นิตยสารส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ผลักดันเศรษฐกิจไทย โดย
ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ สำ�นักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน)
The Object
Seattle Central Library
Creative City ฟินแลนด์
The Creative มกร เชาว์วาณิช
และพบศักยภาพของเด็กไทย จาก 10 มหาว ทยาลัยทั่วประเทศ ในนิทรรศการ
“การออกแบบแหงทองถิ่น”
( m i n i TC D C S h o w c a s e ) 21 มิถุนายน – 24 กรกฎาคม 2554 ณ โถงทางเขา, TCDC ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (TCDC) ชั้น 6 ดิ เอ็มโพเร ยม ช็อปปง คอมเพล็กซ 10.30 – 21.00 น. (ปดวันจันทร) 6th Fl., The Emporium 10.30 – 21.00 (Closed Mondays)
เขาชมฟร
I cannot teach anybody anything, I can only make them think ข้าสอนอะไรใครไม่ได้ สิ่งเดียวคือทำ�ให้พวกเขาคิดเท่านั้น โสกราตีส
สารบัญ
บรรณาธิการอำนวยการ ที่ปรึกษา
The Subject
6
The Object
7
วัตถุดิบทางความคิด
8
วิชาอะไร
Reading Seattle Featured Book / Book / Trend Book / DVD
อภิสิทธิ์ ไลสัตรูไกล กิตติรัตน ปติพานิช ชมพูนุท วีรกิตติ พิชิต วีรังคบุตร ศิริอร หริ่มปราณี มนฑิณี ยงวิกุล กนกพร เกียรติศักดิ์ วราภรณ วศินสังวร จรินทรทิพย ลียะวณิช นันทิยา เล็กสมบูรณ พัชรินทร พัฒนาบุญไพบูลย เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร กริยา บิลยะลา กมลกานต โกศลกาญจน ชิดชน นินนาทนนท นิรชา ชินะรัตนกุล
บรรณาธิการบริหาร ผูชวยบรรณาธิการ กองบรรณาธิการ
เปลี่ยนโลกรอบตัว
10
Classic Item
11
เรื่องจากปก
12
Insight
18
คิด ทำ กิน
22
จัดทําโดย ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (TCDC) ชั้น 24 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอร 622 สุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 โทร. 02 664 7667 แฟกซ. 02 664 7670 ติดตอลงโฆษณาไดที่ sale@tcdc.or.th
จับกระแสเมืองสรางสรรค
24
แยกสี บริษัท 71 อินเตอรสแกน จำกัด โทร. 02 631 7171 แฟกซ. 02 631 7181
มุมมองของนักคิด
28
คิด ทํา ดี
34
พิพิธภัณฑ Academy
Grooming Talents UK skillset จิตตเมตต เรียนรูเพื่อพัฒนาความเปนมนุษย Learning Finland มกร เชาววาณิช
EGCO Forest Youth Camp
บรรณาธิการศิลปกรรม ผูจัดการฝายผลิตและเผยแพร ภาพปกโดย
พงษศักดิ์ สาโยธา taewtongfoto.multiply.com นิรชา ชินะรัตนกุล
ภาพปกหลังโดย
พิมพที่ บริษัท คอมฟอรม จำกัด โทร. 02 368 3942-7 แฟกซ. 02 368 2962 จำนวน 50,000 เลม นิตยสารฉบับนี้ใชหมึกพิมพจากน้ำมันถั่วเหลืองที่ไมเปนอันตรายตอสุขภาพ ทั้งยังเปนมิตรตอ สิง่ แวดลอม และทีส่ ำคัญคือ เปนผลผลิตจากความคิดของผูป ระกอบการไทย
Media Partner
จัดทำภายใตโครงการ “CreativeThailand สรางเศรษฐกิจไทยดวยความคิดสรางสรรค” โดยศูนยสรางสรรคงานออกแบบ สำนักงานบริหารและพัฒนาองคความรู (องคการมหาชน) ซึ่งมีเปาหมาย ในการเผยแพรความรูเกี่ยวกับเศรษฐกิจสรางสรรค (Creative Economy) และผลักดันการใชความคิด สรางสรรคในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส แสดงทีม่ า-ไมใชเพือ่ การคา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย
อานนิตยสารฉบับออนไลนและดูขอมูลเพิ่มเติมไดที่ www.creativethailand.org Email: creativethailand@tcdc.or.th Twitter: @Creative_TH Facebook: Creative Thailand
Editor's Note บทบรรณาธิการ
The Graduate เมื่อเร็วๆ นี้ หนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ รายงาน ถึ ง ความน่ า อิ จ ฉาของระบบการศึ ก ษาที่ ท รง ประสิทธิภาพของเกาหลีใต้ผ่านตัวเลขอันน่าทึ่ง นั่ น เพราะนั ก เรี ย นเกาหลี ใ ต้ ก ลายเป็ น ผู้ ก วาด คะแนนการทดสอบคณิตศาสตร์และการอ่านสูงสุด อยู่ใน 5 อันดับแรกของโลก จำ�นวนเด็กลาออก จากโรงเรียนกลางคันมีไม่ถึงร้อยละ 4 และจำ�นวน ผู้สำ�เร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษาสูงถึงร้อยละ 56 ซึ่งถือว่าอยู่ในกลุ่มที่สูงสุดในโลก แน่นอนว่า บริษทั ยักษ์ใหญ่ของเกาหลีอย่างแชโบล ย่อมปลาบ ปลื้มและอ้าแขนรับเหล่าบัณฑิตใหม่ด้วยความ กระตือรือร้น พร้อมผลตอบแทนและโบนัสอันงดงาม เมื่อทำ�งานได้ยอดเยี่ยมสมราคา แต่ขณะเดียวกัน เด็กจบใหม่จำ�นวนมากก็เลือกที่จะสร้างเนื้อสร้าง ตัวด้วยการมีธุรกิจของตัวเอง เพราะไม่อยากฝาก ความหวังไว้กับแชโบลที่เคยล้มควํ่าไม่เป็นท่าจาก วิกฤตเศรษฐกิจต้มยำ�กุ้งเมื่อปี 2540 ซึ่งไม่ว่าพวก เขาจะเลือกเดินไปสู่ระบบธุรกิจยักษ์ใหญ่ หรือการ เป็นเจ้าของธุรกิจเล็กๆ คำ�ตอบก็คือ พวกเขามี ทางเลือกในชีวิต ค่านิยมของสังคมในเอเชียนั้นเปลี่ยนแปลง ไปมากในรอบทศวรรษ เมื่อโลกผลักดันให้สังคม อยูใ่ นยุคฐานความรู้ รัฐบาลหลายประเทศในเอเชีย ต่างก็กำ�หนดทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่ลูกหลานในอนาคต ถ้ า เป็ น ประเทศที่ เ พิ่ ง ปู ท างสู่ ค วามมั่ ง คั่ ง อย่ า ง เวียดนาม ก็เริ่มต้นจากการพัฒนาการศึกษาเพื่อ รองรับระบบอุตสาหกรรมทีก่ �ำ ลังเติบโต เช่นนโยบาย การเพิ่มจำ�นวนผู้ท่ไี ด้รับการศึกษาจากอาชีวศึกษา อีกร้อยละ 30 การเพิ่มบุคลากรที่เชี่ยวชาญด้าน เทคโนโลยีอีก 3 เท่า การตั้งเป้าให้มีวิทยาลัย อาชีวะ 10 แห่ง และมหาวิทยาลัย 4 แห่งที่ได้
มาตรฐานในระดับสากล แต่ถ้าประเทศที่มีระบบ การศึ ก ษาได้ ม าตรฐานอยู่ แ ล้ ว ดั ง เช่ น สิ ง คโปร์ รัฐบาลก็หันไปเพิ่มดีกรีความพิเศษให้แก่เยาวชน ด้วยแคมเปญ Be Creative ที่ส่งเสริมทักษะพิเศษ ด้านความคิดสร้างสรรค์ทุกสาขาตั้งแต่แอนิเมชั่น ไปถึงการละคร เช่นเดียวกับเกาหลีใต้ก็พยายาม รณรงค์ให้เด็กๆ มีทกั ษะด้านดนตรี ซึง่ ก็ประสบผล ด้วยอัตราการเติบโตของธุรกิจสถานที่เรียนพิเศษ ด้านดนตรีที่สูงขึ้นทุกปี ส่วนด้านการกีฬา แค่ ตั ว เลขความนิ ย มของกี ฬ าขี่ ม้ า ประเภทเดี ย วก็ สะท้อนจากการนำ�เข้าม้าแข่งพันธุด์ จี ากออสเตรเลีย สำ�หรับโรงเรียนสอนขี่ม้าที่แพร่หลายขึ้นเช่นกัน เมื่อเราบอกว่าเราจะเป็นสังคมแห่งการเรียน รูต้ ลอดชีวติ นัน่ หมายความว่า สังคมนัน้ ต้องเตรียม ความพร้อมอย่างเพียงพอที่จะขับเคลื่อนความ กระหายในการเรียนรู้ ทัง้ ความรูท้ างวิชาการ และ ความรู้ที่จะใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ เพราะขณะที่ ช่วงเวลาของการเริ่มต้นปีการศึกษาใหม่ได้เริ่มขึ้น พร้อมๆ กับที่บัณฑิตใหม่เข้าสู่ตลาดแรงงาน มัก จะมีรอยสะดุดที่ท้าทายสิ่งที่เรียนมาทั้งชีวิตว่า สิ่ง ที่ทำ�อยู่นั้นใช่สิ่งที่เรียนหรือสิ่งที่รักหรือไม่ แต่ถ้า สังคมมีทางเลือกและโอกาสที่มากพอที่จะอำ�นวย ให้เด็กคนหนึ่งใช้ความรู้ได้อย่างมีคุณภาพต่อตัว เองและสังคมแล้ว พวกเขาก็จะกล้าท้าทายอนาคต อย่างมีความสุข และเมื่อถึงวันนั้น เราที่เป็นผู้ใหญ่ก็ไม่จำ�เป็น ต้องตัง้ คำ�ถามว่า แล้วเด็กๆ ที่ชนะเลิศคณิตศาสตร์ โอลิมปิก ทีมเยาวชนอันดับหนึ่งหุ่นยนต์กู้ภัยที่ สิงคโปร์ หรือแชมป์วงโยธวาทิตโลกทีเ่ นเธอร์แลนด์ นั้น พวกเขาไปอยู่ที่ไหนกัน อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล บรรณาธิการอํานวยการ
มิถุนายน 2554
l
Creative Thailand
5
The Subject
เรื่อง: กมลกานต์ โกศลกาญจน์ เมื่อการเรียนรู้ในห้องเรียนสร้างกำ�แพงแห่งการยกมือขึ้นถาม เหล่านักแสวงความรู้ปล่อยให้ความไม่เข้าใจเกิดขึ้นโดยไม่ค้นหา ซึ่งคำ�ตอบ ระบบการศึกษาป้อนค่าของการท่องจำ�เป็นหลัก ทั้ง ละเลยการสร้างกระบวนการคิดวิเคราะห์ อันเป็นวิธีการสำ�คัญ ในการพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดขึ้นจริง ปัญหาที่ ว่า อาจคลายปมได้ด้วยวิธีการตั้งคำ�ถามพื้นฐานที่เริ่มต้นด้วย คำ�ว่า “อะไร” ในเรือ่ งใกล้ตวั ซึง่ จะทำ�ให้ผเู้ รียนได้รจู้ กั สร้างกรอบ แนวความคิด เพื่อเกิดเป็นกระบวนการแห่งการค้นหาคำ�ตอบ สิ่งเหล่านี้คือหัวใจสำ�คัญของ “วิชาอะไร” วิชาที่สอนโดยผู้ช่วย ศาสตราจารย์ ยงยุทธ จรรยารักษ์ อาจารย์ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นวิชาที่ให้นํ้า หนักไปกับการตัง้ คำ�ถามในเรือ่ งทีเ่ กีย่ วข้องกับชีวติ ธรรมชาติ และ ความเป็นมนุษย์ ภายใต้ความเชื่อมั่นแห่งการสร้างปัญญามาก กว่าการหาความรู้
วิชาอะไร เป็นโครงการหนึง่ ทีเ่ กิดขึน้ จากความตัง้ ใจของทรงกลด บางยีข่ นั บรรณาธิการบริหารคนปัจจุบนั ของนิตยสาร a day ทีเ่ ริม่ ต้นขึน้ ในปี 2552 โดยมีที่มาจากความต้องการทำ�หนังสือรวมบทสัมภาษณ์อาจารย์ยงยุทธ และอยากให้ผู้ที่สนใจเข้ามามีส่วนร่วม จึงเป็นจุดเริ่มต้นการเปิดสอนวิชา อะไรนีเ้ พือ่ ให้บคุ คลทีส่ นใจเข้ามาร่วมฟัง ตัง้ คำ�ถาม และหาคำ�ตอบด้วยกัน วิชาอะไรเริ่มต้นการบรรยายครั้งแรกในหัวข้อ “การศึกษา” และตามมา ด้วยหัวข้อทีน่ า่ สนใจอย่างต่อเนือ่ ง อาทิ “ศาสนากับวิทยาศาสตร์” “สวัสดี ปีใหม่” “สิ่งที่ควรรู้ตั้งแต่อยู่อนุบาล” “คนไทยคือใคร?” และในปีนี้ วิชา อะไรถูกจัดการบรรยายออกเป็นหมวดหมู่ เริ่มต้นที่หมวดหมู่โลกของเรา 6
Creative Thailand
l มิถุนายน 2554
โดยมีหัวข้อบรรยายเปิดเป็นเรื่อง “พลังงานของเรา” ที่อาจารย์ยงยุทธจะ พาไปหาคำ�ตอบว่า พลังงานนั้นมีที่มาที่ไปจากไหน มีการทำ�งานเป็น อย่างไร และเชื่อมโยงกับชีวิตเรามากน้อยแค่ไหน จากการบรรยายทั้งสิ้นรวม 20 ครั้งที่ผ่านมา วิชาอะไรทำ�ให้คำ�ว่า เรียนรู้นอกห้องเรียนเกิดขึ้นจริงได้ ไม่ใช่เป็นแค่เพียงคำ�จำ�กัดความที่พูด กันเท่านัน้ เมือ่ ผูส้ อนพยายามแสดงให้เห็นถึงคุณค่าของการตัง้ คำ�ถาม ซึง่ เป็นสิง่ สำ�คัญทีส่ ดุ ในกระบวนการเรียนรูท้ ง้ั หมด เพราะระหว่างทางของการ ค้นหาคำ�ตอบ การทำ�ให้ผู้เรียนรู้จักสังเกต ประมวลความคิด และใช้พลัง แห่งการสร้างสรรค์ในการค้นหา ย่อมเกิดผลลัพธ์ในการพัฒนาทักษะการ เรียนรู้ ที่หมายถึงการสร้างพื้นฐานที่แข็งแรงต่อการเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ ในวันข้างหน้า ไม่เพียงเป็นทางเลือกหนึ่งของการเรียนรู้เท่านั้น แต่หลักสูตร “วิชา อะไร” นี้ ยังได้ตั้งคำ�ถามต่อสังคมไทยด้วยว่า ทิศทางการศึกษาของเรา เป็นไปเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาทักษะทางความคิดอย่างแท้จริงหรือไม่ และสิ่งไหนควรสอนและควรสร้างให้กับเด็กไทยมากกว่ากัน ระหว่างการ สร้างรากฐานแห่งปัญญากับการหาความรู้ไว้ท่องจำ�? ที่มา: www.lonelytrees.net
The Object
เรื่อง: ดนัย คงสุวรรณ์ ถ้าไม่เกิดขึน้ จริงคงนึกไม่ออกว่า ห้องสมุด จะกลายมามีสถานภาพคล้ายแหล่งท่อง เที่ ย วที่ ดึ ง ดู ด ให้ ผู้ ค นมากมายหลั่ ง ไหล เข้าไป “อ่าน” กันได้อย่างไร แต่ Seattle Central Library ที่ได้รับการออกแบบ ใหม่โดย เร็ม คูลฮาส สถาปนิกชื่อดังแห่ง สำ�นักงานออกแบบ OMA และเปิดตัวสู่ สาธารณชนในปี 2004 กลับทำ�ให้ปรากฏการณ์ที่ว่าเป็นไปได้ และกลายเป็นกรณี ศึกษาแห่งวงการสถาปนิกมาถึงทุกวันนี้
อาคารสูง 11 ชัน้ ขนาดใหญ่กว่า 33,000 ตาราง เมตร ซึ่งดูภายนอกคล้ายลูกบาศก์กระจกแก้ว สะท้อนแสงเหลี่ยมมุมประหลาด ห่อหุ้มด้วย ตาข่ายเหล็กทรงเหลีย่ มเพชร แท้จริงแล้วเกิดมา จากแนวคิดการจัดสรรให้ห้องสมุดมีขนาดของ พื้นที่ และการเปิดรับแสงในปริมาณที่แตกต่าง กันตามลักษณะการใช้งานที่ถูกแบ่งแยกออก เป็น 5 หมวดหมู่ ได้แก่ ส่วนบริหารจัดการ ส่วนจัดเก็บสือ่ ความรู้ ส่วนประชาสัมพันธ์ ส่วน พื้นที่สาธารณะ และส่วนจอดรถ ทั้งนี้เพราะ เร็มเชื่อว่าห้องสมุดควรจะเป็นมากกว่าแหล่ง
จัดเก็บสื่อความรู้อันอัดแน่น อึมครึม เช่นที่เคย เป็นมา แต่ควรเป็นที่ที่น่าสนใจ และเชิญชวน ให้ประชาชนทั่วไปมาคิด รวมถึงกระตุ้นให้เกิด การสนทนาในระหว่างศึกษาหาความรู้ใหม่ไป ในตัว นอกจากสถาปั ต ยกรรมภายนอกที่ ดู เตะตา และออกจะน่าตื่นเต้นแล้ว การตกแต่ง ภายใน รวมถึงระบบการจัดการของห้องสมุด แห่งนี้ยังเป็นที่กล่าวขานถึงโดยทั่ว อาทิ “ห้อง อ่านหนังสือ” (Reading Room) ที่ถูกจัดวางไว้ ชั้นบนสุดเพื่อให้สามารถชื่นชมทัศนียภาพได้ โดยรอบ “ห้องนั่งเล่น” (Living Room) ที่ปูพื้น ด้วยพรมลายพืชพรรณสีเขียวเย็นตา และจัดเก็บ เฉพาะหนังสือจำ�พวกเรือ่ งแต่งเท่านัน้ นอกจากนี้ ยังมีสายพานอัตโนมัติที่ชั้นล่างของอาคารไว้ ลำ � เลี ย งหนั ง สื อ ซึ่ ง ถู ก นำ � มาคื น ไปยั ง ชั้ น ของ สํานักงาน ไปจนถึงรายละเอียดเล็กๆ อย่าง บันไดเลือ่ นสีเหลืองสะท้อนแสง ทีเ่ ปลีย่ นกิจกรรม ธรรมดาอย่างการขึ้นบันได ให้รู้สึกคล้ายการ เดินทางสู่มิติใหม่เลยทีเดียว
อย่างไรก็ตาม พื้นที่อันเป็นหัวใจของห้อง สมุดแห่งนี้ก็ยังคงอุทิศให้กับหนังสือ สี่ชั้นของ อาคารจึงถูกออกแบบให้เป็นบันไดวน ซึ่งผู้ใช้ บริการสามารถเดินเข้าชมหนังสือทั้งหมดของ ห้องสมุดได้อย่างต่อเนื่อง โดยไม่จำ�เป็นต้องใช้ ลิฟต์ บันไดเลือ่ น หรือหลงไปยังส่วนอืน่ ของห้อง สมุดเลยแม้แต่น้อย ความสำ�เร็จในการออกแบบห้องสมุดแห่งนี้ ไม่เพียงนำ�มาซึ่งรางวัลด้านสถาปัตยกรรมจาก หลากหลายสถาบัน และส่งให้ Seattle Central Library กลายเป็นหนึ่งใน 150 สถาปัตยกรรม ยอดเยี่ยมของอเมริกา (จากการลงคะแนนของ สมาคมสถาปนิกอเมริกัน) มากไปกว่านั้น มัน ยังเป็นการดึงสาธารณชนเข้าสู่กิจกรรมการ เรียนรู้ผ่านการสร้างประสบการณ์ได้อย่างน่า สนใจ และน่าอิจฉาสำ�หรับอีกหลายๆ เมืองทั่ว โลกด้วย ที่มา: www.arcspace.com, www.seattletimes.com, วิกิพีเดีย ภาพจาก WikiCommon โดย Ww7021 มิถุนายน 2554
