Creative Thailand Magazine

Page 1




Contents : สารบัญ

Creative Update

6

Machine Learning เรียนรู้โรคซึมเศร้า จากเสียง / A to Z โลกใหม่ในโลกใหม่วนั นี้ / รักษาความกลัวด้วยโลกเหมือนจริง

Creative Resource 8

Creative Business 20 ดูแลใจในเวลาที่ใช่ กับสายตรงนักจิตวิทยา Relationflip

How To 23

Book / Article

Anti-Anxiety Remedy 10 ขั้นตอนคลายกังวลโดยไม่ต้องพึ่งยา

MDIC 10

Creative Place 24

Cover Story 12

The Creative 28

จิตผ่อนคลาย กายแข็งแรง... ด้วยเสื้อผ้าผสมแร่ธาตุ

‘โลก’ ซึมเศร้า

Fact and Fig ure

18

เปิดสถิติจริงของ ‘โรคใหม่’ ใน ‘โลกใหม่’

Meet ‘Stuttgart’ The Most Relaxing City in the World

‘ดนตรีบำ�บัด’ เพราะดนตรีเป็นเสียงของเราทุกคน

Creative Solution 34 Therapeutic Design บรรเทาอาการป่วยด้วยการออกแบบ

บรรณาธิการที่ปรึกษา l อภิสทิ ธิ์ ไล่สตั รูไกล บรรณาธิการอำ�นวยการ l มนฑิณี ยงวิกลุ ที่ปรึกษา l พิชติ วีรงั คบุตร, ศิรอิ ร หริม่ ปราณี, เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร, พจน์ องค์ทวีเกียรติ บรรณาธิการบริหาร l พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์ กองบรรณาธิการ l ปิยวรรณ กลิน่ ศรีสขุ , ฐานันดร วงศ์กติ ติธร, ณัฐณิชาต์ ศิรวิ ลั ลภ เลขากองบรรณาธิการ l ณัฐชา ตะวันนาโชติ ศิลปกรรม l ชิดชน นินนาทนนท์ ประสานงานกองบรรณาธิการ l วนบุษป์ ยุพเกษตร ช่างภาพและมัลติมีเดีย l ภีร์รา ดิษฐากรณ์ เว็บไซต์ l นพกร คนไว นักศึกษาฝึกงาน l วรารัตน์ สังข์ศาสตร์ จัดทำ�โดย l สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) (CEA) 1160 อาคารไปรษณีย์กลาง ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10501 โทร. 02 105 7400 แฟกซ์. 02 105 7450 พิมพ์ที่ l บริษัท สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง จำ�กัด โทร. 02 903 8257-9 จำ�นวน 15,000 เล่ม ติดต่อลงโฆษณา: Commu.Dept@tcdc.or.th นิตยสารฉบับนีใ้ ช้หมึกพิมพ์จากนา้ํ มันถัว่ เหลืองทีไ่ ม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทัง้ ยังเป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อม และใช้กระดาษ รีไซเคิล ซึ่งเป็นผลผลิตของผู้ประกอบการไทย จัดทำ�ภายใต้โครงการ “Creative Thailand สร้างเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์” โดยสํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจ สร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) (CEA) ซึ่งมีเป้าหมายในการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) และผลักดันการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส แสดงที่มา-ไมใชเพื่อการคา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย แสดงที ่มา-ไมใTHAILAND ชเพื่อการคา-อนุI ญ4าตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย CREATIVE


Editor’s Note : บทบรรณาธิการ

KUFUNGISISA Friendship Bench จึงไม่ใช่แค่ทางออกสำ�หรับดร. ชิบานดา ที่ไม่มีทั้ง กำ�ลังเงินและกำ�ลังคนจากภาครัฐ แต่เป็นทางออกสำ�หรับหลายประเทศที่ ขาดแคลนเช่นเดียวกัน ด้วยอุปกรณ์ทแ่ี สนง่าย คือ ม้านัง่ 1 ตัว และเหล่าคุณยาย ที่กระจายไปตามพื้นที่ต่างๆ ของซิมบับเวกว่า 400 คน ก็สามารถช่วยผู้ป่วย ได้กว่า 30,000 คน นับตั้งแต่ก่อตั้งโครงการฯ จนถึงปี 2017 โมเดลนี้จึงถูกนำ� ไปใช้แล้วกับประเทศเพือ่ นบ้าน อย่างมาลาวี แซนซิบาร์ จนถึงนิวยอร์กเอง ทีม่ ี อาสาสมัครทัง้ วัยหนุม่ สาวและกลุม่ ผูม้ คี วามหลากหลายทางเพศ จากช่วงเริม่ แรก ที่คนรอบตัวดร. ชิบานดา ต่างพากันคิดว่ามันไร้สาระ แม้ว่าในตอนนี้ ชั้นหนังสือเกี่ยวกับการพัฒนาตัวเองจะขยายมากขึ้น พร้อมๆ กับการเพิม่ ขึน้ ของจำ�นวนแอพพลิเคชันเพือ่ การผ่อนคลายและทำ�สมาธิ แต่แรงกดดันอันไร้รปู จากความคาดหวังและสิง่ แวดล้อมรอบตัว อาจไม่ใช่สงิ่ ที่ เราจะสามารถรับมือเพียงลำ�พัง คำ�แนะนำ�ข้อแรกๆ ของนักจิตวิทยา และ WHO จึงเป็นการหาคนคุย ซึง่ อาจจะไม่ใช่การรักษาเสียทีเดียว แต่อย่างน้อยก็ลดโอกาส ที่จะพ่ายแพ้ จนทำ�ให้เราต้องทุกข์ทรมานจากอาการป่วยที่มองไม่เห็นนี้

CREATIVE THAILAND I 5

มนฑิณี ยงวิกุล บรรณาธิการอำ�นวยการ

Photo by Daniel Mingook Kim on Unsplash

คิวฟังจิไซซา (Kufungisisa) เป็นภาษาพื้นถิ่นของประเทศซิมบับเว ที่แปลเป็น ภาษาอังกฤษได้ว่า Thinking too much ฟังแล้วอาจเหมือนคำ�บ่นในภาษาไทย ว่า “คิดมากไป” มากกว่าที่จะเป็นอาการป่วยทางจิตที่เป็นปัญหาระดับโลก อย่างเช่นโรคซึมเศร้าที่กำ�ลังคุกคามผู้คนเกือบ 300 ล้านคนอยู่ในปัจจุบัน ก่อนที่ดร. ดิกซอน ชิบานดา (Dr. Dixon Chibanda) นักจิตวิทยาเพียง หนึง่ เดียวทีป่ ระจำ�อยูใ่ นสถานพยาบาลของรัฐในซิมบับเว จะใช้ค�ำ ๆ นีใ้ นการอธิบาย ความเกีย่ วกับงานที่เขาทำ�อยู่ เขาเคยพยายามจะสื่อสารศัพท์สากลอย่างเช่น ความซึมเศร้า (Depression) ความคิดในการฆ่าตัวตาย (Suicide ideation) มาก่อน จนกระทั่งคุณยายที่เป็นอาสาสมัครในทีมงานของเขาเองพูดเป็น เสียงเดียวกันว่าศัพท์วิชาการยาก ๆ อย่างนั้น “ไม่เวิร์ก” เพราะมันไม่สามารถ ใช้กับการพูดคุยที่ต้องอาศัยความเข้าอกเข้าใจกับคนในท้องถิ่นได้ คำ�แนะนำ�ของคุณยายที่มาเป็นอาสาสมัครนี้เป็นเหมือนกุญแจสู่ความ สำ�เร็จของโครงการ Friendship Bench ที่ก่อตั้งในปี 2006 โครงการที่เกิดขึ้น จากความสะเทือนใจอย่างรุนแรงของดร. ชิบานดา เมื่อเขาพบว่าคนไข้หญิง วัย 26 ปีของเขารายหนึ่งพยายามจะฆ่าตัวตายแต่ไม่สำ�เร็จ เขาจึงนัดให้คนไข้ รายนี้มารับการรักษาที่เมืองฮาราเร จนเมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่ง เขากลับ ได้รับโทรศัพท์จากแม่ของเธอว่า เธอเสียชีวิตแล้วจากการฆ่าตัวตาย เขาจึง ถามว่า “ทำ�ไมเธอถึงไม่มาหาผมทีฮ่ าราเร เราตกลงกันแล้วไม่ใช่เหรอ ว่าหลังจาก ออกจากโรงพยาบาลจะพาเธอมา” แต่ทว่าคำ�ตอบทีไ่ ด้รบั คือ “เราไม่มเี งิน 15 เหรียญ เป็นค่ารถไปฮาราเร” ปัญหาการเข้าไม่ถึงการรักษาเช่นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นที่ซิมบับเวเพียงแห่งเดียว แต่ก�ำ ลังเกิดขึน้ กับผูป้ ว่ ยทางจิต (Mental Illness) ทัว่ โลก ซึง่ องค์การอนามัยโลก (WHO) เปิดเผยว่า จำ�นวนคนทีไ่ ม่ได้รบั การรักษาในประเทศรายได้ตา่ํ -ปานกลาง มีมากถึงร้อยละ 76-85 ขณะที่ประเทศที่มีรายได้สูง อยู่ที่อัตราร้อยละ 35-50 ส่วนหนึง่ ของการเข้าไม่ถงึ การรักษา คือการเจ็บป่วยทางจิตเป็นสิง่ ทีม่ องไม่เห็น จึงไม่มคี วามเร่งด่วนในการรักษาเท่ากับอาการทางกาย หลายหน่วยงานจึงต้อง เผชิญกับปัญหาการขาดแคลนบุคลากรและงบประมาณ


Creative Update : คิดทันโลก

เรื่อง : นพกร คนไว โรคซึมเศร้าและวิตกกังวลในเยาวชนกลายเป็น ปั ญ หาสำ � คั ญ ที่ โ ลกต้ อ งหั น มาทำ � ความเข้ า ใจ ศู น ย์ ค วบคุ ม และป้ อ งกั น โรคแห่ ง อเมริ ก า (U.S. Centers for Disease Control and Prevention) เปิดเผยข้อมูลด้านสุขภาพจิตของ เยาวชนอเมริกนั ตัง้ แต่อายุ 3-17 ปี พบว่าเยาวชน 7.1% (ราว 4.4 ล้านคน) ได้รับการวินิจฉัยว่า เป็นโรควิตกกังวล และ 3.2% (ราว 1.9 ล้านคน) มีอาการของโรคซึมเศร้า อีกทัง้ เด็กทีม่ อี ายุตาํ่ กว่า 8 ปียังเป็นวัยที่ไม่สามารถสื่อสารอารมณ์ของ ตัวเองได้ จึงเป็นหน้าทีข่ องพ่อแม่ทตี่ อ้ งดูแลลูกๆ อย่างใกล้ชิด กลุ่มนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเวอร์มอนต์ (University of Vermont) ได้ทดลองใช้วธิ ี Machine Learning สร้างรูปแบบของอัลกอริทมึ ทีจ่ ะวินจิ ฉัย โรคซึมเศร้าและโรควิตกกังวลจากการสนทนา ของเด็ก ที่ประยุกต์เข้ากับการทดสอบแบบ Trier Social Stress Task โดยนักวิจยั จะเปิดโอกาสให้เด็ก เล่าเรือ่ งใดก็ได้เป็นเวลา 3 นาที และเป็นกรรมการ จับเวลาซึ่งจะคอยให้สัญญาณว่าพวกเขาเหลือ เวลาเท่าไร อีกทั้งยังเป็นผู้ตัดสินเรื่องราวนั้นๆ และจะแสดงเพียงความคิดเห็นที่เป็นกลางหรือ

ในด้านลบ เพื่อสร้างสถานการณ์ตงึ เครียดให้กบั เด็กที่เข้าร่วมทดสอบ “งานของเราคือการสร้าง ความเครียดและพาพวกเขาไปอยู่ในสถานการณ์ ที่กำ�ลังถูกตัดสิน” เอลเลน แมคกินนิส (Ellen McGinnis) นั ก จิ ต วิ ท ยาคลิ นิ ก ผู้ วิ จั ย จาก มหาวิทยาลัยเวอร์มอนต์กล่าว หลังการทดสอบ นักวิจัยจะสร้างอัลกอริทึม ด้วย Machine Learning เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลเชิง สถิ ติ จ ากไฟล์ เ สี ย งที่ บั น ทึ ก ของเด็ ก แต่ ล ะคน ได้อย่างแม่นยำ�ถึง 80% และในบางรายยังได้ ผลการวิเคราะห์ทสี่ อดคล้องกับบันทึกของพ่อแม่เด็ก ก่อนเข้ารับการทดลองอีกด้วย อัลกอริทึมยัง สามารถระบุคุณสมบัติที่แตกต่างของเสียงพูด ของเด็กได้ 8 ประเภท มี 3 ประเภทจากทั้งหมด ของโทนเสียงที่แสดงแนวโน้มว่ามีความผิดปกติ ของจิตใจอย่างสูง ได้แก่ โทนเสียงตา่ํ การพูดซา้ํ คำ� และโทนเสียงสูงเมื่อได้ยินสัญญาณเตือนเวลา ซึ่งโทนเสียงตํ่าและการพูดซํ้าคำ�เป็นพฤติกรรม หลักที่สามารถพบได้ในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า สำ�หรับก้าวต่อไปของการวิจยั นักวิจยั ตัง้ เป้า จะพัฒนาให้ Machine Learning สามารถใช้งาน ได้อย่างสะดวกในด้านการรักษาทั่วไป ซึ่งการ วินิจฉัยโรคผ่านเสียงยังสามารถทำ�งานร่วมกับ การวินิจฉัยผ่านท่าทาง และจะเป็นผู้ช่วยด้าน เทคโนโลยีที่สำ�คัญสำ�หรับการวินิจฉัยโรคทางจิต อีกทั้งยังสามารถต่อยอดไปสู่การวินิจฉัยผ่าน

Photo by Frank Mckenna on Unsplash

Machine Learning เรียนรู้โรคซึมเศร้าจากเสียง

CREATIVE THAILAND I 6

สมาร์ทโฟนที่สามารถบันทึกเสียงและวิเคราะห์ ได้ทันที เพื่อเป็นตัวแทนของพ่อแม่ในการยับยั้ง และรับมือกับอาการของโรควิตกกังวัลและโรคซึม เศร้าของลูกได้ก่อนที่จะสายเกินไป ทีม่ า: บทความ “AI Can Detect Depression in a Child’s Speech” โดย University of Vermont จาก sciencedaily.com / บทความ “How to Talk to Your Kids about Their Mental Health” โดย Nicole Spector จาก nbcnews.com / บทความ “Machine Learning Algorithm Detects Signals of Child Depression through Speech” โดย Nick Lavars จาก newatlas.com

A to Z โรคใหม่ในโลกใหม่วนั นี้ เรื่อง : พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์

แน่นอนว่าโรคอย่างการหลงรักตัวเอง (Narcissistic Personality Disorder) อาจเป็นโรคบุคลิกภาพ ผิดปกติทเี่ รารูจ้ กั กันมานานแล้ว แต่เชือ่ หรือไม่วา่ โรคทางใจเหล่ า นี้ ก็ มี วิ วั ฒ นาการไม่ น้ อ ยหน้ า ความเร็ ว ของเทคโนโลยี ส มั ย ใหม่ เ หมื อ นกั น ไม่วา่ จะเป็นอาการทีเ่ รียกว่า Phobia หรือโรคกลัว โรคทางจิ ต เวชที่ จั ด อยู่ ใ นกลุ่ ม โรควิ ต กกั ง วล ชนิดหนึ่ง ซึ่งผู้ป่วยจะมีความกลัวที่รุนแรงต่อ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมากผิดปกติ หรืออาการ Philia ที่ หมายถึงการรักสิง่ ต่างๆ หรือเหตุการณ์บางอย่าง จนมากเกินไป โดยสถาบันสุขภาพจิตแห่งชาติ ของสหรัฐอเมริการะบุว่าร้อยละ 8 ของประชากร วัยผู้ใหญ่ในประเทศมีอาการ Phobia โดยผู้หญิง มีแนวโน้มที่จะมีภาวะดังกล่าวมากกว่าผู้ชาย อาการ Phobia นี้ยังแสดงออกมาเป็นอาการ ทางกายได้ด้วย เช่น อาการคลื่นไส้ ตัวสั่น หัวใจ เต้นเร็วผิดปกติ รู้สึกหลอนหรือถูกครอบงำ�โดย สิ่งที่หวาดกลัว สมาคมจิ ต แพทย์ แ ห่ ง สหรั ฐ อเมริ ก าได้ จำ�แนกความกลัวออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ภาวะกลัวสังคม (Social Phobias) ภาวะกลัว สถานที่ ห รื อ สถานการณ์ ที่ ห าทางหลี ก หนี ไ ด้ ลำ�บาก (Agoraphobia) และภาวะกลัวในบางสิง่ บางอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Specific Phobias) เช่น กลัวแมงมุม กลัวงู กลัวเข็ม เป็นต้น โดย Phobia ที่พบมากอาจแบ่งออกคร่าวๆ ได้เป็น การกลัวสภาวะแวดล้อม ความกลัวเกี่ยวกับสัตว์ ความกลัวเกี่ยวกับการแพทย์และการรักษา และ


Achluophobia กลัวความมืด Acrophobia กลัวความสูง Bacteriophobia กลัวแบคทีเรีย Barophobia กลัวแรงโน้มถ่วง Cacophobia กลัวความอัปลักษณ์ Catoptrophobia กลัวกระจก Dendrophobia กลัวต้นไม้ Ecophobia กลัวบ้าน Elurophobia กลัวแมว Gamophobia กลัวการแต่งงาน Hemophobia กลัวเลือด Iatrophobia กลัวหมอ Insectophobia กลัวแมลง Koinoniphobia กลัวห้อง Leukophobia กลัวสีขาว Mageirocophobia กลัวการทำ�อาหาร Melanophobia กลัวสีดำ� Noctiphobia กลัวกลางคืน Nosocomephobia กลัวโรงพยาบาล Ombrophobia กลัวฝน Pedophobia กลัวเด็ก Philophobia กลัวความรัก Scolionophobia กลัวโรงเรียน Selenophobia กลัวพระจันทร์ Tachophobia กลัวความเร็ว Technophobia กลัวเทคโนโลยี Venustraphobia กลัวผู้หญิงสวย Wiccaphobia กลัวแม่มดและเวทมนตร์ Xenophobia กลัวคนแปลกหน้า/คนต่างชาติ Zoophobia กลัวสัตว์ ที่มา: บทความ “A to Z: List of Phobias, From the Strange to the Common” (19 พฤษภาคม 2019) โดย Kendra Cherry จาก verywellmind.com

Photo by Lux Interaction on Unsplash

ความกลัวต่อสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง แต่ สิ่ ง ที่ ต้ อ งทำ � ความเข้ า ใจให้ ดี ก็ คื อ คนเรา สามารถทีจ่ ะหวาดกลัวอะไรก็ได้ตามวิวฒั นาการ ของโลก ความเชือ่ หรือแม้แต่คา่ นิยมทีเ่ ปลีย่ นไป และความกลัวต่อสิง่ ต่างๆ นีก้ ส็ ามารถเพิม่ ขึน้ ได้ ไม่มีที่สิ้นสุด...หากมนุษย์ยังคงไม่หยุดที่จะกลัว ลองดู ชื่ อ อาการ Phobia ที่ ย กมาเป็ น ตัวอย่าง แล้วอาจพบว่า Phobia นัน้ ไม่ได้หา่ งไกล จากตัวเราเท่าไรเลย

รักษาความกลัว ด้วยโลกเหมือนจริง เรื่อง : นพกร คนไว การบำ�บัดความกลัวด้วยการเผชิญหน้ากับสิ่งที่ กลัวหรือ Exposure Therapy เป็นหนึ่งในวิธี การรักษาผูป้ ว่ ยทีม่ อี าการวิตกกังวลและหวาดกลัว ต่อสิง่ ใดสิง่ หนึง่ หรือสถานการณ์ตา่ งๆ ในปัจจุบนั มีการใช้งานเทคโนโลยี VR ในการรักษาอาการ ผิดปกติทางจิต เช่น PTSD (Post-Traumatic Stress Disorder) Acrophobia การกลัวความสูง และ Claustrophobia การกลัวที่แคบ โดยสอดรับกับ การรักษาแบบ Exposure Therapy ในการจำ�ลอง สภาพแวดล้ อ มด้ ว ยคอมพิ ว เตอร์ ที่ ป ลอดภั ย และเป็นมิตรต่อผู้เข้ารับการบำ�บัด มีตัวอย่าง สตาร์ทอัพและโครงการวิจัยมากมายที่นา่ สนใจ Limbix สตาร์ทอัพจากประเทศอเมริกา ก่อตั้งโดยทีมงานผู้อยู่เบื้องหลังจากโปรเจ็กต์ VR ของบริษัท Google และ Facebook ที่กลับมา พัฒนาเทคโนโลยี VR ของตนเอง เพื่อช่วยเหลือ ผู้ป่วยที่มีอาการวิตกกังวล ความเจ็บปวดทางใจ ภาวะซึมเศร้า และการเสพติดบางสิ่งมากเกินไป ผ่านภาพจำ�ลอง 360 องศาของภาพถ่ายใน สถานที่จริง Limbix ยังร่วมมือกับมหาวิทยาลัย โรงพยาบาล และสถาบันชั้นนำ�ที่เชี่ยวชาญเรื่อง โรคทางจิต เพื่อร่วมวิจัยข้อมูลและพัฒนาการ รักษาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น Oxford VR บริษัทสตาร์ทอัพที่ก่อตั้งจาก การสนั บ สนุ น ของมหาวิ ท ยาลั ย ออกซฟอร์ ด นำ�ทีมพัฒนาโดยศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้าน จิตวิทยา เริ่มต้นจากการรักษาโรคกลัวความสูง CREATIVE THAILAND I 7

ด้วยการสร้างแบบจำ�ลองจากซอฟต์แวร์ Unity 3D ที่ใช้สำ�หรับพัฒนาเกม ซึ่งจะพาคนไข้ไป เผชิญหน้ากับสถานการณ์ทตี่ อ้ งรับมือกับความสูง และบีบบังคับให้พวกเขาพิสจู น์ความกล้าของตัวเอง นอกจากนี้ Oxford VR ยังเริ่มทำ�การวิจัยเพื่อ การบำ�บัดโรคกลัวการเข้าสังคมและโรควิกลจริต ซึ่งจะขยายไปสู่ด้านต่างๆ ในอนาคต Bravemind โครงการการวิ จั ย จาก University of Southern California ที่มีเป้าหมาย ในการพัฒนาเพื่อบำ�บัดโรค PTSD สำ�หรับเหล่า ทหารผ่านศึกที่ ไ ด้รับผลกระทบทางจิตใจจาก สงคราม โดยซอฟต์แวร์จะจำ�ลองภาพเหตุการณ์ สามมิติของสงครามที่พวกเขาเคยผ่านมา อีกทั้ง ยังจำ�ลองการสัน่ สะเทือนและกลิน่ ในการพาคนไข้ เข้ า ใกล้ ค วามทรงจำ � ที่ โ หดร้ า ย เพื่ อ กลั บ ไป เผชิญหน้ากับความกลัว โดยมีผเู้ ชีย่ วชาญคอยดูแล และบันทึกอาการอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ Bravemind เป็ น โครงการที่ เ ปิ ด รั บ ให้ เ ข้ า ใช้ ง านได้ ฟ รี ใ น โรงพยาบาลและมหาวิทยาลัยหลายแห่งทัว่ อเมริกา แม้ VR จะยังไม่ใช่ค�ำ ตอบแรกของการบำ�บัด สุขภาพจิตในปัจจุบัน แต่ตัวอย่างสตาร์ทอัพและ งานวิจัยที่เกิดขึ้นในหลายปีที่ผ่านมา ทำ�ให้เรา มองเห็นช่องทางต่อยอดและลงทุนสำ�หรับการ พัฒนาอุปกรณ์เรียนรูแ้ ละฝึกฝน เพือ่ ให้เทคโนโลยี VR เป็ น อี ก ทางเลื อ กหนึ่ ง สำ � หรั บ การรั ก ษา สุขภาพจิตในอนาคต ที่มา: บทความ “Bravemind” จาก medvr.ict.usc.edu / บทความ “How Virtual Reality Can Help the Global Mental Health Crisis” โดย Sol Rogers จาก forbes.com / บทความ “How Virtual Reality Exposure Therapy (VRET) Treats PTSD” โดย Matthew Tull, PhD จาก verywellmind.com / limbix.com / oxfordvr.org


