Creative Thailand Magazine

Page 1

นิตยสารส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ผลักดันเศรษฐกิจไทย โดย

ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ สำ�นักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน)

CLASSIC ITEM แผนที่โลก

CREATIVE CITY กรุงเทพมหานคร

THE CREATIVE นิ้วกลม

กันยายน 2554 ปีที่ 2 | ฉบับที่ 12

แจกฟรี

กันยายน 2554

l

Creative Thailand

1


รวมเดินทางไปกับเรื่องราวบนรอยลอของจักรยาน…พาหนะเปยมเสนหที่เปนมากกวาแคการเดินทาง แตยังสงอิทธิพลตอการดำรงชีวิตของผูคนในสังคม และเปนตนทุนที่ตอยอดไปสูหลากธุรกิจสรางสรรคของวันนี้ Join us for an exploring ride on bicycle… a vehicle than means much more than a method of transportation. Its pivotal impact on society and the way of living has spawned a range of creative businesses today.

นิทรรศการขนาดย อม Mini Exhibition

SPIN AROUND

หองสมุดเฉพาะดานการออกแบบ (TCDC Resource Center) ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ ชั้น 6 ดิ เอ็มโพเรียม 10.30 – 21.00 (ปดวันจันทร) TCDC, 6th Fl., The Emporium, 10.30 – 21.00 (Closed Monday) (66) 2 664 8448 # 213, 214 www.tcdc.or.th หมายเหตุ: ผูสนใจเขาชมนิทรรศการที่ไมไดเปนสมาชิกหองสมุดเฉพาะดานการออกแบบ โปรดติดตอเคานเตอร Info Guru ดานหนาหองสมุด เพื่อรับบัตรเขาชมโดยไมเสียคาใชจาย Remark: For visitors who are non-member of the TCDC Resource Center, please contact the Info Guru counter in front of our library for the free tickets.

2

© Fritz Beck Creative Thailand

l กันยายน 2554


Who lives see much. Who travels see more. ผู้อยู่นานเห็นมาก ผู้ออกเดินทางเห็นมากกว่า สุภาษิตอาหรับ

กันยายน 2554

l

Creative Thailand

3


สารบัญ

บรรณาธิการอำนวยการ ที่ปรึกษา

The Subject

6

The Object

7

วัตถุดิบทางความคิด

8

Luxury Backpackers Tripadvisor.com Featured DVD / Books / Magazine

เปลี่ยนโลกรอบตัว

10

Classic Item

11

เรื่องจากปก

12

เมื่อเสนทางสายเกาบรรจบเทคโนโลยีสมัยใหม แผนที่โลก: Take Me Anywhere Next Destination ประสบการณใหมของการเดินทาง

อภิสิทธิ์ ไลสัตรูไกล กิตติรัตน ปติพานิช ชมพูนุท วีรกิตติ พิชิต วีรังคบุตร ศิริอร หริ่มปราณี มนฑิณี ยงวิกุล กนกพร เกียรติศักดิ์ วราภรณ วศินสังวร จรินทรทิพย ลียะวณิช ศุภมาศ พะหุโล พัชรินทร พัฒนาบุญไพบูลย เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร กริยา บิลยะลา กมลกานต โกศลกาญจน ชิดชน นินนาทนนท

บรรณาธิการบริหาร ผูชวยบรรณาธิการ กองบรรณาธิการ เลขากองบรรณาธิการ บรรณาธิการศิลปกรรม

จัดทําโดย ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (TCDC) ชั้น 24 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอร 622 สุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 โทร. 02 664 7667 แฟกซ. 02 664 7670 ติดตอลงโฆษณาไดที่ sale@tcdc.or.th

Insight

19

คิด ทำ กิน

20

จับกระแสเมืองสรางสรรค

22

แยกสี บริษัท 71 อินเตอรสแกน จำกัด โทร. 02 631 7171 แฟกซ. 02 631 7181

มุมมองของนักคิด

28

คิด ทํา ดี

33

พิมพที่ บริษัท คอมฟอรม จำกัด โทร. 02 368 3942-7 แฟกซ. 02 368 2962 จำนวน 50,000 เลม

โรงแรมบูติก เล็กๆ แตคุณภาพ Travel Channel Thailand กรุงเทพฯ ความวุนวายที่นาปรารถนา นิ้วกลม สราวุธ เฮงสวัสดิ์ REcreative

นิตยสารฉบับนี้ใชหมึกพิมพจากน้ำมันถั่วเหลืองที่ไมเปนอันตรายตอสุขภาพ ทั้งยังเปนมิตรตอ สิง่ แวดลอม และทีส่ ำคัญคือ เปนผลผลิตจากความคิดของผูป ระกอบการไทย

Media Partnerer

จัดทำภายใตโครงการ “CreativeThailand สรางเศรษฐกิจไทยดวยความคิดสรางสรรค” โดยศูนยสรางสรรคงานออกแบบ สำนักงานบริหารและพัฒนาองคความรู (องคการมหาชน) ซึ่งมีเปาหมาย ในการเผยแพรความรูเกี่ยวกับเศรษฐกิจสรางสรรค (Creative Economy) และผลักดันการใชความคิด สรางสรรคในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

4

อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส แสดงทีม่ า-ไมใชเพือ่ การคา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย Creative Thailand l กันยายน 2554

อานนิตยสารฉบับออนไลนและดูขอมูลเพิ่มเติมไดที่ www.creativethailand.org Email: creativethailand@tcdc.or.th Twitter: @Creative_TH Facebook: Creative Thailand


Editor's Note บทบรรณาธิการ

สวรรค์ของนักลงทุน ในเวลาที่ เ ศรษฐกิ จ อยู่ ใ นช่ ว งบี บ คั้ น จากภาวะ เงินเฟ้อนั้น เป็นธรรมดาที่นักลงทุนมักจะมองหา ลู่ ท างการต่ อ เติ ม เม็ ด เงิ น หรื อ สิ น ทรั พ ย์ ด้ ว ยวิ ธี อื่นเสมอ นอกเหนือจากการตั้งความหวังในอัตรา ดอกเบี้ยเงินออมของธนาคาร ซึ่งมักจะเป็นไปใน รู ป แบบของการขยั บ ขยายเงิ น ฝากสู่ ต ลาดหุ้ น พันธบัตรรัฐบาล การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ การ มองหาลู่ทางลงทุนทำ�ธุรกิจใหม่ๆ หรือแม้แต่การ เก็งกำ�ไรจากราคาทองคำ�ที่กำ�ลังเป็นที่นิยม แต่บางทีเส้นทางการลงทุนเพื่อความมั่นคง ของชีวิตก็มีความละเมียดมากกว่านั้น ความสุขอันเกิดจากการท่องเที่ยวถือเป็นการ ลงทุนในอีกรูปแบบหนึ่ง เพราะทุกครั้งของการ เดินทาง คนเรามักจะเติมเต็มตัวเองด้วยข้อมูลที่ อัดแน่นทั้งสถานที่กินและเที่ยว การคำ�นวณสกุล เงินหน้าตาไม่คนุ้ เคย การสือ่ สารด้วยภาษาต่างถิน่ รูปแบบสถาปัตยกรรมที่น่าพิศวง ไปจนถึงการ ช้อปปิ้งที่ต้องต่อรองกัน เรื่องราวทั้งหมดนี้ คือ คลังข้อมูลขนาดย่อมที่ค่อยๆ สั่งสมเป็นความรู้ และความเข้าใจต่อวิถีชีวิตของผู้คนจากที่อื่นๆ ความรู้จากประสบการณ์การเดินทางนี้ยังขยาย ความได้ไม่รู้จบ เพราะยิ่งช่างสังเกตก็ยิ่งเพิ่มพูน ยิ่งเปิดสายตาให้กว้างก็ยิ่งเปิดมุมมองให้แหลมคม

และมิอาจปฏิเสธได้เลยว่า หลายครั้งหลายหนที่ โลกได้ร่วมชื่นชมผลงานอันลํ้าเลิศจากนักคิดหรือ ศิลปินที่ล้วนได้แรงบันดาลใจจากการเดินทางของ พวกเขานั่นเอง ทุกวันนี้ นักเดินทางได้วิวัฒนาการความรู้ สำ�หรับการดำ�รงชีวติ ในสถานทีต่ า่ งถิน่ จนงอกเงย เป็นผลลัพธ์ที่หลากหลายทั้งในมิติทางธุรกิจและ การสร้างคุณค่าทางจิตใจ องค์การการท่องเที่ยวโลก (United Nations World Tourism Organization : UNWTO) คาดการณ์ว่า ในปี 2020 นักท่องเที่ยว ทั่วโลกจะออกเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ มากถึง 1,600 ล้านคน และคาดว่าเฉพาะในกลุ่มอาเซียน จะมีจำ�นวนประมาณ 160-200 ล้านคน โดยในปี 2015 ก็คาดว่าจะมียอดนักเดินทางแล้วกว่า 120 ล้านคน ซึ่งจากตัวเลขที่ปรากฏนี้ จึงกลายเป็น โอกาสของผู้ที่เห็นจุดหมายของการเดินทางทั้ง ทางธุรกิจ และความรืน่ รมย์ของการท่องเทีย่ วอย่าง ไม่ต้องสงสัย และเมื่อวิธีที่จะเรียนรู้ถึงแก่นแท้ของสถานที่ พิเศษ คือการเดินทางไป ดังนั้น เตรียมจัดกระเป๋า แล้วหยิบแผนที่เดินทางกันดีกว่าครับ อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล บรรณาธิการอํานวยการ

กันยายน 2554

l

Creative Thailand

5


The Subject

© Sergio Pitamitz/Robert Harding World Imagery/Corbis

เรื่อง: กมลกานต์ โกศลกาญจน์

การก้าวเท้าออกจากประตูบ้านโดยมีจุดมุ่งหมายคือประตู บานใหม่ ที่เป็นทั้งการพักผ่อน การรับรู้เรื่องราวที่น่าสนใจ หรือการเรียนรู้วิถีชีวิตที่ต่างออกไป สิ่งเหล่านี้ล้วนทำ�ให้ ทิศทางของการท่องเทีย่ วในปัจจุบนั เปลี่ยนแปลงไป การค้นหา ประสบการณ์ใหม่กลายเป็นกุญแจสำ�คัญที่กำ�หนดแนวโน้ม ในการนำ�ความพิเศษของแต่ละสถานที่ท่องเที่ยวมานำ�เสนอ ให้กับนักเดินทาง กระแสการท่องเที่ยวแบบ Luxury Backpackers นั้นกำ�ลังทะยานสู่การ เป็นที่นิยม ประสบการณ์อันลํ้าค่าคือเสน่ห์ที่เย้ายวนนักเดินทางอย่าง ได้ผล ไม่วา่ จะเป็นความรูส้ กึ พิเศษจากการท่องเทีย่ วแบบใกล้ชดิ ธรรมชาติ หรือการได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างการออกแคมป์ สำ�รวจชีวิตช้างในบอสซาวาน่า ที่ไม่ต้องแบกเป้หลายสิบกิโลและหาพื้นที่ กางเต็นท์ในป่าลึก แต่หมายถึงการมีหอ้ งพักสไตล์อาหรับโบราณ สระว่ายนา้ํ ส่วนตัว ห้องสมุดที่บรรจุแต่วรรณกรรมท้องถิ่น และกิจกรรมการสำ�รวจ พฤติกรรมช้างอย่างใกล้ชิด เช่นเดียวกับที่การเก็บกระเป๋าไปแอฟริกาใต้ จะไม่ใช่การผจญภัยแบบซาฟารีเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป เมื่อเหล่านัก เดินทางสามารถร่วมกิจกรรมสำ�รวจอวกาศผ่านกล้องโทรทัศน์ดูดาวที่ ใหญ่ที่สุดในแอฟริกาที่ชื่อ ‘SALT’ (Southern African Large Telescope) ในเมืองทีไ่ ด้รบั ฉายาว่าเป็น ‘ทางเดินสูจ่ กั รวาล’ อย่างซัทเธอร์แลนด์ ซึ่ง เป็นพื้นที่ที่มีอากาศหนาวที่สุดและปลอดจากมลภาวะ

6

Creative Thailand

l กันยายน 2554

ภาพจาก www.safaris.gr

นอกจากนีเ้ รื่องพืน้ ฐานของเหล่าแบ็กแพ็กเกอร์อย่างการกางเต็นท์นอน บรรดานักเดินทางกระเป๋าหนักเองก็มีทางเลือกที่รองรับวิถีการพักผ่อนนี้ ด้วยบริการกางเต็นท์แบบพิเศษทีเ่ รียกว่า ‘Pop up Hotel’ จากอังกฤษ ซึ่ง เต็นท์หนึ่งหลังนั้นเทียบได้กับห้องพักหรูขนาดหนึ่งห้องนอนที่มีทิวทัศน์ เบื้องหน้าเป็นชายหาดส่วนตัว พร้อมพรั่งด้วยเตียงนอนขนาดคิงไซส์ โต๊ะทำ�งาน คนเฝ้าประตู คนขับรถประจำ�ตัว ร้านอาหารและบาร์อย่าง ครบครันไม่ตา่ งจากการเข้าพักในโรงแรมใหญ่ หรือแม้แต่การที่หัวใจใน การท่องเที่ยวอย่าง อาหาร ศิลปะ วัฒนธรรม แฟชั่น สถาปัตยกรรม ฯลฯ จะถูกยกระดับสู่ความหรูหรา เพือ่ เปิดบันทึกการเดินทางหน้าใหม่ให้ กับกลุ่มคนเหล่านี้ได้ประทับใจอย่างมิรู้ลืม ที่มา: www.euromonitor.com www.abucamp.com www.rirtl.com www.canopyandstars.co.uk


The Object

© Doable/amanaimages/Corbis

เรื่อง: พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์

เมื่อเทคโนโลยีและไลฟ์สไตล์แห่งการแบ่งปันเกิดขึ้นบนโลก ออนไลน์ นักท่องเที่ยวยุคใหม่จึงไม่ต้องพึ่งพาพรหมลิขิต เพื่ อ เริ่ ม ออกเดิ น ทางไปพบกั บ ประสบการณ์ เ หนื อ ความ คาดหมายอีกต่อไป หากแต่สามารถมองหาส่วนผสมทีล่ งตัว เพื่อสร้างสรรค์รู ป แบบการเดิ น ทางอย่ า งที่ ต้ อ งการได้ ใ น เวลาเพียงไม่นาน Tripadvisor.com คือหนึ่งในเครื่องมือที่ช่วยเนรมิตรูปแบบการท่องเที่ยว ชนิดตามสัง่ ทีว่ า่ นี้ และกำ�ลังได้รบั ความนิยมในกลุม่ นักท่องเทีย่ วยุคดิจิทัล เพราะนอกจากจะบรรจุข้อมูลด้านการท่องเที่ยวไว้มากที่สุดเว็บหนึ่งแล้ว ก็ยังมาพร้อมคำ�แนะนำ�ที่เชื่อถือได้จากเหล่านักเดินทางที่เข้ามาช่วยกัน แสดงความคิดเห็นกันแบบตรงไปตรงมา แทนคำ�โฆษณาชวนเชื่อของ บริษัททัวร์หรือโรงแรม ตลอดจนฟังก์ชั่นช่วยวางแผนการเดินทางอย่าง เป็นระบบ ล่าสุดเว็บไซต์ดังกล่าวยังได้เปิดให้บริการเป็นภาษาไทย พร้อม นำ�สโลแกน “วางแผนการท่องเที่ยวแบบไม่มีพลาด” มาให้นักท่องเที่ยว ไทยได้สัมผัสและวางแผนการเดินทางตลอดจนงบประมาณได้อย่างใจ ผ่านระบบการรวบรวมข้อมูลที่มีตั้งแต่โรงแรม เที่ยวบิน แหล่งกิน แหล่ง เที่ยว ไปจนถึงภาพถ่ายและวิดีโอ พร้อมรีวิวข้อคิดเห็นจากนักท่องเที่ยว ทั่วโลกไว้อย่างครบถ้วนเสมือนภาคอินเตอร์ฯ

Tripadvisor ก่อตัง้ เมือ่ ปี 2000 อยูภ่ ายใต้การดำ�เนินงานของ Expedia, Inc. ทีด่ แู ล 17 แบรนด์ดงั ในธุรกิจท่องเทีย่ วทัว่ โลก เช่น Airfarewatchdog, BookingBuddy และ Cruise Critic เปิดให้บริการใน 27 ประเทศทั่วโลก อาทิ สหรัฐฯ สเปน อินเดีย ญี่ปุ่น บราซิล จีน และไทย โดยมีจำ�นวนผู้ เข้าชมมากกว่าเดือนละ 40 ล้านคนทั่วโลก รวมถึงมีคนมาเขียนรีวิวเกี่ยว กับโรงแรมและร้านอาหารรวมกว่า 45 ล้านเรือ่ ง จนเปรียบได้กบั คลังข้อมูล ชั้นนำ�ของบรรดานักเดินทางทั่วโลก แม้หลายคนจะออกปากว่า การเดินทางที่พรั่งพร้อมด้วยข้อมูลทุก บรรทัดเช่นนี้ จะไม่เหลือช่องว่างให้เติมเต็มความหมายของการเดินทาง อีกต่อไป แต่ทว่า เมือ่ การเดินทางคือการได้คน้ พบประสบการณ์ใหม่และการ แบ่งปันความประทับใจทีไ่ ด้รบั ระหว่างกัน เว็บไซต์อย่าง Tripadvisor.com ก็อาจเป็นตัวช่วยสำ�คัญที่จะเติมเต็มความสุขระหว่างบรรทัดจากการเดินทาง ให้นักท่องเที่ยวได้ไม่มากก็น้อย ที่มา: www.tripadvisor.com http://th.tripadvisor.com วิกิพีเดีย

กันยายน 2554

l

Creative Thailand

7


วัตถุดบิ ทางความคิด

เรือ่ ง: เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร และ กริยา บิลยะลา

National Geographic's The Photographers (1996) เราเดินทางออกจากบ้านตั้งแต่เช้าแทบทุกวัน เพื่อทำ�งาน เด็กๆ ก็อยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ต่าง ออกไป นั่นคือรูปแบบชีวิตและการเดินทางของ คนเมือง ขณะทีห่ ลายคนกลับรูส้ กึ ว่าการเดินทาง เช่นนี้เป็นเพียงกิจวัตร พร้อมให้นิยามถึงการ เดินทางที่แท้ว่าไม่เพียงต้องเกี่ยวข้องกับการไป ยังที่ใดที่หนึ่ง แต่ยังต้องสัมผัสได้ถึงความรู้สึก และความสุขที่ต่างออกไปจากวันธรรมดา สำ � หรั บ บางอาชี พ เป้ า หมายของการ เดินทางอาจไม่ได้หยุดอยู่ที่บ้านหรือที่ทำ�งาน แต่เป็นพื้นที่ที่ท้าทายทั่วทุกมุมโลกตามแต่จะ ได้รับการมอบหมาย The Photographers โดย เนชัน่ แนล จีโอกราฟฟิก คือสารคดีทบ่ี อกเล่าถึง การรวมตั ว กั น ระหว่ า งนั ก เดิ น ทางและ นักวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ปี 1888 ตัวแทนสำ�คัญที่ ช่วยขยายเรื่องราวหลังเลนส์ตลอดจนที่มาของ ภาพถ่ า ยอั น ยอดเยี่ ย มทั้ ง หลายที่ ป รากฏใน 8

