CT-Magazine Vol.18

Page 1

นิตยสารส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ผลักดันเศรษฐกิจไทย โดย

ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน)

The object ReCAPCHA

Creative City

Smart Grid, Smart City

The Creative สุหฤท สยามวาลา

มีนาคม 2554 ปีที่ 2 | ฉบับที่ 6

แจกฟรี

มีนาคม 2554

l

Creative Thailand



A revolution does not happen when society adopts new tools, it happens when society adopts new behaviors การปฏิวัติไม่ได้เกิดขึ้นเมื่อสังคมมีเครื่องมือใหม่ๆ แต่เกิดขึ้นเมื่อสังคมมีพฤติกรรมใหม่ Clay Shirky

ผูแ้ ต่งหนังสือ Here Comes Everybody และ Cognitive Surplus


สารบัญ

บรรณาธิการอำนวยการ ที่ปรึกษา

The Subject

6

The Object

7

วัตถุดิบทางความคิด

8

Digitized Thailand: เมือ่ เทคโนโลยีทำหนาทีส่ ง ตอสังคม ReCAPCHA

Featured Book / Book / Trend Book / DVD

เปลี่ยนโลกรอบตัว

10

Classic Item

11

เร�่องจากปก

12

Insight

21

คิด ทำ กิน

22

จับกระแสเมืองสรางสรรค

24

มุมมองของนักคิด

28

หองสมุด 2.0

MOTOROLA StarTAC DIGITALITY: Anytime Anywhere Everyone Basement Tape Marketingoops Smart Grid, Smart City สุหฤท สยามวาลา

อภิสิทธิ์ ไลสัตรูไกล กิตติรัตน ปติพานิช ชมพูนุท วีรกิตติ พิชิต วีรังคบุตร ศิริอร หริ่มปราณี มนฑิณี ยงวิกุล กนกพร เกียรติศักดิ์ วราภรณ วศินสังวร จรินทรทิพย ลียะวณิช นันทิยา เล็กสมบูรณ พัชรินทร พัฒนาบุญไพบูลย ชิดชน นินนาทนนท นิรชา ชินะรัตนกุล กมลกานต โกศลกาญจน

บรรณาธิการบริหาร ผูชวยบรรณาธิการ บรรณาธิการศิลปกรรม ผูจัดการฝายผลิตและเผยแพร นักศึกษาฝกงาน

จัดทําโดย ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (TCDC) ชั้น 24 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอร 622 สุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 โทร. 02 664 7667 แฟกซ. 02 664 7670 แยกสี บริษัท 71 อินเตอรสแกน จำกัด โทร. 02 631 7171 แฟกซ. 02 631 7181 พิมพที่ บริษัท คอนฟอรม จำกัด โทร. 02 368 3942-7 แฟกซ. 02 368 2962 จำนวน 50,000 เลม นิตยสารฉบับนี้ใชหมึกพิมพจากน้ำมันถั่วเหลือง ที่ไมเปนอันตรายตอสุขภาพ ทั้งยังเปนมิตรตอ สิง่ แวดลอม และทีส่ ำคัญคือ เปนผลผลิตจากความคิด ของผูประกอบการไทย

Media Partner

จัดทำภายใตโครงการ “CreativeThailand สรางเศรษฐกิจไทยดวยความคิดสรางสรรค” โดยศูนยสรางสรรคงานออกแบบ สำนักงานบริหารและพัฒนาองคความรู (องคการมหาชน) ซึ่งมีเปาหมาย ในการเผยแพรความรูเกี่ยวกับเศรษฐกิจสรางสรรค (Creative Economy) และผลักดันการใชความคิด สรางสรรคในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส แสดงทีม่ า-ไมใชเพือ่ การคา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย Creative Thailand l มีนาคม 2554

อานนิตยสารฉบับออนไลนและดูขอมูลเพิ่มเติมไดที่ www.creativethailand.org Email: creativethailand@tcdc.or.th Twitter: @Creative_TH Facebook: Creative Thailand


Editor's Note บทบรรณาธิการ

โลกของเลขฐานสอง อะไรจะดีไปกว่านี้... เมื่อโลกทั้งใบสามารถใช้ระบบตัวเลขในการบันทึก จัดเก็บ ส่งต่อ ประมวลผล รวมไปถึงการแสดงผล เรื่องราวปริมาณมหาศาลให้จำกัดอยู่ในขอบเขตที่ เอื้ออำนวยต่อการนำไปใช้ในทุกๆ ส่วนของชีวิต ความรวดเร็วและสะดวกสบายที่เกิดขึ้นนี้มันมาก เสียจนบางทีเราเกือบลืมไปเลยว่า ก่อนหน้ายุคแห่ง การทำงานหนักของตัวเลขฐานสองเหล่านี้ เราอยู่ กันมาได้อย่างไร เพราะตั้งแต่เทคโนโลยีดิจิทัลก้าวเข้ามาเป็น ปัจจัยการขับเคลื่อนที่สำคัญที่สุดของโลก มันก็ได้ ปรับโฉมหน้าของสังคมโลกให้เปลี่ยนไป ด้วยพลัง ของความสามารถในการจัดเก็บ เข้าถึง และแบ่งปัน ข้อมูล ส่งผลให้สังคมเคลื่อนตัวเข้าหากันอย่าง รวดเร็วด้วยการเชือ่ มต่อผูค้ นและชุมชนผ่านเครือ่ ง มือสือ่ สารประเภทมีสายและไร้สาย ซ้ำยังสร้างสังคม ของคนหมู่มากที่กระจายกลุ่มตามความสนใจและ ความเป็นตัวตนที่อยู่บนฐานการพึ่งพากันและกัน ขณะเดียวกัน สังคมดิจทิ ลั ก็สร้างกระบวนการผลิต ที่เกิดจากปฏิสัมพันธ์อันทรงประสิทธิภาพด้วยการ ลดต้นทุนจากระบบสมองกล ความสามารถในการ ผลิตซ้ำ และกระจายผลผลิตอย่างรวดเร็ว ซึ่งข้อ สันนิษฐานดังกล่าวยืนยันได้ด้วยงานแถลงข่าวการ เปิดตัว เดอะเดลี่ หนังสือพิมพ์ดิจิทัลของรูเพิร์ต เมอร์ด็อก ซีอีโอของนิวส์ คอร์ป ที่จับมือกับ แอปเปิลลงทุนกว่า 30 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพือ่ ผลิต

หนังสือพิมพ์ที่สามารถอ่านได้เฉพาะบนไอแพด เท่านัน้ เมอร์ด็อกกล่าวถึงไพ่ใบใหม่ของเขาว่า มัน จะเข้ามาช่วยชีวติ หนังสือพิมพ์ เพราะไม่จำเป็นต้อง มีต้นทุนของกระดาษ หมึก เครื่องพิมพ์ และรถ บรรทุกอีกต่อไป แต่ความชาญฉลาดของโลกยุคดิจิทัลยังต้อง เผชิญหน้ากับความพร้อมที่ใช้ความฉลาดของมัน ด้วย เพราะอย่าลืมว่า ด้านหนึ่งของชีวิตที่วิ่งตาม โลกดิจิทัลในฐานะผู้บริโภค อีกด้านหนึ่งเราต้องวิ่ง ไล่ในฐานะผู้ผลิตจากโครงสร้างที่เปลี่ยนไปตาม ระบบการทำงานของมัน ดังนั้น สิ่งที่ยากที่สุดของ สังคมที่ยังมีทุนการผลิตแบบครึ่งๆ กลางๆ อย่าง สังคมไทยก็คอื เราจะเอาส่วนทีด่ ที ส่ี ดุ ของเราควบคุม และส่งต่อระบบการผลิตที่มีประสิทธิภาพนี้ให้ ราบรื่นได้อย่างไร ความคาดหวั ง ของอภิ ม หาเศรษฐี อ ย่า ง เมอร์ ด ็ อ กคงเป็ น บททดสอบของความเคยชิ น จากยุคอนาล็อก ที่ซึ่งผู้คนหลงใหลกับสัมผัสจาก ความหยาบของเนื้อกระดาษ กลิ่นจางๆ ของหมึก พิมพ์ และเสน่ห์จากการรอคอยหนังสือพิมพ์ใน รุ่งเช้า และเช่นเดียวกัน จนมาถึงบรรทัดนี้ ผมเองก็ เริม่ อยากรูเ้ หมือนกันว่าคุณอ่านนิตยสาร Creative Thailand ของเราจากที่ไหน....

อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล บรรณาธิการอํานวยการ

มีนาคม 2554

l

Creative Thailand


The Subject

เรื่อง: กมลกานต์ โกศลกาญจน์ จะดีแค่ไหน หากเราไม่ต้องกลัวว่า องค์ความรู้และสินทรัพย์ทาง วัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนานอย่างเรื่องราว ภาษา ท่ารำ และวัฒนธรรมท้องถิ่นอื่นๆ จะหายไปกับกาลเวลา เมื่อใน วันนี้ เราสามารถใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุด ในการเก็บรักษา คุณค่าดั้งเดิมที่ยากแก่การเก็บรักษาที่สุด ต้องขอบคุณศูนย์ เทคโนโลยีอเิ ล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ NECTEC ที่ได้จัดทำโครงการ “ดิจิไทย” (Digitized Thailand) เพื่อจัด เก็บองค์ความรู้ของชาติ เพื่อพาประเทศเข้าสู่สังคมดิจิทัลแบบ ไม่ไร้ราก

ด้วยความร่วมมือจากหน่วยงานและมหาวิทยาลัยต่างๆ โครงการดิจิไทย กำลังจัดเก็บ รวบรวม บันทึก และสร้างฐานข้อมูลดิจิทัลของไทยให้เป็น ระบบและได้มาตรฐาน รวมถึงการต่อยอดการวิจัยและพัฒนา เพื่อสร้าง ระบบทีเ่ หมาะสมต่อการจัดเก็บและสืบค้น และสร้างคลังความรูท้ ส่ี มบูรณ์ มากที่สุด โดยเฉพาะข้อมูลองค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา รวมถึงเอกสารหายาก และวัตถุที่ยากต่อการเก็บรักษา ตัวอย่างองค์ความรู้จำนวนมากที่ดิจิไทยได้ลงมือทำและประสบผล สำเร็จไปแล้ว ได้แก่ การแปลงและจัดเก็บหนังสือสำคัญกว่า 800 เล่มของ หอสมุดแห่งชาติให้อยู่ในรูปแบบของข้อมูลดิจิทัล การจัดทำระบบคลัง

Creative Thailand

l มีนาคม 2554

ข้อมูลจดหมายเหตุดิจิทัลสำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลและเรื่องราวของท่าน พุทธทาส อินทปัญโญ รวมถึงหลักธรรมคำสอนให้คงอยู่สืบไปถึงคนรุ่น หลัง รวมถึงการสืบสานคุณค่าทางนาฏศิลป์ของไทย ทั้งการแสดงโขน การฟ้อนสาวไหม หรือกระบวนท่ารำดาบไทย ด้วยวิธีการล้ำสมัยอย่าง Motion Capture ทีน่ ำเทคโนโลยีการตรวจจับและแปรค่าความเคลือ่ นไหว ของต้นแบบสู่การสร้างตัวละครสามมิติที่แสดงถึงท่วงท่าอิริยาบถ รวมถึง เครื่องแต่งกายและสภาพแวดล้อมให้กับผู้ที่สนใจศึกษาได้อย่างสมจริง นอกจากนี้ โครงการดิจิไทยยังครอบคลุมการเชื่อมโยงข้อมูลความรู้ด้าน การท่องเที่ยว จัดทำพิพิธภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Museum) บนโทรศัพท์ มือถือที่ให้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ โบราณวัตถุและศิลปะต่างๆ รวมไป จนถึงข้อมูลด้านวัฒนธรรมและเทศกาลไทยให้ผใู้ ช้งานวางแผนการท่องเทีย่ ว ไทยได้ไม่มีพลาด การเกิดขึ้นของโครงการดิจิไทยจึงนับเป็นก้าวใหม่ในการส่งต่อ “สังคมไทย” สู่คนรุ่นต่อไปที่ดำรงชีวิตอยู่ในวิถีดิจิทัล เพื่อให้เป็นคลัง ข้อมูล เป็นเสิรช์ เอนจิน เป็นสารานุกรมมีชวี ติ และทีส่ ำคัญคือเป็นรากฐาน ทางการศึกษาอันสำคัญสำหรับคนรุ่นหลัง ตามเป้าหมายของโครงการที่ ว่า “ข้อมูลที่สำคัญของชาติได้รับการจัดเก็บรวบรวมอย่างเป็นระบบเพื่อ ความก้าวหน้า ยั่งยืน และคงอยู่ของการศึกษา สังคม เศรษฐกิจ ศิลปวัฒนธรรม และชาติไทยของเรา” ติดตามข้อมูลโครงการได้ที่ www.digitized-thailand.org


The Object

เรื่อง: ณัฐพร ศรีศิริรังสิมากุล หากพูดถึง reCAPTCHA หลายคนอาจ จะไม่รู้ว่าคืออะไร แต่เชื่อว่าทุกคนคงร้อง อ๋อ หากเราบอกว่ามันคือคำศัพท์สองคำ ที่มาในรูปตัวอักษรบิดๆ เบี้ยวๆ ที่ต้อง พิมพ์ใส่เข้าไปในช่องตามเว็บไซต์ต่างๆ เวลาต้องการสมัครสมาชิก ตอบกระทู้ หรือ ดาวน์โหลดข้อมูล แต่คุณรู้หรือไม่ว่า ทุก ครัง้ ทีค่ ณ ุ ถอดรหัสยึกยือเหล่านี้ คุณกำลัง ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยแปลงภาพ จากหนังสือเก่าเพือ่ รวบรวมเป็นฐานข้อมูล ดิจิทัลโดยไม่รู้ตัว

reCAPTCHA เป็นการต่อยอดมาจาก CAPTCHA ระบบป้องกันสแปมที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ต้องกด แป้นตัวอักษรตามรหัสภาพที่บิดโย้เย้ที่ปรากฏ บนหน้าจอเพือ่ ทดสอบว่าผูใ้ ช้งานเป็นคนหรือคอม ในแต่ละวัน คนทัว่ โลกต้องไขปริศนา CAPTCHA กว่า 200 ล้านครั้ง ซึ่งคำนวณแล้วเป็นเวลารวม ประมาณ 150,000 ชั่วโมงต่อวัน แทนที่จะปล่อย ให้เวลาและพลังสมองอันมีค่าเหล่านี้สูญเปล่า กลุม่ นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์จากมหาวิทยาลัย คาร์เนกีเมลลอน ในรัฐเพนซิลเวเนีย สหรัฐ อเมริกา ทีน่ ำทีมโดยลูอสิ ฟอน อาห์น (Luis von Ahn) หนึ่งในผู้คิดค้น CAPTCHA จึงปิ๊งไอเดีย พัฒนาโปรแกรม reCAPTCHA ขึน้ ทีน่ บั เป็นการ ยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว เพราะนอกจากจะ ช่วยยกระดับความปลอดภัยในการท่องโลก ออนไลน์แล้ว ยังช่วยเก็บรวบรวมหนังสือเก่าๆ ลงฐานข้อมูลดิจิทัลเพื่อให้คนทั่วโลกสืบค้น ข้อมูลกันต่อไปได้ในอนาคต แนวคิดการทำคลังข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ นั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ โปรแกรม OCR (Optical Character Recognition) ที่ใช้แปลงภาพตัว หนังสือให้เป็นไฟล์ดิจิทัลที่สามารถเก็บบันทึก และแก้ไขเพิม่ เติมได้สะดวก เป็นเทคโนโลยีทใ่ี ช้ กันอย่างแพร่หลายในการสแกนหนังสือและจัด เก็บข้อมูล แต่ OCR นัน้ มีขอ้ จำกัดทีไ่ ม่สามารถ อ่านตัวหนังสือจากต้นฉบับทีไ่ ม่คมชัดหรือลายมือ ที่ลบเลือนได้ reCAPTCHA ช่วยแก้ปัญหานี้ โดยส่งภาพคำศัพท์ที่ OCR ไม่สามารถอ่านได้ มาให้มนุษย์อย่างเราๆ ช่วยกันแก้แทน ซึ่งผล

การทดสอบพบว่ามีความแม่นยำถึง 99.5% เลย ทีเดียว ในปี 2009 กูเกิลได้เข้าซื้อกิจการของ reCAPTCHA เพือ่ ช่วยงานในบริการ Google Books และ Google News Achieve Search และเปิด ให้เจ้าของเว็บไซต์ บล็อกเกอร์ หรือแม้แต่ผู้ใช้ อีเมลทัว่ ไปโหลดไปใช้กนั ได้ฟรี ปัจจุบนั เว็บไซต์ กว่าหนึง่ แสนเว็บ รวมถึง เฟซบุก๊ ทวิตเตอร์ และ เครกส์ลสิ ต์ ต่างใช้ reCAPTCHA และพลังมวลชน มหาศาลทีล่ อ็ กอินเข้าไปตอบโจทย์ reCAPCHA กันกว่า 100 ล้านครัง้ ต่อวัน ทำให้ขอ้ มูลกว่า 20 ปี ที่ตพี มิ พ์ลงในหนังสือพิมพ์ The New York Times ฉบับเก่าๆ ถูกรวบรวมลงเป็นฐานข้อมูลดิจิทัล เสร็จเรียบร้อยแล้ว เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว เชื่อว่าหลายๆ คนที่เคย มองว่า reCAPTCHA เป็นเรื่องยุ่งยากและเสีย เวลา คงจะตั้งใจแกะภาพอักษรโย้เย้นี้กันอย่าง สนุกสนานมากขึ้น ที่มา: www.google.com/recaptcha มีนาคม 2554

l

Creative Thailand


วัตถุดบิ ทางความคิด

เรือ่ ง: เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร และ กริยา บิลยะลา

