นิตยสารส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ผลักดันเศรษฐกิจไทย โดย
ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน)
The Object ตูเ้ จ้าสาว
เมษายน 2554 ปีที่ 2 | ฉบับที่ 7
Creative City Seasonal Japan
The Creative
วัลลภา แวน วิลเลียนส์วาร์ด แจกฟรี
There is more to life than increasing its speed ชีวิตยังมีอะไรอีกมากมาย นอกเหนือจากการเร่งจังหวะให้กับมัน มหาตมะ คานธี
สารบัญ
บรรณาธิการอำนวยการ ที่ปรึกษา
The Subject
6
The Object
7
วัตถุดิบทางความคิด
8
Consume Less, Live More! ตูเจาสาว
Featured Book / Book / Trend Book / DVD
เปลี่ยนโลกรอบตัว
10
Classic Item
11
เร�่องจากปก
12
Insight
19
คิด ทำ กิน
22
จับกระแสเมืองสรางสรรค
24
มุมมองของนักคิด
28
หญา
แผนเสียง
Take It Slow
Alabama Chanin: The Labour of Love บานกลางทุง ออรแกนิกโฮม Seasonal Japan ว�ถีงามตามฤดู วัลลภา แวน ว�ลเลียนสวารด
อภิสิทธิ์ ไลสัตรูไกล กิตติรัตน ปติพานิช ชมพูนุท วีรกิตติ พิชิต วีรังคบุตร ศิริอร หริ่มปราณี มนฑิณี ยงวิกุล กนกพร เกียรติศักดิ์ วราภรณ วศินสังวร จรินทรทิพย ลียะวณิช นันทิยา เล็กสมบูรณ พัชรินทร พัฒนาบุญไพบูลย ชิดชน นินนาทนนท นิรชา ชินะรัตนกุล
บรรณาธิการบริหาร ผูชวยบรรณาธิการ บรรณาธิการศิลปกรรม ผูจัดการฝายผลิตและเผยแพร
จัดทําโดย ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (TCDC) ชั้น 24 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอร 622 สุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 โทร. 02 664 7667 แฟกซ. 02 664 7670 แยกสี บริษัท 71 อินเตอรสแกน จำกัด โทร. 02 631 7171 แฟกซ. 02 631 7181 พิมพที่ บริษัท คอมฟอรม จำกัด โทร. 02 368 3942-7 แฟกซ. 02 368 2962 จำนวน 50,000 เลม นิตยสารฉบับนี้ใชหมึกพิมพจากน้ำมันถั่วเหลือง ที่ไมเปนอันตรายตอสุขภาพ ทั้งยังเปนมิตรตอ สิง่ แวดลอม และทีส่ ำคัญคือ เปนผลผลิตจากความคิด ของผูประกอบการไทย
Media Partner
จัดทำภายใตโครงการ “CreativeThailand สรางเศรษฐกิจไทยดวยความคิดสรางสรรค” โดยศูนยสรางสรรคงานออกแบบ สำนักงานบริหารและพัฒนาองคความรู (องคการมหาชน) ซึ่งมีเปาหมาย ในการเผยแพรความรูเกี่ยวกับเศรษฐกิจสรางสรรค (Creative Economy) และผลักดันการใชความคิด สรางสรรคในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส แสดงทีม่ า-ไมใชเพือ่ การคา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย
อานนิตยสารฉบับออนไลนและดูขอมูลเพิ่มเติมไดที่ www.creativethailand.org Email: creativethailand@tcdc.or.th Twitter: @Creative_TH Facebook: Creative Thailand
Editor's Note บทบรรณาธิการ
คุณค่าของการรอ...
สงครามยุคปัจจุบนั อาจทำให้การสือ่ สารหยุดชะงัก โดยกองทัพนกพิราบมีทั้งสิ้น 10,000 ตัว และจะ อะไรจะดีไปกว่านี้... ถูกส่งไปประจำการตามหน่วยงานด้านการสื่อสาร ต่างๆ ทั่วประเทศจีนและพื้นที่ห่างไกล และเมื่อ การอดทน มีจิตใจจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่อยู่ตรง กองทัพนกพิราบกลุม่ นีถ้ อื เป็นกำลังสำคัญของกอง หน้า หรือรอคอยบางสิง่ ทีไ่ ด้จากการประดิษฐ์นน้ั มี ทัพในการปลดปล่อยประชาชนจีนกลุม่ แรก ดังนัน้ เสน่หอ์ ย่างน่าประหลาด เช่นเดียวกับการสร้างสรรค์ แม้ปัจจุบันประเทศจีนจะกำลังพัฒนาเครื่องบิน งานศิลปะหรืองานฝีมือสักชิ้นที่นำมาซึ่งความสงบ รบของตัวเองอย่างลับๆ แต่การพัฒนากองทัพนก และสมาธิในยามที่โลกกำลังหมุนอย่างรวดเร็ว พิราบก็กำลังบอกว่า เมื่อใดก็ตามที่เกิดความผิด รอบตัวเอง ทีส่ ำคัญ มันยังช่วยเตือนให้เรานำทักษะ พลาดทางระบบเทคโนโลยีอนั ทรงประสิทธิภาพขึน้ การใช้เครื่องมือ สายตา ความแม่นยำ และความ พวกเขาจะมีทางออกในการรับส่งข้อมูลข่าวสาร ประณีต มาใช้ทำงานร่วมกันให้เกิดผลงานทีน่ า่ พึงใจ ถึงแม้ว่าจะต้องรอคอยบ้างก็ตามที ระดับของความพึงใจนั้นมักแปรตามการเพิ่ม เรือ่ งราวของรอคอยนัน้ เป็นคุณค่าทางอารมณ์ ขึ้นของระยะเวลา เมื่อต้องรอเวลามากขึ้น คุณค่า ซึ่งยากจะประเมินค่า ท่ามกลางโลกที่หมุนเร็วเช่น ทางใจก็เพิม่ ขึน้ เช่นกัน หลายครัง้ ทีเ่ ราพบว่าตัวเอง ทุกวันนี้ มนุษย์ย่อมแสวงหาเครื่องมือชะลออัตรา กำลังตกอยู่ท่ามกลางความกระตือรือร้นที่ผิดปกติ เร่งเพื่อสร้างสมดุลให้ตนเอง และแน่นอนว่าในเชิง ซึ่งเกิดจากความรวดเร็วและประสิทธิภาพทางการ ธุรกิจมันได้สร้างโอกาสใหม่ๆ เพื่อตอบสนองแนว สื่อสาร และดูเหมือนว่า ความเร็วนี้ค่อยๆ บีบให้ คิดเช่นนี้มากมาย เราจึงมักเห็นผู้คนมุ่งหน้าไปยัง ผู้คนมีพื้นที่น้อยลงเรื่อยๆ แต่คนเราก็ฉลาดที่จะ สถานที่ห่างไกล เพื่อใช้เวลามากพอที่จะดื่มด่ำ รังสรรค์ความค่อยเป็นค่อยไปของชีวิตให้กลับมา บรรยากาศที่ขาดหายไป เป็นแต้มต่อกับความก้าวหน้าในยุคเทคโนโลยีอีก แต่ความน่าแปลกใจมันอยูต่ รงที่ ผูค้ นจำนวน ครั้ง เพราะในอีกแง่มุมหนึ่ง มนุษย์ก็ต้องเตรียม มากที่ไปแสวงหาความเงียบสงบนั้น กลับถาม รับมือกับข้อผิดพลาดจากความเร็วของเทคโนโลยี ที่ล็อบบี้โรงแรมว่า ที่นั่นสามารถต่อ สั ญ ญาณ เช่นกัน อินเทอร์เน็ตได้หรือเปล่า…ดังนั้น ชีวิตมันก็ยาก เมื่อเร็วๆ นี้ นิตยสาร ไทม์ รายงานข่าวสวน แบบนี้แหละครับ กระแสโลกเกี่ยวกับประเทศจีนว่า กองทหารของ เมืองเฉิงตู มณฑลเสฉวน กำลังฝึกฝนนกพิราบไว้ ใช้ในการสื่อสารอย่างจริงจังตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว เพื่อใช้เป็นกองกำลังเสริมช่วยสนับสนุนระบบการ อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล คมนาคมขนส่งของกองทัพแบบโบราณ ในกรณีที่ บรรณาธิการอํานวยการ
เมษายน 2554
l
Creative Thailand
The Subject
เรื่อง: นันทิยา เล็กสมบูรณ์ เราคงไม่อาจปฏิเสธได้ว่า เทคโนโลยีและความสามารถทางการ ผลิตในปัจจุบัน เอื้อให้มนุษย์บริโภค "ง่ายขึ้น" และ "มากขึ้น" แต่ในขณะที่ปริมาตรความสุขจากการบริโภคที่ง่ายขึ้นนี้ยังเป็นที่ กังขา การบริโภคทีม่ ากขึน้ ย่อมหมายถึงการใช้ทรัพยากรเพิม่ ขึน้ อย่างไม่ต้องสงสัย และยังหมายถึงการสร้างขยะทิ้งไว้บนโลก จำนวนมหาศาลเช่นเดียวกัน
ไม่เพียงเท่านัน้ แบร์นาร์ด สติกเลอร์ นักปรัชญาชาวฝรัง่ เศสได้เคยวิพากษ์ ระบบทุนนิยมสมัยใหม่ไว้วา่ มันขับเคลือ่ นด้วยการบริโภคมากกว่าการผลิต รวมถึงวิจารณ์เทคนิคการโฆษณาที่ใช้สร้างพฤติกรรมการบริโภค ที่กลับ เป็นการทำลายตัวตนและจิตวิญญาณของมนุษย์ ทั้งยังสร้างให้เกิดวงจร อันไม่รู้จบของการบริโภคที่เกินความต้องการ การเหนื่อยหน่ายในความ ปรารถนา และความทุกข์ทรมานในเชิงสัญลักษณ์ และเพื่อแสดงออกถึงแนวคิดหลังยุคบริโภคนิยม กิจกรรม Buy Nothing Day จึงได้ถูกจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองแวนคูเวอร์ เมื่อปี 1992 โดยศิลปินทีม่ ชี อ่ื ว่า เทด เดฟ มาถึงวันนีก้ จิ กรรมทีว่ า่ ได้กลายเป็นกิจกรรม สากลที่มีการเฉลิมฉลองใน 65 ประเทศ และโดยส่วนใหญ่ วัน “งดซื้อ” นี้จะจัดขึ้นในวันศุกร์หลังวันขอบคุณพระเจ้า ซึ่งถือว่าเป็น Black Friday หรือหนึ่งในวันที่มีการช้อปปิ้งมากที่สุดในรอบปี
Creative Thailand
l เมษายน 2554
สำหรับกิจกรรมที่จัดขึ้นก็มีอาทิ "บริการตัดบัตรเครดิต" ที่บรรดา นักเคลื่อนไหวจะพากันไปยืนอยู่หน้าช้อปปิ้งมอลล์และร้านค้า พร้อมถือ กรรไกรกับโปสเตอร์ที่มีข้อความเสนอความช่วยเหลือในการหยุดภาวะ หนีบ้ ตั รเครดิตสัง่ สมด้วยการตัดฉับในครัง้ เดียว หรือกิจกรรม “เวิรล์ มาร์ท” (Whirl Mart) ทีพ่ วกเขาจะพากันเข็นรถเข็นอันว่างเปล่าไปต่อคิวจ่ายเงินใน ซูเปอร์มาร์เก็ตเป็นแนวยาว โดยตัง้ ชือ่ ให้ลอ้ กับซูเปอร์มาร์เก็ตทีม่ สี าขาอยู่ ทั่วโลกอย่าง "วอลมาร์ท" สัญลักษณ์แห่งการบริโภคของโลกนั่นเอง นอกจากนีย้ งั มีกจิ กรรมที่นา่ สนใจไม่แพ้กนั ที่จดั ขึน้ ในเมืองซานฟรานซิสโก คือการพายเรือคายัคในบริเวณ Bay Area ขนานไปกับชายฝั่งซึ่งถือเป็น สถานที่ช้อปปิ้งสำคัญของเมือง ในขณะที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมอีกส่วนหนึ่งก็ ยินดีที่จะแสดงออกถึงความเชื่อในการงดบริโภคด้วยการเดินป่า เพื่อใช้ เวลาดื่มด่ำกับโลกและธรรมชาติอันรื่นรมย์แทนการช้อปปิ้ง ก็จะมีอะไรอีกเล่าที่น่า “ใช้” ไปกว่า “ชีวิต”
The Object
เรื่อง: กมลกานต์ โกศลกาญจน์
พิธแี ต่งงานในประเทศญีป่ นุ่ ถือเป็นพิธหี นึง่ ที่สะท้อนถึงความงดงามของสังคมและ จารีตอันเป็นเอกลักษณ์ได้เป็นอย่างดี โดย สิ่งหนึ่งที่คู่แต่งงานใหม่ให้ความสำคัญ อย่างมากในพิธีแต่งงานและถือปฏิบัติมา กว่าร้อยปีกค็ อื การทำ "ตูเ้ จ้าสาว" (Bridal Furniture) ด้วยความเชือ่ ที่วา่ เฟอร์นเิ จอร์ ชิ้นนี้คือตัวแทนของของขวัญที่จะนำมา ซึ่งทรัพย์สมบัติ โชคลาภ และความสุข ในครอบครัวใหม่ ตู้เจ้าสาวจึงต้องผ่าน กระบวนการผลิตที่ประณีตและพิถีพิถัน อย่างถึงทีส่ ดุ เพือ่ ให้เกิดเป็นผลลัพธ์ของ ความสมบูรณ์แบบดังเช่นเจ้าสาวที่เข้าสู่ พิธีวิวาห์นั่นเอง
ย้อนกลับไปกว่า 400 ปีที่แล้ว การทำตู้เจ้าสาว เริ่มจากการปลูกต้นพอลโลวเนีย (Paulownia) เพือ่ เฉลิมฉลองการถือกำเนิดของเด็กหญิงผูเ้ ป็น สมาชิกใหม่ในครอบครัว เมือ่ เด็กหญิงเติบโตขึน้ สู่วัยสาวและถึงคราวออกเรือน ต้นพอลโลวเนีย ประจำตัวก็จะถูกตัดมาเพื่อใช้ทำเป็นตู้เจ้าสาว
