CT-magazine Vol.23

Page 1

นิตยสารส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ผลักดันเศรษฐกิจไทย โดย

ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ สำ�นักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน)

The Object

Three Gorges Dam

Creative City อัมสเตอร์ดัม

Classic Item กังหันนํ้าชัยพัฒนา

สิงหาคม 2554 ปีที่ 2 | ฉบับที่ 11

แจกฟรี

สิงหาคม 2554

l

Creative Thailand

1


2

Creative Thailand

l สิงหาคม 2554


WE HAVE LEARNED IN THE END; NOT ONLY TO FIGHT AGAINST THE WATER, BUT ALSO TO LIVE WITH THE WATER. ท้ายที่สุดแล้ว เราต่างเรียนรู้ว่า แทนที่จะต่อสู้กับนํ้าเพียงอย่างเดียว เราควรเรียนรู้ที่จะอยู่กับนํ้าให้ได้ด้วย Koen Olthuis

สถาปนิกและผู้ก่อตั้ง Waterstudio.NL สิงหาคม 2554

l

Creative Thailand

3


สารบัญ

บรรณาธิการอำนวยการ ที่ปรึกษา

The Subject

6

The Object

7

วัตถุดิบทางความคิด

8

สงครามการแยงชิงแหลงนํา้ Three Gorges Dam: นวัตกรรมแหงการเอาชนะธรรมชาติ Featured Book / Book / Magazine / DVD

เปลี่ยนโลกรอบตัว

10

Classic Item

11

เรื่องจากปก

12

วัสดุหลากไอเดียกับการจัดการทรัพยากร “เหลว/ไหล” กังหันนํ้าชัยพัฒนา…ผันนํ้าเสียสูนํ้าดีดวยนํ้าพระราชหฤทัย Water control is the future.

อภิสิทธิ์ ไลสัตรูไกล กิตติรัตน ปติพานิช ชมพูนุท วีรกิตติ พิชิต วีรังคบุตร ศิริอร หริ่มปราณี มนฑิณี ยงวิกุล กนกพร เกียรติศักดิ์ วราภรณ วศินสังวร จรินทรทิพย ลียะวณิช ศุภมาศ พะหุโล พัชรินทร พัฒนาบุญไพบูลย เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร กริยา บิลยะลา กมลกานต โกศลกาญจน ชิดชน นินนาทนนท

บรรณาธิการบริหาร ผูชวยบรรณาธิการ กองบรรณาธิการ เลขากองบรรณาธิการ บรรณาธิการศิลปกรรม

จัดทําโดย ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (TCDC) ชั้น 24 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอร 622 สุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 โทร. 02 664 7667 แฟกซ. 02 664 7670 ติดตอลงโฆษณาไดที่ sale@tcdc.or.th

Insight

20

คิด ทำ กิน

22

จับกระแสเมืองสรางสรรค

24

แยกสี บริษัท 71 อินเตอรสแกน จำกัด โทร. 02 631 7171 แฟกซ. 02 631 7181

มุมมองของนักคิด

30

คิด ทํา ดี

34

พิมพที่ บริษัท คอมฟอรม จำกัด โทร. 02 368 3942-7 แฟกซ. 02 368 2962 จำนวน 50,000 เลม

ไมเคิล มาสชา นักเลนแรแปร (นํ้า) ดื่มดีไซน BOXED WATER IS BETTER. อัมสเตอรดัม: Living on water จรวย พงษ์ชีพ / ลุงดํา นํ้าหยด The Pure project

นิตยสารฉบับนี้ใชหมึกพิมพจากน้ำมันถั่วเหลืองที่ไมเปนอันตรายตอสุขภาพ ทั้งยังเปนมิตรตอ สิง่ แวดลอม และทีส่ ำคัญคือ เปนผลผลิตจากความคิดของผูป ระกอบการไทย

Media Partnerer

จัดทำภายใตโครงการ “CreativeThailand สรางเศรษฐกิจไทยดวยความคิดสรางสรรค” โดยศูนยสรางสรรคงานออกแบบ สำนักงานบริหารและพัฒนาองคความรู (องคการมหาชน) ซึ่งมีเปาหมาย ในการเผยแพรความรูเกี่ยวกับเศรษฐกิจสรางสรรค (Creative Economy) และผลักดันการใชความคิด สรางสรรคในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

4

อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส แสดงทีม่ า-ไมใชเพือ่ การคา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย Creative Thailand l สิงหาคม 2554

อานนิตยสารฉบับออนไลนและดูขอมูลเพิ่มเติมไดที่ www.creativethailand.org Email: creativethailand@tcdc.or.th Twitter: @Creative_TH Facebook: Creative Thailand


Editor's Note บทบรรณาธิการ

นํ้า...นวัตกรรม แห่งความเป็นอารยะ เมื่อ 2 ใน 3 ของพื้นผิวโลกปกคลุมด้วยนํ้า และ ร่ า งกายของคนเรามี นํ้ า เป็ น องค์ ป ระกอบกว่ า ร้อยละ 70 ...จึงไม่มเี หตุผลอะไรทีเ่ ราจะไม่คดิ และ พูดถึง “นํ้า” ตลอดประวัตศิ าสตร์อนั ยาวนานของมนุษยชาติ สารประกอบชนิดนี้ได้พิสูจน์ตนเองว่าเป็นมากกว่า การดับกระหาย มนุษย์ใช้นํ้าในหลายสถานภาพ ทั้งเป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยน ใช้ในพิธีกรรมทาง ความเชื่อ เป็นสัญลักษณ์ทางการเมืองและความ มัง่ คัง่ ป่าวประกาศในการเฉลิมฉลอง หรือแม้กระทัง่ เพื่อรำ�ลึกถึงการตายจากกัน นับแต่เมืองแห่งแรก ของโลกปรากฏขึ้ น ในเขตเมโสโปเตเมี ย บนที่ ราบลุ่มแม่นํ้าไทกริสและยูเฟรติส สังคมเมืองก็มี การพัฒนาเติบโตขึ้นพร้อมๆ กับการค่อยๆ สั่งสม ผลลัพธ์จากความคิดและทักษะในการรับมือกับ ธรรมชาติอย่างน่าอัศจรรย์ผา่ นสิง่ ประดิษฐ์มากมาย ทั้งหมดนี้ก็เพื่อนำ�ทางให้ชีวิตมีความอุดมสมบูรณ์ ซํ้ายังสร้างความเพลิดเพลินและสีสันแห่งความ มัง่ คัง่ ด้วยระบบชลประทานและวิศวกรรมที่อาจหาญ ทำ�สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ให้กลายเป็นจริง ตั้งแต่สวน กุหลาบในพระราชวังอัลฮัมบราเมือ่ ศตวรรษที่ 9 จน ถึงการสร้างเมืองใหม่บนผืนทะเลในคูเวตและดูไบ ในปัจจุบัน เทคโนโลยีดา้ นวิศวกรรมถูกพัฒนาขึน้ เพื่อต่อสู้ กับธรรมชาติอย่างไม่ลดละ เห็นได้จากวิวฒั นาการ ทีไ่ ม่เคยหยุดนิง่ จากอ่างเก็บนํา้ สูก่ ารสร้างเขือ่ น จาก เขือ่ นเพือ่ การเกษตรสูก่ ารปรับฐานะเป็นเขือ่ นขนาด ใหญ่ ที่ ผ ลิ ต กระแสไฟฟ้ า สำ�หรั บ ประชาชนทั้ ง ประเทศ ก่อนจะก้าวข้ามไปสร้างวงจรเศรษฐกิจใน ดินแดนใกล้เคียง ความชาญฉลาดของคนเรายัง ท้าทายระดับนํ้าทะเลที่ทรงอานุภาพด้วยการสร้าง กำ�แพงกั้นนํ้าที่ทันสมัยเพื่อปกป้องอาณาเขตของ

เมืองอย่างเวนิส ลอนดอน หรืออัมสเตอร์ดมั ตลอด จนการนำ�นาโนเทคโนโลยีเข้าช่วยบำ�บัดนํ้าเสียให้ เป็นนํา้ ใช้ และเปลีย่ นนํา้ เค็มมาเป็นนํา้ ดืม่ เป็นการ สร้างความมั่นใจได้ว่าเราจะไม่มีทางขาดแคลนนํ้า ในอนาคต ท่ามกลางความชื่นมื่นในความสำ�เร็จด้าน เทคโนโลยี เมื่อปีที่ผา่ นมา องค์การกองทุนสัตว์ปา่ โลก สากล หรือ World Wide Fund for Nature (WWF) ได้เปิดเผยรายงานล่าสุดชื่อว่า “Mega-Stress for Mega-Cities” ซึ่งศึกษาถึงภัยคุกคามจากการ เปลีย่ นแปลงของสภาพภูมอิ ากาศต่อ 11 เมืองใหญ่ ในเอเชีย ที่ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลหรือดินดอน สามเหลีย่ มปากแม่นา้ํ รายงานระบุวา่ กรุงเทพฯ เป็น เมืองที่มีความเปราะบางมากเป็นลำ�ดับที่ 5 จาก ทัง้ หมด 11 เมือง เนือ่ งจากทีต่ ง้ั ของเมืองอยูส่ งู จาก ระดับนํา้ ทะเลเพียง 2 เมตรเท่านัน้ ขณะทีร่ ะดับนํา้ ทะเลบริเวณอ่าวไทยจะสูงขึน้ อีก 10-100 เซนติเมตร ภายใน 50 ปีจากนี้ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้คนเกือบ 12 ล้านคน ในพื้นที่กว่า 1,500 ตารางกิโลเมตรของ กรุงเทพฯ ต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่พน้ื ทีห่ ลายส่วน ของเมืองอาจจมนํ้า นอกจากนี้ ยูเนสโกและคณะ กรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำ�หรับเอเชียและ แปซิฟิก (เอสแคป) ยังได้ร่วมกันออกรายงานสถิติ การใช้นํ้าในเขตเมืองใหญ่ของเอเชีย ซึ่งพบว่า กรุงเทพฯ ได้ชื่อว่าเป็นพื้นที่เมืองที่ใช้ทรัพยากรนํ้า มากทีส่ ดุ เฉลีย่ แล้วใช้นา้ํ ราว 265 ลิตรต่อคนต่อวัน ขณะทีช่ าวฮ่องกงใช้นา้ํ เปลืองน้อยทีส่ ดุ เพียง 112 ลิตร ต่อคนต่อวัน ด้วยเหตุนี้ การที่จะปล่อยให้วิถีชีวิตและการ ขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจดำ�เนินอยู่บนความเมตตา ของธรรมชาติ จึงอาจไม่ใช่เรื่องดีนักเสียแล้ว...

อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล บรรณาธิการอํานวยการ สิงหาคม 2554

l

Creative Thailand

5


The Subject

เรื่อง: ศุภมาศ พะหุโล

“ไม่มีอะไรให้เก็บเกี่ยว… ฝนไม่ตกในหมู่บ้านของผมมาเป็น เวลา 2 ปี” เด็กหนุ่มวัย 16 ปีชาวโซมาเลียให้สัมภาษณ์ ผ่านล่าม เขาคือหนึ่งในผู้ลี้ภัยจำ�นวน 160,000 คนที่ประสบ ภาวะขาดแคลนนํ้า จนต้ อ งย้ า ยมาอาศั ย อยู่ ที่ ค่ า ยอพยพ ดาดาบในเคนยา แต่ปัญหาฝนแล้งที่ส่งผลต่อการเกษตรยัง ไม่เท่ากับปัญหาการแย่งชิงแหล่งนํ้าที่ตามมา “สงครามเป็น เหตุผลในการจากมาของพวกเรา... เกิดความขัดแย้งขึน้ เป็น จำ�นวนมากในบริเวณใกล้หมู่บ้านของผม” ในขณะที่ภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงในโซมาเลียก่อให้เกิดความขัดแย้ง ระดับชุมชนและการพลัดถิน่ ปัญหาการเข้าถึงแหล่งนํา้ สาธารณะของชาว เยเมนจากการจัดการนํ้าที่ไร้ประสิทธิภาพของรัฐบาลกลาง การอนุญาต ให้ขุดเจาะนํ้าบาดาลตามใจชอบ และการใช้นํ้าปริมาณมหาศาลไปกับ การเพาะปลูก "คัต" พืชเสพติดคล้ายใบกระท่อมที่ชาวเยเมนใช้อย่างแพร่ หลาย ก็ปรากฏให้เห็นเป็นรอยร้าวระหว่างประชาชนกับรัฐบาลซึ่งลามไป ถึงข้อเรียกร้องทางการเมืองจนเกือบก่อตัวเป็นสงครามกลางเมือง ล่าสุด สหประชาชาติระบุการขาดแคลนนํ้าทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นอย่าง รวดเร็วจากภาวะภูมอิ ากาศเปลีย่ นแปลง โดยปัญหาความแห้งแล้งจะไม่ได้ พบเฉพาะในประเทศยากจนอีกต่อไป แต่ยังส่งผลต่อประเทศรํ่ารวย เช่น สหรัฐฯ สเปน และออสเตรเลีย และระดับนํา้ ทะเลทีส่ งู ขึน้ จะส่งผลกระทบ ต่อเนเธอร์แลนด์ โซมาเลียและเยเมนเองก็ติดอันดับประเทศที่ต้องเผชิญ ภาวะขาดแคลนนํ้าภายในปี 2025 โดยสหประชาชาติคาดการณ์ไว้ว่า 18 จาก 30 ประเทศนั้นอยู่ในแถบตะวันออกกลางและอัฟริกาเหนือ และ ประชากรทัว่ โลกรวมกว่า 1,800 ล้านคนจะต้องประสบกับการขาดนํา้ อย่าง รุนแรง ในขณะที่สองในสามจะกังวลเกี่ยวกับวิกฤตเรื่องนํ้าที่เกิดขึ้น ประเทศรํ่ารวยจะเตรียมตัวรับมือและกระจายความเสี่ยงออกไป ส่วน ประเทศที่ยากจนมีศักยภาพในการเตรียมตัวรับมือน้อยกว่า ซึ่งจะทำ�ให้ เกิดปัญหาระหว่างประเทศผู้มีนํ้าใช้และประเทศผู้ไม่มีนํ้าใช้จนกลายเป็น ความขัดแย้งในที่สุด สงครามและความขัดแย้งจากการแย่งชิงแหล่งนํ้าธรรมชาติปรากฏ ให้เห็นบ่อยครัง้ ในประวัตศิ าสตร์ อินเดียเป็นตัวอย่างหนึง่ ทีช่ ดั เจน ปัญหา การจัดสรรนํ้าระหว่างรัฐ การทำ�งานล่าช้าของระบบราชการ และการรั่ว 6

Creative Thailand

l สิงหาคม 2554

© Niklas Meltio/Corbis

ไหลของนํ้าจำ�นวนมากระหว่างการขนส่งผ่านท่อที่ขาดการซ่อมบำ�รุง ทำ�ให้ชุมชนไม่สามารถเข้าถึงแหล่งนํ้าได้จนเกิดเป็นจลาจลอยู่เนืองๆ เม็กซิโกเองก็เคยเกิดกรณีพิพาทกับสหรัฐฯ มาแล้วในกรณีผลกระทบจาก การสร้างเขื่อนที่แกรนด์แคนยอนและเขื่อนฮูเวอร์ซึ่งส่งผลให้ระดับความ เค็มในแม่นํ้าโคโลราโดเพิ่มขึ้น จนรัฐบาลสหรัฐฯ ต้องสร้างโรงงานเพื่อลด ระดับความเค็มและสิ่งเจือปนในนํ้าก่อนที่จะปล่อยไปยังเม็กซิโก การปล้นและผูกขาดแหล่งนํ้าเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตนํ้าดื่ม บรรจุขวดยังเกิดขึ้นในอีกหลายพื้นที่ เมื่อบริษัทผู้ผลิตรายใหญ่เข้าซื้อ แหล่งนํ้าใต้ดิน หนอง และบึงตามธรรมชาติ หรือเช่าซื้อระยะยาวจาก ทางการ จนทำ�ให้ประชาชนในชุมชนท้องถิ่นเริ่มขาดแคลนนํ้าสาธารณะ จนต้องออกมารวมตัวเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมอย่างเหตุการณ์ที่เกิด ขึ้นในรัฐเมน สหรัฐฯ หรือบนหมู่เกาะฟิจิ ไม่วา่ จะเป็นการเกิดขึน้ ของภาวะโลกร้อน การจัดการระบบชลประทาน ที่รวมอำ�นาจบริหารเข้าสู่ส่วนกลาง หรือการผูกขาดแหล่งนํ้าธรรมชาติ ของบริษัทเอกชน ล้วนเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดการขาดแคลนนํ้าสาธารณะ อันเป็นปัจจัยหลักในการดำ�เนินชีวิตของมนุษย์ ซึ่งส่งผลต่อการเติบโต ของประเทศและก่อให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจตามมาจนนำ�มาสู่ความ ขัดแย้ง ข้อเรียกร้อง และข้อพิพาทระหว่างประเทศในที่สุด การแก้ปัญหา จึงต้องอาศัยการบริหารจัดการทรัพยากรนํ้าในอนาคต ความร่วมมือของ ภาครัฐและประชาชน รวมทั้งภาคธุรกิจในการจัดสรรนํ้าอย่างเพียงพอ และเป็นธรรม เพิ่มการกักเก็บนํ้าใต้ดิน การใช้นํ้าอย่างชาญฉลาด เน้น การเกษตรกรรมที่ใช้นํ้าน้อย และสร้างความเข้าใจเรื่องความสัมพันธ์ของ ธรรมชาติและความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม ที่มา: นํ้า (ดื่ม) ฟรีไม่มีในโลก (2553) โดย เอลิซาเบธ รอยท์ (รสวรรณ พึ่งสุจริต แปล) Water wars: 21st century conflicts? โดย Chris Arsenault (29 มิถุนายน 2554) จาก http://english.aljazeera.net ใกล้ปิดฉากผู้นำ�เยเมน โดย ยงยุทธ มัยลาภ (1 กรกฎาคม 2554) จาก www.thaiworld.org บทความ Water: นํา้ กับชะตากรรมของมนุษยชาติ (2549) โดย ไสว บุญมาจาก www.nidaambe11.net www.ipsnews.org


The Object

© Ryan Pyle/Corbis

เรื่อง: ศิริอร หริ่มปราณี เมือ่ ตรุษจีนทีผ่ า่ นมา ประธานาธิบดีหู จิน่ เทา ได้อทุ ศิ เวลาเดินสาย ตรวจเยี่ยมประชาชนในตอนเหนือของมณฑลเหอเป่ย พร้อมกับ ให้ค�ำ มัน่ ว่าหลังปีใหม่น้ี รัฐบาลจะระดมมาตรการเต็มสูบทัง้ เงินทุน เทคโนโลยี และอุปกรณ์นานาชนิด เพื่อปลดแอกความแห้งแล้ง ให้แก่ผืนดินทางภาคเหนือของประเทศ

