พฤศจ�กายน 2556 ปที่ 5 | ฉบับที่ 2 แจกฟร�
THE SUBJECT Public Parks
CLASSIC ITEM Newspaper
THE CREATIVE Dannie Sorum
So happy just to be alive Underneath the sky of blue
แคม่ ีชีวิต ภายใตฟ้ า้ ใส ก็สุขใจแลว้ Bob Dylan
กวีและนักประพันธเ์ พลงชาวอเมริกัน
สารบัญ The Subject
6
The Object
7
Public Parks
Creative Mornings
Cover Story #goodmorning
12
instagram.com/ortoped12
Insight
20
Creative Entrepreneur
22
Creative City
24
Around the World in the Morning
Creative Resource
Featured Book/ Book/ Film/ Documentary
8
NEW IN TOWN :-) tokyobike in Bangkok
Luang Prabang: Sunrise over the River Flow
Matter
10
Classic Item
11
Smart Sportswear
Newspaper
24 The Creative
28
Creative Will
34
Dannie Sorum: Start Fresh!
ทุงแสงตะวัน
บรรณาธิการอำนวยการ l อภิสทิ ธิ์ ไลสตั รูไกล ทีป่ รึกษา l ชมพูนทุ วีรกิตติ, พิชติ วีรงั คบุตร, วราภรณ วศินสังวร, จรินทรทพิ ย ลียะวณิช บรรณาธิการบริหาร l ศุภมาศ พะหุโล ผูชวยบรรณาธิการ l พัชรินทร พัฒนาบุญไพบูลย กองบรรณาธิการ l ศิริอร หริ่มปราณี, มนฑิณี ยงวิกุล, เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร, กริยา บิลยะลา, ปยวรรณ กลิ่นศรีสุข, ศุภาศัย วงศกุลพิศาล, นันทนรี พานิชกุล เลขากองบรรณาธิการ l กมลกานต โกศลกาญจน บรรณาธิการศิลปกรรม l พจน องคทวีเกียรติ, พัชราภรณ เตชะเลิศไพศาล, ภาธิดา นาคทอง สมาชิกสัมพันธ l ปยะพร สวัสดิ์สิงห ประสานงานกองบรรณาธิการ l ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ นักศึกษาฝกงาน l อรสิริ เจริญสินพร จัดทำโดย l ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (TCDC) ชั้น 24 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอร ถายภาพปก l ชญานี ชมแสงจันทร 622 สุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 ชางภาพทีเ่ นนรายละเอียดหรือสิง่ เล็กๆ นอยๆ ทีค่ นสวนใหญ โทร. 02 664 7667 แฟกซ. 02 664 7670 ติดตอลงโฆษณาไดที่ creativethailand@tcdc.or.th มองขามไป เปนความงามที่ไมคอยมีใครทันสังเกต พิมพที่ l บริษัท ทูโฟร พริ้นติ้ง จำกัด โทร. 02 416 7300 แฟกซ. 02 416 7320 จำนวน 50,000 เลม นิตยสารฉบับนี้ใชหมึกพิมพจากน้ำมันถั่วเหลืองที่ไมเปนอันตรายตอสุขภาพ ทั้งยังเปนมิตรตอสิ่งแวดลอม และใชกระดาษรีไซเคิล ซึ่งเปนผลผลิตของผูประกอบการไทย จัดทำภายใตโครงการ “Creative Thailand สรางเศรษฐกิจไทยดวยความคิดสรางสรรค” โดยศูนยสรางสรรคงานออกแบบ สำนักงานบริหารและพัฒนาองคความรู (องคการมหาชน) ซึ่งมีเปาหมายในการเผยแพรความรูเกี่ยวกับเศรษฐกิจสรางสรรค (Creative Economy) และผลักดันการใชความคิดสรางสรรคในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย
อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส แสดงที่มา-ไมใชเพื่อการคา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย
EDITOR'S NOTE บทบรรณาธิการ
อรุณสวัสดิ์ เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัทวิจัยทางการตลาดรายใหญ่ไอบิสเวิลด์ (IBISWorld) เสนอรายงานตัวเลขการ เติบโตของธุรกิจสาขาต่างๆ ทั่วโลก ที่น่าสนใจคือ ในรอบ 5 ปี ตั้งแต่ปี 2008-2013 ซึ่งเป็นช่วงที่ ภาวะเศรษฐกิจอับแสงนั้น ธุรกิจบางประเภทกลับยังมีผลกำ�ไรในแดนบวก แม้จะไม่หวือหวาแต่ก็ ถือว่าพ้นหายนะ หนึ่งในนั้นคือธุรกิจด้านการออกกำ�ลังกายและศูนย์สุขภาพ ซึ่งมีอัตราเติบโตเฉลี่ย ร้อยละ 1.4 ต่อปี หรือคิดเป็นมูลค่า 25.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และคาดว่าในปี 2013 จะมีอัตรา เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 2.5 แน่นอนว่า วิกฤตเศรษฐกิจสุดโหดระหว่างปี 2008-2009 ได้กระชากธุรกิจสุขภาพขนาดใหญ่ ล้มไม่เป็นท่า ส่วนหนึง่ มาจากการทีล่ กู ค้าหันมาตัดรายจ่ายค่าสมาชิกรายปีเพราะถือเป็นสิง่ ฟุม่ เฟือย แต่วกิ ฤตครัง้ นัน้ ได้กอ่ ให้เกิดทางเลือกใหม่ของธุรกิจด้านสุขภาพทัว่ โลก ซึง่ ปรับตัวจากฟิตเนสขนาด ใหญ่มาสูบ่ ริการขนาดเล็กทีม่ คี ณุ ภาพและตอบโจทย์เฉพาะกลุม่ ด้วยการนำ�เสนอรูปแบบใหม่ของการ ออกกำ�ลังกายซึ่งได้รับความนิยมอย่างท่วมท้น โดยเฉพาะในกลุ่มลูกค้าหลักที่เต็มใจจ่ายอย่างกลุ่ม เบบี้บูมเมอร์และหญิงสาววัยทำ�งาน เช่นเดียวกับการปรับพฤติกรรมการออกกำ�ลังกายไปสู่กิจกรรม กลางแจ้งในพืน้ ทีส่ เี ขียวและอากาศยามเช้าทีก่ ลายเป็นกิจวัตรต้นทุนตา่ํ ของผูค้ นในเมืองใหญ่ทว่ั โลก แต่ความนิ ย มต่ อ การเสริ มสร้ างสุ ขภาพไม่ ได้ ส่ ง ผลโดยตรงต่ อ การเติ บ โตของธุ ร กิ จ ด้ า น การออกกำ�ลังกายและศูนย์สุขภาพเท่านั้น เพราะค่านิยมในการดูแลสุขภาพได้ก้าวข้ามจากมิติ ด้านความแข็งแรงและการป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ มาสูม่ ติ ทิ างด้านการเติมเต็มอารมณ์ นัน่ คือ ความงาม การแสดงออกซึ่งสถานะ และการเข้าสังคม เห็นได้จากธุรกิจแฟชั่นกับการกีฬา ที่ห้องเสื้อชั้นนำ� อย่าง จุนยะ วาตานาเบ นำ�เสนอเสื้อผ้าสำ�หรับการวิ่งมาราธอน เช่นเดียวกับเอมิลิโอ ปุชชี่ และ ปราด้า กับกางเกงวิ่งและถุงเท้านักฟุตบอลที่มีเนื้อผ้าระบายเหงื่อได้ดี แม้กระทั่งกุชชี่ ก็นำ�เสนอ ชุดทำ�งานที่สามารถปรับให้กลายเป็นชุดกีฬาได้ในช่วงเย็นของวัน ความกระตือรือร้นของการมีสุขภาพดียังได้รับแรงเสริมและขานรับจากธุรกิจอีกหลายแขนง ไม่เพียงแต่สนิ ค้าแฟชัน่ เท่านัน้ แต่ธรุ กิจข้างเคียงอืน่ ๆ ก็ผลิดอกออกผลเทียบเคียงมากับกระแสนิยม ดังกล่าว ทั้งอุปกรณ์กีฬา แก็ตเจ็ต สมาร์ทโฟน และสำ�หรับการออกกำ�ลังกายยามเช้าด้วยแล้ว ยังเอื้อให้พื้นที่สำ�หรับธุรกิจอย่างร้านกาแฟและอาหารเช้าที่มักเสิร์ฟคู่มากับบริการฟรีสัญญาณ วาย-ฟาย เพื่อการอัพเดทข่าวสารทั้งของโลกและอัพเดทกิจกรรมในขั้นตอนต่างๆ ของตนเอง ผ่านสือ่ สังคมออนไลน์เพิม่ ขึน้ ตามไปด้วย เหล่านีจ้ งึ ยิง่ ส่งให้การออกกำ�ลังกายเป็นกิจกรรมทางสังคม ที่น่าอภิรมย์ขึ้นไปอีก ความใฝ่ฝันจะเป็นเจ้าของร่างกายที่มีสุขภาพดี บางครั้งก็มีต้นทุนอื่นๆ กับรายละเอียดที่ออก จะเกินจำ�เป็นไปสักหน่อย แต่ถ้าหากกิจกรรมเหล่านั้นคือสิ่งที่จะช่วยเพิ่มคุณค่าทางอารมณ์แล้ว ชีวิตที่เริ่มต้นในยามเช้าก็คงสมบูรณ์ยิ่งขึ้นกว่าทุกวัน อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล บรรณาธิการอำ�นวยการ
พฤศจิกายน 2556
l
Creative Thailand
l5
THE SUBJECT ลงมือคิด
Public Parks commons.wikimedia.org
เรื่อง: ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ
ปี 2009 นับเป็นครั้งแรกของประวัติศาสตร์ที่ประชากรซึ่งอาศัยอยู่ในเขตเมืองมีจำ�นวนมากกว่าในชนบท อันเนื่องมาจากการขยายตัว ของเมืองที่ทำ�ให้ภาคอุตสาหกรรมมีบทบาทมากกว่าภาคเกษตรกรรม และเทคโนโลยีตลอดจนการบริการที่เจริญรุดหน้าได้เข้ามามี ส่วนสำ�คัญในการตัดสินใจเลือกทำ�เลที่อยู่อาศัยในเมืองกันมากขึ้น โดยผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่าในปี 2050 ประชากรโลกที่ อาศัยอยู่ในเมืองจะมีจำ�นวนสูงถึงร้อยละ 70
ปรากฏการณ์การกระจุกตัวของประชากรในเขตเมือง ส่งผลให้บทบาทของ พืน้ ทีส่ าธารณะอย่างสวนสาธารณะทวีความสำ�คัญอย่างไม่อาจมองข้ามได้ สวนสาธารณะร่มรื่นท่ามกลางป่าคอนกรีตจึงไม่ได้เพียงเป็นสถานที่ยอด นิยมสำ�หรับการเริ่มต้นเช้าวันใหม่ที่ไม่ว่าใครก็มีสิทธิ์เข้ามาดื่มดํ่ากับ บรรยากาศสดชืน่ ของแสงแดด อากาศบริสทุ ธิ์ และสายลมอ่อนๆ ได้อย่าง เท่าเทียม แต่ยังถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยชี้วัดคุณภาพชีวิตของเมืองในการคืน สมดุลให้สงิ่ แวดล้อม ดูดซับมลพิษทางอากาศ ทัง้ ยังช่วยให้คนเมืองได้ใกล้ ชิดและเรียนรูจ้ ากธรรมชาติ สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ สังคม และสิง่ แวดล้อม ให้แก่ชุมชน เมื่อเร็วๆ นี้ สวนสาธารณะหลายแห่งในสหราชอาณาจักรได้เปิดตัว “Social Fitness Zone” ซึ่งเป็นผลจากคำ�ติชมเล็กๆ ของชาวเมืองคนหนึ่ง ที่มาใช้บริการ ภายใต้การสนับสนุนจากสภาเมือง บริษัทเครื่องออกกำ�ลัง กายโปรลูดิก (Proludic) จึงได้ออกแบบโซนฟิตเนสที่มีป้ายอธิบายวิธี การใช้งานพร้อมด้วยคิวอาร์โค้ดทีผ่ ใู้ ช้สามารถเข้าไปชมวิดโี อสาธิตและคำ� แนะนำ�ประโยชน์ของท่าบริหารแต่ละแบบ รวมถึงการใช้งานที่เหมาะสม กับสมรรถภาพร่างกายโดยผู้เชี่ยวชาญ และยังครอบคลุมท่ากายบริหารที่ แพทย์มักแนะนำ�ให้ผู้ป่วยหลังผ่าตัดเล็กหรือผู้ที่ต้องการลดนํ้าหนักปฏิบัติ ด้วยงบประมาณเพียง 5,000 ปอนด์ต่อจุดออกกำ�ลังกาย จึงถือเป็นการ ลงทุนที่คุ้มค่าที่ทำ�ให้ประชาชนเข้าถึงการออกกำ�ลังมากขึ้น และยังช่วย ประหยัดค่าสวัสดิการสุขภาพที่เก็บจากเงินภาษีอีกด้วย เพราะลำ�พังเพียง 6l
Creative Thailand
l พฤศจิกายน 2556
แค่โครงการควบคุมนาํ้ หนักทีร่ ฐั บาลเมืองผูด้ จี ดั ให้ประชาชนทีอ่ ยูใ่ นภาวะ โรคอ้วนภายในเวลาห้าปีที่ผ่านมาก็ใช้งบประมาณไปแล้วถึง 4 ล้านปอนด์ ในขณะที่สวนสาธารณะอีกหลายแห่งของสหรัฐฯ มักเกิดอุบัติเหตุ จากการที่กิ่งไม้ในสวนตกลงมาถูกรถยนต์และชาวเมืองจนถึงแก่ชีวิต อัน เป็นผลจากการที่งบประมาณซ่อมบำ�รุงถูกตัดในภาวะเศรษฐกิจขาลง สำ�นักงานสวนสาธารณะในเมืองลุยส์วิลล์ได้ค้นพบทางออกใหม่ที่ทำ�ให้ ภาระการดูแลต้นไม้กลายเป็นแหล่งสร้างกำ�ไรให้แก่สวนสาธารณะของ เมือง ด้วยการให้โรงไฟฟ้าชีวมวลของรีแคสท์ เอเนอร์จี (Recast Energy) ซึ่งต้องการวัตถุดิบเพื่อป้อนเข้าสู่โรงงาน เข้ามารับซื้อท่อนไม้และเศษไม้ เหลือใช้จ�ำ นวน 600-1,000 ตันจากสวนสาธารณะ ก่อนนำ�ไปบดและเข้าสู่ กระบวนการผลิตพลังงานความร้อน ด้วยวิธีนี้แทนที่ภาครัฐจะต้องเสียค่า ใช้จา่ ย 25,000 เหรียญสหรัฐฯ ต่อปีในการจัดการกับเศษไม้เหลือใช้ ก็กลับ ทดแทนด้วยการสร้างรายได้ไม่นอ้ ยกว่า 7,000-12,000 เหรียญสหรัฐฯ ต่อปี หากเพียงภาครัฐ เอกชน และประชาชนได้มีส่วนร่วมในการพัฒนา พืน้ ทีส่ ว่ นรวมอย่างสวนสาธารณะให้สามารถทำ�หน้าทีไ่ ด้ดที สี่ ดุ เท่าทีพ่ นื้ ที่ สีเขียวผืนหนึง่ จะมอบให้ชมุ ชนได้ ผลลัพธ์ทยี่ งั่ ยืนและเป็นประโยชน์ตอ่ ทุก ฝ่ายก็คงจะอยู่ไม่ไกล ที่มา: บทความ “Biomass Projects Help Parks Departments Save Money, Environment” (พฤษภาคม 2013) โดย Emily Attwood จาก athleticbusiness.com บทความ “One Woman's Shoulder Pain Inspires New NHS Outdoor Fitness Scheme” (2 กันยายน 2013) จาก proludic.co.uk บทความ “Urban population growth” จาก who.int
THE OBJECT คิดแล้วทำ�
Creative Mornings flickr.com/CreativeMornings/Barcelona
เรื่อง: กมลกานต์ โกศลกาญจน์
เพราะติดใจว่า ทำ�ไมสัมมนาด้านการออกแบบถึงต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงแถมยังมีค่าเข้าชมในราคาที่สูง ทิน่า รอธ ไอเซนเบิร์ก (Tina Roth Eisenberg) นักออกแบบชาวสวิสที่มาตัง้ รกรากทำ�งานอยูใ่ นนิวยอร์ก ผูก้ อ่ ตัง้ บล็อกเพือ่ นักออกแบบบนโลกออนไลน์อย่าง “สวิสมิส (Swissmiss)” จึงได้รเิ ริม่ โครงการแลกเปลีย่ นความคิดเชิงสร้างสรรค์ทเ่ี รียกว่า “ครีเอทีฟมอร์นิงส์ (CreativeMornings)” เพื่อสร้างแรงบันดาลใจด้านการออกแบบในบรรยากาศสบายๆ เหมือนการใช้ช่วงเวลายามเช้าของทุกๆ วัน
ในปี 2008 คอมมูนิตี้เล็กๆ ที่เริ่มต้นขึ้นจากแนวคิดอันเรียบง่ายอย่างการ “ร่วมรับประทานอาหารเช้าและพูดคุยกัน” ได้พัฒนาขึ้นจนเกิดเป็นการ รวมตั ว กั น ทางความคิ ด ของกลุ่ ม คนที่ ส นใจในเรื่ อ งราวเกี่ ย วกั บ การ ออกแบบ ที่จะทยอยกันมาแบ่งปันเรื่องราวที่น่าสนใจให้กันและกันฟังใน รูปแบบการบรรยายทีม่ คี วามยาวไม่เกิน 30 นาที โดยไม่มคี า่ ใช้จา่ ย ภายใต้ บรรยากาศการร่วมกันรับประทานอาหารมื้อเช้า และเรียกงานนี้ว่า “ครีเอทีฟมอร์นิงส์” ด้วยเชื่อว่าความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหางานบรรยาย และช่วงเวลาในการจัดงานนั้นมีความเกี่ยวข้องกันอยู่มาก และการเลือก จัดงานบรรยายสัน้ ๆ เกีย่ วกับงานออกแบบและผลงานทีก่ ระตุน้ แรงบันดาล ใจในเวลาเช้าซึ่งเป็นช่วงเวลาแห่งการเริ่มต้นวันใหม่ ย่อมทำ�ให้กิจกรรมที่ เกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าวเต็มไปด้วยพลัง ความตื่นตัว และความสดชื่น มากที่สุด จากเมืองต้นกำ�เนิดในนิวยอร์ก ครีเอทีฟมอร์นิงส์ได้ขยายขอบเขต ความรู้และการสร้างแรงบันดาลใจในยามเช้าไปสู่เมืองต่างๆ ทั่วโลกอีก กว่า 60 เมือง ไม่ว่าจะเป็นซูริก ไมอามี หรือแอตแลนตา พร้อมๆ กับการ พัฒนาไอเดียพืน้ ฐานสูก่ ารสร้างความเปลีย่ นแปลงในขอบเขตทีก่ ว้างขวาง มากขึ้น เช่น การเชิญผู้เชี่ยวชาญระดับท้องถิ่นไปจนถึงนักออกแบบระดับ โลกมาร่วมกันแบ่งปันองค์ความรูท้ นี่ า่ สนใจ โดยนักออกแบบทีเ่ ป็นตำ�นาน อย่างไมเคิล เบรุต (Michael Bierut) หรือ มิลตัน เกลเซอร์ (Milton Glaser) ก็ได้เคยให้เกียรติมาร่วมบรรยายกับครีเอทีฟมอร์นงิ ส์กนั แล้วทัง้ สิน้