THE END OF CELLULOID: FILM FUTURES IN THE DIGITAL AGE โดย Layla Dawson ณ ช่วงเวลานี้ ถือได้ว่าเป็นช่วงปลายสุดของยุค อนาล็อก “ชัดกว่า” “เร็วกว่า” “ดีกว่า” ล้วนเป็น เหตุผลทีท่ ำให้เครือ่ งมือ อุปกรณ์และเทคโนโลยี ต่างๆ ได้ปรับเปลี่ยนตัวเองเกือบทั้งหมด เพื่อ เข้าสู่โลกในยุคดิจิทัลอย่างเต็มตัว โดยเฉพาะ อย่างยิง่ ในวงการสือ่ สารโทรคมนาคม และสือ่ สาร มวลชน ปัจจุบันเราแทบจะไม่ได้เห็นเครื่องเล่น เทปคาสเซ็ทหรือแผ่นไวนิลกันแล้ว มีแต่เครื่อง เสียงระบบดิจทิ ลั ไม่วา่ จะอยูใ่ นรูปแบบแผ่นดิสก์ หรือไฟล์คอมพิวเตอร์ อีกตัวอย่างที่แสดงได้ ชัดเจนถึงความเปลี่ยนแปลงนี้ เช่นในวงการ โทรทัศน์ การเปลีย่ นผ่านเข้าสูย่ คุ ดิจทิ ลั ทวีความ เข้มข้นขึน้ ทุกวัน ตัง้ แต่เปลีย่ นรูปแบบของเครือ่ ง รับโทรทัศน์ การถ่ายทำบันทึกภาพรายการ ไป จนถึงระบบการส่งสัญญาณแบบดิจิทัลสมบูรณ์ แบบที่ส ามารถส่ ง ภาพที่ม ี ค วามละเอี ย ดสู ง ในระดับ HD (High Definition) ซึ่งในประเทศ ไทยก็เริม่ เห็นกันบ้างแล้วในหลายสถานีโทรทัศน์ และจะยิง่ ขยายตัวในวงกว้างต่อไปในอนาคต โลกที่มีพื้นฐานมาจากเลข 0 และ 1 นี้ ยังสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างมากในวงการ ภาพยนตร์ อะไรๆ ก็ดเู หมือนทำได้งา่ ยๆ ความ เก่งกาจของเทคโนโลยีช่วยลดขั้นตอนที่ยุ่งยาก ซ้ำซ้อนลงจากอดีต การเพิ่มเติม ตัดแต่ง ดัด แปลงสิ่งต่างๆ ทำได้สมจริง จนบางครั้งอาจจะ ต้องพิจารณากันดีๆ ว่าภาพที่เห็น หรือเสียงที่ ได้ยินนั้น มีอยู่จริงหรือไม่ หนั ง สื อ เล่มนี ้ ไ ม่ ไ ด้ พ ู ด ถึ ง ตั ว หนั ง หรื อ ภาพยนตร์ แ บบที ่ เ ราเห็ น บนจอฉายตรงๆ แค่นน้ั แต่ผเู้ ขียนคาดหวังจะให้เป็นหนังสือทีจ่ ะ บอกว่า เราจะสามารถสร้างประสบการณ์รว่ มใน การรับชมภาพเคลือ่ นไหวเหล่านัน้ ทัง้ ในปัจจุบนั และอนาคตได้อย่างไร เมือ่ โลกเปลีย่ น เทคโนโลยี

Creative Thailand

l มีนาคม 2554

เปลี่ยน เราก็ต้องมีการปรับตัว เปิดรับทัศนะ ใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในโลกภาพยนตร์ที่มีความ ซับซ้อนด้านภาพและการเล่าเรื่องมากขึ้น และหากใครเคยได้ยินเทศกาลภาพยนตร์ ดิจิทัล onedotzero ซึ่งเป็นหนึ่งในเทศกาล ภาพยนตร์ทน่ี า่ จับตามองมากที่สดุ ก็อาจจะเคย ได้ยินชื่อเสียงของ Matt Hanson ผู้ก่อตั้งและ ผู้แต่งหนังสือเล่มนี้บ้าง เขายังเป็นทั้งนักเขียน นักสร้างภาพยนตร์ และเป็นผู้นำเทรนด์ด้าน ภาพยนตร์ดิจิทัล หนังสือเล่มนี้เขาจึงแต่งขึ้น ด้วยความสนใจส่วนตัวจากประสบการณ์ตรง และ จากการวิจยั ศึกษาพูดคุยกับผูก้ ำกับภาพยนตร์ รุ่นใหม่ หนังสือได้หยิบยกเอาตัวอย่างหนังที่น่า สนใจหลายๆ เรือ่ งที่มกี ารถ่ายทำ หรือใช้เทคนิค ดิจทิ ลั เข้ามาช่วยในการสร้างภาพ เช่น บางเรือ่ ง ใช้เทคนิคการลดความชัดของภาพลง เพื่อให้ มีความสมจริง และดูดิบน่ากลัว บางเรื่องใช้ เทคนิคการปรับแสง เพื่อสร้างแสงและเงาอย่าง ที่ต้องการ เป็นต้น ซึ่งตัวอย่างเหล่านี้ทำให้เรา เห็นแง่มมุ ทีแ่ ตกต่าง ว่าสิง่ ทีเ่ ราเห็นในขณะถ่าย ทำกับภาพที่ปรากฏในโรงภาพยนตร์นั้นบางที อาจจะไม่ได้ใกล้เคียงกันด้วยซ้ำ แต่เมื่ออาศัย จินตนาการและความสามารถของเทคโนโลยี เข้ามาช่วยแล้วสามารถเนรมิตภาพได้อย่าง น่าอัศจรรย์อย่างไร


วัตถุดบิ ทางความคิด

Pantone view color planner summer 2012 Digital Retro โดย Gordon Laing คุณเห็นหน้าตาของ Apple iMac สุดทันสมัย ในวันนี้แล้วคุณจินตนาการออกหรือเปล่าว่า Apple-1 คอมพิวเตอร์เครื่องแรกของ Apple ที่มีตัวเครื่องเป็นไม้ ผลิตขึ้นในปี 1976 จากโรง รถทีบ่ า้ นของสตีฟ จอบส์ จะมีหน้าตาเป็นอย่างไร หนังสือเล่มนี้นำคุณย้อนกลับไปดูวิวัฒนาการ ของการออกแบบคอมพิวเตอร์สว่ นบุคคล ทีเ่ คย ได้รับความนิยมในอดีต ยุคที่ Intel, Microsoft และ Apple ยังไม่แข็งแกร่งแบบทุกวันนี้ รวม ถึงความแตกต่างหลากหลายที่บรรดาบริษัท คอมพิวเตอร์ชน้ั นำพยายามคิดค้น สร้างมาตรฐาน ในแบบของตน เขาว่ากันว่าการออกแบบบาง ครัง้ มันก็วนไปเวียนมา บางครัง้ การอาศัยสไตล์ การออกแบบในอดีตกลับมาสร้างความทันสมัย ขึ้นอีกครั้งก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ

สะพานมักถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของการเชือ่ มโยง สิ่งต่างๆ ไว้ด้วยกัน แต่ Pantone view color planner ในฤดูกาล Summer 2012 ได้ขยาย ความหมายของสะพานไปในหลากหลายมุม มอง ตั้งแต่เป็นเครื่องมือสื่อความคิดของการ เปลี่ยนผ่านจากช่วงเวลาหนึ่งไปยังอีกช่วงเวลา หนึง่ โดยมีเทคโนโลยีเป็นตัวช่วย เป็นการเรียนรู้ ปฏิสมั พันธ์ระหว่างบุคคลทีส่ านต่อให้เกิดมุมมอง ใหม่หรือช่วยสร้างสมดุลในโลกของความเป็น จริงกับโลกแห่งจินตนาการเพื่อกระตุ้นการวาง แผนอนาคต รวมถึงเป็นการพัฒนานวัตกรรม ใหม่ในยุคดิจิทัลให้ผูกความล้ำสมัยกับมุมมอง สีและระเบียบวิธคี ดิ ให้ไปในทิศทางเดียวกันเพือ่ สร้างความเข้าใจและความต่อเนื่อง ในตัวเล่ม ยังได้แบ่งกลุ่มสีและแนวคิดเป็น 8 กลุ่ม ได้แก่ Perception การลวงตากับความจริง, Clay สารพันสาระกับจิตวิญญาณ, Now อดีตกับ อนาคต, Titanium อวกาศกับการพุ่งทะยาน, Spirit แสงและเงา, Lens แสงอาทิตย์จุดเริ่มต้น กับโลกใบใหม่, Pier ออกเดินทางกับการเดินทาง ทีไ่ ม่สน้ิ สุด และ Façade ธรรมชาติกบั เทคโนโลยี การเชื่อมโยงจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งจะทำให้ เห็นการประสานร่วมมือในบริบทที่กว้างขึ้น ซึ่ง สามารถใช้เป็นพืน้ ฐานความคิดในการพิจารณา วางแผนสำหรั บ ความล้ ำ สมั ย ในอนาคตได้ อย่างสมดุล

Shots: New Directors บ่อยครัง้ ทีพ่ ลังและแนวคิดของคนรุน่ ใหม่มกั จะ สดกว่า แรงกว่า และสร้างความน่าสนใจได้ไม่ น้อย ยิง่ เมือ่ โลกก้าวเข้าสูย่ คุ อินเทอร์เน็ต ในสมัย ที่สื่อสังคมสามารถสร้างกระแสต่างๆ ได้ไม่ แพ้สื่อหลัก ทำให้บรรดานักสร้างสรรค์ผลงาน โฆษณายุคใหม่ มีชอ่ งทางในการเผยแพร่ผลงาน มากยิง่ ขึน้ สอดรับกับทีบ่ รรดาบริษทั ห้างร้านต่างๆ ลดงบที่ใช้ในการโฆษณาลงจากภาวะเศรษฐกิจ เทคนิคใหม่ๆ นี้เอง ที่บรรดานักโฆษณารุ่นเดิม อาจจะตามไม่ทนั และทําให้วธิ กี ารเก่าๆ กลายเป็น สิง่ ล้าสมัย ในดีวดี แี ผ่นนีไ้ ด้รวบรวมผลงานโฆษณา จากผู้สร้างสรรค์โฆษณายุคใหม่กว่า 100 คน ที่มปี ระสบการณ์ในการทำงานจริงเพียงแค่ 2 ปี เท่านัน้ แต่สง่ิ ทีเ่ ราสัมผัสได้คอื ไอเดียทีด่ นี น้ั ไม่ จำเป็นต้องอาศัยเงินเยอะ ไม่ได้ต้องการทีมที่ ใหญ่โต อินเทอร์เน็ตทำให้การแชร์ไอเดียต่างๆ ทำได้ง่ายขึ้น และพวกเขาก็สามารถนำไอเดีย ที่ผ่านการพูดคุยเหล่านั้นมาสร้างผลงานที่น่า ประทับใจได้ มีนาคม 2554

l

Creative Thailand


เปลีย่ นโลกรอบตัว

ห้องสมุด 2.0 เรียบเรียงจากหนังสือ เปลีย่ นโลกรอบตัว โดย (ผูเ้ ขียน: ชนากานต์ คําภิโล)

ก่อนหน้านี้ หากต้องการหาหนังสือสักเล่ม ในห้องสมุด คงต้องเดินไปค้นจากบัตรราย การที่วางเรียงเป็นแถว หรือคลิกหาในระบบ สืบค้นหนังสือจากคอมพิวเตอร์ ซึง่ ระบบการ จัดการทั้งหมดล้วนอยู่ในความดูแลของเจ้า หน้าที่บรรณารักษ์ แต่เมื่อเทคโนโลยีเข้ามา มีบทบาทมากขึน้ เรือ่ งราวในห้องสมุดก็เปลีย่ น แปลง ตั้งแต่การจัดเก็บ ระบบการค้นหา ไป จนถึงการมีส่วนร่วมดูแลข้อมูลของทุกคนที่ ท่องโลกอินเทอร์เน็ต

ด้วยคุณสมบัตขิ องเว็บ 2.0 ทีส่ ามารถเอือ้ ให้เกิด การสื่อสารแบบสองทาง จึงเกิดแนวคิดในการ นำเข้ามาผนวกกับการบริการออนไลน์ข อง ห้องสมุดจนกลายเป็น ‘Library 2.0’ หรือห้องสมุด ที่เต็มไปด้วยความทันสมัยของข้อมูล ความ สะดวกในการใช้บริการ และสามารถให้ผู้ใช้ บริการร่วมแบ่งปันข้อมูลกับห้องสมุดได้

Social Bookmarking

นอกจากทีค่ น่ั หนังสือส่วนตัวแล้ว เรายังสามารถ แบ่งปันลิงก์ URL เว็บไซต์ทน่ี า่ สนใจร่วมกัน เพือ่ สร้างให้เกิดการบริหารจัดการข้อมูลที่มีคุณค่า มากยิ่งขึ้น ห้องสมุดบางแห่งใช้ del.icio.us (เว็บไซต์สำหรับเก็บบุ๊กมาร์ก ที่เชื่อมโยงกันใน ลักษณะเครือข่ายสังคม โดยผู้ใช้สามารถเก็บ บุก๊ มาร์กไว้บนอินเทอร์เน็ต เพือ่ ให้สามารถเรียก ใช้ข้อมูลจากที่ไหนก็ได้) รวมถึงเป็นการสร้าง บริการชีแ้ หล่งข้อมูล หรือใช้เพือ่ การตอบคำถาม ได้อีกด้วย เช่น บรรณารักษ์อาจสืบค้นข้อมูล เว็บไซต์ที่มีข้อมูลที่น่าสนใจในเรื่องต่างๆ แล้ว เก็บแยกไว้เป็นหัวข้อตามความสนใจ โดยจะ ระบุคีย์เวิร์ด หรือ Tag เพื่อใช้ในการค้นหากลุ่ม ของเว็บไซต์ที่เลือกไว้นั้น เมื่อมีคนเข้ามาสอบ ถาม บรรณารักษ์จะสามารถบอกให้เขาเหล่านั้น ใช้คำค้นแบบเฉพาะเจาะจง เพือ่ ทีจ่ ะศึกษา และ นำข้อมูลจากเว็บต่างๆ มาใช้ได้ทนั ที โดยไม่ตอ้ ง ไปทำการเริ่มสืบค้นใหม่อีกครั้ง อีกทั้งยังเป็น ประโยชน์สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาเรื่องเดียว กันนี้ในอนาคต

ภาพจาก www.iart.ch

Interactive Table

เรากำลังพูดถึงการนำระบบสัมผัสมาประยุกต์ ใช้กับสื่อการเรียนรู้ ในวันที่บริษัทยักษ์ใหญ่ หลายๆ รายไม่ว่าจะเป็น Microsoft, HP หรือ Phillips กำลังมุง่ มัน่ พัฒนาเทคโนโลยีโต๊ะอัจฉริยะ (ซึง่ รวมไปถึงพืน้ และผนัง) ทีม่ รี ปู แบบการใช้งาน ด้วยการฉายภาพไปยังพืน้ ผิวของสิง่ เหล่านี้ โดย ภาพที่ฉายมักเป็นภาพเคลื่อนไหวที่สามารถโต้ ตอบกับผู้ที่ผ่านไปมาบริเวณนั้นได้ เช่น ภาพ ลูกบอล ที่สามารถเด้งไปอีกทางหากมีการชูมือ ไปแตะทีภ่ าพลูกบอลนัน้ หรือภาพวงน้ำทีจ่ ะเกิด ขึน้ เมือ่ มีการยกเท้าไปเหยียบภาพน้ำทีก่ ำลังฉาย อยู่ ถือเป็นเทคโนโลยีที่กระตุ้นการเรียนรู้ได้ อย่างไม่น่าเบื่อ

คุณรูห้ รือไม่วา่ มีวสั ดุทส่ี ร้างมาช้านาน...และเราสัมผัสมันโดยไม่รตู้ วั ในห้องสมุด!

