พฤศจิกายน 2562 ปีที่ 11 I ฉบับที่ 2 แจกฟรี
Creative City Jamaica Creative Business Hear and Found The Creative ต้อม - พาย Bangkok Music City 2019
chiangmaidesignweek.com
ครึ่งหนึ่งของการเล่าเรื่องที่ดีนั้นเกิดจากเสียง Joe Herrington
หัวหน้าฝ่ายออกแบบสื่อสําหรับสวนสนุกดิสนีย์ แผนกจินตวิศวกรรม
Contents : สารบัญ
Creative Update
6
ดึ ก แค่ ไ หนก็ ไ ดร์ ผ มได้ ด้ว ยเสี ย งเงี ย บ / Sound Shirt ดนตรีที่ ‘รูส้ กึ ’ / เสียงนกปลอม ช่วยประชากรนกให้รอดจากการสูญพันธุ์
Creative Resource 8 Featured Book / Magazine / Book / Online Course
MDIC 10 พลิกโอกาส สร้างความเป็นไปได้ กับกีต้าร์พันธุ์อึดตัวแรกของโลก
Cover Story 12 LET’S CALL THE MUSIC MAISON
Fact and Fig ure
18
สำ�รวจอุตสาหกรรมดนตรีโลก และหนทาง การปลุกปั้น ‘กรุงเทพฯ เมืองดนตรี’
Creative Business 20 Hear and Found สร้าง (ประสบการณ์) ดนตรีให้เป็นสะพาน
How To 23 วิธีทำ�พอดแคสต์เองง่าย ๆ เพิ่มโอกาสจากเรืองเล่าสุดปัง
Creative Place 24 Reggae Heartbeat of the Jamaica
The Creative 28 It’s time for Music City เสียงแห่งโอกาสของวงการดนตรีไทย
Creative Solution 34 ปฏิวัติอุตสาหกรรมเพลง อินโดนีเซียเตรียมใช้บล็อกเชน จัดการลิขสิทธิ์เพลงของศิลปิน
บรรณาธิการที่ปรึกษา l อภิสทิ ธิ์ ไล่สตั รูไกล บรรณาธิการอำ�นวยการ l มนฑิณี ยงวิกลุ ที่ปรึกษา l เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร บรรณาธิการบริหาร l พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์ กองบรรณาธิการ l ปุญญิศา เปล่งรัศมี, ณัฐณิชาต์ ศิริวัลลภ และ ปิยวรรณ กลิ่นศรีสุข เลขากองบรรณาธิการ l ณัฐชา ตะวันนาโชติ ศิลปกรรม l ชิดชน นินนาทนนท์ ประสานงานกองบรรณาธิการ l วนบุษป์ ยุพเกษตร ช่างภาพและมัลติมีเดีย l ภีร์รา ดิษฐากรณ์ เว็บไซต์ l นพกร คนไว จัดทำ�โดย l สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) (CEA) 1160 อาคารไปรษณีย์กลาง ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 โทร. 02 105 7400 แฟกซ์. 02 105 7450 พิมพ์ที่ l บริษัท สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง จำ�กัด โทร. 02 903 8257-9 จำ�นวน 15,000 เล่ม ติดต่อลงโฆษณา: Commu.Dept@tcdc.or.th
ภาพปกโดย Yolanda Sun on Unsplash
นิตยสารฉบับนีใ้ ช้หมึกพิมพ์จากนา้ํ มันถัว่ เหลืองทีไ่ ม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทัง้ ยังเป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อม และใช้กระดาษ รีไซเคิล ซึ่งเป็นผลผลิตของผู้ประกอบการไทย จัดทำ�ภายใต้โครงการ “Creative Thailand สร้างเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์” โดยสํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจ สร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) (CEA) ซึ่งมีเป้าหมายในการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) และผลักดันการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย
อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส แสดงที่มา-ไมใชเพื่อการคา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย แสดงที ่มา-ไมใTHAILAND ชเพื่อการคา-อนุI ญ4าตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย CREATIVE
flickr.com/photos/tripu
Editor’s Note : บทบรรณาธิการ
ภายหลังจากสงครามโลกครัง้ ที่ 2 เมืองต่าง ๆ ในยุโรปเต็มไปด้วยซากปรักหักพัง จากการทิง้ ระเบิด เวียนนาก็ไม่ตา่ งกัน ทีต่ อ้ งสูญเสียโรงโอเปร่า (Vienna State Opera House) ไป พร้อมกับความเสียหายของอาคารสถานที่ราชการอื่น ๆ แต่เมือ่ ถามถึงความสมัครใจของชาวเวียนนา การซ่อมแซมโรงโอเปร่ากลับเป็น อาคารหลังแรก ๆ ทีพ่ วกเขาอยากให้ท�ำ โดยเร็วทีส่ ดุ แม้วา่ แหล่งเงินบูรณะส่วนหนึง่ จะมาจากแผนมาร์แชล โครงการช่วยเหลือทางเศรษฐกิของสหรัฐอเมริกาแก่ ยุโรปตะวันตก และอีกส่วนหนึง่ มาจากเงินภาษีของประชาชน แต่ทกุ คนก็เต็มใจ จะสนับสนุน เพราะการฟื้นฟูให้ดนตรีกลับมาโลดแล่นอีกครั้ง ไม่ใช่แค่เรื่อง วัฒนธรรมและศิลปะ แต่เป็นเสมือนหนึง่ การฟืน้ ฟูประเทศหลังสงคราม ภายใน ระยะเวลาเพียง 10 ปี โรงโอเปร่าแห่งกรุงเวียนนาก็กลับมาเปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่ ด้วยอุปรากรที่สร้างสรรค์ออกมาเพียงเรื่องเดียวของบีโธเฟน (Ludwig van Beethoven) คือ ฟิเดลิโอ (Fidelio) พร้อมกับตารางการแสดงที่มีเกือบทุกวัน ในปัจจุบัน อันที่จริง เวียนนาก็ไม่ต่างจากทุกประเทศทุกเมืองในโลกที่มีดนตรีเป็น ส่วนหนึ่งของอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม แต่ในศตวรรษที่ 19 จักรวรรดิเวียนนา มีสภาพแวดล้อมที่ดีที่สุดสำ�หรับอุตสาหกรรมดนตรีคลาสสิก นอกเหนือจาก การอุ้มชูศิลปิน การเปิดรับนักดนตรีจากต่างถิ่นให้เข้ามาแสดงและสร้างสรรค์ งานร่วมกับดนตรีแขนงอืน่ ๆ และทีส่ �ำ คัญการไม่จ�ำ กัดให้ดนตรีคลาสสิกอยูเ่ ฉพาะ กลุ่มชนชั้นสูง แต่เป็นความบันเทิงสำ�หรับประชาชนทั่วไป ทำ�ให้เวียนนาเป็น ทั้งเวทีและตลาดที่มีขนาดใหญ่มากพอสำ�หรับบริษัทโอเปร่าชั้นนำ�ระดับโลก ทั้งยังเป็นแหล่งรวมช่างฝีมือในการสร้างสรรค์และซ่อมแซมตั้งแต่โรงโอเปร่า
เครือ่ งดนตรี จนถึงกระดาษโน้ตเพลง การเป็นเมืองแห่งดนตรีของเวียนนาจึงเป็น ความภาคภูมิใจมากกว่าความบันเทิง ในวันนี้ มีอีกหลายเมืองที่เป็นเมืองแห่งดนตรี ออสตินในมลรัฐเท็กซัส ได้ชอื่ ว่าเป็นเมืองทีม่ พี นื้ ทีส่ �ำ หรับแสดงดนตรีหลากหลายประเภทได้ฟรีมากกว่า ร้อยแห่ง เป็นบ้านเกิดของเทศกาลแสดงดนตรีจากศิลปินทั่วโลก และด้วย ค่าครองชีพทีไ่ ม่สงู จนเกินไปนัก จึงเป็นเมืองทีเ่ หมาะสำ�หรับการฟูมฟักนักดนตรี ที่มีความคิดสร้างสรรค์แหวกแนวซึง่ อาจจะเกิดยากในเมืองอืน่ ออสตินจึงไม่เคย ขาดแคลนศิลปินหน้าใหม่ที่มาสร้างความเคลื่อนไหวให้กับเมือง สำ�หรับเวียนนาและออสติน ‘เสียง’ ทีถ่ กู แปรเปลีย่ นเป็นท่วงทำ�นองของดนตรี ทั้งคลาสสิกและร่วมสมัย กลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตและการพัฒนาเมืองที่ ก่อให้เกิดสิง่ ต่าง ๆ ตามมามากมาย แต่ประสาทสัมผัสของคนเรานัน้ ยังสามารถ รับรูเ้ สียงได้อกี หลากหลายประเภททีส่ ร้างความหมายแตกต่างกัน การได้ยนิ เสียง พลุเพียงอย่างเดียวก็ท�ำ ให้เรารูส้ กึ ได้ถงึ การเฉลิมฉลอง พอ ๆ กับเสียงบีบแตรรถยนต์ ดัง ๆ บนท้องถนนทีม่ กั ใช้ควบคูไ่ ปภาพยนตร์ทมี่ ฉี ากของกรุงเทพฯ หรือฮานอย ‘เสียง’ จึงเป็นเหมือนทรัพยากรสำ�หรับนักขุดความคิดสร้างสรรค์ในการนำ�มาใช้รว่ มกับ ศาสตร์อน่ื ๆ เพือ่ เชือ่ มโยงไปสูค่ วามรูส้ กึ ร่วมทีต่ อ้ งการให้เกิดขึน้ จากการกล่อมเกลา ทางความคิดผ่านสื่อวิทยุ การผ่อนคลายและบำ�บัด จนเมื่อเราเข้าสู่ยุคดิจิทัล และการสร้างประสบการณ์คอื พระเจ้าของการขายสินค้าและบริการ ‘เสียง’ จึงเป็น องค์ประกอบที่ไม่อาจละเลย พรสวรรค์ที่มีจึงถูกขยายความเพื่อการใช้งานที่ มากขึน้ นอกเหนือจากการเป็นนักร้องหรือนักดนตรี นัน่ ก็เพือ่ ให้เสียงทีถ่ กู ผลิต ขึ้นมานั้นได้รับการส่งต่อไปยัง ‘ใจ’ ของคนฟังให้มากที่สุด มนฑิณี ยงวิกุล บรรณาธิการอำ�นวยการ
CREATIVE THAILAND I 5
Creative Update : คิดทันโลก
ดึกแค่ไหนก็ไดร์ผมได้ ด้วยเสียงเงียบ
ดีทสี่ ดุ นัน่ จึงเป็นเหตุผลทีเ่ ราลงทุนกับผลิตภัณฑ์ ของเรา เพราะเราไม่ต้องการที่จะประนีประนอม กับความไม่สมบูรณ์แบบใด ๆ”
ไดสัน (Dyson) คือแบรนด์อนั ต้น ๆ ในใจของคน รักงานดีไซน์ ด้วยผลิตภัณฑ์ที่มาพร้อมฟังก์ชัน และราคาที่ เ หนื อ กว่ า คู่ แ ข่ ง อย่ า งมี นั ย สำ � คั ญ แต่ อ ะไรที่ ทำ � ให้ ผู้ ค นยอมจ่ า ยเพื่ อ ให้ ไ ด้ ม าซึ่ ง ข้าวของเครื่องใช้ฟังก์ชันเดิม แต่เพิ่มเติมคือ ความพิเศษที่มากกว่า ไดสั น เพิ่ ง เปิ ด ตั ว ศู น ย์ วิ จั ย และพั ฒ นา ผลิตภัณฑ์ขนาดมหึมาที่สิงคโปร์และมาเลเซีย โดยมีหอ้ งแล็บสำ�หรับทดสอบสินค้าทีแ่ ตกต่างกัน มากกว่า 22 ห้อง ด้วยเงินลงทุนกว่า 2.5 พันล้าน ปอนด์ “ถ้าเราทำ�เหมือนที่คนอื่นทำ� เราก็ย่อมได้ ผลลัพธ์ไม่ต่างจากเดิม” แซม เบอร์นาร์ด (Sam Bernard) ผูอ้ �ำ นวยการ Dyson Global Category บอกกับสือ่ มวลชนถึงเหตุทแี่ บรนด์สญั ชาติองั กฤษ รายนี้ต้องลงทุนมหาศาลในการตั้งศูนย์วิจัยและ พัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างความต่างที่เรียกว่า นวัตกรรม “ไดสันเป็นแบรนด์ของคน ๆ เดียว และเขา คือเจมส์ ไดสัน (James Dyson) ผมเชื่อว่าถ้าเขา ต้องการเงินมาก ๆ เขาคงเลือกจะผลิตเครื่องปิ้ง ขนมปัง กาน้ำ� หรือหม้อหุงข้าวที่ขายดีทำ�เงิน หลายล้านทุก ๆ ปี แต่สิ่งที่เขาอยากจะทำ�ก็คือ การสร้างความต่างที่ไม่ใช่แค่ไม่เหมือน แต่มัน ต้องดีกว่า” เบอร์นาร์ดกล่าว และการทำ�สิง่ ทีต่ า่ ง และดีกว่าคนอื่นนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย นั่นจึงทำ�ให้ ไดสันเลือกลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาเพื่อ สร้างผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดให้กับผู้บริโภค ย้อนหลังไปเมือ่ ปี 1991 ที่บริษัทก่อตั้ง ไดสัน เริ่มเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกจากเทคโนโลยีมอเตอร์ พลังสูงในเครื่องดูดฝุ่น เครื่องกรองอากาศ และ ไดร์เป่าผม โดยเฉพาะไดร์เป่าผมทีส่ าว ๆ ทัว่ โลก เทใจให้ กั บ ประสิ ท ธิ ภ าพแบบไร้ เ สี ย งรบกวน สิ่ ง เหล่ า นี้ ล้ ว นเป็ น ผลงานจากศู น ย์ วิ จั ย และ พัฒนาของแบรนด์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อพัฒนา ผลิตภัณฑ์ชิ้นเอกโดยเฉพาะ “เรื่องของเสียงนั้นค่อนข้างซับซ้อน แต่ก็ น่าสนใจเสมอ” พีท ดักเก็ตต์ (Pete Duckett) ผูจ้ ดั การฝ่ายวิศวกรรมของไดสันกล่าว “เราไม่ได้ มองแค่เรือ่ งพลังเสียง แต่เราออกแบบให้ผลิตภัณฑ์ ของเรามีระดับเสียงทีส่ มเหตุสมผล และเหมาะกับ
ที่มา : บทความ “Dyson’s first hairdryer emits a sound beyond the audible range for humans” (27 เมษายน 2016) โดย Alice Morby จาก dezeen.com / บทความ “Not Just Design and Function, Dyson Even Obsesses About How Its Appliances Sound to Your Ear” (19 ธันวาคม 2018) โดย Jagmeet Singh จาก gadgets.ndtv.com / บทความ “The Dyson Symphony - A song of sound and science” (23 เมษายน 2018) จาก medium.com
เรื่อง : พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์
dyson.com
CREATIVE THAILAND I 6
Sound Shirt ดนตรีที่ ‘รู้สึก’ เรื่อง : วนบุษป์ ยุพเกษตร
ความรู้สึกเวลาเข้าไปอยู่ในคอนเสิร์ต อีเวนต์ ดนตรี หรือแม้แต่ผับบาร์ ได้ฟังเพลงที่ชอบและ สนุกไปกับมัน เป็นความสุขอย่างหนึ่งที่เสียง ดนตรีจะมอบให้เราได้ แต่จะทำ�อย่างไร หากเรา ไม่ได้ยิน แต่แล้ว CUTECIRCUIT แบรนด์เสื้อผ้าแฟชั่น จากลอนดอนก็เปิดตัว Sound Shirt เสื้อไฮเทค สุดแจ่มทีพ่ ร้อมให้ผพู้ กิ ารทางการได้ยนิ ‘รูส้ กึ ’ ไปกับ เสียงเพลงและจังหวะที่เคลื่อนไหวผ่านผิวหนัง พร้อมสัมผัสประสบการณ์การแสดงคอนเสิร์ต ออร์ เ คสตราเป็ น ครั้ ง แรก หลั ง จากที่ ที ม งาน พัฒนาอยู่ร่วม 6 เดือน “ลองจินตนาการตอนทีไ่ ปคอนเสิรต์ ออร์เคสตรา ดูสิ แล้วคุณอยากรูส้ กึ ถึงเสียงเพลงเหล่านัน้ เพียงใส่ เสือ้ ตัวนี้ พอวงดนตรีเริม่ บรรเลงเพลง คุณก็จะรูส้ กึ ถึงเครื่องดนตรีชนิดต่าง ๆ บนเสื้อในส่วนที่ต่าง ออกไป” ฟรานเชสกา โรเซลลา (Francesca
cutecircuit.com
ระดับการได้ยินของมนุษย์ ที่สำ�คัญมันต้องเป็น เสียงคุณภาพที่นำ�มาสู่การตัดสินใจซื้อสินค้า” ในแล็บเสียงของไดสันมีไมค์รับเสียงแบบ คาร์ดิออยด์ (Cardioid Microphone) ซึ่งเน้น รูปแบบการรับเสียงแบบเฉพาะด้านหน้า วางเรียงกัน มากกว่า 10 ตัวเพื่อรับและวัดระดับเสียงจาก การทำ�งานของมอเตอร์ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทั้ง ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ข องบริ ษั ท และแบรนด์ คู่ แ ข่ ง เพื่ อ ประเมิ น คุ ณ ภาพเสี ย งให้ ดีที่ สุ ดและส่ ง เสี ย ง รบกวนน้อยที่สุด โดยการทดสอบเรื่องเสียงนี้จะ มีการทำ�กันตั้งแต่ผลิตภัณฑ์ยังเป็นชิ้นต้นแบบ จนถึงผลิตภัณฑ์สุดท้าย ไดร์เป่าผมรุ่น Supersonic Hairdryer ของ ไดสันได้รบั การยอมรับว่าเป็นไดร์เป่าผมทีม่ เี สียง เงียบทีส่ ดุ โดยการเติมใบพัดพิเศษเพิม่ เข้าไปเป็น 13 ใบพัด จากปกติ 11 ใบพัดในมอเตอร์ เพื่อ สร้างคลื่นความถี่เสียงที่สูงเกินกว่าที่มนุษย์จะ ได้ยิน ความหลงใหลในการสร้างเสียงของไดสัน ยั ง ไปไกลถึ ง ขั้ น การประกวดไอเดี ย ในการใช้ ผลิตภัณฑ์และมอเตอร์ของไดสันมาเป็นเครือ่ งดนตรี เพื่อบรรเลงร่วมกับวงออร์เคสตรา ซึ่งแม้จะเป็น เพียงการทดลอง แต่ก็แสดงให้เห็นถึงการก้าวไป อีกขั้นของจินตนาการที่เทคโนโลยีสุดล้ำ�จะมา อยู่ร่วมกับเสียงดนตรีคลาสสิกของมนุษยชาติ เคล็ดลับความสำ�เร็จของแบรนด์ นอกจาก การลงลึกในรายละเอียดเรื่องเสียงแล้ว ไดสันยัง ให้การสนับสนุนภาคการศึกษาอย่างมหาวิทยาลัย อ็อกซฟอร์ด เคมบริดจ์ และคิงส์คอลเลจ เพื่อ วิจยั และพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ กับแบรนด์เสมอ สิ่งนี้เองที่ทำ�ให้สินค้าของแบรนด์มีราคาสูงกว่า คู่แข่ง “เราไม่ต้องการแค่ทำ�ให้ดี แต่เราจะทำ�ให้
ที่มา : วิดีโอ “The Sound Shirt | Junge Symphoniker Hamburg” จาก youtube.com / วิดโี อ “Deaf twins ‘feel’ music thanks to haptic jackets” จาก youtube.com / cutecircuit.com/soundshirt
Photo by Charlota Blunarova on Unsplash
