ตุลาคม 2562 ปีที่ 11 I ฉบับที่ 1 แจกฟรี
How to เปิดประตู 5 บาน...เริ่มทำ�ธุรกิจกับเพื่อนบ้าน Fact and Fig ure ส่องทิศทางถนนสายสร้างสรรค์ของชาติอาเซียน The Creative แอน JKN
Photo by Ian Stauffer on Unsplash
Competition makes us faster; Collaboration makes us better. การแข่งขันอาจไปได้เร็ว แต่การร่วมมือกันไปได้ไกล
Contents : สารบัญ
Creative Update
6
เจาะตลาดอาเซี ย นด้ ว ยการท่ อ งเที่ย วแบบ ฮาลาล / Thailand 4.0 สูก่ ารเป็น Medical Hub ของอาเซียน / อี-สปอร์ต...สปิริตที่ ขับเคลือ่ นภูมภิ าค
Creative Resource 8
Creative Business 20 LOVER Brand ส่งออกความรักผ่านเครื่องประดับ สู่ตลาดอาเซียน
How To 23
Featured Article / Book / Film
เปิดประตู 5 บาน เริ่มทำ�ธุรกิจกับเพื่อนบ้าน
MDIC 10
Creative Place 24
ทำ�ความรู้จักงานคราฟต์ของเวียดนาม ผ่าน VIETCRAFT
Cover Story 12 ASEAN Creative Awakening
Fact and Fig ure ส่องทิศทางถนนสายสร้างสรรค์ ของชาติอาเซียน
18
The Revival of Indonesia
The Creative 28 แอน จักรพงษ์ จักราจุฑาธิบดิ์ (แอน JKN) สร้างการเสพติดทางสายตา เมื่อมูลค่าคอนเทนต์อยู่ที่วัฒนธรรม
Creative Solution 34 ไป ๆ มา ๆ ในอาเซียน เทรนด์การย้ายงาน ในภูมิภาคบ้านใกล้เรือนเคียงวันนี้
บรรณาธิการที่ปรึกษา l อภิสทิ ธิ์ ไล่สตั รูไกล บรรณาธิการอำ�นวยการ l มนฑิณี ยงวิกลุ ที่ปรึกษา l เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร บรรณาธิการบริหาร l พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์ กองบรรณาธิการ l ปุญญิศา เปล่งรัศมี และ ปิยวรรณ กลิน่ ศรีสขุ เลขากองบรรณาธิการ l ณัฐชา ตะวันนาโชติ ศิลปกรรม l ชิดชน นินนาทนนท์ ประสานงานกองบรรณาธิการ l วนบุษป์ ยุพเกษตร ช่างภาพและมัลติมีเดีย l ภีร์รา ดิษฐากรณ์ เว็บไซต์ l นพกร คนไว จัดทำ�โดย l สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) (CEA) 1160 อาคารไปรษณีย์กลาง ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 โทร. 02 105 7400 แฟกซ์. 02 105 7450 พิมพ์ที่ l บริษัท สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง จำ�กัด โทร. 02 903 8257-9 จำ�นวน 15,000 เล่ม ติดต่อลงโฆษณา: Commu.Dept@tcdc.or.th นิตยสารฉบับนีใ้ ช้หมึกพิมพ์จากนา้ํ มันถัว่ เหลืองทีไ่ ม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทัง้ ยังเป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อม และใช้กระดาษ รีไซเคิล ซึ่งเป็นผลผลิตของผู้ประกอบการไทย จัดทำ�ภายใต้โครงการ “Creative Thailand สร้างเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์” โดยสํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจ สร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) (CEA) ซึ่งมีเป้าหมายในการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) และผลักดันการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย
อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส แสดงที่มา-ไมใชเพื่อการคา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย แสดงที ่มา-ไมใTHAILAND ชเพื่อการคา-อนุI ญ4าตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย CREATIVE
Editor’s Note : บทบรรณาธิการ
หุบเขากูซู
dramafast.com
ที่ประเทศไทย
ความสำ�เร็จในการส่งซอฟต์พาวเวอร์ของเกาหลีใต้ผ่านซีรีส์และเหล่าไอดอล กลายเป็นตัวอย่างให้หลายประเทศยอมรับว่า ความคิดสร้างสรรค์ที่ถูกส่งผ่าน บทละครหรือการสร้างคาแร็กเตอร์ให้วงดนตรีนนั้ ทำ�ให้สนิ ค้าและการท่องเทีย่ ว บูมขึน้ ทันตาเห็น จนญีป่ นุ่ ต้องพลิกเกมสู้ ไม่เว้นแม้แต่ประเทศจีน ทีใ่ ช้ความคิด สร้างสรรค์ได้อย่างครบเครื่อง ตั้งแต่เทคโนโลยีเอไอไปจนถึงการผลิตละครจีน ที่กลับมาดังเปรี้ยงปร้างด้วยบทและโปรดักชันอันทันสมัย สามารถแข่งขันกับ ซีรสี เ์ กาหลีใต้และญีป่ นุ่ ได้อย่างสบาย ๆ หรือถึงขัน้ แซงหน้าด้วยการพลิกแพลง นิยายสายวายให้กลายเป็นซีรีส์มิตรภาพลูกผู้ชาย ‘ปรมาจารย์ลัทธิมาร’ ที่ นำ�แสดงโดย หวังอี้ป๋อ และเซียวจ้าน สองหนุ่มดาราดังที่ขณะนี้ถูกเรียก รวมกันว่า #ป๋อจ้าน ได้สร้างกระแสคลั่งไคล้ในกลุ่มแฟนคลับอย่างคับคั่งทั้งใน ประเทศจีนเองและต่างประเทศ โดยเฉพาะในประเทศไทย ที่กลายเป็นสถานที่ ในการจัดแฟนมีทติง้ ให้กบั หนุม่ ๆ จากหุบเขากูซู แทนทีจ่ ะเป็นประเทศจีนเอง ด้วยเหตุที่ว่าการจัดกิจกรรมที่สร้างภาพลักษณ์แบบชายรักชายยังไม่สามารถ ทำ�ได้ทเ่ี มืองจีน แต่ส�ำ หรับประเทศไทยอาจจะเรียกได้วา่ เป็นสวรรค์ของสายวาย ด้วยเนื้อหาของซีรีส์ที่เล่นจริง จูบจริง จนส่งผลให้คู่พระ-พระ ของไทยเองก็มี โอกาสสร้างกระแสในต่างประเทศไม่แพ้พระนางคู่อื่น ในการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ วัฒนธรรมเป็นเหมือนวัตถุดิบสำ�คัญ ในการแปรรูปสูส่ นิ ค้าและบริการ โดยเฉพาะอย่างยิง่ อุตสาหกรรมบันเทิง ไม่วา่ จะเป็นหนัง เพลง เกม แอนิเมชัน ที่ประเทศสมาชิกในอาเซียนต่างหมายมั่น ปัน้ มือจะสร้างให้เป็นอุตสาหกรรมนำ�ชัย นอกเหนือไปจากการออกแบบ แฟชัน่ หัตถกรรม อาหาร และการท่องเที่ยว ซึ่งแน่นอนว่า ทุกประเทศในอาเซียน
ต่างก็รํ่ารวยทั้งวัฒนธรรมและทักษะฝีมือที่เปรียบเหมือนขุมทรัพย์ที่รอวัน แปรสภาพ หากยังมีอีกองค์ประกอบสำ�คัญที่อ้างอิงจากริชาร์ด ฟลอริดา (Richard Florida) ผู้โด่งดังจากการเขียนหนังสือ The Rise of the Creative Class ในปี 2002 ว่า สังคมทีเ่ ปิดกว้าง (Tolerance) ยอมรับความต่างของเชือ้ ชาติ ศาสนา ไปจนถึงเพศสภาพ เป็นปัจจัยที่สนับสนุนให้อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เกิดและเติบโตพอ ๆ กับอีกสองปัจจัย คือ การรวมตัวของกลุ่มนักสร้างสรรค์ (Talent) และโครงสร้างพืน้ ฐานเทคโนโลยีทด่ี ี (Technology) ซึง่ สองปัจจัยหลังนี้ ถ้าเราสแกนนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศในอาเซียน ก็จะพบว่าถูกสอดแทรกอยูใ่ นนโยบายหลักของหน่วยงานต่าง ๆ ไม่วา่ จะเป็นการ ปลดล็อกด้านกฎหมายของอินโดนีเซียจนกลายเป็นบ้านของยูนิคอร์นให้เหล่า สตาร์ตอัพ การให้ทุนสนับสนุนงานศิลปะอย่างเป็นลํ่าเป็นสันของสิงคโปร์ การให้ความสำ�คัญกับการพัฒนาเมืองสร้างสรรค์ของมาเลเซียและฟิลิปปินส์ รวมถึงการจัดทำ�ข้อมูลวัฒนธรรมเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาในกัมพูชา ลาว และพม่า ส่วนในประเทศไทยก็อยู่ในช่วงของการจัดทำ�นโยบายเพื่อ สนับสนุนอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ แต่ทว่างานสร้างสรรค์ของไทยนั้นถูกจัดให้อยู่ในแถวหน้าของอาเซียน นั่นเพราะนอกจากที่ไทยจะเป็นแหล่งรวมนักสร้างสรรค์หลากหลายสาขาแล้ว เรายังมีชัยภูมิทางสังคมซึ่งเหมาะจะเป็นที่ตั้งของหุบเขากูซูที่เหล่าปรมาจารย์ จะสามารถรั ก กั น ได้ อ ย่ า งเปิ ดเผย โดยไม่ ต้อ งปรั บเนื้ อ หาจนทำ�ให้เหล่า แฟนคลับต้องจินตนาการต่อยอดจากเรื่องราวของมิตรภาพให้ฟินน้อยลงกว่า ที่ควรจะเป็น มนฑิณี ยงวิกุล บรรณาธิการอำ�นวยการ
CREATIVE THAILAND I 5
Creative Update : คิดทันโลก
Photo by Mihai Surdu on Unsplash
เรื่อง : นพกร คนไว
ชาวมุสลิมนับเป็นกลุม่ นักท่องเทีย่ วทีม่ กี �ำ ลัง ซื้อมหาศาล โดยเฉพาะในอาเซียนที่มีชาวมุสลิม มากกว่า 240 ล้านคน และนัน่ เป็นเหตุผลทีต่ ลาด การท่องเที่ยวแบบฮาลาลเติบโตขึ้นอย่างมาก ภายในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา รายงานของ The Mastercard-Crescent Rating Global Muslim Travel Index 2019 (GMTI) ได้สรุปผลสำ�รวจการเติบโตของการท่องเทีย่ วฮาลาล พบว่า อินโดนีเซียได้ขยับขึ้นเป็นอับดับ 1 ของ ประเทศที่ มี นั ก ท่ อ งเที่ ย วชาวมุ ส ลิ ม มากที่ สุ ด เคียงคู่ไปกับมาเลเซีย ซึ่งทั้งสองประเทศอยู่ใน กลุ่มองค์การความร่วมมืออิสลาม (OIC) ส่วน ประเทศไทยรั้ ง อั น ดั บ สองรองจากสิ ง คโปร์ เมื่อเทียบกับสิบอันดับประเทศที่ไม่เป็นสมาชิก องค์การความร่วมมืออิสลาม การบริการและสิง่ อำ�นวยความสะดวกทีเ่ ป็น พื้นฐานของผู้ท่ีนับถือศาสนาอิสลาม คือเหตุผล
หลักที่หลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กลายเป็ น จุ ด หมายปลายทางหลั ก สำ � หรั บ นักท่องเที่ยวชาวมุสลิม ตัวอย่างเช่นอินโดนีเซีย ที่ประชาชนมากกว่า 87% นับถือศาสนาอิสลาม ทำ�ให้สามารถหาร้านฮาลาลได้ง่าย รวมไปถึง ผลิตภัณฑ์อน่ื ๆ ทีใ่ ช้ในชีวติ ประจำ�วัน นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวยังเข้ารับบริการของโรงพยาบาลที่ ให้การรักษาเป็นไปตามหลักฮาลาลได้งา่ ย อีกทัง้ มี ส ถานที่ ทางศาสนาอย่ า งมั ส ยิ ด ที่ มี ทั้ง ความ สวยงามและสำ�คัญอีกหลายแห่ง ส่วนสิงคโปร์ ที่แม้จะมีประชากรที่นับถือ ศาสนาอิสลามอยูเ่ พียง 14% แต่กส็ ามารถขึน้ เป็น ประเทศอันดับหนึ่งของประเทศที่ไม่เป็นสมาชิก องค์การความร่วมมืออิสลาม ด้วยการปรับเปลีย่ น รูปแบบการบริการและธุรกิจมากมายที่รองรับ ข้อปฏิบัติตามหลักศาสนา เช่น การกำ�หนด ให้ฟดู้ ฮอว์เกอร์ตา่ ง ๆ และฟูด้ คอร์ตในสนามบิน แห่งชาติชางงีมีโซนอาหารฮาลาลและไม่เป็น ฮาลาลแยกเป็นสัดส่วนชัดเจน อีกทั้งสิงคโปร์ ยังเป็นประเทศที่ตั้งของสำ�นักงาน Have Halal Will Travel เว็บไซต์แนะนำ�การท่องเที่ยวแบบ ฮาลาลที่ได้รับความนิยมจากทั่วโลกอีกด้วย สำ�หรับประเทศไทย นอกจากโรงแรมอัลมีรอซ (Al Meroz) ทีเ่ ป็นโรงแรมฮาลาลแห่งแรกของไทย ซึง่ มีสงิ่ อำ�นวยความสะดวกสำ�หรับชาวมุสลิมและ แพ็คเกจสำ�หรับเทศกาลรอมฎอนเป็นพิเศษแล้ว สำ�นักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) และศูนย์อำ�นวยการบริหารชายแดนใต้ (ศอบต.) ยังได้ร่วมมือกันผลักดันให้กลุ่มผู้ประกอบการใน จังหวัดชายแดนใต้ได้มีโอกาสทางธุรกิจฮาลาล มากขึ้นด้วย โดยได้จัดให้มผี เู้ ชีย่ วชาญคอยให้ค�ำ ปรึกษาด้านผลิตภัณฑ์และการตลาด เพื่อให้เกิด การลงทุนในจังหวัดชายแดนใต้ที่ประชากรส่วน ใหญ่ นั บ ถื อ ศาสนาอิ ส ลาม เตรี ย มพร้ อ ม เจาะตลาดการท่องเที่ยวฮาลาลในอนาคต ที่มา : Mastercard-Crescent Rating Global Muslim Travel Index 2019 / บทความ “Halal tourism boom draws Muslim holidaymakers to Asia” โดย IAN LLOYD NEUBAUER จาก asia.nikkei.com / บทความ “Jokowi plans to replicate Bali’s success in 10 other Indonesian spots” โดย Francis Chan จาก straitstimes.com / บทความ “Singapore could be Asia’s next halal destination” จาก THE JAKARTA POST / บทความ “อบจ. ภูเก็ต จัดงานภูเก็ตอันดามันฮาลาลเอ็กซ์โป ประจำ�ปี 2562” จาก siangtai.com CREATIVE THAILAND I 6
Thailand 4.0 สู่การเป็น Medical Hub ของอาเซียน เรื่อง : นพกร คนไว
อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร หรือ Medical Hub คื อ หนึ่ ง ในกลุ่ ม อุ ต สาหกรรมที่ มี ก ารใช้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่เพือ่ เป็นกลไกในการ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอนาคต (New S-Curve) และเป็นหนึง่ ในอุตสาหกรรมทีไ่ ทยกำ�ลังเดินหน้า ไปเป็ น ศู น ย์ ก ลางของอาเซี ย นตามนโยบาย Thailand 4.0 ในปีทผี่ า่ นมา มีอกี ความหวังหนึง่ ของวงการ แพทย์ไทยนั่นคือ การร่วมมือกันของ 3 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) กระทรวงสาธารณสุ ข (สธ.) และกระทรวง ศึกษาธิการ (ศธ.) แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนา และขับเคลื่อนย่านนวัตกรรมสุขภาพโยธี (YMID) ทีค่ รอบคลุมพืน้ ทีต่ งั้ แต่อนุสาวรียช์ ยั สมรภูมจิ นถึง บริเวณถนนพระราม 6 ซึง่ เป็นที่ตั้งของโรงพยาบาล มากกว่า 10 แห่ง เพื่อเนรมิตให้พื้นที่นี้กลายเป็น ย่านที่ตอบสนองการให้บริการทางการแพทย์ อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งสามารถรองรับคนไข้ ได้เป็นจำ�นวนมาก นอกจากนี้ ไทยยังมีศกั ยภาพที่จะเป็นศูนย์รวม ของการสร้ า งนวั ต กรรมการแพทย์ ส มั ย ใหม่ อีกทัง้ ยังมีแผนพัฒนาเมืองเชียงใหม่ให้กลายเป็น Medical Health Hub ควบคู่ไปกับการเป็น สมาร์ ต ซิ ตี้ โดยการพั ฒ นาแอพพลิ เ คชั น ให้ ประชาชนเข้ า ถึ ง การรั ก ษาได้ อ ย่ า งสะดวก เร่งพัฒนาโรงพยาบาลต่างอำ�เภอให้รองรับผูป้ ว่ ย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความหนาแน่นของ โรงพยาบาลในตัวเมือง และการพัฒนาบุคลากร เพื่อรองรับการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของไทย และของโลกในอนาคต
Photo by Hike Shaw on Unsplash
เจาะตลาดอาเซียน ด้วยการท่องเทีย่ วแบบฮาลาล
ที่มา : บทความ “เชิญพร เต็งอำ�นวย ปัน้ “Medical Hub” จาก prachachat.net / บทความ “เชียงใหม่เร่งดันโรดแมป ‘เมดิคลั ฮับ’ มุ่งสู่ Wellness City-เมืองรองรับเมืองผู้สูงอายุ” จาก prachachat.net / บทความ “ย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี ศูนย์กลางนวัตกรรมและบริการทางการแพทย์ สุขภาพ ครบวงจร ของไทย” จาก ผูจ้ ดั การออนไลน์ / บทความ “Malaysia Medical Tourism Market 2019 Global Analysis, Share, Trend, Key Players, Opportunities & Forecast To 2022” จาก travelwirenews.com / บทความ “Medical Tourism In Singapore “No Longer A Priority” จาก International Medical Travel Journal (imtj.com) / บทความ “Thailand’s MICE Industry Report Medical Hub” โดย สำ�นักงานส่งเสริม การจัดประชุมและนิทรรศการ
อี-สปอร์ต สปิริตที่ขับเคลื่อนภูมิภาค เรื่อง : ภีร์รา ดิษฐากรณ์
ความภาคภูมใิ จทีเ่ กิดจากชัยชนะในเกมกีฬาเป็น สิ่ ง ที่ ข าดไปไม่ ไ ด้ ใ นการสร้ า งสปิ ริ ต ของชาติ ปัจจุบันกระแสการแข่งขันอี-สปอร์ตได้รับ ความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างมากทั้งในประเทศไทย และในกลุม่ ประเทศสมาชิกอาเซียน ไม่วา่ จะเป็น การแข่งขันในกลุ่มเล็ก ๆ หรือไปจนถึงระดับลีก แถมยังมีผใู้ ห้ความสนใจมากพอ ๆ กับการรับชม การแข่งขันกีฬาระดับประเทศหลายรายการใหญ่ ทำ�ให้หน่วยงานต่าง ๆ ทัง้ ภาครัฐและเอกชนต่าง ให้ความสนใจและให้การสนับสนุน สะท้อนให้ เห็นจากจำ�นวนเงินรางวัลของการแข่งขันรายการ อี-สปอร์ตต่าง ๆ อย่างเช่น รายการ Toyota E-League Pro ซึ่งเป็นการแข่งขันระดับอาชีพ อย่างเป็นทางการครั้งแรกในประเทศไทย หรือ รายการ GSB E-CUP 2019 THAILAND การแข่งขัน เกมฟุตบอลทีม่ เี งินรางวัลรวมสูงสุดถึง 3 ล้านบาท ซึ่งมากที่สุดเป็นลำ�ดับที่ 6 ของโลก จากการ เปิดรับสมัครผู้เข้าแข่งขันทั่วทั้งทวีปเอเชีย หลายคนคงสงสัยว่า ทำ�ไมเหล่านักลงทุน และสปอนเซอร์ทั้งหลาย ถึงได้ให้การสนับสนุน การแข่งขันกีฬาอี-สปอร์ตในกลุม่ ประเทศอาเซียน งานวิจัยและข้อมูลจาก Digital 2019 Q3 Global Digital Statshot โดย We Are Social และ Hootsuite รายงานว่า ปัจจุบนั มีจ�ำ นวนประชากร ทัว่ โลกทีร่ บั ชมการแข่งขันกีฬาอี-สปอร์ตประมาณ 1 พันล้านคน เมื่อคิดเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์ต่อ จำ�นวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในแต่ละประเทศแล้ว พบว่า ประเทศทีม่ เี ปอร์เซ็นต่อผูใ้ ช้อนิ เทอร์เน็ตที่ รับชมการแข่งขันมากทีส่ ดุ ในโลกคือ ประเทศจีน (40%) มากกว่า 300 ล้านคน โดยอันดับที่ 2, 3 และ 4 เป็นของเวียดนาม (33%) ฟิลิปปินส์ (29%) และตามด้วยประเทศไทย (25%) อีกทั้งสถิติ การรั บ ชมถ่ า ยทอดสดการเล่ น เกม (Game Streaming) บนแพลตฟอร์มอย่าง Twitch ที่มี ผู้รับชมทั่วโลกกว่า 1.25 พันล้านคน พบว่า ประเทศจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นก็ติด อันดับต้น ๆ ของโลกที่รับชมการแข่งขันผ่าน ช่องทางนี้ โดยอันดับ 1 ของโลก เป็นของ ฟิลิปปินส์ อันดับ 2 คืออินโดนีเซีย ส่วนไทย CREATIVE THAILAND I 7