Creative Thailand

l กันยายน 2554

นิตยสารเนชัน่ แนล จีโอกราฟฟิก ผ่านบทสัมภาษณ์ ของเหล่าช่างภาพมืออาชีพ อาทิ โจดี คอบบ์ ช่างภาพหญิงผู้มีประสบการณ์ทำ�งานมาตั้งแต่ ปี 1977 กับผลงานภาพที่โดดเด่น ไม่ว่าจะเป็น ภาพผู้ ห ญิ ง ในสถานที่ ที่ เ ต็ ม ไปด้ ว ยความ เคร่ ง ครั ด และกฎระเบี ย บที่ รั ด กุ ม อย่ า ง ซาอุดอิ าระเบียและหญิงเกอิชาของญีป่ นุ่ ไมเคิล นิโคลส์ ผูช้ �ำ นาญการถ่ายภาพชีวติ ของสรรพสัตว์ ในดินแดนที่ยากต่อการเข้าถึง เจมส์ สแตนฟิลด์ ช่างภาพผู้มีประสบการณ์และเคยบันทึกภาพ มาแล้วในกว่า 120 ประเทศ เดวิด ดูบิเลต์ ผูห้ ลงใหลการเก็บภาพใต้ผนื นา้ํ โรเบิรต์ คาปูโต ช่างภาพนักผจญภัยในดินแดนที่แ ห้ ง แล้ ง และ ยากลำ�บาก กับสถานที่ท�ำ งานประจำ�อย่าง เคนยา แทนซาเนีย เอธิโอเปีย แม่นา้ํ คองโก เป็นต้น จากประสบการณ์ที่ห ลากหลาย ฝ่า ฟัน ทุ ก อุปสรรคตั้งแต่ใต้นํ้า ป่าลึก ไข้มาลาเรีย พื้นที่ ที่เต็ มไปด้ว ยความขั ด แย้ง กฎระเบี ย บทาง ประเพณี วัฒนธรรม การเดินทางด้วยรถ เรือ เครื่อ งบิ น หรื อ แม้แต่ก ารเดิ น เท้า ที่ย าวนาน ช่างภาพได้กลายเป็นอาชีพในฝันที่วิเศษสุด สำ�หรับนักเดินทาง แต่ขณะเดียวกันก็ตอ้ งพร้อม แบกรับความท้าทายในการถ่ายภาพที่จะสร้าง คุณค่าและความงามได้จากการตัดสินใจเพียง เสี้ยววินาที เพื่อให้ภาพมากมายหลายร้อยพัน ภาพ กลายเป็นภาพที่ดีที่สุดเพียงหนึ่งเดียวที่ จะได้รับเลือกไปปรากฏบนปกนิตยสารเพียง 12 ภาพต่อปีเท่านั้น จ า ก บ ท สั ม ภ า ษ ณ์ ที่ บ อ ก เ ล่ า ด้ ว ย ประสบการณ์ การันตีด้วยรางวัลมากมายซึ่ง ได้ ม าด้ ว ยความยากลำ � บากในการเสาะ แสวงหา ภาพๆ หนึ่งแทนคำ�พูดมากมายทั้งมี อิทธิพลต่อความคิด อารมณ์ ความรู้สึก ถึง ขนาดว่าแค่เพียงได้นั่งชม เราก็อาจสัมผัสได้ถึง การเดินทางที่ลึกลับ สวยงาม ทว่าเข้มข้น เสมือน ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการบันทึกเรื่องราวใน เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นจริง


วัตถุดบิ ทางความคิด

The Book of Cities โดย Philip Dodd และ Ben Donald เมื อ งแต่ ล ะเมื อ งล้ ว นมี ลัก ษณะเฉพาะตนไม่ เหมือนกัน ถ้าคุณอยากรูว้ า่ ปารีส โรม นิวยอร์ก โตเกียว หรือแม้แต่เมืองทีไ่ ม่คอ่ ยมีคนรูจ้ กั อย่าง กอร์โดบา มีลักษณะเฉพาะตนอย่างไร หนังสือ เล่มนี้ได้รวบรวมทุกความเคลื่อนไหวของเมือง ต่างๆ ที่ว่านี้ไว้แล้ว โดยเริ่มจากลอนดอนแล้ว หมุนไปตามเส้นลองจิจูดจนรอบโลกกลับมาสิ้น สุดที่เมืองเคมบริดจ์ ซึ่งนอกจากจะได้เรียนรู้ ลักษณะเฉพาะตน บรรยากาศ และข้อควรรู้ ก่อนไปใน 250 เมืองทั่วโลกผ่านคำ�บอกเล่า ของนักเดินทางแล้ว หนังสือเล่มนี้ยังสอนให้นัก ท่องเทีย่ วรูจ้ กั คำ�ว่า “ใจเย็นๆ” เมือ่ ต้องเดินทาง มาเยือนมหานครของไทยอย่างกรุงเทพฯ ด้วย

Dance Magazine Traveler’s Advisory โดย Jessica Lehrer, Rick Lightstone และ Alice Murray “บางทีเราก็ต้องทิ้งจริยธรรมเดิมๆ ไว้ที่บ้าน บ้าง แล้วออกเที่ยวให้สนุกสุดๆ ไปเลย” เป็น หนึ่งในคำ�แนะนำ�โดนๆ ที่มาพร้อมรูปภาพเชิง สร้างสรรค์ชวนให้คิดตาม หนังสือเล่มนี้ไม่มี อะไรมากไปกว่าการให้ค�ำ แนะนำ� (ในแบบทีเ่ รา อาจนึกไม่ถึง) แต่สิ่งเหล่านี้ล้วนเกิดขึ้นได้กับ นักท่องเที่ยวทุกคนในทุกการเดินทาง ถึงขั้นที่ ผู้แต่งอ้างว่าสามารถนำ�ไปใช้ได้จริงกับการเดิน ทางทุกประเภท ที่พักทุกรูปแบบ ทุกสถานที่ ทุกเวลา เพราะอย่างน้อยๆ แม้ประโยชน์ที่ได้ รับ จะไม่เป็ น ชิ ้ น เป็ น อั น นั ก แต่มั น ก็ ช่ว ยให้ การเดินทางของคุณไม่ขาดเสียงหัวเราะและ อารมณ์ขบขันแน่นอน

สัมผัสการเดินทางง่ายๆ เพียงแค่ขยับเท้าเคลื่อน ไปทางซ้ายหรือขวาตามจังหวะของบทเพลง และบทละคร Dance Magazine นิตยสารราย เดือนศูนย์รวมของการเต้นหลากหลายแขนง และศิลปะการแสดงที่ทรงอิทธิพลต่อเหล่านัก เต้นในอเมริกันเล่มนี้ เผยแพร่ครั้งแรกตั้งแต่ปี 1927 ในนาม American Dancer ก่อนเปลี่ยน ชื่อภายหลังเมื่อมีการจัดพิมพ์ในต่างประเทศ โดยมีนักออกแบบท่าเต้นอย่างเวนดี้ เพอรอน นั่ง แท่น บรรณาธิ ก ารคนปั จ จุ บ ั น พร้อมที ม คอลั ม นิ ส ต์ ม ากประสบการณ์ ใ นวงการเต้ น เนื้อหาจึงอัดแน่นด้วยข่าวคราวทันสมัย บท สัมภาษณ์ เทคนิคการเต้น สาระสุขภาพ ไปถึง ละครบรอดเวย์ ทีส่ �ำ คัญนิตยสารเล่มนีจ้ ะทำ�ให้ คุณรู้ว่าความสุขไม่ได้อยู่ที่ไหนไกล หากแต่อยู่ ใกล้แค่ปลายเท้านี่เอง

กันยายน 2554

l

Creative Thailand

9


เปลีย่ นโลกรอบตัว

เมื่อเส้นทางสายเก่า บรรจบเทคโนโลยี สมัยใหม่ เรียบเรียงจากหนังสือ เปลีย่ นโลกรอบตัว โดย (ผูเ้ ขียน: ชนากานต์ คาํ ภิโล)

แม้ เ ทคโนโลยี จ ะไม่ เ คยหยุ ด สร้ า งสรรค์ วิทยาการที่ทั้งสะดวกและรวดเร็วกว่า แต่ ก็ยังมีเหล่านักเดินทางที่เทใจให้กับเสน่ห์ของ ม้าเหล็กที่ขับเคลื่อนไปอย่างแช่มช้า ไร้กังวล บนจังหวะแบบถึงก็ช่าง ไม่ถึงก็ช่าง แต่จะ เกิดอะไรขึน้ หากเราลองคิดนอกกรอบ แล้ว ลุกขึ้นมาเปลี่ยนพาหนะสุดคลาสสิกให้ออก เดินทางไปพร้อมกับสิ่งประดิษฐ์ลํ้าสมัย

หรี่เสียงรางให้เลือน เสียงฉึกฉักทีล่ น่ั ไปพร้อมๆ กับอัตราการเร่งของ พาหนะเหล็กบนรางแม้จะเป็นเสน่ห์เฉพาะตัว ของรถไฟ แต่สำ�หรับคนบ้านใกล้รางเคียงนั้น คงน่าหนวกหูอยู่ไม่น้อย การรถไฟแห่งเยอรมนี จึงนำ�วัสดุคอมโพสิตอัดไม้ที่ชื่อ BaryVam® ซึ่ง ผลิตโดย Rudolf Rost Sperrholz GmbH มาใช้ ในการขนส่งระบบราง ตั้งแต่ตัวรางไปจนถึง แผงกั้นระหว่างห้องในตู้รถไฟ ด้วยคุณสมบัติที่ สามารถดูดซับเสียงได้ดีเยี่ยม ทนต่อการดัด โค้งและความชื้น ทั้งยังกันไฟและเขม่าควันได้ ดีไม่แพ้โลหะ ก็ช่วยให้การเดินทางบนพาหนะ เหล็กกลายเป็นทริปแบบเบาๆ ก็ไหลลื่นตลอด รางได้อย่างไม่รบกวนใคร 10

Creative Thailand

l กันยายน 2554

ภาพจาก www.pro-tuning.info

ภาพจาก www.buildingdata.energy.gov

สถานีต่อไป...กรีนสเตชั่น หลังจากสถานีรถไฟใต้ดิน สติลล์เวลล์ อเวนิว ที่นิวยอร์ก ได้รับการแปลงโฉมให้เป็นสถานี รถไฟขนาดใหญ่แห่งแรกของสหรัฐฯ ทีใ่ ช้พลังงาน แสงอาทิตย์ ด้วยหลังคาโซลาร์ทรงโค้งที่ผลิต กระแสไฟฟ้าได้ถึง 250,000 กิโลวัตต์/ชั่วโมง ล่าสุดทีมวิจัยพลังงานแสงอาทิตย์ “กรีนซัน” แห่ ง แล็ บ เยรู ซ าเล็ ม เทคโนโลยี ก็กำ� ลั ง คิ ด ค้ น “โซลาร์เซลล์สีลูกกวาด” ซึ่งผลิตจากแผ่นแก้ว ย้อมสี ทำ�ให้ดูดซับแสงสีที่ต่างกันในสเปกตรัม ของแสงอาทิตย์ได้โดยไม่ตอ้ งง้อแดดจัด ซึง่ เป็น การลดข้อจำ�กัดในการติดตั้งตามสถานที่ต่างๆ ลงไป ทั้งยังเรียกความนิยมได้ด้วยราคาที่ถูก กว่าโซลาร์เซลล์ทว่ั ไป จึงเป็นไปได้วา่ เราอาจจะ ได้เห็นสถานีรถไฟสีลูกกวาดเหมือนในนิทาน ในอนาคตอันใกล้นี้ สถานีรถไฟหัวลำ�โพง...ดีไซน์ไม่มีวันตาย

หนักไม่เอา เบาสู้... นวัตกรรมเพื่อความเร็วสูง เมื่อโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย - จีน ต้อง สะดุ ด ลงด้ ว ยอุ บั ติ เ หตุ ที่ เ มื อ งเหวิ น โจวเมื่ อ เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ทำ�ให้หลายๆ คนอด ไม่ได้ทจ่ี ะผิดหวังในโปรเจ็กต์ยกั ษ์ใหญ่น้ี เพราะ การสร้างรถไฟความเร็วสูงนั้น นอกจากจะต้อง ใช้วัสดุที่ทั้งแกร่งและทนทานแล้ว ‘นํ้าหนัก’ ก็ เป็นอีกปัจจัยสำ�คัญ วัสดุคอมโพสิตอย่างคาร์บอน ไฟเบอร์หรือเส้นใยคาร์บอนจึงกลายเป็นวัสดุ ทางวิศวกรรมอีกชนิดหนึ่งที่กำ�ลังได้รับความ สนใจจากหลายอุตสาหกรรม ทั้งอุตสาหกรรม การบิน ที่จะช่วยให้เครื่องบินมีนํ้าหนักเบา แต่ มีความแข็งแรงสูง ทั้งยังเป็นฉนวนกันความ ร้อนและทนต่อการกัดกร่อนจากสารเคมีต่างๆ ดั ง นั้ น หากการรถไฟไทยสามารถพั ฒ นารู ป แบบการสร้างให้สอดคล้องกับวัสดุตัวนี้ได้แล้ว สักวันเราคงจะมีโอกาสได้เห็นรถไฟหัวกระสุน แล่นบนรางสัญชาติไทยบ้าง

สถานีหัวลำ�โพง ออกแบบโดยสถาปนิกชาวอิตาเลียน มาริโอ ตามานโญ โถงสถานีเป็นหลังคาโค้งขนาด ใหญ่ตามแบบสถาปัตยกรรมคลาสสิก เพิ่มลูกเล่นแสงด้วยกระจกสีที่ช่องระบายอากาศทั้งด้านหน้าและ ด้านหลัง ส่วนฝาผนังด้านข้างประดับด้วยภาพสีนํ้า แสดงสถานที่ท่องเที่ยวสำ�คัญของไทย แม้ว่ารูปแบบ สถาปัตยกรรมนี้จะละม้ายกับสถานีรถไฟในแฟรงก์เฟิร์ต ของเยอรมนี และบริเวณที่พักผู้โดยสารของ สถานีแกรนด์ เซ็นทรัล ของนิวยอร์ก แต่ด้วยความหลากหลายของผู้คนที่เดินทางมาจากทั่วทุกสารทิศ ก็ ทำ�ให้หัวลำ�โพงมีความงดงามในแบบฉบับของมันเองแบบไม่น้อยหน้าชาติใดในโลก


Classic Item

เรื่อง: ศิรินทร เอี่ยมแฟง

เมื่อมนุษย์มีสัญชาตญาณในการเดินทางย้ายถิ่น แผนที่ จึงถูกคิดค้นขึ้นตั ้ งแต่ 2,300 ปีก่อนพุท ธศัก ราช เพื่อ ตอบรั บ จุ ด ประสงค์เริ่มแรกอย่างการทำ�การค้าและการ ล่าอาณานิคม ก่อนเปลี่ยนรูปแบบเป็นการท่องเที่ยวจาก ที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง จากประเทศหนึ่งไปอีกประเทศ จนถึง วันนี้ที่การเดินทางสู่ดาวดวงอื่นกลายเป็นเรื่องเป็นไปได้ ก็ ยากที่จะคาดเดาว่าแผนที่ในอนาคตจะนำ�ทางเราไปสู่ที่ใด หนังสือแผนที่ถกู เรียกอีกชือ่ หนึง่ ว่า แอตลาส โดย เกอราร์ดสุ เมอร์คาเทอร์ เริ่มเผยแพร่หนังสือแผนที่ “แอตลาส” ซึ่งตั้งชื่อตามมหากษัตริย์แห่ง ลิเบียผู้สร้างลูกโลกขึ้นเป็นครั้งแรก ทำ�ให้มีผู้ใช้ตามกันมาจนถึงปัจจุบัน บางตำ�ราก็ว่า “แอตลาส” มาจากชื่อของยักษ์เผ่าไททันในตำ�นานกรีก ผู้ทำ�หน้าที่แบกสวรรค์ไว้บนบ่า แผนทีโ่ ลกของเมอร์คาเทอร์ มีการผลิตซํา้ และใช้กนั อย่างแพร่หลายทัว่ โลก จนกลายเป็นมาตรฐาน ทัง้ ทีร่ ปู ทรงและขนาดของประเทศต่างๆ บิดเบือน ไปตามนัยยะทางการเมืองทีซ่ อ่ นอยู่ แผนทีน่ จ้ี ดั ทำ�ขึน้ ในยุคล่าอาณานิคม ประเทศที่อยู่แถบเหนือ เช่น สหรัฐอเมริกาและยุโรปจึงมีขนาดใหญ่เกิน จริง ขณะที่ทวีปยุโรปยังถูกจัดวางให้เป็นศูนย์กลางของโลก และเส้น ศูนย์สูตรที่ควรแบ่งครึ่งโลกอย่างสมมาตรก็กลับอยู่ตํ่ากว่าความเป็นจริง เพื่อเพิ่มพื้นที่แถบเหนือให้มากกว่าแถบใต้

เมือ่ การสร้างแผนทีม่ ใิ ช่กระบวนการทีเ่ ป็นวิทยาศาสตร์ลว้ นๆ แต่แอบแฝง ไปด้วยการเมือง ความเชือ่ และค่านิยม จึงทำ�ให้มแี ผนทีโ่ ลกทีย่ ดึ ระเบียบ วิธีอื่นๆ ออกมาให้ใช้งานอีก อาทิ แผนที่ของปีเตอร์ โดย ดร.อาร์โน ปี เ ตอร์ส ชาวเยอรมั น ที่เ น้น การแสดงขนาดของแต่ล ะประเทศให้ ใกล้เคียงความเป็นจริงทีส่ ดุ ชาวโลกจึงพบความจริงอันตรงข้ามกับแผนที่ โลกของเมอร์คาเทอร์ อาทิ ทวีปอเมริกาใต้มีขนาดใหญ่กว่าทวีปยุโรป ถึง 2 เท่า ทวีปแอฟริกามีขนาดใหญ่กว่าทวีปอเมริกาเหนือ พื้นที่ของ ประเทศจีนมีขนาดใหญ่กว่ากรีนแลนด์ หรือ แผนทีก่ ลับหัว ที่พลิกแนวคิด เรือ่ งทิศเหนือทิศใต้ โดยจับขัว้ โลกใต้และทวีปออสเตรเลียไปอยู่ดา้ นบนแทน 6 ปีทแ่ี ล้ว (8 กุมภาพันธ์ 2005) โลกทำ�ความรูจ้ กั กับกูเกิล แมปส์ (Google Maps) ทำ�ให้มนุษย์สะดวกและสนุกกับการใช้แผนที่ในรูปแบบดิจิทัลใน ชีวิตประจำ�วันมากขึ้น ทั้งยังเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ร่วมกันสร้าง ตรวจสอบ และแก้ไขความถูกต้องได้ด้วย ไม่กี่เดือนต่อมากูเกิลก็นำ�ระบบแผนที่ ของกูเกิล แมปส์มาพัฒนาเป็นกูเกิล เอิรธ์ ซอฟท์แวร์ดภู าพถ่ายทางอากาศ พร้อมแผนที่เส้นทาง ผังเมือง หรือสภาพดินฟ้าอากาศในลักษณะ 3 มิติ กูเกิล เอิร์ธ จึงไปไกลกว่าแผนที่โลกแต่กลายเป็นสื่อการเรียนรู้ทาง ภูมศิ าสตร์ของยุคดิจิทัล จากความสำ�เร็จของกูเกิล แมปส์ แผนทีก่ เ็ ริม่ ตอบรับการใช้งานแบบไลฟ์สไตล์ มากขึ้น เมื่อถูกจับใส่โทรศัพท์มือถือและพัฒนาเป็นแอพพลิเคชั่นบอก ตำ�แหน่ง ที่สามารถให้ข้อมูลได้มากกว่าตำ�แหน่งทางภูมิศาสตร์หรือ การเดินทาง แต่ยงั แสดงรูปภาพ รายละเอียดของสถานที่ หรือความเห็นจาก ผูท้ เ่ี คยไปเยือน จนกลายเป็นอีกหนึง่ เทรนด์ใหม่ทใ่ี ครๆ ก็ตอ้ ง “เช็ก-อิน” แฟรงค์ จาคอบส์ เป็นนักสะสมแผนที่ซึ่งเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับแผนที่ แปลกๆ จากทั่วโลกไว้ที่บล็อก Strange Maps ความหลากหลายของ แผนที่ในบล็อกของเขาสะท้อนให้เห็นว่าแผนที่ไม่ได้ถูกจำ�กัดการใช้งาน แค่การเดินทางท่องเที่ยวหรือภูมิศาสตร์ แต่ยังตอบจุดประสงค์ทาง ประวัติศาสตร์ การเมือง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และอีกมากมาย (เข้าไปดูได้ที่ http://bigthink.com/blogs/strange-maps)