Rosella) ผู้ร่วมก่อตั้งแบรนด์ CUTECIRCUIT เล่า ถึงประสบการณ์ทคี่ นหูหนวกจะได้สมั ผัสผ่านเสือ้ สุดล้ำ�ตัวนี้ รอยยิ้มที่เปื้อนบนใบหน้าผู้ร่วมทดสอบจริง ในคอนเสิรต์ เป็นภาพทีพ่ ดู แทนความปลาบปลืม้ และความรื่นเริงใจจากการทดลองสวมใส่เป็น ครั้งแรกได้เป็นอย่างดี Sound Shirt ประกอบไปด้วยเซ็นเซอร์ 16 ตัว คอยทำ�งานตรวจจับความเข้มของเสียงของเครือ่ ง ดนตรีในส่วนทีต่ า่ งกันออกไป แล้วแปรเสียงออกมา แบบเรียลไทม์ อย่างเช่น เสียงเบสทีท่ อ้ งหรือเสียง ไวโอลินตามต้นแขน และเสียงอืน่ ๆ ตามแต่ทเ่ี สือ้ จะจับเสียงได้ สาวผมบลอนด์ผรู้ ว่ มทดสอบคนหนึง่ บอกว่า “ฉันรู้สึกถึงเสียงดนตรีไปทั่วร่างกายเลย และคนหูหนวกทุกคนควรได้ลองสิ่งนี้” ขณะที่แฝดสาวตระกูลเบอร์เฮน นางแบบ ชาวอังกฤษผู้พิการทางการได้ยินก็ได้มีโอกาสนี้ เช่นเดียวกัน “มันเหมือนกับว่าเรารู้สึกถึงความ ลึกซึง้ ของเพลง ฉันรูส้ กึ ว่าเราโยกย้ายส่ายสะโพก ไปกับเสียงเพลงได้ มันเป็นความรูส้ กึ ทีต่ า่ งออกไป จากทีเ่ คยมากเลย” เฮอร์มอน เบอร์เฮน (Hermon Berhane) แฝดคนหนึง่ กล่าวอย่างตืน่ เต้นหลังจาก ได้ทดลองสวมเจ้า Sound Shirt แม้จะมีความเป็นเทคโนโลยีจา๋ แต่กห็ มดห่วง เรื่องสายระโยงระยาง เพราะผิวสัมผัสของเสื้อ เป็นเหมือนผ้าธรรมดาทั่วไปด้วยเนื้อผ้าอัจฉริยะ “เราผมสผสานไมโครอิเล็กทรอนิกส์ซง่ึ บางมาก ๆ และค่อนข้างยืดหยุ่นได้ดี ด้วยผ้าที่นำ�ไฟฟ้าได้ ทำ�ให้เครื่องอิเล็กตรอนชิ้นเล็ก ๆ ถูกเชื่อมต่อกัน หมดผ่านผ้านี้ ฉะนัน้ แล้วเสือ้ ตัวนีจ้ งึ นุม่ และยืดได้ เหมือนกับเสือ้ ผ้าทีเ่ ราสวมใส่ทวั่ ไป” ฟรานเชสกา กล่าว แถมล่าสุด Sound Shirt ยังได้รับรางวัล Netexplo Innovation Award 2019 จาก UNESCO อีกด้วย เสือ้ อัจฉริยะตัวนีพ้ าผูพ้ กิ ารทางการได้ยนิ ไปพบ กับประสบการณ์ในชีวิตรูปแบบใหม่ และช่วยให้ พวกเขาได้ ‘รู้สึก’ ไปกับเสียงดนตรีอย่างที่คน ปกติทำ�ได้ “ฉันว่าเสื้อตัวนี้เปลี่ยนชีวิตของพวก เราได้เลย” เฮโรดา เบอร์เฮน (Heroda Berhane) แฝดอีกคนกล่าวผ่านภาษามือด้วยสีหน้าพึงพอใจ
เสียงนกปลอมช่วยประชากรนก ให้รอดจากการสูญพันธุ์ เรื่อง : ภีร์รา ดิษฐากรณ์
จะดีแค่ไหน ถ้าสัตว์ตา่ ง ๆ จะมีระบบการเตือนภัย เมือ่ มีภยั พิบตั เิ ป็นของตัวเอง เหมือนอย่างทีม่ นุษย์ ได้ประดิษฐ์คิดค้นระบบเตือนภัยและการป้องกัน เพื่อรองรับกับสถานการณ์ไม่คาดฝัน โดยเฉพาะ เมื่ อ เครื่ อ งมื อ นั้ น สามารถสื่ อ สารกั บ บรรดา สรรพสัตว์ได้เข้าใจด้วยวิธีง่าย ๆ อย่างการใช้ ‘เสียง’ เมือ่ ไม่นานมานี้ ได้มกี ารประดิษฐ์เสียงทีเ่ ลียน มาจากเสียงร้องของนก เพื่อใช้ในการสื่อสาร เตือนภัยให้แก่บรรดานกทัง้ หลายในกรุงลอนดอน โดยเสียงนกร้องสังเคราะห์นี้ถูกคิดค้นขึ้นโดย อเล็กซานดรา เดซี กินส์เบิรก์ (Alexandra Daisy Ginsberg) ศิลปินที่ทำ�งานด้านวิทยาศาสตร์ใน บริ ษั ท เกี่ ย วกั บ ปั ญ ญาประดิ ษ ฐ์ เธอกล่ า วว่ า “ชีวิตของนกนั้นต้องตกอยู่ภายใต้ภาวะกดดัน จากการใช้ชีวิตสังคมเมืองของมนุษย์ เนื่องจาก เสียงรบกวนต่าง ๆ ในเมืองที่มากเกินไป” โดยปกติแล้ว เสียงร้องของนกนัน้ มีความสำ�คัญ ต่อการใช้ชีวิตของสัตว์ประเภทนี้เป็นอย่างมาก เพราะนกจะใช้เสียงในการดำ�รงชีวิต ทั้งการร้อง เตือนภัย การใช้เสียงเพื่อหาคู่ หรือแม้กระทั่งใช้ เสียงในการแสดงความเป็นเจ้าของอาณาเขตของ ตัวเอง แต่มลภาวะทางเสียงทีเ่ กิดขึน้ ในเมืองกลับ ส่งผลให้ประชากรของนกลดลง เนื่องจากการ
สื่ อ สารของนกถู ก รบกวนจนเกิ ด ความสั บ สน ในการสื่อสาร และส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต อย่างปกติสุขของประชากรนกในที่สุด อุปกรณ์เลียนเสียงนกดังกล่าวได้รับการ ออกแบบโดย คริส ทิมป์สัน (Chris Timpson) ศิลปินจาก Aurelia Soundworks ที่ได้ทำ�การ รวบรวมและบันทึกเสียงนกจริง ๆ ก่อนจะนำ� เสียงต่าง ๆ มาจำ�แนกแยกประเภทของนก และ สร้างเสียงนกสังเคราะห์เพือ่ ตอบกลับและสือ่ สาร กับนกในธรรมชาติได้อย่างถูกต้อง โดยเริ่มจาก เสียงของกลุ่มนกกางเขน (Redstart) ที่ปกติจะ เป็นนกกลุ่มแรก ๆ ที่ส่งเสียงเพื่อระบุตำ�แหน่ง ของตัวเองให้นกตัวอืน่ รับรู้ ก่อนทีน่ กตัวอืน่ ๆ จะ ส่งเสียงตอบกลับไป โดยในการทดลองนี้ กินส์เบิรก์ จะใช้อุปกรณ์ที่คิดค้นขึ้นมาใหม่นี้เพื่อส่งเสียง ตอบกลับและเฝ้ารอดูปฏิกริ ยิ าของนกตัวอืน่ แทน โดยเธอเชื่อว่าหากอุปกรณ์เลียนเสียงนกนี้ใช้ได้ดี เทียบเท่าเสียงนกร้องในธรรมชาติ จะเป็นการช่วย ดำ � รงเผ่ า พั น ธุ์ ข องพวกมั น ในการอาศั ย อยู่ ใ น เมืองใหญ่ได้ต่อไป ในปีนหี้ น่วยงานเพือ่ การปกป้องและดูแลนก อย่าง The Royal Society for the Protection of Birds (RSPB) ได้เผยว่า จำ�นวนของนกในเกาะอังกฤษ ลดลงถึง 40 ล้านตัวในช่วงเวลา 50 ปีที่ผ่านมา การลดลงของประชากรนกอย่ า งน่ า ใจหายนี้ สะท้อนให้เห็นว่าโปรเจ็กต์ของกินส์เบิรก์ จะทำ�ให้ ผู้คนได้หันมาสนใจ และมองเห็นผลกระทบของ ปัญหานี้มากขึ้น
ที่มา : บทความ “Artist creates deepfake birdsong to highlight threat to dawn chorus” (20 ตุลาคม 2019) โดย Dalya Alberge จาก theguardian.com CREATIVE THAILAND I 7
Creative Resource : วัตถุดิบทางความคิด เรื่อง : อำ�ภา น้อยศรี
F EAT U RED BOOK ลำ�นำ�แห่งสยาม โดย นายแพทย์พูนพิศ อมาตยกุล ในยุคแรก เพลงไทยไม่มีการบันทึกเสียงลงบนแผ่นเสียง นักดนตรีไม่มีการจดโน้ต หากแต่อาศัยวิธีการถ่ายทอดเนื้อร้องผ่านการขับร้องและท่องจำ� ซึ่งวิธีนี้อาจส่งผลให้เกิดความผิดเพี้ยนของโน้ตดนตรีและเนื้อร้องไป ความรู้ความเชี่ยวชาญเป็นทักษะเฉพาะตัว และอาจสูญหายเมื่อบุคคลนั้นเสียชีวิต ด้วยเหตุนี้จึงมีการรวบรวมโน้ตสากลและเริ่มมีการบันทึกเพลงลงแผ่นเสียงในราวปี พ.ศ. 2437 ลำ�นำ�แห่งสยาม รวบรวมขึ้นจากการศึกษาค้นคว้าอย่าง ค่อยเป็นค่อยไปนานกว่า 25 ปีของนายแพทย์พูนพิศ อมาตยกุล ว่าด้วยประวัติศาตร์การกำ�เนิดแผ่นเสียง เพลงไทยประเภทต่างๆ และการบันทึกเพลง ลงแผ่นเสียง ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 จนถึงปัจจุบัน เนื้อหาแบ่งเป็น 4 ตอนหลัก ครอบคลุมความเป็นมาของเพลงไทยเดิม ไทยสากล งานบันทึกเสียงครั้งสำ�คัญ ที่เกิดขึ้น และเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่น่าสนใจเกี่ยวกับแผ่นเสียง นอกจากหนังสือจะกล่าวถึงประวัติศาสตร์การบันทึกเพลงลงแผ่นเสียงแล้วยังสะท้อนให้เห็นอิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันตกที่แทรกซึมเข้าสู่วัฒนธรรม การร้องรำ�ทำ�เพลงของไทย วิธีการดำ�เนินธุรกิจของบริษัทผลิตบันทึกแผ่นเสียง การสร้างตราสินค้า การพัฒนาคุณภาพแผ่นเสียง เทคนิคการบันทึกเสียง จนถึงเทคโนโลยีในกระบวนการผลิตแผ่นเสียงอย่างละเอียด แม้แต่ข้อมูลแผ่นโฆษณาขายแผ่นเสียงลดราคา ก็เป็นดัชนีชี้วัดความนิยมของ ธุรกิจดนตรีใน ภาพรวม แนวโน้มทิศทางดนตรี และความนิยมในตัวศิลปิน ณ ขณะนั้น นอกจากนี้หนังสือยังนำ�เสนอผลกระทบของภาวะสงครามที่มีต่อการผลิตและธุรกิจ ด้วยจึงกล่าวได้ว่า ลำ�นำ�แห่งสยาม เป็นคู่มือสำ�คัญในการศึกษาเพลงไทยผ่านประวัติศาสตร์แผ่นเสียงเก่า และการเรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนาการเพลงไทย ได้เป็นอย่างดี
CREATIVE THAILAND I 8
M AGA ZIN E
No.55 Apple Music I Magazine B Apple Music ไม่ได้เป็นแค่แพลตฟอร์มฟังเพลง ออนไลน์ แต่ยงั เป็นการสร้างเครือข่ายและเชือ่ มโยง ผู้ ค นเข้ า ด้ ว ยกั น ผ่ า นเสี ย งเพลง สร้ า งระบบ ผลประโยชน์ให้กลับมาส่งเสริมผูค้ นในอุตสาหกรรม ดนตรี ทัง้ ผูส้ ร้างสรรค์และผูบ้ ริโภค ถึงแม้จะเป็น ดิจิทัลสตรีมมิง แต่ Apple Music กลับให้ความ สำ�คัญกับเพลย์ลสิ ต์ทคี่ ดั เลือกเพลงโดยมนุษย์เป็น อย่างมาก (Human Curated) โดยให้บุคคลใน อุตสาหกรรมดนตรีหรือศิลปินทีไ่ ด้รบั การยอมรับ เป็นผู้คัดสรรเพลย์ลิสต์ โดยมีให้เลือกฟังกว่า 14,000 รายการ ถึงแม้จะมีคู่แข่งเข้ามาช่วงชิง ส่วนแบ่งการตลาดไป แต่ก็ไม่ได้ทำ�ให้ Apple Music หยุดพัฒนาตัวเอง หากยังคงมุ่งมั่นทำ�ให้ สิ่งที่เชื่อและตั้งมั่น ซึ่งก็คือการสร้างสรรค์ให้ Apple Music เป็นแพลตฟอร์มสตรีมมิงสำ�หรับ ชีวิตประจำ�วันต่อไป
B O OK
The Speed of Sound: Breaking the Barriers between Music and Technology โดย Thomas Dolby โธมัส ดอลบี นักดนตรียุค 80 ชาวอังกฤษที่ยังคง ทำ � งานอยู่ ใ นแวดวงดนตรี ม าอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง ได้รวบรวมเรือ่ งราวที่เป็นเสมือนบันทึกประสบการณ์ การทำ�งานในช่วงชีวติ ของตนเอง ตัง้ แต่การเข้าสู่ วงการดนตรีและประสบความสำ�เร็จในช่วงกลาง ทศวรรษ 1980 ผ่านเทคนิคการสร้างสรรค์ดนตรี ตั้งแต่ยุคแอนะล็อก จนเข้าสู่ยุคที่เทคโนโลยีจาก ซิลคิ อนแวลลียเ์ ฟือ่ งฟู เขาเห็นการเปลีย่ นผ่านของ เทคโนโลยีในอุตสาหกรรมดนตรีเข้าสู่ยุคดิจิทัล (Digital Disruption) ที่สั่นสะเทือนธุรกิจเพลง อย่างฉับพลันและสิน้ เชิง ดอลบีเล่าประสบการณ์ และการปรั บ ตั ว ที่ เ ป็ น ประโยชน์ ไ ม่ เ ฉพาะใน อุตสาหกรรมดนตรี แต่ยังรวมถึงอุตสาหกรรม อืน่ ๆ โดยใจความสำ�คัญคือหากคนทำ�งานเข้าใจ ความเป็นไป ไม่หยุดพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และรู้จักปรับตัวให้ทันเทคโนโลยี ก็จะสามารถ ประคองตัวเองและเอาตัวรอดในการดำ�เนินธุรกิจได้
พบกับวัตถุดิบทางความคิดเหล่านี้ได้ที่ TCDC Resource Center CREATIVE THAILAND I 9
ON L IN E COU R SE
Hans Zimmer Teaches Film Scoring โดย Hans Zimmer ฮันส์ ซิมเมอร์ หนึง่ ในนักประพันธ์ดนตรีแถวหน้าที่ ฝากผลงานการประพันธ์ดนตรีประกอบภาพยนตร์ ไว้หลายเรือ่ ง เช่น Dunkirk, The Rock, Gladiator, Sherlock Holmes, Pirates of the Caribbean, The Dark Knight ฯลฯ เนื้อหาการเรียนชุดนี้ เหมาะสำ�หรับผู้ที่มีพื้นฐานทางด้านดนตรี เพราะ กว่า 31 บทเรียนเน้นเรื่องกระบวนการทำ�งานที่ ต้องเริ่มจากการคิดของนักประพันธ์ การทำ�งาน ทีต่ อ้ งเกี่ยวข้องกับทัง้ นอกและในสตูดโิ อ การสร้าง จั ง หวะ (Tempo) ให้ส ั ม พั น ธ์ก ั บอารมณ์และ ความรูส้ กึ ของภาพยนตร์ ซิมเมอร์ยังแนะนำ�ให้ ผูป้ ระพันธ์รว่ มงานกับทีมนักดนตรี เพือ่ ให้นกั ดนตรี สามารถถ่ายทอดอารมณ์เพลงเป็นหนึ่งเดียวกัน กับภาพยนตร์ การวิเคราะห์ลักษณะหรือบุคลิก ของตัวละครเพื่อประพันธ์ธีมประจำ�ตัวละคร (Character Theme) เช่น แบทแมน, โจ๊กเกอร์ หรือแจ็ก สแปร์โรว์ นอกจากนี้เขายังยกตัวอย่าง กรณี ศึ ก ษาจากการประพั น ธ์ ด นตรี ป ระกอบ ภาพยนตร์เรือ่ ง Frost Nixon และ The Dark Knight ที่สามารถนำ�ไปปรับใช้สำ�หรับการประพันธ์เพลง ประกอบภาพยนตร์ได้อย่างดี
MDIC : นวัตกรรมและวัสดุ
พลิกโอกาส สร้างความเป็นไปได้ กับกีต้าร์พันธุ์อึดตัวแรกของโลก เรื่อง : ณัฐณิชาต์ ศิริวัลลภ
การทำ�ลายข้าวของอาจเป็นการกระทำ�ที่ดูไม่ดีเท่าไรนัก ยิ่งเป็นเครือ่ งดนตรี ราคาแพงและเป็นเครือ่ งมือทำ�มาหากินของนักดนตรีดว้ ยแล้ว คงน่าสะเทือนใจ อยูไ่ ม่นอ้ ย แต่ส�ำ หรับศิลปินแนวร็อกระดับโลกหลายคนกลับทำ�ลายกีตา้ ร์ตวั เอง บนเวทีคอนเสิรต์ ต่อหน้าผูช้ มหลายพันคน จนกลายมาเป็นฉากสำ�คัญทีบ่ รรดา แฟนเพลงถึงขั้นรอคอยการแสดงทำ�ลายกีต้าร์ของศิลปินกันเลยทีเดียว ถึงแม้ว่าการแสดงคอนเสิร์ตของศิลปินร็อกที่มีการขว้างหรือทุบทำ�ลาย กีต้าร์จะมีมานานกว่าสิบปีมาแล้ว แต่ก็ยังคงได้รับการตอบรับจากบรรดา แฟนเพลงมาตลอดจนถึงปัจจุบัน แถมยังกลายเป็นอีกไฮไลต์ของการแสดง ที่แฟน ๆ เรียกร้องอีกด้วย จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ Sandvik บริษัทผู้ผลิต ด้านอุตสาหกรรมโลหะและผูเ้ ชีย่ วชาญด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยีการผลิต ขัน้ สูง ได้เห็นโอกาสในการทดสอบเทคโนโลยีทลี่ �้ำ สมัยซึง่ ทางบริษทั ได้คดิ ค้น ขึ้นมา ด้วยการสร้าง ‘กีต้าร์ที่แข็งแรงทนต่อการทำ�ลายได้ทุกรูปแบบ’ โดย ทีมวิศวกรรมได้ออกแบบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตกีตา้ ร์ใหม่ ด้วยการรือ้ โครงสร้างเดิมทั้งหมด เพื่อค้นหาจุดอ่อนที่มีความเปราะบางแตกหักง่าย มากที่สุด ซึ่งก็คือส่วนที่เชื่อมต่อระหว่างคอกีต้าร์และตัวกีต้าร์ ก่อนจะแก้ไข ด้วยการออกแบบให้จุดที่เปราะบางนี้ถูกเชื่อมติดกันเป็นชิ้นเดียวผ่านการ ขึ้นรูปวัสดุที่ทำ�จากแผ่นเหล็กที่เรียกว่า ‘Hyper-Duplex Steel’ ตั้งแต่ส่วน ที่ยื่นออกจากตัวกีต้าร์สำ�หรับวางช่องโน้ตหรือ Fretboard ยาวลงมาถึง คอกีต้าร์ที่มีการเพิ่มส่วนต่อขยายไปถึงตรงกลางตัวกีต้าร์ ด้วยเครื่องมือที่ ควบคุมด้วยโปรแกรมขัน้ สูงเพือ่ ให้มคี วามแม่นยำ�ในการตัดเจาะส่วนต่าง ๆ ด้วยระบบดิจิทัล
มากไปกว่านัน้ ส่วนของตัวกีตา้ ร์กย็ งั ถูกการออกแบบอย่างซับซ้อนด้วย การขึ้นรูปจากเทคโนโลยีการพิมพ์ด้วยเลเซอร์ที่มีความแม่นยำ�สูง เครื่องมือ ดังกล่าวผลิตจากการขึน้ รูปจากการทำ�ผงไทเทเนียมทีถ่ กู หลอมละลายแล้วมา ขึน้ รูปทีละชัน้ ทับกันไปเรือ่ ย ๆ จนกระทัง่ ได้รปู ทรงตามแบบทีต่ อ้ งการ แต่ละชัน้ มีความบางกว่าเส้นผม ทำ�ให้ต้องใช้เวลาในการขึ้นรูปตัวกีต้าร์นานถึง 56 ชั่วโมง แต่ก็ให้ผลลัพธ์ที่คุ้มค่าเพราะจะช่วยให้วัสดุมีน้ำ�หนักเบา มีความ ยืดหยุดสูง ทนต่อแรงกระแทกได้ดี อีกทั้งในขั้นตอนการผลิตกีต้าร์นี้ยังไม่มี ชิ้นส่วนที่เหลือใช้หรือต้องทิ้งไปเป็นขยะ เนื่องจากผงโลหะที่หลงเหลือจาก การขึ้นรูปแล้ว สามารถนำ�กับมาใช้ได้ใหม่อีกครั้งนั่นเอง การออกแบบกีต้าร์นี้จะสำ�เร็จได้ก็ต้องมีผู้ทดสอบความทนทานและ ประสิทธิภาพของมัน โดย Sandvik ได้เชิญอิงวี มาล์มสตีน (Yngwie Malmsteen) ศิลปินและมือกีต้าร์ระดับโลกชาวสวีเดนผู้มีอิทธิพลต่อนักเล่นกีต้าร์ทั่วโลก ให้มาทดสอบกีตา้ ร์ตวั นีบ้ นเวทีคอนเสิรต์ ในคลับแห่งหนึง่ หลังจากทีม่ าล์มสตีน ได้ท�ำ การแสดงโชว์ไปหลายเพลงจนกระทัง่ ถึงเวลาทีแ่ ฟนเพลงรอคอย เขาได้ เหวีย่ งกีตา้ ร์ลงบนเครือ่ งเสียง บนพืน้ เวที และทีอ่ นื่ ๆ อีกหลายครัง้ แต่กตี า้ ร์ ก็ยังคงความสมบูรณ์ไม่มีส่วนใดแตกหัก ขณะที่อุปกรณ์และสิ่งของที่ถูก ทุบด้วยกีต้าร์ตัวนี้กลับเสียหายแทน
