ดูรายละเอียดและวิธีสมัคร/For detail and how to apply:
www.tcdc.or.th/designforflood email: designforflood@tcdc.or.th โทร/Tel. 02 6647667 #125 สงผลงานของคุณไดแลว
วันนี้ - 31 พฤษภาคม 2555
Send your design today – 31 May 2012
Speed provides the one genuinely modern pleasure.
ความเร็วได้มอบความสำ�ราญแบบสมัยใหม่อย่างแท้จริง Aldous Huxley นักประพันธ์ชาวอังกฤษ
EDITOR'S NOTE บทบรรณาธิการ
ทันใจ ณ เวลา 06.00 น. ที่ห้องประมูลของตลาดดอกไม้อลาสเมียร์ในเนเธอร์แลนด์ แต่ละวันจะมี การซื้อขายดอกไม้กว่า 19 ล้านดอกจากทั่วโลกเกิดขึ้นที่นี่ผ่านระบบประมูลที่ซับซ้อน แต่มี เป้าหมายธรรมดานั่นคือ ต้องไว ต้องไว และต้องไว เพื่อรีบขนย้ายดอกไม้จากที่ประมูลไป ปักยังแจกันของบ้านใครสักคนให้เร็วทีส่ ดุ เพราะดอกไม้งามทีร่ ว่ งโรยได้โดยง่ายนัน้ จะสูญเสีย มูลค่าถึงร้อยละ 15 ในวันรุ่งขึ้น สำ�หรับการส่งต่อและการเข้าถึง ไม่มอี ะไรจะดีเท่า “ความเร็ว” อีกแล้ว จากเดิมที่ต้อง เดินทางแสวงหา มาสู่ยุคที่นั่งรอให้ข้อมูลและสินค้ามาถึงตัว ชีวิตอันละเมียดเป็นจริงได้ บนความเร็วทีม่ ปี ระสิทธิภาพ เพราะเมื่อคนรู้จักบริหารเวลาให้มีปฏิสัมพันธ์อย่างเหมาะสม กับชีวิต ผลลัพธ์ก็คือ ความเร็วที่สร้างห่วงโซ่การเพิ่มมูลค่าและคุณค่าให้กับสินทรัพย์ ความเร็วไม่เพียงแต่เป็นเครื่องมือสำ�คัญของธุรกิจขาย “ความสด” ทางกายภาพอย่าง ดอกไม้หรืออาหารเท่านั้น แต่ความเร็วในการเข้าถึงความสดของข้อมูลข่าวสาร ก็ยิ่งเพิ่ม ทางเลือกและโอกาสในการใช้ชีวิตที่หลากหลายของผู้คนให้ม ากยิ่งขึ้น เมื่อ เร็ว ๆ นี้ ไฟแนนเชียล ไทมส์ รายงานสถิติยอดดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นในแอพสโตร์ของแอปเปิลที่ พุ่งทะลุ 2.5 หมื่นล้านครั้ง โดยปัจจุบันมีจำ�นวนแอพพลิเคชั่นเพิ่มขึ้นเป็น 550,000 แอพฯ จากเพียง 800 แอพฯ ในปีแรก จากฝีมือนักพัฒนา 248,000 คน ที่สร้างสรรค์ขึ้นสำ�หรับ ไอโฟน ไอพอดทัช และไอแพดที่จำ�หน่ายออกไปแล้ว 315 ล้านเครื่องทั่วโลก นอกจากนี้ การก่อตั้งแอพสโตร์ยังเปลี่ยนรูปแบบการจำ�หน่ายซอฟต์แวร์ท่เี คยอยู่ในกล่องและวางขาย ตามร้านค้าปลีก มาเป็นการเข้าถึงผ่านโทรศัพท์มือถือหน้าจอสัมผัสของวันนี้ แม้มนุษย์จะไวต่อความรู้สึก แต่ความเร็วนั้นจับต้องไม่ได้ สังคมจึงต้องสร้างสรรค์ องค์ประกอบเพื่อนำ�ไปสู่ความเร็วอันเป็นเครื่องมือสร้างมูลค่าและคุณค่าเพิ่มให้แก่สินค้า และบริการ ตั้งแต่รถไฟเครื่องจักรไอนํ้าของอังกฤษในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมจนถึงรถไฟ ความเร็วสูงแตะ 500 กิโลเมตรต่อชั่วโมงของจีน หรือจากระบบโทรเลขมาสู่ระบบคำ�สั่งซื้อ สินค้าออนไลน์ตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งหมดนี้ ล้วนเพื่อตอบสนองพฤติกรรมและความต้องการ ของผู้คนให้ได้ทนั เวลา ซึง่ ความพึงพอใจต่อความ “ทันเวลา” นี้ มีมลู ค่าและคุณค่าต่อการ ยินดีจบั จ่ายของลูกค้าเป็นอย่างยิ่ง ความเร็วที่มีประสิทธิภาพต้องวิ่งควบคู่กับเนื้อหาที่มีคุณภาพด้วย เพื่อนำ�ไปสู่การ สร้างปฏิสัมพันธ์ทางรายได้และคุณภาพชีวิตของผู้คน เพราะทุกคนคงไม่อยากได้ของที่เพียง แค่จัดส่งได้ทันเวลาแต่ปราศจากความถูกต้องและความน่าเชื่อถือ เพราะถ้าเป็นเช่นนั้น… การอดทนรอน่าจะดีกว่าความเร็ว อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล บรรณาธิการอํานวยการ
พฤษภาคม 2555 l Creative Thailand
l5
THE SUBJECT ลงมือคิด
ได้เวลาของผู้ชายขี้เกียจ เรื่อง: มนฑิณี ยงวิกุล และ นพดล วีรกิตติ
วอล์-มาร์ต ร้านค้าปลีกที่ใหญ่ที่สุดของโลกกำ�ลังปั่นป่วน เพราะยอดขายสินค้าในช่วงวันหยุดเมื่อปีที่ผ่านมาตกลงถึงร้อยละ 59 เพราะคู่แข่งที่เคยอยู่นอกสายตาอย่างอะแมซอน เมื่อ 5 ปีที่แล้ว ยอดขายของอะแมซอนคิดเป็นหนึง่ ในสีข่ องวอล์-มาร์ต แต่ ในปัจจุบันนักช็อปที่ช่ําชองกับการซื้อของทางออนไลน์ไม่เพียงมีจำ�นวน มากขึ้นแต่ยังคุ้นชินกับการถูกเอาใจจากเว็บไซต์ ทั้งในเรื่องข้อมูลของ สินค้าที่ผ่านการรีวิวเพื่อการตัดสินใจและความรวดเร็วในการให้บริการ อย่างที่อะแมซอนสามารถส่งของถึงบ้านลูกค้าภายในวันเดียวสำ�หรับบาง เมืองและมียอดขายในปี 2011 ถึง 48.1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 1,443 พันล้านบาท) เบื้องหลังความสำ�เร็จของอะแมซอนคือการทำ�งานหนักเพื่อตอบ คำ�ถามให้ได้วา่ ลูกค้าอยากได้อะไร และไม่ชอบอะไร อย่างเช่นการส่งของช้า สินค้าชำ�รุด สินค้าหมด หรือแม้กระทั่งเวลาที่ใช้ในการดาวน์โหลดที่ช้าไป เพราะเวลาเพียง 0.1 วินาทีนั้นหมายถึงจำ�นวนธุรกรรมของลูกค้าที่ลดลง ถึงร้อยละ 1 อย่างไรก็ตาม นอกจากอะแมซอนแล้ว ยังมีเว็บไซต์อน่ื ๆ ทีเ่ ป็นคูแ่ ข่ง โดยตรงและทางอ้อม อย่างเช่นผูป้ ระกอบการอิสระจำ�นวนมหาศาลทีแ่ ม้จะ ห่างไกลจากบริษทั ค้าปลีกขนาดใหญ่ในเรือ่ งรายได้ แต่สำ�หรับไอเดียในการขาย ของให้กบั ลูกค้าประเภท “ผูช้ ายขีเ้ กียจ” ในแง่ของการตลาดนั้นถือว่าเป็น กลุ่มที่จัดว่ามีอนาคต 6 l Creative Thailand l พฤษภาคม 2555
“ดอลลาร์ เชฟ คลับ” (Dollar Shave Club) ทีก่ อ่ ตัง้ โดย ไมเคิล ดูบนิ และสามารถผูกสัมพันธ์กบั ผูผ้ ลิตอุปกรณ์โกนหนวดให้ผลิตสินค้าเพือ่ จัดส่ง ให้กบั ลูกค้าแบบสมาชิกทีย่ อมจ่ายเดือนละ 1 เหรียญสหรัฐฯ สำ�หรับมีดโกน แบบ 2 ใบมีด จำ�นวน 5 อัน ซึง่ มาพร้อมกับแถบอโลเวร่าเพือ่ ความชุม่ ชืน้ หรือถ้าจ่ายเดือนละ 6 เหรียญสหรัฐฯ ก็จะได้แบบ 4 ใบมีด และ 9 เหรียญสหรัฐฯ สำ�หรับ 6 ใบมีดพร้อมแถบวิตามินอีและลาเวนเดอร์เพือ่ ให้โกนง่ายขึน้ โดย ทัง้ หมดจะจัดส่งให้ถึงบ้านเดือนละครั้งนั้น เป็นตัวอย่างหนึง่ ของเว็บไซต์ท่ี มีลูกค้าจำ�นวนหลายหมื่นรายที่อยากได้ท้ังมีดโกนราคาถูกและอยาก ประหยัดเวลาในการซือ้ ของใช้จำ�เป็นเหล่านี้ เช่นเดียวกับลูกค้าของ “แมนแพ็กส์” (Manpacks) เว็บไซต์ขายกางเกงชั้นใน เสื้อยืด มีดโกน และคอนดอม ทีจ่ ะส่งสินค้าให้กบั ลูกค้าทุก 3 เดือน อันเป็นไอเดียทีเ่ ข้าใจหัวอกผูช้ ายของ เคน จอห์นสัน ในการสร้างร้านขายของออนไลน์ให้กบั ผูช้ ายทีไ่ ม่อยากจะคิดถึง เรือ่ งพวกนีใ้ ห้ยงุ่ ยากอีกต่อไป ที่มา: businessweek.com forbes.com dollarshaveclub.com ภาพ: manpacks.com
THE OBJECT คิดแล้วทำ�
Find Me a Milkman เรื่อง: ศุภมาศ พะหุโล
ในอดีตที่ซูเปอร์มาร์เก็ตยังไม่ได้ผุดขึ้นราวดอกเห็ด เขาเคยเป็นเสมือนเพื่อนของครอบครัวที่คอยแวะมาเยี่ยมเยียนในยามเช้าของทุกวัน ไม่ว่าอากาศจะหนาวเหน็บแค่ไหนก็ตาม… การลดลงของปริมาณนมทีส่ ง่ ทุกเช้าผ่าน “คนส่งนม” ทัว่ สหราชอาณาจักร ในปี 2004 จากทศวรรษก่อนหน้าซึ่งมีปริมาณมากถึง 2.5 พันล้านลิตร เหลือเพียง 637 ล้านลิตรต่อปีนน้ั ทำ�ให้ “คนส่งนม” ต่างตกงาน เจ้าของธุรกิจ ส่งนมจึงต้องคิดต้องหาทางปรับปรุงมาตรฐานเสียใหม่ เพราะถ้าหากจะ ให้สู้เรื่องราคาและความสะดวกสบายจากนมขวดและนมกล่องที่ตั้งเรียง รายอยู่บนชั้นในร้านสะดวกซื้อแล้ว เห็นทีธุรกิจการส่งนมที่มีมาแสนนาน นี้คงจะต้องเลือนหายไปตามกาลเวลา Find me a milkman คือหนึง่ ในตัวอย่างการหาทางออกของสถานการณ์น้ี ได้อย่างสร้างสรรค์ พวกเขาเสนอไอเดียที่ดูไม่ยากนักคือการส่งสินค้าอื่น ทีม่ ากกว่านม ไม่วา่ จะเป็นไข่ไก่ออร์แกนิค ขนมปังกรุน่ จากเตาอบ ผักสด และแยมผลไม้ตามฤดู นํ้ายาปรับผ้านุ่ม ไปจนถึงหนังสือแนะนำ�และ อาหารสัตว์เลีย้ ง และเพือ่ ปรับการใช้งานให้เหมาะกับโลกยุคออนไลน์ ลูกค้า แต่ละบ้านยังสามารถสั่งซื้อ จ่ายเงิน และรับบริการส่งสินค้าถึงประตูบ้าน
ผ่านระบบออนไลน์ เพียงแค่กรอกรหัสไปรษณียข์ องสถานทีจ่ ดั ส่งลงไป เพือ่ ให้ระบบประมวลผลหา “คนส่งนม” ที่ใกล้บ้านที่สุด เสน่หข์ องวันวาน ความสดใหม่ทร่ี บั ประกันได้ และการจัดการทีแ่ สน ง่ายดาย คือหัวใจสำ�คัญของธุรกิจส่งนมอย่าง Find me a milkman แต่ หากมองในเรื่องสิ่งแวดล้อม “คนส่งนม” ยุคใหม่ ยังช่วยลดคาร์บอนฟุต ปริ้นท์และยังมีส่วนช่วยให้ระบบจัดเก็บขวดแก้วเพื่อนำ�กลับไปใช้ซํ้าเป็น ไปอย่างมีประสิทธิภาพยิง่ ขึน้ ซึง่ นัน่ หมายถึงการช่วยลดขยะทีไ่ ม่จำ�เป็นใน บ้านอีกด้วย แค่นก้ี ม็ เี วลาดืม่ ดํา่ กับบรรยากาศยามเช้าโดยไม่ตอ้ งหัวเสียกับการเปิด ตู้เย็นแล้วพบว่าชาร้อนๆ ที่เพิ่งชงแก้วนี้ จะต้องขาดนม ที่มา: bcc.co.uk findmeamilkman.net พฤษภาคม 2555 l Creative Thailand
l7
CREATIVE RESOURCE วัตถุดิบทางความคิด
thisisnotadvertising.wordpress.com
FEATURED BOOK
เรื่อง: เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร และ กริยา บิลยะลา
Guerrilla Advertising 2: More unconventional brand communication โดย Gavin Lucas
ในโลกของธุรกิจ การที่จะเป็นแค่นักคิด นักฝัน อย่างเดียวคงไม่พอ คุณยังต้องเป็นนักทำ�ด้วย ยิ่งถ้าเมื่อมีความคิดดีๆ แล้ว ต้องลงมือทำ�ทันที เพราะในโลกที่หมุนเร็วด้วยเทคโนโลยีและข้อมูล ข่าวสารอย่างปัจจุบนั “เวลา” คือหนึง่ ในตัวกำ�หนด จุดเปลี่ยนทางธุรกิจ ถ้าช้าไปแค่ชั่วอึดใจ คู่แข่งที่ อาจจะคิดเหมือนกันก็อาจก้าวนำ�หน้าคุณไปแล้ว “ผู้ใดที่ปรารถนาความสำ�เร็จอย่างต่อเนื่อง จะต้องเปลี่ยนแปลงได้ตามกาลเวลา” วลีอมตะ ของนักปราชญ์ชาวอิตาลี Niccolo Machiavelli ถูกยกมาเป็นบทนำ�ในหนังสือเล่มนี้ เพื่อยํ้าถึง ความสำ�คัญของเวลา ซึ่งเป็นหัวใจสำ�คัญของ การตลาดยุคใหม่ โดยเฉพาะในช่วงไม่กปี่ ที ี่ ผ่านมา
8 l Creative Thailand l พฤษภาคม 2555
การตลาดแบบเกอร์ริลล่า (Guerilla Marketing) หรื อ กลวิ ธี ก ารตลาดแบบกองโจรกลายเป็ น ความท้าทายใหม่ที่แบรนด์ต่างๆ เลือกใช้เป็น เครื่องมือสำ�คัญในการเข้าถึงลูกค้า ด้วยลักษณะ เฉพาะที่เร็วและแรงอันสอดคล้องกับสัญชาตญาณ ของคนรุ่นใหม่ ในแบบที่หลักการทางการตลาด แบบดั้งเดิมทำ�ไม่ได้ การเข้าโจมตีแบบไม่มรี ปู แบบ ไม่ทันให้ตั้งตัว บางครั้งใช้ต้นทุนในการดำ�เนินการที่ไม่มาก แต่ สามารถสร้ างกระแสในสังคมได้ อ ย่ างกว้ า งขวางนี้ ล้วนเกิด จากจินตนาการที่ไร้ขอบเขต บวกกับ การใช้อิทธิพลของสื่อสังคม (Social Media) และ การตลาดแบบปากต่อปาก (Viral Marketing)
เข้าช่วย บางธุรกิจจึงสามารถแจ้งเกิดเป็นที่รู้จัก ไปทั่วโลกได้ในชั่วข้ามคืน ซึ่งเหมาะอย่างยิ่งกับ ธุรกิจที่มีความยืดหยุ่นสูง สามารถเปลี่ยนแปลง กลยุ ท ธ์ ไ ด้ อ ย่ า งรวดเร็ ว โดยมองความสำ � เร็ จ ในภาพรวมเป็นเป้าหมายหลัก หนังสือเล่มนี้รวบรวมแคมเปญโฆษณาที่ใช้ กลยุทธ์การจู่โจมแบบเกอร์ริลล่าไว้อย่างจุใจ ตัง้ แต่ การใช้เทคนิคแบบพื้นๆ ไปจนถึงไฮเทคลํ้าสมัย ทั้งแบบที่พบเจอได้ตามท้องถนน แฝงตัวไปใน สถานที่ต่างๆ หรือการใช้วิธีการประชดประชัน แดกดันให้ฉกุ คิด หรือใช้คนเข้าทำ�กิจกรรมแปลกๆ แบบคาดไม่ถึง หลายผลงานน่าทึ่งจนอดนึกไม่ได้ ว่าเขาคิดกันมาได้อย่างไร
CREATIVE RESOURCE วัตถุดิบทางความคิด
BOOK
Developing Products in Half the Time: New Rules, New Tools โดย Preston G. Smith และ Donald G. Reinertsen ถ้าเวลาของคุณจะเป็นเงินเป็นทองขนาดนี้ หนังสือ เล่มนี้คงเป็นที่ถูก ใจ จะดีแค่ไหน ถ้า สามารถ ย่นระยะเวลาการผลิตสินค้าและบริการให้เหลือ แค่เพียงครึ่งเดียว? ผู้เขียนตั้งข้อสังเกตว่า เวลา ส่วนใหญ่ที่เสียไปมักอยู่ในเรื่องของการบริหาร จัดการ ดังนั้นหากปรับระบบวิธีการทำ�งาน และคิด แบบบูรณาการแล้ว จะสามารถลดระยะเวลาได้ มากทีเดียว อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการก็ต้องไม่ลืม เป้ า หมายสุ ด ท้ า ยของธุ ร กิ จ ซึ่ ง อยู่ ที่ ก ารสร้ า ง
