Creative Thailand Magazine

Page 1



ภาพถ่ายนั้นไร้ความหมาย สิ่งที่ผมสนใจคือชีวิต

Henri Cartier-Bresson ช่างภาพชาวฝรั่งเศส

© Genevieve Naylor/CORBIS

Photography is nothing -it's life that interests me.


สารบัญ The Subject

6

The Object

7

Creative Source

8

สินคาที่เรียกวา “รูปภาพ”

การสรางภาพ

Featured DVD/ Book/ Book/ DVD

Cover Story

12

Insight

19

Creative Entrepreneur

22

Creative City

24

The Creative

30

Creative Will

34

พลังแหงสังคมภาพ

Insta-World

ฉายาจิตรกร

Matter

10

Classic Item

11

ปฏิวัติระดับชิป Kodak The Lost Moment of Film

ซาราเยโว คำบอกเลาจากผูอยูรอด

วินัย ดิษฐจร ไมใชแคกดชัตเตอร แตมันคือการใชชีวิต

Moving Walls

บรรณาธิการอำนวยการ l อภิสิทธิ์ ไลสัตรูไกล ที่ปรึกษา l กิตติรัตน ปติพานิช, ชมพูนุท วีรกิตติ, พิชิต วีรังคบุตร, กนกพร เกียรติศักดิ์, วราภรณ วศินสังวร, จรินทรทิพย ลียะวณิช บรรณาธิการบริหาร l ศุภมาศ พะหุโล ผูชวยบรรณาธิการ l พัชรินทร พัฒนาบุญไพบูลย กองบรรณาธิการ l ศิริอร หริ่มปราณี, มนฑิณี ยงวิกุล, เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร, กริยา บิลยะลา เลขากองบรรณาธิการ l กมลกานต โกศลกาญจน บรรณาธิการศิลปกรรม l พจน องคทวีเกียรติ, ดุษฎี มุทุกันต, ณรัติ สุริยง ณ อยุธยา จัดทำโดย l ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (TCDC) ชั้น 24 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอร 622 สุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 โทร. 02 664 7667 แฟกซ. 02 664 7670 ติดตอลงโฆษณาไดที่ sale@tcdc.or.th พิมพที่ l บริษัท ทูโฟร พริ้นติ้ง จำกัด โทร. 02 416 7300 แฟกซ. 02 416 7320 จำนวน 50,000 เลม นิตยสารฉบับนี้ใชหมึกพิมพจากน้ำมันถั่วเหลืองที่ไมเปนอันตรายตอสุขภาพ ทั้งยังเปนมิตรตอสิ่งแวดลอม และใชกระดาษรีไซเคิล ซึ่งเปนผลผลิตของผูประกอบการไทย จัดทำภายใตโครงการ “Creative Thailand สรางเศรษฐกิจไทยดวยความคิดสรางสรรค” โดยศูนยสรางสรรคงานออกแบบ สำนักงานบริหารและพัฒนาองคความรู (องคการมหาชน) ซึ่งมีเปาหมายในการเผยแพรความรูเกี่ยวกับเศรษฐกิจสรางสรรค (Creative Economy) และผลักดันการใชความคิดสรางสรรคในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส แสดงที่มา-ไมใชเพื่อการคา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย


EDITOR'S NOTE บทบรรณาธิการ

อำ�นาจใหม่ ในการประชุมพรรคคอมมิวนิสต์ครัง้ ที่ 27 ของสหภาพโซเวียตเมือ่ ปี 1986 ทีก่ รุงมอสโก มีการปรับธรรมเนียมบางอย่างในทีป่ ระชุมทีท่ �ำ ให้เหล่าโปลิตบูโรหรือคณะกรรมาธิการ บริหารพรรคการเมืองต้องฉงน เพราะวอดก้าชัน้ เลิศและซุปบอร์สช์แบบรัสเซียทีเ่ คยถูก เสิรฟ์ ในทีป่ ระชุม กลับถูกแทนทีด่ ว้ ยกล้องโลโม่ (LOMO) รุน่ LC-A เรือ่ งน่าแปลกใจเล็กๆ ในพรรคคอมมิวนิสต์ทย่ี ง่ิ ใหญ่ทส่ี ดุ ของโลก เกิดจากความ คิดที่เชื่อมต่อจากนโยบายของมิคาอิล กอร์บาชอฟ ที่ต้องการปฏิรูปประเทศให้เดิน ไปข้างหน้าและปลดแอกความเชื่องช้าของเศรษฐกิจจากภาวะสงครามเย็นที่เรื้อรัง ทีป่ รึกษาของพรรคจึงต้องการแสดงให้โลกเห็นถึงภาพอนาคตอันรุง่ โรจน์เบือ้ งหลังม่าน เหล็กที่เคยถูกปิดกั้น กล้องโลโม่ซง่ึ เป็นเครือ่ งมือของหน่วยตำ�รวจลับจึงถูกมอบหมาย ภารกิจใหม่ ให้เป็นเครื่องมือที่เปิดเผยให้โลกได้เห็นแง่มุมอื่นๆ ของสหภาพโซเวียต ดังนัน้ กล้องโลโม่จ�ำ นวน 5,000 ตัว จึงถูกเร่งผลิตขึน้ ในโรงงานทีเ่ มืองเซนต์ปเี ตอร์สเบิรก์ เพือ่ ส่งมอบให้ผเู้ ข้าร่วมประชุมทุกคนได้น�ำ ติดตัวกลับไปยังเมืองต่างๆ ของประเทศ เพือ่ ให้พวกเขาได้ถา่ ยรูปบ้านเกิดอันเป็นทีร่ กั และเพือ่ ให้โลกตะวันตกได้เห็น ยกย่อง และเกรงขามต่อสหภาพโซเวียต ภาพถ่ายเป็นเครือ่ งมือสือ่ สารทีช่ าญฉลาดและทรงอานุภาพมาทุกยุคทุกสมัย มัน ถูกใช้ดว้ ยวัตถุประสงค์ตา่ งๆ กัน ทัง้ โฆษณาชวนเชือ่ ทางการเมือง ผลักดันให้สินค้า ประสบความสำ�เร็จด้านยอดขาย สร้างความรื่นรมย์ในฐานะงานศิลป์ หรือถ่ายทอด เรื่องราวโหดร้ายที่ไม่อาจบรรยายเป็นคำ�พูด นักประดิษฐ์ต่างคิดค้นและพัฒนาให้ อุปกรณ์กล้องและฟิล์มเติบโตด้วยชั้นเชิงทางวิทยาการ ขณะที่ผู้ใช้ก็เสาะหาความ ยอดเยีย่ มจากเทคนิคการถ่ายภาพ แต่เมือ่ โลกดำ�เนินมาถึงยุคทีเ่ ทคโนโลยีกดั กินตัวเอง รูปแบบของอุปกรณ์การถ่ายภาพก็เปลี่ยนแปลงหน้าตาไปเช่นเดียวกับวิถีชีวิตที่แนบ สนิทกับโลกการสื่อสารไร้พรมแดน และยิ่งผู้คนเข้าถึงเทคโนโลยีและสื่อสารได้มาก ขึน้ เท่าใด อำ�นาจจากโอกาสทีเ่ ท่าเทียมกันของผูค้ นก็มากขึน้ เท่านัน้ ด้วยเหตุน้ี อุปกรณ์ ถ่ายภาพแบบพกพาอัจฉริยะทัง้ หลายบวกกับประสิทธิภาพของโลกออนไลน์ จึงสามารถ บอกเล่าเรือ่ งราวทัว่ ทุกมุมโลกให้สงั คมได้รบั รูแ้ ละเข้าใจร่วมกันได้ผา่ นภาพถ่ายเพียง ภาพเดียว ปรากฏการณ์เช่นนีไ้ ด้สง่ ให้การถ่ายภาพเป็นเครือ่ งมือทีส่ ร้างอำ�นาจต่อรอง ในสังคมปัจจุบัน ทั้งเรื่องราวในอุตสาหกรรมแฟชั่น ภาพยนตร์ ศิลปะ จนถึงการ เรียกร้องทางสิทธิมนุษยชนและการเมือง ถึงแม้จะไม่ปรากฏแน่ชัดว่าในรายงานการประชุมพรรคคอมมิวนิสต์ครั้งที่ 27 ได้กล่าวถึงผลจากการรณรงค์ถา่ ยภาพครัง้ นัน้ หรือไม่ แต่เชือ่ ได้วา่ ทุกภาพถ่ายทีเ่ กิด ขึ้นในห้วงเวลานั้นได้สะท้อนมุมมองและความปรารถนาอย่างแรงกล้าของช่างภาพ จำ�เป็นทุกคน ซึง่ นัน่ เป็นเนือ้ แท้ทท่ี �ำ ให้ภาพถ่ายจะยังคงเป็นเครือ่ งมือทีท่ รงพลังเสมอ ไม่วา่ จะเกิดขึน้ จากอุปกรณ์ใดๆ ก็ตาม อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล บรรณาธิการอํานวยการ กันยายน 2555 l Creative Thailand

l5


สินค้าที่เรียกว่า “รูปภาพ” เรื่อง: วรุตม์ โอนพรัตน์วิบูล

“Good photography at a reasonable price” รูปทีด่ ใี นราคาทีส่ มเหตุสมผล ประโยคสุดคลาสสิกของนิตยสาร British Journal of Photography อาจล้าสมัยไปแล้วสำ�หรับโลกทีน่ บั วันยิง่ แคบลงทุกที โดยเฉพาะภายหลังที่ “รูปภาพ” ได้กลายเป็น “สินค้า” ซึง่ มีการ ซือ้ ขายกันอย่างแพร่หลาย ผ่านช่องทางทีเ่ รียกว่า “Stock Photo”

การเกิดขึ้นของเว็บไซต์อย่าง Getty Images, Corbis, iStockphoto และ Sipa Press ซึ่งเป็นเสมือนคลังรูปภาพรายใหญ่ของโลก ทำ�ให้มูลค่าของ ภาพถ่ายแปรเปลีย่ นไป เมือ่ รูปภาพต่างๆ ทีอ่ ยูใ่ นคลังรูปเหล่านีม้ ี “ลิขสิทธิ”์ ซึ่งมีความหมายเท่ากับ “มูลค่าทางเศรษฐกิจ” โดยล่าสุด เว็บไซต์ Getty Images เอเจนซีค่ า้ ภาพชือ่ ดังซึง่ รวบรวมภาพนิง่ ในโลกไว้มากกว่า 60 ล้าน ภาพ และอัพเดทรูปใหม่อีกกว่า 2 หมื่นภาพต่อวัน เพิ่งขายกิจการให้กับ บริษทั เอกชนนาม Carlyle Group ด้วยมูลค่าทีส่ งู ถึง 3.3 หมืน่ ล้านเหรียญ สหรัฐฯ ซึ่งนับเป็นสถิติที่สูงที่สุดในแวดวงตลาดซื้อขายรูปภาพ แต่ก็ใช่ว่าบรรดาเว็บไซต์คลังรูปภาพเหล่านี้เท่านั้นที่ได้รับประโยชน์ แบบเต็มเม็ดเต็มหน่วย เพราะสำ�หรับคนทัว่ ไปทีต่ อ้ งการใช้รปู ภาพก็ได้รบั ความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้นจากปรากฏการณ์นี้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นใน ด้านการค้นหาและเลือกซื้อภาพที่ต้องการที่ไหนเมื่อไหร่ก็ได้ผ่านระบบ อินเทอร์เน็ต ทัง้ ยังช่วยประหยัดค่าใช้จา่ ยได้มากกว่าการจ้างช่างภาพถ่าย งานแบบเฉพาะกิจทีม่ รี าคาค่อนข้างสูงเมือ่ เทียบกับราคาภาพจากคลังภาพ ต่างๆ ทั้งยังได้เห็นผลงานจริงก่อนตัดสินใจซื้อ โดยไม่ต้องลุ้นว่าผลงาน นั้นจะถูกใจหรือไม่ ที่มา: What is Stock Photography? จาก wisegeek.com Stockpiling trouble: How the stock industry ate itself? จาก bjp-online.com

6 l Creative Thailand l กันยายน 2555

นอกจากนี้ เว็บไซต์คลังรูปภาพยังเป็นเสมือนช่องทางในการสร้างชื่อ และรายได้ให้แก่ช่างภาพมือใหม่และมือสมัครเล่นทั่วโลกที่สนใจเปลี่ยน ความชอบในการถ่ายภาพให้กลายเป็นรายได้ แต่ส�ำ หรับช่างภาพมืออาชีพแล้ว กรณีดังกล่าวยังคงเป็นเครื่องหมายคำ�ถามในแง่ประโยชน์ที่พวกเขาได้รับ เพราะข้อมูลจากนิตยสาร British Journal of Photography ชี้ให้เห็นว่า แม้จะขายรูปผ่านทาง Stock Photo ได้ แต่รายได้หลักของช่างภาพบางส่วน กลับลดลงถึงร้อยละ 30-50 ต่อปี และบางรายก็ลดลงมากถึงร้อยละ 90 ซึ่ง ยังไม่นับรวมถึงโอกาสของช่างภาพที่หายไปในการสร้างความสัมพันธ์กับ ลูกค้าแบบระยะยาว ดังนั้น เพื่อปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ช่างภาพในโลกปัจจุบันจึงต้องมีอุปกรณ์คู่ใจมากไปกว่าเลนส์รุ่นพิเศษ ฝีมอื และมุมมองในการถ่ายภาพทีพ่ กพามาเต็มกระเป๋า เพราะความรอบรู้ ทางด้านการตลาด และความเข้าใจในระบบธุรกิจ รวมไปถึงความอดทน และเพียรพยายามที่ต้องมีมากขึ้น ก็ยังเป็นองค์ประกอบที่จำ�เป็นอย่างยิ่ง ในการสร้างความโดดเด่นให้กับสินค้าที่เป็นภาพถ่ายของตนได้รับการ คัดเลือกลงตะกร้า ก่อนจะแปรค่าออกมาในรูปของรายได้ต่อไป

© Allen Ginsberg/CORBIS

THE SUBJECT ลงมือคิด


THE OBJECT คิดแล้วทำ�

การสร้างภาพ © PETE SOUZA/WHITE HOUSE/EPA/PROFILE

เรื่อง: นพดล วีรกิตติ

ตัวแปรสำ�คัญที่ทำ�ให้ภาพๆ หนึ่ง เป็นได้มากกว่าภาพทั่วไป อาจไม่ได้อยู่ที่ฝีมือหรือชื่อเสียงของช่างภาพเพียงเท่านั้น ทว่าคำ�ตัดสิน อาจจะอยู่ที่คนออกโจทย์และหยิบภาพถ่ายนั้นๆ มาใช้ในบทบาทของ “บรรณาธิการภาพ”

เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2011 ประธานาธิบดีบารัค โอบามา แถลงข่าว อย่างเป็นทางการว่าสหรัฐฯ สามารถ “จับตาย” โอซามา บิน ลาเดน ภาพเหตุการณ์ทีมปฏิบัติการพิเศษเข้าโจมตี บิน ลาเดน ในแหล่งกบดาน ณ ชานเมืองหลวงอิสลามาบัด ปากีสถาน ถูกเผยแพร่ผ่านสื่อจำ�นวนมาก เพื่อยืนยันกับชาวโลกว่าผู้ก่อการร้ายอันดับหนึ่งของโลกได้เสียชีวิตจาก ปฏิบัติการของสหรัฐฯ และนับเป็นสัญลักษณ์ของการสิ้นสุด “สงครามกับ การก่อการร้าย (War on Terrorism)” ซึง่ ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ริเริ่มไว้เมื่อปี 2001 หลังจากเหตุการณ์ 9/11 ทีน่ ครนิวยอร์ก หลังการเผยแพร่ภาพเหตุการณ์สุดระทึกนี้เพียงไม่กี่ชั่วโมง ภาพถ่าย ของประธานาธิบดีโอบามาและทีมด้านความมัน่ คง รวมทัง้ นางฮิลลารี คลินตัน ที่กำ�ลังติดตามภารกิจการถ่ายทอดสดตอนที่ชุดปฏิบัติการพิเศษไล่ล่า (และฆ่า) บิน ลาเดน ในทำ�เนียบขาวก็ถกู เผยแพร่ตามออกมา คำ�ถามก็คอื ทำ�ไมเราจึงเห็นเฉพาะภาพนี้เป็นภาพหลักที่ถูกเลือกมาเผยแพร่ในจำ�นวน หลายต่อหลายภาพทีค่ าดว่าจะได้รบั การบันทึกพร้อมๆ กันในเวลานัน้ มีการวิเคราะห์เหตุผลเบื้องหลังการเผยแพร่ภาพถ่ายนี้มากมาย โดย เฉพาะประเด็นด้านความสมบูรณ์ของความเป็นภาพถ่าย เราเห็นใบหน้า ผู้คนสำ�คัญกว่าสิบชีวิตของทีมด้านความมั่นคงของอเมริกา แต่ละคนยืน อยูใ่ นตำ�แหน่งทีแ่ ทบไม่บดบังกันเลย ภาพนัน้ ถ่ายให้เห็นอารมณ์ของแต่ละ

