอนสยาม’ (ICOMSIAM) โครงการแลนด์มาร์กยิ่งใหญ่ระดับโลกริมฝั่งแม่นํ้าเจ้าพระยา จึงเกิดขึ้นเพื่อเติมเต็มช่องว่างที่ว่านี้ แต่แน่นอนว่าการที่จะผลักดันงานคราฟต์ไทยให้ ‘ขายได้’ อย่างยั่งยืน ย่อมไม่ใช่แค่การเปิดพื้นที่ให้งานฝีมือที่กลั่นจาก ไอเดียและทักษะฝีมอื ของคนรุน่ ใหม่ได้วางจำ�หน่ายในทำ�เลทีเ่ หมาะสมเท่านัน้ แต่ยงั จะต้องส่งต่อความรูแ้ ละสร้างแรงบันดาลใจให้ชา่ งฝีมอื ร่วมสมัยมองเห็น ความเป็นไปได้ของอุตสาหกรรมที่รอให้พวกเขาเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนด้วย CREATIVE THAILAND I 24


คราฟต์ไทยหัวใจยูนิเวอร์แซล “สิบปีทผี่ า่ นมาประเทศไทยแทบจะไม่มโี ปรเจ็กต์ การลงทุนใหญ่ๆ เลย ไอคอนสยามเป็นความ พยายามของเราที่อยากจะนำ�ประเทศไทยกลับ เข้าสูค่ วามสนใจของโลกอีกครัง้ ทัง้ ในแง่ของการ ลงทุน การท่องเที่ยว และการค้าปลีก” “ไอคอนคราฟต์เองก็ตอบโจทย์ภาพใหญ่นี้ โดยทำ�หน้าทีเ่ ป็นแพลตฟอร์มสำ�หรับคนตัวเล็กๆ ให้มโี อกาสนำ�งานฝีมอื ที่มอี ยูแ่ ล้ว มาเจอกับผูบ้ ริโภค ในตลาดไลฟ์สไตล์ยุคใหม่ และถ้าสินค้าไหน ประสบความสำ�เร็จ เขาก็สามารถที่จะขยายไปสู่ ตลาดโลก” ไชยยง รัตนอังกูร ผู้อำ�นวยการ ฝ่ายนวัตกรรมธุรกิจ (Chief Visionary Director) ของสยามพิวรรธน์ เท้าความถึงแนวคิดเบือ้ งหลัง

CREATIVE THAILAND I 25

สร้างประสบการณ์ผ่านเรื่องเล่า

ท่ามกลางตัวเลือกสินค้าและช่องทางการซื้อขาย มากมายในยุคนี้ ทุกร้านค้าจึงต้องสร้างความโดดเด่น แตกต่ า ง ด้ ว ยการคั ด เลื อ กสิ น ค้ า ที่ มี เ อกลั ก ษณ์ เสริมด้วยบรรยากาศและการเล่าเรื่องที่ดึงดูด พื้นที่ทุกมุมของไอคอนสยามจึงออกแบบและ ตกแต่งพืน้ ทีด่ ว้ ยงานดีไซน์ทผี่ สมผสานความเป็นไทย เข้ากับความทันสมัยอย่างลงตัว พร้อมด้วยป้าย QR Code ที่ทุกคนสามารถสแกนเพื่ออ่านเรื่องราวที่มา ที่ไปของงานแต่ละชิ้นได้ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ อาทิ เสาลายกนกต้นสูงใหญ่บริเวณทางเข้า ฝีมือ อ.ปรีชา เถาทอง ศิลปินแห่งชาติสาขาจิตรกรรม แชนเดอเลียร์แก้วจากบริษทั ออกแบบในสาธารณรัฐเช็ก ที่เลียนแบบการร้อยเรียงของดอกรักและดอกมะลิ สะท้อนความงามประณีตของศิลปะการร้อยเรียง ดอกไม้บนพวงมาลัย สำ�หรับพื้นที่ 2,500 ตารางเมตรของไอคอน คราฟต์ เ อง ก็ อ อกแบบด้ ว ยเส้ น โค้ ง และรู ป ทรง นามธรรมที่สื่อถึงเครื่องจักสานทำ�มือภูมิปัญญาไทย จากการรังสรรค์โดยดวงฤทธิ์ บุนนาค ดีไซเนอร์ชอ่ื ดัง พร้อมทั้งจัดโซนพื้นที่โดยได้แรงบันดาลใจจากสาขา วิชาช่างสิบหมูท่ มี่ มี าแต่โบราณ ลดทอนให้เหลือเพียง เจ็ดหมู่ ตามประเภทของสินค้าที่วางจำ�หน่าย ได้แก่ 1. The Smith งานช่างทอง ช่างโลหะ 2. The Painter งานวาด งานลงรักปิดทอง 3. The Sculptor งานปั้น 4. The Carpenter งานไม้ 5. The Weaver งานทอ 6. The Gastronomer งานอาหาร 7. The Therapist งานแพทย์แผนไทย การบำ�บัดและดูแลสุขภาพ

iconsiam.com

และนี่ คื อ กลยุ ท ธ์ เ บื้ อ งหลั ง การปลุ ก ปั้ น ICONCRAFT พื้นที่สำ�หรับคนตัวเล็กในอภิมหา โครงการเมืองริมนํ้า ที่หวังจะเป็นศูนย์กลางงาน ฝีมอื ไทยพันธุใ์ หม่ทถี่ กู ใจคนรักงานคราฟต์ทวั่ โลก