l
Creative Thailand
7
วัตถุดบิ ทางความคิด
เรือ่ ง: เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร และ กริยา บิลยะลา
Library Design โดย Karen M Smith และ John A Flannery ก่อนทีโ่ ลกจะรูจ้ กั กูเกิล “ห้องสมุด” เป็นคำ�ตอบ แรกและเป็นตัวเลือกลำ�ดับต้นๆ เมือ่ เราต้องการ จะศึกษาค้นคว้าหาความรู้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ห้องสมุดจึงทำ�หน้าที่เป็นที่พึ่งในการสนับสนุน การเรียนรู้ และช่วยพัฒนาคนทั้งในและนอก ระบบ ทัง้ ยังเป็นเสมือนสัญลักษณ์ในการรวบรวม องค์ความรู้และความมั่งคั่งทางภูมิปัญญาของ มนุษย์ แต่เมื่อโลกก้าวสู่ยุคดิจิทัล ผลสำ�รวจ ของศูนย์วิจัย Pew ก็พบว่า ความนิยมในการ เข้าใช้หอ้ งสมุดเริม่ ลดลงจนน่าใจหาย โดยเฉพาะ การใช้หอ้ งสมุดเพือ่ การศึกษาค้นคว้า เมือ่ ทุกสิง่ สามารถค้นหาได้ในอินเทอร์เน็ต ห้ อ งสมุ ด แต่ ล ะแห่ ง จึ ง พยายามปรั บ ตั ว ขนานใหญ่ ทัง้ การปรับเปลีย่ นรูปแบบการบริการ ให้ดึงดูดใจผู้ใช้บริการ โดยคงจุดแข็งในเรื่อง ข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือและนำ�ไปใช้อ้างอิงได้ แบบไม่มีข้อสงสัย พร้อมกับการรื้อแนวคิดการ ออกแบบพื้ น ที่ ภ ายในห้ อ งสมุ ด ใหม่ ใ ห้ เ ป็ น มากกว่าที่เก็บหนังสือเพื่อให้สอดรับกับสภาพ สังคมที่เปลี่ยนแปลง หนังสือทีถ่ กู แปลเป็น 5 ภาษา ได้แก่ อังกฤษ ฝรัง่ เศส เยอรมัน สเปน และอิตาลี เล่มนี้ นำ�เสนอ
8
Creative Thailand
l มิถุนายน 2554
ตัวอย่างห้องสมุดสมัยใหม่จากทั่วโลกที่ได้รับ การออกแบบหรือปรับปรุงแล้วอย่างดี ทั้งในแง่ การลดความรู้สึกน่าเกรงขาม และเปลี่ยนเป็น ความรู้ สึ ก เข้ า ถึ ง ง่ า ยและให้ ป ระสบการณ์ เช่น Bibliotheca Alexandrina ห้องสมุดที่ ใหญ่ทส่ี ดุ แห่งหนึง่ ของโลกในเมืองอเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์ ซึ่งมีการออกแบบการใช้แสง อย่างชาญฉลาด พร้อมเปิดรับทิวทัศน์ที่สวยงาม ของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และจัดสรรพื้นที่ให้ เต็มประโยชน์ใช้สอย ทั้งพื้นที่อ่านหนังสือและ พื้ น ที่ สำ � หรั บ จั ด กิ จ กรรมและนิ ท รรศการ ขนาดใหญ่ นอกจากนี้ ยังมีห้องสมุดที่สวยงามและน่า สนใจอีกหลายแห่ง ทั้งห้องสมุดสาธารณะ และ ห้ อ งสมุ ด ส่ ว นตั ว ขนาดเล็ ก ที่ น่ า จะเป็ น แรง บันดาลใจให้กับคนที่ฝันอยากจะมีห้องสมุด เล็กๆ ภายในบ้าน หรือคนที่ทำ�งานในแวดวง ห้องสมุดให้กลับมาคิดต่อว่า เราจะสามารถ ปรับปรุงและรับมือกับอนาคตอย่างไร รวมถึง การทบทวนว่า ห้องสมุดควรจะให้บริการอะไร แก่ใคร และอย่างไร ได้เป็นอย่างดี
วัตถุดบิ ทางความคิด
Schools: Educational Spaces โดย Sibylle Kramer มีคนเคยกล่าวไว้วา่ สมัยนีน้ กั เรียนคนหนึง่ เรียนรู้ จากครูถึงสามคน คนแรกคือครูผู้สอน คนที่ สองคือเพื่อนนักเรียนด้วยกัน ส่วนคนที่สามก็ คือสถานที่ที่ใช้สำ�หรับเรียนรู้ ดังนั้นโรงเรียนใน ฐานะแหล่งบ่มเพาะเยาวชนยุคนี้ คงไม่สามารถ คำ�นึงถึงแค่องค์ประกอบที่ควรจะมีแบบเดิมๆ ได้อีกต่อไป แต่ต้องเอื้อให้การเรียนรู้นั้นเป็นไป อย่างไม่มีอุปสรรค ทั้งต้องช่วยกระตุ้นให้เกิด ความรู้สึกรักที่จะเรียนรู้ได้ด้วย และหากยังนึก ไม่ออกว่าหน้าตาของโรงเรียนที่จะทำ�ให้เด็กๆ อยากมาโรงเรียนทุกวันเป็นอย่างไร ลองพลิกดู ตัวอย่างการออกแบบโรงเรียนในหนังสือเล่มนี้ดู แล้วจะรูว้ า่ ไม่ใช่แค่เด็กเท่านัน้ ที่อยากมาโรงเรียน
Collezioni Close-Up นิตยสารที่จะพาผู้อ่านไปสัมผัสและเจาะลึกใน รายละเอียดของเทรนด์สาขาต่างๆ อย่างกระเป๋า และเครือ่ งประดับ (Bag & Accessories) กางเกง และยีนส์ (Pants & Jeans) ชุดชั้นในและชุด ว่ายนํ้า (Lingerie & Beachwear) เป็นต้น โดดเด่ น ด้ ว ยการนำ � เสนอเทรนด์ ที่ ไ ม่ ไ ด้ ใ ห้ ความสำ�คัญแค่กับสี สไตล์ และรูปทรงของ เสื้อผ้า หากลงลึกไปถึงลวดลาย รวมถึงราย ละเอียดและเทคนิคซึ่งมีความสำ�คัญไม่แพ้กัน ดังที่เห็นใน Close-Up ฉบับผ้าพิมพ์และการ เย็บปัก (Print & Embroidery) นอกจากนี้ยัง มี ฉ บั บ ที่ พู ด ถึ ง การออกแบบตกแต่ ง ภายใน (Interior Design, Furniture, Home Textile, Wallpaper) ซึ่งจะสร้างแรงบันดาลใจให้นัก ออกแบบได้ดี ดูเหมือนว่า ความท้าทายที่แท้ จริ ง ในยุ ค ที่ ทุ ก ข้ อ มู ล ถู ก ส่ ง ตรงสู่ มื อ นั ก ออกแบบอย่างง่ายดายนี้ คือการเลือกสรรแรง บันดาลใจและสร้างงานออกแบบของตัวเองให้ โดดเด่นและมีเอกลักษณ์นั่นเอง
Little Miss Sunshine กำ�กับโดย Jonathan Dayton และ Valerie Faris ชัยชนะกับความพ่ายแพ้ อะไรสำ�คัญกว่ากัน ภาพยนตร์ที่สะท้อนภาพสมาชิกสุดเพี้ยน 5 คน ของครอบครัวฮูเวอร์ พ่อทีก่ �ำ ลังตกงานและหวัง จะใช้หนังสือฮาวทูกา้ วสูค่ วามสำ�เร็จ แม่ผไู้ กล่เกลี่ย ความวุ่นวายและพยายามจะเลิกบุหรี่ ลุงที่เป็น โรคซึมเศร้าและเพิง่ ผ่านการพยายามฆ่าตัวตาย คุณปูข่ ย้ี าทีย่ งั ใช้ชวี ติ สุดขัว้ ลูกชายคนโตทีไ่ ม่พดู กับใครจนกว่าจะสอบเข้าโรงเรียนนักบินได้ และ โอลีฟ สาวน้อยแว่นหนาตัวกลมที่ฝันอยากเป็น นางงามเด็ก การเล่าเรื่องแบบโร้ดมูฟวี่บนรถ กระป๋องค่อยๆ สะท้อนความไม่สมประกอบ ของสมาชิกแต่ละคนออกมาแบบไม่ปกปิด บท ภาพยนตร์ส่งมุกขำ�ขันปนอารมณ์ขม เสียดสี สังคมอเมริกันอย่างตั้งใจ เพราะเมื่อทุกคนเดิน ทางมาถึ ง เวที ป ระกวดที่ ใ ห้ ค วามสำ � คั ญ กั บ รูปลักษณ์และความสมบูรณ์แบบเช่นเดียวกับ ความสำ�เร็จที่เราไขว่คว้า แต่ท้ายสุดพวกเขา กลับพบว่า ความสำ�เร็จอาจไม่ใช่ประเด็นที่แท้ จริง เพราะแม้จะกลายเป็นคนขี้แพ้ แต่หากแพ้ แล้ ว ยั ง มี ค นเคี ย งข้ า งและไม่ ป ฏิ เ สธใน ความไม่สมบูรณ์แบบ นั่นต่างหากคือชัยชนะ อันสำ�คัญ มิถุนายน 2554 l Creative Thailand 9
เปลีย่ นโลกรอบตัว
พิพิธภัณฑ์: เมื่อเทคโนโลยีล่าสุด ลุกขึ้นมาเล่า ประวัติศาสตร์ เรียบเรียงจากหนังสือ เปลีย่ นโลกรอบตัว โดย (ผูเ้ ขียน: ชนากานต์ คาํ ภิโล)
พิพิธภัณฑ์ที่อุดมด้วยความเงียบขรึม บอก เล่ า ประวั ติ ศ าสตร์ ชั้ น เยี่ ย มผ่ า นวั ต ถุ จั ด แสดงที่ยืนสื่อสารอยู่อย่างสงบนิ่ง จนบาง ครั้งก็น่าเบื่อจนหลายคนนึกอยากให้เหล่า รูปปั้นลุกขึ้นมามีชีวิตเหมือนในภาพยนตร์ ต้องขอบคุณเทคโนโลยีแปลกใหม่ที่ได้เข้า มาสร้ า งสี สั น ในพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ใ ห้ ก ลายเป็ น แหล่งความรู้ที่ไม่ร้างผู้คนอีกต่อไป
ภาพจาก www.glastroesch.ch
ใสไม่เห็นฝุ่น
ประวัติศาสตร์สร้างชาติ ความพร่ า มั ว และเงาสะท้ อ นบนกระจกใน นวัตกรรมสร้างอารมณ์
นิทรรศการ อาจทำ�ให้อรรถรสในการชมวัตถุ จัดแสดงลดลงไปไม่น้อย บริษัท Glas Trösch จึงคิดแก้ไขด้วยนวัตกรรมที่มองไม่เห็นอย่าง 'Luxar Magnetron' กระจกใสที่มองไม่เห็น ด้วยตาเปล่า และมีแสงสะท้อนน้อยกว่ากระจก ทั่วไป จึงเหมาะสำ�หรับการจัดแสดงงาน ตัว กระจกทำ�จากโลหะออกไซด์ที่แข็งแรง ไม่กัด กร่อนหรือเป็นสนิม และมีระบบ Magnetron Sputtering ช่วยดูดฝุ่นและสุญญากาศ ด้าน บนมีแร่ควอตซ์ช่วยป้องกันกระจกอีกชั้นหนึ่ง ทำ�ให้ทนต่อลม แดด และฝนได้ดี
ภาพจาก www.engadget.com
ปลุกพิพิธภัณฑ์ให้มีชีวิต ด้วยแผงระบบไฟโมดูลาร์ ทันทีที่คุณก้าวเท้าเข้าไป พิพิธภัณฑ์ก็จะลุกขึ้น มาสว่างไสวราวกับมีชีวิต ด้วยแผงไฟระบบ โมดูลาร์ทช่ี อ่ื 'Sensacell' เทคโนโลยีลา่ สุดของ Sensacell Corporation ที่สามารถตอบสนอง ความเคลื่อนไหวได้รวดเร็ว ภายในประกอบ ด้ว ยชุดหลอดไฟแอลอี ดี ที่ส่องสว่า งได้เยี่ยม ยอด เพียงเท่านี้ผู้ชมก็สามารถสนุกกับการเดิน เที่ยวพร้อมเก็บเกี่ยวความรู้แบบไม่เงียบเหงา ไปตลอดทาง 10
Creative Thailand
l มิถุนายน 2554
ภาพจาก www.blimages.com
เพื่อเพิ่มความขลังของพิพิธภัณฑ์ให้ถ่ายทอด เรื่ อ งราวได้ อ ย่ า งลุ่ ม ลึ ก จนรู้ สึ ก เสมื อ นอยู่ ใ น เหตุการณ์จริง 'Backlight Image' วัสดุแปลง ภาพเป็นสองมิติ ผลงานของบริษัท R.D. Wing Company ที่ใช้วัสดุพื้นผิวแข็งอย่าง DuPont™ Corian® ซึ่งมีความหนาทึบ ¼ นิ้วและนับเป็น วัสดุที่ดีที่สุดสำ�หรับการผลิตภาพ Backlight Image ส่วนพื้นผิวถูกสร้างขึ้นจากภาพดิจิทัล เมื่อนำ�ภาพปกติไปฉายแสงบนวัสดุดังกล่าว รูปภาพจะปรากฏขึ้นเป็นแสงและมีสีขาวดำ� 256 เฉด สามารถผลิตเป็นภาพที่มีขนาด 4 X 6 นิ้ว จนถึง 30 X 96 นิ้ว หรือจะทำ�เป็นภาพโลโก้ และภาพกราฟิกชนิดอื่นๆ ให้เป็นสองมิติ ก็น่า สนใจไม่แพ้กัน
พิพธิ ภัณฑ์ไทย ไม่ไปไม่รู้
แม้ต่างประเทศจะมีพิพิธภัณฑ์ก้าวลํ้าเทคโนโลยีขนาดไหน แต่เมืองไทยก็มีพิพิธภัณฑ์ที่ไม่ ธรรมดาอยู่มากมายเช่นกัน อย่าง “พิพิธภัณฑ์เพลงลูกทุ่ง” ย่านจรัญสนิทวงศ์ 13 ที่จัด แสดงสิ่งของเครื่องใช้ของศิลปินเพลงลูกทุ่งได้อย่างน่าสนุก รวมถึงการจัดให้มีโซนห้องสมุด ที่เก็บแผ่นเสียงทุกชนิดที่มีในประเทศไทย ตั้งแต่สมัยแผ่นครั่ง 78 สปีดจนถึงปัจจุบัน หรือ อย่าง “พิพิธภัณฑ์มด” ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่พูดถึงเรื่องราวของมดในหลากมิติ ตั้งแต่รูปร่าง วิวัฒนาการ สังคม การสื่อสาร ความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ไปจนถึงการใช้ ชีวิตของมดในมุมเปรียบเทียบกับมนุษย์เลยทีเดียว
Classic Item
เรือ่ ง: ดนัย คงสุวรรณ์ ก่อนที่จะถูกใช้เป็นชื่อรายการเรียลลิตโ้ี ชว์ คำ�ว่า “อะแคเดมี” มัก ทำ�ให้ใครๆ นึกถึงความเคร่งขรึมของการเรียนการสอนแบบนัก วิชาการ แต่หากย้อนกลับไปดูกพ ็ บว่า จุดกำ�เนิดของ “อะแคเดมี” นีม้ าจากวิธกี ารเรียนรูท้ ล่ี า้ํ สมัยแบบไม่ขน้ึ กับหลักสูตร ในยุคแห่ง ความเจริญรุ่งเรืองทางปัญญา (และปรัชญา) เมื่อกว่าสองพันปี มาแล้ว
ย้อนไปไกลถึงสมัยกรีก ราว 385 ปีก่อนคริสตกาล เมื่อ “เพลโต”
ปราชญ์ชาวกรีกคนสำ�คัญในประวัติศาสตร์โลก ตั้งสถาบันศึกษา ปรัชญาขึน้ ในอะแคเดเมีย สวนศักดิส์ ทิ ธิแ์ ห่งอธีนา เทพีผเู้ ป็นตัวแทน ของปัญญาและทักษะ ทางตอนเหนือของกรุงเอเธนส์โบราณ นัก ประวัติศาสตร์เชื่อว่า “อะแคเดมี” ในยุคนั้น ไม่ได้มีหลักสูตรบัญญัติ ชัดเจน หากเป็นเพียงการถกปัญหาซึง่ น่าจะเกีย่ วข้องกับคณิตศาสตร์ และปรั ช ญาที่ ตั ว เพลโตเองมี ค วามสนใจในฐานะอาจารย์ แ ละ นักเรียนเท่านั้น อย่างไรก็ดี สถาบันที่ว่านี้ก็ไม่ได้เปิดกว้างสำ�หรับ บุคคลทัว่ ไป และนักเรียนที่เข้ารับการศึกษาก็มกั จะเป็นกลุม่ คนทีก่ ลาย เป็นนักการเมืองของอารยธรรมกรีกในเวลาต่อมา ปราชญ์ชาวกรีก คนสำ�คัญอีกหลายคนก็ลว้ นเคยรํา่ เรียนในสถาบันนี้ รวมถึง อริสโตเติล เซโนคราแตส และแครนเตอร์ หลังจากเพลโตสิน้ ชีวติ แล้ว “อะแคเดมี” ก็ยงั ดำ�รงอยูน่ านนับศตวรรษ ด้วยการสานต่อของสานุศิษย์ผู้สืบทอดหลายต่อหลายรุ่นแม้จะเว้น
ช่วงหรือมีการตีความใหม่บา้ ง แต่แนวคิดหลักของโรงเรียนยังคงอยูท่ ่ี ความสงสัยในสรรพสิ่ง (Skepticism) ตามเจตนาดั้งเดิมของเพลโต สถาบันแห่งนี้มาถูกปิดเอาโดยถาวรก็เมื่อปี 529 หลังคริสตกาล ที่ อารยธรรมกรีกตกอยูภ่ ายใต้การปกครองของจัสติเนียนที่ 1 จักรพรรดิ ชาวโรมัน ผู้ฝักใฝ่ศาสนาคริสต์นิกายออร์โธด็อกซ์ และปิดกั้นศรัทธา ชนิดอื่นๆ รวมถึงปรัชญาของเพลโตในอาณาจักรของตนโดยสิ้นเชิง ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่า “อะแคเดมี” กลับมาเกิดใหม่ได้อีกครั้งหลังเวลา ผ่านไปนับพันปี เมื่อยุคเรอเนสซองส์ในอิตาลี (ศตวรรษที่ 13-16) นำ�มาซึง่ การหวนกลับไปชืน่ ชมภูมปิ ญั ญาโบราณ รวมถึงปรัชญาของ เพลโต ที่นักวิชาการบางส่วนกลับมาให้ความนิยม และจงใจนำ�ชื่อ “อะแคเดมี” กลับมาใช้ แต่ด้วยธรรมชาติของแนวคิดที่ยังขัดแย้งกับ คริสตศาสนจักรทีเ่ รืองอำ�นาจในเวลานัน้ ทำ�ให้นกั วิชาการกลุม่ นีโ้ ดน ปราบปรามอีกครั้ง กระนั้นก็ตาม การใช้คำ�ว่า “อะแคเดมี” เป็นชื่อ สถาบันก็ยังคงอยู่ ทว่าเป็นเพียงคำ�โก้เก๋ที่สมาคมหรือโรงเรียนสอน ศิลปะนิยมนำ�มาใช้เท่านั้น หาได้เกี่ยวข้องกับเพลโตอย่างมีสาระ สำ�คัญอีกต่อไป ปัจจุบันคำ�ว่า “อะแคเดมี” ยังถูกใช้อย่างกว้างขวาง ส่วนมากพบใน ชื่อสถาบันการศึกษาที่เกี่ยวกับวรรณกรรมหรือศิลปะ เช่น Royal Academy of Music ของอังกฤษ รวมไปถึงสมาคมผู้มีความ เชี่ยวชาญในทักษะต่างๆ อาทิ นักวิทยาศาสตร์ นักเขียน หรือศิลปิน ที่รู้จักกันดีทั่วไปก็ได้แก่ Academy of Motion Picture Arts and Sciences ที่จัดงานมอบรางวัลออสการ์ทุกปีนั่นเอง ที่มา: วิกิพีเดีย, Iep.utm.edu ภาพจาก WikiCommon มิถุนายน 2554
l
Creative Thailand
11
Cover Story เรื่องจากปก
เรื่อง: มณฑิณี ยงวิกุล
Cover Story เรื่องจากปก
การคว้าแชมป์วงดุริยางค์โยธวาทิตโลก เป็นว่าเล่นของเด็กไทย นำ�มาซึ ่ งความ ภูมิใจของคนในชาติ และอาจทำ�ให้หลาย คนเข้าใจว่า ประเทศไทยน่าจะเต็มไปด้วย นักดนตรีชั้นนำ� แต่ทว่าในการบ่มเพาะ นักดนตรีเพื่อสร้างอุตสาหกรรมดนตรีที่ แข็งแรงแท้จริงนั้น ต้องมีอีกหลายองค์ ประกอบนอกเหนื อ จากความพร้ อ ม เพรียงซึ่งถือเป็นเคล็ดลับสำ�คัญในการ สร้างวงโยธวาทิต
ต้องมีพรสวรรค์ก่อน?