Creative Resource : วัตถุดิบทางความคิด เรื่อง : มาฆพร คูวาณิชกิจ, พิรพร เขียวเขิน และ อินทนนท์ สุกกรี

F E AT U R E D BOOK The Secret Language of Color: Science, Nature, History, Culture, Beauty of Red, Orange, Yellow, Green, Blue, and Violet โดย Arielle Eckstut และ Joann Eckstut

พระภิกษุจากนิกายเกลุก (นิกายหมวกเหลือง) ในจังหวัด ซือกาเซ ประเทศทิเบต

“ทำ�ไมสีจงึ มีผลต่อความรูส้ กึ ของมนุษย์และส่งผล อย่างไรบ้าง” หนังสือเล่มนีต้ อบคำ�ถามนีไ้ ด้อย่าง น่าสนใจ ด้วยการเล่าเรือ่ งราวและอธิบายความหมาย อันลึกซึง้ ทีซ่ อ่ นอยูข่ องสีตา่ งๆ ในเชิงจิตวิทยา ทีม่ ผี ล ต่ออารมณ์ การกระตุน้ จิตใจ และระบบความคิด ของมนุษย์ เนือ่ งจากสีเป็นปรากฏการณ์ของแสงทีต่ กกระทบวัตถุ สะท้อนผ่านอวัยวะอย่างม่านตา แล้วจึง ประมวลผลเข้าสู่ระบบสมองส่วนที่มีบทบาทในการรับรู้ความรู้สึกต่างๆ การสั่งการเคลื่อนไหว (Motor Commands) การแยกแยะในด้านมิติต่างๆ (Spatial Visualization) ความคิด และภาษา จึงทำ�ให้เกิด การรับรู้ของแต่ละสีที่แตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น การที่สายตามนุษย์สามารถจับจ้อง ‘สีเหลือง’ ได้เป็นสีแรกนั้น เป็นเพราะระบบ สายตาสามารถรับรูค้ ลืน่ ความถีน่ ไ้ี ด้ไวกว่าลำ�แสงคลืน่ อืน่ ๆ ดังนัน้ สีเหลืองจึงเป็นสีทใ่ี ห้ความรูส้ กึ โดดเด่น แตกต่าง และสง่างาม ดังเช่นในประวัตศิ าสตร์มนุษย์เลือกใช้สเี หลืองในชนชัน้ สูง เช่น เสือ้ ผ้าของกษัตริย์ ที่ทำ�มาจากทองคำ� หมวกของนักบวชในศาสนาพุทธ เป็นต้น นอกจากนี้แล้ว ‘สีเขียว’ ก็เป็นอีกคลื่น ลำ�แสงที่น่าสนใจ ให้ความรู้สึกผ่อนคลาย เพราะเป็นสีเดียวกับ คลอโรฟิลล์ หรือเม็ดสีแห่งธรรมชาติ เมื่อมนุษย์รับรู้ถึงลำ�แสงคลื่นนี้ก็จะทำ�ให้นึกถึงธรรมชาติและความสงบ ดังนัน้ หากเราสามารถทำ�ความเข้าใจเรือ่ งราวของแต่ละสีสนั ซึง่ มีนยั ยะทีแ่ ตกต่างกันได้ อาจพบว่า บางโทนสีมผี ลต่อความรูส้ กึ อย่างทีค่ าดไม่ถงึ นอกจากนีย้ งั ช่วยให้สามารถเลือกใช้สใี ห้เข้ากับสภาวะอารมณ์ หรือสถานที่ ซึง่ เป็นหนึง่ ในวิธกี ารบำ�บัดจิตใจอย่างหนึง่ ทีท่ �ำ ได้อย่างง่ายดายด้วยตนเอง เช่น การบำ�บัด ความเครียดด้วยการใช้วัตถุสีโทนเย็น หรือเพิ่มบรรยากาศความสนุกสนานด้วยสีโทนร้อน เป็นต้น

secretlanguageofcolor.com CREATIVE THAILAND I 8


BOOK

The House Gardener: Ideas and Inspiration for Indoor Gardens โดย Isabelle Palmer ผลวิจยั จากหลากหลายสำ�นักให้ผลตรงกันว่าการ สร้างสภาพแวดล้อมในพืน้ ทีอ่ าศัย รวมถึงโต๊ะทำ�งาน ให้มสี เี ขียวของต้นไม้หรือของกระจุกกระจิก จะช่วย ลดสภาวะความเครียดลงไปได้มากโข แล้วถ้าเรา สามารถเป็นผูส้ ร้างสรรค์สวนเล็กๆ เหล่านัน้ ด้วย ตัวเองล่ะ! ศิลปะการจัดสวนในโหลแก้ว รวมถึง กระถางต้นไม้ นอกจากจะช่วยให้ได้ฝกึ สมาธิแล้ว ยังสร้างความผ่อนคลาย เป็นการบำ�บัดจิตใจจาก ความเครียดและความเหนื่อยล้าประเภทหนึ่ง หนังสือ The House Gardener: Ideas and Inspiration for Indoor Gardens สามารถถ่ายทอด ประสบการณ์และเรื่องราวเหล่านี้ได้เป็นอย่างดี ตัง้ แต่กระบวนการเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ตา่ งๆ ไปจนถึง เทคนิคการจัด ตัด ตกแต่ง และคัดสรรพืชพันธุต์ า่ งๆ ทีเ่ หมาะสม เพือ่ ให้สง่ ผลดีตอ่ จิตใจของผูอ้ ยูอ่ าศัย

Hopper โดย Edward Hopper, Toms Llorens Serra และ Didier Ottinger Edward Hopper เป็นที่รู้จักในนามของศิลปิน ผูส้ ร้างสรรค์ผลงานทีแ่ สดงถึงความเหงาและโดดเดีย่ ว ของคนในเมือง เขาอาศัยและใช้ชวี ติ อยูใ่ นอเมริกา ในช่วงปี ค.ศ. 1882 -1967 ภาพวาดส่วนใหญ่ของ เขาล้วนดึงดูดให้ผู้พบเห็นเกิดความฉงนสงสัยว่า บุคคลในภาพนั้นกำ�ลังครุ่นคิดและมีความกังวล ใจในเรื่องใด ผลงานเหล่านีจ้ งึ เป็นหลักฐานในการ มีอยู่ของ ‘โรคความเหงา’ ที่ได้กักขังมนุษย์ มาอย่างยาวนาน อย่างไรก็ตาม ศิลปะก็ยังคง เป็นสิ่งที่สวยงามและเป็นทางออกหนึ่ ง ในการ ปลดปล่อยพลังและความรู้สึกเสมอ

A RTICLE

Wellness Hubs: New Millennial Lifestyle Spaces โดย Petah Marian

พบกับวัตถุดิบทางความคิดเหล่านี้ได้ที่ TCDC Resource Center

Bright 2: Architectural Illumination and Light Installations โดย Clare Lowther และ Sarah Schultz ในปัจจุบนั ‘แสง’ คืออาวุธอย่างหนึง่ ทีถ่ กู นำ�มาใช้ ในการออกแบบสิง่ รอบตัวให้มคี วามดึงดูด น่าสนใจ และมีผลต่อจิตใจของผู้ใช้งานได้อีกทางหนึ่ง หนังสือเล่มนีบ้ อกเล่าถึงแนวทางและตัวอย่างของ การออกแบบแสงประดิษฐ์ในเชิงศิลปะและงาน สถาปัตยกรรมทีน่ า่ สนใจ และสามารถส่งความหมาย ของการออกแบบผ่านไปสูจ่ ติ ใจของผูค้ นทีเ่ ข้ามา ใช้พื้นที่ นอกจากนั้นยังเต็มเปี่ยมไปด้วยความ สนุกสนาน ความสวยงาม และสร้างแรงบันดาลใจ ให้แก่ผู้พบเห็น

จากผลการวิเคราะห์ของ UK Fitness Center พบว่าแนวโน้มการดูแลสุขภาพของคนยุคใหม่มเี พิม่ มากขึน้ เรื่อยๆ และเพื่อตอบโจทย์การใช้ชีวิตในยุคปัจจุบัน สถานที่ออกกำ�ลังกายหลายแห่งในลอนดอนจึงมี การปรับรูปโฉมการออกแบบพืน้ ทีใ่ ห้ครอบคลุมถึงพืน้ ทีข่ ายอาหาร เสือ้ ผ้า พืน้ ทีท่ �ำ งาน และการสร้างสังคม ใหม่ๆ เพือ่ ให้ผคู้ นได้เข้ามาใช้เวลาในการพักผ่อนอย่างเต็มทีแ่ ละสะดวกสบายมากยิง่ ขึน้ ในบทความนี้ ได้อธิบายถึงการออกแบบพื้นที่ดังกล่าวให้ดึงดูดผู้บริโภค สร้างความแตกต่าง และสามารถเสริมสร้าง วิถชี วี ติ ของคนยุคใหม่ให้มสี ขุ ภาพกายและคุณภาพจิตใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทัง้ ยังได้สอดแทรก เรือ่ งราวของศิลปวัฒนธรรม เทคโนโลยี และความงามลงในการออกแบบของแต่ละแบรนด์ไว้อย่างน่าสนใจ อ่านบทความออนไลน์ฉบับเต็ม https://www.wgsn.com/content/board_viewer/#/73554/page/1 CREATIVE THAILAND I 9


MDIC : นวัตกรรมและวัสดุ

จิตผ่อนคลาย กายแข็งแรง ด้วยเสื้อผ้าผสมแร่ธาตุ เรื่อง : ปิยวรรณ กลิ่นศรีสุข

วันทีห่ ยิบสวมเสือ้ ผ้าทีถ่ กู ใจ วันนัน้ ก็อาจเป็นวันดีๆ อีกวันสำ�หรับใครหลายคน เช่นเดียวกับนวัตกรรมด้านเครื่องแต่งกายและสิ่งทอในวันนี้ ที่ไม่ได้พัฒนา แค่เพียงด้านรูปลักษณ์ความสวยงามที่ตอบรสนิยมของผู้สวมใส่ แต่ยังเป็น เสื้อผ้าที่เมื่อสวมใส่แล้ว ช่วยปลอบประโลมจิตใจ ทำ�ให้รู้สึกผ่อนคลาย และ ยังช่วยให้มีสุขภาพองค์รวมที่แข็งแรงขึ้นได้อีกด้วย โดย 4 ประเด็นสำ�คัญทีท่ า้ ทายการออกแบบสิง่ ทอในกลุม่ Active Wear หรือสิง่ ทอทีม่ ีนวัตกรรมใหม่ๆ เพือ่ ให้มคี ณุ สมบัติทเี่ ข้าถึงความซับซ้อนด้าน ความรู้สึกของผู้ใช้งาน ช่วยปรับสมดุลให้กับร่างกาย รวมทั้งลดช่องว่าง ระหว่างประสิทธิภาพการใช้งานของ Active Wear และการสวมใส่ในชีวิต ประจำ�วันนั้น ประกอบไปด้วย 1. เทคนิคการเคลือบผิวที่ซับซ้อน วัสดุพื้นผิวด้านจะเป็นกุญแจ สำ � คั ญ ที่ ทำ � ให้ สิ่ ง ทอมี ค วามยื ด หยุ่ น มากขึ้ น ช่ ว ยลดช่ อ งว่ า งระหว่ า ง ประสิทธิภาพการใช้งานของ Active Wear และการสวมใส่ในชีวติ ประจำ�วัน ได้มากขึ้น 2. สร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่เพิ่มฟังก์ชั่นแบบทวีคูณ เช่น การเพิ่ม คุณสมบัติด้านการระบายอากาศ แต่ยังสามารถกันนํ้าไปด้วยในตัว 3. ความยั่งยืนตลอดวงจรการใช้งาน กระบวนการผลิตเสื้อผ้า นับเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมมากที่สุด อุตสาหกรรมหนึ่ง ดังนั้นการตระหนักถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ ต้นนํ้าจนไปถึงปลายนํ้าย่อมช่วยสร้างความยั่งยืนให้วงจรการผลิตนี้ 4. วัสดุไร้นํ้าหนักแต่ให้ความแข็งแรง เครื่องแต่งกายที่ให้ความ รูส้ กึ เสมือนเป็นผิวหนังชัน้ ทีส่ อง โดยการพัฒนาความแข็งแรงของโครงสร้าง การทอเส้นใย ให้สิ่งทอมีสภาพไร้นํ้าหนัก นอกจากนี้ เส้นใยผสมแร่ธาตุ (Mineral Protection) จะกลายเป็น ตัวเล่นหลักในอุตสาหกรรมสิง่ ทอทีช่ ว่ ยปกป้องร่างกายและเพิม่ ประสิทธิภาพ การใช้งาน ตัวอย่างสิ่งทอที่มีคุณสมบัตินี้คือ Celliant จาก Hologenix ซึ่ง ช่วยปรับพลังงานของร่างกายและฟืน้ ฟูกล้ามเนือ้ ได้ โดยถูกนำ�มาเป็นเส้นใย สำ�หรับทอเครื่องแต่งกายและเครื่องนอนซึ่งมีคุณสมบัติในการปรับอุณหภูมิ

และเพิ่มปริมาณออกซิเจนภายในร่างกาย เส้นใยโพลีเอสเตอร์นี้มีส่วนผสม ของอนุภาคนาโนของแร่ธาตุ ที่สามารถสะท้อนความร้อนจากร่างกาย และ ส่งผ่านพลังงานจากแสงสว่างในสภาพแวดล้อมเข้าสูร่ า่ งกายได้ ทำ�ให้รา่ งกาย เกิดพลังงานสูงขึ้นและกระตุ้นการไหลเวียนเลือด เพิ่มปริมาณออกซิเจนใน เม็ดเลือดและเนือ้ เยือ่ ต่างๆ รวมทัง้ ปรับอุณหภูมทิ วั่ ร่างกายให้สมดุล ปริมาณ ออกซิเจนทีเ่ พิม่ ขึน้ นีจ้ ะส่งผลให้รสู้ กึ สบาย เป็นการบำ�บัดและผ่อนคลายจาก ความเครียด ผลทดสอบทางการแพทย์ยังระบุว่าเสื้อใยนี้มีประสิทธิภาพใน การบรรเทาความเจ็บปวดช่วยให้รา่ งกายฟืน้ ตัวได้อย่างรวดเร็ว และช่วยเรือ่ ง คุณภาพการนอนหลับ เพิม่ สมรรถนะด้านการเล่นกีฬา ทำ�ให้สขุ ภาพโดยรวม ดีขึ้น วัสดุดังกล่าวยังสามารถนำ�ไปถักหรือทอกับเส้นใยชนิดอื่นๆ เพื่อผลิต เป็นเครื่องแต่งกาย เครื่องนอน และเวชภัณฑ์ต่างๆ หรือนำ�ไปย้อมสีได้โดย ไม่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการใช้งาน ทั้งนี้อนุภาคนาโนจะถูกเติมลงในเรซิน โพลีเอสเตอร์ก่อนจะนำ�ไปปั่นเป็นเส้นใย จึงเป็นส่วนหนึ่งในเส้นใยและ ไม่หลุดออกเมื่อนำ�ไปซัก เหมาะสำ�หรับทำ�ชุดกีฬา ถุงเท้า เครื่องนอน และ เวชภัณฑ์ เป็นต้น อีกหนึ่งวัสดุที่ถูกพูดถึงในวงกว้างของกลุ่ม Active Wear ก็คือ Nanobionic จาก Nanobionic US Inc. สารเคลือบจากแร่ธาตุและเซรามิก ชีวภาพที่ใช้กับสิ่งทอเครื่องแต่งกาย เพื่อเพิ่มคุณสมบัติการฟื้นฟูกล้ามเนื้อ หลังการใช้งานหนัก และช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ผิวเคลือบซึ่ง จดสิทธิบัตรแล้วที่ใช้กับเครื่องแต่งกายหรือผ้าตกแต่งนี้ จะทำ�หน้าที่ดูดซับ ความร้อนจากร่างกาย แล้วแปรสภาพให้กลายเป็นรังสีอินฟราเรดคลื่นยาว (FIR) ที่สามารถกระตุ้นระบบเผาผลาญและระบบไหลเวียนเลือด ส่งผลให้ ประสิทธิภาพของนักกีฬาดีขึ้นได้ ผิวเคลือบมีส่วนผสม ของแร่ธาตุ 52 ชนิด ซึ่งจะดูดซับรังสีความยาวคลื่น ตั้งแต่ 4-14 ไมครอน และปล่อยรังสีอินฟราเรดใน ระดับ 99% ซึ่งสูงที่สุดในอุตสาหกรรมนี้ วัสดุนี้ ยังช่วยลดอนุมูลอิสระทั้งในร่างกายของผู้ที่มี สุขภาพดีและผู้มีอาการป่วยที่สัมพันธ์กับ อนุมูลอิสระได้ โดยทำ�หน้าที่เสมือนสาร แอนตี้ออกซิแดนต์ มีสีขาวและสีเข้ม นำ�ไป เคลือบได้ทั้งด้านหน้าและด้านหลังของผ้า เคลือบบนผ้าได้หลายชนิด ทัง้ ฝ้าย ผ้าขนแกะ ผ้าแคชเมียร์ และผ้าใยสั ง เคราะห์ เช่น โพลีเอสเตอร์ ไนลอน และอะคริลกิ ผิวเคลือบ มีความทนทานต่อการซักล้าง โดยทนการซัก ได้ 100 รอบโดยไม่สูญเสียประสิทธิภาพ ผ่านการ รับรองจาก FDA ให้ใช้งานทางการแพทย์ได้ที่ ระดับ Class 1 เหมาะสำ�หรับทำ�ชุดกีฬา ชุดทหาร ชุดปฏิบัติงานในโรงงาน ชุดออกกำ�ลังกาย เบาะ และเครื่องนอน ที่มาและภาพ: celliant.com / nanobionic-group.com / stoneisland.com/th

พบกับนวัตกรรมและวัสดุสร้างสรรค์ ได้ที่ชั้น 2 ห้อง Material & Design Innovation Center, CEA CREATIVE THAILAND I 10


พบกับนิตยสาร “คิด” Creative Thailand ได้ที่ ร้านหนังสือ ห้องสมุด สมาคม อาคารสำ�นักงาน และร้านกาแฟใกล้บ้าน ในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ หัวหิน และจังหวัดอื่นๆ รวมถึง miniTCDC

หมดปญหาหยิบนิตยสารไมทัน สมัครสมาชิกรายป คาใชจายในการจัดสง 200 บาท (12 เลม)

ดูสถานที่จัดวางทั้งหมดได้ที่: creativethailand.org/contactus

หรือดาวนโหลดใบสมัครออนไลน creativethailand.org/contactus

กรุงเทพฯ ร้านหนังสือ • Asia Books • Kinokuniya • B2S • แพร่พิทยา

• MAIIAM Contemporary Art Museum • ชีวิต ชีวา • Minimeal Cafe • Impresso • Restr8to • Penguin Villa (Penguin Getto) ร้านกาแฟ/ร้านอาหาร • กาแฟอาข่า อ่ามา • Au Bon Pain La Fattoria สาขา2 • Starbucks • TOM N TOM’S COFFEE • Happy Hut ถ.นิมมานฯ • True Coffee • ราชดำ�เนิน • Auntie Anne’s • Mai Bakery In Garden • Baskin Robbins • Starbucks The Plaza • Coffee World • Yesterday Hotel • Mister Donut • October • Black Canyon • สุรยิ นั จันทรา นิมมานฯ ซอย 1 • McCafe’ • ร้านมีชามีชัย (กู) • ดอยตุง • Cafe’de nimman • Ninety four coffee • The Booksmith • Puff & Pie • ร้านชา (Drink Club) • Red Mango • Cotto Studio • Iberry • Starbucks Nimmanhemin • Greyhound Cafe’ • Fern Forest Cafe’ • Amazon Cafe’ • 9th Street Cafe • Chester’s Grill นิมมานฯ ซอย 9 • Luv minibar • ดวงกมล (Duang Kamol) • Rustic & Blue - Handgrown พิพิธภัณฑ์/หอศิลป์ • Produce & Artisan Food • หอศิลปวัฒนธรรม นิมมานฯ ซอย 9 แห่งกรุงเทพมหานคร • หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม • มิวเซียม สยาม • อุทยานการเรียนรู้ (TK park) มช. • นำ�ทอง แกลเลอรี่ หัวหิน • ร้านกาแฟ ชุบชีวา หัวหิน สมาคม/ห้องสมุด • อยู่เย็น หัวหิน บัลโคนี่ • ศูนย์ศิลปะนานาชาติ • บ้านใกล้วัง สมาคมฝรั่งเศส • ภัตตาคารมีกรุณา • ห้องสมุดเนลสัน เฮลส์ The Neilson Hays Library • บ้านถั่วเย็น @ แนบเคหาสน์ • ร้านอาหารหัวหิน (โกทิ) • ห้องสมุด - นิด้า • กาแฟข้างบ้าน • สมาคมโฆษณา • IL GELATO ITALIANO แห่งประเทศไทย • Together Bakery & Cafe’ • สมาคมธนาคารไทย • โรงแรม วรบุระหัวหิน • สมาคมสโมสรนักลงทุน • Let’s Sea • ห้องสมุด สสวท. • โรมแรม ดูน หัวหิน • สมาคมหอการค้าไทย • เดอะร็อค หัวหิน • สถาบัน • บ้านจันทร์ฉาย • Wall Street Institute • หัวหิน มันตรา รีสอร์ท • Raffle Design Institute • ลูน่าฮัท รีสอร์ท • Vision Swimming Academy กระบี่ • Nakamanda Resort & Spa เชียงใหม่ • Rawee Warin Resort & Spa • woo cefe • A little Handmade Shop • Kagee • Ristresto lab • ท่าแพอีสต์+ dibdee.binder ขอนแก่น • Hug School • C.A.M.P ,MAYA • True Coffee ,หอสมุด มช. of Creative Arts • ร้านสืบสาน • Punspace, นิมมานฯ • ร้านกาแฟ คอฟฟี่ เด้อ หล่า • asama cafe • มาหาสมุด (บ้านข้างวัด) (Coffee Der La) • see scape gallery เชียงราย • nimmanian club • ร้านหนังสือ herebookafe • 8 days a week • ร้าน Coffee Dad • Bulbul book cafe’ • Graph cafe’ นครราชสีมา • Cefe de museum • Hug station resort • local cafe Think park • Librarista นครปฐม • Artisan วัวลาย • ร้าน Dipchoc Cafe • paper spoon • กาแฟรสนิยม, นครสวรรค์ หลัง มช ทางขึ้นกาแล • The barn : Eatery Design • ร้าน Bitter Sweet • Book Republic น่าน • wake up หน้ามอ • ร้าน Runway Coffee • Fab cafe’ • kum cafe คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ • ร้านคลาสสิค โมเดล น่าน