ที่คั่นหนังสือไฮเทค

“ระบบที่คั่นหนังสือ” หรือ Bookmark System จะช่วยในการค้นหาประโยคสุดท้ายที่คุณอ่าน เพียงแค่วางที่คั่นหนังสือที่ทางห้องสมุดจัด เตรียมไว้ในหน้าที่ต้องการคั่น และนำหนังสือ ไปไว้ในที่ที่กำหนด เมื่อถึงเวลาที่ต้องการอ่าน หนังสือครั้งต่อไป คุณก็จะสามารถตรวจสอบ รายการหนังสือและเลขหน้าสุดท้ายที่อ่านไว้ได้ ทันทีผ่านเว็บไซต์ของห้องสมุด 10

Creative Thailand

l มีนาคม 2554

วัสดุตัวนั้นมีชื่อว่า “เอบีเอส” (ABS) เป็นชื่อย่อของ อะคริโลนิไทรล์-บิวตาไดอีน-สไตรีน (Acrylonitrile-Butadiene-Styrene) ซึ่งเป็นเทอร์โมพลาสติกชนิดหนึ่ง เราพบและสัมผัส พลาสติกชือ่ เหมือนระบบเบรกของรถยนต์ชนิดนีไ้ ด้บอ่ ยมากอย่างไม่ทนั สังเกต เนือ่ งจากมัน เป็นส่วนประกอบในเครือ่ งใช้ไฟฟ้าหลากหลายชนิดทีใ่ ช้ในชีวติ ประจำวัน ตัง้ แต่สนิ ค้าไฮเทค อย่างคอมพิวเตอร์ตง้ั โต๊ะ คอมพิวเตอร์โน้ตบุก๊ โทรศัพท์มอื ถือ โทรทัศน์ ไดร์เป่าผม เรือ่ ยไป จนกระทัง่ ของเด็กเล่นอย่างตัวต่อเลโก้ เพราะว่าพลาสติกชนิดนีถ้ กู ใช้เป็นวัสดุสำหรับตัวกล่อง (Case) หรือตัวสินค้าภายนอกนั่นเอง เอบีเอสยังมีคุณสมบัติเด่นคือการทนต่อแรงเสียดสี คงสภาพรูปร่างได้ดี ทนความร้อน ทนสารเคมี มีช่วงอุณหภูมิใช้งานกว้าง (ตั้งแต่ 20 - 80 องศาเซลเซียส) และสามารถขึ้น รูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลายวิธีอีกด้วย


Classic Item

เรื่อง: นันทิยา เล็กสมบูรณ์ คนที่โตมากับยุคดิจิทัลอาจไม่รู้ว่า แบรนด์โทรศัพท์สัญชาติ อเมริกันอย่างโมโตโรล่า คือผู้บุกเบิกและเคยเป็นผู้นำในตลาด โทรศัพท์มอื ถือมาก่อนในยุคของโลกอนาล็อก ก่อนทีจ่ ะถูกคลืน่ ลูกใหญ่ที่ชื่อ “ดิจิทัล” ซัดสาดจนกลายเป็นกรณีศึกษาสำคัญ ในประวัติศาสตร์แห่งเทคโนโลยี

ในเดือนมกราคม ปี 1996 โมโตโรล่าได้แนะนำให้โลกรูจ้ กั กับโทรศัพท์ ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นงานออกแบบแห่งประวัติศาสตร์ในระดับที่ นิตยสาร PCWorld ยกย่องให้เป็นอันดับ 6 ใน 50 อันดับแกดเจ็ตใน รอบ 50 ปี โทรศัพท์รุ่นนี้ชื่อว่า 'StarTAC' “ผู้ใช้บริการโทรศัพท์อนาล็อก 43 ล้านคน ไม่มีทางผิดพลาดได้” คำ กล่าวที่แสดงให้เห็นถึงความเชื่อของทีมออกแบบแห่งโมโตโรล่าที่ว่า ผูบ้ ริโภคต้องการโทรศัพท์ระบบอนาล็อกทีด่ กี ว่าเดิม มากกว่าโทรศัพท์ ระบบดิจทิ ลั ทำให้โมโตโรล่าตัดสินใจใช้เงินลงทุนหลายล้านเหรียญกับ เวลาอีกสองปี ออกแบบโทรศัพท์ทม่ี ขี นาดบางทีส่ ดุ เท่าทีโ่ ลกเคยมี และ มีน้ำหนักเพียง 94 กรัมเท่านั้น โดยตั้งเป้าเจาะกลุ่มลูกค้าระดับบน ด้วยราคาตั้งต้นที่สูงถึง 1,000 เหรียญสหรัฐฯ

ถึงแม้จะทำยอดขายได้ถงึ 60 ล้านเครือ่ ง แต่เมื่อตลาดโทรศัพท์มือถือ พร้อมใจกันเดินเข้าสู่ระบบดิจิทัล โมโตโรล่าจึงต้องสูญเสียตำแหน่ง ผูน้ ำตลาดทีเ่ คยครองมาอย่างยาวนานให้กบั โนเกียและอิรคิ สัน จนกลาย เป็นกรณีศึกษาคลาสสิกในเรื่องวิสัยทัศน์ทางการตลาดและเทคโนโลยี และ StarTAC เองก็กลายเป็นงานออกแบบสุดคลาสสิกที่ส่งท้ายโลก อนาล็อกไปโดยปริยาย

แต่ก็ใช่ว่าโมโตโรล่าจะไม่สามารถเรียกคืนความยิ่งใหญ่ได้ซะทีเดียว เมื่อ ในปี 2003 Motorola RAZR ที่ถือเป็น StarTAC ในระบบดิจิทัลก็ออกมา สร้างยอดขายถล่มทลาย แต่กย็ งั ต้องเสียตลาดอีกครัง้ ให้กบั ผูผ้ ลิตหน้าใหม่ ทีพ่ าตลาดเข้าสู่เกมของสมาร์ทโฟนอย่าง RIM (ผู้ผลิตแบลคเบอร์รี่) และ แอปเปิล (ผู้ผลิตไอโฟน) รวมถึงผูป้ ระกอบการหน้าเก่าทีป่ รับตัวเร็วกว่าอย่าง โนเกียและซัมซุง กลายเป็นภาคต่อของกรณีศึกษาที่มีชื่อโมโตโรล่าเป็นตัว ดำเนินเรื่องอีกครั้ง ที่มา: บทความ HOW MOTOROLA LOST ITS WAY นิตยสาร BusinessWeek 4 พฤษภาคม 1998 บทความ 10 Great Companies That Lost Their Edge (www.usnews.com) วิกิพีเดีย

มีนาคม 2554

l

Creative Thailand

11


Cover Story เรื่องจากปก

เรื่อง: นันทิยา เล็กสมบูรณ์


Cover Story เรื่องจากปก

จะเป็นอย่างไร หากคุณคิดอยากจะทานอาหารเย็นนอกบ้านสักมื้อ และเปิดโปรแกรม จองโต๊ะอาหารจากโทรศัพท์มอื ถือ เจ้าอุปกรณ์อจั ฉริยะนีก้ ส็ ามารถระบุตำแหน่งปัจจุบนั ของคุณ เพื่อมองหาร้านอาหารในละแวกใกล้เคียง แถมมันยังจดจำรสนิยมจากการ สืบค้นในอดีตได้ว่าคุณชอบรับประทานอาหารประเภทไหน ก่อนจะส่งข้อมูลขอจองโต๊ะ อาหารไปยังร้านพร้อมรับเมนูแบบมัลติมีเดียกลับมาให้คุณเลือกสั่งในระหว่างเดินทาง ไม่เพียงเท่านั้น มันยังสามารถแนะนำให้คุณทราบด้วยว่า บัตรเครดิตที่คุณถืออยู่นั้น มีขอ้ เสนอพิเศษอะไรสำหรับลูกค้าของร้านที่คณ ุ กำลังจะไป และถ้าไม่คอ่ ยถนัดเรือ่ งทิศทาง ระบบนำทางก็สามารถพาคุณไปยังร้านที่จองไว้ได้อย่างง่ายดาย แถมยังคำนวณเวลา ให้เสร็จสรรพไม่วา่ จะเลือกเดินเท้า ใช้บริการขนส่งมวลชน หรือรถยนต์สว่ นตัว (ทีจ่ ะปรับ ระยะเวลาตามสภาพการจราจรที่เป็นจริงในขณะนั้นได้อย่างไม่ต้องสงสัย) และเมื่อคุณ เดินผ่านประตูร้าน ข้อความยินดีต้อนรับพร้อมตำแหน่งโต๊ะที่จองไว้ก็จะถูกส่งมายัง โทรศัพท์ พร้อมๆ กับอาหารจานโปรดที่พร้อมเสิร์ฟทันทีที่คุณลงนั่งเรียบร้อย

นีค่ อื สิง่ ทีก่ ำลังจะกลายเป็นทางเลือกปกติสำหรับ ชีวิตคนเมืองในไม่ช้า และมันไม่ได้เป็นเพียง การตอบสนองวิถีชีวิต (Lifestyle) เท่านั้น แต่ เทคโนโลยีดิจิทัลกำลังเปลี่ยนระบบตั้งแต่การ สร้างสรรค์และผลิต (Creation and Production) การนำส่งสินค้าและบริการ (Delivery) ไปจน ถึงการบริโภค (Consumption) ในแบบที่ยัง ไม่มใี ครจินตนาการไปถึงได้วา่ สุดขอบของชีวติ ติดปีกเทคโนโลยีนั้นจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร

จากเศรษฐกิจ วัดกำลังตามขนาด สูเ่ ศรษฐกิจตลาดเฉพาะกลุม่ ในปี 2004 คริส แอนเดอร์สนั บรรณาธิการบริหาร นิตยสารไวร์ ได้เสนอแนวคิดที่เขาเรียกว่า ‘The Long Tail’ ซึ่งบอกว่า เรากำลังก้าวผ่านจากโลก ของตลาดมวลชน (Mass Market) ที่วัดกันด้วย ขนาด อันหมายถึงความสามารถในการผลิต ด้วยต้นทุนทีต่ า่ํ ทีส่ ดุ และเสนอสินค้าและบริการ ที่เหมือนๆ กัน ไปสู่ตลาดเฉพาะกลุ่ม (Niche Nation) ทีพ่ น้ื ทีต่ ลาดไม่ได้กำหนดกันด้วยขนาด หรือภูมศิ าสตร์ แต่ดว้ ยพืน้ ฐานความสนใจ และ ทำให้อะไรก็ “ขายได้” ในยุคนี้

นั่นก็หมายความว่า ไม่ใช่เพียงแต่สินค้า “ขายดี” ไม่กี่ชนิดที่จะมีพื้นที่วางและขายได้ เหมือนในระบบตลาดแบบเก่า ในวันนี้ที่ลูกค้า มีโอกาสกลายเป็นผูผ้ ลิตเสียเอง คนตัวเล็กๆ ทีม่ ี พลังสร้างสรรค์ก็มีพื้นที่ยืนได้ และขอเพียงมี ความสนใจเท่านัน้ ก็ไม่ยากเกินทีเ่ ราจะหาผลงาน สร้างสรรค์ตอบสนองความสนใจได้ในโลกใบนี้

นัน่ เพราะการเปลีย่ นแปลงสำคัญในสามส่วน คือ ต้นทุนการผลิตที่ต่ำลง พื้นที่วางขายสินค้า ทีไ่ ม่จำกัด และพลังของเครือ่ งมือค้นหาและคัด กรองข้อมูล การเกิดขึน้ อย่างมากมายของเพลง ที่ทำจากห้องนอนด้วยซอฟท์แวร์ง่ายๆ ในแบบ Bedroom Studio คือตัวอย่างของต้นทุนการ ผลิตที่ต่ำลงจนทำให้ใครๆ ก็เป็นผู้ผลิตผลงาน ได้ หรืออย่างในอดีตทีร่ า้ นขายซีดไี ม่มที ว่ี างมาก พอให้กับเพลงที่ทำจากห้องนอนนี้ แต่ปัจจุบัน กลับมีเพลงรูปแบบดังกล่าววางอยูเ่ ป็นล้านเพลง บนอินเทอร์เน็ต ที่กลายเป็นชั้นวางสินค้าอันไม่ จำกัด (Unlimited Shelf Space) สำหรับงานที่ ผลิตโดยใครก็ได้ และสิ่งที่ทำให้เราหาเพลงถูก ใจจากล้านเพลงในอินเทอร์เน็ตได้ก็คือ ความ อั จ ฉริ ย ะในการค้ น หาและคั ด กรองข้ อ มู ล ที่ เปรียบเหมือนตะแกรงร่อนสินค้าตามความ สนใจ ซึ่งจะพาผู้บริโภคมาเจอกับผู้ผลิตโดย ปราศจากข้อจำกัดทางพืน้ ทีห่ รือพรมแดน ดังนัน้ คนที่คุณเดินสวนอยู่บนถนนในวันนี้ อาจกำลัง ฟังเพลงที่ผลิตจากห้องนอนของผู้สร้างสรรค์ ในอีกซีกโลกหนึ่งก็เป็นได้

มีนาคม 2554

l

Creative Thailand

13


Cover Story เรื่องจากปก

Angry Birds ขายของหนึ่งเหรียญให้กับคนห้าสิบล้าน การเกิดขึน้ ของตลาดแอพพลิเคชัน่ สำหรับสมาร์ทโฟนนับเป็นอีกหนึง่ “พืน้ ทีข่ ายอันไม่จำกัด” สำหรับ สินค้าที่ผลิตโดย “ใครก็ได้” และ Angry Birds แอพพลิเคชั่นที่ขายดีที่สุดที่กำเนิดขึ้นครั้งแรกบน แพลตฟอร์ม iOS ของแอปเปิลก็พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า สินค้าที่ผลิตโดยนักพัฒนาเกมรายเล็กๆ ทีช่ อ่ื Rovio จากฟินแลนด์ และขายในราคาถูกแสนถูก (99 เซ็นต์) ก็สามารถสร้างรายได้มหาศาล โดยในปี 2010 ยอดดาวน์โหลด Angry Birds ในทุกๆ แพลตฟอร์มรวมกันนั้นสูงกว่า 50 ล้านครั้ง และในเร็วๆ นี้เราจะได้เห็น Angry Birds ในรูปแบบภาพยนตร์แอนิเมชั่น รายการโทรทัศน์ และ หนังสือการ์ตนู ทัง้ ยังเป็นเกมสำหรับเครือ่ งคอนโซลอย่าง Playstation, Xbox 360, Wii, Nintendo และ Nintendo 3DS รวมถึงการเป็นเกมบนคอมพิวเตอร์สำหรับทั้งระบบปฏิบัติการ Mac และ Windows ด้วยเช่นกัน

14

Creative Thailand

l มีนาคม 2554


Cover Story เรื่องจากปก

Freedom หากมองในแง่ผู้บริโภค โลกดิจิทัลอาจหมายถึง อิสระจากข้อจำกัดทางด้านเวลา สถานที่ พรม แดน หรือแม้กระทัง่ รูปแบบ แทนทีจ่ ะถูกกำหนด โดยสถานีเพียงไม่กช่ี อ่ ง การเกิดขึน้ ของโทรทัศน์ ระบบอินเทอร์เน็ต (IPTV) ทำให้ผู้ชมสามารถ เลือกชมรายการโทรทัศน์ในเวลาที่ตนต้องการ และการถ่ายโอนเนือ้ หาไปยังอุปกรณ์ดจิ ทิ ลั อืน่ ๆ ก็ช่วยขยายความสามารถในการรับชมโดยไม่ จำกัดสถานทีห่ รือแพลตฟอร์ม นัน่ หมายความว่า เนื้อหาจะมีรูปแบบที่ยืดหยุ่นมากขึ้น แต่ก็จะมี ความหลากหลาย ซับซ้อน และน่าตื่นตาตื่น ใจมากขึ้นเช่นกัน ที่สำคัญก็คือ เราสามารถรับ และสร้างปฏิสัมพันธ์กับเนื้อหาได้พร้อมๆ กัน ทั่วโลก และหากจะมองในด้านการผลิต ไม่เพียง แต่ข้อจำกัดทางด้านขนาดเท่านั้นที่จะหายไป แต่โลกดิจิทัลยังเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ได้กลายเป็น ผู้สร้าง (เมื่อสิ้นปี 2010 มีจำนวนบล็อกที่นับได้ ถึง 152 ล้านแห่ง และผู้ใช้เฟซบุ๊กอีก 600 ล้าน คน) รวมถึงควบคุมเนือ้ หาได้ดว้ ยตัวเอง ประโยค ยอดฮิตในอดีตอย่าง “ลูกค้าคือพระเจ้า” อาจเป็น คำกล่าวทีม่ คี นเห็นด้วยบ้างไม่เห็นด้วยบ้าง แต่ใน วิถดี จิ ทิ ลั ผูบ้ ริโภคคือผูค้ มุ เกมทีแ่ ท้จริง นัน่ ไม่ได้ หมายถึงหน้าตาของสินค้าและบริการทีพ่ วกเขา ต้องการ หรือคุณภาพทีพ่ วกเขาเรียกร้องเท่านัน้ แต่มนั ยังรวมไปถึงระดับจริยธรรมและการบริหาร จัดการสังคมที่พวกเขาปรารถนาอีกด้วย

ความผิดพลาดของ Kenneth Cole “คนหลายล้านกำลังตกอยู่ในความสับสนอลหม่านใน #ไคโร ลือกันว่าพวกเขาเพิ่งได้ข่าวเรื่อง คอลเลคชั่นใหม่สำหรับฤดูใบไม้ผลิของเราที่มีวางจำหน่ายออนไลน์แล้วที่ http://bit.ly/KCairo -- เคนเนธ โคล” นี่คือข้อความที่ส่งผ่านทวิตเตอร์ @KennethCole โดยเคนเนธ โคล เจ้าของแบรนด์แฟชั่นชื่อดัง เมือ่ วันพฤหัสบดีท่ี 3 กุมภาพันธ์ 2011 ซึง่ ใช้เวลาไม่ทนั ข้ามวัน กระแสการวิพากษ์วจิ ารณ์ถงึ ความไม่ เหมาะสมในการนำเอาเรื่องสถานการณ์ความวุ่นวายมาเป็นเครื่องมือในการโปรโมทสินค้าก็บีบ ให้ข้อความนี้ถูกลบทิ้ง และตามมาด้วยคำกล่าวขออภัยอย่างเป็นทางการผ่านทางเฟซบุ๊ก ถึงแม้ ว่าเหตุการณ์นี้จะทำให้ยอดผู้ตามทวิตเตอร์ @KennethCole เพิ่มขึ้นถึงสามพันรายภายในเวลา ไม่กช่ี ว่ั โมง แต่กย็ งั ไม่มใี ครประเมินได้วา่ ความเสียหายทีเ่ กิดกับแบรนด์ในยุคทีผ่ บู้ ริโภคให้ความ สำคัญกับจริยธรรมของสินค้านัน้ มีมลู ค่าเท่าใด เมือ่ การขออภัยไม่ได้หมายถึงการลบรอยด่างพร้อย ทีเ่ กิดกับแบรนด์ได้ทง้ั หมด และการลบข้อความทวิตเตอร์ทง้ิ ก็ไม่ได้หมายความว่ามันไม่เคยถูกส่งออก สูส่ าธารณะ ที่แน่ๆ ก็คือ ในวันถัดมา มีข้อความทวิตเตอร์จากผู้ใช้ที่ชื่อ @FakeKennethCole ว่า “เรายืนอยู่ข้างประชาชนในอียิปต์ ประธานาธิบดีมูบารัค จงลงจากตำแหน่งเดี๋ยวนี้ และเราจะ ให้ส่วนลด 15% สำหรับสินค้าที่ไม่ได้อยู่ในระหว่างลดราคาที่ร้านของเรา - KFC” ที่มา: Los Angeles Times