"น้องเต๋า" ด.ช. อมริน เวชเล่อร์ วัย 7 ขวบ ขณะเดี่ยวเปียโน ในกิจกรรม Music@TCDC (ภาพโดยกัลย์ธีรา สงวนตั้ง)
เมื่อถามแชมป์คณิตศาสตร์โอลิมปิกถึงเคล็ดลับ ของการเรียนเก่งนั้น คำ�ตอบที่ได้รับไม่ใช่เรื่อง ของพรสวรรค์แต่คือการหมั่นฝึกซ้อมเพื่อสร้าง ความชำ�นาญในการแก้โจทย์ที่ยากขึ้น ซึ่งไม่ แตกต่างจากความคิดของรองศาสตราจารย์ สุกรี เจริญสุข ผูอ้ �ำ นวยการวิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดลที่เชื่อมั่นว่าพรสวรรค์มา จากการฝึกฝนไม่ใช่มาจากดีเอ็นเอ เช่นเดียวกับ ชินอิชิ ซูซกู ิ ครูดนตรีชาวญีป่ นุ่ ที่ก่อตั้งสถาบันวิจัยพรสวรรค์ศึกษา (Talent Education Research) เมื่อ 50 ปีก่อน ด้วย ความเชื่อที่ว่าสามารถช่วยให้เด็กทุกคนที่อยาก เรียนดนตรีเก่งได้ ดังนั้น รศ.สุกรีจึงได้จัดตั้ง “โครงการวิจัยพรสวรรค์ศึกษา” เมื่อปี 2538 เพื่ อ สร้ า งต้ น แบบของการศึ ก ษาดนตรี ข อง ประเทศไทย โดยโครงการดังกล่าวแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนที่หนึ่งคือ การเรียนเรื่องความรู้ ดนตรีทั่วไปเพื่อให้เด็กได้เรียนดนตรีเพื่อความ สุขส่วนตัว ส่วนที่สองคือ การเรียนดนตรีเพื่อ เป็นพืน้ ฐานในการศึกษาต่อ และประเภททีส่ าม คือ การเรียนเพื่อประกอบอาชีพนักดนตรี ซึ่ง เป็นกลุ่มที่มีจำ�นวนไม่มากนักในตอนเริ่มเรียน แต่จะเป็นกลุ่มที่ได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่ ทั้งในด้านการเรียนแบบตัวต่อตัวหรือเป็นกลุ่ม การตั้งวงดนตรี การออกแสดงตามงานต่างๆ มิถุนายน 2554
l
Creative Thailand
13
Cover Story เรื่องจากปก
ตลอดจนมีการจัดผู้จัดการเพื่อคอยดูแลให้ผู้ เรียนได้ซ้อมดนตรีอย่างจริงจังจนกระทั่งได้ บันทึกแผ่นเสียง ซึ่งนับเป็นกระบวนการพัฒนา ไปสู่ความเป็นมืออาชีพ และทำ�ให้เกิดความ เชื่อมั่นว่าโอกาสของการเป็นนักดนตรีนั้นเป็น ไปได้ “บ้านเราขาดแคลนคนเล่นดนตรีที่เรียกว่า มืออาชีพ ซึ่งไม่ได้หมายถึงการประกอบอาชีพ เป็นนักดนตรีแล้วจะเป็นมืออาชีพ แต่ความ สามารถตรงนี้ มี ค่ า เท่ า กั บ ระดั บ ชาติ แ ละ นานาชาติ คือสามารถแสดงได้ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด หรือยังสามารถไปเล่นได้ที่ นิวยอร์กได้ด้วย” รศ.ดร.สุกรียังบอกอีกด้วยว่า การทำ�ดนตรีให้เป็นอาชีพต้องเริ่มจากการสร้าง “ความรู้คู่ชีวิต” ที่ต้องทำ�ตั้งแต่เด็กก่อนอายุ 12 ปี เพราะเป็นช่วงที่เด็กจะได้เรียนรู้แต่แรก เริม่ และเป็นการสร้างสิง่ แวดล้อมให้เด็กมีความ รู้สึกนึกคิดพร้อมที่จะเป็นนักดนตรีที่แท้จริง นั่นคือที่มาของการก่อตั้งวง “ด็อกเตอร์ แซ็กแชมเบอร์ออร์เคสตรา” (Dr. Sax Chamber Orchestra) ขึ้นเพื่อคัดเลือกเด็กอายุ 10-14 ปี เข้าฝึกซ้อม โดยมีเป้าหมายในการสร้างวงดนตรี ประเภทแชมเบอร์ออร์เคสตราให้เป็นตัวอย่าง สำ�หรับระบบการศึกษาไทย “พรสวรรค์คือไม่เก่งแต่ชำ�นาญ ไม่เชี่ยว ชาญแต่เคยมื อ ทำ � ตลอดเวลา การทำ�บ่อย ทำ�ให้สมบูรณ์ อัจฉริยะมาจากการฝึก” จากวันที่เริ่มก่อตั้งในปี 2540 วงด็อกเตอร์ แซ็กฯ ใช้เวลาแปดปีในการก้าวสูก่ ารเป็นแชมป์ จากการประกวด International Youth Chamber Music Competition ณ เมืองอินเตอร์ลาเคน ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ในปี 2548 อย่างไรก็ตาม แม้ว่าโครงการดังกล่าวจะ สามารถพิ สู จ น์ ค วามเชื่ อ เรื่ อ งการสร้ า งพร สวรรค์ แต่การจะสร้างโอกาสให้เด็กได้มโี อกาส ฝึกซ้อม หรือสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กหันมา ประกอบอาชีพนักดนตรีอย่างจริงจังนั้นยังต้อง อาศัยแรงผลักดันอีกหลายอย่าง 14
Creative Thailand
l มิถุนายน 2554
ฟังและฝึกซํ้าๆ จากแนวคิดและกระบวนการเรียนรู้แบบอิงกับธรรมชาติของมนุษย์ของ ชินอิชิ ซูซูกิ ที่เกิดจาก การสังเกตว่าเด็กสามารถพูดภาษาของตัวเองได้ด้วยการฟังและเลียนแบบโดยไม่ต้องมีการสอน อันนำ�มาสูแ่ นวทางการสอนดนตรีทเ่ี รียกว่า Suzuki Method ซึง่ มีหลักการสำ�คัญคือ “เราอยากให้ เด็กเป็นอย่างไร เราต้องสร้างสิ่งแวดล้อมแบบนั้นขึ้นมา” รวมถึงความเชื่อที่ว่า เด็กต้องได้เรียนรู้ ตามธรรมชาติของแต่ละคน และการฝึกฝนจะช่วยตอกยํ้าการเรียนรู้ ด้วยวิธีนี้ การเรียนรู้ของ เด็กในช่วงแรกจะช้า แต่เมื่อถึงจุดหนึ่งมันจะเป็นไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้น วิธีการของซูซูกิจึงเน้น ขั้นตอนของการฟังเป็นพื้นฐานแรก ทั้งการฟังดนตรีต้นฉบับซํ้าๆ การเลียนแบบครูผู้สอน และ ฝึกปฏิบตั กิ บั เครือ่ งดนตรีอย่างสมํา่ เสมอ การฟังและฝึกฝนนีท้ �ำ ให้ผเู้ รียนสามารถวิเคราะห์ตนเอง และพัฒนาทักษะได้โดยไม่ต้องอิงตามกฎเกณฑ์การเรียนแบบดั้งเดิม
สภาพแวดล้อมต้องเป็นใจ ในช่วงสิบปีท่ผี ่านมาสังคมไทยเริ่มมีการเปลี่ยน แปลงที่เป็นสัญญาณบวกต่อวงการดนตรี ด้วย ความคิดของผู้ปกครองรุ่นใหม่ที่ต้องการให้ลูก มี ทั ก ษะด้ า นดนตรี เ พื่ อ เสริ ม สร้ า งสมอง โรงเรี ย นสอนดนตรี เ อกชนจึ ง มี นั ก เรี ย นมา สมัครเรียนเพิ่มมากขึ้น อย่างเช่นโครงการสอน ดนตรี สำ � หรั บ บุ ค คลทั่ ว ไปของมหาวิ ท ยาลั ย มหิดลที่มีนักเรียนถึง 1,200 คน ซึ่งเท่ากับเป็น
การเริ่มต้นบ่มเพาะความสนใจของเด็กก่อนที่ จะตัดสินใจศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ดังนั้น เมื่อเด็กกลุ่มนี้เข้าไปเรียนต่อใน มหาวิทยาลัยจึงแทบจะเรียกได้ว่าสามารถเล่น ดนตรีพื้นฐานได้เกือบทุกคน ในขณะที่รูปแบบ การสอนก็เปลี่ยนแปลงไปมากขึ้นจากเมื่อสิบปี ก่อนที่เด็กจะต้องเล่นเพลงให้เหมือนต้นฉบับ ทุกประการจึงจะถือว่าผ่านมาตรฐาน แต่ใน ปัจจุบันที่นักเรียนและอาจารย์รุ่นใหม่ซึ่งเป็น ผลผลิ ต ของสถาบั น การศึ ก ษาหลั ก อย่ า ง
Cover Story เรื่องจากปก
ปฏิบัติการหาเพชรในตม เวเนซุเอลา ประเทศที่เต็มไปด้วยความวุ่นวายทางการเมืองและการทำ�รัฐประหารเปลี่ยนผู้นำ� แม้วา่ จะรํา่ รวยจากการส่งออกนํา้ มัน แต่ประเทศกลับมีหนีก้ อ้ นโตและประชากรยากจนทีแ่ วดล้อม ไปด้วยยาเสพติดและความรุนแรง แต่ใครจะรู้ว่า เวเนซุเอลาคือหนึ่งในอนาคตใหม่ของวงการ ดนตรีคลาสสิกโลก ในปี 1975 โฆเซ่ อันโตนิโอ อบริว ก่อตัง้ องค์กรทางสังคมด้านดนตรีทเ่ี รียกว่า “เอล ซิสเตมา” (El Sistema) ขึ้นที่เมืองคาราคัส ด้วยวัตถุประสงค์ในการใช้ดนตรีคลาสสิกมาเยียวยาและกล่อม เกลาเด็กและเยาวชนที่มีฐานะยากจนให้พ้นจากการข้องเกี่ยวกับยาเสพติดและอาชญากรรม ความทุ่มเทของโฆเซ่เริ่มเป็นรูปเป็นร่างชัดเจนเมื่อวงออร์เคสตราของเขาชนะเลิศในการ แข่งขันระดับนานาชาติที่เมืองแอเบอร์ดีนในสกอตแลนด์ ทำ�ให้รัฐบาลเวเนซุเอลาตัดสินใจให้เงิน สนับสนุนเพื่อใช้ในการซื้อเครื่องดนตรีและฝึกสอน ผ่านการเปลี่ยนรัฐบาลไปถึงสิบครั้งจนมา ถึงรัฐบาลของฮูโก ชาเวซ ที่จัดสรรงบประมาณกว่า 20 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สำ�หรับเอล ซิสเตมา “ในฐานะนักดนตรีชาวเวเนซุเอลา ผมใช้ศิลปะเป็นเครื่องมือในการพัฒนาสังคม การสร้าง พลเมือง และการศึกษาให้กับเด็กแทนการศึกษาในระบบที่ยังด้อยประสิทธิภาพ” โฆเซ่กล่าว และสำ�หรับเขาดนตรีคลาสสิกเป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดด้วยปรัชญาที่ว่า “วงออร์เคสตราคือชุมชนที่ มีข้อตกลงในการทำ�สิ่งสวยงามร่วมกัน” ในช่วงเริ่มก่อตั้ง เวเนซุเอลามีวงออร์เคสตราเพียงสองวง แต่เมื่อผ่านพ้นมา 30 กว่าปี เอล ซิสเตมา ไม่เพียงสอนนักดนตรีคลาสสิกทีม่ ากถึง 5 แสนคน แต่ยงั เพิม่ จำ�นวนวงออร์เคสตรา ในประเทศเป็น 200 วง จนกลายเป็นแรงกระเพื่อมให้กับรัฐบาลใน 23 ประเทศทั่วโลกเริ่มจัด ทำ�โปรแกรมการสอนดนตรีอย่างเดียวกับ เอล ซิสเตมา วงออร์เคสตรา Simon Bolivar Youth Orchestra ภายใต้การคุมวงของวาทยกร กุสตาโว โดนาเมล คือหนึ่งในผลผลิตที่สำ�คัญ ด้วยลีลาและท่วงทำ�นองเพลงคลาสสิกดั้งเดิมและการ ผสมผสานความสนุกสนานแบบลาตินอเมริกา จึงทำ�ให้วงสามารถแจ้งเกิดบนเวทีนานาชาติอย่าง คาร์เนกี้ ฮอลล์ ในสหรัฐอเมริกา และงานดนตรีประจำ�ปี The Henry Wood Promenade Concerts presented by the BBC ณ รอยัลอัลเบิร์ตฮอลล์ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ส่วนหนึ่งของหลักฐานในการแจ้งเกิดของวงเยาวชนจากเวเนซุเอลานั้น มาจากรายงานข่าว ของบีบซี ที ร่ี ะบุวา่ พลาซิโด โดมิงโก นักร้องโอเปร่าชือ่ ก้องโลกถึงกับหลัง่ นํา้ ตาเพราะเสียงเพลงที่ สามารถกระชากอารมณ์อย่างถึงแก่น ขณะเดียวกัน เซอร์ ไซมอน แรทเทิล ผูอ้ �ำ นวยการวงเบอร์ลิน ฟิลฮาร์โมนิก ก็ถึงกับเอ่ยปากว่านักดนตรีเยาวชนเหล่านี้กำ�ลังทำ�งานสำ�คัญให้กับวงการเพลง คลาสสิกของโลกแล้ว ไม่เพียงเท่านัน้ การแสดงทีเ่ มืองเอดินบะระและกรุงลอนดอนยังทำ�ให้รฐั บาล ของสหราชอาณาจักรตัดสินใจอัดฉีดเงินเพิ่มถึง 332 ล้านปอนด์สำ�หรับการศึกษาด้านดนตรี เพื่อ ดำ�เนินโครงการทีไ่ ด้รบั แรงบันดาลใจจากเอล ซิสเตมา อย่าง “อิน ฮาร์โมนี” ซึง่ เป็นการจัดสรรเงินให้ กับพื้นที่ที่เป็นชุมชนยากจนในอังกฤษสามแห่ง รวมถึงการจัดตั้ง “ซิสเตมา สกอตแลนด์” ขึ้นใน เขตราพลอช (Raploch) เมืองสเตอร์ลิงของสกอตแลนด์ เพื่อใช้ดนตรีเป็นเครื่องมือในการรับมือ กับปัญหาความยากจน โดยได้รับเงินสนับสนุนจากสภาศิลปะแห่งสกอตแลนด์ด้วย เรื่องราวของเอล ซิสเตมา ได้รับการถ่ายทอดอยู่ในสารคดีชื่อ Tocar Y Luchar (To Play and To Fight) ที่เรียกทั้งรอยยิ้มและนํ้าตาแห่งความประทับใจให้กับหลายๆ คนมาแล้ว
ภาพจาก Flickr โดย Alex-S มิถุนายน 2554
l
Creative Thailand
15
Cover Story เรื่องจากปก
ดอกผลของวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ที่กลายมาเป็นคลื่นลูกใหม่ ในแวดวงดนตรีของประเทศไทยในวันนี้
16
Creative Thailand
l มิถุนายน 2554
มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยศิลปากร และ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้เข้ามาเป็นครูผู้สอน จึง ทำ � ให้ ก ารเรี ย นการสอนเริ่ ม เปิ ด ให้ เ ด็ ก ได้ ทดลองทำ�สิ่งใหม่ได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม แม้สภาพแวดล้อมทางการ ศึกษาจะเริ่มดีขึ้นจากหลักสูตรที่เข้มข้นไม่แพ้ สถาบันในต่างประเทศ บวกกับความเข้าใจของ ครอบครัวที่สนับสนุนให้เด็กเรียนดนตรีมากขึ้น แต่สภาพแวดล้อมสำ�หรับการก้าวเข้าสู่อาชีพ นักดนตรีก็เป็นเรื่องสำ�คัญเช่นกัน จากตัวอย่างความสำ�เร็จของไทยแลนด์ ฟิลฮาร์โมนิก ออร์เคสตรา (TPO) อีกหนึ่งวง จากวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นวง ซิมโฟนีมืออาชีพในประเทศไทย ทำ�ให้อาชีพ นักดนตรีดูมีอนาคตมากขึ้น แต่ที่มาของวงนั้น ต้องมีการผลักดันอย่างมากเพื่อให้รัฐบาลยอม ลงทุนกับวงออร์เคสตราของเด็กนักเรียน ซึ่ง รศ.สุ ก รี ใ นฐานะผู้ก่อ ตั้งและผู้อำ �นวยการวง กล่าวว่า ในยุคแรกมีอุปสรรคหลายด้าน ตั้งแต่ ไม่มีงบประมาณ ไม่มีเครื่องมือ และไม่มีคน คุณภาพ จึงต้องค่อยเป็นค่อยไปทั้งจากการ สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้เล่น และการทำ�ให้ รัฐบาลยอมให้เงินสนับสนุน “TPO เกิดขึน้ มาห้าปีแล้วอย่างมืออาชีพและ กำ�ลังก้าวสู่ปีที่หกในฤดูกาลต่อไป ด้วยระยะ เวลาที่ผ่านมาทำ�ให้ฤดูกาลหน้าเป็นฤดูกาลที่ สำ�คัญ คือนักดนตรีจะมีค่าตัวมากขึ้นและมี รายได้มากขึน้ เพราะเมือ่ ก่อนนักดนตรีมรี ายได้ ไม่แน่นอนเป็นอาชีพเลื่อนลอย แต่วงดนตรี สามารถยืนหยัดแสดงคอนเสิร์ตมาแล้วถึง 200 ครั้ง ทุกคอนเสิร์ตนักดนตรีมีรายได้แน่นอน ทุก เดือนมี ร ายได้แน่น อน มั น เป็ น การสร้ าง ความเชื่อมั่นในอาชีพซึ่งเป็นสิ่งใหม่มากๆ ของ ประเทศไทย” สำ � หรั บ การแจ้ ง เกิ ด ในฐานะนั ก ดนตรี อาชีพสาขาอื่นๆ ที่ไม่ใช่วงออร์เคสตรานั้น ถ้า หากความสามารถไม่ไปด้วยกันกับธุรกิจหรือ