ที่มา: http://bigthink.com/blogs/strange-maps http://pinporamet.blogspot.com www.folger.edu www.ft.com วิกิพีเดีย

กันยายน 2554

l

Creative Thailand

11


Cover Story เรื่องจากปก

เรื่อง: มนฑิณี ยงวิกุล

© JGI/JamieGrill/Blerd Images/Corbis

12

Creative Thailand

l กันยายน 2554


Cover Story เรื่องจากปก

การเก็ บ เกี่ ย วประสบการณ์ สำ � หรั บ นักเดินทางยุคใหม่ ไม่ใช่แค่การเปลีย่ น จากสถานที่ แ ห่ ง หนึ่ ง ไปอี ก แห่ ง หนึ่ ง แต่เป็นการตอบสนองประสาทสัมผัส ทั้งห้าด้ว ยบริ ก ารรู ป แบบต่างๆ จาก เหล่าเจ้าถิ่นที่ต้องแข่งขันกันหยิบยื่น ความแปลกใหม่เพื่อช่วงชิงความสนใจ ในกาลก่อนบั น ทึ ก ของมาร์โค โปโลสามารถ สร้างแรงบันดาลใจให้นักเดินเรือหลายคนออก เดินทางสำ�รวจโลก ไม่ต่างจากยุคปัจจุบัน ที่ บั น ทึ ก การเดิ น ทางในรู ป แบบออนไลน์ แ ละ รายการทีวี ได้กระตุ้นให้ผู้คนปรารถนาที่จะ สั ม ผั ส ประสบการณ์ จ ากการเดิ น ทางและ วัฒนธรรมที่แตกต่างด้วยตัวเองเพิ่มมากขึ้น อย่างที่ ไนเจล กริฟฟอร์ด ผูจ้ ดั การไฮแอนด์ไวด์ บริษัททัวร์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังจากโปรแกรมการ ผจญภัยทีไ่ ม่ซา้ํ แบบใครกล่าวว่า “การท่องเทีย่ ว เป็นการตอบสนองความสงสัยของพวกเขาที่ แตกต่างออกไปจากแค่การเดินทางไปพักผ่อน ชายทะเลหรือแพ็กเกจท่องเที่ยวตามปกติ” การผจญภัยที่วา่ นัน้ อาจจะไม่ใช่เพียงแค่การ บุกป่าดงดิบหรือปีนยอดเขาสูงชัน แต่ครอบคลุม ตั้งแต่ การจองตั๋วเครื่องบิน จองโรงแรมผ่าน เว็บไซต์ที่แนะนำ�โดยคนแปลกหน้าซึ่งมาแบ่ง ปันความคิดเห็นผ่านชุมชนออนไลน์ เรือ่ ยมาจน ถึงกิจกรรมเสริมจากการพักผ่อนปกติ อย่างเช่น การเรียนภาษาต่างประเทศ การเรียนทำ�อาหาร ท้องถิ่น และการพักแบบโฮมสเตย์ ซึ่งได้กลาย เป็ น กิ จ กรรมยอดนิ ย มที่ ห าได้ ต ามแหล่ ง ท่องเที่ยวทั่ว ไปในปั จจุ บั น ดังนั้นการสร้า ง ประสบการณ์ใหม่ๆ เพื่อดึงดูดให้ผู้คนเดินทาง ไปแสวงหานัน้ จึงต้องขยับดีกรีความแปลกใหม่ ขึ้นตามไปด้วย

ยินดีที่ได้พบกับคนไม่รู้จัก ในยุ ค ที่ ไ ปรษณี ย์ เ ป็ น ช่ อ งทางเดี ย วของการ ติดต่อสื่อสาร การมีเพื่อนทางจดหมายที่ติดต่อ กันมายาวนานนั้น มักจะเป็นเหตุผลหนึ่งที่ผู้คน ตัดสินใจออกเดินทางไปยังประเทศนั้นๆ ด้วย ความรู้สึกอุ่นใจในการมีคนคอยดูแล แม้ว่าจะ รูจ้ กั กันผ่านลายมือและรูปถ่ายก็ตาม แต่ส�ำ หรับ ยุคนี้ “ความแปลกหน้า” กลับกลายเป็นเสน่ห์ และความตื่นเต้นที่ไม่ใช่เพียงแค่การพบปะ แต่ ยั ง รวมถึ ง การได้ เ ข้ า ไปพั ก อาศั ย ในบ้าน ของคนทีร่ จู้ กั กันผ่านข้อมูลในเว็บไซต์ แล้วตกลง ใจที่จะแลกบ้านกันอยู่แบบข้ามทวีป ย้ อ นกลั บ ไปเมื่ อ ครั้ ง ที่ ภ าพยนตร์ เ รื่ อ ง The Holiday ออกฉายเมื่อปี 2006 ภาพความต่าง สุดขั้วในการใช้ชีวิตระหว่างอาแมนดา วูดส์ (รับบทโดยคาเมรอน ดิอาซ) เจ้าของบ้านสุดแสน ทันสมัยในเซาเทิร์น แคลิฟอร์เนีย กับ ไอริส ซิมป์กินส์ (รับบทโดยเคต วินสเล็ต) เจ้าของ บ้านน่ารักในย่านชนบทของอังกฤษ ซึง่ ตัดสินใจ แลกเปลี่ยนบ้านเพื่อหนีปัญหารักนั้น ไม่เพียง ทำ�ให้ผู้ชมเห็นภาพของความสนุกเร้าใจที่รออยู่ ข้างหน้า แต่ยังเป็นแรงบันดาลใจให้ เดบบี้

วอสโคว์ เริ่มต้นทำ�ธุรกิจแลกบ้านผ่านเว็บไซต์ ภายใต้ชื่อ Luxe Home Swap ขึ้นสำ�หรับกลุ่ม เป้าหมายระดับกลางถึงระดับสูงที่ชื่นชอบที่พัก สไตล์บูติกโฮเต็ล ทำ�ให้บ้านที่อยู่ในรายชื่อของ เธอถูกคัดกรองความมีสไตล์ไประดับหนึ่งแล้ว ตามนิยามของคำ�ว่า “Luxe” แต่สำ�หรับผู้ที่ ต้องการจะทราบว่าบ้านหลังไหนดีพอสำ�หรับ ตัวเองนั้น เธอกล่าวว่า “เจ้าของบ้านจะเป็นคน เลือกกันเอง และในแต่ละครั้งต้องมีการอีเมล คุยรายละเอียดกันประมาณ 40 ครั้ง เพื่อให้ พวกเขาทำ�ความรู้จักกันก่อนที่จะแลกบ้านกัน จริงๆ” เพราะการแลกบ้านนั้นต้องการคนที่ใช่ และคนที่ใช่ก็ต้องการประสบการณ์ที่ใช่เช่นกัน ธุรกิจการแลกบ้านนั้นสร้างรายได้จาก ค่าสมาชิกบนเว็บไซต์ที่ตอ้ งการให้บา้ นของตัวเอง อยู่ในรายชื่อบ้านที่ต้องการแลกประมาณ 99 ปอนด์ (ราว 4,950 บาท) สำ�หรับระยะเวลา 1 ปี ซึ่งเจ้าของบ้านที่แลกบ้านนั้นมักยอมจ่ายค่ า ธรรมเนียมการให้บริการส่วนนี้ เพราะว่าคุ้มค่า และประหยัดกว่าการจ่ายเงินค่าโรงแรม และยัง ได้ที่พักถูกใจที่ให้ความรู้สึกเหมือนบ้านอีกด้วย

ภาพจาก www.luxehomeswap.com กันยายน 2554

l

Creative Thailand

13


Cover Story เรื่องจากปก

แต่ สำ � หรั บ เหล่ า สาวกแบบแบ็ ก แพ็ ก นั้ น การจ่ายแค่คนื ละ 9 ปอนด์ (ราว 450 บาท) สำ�หรับ การเข้าไปแคมปิง้ ในสวนบ้านคนอืน่ ก็สร้างความ สนุกสนานได้อีกแบบ ด้วยการจองที่พักผ่าน เว็บไซต์ซง่ึ จะช่วยจับคูช่ าวแคมป์กบั เจ้าของบ้านให้ อย่างสะดวกสบายที่ campinmygarden.com ดำ�เนินการโดย วิคตอเรีย เว็บบอน ที่ปัจจุบันมี นักท่องเทีย่ วและเจ้าของบ้านแล้วกว่า 7,000 คน เข้ามาทำ�ธุรกรรมเพื่อต้อนรับการเดินทางของ นักท่องเที่ยวในเทศกาลต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นทั่ว โลก โดยเฉพาะอย่างยิง่ พืน้ ทีส่ วนในกรุงลอนดอน เพื่อต้อนรับเทศกาลโอลิมปิก 2012 นอกจากการเปลี่ ย นที่ น อนในสถานที่ แปลกใหม่แล้ว การพบปะเพื่อนใหม่ก็เป็นอีก หนึ่ ง ประสบการณ์ ที่ เ กิ ด ขึ้ น พร้ อ มกั บ โลก ออนไลน์ การหาเพื่อนท้องถิ่นมาเป็นเพื่อนร่วม ทางจากวิดีโอแนะนำ�ตัวเองไม่กี่สิบวินาที และ การติ ด ต่ อ ขอเช่ า เพื่ อ นในเว็ บ ไซต์ ที่ ชื่ อ ว่ า rentalocalfriend.com ซึง่ ก่อตัง้ โดยอลิซ มัวร่า ชาวบราซิ ล เจ้าของไอเดี ย แหวกแนว ซึ่งได้ แรงบันดาลใจมาจากความต้องการที่หลากหลาย ว่า “นักท่องเทีย่ วผูส้ งู อายุมกั ชอบบริการส่วนตัว มากกว่าหมู่คณะ ขณะที่กลุ่มเด็กๆ จะอยาก รู้จักสถานที่เจ๋งๆ ส่วนคนอีกกลุ่มก็ต้องการ โปรแกรมทัวร์ที่ยืดหยุ่น” อลิซจึงเริ่มทำ�เว็บไซต์ นี้ ขึ้ น ตั้ ง แต่ ส มั ย ที่ เ ธอยั ง อาศั ย อยู่ ที่ ล อนดอน และเขียนบล็อกเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ซึง่ มักจะมี ผูอ้ า่ นมาขอให้เธอเป็นไกด์นอกโปรแกรมปกติอยู่ เสมอ และแม้วา่ จะไม่โด่งดังเท่าเว็บไซต์แนะนำ� การท่อ งเที่ยวอั น ดั บหนึ่งอย่า ง Tripadvisor แต่ เ ว็ บ ไซต์ นี้ ก็ ไ ด้ รั บ ความนิ ย มเพิ่ ม มากขึ้ น เรือ่ ยๆ จนกระทัง่ กลุม่ เพือ่ นให้เช่านีไ้ ด้ขยายตัว ครอบคลุมเมืองใหญ่อย่าง นิวยอร์ก นิวเดลี บาร์เซโลน่า ปารีส เซี่ยงไฮ้ เบอร์ลิน และ บัวโนสไอเรส ได้ทั้งหมด ทั้งนี้เพราะเหตุที่ว่า คนเช่าก็ได้ในสิง่ ทีต่ อ้ งการ และคนทีม่ าเป็นเพือ่ น เช่านัน้ ก็ตอ้ งการความสนุกสนานมากกว่าเงินค่า จ้างการเป็นไกด์ที่ได้อยูป่ ระมาณ 80 ยูโรต่อวันใน มิลาน (ราว 3,200 บาท) และ 90 ดอลลาร์สหรัฐฯ 14

Creative Thailand

l กันยายน 2554

ทำ�การบ้านก่อนเก็บกระเป๋า เว็บไซต์ guardianhomeexchange.co.uk ของหนังสือพิมพ์ เดอะ การ์เดียน ในเครือ การ์เดียน มีเดีย กรุ๊ป คือตัวกลางในการแลกบ้านที่บอกกล่าวขั้นตอนไว้อย่างละเอียด โดยเฉพาะข้อมูล ที่ต้องกรอกตั้งแต่ครอบครัวเจ้าของบ้าน ลักษณะตัวบ้าน อายุ ขนาด พร้อมภาพถ่ายประกอบ และเงื่อนไขอื่นๆ อย่างเช่น สระว่ายนํ้าที่ต้องระบุให้ชัดเจนว่าจะอนุญาตให้ใช้หรือไม่ รวมถึง การอธิบายพื้นที่บริเวณบ้าน เพื่อนบ้าน สภาพอากาศ ระบบการขนส่งสาธารณะ ระยะทางจาก บ้านถึงตัวเมืองหรือสนามบิน นอกจากนี้ เจ้าของบ้านยังต้องตกลงเรื่องการจ่ายบิลค่าใช้จ่าย สาธารณูปโภค และตรวจเช็กระบบประกันภัยบ้านที่ยังต้องมีผลบังคับใช้ขณะแลกบ้าน ระบบ การประกันภัยรถยนต์ที่ต้องเช็กอย่างรอบคอบ เพราะบริษัทประกันภัยรถยนต์บางแห่งใน สหราชอาณาจักรนัน้ จะไม่คมุ้ ครองคนอเมริกนั ซึง่ ข้อมูลเหล่านีเ้ ป็นเพียงจุดเริม่ ต้นเพือ่ นำ�ไปสูก่ าร ตัดสินใจเท่านั้น แต่เมื่อถึงเวลาต้องทิ้งบ้านให้อยู่ในมือคนอื่นนั้น เว็บไซต์ยังแนะนำ�ให้เจ้าของ บ้านต้องทำ�ความสะอาดบ้านและรถ พร้อมจัดเตรียมโพสอิท สำ�หรับการบอกกล่าววิธีการใช้ ระบบทำ�ความร้อนและอุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงการจัดเตรียมแฟ้มเอกสาร ที่ประกอบด้วยคู่มือการ ดูแลสัตว์เลี้ยงพร้อมอาหาร คู่มือการดำ�รงชีวิตในระหว่างที่พักอาศัยที่ครอบคลุมตั้งแต่ แผนที่ ที่ตั้งร้านค้า ตารางเวลาเดินรถ เบอร์โทรศัพท์ที่จำ�เป็นอย่างเช่น เบอร์ติดต่อคลินิก พี่เลี้ยงเด็ก แท็กซี่ และเบอร์ฉุกเฉินต่างๆ รวมถึงต้องไม่ลืมที่จะบอกกล่าวเพื่อนบ้านให้รับรู้ว่าพวกเขาอาจ จะต้องเจอกับเพื่อนบ้านใหม่จากซีกโลกอื่นสักระยะด้วย

ต่อวันในซานฟรานซิสโก (ราว 2,700 บาท) และ ที่สำ�คัญที่สุด ผลสุดท้ายของการท่องเที่ยวแบบ นี้ก็ยังสามารถเปลี่ยนความสัมพันธ์ฉันท์ไกด์ และลูกทัวร์ให้กลายเป็นเพื่อนในชีวิตจริงได้ อีกด้วย

ภาพจาก www.rentalcalfriend.com


Cover Story เรื่องจากปก

ทะยานสู่ความหรูหรา และไม่ธรรมดา พาเลซ ออน วีลส์ ได้ชื่อว่าเป็นขบวนรถไฟ ความยาว 14 ตู้ที่ส ุ ด แสนจะงดงามประดุจ ราชวัง เคลื่อ นที่ ซึ่งเจ้าหน้าที่ของราชสถาน หนึ่งในรัฐของอินเดีย ได้แรงบันดาลใจมาจาก รถไฟโอเรียนต์ เอ็กซ์เพรส จึงได้นำ�ตู้รถไฟที่ ครั้งหนึ่งเคยเป็นพาหนะของเจ้าขุนมูลนายใน อิ น เดี ย ช่ ว งก่ อ นการเปลี่ ย นประเทศมาเป็ น สาธารณรัฐประชาธิปไตย มาบูรณะและตกแต่ง ใหม่ให้กลายเป็นขบวนรถไฟท่องเที่ยวสุดหรู ที่ เน้นการให้บริการแบบเดียวกับสมัยยุคศักดินา รุ่งโรจน์ รถไฟสายนี้เปิดให้บริการเพียงปีละแปด เดือน ในแต่ละตู้รถไฟจะถูกตั้งชื่อตามแคว้น หรือเมืองต่างๆ ส่วนตู้ขบวนเสบียงของรถไฟ ขบวนนีม้ ชี อ่ื ว่า มหาราชาและมหารานี ห้องพัก แต่ละห้องไม่ต้องใส่กุญแจเพราะมีพนักงานที่ จะคอยดูแลเอาใจใส่ผโู้ ดยสารตลอด 24 ชัว่ โมง พร้อมที่จะให้บริการตามตารางการเดินทางใน การแวะชมแหล่งท่องเที่ยวในเมืองต่างๆ และ กิจ กรรมที่ถูก จั ด เตรี ยมไว้พ ร้อมสรรพตลอด เส้นทาง ตั้งแต่รถไฟออกเคลื่อนขบวนจากกรุง นิวเดลีไปสู่แหล่งท่องเที่ยวในรัฐราชสถาน ก่อน จะไปสิน้ สุดทีอ่ คั รานครแห่งทัชมาฮาล ทีร่ วบรวม ไว้ทั้งกิจกรรมไฮไลท์อย่างการขี่ช้างที่ถูกแต่ง แต้มสีสันไว้อย่างสวยงาม ไปจนถึงการถูกปลุก ขึ้นมาตั้งแต่ตีห้าพร้อมกับชาร้อนๆ และคุกกี้ แสนอร่อยก่อนที่จะขึ้นรถยนต์ฝ่าความมืดไป ยังอุทยานรันธัมบอร์เพื่อไปดูเสืออินเดียที่ใกล้ สูญพันธุ์ ซึ่งล้วนแล้วแต่ทำ�ให้การเดินทางบน พระราชวังเคลื่อนที่ตลอดเจ็ดวันนี้ เป็นเสมือน ภาพฝันและเป็นรางวัลอันยิ่งใหญ่ของชีวิตให้ กั บ คนธรรมดาที่ เ ก็ บ หอมรอมริ บ ไว้ ม ากพอ สำ�หรับค่าห้องพักคืนละกว่า 500 เหรียญสหรัฐฯ (ราว 15,000 บาท) และต้องใช้เวลาจองล่วงหน้า นานหลายเดือน เพือ่ หลีกหนีความจริงของชีวติ มาเป็นพระราชาหรือราชินีเพียงแค่ชั่วคราว