ในวันแต่งงานของเธอ เพราะไม้พอลโลวเนียได้ ชื่อว่าเป็น Phoenix Tree คือสามารถงอกขึ้น ได้ใหม่จากตอทีถ่ กู ตัดไปแล้ว ทัง้ ยังมีคณุ สมบัติ ป้องกันแมลงและแบคทีเรีย มีน้ำหนักเบา และ ทนทานต่อการแตกร้าว ทีส่ ำคัญกว่านัน้ คือ การ เป็นสัญลักษณ์ทแ่ี สดงออกถึงสายใยในครอบครัว และการสืบมรดกตกทอดที่ถือได้ว่าเป็นการให้ เกียรติตอ่ เจ้าสาวและการเปลีย่ นแปลงครัง้ สำคัญ ในช่วงชีวติ ตลอดจนเป็นทีร่ ะลึกถึงความรักอัน ยั่งยืนของผู้เป็นพ่อและแม่ บริษัท มัสซึโอกะ (Matsuoka) คือบริษัทที่ ช่วยสานต่อประเพณีการผลิตตู้เจ้าสาวนี้มา นานกว่า 140 ปี โดยได้ชื่อว่าเป็นบริษัทที่ผลิต เฟอร์นิเจอร์ได้สวยงามและมีคุณภาพระดับดี เยีย่ ม ด้วยกระบวนการผลิตทีล่ ะเอียดอ่อน และ การเลือกใช้วัตถุดิบในการผลิตที่หายาก ทำให้ เฟอร์นิเจอร์ของมัสซึโอกะมีความแตกต่างและ เป็นทีต่ อ้ งการอย่างมากตัง้ แต่อดีตจนถึงปัจจุบนั ตู้เจ้าสาวของมัสซึโอกะจะถูกตรวจสอบลิ้นชัก และบานพับกว่า 5,000 ครั้ง เพื่อทดสอบความ
ทนทานในการใช้งาน สลักของตู้จะถูกเชื่อมต่อ กันด้วยวิธีการต่อไม้แบบโบราณโดยไม่ต้องใช้ ตะปูยดึ เพือ่ ป้องกันการหดหรือขยายตัวของไม้ ขณะทีล่ วดลายซึง่ ปรากฏบนตูเ้ จ้าสาวก็เป็นฝีมอื ของศิลปินชั้นนำในญี่ปุ่น ทั้งหมดนี้ก็เพื่อสร้าง ความสมบูรณ์แบบที่สุดให้เกิดขึ้นกับชิ้นงาน ปัจจุบัน ตู้เจ้าสาวถูกยกระดับให้เป็นงาน ศิลปะทรงคุณค่า และถึงแม้ว่าจะมีการปรับ เปลี่ยนรูปทรง และปรับปรุงลักษณะให้มีความ ทันสมัยยิ่งขึ้น แต่ก็ไม่ลืมที่จะรักษาทั้งคุณค่า และคุณภาพเดิมที่มีอยู่ เพื่อส่งต่อจารีตและ ประเพณีที่สง่างามสู่คนรุ่นหลังสืบไป
ที่มา: คุณนิภา เกียรตินิยม ผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท DeMaco Design Co.,Ltd. www.matsuokainternational.com เมษายน 2554
l
Creative Thailand
วัตถุดบิ ทางความคิด
เรือ่ ง: เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร และ กริยา บิลยะลา
SLOW LIFE โดย Six Senses เศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี ที่พัฒนาไป อย่างรวดเร็ว ทำให้ทุกอย่างถูกขับเคลื่อนอย่าง เร่งรีบ กระชับ ลดขัน้ ตอน เพือ่ ให้ไปถึงปลายทาง เร็วที่สุด แต่ในอีกทางหนึ่ง มนุษย์เริ่มรู้สึกแล้ว ว่า เมื่อพวกเขาได้อะไรมาอย่างรวดเร็ว ก็ต้อง เสีย “คุณค่า” บางอย่างเป็นการแลกเปลีย่ น นัน่ รวมถึงความรืน่ รมย์และสุนทรียะ ความหมายอัน สำคัญสำหรับชีวิต หนังสือเล่มนีไ้ ด้นำเสนอความหมายของคำ ว่า SLOW LIFE ที่ประกอบขึ้นจากแปดตัวอักษร อันเป็นสัญลักษณ์ของการดำเนินชีวิต ได้แก่ Sustainable (การเปลีย่ นแปลงอย่างยัง่ ยืน) Local (ความรูแ้ ห่งท้องถิน่ ) Organic (นิยมวิถธี รรมชาติ) Wholesome (ความงามที่บริสุทธิ์) Learning (เรียนรู้เพื่ออนาคต) Inspiring (พื้นที่สร้างแรง บันดาลใจ) Fun (สนุกกับการท่องเทีย่ วแบบช้าๆ) และ Experiences (ดื่มด่ำประสบการณ์จาก ธรรมชาติ) นั้น ถือได้ว่าสามารถลบความรู้สึก เคลือบแคลงกับการนำเสนอแนวคิดชีวติ เนิบช้า ในลักษณะฉาบฉวยเสมือนหนึ่งการหลบไปพัก ร้อนในรีสอร์ทเพียงชั่วคราวของบริษัทรีสอร์ท และสปาสุดหรูผู้จัดทำหนังสือเล่มนี้ไปได้อย่าง สิน้ เชิง ทัง้ ยังช่วยกระตุน้ ให้เราเริม่ เปลีย่ นแปลง อะไรบางอย่าง โดยเฉพาะการลดความเร็วใน การใช้ชวี ติ และหันมาละเลียดความสุขทีย่ ดื ยาว ออกไปได้ตราบเท่าที่ใจต้องการ
Creative Thailand
l เมษายน 2554
Growing Stuff: An Alternative Guide to Gardening โดย Black Dog Publishing ความสุขของการปลูกต้นไม้อยู่ที่การได้เฝ้าดู ต้นกล้าที่เราหมั่นรดน้ำพรวนดินค่อยๆ เติบโต ขึ้นเป็นไม้ใหญ่ และคงน่าชื่นใจไม่น้อยหากต้น ไม้ที่เราปลูกผลิดอกออกผลให้เราได้นำไปใช้ ประโยชน์จริงๆ แต่สำหรับบางคนทีย่ งั คิดว่าการ ปลูกต้นไม้หรือทำสวนเป็นเรื่องยุ่งยาก สกปรก เลอะเทอะ และดูไม่นา่ อภิรมย์นน้ั หนังสือเล่มนี้ อาจเปลี่ยนใจให้คุณสนุกกับการทำสวนแบบที่ ใครๆ ก็ทำได้ พร้อมเปิดมุมมองแถมความรูใ้ ห้ กับนักปลูกต้นไม้มอื ใหม่ ตัง้ แต่รายละเอียดทีว่ า่ เราควรปลูกอะไร พืชแต่ละพันธุม์ ปี ระโยชน์ตรง ไหน ปลูกอย่างไร รวมถึงการเลือกใช้ภาชนะที่ หาได้รอบตัวอย่างขวดน้ำ ตะแกรงรถจักรยาน ไปจนถึงกระเป๋าถือมาเป็นบ้านให้เพื่อนสีเขียว ของคุณ พร้อมสอดแทรกวิธีการนำผลผลิตจาก ความตั้งใจเหล่านี้ไปใช้ต่ออีกด้วย
วัตถุดบิ ทางความคิด
Mix Trend Issue 23: Autumn Winter 2012/2013 ชีวิตมนุษย์คือส่วนผสมต่างขั้วต่างอารมณ์ ใน ขณะหนึ่งความเร็วอาจเป็นสิ่งที่ปรารถนา แต่ บางเวลาความช้ากลับเป็นส่วนเติมเต็มความ รู้สึก จึงไม่น่าแปลกใจที่เราได้เห็นความล้าสมัย กลับมาเป็นที่ต้องการของตลาดอีกครั้ง ฤดูกาล Autumn Winter 2012/2013 นี้ Mix Trend Issue 23 มองประเด็นธรรมชาติโดยเริ่มจาก คอนเซ็ปต์ Shanty ทีห่ ยิบเรือ่ งน้ำอันเป็นพืน้ ฐาน ของชีวิตมาเชื่อมโยงกับสีฟ้าและการเติบโตขึ้น ของวัฒนธรรมการสวมใส่ยีนส์ รวมถึงลูกเล่น ใหม่ๆ ของการแต่งกายแบบกะลาสีเรือ, Ember มองย้อนภาพลาวาไหลพุ่งจากรอยแผ่นดินแยก ให้เป็นเสมือนจุดเริ่มต้นของโลก สะท้อนถึงช่วง
Departures กำกับโดย Yojiro Takita ความละเมียดละไมในการใช้ชีวิตดูจะเป็นขั้น ตอนที่ถูกละเลยไปในหลายขณะของชีวิตคน เมืองที่เต็มไปด้วยความรีบเร่ง ไดโกะ เดินทาง กลับบ้านเกิดพร้อมภรรยาด้วยความฝันที่พัง ทลายจากการยุบวงออร์เคสตรา และเกิดความ เข้าใจผิดในป้ายประกาศรับสมัครงานทีเ่ ขียนว่า “ต้องการผู้ช่วยเตรียมการเดินทาง” ซึ่งความ เป็นจริงแล้วคืออาชีพ “โนคังฉิ” หรือผูร้ บั ตกแต่ง ศพก่อนส่งวิญญาณไปสู่ปรโลก หลังบ่ายเบี่ยง กับอาชีพทีต่ อ้ งคลุกคลีกบั ความตายอยูห่ ลายครัง้ ในที่สุดไดโกะก็ตัดสินใจรับงานนี้ ภาพยนตร์ ค่อยๆ ถ่ายทอดกระบวนการตกแต่งศพอย่าง
วิกฤตเศรษฐกิจอันยาวนานที่ผ่านมาซึ่งไม่ต่าง จากการกลับมามีชีวิตใหม่อีกครั้ง ผู้รอดจาก กระแสเศรษฐกิจจึงไม่ต่างจากมนุษย์ถ้ำที่เอา ตัวรอดได้ในอดีตกาลแต่ต่างกันเพียงช่วงเวลา การมองธรรมชาติเป็นแรงบันดาลใจ มองความ ดิบ การต่อยอดจากสิ่งเหลือใช้และสร้างความ ยัง่ ยืนอย่างแท้จริงจึงเป็นสิง่ ทีค่ วรพิจารณา Tender งานฝีมอื ทีเ่ พิม่ มากขึน้ ในธุรกิจบรรจุภณั ฑ์และงาน พิมพ์ ส่วนงานเฟอร์นิเจอร์ งานสถาปัตยกรรม งานฝีมือเชิงช่างจะกลายเป็นสัญลักษณ์ใหม่ ของความหรูหรา พืชพรรณธรรมชาติที่เคยใช้ รับประทานไม่ว่าจะเป็นข้าว ถั่ว หรือเครื่องเทศ คือวัสดุใหม่ที่น่าจับตามอง และงานกราฟิตี้จะ กลายเป็นเครือ่ งมือการสือ่ สารช่องทางใหม่ และ สุดท้าย Bleep ที่เป็นการส่งเสริมไอเดียและบท บาทของ 2D และ 3D หรือการใช้สอ่ื ดิจทิ ลั และ แสงในงานขนาดเล็กเพือ่ สร้างความประณีตยิง่ ขึน้
งดงามตามขนบตะวันออกที่มองความตายเป็น สิ่งสวยงามและเป็นความกลมกลืนระหว่างการ สูญสลายกับประตูสู่การเกิดใหม่ คู่ขนานไปกับ การฟืน้ คืนชีวติ ของไดโกะและจิตวิญญาณทีเ่ คย พลาดหวังจากความฝัน โดยมีตวั แปรของฤดูกาล เสนอภาพความผลิบานของการเข้าใจชีวิตทีละ น้อย และอากัปกิริยาของตัวละครที่อ่อนน้อม แช่มช้อยในการประกอบพิธีกรรมที่งดงามช่วย ให้เห็นความเป็นธรรมชาติของมนุษย์และการ เดิ น ทางตามกฎธรรมชาติ ด ้ ว ยจิ ต วิ ญ ญาณ อย่างแท้จริง
เมษายน 2554
l
Creative Thailand
เปลีย่ นโลกรอบตัว
เรียบเรียงจากหนังสือ เปลีย่ นโลกรอบตัว โดย (ผูเ้ ขียน: ชนากานต์ คําภิโล)
หากต้องการปรับโหมดเร่งรีบของชีวติ ในเมือง สู่จังหวะความเนิบช้า จะมีอะไรดีไปกว่าการ จิ น ตนาการถึ ง สวนเขี ย วๆ และหญ้านุ่มๆ กั บ กลิ่นหอมสดชื่นของมัน ซึ่งนั่นก็ไม่น่า แปลกใจ เพราะกลิ่นของหญ้านั้นช่วยผ่อน คลายความตึงเครียดได้ดี ที่สำคัญ ใครจะ คาดคิดว่า “หญ้า” สามารถช่วยฟื้นฟูความ ทรงจำได้ด้วย
กลิ่นของความสุข
มีงานวิจัยที่พบว่า กลิ่นของสนามหญ้าทำให้ คนมีความสุขและผ่อนคลาย ทัง้ ยังช่วยหลีกเลีย่ ง สภาวะจิตเสื่อมในวัยชรา ดร. นิก ลาวิดิส นัก ประสาทวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยควีนสแลนด์ ได้ ไอเดียการผลิตน้ำหอมชือ่ ว่า Serenascent หลัง จากการเดินทางเที่ยวป่าในอเมริกาเมื่อ 20 ปี ทีแ่ ล้ว เขากล่าวว่า “ได้สดู กลิน่ หญ้าทีถ่ กู ตัดใหม่ ในสวนสาธารณะโยเซมิตี 3 วัน มีความสุขราว กับได้มีวันหยุดสัก 3 เดือน” ด้วยเวลาในการ วิจยั ถึง 7 ปี นักวิทยาศาสตร์ชาวออสเตรเลียพบว่า eau de mow หรือกลิ่นน้ำหอมหญ้าที่ตัดใหม่ มีผลโดยตรงกับสมองในส่วนอารมณ์และความจำ กลิ่นหญ้านี้ทำงานโดยขึ้นอยู่กับสมองส่วนที่ ชือ่ Amygdale และ Hippocampus ซึง่ ควบคุม การตอบสนองของต่อมไร้ทอ่ ทีเ่ กีย่ วข้องกับการ ปล่อยฮอร์โมนความเครียด Corticosteroids นั่นเอง แปลและเรียบเรียงจากบทความ Why mowing the lawn relieves stress and boosts your memory (www.dailymail.co.uk)
เมื่อหญ้าบนพื้นไปยืนบนผนัง
ใครจะไปคิดว่าเราสามารถนำหญ้าไปทำเป็น ผนังได้ เพราะตอนนี้มีแผ่นวัสดุกรุผนังที่ไม่มี โครงกรอบ ผลิตจากผืนหญ้าแห้ง ต้นหญ้าเหล่า นีป้ ลูกขึน้ โดยไม่ใช้ดนิ ในภาชนะตาข่าย แต่อาศัย เพียงน้ำและแสงสว่าง รากของต้นหญ้าจะเกาะ เกี่ยวกันเป็นผืนก่อนที่จะนำไปทำให้แห้งด้วย กระบวนการพิเศษ ซึง่ ไม่ตอ้ งการการดูแลรักษา เพิ่มเติม วัสดุนี้มีคุณสมบัติการดูดซับเสียงอัน เนื่องมาจากลักษณะโครงสร้างและความยาว ของใบหญ้า ขณะที่สีของหญ้าซึ่งเป็นวัสดุธรรม ชาติจะค่อยๆ เปลี่ยนจากสีเขียวเข้มไปเป็นสี ของฟางภายในเวลา 2 ปี ทัง้ นีข้ น้ึ อยูก่ บั ปริมาณ ของแสงที่ได้รับ ใบหญ้าจะลู่ลงด้านล่างตาม แรงโน้มถ่วงของโลก โดยที่ใบหรือเมล็ดอาจมี การหลุดร่วงลงมาบ้าง แผ่นวัสดุกรุผนังจากหญ้า ที่มีความอ่อนตัวนี้ผลิตจำหน่ายเป็นแผ่นขนาด 39 x 78 นิ้ว และสามารถติดตั้งเป็นผืนใหญ่ต่อ เนื่องกันได้ อีกทั้งยังสามารถนำไปตัดหรือติด บนผนังด้วยตะปูได้ เหมาะสำหรับใช้ปูผนัง ภายในอาคารเพื่อดูดซับเสียงหรือเป็นวัสดุเพื่อ การตกแต่ง
Did you know?