นอกเหนือจากบรรยากาศความสร้างสรรค์ภายใต้ความอิม่ อร่อยจาก อาหารมื้อเช้าที่ถูกจัดแจงอย่างครบถ้วนสำ�หรับการจัดงานในแต่ละครั้ง จากฝีมือผู้จดั งานเอง หรือผูร้ ว่ มสนับสนุนต่างๆ ทีเ่ อือ้ เฟือ้ ตัง้ แต่อาหารไป จนถึงการเป็นช่างภาพหรือเอือ้ เฟือ้ สถานทีจ่ ดั กิจกรรมแล้ว ความสนุกของ ครีเอทีฟมอร์นงิ ส์ทกี่ ระจายไปยังเมืองต่างๆ ยังอยูท่ กี่ ารตีความทีแ่ ตกต่าง กันออกไปภายใต้ธีมงานเดียวกันของแต่ละเมือง เช่น การบรรยายครัง้ ล่าสุดที่จัดขึ้นในเดือนตุลาคมที่ผ่านมาซึ่งถูกกำ�หนดขึ้นภายใต้ธีม “เล่น (Play)” โดยที่ แ วนคู เ วอร์ ไ ด้ ตี ค วามและเลื อ กนำ � เสนอการเล่ น ผ่ า น ผลงานของนักดนตรีและนักเขียนอย่าง ฌอน ฮิวเบิรต์ ส์ (Shaun Huberts) ที่ให้ความหมายของการเล่นว่าไม่ว่าจะล้มเหลวหรือสำ�เร็จ การได้เริ่มต้น เล่นก็เพียงพอแล้วสำ�หรับการเป็นแหล่งพลังของความคิดสร้างสรรค์ที่จะ ตามมา ขณะที่ ง านครี เ อที ฟ มอร์ นิ ง ส์ ใ นสิ ง คโปร์ ก็ ไ ด้ รั บ เกี ย รติ จ าก ซาแมนธา โล (Samantha Lo) นักออกแบบผังเมืองทีเ่ คยเป็นศิลปินสตรีท มาบรรยายว่าเธอได้ใช้ความสนุกจากแนวคิดแบบสตรีทอาร์ต ด้วยการพิมพ์ สติ๊กเกอร์เพื่อแก้ไขปัญหาความอดทนของคนที่กดสัญญาณการข้ามถนน ยา้ํ ๆ หลายครัง้ หรือคนทีบ่ บี ซอสมะเขือเทศมากเกินไปได้อย่างไร เป็นต้น ทีนี้ก็เพียงแค่ตั้งนาฬิกาปลุกให้เช้าขึ้นอีกนิด เพื่อเตรียมตัวสำ�หรับ เช้าวันใหม่ที่มีความหมายมากขึ้นกว่าทุกวันได้แล้ว ที่มา: creativemornings.com สามารถรับชมคลิปวิดีโอการบรรยายจากเมืองต่างๆ ได้ที่: vimeo.com/creativemornings พฤศจิกายน 2556
l
Creative Thailand
l7
CREATIVE RESOURCE วัตถุดิบทางความคิด
เรื่อง: ศุภาศัย วงศ์กุลพิศาล และ กริยา บิลยะลา
FEATURED BOOK
CEREAL: SNAP, CRACKLE, POP CULTURE โดย Ed Daly
หากมีการสำ�รวจว่าแต่ละวันคนเรากินอะไรเป็น อาหารเช้าบ้าง คาดว่าแต่ละวัฒนธรรมและ แต่ละพืน้ ทีค่ งให้ค�ำ ตอบต่อคำ�ถามนีแ้ ตกต่างกัน ไป แต่ส�ำ หรับคนอเมริกนั เกือบครึง่ เลือกทีจ่ ะเริม่ ต้นวันใหม่ด้วย “ซีเรียล” เพื่อตอบสนองการดำ�เนินชีวิตโดยเฉพาะ อย่างยิ่งในสังคมเมืองที่เร่งรีบ เช้าวันทำ�งานซึ่ง มีเวลาในการเตรียมอาหารไม่มากนัก อาหารเช้า ประเภทธัญพืชอบกรอบ หรือ ซีเรียล จึงได้รับ ความนิยมแพร่หลาย เนือ่ งจากวิธกี ารรับประทาน ทีง่ า่ ยและสะดวก เพียงเทลงชามแล้วใส่นมตาม ลงไป เท่านีอ้ าหารเช้าก็พร้อมเสิรฟ์ ให้กบั ทุกคน นอกจากนั้นยังเพิ่มความอร่อยและคุณค่าทาง โภชนาการได้ดว้ ยนาํ้ ผึง้ โยเกิรต์ หรือผลไม้ตาม ต้องการ แล้วแต่ความชอบและสูตรเฉพาะของ แต่ละบุคคล ซีเรียลมีประวัติความเป็นมายาวนานนับ พันปี พอๆ กับช่วงเวลาทีม่ นุษย์รจู้ กั ใช้ธญั พืชเป็น อาหารในอารยธรรมลุ่มแม่นํ้าไทกริส-ยูเฟรติส ยิ่ ง เมื่ อ ค้ น พบว่ า ธั ญ พื ช นั้ น สามารถให้ ไ ด้ ทั้ ง พลังงานและมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ธัญพืช 8 l Creative Thailand l พฤศจิกายน 2556
จึงมีคุณสมบัติท่ีเหมาะสมต่อการใช้เป็นอาหาร มือ้ แรกของวัน โดยปกติแล้วซีเรียลจะทำ�มาจาก ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโอ๊ต ข้าวสาลี หรือข้าวโพด รวมถึงเมล็ดธัญพืชอื่นๆ ซึ่งมีทั้งรูปแบบที่ไม่ ผ่านการแปรรูปหรือที่รู้จักกันในแบบ "มูสลี (Muesli)" ซึ่งเป็นเมล็ดธัญพืชผสมกับผลไม้ อบแห้งเพื่อเพิ่มรสชาติและสารอาหาร โดยได้ รับการคิดค้นขึ้นตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 19 โดย แม็กซิมเิ ลียน เบอร์เชอร์-เบนเนอร์ (Maximilian Bircher-Benner) แพทย์ชาวสวิสและนักวิจัย ทางโภชนาการคนสำ�คัญ และในช่วงเวลาไล่เลีย่ กันนั้น จอห์น ฮาร์วีย์ เคลลอกก์ (John Harvey Kellogg) แพทย์และนักวิจัยโภชนาการชาว อเมริกัน ก็ได้ใช้ทฤษฎีทางโภชนาการที่ใกล้ เคียงกัน นำ�เสนออาหารเช้าประเภทซีเรียล แปรรูปอบกรอบ และเติมส่วนผสมอื่นๆ เพื่อ สร้ า งคุ ณ ค่ า ทางโภชนาการตามที่ ร่ า งกาย ต้องการขึ้นมา ขณะที่จนถึงปัจจุบันก็ยังมีการ แปรรูปเพื่อปรับเปลี่ยนหน้าตาของซีเรียลให้ ดึงดูดและน่ารับประทานมากยิ่งขึ้นอยู่เสมอ อย่างไรก็ตาม สิ่งสำ�คัญในการเลือกซื้อซีเรียล
นั้ น จำ � เป็ น อย่ า งยิ่ ง ที่ จ ะต้ อ งอ่ า นฉลากทาง โภชนาการข้างกล่องอย่างละเอียด และคำ�นวณ ส่วนผสมที่อยู่ภายในให้เหมาะสมกับช่วงวัย และพลังงานที่ใช้ในแต่ละวัน เพื่อไม่ให้ร่างกาย ได้รบั สารอาหารจำ�พวกแป้งและนาํ้ ตาลมากเกิน ความจำ�เป็น เอ็ด เดลี เริ่มแนวคิดในการเขียนหนังสือ เล่มนีจ้ ากการไปยืนอยูห่ น้าชัน้ วางขายซีเรียลใน ห้างสรรพสินค้า และตัง้ คำ�ถามอย่างสนอกสนใจ ว่าเหตุใดซีเรียลจึงต้องมีความหลากหลายมาก ถึงเพียงนี้ ใครคือคนทีจ่ ะซือ้ กล่องนี้ ใครกันทีจ่ ะ สนใจส่วนผสมแบบนัน้ และด้วยความสงสัยเขา จึงกวาดซื้อซีเรียลทุกยี่ห้อที่วางขาย ตั้งใจจะ ทดลองชิม และเขียนคำ�วิจารณ์เกี่ยวกับซีเรียล ทัง้ หมดนัน้ หนังสือเล่มนีน้ า่ สนใจตรงทีน่ อกจาก จะได้รวู้ า่ ซีเรียลทีม่ วี างขายอยูน่ นั้ น่ารับประทาน อย่างไรแล้ว ยังจะได้เห็นการออกแบบบรรจุภณั ฑ์ อาหารเช้าประเภทซีเรียลทีแ่ ต่ละบริษทั พยายาม สื่อสารกับลูกค้าผ่านทางรูปแบบ สีสัน และ ข้อมูลทางโภชนาการที่ดึงดูดใจ
CREATIVE RESOURCE วัตถุดิบทางความคิด
BOOK
FILM
DOCUMENTARY
THE ECONOMIC NATURALIST: โดย Robert H. Frank
MORNING GLORY กำ�กับโดย Roger Michell
SUNRISE EARTH AMERICAN SUNRISES: Vol.1 โดย Discovery Channel
เมื่อพูดถึงคำ�ว่า “เศรษฐศาสตร์” หลายคนอาจ เริ่มรู้สึกเบื่อและเห็นว่าเป็นเรื่องไกลตัว แต่ แท้จริงแล้วเรื่องนี้ไม่ได้มีไว้สอนแค่ในห้องเรียน หรือใช้กนั ในกลุม่ นักการเงินการธนาคารเท่านัน้ เพราะมันมีผลเกี่ยวข้องกับทุกคน ด้วยเป็น ศาสตร์ที่ว่ า ด้ ว ยเหตุ แ ละผล ความต้องการ การเกิดขึ้น และการจัดสรรทรัพยากรต่างๆ ศาสตราจารย์โรเบิรต์ เอช. แฟรงก์ ผูแ้ ต่ง เลือก ทีจ่ ะตัดความเป็นวิชาการอันน่าเบือ่ ออกไป แล้ว แทนที่ด้วยการตั้งคำ�ถามกับทุกอย่างที่พบใน ชีวิตประจำ�วัน จากนั้นพยายามเล่าถึงเหตุและ ผลด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ซึ่งเกร็ดที่ได้จากการ อ่านบางเรื่องก็ให้ข้อคิดด้านการออกแบบอย่าง ไม่รตู้ วั เช่น การตัง้ คำ�ถามต่อบรรจุภณั ฑ์เครือ่ ง ดื่มว่าทำ�ไมกล่องนมถึงต้องเป็นทรงสี่เหลี่ยม ขณะที่กระป๋องนํ้าอัดลมกลับเป็นทรงกลม ซึ่ง เมือ่ อ่านแล้วคุณอาจพบกับความประหลาดใจว่า เรื่ อ งแบบนี้ ก็ ส ามารถอธิ บ ายด้ ว ยหลั ก ทาง เศรษฐศาสตร์ได้ด้วยเหมือนกัน
เมื่อรายการข่าวในรูปแบบสาระบันเทิงยามเช้า ที่นำ�เสนอข้อมูลซึ่งถูกย่อยจนพร้อมเสิร์ฟด้วย บรรยากาศสบายๆ พร้อมลูกเล่นต่างๆ นัน้ กลับ เต็มไปด้วยการแข่งขันอันดุเดือดเพือ่ รักษาความ อยูร่ อดในแวดวงโทรทัศน์ทนี่ บั วันจะมีคแู่ ข่งเพิม่ ขึ้น รายการข่าวเช้า Daybreak ที่กำ�ลังจะหลุด ผังจึงต้องดิน้ รนด้วยกลยุทธ์มากมายภายใต้การ ควบคุมของเบ็กกี้ ที่เพิ่งมานั่งแท่นโปรดิวเซอร์ และต้องทำ�ทุกวิถที างเพือ่ ช่วยให้รายการอยูร่ อด ทัง้ การเชิญนักข่าวมือฉมังแต่หวั รัน้ สองคนทีเ่ ป็น คู่กัดกันมาจัดรายการร่วมจนถึงขนาดทะเลาะ กันกลางอากาศ การให้ผู้อ่านข่าวพยากรณ์ อากาศเล่าข่าวด้วยกิจกรรมทีโ่ ลดโผนแบบไม่ซาํ้ วัน และการเข้าถึงแหล่งข่าวอย่างทันท่วงที เพือ่ ปรับรูปแบบรายการข่าวเช้าให้มสี สี นั มากขึน้ บน พื้นฐานของความถูกต้องแม่นยำ�ในข้อมูล ซึ่ง นอกจากจะช่วยให้รายการอยู่รอดแล้ว ก็ยังจะ เป็นต้นทุนชั้นดีสำ�หรับการส่งผ่านข้อมูลสู่การ พัฒนาและสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ต่อไปในอีก หลายชั่วโมงของวันของผู้ชมรายการอีกด้วย
สารคดีจากดิสคัฟเวอรี่ แชนแนล สร้างสรรค์งาน ผ่านเลนส์โดยถ่ายทอดบรรยากาศรับอรุณจาก นาฬิกาปลุกธรรมชาติในพื้นที่และภูมิประเทศที่ หลากหลายของสหรัฐอเมริกา เช่น อุทยาน แห่งชาติเอเวอร์เกลดส์ พืน้ ทีช่ มุ่ นา้ํ เขตร้อนขนาด ใหญ่และระบบนิเวศชายฝั่งทะเลกับการรับแสง แรกของวันของราชาบึงน้ําอย่างจระเข้ หรือ ชายฝัง่ ทะเลทีส่ มบูรณ์ในเคปค้อด รัฐแมสซาชูเซตส์ กับการเริ่มต้นวันใหม่พร้อมนกทะเลนับ หมื่น กระทั่งทิวทัศน์ของแม่น้ําเพน็อบสค็อต รัฐเมน ที่สายหมอกประหนึ่งเป็นส่วนเดียวกับ สายนํ้า พร้อมนำ�เสนอภาพของเข็มนาฬิกาใน ธรรมชาติที่มาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงแบบ นาทีต่อนาทีบนจอบันทึกภาพที่มีมิติด้านแสง และสีทสี่ วยงาม เพือ่ ตอกยาํ้ ถึงการคงสภาพของ วิถีธรรมชาติไม่ให้เปลี่ยนแปลงไป เพราะถึงแม้ มนุษย์จะยังคงมีนาฬิกาสำ�หรับบอกวันเวลา แต่ สำ�หรับสิง่ มีชวี ติ อืน่ ๆ พวกมันต่างต้องพึง่ พาแสง ธรรมชาติอย่างแสงอาทิตย์เป็นตัวปลุกเร้าสำ�หรับ การตืน่ และการเริม่ ต้นวันใหม่ พฤศจิกายน 2556
l
Creative Thailand
l9
© Ki Price/Corbis
MATTER วัสดุต้นคิด
เรื่อง: ชมพูนุท วีรกิตติ และ ปิยวรรณ กลิ่นศรีสุข
จากการสำ�รวจทัศนคติและพฤติกรรมการเลือกซื้อเสื้อผ้ากีฬาของคนไทยโดยสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอพบว่ามีแนวโน้ม เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยอันดับแรกๆ ในการเลือกซื้อคือความเหมาะสมในการใช้งาน ทำ�ให้ผู้ผลิตทั้งในและต่างประเทศ ต้องหันมาพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีทเี่ น้นคุณสมบัตเิ ด่นของเส้นใยไม่วา่ จะเป็นการกำ�จัดเชือ้ แบคทีเรียและกลิน่ ทีไ่ ม่พงึ ประสงค์ และการควบคุมอุณหภูมิซึ่งช่วยให้ผู้สวมใส่สบายมากขึ้น
สำ�หรับคุณสมบัตแิ รกด้านการกำ�จัดเชือ้ แบคทีเรียนัน้ เกิดจากการประยุกต์ นำ�นวัตกรรมอนุภาคนาโนมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของเนื้อผ้าธรรมดาให้ กลายเป็นเส้นใยที่มีคุณลักษณะพิเศษ เช่น ป้องกันรังสียูวี กันนํ้า กำ�จัด แบคทีเรีย ลดไฟฟ้าสถิตย์ หรือป้องกันการยับของเนือ้ ผ้า โดยเสือ้ นาโนกัน แบคทีเรียทีเ่ หมาะนำ�มาตัดเย็บเป็นชุดกีฬานัน้ เกิดจากการใช้สารอนุภาค นาโนซึ่งมีอยู่ 3 รูปแบบ ได้แก่ อนุภาคไททาเนียมไดออกไซด์ อนุภาค ซิงค์ออกไซด์ และอนุภาคซิลเวอร์นาโน โดยกระบวนการทำ�งานของ ไททาเนียมไดออกไซด์และซิงค์ออกไซด์ จะต้องทำ�งานร่วมกับแสงแดด เพื่อเร่งปฏิกิริยาการฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของกลิ่นไม่พึงประสงค์ บนเนือ้ ผ้า ส่วนอนุภาคซิลเวอร์นาโนจะฆ่าเชือ้ โรคด้วยการซึมผ่านผนังเซลล์ ของแบคทีเรียเข้าไปทำ�ลายดีเอ็นเอและโปรตีนอืน่ ๆ ของจุลนิ ทรีย์ รวมทัง้ ขัดขวางการแบ่งตัวของดีเอ็นเอ ทำ�ให้เชื้อแบคทีเรียตายลง โดยไม่ต้อง อาศัยแสงแดดเข้ามาช่วยทำ�ปฏิกริยาใดๆ จึงเหมาะอย่างยิ่งแม้ในวันที่ ท้องฟ้าครึ้ม ขณะที่เทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มความรู้สึกกระชับสบายขณะสวมใส่และ ควบคุมอุณหภูมิที่เหมาะสมในร่างกาย ก็เป็นอีกหนึ่งคุณสมบัติที่ทั้ง 10 l
Creative Thailand
l พฤศจิกายน 2556
ผู้ ผ ลิ ต และผู้ ส วมใส่ ใ ห้ ค วามสำ � คั ญ แม้ ก ระทั่ ง แบรนด์ ดั ง อย่ า งไนกี้ ยังเลือกพัฒนานวัตกรรมด้านนี้โดยการผลิตชุดกีฬา Nike Dri-FIT Knit ที่ถักทอและออกแบบให้ไร้รอยตะเข็บ ด้วยโครงสร้าง Tri-Blend ช่วยลด การระคายเคืองที่เกิดจากการเสียดสีและการเคลื่อนไหว ยิ่งไปกว่านั้น โครงการ BIOTEX ที่ขึ้นเกิดจากความร่วมมือของหลายบริษัทพัฒนา ผลิตภัณฑ์ในภาคพื้นยุโรป ยังผลิตเสื้อที่สามารถประเมินค่าทางเคมีของ เหงือ่ ได้แบบเรียลไทม์ โดยใช้วสั ดุผา้ ทีอ่ าศัยการวิเคราะห์โดยเปรียบเทียบ ความเข้มของสี (Colorimetric Analysis) และใช้สีย้อมที่สามารถเปลี่ยน ตามค่าความเป็นกรดและด่าง (pH) ของเหงือ่ ทำ�ให้สามารถวัดผลสุขภาพ จากเหงือ่ ได้โดยการอ่านผลค่าการนำ�ไฟฟ้า ความเข้มข้นของโซเดียม และ อุณหภูมิร่างกาย จะเห็นได้ว่า แม้การออกกำ�ลังกายจะเป็นเรื่องการใช้ธรรมชาติของ ร่างกายเพือ่ เพิม่ ความสมบูรณ์ทางร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ แต่บอ่ ยครัง้ ทีน่ วัตกรรมและเทคโนโลยีลาํ้ สมัยก็อาจสามารถเข้ามาช่วยเสริมสร้างความ เป็นธรรมชาติของมนุษย์ในด้านนี้ให้มีประสิทธิภาพที่มากยิ่งขึ้นได้อย่าง กลมกลืน ที่มา: materialconnexion.com, nike.com, thaitextile.org