คนอย่างชัดเจน กระทั่งทำ�ให้เราได้ยินแม้แต่ “ความเงียบ” ที่เกิดขึ้นใน ห้อง ณ ขณะนัน้ แต่ประเด็นหลักที่ถูกกล่าวถึงให้เป็นประเด็นทางการเมือง ระหว่างประเทศก็คอื การทีภ่ าพนีม้ พี ลังในการสือ่ สาร เพือ่ สร้างความชอบ ธรรมให้กับผู้คนในทำ�เนียบขาวและประเทศผู้นำ�ชาติมหาอำ�นาจแห่งโลก เสรี ภาพนางฮิลลารี คลินตันยกมือปิดปากด้วยความช็อก นับเป็นการสือ่ สาร ในระดับจิตใต้ส�ำ นึกกับคนทัง้ โลกว่า “เรา (สหรัฐฯ) เป็นผูม้ มี นุษยธรรมและไม่ ได้ตอ้ งการทำ�อย่างนี้ เพียงแต่เราไม่มที างเลือก” เป็นการสื่อสารกับคนส่วน ใหญ่ที่เสพข่าวจากซีกโลกตะวันตกว่า ได้โปรดเห็นใจ เพราะบางครั้งเรา ก็อาจต้องกระทำ�การไม่ดบี า้ งเพือ่ สิง่ ทีถ่ กู ต้อง ซึ่งสอดคล้องกับแถลงการณ์ ของโอบามาที่ยืนยันว่า นี่เป็นการต่อสู้กับการก่อการร้าย ไม่ใช่ต่อสู้กับ โลกอิสลาม และนี่เป็นสงครามที่อเมริกาไม่ได้ต้องการเริ่ม พร้อมกับการ ขอบคุณชาวอเมริกนั ทุกคนทีช่ ว่ ยให้อเมริกาผ่านพ้นช่วงเวลา 10 ปีทเ่ี ลวร้าย มาได้ นีเ่ ป็นตัวอย่างหนึง่ ของการใช้พลังของภาพถ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเมือ่ มันถูกเลือกไปใช้ในบริบททางการเมืองทีล่ ะเอียดอ่อน และ คนที่ควรได้รับความดีความชอบในเรื่องนี้อาจไม่ใช่ช่างภาพผู้ล่นั ชัตเตอร์ อย่าง Pete Souza หากแต่เป็นทำ�เนียบขาวทีท่ �ำ หน้าทีบ่ รรณาธิการภาพทีเ่ ลือก หยิบภาพนีม้ าใช้และกำ�หนดให้มนั เป็นเสมือน “ภาพจำ�” ของคนทัง้ โลก

ที่มา: matichon.co.th, siamintelligence.com, komchadluek.net กันยายน 2555 l Creative Thailand

l7


CREATIVE RESOURCE วัตถุดิบทางความคิด

เรื่อง: เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร และ กริยา บิลยะลา

FEATURED DVD

Fur: An Imaginary Portrait of Diane Arbus กำ�กับโดย Steven Shainberg

“I really believe there are things which nobody would see unless I photographed them” แม้มใิ ช่ วลีเด็ดจากนักประพันธ์ทต่ี รึงความรูส้ กึ แต่นเ่ี ป็นคำ�พูด ที่สะท้อนความเป็น ดิแอน อาร์บัส และผลงานใน แบบฉบับของเธอ Fur: An Imaginary Portrait of Diane Arbus แรงบั น ดาลใจจากปลายนํ้า หมึ ก ของแพทริ เ ซี ย บอสเวิรธ์ จากหนังสือ Diane Arbus: A Biography เรื่องนี้แม้ไม่ใช่ภาพยนตร์อัตชีวประวัติท่ีอัดแน่น ด้วยเนือ้ หาตัง้ แต่ตน้ จนจบ แต่ภาพยนตร์กส็ ามารถ สะท้อนให้เห็นเอกลักษณ์ของชีวติ และการทำ�งานใน ฐานะช่างภาพที่โดดเด่นและเฉพาะตัวคนหนึ่งของ ดิแอน อาร์บสั ในศตวรรษที่ 20 ได้อย่างเฉียบคม ภาพยนตร์ถอยกลับไปสู่สังคมนิวยอร์กยุค 1958 นั่นเป็นภาพแรกของดิแอนในฐานะหญิงสาว จากตระกูลดีของครอบครัวนักธุรกิจผลิตขนสัตว์ สำ�หรับกลุม่ ชนชัน้ สูง ทีเ่ พิง่ ผันตัวเองมาเป็นแม่บา้ น และสไตลิสต์ให้กบั สามี อลัน อาร์บสั ช่างภาพแถว

8 l Creative Thailand l กันยายน 2555

หน้าของวงการแฟชัน่ และโฆษณา ท่ามกลางความ เข้มงวดและอึดอัดเพราะไม่มีท่ียืนและบทบาทใด เป็นของตนเองอย่างเด่นชัด เวลานัน้ ลิโอเนลเพือ่ นบ้าน ทีป่ กปิดหน้าตาจนมิดชิดพร้อมบุคลิกประหลาดก็ได้ เข้ามาเปิดประตูบานใหม่ในชีวิตของเธอ และจาก ความต้องการถ่ายภาพนิง่ ของลิโอเนลเพียงภาพเดียว ก็ได้ท�ำ ให้เธอพบกับการเปลีย่ นแปลงครัง้ ใหญ่ แม้เทคนิคและกล้องคุณภาพสูงจะเป็นทีห่ มายตา สำ�หรับเหล่าช่างภาพ แต่ส�ำ หรับดิแอน ตัวแบบถือเป็น สิ่งพิเศษสุด การเปิดใจพูดอย่างตรงไปตรงมาหรือ กระทัง่ แวะเวียนมาพบปะบ่อยๆ เป็นสิง่ ทีเ่ ธอทำ�ทุก ครัง้ เพราะนัน่ ถือเป็นการดึงบุคลิกและความเป็นตัวตน ของแบบออกมาได้มากที่สุด และก็ไม่ต่างจากการ ผูกมิตรเพือ่ ทีจ่ ะเข้าใจความเป็นธรรมชาติ ก่อนทีจ่ ะ บันทึกภาพทีเ่ หนือไปกว่าแค่ตวั แบบ แต่เป็นในฐานะ มนุษย์คนหนึ่งที่มีชีวิต มากไปกว่านัน้ เธอยังบันทึก ชื่อของทุกคนที่เธอถ่าย แม้กระทั่งคนบนท้องถนน เพราะเมื่อภาพถูกตีพิมพ์เธอจะส่งภาพเหล่านั้น

กลับไปให้พวกเขา ในสายตาและความเชื่อที่ชัดเจนของดิแอน ยังส่งผลให้นางแบบและนายแบบของเธอมักเป็น บุคคลที่มีลักษณะเฉพาะ ทั้งมนุษย์ ยักษ์ คนแคระ โสเภณี กลุม่ คนรักร่วมเพศ สาวประเภทสอง หรือ กลุม่ คนระดับล่าง ซึง่ ถือเป็นอีกหนึง่ เอกลักษณ์ในการ หันหลังให้กบั รสนิยมและบรรทัดฐานของคนส่วนใหญ่ ทั้งเป็นเสมือนการท้าทายค่านิยมด้านความงาม และความอัปลักษณ์ รวมถึงสะท้อนความเป็นจริง ทุกกระเบียดในทุกมิตขิ องภาพถ่าย อิทธิพลในภาพถ่ายของเธอยังส่งผลต่อวงการ ศิลปะ รวมถึงวงการภาพยนตร์ โดยเฉพาะภาพ Identical Twins ทีถ่ อื เป็น 1 ใน 10 อันดับภาพถ่าย ทีม่ รี าคาสูงสุดตลอดกาล และยังเป็นแรงบันดาลใจ ให้กับผู้กำ�กับระดับตำ�นานอย่างสแตนลีย์ คูบริก (Stanley Kubrick) ในภาพยนตร์เรือ่ ง The Shining อีกด้วย


CREATIVE RESOURCE วัตถุดิบทางความคิด

BOOK

BOOK

DVD

Another Way of Telling

Ansel Adams

ภาพหนึ่งภาพมักสะท้อนความจริงบางอย่างอยู่ เสมอ จอห์น เบอร์เกอร์ (John Berger) นักวิจารณ์ ศิลปะผู้แต่งหนังสือเล่ม นี้พยายามพูดถึงทฤษฎี ต่างๆ ที่กล่าวถึงการทีร่ ปู ภาพถูกใช้เพือ่ การสือ่ สาร ข้อความต่างๆ ออกไป ซึง่ บางครัง้ ก็มมี ติ ทิ ล่ี กึ กว่า สิง่ ทีต่ ามองเห็นมากนัก หนังสือเล่มนีจ้ งึ มีทง้ั ความ เป็นวิชาการและอ่านได้สนุกไปพร้อมๆ กัน ผูเ้ ขียน ร่วมกับนักถ่ายภาพเชิงสารคดีชาวสวิส ฌอง มอร์ (Jean Mohr) ใช้วิธีการอันชาญฉลาด ในการหยิบ ภาพแต่ละภาพมาร้อยเป็นเรื่องราวเพื่อบอกเล่า ที่มาที่แฝงอยู่ภายใต้ภาพเหล่านั้น ทำ�ให้ฉากชีวิต ธรรมดาๆ ของชาวบ้านทั่วๆ ไป กลับมีเรื่องราว ที่น่าสนใจชวนติดตาม

ศิ ล ปิ น ชั้ น ครู แ ห่ ง วงการภาพถ่ า ยขาว-ดำ � แห่ ง ศตวรรษที่ 20 ผูส้ ร้างตำ�นานบทใหม่ให้กบั ภาพถ่าย ทิวทัศน์ (Landscape) และวางทฤษฏี Zone System ซึ่ ง ช่ ว ยให้ ช่ า งภาพยุ ค หลั ง ใช้ ใ นการควบคุ ม ปริมาณของแสงผ่านระบบแบ่งค่าความเข้มตั้งแต่ สีขาวถึงสีด�ำ เป็น 10 โซน สารคดีชดุ นีจ้ ะทำ�ให้เห็น เบือ้ งหลังชีวติ ประสบการณ์ ความหลงใหลในธรรมชาติ ตัง้ แต่เยาว์วยั และกระบวนการทำ�งานทีล่ ะเอียดลออ รวมถึ ง ความเข้ า ใจเรื่ อ งแสงและภู มิ ทั ศ น์ อ ย่ า ง ถ่องแท้ ทีท่ �ำ ให้ภาพทิวทัศน์ของอดัมส์ไม่ได้เป็นเพียง ภาพถ่ายก้อนหิน ป่า หรือนา้ํ อย่างทือ่ ๆ แต่เป็นภาพ ทีเ่ ปีย่ มไปด้วยองค์ประกอบแห่งแสง การเคลือ่ นไหว เสน่ห์ของธรรมชาติที่สัมพันธ์กันอย่างน่าอัศจรรย์

โดย John Berger และ Jean Mohr ภาพ Lovers in a Small Cafe บนปกของหนังสือ รวมผลงานของบราไซ (Brassai) ภาพนี้ถูกถ่าย ไว้ในปี 1932 โดยเป็นหนึง่ ในภาพทีไ่ ด้รบั การตีความ จากนักวิจารณ์ศิลปะอย่างแพร่หลาย บ้างก็ให้ ความเห็นว่าภาพนีอ้ าจนับได้วา่ เป็นภาพถ่ายยุคแรกๆ ทีเ่ ป็นตัวแทนศิลปะแนวคิวบิสม์ (Cubism) ซึง่ สามารถ สะท้อนหลากมุมมองในภาพเดียวออกมาได้เช่น เดียวกับภาพวาดของปิกัสโซ่ ผลงานของช่างภาพ ชาวฮังกาเรียนท่านนี้ จึงไม่ใช่แค่เพียง “ภาพถ่าย” แต่ถูกยกระดับให้เข้าไปอยู่ในกลุ่มของ “ผลงาน ศิลปะ” อันทรงคุณค่า ซึ่งในยุคสมัยนั้น ช่างภาพ น้อยคนนักที่จะได้รับการยกย่องเช่นนี้

โดย Ric Burns

กันยายน 2555 l Creative Thailand

l9


MATTER วัสดุต้นคิด

Sciencedaily.com

ปฏิวัติระดับชิป

เรียบเรียง: ดารารัตน์ เมฆเกรียงไกร และ พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์

วิวฒ ั นาการในการจัดเก็บข้อมูลของมนุษย์นน้ั นอกจากจะพัฒนา ขึน้ ตามปริมาณข้อมูลทีม่ มี ากกว่าในอดีตแล้ว ยังขึน้ อยูก่ บั ความ ก้าวลํา้ ทางเทคโนโลยีทช่ี ว่ ยเพิม่ “ทางเลือกทีด่ กี ว่า” ให้กบั มนุษย์ เสมอด้วย เราจึงได้เห็นการเปลีย่ นแปลงจากฟล็อปปี้ ดิสก์ มาสู่ ยุคของซีดีรอม แฟลชไดรฟ์ และพอร์เทเบิล ฮาร์ดไดรฟ์ ที่เพิ่ม ทัง้ ความสามารถในการจัดเก็บและรูปแบบทีส่ ะดวกต่อการพกพา ยิง่ เมือ่ เราเดินทางมาสูย่ คุ แห่งข้อมูลข่าวสารและ “ภาพถ่าย” ทางเลือก ในการจัดเก็บจึงยิง่ ได้รบั ความสนใจมากขึน้ และทีส่ �ำ คัญคือน่าทึง่ มากขึน้ ด้วยเช่นกัน

ชิปบันทึกข้อมูลแบบใหม่ที่มีลักษณะโปร่งใส ยืดหยุ่น ม้วนพับได้เหมือน แผ่นกระดาษ และทนความร้อนได้ถึง 1,000 องศาฟาเรนไฮต์ (537.7 องศาเซลเซียส) ซึ่งมากกว่าความร้อนสูงสุดของเตาอบอาหารถึงสองเท่า และใช้ได้แม้ในสภาพแวดล้อมที่รุนแรง อาจนำ�มาซึ่งการพัฒนาหน่วย ความจำ�สำ�หรับอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลยุคใหม่ที่แข่งขันได้กับอุปกรณ์ แบบแฟลชขนาดพกพา สมาร์ทโฟน และคอมพิวเตอร์ เพราะนอกจากที่ ชิ ป เหล่านี้จะสามารถเก็บรักษาข้อมูลไว้ได้ แม้จะบังเอิญใส่ไปในเครือ่ งอบผ้า หรือจะนำ�ติดตัวเดินทางไปดาวอังคารแล้ว ด้วยโครงสร้างภายในแบบ สามมิ ต ิยังทำ�ให้ชิปเก็บข้อมูลได้ม ากขึ้นหลายกิกะไบต์โดยใช้พื้นที่

ที่มา: Transparent, Flexible '3-D' Memory Chips May Be the Next Big Thing in Small Memory Devices จากวารสาร Science Daily