มีนาคม 2554

l

Creative Thailand

15


Cover Story เรื่องจากปก

ตลาดปัญญารวมหมู่ ในปี 1997 อีรกิ เอส. เรย์มอนด์ ได้เขียนบทความ ที่ชื่อว่า The Cathedral and the Bazaar โดย เขาได้เปรียบการพัฒนาซอฟท์แวร์เอาไว้วา่ ซอฟท์ แวร์แบบดั้งเดิมที่มีการจำกัดการเปิดเผยซอร์ซ โค้ดนั้นเป็นโมเดลแบบมหาวิหาร (Cathedral) ที่สร้างขึน้ อย่างวิจติ รบรรจงโดยพ่อมดซอฟท์แวร์ ในดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์ ในขณะที่การเปิดซอร์ซ โค้ดไว้บนอินเทอร์เน็ต (อย่างในกรณีของลีนกุ ซ์) ให้ทกุ คนดูและทำอะไรกับมันก็ได้นั้น เปรียบได้ กับตลาดสด (Bazaar) ที่เอะอะอื้ออึง และแต่ ละคนล้วนทำในสิ่งที่ตนเองต้องการด้วยวิธีของ ตัวเอง แต่ไม่นา่ เชือ่ ว่า มันไม่เพียงใช้งานได้ แต่ มันยังได้ผลดีมากอีกด้วย บทความชิน้ นีน้ บั เป็น แรงบันดาลใจให้สงั คมหันมาให้ความสำคัญกับ โอเพ่นซอร์ซ (รวมถึงนวัตกรรมแบบเปิดอื่นๆ) และสังคมโลกก็เกิดการเรียนรูค้ รัง้ ใหญ่ถงึ คุณค่า ของการแบ่งปันและการทำงานร่วมกัน การเกิดขึ้นของวิกิพีเดีย นับเป็นอีกหนึ่ง ตัวอย่างทีเ่ ห็นได้ชดั ทีส่ ดุ ทีเ่ ทคโนโลยีได้สร้างให้ เกิดสังคมของการทำงานร่วมกัน โดยปราศจาก ข้อจำกัดทางด้านภูมิศาสตร์หรือเวลา จากจุด เริ่มต้นเมื่อปี 2001 จนถึงวันนี้ วิกิพีเดียคือเว็บ อ้างอิงที่ประกอบด้วยข้อมูลกว่า 23 ล้านหน้า ในกว่า 270 ภาษา ที่สำคัญคือ มันได้เปลี่ยน ความสำคัญของการเรียนรู้ของโลกไปโดยสิ้น เชิง ในวันนี้ การมีขอ้ มูลไม่ได้สำคัญมากเท่ากับ ในอดีตที่ผ่านมา แต่เป็นความสามารถในการ วิเคราะห์และนำความรู้มาใช้ต่างหากที่จะเป็น หัวใจในการสร้างความได้เปรียบให้กับทุกคน

Huffington Post การทำงานรวมหมู่และพื้นที่สื่อใหม่อันทรงอิทธิพล เมื่อพื้นที่ดิจิทัลเปิดโอกาสให้ใครๆ ก็ผลิตและเผยแพร่ผลงานได้ สื่อดั้งเดิมที่มีอายุนับร้อยปี มีผู้ สื่อข่าวประจำทั่วโลก และมีฐานข้อมูลอันทรงพลัง ก็ได้ถูกท้าทายโดยสื่อน้องใหม่ที่ดำเนินงานใน รูปแบบของบล็อกและการทำงานรวมหมู่ ฮัฟฟิงตันโพสต์ คือเว็บไซต์ข่าวออนไลน์หัวก้าวหน้าในอเมริกาที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2005 โดย เอเรียนนา ฮัฟฟิงตัน, เคนเนธ เลอเรอร์ และ โจนาห์ เปเรตติ โดยเอเรียนนาและคอลัมนิสต์หลักๆ กลุ่มหนึ่งทำงานร่วมกับบล็อกเกอร์กว่าสามพันคน ที่รวมถึงนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ เซเล็บ หรือ แม้แต่นักการเมือง สิ่งที่ทำให้ฮัฟฟิงตัน กลายเป็นสำนักข่าวออนไลน์ที่มีผู้เข้าชม (unique visitor) อันดับต้นๆ ของโลก (28 ล้านคนเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา) และแม้แต่สำนักข่าวดั้งเดิมอย่าง วอลสตรีท เจอร์นัล ก็ยังลงโฆษณาในหน้าสื่อนี้ก็คือ เนื้อหาที่รวดเร็วและหลากหลาย รวมถึงบทวิเคราะห์ ที่ชวนให้ติดตาม ซึ่งที่เป็นอย่างนี้ได้ก็เพราะเป็นเนื้อหาที่เกิดจากการสร้างสรรค์ร่วมกันของคน จำนวนมากนั่นเอง วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2011 AOL กลุม่ ธุรกิจยักษ์ใหญ่ดา้ นดิจทิ ลั มีเดีย ประกาศซือ้ ฮัฟฟิงตันโพสต์ สือ่ ใหม่อายุไม่ถงึ 6 ขวบดีทม่ี พี นักงานประจำเพียง 60 คนนีด้ ว้ ยราคา 315 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คงต้องรอดูต่อไปว่า สำนักข่าวใหม่ไฟแรงนี้ จะยังคงความเป็นที่พึ่งของผู้บริโภคที่ต้องการ "รู้ทุกเรื่องก่อนใคร" ได้อยู่หรือไม่ ที่มา: วิกิพีเดีย

16

Creative Thailand

l มีนาคม 2554


Cover Story เรื่องจากปก

Groupon ขายส่งให้กับลูกค้าปลีก ไม่เพียงแต่การทำงานร่วมกันเท่านั้น สังคมดิจิทัลที่อำนวยความสะดวกให้กับการสื่อสารรวมหมู่ พร้อมๆ กัน ยังได้เปลี่ยนรูปแบบช่องทางการจำหน่ายและการส่งเสริมการขายให้กับธุรกิจ ยก ตัวอย่างการเกิดขึน้ ของเว็บไซต์ยอดฮิตอย่าง Groupon ทีม่ โี มเดลคือ การเสนอขายสินค้าลดราคา ให้ลูกค้าได้เข้ามาซื้อร่วมกันในช่วงเวลาที่กำหนด ที่ช่วยให้ผู้ขายสามารถขายของคราวละมากๆ ได้โดยไม่ต้องอาศัยพ่อค้าคนกลางหรือมีต้นทุนเพิ่มเติมในการส่งเสริมการขาย และช่วยให้ผู้ซื้อ สามารถเลือกซือ้ ของทีต่ นเองต้องการในราคาถูกไม่ตา่ งจากการซือ้ สินค้าราคาส่ง ปัจจุบนั เว็บไซต์ Groupon เปิดให้บริการในหลายๆ ประเทศ ส่วนในบ้านเราถึงแม้ยังไม่มี Groupon แต่ก็มี Sanook! Coupon ที่ให้บริการในรูปแบบเดียวกัน

Mass Personalization นอกจากอินเทอร์เน็ตที่ทำหน้าที่เสมือนพื้นที่ วางสินค้าอันไม่จำกัดแล้ว โทรศัพท์มือถือยัง เป็นถุงสินค้าส่วนบุคคลอันทรงอิทธิพลทีเ่ ป็น ดัง่ ช่องทางในการเข้าถึงผูบ้ ริโภคจำนวนมหาศาล (ประมาณการตัวเลขล่าสุดผูใ้ ช้โทรศัพทมือถือใน ปัจจุบนั คือ 5 พันล้านเลขหมายทัว่ โลก) ทีส่ ำคัญ ก็คือ มันเป็นการเข้าถึงผู้คนจำนวนมากที่ออก แบบให้ตอบสนองความสนใจส่วนบุคคลได้อย่าง แทบไม่มีขีดจำกัด ด้วยเทคนิคในการระบุตวั ผูใ้ ช้ (Addressable) ไม่ว่าจะผ่านดีเอ็นเอดิจิทัล เบอร์โทรศัพท์ หรือ หมายเลข IP นักการตลาดจึงสามารถติดตาม วิเคราะห์ และวัดผลพฤติกรรมของผูบ้ ริโภคราย บุคคลได้ ทีส่ ำคัญคือสามารถทำในแบบรีลไทม์ แทนที่จะเป็นการวัดผลหลังแคมเปญเหมือน เมื่อก่อน ผลลัพธ์ก็คือ ความสามารถของธุรกิจ ในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่เจาะจง และปรับ กลยุทธ์ได้อย่างทันท่วงที และเมื่อเราก้าวเข้าสู่ยุคของเว็บ 3.0 ที่ เทคโนโลยีฉลาดมากขึน้ ไปอีก ผลการค้นหาด้วย คำค้นเดียวกันจะถูกปรับให้เข้ากับความต้องการ

และรสนิยมของผูใ้ ช้งานแต่ละคน (Personalized Search) เช่น เมื่อค้นด้วยคำว่า “แอปเปิล” โปรแกรมเมอร์อาจจะได้ข้อมูลเกี่ยวกับเครื่อง คอมพิวเตอร์ ขณะที่ชาวสวนอาจจะได้ข้อมูล เกีย่ วกับผลไม้ และคนฟังดนตรีอาจจะได้ขอ้ มูล เกี่ยวกับเพลงของคณะบีทเทิลก็ได้1) ในอนาคต เราอาจได้เห็นชุมชนออนไลน์ที่มีข้อมูลส่วนตัว ของผูใ้ ช้มากทีส่ ดุ อย่างเฟซบุก๊ กลายเป็นผูน้ ำใน การพัฒนาการค้นหา ในขณะที่กูเกิลและยาฮู ก็กำลังขับเคี่ยวกันอย่างเอาเป็นเอาตายในการ เข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของผูใ้ ช้บริการในด้านต่างๆ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ถึงกับกล่าวไว้ว่า “ความ เป็นส่วนตัว (Privacy) นั้น ไม่ใช่ ‘บรรทัดฐาน ทางสังคม’ อีกต่อไป” ทัง้ นีก้ ข็ น้ึ อยูก่ บั สังคมเอง ที่จะตัดสินใจว่า ในโลกที่เปิดออกเพื่อปลดแอก ผู้สร้างและผู้ใช้ให้เป็นอิสระจากข้อจำกัดนานา ประการนี้ เราจำเป็นจะต้องหาระเบียบใหม่ใน เรือ่ งความเป็นส่วนตัวหรือไม่ หรือจะมีวธิ บี ริหาร จัดการกับมันอย่างไร

1)

ตัวอย่างจากหนังสือ Digimarketing เปิดโลกนิวมีเดียและการตลาดดิจิทัล

มีนาคม 2554

l

Creative Thailand

17


Cover Story เรื่องจากปก

ของดี โดนใจ ไม่โกหก! เมื่อผู้บริโภคมีทางเลือกในการเลือกรับเนื้อหา มากมายทีต่ า่ งก็อยูห่ า่ งเพียงแค่ปลายคลิก หัวใจ สำคัญในการผลิตงานที่ประสบความสำเร็จจึง กลับกลายมาเป็นเรื่องที่เข้าใจง่ายอย่างยิ่ง นั่น คือ การสร้างงานที่ “ดี” และ “แตกต่าง” และ ที่สำคัญคือ “อย่าโกหก!” ไม่ต้องพูดถึงการเกิด ขึ้นของวิกิลีกส์ ซึ่งเป็นเสมือนสึนามิที่ซัดสังคม โลกให้เซจนตั้งหลักแทบไม่ทัน แต่จำนวนและ ศักยภาพของผู้บริโภคและเทคโนโลยีในวันนี้ นั้นทำให้การตรวจสอบข้อมูลเป็นไปได้อย่าง รวดเร็วและแม่นยำ รวมถึงการส่งต่อข่าวสารที่ เหมือนกับการแพร่กระจายของไวรัสอันทรง ประสิทธิภาพ ที่สำคัญคือชีวิตดิจิทัลที่มาพร้อม กับสังคมแบบเปิดนัน้ ไม่รองรับการสร้าง “ภาพ ลักษณ์” แบบทีใ่ ช้ในการประชาสัมพันธ์แบบเก่า อีกต่อไป แต่เป็น “ตัวตน” ที่แท้จริงเท่านั้นที่จะ สื่อสารกับสังคมได้

18

Creative Thailand

l มีนาคม 2554

Dove ทำให้ดีก็มีคนส่งต่อ หลายคนคงยังจำวิดีโอ Evolution ที่ส่งข้อความเรื่อง “ความงามจากภายใน” ของผลิตภัณฑ์โดฟ ในปี 2006 นี้ได้ เพราะมันคืองานที่ได้รับการส่งต่อทางอีเมลมากที่สุดชิ้นหนึ่ง และมีจำนวนผู้ เข้าชมถึง 12 ล้านครัง้ บนยูทปู ภายในปีแรก นับเป็นการเปิดหน้าใหม่ของการทำการตลาดแบบไวรัล ที่ได้รับการยอมรับมาจนถึงทุกวันนี้ และทำให้มูลค่าแบรนด์ “โดฟ” สูงขึ้นถึง 150 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ จากการประมาณโดยโอกิลวี แอนด์ เมเธอร์ ที่สำคัญ วิดีโอชิ้นนี้ไม่ได้ตั้งใจจะผลิตเพื่อ ฉายทางโทรทัศน์ด้วยซ้ำ! ความสำเร็จของวิดีโอโฆษณาที่ทำขึ้นด้วยต้นทุนเพียง 50,000 เหรียญเพื่อเผยแพร่ผ่านยูทูป ชิน้ นี้ คือกรณีศกึ ษาทีแ่ สดงให้เห็นถึงการเปลีย่ นแปลงอันสำคัญในโลกของสือ่ ดิจทิ ลั กับการเปลีย่ น ตรรกะเก่าๆ ที่ว่าโฆษณาทางโทรทัศน์คือช่องทางที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่กว้างที่สุด และสร้าง มูลค่าให้สนิ ค้าได้มากทีส่ ดุ ทีส่ ำคัญ มันยังสะท้อนให้เห็นด้วยว่า ต้นทุนการผลิตอันสำคัญนัน้ ไม่ ใช่ทุนที่เป็นตัวเงินและการสร้างงานอันใหญ่โต แต่เป็นต้นทุนทาง “ความคิด” ที่สามารถนำเสนอ เนื้อหาอันน่าสนใจให้กับผู้บริโภค และปล่อยให้วิถีของการส่งต่อข้อมูลในโลกใหม่เป็นผู้ทำหน้าที่ ของมัน


Cover Story เรื่องจากปก

จุดเปลี่ยน? “หนังสือพิมพ์กำลังจะตาย” หลายคนเชื่ออย่างนั้น และนั่นทำให้สื่อหนังสือพิมพ์ดั้งเดิมทั่วโลก กำลังปรับตัวแบบแข่งกับเวลา ไม่เว้นแม้แต่หนังสือพิมพ์ที่ใหญ่และเข้าถึงแทบทุกตารางนิ้วของ เมืองไทยอย่างไทยรัฐ ที่ทุ่มแรงมหาศาลในการพัฒนาพื้นที่สื่อใหม่ รวมถึงการเปิดตัวบริษัท ลูกอย่าง “เทรนด์ วีจี 3” เพื่อบุกตลาดนิวมีเดียโดยเฉพาะ และอุทิศพื้นที่โฆษณาที่มีมูลค่า หน้าละหลายแสน เพื่อประชาสัมพันธ์บริการใหม่อย่าง “ไทยรัฐ Topnews” (บริการส่งข่าวสารทาง SMS) และแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์ รวมถึงการเตรียมความพร้อมในการทำเนื้อหาเพื่อรองรับ การอ่านทาง iPad และ e-book readers อีกไม่นาน หนังสือพิมพ์ที่เราเคยถืออ่าน อาจเหลืออยู่ เพียงในพิพธิ ภัณฑ์ แต่ไม่ได้หมายความว่าตัวหนังสือจะตายไปด้วย มันคือการเปลีย่ นรูปแบบของ การนำส่งเนื้อหาไปยังผู้บริโภคเท่านั้น “วงการเพลงกำลังร่อแร่” คือสิ่งที่เราได้ยินกันมาหลายปีเช่นกัน ตั้งแต่การเกิดขึ้นของเพลง เอ็มพีสามที่ทำให้เทคโนโลยีดิจิทัลกลายเป็นจำเลยของค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ ในวันที่ซีดีไม่สามารถ สร้างยอดขายได้อีกต่อไป และคนฟังเพลงส่วนใหญ่ก็เริ่มที่จะ “แบ่งปัน” เพลงกันฟังโดยไม่เสีย ค่าใช้จ่ายมากขึ้น ก่อนที่ค่ายเพลงนั่นเองจะค้นพบในเวลาต่อมาว่ารูปแบบการสร้างรายได้หลัก ได้เปลี่ยนจากการขายซีดี มาสู่การแบ่งกำไรกับผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่จากการให้บริการ ดาวน์โหลดริงโทนและเสียงเพลงรอสาย รวมถึงรายได้จากการจัดคอนเสิรต์ และการบริหารศิลปิน ในขณะเดียวกัน รายได้หลักของศิลปินก็เปลี่ยนจากส่วนแบ่งค่าขายเพลงมาเป็นรายรับจากการ แสดงสด นั่นหมายความว่าศิลปินถูกกำหนดให้มีความสามารถมากขึ้น เทคโนโลยีที่ทำให้ยอด ขายตกวูบนี้ จึงอาจเป็นเพียงเครื่องมือคัดกรองให้เหลือแต่ศิลปิน “ตัวจริง” ที่มีความสุขกับการ สร้างผลงาน และพร้อมจะให้ความสุขกับคนฟังเพลงอย่างแท้จริง ที่สำคัญคือมีตัวอย่างให้เห็น กันบ้างแล้วว่าการแจกเพลงให้ฟงั ฟรีๆ ได้กลายเป็นเครือ่ งมือในการสร้างความรูจ้ กั ทีม่ ปี ระสิทธิภาพ ให้กบั ศิลปินเอง รวมถึงการเกิดขึน้ ของช่องทางการขายเพลงในแบบ “จ่ายเท่าทีค่ ณุ ต้องการ” (Pay What You Want) ทีเ่ ปิดโอกาสให้ศลิ ปินอัพโหลดผลงานทางเว็บไซต์ และให้ผฟู้ งั เลือกดาวน์โหลด และจ่ายเงินในจำนวนที่คิดว่าเหมาะสม อุตสาหกรรมเพลงจะยังอยู่ต่อไป มันแค่เปลี่ยนรูปแบบ การสร้างรายได้เท่านั้น มีนาคม 2554