CLASSIC ITEM คลาสสิก
NEWSPAPER เรื่อง: กมลกานต์ โกศลกาญจน์
พฤติกรรมการอ่านหนังสือพิมพ์เคียงคู่ไปกับการดื่มกาแฟในตอนเช้าคือภาพชินตาสำ�หรับผู้คนในหลายเมืองทั่วโลก เมื่อการเลือก เปิดรับข่าวสารผ่านตัวหนังสือนับพันทีเ่ รียงอยูใ่ นหนึง่ หน้ากระดาษนับเป็นสัญญาณแห่งการเริม่ ต้นวันใหม่ ทีจ่ ะได้รบั รูค้ วามเคลือ่ นไหว ที่กำ�ลังดำ�เนินอยู่ทั้งระดับภายในและต่างประเทศ ซึ่งมักจะครอบคลุมเนื้อหาตั้งแต่สังคม การเมือง เศรษฐกิจ กีฬา สิ่งแวดล้อม ไป จนถึงเรื่องบันเทิง แม้วนั นีส้ อ่ื สิง่ พิมพ์ทเ่ี ก่าแก่ทส่ี ดุ อย่างหนึง่ ของโลกอย่าง “หนังสือพิมพ์” จะได้ทยอยปรับตัวตามความเปลีย่ นแปลง ของพฤติกรรมนักอ่านและความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี แต่อุตสาหกรรมสื่อที่มีเม็ดเงินสะพัดนับหมื่นล้านนี้ ก็ยังคงไว้ซึ่งการ เป็นสถาบันที่ทรงอิทธิพลสูงสุดแห่งหนึ่งของโลกปัจจุบันอยู่นั่นเอง • ยุคโรมันโบราณ Acta Diurna หรือ Daily Acts คือ การเผยแพร่ข่าวสารด้วยการแกะสลักข้อความลงบน แผ่นหินหรือโลหะ ก่อนนำ�ไปวางในพืน้ ทีส่ าธารณะเพือ่ แจ้งข่าวสารสำ�หรับผูค้ นทัว่ ไป โดยจะมีการผลัดเปลีย่ น ทุกๆ 2-3 วัน เนื้อหาใน Acta Diurna มักบอกเล่า เหตุการณ์ตา่ งๆ ในแต่ละพืน้ ที่ ทัง้ การเกิด การแต่งงาน การตาย ไปจนถึงเรื่องพระราชกฤษฎีกาและกฎหมาย ที่บั งคั บใช้ Acta Diurna จึงถือเป็นการประกาศ “ข่าวสาร” อย่างเป็นทางการครั้งแรกๆ ในโลก • คนส่งหนังสือพิมพ์ (Paperboy) ผู้รับหน้าที่จัดส่ง หนังสือพิมพ์ให้แต่ละบ้านผ่านยวดยานพาหนะอย่าง จักรยานหรือจักรยานยนต์ ส่วนมากจะเป็นเด็กวัยรุ่น ชายทีต่ อ้ งการทำ�งานเพือ่ หารายได้เสริม อาชีพดังกล่าว เริ่ ม ต้ น ในปี 1833 จากโฆษณาของหนั ง สื อ พิ ม พ์ The New York Sun ที่ประกาศหาคนจัดจำ�หน่าย หนังสือพิมพ์ตามหัวมุมถนนก่อนจะพัฒนามาเป็นการ ส่งหนังสือพิมพ์ตามบ้าน นิวท์ วอลเลซ (Newt Wallace) ในวัย 93 ปี ยังคงทำ�หน้าที่ส่งหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น The Winter Express ในแคลิฟอร์เนีย และนับเป็นคนส่ง หนังสือพิมพ์ที่อายุมากที่สุดในโลก
• นอกเหนือจากเนื้อหาของข่าว หนังสือพิมพ์มักจะ จัดสรรพื้นที่ไว้สำ�หรับเนื้อหาเพื่อความบันเทิงที่แฝง แนวคิดของช่วงเวลาด้วยเช่นกัน การ์ตนู ยอดนิยมอย่าง พีนตั ส์ (Peanuts) หรือป๊อปอายส์ (Popeyes) ก็เริม่ ต้น ด้วยการเป็นการ์ตูนช่องในหนังสือพิมพ์วันอาทิตย์ ก่อนประสบความสำ�เร็จอย่างสูงจนได้ไปปรากฏอยู่ใน รูปแบบอืน่ ๆ อย่างหนังสือการ์ตนู หรือรายการโทรทัศน์ สำ�หรับหนังสือพิมพ์ไทย การ์ตูนช่องเป็นพื้นที่สำ�หรับ สะท้อนประเด็นร้อนในสังคมหรือเสียดสีเรื่องการเมือง ลายเส้นที่เป็นที่รู้จักกันดี คือ ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน ของชัย ราชวัตร ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ หรือ ชูชาติ หมื่นอินกุล ในหนังสือพิมพ์มติชน • พฤติกรรมการตื่นมาเช็กข่าวผ่านแอพพลิเคชันใน มือถือทั้งที่ยังไม่ลุกจากเตียง บ่งชี้ว่าอัตราการเปิดรับ ข่าวสารของผู้คนในยุคปัจจุบันนี้เปลี่ยนแปลงไป จาก การสำ�รวจของสำ�นักวิจยั พิว (Pew Research Center) พบว่า ในปี 2012 ชาวอเมริกาเปิดรับข่าวสารจาก หนังสือพิมพ์ลดลงเหลือเพียงร้อยละ 29 เท่านั้น และ เปิดรับข่าวจากสื่อออนไลน์มากถึงร้อยละ 39
• ในแต่ละปี จะมีการมอบรางวัลพูลิตเซอร์ (Pulitzer Prize) รางวัลอันทรงเกียรติสำ�หรับหนังสือพิมพ์และ สำ�นักข่าว ซึง่ ครอบคลุมถึงสาขาอืน่ ๆ อย่างวรรณกรรม การแสดง และดนตรี รวมทั้งสิ้น 20 รายการ สำ�หรับ ปี 2013 นี้ หนังสือพิมพ์ The New York Times คว้าไป ได้มากสูงสุดถึง 4 รางวัล จากด้านการรายงานข่าว ต่างประเทศ รายงานข่าวชี้แจง รายงานข่าวสืบสวน และการเขียนสารคดี • “หนังสือพิมพ์เช้า ภาพข่าวสดประจำ�บ้าน” คือ สโลแกนของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ในช่วงยุคก่อตัง้ เมือ่ ปี 2505 ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็น “หนังสือพิมพ์ที่มียอด จำ�หน่ายสูงสุดในประเทศ” ด้วยจำ�นวนพิมพ์หนึ่งล้าน ฉบับต่อวัน • หอสมุดแห่งชาติ คือสถานที่รวบรวมสื่อสิ่งพิมพ์ไว้ หลากหลายประเภท ทัง้ นิตยสาร วารสาร วิทยานิพนธ์ ไปจนถึงหนังสือหายาก จดหมายเหตุ คัมภีร์โบราณ พงศาวดาร และหนังสือพิมพ์ทมี่ แี ทบทุกหัวและทุกฉบับ จนถึงฉบับปัจจุบนั เพือ่ ให้ผสู้ นใจสามารถเข้าไปค้นหา และศึกษาประวัติศาสตร์ความเป็นมาของบ้านเมือง ผ่านทางหน้าหนังสือพิมพ์ในอดีตได้อย่างสะดวกสบาย ที่มา: nytimes.com, nlt.go.th, thairath.co.th, pulitzer.org, pewresearch.org, วิกิพีเดีย
พฤศจิกายน 2556
l
Creative Thailand
l 11
instagram.com/peduck
COVER STORY เรื่องจากปก
เรื่อง: ปิยพร อรุณเกรียงไกร
ไม่ใช่เรือ่ งแปลก หากสิง่ แรกทีค่ ณ ุ ทำ�เมือ่ ลืมตาตืน่ คือการหยิบโทรศัพท์มอื ถือขึน้ มาปิด เสียงนาฬิกาปลุก เปิดเช็กเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ อินสตาแกรม พินเทอร์เรสต์ หรือโซเชียล เน็ตเวิรก์ อืน่ ๆ กดไลค์ขอ้ ความทีถ่ กู ใจขณะแปรงฟัน กินข้าว จิบกาแฟหอมกรุน่ สนุกกับ การถ่ายภาพ เลือกฟิลเตอร์ โพสต์รูปเช้าวันใหม่และไทม์ไลน์ของคุณก็เต็มไปด้วยรูป ถ่ายเหล่านี้เช่นกัน ทุกวันนี้ อัตราการเติบโตและขยายตัวของสังคมออนไลน์ยงั คงเพิม่ ขึน้ อย่างต่อเนือ่ ง พฤติกรรมการแชร์ความคิดเห็นและประสบการณ์ ได้กลายเป็นส่วนหนึง่ ของไลฟ์สไตล์ ของกลุ่มคนที่มีกำ�ลังซื้อและเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ๆ สิ่งที่น่าสนใจก็คือปริมาณข้อมูลทั้ง ภาพและข้อความมหาศาลที่สะพัดในโลกเสมือนในยามเช้านี้กำ�ลังบอกอะไรกับเรา
12 l
Creative Thailand
l พฤศจิกายน 2556
1
instagram.com/pentagonheart instagram.com/poppyjenner
instagram.com/romo001
instagram.com/goodmorningbreakfast
instagram.com/s_krasamd
จากสถิติรูปถ่ายทั้งหมดที่ถูกโพสต์ในอินสตาแกรม ซึ่งปัจจุบันมีผู้ใช้เป็นประจำ� (Active Users) ราว 130 ล้านคนทัว่ โลก มีคนโพสต์รปู มากกว่า 160 พันล้านรูปต่อวัน พบว่ามีรปู ทีต่ ดิ แฮชแท็ก (Hashtag) #goodmorning มากกว่า 16 ล้านรูป1 ซึ่งส่วนใหญ่สะท้อนเรื่องราวที่เกิดขึ้นในตอนเช้า นับตั้งแต่ แสงแรกของวัน อาหาร กิจกรรมชวนผ่อนคลาย รวมทั้งสิ่งที่พบเห็นในระหว่างการเดินทางจากบ้าน ไปยังโรงเรียนหรือที่ทำ�งาน และยังไม่นับแฮชแท็กอื่นที่แตกไลน์ออกมามากมาย เช่น #morningrun #morningwalk #morningcoffee และ #morningsky เป็นต้น รูปถ่ายเหล่านี้ นอกจากจะเป็นเครือ่ งมือในการแสดงออกทางตัวตน ทัศนคติ ฐานะ และไลฟ์สไตล์ ในทางอ้อมแล้ว ยังเปลี่ยนรูปแบบกิจวัตรในยามเช้าซึ่งเคยเป็นประสบการณ์ส่วนบุคคล โดยมี ผู้กระทำ�และคนรอบข้างเท่านั้นที่รู้ ไปสู่ประสบการณ์ร่วมและประสบการณ์สาธารณะ โดยมีเพื่อน ในโลกออนไลน์คอยโต้ตอบแสดงความคิดเห็นร่วม
instagram.com/lilweirdp
instagram.com/mtalormh92
COVER STORY เรื่องจากปก
ข้อมูล ณ วันที่ 25 ตุลาคม 2013
พฤศจิกายน 2556
l
Creative Thailand
l 13
COVER STORY เรื่องจากปก
instagram.com/leesamantha
#morningtrend
ปรากฏการณ์ เ หล่ า นี้ อ าจเป็ น เพี ย งเทรนด์ ที่ เกิดขึ้นในยุคที่โซเชียล เน็ตเวิร์กกำ�ลังรุ่งเรือง สุดๆ แต่ขณะเดียวกันก็หยิบยื่นโอกาสให้เราได้ สังเกตและศึกษาพฤติกรรมของคนทั่วโลกที่ เกิ ด ขึ้ น ในช่ ว งเช้ า ได้ อ ย่ า งใกล้ ชิ ด มองเห็ น ความต้องการใหม่ๆ ของคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ใช้ ชีวติ สวนทางกับคนส่วนใหญ่ทตี่ อ้ งเร่งรีบออกไป ทำ�งาน ทีส่ �ำ คัญ กลุม่ คนเหล่านีเ้ ชือ่ ว่าการตืน่ เช้า คือกำ�ไรของชีวิต ซึ่งจะเพิ่มพูนเป็นต้นทุนบวก ในการทำ�งานอย่างเต็มที่ตลอดทั้งวันหากรู้จัก บริหารเวลาอย่างคุ้มค่า แต่ขณะเดียวกัน ไม่ว่า เราจะใช้เวลายามเช้าอย่างละเมียดละไมหรือ เร่งรีบ ก็ยังมีธุรกิจอีกหลายหลากรูปแบบที่รอ ตอบสนองความต้องการของเราตลอดสองข้าง ทางเมื่อเช้าวันใหม่เดินทางมาถึง
14 l
Creative Thailand
l พฤศจิกายน 2556
facebook.com/roastbkk
ซาแมนธา ลี (Samantha Lee) คุณแม่ลูกสองชาวมาเลเซียโพสต์รูปอาหารที่ทำ�ให้ลูกๆ ของเธอลงใน อินสตาแกรมทุกวันจนโด่งดังไปทั่วโลก มีคนฟอลโลว์ไม่ตํ่ากว่าสามแสนคน เพราะอาหารแต่ละจานนั้น เต็มไปด้วยไอเดียสุดครีเอทีฟ ไม่ว่าจะเป็นแพนเค้กรูปคิตตี้ ข้าวผัดรูปตัวมิเนียน ข้าวแกงกะหรี่รูปไซ นักร้องเกาหลีชื่อดัง ฯลฯ ทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้ลูกทั้งสองสนุกกับการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ได้โดย ไม่เลือกกินนั่นเอง ปัจจุบัน ลีเขียนบล็อกและเปิดเพจเฟซบุ๊กเพื่อแบ่งปันสูตรการทำ�อาหารให้แฟนๆ และ กำ�ลังจะจัดเวิร์กช็อปสอนทำ�อาหารในเร็วๆ นี้อีกด้วย อีกฟากหนึ่งของโลก ชาร์ลี ดาร์ก (Charlie Dark) นักเขียนและดีเจผู้หลงรักการวิ่งเป็นชีวิตจิตใจ ได้ชกั ชวนเพือ่ นจากหลายสาขาอาชีพในลอนดอนมาร่วมกันก่อตัง้ คอมมูนติ เ้ี ล็กๆ ทีม่ ชี อ่ื ว่า “Run Dem Crew” เพื่อชักชวนให้คนออกมาวิ่งและสูดอากาศสดชื่นในยามเช้าไปด้วยกัน พร้อมกับแนะนำ�วิธีการวิ่งในเมือง อย่างปลอดภัยไปจนถึงเทคนิคสำ�คัญทีข่ าดไม่ได้ส�ำ หรับการวิง่ แข่งมาราธอน ไม่เพียงเท่านัน้ พวกเขายังอัพเดท ข้อมูล เรื่องราว และภาพบรรยากาศในสนามแข่งขันผ่านทางเว็บไซต์ rundemcrew.com และทวิตเตอร์ twitter.com/rundemcrew เพือ่ สร้างแรงบันดาลใจให้แก่คนทีย่ งั ไม่เคยสัมผัสประสบการณ์การวิง่ อีกนับไม่ถว้ น
#goodbreakfast #goodstart โจ๊ก ต้มเลือดหมู ข้าวเหนียวหมูปิ้ง นํ้าเต้าหู้ แซนด์วิช อาหารสำ�เร็จรูปในร้านสะดวกซื้อ ร้านเบเกอรี่ตามสถานีรถไฟฟ้า ร้านขายข้าวแกงริมทางในย่านออฟฟิศ รถเข็นขายชา กาแฟหรือร้านกาแฟแฟรนไชส์ชื่อดัง ธุรกิจเหล่านี้กำ�ลังทำ�หน้าที่รองรับชีวิตเร่งด่วน ของคนเมืองใหญ่เช่นกรุงเทพฯ ที่ไม่มีเวลาทำ�อาหารเช้าและต้องไปเรียนหรือทำ�งานให้ ทันเวลา โดยหยิบยื่นสินค้าและบริการที่แสนสะดวกรวดเร็วให้กับผู้บริโภคตั้งแต่จันทร์ ถึงศุกร์ในราคาที่เอื้อมถึง วันหยุดสุดสัปดาห์จึงกลายเป็นช่วงเวลาที่คนส่วนใหญ่ได้ พักผ่อนและดีท็อกซ์อารมณ์ความเครียดที่สั่งสมมาตลอดทั้งสัปดาห์
COVER STORY เรื่องจากปก
ในขณะที่บางคนเลือกให้รางวัลตนเองด้วยการ ตืน่ สายกว่าปกติ บางคนกลับเลือกทีจ่ ะทำ�กิจกรรม ชวนผ่อนคลายอย่างมีจริต เช่น รับประทาน อาหารอร่อยๆ คู่กับกาแฟดีๆ เล่นโยคะ ปั่น จักรยาน หรือออกกำ�ลังกายที่ฟิตเนสใกล้บ้าน ความต้องการที่หลากหลายและแปรเปลี่ยนไป ตามไลฟ์ ส ไตล์ ข องคนในสังคมนี้เองที่ทำ�ให้ ผู้ประกอบการมองเห็นความเป็นไปได้ในการ ทำ�ธุรกิจ หรือกระทัง่ ทดลองสร้างความต้องการ ใหม่ ที่แม้แต่ผู้บริโภคเองก็คาดไม่ถึงขึ้น ซึ่งนำ� ไปสู่การเติบโตของธุรกิจอิสระรูปแบบใหม่ของ คนที่ตั้งใจมอบประสบการณ์ยามเช้าที่แตกต่าง ไปจากเดิมให้กับผู้บริโภค หากมื้ อ เช้ า คื อ มื้ อ อาหารที่ สำ � คั ญ ที่ สุ ด แต่ใช่ว่าทุกคนจะสามารถตื่นแต่เช้าไปกินได้ ทุกวัน ธุรกิจร้านอาหารที่เปิดบริการอาหารเช้า ทั้งวัน (All-day Brunch) จึงน่าจะตอบโจทย์ ข้อนี้ได้ดีที่สุด “โรสต์ คอฟฟี่ แอนด์ อีทเทอรี (Roast Coffee & Eatery)” คือหนึง่ ในร้านอาหาร รายแรกๆ ในกรุงเทพฯ ที่หยิบยื่นวัฒนธรรม การรับประทานอาหารบรันช์ (Brunch Culture) ให้ผู้บริโภคได้ลิ้มลองประสบการณ์ใหม่ๆ และ สามารถเรี ย กคะแนนนิ ย มจากคนไทยและ ชาวต่างชาติได้เป็นอย่างดี จนกระทั่งเกิดเป็น กระแสโด่งดังไปทัว่ โซเชียล เน็ตเวิรก์ และแม้วา่ วันนี้ธุรกิจจะย่างเข้าสู่ปีที่ 3 แต่จำ�นวนของ ลูกค้าที่โพสต์รูปอาหาร ขนมหวาน และกาแฟ ของทางร้านในโลกออนไลน์ ก็ยังไม่มีท่าทีว่า จะหายไปง่ายๆ พอๆ กับการต่อคิวที่นับวัน แถวก็จะยิ่งยาวมากขึ้น
instagram.com/roastbkk
web.stagram.com/n/aeongjoemrith