10 l Creative Thailand l กันยายน 2555

น้อยลง และสามารถใช้กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รุ่นใหม่ๆ ซึ่งใช้หน่วย ความจำ�แบบสามมิติได้ดีกว่าแฟลชไดร์ฟ ทั้งยังประยุกต์ใช้งานได้หลาก หลาย เช่น การฝังแผ่นชิปไว้ในกระจกหน้ารถเพือ่ แสดงผลและบันทึกข้อมูล ขณะขับขี่ หรือใช้ในการทหารและอวกาศ ซึ่งจะช่วยให้ยานยนต์มีพื้นที่ สำ�หรับอุปกรณ์หรือเครื่องอำ�นวยความสะดวกอื่นๆ เพิ่มขึ้น ชิ ป ที่ บ รรจุ อ ยู่ ใ นพลาสติ ก ซึ่ ง มี ค วามยื ด หยุ่ น ยั ง สามารถเข้ า มา แทนทีห่ น้าจอแบบสัมผัสทีท่ �ำ จากอินเดียมทินออกไซด์ (indium tin oxide: ITO) และแก้ว ซึง่ เปราะบางและแตกง่าย อีกทัง้ การทีต่ วั เก็บข้อมูลมีขนาด เล็กลงและอยู่ที่หน้าจอแทนที่จะไปอยู่ในตัวเครื่อง ก็ยังทำ�ให้โทรศัพท์มี ขนาดบางลง แต่มีเนื้อที่เพิ่มสำ�หรับอุปกรณ์หรือฟังก์ชั่นอื่นๆ มากขึน้ ได้ ตามต้องการ ชิปแห่งอนาคตที่ช่วยย่อทุกอย่างทางกายภาพให้หดเล็กลง แต่ขยาย ความสามารถในการจัดเก็บสิ่งที่จับต้องได้ยากได้มากขึ้นนี้ ได้รับการจด สิทธิบัตรเป็นที่เรียบร้อย และพร้อมต่อยอดให้หลายบริษัทนำ�ไปใส่ไว้ใน สินค้าต่างๆ เพือ่ รอทีจ่ ะตอบสนองความต้องการทีไ่ ม่สน้ิ สุดและสร้างความ ตื่นตัวให้กับโลกแห่งวัสดุต่อไป


CLASSIC ITEM คลาสสิก

Kodak

ภาพอมตะของนาซ่า การโคจรรอบดวงจันทร์ใน ยุค 1960 ทีส่ ามารถมองเห็นพืน้ ผิวดวงจันทร์ได้อย่างชัดเจน นั้นถ่ายด้วยฟิล์มโกดัก และภาพเคลือ่ นไหวในนาทีแห่ง การเหยียบผิวดวงจันทร์ของนักบินอวกาศก็เป็นภาพ ที่บันทึกไว้ด้วยกล้องของโกดักเช่นกัน

The Last Moment of Film

เรื่อง: ศรินทร เอี่ยมแฟง

พลันที่ อีสต์แมน โกดัก (Eastman Kodak) ยักษ์ใหญ่แห่งอุตสาหกรรมกล้องถ่ายรูปและ ฟิลม์ ประกาศล้มละลายเมือ่ ต้นปีทผ่ี า่ นมา ก็ท�ำ ให้ เกิดแรงสัน่ สะเทือนไปทัง้ วงการถ่ายภาพ เพราะ ครั้งหนึ่งแบรนด์โกดักเคยได้รับการบันทึกใน ประวัตศิ าสตร์ในฐานะผูบ้ กุ เบิกนวัตกรรมฟิลม์ และกล้องถ่ายรูปอย่างง่ายที่ใครๆ ก็ใช้งานได้ และยังเป็นส่วนสำ�คัญของการสร้างภาพถ่าย ซึ่งบันทึกความทรงจำ�อันนับไม่ถ้วนของผู้คน ทัว่ โลกมาทุกยุคทุกสมัย

Film 35mm

Kodak100

จอร์จ อีสต์แมน (George Eastman) เสมียนธนาคารผูไ้ ม่มี ความรู้เรื่องเคมีต้องการกล้องบันทึกภาพที่พกพาไปในยาม ท่องเทีย่ ว เขาใช้เวลาถึง 4 ปีในการพัฒนาดรายเพลทและนํา้ ยา เคมีจนสามารถประดิษฐ์ฟลิ ม์ แบบม้วน รวมไปถึงกล้องถ่ายรูป แบบมือถือรุน่ The Kodak Camera 100 ซึง่ ลดขัน้ ตอนทีย่ งุ่ ยาก ในการถ่ายรูปให้เหลือเพียงการกดปุม่ ภายใต้สโลแกน “You press the button, We do the rest” ทีอ่ �ำ นวยความสะดวก ให้ผใู้ ช้ถา่ ยภาพจนครบ 100 ภาพแล้วนำ�กล้องกลับมาที่ร้าน เพือ่ ทำ�การล้าง อัด ขยาย และใส่ฟลิ ม์ ใหม่เข้าไป คริสต์ทศวรรษที่ 1880 กล้องถ่ายรูปกลายเป็น เทคโนโลยีท่ีได้รับความนิยมไปทั่วทุกบ้านในสหรัฐฯ เมือ่ โกดักออกกล้องรุน่ Brownie ในราคาเพียง 1 เหรียญ สหรัฐฯ โดยตัง้ ใจจะผลิตเป็นกล้องสำ�หรับเด็ก แต่ดว้ ย คุณสมบัติเหนือราคา Brownie จึงกวาดยอดขายถล่ม ทลายกว่า 250,000 เครื่องภายในปีเดียว นั่นหมายถึง ยอดขายฟิล์มที่พ่วงตามโดยอัตโนมัติ และยังเปลี่ยน พฤติ ก รรมการถ่า ยภาพให้ก ลายเป็ น การบั น ทึ ก ความทรงจำ�สำ�คัญต่างๆ ในชีวิต จนเป็นทีม่ าของ วลีอมตะ “Kodak Moment”

'YOU PRESS THE BUTTON, WE DO THE REST'

Brownie

และก็เป็นอีสต์แมน โกดักอีกเช่นกันที่คิดค้นกล้อง ถ่ายรูปดิจิทัลได้สำ�เร็จเป็นเจ้าแรกในปี 1975 ซึ่งเป็น ผลงานของ สตีเวน แซสสัน (Steven Sasson) วิศวกร ของบริษทั กล้องถ่ายรูปดิจทิ ลั เครือ่ งแรกมีความละเอียด 10,000 พิกเซล แต่แทนทีจ่ ะมุง่ เป้าพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ อีสต์แมน โกดักกลับให้นา้ํ หนักกับธุรกิจฟิลม์ ภาพยนตร์ ที่กินส่วนแบ่งได้มากกว่า ความต้องการของมนุษย์ไม่มีที่สิ้นสุดและเป็นพลัง สรรสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เสมอ กล้องถ่ายรูปโพลารอยด์ (Polariod) คือพัฒนาการอีกขัน้ หนึง่ ก่อนเข้าสูย่ คุ ดิจทิ ลั เมื่อ เอ็ดวิน แลนด์ (Edwin Land) ประดิษฐ์กล้องและ ฟิล์มโพราลอยด์ทท่ี �ำ หน้าทีท่ กุ กระบวนการจนออกมาเป็น รูปภาพได้ภายใน 60 วินาที กล้องทีถ่ อื เป็นมาสเตอร์พซี ของเขาคือ SX70 กล้องพับได้ขนาดพกพาทีม่ าพร้อมกับ ฟิลม์ สี 13 ชัน้ ซึง่ ได้ลงปกนิตยสารไทม์ และไลฟ์ มาแล้ว ยุครุ่งเรืองของโกดักเกิดขึ้นระหว่างปี 1970-1990 โดยสามารถครองส่วนแบ่งการตลาดได้กว่าร้อยละ 90 ก่อนจะพ่ายแพ้ให้กับการมาถึงของกล้องดิจิทัลและ เมมโมรีส่ ติก๊ จากโซนีแ่ ละเอชพี ทีส่ ร้างยอดขายในสหรัฐฯ ได้สงู ถึง 12.7 ล้านเครือ่ งในปี 2002 ตัง้ แต่นน้ั เป็นต้นมา กล้องแบบใช้ฟิล์มก็ไม่เคยกุมชัยชนะอีกเลย

1880's

ที่มา: The Polaroid Book (2005) โดย Steve Crist They Made America (2004) โดย Harold Evans “โกดัก" ความทรงจำ�ทีใ่ กล้จะลบเลือนหาย (2012) โดย วรวิสทุ ธิ์ ภิญโญยาง จาก bangkokbiznews.com Kodak failed by asking the wrong marketing question (2012) โดย Avi Dan จาก forbes.com

SX70

Edwin Land

กันยายน 2555 l Creative Thailand

l 11


COVER STORY เรื่องจากปก

พลังแห่งสังคมภาพ © Stephanie Rabemiafara/Art in All of Us/Corbis

เรื่อง: มนฑิณี ยงวิกุล

ภาพถ่ายทีด่ เี พียงภาพเดียวอาจเป็นงานศิลปะชิน้ เอกทีส่ ร้างแรงบันดาลใจ ให้กับผู้คนมากมาย แม้ปัจจุบันหน้าที่ของภาพถ่ายในการเล่าเรื่องนั้นจะ ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม แต่บริบทของสังคมโลกที่แวดล้อมไปด้วย การแบ่งปันภาพถ่ายนั้นต่างหาก ที่เพิ่มพลังในอีกมิติให้กับภาพถ่ายใน ฐานะเครือ่ งมือและช่องทางให้ธรุ กิจทีเ่ ข้าใจนิยามใหม่นข้ี น้ึ แท่นแชมป์ท�ำ เงิน แห่งยุค

12 l Creative Thailand l กันยายน 2555


COVER STORY เรื่องจากปก

กันยายน 2555 l Creative Thailand

l 13


COVER STORY เรื่องจากปก

14 l Creative Thailand l กันยายน 2555


COVER STORY เรื่องจากปก

Good Image, Good Page ฤดูร้อนปี 2011 เบน ซิลเบอร์แมนน์ (Ben Silbermann) อดีตทีมงานของกูเกิลไม่คาดคิดมาก่อนว่า เว็บไซต์และแอพพลิเคชั่นเก็บ รูปสำ�หรับไอโฟนของเขาที่ชื่อว่า พินเทอเรสต์ (Pinterest) จะมียอดการดาวน์โหลดแบบถล่มทลายเกินคาดหมาย และถูกจัดให้ เป็นหนึ่งใน 50 เว็บไซต์ที่ดีที่สุดแห่งปี 2011 โดยนิตยสารไทม์

ในปี 2012 นอกจากพินเทอเรสต์จะขึ้นอันดับเว็บไซต์และแอพพลิเคชั่น เพื่อการเก็บรูปที่มาแรงที่สุด ด้วยยอดผู้ใช้ถึง 11 ล้านคนแล้ว มันยังได้รับ การประเมินมูลค่าไว้สูงถึง 1-1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 30-45 พันล้านบาท) และสามารถระดมเงินลงทุนจากแหล่งต่างๆ เพื่อมาใช้ พัฒนาบริการใหม่ได้กว่า 120 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ราว 360 ล้านบาท) ถ้าว่ากันในเชิงเทคนิคแล้ว พินเทอเรสต์ไม่ได้มีฟังก์ชั่นแตกต่างจาก เว็บเพจสำ�หรับเก็บภาพไว้ในบอร์ดของตัวเองและการติดตามชมภาพใน บอร์ดของคนอื่น อย่างเช่นเว็บไซต์วิต์ส (Wists) ของเดวิด กัลเบรธ (David Galbraith) ที่มีมาตั้งแต่ปี 2005 แต่สิ่งที่พินเทอเรสต์ฝ่าวงล้อม เว็บเพจของคนอืน่ ๆ ออกมาได้จนประสบความสำ�เร็จนัน้ ก็คอื การร้อยเรียง เรื่องราวขึ้นจากภาพ เอลิซา คัลเดอร์ (Elisa Calder) ชาวแคนาดาวัย 26 ปี เป็นหนึ่งใน แฟนตัวยงของพินเทอเรสต์ เธอชื่นชอบที่จะปักหมุดหรือเก็บรูปที่พบเจอ จากการท่องเว็บไว้บนหน้าบอร์ดของเธอ ซึง่ มีซอฟท์แวร์ในการจัดเรียงรูป เหมือนสมุดภาพ (Scrapbook) ตามหมวดหมู่ เช่น “สถานที่ที่อยากไป” หรือ “เสื้อผ้าสุดสวย” ทั้งยังสามารถแชร์กับเพื่อนๆ ได้ และเมื่อรวมภาพ ทีเ่ ก็บไว้เป็นหมวดหมูเ่ ข้าด้วยกัน ก็กลายเป็นกระดานภาพอ้างอิงทีส่ ามารถ ใช้เป็นไอเดียสำ�หรับงานแต่งงานและการตกแต่งอพาร์ตเมนต์ใหม่ของเธอ ได้เป็นอย่างดี ดังนั้น ทุกเช้าวันใหม่คัลเดอร์จึงเปลี่ยนใจมาล็อกอินในพินเทอเรสต์ ก่อนเฟซบุ๊ก (Facebook) ซึ่งเคยเป็นอันดับแรก เพื่อดูว่าในแต่ละวัน กลุ่มเพื่อนและคนที่เธอติดตามนั้นมีภาพอะไรใหม่ๆ บนบอร์ดมาให้เธอ

ได้ชื่นชมบ้าง เธอให้เหตุผลว่า “มันเหมือนเราได้เห็นสิ่งสวยงามทุกวัน มันง่ายมากที่จะใช้เพราะแค่ดูรูปภาพเท่านั้น มันช่างน่าเสพติดจริงๆ” ความนิยมในการปักหมุดที่เพิ่มขึ้น ทำ�ให้ปริมาณรูปภาพที่ถูกแชร์ ระหว่างกันเพิม่ มากขึน้ ตามไปด้วย และจากสัดส่วนของสมาชิกทีม่ ากกว่า ร้อยละ 70 เป็นผูห้ ญิงจนได้ชอ่ื ว่าเป็นเฟซบุก๊ ของกลุม่ สตรีนน้ั ทำ�ให้แบรนด์ และร้านค้าปลีกต่างๆ มองเห็นช่องทางที่จะโน้มน้าวสาวนักปักหมุดให้ กลายเป็นลูกค้า ด้วยการพ่วงภาพสินค้าเข้ากับกิจกรรมการส่งต่อภาพใน พินเทอเรสต์ ในแต่ละวันจึงมีหลายแบรนด์ดังที่อาศัยหน้าเพจของพินเทอเรสต์ เป็ น ตั ว กระตุ้ น ความน่ า สนใจให้ กั บ โฆษณาสิ น ค้ า ของตนเองที่ ไ ด้ รั บ การออกแบบให้มเี นือ้ หาและรูปภาพทีด่ มู สี ไตล์และสวยงาม เพือ่ ประโยชน์ ในการเชื่อมโยงความสนใจของผู้บริโภคเข้ากับสินค้า อย่างเช่นที่เสื้อผ้า แนวสตรีทแวร์แบรนด์แก๊ป (GAP) ได้สร้างบอร์ดทีช่ อ่ื ว่า “เดนิม ไอคอนส์” (Denim Icons) ขึ้น เพื่อให้ผู้บริโภคมาแชร์ภาพสินค้าเดนิมรูปแบบต่างๆ ซึ่งแม้ว่าบางภาพจะมาจากแบรนด์อื่น แต่อย่างน้อยแบรนด์เจ้าของบอร์ด ก็ได้เข้าไปอยู่ในสายตาของเหล่าสาวกผู้ชื่นชอบภาพถ่ายอย่างต่อเนื่อง คาน ยิกิต (Kaan Yigit) ประธานของโซลูชั่น รีเสิร์ช กรุ๊ป (Solution Research Group) ในโตรอนโต กล่าวถึงปรากฏการณ์ของพินเทอเรสต์ ว่า “เป็นเว็บที่ดูธรรมดาแต่ทว่ามีพลัง เพราะการใช้รูปภาพนั้นเป็นการ เปรียบเทียบหรืออ้างอิงที่เข้าใจง่าย เว็บนี้จึงเป็นเสมือนสัญลักษณ์แห่ง การเปลี่ยนแปลงจากสังคมข้อความออนไลน์มาเป็นสังคมภาพ” กันยายน 2555 l Creative Thailand

l 15


COVER STORY เรื่องจากปก

Welcome to ImageSphere เมื่ อ กล้ อ งตั ว แรกสำ � หรั บ คนทั่ ว ไปที่ ใ ช้ ใ นชี วิ ต ประจำ � วั น ถู ก ประดิษฐ์ขน้ึ โดยจอร์จ อีสต์แมน (George Eastman) ในปี 1888 ยิ่งทำ�ให้ความรู้สึกที่ว่า “ภาพถ่ายหนึ่งภาพมีค่าเท่ากับคำ�พูด นับพัน” ขยายไปสู่วงกว้าง และยิ่งมีความรวดเร็วมากขึ้นไปอีก ทวีคณ ู เมือ่ เทคโนโลยีสอ่ื สารในปัจจุบนั ได้เอือ้ อำ�นวยให้การส่งต่อ รูปภาพนัน้ ทำ�ได้อย่างง่ายดาย จนทำ�ให้ผบู้ ริโภคคุน้ เคยกับความ สะดวกสบายในการรับรู้ข้อมูล เพียงแค่การมองดูภาพถ่ายและ คำ�บรรยายประกอบสัน้ ๆ แทนตัวอักษรมากมายทีพ ่ รัง่ พรูมาจาก ปลายปากกาของนักเขียนที่ได้บรรจงสรรหาถ้อยคำ�มาบรรยาย ถึงอารมณ์ต่างๆ ของมนุษย์ เพื่อให้ผู้อ่านเกิดมโนภาพถึงความ เจ็บปวดรวดร้าวหรือความปิติยินดีที่ถ่ายทอดตามหน้าหนังสือ