l

Creative Thailand

19


Cover Story เรื่องจากปก

ขอต้อนรับสู่สังคมดิจิทัล ที่ซึ่งทุกอย่างกำลัง เปลี่ยนไป สื่อโฆษณาทางโทรทัศน์ที่เคยเป็น หัวใจสำคัญในการทำการตลาดเริ่มหมดความ สำคัญ ในขณะที่เราจะจ่ายเงินเพื่อดูโทรทัศน์ที่ ปราศจากโฆษณา (Pay-per-view) และยินดีที่ จะคลิกเข้าไปดูวิดีโอโฆษณาที่น่าสนใจด้วยตัว เราเอง หรือกระทั่งโต้ตอบกับโฆษณาที่อยู่บน IPTV โทรศัพท์เคลือ่ นทีน่ อกจากจะเป็นสิง่ สำคัญ สำหรับชีวติ ไม่ตา่ งจากอาหารและเสือ้ ผ้า มันยัง เป็นทั้งกระเป๋าเงิน (Digital Wallet) สำหรับจับ จ่ายสินค้า และคอมพิวเตอร์สว่ นบุคคลทีม่ คี วาม เป็นส่วนตัวมากที่สดุ แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถ เชื่อมโยงผู้คน ตลอดจนสร้างให้เกิดพลังทาง สังคมได้มากทีส่ ดุ โลกเสมือนจริงและโลกความ จริงจะกลืนเข้าหากันจนแทบแยกไม่ออก นัก การตลาดไม่สามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมาย ด้วยเพศหรืออายุอย่างที่เคยเป็นธรรมเนียม ปฏิบัติอีกต่อไป ในวันที่เด็กอายุ 7 ขวบ อาจจะ กำลังเล่นเกมแข่งกับคุณปู่อายุ 70 ที่อยู่อีกซีก โลกหนึ่ง ความสนใจของผู้บริโภคต่างหากที่จะ กำหนดพฤติกรรมของพวกเขา เก็บเกี่ยววัตถุดิบทางความคิดและนับถอย หลังที่จะเฉลิมฉลองความสนใจส่วนตัวของคุณ ได้แล้ว เพราะไม่วา่ จะเป็นใครก็ตาม เราจะกลาย เป็นทัง้ ผูใ้ ช้ (Consumer) และผูส้ ร้าง (Creator) ได้ในคนคนเดียวกัน และอยู่ในฐานะประชากร ของโลก (Global Citizen) ที่มีสิทธิ์มีเสียงและ เป็นปัจเจกชนผูม้ คี วามซับซ้อน (Sophisticated Individual) ได้ในเวลาเดียวกันบนโลกที่เคลื่อน ไปข้างหน้าด้วยเลขฐานสองนี้

ที่มา: หนังสือ The Essential Guide to New Media & Digital Marketing เขียนโดย Kent Wertime และ Ian Fenwick (ฉบับภาษาไทย ชื่อ DigiMarketing เปิดโลกนิวมีเดียและการตลาดดิจิทัล แปล โดย ณงลักษณ์ จารุวฒั น์ และ ดร.ประภัสสร วรรณสถิตย์) รายงาน Permanent Link to Internet 2010 in numbers (www.pingdom.com)

20

Creative Thailand

l มีนาคม 2554


Insight

เรื่อง: อาคิรา กังวานภัทร

ถึงแม้เราจะอยู่ในโลกที่วัดความเร็วเป็นหน่วยไบต์ และอะไรๆ ก็ พึ่งพาเทคโนโลยีดิจิทัลไปเสียหมด แต่อย่างน้อยมันคงใช้ไม่ได้ กับวงร็อก Basement Tape ที่ประกอบด้วยสมาชิกพหุภาคี จาก 3 วง คือ ทัด (The Darling) เบน (The Section) และ ป๊อก-จูน (Stylish Nonsense) ที่รวมกลุ่มเล่นดนตรีกันใน เวลาว่าง จนกลายมาเป็น Basement Tape (2010) อัลบัม้ แรก ที่ใช้ชื่อเดียวกับวง กับการฉีกกฎการบันทึกเสียงในยุคนี้ ด้วย การบันทึกในระบบอนาล็อก ผ่านวิธีการอัดเสียงแบบโล-ไฟ (Lo-fi) ซึ่งเป็นการบันทึกเสียงให้มีคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐาน นั่นเอง

ตั้งแต่คอมพิวเตอร์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตของเรา พร้อมกับการนำ พามาซึ่งความสะดวกต่างๆ มากมายหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น การคิดเลข การพิมพ์ การตกแต่งรูป รวมไปถึงการทำหนัง หรือการทำเพลง เราสามารถทำเพลงเพลงหนึ่งขึ้นมาได้ด้วยโปรแกรมทำเพลงทั่วไปที่ใคร ก็สามารถเข้าถึงได้ในเวลาไม่กี่ชั่วโมง คุณสามารถอัดกลอง โซโล่กีต้าร์ ใส่เนื้อร้องและทำนอง จนกลายมาเป็นเพลงสักเพลงหนึ่ง ตรงกันข้ามกับ การทำเพลงในสมัยก่อนทีม่ คี วามยากลำบาก ไม่วา่ จะเป็นเรือ่ งของเครือ่ ง ดนตรีทร่ี าคาแพงหูฉ่ี ห้องซ้อม ห้องอัดดนตรี และยังไม่รวมไปถึงฝีมอื ของ นักดนตรีแต่ละคน

ด้วยเหตุผลนี้เองทำให้ Basement Tape เลือกที่จะหยิบเอาความ “ไม่สมบูรณ์” ของการเล่นดนตรีในสมัยก่อน เช่น เสียงจี่ของกีตา้ ร์ หรือเสียง กลองทีไ่ ม่สมบูรณ์ มาใส่ลงไปในเพลงของพวกเขา โดยใช้การอัดลงเทปและ นำมาตกแต่งอีกครั้ง ดูเหมือนว่า การหันมาใช้ “ของเก่า” ในยุคนี้จะเป็น เรื่องที่น่าสนใจมาก โดยเฉพาะวงการเพลงอินดี้บ้านเรา ถึงแม้ Basement Tape จะมีสง่ิ ทีน่ า่ สนใจอยูท่ ก่ี ารบันทึกเสียง แต่เหนือ อืน่ ใดสิง่ ทีเ่ ราไม่ควรจะมองข้ามไปนัน่ ก็คอื การแสดงสดของพวกเขาที่เต็ม เปี่ยมไปด้วยพลังอย่างแท้จริง ไม่ใช่เรื่องน่าแปลก ถ้าเราจะเห็นใครสักคน ออกลีลาท่าเต้นขณะที่ Basement Tape กำลังเล่น เพราะทุกการแสดง ของพวกเขาสามารถทำให้คนดูสนุกได้ตลอดเวลา ในวันที่เทคโนโลยีทำให้ความสมบูรณ์แบบกลายเป็นเรื่องง่าย ความ “ไม่สมบูรณ์” จึงกลายเป็นแนวทางหนึง่ ทีห่ ลายคนใช้เพือ่ สร้างความแตกต่าง เพราะไม่มใี ครหรอกทีอ่ ยากจะ “สมบูรณ์แบบเหมือนๆ กันไปหมด” ติดตามเรื่องราวของ Basement Tape ได้ที่ www.facebook.com/basementtape

มีนาคม 2554

l

Creative Thailand

21


Creative Entrepreneur คิด ทํา กิน

เรื่องโดย: พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์ ภาพโดย: ชิดชน นินนาทนนท์

ในยุคทีห่ ลายบ้านเริม่ ลดขนาดพืน้ ทีช่ น้ั เก็บ หนังสือลง และเปลีย่ นมาเพิม่ พืน้ ทีก่ ารจัด เก็บข้อมูลดิจทิ ลั ลงบนอุปกรณ์ไอทีทส่ี อด รับวิถชี วี ติ ยุคใหม่มากขึน้ จึงไม่ตอ้ งสงสัย ว่าพฤติกรรมการ “คัน่ หน้าโปรด” ของนัก อ่านสมัยใหม่จะเปลี่ยนไปตามความก้าว หน้าของเทคโนโลยีด้วย ไม่เว้นแม้แต่นัก การตลาดอาชีพที่ต้องเกาะติดข้อมูลข่าว สารหลายด้านแบบไม่ให้ตกหล่น ที่ปจั จุบนั ก็ได้เปลีย่ นจากปากกาไฮไลท์และโพสท์อทิ สีสด มาใช้คำสั่งบุ๊กมาร์กคั่นหน้าเว็บไซต์ โปรดที่ตอบโจทย์และมากด้วยข้อมูลข่าว สารอันล้ำสมัยแทน

Marketingoops.com คือหนึ่งในเว็บไซต์ที่นัก การตลาดโดยเฉพาะในแวดวงออนไลน์ มาร์เก็ตติ้ง เลือกที่จะคั่นและมั่นใจในข้อมูล ข่าวสารต่างๆ ที่ปรากฏจากฝีมือการรวบรวม คัดกรอง และถ่ายทอดโดย ณธิดา รัฐธนาวุฒิ ประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหารฝ่ายงานด้านกลยุทธ์ ดิจิทัล (Chief Digital Strategist) บริษัท New Media Plus และผูก้ อ่ ตัง้ เว็บไซต์ออนไลน์มาร์เก็ตติ้งที่ก ำลั ง ได้ ร ั บ ความนิ ย มอย่า งสูงอย่ า ง marketingoops.com หญิงสาวผู้มีดิจิทัลไลฟ์ สไตล์อยูเ่ ต็มตัวผูน้ ค้ี อื คนทีด่ งึ เอาความก้าวหน้า ของเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์และสร้าง เป็นรายได้ให้งอกเงยจนเกินเลยขนาดธุรกิจที่ เธอเรียกว่า “งานอดิเรก” ไปแล้วตั้งไกล 22

Creative Thailand

l มีนาคม 2554


Creative Entrepreneur คิด ทํา กิน

เริ่มต้นจากความหลงใหล นอกเหนือจากใจทีใ่ ส่ลงไปเต็มร้อย ประสบการณ์ ในแวดวงออนไลน์ ก ว่ า สิ บ ปี ข องณธิ ด าจาก การร่วมงานกับเว็บไซต์วาไรตีเ้ บอร์หนึง่ ของไทย อย่าง sanook.com, MSN Thailand และล่าสุดกับ การเป็นผู้วางกลยุทธ์และที่ปรึกษาทางด้านการ ตลาดออนไลน์ให้กบั New Media Plus เอเจนซี่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดดิจิทัลครบวงจรที่ ครอบคลุมพื้นที่การตลาดออนไลน์มากที่สุดใน ประเทศ รวมถึงความใจถึงในการแบ่งปันข้อมูล ทีม่ ใี นมือแบบไม่หวง คือปัจจัยสำคัญทีไ่ ด้กลาย มาเป็นจุดแข็งทำให้ Marketingoops ครองใจ นักท่องเว็บมากที่สุดเว็บหนึ่งภายในเวลาเพียง สองปีกว่าๆ หลังการเปิดตัวบนโลกออนไลน์เมือ่ ปลายปี 2551 “เรามีแฟนประจำค่อนข้างเยอะ มีคนเข้ามาประมาณวันละสองพันคน ซึง่ ถ้ามอง ว่าเราจับกลุ่ม Niche ก็ถือว่าโอเค อย่างคน เอเจนซี่ เราเชือ่ ว่าอย่างต่ำๆ ก็ครึง่ หนึง่ ทีเ่ ข้ามา ดูเรา เราเจาะเข้าไปหาพวกเขาได้ในส่วนของ ออนไลน์ ที่พอนึกถึงก็ต้องมาที่นี่” อยากได้สิ่งไหน...ก็ให้สิ่งนั้น ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เว็บไซต์การตลาดแตกต่าง และโดนใจนักอ่านมากที่สุด คงหนีไม่พ้นเรื่อง ของข้อมูลทีต่ อ้ งทันความเคลือ่ นไหวและถูกต้อง แม่นยำเชือ่ ถือได้ ด้วยความทีค่ ลุกคลีกบั แวดวง นีม้ านานจนรูถ้ งึ ความต้องการของกลุม่ เป้าหมาย การตีโจทย์นี้ให้แตกจึงไม่ใช่เรื่องยากสำหรับ Marketingoops “สาเหตุที่เลือกแบ่งปันข้อมูล ผ่านเว็บ เพราะมันทำได้เร็ว อีกอย่างเราจะทำตัว เหมือนเป็นเอเจนซี่ คือเราอยากรู้อะไร ก็หามา แชร์ ดังนัน้ ข้อมูลทีน่ ำมาลงจึงตรงใจคนทีอ่ ยูใ่ น วงการจริงๆ ยิ่งเรามีพื้นฐานเรื่องเว็บก็สามารถ ผสมผสานเทรนด์หรือเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้าไป ได้ง่าย อย่างการนำโซเชียลมีเดียมาใช้เพิ่มช่อง

ทางการเข้าถึงเว็บไซต์ทั้งเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ รวมถึงการใช้ ท ั ก ษะด้ า นการบริ ห ารจั ด การ คอนเทนต์มาทำให้เรือ่ งการตลาดหนักๆ น่าสนใจ และไม่เป็นยาขมอีกต่อไป” ขณะที่การแบ่งปัน ข้อมูลทางการตลาดทีห่ าได้ยาก เพราะคนวงใน มักกำข้อมูลไว้แบบไม่ยอมปล่อย แต่กลับหาเจอ ได้ง่ายๆ ใน marketingoops.com ก็ทำให้ทุก วันนี้มีคนพิมพ์ชื่อเว็บไซต์ตรงมาที่ Marketing oops ไม่ต่ำกว่า 60% ที่เหลือนอกจากจะมา ทางเครือข่ายสังคมออนไลน์แล้ว ก็ยังมาจาก เสิร์ชเอนจิน ที่พอคนเสิร์ชหาข้อมูลการตลาดที่ เคยหายากแล้วเจอเข้า หลายคนก็ถึงกับสมัคร ใจเป็นแฟนพันธุ์แท้ที่ตามเข้ามาดูความเคลื่อน ไหวกันแทบทุกวัน ยิ่งให้...ก็ยิ่งได้ แม้จะไม่ได้คิดตั้งตัวกับเว็บไซต์นี้ แต่เมื่อ เริม่ ติดลมบน คนทำจึงมองเห็นโอกาสทางธุรกิจ ที่ชัดเจนขึ้น “แรกเลยที่ทำให้คิดเรื่องธุรกิจคือ เริ่มมีคนติด มีคนมาดูเว็บทุกวัน เพราะการทำ เว็บ ถ้าคนไม่ตดิ ก็ไม่ตอ้ งไปคิดเลยว่าจะทำเป็น ธุรกิจได้ เพราะทำยังไงก็ไม่สำเร็จ” เมื่อถาม ถึงฐานแฟนประจำในปัจจุบันว่าได้ช่วยให้เว็บ เติบโตไปในทิศทางใดบ้าง ณธิดาเฉลยว่า “รีเทิรน์ ที่ได้กลับมามีสองแบบ หนึ่งคือเราภูมิใจที่มีคน ติดตามและชื่นชม สองคือมันเกิดการสื่อสาร สองทางที่มีประสิทธิภาพ มีคนเมลมาคุย มา ขอบคุณ และแนะนำเนื้อหาที่เขาอยากอ่านกับ เราเสมอ ซึ่งเมื่อตอบความต้องการได้ตรง ก็จะ มีคนพูดแทนเรา ช่วยทำมาร์เก็ตติง้ ให้เราเองโดย ที่ไม่ต้องซื้ออะไร หรือลงโฆษณาที่ไหน แต่ทุก วันนีก้ ลับมีโฆษณาวิง่ มาหาเรามากมาย เกิดเป็น ธุรกิจตามธรรมชาติของมัน” ความสำเร็จของ Marketingoops ยังได้ สร้างเว็บคู่แข่งสำคัญๆ ขึ้นมากมายเช่นกัน “ตอนนี้เริ่มเห็นเว็บฝาแฝดเยอะขึ้น ซึ่งเราก็

ไม่ได้กงั วลอะไร เพราะเวลาเราหาข่าว เราก็ไม่ได้ หยุดแค่เว็บๆ เดียว มันก็เป็นไปได้ที่ยิ่งมีเยอะ ก็จะยิ่งสร้างความนิยมขึ้นมา คนอาจจะวิ่งเข้า ทางนั้น แล้ววิ่งมาเข้าเราต่อ หรือเข้าทางเรา แล้วไปต่อทางเขาก็ได้ ซึ่งก็ไม่ได้ผิด” งานนี้จึง เรียกได้วา่ เป็นการขยายทัง้ เครือข่าย ความน่าสนใจ องค์ความรู้ และพันธมิตรในโลกอินเทอร์เน็ต แบบไม่รู้จบ และหากให้มองข้ามวันนี้ไปจนถึงอนาคต ของ Marketingoops ณธิดาบอกว่า “คิดอยู่ ตลอดเวลาเลยค่ะว่า ขอวันหนึ่งเถอะที่จะได้ทำ แต่ Marketingoops อย่างเดียว คือเป็นความ ฝันเลย และถ้าวันหนึง่ ได้ออกไปทำเต็มตัว ก็คดิ ว่าจะแตกไลน์ออกไปอีก คือทำเว็บไซต์ตอ้ งมอง ให้ไกลถึงช่องทางอื่นๆ ทำให้มันไปด้วยกันตั้ง แต่แรก ให้รองรับสื่อใหม่ๆ ได้หมดทุกช่องทาง จะดีทส่ี ดุ แล้วก็อาจจะรวมส่วนวิจยั ตลาดออนไลน์ หรือการจัดสัมมนาบนเว็บไซต์แบบที่เรียกว่า webminar ให้คนเข้ามาร่วมได้ง่ายๆ รวมถึง การคลอดเว็บสกุล oops ตัวอื่นๆ ที่ยังคงอยู่ใน บริบทที่เราสนใจเพิ่มขึ้น” ในยุคการตลาดสมัยใหม่มีรายละเอียด มากมายเหนือการคาดเดา การตลาดบนสือ่ ดิจทิ ลั สลับซับซ้อนไปตามพัฒนาการแบบก้าวกระโดด ของเทคโนโลยี ทําให้การเลือกรับข้อมูลข่าว สารของผู้บริโภคในวันนี้ไม่ได้ถูกจำกัดอยู่ด้วย รูปแบบใดๆ คงมีเพียงรสนิยมและความสนใจ เท่านัน้ ทีจ่ ะกำหนดวิถที างของ “ผูเ้ ลือก” ในวันนี้ ได้อย่างแท้จริง