วรัตต์ วิจิตรวาทการ เจ้าของธุรกิจอธิบาย ถึงจุดตั้งต้นของการเปิดร้านว่ามาจากความ หลงใหลส่วนตัวที่มีต่อกาแฟ และมองว่าคงจะ ไม่มีอะไรเข้ากันได้ดีไปกว่าอาหารเช้าที่สดใหม่ กับกาแฟคุณภาพเยี่ยมสักถ้วย เขาจึงชักชวน คนที่มีความถนัดในแต่ละด้านและมีความรัก ในการทำ�งานคล้ายๆ กัน คือจอห์นนี ลิว (Johnny Liu) เชฟชาวไต้หวัน และสมเดช เหลืองทวีบุญ มาร่วมทีม โดยเลือกที่จะลงมือ ทำ�เองและใส่ใจในทุกๆ รายละเอียด “หลายๆ คนพยายามสร้างแบรนด์ ทำ�ให้มันเป็นเทรนด์ แต่เขาลืมว่าสิ่งที่สำ�คัญที่สุดคือโปรดักต์ เพราะ ท้ายที่สุดแล้ว คุณจะสร้างแบรนด์ดีขนาดไหน ร้านสวยขนาดไหน ถ้าไม่อร่อยคุณจะกลับมา ทำ�ไม เราเลยผลิตทุกอย่างเองตัง้ แต่น�ำ เข้ากาแฟ ผลิตขนมปังเอง ปลูกผักบางชนิดเอง เพราะว่า เราใส่ใจในสิง่ ทีเ่ ราผลิต สิง่ ทีค่ นจะกิน ทีส่ �ำ คัญ เรามอบโอกาสให้คนอื่นได้ทำ�สิ่งที่ตนเองรัก จริงๆ เขาก็มคี วามสุขและทำ�งานกับเราได้นาน” ยิ่งไปกว่านั้น เขายังเลือกใช้โซเชียล มีเดียโดย เฉพาะอินสตาแกรมเป็นช่องทางหลักในการ สื่อสารกับลูกค้าคนเมืองที่มีความกระหายใน การรับประสบการณ์ใหม่ๆ ได้อย่างน่าทึ่ง ใน ฐานะบาริสต้าเขามองว่าหากลูกค้าใช้เวลา 10 นาที ใ นการถ่ า ยรู ป ก็ อ าจจะพลาดโอกาสลิ้ ม ลองรสชาติที่ดีที่สุดของกาแฟไปในทันที แต่
ท้ายที่สุดแล้วความพึงพอใจของลูกค้าอาจไม่ได้ ขึน้ อยูก่ บั รสชาติของอาหารเท่านัน้ หากหมายรวม ถึงการแชร์ประสบการณ์และความประทับใจที่ มีต่ออาหารจานนั้นด้วย กระแสการนำ � เข้ า วั ฒ นธรรมอาหารเช้ า จากต่างชาติไม่ได้บูมแค่ในเมืองไทยเท่านั้น จอห์น เดวิตต์ (John Devitt) เจ้าของร้าน อาหารญี่ ปุ่ น สไตล์ ฟิ ว ชั่ น ชื่ อ ดั ง ในย่ า นโซโห แห่งลอนดอนที่ชื่อ “โคยะ (Koya)” และจุนยะ ยามาซากิ (Junya Yamazaki) หัวหน้าเชฟ ประจำ�ร้านได้ตัดสินใจเปิดร้านอีกสาขาในชื่อ “โคยะ บาร์ (Koya Bar)” เพื่อเสิร์ฟอุด้งทำ�เอง โดยเฉพาะ โดยมีชูโกะ โอดะ (Shuko Oda) เชฟสาวชาวญี่ปุ่นรับหน้าที่เป็นคนทำ�อุด้งสดๆ เองและเคี่ยวนํ้าซุปรสกลมกล่อมเสิร์ฟให้กับ ลูกค้าได้กินกันตั้งแต่แปดโมงเช้า อาหารญี่ปุ่น นั้นขึ้นชื่อเรื่องความพิถีพิถันในการปรุงอาหาร อยู่แล้ว โอดะจึงนำ�จุดเด่นดังกล่าวมาปรุงคู่กับ วัตถุดิบของอาหารตะวันตก คิดค้นเมนูพิเศษ ประจำ�ร้านเพื่อสร้างสรรค์รสชาติใหม่ๆ ที่ไม่ ซา้ํ ใคร อย่างเช่น ข้าวคลุกแกงกะหรีป่ ลาค็อดสับ และอุด้งอิงลิชเบรคฟาสต์ท่ปี ระกอบด้วยไข่ลวก เบคอนรมควัน และเห็ดชิตาเกะซึ่งขายดีเป็น เทนํ้าเทท่าจนติดอันดับร้านอาหารแนะนำ�ใน ลอนดอนในเว็บไซต์ตา่ งๆ แม้ทางร้านจะจัดทีน่ ง่ั รองรับลูกค้าเพียง 25 ที่เท่านั้นก็ตาม พฤศจิกายน 2556
l
Creative Thailand
l 15
COVER STORY เรื่องจากปก
#newageofcoffee จะด้วยกลิน่ หอมกรุน่ รสสัมผัส หรือระดับคาเฟอีนทีช่ ว่ ยมอบความรูส้ กึ กระปรีก้ ระเปร่า กาแฟก็เป็นหนึ่งในเครื่องดื่มที่เติมเต็มเช้าวันใหม่ให้กับผู้คนเรื่อยมา โดยเฉพาะคนใน ยุโรปที่นิยมดื่มกาแฟตั้งแต่เช้า หรือแม้แต่อังกฤษซึ่งดื่มชาตามขนบธรรมเนียมกันมา ยาวนานก็ยงั แบ่งใจมาให้เครือ่ งดืม่ ชนิดนี้ จึงเป็นเรือ่ งปกติทจ่ี ะพบเห็นร้านกาแฟเรียงราย บนถนนแทบทุกเส้น ตั้งแต่แบรนด์ดังๆ ไปจนถึงร้านกาแฟอิสระที่คั่วกาแฟเอง
ปัจจุบนั ธุรกิจกาแฟไทยกำ�ลังปรับเปลีย่ นรูปแบบ ครั้งใหญ่เช่นกัน จากเดิมที่ผู้บริโภคนิยมดื่ม กาแฟสำ�เร็จรูปหรือซื้อกาแฟตามร้านแฟรนไชส์ ชื่อดังจากต่างประเทศ ก็เริ่มหันมาอุดหนุนร้าน กาแฟอิสระในเมืองใหญ่และแหล่งท่องเที่ยวกัน มากขึน้ เพือ่ แสวงหาทางเลือกใหม่ๆ ทีส่ ามารถ หยิบยื่นสิ่งที่ดีที่สุดให้กับตนเอง บางคนอาจ มองหาร้านกาแฟที่ตกแต่งอย่างมีสไตล์ พร้อม บริการฟรีสัญญาณวาย-ฟาย ในขณะเดียวกัน ก็ยังมีกลุ่มเป้าหมายเฉพาะที่ไม่เพียงแค่พิถีพิถัน ในการเลือกเครื่องดื่มเป็นพิเศษ แต่ยังสนใจใน ที่มาของกาแฟในถ้วยอีกด้วย ผู้ประกอบการ ธุรกิจกาแฟจึงกำ�ลังเดินเข้าสู่ยุคที่คนขายไม่ได้ รับหน้าที่ชงกาแฟเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป แต่ ควรมีความรู้ ทักษะความชำ�นาญ และสามารถ แบ่งปันประสบการณ์ให้กับลูกค้าและผู้ที่สนใจ ในธุรกิจกาแฟได้ในระดับหนึ่ง “เซเรเซีย คอฟฟี่ โรสเตอร์ส (Ceresia Coffee Roasters)” ร้านกาแฟเล็กๆ แห่งใหม่ใน ซอยสุขุมวิท 33/1 คือตัวอย่างของธุรกิจที่ว่าย ทวนกระแสหลักและพาผูบ้ ริโภคก้าวเข้าสูย่ คุ ใหม่ ของกาแฟ ด้วยการเชื่อมโยงและร้อยเรียงจุด เล็กๆ ในโลกของกาแฟ ตั้งแต่คนปลูก คนคั่ว คนขาย และคนดื่มเข้าด้วยกัน ด้วยความที่เคย คลุ ก คลี กั บ วั ฒ นธรรมกาแฟในต่ า งประเทศ มาก่อน การิน อัศวเรืองชัย และลูเซีย อากีลาร์ สองสามีภรรยาและพีส่ าวชาวเวเนซูเอลา มาเรียน อากีลาร์ จึงมาเปิดร้านกาแฟในเมืองไทยและ ลงมือสร้างสรรค์รสชาติเอง แต่แทนทีจ่ ะใช้กาแฟ ของแบรนด์ชั้นนำ�เหมือนร้านทั่วไป พวกเขา 16 l
Creative Thailand
l พฤศจิกายน 2556
instagram.com/louktan
กลับคัดสรรเมล็ดพันธุ์กาแฟในแต่ละฤดูกาล จากฟาร์มท้องถิ่นในไทยและต่างประเทศมาให้ ลูกค้าได้ลม้ิ ลอง โดยมุง่ นำ�เสนอความหลากหลาย และสดใหม่ของกาแฟทัง้ ในรูปแบบซิงเกิลออริจนิ (Single Origin) และเบลน (Blended Coffee) เช่น ซิดาโม (Sidamo) จากเอธิโอเปียและ ฟามิเลีย มามานิ มามานิ (Familia Mamani Mamani) จากไร่กาแฟออแกนิกในโบลิเวีย ไม่เพียงเท่านั้น ทางร้านยังตั้งใจจัดทำ�เอกสาร ทีถ่ า่ ยทอดเรือ่ งราวทีม่ าของเมล็ดกาแฟแต่ละชนิด ตัง้ แต่กระบวนการทำ�งานของฟาร์ม การปลูก ทีต่ ง้ั สภาพแวดล้อม ไปจนถึงกรรมวิธีการเก็บเกี่ยว และตากแห้ง ซึ่งล้วนมีผลต่อทั้งสี กลิ่น และ มิติของรสชาติ ก่อนที่จะปล่อยให้กาแฟในถ้วย อธิบายเสน่ห์ของตัวมันเอง เพื่อให้คนดื่มเห็น คุณค่าทีแ่ ฝงอยูใ่ นทุกกระบวนการทำ�งาน และช่วย สนับสนุนเกษตรกรท้องถิ่นกันมากขึ้นแทนการ บริโภคกาแฟของผูผ้ ลิตรายใหญ่เพียงอย่างเดียว
นอกจากนี้ เซเรเซียยังเป็นโรงคัว่ เมล็ดกาแฟ ขนาดย่อม ที่จัดจำ�หน่ายเมล็ดกาแฟคั่วสดใหม่ เอง ทั้งยังเปิดให้ลูกค้าเข้ามาศึกษาวิธีการคั่ว อย่างใกล้ชิด จนกลายเป็นคอมมูนิตี้ที่มีลูกค้า ประจำ� ขาจร หรือแม้กระทั่งเจ้าของร้านกาแฟ รายอื่นๆ แวะเวียนเข้ามาจิบกาแฟพลางแลก เปลี่ยนความรู้ รวมทั้งซื้อเมล็ดกาแฟคั่วติดไม้ ติดมือกลับไปด้วย “เราไม่ได้กงั วลว่าถ้าเกิดเขา ซื้อไปแล้วจะกลับมานั่งที่ร้านหรือเปล่า เพราะ จุดประสงค์ของเราคืออยากให้ลูกค้ามีความสุข ไม่ว่าจะดื่มที่บ้านหรือดื่มที่นี่ พอเขามีความสุข เราก็มีความสุขไปด้วย แล้วเราก็สนุกกับการ ออกไปชิมกาแฟอร่อยๆ ที่ร้านอื่นด้วย เพราะ โลกกาแฟไม่ใช่การแข่งขันแต่มันเป็นโลกของ การเรียนรู้ และนี่คือสิ่งที่เราทุกคนรักที่จะทำ�” ไม่ใช่แค่เซเรเซียเท่านั้นเพราะในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ และจังหวัดอืน่ ๆ ก็ยงั พบธุรกิจกาแฟที่ แสวงหาเมล็ดพันธุ์ วิธีการชง และอุปกรณ์ ใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นการดริป (Drip) การชงแบบ เฟรนช์เพรส (French Press) การชงด้วยเครือ่ งชง สุญญากาศ (Siphon) หรือเครื่องชงเอสเปรสโซ แบบดั้งเดิม (Espresso Machine) การเกิดขึ้น ของธุรกิจกาแฟเหล่านี้จึงเป็นสัญญาณที่บ่งบอก ให้รู้ว่าผู้บริโภคยุคใหม่ไม่ได้ต้องการเพียงแค่ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนในตอนเช้าอีกต่อไป แต่ ยังแสวงหา “รสชาติทางจิตใจ” ทีเ่ ข้ามาเติมเต็ม อารมณ์ความรูส้ กึ ในเช้าวันใหม่ โดยมี “ความรู้” เป็นกับแกล้มคู่กาแฟรสกลมกล่อม ตลอดจน มองหา “พืน้ ที”่ ทีส่ ะท้อนถึงไลฟ์สไตล์และตัวตน ของผู้ดื่มอีกเช่นกัน
bentale.exteen.com
nimiko.wordpress.com
COVER STORY เรื่องจากปก
#goodolddays ท่ามกลางธุรกิจอาหารเช้าสไตล์ตะวันตกที่ผุดเพิ่มขึ้นในย่านธุรกิจของกรุงเทพฯ “ออน ล็อก หยุ่น” ก็ยังคง ยืนหยัดที่จะบริการอาหารเช้าแบบง่ายๆ ในราคาเป็นมิตรให้กับคนในชุมชนเขตพระนครมากว่า 80 ปี โดยมีี กาญจนา ทยานุกลู เป็นผูส้ บื ทอดกิจการครอบครัวรุน่ ทีส่ อง แน่นอนว่านอกจากจะต้องอาศัยการจัดการอย่างเป็น ระเบียบแล้ว การประคับประคองธุรกิจขนาดเล็กให้อยู่รอดต่อไปโดยสามารถรองรับความต้องการของผู้บริโภคที่ เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละยุคสมัยยิ่งไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ร้านอาหารเช้าเล็กๆ แห่งนี้กลับพิสูจน์ว่าพวกเขาทำ�ได้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะบรรยากาศภายในร้านที่ยังคงกลิ่นอายของความเก่าไว้เหมือนเดิม ทั้งตู้และชั้นวางไม้ที่ขนาบ กำ�แพงทั้งสองฝั่ง โต๊ะและเก้าอี้แบบโบราณ พัดลมติดเพดาน หรือกระทั่งภาพของกลุ่มคนรุ่นเก่าที่ตั้งวงสนทนา “สภากาแฟ” อย่างออกรสก็ยังคงหลงเหลือให้เห็นกันมาจนถึงวันนี้ ซึ่งกลายเป็นแม่เหล็กที่ดึงดูดกลุ่มคนรุ่นใหม่ และนักท่องเทีย่ วทีพ่ สิ มัยความโบราณและบรรยากาศคลาสสิก จนนำ�ไปสูก่ ารบอกต่อกันผ่านบล็อก เว็บไซต์ และ สังคมออนไลน์ ทำ�ให้มีลูกค้าหน้าใหม่แวะเวียนเข้ามาไม่หยุดหย่อน จึงไม่น่าแปลกใจหากเราจะเห็นกลุ่มนักวิ่ง และแก๊งจักรยานชักชวนกันมารับประทานอาหารเช้าที่นี่ตั้งแต่เช้า โดยเฉพาะเช้าวันเสาร์อาทิตย์ แต่กระแสเรโทร (Retro) ก็ไม่ใช่ปจั จัยหลักทีส่ ร้างมูลค่าให้กบั ธุรกิจนีเ้ พียงอย่างเดียว อันทีจ่ ริง ร้านอาหารเช้า แห่งนี้เปรียบเสมือนแหล่งพบปะสังสรรค์เล็กๆ ของคนกรุงตั้งแต่ยุคสมัยที่ศาลาเฉลิมกรุงยังคลาคลํ่าไปด้วยฝูงชน คึกคักที่ตบเท้าเข้ามาเสพความบันเทิงในโรงมหรสพ ทั้งยังเป็น “จุดเริ่มต้นของวันใหม่” ของคนในย่านเจริญกรุง ที่พาลูกหลานมารับประทานอาหารเช้าที่นี่ก่อนจะออกไปทำ�กิจกรรมต่างๆ ต่อไป จนกลายเป็นกิจวัตรประจำ�วัน ที่สืบทอดกันจากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง เพราะเหตุนี้เองคนในชุมชนจึงรู้สึกผูกพันกับร้านในทุกยุคสมัย ในวันที่การรับประทานอาหารเช้ากลายเป็นกิจกรรมที่ต้องเร่งรีบมากขึ้นทุกที ออน ล็อก หยุ่น เลือกที่จะ รักษาจุดยืนดั้งเดิมของร้าน นั่นคือความใส่ใจในการบริการอาหารเช้าโดยไม่จำ�เป็นต้องหยิบยื่นประสบการณ์ ปรุงแต่งเพื่อพาผู้คนย้อนกลับไปหาอดีต เพียงแค่ปล่อยให้บรรยากาศภายในร้านคงไว้ซึ่งความเป็นมิตรเช่นเดียว กับสมัยก่อน และเปิดโอกาสให้ลูกค้าได้ใช้เวลาในการรับประทานอาหารเช้าร่วมกับครอบครัวอย่างเต็มที่ และ ประสบการณ์เหล่านี้เองอาจเป็นยามเช้าที่คนยุคใหม่ถวิลหาก็เป็นได้
พฤศจิกายน 2556
l
Creative Thailand
l 17
COVER STORY เรื่องจากปก
#morningrun การวิง่ มาราธอนเพิง่ ได้รบั ความนิยมในเมืองไทยในช่วงไม่กป่ี ที ผ่ี า่ นมา สังเกตได้จากงาน แข่งขันวิ่งมาราธอนที่ทยอยจัดกันอย่างต่อเนื่องทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด แต่ใน โลกตะวันตก รวมทั้งญี่ปุ่นนั้นมีวัฒนธรรมการวิ่งที่แข็งแกร่งมาแต่ไหนแต่ไร ไม่ว่าจะ ด้วยการออกแบบผังเมืองและถนนหนทางอย่างเป็นระบบระเบียบ การจัดสรรพืน้ ทีส่ าธารณะ สีเขียวในเมืองซึ่งเอื้อต่อการออกกำ�ลังกายและทำ�กิจกรรมกลางแจ้ง
ความตระหนักในการดูแลใส่ใจสุขภาพของผู้ บริโภคและการปรับตัวของแบรนด์กีฬาชั้นนำ� ในยุ ค ดิ จิ ทั ล ยั ง มี ส่ ว นช่ ว ยในการกระตุ้ น ให้ อัตราการเติบโตของตลาดเสื้อผ้าสปอร์ตแวร์ ก้าวพ้นจากม่านหมอกแห่งวิกฤตในปี 2012 โดย มีไนกี้และอาดิดาสยังคงครองอันดับสูงสุดใน ตลาดรองเท้ากีฬา ทว่าในปี 2013 นีก้ ารขับเคีย่ ว แข่งขันเพื่อพัฒนาสุดยอดนวัตกรรมรองเท้า กีฬาของสองแบรนด์ยักษ์ได้สร้างความตื่นเต้น ให้วงการกีฬาอีกครัง้ ในช่วงต้นปีอาดิดาสได้สง่ “เอ็นเนอร์จี บูสต์ (Energy Boost)” ออกมา ปฏิวัติวงการวิ่งโดยนำ�เสนอนวัตกรรมใหม่ที่ มีชื่อว่า BOOSTTM ซึ่งทางทีมวิจัยได้นำ�เม็ดโฟม พลาสติกมาพัฒนากระบวนการผลิตทางเคมี นานนับสิบปี โดยรองเท้าแต่ละข้างจะมีเม็ด BOOSTTM อัดแน่นกว่า 2,000 แคปซูลเพื่อซับ แรงกระแทก เก็บกักพลังงาน และปล่อยพลังงาน กลับคืนได้ในทุกย่างก้าว ทัง้ ยังใช้เทคโนโลยีของ ผ้าที่มีความยืดหยุ่นกระชับทุกรูปเท้า (Techfit) และคงสภาพในระดับอุณหภูมิ 20-40 องศา เซลเซียส ตลอดจนช่วยออมแรงให้ผู้สวมใส่วิ่ง ได้ไกลและเร็วมากยิ่งขึ้น ขณะที่ฝั่งไนกี้นั้นก็ เปิดตัวรองเท้าดีไซน์สุดลํ้า “Flyknit Lunar1+” พร้อมประกาศกร้าวว่า “นี่คือรองเท้าที่กระชับ
18 l
Creative Thailand
l พฤศจิกายน 2556
web.stagram.com/blgsky
สบายที่สุดราวกับใส่ถุงเท้าและเบาดุจขนนก” ด้วยการระดมทีมวิจยั พัฒนาเส้นใยโพลีเอสเตอร์ เพื่อใช้ถักทอโครงสร้างส่วนบนของรองเท้าซึ่งมี ความหนาและบางแตกต่างกันไปตามการใช้งาน ของกล้ามเนือ้ จนเปรียบเสมือนผิวหนังชัน้ ทีส่ อง ของมนุษย์ นอกจากนี้ยังมีระบบรองรับแรง กระแทก Lunarlon เพื่อให้การวิ่งดำ�เนินไป อย่างสมบูรณ์แบบ ทุกตะเข็บ ทุกฝีเท้า ไม่ เ พี ย งเท่ า นั้ น ทั้ ง สองแบรนด์ ยั ง สร้ า ง เครือข่ายเชื่อมโยงนักวิ่งทั่วโลกจากพื้นที่ชีวิตสู่ พื้ น ที่ อ อนไลน์ เ ข้ า ด้ ว ยกั น ผ่ า นแอพพลิ เ คชั่ น และสื่อออนไลน์ ตลอดจนเข้าไปมีส่วนร่วมกับ