© Reed Kaestnes

© Dave Bartruff/Corbis

กันยายน 2554

l

Creative Thailand

15


Cover Story เรื่องจากปก

© LU JIN BO/Xinhua Press/Corbis

สำ�หรับนักท่องเที่ยวที่ชีวิตประจำ�วันห่าง ไกลจากความหรูหรา พระราชวังเคลื่อนที่ใน อินเดีย หรือโรงแรมระดับ 6 และ 7 ดาวใน แหล่งท่องเที่ยวสำ�คัญ นับเป็นโอกาสอันลํ้าค่า ในการเรียนรูส้ ง่ิ ใหม่ แต่ส�ำ หรับเหล่ามหาเศรษฐีท่ี คุน้ เคยกับการปรนนิบตั อิ ยูแ่ ล้ว การเป็นพลเรือน ที่ได้โดยสารไปในอวกาศก็ช่วยให้ชีวิตประจำ� วันของพวกเขาไม่น่าเบื่อจนเกินไป ตั้งแต่ช่วงปี 1960 ที่สหภาพโซเวียตยังไม่ ล่มสลาย พืน้ ทีใ่ นแคว้นมอสโกทีช่ อ่ื ว่า สตาร์ ซิต้ี เคยมีศูนย์ปฏิบัติการที่ลี้ลับและมีการตรวจตรา การเข้าออกอย่างเข้มงวดของกองทัพเพราะ เป็นสถานที่ตั้งของศูนย์ฝึกนักบินอวกาศ ตั้งแต่ นักบินอวกาศคนแรกของโลก ยูริ อะเลคเสเยวิช กาการิ น และอี ก หลายรุ่ น ที่ ต้ อ งอาศั ย อยู่ กั บ ครอบครัวในสถานที่แห่งนี้ ในปัจจุบนั ศูนย์ฝกึ นักบินอวกาศยูริ กาการิน แห่งนี้ ยังคงทำ�หน้าที่เกี่ยวกับอวกาศ แต่ทว่า ภารกิจนั้นไม่เป็นความลับอีกต่อไป เพราะได้ 16

Creative Thailand

l กันยายน 2554

เปิดกว้างสำ�หรับนักท่องเที่ยวเงินหนาที่พร้อม จะก้าวกระโดดจากการท่องเที่ยวแบบเดิมๆ ไปสูห่ ว้ งอวกาศ โดยบริษทั สเปซ แอดเวนเจอร์ส ของนายอีริค แอนเดอร์สัน ได้ให้บริการทัวร์ ท่ อ งเที่ ย วสู่ ว งโคจรโลกและสถานี อ วกาศ นานาชาติในราคา 20-35 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ราว 600-1,050 ล้านบาท) และสำ�หรับผู้ที่ยัง ไม่พร้อม แต่ยังคงต้องการประสบการณ์เสมือน จริงก็สามารถมา ณ ที่แห่งนี้ได้เช่นกัน ด้วย ราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 15,950 เหรียญสหรัฐฯ (ราว 478,500 บาท) สำ�หรับการผจญภัยเบื้องต้นใน การเป็นผู้บังคับยานอวกาศ ‘โซยุส’ ซึ่งใช้มา ตั้งแต่ปี 1960 ในสถานการณ์จำ�ลองที่ใช้ในการ ฝึกซ้อมตั้งแต่การนำ�ยานขึ้นสู่อวกาศจนร่อนลง สูจ่ ดุ หมายปลายทาง และถ้าหากลงทุนเพิม่ ราคา เป็น 33,750 เหรียญสหรัฐฯ (ราว 1,012,500 บาท) ก็จะได้ใส่ชุดและอุปกรณ์ในการลงไปฝึก ในแทงก์นํ้าขนาดใหญ่เพื่อฝึกซ้อมการเดินและ ลอยตัวในอวกาศ

นอกจากนี้ สเปซ แอดเวนเจอร์ส ยังกำ�ลัง ประกาศรับผู้โดยสารหนึ่งคนที่ต้องการเดินทาง ท่องอวกาศที่จะไปไกลกว่าแค่วงโคจรรอบโลก โดยนักท่องเที่ยวที่ยอมจ่ายเงินสูงสุดถึง 150 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ราว 4,500 ล้านบาท) จะ ได้เดินทางไปยังวงโคจรของดวงจันทร์ เพื่อที่ จะได้มองเห็นพื้นผิวของมันอย่างชัดเจน และ ในปี 2012 ที่จะถึงนี้ นักท่องเที่ยวก็ไม่จำ�เป็น ต้องแวะพักที่สถานียานอวกาศเพียงแห่งเดียว อีกต่อไป แต่ยังสามารถเลือกพักที่ กาแล็กติก สูท สเปซ รีสอร์ต เป็นเวลา 3 คืนในราคา 4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ราว 12 ล้านบาท) ได้ด้วย


Cover Story เรื่องจากปก

ท่องประวัติศาสตร์ 3 มิติ เสียงปืนและระเบิดที่ดงั กึกก้อง เหล่าทหารกองทัพ แดงที่ถือปืนไรเฟิลอยู่หลังป้อมปราการเพื่อต่อสู้ กับทหารของฝั่งก๊กมินตั๋งในสงครามกลางเมือง นั้น ไม่ใช่แค่ฉากในภาพยนตร์สารคดีอีกต่อไป แต่นักท่องเที่ยวที่ไปเยือนเมืองเหยียนอาน ยัง จะได้มีส่วนร่วมในการต่อสู้ครั้งประวัติศาสตร์ เฉกเช่นคนรุ่นก่อน ประสบการณ์ดังกล่าวนี้เกิด ขึ้นจากการลงทุนของรัฐบาลจีนในการส่งเสริม การท่องเที่ยวเชิงย้อนรอยประวัติศาสตร์พรรค คอมมิวนิสต์จนี หรือ Red Tourism ด้วยการพัฒนา พื้นที่ที่เคยเป็นจุดสำ�คัญทางประวัติศาสตร์ให้ กลายเป็นแหล่งท่องเทีย่ ว อย่างเช่นทีเ่ หยียนอาน เมื อ งทางตอนเหนื อ ของมลฑลส่ า นซี ที่ มี ประชากร 2 ล้านคน ซึ่งถูกขนานนามว่าเป็น “ดินแดนแห่งการปฏิวัติ” เพราะเป็นฐานที่มั่น ของพรรคคอมมิวนิสต์ของท่านประธานเหมา เจ๋อตุงตลอดช่วงระหว่างปี 1935 -1947 ก็ได้ถูก เนรมิตให้กลายมาเป็นพิพิธภัณฑ์มีชีวิตสำ�หรับ นักท่องเที่ยวที่จ่ายค่าเข้าชมจำ�นวน 150 หยวน (ราว 750 บาท) สำ�หรับชมการแสดงการต่อสู้ และจ่ายเพิ่มอีกเพียง 15 หยวน (ราว 75 บาท) กับการได้สวมชุดเครื่องแบบของกองทัพและ เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการวิ่งฝ่าดงระเบิด และกระสุ น ก่ อ นจะจบลงด้ ว ยชั ย ชนะของ กองทัพและเสียงปรบมือของผู้ชม เหยียนอานเป็นเพียงหนึ่งในจุดท่องเที่ยว ทางประวัติศาสตร์ของพรรคคอมมิวนิสต์ แต่ เป็นจุดที่ได้รับความนิยมสูงสุด โดยในช่วงห้า เดือนแรกของปี 2010 เหยียนอานได้ต้อนรับนัก ท่องเที่ยวในประเทศไปแล้วกว่า 8.5 ล้านคน และในช่วงที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนฉลองครบ รอบ 90 ปีนั้น สำ�นักงานการท่องเที่ยวเมือง เหยี ย นอานถึ ง กั บ ต้ อ งประกาศเตื อ นผ่ า น เว็บไซต์อย่างเป็นทางการว่าโรงแรม 11 จาก 13 แห่งในเมืองเหยียนอานมียอดการจองเต็มแล้ว

© Ding Lixin/Xin Hua/Xinhau Press/Corbis

ภาพจาก www.peopleforum.cn

ไปเจอสหายเก่า ถ้าหากไม่ออกเดินทางไปนอกเมือง ภัตตาคาร เรด คลาสสิก ในกรุงปักกิ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ของการย้อนกลับไปสู่บรรยากาศแห่งช่วงการปฏิวัติวัฒนธรรมระหว่างปี 1966-1976 ที่แห่งนี้ ไม่เพียงแต่จะตกแต่งสถานที่ด้วยโปสเตอร์ปลุกใจ แต่ยังเสิร์ฟอาหารท้องถิ่นของภาคตะวันออก เฉียงเหนือโดยบริกรชายหญิงที่แต่งเครื่องแบบทหารแห่งกองทัพแดง และมีการแสดงประกอบ การร้องเพลงแห่งการปฏิวัติ จึงทำ�ให้คํ่าคืนของวันครบรอบของพรรคคอมมิวนิสต์นั้นแน่นขนัด ไปด้วยเหล่าสหายเก่า กันยายน 2554

l

Creative Thailand

17


Cover Story เรื่องจากปก

การพั ฒ นาแหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วทั้ ง ในเมื อ ง เหยี ย นอานและกรุ ง ปั ก กิ่ ง นี้ เ ป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของแผนการพัฒนา Red Tourism แห่งชาติ ปี 2004-2010 ซึ่งประกาศโดยสำ�นักงานการ ท่องเที่ยวประเทศจีนตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อลดแรงกดดันที่มีต่อพรรคคอมมิวนิสต์ ทั้ง ในเรื่องความเหลื่อมลํ้าของรายได้ในเขตชนบท และในเมือง รวมทัง้ เป็นการเพิม่ ความนิยมของ รัฐบาลที่อาจจะสั่นคลอนในกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ เติบโตมากับยุคเศรษฐกิจทุนนิยม การลงทุนดังกล่าวนี้นับว่าคุ้มค่า เพราะ ลำ�พังแค่เมืองเหยียนอานแห่งเดียวนั้น ในปี 2010 สามารถสร้างรายได้ให้กบั เมืองถึง 7.6 พัน ล้านหยวน (ราว 3.8 หมื่นล้านบาท) จากนัก ท่องเที่ยวจำ�นวน 14 ล้านคน ขณะเดียวกันก็ยัง ส่งต่อประสบการณ์ของความยากลำ�บากจาก คนรุ่นก่อน มายังคนรุ่นหลังอย่างละมุนละม่อม จากความสำ�เร็จดังกล่าว รัฐบาลจีนจึงได้ ตั้งเป้าการก่อสร้างและจัดตั้งเขตการท่องเที่ยว Red Tourism กว่า 100 แห่งทั่วประเทศและ คาดว่าในปี 2015 จะมีจ�ำ นวนนักท่องเทีย่ วทะลุ 800 ล้านคนต่อปี สร้างรายรับรวมกว่า 200,000 ล้านหยวน (ราว 1 ล้านล้านบาท) โดยจะมี อัตราการเติบโตอย่างตํ่าร้อยละ 10 ต่อปี ซึ่ง เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ผู้แทนจาก 13 เมืองของจีนยังได้มาร่วมลงนามในปฏิญญา ความร่ว มมื อ การท่อ งเที่ย ว Red Tourism เหยียนอาน (China Red Tourism Cities Strategic Cooperation Yan'an Declaration) ซึ่งประกอบไปด้วยเมืองเหยียนอาน กวางอาน เซีย งถาน จิ น กั ง ซาน รุ่ย จิน จุนยี่ ไป่เซ่อ ซื่อเจียจวง หลินยี่ อานหยาง หยู่หลิน ชิ่งหยาง และฮุ่ยหนิง

18

Creative Thailand

l กันยายน 2554

จุดหมายต่อไป... ถ้ า หากถามถึ ง แนวโน้ ม อุ ต สาหกรรมการ ท่องเที่ยวของโลกนัน้ นอกจากการเพิม่ ขึน้ อย่าง ต่อเนื่องของจำ�นวนนักท่องเที่ยวแล้ว อุตสาหกรรม การท่องเที่ยวยังถูกปรับรูปแบบไปตามความ ต้องการของนักท่องเที่ยวสมัยใหม่ที่มีความรู้ มากขึน้ จากเครือข่ายออนไลน์ การมีสมาร์ทโฟน ที่ช่วยให้การดำ�รงชีวิตในต่างแดนง่ายขึ้น การ มีจิตใจที่ห่วงใยสิ่งแวดล้อม และความต้องการ สิ่งที่มาเติมเต็มชีวิตของพวกเขาเหมือนดังคำ� กล่าวของนักเขียนอเมริกันที่มีชีวิตในช่วงต้น ศตวรรษที่ 19 ทีก่ ล่าวไว้วา่ “จุดหมายปลายทาง ของคนๆ หนึ่งไม่ใช่สถานที่ แต่คือการมองโลก ด้วยวิธีใหม่”

ที่มา : www.travelmole.com www.luxehomeswap.com www.brisbanetimes.com.au www.independent.co.uk www.thisismoney.co.uk www.spaceadventures.com www.popsci.com www.ibtimes.com www.cnngo.com www.thaiembbeij.org

© Atlantide Phototravel/Corbis

นักท่องเที่ยวใกล้ทะลุพันล้าน นักเดินทางออกแสวงหาประสบการณ์ชีวิตในต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี จากตัวเลข ขององค์การการท่องเที่ยวโลก พบว่า จำ�นวนการเดินทางในต่างประเทศเพิ่มขึ้นจาก 567 ล้าน ครั้งในปี 1995 ได้เพิ่มเป็น 664 ล้านครั้ง และ 937 ล้านครั้งในปี 2000 และ 2010 ตามลำ�ดับ โดย ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนั้นเป็นจุดหมายปลายทางที่มีอัตราการเติบโตมากที่สุด จากปี 2000 ที่ มีการเดินทางจำ�นวน 104 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้นเป็น 190 ล้านครั้งในปี 2010 ซึ่งทำ�ให้รายได้จากการ ท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นตามไปด้วยอย่างรวดเร็วจาก 372 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 1995 เพิ่มขึ้นเป็น 527 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 10 ของการจ้างงานและผลิตภัณฑ์มวลรวม ประชาชาติโลก


Insight

เรื่องและภาพ: ศุภมาศ พะหุโล ปลายถนนนานกิง ณ นครเซี่ยงไฮ้ อพาร์ทเมนต์ทรงยุโรปสมัย ทศวรรษ 1920 ถูกปรับเปลี่ยนให้กลายเป็นโรงแรมขนาดเล็ก ที่ เสาบริเวณด้านนอกของอาคารมีเพียงแผ่นป้ายทองแดงขนาด เล็กระบุว่า JIA Hotel เพื่อบอกจุดหมายสำ�หรับนักเดินทาง ผู้เสาะหาที่พักที่ให้ความรู้สึกสบายใจเหมือนอยู่บ้านแต่ภายใน อัดแน่นด้วยผลงานของนักออกแบบร่วมสมัย อีกฝั่งหนึ่งของโลก บนเกาะแมนฮัตตัน นิวยอร์ก ชายหนุม่ สวมเครือ่ งแบบและหมวก ประหนึ่งนายสถานีคอยต้อนรับผู้มาเยือนยัง The Jane Hotel หลังจากลงทะเบียนห้องพัก เขาจัดแจงยกกระเป๋านำ�ทางเข้าสู่ ประตูลับ แล้วค่อยๆ พาไต่บันไดแคบๆ ขึ้นไปจนถึงประตูห้อง ตามหมายเลขที่ระบุไว้บนพวงกุญแจแบบโบราณ เมื่อเขาเปิด ประตูออก สิ่งที่ปรากฏตรงหน้า คือห้องพักซึ่งถอดแบบจากตู้ นอนบนรถไฟย้อนยุคที่ให้ความรู้สึกเหมือนกำ�ลังหลุดเข้าไปใน ภาพยนตร์ The Darjeeling Limited (2007) ของผู้กำ�กับ เวส แอนเดอร์สัน

ลืมภาพอาคารกล่องสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ที่บรรจุห้องพักหน้าตาเหมือนกัน กว่าร้อยห้อง การวางผังภายในที่คำ�นึงถึงแต่การประหยัดพื้นที่ เพราะ ประสบการณ์ในการเดินทางนั้นไม่ได้หมายถึงแค่การเลือกเมืองหรือ สถานทีท่ ไ่ี ปเยือน แต่ยงั รวมถึงพาหนะทีใ่ ช้เดินทางและการเลือกทีพ่ กั ด้วย เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของกลุ่มนักเดินทางที่นับวันยิ่งมีความหลาก หลายมากขึ้น ธุรกิจโรงแรมขนาดย่อมที่อัดแน่นด้วยเอกลักษณ์เฉพาะตัว จึงแทรกตัวในอุตสาหกรรมท่องเทีย่ ว แบ่งส่วนแบ่งจากโรงแรมขนาดใหญ่ ที่ขยายตัวจนเกินความต้องการของผู้เข้าพักและห้องเช่าราคาถูกสำ�หรับ นักเดินทางทุนตํ่า โรงแรมบูติก (Boutique hotels) คือโรงแรมขนาดเล็กที่มีห้องพัก จำ�กัด แต่ยงั คงความหรูหราและเครือ่ งอำ�นวยความสะดวกอย่างครบครัน และสิง่ ทีส่ �ำ คัญทีส่ ดุ คือ บุคลิกทีช่ ดั เจนและการรักษาภาพรวมของโรงแรม ตามแนวคิดตัง้ ต้น เพือ่ สร้างความรูส้ กึ เชิงบวกและประสบการณ์ทแ่ี ตกต่าง

ให้กับนักเดินทาง กล่าวกันว่า Blakes Hotel ที่ตั้งอยู่ในย่านเชลซีของกรุง ลอนดอนซึ่งเปิดดำ�เนินการตั้งแต่ปี 1978 คือต้นแบบของโรงแรมบูติกใน ยุคบุกเบิก อานุชชา แฮมเพล ดีไซเนอร์ผู้ออกแบบโรงแรมแห่งนี้ต้องออก เดินทางไปทัว่ โลก เพือ่ คัดเลือกของสาํ หรับตกแต่งห้องพักซึง่ แบ่งออกตามธีม และนอกจากความสวยงาม สิง่ ทีโ่ ดดเด่นของโรงแรมแห่งนี้ คือการให้บริการ ที่ใกล้ชิดและการรักษาความเป็นส่วนตัวของผู้เข้าพัก ด้วยขนาดทีเ่ ล็กกว่าเมือ่ เทียบกับโรงแรมทัว่ ไป โรงแรมบูตกิ จึงสามารถ ให้บริการลูกค้าได้อย่างใกล้ชิด โรงแรมบูติกที่ดีจำ�เป็นต้องเข้าใจความ ต้องการของกลุ่มลูกค้าอย่างลึกซึ้ง ตั้งแต่การให้บริการ Wi-Fi ภายใน ห้อง การจัดเตรียมหมอนหลากประเภทเพื่อให้เลือกได้ตามความคุ้นเคย หรือการอบรมพนักงานต้อนรับเพื่อให้ความช่วยเหลือตั้งแต่แนะนำ�สถาน ที่ท่องเที่ยวที่อยู่นอกเหนือไกด์บุ้กไปจนถึงจองโต๊ะร้านอาหารดังที่ไม่ควร พลาด และบริการอาหารเช้าแบบ เลือกสั่งได้จากเมนู (a la carte) ที่สด ใหม่จากเตาแทนบุฟเฟ่ต์ที่เย็นชืด โรงแรมบูติกผุดขึ้นตามหัวเมืองท่องเที่ยวตั้งแต่ทศวรรษ 1990 เพื่อ รองรับการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมนักเดินทางที่ถามหาความตื่นเต้น และความแปลกใหม่ ซึ่งแม้แต่โรงแรมเครือใหญ่อย่าง Starwood Hotels & Resorts ยังต้องออกแบรนด์ใหม่ W hotels ที่เน้นความเป็นโรงแรมบูตกิ เพื่อมาแข่งขันในตลาดนี้ ในโลกยุคที่แนวคิดและเนื้อหาสาระเป็นสิ่งที่น่า ดึงดูดใจมากกว่ารูปลักษณ์ภายนอก เรื่องเล่าและแนวคิดของโรงแรม ประเภทบูติกจึงมีส่วนช่วยในการตัดสินใจเลือกใช้บริการอย่างมาก และ โรงแรมบูติกยังคงพิสูจน์ให้เห็นว่า โรงแรมสามารถทำ�หน้าที่ได้มากกว่า การเป็นเพียงที่พักชั่วคราว

