สิงหาคม 2562 ปีที่ 10 I ฉบับที่ 11 แจกฟรี
Creative Solution UX Writer Creative Business วุ้นแปลภาษา The Creative ครูทอม คำ�ไทย
I DON’T NEED AN INSPIRATION QUOTE. I NEED UNDERSTANDING LANGUAGE. aɪ dəʊnt niːd ən ˌɪnspəˈreɪʃən kwəʊt. aɪ niːd ˌʌndəˈstændɪŋ ˈlæŋgwɪʤ. International Phonetic Alphabet (IPA)
Contents : สารบัญ
Creative Update
6
Pronouns Matter! ระหว่างเธอ เขา และเรา / Kindle en Braille อ่านอีบกุ๊ ได้ ด้วยปลายนิว้ / Coding สกิล : ภาษาที่ 3 แห่งยุคดิจิทัล
Creative Resource 8 Featured Film / Book / Film
MDIC 10 Pantone ภาษาของสีที่ใช้คุยกันได้ทั่วโลก
How To 23 เขียนดีก็ขายได้ เล่าง่ายก็ขายออก
Creative Place 24 The Coordination Language of Switzerland สวิตเซอร์แลนด์ ดินแดนที่พูดภาษา ของความปรองดอง
The Creative 28
Cover Story 12
ใช้ภาษาหากินกับ ‘ครูทอม คำ�ไทย’ ผู้ที่เชื่อมั่นว่าตราบใดที่มนุษย์คิดสร้างสรรค์ เทคโนโลยีก็แทนกันไม่ได้
Fact and Fig ure
Creative Solution 34
ภาษา ‘ดิ้น’ ได้
ถอดรหัสภาษามนุษย์ (ให้คอมพิวเตอร์)
18
UX Writer เชื่อม ‘คน’ กับ ‘เครื่อง’ ด้วยเรื่องของภาษา
Creative Business 20 ‘วุ้นแปลภาษา’ ความหมายของภาษา นอกพจนานุกรม
บรรณาธิการที่ปรึกษา l อภิสทิ ธิ์ ไล่สตั รูไกล บรรณาธิการอำ�นวยการ l มนฑิณี ยงวิกลุ ที่ปรึกษา l เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร บรรณาธิการบริหาร l พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์ กองบรรณาธิการ l อําภา น้อยศรี, ปิยะวรรณ กลิ่นศรีสุข, ปุญญิศา เปล่งรัศมี เลขากองบรรณาธิการ l ณัฐชา ตะวันนาโชติ ศิลปกรรม l ชิดชน นินนาทนนท์ ประสานงานกองบรรณาธิการ l วนบุษป์ ยุพเกษตร ช่างภาพและมัลติมีเดีย l ภีร์รา ดิษฐากรณ์ เว็บไซต์ l นพกร คนไว จัดทำ�โดย l สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) (CEA) 1160 อาคารไปรษณีย์กลาง ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 โทร. 02 105 7400 แฟกซ์. 02 105 7450 พิมพ์ที่ l บริษัท สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง จำ�กัด โทร. 02 903 8257-9 จำ�นวน 15,000 เล่ม ติดต่อลงโฆษณา: Commu.Dept@tcdc.or.th นิตยสารฉบับนีใ้ ช้หมึกพิมพ์จากนา้ํ มันถัว่ เหลืองทีไ่ ม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทัง้ ยังเป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อม และใช้กระดาษ รีไซเคิล ซึ่งเป็นผลผลิตของผู้ประกอบการไทย จัดทำ�ภายใต้โครงการ “Creative Thailand สร้างเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์” โดยสํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจ สร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) (CEA) ซึ่งมีเป้าหมายในการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) และผลักดันการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย
อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส แสดงที่มา-ไมใชเพื่อการคา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย แสดงที ่มา-ไมใTHAILAND ชเพื่อการคา-อนุI ญ4าตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย CREATIVE
Editor’s Note : บทบรรณาธิการ
ด้วยราคาเพียง 3,100 บาท ลูกค้าของวาเวอรี แล็บส์ (Waverly Labs) ที่ทดลอง สั่งซื้อ Ambassador หูฟังแปลภาษาจากอินดี้โกโก (เว็บไซต์ระดมทุนออนไลน์) ก็สามารถเข้าใจภาษาอื่นได้ จากระบบแปลภาษาแบบทันทีในรูปของเสียงหรือ ข้อความสำ�หรับบทสนทนาระหว่างผู้ฟังสองคน หรือการบรรยายในห้องเรียน โดยการเลือกภาษาผ่านแอพพลิเคชันทีม่ ใี ห้เลือกถึง 20 ภาษา และ 42 ภาษาถิน่ Ambassador เป็นหนึ่งในตัวอย่างของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ในการพัฒนาทักษะการแปล เขียนและตอบโต้ทไ่ี หลลืน่ อย่างเป็นธรรมชาติ ทัง้ ยัง มีแนวโน้มดีวันดีคืนทั้งด้านประสิทธิภาพและราคา ทำ�ให้เกิดการตั้งคำ�ถามว่า “เราจะเรียนภาษาอะไรดี ถ้าหากภาษาในอนาคตจะเป็นการรวมระหว่างภาษา มนุษย์เข้ากับเทคโนโลยี และรวมความเป็นนานาชาติไว้ในตัวบุคคล” เมือ่ ก่อนเราต้องโค้ดดิง (coding) สัง่ การคอมพิวเตอร์ดว้ ยภาษาเครือ่ งแบบ ให้เครือ่ งเข้าใจ แต่ปจั จุบนั เครือ่ งฉลาดพอทีจ่ ะเข้าใจภาษาของคน และกำ�ลังจะ กลายเป็นความสำ�คัญของภาษาศาสตร์ยคุ ใหม่ทใี่ กล้ชดิ กับศาสตร์คอมพิวเตอร์ มากขึ้น เพื่อให้มนุษย์สามารถสื่อสารและสร้างงานจากเทคโนโลยีได้อย่างมี ประสิทธิภาพในยุคดิจทิ ลั แต่ในอีกด้านหนึง่ การเรียนภาษาพูด เขียน อ่าน ยังคง มีความสำ�คัญ เพราะถ้าหากเราแปลคำ�ว่า ‘ภาษา’ ตามพจนานุกรมแล้ว ก็จะ แปลได้ว่า ถ้อยคำ�ที่ใช้พูดหรือเขียนเพื่อสื่อความของชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน หรือเพื่อสื่อความเฉพาะวงการดังเช่น ภาษาราชการ การเรียนภาษาจึงเหมือนการทำ�ความเข้าใจวิธีนึกคิดและสื่อสารของ ชนกลุ่มนั้น ซึง่ มีการปรับเปลีย่ นไปตามสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่ท�ำ ให้ภาษาหรือ
คำ�ศัพท์บางคำ�ไม่ได้มีความหมายตรงตัว หรือตายตัวเสมอไป แต่ขึ้นอยู่กับ ข้อตกลงในการสื่ออารมณ์ ความรู้สึก และความคิดสร้างสรรค์ภายในกลุ่ม ยิง่ ในปัจจุบนั ทีม่ กี ารสือ่ สารผ่านช่องทางออนไลน์มากขึน้ ข้อตกลงใหม่ๆ สามารถ เกิดขึน้ และหายไปอย่างรวดเร็ว ขนาดทีค่ นท้องถิน่ ด้วยกันเองก็อาจจะไม่เข้าใจ “ลำ�ไยมากกกก อิแตงโมมันมะนาวอยู่ได้” ข้อตกลงของกลุ่มคนในโลก ออนไลน์ที่ใช้ผลไม้ในการสื่อสารท่ามกลางผู้ที่ใช้ภาษาไทยกว่า 60 ล้านคน โดยที่ความหมายแท้จริงไม่ได้มีอะไรเกี่ยวกับผลไม้ แต่เป็นการแสดงความ รำ�คาญต่อหญิงรูปร่างอ้วนคนหนึง่ ที่มจี นิ ตนาการแบบไม่จบสิน้ สักที ความลืน่ ไหล ของภาษาเช่นนี้ ทำ�ให้แม้ว่าเหล่านักเทคโนโลยีจะฮึดสู้ทำ�ให้ AI สามารถ ลอกเลียนรูปแบบประโยค และเรียนรู้ที่จะแปลซ้อนทับไปอีกทีมากเท่าไร แต่กว่าที่จะเรียนรู้ที่มาของการใช้คำ�ว่า ‘ลำ�ไย’ ‘แตงโม’ หรือ ‘มะนาว’ ได้นั้น คำ�พวกนี้ก็อาจจะล้าสมัยและมีคำ�ใหม่เข้ามาใช้ทดแทนเสียแล้ว ปัจจุบันมีผู้ใช้ภาษาจีนกลาง 1,000 กว่าล้านคน ภาษาฮินดีิและเบงกาลี รวมกัน 700 ล้านคน ภาษาของประเทศจีนและอินเดียกำ�ลังกลายเป็นภาษาหลัก ที่ใช้ทางธุรกิจตามการขยายตัวของเศรษฐกิจทั้งสองประเทศ ด้วยเทคโนโลยี อาจจะทำ�ให้การสือ่ สารไม่ใช่อปุ สรรคใหญ่ แต่การจะทำ�ความเข้าใจความนึกคิด ของประเทศที่มีรากฐานวัฒนธรรมแข็งแกร่งนับพันปีนี้ ก็ไม่ใช่สิ่งที่จะเรียนรู้ ได้งา่ ยโดยปราศจากการเข้าถึงด้วยประสบการณ์ของตนเอง และยิง่ ถ้าคนรุน่ ใหม่ ที่ใช้สื่อออนไลน์ในประเทศเหล่านี้ มีการสร้างสรรค์คำ�ใหม่ที่เป็นข้อตกลง เฉพาะกลุม่ ขึน้ คนพัฒนา AI ก็คง ‘มะนาว’ ไม่ออกว่าจะมีสกั กีค่ �ำ ที่ตอ้ งจำ� มนฑิณี ยงวิกุล บรรณาธิการอำ�นวยการ
CREATIVE THAILAND I 5
Creative Update : คิดทันโลก
Pronouns Matter! ระหว่างเธอ เขา และเรา เรื่อง : วนบุษป์ ยุพเกษตร
“สวัสดี ฉันคือคิต และฉันใช้สรรพนาม They/Them” เป็นประโยคที่คิต วิลสัน (Kit Wilson) นักศึกษา มหาวิทยาลัยวิซคอนซิน-มิลวอคี (University of Wisconsin-Milwaukee) รั ฐ วิ ส คอนซิ น สหรัฐอเมริกา กล่าวแนะนำ�ตัวเมือ่ เจอกับคนอืน่ ๆ หลายต่อหลายครั้ง เรามักจะตัดสินเพศ บุคคลจากภายนอกและจากสิ่งที่เราเห็น แม้แต่ ในบทสนทนา เราก็ถูกสอนให้ใช้ ‘คำ�สรรพนาม’ เรียกแทนคนทีเ่ ราพูดถึง เช่น เขา (He) แทนบุคคล เพศชาย หรือ เธอ (She) แทนบุคคลเพศหญิง ความคิดที่ว่า “ผู้ชายสีฟ้า ผู้หญิงสีชมพู” ยังคง ยึดติดเกี่ยวกับเรื่องการแบ่งแยกทางเพศ แม้แต่ LGBT หรือกลุม่ ผูม้ คี วามหลากหลายทางเพศก็ยงั ระบุเพศว่า ฝ่ายนี้เป็นหญิงและอีกฝ่ายเป็นชาย ตัวอย่างเช่น หากคนหนึง่ รับบทบาทเป็นเพศหนึง่ ไปแล้ว อีกคนก็รับบทเพศตรงข้ามไปโดยปริยาย แล้วถ้าเราไม่อยากใช้แค่ He หรือ She ระบุหรือ กล่าวถึงฝ่ายตรงข้าม แล้วเราควรใช้อะไร ระบบ Non Binary คือคำ�ตอบ เพราะคำ� สรรพนามที่ ใ ช้ กั น อยู่ ทุ ก วั น นี้ เ ป็ น ระบบแบบ แบ่งเพศชัดเจน หรือทีเ่ รียกว่า Binary คือแบ่งเป็น ฝั่งชายและหญิง แต่จริงๆ แล้วมันลึกซึ้งกว่านั้น ด้วยความหลากหลายและความเป็นปัจเจกที่ ชัดขึ้นทุกวันของคนเรา ที่ไม่เพียงแบ่งหญิง ชาย หรือ LGBT กลุม่ Non Binary จึงตอบโจทย์เพศที่เป็นกลาง หรือความไม่ต้องการจะระบุเพศ หรือจะเรียก อีกอย่างว่า ‘ไร้เพศ’ ก็ยงั ได้ “บางครัง้ ฉันก็รสู้ กึ ถึง ความเป็นหญิงและชายในเวลาเดียวกัน แต่บางครัง้ ฉันก็ไม่ได้รู้สึกแบบนั้นทั้งคู่” คิต วิลสัน ชี้ให้ เห็นถึงความเป็นกลางของตัวเอง และสาเหตุที่
ใช้สรรพนาม They/Them/Their แทนตัวเอง มากกว่าที่จะเป็น He/Him/His นอกเหนือจากสรรพนาม He She และ They ที่เราคุ้นชินกันแล้ว ตัวภาษาก็ยังไหลลื่นจนเกิด สรรพนามใหม่ๆ เพือ่ มารองรับความหลากหลาย ทางเพศนี้ อย่างเช่น Ze/Zir/Zirs ที่เพี้ยนมาจาก ภาษาเยอรมันว่า Sie ที่แปลว่า She ในภาษา อังกฤษ การทีเ่ ราระบุสรรพนามของอีกฝ่ายโดยตัดสิน จากภายนอก ยังกลายเป็นเรื่องที่ค่อนไปทาง ไร้มารยาทและไม่ให้เกียรติบุคคลที่กล่าวอ้างถึง โรงเรียนในสหรัฐอเมริกาฝึกให้เด็กๆ สอบถาม สรรพนามของคนอื่น และเลือกใช้สรรพนามที่ ต้องการแทนชือ่ ตัวเองหรือแม้แต่การแทนด้วยชือ่ ไปเลย ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นการปลูกฝังความคิด ผ่านตัวภาษาที่เป็นกลางและไม่แบ่งแยกเพศ แม้แต่เฟซบุก๊ ก็ยงั เคลือ่ นไหวด้วยการเพิม่ ตัวเลือก เพศอืน่ ๆ นอกเหนือจากหญิงหรือชาย รวมถึงคำ� สรรพนามที่เจ้าของเฟซบุ๊กนั้นอยากจะใช้ด้วย และในเร็วๆ นี้ (เดือนตุลาคม 2562) ยังจะมี การจัดวันสรรพนามสากลครัง้ ที่ 2 (International Pronouns Day) หลังจากที่จัดขึ้นเมื่อเดือน เดียวกันนี้ในปีที่ผ่านมาและได้รับการตอบรับที่ดี เพื่ อ ให้ ผู้ ค นหลากหลายเพศได้ เ ข้ า มาพู ด คุ ย แบ่งปันประสบการณ์ และให้ความรูเ้ กีย่ วกับเรือ่ ง สรรพนามส่วนบุคคลทีเ่ ราควรจะให้เกียรติและเคารพ ขณะที่ ซาร่า เบนโดเรทิส (Sara Bendoraitis) ผู้ อำ � นวยการด้ า นการจั ด โปรแกรมประจำ � ศูนย์ความหลากหลายและการอยู่ร่วมกันอย่าง เท่าเทียมแห่งมหาวิทยาลัยอเมริกัน (Centre of Diversity and Inclusion of American University) ได้อธิบายสรุปความในคำ�ถามที่ว่า ทำ�ไมเราถึง ต้ อ งถามสรรพนามของผู้ อื่ น ก่ อ นเสมอไว้ ว่ า “เพราะนั่นหมายถึงการเรียนรู้คนอื่นให้มากขึ้น มากกว่าที่เราจะคาดเดาไปเอง”
CREATIVE THAILAND I 6
จงถาม เพราะเราไม่สามารถบอก
ชือ่ หรือคำ�สรรพนามทีค่ นๆ หนึง่ จะใช้ เพียงแค่มองจากภายนอก
ให้เกียรติ หากบางคนใช้เวลาบอกชือ่ กับคำ�สรรพนาม เราควรใช้ตามนั้น และให้เกียรติพวกเขา เพราะไม่ใช่ เรือ่ งของเราทีจ่ ะไปตัดสินลักษณะของ คนอื่น ฝึกฝน ถ้ า มั น ยากที่ จ ะต้ อ งเอ่ ย คำ � สรรพนามหรือชือ่ ของคนอื่น ก็ลองฝึก มั น ดู เ สี ย ก่ อ น ถามผู้ ร่ ว มงานหรื อ เพื่อนๆ เวลาใช้คำ�เหล่านั้นผิดไป ที่มา: pronounsday.org / บทความ “Beyond ‘he’ and ‘she’: The rise of non-binary pronouns” (ธันวาคม 2558) จาก bbc.com
Kindle en Braille อ่านอีบุ๊กได้ ด้วยปลายนิ้ว เรื่อง : วนบุษป์ ยุพเกษตร
เราต่างเคยสงสัยว่าในอดีตคนตาบอดอ่านเขียน กันอย่างไร นับตัง้ แต่หลุยส์ เบรลล์ (Louise Braille) ครูตาบอดชาวฝรัง่ เศสคิดค้นวิธอี า่ นเขียนสำ�หรับ คนตาบอดในช่วงศตวรรษที่ 19 โดยใช้จุด 6 จุด เป็นตัวแทนอักษรและใช้นิ้วมืออ่านแทนที่จะเป็น ดวงตาเหมือนคนอื่นๆ แต่น้นั มาโลกก็ได้ร้จู ักกับ ‘อักษรเบรลล์’ การคิดค้นในครัง้ นัน้ ทลายกำ�แพง ภาษาอ่านและภาษาเขียนของคนตาบอดให้กลับมา มีชีวิตชีวาอีกครั้ง คนตาบอดสามารถรู้หนังสือได้อยู่ 2 วิธี คือ คนอืน่ อ่านให้ฟงั กับอ่านด้วยตัวเองผ่านการสัมผัส อักษรเบรลล์ แน่นอนว่าอย่างหลังย่อมดีกว่า ทัง้ ใน ด้านประสบการณ์และความภูมิใจ เพราะโดย สถิติแล้ว คนตาบอดที่รู้อักษรเบรลล์จริงๆ ยัง นับว่ามีน้อยนัก และหนังสืออักษรเบรลล์โดย ทั่วไปอาจจะไม่สะดวกสำ�หรับคนตาบอดเท่าใด ในแง่การพกพาและการเข้าถึง อย่างคัมภีรไ์ บเบิล ฉบับอักษรเบรลล์ก็กินพื้นที่ชั้นวางหนังสือไปกว่า เมตรครึ่งแล้ว
scratchjr.org ที่มา: bristolbraille.co.uk / บทความ “Braille technology firm builds ‘Kindle for the blind’ ” (มกราคม 2562) จาก reuters.com
whitehatjr.com
bristolbraille.co.uk
ไม่ทันไร เร็วๆ นี้ก็มีข่าวดีจากสตาร์ตอัพ สายเทคโนโลยีสัญชาติอังกฤษ Bristol Braille Technology ว่ากำ�ลังพัฒนาสินค้า ‘Canute 360’ อุปกรณ์ส�ำ หรับอ่านอีบกุ๊ เพือ่ คนตาบอดทีจ่ ะปล่อย ตัวต้นแบบในสิน้ ปีนี้ โดยนับเป็นอุปกรณ์อา่ นอีบกุ๊ แบบหลายบรรทัดเครื่องแรกของโลก โดยจะมี ทัง้ หมด 9 บรรทัดในคราวเดียว หรือราวๆ 1 ใน 3 ของหน้ากระดาษปกติ “นี่หมายถึงเราแค่ต้องกด เครือ่ งหมายถัดไปในทุกๆ 360 ตัวอักษร แทนทีจ่ ะ เป็นทุกๆ 20 ตัว” สเตฟานี เซอร์เจนต์ (Stephanie Sergeant) ผู้ฝึกอบรมคนตาบอดแห่ง Vision Through Sound และทำ�งานร่วมกับ Bistrol Braille อธิบายถึงความเจ๋งของอุปกรณ์ชิ้นนี้ แถมเจ้า Canute 360 ยังรองรับข้อความ หลากหลายชนิด ง่ายๆ เพียงเสียบยูเอสบีหรือ เอสดีการ์ด ไม่วา่ จะเป็นอักษรเบรลล์ส�ำ หรับเพลง คณิตศาสตร์ ภาษาต่างประเทศ หรือแม้แต่ภาพ ที่สัมผัสได้ เพียงแค่ไฟล์นั้นต้องแปลเป็นภาษา เบรลล์ เ รี ย บร้ อ ยแล้ ว และถึ ง แม้ จ ะมี นํ้ า หนั ก มากกว่ า เครื่ อ งอ่ า นอี บุ๊ ก โดยทั่ ว ไปสั ก หน่ อ ย (ประมาณ 6 ปอนด์หรือประมาณ 2.7 กิโลกรัม) แต่ก็ค้มุ ค่าที่จะแลกมากับอุปกรณ์อ่านอีบุ๊กแบบ พกพาที่สามารถเคลื่อนที่ไปไหนมาไหนก็ได้ ต้องขอบคุณหลุยส์ เบรลล์ในวันนัน้ ทีเ่ ปิดโลก การอ่านและการเขียนให้กบั คนตาบอดทัว่ ทุกมุมโลก ผ่านภาษาเบรลล์ และขอบคุณเทคโนโลยีอกั ษร เบรลล์ในวันนี้ที่พาโลกใบเดิมของคนตาบอดให้ สดใสยิ่งกว่าเดิม
Coding สกิล ภาษาที่ 3 แห่งยุคดิจิทัล เรื่อง : นพกร คนไว ภาษาคอมพิวเตอร์เป็นทักษะสำ�คัญที่จำ�เป็นใน อนาคตซึง่ จะสร้างโอกาสทางอาชีพทีห่ ลากหลาย ในโลกที่เทคโนโลยีกำ�ลังก้าวหน้า ทำ�ให้เกิดแรง สนับสนุนให้เด็กรุ่นใหม่ต้องเร่งสร้างเสริมทักษะ ทางคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะการรู้ภาษาคอมพ์ และการเขียนโค้ด (Coding) ที่ต้องเรียนรู้กัน ตั้งแต่เด็ก ๆ ไม่ต่างจากทักษะด้านการอ่านออก เขียนได้ที่เป็นความรู้พื้นฐาน ตัวอย่างแอพพลิเคชัน ScratchJr ผลงาน การวิจยั จาก Lifelong Kindergarten Group แห่ง สถาบัน MIT ร่วมกับ DevTech Research Group แห่ง Tufts University ได้รบั การพัฒนาขึน้ เพือ่ ช่วย ให้เด็กๆ เรียนรูก้ ารเขียนโปรแกรมเบือ้ งต้น โดยมี เนิรส์ เซอรีหลายแห่งในอังกฤษทีใ่ ช้แอพพลิเคชันนี้ สำ�หรับสอนเด็กๆ เกี่ยวกับพื้นฐานการเขียนโค้ด เช่น การสร้างการ์ตูนแอนิเมชันด้วยตนเองผ่าน คำ�สัง่ ง่ายๆ อย่างการเดินหน้า ถอยหลัง กระโดด เต้นรำ� ร้องเพลง ทั้งยังสามารถเลือกฉากหลังให้ ตัวละครได้เดินทางไปในเรื่องราวที่สร้างขึ้นได้ ตามต้องการ เพือ่ ให้เด็กๆ ได้เรียนรูก้ ารแก้ปญั หา และทดลองออกแบบเรื่องราวของตนเอง อันจะ เป็นพื้นฐานที่ต่อยอดไปสู่การเขียนโปรแกรมที่ ซับซ้อนยิง่ ขึน้ ซึง่ นอกจากการเขียนโค้ดแล้ว เด็กๆ ในสหราชอาณาจักรยังจะได้เรียนรูห้ ลักสูตรทักษะ ทางคอมพิวเตอร์ส�ำ หรับเด็กประถมอย่างเรือ่ งของ อัลกอริทมึ และความปลอดภัยในการรักษาข้อมูล ส่วนตัวบนโซเชียลเน็ตเวิร์กอีกด้วย CREATIVE THAILAND I 7