facebook.com/buriramunitedesports
หากดูที่คู่แข่งของไทย ประเทศซึ่งเคยเป็น ในจุดหมายหลักของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ อย่างสิงคโปร์ กลับถูกประเทศเพือ่ นบ้านเช่นไทย และมาเลเชี ย แซงหน้ า โดยเหตุ ผ ลหลั ก คื อ ค่าครองชีพและค่ารักษาพยาบาลที่สูงขึ้น ทำ�ให้ นักท่องเที่ยวเลือกจะเดินทางไปยังประเทศที่ ประหยั ด กว่ า จากรายงานของ Singapore Tourism Board พบว่า ยอดของนักท่องเที่ยวที่ เดินทางเพื่อมารับบริการด้านสุขภาพในสิงคโปร์ ลดลงกว่า 4 เปอร์เซ็นต์จากปีที่แล้ว ขณะที่มาเลเซียกลับเป็นประเทศที่มีการ เติบโตขึ้นมากในตลาดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เนือ่ งจากมีความพร้อมด้านการบริการของโรงพยาบาล ทีถ่ กู ออกแบบมาอย่างดีในระดับนานาชาติ อีกทัง้ ยังมีตวั เลือกด้านการรักษาทัง้ แพทย์แผนตะวันตก และตะวันออก เช่น สมุนไพรจีน และการฝังเข็ม บุคลากรมีความเชีย่ วชาญรอบด้าน โดยเฉพาะทักษะ การสือ่ สารภาษาอังกฤษทีใ่ กล้เคียงเจ้าของภาษา จุดแข็งอีกประการของมาเลเซียคือ การท่องเทีย่ วแบบ ฮาลาลที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวเฉพาะกลุ่มนี้ได้เป็น จำ�นวนมาก โดยคาดว่าตลาดการท่องเที่ยวเชิง สุขภาพจะสร้างรายได้ให้มาเลเซียได้มากกว่า 535 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2022 และทำ�ให้มาเลเซีย เป็นคูแ่ ข่งน่าจับตามองอีกหนึง่ ประเทศในอาเซียน แม้ปจั จุบนั นี้ ไทยจะเป็นจุดหมายปลายทาง ของการท่องเทีย่ วเชิงสุขภาพอันดับที่ 13 ของโลก (รายงานจาก Global Wellness Institute) แต่หาก เราไม่เร่งพัฒนาอุตสาหกรรมการแพทย์ให้ครบ วงจร ทัง้ ด้านการรักษา การวิจยั และผลิตอุปกรณ์ ทางการแพทย์ การพัฒนายาและเวชภัณฑ์ ตลอดจน การพัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถรองรับ บริการระดับสากล การจะเป็น Medical Hub ของ อาเซียนก็อาจไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่คิด
อยู่ในลำ�ดับที่ 5 ลำ�ดับที่ 6 และ 7 เป็นของ เวียดนาม และมาเลเซียตามลำ�ดับ และอีกไม่นาน นี้ในวันที่ 30 พฤศจิกายน - 11 ธันวาคม 2562 ก็ยังจะมีการจัดการแข่งขันอี-สปอร์ตครั้งแรก ที่ บ รรจุ เ ข้ า เป็ น กี ฬ าชิ ง เหรี ย ญรางวั ล ถึ ง 6 เหรียญทองในการแข่งขันซีเกมส์ 2019 ทีป่ ระเทศ ฟิลิปปินส์ ปริมาณผูช้ มอี-สปอร์ตนัน้ เป็นตัวชีว้ ดั สำ�คัญ ที่เป็นเหตุผลให้นักลงทุนและบรรดาผู้สนับสนุน มองเห็นโอกาสในการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย เช่ น เดี ย วกั บ การขยายตั ว ของอุ ต สาหกรรม อี-สปอร์ตทัว่ โลกทีม่ มี ลู ค่าสูงถึง 900 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ วงการนี้จึงไม่ใช่แค่เพียงเกมเพื่อการ ผ่ อ นคลายอย่ า งเดี ย วอี ก ต่ อ ไป แต่ คื อ ตลาด การลงทุนสำ�คัญของภูมภิ าคอาเซียน และยังอาจ เป็นโอกาสใหม่ให้เยาวชนในกลุม่ ประเทศสมาชิก มีพื้นที่ในการปล่อยของ มีอาชีพที่สร้างรายได้ และสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศชาติได้ในที่สุด ที่มา : บทความ “‘ส.บอล-ธ.ออมสิน’ เปิดศึก GSB E-CUP 2019 ดวล ‘PES 2020’ ชิงเงินรวม 3 ล้านบาท” (29 สิงหาคม 2562) โดย ผู้จัดการออนไลน์ จาก mgronline.com / รายงาน “Digital 2019: Understanding The Esports Opportunity” (25 กรกฎาคม 2019) โดย Simon Kemp จาก datareportal.com / วิดีโอ “เผย 6 เกม ชิงชัยอีสปอร์ต ซีเกมส์ 2019 เรื่องรอบขอบสนาม” (17 มกราคม 2019) โดย Thairath จาก youtube.com
Creative Resource : วัตถุดิบทางความคิด เรื่อง : ปุญญิศา เปล่งรัศมี
F EAT U RED ARTICLE Future Consumer 2020 โดย Andrea Bell เราจะเป็นผู้นำ�ในตลาดโลกได้อย่างไร นอกเสียจากต้องทำ�ความเข้าใจความแตกต่างและหลากหลายของตลาดแต่ละแห่งในโลก ขณะที่ก็ยังมีอีกคำ�ตอบ นั่นคือการต้องเป็นผู้สร้างนวัตกรรมที่สอดคล้องกับอนาคต ในปี 2020 ผู้บริโภคมีแนวโน้มในการเลือกซื้อสินค้าที่แตกต่างจากเดิมอย่างไร พวกเขาคาดหวังอะไรจากแบรนด์ และสิ่งใดจะเข้ามามีบทบาทในปีนี้บ้าง WGSN (World Global Style Network) Insight เครื่องมือช่วยคาดการณ์แนวโน้มหรือเทรนด์โลกได้วิเคราะห์เทรนด์และแนวโน้มต่าง ๆ ในเรื่องของผู้บริโภค การตลาด ธุรกิจค้าปลีก ไปจนถึงแนวโน้มของนวัตกรรมโลก ได้ข้อสรุปว่าในปี 2020 สิ่งที่จะเข้ามาขับเคลื่อนโลกของเรามีอยู่ 3 ประเด็น ต่อไปนี้ 1) ทศวรรษ นี้ให้ความสำ�คัญในเรื่องเกี่ยวกับเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ และความคิดความเชื่อ ผู้บริโภคมีความหลากหลาย พวกเขาต่างมีสิทธิ์มีเสียงในการเลือกซื้อและบริโภค สินค้าและบริการตามความต้องการของตนเอง 2) เทคโนโลยี 5G บนมือถือจะทำ�ให้การเชื่อมต่อมีความสะดวก รวดเร็ว ต่อเนื่องไม่มีสะดุด ส่งผลให้ธุรกิจ รร้านค้าออนไลน์มาแรง และการสร้างประสบการณ์จากเทคโนโลยีโลกเสมือนอย่าง AR และ VR จะได้รับการพัฒนา ซึ่งย่อมส่งผลต่อรูปแบบการบริโภค และ 3) Crowd Based Capitalism หรือระบบเศรษฐกิจที่กลุ่มธุรกิจหลากหลายกลุ่มจะแบ่งปันสินทรัพย์ เงินทุน และแรงงานร่วมกันผ่านแพลตฟอร์มกลาง ต่าง ๆ จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น และผู้บริโภคจะใส่ใจมากขึ้นว่าเงินที่ตนจ่ายไปนั้นได้หมุนเวียนอยู่ในท้องถิ่นจริง จะเห็นได้ว่านอกจากเรื่องของเทคโนโลยีแล้ว ธุรกิจในยุคนี้ยังต้องให้ความสำ�คัญกับคุณค่าของแบรนด์ รวมถึงตัวสินค้าและบริการไปพร้อมกันด้วย สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นโอกาสที่จะเบิกทางธุรกิจให้เติบโตต่อไปได้ในอนาคต ซึ่งผู้ที่ตีโจทย์แตกก็จะสามารถยืนหยัดอยู่ได้ และไม่ว่าใครก็มาโค่นลงได้ยาก
CREATIVE THAILAND I 8
BOOK
Think New ASEAN!: Rethinking Marketing towards ASEAN Economic Community โดย Philip Kotler, Hermawan Kartajaya และ Hooi Den Huan อาเซียนเป็นตลาดที่มีความโดดเด่นจากปัจจัย หลายด้าน ไม่วา่ จะเป็นจำ�นวนประชากรที่มกี ว่า 600 ล้านคน ความหลากหลายของประเทศสมาชิก ทรัพยากรทางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ และ แรงงานที่ได้เปรียบเรื่องราคาค่าแรง การเข้าถึง ตลาดอาเซียนจึงต้องอาศัยทั้งศาสตร์และศิลป์ เพื่อให้ธุรกิจเติบโต หนังสือเล่มนี้อธิบายให้เห็น ถึงความเปลีย่ นแปลงของธุรกิจอาเซียนในปัจจุบนั จากกระบวนการโลกาภิวัตน์ที่ขับเคลื่อนด้วย เทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงยังนำ�เสนอกรณี ศึกษาของธุรกิจในอาเซียนและธุรกิจต่างชาติชน้ั นำ� เพื่อให้เห็นภาพได้ง่ายขึ้น เช่น AirAsia, H&M, Samsung ฯลฯ ว่าแต่ละแบรนด์เลือกลยุทธ์ใน การสร้ า งลู ก ค้ า ที่ ภั ก ดี ต่ อ แบรนด์ แ ละรั ก ษา ตำ�แหน่งในตลาดอาเซียนไว้ได้อย่างไร
FI LM
กะเทาะแก่นอาเซียน: เรียนรู้วัฒนธรรมร่วมสมัย “POP Culture” โดย ดร. อัมพร จิรัฐติกร ในประเทศอินโดนีเซีย หากใครจะแต่งงานกัน จะต้องจดทะเบียนทางศาสนาคูก่ บั ทะเบียนสมรส ทางกฎหมาย ส่วนในประเทศสิงคโปร์ก็มีภาษา อังกฤษในแบบฉบับของตัวเองทีเ่ รียกกันว่า ‘ซิงลิช’ (Singlish) ซึง่ เป็นการพูดภาษาอังกฤษผสมกับคำ� ในภาษาจีน ภาษามลายู และภาษาทมิฬ จาก ตัวอย่างทีก่ ล่าวมาจะเห็นได้วา่ ประเทศต่าง ๆ ใน อาเซียนมีความเป็นอยู่ ความคิดและค่านิยมที่ แตกต่างกันไป หนังสือเล่มนีจ้ ะช่วยเปิดประตูของ วัฒนธรรมร่วมสมัยหรือ POP Culture ทั้งวิธีคิด อารมณ์ขัน ภาษาพูด ไปจนถึงเรื่องต้องห้ามของ คนในอาเซี ย นที่ ห ลายคนอาจไม่ รู้ ม าก่ อ น ถ่ายทอดจากปลายปากกาของนักมานุษยวิทยา ผู้มีประสบการณ์ตรง และเคยใช้ชีวิตอย่างคน วงในที่รู้ลึกรู้จริง
พบกับวัตถุดิบทางความคิดเหล่านี้ได้ที่ TCDC Resource Center CREATIVE THAILAND I 9
Lakbay2Love (2016) กำ�กับโดย Ellen Ongkeko-Marfil เรื่ อ งราวของช่ า งภาพวิ ดี โ อสาวที่ อ กหั ก จาก แฟนหนุ่ม เธอเลือกรักษาแผลใจโดยการก้าว ออกไปปั่นจักรยาน ทำ�ให้ได้เรียนรู้วิถีธรรมชาติ และการอนุรกั ษ์ นีค่ อื ภาพยนตร์แนว Bike Movie เรือ่ งแรกของฟิลปิ ปินส์ ซึง่ คณะกรรมการส่งเสริม การท่องเทีย่ วของฟิลปิ ปินส์ได้เลือกให้ไปเข้าร่วม ในแคมเปญส่งเสริมสถานที่ท่องเที่ยวที่อาจยัง ไม่เป็นที่รู้จักของประเทศ เพื่อให้ภาพยนตร์เป็น อีกหนึง่ เครือ่ งมือทีม่ ศี กั ยภาพในการสร้างจุดหมาย ปลายทางใหม่ของนักท่องเทีย่ วทัว่ โลก และยังเป็น กลยุทธ์กระตุ้นเศรษฐกิจด้วยสื่อบันเทิงที่หลาย ประเทศกำ�ลังเดินหน้าสร้างสรรค์ หากมีเวลา อย่าพลาดไปพิสูจน์ความความสวยงามดึงดูดใจ ของทั ศ นี ย ภาพในเมื อ งอาเซี ย นที่ น่ า จะสร้ า ง ความประทับใจได้ไม่ยาก
MDIC : นวัตกรรมและวัสดุ
ทำ�ความรู้จักงานคราฟต์ของเวียดนาม ผ่าน VIETCRAFT ในขณะที่กลุ่มคนที่มีรายได้ปานกลางบางกลุ่มกำ�ลังหดตัวลง หรืออำ�นาจ การใช้จ่ายของกลุ่มนี้กำ�ลังตกอยู่ภายใต้แรงกดดันจากการถดถอยทาง เศรษฐกิจ แต่ก็มีพื้นที่หนึ่งของโลกที่คนกลุ่มนี้กำ�ลังเติบโต นั่นก็คือในแถบ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายในปีพ.ศ. 2573 คาดว่าครัวเรือนระดับกลาง ที่มีรายได้ 10,000 เหรียญสหรัฐฯ หรือมากกว่าต่อปี จะเพิ่มขึ้นเป็น 51 ล้าน คนในอินโดนีเซีย 18 ล้านคนในเวียดนาม 11 ล้านคนในฟิลิปปินส์ และ 8 ล้านคนในประเทศไทย ทำ�ให้มีกลุ่มธุรกิจที่เห็นโอกาสในกำ�ลังซื้อและ ทรัพยากรที่มีอยู่ เกิดการซื้อขายสินค้าที่มีอัตลักษณ์ในภูมิภาคนี้ หนึ่ ง ในแหล่ ง ข้ อ มู ล ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ง านหั ต ถกรรมของเวี ย ดนาม คื อ VIETCRAFT ในฐานะองค์กรชั้นนำ�ของเวียดนาม และมีความสัมพันธ์ใกล้ชิด กับเครือข่ายสมาชิกทีท่ �ำ งานหัตถกรรมกว่า 800 แห่งทัว่ ประเทศ VIETCRAFT จึงสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีอยู่มากมายในประเทศได้ ทั้งยังมี การจั ด เก็ บ ข้ อ มู ล ภาพที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ งานหั ต ถกรรมผ่ า นแพลตฟอร์ ม vietcraftmedia.com และแหล่งข้อมูลหมู่บ้านที่ทำ�งานด้านหัตถกรรม (Craft Villages in Vietnam) VIETCRAFT มุ่งสร้างการเชื่อมโยงผู้ผลิตกับ ผู้ประกอบการหรือนักออกแบบที่ต้องการทำ�ธุรกิจงานคราฟต์ เกิดเป็น ส่วนบริการจัดหาวัสดุและผลิตภัณฑ์ให้แก่คนที่สนใจธุรกิจงานฝีมือและ หัตถกรรมอย่างครบวงจร ตั้งแต่การออกแบบ พัฒนาผลิตภัณฑ์ จัดหา วัตถุดบิ และโรงงานผลิต วางแผนและจัดการการผลิต ตรวจสอบโรงงาน จนถึง การประกันคุณภาพและเอกสารการส่งออก เพือ่ ตอบสนองความต้องการของ บริษัทที่ทำ�ธุรกิจระหว่างประเทศ คุณภาพของผลิตภัณฑ์ ราคาที่แข่งขันได้ รวมทั้งการส่งมอบสินค้าที่ตรงเวลาและเชื่อถือได้ของธุรกิจคราฟต์เหล่านี้ ล้วนผ่านการรับรองมาตรฐาน SA 8000 โดยมีทีมผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ คอยดูแลตลอดการให้บริการ และสร้างให้ VIETCRAFT เปรียบเสมือนประตู สูแ่ หล่งหัตถกรรมสินค้าตกแต่งบ้าน เฟอร์นเิ จอร์ ของใช้ในบ้าน และของขวัญ ที่สำ�คัญของประเทศเวียดนาม
vietcraft.org.vn
เรื่อง : ปิยวรรณ กลิ่นศรีสุข
นอกจากนี้ VIETCRAFT ยังได้รว่ มมือกับสาขาการออกแบบอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยลุนด์ ประเทศสวีเดน (The School of Industrial Design at Lund University) ก่อตั้ง Hanoi Design Centre (HDC) ความร่วมมือนี้ได้ รับทุนจาก Swedish International Development Cooperation Agency (SIDA) บางส่วน และได้รับการสนับสนุนจากสถานทูตสวีเดนในกรุงฮานอย งานของ HDC เป็นงานต่อเนื่องหลายปีจากการทำ�งานโครงการพัฒนา เพือ่ สร้างความสามารถในการออกแบบในเวียดนาม การเรียนรูจ้ ากโครงการ ที่ผ่านมามีเป้าหมายเพื่อให้แน่ใจว่า จะสามารถหาโซลูชันที่ยั่งยืนสำ�หรับ การออกแบบการพัฒนาในภาคหัตถกรรมให้เติบโตอย่างต่อเนือ่ ง โดยไม่ตอ้ ง รั บ ความช่ ว ยเหลื อ จากต่ า งประเทศหรื อ เงิ น อุ ด หนุ น รวมทั้ ง เกิ ด เป็ น แพลตฟอร์มจุดนัดพบเพื่อการออกแบบและงานฝีมือในเวียดนามที่เติบโต ต่อไปได้อย่างยั่งยืน ที่มา : hanoidesigncenter.com / jpns.se vietcraftmedia.com / vietcraft.org.vn
พบกับนวัตกรรมและวัสดุสร้างสรรค์ ได้ที่ชั้น 2 ห้อง Material & Design Innovation Center, CEA CREATIVE THAILAND I 10
พบกับนิตยสาร “คิด” Creative Thailand ได้ที่ ร้านหนังสือ ห้องสมุด สมาคม อาคารสำ�นักงาน และร้านกาแฟใกล้บ้าน ในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ หัวหิน และจังหวัดอื่นๆ รวมถึง miniTCDC
หมดปญหาหยิบนิตยสารไมทัน สมัครสมาชิกรายป คาใชจายในการจัดสง 200 บาท (12 เลม)
ดูสถานที่จัดวางทั้งหมดได้ที่: creativethailand.org/contactus
หรือดาวนโหลดใบสมัครออนไลน creativethailand.org/contactus
กรุงเทพฯ ร้านหนังสือ • Asia Books • Kinokuniya • B2S • แพร่พิทยา
• MAIIAM Contemporary Art Museum • ชีวิต ชีวา • Minimeal Cafe • Impresso • Restr8to • Penguin Villa (Penguin Getto) ร้านกาแฟ/ร้านอาหาร • กาแฟอาข่า อ่ามา • Au Bon Pain La Fattoria สาขา2 • Starbucks • TOM N TOM’S COFFEE • Happy Hut ถ.นิมมานฯ • True Coffee • ราชดำ�เนิน • Auntie Anne’s • Mai Bakery In Garden • Baskin Robbins • Starbucks The Plaza • Coffee World • Yesterday Hotel • Mister Donut • October • Black Canyon • สุรยิ นั จันทรา นิมมานฯ ซอย 1 • McCafe’ • ร้านมีชามีชัย (กู) • ดอยตุง • Cafe’de nimman • Ninety four coffee • The Booksmith • Puff & Pie • ร้านชา (Drink Club) • Red Mango • Cotto Studio • Iberry • Starbucks Nimmanhemin • Greyhound Cafe’ • Fern Forest Cafe’ • Amazon Cafe’ • 9th Street Cafe • Chester’s Grill นิมมานฯ ซอย 9 • Luv minibar • ดวงกมล (Duang Kamol) • Rustic & Blue - Handgrown พิพิธภัณฑ์/หอศิลป์ • Produce & Artisan Food • หอศิลปวัฒนธรรม นิมมานฯ ซอย 9 แห่งกรุงเทพมหานคร • หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม • มิวเซียม สยาม • อุทยานการเรียนรู้ (TK park) มช. • นำ�ทอง แกลเลอรี่ หัวหิน • ร้านกาแฟ ชุบชีวา หัวหิน สมาคม/ห้องสมุด • อยู่เย็น หัวหิน บัลโคนี่ • ศูนย์ศิลปะนานาชาติ • บ้านใกล้วัง สมาคมฝรั่งเศส • ภัตตาคารมีกรุณา • ห้องสมุดเนลสัน เฮลส์ The Neilson Hays Library • บ้านถั่วเย็น @ แนบเคหาสน์ • ร้านอาหารหัวหิน (โกทิ) • ห้องสมุด - นิด้า • กาแฟข้างบ้าน • สมาคมโฆษณา • IL GELATO ITALIANO แห่งประเทศไทย • Together Bakery & Cafe’ • สมาคมธนาคารไทย • โรงแรม วรบุระหัวหิน • สมาคมสโมสรนักลงทุน • Let’s Sea • ห้องสมุด สสวท. • โรมแรม ดูน หัวหิน • สมาคมหอการค้าไทย • เดอะร็อค หัวหิน • สถาบัน • บ้านจันทร์ฉาย • Wall Street Institute • หัวหิน มันตรา รีสอร์ท • Raffle Design Institute • ลูน่าฮัท รีสอร์ท • Vision Swimming Academy กระบี่ • Nakamanda Resort & Spa เชียงใหม่ • Rawee Warin Resort & Spa • woo cefe • A little Handmade Shop • Kagee • Ristresto lab • ท่าแพอีสต์+ dibdee.binder ขอนแก่น • Hug School • C.A.M.P ,MAYA • True Coffee ,หอสมุด มช. of Creative Arts • ร้านสืบสาน • Punspace, นิมมานฯ • ร้านกาแฟ คอฟฟี่ เด้อ หล่า • asama cafe • มาหาสมุด (บ้านข้างวัด) (Coffee Der La) • see scape gallery เชียงราย • nimmanian club • ร้านหนังสือ herebookafe • 8 days a week • ร้าน Coffee Dad • Bulbul book cafe’ • Graph cafe’ นครราชสีมา • Cefe de museum • Hug station resort • local cafe Think park • Librarista นครปฐม • Artisan วัวลาย • ร้าน Dipchoc Cafe • paper spoon • กาแฟรสนิยม, นครสวรรค์ หลัง มช ทางขึ้นกาแล • The barn : Eatery Design • ร้าน Bitter Sweet • Book Republic น่าน • wake up หน้ามอ • ร้าน Runway Coffee • Fab cafe’ • kum cafe คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ • ร้านคลาสสิค โมเดล น่าน