ที่มา: www.tablethotels.com www.designhotels.com กันยายน 2554

l

Creative Thailand

19


Creative Entrepreneur คิด ทํา กิน

เรื่อง: กมลกานต์ โกศลกาญจน์ ภาพ: อดิเดช ชัยวัฒนกุล

20

Creative Thailand

l กันยายน 2554

ในปัจจุบันที่กระบวนการผลิตรายการโทรทัศน์ ไม่ใช่เรื่องยาก อย่างในอดีต ขณะที่โอกาสในการเข้าถึงพื้นที่สื่อก็เพิ่มจำ�นวน มากขึ้น ทำ�ให้ผู้ที่มีเนื้อหาอันน่าสนใจอยู่ในมือสามารถหยิบยื่น เรือ่ งราวและส่งเนือ้ สารถึงผูช้ มผ่านช่องโทรทัศน์ตา่ งๆ ได้งา่ ยขึน้ ยิ่งประเภทรายการยอดนิยมอย่างรายการท่องเที่ยวด้วยแล้ว การเกิดขึ้นของ Travel Channel Thailand ช่องท่องเที่ยวที่ ผลิตโดยคนไทยช่องแรกซึ่งออกอากาศกันตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อจัดหนักให้คนรักการเดินทาง ทางทรู วิชั่นส์ ช่อง 73 จึงไม่ใช่ เรื่องเกินคาดหมาย และยังได้เสียงตอบรับอย่างท่วมท้น


Creative Entrepreneur คิด ทํา กิน

รายการที่ตอบสนองความต้องการของกลุ่ม เป้าหมายอย่างเข้าใจ ความหลากหลายของ เนื้ อ หาที่ ต อบโจทย์ ทุ ก กลุ่ ม คนดู อ ย่ า งมี ประสิทธิภาพเหล่านี้ ยังเป็นแรงผลักดันสำ�คัญ ให้กระแสการท่องเที่ยวเป็นรูปธรรม และก้าวสู่ การเป็นสื่อกลางที่ช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวทั้ง ภายในและต่างประเทศ อะไรคือส่วนผสมทีล่ งตัว ระหว่างก้าวย่างในการเดินทางกับการดำ�เนิน ธุรกิจบนความสุนทรีย์ของมนุษย์ แนวคิดที่ไม่ ธรรมดาของผูบ้ ริหาร Travel Channel Thailand อย่าง “วิชญ์ ไวฑูรเกียรติ” ผูจ้ ดั การทัว่ ไปจะพา คุณไปพบคำ�ตอบ Talk of the town จากความเข้าใจพฤติกรรมของการท่องเที่ยว รูปแบบใหม่ การรูจ้ กั สร้างเสริมทุนทางวัฒนธรรม นำ � ภู มิศ าสตร์ แ ละเอกลั ก ษณ์ อัน น่ า หลงใหล ของไทยมาปรับใช้เป็นศักยภาพสำ�คัญทีส่ ง่ เสริม การท่องเทีย่ วภายในประเทศ ซึง่ เมือ่ บวกเข้ากับ ใจทีร่ กั การเดินทาง และความเฉียบคมทีม่ องเห็น ถึงปัญหาและอุปสรรคที่ทำ�ให้คนออกเดินทาง น้อยลงจากข้อจำ�กัดต่างๆ ในชีวติ ผลลัพธ์ของ แนวความคิดนีจ้ งึ กลายมาเป็นรายการท่องเทีย่ ว รู ป แบบใหม่ ที่ ฉี ก กฏรายการท่ อ งเที่ ย วสู ต ร สำ�เร็จแบบกิน เทีย่ ว พักไปอย่างสิน้ เชิง แต่กลับ ให้นํ้าหนักไปกับเนื้อหาที่สื่อสารกับผู้ชมแทน อย่างรายการ Hangover Thailand รายการ ท่องเที่ยวรูปแบบโรดทริปกึ่งเรียลลิตี้ ที่พิธีกร ดำ�เนินรายการแบบไม่มสี คริปต์ เพือ่ สือ่ ถึงความ รูส้ กึ จริงเท่านัน้ หรือรายการ 7th Heaven ทีน่ �ำ เสนอการเดินทางท่องเทีย่ วระดับหรู ตอบคำ�ถาม ตัง้ แต่เรือ่ งการเดินทาง ที่พกั และบริการ พร้อม เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับโรงแรมที่ไม่เคยมี ใครได้ยินมาก่อน นั่งอยู่ในใจผู้ชม หลายรายการของ Travel Channel Thailand สะท้อนมิติที่หลากหลายของการท่องเที่ยวที่ไป กั น ได้ ดี กั บ รู ป แบบการเดิ น ทางของผู้ ค นใน ปัจจุบัน การเปิดโอกาสให้ผู้ชมได้มีส่วนร่วมใน

รายการ หรือร่วมทริปไปกับพิธีกรที่เรียกกันว่า ‘TC’ (Travel Companion) ซึ่งหมายถึงเพื่อนผู้ ร่วมเดินทางไปด้วยกัน อย่างที่เห็นในรายการ See You Soon ก็สามารถบอกเล่าการก่อตัว ของมิตรภาพเล็กๆ ระหว่างการเดินทางที่ถูก ถ่ายทอดออกมาเป็นภาพและเสียงได้เป็นอย่างดี ขณะที่รายการสดก็ถือเป็นอีกหนึ่งข้อพิสูจน์ถึง ความเป็น “ตัวจริง” ของช่องท่องเที่ยวช่องนี้ ที่ ต้ อ งอั พ เดทข้ อ มู ล ที่ ค รบถ้ ว นและทั น ต่ อ สถานการณ์ตลอดอยู่เวลา “อย่างวันจันทร์จะมี รายการ Monday Ready เป็นรายการสำ�หรับ คนทำ�งานที่จะมาดูว่าตั้งแต่วันจันทร์เริ่มต้น สัปดาห์ในปฏิทินท่องเที่ยวมีอะไรน่าสนใจบ้าง รวมถึงแนะนำ�หนังสือ พ็อกเก็ตบุ้กเกี่ยวกับการ ท่องเที่ยว หรือถ้าเป็นวันศุกร์ รายการ Travel Best Booking ก็จะอัพเดทแพ็กเกจท่องเที่ยวดีๆ ให้กบั ผูช้ ม ซึง่ จะโยงกับเว็บไซต์ Gogoza.com by Travel Channel Thailand ที่เป็นการยกงาน ไทยเที่ยวไทย หรือ Travel Expo เข้ามาไว้ใน เว็บไซต์ คือคุณสามารถไปงานไทยเทีย่ วไทยได้ ทุกวัน แบบตลอด 24 ชั่วโมง” สร้างความยั่งยืน เพราะรู้ดีว่าการท่องเที่ยวจะยั่งยืนได้ นอกจาก คำ�ว่าเพียงพอแล้ว ก็ยงั ต้องทำ�ให้แหล่งท่องเทีย่ ว นั้นๆ ได้เติบโตในวิถีทางของตนเองด้วย การ ผลิตรายการโทรทัศน์ของช่องนี้จึงไม่ได้มุ่งผล ประโยชน์ดา้ นธุรกิจทีจ่ ะได้รบั เท่านัน้ แต่ยงั เป็น การรักษาความสวยงามระหว่างทางให้คงไว้ โดยการให้ความร่วมมือกับการท่องเที่ยวแห่ง ประเทศไทย (ททท.) หรือโครงการดีๆ เพือ่ สังคม เช่น ร่วมมือกับสถาบันการศึกษา เปิดโอกาสให้ นักศึกษาทำ�โครงการประกวดภาพยนตร์สั้น หรือรายการท่องเที่ยวที่มีโอกาสออกอากาศจริง “เรายินดีจะให้ความร่วมมือ เพราะเรามีมเี ดียที่ ทำ�เรื่องของการท่องเที่ยวโดยตรง 24 ชั่วโมง ซึง่ นอกจากจะช่วยเป็นสือ่ กลางแล้ว เรายังพร้อม สะท้อนทุกอย่างทั้งด้านบวกและลบเพื่อความ ยั่งยืนของการท่องเที่ยว ตามหลัก 3P คือ People, Planet และ Profit ที่เรายึดถือไว้”

ถ่ายทอดประสบการณ์ เพราะหั ว ใจสำ � คั ญ ของการเดิ น ทางคื อ ประสบการณ์ที่ได้รับกลับมาเป็นสำ�คัญ แต่ละ เรื่องราวที่ถูกบรรจุอยู่ในแต่ละพื้นที่ คือสิ่งที่น่า ค้นหาและมีความหมายทั้งต่อผู้เดินทางและ คนที่อาศัยอยู่ในท้องถิ่น “การได้ไปแต่ละที่มัน มีเรื่องราว ถ้าเราไปเป็นกลุ่ม มันก็มีเรื่องราว เอามาคุยกันวันหลัง หรือถ้าไปคนเดียว มันก็มี เรื่องราวที่เอามาเล่าต่อ และเป็นประสบการณ์ ชีวิต” ต่อยอดจากแนวความคิดนี้ คุณวิชญ์ยัง ได้นำ�มากำ�หนดเป็นวัตถุประสงค์สำ�คัญที่ต้อง พาช่องท่องเทีย่ วนีไ้ ปให้ถงึ ให้ได้ “อยากให้ทกุ ๆ คนชอบการท่องเที่ยว อยากที่จะออกไปท่องเทีย่ ว คือสิ่งที่สำ�คัญที่สุดสำ�หรับคอนเทนท์ ไม่ใช่ดู แล้วก็ อ้าวเหรอ...ก็ดีนะ แต่ดูแล้วต้องอยากไป เลย ต้องเกิดกิเลส (หัวเราะ) ถึงไม่มีโอกาสไป ก็ขอให้อยากไป คือดูแล้วรู้ว่าคนที่ไปมันเป็น แบบนี้นี่เอง” ติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่ www.travelchannel.co.th หรือทางแฟนเพจ www.facebook.com/TravelChannelThailand กันยายน 2554

l

Creative Thailand

21


Creative City

จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

เรื่อง: ศิริอร หริ่มปราณี ภาพ: กัลย์ธีรา สงวนตั้ง

จะมีสักกี่แห่งในโลก ที่แม่ค้าหาบเร่จะปักหลักขายผลไม้อยู่หน้าโรงแรมห้าดาว พ่อครัวไม่ รังเกียจรังงอนกับออเดอร์อาหารตามสัง่ แบบละเอียดยิบของลูกค้า และโอกาสทีน่ กั ท่องเทีย่ ว จะถูกแท็กซี่หลอก มีมากพอๆ กับโอกาสที่จะได้หนังสือเดินทางคืนเมื่อลืมทิ้งไว้บนรถ ที่นี่ คือ กรุงเทพมหานคร เมืองที่ความชุลมุนจอแจ อาหารริมถนน และอากาศร้อนชื้น อยู่ร่วม กับความตระการตาของอารามหลวงได้อย่างไม่ขัดเขิน ทั้งยังกลับกลายเป็นเสน่ห์อันทรง พลัง ที่ทำ�ให้กรุงเทพฯ เป็นจุดหมายปลายทางที่น่าหลงใหลได้ไม่รู้จบ

22

Creative Thailand

l กันยายน 2554


Creative City

จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

กว่า 229 ปีของการสถาปนากรุงเทพฯ เป็น เมืองหลวง ความเติบโตของเมืองแผ่ขยายออก ไปไกลจากปากแม่นํ้าเดิม พร้อมๆ กับเผยให้ เห็นด้านมืดของเมืองจากการพัฒนาแบบไม่ได้ เตรียมตัว เพราะเมื่อแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 เริม่ ขึน้ ในปี 2504 ความ โชติ ช่ ว งแห่ ง การพั ฒ นาเมื อ งจากการลงทุ น ภาคอุตสาหกรรมและการก่อสร้างทางหลวง ได้ชักนำ�การเคลื่อนย้ายแรงงานสู่เมืองอย่าง รวดเร็วและรุนแรง บนความเพลิดเพลินจาก การเติบโตนี้ได้ทิ้งร่องรอยไว้ให้รูปลักษณ์ของ เมือง ทั้งภูมิทัศน์จากอาคารและสิ่งปลูกสร้าง มลพิษทางอากาศ สภาพการจราจรติดขัด ชุมชน แออัด และระบบสาธารณูปโภค ทัง้ ไฟฟ้า ประปา และสายโทรศัพท์ ที่ไม่เคยลงรอยกันได้สักครั้ง แต่ในฐานะผู้มาเยือนจากต่างถิ่น ความไร้ ระเบี ย บอั น มิ ไ ด้ เ จตนานี้ ก ลั บ น่ า รั ก น่ า ใคร่ เพราะท่ามกลางความเสี่ยงที่กระแสไฟฟ้าจะ วิ่งลัดผิดทางจากสายไฟที่ระโยงระยางนั้น มัก จะตามมาด้วยอาหารริมถนนที่อร่อยลํ้า ตลาด นัดกลางแจ้ง และระบบโลจิสติกส์อันยอดเยี่ยม ของมอเตอร์ไซค์รบั จ้างทัว่ เมือง ความช่างบริการ และบรรยากาศที่เป็นมิตรจนไม่เกิดความรู้สึก แปลกแยกสำ�หรับชาวต่างชาตินน้ั นับเป็นผลผลิต สำ�คัญจากการเป็นเมืองท่าที่เปิดรับโลกกว้าง มาตัง้ แต่สมัยอยุธยา (ราวศตวรรษที่ 14-18) เพือ่ ทำ � หน้ า ที่ เ ก็ บ ภาษี เ รื อ สิ น ค้ า ที่ ผ่ า นเข้ า ออก ขนส่งสินค้า โกดังเก็บสินค้า และแหล่งเจรจา ธุรกิจของชาวต่างชาติ จนในปัจจุบัน กรุงเทพฯ ยังคงทำ�หน้าที่นั้นอย่างสมบูรณ์ ด้วยการเป็น ประตูที่ไม่เคยปิดรับการเดินทางมาถึงของนัก ท่องเที่ยวที่แตะหลัก 16.5 ล้านคนในปีนี้ เพิ่ม ขึ้นจากจำ�นวน 15.8 ล้านคนในปีก่อน ซึ่งเป็น ส่วนสำ�คัญในการสร้างฐานรายได้จากธุรกิจ ท่องเที่ยวของชาวต่างชาติให้เพิ่มเป็น 6 แสน ล้านบาท จาก 5.8 แสนล้านบาท ขณะเดียวกัน ในส่วนของเมืองเองก็สร้างรายรับจากกิจการ ต่างๆ ราว 46,224 ล้านบาท และรายได้จาก ภาษีราว 13,342 ล้านบาทในปี 2554 กันยายน 2554

l

Creative Thailand

23


Creative City

จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

“Street food” คุ้มราคาและน่าสนุก เมื่อนิตยสาร Sunday Times Travel Magazine ฉบับมิถนุ ายน 2554 เลือกกรุงเทพฯ ให้รบั รางวัล Best-Value City, Worldwide จากการจัดอันดับ Value for Money Awards 2011 ไม่มีอะไร ต้องสงสัยเลยว่า กรุงเทพฯ ยังมีมนต์ขลัง เพราะ การจัดอันดับของนิตยสารด้านท่องเที่ยวราย เดื อ นที่ ไ ด้ รั บ ความนิ ย มสู ง สุ ด ของสหราช อาณาจักรฉบับนี้ มาจากการโหวตของสมาชิก ผู้ อ่ า นนิ ต ยสารที่ ป ระกอบด้ ว ยกลุ่ ม นั ก เขี ย น และผู้เชี่ยวชาญที่ใช้ประสบการณ์ตรงระหว่าง ที่เดินทางท่องเที่ยวในไทยในช่วงปีที่ผ่านมา โดยเหตุผลสำ�คัญที่ช่วยให้กรุงเทพฯ ได้รับการ โหวตรางวัลนี้ คือประสบการณ์อันทรงคุณค่าที่ นักท่องเที่ยวจะได้รับในราคาที่คุ้มค่าเงิน ไม่ว่า จะเป็น ค่าเข้าชมแหล่งท่องเที่ยว ค่าพาหนะ ท้องถิ่น รวมถึงนักท่องเที่ยวยังสามารถลิ้มรส อาหารอร่อยนานาชนิดที่จำ�หน่ายอยู่ริมสองฝั่ง ถนนในราคาย่อมเยา โดยมีเมืองท่องเที่ยวที่ได้ รับคะแนนโหวตอันดับรองลงมา ได้แก่ บัวโนส ไอเรส (อาร์เจนตินา) ฮาวานา (คิวบา) เคปทาวน์ (แอฟริกาใต้) มุมไบ (อินเดีย) และอิสตัลบูล (ตุรกี) 24

Creative Thailand

l กันยายน 2554

ประสบการณ์ยอดนิยมจาก Street food ทีว่ า่ กันว่าคุม้ ราคาและน่าสนุกนี้ สามารถพบเห็น ได้ทั่วกรุงเทพฯ อย่างชินตาจากเขตเมืองเก่า ของเกาะรัตนโกสินทร์ ย่านไชน่าทาวน์ เขต ใจกลางเมืองบนถนนสุขมุ วิท ซอยทองหล่อ หรือ ข้ามไปฝั่งธนบุรี ซึ่งสำ�หรับนักท่องเที่ยวแล้ว นอกจากความตื่ น ตาจากอาหารที่ เ รี ย งราย หลากหลาย ลีลาทะมัดทะแมงของพ่อครัวและ เด็กเสิร์ฟก็ยังเป็นเสมือนการได้ชมโชว์ดีๆ ที่ให้ อรรถรสครบครัน Joshua Kurlantzick ผู้สื่อ ข่าวของนิวยอร์ก ไทม์ เขียนถึงความพิสมัยต่อ สิ่งนี้ ในบทความ “Street Smarts in Bangkok” ว่า ในแต่ละครั้งที่มากรุงเทพฯ เขาจะต้องมี รายชื่ออาหาร Street Food ในย่านใหม่ๆ ที่ ต้องลองมาด้วยทุกครั้ง บนสองฝั่งถนนของ กรุงเทพฯ นัน้ เต็มไปด้วยร้านค้า หาบเร่แผงลอย ที่ มี เ รื่ อ งราวของตำ � รั บ อาหารตกทอดกั น มา ยาวนาน อาหารริมถนนเหล่านี้ประกอบไปด้วย วัตถุดิบที่สดใหม่จากจังหวัดใกล้เคียง เครื่อง ปรุงรสนานาชนิด ที่เคียงคู่มากับทัศนคติอันดี เยี่ ย มที่ พ ร้ อ มสร้ า งสรรค์ ร สชาติ อ าหารให้ ถูกปากลูกค้าเสมอ อาหารจากผู้ค้าริมถนนนี้ จึงเต็มไปด้วยสีสัน และนำ�ไปสู่ความสนใจที่จะ เรียนรูถ้ งึ การปรุงอาหารเหล่านีอ้ ย่างถูกวิธอี กี ด้วย