บุคลิกภาพไม่โดดเด่นถูกใจตลาดผู้เสพ และใจ ไม่ รั ก พอที่ จ ะยื น หยั ด เลี้ ย งชี พ ด้ ว ยการเล่ น ดนตรีในสถานบันเทิง ก็อาจจะต้องผันตัวเอง มาสู่ อ าชี พ ครู ส อนดนตรี ที่ ยั ง คงเป็ น สิ่ ง ที่ ขาดแคลนสำ�หรับวงการศึกษาดนตรีของไทย “สถาบันการศึกษายังมีนอ้ ย จึงผลิตบุคลากร ด้านนีไ้ ด้นอ้ ย แต่ที่เหนือไปกว่านัน้ คือความพิเศษ ของอาชีพครูสอนดนตรีที่ไม่ได้มีแค่ 'พรสวรรค์' หรือความสามารถทางด้านดนตรีเท่านั้น แต่ ต้ อ งสวมวิ ญ ญาณครู เ ป็ น นั ก ถ่ า ยทอดที่ ดี ไ ด้ ด้วย” บุปผวรรณ ธีระวรรณวิไล ผู้อํานวยการ สถาบันจินตการดนตรีกล่าว ปัญหาการขาดแคลนครูและบุคลากรด้าน ดนตรีนั้นต้องย้อนกลับมาที่ปัญหาตั้งต้นของ ระบบการศึกษาไทยที่ยังมองข้ามดนตรีมาเป็น เวลานานกว่าที่จะมีพระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติปี 2542 ที่มีการปรับหลักสูตรแยก ดนตรีออกมาเป็นวิชาเฉพาะ จากเดิมที่ครูหนึ่ง คนสอนทั้งวาดรูป รำ�ไทย และดนตรี “สิ่งที่เราเสียคือโอกาส เราไม่ได้พัฒนาคน ที่เก่งให้ไปสู่ความเป็นเลิศของเขา สมมติเขา ได้ 60-70 เปอร์เซ็นต์ แล้วรัฐอุ้มชูส่งให้ครบ 100 เปอร์เซ็นต์ เราจะได้คนฝีมือสูงสุดกลับมา ถ้าได้สัก 20-30 คน จะเปลี่ยนประเทศเราได้ ทันที” รศ.สุกรีกล่าว เมื่อมีการปรับหลักสูตรให้สมบูรณ์มากขึ้น แต่ทว่าการให้งบประมาณสนับสนุนอย่างเต็มที่ ยังเป็นเรือ่ งทีต่ อ้ งถกเถียง เพราะดัชนีวดั ผล (KPI) ของดนตรี นั้ น ต้ อ งใช้ เ วลานานหลายปี ที่ จ ะ ออกดอกออกผลเหมื อ นดั ง เช่ น ที่ วิ ท ยาลั ย ดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เดินทาง มาแล้ว 16 ปีก่อนที่จะก้าวขึ้นมาเป็นหนึ่งใน 198 สถาบันดนตรีของโลกตามการคัดสรรของ สถาบันเรนโกลด์ (Rhinegold Directories) ประเทศอังกฤษ
Cover Story เรื่องจากปก
ไม่ เ พี ย งแต่ ก ารยอมรั บ ในฐานะสถาบั น ดนตรีข องโลกเท่านั้น ดอกผลของวิท ยาลัย ดุริยางคศิลป์ในวันนี้ ยังกลายเป็นการตบเท้า เข้าเป็นคลื่นลูกใหม่ในวงการดนตรีบ้านเรา ทั้ง ที่เฉิดฉายอยู่เบื้องหน้าและที่เป็นกำ�ลังสำ�คัญ อยู่เบื้องหลัง และนั่นก็หมายความว่า การสร้าง อุตสาหกรรมที่แข็งแรงเป็นไปได้ หากเราให้ ความสนใจและให้เวลามากพอกับการพัฒนา “คน” เพื่อสร้างมืออาชีพ อย่างที่เราได้ยินจาก ปากของผู้ ผ ลั ก ดั น การศึ ก ษาด้ า นดนตรี ค น สำ�คัญในบ้านเราอย่าง รศ.สุกรีนั่นแหละว่า พรสวรรค์ด้านดนตรีนั้น “สร้างได้” ที่มา: El Universal, Caracas, Venezuela,12 มกราคม 2008 รายงาน Venezuela youths transformed by music โดย BBC news www.oknation.net/blog/print.php?id=65160 www.bandinstrumentsthailand.com วิกิพีเดีย
แปรขบวนแชมป์โลกวงโยธวาทิต ภาพเด็กนักเรียนชาย-หญิงที่เล่นเครื่องดนตรีและเดินไปมาตามจังหวะอย่างพร้อมเพรียงกันใน สนามของโรงเรียนต่างๆ ที่เห็นในป้จจุบัน อาจไม่ได้เป็นแค่การฝึกซ้อมสำ�หรับกิจกรรมกีฬาสี หรืองานพิธีอีกต่อไป เมื่อเป้าหมายการเป็นแชมป์โลกโยธวาทิตอย่างที่รุ่นพี่โรงเรียนต่างๆ เคย คว้ามานัน้ ไม่ได้ไกลจนเกินเอือ้ มอย่างทีแ่ ชมป์ปลี า่ สุดจากโรงเรียนสุรนารีวทิ ยา จังหวัดนครราชสีมา ได้พิสูจน์มาแล้ว ในการพัฒนาวงโยธวาทิตไปสู่ระดับการแข่งขันนั้น ไม่เพียงแต่ผู้ปกครองและเด็กต้องมี ความพร้อมในเบือ้ งต้นแล้ว แต่ยงั ต้องมีงบประมาณเริม่ ต้นราวๆ หนึง่ ล้านบาท เพือ่ เป็นค่าเครือ่ ง ดนตรี ค่าฝึกสอน ค่าชุด และค่าใช้จ่ายต่างๆ ในระหว่างการฝึกซ้อม และถ้าหากก้าวไปสู่การ แข่งขันในระดับนานาชาติหรือระดับโลก ก็อาจต้องใช้เงินมากกว่า 8 ล้านบาท (สําหรับสมาชิกวง 100 คน) ซึ่งอาจจะเป็นอุปสรรคสำ�หรับบางโรงเรียน โรงเรียนทีจ่ ดั อยูใ่ นอันดับต้นๆ ของโลกอย่างโรงเรียนวัดสุทธิวราราม หรือโรงเรียนมงฟอร์ต วิทยาลัย คือต้นแบบของหลายโรงเรียนในการสนับสนุนการจัดตัง้ วงโยธวาทิตเพือ่ สร้างชือ่ เสียงให้ กับสถาบัน โดยการสนับสนุนงบประมาณนัน้ มีตง้ั แต่การจัดจ้างทีมฝึกสอนเด็กทีไ่ ม่มพี น้ื ฐานการ เล่นดนตรีให้สามารถเล่นเพลงชาติ และเพลงพิธีการต่างๆ ได้ภายในไม่กี่เดือน หลังจากนั้นจึง ฝึกการเดินแปรขบวนและคิดรูปแบบการแสดงเพื่อเข้าแข่งขันตั้งแต่ระดับภายในประเทศอย่าง การชิงแชมป์ประเทศไทย ก่อนจะขยับไปสู่ระดับนานาชาติ จากนั้นจึงขยับขึ้นไปสู่เวทีที่ใหญ่ ที่สุดในโลกคือ การชิงแชมป์โลกที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งจัดขึ้นทุกๆ สี่ปี เวทีนี้จึงเปรียบ เสมือนโอลิมปิกของวงโยธวาทิตที่จะมีการแข่งขันทั้งแบบการนั่งบรรเลง การเดินบรรเลง และวง แปรขบวน ซึ่งระดับที่ยากที่สุดจะเป็นการแข่งขันแบบไม่จำ�กัดรุ่นซึ่งจะวัดกันที่ฝีมืออย่างเดียว โดยจากวงดนตรีของไทยทีไ่ ปแข่งทัง้ หมด 7 วง โรงเรียนสุรนารีวิทยาชนะเลิศในตำ�แหน่ง “ท็อป ออฟ เดอะ เวิลด์ แชมป์เปี้ยนชิพ” โดยได้รับคะแนนสูงสุดในการแข่งขันดนตรีโลกครั้งที่ 16 ด้วย คะแนนรวม 1,330.50 จากคะแนนเต็ม 1,400 คะแนน คิดเป็น 95.03 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือ โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี และอันดับที่สี่เป็นของโรงเรียนชลกันยานุกูล จังหวัดชลบุรี ความสำ�เร็จในระดับนานาชาตินี้ไม่ได้ส่งผลแค่การสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศและสถาบัน การศึกษาเท่านั้น แต่ยังสร้างโอกาสให้เด็กได้รู้จักดนตรีในฐานะของความรู้คู่ชีวิต ทั้งยังเป็นการ เตรียมความพร้อมก่อนตัดสินใจศึกษาเพื่อก้าวสู่อาชีพนักดนตรีที่ต้องทุ่มเทฝึกซ้อม หรือการเป็น ครูสอนดนตรีที่เต็มเปี่ยมไปด้วยจิตวิญญาณในการสร้างเด็กรุ่นใหม่ หรือแม้กระทั่งการหันหลัง ให้กับจังหวะและเสียงดนตรีเพื่อประกอบอาชีพอื่นก็ตาม
มิถุนายน 2554
l
Creative Thailand
17
Insight
เรื่อง: มนฑิณี ยงวิกุล หากคุณกำ�ลังมองหาสถานที่เรียนหรืองานในสาขาสื่อดิจิทัล หรือแฟชั่นที่สหราชอาณาจักร ลองแวะไปที่เว็บไซต์ของสภาผู้ ประกอบอาชีพด้านสื่อเชิงสร้างสรรค์ หรือ สกิลเซ็ต (skillset.org) ที่ดูเผินๆ เหมือนเว็บไซต์แนะแนวการศึกษาและหางานทั่วไป แต่ กลับเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์สำ�คัญในการสร้างความได้เปรียบ ให้กับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของสหราชอาณาจักร
สกิลเซ็ตเป็นหนึ่งในองค์กรภายใต้สภาผู้ประกอบอาชีพที่ต้องใช้ทักษะ (Sector Skill Councils) ซึง่ ทำ�หน้าทีค่ รอบคลุมตัง้ แต่การจัดทำ�วิจยั ร่วมมือ กับสถาบันการศึกษาเพื่อรับรองและออกแบบหลักสูตรการเรียน ทดลอง งานจากการทำ�งานจริง รวมถึงร่วมกับเอกชนในการส่งเสริมให้มกี ารพัฒนา ฝีมือแรงงานที่ทำ�งานอยู่เดิมเพื่อนำ�ไปสู่การป้อนบุคลากรที่มีฝีมือเข้าสู่ ระบบอุตสาหกรรมควบคูไ่ ปกับการพัฒนามาตรฐานวิชาชีพ และการสรรหา เงินทุนเพื่อการฝึกอบรม อย่างไรก็ตาม สกิลเซ็ตไม่ใช่หน่วยงานรัฐเต็มร้อย เพียงแต่ได้รับเงิน สนับสนุนจากรัฐบาลและดำ�เนินงานโดยคณะกรรมการชุดต่างๆ ทีม่ าจาก ภาคเอกชนในกลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ซึ่งรวมถึงกลุ่มโทรทัศน์ วิทยุ ภาพยนตร์ อินเทอร์แอคทีฟมีเดีย แอนิเมชั่น เกมคอมพิวเตอร์ สิ่งพิมพ์ โฆษณา แฟชั่นและสิ่งทอ รวมทั้งงานบริการสนับสนุนต่างๆ ด้วยระบบ การบริหารงานเช่นนี้จึงทำ�ให้ข้อมูลของอุตสาหกรรมสื่อสร้างสรรค์มี ความทันสมัยทั้งในด้านของอุปสงค์และอุปทาน และนำ�ไปสู่การสร้าง หลักสูตรและการผลิตบุคลากรที่ตรงกับสภาพความเป็นจริงมากขึ้น 18
Creative Thailand
l มิถุนายน 2554
ปัจจุบัน สหราชอาณาจักรมีสภาผู้ประกอบอาชีพที่ต้องใช้ทักษะถึง 22 กลุ่ม แบ่งแยกออกไปตามสาขาและครอบคลุมการพัฒนาแรงงานถึง ร้อยละ 90 ในอังกฤษซึ่งแต่ละกลุ่มต้องได้รับใบอนุญาตจากรัฐบาลโดย ผ่านคณะกรรมการการจ้างงานและฝีมือแรงงานแห่งสหราชอาณาจักร (UK Commission for Employment and Skills) เพื่อเป็นการกำ�กับให้มี การดำ�เนินงานไปตามเป้าหมาย โดยเหตุผลสาํ คัญของการจัดตัง้ หน่วยงานประเภทเดียวกันกับสกิลเซ็ต นั้น ก็เกิดขึ้นจากกระแสแห่งการปรับโครงสร้างหน่วยงานด้านการพัฒนา ฝีมือแรงงานซึ่งเป็นผลกระทบโดยตรงจากรายงานของลอร์ด ลิทช์ ที่ได้ รับมอบหมายจากรัฐบาลให้ศึกษาสภาพตลาดแรงงานและความจำ�เป็น ในการปรับเปลี่ยนเพื่อรองรับการแข่งขันที่สหราชอาณาจักรจะต้องเผชิญ ในปี 2020 ซึ่งระบุว่า การเข้าสู่วัยเกษียณของประชากร เทคโนโลยีที่ ก้าวหน้าอย่างรวดเร็วกว่าทีค่ าดคิด (ซึง่ จะเปลีย่ นวิถกี ารทำ�งานไปอย่างสิน้ เชิง) และแรงกดดันที่เพิ่มขึน้ จากการแข่งขันของทัว่ โลก จะส่งผลให้ประเทศ พัฒนาแล้วต้องหันมาพึ่งพาศักยภาพทางด้านนวัตกรรมเพื่อสร้างให้ เศรษฐกิจเติบโต และการทีจ่ ะทำ�ให้เป็นจริงขึน้ มาได้นน้ั ก็ขน้ึ อยูก่ บั ทักษะและ ความรูข้ องคนในประเทศนัน้ ๆ ซึง่ หากเปรียบเทียบทักษะฝีมอื ของแรงงาน ในสหราชอาณาจักรแล้วจะพบว่า ยังไม่ได้จดั อยูใ่ นระดับแนวหน้าของโลก “ถ้าหากไม่มีการเพิ่มทักษะแรงงานก็เท่ากับว่าเรากำ�ลังทำ�ให้ความ สามารถในการแข่งขันของประเทศเสื่อมถอย ดังนั้นสหราชอาณาจักรจึง ต้องมีเป้าหมายใหม่ คือการเป็นผูน้ �ำ ทางด้านแรงงานทีม่ ฝี มี อื ภายในปี 2020” จากข้อเสนอแนะของรายงานดังกล่าว จึงได้น�ำ ไปสูก่ ารปฏิรปู สภาผูป้ ระกอบ อาชีพที่ตอ้ งใช้ทกั ษะในเรื่องของการให้ใบอนุญาตใหม่และการเพิม่ อำ�นาจ หน้าทีม่ ากขึน้ ดังทีส่ กิลเซ็ตได้รบั การมอบใบอนุญาตใหม่ในเดือนพฤษภาคม 2009 เพือ่ ให้สามารถทำ�งานที่มมี าตรฐานสูงขึน้ และครอบคลุมทัว่ ประเทศ
Insight กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ได้รับการถ่ายทอดทักษะแบบดั้งเดิมนี้ทำ�ให้ร้อยละ 40 ของอัตราเฉลี่ยอายุพนักงานโดยรวมลดลงเหลือตํ่ากว่า 35 ปี อีกทั้งยัง เป็นแรงจูงใจให้คนรุ่นใหม่อยากจะเข้ามาทำ�งานมากขึ้น นอกจากนี้ เอียนยังส่งเสริมให้พนักงานตระหนักถึงความสำ�คัญของ การพัฒนาทักษะ โดยให้พนักงานของเขาสามารถปรับเปลี่ยนงานไปตาม สายงานการผลิตในโรงงาน และจูงใจให้มกี ารฝึกอบรมเพือ่ เลือ่ นระดับของ การได้รบั คุณวุฒผิ ปู้ ระกอบวิชาชีพ (National Vocational Qualification) เป็นระดับทีส่ อง ซึง่ ต้องผ่านการอบรมเพือ่ ให้สามารถทำ�งานทีห่ ลากหลาย ได้และต้องร่วมมือกับพนักงานคนอื่นๆ ทำ�งานแบบเป็นทีมมากขึ้น และด้วยกระแสความนิยมของมัลเบอร์รี่ที่เพิ่มมากขึ้นในระยะหลังนี้ จึงทำ�ให้เอียนต้องจ้างผลิตสินค้าที่โรงงานในยุโรปและเอเชียเพิ่มขึ้น แต่ก็ ยังคงส่วนการผลิตไว้ที่เดอะรูคกี้ถึงร้อยละ 20-25 เพื่อรักษาภาพลักษณ์ ของแบรนด์แท้ของอังกฤษไว้ โดยในช่วงห้าปีที่ผ่านมา เขาสามารถเพิ่ม จำ�นวนพนักงานมีฝมี อื ได้ถงึ สองเท่า ทัง้ ยังมีแผนการขยายโรงงานซึง่ คาด ว่าจะแล้วเสร็จในเดือนพฤศจิกายนปีนี้ด้วย
สกิลเซ็ต & มัลเบอร์รี่