• ร้านกาแฟปากซอย • ร้าน Nan Coffee Bean ปาย/แม่ฮ่องสอน • ร้านคอฟฟี่อินเลิฟ • ร้าน all about coffee • ร้านปายหวานบ้านนมสด • ร้านเล็กเล็ก • ปายวิมานรีสอร์ท พังงา • Niramaya Villa and Willness Resort • Ranyatavi Resort Phang Nga • The Sarojin เพชรบุรี • Grand Pacific Sovereign • Resort & Spa • DevaSom Hua Hin Resort ภูเก็ต • ร้านหนัง(สือ) ๒๕๒๑ ภูเก็ต • The oddy Apartment & Hotel • At Panta Phuket • Banyan Tree Phuket • Le Meridien Phuket • Millienium Ressort Patong Phuket • Novotel Phuket Resort • Patong Paragon Resort & Spa Phuket • Sheraton grand Lagana Phuket • Sri wanwa Phuket Villa • Thanyapura ระยอง • Le Vimarn Cottage ลำ�ปาง • อาลัมภางค์ เกสท์เฮ้าส์ แอนด์ มอร์ ลำ�ปาง • ร้านเอกาลิเต้ Egalite Bookshop • Lampang Art Center เลย • บ้านชานเคียง • มาเลยเด้ เกสต์เฮาท์ ลพบุรี • ซนดิคอฟฟี่ สมุทรสงคราม/อัมพวา • Baan Amphawa Resort and Spa สุโขทัย • Ananda Co.,Ltd. สุราษฎร์ธานี • Muang Samui Spa Resort • Pavilion Samui Boutique Resort • The Sunset Beach Resort and Spa Taling ngam • Nora Beach Resort Samui อุทัยธานี • ร้านบุ๊คโทเปีย Booktopia • Avatar Miracles
ขอมูลผูสมัครสมาชิก สมาชิกใหม ชื่อ นามสกุล เพศ โทรศัพท
สมาชิกเกา (ตออายุ) หญิง อายุ
ชาย
อีเมล
โทรศัพทมือถือ
อาชีพ นักเรียน ครู/อาจารย
นิสิต/นักศึกษา พนักงานบริษัท
นักออกแบบ/ครีเอทีฟ ผูประกอบการ
อาชีพอิสระ อื่นๆ โปรดระบุ
ขาราชการ/รัฐวิสาหกิจ
สาขา/อุตสาหกรรมที่เกี่ยวของกับอาชีพของทาน โฆษณา สถาปตยกรรม แฟชั่น ศิลปะการแสดง ดนตรี ภาพยนตร โทรทัศน/วิทยุการกระจายเสียง
ทองเที่ยว/โรงแรม/สายการบิน วรรณกรรม/การพิมพ/สื่อสิ่งพิมพ พิพิธภัณฑ/หองแสดงงาน ซอฟตแวร/แอนิเมชัน/วิดีโอเกม
หัตถกรรม/งานฝมือ การเงิน/ธนาคาร ทัศนศิลป/การถายภาพ อื่นๆ โปรดระบุ
อาหาร การแพทย การออกแบบ
คาปลีก/คาสง โทรคมนาคม
ที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ จังหวัด
ซอย
ถนน รหัสไปรษณีย
หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง
อำเภอ/เขต
หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง
อำเภอ/เขต
ที่อยูในการออกใบเสร็จ เหมือนที่อยูในการจัดสง เลขประจําตัวผูเสียภาษี เพื่อออกใบเสร็จรับเงิน หมูบาน/บริษัท เลขที่ ซอย ถนน จังหวัด รหัสไปรษณีย
ตองการสมัครสมาชิกนิตยสาร Creative Thailand ระยะเวลา 1 ป จำนวน 12 เลม เริ่มตั้งแตฉบับเดือน โดยยินดีเสียคาใชจายในการจัดสงเปนจำนวนเงิน 200 บาท
วิธีการชำระเงิน เช็คสั่งจายสํานักงานสงเสริมเศรษฐกิจสรางสรรค (องคการมหาชน) (CEA) พรอมใบสมัครสมาชิก โอนเงินเขาบัญชี สำนักงานสงเสริมเศรษฐกิจสรางสรรค (องคการมหาชน) ธนาคารกรุงเทพ สาขาสำนักงานใหญสลี ม เลขทีบ่ ญั ชี 101-9-12219-9 • แฟกซใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่ 02-105-7450 • หรือสงไปรษณียมาที่ สํานักงานสงเสริมเศรษฐกิจสรางสรรค (องคการมหาชน) (CEA) อาคารไปรษณียกลาง 1160 ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500 • หรือแนบไฟลใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่อีเมล creativethailand@cea.or.th สอบถามขอมูลเพิ่มเติมไดที่ 02-105-7400 ตอ 116
Cover Story : เรื่องจากปก
เรื่อง : มนฑิณี ยงวิกุล เมื่อกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนที่มีประชากรมากกว่า 600 ล้านคนลุกขึ้นมาอ้าแขนรับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ขุมทรัพย์ทางวัฒนธรรม ที่เคยซุกซ่อนจึงถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นส่วนประกอบในการสร้างสรรค์งานที่สร้างมูลค่าไปพร้อมกับการเปิดโอกาสให้หนุ่มสาวยุคใหม่ จากในเมืองและท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่การพัฒนาพื้นที่ในรูปแบบของย่านสร้างสรรค์ ไปจนถึงการแก้ปัญหาระดับโลก
Creative ASEAN ทิศทางของการพัฒนาทีธ่ นาคารโลกและองค์การ เพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) พยายามผลักดัน ทัง้ ‘Inclusive Growth’ ทีห่ มายถึงการเติบโตทีล่ ดช่องว่างความไม่เท่าเทียม ของรายได้ และขยายโอกาสใหม่ ๆ สำ�หรับทุกคน และ ‘Resilience’ หรือการพัฒนาเศรษฐกิจให้พร้อม สำ�หรับการรับมือและฟื้นจากวิกฤตอย่างรวดเร็ว ทำ�ให้การพัฒนาเศรษฐกิจบนพืน้ ฐานของความคิด สร้างสรรค์ ไม่ได้ถกู ยอมรับในแง่ของการส่งเสริม ความสามารถในการแข่งขันเพียงอย่างเดียว แต่ยงั สามารถยึดโยงทั้งสองประเด็นนี้เข้าไว้ด้วยกัน ในการประชุ ม เศรษฐกิ จ สร้ า งสรรค์ โ ลก (World Conference on Creative Economy:
WCCE) ที่ริเริ่มจากสำ�นักงานส่งเสริมเศรษฐกิจ สร้างสรรค์แห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย (BEKRAF) ที่เมืองบาหลี เมื่อวันที่ 6 - 7 พฤศจิกายน 2561 จึงถูกจัดขึน้ ภายใต้ธมี Inclusive Creative เพราะ เชื่อว่าอุตสาหกรรมสร้างสรรค์จะนำ�ไปสู่ธุรกิจ ในยุคใหม่ ที่ไม่ได้จำ�กัดอยู่กับกลุ่มเจ้าของทุน ขนาดใหญ่ แต่เป็นสนามทีเ่ ปิดกว้างสำ�หรับทุกคน ให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคม โดยที่มีเทคโนโลยีและดิจิทัลเป็น เครื่องมือในการทำ�ให้เกิดความร่วมมือในการ สร้างสรรค์จากทั่วโลก การเปิดเกมของพี่ใหญ่อินโดนีเซียในเวที การประชุมระดับโลก เป็นเพียงส่วนหนึง่ ของโรดแมป ในการทำ�ให้ ‘ความคิดสร้างสรรค์’ ขยับขึ้นเป็น CREATIVE THAILAND I 12
ความร่วมมือระดับภูมิภาคและสร้างการยอมรับ ระดั บ โลกจากการตกลงตามข้ อ มติ ส มั ช ชา สหประชาชาติในปี 2021 รวมถึงการเสนอให้มี การจัดตัง้ ศูนย์รวมความเป็นเลิศและความร่วมมือ ระหว่ า งประเทศด้ า นเศรษฐกิ จ สร้ า งสรรค์ (Global Center of Excellent And International Cooperation For Creative Economy) เพือ่ เป็น องค์กรที่ให้ความสำ�คัญกับการวิจยั และการส่งเสริม ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ระดับโลก ซึง่ ความเคลือ่ นไหวต่าง ๆ นีจ้ ะช่วยกระตุน้ ให้เกิด การถักทอเครือข่ายความร่วมมือภายในกลุ่ม ประเทศสมาชิกอาเซียนทัง้ พหุภาคีและทวิภาคีให้ เกิดขึน้ อย่างค่อยเป็นค่อยไปตามระดับการพัฒนา เศรษฐกิจสร้างสรรค์ของแต่ละประเทศ
ข้อมูลพื้นฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 5 ประเทศสมาชิกอาเซียน ประเทศ
อินโดนีเซีย
มูลค่าอุตสาหกรรม สร้างสรรค์
จ้างงาน / แรงงาน
มูลค่าการส่งออก สินค้าสร้างสรรค์ (ปี 2014)
มูลค่าการส่งออก บริการสร้างสรรค์ (ปี 2014)
2.41 ล้านล้านบาท (77.9 พันล้านเหรียญ สหรัฐฯ) 7.44% ของจีดพี ี ขนาดใหญ่เป็น อันดับสามของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา และเกาหลีใต้ (ข้อมูลปี 2018)
17 ล้านคน
159,861 ล้านบาท
8,165 ล้านบาท
365,000 ล้านบาท (625 พันล้านเปโซ) 7% ของจีดีพี (ข้อมูลปี 2010)
530,000 คน
28,379 ล้านบาท
100,332 ล้านบาท
81,929 ล้านบาท (11.2 พันล้านริงกิต) 2.4% ของจีดีพีเมืองกัวลาลัมเปอร์ (ข้อมูลเฉพาะกัวลาลัมเปอร์ ปี 2016)
86,478 คน (ข้อมูลเฉพาะ กัวลาลัมเปอร์ ปี 2016)
188,790 ล้านบาท
45,067 ล้านบาท (ข้อมูลปี 2009)
1.4 ล้านล้านบาท 9.1% ของจีดีพี (ข้อมูลปี 2017)
826,000 คน
204,456 ล้านบาท
1,160 ล้านบาท (ข้อมูลปี 2013)
101,777 ล้านบาท (ข้อมูลอุตสาหกรรม ออกแบบปี 2013 และ ข้อมูลศิลปะ และวัฒนธรรม ปี 2017)
56,172 คน
337,911 ล้านบาท
21,266 ล้านบาท
ฟิลิปปินส์
มาเลเซีย
ไทย
สิงคโปร์
(เฉพาะอุตสาหกรรมออกแบบ ศิลปะและวัฒนธรรม) ที่มา : UNDP , National Art Council, Singapore, Cultural Economy Development Agency, Malaysia, การประชุม ASEAN Reginal Workshop on Creative Economy, todayonline.com
เติบโตไปกับย่านสร้างสรรค์ ถ้าว่ากันด้วยระดับนโยบาย แม้จะมีทศิ ทางทีช่ ดั เจนแต่ยงั ต้องใช้เวลากว่าจะเห็นผล แต่ใช่วา่ เหล่าสมาชิกอาเซียนจะนั่งรอเฉย ๆ เมื่อกลุ่มภาคเอกชนลุกขึ้นมา ร่วมวงกับภาครัฐในการผลักดันให้เกิดการพัฒนาแบบทั่วถึง (Inclusive) ภายใต้แนวคิดของการทำ�ย่านสร้างสรรค์ที่เริ่มจากเมืองรอง ก่อนจะฉุดให้เมืองหลวง และส่วนอื่น ๆ ขยับตาม ความสำ�เร็จของเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์แห่งภูมภิ าคตะวันออกเฉียงใต้ ซึง่ ประกอบด้วยเมืองรองทีป่ ระสบความสำ�เร็จในการใช้ความคิดสร้างสรรค์เพือ่ การพัฒนาเมือง สร้างแบรนด์ และการท่องเที่ยว อย่างเช่น จอร์จทาวน์ (George Town) ที่เปลี่ยนเมืองมรดกโลกให้มีความร่วมสมัยด้วยการจัดจอร์จ ทาวน์ เฟสติวลั ตัง้ แต่ปี 2010 สามารถกระตุน้ เศรษฐกิจให้กบั เมืองจากการใช้จา่ ยของนักท่องเทีย่ วได้มากกว่า 60 ล้านบาท และมูลค่าแบรนด์มากกว่า 1,180 ล้านบาท จึงทำ�ให้เมืองเล็ก ๆ แห่งนี้แน่นขนัดไปด้วยนักท่องเที่ยว อย่างไรก็ดี แม้การพัฒนาจะสร้างรายได้ให้คนในพื้นที่ แต่ก็อาจจะต้องมาทบทวนเรื่องความสมดุล กับความเป็นอยูข่ องชุมชนในอนาคต ถัดมาทีเ่ มืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซีย ทีข่ ยับขยายจนกลายเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโกด้านการออกแบบ ติดตามมาด้วยเมืองเชียงใหม่ของไทย ที่เพิ่งเข้าเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโกด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านเมื่อปี 2017 สุดท้ายคือ เมืองเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ ที่เป็นแหล่งรวมสตูดิโอออกแบบเฟอร์นิเจอร์ชื่อดัง วางแผนจัดงานเซบู ดีไซน์ วีก 2019 เพื่อเป็นโปรไฟล์ในการสมัครเป็นเครือข่ายเมือง สร้างสรรค์ของยูเนสโกด้านการออกแบบในปีถัดไป CREATIVE THAILAND I 13
แผนทีเ่ ครือข่ายเมืองสรรค์ของยูเนสโก ในกลุม่ ประเทศอาเซียน
Baguio City of Crafts and Folk Art 2017
Creative City of Gastronomy, ภูเก็ต 2015
Creative City of Design, Singapore 2015
เชียงใหม่ Creative City of Crafts and Folk Art, 2017
Pekalongan, City of Crafts and Folk Arts also known as the “Batik City” 2014
ประเทศ
แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์
กัมพูชา
Creative City of Design, Bandung 2015
อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เน้นทีศ่ ลิ ปะ การแสดง หัตถกรรม ดูแลโดย 3 กระทรวงหลัก คือ 1) กระทรวงวัฒนธรรมและศิลปะ ดูแล ด้านลิขสิทธิแ์ ละทีเ่ กีย่ วข้อง 2) กระทรวงพาณิชย์ ดูแลด้านเครือ่ งหมายการค้า สิง่ บ่งชีท้ างภูมศิ าสตร์ (GI) และความลับทางการค้า 3) กระทรวงอุตสาหกรรมและหัตถกรรม ดูแลด้านสิทธิบัตรและการออกแบบอุตสาหกรรม การส่งเสริมให้ชุมชนเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาทางวัฒนธรรม และจัดทำ�ฐานข้อมูลวัฒนธรรม (Cultural Mapping) เพื่อใช้ ในการจัดทำ�สาธารณูปโภค ส่งเสริมเทคโนโลยีเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม จัดทำ�ฐานข้อมูลอัตลักษณ์ที่สืบทอดมา เพือ่ ใช้เป็นพืน้ ฐานสำ�หรับการต่อยอดวัฒนธรรม ความคิดสร้างสรรค์ และชุมชนสัมพันธ์
ที่มา : การประชุม ASEAN Regional Workshop on Creative Economy 4-5 กันยายน 2562 ลาว
อุตสาหกรรมสร้างสรรค์เน้นที่ผู้ประกอบการขนาดกลาง ขนาดเล็ก ขนาดย่อม (MSME) แผนพัฒนา MSME 1) ส่งเสริมนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลการผลิต 2) เพิ่มสัดส่วนของ MSME ที่เข้าถึงแหล่งเงินทุน เป็นร้อยละ 30 ในปี 2020 3) เพิม่ สัดส่วน MSME ที่เข้าถึงบริการด้านการพัฒนาธุรกิจ เป็นร้อยละ 10 ในปี 2020 4) ขยายตลาดในและ ต่างประเทศ โดยเพิม่ สัดส่วนการส่งออกของ MSME เป็นร้อยละ 20 ในปี 2020 5) พัฒนาผูป้ ระกอบการใหม่ให้เพิม่ ขึน้ เป็นร้อยละ 4 ในปี 2020 6) สร้างสภาพแวดล้อมทีเ่ หมาะสำ�หรับการเริม่ ต้นและดำ�เนินธุรกิจ เช่น ลดระยะเวลาการจดทะเบียนจาก 67 วันเหลือ 25 วัน 7) พัฒนานโยบายเพือ่ ส่งเสริมให้ MSME เพิ่มกำ�ไร และมีการใช้คอมพิวเตอร์ในการบริหารธุรกิจเพิ่มขึ้น
ที่มา : การประชุม ASEAN Regional Workshop on Creative Economy 4-5 กันยายน 2562
CREATIVE THAILAND I 14
เมืองหลวงอย่างมะนิลา ยังมีความเคลือ่ นไหว โดยสภาเศรษฐกิ จ สร้ า งสรรค์ แ ห่ ง ฟิ ลิ ป ปิ น ส์ (Creative Economy Council of the Philippines: CECP) ที่เกิดจากการรวมตัวกันของภาคเอกชน จากสาขาครีเอทีฟที่มาร่วมกันจัดทำ�แผนส่งเสริม อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Philippine Creative Industries Master Plan) ที่นอกจากจะสนับสนุน ด้านนโยบาย เงินทุน การพัฒนาทักษะแล้ว ยังรวมถึงการทยอยทำ�ให้เมืองต่าง ๆ ในฟิลปิ ปินส์ ผุดย่านสร้างสรรค์ขึ้นมาตามลำ�ดับ
มาเอสทรานซา (Maestranza) พื้นที่ริมนํ้า ยาว 300 เมตรทีป่ ระกอบด้วยห้องขนาดเล็ก 45 ห้อง เป็นตัวอย่างของความร่วมมือระหว่าง CECP และสำ�นักงานเขตอินทรามูรอส (Intramuros) ในการปรับปรุงอาคารยุคอาณานิคมให้กลายเป็น พื้นที่สร้างสรรค์ในเขตเมืองเก่าทางตอนเหนือ ของกรุงมะนิลา เพื่อให้เป็นแหล่งชุมนุมของ นักสร้างสรรค์ในทุกสาขา และเป็นบันไดในการ ส่งให้มะนิลาเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของ ยูเนสโก ต่อจากเมืองบาเกียว ที่เป็นเครือข่าย ด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านเมื่อปี 2017
มาเอสทรานซา ติดกับแม่นํ้าพาสิก (Pasig River) ที่รอวันปรับปรุงเป็นพื้นที่สร้างสรรค์ของมะนิลา
ประเทศ เวียดนาม