ความเคยชินที่ถูกแปรเปลี่ยนเป็นพฤติกรรมของผู้บริโภคนั้นก่อตัวขึ้นมา พร้อมกับกล้องถ่ายภาพดิจทิ ลั ซึง่ เคยเป็นหนึง่ ในฟีเจอร์เด่นของโทรศัพท์มอื ถือ และได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพดีวันดีคืน แอพพลิเคชั่นหรือซอฟต์แวร์ ปรับแต่งภาพที่ทำ�ให้รูปสวยดังใจ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่ครอบคลุม

16 l Creative Thailand l กันยายน 2555

พื้นที่มากขึ้น ตลอดจนการเปิดศักราชการแชร์เรื่องราวและภาพถ่ายใน เฟซบุ๊กและการเพิ่มจำ�นวนขึ้นของเว็บเพจสำ�หรับการแบ่งปัน ล้วนแล้ว แต่เป็นองค์ประกอบที่ทำ�ให้ยุคแห่งการสื่อสารด้วยภาพถ่ายเกิดและ เติบโตจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของสังคมปัจจุบัน ริชาร์ด แมคมานัส (Richard McManus) ผู้ก่อตั้งรีดไรต์เว็บ (ReadWriteWeb) หนึง่ ในบล็อกบทความชือ่ ดังทีไ่ ด้รบั การยอมรับมากทีส่ ดุ กล่าวว่า “แอพพลิเคชั่นหรือเว็บไซต์ที่สวยงามเป็นส่วนหนึ่งของกระแส ที่มาแรงแห่งปีที่เรียกว่า เว็บแห่งภาพ (Visual Web) ซึ่งหมายถึงภาพ และวิดีโอกำ�ลังทวีความสำ�คัญสำ�หรับการบริโภคสื่อออนไลน์” กลุ่มบล็อคเกอร์ (Blogger) ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้ผลิตเนื้อหาหลักบน เว็บไซต์ต่างก็ยอมรับว่า ถึงแม้พวกเขาจะเต็มเปี่ยมไปด้วยความรู้และ สามารถถ่ายทอดเรื่องราวออกมาได้ดีเพียงใด แต่พวกเขาก็ต้องพ่ายแพ้ ให้กบั สิง่ แวดล้อมใหม่บนโลกออนไลน์ทภ่ี าพประกอบทีด่ นี น้ั เป็นสิง่ จำ�เป็น และเป็นตัวแปรที่สำ�คัญในการเพิ่มจำ�นวนคนอ่านบล็อกให้มากขึ้น อดัม ซิงเกอร์ ผู้จัดการด้านการตลาดสินค้าของ กูเกิล อนาไลติกส์


COVER STORY เรื่องจากปก

(Google Analytics) และบรรณาธิการแห่งฟิวเจอร์ บัซ (Future Buzz) เว็บบทความเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ออนไลน์ ได้เขียนบทความเรื่อง “ทำ�ไมภาพถ่ายจึงสำ�คัญสำ�หรับบล็อกสมัยใหม่” และอธิบายว่า ข้อความ นั้นง่ายที่จะถูกมองข้ามเพราะนักท่องเว็บในปัจจุบันมีพฤติกรรมการอ่าน แบบคร่าวๆ เร็วขึน้ กว่าเดิม แต่ทว่าภาพถ่ายจะสามารถดึงพวกเขาให้ชา้ ลง เพราะภาพถ่ายที่มีพลังนั้นทำ�ให้นักท่องเว็บไม่สามารถมองข้ามไปได้ เหมือนเช่นทีแ่ บรนด์ตา่ งๆ ยอมทุม่ ทุนไปกับสไตล์และภาพถ่ายทีส่ วยงาม เพือ่ ดึงดูดให้คนสนใจซา้ํ แล้วซํา้ เล่า เพือ่ ให้ลกู ค้าเชือ่ มโยงภาพถ่ายเข้ากับ แบรนด์และจดจำ�ได้มากขึ้น นักการตลาดแบบส่งต่อ (Viral Marketing) จึงต้องกลายเป็น นักกลยุทธ์ด้านการจัดทำ�ภาพที่ไม่เพียงต้องสวยงามแต่ยังต้องมีจังหวะ ในการผูกเรื่องราวของภาพเข้ากับเนื้อหา เพื่อทำ�ให้ผู้ชมถูกดึงดูดเข้าหา ภาพนั้นและนำ�ไปสู่การค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมหรือติดตามดูอย่างต่อเนื่อง อันเป็นการเพิ่มโอกาสที่จะเปลี่ยนจากการรับรู้แบบผ่านๆ มาเป็นลูกค้า แฟนประจำ� ทั้งยังเป็นการสร้างโอกาสในการขายสินค้าทั้งทางตรงและ

ทางอ้อมที่เกิดขึ้นจากพลังของภาพประกอบ เช่นเดียวกับภาพเซเลบริตห้ี รือศิลปินในอิรยิ าบถต่างๆ นอกเวลาทำ�งาน ทีอ่ าจจะเคยเป็นสิง่ ลับเฉพาะสำ�หรับคนวงใน แต่ในปัจจุบนั ภาพเบือ้ งหลัง ดังกล่าวได้ถกู พลิกกลับมาเป็นภาพเบือ้ งหน้าในแบบทีไ่ ม่ตอ้ งพึง่ พาปาปารัสซี่ ซึ่งภาพเหล่านี้ก็ได้กลายมาเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังในการสร้างและรักษา ฐานความนิยมด้วยการมอบสิทธิพิเศษในการเข้าถึงชีวิตประจำ�วันของ เหล่าคนดังผ่านเรื่องราวที่ทีมประชาสัมพันธ์ได้คัดสรรมาแล้วอย่างดี Selca หรือ SelfCamera ที่หมายถึงการถ่ายภาพตัวเองแล้วแชร์บน เว็บไซต์จึงเป็นอีกกระแสหนึ่งที่เจ้าของค่ายศิลปินต้นสังกัดเห็นดีเห็นงาม ไปกับการอนุญาตให้เหล่าแฟนคลับได้เข้ามาใกล้ชิดและมีปฏิสัมพันธ์กับ ขวัญใจของพวกเขาอย่างสมํ่าเสมอ ผ่านการดูรูปถ่ายที่ศิลปินถ่ายตัวเอง หรือเรือ่ งราวรอบๆ ตัวพวกเขาทีถ่ กู อัพโหลดขึน้ ในเว็บแชร์ภาพหรือแม้กระทัง่ หน้าเพจส่วนตัว ซึ่งจะทำ�ให้ศิลปินยังคงอยู่ในสายตาและนั่งอยู่ในใจของ เหล่าสาวกเสมอแม้ว่าจะอยู่ในช่วงว่างเว้นจากการโปรโมตผลงานก็ตาม

กันยายน 2555 l Creative Thailand

l 17


COVER STORY เรื่องจากปก

เมื่อทุกคนเป็นช่างภาพ การบันทึกภาพเหตุการณ์รอบตัวเสมือนหนึ่งการบันทึกไดอารี่ ในยุคก่อน และแบ่งปันให้คนอื่นร่วมรับรู้ไปด้วย ทำ�ให้นักพัฒนา เว็ บ ไซต์ แ ละแอพพลิ เ คชั่ น เกี่ ย วกั บ การตกแต่ ง และแชร์ ภ าพ เติบโตไปกับยอดขายสมาร์ทโฟนที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด จากจำ�นวน 467.7 ล้านเครื่องในปี 2011 และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 630.4 ล้านเครื่องในปี 2012 และจำ�นวน 1,104.9 ในปี 2015

ที่มา : abcnews.go.com adage.com thefreelancestrategist.com thefuturebuzz.com macleans.ca visual.ly wiki.answers.com

18 l Creative Thailand l กันยายน 2555

© Pete Dewhirst/Demotix/Corbis

ทั้งนี้ยอดจำ�หน่ายมือถือที่เพิ่มขึ้นได้ก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึง อนาคตของกล้องดิจิทัลที่จะถูกทดแทนด้วยกล้องในมือถือที่คุณภาพดี และใช้งานง่าย โดย Camera & Imaging Products Association (CIPA) รายงานยอดขายกล้องดิจิทัลในปี 2011 ว่ามีจำ�นวน 115 ล้านเครื่อง ซึ่ง ลดลงจากปี 2010 ที่มียอดขายจำ�นวน 121 ล้านเครื่อง แต่ทว่านักวิเคราะห์ภาพดิจิทัลอาวุโสจากบริษัทวิจัยตลาดเอ็นพีดี อินสแตท (NPD In-Stat) ลิซ คัตติง้ (Liz Cutting) กล่าวว่า ตลาดกล้องดิจทิ ลั จะไม่ตายแม้วา่ ผูบ้ ริโภคจะนิยมใช้กล้องมือถือในการถ่ายรูปเพือ่ บันทึกภาพ แบบเร็วๆ เพราะเมื่อถึงคราวที่ต้องการบันทึกภาพที่สำ�คัญแล้ว พวกเขา ก็วางใจกล้องมืออาชีพมากกว่า โดยจะเห็นว่ากล้องประเภทเปลี่ยนเลนส์ ได้มยี อดจำ�หน่ายเพิม่ ขึน้ จาก 9.9 ล้านเครือ่ งในปี 2009 เป็น 12.9 ล้านเครือ่ ง ในปี 2010 และ 15.7 ล้านเครื่องในปี 2011 อย่างไรก็ตาม ไม่วา่ ศึกระหว่างกล้องดิจทิ ลั และสมาร์ทโฟนจะออกมา ในรูปใด การแข่งขันเพือ่ เอาชนะใจลูกค้าก็ลว้ นนำ�ไปสูจ่ �ำ นวนภาพมหาศาล ที่หลั่งไหลเข้ามาสู่เนื้อหาที่ผู้บริโภคสามารถเสพผ่านสื่อเทคโนโลยีที่อยู่ รายรอบตัว และอาจจะทำ�ให้ความละเมียดละไมในการถ่ายทอดสิ่งที่อยู่ ตรงหน้าผ่านตัวอักษรที่เคยถูกเรียงร้อยเป็นถ้อยความที่กินใจหดหายลง เหลือเพียงข้อความไม่กี่ประโยคเพื่อประกอบภาพ แต่ก็ใช่ว่าความคิด สร้างสรรค์ในการชักจูงจินตนาการจะง่ายดายขึน้ เพราะในทางตรงกันข้าม เครือ่ งมือทีท่ นั สมัยในโลกแห่งดิจทิ ลั นัน้ ก็ท�ำ ให้เหล่าช่างภาพและนักเขียน ต่างต้องทำ�งานหนักมากขึน้ เป็นพิเศษ เพือ่ ให้ภาพและเรือ่ งราวของพวกเขา โดดเด่นและตราตรึงท่ามกลางภาพถ่ายอีกนับล้านๆ


INSIGHT อินไซต์

INSTA-WORLD

เรื่อง: ปิยพร อรุณเกรียงไกร

นับตั้งแต่วินาทีที่ เควิน ซิสตรอม และไมค์ กริเกอร์ ได้ปล่อย อินสตาแกรม (Instagram) แอพพลิเคชั่นสำ�หรับถ่ายและแชร์ภาพ ที่ร่วมกันพัฒนาลงในแอพสโตร์ให้เหล่าสาวกแอปเปิ้ลได้โหลดใช้กันฟรีๆ ในปี 2010 ประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของการถ่ายภาพก็ถูก จารึกขึ้นทันที จนถึงวันนี้ มีผู้ใช้อินสตาแกรมทั้งหมด 80 ล้านคน ซึ่งนับเป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หลังจากที่ทั้งคู่เปิดประตู ต้อนรับผูใ้ ช้แอนดรอยด์ ซึง่ ส่งผลให้มยี อดดาวน์โหลดเพิม่ มากถึง 5 ล้านครัง้ ภายใน 6 วัน ก่อนทีจ่ ะตัดสินใจขายแอพพลิเคชัน่ ยอดฮิตนี้ ให้กับมาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊ก ในราคา 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเมษายนที่ผ่านมา

เบือ้ งหลังความสำ�เร็จอย่างล้นหลามของแอพพลิเคชัน่ ตัวนี้ คือ การออกแบบ ฟังก์ชั่นที่น้อย แต่สื่อสารได้มาก ซึ่งตอบโจทย์ที่เควินและไมค์ได้ตั้งไว้ว่า ไม่ว่าใครก็สามารถถ่ายภาพสวยได้ง่ายๆ ไม่แพ้มืออาชีพ ด้วยฟิลเตอร์ ตกแต่งที่มีให้เลือกถึง 11 แบบ ซึ่งให้อารมณ์คล้ายกับภาพถ่ายจากกล้อง โพลารอยด์สมัยก่อน นอกจากนี้ จุดเด่นทีท่ �ำ ให้อนิ สตาแกรมไม่เหมือนใคร ก็คอื การสร้างฟังก์ชั่นให้เป็นมากกว่าอุปกรณ์ถ่ายและตกแต่งภาพ แต่เป็น เครือข่ายขนาดใหญ่ที่ผู้คนสามารถติดต่อและติดตามภาพถ่ายของกัน และกันได้ ทั้งยังเชื่อมต่อเข้ากับเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ และโซเชียลเน็ตเวิร์ก อื่นๆ ได้ทันที ทำ�ให้การถ่ายภาพผ่านอินสตาแกรม แทรกซึมเข้าไปใน พฤติกรรมและการใช้ชีวิตประจำ�วันของผู้ใช้ไปโดยปริยาย ด้วยฟีเจอร์และลูกเล่นที่ได้รับการพัฒนาออกมาใช้คู่กัน ทำ�ให้การใช้ แอพพลิเคชัน่ ตัวนีส้ นุกมากขึน้ เป็นเท่าตัว ไม่วา่ จะเป็นการติด “ป้ายกำ�กับ” (Hashtag) หรือสัญลักษณ์ # พร้อมกับคีย์เวิร์ดต่างๆ ที่จะแสดงคลัง ภาพของคนจากทั่วทุกมุมโลกที่ติดป้ายกำ�กับแบบเดียวกันบนหน้าจอ ของเราในทันที เช่น #Fromwhereistand แท็กสุดฮิปของ เบ็กซ์ ฟินช์ ช่างภาพสาวที่ชักชวนทุกคนมาร่วมกันถ่ายทอดเรื่องราวที่เกิดขึ้น ณ จุด ทีก่ �ำ ลังยืนอยู่ ทำ�ให้เรามองเห็นมุมมองเล็กๆ น่ารักบนทางเท้าและเรือ่ งราว

การเดินทางของผู้คนมากมายที่ไม่รู้จัก และล่าสุด ทีมงานอินสตาแกรม ก็ได้พฒั นาเวอร์ชน่ั 3.0 ออกมาให้แฟนๆ ได้ใช้กนั พร้อมกับดีไซน์แปลกตา และ Photo Map ฟีเจอร์ตัวใหม่ที่มีลักษณะเป็นแผนที่ เพื่อแสดงให้เห็น ว่าภาพแต่ละใบนั้นถูกบันทึกขึ้นที่ไหนบ้าง แม้ว่าอินสตาแกรมจะเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ช่วยย่อโลกทั้งใบให้ เหลือเพียงภาพที่มีขนาดอัตราส่วน 4:3 แต่ “สาร” ที่อยู่ข้างหลังภาพ ก็ ยังคงเป็นสิ่งที่ทำ�ให้ภาพถ่ายแต่ละภาพมีพลังไม่เปลี่ยนแปลง ดังที่ ลูกัส โอเตโร ศิลปินชาวเม็กซิกนั ได้น�ำ ภาพต่างๆ ทีถ่ กู โพสต์ผา่ นแอพพลิเคชัน่ นี้ มาตัดต่อทำ�เป็นคลิปวิดโี อทีบ่ อกเล่าถึงจังหวะต่างๆ ของชีวติ ได้อย่างน่าทึง่ แสดงให้เห็นว่า ท่ามกลางความแตกต่างทางวัฒนธรรมและความเป็นอยู่ ของผู้คนทั่วโลก พวกเราได้แชร์ประสบการณ์และความประทับใจทีค่ ล้าย คลึงกัน ไม่ว่าจะเป็นภาพของอาหารที่ดูน่ารับประทาน กาแฟหอมกรุ่น ยามเช้า สัตว์เลี้ยงแสนน่ารัก งานปาร์ตี้ พิธีแต่งงาน ท้องฟ้าสีสด ไปจน ถึงช่วงเวลาที่พระอาทิตย์กำ�ลังละลายแสงสุดท้ายที่ขอบฟ้า ที่มา: businessinsider.com digitalbuzzblog.com opposocial.com thenextweb.com visual.lylucasotero.com