DATABASE
ผลกำ�ไร ไม่ใช่แค่การลดเวลา เพราะบางครั้ง การคิ ด ถึ ง การลดต้ น ทุ น ด้ า นเวลาอย่ า งเดี ย ว ก็อาจนำ�มาซึ่งต้นทุนในด้านอื่นๆ อี ก มหาศาล ซึ่งก็ต้องมาพิจารณากันว่ามันคุ้มค่าหรือไม่เพียงใด หลักการอธิบายแบบง่ายๆ ที่คิดมาแล้วอย่าง รอบด้านนี้ มาพร้อมตัวอย่างและวิธีการคิดคำ�นวณ อย่ า งละเอี ย ดให้ เ ห็ น แบบไม่ ต้ อ งจบเอ็ ม บี เ อ ก็เข้าใจได้ไม่ยาก
Anti-Ageing Solutions Drive a World of Innovation in Skin Care โดย GMID
แม้เศรษฐกิจจะอยู่ในภาวะทรงตัว แต่การเติบโต ในตลาดผลิ ต ภั ณ ฑ์ ด้ า นความงามกลั บ เพิ่ ม ขึ้ น แบบสวนทาง คนทัว่ โลกจ่ายเงินกว่า 2 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ ต่อสัปดาห์เพื่อซื้อหาผลิตภัณฑ์บำ�รุงผิว ในรูปแบบต่างๆ อายุของกลุม่ ผูท้ เ่ี ลือกใช้ผลิตภัณฑ์ ในกลุ่มต่อต้านริ้วรอยก็ลดลงเหลือเพียง 20 ปี จากกลุ่มอายุ 30-40 ปี ทำ�ให้ผู้ผลิตต้องแบ่ง ประเภทผลิตภัณฑ์แยกย่อยและชัดเจนยิ่งขึ้นเพื่อ ตอบสนองคนแต่ล ะกลุ่ม ขณะที่ ป ระเด็นเรื่อง ความรวดเร็ว เทคนิค รวมถึงนวัตกรรมเพื่อสร้าง
DVD
ผลลั พ ธ์ แ บบฉั บ ไวยั ง คงก็ เ ป็ น ความปรารถนา ผลิตภัณฑ์ใหม่หลายตัวจึงผลิตแบบ 2 in 1 คือ ผนวกระบบการทำ � งานแบบคู่ ข นานเพื่ อ สร้ า ง ผลลั พ ธ์ที ่ ร วดเร็วกว่าเดิม และไม่เพียงผู้หญิ ง เท่ า นั้ น ที่ ใ ห้ ค วามสำ � คั ญ กั บ ผลิ ต ภั ณ ฑ์ บำ � รุ ง ผิ ว แต่แนวโน้มการบริโภคของผู้ชายก็เติบโตไม่แพ้กัน ในทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ หากต้องการทราบข้อมูลใน อีกหลากหลายมุมมองและบทวิเคราะห์ในทุกกลุ่ม ผลิตภัณฑ์สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากฐานข้อมูล โดย Euromonitor International
iwannafile.com
Andy Warhol โดย Kim Evans แม้ว่าโลกแห่งศิลปะ งานฝีมือ และการแสดงออก อันละมุนละไมจะต้องใช้เวลา แต่บทบาทอีกด้าน ของศิลปะก็ต้องสะท้อนถึงความเป็นไปในสังคม ณ ขณะนั้นด้วยจึงจะสัมฤทธิ์ผล ดังเช่นที่ไอคอน แห่งยุคป็อปอย่าง แอนดี้ วอร์ฮอล เลือกจะทำ�ลาย กฎกรอบเดิมๆ ของโลกศิลปะที่เชื่องช้า และเขียน ประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของยุคศิลปะที่พยายาม ตีจากโลกแห่งอุดมคติมาหยิบจับความเป็นจริง มากขึ้น ด้วยการสะท้อนภาพสายพานการผลิตใน ระบบอุตสาหกรรมยุค 1960 ทีส่ นองตอบอเมริกนั ชน แบบคนหมู่มาก มาสู่การผลิตงานศิลปะที่ฉับไว ผลิตได้ครั้งละมากๆ ด้วยเทคนิคการพิมพ์ภาพ
ซิลค์สกรีน ใช้สีสันฉูดฉาด เล่นกับกระแสนิยมทั้ง การ์ตูน ข้าวของในชีวิตประจำ�วัน ซูเปอร์มาร์เก็ต ศิลปิน ดารา ใช้ความธรรมดาและรวดเร็ว เพื่อ ให้ทุกคนมีโอกาสเสพ สัมผัส และเป็นเจ้าของ งานศิลป์ได้งา่ ยๆ ทุกช่วงชีวติ ทีผ่ า่ นมา ทุกความ หลงใหล ความฝันในเยาว์วัย เอกลักษณ์เฉพาะ ถูกร้อยเรียงผ่านบทสัมภาษณ์ที่มีชีวิตชีวา รวมถึง วิธกี ารทำ�งานในบทบาทต่างๆ ของ วอร์ฮอล ตั้งแต่ การเป็นศิลปิน นักดนตรี รวมถึงผูส้ ร้างภาพยนตร์ ในสารคดีชดุ แรกทีผ่ ลิตออกมาหลังการจากไปของ หัวหอกแห่งยุคศิลปะของคนเมืองและประชานิยม คนนี้ในทุกมิติ พฤษภาคม 2555 l Creative Thailand
l9
©Reuters/Amit Dave
MATTER วัสดุต้นคิด
เมื่อความเร็วไม่ใช่คำ�ตอบสุดท้าย เรื่อง: แอนดรูว์ เอช. เดนต์ แปลและเรียบเรียง: พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์
หลายคนมักจำ�กัดสมรรถนะของยานยนต์อยู่แค่เพียงคุณสมบัติด้าน “ความเร็ว” ตั้งแต่ความเร็วสูงสุดของการขับขี่ ความเร็วของ อัตราเร่ง ความเร็วขณะเข้าโค้ง หรือความเร็วในการหยุดรถ จนดูเหมือนว่าหากจะพูดถึงยานพาหนะแล้ว คงไม่มีอะไรน่าสนใจ ไปมากกว่าเรื่องของความเร็ ว เท่านั ้ น แม้ในความเป็ น จริ ง หลายๆ ประเทศทั่วโลกจะยังต้องพบกับปัญหาการจราจรคับคัง่ ปัญหา การแย่งชิงพื้นที่ถนนสาธารณะที่บางครั้งก็ต้องใช้รว่ มกับรถเข็น หาบเร่ คนเดินเท้า ไปจนถึงสั ตว์เลี ้ ยง รวมถึ ง ปั ญหาการทรุ ด ตั ว และการชำ�รุดทรุดโทรมของถนน จนเป็นอุปสรรคสำ�คัญสำ�หรับการทำ�ความเร็วให้เป็นไปอย่างใจของผู้ขับขี่
หลังการเปิดตัวรถยนต์รุ่น Tata Nano เมื่อ กลางปี 2009 โดย Tata ค่ายรถยนต์ยักษ์ใหญ่ ในอินเดีย ด้วยราคาน่าคบที่ 2,500 เหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 75,000 บาท) ก็กลายเป็นปรากฏการณ์ พลิกโฉมวงการยนตรกรรมของโลกให้แต่ละ ค่ายผู้ผลิตต่างออกมาเดินตาม แม้จะเป็นเรื่อง ยากที่จะผลิตรถยนต์ในราคามิตรภาพนี้ด้วย ขั้นตอนเดียวกับการผลิตรถยนต์ธรรมดา แต่ สิง่ ที่ Tata คิ ด และลงมื อ ทำ � ก็ ค ื อ การสร้าง รถจักรยานยนต์ที่มี 4 ที่นั่ง 4 ล้อ และมีหลังคา เหมือนรถยนต์ โดยเลือกใช้อะไหล่ที่มีราคา ไม่สูงนัก ส่ว นอุ ปกรณ์ประกอบพิเศษอื่นๆ อย่างถุงลมนิรภัย ระบบขับเคลื่อนแบบเทอร์โบ หรือเกียร์อัตโนมัติ ก็ถูกสร้างขึ้นเพื่อรถยนต์ ทีไ่ ม่ตอ้ งการใช้ความเร็วสูง จึงทำ�ให้มขี นาดเล็ก ผลิตได้ง่าย และราคาถูก เมื่อความเร็วไม่ใช่ คำ � ตอบสุ ด ท้าย แนวคิ ด นี ้ จ ึ ง กลายมาเป็ น บรรทั ด ฐานใหม่ ที่ ท ลายกรอบความคิ ด ความเชื่ อ ดั้ ง เดิ ม ของบริ ษั ท ผู้ ผ ลิ ต รถยนต์ 10 l Creative Thailand l พฤษภาคม 2555
แทบทั้งโลกให้หันมาแข่งขันกันพัฒนารถยนต์ ราคาย่ อ มเยาและประหยั ด พลั ง งานเพื่ อ ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค สมรรถนะที่ ดี นั้ น อาจไม่ ไ ด้ เ กี่ ย วกั บ การเพิ่มขึ้นหรือการลดลงของบางสิ่งบางอย่าง แต่ มั น เป็ น เรื่ อ งของการออกแบบที่ ส ามารถ สนองต่อความต้องการของผู้ใช้งานได้ดีที่สุด วิ ศ วกรรมยานยนต์ ที่ ลํ้ า เลิ ศ ก็ ไ ม่ ใ ช่ สิ่ ง ผิ ด หากมันมาพร้อมกับความปลอดภัย ทว่าใน หลายๆ แง่มมุ แล้ว โดยเฉพาะในเรือ่ งของความ ยั่งยืน เราอาจไม่จำ�เป็นต้องขับขี่ยานพาหนะ ราคาสู ง ที่ ไ ม่ ไ ด้ ถู ก ออกแบบมาเพื่ อ การขั บ ขี่ ของเราอย่างแท้จริง ซึ่งตัวแปรที่ดีที่สุดที่จะแก้ ปัญหานี้ได้ก็คือการเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสม อั น จะนำ � มาซึ่ ง ผลลั พ ธ์ ที่ พึ ง ประสงค์ แ ละ สมรรถนะตามที่ต้องการ การคำ � นวณวั ส ดุ ใ ห้ เ หมาะสมกั บ จุ ด ประสงค์การใช้งานนั้น นอกจากจะเป็นการ หลีกเลีย่ งการใช้เครือ่ งยนต์เกินกำ�ลังแล้ว ยังช่วย
ลดข้อจำ�กัดในด้านต่างๆ ทัง้ ยังช่วยเพิม่ คุณสมบัติ และความสวยงามที่ ยั ง คงประสิ ท ธิ ภ าพใน การขับขี่ไว้อย่างครบถ้วน เช่น การใช้ซิลิโคน ใส (MC# 6618-01) ที่มีคุณสมบัติการกระจาย แสงได้มากกว่าร้อยละ 95 ทั้งยังทนทานและ มีนา้ํ หนักเบากว่าแก้ว แข็งแรงกว่าพลาสติกทัว่ ไป เหมาะอย่ า งยิ่ ง สำ � หรั บ การทำ � เป็ น เลนส์ ข อง หลอดไฟแอลอีดีในรถยนต์ หรือพลาสติกโพลิ โพรพิลีนที่ทั้งทนทาน แวววาว โดยไม่ต้องพึ่ง เส้นใยแก้ว (MC# 6469-03) และแผ่นลามิเนต ที่อัดเมลามีนด้วยแรงดันสูงโดยใช้นํ้าตาลแทน สารประกอบฟอร์มัลดีไฮด์เพื่อเป็นวัสดุทดแทน เรซินในยานยนต์ (MC# 5359-08) วัสดุเหล่านี้ ล้ ว นเปิ ด พื้ น ที่ ใ ห้ กั บ จิ น ตนาการอย่ า งไร้ ขอบเขต ทว่ายังคงรักษาประสิทธิภาพสูงสุดให้ กับผู้ขับขี่ในวันนี้ได้ดีเช่นเดิม ที่มา: นิตยสาร Matter ฉบับ 7.2 โดย Material Connexion® หมายเหตุ: MC# คือรหัสวัสดุในฐานข้อมูลของ Material Connexion®
CLASSIC ITEM คลาสสิก
นาฬิกาจับเวลาแบบดัง้ เดิมหรือแบบอะนาล็อกนัน้ จะมีกลไก ในการจับเวลาที่ถูกควบคุมด้วย 2 ปุ่ม ปุ่มด้านบนมีไว้กด ครั้งแรกเพื่อเริ่มจับเวลาและกดซํ้าอีกครั้งเพื่อหยุดเวลา ให้สามารถอ่านผลเวลาทีผ่ า่ นไปได้จากตัวเรือน ส่วนปุม่ ด้าน ข้างมีไว้เพื่อกดให้กลไกกลับไปเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง
ซามูเอล วัตสัน นักประดิษฐ์นาฬิกาและเพื่อนร่วมงานของ เซอร์ไอแซก นิวตัน บิดาแห่งวิทยาศาสตร์โลก คือผู้ที่ ประดิษฐ์นาฬิกาจับเวลาขึ้นเป็นคนแรกของโลกในปี 1710 โดยเขาได้ ป ระดิ ษ ฐ์ มั น ขึ้ น เพื่ อ ถวายแต่ ส มเด็ จ พระเจ้ า ที่มา: blog.onlineclock.net ชาร์ลส์ที่ 2 และเรียกประดิษฐกรรมควบคุมเวลาของเขาว่า electron.rmutphysics.com ‘Five-minute repeater’ ซึง่ ทำ�หน้าทีจ่ บั เวลาทีแ่ บ่งเป็นช่วง everything2.com wikipedia.com ช่วงละ 5 นาทีใน 1 ชัว่ โมง โดยจะทำ�หน้าทีบ่ อกเวลาทีผ่ า่ นไป แต่ละ 5 นาทีด้วยเสียง ก่อนที่นาฬิกาจับเวลาเรือนแรกจะถูกนำ�มาใช้อย่างแพร่ หลาย ได้มีนาฬิกาที่มีลักษณะและการทำ�งานใกล้เคียงกับ นาฬิ ก าจั บเวลาเกิ ดขึ้ น ในช่ ว งเวลาใกล้ เ คียงกันเรียกว่า นาฬิกาโครโนกราฟ (Chronograph) ทั้งโครโนกราฟและ นาฬิกาจับเวลาต่างมีความสามารถในการจับเวลาทั้งเวลา ที่เดินไปข้างหน้าและการจับเวลาแบบถอยหลัง เป็นนาฬิกา หยุดจับเวลาที่สามารถวัดและบันทึกช่วงเวลาที่ต้องการได้ แต่ส่วนที่ต่างกันก็คือ โครโนกราฟนั้นถูกสร้างขึ้นเพื่อบันทึก ช่วงเวลาที่กำ�หนด แต่นาฬิกาจับเวลาถูกสร้างขึ้นเพื่อแสดง ช่วงเวลาที่กำ�หนดเท่านั้น นอกจากนี้ นาฬิกาจับเวลายังถูก ประดิ ษ ฐ์ ขึ้ น เพื่ อ ให้ ส ามารถมองเห็ น ช่ ว งเวลาได้ อ ย่ า ง ชัดเจนและง่ายมากขึ้น หลังการคิดค้น ‘Five-minute repeater’ ของซามูเอล วัตสัน Stopwatch เรือนแรกก็ถกู สร้างขึน้ ในปี 1869 โดย Tag Heuer บริษทั ผูผ้ ลิตนาฬิกาหรูของสวิส โดยสามารถจับเวลาได้ละเอียด ถึง 1/5 ของวินาที ต่อมาในปี 1916 Tag Heuer ก็ได้สร้าง นาฬิกาจับเวลาที่มีชื่อเสียงโด่งดังในประวัติศาสตร์ที่เรียกว่า ไมโครกราฟ (Micrograph) ขึ้น โดยสามารถจับเวลาได้ ละเอียดมากขึ้นเป็น 1/100 ของวินาที
Stopwatch เรื่อง: พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์
นาฬิกาจับเวลา คืออุปกรณ์แบบพกพาทีไ่ ด้รบั การออกแบบขึน้ เพือ่ วัดปริมาณ เวลาทีผ่ า่ นไประหว่างช่วงเวลาเริม่ ต้นและสิน้ สุดทีก่ �ำ หนด ซึง่ ทำ�ให้มนุษย์สามารถ กำ�กับและกำ�หนดเวลาที่ไม่เคยหยุดเดินให้อยู่ภายใต้การควบคุม
นาฬิกาจับเวลาแบบดิจิทัลเรือนแรกของโลกนั้นถูกใช้เพื่อ จับเวลาในการแข่งขันกีฬามีชื่อเรียกว่า ดิจิทัลไทม์เมอร์ พัฒนาโดยบริษัท Cox Electronic Systems, Inc ในสหรัฐฯ เมื่อปี 1971 โดยใช้หลอดสุญญากาศที่เรียกว่า หลอดนิกซี แสดงผลตัวเลขเวลาที่ละเอียดถึง 1/1000 ต่อวินาที และถูก นำ�ไปใช้จับเวลาในสนามแข่งขันสกีเป็นครั้งแรก ในปัจจุบัน นาฬิกาจับเวลาแบบดิจิทัลที่มีขนาดใหญ่มักถูกใช้เพื่อการ มองเห็นในระยะไกล เช่น ในสนามกีฬา จะเรียกว่า Stopclock ปัจจุบันฟังก์ชั่นการจับเวลามักไปปรากฏอยู่ร่วมกับอุปกรณ์ ดิจิทัลอื่นๆ เช่น นาฬิกาข้อมือ โทรศัพท์มือถือ เครื่องเล่น เพลงแบบพกพา และคอมพิวเตอร์ เป็นต้น พฤษภาคม 2555 l Creative Thailand
l 11
COVER STORY เรื่องจากปก
JUST IN TIME
เศรษฐกิจบนพื้นฐานความไว เรื่อง: มนฑิณี ยงวิกุล