มัลเบอร์รี่ (Mulberry) ธุรกิจเครื่องหนังมูลค่า 72 ล้านปอนด์ และแบรนด์ หรูระดับโลกของเหล่าคนดัง ก็เป็นหนึ่งในผู้ใช้บริการของสกิลเซ็ตเช่นกัน ในปี 2006 เอียน สก็อต ผู้จัดการแผนกสินค้าเครื่องหนังและเสื้อผ้า ที่ดูแลด้านการพัฒนาแบบและการผลิตใช้เดอะรูคกี้ โรงงานเครื่องหนังที่ ใหญ่ที่สุดในสหราชอาณาจักร เริ่มวิตกกังวลหลังจากพบว่า พนักงาน จำ�นวน 200 คนที่มีความชำ�นาญและทักษะในการตัดเย็บหนังให้กลาย เป็นกระเป๋าไอคอนชิ้นสำ�คัญของแบรนด์นั้น กว่าครึ่งมีอายุมากกว่า 50 ปี และอีกร้อยละ 13 ก็มีอายุเกินวัยเกษียณ “ในอีกสิบปีข้างหน้า เราจะไม่ได้แค่สูญเสียแค่แรงงาน แต่หมายถึง ความชำ�นาญของคนเหล่านั้นได้หายไป ซึ่งทำ�ให้เราต้องรีบหาวิธีทำ�ให้ คนหนุม่ สาวสนใจทีจ่ ะมาทำ�งานกับเราอย่างเร่งด่วน เพือ่ ว่าเราจะสามารถ รักษาโรงงานให้ดำ�เนินต่อไปได้” ด้วยความจำ�เป็นที่เกิดขึ้น ทำ�ให้เอียนตัดสินใจเข้าร่วมโปรแกรมของ สกิลเซ็ตในสาขาแฟชั่นและสิ่งทอ ซึ่งมีการรับรองหลักสูตรการเรียนแบบ ที่มีการทดลองงานและการประกาศคุณวุฒิให้แก่ผู้ผ่านการทดลองงาน โดยเปิดรับนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยบริดจ์วอเตอร์มาฝึกสอน ณ สถาน ที่ทำ�งานจริง หลังจากนั้นมัลเบอร์รี่ยังได้เสนอความร่วมมือดังกล่าวไปยัง มหาวิทยาลัยท้องถิ่นอีก 5 แห่ง ซึ่งก็ได้รับการตอบรับอย่างดีจากเหล่า คณาจารย์ จากจุดเริ่มต้นในการทดลองงานของนักศึกษาจำ�นวน 10 คนในปี 2006 มาถึงวันนี้มัลเบอร์รี่มีนักศึกษาที่ผ่านการทดลองงานแล้วถึง 33 คน โดยร้อยละ 65 ของผู้ทดลองงานทั้งหมดยังคงทำ�งานอยู่กับมัลเบอร์รี่
ที่มา: www.skillset.org รายงาน Prosperity for all in the Global Economy: World Class Skills โดย Lord Leitch (2006)
มิถุนายน 2554
l
Creative Thailand
19
Creative Entrepreneur คิด ทํา กิน
เรื่องและภาพ: มนูญ ทองนพรัตน์ เพราะเชือ่ ว่า เด็กเกิดมาพร้อมกับศักยภาพ ทีม่ อี ยูใ่ นตน เกิดมาพร้อมกับความฝันและ จินตนาการ เกิดมาพร้อมกับความสนใจ ใฝ่รู้ เกิดมาพร้อมกับความปรารถนาที่จะ เป็นคนดี เพราะคิดว่า เด็กเสมือนเป็นเมล็ดพืช พันธุด์ ี ทีม่ หี ลากหลายชนิด สามารถออก ดอกออกผลได้อย่างงดงามแตกต่างกันไป เพราะสงสัยว่า ผูใ้ หญ่ทแ่ี วดล้อมเด็กๆ อยู่ จะรู้จักต้นไม้เหล่านี้ดีหรือไม่ ว่าปัจจัย ที่จะสร้างความเติบโตและเบ่งบานอย่าง เต็มทีค่ อื อะไร ต้องการนา้ํ มากหรือนา้ํ น้อย ต้องการแสงแดดหรือร่มเงา ต้องเตรียม ดินหรือใส่ปุ๋ยอย่างไร 22
Creative Thailand
l มิถุนายน 2554
"ครูกา้ " กรองทอง บุญประคอง จึงได้เปิดโรงเรียน จิตตเมตต์ (ปฐมวัย) ขึ้น เพื่อยืนยันความเชื่อ ตอบความคิด และแก้ข้อสงสัย ผ่านการผสม ผสานหลักคิด หลักธรรม และนวัตกรรมการศึกษา จากทัว่ ทุกมุมโลก ร่วมกับการใช้ศลิ ปะและดนตรี ในการพัฒนาเด็ก เพื่อสร้างการศึกษาที่มุ่งเน้น การพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ พริบตาเดียวโรงเรียนทางเลือกแห่งนี้เดิน ทางมาได้สบิ ปีแล้ว ถ้าเปรียบเป็นเด็กก็นา่ จะยัง ซนอยู่ แต่ในขณะเดียวกันก็เริ่มมีความคิดของ ตัวเองที่ชัดเจนขึ้น
เกิดจากจิตที่เมตตา แปลตามตรงชื่อโรงเรียนจะมีความหมายว่า จิตใจที่เมตตา เป็นชื่อของลูกสาวครูก้าเอง ซึ่ง มีทม่ี าจากชือ่ รุน่ พีข่ องครูกา้ ทีศ่ ลิ ปากร (จิตต์เมตต์ จงมั่นคง) อีกที ด้วยความเชื่อที่ว่า ชื่อนั้นมี ความหมายต่อเจ้าของชื่อ ไม่ว่าเจ้าของจะเป็น คนหรือโรงเรียน ครูก้าก็อยากให้เจ้าของชื่อทั้ง สองเติบโตขึ้นมาตามความหมายของชื่อนั้น และเพราะการศึ ก ษาควรต้ อ งมองที่ ธรรมชาติ ข องเด็ ก หรื อ ของผู้ เ รี ย นเป็ น หลั ก โรงเรียนจิตตเมตต์ (ปฐมวัย) จึงให้ความสำ�คัญ กั บ การทำ � ความเข้ า ใจในธรรมชาติ ข องเด็ ก แต่ละช่วงวัย ครูต้องรู้จักเด็กแต่ละคนดีที่สุด เพราะเด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน โดยเฉพาะ
Creative Entrepreneur
คิด ทํา กิน
ปฐมวัยซึ่งเป็นวัยที่ทุกอย่างเริ่มต้น พื้นฐานของ ทุกอย่างอยู่ในวัยนี้ ทางโรงเรียนจึงมีเป้าหมาย ที่การมองชีวิตทั้งชีวิตเป็นหลัก ทำ�ให้ช่วงเวลา นีข้ องเด็กแต่ละคนมีคณุ ค่าทีส่ ดุ ให้เด็กมองเห็น คุณค่าในตัวเอง มองเห็นคุณค่าในผูอ้ น่ื มองเห็น คุณค่าในสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เข้าใจและเห็นทั้ง ความแตกต่างและความเหมือน ได้รู้ว่าความ แตกต่างเป็นเรือ่ งธรรมดา ทำ�ให้อยูร่ ว่ มกับผูอ้ น่ื ได้อย่างมีความสุข ทัง้ นีก้ เ็ พือ่ ปลูกฝังเป็นพืน้ ฐาน การใช้ชวี ติ ต่อไปในอนาคต ไม่ได้มองใกล้ๆ แค่ ติวเด็กให้สอบเข้าโรงเรียนประถมทีเ่ ป็นทีน่ ยิ มได้ คำ�ถามสำ�คัญ การที่จะทำ�ให้เด็กได้พัฒนาตัวเองบนความคิด แบบนี้ได้ กลไกที่สำ�คัญคือครู ซึ่งครูของที่นี่ไม่ ได้มีมุมมองว่าเด็กคือแก้วเปล่าที่ครูมีหน้าที่ใส่ ความรู้ลงไปให้ ภาพของเด็กในความคิดของ ครู ที่ นี่ คื อ มนุ ษ ย์ ที่ เ กิ ด มาพร้ อ มศั ก ยภาพที่ พร้อมจะวิเคราะห์และวิจารณ์ตัวเองได้ การ เรี ย นการสอนจึ ง เป็ น ลั ก ษณะที่ ค รู เ ป็ น ผู้ เ ปิ ด โอกาสให้เด็กได้คิดได้ตัดสินใจด้วยตัวเอง ซึ่ง วิธีการนี้จะเริ่มตั้งแต่ครูก้าที่เปิดโอกาสให้ครู ทุกคนก่อน การประชุมวางแผนทุกครั้งจึงเป็น การระดมและแลกเปลี่ยนความคิดครั้งใหญ่ เปิ ด โอกาสให้ ค วามต่ า งได้ ทำ � งานเพื่ อ แปร เปลี่ยนเป็นสิ่งใหม่ เคารพในความคิดกันและ กัน แล้วเลือกเก็บความคิดดีๆ ที่แชร์กันเพื่อนำ� ไปใช้ โดยไม่ใช้ระบบสั่งการ ไม่เช่นนั้นครูเองก็ จะติดระบบสั่งการนี้ไปถึงตัวเด็ก กิจกรรมหนึ่งที่โรงเรียนทำ�อยู่บ่อยๆ ก็คือ การชวนเด็กวิเคราะห์ภาพถ่าย เช่น ภาพถ่ายมี แค่ขนมเค้กหนึง่ ก้อน ครูจะถามว่าเค้กก้อนนีจ้ ะ ตัดแบ่งให้ใครบ้าง บางคนบอกว่าตัดแล้วจะเอา ไปฝากคุณแม่ บ้างก็คณุ ยาย บ้างก็ฝากน้อง ซึง่ คำ�ตอบเหล่านั้นคือสิ่งที่เ ด็กจะนำ �มาใช้แลก เปลีย่ นความคิดและทำ�ให้ได้คดิ เองว่า เออ…ใช่ เราคิดถึงแต่แม่ น่าจะคิดถึงยายบ้าง อืม…เรา รักน้องเหมือนเพื่อนคนนี้ ตัวอย่างกิจกรรมนี้ยัง ชี้ ใ ห้ เ ห็ น ว่ า ประเด็ น การตั้ ง คำ � ถามเป็ น เรื่ อ ง สำ�คัญ เพราะถ้าเป็นรูปเค้กแล้วถามว่า ชอบ
กินเค้กอะไร คำ�ตอบก็จะยึดอยู่กับตัวเอง แต่ คำ � ถามแบบนี้ จ ะสอนให้ เ ด็ ก นึ ก ถึ ง ผู้ อื่ น แบบ ไม่รู้ตัว ครอบครัวเดียวกัน เพราะเริ่ ม ต้ น ทำ � โรงเรี ย นด้ ว ยความเป็ น แม่ ไม่ใช่นักการศึกษา และเพราะอยากบอกคนที่ เป็นพ่อแม่ว่าขณะที่เลี้ยงลูกจะได้เรียนรู้อะไร มากมายจากการที่อยู่กับลูก ครูก้าจึงมีความ ตั้งใจทำ�โรงเรียนนี้ให้เป็นโรงเรียนสำ�หรับเด็ก และพ่อแม่ไปด้วยกัน คือให้ความสำ�คัญกับการ สือ่ สารกับพ่อแม่ตง้ั แต่ตน้ และด้วยความทีโ่ รงเรียน มีความชัดเจนในรูปแบบ พ่อแม่ที่เดินเข้ามาจึง ผ่านการกรองมาแล้ว เป็นการเลือกซึง่ กันและกัน เพือ่ เข้ามาเป็นครอบครัวเดียวกัน เหมือนกับคู่แต่งงานที่ต้องตกลงกันก่อน ว่าจะเลี้ยงลูกร่วมกันอย่างไร โรงเรียนจึงจัดให้ มีการทำ�เวิรก์ ช็อปต่างๆ เพือ่ พัฒนาพ่อแม่ให้เป็น บัดดี้ร่วมกับโรงเรียนในการพัฒนาเด็กแต่ละ คน มีการสื่อสารระหว่างกันตลอดเวลา ทั้ง ประชุมรายครอบครัว ประชุมกลุ่มย่อย มีสมุด สื่อสารทุกวันศุกร์ มีเฟซบุ๊กของโรงเรียน สิ่ง สำ�คัญคือทั้งโรงเรียนและบ้านต้องไม่ขัดแย้ง กัน ไม่เช่นนั้นเด็กจะสับสนได้ และอย่างที่บอก ว่าเริ่มต้นทำ�โรงเรียนด้วยความเป็นแม่ ครูก้า จึ ง เข้ า ใจว่ า พ่ อ แม่ ทุ ก คนอยากรู้ ว่ า ลู ก มา โรงเรียนแล้วทำ�อะไรบ้าง ความเข้าใจนีถ้ กู แปลง เป็นพื้นที่หนึ่งในโรงเรียนทีใ่ ห้ผปู้ กครองเข้าไป ข้างใน ได้เห็นลูกๆ ตอนเข้าแถวและทำ�กิจกรรม ตอนเช้า และพืน้ ทีส่ ว่ นเดียวกันนีย้ งั จัดแสดงงาน ต่างๆ ที่เด็กทำ�ไว้ด้วย พื้นที่แห่งการเรียนรู้ การออกแบบสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้คือ สิ่ ง สำ � คั ญ ไม่ แ พ้ กั น ในการพั ฒ นาศั ก ยภาพ ความเป็นมนุษย์ให้กบั เด็ก จากสถานทีแ่ รกทีเ่ ด็ก จะต้องเปลี่ยนจากที่เคยอยู่บ้าน มีคนเคยอยู่ ข้างๆ มาอยู่อีกที่หนึ่ง ไม่มีพ่อแม่ปู่ย่าตายาย โจทย์ แ รกของจิ ต ตเมตต์ จึ ง เป็ น การสร้ า ง บรรยากาศของโรงเรียนให้มีความอบอุ่นเพื่อให้
เด็กเกิดความรู้สึกไม่ต่างจากบ้าน ในขณะที่ การจัดวางรายละเอียดของอาคารและพื้นที่ รวมถึงงานแลนด์สเคปทั้งหมดจะเป็นเรื่องของ การเรียนรูข้ องเด็ก ทัง้ ในส่วนการคิด การทดลอง การสังเกต การออกแบบ และแม้แต่การตัดสินใจ ด้วยของเล่นที่เป็นทั้งธรรมชาติและไม่ตายตัว ให้เด็กได้เลือกด้วยตัวเองว่าจะเล่นแบบไหน สนามเองก็ไม่ใช่โล่งๆ ที่วิ่งกันได้แบบไม่ต้อง คิดชีวิต คำ � ว่ า วิ่ ง ไม่ คิ ด ชี วิ ต ก็ คื อ การวิ่ ง แบบไม่ ต้องคิดอะไร แต่ที่นี่เด็กจะต้องคิดวางแผนให้ดี ว่าจะเลี้ยวทางไหน หรือปีนขึ้นไปแล้วจะทำ� อะไรต่อ เป็นหมากทีโ่ รงเรียนวางเอาไว้ให้ได้คดิ เป็นเรื่องของมิติสัมพันธ์ซึ่งเด็กในยุคปัจจุบัน ค่อนข้างจะไม่ค่อยมี ท ั ก ษะ นอกจากนี ้ ย ั ง มี กระบอกไม้ไผ่ให้เด็กได้เล่นและฝึกเรื่องของ การทรงตัว ทีจ่ ะส่งผลไปถึงเรือ่ งระบบของนา้ํ ใน หู ซึ่งถ้ามนุษย์มีความรู้สึกไม่มั่นคงเวลาทรงตัว ก็จะรู้สึกว่าไม่มั่นคงกับชีวิต รวมไปถึงเรื่องการ สัมผัสด้วยเท้าจากพื้นผิวที่หลากหลาย (เด็ก และครูของที่นี่จะเดินเท้าเปล่า) ทั้งทราย กรวด และไม้ เพราะการเรียนรู้ของมนุษย์เราจะทำ�ได้ ดีถ้าประสาทสัมผัสในการรับรู้ทำ�งานดี การ กระตุ้นการรับรู้ของประสาทสัมผัสจึงเป็นเรื่อง สำ�คัญ โรงเรียนจึงมีผิวสัมผัสหลากหลายซึ่ง กลมกลืนไปกับพืน้ ทีโ่ รงเรียนทีด่ เู ป็นธรรมชาติ ครูทจ่ี ติ ตเมตต์ไม่มเี ครือ่ งแบบ แต่จะมีการ คลุมโทนให้ไม่ไปรบกวนการเรียนรู้ของเด็ก ถ้า ครูใส่เสือ้ ลายดอกในชัน้ เรียน แทนทีเ่ ด็กจะสนใจ สิ่งที่ครูกำ�ลังสาธิตอยู่ กลับไปสนใจลวดลายที่ เสื้อผ้าครู รวมไปถึงองค์ประกอบต่างๆ ใน โรงเรียน เช่นบอร์ดแสดงงาน ที่จะไม่ใช้วัสดุสี จัดๆ เพราะจะไปรบกวนงานของเด็ก สิง่ แวดล้อม ทั้งหมดของโรงเรียนจะเป็นเพียงแค่แบ็กกราวน์ ที่ไม่โดดเด่นเกินกว่าบรรยากาศธรรมชาติที่ กลมกลืนไปทัง้ โรงเรียน จะมีเพียงความโดดเด่น เดียวในโรงเรียนแห่งนี้ นัน่ ก็คอื ตัวเด็กเอง
มิถุนายน 2554
l
Creative Thailand
23
Creative City
จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
เรื่อง: นันทิยา เล็กสมบูรณ์
24
Creative Thailand
l มิถุนายน 2554
Creative City
จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
อะไรที่ทำ�ให้ดินแดนอันแห้งแล้งหนาวเหน็บ อย่างฟินแลนด์รังสรรค์ผลงานออกแบบ ชัน้ เยี่ยมมากมายให้กบั โลก แจกันของอัลวาร์ อัลโต ที่กำ�หนดนิยามใหม่ให้กับความงาม ผ่านรูปทรง ผ้าพิมพ์ลายดอกไม้จากมารี เมกโกะ ทีก่ ลายเป็นต้นแบบของลายดอกไม้ ทัว่ โลก ไม่เว้นแม้แต่งานออกแบบทีต่ อ้ งอาศัย ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างโทรศัพท์ มือถือ ที่มีบริษัทยักษ์ใหญ่อย่างโนเกียเป็น หัวหอกสำ�คัญ
ในปี 2012 “เฮลซิงกิ” เมืองหลวงของฟินแลนด์ ได้รบั คัดเลือกจากสมาคมออกแบบอุตสาหกรรม นานาชาติ หรือ Icsid ให้เป็น World Design Capital ทีแ่ ปลได้วา่ เมืองหลวงแห่งการออกแบบ ของโลก นัน่ ไม่เพียงเพราะเมืองแห่งนีม้ เี รือ่ งของ การออกแบบฝั ง อยู่ ตั้ ง แต่ อ ดี ต ผ่ า นมาถึ ง ปัจจุบันเท่านั้น แต่ระบบการศึกษาและวิจัยที่ ได้รบั การยอมรับว่าดีทส่ี ดุ แห่งหนึง่ ก็คอื หลักฐาน อันสำ�คัญทีบ่ ง่ ชีว้ า่ สังคมจะส่งต่อควาแข็งแกร่ง นีไ้ ปสู่อนาคตด้วยเช่นกัน
ออกแบบเพื่อตอบตัวตน
สำ�หรับชาวฟินนิชแล้ว “การออกแบบ” ถือเป็น ปั จ จั ย สำ � คั ญ ในการสร้ า งสั ง คมของพวกเขา ตลอดมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกแบบที่มุ่ง พัฒนานวัตกรรมและหาวิธีตอบความต้องการ ของผูอ้ ยู่อาศัยตามแนวคิด Embedded Design ซึ่งหมายถึงการออกแบบที่ถูกฝังไว้กับทุกๆ สิ่ง รอบตัว ไม่วา่ จะเป็นรถไฟใต้ดนิ สีสว่างตา บันได ของมหาวิหาร หรือหินกรวดที่ปูพื้นจัตุรัสกลาง เมือง สำ�หรับสังคมทั่วไปแล้ว งานออกแบบ อาจไม่จำ�เป็นต้องอยู่ในความสนใจของทุกคน แต่ส�ำ หรับคนฟินแลนด์ พวกเขาเติบโตมากับงาน ออกแบบทีด่ จี ากรุน่ สูร่ นุ่ และมันก็ดจู ะเป็นความ คิดพื้นฐานสำ�หรับชาวสแกนดิเนเวียน ที่งาน ออกแบบไม่ได้เป็นเพียงการสร้างสุนทรีย์ให้แก่ ชีวิตเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการทำ�ให้ชีวิตใน ทุกวันง่ายขึ้น และที่สำ�คัญคือ สดชื่นกระปรี้