‘ไอคอนคราฟต์’ ที่ตั้งเป้าให้เป็นศูนย์รวมงาน คราฟต์ไทยระดับโลก ‘Innovative Craft’ คือคำ�นิยามคุณสมบัติ ของงานคราฟต์ ทุ ก ชิ้ น ที่ ว างเรี ย งรายอยู่ ใ น โซนไอคอนคราฟต์ ตั้ ง แต่ เ สื้ อ ผ้ า กระเป๋ า เครื่องประดับ จานชาม ของแต่งบ้าน ของกิน ไปจนถึงผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพ เห็นได้ชัดว่า งานฝีมือร่วม 5,000 ชิ้นที่นี่มีบางอย่างที่แปลกไป จากงานฝีมือที่เราพบเห็นทั่วไปตามตลาดและ ร้านค้าชุมชน จากคำ�อธิบายของคุณไชยยง ‘นวัตศิลป์’ เหล่านี้ คือสินค้าที่ผู้ผลิตเลือกหยิบจับเสน่ห์ของ งานฝีมือไทยในอดีต มาดัดแปลงสีสัน ลวดลาย วัสดุ รูปทรง หรือการใช้งานแบบใหม่ เพื่อให้ สอดรับกับชีวิตประจำ�วันของผู้บริโภคในยุคนี้ บางชิน้ อาจไม่ได้วจิ ติ รบรรจงทุกรายละเอียดตาม อย่างต้นฉบับทีต่ กทอดจากรุน่ ปูย่ า่ ตาทวด แต่เป็น ผลงานทีม่ คี วามเป็นสากลทัง้ ในแง่ความงามและ การใช้งาน (Universal Sense of Beauty and Function) สวยเก๋ถูกใจทั้งลูกค้าท้องถิ่นและ คนต่างชาติต่างวัฒนธรรม “จริ ง ๆ แล้ ว ยุ ค นี้ มี ผู้ บ ริ โ ภคที่ ส นใจงาน คราฟต์ไม่น้อยเลย แทบจะทุกเพศทุกวัย ทุกคน อยากจะมีสักชิ้นหนึ่งที่ซื้อไปแล้วมันตอบได้ว่า ทำ�ไมฉันถึงซือ้ สิง่ นี้ คนซือ้ งานคราฟต์ยคุ นีเ้ หมือน ซื้องานแฟชั่น เพราะงานคราฟต์มันสื่อสารอะไร บางอย่างของเรา บ่งบอกตัวตนและความสนใจ ของเรา ดังนั้นงานที่มีความคิดที่ดี เป็นสากล ทั้งในแง่ความงามและฟังก์ชั่น ต่างชาติมองปุ๊บ แล้วรูเ้ ลยว่า อ้อ ชิน้ นีซ้ อื้ แล้วเอาไปทำ�อะไร สินค้า แบบนี้เราจะเห็นเลยว่ามันขายได้” นอกจากนี้ในด้านงานขาย ไอคอนคราฟต์ ไม่ ไ ด้ เ กิ ด ขึ้ น เพื่ อ การค้ า ปลี ก เพี ย งอย่ างเดี ย ว แต่ยงั รับดูแลการสัง่ ซือ้ ของลูกค้าทีเ่ ป็นหน่วยงาน ธุรกิจ (B2B) ด้วย “หลายครั้งที่ลูกค้าที่เป็น โรงแรม คาเฟ่ หรือร้านอาหารเล็กๆ ทั้งในและ ต่างประเทศ เขาอาจจะไม่ได้ตอ้ งการสัง่ ซือ้ สินค้า ครั้งละหลายร้อยชิ้นตามจำ�นวนขั้นตํ่าเหมือน อย่างธุรกิจใหญ่ เขาก็มักจะมาซื้อสินค้าจาก ร้านค้าปลีกซึ่งมีราคาสูง และหน้าร้านเหล่านี้ ก็อาจจะไม่ได้มสี ต็อกสินค้าจำ�นวนมากขนาดนัน้ ดังนั้นเราจึงรับดูแลออเดอร์เล็กๆ สำ�หรับลูกค้า กลุ่มนี้ด้วย”


คนที่อยู่กับงานฝีมือมานาน หลายคนยังไม่เปิดรับมุมมอง ของตลาดเท่าที่ควร บางคนกลัวว่า ถ้าเปลี่ยนจะเหมือนไม่เคารพวิชา แต่เรามองในมุมของคนขาย ว่าตลาดไม่ได้อินกับคุณขนาดนั้น คุณต้องถอยกลับมา แล้วท�ำให้งานมันง่ายขึ้น

ไชยยง รัตนอังกูร ผู้อำ�นวยการฝ่ายนวัตกรรมธุรกิจ (Chief Visionary Director) ของสยามพิวรรธน์

คราฟต์ไทย ขายได้ เบื้ อ งหลั ง ก่ อ นที่ จ ะเกิ ด พื้ น ที่ ห น้ า ร้ า นแบบ Multi-brand Store ที่เต็มไปด้วยสินค้าไอเดียดี โดนใจตลาด คือการทำ�งานของทีมค้าปลีกของ สยามพิวรรธน์ทรี่ ว่ มมือกับหลากหลายหน่วยงาน อาทิ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (SACICT) สำ�นักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) กระทรวง วิทยาศาสตร์ รวมถึงผูป้ ระกอบการและนักออกแบบ ในโครงการประกวดและพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆ บทบาทของสยามพิวรรธน์ คือการแบ่งปัน องค์ความรู้ในฐานะธุรกิจผู้เชี่ยวชาญซึ่งเข้าใจ ความต้องการของผู้บริโภค ให้คำ�แนะนำ�ตั้งแต่ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ การตลาด ไปจนถึงการกำ�หนดราคา “งานฝีมอื บางอย่างใช้ทรัพยากรมากเกินไป ทำ�ให้ต้นทุนมันสูง เราก็เข้าไปคุยกับเขาว่าของ มันสวยนะ แต่ว่าท้ายที่สุดแล้วราคามันสูงเกินไป

ก็มาช่วยดูว่าส่วนไหนบ้างที่ลดต้นทุนได้ เช่น เปลี่ยนวัสดุหรือลดทอนอะไรลงดีไหม ในขณะ เดียวกันสินค้าบางประเภทถึงแม้ว่าคนขายจะ ตั้งใจผลิตมาให้ราคาไม่แพง แต่ราคามันเป็น ปัจจัยด้านจิตวิทยาสำ�หรับสินค้ากลุม่ นัน้ ถ้าถูกไป ผู้บริโภคจะคิดว่าคุณภาพไม่ดี ทีมรีเทลของเรา ก็จะแนะนำ�ว่าราคาควรจะอยู่ที่เท่าไหร่ถึงจะ ขายได้” จากประสบการณ์การทำ�ธุรกิจค้าปลีกมา อย่างยาวนานของสยามพิวรรธน์ จิ๊กซอว์ชิ้น สำ�คัญที่ผู้ผลิตงานฝีมือบ้านเรายังขาดไปก็คือ การคิดนอกกรอบ “คนที่อยู่กับงานฝีมือมานาน หลายคนยังไม่เปิดรับมุมมองของตลาดเท่าทีค่ วร บางคนกลัวว่าถ้าเปลี่ยนจะเหมือนไม่เคารพวิชา แต่เรามองในมุมของคนขาย ว่าตลาดไม่ได้อิน กับคุณขนาดนั้น คุณต้องถอยกลับมาแล้วทำ�ให้ งานมันง่ายขึ้น ยิ่งในโลกปัจจุบันที่มีตัวเลือกอื่น อีกมากมาย ดังนัน้ เรือ่ งนีจ้ งึ เป็นเรือ่ งทีต่ อ้ งใช้เวลา CREATIVE THAILAND I 26