ความเร็ ว ของเครื่ อ งจั ก รในการผลิ ต สิ น ค้ า ครั้ ง ละจำ � นวนมากเพื่ อ ให้ ต้นทุนต่อหน่วยตํ่าที่สุดเคยเป็นประสิทธิผลที่ยิ่งใหญ่ของผู้ผลิต แต่ใน ยุคดิจิทัลซึ่งมากล้นไปด้วยเทคโนโลยีที่สนับสนุนให้โลกทัศน์กว้างขึ้น และใช้เวลาได้นอ้ ยลง "ความเร็ว" จึงต้องถูกตีความใหม่ในฐานะ "ผลลัพธ์ ของการลงทุนในสาธารณูปโภค" และ "ไอเดียในการบริหารจัดการ" ให้ สามารถตอบสนองผู้ บ ริ โ ภคได้ อ ย่ า งทั น ใจด้ ว ยคุ ณ ภาพและราคาที่ เหมาะสม
12 l Creative Thailand l พฤษภาคม 2555
©Reuters/Yuriko Nakao
COVER STORY เรื่องจากปก
พฤษภาคม 2555 l Creative Thailand
l 13
©Reuters/Miquel Vidal
COVER STORY เรื่องจากปก
แฟชั่นจานด่วน เสือ้ ผ้าโอต์ กูตรู ท์ เ่ี คยเป็นเหมือนความฝันทีห่ า่ งไกลสำ�หรับหญิงสาว ส่วนใหญ่ เริ่มจับต้องได้มากขึ้นด้วยธุรกิจฟาสต์แฟชั่น (Fast fashion) ทีส่ ร้างอธิปไตยในวงการแฟชัน่ ด้วยกลยุทธ์การค้าปลีก และการบริหารจัดการห่วงโซ่การผลิตจนสามารถส่งต่อเสื้อผ้า สไตล์ชั้นสูงมาถึงมือลูกค้าในราคาที่เอื้อมถึงและทันกับความ ต้องการของตลาด
เมื่อปี 1965 จูเลียนา เบเนตอง นักออกแบบแฟชั่นกับพี่ชาย ลูเชียโน เบเนตอง พ่อค้าขายส่งผ้า ได้ร่วมกันผลิตและวางจำ�หน่ายสเว็ตเตอร์ ผ้าขนสัตว์หลากสีสันที่ห้างสรรพสินค้าในอิตาลีด้วยราคาที่ตํ่ากว่าคู่แข่ง ในคุณภาพระดับเดียวกัน จนทำ�ให้ ยูไนเต็ด คัลเลอร์ส ออฟ เบเนตอง ประสบความสำ�เร็จในการขยายสาขาไปทั่วประเทศและก้าวมาสู่ตลาด ต่างประเทศในเวลาต่อมา เช่นเดียวกับการเกิดขึ้นของบริษัทอินดิเท็กซ์ โดย อามานซิโอ ออร์เตก้า ที่เปิดร้านซาร่าแห่งแรกขึ้นในปี 1975 เพื่อ จำ�หน่ายเสือ้ ผ้าแฟชัน่ ราคาย่อมเยาให้กบั สาวๆ ในกาลิเซีย แคว้นทีย่ ากจน เป็นอันดับสามของสเปน กระทั่งประสบความสำ�เร็จในการครองแชมป์ ตลาดยุโรปอย่างต่อเนื่อง ทั้งเบเนตองและซาร่าจัดอยู่ในกลุ่มธุรกิจแฟชั่นที่ใช้กระบวนการ ผลิ ต เสื้ อ ผ้ า และการค้ า ปลี ก เพื่ อ ตอบสนองให้ ทั น ต่ อ ความต้ อ งการที่ เปลี่ยนไปมาของผู้บริโภคในอัตราที่รวดเร็วขึ้น โดยเบเนตองสามารถ บริหารจัดการเครือข่ายอันซับซ้อนของกลุ่มคลัสเตอร์ผู้ผลิต ซึ่งส่วนใหญ่ เป็นพนักงานเก่าของบริษัท อีกทั้งยังเปลี่ยนการย้อมสีมาไว้เป็นขั้นตอน 14 l Creative Thailand l พฤษภาคม 2555
สุดท้าย เพือ่ ให้สามารถปรับสีเสือ้ ผ้าได้ตามความนิยมและฤดูกาล ในส่วน ของซาร่านั้นได้สร้างห่วงโซ่การผลิตที่ไม่แตกต่างจากเบเนตอง แต่ยังคง กุมขัน้ ตอนการผลิตส่วนสำ�คัญไว้ภายในบริษทั เช่นการควบคุมซอฟต์แวร์ ในการตัดผ้า ในขณะที่ขั้นตอนการตัดเย็บนั้นก็ใช้ผู้ผลิตจากภายนอกซึ่ง ยังคงอยู่ในบริเวณเดียวกับที่ตั้งโรงงานในเมืองอาโกรุญ่านั่นเอง จากโมเดลการผลิตที่ผสมผสานระหว่างไอเดียสดใหม่จากเวทีแฟชั่น กับการจับกระแสความเคลื่อนไหวในกลุ่มลูกค้ายุคใหม่ ทำ�ให้อายุของ คอลเล็กชั่นเสื้อผ้าหดสั้นลงจากฤดูกาลมาสู่สัปดาห์หรือแม้กระทั่งเป็นวัน เพราะถ้าหากชุดไหนขายไม่ดี ก็สามารถหยุดผลิตและหันมาผลิตเสื้อผ้า ที่ขายดีเพิ่มมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ธุรกิจฟาสต์แฟชั่นจึงไม่เพียงเติบโตใน อัตราเฉลีย่ ร้อยละ 20 ซึง่ สูงเกินหน้าอุตสาหกรรมเสือ้ ผ้าปกติ แต่ยงั มีก�ำ ไร มหาศาลจากยอดขายในราคาเต็ม ซึ่งผลจากการศึกษาของเบนแอนด์โค. ระบุว่า ธุรกิจนี้มีสัดส่วนสินค้าลดราคาเพียงร้อยละ 15 เท่านั้น การเติบโตเช่นนีด้ งึ ดูดให้มผี ผู้ ลิตจากประเทศอืน่ ๆ เข้ามาร่วมวงด้วย อย่างเช่น เอชแอนด์เอ็มของสวีเดนและท็อปช็อปจากสหราชอาณาจักร
©Reuters/Chaiwat Subprasom
COVER STORY เรื่องจากปก
ซึง่ ผูท้ ไ่ี ด้รบั ผลกระทบหนักทีส่ ดุ เห็นจะเป็นเบเนตอง ทีน่ อกจากคอลเล็กชัน่ จะดูล้าสมัยลงเมื่อเปรียบเทียบกับแบรนด์อื่นแล้ว ผลจากการขยายสาขา อย่างรวดเร็วจนมีมากกว่า 8,000 แห่งด้วยระบบแฟรนไชส์ รวมถึงการ ตัดสินใจย้ายฐานการผลิตไปยังเอเชียโดยเฉพาะประเทศจีนเพื่อเก็บเกี่ยว ผลประโยชน์จากค่าแรงทีถ่ กู กว่า ก็ยงั ทำ�ให้กระบวนการผลิตของเบเนตอง ได้ รั บ ข้ อ มู ล ทางการตลาดล่ า ช้ า และไม่ ส ามารถควบคุ ม การผลิ ต ได้ เหมือนกับซาร่าที่เป็นเจ้าของร้านค้าปลีกเอง อีกทั้งสินค้ามากกว่าร้อยละ 50 ของซาร่าก็ยังคงผลิตในสเปน และส่วนที่เหลือก็ผลิตในแหล่งที่ไม่ไกล เกินไปอย่างโปรตุเกสและโมร็อกโก จึงทำ�ให้ซาร่าสามารถรอจนแน่ใจได้วา่ อะไรที่ผู้บริโภคต้องการจริงๆ ก่อนที่จะลงมือผลิตออกมาอย่างรวดเร็ว ซึ่งช่วยลดปัญหาเรื่องสินค้าค้างสต็อกได้ดี และยังสร้างยอดขายได้ถึง 13.8 พันล้านยูโร (552 พันล้านบาท) กลยุทธ์การเลือกแหล่งผลิตของซาร่าได้กลายเป็นต้นแบบให้บริษัท เสือ้ ผ้าหลายแห่งเดินรอยตามอย่างเช่น จอร์จ แบรนด์เสือ้ ผ้าราคาย่อมเยา ของบริษทั แอสด้าจากสหราชอาณาจักร ทีเ่ ตรียมการย้ายแหล่งผลิตกลับมา อยู่ใกล้บ้าน หรือแม้แต่เบเนตองที่ก็เล็งเห็นถึงปัญหาและยอมลงทุนกว่า 430 ล้านยูโร (17,200 ล้านบาท) เพื่อปรับปรุงขั้นตอนการผลิตและระบบ การกระจายสินค้า เพื่อลดเวลาในการจัดส่งจากโรงงานไปถึงหน้าร้านให้ น้อยที่สุด อย่างไรก็ตาม นัน่ เป็นการแข่งขันระหว่างประเทศในกลุม่ ยุโรปด้วยกันเอง แต่ในอนาคตคู่แข่งจากอีกฟากทวีปก็อาจกลายเป็นคู่แข่งรายใหม่ที่ต้อง จับตามอง ถ้าหากการลงทุนในสาธารณูปโภคแห่งการประหยัดเวลานั้น สัมฤทธิ์ผล
ทีม่ า: Harvard Business School พฤษภาคม 2555 l Creative Thailand
l 15
©Reuters/Antony Njuguna
COVER STORY เรื่องจากปก
สดจากไร่ด้วยไฮสปีด
ด้วยประสิทธิภาพของการขนส่งเช่นนี้ ทำ�ให้เนเธอร์แลนด์เป็นผูค้ า้ ดอกไม้ รายใหญ่ทส่ี ดุ ของโลกมายาวนาน จนกระทัง่ รัฐบาลจีนตัดสินใจทีจ่ ะผลักดัน ให้ตลาดดอกไม้ในมณฑลยูนนานก้าวขึ้นมาเป็นคู่แข่งด้วยเป้าหมายการ เป็นผูผ้ ลิตดอกไม้รายใหญ่ทส่ี ดุ ของโลก โดยนอกเหนือจากความก้าวหน้า ในการเพาะพันธุ์ดอกไม้ได้ถึง 145 ชนิดใหม่แล้ว ปริมาณดอกไม้ที่ผลิต ในจีนยังมีสัดส่วนถึงร้อยละ 40 ของผลผลิตจากทั่วทั้งโลก แต่ทว่ากลับมี สัดส่วนการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศเพียงร้อยละ 2 เท่านัน้ ซึง่ ดีลเลอร์ ดอกไม้ในยูนนานต่างกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า การขนส่งดอกไม้ทางอากาศ คืออุปสรรคสำ�คัญในการเจาะตลาดยุโรป เพราะราคานํา้ มันทีเ่ พิม่ ขึน้ ทำ�ให้ ค่าขนส่งแพงมหาศาลจนผูผ้ ลิตไม่มกี �ำ ไร ในขณะที่ เหอ กุย รองผูอ้ �ำ นวยการ บริษทั ดอกไม้ในยูนนานกล่าวว่า คุนหมิงไม่มเี ทีย่ วบินตรงไปยุโรป ดอกไม้สด ทั้งหมดต้องไปแวะพักที่กรุงเทพฯ และถูกขนส่งต่อด้วยเครื่องบินโดยสาร ทีไ่ ม่สามารถการันตีทง้ั คุณภาพและเวลาได้ ทางออกของผูผ้ ลิตในยูนนาน ในปัจจุบันจึงเป็นการผลิตดอกไม้ราคาสูงเพื่อให้คุ้มค่ากับค่าระวางขนส่ง ทางอากาศ อย่างเช่น โพรเทีย ดอกไม้เมืองร้อนที่มีถิ่นกำ�เนิดในแอฟริกา 16 l Creative Thailand l พฤษภาคม 2555
Flickr/photos/jeaneeem
ดอกไม้ ที่ ป ลู ก ในเคนยามากกว่ า ครึ่ ง มี เ ป้ า หมายอยู่ ที่ ต ลาด อลาสเมียร์ในเนเธอร์แลนด์ ดังนั้นสินค้าทั้งหมดจึงต้องเดินทาง ข้ามนํา้ ข้ามทะเลเป็นระยะทาง 7,500 กิโลเมตร ก่อนจะถูกส่งไปยัง ร้านค้าน้อยใหญ่โดยไม่บุบสลาย ด้วยระบบการขนส่งที่รักษา อุณหภูมิให้คงที่ที่ 2 องศาเซลเซียสอย่างสมํ่าเสมอ และรถเข็น ดอกไม้ที่ออกแบบมาอย่างดีในการขนถ่ายสินค้าจากเครื่องบิน มาสู่คลังสินค้าในตลาดประมูล ก่อนแยกบรรจุเพื่อนำ�ไปขึ้น รถบรรทุกให้ออกวิ่งไปตามถนนและซอกซอยทั่วยุโรป
ที่สามารถขายในราคาส่งได้ถึงดอกละ 5 ยูโร (200 บาท) และอีกหนึ่ง ทางออกก็คือการลงทุนในระบบการขนส่งทางบก ซึ่งจากการศึกษาพบว่า การขนส่งดอกไม้ไปกรุงเทพฯ โดยใช้เส้นทางทางบกนัน้ สามารถลดต้นทุน ในการขนส่งได้ถึงร้อยละ 60 รถไฟความเร็วสูงที่เชื่อมต่อระหว่างเมืองใหญ่ๆ ภายในประเทศและ เชือ่ มต่อ 17 ประเทศในเอเชียและยุโรปตะวันออกจึงไม่เพียงเป็นสัญลักษณ์ ใหม่แห่งการท่องเที่ยวของจีน แต่ยังเป็นความหวังใหม่สำ�หรับดีลเลอร์ ดอกไม้ทจ่ี ะสามารถบุกตลาดต่างประเทศด้วยต้นทุนทีต่ า่ํ ลงด้วยการขนส่ง ทางรถไฟความเร็วสูงเฉลีย่ 320 กิโลเมตรต่อชัว่ โมง ซึง่ ในอีกสิบปีขา้ งหน้า ชาวปักกิง่ ก็จะสามารถเดินทางไปยังสถานีคงิ ส์ครอสในกรุงลอนดอนได้ดว้ ย เวลาเพียง 2 วันเท่านั้น อนาคตทีร่ งุ่ โรจน์บนรางรถไฟความเร็วสูงของผูผ้ ลิตดอกไม้ในจีนนี้ ใน ทางหนึ่งอาจส่งผลลบต่อเนเธอร์แลนด์ที่มีต้นทุนค่าแรงแพงกว่า แต่ในอีก ทางหนึ่งความชำ�นาญเฉพาะด้านของชาวดัชต์ก็อาจจะพลิกเกมกลับมา ให้ยนู นานกลายเป็นอีกห่วงโซ่การผลิตดังเช่นไร่กหุ ลาบจากเคนยาก็เป็นได้
COVER STORY เรื่องจากปก
โครงการรถไฟความเร็วสูงในอนาคตเพือ่ เชือ่ มต่อทวีปเอเซียเข้ากับยุโรป
ที่ไหนเมื่อไรก็ได้ ประชากรกำ � ลั ง มี เ วลาว่ า งมากขึ้ น จากระบบสาธารณู ป โภค แห่ ง อนาคตที่ รั ฐ บาลทั่ ว โลกต่ า งเร่ ง รี บ ลงทุ น เพื่ อ ให้ ก ารทำ � ธุรกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำ�วันนั้นสามารถทำ�ได้จากที่ใดที่หนึ่ง หรือแม้กระทั่งขณะที่กำ�ลังเดินทางอยู่ โดยผ่านระบบที่เรียกว่า อินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูง
©Tim Clayton/Corbis
ปัจจุบันญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ถูกจัดเป็นกลุ่มประเทศผู้นำ�ด้านเทคโนโลยี สารสนเทศด้วยสัดส่วนอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงต่อจำ�นวนประชากรทีส่ งู กว่า ร้อยละ 70 ในอัตราค่าบริการที่ตํ่ากว่าสหรัฐฯ เกือบ 3 เท่า นอกจากนี้ “โทรศัพท์มอื ถือ” ยังมีบทบาทอย่างสูงในชีวติ ประจำ�วัน ในฐานะเครือ่ งมือ สำ�หรับทำ�ธุรกรรมต่างๆ ในสถานทีแ่ ละเวลาทีจ่ �ำ กัด ซึง่ สอดคล้องกับวิถชี วี ติ ที่เร่งรีบของทั้งสองประเทศ
ความสะดวกสบายในการใช้งานและความสามารถในการประหยัดเวลา ทีท่ �ำ ได้มากขึน้ นัน้ ทำ�ให้แนวโน้มของโมบายพาณิชย์ได้รบั ความนิยมเพิม่ ขึน้ จนคาดว่าในปี 2015 จะมียอดการซื้อขายผ่านหน้าจอโทรศัพท์มือถือทะลุ 119 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (3,570 พันล้านบาท) โดยมีญี่ปุ่นเป็นแชมป์ การซือ้ ขายด้วยมือถือมากทีส่ ดุ ด้วยมูลค่าการซือ้ สินค้าสูงเกิน 10 พันล้าน เหรียญสหรัฐฯ (300 พันล้านบาท) ในปี 2009 การที่แอพพลิเคชั่นซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อใช้กับระบบปฏิบัติการของ โทรศัพท์เคลือ่ นทีส่ ามารถใช้ได้งา่ ยและราคาถูก ก็ยง่ิ เป็นปัจจัยสำ�คัญทีท่ �ำ ให้ ธุรกรรมทางมือถือเติบโตบนเว็บไซต์เพื่อการค้าขายอย่างเช่นอีเบย์และ ร้านหนังสืออะแมซอน ซึง่ เป็นผูใ้ ห้บริการออนไลน์รายใหญ่ทไ่ี ด้รบั ประโยชน์ จากยอดซื้อสินค้าอย่างมหาศาล โดยในปี 2011 มียอดการซื้อขายมากถึง 5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (1.5 แสนล้านบาท) สำ�หรับอีเบย์ และ 1 พันล้าน เหรียญสหรัฐฯ (3 หมืน่ ล้านบาท) สำ�หรับอะแมซอน และยังคาดว่าธุรกรรม ทีเ่ กีย่ วข้องกับการซือ้ ขายตัว๋ ทัง้ ตัว๋ เครือ่ งบิน ตัว๋ คอนเสิรต์ ก็จะเติบโตเช่นกัน โดยคาดว่าในปี 2015 จำ�นวนผู้ซื้อขายตั๋วผ่านมือถือจะเพิ่มขึ้นเป็น 750 ล้านคนเมื่อเทียบจากในปัจจุบันที่มีเพียง 230 ล้านคน จากแนวโน้มความนิยมที่เพิ่มมากขึ้นนี้ ทำ�ให้อาชีพนักออกแบบ แอพพลิเคชั่นก้าวขึ้นมาเป็นอาชีพใหม่ที่น่าจะมีความรุ่งเรืองอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำ�หรับเด็กรุ่นใหม่ที่เติบโตมาในสภาพแวดล้อมที่มี เทคโนโลยีพื้นฐานเพียบพร้อมรองรับอยู่แล้วเช่นนี้ จึงไม่เป็นการยากที่ เขาเหล่านั้นจะสามารถเป็นนักออกแบบแอพพลิเคชั่นได้ต้งั แต่อายุยังน้อย ถ้าหากพวกเขามีผู้ใหญ่สนับสนุนหรือมีผู้ชี้แนะในการแปรจินตนาการให้ กลายเป็นโปรแกรมสำ�หรับมือถือ อย่างเช่นที่ นิก ดัลลอยซิโอ เด็กหนุ่ม พฤษภาคม 2555 l Creative Thailand