หญ้านับเป็นพืชที่มีความสำคัญที่สุดต่อมนุษยชาติ โดย 1 ใน 4 ของพรรณพืชทั้งมวลบนโลก เป็นพืชตระกูลหญ้าทีม่ อี ยูม่ ากกว่า 7,000 ชนิด นับรวมถึง อ้อย ไผ่ ข้าวเจ้า ข้าว เดือย ข้าวฟ่าง ข้าวโพด ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโอ๊ต ข้าวไรย์ ฯลฯ 10
Creative Thailand
l เมษายน 2554
Classic Item
เรือ่ ง: ดนัย คงสุวรรณ์ อันทีจ่ ริงแล้ว แผ่นเสียงจากไวนิลก็มเี สน่หเ์ ฉพาะตัวไม่แพ้กนั นอกจากเนือ้ เสียง อันอบอุ่นจากการบันทึกแบบอนาล็อกทั้งกระบวนการ เสียงกรอบแกรบคล้าย ข้าวโพดคั่วที่คู่มากับการเล่นแผ่นเสียงก็พิเศษไม่เหมือนใคร และเพราะไวนิล เกิดรอยขีดข่วนได้ง่าย ทั้งยังดึงดูดไฟฟ้าสถิตจนฝุ่นเกาะเป็นประจำ นักสะสม ไวนิลจึงต้องดูแลแผ่นเสียงกันอย่างดี เก็บในหีบห่อมิดชิดและในอุณหภูมพิ อเหมาะ ทั้งยังต้องหมั่นเช็ดทำความสะอาด มิฉะนั้น อาจเกิดวิกฤต “แผ่นเสียงตกร่อง” หรือแผ่นเล่นซ้ำไปซ้ำมาในตำแหน่งเดิมได้ หลังครองความนิยมมาเกินครึง่ ศตวรรษ แผ่นเสียงก็เสียบัลลังก์ให้กบั เทคโนโลยี ใหม่อย่าง “แผ่นซีดี” (Compact Disc) ในช่วงปลายทศวรรษ 1980 ด้วย หลายปัจจัย อาทิ ขนาดที่เทอะทะกว่า ดูแลยากกว่า รวมถึงมีความเที่ยงตรง ก่อนหายวับไปกับไฟล์เอ็มพีสาม ดนตรีเคยบรรจุอยู่ในสิ่งที่เรา ของเสียงน้อยกว่า เป็นต้น ทว่าคำศัพท์ในวงการดนตรีที่ใช้กันในยุคแผ่นเสียง จับต้องได้ในรูปแบบแผ่นกลมๆ กะทัดรัด เรียกว่า ซีดี และถ้า ก็ยังสืบทอดมาถึงยุคซีดี (และยุคเอ็มพีสามในปัจจุบัน) อย่าง LP หรือ Long ย้อนไปไกลกว่านั้น มันเคยมีขนาดใหญ่เทอะทะ ที่รู้จักกันในนาม Play ซึ่งหมายถึงแผ่นเสียงขนาด 10 หรือ 12 นิ้ว ซึ่งบรรจุเสียงได้ประมาณ 45 นาที ทีย่ งั ถูกใช้เรียกขานเหมือนคำว่า “อัลบัม้ ” รวมถึงคำว่า EP หรือ Extended “แผ่นเสียง” Play ซึ่งหมายถึงแผ่นเสียงขนาด 7 นิ้ว บรรจุได้ประมาณ 10-15 นาที ที่ยังใช้ แม้ปัจจุบัน น้อยคนจะได้พานพบกับแผ่นเสียงในชีวิตประจำวัน แต่แผ่นเสียง กล่าวถึงงานทีบ่ รรจุไว้มากกว่าหนึง่ เพลง (Single) แต่ไม่มากเท่าอัลบัม้ เป็นต้น ทุกวันนี้การซื้อแผ่นเสียงกลายเป็นความนิยมเฉพาะกลุ่ม โดยเฉพาะนักสะสม ยังคงเป็นตัวแทนของความสำเร็จก้าวใหญ่ในการบันทึกเสียงของมนุษยชาติ รวมไปถึงวันเวลาแห่งอดีตที่การฟังเพลงจัดเป็นกิจกรรมที่อธิบายได้ด้วยคำว่า หรือดีเจ อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่ายอดขายแผ่นเสียงจากสถิติล่าสุดใน ปี 2010 นั้นสูงถึงราว 2.8 ล้านแผ่น มากที่สุดนับตั้งแต่โดนแผ่นซีดีช่วงชิง “ละเลียด” “ดื่มด่ำ” และ “น่าอภิรมย์” โธมัส เอดิสัน นักประดิษฐ์ชื่อก้องโลกเป็นผู้คิดค้น “เครื่องเล่นแผ่นเสียง” ตลาดไป นอกจากนีว้ งดนตรีนอกกระแสชัน้ นำของโลกหลายวง อาทิ Radiohead (Phonograph) อุปกรณ์ชิ้นแรกของโลกที่สามารถบันทึกและเปิดฟังเสียงได้ และ Arcade Fire ก็ต่างหันมาออกผลงานในรูปแบบนี้กันมากขึ้น ในปี 1877 โดยวัสดุที่ใช้ในการบันทึกเสียงยุคนั้นยังเป็น “กระบอกเสียง” (Phonograph Cylinder) ซึ่งทำจากขี้ผึ้งหุ้มโลหะทรงกระบอก ก่อนที่จะสูญ เพราะเมื่อโลกแตะเบรก เสียงกรอบแกรบก็กลับกลายมาเป็นเสน่ห์ของการฟัง เสียความนิยมให้กับ “แผ่นเสียง” (Gramophone Record) ผลงานประดิษฐ์ เพลงพอๆ กับเสียงที่ให้ความรู้สึกอบอุ่น และความยุ่งยากในการเล่นไปจนถึง ของ เอมิล เบอร์ไลเนอร์ ที่มีราคาถูกกว่า ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 การดูแลรักษาแผ่นเสียง ก็กลายเป็นสิ่งที่เพิ่มความโรแมนติกและสุนทรียะให้ วิวัฒนาการเชิงวัตถุดิบของแผ่นเสียงนั้นเริ่มต้นจากครั่ง ซึ่งแตกหักได้ง่ายเมื่อ กับการฟังเพลงอีกครั้ง ทำตก สารไวนิล (Vinyl) พลาสติกชนิดทนทานกว่าจึงถูกนำมาใช้ทดแทนและ เป็นที่นิยมในวงกว้าง จนเป็นที่มาของการเรียกขาน “แผ่นเสียง” ว่า “ไวนิล” ที่มา: กิพีเดีย ในปัจจุบนั ถึงอย่างนัน้ แผ่นเสียงทีท่ ำจากครัง่ ก็ยงั เป็นทีต่ อ้ งการของนักสะสม วิwww.45-rpm.org.uk ทุกวันนี้ ค่าที่เป็นของหายากและให้เสียงที่เป็นเอกลักษณ์ จึงมีการซื้อหากัน www.museumoftechnology.org.uk ในราคาสูง
เมษายน 2554
l
Creative Thailand
11
Cover Story เรื่องจากปก
เรื่อง: ณัฐพร ศรีศิริรังสิมากุล 12
Creative Thailand
l เมษายน 2554
Cover Story เรื่องจากปก
โลกที่เทคโนโลยีรุดหน้าจนสามารถตอบ สนองความต้องการของมนุษย์ได้ในเสีย้ ว วินาที อาจทำให้หลายคนสนุกกับการค้น พบความสามารถในการทำสิง่ ใหม่ แต่ไม่ใช่ ทุกคนที่พอใจจะอยู่กับอัตราเร่งที่เอื้อให้ เราทำอะไรได้มากขึ้นในเวลาเท่าเดิม ตรง กันข้าม กลับมีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่พอใจจะ ทำอะไรเท่าเดิมด้วยเวลาที่มากขึน้ และเลือก ใช้ชีวิตในจังหวะที่พวกเขาปรารถนา รวม ถึงใช้เวลาชื่นชมความสวยงามในระหว่าง การรอคอย จากการริเริม่ ของคนกลุม่ เล็กๆ แนวคิดการใช้ชีวิตแบบเนิบช้ากลับกลาย เป็นอีกหนึ่งความเคลื่อนไหวที่ส่งอิทธิพล กับสังคมโลกไม่น้อยในวันนี้
Slow Food อาหารจานช้า สำหรับชาวอิตาเลียนที่แสนภาคภูมิใจกับมื้อ อาหารสุดพิถีพิถัน จึงไม่น่าแปลกใจที่ปรากฏ การณ์ Slow Movement หรือขบวนการเนิบช้า จะเริ่มนับหนึ่งจากเรื่องอาหารการกิน โดยเมื่อ แมคโดนัลด์วางแผนจะมาเปิดสาขาในกรุงโรม ในปี 1986 คาร์โล เปตรินี นักเขียนคอลัมน์ อาหารในเมืองเล็กๆ ที่ชื่อบรา ทางตอนเหนือ ของประเทศอิตาลี ก็ลุกขึ้นมาเป็นตัวตั้งตัวตี คัดค้านการมาถึงของเจ้าพ่อฟาสต์ฟู้ด เขารวม ตั ว กั บ กลุ่มเพื่อนร่ ว มอุ ด มการณ์ ต ั ้ ง สมาคม สโลว์ฟู้ดขึ้นมาสวนกระแส โดยมีสัญลักษณ์เป็น รูปหอยทาก ที่เป็นเครื่องหมายของการใช้ชีวิต อย่างช้าๆ ไม่รีบเร่ง สนับสนุนให้คนเห็นความ สำคัญของศิลปะการทำอาหาร และใช้เวลา ชื่นชมกับรสชาติของอาหารไปพร้อมๆ กับการ สังสรรค์กับเพื่อนฝูง ปรัชญาของกลุ่มอาหารจานช้า คือ “ดี” (Good) “สะอาด” (Clean) และ “เป็นธรรม”
(Fair) นั่นคืออาหารที่รับประทานนอกจากจะ รสชาติดีแล้ว ยังควรจะต้องผ่านกระบวนการ ผลิตที่สะอาด ใส่ใจต่อสุขภาพ ไม่เบียดเบียน สิ่งแวดล้อม ราคาสมเหตุสมผล และในขณะ เดียวกันเกษตรกรและผู้ผลิตอาหารก็ควรจะได้ รับค่าตอบแทนที่เป็นธรรมสมกับหยาดเหงื่อ แรงงานที่ลงไปด้วย สำหรับชาวสโลว์ฟดู้ อาหารไม่ใช่เพียงแค่สง่ิ ทีเ่ รากินเข้าไป แต่ยงั เป็นตัวแทนของวัฒนธรรม วิถีชีวิต และภูมิปัญญาของคนแต่ละท้องถิ่น ผู้ บริโภคมีหน้าที่และความรับผิดชอบมากกว่า การตักอาหารเข้าปาก เพราะพฤติกรรมการเลือก ซื้อของผู้บริโภคคือตัวกำหนดตลาดและชะตา กรรมของสินค้า ผู้บริโภคจึงควรศึกษากระบวน การผลิตและความเป็นมาของอาหาร สนับสนุน เกษตรกรรายย่อยในท้องถิ่นที่ผลิตวัตถุดิบตาม ฤดูกาล และช่วยรักษาความหลากหลายของพืช พันธุ์ธรรมชาติ ดังนั้น แทนที่จะใช้คำว่า “ผู้ บริโภค” เปตรินจ่ี งึ นิยามคำนีใ้ หม่วา่ “ผูร้ ว่ มผลิต” (Co-producer) เพือ่ สร้างความเชือ่ มโยงระหว่าง เกษตรกร ผู้อยู่ต้นทางของการผลิตอาหาร กับ ปลายทางที่โต๊ะอาหารของผู้รับประทาน จากจุดเริ่มต้นเล็กๆ ปัจจุบันสโลว์ฟู้ดมี สมาชิกกว่าหนึ่งแสนคนทั่วโลก โดยเป็นแม่งาน จัดงานประชุมชุมชนอาหารโลก Terra Madre ทุกๆ สองปี ณ เมืองตูริน ประเทศอิตาลี ที่ เปิดโอกาสให้เกษตรกร ชาวประมง คนเลี้ยง สัตว์ นักวิชาการ ไปจนถึงผู้ที่สนใจจากทั่วโลก ได้มาแลกเปลีย่ นความคิดเห็นและร่วมเวิรก์ ช็อป เกี่ยวกับการผลิตแบบยั่งยืนและการอนุรักษ์ พืชพรรณท้องถิ่นที่ใกล้สูญหาย แถมยังเปิด มหาวิทยาลัย University of Gastronomic Sciences เพือ่ ให้ความรูเ้ กีย่ วกับศาสตร์และศิลป์ ของอาหารและกระบวนการผลิ ต ตามหลั ก สโลว์ฟู้ดด้วย
เมษายน 2554
l
Creative Thailand
13
Cover Story เรื่องจากปก
Slow City เมืองวิถีชีวิตช้า
พันพรรณ ทำไมแตงโมลูกใหญ่ สีแดงสด แต่ไม่หวาน? ใบกะเพราะที่เคยหอมฉุยหายไปไหน? ทำไมเราถึง รู้จักมะเขือเทศกันแค่พันธุ์สีดา? เหล่านี้คือคำถามที่ทำให้ โจน จันได เชื่อว่าโลกกำลังก้าวเข้า สู่วิกฤตทางอาหาร เมล็ดพันธุ์พืชแท้ที่ทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศนับวันจะหายากขึ้นทุกที เกษตรกรต้องเสียเงินซื้อเมล็ดพันธุ์ผสมที่โตเร็ว ให้ผลผลิตเยอะ แต่รสชาติแย่และอ่อนแอจนต้อง ซื้อปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลงควบคู่มาด้วย แถมยังไม่สามารถนำไปปลูกหรือขยายพันธุ์ต่อได้ หนุ่ม ใหญ่ชาวยโสธรคนนีจ้ งึ ซือ้ ทีด่ นิ ในอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และลงมือปลูกพืชเพือ่ เก็บเมล็ด พันธุแ์ ท้ของพืชพันธุพ์ น้ื บ้านจากทัว่ โลกบนพืน้ ที่กว่า 20 ไร่ “พันพรรณ” (www.punpunthailand.org) จึงเป็นเสมือนชุมชนแบบพอเพียงขนาดย่อมๆ นอกจากนี้ โจนยังสร้างบ้านดินอยู่เอง ปลูกผักกิน เอง และเปิดให้ผู้ที่สนใจมาเรียนรู้วิถีชีวิตแบบสมถะใกล้ชิดธรรมชาติ ปัจจุบัน พันพรรณสามารถ เก็บเมล็ดพันธุ์แท้ได้แล้วกว่า 300 ชนิด โดยมีพันธุ์แตงโมกว่า 20 ชนิด และมะเขือเทศอีกกว่า 100 ชนิด ที่สำคัญเมล็ดแท้ทั้งหมดนี้มีไว้แจกจ่ายให้ผู้ที่สนใจจริงจังนำไปปลูกกันได้ฟรี
ภาพจาก www.punpunthailand.org
ภาพจาก www.redbullspirit.org
14
Creative Thailand
l เมษายน 2554
