Creative Thailand Magazine : Earth Needs You(r) Gifts ธันวาคม 2562 ปีที่ 11 I ฉบับที่ 3

Page 1

ธันวาคม 2562 ปีที่ 11 I ฉบับที่ 3 แจกฟรี

Creative City Oslo Creative Business Refill Station How To ใช้ชวี ติ อย่างไรในวัน “ไร้ถงุ ขยะ”



helpimeter.com

“Everyone has the perfect gift to give the world-and if each of us is freed up to give our unique gift, the world will be in total harmony.” ทุกคนสามารถมอบของขวัญที่สมบูรณ์แบบให้แก่โลกได้ และหากเรามีอิสระที่จะให้ของขวัญในแบบของตัวเองแล้ว โลกก็จะอยู่ได้อย่างกลมกลืน R. Buckminster Fuller

สถาปนิก นักประพันธ์ และนักออกแบบชาวอเมริกัน


Contents : สารบัญ

Creative Update

6

Green Financing ใช้เงิน...กูส้ ภาพแวดล้อม / “โปเกมอน” ฉันจะช่วยนาย! / รวมแอพฯ สำ�หรับคนชอบกิน (จน) คลีนแบบไม่ทิ้งขว้าง

Creative Resource 8 Documentary / Book / Application

MDIC 10 Solar Vengers นวัตกรรมที่จะทำ�ให้คนไทยไม่กลัวแดด

Cover Story 12 Earth needs (YOU) r gift เทศกาลมอบของขวัญ (ให้) โลก

Fact and Fig ure ทำ�ไมเรายังรับถุงพลาสติก ทั้งที่ใจก็อยากจะช่วยโลก

18

Creative Business 20

บทเรียนธุรกิจจาก Refill Station ผู้บุกเบิกร้านปลอดบรรจุภัณฑ์เจ้าแรกในไทย

How To 23 ใช้ชีวิตอย่างไรในวัน “ไร้ถุงขยะ”

Creative Place 24 Oslo เมืองรักโลกในแบบชาวนอร์เวย์

The Creative 28 อัญชลี อัจจิมาธร...สำ�รวจโอกาส ในจักรวาล “ขยะ” จากสายพาน อุตสาหกรรมเบียร์รายใหญ่ของไทย

Creative Solution 34 ขยะอาหารที่ไม่ได้มีแค่อาหาร

บรรณาธิการที่ปรึกษา l อภิสทิ ธิ์ ไล่สตั รูไกล บรรณาธิการอำ�นวยการ l มนฑิณี ยงวิกลุ ที่ปรึกษา l เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร บรรณาธิการบริหาร l พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์ กองบรรณาธิการ l เบญจวรรณ ระงับภัย, สุรศักดิ์ ปัญชํานาญค้า, ณัฐณิชาต์ ศิริวัลลภ และ ปิยวรรณ กลิ่นศรีสุข เลขากองบรรณาธิการ l ณัฐชา ตะวันนาโชติ ศิลปกรรม l ชิดชน นินนาทนนท์ ประสานงานกองบรรณาธิการ l วนบุษป์ ยุพเกษตร ช่างภาพและมัลติมีเดีย l ภีร์รา ดิษฐากรณ์ เว็บไซต์ l นพกร คนไว จัดทำ�โดย l สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) (CEA) 1160 อาคารไปรษณีย์กลาง ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 โทร. 02 105 7400 แฟกซ์. 02 105 7450 พิมพ์ที่ l บริษัท สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง จำ�กัด โทร. 02 903 8257-9 จำ�นวน 10,000 เล่ม ติดต่อลงโฆษณา: Commu.Dept@tcdc.or.th นิตยสารฉบับนีใ้ ช้หมึกพิมพ์จากนา้ํ มันถัว่ เหลืองทีไ่ ม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทัง้ ยังเป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อม และใช้กระดาษ รีไซเคิล ซึ่งเป็นผลผลิตของผู้ประกอบการไทย จัดทำ�ภายใต้โครงการ “Creative Thailand สร้างเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์” โดยสํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจ สร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) (CEA) ซึ่งมีเป้าหมายในการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) และผลักดันการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส แสดงที่มา-ไมใชเพื่อการคา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย แสดงที ่มา-ไมใTHAILAND ชเพื่อการคา-อนุI ญ4าตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย CREATIVE


Editor’s Note : บทบรรณาธิการ

ของขวัญ ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาแม้ว่าเศรษฐกิจโลกจะขึ้นๆ ลงๆ แต่สำ�หรับการ ตามหาประสบการณ์จากการท่องเที่ยว ในยามที่ราคาตั๋วเครื่องบินเป็นใจ ทั้งการโดยสารแบบโลว์คอสต์ และการทำ�โปรโมชันของสายการบินหลักที่ต้อง ต่อสู้กับโลว์คอสต์ บวกกับการขยายเส้นทางของสายการบินที่ครอบคลุมกว่า 20,000 เมืองทัว่ โลก ก็เพียงพอทีจ่ ะเป็นสาเหตุหลักในรายงานของสมาคมขนส่ง ทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) ที่ระบุว่า ในปี 2017 จำ�นวนผู้โดยสารทาง เครื่องบินมียอดทะลุเกิน 4 พันล้านคนเป็นปีแรก เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 7.3 หรือเทียบเท่ากับ 280 ล้านเที่ยว แนวโน้มการเติบโตของจำ�นวนผู้โดยสารทางเครื่องบินนี้ยังเป็นไปอย่าง ต่อเนือ่ ง สอดคล้องกับทีอ่ งค์การสหประชาชาติคาดการณ์วา่ ปริมาณการปล่อย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของธุรกิจการบินทีเ่ ป็นสาเหตุของก๊าซเรือนกระจกและ การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก จะเพิ่มขึ้นเป็น 900 ล้านเมตริกตันในปี 2018 และ จะเพิ่มขึ้น 3 เท่าในปี 2050 ธุรกิจสายการบินจึงไม่สามารถอยู่เฉยเป็นเป้านิ่งให้ถูกกดดันฝ่ายเดียว นอกเหนือจากความพยายามในการปรับปรุงเครื่องยนตร์ที่เอื้อต่อเชื้อเพลิง สะอาด การเลือกจานชามช้อนส้อมแบบเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การตั้งเป้า ชดเชยการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ดว้ ยการสนับสนุนเงินทุนให้โครงการต่าง ๆ ทีช่ ว่ ยลดการปล่อยก๊าซ ล่าสุด KLM สายการบินดัชต์ เปิดเกมรุกด้วยแคมเปญ “Fly Responsibly” ที่เชิญชวนให้ผู้โดยสารคิดก่อนบิน ว่าจำ�เป็นหรือไม่ที่ต้อง

เดินทางด้วยเครื่องบิน สำ�หรับการเดินทางที่สามารถไปได้ด้วยรถบัสหรือรถไฟ ที่ส่งผลกระทบน้อยกว่า แม้ว่าจะถูกมองว่าเป็นสีสันทางการตลาด แต่ก็เป็นแคมเปญที่กระจาย แรงกดดันกลับมาทีผ่ โู้ ดยสารให้เป็นคนเลือก ว่าคุณจะเลือกช่วยโลกในระดับไหน ตั้งแต่ระดับสุดโต่งด้วยการหันหลังให้กับการเช็กอินในสถานที่ต่าง ๆ ยอมมี ประสบการณ์และรูปในอินสตาแกรมน้อยลง หรือระดับพอประมาณด้วยการเลือก วิ ธี ก ารเดิ น ทางทางอื่ น ที่ ใ ช้ เ วลานานกว่ า แต่ ป ล่ อ ยก๊ า ซคาร์ บ อนน้ อ ยกว่ า (ซึ่งอาจจะไม่ต้องถึงขั้นเดินทางด้วยเรือแบบน้องเกรธา ทุนเบิร์ก) แต่ไม่ว่าจะเลือกการเดินทางแบบไหน ผู้บริโภคนั้นก็ต้องรับบทหนักอยู่ดี เพราะในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การลดบริโภคย่อมเป็นสิง่ ดีและยิง่ มี ผูผ้ ลิตช่วยหนุนก็ยง่ิ ส่งผล แต่การจะหลีกหนีหรืออดทนต่อสิง่ ยัว่ ยุจากอัลกอริทม่ึ ในการนำ�เสนอสินค้าและแคมเปญต่างๆ ที่ผุดขึ้นมาราวรู้ใจนั้นเป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในช่วงเทศกาลแห่งการจับจ่ายใช้สอยช่วงปลายปีอนั ยิง่ ใหญ่ อย่างวันคนโสด วันแบล็กฟรายเดย์ วันบ็อกซิง่ เดย์​์ ทีส่ นิ ค้าจะถูกลดราคาอย่าง เร้าใจ การต่อสูท้ างจิตใจระหว่าง “ของมันต้องมี” กับการรักษ์โลกแบบทางใด ทางหนึง่ ก็อาจเป็นเรือ่ งทีต่ ดั สินใจได้ยาก แต่กใ็ ช่ว่าจะช่วยไม่ได้เลย เพราะยังมี อีกหลากหลายวิธีการที่เราจะสามารถมอบของขวัญปีใหม่ปีนี้ให้กับตัวเราเอง และโลกได้ด้วย มนฑิณี ยงวิกุล บรรณาธิการอำ�นวยการ

CREATIVE THAILAND I 5


Creative Update : คิดทันโลก

Green Financing ใช้เงิน...กู้สภาพแวดล้อม เรื่อง : พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์

แม้เราจะรู้ดีว่า “เงิน” ซื้อไม่ได้ทุกอย่างบนโลก โดยเฉพาะการซือ้ หาสิง่ แวดล้อมทีส่ มบูรณ์ อากาศ บริสทุ ธิ์ น้�ำ ทีใ่ สสะอาด ป่าไม้ทง่ี อกงาม หรือแม้แต่ ชีวติ ของสัตว์ทะเลทีล่ ม้ ตายจากมลภาวะทีเ่ พิม่ ขึน้ ทุกที ...แต่ถึงอย่างนั้นก็ใช่ว่า “เงิน” จะไม่มีค่า เสียทีเดียวต่อประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม Green Financing คือนวัตกรรมทางการเงิน ทีช่ ว่ ยส่งเสริมและพัฒนาสิง่ แวดล้อมให้ดขี นึ้ อย่าง ยั่งยืน ผ่านเครื่องมือทางการเงินต่างๆ เช่น สินเชื่อสีเขียว (Green Loan/Green Credit) ตราสารหนี้สีเขียว (Green Bond) หรือกองทุน สีเขียว (Green Funding) ซึ่งนับเป็นนวัตกรรม ทีเ่ กิดขึน้ จากความร่วมมือกันระหว่างอุตสาหกรรม การเงินการลงทุน และภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับ สิ่งแวดล้อม เพื่อยังประโยชน์เป็นความยั่งยืน ให้กับสังคมในวงกว้าง ทั้งนี้ โครงการที่ Green Financing มักจะ มีสว่ นร่วมเข้าไปช่วยเหลือก็ได้แก่ โครงการอาคาร สีเขียวซึง่ ใช้วสั ดุทอ้ งถิน่ ทีเ่ ป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อม โครงการเพือ่ สร้างนวัตกรรมการประหยัดพลังงาน

หรือพลังงานทดแทน โครงการพัฒนาสำ�หรับ ภาคการเกษตรแบบอิ น ทรี ย์ ที่ มี ค วามยั่ ง ยื น โครงการเพือ่ สร้างนวัตกรรมทีค่ �ำ นึงถึงสิง่ แวดล้อม หรือโครงการเพือ่ ลดผลกระทบต่อการเปลีย่ นแปลง ของสภาพอากาศ และลดสภาวะโลกร้อน โดยปกติแล้ว การให้สินเชื่อของสถาบัน ทางการเงินจะพิจารณาถึง “ความเสี่ยง” และ “ผลตอบแทน” จากโครงการที่ลงทุนเป็นหลักว่า จะสามารถคืนทุนและเติบโตสร้างเป็นผลตอบแทน ได้มากน้อยเท่าใด แต่โครงการเพื่อการพัฒนา อย่างยั่งยืนเหล่านี้ นวัตกรรม Green Financing จะเน้นไปที่การให้สินเชื่อที่สร้างผลประโยชน์ให้ กับสังคมและสิ่งแวดล้อม หรือการลดผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อมให้ได้มากที่สุด ซึ่งตัวเลขดังกล่าว จะสะท้อนอยูใ่ นอัตราดอกเบีย้ ทีแ่ ตกต่างกัน จะมาก หรือน้อย ขึ้นอยู่กับว่าโครงการนั้นส่งผลกระทบ ต่อการเปลีย่ นแปลงของสภาพแวดล้อมและความ ยั่งยืนอย่างไร ประโยชน์ของ Green Financing นั้น นอกจากจะส่งเสริมให้ภาคธุรกิจมีสว่ นร่วมรับผิดชอบ ต่อสิ่งแวดล้อมและเติบโตอย่างยั่งยืน ช่วยให้ ผู้ประกอบการลดต้นทุนด้านพลังงานและลด ผลกระทบของธุ ร กิ จ ที่ มี ต่ อ ชุ ม ชนและสภาวะ แวดล้อมโลกแล้ว ยังช่วยสร้างความตระหนักรูถ้ งึ ความสำ�คัญและการพัฒนาของการธนาคารเพื่อ ความยัง่ ยืน และกระตุน้ ให้เกิดการขยายการลงทุน ที่รับผิดชอบต่อสังคม (Socially Responsible Investment: SRI) Green Financing จึงเป็นหนึง่ ในตัวขับเคลือ่ น การพัฒนาอย่างยัง่ ยืน ทีเ่ ชือ่ มโยงระหว่างนักลงทุน และผูต้ อ้ งการเงินทุนเพือ่ ช่วยให้โลกนีด้ ขี น้ึ กว่าเดิม พร้ อ มกั บ พิ สู จ น์ ว่ า การเงิ น เพื่ อ สั ง คมเป็ น สิ่ ง ที่ เป็นไปได้และทำ�ได้จริง ที่มา : ecology.co.uk / thestandard.co / salforest.com / thaipublica.org และ forum.thaivisa.com

CREATIVE THAILAND I 6

รวมแอพฯ สำ�หรับคนชอบกิน (จน) คลีนแบบไม่ทิ้งขว้าง เรื่อง : นพกร คนไว

1.3 พันล้านตันคือจำ�นวนของอาหารเหลือทิ้ง ในแต่ละปี ทั้งที่มาจากผลผลิตทางการเกษตร จากร้านอาหาร ซูเปอร์มาร์เก็ต และครัวเรือน เศษอาหารเหล่านีป้ ล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่า 4.4 พันล้านตันต่อปี ที่สำ�คัญหากเรายังไม่แก้ปญั หานี้ ภายในปี 2050 เราจะไม่มอี าหารเพียงพอเลีย้ งคน ทัง้ โลก ฉะนัน้ ถ้าอยากกินอิม่ กินอร่อยกันไปนานๆ มาทำ � ความรู้จัก แอพพลิ เ คชั น ที่จ ะช่ ว ยให้ เ รา ควบคุมการทิ้งอาหารได้ดีย่งิ ขึ้น ซึ่งเป็นการช่วย รักษาโลกและรักษาเงินในกระเป๋าไปพร้อม ๆ กัน

foodlist.no

foodlist ใครเป็นแฟน “นาทีทอง” อาหารลดราคา แอพฯ จากนอร์เวย์นี้ตอบโจทย์ที่สุด เพราะจะช่วยชี้เป้า สินค้าใกล้หมดอายุและลดราคาในซูเปอร์มาร์เก็ต ได้ง่ายๆ เพียงแค่ถ่ายรูปสินค้า เขียนชื่ออาหาร ราคา และวันที่ควรบริโภคก่อน แล้วโพสต์ลงใน แอพฯ เพียงเท่านี้ผู้ใช้รายอื่นก็จะได้เห็นสินค้าที่ ควรซื้อก่อนเสีย อีกทั้งมูลนิธิและองค์กรการกุศล ก็จะได้รับข้อมูลอาหารเหลือทิ้งเหล่านี้ได้อย่าง รวดเร็ว เพือ่ เตรียมวางแผนไปรับอาหารมาส่งต่อ ให้ผู้ยากไร้ได้ทันเวลา นอกจากนี้ร้านค้าและ ซู เ ปอร์ ม าร์ เ ก็ ต หลายแห่ ง ยั ง กลายมาเป็ น พาร์ ต เนอร์ ข องแอพพลิ เ คชั น นี้ เ พื่ อ ติ ด ต่ อ กั บ มูลนิธิบริจาคอาหารได้โดยตรง


“โปเกมอน” ฉันจะช่วยนาย! เรื่อง : ณัฐชา ตะวันนาโชติ

nowasteapp.com

winnowsolutions.com

No Waste บ้านไหนมี “ผักพันปี” “น้�ำ ซุปหมืน่ ปี” หรือ “เยลลี่ กินได้เป็นเดือน” ต้องโหลดแอพฯ นีโ้ ดยด่วน เพราะ หากคุ ณ มั ก ลื ม เสมอว่ า มี ผั ก ผลไม้ แ ละอาหาร มากมายแช่ไว้อยูใ่ นตูเ้ ย็น พอมารูต้ วั อีกทีกเ็ น่าเสีย จนกินไม่ได้แล้ว แอพฯ No Waste นีจ้ ะช่วยให้คณุ จั ด การอาหารที่ อ ยู่ ใ นตู้ เ ย็ น ได้ อ ย่ า งง่ า ยดาย เพียงลงรายชือ่ อาหารทีอ่ ยูใ่ นตูเ้ ย็น เขียนวันทีค่ วร บริโภคก่อนหรือวันหมดอายุ เพือ่ กลับมาเช็กสถานะ ของอาหารที่เก็บไว้ อีกทั้งยังสามารถตรวจสอบ ประวัติย้อนหลังได้ว่าแอพฯ นี้ช่วยคุณประหยัด ค่าใช้จา่ ยในการช้อปปิง้ อาหารครัง้ ต่อ ๆ ไปได้เท่าไร หรือลดการทิ้งอาหารไปแล้วกี่รายการ

Winnow ทุก ๆ ปีร้านอาหารในสหราชอาณาจักรจะทิ้ง อาหารเหลือประมาณ 9.2 แสนตัน สตาร์ตอัพ Winnow จึ ง พั ฒ นาเทคโนโลยี ที่ จ ะช่ ว ยให้ ร้านอาหารลดการทิ้งอาหารเหลือ โดยออกแบบ ซอฟต์แวร์ที่ประมวลผลจากตาชั่งที่อยู่ใต้ถังขยะ และกล้องที่อยู่ข้างบน จับภาพและชั่งน้ำ�หนัก อาหารทีถ่ กู ทิ้ง ก่อนคำ�นวณเป็นราคาทีเ่ สียไปต่อ อาหารชนิดนั้น ๆ พร้อมทั้งยังบันทึกข้อมูลและ เปรียบเทียบประวัติการทิ้งอาหาร เพื่อให้ร้าน หาวิธีปรับปรุงการทิ้งของเหลือได้ดีขึ้น จากการ ใช้งาน Winnow พบว่ามันได้ช่วยให้ร้านอาหาร ลดค่าใช้จา่ ยไปได้รอ้ ยละ 2 - 8 โดยมีรา้ นอาหาร ใช้งานอยูแ่ ล้วใน 30 ประเทศทัว่ โลก ที่มา : foodlist.no / nowasteapp.com / winnowsolutions.com

“โปเกมอน” ตัวการ์ตูนยอดฮิตและชื่อเรียกของ สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในโลกแห่งจินตนาการซึ่งถูก คิดขึ้นโดยซาโตชิ ทาจิริ (Satoshi Tajiri) ที่แม้ หน้าตาอาจจะไม่เหมือนสัตว์จริง ๆ ของโลก มนุษย์เท่าไรนัก แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า เจ้าสัตว์ ประหลาดเหล่ า นี้ ไ ด้ ส ะท้ อ นความเป็ น ไปของ ธรรมชาติ และในขณะเดียวกันก็ได้รบั ผลกระทบ จากความเปลี่ยนแปลงของโลกไม่น้อยเลย เกมโปเกมอนภาคล่าสุด Pokémon Sword (2019) และ Pokémon Shield (2019) ของเครื่อง Nintendo Switch ได้พาผู้เล่นไปท่องดินแดน “กาลาร์” (Galar) ทีอ่ งิ ต้นแบบมาจากภูมปิ ระเทศ ของเกาะอังกฤษ และมีการเพิ่มโปเกมอนตัวใหม่ พร้อมปรับเปลี่ยนหน้าตาของโปเกมอนตัวเดิม หลายตัวให้มคี วามใกล้เคียงกับโลกความเป็นจริง มากยิ่งขึ้น โดยหนึ่งในโนโปเกมอนที่ได้รับผลกระทบ จากภาวะโลกร้ อ นมากที่ สุ ด ตั ว หนึ่ ง ก็ คื อ เจ้าคอร์ซอลา (Corsola) ที่เคยเป็นโปเกมอน ปะการังสีชมพูหน้าตาน่ารักและมีคุณสมบัติของ โปเกมอนธาตุน�ำ้ -หินจากภาคก่อน ๆ ซึง่ มีหน้าตา เหมือนเดิมมาร่วม 20 ปี (1999 - 2019) ในตอนนี้ คอร์ ซ อลาได้ ก ลายเป็ น ปะการั ง ฟอกขาวสี ซี ด เป็นโปเกมอนธาตุผีที่มาพร้อมกับคำ�บรรยายว่า