• ร้านกาแฟปากซอย • ร้าน Nan Coffee Bean ปาย/แม่ฮ่องสอน • ร้านคอฟฟี่อินเลิฟ • ร้าน all about coffee • ร้านปายหวานบ้านนมสด • ร้านเล็กเล็ก • ปายวิมานรีสอร์ท พังงา • Niramaya Villa and Willness Resort • Ranyatavi Resort Phang Nga • The Sarojin เพชรบุรี • Grand Pacific Sovereign • Resort & Spa • DevaSom Hua Hin Resort ภูเก็ต • ร้านหนัง(สือ) ๒๕๒๑ ภูเก็ต • The oddy Apartment & Hotel • At Panta Phuket • Banyan Tree Phuket • Le Meridien Phuket • Millienium Ressort Patong Phuket • Novotel Phuket Resort • Patong Paragon Resort & Spa Phuket • Sheraton grand Lagana Phuket • Sri wanwa Phuket Villa • Thanyapura ระยอง • Le Vimarn Cottage ลำ�ปาง • อาลัมภางค์ เกสท์เฮ้าส์ แอนด์ มอร์ ลำ�ปาง • ร้านเอกาลิเต้ Egalite Bookshop • Lampang Art Center เลย • บ้านชานเคียง • มาเลยเด้ เกสต์เฮาท์ ลพบุรี • ซนดิคอฟฟี่ สมุทรสงคราม/อัมพวา • Baan Amphawa Resort and Spa สุโขทัย • Ananda Co.,Ltd. สุราษฎร์ธานี • Muang Samui Spa Resort • Pavilion Samui Boutique Resort • The Sunset Beach Resort and Spa Taling ngam • Nora Beach Resort Samui อุทัยธานี • ร้านบุ๊คโทเปีย Booktopia • Avatar Miracles

ขอมูลผูสมัครสมาชิก สมาชิกใหม ชื่อ นามสกุล เพศ โทรศัพท

สมาชิกเกา (ตออายุ) หญิง อายุ

ชาย

อีเมล

โทรศัพทมือถือ

อาชีพ นักเรียน ครู/อาจารย

นิสิต/นักศึกษา พนักงานบริษัท

นักออกแบบ/ครีเอทีฟ ผูประกอบการ

อาชีพอิสระ อื่นๆ โปรดระบุ

ขาราชการ/รัฐวิสาหกิจ

สาขา/อุตสาหกรรมที่เกี่ยวของกับอาชีพของทาน โฆษณา สถาปตยกรรม แฟชั่น ศิลปะการแสดง ดนตรี ภาพยนตร โทรทัศน/วิทยุการกระจายเสียง

ทองเที่ยว/โรงแรม/สายการบิน วรรณกรรม/การพิมพ/สื่อสิ่งพิมพ พิพิธภัณฑ/หองแสดงงาน ซอฟตแวร/แอนิเมชัน/วิดีโอเกม

หัตถกรรม/งานฝมือ การเงิน/ธนาคาร ทัศนศิลป/การถายภาพ อื่นๆ โปรดระบุ

อาหาร การแพทย การออกแบบ

คาปลีก/คาสง โทรคมนาคม

ที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ จังหวัด

ซอย

ถนน รหัสไปรษณีย

หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง

อำเภอ/เขต

หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง

อำเภอ/เขต

ที่อยูในการออกใบเสร็จ เหมือนที่อยูในการจัดสง เลขประจําตัวผูเสียภาษี เพื่อออกใบเสร็จรับเงิน หมูบาน/บริษัท เลขที่ ซอย ถนน จังหวัด รหัสไปรษณีย

ตองการสมัครสมาชิกนิตยสาร Creative Thailand ระยะเวลา 1 ป จำนวน 12 เลม เริ่มตั้งแตฉบับเดือน โดยยินดีเสียคาใชจายในการจัดสงเปนจำนวนเงิน 200 บาท

วิธีการชำระเงิน เช็คสั่งจายสํานักงานสงเสริมเศรษฐกิจสรางสรรค (องคการมหาชน) (CEA) พรอมใบสมัครสมาชิก โอนเงินเขาบัญชี สำนักงานสงเสริมเศรษฐกิจสรางสรรค (องคการมหาชน) ธนาคารกรุงเทพ สาขาสำนักงานใหญสลี ม เลขทีบ่ ญั ชี 101-9-12219-9 • แฟกซใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่ 02-105-7450 • หรือสงไปรษณียมาที่ สํานักงานสงเสริมเศรษฐกิจสรางสรรค (องคการมหาชน) (CEA) อาคารไปรษณียกลาง 1160 ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500 • หรือแนบไฟลใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่อีเมล creativethailand@cea.or.th สอบถามขอมูลเพิ่มเติมไดที่ 02-105-7400 ตอ 116


Cover Story : เรื่องจากปก

‘โลก’ ซึมเศร้า เรื่อง : พณิดา โยมะบุตร1

เราอาจเคยตั้งคำ�ถามกับชีวิตแต่ละวัน และอาจยิ่งตั้งคำ�ถามหนักขึ้นเมื่อต้องเผชิญหน้ากับสภาวะแวดล้อมที่ไม่เป็นใจ หรือกดดันให้หลายสิ่งรอบตัวไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง เพราะมนุษย์กับปัจจัยแวดล้อมเป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน จิตใจ ของคนเราขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมและปัจจัยแวดล้อมพื้นฐาน เช่นในเวลาที่รถติดหนัก คนที่มีคนรู้ใจหรือเพื่อนฝูงอยู่ในรถที่ ติดอยู่ด้วยกัน ก็สามารถพูดคุย หัวเราะกันระหว่างที่รถไม่ขยับเขยื้อน เพื่อไม่ให้เบื่อหน่ายหรือเครียดกับภาวะรถติดนั้น ต่างกับในอีกสภาวะหากคนผู้นั้นกำ�ลังเร่งรีบเดินทางไปทำ�ธุระสำ�คัญ ผ่านวันทำ�งานอันแสนหนักหน่วงมา แล้วต้องมาเดิน ตากฝนเพือ่ ทีจ่ ะไปขึน้ รถกลับบ้าน นัน่ อาจเป็นเหตุการณ์ทีเ่ รียกได้วา่ เคราะห์ซํา้ กรรมซัดเลยทีเดียว เหล่านีเ้ ป็นเพียงตัวอย่าง เล็กๆ ที่พอจะทำ�ให้มองเห็นสมการของสิ่งแวดล้อมและปัจจัยแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่ออารมณ์และความรู้สึกของคนเรา อย่างแยกกันไม่ขาด 1 นักจิตวิทยาคลินิก สาขาวิชาจิตวิทยาคลินิก ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ผู้หลงเสน่ห์การบำ�บัดและปรับสภาพจิตของคนให้เห็นทรัพยากรในใจตัวเองและ

พร้อมที่จะใช้ชีวิตต่อไปด้วยศักยภาพที่มีอยู่ ด้วยศาสตร์ทางจิตวิทยาคลินิกกับสุนทรียของจิตวิทยาทางดนตรี นอกจากนี้ ยังมุ่งมั่นนำ�ความรู้และประสบการณ์ทางจิตวิทยาคลินิกที่มีไป ประยุกต์เข้ากับงานด้านปัญญาประดิษฐ์ เพือ่ ขยายขอบเขตโอกาสทีจ่ ะใช้สง่ิ ทีร่ แู้ ละมีอยูใ่ ห้เกิดประโยชน์สงู สุด และคนทัว่ ไปเข้าถึงได้งา่ ย จนเกิดเป็นนวัตกรรม ‘จับใจแชทบอท’ แชทบอท ด้านสุขภาพจิตตัวแรกของประเทศไทย และกำ�ลังพัฒนาหุ่นยนต์ดูแลสภาพจิตใจผู้สูงอายุเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุในเมืองไทย CREATIVE THAILAND I 12


ต้นไม้พันธุ์ดี อยู่ในสภาพแวดล้อมที่โหดร้าย ก็ยากที่จะเติบโต หากสมการที่ ก ล่ า วมาข้ า งต้ น นั้ น เป็ น จริ ง ถ้าเปรียบเทียบคนเป็นเหมือนต้นไม้ที่ปลูกอยู่ ในที่โล่งแจ้ง ต้นไม้จะเติบโตเร็วหรือช้า แข็งแรง มากหรื อ น้ อ ย จึ ง ขึ้ น อยู่ กั บ ทั้ ง ปั จ จั ย จากตั ว ต้นไม้เอง และปัจจัยแวดล้อม ทั้งสภาพดินฟ้า อากาศ แสงแดด สายลม หรือแม้กระทัง่ สิง่ มีชวี ติ ตัวเล็กๆ ที่จะมาเพิ่มปุ๋ยพรวนดินบริเวณรอบๆ หรือแม้แต่มากัดแทะ ทำ�ลายต้นไม้ เหมือนกับ ชีวติ และจิตใจของคนเรา ทีจ่ ะทนและปรับตัวกับ โลกรอบตัวได้มากน้อยแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัย ส่วนบุคคลและปัจจัยแวดล้อมนั่นเอง คนจำ�นวนไม่นอ้ ย มองว่าปัจจัยแวดล้อมใน โลกยุคนี้ดูจะโหดร้ายและเป็นปฏิปักษ์ต่อการ

เติบโตและความสุขสงบของจิตใจคนมากขึ้น ในขณะที่ความแข็งแกร่งของจิตใจและร่างกาย คนเราก็ดจู ะเปลีย่ นแปลงไปในทิศทางตรงกันข้าม เหมือนกับคนในยุคนี้ เป็นเมล็ดพันธุ์หรือต้นกล้า ที่ ไ ม่ ค่ อ ยแข็ ง แรงเท่ า ไร แต่ ก ลั บ ต้ อ งอยู่ ใ น สิ่งแวดล้อมที่โหดร้ายยิ่งขึ้น ปัจจัยแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ทำ�ให้คนมีโรคทางใจมากขึ้น เคยสงสัยบ้างไหมเวลาที่เห็นตัวเลขผู้ป่วยโรค ซึมเศร้าเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน แล้วคนสมัยก่อน เขาต้ อ งเผชิ ญ กั บ อาการที่ ว่ า นี้ บ้ า งหรื อ เปล่ า เมื่ อ ได้ มี โ อกาสพู ด คุ ย กั บ ผู้ สู ง อายุ ท่ า นหนึ่ ง ที่ ย้ า ยถิ่ น ฐานจากชนบทเข้ า มาลงหลั ก ปั ก ฐาน ในเมือง เพราะความอยากรู้ว่าคนในสมัยก่อน เขาจะรู้จักโรคซึมเศร้า หรือมีคนเป็นโรคซึมเศร้า

CREATIVE THAILAND I 13

กันหรือเปล่า ข้อมูลที่ได้นั้นอาจจะไม่ได้ตอบ คำ�ถามที่ว่านี้โดยตรง เพราะสิ่งที่ได้รับกลับมา เป็นเพียงข้อมูลที่ว่า คนในหมู่บ้านเมื่อย้อนเวลา ไปหลายสิบปี ก็มกี ารฆ่าตัวตายกันจำ�นวนไม่นอ้ ย ถึงแม้ว่าผู้สูงอายุท่านนี้จะไม่มีตัวเลขมาอ้างอิง แต่จากคำ�บอกเล่าทีว่ า่ ท่านได้ยนิ ข่าวคนแขวนคอ ใต้ตน้ ไม้ตามทุง่ นา ขือ่ คาบ้าน หรือใช้ยาฆ่าหญ้า อยู่เรื่อยๆ ก็ทำ�ให้ได้รู้ว่า การฆ่าตัวตายไม่ใช่ เรื่องใหม่ที่เกิดขึ้นในสังคมยุคนี้ ประกอบกับ ข้อเท็จจริงที่ว่า ในวงการแพทย์มีการพูดถึงโรค ซึมเศร้ามาตั้งแต่ยุคก่อนคริสตศักราช แม้จะ เรียกชื่อและอธิบายแตกต่างกันไป แต่ก็เป็น หลักฐานที่พอจะทำ�ให้เห็นภาพว่า ภาวะหรือโรค ซึมเศร้านี้อยู่คู่กับมนุษย์มาเป็นเวลาช้านาน การจะกล่าวโทษว่าสังคมยุคใหม่กับโลกที่ ทันสมัยทำ�ให้คนป่วยทางใจมากขึ้น ตัดสินใจ


จบชีวิตตัวเองมากขึ้น ก็คงจะไม่ยุติธรรมกับโลก ยุค 4.0 สักเท่าไร เพราะแม้แต่ในประเทศไทยเอง พืน้ ทีท่ ค่ี รองอันดับต้นๆ ในเรือ่ งสถิตกิ ารฆ่าตัวตาย กลับเป็นพืน้ ทีห่ า่ งไกลความเจริญ อย่างเช่นพืน้ ที่ ที่เข้าถึงยากในเขตจังหวัดภาคเหนือ แต่ถ้าจะ บอกว่าสภาพแวดล้อมและความเป็นไปของวิถี ผู้ ค นในปั จ จุ บั น ไม่ มี ส่ ว นเกี่ ย วข้ อ งกั บ อั ต รา ความเจ็บป่วยทางใจหรือโรคซึมเศร้าที่มากขึ้น อย่างรวดเร็ว ก็คงไม่ถูกต้องอีกเช่นกัน ตามหลักการแพทย์แล้ว โรคซึมเศร้าเกิดได้ จากสาเหตุทั้งทางชีวภาพ เช่น การทำ�งานที่ เสียสมดุลของสารเคมีทางสมอง รวมถึงสาเหตุ ทางจิตสังคม เช่น พื้นนิสัยเดิมเป็นคนคิดมาก กังวลง่าย มองโลกแง่ร้าย ชอบโทษตัวเอง มักมี มุมมองและวิธกี ารแก้ปญั หาไม่เหมาะสม อย่างการ เหมารวม มีอคติในการพิจารณาสิง่ ต่างๆ หรืออยู่ ในสภาพแวดล้อม และความสัมพันธ์ที่เป็นพิษ หรือบั่นทอนจิตใจ หรือแม้แต่อยู่ในภาวะความ เครียดนานๆ อาการของโรคซึมเศร้านั้นมีตั้งแต่ การเก็บตัว ไม่สุงสิงกับใคร รู้สึกเศร้า ท้อแท้ สิ้นหวัง รู้สึกไร้ค่า หมดความสนใจในกิจกรรม หรื อ สิ่ ง ต่ า งๆ รอบตั ว มี พ ฤติ ก รรมการกิ น การนอนที่ผิดปกติไปจากเดิม รู้สึกเหนื่อยและ อ่อนเพลียตลอดเวลา การตัดสินใจช้าลง สมาธิ และความจำ�แย่ลง รูส้ กึ ผิด โทษตัวเอง ซึง่ บางครัง้

คนที่ทุกข์ทรมานจากโรคซึมเศร้า อาจจะแสดงออก ในทางตรงกันข้าม เช่น หงุดหงิดฉุนเฉียว ขีโ้ มโห หรือทำ�พฤติกรรมอะไรที่มากเกินปกติ ยิ่งใน วัยรุ่น อาการซึมเศร้า มักจะไม่แสดงออกอย่าง ตรงไปตรงมา แต่มกั จะแสดงออกภายใต้หน้ากาก วัยรุน่ อย่าง การมีอารมณ์รอ้ นและนำ�ไปสูพ่ ฤติกรรม เสี่ยงในหลายๆ ด้าน เช่น การใช้สารเสพติด การพาตัวเองหลบไปอยู่ในโลกของเกม เมื่อไม่ สามารถเข้ า ใจหรื อ สื่ อ สารอารมณ์ ข องตั ว เอง ออกมาได้ ก็ ร ะเบิ ด ออกมาเป็ น ความรุ น แรง ก้าวร้าว เป็นต้น อารมณ์เศร้าและความรูส้ กึ ที่กล่าวมาข้างต้นนี้ เป็นอารมณ์พื้นฐานของมนุษย์ ที่ใครๆ ก็มีได้ ถึงแม้จะเป็นภาวะอารมณ์ที่ไม่ปกติซึ่งเกิดขึ้น ตอบสนองต่อสถานการณ์ที่ไม่เป็นอย่างใจ แต่ก็ อาจจะเรียกได้วา่ เป็นเพียง ‘ความไม่ปกติทปี่ กติ’ เมื่ อ ต้ อ งเผชิ ญ กั บ อารมณ์ เ ศร้ า คนทั่ ว ไปจะ สามารถจัดการอารมณ์ และพาตัวเองกลับเข้าสู่ ภาวะปกติได้ อารมณ์ที่ไม่ปกตินี้จะกลายเป็น ความผิดปกติไป ก็ต่อเมื่ออารมณ์ที่ไม่ปกตินั้น เกิดขึ้นอย่างรุนแรง ต่อเนื่อง และยาวนาน ทำ�ให้ มีความคิดมองตัวเองไม่ดี มองโลกและอนาคต ไปในทางทีไ่ ม่ดเี สียทัง้ หมด จนรบกวนการใช้ชวี ติ ประจำ�วัน มีความลำ�บากในการดำ�เนินชีวิต กระทบถึงหน้าที่ความรับผิดชอบ ความสัมพันธ์ CREATIVE THAILAND I 14

รูส้ กึ หมดแรงจูงใจทีจ่ ะมีชวี ติ อยู่ ไปจนถึงมีความคิด วางแผน และลงมือจบชีวิตตนเอง ก็มีความ เป็นไปได้สูงที่คนคนนั้นจะได้รับการวินิจฉัยว่า กำ�ลังมีโรคซึมเศร้าแทรกซึมอยู่ในชีวิต โรคซึมเศร้า โรคใหม่ในยุคไฮเทค หรือโรคเก่าในโลกใบใหม่ คงไม่แปลกถ้าจะมองว่าสังคมยุคใหม่ ทำ�ให้คน มีทุกข์ทางใจกันมากขึ้น เพราะถ้าดูจากสถิติที่ รายงานโดยหน่วยงานทีม่ หี น้าทีด่ แู ลด้านสุขภาพ ใจของคนไทย จะพบว่า ตัวเลขผู้ที่ป่วยเป็นโรค ซึมเศร้าในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจาก ปีกอ่ นๆ ตัวเลขผูป้ ว่ ยโรคซึมเศร้ากว่า 1.8 ล้านคน อาจฟังดูนา่ ตกใจไม่นอ้ ย เมือ่ ตัวเลขสถิตนิ เี้ กิดขึน้ ในเมืองพุทธทีน่ า่ จะเป็นเมืองซึง่ ผูค้ นมีความสงบ ทางใจ และค้นหาทางออกของปัญหาได้ด้วย หลักธรรมคำ�สอน แต่ปรากฏการณ์นี้ก็พบได้ใน ประเทศอื่น ๆ ทั่วโลกเช่นกัน ถ้าอย่างนั้นจะเป็น ไปได้หรือไม่ว่า ‘โลกยุคใหม่’ ไม่ใช่ ‘นักโทษ’ ที่ กระทำ � ความผิ ด ในข้ อ หาทำ � ให้ มี ค นป่ ว ยเป็ น โรคทางใจกันมากขึ้น แต่ผิดในข้อหาเป็น ‘ผู้สมรู้ ร่วมคิด’ มากกว่า จากประสบการณ์การเป็นนักจิตวิทยาคลินกิ ที่ต้องพูดคุยให้คำ�ปรึกษาและบำ�บัดจิตใจผู้ที่มี ความทุกข์ทางใจ พบว่าคนมีความตื่นตัวและ


ความสำ�คัญแตกต่างกัน เช่น ในวัยรุน่ เรือ่ งเพือ่ น หรือความรักอาจเป็นเรื่องใหญ่ แต่พอเข้าสู่วัย ผู้ใหญ่ เรื่องงาน การสร้างชีวิตและความสัมพันธ์ ที่มน่ั คง มักกลายเป็นเรือ่ งหลักของชีวติ ในขณะที่ วัยสูงอายุ คงหนีไม่พ้นเรื่องสุขภาพ และความ ห่วงกังวลที่มีต่อลูกหลาน เป็นต้น ถ้าเราลองจับ ปัญหาต่างๆ มาใส่ตะกร้าตามหมวดหมู่ จะพบว่า สาเหตุที่ทำ�ให้คนเราหัวใจอ่อนแอ มีเรื่องหลักอยู่ ไม่กเี่ รือ่ ง ได้แก่ ความสัมพันธ์ การงาน การเรียน การเงิน สุขภาพ แต่ถา้ คุยถึงรายละเอียด ก็จะได้ เรื่ อ งย่ อ ยๆ อี ก นั บ ไม่ ถ้ ว นที่ มี ค วามพั ว พั น ขมวดปมกันไปมา จนยากทีเ่ จ้าของความทุกข์นนั้ จะมองเห็นสาเหตุที่แท้จริงที่ทำ�ให้ทุกข์ใจ ทำ�ให้ ผู้เชี่ยวชาญต้องเข้าไปช่วยสะท้อนและคลี่คลาย ปมเหล่านัน้ ออกมาให้เห็น เมือ่ ลองคลีป่ มทีท่ �ำ ให้ ใจหนักออกแล้ว จะพบว่าแก่นหลักของความ ทุกข์ใจนั้น มาจาก ‘ความพร่อง’ ในความรู้สึก และความต้องการ ถ้ า ไล่ ต ามความต้ อ งการขั้ น พื้ น ฐานของ มนุษย์ตามทฤษฎีลำ�ดับขั้นความต้องการของ มาสโลว์ (Maslow’s Hierarchy of Needs) นักจิตวิทยาชื่อดัง ความขาดหรือความพร่อง ที่ว่านี้ก็ได้แก่ ขาดความสุขสบายทางร่างกาย ท้องหิว กายป่วย ขาดความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย

CREATIVE THAILAND I 15

ขาดความรู้สึกรักและเป็นที่รัก ขาดความรู้สึก เป็นส่วนหนึ่งและเป็นที่ยอมรับ ขาดความรู้สึก ภาคภูมิใจ ความรู้สึกสำ�เร็จ และขาดโอกาสที่จะ ได้ใช้ศักยภาพ ซึ่งความต้องการพื้นฐานเหล่านี้ เป็นความต้องการทีไ่ ม่วา่ จะคนในเจเนอเรชันไหน ก็มีเหมือนกัน และถ้าความต้องการนั้นไม่ได้รับ การตอบสนอง ก็จะทำ�ให้เกิดความทุกข์ทางใจ ที่ จ ะต่ า งกั น เพี ย งแค่ ว่ า มั น จะนำ � เสนอในรูป หน้ากากแบบไหนก็เท่านั้นเอง ประตูกว้างขึ้น โลกภายนอกวิ่งเข้าหาเราง่ายขึ้น ถ้าเข้าใจว่าเหตุแห่งความทุกข์ทางใจของคนเรา มีรากฐานมาจากแก่นในใจที่เหมือนกันทุกยุค ทุกสมัย ก็อาจจะทำ�ให้มองได้วา่ ถ้าสังคมแวดล้อม เป็นผู้ร้ายในอดีต ปัจจุบันมันก็ยังเป็นผู้ร้ายไม่ได้ เปลี่ยนไปจากเดิม เพียงแค่ว่ามีเทคโนโลยีและ ความเร็วของการส่งต่อและการรับรูข้ อ้ มูลข่าวสาร ทีม่ าเป็นผูส้ มรูร้ ว่ มคิด ทำ�ให้ประตูทจี่ ะเปิดให้เรา เอาโลกและปัจจัยแวดล้อมภายนอกเข้ามากระทบใจ ได้ง่ายขึ้น จากที่สมัยก่อน การจะได้รับรู้ข่าวสาร ก็ต่อเมื่อต้องเปิดโทรทัศน์ หรืออ่านหนังสือพิมพ์ แต่ในปัจจุบนั แค่ชว่ งไม่กนี่ าทีทเี่ ดินไปเข้าห้องนํา้ รอรถเมล์ หรือเวลาไม่กี่สิบวินาทีที่ติดไฟแดง