จากการทดสอบประสิทธิภาพกีต้าร์ตัวนี้ จึงถือว่า ประสบความสำ � เร็ จ อย่ า งมากสำ � หรั บ การสร้ า งสรรค์ ผ ลงาน ชิ้ น เอกที่ ท ลายข้ อ จำ � กั ด ของชาวร็ อ กจาก Sandvik กี ต้ า ร์ ตั ว นี้ ถู ก นำ� ไปประมูล โดยผู้ชนะการประมูลไปก็คือพาร์ ยอร์เกน พาร์สัน (Pär-Jörgen Pärson) ผู้บริหารของ Northzone กองทุนร่วมลงทุนซึ่งร่วมลงทุนในบริษัท หลากหลายประเภทรวมถึงผูใ้ ห้บริการสตรีมมิงชื่อดังอย่าง Spotify นั่นเอง อย่างไรก็ตาม การมองเห็นโอกาสในการสร้างนวัตกรรมชิน้ นี้ แสดงถึงความ ก้าวหน้าทางเทคโนโลยีลํ้าสมัยที่ถูกพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว อีกทั้งได้เห็น มุมมองใหม่ ๆ ในการสร้างนวัตกรรมจากวัสดุและเทคโนโลยีทเ่ี คยเป็นไปไม่ได้ ให้เป็นไปได้อีกด้วย materials.sandvik/en
ที่มา : บทความ “How Sandvik made the world’s first 3D printed, smash-proof guitar” จาก home.sandvik/en
พบกับนวัตกรรมและวัสดุสร้างสรรค์ ได้ที่ชั้น 2 ห้อง Material & Design Innovation Center, CEA CREATIVE THAILAND I 10
พบกับนิตยสาร “คิด” Creative Thailand ได้ที่ ร้านหนังสือ ห้องสมุด สมาคม อาคารสำ�นักงาน และร้านกาแฟใกล้บ้าน ในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ หัวหิน และจังหวัดอื่นๆ รวมถึง miniTCDC
หมดปญหาหยิบนิตยสารไมทัน สมัครสมาชิกรายป คาใชจายในการจัดสง 200 บาท (12 เลม)
ดูสถานที่จัดวางทั้งหมดได้ที่: creativethailand.org/contactus
หรือดาวนโหลดใบสมัครออนไลน creativethailand.org/contactus
กรุงเทพฯ ร้านหนังสือ • Asia Books • Kinokuniya • B2S • แพร่พิทยา
• MAIIAM Contemporary Art Museum • ชีวิต ชีวา • Minimeal Cafe • Impresso • Restr8to • Penguin Villa (Penguin Getto) ร้านกาแฟ/ร้านอาหาร • กาแฟอาข่า อ่ามา • Au Bon Pain La Fattoria สาขา2 • Starbucks • TOM N TOM’S COFFEE • Happy Hut ถ.นิมมานฯ • True Coffee • ราชดำ�เนิน • Auntie Anne’s • Mai Bakery In Garden • Baskin Robbins • Starbucks The Plaza • Coffee World • Yesterday Hotel • Mister Donut • October • Black Canyon • สุรยิ นั จันทรา นิมมานฯ ซอย 1 • McCafe’ • ร้านมีชามีชัย (กู) • ดอยตุง • Cafe’de nimman • Ninety four coffee • The Booksmith • Puff & Pie • ร้านชา (Drink Club) • Red Mango • Cotto Studio • Iberry • Starbucks Nimmanhemin • Greyhound Cafe’ • Fern Forest Cafe’ • Amazon Cafe’ • 9th Street Cafe • Chester’s Grill นิมมานฯ ซอย 9 • Luv minibar • ดวงกมล (Duang Kamol) • Rustic & Blue - Handgrown พิพิธภัณฑ์/หอศิลป์ • Produce & Artisan Food • หอศิลปวัฒนธรรม นิมมานฯ ซอย 9 แห่งกรุงเทพมหานคร • หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม • มิวเซียม สยาม • อุทยานการเรียนรู้ (TK park) มช. • นำ�ทอง แกลเลอรี่ หัวหิน • ร้านกาแฟ ชุบชีวา หัวหิน สมาคม/ห้องสมุด • อยู่เย็น หัวหิน บัลโคนี่ • ศูนย์ศิลปะนานาชาติ • บ้านใกล้วัง สมาคมฝรั่งเศส • ภัตตาคารมีกรุณา • ห้องสมุดเนลสัน เฮลส์ The Neilson Hays Library • บ้านถั่วเย็น @ แนบเคหาสน์ • ร้านอาหารหัวหิน (โกทิ) • ห้องสมุด - นิด้า • กาแฟข้างบ้าน • สมาคมโฆษณา • IL GELATO ITALIANO แห่งประเทศไทย • Together Bakery & Cafe’ • สมาคมธนาคารไทย • โรงแรม วรบุระหัวหิน • สมาคมสโมสรนักลงทุน • Let’s Sea • ห้องสมุด สสวท. • โรมแรม ดูน หัวหิน • สมาคมหอการค้าไทย • เดอะร็อค หัวหิน • สถาบัน • บ้านจันทร์ฉาย • Wall Street Institute • หัวหิน มันตรา รีสอร์ท • Raffle Design Institute • ลูน่าฮัท รีสอร์ท • Vision Swimming Academy กระบี่ • Nakamanda Resort & Spa เชียงใหม่ • Rawee Warin Resort & Spa • woo cefe • A little Handmade Shop • Kagee • Ristresto lab • ท่าแพอีสต์+ dibdee.binder ขอนแก่น • Hug School • C.A.M.P ,MAYA • True Coffee ,หอสมุด มช. of Creative Arts • ร้านสืบสาน • Punspace, นิมมานฯ • ร้านกาแฟ คอฟฟี่ เด้อ หล่า • asama cafe • มาหาสมุด (บ้านข้างวัด) (Coffee Der La) • see scape gallery เชียงราย • nimmanian club • ร้านหนังสือ herebookafe • 8 days a week • ร้าน Coffee Dad • Bulbul book cafe’ • Graph cafe’ นครราชสีมา • Cefe de museum • Hug station resort • local cafe Think park • Librarista นครปฐม • Artisan วัวลาย • ร้าน Dipchoc Cafe • paper spoon • กาแฟรสนิยม, นครสวรรค์ หลัง มช ทางขึ้นกาแล • The barn : Eatery Design • ร้าน Bitter Sweet • Book Republic น่าน • wake up หน้ามอ • ร้าน Runway Coffee • Fab cafe’ • kum cafe คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ • ร้านคลาสสิค โมเดล น่าน
• ร้านกาแฟปากซอย • ร้าน Nan Coffee Bean ปาย/แม่ฮ่องสอน • ร้านคอฟฟี่อินเลิฟ • ร้าน all about coffee • ร้านปายหวานบ้านนมสด • ร้านเล็กเล็ก • ปายวิมานรีสอร์ท พังงา • Niramaya Villa and Willness Resort • Ranyatavi Resort Phang Nga • The Sarojin เพชรบุรี • Grand Pacific Sovereign • Resort & Spa • DevaSom Hua Hin Resort ภูเก็ต • ร้านหนัง(สือ) ๒๕๒๑ ภูเก็ต • The oddy Apartment & Hotel • At Panta Phuket • Banyan Tree Phuket • Le Meridien Phuket • Millienium Ressort Patong Phuket • Novotel Phuket Resort • Patong Paragon Resort & Spa Phuket • Sheraton grand Lagana Phuket • Sri wanwa Phuket Villa • Thanyapura ระยอง • Le Vimarn Cottage ลำ�ปาง • อาลัมภางค์ เกสท์เฮ้าส์ แอนด์ มอร์ ลำ�ปาง • ร้านเอกาลิเต้ Egalite Bookshop • Lampang Art Center เลย • บ้านชานเคียง • มาเลยเด้ เกสต์เฮาท์ ลพบุรี • ซนดิคอฟฟี่ สมุทรสงคราม/อัมพวา • Baan Amphawa Resort and Spa สุโขทัย • Ananda Co.,Ltd. สุราษฎร์ธานี • Muang Samui Spa Resort • Pavilion Samui Boutique Resort • The Sunset Beach Resort and Spa Taling ngam • Nora Beach Resort Samui อุทัยธานี • ร้านบุ๊คโทเปีย Booktopia • Avatar Miracles
ขอมูลผูสมัครสมาชิก สมาชิกใหม ชื่อ นามสกุล เพศ โทรศัพท
สมาชิกเกา (ตออายุ) หญิง อายุ
ชาย
อีเมล
โทรศัพทมือถือ
อาชีพ นักเรียน ครู/อาจารย
นิสิต/นักศึกษา พนักงานบริษัท
นักออกแบบ/ครีเอทีฟ ผูประกอบการ
อาชีพอิสระ อื่นๆ โปรดระบุ
ขาราชการ/รัฐวิสาหกิจ
สาขา/อุตสาหกรรมที่เกี่ยวของกับอาชีพของทาน โฆษณา สถาปตยกรรม แฟชั่น ศิลปะการแสดง ดนตรี ภาพยนตร โทรทัศน/วิทยุการกระจายเสียง
ทองเที่ยว/โรงแรม/สายการบิน วรรณกรรม/การพิมพ/สื่อสิ่งพิมพ พิพิธภัณฑ/หองแสดงงาน ซอฟตแวร/แอนิเมชัน/วิดีโอเกม
หัตถกรรม/งานฝมือ การเงิน/ธนาคาร ทัศนศิลป/การถายภาพ อื่นๆ โปรดระบุ
อาหาร การแพทย การออกแบบ
คาปลีก/คาสง โทรคมนาคม
ที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ จังหวัด
ซอย
ถนน รหัสไปรษณีย
หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง
อำเภอ/เขต
หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง
อำเภอ/เขต
ที่อยูในการออกใบเสร็จ เหมือนที่อยูในการจัดสง เลขประจําตัวผูเสียภาษี เพื่อออกใบเสร็จรับเงิน หมูบาน/บริษัท เลขที่ ซอย ถนน จังหวัด รหัสไปรษณีย
ตองการสมัครสมาชิกนิตยสาร Creative Thailand ระยะเวลา 1 ป จำนวน 12 เลม เริ่มตั้งแตฉบับเดือน โดยยินดีเสียคาใชจายในการจัดสงเปนจำนวนเงิน 200 บาท
วิธีการชำระเงิน เช็คสั่งจายสํานักงานสงเสริมเศรษฐกิจสรางสรรค (องคการมหาชน) (CEA) พรอมใบสมัครสมาชิก โอนเงินเขาบัญชี สำนักงานสงเสริมเศรษฐกิจสรางสรรค (องคการมหาชน) ธนาคารกรุงเทพ สาขาสำนักงานใหญสลี ม เลขทีบ่ ญั ชี 101-9-12219-9 • แฟกซใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่ 02-105-7450 • หรือสงไปรษณียมาที่ สํานักงานสงเสริมเศรษฐกิจสรางสรรค (องคการมหาชน) (CEA) อาคารไปรษณียกลาง 1160 ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500 • หรือแนบไฟลใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่อีเมล creativethailand@cea.or.th สอบถามขอมูลเพิ่มเติมไดที่ 02-105-7400 ตอ 116
Photo by Spencer Imbrock on Unsplash
Cover Story : เรื่องจากปก
เรื่อง : ทรงวาด สุขเมืองมา ในรายการดังเฟ้นหาดาวดวงใหม่ประดับวงการ นักร้องหญิงคนหนึ่งเปิดตัวด้วยเพลงแนวหมอลำ�ซิ่ง ในตอนท้ายกรรมการเพิ่ม บททดสอบโดยให้เธอร้องเพลงสากล กรรมการ : “ไหนลองร้องเพลงสากลให้ฟังหน่อย” ผู้เข้าแข่งขัน : “เพลงฝรั่งใช่มั้ยคะ” (ถามกรรมการกลับ) กรรมการ : “สากลนี่มันครอบคลุม จะเป็นเวียดนาม หรือเขมรอะไรได้หมด” (เฮฮา อารมณ์คล้ายไม่คิดว่าจะถูกถามแบบนี้) ผู้เข้าแข่งขัน : “It’s been a long day without you my friend…” (เพลง See you again โดย Wiz Khalifa)
บทสนทนาสัน้ แต่ชวนให้คดิ ต่อไปว่าสมัยนีด้ เู หมือนเราจะไม่ตอ้ งเสียเวลาตามหาสัญชาติ หรือความแท้ของแนวดนตรีสกั เท่าไร เพราะอรรถรสของการฟังเพลง อยู่ที่ ‘สภาพแวดล้อม’ ไม่ว่าจะเป็นลักษณะเด่นในด้านศิลปวัฒนธรรมของประเทศที่สร้างสรรค์ผลงาน การบรรเลง เทคโนโลยีดนตรี ท่าเต้น แฟชั่น เครื่องแต่งกาย ไปจนถึงการตลาดและภาพลักษณ์ศิลปิน ต่างมีบทบาทสำ�คัญที่ช่วยผลักดันให้ดนตรีไม่ใช่เพียงผลิตภัณฑ์สำ�หรับกลุ่มคนฟังเพลง แต่คือ ‘บ้าน’ ที่ไร้ข้อจำ�กัดเรื่องตัวตน เชื้อชาติ เพศ วัย และยังเป็นชุมชนที่เชื่อมโยงคนด้วยความสนใจร่วมกัน 1 ชื่อบทความ Let’s Call The Music Maison ดัดแปลงมาจากธีม “Let’s Call The World Maison” สำ�หรับงานเมซงฯ หรือ Maison et Object งานแฟร์ของตกแต่งบ้านระดับโลก CREATIVE THAILAND I 12
apamm.org ujeil.com
Thai Music 4.0: Music makes Community ดิจทิ ลั ไลฟ์สไตล์ ทำ�ให้วงการดนตรีตอ้ งหาจุดยืน ที่แข็งแรงของตนเองให้ได้อีกครั้ง หลังเผชิญ ความเสี่ยงที่จะถูกละเมิดลิขสิทธิ์จากการเข้าถึง ผลงานเพลงทั่ ว โลกได้ อ ย่ า งง่ า ยดายด้ ว ย การดาวน์ โ หลดจากแอพสโตร์ แ ละสตรี ม มิ่ ง บริษัทหรือหน่วยงานที่รับดูแลตรวจสอบเรื่อง การละเมิดฯ เช่น IFPI หรือสมาพันธ์ผู้ผลิต สิ่งบันทึกเสียงระหว่างประเทศ (International Federation of the Phonographic Industry) จึงมีส่วนสำ�คัญในการปรับกระบวนการทำ�เพลง และวางแนวกลยุทธ์ส�ำ หรับช่องทางการจัดจำ�หน่าย เสียใหม่ เมื่ อ ผู้ ผ ลิ ต และศิ ล ปิ น เพลงทั่ ว โลกตั้ ง รั บ และป้องกันปัญหาเกี่ยวกับลิขสิทธ์อย่างแข็งขัน อีกมุมหนึ่ง Cross Cultural Media ในยุคดิจิทัล ที่พาผู้คนข้ามวัฒนธรรมไปมาได้อย่างสะดวก ง่ายดาย ก็เปิดโอกาสให้ผู้คนสามารถแสวงหา ‘โอกาสและเงิน’ ได้อย่างสร้างสรรค์แบบไม่มี ที่สิ้นสุดเช่นกัน ช่วงเดือนกันยายน 2562 นี้ กระทรวงวั ฒนธรรม กี ฬาและการท่ อ งเที่ ย ว เกาหลีใต้ ร่วมกับ Ulsan Metropolitan City จัดงานประชุมดนตรีระดับเอเชียแปซิฟิก หรือ APaMM 2019 (Asia Pacific Music Meeting) ซึง่ มีขนึ้ เพือ่ เป็น Creative Hub ให้เกิดการพบปะ ระหว่ า งเครื อ ข่ า ยธุ ร กิ จ เพลงนานาชาติ แ ละ ตัวแทนผู้สร้างสรรค์ผลงานในอุตสาหกรรมเพลง
APaMM นอกจากจะมีโชว์บนเวทีใหญ่แล้ว ยังมีโชว์เคสสร้างแรงบันดาลใจซึ่งถือเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ผลิตในวงการเพลงได้มา ชม-ช้อป-ใช้ ผลงานจากศิลปินที่ถูกใจอีกด้วย
รวมถึงเป็นเวทีกลางสำ�หรับแลกเปลีย่ นมูลค่าเชิง วัฒนธรรมและแสดงผลงานของศิลปินทุกแนวเพลง คอนเซ็ปต์ของงาน APaMM ในระยะ 8 ปีทผ่ี า่ นมา จึงทำ�หน้าที่เสมือนสปริงบอร์ดสำ�หรับผลักดัน ให้ ก ลุ่ ม นั ก ดนตรี ไ ปสู่ เ วที ร ะดั บ โลกได้ แ บบ ก้าวกระโดด โดยเน้นสนับสนุนกลุ่มนักดนตรีใน พื้นถิ่น (Domestic Musician) ที่ไม่ได้อยู่ในจุด สนใจของตลาดเพลงกรุงโซล ในบริบทเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของไทย รายได้ ของประเทศจะสูงขึ้นได้ส่วนหนึ่งจะต้องเกิดจาก CREATIVE THAILAND I 13
การขับเคลื่อนด้วยกลไกที่ใช้นวัตกรรมเชื่อมโยง กับความคิดสร้างสรรค์และรากฐานทางวัฒนธรรม เข้าด้วยกัน (Productive Growth Engine) กลไกนี้ จะปรับเปลีย่ นบทบาทของอุตสาหกรรมเพลงไทย ให้ค�ำ นึงถึงการสร้างระบบทีช่ ว่ ยตอบโจทย์ผบู้ ริโภค เป็นสำ�คัญหรือในเชิง Customer Centric มากขึน้ คือนอกจากสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ดนตรีแล้ว ธุรกิจ ต้องเพิม่ มูลค่าดนตรีของไทยด้วยงานบริการผ่าน ช่องทางอืน่ ๆ เพิม่ เติม เพือ่ สร้างผลกระทบเชิงบวก ให้กว้างขึ้นด้วย
บทบาทของอุตสาหกรรมดนตรีของไทยตั้งแต่ยุค 1.0 – 4.0
ล้านตลับ เน้นการตลาดกระแสหลักในกลุ่ม Pre-teen และวัยรุน่ ผูป้ ระกอบการ ทุ่ ม เงิ น ลงทุ น มหาศาลไปกั บ การ โปรโมต และสร้างภาพลักษณ์ยอดนิยม ให้ศลิ ปิน รายได้สว่ นใหญ่มาจากการ ทำ�อัลบั้มเพลง ในปี 2562 นี้ บางค่ายเพลง ยั ก ษ์ ใ หญ่ ไ ด้ รั บ พิ จ ารณาให้ ย้ า ย หมวดจากธุ ร กิ จ สื่ อ และสิ่ ง พิ ม พ์ (Media & Publishing) ไปยังหมวด ธุรกิจพาณิชย์ (Commerce) ภายใต้ กลุ่มอุตสาหกรรมบริการ (Service) เพือ่ ให้สอดคล้องกับสัดส่วนโครงสร้าง รายได้ และนโยบายการดำ�เนินธุรกิจ
(1) ARTS SUPPORT
(2) SERVICE
MUSIC 4.0
(3) NETWORK
อินดี้ กำ�เนิดวงดนตรีหวั ใหม่ องค์ประกอบ ของเพลงไปจนถึงสไตล์ของศิลปิน บ่งบอกตัวตนของคนที่ชื่นชอบว่ามี ความนอกกรอบ โดดเด่น ฉีกกฎ (Independent) มีการจัดกิจกรรม สถานีวิทยุ และคอนเสิร์ตที่เจาะ กลุ่มคนฟังเพลงนอกกระแส เริม่ เกิดการประกวดเพือ่ เฟ้นหา ดาวดวงใหม่ ใ นวงการเพลงไทย นอกจากผลงานเพลง ก็ยงั ต้องมีเพิม่ รายการ ‘เรียลิต’้ี มาโชว์ชวี ติ ส่วนตัว ของผู้เข้าแข่งขันเพื่อเพิ่มอรรถรส ทำ � ให้ นิ สั ย ใจคอของผู้ ป ระกวด กลายมาเป็นหนึง่ ในเกณฑ์ทใี่ ช้สร้าง ความนิยมในการเลือกผูช้ นะอีกด้วย