กระเปร่ามากขึ้น ไม่เพียงเท่านั้น งานออกแบบ ยังทำ�ให้โลกได้เห็นตัวตนอันชัดเจนของพวก เขาอีกด้วย อะไรคือสิ่งที่กำ�หนดความเป็นมาของตัว ตนในแบบฟินแลนด์? คงไม่เป็นการเกินเลยหาก จะบอกว่า ฟินแลนด์เป็นประเทศหนึ่งที่สร้าง อัตลักษณ์ขน้ึ จากแนวคิดแบบนามธรรม (Abstract Concept) อย่างเช่นระบบความเชื่อ ศาสนา หรือความเป็นรัฐน้อยที่สดุ ตรงกันข้าม ถึงแม้วา่ สังคมจะผ่านห้วงเวลาของความยุ่งยากทาง การเมืองหรือการถูกรุกราน แต่งานออกแบบของ พวกเขาก็ ดู จ ะเพิ ก เฉยต่ อ ความซั บ ซ้ อ นทาง สังคมในแบบนั้น และเลือกที่จะกำ�หนดตัวตน ผ่านพิกัดทางภูมิศาสตร์มากกว่า ไม่ว่าจะเป็น การนําธรรมชาติมาใส่ในงานออกแบบอย่าง กลมกลืน หรือการสร้างความโดดเด่นสะดุดตา อย่างไม่ลังเลบนพื้นหลังอันเรียบง่าย โดยมีใจ ความสําคัญคือแนวคิดที่ว่า สิ่งที่แสนธรรมดาก็ สวยงามได้ และนัน่ ทำ�ให้วสั ดุธรรมชาติอย่างไม้ โลหะ และแก้ว กลายเป็นส่วนประกอบสำ�คัญ ของงานออกแบบจากฟินแลนด์
Open Mind, Open City
ใครสักคนเคยบอกว่า ฟินแลนด์คือหนึ่งในดิน แดนที่มีมิติของชนชั้นทางสังคมน้อยที่สุดใน โลก และการยอมรับความแตกต่างของชาว ฟินแลนด์ก็คือสิ่งที่โลกรู้จักดีพอๆ กับที่รู้จัก โนเกีย และความคิดพืน้ ฐานทีว่ า่ ไม่มผี ใู้ ดมีสทิ ธิ ในการวัดคุณค่าของผูอ้ น่ื ก็ท�ำ ให้คนฟินแลนด์มี นิสัยที่จะรับฟังผู้อื่นก่อนตัดสินใครเสมอ ความ ใจกว้างนี้อาจมีส่วนสำ�คัญที่มาจากการเคารพ และเรียนรู้ที่จะอยู่กับธรรมชาติ และในขณะ เดียวกันก็อาจเป็นส่วนสำ�คัญที่ทำ�ให้ฟินแลนด์ เป็นประเทศที่เปิดรับเทคโนโลยีใหม่ได้เร็วกว่า สังคมอื่นๆ รวมถึงทำ�ให้พวกเขาประสบความ สำ�เร็จในทางการค้ากับชาวโลกอย่างมากด้วย เช่นกัน มิถุนายน 2554
l
Creative Thailand
25
Creative City
จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
การลงทุนที่ดีที่สุด
MEMPHIS ร้านอาหารในเฮลซิงกิที่ตกแต่งด้วยสีสันสะดุดตา
และเพราะการยอมรั บ ความแตกต่ า งนั้ น แทบจะถูกฝังอยู่ในสายเลือด เมื่อเฮลซิงกิมี แผนการในการผลักดันตัวเองให้เป็นเมืองเปิด (Open City) ผ่านแคมเปญที่ชื่อว่า Open Helsinki จึงมีบางเสียงทีแ่ สดงถึงความกังวลว่า สิ่งที่เฮลซิงกิขาดไปก็คือการพูดถึงความแตก ต่างทางวัฒนธรรม แต่เมื่อมองลึกไปอีกนิด ก็จะเห็นได้วา่ มันเป็นเพราะนิสยั ของคนฟินแลนด์ เองต่างหากที่ไม่นำ�เอาเรื่องของความแตกต่าง มาเป็นปัจจัยกำ�หนดพฤติกรรมหรือความคิด “ชาวต่างชาติก็คือคนที่อยู่ร่วมกันกับเรา และจะต้องได้รับการแบ่งปันผลผลิตของสังคม เราด้วย” ประโยคที่ทําให้โลกได้สัมผัสกับความ ใจกว้างของคนฟินนิช ไม่นา่ แปลกใจทีใ่ นปัจจุบนั เฮลซิงกิคือเมืองที่ดึงดูดผู้คนให้เข้ามาทำ�งาน อยู่อาศัย และใช้ชีวิตมากที่สุดเมืองหนึ่ง และ ด้วยความที่ยังเป็นสังคมขนาดเล็ก องคาพยพ ต่างๆ ของเมืองจึงมีความเชือ่ มโยง สอดประสาน และพึง่ พาอาศัยกันเป็นอย่างดี รวมถึงภาคธุรกิจ 26
Creative Thailand
l มิถุนายน 2554
ของฟินแลนด์เองทีแ่ สดงให้เห็นถึงการเชือ่ มต่อของ งานออกแบบเข้ากับสังคมเล็กๆ แห่งนี้ด้วยเช่น กัน ตัวอย่างทีเ่ ห็นได้ชดั ก็คอื การทีง่ านออกแบบ จะได้ รั บ การพิ จ ารณาในที่ ป ระชุ ม กรรมการ บริหารของโนเกีย และเป็นส่วนสำ�คัญในการ ตัดสินใจในระดับบริหารสำ�หรับโคเน่ (Kone) ธุรกิจหลักอีกแห่งของประเทศ และถึ ง แม้ จ ะไม่ ไ ด้ เ ป็ น เมื อ งขนาดใหญ่ ระดับ “มหานคร” แต่สองสิ่งที่เฮลซิงกิมีไม่ น้อยหน้าเมืองใหญ่อน่ื ๆ ก็คอื สถาบันการศึกษา ระดับคุณภาพและแกลเลอรี่ที่หลากหลาย นั่น รวมถึงแผนการสร้างพิพิธภัณฑ์ระดับโลกอย่าง “กุกเกนไฮม์” ขึน้ ในเฮลซิงกิ ที่เกิดจากความร่วม มือของมูลนิธิกุกเกนไฮมที่ มองเห็นศักยภาพ ของเมือง และมูลนิธิวัฒนธรรมแห่งฟินแลนด์ที่ ร่ ว มกั บ มู ล นิ ธิ วั ฒ นธรรมแห่ ง สวี เ ดนใน ฟินแลนด์สมทบทุนและผลักดันให้โครงการนี้ เกิดขึ้น
ในขณะที่ดอกผลจากอดีตยังคงมีให้เก็บเกี่ยว อย่างต่อเนื่อง ดังเช่นแจกันของอัลโตที่ยังคงมี วางขายอยู่จวบจนปัจจุบัน ชาวเฮลซิงกิก็ไม่ลืม ที่จะเพาะเมล็ดพันธุ์ที่สมบูรณ์ เพื่อสร้างดอก ผลอันงดงามสำ�หรับอนาคตด้วยเช่นกัน นิตยสารฟอร์บส์ เคยพาดหัวข่าวทีฟ่ งั ดูออก จะน่าเบื่อว่า “ฟินแลนด์ครองอันดับหนึ่งดัชนี การแข่งขัน (อีกแล้ว)” เมื่อพวกเขาได้รับการ จั ด อั น ดั บ ว่ า เป็ น ประเทศที่ มี ค วามสามารถ ทางการแข่งขันดีที่สุดติดต่อกันเป็นปีที่สามใน ปี 2005 และบทวิเคราะห์จาก World Economic Forum ที่เป็นผูจ้ ดั อันดับนีก้ ล่าวว่า ไม่มเี ศรษฐกิจ ของประเทศไหนที่จะนำ�ไปสู่การเติบโตอย่าง ยัง่ ยืนได้เท่ากับฟินแลนด์ และถึงแม้วา่ ฟินแลนด์ จะไม่ได้รั้งอันดับหนึ่งสำ�หรับดัชนีการแข่งขัน ในช่วงปีหลังๆ นี้ แต่ความแข็งแกร่งทางด้าน นวัตกรรม การวิจยั และพัฒนา รวมถึงการศึกษา และพัฒนาทักษะระดับสูง ก็ทำ�ให้ฟินแลนด์ไม่ เคยหลุ ด วงโคจรสำ � หรั บ ประเทศที่ มี ค วาม สามารถทางการแข่งขันสูงในอันดับต้นๆ และจะมีอีกที่ไหนในโลก ที่รัฐบาลถึงกับ ต้องออกมาบอกว่า สถาบันการศึกษาของบ้าน เมืองนั้น “ดูจะมีมากเกินไป” จนเป็นที่มาของ การควบรวมมหาวิทยาลัยสามแห่ง คือ Helsinki University of Technology, Helsinki School of Economics และ University of Art and Design Helsinki เข้าเป็นมหาวิทยาลัยเดียว และให้ชื่อ ตามสถาปนิกและนักออกแบบระดับตำ�นาน ของฟินแลนด์ว่า “มหาวิทยาลัยอัลโต” (Aalto University) การลด “จำ�นวน” สถาบันการศึกษาดูเหมือน จะเป็นคำ�กล่าวเพียงผิวเผิน และเหตุผลที่แท้ จริงนั้นก็น่าจะเป็นการเพิ่ม “คุณภาพ” ให้กับ การศึกษามากกว่า เมื่อมีรายงานการศึกษาที่ บ่งชี้ว่า ทุนทางมนุษย์สำ�หรับอนาคตคือผู้ที่ สามารถตอบโจทย์การทำ�งานหรือมีทักษะแบบ ผสมผสานที่เรียกว่า Multi-disciplinary ได้ ดังที่ บิล เซอร์มอน ผูบ้ ริหารของโนเกียได้กล่าวไว้วา่
Creative City
จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
แจกัน “ซาวอย” ของอัลวาร์ อัลโต ที่ผลิตครั้งแรกในปี 1936 และยังคงมีวางขายอยู่ในปัจจุบัน
“พนักงานเริ่มเข้าทำ�งานกับโนเกียในฐานะผู้ เชี่ยวชาญในด้านใดด้านหนึ่ง (Specialist) แต่ เมือ่ เวลาผ่านไป พวกเขาจะกลายเป็นผูท้ ม่ี คี วาม สามารถในหลายๆ ด้าน (Generalist)” เช่นเดียว กับที่การรวมเข้าด้วยกันระหว่างสถาบันการ ศึกษาที่เน้นทางด้านเศรษฐศาสตร์ เทคโนโลยี และศิลปะ/การออกแบบ จะสร้างให้เกิดการ เรียนรูซ้ ง่ึ ก่อให้เกิดความคิดใหม่ๆ นั่นเอง เมื่อเข้าสู่โลกของการทำ�งาน ธุรกิจคือผู้ที่ บอกได้ ดี ที่ สุ ด ว่ า พวกเขาต้องการทรัพยากร มนุษย์แบบใด การเชื่อมโยงอันมีประสิทธิภาพ ระหว่างภาคธุรกิจและการศึกษา จึงหมายถึง กระบวนการจั ด การอุ ปสงค์แ ละอุปทานของ ทรัพยากรมนุษย์ที่ดีที่สุด โนเกียและโคเน่คือ ตัวอย่างที่ดีในเรื่องนี้ ธุรกิจทั้งสองแห่งต่างมี บทบาทในการพัฒนาการศึกษาของฟินแลนด์ มายาวนาน และก็เป็นการทำ�งานร่วมกันกับทั้ง สามมหาวิทยาลัยที่รวมตัวกันเป็นมหาวิทยาลัย อัลโตนั่นเอง โดยผ่านโปรแกรมการศึกษาร่วม ที่ชื่อว่า International Design Business Management (IDBM) ซึ่งผสมผสานเนือ้ หา และทรั พ ยากรทางการศึ ก ษาจากสถาบั น ทั้งสามแห่ง และทำ�การคัดเลือกนักศึกษาที่มี พื้นฐานต่างๆ กันมาเข้าหลักสูตรที่มีอายุกว่า สิบปีน้ี โดยมีโนเกียและโคเน่ รวมถึง Desigence บริษทั ออกแบบชือ่ ดังของประเทศ เป็นผูส้ นับสนุน โครงการ และร่วมคัดเลือกเด็กทีจ่ บจากหลักสูตร นี้เข้าทำ�งานด้วย
ชาวฟินนิชมีอัตราการพูดได้หลายภาษาคิดเป็นสองเท่าของอัตราเฉลี่ยของประเทศอื่นๆ ใน ยุโรป และเป็นเพียงหนึ่งในสี่ประเทศที่นักเรียนชั้นมัธยมปลายเรียนภาษาต่างประเทศถึง สองภาษาเป็นอย่างน้อย นอกจากมหาวิทยาลัยอัลโตที่เกิดจากการควบรวมของมหาวิทยาลัยสามแห่งแล้ว เฮลซิงกิ ยังเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ (University of Helsinki) หนึ่งในมหาวิทยาลัยที่ได้รับ การจัดอันดับว่าดีที่สุดในโลก คณะกรรมาธิการยุโรปกำ�ลังจัดตั้งหน่วยงานใหม่ที่ชื่อว่า European Design Innovation Initiative (EDII) เพือ่ ผลักดันการเชือ่ มโยงระหว่างการออกแบบ นวัตกรรม และความสามารถ ทางการแข่งขัน โดยจะมีสำ�นักเลขาธิการอยู่ในมหาวิทยาลัยอัลโตนั่นเอง เฮลซิงกิเป็นเมืองที่สามที่ได้รับเลือกให้เป็น World Design Capital ต่อจากตูริน (2008) และโซล (2010) ผู้เข้ารอบสุดท้ายร่วมกับเฮลซิงกิในการคัดเลือก World Design Capital สำ�หรับปี 2012 ก็คอื ไอนด์โฮเฟน (City of Eindhoven) เมืองสำ�คัญของเนเธอร์แลนด์ทไ่ี ด้รบั การกล่าวขาน ในเรื่องการศึกษาและวิจัยเช่นเดียวกัน
ถึงแม้ไม่ใช่ประเทศขนาดใหญ่ และทรัพยากร ที่ธรรมชาติมอบให้ก็เป็นเพียงความแห้งแล้ง และหนาวเหน็บ แต่ฟนิ แลนด์กลับสามารถสร้าง สังคมทีม่ เี ศรษฐกิจมหภาคแข็งแรง มีเทคโนโลยี ชั้นสูง และมีเมืองที่เปิดกว้างและเป็นมิตรแก่ การอยู่อาศัย นั่นเพราะพวกเขามีการลงทุนที่ดี ทีส่ ดุ คือการสร้าง “คน” ทีม่ คี ณุ ภาพ และนัน่ ก็ เท่ากับว่า พวกเขาได้ออกแบบอนาคตที่ปรารถนา เอาไว้แล้ว ที่มา: รายงาน Helsinki as an Open and Intercultural city จัดทำ�โดย COMEDIA (www.hel.fi) รายงาน The Global Competitive Report 2010-2011 จัดทำ�โดย World Economic Forum (www.weforum.org) รายงาน Lessons from Europe โดย Design Council ร่วมกับ HEFCE (www.designcouncil.org.uk) www.core77.com www.nytimes.com www.forbes.com วิกิพีเดีย ภาพเปิดจาก flickr โดย tuija ภาพ MEMPHIS จาก flickr โดย 13HOC ภาพ Camouflage จาก flickr โดย Gloel
'Camouflage' งาน Installation จาก Iikka Airas - Markus Wikar ที่นําเสนอวิธีการตกแต่งพื้นที่ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างอย่าง สร้างสรรค์ และสะท้อนตัวตนในแบบฟินแลนด์ มิถุนายน 2554
l
Creative Thailand
27
The Creative
มุมมองของนักคิด
เรื่อง: วิสาข์ สอตระกูล ภาพ: นินทร์ นรินทรกุล ณ อยุธยา (www.ninphotographer.com)
28
Creative Thailand
l มิถุนายน 2554
“การศึกษา” และ “การเรียนรู้” ใช่เรื่องเดียวกันหรือไม่? มกร เชาว์วาณิช นายกสมาคมนักออกแบบอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย อดีตนักออกแบบมือรางวัล เจ้าของธุรกิจที่ปรึกษาด้านการ ออกแบบ Cerebrum Studio และ คุณครูมอื ใหม่แห่ง Cerebrum Creative Center จะมาไขข้อข้องใจในเส้นทางการศึกษาไทย พร้อมเฉลยวิถีการเรียนรู้ที่เขาเคลมว่า “ใช้การได้จริง” กับวิธี การแบบไม่มหี ลักสูตร ไม่บา้ ทฤษฎี…แค่รบั รองผลว่ามันจะเปลีย่ น แปลง “วิสยั ทัศน์” ของคุณไปตลอดกาล
The Creative
มุมมองของนักคิด