กันยายน 2555 l Creative Thailand

l 19


นับ นุนโดย Think and Creative for Human’s Sustainability

จัดโโดย ดย

20 l Creative Thailand l กันยายน 2555


กันยายน 2555 l Creative Thailand

l 21


CREATIVE ENTREPRENEUR คิด ทำ� กิน

เรื่อง: กมลกานต์ โกศลกาญจน์ ภาพ: อดิเดช ชัยวัฒนกุล

ไม่ใช่แค่เพียงความทรงจำ�แบบจับต้องได้ แต่ "ภาพถ่าย" ยังเป็นเครื่องบ่งชี้ระดับ ตำ�แหน่ง และฐานะทางสังคม เป็นสัญญะบ่งบอก ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชีวิต และแม้วันนี้ที่ธุรกิจร้านถ่ายภาพที่เคยผุดขึ้นทั่วทุกมุมถนนจะค่อยๆ ลดบทบาทของตนเองลง เหลือเพียงร้านอัดล้างภาพฉบับด่วนทันใจที่ยังคงแข่งขันกันจัดโปรโมชั่นดึงดูดให้นักถ่ายภาพมือสมัครเล่นยุคดิจิทัลทั้งหลายเลือก ที่จะถอดรหัสภาพลงในกระดาษอัดรูปที่คุ้นตา แต่เรากลับปฏิเสธไม่ได้ว่าภาพถ่ายติดบัตรยังคงเป็นความจำ�เป็น และ “ฉายาจิตรกร” คือหนึ่งในร้านถ่ายภาพที่อยู่ในความจำ�เป็นนั้น ด้วยอายุของร้านที่ยาวนานครบ 72 ปี จึงเป็นธุรกิจที่ทำ�ให้เห็นว่าภาพติดบัตรนั้นไม่ใช่ เพียงแค่ภาพถ่ายธรรมดา แต่ยังสามารถแสดงความเป็นตัวตนของผู้ที่ถูกถ่ายได้อย่างน่าทึ่ง

จากจุดกำ�เนิดที่เกิดจากความชอบในการถ่าย ภาพของ ยิ้ม ฮุนตระกูล และความร่วมมือ ร่วมใจจากคู่ชีวิต นวลจันทร์ ฮุนตระกูล ซึ่ง ปัจจุบนั อยู่ภายใต้การบริหารของ อาทร ฮุนตระกูล ทายาทรุ่นต่อมาที่ยังยืนหยัดเจตนารมย์สำ�คัญ ที่ต้องการให้ร้านถ่ายภาพไม่ใช่เป็นแค่เพียง สินค้าและบริการ แต่ยงั ต้องเป็นอนุสรณ์ที่บนั ทึก ความทรงจำ�แบบฉบับคลาสสิกให้ยืนยาวจนถึง คนรุ่นหลัง ส่งต่อทักษะจากรุ่นสู่รุ่น

ในช่วงเริ่มต้น พ.ศ. 2483 ธุรกิจร้านถ่ายภาพ 22 l Creative Thailand l กันยายน 2555

เป็นที่นิยมอย่างมาก เนื่องจากในสมัยนั้น การ มีกล้องถ่ายรูปเป็นของตนเองถือเป็นเรือ่ งไกลตัว การใช้บริการร้านถ่ายภาพ ทั้งภาพติดบัตร ภาพครอบครัว ภาพจบการศึกษา ไปจนถึง ภาพในชุดเครื่ องแบบของสาขาอาชีพต่างๆ นั้นจึงเป็นสิ่งจำ�เป็น และหากต้องการภาพที่มี คุณภาพแล้ว ลูกค้าส่วนใหญ่ก็ตัดสินใจเลือกใช้ ฝีมือการถ่ายและอัดล้างภาพจากฉายาจิตรกร แทบทั้งสิ้น “ทุกวันนี้ร้านยังใช้ทักษะแบบทำ�มือ อยู่ แต่คนที่ทำ�นี่อายุมากกว่า 40 กันหมดแล้ว ต้องแต่งฟิล์มด้วยมือ จะรีทัชภาพทีหนึ่งต้องใช้ มีดผ่าตัดตัดฟิล์มให้เนียนที่สุด เล่นระดับแสงก็

ต้องมีฟิล์มปิดเป็นชั้นๆ จะเปิดจะปิดตรงไหน ต้องคิดให้หนัก ส่วนไหนมืด ส่วนไหนสว่าง ใช้ เวลานานมากกว่าจะอัดออกมาได้รูปหนึ่ง" เข้าใจความหมาย ถ่ายทอดจิตวิญญาณของภาพ

เสน่ห์ของแผ่นฟิล์มยังคงเป็นฐานสำ�คัญสำ�หรับ การดำ�เนินธุรกิจ จนเกิดเป็นเอกลักษณ์ของ ฉายาจิตรกรมาโดยตลอด และเมื่อนำ�มาผสาน เข้ากับฝีมือการถ่ายภาพอันเป็นกลยุทธ์สำ�คัญ จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า ผนังของฉายาจิตรกร จึงถูกประดับไปด้วยภาพบุคคลสำ�คัญจำ�นวนมาก


CREATIVE ENTREPRENEUR คิด ทำ� กิน

ไม่ว่าจะเป็นนายกรัฐมนตรีของไทยที่ยาวนาน ตั้งแต่สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ไปจนถึง นักร้องชื่อดังอย่างวินัย พันธุรักษ์ โดยอาทรได้ ให้เคล็ดลับการถ่ายภาพของธุรกิจนี้ไว้ว่า “คุณ จะเป็นนายแบงก์ ทหาร หรือข้าราชการ เครื่อง แบบไม่เกี่ยว เวลาถ่ายรูปคนต้องมองที่ตา จับ จังหวะประกายตาให้ได้ แล้วรูปนั้นจะเป็นรูปที่ ดีที่สุด สายตาคนเราหลอกกันไม่ได้ เพราะ ส่วนประกอบสำ�คัญจริงๆ ของภาพถ่ายคือตัว แบบ ไม่ใช่ช่างภาพ” ขณะที่กระแสความนิยมของการถ่ายภาพ ด้ ว ยอุ ป กรณ์ ดิ จิ ทั ล นั้ น รุ ก คื บ เข้ า มาเป็ น ส่ ว น หนึ่งของชีวิตผู้คนอย่างแยกกันไม่ออก อาทร เลือกมองมุมกลับที่ช่วยทวีความหมายของฟิล์ม ให้เพิ่มมากขึ้นไปอีก “ความหมายของภาพถ่าย จริงๆ แล้วเหมือนกันหมด แต่ความหมายของ ฟิ ล์ ม กั บ ดิ จิ ทั ล มี จิ ต วิ ญ ญาณของภาพที่ ไ ม่ เหมือนกัน ถ่ายฟิลม์ ได้พลัง ได้ความขลังมากกว่า ถามว่าดิจทิ ัลจะให้สวยก็ได้ แต่มันจะกลายเป็น

จิตวิญญาณในอีกรูปแบบหนึ่ง” มรดกสู่คนรุ่นหลัง

แม้การเดินบนเส้นทางธุรกิจร้านถ่ายภาพจะไม่ เรียบง่าย แต่หากเข้าใจดีถงึ แก่นแท้ของภาพถ่าย และยึดมั่นในระเบียบวินัยของการดำ�เนินธุรกิจ ที่แท้จริง ความยั่งยืนในแบบฉบับความเป็น ของแท้ แ ละเป็ น ตั ว จริ ง ย่ อ มเกิ ด ขึ้ น อย่ า ง แน่นอน “จรรยาบรรณคือต้องเคารพในความ เป็นร้านถ่ายภาพ ทำ�รูปให้ดีที่สุด ให้ลูกค้า พอใจที่สุด ความภูมิใจของร้านคือการได้เห็น ลูกค้ายิ้มเวลาได้รับรูป เห็นความสุขที่ลูกค้า เห็นรูปของตัวเองสวย นี่คือความรู้สึกดีที่สุด ของร้านถ่ายภาพ” ในวันนี้ "ฉายาจิตรกร" ยังคงเลือกบันทึก ประวัติศาสตร์ของร้านลงบนฟิล์มม้วนแล้วม้วน เล่า และไม่หยุดอยู่แค่การเป็นธุรกิจภาพถ่าย เพียงอย่างเดียว ทิศทางในอนาคตฉายาจิตรกร จะเปลี่ยนแปลงบทบาทของตัวเองสู่การเป็น

อนุสรณ์สำ�คัญ แสดงให้คนรุ่นหลังเห็นถึงความ หมายที่แท้จริงของการถ่ายภาพ ในวันที่เสียง กดชัตเตอร์ยังทำ�งานและลำ�ดับภาพบนหนาม เตยยังคงมีความหมายอยู่เสมอ

คำ�ว่า "ฉายา" แปลว่า “เงา” คนไทยเปรียบการ ถ่ายรูปว่าเหมือนถ่ายเอาเงาของคน หรือสิง่ ของ นั้นๆ ไปใส่ในแผ่นกระดาษ จึงได้มีคำ�ว่าชักเงา รูป ร้านถ่ายรูปในสมัยก่อนจึงนิยมเอาคำ�ว่าฉายา มาใส่เป็นคำ�นำ�หน้าชื่อร้าน

กันยายน 2555 l Creative Thailand

l 23


CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

SARAJEVO คำ�บอกเล่าจากผู้อยู่รอด เรื่อง: ศิริอร หริ่มปราณี

ก่ อ นหน้ า ที่ ภ าพความสุ ข จะถู ก ฉี ก ขาดเป็ น ริ้ ว ๆ ซาราเยโว (Sarajevo) นั้นรํ่ารวยทางวัฒนธรรมจาก การเป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของจั ก รวรรดิ อ อตโตมั น และ ออสเตรีย-ฮังการี แต่สงครามหลังการล่มสลายของ ยูโกสลาเวีย ทำ�ให้เมืองแห่งนี้ถูกจองจำ�ด้วยความ เจ็บปวดอย่างไร้ทางต่อรองยาวนานเกือบ 4 ปี และเวลา แห่งความทุกข์ระทมก็มกั จะเดินไปช้าๆ ราวกับจะให้ผคู้ น ได้ซึมซับรสชาติของมัน แม้เสียงกรีดร้องและเสียงปืน จะดังขึ้นทั่วเมือง แต่ดูเหมือนมันยังไม่ดังพอให้โลก ได้ยื่นมือเข้ามาปัดเป่าชะตากรรมนั้นออกไป มีเพียง ภาพถ่าย ภาพแล้วภาพเล่า ถ่ายทอดชีวติ ยามสงคราม ที่โหดร้ายเกินบรรยาย แม้จะไร้เสียง แต่รูปภาพที่ถูก บันทึกไม่ได้ทำ�ให้ชาวซาราเยโวไร้ตัวตน สงครามอาจ คร่าชีวิต แต่ไม่ได้พรากความหวังของพวกเขา เพราะ เมื่อตื่นจากฝันร้าย ซาราเยโวก็ไขว่คว้าหาอนาคตและ เปลีย่ นภาพความรันทดนัน้ ให้เป็นภาพแห่งการเริม่ ต้น ชีวิตใหม่

ระหว่างการปิดล้อมเมืองที่ยาวนาน ตั้งแต่ปี 1992 -1996 นี่คือบทสนทนาส่วนหนึ่งในชีวิตประจำ�วันของพวกเขา (บน) หญิงสาววิ่งข้าม "ตรอกสไนเปอร์ (Sniper's Alley)" เพื่อหลบลูกกระสุนจากการยิงของชาวเซิร์บ (ล่าง) ทหาร บอสเนียนระหว่างพักประจำ�การบริเวณแนวหน้าของ สนามรบ

24 l Creative Thailand l กันยายน 2555


© Ron Haviv/VII/Corbis

© Chris Rainier/Corbis

CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

กันยายน 2555 l Creative Thailand

l 25


CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

มรดกที่ทับซ้อน ถ้านายพลตีโต (ยอซีป บรอซ ตีโต) มีชวี ติ ยืนยาว พอ เขาจะได้เห็นยูโกสลาเวีย แผ่นดินที่เขาได้ หลอมรวมความแตกต่างด้านเชือ้ ชาติและศาสนา เข้าไว้ด้วยกันดับสลายไปตรงหน้า ซาราเยโวเป็ น เมื อ งหลวงของประเทศ บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา เมืองเก่าแก่นี้ก่อตั้ง ขึ้นเมื่อปี 1450 และเติบโตกว่า 400 ปี ภายใต้ อิทธิพลของจักรวรรดิออตโตมัน แต่เมื่อความ ตกตํา่ มาเยือน ดินแดนส่วนนีถ้ กู เปลีย่ นมือไปอยู่ ใต้การปกครองของอาณาจักรออสเตรีย-ฮังการี และด้ ว ยความหลากหลายทางเชื้ อ ชาติ แ ละ ศาสนา ทำ�ให้ความขัดแย้งปะทุขึ้นในปี 1914 เมือ่ มกุฎราชกุมารออสเตรีย อาร์ชดุก ฟรานซิส เฟอร์ดินานด์ (Archduke Franz Ferdinand) เสด็จมาเยือนซาราเยโวและถูกกลุ่มหัวรุนแรง ชาวเซิร์บลอบปลงพระชนม์ และนั่นก็จุดชนวน สงครามโลกครั้งที่หนึ่งขึ้น การเมืองในแถบคาบสมุทรบอลข่านไม่เคย สงบนิ่ง กระทั่งช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ดินแดนของบอสเนีย เซอร์เบีย โครเอเชีย และ สโลเวเนีย ก็รวมเข้าเป็นประเทศใหม่คอื ยูโกสลาเวีย โดยมี จ อมพลตี โ ตเป็ น ผู้ นำ � ภายใต้ ร ะบบ สังคมนิยมที่ครอบความต่างของคนเชื้อสาย บอสเนียนหรือมุสลิม-สลาฟ ชาวเซิรบ์ ซึง่ นับถือ นิ ก ายออร์ โ ธดอกซ์ แ ละชาวโครแอตซึ่ ง เป็ น คาทอลิก จนเมื่อจอมพลตีโตถึงแก่อสัญกรรม ในปี 1980 รอยร้าวระหว่างวัฒนธรรม ศาสนา และประวัตศิ าสตร์ ก็แสดงออกมาในปี 1989 เมือ่ สโลโบดัน มิโลเชวิช (Slobodan Milosevic) ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี สองปีต่อมา 26 l Creative Thailand l กันยายน 2555

โครเอเชียและสโลเวเนียก็ประกาศแยกตัวเป็น เอกราชพร้ อ มกั บ การล่ ม สลายของระบอบ คอมมิวนิสต์ ในปี 1992 บอสเนีย-เฮอร์เซโกวีนา ก็จัดการสำ�รวจประชามติและประกาศแยกตัว เป็นเอกราช ความรันทดเริ่มขึ้นจากจุดนี้… ชาวมุสลิม บอสเนียต้องการแยกตัวเป็นเอกราช แต่ชาวเซิรบ์ ในบอสเนี ย -เฮอร์ เ ซโกวี น าไม่ เ ห็ น ด้ ว ยและ ต่อต้านภายใต้การนำ�ของ ราโดวาน คาราดิช (Radovan Karadzic) โดยมีประธานาธิบดี สโลโบดัน มิโลเชวิช ซึง่ บริหารประเทศทีแ่ ยกตัว ใหม่ในชื่อเซอร์เบีย ได้ให้การสนับสนุนอาวุธ ยุทโธปกรณ์ โดยชาวเซิรบ์ ต้องการฟืน้ ฟูอาณาจักร เซอร์เบียขึ้นมาด้วยการรวมดินแดนบอสเนียเฮอร์เซโกวีนาที่มีชาวเซิร์บอาศัยอยูใ่ ห้เข้าไปอยู่ ใต้การปกครองของเซอร์เบีย สงครามบอสเนียปะทุขึ้นในฤดูใบไม้ผลิ ปี 1992 และดำ�เนินไปตลอด 4 ปี มีประชาชน เสียชีวิตกว่า 100,000 คน ในขณะที่กว่า 1.8 ล้านคนต้องกลายเป็นคนพลัดถิ่น ประชาชน ชาวมุสลิมและโครแอตถูกสังหาร ทรมาน และ ขับออกนอกประเทศ เหตุการณ์เลวร้ายที่สุด เกิดขึน้ ทีเ่ มืองเซรเบรนิกา (Srebrenica) ซึง่ เดิม อยู่ในเขตของบอสเนีย-เฮอร์เซโกวีนาที่ติดกับ พรมแดนของเซอร์เบีย เมืองแห่งนี้เคยเลื่องชื่อ เรือ่ งการเป็นเมืองอาบนํา้ แร่แช่นา้ํ ร้อน เป็นสปา แห่งการท่องเทีย่ วทีส่ �ำ คัญในยุโรป และชาวเมือง ส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม แต่ในปี 1995 นายพล รัตโก มลาดิช (Ratko Mladic) ได้ออกคำ�สั่ง สังหารหมูช่ าวเมืองมุสลิมทีเ่ ป็นชายและเด็กผูช้ าย