ราวกับว่าความสำ�เร็จของเขื่อนทรี จอร์จส์ บนลุ่มนํ้าแยงซีเกียงของจีน จะไม่ได้เอือ้ เฟือ้ ความอุดมสมบูรณ์แห่งสายนํา้ ไปยังเขตอืน่ ๆ ของประเทศ แต่อย่างใด ซํา้ ร้ายเมือ่ พฤษภาคมทีผ่ า่ นมา สำ�นักข่าวซินหัวยังได้รายงาน สถานการณ์แห้งแล้งเข้าขั้นวิกฤตในสามมณฑลที่อยู่ใต้เขื่อนทรี จอร์จส์ โดยกรมชลประทานมณฑลเหอเป่ยระบุวา่ ตัง้ แต่พฤศจิกายนปีทผ่ี า่ นมามี ปริมาณฝนตกน้อยลงผิดปกติ ส่งผลให้ระดับนํา้ ในอ่างเก็บนํา้ 1,392 แห่งลด ตํา่ ลงจนแตะ “ระดับตาย” เป็นเหตุให้ไม่สามารถส่งนํา้ สูพ่ น้ื ทีเ่ กษตรกรรมได้ เขื่อนทรี จอร์จส์ ซึ่งเป็นเขื่อนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกเวลานี้ เริ่ม ก่อสร้างในปี 1993 และถือเป็นการเดินทางอันยาวนานจากอุดมการณ์ของ ดร.ซุน ยัตเซ็น ที่ได้เขียนไว้ในหนังสือ Strategy for State, Part I : Industrial Plans เมื่อปี 1918 ถึงการสร้างเขื่อนเพื่อนำ�ไปสู่การสร้างพลังอำ�นาจจาก นํ้าของชาติ โดยจีนยอมทุ่มงบประมาณทั้งสิ้น 180,000 ล้านหยวน เพื่อ ให้ได้เขื่อนซึ่งมีความสูงถึง 185 เมตร และความยาว 640 กิโลเมตร ตั้ง ตระหง่านกั้นกลางแม่นํ้าแยงซีเกียง โดยในการก่อสร้างนั้น ทางการต้อง ปล่อยให้นํ้าท่วมเมืองต่างๆ ซึ่งรวมถึงแหล่งโบราณสถานในชุมชนที่อยู่ ริมฝั่งแม่นํ้าถึง 116 เมือง หรือ 1,350 หมู่บ้าน ทั้งยังต้องอพยพชาวบ้าน อีกกว่า 1.2 ล้านคน เพือ่ ให้ได้ผลลัพธ์ในการผลิตพลังงานไฟฟ้าทีม่ ากกว่า 18,000 เมกะวัตต์ และด้วยความน่าอัศจรรย์ของนวัตกรรมทางวิศวกรรมที่ท้าทาย ธรรมชาติเช่นนี้ จึงสามารถตอบสนองเจตนารมณ์ในการป้องกันปัญหานํา้ ท่วมที่คร่าชีวิตชาวจีน การสร้างพลังงานสะอาดจากเขื่อนที่ช่วยแจกจ่าย กระแสไฟฟ้าให้แก่ชาวบ้าน และยังช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ กว่า 100 ล้านตัน อีกทั้งก่อให้เกิดประโยชน์จากกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

ด้วยการเพิม่ ความคล่องตัวในด้านการขนส่งโดยระบบวิศวกรรมไฮดรอลิก ทางนํ้าที่ลํ้าเลิศ ซึ่งจะช่วยยกเรือเดินทะเลขนาดเท่าเรือไททานิก (หรือ ประมาณ 10,000 ตัน) ผ่านช่องแคบของภูเขาได้ในเวลาไม่กี่ชั่วโมง เส้น ทางคมนาคมทางนํ้าสายใหม่นี้ จะเชื่อมโยงฉงชิ่งเพื่อออกสู่ทะเลบริเวณ มหานครเซีย่ งไฮ้ได้อย่างราบรื่นและรวดเร็ว ไชน่า ทรี จอร์จส์ คอปเปอเรชัน่ บริษทั ผูร้ บั ผิดชอบโครงการ ได้พยายาม ที่จะสร้างความเข้าใจอย่างต่อเนื่องกับสายตาชาวโลกที่จับจ้องมอง ปรากฏการณ์เอาชนะธรรมชาติครัง้ นี้ และเพือ่ ลบข้อครหาเกีย่ วกับผลกระทบ ที่มีต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน รากฐานทางวัฒนธรรมโบราณและการ ทำ�ลายระบบนิเวศครัง้ ประวัตศิ าสตร์ ซึง่ ทำ�ให้ทางการจีนต้องลงทุนในแง่ของ การฟื้นฟูและปกป้องระบบนิเวศกว่า 12,000 ล้านหยวนเพื่อลดปัญหาดิน ถล่ม การสร้างโรงงานบำ�บัดนํ้าเสียและกำ�จัดขยะมากกว่า 70 โรง การ อพยพประชาชนประมาณ 70,000 คนจากพื้นที่เสี่ยงภัย ตลอดจนการ สร้างกิจกรรมเพือ่ ตอบแทนสังคมมากมาย อาทิ การสร้างพิพธิ ภัณฑ์ สวน สาธารณะ และการดำ�เนินกิจกรรมปล่อยปลากว่า 100 ล้านตัวกลับคืนสู่ แหล่งนํา้ ธรรมชาติ อย่างไรก็ดี สิง่ ทดแทนทีเ่ กิดขึน้ ทัง้ หมดนีแ้ ทบจะไม่ชว่ ย คลี่คลายความกังวลใจ โดยเฉพาะประเด็นการแบกรับนํ้าหนักนํ้าปริมาณ มหาศาล เมือ่ เปรียบเทียบกับความสามารถในการต้านทานพละกำ�ลังของ นํ้าที่กดทับลงบนรอยแยกของชั้นเปลือกโลกหากเกิดแผ่นดินไหวระดับ 7.0 ริกเตอร์ การกัดเซาะตลิง่ ปัญหาดินถล่ม รวมไปถึงกรณีการก่อการร้าย ซึ่งสุดจะคาดคะเน จากการเดินทางไกลนับแต่ปี 1918 มาถึงวันนีบ้ ทเรียนของเขือ่ นทรี จอร์จส์ ได้กลายเป็นประสบการณ์อนั ลํา้ ค่าในการเอาชนะธรรมชาติจากอัจฉริยภาพ ของมนุษย์ แต่คำ�ถามก็คือ ถ้าดร.ซุน ยัตเซ็น ยังมีชีวิตอยู่ ไม่รู้ว่าระหว่าง ความเจ็บปวดกับความปีติ นักปฏิวตั ผิ เู้ ปลีย่ นแปลงประเทศจีนผูน้ ้ี จะดืม่ ดํา่ ต่อความรู้สึกไหนมากกว่ากัน ที่มา: บทความ China's Three Gorges Dam: An Environmental Catastrophe?, March 25, 2008 โดย Mara Hvistendahl (www.scientificamerican.com) www.ctgpc.com, www.manageronline.com สิงหาคม 2554

l

Creative Thailand

7


วัตถุดบิ ทางความคิด

เรือ่ ง: เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร และ กริยา บิลยะลา

Riverscapes: Designing Urban Embankments โดย Christoph Holzer, Tobias Hundt, Carolin Luke และ Oliver G. Hamm แม่นํ้าไม่เคยว่างเว้นจากกิจกรรมประจำ�ชีวิต ของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการอุปโภค บริโภค คมนาคม หรือการเป็นแหล่งพลังงานเพื่อการ เกษตรกรรม รวมถึงการรองรับสิ่งปฏิกูลจาก บ้านเรือน แต่บางครั้งเรากลับไปลืมว่า แม่นํ้า คือแหล่งพักผ่อนชั้นเยี่ยมสำ�หรับคนเมืองด้วย น่าเสียดายทีป่ จั จุบนั ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม ต่างใช้พื้นที่เลียบฝั่งเพื่อผลประโยชน์ส่วนตน ขณะทีช่ มุ ชนและพืน้ ทีส่ เี ขียวถูกเบียดบัง ปิดกัน้ จนต้องขยับตัวหนีออกไป ทำ�ให้พื้นที่สาธารณะ กลายเป็นสิ่งหายาก ด้วยเหตุนี้ เมืองที่มีแม่นํ้า พาดผ่านจึงควรมีกฎหมายผังเมืองที่เข้มแข็ง และมีการวางแผนอย่างเป็นระบบ เพื่อให้การ ใช้ ป ระโยชน์ จ ากแม่ นํ้ า เป็ น ไปอย่ า งสมดุ ล ระหว่างภาคธุรกิจและเอกชน กับการป้องกัน และแก้ไขปัญหาการรุกลํ้าพื้นที่ริมฝั่งแม่นํ้าเพื่อ ประโยชน์ส่วนรวม 8

Creative Thailand

l สิงหาคม 2554

หนังสือเล่มนี้ตีพิมพ์ขึ้นครั้งแรกเป็นภาษา เยอรมัน ก่อนจะถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษเพื่อ เผยแพร่ ข้ อ มู ล อั น เป็ น ประโยชน์ นี้ ไ ปทั่ ว โลก โดยนับเป็นหนังสืออ้างอิงชัน้ ดีในการวางแผนใช้ พื้นที่เลียบชายฝั่งแม่นํ้า ซึ่งมีตัวอย่างโครงการ มากมายปรากฏอยู่ทั้งในเยอรมนีที่มีแม่นํ้าไรน์ เป็นแม่นา้ํ สายสำ�คัญ หรือการวางผังเมืองระดับ ภู มิ ภ าคร่ ว มกั น ระหว่ า งเมื อ งโคโลญจน์ แ ละ บอนน์ ตลอดจนตัวอย่างโครงการพัฒนาพื้นที่ ลุ่มแม่นํ้าในยุโรป ซึ่งผู้แต่งชี้ให้เราเห็นถึงความ สำ�คัญของการออกแบบภูมิสถาปัตย์และปัจจัย สำ�คัญต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงต่อภาวะ นํ้าท่วม การเว้นระยะพื้นที่สีเขียวสำ�หรับทำ� กิจกรรมหรือเป็นทีพ่ กั ผ่อนของชุมชน การสร้าง พื้นที่เชื่อมต่อด้านการคมนาคมขนส่งทางนํ้า ไปจนถึงการมองภาพรวมเพื่อให้การพัฒนา เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและยัง่ ยืนบนพืน้ ฐาน ของการตระหนักถึงผลประโยชน์สงั คมส่วนรวม


วัตถุดบิ ทางความคิด

Water Pack! H2O Deluxe โดย Santi Trivino นํ้าดื่ม สิ่งธรรมดาๆ ที่ถูกประเมินมูลค่าใหม่ ด้วยการสร้างเรื่องราวด้านภาพลักษณ์สินค้า และการออกแบบนี้ กลายมาเป็นกระแสความ ต้องการแบบใหม่ที่สนองต่อผู้บริโภคเฉพาะ กลุ่ม หนังสือเล่มนี้รวบรวมนํ้าดื่มที่ได้รับการ ยกย่องว่ามีการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่โดดเด่น และได้ รั บ คั ด เลื อ กเข้ า ไปเสิ ร์ ฟ ในภั ต ตาคาร และบาร์ชื่อดังทั่วโลกไว้ถึง 43 ขวด ซึ่งนอกจาก จะได้เห็นความงดงามของการออกแบบแต่ละ ขวดแล้ว ก็ยงั มีรายละเอียดและแนวคิดเบือ้ งหลัง การออกแบบ พร้อมทัง้ สรรพคุณและองค์ประกอบ ของแร่ธาตุตา่ งๆ ที่บรรจุไว้อย่างครบครัน เรียกว่า อ่ า นแล้ ว คงรู้ สึ ก กระหายทั้ ง นํ้ า และเรื่ อ งราว เบื้องหลังความใสแจ๋วนี้ขึ้นมาทันที!

Arte Al Dia Internation จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อโลกศิลปะที่อัดแน่นด้วยแรง บันดาลใจถูกย่อให้เหลือเพียงนิตยสารหนึ่งเล่ม ที่ยังคงอรรถรสไว้ครบถ้วน ร่วมสำ�รวจศิลปะ ร่วมสมัยของละตินอเมริกาผ่านสายตาของผู้ เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์กว่า 30 ปี ร่วมด้วย ผู้บริหารและผู้ร่วมก่อตั้งชาวอาร์เจนตินาอย่าง Diego Costa Peuser ผู้เข้าใจศิลปะและมอง เห็นทุกความเคลื่อนไหวในภูมิภาคนี้ นิตยสาร สองภาษา (สเปน-อังกฤษ) ที่ออกเพียงปีละ 5 เล่มนี้ กำ�ลังได้รับความนิยมในวงกว้างด้วย เนื้อหาในแวดวงศิลปะ ศิลปินที่น่าสนใจ บท วิจารณ์ คำ�แนะนำ�พิพิธภัณฑ์ นิทรรศการ และ แกลเลอรี่จากทั่วทุกมุมโลก ผู้ที่หลงใหลในงาน ศิลป์และกลิ่นอายแห่งละตินอเมริกาจึงไม่ควร พลาดด้วยทุกเหตุอันควร

Water กำ�กับโดย Deepa Mehta สำ�หรับชาวอินเดียแม่นํ้าคงคาคือทั้งหมดของ ชีวิต ทั้งยังเป็นกรอบที่กำ�หนดชีวิตซึ่งยากแก่ การท้าทายและตั้งคำ�ถาม ผู้กำ�กับหยิบแง่มุม ของแม่นํ้าศักดิ์สิทธิ์ ศาสนา และสถานภาพ ของสตรีมาเล่าย้อนกลับไปสู่ช่วงรอยต่อแห่ง การเรียกร้องอิสรภาพในปี 1938 ซึ่งมีผู้นำ�ทาง ความคิดคนสำ�คัญอย่างคานธี ผ่านเรือ่ งราวของ ชุยลา เด็กหญิงที่เป็นหม้ายตั้งแต่ 9 ขวบและ ยังไม่ประสากับชีวิต แต่จำ�ต้องโกนศีรษะและ เข้าไปอยูใ่ นอาศรม เพือ่ เลีย่ งกฎทีห่ ญิงหม้ายต้อง ประสบนัน่ คือ การฆ่าตัวตายไปพร้อมกับสามีและ การตกเป็นภรรยาของน้องชายสามีหากครอบครัว ฝ่ายชายยินยอม ชุยลาได้พบกับศกุนตลา หญิง หม้ายผู้เคร่งศรัทธาแต่หัวใจกลับเต็มไปด้วย ความขัดแย้ง และกัลยาณี หญิงหม้ายผู้งดงาม ที่สั่นคลอนขนบดั้งเดิมด้วยการมีรักครั้งใหม่กับ หนุ่มหัวก้าวหน้า ท่ามกลางกระแสแห่งชีวิต สายนํ้า ความเชื่อ ปรารถนา และกฏระเบียบที่ จองจำ�ชีวติ นี้ ได้สะท้อนข้อเท็จจริงทีว่ า่ บางครัง้ ชี วิ ต ที่ ไ ร้ ท างเลื อ กก็ ไ ม่ ต่ า งจากการโดนบี บ บังคับเลย สิงหาคม 2554 l Creative Thailand 9


เปลีย่ นโลกรอบตัว

วัสดุหลากไอเดียกับ การจัดการทรัพยากร “เหลว/ไหล” หลังจากที่ธรรมชาติได้ส่งสัญญาณเตือน มาถึงมนุษย์ด้วยความถี่ที่มากขึ้นและรุนแรง ขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา นโยบาย ของประเทศต่างๆ จึงเริ่มเบนเข็มจากการ เอาชนะธรรมชาติ มาเป็นการ “รับมือ” ไป จนถึงการ “อยู่ร่วม” กับภัยพิบัติทั้งที่เกิด ขึ้นแล้วและที่ยังมาไม่ถึง เรื่องราวของ “นํ้า” ในวันนี้ จึงเป็นทั้งกระแสเลือดที่หล่อเลี้ยง ชีวิต ทว่าก็สร้างความเสียหายได้อย่างคาด ไม่ถึง การสร้างสรรค์วัสดุใหม่ๆ เพื่อนำ�มา ใช้บริหารจัดการกับทรัพยากรนีอ้ ย่างถูกต้อง ย่อมนำ�มาซึ่งประโยชน์สูงสุดและการรักษา ความสมดุลทางธรรมชาติที่ยั่งยืนต่อไป

ซับมันให้อยูห่ มัด (MC# 6698-01) จัดหนักให้เป็นเบา (MC# 5982-01)

แกร่งไม่กร่อน (MC# 6153-01)

ปัญหานํ้ามันรั่วไหลลงในผืนนํ้าย่อมส่งผลต่อ ระบบนิเวศของท้องทะเลอย่างรุนแรง โชคดีที่ มีผู้คิดค้นผ้าชนิด non-woven ที่ผลิตจาก โพลีเอสเตอร์ ซึ่งสามารถดูดซับนํ้ามันแต่ไม่ซับ นํ้า จึงสามารถใช้กำ�จัดนํ้ามันที่รั่วไหลลงทะเล ได้เป็นอย่างดี ทัง้ ยังสามารถปรับขนาดให้มหี น้า กว้างได้ถึง 6 หลา และยาวได้หลายร้อยหลา จึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการกำ�จัดคราบนํ้ามัน ปริมาณมากในเวลาอันสัน้ ได้สงู สุด นับเป็นวัสดุ ที่คิดค้นขึ้นเพื่อรับผิดชอบปัญหาสิ่งแวดล้อม อย่างแท้จริง

แม้นํ้าจะซัดแรงแค่ไหน แต่หินก็ไม่เคยกร่อน เพราะหิ น กั น นํ้ า กั ด เซาะนี้ ถู ก คิ ด ค้ น ขึ้ น เพื่ อ ป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งโดยเฉพาะ วัสดุ คอมโพสิตที่ว่าประกอบด้วยก้อนหินผสมกับ โพลียูรีเทนสังเคราะห์ที่พัฒนาขึ้นเป็นพิเศษให้ ดูดซับนํ้าได้ ทั้งยังมีความยืดหยุ่นสูง จึงช่วย ปกป้องแนวกำ�แพงหินจากแรงกระแทกของนํ้า ได้ดีกว่าคอนกรีตและยางมะตอยที่มีผิวแข็ง และทึบตัน เนื่องจากช่องว่างระหว่างก้อนหิน จะช่วยดู ด ซั บแรงกระแทกของนํ้า เอาไว้เพื่อ ป้องกันไม่ให้พังทลาย 10

Creative Thailand

l สิงหาคม 2554

ด้วยระดับนํ้าทะเลที่สูงขึ้นเป็นว่าเล่น วัสดุลอย นํ้าจึงเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจ ผู้ผลิตวัสดุได้ เลือกใช้แกนโฟมมาประกบด้วย GFR-coating ด้วยวิธีสุญญากาศ ก่อนจะใช้กระบวนการอบ แบบพิเศษเพื่อผลิตวัสดุที่ทนทานทว่ามีนํ้าหนัก เบาขึ้น ซึ่งนอกจากจะลอยนํ้าได้แล้ว วัสดุนี้ก็ ยังใช้เป็นฉนวนกันความร้อนและกันไฟ ทนต่อ รังสียูวี ปลอดจากแมลงต่างๆ อายุการใช้งาน ก็ยาวนาน ราคาย่อมเยา ทั้งยังปรับเปลี่ยนการ ใช้งานได้หลายรูปแบบตั้งแต่งานสร้างฉากเวที เฟอร์นิเจอร์ ไปจนถึงโครงสร้างลอยนํ้าต่างๆ ทั้งสะพานหรือแม้แต่บ้านที่ลอยนํ้าได้ด้วย

หมายเหตุ: MC# คือรหัสวัสดุในฐานข้อมูลของ Material ConneXion® Bangkok


Classic Item

เรื่อง: พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์ เมื่อนํ้าที่มีองค์ประกอบของไฮโดรเจนยังต้องการออกซิเจนเป็น หัวใจสำ�คัญในการดำ�รงสภาพและคุณภาพที่ดีเอาไว้ เปรียบ เสมือนประชาชนชาวไทยทีม่ คี ณ ุ ภาพชีวติ ทีด่ เี ช่นวันนีไ้ ด้ ก็เพราะ มีองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ คอยดูแลพสกนิกรของ พระองค์อยู่เสมอมา และด้วย “นํ้าพระราชหฤทัย” ที่เปี่ยมล้น พระองค์จงึ ทรงคิดค้น “กังหันนา้ํ ชัยพัฒนา” เครือ่ งกลเติมอากาศ ทีใ่ ช้เทคโนโลยีเรียบง่ายขึน้ ซึง่ ไม่เพียงช่วยรักษาสมดุลของแหล่ง นํา้ ตามธรรมชาติได้อย่างกว้างขวางแล้ว แต่ยงั เป็นดัง่ สัญลักษณ์ ทีช่ ว่ ยเติมความชืน่ ฉา่ํ ใจให้พสกนิกรไทยทุกคนตราบนานเท่านาน กังหันนํ้า คือเครื่องจักรกลที่เปลี่ยนพลังงานการไหลหรือการตกของนํ้า ไปสู่พลังงานรูปอื่น โดยเป็นกลไกสำ�คัญอย่างหนึ่งในการพัฒนาพลังงาน นํ้าเพื่อใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมมาตั้งแต่ยุคกลาง ส่วนการนำ�หลักการของกังหันนํา้ มาใช้บำ�บัดนํา้ เสียนัน้ เป็นกระบวนการ เพิ่มพื้นที่สัมผัสระหว่างอากาศกับนํ้าให้มากที่สุด เพื่อเพิ่มออกซิเจนให้ นํ้าและช่วยให้จุลินทรีย์สามารถย่อยสลายสิ่งสกปรกในนํ้าเสียได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ถือเป็นกระบวนการทางชีวภาพเพื่อการบำ�บัดนํ้าเสียที่ได้ รับความนิยมอย่างมากเพราะมีประสิทธิภาพและมีค่าใช้จ่ายน้อย “กังหันนํา้ ชัยพัฒนา” นำ�ภูมปิ ญั ญาที่เรียบง่าย ประหยัด แต่มปี ระสิทธิภาพ สูงมาเป็นกุญแจสำ�คัญในการบำ�บัดผืนนํ้าของไทยให้คืนสู่จุดสมดุล ตามพระราชดำ�ริขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในการแก้ไข ปัญหานํา้ เน่าเสียเมือ่ วันที่ 24 ธันวาคม 2531 ด้วยทรงมุง่ หวังจะช่วยแบ่งเบา ภาระของรัฐบาลและยกระดับคุณภาพชีวติ ประชาชนของพระองค์ จึงทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มลู นิธชิ ยั พัฒนาสนับสนุนงบประมาณเพือ่ ศึกษา วิจยั ร่วมกับกรมชลประทานในการสร้างต้นแบบ โดยดัดแปลงจาก "กังหัน นํา้ สูบนํา้ ทุน่ ลอย" เป็น "กังหันนํา้ ชัยพัฒนา"