Photo by Verne Ho on Unsplash

กล้าที่จะเข้ามาขอความช่วยเหลือทางใจจาก ผู้เชี่ยวชาญกันมากขึ้น ย้อนหลังไปเมื่อประมาณ 10 ปีก่อน คนที่จะเดินเข้ามาพบจิตแพทย์หรือ นักจิตวิทยา ส่วนใหญ่มกั เป็นคนทีม่ ปี ญั หาหนักๆ หรื อ มี อ าการของโรคทางใจเยอะแล้ ว ทั้ ง นั้ น แต่ในยุคนี้ เรื่องทั่ว ๆ ไป หรือแค่ความสงสัยว่า ตนกำ�ลังมีปัญหาทางใจหรือเปล่า ก็เป็นเหตุผล เพียงพอที่จะทำ�ให้ผู้คนเดินเข้ามาหาผู้เชี่ยวชาญ นักจิตวิทยา หรือจิตแพทย์แล้ว ซึง่ นับว่าเป็นเรือ่ ง ทีด่ ี เพราะหลักการดูแลรักษาเรือ่ งของโรคทางใจ ก็ไม่ต่างจากเรื่องทางกาย นั่นคือยิ่งตรวจเจอเร็ว เท่าไร ยิง่ ป้องกันรักษาได้งา่ ย และยังช่วยให้ความ เสียหายที่จะเกิดขึ้นน้อยลงตามไปด้วย คนที่ เข้าพบผู้เชี่ยวชาญได้เร็ว อาจจะต้องการแค่การ พูดคุยไม่กคี่ รัง้ แต่หากปล่อยให้โรคทางใจลุกลาม บานปลายออกไป คนผูน้ นั้ อาจจะต้องใช้ยาหลาย ขนาน ใช้เวลานานในการรักษา และกว่าจะฟื้นฟู ให้ใจกลับมาแข็งแรงได้ใหม่ โรคซึมเศร้านี้ก็ อาจจะทำ�ให้เกิดความเสียหายจนประเมินค่า ไม่ได้ทั้งกับตัวผู้ป่วยเอง ครอบครัว คนใกล้ชิด ไปจนถึงสังคมรอบข้างแล้ว แม้วา่ คนต่างเจเนอเรชันหรือแต่ละช่วงวัยจะ มีปญั หาในประเด็นทีต่ า่ งกัน จากหลักพัฒนาการ ของมนุษย์ที่คนแต่ละช่วงวัยจะมีประเด็นที่ให้


CREATIVE THAILAND I 16

Photo by Sean Brown on Unsplash

“ ไ ม่ มี ต้ น ไม้ ต้ น ไหนในโลกใบนี้ ที่ ส วยงามและ แข็งแรงที่สุด ต้นไม้ทุกต้นมีความบกพร่อง ในตั ว ของมั น เอง เพราะนี่ เ ป็ น สิ่ ง ที่ เ ป็ น ปกติ ของทุกสิ่งบนโลกใบนี้”


ข้อมูลต่างๆ ก็ถาโถมเข้าสู่การรับรู้ของเราได้ อย่างง่ายดาย จากทีเ่ คยมีขอ้ จำ�กัดเรือ่ งการติดต่อ สื่อสาร แต่ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ก็ทำ�ให้การ สือ่ สารไปไกลกว่าคำ�ว่าไร้พรมแดน และหลายครัง้ มันกลับทำ�ให้การสื่อสารมีมากเกินไป จนทำ�ให้ ช่วงเวลาแห่งความเครียด ความกดดัน ไม่มี เขตแดนเวลาอีกต่อไป จากเดิมทีก่ ารสือ่ สารความ รู้สึกหรือความคิดเป็นเรื่องไม่ง่าย แต่ในยุคที่ เครือ่ งขยายเสียงในใจอยูใ่ กล้แค่ปลายฝ่ามือ จะคิด หรือรู้สึกอะไร ก็ประกาศให้คนเป็นร้อยเป็นล้าน รับรู้ได้ในเสี้ยวนาที เป็นไปได้หรือไม่ ทีส่ ถิตโิ รคทางใจทีพ่ งุ่ สูงขึน้ นอกจากจะเป็นเพราะความสะดวกในการเข้าไป สำ�รวจ ค้นหา หรือรักษาโรคเหล่านี้ ทำ�ให้ตัวเลข ทีถ่ กู บันทึกเข้าระบบมีเพิม่ ขึน้ เรารับรูค้ วามเป็นไป ของคนอืน่ ได้งา่ ยขึน้ รวมถึงความเจ็บป่วยทางใจ ด้วยเช่นกัน ในขณะที่ประตูบานใหญ่ที่เรียกว่า ‘เทคโนโลยี ’ ในยุ ค ปั จ จุ บั น ทำ � ให้ เ ราเห็ น โลก ‘ภายนอก’ มากขึ้น เปรียบเทียบมากขึ้น รับแรงกดดันมากขึ้น ทั้งแรงกดดันจากคนอื่น และแรงกดดันที่เจ้าตัวใส่ให้ใจตัวเอง ในขณะที่ ก็ ทำ � ให้ ห มกมุ่ น และวนเวี ย นอยู่ กั บ ‘ภายใน’ มากขึ้นตาม เพราะยิ่งเห็นสิ่งที่คนอื่นแสดงออก มามากเท่าไร ก็เป็นไปได้ว่าเราจะยิ่งเห็นความ บกพร่องและความต้องการของตัวเองใหญ่ขึ้น ยิ่งเห็นหลุมในใจที่ทั้งมีอยู่จริงและที่ขยายมัน ออกไปให้ใหญ่ขนึ้ จนเกินจริง และยิง่ พยายามเติม ความขาดมากเท่าไร ก็เท่ากับยิง่ เพิม่ ความกดดัน และความเหนื่อยล้าทางใจให้มากเท่านั้น งานวิจยั ทางจิตวิทยาบอกว่า ยิง่ ใช้สอื่ สังคม ออนไลน์มากเท่าไร ยิ่งสัมพันธ์กับการเป็นโรค ซึมเศร้า เพราะเรามักจะเปรียบเทียบตัวเองกับ เรื่องราวที่คนอื่นนำ�เสนอตัวเอง และยิ่งทำ�ให้เรา รู้สึกด้อย ทั้งๆ ที่ไม่มีอะไรการันตีได้เลยว่า สิ่งที่ คนอืน่ นำ�เสนอออกมานัน้ เป็นความจริง หรือเป็นสิง่ ที่พยายามแสดงออกมา แต่ในความเป็นจริงแล้ว สังคมในอดีตหรือสังคมชนบทที่คนไม่ได้คุ้นเคย หรือเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์ แม้วา่ การเปรียบเทียบ แบบนีก้ บั ผูค้ นในชุมชนแวดล้อมจะมีความเข้มข้น แต่ ก รอบของการเปรี ยบเที ย บก็ ถู ก จำ � กั ด ด้ ว ย ระยะทางและขอบเขตของการติ ด ต่ อ สื่ อ สาร อยู่นั่นเอง

เทคโนโลยี ผู้ร้าย หรือฮีโร่ ถ้ามองว่าผู้ที่เจ็บป่วยด้วยโรคซึมเศร้าเป็นผู้ที่มี ความเปราะบางทางใจ การอยูใ่ นโลกยุคนีท้ ปี่ ระตู บานใหญ่ถูกเปิดออกได้ง่ายและกว้างกว่าเดิม ผู้ ที่ มี ค วามเปราะบางก็ ย่ อ มได้ รั บ ผลกระทบ มากกว่าเดิมไปด้วย แต่เทคโนโลยีก็ไม่ได้มีแค่ ด้านร้ายอย่างเดียว มีคนจำ�นวนไม่นอ้ ยทีพ่ ยายาม ทำ�เทคโนโลยีให้เป็น ‘ฮีโร่’ ที่ให้ความช่วยเหลือ ด้านจิตใจให้กับผู้คนในสังคม จะเห็นได้จาก ความพยายามที่จะใช้เทคโนโลยีด้านการสื่อสาร เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโรคทางใจให้กับ คนในสังคม สร้างเครื่องมือหรือช่องทางเพื่อช่วย อำ�นวยความสะดวกให้คนได้เข้าถึงผูเ้ ชีย่ วชาญได้ ง่ายขึ้น หรือแม้แต่นำ�เทคโนโลยีมาใช้ในการ ให้บริการการช่วยเหลือทางใจ ไม่วา่ จะเป็นระบบ Tele-Counseling หรือการให้คำ�ปรึกษาและ บำ�บัดจิตใจผ่านระบบวิดโี อคอล ทีช่ ว่ ยลดข้อจำ�กัด เรื่องเวลาและการเดินทาง หรือแม้แต่ปัญญา ประดิษฐ์อย่าง AI ในรูปแบบของ Chatbot ที่ สามารถประมวลผลและคัดกรองภาวะซึมเศร้าได้ ในหน่ ว ยงานภาครั ฐ และเอกชน ก็ ไ ด้ รั บ การ สนับสนุนงบประมาณและให้ความสนใจในการ แก้ไขปัญหาสุขภาพจิตมากขึ้น อันจะเห็นได้จาก ปริมาณการให้ทนุ วิจยั เรือ่ งการใช้เทคโนโลยีขนั้ สูง เพือ่ พัฒนานวัตกรรมดูแลสุขภาพจิตทัง้ จากภาครัฐ และภาคเอกชน รวมถึงการช่วยให้ประชาชนทัว่ ไป สามารถเข้าถึงการรักษาได้โดยใช้สวัสดิการของรัฐ แม้ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงพัฒนาไปใน ทิศทางที่ดีภายใต้ข้อจำ�กัดของทรัพยากรต่างๆ แต่ ปั จ จั ย ที่ สำ � คั ญ ที่ สุ ด ที่ จ ะป้ อ งกั น และรั ก ษา ความแข็ ง แรงทางใจได้ อ ย่ า งยั่ ง ยื น ที่ สุ ด ก็ ค ง จะเป็น ระลึกและตระหนักรูต้ ามความเป็นจริงว่า แม้ลมฟ้าอากาศข้างนอกจะเป็นแบบไหน แต่ หน้ า ที่ เ ราคื อ การดู แ ลต้ น ไม้ ใ ห้ เ ติ บ โตและ มั่นคง ขณะที่การที่ต้นไม้จะเติบโตรอดพ้นจาก สภาพแวดล้อมที่เลวร้ายได้ หลักสำ�คัญคือการ หมั่นดูแลประตูใจของตัวเอง รู้จักเปิดและปิด ที่จะรับหรือส่งข้อมูลภายในและภายนอกของ ตัวเองในระดับที่พอดี การไม่ปล่อยให้ตัวเอง จมไปกับสิ่งใดๆ ก็ตามที่มากระทบ การรู้เท่าทัน ถึ ง ระดั บ ความแข็ ง แรงของรากใบของตั ว เอง รู้ว่าเมื่อไรต้องพัก เมื่อไรต้องขอความช่วยเหลือ CREATIVE THAILAND I 17

“ ไ ม่ ว่ า โรคซึ ม เศร้ า จะเป็ น โรคใหม่ในโลกใหม่ หรือ เป็นโรคเดิมในโลกใบใหม่ การเปลี่ ย นสิ่ ง แวดล้ อ ม ที่เป็นปัจจัยจากบุคคลอื่น อาจเป็ น เรื่ อ งที่ เ ป็ น ไป ได้ยาก” รู้และเห็นตามความเป็นจริงว่า ‘โรคทางใจ’ มี อยู่จริง ซึ่งถ้าเป็นแล้วต้องรักษาและดูแลตาม ขั้นตอนทางการแพทย์ นอกจากนี้ เราควรยอมรับว่า ไม่มีต้นไม้ ต้นไหนในโลกใบนี้ที่สวยงามและแข็งแรงที่สุด ต้นไม้ทุกต้นมีความบกพร่องในตัวของมันเอง เพราะนี่เป็นสิ่งที่เป็นปกติของทุกสิ่งบนโลกใบนี้ เป็นเรื่องที่ดีที่คนในยุคปัจจุบันให้ความสำ�คัญ และสนใจเรื่องทางสุขภาพจิต แต่บางทีก็อาจจะ เป็นดาบสองคม เมือ่ ความตืน่ ตัวกลายเป็นตืน่ ตูม และผู้ ค นพยายามเอาแว่ น ขยายไปส่ อ งเพิ่ ม ความใหญ่ โ ตและรุ น แรงของรอยด่ า งเล็ ก ๆ บนก้านใบ ซึ่งนับว่าเป็นความทุกข์ที่เกินจำ�เป็น ถ้ า เอาตาไปเพ่ ง มองความบกพร่ อ งและสิ่ ง ที่ ไม่เป็นไปดังใจอยูบ่ อ่ ยๆ โดยไม่ลงมือจัดการดูแล จุดด่างนั้น ก็มีความเป็นไปได้ที่จะสะสมความ ไม่สบายใจจนกลายเป็นโรคทางใจได้ในวันหนึ่ง ไม่วา่ โรคซึมเศร้าจะเป็นโรคใหม่ในโลกใหม่ หรื อ เป็ น โรคเดิ ม ในโลกใบใหม่ การเปลี่ ย น สิ่งแวดล้อมที่เป็นปัจจัยจากบุคคลอื่นอาจเป็น เรื่องที่เป็นไปได้ยาก ดังนั้นหน้าที่สำ�คัญที่เรา ทำ�ได้กค็ อื การรักษาสภาพแวดล้อมทางใจในโลก ของแต่ ล ะคน เพื่ อ ให้ ต้ น ไม้ ใ นใจเติ บ โตและ พร้อมที่จะอยู่รอดในสถานการณ์ของลมฝนที่ อาจจะพัดเข้ามากระทบใจ รวมถึงพยายามทำ� ตนเองให้เป็นสิง่ แวดล้อมทีเ่ ป็นมิตร ไม่เป็นพิษภัย ต่อคนรอบข้าง เพื่อสร้างแรงสะท้อนถึงกันใน ทางบวก...แล้วไม่ว่าจะเป็นโลกแบบใหม่หรือโรค แบบเก่า ก็คงทำ�ร้ายเราได้น้อยลง


Fact & Figure : พื้นฐานความคิด

เปิดสถิติจริงของ ‘โรคใหม่’ ใน ‘โลกใหม่’ เรื่อง : วนบุษป์ ยุพเกษตร

บนโลกใบนี้ที่เต็มไปด้วยโรคมากมายร้อยแปด หนึ่งในโรค สำ�คัญคือ ‘โรคทางจิต’ ที่คนมักมองข้าม ละเลย และไม่ใส่ใจ เพราะมั วแต่ ใ ห้ ค วามสำ�คัญกับ ‘ร่า งกาย’ ทั้ง ที่จริงแล้ว สิ่งที่กำ�หนดเป็นตัวตนของเราจริง ๆ ก็คือ ‘จิตใจ’ จากการประมาณการทั่วโลกโดยองค์กรอนามัยโลกพบว่า มีคนจำ�นวน 1 ใน 4 ประสบกับความผิดปกติทางจิต ในช่วงใดช่วงหนึง่ ของชีวติ แล้วทำ�ไม มนุษย์จงึ ใช้ชวี ติ อยูบ่ นโลกใหม่ใบนีโ้ ดยให้ความสำ�คัญกับโรคทางจิตใจตนเอง เป็นลำ�ดับท้ายๆ ทั้งที่ควรจะเป็นอันดับต้น

โรคจริงหรือโรคหลอก

ในวันนี้ที่ใครๆ ต่างรู้สึกว่าตนเองเข้าข่าย ‘โรคซึมเศร้า’ แต่ในความ เป็นจริงแล้ว สิ่งที่พวกเขากำ�ลังเผชิญอยู่อาจเป็นเพียง ‘ภาวะชั่วคราว’ ที่เกิดขึ้นได้กับมนุษย์ทุกคน โรคซึมเศร้าเป็นโรคซึ่งติด 1 ใน 10 ที่ก่อให้เกิดความทุพพลภาพสูงสุด กระทบกับคุณภาพชีวิต และเป็นภาระทางสังคมอย่างแท้จริง โรคซึมเศร้าจริงๆ ต้องมีอารมณ์รุนแรงและต่อเนื่อง (มากกว่า 2 สัปดาห์) อารมณ์นนั้ จะต้องกระจายตัวแทรกซึมไปกับเหตุการณ์ในชีวติ และต้องแรงมากพอที่จะกระทบกับการดำ�เนินชีวิตประจำ�วัน หน่ายกับสิ่งที่เคยชอบหรืออยากทำ� รู้สึกว่าชีวิตนี้ไม่มีความสุข ขี้หลง ขี้ลืมและขาดความมั่นใจที่เคยมี สิ้นหวังกับทุกสิ่งอย่างและคิดว่าไม่มีทางที่อะไรๆ จะดีขึ้น มีอาการทางกาย นอนไม่หลับ นิสัยการกินผิดปกติไปจากเดิม ปวดหัว หรือปวดท้อง ที่กล่าวมาด้านบนนี้เป็นเพียง ‘กรอบความคิด’ ของโรค หากต้องการ ชี้ชัดจะต้องได้รับการวินิจฉัยอย่างเป็นทางการจากผู้เชี่ยวชาญอย่าง จิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา

ยิ่งเหลื่อมลํ้า ยิ่งเสี่ยงโรค

รายงานทบทวนการสำ�รวจประชากรของกลุม่ ประเทศยุโรปพบว่า โรคซึมเศร้า และโรควิตกกังวลซึ่งจัดอยู่ในหมวดหมู่โรคทางจิตที่ ‘พบบ่อย’ มีจำ�นวน มากขึน้ สัมพันธ์กบั ระดับการศึกษาน้อย ขาดแคลนเครือ่ งอุปโภคบริโภค และ การว่างงาน รวมถึงการอยูอ่ ย่างโดดเดีย่ วในกลุม่ ผูส้ งู อายุ นัน่ แสดงให้เห็นว่า ไม่ว่าคนในช่วงอายุใดก็ ‘สามารถ’ เป็นโรคทางจิตได้เท่าเทียมกัน เด็กวัยรุ่น (10-15 ปี) ที่มีสถานภาพทางสังคมและเศรษฐกิจตํ่ามักเป็น โรคซึมเศร้าและโรควิตกกังวลมากกว่าเด็กทีม่ สี ถานภาพทางสังคมและ เศรษฐกิจสูงกว่าถึง 2.5 เท่า พฤติกรรมและทัศนคติในการเลีย้ งดูลกู สภาพความเป็นอยู่ สุขภาพกาย และจิตของพ่อแม่ มีส่วนต่อความเสี่ยงในการเกิดโรคทางจิตต่อผู้ที่ ได้รับการเลี้ยงดู ความเหลือ่ มลํา้ ทางสังคมและเศรษฐกิจทีส่ ง่ ต่อจากรุน่ สูร่ นุ่ มักส่งผลให้ ความเหลื่อมลํ้าทางสุขภาพจิตยังคงอยู่ แม้เวลาผ่านไป ปัจจัยระดับชาติที่ต้องการการพัฒนาและแก้ไขเร่งด่วน คือ ความ ยากจน ความเหลือ่ มลํา้ การแบ่งแยกกีดกัน นโยบายการศึกษา บริการ สุขภาพ และนโยบายคุ้มครองทางสังคม อายุขยั เฉลีย่ ของมนุษย์ทลี่ ดลงและไม่คงที่ แสดงให้เห็นว่าความวุน่ วาย ทางการเมือง สังคม และเศรษฐกิจส่งผลต่อสุขภาพจิตและสุขภาพกาย โรคจิตเวชนำ�ไปสูร่ ายได้และการมีงานทำ�น้อยลง ทำ�ให้เกิดภาวะยากจน มากขึ้น สุดท้ายก็จะย้อนกลับมาเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคจิตเวชเช่นเดิม

จำ�นวนคนทั่วโลกที่ประสบกับ ’โรคจิตเวช’ มีอาการสมองเสือ่ ม และจิตเสือ่ ม ล้านคน

โรคซึมเศร้า ล้านคน

300

ไบโพลาร์ ล้านคน

50

60

CREATIVE THAILAND I 18

โรคจิตเภท และโรคจิตเวชอื่นๆ ล้านคน

23


บริการรองรับ ‘จิตใจ’ ที่ไม่เพียงพอ

ทุกวันนี้ผู้ป่วยทางจิตเข้าถึงบริการ ‘ตํ่ากว่า’ โรคทางกาย เนื่องมาจาก ทัศนคติการยอมรับการรักษา และการพัฒนาระบบบริการยังไม่เพียงพอ ต่อความต้องการ โดยรายงานจากกรมสุขภาพจิตระบุว่า มีสถานบริการในสังกัดกรมสุขภาพ 20 แห่งและศูนย์สุขภาพจิตอีก 13 หน่วยกระจายอยู่ทั่วประเทศ จากจำ�นวน 70,534 สายทีโ่ ทรเข้าสายด่วนสุขภาพจิต 1323 โรคอันดับ 1 ที่พบคือความเครียดและวิตกกังวลกว่า 23,537 ครั้ง

ร้อยละ 61.21 หรือคิดเป็น 8 แสนกว่ารายเข้าถึงบริการทางด้านจิตใจ ในปีงบประมาณ 2561 วัยทำ�งานกว่า 300 ล้านคนป่วยเป็นโรคซึมเศร้า และกว่า 260 ล้านคน มีภาวะวิตกกังวล ส่งผลให้เกิดค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจถึงปีละ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปีค.ศ. 2030 มีการคาดการณ์ว่าทั่วโลกจะเสียค่าใช้จ่ายจาก ‘วิกฤตโรคซึมเศร้า’ เป็นจำ�นวนกว่า 16 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่มาจากตัวเลขทางอ้อม คือ การสูญเสียผลผลิต รายจ่ายด้านสวัสดิการสังคม การศึกษา รวมไปถึงด้านกฎหมายด้วย

5 จังหวัดแรกที่ผู้ป่วยจิตเวช1 เข้ารับบริการมากที่สุด

ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพจิตของรัฐบาลต่อคนในระดับโลก

(จากตัวเลขผู้ป่วยทั้งหมดในประเทศ 2,669,821 คนที่เข้ารับบริการ)

ทัว่ โลก

ขอนแก่น

96,823 คน

เชียงใหม่

123,135 คน

(เหรียญสหรัฐฯ)3

ภูมภิ าคอเมริกา ภูมภิ าคเมดิเตอร์เรเนียน ตะวันออก

2.5 0.1 11.8 2.0

ภูมภิ าคยุโรป

21.7

ภูมภิ าคแอฟริกา

ร้อยเอ็ด

86,129 คน

ภูมภิ าคตะวันออกเฉียงใต้

อุบลราชธานี

นครราชสีมา

152,091 คน

97,762 คน

ภูมภิ าคแปซิฟกิ ตะวันตก

หมายเหตุ: ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพจิตค่อนข้างขาดแคลนในประเทศที่รายได้ตํ่า-ปานกลาง และมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของเงินทุนถูกใช้จ่ายไปกับโรงพยาบาลทางจิต

ค่าเฉลี่ยจำ�นวนบุคลากรด้านสุขภาพจิต ต่อประชากร 100,000 คน4 ทัว่ โลก ภูมภิ าคแอฟริกา

ค่าใช้จ่ายรวมของกรมสุขภาพจิต 2561 2560

6,491,395,359.07 บาท 6,178,435,652.35 บาท

(โดยใช้ระบบ GFMIS2 ดำ�เนินงานด้านการเงินเพียงระบบเดียว)

0.1 1.1

ภูมภิ าคอเมริกา ภูมภิ าคเมดิเตอร์เรเนียน ตะวันออก

(คน)

9 0.9 10.9 7.7

ภูมภิ าคยุโรป

50

ภูมภิ าคตะวันออกเฉียงใต้

2.5 10

ภูมภิ าคแปซิฟกิ ตะวันตก

1 รายงานประจำ�ปี 2560

จำ�แนกด้วยโรคสมองเสื่อม ติดสารเสพติด ติดแอลกอฮอลล์ โรคจิตเภท โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล โรคลมชัก ผู้พิการทางสติปัญญา สมาธิสั้น ออทิสติก 2 ความผิดปกติเกี่ยวกับพฤติกรรม พยายามฆ่าตัวตาย Government Fiscal Management Information System ระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ 3 แบ่งตามภูมิภาคขององค์การอนามัยโลก 4 แบ่งตามภูมิภาคขององค์การอนามัยโลก ที่มา: เอกสารแปล “ปัจจัยสังคมกำ�หนดสุขภาพจิต” ตีพิมพ์โดยองค์การอนามัยโลก (2557) จากต้นฉบับ Social determinants of mental health จัดพิมพ์เพื่อแผนงานพัฒนานวัตกรรม เชิงระบบเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพจิต พ.ศ. 2560 จาก who.int / แผนยุทธศาสตร์กรมสุขภาพจิต ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) จาก dmh.go.th / รายงานประจำ�ปีกรมสุขภาพจิต ปีงบประมาณ 2561 จาก dmh.go.th / เอกสาร “Mental Health Atlas 2017” จาก who.int CREATIVE THAILAND I 19