“ภูมอิ ากาศทีเ่ ปลีย่ นแปลงฉับพลันทำ�ให้คอร์ซอลา สายพันธุ์ดั้งเดิมหายไป และคอร์ซอลาสายพันธุ์ ใหม่นี้จะสามารถดูดพลังชีวิตของใครก็ตามที่มา แตะโดนตัวมัน” ซึ่งการกลายพันธุ์ของคอร์ซอลา ในครั้งนี้ก็ได้รับอิทธิพลมาจากปัญหาปะการัง ฟอกขาวที่กำ�ลังทวีความรุนแรงขึ้น แค่ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา เราสูญเสียปะการังทั่วโลกไปแล้ว กว่า 50% จากสาเหตุของมลพิษและอุณหภูมิน้ำ� ทะเลที่สูงขึ้น ซึ่งนักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่า ในปี 2050 แนวปะการังอาจตายลง (และกลาย เป็นผี) เกือบทั้งหมด

วีซิง (Weezing) เป็นโปเกมอนอีกตัวหนึ่งที่ ถูกมลภาวะทำ�ร้าย ในภาคใหม่นี้รูปร่างหน้าตา ของมันเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง จากโปเกมอนแก๊ส ตัวสีม่วงกลายเป็นโปเกมอนสีเทาที่มีปล่องควัน โรงงานอยูบ่ นหัว ซึง่ สาเหตุกม็ าจากการทีม่ นั ต้อง บริโภคอากาศเสียและก๊าซพิษเพื่อยังชีพ และ สารพิษทีส่ ะสมอยูภ่ ายในร่างกายก็กลายเป็นเมฆ ก๊าซพิษสีเขียวที่รั่วไหลออกมาลอยอยู่รอบ ๆ ตัว การกลายพันธุ์ในครั้งนี้จึงเป็นภาพสะท้อนของ ปั ญ หามลภาวะทางอากาศที่ เ กิ ด จากโรงงาน อุตสาหกรรม ซึง่ ผนวกเข้ากับเรือ่ งราวของการปฏิวตั ิ อุตสาหกรรม (Industrial Revolution) ทีม่ จี ดุ เริม่ ต้น จากประเทศอังกฤษในช่วงกลางศตวรรษที่ 18 อันเป็นต้นแบบของเกมนั่นเอง

ที่มา : บทความ Dead Coral and Toxic gas: Even Pokémon Is Talking About the Climate Emergency โดย Sophie Lamberts จาก happymag.tv / บทความ Garlarian Weezing จาก swordshield.pokemon.com / บทความ ‘ปะการัง ทนร้อน’ ทางรอดโลกวิกฤติ จาก nstda.or.th CREATIVE THAILAND I 7


Creative Resource : วัตถุดิบทางความคิด

mspfilm.org

เรื่อง : เบญจวรรณ ระงับภัย และ สรศักดิ์ ปัญชำ�นาญค้า

F EAT U RED DOCU M E N TA R Y Catching the Sun (2015) กำ�กับและเขียนบทโดย Shalini Kantayya สารคดีทแี่ สดงเส้นทางการสร้างอาชีพจากอุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์ ซึง่ เริม่ ต้นจากเหตุการณ์โรงกลัน่ น้�ำ มัน เชฟรอน (Chevron Richmond Refinery) ในริชมอนด์ แคลิฟอร์เนีย เกิดเพลิงไหม้รุนแรงจนกระทบต่อสุขภาพ ของผู้คน แวน โจนส์ (Van Jones) ผูก้ อ่ ตัง้ องค์กร Green For All มองว่า นโยบายสีเขียวคือทางออกทีด่ ที ส่ี ดุ โดยเฉพาะ เมื่อผู้คนหารายได้จากงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสร้างเศรษฐกิจได้ไปพร้อม ๆ กัน นั่นน่าจะเป็นทางออก ที่ยั่งยืน เขาจึงเริ่มต้นจากการสอนงานด้านพลังงานแสงอาทิตย์ให้กับคนที่จนและผู้ที่ตกงาน โดยพยายามทำ�ให้ ทุกคนเห็นความสำ�คัญของพลังงานแสงอาทิตย์ตง้ั แต่ระดับครัวเรือนเพือ่ ช่วยแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในระดับเล็ก ๆ ก่อน โจนส์ยงั มีโอกาสได้เข้ารับหน้าทีเ่ ป็นที่ปรึกษาด้านพลังงานสีเขียวของรัฐบาลนายบารัก โอบามา และมีสว่ นสำ�คัญ ในการสนับสนุนโครงการด้านสิ่งแวดล้อมและอาชีพสีเขียว (Green Job) การวางนโยบายเศรษฐกิจสีเขียว การจัดทำ�มาตรการซื้อขายแลกเปลี่ยนก๊าซเรือนกระจก การจำ�กัดสิทธิพิเศษกับบริษัทที่สร้างมลพิษ และการให้ การสนับสนุนการสร้างธุรกิจและอุตสาหกรรมสีเขียว เพือ่ สร้างอาชีพสีเขียวให้มากยิง่ ขึน้ ต่อไป ซึง่ นโยบายทัง้ หมดนีแ้ ม้จะดีตอ่ โลก แต่กลับส่งผลเสียมากมาย กับตัวเขา ทว่าโจนส์ก็ยังไม่หยุดเดินหน้าสร้างอาชีพสีเขียวให้เกิดขึ้นต่อไป ในขณะทีป่ ระเทศจีน บริษทั ทีด่ �ำ เนินธุรกิจด้านพลังงานสีเขียวมีอตั ราการเติบโตถึงร้อยละ 50 ต่อปี และได้รบั การสนับสนุนจากรัฐบาล ทัง้ ด้านเทคโนโลยี อัตราภาษี นโยบาย ไปจนถึงการสนับสนุนการใช้งานในครัวเรือน ส่วนประเทศเยอรมนีก็มีการใช้พลังงานสีเขียวถึงร้อยละ 75 ของประเทศ และถือเป็นผู้นำ� ด้านพลังงานแสงอาทิตย์ระดับโลก อุตสาหกรรมหรืออาชีพสีเขียวอาจจะยังไม่ได้เกิดขึน้ ในทุกประเทศ แต่ปญั หาสิง่ แวดล้อมทุกวันนีก้ �ำ ลังกระตุน้ ให้เราทุกคนต้องตืน่ ตัวหรือให้ความสำ�คัญ มากขึ้น โดยไม่ต้องรอให้รัฐบาลหรือหน่วยงานไหนมาทำ�หน้าที่บังคับใช้ เพราะทุกสิ่งสามารถเริ่มต้นได้จากตัวเราเอง *สามารถชมสารคดี Catching the Sun ได้ทางเน็ตฟลิกซ์ CREATIVE THAILAND I 8


B O OK

Zero Waste Fashion Design โดย Timo Rissanen และ Holly McQuillan ปัญหามลพิษจากอุตสาหกรรมแฟชั่นและสิ่งทอ กําลังกลายเป็นปัญหาของสังคมนิยมฟาสต์แฟชัน่ แนวคิดแบบ Zero Waste Fashion Designs (ZWFD) จึงเริม่ ได้รบั ความสนใจมากขึน้ ด้วยเทคนิค ต่างกันไป ตั้งแต่การผลิตเส้นใยจากวัสดุรีไซเคิล การวางแผนกระบวนการผลิตที่ไม่ส่งผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อม การนำ�เศษผ้าที่ เ หลื อ มาผลิต ด้วยเทคนิควิธใี หม่ ๆ เพือ่ ลดปริมาณขยะเหลือทิง้ ให้น้อยที่สุด หนังสือเล่มนี้ได้แนะนำ�เทคนิควิธีการทำ� แพตเทิร์นผ้าเพื่อให้เหลือทิ้งน้อยที่สุดหรือแทบ ไม่ เ หลื อ ทิ้ง เลย รวมไปถึ ง การนำ � โปรแกรม คอมพิวเตอร์ CAD มาปรับใช้อย่างเช่น การนำ� วิธเี ลเซอร์คตั และการปักผ้าแบบดิจทิ ลั มาทดแทน การเก็บริมผ้าเพือ่ ไม่ให้เหลือผ้าทิง้ รวมถึงการทำ� แพตเทิ ร์ น เชิ ง อุ ต สาหกรรมที่ มี ค วามซั บ ซ้ อ น ซึ่งผู้เขียนได้นำ�เสนอทั้งแนวความคิด บทเรียน เชิงปฏิบตั ิ และแพตเทิรน์ ทีด่ าวน์โหลดเพิม่ เติมได้ เพื่อให้นำ�ไปปรับใช้กับแนวคิดแบบ ZWFD ได้ อย่างเหมาะสมต่อไป

D OCU M E N TA R Y

An Inconvenient Sequel: Truth to Power (2017) กำ�กับโดย Bonni Cohen และ Jon Shenk สารคดีภาคต่อจาก An Inconvenient Truth (2006) สารคดีเกี่ยวกับปัญหาโลกร้อนที่ได้รับรางวัล ออสการ์ ด้านสารคดียอดเยีย่ ม ครัง้ นี้ อัล กอร์ (Al Gore) ผูเ้ ขียนบทและแสดงนำ�กลับมาเล่าเรือ่ งวิกฤต โลกร้อนทีร่ นุ แรงมากขึน้ เริม่ จากปัญหาน้�ำ แข็งขัว้ โลกเหนือทีก่ �ำ ลังละลาย ภาพข่าวสถานการณ์ภยั พิบตั ิ ธรรมชาติจากข่าวทั่วโลก ตั้งแต่น้ำ�ท่วมในสหรัฐฯ ไปจนถึงเหตุพายุไห่เยี่ยนถล่มฟิลิปปินส์ และกราฟิก แสดงสถิติต่าง ๆ สารคดีภาคต่อนี้ยังเน้นการนำ�เสนอการต่อสู้ของ อัล กอร์ ซึ่งเป็นเสมือนฮีโร่ที่ต้อง ต่อสู้กับปัญหาโลกร้อน และยังต้องต่อกรกับนักการเมือง ทั้งการถูกไต่สวน และการยับยั้งงบประมาณ ด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ผู้คนตระหนักถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิโลก นอกจากนี้ ยังมีการวางตัวละครใหม่อย่างโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้ปฏิเสธการให้การสนับสนุนด้านปัญหาโลกร้อน สารคดี เรื่องนี้จึงยืนยันถึงความตั้งใจจริงของอัล กอร์ ในการแก้ไขปัญหาสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง และ ยังเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้ชมหันกลับมารักโลกให้มากขึ้นอีกด้วย

A PPL ICATION

Ecolife การมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมนั้นทำ�ได้หลายรูปแบบ โดยช่องทางหนึ่งที่เหมาะกับ ไลฟ์สไตล์ของคนยุคใหม่ในปัจจุบันก็คือ แอพพลิเคชัน Ecolife ช่องทางดิจิทัลที่สนับสนุนการลดใช้ พลาสติกไปพร้อมกับช่วยสร้างความเพลิดเพลินให้กับผู้ใช้งาน เพียงแค่เปิดแอพพลิเคชัน และมองหา คิวอาร์โค้ดของ Ecolife ที่แสดงไว้ ณ ร้านค้าที่ร่วมรายการ ผู้ใช้ก็สามารถเลือกในแอพพลิเคชันได้ว่า จะไม่รับสิ่งใดบ้างเพื่อช่วยโลก เช่น ถุงพลาสติก หลอดพลาสติก เมื่อสแกนเสร็จแล้ว ก็จะได้รับแต้ม สะสมเพื่อแลกรับของรางวัลและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ จากผู้สนับสนุน นอกจากนี้ ทุกครั้งที่สแกนจาก แอพพลิเคชัน ยังจะได้รับตัวการ์ตูนน่ารัก ๆ ให้ได้สะสมอีกด้วย เรียกได้ว่านอกจากจะรักษ์โลกแล้ว ก็ยังสนุกไปกับวิถีการช่วยโลกแบบคิวต์ ๆ ได้ด้วย

พบกับวัตถุดิบทางความคิดเหล่านี้ได้ที่ TCDC Resource Center CREATIVE THAILAND I 9


MDIC : นวัตกรรมและวัสดุ

SOLAR VENGERS นวัตกรรมที่จะทำ�ให้คนไทยไม่กลัวแดด หากโลกนีส้ ามารถเก็บเกีย่ วพลังงานจากแสงอาทิตย์ขนาด 1 เทระเมตร (TM) ได้เพียง 1 เปอร์เซ็นต์ นัน่ ก็จะเพียงพอต่อความต้องการใช้พลังงานทัง้ หมดแล้ว ด้วยปริมาณที่มหาศาลราวกับไม่มีวันหมดไป รวมถึงการเป็นพลังงาน สะอาด ทำ�ให้พลังงานแสงอาทิตย์กลายมาเป็นพลังงานทางเลือกที่หลาย ประเทศเลือกใช้ ทั้งการเปลี่ยนเป็นความร้อน (Solar Thermal) ในรูปแบบ อุณหภูมติ าํ่ หรือน้อยกว่า 150 องศาเซลเซียสเพือ่ ใช้ในครัวเรือน และอุณหภูมิ กลางถึงสูง 150-600 องศาเซลเซียส เพื่อใช้ผลิตไฟฟ้า ด้วยเทคโนโลยี การรวมแสง (Solar Concentrator) ซึง่ ทำ�อุณหภูมไิ ด้กว่า 1,000 องศาเซลเซียส และการรวมแสงแบบพาราโบลา (Solar Parabolic) ทีเ่ คลือ่ นทีต่ ามแสงอาทิตย์ ซึ่งมีประสิทธิภาพราว 20 เปอร์เซ็นต์ ในประเทศไทยเราสามารถเก็ บ เกี่ ย วพลั ง งานแสงอาทิ ต ย์ ไ ด้ ดี เนื่องจากรับความเข้มของแสงอาทิตย์ได้สูงถึง 18 เมกะจูล/ตารางเมตร ทว่าการนำ�มาใช้กลับยังทำ�ได้ไม่เพียงพอ ปัจจุบันจึงมีการคิดค้นเทคโนโลยี ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเก็บเกี่ยวพลังงานแสงอาทิตย์ โดยศูนย์นาโน เทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) ได้พัฒนาสารเคลือบเพื่อป้องกันฝุ่นบน แผ่นโซลาร์เซลล์ หรือ Solar Concentrator with Graphene Absorber ซึ่งเป็นผลงานวิจัยสารเคลือบผิวจากอนุภาคนาโนกราฟีนและนาโนซิลิกา สำ�หรับดูดซับพลังงานจากการรวมแสงอาทิตย์ทที่ นทานต่อสภาวะความร้อน สูงมากกว่า 500 องศาเซลเซียส มีความยึดเกาะสูง และทนต่อการยืดหด จากความร้อนของพื้นผิวโลหะ นอกจากนี้ ยังสามารถเตรียมได้จาก กระบวนการแบบ Wet Process และขยายกำ�ลังการผลิตได้ ช่วยทดแทน กระบวนการเคลือบแบบสุญญากาศขัน้ สูงทีต่ อ้ งใช้เทคโนโลยีจากต่างประเทศ สารเคลือบดังกล่าวถูกนำ�ไปใช้บนแผงผลิตพลังงานรวมจากแสงอาทิตย์แบบ

พาราโบลิกของบริษทั เอ ที อี จำ�กัด อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา โดยสามารถ รวมแสงได้อุณหภูมิ 500 องศา เพื่อผลิตไอนํ้าที่ความร้อน 450 องศา ความดัน 30 บาร์ และเปลี่ยนเป็นไอนํ้าแรงดันสูงก่อนนำ�มาปั่นไฟเพื่อใช้ ในโรงงานได้ ทั้งนี้ ดร.พิศิษฐ์ คำ�หน่อแก้ว ดร.ธันยกร เมืองนาโพธิ์ คฑาวุธ โลหะเวช และทิพวรรณ สดใส นักวิจัยกลุ่มวิจัยวัสดุผสมและ การเคลือบนาโน ทีมวิจัยนวัตกรรมเคลือบนาโน ได้รับรางวัลเหรียญทอง เกียรติยศ (Gold Medal with the Congratulations of the Jury) และ รางวัล Special Award จากผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการและวิทยาศาสตร์ แห่งสหพันธรัฐรัสเซีย จากผลงานสารเคลือบดูดซับความร้อนด้วยอนุภาค นาโนกราฟีน-ซิลิกา สำ�หรับแผงพลังงานรวมแสงอาทิตย์แบบราง แม้ประเทศไทยจะมีนวัตกรรมใหม่ ๆ ในการนำ�พลังงานแสงอาทิตย์ มาใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพมากขึน้ แต่กย็ งั คงมีค�ำ ถามถึงความคุม้ ค่า ของการลงทุนกับพลังงานแสงอาทิตย์ (Energy Payback Period - EPBP) โดยเฉพาะระยะเวลาคืนทุนพลังงานของเทคโนโลยีแต่ละชนิดซึ่งยังคงเป็นที่ ถกเถียง แม้กระนัน้ การเติบโตของการลงทุนด้านพลังงานแสงอาทิตย์กย็ งั คง เติบโตกว่า 2.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีจีนเป็นประเทศที่มีการลงทุน สูงที่สุดในโลก คงต้องจับตาดูกันต่อไปว่ามนุษย์จะสร้างสรรค์อะไรได้ใหม่ เกี่ยวกับแหล่งพลังงานสะอาดนี้ในอนาคต ที่มา : การบรรยายเรื่อง “เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์” โดย ดร.พิศิษฐ์ ตำ�บ่อแก้ว / กิจกรรมเวิร์กช็อป Solar Vengers กลุ่ม MakerVenger ทีมวิจัยนวัตกรรมเคลือบนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ในกิจกรรมเวิร์กช็อป Solar Vengers กลุ่ม MakerVenger จัดโดย CEA วันที่ 16 พฤศจิกายน 2562 / บทความ “นักวิจัยนาโนเทค สวทช. คว้ารางวัล เหรียญทองเกียรติยศ (Gold Medal with the Congratulations of the Jury) จากงานประกวด สิง่ ประดิษฐ์นานาชาติ The 47th International Exhibition of Inventions Geneva นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส” จาก nanotec.or.th

พบกับนวัตกรรมและวัสดุสร้างสรรค์ ได้ที่ชั้น 2 ห้อง Material & Design Innovation Center, CEA CREATIVE THAILAND I 10

Photo by Daoudi Aissa on Unsplash

เรื่อง : ปิยวรรณ กลิ่นศรีสุข


พบกับนิตยสาร “คิด” Creative Thailand ได้ที่ ร้านหนังสือ ห้องสมุด สมาคม อาคารสำ�นักงาน และร้านกาแฟใกล้บ้าน ในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ หัวหิน และจังหวัดอื่นๆ รวมถึง miniTCDC

หมดปญหาหยิบนิตยสารไมทัน สมัครสมาชิกรายป คาใชจายในการจัดสง 200 บาท (12 เลม)

ดูสถานที่จัดวางทั้งหมดได้ที่: creativethailand.org/contactus

หรือดาวนโหลดใบสมัครออนไลน creativethailand.org/contactus

กรุงเทพฯ ร้านหนังสือ • Asia Books • Kinokuniya • B2S • แพร่พิทยา

• MAIIAM Contemporary Art Museum • ชีวิต ชีวา • Minimeal Cafe • Impresso • Restr8to • Penguin Villa (Penguin Getto) ร้านกาแฟ/ร้านอาหาร • กาแฟอาข่า อ่ามา • Au Bon Pain La Fattoria สาขา2 • Starbucks • TOM N TOM’S COFFEE • Happy Hut ถ.นิมมานฯ • True Coffee • ราชดำ�เนิน • Auntie Anne’s • Mai Bakery In Garden • Baskin Robbins • Starbucks The Plaza • Coffee World • Yesterday Hotel • Mister Donut • October • Black Canyon • สุรยิ นั จันทรา นิมมานฯ ซอย 1 • McCafe’ • ร้านมีชามีชัย (กู) • ดอยตุง • Cafe’de nimman • Ninety four coffee • The Booksmith • Puff & Pie • ร้านชา (Drink Club) • Red Mango • Cotto Studio • Iberry • Starbucks Nimmanhemin • Greyhound Cafe’ • Fern Forest Cafe’ • Amazon Cafe’ • 9th Street Cafe • Chester’s Grill นิมมานฯ ซอย 9 • Luv minibar • ดวงกมล (Duang Kamol) • Rustic & Blue - Handgrown พิพิธภัณฑ์/หอศิลป์ • Produce & Artisan Food • หอศิลปวัฒนธรรม นิมมานฯ ซอย 9 แห่งกรุงเทพมหานคร • หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม • มิวเซียม สยาม • อุทยานการเรียนรู้ (TK park) มช. • นำ�ทอง แกลเลอรี่ หัวหิน • ร้านกาแฟ ชุบชีวา หัวหิน สมาคม/ห้องสมุด • อยู่เย็น หัวหิน บัลโคนี่ • ศูนย์ศิลปะนานาชาติ • บ้านใกล้วัง สมาคมฝรั่งเศส • ภัตตาคารมีกรุณา • ห้องสมุดเนลสัน เฮลส์ The Neilson Hays Library • บ้านถั่วเย็น @ แนบเคหาสน์ • ร้านอาหารหัวหิน (โกทิ) • ห้องสมุด - นิด้า • กาแฟข้างบ้าน • สมาคมโฆษณา • IL GELATO ITALIANO แห่งประเทศไทย • Together Bakery & Cafe’ • สมาคมธนาคารไทย • โรงแรม วรบุระหัวหิน • สมาคมสโมสรนักลงทุน • Let’s Sea • ห้องสมุด สสวท. • โรมแรม ดูน หัวหิน • สมาคมหอการค้าไทย • เดอะร็อค หัวหิน • สถาบัน • บ้านจันทร์ฉาย • Wall Street Institute • หัวหิน มันตรา รีสอร์ท • Raffle Design Institute • ลูน่าฮัท รีสอร์ท • Vision Swimming Academy กระบี่ • Nakamanda Resort & Spa เชียงใหม่ • Rawee Warin Resort & Spa • woo cefe • A little Handmade Shop • Kagee • Ristresto lab • ท่าแพอีสต์+ dibdee.binder ขอนแก่น • Hug School • C.A.M.P ,MAYA • True Coffee ,หอสมุด มช. of Creative Arts • ร้านสืบสาน • Punspace, นิมมานฯ • ร้านกาแฟ คอฟฟี่ เด้อ หล่า • asama cafe • มาหาสมุด (บ้านข้างวัด) (Coffee Der La) • see scape gallery เชียงราย • nimmanian club • ร้านหนังสือ herebookafe • 8 days a week • ร้าน Coffee Dad • Bulbul book cafe’ • Graph cafe’ นครราชสีมา • Cefe de museum • Hug station resort • local cafe Think park • Librarista นครปฐม • Artisan วัวลาย • ร้าน Dipchoc Cafe • paper spoon • กาแฟรสนิยม, นครสวรรค์ หลัง มช ทางขึ้นกาแล • The barn : Eatery Design • ร้าน Bitter Sweet • Book Republic น่าน • wake up หน้ามอ • ร้าน Runway Coffee • Fab cafe’ • kum cafe คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ • ร้านคลาสสิค โมเดล น่าน