อีกประเทศหนึ่งที่ผลิตบุคลากรทางด้าน คอมพิวเตอร์มากเป็นอันดับต้นๆ ของโลกอย่าง อินเดีย ผู้ปกครองหลายครอบครัวเริ่มส่งเสริมให้ ลูกหลานเรียนรู้ทักษะการเขียนโค้ดตั้งแต่อายุ ไม่ถึง 10 ขวบ คลาสเรียนออนไลน์ที่ได้รับความ นิยมอย่าง WhiteHat Jr เปิดทำ�การสอนสำ�หรับ เด็กอายุ 6-15 ปี ประกอบด้วยความรูพ้ นื้ ฐานด้าน การเขียนโค้ด เช่น ทักษะด้านตรรกะ การเข้าใจ โครงสร้าง การเขียนอัลกอริทมึ ไปจนถึงการสร้าง เกมหรือแอพพลิเคชันทีม่ คี วามซับซ้อน โดยแต่ละ หลักสูตรจะถูกออกแบบให้เหมาะกับความรู้และ ทักษะของเด็กๆ ในแต่ละช่วงวัย และเน้นการเรียน การสอนแบบหนึ่งต่อหนึ่ง “เด็กทีอ่ ายุนอ้ ยมักจะมีความคิดสร้างสรรค์สงู การทีพ่ วกเขาได้ฝกึ ทักษะสร้างเกมหรือแอพพลิเคชัน จากจินตนาการได้ในช่วงเวลานี้ จึงถือเป็นการ เริม่ ต้นทีด่ ใี ห้กบั พวกเขาในอนาคต” คาราน บาจาจ (Karan Bajaj) ผู้ก่อตั้ง WhiteHat Jr กล่าว แม้การเข้าใจภาษาคอมพิวเตอร์ตงั้ แต่ยงั เล็ก จะไม่ ไ ด้ ก ารั น ตี อ นาคตว่ า เยาวชนเหล่ า นี้ จ ะ กลายเป็นโปรแกรมเมอร์มือฉมังได้เท่านั้น แต่ใน โลกที่ขับเคลื่อนและเชื่อมต่อกันด้วยระบบดิจิทัล ทักษะคอมพิวเตอร์จะยังคงเป็นสิ่งจำ�เป็นที่จะ ทำ�ให้พวกเขามีแต้มต่อท่ามกลางการแข่งขันต่อ ไปได้ ทีม่ า: บทความ “In India, Toddlers Are Starting To Write Computer Codes Before They Can Talk” โดย Lex Celera จาก vice.com / บทความ “Karan Bajaj’s WhiteHat Jr Picks Up $1.3 Mn To Teach The Next Generation of Coders” โดย Bhumika Khatri จาก inc42.com / บทความ “Toddler Coding Classes Are The New Must-Have Activity For Nurseries” โดย Elizabeth Rust จาก wired.co.uk / bbc.com / scratchjr.org / whitehatjr.com
Creative Resource : วัตถุดิบทางความคิด เรื่อง : อำ�ภา น้อยศรี และ ปุญญิศา เปล่งรัศมี
FE AT U R E D FI LM Arrival - ผู้มาเยือน (2016) กํากับโดย Denis Villeneuve ความต้องการหาคำ�ตอบว่าผู้มาเยือนมาเพื่ออะไร ทำ�ให้กระบวนการสื่อสารระหว่างมนุษย์กับ ผูม้ าเยือนเริม่ ต้นขึน้ ดูเหมือนว่าผูม้ าเยือนนำ�ภาษาใหม่มาให้มนุษย์ได้เรียนรูแ้ ละเข้าใจ แต่ภาษาใหม่น้ี มีนัยยะเพื่อเตือนสติมนุษย์ให้ตระหนักถึงแก่นของการสื่อสารระหว่างกัน ประเด็นทางภาษาที่น่าสนใจคือภาษาที่พูดจะกำ�หนดกระบวนการคิด วัฒนธรรม รูปแบบชีวิต และอารยธรรมของมนุษย์ได้ ‘อาวุธ’ จากผู้มาเยือนในภาพยนตร์เรื่องนี้คือ ‘ภาษา’ ซึ่งเป็นอาวุธที่ ทรงประสิทธิภาพทีส่ ดุ เพราะสามารถสร้างสันติภาพ (ผ่านการเจรจา) สร้างความอันหนึง่ เป็นอันเดียวกัน (ผ่านภาษาประจำ�ชาติ) นำ�ไปสูก่ ารติดต่อสือ่ สารระหว่างประเทศ รวมทั้งเชื่อมความสัมพันธ์กับมิตรใหม่ ต่างภาษาด้วยการเรียนรู้ภาษาของอีกฝ่าย ขณะเดียวกัน ภาษายังเป็นอาวุธสำ�หรับทำ�ร้ายความรู้สึก และทำ�ลายความสัมพันธ์ทด่ี ตี อ่ กันให้พงั ทลายลงได้อย่างง่ายดาย อยู่ที่ว่าจะเลือกใช้อาวุธอันทรงพลังนี้ อย่างไร กับดักของภาษาเป็นประเด็นทีน่ า่ สนใจไม่นอ้ ยทีไ่ ด้รบั การนำ�เสนอในภาพยนตร์ โดยธรรมชาติแล้ว คนเราสามารถฟัง พูด อ่าน เขียน ผ่านการเรียนรูท้ งั้ จากผูค้ นรอบตัวและการเรียน แต่การตีความหมาย ของภาษานั้นเป็นประสบการณ์ส่วนบุคคลที่ต้องเรียนรู้ เพราะคำ�หนึ่งคำ�เมื่ออยู่ในบริบทที่แตกต่างกัน ย่อมตีความหมายได้แตกต่างกัน จึงเป็นเรื่องที่ยากยิ่งในการตีความหากขาดซึ่งประสบการณ์ พาลินโดรม (Palindrome) คือ คำ� วลี จำ�นวน หรือลำ�ดับ ที่สามารถอ่านจากหลังไปหน้า หรือ หน้าไปหลัง แล้วมีความหมายเหมือนกัน เทคนิคด้านภาษาศาสตร์นี้ถูกนำ�มาประยุกต์เข้ากับวิธีการ เล่าเรื่องของตัวละคร เพื่อบอกเป็นนัยถึงลำ�ดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ผูม้ าเยือนใน Arrival ไม่ได้มามอบภาษาใหม่ให้แก่มนุษย์ หากเพียงต้องการกระตุน้ เตือนให้มนุษย์ ลองตัง้ คำ�ถามกับการสือ่ สารระหว่างมนุษย์ดว้ ยกัน หรืออาจมาเพือ่ เตือนสติมนุษย์ให้ตระหนักถึงคุณค่า ของอาวุธอันทรงพลานุภาพที่อยู่ในมือ ว่าจะเลือกใช้อาวุธนี้ในรูปแบบไหนและอย่างไร CREATIVE THAILAND I 8
BOOK Girls Who Code: Learn to Code and Change the World โดย Reshma Saujani โค้ดดิง (Coding) คือการเขียนชุดคำ�สั่งเพื่อให้ คอมพิ ว เตอร์ ป ฏิ บั ติ ง านตามที่ เ ราต้ อ งการ ด้ ว ยภาษาที่ ค อมพิ ว เตอร์ ส ามารถเข้ า ใจได้ หนังสือเล่มนี้จะพาผู้อ่านไปทำ�ความรู้จักการ สื่ อ สารระหว่ า งมนุ ษ ย์ แ ละคอมพิ ว เตอร์ แ บบ เข้ า ใจง่ า ย พร้ อ มกั บ เรื่ อ งราวของบรรดา โปรแกรมเมอร์หญิงที่มีบทบาทสำ�คัญในวงการ เทคโนโลยีต่างๆ ทั้งในองค์การ NASA และ บริษัท Pixar ซึ่งจะสร้างแรงบันดาลใจและปลุก จิ ต วิ ญ ญาณโปรแกรมเมอร์ ใ นตั ว คุ ณ เพราะ โค้ดดิงไม่ได้เข้าใจยากอย่างที่คิด
Lost Languages: The Enigma of the World’s Undeciphered Scripts โดย Andrew Robinson อักษรภาพเฮียโรกลิฟิกจารึกคำ�พูดศักดิ์สิทธิ์ของ เทพเจ้าอียิปต์โบราณ ภาษาของชาวอีทรัสคัน ซึ่งปัจจุบันคือแคว้นทัสคานีใช้ตัวอักษรคล้าย ของกรีก แต่กลับไม่ใช่ภาษากรีก อักษรโรโงโรโง ใช้ท�ำ บันทึกปฏิทนิ จันทรคติของชาวเกาะอีสเตอร์ ดินแดนทีต่ ง้ั ของรูปปัน้ โมอาย สิง่ เหล่านีค้ อื เรือ่ งราว ของภาษาซึง่ เคยมีการใช้ในอดีต แต่ปจั จุบนั กลับ แทบไม่ มี ใ ครอ่ า นออกหรื อ ใช้ พู ด กั น อี ก ต่ อ ไป หนังสือเล่มนีจ้ ะพาคุณไปถอดรหัสภาษาของผูค้ น ในดินแดนอารยธรรมอันรุ่งเรืองในอดีต ที่เป็น ปริศนาที่น่าค้นหาจวบจนถึงทุกวันนี้
FI LM My Fair Lady - บุษบาริมทาง (1964) กำ�กับโดย George Cukor ภาพยนตร์เพลงว่าด้วยเรือ่ งราวของศาสตราจารย์ หนุม่ นักภาษาศาสตร์ ผูซ้ งึ่ เชีย่ วชาญภาษาทัว่ โลก จนสามารถบอกได้วา่ ใครมาจากไหน และมีฐานะ ทางสังคมอย่างไร ด้วยเพียงการฟังจากสำ�เนียง การพูดของคนๆ นั้น เขาได้พบหญิงสาวขาย ดอกไม้ข้างถนน และตั้งใจปั้นให้เธอกลายเป็น สุภาพสตรีชน้ั สูง นอกเหนือจากรูปลักษณ์ภายนอก การพูดและสำ�เนียงจะสามารถเปลี่ยนชีวิตของ หญิงสาวได้จริงหรือไม่ และอาชีพนักภาษาศาสตร์ เป็นอย่างไร สามารถหาคำ�ตอบอย่างเพลิดเพลิน ได้จากภาพยนตร์เรื่องนี้ พบกับวัตถุดิบทางความคิดเหล่านี้ได้ที่ TCDC Resource Center CREATIVE THAILAND I 9
MDIC : นวัตกรรมและวัสดุ
pantone.com
ใครจะเชือ่ ว่าจากความต้องการบริหารคลังสินค้าเกีย่ วกับสี จะสามารถสร้าง ‘ภาษาสี’ ให้เราเข้าใจตรงกันได้ ภาษาสีที่ว่านี้เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ยุค 1950 ในธุรกิจเกี่ยวกับการพิมพ์ของ บริษัทโฆษณา M&J Levine ในนิวยอร์ก โดยในปี 1956 ผู้ก่อตั้งบริษัท สองพี่น้อง เมอร์วิน เลวีน (Mervin Levine) และเจสส์ เลวีน (Jesse Levine) ได้ว่าจ้างให้บัณฑิตจากมหาวิทยาลัย Hofstra University อย่างลอว์เรนซ์ เฮอร์เบิร์ต (Lawrence Herbert) ใช้ความรู้ทางด้านเคมีเพื่อจัดการระบบ การจัดเก็บและลดความซา้ํ ซ้อนของคลังสินค้าสำ�หรับผงสีและหมึกสี ซึง่ ระบบ ที่เฮอร์เบิร์ตสร้างขึ้นในวันนี้ ปัจจุบันก็คือ The Pantone Color Institute™ ที่กลายมาเป็นเครื่องมือสำ�คัญที่คนในแวดวงการพิมพ์รู้จักกันเป็นอย่างดี ในฐานะบริษทั ผูด้ �ำ เนินธุรกิจเกีย่ วกับอุตสาหกรรมการพิมพ์ การผลิตสี ผสมสี สีผา้ สีพลาสติก และยังเป็นผูส้ ร้างมาตรฐานการเทียบสี Pantone Matching System (PMS) ที่ช่วยให้นักออกแบบสามารถจับคู่สีและเจาะจงการใช้สีได้ อย่างถูกต้องเข้าใจตรงกันในกระบวนการออกแบบ ไปจนถึงขัน้ ตอนการผลิต โดยไม่ต้องคำ�นึงถึงอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตสีแต่ละชนิด ซึ่งในทุกวันนี้มี การนำ�ระบบดังกล่าวไปใช้อย่างแพร่หลายทัง้ ในการสร้างตราสินค้า ไปจนถึง งานของรัฐบาล หรือแม้แต่กองทัพ ที่ใช้ระบบนี้ระบุสีของธงตลอดจนตรา สัญลักษณ์ต่างๆ เช่น ธงชาติของประเทศแคนาดาและเกาหลีใต้ เป็นต้น เมื่อระบบ Pantone เดินทางมาจนกระทั่งในปี 2000 บริษัทจึงได้ริเริ่ม ให้มีการประกาศ ‘สีแห่งปี’ (Color of the Year) มาจนปัจจุบัน โดยล่าสุด
pantone.com
เรื่อง : ปิยวรรณ กลิ่นศรีสุข
Pantone ประกาศให้ PANTONE 16-1546 Living Coral เป็นสีแห่งปี 2019 ระยะเวลากว่า 19 ปีที่ The Pantone Color Institute™ ทำ�การคัดเลือกและ ประกาศสีทมี่ อี ทิ ธิพลประจำ�ปีนนั้ ๆ นับเป็นช่วงเวลาทีภ่ าษาแห่งสีกา้ วเข้าไป มีอิทธิพลต่ออุตสาหกรรมสร้างสรรค์หลากหลายแขนง ไม่ว่าจะเป็น แฟชั่น เฟอร์นิเจอร์ ของตกแต่งบ้าน หรือแม้แต่บริษัทยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตเม็ดพลาสติก อย่างบริษัท BASF Corporation - Effects Pigment Group ได้ผลิตสี มาสเตอร์แบทช์ (masterbatch) หรือสีที่มีลักษณะเป็นเม็ดใช้เพื่อลดการ ฟุง้ กระจายของผงสีในขณะผสมกับเม็ดพลาสติกชนิดต่างๆ ทีไ่ ด้แรงบันดาลใจ จากสี ‘Living Coral’ สีแห่งปี 2019 ขึ้น โดยใช้สารให้สีที่มีคุณสมบัติตาม ข้อกำ�หนดทางเทคนิคที่ซับซ้อน และทนทานต่อแรงตึงในการใช้งานภายใต้ สภาพแวดล้อมต่างๆ ทำ�ให้มีความคงทนเป็นพิเศษ และมีการเสียรูปน้อย ด้วยกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐาน เหมาะกับโพลิเมอร์ที่มีข้อจำ�กัดสูงและ ต้องการการกระจายตัวทีส่ มํา่ เสมอ โดยคอลเล็กชันนีม้ ี 2 รุน่ ได้แก่ Tropical Sunset และ Everything Nice ซึ่งรุ่น ‘Tropical Sunset’ จะมีสีสันที่สดใส เหมาะกับการใช้งานอย่างสมบุกสมบัน ประกอบด้วย HDPE ทีเ่ ป็นเรซินหลัก ผสมกับไทเทเนียมไดออกไซด์ (TiO2) 0.8% และมีสีที่ใกล้เคียงกับสี Living Coral ต้นฉบับ โดยใช้สารให้ที่คุณภาพสูงสุดสำ�หรับการใช้งานภายนอก อาคาร ขณะที่รุ่น ‘Everything Nice’ ทำ�จาก PET โปร่งใสและไม่ผสม ไทเทเนียมไดออกไซด์ เป็นสีย้อมทนต่อความร้อนที่ใช้กับเรซินอย่าง PET เหมาะสำ�หรับทำ�บรรจุภัณฑ์ เช่น จุกและฝาปิด เครื่องเล่นกลางแจ้ง และ แท่นวางสินค้า ปัจจุบนั Pantone จึงไม่ได้เป็นเพียงมาตรฐานของสีทอ่ี ตุ สาหกรรมต่างๆ ใช้กันมากที่สุดทั่วโลก แต่ยังเปรียบเสมือน ‘ภาษา’ ที่มีคนพูดมากที่สุดเพื่อ สื่อสารกันได้อย่างสัมฤทธิ์ผลเมื่อต้องทำ�งานเกี่ยวข้องกับสี ที่สำ�คัญการ มีภาษาสีเช่นนี้ ยังสร้างความแม่นยำ�ที่จะช่วยตอกยํ้าความมั่นใจให้กับผู้ใช้ งานสีทั่วโลก ไม่ว่าคนผู้นั้นจะพูดภาษาอะไรอยู่ก็ตาม ที่มา: บทความ “Pantone Color of the Year 2019 - Living Coral” จาก pantone.com และ pss-guide.com
พบกับนวัตกรรมและวัสดุสร้างสรรค์ ได้ที่ชั้น 2 ห้อง Material & Design Innovation Center, CEA CREATIVE THAILAND I 10
พบกับนิตยสาร “คิด” Creative Thailand ได้ที่ ร้านหนังสือ ห้องสมุด สมาคม อาคารสำ�นักงาน และร้านกาแฟใกล้บ้าน ในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ หัวหิน และจังหวัดอื่นๆ รวมถึง miniTCDC
หมดปญหาหยิบนิตยสารไมทัน สมัครสมาชิกรายป คาใชจายในการจัดสง 200 บาท (12 เลม)
ดูสถานที่จัดวางทั้งหมดได้ที่: creativethailand.org/contactus
หรือดาวนโหลดใบสมัครออนไลน creativethailand.org/contactus
กรุงเทพฯ ร้านหนังสือ • Asia Books • Kinokuniya • B2S • แพร่พิทยา
• MAIIAM Contemporary Art Museum • ชีวิต ชีวา • Minimeal Cafe • Impresso • Restr8to • Penguin Villa (Penguin Getto) ร้านกาแฟ/ร้านอาหาร • กาแฟอาข่า อ่ามา • Au Bon Pain La Fattoria สาขา2 • Starbucks • TOM N TOM’S COFFEE • Happy Hut ถ.นิมมานฯ • True Coffee • ราชดำ�เนิน • Auntie Anne’s • Mai Bakery In Garden • Baskin Robbins • Starbucks The Plaza • Coffee World • Yesterday Hotel • Mister Donut • October • Black Canyon • สุรยิ นั จันทรา นิมมานฯ ซอย 1 • McCafe’ • ร้านมีชามีชัย (กู) • ดอยตุง • Cafe’de nimman • Ninety four coffee • The Booksmith • Puff & Pie • ร้านชา (Drink Club) • Red Mango • Cotto Studio • Iberry • Starbucks Nimmanhemin • Greyhound Cafe’ • Fern Forest Cafe’ • Amazon Cafe’ • 9th Street Cafe • Chester’s Grill นิมมานฯ ซอย 9 • Luv minibar • ดวงกมล (Duang Kamol) • Rustic & Blue - Handgrown พิพิธภัณฑ์/หอศิลป์ • Produce & Artisan Food • หอศิลปวัฒนธรรม นิมมานฯ ซอย 9 แห่งกรุงเทพมหานคร • หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม • มิวเซียม สยาม • อุทยานการเรียนรู้ (TK park) มช. • นำ�ทอง แกลเลอรี่ หัวหิน • ร้านกาแฟ ชุบชีวา หัวหิน สมาคม/ห้องสมุด • อยู่เย็น หัวหิน บัลโคนี่ • ศูนย์ศิลปะนานาชาติ • บ้านใกล้วัง สมาคมฝรั่งเศส • ภัตตาคารมีกรุณา • ห้องสมุดเนลสัน เฮลส์ The Neilson Hays Library • บ้านถั่วเย็น @ แนบเคหาสน์ • ร้านอาหารหัวหิน (โกทิ) • ห้องสมุด - นิด้า • กาแฟข้างบ้าน • สมาคมโฆษณา • IL GELATO ITALIANO แห่งประเทศไทย • Together Bakery & Cafe’ • สมาคมธนาคารไทย • โรงแรม วรบุระหัวหิน • สมาคมสโมสรนักลงทุน • Let’s Sea • ห้องสมุด สสวท. • โรมแรม ดูน หัวหิน • สมาคมหอการค้าไทย • เดอะร็อค หัวหิน • สถาบัน • บ้านจันทร์ฉาย • Wall Street Institute • หัวหิน มันตรา รีสอร์ท • Raffle Design Institute • ลูน่าฮัท รีสอร์ท • Vision Swimming Academy กระบี่ • Nakamanda Resort & Spa เชียงใหม่ • Rawee Warin Resort & Spa • woo cefe • A little Handmade Shop • Kagee • Ristresto lab • ท่าแพอีสต์+ dibdee.binder ขอนแก่น • Hug School • C.A.M.P ,MAYA • True Coffee ,หอสมุด มช. of Creative Arts • ร้านสืบสาน • Punspace, นิมมานฯ • ร้านกาแฟ คอฟฟี่ เด้อ หล่า • asama cafe • มาหาสมุด (บ้านข้างวัด) (Coffee Der La) • see scape gallery เชียงราย • nimmanian club • ร้านหนังสือ herebookafe • 8 days a week • ร้าน Coffee Dad • Bulbul book cafe’ • Graph cafe’ นครราชสีมา • Cefe de museum • Hug station resort • local cafe Think park • Librarista นครปฐม • Artisan วัวลาย • ร้าน Dipchoc Cafe • paper spoon • กาแฟรสนิยม, นครสวรรค์ หลัง มช ทางขึ้นกาแล • The barn : Eatery Design • ร้าน Bitter Sweet • Book Republic น่าน • wake up หน้ามอ • ร้าน Runway Coffee • Fab cafe’ • kum cafe คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ • ร้านคลาสสิค โมเดล น่าน
• ร้านกาแฟปากซอย • ร้าน Nan Coffee Bean ปาย/แม่ฮ่องสอน • ร้านคอฟฟี่อินเลิฟ • ร้าน all about coffee • ร้านปายหวานบ้านนมสด • ร้านเล็กเล็ก • ปายวิมานรีสอร์ท พังงา • Niramaya Villa and Willness Resort • Ranyatavi Resort Phang Nga • The Sarojin เพชรบุรี • Grand Pacific Sovereign • Resort & Spa • DevaSom Hua Hin Resort ภูเก็ต • ร้านหนัง(สือ) ๒๕๒๑ ภูเก็ต • The oddy Apartment & Hotel • At Panta Phuket • Banyan Tree Phuket • Le Meridien Phuket • Millienium Ressort Patong Phuket • Novotel Phuket Resort • Patong Paragon Resort & Spa Phuket • Sheraton grand Lagana Phuket • Sri wanwa Phuket Villa • Thanyapura ระยอง • Le Vimarn Cottage ลำ�ปาง • อาลัมภางค์ เกสท์เฮ้าส์ แอนด์ มอร์ ลำ�ปาง • ร้านเอกาลิเต้ Egalite Bookshop • Lampang Art Center เลย • บ้านชานเคียง • มาเลยเด้ เกสต์เฮาท์ ลพบุรี • ซนดิคอฟฟี่ สมุทรสงคราม/อัมพวา • Baan Amphawa Resort and Spa สุโขทัย • Ananda Co.,Ltd. สุราษฎร์ธานี • Muang Samui Spa Resort • Pavilion Samui Boutique Resort • The Sunset Beach Resort and Spa Taling ngam • Nora Beach Resort Samui อุทัยธานี • ร้านบุ๊คโทเปีย Booktopia • Avatar Miracles
ขอมูลผูสมัครสมาชิก สมาชิกใหม ชื่อ นามสกุล เพศ โทรศัพท
สมาชิกเกา (ตออายุ) หญิง อายุ
ชาย
อีเมล
โทรศัพทมือถือ
อาชีพ นักเรียน ครู/อาจารย
นิสิต/นักศึกษา พนักงานบริษัท
นักออกแบบ/ครีเอทีฟ ผูประกอบการ
อาชีพอิสระ อื่นๆ โปรดระบุ
ขาราชการ/รัฐวิสาหกิจ
สาขา/อุตสาหกรรมที่เกี่ยวของกับอาชีพของทาน โฆษณา สถาปตยกรรม แฟชั่น ศิลปะการแสดง ดนตรี ภาพยนตร โทรทัศน/วิทยุการกระจายเสียง
ทองเที่ยว/โรงแรม/สายการบิน วรรณกรรม/การพิมพ/สื่อสิ่งพิมพ พิพิธภัณฑ/หองแสดงงาน ซอฟตแวร/แอนิเมชัน/วิดีโอเกม
หัตถกรรม/งานฝมือ การเงิน/ธนาคาร ทัศนศิลป/การถายภาพ อื่นๆ โปรดระบุ
อาหาร การแพทย การออกแบบ
คาปลีก/คาสง โทรคมนาคม
ที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ จังหวัด
ซอย
ถนน รหัสไปรษณีย
หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง
อำเภอ/เขต
หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง
อำเภอ/เขต
ที่อยูในการออกใบเสร็จ เหมือนที่อยูในการจัดสง เลขประจําตัวผูเสียภาษี เพื่อออกใบเสร็จรับเงิน หมูบาน/บริษัท เลขที่ ซอย ถนน จังหวัด รหัสไปรษณีย