อินเทอร์เน็ต ออฟ ธิง ศิลปินล้านวิว การก้าวสู่ยุคดิจิทัลเต็มตัวได้เปิด โอกาสให้มกี ารแสดงความสามารถ ผ่านช่องทางออนไลน์ จะคนทั่วไป หรื อ ศิ ล ปิ น ก็ ส่ ง -รั บ ความเห็ น ได้ โดยตรงกับคนฟัง ค่ายเพลงลดบทบาทการปั้น ศิ ล ปิ น สตู ดิโ อเพลงหั น มาสร้ า ง รายได้ผ่านช่องทางใหม่ที่มาเปิด โดเมนในไทยเพื่อขยายการเข้าถึง ฐานลูกค้าได้มากขึน้ อาทิ Youtube, KKBox, Deezer, True download, และ Spotify
ดนตรีเพียงอย่างเดียว ไม่ตอบโจทย์ ผูป้ ระกอบการหันมาลงทุนด้านการ สร้างเครือข่าย และเสริมทัพด้วย งานบริการ จนเกิดกระแสการสร้าง ชุมชนด้วยรูปแบบเทศกาลดนตรีศิ ล ปะ คล้ า ยกั บ เทศกาลดนตรี ระดั บ โลก Coachella Valley Music and Arts Festival เพราะ ช่วยสร้างภาพลักษณ์ และเป็นการ กระจายรายได้ให้กับผู้เกี่ยวข้องทั้ง ระดับบุคคลไปถึงระดับเมือง
ในฐานะตัวแทนอุตสาหกรรมเพลงไทยยุค 4.0 ผูผ้ ลิตทีส่ ามารถสร้างสรรค์แพ็กเกจการส่งมอบประสบการณ์ทางดนตรี ได้อย่างครบวงจร (Bundle Package) และเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้อย่างสมบูรณ์ Wonderfruit Festival เรียกได้ว่าเป็น เทศกาลฯ ที่นำ�เสนอผลิตภัณฑ์ดนตรีด้วยภาพลักษณ์ที่ทันต่อพฤติกรรมผู้บริโภคในเศรษฐกิจดิจิทัล แถมเพิ่มความ สามารถในการแข่งขันด้วยกลไกทั้ง 3 ภายใต้ไอเดีย Productive Growth Engine ได้แก่ (1) ศิลปะและงานออกแบบ เข้ามามีสว่ นในการสร้างความประทับใจและลักษณะเฉพาะของธุรกิจดนตรี อาทิ การออกแบบสถานที่จัดแสดง (Venue Design) ซึ่งพื้นที่มักถูกออกแบบมาอย่างครบรส มีทั้งสเปซไว้จัดกิจกรรม เวที แสดงดนตรีใหญ่ เวทีแบบซุม้ และจุดแสดงทีอ่ ยูล่ กึ ลับเข้าไปในป่า รวมไปถึงพืน้ ทีน่ �ำ เสนองานศิลปะ (Art Installation) งานนี้จึงถือว่าทั้ง Music Scene และ Art Scene ซึ่งต่างก็เพิ่มมูลค่าให้แก่กันและกัน (2) งานบริการ มาพร้อมกับความตัง้ ใจนำ�เสนอวิถชี วี ติ ทีห่ า่ งไกลจากคำ�ว่าชีวติ ประจำ�วัน (Routine) ของผูร้ ว่ มงาน เพื่อให้เกิดความตระหนักรู้ในแง่มุมใหม่ ๆ Wonderfruit Festival จึงต้องจัดให้มกี ารสร้างสภาพแวดล้อมและ ‘เสิร์ฟ’ ประสบการณ์เหล่านัน้ ผ่านรูปแบบกิจกรรมทีห่ ลากหลายในงาน อาทิ งานเวิรก์ ช็อป เสวนา และอาหารการกิน เป็นต้น (3) การสร้างเครือข่าย ‘Collaborative Networking’ ในยุค 4.0 คือโมเดลธุรกิจที่ไม่แสวงหาคู่แข่ง แต่เน้น การจับมือกับพาร์ตเนอร์ท่ีสามารถให้การสนับสนุนทั้งการจัดงานและภาพลักษณ์ได้ดี นอกจากการส่งเสริมให้เกิด ชุมชนคนดนตรี (Music Community) แล้ว Wonderfruit Festival ยังได้รวบรวมผู้เชี่ยวชาญจากหลายวงการ เช่น ศิลปะ สถาปัตยกรรม เชฟชือ่ ดัง และนักกิจกรรมเพือ่ สุขภาพและครอบครัวไว้ในงานเดียว เพือ่ ทำ�ให้เหล่า ‘Wonderer’ หรือคนเข้าร่วมงานมองเห็นความเป็น ‘ชุมชนขนาดใหญ่’ ทีท่ �ำ ให้รสู้ กึ ว่าการจ่ายเงินเฉียดๆ หมืน่ นัน้ คุม้ ค่าและครบครัน CREATIVE THAILAND I 14
The Sound We Live In นอกจากทีธ่ รุ กิจดนตรีจะได้รบั ทัง้ อานิสงส์และผลกระทบจากการก้าวเข้าสูย่ คุ ดิจทิ ลั แล้ว ปัจจุบนั มนุษย์ยงั หันมาใช้ประโยชน์จากการรับรู้ ทางธรรมชาติอย่างการได้ยนิ ‘เสียง’ ที่ผสานเข้ากับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและวิศวกรรม จนเกิดเป็นประสบการณ์ใหม่ ๆ ในรูปแบบ ที่ต่างกันออกไป
เกมออนไลน์ คนสามารถประเมินสถานการณ์รอบตัว ได้จากเสียงที่ได้ยิน ในธุรกิจอี-สปอร์ต เป็นทีย่ อมรับกันว่า ‘เสียง’ ถือว่าองค์ประกอบ ที่ จำ�เป็นมาก เพราะเหล่านั ก ต่ อ สู้ จ ะรู้ ทิศทางของอุปสรรคหรือศัตรูได้จากเสียง ทีถ่ กู ออกแบบไว้ในเกม และถ้ามีหฟู งั ดี ๆ สั ก อั น ที่ ส ามารถกรองเสี ย งภายนอก ไม่ ใ ห้ เ ข้ า มารบกวนในระดั บ Noise Cancelling แล้ว ก็จะยิง่ สมจริงเสมือน ได้อยูใ่ นสภาพแวดล้อมในเกมยิง่ ขึน้ ไปอีก
แอพพลิเคชัน คอดนตรีทชี่ อบฟังและคุมโทนเสียงได้เอง แต่อยากประหยัดเงินในกระเป๋า ปัจจุบัน มี แ อพพลิ เ คชั น ทำ � หน้ า ที่ เ ป็ น Bass Booster หรือตัวสร้างสมดุลโทนเสียงต่ำ� (เบส) หรือแม้กระทัง่ แอพ Equalizer ทีใ่ ช้ ปรับย่านความถี่ที่มีความสามารถใกล้ เคี ย งกั บ อุ ป กรณ์ จ ริ ง สำ � หรั บ ผู้ ท่ี กำ � ลั ง ฝึกปรับเครื่องเสียง
รถยนต์ เทคโนโลยีเสียงเงียบดูเหมือนจะอันตราย เกินไปสำ�หรับรถยนต์ท่ีขับเข้าไปในย่าน ชุมชน เดิมทีรถยนต์พลังงานไฟฟ้าแบรนด์ Jaguar I-Pace ออกแบบเสียงให้คล้ายกับ ยูเอฟโอ ทำ�ให้คนมีปฏิกริ ยิ าแหงนมองฟ้า แทนที่จะมองถนนเมื่อได้เสียงนี้ จากัวร์ จึ ง แก้ ปัญ หาด้ ว ยวิ ศ วกรรมเสี ย งชั้น สู ง โดยออกแบบให้รถยนต์มีโทนเสียงใหม่ท่ี จำ�ลองเสียงมาจากเครือ่ งยนต์ขณะทำ�งาน และยังปรับเสียงให้แหลมคมขึ้นเมื่อรถ ถูกขับเคลือ่ นในอัตราเร่งทีส่ งู ขึน้
เสียงในเพลง การออกแบบเสียงในเพลงเพือ่ สร้างบรรยากาศ แวดล้อม ถือเป็นการทำ�เพลงที่เน้นการ ออกแบบประสบการณ์เพือ่ สร้างความรูส้ กึ แนวเพลงประเภทนี้จ ะทำ � ปฏิ กิริย าเชิ ง จิตวิทยากับคนฟัง หรือสอดแทรกการ บำ�บัดแบบไม่รู้ตัว (Subliminal Therapy) บ่ อ ยครั้ ง ที่ เ พลงทำ � ให้ เ ราเปลี่ยนแปลง อารมณ์ความรู้สึกได้ด้วยเสียงฟุ้ง ๆ หรือ บางครั้งก็เบาจนแทบไม่ได้ยิน แต่กลับ สร้างผลกระทบทีม่ ากกว่าเสียงทีด่ งั เพราะ สมองคนเราจะใช้การรับรูใ้ นระดับจิตสำ�นึก แทนการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสทั่วไป
CREATIVE THAILAND I 15
วณิพก 4.0: Enjoy the Empathy บรรยากาศการร้องเพลงเปิดหมวกมันชวนให้ เชื่อจริงๆ ว่าดนตรีคือภาษาสากลสำ�หรับทุกคน2 ‘Busker’ หรือนักร้อง นักดนตรีเปิดหมวก อาจเป็นมืออาชีพหรือไม่กไ็ ด้ แต่จดุ มุง่ หมายหลัก คือการถ่ายทอดทักษะของตัวเอง แล้วต้องสร้าง ความสนใจทำ�ให้คนที่กำ�ลังเร่งรีบเดินทางยอม ที่จะหยุดเพื่อฟัง แถมมีอารมณ์ร่วมไปกับดนตรี แม้จะเป็นเพียงเสี้ยววินาทีก็ตาม แบบนี้ก็ถือว่า การเล่นเปิดหมวกประสบความสำ�เร็จ บ่อยครั้ง มี นั ก ดนตรี มื อ อาชี พ ที่ มี ชื่ อ เสี ย งระดั บ โลกไป เปิดพืน้ ทีแ่ บบสาธารณะ เพือ่ ท้าทายความสามารถ ของตัวเองอีกครัง้ เพราะถ้าเล่นแล้วไม่มใี ครสนุก ไปด้วยก็คงต้องถึงเวลาทบทวนตัวเองสักหน่อย การไปเป็น Busker ที่สถานีรถไฟใต้ดินใน ลอนดอน (London Underground) ถือว่าเป็นอีก หนึง่ ช่องทางหารายได้และช่วยให้มโี อกาสวิง่ เข้าชน ไม่น้อย นั่นคือรายได้ประมาณ 100-120 ปอนด์ (ราว 3,880 - 4,650 บาท) ต่อสองชั่วโมง หากได้ อยู่ใน Busking Pitch หรือจุดที่คนผ่านไปมา สูงมากต่อวัน และหากมีการบันทึกภาพไปลงใน
โซเชียลมีเดียด้วย ศิลปินนั้น ๆ ก็อาจได้เดบิวต์ ตัวเองกับค่ายเพลงได้ต่อไป อย่างไรก็ดี ทางการ ของอั ง กฤษเองได้ อ อกกฎเกณฑ์ เ พื่ อ ควบคุ ม ความเรียบร้อยของเหล่าศิลปิน Busker เหล่านี้ โดยให้ Busker สามารถเล่นดนตรีได้ในตำ�แหน่ง ที่กำ�หนดจำ�นวน 40 จุดเท่านั้น ในสถานีรถไฟ ใต้ดินใจกลางกรุงลอนดอน 27 แห่ง นอกจากนี้ยังมี Transport for London เป็นทีมงานที่คอยทำ�หน้าที่ควบคุมคุณภาพของ นักดนตรีเปิดหมวกทุกคนทีม่ อี ายุตงั้ แต่อายุ 16 ปี ขึ้นไปและต้องเป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศอย่าง ถู ก กฎหมาย โดยทุ ก คนจะต้ อ งออดิ ชั่ น โดย การเล่นสดต่อหน้ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิก่อน เมื่อผ่านแล้วจึงจะได้รับใบอนุญาต ‘Licensed Musician ID Card’ ให้เป็น Busker และมีสิทธิ์ เลือก-โทรจอง Busking Pitch ที่เป็นที่นิยม มากที่สุดลดหลั่นกันไปได้ เมือ่ เทียบกับนักดนตรีเปิดหมวกในลอนดอน Busker ชาวไทยก็มคี วามสามารถไม่ดอ้ ยไปกว่ากัน บางคนมีวงเป็นของตัวเอง มีผู้ติดตามดูผลงาน บนโลกโซเชี ย ลหลายแสนวิ ว หรื อ เป็ น กลุ่ ม
2 “Music is the universal language of mankind.” วลีดังจาก Henry Wadsworth Longfellow นักการศึกษาและกวีชาวอเมริกัน CREATIVE THAILAND I 16
เวลาฟังเพลงทำ�ไมเราจึงเกิด ความรู้สึก การฟังดนตรีเป็นกิจกรรมทาง สังคมชนิดหนึง่ เพราะนอกจากจะได้รบั รู้ เรื่ อ งภายนอกแล้ ว ยั ง สร้ า งให้ เ กิ ด Empathy หรือการมีความเข้าใจและ อารมณ์ร่วมไปกับความรู้สึกของผู้อื่น นักจิตวิทยา ธีโอดอร์ ลิปปส์ (Theodor Lipps) ตั้งข้อสังเกตว่า แท้จริงแล้ว เพียงแค่คนเรามองเห็น พฤติกรรมหรือการแสดงออกทางสีหน้า ของผูอ้ น่ื จิตใจก็จะสัง่ ให้รสู้ กึ ไปในทาง เดียวกันกับผู้นั้น เสมือนเป็นกระจก หรือการเลียนแบบทางความรูส้ กึ (Inner Imitation) และจะมีการตอบสนองที่เร็ว และแรงขึน้ ไปอีกถ้าได้ฟงั ดนตรีประกอบ หลักการ Inner imitate จึงนิยมนำ�ไป ใช้เป็นทฤษฎีในศิลปะการแสดงและ ทัศนศิลป์ (Performing & Visual Arts)
hubblehq.com Thomas Gould นักสีไวโอลินระดับโลกที่ลงไปทำ�การแสดงสดแบบ Busking ที่ Westminster Underground Station
นักเรียนนักศึกษาที่ต้องการหารายได้พิเศษเพื่อ เป็นทุนการศึกษาให้ตัวเองหรือเพื่อช่วยเหลือ สังคม บางครัง้ กลุม่ นักดนตรีมอื อาชีพหรือกระทัง่ เจ้าหน้าที่ตำ�รวจก็ยังมีการแสดงเปิดหมวกเพื่อ การกุศลเช่นกัน สำ�หรับประเทศไทยมีการออกกฎหมายเพือ่ แยกคนขอทาน ออกจาก “วณิพก” ซึ่งก็คือคนที่ ต้องการแสดงความสามารถในพื้นที่สาธารณะ เพื่อแลกเงินหรือทรัพย์สินจากผู้ชม ตามพ.ร.บ. ควบคุมการขอทาน พ.ศ. 2559 มาตรา 13 ระบุวา่ ผู้ ทำ � การขอทานต้ อ งระวางโทษจำ � คุ ก ไม่ เ กิ น 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำ� ทั้งปรับ ส่วนวณิพกจะต้องมีบัตรผู้แสดงความ สามารถจึงจะได้รับอนุญาตให้แสดงโชว์ในพื้นที่ สาธารณะอย่างถูกกฎหมาย ตราบใดที่มีความชอบธรรมทางกฎหมาย นักดนตรีเปิดหมวกในบ้านเราควรจะสร้างหรือ ถูกสร้างให้มีภาพลักษณ์ใหม่ และมีการจัดการ ควบคุมคุณภาพ รวมถึงสนับสนุนพัฒนาทักษะ อย่ า งสร้ า งสรรค์ จ นสามารถเป็ น มื อ อาชี พ ใน อุตสาหกรรมดนตรีได้ ทุกคนควรมีโอกาสทีจ่ ะได้ สร้างความเข้าใจและอารมณ์ร่วม (Empathy) จากผู้ฟัง ไม่ใช่ความสงสารที่จะนำ�พาให้เกิด การช่ ว ยเหลื อ หรื อ สงเคราะห์ แ บบชั่ ว คราว (Sympathy) หากเป้าหมายนี้เกิดขึ้นจริง ดนตรี ก็คงจะเป็นบ้านของคนทุกคนได้เหมือนที่กล่าว ได้อย่างเต็มปากว่า LET’S CALL THE MUSIC MAISON ที่มา : ข่าวตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (14 มีนาคม 2562) / บทความ “ความสุขเล็กๆ ระหว่างสัญจรกลับบ้าน กับเส้นทางฝัน ของนักดนตรีเปิดหมวกในลอนดอน” (10 สิงหาคม 2560) โดย ชัยยงค์ รักขิตเวชสกุล จาก thematter.co / บทความ “อุตสาหกรรมเพลงไทยในยุคประเทศไทย 4.0” (26 มิถุนายน 2560) โดย ณทิตา ทรัพย์สินวิวัฒน์ จาก tci-thaijo.org / บทความ “Neurophysiological Effects of Trait Empathy in Music Listening” (6 เมษายน 2561) จาก frontiersin.org / หนังสือ Prada Mandala: The Essence of life and style (ปี 2560) โดย พลอย จริยะเวช และชัยอนันต์ สมุทวณิช / วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย จาก psychiatry.or.th
สถานี Tottenham Court Road ได้รับความนิยมมากที่สุดและสร้างรายได้สูงสุดให้เหล่า Busker ในลอนดอน CREATIVE THAILAND I 17
Fact & Figure : พื้นฐานความคิด
สำ�รวจอุตสาหกรรมดนตรีโลก
และหนทางการปลุกปัน้ ‘กรุงเทพฯ เมืองดนตรี’ เรื่อง : วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ
เมื่ออุตสาหกรรมดนตรีโลกกำ�ลังหมุนเปลี่ยนไปตามพฤติกรรมที่คนฟังสามารถฟังเพลงได้ทุกที่และทุกเวลาผ่านเทคโนโลยี และอินเทอร์เน็ตทีเ่ ป็นสือ่ กลาง แต่ประสบการณ์การรับฟัง ชม และรูส้ กึ ผ่านการแสดงดนตรีสดทีย่ งั ไม่มเี ทคโนโลยีใดมาแทนที่ ได้กลับกำ�ลังเป็นทิศทางที่น่าจับตามอง มาร่วมสำ�รวจอุตสาหกรรมดนตรีโลกในวันนี้ ว่าแท้จริงแล้วกำ�ลังมุ่งหน้าไปในทิศทางใด รวมถึงสำ�รวจความเป็นไปได้ในการผลักดันกรุงเทพฯ ให้เป็น เมืองดนตรีที่ยั่งยืน ผ่านการศึกษาจาก ‘ฟังใจ’ ชุมชนทางดนตรีที่อยู่เบื้องหลังการสนับสนุนศิลปินไทยที่จริงจังที่สุดองค์กรหนึ่งของประเทศ Let’s Stream, Let’s Enjoy ตั้งแต่การเปิดตัวของมิวสิกสตรีมมิงเมื่อปี 2005 ที่สามารถเชื่อมดนตรี ศิลปิน และผู้ฟังให้เข้าใกล้กันมากขึ้น ดูเหมือนว่าเส้นทางการเติบโตของ อุตสาหกรรมดนตรีนับจากวันนั้นก็เปลี่ยนไป จากเดิมที่มีผู้ใช้บริการมิวสิก สตรีมมิงแบบจ่ายเงิน 106 ล้านยูสเซอร์ในปี 2016 คาดว่าภายในปี 2025 จะมี สมาชิกที่จ่ายเงินให้กับบริการนี้เพิ่มขึ้นถึง 336 ล้านยูสเซอร์ ซึ่ง Spotify คือผู้ให้บริการมิวสิกตรีมมิงที่ครองส่วนแบ่งทางการตลาดสูงที่สุดในโลก ขณะที่ Joox คือตัวเลือกที่ชาวไทยเลือกใช้บริการมากที่สุด
สัดส่วนการฟังเพลงผ่านระบบออนไลน์ ในประเทศไทยปี 2017
Youtube 67%
สัดส่วนผู้ใช้บริการมิวสิกสตรีมมิงทั่วโลก ในครึ่งปีแรกของปี 2018 (ข้อมูลจาก Statista)
Music Streaming + Youtube 16% Non-User 17%
Deezer 3% Pandora 3% Google 3% MeION 2%
Tencent Amazon 12% 8% Apple Music 19% Other 14%
Spotify 36%
สัดส่วนการใช้บริการมิวสิกสตรีมมิง ในประเทศไทยปี 2018 Other 6%
JOOX 47% Spotify 18% Apple Music 29%
CREATIVE THAILAND I 18
The Live Music Era ในปี 2017 อุตสาหกรรมการแสดงดนตรีสดทั่วโลกมีมูลค่ามากกว่า 23.49 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นร้อยละ 62.31 ของมูลค่าอุตสาหกรรม ดนตรีทั้งหมด และคาดว่าภายในปี 2021 มูลค่าของตลาดส่วนนี้จะมีมาก ถึง 32.43 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งสหรัฐอเมริกา เยอรมนี และอังกฤษ คือ 3 ประเทศผู้นำ�การแสดงดนตรีสดที่กินส่วนแบ่งการตลาดเกินกว่าครึ่ง ของทั้งหมด ประเทศผู้นําการแสดงดนตรีสดในปี 2016
Other 7.96 34.76% UK 3.08 13.45%
US 8.22 35.90% Germany 3.64 15.95%