• ร้านกาแฟปากซอย • ร้าน Nan Coffee Bean ปาย/แม่ฮ่องสอน • ร้านคอฟฟี่อินเลิฟ • ร้าน all about coffee • ร้านปายหวานบ้านนมสด • ร้านเล็กเล็ก • ปายวิมานรีสอร์ท พังงา • Niramaya Villa and Willness Resort • Ranyatavi Resort Phang Nga • The Sarojin เพชรบุรี • Grand Pacific Sovereign • Resort & Spa • DevaSom Hua Hin Resort ภูเก็ต • ร้านหนัง(สือ) ๒๕๒๑ ภูเก็ต • The oddy Apartment & Hotel • At Panta Phuket • Banyan Tree Phuket • Le Meridien Phuket • Millienium Ressort Patong Phuket • Novotel Phuket Resort • Patong Paragon Resort & Spa Phuket • Sheraton grand Lagana Phuket • Sri wanwa Phuket Villa • Thanyapura ระยอง • Le Vimarn Cottage ลำ�ปาง • อาลัมภางค์ เกสท์เฮ้าส์ แอนด์ มอร์ ลำ�ปาง • ร้านเอกาลิเต้ Egalite Bookshop • Lampang Art Center เลย • บ้านชานเคียง • มาเลยเด้ เกสต์เฮาท์ ลพบุรี • ซนดิคอฟฟี่ สมุทรสงคราม/อัมพวา • Baan Amphawa Resort and Spa สุโขทัย • Ananda Co.,Ltd. สุราษฎร์ธานี • Muang Samui Spa Resort • Pavilion Samui Boutique Resort • The Sunset Beach Resort and Spa Taling ngam • Nora Beach Resort Samui อุทัยธานี • ร้านบุ๊คโทเปีย Booktopia • Avatar Miracles

ขอมูลผูสมัครสมาชิก สมาชิกใหม ชื่อ นามสกุล เพศ โทรศัพท

สมาชิกเกา (ตออายุ) หญิง อายุ

ชาย

อีเมล

โทรศัพทมือถือ

อาชีพ นักเรียน ครู/อาจารย

นิสิต/นักศึกษา พนักงานบริษัท

นักออกแบบ/ครีเอทีฟ ผูประกอบการ

อาชีพอิสระ อื่นๆ โปรดระบุ

ขาราชการ/รัฐวิสาหกิจ

สาขา/อุตสาหกรรมที่เกี่ยวของกับอาชีพของทาน โฆษณา สถาปตยกรรม แฟชั่น ศิลปะการแสดง ดนตรี ภาพยนตร โทรทัศน/วิทยุการกระจายเสียง

ทองเที่ยว/โรงแรม/สายการบิน วรรณกรรม/การพิมพ/สื่อสิ่งพิมพ พิพิธภัณฑ/หองแสดงงาน ซอฟตแวร/แอนิเมชัน/วิดีโอเกม

หัตถกรรม/งานฝมือ การเงิน/ธนาคาร ทัศนศิลป/การถายภาพ อื่นๆ โปรดระบุ

อาหาร การแพทย การออกแบบ

คาปลีก/คาสง โทรคมนาคม

ที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ จังหวัด

ซอย

ถนน รหัสไปรษณีย

หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง

อำเภอ/เขต

หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง

อำเภอ/เขต

ที่อยูในการออกใบเสร็จ เหมือนที่อยูในการจัดสง เลขประจําตัวผูเสียภาษี เพื่อออกใบเสร็จรับเงิน หมูบาน/บริษัท เลขที่ ซอย ถนน จังหวัด รหัสไปรษณีย

ตองการสมัครสมาชิกนิตยสาร Creative Thailand ระยะเวลา 1 ป จำนวน 12 เลม เริ่มตั้งแตฉบับเดือน โดยยินดีเสียคาใชจายในการจัดสงเปนจำนวนเงิน 200 บาท

วิธีการชำระเงิน เช็คสั่งจายสํานักงานสงเสริมเศรษฐกิจสรางสรรค (องคการมหาชน) (CEA) พรอมใบสมัครสมาชิก โอนเงินเขาบัญชี สำนักงานสงเสริมเศรษฐกิจสรางสรรค (องคการมหาชน) ธนาคารกรุงเทพ สาขาสำนักงานใหญสลี ม เลขทีบ่ ญั ชี 101-9-12219-9 • แฟกซใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่ 02-105-7450 • หรือสงไปรษณียมาที่ สํานักงานสงเสริมเศรษฐกิจสรางสรรค (องคการมหาชน) (CEA) อาคารไปรษณียกลาง 1160 ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500 • หรือแนบไฟลใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่อีเมล creativethailand@cea.or.th สอบถามขอมูลเพิ่มเติมไดที่ 02-105-7400 ตอ 116


Cover Story : เรื่องจากปก

เรื่อง : วนบุษป์ ยุพเกษตร ฟองพิษขาวปุยลอยละล่องเหนือแม่น้ำ�ยมุนา หมีขั้วโลกผอมโซที่ความหิวบีบให้ต้องออกมาหากินในเมือง ไฟป่าลุกลามใหญ่โต จนคร่าชีวิตโคอาล่าไร้เดียงสาแทบจะสูญพันธุ์ ...ไม่ใช่ก็ใกล้เคียงมาก ๆ แล้วกับคำ�ว่า “โลกที่ไม่น่าอยู่”

ก่อนทีโ่ ลกของเราจะกลายเป็นแบบนี้ โลกให้พนื้ ทีเ่ ราหาอาหาร ให้เราได้มที พี่ กั อาศัย ให้เราได้เป็นพลเมืองทีม่ นี �้ำ มีอากาศบริสทุ ธิห์ ายใจ และอะไรต่อมิอะไร อีกมากที่เรา “ได้” มา จนแทบลืมไปว่าเรากำ�ลัง “รับ” สิ่งดี ๆ เหล่านี้มาจากโลก ที่สำ�คัญเราไม่แค่ลืมที่จะตอบแทน แต่มนุษย์ยังต้องการจากโลกมากขึ้น เรื่อย ๆ หากเรายังไม่หยุด โศกนาฏกรรมคงมีไม่วันจบ ปีใหม่ที่กำ�ลังจะถึงนี้ ลองบรรจุการตอบแทนโลกให้เป็นอีกหนึ่งเป้าหมาย กับหลากหลายวิธีที่มนุษย์อย่างเราจะช่วยมอบคืนเป็นของขวัญให้โลกได้ และ เพื่อให้เราใช้ชีวิตอยู่บนโลกใบนี้ได้อย่างปลอดภัยและยั่งยืนที่สุดเช่นเดียวกัน CREATIVE THAILAND I 12


Photo by Dose Juice on Unsplash

ของขวัญชิ้นแรก : อาหารแสนอร่อย ราว 30% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในยุโรป เกิดจากการผลิตอาหาร แถมอาหารส่วนใหญ่ ในประเทศพัฒนาแล้วเป็นของทิง้ ขว้าง เฉพาะใน อเมริกาอาหารถูกทิ้งไปเกิน 50% ขณะที่อังกฤษ มีขยะอาหารกว่า 20 ล้านตันต่อปี ส่วนญี่ปุ่น ทิ้งอาหารไปเป็นมูลค่าปีละกว่า 11 ล้านล้านเยน องค์กรปกป้องสิง่ แวดล้อม (The Environmental Protection Agency) ได้พัฒนา “พีระมิดขยะ อาหาร (Food Waste Pyramid)” เพือ่ มาช่วยเพิม่ มูลค่าให้วงจรขยะอาหารและหลีกเลี่ยงอาหาร สู่แหล่งฝังกลบในที่สุด พีระมิดนี้ตีแผ่การจัดการ ขยะอาหารในทุก ๆ ระดับ ตั้งแต่จากการผลิต ในฟาร์ม สู่ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านอาหาร ยันแหล่ง ฝังกลบ 1. ลดการใช้วัตถุดิบ

“ในแต่ละปีผลผลิตกว่า 10 ล้านตันไม่ได้ถูก เก็บเกี่ยว” สารคดีว่าด้วยขยะอาหารเปิดเผย ตัวเลขอันน่าตกตะลึง แถมการผลิตอาหารเป็นเหตุ ใหญ่ที่สุดในการตัดไม้ทำ�ลายป่า การสกัดเอาน้ำ� มาใช้ ทำ�ลายถิ่นฐานทางธรรมชาติและความ หลากหลายทางชี ว ภาพ ทั้ ง หมดนี้ เ พี ย งเพื่ อ

“ผลิตอาหาร” ให้เราได้กินกัน แต่ 1 ใน 3 ของ อาหารเหล่านี้กลับกลายเป็นขยะในท้ายที่สุด แดน บาร์เบอร์ (Dan Barber) เชฟจาก ร้านอาหาร Blue Hill ในนิวยอร์กพยายามใช้ ทุกส่วนของพืชผักและเนื้อสัตว์ “ดอกกะหล่ำ� เป็นตัวอย่างทีเ่ ยีย่ มทีส่ ดุ เวลาเราเก็บมัน เราไม่ได้ ต้องการใบมันเลย ส่วนใบจึงกลายเป็นขยะเสีย ทั้งหมด” เซด (Zaid) ชาวสวนชาวนอร์วิชอธิบาย แดนและเพื่อนเชฟจึงปิ๊งไอเดียในการนำ�ทุกส่วน ของพืชผักมาใช้งานในมื้ออาหาร ด้วยความคิดสร้างสรรค์จงึ ทำ�ให้ทกุ ส่วนของ พืชถูกจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ และไม่มสี ว่ นใด กลายเป็นของเหลือทิ้ง 2. เลี้ยงดูผู้หิวโหย

สถิติคนขาดแคลนอาหารในอเมริกาพุ่งสูงถึง แปดร้อยล้านคน แต่กลับมีอาหารทีถ่ กู ทิง้ กว่า 1.3 พันล้านตันต่อปี! ครอบครั ว เล็ ก ๆ ในเมื อ งดอร์เชสเตอร์ แมสซาชูเซตส์ เป็นหนึ่งในครอบครัวที่เข้าไม่ถึง อาหารดี ๆ เพียงเพราะไม่มีซูเปอร์มาร์เก็ตใน ละแวกที่พักอาศัย จะมีก็แต่ร้านอาหารจานด่วน ที่ไม่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ สเตฟานี หนึ่งใน CREATIVE THAILAND I 13

สมาชิกครอบครัวตัดพ้อว่า “ตอนเด็ก ๆ ฉันมักจะ ได้กินแต่ฟาสต์ฟู้ดส์ มันฝรั่งอบกรอบ แต่พอฉัน โตขึ้นและรู้ว่าของพวกนี้มีผลยังไงกับร่างกาย เลยคิดว่ามันคงดีกว่านี้ ถ้ามีอะไรที่มีประโยชน์ มากกว่าและถูกกว่าของที่ฉันเคยกิน” Daily Table ร้านขายของชำ�ไม่แสวงกำ�ไร มีเป้าหมายว่า “ขายอาหารสุขภาพในราคาที่ต่ำ� พอจะไปแข่งกับเหล่าอาหารจานด่วน” ที่นี่นำ� อาหารจากซูเปอร์มาร์เก็ต ผู้ค้าปลีก และผู้ปลูก ที่จะพบจุดจบในถังขยะมาจำ�หน่ายในราคาที่ ถูกกว่าทั่ว ๆ ไป แถมมีส่วนปรุงอาหารสดใหม่ ไว้คอยบริการอีกด้วย “พอมี Daily Table มันจึง เป็นทางเลือกใหม่ในการที่เราจะเข้าถึงวัตถุดิบ สุขภาพ มากกว่าอาหารจานด่วนในร้านพิซซ่า ถูกกว่า แถมสะดวกกว่าด้วย Daily Table จึงเป็น เหมือนสินทรัพย์อย่างหนึง่ ของชุมชนนี”้ แทซ (Taz) สาวผู้ เ ป็ น หั ว หน้ า ครอบครั ว ให้ สั ม ภาษณ์ ด้ว ย ความดีใจ “กลายเป็นว่าได้แก้ไขปัญหาถึงสองเด้ง คือจัดการของเหลือจากที่ต่าง ๆ และนำ�อาหาร ให้เข้าถึงผู้คน” ดั๊ก โร้ช (Doug Raugh) ผู้ก่อตั้ง ร้าน Trader Joe’s ซูเปอร์มาร์เก็ตแบรนด์ใหญ่ ของเมืองนิวยอร์กกล่าว


3. เอาไปเลี้ยงสัตว์สิ

หมูทฟี่ าร์ม Tsukayama ในเมืองชิบะถูกเลีย้ งด้วย “อีโคฟีด (Eco-Feed)” จากศูนย์นเิ วศด้านอาหาร แห่งญี่ปุ่น หรือ J.FEC (Japan Food Ecology Center) ซึ่งทำ�ให้หมูที่ฟาร์มแห่งนี้เป็นหนึ่งใน เนื้อหมูที่อร่อยที่สุดในญี่ปุ่น ระบบการนำ�เศษอาหารจากร้านและโรงงาน ผลิตอาหาร ไปผลิตเป็นอาหารเลีย้ งหมูของ J.FEC สามารถช่วยลดขยะอาหารได้ถึง 35 ตันต่อวัน (จาก 190 ตัน) ขยะอาหารที่ได้รับมาจะผ่าน กระบวนการย่อยคล้ายกับการปัน่ น้�ำ ผลไม้และจะ ถูกนำ�ไปให้ความร้อนที่ 85-90 องศาเซลเซียสเพือ่ ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ด้วยการปรับค่า pH ให้เป็น 4 หรือน้อยกว่า (เท่ากับมีฤทธิ์เป็นกรด) จึงทำ�ให้ อาหารสัตว์ที่ผลิตออกมาเก็บรักษาได้นานราว 10 ถึง 14 วันในอุณหภูมิปกติ เหล่านี้เรียกว่า “หมักด้วยกรดแล็กติก (Lactic Acid-Fermented)” คล้ายกับผักดองแบบญี่ปุ่น (Stukemono) หรือ โยเกิร์ตของตะวันตก “อาหารเป็นทรัพยากรที่มี อยูอ่ ย่างจำ�กัด มันเป็นเรือ่ งจำ�เป็นทีท่ กุ คนบนโลก ต้องแบ่งปันกัน แม้แต่สัตว์ก็จำ�เป็นด้วยเช่นกัน” โคอิจิ ทากาฮาชิ (Koichi Takahashi) ผู้ก่อตั้ง J.FEC ทีบ่ รรยายขัน้ ตอนในโรงงานกล่าวจบพร้อม รอยยิ้ม 4. ลองทำ�ปุ๋ยหมัก

เมื่อดินดีก็เท่ากับว่าเราจะมีอาหารสุขภาพไว้กิน การนำ�อาหารไปแปรเป็นพลังงานดูเหมือนจะ ไกลตั ว ไปหน่ อ ย ถ้ า งั้ น เราจะพามาเจอสิ่ ง ที่ ใกล้ตวั กว่าทีเ่ รียกว่า “ปุย๋ หมัก” ซึง่ ทุกคนสามารถ สร้างความเปลี่ยนแปลงกับขยะอาหารได้ คุณครูจาฮ์มาล (Jahmal) กำ�ลังสอนให้เด็ก ๆ ในโรงเรียนให้รู้จักการนำ�ผักที่ไม่ต้องการแล้วใส่ ลงในดินเพื่อทำ�เป็นปุ๋ยหมัก แทนที่จะโยนมันทิ้ง ไปเฉย ๆ ในสวนผักของโรงเรียนสีเขียว Samuel J. Green ในนิวออร์ลนี ส์ รัฐลุยเซียนา มีการเรียน การสอนเรื่องสวนศึกษา (Garden Education Programs) ทีด่ ที สี่ ดุ ในประเทศ เพราะเด็ก ๆ มัก กินมื้อเที่ยงที่โรงเรียนกันน้อย ของที่เหลือจึงต้อง จบลงในถังขยะ แต่ทโี่ รงเรียนนีก้ ลับใช้เศษอาหาร เหล่านัน้ มาช่วยผลิตอาหารขึน้ ใหม่ในสวน เด็ก ๆ และคุ ณ ครู จ ะช่ ว ยกั น เปลี่ ย นจากเศษอาหาร ให้กลายเป็นปุ๋ยปรุงดินที่อุดมไปด้วยสารอาหาร “สำ�หรับเด็ก ๆ มันคือการทำ�ความเข้าใจจุดมุง่ หมาย

ของชีวติ ว่า ถ้าฉันเลีย้ งดูโลก โลกก็จะกลับมาดูแล ฉันเช่นกัน” เพราะก่อนหน้าทีจ่ ะมีสวนผัก เด็ก ๆ ก็กินแต่ขนมกรุบกรอบ ลูกกวาด และน้ำ�อัดลม ฉะนั้นการสอนเด็ก ๆ ให้ทำ�ปุ๋ยหมักจึงไม่ใช่แค่ การสอนให้ท�ำ เป็น แต่มนั คือการปลูกฝังให้เรียนรู้ ชีวติ อย่างทีม่ นั ควรจะเป็น “คุณไม่ได้เปลีย่ นแค่เด็ก คุณกำ�ลังเปลี่ยนครอบครัวพวกเขาที่ส่งผลให้ ชุมชนและเมืองเปลีย่ นไปด้วย เมือ่ หลาย ๆ เมือง เปลี่ยน ประเทศชาติก็จะเปลี่ยน และนั่นแหละ ถึงจะเปลี่ยนโลกใบนี้ได้” 5. หลุมศพอาหาร

“อาหารในอเมริกามากกว่า 90% พบจุดจบที่ หลุมฝังกลบ นัน่ เป็นเรือ่ งทีบ่ า้ บอมาก” ทริสแทรม สจ๊วร์ต (Tristram Stuart) นักเคลือ่ นไหวชาวอเมริกนั ผู้เชี่ยวชาญเรื่องขยะอาหารของโลก ผู้ก่อตั้ง Feedback องค์กรไม่แสวงผลกำ�ไร และผู้เขียน หนังสือ Waste: Uncovering the Global Food Scandal กล่าว วิธที เ่ี ราไม่ควรทำ�กับขยะอาหารคือการส่งมัน ไปยังหลุมฝังกลบ เพราะเมื่อเศษอาหารย่อยโดย ไร้ออกซิเจนมันจะก่อให้เกิดก๊าซมีเทน ซึ่งทำ�ให้ โลกร้ อ นมากกว่ า ก๊ า ซคาร์ บ อนไดออกไซด์ ถึ ง 23 เท่า เราจึงไม่ควรคิดแค่ว่ามันเป็นเศษอาหาร แล้วมันจะย่อยสลายได้รวดเร็ว เพราะในหลุม ฝังกลบไม่เป็นเช่นนัน้ ตัวอย่างเช่น หัวผักกาดหอม แค่ หั ว เดี ย วใช้ เ วลาย่ อ ยสลายในหลุ ม ฝั ง กลบ กว่า 25 ปี การหลีกเลี่ยงที่จะส่งขยะอาหารไป หลุมฝังกลบจึงกลายเป็นเรื่องสำ�คัญลำ�ดับต้น ๆ สำ�หรับเยอรมัน สวีเดน และเกาหลีใต้