หลังจากนัน้ กังหันนํา้ ชัยพัฒนาจึงได้รบั การติดตัง้ เพือ่ ใช้งานเป็นครัง้ แรกที่ โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า และที่วดั บวรนิเวศวิหารเมือ่ วันที่ 3 พฤษภาคม 2532 เพื่อศึกษา วิจัย และพัฒนาระบบบำ�บัดนํ้าเสียเป็นเวลา 4-5 ปี ก่อนนำ�ไปติดตั้งเพื่อใช้งานจริงในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ นอกจากจะช่วยทำ�ให้นํ้าใสสะอาดขึ้นแล้ว กังหันนํ้าชัยพัฒนาก็ยังช่วย ลดกลิ่นเหม็นลงได้ สามารถประยุกต์ไปใช้บำ�บัดนํ้าเสียจากการอุปโภค ของประชาชนและจากโรงงานอุตสาหกรรม รวมทั้งเพิ่มออกซิเจนให้กับ บ่ อ เพาะเลี้ยงสัตว์นํ้าทางการเกษตรและแหล่งนํ้าธรรมชาติเกือบทุก ประเภท กังหันนํ้าชัยพัฒนาได้รับการปรับปรุงและพัฒนาอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้ บรรลุเป้าหมายในการบำ�บัดนํา้ เสียอย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบนั จึงมีการ พัฒนากังหันนํ้าชัยพัฒนาออกมาใช้งานแล้วถึง 9 รูปแบบ เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2536 กังหันนํ้าชัยพัฒนา ได้รับการพิจารณาและ ทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย นับเป็นสิง่ ประดิษฐ์เครือ่ งกล เติมอากาศเครื่องที่เก้าของโลกที่ได้รับสิทธิบัตร และเป็นครั้งแรกที่ได้มี การรับจดทะเบียนและออกสิทธิบัตรให้แก่พระบรมราชวงศ์ จึงนับได้ว่า เป็น "สิทธิบัตรในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์พระองค์แรกใน ประวัติศาสตร์ชาติไทยและประวัติศาสตร์ของโลก'' ขณะที่สำ�นักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติก็ได้ประกาศให้กังหันนํ้า ชั ย พั ฒ นาได้ รั บ รางวั ล ที่ ห นึ่ ง ประเภทรางวั ล ผลงานคิ ด ค้ น หรื อ สิ่ ง ประดิษฐ์ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติประจำ�ปี 2536 และทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลนี้แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ อีกวาระหนึ่ง กังหันนํ้าชัยพัฒนายังได้รับรางวัลเหรียญทองจากองค์กรนักประดิษฐ์ที่ เก่าแก่ที่สุดของยุโรป หรือ The Belgian Chamber of Inventor ในงาน Brussels Eureka 2000 ครั้งที่ 49 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2543 ณ กรุง บรัสเซลส์ ราชอาณาจักรเบลเยียม ซึง่ หากมีใครเดินทางไปยังกรุงบรัสเซลส์ ในวันนี้ ก็จะได้เห็น "กังหันนํ้าชัยพัฒนาพระราชทาน" ลอยเด่นเป็นสง่า อยูบ่ นสระนํา้ ในสวนสาธารณะโวลูเว แซงต์-ปิแอร์ เป็นการเทิดพระเกียรติ ในพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ทรงคิดค้น สิ่งประดิษฐ์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีแบบไทยที่ทรงคุณค่าและสามารถพัฒนา คุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมได้ทั่วโลก ที่มา: www.panyathai.or.th www.chaipat.or.th www.manager.co.th วิกิพีเดีย

สิงหาคม 2554

l

Creative Thailand

11


Cover Story เรื่องจากปก

© Burstein Collection/Corbis

เรื่อง: มนฑิณี ยงวิกุล ภาพเปิด: โคลด โมเนต์, สถานีรถไฟแซงต์-ลาซาร์, 1877

12

Creative Thailand

l สิงหาคม 2554


Cover Story เรื่องจากปก

นอกเหนือจากชัยชนะของชาวดัตช์ในการ ต่อสู้กับนํ้าอันเป็นองค์ประกอบพื้นฐาน ที่ สำ � คั ญ ของโลกเพื่ อ สร้ า งผื น แผ่ น ดิ น อยู่อาศัย มนุษย์ยังสามารถสร้างสรรค์ กระบวนการควบคุมนํ้าในหลากหลายมิติ เศรษฐกิจ ปัจจุบนั นา้ํ จึงไม่ใช่แค่ทรัพยากร พื้นฐานในชีวิตประจำ�วันอีกต่อไป หากใน อนาคตสงครามแห่งการควบคุมของเหลว ที่เคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลานี้กำ�ลังจะก่อตัว ขึ้นอีกครั้ง และไม่ใช่เพียงแค่การสู้รบกับ ธรรมชาติเท่านั้น ทว่ายังต้องแข่งขันกัน ครอบครองเพื่อรองรับอนาคตใหม่ที่ไม่ อาจหลีกเลี่ยงได้

การเปลี่ยนนํ้าให้กลายเป็นไอได้ก่อให้เกิดการ ปฏิวัติอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ 18 และส่งผล ให้กระบวนการผลิตและการบริโภคของโลก ก้าวเข้าสู่วิถีชีวิตสมัยใหม่ แต่นับจากนี้อีกไม่กี่ สิบปีข้างหน้า สังคมการค้าโลกอาจต้องมีการ ปรับเปลีย่ นอีกครัง้ เมือ่ นํา้ ได้กลายเป็นทรัพยากร ที่รับมือได้ยาก เพราะความไม่สมดุลทั้งในด้าน ความไม่พอเพียงและภาวะตรงกันข้ามอย่าง การเกิดอุทกภัยที่คาดว่าจะรุนแรงมากขึ้นใน ศตวรรษหน้า จากรายงานหลายฉบับของสหประชาชาติ รวมทัง้ สถาบันรอยัลอะแคเดมี ออฟ เอ็นจิเนียริง่ ของอังกฤษ และโกลด์แมนแซคส์ วาณิชธนกิจ ชั้นนำ�ของโลก ต่างพากันเห็นพ้องต้องกันว่า โลกกำ�ลังเผชิญวิกฤตเรือ่ งนํา้ เพราะผลจากการ เพิ่มขึ้นของประชากรโลกที่ทำ�ให้ความต้องการ นํา้ ในแง่ของการผลิตในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ และในภาคการบริโภคของครัวเรือน รวมถึง การดำ�เนิ น วิ ถี ชี วิ ต สมั ย ใหม่ ที่ ส ะดวกสบาย ล้ ว นมี ส่ ว นทำ�ให้ ป ริ ม าณการใช้ นํ้ า เพิ่ ม ขึ้ น มากกว่าเท่าตัว มณฑลเหอเป่ยทางตอนเหนือของจีนเป็น ตัวอย่างของผลกระทบที่ได้รับจากความรํ่ารวย และการเจริญเติบโตแบบก้าวกระโดดของกรุง ปักกิ่งในอัตราร้อยละ 11 ต่อปี ซึ่งไม่เพียง ทำ�ให้ปริมาณนํ้าในอ่างเก็บนํ้ากวนติ้ง มณฑล

เหอเป่ยลดลงอย่างรวดเร็ว แต่ยงั ส่งผลต่อแม่นา้ํ สายสำ�คัญที่หล่อเลี้ยงพื้นที่การเกษตรอันเป็น แหล่งผลิตอาหารสำ�คัญทางตอนเหนือของจีน ด้วย ความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นในมณฑลเหอเป่ย ซึ่งมีประชากรมากกว่า 19.6 ล้านคน ทำ�ให้ รัฐบาลจีนลงทุนมากกว่า 60 พันล้านเหรียญ สหรัฐฯ (1.8 ล้านล้านบาท) สำ�หรับโครงการ ขนถ่ายนํ้าจากเหนือจรดใต้ เพื่อขนส่งนํ้าทะเล ที่แปรรูปเป็นนํ้าจืดแล้วมายังพื้นที่ที่แห้งแล้ง นอกจากนี้สำ�นักข่าวซินหัวยังรายงานว่า ในอีก สิบปีข้างหน้ารัฐบาลได้เตรียมใช้เงินจำ�นวน 608 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (18.24 ล้านล้าน บาท) เพื่อใช้ในการทำ�ความสะอาดแม่นํ้าและ ทะเลสาบเพื่อฟื้นฟูแหล่งนํ้า รวมทั้งรณรงค์ เรื่องการประหยัดนํ้าในประเทศอย่างจริงจัง ในปั จ จุ บั น มี เ มื อ งขนาดใหญ่ ที่ ป ระสบ ปัญหาขาดแคลนนํ้าในจีนถึง 400 แห่ง และ คาดว่าจะเพิ่มเป็น 550 แห่งในปี 2020 ตาม อัตราการขยายตัวของการค้าและการบริโภค ภายในประเทศซึ่งส่งผลกระทบต่อเมืองและ ชุมชนโดยรอบ ดังนัน้ รัฐบาลจึงได้เปลีย่ นกลยุทธ์ ใหม่ จากเดิมที่เน้นการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ อย่างเขื่อนทรี จอร์จส์ มาเน้นที่การวิจัยเพื่อแก้ ปัญหาเฉพาะทางที่เหมาะสมกับในแต่ละพื้นที่ มากขึ้น อย่างเช่นการบำ�บัดนํ้าเสีย และการ แปรรูปนํ้าทะเลเป็นนํ้าจืด พร้อมกับอ้าแขนรับ บริษัทต่างชาติให้เข้ามาทั้งลงทุนและร่วมทุน กับบริษัทท้องถิ่นเพื่อดูดซับเทคโนโลยีการผลิต ธุรกิจนํ้าสัญชาติจีนในอีกไม่ช้า อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะไม่มีนโยบายที่เปิด กว้างให้กบั บริษทั ต่างชาติ แต่ดว้ ยโอกาสมหาศาล ที่เกิดขึ้นพร้อมกับการเติบโตในฐานะโรงงาน ผลิตสินค้าของโลก ทำ�ให้จนี เป็นอีกหนึง่ เป้าหมาย ในการแข่งขันเพื่อลงทุนและกว้านซื้อกิจการที่ เกี่ยวกับนํ้าของบริษัทต่างชาติ นอกเหนือจาก อินเดีย ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ ตะวันออกกลาง

สินทรัพย์แห่งอนาคต ปริมาณความต้องการนํ้าที่เพิ่มขึ้นทั้งเพื่อการ บริโภคและภาคอุตสาหกรรม ทำ�ให้ธุรกิจด้าน การจัดการนํ้าของโลก ทั้งการจัดหานํ้าสะอาด การบำ�บัดนํ้าเสีย และการแปรรูปนํ้าทะเลเป็น นํ้าจืด กำ�ลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งคาดการณ์ ว่าจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (30 ล้านล้านบาท) ภายในปี 2025 จากเดิมที่มี มูลค่า 0.74 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (22.2 ล้านล้านบาท) ซึ่งตัวเลขดังกล่าวได้จูงใจให้ บริษัทจัดการนํ้าข้ามชาติจากญี่ปุ่นกระโดดเข้า มาแข่งขันกับบริษัทที่ครองตลาดอันดับหนึ่ง จากฝรั่งเศส และอีกหลายบริษัทจากสหรัฐฯ เยอรมนี สเปน เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ ต่างก็ เข้ามาร่วมวงในพื้นที่นี้เช่นกัน “เราพร้อมแล้วที่จะลงทุน ถึงเวลาแล้วที่ เราต้องสั่งสมสินทรัพย์ที่เกี่ยวกับนํ้า” ทาคาฮิโร่ โมริยาม่า ผู้อำ�นวยการของกลุ่มบริษัทการค้า ขนาดใหญ่ ซูมิโตโม คอร์ป ที่วางแผนจะขยาย ธุรกิจ 10 เท่าภายในปี 2020 เพือ่ ให้บริการนํา้ ดืม่ และการบำ�บัดนํา้ เสียให้กบั ลูกค้า 10 ล้านรายจาก ปัจจุบนั 1.3 ล้านรายกล่าว ขณะที่ ฮิเดกิ ยามาโน ผู้จัดการทั่วไปแผนกพลังลมและสาธารณูปโภค นํา้ กล่าวว่า “จีนและอินเดียเป็นยุทธศาสตร์สำ�คัญ ในการขยายกิจการ โดยเฉพาะการบำ�บัดนํา้ เสีย ดังนั้นการจับมือกับบริษัทดีๆ น่าจะเป็นช่อง ทางให้เราสามารถชนะการแข่งขันกับบริษัทนํ้า ระดับโลกอื่นๆ ได้” เมื่อปีที่ผ่านมาซูมิโตโมจึงได้ร่วมกับบริษัท ปักกิ่งแคปิตอลจัดตั้งบริษัทร่วมทุนเพื่อดำ�เนิน กิ จ การบำ�บั ด นํ้ า เสี ย ในมณฑลเจ๋ อ เจี ย งและ มณฑลชานตุง โดยคาดว่าจะมีการลงทุนมูลค่า ร่วม 609 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (1.8 หมื่นล้าน บาท) ภายใน 3 ปี เพื่อลงทุนในกิจการนํ้าใน จีนให้สามารถรองรับความต้องการของเมือง เศรษฐกิจชายฝั่ง

สิงหาคม 2554

l

Creative Thailand

13


Cover Story เรื่องจากปก

ขณะเดียวกันอีกหนึ่งในหกบริษัทการค้า ขนาดใหญ่ของญี่ปุ่น กลุ่มมารูเบนิก็ได้ตั้งเป้า หมายในการใช้งบประมาณกว่า 297 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ (8.9 พันล้านบาท) เพื่อเพิ่มสินทรัพย์ นํ้าในต่างประเทศเป็นเท่าตัวภายในสองปี ด้วย การซื้อบริษัทที่ให้บริการเกี่ยวกับนํ้าในเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลีย และตะวันออก กลาง “ในจีนมีความต้องการระบบการบำ�บัดนํ้า เสียประมาณ 500 แห่ง ขณะที่ความต้องการ โรงงานแปรรูปนํา้ ทะเลเป็นนํา้ จืดในตะวันออกมี จำ�นวนมาก และเราเห็นถึงการทุ่มทุนเพื่อสิ่ง แวดล้อมทั้งในชิลี เม็กซิโก และโคลัมเบีย” โยจิ อิบูกิ ผู้จัดการทั่วไปของมารูเบนิกล่าว ดังนั้น บริษัทจึงได้ควบรวมกิจการเข้ากับ บริษัท อกวัส นูวาส บริษัทให้บริการนํ้าในชิลี ด้วยมูลค่าถึง 475 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (1.4 หมื่นล้านบาท) รวมทั้งการเข้าไปจัดตั้งบริษัท ร่วมทุนในจีน เพือ่ ใช้เป็นแขนขาในการลงทุนใน บริษัทบำ�บัดนํ้าเสียที่ใหญ่เป็นอันดับเก้าของจีน ในมณฑลอันฮุย เพือ่ ให้บริการในมณฑลกวางตุง้ เจียงสู และหูหนาน รวมทัง้ การลงทุนในประเทศ อื่นๆ เช่นกัน การรุกคืบของบริษัทการค้ายักษ์ใหญ่ของ ญี่ปุ่นนั้นไม่ได้เป็นแค่การเล็งเห็นโอกาสของ บริษัทเอกชน แต่ยังเป็นยุทธศาสตร์ของรัฐบาล ที่ต้องการหนีภาวะเศรษฐกิจซบเซาในประเทศ และกระตุ้นรายได้การส่งออกจากตลาดธุรกิจ นํา้ ของโลก ด้วยการสนับสนุนเงินทุนให้กบั บริษทั ขนาดใหญ่ เ พื่ อ ใช้ ล งทุ น ในต่ า งประเทศผ่ า น กองทุน อินโนเวชัน่ เน็ตเวิรก์ คอร์ปอเรชัน่ ออฟ เจแปน ซึ่งเป็นกองทุนขนาด 9 แสนล้านเยน (3 แสนล้านบาท) ของรัฐบาล

14

Creative Thailand

l สิงหาคม 2554

ภาพจาก www.sustainablesingapore.gov.sg

ภาพจาก www.sustainablesingapore.gov.sg

นํ้าเก่ามาเล่าใหม่ ย้อนหลังไปเมื่อ 30 ปีก่อน รัฐบาลสิงคโปร์ได้ลงทุนเพื่อสร้างความมั่นคงด้านนํ้าสำ�หรับประชากร ห้าล้านคน ด้วยการผลิตนํ้าขึ้นเองจากการแปรรูปนํ้าทะเลให้เป็นนํ้าจืดและจากการรีไซเคิลนํ้า เพื่อทดแทนการใช้นํ้าฝนที่กักเก็บไว้และการนำ�เข้านํ้าจากมาเลเซีย ในปี 2003 โรงงานผลิต NEWater จึงได้เปิดดำ�เนินการเพื่อรวมเอานํ้าเสียทุกชนิดส่งผ่าน ท่อที่มีความยาว 48 กิโลเมตรมายังโรงงาน เพื่อผ่านกระบวนการกรองระดับไมโครขั้นแรก ก่อน ที่จะส่งไปผ่านกระบวนการกรองด้วยเทคโนโลยีเมมเบรน ด้วยการใช้แรงดันเพื่อแยกสารและ โมเลกุลของนํ้าผ่านแผ่นเซลล์เมมเบรนตามกระบวนการบำ�บัดนํ้าเสียแบบรีเวิร์สออสโมซิส (RO) หลังจากนั้นจึงทำ�ความสะอาดขั้นสุดท้ายด้วยรังสีอัลตราไวโอเล็ต ความสำ�เร็จทางด้านเทคโนโลยีที่ว่านี้ยังมาควบคู่กับการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความรู้ และความมั่นใจเรื่องคุณภาพของนํ้าอย่างต่อเนื่อง จนทำ�ให้ NEWater สามารถเข้ามามีบทบาท ในชีวิตประจำ�วันของชาวสิงคโปร์ถึงร้อยละ 30 และรัฐบาลยังได้ตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มเป็นร้อยละ 40 เพื่อลดสัดส่วนของการนำ�เข้านํ้าที่มีสัดส่วนร้อยละ 40 ในปัจจุบันลง จากยุทธศาสตร์ความมั่นคงในประเทศได้นำ�ไปสู่การมุ่งเป็นศูนย์กลางด้านการจัดการนํ้า แห่งภูมิภาค ซึ่งไม่เพียงแต่จะดึงดูดให้บริษัทนํ้าระดับโลกมาตั้งหน่วยงานวิจัยและห้องทดลองนํ้า ทีเ่ กาะเล็กๆ แห่งนีแ้ ล้ว แต่บริษทั นํา้ ในสิงคโปร์กย็ งั ได้กา้ วสูร่ ะดับโลก อย่างกรณีของบริษทั ไฮฟลักซ์ ทีจ่ บั มือกับบริษทั มิตซุยแอนด์โคจัดทำ�โครงการแกแล็คซีน่ วิ สปริง เพือ่ ให้บริการทุกด้านทีเ่ กีย่ วกับ นํ้าในจีน