ด้วยแรงบันดาลใจจากสโลว์ฟดู้ นายกเทศมนตรี ของเมืองเล็กๆ สี่แห่งในอิตาลี จึงจับมือกันก่อ ตัง้ ขบวนการเมืองเนิบช้าทีเ่ รียกว่า “ซิตต้าสโลว์” (Cittaslow) ขึ้นในปี 1999 เพื่อพัฒนาและสร้าง สภาพแวดล้อมของเมืองให้เหมาะกับวิถีชีวิต แบบเนิบช้า ก่อนจะขยายเครือข่ายจนมีเมือง สมาชิกทั้งหมดถึง 70 เมืองทั่วอิตาลีในวันนี้ กลุ่มซิตต้าสโลว์ต้องการเปลี่ยนวิธีคิดของ ผู้คนเกี่ยวกับการใช้ชีวิตในเมืองว่าไม่จำเป็น ต้องเร่งรีบและแก่งแย่งแข่งขันกันเสมอไป เมือง วิถชี วี ติ ช้าปฏิเสธการวิง่ ตามกระแสโลกาภิวฒั น์ แต่เลือกที่จะเดินไปอย่างช้าๆ ไม่รีบเร่ง แต่ก็ไม่ ล้าสมัย ด้วยการพัฒนาเมืองที่น่าอยู่อย่างเป็น ระบบด้วยความร่วมมือร่วมใจและมิตรภาพ ระหว่างคนในชุมชน สนับสนุนการใช้เทคโนโลยี สมัยใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และไม่ลืมที่ จะทะนุบำรุงวัฒนธรรมท้องถิ่นและอนุรักษ์ ธรรมชาติ ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นบนพื้นฐานของการ พัฒนาแบบยั่งยืนเพื่อคุณภาพชีวิตและความ กินดีอยู่ดีของทั้งผู้อยู่อาศัยและผู้มาเยือน ปัจจุบันมีเมืองซิตต้าสโลว์อยู่ 141 แห่ง ใน 23 ประเทศทัว่ โลก โดยเมืองทีจ่ ะเป็นสมาชิกได้ นัน้ ต้องมีประชากรน้อยกว่า 50,000 คน และต้อง ผ่านข้อกำหนดกว่า 50 ข้อ ที่ครอบคลุมเรื่อง นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม ระบบขนส่งมวลชน คุณภาพชีวติ ไปจนถึงการส่งเสริมให้คนอุดหนุน สินค้าในท้องถิ่น ในปี 2007 เกาหลีใต้เป็นประเทศในทวีป เอเชียประเทศแรกที่เข้าร่วมเครือข่ายเมือง เนิบช้า โดยมีเมืองซิตต้าสโลว์ทั้งหมด 6 แห่ง เช่น ฮาดง (Hadong) ในจังหวัดเคียงซางนัมโด ที่ขึ้นชื่อด้านการเพาะปลูกชาเขียว และชีนัน (Shinan) ที่ได้รับยกย่องให้เป็นแหล่งผลิตเกลือ สมุทรที่ดีที่สุดในเกาหลีใต้ ล่าสุด เมื่อปลายปี 2010 เมืองย่าซี่ (Yaxi) ในมณฑลเจียงซู ประเทศ จีน ก็เพิ่งเข้าร่วมเป็นสมาชิกใหม่ของกลุ่มเมือง เนิบช้าอย่างเป็นทางการ
Cover Story เรื่องจากปก
ภาพจาก http://tokyobling.wordpress.com
ภาพจาก Flickr โดย ell brown
ถึงจะไม่ได้เป็นเมืองซิตต้าสโลว์อย่างเป็นทางการ แต่เมืองคาเคะงาวะ ในจังหวัดชิซุโอกะ ของ ญีป่ นุ่ ก็ได้ประกาศตนเป็น Slow City และนำวิถชี วี ติ แบบเนิบช้ามาเป็นนโยบายสำคัญในการพัฒนา เมือง พร้อมออกปฏิญญาการใช้ชวี ติ แบบช้าๆ ทว่ามีคณุ ภาพ 8 ข้อ (Slow Life City Declaration) ได้แก่ Slow Pace ที่สนับสนุนให้คนเดินแทนการใช้รถยนต์, Slow Wear รณรงค์ให้ใส่ชุดกิโมโน ยูกาตะ และเสือ้ ผ้าทีผ่ ลิตในท้องถิน่ , Slow Food รับประทานอาหารทีป่ รุงจากวัตถุดบิ พืน้ บ้านตาม ฤดูกาล, Slow House อยูบ่ า้ นแบบญีป่ นุ่ ทีเ่ ป็นมิตรต่อธรรมชาติ, Slow Industry ทำธุรกิจเกษตรกรรม และอุตสาหกรรมด้วยความใส่ใจในสิ่งแวดล้อม, Slow Education ให้ความสำคัญกับศิลปะ งาน อดิเรก กีฬา และวัฒนธรรม แทนที่จะมุ่งหาแต่ความเป็นเลิศทางวิชาการ, Slow Aging ใช้ชีวิต ยืนยาวแบบสมถะและพอเพียง และสุดท้าย Slow Life ซึ่งรวมปรัชญาการใช้ชีวิตเนิบช้าทั้งหมด เข้าด้วยกัน เพื่อการดำเนินชีวิตในจังหวะที่เหมาะสมและเป็นสุข ภาพจาก Wikipedia 1. Bra เมืองที่เป็นต้นกําเนิดแนวคิดชีวิตเนิบช้า 2. Noerdlingen เมือง Cittaslow ในแถบบาวาเรีย เยอรมนี 3. Hadong เมือง Cittaslow ในประเทศเกาหลีที่ขึ้นชื่อด้าน การเพาะปลูกชาเขียว
ภาพจาก http://picasaweb.google.com เมษายน 2554
l
Creative Thailand
15
Cover Story เรื่องจากปก
Slow Travel ละเลียดทัวร์ จริ ง อยู่ ที่ ก ารท่ อ งเที่ ย วแบบชะโงกทั ว ร์ ที่ อ ั ด โปรแกรมแน่นเอี้ยดเพื่อให้ไปได้หลายๆ ที่ใน ทริปเดียวนั้นประหยัดเวลา แถมยังได้รูปคู่กับ สถานที่ must-see ที่แนะนำในไกด์บุ๊กกลับมา โชว์คนทางบ้านเพียบ แต่แทนที่จะสนุกกลับ เหนื่อยแทบขาดใจ และได้รู้จักสถานที่เหล่านั้น เพียงผิวเผินจนแทบจำไม่ได้ด้วยซ้ำว่าได้ไปที่ ไหนมาบ้าง กลุ่มนักเดิน (สวน) ทาง จึงหันมา เที่ยวทีละก้าวแบบ Slow Travel เพื่อละเลียด ความสุขที่แท้จริงจาก “การเดินทาง” มากกว่า เอาแต่รีบเร่งไปให้ถึง “จุดหมาย” นักท่องเที่ยวแบบเนิบช้าให้คำนิยามตัว เองว่าเป็น “ผู้อยู่อาศัยชั่วคราว” พวกเขาจะใช้ เวลาอยู่ที่เมืองใดเมืองหนึ่งเป็นเวลาอย่างน้อย หนึ่งสัปดาห์ เพื่อซึมซับรายละเอียดเกี่ยวกับวิถี ชีวิตของผู้คนในท้องถิ่น อาหาร ศิลปะ และ วัฒนธรรมของเมืองนั้นๆ ไปพร้อมๆ กับการ ชมความงามของเมือง และสนุกสนานกับการ ค้นพบสถานทีโ่ ปรดเป็นของตัวเอง การท่องเทีย่ ว แบบสโลว์ทราเวลยังครอบคลุมความหมายไป ถึงการเดินทางโดยเรือ รถไฟ จักรยาน แทน เครื่องบินด้วย ในเมื่อชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า “พัก ร้อน” จะรีบร้อนไปทำไม จริงไหม
16
Creative Thailand
l เมษายน 2554
WWOOF (Worldwide Opportunities on Organic Farms) คือ โครงการแลกเปลีย่ นทีเ่ ปิดโอกาส ให้ผู้ที่สนใจได้ไปแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและเรียนรู้วิถีชีวิตชนบทในฟาร์มที่การทำการเกษตรแบบ พึ่งพาธรรมชาติ โดยวูฟจะจัดทำรายชื่อชุมชน ฟาร์ม ไร่นา และสวนออร์แกนิกที่กระจายอยู่ใน กว่า 50 ประเทศทั่วโลกให้เหล่านักท่องเที่ยวอาสาสมัครที่เรียกว่า วูฟเฟอร์ (WWOOFer) เลือกได้ ตามความสนใจ วูฟเฟอร์จะได้อาศัยอยูก่ บั เจ้าของบ้านเช่นสมาชิกคนหนึง่ ในครอบครัว พร้อมทีพ่ กั และอาหารฟรีทกุ มือ้ เพือ่ แลกกับการช่วยงานทีไ่ ด้รบั มอบหมาย ทัง้ ยังได้เรียนรูว้ ถิ ชี าวบ้าน การทำ ฟาร์มอินทรีย์ และวัฒนธรรมใหม่ๆ เป็นของแถมล้ำค่า ใครสนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ www.wwoof.org
ภาพจาก http://3.bp.blogspot.com
Book Tours: เที่ยวเพลิน เจริญอักษร เอดินบะระ เมืองหลวงของสกอตแลนด์ที่ได้รับเลือกจากยูเนสโกให้เป็นเมืองวรรณกรรม (City of Literature) แห่งแรกของโลก จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านหลากหลายรูปแบบเป็นประจำทุกปี เพือ่ มอบความรืน่ รมย์และละเมียดละไมของการอ่านหนังสือให้คนในเมือง เริม่ จากโครงการ One Book One Edinburg ที่จัดขึ้นระหว่างปี 2007 ถึง 2009 โดยคัดเลือกวรรณกรรมที่ประพันธ์ขึ้นโดยคน ท้องถิ่นมาปีละเล่ม และจัดพิมพ์เพื่อไปวางกระจายไว้ตามสถานที่ต่างๆ ทั่วเมืองตั้งแต่ร้านกาแฟ ยันสถานีรถไฟ ให้คนหยิบกลับบ้านไปอ่านกันได้ฟรี ส่วนโครงการ Carry a Poem ประจำปี 2010 จัดกิจกรรมการอ่านบทกวีในสวน พร้อมกับชักชวนให้ชาวเมืองพกพาบทกวีติดตัวเป็นส่วน หนึ่งของชีวิตประจำวัน ซึ่งอาจเป็นรูปแบบต่างกันไปอย่างแผ่นพับ ปฏิทิน เข็มกลัด หรือเพลงใน ไอพอด ส่วน Get Lyrical แคมเปญล่าสุดประจำปี 2011 ก็ชกั ชวนให้คนดังและคนในเมืองแบ่งปัน เรื่องราวเกี่ยวกับเพลงโปรดของตนเอง นอกจากนัน้ เอดินบะระยังจัดทัวร์วรรณกรรมหลายรูปแบบ พานักท่องเทีย่ วและหนอนหนังสือ เดินชมสถานที่ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจในการแต่งหนังสือของนักเขียนชื่อดังมากมาย อาทิ โรเบิร์ต หลุยส์ สตีเวนสัน ผูป้ ระพันธ์ Dr. Jekyll and Mr. Hyde, เออร์วนิ เวลช์ ผูแ้ ต่งหนังสือ Trainspotting และเจ. เค. โรว์ลิง ผู้แต่ง Harry Potter เลือกโปรแกรมที่สนใจและเตรียมพกหนังสือเล่มโปรดไป ค่อยๆ อ่าน ค่อยๆ เที่ยว ได้ที่ www.cityofliterature.com
Cover Story เรื่องจากปก
Slow Parenting รักวัวให้ผูก รักลูกให้ค่อยๆ เลี้ยง ในหนังสือหลายเล่ม อาทิ The Idle Parent, Free-range Kids หรือ The Confession of a Slacker Mom ต่างนำเสนอแนวทางการเลีย้ งลูก แบบ Slow Parenting ที่ไม่ได้หมายถึงให้พ่อ แม่ปล่อยปละละเลยลูก แต่รจู้ กั ปล่อยให้พวกเขา เรียนรู้ด้วยตัวเองและมีความสุขกับสิ่งที่เลือก ด้วยความเชื่อว่าการเข้าไปยุ่มย่ามกับชีวิตลูก มากเกินไปจะทำให้เด็กไม่รู้จักยืนหยัดด้วย ตนเอง ดังนัน้ แทนทีจ่ ะคอยป้อนหรือยัดเยียดสิง่ ทีต่ นคิดว่าดีเพือ่ ให้ลกู ประสบความสำเร็จ สมบูรณ์ แบบ หรือตามลูกบ้านอืน่ ทัน พ่อแม่ทเ่ี ลีย้ งลูกใน แบบค่อยเป็นค่อยไปนี้จะเลี้ยงลูกให้เป็นไปตาม วัย ให้อสิ ระในการคิดและตัดสินใจ ไม่บงั คับให้ เรียนพิเศษหรือทำกิจกรรมหลังเลิกเรียนที่เยอะ เกินพอดีจนก่อให้เกิดความเครียด และให้ความ สำคัญกับการทำกิจกรรมร่วมกับลูกในวันหยุด แทนที่จะปล่อยให้เล่นเกมหรือดูแต่โทรทัศน์
ข้อความที่ถูกเขียนตามที่ต่างๆ ในลอนดอน ตามโครงการ Guerrilla Graphics (ภาพจาก www.annahillman.co.uk)
Slow Design คิดสักนิดก่อนสร้าง ในยุควัตถุนิยมที่สิ่งก่อสร้างและสินค้าผุดขึ้น มามากมายไม่เว้นวันเพื่อตอบสนองผู้บริโภคใน ยุค I Shop, Therefore I am ทรัพยากรถูกใช้ อย่างฟุ่มเฟือยจนนำมาซึ่งปัญหาสิ่งแวดล้อม นานัปการ เพื่อแลกกับผลงานที่สร้างขึ้นอย่าง ฉาบฉวยตามกระแส ไม่คงทนถาวร กลุ่มนัก ออกแบบทีเ่ รียกตัวเองว่า 'slow creative activist' จึงได้รวมตัวกันตั้ง slowLab ขึ้นในปี 2003 ณ กรุงนิวยอร์ก เพือ่ กระตุน้ ให้เห็นความสำคัญของ Slow Design พูดง่ายๆ ก็คอื การออกแบบทีใ่ ส่ใจ ในรายละเอียด ใช้เวลาและสติมากขึ้น หลักการทำงานของสโลว์ดีไซน์ให้ความ สำคัญกับการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีผ่านงาน ออกแบบ เพือ่ ตอบสนองความต้องการทีแ่ ท้จริง ของผูใ้ ช้ มากกว่าการผลิตผลงานตามกระแสเพือ่ ให้ขายออกไวๆ โจทย์หลักของนักออกแบบ คือ จะทำอย่างไรให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม น้อยที่สุดแต่เกิดประโยชน์สูงสุด โดยผลงานจะ ต้องสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรม ท้องถิ่น ที่สำคัญนอกจากความสวยแล้ว งาน สโลว์ดีไซน์ยังต้องกระตุ้นให้ผู้บริโภคเกิดแรง บันดาลใจ รู้จักใช้ความคิด และอยากร่วมมือ กันเพื่อสังคมด้วย