CREATIVE THAILAND I 14

ในปี 2013 รัฐบาลเกาหลีใต้ออกมาจัดการ กับปัญหาขยะอาหารด้วยตนเองด้วยการปฏิวัติ ระบบใหม่ทั้งหมด และงัดมาตรการ “ทิ้งเท่าไร จ่ายเท่านั้น” ออกมาใช้ ถังขยะสำ�หรับทิง้ ขยะอาหารทีห่ น้าตาแปลก ออกไปจากที่เคย แถมมีระบบสำ�หรับบันทึก การทิง้ ขยะในแต่ละครัง้ พลเมืองจะมีบตั รประจำ�ตัว อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้สำ�หรับเปิดถังขยะอัตโนมัติ และสามารถชั่งน้ำ�หนักขยะอาหารได้ หลักการ ง่าย ๆ คือทุกคน “ต้อง” แยกขยะอาหารออกจาก ขยะอื่น ๆ ก่อนนำ�มาเทในถังที่จัดไว้ ทุกครั้งที่มี การทิ้งเกิดขึ้น ระบบจะทำ�การบันทึกไว้ และจะ ออกเป็นบิลสำ�หรับจ่ายเงินตอนสิน้ เดือนเหมือนกับ ค่าน้ำ�ค่าไฟ ซึ่งค่าธรรมเนียมการทิ้งขยะพวกนี้ ก็ขึ้นอยู่กับปริมาณขยะที่เราได้ทิ้งไป ที่สำ�คัญ ระบบนี้สามารถช่วยลดขยะอาหารในครัวเรือน ได้ถึง 30% เลยทีเดียว “ฉะนั้นถ้าคุณสอนคนให้เอาขยะทุกอย่าง ใส่ลงในถุง ขยะเหล่านัน้ ก็จะไปจบลงทีห่ ลุมฝังกลบ แต่ถา้ คุณก็สอนคนว่า คุณทิง้ กระดาษตรงนี้ ทิง้ ขวด ตรงนี้ หรือทิ้งกระป๋องตรงนี้นะ เราก็จะรีไซเคิล ของพวกนี้ได้ ต่อมาคุณก็บอกคนว่าจริง ๆ แล้ว ถ้าคุณแยกขยะอาหารออกมาต่างหาก เราก็จะ เอาอาหารพวกนั้นเปลี่ยนเป็นปุ๋ยในดินได้ หรือ แม้แต่เปลี่ยนเป็นพลังงานทดแทนได้ นั่นแหละ คือชัยชนะ” มาร์ก บิตต์แมน (Mark Bittman) ผู้เขียนหนังสือเรื่อง How to Eat Everything สรุป และทุกวันนี้ในเกาหลีใต้สามารถลดขยะ อาหาร “เกือบทัง้ หมด” ทีจ่ ะไปจบในหลุมฝังกลบ ได้แล้ว


stefanoboeriarchitetti.net

การวิจยั และนวัตกรรมใหม่ๆ ตัง้ แต่ชวี วิทยาโมเลกุล หุ่นยนต์ ไอที และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้าง เมืองที่ยั่งยืน” ทีมงานโบเอรีกล่าว โครงการของโบเอรียังคงต้องรอการอนุมัติ ต่อไป หลังจากยื่นเรื่องไปยังส่วนผังเมืองระดับ ภูมภิ าคตัง้ แต่เดือนมีนาคมทีผ่ า่ นมา แต่ส�ำ หรับเรา ไม่ตอ้ งรอเรือ่ งอนุมตั กิ ส็ ามารถ “เริม่ ” ปลูกต้นไม้ ได้ตั้งแต่วันนี้ พร้อมทั้งหันมาใช้พลังงานทดแทน ต่าง ๆ เพือ่ ผ่อนเบาให้โลกและสร้างสภาพแวดล้อม ที่ดีต่อตัวเราเอง

ของขวัญชิน้ ที่สอง : ที่พกั แสนสบาย (ใจ) เมืองในฝันที่โลกปรารถนาให้มนุษย์สร้าง คงเป็น เมืองที่ใกล้เคียงกับธรรมชาติมากที่สุดที่อุดม ไปด้ ว ยพื ช พรรณนานาชนิ ดและเป็ น มิ ต รกั บ ธรรมชาติโดยเบียดเบียนกันให้น้อยที่สุด สเตฟาโน โบเอรี (Stefano Boeri) สถาปนิก ชาวอิตาเลียนเลื่องชื่อเนรมิตเมืองสีเขียวแนวตั้ง โดยวางแผนจะสร้าง “เมืองป่าอัจฉริยะ (Smart Forest City)” ขึ้นที่แคนคูน (Cancún) เมืองทาง ตะวันออกเฉียงใต้ของเม็กซิโก เป็นการนำ�ทรัพยากร ธรรมชาติอย่างต้นไม้ใบหญ้า มาผสมผสานอยูใ่ น เทคโนโลยีสดุ ไฮเทคได้อย่างลงตัว จนลบความเชือ่ ที่ว่า “ความเป็นอยู่ของธรรมชาติมักสวนทางกับ ความเจริญก้าวหน้า” ได้หมดสิ้น พื้ น ที่ ก ว่ า 557 เฮกตาร์ (5.57 ตาราง กิโลเมตร) ใกล้ ๆ กับเมืองแคนคูน เต็มไปด้วย พืชกว่า 7.5 ล้านต้น รวมถึงต้นไม้อีกหลากหลาย สายพันธุ์ แถมด้วยพุม่ ไม้ทรวดทรงต่าง ๆ ทีค่ ดั สรร

โดย ลอรา กัตติ (Laura Gatti) นักพฤกศาสตร์ และภูมิสถาปนิกประจำ�ทีม โดยเมืองป่าอัจฉริยะ แห่งนีจ้ ะดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ถงึ 116,000 ตัน และกักเก็บอีก 5,800 ตันต่อปี โบเอรีจับมือกับ Transsolar บริษัทสัญชาติ เยอรมันเกีย่ วกับวิศวกรรมภูมอิ ากาศทีม่ เี ป้าหมาย ในการสร้างสภาพแวดล้อมแสนสะดวกสบายที่ กระทบกับสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด เพื่อสร้างให้ เมืองป่าอัจริยะแห่งนี้ผลิตอาหารและพลังงาน ได้ดว้ ยตัวเองโดยไม่พง่ึ พาทรัพยากรจากภายนอกเลย และองค์ประกอบทัง้ หมดของเมืองแห่งนีจ้ ะอิงกับ หลักการ “เศรษฐกิจหมุนเวียน” ทีม่ แี ผงโซลาร์เซลล์ ผลิตไฟฟ้าใช้เป็นของตัวเอง และพืน้ ที่ทำ�การเกษตร ที่จะรับน้ำ�จากระบบน้ำ�ที่ฝังเอาไว้ภายในเมือง ซึ่ ง น้ำ � ที่ ไ ด้ จ ะถู ก นำ � ไปเก็ บ ไว้ ใ นแอ่ ง ที่ ท างเข้ า ของเมือง ซึ่งรวมไปถึงหอกลั่นน้ำ�จากทะเลแล้ว จึงกระจายน้ำ�ไปตามคลองทั่วเมือง “ไอเดีย โครงการนี้จึง เป็ น การสร้ า งย่ า นที่ อุ ทิ ศ ให้ กับ CREATIVE THAILAND I 15

ของขวัญชิ้นที่สาม : เสื้อผ้าแสนสวย โศกนาฏกรรมครัง้ ใหญ่เกิดขึน้ เมือ่ โรงงานเย็บผ้า แห่งรานาพลาซ่าที่บังกลาเทศพังทลายลงในปี 2013 สาวอายุนอ้ ยทีเ่ ป็นฟันเฟืองสำ�คัญในการผลิต เสือ้ ผ้าของเหล่าแบรนด์แฟชัน่ ตะวันตกต้องเสียชีวติ และบาดเจ็บหลายพันคนโดยไร้ความรับผิดชอบ นั่นจึงเป็นจุดกำ�เนิดของ “การปฏิวัติแฟชั่น หรือ Fashion Revolution” หนึ่งในกิจการเพื่อสังคม ไม่แสวงผลกำ�ไรแห่งอังกฤษที่มีเครือข่ายทั่วโลก พวกเขามุ่งเจาะไปที่อุตสาหกรรมแฟชั่นเพื่อชี้ให้ เห็นถึงความน่ากลัวของ “แฟชั่นที่รวดเร็ว (Fast Fashion)” และกระตุ้นให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด ดำ�เนินงานอย่างโปร่งใส เป็นธรรม รับผิดชอบต่อ สังคมและสิ่งแวดล้อม หนึ่งในอุตสาหกรรมที่ทำ�ร้ายโลกมากที่สุด คือ แฟชั่น เมื่ออะไรที่กลายเป็นแฟชั่น หมายถึง ทุกอย่างจะต้องเปลีย่ นไปอย่างรวดเร็ว และนัน่ ก็คอื ขยะที่ตามมาอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกัน การเคลื่อนไหวเล็ก ๆ ของพวกเขาผ่าน แฮชแท็ก #WhoMadeMyClothes ในโซเชียล มีเดีย ดูเหมือนว่าจะสร้างแรงกระตุ้นให้กลุ่ม โรงงานผู้ผลิตเสื้อผ้าหันมาฉุกคิดและเปิดเผย ระบบการทำ�งานให้มคี วามโปร่งใสมากขึน้ วิธกี าร ที่พวกเขาทำ�ก็ง่าย ๆ คือพากันถ่ายรูปตัวเองกับ ป้ายแบรนด์และโพสต์ แล้วถามแบรนด์นั้นว่า #WhoMadeMyClothes เพื่ อ ส่ ง เสี ย งไปยั ง แบรนด์เสือ้ ผ้าให้เผยความโปร่งใสและซือ่ ตรงของ ตัวบริษัท โดยการระบุขั้นตอนและที่มาทั้งหมด ของกระบวนการผลิตเสื้อผ้าทั้งหมด แม้สงิ่ ทีพ่ วกเขาทำ�อยูค่ อื การบอกให้แบรนด์ เปลี่ยนแปลง แต่เราก็สามารถเปลี่ยนแปลงด้วย ตนเองได้เช่นกัน #HAULTERNATIVE คู่มือสำ�หรับ ผูร้ กั และหลงใหลในแฟชัน่ ท้าคนให้เข้ามาแข่งกัน


independent.co.uk

“ไม่ซื้อเสื้อผ้าใหม่” เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ดึงคน ให้เข้ามาร่วมคุย้ ตูเ้ สือ้ ผ้าเพือ่ เพิม่ ความมีชวี ติ ชีวา ให้กับตัวเอง ตู้เสื้อผ้าและโลกของเราโดยไม่ต้อง ซือ้ เสือ้ ผ้าใหม่ เพียงแค่อดั วิดโี อสัน้ ๆ บอกเล่าถึง เทคนิ ค ที่ เ ราเลื อ กใช้ ใ นการปฏิ บั ติ กั บ เสื้ อ ผ้ า ของเราเองแบบสนุก ๆ ว่าวิธไี หนทีเ่ ราจะเลือกใช้ 1. ซ่อมแซมจุดทีข่ าดและหาย (Fashion Fix)

เวลาเราใส่เสื้อผ้าจนขาดหลุดลุ่ย หรือกระดุม กระเด็นหายไป เราก็แค่เอาไปซ่อมเพื่อยืดอายุ เสื้อผ้าให้อยู่กับเราได้นานยิ่งขึ้น 2. มือสองก็ได้ (2hand) เปลี่ยนบรรยากาศ

การเสพเสื้อผ้าใหม่ ๆ แทนด้วยการเลือกซื้อจาก ร้านค้ามือสองใกล้ ๆ บ้าน

และเครื่องใช้ในบ้านอีกหลายอย่าง เหตุเพราะ “ค่าซ่อม” แพงกว่า “การซื้อใหม่” อีกอย่างคือ กระแสสังคมที่เปลี่ยนบ่อย โทรศัพท์เปลี่ยนรุ่น เร็วขึน้ และการที่ผู้ผลิต “จงใจ” จำ�กัดอายุการ ใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหลาย “บริษัทไม่อยากให้ข้าวของพวกนี้ย้อนกลับ ไปหาพวกเขาผ่านระบบรับประกันสินค้าแล้วต้อง รับผิดชอบพวกมันอีก มันง่ายกว่าทีจ่ ะทำ�ลายมัน ทิ้งไปเลย” เรนี่ ไกด์ สาวในโรงงานรีไซเคิลขยะ อิเล็กทรอนิกส์ในเมืองโรสวิลล์ แคลิฟอร์เนียเล่า ให้ฟงั พร้อมกับบอกความจริงอันน่าประหลาดใจว่า ข้าวของส่วนใหญ่ที่ถูกนำ�มารีไซเคิลเป็นของใหม่ กว่าครึ่ง กองขยะอิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ ใ นประเทศที่ พัฒนาแล้วส่วนมาก (กว่าร้อยละ 80) “มักจะ” ถูกส่งข้ามน้�ำ ข้ามทะเลไปยังประเทศกำ�ลังพัฒนา เพื่อจัดการรีไซเคิล เพราะกฎหมายของประเทศ เหล่านั้นเข้มงวดในการห้ามเก็บของมีพิษไว้ใน ประเทศ และค่าใช้จ่ายในการรีไซเคิลก็สูงกว่า การส่งไปยังประเทศด้อยพัฒนาที่ค่าแรงถูกกว่า แต่ทุกวันนี้ หลายที่ได้พากันส่งขยะกลับไปในที่ ที่มันจากมา เหตุการณ์นี้จึงบีบให้หลายบริษัท “ปรับตัว” เพื่อจัดการและทำ�การรีไซเคิลขยะ เหล่านั้นเสียเอง

“เปลีย่ นอุปกรณ์ทคี่ ณุ มีให้เป็นอุปกรณ์ทคี่ ณุ ต้องการ” เป็นสโลแกนการรับคืนอุปกรณ์โทรศัพท์ มือถือของแอปเปิล (Apple Trade in) เพือ่ แลกเป็น บัตรของขวัญไปใช้ซอื้ สินค้าในร้าน หรือแม้แต่น�ำ มาเป็ น ส่ ว นลดในการซื้ อ ไอโฟนเครื่ อ งใหม่ อุปกรณ์ทพี่ งั จนไม่สามารถใช้ได้แล้ว ทางแอปเปิล ก็ยนิ ดีรบั เพือ่ นำ�ไปรีไซเคิลต่อ เพราะเป้าหมายคือ การผลิ ต โดยไม่ ต้ อ งจั ด หาทรั พ ยากรเพิ่ ม อี ก ที่แอปเปิลมีตัวช่วยอย่างเดซี่ (Daisy) หุ่นยนต์ แยกชิ้นส่วนไอโฟนที่สามารถแยกไอโฟนได้ถึง 200 เครื่องต่อชั่วโมง แถมยังเก็บวัตถุดิบมีค่า แยกออกจากวัตถุดิบอื่นได้ด้วย เดซี่กำ�ลังทำ�งาน อย่ า งขยั น ขั น แข็ ง ในอเมริ ก าและจะเดิ น ทาง ออกไปประเทศอื่น ๆ ในไม่ช้า แม้ว่าทีบ่ า้ นเรา ยังไม่เปิดกว้างรับรีไซเคิลอุปกรณ์รุ่นอื่น ๆ เท่า ที่ส าขาแม่ ใ นอเมริ ก า แต่ ก็ เ ป็ น สัญญาณที่ดี ที่ บ ริ ษั ท ยั ก ษ์ ใ หญ่ เ ริ่ ม หั น มาใส่ ใ จสิ่ ง แวดล้ อ ม ถือว่าเป็นก้าวที่ถูกทาง เพราะสิ่งที่สำ�คัญที่สุด ก็คือ “ใช้ทรัพยากรที่มีจำ�กัดบนโลกอย่างคุ้มค่า และนำ�กลับมาใช้ใหม่ได้” นั่นเอง เพราะจุดที่จะแก้ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ ได้ ดีที่ สุ ดคื อ ต้ อ งแก้ แ ต่ ต้ น ทาง ที่ ผู้ ผ ลิ ต ต้ อ ง “ปรับตัว” ทำ�ให้ของใช้ได้ทนและนานขึน้ อันตราย น้อยลง ปรับรุ่นให้เข้ากันได้ ซ่อมและรีไซเคิลได้ ง่ายทีส่ ดุ อย่างน้อย ๆ แอปเปิลก็ได้ “เริม่ ” แล้ว

3. เอามาแลกกัน (SWAP) ทางที่ง่ายที่สุด

ในการยืดอายุเสือ้ ผ้าของคุณคือการมอบให้เจ้าของ คนใหม่ โดยการแลกเปลี่ยนหรือแบ่งปันกัน 4. ทำ�งานประดิษฐ์ (DIY) หากไม่ชอบเสื้อผ้า

ที่มีอยู่แล้ว อย่าเพิ่งโยนทิ้ง แค่เปลี่ยนมันโดยการ เอามาทำ�เป็นงานประดิดประดอย เปลี่ยนจาก เสือ้ ยืดเป็นผ้าพันคอหรือผ้าเช็ดหน้า หรือแปลงร่าง ยีนส์เป็นเกาะอกสุดเซ็กซี่ เท่านีก้ เ็ หมือนได้เสือ้ ผ้า ตัวใหม่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นตัวแบรนด์หรือตัวเรา ต่างคน ก็ตอ้ งเปลีย่ นเพือ่ ให้วงการเสือ้ ผ้ากลายเป็นของขวัญ ที่ดีที่สุดอย่างหนึ่งสำ�หรับโลกของเรา

macrumors.com

ของขวัญชิ้นที่สี่ : เทคโนโลยีสุดไฮเทค “ใช้แล้วทิ้ง” กลายเป็นพฤติกรรมปกติของคนใช้ เครื่องใช้ไฟฟ้าสมัยนี้ ใม่ใช่แค่โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ แต่รวมไปถึงโทรทัศน์ รีโมต ตู้เย็น CREATIVE THAILAND I 16


ของขวัญชิ้นสุดท้าย : ถุงพลาสติก VS ถุงกระดาษ VS ถุงผ้า ข่าวการจัดอันดับประเทศที่ปล่อยขยะลงทะเลมากที่สุดสร้างความหวังเล็ก ๆ ให้กับชาวไทย จากแต่เดิมเคยครองอันดับที่ 6 ของโลก ก็ร่วงมาอยู่ อันดับที่ 10 แล้ว นับเป็นสัญญาณที่ดีในการเดินหน้าลด ละ เลิก การแจกถุงพลาสติกในไม่กี่วันข้างหน้านี้ เมื่อ 60 ปีก่อน (ปีค.ศ. 1959) พลาสติกถูกคิดค้นขึ้นโดยสเตน กุสตาฟ ธูลิน (Sten Gustaf Thulin) วิศวกรชาวสวีเดน เพียงหวังเพื่อให้มาทดแทน “ถุงกระดาษ” ที่เป็นผลผลิตจากการตัดต้นไม้จำ�นวนมหาศาล คุณสมบัติของพลาสติกคือ เบา แข็งแรง และทนทาน เขาจึงหวังให้ทุกคนใช้ถุงพลาสติกกัน ซ้ำ� ๆ แทนการใช้ถุงกระดาษ แต่ในปัจจุบันกลับไม่เป็นเช่นนั้น “ถุงพลาสติกใช้สะดวกมาก แต่คนเราก็ขี้เกียจมากเกินไป พอใช้เสร็จเราก็แค่โยนมันทิ้งไป ความจริงถุงพลาสติกไม่ได้ถูกคิดค้นขึ้นมาเพียงเพื่อใช้แค่ครั้งเดียว” สิ่งที่เลวร้ายกว่าพลาสติกกลับเป็นถุงกระดาษและถุงผ้า เพราะทั้งคู่ผลาญพลังงานและ น้ำ�มากกว่าหลายเท่า แล้วถ้าถามว่า “ฉันจะใช้ถุงแบบไหนดีล่ะ ถ้าฉันอยากจะช่วยโลก” คำ�ตอบก็คือ ใช้ถุงที่คุณ “มีอยู่แล้ว” ซ้ำ�ไปเรื่อย ๆ และเมื่อมันขาด ก็แค่ซ่อมมัน ไม่ก็เอาไปรีไซเคิลเสีย สุดท้ายพลาสติกก็อาจจะไม่ได้ผดิ อะไร แต่เป็นตัวเราเองมากกว่าทีใ่ ช้มนั แบบ “ไม่รคู้ ณุ ค่าและไร้ความรับผิดชอบ” แต่นนั่ ก็รวมถึงการไม่มรี ะบบจัดการ ที่เหมาะสมอีกด้วย อย่าลืมว่าทุกพฤติกรรมการบริโภคของเรามีสว่ น “ช่วย” หรือ “ทำ�ลาย” โลกนีไ้ ด้ ขึน้ อยูก่ บั ว่าเราเลือกทีจ่ ะกรีดบาดแผลให้ลกึ ลงไปจนเกินจะรักษา หรือ จะช่วยทำ�แผลของโลกให้ทุเลาด้วยการมอบ “ของขวัญ” ...เพียงชิ้นเล็ก ๆ ก็ยังดี * หลายประเทศเริ่มคิดเงินค่าถุงพลาสติก เช่น ในไอร์แลนด์ อังกฤษ เดนมาร์ก ฯลฯ * บางประเทศก็ตัดปัญหาโดยการแบนไปเลย เช่น นิวซีแลนด์ โมร็อกโก ฝรั่งเศส ฯลฯ ที่มา : หนังสือ “เรื่องเล่าของข้าวของ (The Story of Stuff)” โดย แอนนี่ เลียวนาร์ด / หนังสือ “กินกู้โลก ตีแผ่ผลจากการกินทิ้งกินขว้างที่คุณต้องตะลึง! (Waste: Uncovering The Global Food Scandal)” โดย ทริสแทรม สจ๊วร์ต / สารคดี “Wasted! The Story of Food Waste (2017)” โดย Anna Chai และ Nari Kye / บทความ “Stefano Boeri unveils Smart Forest City covered in 7.5 million plants for Mexico” โดย Eleanor Gibson (25 ตุลาคม 2019) จาก dezeen.com / บทความ “The Best Answers To #WhoMadeMyClothes This Fashion Revolution Week” โดย Olivia Pinnock (4 พฤษภาคม 2018) จาก forbes.com / บทความ “H&M, Zara, and other fashion brands are tricking shoppers with vague sustainability claims” (8 กรกฎาคม 2019) จาก fastcompany.com / บทความ “เรากลายมาเป็น “สังคมใช้แล้วทิ้ง” กันได้อย่างไร?” (11 พฤศจิกายน 2019) จาก greenpeace.org / apple.com / วิดีโอ “Why paper bags are worse for the planet than plastic” (18 ตุลาคม 2019) จาก bbc.com

CREATIVE THAILAND I 17


Fact & Figure : พื้นฐานความคิด

เรื่อง : ภัทราภา เวชภัทรสิริ

เลือกสบายวันนี้ (ก่อน) เพราะอนาคตยังมาไม่ถึง (สักหน่อย)