ลูกค้าแต่ละกลุม่ โดยตรง ซึง่ คราวนีไ้ นกีท้ �ำ คะแนน แซงหน้าไปด้วยการเปลี่ยนรีเทลสโตร์ให้กลาย เป็นคอมมูนิตี้ของนักวิ่งภายใต้ชื่อ “Nike+Run Club Niketown” โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่ม Niketown ในสหราชอาณาจักรซึ่งแบ่งเป็น กลุ่มย่อ ยตามเมื อ งต่างๆ อาทิ ลิ เ วอร์พ ู ล กลาสโกว์ ลอนดอน ฯลฯ ซึ่งแต่ละกลุ่มจะรวม ตัวกันวิ่งอย่างสมํ่าเสมอทุก 2-3 วันต่อสัปดาห์ โดยมีเทรนเนอร์ของไนกี้คอยให้คำ�แนะนำ�และ เทคนิคการวิง่ รูปแบบต่างๆ อย่างใกล้ชดิ ตัง้ แต่ การวิ่งระยะสั้นไปจนถึงการแข่งขันมาราธอน อันดุเดือด รวมทั้งอัพเดทข้อมูลเกี่ยวกับการวิ่ง และการแข่งขันทั่วโลกผ่านแอพพลิเคชั่นและ สังคมออนไลน์แบบเรียลไทม์ ความน่ า สนใจของการวิ่ ง คื อ เป็ น กี ฬ าที่ สามารถทำ�ได้เพียงลำ�พังและไม่ต้องเสียค่าใช้ จ่ายมากมาย จึงไม่แปลกที่จะได้รับความสนใจ จากคนหลากหลายประเภท บางคนอาจวิ่งเพื่อ รักษาสุขภาพหรือผ่อนคลายจิตใจ หากสำ�หรับ ผู้ ที่ ใ ฝ่ ห าการวิ่ ง ที่ แ ท้ จ ริ ง ก็ ต้ อ งอาศั ย ความ อดทนและการเคี่ยวกรำ�ฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง มีเพียงเส้นทางที่ต้องพิชิตและสถิติที่ต้องไปให้ ถึง เพราะท้ายที่สุดแล้วการวิ่งก็คือการแข่งขัน กับตนเอง
COVER STORY เรื่องจากปก
#runwiththerighttempo การฟังเพลงก็เป็นองค์ประกอบหนึง่ ทีข่ าดไม่ได้ในการวิง่ เช่นกัน ดร. คอสตาส คาราจอร์กสิ (Costas Karageorghis) ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาการกีฬาและจิตฟิสิกส์แห่งมหาวิทยาลัยบรูเนล ลอนดอน พบว่าการฟังเพลงในระหว่าง การวิ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของร่างกายร้อยละ 15 พร้อมให้คำ�นิยามของดนตรีว่า “สำ�หรับนักกีฬา ดนตรีก็ คือยาเสพติดที่ถูกกฎหมาย” และคงจะดีไม่น้อยถ้าเราได้ฟัง “เพลงที่ใช่” ในทุกก้าววิ่งไปด้วย “เทมโปรัน (TempoRun)” คือแอพพลิเคชั่นที่ตอบโจทย์นี้ได้ดีที่สุด ฟิล เก็ตเซน (Phil Getzen) และอดัม โพรสเช็ก (Adam Proschek) นักศึกษามหาวิทยาลัยมิชิแกนได้ระดมทีมออกแบบและพัฒนาแอพพลิเคชั่นฟังเพลงสำ�หรับนักวิ่ง โดยเฉพาะ ความฉลาดลํ้าน่าใช้ของเทมโปรัน อยู่ที่การเลือกเพลงจากเพลย์ลิสต์ในไอพอดหรือไอโฟนมาจัดเป็น หมวดหมู่ใหม่ให้ตรงกับจังหวะการวิ่ง (ทั้งความเร็วและฝีเท้า) ยิ่งไปกว่านั้น ผู้วิ่งสามารถฟังเพลงได้ตลอดทาง โดยไม่มีการสะดุดหรือต้องเสียเวลาเปลี่ยนเพลงให้ยุ่งยาก เพราะแอพพลิเคชั่นสามารถคัดเลือกจำ�นวนเพลงให้ ตรงกับระยะเวลาที่กำ�หนดได้อย่างพอดิบพอดี ทั้งยังคำ�นวณและบันทึกสถิติการวิ่งในแต่ละครั้ง เช่น ระยะทาง เวลา และปริมาณการเผาผลาญแคลอรี เพื่อให้ผู้ใช้ได้พัฒนาทักษะการวิ่ง ฝึกความอดทน และเพลิดเพลินกับ เสียงเพลงที่บรรเลงได้ตรงจังหวะไปพร้อมกัน เทมโปรันได้รับรางวัลชนะเลิศจากเวทีการประกวดผู้ประกอบการหน้าใหม่ SXSW Student Startup Madness Contest 2013 และคว้าเงินรางวัล 5,000 เหรียญสหรัฐฯ จาก Google Cloud Platform แอพพลิเคชัน่ นี้ เปิดตัวในแอพสโตร์ให้ผู้ใช้ iOS ได้ดาวน์โหลดในราคา 2.99 เหรียญสหรัฐฯ และได้รับเสียงสนับสนุนจากเหล่า นักวิ่งเป็นอย่างดี ดูคลิปสาธิตการใช้งานได้ที่ vimeo.com/60911008
ทุกๆ วันในช่วงเวลาทีพ่ ระอาทิตย์โผล่พน้ ขอบฟ้า ปลุกให้มนุษย์ตน่ื ขึน้ มาทำ�งานตามภาระหน้าทีข่ องตนเอง ก่อนทีเ่ วลาจะ พ้นผ่านไปอีกวันหนึง่ เทคโนโลยีและนวัตกรรมได้น�ำ ทางเราไปสำ�รวจพฤติกรรมของผูค้ นในอีกซีกหนึง่ ของโลกได้ภายในระยะ เวลาอันสัน้ การทำ�ความเข้าใจกับกิจวัตรยามเช้าของคนยุคใหม่ทย่ี นิ ดีถา่ ยทอดเรือ่ งราวเหล่านีส้ พู่ น้ื ทีส่ าธารณะ อาจเป็นอีกหนึง่ ช่องทางในการเปิดรับแรงบันดาลใจจากกลุม่ คนทีพ่ สิ มัยการใช้เวลายามเช้า รวมถึงการได้คน้ พบโอกาสและความเป็นไปได้ทางธุรกิจ ที่มองไม่เห็น ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมๆ กับการเพิ่มสุนทรียภาพในการดำ�รงชีวิตบนพื้นฐานของปัจจัยสี่ เพื่อให้เราได้พิจารณาถึง รายละเอียดปลีกย่อยอันงดงามของชีวติ ในยามเช้ามากขึน้ ก่อนทีจ่ ะก้าวออกไปเผชิญหน้ากับความท้าทายของวันใหม่อกี ครัง้ ที่มา: บทความออนไลน์ “Running Battle: Nike and Adidas Go Head to Head” จาก metro.co.uk บทสัมภาษณ์กาญจนา ทยานุกูล เจ้าของร้านอาหารเช้า “ออน ล็อก หยุ่น” รุ่นที่ 2 บทสัมภาษณ์การิน อัศวเรืองชัย เจ้าของร้านกาแฟ “เซเรเซีย” บทสัมภาษณ์วรัตต์ วิจิตรวาทการ เจ้าของร้านอาหาร “โรสต์ คอฟฟี่ แอนด์ อีทเทอรี” รายงานผลสำ�รวจ “Global Apparel (Part 2): Category Dynamics and Competitive Landscape” จาก euromonitor.com
hot-dinners.com koyabar.co.uk leesamantha.com l oydslist.com news.cnet.com
nike.com nowness.com monocle.com rundemcrew.com themagaziner.com
พฤศจิกายน 2556
l
Creative Thailand
l 19
INSIGHT อินไซต์
Around The World In The Morning เรื่อง: ศุภมาศ พะหุโล ภาพประกอบ: อรสิริ เจริญสินพร
Aalsmeer Flower Auction Aalsmeer, Netherlands
ถึงแม้ปัจจุบัน บริการประมูลผ่านระบบออนไลน์สำ�หรับผู้ค้าส่งต่างแดน จะเข้ามามีบทบาทในการซือ้ ขาย แต่ดอกไม้และใบไม้กว่า 21 ล้านรายการ ก็ยังคงผลัดกันเข้าออกพื้นที่หนึ่งล้านตารางเมตรนี้ในทุกเช้า และนาฬิกา ก็ยงั คงทำ�งานบอกราคาประมูล ข้อมูลผลิตภัณฑ์ ตลอดจนแหล่งทีม่ า และ เทรนด์ของตลาดโดยเริม่ ตัง้ แต่เจ็ดโมงเช้าและไปสิน้ สุดทีเ่ ก้าโมงเช้าไม่ตา่ ง จากเดิม นอกจากการประมูลซื้อขายที่เป็นระบบแล้ว ผู้เชี่ยวชาญไม่ว่าจะ ออนไลน์หรืออยูใ่ นห้องประมูลก็จะต้องคัดเลือกผลผลิตโดยคำ�นึงถึงความ ต้องการของลูกค้าในแต่ละพืน้ ทีเ่ ป็นหลัก และเจ้าหน้าทีฟ่ ลอราฮอลแลนด์ ก็ยังต้องรักษาความสดและความสมบูรณ์ของดอกใบให้อยู่ในสภาพ ประหนึ่งยังอยู่บนต้นก่อนส่งออกไปยังที่ต่างๆ ทั่วทุกมุมโลก 20 l Creative Thailand l พฤศจิกายน 2556
TSUKIJI MARKET Chou, Tokyo, Japan
เสียงขานตัวเลขเปิดประมูลเป็นภาษาญี่ปุ่นดังขึ้นตอนตีห้าและสิ้นสุดที่ เจ็ดโมงเช้า ก่อนที่ปลาทูน่าแช่แข็งขนาดใหญ่ที่เรียงแถวรอบห้องประมูล และอาหารทะเลตั้งแต่สาหร่ายราคาถูกไปจนถึงหอยเม่นราคาสูงซึ่งถูก ลำ�เลียงมารอยังตลาดซึคิจิตั้งแต่ห้าโมงเย็นของวันก่อนหน้า จะพร้อมจัด ส่งจากมือผูค้ า้ ไปยังพ่อค้าคนกลางและผูค้ า้ ปลีกตามลำ�ดับ ตลาดซึคจิ ิ ได้ รับการจัดอันดับให้เป็นตลาดค้าส่งปลาและอาหารทะเลทีม่ ขี นาดใหญ่ทสี่ ดุ ในโลก และเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวหลักสำ�หรับนักเดินทางนักชิมที่ ต้องการเยี่ยมชมและลิ้มรสปลาดิบที่แล่กันสดๆ จากร้านซูชิขนาดเล็ก บริเวณโดยรอบของตลาด
SMALL NOODLE FACTORIES Mae Rim, Chiang Mai, Thailand
ทุกเช้า ขณะที่แสงแดดเริ่มส่องลอดลงมาผ่านกิ่งไม้ คือสัญลักษณ์เริ่มต้น การทำ�งานของวันใหม่ โรงงานทำ�เส้นแป้งข้าวสด หรือ ขนมเส้น (ขนมจีน) ทั้งขนาดเล็กและขนาดกลางในแต่ละหมู่บ้าน จะนำ�แป้งที่โม่และหมักไว้ เป็นเวลาสามวันมารีดออกเป็นเส้น ก่อนจะนำ�ขึ้นรถไปจำ�หน่ายภายใน หมูบ่ า้ น และส่งไปขายยังกาดในตัวเมืองเชียงใหม่ ขนมเส้นถือเป็นอาหาร หลักทางภาคเหนือทีไ่ ด้รบั อิทธิพลด้านวัฒนธรรมการกินจากชาวมอญและ นิยมรับประทานคู่กับนํ้าเงี้ยว แต่ละวัน โรงงานเล็กๆ แต่ละโรงงานใน อำ�เภอแม่ริมจะผลิตขนมเส้นไม่ตํ่ากว่าวันละ 30 ลูก ลูกละ 20 กิโลกรัม และหากช่วงไหนเป็นหน้าเทศกาลหรือวันหยุดยาวจะผลิตเพิม่ มากขึน้ ไปอีก
INSIGHT อินไซต์
CENTRAL PARK Manhattan, New York, USA
PIAZZA DEL DUOMO Milan, Italy
ทันทีที่ประตูเซ็นทรัล พาร์กเปิดออก บรรดานิวยอร์กเกอร์ผู้รักการตื่นเช้าก็ เริ่มต้นกิจกรรมของวันใหม่ด้วยการเดินและวิ่งสูดอากาศบริสุทธิ์ก่อนเข้า งาน ดื่มกาแฟบนม้านั่งและอ่านข่าวบนหน้าแท็บเล็ต ในขณะที่หลายคน วุ่นอยู่กับการจูงสุนัขออกมาเดินยืดเส้นยืดสายหลังจากที่อุดอู้อยู่ในห้อง แคบๆ มาทั้งวัน นอกจากจะเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจให้กับชาว นิวยอร์กและผู้คนทั่วโลกไม่ตํ่ากว่า 35 ล้านคนต่อปีแล้ว ที่นี่ยังมีบริการ ให้เช่าจักรยานผ่านเว็บไซต์ออนไลน์ bikenycentralpark.com ที่ทั้ง ช่วยให้สามารถสำ�รวจสวนสาธารณะขนาดใหญ่ แห่งนี้ได้อย่างสะดวก พร้อมได้ออกกำ�ลังกล้ามขา ไปในตัวและไม่สร้างมลพิษเพิ่มให้กับเมือง
ขณะที่ พ ระอาทิ ต ย์ ยั ง โผล่ ไ ม่ พ้ น ปลายยอดของมหาวิ ห ารแห่ ง มิ ล าน (Duomo di Milano) จัตุรัสหน้ามหาวิหารแห่งนี้ที่ปกติคลาคลํ่าไปด้วย ผู้คนกว่าหมื่นชีวิตในช่วงกลางวันและกลางคืน กลับเหลือเพียงคนวิ่งออก กำ�ลังยามเช้าทีใ่ ช้สถานทีแ่ ห่งนีเ้ ป็นเพียงทางผ่าน และรถเก็บขยะสีเขียวที่ ตระเวนเก็บขยะและปัดกวาดจัตรุ สั หน้ามหาวิหารเพือ่ รักษาความงามโดย รอบของสถาปัตยกรรมโกธิคแห่งศตวรรษที่ 14 กับรถบรรทุกเครือ่ งดืม่ และ ขนมขบเคี้ยวที่เข้าเติมชั้นวางขายในร้านสะดวกซื้อออโต้กริลล์ (Autogrill) เพือ่ เตรียมต้อนรับนักท่องเทีย่ วทีเ่ ดินทางมาเยีย่ มชมสักการะมหาวิหารและ จับจ่ายที่แกลเลอเรีย วิตโตริโอ เอ็มมานูเอลเลที่ 2 (Galleria Vittorio Emanuele II) ห้างสรรพสินค้าที่เก่าแก่ที่สุดในโลก
OZONE COFFEE ROASTERS Shoreditch, London, UK
HANG SENG Hong Kong, China
กลิ่นหอมของกาแฟที่คละคลุ้งไปทั่วทั้งร้านปะทะจมูกทันทีเมื่อก้าวเข้าสู่ ประตูคาเฟ่ ในขณะทีเ่ สียงคัว่ เมล็ดกาแฟสดจากชัน้ ใต้ดนิ ดังขึน้ เป็นจังหวะ สลับกับคำ�ทักทายในยามเช้าของบาริสต้าและลูกค้าที่เข้ามาสั่งกาแฟ ไม่ขาดสาย โอโซน คอฟฟี่ โรสเตอร์ส เพิ่งเปิดสาขาแรกในลอนดอน เมื่ อ ปี 2012 ถึ ง แม้ จ ะมี ส าขามากกว่ า 5 สาขาที่ นิ ว ซี แ ลนด์ แ ละมี ประสบการณ์คดั เลือกเมล็ดกาแฟมาตัง้ แต่ปลายทศวรรษ 1990 เมล็ดกาแฟ จากทั้งแอฟริกาใต้ อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ ที่ผ่านการคั่วและคัพพิ้ง (cupping) ที่โรงคั่วแห่งนี้ นอกจากจะถูกซื้อเพื่อกลับไปชงที่บ้าน ยังถูก กระจายไปยังร้านอาหารชั้นนำ�ทั่วลอนดอน
ครึ่งชั่วโมงหลังจากเคาะระฆังเปิดตลาด ความวุ่นวายที่มีระบบของวันก็ เริ่มต้นขึ้น ในขณะที่โบรกเกอร์ส่วนใหญ่วิ่งวุ่นไปตามตัวเลขแดงเขียวบน หน้ากระดาน โบรกเกอร์บางคนก็กำ�ลังนั่งรอคำ�สั่งซื้อขายหุ้นจากผู้เล่นที่ เพิ่ ง ลื ม ตาตื่ น ขึ้ น มาดู ส รุ ป ยอดซื้ อ ขายรายวั น ของวั น ก่ อ นหน้ า ตลาด หลักทรัพย์ฮ่องกง หรือที่รู้จักกันในนาม ฮั่งเส็ง นอกจากจะครองตำ�แหน่ง บริษทั หลักทรัพย์ทม่ี มี ลู ค่าตลาดรวมใหญ่ทส่ี ดุ ในโลกแล้ว ความเคลือ่ นไหว ภายในตลาดทีเ่ ป็นผลกระทบมาจากเหตุการณ์ทงั้ ในจีนและอเมริกาแห่งนี้ ยังช่วยแนะทิศทางต่อการตัดสินใจของตลาดหลักทรัพย์ไทยที่เปิดตามมา ในหนึ่งชั่วโมง
ที่มา: บันทึกส่วนตัวและการหาข้อมูลระหว่างการเดินทาง ปี 2009-2013 ข้อมูลจากนิทรรศการ "อะไรอยู่ในเส้น?" (2013) โดย ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ
พฤศจิกายน 2556
l
Creative Thailand
l 21
CREATIVE ENTREPRENEUR คิด ทำ� กิน
NEW IN TOWN :-) tokyobike in Bangkok เรื่อง: กมลกานต์ โกศลกาญจน์ และ ศุภมาศ พะหุโล
ในอดีต “คนขายจักรยาน” อาจไม่ได้เป็นคำ�ตอบเรื่องอาชีพในฝันของเด็กๆ คนไหน แต่ในวันนี้ อาชีพนี้กลับกลายเป็นความใฝ่ฝัน ของผู้ใหญ่หลายคนที่อยากมีโอกาส ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของ ได้ลองปั่น หรือการมีร้านขายจักรยานเล็กๆ เป็นของตัวเองสักร้านหนึ่ง และ ส่วนหนึ่งของความอยากอาจมาจากความสุขที่ได้รับจากการจดจำ�ชื่อรุ่น การเสาะหาอะไหล่ พูดคุยถึงเส้นทางใหม่ๆ กับกลุ่มนักปั่น ไม่ก็มาจากการสิทธิ์เสรีในการเลือกใช้ชีวิตให้มีจังหวะช้าลง ชุตยาเวศ สินธุพันธุ์ เป็นหนึ่งในผู้หลงรักการขี่จักรยาน จากอาชีพอาจารย์พิเศษประจำ�คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการ ผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสถาปนิก บริษัท ไซต์ สเปซิฟิก เขาได้ก้าวเข้าสู่การเป็นตัวแทนจัดจำ�หน่ายจักรยานหน้าตา เรียบง่ายที่ผู้คนทั่วโลกคลั่งไคล้ "โตเกียวไบค์ (tokyobike)" ในไทยอย่างเต็มรูปแบบ ด้วยนอกจากจะเป็นจักรยานที่สะท้อนถึง ปรัชญาส่วนตัวแล้ว คงไม่มีอะไรดีไปกว่าการที่งานและความหลงใหลของตัวเองนั้นกลายเป็นเรื่องเดียวกันอย่างลงตัว