ตัวอย่างผลงานจากนักออกแบบในกลุ่ม slowLab เช่น Broken White คอลเล็กชั่นจาน เซรามิกจาก ไซมอน ฮีจเดนส์ ที่ออกแบบให้ ลวดลายบนจานค่อยๆ ปรากฏเมือ่ ถูกใช้งาน เพือ่ สร้างความผูกพันระหว่างผู้ใช้และสิ่งของ ไม่ให้ ใช้อย่างทิ้งๆ ขว้างๆ และ Guerrilla Graphics โปรเจกต์โดยแอนนา ฮิลแมน กับการขีดเขียนข้อ ความต่างๆ ลงบนพืน้ ถนนในกรุงลอนดอนด้วย ชอล์ก เช่น “วันนีก้ อ้ นเมฆหน้าตาอย่างไรนะ” เพือ่ ให้คนเดินถนนหยุดแหงนมองท้องฟ้า หรือ “เคย แวะมาหาฉันหรือยัง” หน้าทางเข้าสวนสาธารณะ รวมถึง “สัมผัสฉันสิ” ที่เขียนไว้ข้างๆ กอมอส บนกำแพงอิฐ ข้อความเหล่านีจ้ ะเปลีย่ นไปเรือ่ ยๆ และโผล่ไปตามสถานที่ต่างๆ ที่อาจนึกไม่ถึง เพื่อให้คนในเมืองได้หยุดเพื่อสัมผัสความงาม เล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตที่อาจหลงลืมไป ทั้งยังทำ ให้รู้จักย่านที่ตนอยู่อาศัยได้ดีขึ้น ข้ามไปยังเมืองคาลการี ในรัฐแอลเบอร์ตา ประเทศแคนาดา สถาปนิก จอห์น บราวน์ ก็ ออกมาปลุกกระแส Slow Home ผ่านเว็บไซต์ theslowhome.com ของเขา บราวน์บอกว่า บ้านที่ออกแบบและวางผังอย่างลวกๆ หน้าตา เหมือนๆ กันทุกหลังนัน้ ไม่ตา่ งอะไรจากอาหาร ฟาสต์ฟู้ดที่มีแต่ก่อให้เกิดผลเสียต่อทั้งสุขภาพ กายและจิตของผูอ้ ยูอ่ าศัย บ้านแบบสโลว์โฮมที่ บราวน์ต้องการนำเสนอ คือบ้านที่ออกแบบให้ เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม แสงสว่างส่องเข้า ได้ทั่วถึง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และขนาดไม่ ใหญ่เกินความจำเป็นเพื่อให้สมาชิกในบ้านไม่ ห่างเหินกัน เขายังอัพโหลดคลิปที่ให้ความรู้ เกี่ยวกั บ การออกแบบและตกแต่ ง บ้ า นแบบ สโลว์โฮมให้ชมกันในส่วน Design Minutes ใน เว็บไซต์ของเขาด้วย
เมษายน 2554
l
Creative Thailand
17
Cover Story เรื่องจากปก
มหาตมะ คานธี เคยกล่าวเอาไว้วา่ “ชีวติ เรายังมี อะไรอีกมากมาย นอกเหนือจากการเร่งจังหวะให้ กับมัน” (There is more to life than increasing its speed) การใช้ชีวิตในจังหวะที่เข้ากับความ ปรารถนา ดืม่ ด่ำกับความสุนทรีย์ และให้เวลากับ ความพิถีพิถัน ในวันที่โลกหมุนเร็วนี้ จึงกลาย เป็นการเติมเสน่ห์ให้กับชีวิตอย่างที่หลายๆ คน ได้เลือกแล้ว ที่มา: www.slowfood.com www.slowdesign.org www.slowlab.net/ www.japanfs.org www.cittaslow.net
18
Creative Thailand
l เมษายน 2554
Insight
เรื่อง: ณัฐพร ศรีศิริรังสิมากุล “In fashion, one day you’re in, the next you’re out” ประโยคคุ้นหูจากไฮดี คลูม ซูเปอร์โมเดลชาวเยอรมัน พิธีกร รายการ Project Runway ที่สรุปถึงโลกแฟชัน่ ในปัจจุบนั ได้เป็น อย่างดี เมือ่ แต่ละแบรนด์ตา่ งแข่งกันส่งคอลเล็กชัน่ ใหม่มาให้ “อิน” กันไม่เว้นแต่ละวัน เป็นเหตุให้เหล่าแฟชั่นนิสต้าที่ไม่อยากหลุด กระแสต้องควักกระเป๋าจ่ายเพื่อไม่ให้ “เอาท์” แต่นาตาลี ชานิน ดีไซเนอร์ชาวอเมริกา ผู้ก่อตั้งแบรนด์ Alabama Chanin กลับ สวนกระแสธุรกิจแฟชั่น ด้วยการดำเนินธุรกิจตามหลัก Slow Design ที่เธอยึดมั่นมานานกว่าสิบปี
เรื่องราวเริ่มขึ้นในปี 2000 ณ กรุงนิวยอร์ก เมื่อนาตาลีไม่มีชุดสวยใส่ไป งานปาร์ตี้ อดีตสไตลิสต์อย่างเธอจึงลงมือดัดแปลงเสื้อยืดที่มีด้วยเทคนิค การตัดเย็บแบบควิลท์ (quilt) หรือการตัดเย็บด้วยผ้าหลายชั้นที่เรียนรู้มา จากคุณยาย เมื่อได้รับคำชื่นชมจากผู้พบเห็นจึงกลายเป็นแรงบันดาลใจ ให้เธอก่อตัง้ แบรนด์ Project Alabama ขึน้ เพือ่ ผลิตไลน์เสือ้ ผ้าแฮนด์เมด จากผ้าฝ้ายออร์แกนิกที่ปลูก ทอ และย้อมในอเมริกา โดยได้ช่างฝีมือใน บ้านเกิดที่ฟลอเรนซ์ รัฐอลาบามา มาเป็นช่างตัดเย็บมือดีให้ คอลเล็กชั่น แรกของ Project Alabama ได้วางขายที่ห้างบาร์นีส์ในนิวยอร์กและขาย หมดอย่างรวดเร็ว จนนิตยสารแฟชั่นตัวแม่อย่างโว้ก ยังต้องกล่าวถึง เป็น เหตุให้แบรนด์แฟชัน่ เนิบช้าของนาตาลีดงั แบบหยุดไม่อยู่ โดยสามารถทำ ยอดขายได้ถงึ สองล้านเหรียญสหรัฐฯ และเพือ่ รองรับความต้องการของลูกค้า ที่เพิ่มขึ้น หุ้นส่วนของนาตาลีจึงส่งเสื้อผ้าออกไปตัดเย็บที่อินเดีย ซึ่งขัด กับหลักการ “เมด อิน อเมริกา” ที่เธอยึดมั่น นาตาลีจึงตัดสินใจลาออก ในปี 2006 และมาเริ่มต้นใหม่ด้วยหลักการเดิมกับแบรนด์ Alabama Chanin ที่มีสโลแกนว่า Sustainable Life, Sustainable Style
เสือ้ ผ้าแบบสโลว์ดไี ซน์ของ Alabama Chanin เป็นการสืบสานเทคนิค ควิลท์และการปักด้วยมือแบบดั้งเดิมของอเมริกา ที่สําคัญคือไม่ต้องมี โรงงาน แต่ใช้ระบบการผลิตแบบอุตสาหกรรมในครอบครัว โดยช่างแต่ละ คนจะประมูลซือ้ แพทเทิรน์ ทีต่ นถนัดกลับไปทำทีบ่ า้ น หากผลงานออกมา สวยงาม บริษัทก็จะรับซื้อในราคาที่สูงขึ้น นับเป็นการช่วยสร้างงานและ สานสัมพันธ์ให้แก่กลุ่มแม่บ้านและช่างฝีมือในอลาบามาและรัฐทาง ใต้ใกล้เคียงกว่า 40 ชีวิต ไม่เพียงเท่านั้นนาตาลียังมุ่งมั่นสร้างสรรค์ผลงานที่เป็นมิตรต่อโลก มากที่สุด โดยตั้งเป้าให้ Alabama Chanin เป็นแบรนด์ที่ไม่ก่อให้เกิด ขยะหรือของเสียในกระบวนการผลิตเลย (zero waste) และเพือ่ ลดปริมาณ มลพิษที่เกิดจากการขนส่ง สินค้าของ Alabama Chanin จึงเป็นแบบ ลิมิเต็ด เอดิชั่น ที่เน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ แต่ละชิ้นจะมีหมายเลข พร้อมลายเซ็นของช่างฝีมือกำกับราวกับเป็นผลงานศิลปะ เศษผ้าที่เหลือ จากการตัดเย็บก็จะถูกนำไปใช้ตกแต่งเสือ้ ผ้าชุดอืน่ ไม่กใ็ ช้เป็นส่วนประกอบ ของเฟอร์นิเจอร์ หรือพรมต่อไป เท่านัน้ ยังไม่พอ นาตาลีรวู้ า่ สินค้าแฮนด์เมดของเธอนัน้ แพงเกินเอือ้ ม ของใครหลายๆ คน ดีไซเนอร์ใจกว้างคนนีจ้ งึ บอกวิธตี ดั เย็บแต่ละลุคของ เธอแบบละเอียดทีละขั้นตอนในหนังสือ Alabama Studio Style และ Alabama Stitch Book ทีช่ ว่ ยให้ลกู ค้าสามารถซือ้ ชุด DIY ซึง่ มีผา้ และชุด ตัดเย็บต่างๆ ให้พร้อม แล้วนำไปเย็บเองที่บ้าน หรือจะจ้างช่างแถวบ้าน ทำให้ก็ไม่ว่ากัน ที่มา: www.handeyemagazine.com www.alabamastudiostyle.blogspot.com www.nytimes.com เมษายน 2554
l
Creative Thailand
19
Creative Entrepreneur คิด ทํา กิน
เรือ่ ง: พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์ ภาพ: ชิดชน นินนาทนนท์ และ นิรชา ชินะรัตนกุล
22
Creative Thailand
l เมษายน 2554
จิตวิญญาณและน้ำจิตน้ำใจทีเ่ ปีย่ มล้นของ ป้าแอ๊ด ทิพวัน ประเสริฐกุล ผู้บุกเบิกการ ดำเนินงานของ “บ้านกลางทุง่ ออร์แกนิก โฮม” ร่วมกับลุงสาคร ประเสริฐกุล คู่ชีวิต ที่เพิ่งจากไปอย่างสงบเมื่อไม่นานมานี้ บอกกับเราว่า โฮมสเตย์นา่ เอ็นดูบนผืนดิน ถิ่นป่าอีแมน ณ ตำบลหนองขาว อำเภอ ท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ทีไ่ ด้รบั คัดเลือก ให้เป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวระดับโลกใน หนังสือ Thainess: Live and Learn the Thai way of Life ร่วมกับที่พักอีก 30 แห่งทัว่ ไทยแห่งนี้ ไม่ได้มจี ดุ หมายปลาย ทางของการดำเนินธุรกิจที่ปัจจัยด้านเงิน ทอง แต่มนั เกิดขึน้ จากความเปลีย่ นแปลง ที่ลุงและป้าพบเจอ ซึ่งนำมาสู่การตกผลึก ทางความคิด และการแบ่งปันความหมาย ของการใช้ชีวิตให้กับคนอื่นต่อๆ ไป
Creative Entrepreneur คิด ทํา กิน
กลมกลืนบนผืนป่าอีแมน แม้จะไม่ใช่คนบ้านหนองขาวโดยกำเนิด และ ไม่ได้มสี ำเนียงเสียงเหน่อแบบคนท้องถิน่ แต่ระดับ ความกลมกลืนในการใช้ชีวิตของป้าแอ๊ดกับ คนที่นี่ก็ไม่ได้หนีห่างจากกันเท่าไหร่ “ป้าเป็น คนปักษ์ใต้ แต่มาประจำเป็นครูแนะแนวทีโ่ รงเรียน สตรีกาญจนานุเคราะห์ตั้งแต่อายุได้แค่ 21” พอได้เจอกับลุงสาคร (ที่เป็นคนเมืองกาญจน์ แท้ๆ) ป้าแอ๊ดจึงสมัครใจย้ายถิ่นฐาน รวมถึง ชักชวนญาติพี่น้องให้มาเป็นคนหนองขาวกัน เกือบยกบ้าน “แรกๆ ที่มาอยู่ ก็ไม่ได้คิดจะทำโฮมสเตย์ แค่อยากมาใช้ชีวิตช้าๆ กับคุณลุง เพราะตอน นัน้ คุณลุงไม่สบาย แล้วป้าได้เข้าไปทำงานบริหาร ให้โรงเรียนก็จะเครียดมาก ประกอบกับว่าเรา ไม่อยากใช้ชวี ติ ทีจ่ ะส่งผลร้ายกับร่างกายอีก เพราะ เคยเป็นมะเร็งปากมดลูกระยะทีห่ นึง่ ตอนอายุ 30 กว่าๆ แต่รักษาจนหายได้ทัน ยิ่งพอเราได้อ่าน บทความที่เขียนโดยคุณสุทธิชัย หยุ่น ที่พูดถึง ปรัชญาการใช้ชีวิตแบบช้าๆ ที่ให้เราใช้ชีวิต เรียบง่าย มีความสุขอยู่กับปัจจุบัน ไม่ต้องคิด ถึงจุดหมายปลายทางมากนัก เราก็คดิ ได้วา่ ควร อยู่อย่างมีคุณภาพทุกวัน ซึ่งพอเราหยุด เราก็ ไม่ต้องการอะไรมากไปกว่านี้แล้ว” หลังมีความคิดจะใช้ชีวิตให้กลมกลืนกับ บ้านหลังใหม่ท่ามกลางธรรมชาติของป่าอีแมน ป้าแอ๊ดและลุงครในเวลานัน้ ก็ลงมือสานฝันอย่าง จริงจัง “หลังผ่าตัดเสร็จ ป้าคิดว่าคนเราเร่งรีบ ไป ที่สุดแล้วก็ไม่ได้อะไรเลย และคนที่ป่วย ทุกวันนี้ก็เป็นเพราะการกินกับความเครียด ป้าเลยหันมาใช้วิธีชีวจิต ปลูกผักกินเอง หมัก ปุ๋ยเอง เริ่มรำกระบอง เข้านอนสี่ทุ่ม ตื่นนอนตีสี่ มาดูแลแปลงผัก อ่านหนังสือแต่งบ้านที่ชอบ ทุกอย่างไม่ตอ้ งมีกฎเกณฑ์มากนัก ซึง่ พอเราทำ แล้วก็มีความสุขจริงๆ พอเก็บผักได้มากจนกิน ไม่หมด ก็เริม่ ขับรถออกไปตระเวนแจกชาวบ้าน เราเลยเปลี่ยนแนวคิดว่าแทนที่เราจะออกไป ก็
น่าจะให้คนอื่นเข้ามากินกับเราเองที่นี่ดีกว่า จึง เป็นจุดเริ่มต้นของการทำโฮมสเตย์” มาเยี่ยมบ้านฉัน...มาใช้ชีวิตแบบฉัน ด้วยเชื่อว่า คนเราสามารถมีความสุขกับการ ท่องเที่ยวหลากหลายรูปแบบ ป้าแอ๊ดจึงคิดทำ โฮมสเตย์ในแบบของตัวเองอย่างจริงจังแบบไม่ ง้อข้อกำหนดของททท. “ตอนเริม่ เลยป้าก็ไปททท. ถามเขาว่าจะต้องทำยังไงบ้าง ซึง่ เขาก็มมี าตรฐาน สำหรับประเมินโฮมสเตย์อยู่ แต่ป้ารู้สึกว่ามัน ทำยากไป ป้าเลยทำตามแบบของตัวเอง เน้น เรื่องกินอยู่หลับนอนตามมาตรฐานให้สะอาด ปลอดสารพิษ และเน้นขายรูปแบบไลฟ์สไตล์ ของเรา แขกที่เข้ามาก็ต้องปรับตัวตาม ซึ่งก็ โชคดีที่แขกส่วนใหญ่เข้าใจและมีความสุขกับ วิถีแบบเรา” ถึงวันนี้ “บ้านกลางทุง่ ออร์แกนิกโฮม” จะ เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาว ต่างชาติเป็นอย่างดี ถึงขนาดมียอดจองห้อง ล่วงหน้าแล้วกว่าสองเดือน แต่ป้าแอ๊ดก็ยังบอก ว่าการทำโฮมสเตย์เป็นธุรกิจที่รวยความสุข มากกว่าเงินทอง “คนที่จะทำโฮมสเตย์นี่ลงทุน ด้วยเงินอย่างเดียวไม่ได้นะ มันต้องลงทุนด้วย ชีวิตเพราะคุณต้องใช้ชีวิตอยู่ที่นี่ แล้วก็ต้องอยู่ แบบพอเพียง เพราะมันไม่ได้สร้างรายได้มากมาย ที่จะทำให้คุณรวย ทุกวันนี้ป้าไม่ได้คิดว่าบ้าน คือต้นทุน แต่ต้นทุนคือค่าอาหาร ค่าไฟ ค่าน้ำ ป้าพยายามใช้ของที่มีอยู่ให้มากที่สุดเท่าที่จะ ทำได้ แล้วก็เก็บแค่หวั ละ 800 บาท มีทพ่ี กั พร้อม อาหารสามมือ้ รวมกิจกรรมพาเทีย่ วชุมชนดูวถิ ี ชาวบ้านพร้อมไกด์ ซึง่ ก็ไม่ได้อะไรมาก แต่อย่าง น้อยมันได้ช่วยชาวบ้านและชุมชนที่นี่ให้เป็นอยู่ ดีขึ้น มีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน” การเป็นคนต่างถิ่นที่เข้ามาอาศัยผืนดิน และธรรมชาติอันสมบูรณ์ของบ้านหนองขาว เป็นทุนสร้างกำไรที่มีหน่วยนับเป็นความสุขให้ ชีวติ ทำให้ปา้ แอ๊ดตระหนักถึงการทำประโยชน์