l 17
COVER STORY เรื่องจากปก
โตทางลัด
บริษทั ซิงก้า อิงค์. เจ้าของเกมปลูกผักหรือฟาร์มวิลล์อนั โด่งดังในเฟซบุก๊ กำ�ลังสร้าง ผลงานอันยอดเยีย่ มอีกครัง้ จากยอดเล่นเกมโทรศัพท์มอื ถือ 15 ล้านคนต่อวันในปี 2011 และได้รับคะแนนเฉลี่ย 4.3 ดาวจากร้านแอพพลิเคชั่นโทรศัพท์มือถือ โดยประธาน บริหารด้านการเงินของซิงก้ากล่าวว่า บริษทั มีรายรับจากโทรศัพท์มอื ถือเพิม่ มากขึน้ ทัง้ จากการเล่นเกมและโฆษณา ดังนัน้ โทรศัพท์มอื ถือจึงเป็นโอกาสใหญ่ทซ่ี งิ ก้าจะมุง่ ไปในปี 2012 จึงไม่น่าแปลกใจที่ซิงก้าจะเจรจาซื้อกิจการบริษัทผู้ผลิตเกมบนมือถือ ถึง 4 แห่งเมื่อไตรมาสที่ 3 ของปี 2011 ซึ่งประกอบด้วย เกมด็อกเตอร์ส บริษัทจาก เยอรมนีผผู้ ลิตเกมซอมบี้ สแมช บริษทั ในซานฟรานซิสโกสองแห่ง คือเพจ44 ผูพ้ ฒั นา เกมเพลย์สเตชั่น 2 พีเอสพีและเกมบนระบบไอโอเอส บริษัทฮิปโลจิค รวมถึงบริษัท แอสโทร เอป สตูดิโอส์ นิวยอร์ก จากก่อนหน้านี้ ที่ซิงก้าได้ทุ่มเงินซื้อบริษัทนิวทอย ผู้สร้าง เวิลด์ส วิธ เฟรนด์ส ซึ่งได้กลายเป็นเกมฮิตของซิงก้าในปัจจุบัน และความเคลื่อนไหวล่าสุด ซิงก้าได้ตกลงซื้อบริษัทโอเอ็มจีป๊อป เจ้าของเกม วาดภาพทายคำ� ดรอ ซัมธิง (Draw Something) ซึง่ มียอดดาวน์โหลดบนไอโอเอสและ แอนดรอยด์รวมกันแล้วกว่า 35 ล้านครัง้ ทัง้ แบบเสียเงินและเล่นฟรีแฝงโฆษณา ซึง่ ได้ ขยายไปยังเฟซบุก๊ จนมีผใู้ ช้ตอ่ เนือ่ งรายวันประมาณ 12.2 ล้านคน แซงหน้าหลายๆ เกม ของซิงก้าที่เป็นเจ้าตลาดอยู่ก่อน โดยในปัจจุบัน เกม ดรอ ซัมธิง สามารถทำ�เงินให้ โอเอ็มจีปอ๊ ปเป็นหลักแสนเหรียญสหรัฐฯ ต่อวัน และจากการซือ้ กิจการครัง้ นีก้ ส็ ง่ ผลให้ ซิงก้าได้ครอบครองเกมแนวอื่นๆ ของบริษัทอีกกว่า 35 รายการทั้งหมด
จากอังกฤษวัย 16 ปีที่ใช้เวลาเพียงเดือนเดียวในการพัฒนาแอพพลิเคชั่น ชือ่ Summly ขึน้ เพือ่ ช่วยให้ผทู้ ต่ี อ้ งค้นคว้าข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตสามารถ ทำ�งานได้สะดวกมากขึน้ โดยไม่จ�ำ เป็นต้องอ่านข้อความทัง้ หน้าเพจ เพราะ แอพพลิเคชั่นนี้จะช่วยย่อข้อมูลทั้งหมดให้เหลือเฉพาะใจความสำ�คัญเพียง 140-1,000 ตัวอักษร ซึง่ ผลงานของเขามียอดดาวน์โหลดกว่า 115,000 ครัง้ ภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ จนได้รับเลือกให้เป็น “แอพฯ ประจำ�สัปดาห์” บนไอทูนส์ และทำ�ให้เขากลายเป็นทีส่ นใจของนักลงทุนในซิลคิ อน วัลเลย์ นอกจากนัน้ นิกยังกลายมาเป็นแรงบันดาลใจสำ�หรับนักพัฒนาแอพพลิเคชัน่ รุ่นใหม่ให้ยิ่งขวนขวายทั้งการเรียนรู้ด้วยตนเองหรือการเข้าค่ายฝึกอบรม มากขึน้ การเติบโตทัง้ ฝัง่ อุปสงค์และอุปทานเช่นนี้ จึงเป็นไปได้วา่ โครงสร้าง เศรษฐกิจในปัจจุบนั และอนาคต นอกจากจะมีผเู้ ล่นหน้าใหม่ไม่จ�ำ กัดอายุ และเงินทุนเข้ามามีบทบาทในการขับเคลื่อนให้โลกหมุนเร็วยิ่งขึ้นแล้ว ระยะเวลาของการไต่เต้าเป็นเศรษฐีนอ้ ยก็มแี นวโน้มทีจ่ ะหดสัน้ ลงเหลือเพียง ไม่กี่สัปดาห์ ถ้าหากแอพพลิเคชั่นของพวกเขาสามารถตอบโจทย์วิถีชีวิต คล่องตัว ไร้ขอบเขต และการเลือกใช้เวลาอย่างคุ้มค่าหรือฆ่าเวลาได้ อย่างถูกใจของผู้บริโภคในวันนี้ได้อย่างถูกจังหวะลงตัว
5 อันดับประเทศทีม่ ยี อดใช้โมบายบรอดแบนด์ สูงที่สุดในโลก ต่อประชากร 100 คน
ทีม่ า: ITU and Wireless Intelligence (2011)
กลุ่มแอพพลิเคชั่นมือถือที่ได้รับความนิยม
ทีม่ า: catalogs.com
18 l Creative Thailand l พฤษภาคม 2555
©Reuters/Jo Yong Hak
COVER STORY เรื่องจากปก
อิทธิพลของความเร็ว ภายหลังการถูกยึดครองโดยญี่ปุ่นและสงครามภายในประเทศ เกาหลีใต้กลายเป็น ประเทศที่ยากจนที่สุดเป็นอันดับสองของโลก ด้วยรายได้ต่อหัวของประชากรเฉลี่ย 76 เหรียญสหรัฐฯ (2,300 บาท) ห่างจากรายได้ต่อหัวของประชากรไทยในวันนั้นถึง 3 เท่า แต่ในอีก 50 ปีตอ่ มา เกาหลีใต้หนั หลังให้กบั ความแร้นแค้นในอดีตและก้าวขึน้ มา สูป่ ระเทศอุตสาหกรรมชัน้ นำ�ของเอเชียด้วยรายได้ตอ่ หัวเฉลีย่ 31,700 เหรียญสหรัฐฯ (930,000 บาท) ซึ่งสูงเป็นอันดับ 40 ของโลก “ปาลี ปาลี เรามารีบสร้างชาติกนั เถอะ” คำ�พูดติดปากชาวเกาหลีทป่ี ลุกเร้าให้ คนในชาติหันมาเร่งรีบทำ�งานหนักเพื่อสร้างประเทศให้เติบโตและเอาชนะคู่แข่ง อย่างญี่ปุ่น ทำ�ให้อุตสาหกรรมเกาหลีไม่ขาดแคลนคนงานที่ทุ่มเท หรือนักศึกษาที่ รํ่าเรียนอย่างหนักและตั้งใจดูดซับความรู้จากต่างประเทศ ซึ่งทำ�ให้แผนพัฒนา เศรษฐกิจของรัฐบาลตั้งแต่ปี 1960 เริ่มเห็นผลในการนำ�พาประเทศหลีกหนีจาก ความลำ�บากยากจนด้วยการลงทุนในอุตสาหกรรมหนักและเคมีมาสู่แผนพัฒนา ประเทศเพื่อการแข่งขันอย่างแท้จริงในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 โดยการขับเคลื่อน ประเทศไปสูร่ ะบบเศรษฐกิจบนพืน้ ฐานความรูท้ ม่ี งุ่ พัฒนาคนเป็นหลัก ดังนัน้ เม็ดเงิน ลงทุนจากรัฐบาลจึงถูกเทไปกับการสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีและ สารสนเทศให้เป็นส่วนหนึ่งของภาคอุตสาหกรรม ภาครัฐ สังคม และวัฒนธรรม ของคนเกาหลีใต้อย่างจริงจัง
ในที่สุดเกาหลีใต้ก็สามารถต้อนรับศตวรรษที่ 21 ด้วยสถิติการเป็นประเทศที่มี สัดส่วนประชาชน (ต่อ 100 คน) ที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงมากถึง ร้อยละ 90 และมีอัตราความเร็วของบรอดแบนด์เฉลี่ย 50-100 เมกะไบต์ต่อวินาที มีอัตราการใช้โทรศัพท์มือถือต่อจำ�นวนประชากรอยู่ที่ร้อยละ 105 เพราะแต่ละคนมี โทรศัพท์มอื ถือมากกว่า 1 เครือ่ ง นอกจากนี้ ในปี 2016 หนังสือเรียนทัง้ หมดยังจะถูก แปรสภาพเป็นอี-บุก๊ ด้วยเงินงบประมาณกว่า 2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (60 พันล้านบาท) เพื่อให้ประชากรเข้าถึงข้อมูลความรู้ได้อย่างสะดวกและรวดเร็วที่สุด ปัจจุบนั เกาหลีใต้มกั ถูกกล่าวถึงในด้านความรวดเร็วในการพลิกฟืน้ ประเทศพอๆ กับวัฒนธรรมของการเร่งรีบที่ยังคงอยู่ แม้ว่าในชีวิตประจำ�วันของชาวเกาหลีใต้จะ เพียบพร้อมไปด้วยการคมนาคมที่ถูกจัดระบบเป็นอย่างดีท้งั ในเรื่องเวลาและความถี่ รวมถึงระบบการขนส่งสินค้าและการชำ�ระเงินที่แม่นยำ�เพื่อรองรับการซื้อขาย อิเล็กทรอนิกส์ทุกรูปแบบซึ่งจะทวีความสะดวกสบายมากขึ้นในปี 2012 นี้ เพราะ ความเร็วของอินเทอร์เน็ตจะถูกปรับเพิ่มขึ้นเป็น 1,000 เมกะไบต์ต่อวินาทีด้วยราคา ค่าบริการเพียงเดือนละ 27 เหรียญสหรัฐฯ ( 810 บาท) แต่ทว่าในท้องถนนของกรุงโซล วันนี้ ผูค้ นทีส่ ญั จรไปมาก็ยงั มีบทสนทนาระหว่างทีเ่ ดินไปขึน้ รถไฟฟ้า หรือเด็กรุน่ ใหม่ ที่หงุดหงิดใส่มือถือของตัวเองว่า “ปาลี ปาลี” อยู่เช่นเดิม
ที่มา: African Journal of Biotechnology Vol.9 (44), 1 November 2010 Orient Super Express: From London to Beijing by train... in just TWO days โดย Peter Simpson และ David Wilkes จาก dailymail.co.uk Fast Fashion Lesson โดย Donald Sull และ Stefano Turconi จาก London Business School ZARA: Fast fashion โดย PANKAJ GHEMAWAT, JOSE LUI S NUENO จาก Harvard Business School, 21 December 2006 Chinese floriculture hub aims for the global market โดย Li Yingqing และ Yang Yang จาก usa.chinadaily.com What is M-Commerce โดย rekhacontentwriter จาก trivology.com The 15-Year-Old Creator Of The Trimit App Makes Regular Old Entrepreneurs Seem Like Slackers โดย Kit Eaton จาก fastcompany.com Zynga Mobile Grew Five-Fold To More Than 15 Million Daily Users In 2011 โดย Leena Rao จาก techcrunch.com British schoolboy flies to Silicon Valley to meet investors after Apple makes his home-made app their pick of the week โดย Rob Waugh จาก dailymail.co.uk ซิงก้าควัก 6 พันล้านซื้อผู้สร้าง "Draw Something" โดย ASTV ผู้จัดการออนไลน์ จาก manager.co.th Zynga Acquires Four Mobile Gaming Companies โดย Leslie Horn จาก pcmag.com
พฤษภาคม 2555 l Creative Thailand
l 19
ียงไกร เรื่อง: ปิยพร อรุณเกร
©Reuters/Robert Galbraith
INSIGHT อินไซต์
“Always-On” พฤติกรรมผู้บริโภคที่เสพติดการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กด้วยการ “ออนไลน์” ตลอดเวลาหรือทุกครั้งที่มีโอกาส กำ�ลังมี อิทธิพลแบบทวีคูณต่อโลกปัจจุบัน เมื่อเทียบกับ 2-3 ปีที่ผ่านมานับตั้งแต่สมาร์ทโฟนเข้ามามีบทบาทในการบริโภค การอัพเดท เรื่องส่วนตัวและแชร์ข้อมูลกลายเป็นไลฟ์สไตล์ประจำ�ตัวคนยุคใหม่ Social Media Examiner นิตยสารออนไลน์ได้นำ�เสนอข้อมูล เกี่ยวกับโซเชียลมีเดียซึ่งพบว่า จำ�นวนประชากรบนเฟซบุ๊กในต้นปีนี้พุ่งทะยานถึง 800 กว่าล้านคน ผู้ใช้แต่ละคนมีจำ�นวนเพื่อนเฉลี่ย 130 คน และกดไลก์ประมาณ 80 เพจ โดยร้อยละ 77 ของผูบ้ ริโภคมีความผูกพันกับแบรนด์ในระดับปฐมภูมผิ า่ นการอ่านโพสต์ตา่ งๆ ของแบรนด์ นอกจากนี้ เฟซบุ๊กยังวางแผงที่จะอนุญาตให้มีโฆษณาบนแอพพลิเคชั่นของตนเอง สืบเนื่องจากจำ�นวนผู้ใช้เฟซบุ๊กผ่าน มือถือที่เพิ่มขึ้นเป็น 400 กว่าล้านคนในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
ยิง่ เทคโนโลยีของอุปกรณ์สอ่ื สารอย่างสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตรุดหน้าไปไกล มากเท่าไร ก็ยิ่งสะท้อนวิถีและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ผันเปลี่ยนไป มากเท่านั้น จากการวิเคราะห์ของเฟอร์รี ผู้ผลิตและพัฒนาแอพพลิเคชั่น สำ�หรับมือถือรายใหญ่เปิดเผยว่า ผูใ้ ช้มอื ถือในปัจจุบนั ใช้แอพพลิเคชัน่ บน มือถือเฉลี่ยวันละ 94 นาที ทั้งในแง่สาระบันเทิงและเชิงธุรกิจ แต่เข้า เว็บไซต์ผ่านมือถือเพียง 72 นาทีเท่านั้น ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำ�ให้ แบรนด์ยกั ษ์ระดับโลกไปจนถึงรายย่อยต้องปรับตัวตามอย่างเร่งด่วน โดย เน้นการใช้กลยุทธ์ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งเพื่อสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นการสร้างแอพพลิเคชั่นของแบรนด์ คลิปไวรัล เกมออนไลน์ หรือแม้แต่เปิดโอกาสให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมในการสร้างคอนเทนต์ของ แบรนด์อย่างเต็มตัว แทนที่จะเป็นผู้สื่อสารเพียงฝ่ายเดียว นอกเหนือจากนี้ แอพพลิเคชั่นยังมีการเติบโตแบบพุ่งทะยาน ด้วย ความสนใจของมนุษย์ที่ถูกถ่ายโอนขึ้นสู่โลกแห่งการสื่อสารไร้สาย เราจึง ได้เห็นแอพพลิเคชั่นหลากชนิดพากันตบเท้าเข้ามาในแอพสโตร์เพื่อมอบ ประสบการณ์ใหม่ให้กับผู้ใช้อย่าง Bump ที่ให้แชร์ข้อมูลและรูปภาพกับ 20 l Creative Thailand l พฤษภาคม 2555