ต้องทำ�ให้เขาเห็นว่าทำ�แล้วขายได้ ใช้ Demand Force สุดท้ายเขาก็จะยอมเปลี่ยน” คุณไชยยง อธิบายให้เห็นสถานการณ์ของตลาดคราฟต์ไทย ในวันนี้ นอกจากผู้ประกอบการแล้ว สยามพิวรรธน์ ยั ง เห็ น ว่ า เด็ ก รุ่ น ใหม่ คื อ ความหวั ง สำ � คั ญ ของ อุตสาหกรรมงานฝีมอื ในอนาคต การเข้าไปมีสว่ นร่วม ในการให้ค�ำ แนะนำ�ในการพัฒนาชิน้ งานของนิสติ นักศึกษาจึงเป็นอีกภารกิจที่ทีมงานไม่พลาด “คนรุ่นใหม่จะค่อนข้างเปิดกว้างและกล้าที่ จะลองสร้างสรรค์อะไรใหม่ๆ มากกว่าคนรุ่นเก่า อยู่แล้ว ในไอคอนคราฟต์เรามี Campus Zone สำ�หรับจัดแสดงและจำ�หน่ายงานของนักศึกษา มหาวิทยาลัยที่เรียนด้านดีไซน์และงานช่างศิลป์ โดยเฉพาะ เพราะเราอยากให้เขามีโอกาสได้ เรียนรูแ้ ละทดลองตลาดในสนามจริง บอกเลยว่า ใครที่ทำ�งานคราฟต์อยู่ สามารถมาเสนอเพื่อ ฝากขายได้เลย”


wikipedia.org facebook.com/ICONCRAFTTHAILAND

facebook.com/ICONCRAFTTHAILAND

facebook.com/ICONCRAFTTHAILAND

CREATIVE THAILAND I 27

เติมเต็มประสบการณ์หน้าร้าน เติมไฟผู้ประกอบการรุ่นใหม่ เช่นเดียวกับทุกธุรกิจค้าปลีก คุณไชยยงเปิดเผย ว่าในเร็วๆ นี้ไอคอนคราฟต์เองก็เตรียมขยาย พื้นที่เข้าสู่ช่องทางออนไลน์เช่นกัน แต่ก็ปฏิเสธ ไม่ได้ว่าประสบการณ์และความรู้สึกในเลือกซื้อ งานฝี มื อ ผ่ า นการสั ม ผั ส ของจริ ง นั้ น ยากจะ ทดแทนด้วยออนไลน์แพลตฟอร์ม จึงเพิ่มบริการ Pick up Onsite สำ�หรับลูกค้าที่เลือกสินค้าใน ช่องทางออนไลน์แล้ว แต่อยากเห็นสินค้าจริงที่ ร้านก่อนตัดสินใจ พร้อมด้วยบริการจัดส่งของ ให้ถึงบ้าน เพื่ออำ�นวยความสะดวกให้ลูกค้าที่ อาจจะเดินทางกลับด้วยเรือ นอกจากนี้ ยั ง สร้ า งแรงดึ ง ดู ด ให้ พื้ น ที่ หน้าร้านอยูเ่ สมอ ด้วยการจัดกิจกรรมเป็นประจำ� ทุกเดือน ไม่วา่ จะเป็นป็อปอัพสโตร์แสดงต้นแบบ สินค้าไอเดียสดใหม่จากโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ และเวิรก์ ช็อปทีเ่ ปิดโอกาส ให้ทุกคนสามารถเข้ามาร่วมสร้างสรรค์ผลงาน ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชดิ ของศิลปินนักออกแบบ เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสในการขาย ทั้งยังเปิด ประสบการณ์ ใ ห้ ลู ก ค้ า โดยเฉพาะคนรุ่ น ใหม่ ได้เรียนรู้ภูมิปัญญาจากการลงมือทำ�จริง เช่น เวิร์กช็อปปรุงนํ้าอบแบบโบราณในช่วงเทศกาล สงกรานต์ที่ผ่านมา “เราอยากจะให้ ที่ นี่ เ ป็ น ศู น ย์ ก ลางของ คนรุ่นใหม่ที่เห็นความเป็นไปได้ของงานคราฟต์ และอยากจะทำ�ให้มนั เติบโต พัฒนาเป็นธุรกิของ ตัวเอง เพราะอุตสาหกรรมงานคราฟต์ไทยยังมี ช่องว่างอีกมากที่รอให้พวกเขามาเติมเต็ม”


The Creative : มุมมองของนักคิด

มรกต ยศธำ�รง พลังคราฟต์ยุคใหม่ของ NOHMEX แบบรวมกันเราอยู่ รู้จักปรับตัวเรารอด เรื่อง : พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์ ภาพ : ภีร์รา ดิษฐากรณ์

ทุกวันนี้ ‘ร่มกระดาษสา ผ้าม่อฮ่อม พวงกุญแจชาวเขา เครื่องปั้นชามตราไก่’ อาจบ่งบอกถึงอัตลักษณ์ของ ‘งานหัตถกรรม ภาคเหนือ’ ได้เพียงส่วนเดียว แต่ส่วนที่เหลือซึ่งกำ�ลังโลดแล่นและเป็นที่สนใจอยู่ในตลาดสินค้างานคราฟต์ของวันนี้ ไม่ได้ หยุดอยู่เพียงเท่านั้นอีกต่อไป คุณเขียว มรกต ธศธำ�รง นายกสมาคมผู้ผลิตและผู้ส่งออกสินค้าหัตถกรรมภาคเหนือ (Northern Handicrafts Manufacturers and Exporters Association - NOHMEX) ได้ฉายภาพสถานการณ์ของ ตลาดงานฝีมือภาคเหนือตอนบน ที่ยืนอยู่ได้อย่างยั่งยืน พร้อมก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคงด้วยกลยุทธ์แบบที่เรียกว่า “รวมกันเราอยู่ รู้จักปรับตัวเรารอด” CREATIVE THAILAND I 28