เพื่อชุมชนแห่งนี้เหนือสิ่งอื่นใด “ป้าโชคดีที่ได้ เข้ามาอยู่ตรงนี้ ทุกอย่างที่นี่เหมือนของมีค่าที่ วางไว้อยู่แล้ว วันหนึ่งเราได้มาอยู่ใกล้ๆ แล้วก็ รับส่วนดีของเขามาทำกิน เมื่อเรารับมา เราก็ ต้องส่งคืน ทุกวันนีป้ า้ ภูมใิ จทีแ่ ขกของป้าก็กลาย เป็นลูกค้าของชาวบ้านด้วย พอเขาขายของได้ ก็พึ่งพาตัวเองได้ ไม่ต้องมารอรัฐบาลเลี้ยงดู หรือไปยืนประท้วงหน้ากระทรวงไหน สิง่ นีน้ า่ จะ เป็นความยั่งยืนที่สอนพวกเราได้ดี” ธุรกิจรํ่ารวยความสุข ทุกวันนี้มีที่พักแบบโฮมสเตย์เกิดขึ้นมาก มายแทบจะทุกพื้นที่ของไทย แต่เมื่อถามว่าป้า แอ๊ดหวั่นไหวกับกระแสความนิยมนี้ที่อาจจะ แผ่วไปในอนาคตบ้างหรือไม่ ป้าแอ๊ดก็พูดถึง อนาคตอย่างมั่นใจว่า “อนาคตป้าไม่ได้มองนะ ป้ามองปัจจุบัน ถ้าพูดถึงลูกค้าหรือแนวทาง ด้านธุรกิจ ป้าไม่กลัวเลยว่าตลาดของป้าจะ หมด ใครอยากทำธุรกิจตรงนี้ เรียกมาเลย เรา เชื่อว่าถ้าไลฟ์สไตล์คนมันต่างกัน คนก็ยังเข้ามา วันหนึ่งคนอาจอยากใช้ชีวิตแบบป้า อีกวันหนึ่ง เขาก็อาจจะอยากใช้ชวี ติ อีกแบบ” ถามต่อไปอีก ว่าป้าแอ๊ดทำตรงนี้เพื่ออะไร “เป้าหมายสูงสุด คือเพื่อความสุขที่มาจากอุดมการณ์เล็กๆ ว่า เราจะอยูต่ รงนีอ้ ย่างไร บ้านของป้าเป็นส่วนเล็กๆ ในบ้านหนองขาวที่สามารถแบ่งปันความสุขให้ คนอื่นได้อีก เราพบแล้วว่ามันเป็นความสุขที่ แท้จริงที่ไม่ต้องแสวงหาอะไรมากมาย” เราเองก็เชื่อว่า ณ บ้านกลางทุ่ง ที่ถูกมุง ด้วยผืนฟ้าและนากว้างแห่งนี้ จะยังคงทำหน้า ที่เป็นจุดแวะพักสำหรับนักเดินทางที่แสวงหา สถานที่บำบัดชีวิตและจิตวิญญาณที่เร่งร้อนให้ ได้ผอ่ นคลายลงด้วยวิถที เ่ี นิบช้า ซึง่ จะช่วยชาร์ต พลังให้หลายคนกลับไปอยู่กับชีวิต “เร่งรีบ” ได้ อย่างไม่ “ร้อนรน” จนเกินไปนัก
เมษายน 2554
l
Creative Thailand
23
Creative City
จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
เรื่อง: นันทิยา เล็กสมบูรณ์ เมือ่ เข้าสูช่ ว่ งต้นเดือนเมษายนทีท่ ำให้เรานึกถึงอาหารดับร้อนซึง่ เสิรฟ ์ พร้อมน้ำแข็งอย่าง ข้าวแช่ คนญี่ปุ่นกำลังนั่งปิกนิกกินดังโกะกับยากิโทริใต้ต้นซากุระที่บานสะพรั่ง อันเป็น สัญลักษณ์ของฤดูใบไม้ผลิหรือการเกิดขึ้นใหม่อีกครั้ง และหากจะว่าไปแล้วจะมีคนชาติ ไหนอีกในโลกทีส่ นุกกับการเปลีย่ นฤดูได้เท่าคนญีป่ นุ่ ตัง้ แต่เรือ่ งในบ้านอย่างการเปลีย่ น จานชามและผ้าปูโต๊ะไปจนถึงการออกไปนั่งดูผู้คนและเฝ้าชมขบวนพาเหรด ดูเหมือน ว่า “วัฒนธรรมตามฤดูกาล” นั้นคือสิ่งที่ส่งต่อกันในสังคมมารุ่นแล้วรุ่นเล่าทั้งยังเป็น วัฒนธรรมทีโ่ ดดเด่นหากว่ากลมกลืนกับความเป็นญีป่ นุ่ อย่างทีไ่ ม่มใี ครทัดเทียมได้ 24
Creative Thailand
l เมษายน 2554
Creative City
จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
kigo สารพันคำเรียกขานฤดูกาล หนึง่ ในเครือ่ งยืนยันทีด่ ที ส่ี ดุ ถึงการให้ความสำคัญกับฤดูกาลของชาวญีป่ นุ่ ก็คอื คิโกะ คำเรียกตาม ฤดูกาลที่ใช้ในบทกวี แทบไม่น่าเชื่อว่าคนญี่ปุ่นจะสรรหาวิธีการเรียกขานสิ่งต่างๆ ตามแต่ฤดูกาล ได้อย่างเฉพาะเจาะจงและมากมาย เช่น คำว่า haru ใช้เรียกแทนฤดูใบไม้ผลิ แต่ถ้าเป็นช่วงเช้า ของฤดูใบไม้ผลิเรียกว่า shungyoo และตอนบ่ายเรียกว่า shunchoo เสียงฟ้าร้องในฤดูใบไม้ผลิ เรียกว่า shunrai แต่ในฤดูร้อนเรียกว่า kaminari เป็นต้น กินอะไรเมื่อไหร่?
The Sense of Season ความรู้ เทคโนโลยีการผลิต และการขนส่งที่ ก้าวหน้า อาจทำให้เราหาซื้อวัตถุดิบที่เคยมี เฉพาะบางฤดูกาลได้ทั้งปีจากซูเปอร์มาร์เก็ต แต่สำหรับชาวญีป่ นุ่ การเลือกรับประทานอาหาร ในท้องถิน่ ทีผ่ ลิดอกออกผลตามฤดูกาลกลับเป็น ธรรมเนียมปฏิบัติที่สืบต่อกันมาอย่างยาวนาน และยังคงได้รับการสานต่อคุณค่ามาจนถึงทุก วันนี้ นอกจากจะเป็นเรื่องของความเชื่อที่ว่า การกินอาหารตามฤดูกาลจะส่งผลดีต่อสุขภาพ แล้ว มันได้กลายเป็นเรื่องคุณค่าทางวัฒนธรรม อันสําคัญ ชาวญี่ปุ่นถึงกับมีคำว่า hatsumono ทีห่ มายถึงพืชผักผลไม้ หรือปลา ทีเ่ ก็บเกีย่ วหรือ จับได้ในช่วงต้นฤดู และคำว่า shun ที่แปลว่า “อยูใ่ นช่วงฤดูกาล” (now-in-season) นัน้ ก็เป็น คาถาสำคัญทีเ่ ป็นตัวกำหนดวัตถุดบิ และอาหาร บนโต๊ะกินข้าวของชาวญี่ปุ่นมาแสนนาน และ ถึงแม้ว่าจะหาซื้อวัตถุดิบนอกฤดูกาลได้ แต่ใน มื้ออาหารของคนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ก็บ่งบอกถึง ฤดูกาลอยูด่ ี โดยเฉพาะส่วนประกอบทีอ่ ยูใ่ นซุป หรือแม้แต่การเลือกวัตถุดิบของสลัดนั่นเอง
อาหารหลายอย่างจะถูกเก็บเกีย่ วและขายเฉพาะฤดูในญีป่ นุ่ อย่างเช่นปลาปักเป้าทีจ่ ะมีเฉพาะใน ฤดูหนาว ซึ่งเป็นเวลาที่ปลามีพิษน้อยที่สุด เห็ดมัตสึตาเกะที่แสนบอบบางและมีราคาแพงจะมี เฉพาะในฤดูใบไม้ร่วง และปลาอาหยุซึ่งเป็นปลาที่มีชื่อเสียงจากฮอกไกโดจะมีเฉพาะในช่วงต้น ฤดูร้อนเท่านั้น กินวันไหน?
อาหารบางอย่างก็ถกู เสิรฟ์ เฉพาะวันเท่านัน้ เช่น ในวันที่ 7 มกราคม ซึง่ เป็นประเพณีการรับประทาน โจ๊กข้าวทีท่ ำจากสมุนไพรในฤดูใบไม้ผลิเจ็ดชนิด หรือในวันแรกของหน้าหนาวทีน่ ยิ มทานฟักทอง ที่ปรุงกับถั่วอะซึกิ เป็นต้น กินอย่างไร?
อาหารบางชนิดก็จะถูกเสิรฟ์ ไม่เหมือนกันในแต่ละฤดู เช่น ซุปมิโซะทีเ่ สิรฟ์ ในพิธชี งชาจะเป็นการ ผสมรวมของทั้งมิโซะขาวและแดง แต่การรับประทานในหน้าหนาวจะมีส่วนผสมของมิโซะแดง (ซึ่งช่วยเพิ่มความแข็งแรงและให้ความรู้สึกอบอุ่น) เป็นหลัก และจะเปลี่ยนเป็นมิโซะขาวมากขึ้น เมื่อเข้าฤดูใบไม้ผลิ ส่วนในฤดูร้อนเกือบจะเป็นมิโสะขาว (ซึ่งนับเป็นอาหารที่เบากว่า) แทบ ทั้งหมด
ภาพจาก kyotofoodie.com
ภาพจาก flickr โดย aloalo เมษายน 2554
l
Creative Thailand
25
Creative City
จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
วัฒนธรรม แห่งความกลมกลืน มีคนเคยกล่าวไว้ว่า อาหารการกินคือผลผลิต จากวัฒนธรรมของประเทศที่สร้างสรรค์มันขึ้น มา และดูเหมือนว่า ชาวญี่ปุ่นจะแสดงให้เห็น ถึงจิตวิญญาณในการเคารพธรรมชาติและค่า นิยมในการให้คณุ ค่ากับความกลมกลืนได้ดกี ว่า ใครๆ ผ่านความคิดที่ว่า “อย่าทำลายรสธรรม ชาติของวัตถุดบิ ” (Never kill the natural flavor of ingredients) ทีเ่ ป็นหัวใจสำคัญในวัฒนธรรม อาหารการกินของพวกเขา ด้วยภูมิประเทศที่ประกอบด้วยเกาะเล็ก เกาะน้อย ดังนั้นไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนในญี่ปุ่นก็ไม่ ใช่เรื่องยากที่จะได้ลิ้มรสอาหารทะเลสดๆ เช่น เดียวกับภูมิอากาศที่เหมาะแก่การปลูกข้าวจน กลายเป็นวัตถุดบิ หลักของทุกมือ้ ทัง้ ยังเป็นส่วน ประกอบของอาหารญี่ปุ่นที่เรารู้จักกันดีแทบ ทุกจาน ไม่ว่าจะเป็นโมจิ มิโซะ หรือแม้แต่น้ำ ส้มสายชู การให้ความสำคัญกับความกลมกลืมของ อาหารญี่ปุ่นยังถูกสะท้อนผ่านคำกล่าวที่ว่า วัตถุดิบสำหรับอาหารแต่ละจานจะต้องมีความ กลมกลืนกับอาหารนัน้ ๆ ซึง่ จะต้องกลมกลืนกับ อาหารจานอื่นๆ ในแต่ละมื้อ และอาหารแต่ละ มื้อก็จะต้องมีความกลมกลืนกับธรรมชาติและ สภาพแวดล้อม รวมถึงคนที่ร่วมรับประทานอีก ด้วย
26
Creative Thailand
l เมษายน 2554
ภาพจาก SXC โดย F-Kaneko
ภาพจาก ndhealth.wordpress.com
shin-cha ชาที่ดีที่สุด คงจะแปลกไม่น้อย หากเราพูดเรื่องญี่ปุ่นตามฤดูกาลแล้วไม่พูดถึงชา เพราะขนาดเรื่องของชา ชาวญี่ปุ่นยังแบ่งชนิดของมันออกตามช่วงเวลาการเก็บเกี่ยว นั่นคือ Ichiban-cha หรือ “ชาแรก” ที่เก็บเกี่ยวในช่วงปลายเดือนเมษายนถึงกลางพฤษภาคม, niban-cha “ชาที่สอง” เก็บเกี่ยวใน ช่วงกลางเดือนมิถุนายนถึงต้นกรกฎาคม, sanban-cha “ชาที่สาม” เก็บเกี่ยวช่วงปลายเดือน กรกฎาคมถึงต้นสิงหาคม และ yonban-cha “ชาที่สี่” ที่เก็บเกี่ยวกันในช่วงปลายเดือนกันยายน ถึงต้นตุลาคม ไม่เพียงเท่านั้น ญี่ปุ่นยังมีชาชนิดพิเศษที่เรียกว่า shin-cha หรือ “ชาใหม่” ที่เก็บ เกี่ยวกันในช่วงก่อนการเก็บเกี่ยวชาแรกที่เรียกว่าช่วง 88 คืน (hachiju hachi-ya) ซึ่งส่วนใหญ่ จะอยู่ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤษภาคม โดยชาวญี่ปุ่นเชื่อกันว่า ผู้ที่ได้ดื่ม shin-cha ของปี นั้นจะมีสุขภาพดีไปตลอดทั้งปี ด้วยความเชื่อนี้บวกกับกลิ่นสดใหม่และรสชาติหวานหอมจากใบ อ่อน และจำนวนกรดอะมิโนที่มีอยู่สูงมาก ชาชนิดนี้จึงมีราคาสูง และหาได้ค่อนข้างยากนอก ประเทศญี่ปุ่น
Creative City
จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
Did you know? ถึงแม้ว่าวัยรุ่นญี่ปุ่นในวันนี้ จะชอบกินเค้กและสปาเก็ตตี้เป็นชีวิตจิตใจ แต่พวกเขาก็ยังคงเฉลิมฉลอง วัฒนธรรมการกินอาหารตามฤดูกาลเช่นเดียวกัน ถึงขนาดที่ว่า ในทุกๆ ฤดูใบไม้ร่วงซึ่งเป็นช่วงเวลา ทีท่ อ้ งฟ้าไร้เมฆ เวลากลางคืนยาวนานขึน้ และคนญีป่ นุ่ มีธรรมเนียมการออกมาชมพระจันทร์ทเ่ี รียกว่า tsukimi พร้อมกับกล่าวขานเรื่องเล่าเกี่ยวกับการเดินทางของกระต่ายลงมาสู่โลกซ้ำแล้วซ้ำเล่า ร้าน อาหารฟาสต์ฟู้ดอย่างแมคโดนัลด์จะเพิ่มเมนูเบอร์เกอร์ Tsukimi ที่ประกอบด้วยแผ่นแป้ง เบคอน ซอส เทอริยากิสูตรพิเศษ และไข่ที่มีไข่แดงโปะอยู่ด้านบน เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของพระจันทร์บนพื้นฟ้าโปร่ง และปี 2010 ก็คือปีที่แมคโดนัลด์ฉลองการครบรอบ 20 ปีให้กับเมนูนี้