Cover Story เรื่องจากปก

หัวข่าวว่าเป็น “การปล้นนํา้ ครัง้ ยิง่ ใหญ่” เพราะ นโยบายการปล่อยนํ้าให้ไหลลงในอ่างตลอดวัน เพื่อทำ�ความสะอาดอุปกรณ์และเพื่อป้องกัน เศษอาหารตกค้างที่ทำ�ให้เกิดการสูญเสียนํ้าถึง 6.2 ล้านแกลลอนต่อวัน ซึ่งมากพอที่จะช่วย บรรเทาปัญหาความแห้งแล้งของประเทศนามิเบีย ในทวีปแอฟริกาตอนใต้ และแม้จะมีคำ�แถลง การณ์โต้ตอบการวิพากษ์วิจารณ์ดังกล่าวว่า เป็ น เรื่ อ งของการรั ก ษาความปลอดภั ย ของ ลูกค้าอันเป็นเรื่องสำ�คัญที่ยอมไม่ได้ แต่ก็ไม่ได้ ทำ�ให้เหล่านักอนุรักษ์ยอมสงบลงได้ จนทำ�ให้ สตาร์บัคส์ต้องเปิดตัวแคมเปญเพื่อช่วยเหลือ ประเทศที่ประสบปัญหาขาดแคลนนํ้า ด้วยการ ผลิ ต นํ้ าดื่ มอี ธอสที่ ย อดขายแต่ ละขวดจะถู ก หักไปสมทบกองทุนเพื่อบริจาคให้เด็กๆ ในถิ่น ทุรกันดารได้มีนํ้าสะอาดเพื่อการอุปโภคบริโภค ที่จำ�เป็น และร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการรณรงค์ เรื่องวิกฤตการณ์นํ้า © Hulton-Deutsch Collection/Corbis

สูย่ คุ แคมเปญสีฟา้ นอกจากวิธกี ารสร้างนํา้ เพือ่ ทดแทนนํา้ ธรรมชาติ ที่กำ�ลังขาดแคลนแล้ว เทคโนโลยีการประหยัด นํ้าที่บริษัทต่างๆ นำ�มาใช้ก็ยังเป็นอีกทางเลือก เพื่อการอยู่รอด ขณะเดียวกันก็เป็นโอกาสใน การเจาะตลาดสี เ ขี ยวที่ กำ�ลังขยายตัวในยุค ปัจจุบัน เจฟ อิริกสัน รองประธานบริษัทที่ปรึกษา SustainAbility กล่าวว่า การขาดแคลนนํ้าจะ เข้ า มามี บ ทบาทต่ อ การตั ด สิ น ใจทางธุ ร กิ จ ในทุกมิติมากขึ้น ตั้งแต่การตัดสินใจเลือกที่ ตั้งโรงงาน การปรับห่วงโซ่การผลิตและระบบ ปฏิบัติการ มาจนถึงการเพิ่มความเชี่ยวชาญใน การบริ ห ารตลาดใหม่ ที่ กำ�ลั ง มุ่ ง หน้ า ไปสู่ แนวทางการประหยัดนํา้ การอนุรกั ษ์สง่ิ แวดล้อม การใช้นํ้าอย่างมีประสิทธิภาพ และการกำ�หนด ราคานํ้าที่เหมาะสม

ทั้งนี้จากการสำ�รวจความคิดเห็นของเหล่า ผู้นำ�องค์กร นักวิชาการ รัฐบาล และเอ็นจีโอ 1,200 คนจาก 80 ประเทศ โดยบริษัทที่ปรึกษา SustainAbility พบว่า การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยว กับภาวะการขาดแคลนนํ้าที่ออกมาอย่างต่อ เนื่อง ได้ปรับทัศนคติของสาธารณชนในการ มองนํ้าว่าเป็น “ของมีค่า” และเป็นแรงผลักดัน ให้องค์กรต้องปรับตัวตามไปด้วย โคคา-โคลา เป็นตัวอย่างของบริษัทข้าม ชาติที่ถูก นัก อนุ รั ก ษ์ ต่ อ ต้ านเรื่ อ งการแย่ ง นํ้ า ใต้ดินของชาวอินเดียไปผลิตสินค้า และแม้ว่า จะชนะคดีฟ้องร้อง แต่โคคา-โคลาก็ยังต้องลด แรงเสียดทานจากเหล่านักอนุรักษ์ด้วยการทำ� โครงการให้ความรู้แก่ชุมชนและหมู่บ้านรอบๆ เกี่ยวกับการกักเก็บนํ้าฝนและการชลประทาน สำ�หรับการเพาะปลูกที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่นเดียวกับกรณีของสตาร์บัคส์ที่เคยถูกโจมตี จากหนังสือพิมพ์เดอะซัน ของอังกฤษ ที่พาด

ที่มา: http://spearinc.com สิงหาคม 2554

l

Creative Thailand

15


Cover Story เรื่องจากปก

วันนี้คุณซื้อสินค้าประหยัดน้าํ หรือยัง?

4650

litres of water for one steak (300 g) of beef

1440

litres of water for one steak (300 g) of pork

650 70

litres of water for one package (500 g) of toast

litres of water for one single (100 g) apple

ที่มา: http://virtualwater.eu

16

Creative Thailand

l สิงหาคม 2554

ในโลกสมัยใหม่ทส่ี ภาพแวดล้อมเปราะบางและต้องการการอนุรกั ษ์ทเ่ี ข้มข้นมากขึน้ ลำ�พังแค่การ งดใช้ถุงพลาสติก หรือการเลือกซื้อสินค้าที่ไม่ก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์อาจไม่เพียงพอ อีกต่อไป วิธกี ารประหยัดนํา้ จึงเป็นอีกทางหนึง่ ทีจ่ ะเกิดขึน้ ได้ในเวลาทีเ่ ดินจับจ่ายในซูเปอร์มาร์เก็ต การค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับนํ้าในแง่ของมลภาวะ และปริมาณการใช้โดยการศึกษากระบวนการผลิตในแต่ละห่วงโซ่อปุ ทาน จึงอาจเป็นอีกทางเลือก ของการเข้าถึงปัญหาเพื่อให้แก้ปัญหาได้ดียิ่งขึ้น บันทึกการใช้นํ้า หรือ Water footprint จึงเกิดขึ้นเพื่อเป็นเครื่องชี้วัดปริมาณนํ้าที่ใช้ใน กระบวนการผลิตสินค้าและบริการทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยคำ�นวณปริมาณนํ้าจากผลรวม ของทุกขั้นตอนตลอดห่วงโซ่ของการผลิต ซึ่งปริมาณนํ้าที่ใช้สามารถวัดได้จากปริมาณนํ้าที่ใช้ไป และ/หรือปริมาณนํ้าเสียที่ปล่อยออกมา ดังนั้น Water footprint จึงเป็นเครื่องชี้วัดที่ชัดเจน เพราะไม่ได้แสดงให้เห็นถึงปริมาณนํ้าที่ใช้และปริมาณนํ้าเสียที่ปล่อยออกมาเท่านั้น หากแต่ ยังแสดงให้เห็นถึงสถานที่และระยะเวลาที่เกิดการใช้นํ้าด้วย ศาสตราจารย์ อาร์เจน วาย. โฮคสตรา (Professor Arjen Y. Hoekstra) เจ้าของแนวคิดเรื่อง บันทึกการใช้นํ้าและผู้อำ�นวยการ วอเตอร์ ฟุตปรินต์ เน็ตเวิร์ก เครือข่ายขององค์กรเพื่อการ พิทักษ์สิ่งแวดล้อมอย่าง UNESCO, IFC, WWF และ WBCSD ได้ร่วมกันศึกษาข้อมูลบันทึกการใช้ นํ้าในสินค้าและบริการของแต่ละประเทศ กล่าวว่า “ปัญหาเรื่องนํ้าโยงใยกับโครงสร้างเศรษฐกิจ ของโลกอย่างใกล้ชิด หลายประเทศนำ�เข้าสินค้าที่ใช้นํ้ามหาศาล ซึ่งเท่ากับเป็นการเพิ่มแรง กดดันให้กับประเทศผู้ส่งออก ซึ่งส่วนมากแล้วมักไม่มีระบบการจัดการนํ้าที่ดี” จากข้อมูลบันทึกการใช้นํ้าพบว่า ประเทศผู้ส่งออกหลักของโลกอย่างจีน มีการบริโภคนํ้า ทางอ้อมปีละ 1,070 คิวบิคเมตร/หัว โดยร้อยละ 10 ของนํ้าที่ใช้มาจากต่างประเทศ ขณะที่ ประเทศผู้นำ�เข้าอย่างสหรัฐฯ มียอดการใช้นํ้าทางอ้อมถึง 2,840 คิวบิคเมตร/หัว โดยร้อยละ 20 เป็นนํ้าที่มาจากนอกประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากแม่นํ้าแยงซีในจีน การช่วยโลกประหยัดนํ้า หรือการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนนํ้าอันเนื่องมาจากการบริโภค ที่เพิ่มขึ้นตามจำ�นวนประชากรนั้นจึงไม่ใช่แค่นโยบายของภาครัฐ แต่ผู้บริโภคและภาคธุรกิจ ก็สามารถเข้ามามีบทบาทในการปรับกระบวนการผลิตหรือเลือกบริโภคสินค้าที่ใช้นํ้าน้อยได้ ดัง นั้นวอเตอร์ ฟุตปรินต์ เน็ตเวิร์ก จึงได้จัดทำ�คู่มือสำ�หรับการประหยัดนํ้าที่ทั้งผู้ประกอบการและผู้ บริโภคสามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ โดยส่วนหนึ่งของเนื้อหามีดังต่อไปนี้ “เนื้อวัว 1 กิโลกรัมต้องใช้นํ้าถึง 15,000 ลิตร ซึ่งอาจจะมีความแตกต่างกันไปตาม ระบบการผลิตของแต่ละพื้นที่ ดังนั้นการงดกินเนื้อและหันมาบริโภคมังสวิรัติจึงช่วยได้ จะเห็น ได้ว่าเบอร์เกอร์ที่ทำ�จากถั่วเหลืองใช้นํ้าแค่ 160 ลิตร แต่เบอร์เกอร์เนื้อต้องใช้นํ้าถึง 1,000 ลิตร นอกจากนี้การหันมาดื่มชาแทนกาแฟก็ยังเป็นหนทางช่วยประหยัดนํ้าแบบง่ายๆ ด้วย” อย่างไรก็ตาม การปรับเปลี่ยนวิถีการบริโภคอาจจะเป็นเรื่องยาก ในคู่มือจึงแนะนำ�ว่าคุณ อาจจะเปลี่ยนมาเลือกซื้อผ้าฝ้าย เนื้อวัว หรือกาแฟ ที่มีกระบวนการผลิตที่ใช้นํ้าน้อย หรือจาก แหล่งที่ไม่มีปัญหาเรื่องขาดแคลนนํ้า ซึ่งการจะทำ�ให้ผู้บริโภคสามารถเลือกได้อย่างที่ต้องการนั้น ต้องมีแรงจูงใจหรือการบังคับให้ผู้จำ�หน่ายและผู้ผลิตยอมเปิดเผยถึงข้อมูลดังกล่าว ซึ่งถ้าหาก แนวคิดนี้แพร่หลายมากยิ่งขึ้น แน่นอนว่า เราคงได้เห็นแคมเปญขายสินค้าที่ใช้การประหยัดนํ้า เป็นจุดขายนอกเหนือไปจากการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแบบเดิมที่เราคุ้นเคย


Cover Story เรื่องจากปก

เจ้าอาณานิคมทางอ้อม ในขณะที่ ป ริ ม าณนํ้ า ในพื้ น ที่ บ างแห่ ง ลดลง เพราะความแห้งแล้งจากภาวะโลกร้อนจนเกิด การขาดแคลนนํ้าในที่สุด แต่พื้นที่บางแห่งใน เมืองชายฝั่งของหลายทวีปกลับต้องตกอยู่ภาย ใต้ภาวะสุ่มเสี่ยงจากการที่ระดับนํ้าทะเลเพิ่ม ขึ้นตามอุณหภูมิที่สูงขึ้น และการละลายของ นํ้าแข็งในเขตขั้วโลกและยอดเขาในอัตราที่เร็ว ขึ้นกว่าในช่วง 120 ปีที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลให้ พื้ น ที่ ท างเศรษฐกิ จ ของหลายประเทศต้ อ ง จมนํ้า ผลจากระดับนํ้าทะเลที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นนี้ ทำ�ให้เมืองใหญ่อย่างลอนดอนต้องใช้เงินถึง 500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (15,000 ล้านบาท) ใน การสร้า งเขื่ อ นริ ม แม่ นํ้ า เทมส์ที่แ น่นหนาขึ้น นอกจากนี้ เพื่อปกป้องผลผลิตทางการเกษตร บริเวณปากแม่นํ้าซาคราเมนโต ทางการของรัฐ แคลิฟอร์เนียถึงกับต้องออกแบบประตูนํ้าใหม่ เพื่ อ กั้ น ไม่ ใ ห้ นํ้ า ไหลเข้ า มาในเขตพื้ น ที่ เกษตรกรรมได้ ขณะที่อีกทางเลือกหนึ่งที่หลาย ประเทศใช้ ใ นการรั บ มื อ ปั ญ หานํ้ า ท่ ว มพื้ น ที่ การเกษตรก็คือการกว้านซื้อที่ดินในประเทศ ต่างๆ เพือ่ ใช้เป็นแหล่งผลิตอาหารสำ�รองสำ�หรับ อนาคต

© Paul Souders/Corbis

จากรายงานการประชุมด้านสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาของกลุ่มประเทศอาหรับ (Arab Forum for Environment & Development: AFED) เมื่อปลายปี 2009 ระบุว่า ระดับนํ้า ทะเลที่ เ พิ่ ม ขึ้ น ทุ ก หนึ่ ง เมตรจะทำ�ให้ พื้ น ที่ เกษตรกรรมบริเวณปากแม่นํ้าไนล์ร้อยละ 12 มี ความเสี่ยงที่จะถูกนํ้าท่วมและอาจจะไหลบ่าไป ท่วมพื้นที่ในขนาดที่ดินคิดเป็น 4 เท่าของพื้นที่ ประเทศเลบานอน 35

recent sea level rise

30

23 annual tide gauge records three year average satellite altimetry

25 20 15 10 5 0 -5

1880

1900

1920

1940

1960

1980

เมื่อปี 2009 บริษัทฮาร์ซัด ฟู้ดของประเทศ กาตาร์ได้ใช้เงิน 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (3 หมืน่ ล้านบาท) ในการพัฒนาพื้นที่ 20,000 เอเคอร์ (50,500 ไร่) ทางตอนเหนือของซูดาน และอาจ จะขยายพื้นที่เตรียมการเพาะปลูกถึง 250,000 เอเคอร์ (632,000 ไร่) เพื่อผลิตอาหารให้กับ กาตาร์และเพื่อการส่งออก ก่อนหน้านั้นหนึ่งปีบริษัทฮาร์ซัด ฟู้ด ถูก ตั้งขึ้นโดยหน่วยงานเพื่อการลงทุนของรัฐบาล กาตาร์ (Qatar Investment Authority: QIA) เพื่อดูแลความมั่นคงด้านอาหารของประเทศ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งเป้าหมายต่อไป ของบริษัทนั้นอยู่ที่ละตินอเมริกาและแอฟริกา เช่นเดียวกับที่ซาอุดิอาระเบียและลิเบียได้ซื้อ หรือเช่าซื้อพื้นที่การเกษตรในแอฟริกา ยุโรป ตะวันออก และเอเชียใต้มาแล้ว เช่นเดียวกับข้อมูลจากองค์การวิจยั นโยบาย ด้านอาหารระหว่างประเทศ (International Food Policy Research Institute: IFRPI) ที่ได้ระบุว่า นับตั้งแต่ปี 2006 เป็นต้นมา ที่ดินที่เหมาะแก่ การเพาะปลูกในส่วนต่างๆ ของโลกได้ถกู บริษทั ต่างชาติซื้อไปแล้วประมาณ 40-50 ล้านเอเคอร์ (126 ล้านไร่)

2000

ที่มา: www.wildwildweather.com สิงหาคม 2554

l

Creative Thailand

17


Cover Story เรื่องจากปก

เลือกที่จะอยู่กับนํ้า สำ�หรั บ ประเทศอื่ น อาจใช้ ท างเลื อ กในการ ผ่องถ่ายความเสี่ยงไปยังพื้นที่อื่นๆ แต่สำ�หรับ ชาวดัตช์ที่พื้นที่เกือบครึ่งประเทศนั้นอยู่ตํ่ากว่า ระดับนํ้าทะเลอยู่แล้ว พวกเขาเลือกที่จะต่อสู้ ในตอนแรกและลงเอยด้วยการเรียนรู้ที่จะอยู่ ร่วมกับธรรมชาติ ในอนาคตที่ระดับนํ้าทะเลและนํ้าในแม่นํ้า เมิส และไรน์จะเพิ่มสูงขึ้นเพราะภาวะอากาศ แปรปรวนได้นำ�ฝนฤดูหนาวมาสู่ยุโรป รัฐบาล เนเธอร์แลนด์เลือกวิธีการที่จะลดระดับความ สูงของคันกั้นนํ้าลง เพื่อยอมให้นํ้าท่วมในบาง พื้นที่ที่เตรียมไว้เพื่อลดแรงกดดันในพื้นที่อื่น และอีกหนึ่งทางเลือกที่ถูกนำ�มาใช้ในเวลานี้ก็ คือความยืดหยุ่นภายใต้แนวคิด “เมืองลอยนํ้า” เมืองมาสบอมเมล (Maasbommel) ที่ตั้ง อยู่ใกล้แม่นํ้าเมิส ชาวเมืองบางส่วนอาศัยอยู่ ในบ้ า นลอยนํ้ า ที่ อ อกแบบโดยบริ ษั ท ดู ร า เวอเมียร์ ซึ่งเป็นบ้านที่มีเสาเข็มตั้งอยู่ในนํ้าเพื่อ ให้สามารถลอยขึน้ ลงตามระดับนํา้ รวมทัง้ ระบบ สาธารณูปโภคทั้งท่อประปาและไฟฟ้าก็ต่างถูก ออกแบบให้ยืดหยุ่นตามระดับการขึ้นลงของ บ้านเช่นกัน และด้วยชื่อเสียงในการอยู่ร่วมกับนํ้ามา อย่างยาวนานของชาวดัตช์บวกกับความคิด สร้างสรรค์ของสถาปนิกรุ่นใหม่ จึงทำ�ให้บริษัท นํ้าจากเนเธอร์แลนด์กวาดงานสถาปัตยกรรม เหนือธรรมชาติไปครองมากมาย อย่างเช่นการ สร้างเกาะปาล์มในดูไบ และสนามกอล์ฟลอย ทะเลในมัลดีฟส์ เป็นต้น

© Johannes Mann/Corbis

© Developer Dutch Docklands Conceptual Design Architect Koen Oltnvis - Waterstudio.NL