ตองการสมัครสมาชิกนิตยสาร Creative Thailand ระยะเวลา 1 ป จำนวน 12 เลม เริ่มตั้งแตฉบับเดือน โดยยินดีเสียคาใชจายในการจัดสงเปนจำนวนเงิน 200 บาท
วิธีการชำระเงิน เช็คสั่งจายสํานักงานสงเสริมเศรษฐกิจสรางสรรค (องคการมหาชน) (CEA) พรอมใบสมัครสมาชิก โอนเงินเขาบัญชี สำนักงานสงเสริมเศรษฐกิจสรางสรรค (องคการมหาชน) ธนาคารกรุงเทพ สาขาสำนักงานใหญสลี ม เลขทีบ่ ญั ชี 101-9-12219-9 • แฟกซใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่ 02-105-7450 • หรือสงไปรษณียมาที่ สํานักงานสงเสริมเศรษฐกิจสรางสรรค (องคการมหาชน) (CEA) อาคารไปรษณียกลาง 1160 ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500 • หรือแนบไฟลใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่อีเมล creativethailand@cea.or.th สอบถามขอมูลเพิ่มเติมไดที่ 02-105-7400 ตอ 116
Cover Story : เรื่องจากปก
เรื่อง : ภาวดี สายสุวรรณ
คงไม่มีใครปฏิเสธว่าภาษามีความสำ�คัญในชีวิตของเราอย่างมาก มนุษย์ใช้ภาษาในการสื่อสารความ รู้สึกนึกคิด ความปรารถนา ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารกับผู้อื่นหรือการสื่อสารกับตนเอง ก็มีภาษาเป็น ส่วนสำ�คัญ ถ้ายังนึกไม่ถึงว่าภาษาสำ�คัญกับเราและมวลหมู่มนุษยชาติอย่างไร...อยากให้ลองนึกดูวา่ เราสามารถ ‘คิด’ เรื่องอะไรบางอย่างโดยไม่ใช้ ‘ภาษา’ ได้หรือไม่ คงเป็นคำ�ถามที่ตอบยากเพราะเราแทบจะ จินตนาการไม่ออกเลยว่าเราจะคิดอย่างไรโดยไม่มีภาษา
CREATIVE THAILAND I 12
Photo by Jason Leung on Unsplash
การทีม่ นุษย์มภี าษาจึงช่วยให้การสือ่ สารของมนุษย์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ภาษากลายเป็นเครือ่ งมือสำ�คัญในการสร้างและ ส่งต่อความรู้ต่างๆ จากรุ่นสู่รุ่น นอกจากการสื่อสารในเชิงเนื้อหาแล้ว มนุษย์ยังใช้ภาษาในเชิงสร้างสรรค์ อย่างการใช้ภาษา ในวรรณกรรม วรรณคดี หรือโคลงกลอน ทีป่ ระกอบด้วยความวิจติ รบรรจงของผูป้ ระพันธ์ในการเลือกสรรถ้อยคำ�หรือกลวิธกี าร ประพันธ์ต่างๆ ดังนั้นแล้ว อาจกล่าวได้ว่าภาษาเป็นส่วนสำ�คัญของความเป็นมนุษย์ เป็นสิ่งที่ทำ�ให้มนุษย์เป็นมนุษย์ และมี บทบาทสำ�คัญต่อชีวิตมนุษย์อย่างแยกไม่ออก
ภาษาแปร...มนุษย์เปลี่ยน ปัจจุบันนี้ที่เทคโนโลยีต่างๆ ได้รับการพัฒนา จนเติบโตและก้าวหน้าไปอย่างมากในเวลาอัน รวดเร็ว และส่งผลกระทบต่อทุกวงการบนโลกนี้ ชนิดที่หลายๆ คนแทบไม่ทันตั้งตัว เทคโนโลยีที่ ลํา้ หน้าขึน้ และมีประสิทธิภาพมากขึน้ อย่างต่อเนือ่ ง ทำ�ให้รปู แบบของการดำ�เนินกิจการต่างๆ เปลี่ยนไป ความต้องการของตลาดเปลี่ยนไป บทบาทของ องค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ ก็เปลีย่ นไป เรียกได้วา่ ได้รบั ผลกระทบกันไปถ้วนหน้าและก่อให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในแทบทุกวงการ หรืออาจ จะเป็ น ความวุ่ น วายปั่ น ป่ ว นแบบที่ เ รี ย กว่ า Disruptive Technology แน่นอนว่าในด้านภาษาก็หนีไม่พ้น และ ได้รับผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงนี้เช่นกัน ความสามารถในการใช้ภาษาของมนุษย์กำ�ลัง ถู ก ท้ า ทายด้ ว ยความก้ า วหน้ า ของเทคโนโลยี หลายอย่างทีเ่ คยเป็น ‘ทักษะ’ ทีต่ อ้ งพึง่ พามนุษย์ เท่านัน้ เช่น การสือ่ สารระหว่างผู้ที่พดู ต่างภาษากัน หรือการแปลข้อมูลจากภาษาหนึง่ ไปสูอ่ กี ภาษาหนึง่ จากในอดีตที่ต้องใช้ล่าม นักแปล หรือผู้รู้หลาย ภาษา และการที่เราจะรู้หลายภาษาได้ ก็ต้อง อาศัยการเรียนรู้กับครูหรือผู้สอนที่เป็นผู้รู้หลาย ภาษา แต่ทว่าทักษะเหล่านี้ในปัจจุบัน กำ�ลังถูก เทคโนโลยีท�ำ แทนเราได้ดขี น้ึ เรือ่ ยๆ ตัวอย่างทีง่ า่ ย และใกล้ตัวที่สุดที่ทุกคนคงเคยใช้คือ Google
Translate ทีเ่ พียงแค่เราพิมพ์ขอ้ มูลภาษาหนึง่ ลงไป ระบบก็ ส ามารถแปลข้ อ มู ล นั้ น ข้ า มไปเป็ น อี ก ภาษาหนึ่งได้ในเวลาอันรวดเร็ว โดยที่ไม่ต้อง อาศัยความรู้หรือทักษะของเราเลย แม้ ทุ ก วั น นี้ เ ทคโนโลยี จ ะยั ง ทำ � ไม่ ไ ด้ สมบูรณ์แบบ แต่ก็กำ�ลังได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้น อย่างต่อเนือ่ ง ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีท�ำ ให้ ข้อจำ�กัดด้านภาษาลดลงไปมาก การส่งต่อและ แพร่กระจายของข้อมูลเกิดขึ้นได้ง่ายและรวดเร็ว มากขึ้น โดยไม่ถูกจำ�กัดด้วยเรื่องของภาษาและ การพึ่งพามนุษย์ คำ�ถามที่เกิดขึ้นคือ มนุษย์ยังจำ�เป็นต้อง เรี ย นรู้ แ ละพั ฒ นาทั ก ษะทางภาษาอยู่ ห รื อ ไม่ หากเทคโนโลยีสามารถทำ�หน้าที่แทนมนุษย์ได้ ‘ภาษาคน’ กำ�ลังจะถูกแทนทีด่ ว้ ย ‘ภาษาคอมพ์’ หรือไม่ และภาษาจะ ‘ดิ้น’ ไปทางไหน มนุษย์ ต้องรับมืออย่างไรกับความเปลี่ยนแปลงที่กำ�ลัง เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วนี้ รู้อะไรถึงจะเรียกว่า ‘รู้ภาษา’ เวลาเรียนภาษา เรามักได้ยนิ คนพูดว่าต้องฝึกฝน หมัน่ ใช้งาน เพือ่ ให้เกิดทักษะในการใช้ภาษานัน้ ๆ การจะฝึกฝนและพัฒนาทักษะทางภาษาต้อง อาศัยความรู้เกี่ยวกับภาษานั้นๆ ที่ประกอบด้วย ความรู้หลายส่วน ตั้งแต่ระดับเสียง ระดับคำ� ไปจนถึงระดับประโยค ความรู้เกี่ยวกับเสียงคือ
CREATIVE THAILAND I 13
รู้ว่าในภาษานั้นๆ มีเสียงอะไรบ้าง นั่นคือรู้ว่า เสียงไหนทีส่ �ำ คัญและถูกนำ�มาใช้ในการแยกแยะ ความหมายในภาษานั้นบ้าง เช่น ผู้ที่รู้ภาษาไทย จะรู้ว่าระดับเสียงเป็นหน่วยที่มีความสำ�คัญหรือ ที่เรียกว่าวรรณยุกต์ วรรณยุกต์ที่ต่างกันจะทำ�ให้ ความหมายของคำ�แตกต่างไป (เช่น คำ�ว่า ที กับ ที่ เป็นคนละคำ�กัน นะคะ กับ น่ะค่ะ มีความหมาย แตกต่างกัน) ผูท้ ร่ี ภู้ าษาอังกฤษจะรูว้ า่ เสียง /v/ กับ เสียง /w/ เป็นคนละเสียงกัน (เช่น คำ�ว่า vow กับ wow เป็นคนละคำ�กัน มีความหมายแตกต่างกัน) เมื่อผู้พูดมีความรู้เกี่ยวกับเสียงแล้ว ก็จะนำ� ไปสู่ความรู้ในระดับคำ� ว่าเสียงต่างๆ ในภาษา มารวมกันในรูปแบบใดบ้างเพื่อให้เกิดเป็นคำ�ที่มี ความหมายในภาษา และคำ�ต่างๆ เหล่านั้นมา เรี ย งตั ว กั น เป็ น ประโยคที่ ถู ก ไวยากรณ์ แ ละ สื่อความหมายในภาษาได้อย่างไร นอกจากนี้ ในภาษาที่มีตัวเขียน ผู้เรียนก็จะต้องมีความรู้ เกี่ยวกับตัวอักษรและการสะกดคำ�ด้วย ความรู้ ต่างๆ เหล่านีอ้ าจจะเป็นสิง่ ทีผ่ พู้ ดู ไม่รตู้ วั ว่าตัวเอง มีหรือไม่สามารถอธิบายได้ แต่จะเป็นพื้นฐานให้ ผู้เรียนหรือผู้ที่ใช้ภาษานั้นๆ ใช้ในการพัฒนา ทักษะด้านต่างๆ ต่อไป นั่นคือเราต้องมีความรู้ และฝึกฝนเพื่อให้ใช้ภาษานั้นๆ ได้ถูกต้องและ คล่องแคล่วมากขึ้น เพื่อให้การสื่อสารเป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อคอมพ์ ‘รู้ภาษา’ คน ปัจจุบันคอมพิวเตอร์เข้ามามีส่วนอย่างมากใน การใช้ภาษาของคน กิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง กั บ ภาษามี รู ป แบบที่ เ ปลี่ ย นแปลงไปจากเดิ ม อย่างมาก แต่เดิมการค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่ง ต่างๆ ต้องใช้ทงั้ เวลาและแรงของมนุษย์มหาศาล เราอาจต้องเปิดอ่านหนังสือหลายเล่มหรือพูดคุย กับคนจำ�นวนมากเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เราต้องการ เมื่อได้มาแล้วก็ยังอาจจะไม่รู้ว่ามีข้อมูลอื่นๆ อีก หรือไม่ มากน้อยแค่ไหน แต่ตอนนี้เราเพียงแค่ พิ ม พ์ ข้ อ ความลงไปในเสิ ร์ ช เอ็ น จิ น อย่ า งเช่ น Google เราก็จะได้คำ�ตอบหรืออย่างน้อยก็ได้ แหล่ ง ข้ อ มู ล ที่ จ ะพาเราไปสู่ คำ � ตอบภายใน ระยะเวลาเพียงแค่ชั่วพริบตา แถมข้อมูลที่ได้ก็มี มากมายจนบางครั้ ง ก็ ไ ม่ ส ามารถจะดู มั น ได้ ทั้งหมด และหากเราไม่อยากหรือไม่สะดวกจะ พิมพ์ ก็ยังมีบริการ speech to text ทั้งทางหน้า เว็บไซต์ ผ่านโทรศัพท์มือถือหรือแอพพลิเคชัน
ต่างๆ ทีท่ �ำ ให้เราไม่จ�ำ เป็นต้องพิมพ์ขอ้ ความเอง เพียงแค่เปิดไมโครโฟน พูดข้อความที่ต้องการ แล้วโปรแกรมก็จะแปลงเสียงของเราเป็นตัวอักษร ได้อัตโนมัติ นั่นหมายความหากเราพูดภาษา หนึ่งๆ ได้ แต่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับการเขียนหรือ สะกดคำ�ในภาษานั้น เทคโนโลยีนี้ก็สามารถทำ� หน้าที่เขียนแทนเราได้ หากเราพิมพ์ข้อความเอง เทคโนโลยีกจ็ ะคอยช่วยให้เราเขียนผิดพลาดน้อยลง อาจจะอยู่ในรูปแบบของสัญลักษณ์เตือนว่ามี การสะกดคำ�ที่ผิดพลาด พร้อมนำ�เสนอรูปแบบ การสะกดคำ � ที่ ค าดเดาว่ า อาจจะเป็ น คำ � ที่ เ รา ต้องการ หรืออาจจะเป็นการแก้ไขให้เลยแบบ อัตโนมัติ (auto-correction) นอกจากนี้ หากเรา ต้องการสื่อสารเป็นภาษาหนึ่งที่เราไม่มีความรู้ หรื อ ทั ก ษะเลย เราก็ ส ามารถพู ด หรื อ พิ ม พ์ ข้อความเป็นภาษาของเรา แล้วใช้บริการ Google Translate ให้พูดหรือพิมพ์ข้อความเป็นอีกภาษา หนึ่งได้ทันที แล้วเรายังต้องเรียนภาษากันอีกหรือไม่ แน่นอนว่าเทคโนโลยีเหล่านี้มีประโยชน์เพราะ มี ส่ ว นช่ ว ยลดความผิ ด พลาดในการใช้ ภ าษา ของมนุษย์ เพิม่ ความถูกต้องและประสิทธิภาพใน การสื่อสาร แทนที่มนุษย์จะต้องตรวจดูความ ถูกต้องทั้งในเชิงเนื้อหาและเชิงการใช้ภาษาของ ข้อความ ก็มบี รรณาธิการสมองกลทีค่ อยแบ่งเบา ทำ�หน้าทีน่ ท้ี ดแทน และช่วยให้เรามาใช้เวลาใส่ใจกับ เนื้อหาของข้อความต่างๆ ได้มากขึ้น นอกจากนี้ เทคโนโลยียังช่วยลดอุปสรรคหรือข้อจำ�กัดทาง ด้านภาษาได้อีกด้วย โดยเฉพาะเมื่อเราต้องการ สื่อสารเป็นภาษาอื่นที่ไม่มีความรู้ ซึ่งไม่ได้เป็น เรื่ อ งยากหรื อ ต้ อ งใช้ เ วลามากเท่ า สมั ย ก่ อ น ทั้ ง หมดนี้ ดู เ หมื อ นว่ า มนุ ษ ย์ ค งไม่ จำ � เป็ น ต้ อ ง พยายามพัฒนาทักษะทางภาษาแล้ว และคงไม่ จำ�เป็นต้องเรียนภาษาใหม่ๆ แล้วเช่นกัน เพราะ มีเทคโนโลยีมาทำ�งานแทนให้ คอมพิวเตอร์ถกู สอน ให้ ‘รู้ภาษา’ เหมือนคนหรือใกล้เคียงกับคน ความคิดดังกล่าวนี้มีส่วนที่จริง แต่ก็อาจไม่ใช่ ทั้งหมด คอมพิ ว เตอร์ จ ะทำ � หน้ า ที่ ข องมั น ได้ ดี ย่อมต้องมีที่มาจากข้อมูลตั้งต้นที่ดีด้วย การที่ โปรแกรมจะสามารถพิมพ์ข้อความแทนสิ่งที่เรา พูดได้ถกู ต้อง ย่อมขึน้ อยูก่ บั การออกเสียงของเรา ว่าชัดเจนหรือถูกต้องเพียงใด หลายๆ คนอาจจะ
เคยออกเสียงแล้วพบว่าโปรแกรมไม่สามารถพิมพ์ ให้เราได้ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นภาษาไทย ภาษา อังกฤษ หรือภาษาอื่นๆ ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นที่ ประสิทธิภาพของโปรแกรมเอง อีกส่วนหนึ่งอาจ จะเกิ ด จากการออกเสี ย งของเราเองที่ ไ ม่ ไ ด้ ‘มาตรฐาน’ ตามที่โปรแกรมถูกสอนมา ซึ่งย่อม จะทำ � ให้ ก ารทำ � งานคลาดเคลื่ อ นไป ขณะที่ ประเด็นว่าอะไรที่จะจัดว่าเป็น ‘มาตรฐาน’ นั้น ก็เป็นอีกประเด็นหนึง่ ทีจ่ ะต้องมาตกลงกันเพือ่ หา ข้อสรุป ดังนัน้ ทักษะของมนุษย์ในฐานะผูใ้ ช้ภาษา ย่อมมีความสำ�คัญอยู่ นอกจากนี้ การสือ่ สารแบบ ซึ่งหน้า (face-to-face) ก็ยังคงมีความสำ�คัญ และเป็นการสื่อสารที่ต้องอาศัยทักษะทางภาษา ของผู้ พู ด อย่ า งมาก ทั ก ษะการสื่ อ สารที่ ดี นี้ นอกจากจะช่วยให้การสือ่ สารเป็นไปอย่างราบรืน่ แล้ว ยั ง มี ส่ ว นช่ ว ยให้ ค วามสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งผู้ ร่ ว ม สนทนาเป็นไปในทิศทางที่ดีด้วย ‘พูด’ อย่าง ‘ทำ�’ อย่าง ในการสือ่ สารแบบซึง่ หน้า ผูพ้ ดู อาจไม่ได้ตอ้ งการ เพียงส่งเนื้อหาของข้อความไปยังผู้ฟังเท่านั้น แต่อาจต้องการใช้ภาษาเพือ่ ก่อให้เกิดการกระทำ� บางอย่าง และบ่อยครั้งที่ความต้องการนั้นไม่ได้ ถูกสื่อสารผ่านภาษาอย่างตรงไปตรงมา ที่เป็น เช่นนี้ส่วนหนึ่งเพราะผู้พูดต้องการรักษาความ สัมพันธ์ที่ดีกับผู้ฟัง จึงไม่ใช้รูปภาษาที่ผู้ฟังอาจ
CREATIVE THAILAND I 14
รู้สึกว่าไม่สุภาพหรือตรงไปตรงมาเกินไป ทำ�ให้ ผู้ฟังจำ�เป็นต้องเรียนรู้ที่จะตีความวัตถุประสงค์ จริงๆ ในการสื่อสารของผู้พูด ยกตัวอย่างเช่น หากเราต้องให้เพื่อนช่วยยกของ แทนที่จะใช้การ สั่ ง ตรงๆ เราอาจเลี่ ย งไปใช้ ป ระโยคคำ � ถาม “ช่วยยกของให้หน่อยได้ไหม” สิ่งที่ผู้พูดต้องการ ไม่ใช่เพียงแค่คำ�ตอบว่า “ได้” แต่ผู้ฟังยังนั่งหรือ ยืนอยู่ที่เดิม ไม่ไปยกของ เพราะหากเป็นเช่นนั้น ก็ต้องถือว่าการสื่อสารไม่ประสบความสำ�เร็จ แต่รูปประโยคคำ�ถามของผู้พูดต้องการให้เกิด การกระทำ�ของผู้ฟัง คือการมาช่วยยกของด้วย หากเพือ่ นเราพูดว่า “วันนีอ้ ากาศร้อนจัง” เราอาจ ตีความว่าผู้พูดอาจไม่ได้เพียงแค่ต้องการสื่อสาร เกี่ยวกับลักษณะอากาศเฉยๆ แต่อาจต้องการให้ เราเปิดหน้าต่าง เปิดพัดลมหรือเครือ่ งปรับอากาศ หรือเอานํ้าเย็นมาให้ดื่ม เช่นเดียวกัน หากเราใน ฐานะผู้ฟังไม่ตอบสนองต่อคำ�พูดของเพื่อนใน รูปแบบการกระทำ�ที่เพื่อนคาดหวัง การสื่อสารนี้ ก็ถือว่าล้มเหลว การตีความเช่นนี้ก็เป็นทักษะที่ ผู้ใช้ภาษาต้องเรียนรู้ทั้งในฐานะผู้พูดและผู้ฟัง เป็นสิ่งที่ผู้ใช้ภาษาทำ�อยู่ตลอดเวลาโดยที่อาจ จะไม่รู้ตัว เพื่อให้การสื่อสารประสบผลสำ�เร็จ... และแน่นอนว่า ปัจจุบนั การสือ่ สารแบบไม่ตรงไป ตรงมาแต่ประสบผลสำ�เร็จนั้น ยังคงเป็นทักษะที่ คอมพิวเตอร์ยงั จำ�เป็นต้องพัฒนาอีกมากเพือ่ ทีจ่ ะ เข้าใจการสื่อสารของมนุษย์จริงๆ
เหตุผลเบื้องหลังที่นางงามและผู้นำ�พูดภาษาประจำ�ชาติ จริงอยูว่ า่ ทักษะทางภาษาเป็นเรือ่ งสำ�คัญ แต่การสือ่ สารผ่านภาษาไม่ได้จ�ำ กัดอยูเ่ พียงแค่ที่ความหมาย ของข้อความที่เราพูดหรือเขียนออกมาเท่านั้น วิธีการที่เราเลือกใช้ในการนำ�เสนอข้อมูลก็สามารถ สื่อสารอะไรบางอย่างได้ ไม่ว่าผู้พูดจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ จะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม พูดอีกอย่างหนึ่ง ก็คือ ภาษาแต่ละภาษามีบทบาทหน้าที่ที่หลากหลาย แตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่มคนหรือสังคม บทบาทเหล่านี้เองจึงทำ�ให้ภาษาไม่ได้เป็นเพียงแค่เครื่องมือในการส่งต่อข้อมูลเชิงเนื้อหาอย่าง ตรงไปตรงมาเท่านัน้ แต่ยงั สามารถสือ่ สารหรือให้ขอ้ มูลทีซ่ บั ซ้อนไปกว่านัน้ ข้อมูลอย่างหนึง่ ทีภ่ าษา สามารถสื่อสารได้คือข้อมูลเชิงสังคมที่ผูกโยงกับภาษาหรือลักษณะบางอย่างในภาษา ข้อมูลเชิงสังคมนั้นมีได้หลายแง่มุม ในระดับใหญ่อย่างระดับประเทศ ภาษาแต่ละภาษาย่อม ทำ�หน้าทีท่ แี่ ตกต่างกันในสังคมตามแต่ทคี่ นในสังคมจะตกลงกัน หรือได้รบั การกำ�หนดมาจากรัฐบาล หรือผู้มีอำ�นาจในสังคม บทบาทหรือหน้าที่หลักๆ ประเภทหนึ่งที่มักเป็นประเด็นสำ�คัญในสังคม หลายภาษา คือการกำ�หนดภาษาประจำ�ชาติ ซึง่ หมายถึงภาษาทีท่ �ำ หน้าทีเ่ ชิงสัญลักษณ์เป็นตัวแทน ของอัตลักษณ์ความเป็นชาตินั้นๆ และสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนในชาติ การที่ผู้พูด เลือกใช้ภาษาประจำ�ชาติของตนในแง่หนึง่ จึงเป็นการสือ่ สารอัตลักษณ์ของผูพ้ ดู ว่า ระบุตวั เองเป็นคน ชาติใด ในสถานการณ์ทป่ี ระกอบไปด้วยผูพ้ ดู ทีม่ าจากหลากหลายประเทศและพูดภาษาทีแ่ ตกต่างกัน แน่นอนว่าในเชิงการสือ่ สารแล้ว การใช้ภาษากลาง (lingua franca) อย่างเช่นภาษาอังกฤษ น่าจะ ทำ�ให้การสื่อสารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเพราะเป็นภาษาที่ทุกคนเข้าใจได้ อย่างไรก็ตาม ผู้พูด อาจเลือกใช้ภาษาประจำ�ชาติของตนเองแม้จะรู้ว่าคนอื่นไม่เข้าใจ การเลือกภาษาเช่นนี้อาจเกิดจาก ทักษะหรือความสามารถทางภาษา ผู้พูดอาจรู้สึกว่าตนเองใช้ภาษากลางไม่ถนัดและอาจทำ�ให้ การสื่อสารผิดพลาดได้ จึงเลือกใช้ภาษาประจำ�ชาติของตนเอง เช่น นางงามบางประเทศเลือกใช้ ภาษาของตนเองในการตอบคำ�ถามบนเวทีการประกวดระดับนานาชาติ อย่างไรก็ตาม เหตุผลของ การเลือกภาษาประจำ�ชาติอาจไม่ใช่เรือ่ งความสามารถทางภาษาเสมอไป แต่อาจเป็นความตัง้ ใจของ ผูพ้ ดู ทีจ่ ะแสดงอัตลักษณ์ความเป็นชาติของตนเองและเห็นว่าในสถานการณ์นนั้ ๆ การแสดงอัตลักษณ์ เป็นเรื่องสำ�คัญและมีนํ้าหนักมากกว่าหน้าที่เชิงการสื่อสารเนื้อหาของข้อความ ผู้นำ�ของประเทศ หลายประเทศก็เลือกทีจ่ ะแสดงอัตลักษณ์ความเป็นชาติดว้ ยการใช้ภาษาประจำ�ชาติในเวทีระดับโลก แม้จะสามารถพูดภาษาอังกฤษหรือภาษากลางอื่นๆ ได้ก็ตาม 1 Tom Boellstorff. 2005. The Gay Archipelago: Sexuality and Nation in Indonesia 2 Robert J. Podesva. 2007. Phonation type as a stylistic variable: The use of falsetto in constructing a persona.