22 l
Creative Thailand
l พฤศจิกายน 2556
CREATIVE ENTREPRENEUR คิด ทำ� กิน
Urban Bike for Urban Life
จากจุดเริ่มต้นที่เปิดโอกาสให้จักรยานมือสองเป็นพาหนะส่วนตัวเมื่อครั้งอยู่ที่นิวยอร์ก ด้วยเหตุผลว่าสามารถนำ�จอดที่ไหนก็ได้ เพราะไม่เป็นที่ต้องการ ของเหล่าขโมย แต่เมื่อกลับมา ความคิดของชุตยาเวศก็ต้องเปลี่ยนไป เพราะจักรยานมือสองที่เขาเคยใช้งานนั้นกลับกลายเป็นที่ต้องการของนักสะสม และบรรดานักปั่นในกรุงเทพฯ หลังจากได้คู่ใจใหม่เป็นจักรยานราเล่ห์ (Raleigh) เพื่อนำ�มาใช้ขี่ทำ�กิจกรรมระหว่างวัน อย่างออกประชุมหรือหาอาหาร กินมื้อเที่ยง เขาเริ่มเห็นว่าการขี่จักรยานในเมืองนี้เป็นเรื่องที่ทำ�ได้ไม่ยาก และมองการณ์ไกลเกินกว่าจะให้จักรยานเป็นเพียงส่วนหนึ่งในชีวิตประจำ�วัน เพียงอย่างเดียว หลังจากศึกษาเรื่องจักรยานอยู่พักใหญ่ เขาก็ตัดสินใจที่อยากทำ�ธุรกิจเกี่ยวกับโตเกียวไบค์ร่วมกันกับเพื่อนๆ คอเดียวกัน "ปรัชญาของ โตเกียวไบค์ คือ โตเกียวสโลว์ (Tokyo Slow) ซึ่งให้ความหมายตรงตัวคือ ขี่ช้าๆ หลังตรง ชมเมือง มองเห็นว่าสิ่งแวดล้อมโดยรอบเป็นอย่างไร คือออกแบบมาเพื่อเป็นเออร์บัน ไบค์ (Urban Bike) สำ�หรับเมืองโดยเฉพาะ ไม่ใช่จักรยานภูเขา (Mountain Bike) ซ่อมก็ง่ายเพราะมันถูกออกแบบมา เท่าที่จำ�เป็นในชีวิตจริง มีแค่ 9 เกียร์ คุณสามารถขึ้นสะพานได้สบายโดยเกียร์ที่มีอยู่"
JUST MAKE IT HAPPEN
คนทัว่ ไปมักจะคิดว่าการติดต่อธุรกิจกับแบรนด์ตา่ งชาตินนั้ เป็นเรือ่ งยุง่ ยาก แต่ในความเป็นจริงแล้ว อีเมลเพียงฉบับเดียวอาจนำ�พามาซึง่ โอกาสทางธุรกิจ ที่เป็นรูปธรรมขึ้นมาได้ “เราเริ่มต้นด้วยการส่งข้อความติดต่อว่าสนใจที่เปิดโตเกียวไบค์อย่างเต็มตัว ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับทีเ่ ขาศึกษาตลาดในเมืองไทย เราก็ทำ�ทั้งวิจัยการตลาด ทำ�แผนธุรกิจ พออิชิโร่ (อิชิโร่ คาไน ผู้ก่อตั้งโตเกียวไบค์) มาที่นี่ เขาไม่ได้คุยแค่เราคนเดียวนะ คุยกับเจ้าอื่นด้วย แต่ส่วนหนึ่ง ทีเ่ ขาเลือกเรา ก็นา่ จะมาจากคุยคลิกกัน เราชอบเมือง เขาก็ชอบเมือง อีกอย่างเราทำ�การบ้านมาอย่างดี ตัง้ ใจจริงๆ และเราก็แสดงความพร้อมให้เขาเห็น” ด้วยเวลาเพียงแค่ 6 เดือนนับจากวันแรกที่ติดต่อจนถึงวันทีร่ ้านโตเกียวไบค์เริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา ส่วนหนึ่งเป็นเพราะโตเกียวไบค์เป็นบริษัทขนาดเล็ก อำ�นาจการตัดสินใจจึงอยู่ที่คนเพียงไม่กี่คนเท่านั้น และเมื่อถามถึงสาเหตุที่เลือกทำ�เลที่ตั้งเป็นอารีย์ก็เนื่องจากอยู่ระหว่างเมืองเก่าและเมืองใหม่ ไปมา สะดวก และเขาเองยังมองเห็นว่าพื้นที่แถวนั้นยังพัฒนาได้ต่อ ไม่ใช่แค่ร้านอาหารขนาดเล็กเท่านั้น นอกเหนือจากการนำ�เข้าจักรยานแล้ว สิ่งสำ�คัญที่สุดคือการสร้างประสบการณ์ใหม่ในการซื้อขายจักรยาน โดยการเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจนั้นเช่า จักรยานเพื่อนำ�ไปลองขี่ได้แบบเต็มวัน เพื่อทดสอบสมรรถนะการขับขี่ที่เหมาะสมกับตนเองมากที่สุด รวมถึงครอบคลุมการบริการหลังการขาย เรียกว่า เป็นร้านจักรยานที่ไม่ใช่เพียงซื้อมาขายไป แต่สร้างสรรค์คอมมูนิตี้สำ�หรับกลุ่มคนที่มีมุมมองหรือทัศนคติเกี่ยวกับจักรยานที่เหมือนกันอีกด้วย QUALITY, SAFETY & COMMUNITY
แต่เส้นทางการนำ�เข้าจักรยานก็ไม่ได้ราบเรียบเท่าไหร่นัก ด้วยภาษีนำ�เข้าที่สูง “จ่ายภาษีอยู่ที่ 30% คือเขาคงตั้งไว้เพื่อกันไม่ให้กระทบกับโรงงานผลิต จักรยานของไทยเอง ซึ่งเราเห็นว่ามันคือการปิดกั้นทางภาษีและไม่ได้ช่วยให้คุณภาพของจักรยานไทยดีขึ้น เพราะไม่มีคู่แข่ง คู่เทียบ” ชุตยาเวศยังมอง ว่าเรือ่ งความปลอดภัยของผูข้ จี่ ะช่วยทำ�ให้วฒั นธรรมการขีจ่ กั รยานในบ้านเราแข็งแรงขึน้ “คือถ้าพูดถึงพลังงานทางเลือกในอนาคต จักรยานก็ตอบโจทย์ จริงๆ แค่การใช้งานก็ไม่จำ�เป็นต้องใช้พลังงานเลยด้วยซํ้า เราคิดว่ารัฐบาลหรือหน่วยงานใหญ่ก็ต้องหันมามองปัญหาหลักๆ ก่อน คือ เลนจักรยาน ที่ปลอดภัย และอากาศบ้านเราซึ่งเป็นเมืองร้อน... ง่ายๆ เราทำ�ได้ตั้งแต่ใช้ต้นไม้ให้ร่มเงา ไปจนถึงเทคโนโลยีที่ทำ�ให้เกิด Micro Climate ซึ่งเราเอง ก็กำ�ลังทำ�งานวิจัยเกี่ยวกับ Tropical City Bike อยู่ คือเอาความชอบเรื่องจักรยาน มารวมเข้ากับการเป็นสถาปนิก และนักวางผังเมือง ก็กำ�ลังสนใจอยู่” โตเกียวไบค์ยังกำ�หนดทิศทางในอนาคตที่น่าสนใจสำ�หรับคนรักจักรยานที่รองรับต่อไลฟ์สไตล์ความเป็นเมืองไว้อย่างน่าสนใจ “เราวางแผนไว้แล้วว่าจะ จำ�หน่ายเสื้อผ้า กระเป๋า ตะกร้า และนอกจากนี้ก็ยังมีโครงการที่จะทำ�ให้สังคมดีขึ้น และการที่เราสามารถส่งออกผลิตภัณฑ์ในนามโตเกียวไบค์ไปยัง สาขาอื่นทั่วโลกได้ เราอยากที่จะผลิตในไทยโดยทักษะช่างไทย คืออยากทำ�อะไรที่มี Social Benefit ต่อไปด้วย"
โตเกียวไบค์ ไทยแลนด์: 20 ซอยอารีย์ 2 พหลโยธิน 7 สามเสน กรุงเทพ โทร. 02 623 3798 พฤศจิกายน 2556
l
Creative Thailand
l 23
CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
Luang Prabang Sunrise Over The River Flow เรื่อง: ศภิสรา เข็มทอง
ใครต่อใครที่ได้มาเยือนหรือมาพำ�นักอยู่ที่หลวงพระบาง อดีตเมืองหลวงของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวนี้ ต่างก็ให้ คำ�นิยามถึงความเป็นท้องถิ่นที่สงบ อบอุ่น มีไมตรีจิต และชีวิตเนิบช้า อีกทั้งยังเป็นเมืองมรดกโลกซึ่งมีบรรยากาศกลมกล่อมแบบ ผสมผสาน ด้วยทุกอย่างถูกจัดวางในตำ�แหน่งและนาํ้ หนักทีพ ่ อเหมาะพอควร กล่าวคือมีโครงสร้างหลักทางวัฒนธรรม สถาปัตยกรรม และวิถีชีวิตพื้นเมืองของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แทรกเสริมด้วยกลิ่นอายของดินแดนอาณานิคมตะวันตกในช่วงศตวรรษที่ 1920 ความพิเศษของตัวเมืองที่ทอดขนานกับแม่นํ้าโขง แม่นํ้าคาน และโอบล้อมด้วยขุนเขาเขียวขจีแห่งนี้ อาจดูเป็นความธรรมดา แต่ ในความธรรมดาเหล่านั้นกลับให้ความรู้สึกลึกซึ้ง น่าค้นหาและเรียนรู้ได้ไม่รู้จบ แม้ว่าจะใช้เวลาเพียงสั้นๆ หรือพักอาศัยอยู่เป็นเวลา ยาวนาน สิ่งที่ผู้มาเยือนจากทั่วโลกจะสัมผัสได้คือความรู้สึกเสมือนว่า หลวงพระบางเป็นบ้านที่เปิดโอกาสให้ได้เรียนรู้ เก็บเกี่ยว ประสบการณ์ และเรียงร้อยอารมณ์ความรูส้ กึ ทีล่ ะเอียดอ่อนกว่าการเห็นจากภาพถ่ายหรือคำ�บรรยายทีร่ บั ฟังกันมาแบบปากต่อปาก หลายเท่าทวี The Ordinary Slow Life
โมงยามของการเริม่ ต้นชีวติ ในวันใหม่ของหลวงพระบางไม่ตา่ งจากทีอ่ นื่ ๆ คือดำ�เนินไปพร้อมๆ กับเมื่อแสงอาทิตย์โผล่พ้นขอบฟ้า วิถีชีวิตปฏิบัติที่ ทำ�ซํา้ กันอยูท่ กุ เมือ่ เชือ่ วันของชาวเมือง คือการตืน่ เช้าขึน้ มาล้างหน้าล้างตา จับจ่ายสินค้าในตลาดเช้า หุงหาอาหารเพื่อถวายพระและรับประทานกัน ในครอบครัว สิ่งเหล่านี้อาจไม่ใช่ของใหม่สำ�หรับคนไทยหรือชาวพุทธ ทัว่ โลก แต่สงิ่ ทีต่ า่ งสำ�หรับทีห่ ลวงพระบางแห่งนีค้ อื การตักบาตรข้าวเหนียว 24 l
Creative Thailand
l พฤศจิกายน 2556
ซึง่ แต่เดิมเป็น “วิถปี ฏิบตั ขิ องท้องถิน่ ” แต่ปจั จุบนั นัน้ ได้กลายเป็นกิจกรรม ทางศาสนาที่นักท่องเที่ยวให้ความสนใจกันมากเป็นพิเศษ จนคล้ายกับว่า เป็น “ธรรมเนียมปฏิบัติสำ�หรับผู้มาเยือน” ทุ ก ๆ เช้ า ตามถนนสายหลั ก อย่ า งที่ สี่ แ ยกถนนสี ส ะหว่ า งวง (Srisavangvong) เราจะเห็นบรรดานักท่องเทีย่ วนัง่ คุกเข่าอยูบ่ นเสือ่ บริเวณ ทางเท้า ในมือมีภาชนะบรรจุข้าวเหนียวหรือห่อใบตองเตรียมพร้อมที่จะ
thaidphoto.com
CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
ถวายแด่พระสงฆ์ กล่าวกันว่าวิถีปฏิบัติที่กลายมาเป็นธรรมเนียมปฏิบัตินี้ กำ�ลังอยู่ในสถานะที่ค่อนข้างน่าเป็นห่วง เพราะเมื่อศรัทธาเริ่มมีธุรกิจการ ท่องเที่ยวเข้ามาเกี่ยวข้อง คงยากที่จะหลีกเลี่ยงเรื่องการควบคุมให้เกิด ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ทัง้ เรือ่ งพฤติกรรมของนักท่องเทีย่ ว ผูค้ า้ การ แต่งกาย หรือแม้แต่สุขอนามัยของอาหารและภาชนะที่ร้านค้าหรือเกสต์ เฮ้าส์เตรียมมาเพื่อจำ�หน่ายให้กับนักท่องเที่ยว แต่ถึงกระนั้น ท่ามกลาง กระแสความนิยมที่เริ่มจะบิดเบือนไปนี้ ด้านดีคือชาวเมืองหลวงพระบาง โดยแท้ยงั คงมัน่ คงอยูบ่ นวิถปี ฏิบตั เิ พือ่ เป็นแบบอย่างทีด่ ใี ห้กบั นักท่องเทีย่ ว โดยมีการติดป้ายรณรงค์ให้รกั ษาวิถอี นั งดงามนีด้ ว้ ยประโยคสัน้ ๆ ทีเ่ ตือน สตินักท่องเที่ยวว่า “ช่วยเราเคารพประเพณีการตักบาตร” น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งว่าในอนาคตทั้งใกล้และไกลนี้ ระหว่างความ เคารพศรัทธาและธุรกิจฉาบฉวย สิ่งใดจะยังคงอยู่และเสื่อมสลายไปเร็ว กว่ากัน ง่ายขึ้นและช้าลง คือความสุขแบบหลวงพระบาง ชาวเมืองหลวงพระบางได้รบั คำ�ชืน่ ชมเสมอว่าเป็นคนใจเย็น ใจดี เป็นมิตร ยิ้มง่าย และมักไม่เอาเปรียบใคร แต่ในความเรียบง่ายและความเนิบช้า ของการใช้ชวี ติ สิง่ หนึง่ ทีส่ งั เกตเห็นได้ชดั เจนคือความมีระเบียบเคร่งครัด ในข้อปฏิบตั ติ า่ งๆ อาทิ การแต่งกายทีส่ ภุ าพโดยเฉพาะสตรีทมี่ กั นุง่ ผ้าซิน่ ยาวคลุมเข่าทัง้ เด็กและผูใ้ หญ่ ทัว่ ทัง้ เมืองจะพบการรณรงค์ให้นกั ท่องเทีย่ ว ทั้งชายและหญิงแต่งกายให้เหมาะสมกับสถานที่ และไม่แสดงพฤติกรรม ที่ไม่เหมาะสมระหว่างชายหญิงในที่สาธารณะ หรือการรณรงค์ให้หลวง พระบางเป็นเมืองมรดกโลกทีป่ ลอดบุหรี่ เพราะเมือ่ ชาวเมืองปฏิบตั ใิ ห้เห็น
โดยเคร่งครัดแล้ว ย่อมเป็นแนวทางทีช่ ดั เจนให้นกั ท่องเทีย่ วได้ปฏิบตั ติ าม เพื่อยังคงรักษาวัฒนธรรมการดำ�รงอยู่แบบหลวงพระบางเอาไว้ สำ�หรับนักท่องเทีย่ วไทย การตกหลุมรักหลวงพระบางยิง่ เป็นเรือ่ งง่าย เพราะเมื่อกำ�แพงทางภาษาไม่ใช่อุปสรรค และไทย-ลาวยังคงเป็นเมืองพี่ เมืองน้องทีส่ อื่ สารกันอย่างเข้าใจ ขณะทีค่ า่ ครองชีพก็ทไี่ ม่ตา่ งจากบ้านเรา มากนัก ทัง้ อาหารการกินก็ถกู ปากด้วยรสชาติและเมนูทคี่ นไทยคุน้ เคย หา รับประทานได้ทกุ ตรอกซอกซอย ศิลปวัฒนธรรมใกล้เคียงกับทางภาคเหนือ และภาคอีสานตอนเหนือของไทย ความคุ้นเคยเหล่านี้จึงให้ความรู้สึก อบอุ่นใจ จนบางคนถึงกับกล่าวว่าหลวงพระบางเป็นเสมือนจังหวัดหนึ่ง ของไทย ไปไหนๆ ก็ไม่ต้องกลัวหลงทาง เพราะที่หลวงพระบาง “ทางอยู่ ทีป่ าก” คือไม่วา่ จะไปทีไ่ หนหากติดขัดสงสัยเรือ่ งเส้นทางหรือคำ�แนะนำ�ก็ สามารถจอดแวะถามได้ตลอด ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางสัญจรด้วยยาน พาหนะขนาดเล็กอย่างรถสามล้อ จักรยานยนต์ จักรยาน หรือการเดินเท้า และแม้แต่เรือหางยาวที่แล่นไปมาเหนือสายนํ้าโขงและคานที่มีจุดบรรจบ กันบริเวณวัดเชียงทอง เขตของเมืองที่ค่อนข้างสงบแต่ก็มีการเคลื่อนไหว ของวิถีชีวิตแบบชาวเมืองหลวงพระบางให้เห็น ชีวิตที่เนิบช้า สู่การพัฒนาที่มั่นคง ความเรียบง่ายที่ให้สัมผัสของความรุ่มรวยทางจิตวิญญาณตะวันออกและ ตะวันตกของหลวงพระบางทีย่ งั คงได้รบั การถนอมรักษาไว้เป็นอย่างดี คือ ปัจจัยสำ�คัญที่ทำ�ให้เมืองนี้ได้รับการประกาศให้เป็นเมืองมรดกโลกโดย องค์การยูเนสโกเมื่อปี 1995 และยังได้รับการยกย่องว่าเป็นเมืองที่ได้รับ การอนุรักษ์ที่ดีที่สุดแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พฤศจิกายน 2556
l
Creative Thailand
l 25
© M.Lemkuhler
CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