Creative Business : ธุรกิจสร้างสรรค์

ดูแลใจในเวลาที่ใช่ กับสายตรงนักจิตวิทยา

เรื่อง : ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ ภาพ : ภีร์รา ดิษฐากรณ์

“ถ้าได้เจอคนที่ใช่ในเวลาที่ใช่ ปัญหาก็จะคลี่คลาย” คุณวิ-วินัดดา จ่าพา ผู้ก่อตั้งกิจการเพื่อสังคม Relationflip เอ่ยขึ้น ระหว่างการสัมภาษณ์ เธอกำ�ลังเล่าถึงประสบการณ์ส่วนตัวซึ่งมักจะมีคนรู้จักมาระบายความทุกข์ในใจให้ฟังบ่อยครั้ง แม้ว่า ตัวเธอจะไม่ใช่นักจิตวิทยา “ตอนนั้นเราได้แต่นั่งฟังเฉยๆ เพราะคิดว่าถ้าแนะนำ�อะไรไปแล้ววิธีนั้นมันไม่เหมาะกับเขา ก็คงจะไม่ดี” แต่เธอมั่นใจว่า มันคงจะดีกว่าแน่ๆ ถ้ามีใครสักคนทีม่ คี วามรูใ้ นการจัดการกับปัญหา มารับฟังและเดินไปเป็นเพือ่ นในวันทีค่ นเรารูส้ กึ อ่อนล้า กับอุปสรรคที่ต้องเจอ นั่นจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำ�ให้เธอจับมือกับทีมนักจิตวิทยา ร่วมกันสร้างบริการนักจิตวิทยาออนไลน์ Relationflip ขึ้นเมื่อ 3 ปีก่อน เพื่อให้ใครก็ตามที่กำ�ลังสับสนได้พูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญที่ใช่ได้ตลอด 24 ชั่วโมง CREATIVE THAILAND I 20


หน้าที่ของนักจิตวิทยา คือการน�ำทางให้เขา ท�ำความเข้าใจตัวเอง โดยที่เราจะไม่ให้ค�ำแนะน�ำ ว่าต้องท�ำอะไร แต่จะให้แนวทาง หรือเพิ่มตัวเลือก ในการจัดการปัญหา ให้เขาลองพิจารณา

จากซ้ายไปขวา: คุณก้อย-พรทิพย์ แม่นทรง และคุณวิ-วินัดดา จ่าพา

แก้ปัญหาทันใจคนวัยทำ�งาน “ปั ญ หาของคนเราส่ ว นใหญ่ จ ะมี ที่ ม าจากความสั ม พั น ธ์ ไม่ ว่ า จะเป็ น ความสัมพันธ์กับตัวเอง เช่น มีความเครียด หรือมีความคิดวนเวียนในหัว แต่ไม่สามารถหาทางออกให้ตวั เองได้ หรือความสัมพันธ์กบั คนรอบข้าง เช่น พ่อแม่ เจ้านาย เพื่อนร่วมงาน เป็นต้น” คุณก้อย-พรทิพย์ แม่นทรง หัวหน้า ทีมนักจิตวิทยาการปรึกษา (Head of RF Analytical Counselor) เล่าถึง แนวคิดหลักของ Relationflip ที่หวังจะพลิกมุมมองของผู้เข้ารับบริการ ในเรื่องความสัมพันธ์ซึ่งส่งผลโดยตรงถึงสุขภาพใจ ปัจจุบนั ลูกค้าหลักของ Relationflip คือลูกค้าประเภทองค์กรทีต่ อ้ งการ นำ�เสนอสวัสดิการด้านสุขภาพจิตให้แก่พนักงาน แต่กเ็ ปิดรับบริการแก่บคุ คล ทั่วไปด้วยเช่นกัน “เหตุผลที่เราหันมาให้บริการกลุ่มคนทำ�งานเป็นพิเศษ เพราะเรามองว่าคนทำ�งานคือเสาหลักของครอบครัว ถ้าเขาแข็งแรง ครอบครัว และบริษัทก็จะแข็งแรงไปด้วย ทุกอย่างมันเชื่อมโยงกันหมด ยิ่งไปกว่านั้น คือทุกวันนี้เราใช้เวลาอยู่กับคนที่ทำ�งานมากกว่าคนในครอบครัวด้วยซํ้า แถมกลุ่มคนทำ�งานก็มีช่วงอายุกว้างตั้งแต่ 18 ลากไปถึง 60 เราก็เลยคิดว่า ถ้าเราดูแลคนกลุ่มนี้มันน่าจะเกิดแรงกระเพื่อมในสังคมได้มาก” คุณวินัดดาชวนให้เราลองคิดตามว่า ในเมื่อสุขภาพใจสำ�คัญไม่น้อย ไปกว่าสุขภาพกาย และคนส่วนใหญ่ก็มักจะเจอเรื่องไม่สบายใจบ่อยกว่า ไม่สบายกาย บริการดูแลสุขภายใจจึงควรจะเป็นเหมือนยาสามัญประจำ�บ้าน ที่ต้องมี ดังนั้นการที่คนเรามีเรื่องในใจที่ไม่รู้จะจัดการอย่างไร ก็เป็นเหตุผล

ที่เพียงพอแล้วในการนัดเวลาเพื่อพูดคุยกับนักจิตวิทยา ดีกว่ารอให้อาการ หนักจนแก้ไขได้ยาก จุดเด่นของ Relationflip คือการให้บริการทางโทรศัพท์ตลอด 24 ชัว่ โมง จึงสะดวกรวดเร็วและไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปคลินิกหรือโรงพยาบาล สามารถจองเวลารับบริการบนเว็บไซต์ได้เองด้วยการเลือกหัวข้อที่ต้องการ ขอคำ�ปรึกษา เช่น ความสัมพันธ์กับเจ้านาย การเปลี่ยนสายงาน ความรัก ความมั่นคงทางการเงิน เพศทางเลือก เด็กเล็ก-วัยรุ่น ผู้สูงอายุ ฯลฯ หรือ เลือกจากประวัติและความเชี่ยวชาญเฉพาะของนักจิตวิทยาในระบบกว่า 40 ท่านก็ได้ โดยผูข้ อรับบริการจะต้องทำ�แบบประเมินความสุขหรือ “RF Index” ซึ่งเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะที่ทีมงานพัฒนาร่วมกับสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ และสถาบันวิจัยประชากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อเป็นการประเมิน สุขภาพเบื้องต้นก่อนรับบริการ ขั้นตอนการพูดคุยของนักจิตวิทยาก็จะเริ่มจากการสร้างความสัมพันธ์ ที่ ดี เ พื่ อ ให้ ผู้ เ ข้ า รั บ บริ ก ารค่ อ ยๆ เปิ ด ใจและกล้ า ที่ จ ะเล่ า ปั ญ หาให้ ฟั ง โดยกระบวนการให้คำ�ปรึกษาส่วนใหญ่ต้องใช้เวลาพูดคุยมากกว่าหนึ่งครั้ง “หน้าที่ของนักจิตวิทยาคือการนำ�ทางให้เขาทำ�ความเข้าใจตัวเอง โดยที่เรา จะไม่ให้คำ�แนะนำ�ว่าต้องทำ�อะไร แต่จะให้แนวทาง หรือเพิ่มตัวเลือก ในการจัดการปัญหาให้เขาลองพิจารณา การพูดคุยทางโทรศัพท์จะมีข้อดี ตรงทีบ่ างคนก็จะเปิดใจได้เร็วเพราะว่าไม่เห็นหน้ากัน การบำ�บัดเป็นไปได้ด”ี คุณพรทิพย์ นักจิตวิทยาอธิบาย

CREATIVE THAILAND I 21


ความในใจของลูกค้า คือความลับที่ยังมีในโลก แม้คนไทยยุคนี้จะเข้าใจเรื่องการดูแลสุขภาพจิตกันมากขึ้น แต่ผู้เข้ารับ บริการเองก็ยงั รูส้ กึ กังวลว่าข้อมูลการใช้บริการของพวกเขาจะเป็นทีร่ บั รูข้ อง บริษัท หรือหนักกว่านั้นคือกระทบต่อการประเมินการทำ�งาน ความท้าทาย ในการให้บริการของ Relationflip จึงอยู่ที่การออกแบบวิธีจัดเก็บข้อมูลและ วิเคราะห์ผลเพื่อนำ�เสนอแก่บริษัทให้เป็นรูปธรรม โดยที่ยังอยู่บนหลักการ ที่ถูกต้องตามหลักจรรยาบรรณทางวิชาชีพ “การรั ก ษาความลั บ ของผู้ เ ข้ า รั บ บริ ก ารแต่ ล ะคนเป็ น สิ่ ง ที่ เ ราให้ ความสำ�คัญอันดับหนึ่ง เพราะบางครั้งแค่เราบอกชื่อแผนกหรืออายุ บริษัท ก็เดาได้แล้วนะว่าใครที่มาเข้ารับบริการ พนักงานจะกลัวว่าบริษัทจะเข้าถึง ข้อมูลอะไรบ้าง มันเป็นเรือ่ งอ่อนไหวมาก ดังนัน้ เราจึงต้องคิดวิธกี ารนำ�เสนอ ข้อมูลอย่างดีก่อนที่จะส่งให้ฝ่ายเอชอาร์ ซึ่งเอาเข้าจริงเอชอาร์ก็บอกว่า เขาไม่ได้อยากได้ข้อมูลละเอียดว่าใครมารับบริการนะ เขาแค่อยากรู้กว้างๆ ว่ามีประเด็นปัญหาอะไรบ้าง เพื่อที่จะได้วางแผนป้องกันหรือแก้ไขได้ถูก” คุณวินัดดาเล่าถึงการทำ�งานร่วมกับลูกค้าองค์กร “เคยมีพนักงานคนหนึ่งตั้งธงตั้งแต่เริ่มมาปรึกษาเลยว่ามีปัญหาเรื่อง เงินเดือน เราดูจากแบบประเมินความสุขของเขาจะเห็นเลยว่าคะแนนด้านนี้ ค่อนข้างตํ่ามาก แต่พอคุยไปสักสามสี่ครั้ง กลายเป็นว่าต้นตอของปัญหา มันมาจากสัมพันธภาพกับคนในที่ทำ�งาน พอความสัมพันธ์มันแย่ มิติอื่นๆ ก็แย่ไปด้วย ไม่พอใจไปหมด หลังจากได้ปรึกษานักจิตวิทยา เขาก็เจอทางออก ในการสือ่ สารกับเจ้านายและเพือ่ นร่วมงาน บรรยากาศในการทำ�งานเป็นทีมเวิรก์ ก็ดขี น้ึ พอลองทำ�แบบประเมินอีกครัง้ ก็พบว่าคะแนนทุกด้านมันดีขน้ึ ทัง้ ๆ ที่ไม่ได้ ไปแก้เรือ่ งเงินเดือนเลย เขาได้เงินเท่าเดิม แต่เขาพอใจในสิง่ แวดล้อมมากขึน้ ” ประโยชน์ที่องค์กรจะได้รับจากบริการนี้ จึงแทบไม่ต่างอะไรกับการที่ พนักงานมีอาหารกินอิม่ ท้อง เพราะถ้าปล่อยให้พนักงานหิวโซหรือวิตกกังวล แน่นอนว่าเขาก็ไม่สามารถทำ�งานให้องค์กรได้เต็มที่ 3 ปัญหากังวลใจของคนยุคนี้ อะไรคือปัญหาที่ผู้เข้ารับบริการของ Relationflip มักจะมาขอคำ�ปรึกษา นี่คือตัวอย่างที่ทีมงานบอกว่าพบบ่อยและน่าสนใจ ค้นหาคุณค่าในตัวเอง

ใครจะไปคิดว่าเรื่องนี้ไม่ได้มีแค่คนรุ่นใหม่เท่านั้นที่เข้ามาขอคำ�ปรึกษา เพราะ แม้แต่คนทำ�งานอายุ 40-50 ปีก็มีความรู้สึกสับสนและยังคงตั้งคำ�ถามเรื่อง ศักยภาพในการทำ�งานและค้นหาคุณค่าในตัวเองไม่ต่างกัน มองหาความสมบูรณ์แบบที่ไม่มีอยู่จริง

มีคนจำ�นวนไม่นอ้ ยทีร่ อให้ทกุ อย่างสมบูรณ์แบบก่อนจะลงมือทำ� พวกเขายืนอยู่ กับที่และพยายามจะมองให้เห็นทุกอย่าง ซึ่งเป็นไปไม่ได้ เพราะถ้าไม่ออกเดิน ก็ไม่มีทางเห็นเป้าหมายชัดขึ้น และกลายเป็นว่าไม่ได้ลงมือสักที การสื่อสารและความสัมพันธ์

ปัญหานี้นักจิตวิทยาบอกว่าพบมากในผู้รับบริการเจนวายและเจนซี ที่เติบโต มาพร้อมเทคโนโลยีและความสะดวกสบาย จึงไม่รู้ว่าจะปรับตัวเข้ากับสังคม และสื่อสารความคิดกับรุ่นพี่หรือเจ้านายอย่างไร

เพื่อนคู่ใจ ในโลกที่หมุนเร็ว “ปัจจุบันนี้สิ่งแวดล้อมอาจจะไม่ได้เอื้อให้เราฟังกันจริงๆ สักเท่าไร บางที จะเล่าให้เพื่อนสนิทฟังก็ต่างคนต่างอยากจะเล่าเรื่องของตัวเอง หรือหยิบ มือถือขึ้นมาดูระหว่างฟังไปด้วย น้อยครั้งที่จะมีใครมาตั้งใจนั่งฟังเราอย่าง จริงจัง ไม่ตัดสิน และมองตาเราโดยที่ไม่ทำ�อย่างอื่นไปด้วย” ผู้ก่อตั้ง Relationflip ยอมรับว่าความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเทคโนโลยีในวันนี้ น่าจะมีส่วนที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตของเราไม่มากก็น้อย แต่ส่ิงที่น่าดีใจก็คือ ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา Relationflip พบว่าสังคมไทยเปิดรับบริการด้าน สุขภาพจิตมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด “ปกติเราจะไปเปิดบูธให้คำ�ปรึกษาฟรีในมหกรรมแนะนำ�การศึกษา ปีละ 2 ครัง้ ปีแรกๆ จะชอบมีเด็กเข้ามาถามว่า “นี่บธู อะไรอะพี่ ดูดวงได้ไหม” ส่วนพ่อแม่กจ็ ะไม่อยากลูกเข้ามาเพราะกลัวคนอืน่ มองไม่ดี เราใช้เวลาอธิบาย บริการนานกว่าตอนเข้ามารับคำ�ปรึกษาในบูธอีก ผ่านมา 3 ปีเด็กเดินเข้ามา ถามด้วยความตื่นเต้นเลยว่า “คุยได้เหรอพี่” พ่อแม่ก็เข้ามาหาเราเองโดย ไม่ต้องอธิบาย” แต่สุดท้ายแล้ว ไม่ว่าจะยุคสมัยไหน ความเปลี่ยนแปลงคือสิ่งที่เรา เลี่ยงไม่ได้ และคุณวินัดดาก็เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนจะผ่านมันได้ด้วยตัวเอง โดยมีทีมนักจิตวิทยาอย่าง Relationflip เป็นเหมือนที่ปรึกษาที่คอยอยู่ข้างๆ “ต่อให้ผา่ นไปอีกพันปี เราก็ยงั จะต้องเจอกับความเปลีย่ นแปลง การล้มหาย ตายจาก การเปลี่ยนสถานะ จากรวยเป็นจน จากลูกน้องเป็นเจ้านาย จากเด็กหญิงเป็นนางสาว เรือ่ งแบบนีเ้ ป็นเรือ่ งทีต่ อ้ งเจอเอง เจ็บเอง เรียนรูเ้ อง และยอมรับการเปลี่ยนแปลงให้ได้เอง เพราะสิ่งที่แน่นอนที่สุดก็คือความ ไม่แน่นอน” ดังนัน้ จึงไม่แปลก หากคำ�แนะนำ�ง่ายๆ ในการมองปัญหาทีค่ ณุ พรทิพย์ ในฐานะนักจิตวิทยาบอกกับผู้เข้ารับบริการเสมอ คือต้องเริ่มต้นจากการ เข้าใจและยอมรับ “ปัญหาทุกเรื่อง ถ้าเข้าใจมันได้เร็วเท่าไร เราก็จะไปต่อ ได้เร็วเท่านัน้ เพราะพอเข้าใจเร็ว เราก็จะยอมรับเร็ว เมือ่ ยอมรับ เราก็จะวาง เมือ่ วางก็วา่ ง ว่างแล้วก็เอาอย่างอืน่ มาเติมและไปต่อได้ แต่ถา้ เรายังไม่เข้าใจ ไม่ยอมรับ มีแต่คำ�ถามว่าทำ�ไมๆ เราจะไปต่อไม่ได้ ต้องเปลี่ยนมามองว่า เมื่อเป็นแบบนี้ เราจะจัดการเรื่องนี้ยังไง ปกติเวลามีเคสเราก็จะชวนเขาคิด แบบนี้” ติดต่อขอรับบริการหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ FB Inbox: Relationflip, www.relationflip.com

CREATIVE THAILAND I 22


How To : ถอดวิธีคิด

Anti-Anxiety Remedy 10 ขัน้ ตอนคลายกังวลโดยไม่ตอ้ งพึง่ ยา

เรื่อง : วนบุษป์ ยุพเกษตร เพราะความกังวลเป็นสัญชาตญาณในการป้องกันตัวของมนุษย์ แต่หากมีการต่อเนื่องนานเข้าอาจเข้าข่าย เป็นโรคได้ แต่น้อยคนนักที่จะรู้ตัวว่าก�ำลัง ‘เป็นโรค’ และยอมไปพบจิตแพทย์ โรคทางจิตที่ยังคงมาแรงเป็นอันดับสูงที่สุดในโลกจากผลส�ำรวจความชุกในปี 20171 คือโรควิตกกังวล (Anxiety) ด้วยตัวเลขที่น�ำโด่งถึงร้อยละ 3.76 ขณะตัวเลขบ้านเราก็พบเช่นเดียวกันในผลส�ำรวจล่าสุดของ กรมสุขภาพจิตในปี 25562 ว่าผู้ป่วยในไทยเป็นโรควิตกกังวลถึงร้อยละ 3.1 หรือราว 1.6 ล้านคน

1

.หายใจช้าๆ เพราะเมื่อเราเกิดอาการตระหนก หรือกังวล จะหายใจเร็วกว่าปกติ

“คิดวกไปวนมา จนข่มตาหลับไม่ได้” “พะวงอยู่แต่กับเรื่องในอนาคตที่ยังไม่เกิด” “กลัวบางสิ่งจนเกินเหตุ”

5เผชิ.ท�ำตัญหน้วาให้กับสิ‘กล้ง่ ทีก่าหาญ’ สักหน่อย ลองค่อย ๆ 7.วางแผนเวลา ‘วิตกกังวล’ มันยากที่จะเลิก ลัวหรือวิตกอย่างช้า ๆ พยายาม วิตกกังวลได้หมดสิ้น ปล่อยให้ตัวเองได้วิตกบ้าง อย่าหลีกหนีเพราะอาการจะไม่ดีขึ้น

ก็ได้ อาจจะเป็น 10 นาทีในช่วงหนึ่งของวันที่ได้ นั่งและปล่อยความกังวลให้วนเวียน

8

2

.ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ หาที่เงียบ ๆ ไปยืด กล้ามเนือ้ ให้ผอ่ นคลาย เพราะอาการทีพ่ บมากเวลา วิตกกังวลก็คือ กล้ามเนื้อเกร็ง

3ท�ำสมาธิ .อยู่กับปัจจุบัน วิธีที่เรียบง่ายที่สุดคือการ เลิกคิดถึงอนาคตที่ยังไม่เกิดขึ้นและอดีต ที่จบไปแล้ว (สักที)

4กิน.ใช้อาหารสุ ชีวิตอย่าง ‘สุขภาพดี’ ตื่นตัวอยู่เสมอ ขภาพ ออกไปหาธรรมชาติ อยู่กับ

.ท�ำความเข้าใจความวิตกของตัวเอง ลองจด บันทึกช่วงเวลาที่ดีที่สุดและแย่ที่สุด จะได้มอง เห็นภาพรวมของสาเหตุ เพื่อรับมือและจัดการได้ ถูกต้อง

10 หนทางการจัดการ ความวิตกกังวล

วิธีที่เหมาะกับเราอาจไม่เหมาะกับคนอื่น ทดสอบ ดูว่าสิ่งใดเหมาะกับตัวเองมากที่สุด หากมีอาการ วิตกมากเกินไปจนไม่สามารถทนท�ำวิธเี หล่านีไ้ ด้ ก็ จ�ำเป็นต้องไปพบและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ

คนทีร่ กั และหากิจกรรมทีต่ วั เองรูส้ กึ สนุกไปกับมัน

6คิด.พูอะไรไปเกิ ดคุยกับตัวเอง ความวิตกกังวลมักจะท�ำให้เรา นกว่าเหตุและประเมินความสามารถ

ตัวเองได้ต�่ำ ลองมองความเป็นจริงและต่อสู้กับ ความคิดของตัวเองให้ได้

9

.เรียนรูจ้ ากผูอ้ นื่ ลองคุยกับคนทีเ่ คยเป็นโรคหรือ คนทีม่ อี าการเดียวกัน เพือ่ ป้องกันการรูส้ กึ ว่าตัวเอง เป็นอยู่คนเดียว

10

.ใจดีกบั ตัวเอง จ�ำไว้เสมอว่าตัวเองไม่ใช่ความ กังวล ไม่ได้ด้อยค่าหรืออ่อนแอ เพียงแต่มีปัญหา สุขภาพจิตที่เรียกว่า ‘โรควิตกกังวล’ แม้ว่าเราไม่สามารถระบุสาเหตุที่แท้จริงของ โรคได้ แต่สิ่งที่ส�ำคัญที่สุดคือการสังเกตสัญญาณ และอาการ อย่าลืมว่า หากอาการมากเกินไปจะ ควบคุมได้ จ�ำเป็นต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือหา ที่ปรึกษาเพื่อวางแผนลดอาการเหล่านี้ได้อย่าง ถูกต้อง...อย่ารอให้สายเกินไป

สังเกตดูว่าอาการเหล่านี้รบกวนชีวิตประจ�ำวันหรือกระทบกับการท�ำงานหรือเปล่า หากเป็นแค่ชั่วครั้งชั่วคราวถือว่า ‘ปกติ’ แต่ถ้ามีอาการต่อเนื่องนานกว่า 6 เดือน ถือว่าเข้าข่ายอันตรายต้องได้รับการรักษา 1 ourworldindata.org/mental-health 2 รายงานการศึกษาเรื่อง “ความชุกของโรคจิตเวชและปัญหาสุขภาพจิต

ครั้งแรกเกิดขึ้นในปี 2541 และต่อเนื่องทุก 5 ปี ที่มา: beyondblue.org.au

: การสำ�รวจระบาดวิทยาสุขภาพจิตของคนไทยระดับชาติปี พ.ศ. 2556” ผลสำ�รวจใน

CREATIVE THAILAND I 23


Creative Place : พื้นที่สร้างสรรค์

MEET ‘STUTTGART’ The Most Relaxing City in the World เรื่อง : วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ

หากจะเรียกสตุทท์การ์ท เมืองทางตอนใต้ของประเทศเยอรมนีว่าเป็น ‘เมืองแห่งการขับเคลื่อน’ ก็คงไม่ผิดนัก เพราะที่นี่ คือหนึง่ ในต้นกำ�เนิดของการขับเคลือ่ นอุตสาหกรรมยานยนต์ทยี่ งิ่ ใหญ่ระดับโลก แต่ใครจะคิดว่าเมืองแห่งอุตสาหกรรมหนัก จะติดอันดับ 1 ของการเป็นเมืองที่ดีต่อใจ และจัดว่ามีความเคร่งเครียดน้อยที่สุดในโลก ซึ่งเคล็ดลับการผ่อนคลายของ คนเมืองเบียร์แบบฉบับสตุทท์การ์ทอาจอยู่ที่ ‘ไวน์’ ‘การส่งต่อเรื่องราวในอดีต’ และ ‘การไม่หยุดต่อสู้’ เพื่อชีวิตที่ดียิ่งขึ้น ของชาวเมือง From Mercedes-Benz to Vineyard อนาคตที่กำ�ลังเปลี่ยนแปลงไปของเมืองสตุทท์การ์ทและอาจรวมถึงอนาคตของมนุษยชาติท่ีกำ�ลังผลิกโฉมไปตลอดกาลเกิดขึ้นเมื่อคาร์ล ฟรีดริช เบนซ์ (Karl Friedrich Benz) วิศวกรยานยนต์ได้คดิ ค้นรถยนต์ใช้นาํ้ มันขับเคลือ่ นคันแรกของโลกได้ส�ำ เร็จในปี 1885 ซึง่ ถือเป็นจุดเริม่ ต้นของการปฏิวตั กิ ารคมนาคม ของโลก เหตุการณ์ในครั้งนั้นได้เป็นจุดกำ�เนิดให้สตุทท์การ์ทมีบริษัทผลิตยานยนต์ชั้นนำ�ของโลกอย่างเดมเลอร์ เอจี (Daimler AG) ที่มีเมอร์เซเดส-เบนซ์ (Mercedes-Benz) บริษัทลูกที่ผลิตรถยนต์หรูขวัญใจคนทั่วโลกอยู่จนทุกวันนี้ CREATIVE THAILAND I 24


flickr.com/photos/chijs

Did you know?