Journal of Sociolinguistics 11(4): 478-504
CREATIVE THAILAND I 15
ภาษาเฉพาะกลุ่ม ภาษาถิ่น...ใช้แล้วอินหนัก ในระดับเล็กลงมากว่าระดับประเทศ การเลือกใช้ ภาษาในลักษณะต่างกันก็สามารถสื่อสารตัวตน แบบต่างๆ ทั้งพื้นเพ ภูมิหลัง หรือทัศนคติของ ผู้พูดได้ ยกตัวอย่างเช่น การใช้คำ�ศัพท์หรือ สำ �เนี ยงภาษาไทยถิ่น ทำ �ให้ เราพอจะคาดเดา พื้นเพด้านถิ่นที่อยู่ของผู้พูดได้ การที่คนถิ่นใด ถิ่นหนึ่งรู้สึกดีหรือคุ้นเคยกับคนที่พูดภาษาถิ่น เดียวกันก็เป็นเรือ่ งทีเ่ กิดขึน้ ได้เสมอ หรือแม้แต่ใน สือ่ ทีม่ กั มีตวั ละครทีอ่ ยูใ่ นภาคต่างๆ ของประเทศ ใช้ภาษาถิ่นในการสื่อสาร ก็จะยิ่งทำ�ให้ผู้ชมรู้สึก สนุกสนานเข้าถึงกับบริบทเนื้อหาของบทละคร หรือภาพยนตร์นั้นๆ ได้มากขึ้น เช่นเดียวกับเมื่อ เราได้ยนิ ผูพ้ ดู หนึง่ คนทีพ่ ดู ภาษาไทยโดยสลับกับ ภาษาอังกฤษอยูเ่ ป็นระยะ เช่น “เราต้อง confirm กับ boss นะว่าพรุ่งนี้จะมี meeting หรือเปล่า” เราก็อาจจะคาดเดาว่าผู้พูดมีมีทัศนคติเชิงบวก ต่อภาษาอังกฤษ หากผู้พูดใช้คำ�ศัพท์สแลงใน หมู่วัยรุ่น อย่าง ‘เงิบ’ ‘เพิ่ล’ หรือ ‘นุ้ง’ ก็อาจ เป็นการแสดงตัวตนความเป็นกลุ่มวัยรุ่นหรือ ความทันสมัย ในทำ�นองเดียวกัน การใช้คำ�ศัพท์ เฉพาะกลุ่มผู้พูดเพศหนึ่งๆ หรือลักษณะทาง ภาษาบางอย่างก็สามารถเป็นการระบุตัวตนกับ เพศดังกล่าวได้เช่นกัน เช่น เกย์ในอินโดนีเซีย มีวิธีการใช้ภาษาที่แตกต่างจากกลุ่มอื่น คือเป็น ภาษาบาฮาซาอินโดนีเซียซึง่ เป็นภาษาประจำ�ชาติ ของอินโดนีเซีย ที่เป็นของกลุ่มเกย์โดยเฉพาะ เรียกว่า บาฮาซาเกย์1 เกย์ชาวอเมริกนั คนหนึง่ ใช้ เสียง falsetto2 ซึ่งเป็นเสียงที่มีความเชื่อมโยงกับ อัตลักษณ์ความเป็นเกย์ เป็นต้น ภาษาและลักษณะทางภาษาที่ผู้พูดเลือกใช้ ย่ อ มเป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของการสื่ อ สาร เนื้อ ความ เดี ย วกั น แต่ ถู ก สื่ อ สารผ่ า นกลวิ ธี ที่ ต่ า งกั น ก็สามารถสะท้อนความหมายทางสังคมทีแ่ ตกต่าง กันได้ ในฐานะผู้ใช้ภาษา เราจึงควรตระหนักถึง การสือ่ สารผ่านภาษาในแง่มมุ ดังกล่าว และต้องไม่ ลืมว่ามนุษย์ผใู้ ช้ภาษาอยูภ่ ายใต้บริบททางสังคม บริบทใดบริบทหนึ่งเสมอ มีความรู้สึก มีทัศนคติ มีอตั ลักษณ์ มีตวั ตนทีต่ อ้ งการสร้างและแสดงออก ผ่านภาษา ต่างจากคอมพิวเตอร์ ภาษาจึงผูกโยง กั บข้ อ มู ล เชิ ง สั ง คม ที่ แ ม้ ไ ม่ ไ ด้ ถู ก พูดออกมา โดยตรง แต่เป็นสิ่งที่เราทุกคนเรียนรู้ในฐานะที่ เป็นสมาชิกของสังคมนั่นเอง
จุดสิ้นสูญของภาษา และ กระแสตีกลับเพื่อบัญญัติคำ�ใหม่ นอกจากภาษาจะเปลี่ยนแปลงได้แล้ว ภาษายังอาจล้มหายตายจากไปได้ด้วย โดยหลักแล้วภาษาจะตายไปต่อเมื่อไม่มีบริบทที่ต้องใช้ภาษานั้นๆ และไม่มี ผูพ้ ดู ภาษานัน้ โดยเฉพาะภาษาของกลุม่ ชาติพนั ธุต์ า่ งๆ ทีอ่ ยูใ่ นพืน้ ทีห่ า่ งไกลหรือไม่ได้รบั การยอมรับในระดับประเทศ ก็มคี วามเสีย่ งสูงทีจ่ ะหายไป เทคโนโลยี ในปัจจุบนั อาจไม่ได้มผี ลโดยตรงต่อการตายของภาษา แต่กส็ ง่ ผลกระทบบางอย่าง เพราะเทคโนโลยีท�ำ ให้คนมีความจำ�เป็นต้องรูภ้ าษาน้อยลง อย่างไรก็ตาม หากมองอีกมุมหนึ่ง เรากลับสามารถนำ�เทคโนโลยีมาช่วยอนุรักษ์ภาษาได้ เช่น การสร้างตัวเขียนให้กับภาษาที่ยังไม่มีตัวเขียน การจัดทำ�พจนานุกรมหรือ คลังคำ�ศัพท์ การสร้างสื่อการเรียนการสอนภาษา เทคโนโลยีจะทำ�ให้กระบวนการต่างๆ เหล่านี้เกิดขึ้นได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้ภาษาเหล่านี้ ใช้ได้ในวงที่กว้างขึ้น เป็นการสร้างคุณค่าและพื้นที่ทางสังคมให้กับภาษาเหล่านี้ และป้องกันไม่ให้เกิดการตายของภาษา ซึ่งถือเป็นการสูญเสียองค์ความรู้ ของมนุษย์ หลายประเทศทัว่ โลกมีหน่วยงานทีร่ บั ผิดชอบดูแลรักษาความเป็นมาตรฐานของภาษาประจำ�ชาติหรือภาษาราชการของตนเอง เช่น ฝรัง่ เศสมี L’Académie française เกาหลีมี The National Institute of Korean Language อิสราเอลมี The Academy of the Hebrew Language หน่วยงานเหล่านี้จะคอย ออกกฎระเบียบการใช้ภาษา เช่น การสะกดคำ� การบัญญัติศัพท์ใหม่ ไวยากรณ์ เพื่อให้เป็นมาตรฐานสำ�หรับผู้ใช้ภาษาในสังคม สำ�หรับในประเทศไทยนั้น มีสำ�นักงานราชบัณฑิตยสภา ที่คอยทำ�หน้าที่ดังกล่าว ที่นอกจากจะจัดทำ�พจนานุกรมออนไลน์ให้ผู้ใช้สะดวกสบายมากขึ้น หรือค้นผ่านแอพพลิเคชัน Royal Society Mobile แล้ว ก็ยังมีการออก ‘พจนานุกรมคำ�ใหม่’ ซึ่งรวบรวมคำ�และสำ�นวนที่ยังไม่ได้บรรจุอยู่ในพจนานุกรมฉบับก่อนหน้า รวมถึงคำ�สแลง และคำ�ภาษาปากด้วย เช่น ชิวชิว นอย ชง เป็นต้น พจนานุกรมนั้นนอกจากจะช่วยให้เราสืบค้นได้ว่าภาษาในอดีตเป็นอย่างไร เรายังสามารถบันทึกภาษาในปัจจุบันไว้เพื่อให้คนรุ่นต่อไปได้ศึกษาค้นคว้า เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทำ�ให้ประชาชนทั่วไปเข้ามามีส่วนร่วมในการรวบรวมคลังคำ�ศัพท์ได้ เช่น พจนานุเกรียน (pojnanukrian.com) ที่นิยามตัวเองว่าเป็น “คลังคำ�ศัพท์สแลงและภาษาวิบัติที่ใครก็แก้ไขได้” หรืออย่างในภาษาอังกฤษก็มี Urban Dictionary (urbandictionary.com) ที่มีลักษณะเดียวกัน โดยเปิด ให้คนเข้าไปให้คะแนนคำ�นิยามของคำ�ใหม่ตา่ งๆ ที่นิยมหรือชอบใจได้ด้วย การใช้เทคโนโลยีในลักษณะนีแ้ สดงให้เห็นถึงความพยายามของมนุษย์ทจ่ี ะบันทึก ความเป็นไปของภาษา ซึ่งน่าจะทำ�ได้ละเอียดและทันต่อเวลามากขึ้น ไม่ว่าภาษาจะ ‘ดิ้น’ ไปทางไหน ก็คงจะหลุดรอดสายตามนุษย์ไปได้ยากเสียแล้ว
CREATIVE THAILAND I 16
ภาษาจะ ‘ดิ้น’ ไปทางไหน ในโลกใบนี้ ไ ม่ มี อ ะไรที่ ไ ม่ มี วั น เปลี่ ย นแปลง ภาษาเองก็เช่นกัน ภาษามีการเปลี่ยนแปลงอยู่ ตลอดเวลา ตราบใดทีย่ งั มีผพู้ ดู ใช้ภาษานัน้ ๆ อยู่ การเปลีย่ นแปลงของภาษานัน้ เป็นเรือ่ งธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่เรายังไม่มีคอมพิวเตอร์หรือ เทคโนโลยีใดๆ มีทั้งที่เกิดจากสาเหตุภายในตัว ภาษาเอง อย่างเช่นเสียงหรือไวยากรณ์ในภาษา และที่เกิดจากปัจจัยภายนอกอย่างปัจจัยทาง สังคมต่างๆ เช่น การที่ผู้พูดหันไปใช้ลักษณะ ทางภาษาตามคนทีอ่ ยูใ่ นชัน้ สังคมทีส่ งู กว่าตนเอง คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีอาจไม่ได้เป็นสาเหตุ ที่ทำ�ให้ภาษาเกิดการเปลี่ยนแปลง แต่ก็มีส่วน ทำ�ให้การเปลีย่ นแปลงทีเ่ กิดขึน้ มีรปู แบบทีเ่ ปลีย่ นไป เทคโนโลยี ก ารสื่ อ สารส่ ง ผลให้ ลั ก ษณะ ทางภาษาใหม่ๆ แพร่กระจายไปยังผู้ใช้ภาษา หลากหลายกลุ่มมากขึ้น และการแพร่กระจาย เป็นไปอย่างรวดเร็วมากขึน้ ยกตัวอย่างเช่นคำ�ศัพท์ ที่เกิดขึ้นใหม่ในภาษานั้น เดิมจะต้องใช้เวลากว่า จะแพร่กระจายและเป็นที่รู้จักหรือยอมรับจาก ผูพ้ ดู จำ�นวนมาก แต่ปจั จุบนั ไม่ได้เป็นเช่นนัน้ แล้ว คำ�ว่า ‘นก’ ซึง่ เป็นคำ�ศัพท์เฉพาะกลุม่ กลายเป็น คำ�ศัพท์ใหม่ทผี่ พู้ ดู หลากหลายกลุม่ รูจ้ กั และนำ�ไป ใช้ภายในเวลาชั่วข้ามคืน มีข้อความจำ�นวนมาก ที่ได้รับความนิยมจนเกิดเป็น hashtag ที่มีคนใช้
ตามกันมากมาย ในขณะเดียวกัน เทคโนโลยีก็ เป็นช่องทางที่ทำ�ให้ความพยายามที่จะอนุรักษ์ หรือรักษาความถูกต้องของภาษานั้นเกิดขึ้นได้ ง่ายและกว้างขวางขึน้ หน้าทีก่ ารรักษามาตรฐาน ความถูกต้องของภาษาเคยจำ�กัดอยู่เพียงแต่ใน ตำ�ราเรียนและพจนานุกรม แต่ตอนนี้ใครๆ ก็ สามารถมีส่วนร่วมในกระบวนการนี้ได้ ตัวอย่าง เช่นปรากฏการณ์การสะกดคำ�ว่า ‘คะ’ และ ‘ค่ะ’ ซึ่งได้รับความสนใจและเป็นที่พูดถึงอย่างมาก คนในหลากหลายวงการช่วยกันรณรงค์ให้สะกด คำ�ทั้งสองคำ�นี้ให้ถูกต้องในหลากหลายรูปแบบ เป็นความพยายามในระดับปัจเจกซึ่งเกิดขึ้นได้ เพราะความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการสือ่ สารใน ปัจจุบัน แม้จะมีบางแง่มมุ ของ ‘ภาษาคน’ ที่ ‘ภาษา คอมพ์’ ไม่อาจเข้ามาทดแทนได้ ก็ไม่ได้หมายความ ว่ามนุษย์ไม่ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ภาษา ของตนเองเลย เพราะไม่ว่าอย่างไรคอมพิวเตอร์ ก็ส่งผลกระทบต่อวิถีการสื่อสารของเราไม่มาก ก็ น้ อ ย ในแง่ ข องการเรี ย นการสอนภาษานั้ น ยั ง ถื อ ว่ า เป็ น สิ่ ง จำ � เป็ น และสำ � คั ญ ในสั ง คม คอมพิวเตอร์ท�ำ ให้การสือ่ สารข้ามภาษาเกิดขึน้ ได้ รวดเร็วขึน้ การเรียนภาษาก็ท�ำ ได้งา่ ยขึน้ ในอนาคต เราคงมีเทคโนโลยีที่ช่วยสอนภาษามนุษย์ให้กับ มนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในฐานะเจ้าของ
CREATIVE THAILAND I 17
ภาษา คงถึงเวลาทีผ่ พู้ ดู อย่างเราต้องคิดว่ามีอะไร ที่ เ ราทำ � ได้ แ ละควรทำ � เสริ ม เพิ่ ม เติ ม จากสิ่ ง ที่ คอมพิวเตอร์ท�ำ หากเราไม่ปรับเปลี่ยนอะไร วันหนึง่ คอมพิวเตอร์ก็คงก้าวเข้ามาถึงหรือใกล้เคียงกับ จุดที่เราอยู่ ในฐานะผูใ้ ช้ภาษาและผูเ้ รียนภาษา เราต้อง ไม่ลืมว่าเทคโนโลยีทำ�หน้าที่สื่อสารแทนเราไม่ได้ ทั้งหมด และเทคโนโลยีก็มีคนเป็นจุดเริ่มต้น ภาษาไม่ใช่การพูดให้ถกู ไวยากรณ์เท่านัน้ แต่ภาษา เป็นส่วนหนึง่ ของสังคมวัฒนธรรม เป็นทัง้ เครือ่ งมือ ในการสร้างและส่งต่อองค์ความรู้และความคิด สร้างสรรค์ และก็เป็นสิ่งเหล่านั้นเองด้วย เมื่อเรา มี ค อมพิ ว เตอร์ ม าทำ � หลายอย่ า งแทนเราได้ ช่วยให้การพัฒนาทักษะบางด้านเกิดได้ง่ายมาก ขึ้นแล้ว เราก็ควรใช้โอกาสนี้ในการส่งเสริมการ เรียนรู้และทำ�ความเข้าใจสิ่งที่ลึกซึ้งกว่าทักษะ การใช้ภาษาพื้นฐาน นั่นคือการพิจารณาบริบท สังคมและวัฒนธรรม ซึง่ เป็นสิง่ ทีก่ ารเรียนการสอน ภาษาในยุคใหม่ควรให้ความสำ�คัญ การใช้และ เรียนรู้ภาษามนุษย์ด้วยความเป็นมนุษย์ จะช่วย สร้างความรู้ความเข้าใจกัน นำ�ไปสู่การยอมรับ ความแตกต่างทางภาษาและวัฒนธรรม และการ อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ทั้ง ‘ภาษาคน’ และ ‘ภาษาคอมพ์’ ก็จะได้ทำ�หน้าที่ของมัน ส่งเสริม และโอบอุ้มกันและกันต่อไป
Fact & Figure : พื้นฐานความคิด
เรื่อง : ผศ. ดร. ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ การใช้ภาษาของมนุษย์มีความซับซ้อน นอกเหนือจากจะสะท้อนความรู้สึกนึกคิดของแต่ละคนแล้ว ภาษายังเป็นผลผลิตทางสังคมและวัฒนธรรม มีการปรับเปลี่ยนไปตามเวลา สถานที่ สถานการณ์ และกลุ่มผู้รับสาร ในปัจจุบันและอนาคต ภาษามนุษย์เป็นกลไกสำ�คัญในการกำ�กับการทำ�งาน ของเครื่อง การสอนเครื่องให้เข้าใจภาษามนุษย์ไม่เพียงแต่สอนให้ร้จู ักโครงสร้างหรือไวยากรณ์ของภาษาเท่านั้น แต่เป้าหมายสำ�คัญคือการสอนให้ เครือ่ งเข้าใจความหมายของภาษาในมิตติ า่ งๆ และสามารถสือ่ สารโต้ตอบกับมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ กระบวนการทำ�ให้เครือ่ งสามารถถอดรหัส และเข้าใจภาษามนุษย์ประกอบไปด้วยทัง้ การประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing) การทำ�ความเข้าใจภาษาธรรมชาติ (Natural Language Understanding) และการสร้างภาษาธรรมชาติ (Natural Language Generation) เนื่องจากการสอนเครื่องคอมพิวเตอร์จำ�เป็นต้อง ลำ�ดับขั้นตอนที่ชัดเจน เทคนิคเหล่านี้เป็นตัวอย่างขั้นตอนในการถอดรหัสเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจภาษามนุษย์ในปัจจุบัน ถอดรหัสลักษณะทางกายภาพของภาษามนุษย์
บริบท/สถานการณ์ เช่น การเรียนการสอน การประชุมสัมมนา การซื้อขายของ การสังสรรค์ในกลุ่มเพื่อน
พูด
แปลงคลื่นเสียง ให้เป็นตัวอักษร Speech Recognition
เขียน
แปลงลายมือหรือ รูปภาพให้เป็นตัวอักษร ที่เครื่องอ่านได้ Optical Character Recognition
ภาษา ฟัง
อ่าน/ดู
แปลงตัวอักษร ให้กลายเป็นเสียง
การแสดงผล เป็นตัวอักษรและภาพ โต้ตอบเป็นภาษาธรรมชาติ
CREATIVE THAILAND I 18
ถอดรหัสโครงสร้างและไวยากรณ์ภาษา
คน/ไม่/มี/ใคร/เทศกาล/อะไร/ก็/ไม่/สำ�คัญ นาม/วิเศษณ์/กริยา/สรรพนาม/นาม/สรรพนาม/ สันธาน/วิเศษณ์/วิเศษณ์
อะไร = อาราย = ราย = ไร = อัลลัย ตัดแบ่งคำ�/กลุ่มคำ�/ วลี/อนุประโยค/ ประโยค Text Segmentation
รู้จักรวบคำ�/กลุ่มคำ�/วลี ที่มีรูปแบบต่างกัน เช่น การสะกดต่างกัน เข้าไว้ด้วยกัน Stemming/Lemmatization
รู้จักประเภทของคำ� เช่น คำ�นาม คำ�กริยา เพื่อใช้เป็นตัวช่วย ในการเข้าใจความหมาย Part-of-speech Tagging
รู้จักคำ�ที่เป็นชื่อเฉพาะ เช่น ชื่อคน ชื่อสถานที่ ชื่อเรียกสิ่งของ Name Entity Recognition
รู้จักโครงสร้างประโยคโดยรู้ว่า คำ�ต่างๆ ในประโยคมีหน้าที่อะไร เช่น ประธาน กรรม วิเศษณ์ขยายประธาน Syntactic Parsing
เชื่อมโยงคำ�ต่างๆ ในเนื้อหา เช่น เชือ่ มโยงว่าสรรพนาม เขา เธอ หรือสิ่งนั้น หมายถึงใครหรือสิ่งใด Coreference Resolution
แปลภาษา Machine Translation
ถอดความ/ สรุปความ จากเนื้อหาทั้งหมด Topic Modeling
วิเคราะห์หัวข้อ/คำ�สำ�คัญ และทำ�ความเข้าใจบริบท/ สถานการณ์จากเนื้อหา Paraphrase/Summarisation