หลายคนคงเคยพบเจอกับประสบการณ์ที่เรารู้สึกว่า “อยากจะทำ�อะไรสักอย่าง แต่ก็มีบางสิ่งมาฉุดรั้ง ไม่ให้ทำ�ในทันที” เช่น การบอกกับตัวเองว่าจะไปออกกำ�ลังกายพรุ่งนี้ แต่สรุปแล้ววันพรุ่งนี้ก็มาไม่ถึง เสียที การ “เลือก” ความสะดวกสบายในทันที และ การ “เลื่อน” สิ่งที่วางแผนว่าจะทำ�ออกไป แม้รู้ว่า หากยอมลงมือทำ�ในวันนี้ ผลลัพธ์ในอนาคตจะดีกว่าวันนี้ ความคิดลักษณะนี้เป็นอคติ (Bias) ในสมอง ชนิดหนึง่ ทีเ่ รียกว่า “Present Bias”(ความโน้มเอียงต่อปัจจุบนั ) ซึง่ เทด โอโดน็อกฮ์ (Ted O’ Donoghue) จากมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ และแมทธิว ราบิน (Matthew Rabin) จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้อธิบาย ว่าปรากฏการณ์นี้เกิดจากการที่เราให้นํ้าหนักกับความสุขหรือประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นในปัจจุบันมากกว่า อนาคต การรับถุงพลาสติกให้ความสะดวกสบายใน “วันนี”้ และดูเหมือนว่าการไม่รบั ถุงพลาสติกจะส่งผลดี ต่อเราและโลกใน “อนาคต” หากเราให้นํ้าหนักกับความสะดวกในปัจจุบันมากกว่าการมีโลกที่สะอาด และน่าอยู่ในอนาคต ก็อาจทำ�ให้เรายังคงรับถุงพลาสติกและไม่ได้เริ่มทำ�ในสิ่งที่ใจอยากทำ�เสียที (เช่น พกขวดนํ้า และถุงผ้า) นอกจาก Present Bias จะเป็นอุปสรรคสำ�คัญในการเปลี่ยนพฤติกรรมแล้ว หลายคนอาจสงสัยว่า ทำ�ไม “คนเราถึงคิดถึงปัญหาเรื่องงานก่อนและคิดถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นลำ�ดับท้ายๆ” นั่นเป็น CREATIVE THAILAND I 18

Photo by Nicepear Jakarta on Unsplash

พายุเข้า นํ้าท่วม โลกร้อน สัตว์นํ้าตายเพราะกินขยะพลาสติก ภัยธรรมชาติต่าง ๆ ที่เกิดจากภาวะโลกร้อนและการใช้พลาสติก คงเป็นที่คุ้นเคยและพบเห็นกันในข่าวไม่เว้นแต่ละวันแต่ท�ำ ไม ทั้งที่ร้วู ่า การใช้พลาสติกจะส่งผลร้ายต่อโลก แต่การลด ละ เลิกใช้พลาสติกถึงได้ ยากเย็นกว่าที่ เราคิด ลองมาวิเคราะห์เ บื้ อ งหลั ง พฤติ ก รรมว่ า ทำ � ไม การรักษ์โลกจึงไม่ง่ายดังใจคิด และทำ�ความเข้าใจเบื้องหลังเทคนิค การรักษ์โลกผ่านมุมมองเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม

เพราะว่าสมองของเรามีสิ่งที่เรียกว่า Cognitive Bandwidth (ความสามารถในการใช้สมองเพื่อ คิดตัดสินใจและแก้ปญั หา) อยูอ่ ย่างจำ�กัด เมือ่ ใด ก็ตามทีเ่ ราต้องใช้ความคิดและจดจ่อกับสิง่ ๆ หนึง่ จะเกิดอาการทีเ่ รียกว่า Tunneling หรือการจดจ่อ อยู่กับสิง่ ๆ นั้น และชีวิตที่แสนวุ่นวายก็ส่งผลให้ เราไม่สามารถรับรู้ถึงเรือ่ งราวอืน่ ๆ ได้ดนี กั เช่น การนำ�ข้าวกล่องไปกินเองในวันทีง่ านยุง่ มาก ๆ หรือ การล้างกล่องข้าวเพือ่ นำ�กลับมาใช้ใหม่ในวันรุง่ ขึน้ ก็ยงั แอบต้องใช้พลังใจอยูไ่ ม่นอ้ ย ดังนัน้ ในภาวะ ที่สมองมีภาวะ Cognitive Overload เรื่องอื่นที่ ไม่ใช่สงิ่ สำ�คัญทีส่ ดุ จะถูกตัดออกจากวงจรความ คิดไป การสร้างพฤติกรรมใหม่อย่างการเตรียม ขวดนํ้า กล่องข้าว และถุงผ้า จึงกลายเป็นเรื่อง เล็ก ๆ ที่ท้าทาย


ปริมาณการใช้ถุงพลาสติกของร้านค้าขนาดใหญ่ 7 แห่งในอังกฤษ ปี 2016 - 2017

1.33 พันล้าน

โดยสรุป ไม่ว่าสาเหตุทางจิตวิทยาที่ยกมาอธิบายนี้จะเป็นอุปสรรค เพียงใด ปัญหาคงหมดไปหากเราสามารถควบคุมจิตใจตัวเองได้เป็นอย่างดี แต่เมือ่ การควบคุมตัวเองไม่ใช่เรือ่ งง่ายนัก การเปลีย่ นสภาพแวดล้อมรอบตัว ให้เอื้อต่อการตัดสินใจจึงเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่สามารถนำ�ไปประยุกต์ใช้ ในการช่วย ลด ละ เลิก ใช้พลาสติกได้

4 เทคนิคเปลี่ยนให้คนหันมารักษ์โลกมากขึ้น

เราลองมาดูกนั ว่าแต่ละวิธที มี่ อี ยูใ่ นปัจจุบนั จะสามารถเปลีย่ นพฤติกรรม ได้อย่างไรและได้ผลดีเพียงใด 1) การดึงดูดความสนใจ

เมื่อสมองของเรามีข้อจำ�กัดในการรับรู้สื่อต่าง ๆ ที่เข้ามาในแต่ละวัน ดังนั้นวิธีการที่จะทำ�ให้คนหันมาสนใจเรื่องราวการลดการใช้พลาสติก ก็อาจทำ�ได้โดยการสร้างความดึงดูดใจให้มากขึ้น เช่น การที่ 7-11 ให้พี่ตูน บอดีส้ แลม และสมาชิกวง BNK48 มาร่วมรณรงค์การไม่รบั ถุงพลาสติก เพราะ ในทางทฤษฎี การมีความตระหนักรู้ (Awareness) เป็นปัจจัยสำ�คัญที่นำ�ไป สู่การเปลี่ยนพฤติกรรมได้ 2) การที่ใคร ๆ ในสังคมเขาก็ทำ�กัน

มีความเป็นไปได้สูงที่เราจะเห็นเพื่อนรอบตัวถือถุงผ้าตาม ๆ กัน โดย ไม่ได้เริ่มจากความตั้งใจในการลดการใช้พลาสติก เพราะ Social Norms หรื อ สิ่ ง ที่ สั ง คมเห็ น พ้ อ งต้ อ งกั น นั้ น มี ผ ลต่ อ พฤติ ก รรมมนุ ษ ย์ อ ย่ า งมาก เนือ่ งจากเรามีแนวโน้มทีจ่ ะต้องการเป็นส่วนหนึง่ ของสังคม ตัวอย่างงานวิจยั ด้ า นการอนุ รั ก ษ์ สิ่ ง แวดล้ อ มได้ ศึ ก ษาวิ ธี ก ารให้ ผู้ ที่ ม าพั ก ในโรงแรมใช้ ผ้าเช็ดตัวซํ้าเพื่อประหยัดนํ้า พบว่า การระบุข้อความ “แขกของโรงแรม แห่งนี้เกือบทุกคนใช้ผ้าเช็ดตัวซํ้า” ส่งผลให้มีการใช้ผ้าเช็ดตัวซํ้ามากกว่า 50% และให้ผลลัพธ์ดีกว่าข้อความอื่น ๆ ที่ไม่ได้ระบุเนื้อหาประเภทนี้ 3) การทำ�ให้เป็นเรื่องง่าย

ปัญหาอย่างหนึ่งของขยะพลาสติกก็คือการไม่แยกขยะ ทำ�ให้นำ�ไป รีไซเคิลต่อได้ยาก องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) รายงานสถิติการรีไซเคิลขยะพลาสติกไว้ว่า มีเพียง 14%-18% ของ ขยะพลาสติกทั่วโลกที่ถูกนำ�มารีไซเคิล โดย 24% ถูกนำ�ไปเผา และกว่า 58%-62% ถูกนำ�ไปถมดินหรือทิง้ ในธรรมชาติ หากเราทำ�ให้การแยกขยะเป็น เรือ่ งทีง่ า่ ย ก็จะช่วยสนับสนุนให้กระบวนการรีไซเคิลทำ�ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มากขึ้น หรือการที่ร้านค้าในไอซ์แลนด์ได้จัดทำ�โครงการ “Borrow and

ปี 2017 - 2018

1.04 พันล้าน

ปี 2018 - 2019

0.55 พันล้าน

Bring Back” โดยจัดวางถุงผ้าทีส่ กรีนข้อความนีไ้ ว้ให้ยมื และให้น�ำ กลับมาคืน เพื่อให้ง่ายสำ�หรับผู้ที่ไปซื้อของซึ่งลืมนำ�ถุงผ้ามาด้วย เป็นต้น 4) การทำ�ให้เป็นเรื่องยาก

เมือ่ ไม่อยากให้เกิดพฤติกรรมใด ก็ให้ท�ำ ตรงกับข้ามกับข้อทีผ่ า่ นมา คือ ทำ�สภาพแวดล้อมให้ยากเข้าไว้ นโยบายที่หลายประเทศใช้และได้ผล เป็นอย่างดีคือ การคิดเงินค่าถุงพลาสติก ปลายปี 2015 ประเทศอังกฤษ ออกกฎหมายให้ร้านค้าขนาดใหญ่ เช่น ASDA, Tesco, Waitrose คิดค่า ถุงพลาสติกในราคา 5 เพนซ์ (ประมาณ 2 บาท) แม้ว่าราคาจะไม่สูง เมือ่ เทียบกับราคาสินค้าและค่าครองชีพของประชากรในอังกฤษ แต่ผลลัพธ์ กลับมีประสิทธิภาพอย่างชัดเจน โดยจากรายงานพบว่า จำ�นวนการใช้ ถุงพลาสติกของ 7 ร้านค้าขนาดใหญ่ลดลงจาก 1.33 พันล้านใบ เป็น 0.55 พันล้านใบ หรือลดลงกว่า 60% ภายในระยะเวลา 3 ปี ที่เป็นเช่นนี้ อาจอธิบายได้จากปรากฏการณ์ Loss Aversion หรือ การหลีกเลี่ยงการสูญเสีย เนื่องจากคนเรามีแนวโน้มไม่ชอบการสูญเสีย ที่เมื่อนำ�มาเทียบกับความชอบที่มาจากการได้รับผลตอบแทนในจำ�นวน เท่ากัน ความไม่ชอบจะมีอิทธิพลต่อจิตใจมากกว่า จึงอาจเป็นเหตุผลที่ งานวิจยั พบว่า การคิดเงินค่าถุงพลาสติกได้ผลดีกว่าการลดราคาให้หากผูซ้ อื้ นำ�ถุงมาเอง เพราะว่าการคิดเงินสร้างความรู้สึกสูญเสีย (Loss) ในขณะที่ การลดราคาสร้างความรู้สึกได้รับ (Gain) นั่นเอง โดยสรุปแล้ว แม้วา่ จะมีอปุ สรรคมาฉุดรัง้ ไม่ให้เราปรับเปลีย่ นพฤติกรรม การลดใช้พลาสติกได้ดงั ใจคิด แต่เราก็สามารถใช้แนวทางการปรับสภาพแวดล้อม รอบข้างให้เอื้อต่อการสร้างพฤติกรรมรักษ์โลกได้ อย่างไรก็ตาม วิธีการหนึ่ง อาจใช้ได้ดใี นสังคมหนึง่ แต่อาจใช้ไม่ได้ผลกับอีกสังคมก็เป็นได้ คงต้องรอดู กันว่า สำ�หรับประเทศไทย วิธีการไหนจะใช้ได้ผลบ้าง ที่มา : บทความ “Carrier Bag Charge: Summary of Data in England” โดย Department for Environment, Food & Rural Affairs จาก gov.uk / บทความ “Improving Plastics Management: Trends, Policy Responses, and the Role of International Co-Operation and Trade” โดย OECD จาก oecd.org / “Can Small Incentives Have Large Effects? The Impact of Taxes Versus Bonuses on Disposable Bag Use” โดย Tatiana A. Homonoff จาก Princeton University / บทความ “Crafting Normative Messages to Protect the Environment” โดย Robert B. Cialdini จากวารสาร Current Directions in Psychological Science / บทความ “Doing It Now or Later” โดย Ted O’Donoghue และ Matthew Rabin จากวารสาร American Economic Review / บทความ “Prospect Theory: An Analysis of Decision Under Risk” โดย Amos Tversky และ Daniel Kahneman จากหนังสือ Handbook of the Fundamentals of Financial Decision Making: Part I / หนังสือ Scarcity: Why Having Too Little Means So Much โดย Sendhil Mullainathan และ Eldar Shafir

CREATIVE THAILAND I 19


Creative Business : ธุรกิจสร้างสรรค์

เรื่อง : ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ l ภาพ : ภีร์รา ดิษฐากรณ์

ถึงวันนี้ น้อยคนที่จะไม่รู้จัก “Refill Station” หรือ “ปั๊มนํ้ายา” ร้านรักษ์โลกแบบ No Packaging ร้านแรกในบ้านเรา ที่เริ่มจากการตั้งโต๊ะออกร้านในตลาดเพื่อทดลองขายผลิตภัณฑ์น้ำ�ยาต่าง ๆ โดยที่ลูกค้าจะต้องนำ�ภาชนะมาเอง เพื่อลด การสร้างขยะบรรจุภัณฑ์ที่มาพร้อมกับการบริโภคในชีวิตประจำ�วัน ...จากโต๊ะตัวเดียวในวันนั้น วันนี้ร้านของพวกเขาในซอย สุขุมวิท 77/1 เปิดให้บริการมาครบสองขวบเต็มแล้ว บนเส้นทางธุรกิจสีเขียวสายนี้ พวกเขาได้เรียนรู้อะไรบ้าง ทั้งในแง่ธุรกิจ การดูแลทีมงาน รวมถึงการจัดการกับความคิดความเชื่อของตนเองและผู้คนที่ผ่านเข้ามา แพร์-ปภาวี พงศ์ธนาวรานนท์ หนึ่งในสามผู้ก่อตั้งจะมาร่วมแบ่งปันประสบการณ์กับเรา CREATIVE THAILAND I 20


Green is the New Sexy ร้านรักษ์โลกไอเดียเซ็กซี่ที่ทำ�ให้คนหันมาฟัง เพียงไม่กี่นาทีจากสถานีรถไฟฟ้าอ่อนนุช Refill Station ตั้งอยู่ในย่านชุมชน ทีม่ คี นเดินผ่านไปมาตลอดวัน ใกล้กบั ห้างสรรพสินค้าใหญ่อย่างเทสโก้โลตัส ซึ่งอยู่ถัดจากถนนใหญ่เข้ามาเพียงไม่กี่ก้าว ที่นี่ไม่ใช่แค่สถานีปั๊มนํ้ายา กลับบ้านในราคาเป็นมิตร แต่ยังเป็นคาเฟ่บรรยากาศอบอุ่นน่านั่งในชื่อ “Better Moon Cafe” กิจการทีน่ อ้ งสาวของคุณแพร์เป็นผู้ปลุกปั้นมาพร้อม ๆ กับโปรเจ็กต์รักษ์โลกของพี่สาว “ความตั้งใจเบื้องหลังของร้านรีฟิลและคาเฟ่ที่อยู่ด้วยกัน ส่วนหนึ่ง เป็นเรื่องการบริหารความเสี่ยง เพราะตอนที่เริ่มทำ�เราเป็นร้านแบบรีฟิล ร้านแรกในไทยก็ว่าได้ และเราก็ไม่ได้มีเงินทุน จะไปเช่าสถานที่ทำ�ร้านข้าง นอกก็คงไม่ไหว ก็โชคดีที่มันลงตัวแบบนี้พอดี” คุณแพร์บอกกับเราว่าแม้ทั้ง สองธุรกิจจะเกื้อกูลกันโดยใช้พื้นที่และพนักงานหน้าร้านทีมเดียวกัน แต่ก็ แยกกันบริหารและสร้างรายได้อยู่ได้ด้วยตัวเอง เราชวนเธอคุยถึงความตั้งใจและเหตุผลที่เธอกับเพื่อนร่วมอุดมการณ์ แอน-สุภัชญา เตชะชูเชิด และนํ้ามนต์-ชนินทร์ ศรีสุมะ ตัดสินใจเปิดร้าน ปั๊มนํ้ายาเพื่อบรรเทาปัญหาขยะล้นโลกด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การบริโภค “เราไม่ได้มองว่าการรีฟิลเป็นวิธีเดียวที่จะแก้ปัญหานี้ได้ มันยัง มีวิธีอื่น ๆ อีกเยอะมาก แต่ที่เลือกโมเดลการรีฟิลมาทำ�ก่อน เพราะว่ามัน พูดเสียงดัง มันเห็นชัด มันเซ็กซี่ ซึง่ กลุม่ ลูกค้าทีจ่ ะไปให้สดุ แบบนีแ้ น่นอนว่า เป็นกลุ่มเล็กมาก คือเราไม่ได้ตั้งใจทำ�เพื่อทุกคนอยู่แล้ว แต่เราว่ามันเป็น สัญลักษณ์ของการไปให้สุด” หลังจากเปิดตัว Refill Station ก็เริ่มมีผู้ประกอบการรายอื่น ๆ ทยอย เปิดกิจการที่มีแนวคิดแบบเดียวกันตามมาอีกหลายเจ้า แถมชื่อของ Refill Station ยังกลายเป็นคำ�ติดปากที่หลายคนใช้เรียกร้านแบบ Bulk Store (ร้านจำ�หน่ายแบบเติม) ในบ้านเราไปโดยปริยาย “พอเริม่ มีรา้ นอืน่ ๆ เกิดขึน้ คนก็เข้าใจว่าคือร้านเดียวกัน เขาเรียกรวม ๆ ว่าร้านรีฟลิ ไปเลย หรือบางคน รู้จักชื่อรีฟิลสเตชั่น แต่ไม่รู้จักร้า นเราก็มี เรามองว่า มันก็ดีในแง่ของ คอมมูนิตี้นะ บางคนก็มาถามเราว่าร้านแบบนี้มีที่ไหนอีก เพราะบ้านเขา ไม่ได้อยู่แถวนี้ สะดวกที่อื่นมากกว่า” เสียงตอบรับทีไ่ ด้รบั ในช่วงสองปีทผี่ า่ นมา น่าจะพอจะบอกได้วา่ แนวคิด การขายสินค้าแบบลดบรรจุภัณฑ์กำ�ลังได้รับความสนใจจากผู้บริโภคและ ผู้ประกอบการหัวใจสีเขียวมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ถึงอย่างนั้น การขยายกิจการ ก็ไม่ใช่เป้าหมายหลักสำ�หรับ Refill Station “ตอนแรกมีคนถามหาแฟรนไชส์ เยอะมาก แต่ด้วยความที่เรามีกันแค่สามคน และธุรกิจนี้ถึงจะอยู่ได้แต่มัน ไม่ใช่ธุรกิจที่เน้นสร้างกำ�ไรเป็นหลัก เราเลยลองทำ�ในลักษณะที่เรียกว่า Fellow คือเป็นร้านเพือ่ นกัน ไม่ใช่แฟรนไชส์ แต่ปรากฏว่ามันไม่เวิรก์ เพราะ เขาเอาแบรนด์เราไป แต่เขาไม่ได้อินเหมือนเรา สุดท้ายไอเดียนี้เลยพับไป ใครอยากทำ�ร้านแบบนี้ เราก็จะเป็นเหมือนคนให้คำ�แนะนำ�มากกว่า” ในฐานะพีใ่ หญ่ตวั เล็ก ๆ ทีล่ ม้ ลุกคลุกคลานมาก่อนร้านอืน่ ประกอบกับ มีคนเข้ามาขอคำ�ปรึกษาเรือ่ ย ๆ รีฟลิ สเตชัน่ จึงเริม่ จัดงานทอล์กและงานพบปะ เพือ่ เปิดโอกาสให้คนทีส่ นใจเรือ่ งสิง่ แวดล้อมและอาจกำ�ลังอยากเริม่ ทำ�ธุรกิจ รักษ์โลกได้มาแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และช่วยเหลือกันทั้งใน ภาพใหญ่และรายละเอียดเล็ก ๆ ในการทำ�ร้าน “อย่างพวกเซ็ตอุปกรณ์