18

Creative Thailand

l สิงหาคม 2554


Cover Story เรื่องจากปก

ภาพจาก www.halcrow.com

ภาพจาก wikipedia

ภาพจาก http://thegreentake.wordpress.com

ภาพจาก www.bectivelesliemarsh.co.uk

ภาพจาก www.e-architect.co.uk

การลงทุนแห่งศตวรรษหน้า

ภายหลังจากรอคอยมาถึง 30 ปี กำ�แพงกัน้ นํา้ ท่วมยาวกว่า 24.5 กิโลเมตร มูลค่า 2.9 พันล้าน เหรียญสหรัฐฯ ในนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก 'สหพันธรัฐรัสเซีย' ก็แล้วเสร็จลงในปี 2011 นี้ โดย กำ�แพงดังกล่าวได้ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับนํ้าท่วมครั้งใหญ่ในรอบหนึ่งพันปีที่เคยเกิดขึ้นที่ ระดับความสูง 4.55 เมตร โครงการ MOSE (Experimental Electromechanical Module) ของเมืองเวนิส อิตาลี ใช้คนงาน กว่า 3,000 คนและงบประมาณทีเ่ ริม่ บานปลายไปจนถึง 4.5 พันล้านยูโรในการก่อสร้างประตูนา้ํ 78 แห่งที่ทอดตัวอยู่ใต้ทะเลซึ่งจะยกตัวขึ้นถ้าหากระดับนํ้าที่ไหลเข้ามาจากทะเลเอเดรียติก สูงกว่า 110 เซนติเมตร โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2014 สตาดฮาเวนส์ (Stadshavens) รอตเทอร์ดาม เนเธอร์แลนด์ คือโครงการมูลค่า 11.4 พันล้าน เหรียญสหรัฐฯ ที่เกิดขึ้นเพื่อพัฒนาพื้นที่ครัวเรือน 1,200 หลังให้อยู่เหนือนํ้า นอกจากนี้ยังมี ศูนย์แสดงนิทรรศการสูง 12 เมตรที่ประกอบด้วยโดมโปร่งแสง 3 หลังเพื่อใช้ทดสอบแนวคิด เรื่องโครงสร้างลอยนํ้าเป็นส่วนสำ�คัญอีกส่วนหนึ่งด้วย อัลเบียน เควย์ไซด์ กรุงลอนดอน อังกฤษ คือพืน้ ที่ทา่ เรือริมแม่นา้ํ เทมส์ขนาด 55,000 ตารางเมตร ได้รบั การปรับปรุงเพือ่ ป้องกันนํา้ ท่วมแต่ยงั คงไว้ซง่ึ ความสวยงาม โดยมีการติดตัง้ เครือ่ งสูบนํา้ และรือ้ กำ�แพงกัน้ นํา้ เดิมออก ตลอดจนก่อสร้างระเบียงสีเขียวทีม่ ตี น้ ไม้ขน้ึ แทนที่ ซึง่ โครงการ ที่ว่านี้คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในปลายปี 2011 ฮาเฟนซิตี้ (HafenCity) เมืองฮัมบูร์ก เยอรมนี เป็นโครงการปรับปรุงพื้นที่ขนาดใหญ่ที่สุด ในยุโรปโดยไม่ใช้เขื่อนกั้นนํ้า แต่เป็นการสร้างเส้นทางเดิน ถนน พื้นที่จอดรถ และอาคาร ทุกแห่งให้ตั้งอยู่บนฐานความสูงอย่างตํ่า 7.5-8.3 เมตรเหนือระดับนํ้าทะเล เพื่อป้องกันนํ้า ท่วมจากคลื่นที่มาพร้อมกับพายุ โดยคาดว่าภายใน 25 ปีหรือปี 2025 จะสามารถปรับพื้นที่ กลางเมืองได้ถึงร้อยละ 40

ในอนาคตสถานการณ์ นํ้ า ท่ ว มหรื อ ภาวะนํ้ า ขาดแคลนคือสิง่ ทีไ่ ม่อาจหลีกเลีย่ งได้ กติกาการ ใช้นา้ํ จึงทยอยออกมาอย่างต่อเนือ่ ง ซึง่ เมือ่ ผสม ผสานกับการรณรงค์ทก่ี ระตุน้ เตือนให้ประชากร โลกหันมาใส่ใจกับปัญหานี้อย่างหนักหน่วง ก็ ทำ�ให้ “นํ้า” กลายเป็นประเด็นสำ�คัญที่มีนา้ํ หนัก มากขึน้ เรือ่ ยๆ ทัง้ ในแง่ของการอนุรกั ษ์และการ ช่วงชิงความได้เปรียบทางธุรกิจ ยุทธศาสตร์เรื่องนํ้าของประเทศต่างๆ จึง ไม่ได้จำ�กัดอยู่เพียงแค่การเลี้ยงดูประชากรและ ผลผลิตในประเทศเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการ รับมือภัยพิบัติ และการแข่งขันทางเศรษฐกิจที่ มีนํ้าเป็นตัวแปรสำ�คัญ ซึ่งผลจากการเตรียม ความพร้อมในช่วง 10 กว่าปีทผ่ี า่ นมาเพือ่ ต้อนรับ ความไม่สมดุลแห่งศตวรรษใหม่ อาจจะทำ�ให้ พอมองเห็นได้ว่า ทรัพยากรนํ้านั้นจะไหลไปอยู่ ในมือใคร ที่มา : www.water-technology.net www.bloomberg.com www.asiawaterbusiness.com www.economist.com www.climate.org www.circleofblue.org สำ�นักข่าว Reuters

สิงหาคม 2554

l

Creative Thailand

19


Insight

ไมเคิล มาสชา นักเล่นแร่แปร(นํ้า) เรื่อง: ศุภมาศ พะหุโล

“...แน่นอนอยู่แล้วว่านํ้าที่มีรสหวาน มันไม่ได้มีนํ้าตาลในนั้น แต่ เป็นเพราะแร่ธาตุที่เจือจางอยู่นั้นตํ่ามากจนสามารถสร้างความ รู้สึกหวานและให้สัมผัสที่อ่อนนุ่มเวลาดื่ม...”

ดร.ไมเคิล มาสชา ตอบคำ�ถามอย่างชัดเจนหลังจากที่ผู้ดำ�เนินรายการ วิทยุของบีบีซีได้ทดสอบดื่มนํ้าแบบ blind taste แล้วเกิดสงสัยว่าทำ�ไมนํา้ ที่ดื่ม1 จึงมีรสหวาน มาสชาเจ้าของสโลแกน “Water is life - Enjoy it™” ได้รับการยอมรับในวงการว่าเป็นกูรูด้านนํ้าแร่ธรรมชาติ และได้ตีพิมพ์ หนังสือ Fine Waters: Connoisseur guide to distinctive bottled water ในปี 2006 โดยรวบรวมรายการนํา้ แร่ระดับพรีเมียมทัว่ โลกกว่าร้อยรายการ พร้อมข้อมูลแบบเจาะลึก ทั้งคุณสมบัติของนํ้าที่แตกต่างกันตามแหล่ง กำ�เนิดตามธรรมชาติและพืน้ หลังทางประวัตศิ าสตร์ทล่ี งทุนศึกษาด้วยตนเอง เพือ่ ขยายต่อความสนใจส่วนตัวทีม่ ตี อ่ นํา้ แร่พรีเมียมบรรจุขวดซึง่ มีการ บริโภคถึงปีละ 9 พันล้านลิตร มาสชาจึงก่อตั้งเว็บไซต์ finewaters.com เพือ่ ให้ความรูเ้ บือ้ งต้นสำ�หรับนักดืม่ อ่อนหัด พร้อมข้อมูลในการเปรียบเทียบ ระดับความพรีเมียมให้กับนักดื่มตัวยง ตั้งแต่ ค่าความบริสุทธิ์ ค่าความ เป็นกรด-ด่าง (พีเอช) และปริมาณของแข็งที่ละลายในนํา้ (ทีดเี อส) นอกจากนี้ finewaters.com ยังมีการอัพเดทนํา้ แร่ธรรมชาติทง้ั แบรนด์เก่าและใหม่โดย แบ่งกลุม่ ตามประเทศ อธิบายประเภทแหล่งกำ�เนิดแบบเข้าใจง่ายๆ พร้อม กับแนะนำ�วิธีเลือกจับคู่นํ้ากับอาหารแต่ละชนิด วิธีเลือกภาชนะสำ�หรับใส่ ไปจนถึงอุณหภูมทิ เ่ี หมาะสำ�หรับดืม่ (ส่วนใหญ่ควรเท่ากับอุณหภูมิ ณ แหล่ง นํา้ ) หากผูเ้ ข้าชมเว็บไซต์อยากทดสอบด้วยตนเอง ก็สามารถคลิกลิงก์เพือ่ ไป ยังเว็บไซต์แหล่งซือ้ ขายทีม่ ไี ว้ให้เลือกตามแต่ละทวีปเพือ่ สะดวกในการขนส่ง (โดยมากรายการนํา้ ทีอ่ ยูใ่ นเว็บไซต์มกั หาไม่ได้งา่ ยๆ เพราะส่วนใหญ่จะจำ�กัด ช่องทางการขายเพือ่ ให้ตรงกลุม่ เป้าหมายและรักษาภาพลักษณ์ของแบรนด์ ทีต่ ง้ั ไว้)

20

Creative Thailand

l สิงหาคม 2554

มาสชาจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแห่งกรุงเวียนนา โดยเชีย่ วชาญ ด้านมานุษยวิทยาอาหาร เขาได้ผนั ตัวเองจากการเป็นนักสะสมไวน์มาสนใจใน นํา้ ดืม่ ตัง้ แต่ปี 2002 เนือ่ งจากตรวจพบว่าตนเองเป็นโรคภูมแิ พ้แอลกอฮอล์ อย่างหนัก ปัจจุบนั นอกจากดูแลเว็บไซต์แล้ว เขายังใช้เวลาไปกับการศึกษา รสชาตินํ้าที่ส่งผลต่ออาหารเพื่อทำ�เมนูนํ้าดื่มโดยเฉพาะให้กับร้านอาหาร ในโรงแรมดังๆ รวมถึงการเป็นวิทยากรและกรรมการในการคัดเลือกนํา้ ดืม่ ที่มีรสชาติเยี่ยมที่สุดประจำ�ปี “เดิมที มันเป็นสิ่งที่คุณดื่มเมื่อกระหาย แต่ปัจจุบันนํ้าได้เปลี่ยนจาก ปัจจัยพืน้ ฐานมาสูผ่ ลิตภัณฑ์… ทีไ่ ม่ตา่ งจากนํา้ มันมะกอกหรือช็อกโกแลต” แม้แบรนด์นา้ํ แร่ธรรมชาติทไ่ี ด้รบั คัดเลือกมาอยูใ่ น finewaters.com จะไม่ เป็นทีโ่ ปรดปรานของบรรดานักอนุรกั ษ์ทอ่ี อกมาประกาศศึกกับทัง้ ผูผ้ ลิตและ ผู้บริโภค ตั้งแต่สงครามแย่งชิงแหล่งนํ้ากับคนท้องที่ ไปจนถึงการทำ�ลาย สภาวะแวดล้อมที่มาพร้อมกับการขนส่งนํ้าขวดข้ามทวีป แต่สิ่งที่มาสชา กล่าวนัน้ ไม่ได้เกินกว่าความจริงของโลกยุคปัจจุบนั นํา้ ได้แปรเปลีย่ นจาก ของสาธารณะมาสู่เม็ดเงินจำ�นวนมหาศาลสำ�หรับผู้ครอบครองแหล่งนํ้า และความต้องการที่ซับซ้อนของผู้บริโภคที่มากขึ้นก็เป็นช่องทางให้ตลาด นํา้ แร่เติบโตแบบสวนกระแสวิกฤตการขาดแคลนนํา้ ตามการคาดการณ์ของ สหประชาชาติ 1 เบิร์ก

นํ้าภูเขานํ้าแข็งจากนิวฟาวด์แลนด์ แคนาดา เกิดจากการทับถมของหิมะที่ปกคลุมภูเขา นํ้าแข็งมีอายุกว่า 15,000 ปี มีแร่ธาตุเจือปนในระดับตํา่ มาก ทีม่ า: บทความ Would madam care to taste the cloud juice? (2007)โดย Johnny Davis (www.gurdian.co.uk) รายการวิทยุ You&Yours (2011) โดย Winifred Robinson (www.bbc.co.uk) www.finewaters.com www.time.com


สิงหาคม 2554

l

Creative Thailand

21


Creative Entrepreneur คิด ทํา กิน

เรื่อง: ศรินทร เอี่ยมแฟง

22

Creative Thailand

l สิงหาคม 2554

ในตลาดการแข่งขันผลิตภัณฑ์นํ้าดื่มบรรจุขวดแบรนด์ระดับ โลก นักลงทุนแยกเวทีต่อสู้กันอย่างชัดเจน ตั้งแต่นํ้าดื่มสะอาด ราคามาตรฐาน นํ้าดื่มจากแหล่งกำ�เนิดชั้นดีราคาระดับไฮเอ็นด์ และนํ้าดื่มบรรจุขวดมีดีไซน์ซ่งึ เหมาะจะเป็นเครื่องประดับมากกว่า เครื่องดื่มดับกระหาย BOXED WATER IS BETTER. (บ็อกซ์ วอเทอร์ อีส เบ็ตเทอร์.) ไม่เข้าพวกใดๆ เลย แต่แบรนด์นํ้าดื่ม น้องใหม่นี้สามารถ “สร้างกระแส” ในตลาดสหรัฐฯ ภายในระยะ เวลาเพียง 1 ปี ด้วยการประกาศจุดยืนเรื่องการทำ�ธุรกิจที่ใส่ใจ กับสิ่งแวดล้อม นับตั้งแต่สายพานการผลิตไปจนถึงตู้เย็นของ ผูบ้ ริโภค ทัง้ ยังกล้า “ทวนกระแส” ด้วยงานออกแบบบรรจุภณ ั ฑ์ ที่หนั ไปใช้กล่องกระดาษบรรจุนา้ํ ตามชือ่ แบรนด์ "BOXED WATER IS BETTER."


Creative Entrepreneur คิด ทํา กิน

ในส่ ว นของการจั ด จำ�หน่ า ยก็ ดำ�เนิ น ไป อย่างค่อยเป็นค่อยไป เบนจามินเน้นการเจาะ ตลาดท้องถิน่ ด้วยการเข้าหาร้านอาหาร ร้านค้า คาเฟ่ หรือโรงแรมขนาดเล็กไปพร้อมๆ กับการ แนะนำ�ตัวผ่านเว็บไซต์หรือบล็อกต่างๆ เพื่อให้ กลายเป็นประเด็นข่าว ทันทีที่ได้รับความสนใจ จากสื่อขนาดใหญ่อย่าง รายการ กู้ด มอร์นิ่ง อเมริกา BOXED WATER IS BETTER. ก็มีหน้าที่ เพียงอย่างเดียวคือการขยายช่องทางการจัด จำ�หน่ายให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น

Think outside the box เบื้องหลังความสำ�เร็จของ BOXED WATER IS BETTER. คือ เบนจามิน กอตต์ ซึ่งไม่ได้เป็น เจ้าของแหล่งนํ้าธรรมชาติใดๆ แต่เป็นเจ้าของ ไอเดี ย นอกกรอบในการทำ�ธุ ร กิ จ นํ้ า ดื่ ม ที่ ใ ห้ ความสำ�คัญเรื่องสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง และ เป็นที่มาของการเลือกใช้กล่องกระดาษแทน ขวดแก้วและพลาสติกบรรจุนํ้าดื่มสะอาดจาก แหล่งนํ้าของเทศบาล ภายใต้การออกแบบที่เรียบง่ายโดยใช้ตัว อักษรสีดำ�บนพืน้ ขาว เมือ่ เปรียบเทียบกับนํา้ ดืม่ บรรจุขวดทัว่ ไปทีม่ กั ใช้ขวดสีขาวใสหรือสีฟา้ มีรปู ภูเขา นํา้ ตก หรือเกล็ดนํา้ แข็ง BOXED WATER IS BETTER. จึงสะดุดตาผูบ้ ริโภคได้ทนั ที ณ จุดขาย ไม่นับรวมถึงชื่อผลิตภัณฑ์ท่ที ำ�หน้าที่เป็นก็อปปี้ โฆษณาได้ในตัวเอง “นี่เป็นธุรกิจแรกที่ผมสร้าง สินค้าขึ้นมา เพราะก่อนหน้านี้ผมอยู่ในแวดวง เทคโนโลยี ผมรูว้ า่ การโฆษณาเพือ่ เปิดตัวแบรนด์ จะสิ้นเปลืองงบขนาดไหน เราจึงต้องทำ�อะไร บางอย่างที่จะสร้างความสนใจได้ตั้งแต่ที่ชั้น ขายของ แทนทีจ่ ะจ่ายเงินเพือ่ เรียกความสนใจ” ถึงแม้บรรจุภัณฑ์ของ BOXED WATER IS BETTER. จะเข้าข่ายดีไซน์โดดเด่นจนอาจขยับชัน้ ไปเป็นแบรนด์ไฮเอ็นด์ แต่เบนจามินก็วางตำ�แหน่ง ผลิตภัณฑ์ของเขาให้เป็นนํา้ ดืม่ ธรรมดาในราคาขาย ประมาณ 2 เหรียญสหรัฐฯ โดยทีก่ ำ�ไรร้อยละ 10 จะบริจาคให้กับหน่วยงานด้านการอนุรักษ์นํ้า

และอีกร้อยละ 10 มอบให้กบั องค์กรทีด่ แู ลเรือ่ ง ป่าไม้เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการปั้น แบรนด์ตง้ั แต่เริ่มแรก เรียบง่าย และ “ดีกว่า” ในความเป็นจริง BOXED WATER IS BETTER. ไม่ใช่ เจ้าแรกที่ออกมาป่าวประกาศเรื่องความเป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อม เป้าหมายที่เบนจามินต้องพา BOXED WATER IS BETTER. ไปให้ได้คอื การอนุรกั ษ์ สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนตั้งแต่ต้นทางไปจนถึง ปลายทาง “รอยเท้าคาร์บอน” หรือ ปริมาณก๊าซ เรือนกระจกที่ถูกปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์ แต่ละหน่วย ตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ เป็นมาตรฐานสำ�คัญที่เขาใช้พิสูจน์จุดยืนนี้ แบรนด์ นํ้ า ดื่ ม ที่ มี จุ ด ขายในเรื่ อ งแหล่ ง กำ�เนิดของนํ้า เช่น ฟิจิ หรือ เอเวียง ทำ�ให้ต้อง ขนส่งขวดบรรจุเทียวไปเทียวมาระหว่างแหล่งนํ้า โรงงานและผู้จัดจำ�หน่าย แต่สำ�หรับ BOXED WATER IS BETTER. ใช้วิธี “พับ” กล่องกระดาษ รีไซเคิลเพือ่ เพิม่ ความจุในการขนส่งระหว่างเที่ยว และเลือกแหล่งนํ้าเทศบาลที่ใกล้กับจุดจำ�หน่าย มากที่สุด กลยุทธ์นี้จึงสามารถลดต้นทุนในการ ขนส่ง ลดการสูญเสียพลังงาน และลดปริมาณ รอยเท้าคาร์บอนได้ในเวลาเดียวกัน

นํ้าแห่งรสนิยม ทั้งๆ ที่รู้ว่า “นํ้าประปาดื่มได้” แต่ชาวอเมริกัน ก็ยังยอมเสียเงินจำ�นวนไม่น้อยไปกับการซื้อนํ้า บริโภค โดยเฉพาะการเป็นเจ้าของ BOXED WATER IS BETTER. ซึ่งอาจโยงไปถึงภาพลักษณ์ของผู้มี รสนิยมและยังใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อม จากการ จำ�หน่ายครั้งแรกที่ร้านอาหารเล็กๆ ในย่าน แกรนด์ราพิดส์ รัฐมิชิแกน เมื่อมีนาคม 2009 ขณะนี้ BOXED WATER IS BETTER. มีจดุ จำ�หน่าย เพิ่มขึ้นในแคลิฟอร์เนีย อิลลินอยส์ ฟลอริดา้ จอร์เจีย โอไฮโอ และวิสคอนซิน ทั้งยังวางแผน จะบุกตะลุยเมืองใหญ่อย่างนิวยอร์กและชิคาโก้ อีกด้วย ความคิดนอกกรอบของ เบนจามิน กอตต์ สร้างให้เกิดนํา้ ดืม่ เซ็กเมนต์ใหม่ และยังสอดรับ กับกระแสความสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมในยุค ปัจจุบนั BOXED WATER IS BETTER. เป็นอีกกรณีท่ี สะท้อนให้เห็นว่าความคิดสร้างสรรค์ การสร้าง แบรนด์ และการรู้จักบริหารจัดการทรัพยากร อย่างชาญฉลาดนั้น สามารถสร้างมูลค่ารวมถึง คุณค่าให้ผลิตภัณฑ์ทุกสิ่งอย่าง ไม่เว้นแม้แต่ นํ้าดื่มที่เป็นของสาธารณะ ที่มา: www.boxedwaterisbetter.com www.recyclingforcharities.com/blog/?tag=benjamin-gott www.therake.co/en/one-on-one/89/a-conversationwith-benjamin-gott-founder-of-boxed-water-is-better www.facebook.com/helloboxedwater ขอขอบคุณ: BOXED WATER IS BETTER.