ราว 8,000 คน ซึ่งนับเป็นเหตุการณ์สังหารหมู่ ร้ายแรงที่สุดตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองยุติลง ในช่วงเวลาของสงคราม เมืองซาราเยโว ถูกปิดล้อมยาวนานกว่า 44 เดือน และเป็นช่วง เวลาที่กองทัพเซิร์บโจมตีพลเมืองอย่างไม่ลดละ ความหวาดกลัวเติมเต็มเมือง เพราะทหารเซิรบ์ ใช้สไนเปอร์ซุ่มยิงชาวเมืองที่พยายามดิ้นรนใช้ ชีวิตประจำ�วัน พวกเขาต้องวิ่งหลบกระสุนเพื่อ ข้ามถนนไปซือ้ หาอาหาร อาคารบ้านเรือนเสียหาย ระบบสาธารณูปโภคถูกตัดขาด ต้นไม้ตามถนน ถูกตัดมาทำ�เชื้อเพลิง สวนสาธารณะกลายเป็น สุสาน ความช่วยเหลือของสหประชาชาติก็ แผ่วเบาเกินกว่าจะเข้าใจได้ จนกุมภาพันธ์ ปี 1996 หนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ที่มืดมนที่สุด ในโลกก็ปิดฉากลง เมื่อกองทัพยูเอ็นใช้ไม้แข็ง ในการจัดการกับกองทัพเซิรบ์ แต่นน่ั ก็ไม่สามารถ ฟื้นชีวิตของชาวเมืองกว่า 10,000 คน ซึ่งใน จำ�นวนนัน้ เป็นเด็กถึง 1,600 คน หรือแม้แต่ชว่ ย เยียวยาชาวเมือง 56,000 คน ที่บาดเจ็บหรือ พิการได้ทันท่วงที ลมหายใจของชาวเมืองถูกถ่ายทอดผ่าน บทความสารคดีและภาพข่าวสงครามที่ตอกยํ้า ถึงชีวิตอันย่อยยับ ภาพที่ปราศจากเสียงเหล่านี้ ส่งต่อความปวดร้าวและความสูญเสียไปสู่โลก ภายนอก ศิลปิน นักประพันธ์ นักดนตรี และ นักสร้างภาพยนตร์จำ�นวนมากหยิบเอาความ สะเทือนใจมาสร้างผลงานเพือ่ ยืน่ มือเข้าช่วยเหลือ ชาวเมืองไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ด้วยความหวัง เต็มเปี่ยมว่า วันหนึ่งข้างหน้าชาวซาราเยโวจะ ลุกขึ้นสร้างชีวิตใหม่อีกครั้ง


© REUTERS/Chris Helgren © fotoservis/Demotix/Corbis

(บน) Miss Sarajevo! ภาพถ่าย กิจกรรมการประกวดนางงาม ในปี 1993 เป็นแรงกระตุน้ ให้ โบโน่ นักร้องนำ�ของ ยูทู (U2) แต่งเพลง Miss Sarajevo ทีม่ ี ลูเชียโน่ ปาวารอตติ (Luciano Pavarotti) ร่วมร้องและออก เป็นซิงเกิลในปี 1995 (ล่าง) เก้าอี้สีแดงคือสัญลักษณ์แทน ผูท้ เ่ี สียชีวติ ไประหว่างสงคราม บอสเนีย

กันยายน 2555 l Creative Thailand

l 27


CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

ทิวทัศน์หลังพายุร้าย ยีส่ บิ ปีให้หลังการปิดล้อมเมืองเมือ่ วันที่ 6 เมษายน 1992 ชาวเมืองได้จัดงานรำ�ลึกผ่านสัญลักษณ์ เก้าอี้สีแดงว่างเปล่าจำ�นวน 11,541 ตัว ที่วาง เป็นทิวแถวตลอดถนนใจกลางเมือง จำ�นวนเก้าอี้ คื อ ตั ว แทนจำ � นวนชี วิ ต ที่ สู ญ เสี ย ไปในช่ ว ง สงคราม เสียงสะอื้นถูกปลุกขึ้นอีกครั้งจาก ช่างภาพที่ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในเหตุการณ์ ช่างภาพหลายคนหวนกลับไปที่ซาราเยโว เพื่อไว้อาลัยและถ่ายภาพในจุดเดิม หรือเพื่อ สำ�รวจความเป็นไปของเมือง จอห์น แพก (Jon Pack) เป็นหนึง่ ในช่างภาพอิสระทีเ่ ดินทางกลับไป อีกครัง้ ภาพชุดของเขาจะแสดงให้เห็นว่าครัง้ หนึง่ ซาราเยโวเคยเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูหนาว เมื่อปี 1984 เพื่อหวังจะนำ�เสนอเทียบเคียงกับ เหตุการณ์โอลิมปิก ลอนดอน 2012 “รอยบาก ของกระสุนยังหลงเหลือให้เห็น ที่น่าเศร้าคือ แท่นรับเหรียญรางวัลโอลิมปิกกลายเป็นแท่น ประหารพลเรือน” ขณะที่บางภาพถูกถ่ายจาก ช่างภาพมืออาชีพ และบางภาพถูกบันทึกจาก อาสาสมัครที่เข้าไปปฏิบัติงานด้านมนุษยธรรม ดังเช่น จิม มาร์แชล (Jim Marshall) จาก สกอตแลนด์ ที่ได้หวนกลับไปเอาประวัติศาสตร์ มาเล่าเคียงคูก่ บั ปัจจุบนั ผ่านหนังสือพิมพ์เดลิเมล์ ของอังกฤษ ทุกภาพหลังผ่านชะตากรรมล้วนเผยให้เห็น ความเปลี่ ยนแปลงและความพยายามอย่า ง แรงกล้าทีจ่ ะมีชวี ติ อยู่ ซาราเยโวเกิดขึน้ ใหม่จาก เถ้าถ่าน การซ่อมแซมและสร้างเมืองขึ้นใหม่ เกิดขึน้ แทบจะทันทีหลังสงครามสงบ เพือ่ มุง่ หวัง ให้เมืองกลับไปเหมือนเดิมมากที่สุด พร้อมทั้ง การพัฒนาเมืองใหม่ด้วยอาคารสำ�นักงานอัน ทันสมัยและตึกระฟ้า เพื่อเป็นเขตธุรกิจและ รองรับการขยายตัวในภาคอสังหาริมทรัพย์ของ เมือง โดยรัฐบาลมีมาตรการการลงทุนข้ามชาติ ที่เปิดกว้างมากยิ่งขึ้น ทั้งการปรับปรุงระบบ กฎหมายและกระบวนการทางเอกสารเพือ่ รองรับ 28 l Creative Thailand l กันยายน 2555

การลงทุนจากต่างชาติ โดยมีภาคการท่องเทีย่ ว เป็นหนังตัวอย่างที่เชื้อเชิญนักท่องเที่ยวจาก ทั่วโลกให้เหลียวมองเมืองนี้อีกครั้งหนึ่ง โดยใน ปี 2011 มีนักท่องเที่ยวราว 1.5 ล้านคน ซึ่งเป็น อัตราที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 จากปีก่อนหน้า ซึ่ง กว่าครึ่งหนึ่งเป็นนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ ที่ต้องการสัมผัสประวัติศาสตร์ของเมือง และ อีกส่วนหนึง่ เดินทางมาเพือ่ การเล่นสกีในฤดูหนาว นอกจากนี้ ซาราเยโวยังเพิ่มพลังงานของเมือง โดยการจั ด เทศกาลภาพยนตร์ น านาชาติ (Sarajevo Film Festival) เทศกาลดนตรีและ ศิลปะอื่นๆ รวมทั้งการฟื้นฟูและส่งเสริมระบบ การศึกษาด้านศิลปะให้เข้มข้นขึ้นผ่านการตั้ง องค์กร และสถาบันศิลปะต่างๆ ถึงแม้วา่ ความตัง้ ใจจริงในการปฏิรปู เมืองจะ แรงกล้า แต่ข้อเท็จจริงแล้ว การบริหารประเทศ ก็ยังไม่ราบรื่นนัก หลังสงครามสิ้นสุด บอสเนีย แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 2 รัฐ คือสหพันธ์ บอสเนีย-เฮอร์เซโกวีนา (Federation of Bosnia and Herzegovina) และสาธารณรัฐเซิร์บ (Republika Srpska) โดยแต่ละรัฐมีรัฐสภาของ ตนเอง สำ�หรับรัฐบาลกลางบอสเนียฯ จะมี คณะประธานาธิบดี (Collective Presidency) และสถาบันกลางอืน่ ๆ อาทิ ศาลสูงและธนาคาร กลางร่วมกัน ด้านเศรษฐกิจภายในประเทศก็ยงั ไม่นา่ วางใจ เนือ่ งจากอัตราการว่างงานยังสูงลิว่ กว่าร้อยละ 30 และภาครัฐยังคงต้องได้รบั ความ ช่วยเหลือด้านงบประมาณจากต่างประเทศเพื่อ ฟื้นฟูประเทศ ขณะเดียวกันก็ต้องหาหนทาง ติดเครื่องเศรษฐกิจของตัวเอง แต่การดำ�เนินนโยบายต่างๆ ของรัฐบาล มักจะติดขัดจากปัญหาความขัดแย้งระหว่าง เชือ้ ชาติ ยกตัวอย่างเช่น ความพยายามในการ เปิดร้านของแมคโดนัลด์ ซึง่ บางกลุม่ มองว่าเป็น อิทธิพลตะวันตกที่จะเข้ามาครอบงำ�ประเทศ และอาจทำ�ให้อาหารประจำ�ชาติอย่าง Cevapi

(เนื้อสับปั้นเป็นก้อน ปิ้งเสิร์ฟพร้อมขนมปังและ หัวหอมสด) เสือ่ มความนิยมลง นอกจากกระแส ต่อต้านแล้ว อาดี ฮัดเซียราโพวิค ผู้อำ�นวยการ ฝ่ายการตลาดของแมคโดนัลด์ในบอสเนียเล่าว่า ก่อนหน้านี้แมคโดนัลด์เคยประสบปัญหาจาก ระบบราชการและการบริหารของรัฐบาลที่มี ความซับซ้อน ระบบภาษีทม่ี คี วามยุง่ ยาก รวมถึง การคอร์รัปชัน ทั้งหมดเป็นเหตุผลว่าทำ�ไม แมคโดนัลด์จึงใช้เวลาถึง 4 ปี จึงจะสามารถ เปิดร้านแห่งนี้ได้ จวบจนเมื่อเดือนสิงหาคมปี ที่แล้ว แมคโดนัลด์ก็เปิดร้านอย่างเป็นทางการ โดยมีชาวเมืองนับร้อยคนต่างเข้าคิวบนทางเท้า เพื่อรอชิมรสชาติความเป็นตะวันตกผ่านเมนู แฮมเบอร์เกอร์และเฟรนช์ฟรายส์ ลูกค้าวัย 32 ปี รายหนึง่ กล่าวว่า "เรากำ�ลังกลายเป็นส่วนหนึง่ ของ ยุโรปตะวันตก โลกทีเ่ ราถูกตัดขาดมาเนิน่ นาน” เมื อ งทุ ก เมื อ งนั้ น มี เ รื่ อ งเล่ า ของตั ว เอง บ้างก็โชคดี บ้างก็โชคร้าย และสำ�หรับเมืองที่ ถู ก ชะตากรรมเล่ น ตลกอย่ า งซาราเยโวแล้ ว คำ�อุทธรณ์ถึงความเจ็บปวดและทุกข์ระทมที่ พวกเขาได้รับ มันอาจใช้เวลาเดินทางยาวนาน กว่าที่ความช่วยเหลือใดๆ จะตามไปทัน แต่ อย่างน้อยทีส่ ดุ ในวินาทีแห่งความสูญเสีย พวกเขา ก็มีประจักษ์พยานที่ถูกบันทึกไว้ แม้ว่ามันจะ โหดร้าย แต่ภาพเหล่านั้นก็เป็นส่วนหนึ่งในหน้า ประวัตศิ าสตร์ทเ่ี ป็นเครือ่ งเตือนใจถึงอัจฉริยภาพ ของมุนษย์ ไม่ว่าจะเป็นในด้านสร้างสรรค์หรือ ด้านทำ�ลายล้างก็ตามที ที่มา : หนังสือพิมพ์มติชน (3 สิงหาคม 2554) Bosnian war 20 years on: peace holds but conflict continues to haunt (4 April 2012) โดย Julian Borger จาก guardian.co.uk Welcome to Sarajevo 2012: Poignant pictures show transformation of war-torn city 15 years on from brutal siege โดย Leon Watson จาก dailymail.co.uk newmuslimthailand.com reuters.com


CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

กันยายน 2555 l Creative Thailand

l 29


THE CREATIVE มุมมองของนักคิด

วินัย ดิษฐจร

เรื่อง: ชิดสุภางค์ ฉายวิโรจน์ ภาพ: วินัย ดิษฐจร

ไม่ใช่แค่กดชัตเตอร์ แต่มันคือการใช้ชีวิต แม้ชอ่ื ของ วินยั ดิษฐจร จะไม่ได้ปรากฏอยูใ่ นรายชือ่ ของช่างภาพกระแสหลักของเมืองไทย แต่เขากลับเป็นทีร่ จู้ กั ดี ในบรรดาสำ�นักข่าวต่างประเทศในฐานะ "พลนำ�สาร พรานล่าภาพ" ทีถ่ า่ ยทอดเหตุการณ์ทเ่ี กิดขึน้ ในประเทศไทย และประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้ออกมาเป็นภาพได้อย่างชัดเจนลึกซึง้ ทัง้ เนือ้ หาและอารมณ์ ด้วยเห็นค่า พรแสวงมากกว่าพรสวรรค์ เขาคือหนึง่ ในผูพ ้ สิ จู น์ให้เห็นว่าความสำ�เร็จย่อมเกิดขึน้ ได้หากมีความมุมานะมากพอ จากกระเป๋ารถเมล์ พลทหารราบ ไปจนถึงแรงงานแบกหามที่เรียนจบ แค่ชั้นมัธยมสาม ณ วันนี้ วินัย ดิษฐจร คือช่างภาพข่าวที่ทำ�งานให้กับ สำ�นักข่าวต่างประเทศหลากสำ�นัก นอกจากการพาตัวเองไปอยูท่ า่ มกลาง ห่ากระสุนและควันระเบิดเพื่อบันทึกภาพข่าวเหตุการณ์สำ�คัญในพื้นที่ เสี่ยงภัยทั่วประเทศแล้ว วินัยยังเลือกใช้เวลาส่วนที่เหลือถ่ายภาพสารคดี

30 l Creative Thailand l กันยายน 2555

ซึง่ เป็นสิง่ ทีเ่ ขารัก หลายคนอาจจะรูจ้ กั เขาจากภาพชุด Sea Gypsies ทีไ่ ด้ รางวัลชนะเลิศจากการประกวดภาพถ่ายของนิตยสารแนชัน่ นัล จีโอกราฟิก ฉบับภาษาไทยในปี 2544 คนจำ�นวนมากมายชืน่ ชมผลงานของเขา ในขณะ ที่อีกหลายคนได้แต่ทึ่งที่เขามาถึงจุดนี้ได้โดยที่ไม่เคยเข้าคอร์สเรียนการ ถ่ายภาพจริงจังเลยสักครั้ง