เพือ่ นด้วยการเขย่าไอโฟนเข้าหากัน วิธกี ารอันแสนเรียบง่ายนีจ้ งึ ส่งผลให้ แอพพลิ เ คชั่น ดั ง กล่ า วติ ด อั น ดั บ ท็ อ ปแอพพลิ เ คชั่น ของนิ ต ยสารไทม์ ขณะทีเ่ ว็บไซต์ทไ่ี ด้รบั ความนิยมเป็นทุนเดิมอยูแ่ ล้วอย่างอีเบย์และอะแมซอน ก็ยังต้องเข้าร่วมสมรภูมินี้ เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าถึงคลังข้อมูลได้ในทุกที่ ทุกเวลา ซึ่งจะนำ�ไปสู่โอกาสของการซื้อ-ขายที่สะดวกและรวดเร็วที่สุด วันนี้ พฤติกรรมของผู้บริโภคที่ผูกพันกับการออนไลน์ตลอดเวลา ไม่ใช่แค่สมการสำ�คัญที่กระตุ้นให้เกิดการผลิตนวัตกรรมและสื่อต่างๆ บนโลกออนไลน์เท่านั้น แต่ยังเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเพื่อการพัฒนาสิ่งใหม่ๆ ทั้งในเชิงธุรกิจและความคิดสร้างสรรค์ และปลายทางของการพัฒนาก็ ไม่ได้หยุดอยูท่ ก่ี ารอำ�นวยความสะดวกให้กบั ผูบ้ ริโภคอีกต่อไป แต่คอื การ มอบทางเลือกใหม่สำ�หรับการบริโภคอย่างเสรี และไปได้ไกลเกินกว่าทุก ความคาดหมายนั่นเอง ที่มา: checkfacebook.com, cmo.com, coolinfographics.com, flurry.com, mashable.com, sitepronews.com, time.com
พฤษภาคม 2555 l Creative Thailand
l 21
CREATIVE ENTREPRENEUR คิด ทำ� กิน
Hi-Speed Messenger เรื่อง: กมลกานต์ โกศลกาญจน์ ภาพ: อดิเดช ชัยวัฒนกุล
ในยุคที่คนเมืองขับเคลื่อนชีวิตด้วยความเร่งรีบบนบรรทัดฐานแห่ง ความรวดเร็วที่แทรกซึมอยู่ในหลายกิจกรรมและองค์ประกอบของ ชีวิตประจำ�วัน เรื่องราวของการทำ�ธุรกิจจึงต้องอยู่ในเส้นความเร็ว เดียวกับรอบหมุนของโลกที่เพิ่มขึ้นไปด้วย ซึ่งนอกจากที่จะต้อง เร่งรัดชัดเจนเรือ่ งการตกลงธุรกิจในภาพใหญ่แล้ว เรือ่ งทีด่ เู หมือน จะเล็กน้อยแต่ก็ขาดไปไม่ได้อย่างการรับ-ส่งเอกสารก็ยังต้องได้ รับการจัดการให้ลงตัว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำ�งาน ธุรกิจ เมสเซนเจอร์จึงเกิดขึ้นเป็นตัวแทนจัดส่งพัสดุ เอกสาร และสินค้า หลากหลายประเภทที่ไม่อาจส่งผ่านวิธีการออนไลน์ใดๆ ได้ดีเท่า โดยที่ยังต้องการันตีความเร็วในระดับที่น่าพึงพอใจ วิริยะ วรธำ�รง กรรมการผูจ้ ดั การ บริษทั ไฮ-สปีด เมสเซนเจอร์ คือผูป้ ระกอบการ ที่สามารถรักษามาตรฐานธุรกิจแห่งความรวดเร็วนี้ไว้ได้อย่าง ดีเยีย่ ม ตอบโจทย์ทกุ ความต้องการทีห่ ลากหลายของลูกค้า จนก้าว มาเป็นตัวเลือกลำ�ดับแรกๆ ของผูใ้ ช้บริการมาตลอด 25 ปีทผ่ี า่ นมา
22 l Creative Thailand l พฤษภาคม 2555
CREATIVE ENTREPRENEUR คิด ทำ� กิน
พลิกวิกฤติให้เป็นธุรกิจ จากจุดเริม่ ต้นในปี 2530 ยุคทีก่ ารรับ-ส่งเอกสาร ผ่านทางเครื่องแฟกซ์และการส่งโทรเลขยังเป็น ที่นิยม ราคาเครื่องแฟกซ์อยู่ที่ราวๆ หกหมื่น ถึงหนึ่งแสนบาทนั้น นับเป็นภาระที่ไม่เบาเลย หากผู้ประกอบการจะต้องทุ่มทุนลงไปกับการ ใช้งานเพียง 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ “ไฮ-สปีด” จึง เริ่ ม ต้ น เส้ น ทางธุ ร กิ จ ด้ ว ยการรองรั บ การให้ บริการรับ-ส่งแฟกซ์และโทรเลขเหล่านี้ให้กับ ผู้ ป ระกอบการธุ ร กิ จ ในหลากหลายประเภท หากเมื่อเวลาผ่านไป ความนิยมที่เคยได้รับก็ ถูกลดความสำ�คัญลง อินเทอร์เน็ตได้กา้ วเข้ามา เป็ น เครื่ อ งมื อ อำ � นวยความสะดวกที่ ช่ ว ยลด ต้นทุนและความจำ�เป็นได้อย่างดี วิริยะจึงพลิก กลั บ วิ ก ฤตในธุ ร กิ จ ที่ ทำ � อยู่ นี้ ใ ห้ เ ป็ น โอกาส ด้วยการปรับเปลีย่ นรูปแบบการให้บริการมาเป็น ธุรกิจเมสเซนเจอร์รับ-ส่งเอกสารอย่างเต็มตัว “เราเริ่มธุรกิจเมสเซนเจอร์อย่างเต็มตัวในปี 2540 ในยุคนัน้ เมสเซนเจอร์ถอื เป็นเรือ่ งใหม่มาก สำ�หรับสังคมไทย เมื่อก่อนเวลาที่เรารับแฟกซ์ หรือโทรเลขแล้วนำ�ไปส่งต่อ เจ้าของธุรกิจก็ มักจะฝากให้ทำ�ธุระอื่นๆ อย่างเช่นการชำ�ระ ค่าสาธารณูปโภค หรือวางบิล เก็บเช็ค ทีนเ้ี ราเลย เล็งเห็นถึงช่องทางของการทำ�ธุรกิจเมสเซนเจอร์ เพราะเรามีจุดแข็งเรื่องความเร็วมาโดยตลอด ในตอนนั้ น นี่ ยั ง เปิ ด ค้ น หารายชื่ อ จากสมุ ด หน้าเหลืองอยู่เลย ไล่ดูทีละชื่อว่ามีบริษัทไหนที่ มี แ นวโน้ ม ต้ อ งการบริ ก ารเมสเซนเจอร์ บ้ า ง เราก็โทรไปสอบถาม บอกว่าเรามีบริการตรงนี้ รองรับอยู่ ในตอนนัน้ มีแต่คนแปลกใจว่ามีบริการ แบบนี้อยู่จริงๆ เหรอ” สามปัจจัยพิสูจน์ความสำ�เร็จ สำ � หรั บ การให้ บ ริ ก ารเมสเซนเจอร์ ใ นเขต กรุงเทพฯ ที่ซึ่งเส้นทาง ถนน ซอย และตรอก ต่างๆ นัน้ เกีย่ วไขว้กนั อย่างซับซ้อนทว่าก็สามารถ เชื่อมโยงจากจุดหนึ่งไปถึงอีกจุดหนึ่งได้ราวกับ ใยแมงมุม ทำ�ให้นอกเหนือจากการวางแผน เรือ่ งเส้นทางทีต่ อ้ งแม่นยำ�แล้ว ย่อมต้องมาเคียงคู่
กั บ การรั ก ษาเวลาอั น เป็ น คุ ณ สมบั ติ สำ � คั ญ ระหว่างเมสเซนเจอร์และลูกค้า “ความเร็วเป็น ปัจจัยสำ�คัญข้อแรกจากสามข้อที่ผมยึดถือเป็น นโยบายของบริษัทมาโดยตลอด อย่างเรื่อง ความเร็ว ผมจะเน้นกับลูกค้าว่าบริการของผม ไม่ได้เร็วที่สุด แต่จะตรงเวลาที่สุด ซึ่งนั่นสร้าง ความน่าเชือ่ ถือได้ดกี ว่ามาก รองลงมาคือความ ถูกต้อง เพราะความผิดพลาดจะทำ�ให้งานนัน้ ๆ ล่าช้า ซึง่ ยิง่ ทำ�ให้ตอ้ งอาศัยเวลาเพิม่ มากขึน้ อีก และสุดท้ายคือการเต็มใจให้บริการ เพราะหน้าที่ ของเมสเซนเจอร์คือการเป็นตัวกลางระหว่าง ลูกค้ากับลูกค้า การนัง่ รอลูกค้าด้วยความสุภาพ เป็นสิง่ ทีเ่ รายา้ํ กับเมสเซนเจอร์ของเราโดยตลอด” ปรับตัวตามความเร็วที่เปลี่ยนแปลง ระยะเวลาที่ผ่านมาได้พิสูจน์แล้วว่าไฮ-สปีด เมสเซนเจอร์นั้นได้รับความน่าเชื่อถือมาอย่าง ต่อเนือ่ ง แต่ในวันนีท้ ร่ี ปู แบบการใช้ชวี ติ ของผูค้ น ถูกฝากฝังไว้กับสื่อออนไลน์มากขึ้น ซึ่งล้วน หยิบยืน่ ความง่ายดายและรวดเร็วทันใจมาสูผ่ ใู้ ช้ อย่างไม่หยุดหย่อน ไฮ-สปีด เมสเซนเจอร์ จึ ง ตั ด สิ น ใจปรั บ ตั ว ตามกระแสด้ ว ยความ ประนีประนอม โอนอ่อนต่อแรงเสียดทานในยุค ที่ทุกอย่างสั่งงานได้เพียงคลิกเดียว “ในปัจจุบัน ทิศทางการทำ�งานของเราเองก็ปรับเปลี่ยนไป เปิดการใช้งานผ่านทางเว็บไซต์มากยิ่งขึ้น ซึ่ง
กลับเป็นผลดีทก่ี ลุม่ ลูกค้าของเราก็ขยายมากขึน้ ตามไปด้วย เกิดกลุม่ ลูกค้าใหม่ๆ จากจังหวัดอืน่ ๆ ดำ�เนินงานผ่านสื่อออนไลน์ แต่ก็ยังไม่ถึงกับ ร้อยเปอร์เซนต์ เพราะตัวหนังสือในอีเมลเพียง อย่างเดียวนัน้ ให้รายละเอียดไม่ครบถ้วนมากพอ จึ ง ยั ง คงต้ อ งอาศั ย การโทรศั พ ท์ ค วบคู่ กั น สื่อสารกันว่าเราสามารถรองรับความต้องการ ได้ไหม หากเราทำ�ได้ งานก็สำ�เร็จลงตัวภายใน ระยะเวลาที่กำ�หนด เพราะการตรงเวลาที่สุด จะทำ�ให้เป้าหมายในการเป็นเฟิร์สชอยส์ของ เรายิ่งชัดเจนมากขึ้นตามไปเช่นกัน” แม้ในปัจจุบนั ไฮ-สปีด เมสเซนเจอร์จะต้องพิสจู น์ ตัวเองอย่างหนักท่ามกลางการเกิดขึ้นใหม่ของ ธุรกิจประเภทเดียวกัน และยังต้องคิดค้นกลยุทธ์ ใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อต่อรองกับคำ�ท้าทาย จากความเร็วอยูเ่ สมอ แต่ดว้ ยประสบการณ์และ ความไว้วางใจทีไ่ ด้รบั มาโดยตลอดจากผูใ้ ช้บริการ จึงเป็นเสมือนเครื่องยืนยันอย่างดีถึงการเป็น ตัวจริงในสนามแข่งทีม่ หี น่วยวัดเป็นนาทีตอ่ นาที กับการทำ�หน้าที่เป็นข้อต่อระหว่างแต่ละธุรกิจ ภายใต้การขับเคลื่อนด้วยความเร็วเป็นปัจจัย สำ�คัญ เพียงแค่รู้จักมองคำ�ว่าโอกาสในมิติที่ มากขึ้น ก็สามารถต่อยอดเป็นธุรกิจที่ประสบ ความสำ�เร็จได้ไม่รู้จบ ติดต่อ: hispeed.co.th พฤษภาคม 2555 l Creative Thailand
l 23
©Randy Olsen/Nahonal Geographic Society/Corbis
CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
Mumbai มุมไบ อัตลักษณ์ บน อัตราเร่ง เรื่อง: ศิริอร หริ่มปราณี
ที่นี่ไม่ประนีประนอมต่อความทะเยอทะยานที่จะเป็นมหานครของโลก ไม่ประวิงเวลาหรือรีรอเพื่อก้าวไปสู่ความรุ่งโรจน์ แม้ในบางขณะ อาจต้องเมินหน้าหนีจากเสียงโอดครวญของผู้อยู่เบื้องหลัง มุมไบเลือกแล้วที่จะออกวิ่งบนพรมไหมที่นุ่มดั่งกำ�มะหยี่และแซมด้วย เศษแก้วที่อาจบาดเท้า พร้อมทั้งหอบหิ้วสัมภาระติดตัวที่สูงค่าและหนักอึ้งของอารยธรรมอินเดียที่ยาวนานและแข็งแกร่ง แต่บนการ เร่งความเร็วที่ดำ�เนินไปนั้น ตัวตนของมุมไบกำ�ลังถูกทดสอบแรงเสียดทานอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
24 l Creative Thailand l พฤษภาคม 2555
CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
การเยี่ยมเยือนของมรสุม เมื่อสวรรค์ประทานทำ� เลทางภู มิ ศ าสตร์อัน ดีเยีย่ มมาไว้ตรงหน้า มุมไบได้ฉกี ตัวเองออกจาก เมืองอืน่ ๆ ไม่วา่ จะอยูใ่ ต้การปกครองของใครหรือ ชือ่ เมืองอะไร เมืองหลวงของรัฐมหารัชตะแห่งนี้ เคยถูกครอบครองโดยโปรตุเกสในชื่อบอมเบย์ ก่อนหน้าทีจ่ ะกลายเป็นสินสมรสของแคทเธอรีน แห่งบราแกนซาทีม่ อบให้ชาร์ลส์ท่ี 2 แห่งอังกฤษ ต่ อ มาบริ ษั ท บริ ติ ช อิ น เดี ย รั บ เกาะนี้ ม าจาก กษัตริย์ และปรุงโฉมให้เป็นเมืองที่ทันสมัยเพื่อ แข่งขันกับเมืองท่าอื่นๆ ของอินเดียซึ่งอยู่ในมือ ของผูป้ กครองท้องถิน่ ในศตวรรษที่ 18 อังกฤษ ทุ่มเทอย่างมากเพื่อต่อยอดสินทรัพย์ ด้วยการ เชื่ อ มพื้ น ที่ ทั้ ง หมดเข้ า ด้วยกันผ่านการสร้าง ถนน ถมทะเล และโครงการทางวิศวกรรมต่างๆ มากมาย ทีส่ �ำ คัญคือการสร้างทางรถไฟสายแรก ในอินเดียยาว 34 กิโลเมตรระหว่างเมืองทาเน่ และบอมเบย์ พร้อมทัง้ การตัง้ โรงงานฝ้าย และ ดึงเอาอุตสาหกรรมการต่อเรือจากเมืองสุรัตมา ไว้ที่นี่ด้วย เช่นเดียวกับภูมิอากาศเขตมรสุม ด้านการ เมืองและการปกครองของบอมเบย์ก็เปียกปอน ไม่แพ้กัน ความเจริญภายใต้ยุคอาณานิคมได้ ทิ้งบาดแผลไว้ในสัญลักษณ์ต่างๆ ที่บ่งชี้ถึง อำ�นาจ และความมั่งคั่งของเมือง ซึ่งสวนทาง กับเงื่อนไขการดำ�เนินชีวิตของประชาชน เมื่อ คานธีกลับจากแอฟริกามาถึงบอมเบย์ในปี 1915 เขาต้องใช้เวลายาวนานอีกกว่า 30 ปี กว่าอินเดีย จะได้รับอิสรภาพ แม้จะกระหายที่จะได้มาซึ่ง การปกครองตนเอง รัฐบาลกลางกลับทำ�ได้ไม่ ดีนัก ด้วยเหตุจากความแตกต่างกันของระบบ วรรณะ ศาสนา ความสับสนด้านภาษา การจัด การปกครองรัฐต่างๆ และการเมืองทีข่ น้ึ ๆ ลงๆ ของอินเดียเอง แต่ บ อมเบย์ ดู จ ะรั บ มื อ กั บ มรสุ ม หลั ง ปลดแอกได้ดีกว่า และกลายเป็นที่ดึงดูดของ ชาวชนบทที่ยากไร้และเหล่าชนชั้นกลางผู้แสวง หาความรํ่ารวย ประชากรจึงเพิ่มขึ้นมากมาย ในช่วงปี 1950 และ 1960 จนกลางยุค 1990
บอมเบย์กเ็ ปลีย่ นชือ่ เป็น “มุมไบ” พร้อมกับการ เติบโตทางเศรษฐกิจทีน่ า่ เหลือเชือ่ ปัจจุบนั มุมไบ มีรายได้ตอ่ หัวสูงเป็น 3 เท่าของค่าเฉลีย่ ประเทศ เป็นผู้จ่ายภาษีเงินได้ส่วนบุคคลร้อยละ 33 และ จ่ายภาษีเงินได้ธุรกิจร้อยละ 37 ของประเทศ อี ก ทั้ ง เป็ น ที่ ตั้ ง ของสำ � นั ก งานข้ า มชาติ แ ละ อุตสาหกรรมภาพยนตร์บอลลีวดู ด้านตลาดทุน มุมไบมีตลาดหลักทรัพย์ถงึ 2 แห่งคือ Bombay Stock Exchange (อายุ 137 ปี) และ National Stock Exchange (อายุ 20 ปี) ณ สิ้นปี 2009 ตลาดหลักทรัพย์ทง้ั 2 แห่ง มีมลู ค่าตลาดรวมถึง 2.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็นตลาดหลักทรัพย์ อันดับที่ 7 ของโลก และมีบญั ชีซอ้ื ขายหลักทรัพย์ รวมกันถึง 13 ล้านบัญชี ในช่วง 8 ปีทผ่ี า่ นมา ทั้งสองตลาดหลักทรัพย์ในมุมไบมีมูลค่าตลาด เพิ่มขึ้นกว่า 10 เท่า ขณะที่ด้านความมั่งคั่ง ส่วนบุคคล นิตยสารฟอร์บส์ประกาศเมื่อเดือน มีนาคม 2012 ถึงการจัดอันดับเมืองทีม่ ผี มู้ ง่ั คัง่ อาศัยอยู่มากที่สุดในโลกพบว่า มุมไบติดอันดับ 8 ของโลก โดยมีจ�ำ นวนอัครมหาเศรษฐี 18 คน ครอบครองทรัพย์สนิ 8.38 หมืน่ ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเฉลี่ย 4.66 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อคน แต่เมือ่ มองลงมาจากหอคอยงาช้าง มุมไบมีพน้ื ที่ เพียง 400 ตารางกิโลเมตรซึ่งไม่เพียงพอกับ ประชากรกว่า 25 ล้านคนในทุกวันนี้ พืน้ ทีส่ ลัม จึงกลายเป็นที่พักพิงของผู้ยากไร้และส่งผลให้ สลัมดาราวีเป็นสลัมที่แออัดและใหญ่ท่ีสุดใน เอเชีย ผู้อาศัยในสลัมทั่วเมืองต้องอดทนต่อ ความยากลำ�บาก แต่ละวันทางการจะจ่ายนํา้ ให้ ในเวลา 6.00-9.00 น. เท่านั้น โดยเฉลี่ยมี 15 ครอบครั ว ที่ ต้ อ งใช้ นํ้า จากก๊ อ กนํ้ า เพี ย งก๊ อ ก เดียว และประชาชนอีกกว่า 1,440 คน ยังคง ต้องใช้หอ้ งนํา้ ร่วมกัน รัฐบาลกลางและท้องถิ่นพยายามที่จะขยับ ขยายเมืองและเปิดเสรีทางการค้าด้วยการจัดตัง้ เขตเศรษฐกิจพิเศษเพือ่ ดึงดูดนักลงทุนและสร้าง งานให้แก่ประชาชน โครงการพัฒนาเมืองแฝด นาวีมมุ ไบและตานี เกิดขึน้ เพือ่ เป้าหมายดังกล่าว