มีนาคม 2554

l

Creative Thailand

23


Creative City

จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

เรือ่ ง: นันทิยา เล็กสมบูรณ์

24

Creative Thailand

l มีนาคม 2554

เรื่อง: อาศิรา พนาราม


Creative City

จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

ในวันที่การจัดการด้านพลังงานคือความ ท้าทายสำคัญของโลก และมนุษย์ยังไม่ สามารถหาวิธีลดการบริโภคของตนเอง ลงได้ นอกจากการสรรหาแหล่งพลังงาน ทางเลือกอย่างลมและแสงอาทิตย์ทก่ี ลาย มาเป็นทางหลักในการจัดการกับปัญหา การขาดแคลนพลังงานแล้ว การใช้พลังงาน ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดก็คือสิ่งหนึ่งที่ ทุกเมืองทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญ

และนั่นคือจุดเริ่มต้นของการคิดค้นเทคโนโลยี “สมาร์ทกริด” (Smart Grid) หรือระบบโครงข่าย สำหรับการบริหารจัดการการใช้กระแสไฟฟ้า ในแบบอัจฉริยะครบวงจร ด้วยการสื่อสารสอง ทางระหว่างผู้ให้และผู้ใช้บริการที่เอื้อให้ระบบ สามารถคำนวณปริมาณการใช้ไฟฟ้า และบริหาร จัดการการจัดส่งกระแสไฟได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่สุด วิธกี ารก็คอื บริษทั ทีใ่ ห้บริการระบบส่งจ่าย ไฟฟ้าสมาร์ทกริดพัฒนาโปรแกรมการทำงาน รวมถึงติดตั้งอุปกรณ์ในการตรวจสอบการใช้ ไฟฟ้าได้ตามเวลาจริง (Real Time) ไว้ที่แต่ละ ครัวเรือน ด้วยวิธีนี้จะทำให้รู้ว่ามีการใช้ไฟฟ้า เท่าไหร่ จุดไหนใช้มากน้อยอย่างไร ซึง่ นอกจาก จะช่วยในการคำนวณการแจกจ่ายกระแสไฟฟ้า ของเมือง บริหารการจัดส่งให้มคี วามเสถียร และ ลดปัญหาไฟดับในช่วงที่มีการใช้งานสูงแล้ว ยัง สามารถทำให้ผใู้ ช้เห็นพฤติกรรมการใช้พลังงาน ของตนเอง และปรับลดจากจุดเริ่มต้นได้อย่าง มีประสิทธิภาพ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ระบบสมาร์ทกริดเกิด ขึ้นและกลายเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความสนใจ จากเมืองทั่วโลกก็คือ แนวโน้มของการหันมาใช้ พลังงานสะอาด เช่น พลังงานลม แสงอาทิตย์ และพลังงานชีวภาพอื่นๆ รวมถึงการที่ผู้ใช้ สามารถเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าได้เอง (จากการติดตั้ง แผงโซลาร์หรือกังหันลม) ซึ่งเมื่อผลิตไฟฟ้าได้ เกินจากการใช้งานก็สามารถส่งกลับไปขายให้ เมืองหรือบริษัทผู้ให้บริการไฟฟ้าได้ แต่ทั้งหมด นี้ยังขาดการบริหารการผลิตหรือรองรับการจัด เก็บในระบบอุตสาหกรรม จึงไม่สามารถจัดสรร พลังงานทดแทนเข้ามาใช้ในระบบในช่วงทีม่ คี วาม

ต้องการใช้ไฟ้ฟ้าสูง ระบบสมาร์ทกริดจึงได้รับ การพัฒนาเพือ่ ตอบโจทย์เรือ่ งการบริหารจัดการ พลังงานส่วนเหลือและส่วนขาด จากแหล่งพลัง งานอันหลากหลายนี้ นั่นหมายความว่า ระบบ นี้ไม่เพียงแต่ช่วยในการประหยัดพลังงานและ ค่าใช้จ่ายเท่านั้น แต่ยังมุ่งเน้นในเรื่องการใช้ ประโยชน์จากพลังงานทดแทนและการรักษา สิ่งแวดล้อมอีกด้วย แม้วา่ ชือ่ ของมันจะไม่คนุ้ หูคนทัว่ ไป แต่แนว คิดกริดอัจฉริยะนี้ก็มีขึ้นมาตั้งแต่ยุคอนาล็อก แล้ว และเมื่อเข้าสู่ยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีต่างๆ เอือ้ ให้แนวคิดสุดล้ำจากอดีตเป็นจริงขึน้ มา บริษทั และองค์กรด้านพลังงานไฟฟ้าจึงทุม่ ทุนวิจยั และ พัฒนาสมาร์ทกริดเพื่อนำมาใช้อย่างจริงจัง โครงการนำร่องในการทดสอบการใช้งานสมาร์ท กริดจึงกำลังเบ่งบานขึ้นในหลายประเทศของ ยุโรป หลายเมืองในอเมริกา และประเทศใน เอเชียที่สนใจการลงทุนพัฒนาเพื่ออนาคต เช่น จีน ญี่ปุ่น และเกาหลี เป็นต้น

1 ภาพจาก http://2.bp.blogspot.com

2 ภาพจาก www.touchstoneservices.co.uk

1. มิเตอร์อัจฉริยะ (Smart Meter) 2. ผู้ใช้สามารถตรวจสอบการใช้งานได้จากเว็บของผู้ให้ บริการผ่านคอมพิวเตอร์

การคำนวณอันชาญฉลาด เพือ่ ให้เข้าใจถึงการทำงานของสมาร์ทกริด ต้อง ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการคำนวณแบบกริด (Grid Computing) เสียก่อน กริดคอมพิวติ้ง คือ การคำนวณซึ่งเกิดจากการทำงานของ คอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถในการประมวล ผลสูงหลายเครื่องมาทำงานเชื่อมต่อกันเพื่อให้ ได้การประมวลผลที่มีประสิทธิภาพในการ คำนวณที่ละเอียดซับซ้อน สมาร์ทกริดจึงทำ งานคล้ายกับอินเทอร์เน็ต ทีม่ เี ราเตอร์ (Router) ในการเชื่อมต่อข้อมูล สมาร์ทกริดก็มี “มิเตอร์ อัจฉริยะ” (Smart Meter) ที่ปรับปรุงการอ่าน ค่าการใช้ไฟให้ละเอียดยิ่งขึ้น ทำงานร่วมกับ “อุปกรณ์ควบคุมพลังงานภายในบ้าน” ที่ส่ง สัญญาณคล้ายเรื่องรับส่งสัญญาณโทรทัศน์ หรืออินเทอร์เน็ตไร้สาย เพื่อเชื่อมต่อกับเครื่อง ใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน และส่งสัญญาณโต้ตอบ ระหว่างผู้ให้บริการกับผู้ใช้ว่าการใช้พลังงาน เป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่ และผูใ้ ช้ยงั สามารถ ตรวจสอบการใช้งานได้จากเว็บของผูใ้ ห้บริการ ผ่านคอมพิวเตอร์ ไปจนถึงเชือ่ มต่อกับแอพพลิ เคชั่นในสมาร์ทโฟนได้อีกด้วย การวางแผนเพือ่ มุง่ หน้าไปสูเ่ มืองอัจฉริยะ ด้วยสมาร์ทกริด ต้องวางโครงสร้างให้ครบวงจร ทั้งระบบตั้งแต่การผลิต การจัดเก็บ และการส่ง จ่ายไฟฟ้า ซึง่ ละเอียดไปจนถึงการใช้งานในแต่ ละเต้าเสียบของบ้านเลยทีเดียว และต้องมีการ สื่อสารสองทางในทุกขั้นตอน ซึ่งมาจากการ วางโครงข่ายระบบส่งไฟฟ้าอัจฉริยะหรือสมาร์ท กริดที่ผสานรวมโครงสร้างพื้นฐานของระบบ ส่งไฟฟ้าทีม่ อี ยูเ่ ข้ากับโครงสร้างพืน้ ฐานทางการ สื่อสารอย่างกลมกลืน โครงสร้างหลักคร่าวๆ นีอ้ าจมีความแตก ต่างไปตามวิธีการของบริษัทผู้ให้บริการและ ความเหมาะสมของแต่ละเมือง ส่วนการกระตุน้ การใช้งานจะเน้นสือ่ สารผ่านเครือข่ายสังคมใน การแบ่งปันข้อมูลการวางแผนใช้ไฟฟ้า เช่น การ เลี่ยงไปใช้ไฟในเวลาที่ไม่ค่อยมีคนใช้กันซึ่งจะ มีค่าใช้จ่ายต่อหน่วยถูกกว่าช่วงพีค หรือการ แชร์เคล็ดลับการลดพลังงานกับเพื่อนบ้าน ไปจนถึงการตั้งรางวัลให้กับผู้ที่สามารถลด พลังงานได้มากกว่าใคร เป็นต้น มีนาคม 2554

l

Creative Thailand

25


Creative City

จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

ตลาดใหม่ ที่ใหญ่ “ระดับโลก” ด้วยแนวโน้มในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะทั่วโลก จึงไม่นา่ แปลกใจที่กลุม่ บริษทั ยักษ์ใหญ่หวั ก้าวหน้า มากมายจะกระโดดลงมาจับตลาดเทคโนโลยี เพือ่ พลังงานสะอาดกันถ้วนหน้า แต่กอ่ นอืน่ ต้อง ทำความเข้าใจก่อนว่า ระบบสมาร์ทกริดนัน้ เป็น โครงข่ายอันใหญ่ ซึ่งเกิดจากการทำงานสอด ประสานกันของเทคโนโลยียอ่ ยๆ อีกที นวัตกรรม ที่ว่านี้จึงมีทั้งด้านอุปกรณ์ ซอฟท์แวร์ และ นวัตกรรมด้านการจัดการอีกมากมาย เช่น อุปกรณ์มิเตอร์อัจฉริยะ, ผู้ให้บริการเครือข่าย, ระบบการจัดการการใช้พลังงานในครัวเรือนสำนักงาน, ระบบการจัดการข้อมูลของหน่วยวัด เป็นต้น ฉะนั้น ภายใต้ร่มคันใหญ่ของสมาร์ท กริดจึงมีบริษทั ทีเ่ ชีย่ วชาญเฉพาะทางด้านต่างๆ ทำงานร่วมกันอยู่ อย่างไอบีเอ็มที่ถือเป็นบริษัท ระดับแนวหน้าในการบูรณาการองค์ความรู้ สมาร์ทกริด และมีโครงการนำร่องด้านการจัด การสาธารณูปโภคมากมาย รวมถึงงานวิจยั และ ทดลองใช้สมาร์ทกริดในอเมริกาและยุโรป และ เป็นส่วนหนึ่งในโครงการระดับนานาชาติใน การวางระบบสมาร์ทกริดสําหรับประเทศมอลต้า เมืองอัมสเตอร์ดัม และอีกหลายประเทศทั่วโลก นอกจากสมาร์ทกริดแล้ว ไอบีเอ็มยังพัฒนา โครงการ Smarter City แผนผังเมืองที่อัจฉริยะ รอบด้าน ไม่เพียงแค่สาธารณูปโภคเท่านัน้ อีกด้วย อีกหนึง่ บริษทั ยักษ์ใหญ่ดา้ นไอทีทไ่ี ด้ประยุกต์ ความเชี่ยวชาญด้านนี้มาใช้กับการประมวลผล เพื ่ อ บริ ห ารจั ด การกั บ ระบบสาธารณู ป โภค คือซิสโก้ หนึ่งในผู้พัฒนาระบบสมาร์ทกริดราย แรกๆ ทีม่ อี งค์ความรูเ้ ฉพาะและได้ทำโครงการ นำร่องน้อยใหญ่มากมาย เช่น โครงการวาง ระบบสมาร์ทกริดกับกลุม่ ตัวอย่างเล็ก 70 หลังคา เรือนในเยอรมนี และเป็นพาร์ทเนอร์กบั ไอบีเอ็ม ในการเปลีย่ นเมืองอัมสเตอร์ดมั ให้กา้ วสูก่ ารเป็น เมืองอัจฉริยะด้วยสมาร์ทกริด เป็นต้น

นอกจากนีย้ งั มีผเู้ ล่นหลักในตลาดอีกหลาย บริษทั ไม่วา่ จะเป็นจีอ,ี ซิลเวอร์สปริง, เอ็นแม็กซ์, หรือเซลอีเนอร์จี เพราะโอกาสกำลังเปิดกว้าง สำหรับธุรกิจไฟฟ้าในเมืองแห่งอนาคต กระทั่ง กูเกิลก็มองเห็นศักยภาพที่จะลงทุนในธุรกิจ พลังงานนี้ด้วยการพัฒนาโปรแกรมเพื่อรองรับ การใช้งานพลังงานในครัวเรือนที่ชื่อว่า The PowerMeter ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกับมิเตอร์ อัจฉริยะ โดยจะทำให้อปุ กรณ์ไฟฟ้าสามารถติด ต่อสื่อสารกับผู้ใช้เพื่อสามารถกำหนดการใช้งาน ผ่านระบบคอมพิวเตอร์ รวมถึงตั้งโปรแกรม เครื่องใช้ไฟฟ้าให้ใช้ไฟในช่วงที่มีราคาต่ำ โดย ผู้ใช้สามารถดูค่าไฟได้ในแบบรีลไทม์และปรับ พฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าตามการวิเคราะห์ของ ซอฟท์แวร์ เพื่อให้การใช้ไฟฟ้าเป็นไปได้อย่าง มีประสิทธิภาพทีส่ ดุ สำหรับกูเกิลทีเ่ คยออกแบบ โปรแกรมสำหรับการใช้งานต่างแบบบนแพลท ฟอร์มต่างๆ จึงถือว่ามีพื้นฐานดีเยี่ยมในการ ลงสนามการจัดการพลังงานในรูปแบบดิจิทัล อย่างมาก

เครื่องใชไฟฟาอัจริยะ

สามารถหยุดการใชงาน เมื่อมีการความผันผวนของกระแสไฟ แผงโซลาร

โครงการนำร่อง กับเมืองหัวก้าวหน้า ด้วยความที่ระบบการทำงานของสมาร์ทกริด จะต้องถูกวางรากฐานเพื่อการเปลี่ยนแปลง ระบบไฟฟ้าทัง้ ระบบจึงจะคุม้ ค่าการลงทุน เพราะ มูลค่าโครงสร้างพื้นฐานของสมาร์ทกริดนั้นสูง ได้ถงึ กว่า 2 หมืน่ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ขึน้ อยูก่ บั พืน้ ทีเ่ มืองหรือประเทศ) การจะเปลีย่ นแปลงจึงต้อง อาศัยความร่วมมือจากภาครัฐเป็นสำคัญด้วย เรามาดูตัวอย่างเมืองที่ได้ร่วมกับบริษัทผู้ให้ บริการทดลองระบบสมาร์ทกริดกัน

มอลต้า

กับการเปลีย่ นแปลงครัง้ ใหญ่ ด้านสาธารณูปโภค มอลต้า ประเทศเกาะในแถบเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งมีประชากรราวสี่แสนคนบนพื้นที่ที่เล็กกว่า วอชิงตันสองเท่าได้มอบสัมปทานให้ไอบีเอ็มเข้า มาออกแบบและเปลีย่ นแปลงระบบสาธารณูปโภค

การบริหารการใชไฟฟา

การใชไฟฟาในชวงเวลาที่มีการใชงานต่ำ บานเรือน

หนวยประมวลผล

คำนวณการเกิดปญหาและแกไขใน เสี้ยววินาที

อาคารสำนักงาน

โรงเก็บไฟ

เซ็นเซอร

ตรวจจับความผันผวนและ การรบกวนและสงสัญญาณ ไปยังพื้นที่สามารถใชงาน แยกจากระบบได

พลังงานที่ถูกสรางขึ้นในเวลา ที่มีการใชงานต่ำสามารถ นำมาเก็บไวสำหรับใชตอไป

ไมโครกริดอิสระ

โรงงานอุตสาหกรรม แหลงพลังงานลม

โรงงานไฟฟาสวนกลาง

เครื่องกำเนิดไฟฟา

พลังงานจากเครื่องกำเนิดไฟฟายอยๆ และพลังงาน แสงอาทิตยจะชวยลดการใชไฟของทั้งระบบ

ดัดแปลงจากแผนภาพ SMARTGRID: A vision for the future (จากเว็บไซต์ www.consumerenergyreport.com)