“การทีเ่ ชียงใหม่เป็นจังหวัดหนึง่ เดียวของไทยทีไ่ ด้รบั พิจารณาประกาศ เป็น 1 ใน 64 เมือง เพื่อเตรียมความพร้อมที่จะเข้าร่วมเป็นเครือข่าย เมืองสร้างสรรค์ในสาขาหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านขององค์กร UNESCO หรือ Creative City of Crafts & Folk Art ยิ่งตอกยํ้าให้เห็นว่าภาคเหนือ ของไทยมีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สั่งสมมานานกว่า 720 ปี เพราะฉะนั้น คนที่ทำ�งานหัตถกรรมหรือหัตถศิลป์ที่มาจากรากเหง้าที่สืบทอดมา ยิ่งต้อง พยายามรักษาคุณค่าตรงนี้ไว้ แต่ขณะเดียวกันก็จะต้องหาโอกาสให้เขามี ที่ยืนและอยู่รอดได้ มีการปรับตัวเพื่อให้สองคล้องกับบริบทของสังคม ในปัจจุบัน” นี่คือสิ่งที่คุณเขียวสรุปให้ฟังสั้นๆ เกี่ยวกับบทบาทของสมาคม และทิศทางที่กำ�ลังจะเดินไป ทำ�ไมต้องเกิดการรวมตัวกันจัดตั้งเป็น NOHMEX สมาคมผู้ผลิตและผู้ส่งออกสินค้าหัตถกรรมภาคเหนือ หรือ Nohmex เป็น สมาคมที่ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2534 หรือเกือบ 30 ปีมาแล้ว ประกอบไปด้วย กลุ่มผู้ผลิตสินค้าหัตถกรรมของภาคเหนือ 13 แห่ง เพื่อจัดการแก้ไขปัญหา ด้ า นอุ ต สาหกรรมการผลิ ต สิ น ค้ า ในด้ า นหั ต ถกรรมทางภาคเหนื อ ของ ประเทศไทย อธิบายง่ายๆ ก็คอื การรวมกลุม่ เพือ่ สร้างพลังในการต่อรองและ สร้างข้อได้เปรียบในด้านการตลาด ทีม่ องความต้องการของสมาชิกเป็นหลัก จากการรวมกลุ่มกันเล็กๆ ในช่วงแรก ก็เติบโตขึ้นเรื่อยมา จนกระทั่งปี 2537 กลุ่มผู้ผลิตก็ได้จดทะเบียนอย่างเป็นทางการในรูปแบบของ ‘สมาคม ผู้ผลิตและผู้ส่งออกหัตถกรรมขนาดเล็กและขนาดกลางของภาคเหนือ’ รวมไปถึงบริษัทอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในด้านการบริการที่มารวมตัวกันในการ ที่จะส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมสินค้าหัตถกรรม และช่วย วิเคราะห์วจิ ยั ด้านการตลาดของผลิตภัณฑ์อกี ด้วย ปัจจุบนั จำ�นวนสมาชิกใน องค์กรมีมากถึง 250 สมาชิก (และยังคงเพิ่มจำ�นวนขึ้นเรื่อยๆ) สมาคมของ เราเป็นที่รู้จักในฐานะผู้ประสานงานด้านกิจกรรมจากกลุ่มองค์กรมากมาย ทั้งจากภาครัฐ และภาคเอกชน ปั ญ หาด้ า นอุ ต สาหกรรมการผลิ ต ของกลุ่ ม หั ต ถกรรม ภาคเหนือในเวลานั้นคืออะไร สมัยแรกๆ เรามีผู้ประกอบการเริ่มต้นเพียง 13 ราย การที่เรารวมตัวกัน ก็ด้วยเหตุผลว่าการค้าในตอนนั้นเป็นลักษณะทัวร์รถบัส คือนักท่องเที่ยวที่ จะมาซื้อหาของฝากของที่ระลึกที่เป็นงานหัตถกรรมก็จะมากับทัวร์รสบัส คันใหญ่ๆ ซึ่งดูเหมือนว่าจะดี แต่จริงๆ แล้วมีปัญหาหลายด้าน ทั้งเรื่อง ค่าใช้จ่ายของมัคคุเทศก์ หรือการปรับราคาเองของแต่ละร้าน ที่กลายเป็น การแข่งขันกันเองในวิธีการที่ไม่ถูกต้อง การรวมตัวกันจึงกลายเป็นทางออกในการสร้างกติการ่วมกัน อีกทั้ง เป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ประกอบการในพื้นที่ ที่สำ�คัญช่วงนั้น เริ่มจะมีการจัดงานที่เรียกว่า ‘เทรดแฟร์’ ที่กรุงเทพฯ ขึ้นบ้างแล้ว ทางเราที่ เป็นผู้ประกอบการภาคเหนือตอนบนถือว่าเป็นกลุ่มที่อยู่ไกล จึงต้องมีการ รวมกลุม่ กัน เพราะในขณะนัน้ ยังไม่มหี น่วยงานไหนทีใ่ ห้การสนับสนุนในการ เรื่องการเดินทางมาออกร้าน พวกเราจึงต้องเดินทางมาเอง ดังนั้นประโยชน์ ของการจัดตั้งเป็นสมาคมก็คือเราจะมีหน้าที่เป็น ‘ตัวกลาง’ ในการทำ�งาน กับภาครัฐ และการรวมตัวกันเป็นกลุ่ม เมื่อไปสมัครออกร้าน เราก็มีกำ�ลัง ในการต่อรองค่าเช่าพื้นที่ต่างๆ ที่พิเศษมากขึ้นด้วย

นอกจากอำ � นาจในการต่ อ รองที่ ม ากขึ้ น ในฐานะที่ เ ป็ น กลุ่ ม ก้ อ นแล้ ว การรวมตั ว เป็ น NOHMEX ยั ง มี ผ ลดี ต่ อ สมาชิกอย่างไรอีกบ้าง การรวมกลุ่มกันไม่ได้ช่วยให้เราแค่แข็งแกร่งขึ้น แต่ยังทำ�ให้เกิดความ ร่วมมือและเกิดการแลกเปลีย่ นองค์ความรูต้ า่ งๆ ระหว่างสมาชิก การทำ�งาน ในฐานะสมาคมช่วยให้เรามีพลังมากขึ้นในการร่วมงานกับภาครัฐเพื่อแสดง เจตนารมณ์อย่างที่ต้องการได้มากขึ้น และชี้ให้เห็นว่าภาคเอกชนมีความ ต้องการอย่างไร เพื่อให้ภาครัฐเองสามารถรับรู้ เข้าใจ และมีการตอบสนอง นโยบายอย่างรวดเร็วมากขึ้น ที่สำ�คัญที่สุดการรวมกลุ่มกันในฐานะสมาคม ยังทำ�ให้สมาชิกดำ�เนินธุรกิจอย่างเกื้อกูลกัน ไม่เกิดการแก่งแย่งกัน ซึ่งเป็น เสมือนการทำ�ลายภาคธุรกิจด้วยกันเอง ทางสมาคมจะรู ป แบบการคั ด สรรการจั ด กิ จ กรรมต่ า งๆ ให้เหมาะกับความต้องการของสมาชิกอย่างไร แน่ น อนว่ า สมาชิ ก ของเราเองมี ห ลายประเภท ดั ง นั้ น จึ ง มี ห ลากหลาย ความต้องการ ไม่ว่าจะเป็นการที่ทางสมาคมจะจัดงานหรือกิจกรรมขึ้น บางอย่าง ก็จะมีความหลากหลายตามความเหมาะสมไปด้วย บางกิจกรรม สมาคมเป็นผู้ดำ�เนินการเอง เช่น การเตรียมความพร้อมและการให้ความรู้ แก่ผู้ประกอบการก่อนการออกงานแสดงสินค้านานาชาติ เพราะกิจกรรม ประเภทนี้ เรามีกรรมการของสมาคมที่มีความรู้และประสบการณ์มาให้ คำ�แนะนำ�และแชร์ประสบการณ์ได้ดีกว่า ซึ่งก็เป็นกิจกรรมที่สมาชิกให้การ ตอบรับอย่างดี หรือโครงการกิจกรรมการค้าการตลาดของภาครัฐที่มีการ จับคู่ธุรกิจในระดับนานาชาติที่ญี่ปุ่น เราก็เข้าไปดูแลจัดการได้โดยตรง แม้กระทั่งเทศกาลงานออกแบบเชียงใหม่ หรือ Chiang Mai Design Week ทางสมาคมก็มีการผลักดันให้สมาชิกเข้าร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความ โดดเด่นมากขึ้น เพื่อตอบโจทย์ของตลาดที่แตกต่างกันแต่ละกลุ่มเช่นกัน ในฐานะที่ เ ป็ น สมาคมซึ่ ง ดำ � เนิ น การมาเกื อ บ 3 ทศวรรษ เราพบความเปลี่ ย นแปลงไปอย่ า งไรบ้ า งในอุ ต สาหกรรม หัตถกรรม ที่เห็นได้ชัดคือ เมื่อก่อนการทำ�ตลาดและธุรกิจจะมีช่องทางไม่มากนัก ทางสมาคมเองก็จะเน้นไปที่การออกงานอินเทอร์เนชันแนลเทรดแฟร์หรือ การออกร้านต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งก็ถือว่าเคยเป็น ยุคทีร่ งุ่ เรืองมาก แต่มาในยุคนีท้ มี่ โี ซเชียลมีเดีย มีคอนเทนต์ตา่ งๆ มากมาย บนแพลตฟอร์มออนไลน์ให้ผู้ประกอบการเลือกใช้ ก็ทำ�ให้รูปแบบการทำ� ธุรกิจเปลี่ยนแปลงไปมาก การออกงานแสดงสินค้าในรูปแบบเดิมอาจไม่ใช่ คำ�ตอบทั้งหมด เราสมาชิกรวมถึงนักธุรกิจแทบทุกคนก็ต้องเกิดการปรับตัว เพือ่ ทำ�ให้ลกู ค้าหรือคูค่ า้ สามารถเข้าถึงเราได้โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี ในการเพิ่มช่องทาง แต่หากเปรียบเทียบกันแล้ว ก็ใช่ว่าการออกงาน เทรดแฟร์จะไม่มีประโยชน์เลย เพราะถึงอย่างไรสินค้าหัตถกรรมก็ต้องเป็น สินค้าที่ดูด้วยตาและต้องการการสัมผัสด้วยมือ ที่สำ�คัญคือผู้บริโภคต้อง รับรู้ถึงเรื่องราวของสินค้าเพื่อให้เกิดความตระหนักถึงคุณค่าของชิ้นงาน แต่ละชิ้น