ประกอบด้วยการก่อสร้างบ้านพักอาศัย อาคาร สำ�นักงาน สนามบิน ระบบขนส่งมวลชนด้วย รถไฟฟ้าและรถใต้ดิน สะพานลอยฟ้าข้ามอ่าว มุมไบเชือ่ มกับนาวีมมุ ไบ แต่ความพยายามใดๆ ทีม่ าจากภาครัฐดูเหมือนจะคืบคลานไปอย่างช้าๆ จากประสิทธิภาพของระบบราชการที่อุ้ยอ้าย และการถือปฏิบัติตามวรรณะทางสังคม ด้วย เหตุนี้ ประชาชนจำ�นวนมหาศาลจึงยังถูกทิ้งไว้ เบือ้ งหลัง สวนทางกับเมืองทีเ่ ร่งพัฒนาสีสนั ของ ความศิ วิ ไ ลซ์ ใ ห้ เ ข้ า ใกล้ รั ศ มี ข องนิ ว ยอร์ ก ลอนดอน หรือเซีย่ งไฮ้ เข้าไปทุกขณะ
ต้องมนตร์ในมุมไบ การจิบชาบนห้องสวีทของโรงแรมโฟร์ซีซ่นั แล้ว ได้มองเห็นทิวทัศน์ของสลัมในเมือง แม้จะไม่ใช่ ภาพชวนเคลิบเคลิ้มแต่ความจริงที่กระแทก โสตประสาทนี้ กลับเป็นเสน่ห์อย่างประหลาด ของมุมไบ เมืองนีอ้ าจไม่ใกล้เคียงคำ�ว่าความสงบ ในจิตใจ การแสวงหาตัวตน หรือค้นพบนิพพาน เช่นเมืองอืน่ ในอินเดีย แต่เพียงแค่เขยิบออกจาก ส่วนจอแจทีแ่ สนอัตคัด ผูค้ นก็อาจได้คน้ พบวิมาน ด้วยซา้ํ ไป มุมไบตอนใต้นน้ั เฉิดฉายและเปล่งประกาย แม้ผู้คนทั่วไปจะเพิ่งรู้จักกับเจลาโต้ ซูชิ หรือ สเต็กเนือ้ สุกแบบมีเดียมแรรได้ไม่นาน แต่ความ พออกพอใจกับรสนิยมใหม่ๆ ดูเหมือนจะไปได้ดี กับส่วนนีข้ องเมือง ซึง่ เป็นทีต่ ง้ั ของสถาปัตยกรรม โดดเด่นอย่างเกตเวย์ ออฟ อินเดีย สถานีรถไฟ ทีท่ �ำ การศาล พิพิธภัณฑ์ และโรงแรมทัชมาฮาล พาเลซ แอนด์ พลาซ่า โรงแรมคลาสสิกระดับ ตำ�นาน บริการแบบมหาราชา และแหล่งจับจ่าย ของชนชัน้ สูงในเมือง ซึง่ สามารถชืน่ ชมผลงานที่ ดี ท่ีสุด และแพงระยิ บ จากนั ก ออกแบบแฟชั่น จิลเวลรี่ และเฟอร์นเิ จอร์ ทีม่ ชี อ่ื เสียงของอินเดีย ได้ที่นี่เช่นกัน สี สัน ของการเติ บ โตด้ า นงานศิ ล ปะและ ธุรกิจไลฟ์สไตล์อยู่แถบย่านโคลาบา คอสเวย์ ซึ่งเป็นถนนหลักที่เชื่อมโยงตลาดและซอกเล็ก พฤษภาคม 2555 l Creative Thailand
l 25
อิสระและอดีตผู้บริหารบริษัทประมูลคริสตี้ใน อินเดียกล่าวว่า “ตลาดงานศิลปะร่วมสมัย ของ มุมไบนั้นเติบโตตามภาวะเศรษฐกิจ และมัก กระจุกตัวอยู่ในย่านโคลาบา และกาลา โกด้า นับร้อยแห่ง แกลเลอรี่หลายแห่งเปิดมาตั้งแต่ ยุค 1960 และไปจัดแสดงผลงานมาแล้วทั่วโลก มุ ม ไบจึ ง เป็ น บ้ า นของหอศิ ล ป์ อ ย่ า งแท้ จ ริ ง เพราะมีทง้ั จิตรกรผูม้ ชี อ่ื เสียง หรือกลุม่ ศิลปินใหม่ ที่แ สดงออกถึ ง ความดิ บ และเถื่อ นอย่ างกลุ่ม project 88 ขณะที่ CNNGo มองว่ามุมไบเป็น เมืองที่น่าพิสมัยตั้งแต่เช้าตรู่จรดคํ่าคืน แม้ว่า มุมไมจะเพิง่ ผ่านเหตุการณ์วนิ าศกรรมจากกลุม่ มุสลิมปากีสถานเมือ่ ปี 2008 แต่มมุ ไบก็เยียวยา ตัวเองเพื่อเปิดรับความสัมพันธ์ใหม่ๆ ดังนั้นใน บางคา่ํ คืนนักท่องเทีย่ วจึงได้เห็นมาดอนน่ากำ�ลัง ชื่นชมพระอาทิตย์ตกดินริมหาดในภัตตาคาร Salt Water Grill หรือเดินสวนกับแองเจลินา่ โจลี่ ที่ร้าน Indigo ขณะที่กลุ่มนักเขียนชาวยุโรปมัก จะมีจดุ หมายที่ Leopold cafe ในโคลาบาซึง่ เปิด มายาวนานกว่า 140 ปีและถูกใช้เป็นฉากหลัง ในวรรณกรรมของอินเดียและตะวันตกหลาย เรื่อง
ส่วนหนึ่งของงานศิ ล ปะที ่ จ ั ด แสดงใน Kala Ghoda Arts Festival 2012
flickr.com/photos/toreajade
ซอกน้อยต่างๆ สองข้างทาง เต็มไปด้วยเสื้อผ้า แบรนด์เนมทีห่ ลุดจากโรงงาน รองเท้า ผ้าไหม เครือ่ งประดับ วัตถุโบราณปลอม สินค้าหนีภาษี และสิ่งของสารพัน รวมถึง ไนต์คลับ บาร์ ร้าน กาแฟ และภัตตาคาร ดาราบอลลีวูดหน้าใหม่ หน้าเก่ามักจะปรากฏตัวทีน่ เ่ี สมอ เพราะโคลาบา มักถูกใช้เป็นทำ�เลถ่ายหนัง ขณะเดียวกันคนรุน่ ใหม่ ที่อยากแจ้งเกิดในวงการบอลลีวูดก็มักจะมา เตร็ดเตร่เพื่อให้สะดุดตาแมวมอง เมื่อพิจารณา จากตั ว เลขการผลิ ต หนั งของบอลลีวูดปีละ 800-1,000 เรื่อง หนุ่มสาวอินเดียจึงมีโอกาสสูง ที่ จ ะได้ เ ข้ า สู่ อุ ต สาหกรรมอั น ยิ่ ง ใหญ่ นี้ ข อง อินเดีย มุมไบทางตอนใต้ยังน่ารื่นรมย์ด้วยย่าน กาลา โกด้า ซึง่ เป็นศูนย์กลางทางศิลปะของมุมไบ ทัง้ หอศิลป์ พิพธิ ภัณฑ์ โดยในเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปี จะมี Kala Ghoda Arts Festival (KGAF) จัดแสดงเป็นระยะเวลา 9 วัน เพือ่ นำ�เสนอ แง่มมุ และมิตทิ างศิลปะแขนงต่างๆ ของศิลปิน ทั้งจิตรกรรม ดนตรี วรรณคดี ภาพยนตร์ ฯลฯ โดยมี ศิ ล ปิ น จากทั่ ว โลกมารวมตั ว กั น ใน เทศกาลนี้ มัลลิกา แอดวานี ทีป่ รึกษาด้านศิลปะ
flickr.com/photos/gargi
CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
26 l Creative Thailand l พฤษภาคม 2555
© lemill.in
CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
ปัญญาร่วมสมัย น้อยคนจะมองข้ามความลุ่มลึกขององค์ความรู้สหสาขาของอินเดีย ทั้งแนวคิดของ นักปรัชญา ทฤษฎีคณิตศาสตร์ ความเจริญทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และ เทคโนโลยีสารสนเทศ บนความลํา้ เลิศเหล่านีเ้ กาะเกีย่ วกับความเชือ่ ทางพิธกี รรมฮินดู พุทธศาสนา และมุสลิม อย่างแยกไม่ออก และเมื่อมุมไมคือประตูสู่อินเดีย จึงเป็น โอกาสอันดีทจ่ี ะนำ�เสนอรูปโฉมใหม่ของความรู้ ความสร้างสรรค์ และความเชือ่ ให้โลก ได้พิจารณา
บนหลังคาของโรงพยาบาล Chhatrapati Shivaji Maharaj คือระบบผลิต แอร์จากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง จำ�นวนจานพลังงานแสง อาทิตย์ 90 จานทำ�หน้าที่เปลี่ยนพลังงานไอนํ้าเป็นความเย็น เพื่อใช้ในห้องผ่าตัด 8 ห้องและแผนกไอซียู ผลงานของ Suresh Kapadia นักธุรกิจผู้มีงานอดิเรกเป็น นักวิทยาศาสตร์ หลังจากจบการร่วมงานกับ Hermes Rachana Joshi Nair ก็เป็นนักออกแบบ อิสระ โดยมีผลงานโดดเด่นวางขายใน Le Mill ร้านที่รวบรวมงานออกแบบจาก นักสร้างสรรค์อนิ เดียทีใ่ หญ่ทส่ี ดุ แห่งหนึง่ ของมุมไบ ทัง้ เสือ้ ผ้า เฟอร์นเิ จอร์ เครือ่ งใช้ บนโต๊ะอาหาร และเครือ่ งประดับ ซึง่ เดิมทีผลงานออกแบบเหล่านีอ้ อกแบบและผลิต เพื่อส่งออกต่างประเทศเท่านั้น แรงกดดันและความขัดแย้ง คือประเด็นสำ�คัญของกลุม่ สถาปนิกหนุม่ ในมุมไบ อาทิ Sameep Padora สตูดโิ อ SP+A , Anish Shah Kapil และ Gupta บริษทั Serie และการปรับตัวที่สมบูรณ์แบบ กลุ่มสถาปนิกเหล่านี้อายุ 30 ต้นๆ จบการศึกษา และเคยผ่านการฝึกงานในตะวันตก โดยเฉพาะ Padora มีผลงานสร้างสรรค์เช่น Indigo Deli ในมุมไบ วัด Shev เมืองปูเน่ และทีพ่ กั ตากอากาศในไฮเดอราบัด ประเพณีและพิธีกรรมของฮินดู ความมีสติแบบพุทธศาสนา เป็นแนวคิด ของงานออกแบบเฟอร์นิเจอร์ของตกแต่งบ้านและแฟชั่นของ Goodearth ซึ่งมี แฟลกชิปสโตร์ใหญ่ทม่ี มุ ไบ และยังเพิม่ ไลน์การผลิตด้วยแบรนด์ Amritam สำ�หรับ เครื่องประทินผิวที่มีส่วนผสมของนํ้ามันหอมระเหยจากธรรมชาติ
รถไฟ... อัศวินแห่งชมพูทวีป จะทำ�อย่างไรเมื่อมีชีวิตประชาชน 25 ล้านคนในกำ�มือ และทุกคนต้องแข่งกันเพือ่ กิน อยู่หลับนอนบนเมืองที่แออัดยัดเยียด ผู้มั่งคั่งย่อมโชคดีกว่า แต่สำ�หรับคนทั่วไป มุมไบได้แสดงศักยภาพแห่งการขนย้ายถ่ายเททีส่ ะดวก รวดเร็ว และแม่นยำ�ทีส่ ดุ ในโลก ให้อัศจรรย์ใจระบบรถไฟ เป็นยิ่งกว่าเส้นเลือดของมุมไบ มันคือชีวิตที่ร้อยต่อเข้า ด้วยกันเป็นโครงข่าย ประดิษฐกรรมที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นหรือพอจะ เกิดขึน้ ได้บา้ ง และก่อนที่โลกจะเชื่อมต่อกันรวดเร็วด้วยเคเบิ้ลใยแก้ว หรือดาวเทียม รถไฟของมุมไบได้ทำ�หน้าที่ของมันมาอย่างซือ่ สัตย์และเสมอต้นเสมอปลาย การรถไฟกลางอินเดีย ก่อตั้งขึ้นในปี 1951 โดยมีสำ�นักงานใหญ่ในบอมเบย์ ก่อสร้างในสไตล์กอธิก “ฉัตรปาตีชวี จี” หรือ “CST” เป็นการผสานของสถาปัตยกรรม ยุโรปกับงานตกแต่งแบบอินเดีย โดยภายในมีงานสลักไม้ กระเบื้องไม้ ลูกกรงทอง เหลือง และเหล็กทีใ่ ช้เป็นเครือ่ งประดับตกแต่งลูกกรงช่องขายตัว๋ ราวบันไดขนาดใหญ่ และเครือ่ งตกแต่งอืน่ ๆ จากฝีมอื ของนักเรียนจากโรงเรียนช่างศิลป์บอมเบย์ สถานี CST ได้รบั การขึน้ ทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก โดยองค์การยูเนสโกในปี 2004 และเป็นหนึง่ ในสถานีรถไฟที่จอแจที่สุดในประเทศ ในปี 2003 การรถไฟอินเดียได้พัฒนาเครือข่ายเส้นทางให้เป็นระบบเชือ่ มโยง ทัว่ ถึงมากขึน้ รวม 5,818 กิโลเมตร จำ�นวน 476 สถานีทว่ั ภูมภิ าค มีผโู้ ดยสารกว่า 18
ล้านคนต่อวัน โดยรถไฟอินเดียสร้างขึน้ ในปี 1853 และเป็นระบบรถไฟทีเ่ ก่าแกทีส่ ดุ ในทวีปเอเชีย ปัจจุบนั รถไฟชานเมืองมุมไบเป็นระบบการขนส่งสาธารณะทีส่ �ำ คัญของ เมือง มากกว่า 6.9 ล้านคนคือจำ�นวนผูโ้ ดยสารทีใ่ ช้บริการในระบบนีท้ กุ วัน จึงเป็นระบบ รถไฟทีม่ คี วามหนาแน่นสูงสุดในบรรดาระบบรถไฟใดๆ ในเขตเมืองทัว่ โลก และเป็นวิธี การเดินทางติดต่อทีด่ ที ส่ี ดุ อย่างหนึง่ ในเมือง โดยเริม่ วิง่ ตัง้ แต่เวลา 04.30-01.30 น. ในทุกๆ เทีย่ งของวัน รถไฟทัว่ มุมไบจะเกิดปรากฏการณ์จดั ส่งอาหารกลางวัน ทีแ่ ม่นยำ�ทีส่ ดุ ในโลก ดับบาห์วาลา คือกลุม่ คนส่งปิน่ โตกว่า 5,000 คน ทีท่ �ำ หน้าที่ ขนส่งปิน่ โตกว่า 200,000 เถาทั่วเมือง พวกเขาจะรวบรวมปิ่นโตอาหารในตอนเช้า ในช่วงเวลา 7.00-9.00 น. และนำ�ไปยังสถานีรถไฟที่ใกล้ที่สุด แต่ละคนสามารถ บรรทุกปิน่ โตได้มากทีส่ ดุ ถึง 40 เถา นํา้ หนักรวมราว 65 กิโลกรัม ระยะการเดินทาง บนรถไฟอาจมากถึง 60 ไมล์ตอ่ วัน และต้องเปลีย่ นมือผูส้ ง่ ถึง 3-4 ครัง้ กว่าปิน่ โต จะถึงมือผู้รับ และโดยเฉลี่ยดับบาห์วาลาแต่ละคนมีรายได้ 5,000-6,000 รูปีต่อ เดือน กิจการนี้ย้อนหลังไปถึงทศวรรษที่ 1890 เกิดขึ้นเพื่อรองรับการไหลบ่าของ ผู้คนจากที่ต่างๆ ทั่วอินเดียที่เข้ามาหางานทำ�ที่นี่ ซึ่งขณะนั้นยังไม่มีร้านค้าหรือ ภัตตาคารราคาถูก จึงต้องห่ออาหารเทีย่ งจากทีบ่ า้ นมาทานเอง นอกจากนัน้ วัฒนธรรม พฤษภาคม 2555 l Creative Thailand
l 27
©Frederie Soltan/Sygma/Corbis
CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