26

Creative Thailand

l มีนาคม 2554


Creative City

จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

ทั้งน้ำและไฟฟ้าของประเทศ ในส่วนของไฟฟ้า ได้เปลีย่ นมิเตอร์วดั แบบอนาล็อก 250,000 เครือ่ ง มาเป็นมิเตอร์อจั ฉริยะทัง้ หมด พร้อมติดตัง้ อุปกรณ์ เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเพื่อตรวจสอบการใช้งาน ตามเวลาจริงเพื่อช่วยวางแผนการใช้พลังงาน รวมถึงมีทางเลือกในการควบคุมการใช้โดยการ จ่ายค่าไฟในระบบพรีเพด (Pre-paid) โครงการนี้ เริม่ ต้นเมือ่ ปี 2008 และคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2012

ชิคาโก

สมาร์ทกริดกับอาคารในเมืองใหญ่ ชิคาโก เมืองผูน้ ำในนวัตกรรมด้านสาธารณูปโภค ไฟฟ้าและอุตสาหกรรมพลังงานก็ไม่พลาดที่จะ ทดลองระบบสมาร์ทกริดซึ่งสนับสนุนการการ ผลิตพลังงานสะอาด แม้ว่าความหนาแน่นของ ตึกรามบ้านช่องและประชากรจะถึงจุดสูงสุด มาตั้งแต่ปี 1960 จนไม่สามารถสร้างตึกใหม่ที่ มาพร้อมกับนวัตกรรมสีเขียวเฉกเช่นเมืองที่ เติบโตใหม่ได้ แต่กับตึกที่มีอยู่เดิมนั้น ชิคาโก ก็ได้ปรับปรุงให้มฟี งั ก์ชน่ั การผลิตพลังงานไฟฟ้า และใช้นวัตกรรมการประหยัดพลังงานใหม่ๆ อยูเ่ สมอ เมือ่ มีความร่วมมือในการเปลีย่ นแปลง ระบบไฟฟ้าของเมืองมาสูส่ มาร์ทกริดจาก BOMA (Building Owners and Managers Association) องค์กรทีบ่ ริหารจัดการด้านทรัพย์สนิ ของชิคาโก กับ ISTC (Illinois Science and Technology Coalition) ซึ่งทำงานด้านวิจัยและพัฒนา ร่วม ด้วยกลุ่มองค์กรอื่นๆ ซึ่งมีความสนใจในเรื่อง สมาร์ทกริดทีช่ ว่ ยกันจัดหาทุนในการสร้างระบบ นี้ขึ้นมา โครงสร้างดังกล่าวจึงกำลังก่อตัวขึน้ กับ กลุ่มอาคารที่อาสาเข้าร่วมโครงการ เริ่มตั้งแต่ ต้นสายการผลิตไฟฟ้า การเชือ่ มต่อระหว่างผูใ้ ห้ บริการและผู้ใช้ ไปจนถึงการส่งจ่ายพลังงานที่ ผู้ใช้สามารถตรวจสอบได้ ผลการทดลองได้ถูก ประมวลไว้เป็นภาพกราฟิกซึ่งแทนที่การใช้ พลังงานด้วยสีแดง (ใช้มาก) สีส้ม (ปานกลาง) ไปจนถึงสีเขียว (ประหยัดพลังงานได้มากที่สุด) ทำให้เห็นว่าอาคารหลายแห่งได้เปลีย่ นเป็นสีเขียว

สมาร์ทกริดกับอาคารในเมืองใหญ่ในชิคาโก (ภาพจาก www.archpaper.com)

ขึน้ อย่างเห็นได้ชดั และหลายครัง้ ก็สลับบทบาท กันตามวาระ บางทีกเ็ ป็นผูใ้ ช้ไฟตัวยง และบางที ก็กลายเป็นผูผ้ ลิตไฟอย่างเหลือเฟือส่งไปยังอาคาร ข้างเคียงได้ ตัวอย่างทีด่ เี หล่านีท้ ำให้ความร่วมมือ นี้กำลังขยายผลไปยังอาคารอื่นๆ และมีความ มุง่ มัน่ ว่าจะทำให้เมืองชิคาโกเป็นศูนย์กลางของ การพัฒนาสมาร์ทกริดเลยทีเดียว

โบลเดอร์

เมืองแห่งสมาร์ทกริดเต็มรูปแบบ เมืองโบลเดอร์ในรัฐโคโลราโด สหรัฐอเมริกา ได้ ชื่อว่าเป็น "เมืองอัจฉริยะ" ด้วยระบบสมาร์ทกริดที่ วางให้กับครัวเรือนในระยะที่ 1 ราว 45,000 หลังคาเรือน ซึง่ เป็นโครงการที่เซลอีเนอร์จี (XEL Energy) ทำร่วมกับเมืองโดยประชาชนไม่ต้อง เสียค่าใช้จ่าย ภายใต้การวางระบบสมาร์ทกริด ตลอดทัง้ เมือง ครัวเรือนแต่ละหลังจะได้รบั มิเตอร์ อัจฉริยะ ทำงานร่วมกับชุดเครือ่ งมือส่งสัญญาณ ทางอินเทอร์เน็ตและอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็น นอกจากมอนิเตอร์ทเ่ี ห็นเป็นตัวเลขจากอุปกรณ์ เหล่านี้ ผู้ใช้ยังสามารถตรวจสอบการใช้งานได้ ทางเว็บของเซลอีเนอร์จี ซึ่งแสดงผลการใช้งาน ไฟฟ้าของครัวเรือนนั้นๆ อย่างละเอียด เปรียบ เทียบให้เห็นเป็นกราฟที่ดูง่าย สามารถนำไป วางแผนการใช้งานเพือ่ ประหยัดเงินและประหยัด

พลังงาน นอกจากนัน้ สมาร์ทกริดยังช่วยให้ไฟฟ้า ในเมืองมีความเสถียรยิง่ ขึน้ ด้วยระบบจัดเก็บ - ส่ง จ่ายไฟฟ้าที่ดี และเครือข่ายการสื่อสารสองทาง ตลอดทัง้ ระบบ ทำให้รจู้ ดุ ที่เกิดปัญหา และสามารถ เข้าไปแก้ไขได้ทนั ที การร้องเรียนเรือ่ งไฟดับและ ไฟตกตัง้ แต่ตดิ ตัง้ สมาร์ทกริดเมือ่ ปี 2006 - 2009 ในโครงการระยะที่ 1 จึงลดลงถึงร้อยละ 90 โดยขณะนีก้ ำลังขยายโครงการไปสูร่ ะยะที่ 2 เพือ่ ให้สมาร์ทกริดครอบคลุมการใช้งานไปทัง้ เมือง อาจกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีที่ดี คือเทคโนโลยีที่ เอื้อให้เกิดการใช้ทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพ ยกระดับคุณภาพชีวติ และเป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อม ภายในปี 2050 ร้อยละ 70 ของประชากรโลกจะ อาศัยอยูใ่ นเมือง เมืองจึงต้องอาศัยเทคโนโลยีท่ี ฉลาดเพื่อสร้างรูปแบบการใช้ชีวิตที่ยั่งยืน อัน หมายถึ ง การส่งต่อความสามารถในการใช้ ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพให้กบั คนรุน่ หลัง เช่นเดียวกัน ภาพเปิดจาก flickr โดย 'By The City of Toronto' ที่มา: วิกิพีเดีย www.smartgridnews.com บทความ Top Ten Smart Grid (www.greentechmedia.com) www.prb.org

มีนาคม 2554

l

Creative Thailand

27


The Creative

มุมมองของนักคิด

เรื่องโดย: วิสาข์ สอตระกูล ภาพโดย: นินทร์ นรินทรกุล ณ อยุธยา

28

Creative Thailand

l มีนาคม 2554


The Creative

มุมมองของนักคิด

สุหฤท สยามวาลา หรือ “พี่โต้” ของหลายๆ คน คือคุณพ่อลูก สามวัยสีส่ บิ กว่าผูไ้ ม่เคยทิง้ หัวใจ “วัยรุน่ ” ทุกวันนีเ้ ขาเป็นผูบ้ ริหาร ระดับสูงของธุรกิจครอบครัว (บริษัท ดี เอช เอ สยามวาลา) ต้อง คุมทัพพนักงานกว่าร้อยชีวิต แต่ในอีกภาคหนึ่ง “สุหฤท” คือ นักสร้างสรรค์ดนตรีอเิ ล็กทรอนิกส์ตวั พ่อ เขาเป็นคลับดีเจระดับ ไฮโปรไฟล์ คลอดอัลบัม้ เดีย่ วมาแล้วถึง 3 อัลบัม้ ทำเพลงเองด้วย “หู” และ “สัญชาตญาณ” โดยไม่รคู้ ยี ห์ รือโน้ตจริงๆ สักตัว! วันนี้ หลังจากการประชุมเครียดที่บริษัท สุหฤทถอดนาฬิกาข้อมือหรู ถลกแขนเสือ้ ให้เราละเลงสีวาดรูปมิกกีเ้ มาส์ (บนแขน) อย่างเต็มใจ พร้อมพ่นความในใจหลายๆ อย่างเกีย่ วกับสถานการณ์การเสพ และสร้างสรรค์ “ดนตรีสมัยใหม่” ในเมืองไทย

“นักดนตรี” หรือ “ศิลปิน” คุณนิยามตัวเองอย่างไร ผมเป็นนักดนตรีครับ (ตอบอย่างมัน่ ใจเต็มร้อย) แต่ถา้ จะให้มองในฐานะ ศิลปิน สำหรับผมมันจะมีอยูส่ องภาค คือ ภาคทีเ่ ป็นดีเจ กับภาคทีท่ ำอัลบัม้ ดนตรีของตัวเอง ผมจะแยกมันออกจากกันชัดเจนเลย เริ่มจากการทำ ดนตรีก่อน คำว่า “ศิลปิน” ตรงนี้แปลตรงตัวง่ายๆ คือ เราแต่งเพลงเอง ทำดนตรีเอง ไม่มีใครมาทำให้ ไม่ได้เป็นพรีเซ็นเตอร์ให้กับนักแต่งเพลง คนไหน ผมจะถือเรื่องนี้มาก ศิลปินต้องทำเพลงเอง ส่วนในภาคของการเป็นดีเจก็จะเป็นอีกแบบ คือดีเจเคยถูกมองว่า เป็นคนเปิดเพลงคัน่ วงดนตรี หรือเปิดเพลงยามว่างเพือ่ ไม่ให้เวทีเงียบ แต่ ทุกวันนีผ้ มพยายามบอกว่าในฐานะดีเจ ผมก็เป็นศิลปินคนหนึง่ นะ เหมือน แบนด์หนึ่งแบนด์ที่ขึ้นเวทีแสดงให้คนดู สุหฤทเป็นดีเจแบบนั้น แต่ใครจะไม่เรียกผมเป็นศิลปินก็ไม่เป็นไรหรอก ผมไม่ได้รู้สึกอะไร แค่เรากำลังจะบอกว่าเราจะ “แสดง” ในสิ่งที่เราเป็น ในสิ่งที่เราคิด นี่คือ พื้นฐานทางความคิดของผม

ดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ทำให้เราได้ ปลดปล่อยอิสรภาพทางรสนิยม อย่างเต็มที่ ซึ่งถ้ามันยังคง จิตวิญญาณแบบนี้อยู่ ต่อให้ผม อายุ 60 ผมก็จะยังชอบมัน ทำไมถึงหลงรักดนตรีอิเล็กทรอนิกส์นัก ผมชอบเพลงอิเล็กทรอนิกส์ตรงที่มันเปลี่ยนเร็ว มันมีอะไรใหม่ๆ เกิดขึ้น อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ มันไม่เคยเชย ไม่เคยซ้ำ ซึ่งเข้าทางผมเลย เพราะผมเพลิดเพลินสุดๆ กับการได้ฟังดนตรีแนวใหม่ๆ อะไรก็ได้ที่มี เสียงสังเคราะห์ใหม่ๆ มีดนตรีบีทใหม่ๆ มีวิธีการทำดนตรีสไตล์ใหม่ๆ ผมจะชอบหมด จนตอนนีเ้ พลงอิเล็กทรอนิกส์มนั “ฝัง” เข้าไปในตัวผมแล้ว ทุกวันนี้ก็ยังเอ็นจอยอยู่ ดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ทำให้เราได้ปลดปล่อยอิสรภาพทางรสนิยม อย่างเต็มที่ ซึ่งถ้ามันยังคงจิตวิญญาณแบบนี้อยู่ ต่อให้ผมอายุ 60 ผมก็ จะยังชอบมัน

ก้าวแรกสู่วงการเพลงอิเล็กทรอนิกส์ ผมตอบจากมุมของคนฟังเพลงก่อนละกัน การฟังเพลงของผมมันจะเป็น “ยุค” ครับ คืออะไรก็ได้ที่ออกมา ณ ตอนนั้นแล้วแปลก ผมจะชอบ อย่างเช่น เราเคยฟังร็อกหูแตกพวกเฮฟวี่เมททัลมา แล้วอยู่ๆ ทันใดนั้นก็ มีอลั เทอร์เนทีฟขึน้ มาเป็นทางออกของร็อกอีกแนวหนึง่ …ผมตกหลุมรักเลย ไม่นานก็มีอิเล็กทรอนิก้าตามออกมาอีก กลายเป็นเพลงเต้นรำที่เป็น อัลเทอร์เนทีฟอีก เป็นทางเลือกจากนิวมิวสิกสมัยก่อนอีก ผมก็หลงรักอีก หลังจากนั้นพอเริ่มมาเป็นดีเจ ผมก็อยู่กับเพลงอิเล็กทรอนิกส์มาตลอด มันก็เลยซึมนานเลยคราวนี้ ทั้งทำอัลบั้ม ทั้งเป็นดีเจ มันสนับสนุนซึ่งกัน และกันด้วย

มีนาคม 2554

l

Creative Thailand

29


The Creative

มุมมองของนักคิด

ถ้าคุณรักการฟังดนตรี คุณไม่อยู่ กับอินเทอร์เน็ต ผมก็ไม่รู้จะพูด ยังไงแล้ว

ต้นแบบในการสร้างสรรค์งานดนตรีของคุณ เรียกว่ามันเป็นชีวิตอีกมุมหนึ่งของผมมากกว่า มุมที่ผมได้เข้าไปสัมผัส กับการทำดนตรี ได้เจอกับผู้คนในแวดวงนี้ มันก็ซึมซับและผลักดันเราไป โดยธรรมชาติ ถ้าถามว่ามีต้นแบบมั้ย…ก็มีแหละ แต่ไม่ใช่ว่าผมจะไปทำ ดนตรีในแนวนัน้ หรอก เพราะผมฟังหลายแนวมาก ดนตรีของผมจะออกมา เป็นแนว “สุหฤท” เสมอ เวลาผมจะทำดนตรีแนวไหน ผมจะไม่มานัง่ ฟังเพลงแนวนัน้ นะ ผม จะกลับไปฟังแนวอื่นๆ แล้วใช้มันเป็นแรงบันดาลใจในการทำดนตรีแนว ของผมเอง ผมทำงานบนหลักการนี้ และอยากให้คนรุ่นใหม่ทำงานกัน แบบนี้ด้วย คือถ้าคุณฟังเพลงป๊อปมาเยอะๆ เวลาจะต้องทำเพลงป๊อป ให้หยุด ฟัง อย่าฟังครับ ให้ไปฟังแนวอื่นๆ เช่น ฮิปฮอปหรือแดนซ์ แล้วลองคิดว่า จะนำมันมาผสมให้เป็นป๊อปได้ยังไง ช่วยไปฟังแนวอื่นเถอะ แล้วเดี๋ยว กลับมามันจะมีอะไรใหม่ๆ ออกมาในงานของคุณเสมอ เสพดนตรีใหม่ๆ จากไหนบ้าง โอ้โห…อินเทอร์เน็ตเลยครับ ถ้าคุณรักการฟังดนตรี คุณไม่อยูก่ บั อินเทอร์เน็ต ผมก็ไม่รจู้ ะพูดยังไงแล้ว ซาวนด์ในโลกออนไลน์นม่ี นั เป็นบ้าไปแล้วครับ มัน เยอะมาก เร็วมาก ใครทำเพลงใหม่ออกมาแค่วันเดียว คนทั่วโลกเขา ดาวน์โหลดไปฟังได้หมด ทุกวันนีว้ ยั รุน่ ไทยมีโอกาสทีเ่ ปิดกว้างแบบ “มโหฬาร” จริงๆ แต่ผมก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไมบ้านเมืองเรามันถึงได้ฟังเพลงย่ำ อยู่กับที่แบบนี้ ผมขี้เกียจจะบ่น เดี๋ยวจะหาว่าหัวรุนแรง คือคนไทยเนี่ย แต่งตัวโคตรเดิน้ เลยนะ รสนิยมด้านแฟชัน่ นีช่ น้ั เยีย่ ม เปิดรับของใหม่อย่าง หนัก แต่พอเรื่องเพลงกลับแป้ก ผมเลยงงว่าตกลงคนไทยเปิดรับหรือไม่ เปิดกันแน่ เป็นไปได้ว่าเรื่องการแต่งตัวมันเกี่ยวโยงกับค่านิยมในสังคม แฟชั่น มันบ่งบอกอะไรบางอย่าง แต่กับดนตรีมันไม่มีค่านิยมอะไรที่ไประบุแบบ นั้น รสนิยมการฟังเพลงของคนแต่งตัวดีเลยไม่ค่อยดีตามไปด้วย วัฒนธรรมการเสพดนตรีของคนไทย ความสร้างสรรค์ทางดนตรีจะเดินหน้าได้กต็ อ่ เมือ่ คุณฟังเพลงเยอะๆ ต้อง ลองฟังให้หมดทุกแนวทุกสไตล์ ผมว่ามันเริ่มตั้งแต่รสนิยมของพ่อแม่แล้ว ล่ะ ถ้าคนรุ่นพ่อแม่เขาเปิดรับดนตรีใหม่ๆ รุ่นลูกของเขาก็จะซึมซับมา ลองนึกดูเล่นๆ สิว่าเด็กอายุ 18 วันนี้ พ่อแม่เขาฟังเพลงอะไร ถ้าคนพ่อ มีลูกตอนอายุ 30 ตอนนี้เขาอายุ 48 ใช่มั้ย แปลว่าเขามีลูกในช่วง 90s ตอนนัน้ ถ้าเขาเป็นนักเสพดนตรี เขาคงได้อนิ กับพวกอัลเทอร์เนทีฟร็อก คือ ช่วงนั้นเมืองไทยเริ่มเดิ้นแล้ว เริ่มเปรี้ยว เริ่มมีคลับเต้นรำอย่าง Deeper อะไรต่ออะไร