CREATIVE THAILAND I 29


ส�ำหรับคนรุ่นใหม่ ผมคิดว่าเขาเห็นคุณค่า จากตรงนี้อยู่แล้ว เพราะฉะนั้น วิธีการในการท�ำสินค้า มีความแตกต่าง ในยุคที่การแข่งขันสูง จึงเป็นแนวคิดอันดับต้นๆ สังเกตได้ว่าเขาจะมี การค้นคว้าหาข้อมูล และลองท�ำอย่างตั้งใจ เพื่อให้สินค้า มีความเป็นตัวของตัวเอง

เข้าใจว่าทางสมาคมยังช่วยไปถึงเรื่องของการมองหาช่องทาง การขายใหม่ๆ และการประชาสัมพันธ์ให้กับสมาชิกด้วย เราไม่เพียงต้องการทำ�ให้งานคราฟต์เป็นส่วนหนึง่ ในชีวติ ประจำ�วันของผูค้ น ในสังคมทุกวันนี้ แต่ยังต้องการยกระดับงานหัตถกรรมให้อยู่ได้ในบริบท ที่เป็นสากลอย่างยั่งยืน ตอบรับความต้องการของตลาด และตอบการกินดี อยู่ดีของผู้ประกอบการด้วย ดังนั้นเราจึงทำ�งานในส่วนของช่องทางการขาย และการประชาสัมพันธ์ดว้ ย อย่างการทำ�งานผ่านโปรเจ็กต์รา้ น Selected Shop ที่ชื่อว่า ‘Daily Craft’ (ตัง้ อยู่ทช่ี น้ั 4 ศูนย์การค้าเมญ่า เชียงใหม่) ซึง่ เราทำ�งาน ร่วมกับ TCDC เชียงใหม่ ในการคัดเลือกสินค้าทีโ่ ดดเด่น มีคณุ สมบัตทิ นี่ า่ สนใจ และเป็นของสมาชิกสมาคม หรือเป็นของผู้ประกอบการที่เคยผ่านโครงการ อบรมกับเราหรือ TCDC มาก่อน ก็เป็นอีกหนึง่ วิธกี ารทีเ่ ราช่วยผูป้ ระกอบการ และช่างฝีมอื ให้มที ที่ างในการจำ�หน่าย ได้พบกับตลาด ได้รจู้ กั ความต้องการใหม่ๆ ของโลกวันนี้ แล้วก็ช่วยประชาสัมพันธ์สินค้าของเราไปพร้อมกัน

จุดเด่นของหัตถกรรมภาคเหนือยังเหมือนหรือต่างไปจากเดิม อย่างไร หัตถกรรมภาคเหนือสำ�หรับผม ไม่ว่าจะเป็นงานสิ่งทอ งานกระดาษสา งานไม้ ก็ยังคงมีความเป็น Culture เป็นสินค้าที่สะท้อนวัฒนธรรมและวิถี ชีวิตอยู่ การที่เราค่อยๆ มีความเป็นสังคมเมืองที่มีความผสมผสานกัน มากขึ้น ผมมองว่างานหัตถกรรมของภาคเหนือก็ยังคงให้ความรู้สึกของ ความเป็นธรรมชาติ เป็นวิถชี วี ติ มากกว่า เพียงแต่วา่ เราสามารถปรับรูปแบบ ให้เป็นสไตล์ที่เข้ายุค เข้ากับผู้คนในวันนี้ได้มากขึ้น มองตลาดงานคราฟต์ของโลกและของไทยอย่างไรบ้าง ส่วนตัวผมคิดว่าตลาดงานคราฟต์หรืองานฝีมอื เป็นตลาดทีม่ กี ารเคลีอ่ นไหว ไปในทิศทางที่ดีและมีความตื่นตัว ผู้ประกอบการรุ่นเก่าก็มีการปรับรูปแบบ ปรับวิธีการผลิต ให้สินค้ามีความพิถีพิถันและมีคุณค่ามากขึ้น จากที่เคยทำ� เป็นจำ�นวนมาก ๆ และราคาถูก สำ�หรับคนรุ่นใหม่ ผมคิดว่าเขาเห็นคุณค่า จากตรงนี้อยู่แล้ว เพราะฉะนั้นวิธีการในการทำ�สินค้ามีความแตกต่าง ในยุคที่การแข่งขันสูง จึงเป็นแนวคิดอันดับต้นๆ สังเกตได้ว่าเขาจะมีการ ค้นคว้าหาข้อมูลและลองทำ�อย่างตัง้ ใจเพือ่ ให้สนิ ค้ามีความเป็นตัวของตัวเอง เรายังสังเกตได้ว่าทั้งในประเทศและต่างประเทศ เริ่มมีการจัดงานหรือ กิจกรรมที่เกี่ยวกับงานคราฟท์มากขึ้นทั้งในระดับภูมิภาคและนานาชาติ อย่างงาน George Town Festival ที่มาเลเซีย ซึ่งเป็นงานที่รวบรวมศิลปะ หลายแขนงทั้งอาหาร ดนตรี และงานหัตถกรรม ก็ถือเป็นหนึ่งในการ รวมกลุ่มกันระดับภูมิภาคอาเซียน ซึ่งทางกลุ่มก็จะไปร่วมงานเช่นกัน นอกจากนี้ก็ยังมีแพลตฟอร์มเกี่ยวกับงานคราฟต์ทางออนไลน์ เช่น เว็บไซต์ Pinkoi หรื อ Etsy ซึ่ ง เป็ น เว็ บ ซื้ อ ขายสิ น ค้ า ดี ไ ซน์ แ ละสิ น ค้ า ทำ � มื อ ที่ คนทำ�งานคราฟต์จะรู้จักดี โดยเฉพาะ Pinkoi เองก็จะมีการจัดงานเทศกาล ในภูมิภาคเอเชียด้วยไม่ว่าจะเป็นที่ฮ่องกงหรือไต้หวัน เพื่อกระตุ้นตลาด งานคราฟต์ในภูมิภาคเอเชียให้เติบโต คิดว่าการสร้างคุณค่าให้งานหัตถศิลป์หรืองานคราฟต์ที่ดี ที่สุดคืออะไร ผมคิดว่างานหัตถกรรมมันเป็นสิง่ ทีส่ บื ทอดภูมปิ ญั ญาต่อกันมา และยังเป็นการ แสดงออกถึงรากเหง้าของเราเอง เพราะฉะนั้นหน้าที่ของคนในปัจจุบัน นอกจากจะต้องรักษาหรืออนุรักษ์ไว้แล้ว เรายังต้องคิดด้วยว่าจะทำ�อย่างไร ให้คนรุ่นใหม่สามารถที่จะเข้าถึงและอยู่ร่วมกับงานคราฟต์ได้โดยไม่มี ช่องว่างของยุคสมัยมาเป็นตัวแบ่งแยก วิธีนี้น่าจะช่วยให้เรายังคงสามารถ รักษาคุณค่าของงานคราฟต์ไว้ได้ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นยุคไหนก็ตาม ในขณะที่ ก ารอนุ รั ก ษ์ ง านหั ต ถศิ ล ป์ ก็ ต้ อ งมี วิ ธี ก ารรั ก ษาไว้ อ ย่ า ง สมดุลด้วย ผมว่าคนสมัยนี้เข้าใจได้เพียงแต่ว่า เราอาจจะต้องไม่ใช้วิธีการ ในเชิงพาณิชย์มากจนเกินไปกับงานทำ�มือที่มีคุณค่าต่างๆ เพราะนั่นอาจจะ เป็นการลดทอนคุณภาพและคุณค่าของงานที่ต้องใช้ทักษะหรือฝีมือลง ซึ่งผมว่าจริงๆ แล้ว แก่นของการสร้างสมดุลนั้นน่าจะอยู่ที่การได้แสดงออก ให้เห็นความเป็นตัวตน แสดงออกถึงวัฒนธรรมของเรา ในขณะเดียวกัน ก็ต้องสามารถอยู่ร่วมในยุคสมัยปัจจุบันได้ยังไม่เคอะเขินด้วย ไม่ว่าจะ