วิเคราะห์ระดับภาษา เช่น ภาษาทางการ ความสุภาพ Sentiment Analysis
วิเคราะห์อารมณ์ และความรู้สึก Context Classification
อนุมานเนื้อหาที่มีนัยยะ สอดคล้อง ตรงกันข้าม หรือเป็นกลางได้ Natural Language Inference
รับรู้คำ�ถาม และให้คำ�ตอบ หรือโต้ตอบได้ Question & Answering
หน่วยงานของรัฐ คน [อนุชยั ]ติดต่องานให้[กระทรวงดีอ]ี
เด็กชายคนนัน้ ดูหงอยเหงาในมือของเขามีทนิ เนอร์
เด็กชาย/หงอยเหงา/ทินเนอร์
อารมณ์เชิงบวก = 0.023 อารมณ์เชิงลบ = 0.543 อารมณ์เศร้า = 0.867 อารมณ์เครียด = 0.654
สอดคล้อง : เด็กชายคนนัน้ ติดยาเสพติด ตรงกันข้าม : เด็กชายเป็นเด็กไม่มปี ญั หา ถอดรหัสความหมายและความเข้าใจภาษาของมนุษย์ CREATIVE THAILAND I 19
Creative Business : ธุรกิจสร้างสรรค์
เรื่อง : ณัฐชา ตะวันนาโชติ
เมื่อภาษาเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ความหมายของคำ�ต่าง ๆ จึงดิ้นได้อย่างไม่รู้จบ บ่อยครั้งที่คำ� ๆ เดียวมีความหมายได้ มากมายจนถ้าหากไม่รู้คำ�แปล ก็คงจะคุยกันไม่รู้เรื่อง วันนี้เราจึงไปเจาะเบื้องหลังของเพจยอดฮิตที่หยิบภาษามาใช้ได้อย่าง สร้างสรรค์พร้อมให้ความหมายของคำ�ศัพท์ต่าง ๆ ได้อย่างจี้ใจ จนเป็นที่ถูกอกถูกใจชาวเน็ต อย่างเพจ ‘วุ้นแปลภาษา’ กับ แอดมินในตำ�นานที่แม้จะไม่ยอมเปิดเผยตัวตน แต่ก็พกความขี้เล่นมาอย่างเต็มเปี่ยมไม่แพ้ที่เราเห็นกันในเพจ (และว่ากันว่า ต้องหน้าตาดีแน่ ๆ...ก็เจ้าของเพจเขาบอกมาแบบนั้น) กว่าจะมาเป็น ‘วุ้นแปลภาษา’ “จุดเริ่มต้นของเพจคือเราเป็นคนชอบอ่านหนังสือมาก แล้วเราก็เคยเปิด พจนานุกรมอ่านอยูบ่ า้ ง ทีนใ้ี นพจนานุกรมมักจะมีค�ำ ศัพท์ตา่ งๆ นานา ที่เรา รูส้ กึ ว่ามันแปลไม่เหมือนกับความหมายที่เราใช้ในชีวติ ประจำ�วัน ยกตัวอย่างเช่น เวลาเราเปิดพจนานุกรมหาคำ�ว่า ‘หมา’ กับเราถามตัวเองว่า ‘หมา’ แปลว่า อะไร ความหมายมักจะไม่เหมือนกัน และธรรมชาติของภาษาเองก็มีการ เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด อย่างการที่เราพูดภาษาไทย บางครัง้ เรายังต้องแปลไทย ให้เป็นไทยเลย ทีค่ นคุยกันไม่รเู้ รือ่ งก็เพราะว่าอาจจะใช้ค�ำ ว่า ‘หมา’ กันคนละ
ความหมาย มันก็เลยต้องมีการแปลเกิดขึ้น เพราะว่าต่อให้เป็นภาษาไทย เหมือนกัน แต่พดู กันคนละบริบท คนละสังคม มันก็คนละคำ�คนละความหมาย กันแล้ว เราเลยรูส้ กึ ว่ามันคงจะดีถา้ มีอะไรไว้รวบรวมการดิน้ ของภาษาตรงนี้ เอาไว้ ว่านอกเหนือจากที่พจนานุกรมเขียนแล้ว มันจะมีความหมายว่าอะไร ได้อกี ซึง่ จริงๆ ไอเดียนีค้ ดิ มานานมากแล้ว แต่กเ็ หมือนเป็นแค่การละเล่นในหัว ของเราเฉยๆ ว่าสมมติถา้ เจอคำ�นี้ พจนานุกรมน่าจะแปลว่าอะไร แล้วตัวเราเอง น่าจะแปลว่าอะไร จนกระทั่งวันหยุดสงกรานต์ที่ผ่านมา อยู่ว่างๆ ก็เลยลอง ทำ�เพจในเฟซบุ๊กขึ้นมา จนเกิดมาเป็นเพจ ‘วุ้นแปลภาษา’ อย่างที่เห็นกัน”
CREATIVE THAILAND I 20
ตัวเองเป็นคนชอบทำ�ธุรกิจอยูแ่ ล้ว ก็ เ ลยรู้ สึ ก ว่ า การทำ � เพจแบบนี้ ก็เหมือนกับการทำ�ธุรกิจ เราเลย หาวิ ธี ตั้ ง แต่ แ รกเลยว่ า สิ่ ง นี้ จ ะ ขายของได้ยังไง แล้วก็พูดไปเลย ว่าจะขาย เพราะมันดูจริงใจกว่า เวลาที่เราขายของ ลูกเพจก็จะ ไม่ ค่ อ ยบ่ น เท่ า ไหร่ เพราะว่ า ได้ ประกาศไว้แล้วตั้งแต่วันแรก
ทำ�ไมต้อง ‘วุ้นแปลภาษา’ “จริงๆ ไอเดียการตั้งชื่อเพจเกิดจากการคิดต่อมาเรื่อยๆ จากที่ตอนแรก เราอยากทำ�หน้าที่คล้ายๆ พจนานุกรมของคำ�ที่ใช้กันในสังคม แต่จะให้ ตั้งชื่อเพจว่า ‘พจนานุกรมที่เป็นของสังคม’ ก็จะดูวิชาการมากไป เลยมา คิดต่อว่าเราจะใช้พจนานุกรมตอนไหนบ้าง ซึ่งคำ�ตอบก็คือตอนที่เรียนเป็น ส่วนใหญ่ แล้วเราใช้พจนานุกรมเพื่ออะไร เราก็ใช้เพื่อแปลภาษา ทีนี้เลย คิดต่อว่าแล้วการแปลมันเกี่ยวข้องกับอะไรได้อีก ก็คิดไปถึงวุ้นแปลภาษาที่ เป็นของวิเศษของโดราเอมอน ซึ่งคำ�นี้มันค่อนข้างเข้าถึงคนได้มากแล้วก็ดู เป็นมิตร มีฟังก์ชันครบตามที่เราต้องการ ก็เลยตัดสินใจเลือกใช้คำ�นี้” เห็ น ว่ า เป็ น เพจที่ ข ายของเก่ ง แล้ ว คิ ด ว่ า อะไรคื อ จุ ด ขาย ของเพจ ‘วุ้นแปลภาษา’ “คิดว่าที่คนชอบน่าจะเป็นเพราะความ ‘ตรง’ ของเพจ คือเวลาจะทำ�โพสต์ ขึ้นมาสักอัน เราไม่ได้เน้นว่ามันจะต้องตลก แต่เน้นว่ามันต้อง ‘จริง’ แล้วที่ เพจนีม้ าได้ถงึ ตอนนีก้ เ็ พราะว่าเราจับ insight (ข้อมูลเชิงลึก) ของคนมาเขียน สิ่งที่เราเอามาใช้คือ ‘ความเจ็บปวด’ ของผู้คน เป็นสิ่งที่คนรู้สึกจริงๆ ซึ่ง อาจจะเป็นความเจ็บปวดจากเรือ่ งเดิมๆ ทีเ่ จอจนชินชา จนอาจจะไม่รตู้ วั ว่า กำ�ลังเจ็บปวดอยูก่ ไ็ ด้ เราเลยเอามาเขียนให้ดวู า่ จริงๆ แล้ว คุณอาจจะกำ�ลัง เจ็บปวดกับเรือ่ งนีอ้ ยูน่ ะ ทำ�ให้คนทีไ่ ด้มาอ่านจะรูส้ กึ ว่ามัน ‘โดน’ และถึงแม้ บางโพสต์อาจจะไม่โดนตัวเขาตรงๆ แต่มันก็จะไปโดนเพื่อนของเขา ก็จะ เกิดการแท็กให้เพื่อนมาดู ทำ�ให้คนเห็นมากขึ้น ก็เลยทำ�ให้เพจดังขึ้นมา”
เลือกคำ�ยังไงให้โดนใจ “อันดับแรกคือเลือกคำ�ที่ใช้กันอยู่แล้วโดยทั่วไป คือเป็นเรื่องที่คนทั่วไป สามารถรูส้ กึ ได้ อันดับต่อมาก็คอื การเอาคำ�นัน้ มาค่อยๆ เรียง ค่อยๆ ตบๆ เขียนๆ ให้เข้าใจง่ายขึ้น ส่วนเรื่องของความตลกจะอยู่อันดับสุดท้ายเลย ก็คือจะดูแค่ว่าคำ�นี้อ่านแล้วยิ้มหรือเปล่า ถ้ายิ้มก็ถือว่าใช้ได้ และเนื่องจาก เราให้ความสำ�คัญกับความเจ็บปวดที่คนรู้สึกจริงๆ ดังนั้นคำ�ที่เลือกอาจจะ ไม่ตอ้ งตลกก็ได้ แต่เลือกคำ�ทีร่ สู้ กึ ว่า ‘จริง’ ไว้กอ่ น พอมันจริงเดีย๋ วเรือ่ งตลก มันจะตามมาเอง” คลังคำ�ศัพท์ที่หาไม่ได้ในพจนานุกรม “ที่มาของคำ�ก็จะมีท้งั ที่เราคิดเอง ที่ลูกเพจส่งมา แล้วก็จะมีกลุ่มในเฟซบุ๊ก ชือ่ ‘ลังใส่วนุ้ แปลภาษา’ คือเรียกว่า ‘ลัง’ เพราะเพจเราเป็น ‘วุน้ ’ เวลาจะเอา วุ้นไปขายก็น่าจะต้องใส่ลังเอาไว้ เหมือนเป็นการเอาคำ�ศัพท์ต่างๆ มาเก็บ ใส่คลัง แล้วก็จะเลือกมาใช้อีกที ซึ่งพอเราทำ�เพจคนเดียว คำ�ก็จะมีแค่ที่ ใช้กันในสังคมที่เราอยู่ แต่พอมีลังใส่วุ้นแปลภาษา ก็จะมีคนหลากหลาย มี คำ�ศัพท์ที่ใช้กันในสังคมของพวกเขามากขึ้น อย่างบางคำ�เราอ่านแล้ว ไม่เข้าใจ แต่มีคนกดไลก์เยอะมาก ทั้งๆ ที่ตั้งแต่เกิดมาเราอาจจะไม่เคย ได้ยินคำ�นี้ด้วยซํ้า เช่นในหน้าฟีดเราไม่มีใคร ‘ลท.’1 กันเลย แต่พอเรา เข้าไปดูในโปรไฟล์ของเขา เราก็จะเห็นว่าเขาก็ ‘ลท.’ กันจริงๆ นะ ซึง่ มันก็ จะแอบมีความเจ็บปวดตรงที่ว่า คนที่จะใช้ ‘ลท.’ แล้วได้ผล คือจะต้องเป็น คนหน้าตาดีเขียนด้วย ถึงจะมีการทักไปจริงๆ อันนี้ก็จะเป็นตัวอย่างของคำ� ที่ใช้กันในสังคมหนึ่ง ซึ่งจริงๆ แล้วยังมีสังคมอีกเยอะมาก เช่น สังคมของ โปรแกรมเมอร์ วิศวะ หรือสังคมของอาชีพต่างๆ ซึง่ แต่ละอาชีพก็จะมีความ เจ็บปวดและคำ�ทีใ่ ช้ในสังคมของพวกเขาอยู่ ทำ�ให้เรารูจ้ กั คำ�ใหม่ๆ เยอะขึน้ ” สร้างภาษาให้ซื้อง่ายขายสะดวก “ตัวเองเป็นคนชอบทำ�ธุรกิจอยู่แล้ว ก็เลยรู้สึกว่าการทำ�เพจแบบนี้ก็เหมือน กับการทำ�ธุรกิจ เราเลยหาวิธีตั้งแต่แรกเลยว่าสิ่งนี้จะขายของได้ยังไง แล้วก็ พูดไปเลยว่าจะขาย เพราะมันดูจริงใจกว่า เวลาที่เราขายของ ลูกเพจก็จะ ไม่คอ่ ยบ่นเท่าไหร่ เพราะว่าได้ประกาศไว้แล้วตัง้ แต่วนั แรก (จริงๆ ทำ�ตาราง ที่บอกว่าจะขายของเสร็จก่อนจะทำ�รูปโปรไฟล์อีก) ว่าเราเปิดเพจนี้มาเพื่อ จะทำ�อาชีพ แต่ถึงแม้ว่าเราจะบอกว่าเราเปิดเพจมาเพื่อหารายได้ แต่ก็ยัง
1 คำ�ว่า ลท. เป็นคำ�ย่อทีส่ ว่ นใหญ่เด็กๆ จะใช้กนั เวลาทีอ่ ยากได้ยอดไลก์ในสเตตัสของตัวเอง มาจากคำ�ว่า ‘ไลก์ทกั ’ ทีห่ มายถึงว่าถ้าใครมากด ‘ไลก์’ เขาก็จะ ‘ทัก’ ไปในอินบ็อกซ์ เพือ่ เป็น
จุดเริ่มต้นของการคุยกัน
CREATIVE THAILAND I 21
ไม่มกี ารส่งคนออกไปเพือ่ หาหรือติดต่อสปอนเซอร์อย่างจริงจัง เพราะฉะนัน้ ก็เลยเลือกสปอนเซอร์จากหลักการง่ายๆ ว่ามันต้องไม่ใช่สิ่งผิดกฎหมาย แล้วก็ไม่รุนแรง หรือ 18+ อะไรเกินไป การรับสปอนเซอร์ก็ถือเป็นความ ท้าทายรูปแบบหนึ่ง ในแง่ที่ว่าถ้าเกิดได้รับคำ�อะไรมา เราก็ต้องทำ�ให้ได้ ซึง่ ถือว่าเราโชคดีทส่ี ปอนเซอร์สว่ นใหญ่เข้าใจธรรมชาติของเพจ เลยไม่คอ่ ย กำ�หนดคำ�มาให้แบบตายตัวว่าต้องเป็นคำ�นี้หรือแปลแบบนี้เท่านั้น แต่จะให้ โอกาสเราสร้างสรรค์ตามโจทย์ได้อย่างเต็มที่”
ของคนคิดคำ�ก็ยงั อยากให้เป็นเราคนเดียวไปก่อน เพือ่ ให้เป็นลายเซ็นของเรา เหมือนกับทีมนักวาดการ์ตนู เรือ่ ง One Piece ทีม่ กี นั เป็นสิบๆ คน แต่สดุ ท้าย คนที่จะวาดทั้งหมดก็คือ อ. เออิจิโร โอดะ อยู่ดี ซึ่งโมเดลนี้ตอนแรกเราก็ยัง ไม่ค่อยเข้าใจมากนัก แต่พอได้มาทำ�เพจจริงจัง แล้วมีลูกเพจส่งคำ�ต่างๆ มาให้ ซึ่งบางคำ�ก็มีคนไลก์เยอะมาก แต่เรารู้สึกว่ามันยังไม่ใช่ ยังไม่โดน และไม่ใช่ตัวตนของเพจเรา เราก็เลือกที่จะรักษาความเป็นเพจของเราไว้ มากกว่า”
เห็นวุ้นใส ๆ ข้างในก็มีดราม่านะ “ยอมรับว่าก็เคยมีดราม่าเหมือนกัน ด้วยความที่เราทำ�เพจคนเดียว และ สังคมที่เราอยู่มันก็มีแค่ตรงนี้ ทำ�ให้บางเรื่องที่เรารู้ ก็อาจจะไม่ได้ถูกต้อง ร้อยเปอร์เซ็นต์ ทำ�ให้มีบางคำ�ที่โพสต์ไปแล้วเพิ่งมารู้ทีหลังว่าเราเข้าใจ เรื่องนี้ผิดอยู่ เช่นเคยมีกรณีของคำ�ว่า ‘แยกขยะ’ เนื่องจากสิ่งที่เราเห็นมา ตลอดคือ เวลาเราแยกขยะอะไรไปหรือแม้กระทั่งเวลาเราก้มลงไปมองใน ถังขยะทีแ่ ยกประเภทไว้ เราก็จะเห็นว่าขยะในถังก็ไม่ได้ถกู แยก แล้วก็หน้าตา เหมือนกันทุกถัง แล้วยังเห็นว่าเวลารถขยะมาเขาก็เทรวมกันแล้วก็ขับ ออกไป คือเราไม่ได้ไปสังเกตว่าจริงๆ แล้วคนเก็บขยะเขาทำ�งานยังไง แต่เรา ‘เข้าใจไปเอง’ ว่าต่อให้เราแยกขยะ คนเก็บขยะเขาก็ไม่ได้แยก จนสุดท้าย ลูกเพจก็มาบอกเราว่าจริงๆ เขาแยกขยะนะ เราก็เลยลบโพสต์ออก แล้วก็ ขอโทษพร้อมกับอธิบาย ซึ่งลูกเพจก็โอเคเข้าใจ อันนี้ก็เลยเป็นดราม่าที่ เตือนให้เราต้องตรวจสอบและระวังให้มากๆ ก่อนจะลงคำ�อะไรไป” “อุปสรรคอีกอย่างคือความยากในการคิดคำ�ทีจ่ ะมาลงใหม่ๆ ด้วยความที่ เราก็ใช้ไปเยอะพอสมควรแล้วด้วย อย่างหนึ่งคือเราไม่ได้ทำ�คำ�ตลก แต่เรา ทำ�คำ�ที่เป็น insight ของคน แล้วเพจเราต้องหา insight วันละ 10 อย่าง แต่เราไม่มีทีม ไม่มีการวิจัยอะไร มันก็เลยค่อนข้างยาก ตอนนี้เลยคิดว่า ในอนาคตคงจะต้องหาทีมงานมาช่วยในส่วนต่างๆ มากขึ้น แต่ว่าในส่วน
ความลับของวุ้น “เนือ่ งจากเราทำ�เพจ การบูสต์โพสต์ตา่ งๆ ก็จะมีท�ำ บ้าง ซึง่ เทคนิคของเราคือ เลือกกลุม่ เป้าหมายให้ตรงกับคำ�ในโพสต์ของเรา อย่างอันทีบ่ สู ต์แล้วประสบ ความสำ�เร็จมากๆ คือคำ�ว่า ‘เด็กเอแบค’ ซึง่ ตอนนัน้ บูสต์ไปแค่ 30 บาท (จริงๆ ทุกโพสต์เราก็บสู ต์แค่ 30 บาทนะ) แล้วเราก็ยงิ ไปให้คนที่เคยเรียนเอแบคและยัง เรียนเอแบคอยู่เห็น กำ�หนดไว้กลุ่มเดียวเลย พอบูสต์เสร็จ เด็กเอแบคเกือบ ทัง้ หมดก็แชร์กนั กระหนํา่ เพื่อนของเด็กเอแบคก็เห็นด้วย เมื่อคนเห็นมากขึน้ คนก็ไหลกันเข้ามาในเพจมากขึน้ กลายเป็นจุดเริม่ ต้นทีท่ �ำ ให้เพจของเราก้าว กระโดดขึน้ มา ซึง่ อันนีเ้ ป็นความลับอีกอย่างทีจ่ ะบอก ก็คอื จริงๆ แล้วแอดมินก็ เป็นเด็กเอแบค (ความลับอย่างแรกทีไ่ ด้เปิดเผยไปแล้วคือแอดมินเป็นผูช้ าย)” “การทีเ่ ราไม่เปิดเผยตัวก็เป็นอารมณ์ประมาณ The Mask Singer เลยนะ ว่าทำ�ไมเวลาถอดหน้ากากแล้วต้องร้องไห้ทกุ ที เพราะว่าจริงๆ ตัวตนของเราเอง เราก็เป็นคนชอบเล่นมุกอะไรแบบนี้อยู่ตลอดเวลาอยู่แล้ว ทีนี้พอเราเล่นมุก คนก็จะสนใจตรงทีว่ า่ มันเป็นมุกทีอ่ อกมาจากเรา ไม่ได้สนใจเนือ้ แท้ของมุกนัน้ เท่าไหร่ แต่พอมาทำ�เพจนี้ เราก็เข้าใจว่า ความคิดที่อาจจะเคยตัดสินเราว่า ‘ถ้าเป็นเราพูดมันจะไม่ขำ�’ จริงๆ แล้วมันไม่ใช่ เพราะนี่คือเนื้อแท้ของมุก มีแค่ คำ�กับคำ�แปล ไม่เกี่ยวกับตัวบุคคล แล้วเพจนี้กเ็ ป็นเครือ่ งพิสจู น์ดว้ ยว่ามันมีคนที่ เห็นด้วยกับเรา แล้วก็มคี นสองแสนกว่าคนที่เขาชอบภาษาที่เราแปลมันจริงๆ”
CREATIVE THAILAND I 22
How To : ถอดวิธีคิด
เขียนดี ก็ ขายได้...เล่าง่าย ก็ ขายออก เรื่อง : พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์
ใครจะไปคิดว่า ‘การขายไอเดีย’ หรือ ‘สือ่ สารความคิด’ ในหัว ออกไปให้คนอืน่ ๆ เห็นภาพเดียวกันได้อย่างมีประสิทธิภาพนัน้ จะไม่ต้องใช้พรีเซนเตชันเลิศหรู หรือเครื่องมืออะไรที่วิจิตร พิศดารมากไปกว่าแค่ ‘งานเขียน’ และหากคุณไม่ใช่ ‘นักเขียน’ ก็อย่าเพิง่ ถอดใจว่าจะไม่มวี นั สือ่ สารอะไรดีๆ ออกไปได้ เพราะ วิธีการง่ายๆ ที่บริษัทระดับโลกอย่าง Amazon ใช้เพื่อขาย ไอเดียสักอย่างให้ชนะใจทีมงานได้กค็ อื ‘การเขียนข่าวภายใน องค์กร’ (Internal Press Release) ก่อนทีจ่ ะเริม่ ต้นพัฒนา โปรดักต์ใหม่ๆ ไปด้วยกัน
Working Backwards ถอดบทเรียนการท�ำงานของ Amazon