THE CREATIVE มุมมองของนักคิด

ได้พบกับกล้องตัวแรกในชีวิตตอนไหน เรือ่ งมันยาวมากครับ เมือ่ ตอนเด็กๆ ผมอยากเป็นหลายอย่างนะ อยากเป็น นักเขียนเพราะชอบอ่านหนังสือ แล้วก็อยากเป็นช่างภาพเพราะรูส้ กึ ว่าตัวเอง มองสิ่งต่างๆ ไม่ค่อยเหมือนคนอื่นเท่าไหร่ แต่ผมมองว่าการถ่ายภาพ เป็นความฝันทีร่ าคาแพง ตอนนัน้ บ้านผมยากจนมาก พอจบม. 3 ผมก็เลย เลิกเรียน แล้วมาทำ�งานเป็นกระเป๋ารถเมล์อยู่เจ็ดปีก่อนที่จะไปเป็นทหาร เป็นอยูส่ กั สองปีกอ็ อกมาเป็นจับกังโรงงานผลิตยาแถวๆ สุขมุ วิท ตอนนัน้ ล่ะครับที่พอได้เงินเดือนมาบ้าง ผมก็เลยคิดว่าความฝันที่จะมีกล้องเป็น ของตัวเองก็คงไม่เกินเอือ้ มไปนัก ก็เก็บเงินซือ้ กล้อง ตอนแรกก็เล็ง Nikon ไว้นะ แต่ไปๆ มาๆ ด้วยเงินที่เรามีก็กลายเป็นได้ Pentax K1000 มือสอง ซึ่งเป็นกล้องตัวแรกในชีวิต ซื้อมาแล้วก็ถ่ายหมาถ่ายแมวไปเรื่อย เดิน กลับบ้านเจออะไรก็ถ่าย แต่ถ่ายเดือนหนึ่งแล้วต้องรออีกเดือนหนึ่งถึงจะ เอาไปล้างได้นะ เพราะเงินไม่พอ แล้วเริ่มมาเป็นช่างภาพได้ยังไง ด้วยความที่รักการอ่าน วันหนึ่งผมก็ไปเจอประกาศรับสมัครงานใน หนังสือพิมพ์ เขาหาช่างภาพถ่ายสุนัข ตอนนั้นก็ยังถ่ายรูปไม่ได้เรื่องนะ แต่เขาถามว่าถ่ายได้ไหมก็บอกว่าได้ไว้ก่อน เพราะผมถือคติว่า ขอให้ ขาข้างหนึง่ ก้าวไปให้ได้กอ่ นแล้วอย่างอืน่ ก็คอ่ ยไปดิน้ รนกันต่อไป ผมเรียก เงินเดือนตํา่ ไว้กอ่ น เขาเลยให้เข้าไปทำ� งานนัน้ นับว่าได้ฝกึ เยอะ ถ่ายเสร็จ ก็เอาฟิลม์ ไปล้างเองเลย ออกค่าล้างเอง ไม่ดกี ไ็ ปถ่ายใหม่ ซึง่ มันก็ดตี รงที่ เราควบคุมความผิดพลาดได้ เขาก็จบั ไม่ได้วา่ เรามัว่ เข้ามา ทำ�อยูป่ ระมาณ สี่เดือนก็คิดว่าถ่ายรูปสุนัขคงไม่ใช่ เลยไปสมัครเป็นช่างภาพนิตยสาร ท่องเที่ยว Bangkok This Week ที่เจอประกาศในหนังสือพิมพ์เหมือนกัน เขาถามว่าถ่ายสไลด์ได้ไหม เราก็บอกได้ไว้ก่อนแล้วค่อยไปหัดทีหลัง ทำ�อยูท่ น่ี ส่ี กั พักก็ออกมาเป็นช่างภาพอิสระถ่ายภาพทิวทัศน์ทไ่ี ม่คอ่ ยมีใคร ไปกัน เราก็ขม่ี อเตอร์ไซค์ซอกแซกไปเรือ่ ย ทีไ่ หนทีไ่ ม่มถี นนเราก็ลยุ เข้าไป พออิม่ ตัวแล้วก็มาอยูน่ ติ ยสาร Sunday Brunch ของบางกอกโพสต์ คราวนี้ มาถ่ายภาพในสตูดโิ อ ตอนนัน้ ก็ไม่เคยใช้ไฟสตูดโิ อเลย แต่กเ็ อาวะ อยากลอง ก็เลยลองสมัครดู แล้วเขาก็ดันรับด้วย เรียนรู้ทักษะการถ่ายภาพจากไหน ระหว่างทางครับ มันดีอย่างตรงทีเ่ ราเป็นคนชอบเรียนรู้ ตอนทีอ่ อกจากทหาร ผมก็ไปสมัครเรียนนอกเวลาของมหาวิทยาลัยสุโขทัยฯ ก็เรียนบ้างไม่เรียนบ้าง แต่เราก็มสี ทิ ธิย์ มื หนังสือมาอ่านได้ ผมก็ไปห้องสมุดประชาชน ยืมหนังสือ ถ่ายภาพมาอ่าน เจออะไรดีๆ ก็จดเก็บไว้ในสมุด พอได้ท�ำ งานประจำ�แล้ว มีบัตรเครดิตก็เอาบัตรไปรูดซื้อหนังสือต่างประเทศมาเปิดดู อ่านไม่ออก ก็ดแู ต่รปู ไปก่อน พอมีเวลาก็เอาดิกชันนารีมาเปิด บางทีวา่ งๆ ก็ถอดเลนส์ ออกมาดูวา่ ข้างในมันมีอะไรบ้างแล้วก็จดไว้ ไม่เคยใช้ไฟสตูฯ เราก็ไปแอบดู

ช่างภาพกองอืน่ ว่าเขาเซ็ตไฟกันยังไง ก่อนหน้านัน้ ตอนทำ�นิตยสารท่องเทีย่ ว ก็ตอ้ งขวนขวายเยอะ เพราะเราไม่อยากให้เขาจับได้วา่ เราไม่รอู้ ะไรเลย เวลา เขามอบหมายให้ไปถ่ายร้านอาหารไหน ผมก็จะไปลองแสงทีร่ า้ นเฟอร์นเิ จอร์ ตรงหน้าปากซอยบ้านก่อน ไปตอนดึกๆ นะ ตอนทีไ่ ม่มคี น ยามหลับเราก็ แอบเข้าไป คิดว่าโจทย์จริงน่าจะแสงประมาณนี้ เราก็ลองถ่ายดูแล้วก็เอารูป ไปอัด ถ้าใช้ได้เราก็จดค่าไอเอสโอ ค่าชัตเตอร์สปีดไว้ ตอนนัน้ เป็นกล้องฟิลม์ ด้วยครับ ถ้าพลาดก็จบ หรือถ้าถ่ายโรงแรมผมก็บง่ึ ไปดูสถานทีจ่ ริงก่อนเลย ไปคุยกับคนท้องถิ่น ไปดูว่าพระอาทิตย์ขึ้นทางไหน เอาเข็มทิศวางแล้วก็ จดพิกัดไว้ พอวันจริงไปถึงแล้วก็ถ่ายเลย เพราะแสงเมืองไทยไม่เหมือน แถวอเมริกาหรือออสเตรเลีย เรามีเวลาแสงสวยๆ จำ�กัด เพราะการเตรียมตัวนี้หรือเปล่าที่ทำ�ให้เรารอดมาได้ ด้วยครับ อีกอย่างหนึง่ คือความมีวนิ ยั ในตัวเอง พอมีเป้าหมายแล้วก็มงุ่ ไปหา ไม่ขเ้ี กียจ ขยันฝึกแลัวพัฒนาตัวเอง ผมมีแรงผลักดันด้วยล่ะ เราเคยลำ�บาก มาก่อนเราเลยมีแรงกระตุ้นให้ถีบตัวเองไปข้างหน้าตลอดเวลา ชีวิตหันเหมาเป็นช่างภาพข่าวได้อย่างไร หลังจากบางกอกโพสต์เพราะรู้สึกว่าเราได้เทคนิคพอตัวละ ผมก็ออกเป็น ฟรีแลนซ์ถ่ายพอร์ตเทรตกับงานโฆษณา ช่วงนั้นก็เริ่มถ่ายภาพข่าวให้ สำ�นักข่าวอย่างรอยเตอร์ หรือเอพีบ้างแล้ว อยู่มาวันหนึ่งคนจาก EPA (European Pressphoto Agency) ก็ติดต่อเราให้ไปทำ�งานด้วย ตอนนั้น เขากำ�ลังจะมาเปิดออฟฟิศในเมืองไทย เขาเจอแล้วเห็นว่าเราคงไหวก็ เลยจ้าง ช่วงนั้นก็ต้องดิ้นรนมากเพราะเราไม่ได้มาจากสายข่าว ช่างภาพ แนวนี้ปกติแล้วจะอาวุโสและเคยทำ�ข่าวมาก่อน เขาก็จะมีอีกาคาบข่าว มาบอก ผมก็ใช้เวลาแทรกซึมอยูส่ กั พักถึงตามเขาทัน เรือ่ งลำ�บากอีกอย่าง คือแคปชั่นบรรยายภาพ เพราะภาษาอังกฤษเราก็งูๆ ปลาๆ เขียนผิดก็ หลายครั้ง มีครั้งหนึ่งเจ้านายโทรข้ามเส้นศูนย์สูตรมาด่าเลยเพราะเขียน แคปชัน่ ผิด เราก็อาศัยเรียนรูจ้ ากช่างภาพข่าวคนอืน่ ดูวา่ เขาใช้ค�ำ กันยังไง ทำ�ได้สกั พักก็รตู้ วั ว่าเราไม่ชอบงานข่าว มันเหมือนต้องรีบเร่งอยูต่ ลอด แถมยังต้องแข่งกับสำ�นักอื่นตลอดเวลา แต่งานนี้ก็ทำ�ให้ได้รู้ว่าฝรั่งเขา ทำ�งานกันยังไง เราเองก็เรียนรูเ้ รือ่ งการติดต่อประสานงาน ติดต่อแหล่งข่าว หาข่าวเองได้ พอออกมาเป็นฟรีแลนซ์กค็ ล่องเลย แทรกซึมในพืน้ ทีอ่ นั ตราย ได้อย่างไม่มีปัญหาเพราะเราเคยผ่านมาหมดแล้ว สิ่งสำ�คัญอีกอย่างที่ได้ เรียนรูจ้ ากงานนีค้ อื รูว้ า่ ภาพข่าวสไตล์เมืองนอกเค้าต้องถ่ายยังไง ตอนทำ� นิตยสาร จะติดนิสยั ถ่ายเผือ่ ๆ ไว้กอ่ น เผือ่ คร็อป แต่พอมาเป็นช่างภาพข่าว คือช็อตเดียวต้องจบ บอกเล่าเรือ่ งราวได้ และต้องเป็นศิลปะด้วย ถ้าสังเกต จะเห็นว่าภาพข่าวของเมืองนอกจะมีความเป็นศิลปะอยู่ในตัว แบบว่า หากไม่ได้ใช้ลงข่าวก็เอามาแขวนติดผนังหรือทำ�เป็นโฟโต้บกุ้ ได้ ซึง่ ผมว่ามัน ต้องอาศัยความเชีย่ วชาญและความสามารถส่วนตัวประมาณหนึง่ เลยทีเดียว กันยายน 2555 l Creative Thailand

l 31


,,

THE CREATIVE มุมมองของนักคิด

ตอนทำ � นิ ต ยสารเราจะติ ด นิ สั ย ถ่ายเผือ่ ๆ ไว้กอ่ น เผือ่ คร็อป แต่พอ มาเป็นช่างภาพข่าวคือช็อตเดียว ต้องจบ บอกเล่าเรื่องราวได้ และ ต้องเป็นศิลปะด้วย

,,

เพราะพอไปอยู่ในสถานการณ์จริง ทุกอย่างรอบตัวจะเกิดขึ้นเร็วมาก แต่ เราต้องจับภาพให้ได้โดยที่อารมณ์ยังคงอยู่ นับว่าเป็นงานที่ท้าทายมาก แต่ด้วยไม่ชอบกรอบของเวลาก็เลยตัดสินใจลาออก ออกแล้วไปทำ�อะไรต่อ ออกมาก็ยังทำ�ข่าวบ้างเหมือนเดิม แต่เป็นฟรีแลนซ์ก็ไม่เครียด เราก็ยังได้ เดินทาง ได้ท�ำ งานเหมือนเดิมแต่มอี สิ ระมากขึน้ ด้วยความทีไ่ ด้ท�ำ งานประจำ� เป็นนักข่าวสำ�นักข่าวต่างประเทศ พอออกมาเป็นฟรีแลนซ์เราก็เลยมี คอนเน็กชัน่ ประกอบกับเราไม่กลัวทีจ่ ะพูดภาษาอังกฤษแบบผิดๆ ถูกๆ ด้วย ฝรัง่ เลยมาติดต่อเยอะ “ออนเอเชีย” (OnAsia) เอเจนซีร่ ปู ถ่ายและภาพข่าว ของเอเชียก็มาติดต่อ เขาจะเป็นเอเจนซีใ่ ห้ บางทีผมขีม่ อเตอร์ไซค์ตระเวน กรุงเทพฯ อยูต่ อนทุม่ หนึง่ ก็มคี นโทรมาว่า “เฮ้ วินยั ว่างไหม ไปถ่ายหาดนี้ ที่เกาะพีพีให้หน่อย ส่งงานพรุ่งนี้ก่อนสี่โมงเย็นนะ” พอวางสายปุ๊บผมก็ บึ่งรถกลับบ้านเลย โทรจองตั๋วเครื่องบิน คว้ากระเป๋าแล้วก็ออกเดินทาง ไปถึงเราก็หาโรงแรมได้รวดเร็วเพราะเราเคยทำ�นิตยสารท่องเที่ยวมาก่อน เรามีขอ้ มูลหมดแล้ว ได้โรงแรมแล้วก็เช่ามอเตอร์ไซค์ขไ่ี ปดูซนี ทีจ่ ะถ่ายก่อน แล้ววันจริงก็ไปถ่ายสบายๆ ส่งงานทัน จริงอยูอ่ อกจากงานประจำ�ก็อาจจะ ลำ�บากขึ้นนิดหน่อย เพราะเมื่อตอนทำ�งานประจำ�เขามีตั๋วเครื่องบินให้ คราวนี้ลงไปสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ทีก็นั่งรถสิบสองชั่วโมง ถ่าย สองชั่วโมง นั่งรถกลับอีกสิบสองชั่วโมง แต่พอทำ�งานอิสระก็ทำ�ให้พอมี เวลาว่างทำ�สารคดีซง่ึ เป็นสิง่ ทีต่ วั เองสนใจมานานแล้ว ทำ�แบบมีคนจ้างบ้าง ไม่มีคนจ้างบ้างแต่ก็มีความสุขดี ทำ�ไมถึงสนใจงานสารคดี ผมว่าสารคดีตอบสนองความต้องการของผมหลายอย่าง หนึง่ คือได้เดินทาง ผจญภัย ผมถือคติว่าการผจญภัยคือการใช้ชีวิตเพียงแต่เปลี่ยนจากการ บันทึกภาพทิวทัศน์ทเ่ี ราพบเห็นระหว่างทางเป็นบันทึกภาพวิถชี วี ติ ผูค้ นแทน ด้วยความที่ชอบผลักดันตัวเองให้ไปข้างหน้าตลอดเวลาด้วยมั้ง ผมก็เลย คิดว่าประเด็นทางสังคมนี่เองที่ทำ�ให้งานของเรามีความซับซ้อนและมีมิติ ยิ่งขึ้น สองคือผมสนใจและให้ความสำ�คัญกับชีวิตคน ผมพยายามมอง 32 l Creative Thailand l กันยายน 2555