ส่วนประเทศไทยมีความเคลือ่ นไหวด้านการ เข้าเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก เช่นกัน โดยกรุงเทพฯ และสุโขทัยต่างก็ยื่นสมัคร เป็นเมืองด้านการออกแบบ และเมืองด้านหัตถกรรม และศิลปะพื้นบ้านตามลำ�ดับ ซึ่งจะประกาศผล ภายในปี 2019 ขณะเดียวกันกลุ่มนักสร้างสรรค์จาก 51 เมืองทั่วประเทศของอินโดนีเซีย ที่รวมตัวกัน ก่ อ ตั้ ง เครื อ ข่ า ยเมื อ งสร้ า งสรรค์ อิ น โดนี เ ซี ย (The Indonesian Creative Cities Network: ICCN) ในปี 2014 ก็มีความเคลื่อนไหวในการส่ง เสริมศักยภาพของชุมชนหรือเมืองต่าง ๆ ให้ใช้ ความคิดสร้างสรรค์เพือ่ พัฒนาเมืองในแบบทีไ่ ม่เน้น ผลทางเศรษฐกิจอย่างเดียว แต่เป็นทัง้ การอนุรกั ษ์ วัฒนธรรมและความเป็นอยู่ที่สามารถเคลื่อนที่ ไปกับการเปลี่ยนแปลงของโลก สู่วัฒนธรรม 4.0 เทคโนโลยีดจิ ทิ ลั เป็นองค์ประกอบสำ�คัญของการ ผลักดันให้เศรษฐกิจสร้างสรรค์เติบโต ซึ่งพิสูจน์ จากความสำ�เร็จของ K POP และ Cool Japan ทีท่ �ำ ให้วฒั นธรรมสามารถลืน่ ไหลไปกับการอนุรกั ษ์ และสร้างมูลค่าเพิ่มในเวลาเดียวกัน ดังนั้น กลุ่ม อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ทข่ี น้ึ แท่นเป็นเป้าหมายของ รัฐบาลประเทศอาเซียน จึงอยู่ในกลุ่มภาพยนตร์
แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์
ปี 2016 จัดทำ�ยุทธศาสตร์ชาติในการพัฒนาอุตสาหกรรมวัฒนธรรม เพื่อเป็นกรอบในการพัฒนาอุตสาหกรรมวัฒนธรรม ในเวียดนามให้มมี ลู ค่าเพิม่ เป็นร้อยละ 7 ในปี 2030 โดยมีอตุ สาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเป็นหัวหอกของการพัฒนา จากจำ�นวนแหล่งวัฒนธรรม 40,000 แห่งทั่วประเทศ ส่งเสริมการพัฒนาพืน้ ทีส่ ร้างสรรค์ (Creative Hub) ในรูปแบบของพืน้ ทีจ่ ดั แสดงงานศิลปะ และเรียนรู้ ที่ดำ�เนินการโดยภาคเอกชน จัดตั้ง Vietnam-Korea Design Center เพื่อส่งเสริมแบรนด์สินค้าเวียดนาม
ที่มา : vietnamnet.vn / UNESCO พม่า
จัดทำ�แผนพัฒนาเพื่อความยั่งยืน (Myanmar Sustainable Development Plan : MSDP) เป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ของประเทศที่ประกาศใช้เมื่อเดือนกรกฎาคม 2016 ยุทธศาสตร์ข้อหนึ่งของ MSDP คือ ให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และส่งเสริมนวัตกรรม โดยมีแผนดังนี้ 1) จัดทำ� นโยบายเพือ่ ให้เกิดการสนับสนุนร่วมกันระหว่างหน่วยงาน 2) จัดตัง้ หน่วยงานเพือ่ ดูแลทรัพย์สนิ ทางปัญญา 3) ส่งเสริมการศึกษา และสร้างการรับรูร้ ะบบการจัดการทรัพย์สนิ ทางปัญญาและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 4) ร่วมมือกับองค์การทรัพย์สนิ ทางปัญญาโลก (WIPO) และประเทศพัฒนาแล้วในการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ในปี 2019 เริ่มใช้กฎหมายการออกแบบอุตสาหกรรม (Industrial Design Law) เครื่องหมายการค้า สิทธิบัตรและลิขสิทธิ์ ที่มา : การประชุม ASEAN Regional Workshop on Creative Economy 4-5 กันยายน 2562
CREATIVE THAILAND I 15
ACHDA เก็บข้อมูลวัตถุโบราณ
การเก็บข้อมูลจากพื้นที่มรดกโลก
เพลง เกม และโฆษณา การใช้เทคโนโลยีเออาร์ (Augment Reality) และวีอาร์ (Virtual Reality) เพื่อการสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ รวมถึงการส่งเสริม กลุ่มสตาร์ตอัพ ดังเช่นที่อินโดนีเซียได้กลายเป็น บ้านเกิดของยูนิคอร์นถึง 4 ตัว ไม่ว่าจะเป็น Traveloka บริการด้านการท่องเที่ยว Go Jek บริการการเดินทาง Tokopedia และ Bukalapak ด้านการขายของออนไลน์ ซึ่งไม่เพียงสร้างมูลค่า มหาศาล แต่ยังทำ�ให้การใช้ชีวิตประจำ�วันของ ผู้คนสะดวกมากขึ้น นอกจากดิจทิ ลั จะทำ�ให้อตุ สาหกรรมสร้างสรรค์ มีโอกาสขยายตัวในตลาดโลกแล้ว ในทางกลับกัน ดิจิทัลยังเป็นเครื่องมือในการรักษารากฐานทาง วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์สำ�คัญของโลกที่ สามารถนำ�กลับมาใช้ใหม่อย่างไม่รู้จบ ภายใต้ โครงการการจัดทำ�ฐานข้อมูลมรดกวัฒนธรรม อาเซียน (ASEAN Cultural Heritage Digital Archive: ACHDA) เป็นโครงการทีไ่ ด้รบั สนับสนุน
เงินทุนจากรัฐบาลญีป่ นุ่ ในการเก็บข้อมูลวัตถุโบราณ เอกสารเก่าและภาพวาด ด้วยการสแกน 3 มิติ เพือ่ จัดเก็บในฐานข้อมูลออนไลน์ทเี่ ปิดให้เป็นสาธารณะ โดยเริ่มต้นเก็บจากประเทศอินโดนีเซีย และกำ�ลัง อยู่ ในช่วงต้นของการพัฒนาการเก็บข้อมูลพื้นที่ มรดกโลกของยูเนสโกจากประเทศพม่า กัมพูชา และอินโดนีเซีย เพื่อว่าในอนาคตหากเกิดเหตุการณ์ ไม่คาดฝันทีท่ �ำ ให้มรดกโลกเกิดความเสียหาย ก็ยงั คงมีฐานข้อมูลให้ได้ศกึ ษาหรือซ่อมแซมให้กลับคืนมา ความหวังสู่การเปลี่ยนแปลง นอกจากมิติของการนำ�วัฒนธรรมและสินทรัพย์ ของเมืองมาสูก่ ารสร้างมูลค่าและการพัฒนาแล้ว เศรษฐกิจสร้างสรรค์ส�ำ หรับอาเซียนยังครอบคลุม ไปถึงการเปลี่ยนแปลงเพื่อรับมือกับปัญหาใน อนาคต อย่างเช่นการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เป็นที่รู้กันดีว่า เกษตรกรในประเทศกำ�ลัง พัฒนา นอกจากจะเป็นกลุ่มคนที่มีโอกาสน้อย
ประเทศ
แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์
บรูไน
กระทรงวัฒนธรรม เยาวชน และกีฬา (Ministry of Culture, Youth and Sports) จัด Creative Economy Week เพื่อ เพิ่มศักยภาพของนักสร้างสรรค์ท้องถิ่นด้านทักษะและอาชีพ การเข้าถึงตลาด และเป็นพื้นที่การเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการ สร้างสรรค์ จัดทำ� Creative Lab ที่ประกอบด้วยกลุ่มคนจากสาขาศิลปะ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์เพื่อมาร่วมกันหาแนวทางในการ แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมและอัตลักษ์ การออกแบบพื้นที่เมือง และสวัสดิการสังคม จัดทำ�นโยบายเพื่อการพัฒนาผู้ประกอบการสร้างสรรค์ ส่งเสริมนวัตกรรมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตในท้องถิ่น นำ�แนวคิดเมือง สร้างสรรค์มาเป็นกลยุทธ์ในการพัฒนาเมืองที่เน้นวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์
ฟิลิปปินส์
กลุ่มธุรกิจสร้างสรรค์รวมตัวกันจัดตั้งสภาเศรษฐกิจสร้างสรรค์แห่งฟิลิปปินส์ (Creative Economy Council of Philippines) เพื่อ ร่วมกันทำ�งานกับกรมการค้าและอุตสาหกรรม ( Department of Trade and Industry) ในการผลักดันให้มนี โยบายและมาตรการ สนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และนำ�ไปสู่การจัดตั้งสำ�นักงานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในปี 2022 จัดตั้ง Creative Zone หรือย่านสร้างสรรค์ เพื่อเป็นพื้นที่สำ�หรับพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ วางเป้าหมายพัฒนาเมืองให้เป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ยูเนสโกเพื่อให้เกิดการท่องเที่ยว
อินโดนีเซีย
จัดตัง้ สำ�นักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์แห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย (BEKRAF) เพือ่ กำ�หนดนโยบายด้านต่างๆ จัดแบ่งโครงสร้างองค์กรตามองค์ประกอบการสร้าง ‘ระบบนิเวศ’ ทีเ่ อือ้ ให้เกิดการสร้างสรรค์ 1) การวิจยั และการศึกษา (Research and Education) : ช่วยในการศึกษาค้นคว้าเพือ่ เพิม่ โอกาสทางธุรกิจ 2) การเข้าถึงแหล่งเงินทุน (Access for capital) 3) โครงสร้าง สาธารณูปโภค (Infrastructures) : อำ�นวยความสะดวกในเรือ่ งของพืน้ ทีก่ ารจัดกิจกรรม อุปกรณ์ เทคโนโลยี หรือระเบียบกฎเกณฑ์ตา่ ง ๆ 4) การตลาด (Marketing) : การตลาดทัง้ ภายในประเทศและระหว่างประเทศ 5) ทรัพย์สนิ ทางปัญญา (Intellectual Property Rights) : การใช้ทรัพย์สนิ ทางปัญญาเพือ่ ช่วยในการต่อยอดและเพิม่ มูลค่าให้กบั สินค้าและบริการ 6) ความร่วมมือและเครือข่ายในและต่างประเทศ (Inter-institutional Relations) : สร้างความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรสร้างสรรค์ตา่ ง ๆ ทัง้ ภายในประเทศและระหว่างประเทศ
ที่มา : การประชุม ASEAN Regional Workshop on Creative Economy 4-5 กันยายน 2562 CREATIVE THAILAND I 16
ทางการศึกษา ด้วยลักษณะของกระบวนการผลิต ที่มีกำ�ไรตํ่าและขาดหลักประกัน จึงไม่สามารถ เข้าถึงแหล่งเงินกูใ้ นระบบ ทำ�ให้รายได้คอ่ นข้างตา่ํ และยิ่งซํ้าเติมปัญหาให้หนักขึ้น เมื่อต้องเข้าสู่ สังคมผู้สูงอายุ อินโดนีเซียคาดว่าในปี 2050 จะมีประชากร เพิ่มขึ้นร้อยละ 31 หรือประมาณ 322 ล้านคนที่ ต้องการอาหารเพิม่ ขึน้ แต่ทว่าเกษตรกรในปัจจุบนั มี อายุ เ ฉลี่ ย ประมาณ 45 ปี ห รื อ มากกว่ า นั้ น และถ้าหากยังคงเป็นเช่นนี้ ด้วยการผลิตแบบ ดัง้ เดิม ปริมาณการผลิตอาหารที่คาดหวังไว้ ก็คง จะไปไม่ถึง รัฐบาลอินโดนีเซียจึงต้องเร่งหาทางในการสร้าง ศักยภาพให้กบั เกษตรกรอย่างเร่งด่วน การรณรงค์ ‘เศรษฐกิจสร้างสรรค์’ จึงเป็นเหมือนการเปิด บทสนทนาและอำ�นวยความสะดวกให้กบั คนหนุม่ สาวรุน่ ใหม่ให้เข้ามาเป็นส่วนหนึง่ ของการแก้ปญั หา และสร้างโอกาสในการเป็นเจ้าของกิจการไปด้วย
iGrow เป็นแพลตฟอร์มให้เกษตรกรจำ�นวน 2,200 ราย มีโอกาสได้เงินลงทุนมาปรับปรุง กิจการจากการระดมเงินของคนในเมืองทีต่ อ้ งการ ลงทุนเพือ่ แลกกับการเป็นเจ้าของสวนแบบไม่ตอ้ ง ลงมือเอง ขณะที่ Petani, LimaKilo และ ทานิฮับ มีเป้าหมายในการให้ความรู้เกษตรกร ตั้งแต่ เทคนิคการปลูก เครื่องมือ ราคา และตลาด ออนไลน์ เพือ่ ให้พวกเขาสามารถปรับปรุงผลผลิต ส่วน SayurBox เกิดขึ้นมาเพื่อช่วยลดปัญหา การขนส่งที่ทำ�ให้ผลผลิตเสียหายระหว่างทาง จากแหล่งผลิตไปยังผู้บริโภค และยังมีอีกราย หลายที่ค่อย ๆ สร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับภาค การเกษตรของอินโดนีเซีย ปรากฏการณ์ทค่ี นรุน่ ใหม่พยายามสร้างสรรค์ เพื่อแก้ปัญหาหรือสร้างทางเติบโตให้กับตัวเอง ในเวลานี้ไม่ได้เกิดขึ้นที่อินโดนีเซียประเทศเดียว แต่รวมถึงนักสร้างสรรค์ในอาเซียนที่ต่างกำ�ลัง ตืน่ ตัวกับความหวังใหม่ ๆ จากการทีร่ ฐั บาลลุกขึน้
ประเทศ มาเลเซีย
มาพูดคุยเรือ่ ง ‘ความคิดสร้างสรรค์’ อย่างจริงจัง มากขึ้น ในฐานะที่เป็นอุตสาหกรรมที่เปิดโอกาส ให้ ทุ ก คน เป็ น เศรษฐกิ จ ที่ ส ามารถอยู่ ร อด และฟื้นตัวในยามวิกฤติ เป็นเครื่องมือในการ พัฒนาชุมชน แม้ว่าขั้นตอนของการพัฒนาจะ ค่ อ ยเป็ น ค่ อ ยไป แต่ อ ย่ า งน้ อ ยเส้ น ทางของ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ก็ปรากฏให้เห็นเด่นชัดขึ้น ในภูมิภาคนี้แล้ว
ที่มา : บทความ “Creative Economy: An Engine to Improve Indonesia’s Agriculture” (27 พฤษภาคม 2019) จาก aseanfoundation.org / บทความ “Maestranza to become creative hub as Intramuros eyes UNESCO Creative Cities list” (2 พฤษภาคม 2018) โดย Angel Yulo จาก bluprint.onemega.com / การประชุม ASEAN Reginal Workshop on Creative Economy เมื่อวันที่ 4-5 กันยายน 2562 ที่บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย
แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์
จัดตัง้ สำ�นักงานพัฒนาเศรษฐกิจวัฒนธรรม (Cultural Economy Development Agency) ภายใต้กระทรวงสือ่ สารและมัลติมเี ดีย (Ministry of Communications and Multimedia) เป็นหน่วยงานกลางในการทำ�งานร่วมกับภาครัฐและเอกชนในการส่งเสริม วัฒนธรรมและงานศิลปะให้เป็นกำ�ลังทางเศรษฐกิจ โดยจัดทำ�แผนวัฒนธรรมและเมืองสร้างสรรค์ (Cultural And Creative City Report) ทีม่ แี นวทางการพัฒนา คือ 1) พัฒนาการศึกษาด้านวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์ 2) การพัฒนาชุมชนสร้างสรรค์ และสาธารณูปโภค 3) การส่งเสริมด้านการตลาด 4) การส่งเสริมธุรกิจและการลงทุน 5) การพัฒนาพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยว
ที่มา : cendana.com.my ไทย
จัดตั้งสำ�นักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) เพื่อเป็นหน่วยงานส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ผ่าน 3 ยุทธศาสตร์ 1) People พัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 2) Place พัฒนาย่านสร้างสรรค์ให้เอื้อต่อการพัฒนาธุรกิจและ นักสร้างสรรค์ 3) Product & Service พัฒนาธุรกิจให้นำ�ความคิดสร้างสรรค์ไปใข้ในการพัฒนาสินค้าและบริการ ดำ�เนินการพัฒนาย่านสร้างสรรค์ ในเจริญกรุง และขยายไปยังพื้นที่อื่นๆ ในภูมิภาค จัดตั้งคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์แห่งชาติ เพื่อจัดทำ�แผนพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ จัดทำ�ฐานข้อมูลเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์
สิงคโปร์
คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจสิงคโปร์ (Singapore Economic Development Board) ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 3 ด้าน 1) เมืองทีเ่ ป็นแหล่งรวมนักสร้างสรรค์จากทัว่ โลก 2) ส่งเสริมการส่งออกสินค้าทีผ่ ลิตในสิงคโปร์สตู่ ลาดโลก 3) ตลาดดิจทิ ลั สำ�หรับทดลอง พัฒนา และออกสู่ตลาด สภาการออกแบบสิงคโปร์ (Design Singapore Council) และ ศูนย์ออกแบบแห่งชาติ (National Design Centre) จัดทำ�โปรแกรม เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมออกแบบ รวมถึงการจัดโปรแกรมเพื่อการเชื่อมโยงการออกแบบกับธุรกิจ และเป็นสถานที่จัดแสดง ผลงานการออกแบบ สภาศิลปะแห่งชาติสิงคโปร์ (NAC: National Arts Council) ภายใต้กระทรวงวัฒนธรรม ชุมชนและเยาวชน โดยมีภารกิจหลัก คือการสนับสนุนศักยภาพด้านศิลปะให้เติบโตอย่างแข็งแกร่ง และอีกด้านคือการทำ�ให้ชาวสิงคโปร์เข้าถึงและเห็นว่างานศิลปะ เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำ�วัน
ที่มา : edb.gov.sg / nac.gov.sg / designsingapore.org
CREATIVE THAILAND I 17
Fact & Figure : พื้นฐานความคิด
ส่องทิศทางถนนสายสร้างสรรค์ ของชาติอาเซียน เรื่อง : วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ
ปฏิเสธไม่ได้ว่าในบรรดาชาติอาเซียนทั้ง 10 ประเทศนั้นต่างเต็มไปด้วยวัฒนธรรมและเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่มีดีไม่แพ้กลุ่ม ประเทศไหน ๆ สินทรัพย์ที่มีอยู่ในมือจึงเป็นดั่งต้นทุนชั้นดีที่จะช่วยผลักดันให้เกิด ‘เศรษฐกิจสร้างสรรค์’ ซึ่งถือเป็นพระเอก มาแรงในการขับเคลื่อนความสำ�เร็จของเศรษฐกิจโลกในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา หลายประเทศในกลุ่มอาเซียนจึงกำ�ลังมุ่งมั่นสนับสนุนอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Industries: CI) ผ่านนโยบายระดับชาติ พร้อมทั้งมีกองหนุน เป็นหน่วยงานช่วยผลักดันเรื่องนี้อย่างจริงจัง ถึงเวลาแล้วที่เราต้องรู้ว่าประเทศไทยอยู่ตรงจุดไหนบนเส้นทางสายสร้างสรรค์นี้ และเพื่อนบ้านของเรากำ�ลัง มุ่งหน้าไปในทิศทางใด เพื่อค้นพบโอกาสครั้งใหม่ที่จะช่วยให้เศรษฐกิจอาเซียนเฉิดฉายขึ้นในอนาคต สิงคโปร์ : การส่งเสริมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ถือเป็นหนึ่งในแผนการพัฒนาประเทศครั้งใหญ่ของ สิงคโปร์เคียงคูไ่ ปกับการพัฒนาการศึกษาและระบบสาธารณสุข โดยรัฐบาลได้จัดตั้ง ‘DesignSingapore Council’ ขึน้ เมื่อปี 2003 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนภาคการออกแบบ จัดกิจกรรม ‘Singapore Design Week’ ทีช่ ว่ ยกระตุน้ ความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และผูป้ ระกอบการ และเป็นต้นแบบการนำ�งานสร้างสรรค์ มาช่วยเพิ่มระดับความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยในปี 2015 สิงคโปร์ก็ได้รับการยกย่องจากยูเนสโกให้เป็น เมืองสร้างสรรค์ด้านการออกแบบ (UNESCO Creative City of Design) เป้าหมาย : ภายในปี 2025 สิงคโปร์ ได้วางเป้าหมายว่า จะผลักดันเศรษฐกิจสร้างสรรค์ให้ เติบโตผ่านการใช้นวัตกรรมและงานออกแบบ รวมทั้งการออกนโยบายสร้างชาติอัจฉริยะ (Smart Nation Singapore) ที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตชาวสิงคโปร์ให้มีคุณภาพ ยิ่งขึ้น