วิธีที่ว่านี้เรียกว่า Working Backwards ซึ่งถูกใช้กันอย่างกว้างขวางที่ Amazon โดยเอียน แม็กอัลลิสเตอร์ (Ian McAllister) ผู้จัดการทั่วไปของ Amazon กล่าวว่า “เราเริม่ ต้นคิดจากลูกค้า มากกว่าทีจ่ ะเริม่ ต้นด้วยไอเดีย ในการสร้างโปรดักต์หรือพยายามเสริมอะไรเข้าไปใหม่” ดังนัน้ ในการเริม่ ต้น คิดโปรดักต์ใหม่ ผูจ้ ดั การผลิตภัณฑ์จะเริม่ ต้นด้วยการลงมือเขียนข่าวภายใน เพื่อประกาศว่าโปรเจ็กต์นั้นๆ ได้สำ�เร็จลงแล้ว ซึ่งเนื้อหาในข่าวนั้นจะต้อง ประกอบด้วย • ปัญหาทุกด้านของลูกค้า • ทำ�ไมวิธีแก้ปัญหาในปัจจุบันใช้ไม่ได้ผล • มันจะช่วยจัดการปัญหาได้ดีกว่าเดิมอย่างไร โดยจะต้องเขียนซํา้ แล้วซํา้ อีกจนกว่าทีจ่ ะได้ขอ้ สรุปทีด่ ที สี่ ดุ “การเขียน รายงานหรือข่าวสัน้ ๆ ซาํ้ ๆ แบบนี้ เป็นวิธที ที่ งั้ เร็วกว่าและถูกกว่าการทดลอง ทำ�โปรดักต์หลายๆ ครั้งจนกว่าจะสำ�เร็จ” ซึ่งที่ Amazon จะมีการแจก เท็มเพลตการเขียนข่าวนี้ให้กับพนักงานเพื่อให้นำ�ไปใช้ได้ตามสะดวก
ใจความสำ�คัญ (Summary) - สรุปคุณสมบัติและประโยชน์ พึงระลึก
เสมอว่าคนอ่านอาจไม่ได้อ่านมันทั้งหมด ฉะนั้นต้องเขียนให้ชัดเจนและ ตรงประเด็น ปัญหา (Problem) - ระบุปัญหาที่โปรดักต์จะแก้ไขได้ ทางออก (Solution) - บอกว่ามันจะแก้ปัญหาได้อย่างไร คำ�พูดโดนๆ (Quote from You) - คำ�ยืนยันใช้แล้วดีจริงจากคนในองค์กร วิธีการเริ่มต้น (How to Get Started) - อธิบายวิธีเริ่มต้นโปรเจ็กต์ ความเห็นจากลูกค้า (Customer Quote) - ความเห็นและประสบการณ์ จากลูกค้าที่ได้ทดลองใช้ ปิดการขาย (Closing and Call to Action) - สรุปปิดเพือ่ ให้กลุม่ เป้าหมายเกิดพฤติกรรมที่ต้องการ
เคล็ดลับอีกนิดหน่อย ที่จะท�ำให้งานเขียนของคุณสมบูรณ์ขึ้น เขียนให้ง่าย และกระชับเข้าไว้ แต่ละย่อหน้าไม่ควรมีเกิน 3-4 ประโยค เขียนเล่าเรื่อง อย่าแค่แจงคุณสมบัติเป็นข้อๆ ควรแนบค�ำถามพบบ่อย (FAQ) ไปด้วย อย่าใช้ศัพท์วิชาการเกินเหตุ คิดถึงค�ำที่คนทั่วไปใช้กันก็พอ
ตัวอย่างการเขียน Internal Press Release แบบ Amazon
ท้ายทีส่ ดุ จำ�ไว้วา่ ถ้าแค่งานเขียนสัน้ ๆ ของคุณยังอธิบายออกมาได้ยาก นั่นแปลว่าลูกค้าก็อาจจะไม่เข้าใจมันเช่นกัน ดังนั้นจงเขียนมันซํ้าแล้ว ซํ้าอีกด้วยภาษาที่ง่าย จนกว่าทุกคำ�และทุกประโยคในนั้นจะ ‘สื่อสาร’ และ ‘เข้าใจตรงกัน’ มากที่สุด
จะได้ประโยชน์อะไรจากมัน ขอแค่ประโยคเดียวใต้ชื่อโปรดักต์
ทีม่ า: บทความ “Try an Internal Press Release before starting new Products” (21 มีนาคม 2014) โดย andrefaria จาก medium.com
หัวข้อหลัก (Heading) - ชื่อโปรดักต์ที่คนอ่านเข้าใจได้ง่าย หัวข้อย่อย (Sub-Heading) - ใครคือกลุ่มเป้าหมายและพวกเขา
CREATIVE THAILAND I 23
Photo by Martin Sattler on Unsplash
Creative Place : พื้นที่สร้างสรรค์
เรื่อง : วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ
“สวิตเซอร์แลนด์ ดินแดนที่อยู่ตรงกลางของทุกสิ่งแต่ก็เป็นชายขอบของทุกอย่าง” ลอเรนท์ ฟลุตช์ (Laurent Flutsch) นักโบราณคดีและผู้อำ�นวยการพิพิธภัณฑ์ Lausanne-Vidy Roman ได้ให้ คำ�อธิบายที่เห็นภาพชัดว่าเหตุใดประเทศเล็กๆ ใจกลางยุโรปแห่งนี้ถึงได้รวมเอาความหลากหลายด้านภาษาเข้าไว้ด้วยกัน นัน่ เป็นเพราะตำ�แหน่งทีต่ งั้ ทางภูมศิ าสตร์ทไี่ ม่มที างออกทางทะเล มีทศิ เหนือติดกับเยอรมนี ทิศใต้ตดิ กับอิตาลี ทิศตะวันออก ติดกับออสเตรีย และทิศตะวันตกติดกับฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์เลือกที่จะไม่มีภาษาเป็นของตัวเอง แต่ใช้ภาษาถึง 4 ภาษา ได้แก่ ภาษาเยอรมัน ภาษาฝรั่งเศส ภาษาอิตาเลียน และภาษาโรมานซ์ เป็นทั้งภาษาราชการและใช้ในการสื่อสารระหว่างกัน CREATIVE THAILAND I 24
เรื่องราวเริ่มต้นที่หุบเขา
เทือกเขาอาจเป็นเสมือนกำ�แพงใหญ่ทกี่ น้ั ผูค้ นให้แยก ออกจากกัน แต่ส�ำ หรับเทือกเขาทีส่ วิตเซอร์แลนด์ อาจเป็นดั่งแหล่งรวมเรื่องราวของประวัติศาสตร์
ชาติทเี่ ป็นกลาง ธุรกิจแบรนด์ชนั้ นำ�ของโลก และ ความสร้างสรรค์ของผู้คนที่ขยายขีดจำ�กัดของ ประเทศออกไปได้อย่างไม่สิ้นสุด ชัยชนะของการไม่เลือกข้าง
คงต้องขอบคุณขุนเขาทีท่ �ำ ให้การรุกรานของชาติ ต่างๆ ยามเกิดสงครามโลกเป็นไปได้ยากในประเทศ ที่โอบล้อมด้วยเขาสูงชันอย่างสวิตเซอร์แลนด์ การเลือกทีจ่ ะไม่อยูฝ่ า่ ยใดจึงเป็นไปได้กบั ประเทศ แห่งนี้ และสงครามทีย่ อ้ นไปได้ตง้ั แต่สมัยยุคกลาง ยังเป็นโอกาสของการเกิดธุรกิจ ‘ทหารรับจ้าง’ ในประเทศที่ซึ่งการค้าขายกับดินแดนอื่นทำ�ได้ ยากเพราะไม่มีทางออกสู่ทะเล “สวิ ต เซอร์ แ ลนด์ ใ นอดี ต เป็ น ประเทศที่ ยากจนมาก เพราะไม่มีพื้นที่ที่เหมาะกับการทำ� ฟาร์มขนาดใหญ่ ไม่มที รัพยากรทีเ่ หมาะสมในยุค ล่าอาณานิคม และยังไม่มีทางออกสู่ทะเล ดังนั้น การเกิดธุรกิจทหารรับจ้างจึงเป็นแหล่งของรายได้
ที่ดีสำ�หรับสวิตเซอร์แลนด์ในยุคนั้น” ลอว์เรนต์ โกเอตเชล (Laurent Goetschel) ผู้อำ�นวยการ ประจำ�สถาบัน Swisspeace อธิบาย โดยเขา ยังเสริมอีกว่า สำ�หรับธุรกิจทหารรับจ้างในยาม ศึกสงครามทีไ่ ม่สามารถเลือกข้างมิตรหรือศัตรูได้ รวมทัง้ เรือ่ งตำ�แหน่งทีต่ ง้ั ของประเทศทีเ่ ป็นเสมือน การ์ดป้องกันให้เทือกเขาแอลป์พน้ จากการรุกราน ของประเทศอืน่ ๆ ทีห่ วังจะยึดครองดินแดนนีเ้ ป็น ของตน การรักษาไว้ซง่ึ ความเป็นกลางคือทางเลือก ที่ทำ�ได้และเหมาะสมที่สุด “คุ ณ สามารถไปเมื อ งไหนของสวิ ส ก็ ไ ด้ แล้วคุณจะพบว่าสถานทีน่ นั้ ๆ ถูกพัฒนาขึน้ อย่าง เป็นธรรมชาติเพราะไม่มีที่ไหนเคยโดนบุกรุก อดีตทั้งหมดอยู่ที่เดิมอย่างสมบูรณ์ และนี่คือ ประโยชน์จากความเป็นกลางที่สวิตเซอร์แลนด์ ได้รบั ” คีเว เชิร์ช (Clive Church) ศาสตราจารย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านยุโรปกล่าว
เส้นทางที่เป็นจุดหมายและจุดขาย
แม้สวิตเซอร์แลนด์จะไม่มีทรัพยากรธรรมชาติอะไรที่ส่งออกได้ แต่ภูมิทัศน์ทางธรรมชาติที่ สวยงามตระการตาได้ท�ำ หน้าทีด่ ดึ ดูดนักท่องเทีย่ วให้มาเยือนทีส่ วิตเซอร์แลนด์เสียเอง โดยมี เส้นทางรถไฟที่ขึ้นไปยังเทือกเขาแอลป์ที่มีระยะทางประมาณ 500 กิโลเมตรเป็นหมุดหมาย และจุดขายสำ�คัญของอุตสาหกรรมการท่องเทีย่ วในสวิส และนอกจากระบบการเดินทางโดย รถไฟในเส้นทางการท่องเทีย่ วทีด่ เี ยีย่ มแล้ว การสัญจรโดยรถไฟในชีวติ ประจำ�วันของผูค้ นใน สวิสก็ลื่นไหลและทั่วถึงไม่แพ้กัน เพราะแทบจะไม่มีหมู่บ้านไหนเลยที่ถูกทิ้งร้างให้ห่างไกล จากเส้นทางรถไฟ ระบบรถไฟของสวิสจึงเป็นอีกที่ที่ถูกยกย่องว่าเป็นระบบขนส่งสาธารณะ ที่ดีและน่าเอาเป็นแบบอย่าง Photo by Johannes Hofmann on Unsplash
คำ�ถามคือ เหตุใดความแตกต่างด้านภาษา (แน่นอน ว่ารวมถึงวัฒนธรรม) ของผูค้ นในสวิตเซอร์แลนด์ ถึงไม่น�ำ พามาซึง่ ความแตกแยก คำ�ตอบอาจจะอยูท่ ่ี ระบบประชาธิปไตยอันเข้มแข็งที่ทำ�ให้ทุกเสียง ของประชาชนมีความหมาย จนเกิดเป็นนิยาม ของคำ�ว่า “Willensnation” (Nation by Will) ซึง่ มี ความหมายพิเศษในสวิตเซอร์แลนด์ที่หมายถึง การเป็นชาติที่เกิดขึ้นจากความปรารถนาที่จะ อยู่ร่วมกัน (A nation born with the desire to live together) และนั่นอาจหมายถึงการ มองข้ า มอุ ป สรรคในการสื่ อ สาร แต่ เ ลื อ กฟั ง ความต้องการของประชาชนในการขับเคลื่อน ประเทศไปข้างหน้า
CREATIVE THAILAND I 25
ทีเ่ นสท์เล่เริม่ มองหาผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างเครือ่ งดืม่ ชนิดผงและช็อกโกแลต บริษัทฟื้นตัวได้อีกครั้ง เมื่อสหรัฐฯ ให้เนสท์เล่เป็นผู้ผลิตเสบียงสำ�หรับ ทหารในช่วงสงคราม และต่อมาเนสท์เล่ได้เปิดตัว Nescafé ซึง่ กลายเป็นกาแฟยอดฮิตทีไ่ ด้รบั ความ นิยมมาจนถึงปัจจุบัน สิ่งที่น่าสนใจอยู่ที่ว่า เหตุใดเนสท์เล่ บริษัท เล็กๆ ที่กอ่ ตัง้ โดยผูอ้ พยพคนหนึง่ ถึงรอดพ้นวิกฤต ทัง้ ยังคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ในช่วงเวลาคับขันได้ ครั้งแล้วครั้งเล่า เคล็ดลับน่าจะอยู่ที่การรับฟัง พนักงานทุกระดับเพื่อฟังเสียงคนที่อยู่ใกล้ชิดกับ ผูบ้ ริโภคให้ได้มากทีส่ ดุ เหมือนกับทีเ่ ฮลมุท เมาเคอร์ (Helmut Maucher) ซีอีโอของเนสท์เล่ที่ดำ�รง ตำ�แหน่งในช่วงปี 1990 - 1997 ไม่เชื่อในระบบ การรวมอำ�นาจให้อยู่แค่ที่สำ�นักงานใหญ่ แต่เขา เชื่อในระบบการกระจายอำ�นาจให้อยู่ในมือของ พนักงานทุกคนแทน โดยเขาเคยบอกเอาไว้ว่า “ผมอยากจะซื้อนวัตกรรมที่ผ่านการพิสูจน์แล้ว จากพนักงานที่ใกล้ชิดกับลูกค้า มากกว่าลงทุน กับความพยายามของนักวิจยั ทีไ่ ม่รจู้ กั ลูกค้าเลย” ระบบความคิดนีค้ ล้ายกับระบบประชาธิปไตยทางตรง ของสวิตเซอร์แลนด์ (Direct Democracy) ที่ให้ สิทธิพ์ ลเมืองแสดงความคิดเห็นต่อนโยบายท้องถิน่ ได้โดยตรงว่าต้องการสิง่ ใด และนีเ่ องอาจเป็น เคล็ดลับความสำ�เร็จทีฝ่ งั รากลึกอยูใ่ นระบบความคิด และความเชื่อของธุรกิจยักษ์ใหญ่สัญชาติสวิส อย่างเนสท์เล่ก็เป็นได้
การเมือง = ความสุข ระบบประชาธิปไตยทางตรงผ่านการทำ�ประชามติตามแบบฉบับของสวิตเซอร์แลนด์ สามารถ สร้างความสุขให้พลเมืองได้มากขึน้ โดยสองนักวิจยั ชาวสวิส อโลวิส สตุตเซอร์ (Alois Stutzer) และบรูโน เฟรย์ (Bruno Frey) พบว่า เมื่อรัฐบาลรับฟังและทำ�ตามเสียงโหวตของประชาชน ระดับความสุขของพลเมืองก็จะเพิม่ ขึน้ ตามไปด้วย โดยนอกจากการทำ�ประชามติทค่ี อยรับฟัง ความคิดเห็นของประชาชนอยู่เสมอแล้ว การไม่ให้อำ�นาจกับนายกรัฐมนตรีเพียงคนเดียว แต่เลือกแต่งตั้งสมาชิกสภาที่มาจากการเลือกของประชาชน ให้สลับกันขึ้นมาเป็นตัวแทน ผู้นำ�ในเวทีนานาชาติ ยังเป็นการป้องกันปัญหาคอร์รัปชันได้เป็นอย่างดี อันที่จริงแล้วระบบ การแต่งตัง้ ผูน้ �ำ ก็ไม่ได้มคี วามสำ�คัญมากเท่ากับความจริงทีว่ า่ ระบบการเมืองของสวิตเซอร์แลนด์ ทำ�งานกันเป็นทีมเวิรก์ ซึง่ มีเสียงของประชาชนเป็นกติกาที่ส�ำ คัญที่สดุ และการกระจายอำ�นาจ ก็ไม่ได้มใี ห้เห็นแค่ในระบบการเมืองเท่านัน้ เพราะการกำ�หนดให้มภี าษาราชการใช้ถงึ 4 ภาษา ก็เป็นการสะท้อนแนวคิดของการกระจายอำ�นาจให้ทวั่ ถึงพลเมืองทีอ่ าศัยอยูใ่ นดินแดนแห่งนี้ ทั้งหมดได้เป็นอย่างดีเช่นกัน
CREATIVE THAILAND I 26
nestle.com
เพราะเทือกเขาแอลป์และเทือกเขาจูรา กินพื้นที่ ส่วนใหญ่ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์จนไม่สามารถ เพาะปลูกและเก็บเกีย่ วพืชผลเพือ่ ส่งขายได้เหมือน กับประเทศอืน่ ๆ การเลีย้ งปศุสตั ว์จงึ เป็นทางออก ของชาวสวิสในอดีต และผลผลิตอย่าง ‘นม’ ก็ ถือเป็นจุดเริม่ ต้นของความสำ�เร็จด้านอุตสาหกรรม อาหารรายใหญ่ของโลกในเวลาต่อมา การแปลงนมให้เป็นเนยและชีสคือภูมปิ ญั ญา แรกที่ทำ�ให้เกิดการค้าขายระดับท้องถิ่นภายใน สวิตเซอร์แลนด์ เพราะเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถ เก็บรักษาได้นานกว่าและเหมาะกับสภาพอากาศ หนาวที่ยาวนานและโหดร้าย นี่ยังเป็นสะพาน ด่านแรกของการขยายธุรกิจให้เติบโตขึน้ ไปได้ใน ระดับนานาชาติ และเมื่อเฮนรี เนสท์เล่ (Henri Nestl é) ชาวเยอรมั น ที่ อ พยพมาอาศั ย อยู่ ใ น สวิตเซอร์แลนด์เริ่มทำ�งานเป็นผู้ช่วยเภสัชกร ตั้งแต่ปี 1839 เขาก็ได้เริ่มสร้างประวัติศาสตร์ให้ วงการอาหารในสวิ ต เซอร์ แ ลนด์ ตั้ ง แต่ นั้ น มา โดยเริ่ ม แรกเนสท์ เ ล่ ไ ด้ บุ ก เบิ ก การทำ � ธุ ร กิ จ ประเภทเครื่องดื่ม โดยใช้ความรู้ด้านเคมีทดลอง ทำ�นํา้ อัดลมให้มรี สชาติและออกขายจนติดตลาด ก่อนทีเ่ ขาจะเริม่ ก่อตัง้ บริษทั ผลิตอาหารประเภทนม จากการสังเกตเห็นว่า คนเป็นแม่บางคนทีท่ �ำ งาน ในโรงงานของเขาไม่สามารถให้นมแก่ลูกๆ ได้ เขาจึงคิดค้นนมผงเด็กและอาหารสำ�หรับเด็กซึง่ เป็น ผลิตภัณฑ์ที่สร้างชื่อเสียงให้บริษัทของเนสท์เล่ ในเวลาต่อมา บริษัทเนสท์เล่รุ่งเรืองถึงขีดสุดเมื่อได้จับมือ กับอดีตคู่แข่งทางการตลาดอย่าง Anglo-Swiss Milk บริษัทผลิตนมข้นของพี่น้องชาวอเมริกันที่ อพยพมาอยู่ในสวิตเซอร์แลนด์เช่นกัน โดยเมื่อ ทัง้ สองบริษทั จับมือกัน การขยายอาณาจักรธุรกิจ ประเภทนมจึงเติบโตขึน้ แบบหยุดไม่อยู่ โดยเฉพาะ ในช่วงการเกิดสงครามทีข่ าดแคลนอาหาร นมข้น จึงถือเป็นผลิตภัณฑ์ทตี่ อบโจทย์ความยากลำ�บาก ในเวลานั้นได้ดี เนสท์เล่ตัดสินใจขยายธุรกิจและ เข้าซื้อโรงงานอีกหลายแห่งในสหรัฐฯ เพื่อผลิต นมข้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 จนสร้างกำ�ไร ได้เป็นกอบเป็นกำ� แต่เมื่อถึงช่วงสงครามโลก ครั้งที่ 2 เนสท์เล่กลับต้องพบกับความถดถอย เพราะโรงงานหลายแห่งได้รับผลกระทบจากการ เข้าร่วมสงครามจนทำ�ให้ธรุ กิจตกตํา่ ลง เวลานัน้ เอง
houseofswitzerland.org
นมสด จุดเริ่มต้นของความสำ�เร็จ