CREATIVE THAILAND I 30


facebook.com/DailyCraftSelectedShop

เป็นการผสมผสานกันของเทคนิคดั้งเดิมที่เราจะต้องมีการปรับปรุงให้มี ประสิทธิภาพมากขึ้น หรือมีมาตรฐานมากขึ้นกับงานหัตถกรรมดั้งเดิม มองเป้าหมายในอนาคตของ NOHMEX เกี่ยวกับการทำ�งาน กับช่างฝีมือที่เป็นคนรุ่นใหม่ไว้อย่างไร ผมเข้าใจว่าคนรุ่นใหม่บางคนอาจจะยังไม่เข้าใจกับเทคนิควิธีการมากนัก เพราะบางอย่างก็มีการเลือนหายหรือบิดเบือนไป สมาคมเราจึงอยาก ทำ�หน้าที่เป็นตัวกลางเข้าไปช่วยเหลือตรงนี้ ซึ่งเราเปิดกว้างในการให้ความ ร่วมมือแลกเปลีย่ นกับกลุม่ อืน่ ๆ เช่น กลุม่ คลัสเตอร์สงิ่ ทอ สถาบันการศึกษา หน่วยงานของภาครัฐที่เกี่ยวข้อง แล้วทางสมาคมมีวิธีทำ�งานร่วมกับช่างมือรุ่นเก่าอย่างไร หลายคนอาจจะบอกว่าช่างฝีมือรุ่นเก่าอาจจะมีปัญหาเรื่องการปรับตัวบ้าง แต่จริงๆ แล้วก็มีคนหลายประเภท คนที่อยู่ในสภาพแวดล้อมของคนที่ ทำ � งานคราฟต์ ใ นชุ ม ชนอยู่ แ ล้ ว เช่ น เป็ น ลู ก หลานของช่ า งในชุ ม ชน การทำ�งานของเขาก็จะง่ายหน่อย เพราะเขาสามารถคิดและลงมือทำ�ได้เลย ซึ่งก็มีอยู่เยอะ เพราะคนรุ่นใหม่จะค่อนข้างได้เปรียบเรื่องการแสดงออก หรือการสื่อสาร ที่สำ�คัญตอนนี้คนกำ�ลังให้ความสำ�คัญหรือสนใจตลาด งานคราฟต์มากขึน้ เพราะเราไม่ได้ถกู จำ�กัดอยูแ่ ค่วา่ ต้องเป็นของแบรนด์เนม ถึงจะเป็นสิ่งที่บ่งบอกตัวตนของเราได้ เพราะคนเรามีความคิดหลายอย่างที่ สามารถนำ�งานทำ�มือเข้าไปตอบโจทย์ความต้องการของตัวเอง หรือสื่อสาร ตัวเองออกมาได้เหมือนกัน เช่น งานคราฟต์อาจจะทำ�ให้คนที่ใช้มันรู้สึก อบอุ่น รักษ์โลก หรือรู้สึกดีที่ได้ใช้ของจากฝีมือ แต่ผู้ประกอบการใหม่หรือ

ดีไซเนอร์ใหม่ที่ไม่ได้อยู่ในสภาพแวดล้อมนั้น ก็อาจต้องศึกษาหาความรู้ เยอะหน่อย อาจจะมีการพาไปดูงานบ้าง ตรงนี้มันก็เปิดโอกาสให้เขาเข้าไป ศึกษา นวัตกรรมกับงานคราฟต์มที ศิ ทางทีไ่ ปด้วยกันได้อย่างไรบ้าง นวัตกรรมคือการนำ�เสนอแนวคิดใหม่ วิธีการใหม่ๆ เพื่อให้เกิดการพัฒนา ทัง้ ด้านความคิดสร้างสรรค์ ทักษะ และประสบการณ์ทางเทคโนโลยีหรือการ จัดการ ในส่วนของงานคราฟต์ก็สามารถผสมผสานกับนวัตกรรมเพื่อผลิต สินค้าใหม่ หรือแม้แต่กระบวนการผลิตใหม่ ซึ่งตอบสนองความต้องการวิถี ชีวิตของคนยุคนี้ได้ โดยเราอาจเริ่มต้นจากสิ่งที่มีอยู่แล้ว มาต่อยอดใช้ในรูป แบบใหม่ ทำ�ให้เกิดความแตกต่าง ผมเชื่อว่าเราใช้นวัตกรรมมาทำ�งานร่วม กันกับงานคราฟต์อยู่แล้ว อย่างทางสมาคมเองก็ได้ทำ�งานร่วมกับสวทช. (สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ) ด้วย ยกตัวอย่าง ง่ายๆ อย่างการทอผ้าที่มีการผสมผสานของเส้นใยที่มีนวัตกรรม เพื่อปรับ คุณสมบัตใิ ห้มคี วามคงทนคงรูป กันนํา้ หรือมีการปรับรูปแบบสีและลวดลาย ที่คลี่คลายมาจากลวดลายดั้งเดิม หรือการผสมผสานเส้นใยธรรมชาติกับ เส้นใยทางเลือกหลายชนิดให้เกิดความคงทน เพราะว่าผ้าฝ้ายทอมือซักเครือ่ ง ไม่ได้ ก็จะลดโอกาสในการขายหรือการใช้งานลงไป หรือตัวกระดาษสา ที่ เราก็มีการมองหาวัสดุทางเลือกมาใช้ มาพัฒนาให้มันตอบโจทย์กับวิถีชีวิต ของผู้คนปัจจุบัน เพราะสมัยนี้คนซื้อของ เขาก็ต้องดูการใช้งานด้วย สังเกต ได้ว่าสินค้าที่เป็นของที่ระลึกวางตั้งโชว์แบบสมัยก่อนซึ่งไม่มีประโยชน์ด้าน การใช้งาน พอหมดยุคของมัน ก็ไม่มีแล้ว