ประเทศไทย : การผลักดันอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของประเทศไทยเกิดขึ้นอย่างชัดเจนครั้งแรก ในปี 2005 โดยรัฐบาลได้จัดตั้งศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (Thailand Creative and Design Center: TCDC) เพื่อมุ่งจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นในสังคมไทยผ่านการให้ความรู้และกิจกรรม สร้างสรรค์ในรูปแบบต่างๆ อาทิ Bangkok Design Week, Chiang Mai Design Week และ Creativities Unfold เป็นต้น โดยภาพรวมมูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทยตัง้ แต่ปี 2005-2014 มีมูลค่าสูงขึ้นจาก 3.7 เป็น 6.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และในปี 2017 มูลค่าของ CI คิดเป็นสัดส่วน 9.1% ของจีดีพีในประเทศ ขณะที่ 5 อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่สร้างมูลค่าให้ประเทศมากที่สุด ได้แก่ อาหาร การโฆษณา แฟชั่น การออกแบบ และงานฝีมือ จนกระทั่งปี 2018 ประเทศไทยได้มีหน่วยงาน สนับสนุนเศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างจริงจังครั้งแรกภายใต้ชื่อ ‘สำ�นักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์’ (Creative Economy Agency: CEA) ที่ทำ�หน้าที่ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพเศรษฐกิจสร้างสรรค์ไทย ให้เติบโตขึ้นอย่างยั่งยืน เป้าหมาย : CEA มีแผนการสร้างนิเวศสร้างสรรค์ให้เกิดขึน้ ในสังคมไทย ดังนี้ 1. สร้างและ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์สเู่ ศรษฐกิจสร้างสรรค์ (People) 2. ส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ทีม่ มี ลู ค่าสูง (Product) และ 3. ส่งเสริมและพัฒนาพืน้ ทีส่ ร้างสรรค์ (Place) เพือ่ ผลักดัน ให้เกิดการพัฒนาและยกระดับเศรษฐกิจไทยในภาพรวม CREATIVE THAILAND I 18
หน่วยงานสร้างสรรค์
DesignSingapore Council
มูลค่าอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 2.13 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (ปี 2013)
หน่วยงานสร้างสรรค์
ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) สำ�นักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CEA)
มูลค่าอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 9.1% ของจีดีพีในประเทศ (ปี 2017)
ประเทศอินโดนีเซีย : ด้วยจำ�นวนประชากรที่มีมากกว่า 260 ล้านคน ถือเป็นความได้เปรียบ ในการบริโภคสินค้าและบริการในอุตสาหรรมสร้างสรรค์ โดยรายงานจาก Creative Economy Agency (Bekraf) หน่วยงานสนับสนุนอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของประเทศอินโดนีเซียเผยว่า ในปี 2018 อุตสาหกรรมสร้างสรรค์มีมูลค่ามากถึง 77.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็น 7.4% ของจีดีพีประเทศ (คาดว่าในปีนี้ 2019 จะเพิ่มสูงขึ้นถึง 9.6% และสร้างมูลค่าได้ถึง 86.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) โดย อุตสาหกรรมอาหาร แฟชั่น คราฟต์ มีเดีย และสื่อสิ่งพิมพ์ ถือเป็น 5 สาขาหลักของ CI ในอินโดนีเซีย เป้าหมาย : รัฐบาลมุ่งหวังให้เศรษฐกิจสร้างสรรค์เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่จะช่วยลด ความเหลื่อมล้ำ�และกระจายโอกาสที่ทั่วถึงให้ประชาชน (ในปีที่ผ่านมา Bekraf ยังได้จัดเวที สนทนา World Conference on Creative Economy (WCCE) อย่างจริงจังครั้งแรก ที่เมืองบาหลีภายใต้ธีม ‘Inclusive Creativity’
ประเทศฟิลปิ ปินส์ : ในเวทีแลกเปลีย่ นความรูด้ า้ นอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ‘Arangkada Creative Industries Forum 2018’ ที่จัดขึ้น ณ กรุงมะลิลาของฟิลิปปินส์ มีการคาดการณ์ว่าประชากรวัยรุ่นชาว ฟิลิปปินส์ที่กำ�ลังจะมีสัดส่วนมากที่สุดภายในปี 2045 จะกระตุ้นการสร้างเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของ ประเทศให้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งมูลค่า CI ของฟิลิปปินส์คิดเป็น 7.34% ของจีดีพีในประเทศ และ มีอตั ราการจ้างงานในอุตสาหรรมนี้มากถึง 14.14% และแม้อตุ สาหกรรมดนตรีของฟิลปิ ปินส์จะโดดเด่น ที่สุดด้วยจำ�นวนมิวสิกเฟสติวัลแบบนับไม่ถ้วน แต่โรดแมปสำ�หรับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่วางแผน โดย Creative Economy Council of the Philippines (CECP) กลับเป็นอุตสาหกรรมโฆษณา ภาพยนตร์ แอนิเมชัน เกม และดีไซน์ (กราฟิกดีไซน์และดิจิทัลดีไซน์) เป้าหมาย : Creative Economy Council of the Philippines (CECP) มีแผนที่จะ ผลักดันอุตสาหกรรมโฆษณา ภาพยนตร์ แอนิเมชัน เกม และดีไซน์ (กราฟิกดีไซน์และ ดิจิทัลดีไซน์) ให้เป็น 5 สาขาหลักขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของฟิลิปปินส์ให้ขึ้น เป็นอันดับ 1 ในกลุ่มอาเซียนภายในปี 2030
ประเทศมาเลเซีย : แม้รายงานจาก UN Conference on Trade and Development (UNCTAD) ในปี 2014 จะเผยว่ามูลค่าสินค้าและบริการสร้างสรรค์ของมาเลเซียจะสูงถึง 6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่ในช่วงนัน้ แผนนโยบายการสนับสนุนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของมาเลเซียยังไม่ชดั เจน จนกระทัง่ ปี 2017 รัฐบาลมาเลเซียได้จัดตั้งหน่วยงาน ‘Cultural Economy Development Agency: CENDANA’ ที่ช่วย สนับสนุนการสร้างนิเวศสร้างสรรค์ของมาเลเซียอย่างจริงจัง โดย 6 สาขาหลักของอุตสาหกรรม สร้างสรรค์ที่ CENDANA ให้การสนับสนุน ได้แก่ ศิลปะและดนตรี, พิพิธภัณฑ์และการอนุรักษ์ มรดกทางวัฒนธรรม, วรรณกรรมและสื่อสิ่งพิมพ์, แฟชั่นและการออกแบบ, งานฝีมือและภาพยนตร์ การกระจายเสียง และดิจทิ ลั คอนเทนต์ โดยมีการจัดอีเวนต์ประจำ�ปีอย่าง ‘Art in the City’ ที่ให้การ สนับสนุนการจัดแสดงงานศิลปะเอาต์ดอร์ ป็อปอัพมาร์เก็ต รวมทัง้ เวทีแลกเปลีย่ นความรูด้ า้ นศิลปะและ เวิร์กช็อปต่างๆ เพื่อบุกเบิกการสร้างนิเวศสร้างสรรค์และแสดงถึงศักยภาพด้านศิลปะและวัฒนธรรม ของมาเลเซียให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม
หน่วยงานสร้างสรรค์
Creative Economy Agency (Bekraf)
มูลค่าอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 77.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ปี 2018)
หน่วยงานสร้างสรรค์
Creative Economy Council of the Philippines (CECP)
มูลค่าอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 7.34% ของจีดีพีในประเทศ (ปี 2019)
หน่วยงานสร้างสรรค์
Cultural Economy Development Agency: CENDANA
มูลค่าอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (ปี 2014)
เป้าหมาย : Cultural Economy Development Agency: CENDANA มีเป้าหมายที่จะ สร้างกัวลาลัมเปอร์ให้เป็นเมืองสร้างสรรค์ที่คนทั่วโลกจะต้องนึกถึงภายในปี 2022 โดย ตั้งเป้าไว้ว่าจะสร้างงานในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ให้กับพลเมืองได้ถึง 125,000 งาน
ที่มา : บทความ “Can the creative industries of ASEAN make waves?” จาก oxfordbusinessgroup.com / บทความ “Creative connections” จาก straitstimes.com / บทความ “Creative Economy Roadmap for Philippines proposed” จาก culture360.asef.org / บทความ “Culture and Creative Sector to Create More Than 125,000 Jobs in Kuala Lumpur by 2022” จาก arteri.com.my / บทความ “Getting creative in Indonesia” จาก theaseanpost.com / รายงาน “Kuala Lumpur as a Cultural & Creative City” โดย cendana.com / cea.or.th / designsingapore.org CREATIVE THAILAND I 19
Creative Business : ธุรกิจสร้างสรรค์
เรื่อง : วนบุษป์ ยุพเกษตร l ภาพ : ภีร์รา ดิษฐากรณ์
การขยายตลาดไปสูต่ า่ งประเทศสำ�หรับผูป้ ระกอบการรายใหญ่ๆ คงเป็นเรือ่ งทีส่ ามารถทำ�ได้อย่างคล่องตัว สะดวก และรวดเร็ว แต่หากเป็นผู้ประกอบการรายจิ๋วที่เพิ่งเริ่มมองหาตลาดเพื่อขยายกิจการต่อ คงเป็นเรื่องที่ต้องคิดหนักกันทีเดียว แบรนด์เครื่องประดับทองเหลือง ทองแดง และเงินของคุณโหน่ง-พวรรณา ทองขาว ที่นิยามตัวเองว่าเป็นเครื่องประดับ แนวไลฟ์สไตล์ สวมใส่ได้ทุกวัน ทั้งยังสามารถนำ�มามิกซ์แอนด์แมตช์ โดยเปลี่ยนจากต่างหูหรือกำ�ไลข้อมือเป็นจี้ห้อยคอ ได้ตามชอบ ถือเป็นผูป้ ระกอบการรายเล็กที่ตอ้ งทำ�การบ้านอย่างหนักก่อนออกไปสูโ่ ลกของตลาดอาเซียน แล้วการเตรียมตัว สู่ความสำ�เร็จเป็นอย่างไร คุณโหน่ง เจ้าของแบรนด์จะมาเล่าให้เราฟังถึงเบื้องหลังการไปเยือนอาเซียนของแบรนด์ LOVER
CREATIVE THAILAND I 20
‘ศาสตร์การคิดคำ�นวณ’ สู่ ‘กระบวนการออกแบบ’ บทสนทนากับเจ้าของแบรนด์ LOVER เริ่มต้นขึ้นอย่างเป็นกันเอง คุณโหน่ง เล่าให้ฟังคร่าวๆ ถึงประสบการณ์การทำ�งานที่สั่งสมมาหลายปี จนทำ�ให้ เชี่ยวชาญเรื่องกระบวนการผลิตเครื่องประดับ บวกกับความชอบที่มีเป็น ทุนเดิมอยู่แล้ว ไม่เพียงเท่านั้น การศึกษาต่อในระดับปริญญาโทด้าน การออกแบบเครื่องประดับจากมหาวิทยาลัยศิลปากร ยังเป็นแรงผลักดันใ ห้เธอสร้างแบรนด์นี้ขึ้นมาอย่างเป็นรูปเป็นร่าง เมือ่ ถามถึงแรงบันดาลใจของโลโก้ทดี่ เู รียบง่ายของแบรนด์ อันประกอบ ไปด้วยรูปทรงเรขาคณิต ทั้งวงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม คุณโหน่งยิ้มและ ให้คำ�ตอบว่า “มาจากสัดส่วนทองคำ� (Golden Ratio) ของเลโอนาร์โด ดา วินชี แล้วมาแทนค่าเป็นรูปทรงเรขาคณิต มันเชื่อมโยงกับความสมบูรณ์ ของรูปทรงเรขาคณิต” แม้แต่แบรนด์ใหญ่ๆ ระดับโลกอย่าง Apple หรือ National Geographic ก็ยังมีองค์ประกอบของสัดส่วนทองคำ�นี้อยู่เช่นกัน “นอกจากนี้โลโก้ของเรายังมีกิมมิกเกี่ยวกับธาตุทั้ง 5 ของคน ซึ่งเป็น ศาสตร์ตงั้ แต่สมัยโบราณว่าจะแทนเป็นค่าทางรูปทรงเรขาคณิต เช่น สีเ่ หลีย่ ม เป็นธาตุดิน วงกลมเป็นธาตุทอง” สิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่เราสังเกตเห็นแสดงถึง ความใส่ใจที่ผ่านการคิดมาแล้วอย่างถี่ถ้วนแม้กระทั่งโลโก้ของแบรนด์เอง “แต่ลกู ค้าส่วนใหญ่มกั ชอบฟอร์มและรูปทรงมากกว่า ประมาณว่าชอบแบบนี้ ใส่แล้วสวย ไม่ได้ค�ำ นึงถึงความเชือ่ เรือ่ งธาตุ ไม่ได้เจาะลึกลงไป” แต่ส�ำ หรับ ผู้ที่มีความเชื่อเรื่องธาตุ คุณโหน่งก็พร้อมและยินดีให้ข้อมูลแก่ลูกค้าเสมอ ไม่ว่าจะมาจากประเทศใด “มันเป็นความเชื่อส่วนบุคคล ที่เชื่อว่าสิ่งเหล่านี้ จะช่วยส่งเสริมเรา อย่างคนธาตุไฟมีลมร้อน ก็จะใช้ธาตุนํ้ามาเสริม” ‘1 คูหาในประเทศ’ สู่ ‘1 บูธในต่างประเทศ’ LOVER Brand ของคุณโหน่งตั้งอยู่ที่ตลาดนัดจตุจักร อันเป็นแหล่งรวมตัว ของนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างประเทศในวันเสาร์-อาทิตย์ หน้าร้าน 1 คูหาที่ซ่อนตัวอยู่ในตลาดนัดจตุจักร คือสิ่งที่คุณโหน่งปั้น มากับมือเป็นระยะเวลานานกว่า 6 ปีแล้ว หลังสั่งสมประสบการณ์มาพอ สมควร เธอรู้สึกว่าตัวเองและแบรนด์พร้อมแล้วที่จะออกเดินทางสู่ประเทศ เพื่อนบ้าน “80% ของลูกค้าที่ร้านเป็นชาวต่างชาติ เราพยายามหาตลาดที่ มันซัพพอร์ต จึงมักไปออกงานอีเวนต์นานาชาติ” ด้วยความที่คุณโหน่ง มีบตั รผ่านเป็นสมาชิกสมาคมช่างทอง นัน่ จึงทำ�ให้เธอรูข้ า่ วคราวการออกบูธ อยูเ่ ป็นประจำ� และร่วมออกงานเป็นครัง้ คราว อย่างงานบางกอก เจ็มส์ แอนด์ จิวเวลรี งานใหญ่ระดับประเทศที่รวบรวมเครื่องประดับนานาชนิดไว้ใน ที่เดียว คุณโหน่งเล็งเห็นว่าสินค้าของแบรนด์ไม่ได้เป็นเครือ่ งประดับทีใ่ ช้วตั ถุดบิ ชั้นสูง (Fine Jewelry) แบบฝังเพชร พลอย หรืออัญมณีหรูหรา แต่เป็น เครื่องประดับที่ใช้ได้ในชีวิตประจำ�วัน จึงสามารถหมุนเวียนไปออกอีเวนต์ อื่นๆ ได้ เช่น งานของกรมส่งเสริมศิลปาชีพ หรือแม้แต่งานออกแบบที่เป็น งานฝีมืออย่าง Crafted Craft หลังออกบูธในประเทศมาได้ระยะหนึ่ง คุณโหน่งก็เริ่มมองหาช่องทาง ทีจ่ ะนำ�เครือ่ งประดับของแบรนด์ไปจำ�หน่ายในต่างประเทศดูบา้ ง และเลือก ประเทศใกล้ๆ อย่างโซนอาเซียนก่อน จุดหมายจึงไปตกอยู่ที่...สิงคโปร์
‘ประสบการณ์ครั้งแรก’ สู่ ‘ประสบการณ์ครั้งต่อๆ มา’ “ครั้งแรกที่ไปต่างประเทศ ซึ่งก็คือสิงคโปร์ เราไปเอง ไม่ได้เข้าร่วมกับ โครงการใดๆ เลย อย่างที่บอกว่างานของเราเป็นงานไลฟ์สไตล์ทันสมัย แต่แฝงด้วยความเป็นงานฝีมอื เราจึงหันกลับมาดูวา่ สินค้าของเราเหมาะกับ ประเทศไหน” หลั ง จากที่ รู้ จุ ด ยื น ของแบรนด์ คุ ณ โหน่ ง ก็ ตั ด สิ น ใจได้ “เรามองว่าสิงคโปร์มันน่าจะได้ เพราะการใช้ชีวิตหรือแนวคิดของผู้คน ค่อนข้างเปิดกว้าง รสนิยมของคนในประเทศก็น่าจะรับงานของเราได้ เศรษฐกิจและค่าเงินของประเทศเขาน่าจะทำ�ให้คนสิงคโปร์ซื้องานของเรา” งานแรกของคุณโหน่งเป็นการไปออกอีเวนต์อย่างที่เคยออกอยู่บ่อยๆ ในเมืองไทย และเลือกลงที่งาน Public Garden เป็นตัวเลือกแรก ซึ่งเป็น งานที่คนไทยที่อยู่ในแวดวงรู้จักกันดีอยู่แล้ว ส่วนงานอื่นๆ ที่ไปออก หลังจากนั้นก็ที่สิงคโปร์เช่นกัน โดยเป็นงานแนวอาร์ตแอนด์คราฟต์ แน่นอนว่าประสบการณ์ครั้งแรกย่อมทำ�ให้ผู้ประกอบการหน้าใหม่ ในต่างประเทศกังวลใจไม่น้อย “ครั้งแรกที่ไปก็กังวลว่าคนจะชอบหรือสนใจ งานเราไหม เพราะสังเกตเห็นร้านอื่นๆ ว่าแต่ละแบรนด์ก็มีลูกค้าของเขา อยู่แล้ว พอมาถึงก็รู้จักกันอยู่แล้วและอุดหนุนกัน เราเริ่มรู้สึกแล้วว่าเราจะ ไปรอดไหม แต่ผลปรากฏว่าคนที่สิงคโปร์ให้การตอบรับดีมากๆ” คุณโหน่ง ย้อนนึกถึงบรรยากาศชวนกังวลใจ และนํ้าเสียงที่แสดงความโล่งใจเป็น ปลิดทิ้งในตอนท้าย นอกจากเมืองเมอร์ไลออนแล้ว คุณโหน่งยังมองถึงอนาคตของแบรนด์ ในประเทศอาเซียนอืน่ ๆ ด้วย “อย่างเวียดนามก็เริม่ มาแล้ว เพราะความเจริญ เริ่มเข้าถึง เราเห็นว่าบริษัทจิวเวลรีจากหลายประเทศเริ่มเข้าไปตั้งใน เวียดนามเยอะ แนวทางการใช้ชวี ติ ของชาวเวียดนามก็นา่ จะตอบรับแบรนด์ ของเราได้” แต่ก่อนจะนำ�แบรนด์ LOVER ไปตีตลาดในเวียดนามและ ประเทศอื่นๆ ในอาเซียน คุณโหน่งก็ยังมีเรื่องให้ต้องคิดและทบทวนอีกมาก
CREATIVE THAILAND I 21
ต้องศึกษาให้ถ่องแท้ และหันกลับมา ดู ง านของเราว่ า เหมาะกั บ ตลาดใน ประเทศไหน ทำ�อย่างไรถึงจะตอบโจทย์ ความชอบของเขา ไม่ ใ ช่ เ ราไปโดยที่ ไม่รู้ว่าตลาดเป็นอย่างไร