Creative City

จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

Welcome to Thai Cooking Class ที่ถนนข้าวสาร นักท่องเที่ยวชาวสวีเดนกำ�ลังสาละวนอยู่กับการหยิบจับอุปกรณ์เครื่องครัวไทย ซึ่งบาง อย่างพวกเขาไม่เคยเห็นมาก่อนในชีวิต เสียงอุทานและเสียงหัวเราะดังผสมกันออกมาจากพื้นที่ ที่เรียกว่าชั้นเรียนทำ�อาหารไทย เราไม่อาจปฏิเสธได้ว่า อาหารไทยเป็นเสน่ห์อันดับต้นๆ ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยือน แต่ กรุงเทพฯ สร้างตัวเองให้เหนือกว่านั้น ด้วยชั้นเชิงในการบริการสอนทำ�อาหารไทยที่ครบรส ทั้งตื่นเต้น สนุกสนาน หรืองดงาม ภายใต้โรงเรียนสอนทำ�อาหารที่ซุกซ่อนอยู่ทั่วเมือง จากถนนข้าวสาร ตรอก รามบุตรี หรือซอกซอยในสีลม ด้วยหลักสูตรราคาย่อมเยา 1,500-2,000 บาท สำ�หรับ 1- 2 เมนูยอด ฮิต พร้อมกิจกรรมจับจ่ายตลาดยามเช้า ก่อนเข้าครัวลงมือทำ�อาหารและปิดท้ายด้วยการชิมรสมือ ของตัวเอง แต่สำ�หรับลูกค้าที่ขยาดกับตลาดสดที่เจิ่งนอง และต้องการสัมผัสศิลปะการทำ�อาหารไทย แบบชาววัง สถาบันสอนทำ�อาหารไทยก็มีให้เลือกอย่างมากมายทั้งหลักสูตรจากโรงเรียนและโรงแรม ระดับห้าดาว จิตรา จันทรากุล นายกสมาคมผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนนอกระบบ กล่าวถึงกระแสการเรียน ทำ�อาหารในโรงเรียนสอนทำ�อาหารว่ามีจำ�นวนเพิ่มมากขึ้นทุกปี อย่างปีที่ผ่านมา เฉพาะคนไทยที่มา สมัครเรียนทำ�อาหารมีกว่าหมื่นคน ตั้งแต่วัยรุ่นไปจนถึงผู้ที่เรียนจบระดับปริญญาเอก ขณะที่ชาวต่าง ชาติให้ความสนใจที่จะเรียนทำ�อาหารไทยโดยเฉพาะเมนูเด่นๆ อย่างต้มยำ�กุ้ง ผัดไท และการแกะ สลักผลไม้ เช่นเดียวกับ กอบแก้ว นาจพินิจ ผู้อำ�นวยการโรงเรียนสอนทำ�อาหารไทย "ข้าว" บนถนน ข้าวสาร ที่เชื่อมั่นว่า หากนักท่องเที่ยวเข้ามาลิ้มรสอาหารไทย ก็ถือว่าร้านอาหารเหล่านั้นได้ช่วย ทำ�การประชาสัมพันธ์ให้แก่อาหารไทยแล้ว ส่วนชั้นเรียนสอนทำ�อาหารไทยที่กำ�ลังได้รับความนิยม อย่างสูงในหมู่นักท่องเที่ยว นั่นเพราะอาหารไทยเป็นองค์ประกอบสำ�คัญในการเข้าถึงวัฒนธรรมแบบ ไทย ทั้งยังเป็นส่วนสำ�คัญทางการตลาดของ "แบรนด์ไทย” ในระดับนานาชาติอีกด้วย ดังนั้นไม่ว่าพวกเขาจะได้ความรู้ติดมือกลับบ้านจากชั้นเรียนเหล่านี้มากน้อยเพียงใด แต่ที่สำ�คัญ พวกเขาได้เป็นส่วนหนึ่งของครัวไทย เครื่องปรุงไทย และอาหารไทย อย่างไม่ต้องสงสัย ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน 10 กุมภาพันธ์ 2554 สำ�นักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาภาคเอกชน 13 ธันวาคม 2553 ขอขอบคุณ: โรงเรียนสอนทําอาหารไทย "ข้าว"

มิตรสหายจากแดนไกล กรุงเทพฯ บ่มเพาะความกลมกลืนของวิถีชีวิต แห่งที่ราบลุ่มเจ้าพระยาเข้ากับความเชื่อและ วัฒนธรรมของพ่อค้าชาวจีนและอินเดีย นัก สอนศาสนาจากตะวันตก พราหมณ์ชาวฮินดู ช่างฝีมือชาวมอญได้อย่างเกลี้ยงเกลา จะด้วย ความตั้งใจหรือไม่ก็ตาม ความเข้าอกเข้าใจใน คนต่างถิ่นได้กลายเป็นสินทรัพย์ของกรุงเทพฯ โดยไม่ต้องเสแสร้ง สิ่งเหล่านี้สะท้อนออกมา อย่างชัดเจน เมือ่ การท่องเทีย่ วแห่งประเทศไทย ได้ทำ�การสำ�รวจพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว ต่างชาติในกรุงเทพฯ และพบว่า สิง่ ที่นกั ท่องเทีย่ ว ชาวต่างชาติพึงพอใจและประทับใจต่อการมา ท่องเทีย่ วกรุงเทพฯ มากทีส่ ดุ คือ ความมีมติ รไมตรี ซึ่งมากกว่าความประทับใจต่อวัด พระราชวัง พิพิธภัณฑ์ และสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ส่วนในลำ�ดับต่อมาคือ ความคุม้ ค่าเงินต่อบริการ ต่างๆ และความหลากหลายและคุณภาพของ แหล่งช้อปปิ้ง ในขณะที่ป้ายบอกทางหรือบอก สถานที่ และความสะอาดของถนนหนทางคือ สิ่งที่นักท่องเที่ยวพึงพอใจน้อยที่สุด อั ธ ยาศั ย ของคนไทยนั บ เป็ น สิ น ทรั พ ย์ สำ�คัญที่ประเมินค่าไม่ได้ซึ่งช่วยกลบและเกลี่ย ความไม่สมบูรณ์ด้านอื่นของกรุงเทพฯ ขณะ เดียวกัน ความคุ้มค่าเงินต่อการบริการ และค่า ครองชีพในเมือง ก็เป็นปัจจัยสำ�คัญที่ทำ�ให้ ชาวต่างชาติมาท่องเที่ยว อยู่อาศัย และลงทุน ทำ�ธุรกิจในเมืองหลวงของไทย ล่าสุดนิตยสาร Economist เปิดเผยผลการสำ�รวจถึงเมืองที่มี ค่าครองชีพสูงติดอันดับโลกของ Economist Intelligence Unit's หรือ EIU ซึ่งเป็นสถาบันวิจัย ทางเศรษฐกิจ พบว่า กรุงเทพฯ มีค่าครองชีพ สูงเป็นอันดับที่ 72 ของโลก และเป็นอันดับ 2 ในกลุม่ อาเซียน ขณะทีส่ งิ คโปร์ตดิ อันดับ 10 ของ โลกและสูงที่สุดในกลุ่มอาเซียน และเมื่อความ คุ้มค่าของการใช้ชีวิตอยู่ในเมืองแห่งนี้บวกเข้า กับอุปนิสัยของผู้คน กรุงเทพฯ จึงเต็มไปด้วย นักท่องเที่ยวหลากหลายเชื้อชาติ และจำ�นวน ผู้ เ ข้ า มาตั้ ง รกรากโดยประเมินจากอัตราการ กันยายน 2554

l

Creative Thailand

25


Creative City

จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

ซื้ออสังหาริมทรัพย์ในกรุงเทพฯ ที่มีการเติบโต อย่างต่อเนื่อง ทั้งๆ ที่กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ การซื้ อ ขายอสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ สำ � หรั บ ชาวต่ า ง ชาตินั้นก็ไม่ได้เปิดเสรีเช่นในหลายๆ ประเทศ ที่ต้องการส่งเสริมให้ชาวต่างชาติเข้ามาลงทุน จากการสำ � รวจกลุ่ ม นั ก ลงทุ น ต่ า งชาติ ในตลาดคอนโดมิเนียมในกรุงเทพฯ ของบริษทั ซีบี ริชาร์ด เอลลิศ จำ�นวน 4,215 ยูนิต ในช่วง ปี 2549-ไตรมาสแรกของปี 2553 พบว่าร้อยละ 31 เป็นสัดส่วนที่ซื้อโดยชาวต่างชาติ หรือประมาณ 1,297 ยูนิต โดย 5 อันดับแรก ได้แก่ อังกฤษ อเมริกา สิงคโปร์ ฮ่องกง และฝรัง่ เศส โดยวัตถุ ประสงค์ที่ซื้อนั้น มากกว่าร้อยละ 50 ซื้อเพื่อ การอยู่อาศัย ทั้งเป็นบ้านพักถาวรหรือบ้านหลัง ที่สอง ส่วนที่เหลือเป็นการซื้อเพื่อการลงทุน เพราะชาวต่างชาติมองว่า ตลาดอสังหาริมทรัพย์ ในกรุงเทพฯ นั้น มีราคาถูกกว่าในฮ่องกงกว่า

8-10 เท่า และถูกกว่าสิงคโปร์ 5-6 เท่า และยัง เป็ นทำ �เลยอดนิยมในการอยู่ อ าศั ย ของชาว ต่างชาติอย่างมาก ด้วยองค์ประกอบที่รองรับ พื้นฐานคุณ ภาพชี ว ิ ต ไม่ว่าจะเป็ น โรงเรี ย น นานาชาติ โรงพยาบาลชั้นนำ� ร้านอาหารและ ธุรกิจบริการที่เต็มใจสื่อสารและรับฟังความ ต้องการของชาวต่างชาติ สิง่ เหล่านีส้ ง่ ผลให้การ สร้ า งชุ ม ชนและการดำ � เนิ น ชี วิ ต ของชาว ต่างชาติในกรุงเทพฯ นัน้ เป็นไปอย่างมีความสุข จะเห็นได้จากจำ�นวนชาวต่างชาติท่ีมาพำ�นัก อาศัยในกรุงเทพฯ มากขึน้ ทุกปี เช่น ชาวญี่ปุ่น ซึ่งมีมากกว่า 40,000 คน หรือผู้คนจากกลุ่ม ประเทศในตะวันออกกลางที่เดินทางมาท่ อ ง เที่ยวระยะยาว และรักษาพยาบาลในกรุงเทพฯ มากกว่า 20,000 คน ในปีที่ผ่านมา ชื่อชั้นของกรุงเทพฯ อาจจะไม่ได้พร้อม สรรพในการอำ � นวยความสะดวกด้ า นธุ ร กิ จ

และการลงทุน เมื่อเทียบเคียงกับเมืองอื่นๆ ที่ มี น โยบายส่ ง เสริ ม การลงทุ น ด้ ว ยมาตรการ จูงใจทางภาษี หรือการจัดตั้งธุรกิจใหม่อย่าง ชัดเจน นั่นเพราะข้อจำ�กัดทางกฎหมายและ กลไกของการขับเคลื่อนธุรกิจของไทยที่ยังไม่ เปิดกว้าง แต่สำ�หรับเมืองที่ทุกตรอกซอกซอย เต็มไปด้วยเรื่องราวเฉพาะตัวทั้งที่ซุกซ่อนหรือ เปิดเผย กลับกลายเป็นองค์ประกอบทีส่ ร้างสรรค์ ให้กรุงเทพฯ ช่างน่าค้นหา และควรค่าในการ สร้างประสบการณ์ร่วมกับผู้คนและเมืองที่มาก ด้วยชีวิตชีวาแห่งนี้จริงๆ

กรุงเทพฯ ได้รับเลือกให้เป็นเมืองหนังสือโลก ประจำ�ปี 2556 จากคณะกรรมการตัดสินเมือง หนังสือโลก ซึ่งประกอบด้วย ผู้แทนจากสมาคมผู้จัดพิมพ์นานาชาติ (IPA) สหพันธ์ผู้จำ�หน่าย หนังสือนานาชาติ (IBF) สหพันธ์สมาคมและสถาบันห้องสมุดนานาชาติ (IFLA) และองค์การยูเนสโก โดยกรุงเทพฯ ได้น�ำ เสนอโครงการปรับปรุงอาคารเก่าของศาลาว่าการกรุงเทพมหานครให้กลายเป็น พิพิธภัณฑ์และหอสมุดประจำ�เมือง โดยตั้งเป้าให้คนอ่านหนังสือเพิ่มประมาณ 10-20 เล่มต่อปี ภายในปี 2556 จากเดิมที่ปัจจุบันคนอ่านหนังสือเพียง 5 เล่มต่อปีเท่านั้น กรุงเทพฯ ได้รางวัลเมืองท่องเที่ยวที่ดีที่สุดของโลก ประจำ�ปี 2011 จากการจัดลำ�ดับเกี่ยวกับการ ท่องเทีย่ วของ เทรเวล แอนด์ เลชเชอร์ นิตยสารท่องเทีย่ วทีไ่ ด้รบั ความนิยมสูงสุดในสหรัฐฯ ตามมา ด้วยฟลอเรนซ์และโรมในอิตาลี โดยนับเป็นครั้งที่สามที่กรุงเทพฯ ได้รับรางวัลนี้ โดยพิจารณาจาก สถานที่ ทัศนียภาพ ความสวยงาม ร่มรื่น ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี อาหารการกิน แหล่งช้อปปิ้ง ความเป็นมิตรของผู้คน และความคุ้มค่าของเงิน ผลสำ�รวจโครงการ "100 Amazing Places in Thailand" ปีล่าสุดของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จากการสำ�รวจนักท่องเทีย่ วต่างชาติทเ่ี คยมาเทีย่ วในไทยจำ�นวน 3,389 คน จาก 68 ประเทศ ทัว่ โลก พบว่าสถานทีใ่ นกรุงเทพฯ ทีร่ บั ความนิยมสูงสุดคือ ตลาดนัดจตุจกั ร เพราะเป็นตลาดใหญ่ มีสินค้าครบครัน และน้อยประเทศที่จะมีตลาดแบบนี้ ที่มา: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำ�นักงานกรุงเทพมหานคร

26

Creative Thailand

l กันยายน 2554


กันยายน 2554

l

Creative Thailand

27


The Creative

มุมมองของนักคิด

เรื่อง: ศุภมาศ พะหุโล และ พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์ ภาพ: ชญานี ชมแสงจันทร์

28

ด้วยความรูส้ กึ อิม่ ประสบการณ์สขุ จากการได้ออกเดินทางแบบเต็มตัว เป็นครั้งแรก ณ ประเทศอินเดีย ดินแดนภารตะที่เปิดทุกผัสสะของ การรับรู้ที่ส่งผลให้เกิดอาการ “ติดใจ” ในครั้งนั้น ได้กลายเป็นที่มา ของการเขียนพ็อกเก็ตบุ๊คบันทึกการเดินทางเล่มแรกเมื่อเจ็ดปีที่แล้ว โตเกียวไม่มีขา ทำ�ให้ชื่อ นิ้วกลม หรือ สราวุธ เฮ้งสวัสดิ์ เป็นที่รู้จักใน ฐานะนักเขียนหน้าใหม่อย่างเต็มตัว การถ่ายทอดประสบการณ์ตรง ผสมอารมณ์และมุมมองส่วนตัวที่เกิดขึ้นระหว่างเดินทางได้กระตุ้น ความฝันในการออกเดินให้กับใครต่อใครออกตามหาประสบการณ์ ในรูปแบบเดียวกันกับเขาบ้าง

ตอนเด็กๆ มีโอกาสได้เดินทางกับครอบครัวบ่อยไหม เดินทางน้อยมากเลยเพราะบ้านเปิดร้านขายของชำ� เพราะฉะนั้นพอปิด ร้าน บางทีก็อาจจะได้ไปกินข้าวนอกบ้าน การไปร้านอาหารคือความสุข คือได้ไปเที่ยวแล้ว ไปเที่ยวก็ไปห้างอะไรอย่างนี้ ถ้าเกิดว่าไปต่างจังหวัดที่ จำ�ได้เลยคือจะต้องมีวาระโอกาสพิเศษ เพราะถ้าเป็นครั้งเล็กๆ แบบไป บางแสนนี่จำ�ไม่ค่อยได้ เพราะไปเช้าเย็นกลับ ที่จำ�ได้เลยคือตอนพี่สาว สอบติดบดินทร์ฯ ตอนนั้นไปเชียงใหม่ และพอตอนเราติดบดินทร์ฯ ก็ไป ภาคใต้

ดวงตาคู่เล็กที่เต็มไปด้วยแววตาแห่งการค้นหา ได้พิสูจน์แล้วถึงมุมมองที่ กว้างขวางกว่าขนาดรูม่านตาไปหลายเท่าของเขา ขณะที่บทสัมภาษณ์นี้ อาจมีขนาดใหญ่ได้เท่าโลกทั้งใบ เพราะมันอาจจุดประกายให้คุณอยาก ออกเดินทางเพื่อทำ�ความรู้จักโลกใบนี้ไปจนสุดขอบฟ้า อย่างที่เขาเองก็ ตั้งใจอยู่เช่นกัน

ทำ�ไมสอบติดต้องไปเที่ยว มันเป็นการฉลอง ตลกดีนะ ตอนนั้นก็ไม่ได้ขอของด้วยนะ แบบสอบติด ขอลีวายส์ริมแดง ช่วงนั้นฮิต (หัวเราะ) เชียงใหม่น่าจะไปกันเอง ส่วน ภาคใต้ไปกับทัวร์ มันเป็นเหมือนกับรางวัล มีความสุขมาก อาจจะเป็นเพราะ เราไม่ค่อยได้ไปด้วย เทียบไม่ได้กับเด็กที่แบบ 4 ขวบ ก็ได้ขึ้นเครื่องบิน ไปเที่ยวกับแม่แล้ว เราไม่ได้ไปเที่ยวกับที่บ้านเยอะขนาดนั้น เพราะฉะนั้น การไปเที่ยวไกลๆ ตื่นขึ้นมาเจอวิวใหม่ๆ ทุกวัน เราว่ามันก็เป็นช่วงเวลา ที่ดี เห็นทะเลใต้ก็ตื่นตาตื่นใจมาก ส่วนที่เชียงใหม่ จำ�ได้ว่ามีภาพถ่าย กับพญานาคที่ดอยสุเทพ จำ�ได้ว่ากินโจ๊กอยู่คนทั้งตลาดก็ลุกขึ้นเคารพ ธงชาติ