มูลค่าของอุตสาหกรรมดนตรีทั่วโลก = 34.45 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
ในส่วนการแสดงดนตรีสดของประเทศไทยก็มีมูลค่ามากที่สุดใน อุตสาหกรรมดนตรีไทยในวันนี้เช่นกัน โดยมีมูลค่าคิดเป็น 268 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ หรือร้อยละ 58.7 ของส่วนแบ่งอุตสาหกรรมดนตรีในประเทศทัง้ หมด เมื่อบวกกับศักยภาพของกรุงเทพฯ เมืองหลวงของประเทศไทยที่ได้ชื่อว่า เป็นสุดยอดของจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวทั่วโลกมา 3 ปีซ้อน โดยผลสำ�รวจจาก Mastercard ทำ�ให้การผลักดันกรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองดนตรี (Bangkok Music City) คือโอกาสครั้งสำ�คัญที่จะทำ�ให้อุตสาหกรรมดนตรี ของประเทศไทยเติบโตขึ้นอย่างยั่งยืน
ทั ว ร์ ค อนเสิ ร์ต ของ ศิลปินต่างชาติและ เทศกาลดนตรี ที่ จัดแสดงที่กรุงเทพฯ ในปี 2019 (จัดทําโดย เฟซบุ๊กเพจ Here & There)
The Music City is HERE Bangkok Music City คือเทศกาลดนตรีครั้งยิ่งใหญ่ของกรุงเทพฯ ที่จัดขึ้น ในวันที่ 1-3 พฤศจิกายน 2019 บนความร่วมมือของสำ�นักงานนวัตกรรม แห่งชาติ (NIA), ฟังใจ และ NYLON Thailand จัดขึ้น ณ ย่านสร้างสรรค์ เจริญกรุง โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงศิลปะและ ดนตรีของกรุงเทพมหานคร รวมทั้งยังเป็นการแสดงศักยภาพว่ากรุงเทพฯ สามารถเป็นจุดศูนย์กลางของการแสดงคอนเสิรต์ ได้ไม่แพ้เมืองดนตรีไหน ๆ ของโลก โดยภายในงานประกอบด้วย 2 กิจกรรมหลัก นั่นคือเทศกาลดนตรี และงานประชุมสัมมนาที่จะช่วยส่งเสริมศักยภาพอุตสาหกรรมดนตรีไทย พร้อม ๆ ไปกับการช่วยส่งเสริมพลังความคิดสร้างสรรค์ที่จะช่วยเพิ่มมูลค่า ให้กับเศรษฐกิจไทย แม้จะบอกว่ายังไม่มีเทคโนโลยีใดแทนที่ประสบการณ์การรับชม ดนตรีสดได้ แต่เทคโนโลยีที่มอบประสบการณ์ที่ใกล้เคียงที่สุดใน ขณะนี้ ได้แก่ เทคโนโลยี AR (Augmented Reality) และ VR (Virtual Reality) ที่มอบโลกเสมือนจริงให้ผู้ใช้งาน โดยกำ�ลังเป็น เทรนด์ใหม่ทจ่ี ะเปลีย่ นทิศทางการสร้างสรรค์เสียงเพลงในอุตสาหกรรม ดนตรีโลกและพฤติกรรมการเสพดนตรีแก่ผู้ชมในวันนี้ เพราะ นอกจากศิลปินระดับโลกจะผสานเทคโนโลยี AR และ VR ลงใน มิวสิกวิดีโอเพื่อเสิร์ฟความเต็มอิ่มให้ผู้ชมในวันนี้แล้ว เทคโนโลยี VR ยังเข้าไปอยู่ในรูปแบบการรับชมคอนเสิร์ตและเทศกาล ดนตรีตา่ ง ๆ ทีก่ �ำ ลังเป็นทีน่ ยิ มอย่างกว้างขวาง นัน่ หมายความว่า เทคโนโลยีนี้กำ�ลังจะเปลี่ยนพฤติกรรมการรับชมดนตรี และมอบ รายได้ทิศทางใหม่ให้กับอุตสาหกรรมเพลง ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบ การสมัครสมาชิกหรือรายได้จากการลงโฆษณาแบบใหม่ จึงมี แนวโน้มว่าแฟนเพลงจะได้นอนดูคอนเสิร์ต VR เต็มรูปแบบของ ศิลปินโปรดในบ้านตัวเองในเร็ววันนี้
ที่มา : รายงาน “Analysis of the ASEAN Music Industry with a Focus on Thailand” (มีนาคม 2019) โดย Fungjai / บทความ “How virtual reality is shaking up the music industry” (มกราคม 2017) จาก bbc.com / บทความ “Why the Music Industry is Banking on the Growth of VR Concerts” (ตุลาคม 2019) จาก forbes.com
CREATIVE THAILAND I 19
Creative Business : ธุรกิจสร้างสรรค์
เรื่อง : วนบุษป์ ยุพเกษตร l ภาพ : ภีร์รา ดิษฐากรณ์
“ป่อย ๆ หย่อย ๆ หย่อยหย่อย” ทำ�นองพิลึกพิลั่นจากเครื่องดนตรีไม้ไผ่ชนิดหนึ่งที่ไม่มีคำ�ร้อง ไม่มีความหมาย หรือ เมโลดี้ใด ๆ ที่เราคุ้นหู เป็นเสียงแรกที่สองสาว เม–ศิรษา บุญมา (ขวา) และ รักษ์–ปานสิตา ศศิรวุฒิ (ซ้าย) ผู้ก่อตั้งธุรกิจ เพื่อสังคม ‘เฮียร์ แอนด์ ฟาวด์’ (Hear and Found) ได้ยินจากชนเผ่าและพยายามร้องให้เราฟัง ก่อนจะอธิบายต่อจนเราเห็นภาพชัด ๆ ว่าแท้จริงแล้ว เสียงนี้มีเรื่องราว ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำ�ให้ทั้งคู่ตกหลุมรักความธรรมดาของคนชนเผ่าเข้าเต็มเปา และ ด้วยความที่เคยผ่านประสบการณ์ด้านชุมชนมาพอควร ทำ�ให้ทั้งเมและรักษ์ตัดสินใจเริ่มสร้างธุรกิจเฮียร์ แอนด์ ฟาวด์ เพื่อเป็นสะพานเชื่อมกลุ่มคนชนเผ่า และกลุ่มคนทั่วไปเข้าด้วยกันผ่านเสียงเพลง โดยหยิบประเด็นเรื่องการแบ่งแยกในสังคมเข้ามาใช้อย่างนุ่มนวล ปัญหาซ่อนอยู่ใต้ความสวยงาม “ตอนเด็ก ๆ เราเคยทำ�เรื่องดนตรีกับชุมชน (Music and Community) กับ พี่ ๆ ชนเผ่า เราก็เห็นว่าความไม่เท่าเทียมมันเกิดขึ้นจากการที่เราไม่ฟังกัน ให้มากพอ และกลายเป็นความไม่แฟร์” เมพูดถึง ‘การฟัง’ ที่เป็นทักษะหนึง่ ทีส่ �ำ คัญมากทีส่ ดุ ในการจะเข้าใจคนอืน่ ไม่ใช่แค่เสียงดนตรี แต่เป็นเสียงของ เพื่อนมนุษย์ “ในฐานะที่เราเรียนจบทางด้านดนตรีมา เรารู้สึกว่าการฟัง มันเป็นทักษะที่สำ�คัญมากที่สุด มากกว่าการเล่นดนตรีด้วยซ้ำ� พอรู้แบบนี้ ถ้าเราฟังเขามากพอ เราก็จะรู้จักเขามากขึ้น ก็เลยเจอว่าน้อง ๆ ชนเผ่า หลายคน เขาถูกเข้าใจผิด มันส่งผลกระทบ พอเขาไปโรงเรียนแล้วเขาโดน รังแก”
สังคมทีค่ นต่างแบ่งแยกกันและพยายามให้ทกุ คนเหมือนกันทำ�ให้เมอยากทำ� อะไรบางอย่างที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เป็นอยู่ให้ดีขึ้น “เราไม่อยากโตไปใน สังคมแบบนี้ เราอยากอยูใ่ นสังคมทีเ่ ราเป็นเราแล้วมันโอเค ทุกคนควรจะอยู่ ได้โดยรู้สึกว่าการเป็นตัวเองในพื้นที่หนึ่งนี่มันดีจัง เราอยากสร้างอะไร แบบนี้ขึ้นมา ก็เลยตัดสินใจลองสักครั้ง ซึ่งมันไม่ง่ายเลย เรื่องมันใหญ่มาก แต่เราก็ไม่อยากเห็นพี่ ๆ ชนเผ่าหรือคนรุ่นใหม่เขาเผชิญเรื่องนี้ไปอีกนาน” แม้ในความเป็นจริงชนพืน้ เมืองจะมีมากกว่า 7 ล้านคน ซึง่ ถือเป็นเกือบ 10% ของประชากรทั้งประเทศ แต่ ‘การเหมารวม’ ยังคงเป็นสาเหตุหลัก ที่ท�ำ ให้คนพืน้ เมืองหรือเหล่าคนชนเผ่าถูกเหยียดและดูถูกดูแคลน ด้วยข่าวที่ สื่อพยายามจะป้อนให้พวกเขาเป็นแบบนั้น “ดังนั้นวิสัยทัศน์หลัก ๆ ของเรา
CREATIVE THAILAND I 20
สิง่ ทีเ่ ราทำ�คือเราจะคุยกับนักดนตรีกอ่ น ว่าเขาอยากสื่อสารอะไร หรืออยากให้ คนรู้ จั ก เขาและจดจำ�เขาในเรื่ อ งราว แบบไหน เพื่ออะไร หลังจากนั้นเราก็จะ เอามาออกแบบประสบการณ์ร่วมกัน
ก็คือ ต้องการลบคำ�ว่าการแบ่งแยก การดูถูก (Discrimination) ออกไป เพราะเราอยากเห็นว่าคนในสังคมอยู่รว่ มกันได้โดยเคารพกันและกัน โอเคที่ จะอยู่ร่วมกันแม้ในด้านที่เราแตกต่างกัน” เมประกาศถึงจุดยืนธุรกิจเล็ก ๆ ของเธอ สร้างประสบการณ์ จากประสบการณ์ อีเวนต์ดนตรีที่หลายคนเข้าใจและเคยสัมผัส คือการไปเพื่อฟังเพลงและ ดูศิลปินที่ชื่นชอบ แต่นั่นไม่ใช่แนวทางของเฮียร์ แอนด์ ฟาวด์ “สิ่งที่เราทำ� คือเราจะคุยกับนักดนตรีก่อนว่าเขาอยากสื่อสารอะไร หรืออยากให้คนรู้จัก เขาและจดจำ�เขาในเรื่องราวแบบไหน เพื่ออะไร หลังจากนั้นเราก็จะเอามา ออกแบบประสบการณ์รว่ มกัน” ด้วยเหตุผลนีท้ ั้งคูจ่ ึงรูส้ ึกว่า หากจะจัดอีเวน ต์ดนตรีทั่วไปคงจะดูทื่อเกินไปและสื่อสารอะไรไม่ได้มากเท่าที่ต้องการ “ประสบการณ์ทเี่ ราบอกเนีย่ ไม่ใช่วา่ คนชนเผ่ามานัง่ เล่าเรือ่ งอย่างเดียวนะ” ทั้งคู่ย้ำ�อีกรอบ ความสนุกของทั้งสองที่ได้พบเจอเสียงดนตรีแปลกใหม่และเรื่องราวที่ ชวนให้หลงรักอยู่เสมอ จึงก่อให้เกิดเป็นชุมชนเล็ก ๆ นี้ขึ้น “เราชวนพี่ ๆ ไทยทรงดำ�มาเล่นที่กรุงเทพฯ ปกติเขาจะมีงานประเพณีกันอยู่แล้วเป็นงาน ประจำ�ปี ตอนทีเ่ ราไปเห็นก็รสู้ กึ ว่า เฮ้ย! คนน่าจะมาสนุกได้ และสิง่ นีแ่ หละ ที่จะทำ�ให้คนได้รู้จักไทยทรงดำ�มากขึ้น” นั่นคือตัวอย่างที่เมยกขึ้นมาให้ เราฟัง พร้อมคิดสนุก ๆ ต่อด้วยการชวนคนทีม่ างานดนตรีของเธอให้มาลอง ใส่ชุดคนไทยทรงดำ�และลองเต้นแบบพวกเขาดูบ้าง “เราก็ชวนคนให้เข้ามา อยู่ในพื้นที่ แล้วก็มาสนุกด้วยกัน นั่นคือประสบการณ์ที่เราสร้าง” เต้นแบบไทยทรงดำ�เป็นเพียงตัวอย่างกิจกรรมเดียวที่เมและรักษ์ จินตนาการและสร้างให้มันเกิด แต่พวกเธอไม่ได้หยุดแค่นั้น “งานพี่ปุ๊ ดิปุ๊นุ นักดนตรีชาวปกาเกอะญอ เราก็สร้างประสบการณ์โดยให้คนมาเรียนรู้เรื่อง ไร่หมุนเวียนผ่านงานดนตรี มาเรียนรูว้ า่ วิถชี วี ติ เขาเป็นยังไง เรามีนทิ รรศการ ภาพถ่ายเป็นภาพต้นไม้ที่ถูกเผา แล้วเราก็ถามคนว่าเห็นแล้วรู้สึกยังไง หลังจากนัน้ เราก็ปล่อยพืน้ ทีต่ รงนีไ้ ว้ แล้วก็ไปฟังดนตรีพป่ี ุ๊ จากนัน้ ค่อยกลับมา ถามเขาใหม่ว่าหลังจากฟังเพลงพี่ปุ๊แล้ว เขามีความคิดเปลี่ยนไปยังไงหรือ มีความคิดต่อไร่หมุนเวียนยังไง มันก็จะเป็นพื้นที่ที่เราสร้างประสบการณ์
ให้ ค นมามี ป ฏิ สั ม พั น ธ์ ร่ ว มกั น ” ตรงนี้ นี่ เ องจึ ง เป็ น รู ป แบบธุ ร กิ จ ของ เฮียร์ แอนด์ ฟาวด์ที่เกิดขึ้นมาเพื่อคอยเชื่อมคนสองกลุ่มเข้าด้วยกัน คือ คนพื้นเมืองและคนทั่วไป สิง่ ที่ทง้ั คูค่ �ำ นึงถึงไม่ใช่เพียงฝั่งชาวพืน้ เมืองเท่านัน้ เพราะหากมีแต่คนแสดง แต่ไม่มคี นชม จัดไปก็เปล่าประโยชน์ และวิธที พี่ วกเธอเลือกใช้คอื การทำ�วิจยั การตลาด ลงพื้นที่ไปสัมภาษณ์และพูดคุยกับคนหลากหลายกลุ่ม ทั้งกลุ่ม ชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในเมืองไทย (Expat) กลุ่มนักท่องเที่ยว กลุ่มคนไทย ที่อยากรู้จัก อยากเรียนรู้วัฒนธรรม กลุ่มที่อยากค้นหาสิ่งใหม่ ๆ เพื่อให้ได้ ข้อมูลทีต่ อ้ งการมาให้ได้มากทีส่ ดุ “เราก็จะดูวา่ คนเหล่านีเ้ ขามองหาอะไรอยู่ เขาต้องการเรื่องราวที่ย่อยง่าย ไม่ต้องให้มาขบคิดอะไรมาก เพราะถ้าเขา อยากขบคิดเขาก็จะไปหาข้อมูลมาเพิ่มเอง” เมพูดถึงทางฝั่งผู้ชมที่เป็นอีก เรือ่ งสำ�คัญทีต่ อ้ งคำ�นึงถึง “สมมติวา่ เราอยากจะทำ�ให้มนั เข้าใจง่าย เราก็ดงึ ไลฟ์สไตล์ของคนทั่วไปมาใช้ เช่น เรื่องความรัก สุขภาพ วิถีการใช้ชีวิต อย่างความรักของคนชนเผ่าว่าเขาจีบกันยังไงก็อาจจะทำ�ให้คนรู้สึกเข้าใจ ง่ายขึ้น” รักษ์เอ่ยต่อและตบท้ายว่า “ฉะนั้นรูปแบบของสิ่งที่เราทำ� มันจึง เป็นการวางกลยุทธ์ในการสื่อสารก่อนนำ�มาออกแบบ เพราะปกติคนทั่วไป เวลามองภาพงานวัฒนธรรม เขาจะรู้สึกว่ามันเก่า เราจึงใช้ความคิด สร้างสรรค์ทางด้านวิชวลเข้ามาจับและทำ�ให้คนสัมผัสมันได้”
CREATIVE THAILAND I 21
อยากฟัง ‘เฮียร์ แอนด์ ฟาวด์’ ทำ�อะไร สร้างการยอมรับให้คนชนเผ่าโดยการสร้างความเข้าใจ เพิ่มคุณค่าและต่อยอดทางวัฒนธรรม พัฒนาและเสริมความมัน่ ใจให้กบั คนชนเผ่าด้วยความคิดสร้างสรรค์ และดนตรี เชือ่ มโยงเครือข่ายให้กบั คนชนเผ่าและสร้างกลุม่ ผูท้ สี่ นใจร่วมกัน
สื่อสารผ่านดนตรี เป้าหมายของธุรกิจนี้ไม่ได้หยุดอยู่เพียงในกรุงเทพฯ “เรามองว่าดนตรีเป็น ภาษาสากลมันสามารถไปได้ทั่วโลก เราอาจไม่ได้จัดแค่กรุงเทพ อาจไป ต่างจังหวัดหรือต่างประเทศ เราชวนวงต่างประเทศมาไทยหรือชวนคนไทย ไปต่างประเทศ มันก็จะหมุนเรือ่ งราวเหล่านีไ้ ปได้ไกลมากขึน้ เพราะนอกจาก ที่เราอยากเห็นคนไทยอยู่ร่วมกันได้ เรายังอยากเห็นการส่งออกวัฒนธรรม ของคนพืน้ เมือิ ง คือมันไม่ใช่ความฝันในเชิงธุรกิจ แต่วา่ เมือ่ ไรทีป่ ระเทศไทย ยอมรับและเห็นคุณค่าที่จะส่งเสริมและส่งออกวัฒนธรรมเหล่านั้น เมื่อนั้น แปลว่าสิง่ ทีเ่ ราอยากทำ�สำ�เร็จแล้ว” ความคิดทีพ่ รัง่ พรูออกมาจากคำ�พูดของ พวกเธอ ทำ�ให้เราเห็นถึงความตั้งใจจริงและแนวทางของธุรกิจเพื่อสังคม อย่างแจ่มแจ้ง “ตอนนี้มันมี MAR Tech ของศูนย์นวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) ก็คือ Music Art และ Recreation ที่เขาสนับสนุนสตาร์ตอัพเกี่ยวกับด้านดนตรี มากขึ้น เราก็คิดว่ามันน่าจะเป็นโอกาสดีที่ทำ�ให้ประเทศไทยมีการเติบโต ในอุตสาหกรรมดนตรี” รักษ์พูดถึงความเป็นไปได้และความหวังของคน ตัวเล็ก ๆ ที่จะยืนอยู่ได้ในอุตสาหกรรมดนตรีไทยในวันนี้ และแน่นอนเมือ่ กล่าวถึงความยัง่ ยืนของธุรกิจในอนาคต พวกเธอไม่ได้ นึกถึงแค่การเติบโตของตัวเอง แต่มีใจให้ชาวชนเผ่าด้วย “ฉะนั้นสิ่งที่เราทำ� มันจะมีสองด้าน ด้านแรกก็คอื การพัฒนา เราเรียกว่าโมเดลของ Music and
Community มันคือการพัฒนาทักษะอ่อน (Soft Skill) นั่นก็คือ Deep Listening Practice, Storytelling, Self Confidence Enhancement ในการฟัง การเล่าเรื่อง และสื่อสารออกไปให้น่าสนใจแล้วมีคนฟัง” คือสิ่งที่ เฮียร์ แอนด์ ฟาวด์ ตั้งแผนจะพัฒนาต่อไป “อีกอย่างที่เราอยากขยายเพิ่ม จากงานดนตรี ก็คือการทำ�เวิร์กช็อป งานคราฟต์ อาหาร เพราะพอเรา กินอาหารคนพื้นเมือง แล้วได้ฟังเสียงเพลงของคนพื้นที่นั้นจริง ๆ มันจะ สร้างจินตนาการของคนได้เยอะ อาจจะพาไปเที่ยว พาไปรู้จัก ไปอยู่ที่บ้าน อย่างที่เราเคยไปมาด้วย มันก็จะถูกขยายออกมาเป็นกิจกรรมเหล่านี้อีก ไม่รู้จบ” ตัวตนของธุรกิจเฮียร์ แอนด์ ฟาวด์เผยให้เห็นจนวินาทีสุดท้ายของ การนัง่ คุยกัน พลังของคนรุน่ ใหม่ทมี่ ใี จเพือ่ พัฒนาอย่างแท้จริงสรุปไว้แล้ว... อยู่ ใ นบทเพลง Imagine ของจอห์ น เลนนอนที่ ทั้ ง คู่ ย กมาประกอบ “Imagine all the people, living life in peace...มันก็เกิดจากยุคบุปผาชน ที่อยากให้เกิดสันติภาพและความเท่าเทียม เราว่านั่นแหละคือหน้าที่ ของดนตรี เราว่าเพลงนี้คงบ่งบอกความเป็นเฮียร์ แอนด์ ฟาวด์ได้มาก ที่ สุ ด เราอาจจะไม่ ไ ด้ เ ป็ น ธุ ร กิ จ จ๋ า แต่ ว่า เราอยากเห็ น อะไรสัก อย่าง เปลี่ยนแปลง” ติดตามกิจกรรมได้ที่ facebook.com/hearandfound ขอบคุณสถานที่ facebook.com/hostelurby
CREATIVE THAILAND I 22
How To : ถอดวิธคี ดิ
วิธีทำ�พอดแคสต์เองง่ายๆ
เพิ่มโอกาสจากเรื่องเล่าสุดปัง เรื่อง : กรณิศ รัตนามหัทนะ
พอดแคสต์ (Podcast) คือรายการวิทยุออนไลน์ ที่คนทั่วโลกทำ�ขึ้นมาเพื่อหลาย จุดประสงค์ ทั้งสร้างชุมชนของคนที่ชอบอะไรเหมือน ๆ กัน แบ่งปันความรู้หรือ ความสนใจส่ วนตั ว และเป็น ช่องทางเพิ่ม โอกาสใหม่ ๆ ให้ตัวเอง ซึ่งการทำ� พอดแคสต์นั้นก็ไม่ใช่เรื่องยาก อาจลองศึกษาจากแนวทางเหล่านี้ดู
4. อัปโหลดและเผยแพร่ พอดแคสต์ของคุณ
คุยอะไรในพอดแคสต์
5. เตรียมทำ�เว็บไซต์ส�ำ หรับพอดแคสต์ ถ้าจะ