30

Creative Thailand

l มีนาคม 2554


The Creative

มุมมองของนักคิด

ฉะนัน้ ผมว่าในแง่ของการสัง่ สมวัฒนธรรม เดีย๋ วมันจะค่อยๆ ตามมา เอง เราอาจจะต้องรอ เท่าที่ผมสังเกตดูพวกนักดนตรีเก่งๆ สมัยนี้ พ่อแม่ เขามักจะเป็นแฟนเดอะบีทเทิลส์ (หัวเราะ) เป็นพวกนกพิราบ ทัดดอกไม้ เต้นปลิวในสมัยนู้น หรือคนที่เขียนหนังสือเก่งๆ หลายคนพ่อแม่เขาก็เป็น พวก 14 ตุลาฯ ทุกอย่างมันเป็น “เวฟ” ครับ เป็นคลื่นซัดมาเรื่อยๆ อนาคตการบริโภคดนตรีในยุคดิจิทัล ผมคิดว่าวิทยุจะหมดความสำคัญไปในทีส่ ดุ พวก Channel V หรือ MTV ก็เตรียมตัวได้เลย เพราะ Youtube จะเข้ามามีบทบาทแทน คือทุกอย่าง มันจะกลายเป็น On demand หมดครับ ผู้บริโภคจะไม่ต้องการการยัด เยียด ลองคิดดูว่าตอนนี้คุณรู้สึกยังไงเวลาเปิดวิทยุหรือทีวีแล้วเจอเพลงที่ คุณไม่ชอบถูกโปรโมทอยู่ได้ตลอดเวลา ฉะนั้นถ้าคุณอยู่ในวงการวิทยุคุณก็ต้องรีบปรับตัว ต้องยอมรับว่ามัน ไม่ใช่เรื่องของเพลงอย่างเดียวอีกต่อไปแล้ว ต่อให้คุณนั่งเปิดเพลงเพราะ ตลอดเวลา ก็ไม่มคี นฟังเท่าไหร่หรอก เพราะคนเขาจะเลือกฟังเพลงทีเ่ ขา ชอบเมื่อไหร่ก็ได้ ก็ทุกอย่างมัน On demand หมดแล้วนี่ ในโทรศัพท์ก็มี ในรถก็มี แค่เสียบ SD Card ที่ตัวเองไปโหลดมาจากที่ไหนๆ ก็ฟังได้แล้ว ของมัน “ฟรี” หมดน่ะครับ ค่ายเพลงเขาก็ยอมรับแล้วล่ะว่าโลกมันเปลีย่ น ต่อไปทุกคนจะตกเป็นทาสของอินเทอร์เน็ตรึเปล่า เวลาเราใช้คำว่า “เป็นทาส” อะไรๆ มันก็จะเป็นไปในทางลบหมดนะ ทุกวันนีเ้ ราใช้รถยนต์ ใช้รถไฟฟ้า แล้วเราตกเป็นทาสมันรึเปล่าล่ะ ทุกอย่าง มันขึ้นอยู่กับการเลือกเสพของเราเท่านั้น คุณต้องไปเอ็นจอยมัน และต้อง รู้ลิมิตของตัวเอง ถ้าเราไปเสพมันในแง่ลบ มันก็ส่งอิทธิพลด้านลบ แต่ถ้า เรารู้จักใช้มันล่ะก็ มันจะเป็นประโยชน์มาก เช่น มีเพลงดีๆ ตั้งเยอะใน อินเทอร์เน็ต ถ้าคุณไม่ฟัง ดันไปเข้าเว็บโป๊ มันก็แน่นอนล่ะ คุณก็กลายเป็น ทาส เพราะคุณเลือกจะรู้จักแต่เซ็กซ์อยู่แค่นี้ (หัวเราะ) ประโยชน์และ โทษของโลกดิจิทัลมันเปิดกว้างครับ เพียงแต่เราต้องรู้จักควบคุมตัวเอง ให้ดี เพราะข้อเสียของมันคือมันพาคุณเตลิดง่ายเหมือนกัน ถ้าคุณเสพ ค่านิยมแย่ๆ จนรู้สึกว่ามันโอเค คุณก็จบตรงนั้น โลกออนไลน์มันมี Freedom of Speech ใครจะพูดอะไรก็พูดได้ สร้างข่าวลืออะไรก็ได้ จริงไม่จริงไม่รู้ ถ้าคุณไปบ้าตาม ด่าตามกันไป นั่น ล่ะคุณกำลังตกเป็นทาสมัน วันนี้เรามีศาลเตี้ยยุคดิจิทัลครับ มันทำร้าย จิตใจคน ทำร้ายอนาคตของผู้คนได้ นี่คือสิ่งที่น่ากลัว

ทุกอย่างขึ้นอยู่กับ “หู” อย่างเดียว ครับ หูผมมันบอกผมว่าอันนี้ อยูก่ บั อันนี้ได้ ใครไม่ต้องมาบอกนะ ว่าผิดหรือถูก เพราะผมว่าถูก ของผม

คุณไม่เล่นเครื่องดนตรีอะไรเลย (จริงๆ เหรอ) เล่นไม่เป็นครับ ผมไม่รู้โน้ต ตัวเดียวก็ไม่รู้ ผมใช้วิธีฮัมเพลง ฮัมทำนอง แต่เขียนเนื้อเพลงเอง ตีกลองเองบ้าง เวลาร้องนำก็ให้เพื่อนบอกว่าคีย์ถูก รึเปล่า อัลบั้มแรกๆ ก็มีคนมาช่วยเขียนโน้ตให้ แต่อัลบั้มล่าสุดผมทำเอง คนเดียวเลย 100% ถ้าดิสก์หายก็ตายไปเลย เพราะไม่รู้กดอะไรไปบ้าง ทุกอย่างขึ้นอยู่กับ “หู” อย่างเดียวครับ หูผมมันบอกผมว่าอันนี้อยู่กับ อันนี้ได้ ใครไม่ต้องมาบอกนะว่าผิดหรือถูก เพราะผมว่าถูกของผม เวลาให้คนอื่นมาช่วยร้องในอัลบั้ม แล้วเขาถามว่าจะให้ร้องคีย์ไหน ผมบอกผมก็ไม่รู้ รู้แต่ว่าฟังแล้วมันใช่หรือไม่ใช่แค่นั้น (หัวเราะ) ถ้า ศาสตราจารย์ทางดนตรีมาฟังงานผม เขาอาจจะคิดว่านี่มึงอะไรของมึง เนี่ย ซึ่งผมก็ไม่ได้แคร์อะไร แต่ถ้าคุณ (หมายถึงผู้บริโภคตัวจริง) ฟังแล้ว มันไม่ถูกมันไม่ใช่ คุณก็บอกผมหน่อยละกัน อธิบายสั้นๆ ถึงแนวดนตรีของคุณ แนวสุหฤทครับ จะเป็นคำตอบนี้คำตอบเดียวตลอดไป งานเพลงของผม คือประสบการณ์ทางดนตรีทผ่ี มสะสมมาตลอดทัง้ ชีวติ คุณฟังแล้วจะรูเ้ ลย ว่านี่แหละ…สุหฤท คุณบอกว่าคอมพิวเตอร์คือเครื่องดนตรีชนิดใหม่ ใช่ครับ ก็มันเป็นไปแล้วจริงๆ คุณจะเอากีตาร์อันไหนมันก็มี จะเอากลอง ในห้องอัดไหนของโลกมันก็มี บางคนบอกว่าผมเล่นง่าย โปรแกรมๆ เข้า ไปเดีย๋ วมันก็ทำออกมาให้เสร็จ ผมถามหน่อยเถอะว่าคอมมันรูค้ ยี เ์ องได้มย้ั เวลาเล่นดนตรีคุณไม่ต้องกดคีย์เหรอ ถ้าผมนั่งฮัมเพลงใส่คอมพิวเตอร์ มันจะ arrange เพลงออกมารึเปล่า คอมมันไม่ได้ทำให้นะ ผมยังต้อง ทำอยู่ มันมีโปรแกรมจริง แต่ผมนี่แหละคือคนใส่โปรแกรมทั้งหมด

มีนาคม 2554

l

Creative Thailand

31


The Creative

มุมมองของนักคิด

ถ้าคุณรักจะฟังเพลงแนวไหนก็ฟัง ไปเลย จะโคตรป๊อปก็เอา เพราะ ดนตรีเป็นเรื่องนามธรรม เป็นเรื่อง รสนิยม ไม่มีใครว่าคุณหรอก แต่ถ้าคุณฟังแต่ป๊อปเดิมๆ และไม่ เคยแสวงหาดนตรีแนวใหม่เลย อันนี้ผมเป็นห่วง เป้าหมายในการทำงานดนตรี เพื่อความอิ่มครับ เช่น อิ่มใจ อิ่มเอม ถ้าอิ่มท้องได้ด้วยก็ดี (หัวเราะ) อันที่จริงผมก็อยากอิ่มในทุกๆ ด้าน แต่มันคงไม่ได้ทั้งหมดหรอก ฉะนั้น ต้องได้อิ่มอย่างใดอย่างหนึ่ง อิ่มใจเวลาได้ทำเพลง อิ่มเอมเวลาได้เจอ แฟนเพลง อิม่ ท้องเวลาไปเป็นดีเจ ในทีส่ ดุ มันต้องได้อม่ิ อย่างใดอย่างหนึง่ ไม่งั้นผมเลิกหมด โอกาสใหม่ๆ สำหรับคนทำดนตรีแบบคุณ โอกาสเป็นเรื่องที่เราสร้างเองมากกว่า อย่าไปรอให้ใครมาบอกว่ามันมี โอกาสอยู่ตรงนั้นตรงนี้เลย ไม่มีหรอกครับ เราต้องแสวงหาเอง บางครั้งใช่ บางครัง้ ไม่ใช่ แต่ชวี ติ คนเราต้องมองหาโอกาสอยูเ่ สมอ เมือ่ เจอแล้วก็ตอ้ ง ใช้มันให้เป็นประโยชน์ ถ้าคุณมัวแต่รอโอกาส คุณจะพบแต่ความผิดหวัง ทั้งชีวิต เพราะมันจะไม่มาครับ ยกเว้นคุณโคตรมหาดวงดี ไม่ว่าจะเป็น ไอเดียหรืองาน มันเป็นเรือ่ งทีค่ ณุ ต้องแสวงหาทัง้ สิน้ ต้องออกไปหามัน คุณเป็นผู้บริหารบริษัทเครื่องเขียนด้วย มีชีวิตสองภาคในเวลาเดียวกัน มันเป็นยังไง เดี๋ยวนี้น้อยลงเยอะครับ เพราะงานที่บริษัทมันมากขึ้น แล้วก็มีภรรยา มี ลูก 3 คน (แปดขวบ หกขวบ สามขวบ) ตอนนีผ้ มเกษียณจากการเป็นดีเจ เต้นรำแล้ว วันสุดท้ายที่ไปเล่นผมร้องไห้เลย แต่จากนี้ไปผมจะเล่นเฉพาะ งานที่อยากเล่นจริงๆ เท่านั้น ต้องเป็นอะไรที่ "เสียว" จริงๆ เช่น ไปเล่น ในสนามมวย ต้องเป็นอะไรที่มันเจ๋งแบบ…คิดได้ไงเนี่ย ผมยังคิดถึงมัน ตลอดเวลาครับ ดนตรีก็ยังทำบ้างเวลามีอารมณ์ ตอนนี้ผมมีโปรเจคที่ กำลังทำอยู่ แต่ขออุบเป็นความลับไว้ก่อนเพื่อความเท่ (หัวเราะ) 32

Creative Thailand

l มีนาคม 2554

ข้อแนะนำในการบริหารตัวตนหลายแบบ บางทีการบริหารหลายสิ่งหลายอย่างในชีวิตมันก็ไม่ง่าย แต่ผมเคยชิน แล้ว ก็มีความสุขได้ มีเหนื่อยบ้าง ชีวิตคนเรามีงาน มีครอบครัว มีความ ฝัน มีเพื่อนฝูง ถ้าแบ่งเวลาได้มันก็ดี ถ้าแบ่งไม่ดีมันก็มีชนกันบ้าง ซึ่ง ตอนนั้นก็จะเครียด พอเครียดเราก็ต้องหาทางระบายออก มันก็เป็นวงจร ของมันแบบนี้ แต่ผมจะมองว่าผมโชคดีนะ ที่สามารถมีความหลากหลาย ในชีวิตได้ ได้ยินว่าคุณค่อนข้างเคร่งศาสนา (หัวเราะเสียงดัง) ก็ไม่ขนาดนั้นหรอกครับ เพียงแต่เราไม่ทำชั่ว ไม่โกง ไม่โกหก ผมมีจุดยืนว่าจะไม่ทำร้ายคนที่อยู่รอบข้างเด็ดขาด คนที่คบกับ ผมจะรูว้ า่ ผมไม่มอี ะไรแอบแฝง พูดอะไรก็หมายความอย่างนัน้ หรืออยาก ให้พูดรื่นหูหน่อยก็พูดได้ แต่จะไม่โกหก ก็ง่ายๆ แค่นั้น ผมไม่เคร่ง ศาสนาหรอก เป็นคนพอคบได้ละกัน ฝากถึงผู้บริโภคดนตรีในเมืองไทยเป็นการปิดท้าย จะฟังอะไรก็ฟังเถอะครับ อย่ากระแดะ ผมรำคาญพวกที่ชอบบอกว่าตัว เองฟังเพลงอินดี้ เพราะมันไม่มีหรอกครับเพลงแนวอินดี้น่ะ มันมีแต่วิธี การทำงานแบบอินดี้ ฉะนั้นถ้าคุณรักจะฟังเพลงแนวไหนก็ฟังไปเลย จะ โคตรป๊อปก็เอา เพราะดนตรีเป็นเรือ่ งนามธรรม เป็นเรือ่ งรสนิยม ไม่มใี ครว่า คุณหรอก แต่ถา้ คุณฟังแต่ปอ๊ ปเดิมๆ และไม่เคยแสวงหาดนตรีแนวใหม่เลย อันนี้ผมเป็นห่วง แต่ถ้าคุณไปทดลองฟังมาทุกแนวแล้ว สุดท้ายก็ยังชอบ ป๊อปแบบเดิม เชิญเลยครับ คุณไม่ผิด


The Creative

มุมมองของนักคิด

โปรแกรมทำดนตรีที่ใช้บ่อย ผมจะใช้ Ableton Live กับ Reason เป็นหลัก Ableton Live นี่ใช้ได้ทั้งดีเจ ทั้งรีมิกซ์ ทั้งทำเพลง แต่คนอื่นเขาก็ใช้ Logic ใช้ Reason ใช้ Pro Tools ก็แล้วแต่ความถนัด เพลงรักประดับจิต เพลงของวง Depeche Mode, Faithless และ Massive Attack ในช่วงยุค 90s พวกนี้ผมรักจริงๆ จังๆ ก็จะกลับไปฟังบ้างเป็นครั้งคราว ปกติผมจะ ชอบของใหม่ไง อย่ามีอะไรใหม่ออกมานะ ผมจะโดนง่าย และไม่ค่อยกลับ ไปฟังของเก่าเท่าไหร่ หลักๆ คือผมจะอินกับดนตรีใน “วันนี้” เสมอ ศิลปินที่โปรดปรานช่วงนี้ ถ้าในแวดวงเพลงป๊อปตอนนี้ผมบ้า Lady Gaga มาก ผมว่าเขาเก่ง เขา ทำทุกอย่างเองหมด หาจุดลงตัวของตัวเองได้เวิรก์ มาก Black Eyed Peas หลังๆ ก็ดี ทำเพลงป๊อปได้มีรสนิยม การหา Reference ทำเพลง บางคนบอกนักดนตรีไทยชอบทำ reference แต่ฝรั่งไม่ทำกัน ผมจะบอก ว่าเขาทำกันทั้งนั้นแหละ ทำกันทั้งโลก และผมว่าควรทำด้วย แต่คุณจะ เลือก reference แล้วก๊อบ(ปี้) หรือเลือกแล้วใช้เป็นแรงบันดาลใจ มันก็มี สองทาง สมัยนี้การก๊อบปี้มีหลายแบบมาก เปลี่ยนคีย์นี้ จับโน้ตนี้บิด ก๊อบซาวนด์ มีคอมพิวเตอร์ตัวเดียวคุณทำได้ทั้งนั้นแหละ แต่จะทำในขั้นไหน จะก๊อบมาดื้อๆ หรือรับแรงบันดาลใจมาจาก ดนตรีอื่นๆ เชื่อเถอะไม่มีใครกลั่นอะไรมาจากฟ้าได้หรอก ความสำเร็จคือคำสาป เพลงดังทั้งหมดคือความมหัศจรรย์ที่คนทำต้องชดใช้ด้วยอะไรบางอย่าง เสมอ ศิลปินที่ประสบความสำเร็จมากๆ มักมีชีวิตที่ไม่ง่าย หลายคนจบ ไม่ดีด้วยซ้ำ ฉะนั้นจงระลึกไว้ว่าเมื่อได้ชื่อเสียงความสำเร็จมาแล้ว เดี๋ยว เราก็จะต้องชดใช้ ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง มีนาคม 2554

l

Creative Thailand

33


Editor's Note

บทบรรณาธิการ

34

Creative Thailand

l มีนาคม 2554

ตุลาคม 2553

l

Creative Thailand

23


มีนาคม 2554

l

Creative Thailand

35


Editor's Note บทบรรณาธิการ

36

Creative Thailand

l มีนาคม 2554


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.