Creative Thailand

l กันยายน 2554


The Creative

มุมมองของนักคิด

ประสบการณ์การเดินทางสอนเรา ว่าสิ่งที่เราจดจำ�ได้มักจะเป็นคำ�พูด ของคนหรือบางขณะของคนบางคน มากกว่าสถานที่ด้วยซํ้าไป ทำ�ไมไปเที่ยวภาคใต้ถึงต้องไปกับทัวร์ เพราะมันยาก ไปหลายทีม่ าก ไล่ตง้ั แต่พงั งา เขาตะปู ลงไปถึงภูเก็ต พีพี ก็ไป ตอนนั้นมันเป็นเที่ยวแบบเก็บแต้มนะ หนุ่มสาวทัวร์จำ�ได้เลย ทั้งรัก และทั้งเกลียด คือเกลียดมากเวลาที่ต้องนั่งโต๊ะกินข้าวกับคนที่เราไม่รู้จัก คาแรคเตอร์หนึ่งของความเป็นทัวร์ คือคนนำ�ทัวร์เองหรือคนที่ไปทัวร์ บ่อยๆ เขาจะมีความชำ�นาญด้านมนุษยสัมพันธ์ที่เกินพอดี (หัวเราะ) เราไม่ค่อยชอบความเอ็นเตอร์เทนที่มันล้นเกิน ไม่ค่อยชอบกิจกรรมรอบ กองไฟ อ้าว...คืนนี้นะครับจะมาแจกของ เดี๋ยวเราออกมาแสดงกัน เขา คงไม่อยากให้เราเข้าที่นอนไปอย่างเงียบๆ คือมันเป็นความทรมานก่อน นอน ส่วนสิ่งที่ชอบก็คือเวลาที่ได้อยู่กับครอบครัว เห็นทะเล จำ�ได้ว่ามี ภาพหนึ่งตอนเรือแล่นเข้าไป ตรงนั้นเรียกว่าทะเลปิดหรืออะไรสักอย่าง พอเรือลำ�เล็กๆ เข้าไป คนบังคับเรือบอกว่า ลองหันไปดูข้างหลังสิครับ พอหันไป เขามันล้อมทะเลอยู่ รู้สึกว่ามันเจ๋งมาก แล้วหลังจากนั้นได้เรียกร้องอยากกลับไปอีกหรือเปล่า ไม่แล้ว ชีวิตมันเปลี่ยนผ่านเข้าถึงวัยที่ไม่อยากไปเที่ยวกับครอบครัวแล้ว ประมาณม. 2 หรือ ม. 3 ก็ไปเขาสอยดาวกับเพื่อน มีพ่อเพื่อนทำ�ป่าไม้อยู่ เป็นเจ้าหน้าที่อยู่ที่เขาสอยดาว ไปนอนบ้านพักกรมป่าไม้ ยังจำ�ได้ว่ามัน สนุกมาก เป็นความบ้าบอของวัยรุ่น เข้ารกเข้าพง ไปเดินป่าด้วยเส้นทาง ง่ายๆ พวกเราก็จะแบบออกนอกเส้นกันดีกว่า เสร็จแล้วก็หลง จำ�ได้ว่า เขาสอยดาวเป็นที่ที่ผีเสื้อสวยมากและเยอะมากเกาะอยู่ริมนํ้าตก เหมือน ใบไม้แห้งสีเหลืองๆ พอเดินไปแล้วมันก็... กระจายไป อีกภาพที่จำ�ได้คือ พวกเราตื่นขึ้นมาตอนเช้าวันแรก มันเขียว แล้วก็มีหมอก แสงเหลืองๆ ส่องลงมารอดผ่านรูของร่มไม้ จำ�ได้ว่าภาพนั้นมันสวยมากและก็เป็น ธรรมชาติมาก ประทับใจภาพแรกที่เห็นเวลาตื่นนอน แน่นอน กระดาษมันยังว่างเปล่าอยู่ (หัวเราะ) สมัยนั้น เริ่มมีการจดบันทึกแล้วหรือยัง ไม่มีนะ สนุกไปวันๆ สอบเสร็จแล้วก็ไปเกาะเสม็ด ครั้งแรกที่ได้ออกนอก ประเทศเลยก็นา่ จะเป็นอินเดีย ไปกับทัวร์ ตอนนัน้ อยูม่ หาวิทยาลัยทำ�งาน

เขียนก้อปปี้อาหารหมากับพี่คนหนึ่ง เขาเป็นคนช่างเที่ยว พอทำ�งานเสร็จ เขาก็แบบ เอ๋... พอได้เงินค่าทำ� ผมจะไปอินเดีย ไปด้วยกันหรือเปล่า ได้ ตังค์ประมาณสองสามหมื่น พอพี่เขาชวนไปก็เลยไป เป็นทริปหกวันใน อินเดียโซนสามเหลี่ยมท่องเที่ยว พอไปถึงก็ตกใจนะ เราว่ามีผลมากที่ ประเทศแรกเป็นอินเดีย ตกใจจริงๆ อย่างนี้นี่เองที่คือความสี่มิติ มันไม่ เหมือนในหนังสารคดี มันจริง พอลงไปถึงสนามบิน ปลายปีเป็นช่วงที่ อินเดียหนาว ลงที่เดลี มันเป็นหนาวแบบที่ไม่เหมือนในเมืองไทย แล้วมัน หนาวมาพร้อมกลิ่นเครื่องเทศ มาพร้อมฝุ่น มาพร้อมกับขอทาน และ โชเฟอร์รถที่พยายามจะฉุดกระชากเรา กลับจากอินเดียครั้งนั้น มันเปลี่ยนอะไรไปเยอะไหม เปลี่ยนเยอะมาก โดยเฉพาะทัศนคติในการมองโลก มันคือการยกกะลา ออกจากตัว มันมีโลกอีกโลกหนึ่งอยู่ในโลกใบนี้ เราเคยรู้สึกว่ากรุงเทพฯ มันคือโลก แต่นี่แบบมันคนละโลกจริงๆ ช่างแตกต่าง รูปรสกลิ่นเสียง สีสัน สภาพความเป็นอยู่ ความสุข ความทุกข์ ที่มันต่าง มันเห็นเลยนะ เราจำ�ได้วา่ ภาพทีโ่ ชเฟอร์ทง้ั หมดกรูเข้ามาเหมือนปลาสวายตะครุบขนมปัง ในวัด ภาพที่ถนนบ้าอะไรเต็มไปด้วยสารพัดยานพาหนะ เกวียน วัว ม้า แพะ รถก็ตง้ั แต่สมัยลากล้อจนถึงรถทัวร์ เห็นภาพรถวิง่ ผ่านไปเข้าชัยปุระ นกที่มันเกาะอยู่ตามเสาไฟฟ้ามันเป็นนกแก้วสีเขียว เยอะมาก มันตื่นตา ตื่นใจ เหมือนเราเข้าไปอยู่ในหนัง สัตว์ที่คนเอามาหากินกันสองข้างทาง บ้านเราเป็นช้าง บ้านเขาเป็นหมีควาย รถขับผ่านหน้าวังเก่าที่เป็นสีชมพู มีจัณฑาลนอนอยู่เรียงราย เราแบบ เฮ้ย... นี่มันคือชีวิต ไม่ต้องครุ่นคิด ไม่ต้องบันทึก จำ�ติดตามา ล่าสุดก็เพิ่งเดินทางไปอินเดียมาอีกครั้ง ไปมาสามรอบแล้ว เคยอ่านหนังสือของอาจารย์แสงอรุณ (รศ.แสงอรุณ รัตกสิกร) เรือ่ งการระเบิดสเปซทางเข้าของทัชมาฮาล พอได้ผา่ นรูนน้ั แล้ว ได้สัมผัสกับมันจริงๆ ได้ดูใกล้ๆ เห็นหินฝังอยู่ในนั้น ก็รู้สึกว่าจะดูภาพ แบนๆ ต่อไปไม่ได้แล้ว ต้องออกไปเจอมัน ตั้งแต่ครั้งนั้นก็เลยรู้ว่าเราต้อง เดินทาง เพื่อไปเจอโลกอีกหลายๆ ใบ และนั่นคือการไปทัวร์ต่างประเทศ ครั้งแรกและครั้งสุดท้าย พอกลับจากอินเดีย อยากเขียนหนังสือหรือยัง เออ... ไม่นะ เหมือนเราเอาสมุดบันทึกไป จำ�ได้วา่ มีไกด์ชอ่ื ซิงห์ เขามานัง่ เล่าเรื่องครอบครัวเขา เงินรายได้ค่าเป็นไกด์ของเขามันน้อยมากจนเรา ตกใจ ครอบครัวเขาคนเยอะมาก แต่เขาดูแฮปปี้มาก สีหน้าท่าทางการ แสดงออกของเขา เราก็เริ่มสนใจว่าคนนี้มีวิธีคิดอะไรบางอย่างที่มันดู แฮปปี้จัง เขามานำ�ทัวร์อยู่สักสองวัน ตอนแยกกันมันก็มีความซึ้งๆ ใน บางอย่าง เพราะอาจจะคุยกับเขาเยอะ นั่นอาจจะเป็นเรื่องคนแปลกหน้า คนแรกๆ ที่จำ�ได้ พอไปเที่ยวต่างประเทศเรื่อยๆ แล้วนิสัยมันก็เปลี่ยนไป กันยายน 2554

l

Creative Thailand

29


The Creative

มุมมองของนักคิด

รู้สึกว่าถ้าเราจะเข้าใจที่หรือสังคมๆ หนึ่ง แน่นอนว่าเราคงไม่ได้เข้าใจ ทั้งหมดหรอกแต่เราคิดว่าคนเป็นสิ่งที่สะท้อนได้ดี มันจริง การคุยกับคน มันช่วยให้เราเข้าใจอะไรได้มากขึ้น บางทีสิ่งที่เราคิดอาจจะคิดไปเอง คนที่เขาอยู่อาจไม่ได้เป็นอย่างนั้น อีกอย่างคือมันอาจผสมกับการที่เขียน หนังสือด้วยก็ได้ มันอาจเป็นการหาข้อมูลอย่างหนึ่ง ประสบการณ์การเดินทางสอนเราว่า สิง่ ทีเ่ ราจดจำ�ได้มกั จะเป็นคำ�พูด ของคนหรือบางขณะของคนบางคนมากกว่าสถานที่ด้วยซํ้าไป ความ รู้สึกหนึ่งตอนกลับจากเดินทาง เวลาเราดูภาพๆ เดิม สมมติว่าเราเคยดู รูปหอไอเฟิล ไม่เคยไปก็สวยดี แต่เวลาเราไปแล้วกลับมาแล้ว เราดูอีกที ก็จะไม่ใช่อันเดิม แล้วมันจะมีภาพเคลื่อนไหวเกิดขึ้นในภาพนั้น มันก็เป็น เรื่องราวตอนนั้นแหละที่มันเกิดขึ้น กับคนที่เราอยู่ดว้ ย พอเราไปแล้วมัน ก็จะเป็นของเรา ตอนนี้พอเห็นหอไอเฟิล ไม่ว่าจะที่ไหน ก็นึกถึงเพื่อนชื่อ ก้องตลอดเพราะเรานั่งกินเบียร์ตรงหอไอเฟิลถึงตีสามแน่ะ คุยกัน นั่งดู ไฟมันกระพริบๆ ทำ�ไมถึงเลือกเขียนเรือ่ งโตเกียว และนัน่ เป็นการเดินทางครัง้ ทีเ่ ท่าไหร่แล้ว ในชีวิต การเดินทางไปต่างประเทศครัง้ ทีส่ าม หลังจากกลับจากอินเดีย ออฟฟิศก็ ใจดี ส่งไปซิดนีย์ นี่ก็เป็นอีกโลกหนึ่ง เฮ้ย... โลกใบนี้มีเมืองศิวิไลซ์อย่าง นี้ด้วยเหรอ ไปตอนที่อากาศดี มิวเซียมก็มีให้ดู แต่จริงๆ ไม่ได้มีอะไร มากถ้าเทียบกับลอนดอนหรือปารีส แต่เราไม่เคยไปไง โห... สะอาดสะอ้าน รถหยุดให้คนข้ามถนน แค่นี้ช็อกแล้วนะ วันเสาร์มันก็มีคนมาเล่นดนตรี ในสวน แล้วความรู้สึกหนึ่งที่เกิดขึ้นคือ ซิดนีย์สะอาดมาก เราว่าเรานอน ข้างทางได้เลย

30

ตอนนั้นเรามีความเข้าใจในประเทศญี่ปุ่นอยู่แล้วด้วย คือมันเป็นประเทศที่เรารู้สึกว่าใกล้ชิดมากเลย ยิ่งเป็นคนรุ่นเรา ที่ไม่ได้ บ้าเกาหลีเท่าเด็กยุคนี้ เราก็จะมีความบ้าญี่ปุ่นมากกว่า การ์ตูนก็การ์ตูน ญี่ปุ่น หนังโป๊ก็ชัวร์อยู่แล้ว ของจุกจิกทั้งหลาย แบรนด์ต่างๆ ก็ญี่ปุ่น เทคโนโลยีเราก็รู้อยู่ แล้วทำ�ไมถึงคิดว่าจะเขียนเป็นหนังสือ ตอนนั้นเริ่มเขียนคอลัมน์ในอะเดย์แล้ว ก็เลือกเอาสมุดบันทึกไป ไม่ได้ ตั้งใจว่าจะเขียนหนังสือ แต่ตั้งใจว่าจะจดบันทึกนะ ว่าทริปนี้เราแบ็กแพ็ก น่าสนุก มันน่าจดตัง้ แต่ไปถึงแล้ว พอลงจากสถานีรถไฟ ขึน้ มาโผล่อุเอะโนะ ไม่คิดจะหาที่นอนเลย เจอคนญี่ปุ่นก็ไปเตะตะกร้อกับเขา มันผิดกิจวัตร มันห้าวมาก คืนแรกก็นอนข้างถนน นั่งแกะปลากระป๋องกินกัน ชีวิตนี้ไม่ เคยทำ�อะไรแบบนี้ มันต้องบันทึก ก่อนนอนหยิบสมุดขึ้นมาบันทึกเลย รูส้ กึ ว่าสนุกมาก พอเริม่ แล้วมันก็ไหลเลย แล้วมันก็สนุกจริงๆ โหดทุกเม็ด ในการไปเที่ยวโตเกียวครั้งนั้น คำ�ว่าแบ็กแพ็กเกอร์ในช่วงเวลานั้นค่อนข้างใหม่ แต่ก็ยังไม่ถูกยกมาพูด เราว่ามันไม่มีตัวแทน หรือมันไม่มีคนที่อยู่ในสื่อ ที่เขาทำ�ออกมาชัดเจน ศัพท์ยคุ นีค้ อื ไม่มไี อดอลทีท่ �ำ ออกมาให้เห็นชัดเจน พีเ่ รย์ (เรย์ แมคโดนัลด์) เขาก็จะไปทํารายการ หรือว่าถ้าเราเปิดหนังสือท่องเที่ยว เราจะเห็น หนังสือของคุณธีรภาพ (ธีรภาพ โลหิตกุล) เป็นแบบเชิงข้อมูล ของคนอื่น เราจะรู้สึกว่ามันไม่ใช่รุ่นเรา จะมีเล่มที่ใกล้เคียงอาจจะเป็นพี่ต้อ (บินหลา สันกาลาคีรี) พี่จุ้ย (ศุ บุญเลี้ยง) ซึ่งมันก็ค่อนข้างจะไม่ร่วมยุค

นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ไปนอนข้างทางที่โตเกียว พอเพื่อนชวนไปโตเกียว ก็คำ�นวณเงิน สามหมื่นรวมค่าตั๋วเครื่องบิน เงิน ไม่พอใช้ เราคิดว่าญี่ปุ่นในจินตนาการ ก็สะอาดพอๆ กับซิดนีย์ นอนได้ แหละ เพราะว่าสมมติถ้าเป็นเพิ่งกลับจากอินเดีย ก็คงไม่ได้คิดว่าจะไป นอนข้างทางที่ญี่ปุ่น ถือเป็นทริปพลิกชีวิต

นักเขียนส่วนใหญ่ในช่วงนั้นไม่ได้เล่าเรื่องประสบการณ์ที่เขาไปมาก เท่ากับการให้ข้อมูล มันเลยไม่รู้สึกไงว่าเราต้องไป กระทั่งว่าไม่รู้สึกเลยว่าไปแล้วมันเขียนได้ ด้วย เพราะมันไม่มีตัวอย่าง จำ�ได้ว่าตอนที่เราไปญี่ปุ่นมันต่างกับตอนที่ เราไปอินเดีย เพราะเราเริ่มรู้แล้วว่า การเที่ยวมันจะสนุก ตอนนั้นชอบ เขียนแล้ว คือถ้าเอาสมุดบันทึกมาให้ดทู เ่ี ขียน มันแทบจะเป็นต้นฉบับเลย

ไปตอนนั้นคิดว่าจะกลับมาเขียนหนังสือแล้วหรือยัง ไม่ได้คิด แต่ตอนนั้นสนุกกับการเดินทาง เรารู้สึกว่ามันต่างกันมาก สมมติถ้าไปยุโรปสองประเทศต่อกันมันคงไม่ได้ช็อกขนาดนั้นมั้ง แต่จาก ไทยไปอินเดีย จากอินเดียไปซิดนีย์ โลกมันคงไม่เหมือนกันแล้วแหละ เราว่ามันไม่เหมือน จนถึงทุกวันนี้เราก็ว่ามันไม่เหมือน อย่างตอนที่เราไป แคชเมียร์แล้วขับรถลัดเลาะเส้นทางไปเส้นที่มันแคบๆ แล้วมีภูเขาหิมะ ล้อม มันไม่มีทางรู้สึกแบบนี้ตอนดูสารคดี หรือว่าดูภาพ ความสามมิติ สี่ มิติ เราว่ามันต่าง ไม่มีทางเหมือนเลย ถึงทุกวันนี้ก็ยังไม่กล้าบอกว่ารู้จัก ทะเลทราย มันต้องไปยืนตรงนั้น มันต่างมากแน่นอน เชื่ออย่างนั้น

เขียนอะไรในสมุดบันทึก เป็นคนทีช่ อบจับประเด็น นิสยั นีอ้ าจจะเกิดขึน้ จากการทำ�โฆษณาก็ได้ คือ เตะตะกร้อก็จะไม่เขียนว่า วันนี้เราลงรถไฟมาเตะตะกร้อกับคนญี่ปุ่น แต่ จะเขียนว่า เราไม่รู้จักกันนะ เราเคยไกลกัน คือมันก็มีความพรํ่าเพ้ออยู่ จำ�นวนหนึ่ง อย่างที่เขียน คนแปลกหน้าถ้ามันเปิดเข้าหากันมันก็อาจจะ ได้ร่วมวงเดียวกันได้ เขียนไว้อย่างนี้เลยอ่ะ (หัวเราะ) แต่ไม่ได้คิดหรอก ว่าสุดท้ายแล้วมันจะกลายเป็นเล่ม ก็จด จด ซึ่งจดเยอะมาก จนกระทั่ง จดไปจดมาตอนทีจ่ ะกลับแล้วเนีย่ เริม่ รูส้ กึ แล้วล่ะ ว่ามันอาจจะเป็นหนังสือ ก็ได้นะ กลับมาก็เริ่มเขียน