CREATIVE THAILAND I 31


จริงๆ งานคราฟต์มันควรจะเป็น งานที่มี ‘คุณค่า’ แต่ผู้ประกอบการรุ่นเก่าบางราย ยังมองไม่เห็นถึงคุณค่าของงาน เขาไม่ได้มองถึงต้นทุนในชีวิตของเขาเอง บางทีเราจะเห็นว่า ราคาผ้าทอมือของช่างมือในชุมชน มันเท่ากับราคาผ้าทอ ในโรงงานอุตสาหกรรมเลย ซึ่งจริงๆ แล้วเมื่อเทียบต้นทุนฝีมือแรงงาน มันเทียบกันแทบไม่ได้ กลายเป็นว่า พอการแข่งขันสูง ช่างฝีมือเอาเขาก็ลดทอน อัตลักษณ์บางอย่างลงไป เพื่อให้ราคามันแข่งได้

แล้วคนที่ขายของที่ระลึกหรืองานคราฟต์แบบที่ยังไม่ได้ปรับ ให้เข้ากับยุคสมัยจะไปต่อได้ไหม ผมว่าแนวโน้มตลาดจะเป็นตัวตัดสินเอง ว่าสินค้านี้จะไปต่อได้ไหม อาจจะ ไม่ตายหายไปจากตลาด แต่มนั อาจจะถูกบีบให้มกี ารปรับเปลีย่ นรูปแบบบ้าง แต่ต้องเข้าใจว่าเทรนด์หลักมันไม่ได้พุ่งไปตรงนั้นแล้ว จริงๆ งานคราฟต์มนั ควรจะเป็นงานทีม่ ี ‘คุณค่า’ แต่ผปู้ ระกอบการรุน่ เก่าบางรายยังมองไม่เห็นถึงคุณค่าของงาน เขาไม่ได้มองถึงต้นทุนในชีวิต ของเขาเอง บางทีเราจะเห็นว่าราคาผ้าทอมือของช่างมือในชุมชนมันเท่ากับ ราคาผ้าทอในโรงงานอุตสาหกรรมเลย ซึ่งจริงๆ แล้วเมื่อเทียบต้นทุนฝีมือ แรงงานมันเทียบกันแทบไม่ได้ กลายเป็นว่าพอการแข่งขันสูง ช่างฝีมือเอา เขาก็ลดทอนอัตลักษณ์บางอย่างลงไป เพือ่ ให้ราคามันแข่งได้ กลายเป็นต้อง เอาสีทเี่ ป็นเคมีเข้ามาใช้ แต่มาวันนีเ้ ขาก็รแู้ ล้วว่าเขาสูผ้ ดิ ทาง เลยมาให้คณุ ค่า กับเทคนิควิธกี าร เริม่ มีการศึกษาเรือ่ งการย้อมสี เริม่ ตีความลายผ้าจากลาย ดั้งเดิมจากที่เมื่อก่อนสร้างแต่ลายที่เป็นพื้นฐาน เริ่มมีการปรับสเกล มีการ เปลี่ยนสี วางเลย์เอาท์ใหม่ ให้มันดูไม่เหมือนเป็นการยัดเยียดวัฒนธรรม มากไป มีความเป็นสากลมากขึน้ ซึง่ ก็นา่ สนใจขึน้ เพราะจริงๆ ราคางานคราฟต์ บ้านเราไม่ได้สูงมาก เป็นราคาที่ยังจับต้องได้ และผมว่าการใช้นวัตกรรม หรือการสร้างความแตกต่างอย่างมีคุณค่าจะยังเป็นทางออกที่ยั่งยืนสำ�หรับ ช่างฝีมือไม่ว่าจะเป็นรุ่นไหน

ส่วนตัวสนใจงานคราฟต์ประเภทไหนมากทีส่ ดุ

เครื่องหนัง กับงานทองเหลืองครับ มันมีลักษณะเฉพาะ ที่เวลา เราใช้งานไปเรื่อยๆ ก็จะยิ่งมีความสวยงามตามกาลเวลา วิธีการหาแรงบันดาลใจในการทำ�งาน

การท่องเที่ยวในแบบเฉพาะที่เราสนใจ เช่น การดูร้าน ดูสินค้า ดูวิถีชีวิตที่มีความแตกต่างจากสิ่งที่เราเป็นอยู่ สถานที่ที่ชอบไปเดินดูงานคราฟต์ใหม่ๆ

ย่านเมืองเก่าในตัวเมืองเชียงใหม่

เอื้อเฟื้อสถานที่ : ร้าน Plieu Cafe สนามบินนํ้า จ. นนทบุรี CREATIVE THAILAND I 32



Creative Will : คิด ทํา ดี

คืนชีวิตให้งานศิลป์ไทย และความตั้งใจ ของทีมผู้สร้างแอนิเมชัน ‘รามาวตาร’ เรื่อง : พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์ ภาพ : สรศักดิ์ ชุนหโสภณ

จากซ้ายไปขวา : คุณอภิชญ์ บุศยศิริ คุณดลยา กมลเพ็ชร และคุณอธิปัตย์ กลมเพ็ชร

ข่าวการเปิดตัวภาพยนต์แอนิเมชันรามเกียรติ์ ตอน “รามาวตาร” รอบปฐมทัศน์ ที่กระทรวงวัฒนธรรมเป็นผู้ให้ทุนในการชุบชีวิตมรดกศิลป์ของชาติจาก จิตรกรรมฝาผนังวัดพระแก้ว มาสู่ส่อื ภาพยนตร์แอนิเมชันที่สนุกสนานและ เข้าถึงคนรุน่ ใหม่ พร้อมเปิดให้ประชาชนจองบัตรเข้าชมฟรีในเดือนเมษายนถึง พฤษภาคมนี้ คือข่าวคราวน่ายินดีของคนทีร่ กั และชืน่ ชอบในศิลปวัฒนธรรมไทย ทว่าเบือ้ งหลังความสำ�เร็จกว่าทีแ่ อนิเมชันเรือ่ งดังกล่าวจะได้เข้าโรงฉาย ตัวแทนทีมทำ�งานทีป่ ระกอบไปด้วยคุณอธิปตั ย์ กลมเพ็ชร ผูก้ �ำ กับภาพยนตร์