“เราต้องดูด้วยว่าประเทศเขามีอีเวนต์หรือตลาดที่จะรองรับเราได้ไหม และ ตอนนี้ก็มองอินโดนีเซียและมาเลเซียไว้เหมือนกัน” “เราต้องรูจ้ กั วัฒนธรรม ประเพณี และไลฟ์สไตล์ของผูค้ นในแต่ประเทศ ว่าเป็นอย่างไร เวลาออกแบบหรือผลิตผลงานจะได้ตอบโจทย์เขา อย่างสมมติ ถ้าพี่จะไปมาเลเซีย ที่นั่นมีคนมุสลิมเยอะ พี่จะต้องออกแบบอะไร อาจเป็น เข็มกลัดสำ�หรับกลัดฮิญาบไหม จะได้เพิ่มฟังก์ชั่น เราต้องทำ�การบ้าน ตรงนัน้ ไปในแต่ละประเทศ” คุณโหน่งเผยเคล็ดลับการออกแบบเครือ่ งประดับ ให้เราฟัง ‘ดูให้รอบด้าน’ ปัจจัยของความสำ�เร็จ ดูประเทศที่เราจะไป ดูสินค้าที่เราไปเสนอขาย ดูวัสดุหลักของสินค้าที่ เราใช้ ดูความเหมาะสมของราคาสินค้า “ต้องศึกษาให้ถ่องแท้ และหันกลับมาดูงานของเราว่าเหมาะกับ ตลาดในประเทศไหน ทำ�อย่างไรถึงจะตอบโจทย์ความชอบของเขา ไม่ใช่เราไปโดยทีไ่ ม่รวู้ า่ ตลาดเป็นอย่างไร อย่างประเทศนีช้ อบงานทอง แต่เราเอางานทองเหลืองไปขาย มันก็ขายไม่ได้”
‘ตลาดทางเดียว’ สู่ ‘ตลาดหลายช่องทาง’ ด้วยความที่เป็นธุรกิจในครัวเรือนที่คุณโหน่งเจ้าของแบรนด์ทำ�กับพี่สาว และน้องสาว ไม่ได้มีทีมงานเหมือนอย่างแบรนด์ใหญ่ๆ จึงทำ�ให้แบรนด์ ยังขาดช่องทางการสื่อสารกับลูกค้าอยู่บ้าง ถึงแม้วา่ LOVER จะประสบความสำ�เร็จกับการทีไ่ ปออกอีเวนต์ทสี่ งิ คโปร์ แต่ผู้ประกอบการผู้มองการณ์ไกลคนนี้ยังมองเห็นช่องว่างและจุดอ่อน ของแบรนด์อยู่ จึงเริ่มขยายช่องทางการตลาดอื่นๆ นอกจากการเปิดร้าน ที่ตลาดนัดจตุจักรและการไปออกบูธเพียงช่องทางเดียวซึ่งเป็นตลาดแบบ ออฟไลน์ ยิ่งในยุคที่อินเทอร์เน็ตมีความจำ�เป็นอย่างยิ่งยวดสำ�หรับหนุ่มสาว ทั้งหลาย แม้แต่คนสูงอายุและเด็ก การจำ�หน่ายสินค้าทางออนไลน์ก็ยิ่งจะ ทำ�ให้แบรนด์ขยายฐานลูกค้าให้กว้างขึ้น ทั้งยังเป็นการโปรโมตและพูดคุย สื่อสารกับลูกค้าไปในตัว “พี่จะแบ่งเป็นสองส่วน คือตลาดออฟไลน์และ ออนไลน์ สำ�หรับตลาดออฟไลน์ สิ่งที่จะทำ�เพิ่มขึ้นคือการไปออกอีเวนต์ ทัง้ ในและต่างประเทศให้มากขึน้ และพัฒนาหน้าร้านของตัวเองให้ดกี ว่าเดิม” คุณโหน่งอธิบายถึงแผนระยะยาวสำ�หรับอนาคตของแบรนด์ และเสริมว่า “ส่วนตลาดออนไลน์จะเริ่มทำ�ให้ดขี นึ้ เนื่องจากตอนนีย้ งั ไม่มเี ว็บไซต์ ก็ตอ้ ง ทำ�เว็บไซต์และอาจไปร่วมมือกับ Pinkoi และ Esty เพื่อกระจายสินค้าและ โปรโมตแบรนด์ไปด้วย” LOVER Brand ตั้งอยู่ที่ตลาดนัดจตุจักร (เปิดวันเสาร์-อาทิตย์) สาขา 1: โครงการ 7 ซอย 63/4 ร้าน 177 / สาขา 2: โครงการ 4 ซอย 49/1 ร้าน 135
CREATIVE THAILAND I 22
How To : ถอดวิธีคิด
เรื่อง : วนบุษป์ ยุพเกษตร
การขยายธุรกิจเป็นเป้าหมายสำ�คัญของผูป้ ระกอบการแทบทุกรายทีต่ อ้ งการเติบโต ด้วยการทำ�ให้สนิ ค้าและบริการเป็นทีร่ จู้ กั ในตลาดใหม่ ๆ เพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดียิ่งขึ้น และสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจได้ต่อไป ปัจจุบัน กระแสโลกาภิวัฒน์ทำ�ให้ผู้ประกอบการหลายรายมองหาชัยภูมิใหม่ ๆ ที่ไม่จำ�กัดอยู่แค่ในประเทศ แต่เน้นพุ่งเป้า ไปที่ตลาดต่างประเทศ ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก แต่ก่อนที่จะไปไกลถึงระดับสากล การเริ่มต้นจากตลาดใกล้เคียง อย่างประเทศเพื่อนบ้านในแถบ ‘อาเซียน’ ก็ถือเป็นตลาดที่น่าจับตามองและน่าสนใจไม่น้อย ด้วยจำ�นวนประชากรและ กำ�ลังซื้อที่ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง และนี่คือวิธีการที่จะช่วยให้เราเปิดประตูไปสู่อาเซียนได้ง่ายขึ้น
ประตู 5 บานสู่ประเทศเพื่อนบ้าน 1. พึ่งพาภาครัฐ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศคือแหล่งรวมข้อมูลชั้นเลิศสำ�หรับนักธุรกิจทั้งมือเก่าและมือใหม่
ที่ต้องการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ แถมยังมีอีกหลายหน่วยงานที่ให้ความรู้เกี่ยวกับตลาดต่างประเทศ เช่น ธนาคารเพื่อ การส่งออกและนำ�เข้าแห่งประเทศไทย ที่สนับสนุนนักลงทุนไทยในต่างประเทศด้านการเงิน หรือ C-Asean ที่ส่งเสริม ความร่วมมือและความเชื่อมโยงธุรกิจในอาเซียนโดยเฉพาะ
2. รู้จักตลาดบ้านเขา การเริ่มต้นที่ดีคือการทำ�ความรู้จักกับที่ที่เราจะไป อย่าเพิ่งคิดว่าจะขายอะไร ตราบใดที่ยังไม่รู้ว่า
ลูกค้าต้องการอะไร และมีแนวโน้มพฤติกรรมแบบไหน อาจเริ่มจากค้นหาข้อมูลของประเทศนั้น ๆ ว่าสิ่งที่เขาต้องการคืออะไร และตรงกับสิ่งที่เราจะนำ�ไปเสนอหรือเปล่า
3. เลือกปรับแผนการตลาดให้เหมาะสม กลยุทธ์ที่ใช้ในประเทศอาจไม่เวิร์กที่บ้านเมืองอื่น ดังนั้นคู่แข่งก็ต้องศึกษา
เพราะคู่แข่งในตลาดระดับภูมิภาคอาจไม่ได้ดำ�เนินกลยุทธ์ที่เราคุ้นเคย รวมถึงเรื่องการพัฒนาสินค้าและบริการให้ตรงใจทีต่ อ้ ง หมัน่ สํารวจเทรนด์และเพิม่ องค์ความรู้ใหม่ ๆ โดยต้องไม่พลาดศึกษาเรื่องกฎระเบียบและวิธีการขนส่ง ที่อาจเป็นต้นทุนสำ�คัญ ในธุรกิจนำ�เข้าและส่งออก
4. ไม่ลืมเรื่องเอกสาร ผูป้ ระกอบการหลายคนอาจส่ายหน้ากับการจัดการเอกสารแสนยุ่งยาก แต่นี่คือสิ่งจำ�เป็นอันดับต้น ๆ ที่เลี่ยงไม่ได้ พยายามทำ�ความเข้าใจและเรียนรู้ คนที่เตรียมตัวพร้อมกว่า ย่อมเข้าใกล้เส้นชัยมากกว่า
5. พึงระลึกเรือ่ งเงินทอง สังคมโลกกำ�ลังเปลีย่ นผ่านไปสูส่ งั คมไร้เงินสด ทัง้ ระบบการชำ�ระเงินระหว่างประเทศ การสำ�รอง เงินทุนในยามฉุกเฉิน จึงต้องศึกษาให้รอบคอบเพื่อไม่ให้ขาดสภาพคล่องทางการเงิน
เมื่อคิดดีแล้วที่จะรุกตลาดอาเซียน ก็ต้องรีบลงมือ และคว้าโอกาสที่จะมาถึงให้เร็ว หนึ่งเทคนิคที่สำ�คัญคือ “อย่าพยายามหาลูกค้าสำ�หรับสินค้าที่ คุณมี แต่จงหาสินค้าที่ใช่สำ�หรับลูกค้าในอนาคตของคุณ” อย่างที่เซธ โกดิน (Seth Godin) นักคิดนักเขียนด้านธุรกิจและการตลาดชื่อดังในแวดวงธุรกิจ ออนไลน์ เคยลั่นวาจาไว้ ทีม่ า : บทความ “5 Checklist อยากส่งออกไปต่างประเทศต้องรู”้ จาก peerpower.co.th และ ditp.go.th CREATIVE THAILAND I 23
Creative Place : พื้นที่สร้างสรรค์
THE REVIVAL OF INDONESIA
เรื่อง : ณัฐชา ตะวันนาโชติ
CREATIVE THAILAND I 24
Photo by Atik sulianami on Unsplash
หากนึกถึงประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงร่วมภูมิภาคอาเซียนอย่าง ‘อินโดนีเซีย’ เรานึกถึงอะไร คนไทยหลายคนอาจเห็นภาพของประเทศ ทีเ่ ต็มไปด้วยเกาะน้อยใหญ่มากมาย นึกถึงเมืองหลวงอย่างจาการ์ตา หรือ แหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมอย่างเกาะบาหลี แต่จริง ๆ แล้ว อินโดนีเซียมีอะไรให้ค้นหามากกว่านั้น
จริงอยู่ที่ภูมิประเทศส่วนใหญ่ของอินโดนีเซีย มี ลั ก ษณะเป็ น เกาะ แต่ เ กาะเหล่ า นั้ น ก็ ไ ด้ รั บ การขนานนามว่าเป็นหมูเ่ กาะที่ ‘ใหญ่ทสี่ ดุ ในโลก’ มีประชากรกว่า 260 ล้านคน ซึ่งมากที่สุดใน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมากเป็น อันดับ 4 ของโลก นอกจากจำ�นวนประชากรแล้ว ความหลากหลายทางวัฒนธรรมยังเป็นจุดเด่น ของอินโดนีเซีย เนือ่ งจากมีกลุม่ ชาติพนั ธุม์ ากกว่า 300 กลุ่ม มีภาษาที่ใช้แตกต่างกันถึง 700 ภาษา และคำ�ขวัญประจำ�ชาติอย่าง “เป็นหนึ่งเดียวกัน ในความหลากหลาย” (Unity in Diversity) ก็ยัง สะท้อนให้เห็นถึงจุดเด่นนีไ้ ด้เป็นอย่างดี วัฒนธรรม อั น หลากหลายของอิ น โดนี เ ซี ย เกิ ด จากการ หล่อหลอมและแลกเปลี่ยนของวัฒนธรรมดั้งเดิม และอิทธิพลจากชาติตา่ ง ๆ ทีเ่ ข้ามาเชือ่ มสัมพันธ์ ตัง้ แต่อดีต เนือ่ งจากทำ�เลทีต่ งั้ ของอินโดนีเซียนัน้ เป็นจุดยุทธศาสตร์สำ�คัญของเส้นทางการค้า ระหว่างประเทศแถบตะวันออกไกล เอเชียใต้ และตะวันออกกลาง ส่งผลให้ได้รับอิทธิพลจาก วัฒนธรรมจากหลากหลายชาติ ไม่ว่าจะเป็น วัฒนธรรมจากจีน อินเดีย อาหรับ และยุโรป ทีม่ า พร้อมกับศาสนาและความเชือ่ ทีผ่ สานกันเข้ากับ วัฒนธรรมท้องถิน่ ทีม่ อี ยูเ่ ดิม และความหลากหลาย เหล่านั้นได้พัฒนามาเป็นจุดเด่นของอินโดนีเซีย ในปัจจุบัน อย่างที่นิตยสาร Top 10 of Asia ได้
เลือกให้อนิ โดนีเซียเป็นประเทศทีม่ คี วามหลากหลาย ทางวัฒนธรรมมากทีส่ ดุ ของทวีปเอเชีย ซึง่ รางวัล นี้ ก็ เ ป็ น รางวั ล ที่ ก ารั น ตี ถึ ง ประสบการณ์ ท าง วัฒนธรรมที่น่าตื่นเต้นและหลากหลายที่เหล่า นั ก ท่ อ งเที่ ย วจะได้ รั บ หากเดิ น ทางมาเยื อ น อินโดนีเซียแห่งนี้นั่นเอง Tourism: New Hidden Gems “จากการจัดอันดับในปี 2017 อุตสาหกรรม การท่องเทีย่ วของอินโดนีเซียเติบโตเร็วเป็นอันดับ ที่ 9 ของโลก เป็นอันดับ 3 ของเอเชีย และเติบโต ‘เร็วที่สุด’ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” การท่องเที่ยวเป็นองค์ประกอบสำ�คัญของ เศรษฐกิจอินโดนีเซียในปัจจุบนั ในแต่ละปีมผี คู้ น เดินทางจากทั่วโลกเพื่อมาท่องเที่ยวที่อินโดนีเซีย อย่างต่อเนื่อง ในปี 2018 มีนักท่องเที่ยวเดินทาง มามากกว่า 15.8 ล้านคน และ ‘เกาะบาหลี’ ยังคงเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมสำ�หรับ เหล่านักท่องเทีย่ วเสมอมา ซึง่ นิยมขนาดทีว่ า่ กว่า 40 เปอร์เซ็นต์จากจำ�นวนนักท่องเที่ยวทั้งหมด หรือมากกว่า 6 ล้านคนเป็นนักท่องเที่ยวที่มุ่งตรง มาชมความสวยงามของเกาะบาหลีโดยเฉพาะ แต่ทุกอย่างล้วนมีทั้งข้อดีและข้อเสีย แม้ว่า ความมหัศจรรย์ของบาหลีจะดึงดูดนักท่องเทีย่ วได้ อย่างต่อเนือ่ งและมีแนวโน้มทีจ่ ะเพิม่ มากขึน้ เรือ่ ย ๆ
แต่การทีผ่ คู้ นมากระจุกตัวอยูภ่ ายในเกาะ ๆ เดียว กันมากเกินไป ย่อมไม่สง่ ผลดีตอ่ ทัง้ สภาพแวดล้อม และวิ ถี ชี วิ ต การอยู่ อ าศั ย ของผู้ ค นในท้ อ งถิ่ น ดังนัน้ ถ้าหากจะทำ�ให้อตุ สาหกรรมการท่องเทีย่ ว ของอินโดนีเซียเติบโตได้อย่างยัง่ ยืน ในระยะยาว อิ น โดนี เ ซี ย จำ � เป็ น ที่ จ ะต้ อ งเพิ่ ม จำ � นวนแหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วที่ จ ะดึ ง ดู ด นั ก ท่ อ งเที่ ย วให้ ม ากขึ้ น เพือ่ เป็นการกระจายนักท่องเทีย่ วให้เดินทางไปยัง ทีอ่ นื่ ๆ บ้าง ทัง้ เป็นการกระจายรายได้ และทำ�ให้ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทั่วประเทศเติบโตได้ อย่างเท่าเทียมกัน ‘Ten New Balis’ Project เมือ่ เกาะบาหลีเพียงเกาะเดียวสามารถดึงดูดผูค้ น และขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศได้อย่าง มหาศาล จะเกิดอะไรขึ้นถ้าหากอินโดนีเซียจะมี บาหลีมากกว่า 1 แห่ง ด้วยความตั้งใจที่จะ ขยายอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศ ประธานาธิบดีโจโค วิโดโด จึงได้จัดตั้งโครงการ ‘Ten New Balis’ หรือโครงการพัฒนาแหล่ง ท่องเที่ยวใหม่ 10 แห่งทั่วประเทศ เพื่อเดิน ตามรอยความสำ�เร็จของเกาะบาหลีและยกระดับ ความสำ�เร็จนั้นมาสู่ระดับประเทศ
10 ศูนย์กลางการท่องเที่ยวแห่งใหม่ของอินโดนีเซีย Lake Toba
Tanjung Kelayang
Morotai Island
Kepulauan Seribu
Wakatobi
Tanjung Lesung Borobudur Temple ที่มา : invest-islands.com
Mount Bromo
Mandalika CREATIVE THAILAND I 25
Labuanbajo
ศูนย์กลางการท่องเที่ยวที่โดดเด่น Mandalika Borobudur Temple Lake Toba
นักท่องเที่ยวต่อวัน (พันคน)
สถานการณ์การท่องเที่ยวในโครงการ ‘Ten New Balis”
นักท่องเที่ยวอินโดนีเซีย
“ภายในปี 2020 จะต้องมีนักท่องเที่ยว ต่างชาติเดินทางมาอย่างน้อย 20 ล้านคน” เป็นเป้าหมายที่อินโดนีเซียกำ�หนดไว้ และ โครงการบาหลีแห่งใหม่นี้ก็เข้ามามีส่วนสำ�คัญ ที่จะช่วยให้อินโดนีเซียบรรลุเป้าหมายได้สำ�เร็จ โครงการนี้เริ่มดำ�เนินการมาตั้งแต่ปี 2016 เพื่อ พัฒนาให้เกิดฮับหรือศูนย์กลางการท่องเที่ยวใหม่ ๆ ขึน้ ทัว่ ประเทศ โดยเริม่ ต้นจากการพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐานและสิ่งอำ�นวยความสะดวกต่าง ๆ เช่น การสร้างถนน ท่าเรือ และสนามบิน เพื่อทำ�ให้ ผู้คนเดินทางได้สะดวก เข้าถึงสถานที่ท่องเที่ยว ได้ง่ายขึ้น เป็นการช่วยดึงดูดผู้คนให้มาเที่ยว อินโดนีเซีย และกระจายนักท่องเที่ยวเหล่านั้นให้ ไปเที่ยวชมพื้นที่อื่น ๆ ของประเทศเพิ่มมากขึ้น จะสังเกตได้ว่า สถานที่ที่ได้รับเลือกนั้นจะ เป็นแหล่งท่องเทีย่ วอยูก่ อ่ นแล้ว แต่อาจยังไม่เป็น ที่รู้จักมากนักหรืออาจจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ รู้จักกันแค่เพียงคนในท้องถิ่น รัฐบาลอินโดนีเซีย เล็งเห็นว่า สถานที่เหล่านีล้ ว้ นมีศกั ยภาพมากพอ ทีจ่ ะเติบโตและดึงดูดนักท่องเทีย่ วได้ทดั เทียมกับ เกาะบาหลี เพียงแค่ต้องอาศัยการสนับสนุนจาก รัฐบาลในด้านต่าง ๆ เพื่อทำ�ให้คนรู้จักมากขึ้น และเดินทางไปท่องเทีย่ วได้สะดวกมากขึน้ นัน่ เอง อย่างไรก็ตาม แม้จะถูกเรียกว่าเป็น ‘บาหลี แห่งใหม่’ แต่เกาะทุกเกาะในอินโดนีเซียไม่ได้ เหมื อ นกั น ไปเสี ย หมด อย่ า งที่ ไ ด้ ก ล่ า วไปว่ า อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีความหลากหลาย มากทีส่ ดุ แห่งหนึง่ ของโลก ด้วยภูมปิ ระเทศทีเ่ ป็น หมู่ เ กาะที่ ป ระกอบไปด้ ว ยเกาะน้ อ ยใหญ่ ก ว่ า
ที่มา : http://futuredirections.org.au
17,500 แห่ง เกาะแต่ละแห่งก็ลว้ นมีความโดดเด่น ในแบบของตัวเอง ดังนั้นเกาะต่าง ๆ ที่อยู่ใน โครงการนี้จะได้รับการพัฒนาไม่ให้เหมือนเกาะ บาหลีไปเสียทั้งหมด แต่รัฐบาลมีแผนที่จะยังคง เอกลักษณ์ของแต่ละเกาะเอาไว้ ซึ่งนักท่องเที่ยว จะสามารถสั ม ผั ส กั บ การผสมผสานระหว่ า ง ธรรมชาติและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน เนื่องจาก ความหลากหลายเหล่านี้ถือเป็นทรัพยากรที่มี คุณค่าซึง่ อินโดนีเซียสามารถนำ�ไปใช้ตอ่ ยอดและ เพิ่มมูลค่าในเชิงการท่องเที่ยวได้อย่างไม่รู้จบ
Photo by Anggit Rizkianto on Unsplash
นักท่องเที่ยวต่างชาติ
Belitung: The Multiplier Effect หากพู ด ถึ ง อุ ต สาหกรรมการท่ อ งเที่ ย ว สิ่ ง ที่ สะท้อนให้เห็นถึงวิวทิวทัศน์ต่าง ๆ ซึ่งส่งเสริม การท่องเที่ยวได้ชัดเจนและสร้างการเข้าถึงผู้คน ได้มากที่สุด คงหนีไม่พ้นอุตสาหกรรมสื่อและ ภาพยนตร์ อย่างในประเทศไทยก็มีภาพยนตร์ หลากหลายเรื่ อ งที่ ส ร้ า งกระแสครั้ ง ใหญ่ จ น สะเทือนไปถึงวงการการท่องเที่ยว หนึ่งในนั้น ก็คือภาพยนตร์ชื่อดังเรื่อง The Beach (2000) นำ�แสดงโดยลีโอนาร์โด ดิคาปริโอ ทีท่ �ำ ให้สถานที่ ถ่ายทำ�อย่างอ่าวมาหยาในจังหวัดกระบี่ของไทย โด่งดังไปทั่วโลกจนชาวต่างชาติแห่กันมาเที่ยว วันละหลายพันคน ในขณะเดียวกัน อินโดนีเซีย ก็มีหมู่เกาะบังกาเบอลีตุง (Bangka Belitung Islands) ซึ่งเป็นเกาะที่ได้รับการผลักดันจาก รัฐบาลในโครงการ ‘Ten New Balis’ และได้พลัง การสนับสนุนจากอุตสาหกรรมสร้างสรรค์อย่าง วงการภาพยนตร์ ที่ ม าช่ ว ยกระตุ้ น ให้ ธุ ร กิ จ การท่องเที่ยวบนหมู่เกาะหายซบเซา และช่วย กระจายรายได้ให้ประชากรชาวเกาะอย่างชัดเจน หมู่เกาะบังกาเบอลีตุงเป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ บริเวณชายฝัง่ ตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะสุมาตรา เป็นหมู่เกาะที่ประกอบด้วยเกาะหลัก 2 แห่ง ได้แก่ เกาะบังกา (Bangka) และเกาะเบอลีตุง (Belitung) ซึง่ ในอดีตเคยเป็นศูนย์กลางในการทำ�
CREATIVE THAILAND I 26
The Rainbow Troops หรือ Laskar Pelangi เป็นภาพยนตร์ที่ดัดแปลงมาจากนิยายของ