บางอย่างในร้านทีเ่ ราใช้ เราก็พร้อมทีจ่ ะแชร์วธิ ที �ำ เราออกแบบเองและตัง้ ใจ ทำ�ให้มนั ถูกและง่าย เพือ่ ให้คนอืน่ ทำ�ตามได้อยูแ่ ล้ว หรือถ้าทำ�ไม่ได้ จะซือ้ ต่อ จากเราก็ได้” เจ้าของร้านชี้ชวนให้เราดูถังรีฟิลในร้านที่เธอเล่าว่าทดลอง สั่งซื้อหัวก๊อกจากหลายเจ้ามาประกอบเอง Not a Place, But a Lifestyle ไม่ใช่พื้นที่ แต่คือวิถีชีวิต ถ้าจะบอกว่าทุกส่วนของร้านนี้ สะท้อนให้เห็นความคิดและความเชื่อของ ทีมผูก้ อ่ ตัง้ ก็คงไม่ผดิ นัก นอกจาก Better Moon Cafe จะให้บริการทัง้ อาหาร คาวหวานสไตล์โฮมเมด และเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพที่เสิร์ฟมาพร้อมกับ หลอดสแตนเลสแล้ว ทางร้านยังใจดี มีจานชามให้บริการสำ�หรับใครทีอ่ ยาก ซื้ออาหารจากร้านใกล้เคียงเข้ามารับประทานด้วย ขอแค่ห้ามนำ�อาหาร ใส่ถงุ พลาสติกหรือกล่องโฟมเข้ามาในร้าน และอย่าลืมนำ�จานกลับมาล้างคืน ที่จุดล้างจานให้เรียบร้อย ขณะที่หลังร้านเองก็มีการแยกขยะอย่างเป็นระบบ มีถังขยะสำ�หรับ ใบเสร็จกระดาษโดยเฉพาะ ขยะอาหารในร้านถูกนำ�ไปหมักเป็นปุ๋ยใส่ต้นไม้ (ที่อยู่บนดาดฟ้า) ส่วนขวดแกลลอนใส่น้ำ�ยาที่รับมาจากผู้ผลิต ก็จะส่งคืน ให้ผู้ผลิตเพื่อเติมนํ้ายาแล้วส่งกลับมาให้ร้านอีกครั้ง แถมยังมีจุดรับบริจาค ขวดพลาสติกเปล่า บ้านใครใช้แล้วไม่อยากทิ้ง ก็แค่ทำ�ความสะอาดแล้ว นำ�มาบริจาคให้ลูกค้าคนอื่น ๆ ใช้เติมน้ำ�ยากลับบ้านได้ นอกจากนี้ ชั้นบนของตึกยังปรับปรุงให้เป็นเกสต์เฮาส์ขนาด 9 ห้อง ด้วยแนวคิดเดียวกัน “ตัวตึกนี้เราพยายามเก็บของเก่าไว้ให้ได้มากที่สุด เพื่อลดการใช้และทำ�ลายทรัพยากร เฟอร์นิเจอร์เก่าอะไรที่ใช้ได้ก็เก็บไว้ แล้ ว ค่ อ ยเติ ม สิ่ ง ที่ ขาดโดยใช้ ดี ไ ซน์ เ ข้า มาช่ ว ย มี บ างห้ อ งที่ มี บั น ไดอยู่ ในห้องเลยเพราะว่าเราไม่ทุบบันไดเก่าทิ้ง แต่ทำ�เป็นมุมถ่ายรูปสวย ๆ ใน ห้องแทน ถ้าลูกค้ามากันเป็นแก๊งใหญ่ ก็จะได้ใช้ประโยชน์จากบันได ที่สามารถทะลุไปห้องอื่นได้ด้วย” คุณแพร์เล่าอย่างภูมิใจ ทั้งหมดนี้เพราะพวกเขาต้องการสร้างไลฟ์สไตล์ที่ลดการสร้างขยะ ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำ�ได้

CREATIVE THAILAND I 21


People is where the Heart is หัวใจของธุรกิจคือทีมงาน เมื่อถามถึงอุปสรรคที่พบระหว่างทาง น่าสนใจว่าน้ำ�หนักของปัญหาเรื่อง การบริหารจัดการทีเ่ จ้าตัวบอกว่ามีรายละเอียดค่อนข้างจุกจิกมากกว่าธุรกิจ อืน่ ๆ กลับไม่ใช่ปญั หาหลัก แต่สง่ิ ทีเ่ ธอหยิบยกและย้�ำ กับเราก็คอื เรือ่ งของคน “ทีมงานมีผลมาก คนคือปัจจัยในการดำ�เนินธุรกิจที่สำ�คัญสำ�หรับเรา ก่อนที่เขาจะให้บริการลูกค้า เขาต้องอินกับเรื่องนี้ก่อน บางทีเราอินมาก ๆ ก็เผลอคิดว่าทุกคนจะเข้าใจสิ่งที่เราทำ� ตอนเริ่มร้านใหม่ ๆ เราก็แค่ทำ�เป็น ตัวอย่างแล้วบอกให้เขาทำ� เช่น เรื่องการแยกขยะ แต่เขาไม่ได้อิน เราก็เลย เปลี่ยนมาเล่าให้เขาฟังว่าทำ�ไมเราถึงทำ�ร้านนี้ มันสำ�คัญกับเรายังไง ถึงขั้น เปิดคลาสอบรมเลยก็มี เพราะช่วงแรกเราต้องปลูกฝังเรื่องนี้กับทีม แต่พอ เวลาผ่านไป ทัศนคติเรื่องสิ่งแวดล้อมจากลูกค้าที่แวะเข้ามาที่ร้าน มันก็ ส่งพลังมาถึงทีมงานด้วยเหมือนกัน เป็นแรงกระเพื่อมที่ส่งต่อกันไปมา” นอกเหนือจากการส่งต่อความเชื่อให้ทีมแล้ว สิ่งสำ�คัญยิ่งกว่าคือการ ให้โอกาสและอิสระในการทำ�งาน “เราพบเทคนิคว่า ทำ�ยังไงก็ได้ให้ลูกน้อง แฮปปี้ ให้พลังของเขาออกมา ให้สง่ ต่อถึงลูกค้าได้ ช่วงแรก ๆ ร้านขับเคลือ่ น ด้วยความเป็นตัวเราคนเดียว จะทำ�อะไรก็ยดึ อยูก่ บั แบรนดิงไปหมด พยายาม ขีดเส้นไว้ให้ทมี เดินตาม แต่มนั ทำ�ให้ทมี อึดอัด เราเลยพยายามให้ทมี เข้ามา มีส่วนร่วมในการตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ในร้าน พอเราฟังเสียงเขา ให้อิสระ ในการทำ�งานและสร้างสรรค์เอง ไม่ไปตัดสินในสิ่งที่เขากำ�ลังทำ�อยู่ เขาก็มี ความสุขและกล้าทำ�อะไรใหม่ ๆ สุดท้ายการทำ�งานก็เลยกลายเป็นการทีเ่ รา ได้ทดลองและเรียนรู้ไปด้วยกัน …เขาคือคนสำ�คัญ สิ่งที่เราบอกกับน้อง ในทีมคือ เราอาจจะเป็นคนทำ�ให้ลูกค้าเข้ามาที่ร้านครั้งแรก แต่น้อง ๆ คือ คนที่จะทำ�ให้เขากลับมาอีกครั้ง” “มีพค่ี นหนึง่ เคยบอกเราว่า แทนทีจ่ ะใช้วธิ แี บบใครทำ�ดีได้ดาว ให้เลีย้ งคน เหมือนเลีย้ งโลมา ถ้าทุกครัง้ ทีโ่ ลมากระโดด แล้วจะได้ปลาหนึง่ ตัวเป็นรางวัล จากครูฝึก กระโดดสูงขึ้นก็ได้ปลาเยอะขึ้น แต่เมื่อเวลาผ่านไป สุดท้ายแล้ว โลมาจะกระโดดไม่ไหวและไม่กินปลาอีกเลย เพราะว่ามันเหนื่อยเกินไป แต่ถา้ ครูฝกึ ให้กอ่ นแบบไม่มเี งือ่ นไข โลมาจะกระโดดได้สงู และสวยกว่าเดิม”

Hope More, Expect Less ทำ�ธุรกิจด้วยความหวัง “ทำ�แบบนี้แล้วจะไปช่วยอะไร” อาจเป็นคำ�ถามชวนอึดอัดสำ�หรับคนที่เริ่ม ลงมือเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต หรือหันมาสร้างธุรกิจที่ไม่สร้างปัญหา ให้โลกต้องเคยได้ยินจากคนรอบข้างไม่มากก็น้อย คำ�ตอบของผู้ก่อตั้ง ปั๊มนํ้ายา คงจะช่วยให้เรามีกำ�ลังใจทำ�สิ่งเล็ก ๆ เพื่อโลกต่อไป “ถ้ามองใน ภาพใหญ่ คนอาจจะมองว่ามันไม่ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงอะไร แต่เรา บอกเขาว่า เราอยู่ตรงนี้เพื่อซัพพอร์ตคนที่ต้องการสร้างความเปลี่ยนแปลง ไปด้วยกัน เราไม่รู้หรอกว่าลูกค้าที่เข้ามาเขาเป็นใครในธุรกิจไหนบ้าง เขาอาจจะโดดเดี่ยวในธุรกิจที่เขาทำ�ก็ได้ แต่อย่างน้อยเขาเข้ามาที่นี่แล้ว เขามีเพื่อน อย่างน้อยเราก็บ้าไปด้วยกัน” “ที่ผ่านมาเราเจอหลายองค์กรมากเลยที่พยายามจะเปลี่ยน แต่ทุก องค์กรไม่วา่ เล็กหรือใหญ่ ความเปลีย่ นแปลงต้องเกิดจากคน เกิดจากจุดเล็ก ๆ ทั้งนั้น การที่เรามาพกหลอด ใช้แปรงสีฟันไม้ไผ่ หรือเอาขวดมาเติมนํ้ายา มันน้อยมาก แต่มันสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ คนที่มาที่นี่ก็คือคนตัวเล็ก ๆ ที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลง พอเขากลับไป เขาอาจจะเริ่มแยกลูกแม็กหรือ แจกลูกอมให้เพื่อนที่เอาขวดเปล่ามาทิ้งกับเขาก็ได้ เราเชื่อในพลังของคนที่ สร้างความเปลี่ยนแปลงตรงนี้” “ในฐานะที่เราทำ�งานบนพื้นฐานของความหวัง ความหวังของเรามัน เป็นวงกลมที่ใหญ่มาก แต่ความคาดหวังมันเล็ก เรายังเห็นความเป็นไปได้ มากมายที่จะไปทำ�ได้ ถ้าปล่อยให้คาดหวังมันใหญ่กว่าความหวังที่เรามี เราจะคอยคิดแต่วา่ เราทำ�สิง่ นีไ้ ปเพือ่ อะไร แต่ถา้ ทำ�โดยทีเ่ ชือ่ ว่ายังมีคนทีเ่ ห็น เหมือนเรา และสร้างความเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับเรา เราก็จะมีแรงทำ� ต่อไปเรื่อยๆ” “Little things make great change.” คือสโลแกนของ Refill Station ซึ่งไม่ได้ผิดไปจากสิ่งที่คุณแพร์บอกกับเราเลยแม้แต่น้อย แต่ย้ำ�ให้เรามั่นใจ ว่า อย่างน้อยในวันนีก้ ย็ งั มีคนรุน่ ใหม่อกี กลุม่ หนึง่ ทีก่ �ำ ลังลงมือช่วยโลกและ ช่วยเราอย่างมุ่งมั่น และพร้อมจะแบ่งปันพลังการเปลี่ยนแปลงในใจให้กับ ใครก็ตามที่กำ�ลังมองหาด้วยเช่นกัน Go Green แบบ Refill Station Start Small. เริม่ จากจุดเล็ก ๆ ค่อย ๆ ทดลองแล้วขยับไปเรือ่ งอืน่ เช่น เริม่ พกขวดนํา้ พอได้เห็นว่าเราสร้างขยะน้อยลงแค่ไหน อาจจะ อยากขยับมาแยกขยะ

เริ่มจากเรื่องที่ชอบ คนชอบกินของดีอาจลองปลูกผัก คนชอบวิง่ อาจจะลองพกขวด ต้องรูส้ กึ สนุกก่อนแล้วค่อย ๆ หาความรู้ ที่สนใจ อย่ากดดันตัวเองว่าต้องทำ�ทุกอย่าง เลือกเรื่องใกล้ตัวที่เรา เห็นคุณค่าและทำ�แล้วไม่ล�ำ บาก สุดท้ายแล้วเรื่องอื่น ๆ จะเชื่อมโยง เข้ามาเอง

Start Sexy.

CREATIVE THAILAND I 22


How To : ถอดวิธคี ดิ

ใช้ชีวิตอย่างไรในวัน “ไร้ถุงขยะ” เรื่อง : ณัฐชา ตะวันนาโชติ

กำ�หนดการลดและเลิกใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกประเภท “ใช้ครั้งเดียวทิ้ง” (Single-use Plastic) กำ�ลังใกล้เข้ามาทุกที โดยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 นี้จะเป็นดีเดย์ที่ตามห้างสรรพสินค้าและร้านสะดวกซื้อจะงดแจกถุงพลาสติกให้ลูกค้า ทั่วประเทศอย่างถาวร หนึ่งคำ�ถามที่อาจคาใจผู้บริโภคหลายคนคือ “ถ้าไม่มีถุงพลาสติก แล้วจะใช้อะไรใส่ขยะที่บ้าน” เรามักเห็นภาพของถุงพลาสติกหูหิ้วที่ใส่สินค้า จากห้างร้าน กลายสภาพมาเป็นถุงใส่ขยะซ้อนอยู่ ในถังขยะใบเล็ก ก่อนจะถูกมัดเป็นก้อนกลม ๆ เพือ่ นำ�ไปส่งต่อให้เจ้าหน้าทีเ่ ก็บขยะนำ�ไปทิง้ ต่อไป ซึ่งทำ�ให้ถุงพลาสติกหูหิ้วกลายเป็นหัวใจสำ�คัญ ของการทิ้งขยะอย่างไม่ต้องสงสัย เพราะด้วย คุ ณ สมบั ติ ที่ น อกจากจะราคาประหยั ด แล้ ว ยังสามารถจุของได้เยอะโดยเฉพาะเศษอาหาร ที่มีกลิ่นเหม็นได้อย่างมิดชิด แต่เมือ่ โลกกำ�ลังเปลีย่ นแปลง เราจึงต้องเริม่ ปรับตัว ถ้าหากลองมองย้อนดูกระบวนการทิ้ง ขยะดูอีกที จะเห็นว่าการทิ้งขยะลงในถังขยะ ที่ มี ถุ ง พลาสติ ก ซ้ อ นอยู่ นั้ น อาจไม่ จำ � เป็ น ถ้าหากเรา “แยกขยะ” และในเมื่อเรามีถังขยะ คอยทำ�หน้าทีเ่ ก็บรวบรวมขยะอยูแ่ ล้ว เราจะซ้อน ถุงพลาสติกลงไปในถังเพือ่ เป็นการเพิม่ ขยะอีกชิน้ ทำ � ไมกั น ลองมาดู แ นวทางเพื่ อ เตรี ย มตั ว ใช้ชีวิตแบบไร้พลาสติก (แบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง) ที่สามารถเริ่มต้นได้ที่ตัวเรากันดีกว่า

อุปกรณ์ที่ต้องใช้

ถุง (ที่ใช้ซํ้าได้) ถังขยะ ภาชนะใส่ขยะอินทรีย์

แนวทางปฏิบัติ พกถุงของตัวเอง

ถ้าหากเรารู้ตัวว่าจะไปซื้อของ ลองพกถุงผ้า ถุงกระดาษ กระเป๋า หรือแม้กระทัง้ ถุงพลาสติกที่ ใช้ซ�ำ้ ได้หลาย ๆ ครัง้ ไปใส่ของด้วย เป็นจุดเริม่ ต้น ทีจ่ ะช่วยลดการใช้ถงุ พลาสติกแบบใช้ครัง้ เดียวทิง้ ได้มากทีเดียว

แยกขยะ (โดยเฉพาะขยะจากอาหาร)

แยกขยะที่เป็นขยะอินทรีย์ (Organic Waste) ซึ่ง เป็นขยะที่ย่อยสลายได้ เช่น เศษอาหาร เปลือก ผลไม้ ฯลฯ ออกจากขยะประเภทอื่น แล้วใส่ ภาชนะแยกไว้ เพราะขยะประเภทนี้ แ หละที่ ส่งกลิน่ เน่าเสีย และเป็นต้นเหตุทท่ี �ำ ให้เราอยากใช้ ถุ ง ขยะ แต่ ใ นขณะเดี ย วกั น ขยะประเภทนี้ ก็ สามารถนำ�ไปทำ�เป็นปุ๋ยอินทรีย์ได้

CREATIVE THAILAND I 23

ล้างก่อนทิ้ง

ขยะส่วนที่ยังไม่สามารถย่อยสลายได้ อย่างพวก พลาสติกห่ออาหาร ถ้าหากเปื้อนเศษอาหาร ควรล้างก่อนจะนำ�ไปใส่ถงั ขยะ ซึง่ จะทำ�ให้เราไม่ ต้องใช้ถุงพลาสติกซ้อน เพราะในเมื่อสิ่งที่เราจะ ทิ้งไม่สกปรกแล้ว เราก็ไม่จำ�เป็นต้องกลัวขยะ ของเราเลอะหรือส่งกลิน่ อีกต่อไป ซึง่ เราก็สามารถ เลือกนำ�ไปรีไซเคิล หรือส่งต่อไปยังโครงการที่ รับบริจาคก็ได้

จัดการกับขยะ (ที่เป็นขยะจริง ๆ)

ขยะที่ย่อยสลายได้ที่เราแยกไว้ เราสามารถเก็บ ไว้ในภาชนะมีฝาปิดแล้วเก็บไว้ในตู้เย็นเพื่อไม่ให้ ส่งกลิน่ รบกวน และเมือ่ ภาชนะเต็มเราก็สามารถ นำ�ไปทำ�เป็นปุย๋ อินทรีย์ เป็นทางเลือกการจัดการ ขยะที่สามารถทำ�ได้ด้วยตัวเอง แถมได้ปุ๋ยไปใส่ ต้นไม้อีกต่อหนึ่งด้วย

ที่มา : บทความ Plastic Bag Alternatives for Garbage Bins โดย Aaron Salyer จาก thedharmatrails.com


Creative Place : พื้นที่สร้างสรรค์

เรื่อง : นพกร คนไว

CREATIVE THAILAND I 24

Photo by Maria Bobrova on Unsplash

หลายเมืองทัว่ โลกพยายามทีจ่ ะปรับเปลีย่ นตัวเองให้กลายเป็น “เมืองสีเขียว” เพือ่ แสดงความรับผิดชอบต่อสถานการณ์สภาพอากาศ ที่ย่ำ�แย่ลงทุกปี เช่นเดียวกับ “ออสโล” เมืองหลวงของนอร์เวย์ที่ก็เป็นอีกเมืองหนึ่งซึ่งร่วมพัฒนาตนเองให้กลายเป็นเมืองสีเขียว เช่นกัน อีกทั้งยังได้รับเลือกให้เป็นเมืองสีเขียวของภูมิภาคยุโรปในปี 2019 (European Green Capital 2019) อีกด้วย


Photo by Eirik Skarstein on Unsplash

European Green Capital เป็ น รางวั ล ที่ คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) ผูร้ บั ผิดชอบกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ของ สหภาพยุโรปได้ก่อตั้งขึ้น เพื่อมอบรางวัลให้แก่ เมื อ งที่ เ ป็ น ต้ น แบบของการปรั บ ใช้ น โยบาย ด้านสิ่งแวดล้อมให้สอดคล้องกับชีวิตประจำ�วัน ของสังคมเมือง โดยมีแนวคิดสำ�คัญว่า “Green Cities - Fit for Life” หรือเมืองสีเขียวที่เหมาะสม กับชีวิตความเป็นอยู่ ภารกิจของออสโลเมื่อได้รับเลือกให้เป็น เมืองสีเขียว จึงจำ�เป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนและ วางแผนการบริหารจัดการพลังงานและทรัพยากร ที่ไม่สร้างผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม โดยมี นโยบายอย่าง Climate Budget ซึง่ เป็นพิมพ์เขียว ของแผนการควบคุมพลังงานและสภาพอากาศ (Climate and Energy Strategy) ที่สอดคล้องกับ “ความตกลงปารีส” (Paris Agreement) ซึ่งเป็น ความตกลงตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อ กำ�หนดมาตรการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ตั้งแต่ปี 2020 โดยใช้แนวทางการทำ�งานแบบ “นับคาร์บอนในแบบทีเ่ รานับเงิน” เพือ่ ปรับใช้ กั บ หน่ ว ยงานรั ฐ บาลทุ ก ภาคส่ ว นในการลด การปล่อยมลพิษ โดยมีมาตรวัดในด้านต่าง ๆ

เช่ น ผลกระทบจากขยะ อาคารบ้ า นเรื อ น การคมนาคม เพื่อบรรลุเป้าหมายลดการปล่อย ก๊ า ซคาร์ บ อนไดออกไซด์ ล งให้ ไ ด้ ร้ อ ยละ 50 ภายในปี 2022 และร้อยละ 95 ภายในปี 2030 จนกลายเป็นเมืองไร้มลพิษอย่างสมบูรณ์ในปี 2050 เมืองสีเขียว เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเหมาะสำ�หรับทุกคน การคมนาคมเป็นตัวการสำ�คัญของปัญหามลพิษ ของออสโล ในปี 2017 ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ เ กิ ด จากยานพาหนะขนาดใหญ่ แ ละเล็ ก มีมากกว่า 583,682 ตัน หรือคิดเป็น 54% ของ ก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดของเมือง ออสโลจึงต้อง เร่งยกเครื่องรูปแบบการคมนาคมของเมืองใหม่ อย่างไรก็ตาม ประเทศนอร์เวย์ก็มีข้อได้เปรียบ ของการเป็ น ประเทศที่ มี ก ารใช้ ร ถยนต์ ไ ฟฟ้ า มากที่ สุ ด ในโลก หรื อ 1 ใน 10 ของผู้ ที่ มี ยานพาหนะส่วนตัวใช้รถยนต์ไฟฟ้า และเหตุผล นี้เองที่กลายมาเป็นกุญแจหลักของการผลักดัน ให้ออสโลเริ่มทดสอบการคมนาคมแบบปลอด มลพิษ อีกทั้งยังช่วยปรับเปลี่ยนให้การเดินทาง เป็นมิตรต่อผู้ใช้จักรยานและผูท้ เี่ ดินเท้าอีกด้วย CREATIVE THAILAND I 25