ทราบว่าคุณเพิ่งไปบวชมา ครับ ผมไปบวชมาหลายครัง้ แล้ว มีโอกาสเมือ่ ไหร่กจ็ ะไป เหมือนไปฮอลิเดย์ พักผ่อนใจครับ ไม่มใี ครกล้าโทรตามด้วย (หัวเราะ) ปกติเวลาในแต่ละวัน ของผมมักจะเป็นของคนอื่น เป็นของลูกค้าเสียมาก การไปบวชคือช่วง เวลาที่ผมมอบให้กับตัวเอง ให้เวลาจิตใจได้ตกตะกอน ดึงตัวเองกลับสู่ ความเป็นธรรมชาติ มันก็เหมือนได้ชาร์จแบตให้ชีวิตครับ อีกอย่างคือผมสัมผัสแล้วว่าพุทธศาสนาคือโนว์ฮาวทีย่ ง่ิ ใหญ่ทส่ี ดุ คือ โซลูชั่นที่สมบูรณ์แบบ คือตรรกะที่เป็นธรรมชาติ คนเราเกิดมาย่อมอยาก รู้ความหมายของการดำ�รงอยู่ใช่มั้ยครับ แม้คุณจะทำ�ธุรกิจคุณก็คงอยาก แบ่งปันหรือเป็นผู้ให้บ้าง เพราะมันสร้างความหมายให้ชีวิตไง ทำ�ให้ใจ เป็นสุข ซึ่งเมื่อโอกาสมันอยู่ตรงหน้านี้แล้ว ทำ�ไมไม่รีบทำ�ล่ะ ในฐานะเจ้าของธุรกิจที่ Cerebrum Studio ทุกวันนีผ้ มก็ยงั ทำ�ดีไซน์คอนซัลแทนท์ครับ ให้ค�ำ ปรึกษาด้านการออกแบบ กับกลุม่ เอสเอ็มอีในเมืองไทย โดยจะโฟกัสไปที่การออกแบบ “คอนเซ็ปท์ธรุ กิจ” เป็นหลัก ผมอยากให้ลกู ค้ามองภาพใหญ่วา่ ดีไซน์คอื เรือ่ งของการแก้ปญั หา หรือที่เรียกว่าการสร้าง “โซลูชั่น” (Solution) ครับ มันไม่ใช่เรื่องของ “ความงาม” (Aesthetic) อย่างเดียว หน้าทีข่ องอินดัสเตรียลดีไซน์ตอ้ งไป ได้ลึกกว่านั้น ผมจะบอกกับลูกค้าเสมอว่า หัวใจสำ�คัญก่อนที่คุณจะไปออกแบบ สินค้าอะไรก็ตามแต่ คอนเซ็ปท์ธุรกิจของคุณต้องชัดก่อน เพราะนี่เรา กำ�ลังพูดถึงการพัฒนาในระยะยาว ถึงแม้คุณจะพัฒนาสินค้าที่ดีมากได้ ตัวหนึ่ง แต่ถ้าคอนเซ็ปท์ธุรกิจยังไม่ชัด คุณไม่รู้ว่าสินค้าตัวต่อไปจะเป็น อะไร ไม่มีกลยุทธ์การจัดการ สุดท้ายคุณก็เดี้ยงอยู่ดี Cerebrum มีหน้าทีเ่ ข้าไปช่วยลูกค้าระบุทศิ ทางให้ธรุ กิจของเขา เราจะ ช่วยลูกค้าประเมินและทำ�ความเข้าใจกับสินทรัพย์ที่เขามีอยู่ ไม่ว่าจะใน เรื่องของคน องค์ความรู้ คอนเน็กชั่น สายการผลิต ฯลฯ ทำ�ให้เขาเห็น ภาพใหญ่ว่าศักยภาพที่เขามีมันสามารถต่อยอดไปเป็นอะไรได้บ้าง บวก กับเรื่องลอจิกต่างๆ ที่เราจะเพิ่มเติมให้ เช่น เรื่องเทรนด์โลก เรื่องตลาด การแข่งขัน ฯลฯ จากนั้นก็ทำ�เวิร์กช็อปกับลูกค้า โดยเราไม่ใช่คนออก ไอเดียนะครับ เราแค่ไปนำ�ทางเขาให้เข้าสู่กระบวนการคิดที่ถูกวิธี
คอนเซ็ปท์ธุรกิจออกแบบอย่างไร กุญแจสำ�คัญอยู่ที่การสร้างวิสัยทัศน์และความเข้าใจใน Ownership ครับ ถ้าเจ้าของธุรกิจปล่อยให้หน้าที่การออกแบบเป็นของดีไซเนอร์คนเดียว หรือแผนกเดียว ผมบอกเลยว่านั่นไม่ใช่แนวทางการพัฒนาธุรกิจในระยะ ยาวแล้ว เพราะดีไซเนอร์ส่วนมากก็มีไอเดียกระฉูดไปเรื่อยแหละ แต่ สุดท้ายแล้ว Ownership เป็นของใคร (ไม่ใช่ของดีไซเนอร์นะ) ทางที่ดี Stakeholder (ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง) ทุกฝ่ายในองค์กร ตั้งแต่เจ้าของยัน หัวหน้าเซลล์ น่าจะมีส่วนช่วยกันพัฒนาคอนเซ็ปท์ธุรกิจนี้ คือมาสร้างฝัน ร่วมกัน ทุกคนควรจะมีส่วนร่วมได้ เพราะคำ�ถามที่ว่า “คอนเซ็ปท์ธุรกิจ ของคุณคืออะไร” มันสำ�คัญกว่า “คุณจะออกแบบอะไร” มากนะครับ สมมติว่าคุณต้องให้คำ�ปรึกษาอาเฮียเจ้าของโรงงานทำ�จักรยาน ผมจะเข้าไปในจุดก่อนหน้าที่จะสรุปว่าเขาทำ�จักรยานครับ เพราะถ้าเขา มองว่าเขาทำ� “ธุรกิจจักรยาน” เนี่ย การต่อยอดมันมีแค่ไม่กี่ทางเอง คือ จักรยานดี กับจักรยานถูก (หรือไม่ก็ระหว่างสองอันนี้) ดังนั้น หน้าที่ของ ผมคือเข้าไปชี้ทางให้อาเฮียเห็นว่าจากศักยภาพที่เขามี เช่น เครื่องจักร อุปกรณ์ และโนว์ฮาวต่างๆ เขาสามารถขยายผลให้กว้างขึ้นได้แค่ไหน สุดท้ายเขาอาจเปลี่ยนมุมคิดจากการทำ�จักรยานมาเป็นการทำ� “ยาน พาหนะที่ใช้พลังงานคน” ทีนี้จะทำ�สองล้อ สามล้อ สี่ล้อ หรือแปดล้อก็ได้ นี่เขาใช้ทรัพยากรเท่าที่มีอยู่เดิมเลยนะ ไม่ต้องลงทุนซื้อเครื่องจักรอะไร เพิ่มเลย เห็นมัย้ ครับ นีค่ อื ประโยชน์ของการวางคอนเซ็ปท์ธรุ กิจให้ดตี ง้ั แต่แรก เพราะเมื่อคุณมองเห็น “ความเป็นไปได้” ไอเดียใหม่ๆ ก็จะตามมาอีก มหาศาล คุณสามารถพัฒนาสินค้าหนีคู่แข่งได้โดยไม่หลุดจากคอนเซ็ปท์ และไม่เสียแบรนด์ในระยะยาว แต่เวลาผมให้คำ�ปรึกษาลูกค้าผมจะไม่ ค่อยพูดถึงดีไซน์เลยนะ เพราะผมบอกได้เลย…เขาไม่ซื้อ (หัวเราะ) คือ เขารู้นะว่าดีไซน์สำ�คัญ แต่ถ้ามันยังไม่เกี่ยวโยงอย่างชัดเจนกับธุรกิจเนี่ย มันก็ไม่ใช่คำ�ตอบที่มีความหมายพอ “อินดัสเตรียลดีไซน์” กับ “โปรดักต์ดไี ซน์” ต่างกันอย่างไร โปรดักต์ดไี ซน์จะกว้างกว่าครับ ทำ�อะไรจุก๊ ๆ จิก๊ ๆ เช่น เครือ่ งประดับทำ� มือ แหวน ตุม้ หู ฯลฯ ก็นบั หมด ส่วนอินดัสเตรียลดีไซน์จะโฟกัสไปทีเ่ รือ่ ง ของกระบวนการมากกว่า เพราะมันเข้าระบบอุตสาหกรรมแล้ว เป็นการผลิต แบบแมสทีม่ กี ารลงทุนสูง ความเสีย่ งสูง ฉะนัน้ กระบวนการและกลยุทธ์จงึ เป็นเรื่องสำ�คัญมาก คุณจะทำ�แบบมั่วๆ ไปก่อนไม่ได้ มันไม่เหมือนงาน คราฟท์ จะทำ�อะไรทีตอ้ งมี “จำ�นวน” พอสมควร มีจดุ คุม้ ทุน ทีส่ �ำ คัญคือ ต้องขายได้ เพราะการลงทุนในระดับนี้ ถ้าขายไม่ได้เท่ากับเจ๊งเลย
มิถุนายน 2554
l
Creative Thailand
29
The Creative
มุมมองของนักคิด
แล้วจะตัดสินจากอะไรว่าดีไซน์ไหนควรผลิต วัดกันที่ “โซลูชั่น” ไงครับ เราวิเคราะห์ตัวงานออกแบบว่ามันเสนออะไร ให้กบั ผูบ้ ริโภค เดีย๋ วนีผ้ บู้ ริโภคฉลาดมากนะ เขาตัดสินใจแบบมีแพทเทิรน์ ไม่ได้ซื้อของซี้ซั้ว ฉะนั้นเราต้องวัดกันที่คุณประโยชน์ของสินค้านั้นๆ ต่อ ผู้บริโภคตัวจริง ดูทั้งในแง่ Functional และ Emotional ว่ามันสอบผ่าน มั้ย เรื่อง Self-image มันได้รึเปล่า อะไรอย่างนี้เป็นต้น ในธุรกิจออกแบบ อุตสาหกรรม แนวคิดเรือ่ ง User-centred (การยึดผูบ้ ริโภคเป็นศูนย์กลาง) จะมีบทบาทสูงมาก สินค้าไหนที่ไม่ตอบโจทย์ผู้บริโภคเพียงพอ มันก็ ไม่มีเหตุผลที่จะถูกผลิตขึ้นมา “ความพอดี” ระหว่างดีไซน์กับธุรกิจ จุดที่เรียกว่าพอดีคือการใช้ตรรกะทางธุรกิจเป็นตัวบริหาร และใช้ดีไซน์ เป็นแค่เครื่องมือครับ จากประสบการณ์ 7-8 ปีที่ Cerebrum ผมได้เรียน รู้หลายอย่าง สำ�คัญคือเรื่องวิสัยทัศน์และมุมคิดของฝ่ายผู้ประกอบการ เราเติบโตมาถึงจุดที่รู้ว่าการใช้ Design Thinking เพื่อหาโซลูชั่นทางการ ออกแบบแค่นั้นมันไม่พอ ผู้ประกอบการไทยต้องการโซลูชั่นด้านธุรกิจ พ่วงเข้าไปด้วย สองอย่างนี้ต้องเดินไปพร้อมกันให้ได้ นี่คือเหตุผลที่ผม พัฒนา Cerebrum Thinking ขึน้ มา เพือ่ ให้มนั ตอบโจทย์ได้ครบกว่า ส่วน เรื่องความงามเป็นของที่เราสอดไส้ให้อยู่แล้ว สำ�หรับผม คุณค่าของงานดีไซน์อยูท่ ว่ี า่ มันสามารถแก้ปญั หาได้กว้าง แค่ไหน ลึกแค่ไหน คุณค่าของมันจะเพิ่มสูงขึ้นตามนั้น กุญแจสำ�คัญคือ การหาความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภคให้เจอ ระบุ Unmet Need (ความต้องการที่ยังไม่ได้รับการตอบสนอง) ของเขาให้ได้ อะไรคือโจทย์ ง่ายๆ ที่ไม่เคยถูกตอบ จากนั้นเราก็ตอบมันด้วยการออกแบบ แค่นี้ “คุณค่า” มันก็เกิดขึ้นแล้ว ภาพรวมของอินดัสเตรียลดีไซน์ในเมืองไทย ก็ตื่นเต้นมากขึ้น มีความต้องการนักออกแบบมากขึ้นมาก แต่โดยรวมมัน ยังพัฒนาช้ากว่าที่คิดไว้ (หัวเราะ) ตอนผมเปิดบริษัทใหม่ๆ ผมคิดว่าอีก สักห้าปีธุรกิจนี้น่าจะดี เราน่าจะไปได้ แต่พอห้าปีผ่านไปจริงๆ ผมมา คิดอีกทีว่า… จะรอดมั้ยวะเนี่ย ที่เป็นห่วงคือเรื่องบุคลากรครับ ในแง่ของ แรงงาน (Workforce) ประเทศเราแทบไม่มีเลย ผมไปดูงานจบของ นักศึกษาแต่ละปี สมมติจบกัน 40 คนต่อหนึ่งมหา’ลัย มีคนที่ทำ�งาน อินดัสเตรียลดีไซน์หรือ ID จริงๆ เฉลีย่ แค่สองคนเองนะ แล้วทัง้ ประเทศก็ มีสถาบันที่สอน ID อยู่แค่สิบที่เห็นจะได้ แรงงานเรามีน้อยมาก เหตุผล เพราะงาน ID มันยากไง มันซับซ้อน ต้องคิดรอบด้าน เด็กส่วนใหญ่เลย หันไปทำ�แพคเกจจิ้งดีกว่า จบง่ายกว่าเยอะ
30
Creative Thailand
l มิถุนายน 2554
สมัยก่อนเด็กจบ ID ไม่มงี านทำ� ต้องไปทำ�งานสายอืน่ หมด แต่สมัยนี้ งานโคตรเยอะครับ ทุกโรงงานต้องการนักออกแบบหมด แต่กลับหาคน ทำ�ไม่ได้ เพราะงานในโรงงานมันไม่เท่ไง เด็กรุน่ นีเ้ ขาอยากทำ�งานอีเวนต์ หรืองานบันเทิงมากกว่า เขาชอบแบบง่ายๆ เร็วๆ หล่อๆ สวยๆ คุณเข้า ใจใช่มั้ย หนทางการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยการออกแบบ ก็อยู่ที่การตีความและความหมายของ “ดีไซน์โซลูชั่น” นั่นแหละครับ ทุก วันนี้การออกแบบในเมืองไทยยังเป็น Art Approach มากๆ คือนัก ออกแบบทำ�เอาเท่เอาเก๋ไว้ก่อน น้อยคนที่จะทำ�ด้วย Business Approach จริงๆ พอเป็นอย่างนี้แล้ว คุณค่าที่เกิดต่อสังคมหรือเศรษฐกิจโดยรวมมัน ก็ตํ่า จะเห็นว่าเราไม่ค่อยมีโซลูชั่นที่แสดงคุณค่าในระดับสูงเท่าไหร่ แต่มนั ก็คงเป็นวัฒนธรรมแบบไทยๆ มัง้ ครับ คนไทยจะชอบทำ�อะไร สวยงาม ทำ�งานคราฟท์ แต่ไม่ถนัดทำ�ธุรกิจในสเกลใหญ่ เพราะมันยาก มันซีเรียสไป ส่วนในระดับชาติเราก็ต้องพึ่งพาวิสัยทัศน์ผู้นำ�นั่นล่ะครับ ทุกวันนี้ ภาคการผลิตและส่งออกของเราเป็นไง มูลค่าสินค้าส่งออกสองอันดับแรก มาจากการผลิต “ชิน้ ส่วนอิเล็กทรอนิกส์” กับ “ชิน้ ส่วนยานยนต์” นะครับ แล้วคุณรูม้ ย้ั สินค้านำ�เข้าสามอันดับแรกของไทยมีอะไรบ้าง อันดับแรกคือ นํา้ มัน (อันนีไ้ ม่วา่ กัน) อันดับสองคือเครือ่ งจักรทีใ่ ช้ผลิตชิน้ ส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อันดับสามคือเครือ่ งจักรทีใ่ ช้ผลิตชิน้ ส่วนยานยนต์ พอเอามูลค่าการส่งออก กับนำ�เข้ามาหักลบกัน เราก็ขาดทุนสิครับ อันนีต้ อ้ งถามรัฐบาลแล้ว แบบนี้ ถือว่าคุณกำ�ลังบริหารประเทศให้ขาดทุนนะ ไทยเรารับผลิตชิน้ ส่วนรถยนต์มา 30 ปีแล้ว จนถึงวันนีย้ งั ไม่มแี บรนด์ รถของตัวเองเลย ภาครัฐเราอ่อนแอเกินไปมัย้ เนีย่ ทำ�ธุรกิจรับจ้างผลิตมา นานแสนนาน ไม่เคยมีโนว์ฮาวทีไ่ ด้รบั ถ่ายทอดมาเลย นีเ่ ป็นเรือ่ งของวิสยั ทัศน์ผู้นำ�ล้วนๆ อย่างจีนนี่เขาบังคับเลยนะ ถ้าให้เขาผลิตเท่านี้เท่านั้น เสร็จแล้วคุณต้องให้โนว์ฮาวทัง้ หมดกับเขาด้วย ถ้าจะแย้งว่าจีนเขามีอ�ำ นาจ ต่อรองสูง เอาประเทศที่เคยโตมาพร้อมๆ กับไทยอย่างเกาหลี อย่าง มาเลเซียก็ได้ ตอนนีเ้ ขาไปถึงไหนกันแล้ว Cerebrum ในอีก 5 ปีขา้ งหน้า ในส่วนของดีไซน์คอนซัลแทนท์ ผมก็ฝนั อยากทำ�งานทีซ่ บั ซ้อนมากขึน้ ทำ� ในสิง่ ทีม่ อี มิ แพคต่อธุรกิจและสังคมโดยรวม อีกส่วนคือตัวโรงเรียน หรือ Cerebrum Creative Center ทีก่ �ำ ลังทำ�อยู่ ผมอยากให้มนั กลายเป็น “มหาวิทยาลัย” ในวันข้างหน้าครับ กล้าพูดเนอะ (หัวเราะ) คืออยากให้ มันเติบโตเป็นสถาบันที่มีโนว์ฮาวของตัวเอง สามารถใช้กรณีศึกษาทาง ธุรกิจจริงๆ มาถ่ายทอดได้ ทุกวันนีเ้ ราสร้างโซลูชน่ั อะไรขึน้ มาเราก็จะเก็บ บันทึกไว้ แล้วนำ�มาเอือ้ เฟือ้ ให้กบั ภาคการศึกษาครับ
The Creative
มุมมองของนักคิด
ขยายความเรื่อง “การศึกษา” ที่คุณกำ�ลังทำ� ผมเปิด Cerebrum Creative Center เป็นอีกธุรกิจเลยครับ โฟกัสไปทีผ่ ู้ ประกอบการและนักธุรกิจโดยตรง สิง่ ทีท่ �ำ คือเราพยายามนำ�ประสบการณ์ ทัง้ หมดทีม่ มี าพัฒนาเป็นองค์ความรูใ้ หม่ และทำ�ให้มนั ส่งต่อได้ ใช้งานได้ จริงกับทุกธุรกิจ เรียกว่าเป็นระบบความคิดแบบ Cerebrum Thinking ละ กัน รูปแบบของการถ่ายทอดก็จะเป็นเวิร์กช็อประยะสั้นใช้ชื่อว่า Design Wave ครับ ทำ�มาเกือบสองปีแล้ว ทีผ่ า่ นมาผมได้สะสมองค์ความรู้ วิธคี ดิ และโนว์ฮาว จากการทำ�งาน กับลูกค้าหลายแบบ รวมถึงบริษทั ต่างชาติอย่างเช่น Philips Design ด้วย จากนัน้ ก็น�ำ มาพัฒนาเป็น Thinking Product ของตัวเองเพือ่ ถ่ายทอดให้ กับกลุ่มเอสเอ็มอีไทย จริงๆ แล้วองค์ความรู้พวกนี้หายากมากนะครับ ไม่มที างกระเด็นมาถึงอาเฮียบ้านเราเลย แต่เมือ่ ผมมีโอกาสเข้าถึงตรงนัน้ ได้ ผมเก็บเกีย่ วได้ ก็คดิ ว่าควรจะแบ่งปันด้วย จะได้โตไปด้วยกัน อะไรคือแรงบันดาลใจ คือผมอยากสร้างความเข้าใจและช่วยขยายวิสัยทัศน์ของผู้ประกอบการ ไทย แต่ถ้าผมสอนลูกค้าไปทีละเจ้ามันคงใช้เวลานานมาก ทำ�คอร์สการ ศึกษามันเหมือนเป็นทางลัดครับ องค์กรไหนที่อยากทำ�เทรนนิ่งเราก็ไป ทำ�ให้ เปิดรับสมัครให้เขาเดินเข้ามาหาเราเลย ผมรับประกันว่าคุณทำ� เวิรก์ ช็อปกับเราสิบวัน คุณจะได้วสิ ยั ทัศน์ใหม่และคอนเซ็ปท์ธรุ กิจอันใหม่ กลับไปแน่นอน แนวคิดทางการศึกษาของ Cerebrum Creative Center จะเน้นให้ ทุกคนแบ่งปันความรู้ เพราะผมเชื่อว่าท้ายสุดทุกคนก็คงอยากมีชีวิตที่มี คุณค่าในการทำ�ธุรกิจก็เหมือนกัน ถ้าทำ�เพือ่ ตัวเองอย่างเดียว หาเงินเข้า กระเป๋าตัวเอง แต่ตอ้ งเบียดเบียนคนอืน่ (จะโดยรูต้ วั หรือไม่กต็ าม) คุณค่า ของธุรกิจนัน้ มันก็แค่ระดับหนึง่ แต่ถา้ คุณได้แบ่งปันช่วยเหลือคนรอบข้าง ได้ชว่ ยเหลือคนทีอ่ อ่ นแอกว่า ได้เพิม่ พูนกัลยาณมิตรในเส้นทางธุรกิจ คุณค่า ของสิง่ ทีค่ ณุ ทำ�มันก็จะเพิม่ ความหมาย สุดท้ายคุณจะเห็นถึงศักยภาพอีก ด้านของตัวเอง ได้สมั ผัสถึงคุณค่าใหม่และเป็นคนทีม่ คี วามสุขขึน้ มุมมองต่อ Input และ Output ของระบบการศึกษาไทย การศึกษาไทยในปัจจุบันเป็นระบบที่วัดผลไม่ได้เลย จะเอาอะไรมาวัดล่ะ เกรดเหรอ มันเอาไปทำ�อะไรได้ละ่ เราไม่สามารถใช้ไม้บรรทัดอันเดียวไป วัดผลทุกสิ่งทุกอย่างในโลกได้หรอกครับ ระบบการศึกษาของเรามันก็ เหมือนไม้บรรทัดอันเดียว เป็นเครื่องมือชิ้นเดียวที่คนพยายามจะเอาไปชี้ วัดของทุกอย่าง ท้ายสุดมันไม่เป็นความจริง อย่างตัวผมถ้าเขาเอาไม้ บรรทัดของระบบการศึกษามาชี้วัด เขาก็จะบอกว่าผมเป็นเด็กโง่ สมาธิ สั้น ล้มเหลว เพราะผมได้เกรดสูงสุดในชีวิต 1.9 ไงครับ