เหมืองดีบุก และไม่ใช่แหล่งท่องเที่ยวที่ผู้คนรู้จัก มากนัก ทำ�ให้การจะเดินทางไปที่เกาะไม่ใช่ เรือ่ งง่าย แต่หลังจากภาพยนตร์เรื่อง The Rainbow Troops (2008) ที่ใช้เกาะเบอลีตุงเป็นสถานที่ ถ่ายทำ�หลัก เศรษฐกิจบนเกาะแห่งนี้ก็เติบโตขึ้น อย่างก้าวกระโดด จากที่แทบไม่มีเที่ยวบินมาที่เกาะแห่งนี้เลย ในปั จ จุ บั น กลั บ มี เ ที่ ย วบิ น เพิ่ ม มากขึ้ น ถึ ง 9 เที่ยวบินต่อวัน และมีผู้คนมาเยือนมากถึง 50 ล้านคน ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้เปลี่ยนภาพจำ� ของเบอลีตุงที่ผู้คนเข้าใจว่าเป็นเพียงเกาะที่ทำ� เหมืองแร่ และเผยให้เห็นถึงทิวทัศน์ที่สวยงาม ของเกาะที่ เ คยถู ก มองข้ า มมาเนิ่ น นาน ด้ ว ย เอกลักษณ์ของหาดทรายขาวดังไข่มกุ นํา้ ทะเลใส และหินแกรนิตรูปร่างสวยงามทีป่ ระดับประดาอยู่ ตามชายฝัง่ จึงไม่แปลกทีผ่ คู้ นจะอยากมาเทีย่ วชม และสั ม ผั ส ความงามของธรรมชาติ เ หล่ า นี้ เป็นการตามรอยภาพยนตร์ในดวงใจทีไ่ ด้เผยแพร่ ภาพความสวยงามเหล่านี้ออกไป และแน่นอนว่า มันช่วยให้เศรษฐกิจบนเกาะเติบโตมากขึ้น ทั้ง อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และธุรกิจข้างเคียง เช่น การเปิดโรงแรมและร้านอาหารใหม่ ๆ เพื่อ รองรับนักท่องเทีย่ วทีเ่ พิม่ ขึน้ เป็นการสร้างโอกาส และอาชีพให้คนบนเกาะไปพร้อม ๆ กัน The Turning Point แม้โลกจะเริม่ รูจ้ กั ภูมภิ าคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยความสวยงามของชายหาดและท้องทะเล ตัง้ แต่ในช่วงทศวรรษที่ 1960-1970 แต่อนิ โดนีเซีย ก็ เ ป็ น ประเทศที่ เ ริ่ ม ให้ ค วามสำ � คั ญ กั บ ภาค การท่องเทีย่ วได้คอ่ นข้างช้า หากเทียบกับประเทศ ที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกัน และรัฐบาลก็เพิ่งมาเริ่ม โครงการพัฒนาและโปรโมตเกาะบาหลีให้เป็น แหล่งท่องเที่ยวในปี 1971 ซึ่งก่อนหน้านั้นเกาะ
Photo by Ruben Hutabarat on Unsplash
แอนเดรีย ฮิราตา (Andrea Hirata) นักเขียนชื่อดังผู้มีบ้านเกิดอยู่ที่เกาะเบอลีตุง ภาพยนตร์เรื่องนี้เล่าถึงเรื่องราวของกลุ่มเด็ก 10 คนที่อาศัยอยู่ในเกาะเบอลีตุง เป็นเรื่องราวที่ พูดถึงมิตรภาพ ความรัก และการต่อสู้กับความยากจน The Rainbow Troops เป็นภาพยนตร์ที่ได้รับความนิยมและประสบความสำ�เร็จอย่างมาก ได้รับรางวัลต่าง ๆ มากมายทั้งจากเวทีในประเทศและระดับนานาชาติ ทัง้ ยังเป็นหนึง่ ในภาพยนตร์ทที่ �ำ รายได้สงู สุดตลอดการของประวัตศิ าสตร์ภาพยนตร์อนิ โดนีเซีย
บาหลีที่โด่งดังในวันนี้แทบไม่ได้เป็นที่รู้จักในหมู่ นักท่องเทีย่ วเลย แต่หลังจากการเปลี่ยนแปลงใน ครั้งนั้น เกาะบาหลีก็เป็นที่รู้จักมากขึ้น มีเม็ดเงิน ไหลเวียนมาลงทุนในพืน้ ทีม่ ากขึน้ เกิดการพัฒนา ในด้านต่าง ๆ จนกลายเป็นเกาะบาหลีที่เรารู้จัก กันในทุกวันนี้ ‘การย้ายเมืองหลวงของอินโดนีเซีย’ เป็นอีก หนึง่ ในการเปลีย่ นแปลงครัง้ ใหญ่ทก่ี �ำ ลังจะเกิดขึน้ และเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความตื่นตัวของ ชาวอินโดนีเซีย ทีพ่ ร้อมรับมือกับความเปลีย่ นแปลง เมื่อโลกไม่เคยหยุดนิ่งอยู่กับที่ หน้าที่ของทุกคน ก็คือการเรียนรู้ที่จะปรับตัวตามให้ทันกับการ เปลี่ยนแปลงนั้น ซึ่งอินโดนีเซียก็ได้แสดงให้เห็น ถึงความตัง้ ใจและความสามารถทีจ่ ะเปลีย่ นแปลง เพื่อพัฒนาประเทศได้อย่างชัดเจน ในอดีตเรา อาจจะรูจ้ กั อินโดนีเซียในฐานะประเทศขนาดใหญ่ ทีเ่ ต็มไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ จากรายได้ของ ประเทศที่มาจากการส่งออก และรายได้หลัก ส่วนใหญ่ก็เป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ เช่น นา้ํ มัน ถ่านหิน และสินค้าเกษตรต่าง ๆ แต่ทรัพยากร เหล่านีล้ ว้ นมีอยูอ่ ย่างจำ�กัด และไม่มใี ครสามารถ พึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติได้ตลอดไป ดังนั้น อินโดนีเซียจึงต้องปรับตัวและหันมาให้ความสำ�คัญ CREATIVE THAILAND I 27
กับอุตสาหกรรมใหม่ ๆ โดยเฉพาะอุตสาหกรรม สร้างสรรค์ ที่จะช่วยขับเคลื่อนประเทศได้อย่าง ยั่งยืนมากขึ้น และด้วยศักยภาพของประเทศ ทั้งในด้านของจำ�นวนประชากร เศรษฐกิจ และ ขนาดของตลาดที่ใหญ่ที่สุดของภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จึง น่าจะเป็นหนทางที่ดีที่สุดที่จะช่วยพาอินโดนีเซีย ให้เติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไป ทีม่ า : บทความ “Indonesia: Asia’s Top Nation for Cultural Diversity Declares Top 10 of Asia Magazine” จาก indonesia.travel / บทความ “Indonesia’s Booming Tourism Industry: What Growth in Indonesia’s Tourism Sector Tells Us About Jokowi’s Economic Policies” โดย James Guild จาก thediplomat.com / บทความ “Indonesia Is Looking to Create 10 New Balis to Boost Tourism” โดย Andrea Smith จาก lonelyplanet.com / บทความ “Indonesia’s Tourism Sector Indicates Strong Expansion” จาก oxfordbusinessgroup.com / บทความ “‘Unity in Diversity’, Indonesia’s Motto, Sums up ‘Our Common Humanity’, Says Secretary-General in Jakarta Address” จาก un.org / บทความ “The Indonesian Tourism Industry: A Bright Future and Opportunities for Australia” โดย Jarryd de Haan จาก futuredirections.org.au / บทความ “Top Nations in Asia - A Survey on Asian Countries” จาก top10asia.org / บทความ “Tourism Could Boost Indonesia’s Economy โดย Eijas Ariffin” จาก theaseanpost.com / บทความ “Tourism Industry: How Can Indonesia Tap Its Tourism Potential? Challenges & Opportunities” จาก indonesia-investments.com
The Creative : มุมมองของนักคิด
แอน จักรพงษ์ จักราจุฑาธิบดิ์ (แอน JKN) สร้างการเสพติดทางสายตา เมื่อมูลค่าคอนเทนต์อยู่ที่วัฒนธรรม เรื่อง : พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์ l ภาพ : สุรเชษฐ์ โสภารัตนดิลก
มีคนเคยบอกว่า ไม่ว่า ‘สื่อ’ จะเปลี่ยนแปลงไปแค่ไหน หากคนเรายังต้องการ ‘สาร’ ที่อยู่ในสื่อต่าง ๆ นั้น สารนั้นย่อมไม่มีวันตาย และยังต่อยอดสร้างเป็น คุณค่าและมูลค่าใหม่ได้ไม่ส้ินสุด เพราะไม่ว่าจะเป็นสื่อยุคแอนาล็อกหรือ ยุคดิจิทัล ต่างก็ต้องการ ‘คอนเทนต์’ เพื่อดึงดูดผู้ชมกันทุกยุคสมัย ขึ้นอยู่ กับว่าคอนเทนต์นั้น จะตอบโจทย์และตรงใจผู้ชมหรือไม่เท่านั้น CREATIVE THAILAND I 28
แอน JKN หรือ แอน - จักรพงษ์ จักราจุฑาธิบดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการ บริษัท เจเคเอ็น โกลบอล มีเดีย จำ�กัด (มหาชน) คือผู้จัดจำ�หน่ายลิขสิทธิ์คอนเทนต์ระดับสากล ที่พร้อมจะ ‘ปั้น’ คอนเทนต์ ต่างๆ ให้เหมาะกับทุกตลาดทั้งในระดับประเทศ ภูมิภาค และระดับสากล โดยในปี 2020 JKN วางเป้าหมายก้าวสู่การเป็นผู้นำ�คอนเทนต์ของอาเซียน ที่นอกจากการเป็นผูจ้ ดั จำ�หน่ายซีรสี อ์ นิ เดีย ฟิลปิ ปินส์ สารคดี การ์ตนู และซีรสี ์ จากฮอลลีวดู้ แล้ว ยังจะมีการลงทุนผลิตคอนเทนต์ในรูปแบบ ‘โค-โปรดักชัน่ ’ กับต่างประเทศเพิ่มขึ้น พร้อมกับการเร่งขยายตลาดขายลิขสิทธิ์ละครช่อง 3 ซึ่งได้รับลิขสิทธิ์จำ�หน่ายทั่วโลกผ่านกลยุทธ์ ‘ซูเปอร์สตาร์ มาร์เก็ตติ้ง’ ในการนำ�ทัพดาราศิลปินจากช่อง 3 ไปโรดโชว์ทำ�กิจกรรมในต่างประเทศ เพื่อทำ�ตลาดละครให้เป็นที่รู้จัก โดยมีตลาดหลักอยู่ในอาเซียนนี่เอง Q: หลายๆ ประเทศในอาเซียนมองว่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์ จะช่วยสร้างเศรษฐกิจ ในขณะที่อุตสาหกรรมคอนเทนต์คือ หนึ่งในอุตสาหกรรมที่โดดเด่น คุณคิดอย่างไรกับแนวทาง การพัฒนานี้ A: พี่เข้าใจเรื่องการเพิ่มมูลค่า (Value Added) แล้วก็เชื่อว่าการส่งเสริม ให้คนคิด มันสามารถช่วยเลยส่งเสริมอุตสาหกรรมได้ทกุ ประเภท โดยเฉพาะ เรื่องของการผลิตคอนเทนต์ มันคือการคิดจริงๆ ที่มัน make difference (สร้างความต่าง) แต่คำ�ถามคือเราจะส่งเสริมยังไงให้คนคิดเป็น คือถ้าเรามี จินตนาการ มันจะสัมพันธ์กับความรู้เสมอ และจะทำ�ให้ผลิตภัณฑ์ของเรา เจริญก้าวหน้าได้ เราต้องรู้จักปั้นอิฐให้กลายเป็นทอง ไม่ไปเอามาแล้วดิบ ๆ แล้วใครจะกิน มันต้องผ่านการปรุง คอนเทนต์กเ็ หมือนกัน ของแบบเดียวกัน แต่แพ็กเกจจิงต่างกัน มันก็ราคาแพงกว่ากันแล้ว นี่คือการใช้จินตนาการ เข้ามาในโปรดักส์ เพื่อทำ�ให้โปรดักส์มันมีความเซ็กซี่ มีมูลค่า แล้วสามารถ ขยายขายออกไป แล้วเงินมันจะเข้ามาเยอะกว่าเดิม Q: คุณทำ�อย่างไรกับการปั้นสิ่งที่มันเป็นนามธรรมมาก ๆ อย่างเรื่องคอนเทนต์ A: อย่างทำ�ไมดิฉันชอบไปเกาหลี ตลอดระยะเวลา 15 ปีมานี่ ไปตลอด แต่ก่อนคือไปเกือบทุกเดือน หรือเดือนเว้นเดือน สิ่งที่เราเห็นคือ เขาพัฒนา ประเทศมาจากความคิดสร้างสรรค์กับการออกแบบ เราจะรู้สึกเลยว่าทำ�ไม บ้านเมืองเขาออกแบบดีจงั เลย มันสวย มันกลายเป็นมีมลู ค่า แล้วก็แบ่งเป็น โซนชัดเจน กังนัมเป็นอย่างนี้ เมียงดงเป็นอย่างนั้น แม้แต่การปลูกต้นไม้ ทำ�ถนน ทุกสิ่งทุกอย่าง พอเวลาไปดูแล้ว มันเกิดความลํ้าค่าทางการเป็นอยู่ การท่องเที่ยวเลยดี แล้วทำ�ไมเกาหลีทำ�ละครออกมาแล้วคนติด ทั้ง ๆ ที่ละครก็เล่นกันอยู่ ไม่กคี่ น อย่างตอนทีเ่ อา Full House (สะดุดรักทีพ่ กั ใจ) เข้ามาในประเทศไทย เล่นกันอยู่ 4 คน พระเจ้าช่วย! ดังเป็นพลุแตก เพราะการดีไซน์บท ความคิด สร้างสรรค์ไง แต่งตัวก็น่ารัก บทพูดก็สนุก แต่จริงๆ มันง่ายมากนะ บทที่ ซูเปอร์สตาร์ไปหลงรักผู้หญิงกะป๊อกกะแป๊กคนหนึ่งอย่างเนี้ย แต่มันคือ การออกแบบและจินตนาการทีส่ ง่ เสริมให้ประชาชนของตัวเอง ให้เกิดการคิด ไปเรื่อย ๆ ไม่ได้อยู่ในกรอบ ไม่ได้อยู่ในตำ�รา แอนเชื่อว่าคนเราต้องคิด
นอกกรอบตั้งแต่เด็ก จะได้มีจินตนาการ ไม่งั้นเวลาโตขึ้น แล้วจะขึ้นสนิม พอจะทำ�อะไรก็กลัวไปหมด คุณจะทำ�ธุรกิจอะไรก็แล้วแต่ ถ้าไม่มีความคิด สร้างสรรค์ ก็ไม่มีมูลค่าเพิ่ม พอมันไม่มีมูลค่า คุณขายของ คุณก็ได้ราคา แค่เท่านั้น Q: นั่นเลยเป็นเหตุผลว่าเราจะต้องจัดการแต่งตัวคอนเทนต์ ให้มันมีมูลค่าและไปได้ระดับโลก A: คำ�ว่าแต่งตัวน่ะถูกต้อง เพราะถ้าเราเอาของมา แล้วไม่ transform (เปลีย่ นแปลง) ก็เท่ากับไม่ส�ำ เร็จ ธุรกิจแอน มีคนเยอะแยะชอบถามเราตัง้ แต่ ตอนที่เอาบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ว่า “คุณแอน ซื้อมาขายไปอย่างของ คุณแอนอะ ใครๆ ก็ทำ�ได้ไม่ใช่เหรอ เราบอก no no no คิดใหม่นะคะ คิดใหม่ค่ะ อันนั้นคือเอเจนต์นะคะ แต่ดิฉันคือบริษัทบริหารจัดการและ จัดจำ�หน่าย คือการที่นำ�มาปุ๊บ ต้องมาผ่านกระบวนการ transform ให้เป็น ของตัวเรา คือตั้งแต่เลือกบริษัทที่ทำ�งานด้วย ว่าเราควรทำ�งานกับบริษัทไหน ประเทศไหน คอนเทนต์ไหนเป็นจริตคนไทย ผู้บริโภคเราต้องเข้าใจ แล้วพอ เอามา ก็ต้องดูว่าแต่ละเรื่องมีความแตกต่างยังไง บางเรื่องน่าดูแต่ไม่น่ากิน กินปุ๊บ ไม่อร่อย ก็มีเยอะแยะ เราต้องดูไปถึงสคริปต์ แล้วต้องเอาเข้ามาทำ� localization คือการพากย์ แปล เกลาบทให้เข้ากับบริบทของไทย แล้วดิฉัน แถมใส่เพลงไทยเข้าไปด้วย นอกเหนือจากนั้น ยังเอามารวมกันทำ�โชว์เคส ออกแบบโปสเตอร์ ออกแบบทุกสิง่ ทุกอย่างทีเ่ กีย่ วข้อง เรียกว่าทำ�แพ็กเกจจิง ใหม่หมดเลย แถมยังมีทำ�การตลาดด้วย เล่นเกม กิจกรรม แฟนมีตติ้ง โน่นนั่นนี่ แล้วเปิดเมกะโชว์เคสเป็นคอนเสิร์ตมันส์กันไปเลย เพื่อสร้าง กลุม่ แฟนคลับ แล้วทัง้ หมดมันจะเป็นการสร้างการเสพติดทางสายตา สินค้า อย่างหนึ่งที่คุณเอามา คุณอาจจะมีต้นทุนเท่านี้ แต่พอเวลาคุณหาเงิน คุณต้องหาเงินให้ได้เป็นพันล้านนะ และมันทำ�ได้ด้วยคำ�ว่าคิดคำ�เดียว ต้องคิดก่อนที่จะทำ� คือดิฉันจะไม่ทำ�อะไรที่เหมือนกับชาวบ้านเขาทำ� ไม่ใช่ เห็นคนนั้นเขาทำ�แล้วดี ก็ไปซื้อมา แล้วก็เอามาเข้าโรงภาพยนตร์เฉยๆ เอาไปฉายจอเฉยๆ มันไม่ใช่ Q: คุณมองเห็นแนวทางการทำ�งานแบบนี้ตั้งแต่เมื่อไหร่ A: ตอนนั้ น กลั บมาเมื อ งไทยเราอายุ 20 ค่ า ยหนั ง นนทนั น ท์ดัง มาก สหมงคลฟิล์มดังมาก ทุกคนดังมาก เราก็เป็นเด็กกะปวกกะเปียกคนหนึ่ง แล้วจะเอาเงินที่ไหนไปซื้อหนังเข้าชนโรง ใช่ไหม แล้วโมเดลตอนนั้นคือ ต้องเข้าโรงภาพยนตร์ก่อน ถึงจะออกมาเป็นม้วนวิดีโอ แล้วถึงจะขายได้ โน่นนั่นนี่ แต่เราเอาเงินที่ไหนล่ะเธอ สิ่งที่เกิดขึ้นตอนนั้นก็คือ เราชอบ Walking with Dinosaur นั่งดูแล้วรู้สึกว่า เออ มันก็สั้นดี เหมือนเราดู Jurassic Park เลย มีแค่ 3 ตอน ตอนที่ 4 คือเบื้องหลัง เอ๊ะ! ไม่เห็นมี ใครเอามาทำ�ตลาดเลยนะในบ้านเรา ซึง่ แต่กอ่ นทีวกี ม็ แี ค่ 4-5 ช่อง เราก็เลย คิดว่า ติดต่อไปเลยดีกว่า ก็โทรศัพท์ไปที่อังกฤษ และก็คือขอซื้อลิขสิทธิ์ เรื่องนี้มาถูกๆ ไม่กี่หมื่นบาท เพราะไม่เคยมีคนซื้อ นี่กำ�ลังจะบอกว่าเพราะ เราคิด และเราต้องเห็นในสิง่ ทีค่ นอืน่ ไม่เห็น ไม่ได้เกิดมาจากคนทีค่ ดิ ง่ายๆ ว่า คุณแอนแค่ไปซื้อมาขายไปแบบนั้น
CREATIVE THAILAND I 29
ความคิ ด สร้ า งสรรค์ กั บ การลงทุ น มันต้องควบคูก่ นั และมันต้อง Get Real (เป็ น จริ ง ได้ ) ไม่ เ ช่ น นั้ น จะกลายเป็ น คนฟุ้งฝัน ใส่เงินลงไป ต้องเป็นการ invest (ลงทุน) ไม่ใช่เป็น expense (รายจ่าย) คือใส่ลงไปแล้ว ต้องสามารถ reuse (นำ�มาใช้ใหม่) ได้ redevelop (ปรับปรุงใหม่) ได้ ต้องสามารถที่จะ นำ � ไปใช้ เ พื่ อ การค้ า การขายได้ ต่ อ สร้างสรรค์ ได้ต่อ
Q: ทุกอย่างต้องผ่านกระบวนการใช่ไหม A: ใช่ มันไม่ใช่ว่าทำ�อะไรก็ทำ�ตามกัน แต่ขอเล่าให้ฟัง ตอนที่ซื้อลิขสิทธิ์ มาถู ก มาก เราก็ เ อามาใส่ เ ป็ น ม้ ว นวิ ดี โ อส่ ง ตามร้ า นเช่ า ก็ คื อ เจ๊ ง ค่ ะ ขายไม่ออกเลย ร้านเช่านี่ไม่มีใครรับเลย ทั้ง Tsutaya, Blockbuster, VDO Ezy ศูนย์เช่าทั่วประเทศไทยในเวลานั้น ขายไม่ได้เลย ก็มาคิดต่อว่า ฉันจะทำ�ยังไงดี ระหว่างที่ดูจอร์จกับซาร่า (รายการ TV Direct) ตอนนอน ไม่หลับ เราก็ initiative (ริเริ่ม) ขึ้นมาว่า จอร์จกับซาร่ากรุณาเลิกขาย เครื่องออกกำ�ลังกายก่อนนะ ตอนนี้เรามี VHS เป็นม้วนวิดีโอเนี่ยให้เธอขาย เธอเอาไปทดลองขายดู ขายเท่าไหร่ก็เท่ากัน ไม่เป็นไร สรุปว่าจบที่ขายได้ หนึ่งล้านม้วน ดิฉันมีเงินเก็บ 20 ล้านในเวลานั้น สามารถเอาไปลงทุนต่อ จนเหลือเก็บทั้งหมด 10 ล้าน ตอนอายุแค่ 20-21 Q: คิ ด ว่ า การประสบความสำ � เร็ จ ตั้ ง แต่ อ ายุ ยั ง น้ อ ยเป็ น พรสวรรค์ของตัวเองไหม A: จริงๆ แล้ว สิ่งที่ดีที่สุดของแอนในชีวิตการทำ�ธุรกิจและการที่เราเป็น ผู้หญิงข้ามเพศด้วย คือความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ตอนที่จบมหาวิทยาลัย แล้วได้เกียรตินิยม เรียนจบภายใน 2 ปีเนี่ย อาจารย์บอกว่าแอนดรูว์ สิ่งที่ดี ที่สุดในตัวคุณคือ initiative เราก็อึ้งไปพักหนึ่ง ไม่ค่อยเข้าใจ จนเริ่มเข้าใจ มาเรือ่ ยๆ ว่า เราเป็นคนที่คิดอยู่ตลอดเวลา คิดออกนอกกรอบ ชอบตัง้ คําถาม คิด แล้วก็ execute (ลงมือทำ�) ก่อนคนอื่น คือเป็นคนมีจินตนาการสูงส่ง เกิดมาจากอะไรรูไ้ หม มันเกิดมาจากการทีเ่ ราเกิดผิดร่าง เลยคิดตลอดเวลา ว่าทำ�ไม ซึง่ ความสงสัยนีล่ ะ่ ทีท่ �ำ ให้เกิดความคิด คนอืน่ เขาทำ�อะไร เราไม่ท�ำ แต่คนอื่นเขาไม่ทำ�ปุ๊บ เราไปมองดู ราคามันยังถูก ก็เอามาปั้นสิ คำ�ว่าปั้น