GreenCharge เมื่อมีการใช้รถยนต์ไฟฟ้าจำ�นวนมาก ในเมือง ก็ทำ�ให้ต้องมีสถานีชาร์จไฟที่ เพียงพอต่อการใช้งาน โปรเจ็กต์ Green Charge คือโครงการทดลองที่เกิดขึ้น จากความร่วมมือของหลายเมืองใน ยุโรป โดยมีจดุ ประสงค์ในการกระจาย จุ ด ชาร์ จ ไฟรถยนต์ ไ ฟฟ้ า เข้ า ไปยั ง สถานที่อยู่อาศัยเพื่อให้กลายเป็นหนึ่ง ในโครงสร้ า งพื้ น ฐานที่ ป ระชาชน ควรจะได้รับ เช่น อพาร์ตเมนต์และ ลานจอดรถสาธารณะ นอกจากนี้ โครงการฯ ยังได้พฒั นาซอฟต์แวร์เพือ่ ให้ ส ามารถบริ ห ารจั ด การพลั ง งาน ไฟฟ้าในแต่ละจุดได้อย่างเหมาะสม โดยใช้วิธีคำ�นวนการใช้ไฟฟ้าสำ�หรับ รถยนต์แต่ละคันเพื่อให้เพียงพอต่อ ความต้องการของผูใ้ ช้รถทุกคน ทัง้ นี้ แหล่งพลังงานไฟฟ้าจะมาจากการจ่าย ไฟฟ้าสาธารณะ พลังจากแสงอาทิตย์ และแบตเตอรีสำ�รอง


ขนส่งสาธารณะกับพลังงานทดแทน ออสโลเป็นอีกเมืองหนึ่งที่มีการใช้ระบบขนส่ง สาธารณะเป็นจำ�นวนมาก รถไฟใต้ดิน รถบัส รถราง และเรือโดยสารทีเ่ ปิดบริการเกือบ 24 ชม. เป็นทางเลือกหลักของชาวเมืองออสโล ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา จำ�นวนการเข้าใช้บริการขนส่ง มวลชนของออสโลเพิ่มมากถึง 371 ล้านเที่ยว แต่นั่นยังไม่เพียงพอ รัฐบาลจึงสนับสนุนให้ผู้คน เปลี่ ย นไปเดิ น ทางด้ ว ยระบบขนส่ ง สาธารณะ ให้ ม ากอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง เพื่ อ ลดการใช้ ร ถยนต์ ส่วนตัวที่เป็นสาเหตุหลักของมลพิษทางอากาศ และเสียง อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาด้านการจราจร อีกด้วย บริ ษั ท ผู้ ทำ � หน้ า ที่ จั ด การระบบขนส่ ง สาธารณะของออสโลอย่าง Ruter AS ได้เริ่ม โปรเจ็กต์ Fossil Free 2020 โดยภายในปี 2028 การขนส่งสาธารณะทุกชนิดจะต้องเปลี่ยนไปใช้ พลังงานทดแทน เพื่อยุติมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ลดเสียงรบกวน และเป็นมิตรต่อสุขภาพของ ประชาชน

CREATIVE THAILAND I 26

แท็กซีไ่ ฟฟ้าและจุดชาร์จไร้สาย แท็กซีไ่ ฟฟ้าอาจไม่ใช่เรือ่ งใหม่ส�ำ หรับ ยุคนี้ แต่แท็กซี่ที่ชาร์จไฟแบบไร้สาย จะกลายเป็นเรื่องใหม่อย่างแน่นอน ในปี 2023 โครงการแท็กซีป่ ลอดมลพิษ จะเดินหน้าพัฒนาแท็กซี่ไฟฟ้าให้มี ประสิทธิภาพและลดปัญหาการจราจร ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เมื่อแท็กซี่ สามารถชาร์จแบบไร้สายได้ โดยเทศบาลเมืองออสโลได้รว่ มมือ กั บ บริ ษั ท Fortum ของฟิ น แลนด์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีพลังงาน สะอาด เพื่อเริ่มโครงการระบบชาร์จ ไร้สายสำ�หรับแท็กซี่ในออสโล โดย การติดตั้งเครื่องชาร์จบริเวณท่าจอด รถแท็กซีต่ ามสถานทีต่ า่ ง ๆ เมือ่ แท็กซี่ เข้าจอดเพื่อรอผู้โดยสาร แผ่นชาร์จที่ ติดตั้งอยู่กับพื้นถนนจะเริ่มส่งกระแส ไฟฟ้ า เข้ า สู่ ตั ว รั บ ที่ ติ ด ตั้ ง อยู่ กั บ รถ วิ ธี ก ารนี้ จ ะช่ ว ยประหยั ด เวลาและ ลดขั้นตอนที่ยุ่งยากในการขับรถหา จุดชาร์จและลงจากรถเพื่อเสียบปลั๊ก รอแบตเตอรีเต็ม

flickr.com/photos/Albert Koch

บริเวณจอดรถริมถนนกว่า 760 แห่งเพือ่ ขยายเป็น พื้ น ที่ สำ � หรั บ คนเดิ น และจั ก รยาน รวมไปถึ ง การสร้างพืน้ ทีส่ เี ขียว เพิม่ เก้าอีส้ �ำ หรับนัง่ พักผ่อน และก๊อกน้ำ�สาธารณะ อย่างไรก็ตาม เทศบาล ก็ ยั ง คงเหลื อ พื้ น ที่ ริ ม ถนนบางแห่ ง ไว้ สำ � หรั บ รถขนส่งสินค้าและรถสำ�หรับผู้พิการ

fleeteurope.com

ย่านไร้รถยนต์ คืนท้องถนนให้ประชาชน หากลองถามเหล่าชาวเมืองออสโลว่า สิ่งใดที่ พวกเขาอยากให้มีการเปลี่ยนแปลงในบริเวณ ศูนย์กลางของเมืองมากที่สุดคำ�ตอบที่ได้เป็น เสียงเดียวกันก็คือ อยากได้พื้นที่สีเขียวมากขึ้น มีบริเวณให้นั่งพักผ่อนมากขึ้น มีกิจกรรมและ ความสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรมระหว่างผู้คนให้ มากขึ้น มีพื้นที่สำ�หรับจักรยาน และให้มีเพียง รถโดยสารและรถขนส่งสินค้าเท่านั้นที่สามารถ วิ่งในย่านกลางเมืองได้ โครงการ Car-Free Livability Programme จึงเกิดขึ้นเพื่อจัดระเบียบพื้นที่เขตใจกลางเมือง รัศมีราว 1.3 - 2 ตารางกิโลเมตรให้กลายเป็นพืน้ ที่ ปลอดรถยนต์ และเป็นพื้นที่สำ�หรับประชาชน ในการสร้างเครือข่ายเส้นทางสำ�หรับคนเดินเท้า และผู้ ใ ช้ จั ก รยานที่ เ ชื่ อ มต่ อ กั น อย่ า งสะดวก และปลอดภัย แม้จะเป็นโครงการที่ใช้เวลานาน แต่เทศบาลเมืองออสโลก็ได้เริม่ ดำ�เนินการไปแล้ว โดยมี ก ารปรั บ ปรุ ง ถนนบางเส้ น ให้ ก ลายเป็ น ถนนคนเดินและสถานที่จัดกิจกรรม อีกทั้งยัง เชื่ อ มต่ อ ระหว่ า งถนนบางเส้ น ให้ ก ลายเป็ น เส้นทางสำ�หรับคนเดินและจักรยาน ไม่ว่าที่ใดในโลก การสร้างเมืองล้วนทำ�เพื่อ รองรับการใช้รถยนต์ เช่นเดียวกับออสโล เมื่อ ต้ อ งการปรั บ เปลี่ ย นเมื อ งใหม่ เ พื่ อ เพิ่ ม พื้ น ที่ ให้ประชาชนมากขึน้ ออสโลจึงจำ�เป็นต้องเปลีย่ น


ปลูกต้นกล้าเยาวชนสีเขียว ไม่เพียงแต่การยกระดับเมืองให้กลายเป็นเมืองหลวง สีเขียวเท่านั้น เทศบาลออสโลยังต้องการให้ ประชาชนรุ่นต่อไปเข้าใจถึงปัญหาสภาพอากาศ และมี จิ ต สำ � นึ ก หวงแหนต่ อ สิ่ ง แวดล้ อ มและ ทรัพยากรทีม่ อี ยูบ่ นโลก งบประมาณจากนโยบาย Climate Budget จึงได้ถู ก เตรี ย มไว้ สำ � หรั บ ด้านการศึกษาอีกด้วย โครงการ Climate House เป็นโครงการ ที่จะช่วยให้ความรู้กับเยาวชนรุ่นใหม่ของออสโล เรื่องสิ่งแวดล้อมและสภาพอากาศ เปิดโอกาส ให้เด็กเล็ก วัยรุ่น หรือผู้ปกครองได้พูดคุยหรือ โต้แย้งกันอย่างอิสระ เพื่อให้เกิดเป็นองค์ความรู้ ที่สามารถนำ�ไปใช้ได้จริง จากการร่วมวิเคราะห์ และแก้ปญั หาในประเด็นต่าง ๆ ของสภาพอากาศ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน อีกทั้งยังมีกิจกรรมฉายหนัง นิทรรศการ การแสดงศิลปะและการบรรยายอีก มากมาย โดย Climate House จะเปิดบริการในปี 2020 และตั้งอยู่ภายในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ ทางธรรมชาติแห่งออสโล (Natural History Museum)

facebook.com/oyafestivalen

ด้านการขนส่งทางน้ำ� ท่าเรือออสโล (Oslo Port Authority) ก็เป็นอีกหนึง่ สถานทีท่ ปี่ ล่อยก๊าซ เรือนกระจกเป็นจำ�นวนมากถึง 50,000 เมตริกตัน ต่อปี จากเรือขนส่งสินค้า เรือเฟอร์รี่ที่รับส่ง นักเดินทาง และเรือสำ�ราญทีจ่ อดรอนักท่องเทีย่ ว ที่ทำ�กิจกรรมในเมือง การปรับท่าเรือให้สอดรับ กับการมุ่งสู่เมืองสีเขียวในอนาคต จึงมีตั้งแต่ การปรับปรุงเรือเฟอร์รี่รับส่งผู้โดยสารให้มาใช้ พลังงานแบตเตอรี การเพิ่มจุดชาร์จระบบไฟ ส่องสว่างของเรือที่ติดตั้งประจำ�แต่ละท่า และ การสร้างระบบระบายความร้อนโดยที่ไม่ต้อง ติดเครื่องยนต์ระหว่างจอด นอกจากนี้ยังได้ ปรั บ เปลี่ ย นอุ ป กรณ์ เ คลื่ อ นย้ า ยสิ น ค้ า อย่ า ง เครนยกที่ทำ�งานด้วยน้ำ�มันดีเซลให้กลายเป็น พลั ง งานไฟฟ้ า แต่ ใ นกรณี ข องเรื อ ขนสิ น ค้ า ขนาดใหญ่ ที่ พ ลั ง งานไฟฟ้ า จากแบตเตอรี ไ ม่ เพี ย งพอต่ อ การเดิ น ทาง พลั ง งานไฮโดรเจน จะเป็นทางออกสำ�คัญทีจ่ ะใช้ส�ำ หรับการเดินทางไกล และปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม ถึงแม้ว่าวิธีการนี้ ยั ง เป็ น เรื่ อ งใหม่ แ ละมี ข้ อ กำ � จั ด หลายส่ ว น ในการพั ฒ นา แต่ ก็ เ ป็ น วิ ธี ห นึ่ ง ซึ่ ง จะช่ ว ยลด การปล่อยมลพิษได้อย่างมหาศาล

ปฏิทินกิจกรรม เพื่อเมืองสีเขียวของออสโล นอกจากความเอาจริ ง เอาจั ง ของรั ฐ บาลแล้ ว ภาคประชาชนก็ตน่ื ตัวกับประเด็นด้านสิง่ แวดล้อม อย่างมากเช่นกัน ลองดูลิสต์กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง กับสภาพภูมิอากาศ สิ่งแวดล้อม และการใช้ ทรัพยากรอย่างยั่งยืน ซึ่งจัดขึ้นจากหลายส่วน และมีให้เข้าร่วมกันทุกเดือนตลอดทั้งปี ดังนี้ Oslo Innovation Week งานใหญ่ ป ระจำ � ปี ที่ มี เ นื้ อ หาเกี่ ย วข้ อ งกั บ การแก้ปัญหาด้านทรัพยากร สภาพอากาศ และ การสร้ า งความเป็ น อยู่ ที่ ย่ั ง ยื น ให้ กั บ เมื อ ง ด้วยวิธีการแก้ปัญหาจากหลายสาขาอาชีพ เช่น ธุรกิจ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ผ่านอีเวนต์กว่า 50 งาน เช่น งานเสวนา เวิร์กช็อป ดนตรี และ โชว์เคส

Øyafestivalen

เทศกาลดนตรีแห่งเมืองออสโล จัดขึ้นที่สวน Tøyen Park ขึ้นชื่อว่าเป็นเทศกาลดนตรีสีเขียว ที่ สุ ด ในโลก เพราะมี ก ารจั ด การปั ญ หาขยะ อาหารเหลือทิ้ง การเดินทาง และการใช้พลังงาน ให้ ค วามสำ � คั ญ ตั้ ง แต่ ก ระดาษชำ � ระไปจนถึ ง พลังงานไฟฟ้า เทศกาล Øyafestivalen เริ่มใช้พลังงาน หมุนเวียนมาตั้งแต่ปี 2009 ขายอาหารออร์แกนิก และกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ของอาหารไม่มีส่วนผสม ของเนือ้ สัตว์ มีระบบจัดการขยะและอาหารเหลือ โดยนำ�ไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ตา่ ง ๆ อีกทัง้ 98% ของผู้ เ ข้ า ร่ ว มงาน เดิ น ทางมาด้ ว ยการเดิ น จักรยาน และขนส่งสาธารณะ ซึ่งนอกจากจะมา เพื่อรับความบันเทิงจากดนตรีแล้ว ทุกคนยังได้ รับแรงบันดาลใจและความรู้ในการใช้ชีวิตแบบ สีเขียวกลับบ้านอีกด้วย

ที่มา : บทความ “Norway will install the world’s first wireless electric car charging stations for Oslo taxis” โดย Nick Statt จาก theverge.com / บทความ “Oslo European Green Capital 2019” จาก sustaineurope.com / บทความ “Oslo wants to build the world’s first zero-emissions port” โดย Tracey Lindeman จาก grist.org / บทความ “The Car-free Livability Programme 2019” จาก oslo.kommune.no / Oslo Innovation Week 2019 จาก oiw.no / The Climate House จาก nhm.uio.no / oyafestivalen.no CREATIVE THAILAND I 27


The Creative : มุมมองของนักคิด

เรื่อง : ปิยพร อรุณเกรียงไกร l ภาพ : ภีร์รา ดิษฐากรณ์

ข่าววิกฤตขยะในท้องทะเลไทย และปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ที่ไม่หนีหายไปไหนง่าย ๆ ทำ�ให้กระแสตื่นตัวเรื่องสิ่งแวดล้อม กลับมาบูมในไทยอีกครั้ง แม้แต่ห้างสรรพสินค้ายังร่วมขบวนทัพงดแจกถุงพลาสติก แต่ลำ�พังการขยับตัวของผู้บริโภค และไม่กี่ฝ่าย จะช่วยแก้สมการปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ทันหรือไม่ CREATIVE THAILAND I 28


อัญชลี อัจจิมาธร กรรมการผู้จัดการ บริษัท อาหารเสริม จำ�กัด คือหัวหอก สำ�คัญทีอ่ ยูเ่ บือ้ งหลังการจัดการสิง่ ทีห่ ลงเหลือจากกระบวนการผลิตเบียร์และ สุรา ภายใต้กลุ่มบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำ�กัด (มหาชน) เพื่อที่จะนำ�กลับ มาใช้ ใ หม่ ใ ห้ เ กิ ด ประโยชน์ สู ง สุ ด ภายใต้ แ นวคิ ด เศรษฐกิ จ หมุ น เวี ย น เธอทำ�งานร่วมกับทีมงานคนรุ่นใหม่ไม่กี่หยิบมือ ด้วยเชื่อว่าถ้าธุรกิจเปลี่ยน วิธีคิด ก็สร้างมูลค่าจากขยะได้ จุดเริ่มต้นของบริษัท อาหารเสริม จำ�กัด คืออะไร เดิมทีเราเริ่มต้นจากเป็นบริษัท กระทิงแดงขนส่งจำ�กัด เมื่อก่อนการจัดการ ของเสียจากกระบวนการผลิตเบียร์ เราต้องส่งไปให้ผู้รับกำ�จัดของเสีย เพียงอย่างเดียว ต่อมาท่านประธานฯ (คุณเจริญ สิริวัฒนภักดี) เห็นว่า ของเสียจากกระบวนการผลิตดังกล่าวยังสามารถนำ�มาใช้ประโยชน์ได้อีก และให้นโยบายว่าต้องจัดการผลพลอยได้ให้ครบขบวนการ เช่น นำ�กาก ข้าวมอลต์ไปอบแห้ง เพื่อขายเป็นวัตถุดิบให้กับผู้ผลิตอาหารสัตว์ เรามีโรงงานหลัก 3 แห่ง คือ โรงงานของบริษทั เบียร์ไทย (1991) จำ�กัด (มหาชน) จ.กำ�แพงเพชร โรงงานของบริษทั เบียร์ทพิ ย์ บริวเวอรี่ (1991) จำ�กัด อ.บางบาล จ.อยุธยา และโรงงานของบริษทั คอสมอส บริวเวอรี่ (ประเทศไทย) จำ�กัด อ.วังน้อย จ.อยุธยา ของเสียจากกระบวนการผลิตส่วนใหญ่เป็นกาก ข้าวมอลต์และยีสต์ ซึง่ มีปริมาณหลายตันต่อปี คำ�ถามคือ เราจะสร้างมูลค่า จากสิ่งเหล่านี้ได้อย่างไร โดยไม่ทำ�ลายสิ่งแวดล้อม และได้รับผลพลอยได้ กลับคืนมาซึ่งตอนนั้นระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ยังไม่แพร่หลายอย่างทุกวันนี้

ทำ�ไมบริษัทใหญ่อย่างไทยเบฟ จึงสนใจเรื่องการจัดการ ทรั พ ยากรจากกระบวนการผลิ ต ให้ ก ลั บ มาใช้ ป ระโยชน์ ได้อย่างจริงจัง คุณฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำ�นวยการใหญ่ ท่านให้ความสำ�คัญ กับการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืนในด้านสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กับด้าน เศรษฐกิจ และสังคม จะเห็นได้วา่ ไทยเบฟได้รบั คัดเลือกให้เป็นสมาชิกในกลุม่ DJSI (ดัชนีความยัง่ ยืนดาวโจนส์หรือ Dow Jones Sustainability Indexes) ประเภท กลุ่มดัชนีโลก (World Index) และประเภทดัชนีตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market Index) ในอันดับที่ 1 กลุม่ Beverages industry 2 ปีซอ้ น ส่วนบริษทั อาหารเสริม จำ�กัด อยู่ในสายธุรกิจต่อเนือ่ งของไทยเบฟที่จดั ตัง้ ขึน้ เพือ่ รองรับการบริหารต้นทุนการผลิตให้มปี ระสิทธิภาพสูงสุด โดยเน้นหลักการ และจิตสำ�นึกเกี่ยวกับสังคม และสิ่งแวดล้อม แนวคิ ด หลั ก ของการบริ ห ารจั ด การกั บ ผลพลอยได้ จ าก กระบวนการผลิตเบียร์และสุราคืออะไร มีกระบวนการทำ�งาน อย่างไรบ้าง เรามีวิธีบริหารจัดการของเสียจากธุรกิจในเครือบริษัท 4 รูปแบบ คือ 1. จำ�หน่ายผลิตภัณฑ์ผลพลอยได้ เช่น กากข้าวมอลต์แห้ง กากข้าวมอลต์ เปียก ยีสต์แห้ง 2. วิจัยและพัฒนาของเสียจากโรงงานในเครือให้เกิดเป็น ผลิตภัณฑ์ใหม่ 3. พัฒนาบุคลากร สร้างความรู้ความเข้าใจด้านการบริหาร จัดการของเสีย และ 4. จัดทำ� Waste Data Management โดยรวบรวม ข้อมูลของเสียจากโรงงานในเครือเพื่อนำ�ข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการบริหาร จัดการสิ่งแวดล้อม

CREATIVE THAILAND I 29


ถ้าคุณคิดว่ามันเป็นแค่ของเสีย คุณก็ จะมองว่ามันเป็นแค่ของเสีย แต่ถ้าคิด อี ก มุ ม หนึ่ ง ลองใช้ น วั ต กรรมหรื อ ความคิดสร้างสรรค์ในแบบของคุณมา ปรับเพิ่ม คุณก็จะได้สิ่งที่มีมูลค่าและ คุณค่าเพิ่มขึ้น