สิงหาคม 2554

l

Creative Thailand

23


Creative City

จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

เรื่อง: ศิริอร หริ่มปราณี

24

Creative Thailand

l สิงหาคม 2554

ในความทรงจำ�ของชาวดัตช์ ความสัมพันธ์แบบทั้งรักทั้งเกลียด กับนํา้ ก่อร่างให้เกิดเป็นประเทศเนเธอร์แลนด์ดงั เช่นทุกวันนี้ เพราะ เมื่อหนึ่งในสามของแผ่นดินต้องอยู่ตํ่ากว่าระดับนํ้าทะเล ชาวดัตช์ ก็ไม่มีอะไรจะเสีย นอกจากยืนหยัดอย่างชาญฉลาดเพื่อโต้ตอบ และกอดเก็บอานุภาพจากพลังนํ้า และอัมสเตอร์ดัมคือตัวอย่าง อันสุดโต่งของความสัมพันธ์อันลึกซึ้งที่ว่านั้น


Creative City

จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

© Jean-Pierre Lescourre/Corbis

จากหนองนํ้าสู่มหาสมุทร

© Gavin Hellier/JAI/Corbis

ที่พิพิธภัณฑ์การเดินเรือในอัมสเตอร์ดัมได้จัด แสดงแบบจำ�ลองของเรือโบราณนานาชนิดที่ เคยแล่นอยู่ตามเส้นทางเครื่องเทศอ้อมแหลม กูด๊ โฮป หนึง่ ในเรือประวัตศิ าสตร์ทจ่ี ดั แสดงมีชอ่ื อย่างเหมาะสมว่า “อัมสเตอร์ดมั ” ซึง่ เป็นเรือของ บริษัทอีสต์อินเดียที่เคยฝ่าลมมรสุมและอิทธิพล ทางน่านนํ้าของโปรตุเกสและสเปนไปช่วงชิง เอาความมั่งคั่งทางการค้าอย่างเครื่องเทศมา เป็นบำ�เหน็จให้แก่อาณาจักรดัตช์ อัมสเตอร์ดัมรุ่งโรจน์หลังความเสื่อมถอย ของลิสบอน ว่ากันว่าในศตวรรษที่ 16 กองเรือ ของอัมสเตอร์ดัมมีมากถึง 14,000 ลำ� นัก ประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่จึงให้ความเห็นว่า การ เติบโตของอุตสาหกรรมต่อเรือ จิตใจอันอดทน และนิสัยส่วนตัวที่ดื้อรั้นมุทะลุของเหล่ากะลาสี ชาวดัตช์ ได้กลายเป็นแรงผลักดันให้อมั สเตอร์ดมั ก้าวข้ามความชื้นแฉะของพื้นดิน สู่อาณาจักรที่ ครอบครองอาณานิคมอีสต์อินเดียไว้ได้ ขณะ เดียวกันก็ต้องขอบคุณสัญชาตญาณความเป็น พ่อค้าของชาวดัตช์ ที่เห็นการณ์ไกลและลงขัน ออกทุนสนับสนุนกองเรือเพื่อแสวงหาดินแดน แห่งเครือ่ งเทศ ตลอดจนเพือ่ ปกป้องผลประโยชน์ ของตนจากการกดขี่ของสเปน จนในที่สุดการ รวมตัวของกลุ่มพ่อค้าเครื่องเทศก็เกิดขึ้นเป็น บริษัทอีสต์อินเดียในปี 1602 ที่นับเป็นบริษัท

สมัยใหม่บริษทั แรกของโลก โดยมีคณะกรรมการ บริหารที่มาจากอัมสเตอร์ดัมและเมืองโดยรอบ มีกฎบัตรรับรองสิทธิการบริหาร พร้อมทั้งยัง เปิ ด โอกาสในนั ก ลงทุ น รายย่ อ ยเข้ า มาร่ ว ม ลงทุนในการค้าเครื่องเทศจากดินแดนอันไกล โพ้นได้อีกด้วย มองอย่างผิวเผิน กฎบัตรนีจ้ ะระบุถงึ อำ�นาจ ในการลงทุนและการเงิน แต่ที่พิเศษกว่านั้นคือ การมอบอำ�นาจตั ด สิ น ใจในเรื่ อ งการพั ฒ นา อัมสเตอร์ดัมและเมืองใกล้เคียง เพื่ออำ�นวย ความสะดวกในการค้าและขนส่งของบริษัท อีสต์อินเดียให้เป็นไปอย่างคล่องตัว ด้วยเหตุนี้ เอง ช่วงกลางศตวรรษที่ 16 ถึงช่วงต้นศตวรรษ ที่ 17 ป้อมปราการหลายแห่งจึงถูกพัฒนาและ สร้างให้แข็งแกร่งขึ้น พร้อมทั้งโครงการท่าเรือ และการขุดคลองเส้นทางใหม่จากศตวรรษที่ 13 โดยได้เพิม่ ประโยชน์จากเพียงใช้เพือ่ ป้องกัน นํ้ า ท่ ว มให้ ส ามารถใช้ ใ นการจอดเรื อ สิ น ค้ า และเชื่อมโยงการขนส่งจากเมืองต่างๆ มายัง อัมสเตอร์ดัม โดยรวมเป็นคลองรอบล้อมเมือง 4 ชั้น รวมระยะทางกว่า 100 กิโลเมตร พร้อม กับประตูกน้ั นํา้ อีก 16 แห่ง ซึง่ ระบบคลองใหม่น้ี รูจ้ กั ในชือ่ เดอะ ซิงเกลแกรช (The Singelgracht) หรือคลองวงแหวน ซึง่ ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ทาง นวัตกรรมการวางผังเมืองและสถาปัตยกรรม ของโลกในเวลาต่อมา สิงหาคม 2554

l

Creative Thailand

25


Creative City

จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

อัจฉริยภาพเหนือผืนนํ้า

เมื่อแผ่นดินอยู่ตํ่ากว่าระดับนํ้าทะเล โดยจุดตํ่าสุดนั้นตํ่ากว่าระดับนํ้าทะเลถึง 6.76 เมตร ขณะที่จุด สูงสุดอยู่เหนือนํ้าทะเลเพียง 323 เมตร ความต่างของพื้นดินกับพื้นนํ้าสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และนํ้าท่วมคือฝันร้ายที่เป็นจริงในชีวิต พวกเขาผ่านมันมาได้อย่างไร? ...นี่คือมรดกทางความคิดที่เอาเดิมพันของชีวิตสู้กับแรงปะทะจากพลังนํ้า ชอ คลันด์ เกาะกลางนํ้าและการเอาชนะผืนนํ้าของชาวดัชต์ ชอ คลันด์ (Scho kland) คาบสมุทรที่กลายเป็นเกาะในศตวรรษที่ 15 นี้เคยมีมนุษย์ไปตั้งถิ่นฐานอยู่ แต่ก็ต้องอพยพผู้คนออกในปี 1859 ก่อนจะถูกทิ้งร้างเพราะนํ้าทะเลท่วมถึง แต่หลังการระบายนํ้าออก จากบริเวณซุยเดอร์ ซี (Zuider Zee) ช่วงปี 1940 พื้นที่นี้ก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของแผ่นดิน ชอ คลันด์มี ร่องรอยของชุมชนมนุษย์ที่เก่าแก่ถึงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ และได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้ อย่างกล้าหาญและยาวนานของชาวดัตช์ที่จะเอาชนะการโอบล้อมของผืนนํ้า แนวปราการของอัมสเตอร์ดัม แนวปราการของอัมสเตอร์ดัมสร้างขึ้นระหว่างปี 1883-1920 ทอดยาวเป็นระยะทาง 135 กิโลเมตร และเป็นตัวอย่างเพียงหนึ่งเดียวของปราการที่สร้างอยู่บนหลักการของการควบคุมนํ้า ตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 ชาวดัตช์ได้ใช้ความรู้ด้านวิศวกรรมระบบไฮดรอลิกในการป้องกันเมือง ศูนย์กลางของประเทศได้ รับการปกป้องโดยโครงข่ายของป้อมติดอาวุธ 45 ป้อม ที่ทำ�งานร่วมกับการปล่อยนํ้าท่วมชั่วคราวจาก พื้นที่ถมทะเล และระบบที่ซับซ้อนของคลองและประตูนํ้า แนวกังหันลมที่คินเดอร์ไดค์-เอลชเฮาท์ ผลงานของชาวดัตช์ในด้านเทคโนโลยีการจัดการนํ้าแสดงออกอย่างน่าชื่นชมในอุปกรณ์ที่เขตคินเดอร์ ไดค์-เอลชเฮาท์ (Kinderdijk-Elshout) การก่อสร้างเครื่องจักรระบบไฮดรอลิกเพื่อการระบายนํ้าสำ�หรับ เกษตรกรรมและการตั้งถิ่นฐานชุมชนได้เริ่มขึ้นในยุคกลางและดำ�เนินมาอย่างต่อเนื่องจนปัจจุบัน แหล่งมรดกโลกแห่งนีแ้ สดงให้เห็นถึงองค์ประกอบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีดงั กล่าว ได้แก่ คันกัน้ นํา้ อ่างเก็บนํ้า สถานีสูบนํ้า อาคารบริหาร และแนวกังหันลมที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้อย่างงดงาม สถานีสูบนํ้าด้วยเครื่องจักรไอนํ้า ดี. เอฟ. วูดา สถานีสูบนํ้าวูดา (Wouda Pumping Station) ที่เลมเมอร์ (Lemmer) ในจังหวัดฟรีสแลนด์ (Friesland) เปิดทำ�การในปี 1920 สถานีแห่งนีเ้ ป็นสถานีสบู นํา้ ด้วยเครือ่ งจักรไอนํา้ ทีใ่ หญ่ทส่ี ดุ และยังคงดำ�เนินการ อยู่จนปัจจุบัน เป็นตัวแทนของสุดยอดผลงานของวิศวกรและสถาปนิกชาวเนเธอร์แลนด์เพื่อปกป้อง ประชาชนและดินแดนไว้จากพลังธรรมชาติของนํ้า ดรูกมาเกร เดอ บีมสเตอร์ - บีมสเตอร์ โพลเดอร์ บีมสเตอร์ โพลเดอร์ (บีมสเตอร์ คือพืน้ ที่ซึ่งได้มาจากการถมทะเล) มีอายุสมัยต้นศตวรรษที่ 17 เป็นตัวอย่าง ทีพ่ เิ ศษของการถมพืน้ ทีท่ ะเลในเนเธอร์แลนด์ทย่ี งั คงอนุรกั ษ์ภมู ทิ ศั น์อนั เป็นระเบียบของทุง่ นา ถนน คลอง คันกัน้ นํา้ และชุมชนไว้ได้อย่างสมบูรณ์ โดยมีการวางผังตามหลักการวางผังในยุคคลาสสิกและเรอเนสซองส์ คลองวงแหวนแห่งศตวรรษที่ 17 ในเมืองซิงเกลแกรช นครอัมสเตอร์ดัม กลุ่มเมืองคลองประวัติศาสตร์แห่งอัมสเตอร์ดัม เป็นโครงการสร้างเมืองท่าแห่งใหม่ในปลายศตวรรษที่ 16 และเริ่มดำ�เนินการในต้นศตวรรษที่ 17 ประกอบด้วยโครงข่ายคลองที่ขุดไปทางตะวันตกและใต้ ของเมืองเก่าและเมืองท่าเดิมในยุคกลาง โดยล้อมรอบเมืองเก่าซิงเกลแกรชไว้ ซิงเกลแกรชเป็นแผนงาน ระยะยาวเพือ่ การขยายตัวของเมือง โดยการปล่อยนํา้ ออกจากพืน้ ทีช่ มุ่ นํา้ ใช้ระบบคลองโค้งรูปวงแหวน และคัน่ สลับด้วยการถมพืน้ ระหว่างพืน้ ทีช่ มุ่ นํา้ ให้เป็นทีด่ อนสำ�หรับสร้างชุมชน การขยายตัวของเมืองนี้ มีลักษณะเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ในด้านรูปแบบมาตรฐานของพื้นที่ และขนาดใหญ่ที่สุดในเวลานั้น ทัง้ หมดนี้ แสดงถึงการวางผังเมืองขนาดใหญ่และใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงด้านการผังเมืองในทัว่ โลกกระทัง่ ศตวรรษที่ 19 โดยคลองวงแหวนแห่งอัมสเตอร์ดมั นี้ ได้รบั การประกาศเป็นมรดกโลกจากยูเนสโกในปี 2010

26

Creative Thailand

l สิงหาคม 2554


Creative City

จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

ควันหลงจากเมืองท่า

ภาพจาก http://blog.naver.com www.rnw.nl http://netherlands.unescoheritage.info http://glifr.com http://whc.unesco.org

เมื่ อ มนต์ เ สน่ ห์ จ ากกลิ่ น เครื่ อ งเทศจางลง อัมสเตอร์ดมั ก็รว่ งหล่นจากการเป็นเจ้าอาณานิคม อำ�นาจทางมหาสมุทรเปลี่ยนมือไปสู่อังกฤษที่ คึกคักและมีชวี ติ ชีวา แต่ความมัง่ คัง่ ทางความคิด ของชาวอัมสเตอร์ดัมนั้นตกผลึกและแน่นอน กว่าผลประกอบการของบริษทั อีสต์อนิ เดียหลาย เท่าตัว เพราะในช่วงเวลาอันรุง่ โรจน์ พวกเขาได้ ซึมซับเอาวัฒนธรรม ภาษา อาหารการกิน การ แพทย์ รวมทั้งการรับเอาแรงงานและเหล่าช่าง ฝีมอื ต่างถิน่ โดยเฉพาะกุลม่ ชาวยิวทีม่ ที กั ษะอัน เยี่ยมยอดในการเจี ย ระไนเพชร หรื อ ศิ ล ปิ น ตกยากจากภาคพืน้ ยุโรปมาไว้กบั ตน และแม้จะ สูญเสียตำ�แหน่งเมืองท่าที่รุ่งเรืองให้แก่เมือง รอตเทอร์ดามไป แต่การเปิดกว้างทางความคิด ของชาวอัมสเตอร์ดัมก็ได้กลายเป็นสินทรัพย์ที่ ไม่มีใครอาจช่วงชิงไปได้เลย ทุกวันนี้ อัมสเตอร์ดมั ได้ชอ่ื ว่าเป็นเมืองทีม่ ี จิตใจเสรีที่สุดแห่งหนึ่งในโลก มีผู้คนต่างชาติ ต่างภาษาหลัง่ ไหลเข้ามาใช้ชวี ติ ถึง 174 สัญชาติ ขณะที่ความพยายามเก็บเกี่ยวทักษะ ความคิด สร้างสรรค์ และความสามารถของอัมสเตอร์ดมั ก็ยงั ปรากฏให้เห็นจนปัจจุบนั เมือ่ ปี 2008 นายก เทศมนตรี จ๊อบ โคเฮน ได้เล็งเห็นโอกาสในการ สร้างรายได้จากกลุม่ เอ็กซ์แพท จึงร่วมกับรัฐบาล เปิดเอ็กซ์แพทเซ็นเตอร์ ศูนย์บริการชาวต่างชาติ เพื่ อ อำ�นวยความสะดวกให้ แ ก่ ผู้ ที่ ย้ า ยมา ทำ�งานและตัง้ ถิน่ ฐานในเมือง พร้อมด้วยมาตรการ ภาษีที่จูงใจ ทั้งด้านภาษีนิติบุคคล ภาษีการขายสิทธิ์ (Patent Tax) ที่เก็บเพียงร้อยละ 10 ซึ่งอยู่ในระดับตํ่ากว่ากลุ่มประเทศภาคพื้นยุโรป ทั้งหมด รวมถึงยังมีมาตรการลดภาษีซํ้าซ้อน ต่างๆ ของชาวต่างชาติในการส่งรายได้กลับ ถิน่ ฐานด้วย พร้อมกันนี้ ก็ยงั อำ�นวยความสะดวก ด้านความเป็นอยูด่ ว้ ยกิจกรรมทางสังคมมากมาย อาทิ การจัดตั้งชมรม สมาคม และสโมสรของ ชาวต่างชาติกว่า 160 กลุ่มที่ครอบคลุมตั้งแต่ งานศิลปะ ไวน์และอาหาร ไปจนถึงกลุ่มเกย์ ทางการเมือง

ภาพจาก www.pedrokok.com.br

มาร์เซล วันเดอร์ นักออกแบบชาวอัมสเตอร์ดมั กล่าวถึงเมืองทีเ่ ขาหลงรักว่า “ผลงานอันสวยงาม และวิเศษจะเกิดขึ้นไม่ได้ หากเราไม่สามารถ หาคนทำ�งานที่วิเศษได้ และอัมสเตอร์ดัมเป็น สถานที่ที่ดีสำ�หรับอยู่อาศัย ใช้ชีวิต และทำ�งาน แน่นอนว่าคุณอาจจะหาที่ท่ดี ่เี ยี่ยมมากกว่านี้ได้ แต่ที่นี่มันช่างดึงดูดใจ และผู้คนก็เต็มไปด้วย พลัง” ผลงานการออกแบบของมาร์เซล วันเดอร์ นั้นน่าตื่นเต้นและเป็นสีสันของเมือง แต่ลูกค้า ส่วนใหญ่ราวร้อยละ 95 กลับอยูน่ อกเนเธอร์แลนด์ ซึง่ ภายใต้การตกหลุมรักอัมสเตอร์ดมั เข้าอย่างจัง ในปี 2010 เขาจึงได้ร่วมมือกับ Aedes Real Estate จัดทำ�โครงการ Westerhuis Amsterdam เพื่อเป็นศูนย์รวมในเชิงธุรกิจออกแบบและงาน สร้างสรรค์บนพื้นที่ 5,500 ตารางเมตร ที่เกิด จากการดัดแปลงและบูรณะโรงเรียนเก่าให้เป็น สถานทีจ่ ดั แสดงผลงาน แหล่งพบปะ แลกเปลีย่ น และเจรจาทางธุรกิจ ด้วยจุดมุง่ หมายทีจ่ ะสร้าง ให้เป็นศูนย์กลางของความคิดสร้างสรรค์ของ ชาวอัมสเตอร์ดัม

สิงหาคม 2554

l

Creative Thailand

27


Creative City

จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

ในปี 2028 อัมสเตอร์ดัมจะเปิดเมืองท่า แห่งนี้ให้ยิ่งใหญ่อีกครั้ง ด้วยการเสนอชื่อเป็น เจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ซึ่งส่งผลให้ เมืองต้องทำ�การบ้านอย่างหนักเพื่อแสดงความ พร้อมต่อชาวโลก ทั้งด้านการคมนาคมขนส่ง และภูมิสถาปัตยกรรมของเมือง ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ เทศบาลเมืองก็เพิ่งออกกฎหมายเปลี่ยนเรือ ท่องเที่ยวที่สัญจรไปมาในคลองให้เป็นเรือที่ ใช้พลังงานสะอาดทั้งหมด นอกจากนี้ บริษัท สถาปนิกอย่าง NL Architects ก็เริ่มนำ�เสนอ แนวคิดการออกแบบเพื่อพลังงานในอนาคต ที่เชื่อมต่อกับกังหันลมรุ่นใหม่อย่าง Power Flowers ทีต่ ดิ ตัง้ ง่าย สามารถผลิตไฟฟ้าได้อย่าง มีประสิทธิภาพ และลดระดับความดังของกังหัน ให้เทียบเท่าเสียงตู้เย็นในบ้านเท่านั้นมาใช้งาน อย่างไรก็ตาม นีเ่ ป็นเพียงแนวคิดหนึง่ ของบริษทั สถาปนิกเพียงแห่งเดียวเท่านั้น แต่แนวคิดใน การสร้างนวัตกรรมของเมืองเพือ่ รองรับการเป็น เจ้าภาพโอลิมปิกยังต้องถูกทดสอบและขับเคี่ยว กับอีก 500 บริษัทสถาปนิกในอัมสเตอร์ดัมที่ กระตือรือร้นอยากได้งานนี้เช่นกัน อีกไม่นาน เกินรอ โลกคงจะได้เห็นผลงานที่สื่อถึงจิตวิญญาณ ของเมืองจากนักสร้างสรรค์เหล่านี้ ภาพจาก www.designboom.com