เบื้องหลังความสำ�เร็จของคาร์ล เบนซ์ที่สามารถประดิษฐ์ รถยนต์คนั แรกได้ส�ำ เร็จ อยูท่ เี่ บอร์ธา เบนซ์ (Bertha Benz) ภรรยาที่เป็นแรงผลักดันสำ�คัญของการสร้างสิ่งประดิษฐ์ เปลี่ยนโลกครั้งนี้ให้เป็นจริง เพราะเธอเป็นทั้งผู้ลงทุน ผู้ให้ก�ำ ลังใจยามทีใ่ ครต่อใครมองว่าการสร้างรถยนต์เป็น ผลงานของปีศาจ เพราะมันขัดต่อความเชือ่ ของศาสนจักร ที่มองว่าการเดินทางโดยปราศจากม้าเป็นสิง่ ผิดธรรมชาติ และเธอยั ง เป็ น ผู้ ท ดสอบขั บ รถยนต์ คั น แรกของสามี ด้วยตัวเธอเอง โดยเธอปิดบังเรื่องนี้ไม่ให้สามีรู้และลงมือ ซ่อมเครื่องยนต์เองตลอดทางเมื่อมันขัดข้อง เมื่อเธอถึง จุดหมายปลายทางในระยะร่วม 106 กิโลเมตรเป็นที่เรียบร้อย เธอจึงได้โทรเลขแจ้งสามีว่าผลงาน ของเขาใช้งานได้ดี และแม้คาร์ลจะคิดอยู่เสมอว่าเบอร์ธาเป็นผู้ร่วมประดิษฐ์รถยนต์คันแรกนี้ด้วยกัน แต่ภรรยาของเขาก็ไม่มีสิทธิที่จะมีช่ือในสิทธิบัตรการประดิษฐ์รถร่วมกับคาร์ล เหตุเพราะเธอเป็น ผู้หญิง

wikipedia.org

แต่ จุ ด เริ่ ม ต้ น ของการเป็ น เมื อ งแห่ ง ผู้ นำ � ในวงการอุตสาหกรรมยานยนต์ไม่ได้หยุดอยูแ่ ค่ที่ เมอร์เซเดส-เบนซ์เพียงเท่านั้น เพราะปอร์เช่ โฟล์คสวาเกน มายบัค และ NeoPlan (บริษัท ผลิ ต รถทั ว ร์ ร ะดั บ ลั ก ชั ว รี่ ) ต่ า งก็ เ ป็ น แบรนด์ รถยนต์หรูทม่ี ถี น่ิ กำ�เนิดในเมืองสตุทท์การ์ทแห่งนี้ ด้วยเช่นกัน และหากสังเกตให้ดี ในตราสัญลักษณ์ ของรถปอร์เช่ ม้าสีดำ�โดดเด่นเป็นสง่ากลางโลโก้ ไม่ใช่การสื่อถึงรถพลังแรงม้าสูง หากแต่เป็นการ สื่อถึงความผูกพันที่ปอร์เช่มีต่อเมืองต้นกำ�เนิด อย่างสตุทท์การ์ทอย่างเหนียวแน่น เพราะหาก ย้อนกลับไปศึกษาเรื่องราวประวัติศาสตร์ของ เมืองแห่งนี้สักหน่อย ก็จะรู้ได้ว่าสตุทท์การ์ท เคยเป็นเมืองที่โด่งดังในการเป็นพื้นที่เพาะเลี้ยง ม้าชัน้ ดีเพือ่ ใช้ในการคมนาคมมาก่อนที่คาร์ล เบนซ์ จะประดิษฐ์รถยนต์คนั แรกได้ส�ำ เร็จเสียอีก ดังนัน้ ‘ม้าดำ�’ สัญลักษณ์ของปอร์เช่ที่วิ่งผ่านไปมาอยู่ ทั่วโลกอาจเป็นการนำ�เสนอเมืองต้นกำ�เนิดที่ พวกเขาภาคภูมิใจก็คงไม่ผิดนัก นอกจากความรุง่ เรืองทีอ่ ตุ สาหกรรมยานยนต์ มอบให้กับเมืองแห่งนี้แล้ว ความสุนทรีย์แบบ เนิบช้าทีด่ เู หมือนจะไปกันไม่ได้อย่าง ‘ไร่องุน่ ’ ซึง่ น่า จะเหมาะกับชานเมืองชนบทมากกว่า กลับเข้ากัน ได้อย่างลงตัวในเมืองศูนย์กลางเศรษฐกิจทางใต้ ของเยอรมนีแห่งนี้ ท่ามกลางตึกอาคารสำ�นักงาน ใหญ่และบ้านพักอาศัยสมัยใหม่ในสตุทท์การ์ท ต่ า งถู ก แต่ ง แต้ ม ด้ ว ยเถาองุ่ น อยู่ ร อบตั ว เมื อ ง ราวกับอดีตและปัจจุบันสามารถมาบรรจบกันได้ อย่างแนบสนิท หากย้อนกลับไปตั้งแต่สมัยจักรวรรดิโรมัน พื้ นที่ ในเขต Bad Cannstatt ซึ่ ง ตั้ ง อยู่ ท าง ตอนเหนือของสตุทท์การ์ทถูกเชื่อกันว่าเป็นพื้นที่

ที่ชาวโรมันริเริ่มปลูกองุ่นเพื่อทำ�เป็นไวน์รสเลิศ เนือ่ งด้วยความเหมาะสมทางภูมศิ าสตร์ทส่ี ามารถ ผลิตไวน์ได้อย่างยอดเยี่ยม จึงไม่แปลกนักที่ นักชิมไวน์จากทั่วสารทิศจะนิยมมาเยี่ยมเยือน ประเทศแห่งเบียร์แต่มี ‘ไวน์ทวั ร์’ เป็นเดสทิเนชัน ที่โด่งดังไม่แพ้ที่ไหนๆ บนโลก เพราะนอกจาก นักท่องเที่ยวจะได้แวะชิมและเรียนรู้กรรมวิธีการ ผลิตไวน์ท้องถิ่นจากทั่วเมืองแล้ว พวกเขายังได้ ปีนเขาไปดูไร่องุ่นในวิวรอบ 360 องศาซึ่งเผยให้ เห็ น เมื อ งสตุ ท ท์ ก าร์ ท สมั ย ใหม่ ที่ ป ระดั บ ด้ ว ย เถาองุ่นเขียวชอุ่มสุดลูกหูลูกตา แถมยังได้ศึกษา ประวัตศิ าสตร์ของไวน์แบบละเอียดยิบที่ Museum of Viniculture พิพิธภัณฑ์ไวน์ซึ่งเล่าเรื่องราว ประวัตศิ าสตร์การผลิตไวน์ของเมืองสตุทท์การ์ท ไว้ตั้งแต่ 2,000 ปีก่อนจนถึงปัจจุบัน The Least Stressful City ชัยชนะอยู่ที่สตุทท์การ์ท เมื่อ Zipjet บริษัท สตาร์ทอัพจากลอนดอนได้ท�ำ การค้นหาว่าเมืองใด ในโลกมีความเครียดมาก-น้อยที่สุด (Global Least & Most Stressful Cities Ranking) โดยใช้ ดั ช นี ชี้ วั ด ที่ ส่ ง ผลต่ อ ความเครี ย ดที่ ป ระชาชน ต้องเผชิญในชีวิตประจำ�วัน อาทิ ความหนาแน่น ของประชากร ปริมาณพื้นที่สีเขียว ความสะดวก สบายของระบบขนส่ ง มวลชน ระดั บ มลพิ ษ สุขภาพจิตของชาวเมือง ความเท่าเทียมทางเพศ CREATIVE THAILAND I 25

ความรูส้ กึ ปลอดภัยในสังคม ฯลฯ โดยสตุทท์การ์ท สามารถคว้ า อั น ดั บ 1 ของการเป็ น เมื อ งที่ มี ความเครี ย ดน้ อ ยที่ สุ ด ในโลกประจำ � ปี 2017 ในขณะที่กรุงเทพฯ ติดอันดับที่ 103 จากการ เก็บข้อมูลใน 150 ประเทศทั่วโลกจากตารางการ ชี้วัดเดียวกันนี้ “มันไม่แปลกเลยทีส่ ตุทท์การ์ทจะได้คะแนน สูงในเรื่องพื้นที่สาธารณะ ผมว่าพื้นที่เหล่านี้ช่วย ลดความเครียดและคลายความกังวลของคนเมือง ลงได้… สำ�หรับเรื่องความปลอดภัยทั้งด้านการ ใช้ชีวิตและความมั่นคงทางการเงิน สตุทท์การ์ท ก็สามารถตอบโจทย์ได้อย่างยอดเยี่ยมเช่นกัน” เดวิด มูส (David Moos) ชาวเมืองสตุทท์การ์ท กล่าวให้สัมภาษณ์ไว้กับเว็บไซต์ Lonely Planet และว่ากันตามจริงแล้วหากพิจารณาเรือ่ งของการ เป็ น เมื อ งศู น ย์ ก ลางอุ ต สาหกรรมยานยนต์ ระดับโลก ก็เป็นตัวช่วยชั้นดีที่ทำ�ให้ชาวเมืองที่นี่ มีงานทำ�ทีม่ นั่ คง แถมสถานทีต่ งั้ ของสตุทท์การ์ท ที่แวดล้อมด้วยหุบเขา แม่นํ้า มีภูมิศาสตร์ที่ เพียบพร้อมสำ�หรับการเป็นแหล่งปลูกองุน่ ชัน้ ยอด ของโลก รวมถึงพื้นที่สีเขียวและพื้นที่สาธารณะ เปิดกว้างที่กระจายอยู่ทั่วเมือง (นี่ยังไม่รวมถึง จำ�นวนมิวเซียมและแกลเลอรีอีกมาก ที่เดินกัน ทั้งวันก็ไม่น่าจะไหว) เหล่านี้น่าจะเป็นปัจจัย สำ�คัญทีส่ ามารถสร้างความสุขให้กบั ประชาชนได้ ไม่ยาก


“สถานที่ซง่ึ แสดงออกถึงความเสมอภาค” คือนิยามการสร้างห้องสมุดประชาชนแห่งใหม่ของสตุทท์การ์ท หรือ Stuttgart City Library ที่ได้สถาปนิกมือดีชาวเกาหลีใต้ Eun Young Yi เป็นผู้ออกแบบ ห้องสมุด ทรงสี่เหลี่ยมลูกบาศ์กแสนเรียบง่ายนี้ก่อตั้งแล้วเสร็จมาตั้งแต่ปี 2011ตั้งอยู่ในโลเกชันกลางตัวเมืองที่ เข้าถึงได้ง่ายด้วยเส้นทางรถไฟหลัก ทำ�ให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าสู่ห้องสมุดประชาชน ได้อย่างสะดวกสบาย ตัวอาคารถูกออกแบบมาให้สามารถเข้าถึงได้ทุกทิศทาง แบ่งสัดส่วนการใช้ง่าย ได้อย่างทันสมัยและลงตัว ทั้งการเป็นห้องสมุดที่เปิดรับแสงธรรมชาติอย่างเต็มที่เพื่อความง่าย และสบายต่อการอ่าน เป็นพื้นที่จัดแสดงความรู้หมุนเวียนเพื่อประชาชนทุกเจเนอเรชัน มีชั้นรูฟท็อป ที่เป็นทั้งแกลเลอรีและคาเฟ่ที่สามารถมองเห็นวิว 360 องศารอบเมืองสตุทท์การ์ท พร้อมการให้บริการ ที่ทันสมัยอย่างระบบคืนหนังสือได้ตลอด 24 ชม. แบบอัตโนมัติ เรียกได้ว่าเป็นห้องสมุดของประชาชน ที่กุม ‘หัวใจและจิตวิญญาณ’ แห่งใหม่ของชาวเมือง เพราะห้องสมุดแห่งนี้ไม่ได้เพียงสื่อสารด้วย ตัวหนังสือ แต่เป็นสถานที่ที่ส่งต่อวัฒนธรรม และเปิดโอกาสให้ชาวเมืองเป็นผู้สร้างสรรค์ความ เป็นไปได้ใหม่ๆ อย่างไม่รู้จบในอนาคต But Stuttgart isn’t Perfect แต่แน่นอนว่าไม่มีเมืองไหนสมบูรณ์แบบ เพราะ แม้ว่าค่าเฉลี่ยของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขของ ชาวเมืองจะอยู่ในเกณฑ์ดีเยี่ยม แต่ดูเหมือน สตุ ท ท์ ก าร์ ท จะยั ง ทำ � คะแนนได้ ไ ม่ ถึ ง เกณฑ์ ในเรื่ อ งการจั ด การปั ญ หามลพิ ษ ทางอากาศ นี่อาจเป็นเหรียญอีกด้านของการเป็นเจ้าบ้าน การผลิตยานยนต์ระดับโลก เพราะปัญหามลพิษ สูงเกินมาตรฐาน โดยเฉพาะในเขต Neckartor พื้นที่เศรษฐกิจสำ�คัญฝั่งตะวันออกของเมืองที่ แต่ละวันจะมีรถยนต์จราจรกว่า 1 แสนคัน ได้ปล่อย

ควันร้ายที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพชาวเมืองอย่าง รุนแรง จนซูซานน์ จัลโลว์ (Susanne Jallow) และปีเตอร์ เออร์เบน (Peter Erben) เพื่อนบ้าน วั ย กลางคน 2 คนที่ ท นอยู่ กั บ ปั ญ หานี้ ไ ม่ ไ ด้ อีกต่อไป ทั้งคู่จึงตัดสินใจออกมาเคลื่อนไหว และฟ้ อ งร้ อ งผู้ ดู แ ลเมื อ งสตุ ท ท์ ก าร์ ท ต่ อ ศาล ในข้อหาทำ�ร้ายร่างกายทีส่ ง่ ผลให้ถงึ แก่ความตาย (เนื่องจากปัญหามลพิษทางอากาศ) และการ ขาดการดูแลและช่วยเหลือจากภาครัฐ โดยทั้งคู่ มีจดุ ประสงค์เพือ่ เรียกร้องให้หน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้อง ออกมาแก้ ไ ขปั ญ หานี้ อ ย่ า งจริ ง จั ง มากขึ้ น CREATIVE THAILAND I 26

rnz.de / Photo by Marijan Murat

Photo by Max Langelott on Unsplash

Stuttgart City Library : New Heart, New Hope

การเคลือ่ นไหวของประชาชนในครัง้ นีไ้ ด้เรียกร้อง ความสนใจจากสื่ อ ท้ อ งถิ่ น และนานาชาติ ไ ด้ เป็นอย่างดี จนปี 2016 ภาครัฐได้ออกนโยบาย “Feinstaubalarm (fine particulate matter alarm)” เพื่อขอความร่วมมือจากประชาชนใน วันที่ค่ามลพิษทางอากาศสูงเกินมาตรฐาน EU โดยขอให้ประชาชนหยุดกิจกรรมใดก็ตามปล่อย ควันร้าย หยุดใช้รถยนต์ส่วนตัวและหันมาใช้ ระบบขนส่งมวลชน โดยในวันนั้นค่าตั๋วของรถ ขนส่ ง สาธารณะจะถู ก ลดราคาลงเหลื อ เพี ย ง ครึ่งหนึ่งเพื่อกระตุ้นให้ชาวเมืองใช้ทางเลือกนี้ ในการสัญจร “ดูเหมือนว่านักการเมืองจะพอใจและหยุด อยู่แค่นโยบาย Feinstaubalarm แต่ทำ�ไมเมือง ของเราถึงไม่ออกกฎให้เลิกใช้รถยนต์ในวันที่ค่า มลพิษสูงเกินมาตรฐานเหมือนอย่างกรุงปารีสหรือ มาดริดบ้างล่ะ” นี่คือสิ่งที่จัลโลว์ตั้งข้อสงสัยและ อีก 3 ปีต่อมา คำ�ถามของเธอก็ได้รับคำ�ตอบใน ที่สุด เมื่อสตุทท์การ์ทสามารถออกกฎหมายห้าม ใช้รถยนต์ดีเซลเก่าซึ่งปล่อยมลพิษเกินมาตรฐาน ของ Euro ได้สำ�เร็จเมื่อต้นปี 2019 ที่ผา่ นมา และ ดูเหมือนว่ากฎหมายข้อนี้จะกำ�ลังสั่นสะเทือน อนาคตของบริษัทรถยนต์ช้ันนำ�ของโลกที่ต้ังอยู่ ในสตุ ท ท์ ก าร์ ท ให้ คิ ด หาทางผลิ ต รถยนต์ ที่ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและเป็ น มิ ต รกับผู้คน มากยิ่งขึ้น


Bringing People’s Hopes to the Real-world โจทย์ของนักพัฒนาเมืองที่ถามว่าเมืองที่น่าอยู่ ต้ อ งเป็ น แบบไหน อาจหาคำ � ตอบได้ ไ ม่ ย าก หากให้ ป ระชาชนเป็ น ผู้ ห าคำ � ตอบด้ ว ยตั ว เอง และสตุทท์การ์ทก็ได้ให้โอกาสนั้นกับชาวเมือง เมื่อกระทรวงวิทยาศาสตร์ การวิจัย และศิลปะ ของรัฐบาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์คได้ร่วมกันก่อตั้ง โครงการ “Future City Lab Stuttgart” ที่ให้ ประชาชนร่วมกันทดลองพัฒนาเมืองที่พวกเขา ต้องการอยู่ด้วยกันด้วยตัวของพวกเขาเอง การเปรียบเมืองเป็นเสมือนห้องปฏิบัติการ จริงทีใ่ ห้ชาวเมืองช่วยกันระดมความรู้ นวัตกรรม และไอเดีย เพื่อเป็นต้นแบบในการสร้างสรรค์ เมืองน่าอยู่ที่พวกเขาเป็นเจ้าของอย่างแท้จริง ในครั้ ง นี้ ได้ ส ร้ า งเวที ส าธารณะที่ ป ระชาชน สามารถระดมความคิดเห็น ถกเถียง และวางแผน

อนาคตใหั กั บ เมื อ งในประเด็ น ที่ พ วกเขาเห็ น ร่วมกันว่าเป็นวิกฤตในปัจจุบนั อย่างปัญหามลพิษ โครงการนีไ้ ด้ชว่ ยให้คนเมืองร่วมกันหาทางออกว่า ต่อจากนีไ้ ปพวกเขาจะใช้วธิ กี ารสัญจรแบบไหนที่ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าเดิม นอกจากนี้ ยังมีโปรเจ็กต์ที่สำ�เร็จแล้วอย่าง ‘Stäffele Gallery’ ทีใ่ ห้คนในชุมชนได้หมุนเวียนกันจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น การทำ�อาหารร่วมกันและนั่งกินริมบันได ทางเดิ น ในหมู่ บ้ า น เพื่ อ ใช้ เ วลานี้ ซั ก ถามถึ ง ความเป็นอยู่ของกันและกัน กิจกรรมเหล่านี้ สามารถเชื่ อ มความสั ม พั น ธ์ ข องเพื่ อ นบ้ า น ช่วยให้พวกเขาเห็นคุณค่าของพื้นที่สาธารณะ และร่วมกันสร้างให้พื้นที่เหล่านี้มีชีวิตชีวามาก ยิ่งขึ้น หรือโปรเจ็กต์ ‘Citizen Rickshaw’ ที่ให้ หนุ่มสาวและเด็กๆ ในหมู่บ้านเป็นอาสาสมัคร ขีร่ ถจักรยานลากให้ผสู้ งู อายุนงั่ ชมเมืองเมือ่ ไปใน ทางเดียวกัน เป็นกิจกรรมที่ช่วยอำ�นวยความ

r-n-m.net

“พื้นที่เปิดโล่ง สิ่งที่ธรรมชาติสร้างสรรค์ อาคารบรรจุเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ สีสัน ตึกขนาดกลาง และนํ้า” เหล่านี้คือปัจจัยที่ช่วยให้คนเมืองมีความสุข เมื่อโซฟี พริงเกิล (Sofie Pringle) นักวิจัยปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัย Queensland University of Technology ได้พยายามค้นหาคำ�ตอบว่าสิ่งใดที่ทำ�ให้คนเมืองยุคใหม่มีความสุขได้ เธอทำ�การ วิเคราะห์ภาพซึ่งมีความสัมพันธ์กับพื้นที่ในเมืองจำ�นวน 196 ภาพจากอินสตาแกรมที่ติดแฮชแท็กว่า #cityhappy #happycity #cityofhappiness #urbanhappiness และพบว่าปัจจัยที่กล่าวไปข้างต้น ล้วนเป็นองค์ประกอบสำ�คัญที่ช่วยให้คนเมืองมีความสุขขึ้น ผลการค้นพบนี้ไปด้วยกันกับผลสำ�รวจ ออนไลน์ทโี่ ซฟีท�ำ ขึน้ เพือ่ หาคำ�ตอบเดียวกัน โดยผลจากการสำ�รวจออนไลน์ได้เผยว่าสิง่ ทีท่ �ำ ให้ชาวเมือง มีความสุข ได้แก่ พืน้ ทีเ่ ปิดโล่ง (86%) พืน้ ทีธ่ รรมชาติและแสงธรรมชาติ (81%) อาคารทางประวัตศิ าสตร์ และพื้นที่คนเดิน (72%) วิวชมเมือง (68%) และสีสันในเมือง (59%) โดยเธอหวังว่าผลการสำ�รวจครั้งนี้ จะช่วยให้นักวางแผนเมือง สถาปนิก รัฐบาล หรือผู้มีส่วนช่วยพัฒนาเมือง จะนำ�สิ่งที่เธอค้นพบช่วย ทำ�ให้คนเมืองมีความสุขมากขึ้นในอนาคต เพราะความจริงที่น่าเศร้าก็คือ ตั้งแต่ปี 1950 ค่าเฉลี่ย ความสุขของชาวตะวันตกไม่ได้พัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นเหมือนรายได้ที่เพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่า หรือพูด อีกอย่างก็คือระดับความสุขของพวกเขาหยุดนิ่งมา 69 ปีแล้ว ดังนั้นการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในเมืองให้ เป็นไปตามที่คนเมืองต้องการอย่างแท้จริงอาจช่วยเสริมสร้างความสุขให้คนเมืองได้อีกทางหนึ่ง

r-n-m.net

What make #cityhappy

สะดวกให้ผู้สูงอายุไม่ต้องเดินทางไปไหนมาไหน คนเดียว รวมทัง้ เป็นการสร้างความสัมพันธ์ทดี่ ใี ห้ คนต่างเจเนอเรชัน และเสริมสร้างสุขภาพของ คนในชุ ม ชนไปพร้ อ มๆ กั น นอกจากนี้ ยั ง มี โปรเจ็กต์อื่นๆ อีกมากมายที่ยังดำ�เนินการต่อไป อย่างต่อเนื่อง โดยทุกโปรเจ็กต์ของโครงการ Future City Lab ชาวเมืองสตุทท์การ์ททุกคน สามารถติดตามพัฒนาการของโปรเจ็กต์ รวมทั้ง สามารถมีส่วนร่วม ทดลองจริง และประเมินผล เพื่ อ หาข้ อ สรุ ป ร่ ว มกั น ในการพั ฒ นาเมื อ งที่ พวกเขาอยากจะอยู่ร่วมกันต่อไป