เมื่อก่อนบริษัทแปรรูปกากข้าวมอลต์ให้เป็นวัตถุดิบสำ�หรับอาหารสัตว์ ให้กบั ผูผ้ ลิต แต่ถา้ เรายังทำ�แบบเดิมอยู่ ขายวัตถุดบิ ให้กบั ธุรกิจอืน่ อย่างเดียว เราก็ต้องพึ่งพาธุรกิจนั้นไปเรื่อยๆ ถ้าเกิดวันหนึ่งเขาสามารถนำ�เข้าวัตถุดิบ หรือปลูกพืชอื่น ๆ เพื่อใช้เลี้ยงสัตว์เองได้ เขาก็จะไม่ซื้อสินค้าจากเราแล้ว นั่นเป็นความเสี่ยงทางธุรกิจ ทีนี้เราเลยย้อนกลับมาดูว่ายังมีอะไรอีกบ้าง ใน Waste Universe ของไทยเบฟ เราเลยเริ่มจากการพัฒนาตัวปรับปรุงดิน (Soil Conditioner) ซึง่ เป็นผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตในโรงงาน และ จำ�หน่ายให้กับผู้ผลิตปุ๋ยทดแทน อะไรที่ทำ�ให้คิดว่ากระบวนการเก็บข้อมูลเป็นเรื่องสำ�คัญ ในการจัดการกับของเสีย เพราะบริษัทมีนโยบายด้านการขยายธุรกิจที่ดูแลสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ถ้าเรา ไม่รขู้ อ้ มูล เราจะบริหารจัดการได้ครบขบวนจริงหรือ นีจ่ งึ เป็นคำ�ถาม การบริหารจัดการของเสียจากกระบวนการผลิตจะต้องครอบคลุม ทุกบริบท และคำ�นึงถึงความยัง่ ยืนในอนาคต ประกอบกับเรามองว่า บริษทั จะต้องเติบโตมากยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้นเราไม่ได้มองแค่ของเสียจากโรงงาน อุตสาหกรรม แต่เราดูวา่ ธุรกิจในเครือไทยเบฟมีอะไรอีก เพือ่ ทีจ่ ะบริหารจัดการ ได้ครอบคลุมทุกกลุ่มธุรกิจในเครือ รวมถึงกลุ่มธุรกิจต่อเนื่องและลด การฝังกลบของเสียให้ได้มากที่สุด สมัยก่อนเราบริหารจัดการด้วยการจำ�หน่ายผลพลอยได้ทขี่ ายได้เท่านัน้ แต่ฐานข้อมูลทำ�ให้เราเข้าใจภาพรวมมากขึ้นว่ายังมีของเสียอีกมากมาย ที่มองไม่เห็นในกระบวนการผลิตหรือแม้แต่นอกกระบวนการผลิต เช่น ขยะจากที่อยู่อาศัย และสำ�นักงาน

เท่ากับข้อมูลขยะเหล่านี้คือหัวใจหลักในการทำ�งาน การจัดทำ�ฐานข้อมูลขยะจะมีประโยชน์กบั องค์กรมาก ๆ อันดับแรก ถ้าทุกคน รูว้ า่ ขยะทีอ่ ยูใ่ นมือสามารถสร้างมูลค่าและนำ�ไปใช้ประโยชน์ได้ มันก็จะเกิด การซือ้ ขายแลกเปลีย่ นกัน เกิดมาร์เก็ตเพลซภายในขึน้ เกิดความร่วมมือกัน ภายในองค์กร เกิดการเรียนรู้และแบ่งปันความรู้ใหม่ ๆ ระหว่างกัน สอง เรานำ�ขยะที่มีอยู่ไปพัฒนาด้วยนวัตกรรม เราทำ�งานร่วมกับ สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และ มหาวิทยาลัยอื่นๆ เพื่อที่จะรู้ว่าของเสียที่มีอยู่สามารถนำ�ไปใช้ประโยชน์ และพัฒนาให้เกิดมูลค่าสูงสุดได้อย่างไรบ้าง เช่น เรานำ�ขี้เถ้าซึ่งเป็น ผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตมาพัฒนาเป็นสารปรับปรุงดิน และขีเ้ ถ้าผง ปัน้ เม็ด เพือ่ จำ�หน่ายให้กบั ผูผ้ ลิตปุย๋ แต่ขเี้ ถ้ายังมีศกั ยภาพในการพัฒนาเป็น วัสดุมวลเบาทีใ่ ช้ในการก่อสร้าง แทนการใช้วสั ดุหนิ จากธรรมชาติทมี่ นี �้ำ หนัก ค่อนข้างมาก และไม่เหมาะกับการก่อสร้างตึกสูง พอเราใช้วัสดุมวลเบาที่ แข็งแรงเทียบเท่ากับหิน โครงสร้างอาคารก็ไม่ตอ้ งรับนํา้ หนักมาก ช่วยให้การ ก่อสร้างเร็วยิ่งขึ้น ปัจจุบันเราอยู่ในขั้นตอนการผลิต และเตรียมจัดจำ�หน่าย ให้กับคู่ค้าของเราภายในปีหน้า แต่การพัฒนานวัตกรรมน่าจะต้องใช้ต้นทุนสูง แพงแต่ก็คุ้มค่าและยั่งยืนกว่า เพราะถ้าเปรียบเทียบเชิงราคามันค่อนข้าง แพงกว่าหินในปัจจุบันอยู่แล้ว แต่ในอนาคต แน่นอนว่าภูเขาหินจะลดน้อย ลงไปเรื่อย ๆ ดังนั้นราคาของทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้ก็จะต้องสูงขึ้น แน่นอน ขณะทีน่ วัตกรรมจากของเหลือเหล่านี้ เราสามารถทำ�ได้โดยไม่จ�ำ กัด เพราะทรัพยากรหลักที่ใช้ในการผลิตเป็นทรัพยากรที่ยังสามารถนำ�กลับมา ใช้ใหม่ได้เรื่อย ๆ (Renewable Resources) เราไม่ต้องไปทำ�ลายธรรมชาติ

CREATIVE THAILAND I 30


และช่วยลดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 เราเน้นลดการทำ�ลาย สภาพแวดล้อมที่ไม่สามารถแปลงมูลค่าได้ (Intangible) แต่มีคา่ มากกว่า มูลค่าที่เป็นเงิน นั่นคือความยั่งยืน ถ้าคุณคิดว่ามันเป็นแค่ของเสีย คุณก็จะมองว่ามันเป็นแค่ของเสีย แต่ถา้ คิดอีกมุมหนึ่ง ลองใช้นวัตกรรมหรือความคิดสร้างสรรค์ในแบบของคุณมา ปรับเพิม่ คุณก็จะได้สง่ิ ทีม่ มี ลู ค่าและคุณค่าเพิม่ ขึน้ และลดการทิง้ ขยะในหลุม ฝังกลบ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง และถ้าหากเราช่วยกันสนับสนุนให้เด็กรุ่นใหม่ เข้ามาช่วยต่อยอดแนวคิดนี้ เขาอาจจะคิดได้มากกว่าพวกเราด้วยซํา้ เพราะ เด็กรุ่นใหม่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ไม่จำ�เป็นต้องคิดอยู่ในกรอบธุรกิจ เหมือนกับเรา การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่จากขยะหรือของเสีย ควรวางแผน ควบคุมอย่างไรไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมซํ้าอีก ทุก ๆ กระบวนการคิด เราจะมองรอบ 360 องศา ว่าถ้าเราเป็นผู้ผลิตแล้ว ต้องคำ�นึงถึงอะไรบ้าง ใครเป็นผูม้ สี ว่ นได้สว่ นเสียทัง้ หมดตลอดทัง้ กระบวนการ และบริษัทเองก็มีนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมอยู่แล้ว ดังนั้นขั้นตอนการพัฒนา ผลิตภัณฑ์จึงใช้ระยะเวลานานพอสมควร เพราะเราต้องชี้แจงรายละเอียด ให้ได้ทุกมุม

ทำ�ไมจึงคิดว่าการบริหารจัดการขยะต่อยอดเป็นธุรกิจได้ ขณะที่ธุรกิจใหญ่อื่นๆ มองว่าเป็นแค่กิจกรรม CSR เท่านั้น คิดว่ามันเป็นเรื่องมุมคิดที่แตกต่าง ถ้าเรามองเหมือนเดิม ของเสียเหล่านั้น ก็จะมีมลู ค่าเท่าเดิม ต้องบอกว่าบริษทั เรามาจากธุรกิจการค้า ทีมงานมาจาก สายนักวิจยั ส่วนเรามีมมุ มองด้านการตลาด เราให้นอ้ ง ๆ ฝึกคิดและออกไป เรียนรู้การพัฒนาผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะเรื่องเทคนิค หรือแม้แต่เรื่องดีไซน์ ความสวยงาม การตอบโจทย์ผู้ใช้งานจริง ๆ ซึ่งเราเปิดกว้างมาก ๆ เช่น ไปดูว่าที่เยอรมันเขามีแนวคิดแบบไหน ไปดูว่าเมืองในญี่ปุ่นเขาทำ�ให้ขยะ เป็นเรื่องศิวิไลซ์ได้อย่างไร แล้วนำ�มาปรับใช้ ซึ่งต้องขอบคุณผู้บริหารที่ ให้โอกาสพวกเราได้เรียนรู้ตรงนี้ ถ้าเรามองแค่ว่าการกำ�จัดขยะเป็นแค่ กิจกรรมแบบ CSR มันก็จะอยู่แค่การทำ�เพื่อแจก แต่ที่นี่ เราพยายามสร้าง มูลค่าใหม่จากสิง่ ทีค่ นมองไม่เห็น ใช้นวัตกรรมเข้าไปผสมผสาน แต่ที่สดุ แล้ว มันคือมายด์เซ็ต การเปิดใจมองว่าเราสามารถคิดต่อยอดไปได้เรื่อย ๆ มี ผลิตภัณฑ์หนึง่ ทีเ่ รากำ�ลังทดลองทำ�กันอยู่ คือ การนำ�กากข้าวมอลต์ผสมกับ กากใบชา และขีเ้ ถ้าผง มาจับคูก่ บั งานออกแบบ จนกลายเป็นอ่างล้างมือกับ ท้อปเคาน์เตอร์ ซึ่งมีคุณสมบัติแข็งแรงและกันนํ้าได้ เพื่อให้คนเห็นว่า ของเสียเหล่านี้สามารถนำ�ไปใช้ประโยชน์อย่างไรได้บ้าง แล้วมันอยู่ในชีวิต ประจำ�วันของเราจริง ๆ ได้ยังไง

CREATIVE THAILAND I 31


ธุ ร กิ จ ที่ บ ริ ห ารบนความยั่ ง ยื น จริ ง ๆ จะได้ รั บ ประโยชน์ แบบไหนที่ธุรกิจอื่นไม่ได้ ถ้าเราคิดเรื่องความยั่งยืนและการจัดการขยะตั้งแต่เริ่มต้น นั่นคือการ ลดความเสี่ยงทางธุรกิจ อันดับแรกคุณต้องลงมือทำ�ก่อน สอง เมื่อธุรกิจ ของคุณเติบโตไปพร้อมกับความคิดนี้ คุณก็ได้เป็นเม็ดเงินกลับมา ซึ่งไม่ใช่ แค่มาจากการลดต้นทุนค่าฝังกลบ แต่มาจากการบริหารจัดการผลพลอยได้ หลังการผลิตและการบริโภคมีกระบวนการที่ครบวงจร หรืออย่างน้อย คุณลดต้นทุนได้เยอะกว่าคู่แข่งที่ไม่ได้ทำ� นอกจากนี้เรายังได้มูลค่าในเชิง ภาพลักษณ์ของแบรนด์ รวมถึงความไว้วางใจ (Trust) จากคู่ค้าและผู้บริโภค อีกด้วย มองปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในประเทศไทยตอนนี้อย่างไร ยิ่งเราเปิดพรมออกมาดู ยิ่งรุนแรง สิ่งหนึ่งที่เราพบคือ การจัดการด้าน สิ่ ง แวดล้ อ มต้ อ งอาศั ย ความเชื่ อ มโยงจากทุ ก ฝ่ า ย ถ้ า ฝ่ า ยหนึ่ ง ฝ่ า ยใด ไม่เริ่มต้นหรือให้การสนับสนุน จะมีกี่คนที่ทำ�ได้ คือ เขาทำ�นะ แต่ทำ�ไม่ได้ เพราะว่าการแปรมูลค่าขยะทุกขยะมีค่าใช้จ่าย ซึ่งแพงกว่าของอย่างอื่น ในระดับองค์กรแล้ว เจ้านายและทุกคนในองค์กรก็ต้องเปิดใจด้วย เพราะ งานวิจัยเหล่านี้ไม่ได้ประสบความสำ�เร็จเสมอไป ส่วนในระดับประเทศนัน้ กฎหมาย กระบวนการคิด แนวทาง การสร้าง เสริมซึง่ กันและกันมันต้องชัดเจนกว่านี้ รวมไปถึงการปลูกฝังคนตัง้ แต่ยงั เด็ก

ก้าวต่อไปของบริษัท อาหารเสริม จำ�กัด คืออะไร ในเชิงธุรกิจ เราให้ความสำ�คัญเกี่ยวกับเทคโนโลยี ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์สำ�คัญ แต่จะครบขบวนได้ เราต้องทำ�ให้ผลิตภัณฑ์ขายได้ด้วย ซึ่งปัจจุบันเรามี ผลิตภัณฑ์หลัก คือ อาหารสัตว์ และอาหารพืช แต่ในอนาคตเราอาจจะขยาย เพิม่ มากขึน้ ก็ได้ คุณไม่รหู้ รอกว่าขยะและผลพลอยได้จากธุรกิจในเครือมันจะ ต่อยอดไปในแนวทางไหนได้บา้ ง ถ้าเรามองแค่เรือ่ งเทคโนโลยี แต่ขายไม่ได้ มันก็จะเหมือนกับเอาของไปวางอยู่บนหิ้ง ไม่ลงห้างสักทีหนึ่ง เราก็จะคอย สอนน้อง ๆ ว่าต้องมีแนวทางทีช่ ดั เจน เพราะฉะนัน้ เรือ่ งการพัฒนาบุคลากร ถือเป็นเรื่องที่สำ�คัญ

CREATIVE INGREDIENTS

เคล็ดลับการสร้างผลิตภัณฑ์จากขยะให้แตกต่างไปจาก ผลิตภัณฑ์อื่นคืออะไร ผลิตภัณฑ์ตัวหนึ่งต้องมีหลายฟังก์ชัน เช่น ครีมทามือที่สกัดจากกาก ใบชาเขี ย ว ก็ ต้อ งบำ � รุ ง ผิ ว และเล็ บมื อ ด้ ว ย ส่ ว นวั ส ดุ ม วลเบาก็มี คุณสมบัติทั้งกันเสียง และเป็นฉนวนกันร้อนได้ในตัว มายด์เซ็ตสำ�คัญที่คนทำ�งานต้องมี น้องๆ ในทีม จะระดมไอเดียกันและคิดได้มากกว่าที่เราคิดทุกครั้ง แต่ละคนจะดูแลมากกว่า 1 โปรเจ็กต์ ปริมาณคนไม่ใช่สงิ่ สำ�คัญ หัวใจ ของคนต่างหากที่สำ�คัญ ถ้าเขาเปิดใจให้กับงานนี้ เขาก็จะทำ�ได้ มากกว่าที่ตัวเองคิด และทำ�ได้ตั้งแต่ต้นจนจบ

CREATIVE THAILAND I 32



Creative Solution : คิดทางออก

ขยะอาหารที่ไม่ได้มแี ค่อาหาร

เรื่อง : กรณิศ รัตนามหัทธนะ l ภาพ : กวีพัฒน์ ผุยเจริญ ความท้าทายทีโ่ ลกต้องผลิตอาหารให้เพียงพอเลีย้ งประชากรกว่า 9 พันล้านคน เมื่อถึงปี 2593 นอกจากจะเป็นเป้าหมายที่เราต้องพยายามทำ�ให้ได้แล้ว เรายังมีอีกหนึ่งเป้าหมายที่ตีคู่มากับเป้าหมายในการผลิตอาหาร นั่นก็คือ เป้าหมายในการจัดการกับเศษเหลือที่เป็นอาหารหลังจากการบริโภค นิตยสาร Time รายงานเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมาว่า ทุกวันนี้ 30% ของอาหารที่ผลิตได้ในโลกถูก “ทิ้ง” 8% ของก๊าซเรือนกระจกเป็นผลมาจาก ขยะอาหาร ขยะอาหารเหล่านี้ใช้น้ำ�มากถึง 25% ของน้ำ�ที่ใช้เพื่อการเกษตร และใช้ที่ดินในการปลูกหรือผลิตขนาดใหญ่เท่าประเทศจีนทั้งประเทศ ในสหรัฐอเมริกา งานวิจยั ยังพบว่า คนอเมริกนั ทิง้ ขยะอาหาร (คืออาหาร ที่ยังกินได้) คนละ 400 กรัมหรือเกือบครึ่งกิโลกรัมต่อวัน ในขณะที่ ประเทศไทยยังไม่มีข้อมูลว่าเราทิ้งขยะอาหารกันวันละเท่าไร แต่หากลอง นึกถึงพฤติกรรมการกินประจำ�วันของเราที่พึ่งพาอาหารนอกบ้านเป็นหลัก ข้ า วเหนี ย วหมู ปิ้ ง ที่ กิ น ไม่ ห มด-ต้ อ งทิ้ ง ชานมไข่ มุ ก ที่ เ หลื อ ไข่ มุ ก ไว้ เพราะกลัวอ้วน-เททิ้ง ส้มตำ�ถาดเผ็ดจัดที่สั่งตอนหิวๆ แต่สุดท้ายแล้ว กินไม่ไหว-เททิ้ง ลองนึกดูว่าเมื่อวานนี้ เรากินอะไร เหลือทิ้งไว้มากน้อย แค่ไหน และแต่ละเมนูยอดฮิตมีขยะอะไรประกอบบ้าง นอกเหนือจากขยะ อาหารที่เรากินเหลือ ข้าวเหนียวหมูปง้ิ : ถุงพลาสติก ถุงหูหิ้ว ไม้เสียบหมู ถุงน้ำ�จิ้ม ยางวงรัดถุง ชานมไข่มกุ : แก้วพลาสติก ฝาซีลพลาสติก หลอดพลาสติก ถุงหูหว้ิ ใบเสร็จ

กระดาษทิชชู่พันแก้ว

เซ็ตอาหารฟาสต์ฟู้ด : กล่องใส่เบอร์เกอร์ ถุงหรือกล่องใส่เฟรนช์ฟราย

แก้วน้�ำ อัดลมพร้อมฝาและหลอด ซองใส่ซอสแบบแบ่งบรรจุ (เยอะหลายซอง หลายซอส) กระดาษทิชชู่ ช้อนส้อมมีดพลาสติก ถุงหูหวิ้ ใบเสร็จยาวเหยียด บะหมี่กึ่งสำ�เร็จรูปแบบถ้วย : ถ้วยพลาสติกหรือกระดาษเคลือบพลาสติก ฝาฟรอยด์ ส้อมพลาสติกในถ้วย ซองเครื่องปรุง

ทีนล้ี องมาดู 6 วิธลี ดขยะอาหารและช่วยประหยัดทรัพยากร ทัง้ ทางตรง และทางอ้อม ที่ทำ�ได้ทุกวันแบบไม่ยากเกินไปนัก หากเราช่วยกันคนละไม้ คนละมือ 1. กินในปริมาณพอดีๆ ซื้ออาหารแค่เท่าที่จะกินหมด และอย่าสั่ง อาหารตอนหิวจัด ๆ ให้คิดว่า การกินไม่ยั้งก็เท่ากับการสร้าง “ขยะอาหาร” ไว้ในร่างกายตนเอง ไม่ดีต่อสุขภาพ และยังไม่ดีต่อโลก 2. ดูวันหมดอายุให้ดีๆ งดพฤติ ก รรมซื้ อ มาตุ น ไว้ จ นกิ น ไม่ ทั น ลองวางแผนรายการอาหารล่วงหน้าว่าจะทำ�อะไรบ้างจากวัตถุดบิ ทีซ่ อื้ มาให้ หมดจริงๆ เมนูประเภทยำ� ต้มยำ� ข้าวผัด เป็นเมนูที่ “ใช้อะไรทำ�ก็อร่อย” เหมาะจะเป็นเมนูกำ�จัดวัตถุดิบค้างตู้เย็นที่มีเยอะจนกินไม่ทัน 3. รู้จักแปรรูปอาหารและใช้ช่องแช่แข็งให้เป็นประโยชน์ ผลไม้ หรือผักบางอย่างถ้ากินไม่ทัน ก็แช่แข็งไว้ได้ หรืออาจ “แปรรูป” ง่าย ๆ เช่น สตรอว์เบอร์รี ให้ปั่นเก็บไว้ทำ�สมูตตี้หรือซอส มะเขือเทศ ปั่นหรือต้มให้เละ แล้วแช่แข็งเก็บไว้ทำ�ซอสพาสต้า ขนมปังที่แห้งไม่น่ากินแล้ว (แต่ยังไม่เสีย) เอามาปั่นและอบแห้งทำ�เกล็ดขนมปังเก็บไว้ได้ 4. เก็บอาหารให้ถูกที่และถูกวิธีเพื่อยืดอายุ ผลไม้ตระกูลเบอร์รี และเห็ด อย่าเพิ่งล้างจนกว่าจะกิน แค่เก็บในกล่องที่ปิดสนิทในตู้เย็นก็พอ แคนตาลูปหรือเมลอนแม้ยังไม่ปอกก็ควรเก็บในตู้เย็น แต่หัวหอมใหญ่ มันฝรั่ง กล้วย ควรเก็บนอกตู้เย็น 5. ตรวจดูอุณหภูมิตู้เย็นอยู่เสมอ 0-5 องศาเซลเซียสเป็นอุณหภูมิ ที่เหมาะสม และไม่ควรใส่ของในตู้เย็นแน่นเกินไปจนความเย็นกระจายไม่ ทั่วถึง 6. กินเนื้อสัตว์ให้น้อยลง กินผักผลไม้ให้มากขึ้น เพราะเนื้อสัตว์ใช้ ทรัพยากรในการผลิตมากกว่าผักผลไม้อย่างมาก ข้อนีน้ อกจากดีตอ่ โลกแล้ว ยังดีต่อตัวคุณด้วย ที่มา : บทความ “‘ขยะอาหาร’ ปัญหาใหญ่ที่ถูกมองข้าม” จาก ngthai.com / บทความ “11 practical ways you can reduce food waste and save money” โดย Matt Petronzio จาก mashable.com / บทความ “How to reduce food waste” จาก bbcgoodfood.com / บทความ “Keep Fruits & Vegetables Fresher Longer” จาก heart.org

CREATIVE THAILAND I 34




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.