สิ่งที่ผู้ดำ�เนินรายการ ‘คุย’ ในพอดแคสต์จะเป็น อะไรก็ได้ ตั้งแต่สรุปเหตุการณ์ประจำ�วัน รีวิว หนังสือ คอนเสิร์ต การแข่งขันกีฬา ภาพยนตร์ สัมภาษณ์บุคคล คำ�คมสร้างแรงบันดาลใจ เรื่อง ขำ�ขัน หรือรวมข้อความบนโลกออนไลน์ที่ใช้ แฮชแท็ ก เดี ย วกั น คำ � แนะนำ � ในการใช้ ชี วิ ต ประวัติศาสตร์ ฯลฯ ถ้าจะทำ�รายการสัมภาษณ์ ควรคิดรายชื่อ แขกรับเชิญและติดต่อไว้ลว่ งหน้า อาจใช้เครือ่ งมือ เช่น Interview Connections, Authority Life, Calendly หรือ SchedultOnce ช่วยเรือ่ งการติดต่อ นัดหมาย เพื่อให้หัวข้อพอดแคสต์ของคุณเป็นไป อย่างราบรื่นมากขึ้น
ขั้นตอนการทำ�พอดแคสต์ แบบผู้เชี่ยวชาญ
จอน เลวี (Jon Levy) นักเขียนของ Forbes.com กล่าวว่า กว่าเขาจะจับทิศทางของการทำ�พอดแคสต์ ทีด่ ไี ด้ ก็ปาเข้าไปเกือบสองปี และบางอย่างยังต้อง จ้างมืออาชีพมาทำ�เสียด้วยซ้ำ� เพื่อให้พอดแคสต์ มีความเป็นมืออาชีพ ขั้นตอนและคำ�แนะนำ�จาก นักทำ�พอดแคสต์มืออาชีพ มีดังนี้
1. ซื้อไมโครโฟนดีๆ คุณภาพเสียงเป็นเรื่อง
สำ�คัญ หาซื้อไมโครโฟนดีๆ และอัดเสียงในห้อง ทีเ่ สียงจะไม่สะท้อน ไมโครโฟนราคาไม่แพงแต่ดี ที่เลวีแนะนำ�คือ Audio-Technica ATR2100
2. ติดตัง้ ซอฟต์แวร์ส�ำ หรับอัดและตัดต่อเสียง
แนะนำ� Talk Helper (สำ�หรับ PC) และ Call Recorder (สำ�หรับ Mac) ย้ำ�ว่า สัญญาณ อินเตอร์เน็ตต้องดี มิฉะนัน้ ถ้าเสียงขาด ๆ หาย ๆ ผู้ฟังอาจรู้สึกรำ�คาญจนปิดไปก่อนได้
3. สร้างเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง นอกจาก
คิดเนื้อหารายการและบทพูดแล้ว พอดแคสต์ที่ดี ควรมีบทขึ้นต้น (Intros) เนื้อหาที่พูด และบทจบ (Outros) บทขึน้ ต้นคือช่วงแนะนำ�ตนเอง แนะนำ� แขกรับเชิญ และเอ่ยถึงประเด็นทีจ่ ะพูดในพอดแคสต์ วันนี้ และควรคิดบทจบทีจ่ บั ใจคนฟัง อาจมีดนตรี สัน้ ๆ หรือจิงเกิล้ (Jingle) ประกอบทัง้ บทขึน้ ต้นและ บทจบ (หาฟรีได้จาก Audiojungle) ซอฟต์แวร์ฟรี เช่น Audacity ช่วยได้มากเรือ่ งการตัดต่อเสียง แต่ถ้าใครไม่ชำ�นาญ ลองจ้ า งนั ก ตั ด ต่ อ เสี ย ง มืออาชีพทำ�ให้ก็ย่อมได้ CREATIVE THAILAND I 23
ต้องมี ‘สถานี’ เพือ่ ผูฟ้ งั จะได้ดาวน์โหลดหรือฟังได้ สถานีหรือเว็บไซต์ทน่ี ยิ มกันก็เช่น Libsym, Blubrry, Podbean และ Pod.ad ซึ่งต้องลงทะเบียนก่อน
จริงจังกับการทำ�พอดแคสต์ หรือแพลนว่ามันจะ สร้างรายได้ให้คณุ ในอนาคต ก็ควรมีเว็บไซต์หรือ บล็อกเพือ่ ให้ผฟู้ งั ถามคำ�ถามและแชร์รายการของ คุณได้ ในอนาคต อาจพัฒนาไปอัดคลิปเป็นภาพ เคลือ่ นไหว มีเสียง และใส่บทบรรยายเสมือนเป็น รายการทีวีด้วยก็ได้ การทำ�พอดแคสต์ไม่ใช่เรือ่ งยากในยุคนี้ แต่ท�ำ อย่างไรให้คนฟังติดใจจนรายการอยู่ได้ยาวนาน ต่างหากทีไ่ ม่งา่ ย คำ�แนะนำ�ทีด่ ที สี่ ดุ ก็คอื การสร้าง ความชัดเจนให้กบั รายการ พยายามเจาะลึกลงไปใน เรื่องใดเรื่องหนึ่งและมีความสม่ำ�เสมอ เพราะ นอกจากจะช่วยให้ผู้ฟังจดจำ�ได้ง่ายและรู้สึกว่า คุณเป็นผูเ้ ชีย่ วชาญในเรือ่ งนัน้ ๆ แล้ว การค้นคว้า ข้อมูลมาเขียนสคริปต์และพูดก็ง่ายกว่า เพื่อคุณ จะได้มกี �ำ ลังใจทำ�พอดแคสต์ตอ่ ไปเรือ่ ย ๆ จนฐาน ผูฟ้ งั ค่อย ๆ ขยาย และนำ�ไปสูส่ ง่ิ อืน่ ๆ เช่น มีงาน ติดต่อเข้ามา หรืออย่างน้อย ๆ คุณก็จะมีความสุข ที่ได้คุยกับผู้ฟังของคุณในเรื่องที่คุณรัก ที่มา : บทความ “13 Creative Podcast Segment Ideas” โดย Michelle Ruoff จาก live365.com / บทความ “Everything You Need To Know To Start Your Own Podcast, According To The Pros” โดย Jon Levy จาก forbes.com / บทความ “How to Start Your Own Podcast” โดย Patrick Allan จาก lifehacker.com
Creative Place : พื้นที่สร้างสรรค์
เรื่อง : นพกร คนไว
สิ่งที่เรานึกถึงเมื่อพูดถึงจาเมกา นอกจากจะเป็นประเทศแห่งนักวิ่งโอลิมปิกระดับโลก และบ้านเกิดของบ็อบ มาร์เลย์ (Bob Marley) ศิลปินระดับตำ�นานแล้ว ทีน่ ยี่ งั เป็นต้นกำ�เนิดของแนวดนตรีมากมายทีไ่ ด้รบั ความนิยมไปทัว่ โลกจนถึง ปัจจุบนั สิง่ เหล่านีน้ บั เป็นจุดเด่นทีแ่ ข็งแกร่งและเพียงพอในการสร้างภาพจำ�ให้แก่ประเทศเกาะท่ามกลางทะเลแคริเบียน ได้เป็นอย่างดี โดยแนวดนตรีทถ่ี อื กำ�เนินขึน้ ทีเ่ กาะแห่งนีม้ ดี ว้ ยกันถึง 6 ประเภท ได้แก่ เมนโต (mento), สกา, เร็กเก, ร็อกสเตดี (rocksteady), ดั๊บ (dub) และ แดนซ์ฮอลล์ ทำ�ให้องค์การยูเนสโกได้คัดเลือกให้คิงส์ตัน (Kingston) เมืองหลวงของประเทศจาเมกาเป็นเมืองแห่งเสียงดนตรี (UNESCO City of Music) ในปี 2015
CREATIVE THAILAND I 24
Kingston UNESCO City of Music City of Music คือโปรเจ็กต์ของยูเนสโกทีต่ อ้ งการ จะสร้างเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ (Creative Cities Network) ซึง่ เป็นหนึง่ ในโปรเจ็กต์ของเมือง ที่มีความสำ�คัญและโดดเด่นในงานสร้างสรรค์ 7 ประเภท เช่น วรรณกรรม การออกแบบ งานฝีมอื และศิลปะพืน้ บ้าน ศาสตร์การทำ�อาหาร สื่อศิลปะ ภาพยนตร์ และดนตรี โดยแต่ละเมือง จะต้ อ งสามารถนำ � ความคิ ด สร้ า งสรรค์ ที่ เ ป็ น เอกลั ก ษณ์ ม าใช้ เ พื่ อ เป็ น กลยุ ท ธ์ สำ � หรั บ การ พัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน ซึ่งในปี 2015 ยูเนสโกก็ได้เลือกให้คิงส์ตัน เมืองหลวงของจาเมกา เป็นเมืองแห่งเสียงดนตรี พร้อมกับเมืองลิเวอร์พูลจากอังกฤษ พาราณสี จากอินเดีย และเมืองทงยองจากเกาหลีใต้ ด้วย เหตุผลจากวัฒนธรรมด้านดนตรีท่โี ดดเด่น และ การสนับสนุนด้านดนตรีจากทุกภาคส่วนของเมือง แต่กว่าที่จาเมกาจะมีชื่อเสียงด้านดนตรีอย่าง ปัจจุบนั เกาะแห่งนีเ้ คยมีอดีตอันขมขืน่ ทีไ่ ม่สามารถ เล่าข้ามได้ เพราะมันคือสิง่ ทีห่ ล่อหลอมความเป็น จาเมกามาจนทุกวันนี้ เกณฑ์การคัดเลือก UNESCO City of Music การเป็ น ที่ รู้ จั ก ในด้ า นการก่ อ กำ � เนิ ดของ ดนตรีและเป็นศูนย์กลางของกิจกรรมทาง ดนตรี มี ป ระสบการณ์ ในการจั ด เทศกาลดนตรี ขนาดใหญ่ระดับชาติหรือระดับโลก ส่ ง เสริ ม อุ ต สาหกรรมด้ า นดนตรี อ ย่ า ง รอบด้าน มีโรงเรียนสอนดนตรี สถานศึกษา และ สถาบันทีม่ คี วามเชียวชาญด้านดนตรีขนั้ สูง มี ก ารสนั บ สนุ น ความรู้ ด้า นดนตรี แ บบ นอกบทเรียน เช่น คณะประสานเสียง หรือ วงออร์เคสตราสมัครเล่น มีแพลตฟอร์มระดับประเทศหรือนานาชาติ ในการสนับสนุนแนวดนตรีประเภทหนึ่ง มีพนื้ ทีท่ สี่ ามารถฝึกซ้อมและรับฟังดนตรีได้
“Out of Many, One People” ก่อนที่จาเมกาจะมีประชากรเชื้อสายแอฟริกัน มากทีส่ ดุ ในประเทศอย่างทีเ่ ราเห็นกัน เกาะแห่งนี้ เคยเป็นบ้านของชนพื้นเมืองตาอีโน (Taino) ที่ ลงหลักปักฐานอาศัยมาหลายชั่วอายุคน แต่การ ค้นพบทวีปอเมริกาของคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส นำ�ไปสู่การเกณฑ์ชนพื้นเมืองมาใช้เป็นแรงงาน ทาสจำ�นวนมาก และเป็นเหตุผลสำ�คัญที่ทำ�ให้ ประชากรชนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในแถบทะเล แคริบเบียนต้องเสียชีวิตไปกว่าร้อยละ 80 - 90 ในเวลาเพียง 30 ปี จากการทำ�งานหนักและ โรคภัยที่ชาวยุโรปพาติดตัวมาเช่นไข้ทรพิษ ต่ อ มาชาวสเปนได้ เ ปลี่ ย นจากการนำ � ชนพื้ น เมื อ งมาเป็ น ทาสไปเป็ น การนำ � ทาส ชาวแอฟริกนั มาใช้แรงงานแทน โดยเป็นช่วงเวลา เดียวกับที่ประเทศแห่งนี้ถูกรุกรานจากจักรวรรดิ อังกฤษซึง่ เข้ายึดครองจาเมกาหลังจากนัน้ เป็นต้นมา การนำ�ทาสจากแอฟริกาเข้ามายังจาเมกายังคง มีอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะแรงงานที่ใช้ใน การทำ � ไร่ อ้ อ ยเพื่ อ ผลิ ต น้ำ � ตาล ซึ่ ง เป็ น สิ น ค้ า ที่ ต้ อ งการอย่ า งมากในขณะนั้ น ทั้ ง ยั ง เป็ น อุตสาหกรรมที่เฟื่องฟูในช่วงคริสตศตวรรษที่ 18 ทำ�ให้นายทาสชาวอังกฤษจำ�เป็นต้องเพิม่ จำ�นวน ทาสเพื่อให้ทันและเพียงพอต่อการผลิตน้ำ�ตาล การใช้แรงงานอย่างโหดร้ายและทารุณได้สร้าง ความโกรธแค้นให้กับเหล่าทาส จนก่อให้เกิด CREATIVE THAILAND I 25
สงครามระหว่างขบวนการต่อต้านของกลุ่มทาส และเจ้าอาณานิคมหลายครั้ง เมื่อระบบทาสเริ่มเสื่อมถอยและจักรวรรดิ อังกฤษได้ประกาศยกเลิกการใช้แรงงานทาสเมื่อ วันที่ 1 สิงหาคม 1834 จึงกลายเป็นวันสำ�คัญของ ประชาชนชาวจาเมกามาจนถึงปัจจุบัน อย่างไร ก็ตาม จาเมกาก็ยังคงอยู่ภายใต้อาณานิคมของ อังกฤษจนที่สุดแล้วได้รับอิสระในปี 1962 และได้ เปลี่ยนคติพจน์ประจำ�ชาติเป็น “Out of Many, One People” โดยมีตราสัญลักษณ์เป็นชาวตาอีโน หญิ ง และชายยื น ระหว่ า งโล่ ที่ มี สั ญ ลั ก ษณ์ กางเขนแดงและรูปสับปะรดที่เป็นตัวแทนของ ผลไม้พื้นเมือง
wikipedia.org
สกาและเร็กเก ความภาคภูมิใจของชาวจาเมกา เมื่ อ จาเมกาเป็ น อิ ส ระจากอั ง กฤษในปี 1962 แนวดนตรีที่พัฒนามาจากดนตรีพื้นบ้านอย่าง เมนโต (Mento) จึงถูกต่อยอดให้กลายเป็นดนตรี แห่งการเฉลิมฉลอง นัน่ ก็คอื ดนตรีสกา (Ska) ทีเ่ ริม่ ได้รบั ความนิยมโดยเป็นดนตรีทมี่ กี ลิน่ อายความเป็น อเมริกันจากอิทธิพลของดนตรีริทึมแอนด์บลูส์ ตัง้ แต่ชว่ งสงครามโลกครัง้ ที่ 2 และมีเนือ้ หาพูดถึง ความรักเป็นส่วนใหญ่ เพลง My Boy Lollipop ของนักร้องชาวจาเมกามิลลี สมอลล์ (Millie Small) ที่ดังข้ามไปถึงสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ ทำ � ให้ ทั่ ว โลกหั น มาสนใจดนตรี จ ากจาเมกา แม้เพลงนีจ้ ะยังเป็นเพลงสกายุคแรกทีม่ สี ว่ นผสม แบบริทึมแอนด์บลูส์อยู่ ก่อนจะค่อยๆ เสริมสร้าง เอกลักษณ์เป็นของตนเองจากศิลปินอย่างปรินซ์ บัสเตอร์ (Prince Buster), เดอะ สกาทาลิตส์ (The Skatalites) และเดอร์ริก มอร์แกน (Derrick Morgan) หากสกาเป็นดนตรีแห่งการเฉลิมฉลองของ ชาวจาเมกา ดนตรีเร็กเกที่เปลี่ยนแปลงมาจาก สกาโดยการเล่นจังหวะที่ช้าลง จึงเปรียบได้กับ การครุ่ น คิ ด และการรำ � ลึ ก ประวั ติ ศ าสตร์ ข อง ระบบทาสทีก่ ลายเป็นเครือ่ งเตือนใจของประชาชน ชาวจาเมกาถึงความโหดร้ายทีบ่ รรพบุรษุ ได้เผชิญ
และการถูกพรากมาจากมาตุภูมิอย่างแอฟริกา ศิลปินเร็กเกในยุคบุกเบิกจึงมีบทเพลงเกี่ยวกับ ระบบทาสหลายเพลงเช่น Slavery Days, Slave Market และ Too Long In Slavery หรือเพลงที่ หวนรำ�ลึกถึงทวีปแอฟริกาอย่าง Cry Blood Africans, Africa Unite และ Mama Africa ซึ่งล้วนเป็น บทเพลงที่แสดงให้เห็นว่าดนตรีเร็กเกเป็นเสมือน กระบอกเสียงของการเรียกร้องความยุติธรรม สันติภาพ และความเท่าเทียม ดนตรีเร็ก เกกลายเป็นที่ นิย มทั่ วโลกจาก บทเพลงของบ็อบ มาร์เลย์ในช่วง 1970 บ็อบมี อัลบั้มมาสเตอร์พีซอย่าง Natty Dread (1974) Rastaman Vibration (1976) และ Exodus (1977) อีกทั้งเขายังใช้เพลงเร็กเกในการเผยแพร่แนวคิด ของขบวนการราสตาฟารี (Rastafari) ซึง่ สนับสนุน ให้บรรดาลูกหลานของอดีตทาสเดินทางกลับไป ยังแอฟริกา และยังเป็นกระบอกเสียงแห่งสันติภาพ สำ�หรับผูท้ มี่ เี ชือ้ สายแอฟริกาทีม่ อี ทิ ธิพลอย่างมาก ต่อผู้คนทั้งในสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และทวีป แอฟริกา เมื่อบ็อบ มาร์เลย์เสียชีวิตลงในปี 1981 บ้านพักและสตูดโิ อของเขาในเมืองคิงส์ตนั ก็ได้ถกู เปลีย่ นแปลงให้เป็นพิพธิ ภัณฑ์บอ็ บ มาร์เลย์ และ กลายมาเป็นสถานทีท่ อ่ งเทีย่ วสำ�คัญของจาเมกา จนทุกวันนี้
CREATIVE THAILAND I 26
ธงของขบวนการราสตาฟารีทม่ี สี ว่ นประกอบของสีเขียว ทอง และแดง โดยมีสญั ลักษณ์สงิ ห์แห่งเผ่ายูดาห์อยู่กง่ึ กลาง เดิมเป็น ธงของประเทศเอธิโอเปียในยุคของสมเด็จพระจักรพรรดิ เฮลี เซลาสซีที่ 1 ซึ่งครองราชย์ตั้งแต่ปี 1930 - 1974 เป็น พระจักรพรรดิองค์สดุ ท้ายของเอธิโอเปียและเป็นบุคคลสำ�คัญ ที่มีอิทธิพลต่อแนวคิดราสตาฟารี
มรดกจากวัฒนธรรม และจังหวะหัวใจของชาวจาเมกา ดนตรีเร็กเกเปรียบดัง่ จังหวะหัวใจของชาวจาเมกา ที่มีบทบาทอย่างใหญ่หลวงต่อสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจของประเทศจาเมกา จึงสถาปนา วัน International Reggae Day ขึ้นในวันที่ 1 กรกฎาคมของทุกปี ซึ่งจะมีคอนเสิร์ตและ การเฉลิมฉลองด้วยการเปิดเพลงเร็กเกตลอด 24 ชัว่ โมงในหลายเมืองของจาเมกาและอีกหลาย ประเทศทั่วโลก แม้จะมีวันเร็กเกนานาชาติแล้ว ในปี 2008 นายกรัฐมนตรีบรูซ โกลดิง (Bruce Golding) ของ จาเมกายังได้ประกาศให้เดือนกุมภาพันธ์ของ ทุกปีเป็น Reggae Month หรือเดือนแห่งดนตรี เร็ ก เก เพื่ อ เฉลิ ม ฉลองมรดกทางวั ฒ นธรรม ชิน้ สำ�คัญของชาวจาเมกา อีกทัง้ เดือนกุมภาพันธ์ ยังเป็นเดือนเกิดของสองศิลปินเร็กเกคนสำ�คัญคือ เดนนิส บราวน์ (Dennis Brown) หรือที่รู้จักกัน ในฉายา ‘Crown Prince of Reggae’ และบ็อบ มาร์เลย์ หรือ ‘King of Reggae’ การเฉลิมฉลองในเดือนกุมภาพันธ์ยงั นำ�ไปสู่ เทศกาล Reggae Month ที่จะเกิดขึ้นตลอดทั้ง เดือนกุมภาพันธ์ทเี่ มืองคิงส์ตนั โดยมีองค์กรอิสระ อย่าง Jamaica Reggae Industry Association (JaRIA) เป็นหัวใจหลักของงาน ซึ่งจะประกอบ ไปด้วยกิจกรรมและคอนเสิร์ตทั่วทั้งเมือง โดยมี กิจกรรมเด่น ๆ ได้แก่
ไม่เพียงแค่นี้จาเมกายังมีเทศกาลเกี่ยวกับ ดนตรีเร็กเกอีก เช่น Rebel Salute, Reggae Sumfest, Reggae Sunsplash และอีกมากมาย แม้จะดนตรีเร็กเกจะเป็นจุดขายหลักของ จาเมกา แต่มันก็ยังไม่สามารถช่วยเหลือปัญหา ในด้านเศรษฐกิจของจาเมกาได้มากเท่าที่ควร เพราะตลอด 40 ปีที่ผ่านมา จาเมกาประสบ ปัญหาด้านเศรษฐกิจมาโดยตลอด เช่น ปัญหา เงินเฟ้อและภาวะว่างงาน ถึงแม้วา่ ตัวเลขของคน ว่างงานจะลดน้อยลงในปีที่ผ่านมา แต่ก็ยังไม่ สามารถช่วยให้ปัญหาเงินเฟ้อทุเลาลงได้ ธนาคารแห่งชาติจาเมกา (Bank of Jamaica) จึงมีแนวคิดในการนำ�ดนตรีประจำ�ชาติมาต่อยอด เป็นแคมเปญ ‘Inflation Targeting’ ทีม่ เี ป้าหมาย ควบคุมการเพิ่มขึ้นของปัญหาเงินเฟ้อ โดยให้ ประชาชนหันมาสนใจสถานการณ์การเงินในประเทศ ผ่านดนตรีเร็กเก โดยมีศิลปิน เช่น ทาร์รัส ไรลีย์ (Tarrus Riley) และอะดาซีห์ (Adahzeh) วงเร็กเก หญิงล้วนเป็นตัวกลางในการสื่อสารข้อมูลด้าน การเงินในรูปแบบวิดโี อและบทเพลงผ่านสือ่ โทรทัศน์ ป้ายบิลบอร์ด และโซเชียลมีเดีย โดยมีสโลแกนว่า “Reggae music is the heartbeat of the country. Low and stable inflation is the heartbeat of the economy” (ดนตรีเร็กเกคือจังหวะหัวใจของ ประเทศชาติ แต่อัตราเงินเฟ้อในระดับต่าํ และ ไม่ผนั ผวนคือจังหวะหัวใจของเศรษฐกิจ)