28

Creative Thailand

l สิงหาคม 2554

© IJburg plot 13 Architect Koen Olthois - waterstudio.NL

เรือโนอาร์แห่งศตวรรษที่ 21 “ขอเชิญชมวิลล่าตัวอย่าง 3 ห้องนอน 2 ห้องนํา้ และห้องอาหารทีม่ องเห็นวิวแม่นา้ํ พร้อมระเบียง ทอดยาวเพือ่ กิจกรรมกลางแจ้งของครอบครัว... ทั้งหมดมาพร้อมเทคโนโลยีที่จะช่วยให้ทุกคน ในครอบครัวไม่เมาคลื่น” คำ�โฆษณาบ้ า นลอยนํ้ า ของบริ ษั ท เอบี ซี อาร์เคนบาว ทีไ่ ด้จดั แสดงนิทรรศการบ้านลอยนํา้ ขึน้ กลางกรุงอัมสเตอร์ดมั ดึงดูดใจลูกค้าทุกระดับ โดยเฉพาะครอบครัวหนุ่มสาวที่กำ�ลังเริ่มต้น ชีวติ ใหม่ ซึง่ ราคาของบ้านลอยนํา้ ขนาดเล็กอยูท่ ่ี 110,000-150,000 ยูโร ขณะที่บ้านหรูสไตล์วลิ ล่า ทีม่ รี าคากว่า 250,000 ยูโรนัน้ ก็ได้รบั ความสนใจ จากกลุม่ ผูบ้ ริหารและผูเ้ กษียณอายุ ซึง่ Marian Spenkeler จากเอบีซี อาร์เคนบาว กล่าวถึง ยอดขายบ้านลอยนํ้าที่เพิ่มขึ้นทุกปี โดยปี 2007 มีเพียง 40 หลัง และเพิ่มเป็นขึ้นร้อยละ 20-30 จนปัจจุบัน บริ ษั ท กำ�ลั ง ขายเทคโนโลยี ให้ แก่ ลูกค้าในต่างประเทศด้วย บ้านลอยนํ้าในเนเธอร์แลนด์กำ�ลังได้รับ ความนิยมอย่างมาก อัตราการเติบโตที่สูงขึ้น ทุกปีนั้นได้รับแรงหนุนจากเทศบาลของเมือง ต่างๆ ราว 10 แห่งทั่วประเทศ อันเป็นผลมา จากความวิตกต่อภาวะโลกร้อนและระดับนํ้า ทะเลที่สูงขึ้นทุกปี รัฐบาลเนเธอร์แลนด์ต้องเร่ง หามาตรการอื่นๆ เพื่อเตรียมรับมือ นอกเหนือ

จากโครงการสร้ า งที่ ลุ่ ม เพื่ อ รองรั บ ระดั บ นํ้ า การบำ�รุงรักษากำ�แพงกัน้ นํา้ และเขือ่ นกัน้ นํา้ ตาม โครงการเดลตา เวิรค์ ส์ ทีย่ าวกว่า 800 กิโลเมตร ให้อยูใ่ นสภาพดีเยีย่ ม และโครงการส่งเสริมบ้าน ลอยนํ้าบนเกาะจำ�ลอง IJburg ก็เป็นอีกทาง เลือกหนึง่ เพือ่ ป้องกันประชาชนจากหายนะนํา้ ท่วม นักอุตุนิยมวิทยา Rik Leemans แห่ง มหาวิทยาลัยวาเก็นนิงเก้นกล่าวว่า “เราไม่มี เวลาวิตกกังวลเรื่องนี้เท่าคนอื่น เพราะแผ่นดิน ของเราตํา่ กว่ามาก วันนีเ้ ราต้องมองหาทางเลือก ในชีวิตเพื่อรับมือกับปัญหานี้” ซึ่งบ้านลอยนํ้า ก็เป็นคำ�ตอบของทางเลือกของประเทศ โดย ปัจจุบัน บริษัทสถาปนิกในอัมสเตอร์ดัมหลาย แห่ง ถือเป็นเจ้านวัตกรรมของเรือโนอาร์แห่ง ศตวรรษใหม่ โดยเฉพาะบริษัทวอเตอร์สตูดิโอ ที่ใช้เทคนิคเปลี่ยนวัสดุฐานรากของบ้านจาก เสาเข็มคอนกรีตเป็นการหล่อคอนกรีตให้เกิด โพรงแล้วแทนที่ด้วยโฟมด้านใน เพื่อให้ลอยขึ้น ลงได้เวลานํ้าท่วมถึง โดยบ้านทั้งหลังจะยึดติด กับเสาหลักและขึ้นลงได้ตามแนวตั้งของเสา หลักนี้ โดยสามารถเลื่อนขึ้นได้สูงถึง 18 ฟุต หรือประมาณ 6 เมตร ส่วนระบบสาธารณูปโภค ทั้ ง หมดนั้ น เดิ น ผ่ า นท่ อ พี วี ซี ที่ อ อกแบบให้ ยืดหยุ่นกับการขึ้นลงของกระแสนํ้า นอกจากนี้ ยั ง เพื่ อ ความสบายของคนในบ้ า นด้ ว ยการ ออกแบบที่ประยุกต์ใช้ wave damper หรือตัว ดูดซับแรงสะท้อนจากคลื่นที่ใช้ในเรือยอร์ชมา ใช้ในตัวบ้านด้วย


Creative City

จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

เดิมทีในช่วงทศวรรษ 1970 บ้านลอยนํ้า เป็นตัวแทนของกลุ่มฮิปปี้ที่รักความเสรี แต่ใน ช่วงสิบปีมานี้ ราคาของบ้านลอยนํา้ กำ�ลังสูงขึน้ เนื่องจากความต้องการของตลาด เฉพาะใน อัมสเตอร์ดัมมีผู้อยู่ในทะเบียนบ้านลอยนํ้าแล้ว ประมาณ 2,500 หลัง ซึ่งโครงการเกาะจำ�ลอง IJburg ที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกของอัมสเตอร์ดัม จะรองรั บ บ้ า นและประชากรได้ เ ต็ ม ที่ ร าว 45,000 คน ในปี 2020 ดังนั้น เมื่อถึงเวลาที่ นํ้าท่วม เรือโนอาร์แห่งดัตช์อาจจะลอยลำ�อยู่ก็ เป็นได้

มหานครแห่งนํ้า ทั ก ษะการจั ด การนํ้ า อั น เยี่ ย มยอดของชาว อัมสเตอร์ดมั ได้ถกู ถ่ายทอดออกมาในปี 2010 เมื่อ อัมสเตอร์ดมั ประกาศให้เป็นปี Water Sensation ของเมือง ตลอดทั้งปีเมืองแห่งนี้เต็มไปด้วย กิจกรรมที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างเมือง กับนํ้าในแง่มุมต่างๆ ใน 4 มิติ ได้แก่ เรื่องราว

ของการนันทนาการผ่านกิจกรรมแล่นเรือใน ทะเลและคูคลองวงแหวนรอบเมือง เรือ่ งราวของ วัฒนธรรมและการออกแบบผ่านงานสถาปัตยกรรม ตามแนวคลอง การแสดงดนตรี และงานศิลปะ ในพิพิธภัณฑ์เล็กใหญ่ทั่วเมือง ขณะที่ประเด็น เทคโนโลยีและนวัตกรรม มุ่งเน้นการแสดงผลงาน ที่เกี่ยวข้องกับการเอาชนะและต่อสู้กับระดับนํ้า ทะล และสุดท้ายคือการอยู่ร่วมกันอย่างสมดุล ระหว่างเมืองกับนํา้ ทีพ่ ดู ถึงการพัฒนาพลังงาน สะอาดอย่างยัง่ ยืน ระบบภัตตาคารสีเขียว รวมถึง ระบบการจัดการนํ้าประปาสำ�หรับพลเมืองและ ชาวโลก ศาสตร์ ค วามรู้ เ รื่ อ งการจั ด การนํ้ า ของ เนเธอร์แลนด์นั้นกว้างไกลและลึกซึ้ง ระบบ ประปาสำ�หรับนํ้าดื่มนํ้าใช้ที่จะป้อนให้ชาวโลก นัน้ ไม่ใช่เรือ่ งล้อเล่น และเนเธอร์แลนด์กเ็ ป็นเพียง ประเทศเดียวในโลกที่มีกระทรวงบริหารจัดการ นํ้าโดยตรง (Ministry of Transport, Public Worksand Water Management) ยิ่งกว่านั้น มกุฏราชกุมารเจ้าชายวิลเลี่ยม อเล็กซานเดอร์

ปี 2007-2008 กลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์สร้างรายได้ให้แก่เมืองอัมสเตอร์ดัมถึง 5.5 พันล้านยูโร จากแรงงาน 40,000 คน นอกจากนี้ยังมีการจ้างงานใหม่เพิ่มอีก 1,322 ตำ�แหน่ง คิดเป็นร้อยละ 4.2 ที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า มีบริษัทต่างชาติเข้ามาตั้งสำ�นักงานในอัมสเตอร์ดัมกว่า 1,400 แห่ง ในจำ�นวนนี้เป็นบริษัทระดับ สำ�นักงานใหญ่ของกลุ่มประเทศยุโรปมากกว่า 150 แห่ง บริษทั ต่างชาติมอี ตั ราการจ้างงานร้อยละ 15 ของการจ้างงานทัง้ หมดในอัมสเตอร์ดมั โดยสร้างรายได้ มากกว่าร้อยละ 25 ให้แก่เมือง ขณะที่ลูกจ้างของบริษัทต่างชาติเหล่านี้มีผลตอบแทนเฉลี่ยสูงกว่า ลูกจ้างในบริษัทดัตช์ (บริษัทต่างชาติ 111,200 ยูโร บริษัทดัตช์ 96,800 ยูโร) และบริษัทต่างชาติใน อัมสเตอร์ดัม สร้างผลกำ�ไรได้สูงกว่าที่อื่นๆ ในภูมิภาคยุโรปถึงร้อยละ 9 ทุกๆ ปีจะมีนักศึกษาจบใหม่จากโรงเรียนศิลปะสาขาต่างๆ ทั้งการละคร การออกแบบ ภาพยนตร์ จิตรกรรม ฯลฯ ในอัมสเตอร์ดมั ถึง 200 คน โดยนักสร้างสรรค์ในแขนงต่างๆ นี้ ได้รบั การสนับสนุน จากหน่วยงานภาครัฐอย่างสำ�นักงาน Broedplaatsen ทีส่ นับสนุนและช่วยเหลือด้านต่างๆ ตัง้ แต่พน้ื ที่ แสดงงาน การบริหารจัดการ คำ�แนะนำ�ทางการเงิน โดยร่วมมือกับนักออกแบบและนักสร้างสรรค์ มืออาชีพ เช่น Kauwgomballenfabriek Art Factory, NDSM DOCKS: A Cultural Incubator ฯลฯ เพื่อให้พวกเขาก้าวไปสู่การเป็นเจ้าของสตูดิโอของตนเอง ที่มา: Amsterdam Tourism & Convention Board, August 2009

รัชทายาทแห่งเนเธอร์แลนด์ ก็ทรงสำ�เร็จการ ศึกษาสาขาบริหารจัดการนํา้ และเป็นผู้เชี่ยวชาญ ในสาขานี้โดยเฉพาะด้วย อุตสาหกรรมนํ้าและ การจัดการนํ้าของประเทศนี้จึงมีมูลค่าสูงถึง 60,000 ล้านยูโร มีบริษัทมืออาชีพจำ�นวนมาก ทีข่ ายเทคโนโลยีให้แก่ประเทศต่างๆ ทัว่ โลก เช่น VanOord, Lokinkiike Boskalis Westminter, Ballast Nedam และล่าสุดบริษทั สัญชาติอเมริกนั อย่าง IBM Global Center of Excellence for Water Management ก็ได้เข้าร่วมแบ่งชิ้นเค้ก โดยการเข้าไปตั้งบริษัทในอัมสเตอร์ดัมเพื่อหวัง ใช้ประสบการณ์อันเชี่ยวกรากของชาวดัตช์ให้ เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจ ด้ ว ยเหตุ ข องการแข่ ง ขั น ภาคเอกชนที่ กำ�ลังไหลเชี่ยว ยิ่งเป็นตัวผลักดันให้การพัฒนา นวัตกรรมใหม่ๆ ด้านทรัพยากรนํา้ ของประเทศ นี้เดินหน้าไกลออกไปเรื่อยๆ อย่างที่ไม่มีสิ่งใด อาจขวางกั้น

บันทึกใหม่ของเหล่ากะลาสี ในบั น ทึ ก ประวั ติ ศ าสตร์ ข องนั ก เขี ย นชาว อังกฤษในศตวรรษที่ 17 ได้เขียนบรรยายถึง ชาวเมืองอัมสเตอร์ดมั ไว้อย่างน่าชิงชังว่า “พวกเขา มีชวี ติ เหมือนกบ ครึง่ บกครึง่ นํา้ และเป็นได้กแ็ ต่ เพียงพวกกะลาสีเรือ” บางทีลูกหลานของเหล่า กะลาสีเรือเหล่านี้อาจกำ�ลังทำ�ให้โลกเห็นว่า พวกเขาสามารถเอาชนะคำ�สบประมาทเมื่อ ครัง้ นัน้ และพวกเขายังพิสจู น์ได้วา่ การเอาชนะ ธรรมชาติและอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขนั้นไม่เกิน ศักยภาพของเหล่ากะลาสีเรือแต่อย่างใด ที่มา: PROUD Amsterdam second Edition 2008 บทความ The Netherlands: A dam good place to live (2005) จาก www.independent.co.uk. บทความ Keeping afloat on the Dutch property market (2007) จาก www.expatica.com เครื่องเทศ: ประวัติศาสตร์รสจัดจ้าน (2553) แปลโดย สุนิสา กาญจนกุล จาก The Taste of Conquest: The rise and fall of the three great cities of spice (2007) โดย Michael Krondl สิงหาคม 2554

l

Creative Thailand

29


The Creative

มุมมองของนักคิด

จรวย พงษ์ชีพ / ลุงดำ� นํ้าหยด เรื่อง: กมลกานต์ โกศลกาญจน์ ภาพ: กัลย์ธีรา สงวนตั้ง ชาวสวนอายุ 78 ปีคนนี้คือนายจรวย พงษ์ชีพ เจ้าของสมญานาม “ดำ� นํ้าหยด” เกษตรกรที่เคยได้รับพระราชทานโล่รางวัลคนไทย ตัวอย่างเมื่อปี 2522 และชาวสวนที่มสี ายตาเช่นเดียวกับนักวิทยาศาสตร์ ที่สามารถนำ�ความรูม้ าผสมผสานกับภูมปิ ญ ั ญา ด้วยการริเริม่ ใช้ระบบ “นา้ํ หยด” เป็นคนแรกในประเทศไทย การมองการณ์ไกลยังทำ�ให้ลงุ ดำ� เป็นชาวสวนคนแรกที่นำ�พันธุ์เงาะโรงเรียนมาปลูกในภาคตะวันออก ก่อนจะแปลงมูลค่าจากสวนเพียง 20 ไร่ สู่การเป็นเจ้าของสวนผลไม้ และไร่กาแฟกว่า 160 ไร่ในจันทบุรี ที่พ่วงมาด้วยตำ�แหน่งเจ้าของ กิจการ เกาะช้าง พาราไดซ์ รีสอร์ท แอนด์ สปา

อะไรที่ทำ�ให้เกษตรกรความรู้ระดับประถมศึกษาคนนี้ มีแนวคิดและ วิธีการปฏิบัติที่สร้างปรากฏการณ์ให้กับการเกษตรของไทยได้อย่างไม่ หยุดหย่อน แนวทางแห่งการอยู่ร่วมกับธรรมชาติ สัญชาตญาณแห่งการ สังเกต ความกล้าที่จะทดลองและใช้งานจริง การศึกษาข้อมูลอย่างไม่ หยุดนิง่ เพือ่ ค้นหาทางแก้ไขปัญหา ล้วนเป็นบทบาททีห่ ลากหลายซึง่ หักเห เส้นทางของ “เกษตรกรชาวบ้าน” สูม่ ติ อิ กี ด้านในการเป็น “ครีเอทีฟชาวสวน” 30

Creative Thailand

l สิงหาคม 2554

จุดเริ่มต้นของระบบนํ้าหยดเกิดขึ้นได้อย่างไร เมือ่ ก่อนการขยายพืน้ ที่ทำ�สวน มันมากเกินกว่านํา้ ธรรมชาติทม่ี อี ยู่ เมือ่ ก่อน ทำ�สวนต้องอาศัยนํ้าฝน นํ้าจากแม่นํ้า ลำ�ธาร แล้วก็นํ้าบ่อที่เรียกว่านํ้า หน้าดิน เราไม่มกี ารสำ�รวจการใช้นา้ํ จากหน้าดินว่ามันขาดหรือเกินเท่าไหร่ ไม่เคยวิเคราะห์ว่าต้นไม้กินนํ้าวันละกี่ลิตร ก็ให้นํ้าเผื่อๆ ไป การขยายตัว ของนํ้าเลยไม่สมดุล แล้วก็ขาดแคลน จนต้องมาแก้ปัญหา ซึ่งก็คิดได้ หลังจากเห็นท่อนํ้าที่ต่อไว้เกิดรั่วและหยดอยู่ตรงโคนต้นเงาะต้นหนึ่ง มัน หยดอยู่อย่างนั้น ทั้งๆ ที่เราไม่ได้ให้นํ้า แต่เงาะต้นนั้นมันก็งามดี ผมเลย เห็นทางออกว่าทุกอย่างมันมีข้อจำ�กัด อย่างเราๆ วันหนึ่ง มื้อหนึ่ง เรา กินได้เท่าไหร่ เราก็กินเท่านั้นเอง ต้นไม้ก็เหมือนกัน เพียงแต่เขาพูดไม่ได้ เราให้นํ้าก็เหลือทิ้งเปล่าประโยชน์ เลยคิดระบบนํ้าหยดขึ้นมา จากนั้นผมก็เริ่มศึกษาโดยไปดูว่าทางราชการมีข้อมูลอะไรให้บ้าง เริ่มทดลองใช้ลูกรอกให้นํ้าเกลือในโรงพยาบาล มาต่อเข้ากับแท้งก์แล้ว หยดนํา้ แต่พอหยดแล้วมันเกิดปัญหา เพราะท่อพีวซี ที ใ่ี ช้นา้ํ หยดมันไม่ได้ ทำ�มาเพื่อการเกษตร ลูกรอกมันก็ล็อกไม่ได้ เดินปรับทั้งวันก็ไม่ไหว เลย คิดขึ้นมาใหม่ว่าจะทำ�ข้อต่อให้เป็นเกลียวพลาสติกแข็งให้ปรับรูหยดได้


The Creative

มุมมองของนักคิด

ซึ่งก็หยดดี เราก็นึกว่าประสบความสำ�เร็จแล้ว แต่ทำ�ได้อาทิตย์เดียว ตะไคร่นํ้าจับ ซึ่งพอมีปัญหาเราก็แก้อีก ก็ต้องมาศึกษาว่าตะไคร่นํ้าเกิด จากอะไร เป็นพืชชนิดหนึ่งใช่ไหม พืชมีปัจจัยอะไรบ้าง แสงแดด นํ้า อาหาร 3 อย่าง ถ้ามันขาดแค่ตัวเดียว มันจะโตไม่ได้ ผมก็ตัดท่อสีดำ�ไป สวมเข้ากันแดด มันก็แก้ได้ แล้วกลายมาเป็นธุรกิจอย่างตอนนี้ได้อย่างไร เมื่อมีพื้นฐานเรื่องระบบนํ้าหยด ผมก็ศึกษาเพิ่มเรื่องสปริงเกอร์ ตอนนั้น เมืองไทยยังไม่มีขาย เลยไปปรึกษากับผู้ใหญ่ในกรมส่งเสริมฯ เขาก็ว่า อุปกรณ์นี้มันน่าจะใช้ได้ ของเดิมมันทำ�จากโลหะ ค่าใช้จ่ายมันสูง ผม เลยออกแบบใหม่ให้เป็นพลาสติก ทั้งอ่าน ทั้งศึกษา และใช้งานจริง เพราะถ้าใช้งานจริงแล้วมีปัญหาเราได้คิดหาทางแก้ สปริงเกอร์ทั้งหลาย ที่มีในโลก ผมก็เอามาดู ตรงไหนเป็นจุดเด่นก็นำ�มาใช้ จุดด้อยเราก็ตัด ออก ต่อมามีปัญหาเรื่องวัตถุดิบเพราะพลาสติกมีหลายประเภท จะไป ถามโรงงานผลิต เขาก็ไม่บอกเรา เลยไปถามร้านขายเม็ดพลาสติก ไปคุย ว่ามีโครงการจะใช้เยอะ แล้วก็ศกึ ษาจากร้านขายเม็ดพลาสติกนีแ่ หละจนรู้ หมดว่าถ้าทนแดดต้องใช้ตัวไหน มีปัญหาแบบไหนต้องใช้อะไร จากนั้น ถึงมาตั้งโรงงานเอง ไปซื้อเครื่องฉีดพลาสติกมือสองเก่าๆ มาสองเครื่อง ไปจ้างเขาทำ�ต้นแบบ แล้วเอามาฉีดเอง โดยไปคุยกับคนสร้างเครื่องให้ เขาสอนวิธีการฉีดพลาสติกว่าทำ�ยังไง ตั้งค่าความร้อนเท่าไหร่ หล่อเย็น ยังไง แล้วก็เริม่ ขยายจากเครือ่ งธรรมดามาใช้แผงคอมพิวเตอร์ควบคุม ปัจจัยที่ทำ�ให้ธุรกิจสำ�เร็จได้อย่างทุกวันนี้คืออะไร การทำ�งานทุกอย่างมันต้องมีพันธมิตร ต้องเป็นมิตร ต้องจริงใจ คืออย่าง เราค้าขาย ใครๆ ก็ค้าได้ แต่ทำ�อย่างไรถึงให้ลูกค้าอยากมาซื้อกับเรา มี อยู่อย่างเดียวคือเขาอยากได้อะไร เราก็ให้เขาไป อย่างผมทำ�ร้านแล้วมี คนมาซื้อ ผมก็ถามว่าเอาไปทำ�อะไร บางอย่างไม่น่าซื้อ ผมก็พูดว่าคุณ อย่าซื้อไปเลย คือไม่ใช่ว่าสักแต่ขายๆ ไป แต่เราต้องเห็นใจเขา แล้วถ้า เขาไม่รู้เราก็ต้องแนะนำ�ให้