Creative Thailand

l กันยายน 2554


The Creative

มุมมองของนักคิด

คิดว่าจะมีคนอ่านเหรอ ไม่คิด พูดตามตรงคือคิดว่าน่าจะขายไม่ได้ คือไม่ใช่แค่เราด้วย แต่มัน ทั้งสำ�นักพิมพ์ ยังจำ�ได้ว่าพี่โหน่ง (วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์) เขียนคำ� นิยมให้ยาวมาก แล้วเขาเอามาให้เราอ่าน ว่าแบบ... หนังสือท่องเที่ยว ทั่วไปมักจะมีข้อมูล ถ้าเกิดว่านักเขียนคนนี้เป็นแพทย์หญิงพรทิพย์ เรา จำ�ได้เลยว่าเค้าชอบอ้างชื่อคนดังๆ แต่นี่เค้าใช้นามปากกาว่านิ้วกลม ผม พูดตามตรง ผมก็ไม่มั่นใจว่าหนังสือเล่มนี้จะขายได้ แต่เราอยากให้คุณ ลองอ่าน แต่สดุ ท้ายพีโ่ หน่งก็ตดั สินใจไม่ลง เพราะรูส้ กึ ว่ามันโฆษณาเกินไป คือมันโคตรจะขายของเลย มันเชียร์มาก เพราะพี่โหน่งไม่มั่นใจเลยว่าจะ ขายได้ ไม่มั่นใจแล้วทำ�ไมถึงยอมให้ตีพิมพ์ เขาชอบไง อ่านแล้วก็สนุก เราว่ามันไม่มีใครคาดเดาได้ มันไม่มีหนังสือ แบบนี้ในตอนนั้น ตอนนั้นเราไปเดินหาหนังสือไกด์บุ๊ค หรือว่าหนังสือที่ เล่าเรื่องเกี่ยวกับญี่ปุ่นทุกร้านเลย แล้วก็ซื้อมาหลายเล่ม แต่มันก็ไม่มี หนังสือประมาณนี้ ซึ่งมันต่างกับตอนนี้มาก ตอนนี้มันเยอะมาก ช่วงแรกกระแสตอบรับเป็นอย่างไรบ้าง ตอนงานหนังสือ เรายังไปนั่งดูตลอดว่าคนหยิบไม่หยิบ ก็ลุ้นทุกเล่มเลย มันก็ไม่ได้ขายดีแบบพรึ่บๆ หลังจากนั้นมันก็เริ่มขายได้มากขึ้นเรื่อยๆ ทำ�ไมถึงขายดีจัง ก็มันสนุก เขียนเก่ง (หัวเราะ) เราว่ามันมีสิ่งที่อาจล้าสมัยไปแล้ว แต่มันก็ มีสิ่งที่ไม่มีวันล้าสมัย คือเราว่า Fact หรือข้อมูล ตัวเลขทั้งหลายเนี่ย มี น้อยมาก คือเรื่องราคาไรงี้ เป็นไปได้ว่ามันต้องล้าสมัยแหละ แต่สิ่งที่ไม่ เคยล้าสมัยเลยคือ เราว่าความฝันไม่มีวันล้าสมัย เราว่ามนุษย์ทุกยุคมี ความฝัน แล้วก็คนในวัยหนุ่มสาว มันก็เป็นสิ่งสำ�คัญสิ่งหนึ่งในวัยนั้น แล้วเราคิดว่านั่นคือแกนใหญ่ของเรื่อง แกนใหญ่ของโตเกียวไม่มีขาไม่ใช่ ข้อมูล แต่มันคือสิ่งนี้ แล้วหลังจากทำ�หนังสือที่เกี่ยวกับการเดินทาง คือพออ่านหนังสือเยอะแล้วก็อยากเขียน พออยากเขียนน่ะ เราไม่รู้หรอก ว่าจะเขียนอะไร มันเป็นโจทย์ที่ยากมากเลยนะ คนก็จะถามว่าแบบ เวลา เราอยากเขียน เราอยากเขียนอะไรกันแน่ ก็เลยเหมือนเจอทางว่าอ๋อ วิธี ที่ง่ายที่สุดคือการออกไปหาฟุตเทจมาก่อน แล้วค่อยเอามาตัด คืออย่าง นั้น ถ้าประสบการณ์มันมีไม่มากพอ คุณก็ต้องออกไปหาประสบการณ์ แหละ มันอาจจะเป็นทางออกที่ง่ายที่สุดของคนที่ประสบการณ์ชีวิตค่อน ข้างตืน้ เขินหน่อมแน้ม ไม่ได้แบบดูดกัญชาตอนมัธยม หรือฉีดเฮโรอีน หรือ ติดคุก ชีวิตมันก็ไม่ได้น่าสนใจ มันก็ราบเรียบ เพราะฉะนั้นมันก็ต้องออก ไปหาประสบการณ์ใหม่ ก็เลยคิดว่าการเดินทางนัน่ แหละ หาประสบการณ์ เอาประสบการณ์มาย่อย ก็เลยไปเที่ยวอีก เขียนอีก

การไปเที่ยวมันทำ�ให้เราเยาว์วัย แต่การเดินทางไกลมันทำ�ให้ เราเติบโต ไม่คิดว่าทุกวันเป็นการเดินทางอยู่แล้วเหรอ มันน่าเบือ่ นะ คือในสเกลย่อยมันไม่เบือ่ หรอก แน่นอนฟ้ามันไม่เคยเหมือนกัน พูดแบบนั้นก็เป็นศิลปิน พูดแบบภาษามนุษย์ปุถุชน ฟ้าก็เหมือนกันน่ะ แหละ เหมือนเดิม อย่างมากก็มีบางวันที่เมฆมันมืดบ้าง คือในโครงสร้าง ของลูปชีวิต ชีวิตคนเมืองที่เป็นพนักงานประจำ� มันซํ้าอยู่แล้ว มันซํ้าพอ สมควร แน่นอนเราทำ�อาชีพที่มันสร้างสรรค์ เจอโจทย์ใหม่ๆ ตลอด แต่ละวันปกติทำ�อะไรบ้าง ตารางชีวิตเปลี่ยนไปเยอะมาก เราเพิ่งเป็นฟรีแลนซ์ ก็รู้สึกดีนะ ยังอยาก ทำ�หนังอยู่ เคยคุยกับอาจารย์ปกป้อง (ปกป้อง จันวิทย์) เขาบอกว่ามัน เป็นอีกวิกฤตหนึ่งของชีวิต เขาบอกว่าตอนที่เราเป็นหนุ่ม วิกฤตแรกของ เราคือเราไม่รู้ว่าเราเป็นอะไร แต่ว่าทางเลือกมันมีให้เยอะ ซึ่งมันก็มีดีร้าย นะ เราว่าถ้าโลภไป มันอาจจะเป็นอะไรไม่ดีเลยสักอย่างก็ได้ ซึ่งมันก็อยู่ ในช่วงที่ต้องจัดสรรเวลา แล้วก็คือตอนนี้มันก็จริงแหละ พอเราทำ�งาน รู้จักคนเยอะขึ้น มันก็มีโอกาสเข้ามาให้ทำ�อะไรเยอะ เราก็รู้สึกว่าชีวิตก็ เป็นการเดินทาง เป็นการทดลอง เราก็ต้องไปอยู่ตรงนั้นก่อน เราถึงจะรู้ ว่า เราชอบมันหรือเปล่า แต่อย่างทําหนังนีเ่ ราว่าอย่างแรกเลยคือ คุณหยุด พูดได้แล้ว แล้วคุณต้องให้เวลากับการเขียนบท ซึ่งจริงๆ เราก็มีบทอยู่ใน ใจ แต่ก็ไม่รู้จะเป็นข้ออ้างอีกหรือเปล่า ว่าปีหน้าจะเริ่มเขียน ซึ่งมันคง ไม่ใช่เส้นทางที่ง่ายแหละ การที่จะทำ�หนังสักเรื่อง ประสบการณ์ชีวิตสำ�หรับคุณคืออะไร ก็ไม่ต้องไปฉีดเฮโรอีนเหมือนกัน (หัวเราะ) ก็เป็นประสบการณ์ชีวิตใน แบบของเราแหละ มันก็คงไม่ต้องกระเหี้ยนกระหือรือขนาดที่ว่า ต้องไป ทดลองใช้ชวี ติ อะไรให้มนั แปลกมากมาย เราว่ามันจำ�เป็นทีจ่ ะต้องทดลอง ใช้ชีวิตบ้าง อย่างที่เพิ่งไปทำ�มาก็คือ รายการพื้นที่ชีวิต ThaiPBS ชวนเรา ไปเป็นพิธกี ร แล้วพอเราไปทำ� เฮ้ย... มันดีมากเลย มันเหมือนเขียนหนังสือ เขาให้หัวข้อเรามา แล้วเราสนุกตรงที่มันได้แชร์ไอเดียกันด้วย อย่างตอน ใหม่ทท่ี �ำ มา ก็ไปพิจติ ร ไปตามวงหางเครือ่ ง วงแดนเซอร์ทเ่ี ต้นเพลงลูกทุง่ ก็ได้นง่ั คุยกับน้องๆ แล้วก็ตอนจบของรายการมันเหมือนเขียนหนังสือมาก คือเขาจะใช้เวลาประมาณเกือบ 2 ชั่วโมงเพื่อมาสัมภาษณ์เรา ว่าตอนไป เจอคนๆ นีร้ สู้ กึ ยังไง แล้วความสุขของเรามันคืออะไรกันแน่ แล้วจบทริปนี้ คุณได้เรียนรูอ้ ะไร นัน่ คือการสำ�รวจตัวเอง สำ�รวจความคิดตัวเอง เหมือน สรุปออกมาเป็นหนังสือได้จริงๆ กันยายน 2554

l

Creative Thailand

31


The Creative

มุมมองของนักคิด

เมืองที่ไปมาแล้วชอบที่สุด ตอบยากแต่ก็คิดว่าโตเกียวนะ นี่ก็เพิ่งไปมาแต่ไม่ตื่นเต้นเท่าครั้งแรกแล้ว เวลาเราไปทีท่ ห่ี นึง่ แล้วกลับไปอีกครัง้ ทีท่ น่ี น้ั อาจไม่ได้เปลีย่ นแปลงไปเยอะ แต่สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปคือเรา เราโตขึ้น เราไปเห็นอะไรมาเยอะขึ้น ตอนนี้เที่ยวเปลี่ยนไปจากเมื่อก่อนหรือเปล่า (หัวเราะ) มันมีสองอย่าง เราว่าเราเคยแบ่งไว้ตอนเขียนเนปาลประมาณ สะดือ แล้วก็ยังคิดอย่างนั้นอยู่เสมอ ถ้าพูดง่ายๆ คือการท่องเที่ยวมัน สบาย แต่การเดินทางมันเหนื่อยกว่า แต่เราเขียนไว้ในเนปาลฯ การไป เที่ยวมันทำ�ให้เราเยาว์วัย แต่การเดินทางไกลมันทำ�ให้เราเติบโต คิดว่า อย่างนั้น เพราะว่า ตั้งแต่เวลาเก็บเสื้อผ้า เรารู้อยู่แล้วว่า เรากำ�ลังจะไป เที่ยว หรือกำ�ลังเดินทาง เราว่าไปเที่ยวมันคล้ายกับไม่เปลี่ยนที่นอนก็ เปลี่ยนที่เฮฮา ไปเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ คุณไม่จำ�เป็นต้องรู้ก็ได้ว่า รีสอร์ต แห่งนี้เจ้าของเค้าสร้างขึ้นมาเพราะอะไร หรือแบบว่าชายหาดตรงนี้เคย เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นหรือเปล่า ไม่มีอารมณ์ที่จะไปคุยกับ สมมติหมอ นวดชายหาด แม่ค้าที่ปิ้งปลาหมึกอยู่ริมหาด คืออารมณ์ที่ออกจากบ้าน มันไม่ใช่ประมาณนั้น เราอยากอยู่กับตัวเอง เอาตัวเองไปพัก ไปหย่อนๆ หายใจลึกๆ แต่ว่าเวลาตั้งใจแล้วว่าจะออกไปเรียนรู้ ทุกอย่างมันจะต่าง หมดเลยสำ�หรับเรา ทำ�หนังสือเกี่ยวกับการเดินทางมาทั้งหมดกี่เล่ม โตเกียวไม่มีขา กัมพูชาพริบตาเดียว เนปาลประมาณสะดือ สมองไหวใน ฮ่องกง ลอนดอนไดอารี่ 1.1 นั่งรถไฟไปตู้เย็น เล่มสุดท้ายของเราคือ 1.1 คนอ่ า นรุ่ น ใหม่ ไ ม่ รู้ ด้ ว ยซํ้ า ว่ า เราเคยเขี ย นหนั ง สื อ แนวเที่ ย วมาก่ อ น เพราะเราไม่มีเวลา เราอยากเขียนมาก ถ้าให้เลือกทำ�หนึ่งอย่างของชีวิต ตอนนี้ เราจะเลือกเขียนอินเดีย

32

Creative Thailand

l กันยายน 2554

หนังสือที่อ่านเวลาเดินทาง ถ้าไปคนเดียวถึงจะอ่าน ถ้าไปกับเพื่อนหรือไปกับแฟนจะไม่ค่อยอ่าน ก็ จะเลือกให้เหมาะกับทริป มักจะหยิบหนังสือที่มันออกไปทางเชิงปรัชญา นํ้าหนักต้องไม่หนักแต่เนื้อหาอาจจะหนัก คือเวลาที่เราไปเที่ยวมันเป็น เวลาที่เราครุ่นคิด หนังสือในเชิงตั้งคำ�ถาม ทบทวน ครุ่นคิดมันเหมาะกับ การเดินทาง เว็บบล็อกหรือเว็บไซต์ที่ชอบ ชอบอ่านสเตตัสของเพื่อนๆ เราชอบความหลากหลาย เราว่าเฟสบุ๊คมัน ย่อโลกมาอยู่หน้าจอเลย แต่ละคนไม่เหมือนกันเลย พวกนักเขียนเขาจะ ชอบเอาบทความ บางทีข่าวเราก็ไม่เข้าเว็บข่าว ก็เอามาแปะ ก็อ่านต่อ จากเขา ก็ดีมันก็ทุ่นเวลา สนุกกับชีวิตที่แต่ละคนมันไม่เหมือนกันเลย นักคิดนักเขียนคนโปรด คนแรกเลยที่น่าจะมีอิทธิพลต่อความคิดคือพี่จิก (ประภาส ชลศรานนท์) เราชอบความคิดเขาที่เปิดกว้าง โลกในอุดมคติของเราคือโลกที่คนเรา ยอมรับความแตกต่าง เรารู้สึกว่าเราจะประทับใจความคิดของคนที่มี ความคิดคล้ายๆ อย่างนี้ เชื่อในความหลากหลายบนโลกใบนี้ของมนุษย์ นอกจากนั้นก็น่าจะเป็นปรัชญาพระพุทธเจ้า ไม่รู้ว่าเขาคนเดียวหรือเปล่า ที่คิดอันนี้ แต่เขาจะเรียกสิ่งนั้นว่าพระพุทธเจ้า เพลงและหนังที่ชอบ เคยนั่งคิดนะว่าตอนเด็กๆ เราจะมีความบ้าคลั่งผลงานของคนบางคน แล้วก็ติดตาม ลงลึก แต่พอโตขึ้นเราไม่เป็นอย่างนั้นแล้ว


Creative Will

คิด ทํา ดี

เรื่อง: กมลกานต์ โกศลกาญจน์

จากปี 1854 หลุยส์ วิตตองได้ผ่านจุดเริ่มต้นจากการผลิตหีบฝา แบนสำ�หรับใช้ในการเดินทาง ซึ่งภายในติดตั้งราวแขวนเสื้อผ้า และลิ้นชัก เพื่อรองรับวิถีการเดินทางโดยเรือและรถไฟ ซึ่งกำ�ลัง เป็นที่นิยมในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 หลุยส์ วิตตอง รู้ดีถึงการ สร้างสรรค์ความสง่างามให้ลงตัวกับการใช้งาน เช่นเดียวกับที่รู้ ดีว่าส่วนผสมสำ�คัญอย่างศิลปะการออกแบบและความประณีต ในขั้นตอนการผลิตนั้นสำ�คัญอย่างไรต่อแบรนด์ การยึดมั่นใน วิสัยทัศน์ดังกล่าวได้ก่อให้เกิดสังคมสร้างสรรค์ภายใต้แบรนด์ อย่างต่อเนื่อง และในปี 2011 หลุยส์ วิตตอง ยังได้รว่ มมือกับเยาวชน ในสถาบันศิลปะจากอังกฤษ 5 แห่ง ได้แก่ เฮย์เวิร์ด แกลเลอรี่, รอยัล อะคาเดมี ออฟ อาร์ตส์, เดอะ เซาท์ ลอนดอน แกลเลอรี่, เทต บริเทน และ เดอะ ไวท์ชาเปล แกลเลอรี่ ในการเปิดตัวเว็บไซต์ ‘REcreative’ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้กับศิลปิน รุ่นใหม่ และสร้างโอกาสในการมีส่วนร่วมในงานศิลปะร่วมสมัย ของอังกฤษ โดยถือให้เป็นส่วนหนึง่ ของโครงการศิลปะเพือ่ เยาวชน ของหลุยส์ วิตตอง ที่เรียกว่า ‘Louis Vuitton Young Art Project’

ด้วยตระหนักดีว่าศิลปะเป็นเหตุผลหลักที่ทำ�ให้แกลเลอรี่เป็นปลายทางที่ น่าสนใจสำ�หรับผู้มาเยือน และการมอบความรู้สึกตื่นเต้นและน่าสนใจ ผ่านเนือ้ หาของศิลปะชิน้ เอกทีป่ รากฏอยูใ่ นแกลเลอรี่ ย่อมต้องอาศัยความ คิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ และพลังงานอันเหลือเฟือของเหล่าศิลปิน เว็บไซต์ REcreative จึงประกอบด้วยโครงสร้างที่จะกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ และส่งต่อแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนที่จะกลายมาเป็นศิลปินรุ่นใหม่ใน อนาคตภายใต้หัวข้ออย่างเช่น Experts ที่จะยกตัวอย่างการทำ�งานของ ทีมงานเบื้องหลังนิทรรศการต่างๆ ตั้งแต่ช่างเทคนิค ภัณฑารักษ์ นัก วิจารณ์ จนถึงนักออกแบบ หรือหัวข้อ Opportunities ทีเ่ ป็นเวทีเปิดให้น�ำ ผลงานมาแบ่งปันกัน และยังได้ลนุ้ รับสิทธิไ์ ปเยี่ยมชมสตูดโิ อของศิลปินชือ่ ดัง รวมถึงโอกาสในการร่วมพูดคุยและแสดงงานร่วมกัน ทั้งหมดนี้เกิดขึ้น ภายใต้วัตถุประสงค์ในการสื่อสารถึงความสนใจของเยาวชนในการ สร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ ที่อ้างอิงหรือตีความใหม่จากผลงานหรือแนวคิด เดิมที่มีอยู่ การเกิดขึ้นของเว็บไซต์ REcreative ยังส่งผลดีต่อเนื่องในวงกว้าง เพราะเป็นสิ่งที่เปรียบเสมือนศูนย์กลางในการรวมเอาผู้คนที่เกี่ยวข้องกับ งานศิลปะร่วมสมัยในทุกๆ ด้านมาเจอกัน ไม่วา่ จะเป็นผูอ้ �ำ นวยการสถาบัน ภัณฑารักษ์ ศิลปิน นักสะสม ผู้แสดงความเห็นเกี่ยวกับวัฒนธรรม หรือ เยาวชนที่ได้รับคัดเลือกจากโรงเรียนหรือชุมชน (อายุตั้งแต่ 13-25 ปี) กิจกรรมของ REcreative ยังสามารถผลักดันให้เกิดความเคลื่อนไหวขึ้น ระหว่างสถาบันศิลปะทั้ง 5 แห่งที่เข้าร่วม รวมถึงความร่วมมือจากศิลปิน ชื่อดังอย่างคริส โอฟิลี, เทรซี่ อีมิน และคีธ ไทสัน ที่เข้ามาช่วยสร้างรูป แบบของโครงการนี้ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้บ่งบอกถึงเจตนาอัน ดีของหลุยส์ วิตตองกับความต้องการที่จะสนับสนุนวงการศิลปะร่วมสมัย ให้เดินไปข้างหน้า พร้อมมุ่งมั่นที่จะรับผิดชอบต่อสังคมเมืองลอนดอน ด้วยเช่นกัน ติดตามความเคลื่อนไหวของโครงการได้ที่ www.recreativeuk.com

กันยายน 2554

l

Creative Thailand

33


34

Creative Thailand

l กันยายน 2554


กันยายน 2554

l

Creative Thailand

35


36

Creative Thailand

l กันยายน 2554


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.