สุนทรีย์แห่งชีวิต
ภาพจาก globaljapan.blog71.fc2.com
เมื่อพูดถึงอาหาร คนญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับ “ตา” มากพอๆ กับ “ท้อง” สำหรับชาวญี่ปุ่น แล้ว ประสบการณ์ที่ได้ลิ้มรสจากอาหารไม่ใช่ เพียงกลิ่นและรสชาติเท่านั้น แต่หน้าตาของมัน ยังเป็นเสมือนศิลปะที่มีความสำคัญสำหรับวิถี ของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการตกแต่งจานและสีที่ สอดคล้องกับฤดูกาล เช่น การใช้สีขาวสำหรับ ฤดูหนาว สีชมพูและเขียวสำหรับฤดูใบไม้ผลิ สีแดงและเขียว (หรือม่วง) สำหรับฤดูร้อน และ สีส้มและเหลืองสำหรับฤดูใบไม้ร่วง นอกจากนี้ ยังมีการใช้สีแดงและทองสำหรับโอกาสพิเศษ และสีเงินและดำในวาระของความเศร้าโศก ไม่เพียงเท่านัน้ จานชามทีใ่ ช้กเ็ ป็น “อุปกรณ์ ตามฤดูกาล” เช่นเดียวกัน เช่น ถ้วยชามทรงลึก ที่ให้ความรู้สึกอบอุ่นจะถูกใช้ในหน้าหนาว (เพือ่ เก็บความร้อน) และถูกแทนทีด่ ว้ ยถ้วยชาม ปากกว้างทรงตื้นที่สัมผัสกับอากาศมากกว่าใน หน้าร้อน เช่นเดียวกับที่ภาชนะที่ทำจากแก้วซึ่ง สะท้อนถึงน้ำแข็งก็จะถูกใช้เพิ่มความรู้สึกเย็น ในหน้าร้อนเช่นเดียวกัน แน่นอนว่า ลวดลาย ของจานชามที่ใช้กบ็ ง่ บอกถึงฤดูกาลด้วยเช่นกัน เราจึงเห็นคนญี่ปุ่นใช้จานชามลวดลายซากุระ สำหรับฤดูใบไม้ผลิ และใบไม้สีแดงสำหรับฤดู ใบไม้ร่วง
ภาพจาก www.japanstyle.info
ภาพจาก Flickr โดย hirotomo
ความลึกซึง้ ทีซ่ อ่ นอยูใ่ ต้สนุ ทรียะและแสดง ออกผ่านตรรกะของความเรียบง่าย ดูจะเป็นเสน่ห์ ของวิธคี ดิ แบบญีป่ นุ่ ทีค่ นทัง้ โลกยอมรับ เช่นเดียว กับทีศ่ ลิ ปะการกินอยูแ่ บบญีป่ นุ่ ได้สะท้อนให้เห็น วัฒนธรรมแห่ง “ความคิด” อยู่ในทุกๆ จาน นั่นแล้ว ที่มา: บทความ History of Japanese Cuisine (www.asiarecipe.com) บทความ Japanese Food (www.bookmice.net) บทความ Traditional Japanese Cuisine (www.enotes.com) บทความ What makes Japanese dishes Japanese? (http://library.thinkquest.org) รายงาน Japan Food Trends 2010 โดย GAIN Report The Five Hundred Essential Japanese Season Words (www.2hweb.net) Kyoto Visitor’s Guide (www.kyotoguide.com) วิกิพีเดีย
เมษายน 2554
l
Creative Thailand
27
The Creative
มุมมองของนักคิด
เรื่องและภาพ: มนูญ ทองนพรัตน์
28
Creative Thailand
l เมษายน 2554
The Creative
มุมมองของนักคิด
ตามบทบาท วัลลภา แวน วิลเลียนส์วาร์ด คือผูจ้ ดั การของ บริษทั สวนเงินมีมา จำกัด ตามรูปแบบ สวนเงินมีมา คือบริษทั ทีด่ ำเนินกิจกรรมทางธุรกิจ ไปพร้อมๆ กับกิจกรรมทางสังคม ที่ประกอบไปด้วยผู้ถือหุ้นทั้ง จากองค์กรด้านสังคม และนักธุรกิจทีใ่ ส่ใจในปัญหาสังคม รวมถึง ศักยภาพด้านในของมนุษย์ ตามตัวตน วัลลภา คือผูห้ ญิงทีม่ พ ี น้ื ฐานเรือ่ งบริหารจัดการ ตั้งแต่เมื่อครั้งเป็นผู้จัดการสาขาของบริษัทจัดงานแสดงสินค้า แห่งหนึง่ และต่อเนือ่ งมาถึงการเปิดบริษทั ของตัวเองเพือ่ ทำธุรกิจ ในด้านเดียวกันนี้ เธอจึงเป็นคนทีค่ ดิ ไว ทำไว และบ้างาน ถึงขนาด ทำตัวไม่ถูกทุกครั้งเมื่อชีวิตเวียนมาถึงวันอาทิตย์ ตามรายละเอียด สวนเงินมีมา เน้นการมีส่วนร่วมของผู้ผลิต และผู้บริโภค ด้วยตระหนักถึงพลังอันสร้างสรรค์ของผู้บริโภค รวมทั้งจิตสำนึกที่ตื่นขึ้นมารับผิดชอบร่วมกับผู้ผลิตในด้าน สิ่งแวดล้อม สังคม วัฒนธรรม ชุมชน สุขภาพ ที่เรียกว่าการ ตลาดสีเขียวหรือการตลาดทางสังคม ผลักดันให้เกิดการเรียนรู้ ร่วมกันถึงคุณค่าแบบใหม่ในการดำเนินชีวติ ผ่านการดำเนินงาน ที่แบ่งเป็นสองส่วนหลักๆ คือ การทำสำนักพิมพ์ (รวมถึงดูแล ร้านหนังสือ “ศึกษิตสยาม”) และการผลักดัน “เครือข่ายตลาด สีเขียว” ในเมืองไทย (ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.thaigreen market.com) ตามเส้นทาง วัลลภา ได้ร่วมก่อตั้งสวนเงินมีมาขึ้นมาเมื่อสิบ ปีที่แล้ว หลังจากที่ชีวิตผ่านพ้นจุดพักและจุดเปลี่ยนมาได้ระยะ หนึ่ง และยังได้รู้แล้วว่าจะเคลื่อนที่ชีวิตไปข้างหน้าด้วยอัตราเร็ว แบบไหน
ความมั่นคงอันว่างเปล่า
ชีวติ ตอนนัน้ เหมือนอยูใ่ น fast lane น่ะ ไว รีบ วันเสาร์กย็ งั ทำงาน พอถึง วันอาทิตย์เราก็หยุดตัวเองไม่เป็น ออฟฟิศปิดทำให้เราเคว้ง ทำอะไรไม่ถกู เพราะชีวิตไม่เคยมีวันหยุด ทำงานไปได้สิบกว่าปี ตั้งแต่เป็นลูกจ้างจนมาเปิดบริษัทของตัวเอง มีบ้านมีรถมีอะไรต่างๆ ในระดับหนึ่งตามเกณฑ์เฉลี่ยของคนทั่วไป คือ รู้สึกว่ามีความมั่นคงบ้างแล้ว แต่ความรู้สึกลึกๆ เหมือนขาดอะไรบาง อย่างข้างใน ชีวิตตอนนั้นเหมือนอยู่ใน fast lane น่ะ ไว รีบ วันเสาร์ก็ยัง ทำงาน พอถึงวันอาทิตย์เราก็หยุดตัวเองไม่เป็น ออฟฟิศปิดทำให้เราเคว้ง ทำอะไรไม่ถูก เพราะชีวิตไม่เคยมีวันหยุด พอถึงวันหยุดแล้วจะว่างเปล่า ก็แก้ปญั หาด้วยการช้อปปิง้ เป็นพวกบริโภคนิยมสุดโต่งเลยนะ ถ้าเสือ้ สวย ซื้อทีหนึ่งเหมาโหลเลย เอาแบบให้ครบทุกสี อาการเหมือนกับพอเราขาด ข้างในมันก็จะออกมาข้างนอก ต้องหาบริโภคใส่ตัว ใช้เสื้อผ้าแบรนด์เนม แต่ไม่มีความสุขนะ เหมือนกับใช้เวลาให้มันหมดไป ตอบสนองความว่าง เปล่าข้างใน ได้อ่าน ตลิ่งสูงซุงหนัก ของ นิคม รายยวา อ่านแล้วไม่เก็ทอะไรเลย เพราะมันเนิบช้าจนเรารู้สึกอยากจะรู้ตอนจบแล้ว คล้ายๆ อย่างนั้น ตอน นั้นเกิดคำถามขึ้นกับตัวเองอย่างรุนแรงเลยว่า ถ้าเราขาดซึ่งสุนทรียรสที่ ครัง้ หนึง่ เราเคยมีแล้ว ชีวติ เรานีม่ นั เหือดแห้งนะ ก็เลยตัง้ คำถามกับตัวเอง ต่อเลยว่าจะเอายังไงกับชีวติ ดี ก็ได้คำตอบออกมาคือ เลิก! ขายกิจการ!
สมัยเรียนหนังสือที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ได้อ่านหนังสือมาก จริงๆ ก็อ่านตั้งแต่ก่อนเข้ามหาลัยนะ รู้สึกเลยว่าหนังสือได้ช่วยพัฒนาชีวิตใน แต่ละช่วง อย่างหนังสือที่ให้กำลังใจ ให้มุมมอง หนังสือที่ให้มุมคิดใน การแก้ปัญหา รวมไปถึงหนังสืออัตชีวประวัติก็ให้อะไรมาก อยู่คณะ อักษรฯ ก็เหมือนเราอยูใ่ นแวดวงนักอ่าน เดีย๋ วเขาก็พดู ถึงวรรณกรรมเล่มนัน้ เล่มนี้ ยิง่ ทำให้เรามีแรงจูงใจทีจ่ ะพาตัวเองเข้าไปอ่าน ไม่วา่ จะเป็นหนังสือ อะไรแม้แต่สารานุกรม ยิง่ ไปเรียนวิชาปรัชญาก็ยง่ิ ชอบการอ่าน แต่พอโลก ของการเรียนจบลง เมื่อเข้ามาทำงาน ก็พบว่างานสร้างความท้าทายให้ กับเราช่วงหนึ่ง แต่หลังจากนั้นมันไม่ตอบเรื่องข้างในของเรา
เมษายน 2554
l
Creative Thailand
29
The Creative
มุมมองของนักคิด
เรียนรู้
ช่วงสามปีที่อยู่เสมสิกขาลัย ก่อนจะมาตั้งสวนเงินมีมาเมื่อสิบปีก่อน ได้เข้าคอร์สอยู่เรื่อยๆ มีวิทยากรจากทุกมุมโลกที่อยู่ในสายทางเลือกมา ให้ความรู้ แล้วการที่เราได้เข้าใจวัฒนธรรมของกระแสรอง เช่น เรื่อง ของศาสนากับเงินตรา เรือ่ งการตลาดทีเ่ อือ้ ให้ผบู้ ริโภคกับผูผ้ ลิตใกล้ชิดกัน เหล่านี้ได้ให้แง่มุมที่กระเทาะโลกทัศน์ของเรา ได้เห็นวิถี ได้รู้เรือ่ งภาวนา ได้กินอาหารธรรมชาติบำบัด เหมือนกับเราได้รับอาหารสมอง อาหารใจ อาหารกาย มาเจอกันในความเป็นองค์รวมแบบนี้ แล้วเราเริ่มเปลี่ยน หลายอย่าง ทำให้เกิดความคิดเรื่องผู้ประกอบการสังคมที่ควรจะเอาจุด แข็งของทัง้ สองอย่างมาเจอกัน คือถ้าเราทำองค์กรพัฒนาเอกชนทีม่ แี ง่มมุ ทีค่ ดิ ในเรือ่ งสังคม ก็อาจจะไม่รวู้ ธิ กี ารเลีย้ งตัวเองได้ในฐานะผูป้ ระกอบการ ส่วนการเป็นธุรกิจก็จะคิดให้เลี้ยงตัวเองได้ แต่มักคิดมากเกินไปจนเอา กำไรเป็นที่ตั้ง เพราะฉะนั้นถ้าเราเอาจุดแข็งที่ดีๆ ของสองส่วนนี้มาเจอ กันล่ะ
ยายเงิน ยายมี ยายมา และฮันส์ จุดเปลี่ยน
ก็ว่างๆ อยู่ประมาณครึ่งปี จนน้องสาวที่อยู่มูลนิธิโกมลคีมทองมาเล่าให้ ฟังว่ามีหน่วยงานใหม่ชื่อ เสมสิกขาลัย จัดอบรมคอร์สนิเวศวิทยาเชิงลึก (Deep Ecology) ที่หมู่บ้านเด็ก เราก็ตกลงไป อยู่ที่นั่นสิบวัน ได้เห็น แวดวงผู้คนที่เขาทำโยคะ ทำสมาธิ ดำเนินชีวิตกันช้าๆ ก็เริ่มรู้สึกตัวแล้ว วันสุดท้ายของคอร์สก็เลยบอกทุกคนว่าอยากกลับมาทำอะไรที่อยู่ใน แวดวงตรงนี้ คือรู้สึกว่านี่เป็นแค่การจุดประกาย แต่เพื่อที่จะให้เอิบอาบ อยู่ในตัวเราก็ควรจะต้องได้ทำงานอยู่ในเสมสิกขาลัย ก็มีคนเอาไปบอก อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ (ส. ศิวรักษ์) ซึ่งเป็นคนตั้งเสมสิกขาลัย เผอิญ อาจารย์กำลังต้องการผู้จัดการองค์กรอยู่พอดี ก็ปรากฏว่าได้เจอและคุย กัน อาจารย์ก็บอกตกลง คุณมาทำเลย แต่ทำไปได้สามเดือน ก็เริ่มรู้สึกว่าบุคลิกของคนทำงานเอกชนมา ก่อนอย่างเราไม่เข้ากันเลยกับบุคลิกแบบเอ็นจีโอ คือเรายังมีนสิ ยั ผูจ้ ดั การ แบบองค์กรธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ พอมาอยู่ตรงนี้เจอทัศนคติและ วัฒนธรรมไม่คนุ้ เคย ก็เลยเปรยๆ ออกมาว่าจะลาออก พออาจารย์สลุ กั ษณ์ ได้ยนิ เข้า ก็บอกว่า อย่าออกเลย คุณอยูเ่ ถอะ ถ้ามีอะไรอึดอัดใจมาคุยกับ ผม ก็ต้องขอบคุณอาจารย์ที่ให้โอกาส จากนั้นก็เลยพยายามปรับตัวเอง แล้วก็ทำงาน ปรากฏว่าจนถึงวันนี้ก็ทำงานกับอาจารย์มาสิบสามปีแล้ว จากสามเดือนกลายเป็นสิบสามปี นี่คือการเรียนรู้ที่สำคัญของชีวิต 30
Creative Thailand
l เมษายน 2554