ความเฉพาะตัวของสถาปัตยกรรมในหลวงพระบางนัน้ สะท้อนให้เห็น การผสมผสานของรูปแบบและวัสดุแบบท้องถิ่นกับยุโรป โครงสร้างหลัก เป็นแบบพื้นเมืองที่สร้างจากไม้ แต่วัด โบสถ์ วิหาร เจดีย์ หรือพระธาตุ นั้นจะสร้างจากปูน และตกแต่งประดับประดาอย่างวิจิตรสวยงาม เช่นที่ วัดเชียงทอง อาคารบ้านเรือนส่วนมากจะปลูกสร้างขึ้นโครงจากไม้ แต่ใช้ เทคนิคและวัสดุตกแต่งแบบอาณานิคมหรือที่เรียกกันว่าแบบโคโลเนียล อาทิ ไม้ไผ่จักสานเป็นแผ่นหรือไม้ขัดแตะเคลือบเงา ส่วนบ้านเรือนแบบ อาณานิคมทีส่ ร้างจากอิฐและปูนจะประดับประดาส่วนประกอบอืน่ ๆ ด้วย ไม้ฉลุลาย เช่น หน้าต่าง ประตู บันได และช่องแสง มีระเบียงบ้านเพื่อ ปลูกดอกไม้หรือใช้สอยเพื่อการอื่นๆ อาคารเก่าแก่ทที่ รงคุณค่าทางประวัตศิ าสตร์และเก็บรักษาวันเวลาใน อดีตของเมืองหลวงพระบาง ยังคงได้รับการอนุรักษ์และสงวนรักษาเป็น อย่างดี แต่บางส่วนก็ถกู ดัดแปลงไปเป็นส่วนหนึง่ ของอุตสาหกรรมการท่อง เทีย่ วทีข่ ยับตัวมาเป็นแหล่งรายได้หลักของเมือง เป็นโรงแรม บ้านพัก ร้าน อาหาร ร้านขายของ ทั้งแบบที่อยู่ภายใต้การควบคุมของหน่วยงานที่รับ ผิดชอบ และบางส่วนก็ถกู ลักลอบดัดแปลงอย่างผิดกฎหมาย แต่สว่ นศาสน สถานนั้น ยังคงยึดถือธรรมเนียมปฏิบัติแบบเก่าแก่ คือพระสงฆ์จะเป็นผู้ บูรณะซ่อมแซม โดยพระผูม้ อี าวุโสจะถ่ายทอดความรู้ เทคนิคการก่อสร้าง ซ่อมแซมแก่พระผู้เยาว์พรรษากว่า ซึ่งในอีกด้านหนึ่งนั้นพระสงฆ์เหล่านี้ก็ ยังขาดแคลนความรูด้ า้ นการอนุรกั ษ์ทถี่ กู ต้อง ในสภาพความเสือ่ มโทรมที่ ต่างปัจจัยกัน จึงทำ�ให้ศาสนสถานหลายแห่งมีความผิดเพี้ยนไปจาก เค้าโครงเดิมอยู่มาก เพือ่ ตอบรับความท้าทายใหม่ๆ ทีเ่ ริม่ เข้ามาเยือน เมืองมรดกโลกแห่ง นีจ้ งึ จำ�เป็นต้องริเริม่ วางพืน้ ฐานการพัฒนาการท่องเทีย่ วแบบพอเพียง รวม ถึงการอนุรักษ์ภูมิทัศน์ของเมืองรวมถึงพื้นที่ทางการเกษตรที่อยู่แวดล้อม โดยผ่านความเห็นชอบจากหน่วยงานกลางของประเทศในปี 2012 ให้ขยาย พืน้ ทีก่ นั ชนกว่า 12.5 ล้านตารางเมตร เพือ่ รองรับการวางผังเมืองใหม่ โดย จะแบ่งโซนของโครงการขนาดใหญ่เป็นของเอกชน (ได้แก่ เมืองใหม่ และ โรงแรมขนาดใหญ่) และโครงการอาคารสาธารณะซึ่งอยู่ภายใต้การกำ�กับ 26 l Creative Thailand l พฤศจิกายน 2556
ดูแลของรัฐบาลอย่างโรงเรียนประถม และโรงเรียนศิลปะ รวมทั้งมีการตั้ง หน่วยงานขึ้นมาเพื่อกำ�กับดูแลกิจการด้านการดูแลรักษามรดกของชาติ โดยเฉพาะชื่อว่า “กรมมรดก (Heritage Department)” เพื่อให้ความรู้ คำ�แนะนำ� และตอกยํ้าให้ทุกๆ ฝ่ายได้ตระหนักถึงความสำ�คัญของการ อนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของหลวงพระบาง แม้แต่การเลือกใช้อิฐ ไม้ หรือผลิตภัณฑ์ดนิ เผาของพืน้ เมืองทีจ่ ะคงรักษารูปแบบดัง้ เดิมของสิง่ ปลูก สร้างทั้งหลายไว้ นอกจากนัน้ ยังมีโครงการอบรมให้ความรูด้ า้ นการพัฒนาอุตสาหกรรม การท่องเที่ยวให้แข็งแรง เป็นสากล และมีความทันสมัยทัดเทียมกับเมือง ท่องเทีย่ วทางวัฒนธรรมแห่งอืน่ ๆ ของโลก ซึง่ เป็นหนึง่ ในเป้าหมายสำ�คัญ ของโครงการ "ยกระดับการท่องเทีย่ วแบบพอเพียง ผลิตภัณฑ์สะอาด และ เพิ่ ม ขี ด ความสามารถทางการส่ ง ออกของสาธารณรั ฐ ประชาธิ ป ไตย ประชาชนลาว” ซึ่งเป็นโครงการที่รัฐบาลลาวจัดขึ้นครอบคลุมทั่วประเทศ โดยได้รับการสนับสนุนจากองค์การแรงงานนานาชาติ (International Labor Organization) ทัง้ นีเ้ พือ่ นำ�พาประเทศลาวโดยเฉพาะอย่างยิง่ เมือง หลวงพระบางสู่ความเป็นเลิศในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การเกษตร และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและงานหัตกรรม ชุมชนเพื่อการส่งออกไปทั่วโลก สิ่งเหล่านี้นับเป็นอีกหนึ่งความเคลื่อนไหวที่สำ�คัญของหลวงพระบาง เมืองท่องเทีย่ วทีต่ ดิ อันดับทีห่ มายในฝันของนักเดินทางจากทัว่ โลก เพราะ แม้วา่ จะมีทรัพยากรทางการท่องเทีย่ วทัง้ ทางธรรมชาติและทางวัฒนธรรม สมบูรณ์อยู่มากแล้ว ก็ยังเล็งเห็นความสำ�คัญของการวางรากฐานเพื่อการ พัฒนาการท่องเที่ยวในระยะยาวควบคู่ไปกับการอนุรักษ์สงวนไว้ซึ่งสิ่งที่ ทรงคุณค่าและตกทอดมาเป็นมรดกในปัจจุบันไปพร้อมๆ กันด้วย ที่มา: บทความ “หลวงพระบาง..เมืองมรดกโลก”(27 พฤษภาคม 2555) จาก oknation.net บทความ “Luang Prabang” จาก southeastasiabackpacker.com บทความ “Luang Prabang training to strengthen tourism industry” (23 กรกฎาคม 2012) จาก ilo.org บทความ “Town of Luang Prabang” จาก whc.unesco.org luangprabang.sadoodta.com luangprabangyoga.org
CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
พฤศจิกายน 2556
l
Creative Thailand
l 27
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
เรื่องและภาพ: อรรคพล สุทัศน์ ณ อยุธยา
อาจดูเป็นเรือ่ งปกติทจ่ี ะได้เห็นร้านอาหารหน้าตาใหม่ๆ ผุดขึน้ มาตามโซเชียล เน็ตเวิรก์ โดยเฉพาะ ในอินสตาแกรม วิถชี วี ติ ออนไลน์เช่นนีไ้ ม่เพียงทำ�ให้เราได้อพ ั เดทข้อมูลล่าสุดว่ามีอะไรเกิดขึน้ ใหม่ใน เมืองทีเ่ ราใช้ชวี ติ อยูบ่ า้ ง แต่ยงั กระตุน้ ให้เราอยากเข้าไปสัมผัสประสบการณ์และลิม้ รสความอร่อย ของอาหารและเครื่องดื่มที่เห็นภายใต้บรรยากาศจริงด้วยตนเองอีกด้วย Rocket Coffee Bar เป็นอีกร้านหนึง่ ซึง่ มักปรากฏตัวบนพืน้ ทีโ่ ลกออนไลน์ในช่วงไม่กเ่ี ดือน ที่ผ่านมา นั่นอาจเพราะหน้าตาอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ หรือบรรยากาศที่ดูดีไม่ต่างจากคาเฟ่ใน หลายหัวเมืองใหญ่ทั่วโลก หรือแท้จริงแล้วสิ่งที่คนรอสัมผัสในยามเช้าอาจไม่ใช่ความหวือหวา แต่เป็นอะไรที่เรียบง่าย ตั้งแต่การให้บริการอาหารและเครื่องดื่มที่มีคุณภาพเพื่อเริ่มต้นวันใหม่ ไปจนถึงการคำ�นึงถึงที่มาของแหล่งผลิต แดนนี่ โซรัม (Dannie Sorum) ชาวสวีเดนผู้คลุกคลี อยู่กับสายงานบริการในเมืองไทยและภาคพื้นเอเชียมากว่าสิบปี คือหนึ่งในผู้ก่อตั้ง Rocket Coffee Bar ที่ตั้งอยู่บนถนนสาธร ซอย 12 แห่งนี้ ซึ่งเปิดให้บริการตั้งแต่ 7 โมงเช้า และพร้อม เสิร์ฟอาหารเช้าให้ผู้ที่หลงใหลการเริ่มต้นวันด้วยของอร่อยตลอดทั้งวัน
28 l
Creative Thailand
l พฤศจิกายน 2556
ส่วนตัวแล้ว ผมคิดว่าวัตถุดิบที่ดี มันเปลี่ยนรสชาติอาหารได้ทั้งจาน มันทำ�ให้อาหารจานนั้นอร่อยขึ้นได้ง่ายมาก จุดเริ่มต้นของ Rocket Coffee Bar เป็นมาอย่างไร
พวกเราคิดโปรเจ็กต์นก้ี นั มา ถ้านับเวลาก็มากกว่า ปีครึ่ง เราเริ่มกันด้วย 3-4 คอนเซ็ปต์ นั่งโยน กันไปมา โดยมีโจทย์ก็คือพื้นที่ในย่านนี้ (ปลาย ถนนสาธร) ก็ถกเถียงกันเยอะว่าจะนำ�เสนออะไร ให้กับเพื่อนบ้านแถวนี้ดี แต่หลังจากที่พวกเรา ออกตระเวนหาที่ตั้ง ดูว่ามีพื้นที่ตรงไหนที่เรา จะสามารถเข้ามาอยูไ่ ด้ สุดท้ายก็มาเจอบาร์เบอร์ เก่า (ร้านตัดผมชาย) ที่ตั้งอยู่ก่อนหน้า ผมกับ หุ้นส่วนก็เดินเข้ามาสำ�รวจภายในกัน จากนั้น จึงเริม่ ทีจ่ ะจินตนาการต่อ เพราะสำ�หรับพวกเรา แล้ว มันเป็นพืน้ ทีท่ เ่ี จ๋งมาก คิดว่าน่าจะทำ�อะไร ที่มันแตกต่างจากที่เคยมีมาได้ ไม่ใช่แค่ร้าน อาหารหรือบาร์เหล้า พวกเราจึงเริ่มคิดถึงธุรกิจที่เกี่ยวกับช่วง กลางวันอย่างจริงจัง เพราะจะว่าไปแล้วก็มีคน อยู่อาศัยในย่านนี้เยอะมาก แต่กลับไม่มีอะไร ให้พวกเขากินกันเลย ไม่มีอะไรให้ทำ�นอกจาก อยู่อาศัยด้วยซํ้าไป บนถนนที่ร้านเราตั้งอยู่ใน ปัจจุบัน ก่อนหน้าก็มีแค่ร้านขายอาหารปิ้งย่าง ชาบูแบบเกาหลี มีแค่นั้นจริงๆ หรือถ้าเลยไป หน่อย ก็มี Dean & Deluca ซึ่งก็เป็นสไตล์ เดลี่ (Deli) พวกเราอยากทำ�อะไรทีม่ นั เป็นคาเฟ่ แบบจริงจัง ให้มันมีความประณีตขึ้นอีกนิด ก็เลยได้คอนเซ็ปต์ของร้านนีม้ า คือทำ�เป็นคาเฟ่ แล้วก็เป็นบาร์ เร็วๆ นี้ร้านของเราจะเปิดขาย ช่วงเย็นจนถึงเทีย่ งคืนด้วย และบางวันบางเวลา เราก็อาจจะเปลี่ยนให้มันเป็นบาร์ของหวาน (Dessert Bar) เราหวังไว้ว่ามันจะแตกต่างจาก สิ่งที่มีอยู่และมีความเป็นตัวเราอยู่นิดหน่อย
ก็คือเป็นคาเฟ่ที่คนจะมาสังสรรค์กันได้ อย่างนั้นหรือ
กว่าจะมาถึงตรงนี้ คอนเซ็ปต์ของร้านถูกปรับ และเปลี่ ย นไประหว่ า งทางด้ ว ยเหมื อ นกั น พวกเราเริ่ ม จากพั ฒ นาคอนเซ็ ป ต์ จ ากสิ่ ง ที่ เรียกว่า Fika (ภาษาสวีเดน หมายถึงช่วงพักสัน้ ๆ สำ�หรับดื่มชา กาแฟ และทานขนมหวาน) ซึ่ง มั น เป็ น สิ่ ง ที่ เ ราทำ � กั น ในแถบสแกนดิ เ นเวี ย และทำ�กันบ่อยมากระหว่างวัน คล้ายๆ กับการ พบปะแบบไม่เป็นทางการ ไม่ว่าจะเป็นการมา นั่งดื่มกาแฟกัน หรือนั่งดื่ม นั่งกิน มันเหมือน วิธกี ารเข้าสังคมอย่างหนึง่ อย่างเช่นคุณออกไป เดทครั้งแรก เราก็เรียกว่า Fika Date มันเป็น วิถแี บบง่ายๆ สบายๆ ทีค่ ณุ จะทำ�ความรูจ้ กั กับ คนอืน่ หรือการทีค่ ณุ จะพบปะกับคนอืน่ ในช่วงพัก ระหว่างทำ�งาน อาจเป็นการกินเร็วๆ ดืม่ กาแฟ หรือกินของหวาน แล้วก็จบ จริงๆ เราเริ่มต้น จากตรงนั้น จากนั้นเราก็เริ่มสร้างแบรนด์ที่มัน สามารถขยายไปยังส่วนอื่นได้ เท่ากับว่า Rocket Coffee Bar กำ�ลัง นำ�เสนอวัฒนธรรมที่ทำ�กันมานานแล้วใน แถบสแกนดิเนเวีย
แรงบันดาลใจของ Rocket Coffee Bar ไม่ได้มา จาก Fika เพียงอย่างเดียว แต่มนั ยังมาจากเมือง ต่างๆ ทั่วโลก อย่างซิดนีย์และซานฟรานซิสโก เวลาที่พูดถึงซานฟรานซิสโก ผมมักนึกถึงอะไร ที่มันเล็กๆ เช่นคนกลุ่มเล็กๆ ที่เขาแคร์ในสิ่งที่ พวกเขาทำ� พวกเขาผลิตไม่วา่ จะเป็นคอนเซ็ปต์ ของ ฟาร์ม ทู เทเบิ้ล (farm to table) หรือ อะไรคล้ายๆ อย่างนี้ คือกลุ่มคนที่ให้ใจกับสิ่ง ที่เขาสร้างหรือผลิตขึ้น เขาปลูกกาแฟ ผัก หรือ ผลไม้เอง พฤศจิกายน 2556
l
Creative Thailand
l 29
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
แล้วทำ�ไมถึงเลือกทีจ่ ะเปิดร้านแบบนีต้ อนนี้
พวกเราเคยทำ�บาร์และร้านอาหารมาก่อน และ ทุกวันนี้ก็ยังทำ�อยู่ แต่ก็ยังรู้สึกว่ามีบางอย่างที่ ขาดหายไป พวกเรายังอยากให้มีคาเฟ่น่ารักๆ ดีๆ ที่คนสามารถแวะมาดื่มกาแฟได้ ในขณะ เดียวกัน ก็ยังนำ�เสนอรายการอาหารดีๆ พร้อม บรรยากาศที่ดีด้วย พวกเราก็เลยพยายามที่จะ ผสมผสานความเข้ า ใจเรื่ อ งเครื่ อ งดื่ ม และ ทุกอย่างเกิดจากสิ่งที่คุณชอบระหว่าง อาหาร เข้ากับวัฒนธรรมการดื่มกาแฟที่เรารัก การเดินทางด้วยไหม การเดินทางก็ด้วย แต่จริงๆ พวกเราก็อยู่ใน แต่ยงั ไม่เคยศึกษามันอย่างจริงจัง เราทำ�การบ้าน สายงานบริการมาโดยตลอด ผมเริม่ จากการทำ� เยอะมากและพยายามจะนำ�ความรูแ้ ละความรัก บาร์ และก็ยังทำ�มันอยู่ ไม่ได้เปลี่ยนไป และถึง ในทุกอย่างมารวมเข้าด้วยกัน ผมจะทำ�งานในสายนี้ ผมก็ยังสนุกกับสิ่งที่มัน เกิดขึ้น สิ่งที่คนอื่นๆ เขาทำ�กัน ง่ายๆ คือถ้า นอกจากบรรยากาศที่ดีแล้ว อาหารและ ที่ไหนมีคาเฟ่ดีๆ หรือร้านอาหารไหนที่เขาว่าดี เครื่องดื่มที่คุณนำ�เสนอก็ค่อนข้างเน้น จะเป็นร้านขายมิลค์เชกหรืออะไรก็ตาม ถ้าเขา เรื่องคุณภาพและวัตถุดิบที่ดีต่อสุขภาพ ทำ�ด้วยใจรักและมีคุณภาพ ผมก็จะไป ด้วยใช่ไหม
เราไม่จำ�เป็นต้องให้เยอะไปหมด ไม่จำ�เป็นต้องให้ทางเลือกมากมายแก่ลูกค้า แค่ให้อะไรที่ใช่ อะไรที่ดี และนั่นคือทิศทาง ที่พวกเราจะเดินต่อไปในอนาคต ซิดนีย์ก็มีวัฒนธรรมคาเฟ่ที่เป็นของตัวเอง มาก ในช่วงระหว่างวันคาเฟ่ที่นั่นจะเปลี่ยนตัว เองตลอด เช้าคุณสามารถแวะไปกินอาหารเช้า เลิกงานคุณสามารถแวะมาดื่มสักแก้วก่อนกลับ บ้าน หรือแม้กระทั่งหลังอาหารเย็น คุณยัง สามารถไปหาของหวานกินพร้อมกับดื่มไวน์ไป ด้วยได้ คือทุกอย่างที่พูดมามันอยู่ในพื้นที่พื้นที่ เดียว ก็คือคาเฟ่นั่นล่ะ แล้วพวกเราก็ใส่ความ เรียบง่ายในการเข้าสังคมแบบสแกนดิเนเวีย เข้าไปอย่างที่ได้กล่าวไปแล้ว
30 l
Creative Thailand
l พฤศจิกายน 2556
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
พวกเราคิดว่าอาหารในปัจจุบันไม่เพียงแต่ต้อง อร่อยเท่านัน้ แต่มนั น่าจะดีตอ่ สุขภาพด้วย และ จริงๆ ผูค้ นในปัจจุบนั ก็ตอ้ งการทีจ่ ะได้ในสิง่ นัน้ ไม่ตา่ งจากตัวเราเอง แต่พวกเราก็ไม่ได้พยายาม จะผลักไปสุดๆ เราเลือกทีจ่ ะทำ�อะไรเล็กๆ มาก กว่า เช่นวัตถุดิบที่เราใช้อย่างไข่ไก่ เราก็เลือก ใช้ไข่ท่ีมาจากไก่ท่ีเลี้ยงตามธรรมชาติบริเวณ พื้นที่เชิงดอย เป็นออร์แกนิก ส่วนตัวแล้ว ผม คิดว่าวัตถุดิบที่ดีมันเปลี่ยนรสชาติอาหารได้ ทั้งจาน มันทำ�ให้อาหารจานนั้นอร่อยขึ้นได้ ง่ายมาก หลักการง่ายๆ คือใช้วัตถุดิบที่ดีที่สุด ที่เราเองก็อยากได้รับ และก็คิดว่าไม่ใช่แค่เรา คนเดียวหรอกทีอ่ ยากได้สง่ิ ทีย่ งั ขาดไปนี้ อีกอย่าง แถวนี้ก็ยังไม่ค่อยมีคนทำ�มันด้วย ที่นี่เน้นของสดเป็นหลัก
พวกเราเป็นพวกที่ชอบอาหารสดใหม่อยู่แล้ว ยิ่งถ้าคุณทำ�งานสายนี้ คุณจะชอบของสดใหม่ มากๆ คุณไม่อยากได้หรอกของทีม่ นั มันเยิม้ หรือ หนักๆ เพราะของที่มันอยู่รอบตัวคุณส่วนใหญ่ เป็นประเภทของทอด ซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะ มีนํ้ามันเยอะ จริงๆ มันก็โอเคสำ�หรับอาหาร มื้อคํ่า แต่ช่วงเช้าหรือกลางวัน คุณก็ต้องการ อะไรที่มันสดและเบา เราไม่เคยวางแผนว่าจะเป็นร้านอาหาร หรือคาเฟ่ที่เสิร์ฟอาหารเพื่อสุขภาพ เราแค่ อยากเพิ่มอะไรลงไปในเมนู เช่น นํ้าผักผลไม้ วัตถุดิบสดใหม่ที่ให้พลังงานในตอนเช้า มันเลย กลายเป็นว่าอาหารในเมนูของเราเป็นอาหาร ที่ดีต่อสุขภาพเป็นหลัก (health oriented) ตั้งแต่วัตถุดิบที่ใช้ เราก็จะใช้วัตถุดิบที่ดีที่สุด ปรุงมันในรูปแบบที่ดีต่อสุขภาพ เช่น ขนมปัง ธัญพืช (dark rye bread) กับแซลมอนจาก นอร์เวย์ คือเมื่อนำ�วัตถุดิบเหล่านี้มารวมกัน มันก็ค่อนข้างเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพนะผมว่า เพราะไม่มัน ไม่ทอด ถึงแม้จะไม่ได้วางแผนมา แต่มันเหมือนมี เส้นบางๆ ว่ามันดีสำ�หรับคุณ แล้วก็อร่อยด้วย ผมไม่เคยคิดถึงเรื่องอาหารรักษาสุขภาพแบบ สุดๆ ไม่ใช่ซเู ปอร์เฮลธี้ เพราะอย่าง เอ้ก เบเนดิกต์