ความหลากหลายทางภาษาซึ่งถือเป็นมรดกทาง วัฒนธรรมของสวิตเซอร์แลนด์ ถือเป็นข้อได้เปรียบ ในการแข่งขันกับนานาชาติที่สามารถตีคา่ ได้มากถึง 42 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งนับเป็น 1 ใน 10 ของจีดีพีสำ�คัญของประเทศ หรือพูดอีกอย่าง ได้ว่าการสื่อสารได้หลายภาษาคือสินทรัพย์ที่ มีค่าประจำ�ชาติสวิตเซอร์แลนด์
นอกจากความเป็นกลาง การเปลีย่ นความเสียเปรียบ ทางภูมิศาสตร์ให้กลายเป็นธุรกิจทางด้านอาหาร ชั้นนำ�ของโลกแล้ว ดูเหมือนว่าความหลากหลาย ของภาษายังเป็นข้อได้เปรียบของชาติสวิตเซอร์แลนด์ ที่ยากจะหาประเทศไหนในโลกเปรียบได้ด้วย เช่นกัน และข้อได้เปรียบทีว่ า่ นีก้ ส็ ามารถตีคา่ เป็น เม็ดเงินได้มหาศาลเสียด้วย ฟร็องซัว กริน (François Grin) ศาสตราจารย์ ด้านเศรษฐศาสตร์ประจำ�มหาวิทยาลัยเจนีวา (University of Geneva) เผยว่าความหลากหลาย ทางภาษาซึง่ ถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของสวิต เซอร์แลนด์ ถือเป็นข้อได้เปรียบในการแข่งขัน กับนานาชาติทสี่ ามารถตีคา่ ได้มากถึง 42 พันล้าน เหรียญสหรัฐฯ ซึง่ นับเป็น 1 ใน 10 ของจีดพี สี �ำ คัญ ของประเทศ หรือพูดอีกอย่างได้ว่าการสื่อสาร ได้ ห ลายภาษาคื อ สิ น ทรั พ ย์ ที่ มี ค่ า ประจำ � ชาติ สวิตเซอร์แลนด์ และแม้สวิตเซอร์แลนด์จะไม่มีภาษาสวิส แต่ภาษาประจำ�ชาติจริงๆ ที่คนสวิสรู้กันดีก็คือ ภาษาของความประนีประนอม และระบบระเบียบ ทางการเมืองทีม่ อบเสียงโหวตให้ประชาชนทุกคน อย่างเท่าเทียมกันก็คือสะพานที่เชื่อมให้พลเมือง ที่ใช้ภาษาต่างกันถึง 4 ภาษาหันมาฟังเสียง กันและกันอย่างเข้าใจ มองข้ามกำ�แพงแห่งอุปสรรค ทางภาษาที่แตกต่าง และหันมาใช้เจตจำ�นงที่ ต้องการจะอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขในดินแดนที่ ชื่อว่าสวิตเซอร์แลนด์นั่นเอง
นอกจาก 4 ภาษาที่กล่าวมาแล้ว ชาวสวิสมองว่าภาษาอังกฤษเป็นภาษา ต่างชาติที่มีประโยชน์ที่สุด โดยการศึกษาจาก University of Teacher Education พบว่าการสอน ภาษาอังกฤษจะช่วยให้นักเรียนที่พูดภาษาเยอรมัน เรียนภาษาฝรั่งเศสได้ดีขึ้น ในขณะที่นักกฎหมายใน สวิสก็พยายามผลักดันให้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษา กึง่ ทางการ เพื่อดึงดูดนักธุรกิจและผูม้ คี วามสามารถ จากต่างประเทศให้เข้ามาทำ�ธุรกิจและ ประกอบอาชีพในสวิตเซอร์แลนด์ มากขึ้น ว่ากันว่าแค่มา สวิตเซอร์แลนด์ประเทศเดียว ก็เหมือนได้มาเที่ยวถึง 4 ประเทศ หากชอบเยอรมนีควรลองไปที่ซูริค ชอบฝรั่งเศสให้ไปที่เจนีวา ชอบอิตาลีให้ไปทิชิโน และหากชอบ ประวัติศาสตร์สมัยโรมัน ให้ไปทีร่ ฐั เกราบึนเดิน
Photo by vaun0815 on Unsplash
สวิตเซอร์แลนด์ ดินแดนของกำ�แพงภาษาที่ไม่มีจริง
พลเมืองสวิสใช้ภาษา เยอรมัน 63% ฝรั่งเศส 23% อิตาเลียน 8% โรมานซ์ <1%
ที่มา: บทความ “Why Switzerland never takes sides” (กรกฎาคม 2017) จาก bbc.com / บทความ “Switzerlands invisible linguistic borders” (มีนาคม 2018) จาก bbc.com / บทความ “25 ข้อนีจ้ ะทำ�ให้คณุ เชือ่ ว่า “เนสท์เล่” คือสุดยอด นักลงทุนในอุตสาหกรรมอาหารของโลก” (สิงหาคม 2016) จาก marketingoops.com / บทความ “Switzerland เป็นประเทศ ทีไ่ ม่มปี ระธานาธิบดี ไม่มนี ายกรัฐมนตรี แต่ท�ำ ไมมีการปกครองทีม่ น่ั คง และรา่ํ รวยทีส่ ดุ ในโลก” จาก pattanieconomy.com / บทความ “ประชาธิปไตยเเละความสุขของประชาชน: บทเรียนจากประเทศสวิตเซอร์เเลนด์” โดย ณัฐวุฒิ เผ่าทวี (พฤษภาคม 2016) จาก thaipublica.org / หนังสือ “Swiss Made: The Untold Story Behind Switzerland’s Success” โดย R. James Breiding CREATIVE THAILAND I 27
The Creative : มุมมองของนักคิด
เรื่อง : ปิยพร อรุณเกรียงไกร l ภาพ : ภีร์รา ดิษฐากรณ์
“ตอนนีท้ �ำ หลายอย่างเลยครับ เป็นครู วิทยากร นักเขียน นักแสดง พิธีกร นักพิสูจน์อักษร อยากให้ทำ�อะไรเพิ่มไหมครับ จ้างได้ครับ รับทุกงาน ไปทันทุกที่ ไม่มีสังกัด จัดผมได้ทุกสไตล์ หารายได้ทำ� วิทยานิพนธ์” ทอม-จักรกฤต โยมพยอม ตอบทันควัน เมื่อเรา ถามไปว่าตอนนี้ทำ�อะไรบ้าง โดยไม่ลืมพ่วงวลีเด็ดที่เขาชอบติด แฮชแท็กบ่อยๆ ในช่วงนี้ ก่อนจะเป็นที่รู้จักในฐานะ ‘ครูทอม คำ�ไทย’ เขาเลือกเรียนปริญญาตรี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ เอกวิชาภาษาไทย ด้วยความชอบภาษาไทยล้วนๆ ซึ่งมักจะถูกตั้งคำ�ถาม ว่าจบมาแล้วจะทำ�งานอะไร หลังแจ้งเกิดในฐานะสุดยอดแฟนพันธุ์แท้สุนทรภู่ เขาตระเวนไปติวหนังสือตามโรงเรียนต่างจังหวัด คอยตอบคำ�ถามการใช้ภาษาไทย บนโลกออนไลน์ และยังทำ�สารพัดสิ่งที่กล่าวไปข้างต้น ควบคู่กับการเรียนปริญญาโท ด้าน Speech Communication ที่คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ ไปด้วย หากมองในบทบาทของ ‘ครู’ เขาเป็นอาจารย์พิเศษที่ไม่ยึดติดกับกรอบของ ระบบการศึกษาและหลักเกณฑ์การใช้ภาษาไทยที่ค่อนข้างละเอียดยุ่บยั่บ แต่ในอีก มุมหนึ่ง ครูทอมก็เป็นคนช่างคิด และขยันหยิบต้นทุนทางภาษาที่ตัวเองมี มาขยาย เส้นทางอาชีพออกไปได้เรื่อยๆ รวมไปถึงการจัดทอล์กโชว์ของตัวเองที่ได้รับ เสียงตอบรับดีไม่น้อยไปเมื่อปีที่แล้ว CREATIVE THAILAND I 28
‘ภาษาดิ้นได้’ หมายความว่าอะไรในความคิดของครูทอม ภาษาดิน้ ได้นมี่ นั ก็เป็นธรรมชาติอย่างหนึง่ ของทุกภาษาบนโลกนีน้ ะครับ ตอนเราเรียนคณะอักษรฯ จะมีสอนวิชา ภาษาศาสตร์ สมัยมัธยม วิชาภาษาไทยก็ไม่ได้มแี ค่เรือ่ งภาษาไทยเท่านัน้ แต่จะมีหวั ข้อธรรมชาติของภาษาด้วย หนึง่ ในนัน้ คือ ทุกภาษาต้องมีการเปลีย่ นแปลง ไม่วา่ จะมีค�ำ แปลกๆ เกิดขึน้ มาใหม่ มีค�ำ ทีห่ ายไป บางคำ�เปลีย่ น การออกเสียง เปลี่ยนตัวสะกด เปลี่ยนความหมาย มีความหมายใหม่เพิ่มมาหรือหายไป นี่คือธรรมชาติของมัน เพราะเราใช้ภาษากันเรื่อยๆ ก็ต้องเปลี่ยนแปลงอยู่แล้ว การเปลี่ยนแปลงคือเรื่องปกติ ทุกภาษาเป็นแบบนี้ ไม่ใช่แค่ภาษาไทย ขณะทีค่ นอืน่ มองว่าการใช้ค�ำ แปลกๆ ทำ�ให้ภาษาไทยวิบตั ิ แต่จริงๆ มันคือการเปลีย่ นแปลง รูปแบบหนึ่ง ผมไม่เคยมองว่าภาษามันวิบัติเลย เวลาเห็นคำ�แปลกใหม่ที่บางคนเรียกกันว่าภาษาสก๊อย หรือเมื่อ 4-5 ปีก่อน ที่มีเพจ “สมาคมนิยมภาษาสก๊อย” ที่ใช้ภาษาแบบนี้เยอะ ผมกลับชอบนะ ตรงที่เขาเลือกหยิบตัวอักษรที่เรา ไม่ค่อยใช้ ในคำ�ไทยไม่ค่อยมี เป็นพวกพยัญชนะหัวหยักที่ต้องกด shift ค้างไว้ตอนพิมพ์ แล้วเอามาผสมกัน แต่หลายคนจะบ่นว่าอ่านไม่ออก เราก็สงสัยว่ามันยากตรงไหน เช่น ตัวอักษร ศ ษ มันก็ออกเสียง /ส/ เหมือนกัน หรือเวลาเอาตัวอักษร ฑ ท ฒ มาใช้ในภาษาสก๊อย ก็ออกเสียง /ท/ เหมือนเดิม แต่เพราะคุณ ไม่คุ้นเคยกับตัวอักษรแบบนี้ เลยต้องตั้งสติเวลาจะอ่านแต่ละครั้งเท่านั้นเอง
CREATIVE THAILAND I 29
เห็นได้ชัดว่าคนไทยมีความคิดสร้างสรรค์สูงในแง่การคิดคำ� ทำ�ให้เกิดภาษาใหม่ๆ เช่น ‘พาสาทิพย์’ ของเพจน้องง เราชอบความสร้างสรรค์ของคนไทยในการคิดสร้างคำ�ใหม่ๆ ทั้งเรื่องการ เรียงประโยค การคิดคำ�ใหม่ขึ้นมา ชอบเวลาที่ได้เห็นอะไรแปลกๆ ใหม่ๆ ในแวดวงภาษา เพราะสิง่ นีท้ �ำ ให้ภาษาไทยไม่มวี นั ตาย คนทีบ่ อกว่าคำ�เหล่านี้ คือภาษาวิบตั ิ มักจะมองว่าภาษาไทยนัน้ สวยงามอยูแ่ ล้ว ควรคงรูปแบบเดิมไว้ แล้วคำ�ว่า ‘คงแบบเดิม’ คืออะไร ย้อนกลับไปสิบปีหรือร้อยปีกอ่ น ภาษาที่ใช้ มันก็ไม่เหมือนเดิม นั่นแปลว่าภาษาเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ คุณยังไม่คง การใช้ภาษาเมือ่ ร้อยปีกอ่ นไว้เลย แล้วจะมาบ่นมาโวยวายอะไร ถ้าคนรุน่ ใหม่ จะเลือกใช้คำ�แปลกใหม่แบบนี้ แต่เมื่อนำ�ไปสอนไปใช้ เรารู้อยู่แล้วว่า ภาษาไทยมีเรื่องระดับภาษา มีกาลเทศะ เราก็ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสม เคยรู้มาจากเพื่อนที่เป็นอาจารย์ มหาวิทยาลัย ว่าเด็กหลายคนมีปญั หาการเลือกใช้ค�ำ ไม่เหมาะสมในการสอบ เช่น ใช้คำ�ว่า “วันหนึ่งเนี่ยนะ” หรือ “เวอร์วังอลังการ” หรืออย่างข้อสอบ วิชารัฐศาสตร์ที่ให้วิเคราะห์ประเด็นเรื่องการปาหินกลุ่ม LGBT แล้วเด็ก ใช้คำ�ว่า “แม่งน่าหงุดหงิด” แสดงว่าเขาแยกไม่ออกว่าเมื่อไหร่ควรใช้ภาษา แบบไหน เมื่อไหร่ไม่ควรใช้ พวกคำ�แปลกใหม่ที่เกิดขึ้นตามยุคสมัย เราก็ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสม ถ้าคุยกับกลุ่มเพื่อนแล้วเข้าใจกัน ก็ไม่มปี ญั หาอะไร จำ�ได้วา่ ปีที่แล้วมีโพสต์หนึง่ ในเฟซบุ๊กเป็นเรื่องคนทะเลาะกันด้วยภาษาสก๊อยที่ผสมกับภาษายาวีด้วย เพราะเขาอยูใ่ นสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปรากฏว่ามีคนไทยจำ�นวนไม่นอ้ ย ที่แชร์ไปด่าว่า “ใช้ภาษาอะไร ไม่เห็นรู้เรื่อง” แต่เรากลับมองว่าเขาไม่ได้คุย กับคุณ คุณจะไปด่าเขาไม่ได้ เพราะเขาไม่ได้อยากให้คุณเข้าใจ ถ้าคุณคือ คนนอกและอยากรู้ว่าเขาคุยอะไรกัน คุณก็ต้องไปศึกษาภาษาเขาให้เข้าใจ ไม่ใช่แชร์ไปด่า มันจะมีอะไรแบบนี้ให้เห็นในสังคมมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะเด็ ก รุ่ น ใหม่ โ ตมากั บ สั ง คมออนไลน์ ด้ ว ยหรื อ เปล่ า เลยคุ้นเคยกับการใช้ภาษาแบบนั้นแล้วนำ�ไปตอบข้อสอบ เผลอๆ อาจจะคุ้นเคยมากกว่าภาษาเขียนหรือภาษาทางการ ซึ่งไม่ค่อยได้ใช้ในชีวิตประจำ�วัน สื่ อ ออนไลน์ ใ นปั จ จุ บั น มี ผ ลมากเหมื อ นกั น แต่ เ ราต้ อ งเข้ า ใจก่ อ นว่ า การเรียนรู้ภาษาคือการเลียนแบบ เราเกิดมาในสภาพแวดล้อมแบบไหน ในประเทศไหน คุ้นเคยกับภาษาแบบไหน เราก็จะใช้ภาษาแบบนั้น เช่น เราเกิดในประเทศไทย ได้ยินพ่อแม่พูดภาษาไทยมาตลอด เราก็พูดไทยได้ โดยไม่ตอ้ งไปเรียนทีไ่ หน หรือถ้ามองภาษาในแต่ละท้องถิน่ เราเกิดมาได้ยนิ สำ�เนียงแบบไหน ก็จะคุ้นเคยกับการพูดสำ�เนียงแบบนั้น เราอยู่ในสังคม แบบไหน เห็นภาษาแบบไหนซํ้าๆ เราก็จะใช้แบบนั้น เราเคยเจอคนส่งข้อความมาถามหลายครั้ง เช่น “งอน” กับ “เขิน” ก่อนหน้านี้เขาเชื่อมั่นว่าใช้ น สะกด ถูกมาตลอด แต่พอเห็นคนใช้ ล สะกด มากขึน้ ในโลกออนไลน์ ซึง่ เดิมทีใช้เป็นลูกเล่นทางภาษาให้ได้อรรถรสมากขึน้ แบบ “งอล” “เขิล” (ออกเสียงม้วนลิ้น) มันก็ไปสั่นคลอนความมั่นใจของเขา แปลว่าการเห็นอะไรซํ้าๆ ส่งผลต่อการับรู้ของคนเหมือนกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก่อนที่ เ ราจะมั่น ใจว่าคำ�ไหนเขียนอย่ า งไร เราสามารถตรวจสอบกับทาง ราชบัณฑิตยสภาที่ดูแลเรื่องนี้ได้ ที่ต้องตรวจสอบ เพราะเขาก็เปลี่ยนเรื่อยๆ เหมือนกัน เปลี่ยนเก่ง (หัวเราะ)
ปกติเราจะสอนให้เขาเห็นความสำ�คัญ ของภาษาก่อน ว่าเราใช้ภาษาเพือ่ อะไร เราใช้ ภ าษาเพื่ อ การสื่ อ สาร ถ้ า เรา อยากให้การสื่อสารเกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล เราต้องใช้ภาษาให้ถกู ต้อง เหมาะสม ไม่ ใ ช่ ถู ก ต้ อ งตามหลั ก ราชบัณฑิตยสภา แต่ถกู ต้องเหมาะสม ตามกาลเทศะ แม้แต่สำ�นักงานราชบัณฑิตยสภาก็ยังปรับเปลี่ยนแก้ไขคำ� ในพจนานุกรมบ่อยๆ คิดอย่างไรกับเรื่องนี้ บางอย่างเปลีย่ นก็ดี แต่บางอย่างจะเปลีย่ นทำ�ไม เช่น คำ�ว่า “แซ่บ” ซึง่ แปลว่า อร่อย พจนานุกรมตัง้ แต่ฉบับปี 2542 ก็บญั ญัตใิ ห้สะกดว่า “แซบ” ซึง่ ส่วนตัว มองว่าเหมาะสมแล้ว เพราะคนอีสานออกเสียงยาว และในพจนานุกรมก็ วงเล็บว่าเป็นภาษาถิ่นอีสาน แต่พจนานุกรมฉบับใหม่ 2554 ราชบัณฑิตยฯ ให้เติมไม้เอกเข้าไป จะตามความนิยมหรืออะไรก็ตามซึง่ เขาไม่ได้ให้เหตุผลไว้ จริงๆ แล้วอยากบอกราชบัณฑิตยฯ มากว่า เมื่อมีพจนานุกรมฉบับใหม่ ออกมา ช่วยทำ�เพิ่มอีกเล่มหนึ่งเป็น ‘พจนานุกรมคำ�เปลี่ยน’ ให้ด้วยได้ไหม เปลี่ยนคำ�ไหนช่วยบอกกันด้วย เพราะบางทีเราก็ไม่รู้ แล้วในฐานะครู หลักเกณฑ์ที่คุณใช้สอนนักเรียนคืออะไร ปกติเราจะสอนให้เขาเห็นความสำ�คัญของภาษาก่อน ว่าเราใช้ภาษาเพือ่ อะไร เราใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร ถ้าเราอยากให้การสื่อสารเกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล เราต้องใช้ภาษาให้ถูกต้องเหมาะสม ไม่ใช่ถูกต้องตามหลัก ราชบัณฑิตยสภา แต่ถกู ต้องเหมาะสมตามกาลเทศะ ถ้าเราใช้ภาษาได้อย่าง เหมาะสมกับบริบทตรงนั้น การสื่อสารก็เกิดประสิทธิภาพแล้ว มีคำ�ไหนบ้างไหมที่รู้สึกว่ารับไม่ได้มากที่สุด เช่น “นะค่ะ” ถือว่าโอเคไหม (คิด) อันที่รู้สึกว่ารับไม่ได้ที่สุดก็จะเป็นเรื่องการใช้คำ�ผิด แล้วทำ�ให้ความ หมายเปลีย่ น และส่งผลต่อการสือ่ สาร ต้องเข้าใจก่อนว่าเราใช้ภาษาเพือ่ การ สื่อสาร บางคำ�เขียนผิดนิดหน่อย แต่การสื่อสารยังชัดเจน ก็ไม่มีปัญหา แต่ บางครัง้ การใช้ค�ำ ผิดมันส่งผลต่อการสือ่ สาร ทำ�ให้เข้าใจความหมายเปลีย่ น ไป ยกตัวอย่างเช่น คะ-ค่ะ สมมติวา่ เจ้านายส่งข้อความให้เลขาฯ เอาเอกสาร เข้าไปในห้อง แล้วเลขาฯ พิมพ์ตอบกลับมาว่า “ค่ะ” แปลว่า รับทราบ เข้าใจ แต่ถ้าพิมพ์ว่า “คะ” ความหมายจะเป็นอีกอย่าง แปลว่าเลขาฯ ไม่เข้าใจ เลยถามด้วยคำ�ว่า “คะ” ทำ�ให้การสื่อสารไม่สัมฤทธิ์ผล
CREATIVE THAILAND I 30