wsj.com
Reggae Open University การเสวนา พู ด คุ ย เกี่ ย วกั บ อุ ต สาหกรรมดนตรี ข อง จาเมกา และประวัติศาสตร์ความเป็นมา ของดนตรีเร็กเก Reggae Wednesdays ฟรีคอนเสิร์ตซึ่ง จัดที่ Mandela Park มีวงดนตรีเร็กเก หลายวงร่วมเล่นตลอดทุกวันพุธ JaRIA Honour Awards งานประกาศ รางวั ล ให้ แ ก่ ศิ ล ปิ น ชาวจาเมกาผู้ มี ส่ ว น ในการช่วยเหลือและพัฒนาอุตสาหกรรม ดนตรีของจาเมกา นอกจากนีย้ งั มีกจิ กรรมเช่น Vinyl Thursdays ที่เหล่าดีเจจะมาเปิดเพลงเร็กเกคลาสสิก ตลอดทั้งวัน กิจกรรมการอ่านบทกวี และ กิจกรรมฉายหนัง เป็นต้น
อะดาซีห์ (Adahzeh) วงเร็กเกหญิงล้วน
ความยิ่งใหญ่ของดนตรีเร็กเกยังไม่หมด เพียงเท่านี้ องค์การยูเนสโกได้คดั เลือกดนตรีเร็กเก ให้เป็นหนึ่งในตัวแทนมรดกทางวัฒนธรรมของ มนุษยชาติ (Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity) ในปี 2018 ซึ่ง เป็นหนึง่ ในวัฒนธรรมพืน้ บ้านอีกกว่า 300 รายการ ทั่วโลก ด้วยเห็นถึงความสำ�คัญของดนตรีเร็กเก ที่มอี ิทธิพลต่อผู้คนทัว่ โลก การเป็นกระบอกเสียง ของคนชายขอบและกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ อีกทั้ง ยังช่วยแสดงจุดยืนของความรัก มนุษยชาติ และ การต่อต้านความอยุตธิ รรมในสังคม ดนตรีเร็กเก จึงไม่ใช่เพียงเสื้อยืดบ็อบ มาร์เลย์ หรือธงราสตา อีกต่อไป แต่มนั คือมรดกทางวัฒนธรรมชิน้ สำ�คัญ ของชาวจาเมกาทีส่ ามารถต่อยอดและสร้างความ ยัน่ ยืนให้กบั เศรษฐกิจและผูค้ นของจาเมกาต่อไป ในอนาคตได้อีกยาวนาน
เร็กเกไม่ได้มีแต่บ็อบ มาร์เลย์ ลองฟัง 10 อัลบัม้ เร็กเกสุดคลาสสิก
Yellowman - Mister Yellowman (1982) Bunny Wailer - Blackheart Man (1976) Gregory Isaacs - Night Nurse (1982) John Holt – 1,000 Volts Of Holt (1982) Burning Spear - Marcus Garvey (1975) Culture - Two Sevens Clash (1977) Peter Tosh - Legalize It (1976) Toots & The Maytals - Funky Kingston (1972) Big Youth - Screaming Target (1972) Dr. Alimantado - Best Dressed Chicken in Town (1978)
ที่มา : City of Music (UNESCO) จาก wikipedia.org / History of Jamaica จาก wikipedia.org / Music of Jamaica จาก wikipedia.org / Kingston | UNESCO City of Music จาก citiesofmusic.net / บทความ “Reggae Added to UNESCO’s ‘Intangible Cultural Heritage’ List” (29 พฤศจิกายน 2018) โดย Jon Blistein จาก rollingstone.com / ireggaeday.com / jariajamaicamusic.com
CREATIVE THAILAND I 27
The Creative : มุมมองของนักคิด
เรื่อง : ณัฐชา ตะวันนาโชติ l ภาพ : มนตรี โสภา
ภาพของกรุงเทพฯ ที่จะเป็นมหานครแห่งเสียงดนตรี ไม่ได้เป็นแค่เพียงภาพฝันอีกต่อไป เมื่อ Bangkok Music City 2019 หรือเทศกาลดนตรีครั้งยิ่งใหญ่ของกรุงเทพฯ ถูกรังสรรค์ให้เกิดขึ้นจริง ณ ย่านสร้างสรรค์เจริญกรุงผ่านความร่วมมือของ สำ�นักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA), ฟังใจ และ NYLON Thailand โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว เชิงศิลปะและดนตรีของกรุงเทพมหานคร รวมทั้งยังเป็นการแสดงศักยภาพว่ากรุงเทพฯ สามารถเป็นจุดศูนย์กลางของ การแสดงคอนเสิร์ตได้ไม่แพ้เมืองดนตรีเมืองไหน ๆ ของโลก CREATIVE THAILAND I 28
เราชวนสองหัวเรือใหญ่ผู้อยู่เบื้องหลังงาน Bangkok Music City 2019 ‘คุณต้อม-พงศ์สริ ิ เหตระกูล’ ผูบ้ ริหารจาก Nylon Thailand และ ‘คุณพายปิยะพงษ์ หมื่นประเสริฐดี’ ผู้ร่วมก่อตั้งฟังใจ แพลตฟอร์มแห่งอาณาจักร ดนตรีอินดี้ มาร่วมพูดคุยกับเรา ตั้งแต่เรื่องแพสชันด้านดนตรี ความฝันที่ อยากจะใช้ดนตรีขบั เคลือ่ นเศรษฐกิจของประเทศ ไปจนถึงอนาคตของวงการ เพลงของไทย ก่อนจะมาทำ�โปรเจกต์ Bangkok Music City แต่ละคนมี แพสชันเกี่ยวกับดนตรีอย่างไรบ้าง คุณต้อม : นอกเหนือจากงานทีท่ �ำ ก็มงี านอดิเรกคือเล่นดนตรี เพราะส่วนตัว ผมก็มีแพสชันด้านนี้เยอะ ปัจจุบันก็ยังเล่นดนตรีร่วมกับวง The Paradise Bangkok Molam International Band ซึง่ เป็นวงหมอลำ�อินเตอร์ งานอดิเรก อีกอย่างก็คือการจัดคอนเสิร์ตเล็ก ๆ ชื่อว่า Sofar Sounds Bangkok เป็น คอนเสิร์ตที่เรามักจะจัดตามสถานที่ที่คนไม่ค่อยไปจัด เช่น ห้องนั่งเล่น ดาดฟ้า หรือบ้านร้าง แล้วเราก็จะไม่บอกคนดูวา่ จัดทีไ่ หน ไม่บอกว่าวงอะไร จะมาเล่น เพราะเราอยากได้คนดูที่อยากจะมาเพราะเขาเชื่อว่างานนี้จะ สามารถมอบประสบการณ์ทางดนตรีที่ดีมาก ๆ ให้เขาได้ โดยที่ไม่สนใจว่า ศิลปินเป็นใคร ผมอยากให้คนดูดูแล้วรู้สึกว่า เฮ้ย คนนี้ใคร แล้วนี่มันเพลง อะไร ทำ�ไมไม่เคยรูจ้ กั คนนีม้ าก่อนเลย แล้วทำ�ไมมันถึงเจ๋งขนาดนี้ เพราะ จุดประสงค์ในการจัดของเราก็คืออยากให้ประเทศนี้มีกลุ่มคนที่อยากจะฟัง ดนตรีทต่ี วั เองไม่รจู้ กั มากขึน้ เปิดรับมากขึน้ และกล้าที่จะสำ�รวจอะไรใหม่ ๆ มากขึ้น คุณพาย : จริง ๆ ผมเรียนจบด้านวิศวกรรม และอาชีพเก่าผมเป็นผูใ้ ห้ค�ำ ปรึกษา ด้านสิ่งแวดล้อมโดยเชี่ยวชาญในด้าน Sustainability (ความยั่งยืน) และ Climate Change (การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมอิ ากาศ) แต่ที่มาทำ�ฟังใจทุกวันนี้ ก็เพราะเราเล่นดนตรีมาตั้งแต่เด็ก แล้วความคิดความฝันเราก็อยากเป็น นักดนตรี แต่พอ่ แม่ไม่อยากสนับสนุนด้านนีเ้ ท่าไหร่ กลัวว่าจะไม่มนั่ คง อาจ จะด้วยที่คนส่วนใหญ่มองว่าศิลปินเป็นอาชีพ ‘เต้นกินรำ�กิน’ เราเลยเก็บ ความฝันไว้ให้มันเป็นงานอดิเรกไป แต่พอมีโอกาสก็เริ่มเรียนรู้ที่จะใช้ คอมพิวเตอร์ทำ�เพลง อัดเพลงด้วยตัวเอง แล้วก็ปล่อยในออนไลน์ ทำ�ให้ วงเรา (Cigarette Launcher) มีโอกาสได้ไปเล่นสดบ้าง เลยทำ�ให้เข้าใจวิถี แบบอินดี้ในระดับหนึ่ง เพราะสมัยที่ทำ�วง เราก็มีเพลงดังระดับหนึ่งในวิทยุ มีเสื้อยืดขายได้บ้าง ขายซีดีได้ มีแฟนเพลงอยู่บ้าง แต่รายได้ก็ถือว่าไม่พอ จะมาจ่ายค่าสตูดิโอหรือไปจ่ายหนี้แม่เลยด้วยซ้ำ� จุดนั้นเลยคิดอยากจะมี โมเดลธุรกิจที่จะช่วยให้ศิลปินอินดี้อยู่ได้อย่างยั่งยืน วงการ ‘ดนตรีอินดี้ไทย’ เป็นอย่างไรบ้าง คุณต้อม : ส่วนตัวผมรู้สึกว่าเมื่อก่อน เราเห็นกระแสของวงอินดี้ที่ใหญ่และ เข้มแข็งมาก อย่างจัดงานสักครัง้ มีคนมาเป็นแสน ๆ คน ซึง่ เดีย๋ วนีก้ ก็ ระแส มันก็ยงั คงมีอยูน่ ะ ไม่ได้แย่ลงด้วย แต่อาจจะมีขนาดเล็กลง และกลายเป็นว่า วงเล็ก ๆ ก็จะมีแฟนเพลงที่เหนียวแน่นขึ้น แต่ผมก็คิดว่ามันยังพอใจไม่ได้ เพราะว่าจำ�นวนคนดูศิลปินกระแสหลักกับศิลปินอินดี้มันห่างกันเยอะมาก
คุณพาย-ปิยะพงษ์ หมื่นประเสริฐดี
อย่างยอดวิวของเพลงแมสเนีย่ 300 ล้านวิวก็มใี ห้เห็นกันบ่อย ๆ ซึง่ เป็นอะไรที่ น่าตกใจมากนะสำ�หรับประเทศที่พูดแค่ภาษาไทยภาษาเดียวและมีคนอยู่ แค่นี้ ต่างกับเพลงอินดีท้ ยี่ อดวิวถึง 1 หมืน่ ก็ดใี จมากแล้ว แต่ถา้ เราลองสังเกต ดูประเทศอืน่ ๆ อย่างในอินโดนีเซีย เส้นแบ่งระหว่างดนตรีกระแสหลักและ ดนตรีนอกกระแสมันเริ่มหายไปแล้ว เขามีวงอินดี้ที่เล่นคอนเสิร์ตได้ใหญ่ มาก ๆ บรรยากาศของคนทีไ่ ปสนับสนุนเขาก็เหนียวแน่น เราเห็นอะไรแบบนี้ ในญีป่ นุ่ บ้างเหมือนกัน วงเล็ก ๆ มีแฟนเพลงมาตาม แล้วแฟนเพลงเหล่านัน้ ก็จา่ ยเงินซือ้ ซีดี จ่ายเงินดูคอนเสิรต์ เขาเต็มใจทีจ่ ะจ่ายให้ศลิ ปะ บรรยากาศ แบบนี้มันถึงจะทำ�ให้วงการไหนก็ตามมันอยู่ได้ เพราะสำ�หรับผม วงการ ดนตรีทพ่ี ฒั นาแล้ว คือการทีเ่ ส้นแบ่งระหว่างดนตรีอนิ ดีก้ บั แมสมันเริม่ หายไป คุณพาย : ผมพยายามวิเคราะห์ดูนะ ว่าทำ�ไมศิลปินอิสระบ้านเราถึงมี รายได้ไม่เพียงพอ เลยลองหาว่าจริง ๆ แล้วในอุตสาหกรรมดนตรีเงินมันไหล มาจากไหน คำ�ตอบคือมันก็ไหลมาจากคนซื้อตั๋วคอนเสิร์ต จากแฟนเพลง แต่กว่าจะมาถึงตัวศิลปินนั้น ต้องผ่านตรงนู้นตรงนี้ ทำ�ให้รายได้ที่ศิลปินได้ จริง ๆ มันไม่เพียงพอ สาเหตุหลักอย่างหนึ่งก็คือตลาดของวงการอินดี้มัน ค่อนข้างเล็ก และสองก็คือความเต็มใจที่จะจ่ายเงินของคนดูก็น้อย อย่าง สมัยก่อนคนอาจจะซื้อเทป แต่ก็มีเทปผีราคาถูกกว่าออกมาขาย มีซีดี ก็มี ซีดีผีราคาถูกกว่า แล้วพอมีอินเทอร์เน็ต ก็มีการแชร์เพลงต่าง ๆ ทีนี้เพลง กลายเป็นของฟรีเลย ฉะนัน้ จากการทีส่ นิ ค้ามันเคยมีราคาแล้วราคาตกลงมา เหลือศูนย์ การจะทำ�ให้สินค้านั้นกลับมามีราคาใหม่อีกครั้งมันยากมาก ยิง่ ในประเทศไทยทีค่ นส่วนใหญ่ฟงั เพลงกระแสหลัก วงการดนตรีกถ็ กู กำ�หนด ทิศทางโดยค่ายเพลงที่หันไปจับคู่กับแบรนด์ต่าง ๆ ที่เข้ามาพร้อมกับเงิน อุดหนุน ศิลปินที่ดังก็จะได้เงินมาจากแบรนด์ส่วนหนึ่ง จากการขายตั๋ว อีกส่วนหนึง่ ทำ�ให้ขายเพลงได้ในราคาทีถ่ กู ลง ต่างกับศิลปินอิสระ ทีย่ งั ไม่มี ใครมาสนับสนุน ช่องทางการหาเงินก็มาจากตั๋วล้วน ๆ แต่จะตั้งราคาแพง ก็ไม่ได้ เพราะความเต็มใจที่จะจ่ายเงินเพื่อชมดนตรีของคนดูบ้านเรายังมี ไม่มากนัก
CREATIVE THAILAND I 29
คุณต้อม-พงศ์สิริ เหตระกูล
แล้วเราต้องทำ�อย่างไรให้ดนตรีนอกกระแสสามารถไปต่อได้ อย่างมั่นคง คุณพาย : เป้าหมายของฟังใจคือเราต้องการช่วยพัฒนาอุตสาหกรรม ดนตรีไทยอย่างยั่งยืน เพื่อที่ว่าศิลปินนักดนตรีอิสระจะมีอาชีพมีรายได้ที่ มั่นคง เพราะฉะนั้นการทำ�ให้มันเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน เราจึงมี 3 แนวทางหลัก ๆ ที่เรียกว่า SEE คือ Social (สังคม) เราทำ�อะไรแล้วดีต่อ สังคมดนตรีหรือไม่ Economic (เศรษฐกิจ) เราทำ�อะไรแล้วช่วยให้ศิลปินมี รายได้เพิม่ ขึน้ หรือไม่ และ Environmental (สภาพแวดล้อม) เราทำ�อะไรแล้ว ทำ�ให้ระบบนิเวศหรือสภาพแวดล้อมของอุตสาหกรรมดนตรีดีขึ้นหรือไม่ เช่น ถ้าเราไปพูดคุยกับรัฐบาล ช่วยทำ�ให้รัฐบาลมองเห็นความสำ�คัญ ของดนตรี แล้วมีเงินทุนเข้ามาส่งเสริม มีนโยบายช่วยสนับสนุนให้อาชีพ นักดนตรีมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ก็แปลว่าเรากำ�ลังช่วยให้เกิดระบบนิเวศของ วงการดนตรีที่ดีขึ้น หรือถ้าเราให้การศึกษา ก็แปลว่านอกจากจะช่วยเหลือ สังคมของนักดนตรีแล้ว ก็ยังช่วยพัฒนาให้เกิดทรัพยากรมนุษย์ที่ดีขึ้นด้วย ซึ่งมันก็กลับไปพัฒนาระบบนิเวศได้อีก เราปักธงไว้บนยอดเขาของเราว่า ‘ศิลปินและนักดนตรีอสิ ระจะต้องมีอาชีพทีม่ นั่ คงและยัง่ ยืน’ เพราะฉะนัน้ เรา ก็จะค่อย ๆ สร้างฐานของภูเขาลูกนี้ให้สูงขึ้นไปเรื่อย ๆ จะถึงยอดหรือเปล่า ก็ไม่รู้ แต่อย่างน้อยมันก็จะดีขนึ้ และถ้าอุตสาหกรรมโดยรวมดีขนึ้ ค่ายเพลง ก็อยูไ่ ด้ เจ้าของสถานทีก่ อ็ ยูไ่ ด้ สือ่ ต่าง ๆ ก็อยูไ่ ด้ รวมถึงศิลปินอิสระทีไ่ ม่อยาก เลือกที่จะอยู่ค่ายก็อยู่ได้ นั่นคืออุตสาหกรรมดนตรีที่สมบูรณ์ คุณต้อม : อีกสิง่ ทีจ่ �ำ เป็นสำ�หรับวงการดนตรีกค็ อื คนดู ถ้าเราสามารถเปลีย่ น ความสนใจของคน ให้เขาสามารถรู้สึกหรือสร้างนิสัยที่อยากจะฟังเพลงที่ ไม่รจู้ กั ได้ และทำ�ให้ความคิดแบบนีเ้ ป็นสิง่ จำ�เป็นหรือเป็นสิง่ ทีเ่ ท่ได้ เราก็จะ สร้างวงการของคนประเภทนีใ้ ห้ใหญ่ขนึ้ ได้ วงการดนตรีมนั จะดีขนึ้ ทันทีเลย เพราะว่าวงอินดีท้ ง้ั หลาย เขาไม่จ�ำ เป็นจะต้องไปทำ�อาชีพอืน่ แล้ว เขาสามารถ โฟกัสกับงานดนตรีได้ ดนตรีมันก็จะถูกพัฒนา เพราะว่านักดนตรีมีเวลา โฟกัสกับมันจริงจัง และเขาจะอยู่ได้ด้วยดนตรี เพราะอย่างน้อยมันมีคนที่
เราต้องการช่วยพัฒนาอุตสาหกรรม ดนตรี ไ ทยอย่า งยั่งยื น ...เราจึ ง มี 3 แนวทางหลัก ๆ ที่เรียกว่า SEE คือ Social (สังคม) เราทำ�อะไรแล้วดีต่อ สั ง คมดนตรี ห รื อ ไม่ Economic (เศรษฐกิ จ ) เราทำ�อะไรแล้ ว ช่ ว ยให้ ศิ ล ปิ น มี ร ายได้ เ พิ่ ม ขึ้ น หรื อ ไม่ และ Environmental (สภาพแวดล้อม) เราทำ�อะไรแล้วทำ�ให้ระบบนิเวศหรือ สภาพแวดล้ อ มของอุ ต สาหกรรม ดนตรีดีขึ้นหรือไม่
เข้ามาสนับสนุนเขาให้เขาอยู่ได้จริง ๆ ส่วนตัวผมคิดว่า ถ้าเกิดเราไม่มีคน ดู ไม่มีคนสนับสนุน หรือไม่มีการบริโภคเกิดขึ้น ไม่ว่าวงการศิลปะแบบไหน ก็ไม่มีทางอยู่รอดทั้งนั้น Music City ทิศทางใหม่ของวงการดนตรีและการท่องเทีย่ วไทย คุณพาย : ในส่วนของการท่องเทีย่ วเชิงดนตรีกจ็ ะมีโมเดลของ Music City อยู่ ซึ่งเป็นการผนวกดนตรีกับการท่องเที่ยว ทำ�ให้ดนตรีกลายเป็นคอนเทนต์ที่ ดึงดูดการท่องเทีย่ วเข้ามา แปลว่าเม็ดเงินทีเ่ ข้ามานีจ้ ะเป็นเงินใหม่ คนจ่ายเงิน ก็เป็นคนใหม่ และหมุนเวียนอยูต่ ลอด เพราะฉะนัน้ มันก็จะมีเงินใหม่ไหลเวียน เข้าสู่ระบบของดนตรีด้วย ทำ�ให้อุตสาหกรรมดนตรีมีเงินมากขึ้น กระจาย ไปสู่ศิลปินได้มากขึ้น เลยมองว่าถ้าเราทำ�เรื่อง Music Tourism กับ Music City มันน่าจะช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมดนตรีได้อีกทาง เลยเป็นเหตุผลว่า ทำ�ไมเราถึงจัด Bangkok Music City ขึ้นมาเพื่อพัฒนาฝั่งเศรษฐกิจของ วงการดนตรีผ่านการท่องเที่ยว คุณต้อม : คือจริง ๆ กรุงเทพฯ มีวตั ถุดบิ ทีด่ เี ยอะเสียจนเราเชือ่ ว่าคนต่างประเทศ จะอยากมาเที่ยว แค่เพียงเพราะซีนดนตรีของไทยก็ได้เลยด้วยซ้ำ� ไอเดียนี้ อยู่ที่ต่างประเทศหลาย ๆ เมืองที่เขาเรียกตัวเองเป็น Music City อย่าง Austin, Liverpool, Melbourne หรือ Nashville ซึ่งเหล่านี้ไม่ใช่เมืองใหญ่ อะไรเลย Austin มีขนาดของความเจริญใหญ่กว่าสยามไปเซ็นทรัลเวิลด์
CREATIVE THAILAND I 30