คนไทยถูกปลูกฝังให้มองแต่เป้าหมาย ระยะสั้นๆ พ่อแม่ผู้ปกครองก็เหมือนกัน ทำ�หน้าที่ผลักดันให้ลูกเข้า ป.1 เสร็จแล้ว ต่อ ม.1 เสร็จแล้วเข้ามหา’ลัย... ถ้ามอง
ว่านี่คือแผนการลงทุนของพ่อแม่ แผนนี้ล้มเหลวอย่างแรงครับ
จุดอ่อนของระบบการศึกษาไทยคือผู้นำ�ของเราขาดวิสัยทัศน์ ผมไม่ ระบุนะว่าผู้นำ�ระดับไหน ไม่พาดพิง แต่เขายังมองไม่เห็นว่าหัวใจของการ พัฒนาประเทศคือ “คน” การศึกษาของเราไม่ได้พัฒนาคนให้มีวิสัยทัศน์ คนไทยถูกปลูกฝังให้มองแต่เป้าหมายระยะสัน้ ๆ พ่อแม่ผปู้ กครองก็เหมือนกัน ทำ�หน้าทีผ่ ลักดันให้ลกู เข้า ป.1 เสร็จแล้วต่อ ม.1 เสร็จแล้วเข้ามหา’ลัย ต้อง เอนทรานซ์ให้ติดนะ เรียนให้จบนะ หลังจากนั้นเขาก็สรุปว่าลูกจะเอาตัว รอดได้ …โอ้โห คิดง่ายจัง ถ้ามองว่านีค่ อื แผนการลงทุนของพ่อแม่ แผนนีล้ ม้ เหลวอย่างแรงครับ คุณลงทุนด้านการศึกษาให้ลูก 20 ปี โดยไม่รู้เลยว่า Output จะออกมา เป็นอะไร ทางที่ดีพ่อแม่น่าจะลงทุนด้วย “เวลา” มากกว่า คือช่วยใส่ใจ กับความสนใจของลูก ค้นหาศักยภาพและความฝันของเขาเสียแต่เนิ่นๆ สนับสนุนให้เขาได้ค้นพบความหมายของชีวิต ไม่ต้องเอาไม้บรรทัดของ ระบบมาเป็นตัวชี้วัดหรอกครับ เดินออกจาก Group Think อันนี้เสียเถอะ มิถุนายน 2554
l
Creative Thailand
31
The Creative
มุมมองของนักคิด
ถึงวันนี้ยุคสมัยมันเปลี่ยนไปแล้ว ความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ก็เปลี่ยนไปด้วย เมื่อศักยภาพของ แต่ละคนไม่เหมือนกัน คุณจะผลิต แรงงานด้วยวิธีคิดแบบเดิมไม่ได้ สิง่ ทีไ่ ด้เรียนรูจ้ ากธุรกิจการศึกษา ผมลองผิดลองถูกมาเยอะครับ ตอนแรกๆ ก็เจาะไปที่กลุ่มนักศึกษา เพราะเห็นว่าตลาดแรงงานยังขาดบุคลากร ถ้าเราเปลี่ยนแปลงอะไรได้ก็ น่าจะดีกับวงการโดยรวม แต่ทำ�ไปทำ�มาไม่เวิร์ก ผิดหวังครับ (หัวเราะ) จากนั้นก็ลองมาจับกลุ่ม Second Gen (รุ่นที่สอง) ในธุรกิจครอบครัว พวกคนรุ่นลูกที่มีไฟอยากเปลี่ยนแปลงอะไรต่างๆ คนพวกนี้ก็มาเรียนกับ ผม ไอเดียกระฉูดกันใหญ่ พอเรียนจบกลับไปโดนปะป๊าเตะตัดขา…ทำ� อะไรไม่ได้อยู่ดี สุดท้ายผมเลยมาโฟกัสที่เจ้าของตัวจริง พวกอาเฮียเลยครับ คนรุ่นนี้ อาจจะหัวเก่าหน่อย แต่เขาเป็นนักแสวงหาโอกาสมาก่อน ฉะนั้นเขามี ศักยภาพที่จะเปลี่ยนแปลงและสร้างวิสัยทัศน์ได้ ที่ผ่านมาเขาแค่ขาดแรง กระตุ้นไปเท่านั้น จากที่ผมไปบรรยายตามสมาคมต่างๆ ผมเห็นเลยครับ ว่าผู้บริหารกลุ่มนี้น่าสนใจ พอเขาได้เข้าใจคอนเซ็ปท์ เขาสั่งลูกหลานคำ� เดียว “ลุย” ทีนท้ี กุ อย่างเดินหน้าเร็วหมด ความเปลีย่ นแปลงเกิดทันตา ความต่างของ Cerebrum Creative Center อย่างแรกคือเราไม่มีหลักสูตร และไม่ได้ยืมหลักสูตรใครมาสอนด้วย เรา ขายเครือ่ งมือตัวเดียวเอง คือ Design Wave คุณใช้ตวั นีใ้ ห้เป็นแค่ตวั เดียว พอแล้วครับ เรียนไม่ต้องเยอะ แต่เอาให้คล่อง เอาให้เก่งเลยนะ ไม่ใช่ เรียนทฤษฎีเต็มไปหมด แต่พอกลับถึงโรงงานก็ลืมหมดเหมือนกัน ส่วนโจทย์ในเวิรก์ ช็อปก็ให้นกั เรียนนำ�มาเอง ทุกอย่างทำ�กันในคลาส ไม่มีการบ้าน เราจะให้เขาฝึกแก้ปัญหาจากเรื่องง่ายๆ เช่น หลอดดูดนํ้า ไม่ขึ้น ไปจนถึงปัญหายากๆ เช่น โลกกำ�ลังจะแตก โดยหกวันแรกของ เวิร์กช็อปจะเป็นการฝึกในลักษณะนี้ ทุกวันก็จะยากขึ้นเรื่อยๆ ส่วนสี่วัน สุดท้ายจะเป็นโปรเจกต์สว่ นตัวที่แต่ละคนนำ�มา ที่ส�ำ คัญคือห้องเรียนนีต้ อ้ ง แบ่งปัน ช่วยกันคิดช่วยกันทำ� ไม่มีใครต้องแข่งกับใคร ห้ามกั๊กครับ ผม อยากให้ทุกคนเป็นเพื่อนกันให้หมด เพราะจริงๆ แล้วธุรกิจคือเรื่องของ เน็ตเวิร์ก 32
Creative Thailand
l มิถุนายน 2554
มีแผนผลักดันธุรกิจนีอ้ ย่างไร อยากให้มันเดินต่อได้ด้วยตัวเองครับ ผมแค่ทิ้งตัวคอนเซ็ปท์หรือปรัชญา เอาไว้ แล้วให้ศษิ ย์เก่าเทิรน์ เป็นอาจารย์ถา่ ยทอดสูค่ นรุน่ ต่อๆ ไป เพราะ แต่ละคนที่ผ่านเทรนนิ่งของผมไป ผมมั่นใจว่าเขาได้เบรกอะไรบางอย่าง ในธุรกิจของเขา มุมมองใหม่นี้แหละคือสิ่งสำ�คัญ ซึ่งผมก็หวังว่าเขาจะ สามารถบอกต่อให้คนรอบข้างด้วย คุณสมบัติของแรงงานที่เราต้องการในอนาคต อย่างแรกคือต้องมี “ฝัน” ครับ มีเป้าหมายในชีวิต แต่พอคนส่วนใหญ่ ของเราขาดวิสัยทัศน์ ความหมายในชีวิตมันก็ไม่มี มันก็ไม่รู้สึกอยากทำ� อะไร ก็ไม่แปลกที่หลายคนจะใช้ชีวิตอยู่ไปวันๆ ผมว่าทุกอย่างมันก็เป็น เหตุเป็นผลกันนะ อย่างที่สองคือเรื่อง Skill Set หรือทักษะความชำ�นาญที่ เหมาะสมกับแต่ละอุตสาหกรรม ทุกวันนี้การศึกษาไทยยังให้ทักษะนี้ได้ ไม่เต็มร้อย คุณไปถามในทุกอุตสาหกรรมได้เลย ถามเขาว่าตอนนี้เด็ก จบใหม่ออกมาทำ�งานได้จริงมั้ย จบมากี่คน ใช้ได้จริงๆ กี่คน แต่จะว่าเด็กฝ่ายเดียวก็ไม่ได้ครับ มันบกพร่องทั้งสองฝ่ายแหละ คณาจารย์บางทีกข็ าดประสบการณ์ ไม่ได้ผา่ นงานภาคธุรกิจมาเลย ทำ�ให้ ไม่รู้ความต้องการที่แท้จริงของอุตสาหกรรม การเรียนการสอนมันก็เลย ไม่ค่อยตรงจุดนัก ฝ่ายตัวเด็กๆ ก็ใช้เวลาค้นหาตัวเองนานไป หลายคน ขอแค่เข้ามหา’ลัยไปก่อน อย่างอื่นค่อยคิดทีหลัง จนเรียนจบแล้วบางคน ยังไม่รู้จักตัวเองเลยด้วยซํ้า คุณคิดดูสิ มันสะท้อนกลับมาที่เรื่องวิสัยทัศน์ หมดเลยนะ การศึกษาเรามัวแต่เน้นปริมาณมากกว่าคุณภาพ เป็นระบบการศึกษา แบบ Mass Production ครับ ปั๊มแรงงานออกมาเป็นล็อตๆ คัดพันธุ์กัน ที่เกรดเฉลี่ย แล้วก็แจกจ่ายเข้าประจำ�ตามสายการผลิต ซึ่งวิธีคิดนี้มัน ตอบโจทย์ได้เฉพาะระบบอุตสาหกรรมแบบเก่า ถึงวันนีย้ คุ สมัยมันเปลีย่ น ไปแล้ว ความต้องการของภาคอุตสาหกรรมก็เปลีย่ นไปด้วย เมือ่ ศักยภาพ ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน คุณจะผลิตแรงงานด้วยวิธีคิดแบบเดิมไม่ได้ การศึกษาไทยในฝัน คำ�ว่าการศึกษามันแคบไป เพราะมันผูกติดอยู่กับระบบ ติดอยู่กับวิธีการ สอน และการชี้วัดด้วยไม้บรรทัดเดิมๆ ผมฝันอยากให้มี “กระทรวงการ เรียนรู้” ในประเทศไทยครับ แล้วผมก็อยากจะเป็นรัฐมนตรีกระทรวงนี้ แหละ
The Creative
มุมมองของนักคิด
โปรดักต์ในดวงใจ
โปรดักต์ประเภททีม่ คี วามหมายต่อมนุษยชาติครับ อะไรก็ได้ทช่ี ว่ ยให้ชวี ติ ความเป็นอยู่ของคนดีขึ้นได้ ผมยกตัวอย่าง “เครื่องกรองนํ้ารูปกรวย” ของเยอรมนีละกัน อันนี้เคยได้รางวัลทางด้านนวัตกรรมด้วย ทุกวันนี้ โลกเรามีปัญหาเรื่อง “นํ้าดื่มสะอาด” เป็นปัญหาสำ�คัญ เพราะมีคน ยากจนหลายพันล้านที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งนํ้าสะอาดได้ กรวยอันนี้ถูก ดีไซน์ขึ้นให้ใช้งานง่ายเลยครับ คุณแค่ใส่นํ้าเค็มหรือนํ้าสกปรกไว้ในถาด เอากรวยนี้ครอบไว้ แล้วก็เอาไปตากแดด นํ้าซึ่งเบากว่าสารแขวนลอย จะระเหยขึ้นไปเกาะที่ผนังกรวย จากนั้นก็ควบแน่นกลับลงมาเป็นหยด นํ้า ผ่านแผ่นที่กั้นไว้ไปรวมกันที่ขอบกรวย กลายเป็นนํ้าจืดที่สะอาดเท ดื่มได้เลย นี่แหละครับคือคุณค่าที่แท้จริงของงานดีไซน์ เทียบกับมือถือ ฝังเพชรราคา 15 ล้านแล้ว กรวยนี้มีคุณค่าสูงกว่าสำ�หรับผม
หนังสือโปรด
หนังสือมอเตอร์ไซค์ครับ ผมเป็นเด็กต่างจังหวัดเลยชอบขี่มอเตอร์ไซค์ ทุกวันนี้ผมแข่งมอเตอร์ไซค์ที่สนามพีระฯ ด้วย
สถานที่สร้างแรงบันดาลใจ
ที่สัปปายะครับ เช่น วัดหรือสถานที่ปฏิบัติธรรมที่มีความสบายพอควร เหมาะแก่การประพฤติธรรม
ฮีโร่ในชีวิต
พระพุทธเจ้าครับ ท่านคือดีไซเนอร์ระดับสูงสุด สามารถออกแบบ “ชีวิต” ได้ คำ�สอนของพระพุทธเจ้าล้วนเป็น “โซลูชั่น” ที่ช่วยมนุษย์โลกได้จริง
มิถุนายน 2554
l
Creative Thailand
33
Creative Will คิด ทํา ดี
เรื่อง: กมลกานต์ โกศลกาญจน์
ในปัจจุบนั มีวธิ กี ารมากมายที่ถกู หยิบยกขึน้ มาเป็นแนวทางสาํ หรับ ปฏิบัติการเพื่อลดโลกร้อน รักษาสมดุลให้กับระบบนิเวศน์ และ สร้างความยั่งยืนให้กับธรรมชาติ แต่นั่นก็ยังไม่มากพอต่อการ ทำ�ลายและเผาผลาญทรัพยากรที่เกิดขึ้นมาอย่างยาวนานและ ต่อเนือ่ ง ผลของการสูญเสียทีส่ ะสมมาส่งผลให้เกิดเป็นภัยพิบตั ิ ที่เข้าขั้นวิกฤติในหลายพื้นที่ บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำ�กัด (มหาชน) หรือ เอ็กโก กรุ๊ป จึงร่วมมือกับอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ริเริ่มโครงการ "ค่ายเยาวชนเอ็กโกไทยรักษ์ป่า" เพื่อร่วมเป็น ส่วนหนึ่งของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มาตัง้ แต่ปี 2540 จนถึงวันนีเ้ ป็นระยะเวลา 14 ปี ฝึกอบรมเยาวชน รวมแล้ว 36 รุน่ จำ�นวนกว่า 2,000 คน
ด้วยวัยที่ไม่น้อยเกินไปสําหรับการแลกเปลี่ยนความคิดและประสบการณ์ ร่วมกันในแบบผูใ้ หญ่ และไม่มากเกินไปสาํ หรับการปลูกฝังจิตสาํ นึก ค่าย เยาวชนเอ็กโกฯ จึงชวนเยาวชนที่ช่วงอายุตั้งแต่ 14 - 19 ปี เข้าร่วม กิจกรรมที่เน้นทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ทั้งการบรรยายให้ความรู้ เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การดูนก การดำ�รงชีพในป่า การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและยั่งยืน ไปพร้อมกับการทำ�กิจกรรมสัมผัส สิง่ แวดล้อมในพืน้ ทีจ่ ริง ได้แก่ การสำ�รวจเส้นทางศึกษาธรรมชาติกว่ิ แม่ปาน การเดินและค้างแรมในพื้นที่ป่าต้นนํ้า รวมไปถึงปฏิบัติการ “Carbon Footprint ลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์” ในปีน้ี ค่ายเยาวชนเอ็กโกฯ คัดเลือกเยาวชนจากการแสดงความคิด เห็นในหัวข้อ “เราจะช่วยโลกนีไ้ ด้อย่างไร” และเยาวชนทีผ่ า่ นการคัดเลือก จำ�นวน 140 คน ได้ใช้เวลา 5 วัน 4 คืน ในอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นเขตป่าต้นนํ้าที่สำ�คัญและอุดมสมบูรณ์ที่สุดของ ประเทศไทย เป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้และใช้ชีวิตร่วมกัน เพื่อปลูกจิต สำ�นึกให้เกิดขึ้นในใจเยาวชนในระยะยาว รวมถึงสนับสนุนและส่งเสริม ให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดและประสบการณ์จนเกิดเป็นเครือข่าย 34
Creative Thailand
l มิถุนายน 2554
และเพื่ อ ให้ เ ยาวชนที่ ผ่ า นการอบรมนำ � ความรู้ แ ละประสบการณ์ ที่ได้รับมาปรับใช้ในการดำ�เนินชีวิตประจำ�วันให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ต่อไป ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืนนั้นต้องอาศัยระยะ เวลา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับด้านสิ่งแวดล้อม ไม่ใช่ว่าการปลูกต้นไม้ ใหม่ในตอนนี้ จะช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมแบบเห็นผลทันที ดังนั้น การเลือก ปลูกจิตสำ�นึกในใจคน จึงเป็นอีกหนึ่งช่องทางสำ�คัญ เพราะถือได้ว่าเป็น วิธีการพัฒนาในระยะยาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการสร้างให้เกิดขึ้นกับ เยาวชน ที่พร้อมจะเติบโตไปเป็นกำ�ลังสำ�คัญในวันข้างหน้า และเมื่อถึง เวลานั้น เมล็ดพันธุ์แห่งจิตสำ�นึกก็พร้อมเติบโตและออกผลให้เห็นอย่าง แน่นอน ติดตามข่าวคราวและความเคลื่อนไหวได้ที่: www.egcogreenblood.egco.com