ที่มา: บทความ “30 ปีแห่งการกำ�เนิดยานยนต์ เมื่อคาร์ลและเบอร์ธา เบนซ์ คิดนอกกรอบ ที่เหลือคือตำ�นาน” จาก autospinn.com / บทความ “‘Weinbaumuseum’ salutes Stuttgart’s wine history” จาก stuttgartcitizen.com /บทความ “It’s official - these are the least stressful cities in the world” (กันยายน 2017) จาก lonelyplanet.com /บทความ “Look up #happycity and here’s what you’ll find” (กันยายน 2018) จาก theconversation.com / บทความ “Porsche and mercedes-benz, the ostentatious charm of stuttgart” (ธันวาคม 2018) จาก thenewbarcelonapost.com / บทความ “Stuttgart residents sue mayor for ‘bodily harm’ caused by air pollution” (มีนาคม 2017) จาก theguardian.com / บทความ “Stuttgart City Library The Book Cube” จาก goethe.de / บทความ “Troops driving older diesel cars may want to sell as Stuttgart ban takes effect” (มกราคม 2019) จาก stripes.com / บทความ “Visiting the vineyards and the wineries around Stuttgart” จาก thefoodellers.com / รายงาน “The 2017 Global Least & Most Stressful Cities Ranking” จาก zipjet.co.uk / r-n-m.net CREATIVE THAILAND I 27


The Creative : มุมมองของนักคิด

‘ดนตรีบำ�บัด’ เพราะดนตรีเป็นเสียงของเราทุกคน เรื่อง : ณัฐชา ตะวันนาโชติ ภาพ : ภีร์รา ดิษฐากรณ์

คำ�กล่าวที่ว่าดนตรีเป็นภาษาสากลไม่เคยเกินจริงเลย เพราะธรรมชาติของดนตรีสามารถเข้าถึงสภาพอารมณ์ สภาพจิตใจ และส่งผลต่อร่างกายของคนเราได้ทันทีเมื่อเราได้ยินเสียงเพลง เรารู้สึกสนุกเวลาได้ยินเพลงที่มีจังหวะครื้นเครง ในขณะที่ เพลงเศร้าก็ทำ�ให้เรารู้สึกอ่อนไหวไปกับท่วงทำ�นองได้อย่างลึกถึงอารมณ์ CREATIVE THAILAND I 28


เมือ่ ดนตรีเป็นสิง่ ทีท่ กุ คนคุน้ เคย ‘ดนตรีบ�ำ บัด’ จึงสามารถช่วยเยียวยา จิตใจของผู้คนได้เช่นเดียวกัน เราชวนอาจารย์วิพุธ เคหะสุวรรณ (ฝน) หัวหน้าสาขาวิชาดนตรีบำ�บัด มหามหาวิทยาลัยมหิดล และอาจารย์กฤษดา หุน่ เจริญ (ปุ)๊ อาจารย์ประจำ�สาขาวิชาดนตรีบ�ำ บัด มหาวิทยาลัยมหิดล และ เป็นอาจารย์สอนดนตรีให้กบั เด็กทีม่ คี วามต้องการพิเศษ มาร่วมพูดคุยกับเรา เกี่ยวกับศาสตร์แห่งเสียงดนตรี ที่นอกจากจะสร้างความสุนทรีย์แล้ว ยังเป็น อีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถช่วยสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้กับเราทุกคนได้ ได้ยินมาว่ามีคนนำ�ดนตรีมาใช้เยียวยาจิตใจ สิ่งนี้คือดนตรี บำ�บัดหรือเปล่า อ.ฝน: จริงๆ แล้วดนตรีบำ�บัดก็คือการใช้ดนตรีเป็นเครื่องมือเพื่อบำ�บัด ช่วยเหลือ ส่งเสริม พัฒนาทักษะต่างๆ ทีจ่ �ำ เป็นในการใช้ชวี ติ หรือเพือ่ พัฒนา คุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น โดยคนที่นำ�ดนตรีมาใช้เพื่อการนี้ ก็จะเป็นนักดนตรี บำ�บัดทีผ่ า่ นการเรียนอย่างจริงจังจากหลักสูตรดนตรีบ�ำ บัดโดยเฉพาะ ซึง่ จะ เป็นผูค้ ดั สรรเลือกว่าเราควรจะใช้ดนตรีแบบไหนเพือ่ ให้เข้ากับความต้องการ ของผู้รับบริการแต่ละคน กระบวนการของการทำ�ดนตรีบำ�บัดเป็นอย่างไร อ.ปุ:๊ การเข้ารับดนตรีบ�ำ บัดจะเริม่ จากการประเมินก่อน เพือ่ ดูวา่ ผูร้ บั บริการ มีจดุ ประสงค์อย่างไรมา เขามาแล้วอยากจะได้อะไร มีปญั หาอะไร หรืออะไร ทีผ่ ดิ ปกติ เช่น มีปญั หาทางด้านอารมณ์ มีปญั หาทางด้านการสือ่ สาร เป็นต้น อ.ฝน: คำ�ว่าประเมินต้องขอยํ้าว่าไม่ใช่การวินิจฉัย เพราะฉะนั้นนักดนตรี บำ�บัดจะเน้นดูวา่ ความต้องการของผูเ้ ข้ารับบริการคืออะไรมากกว่า ผูเ้ ข้ารับ บริการอาจจะพกใบรับรองแพทย์มาด้วยก็ได้ เพือ่ ทีเ่ ราจะได้รวู้ า่ แพทย์วนิ จิ ฉัย อะไรมา เพราะนักดนตรีบำ�บัดไม่ใช่แพทย์ เราไม่ได้วินิจฉัยโรค ไม่มีสิทธิ ตัดสินว่าเขาเป็นอะไร เป็นโรคอะไร หรือแม้กระทั่งเป็นคนดีหรือคนไม่ดี พอนักดนตรีบำ�บัดประเมินความต้องการ ความสามารถ ประสบการณ์และ ความชอบทางดนตรีของผู้รับบริการแล้ว นักดนตรีบำ�บัดก็จะวางแผน การบำ�บัดโดยตัง้ อยูบ่ นหลักฐานจากงานวิจยั หรือหลักฐานเชิงประจักษ์ หรือ บางครั้ งก็ ว างแผนร่ ว มกั บ สหวิ ช าชี พ ที่ ทำ � งานร่ ว มกั น เพื่ อ ให้ ก ารบำ � บั ด มีประสิทธิภาพสูงสุด ระหว่างการบำ�บัดก็จะมีการติดตามและประเมินผล อยู่ตลอด มีการปรับกิจกรรมให้ตรงกับความต้องการและสภาพอารมณ์ของ ผู้รับบริการแต่ละครั้งที่เข้ารับบริการ ดนตรีบำ�บัดช่วยรักษาโรคทางกายได้ด้วยหรือไม่ อ.ฝน: ดนตรีบำ�บัดแตกต่างจากการรักษาโรค เพราะการรักษาโรคคือการ รักษาให้หายจากโรค แต่นกั ดนตรีบ�ำ บัดไม่ได้มหี น้าทีว่ นิ จั ฉัยโรคหรือจ่ายยา ดนตรีบำ�บัดจึงเป็นเพียงการบำ�บัดเพื่อพัฒนาทักษะที่จำ�เป็นต่างๆ เท่านั้น อย่างเวลาเราฟังเพลง เราก็คงไม่ได้ฟังแล้วหายจากโรคมะเร็ง หรือฟังแล้ว หายจากการเป็นสมาธิสั้น แต่ว่ามันช่วยพัฒนาทักษะต่างๆ หรือช่วยเป็นตัว ผลักดันให้อาการต่างๆ ดีขึ้นมากกว่า

อ.ปุ:๊ คนทีเ่ ข้ามาอาจต้องการเพียงแค่ Well-being หรือต้องการคุณภาพชีวติ ที่ดีขึ้น เช่น มีอาการเครียดแต่ยังไม่ถึงขั้นเป็นซึมเศร้าก็สามารถมาบำ�บัดได้ คำ�ว่า ‘บำ�บัด’ จึงเหมาะกับภาพวงกว้างมากกว่าที่จะเจาะแค่การรักษาโรค ทีใ่ นโรงพยาบาลเพียงอย่างเดียว เพราะใครก็ตามทีต่ อ้ งการคุณภาพชีวติ ทีด่ ี ก็สามารถเข้ารับการบำ�บัดได้ ไม่จำ�กัดแค่เฉพาะคำ�ว่า ‘โรค’ หรือ คำ�ว่า ‘ป่วย’ เท่านั้น เสียงดนตรีบำ�บัดใครได้บ้าง อ.ฝน: ปัจจุบันกลุ่มที่มาใช้บริการดนตรีบำ�บัดในประเทศไทยจะยังค่อนข้าง จำ�กัด เนื่องจากเรายังมีบุคลากรน้อยและไม่เพียงพอต่อความต้องการ แต่วงการดนตรีบำ�บัดทั่วโลกกำ�ลังได้รับความนิยมอย่างมาก ซึ่งมีตั้งแต่การ ใช้กับกลุ่มเด็กแรกคลอด ไปจนถึงเด็กที่มีปัญหาเรื่องพัฒนาการ เด็กที่ ต้องการจะพัฒนาทักษะในด้านการเรียนและสมาธิ วัยรุ่นทั้งที่มีปัญหาทาง สุขภาพจิตและสุขภาพกาย ผู้ใหญ่ที่ต้องการจะฟื้นฟูร่างกาย ผู้สูงอายุ หรือ แม้กระทั่งผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่กำ�ลังจะสิ้นชีวิต พูดง่ายๆ คือดนตรีบำ�บัด ใช้ได้ตั้งแต่เกิดจนตลอดชีวิตเลย อ.ปุ๊: ที่บอกว่าบำ�บัดได้ทุกกลุ่ม ทุกช่วงเวลาของชีวิตก็เพราะดนตรีเป็น วัฒนธรรมที่ทุกคนเข้าใจ และทุกวัฒนธรรมก็มีดนตรีเป็นของตัวเอง เราไป ฟังดนตรีจีนกับดนตรีไทยก็ไม่เหมือนกัน ดนตรีภาคอีสานกับดนตรีภาคใต้ ก็ไม่เหมือนกัน ถ้าเราสามารถนำ�ความเข้าใจนี้ไปใช้ในการบำ�บัด โดยใช้ ดนตรีเป็นสื่อกลาง ก็จะส่งผลกับแทบทุกคนที่รู้จักดนตรี อ.ฝน: แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ไม่ใช่ว่าดนตรีบำ�บัดจะเหมาะสมที่จะใช้ได้กับทุกคน และทุกโรค เพราะมันก็มีข้อจำ�กัดหลายอย่าง ยกตัวอย่างเช่น เด็กที่เป็น ออทิสติกบางคนจะอ่อนไหวต่อเสียงมาก เช่น ทนเสียงสูงๆ ไม่ค่อยได้ กรณี แบบนี้ก็อาจจะไม่เหมาะกับการมารับดนตรีบำ�บัด การใช้ดนตรีบ�ำ บัดกับแต่ละช่วงของชีวติ แตกต่างกันอย่างไร อ.ฝน: อย่างที่บอกว่าดนตรีบำ�บัดใช้ได้ทุกช่วงของชีวิต แม้กระทั่งในวาระ สุดท้ายซึ่งบางครั้งคนทั่วไปก็อาจจะไม่รู้ว่าควรนำ�ดนตรีมาใช้ในกรณีนี้ อย่างไร ดังนั้นในวาระสุดท้ายของผู้ป่วย นักดนตรีบำ�บัดจะมีหน้าที่คอย แนะนำ�หรือเป็นคนที่ช่วยคัดเลือกดนตรีให้ และอาจจะเป็นคนที่ร้องเพลงให้ ด้วยก็ได้ ถ้าหากคนในครอบครัวร้องเพลงไม่ได้หรือไม่มนั่ ใจในการเล่นดนตรี แต่จริง ๆ แล้วเสียงที่ดีที่สุดก็คือเสียงจากคนในครอบครัว ถ้าเกิดครอบครัว ได้ร้องเพลงให้จริง ๆ เราก็เชื่อว่ายังไงผู้ป่วยก็จะรู้สึกดีที่สุด อ.ปุ:๊ ส่วนใหญ่เราจะใช้ค�ำ ว่า ‘ตายดี’ ซึง่ การจะนำ�ดนตรีบ�ำ บัดเข้าไปช่วยนัน้ ขึน้ อยูก่ บั จุดประสงค์ทแี่ ตกต่างกันไปในแต่ละคน การรับรูส้ ดุ ท้ายของคนเรา ก็คือ การฟัง แม้ว่าตาอาจจะปิดไปก่อนแล้ว เราก็ยังได้ยินเสียงอยู่ ดังนั้น ดนตรี จึ ง มี ส่ ว นช่ ว ยได้ ทั้ ง ในส่ ว นของตั ว ผู้ ป่ ว ยระยะสุ ด ท้ า ยหรื อ ผู้ ป่ ว ย ทุพพลภาพเองรวมถึงครอบครัวของผู้ป่วยด้วย

CREATIVE THAILAND I 29


หัวใจส�ำคัญของดนตรีบ�ำบัด อาจจะไม่ใช่ ‘เราจะใช้ดนตรีอะไร’ แต่เป็น ‘เราจะใช้ดนตรีอย่างไร’ มากกว่า นักดนตรีบ�ำบัดจะเรียน เรื่องกระบวนการเยอะมาก ว่าเราควรใช้ดนตรีในการบ�ำบัด แต่ละขั้นตอนอย่างไร เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ที่เหมาะสมกับผู้เข้ารับบริการ มากที่สุด

อ.ฝน: บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยอยู่ในอาการโคม่าและไม่รู้สึกตัวแล้ว ครอบครัวก็ รู้สกึ ว่าไม่รู้จะช่วยยังไง และอาจจะตัง้ คำ�ถามกับตัวเองว่า ‘ฉันทำ�อะไรไม่ได้ แล้วเหรอ’ ซึง่ นักดนตรีบ�ำ บัดก็จะแนะนำ�ได้วา่ ให้ลองเลือกเพลงทีผ่ ปู้ ว่ ยชอบ ซึ่งธรรมชาติของดนตรีมันสามารถเข้าไปในความรู้สึกของคนได้ แม้ผู้ป่วย จะรับรู้หรือไม่รับรู้ก็ตาม อ.ปุ๊: ขออนุญาตยกตัวอย่างเรื่องคุณพ่อของผม ตอนนั้นผมยังไม่รู้จักดนตรี บำ�บัด แต่ได้น�ำ ดนตรีมาใช้กบั คุณพ่อตอนทีอ่ ยูใ่ นโรงพยาบาล เนือ่ งจากคุณพ่อ เป็นมะเร็ง และในวาระสุดท้ายของท่าน คุณหมอก็แจ้งว่าคุณพ่อน่าจะเหลือ เวลาอยู่ไม่เกิน 1 วัน เราก็เลยตัดสินใจรวมญาติ ๆ ให้มาพบกับคุณพ่อเป็น ครัง้ สุดท้าย ซึง่ ครัง้ นัน้ ทางฝ่ายญาติกแ็ นะนำ�ให้เปิดเสียงธรรมะ เปิดบทสวด ชินบัญชรให้คุณพ่อฟัง ซึ่งเราก็เข้าใจว่าเขาหวังดี แต่ผมเห็นว่าความสุขของ คุณพ่อไม่ได้มาจากการฟังธรรมะและเห็นว่าหายใจแรงถี่ สีหน้าเครียด สมัยก่อนคุณพ่อเป็นดีเจเปิดเพลงลูกทุ่ง ตั้งแต่เด็กจนโตเราแทบไม่ค่อยเห็น ท่านฟังธรรมะเลย เราเลยตัดสินใจกันว่าเดี๋ยวเรามาร้องเพลงกันดีกว่า น้องสาวผมที่เป็นอาจารย์สอนร้องเพลงก็ร้องเพลงลูกทุ่งสมัยที่คุณพ่อชอบ คุณพ่อมีสหี น้าผ่อนคลายขึน้ หายใจเบาและช้าลง รวมถึงบรรยากาศในห้อง ดูผ่อนคลายมากขึ้น ญาติๆ จากที่ยืนร้องไห้ก็สงบลง ซึ่งก็จำ�ได้เลยว่าพอ ร้องเพลงสุดท้ายเสร็จสักพักหนึ่ง คุณพ่อก็จากไปอย่างสงบ

ดนตรีแบบไหนถึงจะเรียกว่า ‘ดนตรีบำ�บัด’ อ.ปุ:๊ หัวใจสำ�คัญของดนตรีบ�ำ บัดอาจจะไม่ใช่ ‘เราจะใช้ดนตรีอะไร’ แต่เป็น ‘เราจะใช้ดนตรีอย่างไร’ มากกว่า นักดนตรีบำ�บัดจะเรียนเรื่องกระบวนการ เยอะมาก ว่าเราควรใช้ดนตรีในการบำ�บัดแต่ละขั้นตอนอย่างไรเพื่อให้เป็น ไปตามวัตถุประสงค์ที่เหมาะสมกับผู้เข้ารับบริการมากที่สุด ดนตรีบำ�บัด ไม่จำ�เป็นต้องเป็นเพลงบรรเลงหรือเพลงคลาสสิกเท่านั้น ดนตรีอย่างเฮฟวี่ เมทัลหรือแม้แต่เพลงแร็ปก็นำ�มาใช้ได้เหมือนกัน ยกตัวอย่างว่าถ้าเราใช้ เพลงแร็ป ก็จะใช้เป็นการแต่งเนื้อเพลงเพื่อระบายความอัดอั้นออกมา พอเขาได้ระบาย ก็จะรูส้ กึ ดีขน้ึ ผ่อนคลายมากขึน้ และยังมีคนยอมรับอีกด้วย อ.ฝน: หลักสำ�คัญของดนตรีบำ�บัดคือการใช้ดนตรีที่ผู้รับบริการชื่นชอบหรือ คุน้ เคย แต่ทงั้ นีก้ ต็ อ้ งดูเป้าหมายของการบำ�บัดด้วยว่าจุดประสงค์เป็นอย่างไร เช่น ถ้าเขากำ�ลังโกรธมาก ๆ และเขาชอบดนตรีประเภทเฮฟวี่เมทัล ก็อาจ จะนำ�ไปใช้ได้เพือ่ เป็นการให้ผรู้ บั บริการได้ปลดปล่อยหรือระบายอารมณ์โกรธ นั้นๆ ออกมา แล้วหลังจากนั้นนักดนตรีบำ�บัดก็จะปรับดนตรีให้ค่อยๆ เบาลง เพื่อให้เขาสงบ เพราะว่าธรรมชาติของคนเรา ถ้ากำ�ลังโกรธอยู่ แล้วเราบังคับให้เขาฟังเพลงเบา ๆ หรือเพลงเพื่อผ่อนคลาย บางทีเขาจะ รู้สึกเหมือนเราไม่เข้าใจเขาก็เป็นได้ อ.ปุ๊: ดังนั้นนักดนตรีบำ�บัดจึงมีหน้าที่ที่จะต้องเข้าใจกระบวนทั้งหมดในการ บำ�บัด แต่การจะเลือกหยิบอะไรมาใช้ ก็ขนึ้ อยูก่ บั ผูร้ บั บริการคนนัน้ ๆ เพราะ ฉะนั้นนักดนตรีบำ�บัดจะต้องร้องและเล่นดนตรีได้หลากหลายมาก เพราะ บางทีไปโรงพยาบาล แล้วเจอคุณป้าขอเพลงพุ่มพวงหรือสุนทราภรณ์ ก็ต้อง พยายามร้องให้ได้ หรือถ้าร้องไม่ได้ก็ต้องพยายามกลับมาฝึก เพราะเพลง แต่ละประเภทก็จะมีความยากความง่ายไม่เหมือนกัน ถ้าคนที่ชอบฟังเพลงเองเพื่อการผ่อนคลาย นับเป็นดนตรี บำ�บัดไหม อ.ฝน: ถ้าถามว่าการที่คนเราฟังเพลงด้วยตัวเองถือว่าเป็นดนตรีบำ�บัด หรือเปล่า อันนี้ต้องบอกว่า ถ้าในหลักการของดนตรีบำ�บัดเราถือว่าไม่ใช่ เพราะว่าการจะเรียกได้วา่ เป็นดนตรีบ�ำ บัดนัน้ ต้องมีองค์ประกอบคือผูเ้ ข้ารับ การบำ�บัด นักดนตรีบำ�บัด และเสียงดนตรี อันเป็นเครื่องมือในการบำ�บัด เพราะฉะนั้นมันจะเกิดสิ่งที่เรียกว่า ‘สัมพันธภาพทางการบำ�บัด’ เป็นความ สัมพันธ์เฉพาะ ซึ่งเป็นเรื่องของความไว้เนื้อเชื่อใจ การตั้งเป้าหมายร่วมกัน และการบรรลุจุดหมายที่เราตั้งไว้ทั้งคู่ให้ได้ ดังนั้นการเปิดเพลงฟังเองอาจ จะไม่ได้เรียกว่า ‘ดนตรีบ�ำ บัด’ แต่เป็นการฟังเพลงเพือ่ ผ่อนคลาย หรือ ดนตรี เพื่อการดูแลตัวเอง (Self-care) มากกว่า อ.ปุ๊: ผมยกตัวอย่างนะครับ บางทีถ้าเราอกหักแล้วยิ่งฟังเพลงเศร้า เพราะ คิดว่าเป็นการบำ�บัดตัวเอง มันอาจจะทำ�ให้เรายิ่งจมดิ่งไปกับความเศร้า มากกว่าเดิม หลาย ๆ คนอาจจะมีประสบการณ์ฟังเพลงเศร้าเพลงเดิมวน อยูเ่ พลงเดียวทัง้ วัน ฟังไปนัง่ ร้องไห้ไป แต่กย็ งั นัง่ ฟังอยูน่ น่ั แหละ คิดว่ายิง่ เจ็บ ยิ่งดี ซึ่งจริงๆ แล้วมันเป็นธรรมชาติของมนุษย์ ที่เราต้องการให้มีคนมา รับฟัง มาเข้าใจเรา เพลงเศร้าจึงดูเหมือน เล่าเรื่องของเรา อธิบายเรื่อง