คำ�นีค้ อื ขีดเส้นใต้เลย มันคือกระบวนการคิดสร้างสรรค์ทง้ั นัน้ เวลาคุณปัน้ เสร็จ แล้วคุณไปพรีเซนต์ดี มันคนละมือ มวยคนละสังเวียนเลยนะ การชกของเรา มันจะหนักแน่น และมันจะได้เงินเยอะกว่ามาก Q: คือเปลีย่ นความสงสัยในใจให้กลายเป็นจุดแข็งของตัวเอง A: ค่ะ แล้วก็เลยกลายเป็นคนที่บ้าเรียนหนังสือให้เก่ง อ่านหนังสือ เยอะมาก เพราะว่าถ้าเรียนไม่เก่ง เดี๋ยวจะถูกล้อเลียน ถูกกลั่นแกล้ง ในโรงเรียน พออ่านเยอะ คิดเยอะ ก็ได้ขึ้นมาเป็นกัปตันโต้วาทีของโรงเรียน ก็เลยยิ่งต้องสัมภาษณ์คนเยอะ เจอคนเยอะ เลยเริ่มเข้าสังคมได้ตั้งแต่เด็ก แล้วก็ไปฟังสัมมนาเยอะ ที่สำ�คัญคือเป็นคนชอบเดินทางเยอะ โดยเฉพาะ เดินทางไปต่างประเทศ ชอบพูดภาษาอังกฤษเยอะๆ แล้วก็ชอบฝรั่งด้วย ที่สำ�คัญมากกว่านั้น คือเราเป็นลูกเจ้าของร้านวิดีโอ (ธุรกิจครอบครัว ST Video ร้านให้เช่าและจำ�หน่ายวิดีโอ) ก็เลยทำ�ให้เราได้ดูหนังดูละครเยอะ และชอบดูหนังฝรั่ง เลยได้เห็นวัฒนธรรม เห็นโน่นเห็นนี่ ฉะนั้นจึงเกิด initiative ได้ เกิดแรงบันดาลใจที่มาจากการดูเยอะ อ่านเยอะ ฟังเยอะ เดินทางเยอะ ได้รับข้อมูลเยอะเหล่านี้ Q: ดูเหมือนกับงานของคุณคืองานที่ต้องการจินตนาการสูง แต่การที่บริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ คนก็ต้องคาดหวังเรื่อง ของการบริหารแบบนักธุรกิจด้วย A: ต้องบอกว่า แอนเป็นคนที่เกิดมาเป็นศิลปิน แต่เป็นคนแม่นหัวธุรกิจ และเป็นคนหาเงินที่กล้าบอกได้เลยว่า หาจนคนกลัว คือหาได้ทุกเม็ด หาได้ เก่งมาก จากไม่มีอะไรเลย แล้วก็สร้างมาได้หลายพันล้านโดยไม่ได้ใช้เงิน แบงก์ มันบอกได้เลยนะว่าเราคิดทุกเม็ด คือเราต้องมีความคิดสร้างสรรค์ที่ อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง เราต้องลงทุนให้เป็น แอนเรียนจบรัฐศาสตร์นะ ไม่ได้เรียนบัญชีการเงินเลย แต่สงิ่ ทีท่ �ำ คือไปสัมมนาเพิม่ ไปเรียนเพิม่ เพราะ มันต้องรู้ ไม่รู้ไม่ได้ ถ้าคอร์สที่ 1 ไม่เข้าใจ ก็ไปเรียนต่อ เรียนซํ้าไปเรื่อย ๆ จนตอนนีเ้ ดบิต เครดิตรูเ้ รือ่ งหมดแหละ ไม่ตอ้ งห่วงเลย พูดอะไรมาฉันตอบเอง Q: มีหลักการลงทุนในธุรกิจอย่างไร A: อย่างที่บอกว่าความคิดสร้างสรรค์กับการลงทุนมันต้องควบคู่กัน และมันต้อง Get Real (เป็นจริงได้) ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นคนฟุ้งฝัน ใส่เงินลงไป ต้องเป็นการ invest (ลงทุน) ไม่ใช่เป็น expense (รายจ่าย) คื อ ใส่ ล งไปแล้ว ต้องสามารถ reuse (นำ�มาใช้ใหม่) ได้ redevelop (ปรับปรุงใหม่) ได้ ต้องสามารถที่จะนำ�ไปใช้เพื่อการค้าการขายได้ต่อ สร้างสรรค์ได้ต่อ อย่าใช้เงินแล้วทิ้งแม่นํ้า ต้องเพิ่มมูลค่าให้เป็น ให้สามารถ ใช้ได้ในงานถัด ๆ ไปเรือ่ ย ๆ Q: หมายถึงการต่อยอดใช่ไหม A: นั่นแหละคือความสุดยอดของคนที่คิดเป็น คือคิดได้ทั้งฝั่งที่สร้างสรรค์ และคิดได้ท้ังฝั่งความเป็นจริงของการหาเงิน มันต้องได้ทั้งสองด้าน ถึงจะ เรียกว่าสุดยอดประสบผลสำ�เร็จ ถ้าคิดไปเรื่อยเปื่อยหลุดโลก คุณก็อยู่บน โลกนี้ไม่ได้ ถ้าบอกว่าเป็นธุรกิจแล้วต้องกางตำ�รา ก็ไม่ได้เหมือนกัน เพราะ ทั้งสองอย่างมันต้องผสานกัน ต้องเป็นนักธุรกิจที่ดีและรู้จักริเริ่ม อย่าง
CREATIVE THAILAND I 30
เศรษฐกิจสร้างสรรค์ มันก็มาจากการที่เราสร้างสรรค์สินค้าและส่งเสริม เศรษฐกิจให้เติบใหญ่ด้วยความคิดสร้างสรรค์ของเราเอง เรามีอะไรดี ชัดเจนไหม ของไทยมีตั้งเยอะตั้งแยะ ทำ�ยังไงให้สู้เขาได้ Q: แล้วเรานำ�คอนเทนต์แบบไทย ๆ ไปขายตลาดต่างประเทศ ได้อย่างไร A: ดูง่าย ๆ อย่างละครเกาหลี ที่บอกว่าบทดี แต่งตัวสวย นอกเหนือ จากนั้นยิ่งร้ายกาจใหญ่เลยนะ เพราะเขาเอาวัฒนธรรมทุกอย่างมาอยู่ ในละครในหนังเขาหมดเลย เพราะต้องการที่จะให้คนติด เพราะการส่งออก วัฒนธรรมก็เท่ากับเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจ พอคนเสพติดทางสายตา เขาก็ยงิ่ หลง ยิง่ ชอบ เขาก็จะไปใช้สนิ ค้า เสือ้ ผ้าหน้าผม การท่องเทีย่ ว อาหาร ทุกอย่าง แม้กระทั่งบอยแบนด์ เกิร์ลแบนด์ ฉันก็ฟังไม่รู้เรื่อง ทำ�ไมมันกรี๊ด กันจัง ก็เพราะเราหลงในเขาไง ก็เหมือนกับเรา ปัจจุบันนี้ JKN เลยทำ�หน้าที่ ว่าเราจะเอาละครช่อง 3 ไปขายยังไง Q: คุณเป็นคนมองเห็นศักยภาพนี้เองใช่ไหม A: ใช่ เราก็ไปยืน่ เสนอทางช่อง บอกคุณประชุม มาลีนนท์ (CEO ของบีอซี ี เวิลด์) เดินเข้าไปคุยเลยว่า ทำ�ไมเราถึงไม่ท�ำ อะไรกันเลย พระเอกเราก็หล่อ ๆ หลายคน นางเอกก็สวย แล้วบทบาทอะไรต่าง ๆ ก็เล่นดีกันจะตายอะ ที่สำ�คัญคือถ่ายทำ�ก็ถูก ทำ�ไมเราไม่ไปต่างประเทศล่ะ อย่างปีนี้ เราก็เพิ่งไป ทีฝ่ รัง่ เศสมา คือรัฐบาลเราก็สง่ เสริมนะ แต่เป็นแบบไปเปิดบูธ แล้วให้ทกุ คน
ไปรวมตัวกันประมาณ 10-20 บริษัท ดิฉันไม่เคยไปรวมกับเขาเลย เพราะ ดิฉันสวย ดิฉันเปิดของดิฉันคนเดียว แหวกแนวคนอื่นเขาหมด ทำ�บิลบอร์ด ลงสัมภาษณ์แมกกาซีน มีโบรชัวร์สวยงาม มีโชว์เคสด้วย พาเคน-ภูภูมิ กับแต้ว-ณฐพร จากละครนาคีไป เราต้องไปพรีเซนต์ตัวเองด้วยว่าเราเป็น ซีอีโอของ JKN นะ Q: ทำ�ไมคุณถึงคิดว่าการทำ�แบบนี้จะเวิร์กกว่าเดิมแบบที่ไป ในนามตัวแทนของรัฐบาล A: เพราะคนจะจำ�ของของเราได้ เขาต้องจำ�เราได้กอ่ น ฉะนัน้ ดิฉนั แบรนดิง ตั้งแต่ซีอีโอ คือตัวดิฉันเอง ดิฉันแต่งชุดไทยประยุกต์เปิดไหล่ไปเลยค่ะ สวยงามแล้วทักทายเหมือนไปประกวดนางงามเลย ถ้าคุณทำ�ตัวน่าเบื่อ ใครเขาอยากจะซือ้ หนังคุณ มันคือการแพ็กเกจจิงสินค้าใหม่ ละครก็มอี ยูแ่ ล้ว แต่ไม่เคยไป หรือไปแล้วคนไม่เห็นรู้จักกันทั่วโลก ดิฉันอยู่ตลาดนี้มา 20 ปี ถ้าเราจัดรวมกันแบบเดิม ดิฉันเดินผ่านเลยนะคะ ไม่เห็น ทุกอย่างอยู่ที่ การทำ � พรี เ ซนเทชั น แล้ ว การลงทุ น แค่ เ ท่ า เนี้ ย แต่ ข ายของได้ มู ล ค่ า ของเหมือนกัน คุณขายได้สิบบาท แต่อีกคนทำ�ไมขายได้ล้านบาท มันเห็น เลยว่าเราเปลี่ยนจากก้อนหินให้กลายเป็นทองคำ�ได้ ดิฉันทำ�การตลาดอย่าง เดียวเลย พันสี่ร้อยล้านปีที่แล้ว ปีนี้พันหกร้อยล้าน Differentiate Yourself (การสร้างความแตกต่างให้ตัวเอง) คือทุกสิ่งทุกอย่างที่แอนทำ�มาตลอด ทั้งชีวิต ปัจจุบันนี้ขายของดี ก็ด้วยการพรีเซนต์ตัวเอง พอเวลาขายของ คนจำ�ได้ อ๋อ! แอน JKN พอเราพูด นํ้าหนักมันมา
CREATIVE THAILAND I 31
Q: ถ้ามองเฉพาะในตลาดอาเซียน ธุรกิจคอนเทนต์ของไทย มีแนวโน้มอย่างไรบ้าง A: ถ้าจะไปต่างประเทศ เราต้องคิดตั้งแต่ตอนเริ่มผลิตเลย เช่น ต้องทำ� โค-โปรดักชัน อย่าไปทำ�ประเทศของเราประเทศเดียว ไปร่วมกับฟิลิปปินส์ อินเดีย อินโดนีเซียเลย ศิลปินเราก็เป็นที่รจู้ กั ของเรา พอไปต่างประเทศ เขาจะ รูจ้ กั ได้ไง ก็ไม่เคยไปฉาย เพราะฉะนัน้ การร่วมกันผลิตตัง้ แต่ตน้ มันคือการเติม ตรงนี้ เป็นการเปิดตลาด และต้อง Think Regional, Act globally คือต้องไป อย่างนั้นแล้ว เงินดอลลาร์มันเซ็กซี่กว่าเงินบาทรึเปล่า มันเป็นตลาดใหญ่ มากกว่า แล้วการจะพาไปต่างประเทศ ศิลปินก็ตอ้ งพูดภาษาอังกฤษได้ใช่ไหม การทำ�บท ก็ต้องไม่ขำ�กันเอง ไม่ตบตีกัน แล้วเขาไม่เก็ตว่าเพราะอะไร บทต้องมีความเป็นสากล คนสัมผัสได้ มันมีเหตุผล ไม่ใช่นางร้ายก็หันมา ก็ทำ�สายตาซะแบบรู้เลยว่าฉันจะเขมือบผู้ชายคนนี้ให้ได้ ยัยนางเอกก็ทำ�ตัว ซะน่าสงสารเว่อร์ ฉะนั้นมันต้องทำ�ให้มันจริง ต้องรู้ว่าตลาดผู้บริโภคระดับ ภูมิภาค ระดับโลก เขาไปถึงไหนกันแล้ว ถ้าเราอยากจะถีบตัวขึ้นไป Q: แล้วการนำ�คอนเทนต์จากต่างประเทศเข้ามา คุณเลือก จากอะไรเป็นสำ�คัญ A: เลือกที่คนอื่นเขาไม่ทำ� แต่ดิฉันทำ� และดิฉันก็ทำ�แล้วเกิดทุกอันด้วย เพราะทุกอย่างที่เอาเข้ามาเราต้อง transform คำ�ว่า transformation (การเปลี่ยนแปลง) เนี่ยเหมาะกับดิฉันมาก คือดิฉัน transform ตัวเองจาก ชายกลายเป็นหญิง ดิฉัน transform ธุรกิจจากโฮมวิดีโอให้กลายเป็นธุรกิจ หลายพันล้านในการขายคอนเทนต์ ดิฉนั transform คอนเทนต์ตา่ งประเทศ ซึ่งคนดูไม่รู้เรื่อง มาเป็นคอนเทนต์ที่คนไทยติดกันเป็นยาเสพติดทางสายตา ทั้งประเทศไทย และดิฉันยัง transform เพลงไทยใส่ลงไปแล้วกลายเป็น ธุรกิจใหม่ อย่างปีนี้คอนเสิร์ตก็เพิ่งจะจบไป บัตรก็ขายหมดเกลี้ยงทุกอย่าง Q: คอนเทนต์ของ JKN เป็นแบบไหน A: โอปราห์ วินฟรีย์ เป็นต้นแบบดิฉนั เลยในเรือ่ งนี้ ดิฉนั ต้องการให้คอนเทนต์ ช่วยสอน นำ�ทาง และให้แรงบันดาลใจคน นี่คือหน้าที่ของคนค้าคอนเทนต์ คือค้าอาหารสมอง ถ้าไม่มีความรับผิดชอบตรงนี้ ก็เท่ากับไม่มีจรรยาบรรณ เพราะฉะนั้นแอนก็จะไม่ขายอะไรที่แบบว่ามันเอ็กซ์ มันเซ็กส์ นอกจากเรา แต่งเอ็กซ์ อันนั้นโอเค มันเป็นความพึงพอใจส่วนตัว แต่ว่ากับคอนเทนต์ เราจะไม่ทำ� คอนเทนต์ของเรามีทง้ั บันเทิง ให้คนได้ความสุข แต่ขณะเดียวกันเราก็มี สารคดี แล้วก็มรี ายการข่าวอย่าง CNBC ที่ท�ำ ให้คนได้ความรู้ เกิดแรงบันดาลใจ แม้กระทัง่ ประวัตชิ วี ติ ของแอน จักรพงษ์ ก็คอื คอนเทนต์ให้เด็กรุน่ ใหม่ๆ ได้เห็น ให้คนที่เกิดมาแล้วรู้สึกว่าตัวเองดีไม่พอ ไม่เป็นชายจริงหญิงแท้ เก่งไม่พอ พูดติดอ่าง ตาเข ไม่เห็นหล่อเลย ผิวก็ไม่ดี สิวก็เยอะ ผมก็ร่วง อ้วนก็อ้วน คือไม่มใี ครพอใจอะไรในตัวเองน่ะ กรุณาคิดเลยว่าอย่างดิฉนั เนีย่ เกิดผิดร่างนะ ความอดทนทีต่ อ้ งอยูก่ บั ร่างทีไ่ ม่ใช่เรามันแค่ไหน ชีวติ ของเราเป็นคอนเทนต์ได้ เป็นแรงบันดาลใจได้ ว่าหนักเบาเอาสูไ้ ปเถอะ อะไรเล็กๆ น้อยๆ ก็อดทนซะ มันไม่มอี ะไรมาง่ายบนโลกหรอก ฉะนัน้ ตัวเราก็ตอ้ งเป็นคอนเทนต์ทดี่ ใี ห้กบั ประชาชน สร้างแรงบันดาลใจให้คนอื่นด้วยตัวเราเอง ...กล้าคิด กล้าริเริ่ม และกล้าทำ� และทำ�ให้สำ�เร็จ คือแอน จักรพงษ์ค่ะ
CREATIVE INGREDIENTS การเป็น Transgender ให้อะไรกับคุณ ทุกอย่าง ความคิดสร้างสรรค์ ไม่ใช่เฉพาะผู้หญิงข้ามเพศนะ LGBT หมดทุกคนเลย มันคงจะมาพร้อมยีน พร้อมเพศพันธุ์ พร้อมกับ สายเลือดล่ะมัง้ ทีม่ นั เกิดมาไม่เหมือนปกติ คือชายจริงหญิงแท้หลายคน เขาก็มีความคิดสร้างสรรค์ แต่ LGBT อาจจะโดดเด่นตรงที่ว่าเรามีจริต จะก้าน แล้วก็แบบ...บรรเจิด วิธีคิดแบบแอน JKN การคิดแบบมี Growth Mindset คนเราต้องอย่ามี Fixed Mindset ไม่งนั้ คุณจะอยูแ่ ต่ในกรอบ แต่ถา้ มีค�ำ ว่า Growth Mindset คุณคิดบวก มองเห็นความเป็นไปได้ ก็จะเห็นโซลูชนั เห็นปัญญาทีเ่ กิดมาจากปัญหา แล้วสร้างสรรค์สง่ิ ใหม่ ๆ ตลอดเวลา ทำ�ให้เราแพรวพราว พลิกแพลง ต่อยอดไปได้ทุกทาง เพื่อทำ�ให้ตัวเองออกไปสู่โซลูชันให้ได้ แรงบันดาลใจของแอน JKN การทำ�งานทุกอย่างต้องเกิดจากแพสชัน อย่าทำ�งานด้วยแรงจูงใจ ต้องแรงบันดาลใจ ไม่ใช่สมัครงานอันไหนได้เงินเดือนเยอะ ก็ไปทำ� แต่ถ้าคุณอยู่ด้วยแพสชัน คุณจะลับคมมีดตัวเองไปเรื่อย ๆ แล้วที่สุด ก็จะมีแต่คนมารุมใช้บริการคุณ มาซื้อของคุณ แล้วเงินมันจะมาเอง
CREATIVE THAILAND I 32
Creative Solution : คิดทางออก
ไป ๆ มา ๆ ในอาเซียน
เทรนด์การย้ายงานในภูมิภาคบ้านใกล้เรือนเคียงวันนี้ เรื่อง : กรณิศ รัตนามหัทธนะ
ตลาดแรงงานวันนี้กำ�ลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ปัจจัยที่เกี่ยวข้องมี หลากหลาย ทัง้ ลักษณะงาน ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ทักษะ แรงงาน เทคโนโลยีในการผลิต วัฒนธรรมในที่ทำ�งาน ฯลฯ ปัจจัยเหล่านี้ นำ�มาซึ่งโอกาสใหม่ ๆ ที่แรงงานจะได้ทำ�งานที่ ‘ดีกว่าเดิม’ และยกระดับ คุณภาพความเป็นอยู่ของตนเอง...เหตุผลเหล่านี้เองที่ทำ�ให้คนเปลี่ยนงาน จํานวน แรงงานข้ามประเทศ ASEAN
20.2 ล้านคน
ปี 2019 แรงงานข้ามประเทศ ที่ทํางานในภูมิภาค ASEAN
6.9 ล้านคน
แรงงานในภูมิภาคอาเซียนก็เช่นกัน องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization) รายงานในปี 2019 ว่า ปัจจุบัน มีแรงงานข้ามประเทศราว 20.2 ล้านคนที่มาจากประเทศในกลุ่มอาเซียน ในจำ � นวนนั้ น เกื อ บ 6.9 ล้ า นคนทำ � งานอยู่ ใ นภู มิ ภ าคอาเซี ย น ซึ่งสำ�นักงานกิจการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (UN DESA) รายงานว่า ตัวเลขนีเ้ พิม่ ขึน้ กว่า 5 เท่า ตัง้ แต่ค.ศ.1990 เป็นต้นมา ก่อให้เกิด การเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำ�คัญ น่าสังเกตว่า จำ�นวนแรงงานหญิง ที่ย้ายถิ่นฐานไปทำ�งานในภูมิภาคอาเซียนเพิ่มขึ้นอย่างมากใน 30 ปีที่ ผ่านมา และเป็นจำ�นวนเกือบครึ่งของแรงงานทั้งหมด (48.7%) หนังสือพิมพ์ The Business Times ของสิงคโปร์ รายงานเมือ่ เร็วๆ นีว้ า่ สิงคโปร์เป็นประเทศเป้าหมายอันดับหนึง่ สำ�หรับแรงงานข้ามชาติในอาเซียน (ผลสำ�รวจจากแรงงานราว 3,500 คนใน 11 ประเทศในเอเชีย) นำ�หน้า ประเทศเป้าหมายยอดนิยมอย่างประเทศในยุโรปและอเมริกาเหนือ โดย แรงงานจากอินโดนีเซีย ไทย มาเลเซีย เวียดนาม ญี่ปุ่น อินเดีย และจีน
ต่างต้องการไปทำ�งานทีส่ งิ คโปร์ ในขณะทีแ่ รงงานสิงคโปร์เองก็ไม่คอ่ ยอยาก ย้ายไปทำ�งานที่อื่น สำ�หรับสิงคโปร์ แรงงานต่างชาติมีสัดส่วนเกือบ 30% ของจำ�นวน ประชากร แรงงานต่างชาติที่มีฝีมือ (ภาคการเงินและเทคโนโลยีสารสนเทศ) ได้ช่วยให้อุตสาหกรรมของสิงคโปร์พัฒนาไปถึงระดับที่เป็นฮับของภูมิภาค ในขณะที่แรงงานที่ใช้ทักษะตํ่าลงมา (เช่น อุตสาหกรรมก่อสร้าง) ก็ช่วยให้ กิจกรรมทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์เติบโตอย่างรวดเร็ว ส่วนอุตสาหกรรมที่แรงงานอยาก ‘ย้ายไปทำ�’ ก็คือ อุตสาหกรรม การผลิตในอินโดนีเซียและฟิลปิ ปินส์ อุตสาหกรรมสุขภาพและชีววิทยาศาสตร์ (Life Sciences) ในสิงคโปร์ งานบริการเฉพาะทางในมาเลเซีย และ อุตสาหกรรมที่ ‘น่าทำ�’ ในประเทศไทย คืออุตสาหกรรมค้าปลีก ทั้งนี้ หากวัดทั้งภูมิภาคอาเซียน อุตสาหกรรมที่ได้ความนิยมจากแรงงานซึ่ง อยากเปลี่ยนมาทำ�มากเป็นอันดับหนึ่งก็คือ อุตสาหกรรมเทคโนโลยีและ โทรคมนาคม หนังสือพิมพ์ Nikkei Asian Review รายงานเมื่อปี 2018 ว่า อุตสาหกรรมที่ต้องการแรงงานมากในอาเซียน ประสบปัญหาขาดแคลน แรงงานเรื่อยมา ไทยและมาเลเซียเป็นสองประเทศที่ประสบปัญหาดังกล่าว ยกตัวอย่างบริษัท Top Gloves ของมาเลเซียที่เป็นบริษัทผลิตถุงมือยาง ทีใ่ หญ่ทสี่ ดุ ในโลก และอุตสาหกรรมประมงทีส่ มุทรสาครของไทย ต่างประสบ ภาวะขาดแคลนแรงงาน เพราะภาครัฐกวดขันเรื่องใบอนุญาตทำ�งานของ แรงงานต่างด้าว แรงงานเหล่านี้มาจากพม่า ลาว กัมพูชา และอินโดนีเซีย หรือจาก ประเทศนอกอาเซียนอย่างบังคลาเทศและเนปาล ค่าแรงทีแ่ รงงานเหล่านีไ้ ด้ รับและส่งกลับไปให้ครอบครัวช่วยพยุงเศรษฐกิจในประเทศบ้านเกิด แต่เมือ่ มาเลเซียและไทยเข้มงวดเรื่องใบอนุญาตทำ�งาน ทำ�ให้แรงงานจำ�นวนมาก ตัดสินใจกลับบ้าน เจ้าของธุรกิจจึงมีตน้ ทุนเพิม่ ขึน้ เพราะต้องขึน้ ค่าแรงเพือ่ ดึงดูดใจแรงงานที่ถูกกฎหมาย อย่างไรก็ตาม แม้งานที่เราทำ�อยู่วันนี้จะยังไม่ถูกแย่งไปโดยแรงงาน ข้ามชาติจากประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน แต่ในภาวะที่โลกเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็วไม่หยุดยัง้ ถ้าเราไม่เร่งพัฒนาฝีมอื ตนเอง สักวันหนึง่ อุตสาหกรรม ที่เราอยู่ งานที่เราทำ� ก็อาจเป็นที่หมายปองของคนทำ�อาชีพเดียวกันใน ประเทศเพื่อนบ้านซึ่งอาจได้งานของเราไปทำ�ก็เป็นได้ ทีม่ า : บทความ “Migrant crackdowns hit ASEAN’s labor flow” โดย Takashi Nakano และ Yukako Ono จาก asia.nikkei.com / บทความ “Migration in Asia: Where is everybody going?” โดย Bart Edes จาก weforum.org / บทความ “Singapore top choice for Asean talent: survey” โดย AseanBusiness staff จาก businesstimes.com.sg / บทความ ข่าว “งาน 12th ASEAN Forum on Migrant Labour” จาก ilo.org/asia
CREATIVE THAILAND I 34
chiangmaidesignweek.com