คุณดลยา กมลเพ็ชร ผูอ้ �ำ นวยการสร้าง และคุณอภิชญ์ บุศยศิริ ผูเ้ ขียนบท ภาพยนตร์ ทีเ่ ป็นตัวแทนของทีมงานอีกหลากหลายชีวติ ได้บอกเล่าถึงความ ท้าทายมากมายทีเ่ กิดจากการสร้างสรรค์ผลงานทีน่ า่ ภาคภูมใิ จชิน้ นี้ “เราทำ�งานกับโปรเจ็กต์นร้ี ว่ ม 12 ปี ด้วยว่าติดอุปสรรคเรือ่ งการระดมทุน ซึ่งกว่าจะได้ลงมือทำ�จริง ก็คือตอนที่ทางกรมส่งเสริมวัฒนธรรมอนุมัติเงิน ลงทุนให้ จากนัน้ เราก็มเี วลาแค่ไม่ถงึ ปีในการทำ�ให้มนั เสร็จสมบูรณ์” เพราะความ ตั้งใจที่อยากถ่ายทอดและสืบสานศิลปวัฒนธรรมไทยสู่คนรุ่นใหม่ ผสานกับ ความต้องการสร้างแอนิเมเตอร์รุ่นใหม่ๆ ให้มที ง้ั ฝีไม้ลายมือและพืน้ ฐานความรู้ ในการเล่าเรื่องศิลปวัฒนธรรมไทยได้อย่างแท้จริง ทำ�ให้ทีมงานต้องทุ่มเท พละกำ�ลังทัง้ หมดในการทำ�งานนีใ้ ห้ส�ำ เร็จตามเวลาทีก่ �ำ หนด “รามาวตารถือเป็น งานแห่งชาติ ฉะนัน้ ทีป่ รึกษาทีร่ จู้ ริงจึงมีความสำ�คัญมาก ทัง้ ทีป่ รึกษาด้านบท และผูร้ เู้ รือ่ งโขนทีเ่ ป็นการแสดงซึง่ ได้รบั การจารึกอยูบ่ นภาพจิตรกรรมฝาผนัง การรูค้ วามเป็นมาของคาแรกเตอร์แต่ละตัว จะทำ�ให้เราจินตนาการได้วา่ ท่าทางนี้ ควรจะแสดงออกอย่างไร หรือแต่ละตัวละครควรจะมีนสิ ยั ยังไง จะลากจูงเรือ่ ง ไปทางไหนต่อ นัน่ คืองานท้าทายของคนเขียนบท” กว่าจะเป็นแอนิเมชันความยาว 60 นาทีน้ี เบือ้ งหลังเกิดจากการทำ�งาน ของเหล่ายอดฝีมอื ในแต่ละสาขาหลายสิบชีวติ ซึง่ แต่ละทีมทีต่ ดั สินใจมาร่วม ทำ�งานโปรเจ็กต์นี้ก็ต้องเรียกว่าทำ�ด้วยใจ “งบประมาณมันน้อยอยู่แล้ว และ ระยะเวลายาวอีก เราจะให้เขาเสียสละทุกอย่างก็เป็นไปไม่ได้ เลยคิดว่าต้องให้ ความรู้เขาคืนกลับไปผ่านการจัดเวิร์กช็อป” “เรามีเวิร์กช็อป 3 ครั้ง ครั้งแรกเป็นเรื่องเกี่ยวกับภาพจิตรกรรมไทย โดยอาจารย์สาคร ซึง่ เป็นหัวหน้าช่างทีด่ แู ลการซ่อมบำ�รุงวัดพระแก้ว ท่านก็มา อธิบายให้ฟังว่าตัวละครนี้เป็นเจ้านะ สวมชุดแบบไหน เครื่องประดับตรงนี้ เป็นเหล็ก ตรงนี้เป็นผ้า คนทำ�งานจะได้รู้และพัฒนาต่อในเชิงของภาพ เคลือ่ นไหว ครัง้ ทีส่ องเป็นความลึกของตัวละครโดยผูเ้ ชีย่ วชาญทีเ่ ป็นครูโขน เพือ่ ให้เข้าใจว่าตัวละครมีคาแรกเตอร์แบบไหน ทำ�ไมถึงแสดงออกมาแบบนี้ ส่วนครัง้ สุดท้ายคือเวิรก์ ช็อปแบบทีไ่ ด้ลงมือรำ�โขนกันจริงๆ เพราะแอนิเมเตอร์ จะต้องรู้ว่าจะแปลงภาพ 2 มิติบนฝาผนังให้ขยับอย่างไรถึงจะถูกต้อง การเวิรก์ ช้อปจึงช่วยได้ทงั้ ทำ�ให้เข้าใจว่าการเคลือ่ นไหวให้มชี วี ติ เป็นแบบไหน และสองคือต้องทำ�ให้เชื่อได้ว่าตัวละครพวกนี้มีชีวิต มีเรื่องราวจริงๆ” การซึมซับมรดกทางภูมปิ ญั ญาของไทยนัน้ อาจทำ�ได้หลายทาง นับเป็น โชคดีของทีมทำ�งานที่ได้สัมผัสและลงมือคืนชีวิตให้กับจิตรกรรมฝาผนังที่ ทรงคุณค่าให้กลับมาโลดแล่นได้อีกครั้งหนึ่ง และยังเป็นอีกครั้งที่เหล่า แอนิเมเตอร์หรือคนทำ�งานในแวดวงแอนิเมชันรุน่ ใหม่จะได้เข้าถึงแก่นแท้ของ ศิลปะไทยและลับคมฝีมือผ่านกระบวนการเรียนรู้โดยผู้เชี่ยวชาญตัวจริง “นอกจากจะมาดูให้ได้ความรู้ ความบันเทิง ภูมิใจในรากเหง้าของ ตัวเองแล้ว เรายังอยากขยายผลในเรื่องของการทำ�เวิร์กช้อป ซึ่งเป็น องค์ความรู้ที่ช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้คนทำ�งานและช่วยสร้างโมเดลใน การทำ�งานกับชุมชนหรือในเชิงศิลปวัฒนธรรมต่อไปได้อีก หรือถ้าแค่คนดู ได้ดูแล้ว เกิดความสนใจที่จะไปค้นหาเรื่องราวหรือต่อยอดจากตรงนี้ต่อ เราก็ถือว่าเราประสบความสำ�เร็จแล้ว” ทีมงานกล่าวทิ้งท้าย ดูรายละเอียดการจัดฉายภาพยนตร์ได้ที่ fb.com/รามาวตาร จิตรกรรมฝาผนังมีชีวิต และ www.ramavatar.net

CREATIVE THAILAND I 34




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.