คนทุกคนให้เหมือนกัน มองข้ามผ่านบริบทของสีเสือ้ การเป็นเหยือ่ และอะไร อืน่ ๆ อย่างเรือ่ งความไม่สงบในภาคใต้กไ็ ม่ใช่จะสำ�คัญแค่วา่ ใครฆ่าใครตาย แต่มันมีเรื่องราวชีวิตของคนอื่นที่ได้รับผลกระทบด้วย เหมือนกับว่ามี ภาพใหญ่อยูภ่ าพหนึง่ แล้วเราต้องปะติดปะต่อจิก๊ ซอว์แต่ละชิน้ ของภาพนัน้ เข้าด้วยกันผ่านผู้คนที่เราพบเจอ ภาพของผมจึงมักเน้นให้เห็นใบหน้า และแววตาเพราะนั่นคือสิ่งที่สื่อถึงตัวตนและอารมณ์ของคนออกมาได้ มากทีส่ ดุ สำ�หรับผม ภาพถ่ายสารคดีเป็นภาพทีไ่ ม่ได้ท�ำ หน้าทีแ่ ค่รายงาน แต่เป็นเหมือนเครื่องมือสะท้อนให้เห็นประเด็นต่างๆ ที่มีอยู่ในสังคมด้วย คนชอบถามว่าทำ�ไมผมถึงเลือกทำ�สารคดีเรื่องโสเภณี ทำ�ไมถึงลงไปทำ� เรื่องสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผมมองว่าประเด็นเหล่านี้เป็นประเด็นที่ สำ�คัญในสังคมนะ แต่คนอาจจะเลือกทีจ่ ะเพิกเฉยหรือไม่สนใจด้วยเหตุผล อะไรบางอย่าง อาจจะเป็นอคติ อาจจะเป็นความโกรธแค้น ภาพถ่ายจึง เป็นเหมือนสื่อที่ตั้งคำ�ถามให้คนตระหนัก ความท้าทายของการถ่ายภาพ แนวสารคดี จึ ง อยู่ ที่ การถ่ายทอดสิ่งที่เป็นปัญหาออกมายังไงให้ดูสวย และน่าสนใจพอที่จะตรึงสายตาคนได้ เหมือนเราใช้ศิลปะเป็นสื่อกลาง ซึง่ จริงอยู่ ณ วันนีส้ งั คมอาจจะรับไม่ได้ แต่ผมก็เชือ่ ว่าพอถึงจุดหนึง่ เมือ่ คน เริ่มคลายความโกรธ สารที่เราต้องการจะสื่อก็จะไปถึงผู้รับ คิดว่าภาพถ่ายมีพลังในการสื่อสารแตกต่างจากตัวหนังสืออย่างไร ผมมองว่าภาพถ่ายเป็นสิง่ ทีเ่ ทีย่ งแท้นะ อย่างเวลาเราอ่านข่าวในหนังสือพิมพ์ เราก็จะเห็นข้อความที่ผ่านการเรียบเรียง ผ่านกระบวนการผลิตมาแล้ว แต่คนเขียนข่าวก็ไม่จำ�เป็นต้องเดินทางไปสถานที่จริงก็ได้ แต่ได้ข้อมูล มาแล้วก็เขียนได้แล้ว แต่ถา้ เป็นช่างภาพ เราต้องไปอยูท่ ต่ี รงนัน้ และสิง่ ที่ น่าเจ็บปวดคือหลายๆ ครั้งเราเห็นอะไรมากมายแต่เราพูดออกมาไม่ได้ เพราะสังคมไม่พร้อมทีจ่ ะรับ พอไปอยูส่ ถานทีจ่ ริงแล้ว เราเห็นอยูก่ บั ตาว่า เรื่องราวมันไม่ได้มีแค่ขาวดำ� ไม่ใช่ใครถูกใครผิด ทุกอย่างมันมีเฉด มี รายละเอียด แต่เมือ่ พูดออกมาไม่ได้ ภาพถ่ายก็เป็นเหมือนหลักฐานพิสจู น์ ถึงความมีอยู่จริงของสิ่งเหล่านั้น ที่ผ่านมาผมเจอกับเรื่องน่าเศร้ามามาก เจ็บตัวหนักๆ ก็หลายครั้ง ก็มีบ้างที่เหนื่อย ท้อ แต่ก็มีภาพถ่ายนี่ล่ะครับ ทีค่ อยเตือนว่าทัง้ หมดนัน้ มีความหมาย อย่างน้อยทีส่ ดุ คือเราก็ได้ใช้ชวี ติ คุม้ อย่างที่เราต้องการแล้ว เรียกว่าได้กำ�ไรด้วยซํ้า ส่วนที่เหลือก็แค่รอเวลา ให้ภาพของเราได้มีโอกาสทำ�หน้าที่สื่อสารต่อไป ได้ประสบการณ์อะไรจากการเข้าร่วมเวิรก์ ช้อปภาพถ่ายระดับนานาชาติบา้ ง ผมได้เข้าร่วมเวิรก์ ช้อปใหญ่ 3 ครัง้ ครัง้ แรกกับ IMMF (Indochina Media Memorial Foundation) ครั้งที่สองคือเวิร์กช้อปของ James Nachtwey และ David Alan Harvey และครัง้ ทีส่ ามของ World Press Photo อย่างแรก ที่ได้คือบรรยากาศการเรียนรู้ ด้วยความที่เรียนมาน้อย ผมก็เลยตื่นเต้น มากทีท่ กุ คนมารวมตัวกัน แชร์ขอ้ มูลกัน พูดคุยอภิปรายกัน อีกอย่างหนึง่


THE CREATIVE มุมมองของนักคิด

ทีไ่ ด้เรียนรูค้ อื วิธกี ารคิด ช่างภาพทีม่ าพูดในเวิร์กช้อปแบบนี้เขาจะไม่สอน เรื่องเทคนิค แต่จะสอนว่าเราจะถ่ายทอดเรือ่ งราวออกมายังไงให้เหมาะ จะทำ� Photo Essay (การเล่าเรือ่ งด้วยภาพ) ต้องเริ่มจากตรงไหน เหมือน ให้เรามองตัวเองว่าเป็น Photo Editor (บรรณาธิการภาพ) มากกว่า Photographer (ช่างภาพ) ครับ ทีน่ เ่ี องทำ�ให้ผมได้รวู้ า่ ช่างภาพเก่งๆ นีต่ อ้ ง ผ่านการใช้ชวี ติ มานานพอสมควร เห็นอะไรมามากจนเชือ่ มโยงสิง่ ต่างๆ เข้า ด้วยกันได้ และผมก็ได้ตระหนักในเวิรก์ ช้อปเหล่านีเ้ องว่างานผมจะโดนใจ ชาวต่างชาติมากกว่าคนไทย ด้วยความทีเ่ รียนน้อยด้วยรึเปล่าไม่รู้ เราเลย ไม่ยึดติดกับกรอบความคิดหรือค่านิยมอะไรบางอย่าง คิดอะไรก็ทำ�เลย อยากพูดอะไรก็พูดออกมาเลยแล้วก็จบๆ ไป ภาพที่ออกมาเลยเป็นภาพ ที่สื่อความตรงๆ ไม่เหนียม อยากฝากอะไรถึงน้องๆ ที่อยากเป็นช่างภาพไหม ผมเชื่ออยู่อย่างหนึ่งนะว่า กล้องมันก็เป็นกลไกอย่างหนึ่งที่มีปุ่มเปิด-ปิด เรารู้ว่าเปิดตรงไหน ปิดตรงไหน ปรับค่ายังไง แค่นั้นเราก็ถ่ายรูปได้แล้ว เรือ่ งเทคนิคเป็นเรือ่ งทีเ่ รียนรูฝ้ กึ ฝนกันได้ ไม่จ�ำ เป็นว่าเราต้องเรียนถ่ายภาพ แล้วถึงจะเป็นช่างภาพได้ ยิ่งสมัยนี้เป็นยุคดิจิทัลด้วยทุกอย่างก็ง่ายขึ้น มี กล้องคอมแพ็คดีๆ สักตัวก็ถ่ายรูปสวยๆ ได้แล้ว หนทางเผยแพร่ผลงาน ก็มีมากมาย สิ่งสำ�คัญคือถ้าฝันแล้วก็ต้องไล่ตามฝัน ลึกซึ้งกับมัน ลอง มองข้ามเรือ่ งเทคนิคแล้วออกไปทำ�ความเข้าใจโลก อย่าเชือ่ เรือ่ งคำ�บอกเล่า ของคนอืน่ ว่าต้องทำ�อย่างนัน้ แล้วถึงจะเป็นแบบนีไ้ ด้ ลองเชือ่ ในตัวเองแล้ว ลองสร้างผลงานจากสิ่งที่เรามีอยู่อย่างจำ�กัด พยายามทำ�ซํ้า ฝึกบ่อยๆ ทักษะก็จะสะสมไปเองครับ ภาพดีๆ ไม่จำ�เป็นว่าต้องชัดแจ๋ว แสงเป๊ะ แค่มีเรื่องราว มีความสดใหม่ มีชีวิตก็พอครับ

ภาพชุดสถานการณ์ความรุนแรงที่สามจังหวัดชายแดนใต้

Creative Ingredients ช่างภาพที่ชื่นชอบ ผมชอบ Larry Burrows เขาเป็นช่างภาพของนิตยสารไลฟ์ และทำ�ข่าว สงครามในเวียดนามตั้งแต่ปี 1962 เขาเสียชีวิตพร้อมกับเพื่อนๆ นักข่าว อีกหลายคนตอนเฮลิคอปเตอร์ตกที่ลาว แหล่งค้นหาแรงบันดาลใจ แรงบันดาลใจมาจากสิ่งรอบตัว จากปัญหาสังคมที่มีให้เห็นอยู่ทุกวันตาม หน้าหนังสือพิมพ์ แต่ถา้ เป็นสารคดีทท่ี �ำ เอง ผมมักจะได้ไอเดียมาจากหนังสือ อย่างเรื่อง Sea Gypsies หรือชาวเลและคนเก็บรังนกก็ได้ข้อมูลมาจาก หนังสืออ่านนอกเวลาที่ซื้อมาจากศึกษาภัณฑ์ ผมซื้อหนังสือเยอะมาก เดือนหนึ่งๆ ก็หมดเงินไปหลายพันกับหนังสือนี่ล่ะครับ อุปกรณ์คู่ใจ ผมเป็นคนไม่พกอะไรมาก ไม่ชอบแบกเลนส์เทเลตัวใหญ่ๆ ยาวๆ เพราะ มันหนักด้วย เกะกะด้วย ประกอบกับสไตล์ผมจะเป็นสไตล์ประชิดตัวอยูแ่ ล้ว คือถ่ายระยะใกล้ให้เห็นหน้า เห็นแววตา ผมจึงมักจะใช้เลนส์ระยะสั้น เป็นหลักครับ ส่วนอุปกรณ์อน่ื ๆ เวลาต้องออกไปในพืน้ ทีเ่ สีย่ งภัย ผมมักจะ เตรียมชุดห้ามเลือด หมวกกันน็อกสำ�หรับกันก้อนหินและเสื้อเกราะกัน กระสุนไป สำ�หรับบางสำ�นัก อุปกรณ์ปอ้ งกันตัวแบบนีก้ อ็ ยูใ่ นระเบียบด้วย อีกอย่างคือผมมักจะใส่เสือ้ ขาวเสมอเวลาต้องเข้าไปอยูใ่ นเขตปะทะ หนึง่ คือ ทำ�ให้เราดูไม่คกุ คาม เพราะผมมักจะอยูแ่ นวหน้าเสมอ สองคือทำ�ให้คนอืน่ เห็นเราชัดเจนว่าเราเป็นสื่อครับ

ติดตามผลงานของ วินัย ดิษฐจร ได้ที่ www.vinaidithajohn.com กันยายน 2555 l Creative Thailand

l 33


CREATIVE WILL คิด ทำ� ดี

Moving Walls เรื่อง: กมลกานต์ โกศลกาญจน์

นอกเหนือจะนำ�เสนอความสวยงามจากการบันทึกสุนทรียะ ณ ชัว่ ขณะให้เป็นรูปธรรมเพือ่ ทีผ่ ชู้ มจะสามารถร่วมสัมผัสได้แล้ว ภาพถ่าย ยังคงทำ�หน้าที่เป็นงานศิลปะที่สะท้อนความเป็นจริงของสังคมได้อย่างเปิดเผยและชัดเจน เปรียบเหมือนกระบอกเสียงที่ประกาศ ผ่านสัมผัสการมองด้วยตา จนเกิดเป็นความรู้สึกที่สามารถรับรู้ได้อย่างเข้าใจ

“มูฟวิ่ง วอลส์ (Moving Walls)” คือนิทรรศการภาพถ่ายสารคดีที่สะท้อน การเปลี่ยนผ่านของสถานภาพทางสังคม โดยมีเป้าประสงค์เพื่อส่องสว่าง ตรงสูพ่ น้ื ทีท่ ไ่ี ม่ได้รบั ความเป็นธรรมในหลากหลายมิติ ไม่วา่ จะเป็นผลกระทบ จากปมปัญหาชิน้ ใหญ่อย่างสังคมการเมืองหรือความไม่มน่ั คงทางเศรษฐกิจ โดยภาพที่จัดแสดงนั้นจะทำ�หน้าที่แทนถ้อยคำ�ของผู้ที่ถูกปิดกั้นให้ไร้ซึ่ง พืน้ ทีแ่ สดงออกในการเรียกร้องสิทธิมนุษยชนขัน้ พืน้ ฐานทีค่ วรได้รบั ทัง้ ยัง ช่วยนำ�เสนอความเป็นจริงออกสูส่ าธารณะ ตลอดทัง้ เป็นการพลิกบทบาท ภาพถ่ายให้กลายเป็นช่องทางของโอกาสในการได้มาซึง่ หนทางการเยียวยา ที่สมควรได้รับอย่างเท่าเทียม Open Society Foundations คือหน่วยงานสำ�คัญที่คอยสนับสนุน โครงการดังกล่าวให้ดำ�เนินงานได้อย่างต่อเนื่องมาถึง 20 ครั้ง โดยตั้งแต่ ปี 1998 จนถึงปัจจุบนั มีชา่ งภาพทีเ่ คยเข้าร่วมโครงการกว่า 175 คน และ ในปี 2013 ทีก่ �ำ ลังจะถึงนี้ มูฟวิง่ วอลส์จะถูกจัดขึน้ ทีถ่ นนเลขที่ 57 บรอดเวย์ นิวยอร์ก ทีท่ �ำ การแหล่งใหม่ของ Open Society Foundations ด้วยเช่นกัน จากการคัดเลือกผลงานกว่า 300 ชิ้นจาก 49 ประเทศ ที่ผ่านคำ�ตัดสินอัน เข้มข้นของคณะกรรมการหลากหลายแขนง ทัง้ เจ้าหน้าทีม่ ลู นิธิ ภัณฑารักษ์ ช่างภาพรุน่ ใหญ่ พร้อมทัง้ ผูเ้ ชีย่ วชาญจากสถาบันประมูลงานศิลปะคริสตีส้ ์ 34 l Creative Thailand l กันยายน 2555

สู่ผลงานที่ได้รับคัดเลือกเพื่อจัดแสดงในนิทรรศการมูฟวิ่ง วอลส์ 2013 โดยช่างภาพมากฝีมอื จำ�นวน 5 ราย ได้แก่ แคทธารีนา เฮสเซ กับภาพผูล้ ภ้ี ยั ชาวเกาหลีเหนือทีข่ า้ มเขตมาทางชายแดนจีน เฟอนันโด โมเลอเลส ถ่ายทอด ภาพเด็กหญิงและเด็กชายทีถ่ กู กักขังในคุกของผูใ้ หญ่พร้อมรอการปล่อยตัว ในสาธารณรัฐเซียร์ราลีโอน ยูริ โคซิเรฟ กับภาพถ่ายควันหลงการปฏิวัติ กลางเมืองในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ เอียน เทห์ นำ�เสนอภาพ ทิวทัศน์ที่เปลี่ยนไปของแม่นํ้าฮวงโหในจีน และโดนัลด์ วีเบอร์ กับภาพ การสอบปากคำ�เด็กในยูเครน การเปลี่ยนภาพถ่ายที่ไม่ได้ถูกจำ�กัดด้วยความแตกต่างทางเชื้อชาติ ภาษา วัฒนธรรม หรือพื้นที่ในการทำ�งาน ให้มีความหมายเป็นหลักฐาน ปรากฏสูท่ กุ สายชาวโลก เพือ่ ให้ประจักษ์ถงึ ความจริงด้านลบทีซ่ อ่ นอยูแ่ ละ ช่วยกันหาหนทางแก้ไขและสร้างชีวิตใหม่ให้เกิดขึ้น นับเป็นความสำ�เร็จ ที่เป็นรูปธรรมของมูฟวิ่ง วอลส์ นอกเหนือไปจากความภาคภูมิใจที่ได้ จากเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยให้เกิดสิทธิมนุษยชนที่เป็นธรรมขึ้นในสังคม อย่างแท้จริง ที่มาและภาพ: movingwalls.org




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.