อาหารของผูค้ นก็ตา่ งรสชาติกนั ออกไป อาหารทีป่ รุงจากบ้านจึงถูกปากมากทีส่ ดุ แม้วา่ ธุรกิจดับบาห์วาลาจะก่อตั้งมานาน แต่เพิง่ จดทะเบียนเป็นธุรกิจในปี 1968 ซึง่ นับว่ามี อัตราการเติบโตทีด่ มี ากราวร้อยละ 9-10 ต่อปี โดยมีคนทำ�งานบริษทั เอกชนเป็นลูกค้า หลัก ตามมาด้วยกลุม่ นักเรียนนักศึกษา ดับบาห์วาลามีระบบการทำ�งานแบบเครือข่าย โดยไม่ใช้เทคโนโลยีใดๆ ช่วยอาศัย เพียงรหัสตัวเลขไม่กี่หลักบนปิ่นโตเท่านั้น ก็สามารถจัดส่งปิ่นโตถึงมือผู้รับได้ถูกคน ถูกทีแ่ ละตรงเวลาโดยไม่มผี ดิ พลาด ดับบาห์วาลาจึงเป็นตัวอย่างของระบบลอจิกติกส์ท่ี มีประสิทธิภาพสูงสุดและสอดคล้องกับวิถคี วามเป็นอยูข่ องผูค้ นอินเดียอย่างยอดเยีย่ ม โดยความผิดพลาดของการขนส่งมีเพียงแค่ 1 ใน 16 ล้านครัง้ เท่านัน้ นีจ่ งึ เป็นเหตุให้ นิตสารฟอร์บส์มอบรางวัล Six Sigma ให้ในปี 2001 และระบุวา่ ดับบาห์วาลาทำ�งาน ได้เที่ยงตรงแม่นยำ�ถึงร้อยละ 99.99 ดับบาห์วาลายังเป็นกรณีศกึ ษาในด้านของการ จัดการธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพของ Berkeley University ด้วย แม้แต่เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ มกุฏราชกุมารแห่งสหราชอาณาจักร ยังเสด็จทอดพระเนตรเยี่ยมชมการทำ�งานของ พวกเขาเมื่อครั้งเสด็จเยือนอินเดียในปี 2003
แม้ทุกวันนี้ โลกอาจชำ�เลืองมองมุมไบด้วย ความสนเท่ ห์ ถึ ง การรั บ มื อ กั บ ความยุ่ ง เหยิ ง นานัปการ แต่มมุ ไบก็ผา่ นร้อนผ่านหนาวมานาน เกินกว่าจะสะทกสะท้านต่อสายตาใครๆ รูปแบบ การต่อสู้กับอุปสรรคของมุมไบอาจไม่ใช่สูตร 28 l Creative Thailand l พฤษภาคม 2555
รถไฟอินเดียไม่เพียงรับใช้ชาวเมือง แต่ยงั เป็นประสบการณ์ทอ่ งเทีย่ วอันมีเสน่ห์ การจองตั๋วรถไฟอินเดียมีประสิทธิภาพมาก สามารถจองตั๋วรถไฟออนไลน์ สำ�หรับ ชั้น 1 หรือ AC รถหรูชั้นบนรถไฟอินเดียสำ�หรับครอบครัวทั้งหมด โดยค่าโดยสาร ของรถไฟจะเทียบเท่าค่าตัว๋ เครือ่ งบินสำ�หรับ 1 ทีน่ ง่ั เท่านัน้ นักท่องเทีย่ วต้องหลีกเลีย่ ง การขึน้ รถไฟในช่วงวันธรรมดาซึง่ แออัด วันทีเ่ หมาะสมทีส่ ดุ ทีจ่ ะเพลิดเพลินไปกับรถไฟ คือวันอาทิตย์ทฝ่ี งู ชนจะเงียบสงบ ทำ�ให้สามารถเยีย่ ชมสถานทีต่ า่ งๆ ของชาวมุมไบ ผู้ทุกข์เข็ญกับฉากอาคารสำ�นักงานที่อยู่อาศัยระดับเฟิร์สคลาสอันเป็นตัวแทนความ อลังการของเศรษฐกิจอินเดีย ด้วยความแออัด สถิติการเสียชีวิตจากการเดินทางโดยรถไฟของอินเดียจึงเป็น ตัวเลขทีส่ งู จนน่ากลัว ปีทแ่ี ล้วมีผเู้ สียชีวติ เกือบ 15,000 คน เฉพาะในมุมไบ ช่วงปี 20022011 มีจ�ำ นวนถึง 36,152 คน บาดเจ็บ 36,688 คน เฉลีย่ มีผเู้ สียชีวติ วันละเกือบ 10 คน หรือปีละเกือบ 3,000 คน ดังนั้น มุมไบจึงได้พฒั นาระบบขนส่งมวลชนภายในอื่นๆ เช่น บริษัท Best&Co. เป็นผู้จัดบริการรถประจำ�ทางไปทั่วทุกหนแห่งของมุมไบ ซึ่ง เป็นพาหนะที่ราคาถูกและสามารถเดินทางไปตามที่ต่างๆ ได้ทั้งใกล้และไกล
สำ�เร็จตามวิถชี วี ติ ทีศ่ วิ ไิ ลซ์ แต่ดเู หมือนจิตวิญญาน ของสังคมกำ �ลังเรียนรู้และหาทางออกอย่าง สันติวิธี บนฐานของความเชื่อมั่นในวัฒนธรรม อันแข็งแกร่ง และความหวังทีจ่ ะฝ่ามรสุมแห่งความ เปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วไปได้อย่างองอาจ
ที่มา: สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองมุมไบ กระทรวงการต่างประเทศ สำ�นักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เมืองมุมไบ Reborn In India จากนิตยสารวอลล์เปเปอร์, กรกฎาคม 2011 Mumbai: City of heavens and hells จากเดอะ นิวยอร์ก ไทม์, พฤศจิกายน 6, 2008 Life and Death at Leopold's, Mumbai's Caf’e of Letters Tom Freston จากนิตยสารวานิตี้ แฟร์, กุมภาพันธ์ 2012 Literary Mumbai จาก bbc.com
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ It’s not just a train, it’s the future เรื่อง: ศิริอร หริ่มปราณี ภาพ: กรวิทย์ มลิวงค์
ลองจินตนาการถึงชีวิตในวันที่ราคานํ้ามันขึ้นไปทุบสถิติ 200 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล1 ต้นทุนของการดำ�เนินชีวิต จะเป็นเช่นไร เมือ่ ต้องขับรถบนท้องถนนทีแ่ น่นขนัด เร่งจัดส่งดอกไม้สดจากเชียงใหม่มากรุงเทพฯ และการเดินทางท่องเทีย่ ว จะยังคงน่ารื่นรมย์อยู่หรือไม่ เมื่อนี่คืออนาคตที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ การอยู่ร่วมกับความท้าทายนี้จำ�เป็นต้องเกิดขึ้นอย่าง เป็นระบบ โครงการรถไฟความเร็วสูง (Hi-speed train) คือ เครือ่ งมือสำ�คัญในการสร้างความหวังใหม่รว่ มกันของทุกคน โดยการลงทุนเพื่อชีวิตของประชาชนครั้งใหญ่ที่สุดตั้งแต่เคยมีมานี้ กำ�ลังเร่งตอกหมุดภายใต้การดูแลของ ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม อดีตวิศวกร นักวิชาการ และนักบริหาร ผู้ที่จะนำ�เอาประสิทธิภาพของ ความเร็วมาเชื่อมโยงกับคุณภาพชีวิตใหม่ของคนไทย 1 ปัจจุบันราคานํ้ามันดิบของโลกมีกรอบการเคลื่อนไหวระยะสั้นอยู่ที่ 120-127 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล พฤษภาคม 2555 l Creative Thailand
l 29
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
หัวใจในการผลักดันและขับเคลื่อนการลงทุน โครงการรถไฟความเร็วสูงคืออะไร และมีความ สัมพันธ์ต่อชีวิตคนไทยอย่างไร ปัจจุบันแนวโน้มของโลกคือการเดินทางโดย รถไฟความเร็วสูง ตลอดเวลา 10 ปีทผ่ี า่ นมา ตัวเลขคนใช้บริการรถไฟเพิ่มขึ้นทั่วโลกร้อยละ 11 นั่นเป็นเพราะทั้งในด้านความคุ้มค่าทาง เศรษฐกิจ คือประหยัดพลังงาน ความสะดวก ในการเดินทาง เพิ่มศักยภาพในการขนส่ง ในด้ า นสั ง คมก็ ยั ง เป็ น การรั ก ษาสิ่ ง แวดล้ อ ม ลดการเกิดอุบัติเหตุ เช่นอุบัติเหตุทางถนนของ บ้านเราที่ต้องสูญเสียมูลค่าไปปีละกว่า 2 แสน ล้านบาท หรือราวๆ ร้อยละ 2.5 จากจีดีพี และทีส่ ำ�คัญก็คอื คุณภาพชีวติ ประชาชนจะดีขน้ึ ดังนั้นเรื่องรถไฟความเร็วสูง จึงไม่ใช่แค่เรื่อง ของรถไฟ แต่เป็นเรื่องอนาคต เป็นเรื่องการ พัฒนาคุณภาพชีวิต พัฒนาการกระจายเมือง พัฒนาผังเมืองใหม่ สถานการณ์ระบบการขนส่งทางรถไฟของไทย ปัจจุบันเป็นอย่างไร รถไฟปัจจุบันของเรามีความเร็วเฉลี่ย สำ�หรับ การขนส่งผูโ้ ดยสาร อยูท่ ่ี 47 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ส่วนความเร็วของการส่งสินค้าคือ 35 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง ซึ่งมันตํ่ามาก ดังนั้น รถไฟความเร็ว สูงคืออะไร ก็คอื รถทีว่ ง่ิ ด้วยความเร็ว ถ้าเกิดเป็น รางใหม่ก็คือเกิน 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ถ้าเป็นรางเก่ามาปรับปรุง ก็คือ 200 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง แนวคิดของรัฐบาลก็คือว่าเราก็จะมี รถไฟ 2 ระบบ2 คือ Metre gauge ซึ่งเป็น ระบบเก่ามีอยู่ประมาณ 4,000 กิโลเมตรทั่ว ประเทศ โดยจะปรับให้เป็นระบบคอมพิวเตอร์ ซึง่ จะกำ�หนดให้มกี ารวิง่ ได้ถข่ี น้ึ ขณะทีอ่ กี ระบบ หนึ่งคือรถไฟความเร็วสูง ใช้ระบบรางมาตรฐาน (Standard gauge) ความกว้าง 1.435 เมตร โดยจะเชื่อมเมืองใหญ่ๆ เข้าด้วยกัน เหมือน
กับการสร้างโหนด (Node) ใหญ่ๆ ให้คน สามารถเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปเชียงใหม่ใน 3 ชั่วโมง ไปพิษณุโลกอาจจะชั่วโมงนิดๆ ซึ่ง เราคิดว่ามันจะลดความแออัดในกรุงเทพฯ ลง เพราะเราสามารถไปอยู่โคราช แล้วนั่งรถไฟ 40 นาทีเข้ามาทำ�งาน พอเย็นก็นั่งรถไฟออกไป มีเมืองใหม่ๆ มีสถาบันการศึกษา และประชาชน แต่ละจังหวัดก็จะมีการเชื่อมโยงกันได้ง่ายขึ้น ส่ ว นด้ า นการขนส่ ง ก็ จ ะมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ มากขึน้ โดยรถไฟระบบเดิมแบบ Metre gauge จะช่วยเสริมระบบเรื่องการขนส่งในประเภท สินค้าหนักๆ ทีม่ มี ลู ค่าน้อยๆ มีมลู ค่าทางเวลา (Time value) ตํ่า ส่วนสินค้าที่ขายความสด มีมูลค่าทางเวลาสูงๆ ก็จะมากับ Hi-speed
วิธีการพัฒนาโครงการให้เชื่อมโยงกับระบบ การขนส่ ง ที่ มี อ ยู่ ไ ด้ อ ย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพคื อ อะไร สำ�หรับเชื่อมโยงกับการขนส่งที่มีอยู่ ผมมองว่า หัวใจของระบบขนส่งคือ Connectivity หรือว่า ความเชื่อมโยง สิ่งที่คนต้องการมากที่สุดคือ การขนส่งจากต้นทางไปถึงปลายทางผู้บริโภค (Door to door) เพราะฉะนั้นระบบส่งต่อ (Feeder) จึงเป็นระบบสำ�คัญที่ต้องจัดระบบ เชือ่ มต่อให้เหมาะสม คือ รถเมล์ รถตู้ รถแท็กซี่ และที่จอดรถ ทุกโหนดต้องมาเชื่อมโยงกันเพื่อ บริการรับส่งคนออกไป ทุกวันนีต้ วั อย่างทีล่ ม้ เหลว มากๆ คือแอร์พอร์ตลิงก์ซง่ึ เป็นกรณีคลาสสิกเลย เราก็ตอ้ งนำ�ไปปรับปรุง เพราะเป็นไปไม่ได้ทจ่ี ะ เอาคนมาทิง้ ดังนัน้ ในด้านการบริหารเราต้องผนึก
2 ระบบที่ใช้ขนาดความกว้างของรางรถไฟเป็นตัวกำ�หนด นั่นคือ ระยะห่างของรางรถไฟ โดยวัดจากหัวรางด้านในข้างซ้ายถึงหัวราง
ด้านในข้างขวา สแตนดาร์ดเกจ (Standard gauge) เป็นชื่อของขนาดความกว้างรางที่นิยมใช้มากที่สุดทั่วโลก โดยประมาณร้อยละ 60 ของรางรถไฟทั้งหมดมีขนาด 1.435 เมตร โดยในเมืองไทยรางรถไฟส่วนใหญ่มีขนาดความกว้างที่เรียกว่า มีเตอร์เกจ (Metre gauge) ที่มีขนาดความกว้าง 1 เมตร
30 l Creative Thailand l พฤษภาคม 2555
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
" ประเทศไทยเราเสพติดถนน เราขนส่งสินค้าร้อยละ 84 บนถนน เพราะว่าถนนมันไปถึงทุกทีท่ ุกทาง แต่ถนน ก็เป็นต้นเหตุของปัญหาด้วย คือทำ�ให้การพัฒนาของ เมืองเราสะเปะสะปะเพราะตัวถนนทำ�ให้เมืองมันกระจาย เข้าไปแบบแถบทางยาว" การทำ�งานของหน่วยราชการทุกหน่วย เพราะ หน้าที่ของกระทรวงคมนาคมไม่ใช่การก่อสร้าง แต่เราเป็นธุรกิจให้บริการ ดังนั้นเราต้องดูถึง พฤติกรรมของผูบ้ ริโภคให้ชัดเจน มาตรฐานต้ น แบบสำ � หรั บ การพั ฒ นารถไฟ ความเร็วสูง ผมมองกรณี JR (Japan Railways) ของญี่ปุ่น ในรูปแบบการพัฒนาและพลิกฟื้นภาพลักษณ์ ของรถไฟ ตอนที่เขาเริ่มทำ�ในปี 1964 เดิมเขา ใช้ชอ่ื JNR หรือ Japan National Rail เป็นรถไฟ ที่มีปัญหาเยอะ แต่ละปีเกิดอุบัติเหตุคนตาย ประมาณ 1,000 คน แต่ตัวที่พลิกสถานการณ์ และนำ�ไปสู่การตัดสินใจสร้างชิงคันเซ็น ก็คือ การเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกที่โตเกียว จุดมุ่งมั่นนี้ ทำ�ให้ พ วกเขาสร้ า งสรรค์ ร ะบบรถไฟใหม่ เริ่มตั้งแต่การคัดเลือกและรับบุคลากร การปรับ การบริหารองค์กรใหม่ โดยแยกเป็นระบบรถไฟ
ชิงคันเซ็นโดยเฉพาะ ซึ่งพอชิงคันเซ็นเริ่มให้ บริก ารจะเห็ น ว่ าภาพลั ก ษณ์ ของรถไฟญี่ ปุ่ น ก็เปลี่ยนไปแบบก้าวกระโดด และเขายังได้ สร้ า งวั ฒ นธรรมองค์ ก รเรื่ อ งมาตรฐาน ความปลอดภัยขึน้ มา โดยใช้ชงิ คันเซ็นเป็นตัวนำ� ซึ่ ง ช่ ว ยดึ ง รถไฟระบบเก่ า ของญี่ ปุ่ น ให้ มี ประสิทธิภาพขึ้นมาด้วย มันก็คล้ายกับคนไทย ที่มองว่ารถไฟไทยในปัจจุบันอาจจะมีข้อด้อย แต่ว่าการสร้างรถไฟความเร็วสูงขึ้นและสร้าง มาตรฐานความปลอดภั ย และการบริ ก ารให้ ดีที่สุด ก็จะเป็นเหมือนการช่วยฉุดภาพลักษณ์ และเป็นเกณฑ์มาตรฐานใหม่ที่จะดึงตัวรถไฟ ปกติขึ้นมาด้วย การดำ�เนินโครงการจะเริ่มต้นจากเส้นทางใด บ้าง ตอนนี้เรามี 4 สาย คือ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ กรุงเทพฯ-หนองคาย กรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์