ผมเป็นชาวสวนแต่อยากทำ�รีสอร์ท คนอื่นมีเงินเยอะแยะเป็นหลายๆ ล้าน เขาก็ทำ�ใหญ่ ปรับภูมิทัศน์นู่นนี่ แต่ผม ไม่ต้องไปแข่งเรื่องพวกนี้ เรามีความรู้ เรื่องต้นไม้ เราก็น่าจะเอาต้นไม้ไปแข่ง กับตึก แล้วอะไรทีท่ ำ�ให้หนั มาจับธุรกิจการทำ�รีสอร์ทบนเกาะช้าง เริ่มจากหลังๆ มานี่ผมชอบไปท่องเที่ยวต่างประเทศแล้วก็สนใจเรื่องการ ท่องเทีย่ วมากขึน้ พอเห็นว่าเราเองก็มธี รรมชาติทส่ี มบูรณ์ แค่ปรับภูมทิ ศั น์ ให้ดีให้สมบูรณ์อย่างที่ธรรมชาติสร้างไว้ให้แล้วก็ไม่ไปทำ�ลายมัน ก็น่าจะ เป็นธุรกิจได้ ผมเป็นชาวสวนแต่อยากทำ�รีสอร์ท คนอื่นมีเงินเยอะแยะ เป็นหลายๆ ล้าน เขาก็ทำ�ใหญ่ ปรับภูมิทัศน์นู่นนี่ แต่ผมไม่ต้องไปแข่ง เรือ่ งพวกนี้ เรามีความรูเ้ รือ่ งต้นไม้ เราก็นา่ จะเอาต้นไม้ไปแข่งกับตึก ก็ทำ� รีสอร์ทเป็นหลังเดี่ยวๆ ทีแรกก็ไปปรึกษาอาจารย์ก่อน ให้เขามาจัดสวน ให้ พอเขาจัดให้สวยเรียบร้อยเขาก็ไป แต่เขาไม่ได้มารู้ว่าตรงนี้ควรจะ ปลูกไม้อะไร ดินทราย นํ้าน้อยยังไง เขาไม่ได้ศึกษา เขาเอาแต่ความ สวยงาม แต่สวนสวยๆ ที่ไหนก็มี สวนโง่ๆ สิไม่ค่อยมี ผมก็ปลูกเละเลย เป็นสิบๆ อย่าง อาศัยพื้นฐานชาวสวนศึกษาว่าไม้แต่ละอย่างต้องการ แสงแดดแบบไหน ปลูกให้ไม้ชอบแดดอยู่ข้างบน จะได้บังไม้เล็กที่ปลูก ข้างล่าง ซึ่งก็ไม่ใช่ว่าจะใช้ได้ทุกอย่าง แต่มันจะมีอย่างเดียวที่ดีที่สุด คุณลุงมีวิธีจัดการกับระบบนํ้า ทั้งนํ้าจืด และนํ้าเสียในรีสอร์ทอย่างไร ผมปลูกต้นไม้ในรีสอร์ท ให้นํ้าให้ปุ๋ยเหมือนสวนผลไม้ พอทำ�เสร็จมันก็มี ปัญหาเรื่องนํ้าเสีย ปกติการทำ�รีสอร์ทจะมีถังบำ�บัด ใช้จุลินทรีย์ช่วย แต่ มันก็ไม่ดีเท่าที่ควร ผมก็คิดว่าเราน่าจะเอาต้นไม้มากินนํ้าเสีย แล้วไม้ที่ กินนํ้าเยอะก็คือปาล์มนํ้ามัน พอดีเพื่อนผมปลูกปาล์มนํ้ามันเหลืออยู่ 50 ต้น ก็เลยเอามาปลูกเป็นแนวรับนํ้าเสีย ตอนนี้ปาล์มผมเลยต้นใหญ่มาก ซึง่ ก็ให้รม่ เงา ให้ความร่มรืน่ ช่วยกันลมได้ดี คือต้องทำ�ไปคิดไป อีกอย่าง ผมโชคดีที่ซื้อที่ตรงนั้นเพราะเป็นแหล่งนํ้าที่ดีที่สุด ตอนแรกก็ไม่รู้ รู้แต่ว่า เราชอบ มองแค่ว่าที่ตรงนี้หน้าหาดมี 16 ไร่ หลังหาดมี 30 กว่าไร่ แต่เขา ขายราคาเดียวกัน มืออาชีพบอกว่าเขาจะซื้อเฉพาะหน้าหาด หลังหาด เขาไม่เอา แต่ผมมองสวนทาง เพราะผมชอบธรรมชาติ เขาอาจจะต้องการ หน้าหาด แต่ผมต้องการต้นไม้ ซึ่งที่ที่ได้มานี่มันมีแหล่งนํ้าลึกเว้าเข้าไป กลายเป็นแหล่งนํ้าซับ เรื่องนํ้าจืดเลยไม่ต้องกังวล

สิงหาคม 2554

l

Creative Thailand

31


The Creative

มุมมองของนักคิด

ความรู้คือปัญญา ได้ปัญญา ก็จะหาเงินได้ แต่ถ้าคุณได้เงิน ไม่ว่าเท่าไหร่คุณก็ใช้หมด

ตอนนี้คุณลุงทำ�โครงการอะไรใหม่ๆ อยู่บ้าง ใครๆ ก็ทำ�รีสอร์ท ผมก็เริ่มมองว่าเราจะเอาอะไรไปสนับสนุนรีสอร์ท ผม ก็ปลูกดอกไม้ในสวนผม เอาดอกไม้ไปตกแต่ง ปลูกไม้ผลอย่างกล้วยหอม กล้วยไข่ ให้แขกฝรัง่ กิน พอเหลือก็เอาไปขายบ้าง เอาไปทำ�เค้กกล้วยหอม ทำ�กล้วยหอมชุบแป้งทอดขายบ้าง หลังๆ ก็ปลูกฟักข้าวเพิม่ ลูกอ่อนเอาไป แกงส้ม แกงอ่อม จิ้มนํ้าพริก เพราะคนเดี๋ยวนี้จะกินอะไรต้องศึกษาว่ามี ประโยชน์ ซึ่งฝรั่งเขาวิจัยมาแล้วว่าเนื้อข้างในมันมีคุณค่าทางอาหารสูง กว่ามะเขือเทศตั้งสิบเท่า มีสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็งได้ แล้ว ก็ปลูกเสาวรสเพิ่ม เอามาผสมกับนํ้าฟักข้าว เป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ เอาไปใช้ในรีสอร์ท แล้วก็ยังมีไร่กาแฟ 20 กว่าไร่ ปลูกมา 24 เดือน ได้ กาแฟ 2 ตันครึ่ง โม่แล้วเหลือ 700-800 กิโลกรัม ตอนนี้เราจ้างเขาคั่ว กาแฟจากไร่เข้าไปรีสอร์ท ส่วนที่เหลือก็เอามาขาย

32

Creative Thailand

l สิงหาคม 2554

จากวันแรกที่เริ่มต้นจนถึงวันนี้ คุณลุงเอาความรู้ไปพัฒนาชุมชนอย่างไร การทีเ่ ราอยูใ่ นสังคม ไม่ใช่มงุ่ หวังหาเงินหรือกอบโกยจากสังคมอย่างเดียว ส่วนหนึ่งต้องให้สังคมบ้าง ถามว่าทรัพย์สินที่ผมมีอยู่ ใครให้ผม ก็สังคม ให้ผม สังคมมาซื้อท่อผม ผมได้ทุนไปทำ�ต่อ ฉะนั้นเราต้องนึกถึงส่วนนี้ ส่วนหนึ่ง ส่วนที่เหลือผมเน้นให้การศึกษา คือเราไม่นิยมการแจกเงิน แต่ เราพยายามสร้างคน คือให้คนทำ�มาหากิน ช่วยเหลือตัวเอง เพราะการ เอาเงินมาช่วยเหลืออย่างเดียวมันไม่ใช่ เราต้องให้ปญั ญาเขาก่อน บางคน ว่าผมรวยแล้ว ผมทำ�อะไรก็ได้ ผมถามว่าถ้าผมมีทนุ ถ้าผมรวยแล้ว ผมจะ ทำ�ทำ�ไม เพราะผมจะทำ� ผมเลยต้องหาความรู้ เพราะความรู้คือปัญญา ได้ปัญญาก็จะหาเงินได้ แต่ถ้าคุณได้เงิน ไม่ว่าเท่าไหร่คุณก็ใช้หมด วันนี้ เกษตรกรจนเพราะทำ�ตัวเป็นนักธุรกิจ ผลไม้ให้ผลปีละครั้ง คุณก็ปลูก อย่างอื่นที่ขายได้ แผ่นดินมันว่างคุณก็ปลูก เพราะเมืองเราจะร้อนก็ไม่ ร้อน หนาวก็ไม่หนาว ผมว่าต้นไม้โยนอะไรไปมันก็งอก แต่โยนเมืองนอก มันไม่งอกนะ ลองดูสิ เวลานี้คนเมืองจันท์นี่เป็นคนต่อนํ้าได้เกือบทั้งเมือง ตอนแรกก็ทำ�ไม่ เป็นกัน แต่พอเราคิดระบบนํ้าหยดได้ เราก็ทำ�เป็นโบรชัวร์แจกเขา แล้ว ก็ไปเป็นวิทยากรพูดเรื่องวิธีต่อนํ้าทั่วเมืองจันท์ ลำ�พูนผมก็ไป ไปถึง ลาดกระบัง แล้วก็ยังไปสาธิตถึงนาสาน (จ.สุราษฏ์ธานี) หาดใหญ่ สงขลา นราธิวาส ไปทำ�ให้เขาดูว่ามันหน้าตาเป็นแบบนี้ ทำ�อย่างนี้ พอเขาเอาไป ใช้ก็ได้ผล จนมีบริษัทในกรุงเทพฯ ก็อปปี้กันใหญ่ (หัวเราะ) ซึ่งความจริง ระบบนํ้าหยดมันมีมานานแล้ว ไม่ใช่ของใหม่หรือของเก่า แต่เขายังไม่มี ปัญหากัน เลยไม่ใช้ ส่วนผมมีปัญหา ก็เลยต้องคิดแก้ปัญหาของผม ความคิดเห็นของคุณลุงในเรื่องความสำ�คัญของธรรมชาติ กับการใช้ชีวิต ของมนุษย์ คนไทยโชคดีทส่ี ดุ ทีอ่ ยูต่ รงนี้ แต่เพราะความโชคดีของเราทำ�ให้เราไม่ดน้ิ รน ภูมิศาสตร์มันมีส่วนกำ�หนดสังคม กำ�หนดรูปแบบการใช้ชีวิต อย่างฝรั่ง เวลาหนาวเขาหนาวมาก ร้อนก็ร้อนมาก ทรัพยากรเขาจำ�กัด พวกนี้ต้อง ดิ้นรนต่อสู้ ถ้าอย่างผมเกิดมามีสตางค์เยอะๆ ผมจะมาคิดทำ�ไม ที่เรา มาอยู่ตรงนี้ก็เพราะใครก็ช่วยเราไม่ได้ ต้องคิดต้องทำ�เอง ของทุกอย่าง มันต้องหา ไม่ใช่เอาแต่แบมือรับ ผมบอกเลยว่า ถ้าอยู่เมืองไทยแล้วไม่ พอกิน คุณไม่ต้องไปอยู่ส่วนไหนของโลกแล้ว เพราะไม่ทำ�อะไรก็ยังมีกิน เลยเมืองไทย ขอแค่รู้จักคิด รู้จักดิ้นรนต่อสู้ ยิ่งถ้าจัดสรรดี เราจะมีกินไม่ หวาดไม่ไหว


The Creative

มุมมองของนักคิด

Google.com ผมตืน่ ตี 4 ทุกวัน ถ้ามีเวลาส่วนมากก็อา่ นหนังสือ ถ้าไม่กเ็ ข้าอินเทอร์เน็ต อยากรูเ้ รือ่ งของอะไรก็พมิ พ์ ลงไป ผมชอบหาข้อมูลจากกรมส่งเสริมฯ (กรมส่งเสริมการเกษตร) กรมวิชาการฯ (กรมวิชาการ เกษตร) โปงลางสะออน ผมว่าเวลาผมทำ�งานมาเหนือ่ ยๆ มันเครียด ผมก็เปิดโปงลางสะออน หรือพวกเซิ้งกระติ๊บ เพลงอีสาน เพลงเหนือ เพลงมันเย็นๆ ช้าๆ ดี ข่าวการเมือง เราในฐานะเป็นคนไทย เราต้องรูว้ า่ บ้านเมืองเป็นอย่างไร อะไรอยูต่ รงไหนใครเป็นผูน้ ำ� คือเป็นหน้าที่ ของเรา ผมศึกษาไม่ใช่เพราะผมอยากเป็นนักการเมือง แต่ผมเป็นคนไทย มวย ผมชอบดูมวยสากล มวยโลก ชิงแชมป์โลก ทัง้ ต่างประเทศ ทัง้ แข่งในไทย ชอบดูเวลาว่างๆ

PART OF VILLEROY AND BOCH GROUP WWW.NAHM-SANITARYWARE.COM

ในยุคของความเรงแรงและแขงขัน การสราง เรื่องราวผานการเดินทาง และเรียนรูตอการ เปลีย่ นแปลงของทุกสิง่ รอบตัว โดยใหอตั ลักษณ เปนสิง่ คงคุณคาทีส่ รางรสนิยมไมใหหลุดลอยไป ในกระแสแหงการบริโภค สิงหาคม 2554

l

Creative Thailand

33


Creative Will คิด ทํา ดี

เรื่อง: กมลกานต์ โกศลกาญจน์

ภาพจาก Flickr โดย Nestlé

จากการสรรค์สร้างผลิตภัณฑ์นา้ํ ดืม่ บรรจุขวดทีไ่ ด้รบั การยอมรับ ระดับโลกด้วยคุณภาพและกระบวนการผลิตที่สร้างความเชื่อ มั่นให้กับผู้บริโภคมายาวนาน ล่าสุด เนสต์เล่ วอเตอร์ ฝรั่งเศส ได้เคลื่อนองค์กรให้ไหลเลื่อนไปตามสายธารแห่งการอนุรักษ์ ด้วยการดำ�เนินโครงการ The Pure Project เพื่อคืนต้นทุนสู่ ธรรมชาติพร้อมชดเชยการปล่อยพลังงานเสีย โดยร่วมมือกับ นักสิง่ แวดล้อมรุน่ ใหม่ ทริสตองค์ เลอกงต์ เจ้าของบริษทั อัลเทอร์ อีโค ที่ประสบความสำ�เร็จจากการสนับสนุนอย่างจริงจังในการทำ� ธุรกิจแบบแฟร์เทรด

เพราะขั้นตอนการผลิตนํ้าแร่แบรนด์ดังอย่างวิทเทล (Vittel) ในฝรั่งเศส และเบลเยี่ยมนั้นก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนถึง 115,000 ตันต่อปี เนสต์เล่จึง เลือกที่จะชดเชยผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมนี้ด้วยการออกทุนจำ�นวน 409,000 ยูโร ให้กับโครงการปลูกต้นไม้กว่า 350,000 ต้น บนพื้นที่ป่าฝน เขตร้อนแห่งลุ่มแม่นํ้าแอมะซอนในโบลิเวีย รวมทั้งการปลูกป่าที่เปรูเพื่อ ช่วยเหลือเกษตรกรทีป่ ลูกโกโก้ในหมูบ่ า้ นซานตา โรซ่า และชุมชนทีอ่ าศัย อยูใ่ นบริเวณลุม่ แม่นา้ํ อัวยาบามบา ซึง่ เป็นบริเวณทีม่ กี ารตัดไม้ทำ�ลายป่า อย่างรุนแรงที่สุดแห่งหนึ่ง The Pure Project แก้ไขปัญหาด้วยการลงทุน จ่ายเงินเพื่อ “ซื้อ” กล้าไม้ทุกต้นในราคา 30 เซนต์ที่อยู่ในพื้นที่ เพื่อรักษา จำ�นวนต้นไม้ให้อยูร่ ะหว่าง 85-1,111 ต้นต่อเฮกตาร์ ซึง่ นับเป็นการให้เงิน กองทุนสำ�หรับเกษตรกรที่เกษียณแล้ว และยังช่วยฟื้นฟูสภาพดินที่ถูกเผา และพังทลายไปในตัว นอกจากนี้ ทริสตองค์ยังให้ความสำ�คัญกับการ ปลูกไม้ใหญ่เนือ้ แข็งอย่างต้นสักหรือต้นสนซีดาร์ ซึง่ ให้รม่ เงาทีด่ ตี อ่ ต้นกล้า โกโก้ เพื่อให้เกษตรกรได้รับค่าตอบแทนจากการขายเมล็ดโกโก้ต่อปีที่มี ยอดสูงถึง 2,000 กิโลกรัมต่อพื้นที่หนึ่งเฮกตาร์ และด้วยวิถีปฏิบัติเช่นนี้ จึงช่วยสร้างความสมดุลแก่ระบบนิเวศ ความหลากหลายทางชีวภาพ ตลอดถึงเป็นอีกช่องทางในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดจาก ภาวะโลกร้อนในปัจจุบัน 34

Creative Thailand

l สิงหาคม 2554

ภาพจาก http://www.google.com/news

จากวัตถุประสงค์แรกเริ่มของเนสต์เล่ วอเตอร์ ฝรั่งเศส ที่ต้องการ ปลูกต้นไม้เพือ่ ชดเชยการปล่อยก๊าซคาร์บอนนัน้ ได้ขยายขอบเขตสูค่ วาม ยั่งยืนยิ่งขึ้นผ่านการหยิบยื่นความเป็นอยู่ที่ดีให้แก่เกษตรกร ไปพร้อมๆ กับการต่อลมหายใจให้กบั พืน้ ทีป่ า่ ไม้ในระยะยาว เพือ่ คงความเป็นสมบัติ ลํ้าค่าที่จะสร้างประโยชน์ต่อไปสู่คนรุ่นหลัง และในอีก 5 ปีข้างหน้า โครงการนี้จะทวีจำ�นวนต้นไม้ในป่าให้เพิ่มขึ้นสูงถึง 4 ล้านต้น เพื่อดูดซับ ก๊าซคาร์บอนจำ�นวน 2.3 ล้านตันก่อนลอยสู่ชั้นบรรยากาศ บนพืน้ ฐานแห่งการทำ�ความเข้าใจในธรรมชาติ และการค้นหาหนทาง ที่สามารถสร้างผลประโยชน์ร่วมกันของทุกฝ่าย ทำ�ให้การพัฒนาอย่าง ยั่งยืนไม่ได้หมายถึงผลตอบแทนทางธุรกิจเท่านั้น แต่ยังเป็นหนทางสู่การ สนับสนุนโครงสร้างทางสังคม สภาพแวดล้อม รวมถึงคุณภาพชีวิตที่ดีต่อ ไปในอนาคตเช่นกัน

ที่มา: บทความ Peru hails Western carbon offsetting programmes โดย Dan Collyns (http://news.bbc.co.uk)


สิงหาคม 2554

l

Creative Thailand

35


36

Creative Thailand

l สิงหาคม 2554


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.