นิดเดียวเอง แต่กลับเป็นเมืองที่มูลค่าทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมดนตรี ขนาดประมาณเทศกาลสงกรานต์บ้านเรา เขามีเทศกาลใหญ่ชื่อ South by SouthWest ซึ่งสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ประมาณ 1 ใน 3 ของโอลิมปิก แปลว่า Austin ไม่ต้องจัดโอลิมปิกแล้วนะ เขาจัดแค่งานนี้งานเดียวติดกัน ไป 3 ปี ก็จะมีการใช้จ่าย มีการสร้างงาน มีเงินไหลเวียนเข้ามาเท่ากับ การจัดโอลิมปิกแล้ว ทั้ง ๆ ที่เมืองเขาไม่มีอะไร ไม่ได้เป็นเมืองที่อาหารดี มีวัดวาอาราม มีวัฒนธรรม มีนักท่องเที่ยวมาเยอะอยู่แล้วอย่างบ้านเรา แต่สิ่งที่ Austin มี สร้างขึ้นมาด้วยวิสัยทัศน์ของคนล้วน ๆ แล้วที่มาของ Bangkok Music City คืออะไร คุณพาย : Bangkok Music City เป็นงานประชุม (Conference) และ เทศกาลงานแสดงต่าง ๆ (Showcase Festival) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่มีใน ต่างประเทศมาสักพักหนึง่ แล้ว คือถ้าเราเปรียบเทียบว่า Music Festival เป็น งานสำ�หรับแฟนเพลง เพื่อให้แฟนเพลงได้ไปดูศิลปินที่เขาชอบ Music Showcase Festival ก็เป็นงานสำ�หรับศิลปินเพื่อให้ศิลปินได้พบกับคนที่จะ มาช่วยทำ�ให้อาชีพเขามัน่ คงขึน้ แข็งเเรงขึน้ มีรายได้มากขึน้ มีโอกาสในการ เจริญเติบโตในสายงานมากขึ้น มันเลยมีจุดประสงค์ที่แตกต่างโดยสิ้นเชิง ส่วน Music Conference ก็เป็นงานรวมตัวของคนทีเ่ ป็นนักธุรกิจดนตรี เจ้าของค่ายเพลง เจ้าของเฟสติวลั หรือใครก็แล้วแต่ทตี่ อ้ งการทำ�ธุรกิจใหม่ ๆ ต้องการหาศิลปินใหม่ ๆ ต้องการหาเครือข่ายใหม่ ๆ ทีจ่ ะมาขยายธุรกิจ ของเขา ดังนั้นทั้ง Conference และ Showcase Festival ก็ควรอยู่คู่กัน เพราะถ้าเราจะทำ�ให้คนต่างประเทศที่ไม่รู้จักวงของไทยเลย รู้จักวงเราบ้าง เราก็ต้องให้คนที่เป็นผู้ซื้อ (Buyer) ของประเทศเขามาซื้อวงของเราไปเล่น พอวงได้ไปเล่น คนก็ได้ฟัง คนก็รู้จักว่ามีดนตรีดี ๆ มาจากประเทศไทยนะ
...กรุ ง เทพฯ มี วั ต ถุ ดิบ ที่ ดีที่ จ ะเป็ น Music City ได้ ยิง่ เราเป็นเมืองทีด่ งึ ดูด นักท่องเที่ยวอยู่แล้ว แต่ถ้าถามว่าเรา ขาดอะไร เราขาด ‘เนื้อหา’ที่จะผลักดัน ให้การท่องเทีย่ วของเมืองนีโ้ ตไปอีกขัน้ เรามีต้นทุนที่ดีมากอยู่แล้ว แต่ถ้าเรามี เนื้อหาเพิ่มขึ้นมา ความยั่งยืนมันคนละ เรื่องกันเลยนะ
ทำ�ให้เขาอยากลองมาดูที่แหล่งของมัน มาดูเมืองไทย เหมือนเอากลยุทธ์ หลาย ๆ อย่างมาเรียง แล้วมารวมกันใหม่ จนกลายเป็น Bangkok Music City ขึ้นมา คุณต้อม : ทีนี้เรารู้สึกว่ากรุงเทพฯ มีวัตถุดิบที่ดีที่จะเป็น Music City ได้ ยิง่ เราเป็นเมืองทีด่ งึ ดูดนักท่องเทีย่ วอยูแ่ ล้ว เขาชอบกรุงเทพฯ อยูแ่ ล้ว เพราะ ที่นี่เป็นมิตร ข้าวของก็ไม่แพง แถมอาหารก็อร่อยมากด้วย มันมีทุกอย่างที่ ทำ�ให้คนอยากมา แต่ถ้าถามว่าเราขาดอะไร เราขาด ‘เนื้อหา’ ที่จะผลักดัน ให้การท่องเที่ยวของเมืองนี้โตไปอีกขั้น ลองย้อนดูว่าการท่องเที่ยวของเรา เราขายทะเล ขายอาหาร ขายน้ำ�ตก ขายภูเขา เราขายสิ่งที่เราบังเอิญมีแล้ว มันดีมานานแค่ไหนแล้ว สิ่งเหล่านี้จะดูดผู้คนมาได้อีกนานขนาดไหน อีกนานไหมกว่าคนจะเบื่อ ทุกอย่างมีขีดจำ�กัดของตัวเอง แต่การท่องเที่ยว ทางเนื้อหาที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นมาด้วยวิสัยทัศน์ของคนมันไม่เคยมีขีดจำ�กัด เพราะขีดจำ�กัดก็คอื จินตนาการของมนุษย์ ความเป็นไปได้จงึ มีไม่รจู้ บ ซึง่ ผมว่า นี่คือสิ่งที่กรุงเทพฯ ขาด คือเราจะสร้างสรรค์เนื้อหาการท่องเที่ยวขึ้นมาใหม่ ให้เมืองนีอ้ ย่างไร เรามีตน้ ทุนทีด่ มี ากอยูแ่ ล้ว ไม่ตอ้ งทำ�อะไรคนก็มาเทีย่ วกัน ติดอันดับโลกแล้ว แต่ถ้าเรามีเนื้อหาเพิ่มขึ้นมา ความยั่งยืนมันคนละเรื่อง กันเลยนะ ในฐานะคนดนตรี คุณคิดว่าเสียงของกรุงเทพฯ เป็นแบบไหน คุณต้อม : ไม่มีครับ แต่ไม่ใช่ว่าไม่ได้ยินเสียงอะไรเลยนะ แค่ว่ามันยังไม่ ถึงขั้นที่เราต้องมีเสียงใดเสียงหนึ่งที่เป็นเอกลักษณ์ เพราะการที่เราจะมีซีน ดนตรีทด่ี ี มันไม่จ�ำ เป็นจะต้องมีเสียงเดียว คือมันมีกไ็ ด้นะ อย่าง New Orleans คนก็จะนึกถึงดนตรีแจ๊ส แต่ถ้าอย่าง New York มีเสียงแบบไหน มันก็ไม่มี คำ�ตอบนะ เพราะมีทุกแนวเลย แล้วอย่างกรุงเทพฯ เป็นเมืองที่ค่อนข้าง เปิดกว้าง เรามีอะไรทีโ่ ดดเด่นเยอะมาก เราจึงไม่จ�ำ เป็นต้องไปกำ�หนดก็ได้วา่ เสียงกรุงเทพฯ ต้องเป็นยังไง ผมว่าวันนีย้ งั ไม่มี และถ้าเราจะเป็น Music City ที่ดี จำ�เป็นต้องมีหรือเปล่า ผมว่าก็ไม่จำ�เป็น คุณพาย : มันอาจไม่จ�ำ เป็นที่เราจะต้องมีเอกลักษณ์ขนาดนัน้ บางทีเอกลักษณ์ ของเพลงไทยมันอาจจะเป็นแค่กลิ่นบาง ๆ ก็ได้ เหมือนกับเพลง K-pop ก็ จะมาจากเพลงแนว Hip-Hop บวกกับ American Pop เพลงไทยก็เหมือนกัน ตอนนี้เราอาจจะยังไม่รู้ เพราะยังไม่ได้กลั่นกรองมานานพอ หรืออาจจะยัง ไม่ได้ปล่อยให้วิวัฒนาการของเพลงมันดำ�เนินไปได้เพียงพอ จนกระทั่งมันมี กลิน่ เล็ก ๆ นัน้ ขึน้ มา ซึง่ ก็ตอ้ งใช้เวลา ยิง่ ในปัจจุบนั เรามีเพลงจากศิลปินไทย ดี ๆ ให้เลือกฟังเยอะมาก อย่างแค่ในฟังใจก็มศี ลิ ปินกว่า 4,000 ศิลปิน มีเพลง อีก 45,000 เพลงแล้ว แปลว่ายังมีศิลปินและเพลงที่คนไม่รู้จักอีกเยอะมาก ซึ่งนั่นคือปัญหาของเรา คือคนยังไม่รู้จัก เพราะว่าเดี๋ยวนี้เพลงที่ดัง ก็จะมี อยู่แค่ไม่กี่เพลง แต่ว่าถ้าเราสามารถโปรโมตได้ว่า ถ้ามากรุงเทพฯ แล้วมี เพลงให้เลือกมากมายหลายแนวเพลงเลยนะ คุณชอบอะไร คุณมาทีน่ ่ี คุณก็จะ ได้ฟัง คล้าย ๆ กับ Austin ที่ชื่อเล่นของเมืองคือ “Live Music Capital of The World” คือเขาก็ไม่ได้บอกนะว่าเขาเป็นเมืองหลวงแห่งดนตรีคนั ทรี หรือ เมืองหลวงแห่งดนตรีร็อก แต่เขาเลือกดนตรีเล่นสด ซึ่งจะเป็นอะไรก็ได้
CREATIVE THAILAND I 31
อนาคตวงการดนตรีไทยควรต้องปรับอะไรหรือเปล่าเพือ่ ทีจ่ ะ ให้พัฒนาไปสู่ระดับโลก คุณต้อม : ผมว่าเรามีสิ่งที่ต้องทำ� แต่ผมจะไม่ใช้คำ�ว่าปรับ แต่จะใช้คำ�ว่า ‘ผสม’ เพราะถ้าลองค้นคำ�ว่า ‘Thai Music’ ใน Google ดูคุณจะเจอระนาด วงปี่พาทย์ หรือวงหมอลำ� คือมันจะอยู่แค่นั้น แล้วถ้าดนตรีไทยหรือปี่พาทย์ มันยังอยู่ที่เดิมเหมือนแช่แข็ง มันก็จะอยู่เท่านี้แหละ แล้วคนฟังก็จะเริ่มหาย ไปเรื่อย ๆ คนที่หยิบมันมาเล่นก็จะค่อย ๆ หายไปเรื่อย ๆ ซึ่งจริง ๆ เด็ก รุ่นใหม่เป็นกลุ่มที่สำ�คัญมากในการพัฒนาดนตรีของแต่ละเมือง เพราะว่า เขาเป็นกลุม่ ทีจ่ ะเอามันมาทำ�ต่อ แต่ถา้ เขาไม่ได้รบั แรงบันดาลใจจากดนตรี ในประเทศของตัวเอง เขาก็จะไปหาดนตรีของทีอ่ น่ื เช่น ถ้าดนตรีไทยไม่สร้าง แรงบันดาลใจให้เลย เขาก็จะไปเต้นคัฟเวอร์ K-pop เขาก็จะไปเล่นดนตรีรอ็ ก เขาก็จะไปทำ�อะไรก็ได้ที่ทำ�ให้เขารู้สึกสนุกด้วย คุณพาย : คือเรามีสง่ิ หนึง่ ทีม่ อี ยูต่ ลอดแล้วมันก็ถกู ทำ�ให้แย่คอื เรือ่ งอคติ เรามี สิง่ ทีจ่ บั ต้องไม่ได้ มีสง่ิ ทีเ่ ปลีย่ นแปลงไม่ได้ ทัง้ ในเรือ่ งความเชือ่ เรือ่ งวัฒนธรรม เรือ่ งทีว่ า่ ดนตรีไทยต้องเป็นแบบนี้ ห้ามแตะห้ามเปลี่ยน ลองนึกถึงตอนเด็ก ๆ ก็ได้ หลายคนโตมากับการ์ตนู ญีป่ นุ่ ซึง่ การ์ตนู อาจจะไม่ได้พดู ถึงวัฒนธรรม แบบโบราณก็ได้ แต่พอเราโตมากับสิ่งนั้น เราก็ชื่นชอบญี่ปุ่น ชอบภาษา ชอบวัฒนธรรม แล้วในที่สุดมันก็เอื้อมไปถึงจุดที่อยากจะรู้ประวัติศาสตร์ ญีป่ นุ่ คือเด็ก ๆ เนี่ย จะไปบังคับให้เขามาสนใจอะไรทีเ่ ก่า ดึกดำ�บรรพ์ หรือ อะไรที่ลึกมาก ๆ มันก็ไม่สนุก เขาก็ไม่ชอบ แต่ว่าถ้าเรามีจุดที่ทำ�ให้เขาเกิด ความสนใจ มันก็ค่อยนำ�พาไปต่อยอดได้ มันต้องยอมให้เกิดการผสม เช่น ดนตรีไทยก็ไปเล่นกับดนตรีฝรั่งได้ โขนก็อาจจะต้องเปลี่ยนแปลงได้บ้าง ถ้าเราลองนึกถึงการสู้กันระหว่างอุลตร้าแมนกับยักษ์วัดแจ้งสมัยก่อน ผมว่า มันก็ทำ�ให้ต่างชาติทึ่งได้เหมือนกันนะ แล้วเขาก็ได้รู้จักว่านี่คือยักษ์ คือมัน ต้องมีความยินยอมให้ของเก่าและของใหม่ผสมกันได้
คุณต้อม : ผมก็เข้าใจผู้ใหญ่หลายคนนะ อย่างครูดนตรีไทยหลายคนที่เก่ง มาก ๆ แล้วก็เข้าใจแก่นของดนตรีไทย เวลาเราไปถามประเด็นพวกนี้ สิ่งที่ เกิดขึ้นมักจะเป็นการสนับสนุน เขาจะบอกว่า ทำ�เถอะ ผสมเถอะ หยิบมัน ไปใช้เถอะ แต่ช่วยเข้าใจ ‘แก่น’ มันหน่อย อย่าเอาโขนไปแค่ใส่ชุดแล้วไป เต้นอะไรก็ไม่รู้ แต่คณุ ต้องเข้าใจแก่นของมันให้ได้ แล้วอยากทำ�อะไรก็ท�ำ คือ ช่วยพัฒนามันต่อเถอะ มันจะได้มชี วี ติ อยูก่ บั พวกเราต่อไป เพราะว่าถ้าเราเก็บ มันไว้เฉย ๆ มันก็จะอยูแ่ ต่บนหิง้ แล้วก็จะไม่มใี ครทำ�ให้มนั มีชวี ติ อีกแล้ว
CREATIVE INGREDIENTS
ถ้าจะแนะนำ�ชาวต่างชาติใ ห้รู้จักกับดนตรีแบบไทย ๆ อยากแนะนำ�เพลงอะไรให้เขาฟัง คุณต้อม : คงแนะนำ� The Paradise Bangkok Molam International Band แต่ถา้ ถามว่าคนไทยฟังเพลงแบบนีก้ นั หรือเปล่า ก็ไม่นะ มันเลย อยูท่ วี่ า่ อยากให้แนะนำ�แบบไหน ถ้าถามว่าเพลงไทยทีค่ นไทยฟังจริง ๆ เราก็ฟังเพลงกันกว้างมาก แต่ถ้าถามว่าอยากจะให้แนะนำ�อะไร ผมว่า วงนี้ก็น่าจะเป็นสิ่งที่คนต่างประเทศเขาทึ่ง แล้วน่าจะทำ�อะไรแบบนี้ ไม่ได้ คุณพาย : ต้องขึ้นอยู่กับว่าเขาชอบเพลงอะไร ผมไม่อยากตัดสินว่า โลกนีม้ เี พลงดีกบั เพลงไม่ดี มันมีแต่เพลงทีเ่ ราชอบกับไม่ชอบ เพราะฉะนัน้ ถ้าจะแนะนำ�เพลงไทยให้ชาวต่างชาติฟงั ก็ขอรูห้ น่อยแล้วกันว่าเขาเป็น ชาติไหน เขาฟังอะไรอยู่ เราจะได้แนะนำ�ได้ว่า เพลงนี้มันคล้ายกับที่ คุณฟังอยู่นะ แต่เจ๋งกว่าเพราะอะไร เป็นต้น ไม่ใช่ว่ามีวงที่ครอบ จักรวาลมาก ๆ ที่ถ้าคุณไปฟังแล้วจะต้องชอบ ไม่มีทาง
CREATIVE THAILAND I 32
Creative Solution : คิดทางออก
เรื่อง : ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ
ไม่ ว่ า ยุ ค ไหน ดู เ หมื อ นว่ า คนทำ � งานในวงการเพลงก็ ห นี ไ ม่ พ้ น ปั ญ หา การละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ความหวังทีศ่ ลิ ปินผูผ้ ลิตงานจะได้รบั ผลตอบแทนอย่าง สมน้ำ�สมเนื้อมากขึ้นอาจอยู่ไม่ไกล เพราะอินโดนีเซียกำ�ลังสร้างฐานข้อมูล เพลงอินโดฯ บนแอพพลิเคชันเพื่อจัดการลิขสิทธิ์เพลงด้วยเทคโนโลยีใหม่ อย่างบล็อกเชนและผลักดันอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของประเทศ สำ�นักงานเศรษฐกิจสร้างสรรค์แห่งอินโดนีเซีย (Bekraf) ร่วมมือกับ Massive Music Entertainment ผู้จัดจำ�หน่ายเพลงชั้นนำ�ของอินโดนีเซีย พัฒนาแอพพลิเคชัน ‘Portamento’ นำ�เทคโนโลยีบล็อกเชนมาบริหารจัดการ และปกป้องลิขสิทธิ์เพลงของเหล่าศิลปิน โดยผู้ผลิตเพลงสามารถเผยแพร่ ผลงานด้วยการอัพโหลดเพลงลงในฐานข้อมูล ทุกครัง้ ทีม่ กี ารดาวน์โหลดหรือ นำ�เพลงไปใช้งาน ระบบติดตามจะคำ�นวณส่วนแบ่งค่าลิขสิทธิ์ พร้อมกับจัดสรร รายได้ให้ศิลปินและผู้มีส่วนร่วมในการผลิตแต่ละฝ่ายอย่างโปร่งใส Portamento มีก�ำ หนดเปิดตัวในปี 2020 และถือเป็นอีกก้าวสำ�คัญของ อินโดนีเซียซึง่ มีอตุ สาหกรรมเพลงทีโ่ ดดเด่น โดยเป็นหนึง่ ใน 16 อุตสาหกรรม สร้างสรรค์ที่มีอัตราการเติบโตเร็วที่สุดของประเทศ นอกจากนี้ การที่ อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับสี่ของโลก จึงเป็นตลาด เป้าหมายที่ธุรกิจมิวสิกสตรีมมิงหลายรายเช่น Spotify พยายามเข้ามา ครอบครองส่วนแบ่งในตลาดอีกด้วย บล็อกเชนถูกพูดถึงมานานหลายปี ว่าเป็นเทคโนโลยีแห่งความหวังของ ผูผ้ ลิตเพลงทัว่ โลก โดยเฉพาะในยุคทีก่ ารฟังเพลงแบบสตรีมมิงกำ�ลังมาแรง (รายงาน Global Music Report 2019 ของ IFPI พบว่ารายได้จากธุรกิจ สตรีมมิงทั่วโลกในปี 2018 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 34 จากปีก่อนหน้า และคิดเป็น สัดส่วนเกือบครึ่งหนึ่งของรายได้ทั้งหมดของอุตสาหกรรม) เพราะเป็น นวัตกรรมการจัดเก็บข้อมูลแบบไม่รวมศูนย์ (Decentralized) ผู้ใช้งานจึง สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างไฟล์เพลงกันได้โดยตรง พร้อมด้วยระบบ
รักษาความปลอดภัยและการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่รัดกุมขึ้น โดยจะบันทึกการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับข้อมูลแต่ละครั้งพร้อมกับสร้าง Unique ID และบันทึกเวลา (Time Stamp) กำ�กับ ทำ�ให้การปลอมแปลง ข้อมูลเกิดขึ้นได้ยาก ลดปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ เพิ่มประสิทธิภาพในการ จัดเก็บและจัดสรรรายได้ให้แก่ผู้ผลิตเพลง อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมายังพบข้อผิดพลาดเรื่องการส่งต่อรายได้ให้แก่ ผู้ผลิตเพลงในธุรกิจมิวสิกสตรีมมิงหลายรายที่ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน โดย คาดว่ามีเงินรายได้ราว 2.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ที่ไม่ได้ถูกส่งให้ผู้ผลิต อย่างทีค่ วรจะเป็น หนึง่ ในสาเหตุมาจากความซับซ้อนของระบบบันทึกข้อมูล ที่เรียกว่า Metadata (ข้อมูลทางลิขสิทธิ์ที่กำ�กับบนไฟล์เพลงในบล็อกเชน) ซึง่ เป็นตัวกำ�หนดว่ารายได้จากการฟัง ดาวน์โหลด หรือซือ้ ลิขสิทธิเ์ พลงแต่ละครัง้ จะถูกจัดสรรไปให้ใครบ้าง นอกจากนี้ยังพบจุดอ่อนเรื่องการตรวจสอบ การละเมิดลิขสิทธิ์เพลงบนแพลตฟอร์ม โดยมีคนแอบอ้างเป็นศิลปินและ ทำ�เงินจากการสตรีมมิงเพลงละเมิดลิขสิทธิ์บนแพลตฟอร์มเจ้าตลาดอย่าง Apple Music และ Spotify อยู่เรื่อยๆ ต้องจับตาดูกนั ต่อไปว่า Portamento แอพพลิเคชันทีไ่ ด้รบั การสนับสนุน จากรัฐบาลอินโดนีเซียโดยตรง จะสร้างมาตรฐานใหม่ในการจัดระเบียบ ฐานข้อมูลเพลงและปกป้องลิขสิทธิข์ องศิลปินด้วยบล็อกเชนได้หรือไม่ เพราะ หากทำ�สำ�เร็จ เชื่อว่าอุตสาหกรรมเพลงในอนาคตจะเปิดกว้างและโปร่งใส ยิง่ ขึน้ และแน่นอนว่า คนทำ�งานก็จะมีเรี่ยวแรงในการสร้างสรรค์ผลงานดี ๆ ออกมามากขึ้นเช่นกัน ที่มา : บทความ “Indonesia adopts blockchain to grow music industry IP” (2019) จาก unctad.org / บทความ “Looking to Globalise Creative Economy, This is How Indonesia Catch-Up to K-Pop” (2019) จาก indonesiadevelopmentforum.com / บทความ “Metadata is the Biggest Little Problem Plaguing the Music Industry” (2019) จาก theverge.com / รายงาน “Global Music Report 2019: State of the Industry” (2019) โดย IFPI จาก ifpi.org
CREATIVE THAILAND I 34