และกรุงเทพฯ-ระยอง ซึ่งในเฟสแรกตามหลัก การของรถไฟความเร็วสูง เราจะไม่รอให้เสร็จ ทั้งสาย แต่จะพยายามเปิดบริการในเฟสแรก ให้เร็วที่สุด เพื่อให้มีรายได้เข้ามา เพราะฉะนั้น ภายใน 4 ปี เราก็จะเห็นรถไฟวิ่งจากกรุงเทพฯพิษณุโลก กรุงเทพฯ-โคราช กรุงเทพฯ-หัวหิน และกรุงเทพฯ-พัทยา แล้ว สิ่งนี้จะเปลี่ยนโฉมหน้าของเมืองหรือวิถีชีวิตใน มิติอื่นๆ นอกเหนือจากการเดินทางอย่างไร ประเทศไทยเราเสพติดถนน เราขนส่งสินค้า ร้อยละ 84 บนถนน เพราะว่าถนนมันไปถึงทุกที่ ทุกทาง แต่ถนนก็เป็นต้นเหตุของปัญหาด้วย คือทำ�ให้การพัฒนาของเมืองเราสะเปะสะปะ เพราะตั ว ถนนทำ�ให้ เ มื อ งมั น กระจายเข้ า ไป แบบแถบทางยาว จะสร้างบ้าน สร้างโรงงาน สร้างอะไรตรงไหนก็ได้ และหลังจากยุคต่อต้าน ลัทธิคอมมิวนิสต์เราก็มงุ่ สร้างถนนมาโดยตลอด พฤษภาคม 2555 l Creative Thailand l 31
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
" แต่รถไฟมีข้อดีคือ การเดินทางเป็นสถานีไม่สามารถลงตรงไหนก็ได้ ทำ�ให้ความเจริญของการพัฒนาเกิดเป็นกลุ่มก้อน การพัฒนาผังเมือง ก็จะควบคุมได้ง่าย การสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ก็เชื่อมโยงกันสะดวก" ดังนั้นเราก็เลยเสพติดถนน และมีรถ จึงทำ�ให้ เกิดปัญ หาต่า งๆ ตามมาด้วย ทั้งมลพิษ อุบตั เิ หตุ นำ�มาซึง่ ความสูญเสียมากมาย แต่รถไฟ มีข้อดีคือ การเดินทางเป็นสถานีไม่สามารถลง ตรงไหนก็ได้ ทำ�ให้ความเจริญของการพัฒนา เกิดเป็นกลุม่ ก้อน การพัฒนาผังเมืองก็จะควบคุม ได้งา่ ย การสร้างโครงสร้างพืน้ ฐานต่างๆ ก็เชือ่ ม โยงกันสะดวก นี่เป็นส่วนของคุณภาพเมือง ในส่วนคุณภาพชีวิตของคนในต่างจังหวัดที่มี สถานีก็จะมีโอกาสที่เขาจะเดินทาง จะขนส่ง สินค้าโอท็อป พืชผลการเกษตรเข้ามาขายในเมือง ได้รวดเร็ว ความเจริญก็จะแผ่ขยายออกไป จากหัวโต๊ะที่กรุงเทพฯ ไม่กระจุกตัวอีกต่อไป ทุกอย่างไม่ต้องอยู่กลางเมือง เราจะเห็นที่อยู่ อาศัย สำ�นักงาน สถานที่ท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ ในต่างจังหวัด นี่เป็นอนาคตที่รัฐต้องลงทุนก่อน เพื่อให้ ภ าคธุรกิจเกิ ด ความมั่นใจ แล้วการ พัฒนาต่างๆ จะตามมาเอง 32 l Creative Thailand l พฤษภาคม 2555
หลักการบริหารเมกะโปรเจ็กต์นี้จะเกิดขึ้นและ เดินหน้าต่อไปได้อย่างไร เราจะดูกันเฉพาะค่าจำ�หน่ายตั๋วไม่ได้ ต้องดู ผลประโยชน์ตัวอื่นประกอบ ทั้งในแง่คุณภาพ ชีวิต เมื่อความจริงแล้ว การลงทุนในโครงการ รถไฟความเร็ ว สู ง เป็ น การลงทุ น ในอนาคต จึงต้องเริ่มใน 4 มิติพร้อมๆ กัน มิติแรกก็คือ ด้านเทคนิค ว่าจะใช้ระบบไหน ความเร็วเท่าไร เชื่อมโยงอย่างไร มิติที่สองคือด้านการเงิน ว่าโครงการมันใหญ่ตอ้ งใช้งบหลัก 4-5 แสนล้าน ก็ต้องพิจารณาแหล่งเงินทุน วิธีการบริหารการ เงิน และความคุ้มทุน เป็นต้น แต่มติ ทิ ส่ี ามซึง่ ผมว่าสำ�คัญมาก และคิดว่า น่าจะสำ�คัญกว่าเรื่องเทคนิคอีกก็คือเรื่องของ การสร้างคุณค่าและมูลค่า (Value creation หรือ Value proposition) หมายความว่ารถไฟ วิ่งไปไหนเทคนิคมันไม่ยากหรอก แต่ถามว่า จะทำ�อย่างไรให้รถไฟสร้างคุณค่าและมูลค่า ให้กับประเทศชาติให้มากที่สุด ให้มูลค่านั้น ต้องสะท้อนกลับมาให้ประเทศและเจ้าของคือ
ประชาชน ไม่ใช่ไปอยู่ที่ภาคอสังหาริมทรัพย์ อย่างเดียว ดังนัน้ เรือ่ งการสร้างคุณค่าและมูลค่านี้ เราจะต้องคิดว่าอะไรคือเนือ้ หา ได้แก่ การจ้างงาน ที่ตั้งนิคมอุตสาหกรรม ทำ�เลของการเคหะฯ จะไปสร้ า งบ้ า นให้ ป ระชาชนรายได้ น้ อ ย ประชาชนจะมีสว่ นร่วมได้อย่างไร เพือ่ ให้ทง้ั หมดนี้ สะท้ อ นกลั บ มายั ง เจ้ า ของรถไฟซึ่ ง ก็ คื อ ประชาชน และมิติสุดท้ายคือการดำ�เนินงาน ซึ่ ง ต้ อ งสร้ า งวั ฒ นธรรมใหม่ ใ ห้ กั บ ประเทศ ในเรื่องมาตรฐานความปลอดภัย เพราะหาก เกิ ด อุ บั ติ เ หตุ ข องรถไฟความเร็ ว สู ง ขึ้ น นั้ น จะรุนแรงมาก ดังนั้นพนักงานทุกคนในองค์กร ของรถไฟความเร็วสูงจะต้องเป็นคนรุ่นใหม่ที่มี ความตระหนั ก ในเรื่ อ งมาตรฐานความ ปลอดภัย ต้องคัดเลือกคนทำ�งาน หรืออาจจะ ไปหาเด็กเก่งๆ ตามหมู่บ้านที่เส้นทางรถไฟ ผ่านให้เข้ามาเป็นทีมของเรา เพื่อให้เกิดการ จ้างงานคนในท้องที่ ยกตัวอย่าง ปัจจุบันรถไฟ JR East ของญีป่ นุ่ มีพนักงานประมาณ 2,400 คน สร้างรายได้ 1.5 แสนล้านบาทต่อปี นัน่ คือหนึ่ง
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
คนสร้างรายได้ 57 ล้านบาทต่อปี ในขณะที่ รถไฟไทยพนั ก งานมี ประมาณ 11,000 คน รายได้ประมาณ 4 พันล้านบาท เท่ากับหนึ่งคน สร้างรายได้ 4 แสนบาทต่อปี ดังนั้นองค์กร บริหารรถไฟความเร็วสูงจะไม่ใช่ภาพลักษณ์ เก่าๆ แล้ว แต่ต้องเดินไปข้างหน้าเพื่อสร้าง คุณค่าคืนให้ประชาชนให้มากที่สุด หากนีค่ อื การวางอนาคตใหม่รว่ มกัน คนไทยจะ ได้เห็นโครงการนี้ตอกหมุดเมื่อไหร่ เราเริ่มดำ�เนินการไปแล้วในหลายส่วน แต่สิ่ง
สำ�คัญที่สุดของการเริ่มต้นคือการตอกหมุดใน ใจคนก่อน เพราะโครงการนี้ไม่ใช่เพียงแค่เป็น ยุทธศาสตร์ของรัฐบาล เพราะรัฐบาลมาแล้วก็ ไป แต่สิ่งนี้คือยุทธศาสตร์ของชาติ ดังนั้นไม่ว่า ใครจะมาเป็ น รั ฐ บาลก็ ต้ อ งทำ�ต่ อ ไปเพื่ อ ประชาชน เพื่ออนาคตของลูกหลานเรา
ผมว่า ทำ�ไมรถติดแบบนี้ พ่อทำ�งานด้านนี้แล้ว จะแก้ปัญหายังไง ผมก็บอกลูกว่ากำ�ลังทำ�อยู่ (หัวเราะ) จริงๆ แล้ว สิ่งที่เราทำ� มันไม่ใช่เพื่อ ตัวเอง เพราะสุดท้ายกว่าทุกอย่างจะเสร็จสมบูรณ์ เวลาของเราอาจจะเหลือน้อยแล้ว แต่คนที่ใช้ จริงๆ ก็คือลูกหลานเรา เราทำ�เพื่ออนาคต ทำ�เพื่อคนรุ่นต่อไป เพราะถ้าไม่ทำ�วันนี้ มันก็ ส่วนตัวแล้วเคยเล่าถึงอนาคตใหม่ที่กำ�ลังทำ�อยู่ สายเกินไป นี้ให้ลูกฟังบ้างไหม ลูกผมอายุ 12 ปี เขาจะช่างถาม เวลาเขานั่งรถ ไปโรงเรียน แล้วรถติดมากๆ เขาจะหันมาถาม
Creative Ingredients ก่อนจะมาคุมหัวรถจักร ผมเรียนจบปริญญาตรีจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย เข้าเรียนเมื่อปี 2526 ตอนจบได้เกียรตินิยม ได้รับ พระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล ไปศึกษาต่อปริญญาโททีส่ ถาบัน เอ็มไอที (Massachusetts Institute of Technology) และปริญญาเอก มหาวิทยาลัยอิลินอยส์ ที่สหรัฐอเมริกา ในสาขาวิศวกรรมโครงสร้าง หลังจากเรียนจบ ได้ทำ�งานที่สหรัฐอเมริกา 2 ปี โดยเป็นวิศวกร โครงสร้างให้บริษัท Skidmore, Owings & Merrill LLP ที่เมืองชิคาโก มลรัฐอิลินอยส์ หลังจากนั้นก็กลับมารับราชการเป็นอาจารย์ที่จุฬาฯ ทำ�งานวิชาการมา 16 ปี จนเป็นรองศาสตราจารย์ เป็นหัวหน้า ศูนย์วจิ ยั เพือ่ ความปลอดภัยจากอัคคีภยั คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เป็นผู้ช่วยอธิการบดี ทำ�งานดูแลทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย ก่อนจะ ลาออกและเปลี่ยนวิถีชีวิตมารับตำ�แหน่งทางการเมือง วิธีการเชื่อมโยงความรู้ด้านเทคนิคเข้ากับความสนใจเรื่องเครือข่าย รถไฟ และหลักการบริหารคืออะไร ชีวติ ทีผ่ า่ นมาผมเป็นอาจารย์มาตลอด แต่เคยไปช่วยงานของกระทรวง คมนาคมอยู่บ้าง เรื่องสนามบิน รถไฟ ซึ่งก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจทั้งสิ้น แต่เรื่องรถไฟจะเป็นเรื่องหลัก เมื่อต้องมารับผิดชอบก็ตื่นเต้น แต่มัน
ก็มตี วั ช่วยอยู่ คือเพิง่ ไปเรียนเอ็มบีเอ ทำ�ให้สามารถเชือ่ มโยงสิง่ ต่างๆ ให้มันสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นได้ ทั้งเรื่องการเงิน การบริหารงบประมาณ พอต้องทำ�งานบริหารจัดการโครงการขนาดใหญ่ เราเลยต่อภาพติด ว่าแต่ละเรื่องมันเป็นอย่างไร และควรจะเชื่อมโยงกันอย่างไร หนังสือที่อ่าน อาจจะเชยไปหน่อย แต่อย่าง The Tipping Point: How Little Things Can Make a Big Difference นี้ ให้มุมมองที่สามารถหยิบใช้กับการ ทำ�งานได้มาก โดยเฉพาะวิธีการสร้างอิมแพ็กในการสื่อสารให้ ประชาชนรูไ้ ด้อย่างไร ซึง่ ก็หมายถึงวิธกี ารทีจ่ ะสือ่ สารให้กบั คนหมูม่ าก ได้นั้น เราก็ต้องเลือกคนที่จะเผยแพร่ เลือกข้อความและเนื้อหาที่ ถูกต้อง ซึ่งถ้าเราเลือกถูก มันก็จะกลายเป็นปรากฏการณ์ได้ เวลาว่าง ผมออกกำ�ลังทุกวัน ตอนเช้าวิ่งวันละชั่วโมง มันเป็นการทำ�สมาธิไป ในตัวด้วย เวลาว่างก็ให้ลูก ล่าสุดเพิ่งไปดูหนัง Battleship กับลูก 15 นาทีแรกหลับไปเลย เพิง่ มาสนุกตอนทิง้ ระเบิดบอมบ์กนั เนีย่ (หัวเราะ)
พฤษภาคม 2555 l Creative Thailand
l 33
CREATIVE WILL คิด ทำ� ดี
FedEx Disaster Relief
เรื่อง: ชิน วังแก้วหิรัญ
+ ถึงแม้ว่าสถานการณ์ภัยพิบัติทั่วโลกในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาจะอุบัติขึ้นอยู่อย่างต่อเนื่อง แต่สิ่งที่เกิดขึ้นเคียงคู่กันมาเสมอ ก็คือ ธารนํ้าใจที่หลั่งไหลไปช่วยเหลือในทุกครั้งที่เกิดเหตุการณ์ขึ้นเช่นกัน อย่างเหตุการณ์มหาอุทกภัยเมื่อปลายปีที่ผ่านมาของบ้านเรา นอกจากความช่วยเหลือที่หยิบยื่นมาในรูปของเงินทุน เครื่องใช้อุปโภคบริโภค อุปกรณ์ทางการแพทย์ ก็ยังมีความช่วยเหลือจาก อาสาสมัครที่มาในรูปแบบของการลงแรงกายและแรงใจร่วมกัน ไปจนถึงกลุ่มอาสาสมัครที่เลือกใช้ความสามารถที่ตนเองถนัด
แม้ว่าการยื่นมือให้ความช่วยเหลือจะมาในหลากหลายรูปแบบ แต่ปัจจัย สำ�คัญประการหนึ่งในการกระจายความช่วยเหลือไปสู่พื้นที่ซึ่งได้รับ ความเสียหายก็คือ ปัจจัยทางด้านความรวดเร็ว FedEx Disaster Relief จึงริเริ่มโครงการช่วยเหลือสังคม โดยใช้ “ความเร็ว” ในระบบการจัดส่ง สินค้ามาช่วยเหลือผู้ประสบภัยด้วยการร่วมมือกับองค์กรที่เกี่ยวข้องอย่าง American Red Cross, Salvation Army และ Heart to Heart International เพื่อให้สามารถดำ�เนินการช่วยเหลือได้อย่างรวดเร็วภายใต้ระบบการ ขนส่งที่มีประสิทธิภาพ สำ�หรับการช่วยเหลือนั้นครอบคลุมตั้งแต่การสนับสนุนค่าใช้จ่าย ด้านเสบียงอาหาร ระบบกรองนํา้ สะอาด สิง่ ของอุปโภคบริโภค และอุปกรณ์ พยาบาล ที่ได้รับการจัดการขนส่งไปช่วยเหลืออย่างทันท่วงที เช่นเดียว กับความรวดเร็วที่ได้กลายมาเป็นต้นทุนทางเวลาเพื่อช่วยฟื้นฟูเหตุการณ์ ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นทั่วโลก เช่นเหตุการณ์พายุแคทริน่าในปี 2005 เรื่อยมา จนถึงเหตุการณ์ภัยพิบัติจำ�นวนมากในปี 2010 ตั้งแต่สึนามิในญี่ปุ่น พายุ ทอร์นาโดมิดเวสต์ ในสหรัฐฯ แผ่นดินไหวในตุรกี และแผ่นดินไหวในเฮติ 34 l Creative Thailand l พฤษภาคม 2555
ซึ่งเครื่องกรองนํ้าสะอาดได้ถูกลำ�เลียงจากบริษัทไปยังพื้นที่ที่ได้รับความ เสียหายในเวลาเพียง 4 วันหลังเกิดภัยพิบตั ิ เพือ่ รองรับความต้องการนํา้ ดืม่ สะอาดของประชาชนกว่า 150,000 คนต่อวัน ไม่ให้เสียชีวติ เพราะขาดแคลน นํ้าดื่ม จะเห็นได้ว่าแม้จำ�นวนของช่วยเหลือที่ได้รับบริจาคมานั้นจะมีเพียง พอต่อผูป้ ระสบภัยในพืน้ ที่ แต่หากไร้ซง่ึ องค์กรตัวกลางทีท่ �ำ หน้าทีข่ นส่งไป ยังปลายทางได้ทนั เวลา ธารนํ้าใจที่ได้รับมาจากทุกภาคฝ่ายอาจสูญเปล่า สิ่ ง ที่ โครงการนี้ ทำ � จึ ง ไม่ ต่ างอะไรจากการเป็ น ตั ว กลางส่ ง มอบความ ปรารถนาดีไปสูม่ อื ผูร้ บั และความตัง้ ใจดีจะทำ�หน้าทีไ่ ด้อย่างทรงพลังทีส่ ดุ เมื่อมันถูกส่งไปถึงมือผู้รับในเวลาที่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิด เหตุภยั พิบตั ิ ทีย่ ง่ิ ความช่วยเหลือถูกส่งไปถึงมือผูป้ ระสบภัยได้รวดเร็วมาก เท่าใด ก็หมายถึงการมีโอกาสในการต่อชีวิตผู้คนได้มากเท่านั้น ที่มา: nytimes.com news.van.fedex.com csrwire.com
พฤษภาคม 2555 l Creative Thailand
l 35