หรือบางครั้งความหมายอาจจะไม่เปลี่ยน แต่มันส่งผลต่อภาพลักษณ์ ขององค์กร เช่น ถ้าสื่อมวลชนสะกดคำ�ผิด ความหมายอาจไม่เปลี่ยน แต่ ผูเ้ สพข่าวจะรูส้ กึ ว่าสือ่ นีไ้ ม่รอบคอบ ไม่มคี ณุ ภาพ ไม่ใช่แค่หนังสือพิมพ์หรือ เว็บไซต์ต่างๆ แต่รวมไปถึงซับไตเติลภาพยนตร์ หรืองานหลายๆ อย่างที่ใช้ ภาษา ถ้าใช้ผิด ก็เห็นชัดว่าสิ่งนั้นไม่มีคุณภาพ หนังสือเรียนบางเล่มของ กระทรวงศึกษาธิการ นอกจากจะมีคำ�ผิดแล้ว ยังใช้แหล่งอ้างอิงว่ามาจาก วิกิพีเดีย หรือกูเกิล ซึ่งแบบเรียนของกระทรวงฯ จะอ้างอิงแบบนี้ไม่ได้ (เสียงสูง) เด็กที่ต้องทำ�รายงานและหาแหล่งอ้างอิงต่างๆ ก็เห็นแบบอย่าง มาจากตรงนี้ และทำ�ผิดๆ ตามกันไปอีก รู้ สึ ก อย่ า งไรเวลาเห็ น คนเหยี ย ดกั น เรื่ อ งการใช้ ภ าษาบน โซเชียลมีเดีย เช่น คนที่ใช้ภาษาสก๊อย ใช้ไทยคำ�อังกฤษคำ� หรือแม้แต่ใช้ภาษาถิ่น กรณีการเหยียดภาษาก็เจอเยอะนะครับ ถ้ามีใครใช้ภาษาสก๊อย ก็จะโดนแชร์ มาด่า หรือบางคนไปเหยียดภาษาถิ่น ไปหัวเราะขบขันภาษาถิ่นบางคำ� บางสำ�เนียง บางคนก็ไม่ชอบการใช้ไทยคำ�อังกฤษคำ�อีก สิง่ ต่างๆ ทีถ่ กู เหยียด เป็นสิง่ ทีแ่ ตกต่างจากสิง่ ทีเ่ ราใช้กนั เป็นปกติ แตกต่างจากภาษาไทยมาตรฐาน เราจึงพยายามผลักออกไป แต่สว่ นตัวเรามองว่าภาษาถิน่ เท่มาก พอเราบัญญัตไิ ปว่าภาษาไทยกลาง คือภาษามาตรฐาน มันก็เหมือนไปบังคับคนไทยทัง้ ประเทศ ว่าคนทัง้ ประเทศ ต้องใช้ภาษามาตรฐานนี้ด้วย ทั้งที่ภาษาไทยไม่ได้มีแค่ภาษาไทยภาคกลาง หรือภาษาไทยกรุงเทพฯ เท่านั้น แต่ยังแยกย่อยลงไปอีกว่าภาคกลาง แถบไหน คนก็ใช้ภาษาไม่เหมือนกัน ภาษาถิ่นเหนือของเชียงใหม่ เชียงราย ลำ�พูน แพร่ น่าน พะเยา สำ�เนียงก็ไม่เหมือนกัน เลยรู้สึกว่ามันเป็นเสน่ห์ อย่างหนึง่ แต่บางคนไม่คนุ้ เคยก็เลยไปล้อเลียนสิง่ เหล่านัน้ หรือการใช้ไทยคำ� อังกฤษคำ�เรารู้สึกว่าไม่แปลกอะไร ถ้ามันทำ�ให้การสื่อสารลื่นไหลกว่า อย่าลืมว่าเราใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร ถ้าใครใช้แล้วคนฟังไม่เข้าใจก็เป็น ปัญหา แต่ถ้าเข้าใจทั้งสองฝั่งก็ไม่เป็นปัญหา
ช่วงนัน้ มา แล้วเรารูด้ ว้ ยว่าเด็กสนใจอะไร เราหยิบทุกอย่างมาเป็นสือ่ การสอน ที่สำ�คัญการสอนในค่าย เราไม่ต้องรักษาภาพลักษณ์ เพราะเราไม่ใช่ครู เลยสนุกกับการสอนหนังสือ พอปี 3 เราเป็นตัวแทนไปแข่งอ่านออกเสียงภาษาไทยมาตรฐานระดับ ประเทศ แล้วได้รับรางวัลชนะเลิศ ตอนนั้นนิตยสารสกุลไทยมาสัมภาษณ์ เขาถามว่า “คิดว่าเรียนภาษาจะไปประกอบอาชีพอะไร” จำ�ได้ว่าตอนนั้น เป็นครัง้ แรกทีบ่ อกไปว่าเราสนใจงานพิธกี ร งานสอนภาษา ถ้าเป็นไปได้อยาก ทำ�รายการเกี่ยวกับการสอนภาษาไทย นั่นเป็นครั้งแรกที่รู้สึกว่ามีอาชีพที่เรา อยากทำ� ซึ่งมาจากสิ่งที่เราชอบและการได้ลองทำ�ในที่ต่างๆ ทำ�ให้เราได้ รู้จักตัวเองมากขึ้น คุณได้ลองทำ�หลายมากอย่างที่เล่ามา แสดงว่าคนเรียนจบ สายภาษาก็ยังมีหนทางไปต่อในอนาคต แม้ว่าผลสำ�รวจจาก หลายสำ � นั ก จะชี้ ว่ า คนเรี ย นจบสาขานี้ ไ ม่ ต อบโจทย์ ค วาม ต้องการของตลาดแรงงานในปัจจุบัน มันเป็นไปไม่ได้ที่การเรียนสายภาษาจะไม่มีอนาคต เพราะไม่ว่าคุณจะไป ทำ�งานอะไร คุณก็ต้องใช้ความรู้ทางภาษา ถ้าคุณไม่มี คุณก็สื่อสารกับใคร ไม่ได้ แล้วจะทำ�งานได้อย่างไร ไม่ใช่แค่ภาษาไทย ภาษาอื่นๆ ก็สำ�คัญ เพราะในโลกนี้มีบทความ มีองค์ความรู้ที่เป็นภาษาอื่น ถ้าเราไม่รู้ภาษาอื่น ไม่รจู้ กั บริบทอืน่ ในสังคม เราจะได้ความรูน้ น้ั จากทีไ่ หน เราเลยรูส้ กึ ว่าทุกภาษา สำ�คัญหมดเลย
คิดว่าตัวเองเป็นอินฟลูเอนเซอร์ด้านภาษาไทยไหม การจะบอกว่าเราเป็นอินฟลูเอนเซอร์หรือไม่นั้น น่าจะต้องให้คนอื่นมอง เข้ามามากกว่า แต่ถ้าถามว่าเราทำ�รายได้จากตรงนี้ไหม ใช่ เราเอาภาษา มาหากิน (หัวเราะ) เพราะการทำ�งานต่างๆ เราใช้ภาษามาโดยตลอด แต่ก็ ไม่ใช่แค่เรา ทุกคนบนโลกนี้ ไม่ว่าจะทำ�งานอะไรก็ต้องใช้ทักษะทางภาษา กันหมด เพียงแต่ว่าเรานำ�มาใช้ในรูปแบบที่ต่างกัน ทำ�ไมถึงคิดว่าการสอนภาษาไทยจะสร้างรายได้และทำ�เป็น อาชีพได้ในชีวิตจริง ตอนแรกไม่ ไ ด้ คิ ด เลยว่ า จะใช้ ภ าษาไทยในการทำ � งาน เราเลื อ กเรี ย น คณะอักษรศาสตร์ เอกภาษาไทย เพราะชอบภาษาไทยมาตั้งแต่เด็ก ที่บ้าน อยากให้เรียนนิติศาสตร์หรือรัฐศาสตร์ เพราะดูมั่นคง แต่เราไม่ชอบ ภาษาไทยคือสิ่งที่เราชอบและทำ�ได้ดี ไม่เคยคิดเลยว่าเรียนไปแล้วจะไปทำ� อะไรกิน ตอนปี 1-2 เราได้สอนเด็กมัธยมปลาย ด้วยวัยที่ไม่ห่างกันมาก เรารูว้ า่ เขาเข้าใจอะไร ไม่เข้าใจอะไร ไม่กล้าถามตรงไหน เพราะเราเพิง่ ผ่าน CREATIVE THAILAND I 31
ปัจจุบนั เรามี Google Translate มี AI ทีแ่ ปลภาษาได้แม่นยำ� จนคนกังวลว่านักแปลจะตกงานไหม แต่อีกด้านหนึ่งก็มี คนรุน่ ใหม่ทสี่ นใจภาษาเยอะขึน้ มีการแข่งขันเพลงแร็ปทีส่ ร้าง คำ�แปลกๆ ขึน้ มา แสดงว่าภาษายังมีทที่ างไปต่อ และจะไม่ถกู แทนที่ ถ้าคนยังมีความคิดสร้างสรรค์ใช่ไหม โดยส่วนตัวแล้วเรามองว่ายากมากที่เทคโนโลยีจะเข้ามาแทนที่มนุษย์เรื่อง ภาษา การแปลหรือใช้ภาษาใดๆ ได้ดี เราต้องเข้าใจมนุษย์ เข้าใจบริบท ทางวัฒนธรรม ซึ่งเทคโนโลยียังไปไม่ถึงตรงนั้น เช่น คำ�ว่า “นก” Google Translate ก็แปลได้แค่ว่า bird แต่ถ้าเราใช้ในความหมายอื่น มันก็แปลไม่ ได้ คำ�ว่า “ยิ้ม” ก็จะแปลได้แค่ smile (หัวเราะ) ที่ผ่านมามนุษย์สร้างสรรค์ ภาษาให้แปลกใหม่ขึ้นเรื่อยๆ เอาไปดัดแปลงนั่นนี่ ทำ�เพลงแร็ป เพลงลูกทุ่ง ประยุ ก ต์ ใ ช้ ไ ด้ ห มด แปลว่ า ตราบใดที่ ม นุ ษ ย์ ยั ง มี ค วามคิ ด สร้ า งสรรค์ ก็เป็นไปไม่ได้เลยทีเ่ ทคโนโลยีจะเข้ามาแทนที่ ซึง่ เราก็เชือ่ ว่ามนุษย์ยงั สามารถ พัฒนาการใช้ภาษาได้อีก เพราะธรรมชาติของภาษาต้องมีการเปลี่ยนแปลง ก็อยากให้ทุกคนติดตามดูว่าภาษาจะเปลี่ยนแปลงไปในรูปแบบทิศทางไหน ได้บ้าง เวลาเราเห็นภาษาแปลกใหม่ อย่าเพิ่งตัดสินว่ามันเป็นสิ่งไม่สมควร เพราะมันคือธรรมชาติภาษา ในแต่ละยุคสมัยก็มีคำ�ใหม่เกิดขึ้นเรื่อย ๆ แต่ละคำ�ก็จะมีอายุของมัน เช่น คำ�ว่า “จ๊าบ” “เปิ๊ดสะก๊าด” ก็ใช้กันแค่ช่วง หนึ่ง เดี๋ยวนี้ก็ไม่ค่อยมีใครใช้แล้ว เคยคิดว่าจะเป็นครูภาษาไทยที่สอนประจำ�ในโรงเรียนหรือ มหาวิทยาลัยบ้างไหม ไม่ครับ ไม่สอนประจำ� ไม่เปิดโรงเรียนกวดวิชาใดๆ เพราะเด็กที่มาเรียน แบบนั้นต้องมีสตางค์ พอเรียนก็ได้ความรู้ต่างๆ เพิ่ม คะแนนสอบดี ชีวิตก็ ยิ่งดี แต่คนไม่มีเงินยังอยู่ที่เดิม หรือถ้าจะขึ้นมาเทียบเท่ากับคนมีเงิน ก็ต้อง ใช้พลังเยอะกว่าปกติ โดยส่วนตัวผมเลยไม่ค่อยเห็นด้วยกับการมีอยู่ของ โรงเรียนกวดวิชา เวลาผมไปจัดติวกวดวิชา จะเป็นโครงการฟรีเท่านั้นที่เด็ก มาเรียนฟรี มีสปอนเซอร์มาจ้างให้ผมไปตามชนบทต่าง ๆ เพราะรู้สึกว่าไม่ อยากให้เด็กเสียเงิน มันทำ�ให้ความเหลื่อมลํ้าเพิ่มขึ้น
จากประสบการณ์ทั้งหมดที่ผ่านมา บทเรียนสำ�คัญในชีวิต ของ ‘ครูทอม คำ�ไทย’ คืออะไร มีชว่ งหนึง่ ทีเ่ ราเด็กกว่านีม้ าก ๆ เรารูส้ กึ ว่าทุกคนต้องใช้ภาษาไทยให้ถกู ต้อง แล้วก็จะชอบไปแก้คำ�ผิดให้ผู้คนต่างๆ โดยส่วนตัวเราชอบมากเวลามีคน มาแก้คำ�ที่เราใช้ผิดให้มันถูกต้อง ไม่ว่าจะเราใช้ภาษาอังกฤษผิด สะกดผิด แกรมมาร์ผิด เพราะมันทำ�ให้เรามีความรู้ และใช้ได้ถูกต้องต่อไป เราก็คิด ไปว่าทุกคนคงชอบเหมือนกัน ซึ่งในความจริงมันไม่ใช่แบบนั้น บางคนไม่ ชอบ บางคนไม่ได้เห็นความสำ�คัญของการใช้ภาษา เราเลยเข้าใจมากขึ้นว่า ไม่ใช่ทกุ คนทีจ่ ะคิดเหมือนเรา หลังจากนัน้ เวลาจะแก้ค�ำ ผิดให้ใคร เราก็ตอ้ ง ดูก่อนว่าเขายินดีไหม เพื่อนบางคนก็บอกว่าเขายินดีให้เรามาแก้ ดีกว่าเขา เอาไปใช้ผิดในที่อื่นที่สำ�คัญกว่านี้
คำ�ถามที่แปลกที่สุดที่เคยเจอในทวิตเตอร์ มีคนส่งมาถามคำ�ว่า “เด้าลิน้ ” แปลว่าอะไร เราก็ขอบริบทไป เขายกตัวอย่าง มาว่า “หม่าล่าร้านนี้เด้าลิ้นมาก” ซึ่งสมัยเรียนมหาวิทยาลัยเราเคยได้ยินรุ่น พีช่ มรมศิลปวัฒนธรรมล้านนาใช้ค�ำ นีเ้ วลากินอะไรอร่อยๆ บางทีกเ็ พิม่ ระดับ เป็น “เด้าส์ลน้ิ ” เลยเข้าใจว่าในบริบทนีม้ นั แปลว่าอร่อยมาก ซึง่ ใช้ได้กบั อาหาร ทุกประเภท แต่สมัยนีค้ นเข้าใจว่าใช้ได้กบั อาหารเผ็ดร้อนเท่านัน้ จริงๆ ทุกอย่าง เด้าลิ้นได้หมดเลยนะ เช่น ชานมไข่มุกร้านนี้เด้าลิ้นมาก ชอบอ่านพจนานุกรมฉบับไหนมากที่สุด ตอบยาก สิ่งหนึ่งที่ทำ�ให้ชอบอ่านพจนานุกรมคือเราต้องเอาสองเล่มมาอ่าน เปรียบเทียบกัน เช่น คำ�ว่า office ในพจนานุกรมฉบับ 2542 เขียนว่า “ออฟฟิศ (เลิก)” แปลว่าให้เลิกใช้การสะกดแบบนี้ เราก็ไปต้องดูหลักเกณฑ์ การทับศัพท์ของราชบัณฑิตยฯ เขาบอกว่าคำ�ที่ลงท้ายด้วย “-ce” ให้ใช้ ตัว ซ แต่ฉบับปัจจุบัน 2554 เขาเอา (เลิก) ออกไปแล้ว แปลว่าให้กลับมา ใช้แบบ ศ สะกดเหมือนเดิม นี่คือสิ่งที่ทำ�ให้ชอบอ่านพจนานุกรม
CREATIVE THAILAND I 32
Creative Solution : คิดทางออก
เรื่อง : นพกร คนไว
“จงใช้เวลาคิดคำ�ที่จะสื่อสารให้มากเท่ากับที่ใช้ไปในการสร้างวิชวลต่างๆ” คำ�กล่าวของจอห์น เซรัตสกี (John Zeratsky) Design Partner แห่ง Google Ventures กองทุนขนาดยักษ์ที่ลงทุนให้กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมระดับ โลกนี้ สามารถตอบโจทย์บรรดาธุรกิจดิจทิ ลั ทีต่ อ้ งการจะสือ่ สารกับผูบ้ ริโภค ในปัจจุบนั ได้เป็นอย่างดี และยังบอกทิศทางการทำ�งานให้กบั เหล่านักพัฒนา เว็บไซต์หรือแอพพลิเคชัน ที่ต้องเล็งเห็นความสำ�คัญของการสร้างความ สะดวกสบายให้ใช้แก่ผู้ใช้งานผ่านการใช้ ‘ภาษา’ และทักษะ ‘UX Writing’ ที่กำ�ลังกลายเป็นส่วนประกอบหลักที่หลายบริษัทขาดไม่ได้
นอกจากนี้ หน้าที่ของ UX Writer ยังจำ�เป็นต้องเข้าใจกระบวนการ ทำ�งานและการออกแบบของผลิตภัณฑ์ โดยต้องร่วมงานกับตำ�แหน่งอื่น อย่างนักออกแบบอินเทอร์เฟซสำ�หรับผู้ใช้ (UI/UX Designer) นักวิจัยและ ผูด้ แู ลโครงสร้างข้อมูลภายในสือ่ ออนไลน์ตา่ งๆ (Information Architecture IA) ทั้งในการออกแบบ ทดลอง และค้นหาถ้อยคำ�หรือนํ้าเสียงที่ถูกต้อง สำ�หรับผลิตภัณฑ์ที่สามารถเข้าถึงผู้ใช้ได้ทุกเพศทุกวัย “หน้าที่ของ UX Writer ไม่ได้เพียงรับผิดชอบในส่วนของการสร้าง ข้อความเท่านัน้ แต่จ�ำ เป็นต้องเข้าใจถึงความรูส้ กึ ของผูใ้ ช้งานและสิ่งที่พวกเขา ต้องการเมื่อได้ใช้ผลิตภัณฑ์ของเราด้วย” คริส คาเมรอน (Chris Cameron) UX Writer อาวุโสจาก Booking.com กล่าว
emailcenteruk.com
netflix.com
UX Writer อาชีพใหม่แห่งทศวรรษ User Experience (UX) Writer คือผู้ที่มีหน้าที่สร้างสรรค์คำ�หรือข้อความ ระหว่างผูใ้ ช้งานและผลิตภัณฑ์ดจิ ทิ ลั ทุกรูปแบบ เช่น เว็บไซต์ แอพพลิเคชัน หรือซอฟต์แวร์ โดยการสร้างสรรค์ข้อความ (Copy) ที่มีประโยชน์และมี ความหมายต่อการใช้งานในตำ�แหน่งต่างๆ ของ User Interface (UI) เช่น ปุม่ เมนู ป็อปอัพแสดงความผิดพลาด การแจ้งเตือนซือ้ ของ หรือการชำ�ระเงิน
ทำ�ไมเราถึงต้องการ UX Writer เพราะภาษาคือหัวใจของการสื่อสาร หน้าตาของ UI และข้อความที่ปรากฏ อยู่บนแพลตฟอร์มของผลิตภัณฑ์นั้น จึงบ่งบอกได้ถึงตัวตนและบุคลิกของ แบรนด์ หลายครั้งที่การใช้ข้อความธรรมดาหรือข้อความที่สื่อถึงตัวตนของ แบรนด์สื่อความหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าการประดิษฐ์ถ้อยคำ� สวยหรู อีกทั้ง UX Writer ยังต้องใส่ใจเรื่องความถูกต้องด้านความหมายและ การสะกดคำ�ของข้อความที่ปรากฏ เพราะข้อความกำ�กวมหรือผิดหลัก ไวยากรณ์ อาจสร้างความสับสนและไม่ประทับใจต่อผู้ใช้งานได้ การสร้างนา้ํ เสียงและเอกลักษณ์ของตัวผลิตภัณฑ์กเ็ ป็นอีกหนึง่ ความสำ�คัญ เว็บไซต์ที่ใช้ภาษาทางการจนเกินไปอาจทำ�ให้รู้สึกเหมือนคุยอยู่กับหุ่นยนต์ แต่หากใช้ภาษาทีเ่ ป็นกันเองก็จะเพิม่ ความใกล้ชดิ กับผูใ้ ช้งานได้มากขึน้ เช่น ประโยค “It’s free and always will be.” ของเฟซบุ๊กที่เขียนกำ�กับไว้บน หน้าสมัครบัญชีผู้ใช้เพื่อบอกกับผู้ใช้งานว่าจะไม่เก็บค่าบริการอย่างแน่นอน ตลอดไป หรือปัญหาหน้าเว็บที่ค้นหาไม่เจอ (Error 404 - Page not found) ที่ขึ้นข้อความปลอบใจหรือขำ�ขัน ก็ช่วยให้ผู้ใช้งานรู้สึกดีขึ้นได้เช่นกัน
การสร้างผลิตภัณฑ์ทด่ี นี น้ั ขึน้ อยูก่ บั การสือ่ สาร เป็นเหตุผลที่ UX Writer กลายเป็นอาชีพใหม่ทจี่ �ำ เป็นอย่างมากสำ�หรับธุรกิจดิจทิ ลั เพราะการใช้ภาษา ทีเ่ ป็นมิตรและมีประสิทธิภาพย่อมเป็นทางออกในการสร้าง ‘มนุษยสัมพันธ์’ อันดีระหว่าง ‘คน’ กับ ‘เครื่อง’ ในโลกยุคปัจจุบัน
ที่มา: บทความ “The Rise of the UX Writer” โดย Emily Steven จาก uxplanet.org / บทความ “UX Writer ผู้อยู่เบื้องหลังตัวอักษรบนหน้าจอ” โดย Creative Talk Team จาก creativetalklive.com / บทความ “UX Writing. Let User Interface Speak” โดย Alina Arhipova จาก tubikstudio.com CREATIVE THAILAND I 34