แล้วตอนนั้นก็แต่งงานกับฮันส์พอดี เกิดความคิดว่าถ้าเราแต่งงานแล้ว เราอยากทำสัมมาอาชีพ คือไม่ได้อยากเป็นเอ็นจีโอตลอดไป เราอยาก เลีย้ งชีพชอบ ก็เลยจะลงมาลุยเรือ่ งธุรกิจทางเลือก ซึง่ ตอนนัน้ ก็ยงั คิดอะไร ไม่ชดั นะ คำว่า "ผูป้ ระกอบการสังคม" ก็ยงั ไม่มี ก็มเี พือ่ นนักธุรกิจทีอ่ ยูใ่ น กระแสหลักที่มาเป็นเพื่อนในเสมสิกขาลัยหลายคน บอกว่าให้เราตั้งเป็น บริษัทแบบใหม่สิ ก็คิดตรงกัน เลยเขียนแผนธุรกิจดูว่าจะไปด้วยกันกับ แผนที่จะทำทางด้านสังคมได้อย่างไร คือจะเป็นการทำธุรกิจที่ไม่ละเลย เรื่องสังคมด้วย ส่วนชื่อ "สวนเงินมีมา" เป็นชื่อที่มาจากชื่อยายสามคน ของอาจารย์สุลักษณ์คือ ยายเงิน ยายมี ยายมา ชื่อเป็นผู้หญิงหมดเลยนะ เพราะฉะนัน้ ลักษณะบริหารของสวนเงินมีมานีค่ อื ผูห้ ญิงเป็นใหญ่ มีผชู้ าย เป็นประชากรส่วนน้อย
The Creative
มุมมองของนักคิด
ประกอบการสังคม
วัตถุประสงค์มันชัดว่าเราคิดในฐานะผู้ประกอบการและทำเพื่อสังคมด้วย เพราะฉะนัน้ การพิมพ์หนังสือของเราก็จะไม่เลือกหนังสือแนวตลาด แต่คดิ ว่าต้องเป็นอาหารสมอง อาหารใจ อาหารทางจิตวิญญาณให้กับสังคมยัง ไง สิ่งที่สังคมขาดคืออะไร หนังสือเล่มแรกที่เราพิมพ์เป็นเรื่องธุรกิจ ในมุมมองใหม่ ก่อนหน้าจะมีคำว่า CSR เสียอีก คือทำธุรกิจแบบมีวิสัย ทัศน์นะ่ ทำหนังสือเรือ่ ง ปล้นผลิตผล เรือ่ ง นำอาหารกลับบ้าน ทำหนังสือ ที่ว่าด้วยศาสนธรรมหลายเล่ม เป็นการส่งสารที่มีประโยชน์ให้กับสังคม ในส่วนอาหารกาย เราทำสินค้าชุมชน นั่นคือตลาดสีเขียว โยงผู้ผลิตใน ภาคชนบทให้มาเจอกับผูบ้ ริโภคในภาคเมือง เป็นสะพานเชือ่ มให้สองกลุม่ นี้มาเจอกันจากหลายๆ กิจกรรมที่เราทำในตลาดสีเขียว พอเรามาทำธุรกิจทีไ่ ม่ใช่เพือ่ กำไร ในแง่หนึง่ คือเรามีแรงบันดาลใจนะ มีความชุ่มชื่นใจ แต่ต้องพยายามทำให้ตัวเลขมาเจอกันด้วย นี่เป็นความ ท้าทาย ความยากในช่วงแรกๆ คือสิ่งที่ทำออกมายังขายไม่ได้ เช่น เรา พิมพ์หนังสือออกมานี่ขายไม่ออกเลย แต่ธุรกิจมันต้องมีเงินเข้ามาหมุนไง ตอนนั้นก็คือรายได้แย่ ซึ่งก็เป็นโจทย์ใหญ่เหมือนกัน
นักเคลื่อนไหว
พอเห็นว่ายาก เราก็ต้องคิด แล้วก็มีความคิดว่าเราต้องก่อหวอด ทำ คนเดียวนีส่ ำนักพิมพ์เจ๊งแน่ ก็คดิ สร้างเครือข่ายหนังสือทางเลือก มีระบบ สมาชิกด้วยเพือ่ ให้เขารูส้ กึ ว่าหนังสืออย่างนีม้ ปี ระโยชน์ และควรจะให้สำนัก พิมพ์เล็กๆ ทีม่ คี ณุ ภาพแบบนีอ้ ยูไ่ ด้ ตอนนัน้ ก็คดิ เรือ่ งระบบสมาชิก จัดให้ มีการพูดคุยเกี่ยวกับหนังสือ คือหนังสือแบบนี้ถ้าทำแบบนิ่งๆ เงียบๆ อยู่ในมุมนี่ไม่ได้นะ ต้องลุกออกมาเคลื่อนไหว หาพรรคพวก หาสมาชิก หาเพื่อน ตอนหลังก็มีคนรักเอ็นดูบ้าง ก็เลยทำเรื่องหนังสือต่อ ไปขอ สปอนเซอร์พิมพ์หนังสือบ้าง แต่ช่วงหลังๆ หน่วยงานที่อยากทำหนังสือ แนวนี้ เขาจะวิ่งมาหาเราเอง การจัดกิจกรรมก็ชว่ ยได้ ยังบอกกับน้องๆ ว่าเราอย่าเป็นแค่โปรดักชัน่ หรือโอเปอเรชัน่ เราต้องลุกขึน้ มาเป็นแอกติวสิ (Activist) เพราะฉะนัน้ การ ตลาดของเราเป็นแบบ Social movement คือขับเคลื่อนทางสังคม การ ทำงานรณรงค์ของเราเป็นมาร์เก็ตติง้ อย่างหนึง่ แต่วา่ เราต้องจริงใจด้วยนะ ไม่ใช่เราไม่ได้ทำแล้วดันไปรณรงค์ แบบนีก้ ไ็ ม่ถกู เราทำแล้วเราก็อยากให้ คนอื่นได้รับสารทุกอย่าง ร่วมแชร์ให้เกิดเน็ตเวิร์ก จนเกิดเป็นเครือข่าย ทางเลือก เครือข่ายตลาดสีเขียว ก็คิดอยู่กับสองเครือข่ายนี้ อยากทำสอง เรื่องนี้ให้แข็งแรง
ต้องมองกว้างออกไปให้ได้ว่าการซื้อ (หรือไม่ซื้อ) อะไรนั้นมีผลต่อสังคม ยังไง มีผลต่อความหลากหลายทาง ชีวภาพอย่างไร
วิถีบริหาร
ตัวเองได้การบริหารจัดการมาจากตอนทำงานบริษัท แน่นอนว่าถ้าเปรียบ เทียบกับเอ็นจีโอเพียวๆ แล้วย่อมแตกต่างกัน เพราะเอ็นจีโอส่วนมากจะ คิดแบบเพียวจริงๆ ซึง่ โลกนีม้ นั ไม่มอี ะไรเพียวหรอก อยูท่ จ่ี ะเอามาเจอกัน ยังไง เราอาจจะไม่ตอ้ งย้ายจุดยืน เพียงแต่ตอ้ งเข้าใจกันมากขึน้ กระเทาะ กำแพงออก แต่ไม่ต้องไปยืนตรงนั้น ขอให้เห็นข้างในซึ่งกันและกัน ยิ่ง เราคิดต่างเรายิง่ ต้องฟังมาก เพือ่ จะได้รวู้ า่ เราต่างกับเขายังไง และเขาคิด อะไร ไม่ได้แปลว่าเราไม่ฟังเขา ถ้าเราไม่ฟังเขามันก็จบตั้งแต่แรกแล้ว
วิถีคุณค่า
กระแสของผู้บริโภคสีเขียวโตขึ้นนะ แต่จะต่างกับขบวนการทำ Organic movement เมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว คือตอนนี้เราไม่ต้องการให้ผู้บริโภคแค่ รักตัวเอง แต่ต้องรักชุมชน รักสิ่งแวดล้อมด้วย เพราะฉะนั้นผู้บริโภคใน เชิงคุณค่าต้องสร้างขึ้นมา ต้องมองกว้างออกไปให้ได้ว่าการซื้อ (หรือไม่ ซื้อ) อะไรนั้นมีผลต่อสังคมยังไง มีผลต่อความหลากหลายทางชีวภาพ อย่างไร ซึ่งไม่ใช่เรื่องไกลตัวผู้บริโภคเลย แต่การจะเชื่อมเรื่องแบบนี้เรา ต้องทำเรือ่ งราวบอกเล่าให้เขาเชือ่ ว่าท้ายทีส่ ดุ มันจะส่งผลต่อตัวเขา เพราะ ไม่มีใครจะหลุดพ้นไปจากดาวเคราะห์ดวงนี้ได้ บนผืนพิภพนี้จึงเป็นบ้าน ที่เราต้องดูแลร่วมกัน ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติทำให้เห็นว่า ร้อนสุดๆ หนาวสุดๆ ห่างกันมากขึ้น ความแปรปรวนตรงนี้มาจากวิถีของเขาเอง เพราะฉะนั้นผู้บริโภคเชิงคุณค่าเป็นความพยายามที่เราจะส่งสารให้กับ กลุ่มที่เราเรียกว่า second wave เป็นคลื่นลูกที่สองในความเคลื่อนไหว เรื่องตลาดสีเขียวของเรา
เมษายน 2554
l
Creative Thailand
31
The Creative
มุมมองของนักคิด
สมัยก่อนพอหนาวก็ต้องเตรียมถักเสื้อ รุ่มรวยด้วยความช้า นส่วนใหญ่เขาเร็วกัน ใช่ โลกเร็วขึ้นเรื่อยๆ แหละ ตั้งแต่เราไม่ หรือพอรู้ว่าจะไปงานก็ต้องเริ่มทอผ้า เดีเดิ๋ยนวนีแล้้ควมาใช้ จักรยาน เรามาใช้เครื่องจักรก็เร็วขึ้น เดี๋ยวนี้เราไม่อยากนั่ง เพื่อตัดชุด แต่เดี๋ยวนี้เราจับจ่าย รถไฟไปเชียงใหม่แล้ว เราอยากขึ้นเครื่องบินกันมากกว่า เราเร็วทุกเรื่อง แต่เพราะความเร็วนี่แหละที่ทำให้เราบริโภคพลังงานมากขึ้น อ่านหนังสือ ออกไปหมด เป็นพวกสะดวกซื้อ ก็เลื่อนพรืดๆ ที่หน้าจอไปหน้าท้ายๆ ได้เลย อาหารก็เป็นแบบสำเร็จรูป ไปทุกที่ เข้าเวฟรวดเร็ว
แต่ตัวเองนั้นไม่ว่าจะยุ่งยังไงก็ต้องให้เวลากับการทำอาหารด้วย ตัวเอง พอได้ฟังเรื่อง Slow food ยิ่งรู้สึกว่าใช่เลย เพราะเป็นคนชอบทำ อาหาร ไม่คอ่ ยจะกินข้าวนอกบ้าน คือชอบอยูก่ บั กิจกรรมทีไ่ ม่ตอ้ งเร็วมาก อย่างเช่นทำกับข้าว เล่นดนตรี คนที่ช้านี่จะครีเอทด้วยนะ เหมือนมีเวลาให้กับการใส่ใจกับกิจกรรม นัน้ ๆ น่ะ อย่างสมัยก่อนพอหนาวก็ตอ้ งเตรียมถักเสือ้ หรือพอรูว้ า่ จะไปงาน ก็ต้องเริ่มทอผ้าเพื่อตัดชุด แต่เดี๋ยวนี้เราจับจ่ายออกไปหมด เป็นพวก สะดวกซือ้ ไปทุกที่ แม้แต่การสร้างบ้านก็ยงั มีคนอืน่ มาช่วยคิด ซึง่ เรือ่ งพวกนี้ คนสมัยก่อนทำเองหมดเลยนะ ชีวิตเขาถึงรุ่มรวยน่ะ รุ่มรวยออกมาจาก ข้างใน แม้แต่ชาวนาเขาก็ไม่ได้ทำนากันตลอดเวลาอย่างสมัยนี้อย่างที่เห็นที่ อยุธยา คือทำสองปีได้เจ็ดหนน่ะ สมัยก่อนพอช่วงฤดูเก็บเกีย่ วเขาก็จะคิด ถึงการเฉลิมฉลอง ประเทศภูฏานยังเป็นอย่างนั้น เฉลิมฉลองกันสอง สัปดาห์ คือเขาเลือกที่จะมีวิถีชีวิตแบบนั้น ส่วนบ้านเราให้เวลากับการ พักผ่อนน้อยลง ท่านรพินทรนาถ ฐากูร ยังบอกว่า เปลือกตาก็เป็นส่วนหนึง่ ของดวงตา การเห็นกับการหลับเพือ่ ได้พกั เป็นส่วนเดียวกัน การทำงานกับ การพักผ่อนเป็นเรื่องเดียวกัน
ช้าเป็น เร็วเป็น
อะไรเร็วก็เร็วไป เช่นเทคโนโลยีทำให้เราเดินทางเร็ว รับส่งข้อมูลได้เร็ว ก็เร็วไป อินเทอร์เน็ตหรือโลกออนไลน์คือสิ่งที่เราต้องอยู่กับมันอยู่แล้ว จะมามัวนัง่ เขียนปากกาเขียนดินสอก็ไม่ใช่แล้ว พิมพ์แล้วคลิกเร็วกว่ามาก ขึ้นอยู่กับว่าสิ่งที่เราพิมพ์นั้นน่ะเป็นเรื่องที่ดีหรือเปล่า ใส่ใจในเนื้อหากัน แค่ไหน เสื้อผ้าก็ไม่ต้องทอเองหรอก ซื้อใส่ก็ได้ แต่บางกิจกรรมหรือบาง ช่วงชีวิตถ้าช้าได้ก็ช้าซะบ้าง เช่น ทำกับข้าว เดินทางใกล้ๆ อ่านหนังสือ พูดคุย อยู่ที่เลือกน่ะ ส่วนตัวเองก็เลือกแบบไม่คิดจัดสรรนะ ดูเป็นเรื่องๆ ไปน่ะ ง่ายๆ อะไรเร็วก็เร็ว อะไรช้าได้ก็ช้า เราไม่ได้ปฏิเสธความเร็วของโลก และก็ไม่ได้ยึดติดว่าต้องช้า อยู่ที่ เลือกว่าจะให้มาเจอกันยังไง 32
Creative Thailand
l เมษายน 2554
The Creative
มุมมองของนักคิด
คน
แม่ แม่เป็นผู้หญิงทำงานหนัก พ่อเสียแล้วก็ทิ้งลูกไว้สิบคน แม่ทำให้เห็น ว่าเลี้ยงดูครอบครัวใหญ่ให้เติบโตต้องทำอย่างไร ครูรัตนา ที่ชอบเรียนภาษาอังกฤษตั้งแต่ ป.5 ก็เพราะเรารักครูท่านนี้ ทำให้ภาษา อังกฤษแข็งแรงจนถึงวันนี้ อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ อาจารย์เป็นคนชอบมูฟอะไรใหม่ๆ มีมมุ คิดทีน่ า่ สนใจ อาจารย์อา่ นหนังสือ เยอะจึงแหลมคมตลอดเวลา ดูภายนอกอาจจะคิดว่ารุนแรง แต่ภายใน แล้วมีความเมตตาสูง และยังมีความเป็นเด็กอยู่ด้วย ฮันส์ รักในความเป็นคนอินโนเวทีฟของเขา ชอบคิดนู่นคิดนี่ พูดคุยแลกเปลี่ยน แล้วมักได้มุมคิดใหม่ๆ อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์
หนังสือ
ฮันส์
ปล้นผลิตผล เขียนให้เห็นตั้งแต่ในจานไปถึงแปลงของเกษตรกร และขบวนการผลิต และทำไมต้องเป็นเกษตรอินทรีย์ เกษตรอินทรียม์ สี ว่ นสำคัญกับชีวติ ยังไง มีความหมายอย่างไร ภาพที่ต้องการอธิบายนี่ชัดมาก เด็กตามธรรมชาติ ทำให้นกึ ถึงวัยเด็ก การเติบโต พัฒนาการ ทำให้เรากลับไปสูห่ วั ใจเด็กอีก ครั้งหนึ่ง โลกยุคหลังบรรษัท ชีวิตหลังทุนนิยม เห็นเลยว่าระบบทุนนิยมที่เอาแต่กำไรมันไม่รอด เป็นเหมือนมะเร็งร้าย อย่างไร ทำให้เรามีพลังและความหวังในการสร้างการตลาดแบบใหม่ และ ทำให้รู้ว่าถ้าเรามีกิจการดีๆ เรื่องธุรกิจไม่ใช่เรื่องน่ารังเกียจ โดยเฉพาะ กิจการที่ฝังรากอยู่ในชุมชนและถูกโอบล้อมด้วยชุมชน ไม่ใช่การข้ามชาติ มาลงทุน
คำ
Being Balance การเป็นปกติถือว่าเป็นความสุขนะ ทีนี้ความปกติจะเกิดได้ก็เมื่อเราจัด สมดุลชีวิตได้
เพลง
World Folk Song ตอนนีช้ อบฟังเพลงพืน้ บ้านจากทัว่ โลก ภูฏานก็ชอบ ละตินก็ชอบ แอฟริกา ก็ชอบ
หนัง
The King’s Speech ชอบที่สุดตอนนี้ต้องเป็นเรื่องนี้ บทดี มีที่มาที่ไป มีไคลแมกซ์ ข้อความ ตอนท้ายที่พูดออกมานั้นรู้สึกเลยว่าพูดออกมาจากข้างในจริงๆ
เมษายน 2554
l
Creative Thailand
33