CREATIVE THAILAND I 30


ของเราได้ แต่บางครั้งก็ต้องถามตัวเองด้วยว่า เพลงที่เราฟังมันพาเราไป ที่ไหน เรากำ�ลังวนอยู่ที่เดิมหรือเปล่า อาจไม่ใช่ว่าเพลงเศร้านั้นไม่ดี ไม่ควรฟัง เพราะเพลงแต่ละเพลงส่งผลต่อความรู้สึกของแต่ละคนไม่ เหมือนกัน ดังนั้นก็ขึ้นอยู่กับคนที่ฟังด้วยเช่นกัน แล้วสำ�หรับคนที่อยากดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยเสียงดนตรี ต้องทำ�อย่างไร อ.ฝน: ก่อนจะนำ�ดนตรีมาใช้เพื่อการดูแลตัวเองนั้น เราต้องสำ�รวจตัวเอง ก่อนว่าตอนนี้เรามีความรู้สึกยังไง มีอารมณ์อะไรอยู่ แล้วเราชอบฟังเพลง อะไร อย่างที่เน้นบ่อย ๆ เลย คือฟังเพลงที่เราชอบนี่ล่ะดีที่สุด แต่ว่าอาจจะ ต้องมาสำ�รวจตัวเองเพิ่มเติมอีกหน่อยว่า เพลงที่เราชอบ พอเราฟังแล้วมัน ทำ�ให้เรารูส้ กึ แบบไหน รูส้ กึ แย่ลงหรือเปล่า ซึง่ ถ้าทำ�ให้เราแย่ลง ก็ตอ้ งแนะนำ� ว่าพยายามเลี่ยงไปเลยดีกว่า อ.ปุ:๊ สิง่ หนึง่ ทีเ่ ราแนะนำ�บ่อย ๆ เวลาไปพูดเรือ่ งการดูแลตัวเองโดยใช้ดนตรี ก็ คื อ เรื่ อ งการเซ็ ต เพลย์ ลิ ส ต์ เพราะว่ า เดี๋ ย วนี้ ใ นแอพพลิ เ คชั น สำ � หรั บ ฟังเพลงต่างๆ สามารถบันทึกรายการเพลงที่เราชอบไว้ได้หมดเลย ดังนั้น 1.) ลองเลือกเพลงที่ฟังแล้วรู้สึกสดชื่นมาสัก 3 - 5 เพลง และ 2.) ลองเลือก เพลงที่ฟังแล้วมีความหมายดีๆ สัก 3 - 5 เพลง เป็นเพลงที่ฟังแล้วคิดถึง ความหลังดีๆ ประสบการณ์ดีๆ ความสัมพันธ์ ครอบครัว เพื่อน ซึ่งทำ�ไว้ ได้เลยตั้งแต่ตอนนี้ตอนที่อารมณ์เราเป็นปกติ เพราะถ้าให้เลือกตอนนี้ กั บ เลื อ กตอนที่ เ รามี ค วามเครี ย ด ความกดดั น จากโจทย์ ชี วิ ต ปั ญ หา สถานการณ์ต่างๆ จะได้ผลลัพธ์ที่ไม่เหมือนกัน เลือกได้แล้วก็ให้เซ็ตรอไว้ วันไหนทีเ่ รามีปญั หาหรือมีความเครียด เรากลับมาฟังเพลย์ลสิ ต์พวกนี้ จะช่วย ให้เราไม่ตอ้ งเสียเวลาในการหาเพลง แล้วก็ปลอดภัยด้วย การเซ็ตเพลย์ลสิ ต์ ไว้แบบนี้ก็เป็นการดูแลตัวเองแบบหนึ่งที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้โดยใช้แค่ โทรศัพท์มือถือของตัวเอง ไม่ยากและสะดวกอีกด้วย อ.ฝน: แต่อย่างคนทั่วไปที่สุขภาพจิตจะค่อนข้างแข็งแรงอยู่แล้ว อาจจะแค่ เครียดหรือกังวลนิดหน่อย แต่ยังสามารถจัดการกับอารมณ์ของตัวเองได้ ก็สามารถเลือกใช้ดนตรีได้อย่างค่อนข้างปลอดภัย ดังนั้นอยากใช้ดนตรี แบบไหนก็ใช้ได้เลย แค่เลือกอะไรทีม่ นั เหมาะกับตัวเองก็พอ แต่ส�ำ หรับบางคน ที่ค่อนข้างเซนซิทีฟหรือเริ่มเปราะบางแล้ว อาจจะต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เพราะความปลอดภัยเป็นสิง่ สำ�คัญ และสิง่ ทีอ่ ยากเน้นเลยก็คอื ถ้าใครทีร่ สู้ กึ ไม่โอเคจริงๆ พยายามอย่าฝืนหรืออยู่แต่กับตัวเองอย่างเดียว ถ้ามันรู้สึก หนักมากๆ ให้พยายามหาที่ระบาย อาจจะหาคนคุยด้วยก่อนก็ได้ หรือโทร สายด่วนกรมสุขภาพจิต 1323 อะไรแบบนี้

ความทรงจำ� พอได้กลับมาฟังเพลงเดิมๆ อีกครัง้ ภาพเดิมๆ ความรูส้ กึ เดิมๆ ความทรงจำ�เดิมๆ มันก็จะกลับมา เช่น ถ้าในยุคนี้เราใช้เพลงฮิปฮอปเพื่อ บำ�บัดวัยรุ่นที่ชื่นชอบเพลงแนวนี้อยู่แล้ว ก็ค่อนข้างเหมาะ เพราะเป็น ‘เสียงของเขา’ ซึ่งจะได้ผลดีกว่าเราไปบังคับให้เขาไปฟังเพลงคลาสสิกหรือ เพลงที่เขาไม่ชอบ เพราะอาจจะไม่ใช่เสียงของเขาแล้วในยุคนี้ ซึ่งอาจส่งผล ทำ�ให้กลายเป็นต่อต้านไปเลยก็ได้ อ.ฝน: ดังนั้นหลักการในการเลือกเพลงในการบำ�บัดทั่วๆ ไป ก็จะเลือกใช้ เพลงทีอ่ ยูใ่ นช่วงวัยรุน่ ของผูเ้ ข้ารับบำ�บัด เพราะมันจะมีความหมาย แล้วพอ เราได้ยินเพลงพวกนี้มันจะให้ความรู้สึกที่แตกต่างจากจากการฟังเพลงที่ ไม่ใช่ ‘เสียงของเรา’ คนที่ ส นใจเรี ย นเกี่ ย วกั บ ดนตรี บำ � บั ด อย่ า งจริ ง จั ง ต้องเตรียมตัวอย่างไร อ.ฝน: จริงๆ จะเรียนจบจากสาขาไหน มีความรู้วิชาอะไรมาก็ได้หมดเลย แต่สิ่งสำ�คัญที่เราเน้นคือต้องมีทักษะทางดนตรี และต้องมีใจรักอยากที่จะ ช่วยเหลือคนจริงๆ ซึ่งก่อนจะมาเรียน อันดับแรกเลยคือต้องเตรียมใจให้ พร้อมก่อน ต้องมีความอดทน มีความทุ่มเท และมีความคิดสร้างสรรค์ ส่วนทักษะทางด้านดนตรี เราก็จะทดสอบเป็นพวกร้องเพลง แล้วก็เล่น ประกอบด้วยเปียโนหรือกีตาร์ หรือว่ามีเครื่องเอกของตัวเองมาก็ได้ คนที่มา เรียนเพื่อมาเป็นนักดนตรีบำ�บัดจำ�เป็นต้องเล่นดนตรีเป็น ซึ่งบังคับหลักๆ 3 อย่าง คือ เปียโน กีตาร์ และร้องเพลง เนื่องจากเป็น 3 ทักษะที่เข้าถึงคน ได้งา่ ย อย่างการร้องเป็นสิง่ ทีส่ อื่ ความหมายต่างๆ ได้งา่ ยจากการใส่เนือ้ ร้อง เปียโนเป็นเครื่องดนตรีที่ยืดหยุ่นเพราะมีทั้งเสียงสูงและเสียงตํ่า สร้างเสียง ได้หลากหลาย ส่วนกีตาร์กเ็ ป็นเครือ่ งดนตรีทเี่ คลือ่ นย้ายสะดวกและส่วนมาก เพลงป๊ อ ปก็ จ ะเหมาะกั บ กี ต าร์ อ ยู่ แ ล้ ว อี ก เครื่ อ งหนึ่ ง ที่ ใ ช้ ไ ด้ ก็ คื อ พวก เครือ่ งเคาะหรือกลองต่างๆ เพราะไม่ตอ้ งใช้ทกั ษะดนตรีมาก แค่ตกี ส็ ามารถ สร้างเสียงได้ ขณะที่เพลงที่เลือกใช้ก็จะขึ้นอยู่กับความชอบของผู้รับบริการ และเป้าหมายของการบำ�บัดแต่ละรายไป

ค้นหา Tone for Us เสียงของเรา อ.ปุ๊: เพลงที่จะส่งผลต่อเรามากที่สุดก็คือเพลงที่ฮิตในช่วงที่เราวัยรุ่น ซึ่ง สาเหตุก็เกี่ยวเนื่องจากเรื่องชีววิทยาด้วย เพราะฮอร์โมนของมนุษย์จะพลุ่ง พล่านมากทีส่ ดุ ในช่วงวัยรุน่ ตามพัฒนาการทางร่างกาย ซึง่ ฮอร์โมนเป็นสิง่ ที่ มีความสัมพันธ์โดยตรงกับอารมณ์ นอกจากนั้นวัยรุ่นยังเป็นช่วงวัยเรียนที่มี เรือ่ งราวและความสัมพันธ์มากมายทีม่ คี วามหมายพิเศษ มันมีทงั้ ภาพจำ�และ CREATIVE THAILAND I 31


อ.ปุ:๊ ถ้าถามว่ามาฝึกดนตรีทหี ลังได้ไหม คำ�ตอบคือฝึกได้ แต่ถา้ เข้ามาเรียน แล้ว มันจะมีเรื่องอื่นที่ต้องเรียนอีกเยอะมาก ส่วนใหญ่ที่เข้ามาเรียนในนี้ สิ่งที่ต้องเรียนก็จะมีทั้งทฤษฎีและหลักการต่างๆ ไม่รวมกระบวนการด้าน การบำ�บัดอีก ดังนั้นเวลาที่จะมาฝึกดนตรีเพิ่มจะมีไม่มาก เพราะฉะนั้น ถ้าเป็นไปได้ก็ควรเรียนให้เป็นมาก่อน อ.ฝน: ยิง่ ในหลักสูตรศิลปศาสตร์บณั ฑิต สาขาดนตรีบ�ำ บัดที่เราเปิดสอนนัน้ นอกจากจะเรียนเรือ่ งดนตรีแล้ว ยังต้องเรียนเรือ่ งพัฒนาการมนุษย์ เรียนเรือ่ ง จิตวิทยา เรียนการให้ค�ำ ปรึกษา เรียนหลักการของดนตรีบ�ำ บัดอีกหลายๆ ตัว และยังต้องฝึกงานอีก ซึ่งถือว่าเนื้อหาค่อนข้างเยอะทีเดียวสำ�หรับการเรียน ระดับปริญญาโทที่ใช้เวลาแค่ 2 ปี คำ�แนะนำ�จากนักดนตรีบำ�บัดสำ�หรับคนรุ่นใหม่ที่อยู่ในโลก ใบใหม่แห่งการเปรียบเทียบและแข่งขัน อ.ฝน: โลกทุกวันนี้ทำ�ให้ทุกอย่างไวขึ้น ซึ่งมันมีทั้งข้อดีและข้อเสีย หนึ่งคือ มันทำ�ให้เรามองเห็นแต่ด้านดีของคนอื่น จนเรามองไม่เห็นด้านดีของตัวเอง ซึ่งดนตรีมันมีส่วนช่วยในการถ่ายทอดความรู้สึกได้ ถ้าเราเริ่มคิดว่าตัวเรา เองเริ่มมีปัญหา ก็อาจจะลองหาดนตรีที่มันเข้ากับเราได้มาใช้เป็นตัวช่วย ถ่ายทอดอารมณ์ของเรา เพราะอย่างน้อยถ้ามีอะไรที่เข้าใจเรา มันก็จะช่วย ได้ในระดับหนึ่ง และย่อมดีกว่าการที่ไม่มีใครที่เข้าใจเราเลย เพราะคนเรา ไม่ได้คุยกับทุกคนได้ทุกเรื่อง อ.ปุ๊: โลกทุกวันนี้เปลี่ยนไป คนเปรียบเทียบกันได้ง่ายขึ้นจากโซเชียลมีเดีย ต่างๆ แต่เมื่อโลกเปิดกว้างขึ้น กลับกลายเป็นว่ามันทำ�ให้เราแยกตัวออกมา มากกว่าเดิม สิ่งต่างๆ ทำ�ให้ดูเหมือนกับว่าเราสามารถคุยกับใครเมื่อไหร่ ก็ได้ แต่ 2,000 คนที่เป็นเพื่อนกับเราบนเฟซบุ๊กไม่ได้เป็นเครื่องการันตีว่า เรามีเพื่อน 2,000 คนจริงๆ เพราะในชีวิตจริงเราอาจจะไม่มีใครเลยก็ได้ คนเริม่ ถามกันมากขึน้ ว่า ‘ทำ�ไมฉันไม่มคี วามสุข’ แต่จริงๆ แล้วเราควรต้อง ตั้งคำ�ถามก่อนว่าความสุขของเราจริงๆ คืออะไร เพราะพอเราเปรียบเทียบ ตัวเองกับคนอื่นได้ง่าย มันก็ไม่แปลกที่จะรู้สึกไม่มีความสุข แต่คำ�ว่าไม่มี ความสุขกับคำ�ว่าโรคมันไม่เหมือนกัน เรารู้สึกเศร้า รู้สึกแย่ เพราะเราอาจ จะเปรียบเทียบไม่ถกู จุด เราเอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนอืน่ ในขณะทีเ่ รา ไม่สามารถรู้ได้เลยว่าเขาไม่มีความสุขตอนไหนบ้าง ดังนั้นหัวใจสำ�คัญใน การใช้ชวี ติ ในปัจจุบนั น่าจะเริม่ ตัง้ แต่ครอบครัว ครอบครัวควรกลับมาใช้เวลา คุณภาพด้วยกันมากขึ้น เวลาคุณภาพคือเวลาที่ได้ทำ�กิจกรรมร่วมกัน อาจจะเล่นดนตรีดว้ ยกัน ไปคอนเสิรต์ ด้วยกัน หรือฟังเพลงร้องเพลงด้วยกัน ที่บ้านก็ได้ พอทุกคนได้รับความสุขอย่างเพียงพอจากครอบครัว มันก็จะ ตัดเรื่องการเปรียบเทียบออกไปได้ ยิ่งสำ�หรับเด็กและวัยรุ่น ครอบครัวมี ความสำ � คั ญ มาก ถ้ า ครอบครั ว ไม่ มี ค วามหมาย ก็ แ ทบไม่ มี อ ะไรที่ มี ความหมายสำ�หรับพวกเขาเท่ากับครอบครัวอีกแล้ว

นักดนตรีบ�ำ บัดชอบฟังเพลงอะไร

อ.ฝน: ฟังเพลงป๊อปทั่วไป ถ้าเดี๋ยวนี้ก็จะฟังใน Joox พวกเพลงฮิตติดชาร์ต ต่างๆ แต่มีบางช่วงถ้านอนไม่หลับหรือตื่นกลางดึก ก็จะฟังเพลงของ เอ็ดเวิร์ด กริก (Edvard Grieg - คีตกวีและนักเปียโนชาวนอร์เวย์) บ้าง เพราะฟังแล้วรู้สึกสบาย รู้สึกเย็น ๆ ทำ�ให้นอนหลับทุกครั้งที่ฟัง อ.ปุ๊: ก็ตามหลักการ Tone for Us เลยครับ ผมมักจะชอบกลับมาฟังเพลงยุค 90s หรือ 80s บ้าง บางทีก็ฟังพี่เบิร์ด หรือฟังลูกทุ่งก็มี เพราะเราโตมากับ เพลงที่คุณพ่อเปิด แต่ก็ชอบฟังเพลงยุคนี้ด้วยเหมือนกัน แนวฮิปฮอปอย่าง ฟักกลิ้งฮีโร่ก็ชอบ หรือเดอะทอยส์แบบนี้ก็ฟัง นักดนตรีบำ�บัดมีดนตรีเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของชีวิต

อ.ฝน: ถ้าสมัยก่อนที่ต้องซ้อมดนตรีทั้งวัน ฟังเพลงทั้งวัน ก็ถือว่าเยอะมาก เพราะตื่นมาก็จะเริ่มฟังเพลงแล้ว แต่เดี๋ยวนี้ก็ยังมีบ้าง คิดว่าน่าจะเป็น 70% ของชีวิต เพราะต้องทำ�งานบำ�บัดด้วย จะเว้นการฟังเพลงก็แค่ตอนหลับ กับตอนทำ�งานที่ต้องการสมาธิจริงๆ อ.ปุ๊: ก็คิดว่าประมาณ 70% ของชีวิต แต่ว่าอาจจะไม่ใช่ทุกวัน บางทีอาจจะ ต้องขอหยุดบ้าง ขอเสียงเงียบๆ หรือ ไม่มเี สียงบ้าง ซึง่ จริงๆ แล้ว เสียงเงียบ ก็เป็นองค์ประกอบหนึ่งของดนตรีเหมือนกัน

CREATIVE THAILAND I 32



เรื่อง : กมลกานต์ โกศลกาญจน์

ย้อนกลับไปในศตวรรษที่ 19 จิตแพทย์ชาวอเมริกันโธมัส สตอรี เคิร์กไบรด์ (Thomas Story Kirkbride) ริเริ่มการออกแบบโรงพยาบาลจิตเวชให้เป็นทรง ตัว V เพือ่ ให้พนื้ ทีม่ สี ว่ นรับแสงธรรมชาติและอากาศสดชืน่ ได้มากทีส่ ดุ เพราะ เขาเชือ่ ว่าธรรมชาติจะช่วยรักษาผูป้ ว่ ยจิตเวชให้ดขี นึ้ ได้ ไล่เรียงมาถึงปัจจุบนั ทีส่ ตูดโิ อ Snøhetta ศูนย์บ�ำ บัดเรือนไม้กลางป่าหรือ Outdoor Care Retreat ในนอร์เวย์ กลายเป็นพื้นที่พักฟื้นสำ�หรับผู้ป่วยทางกายและจิตให้ได้ใกล้ชิด กับการสั่งจ่ายยาที่เรียกว่า ‘ธรรมชาติ’ ลักษณะของภาพจำ�ร่วมที่ผู้คนมีต่อโรงพยาบาลหรือสถานรักษาโรค โดยทั่วไป คือมักมีไฟนีออนสีขาวสว่าง กลิ่นยาฆ่าเชื้อ และผนังสีขาวซีด ส่งผลให้เป็นพื้นที่ที่ทำ�ให้ผู้เข้ามาใช้บริการ พนักงาน รวมถึงญาติที่เดินทาง ไปเยี่ยมเยียน เกิดความเครียดหรือความวิตกกังวล ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา จึงเริ่มมีการออกแบบที่มีเป้าหมายเพื่อการรักษาโรค (Therapeutic Design) ที่ไม่ได้หมายถึงการตกแต่งภายในอาคารเพื่อความสวยงาม แต่เป็นการ ออกแบบบรรยากาศโดยรวมให้เป็นส่วนหนึง่ ในการรักษาหรือการบำ�บัดผูป้ ว่ ย รวมถึงสร้างความรู้สึกที่ดีไม่ใช่เฉพาะสำ�หรับคนไข้ แต่ยังรวมถึงครอบครัว หรือผู้ดูแลด้วย การสร้างบรรยากาศหรือสิ่งแวดล้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลผู้ป่วย ได้ดีที่สุด สถาปนิก นักออกแบบตกแต่งภายใน และนักวิจัย จะต้องทำ�งาน ร่วมกันเพื่อให้งานออกแบบนั้นบรรลุผลตาม 4 องค์ประกอบหลัก คือลด ความเครียดหรือความกังวลด้วยสภาพแวดล้อม นำ�เสนอสิ่งจูงใจเชิงบวก มีพ้ืนที่รองรับกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง และให้ความรู้สึกเป็นส่วนตัว ทั้งหมดนี้ สามารถออกแบบผ่านองค์ประกอบต่างๆ ได้ทั้งภายในและภายนอก ตั้งแต่ ช่องแสงธรรมชาติ สีทเี่ ลือกใช้ การแสดงผลงานศิลปะ กลิน่ หอม การจัดวาง เฟอร์นิเจอร์ พื้นผิวและวัสดุ ลักษณะการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นภายในพื้นที่ และพื้นที่สีเขียวทั้งภายนอกและภายในอาคาร เพราะความสัมพันธ์ระหว่าง สภาพความเป็นอยู่และสุขภาพที่ดีกับธรรมชาติ เป็นหนึ่งในหลักการสำ�คัญ ของการออกแบบเพื่อบำ�บัดอาการป่วยไข้ Therapeutic Design มีขั้นตอนสำ�คัญคือการกำ�หนดแผนที่อารมณ์ (Emotional Mapping) ซึ่งเป็นเสมือนพิมพ์เขียวที่จะทำ�ให้ผู้เชี่ยวชาญใน

การรักษาและนักออกแบบสามารถหาหนทางร่วมในการจัดการอารมณ์ ความรูส้ กึ และสภาพอารมณ์ของผูป้ ว่ ยทีเ่ กีย่ วข้องกับการออกแบบพืน้ ทีข่ อง ศูนย์ดูแลสุขภาพ กระบวนการเริ่มจากการระบุอารมณ์ของผู้เข้ามาใช้งาน ในแต่ละพื้นที่หรือหน่วย ด้วยการกำ�หนดแผนชุดสีที่จะถูกใช้ในพื้นที่ต่างๆ ตัง้ แต่บริเวณการดูแลผูบ้ าดเจ็บ การรักษา ศูนย์รบั ผูป้ ว่ ยอุบตั เิ หตุและฉุกเฉิน ห้องนั่งรอ ห้องบำ�บัด พื้นที่รับประทานอาหาร พื้นที่เล่น พื้นที่ประกอบ กิจกรรมทางศาสนาอย่างห้องละหมาด ตลอดจนพื้นที่ร้านค้า โดยจะมีการ เปรียบเทียบสีกับความรู้สึกที่เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่ เช่น ห้องรักษาคนไข้เด็ก อาจเป็นสีเหลืองเพื่อส่งเสริมความสุข หรือห้องละหมาดควรเป็นสีม่วงอ่อน เพื่อสร้างความรู้สึกสงบ นอกจากนี้ยังมีการเลือกใช้ภาพให้เหมาะสมกับ สภาพแวดล้อม เพื่อช่วยลดผลกระทบจากอารมณ์เชิงลบและสร้างอารมณ์ เชิงบวกให้แก่ผู้ป่วย การออกแบบเพื่อการรักษาโรคนี้ยังเกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรมสาขา Humanistic Architecture หรือสถาปัตยกรรมที่คำ�นึงถึงความเป็นมนุษย์ การสร้างความสุขและความรูส้ กึ สบายใจด้วยศิลปะและวิทยาศาสตร์ของการ สร้างอาคารและการจัดการพืน้ ทีส่ ภาพแวดล้อม โดยมีเป้าหมายเพือ่ การรักษา และสนับสนุนการดูแลผู้ป่วย เนื่องจากสถาปัตยกรรมสาขานี้มีแนวคิดว่า อาการหรือพฤติกรรมของผู้ป่วยนั้นมีความเกี่ยวข้องกับสภาพที่อยู่อาศัย ดังนัน้ การสร้างสภาพแวดล้อมทีเ่ หมาะสมจึงเป็นเครือ่ งมือหนึง่ ในการรักษา โรคให้แก่ผู้ป่วยที่ต้องการรักษาและฟื้นฟูสุขภาพให้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโรคที่ จำ�เพาะหรือเพื่อแก้ปัญหาด้านพฤติกรรม การออกแบบที่มีเป้าหมายเพื่อการรักษาโรคจึงเป็นอีกหนึ่งทางออก ในการบำ�บัดรักษาอาการทั้งทางร่างกายและโดยเฉพาะจิตใจ ที่ประกอบขึ้น จากศาสตร์การออกแบบและความมุ่งมั่นที่เกิดขึ้นภายใต้วิสัยทัศน์ของ สถานรักษาพยาบาล เพราะการเปิดพื้นที่ให้งานดีไซน์ได้เป็นส่วนหนึ่งของ การช่วยบำ�บัดให้ผปู้ ว่ ยหายดี ผ่านสภาพแวดล้อมทีอ่ อกแบบไว้อย่างถูกหลัก นอกจากจะช่วยให้ผปู้ ว่ ยกลับมาแข็งแรงทัง้ ใจและกายได้อกี ครัง้ ยังเป็นการ สะท้อนถึงพลังของการออกแบบที่ส่งตรงถึงจิตใจของผู้คนในสังคมได้เป็น อย่างดีอีกด้วย

CREATIVE THAILAND I 34

snohetta.com

Creative Solution : คิดทางออก




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.