(egg benedict) ก็มที ง้ั เนยและซอสฮอลแลนเดส (Hollandaise sauce) มันไม่ได้ทำ�ให้คุณผอม แต่วัตถุดิบที่เราเลือกมาใช้นั้นดีที่สุด มันถึงมี ผลดีต่อร่างกาย อีกอย่างเราพยายามไม่ใส่ นํ้าตาลลงไป แต่เราเลือกที่จะใส่ผลไม้ที่ให้ ความหวานตามธรรมชาติลงไป หรือจับมัน ไว้ด้วยกันก็เท่านั้นเอง
ของหวานได้ไม่ต่างจากของคาว คือใส่ใจใน รายละเอียดเหมือนกับที่เราทำ�กับอาหาร อย่าง แทนที่จะเสิร์ฟทาร์ตบนจาน คุณสามารถที่จะ เห็นตอนทำ� คือปรุงตรงหน้าคุณไม่ตา่ งจากการ ทำ�แซนด์วิชหรือทอดไข่ เราอยากให้มันดูสนุก นอกจากนั้นก็ยังมีค็อกเทลหรือไวน์ดีๆ ที่จะดื่ม ให้เข้ากันด้วย
คุณคิดจะให้ที่นี่เป็น all day breakfast ตัง้ แต่แรกด้วยใช่ไหม แสดงว่าพฤติกรรม ของคนในเมืองเปลี่ยนไปด้วยหรือเปล่า
นั่นจะเป็นสิ่งที่ลูกค้าต้องการ
ไม่คิดเลย พวกเราเองยังเซอร์ไพรส์มาก ตอน แรกเรามีอีกแผนหนึ่งนะ มันต่างกันเลย คือ เมนูในระหว่างวันมันจะเปลีย่ นไปเรือ่ ยๆ เราจะ มีเมนู 1 เมนู 2 เมนู 3 เพียงแต่พวกเราเริ่มต้น อย่างค่อยเป็นค่อยไป ร้านนี้ยังอยู่ในระหว่าง การก่อสร้างเพราะเปิดสายกว่าทีก่ �ำ หนด มันเป็น เรือ่ งบังเอิญทีเ่ ราต้องลดความยุง่ ยากในทุกๆ ด้าน เปิดเวลาทำ�การให้สั้นลง แต่ในขณะเดียวกันก็ ยังต้องสามารถเสิรฟ์ ของทีม่ คี ณุ ภาพดี เพือ่ ไม่ให้ ลูกค้าผิดหวัง เราเริม่ ต้นจากจุดเล็กๆ เรียบง่าย และผลที่ได้ก็ดูเหมือนว่าจะเวิร์ก การได้รับการ ตอบรับที่ดีมากทำ�ให้เรามีโอกาสทำ�ร้านให้ดี ขึ้นไปอีก นับเป็นเหตุบังเอิญที่ดีทีเดียว เพราะ ทำ�ให้พวกเรารูว้ า่ จริงๆ เราไม่จ�ำ เป็นต้องให้เยอะ ไปหมด ไม่จำ�เป็นต้องให้ทางเลือกมากมายแก่ ลูกค้า แค่ให้อะไรที่ใช่ อะไรที่ดี และนั่นคือ ทิศทางที่พวกเราจะเดินต่อไปในอนาคต อนาคตที่คุณกำ�ลังพูดถึงคืออะไร
คนในแถบซีกโลกนีช้ อบของหวานมากนะ จะว่า ไปมีร้านขายคุกกี้ ร้านขายคัพเค้ก หรือร้าน เบเกอรี่หลายร้าน แต่ละร้านจะมีความชำ�นาญ เฉพาะด้าน แต่สังเกตไหม แต่ละร้านไม่ค่อยมี พื้นที่ให้คุณนั่งละเลียดของหวานเหล่านั้นได้ ส่วนใหญ่คือการนำ�กลับบ้าน เค้กดีๆ ก็มักถูก ซื้ อ กลั บ บ้ า นเหมื อ นของฝากหรื อ ของขวั ญ ร้านอาหารหลายๆ แห่งก็ใส่รายการของหวาน เข้าไปในเมนู แต่กไ็ ม่ใช่อะไรทีเ่ ขาโฟกัส พวกเรา อยากทำ�ให้ที่นี่เป็นสถานที่ท่ีคุณสามารถกิน
มันใช่สง่ิ ทีเ่ ขาต้องการกันหรือเปล่า จริงๆ ผมเอง ก็ไม่รู้ แต่มันเป็นสิ่งที่พวกเราต้องการ เหมือน กับที่เราก็ไม่คิดว่าจะมีคนอยากมาร้านนี้เยอะ ขนาดนี้ มีร้านให้เลือกกินเยอะแยะมากมายไป หมด แต่ก็มีคนที่ชื่นชอบแล้วพร้อมจะกลับมา กินอีกรอบ ร้านที่กำ�ลังจะเปิดข้างๆ ก็เป็นร้านที่ พวกคุณดูแลใช่หรือไม่
ข้างๆ จะเป็นร้านอาหารทาเวิร์น (Tavern) เสิร์ฟเครื่องดื่มที่เข้ากับอาหารมื้อคํ่า และถ้า ใครอยากจะกินของหวานหลังจากนัน้ ก็สามารถ ย้ายมากินได้ คือร้านอาหารทั้งสองร้านน่าจะ ส่งเสริมกัน ไม่ใช่เป็นคู่แข่งกันเอง ก็คงต้องดู ว่าแผนที่เราวางไว้มันจะเวิร์กไหม พวกคุณหรือเชฟที่เป็นคนคิดว่าจะ ทำ�ครัวแบบเปิด
ครั ว เปิ ด เป็ น สิ่ ง ที่ เ ราอยากทำ � ตั้ ง แต่ เ ริ่ ม ต้ น เพราะในพื้นที่ที่มีขนาดเล็กเท่านี้ ถ้าคุณไม่มี อะไรเคลื่อนไหวภายในห้องเลย มันจะดูไร้ชีวิต ชีวามาก การทีเ่ ชฟทำ�อาหาร บาริสต้าชงกาแฟ ทำ�คัปปูชิโน หรือคั้นนํ้าผลไม้ มันทำ�ให้ทั้งห้อง มีชีวิตชีวาขึ้น และถ้าเกิดเรามีลูกค้าเพียงคน เดียว ความเคลื่อนไหวเหล่านั้นก็จะช่วยให้ร้าน ดูไม่เหงาจนเกินไป ไม่ใช่ให้ลูกค้ารู้สึกเหมือน นั่งอยู่ในห้อง รอคอยการมาเสิร์ฟของอาหาร นั่นคือสาเหตุที่บาร์มีดีเจ เพราะบางทีลูกค้าจะ เริ่มคิดว่า เรากำ�ลังนั่งรออะไร นั่งอยู่เงียบๆ นับเวลาที่ผ่านไปอย่างตั้งใจ ซึ่งนั่นนำ�มาซึ่ง ความอึดอัด ไม่สบายตัว พฤศจิกายน 2556
l
Creative Thailand
l 31
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
อีกอย่าง การที่ไม่มีอะไรมากั้น ลูกค้า สามารถเห็นได้ว่าข้างในครัวหรือในบาร์เขาทำ� อะไรกัน เห็นได้เลยว่าวัตถุดบิ ทีน่ �ำ มาปรุงหน้าตา เป็นอย่างไร ใช้เทคนิคอะไรในการทำ�ให้มันสุก ไม่มคี วามลับต่อกัน เพราะพวกเราก็ไม่ได้ตอ้ งการ จะซ่อนอะไร เชฟเองก็จ�ำ เป็นจะต้องสะอาดเสมอ เพราะสายตาทุกคูจ่ อ้ งไปทีเ่ ขา เขาต้องรูว้ า่ กำ�ลัง ทำ�อะไรและจะทำ�อะไร เชฟจะต้องสามารถพูด คุยแลกเปลีย่ นกับลูกค้าได้ดว้ ย สามารถอธิบาย อาหารไม่ต่างจากบาร์เทนเดอร์ที่ต้องอธิบาย เครื่องดื่ม หรือพนักงานเสิร์ฟที่ต้องพูดคุยกับ ลูกค้าเวลามาเสิร์ฟอาหารที่โต๊ะ ผมคิดว่ามันดี กับทั้งสองฝ่าย ไม่ใช่สำ�หรับลูกค้าเท่านั้นแต่ยัง ดีตอ่ คนทีท่ �ำ งานทีน่ ด่ี ว้ ย ไม่ใช่ให้พวกเขายืนอยู่ ในห้องทั้งวัน เหงื่อไหลอยู่หน้าเตา แต่ยังมี โอกาสได้เห็นฟีดแบ็กของลูกค้าทันทีที่อาหาร หรือเครื่องดื่มไปเสิร์ฟ ถ้าอาหารจานนั้นได้รับ คำ�ชื่นชม ก็ดีไป ถ้าไม่ดีก็จะได้แก้ไขได้ทันที ทั้งหมดนี้มีส่วนช่วยในการรักษามาตรฐานได้ ด้วย ผมคิดว่ามันดีสำ�หรับทุกฝ่าย
ลูกค้าของคุณมีตลอดทั้งวันไหม ส่วนใหญ่เป็นคนไทยหรือต่างชาติ
นอกจากนั้น คุณยังจับให้ลูกค้านั่งรวม กันอีก
ความสำ�เร็จของร้านกำ�ลังบอกอะไรกับเรา
เราอยากให้ทุกคนรู้สึกสบาย อย่างน้อยก็รู้สึก ง่ายๆ กับคนข้างๆ ที่คุณอาจไม่รู้จัก จริงๆ มันเวิร์ก มากในเมื อ งอื ่ น เหมือนกับ ถ้า คุณ เดินทางไปนิวยอร์ก คุณแทบจะนั่งไหล่ชนกัน กับคนข้างๆ แต่คุณแทบจะไม่ได้เห็นเขาเลย และคุณก็ยังเอ็นจอยกับอาหารมื้อคํ่าของคุณ คุณยังสามารถมีบทสนทนาส่วนตัวของคุณกับ กลุ่มเพื่อน และคุณก็ไม่ได้ขัดขวางความเป็น ส่วนตัวของคนอื่น สำ�หรับที่กรุงเทพฯ ค่อนข้างมีการแบ่งเป็น กลุม่ ๆ ประมาณว่านีค่ อื เขตแดนของฉัน ดูงา่ ยๆ จากเวลาไปคลับตอนกลางคืน แต่ละกลุ่มไม่ได้ มิกซ์เข้าหากัน จริงๆ มันก็สนุกดีที่จะให้พวก เขาได้ออกมาจากคอมฟอร์ตโซนนิดๆ แล้วไม่ กลัวกับการนั่งรวมกับผู้อื่นในร้านอาหาร มัน ช่วยสร้างบรรยากาศที่ดี 32 l
Creative Thailand
l พฤศจิกายน 2556
เรามีลูกค้าเข้ามาตลอด จริงๆ ร้านเราเล็ก นิดเดียว ด้านในรองรับได้แค่ 16-18 ที่เท่านั้น ส่วนด้านนอกก็มีแค่สามโต๊ะ แน่นอนวันหยุด สุดสัปดาห์เป็นช่วงทีย่ งุ่ ทีส่ ดุ เพราะคนมีเวลาทีจ่ ะ มานัง่ ในช่วงกลางวัน สุดสัปดาห์จะมีคนต่างชาติ มามากกว่า แต่ลูกค้าประจำ�ส่วนใหญ่ก็เป็นคน ไทยที่ใช้ชีวิตหรือทำ�งานอยู่ในละแวกนี้ ซึ่งเขา มองหาอะไรที่ใหม่และแตกต่าง ทั้งหมดจึงตรง กับความตั้งใจของเราที่จะเป็น neighborhood place ผมรักแถวนี้มาก มันมีทางเดินเท้าที่ดี ที่สุดในกรุงเทพฯ สวยดี มีต้นไม้เขียวๆ บ้าง รู้สึกเหมือนเป็นเมืองที่โตเต็มที่แล้ว (mature city) เราสามารถเดินบนถนนซึ่งไม่ใช่ถนนสาย หลัก มันดีมาก แต่แค่ไม่มีที่ที่คุณจะสามารถ นั่งเล่นได้ ที่นี่จึงเป็นที่ที่คุณสามารถนั่งดื่ม กิน และเฝ้ามองวันที่มันกำ�ลังจะผ่านไป ผมว่าคน ย่านนี้ก็น่าจะชอบร้านนี้มากพอควร พวกเขา ถึงแวะมาเยี่ยมเยียนเสมอ สำ�หรับกรุงเทพฯ แล้ว วัฒนธรรมบรันช์นั้น ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ มันเปลี่ยนจากโรงแรมหรูห้า ดาวมาเป็นที่เล็กๆ ที่มีความเป็นส่วนตัวสูง (independent venue) ผมจำ�ได้ว่าตอนที่ผม มาถึงในปี 1998 ทุกๆ สุดสัปดาห์ผมจะออก ตระเวนไปยังโรงแรมต่างๆ เพื่อกินบรันช์ มัน ดีมากเลย แต่ตอนนี้ หลายๆ ที่ก็เปลี่ยนไป ไม่ได้มีคนยืนแกะหอยนางรมสดๆ เหมือนเมื่อ ก่อน มันเลยสูญเสียความสนุกไปนิดหน่อย แต่ ไม่ได้หมายความว่าอาหารไม่ดนี ะ เพราะอย่างนัน้
หลายคนจึงอยากที่จะเริ่มหาอะไรใหม่ๆ หรือ สถานที่ที่น่าสนใจ ที่เล็กๆ เช่นคาเฟ่ เพราะ มันมักจะมีอาหารที่คล้ายๆ กับอาหารบรันช์ อย่างวาฟเฟิลหรืออะไรเทือกนั้น อาหารที่กิน ง่ายๆ (comforting) ตอนสายวั น อาทิ ต ย์ อีกอย่างคือน่าแปลกมากที่คนรู้จักเราเร็วมาก และลู ก ค้ า ให้ ก ารตอบรั บ พวกเราดี ข นาดนี้ So far, so good. Knock on wood. (ยิ่งทำ�ก็ ยิ่งไปได้สวย ขอให้เป็นแบบนี้ต่อไปด้วยเถิด) จริงๆ คุณเป็นคนตื่นเช้าไหม
ไม่เลย ผมไม่ใช่คนตืน่ เช้าเลย ไม่เลยแม้แต่นอ้ ย นัน่ อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ผมชอบทำ�งานในบาร์ ตอนกลางคืน เพราะมันไม่มปี ญั หาถ้าผมตืน่ นอน ในช่วงบ่าย เพราะมันไม่ส่งผลกระทบกับงาน ที่ทำ� ตอนที่เริ่มทำ�ร้านนี้มันแย่มาก ผมต้อง ปรับตัวค่อนข้างมาก แต่มนั ก็ถอื เป็นการปรับตัว ในทางบวกนะ เพราะการทำ�งานช่วงกลางคืน มันค่อนข้างจำ�กัดคุณอยู่เหมือนกัน อย่างการ เข้าสังคมเป็นต้น จะว่าไปมันทำ�ให้ชวี ติ ของคุณ สมดุลมากขึ้น แสดงว่าคุณเริม่ เห็นข้อดีของการตืน่ เช้าแล้ว
มันดีมากที่คุณจะตื่นเช้า แล้วทำ�กิจกรรมใน ช่วงกลางวัน คุณมีโอกาสได้กินอาหารมื้อคํ่า หรือออกไปสังสรรค์กับเพื่อนฝูง คือไปในตอน ที่มันยังเปิดให้บริการอยู่ ไปเจอคนธรรมดาที่ เขาเพิ่งเลิกงาน ไม่ต้องอยู่กับของมึนเมาตลอด เวลา ซึ่งมันดีต่อร่างกายคุณ ดื่มสมูทตี้กับ ผลไม้คั้นสด แทนที่จะเป็นไวน์หรือเบียร์ ถือ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีมาก
ที่โปรดยามเช้า
เตียงของผม ;) ผมชอบหยุดช่วงเช้า ออกไปสำ�รวจสถานที่ใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยไป หรือไม่ก็ไป โรสต์ (Roast coffee & eatery) อาหารกับกาแฟเขาเยีย่ มมาก และทีมงานก็ให้การดูแลเป็นอย่างดี กาแฟของคุณ
ผมชอบกาแฟทีใ่ ส่ใจในรายละเอียด ปิคโคโล ลาเต้ (Piccolo Latte) ไม่กฟ็ ลิ เตอร์ (Filter) รสเข้ม ที่ใช้เมล็ดคั่วดีๆ ยิ่งโปรดเลยล่ะ
พบกับนิตยสาร Creative Thailand
ทุกสัปดาหแรกของเดือน ที่ TCDC กรุงเทพฯ TCDC เชียงใหม รานหนังสือ หองสมุด อาคารสำนักงาน และรานกาแฟใกลบาน ในเขตกรุงเทพฯ และ ปริมณฑล จังหวัดเชียงใหม หัวหิน และ Mini TCDC 13 แหงทั่วประเทศ กรุงเทพฯและปริมณฑล
รานหนังสือ สมาคม • Asia Books • สมาคมธนาคารไทย • รานนายอินทร • สมาคมโฆษณาแหงประเทศไทย • คิโนะคูนิยะ • สมาคมอุตสาหกรรมทอผาไทย • C Book (CDC) • สมาคมหอการคาไทย • แพรพิทยา • สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุงหมไทย • ศึกษิตสยาม • สมาคมสโมสรนักลงทุน • โกมล • สภาอุตสาหกรรมแหงประเทศไทย • สถาบันบุนกะแฟชั่น รานกาแฟ / รานอาหาร • สถาบันราฟเฟลส • Chaho • สถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน • อาฟเตอร ยู • ดอยตุง คอฟฟ เชียงใหม • โอ บอง แปง • รานนายอินทร • October • ซัมทาม คอฟฟ • รานเลา • Tea House Siam Celadon • บานไรกาแฟ เอกมัย • ACE! The Academy • ดอยตุง คอฟฟ • ทรู คอฟฟ for education USA • Book Re:public • รานกาแฟวาวี • 94 Coffee • Little Cook Café • Sweets Café • รานแฮปปฮัท • มหาวิทยาลัยเชียงใหม • วีวี่ คอฟฟ • คาเฟ เดอ นิมมาน • สุริยันจันทรา • แมคคาเฟ • Kanom • The meeting room art café • Babushka • รานมองบลังค • Things Called Art • มิลลเครป • หอมปากหอมคอ • หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม • ไล-บรา-รี่ คาเฟ • กูชาชัก & โรตี • หอการคาจังหวัดเชียงใหม • ก.เอย ก.กาแฟ • จิงเกิ้ล • โรงแรมดุสิต ดีทู • อะเดยอินซัมเมอร • Impresso Espresso Bar • เดอะเชดี • ชีสเคกเฮาส • Minimal • บรรทมสถาน • คอฟฟ แอลลีย อิน เดอะ การเดน • Luvv coffee Bar • บานเส-ลา • รมไมไออุน ทาวนอินทาวน • Gallery Seescape • Yesterday The Village • บานกามปู ทรอปคอล แกลเลอรี่ • The Salad Concept • Hallo Bar • ไอเบอรรี่ • Casa 2511 • บานศิลาดล • Take a Seat • กาแฟโสด • Cotto Studio (นิมมานฯ) • รานกวยเตี๋ยวเรือทุงพญาไท • รานสวนนม • 9w Boutique Hotel • ซูเฟ เฮาส เบเกอรี่ • กาแฟวาวี ทุกสาขา • Good Coffee • Greyhound (Shop and Café) • ช็อกโก คาเฟ • ไหม เบเกอรี่ • รานกาแฟบางรัก • Love at First Bite • ดับเบิ้ลซี คุกกี้ แอนด คอฟฟ • Acoustic Coffee • เวียง จูม ออน บายนิตา • I Love Coffee Design • Fern Forest Café • Hub 53 Bed & Breakfast • Caffé D’Oro • Just Kao Soi • รานกาแฟ เพนกวิน เกตโต • Pasaya Showroom (สยามพารากอน) • อิฐภราดร ลําปาง โรงภาพยนตร / โรงละคร • อาลัมภางค เกสตเฮาส หัวหิน • โรงภาพยนตรเฮาส แอนด มอร • เมืองไทย รัชดาลัย เธียเตอร • เพลินวาน • Egalite Bookshop • ภัทราวดีเธียเตอร • ชุบชีวา หัวหิน นาน • ทรู คอฟฟ หัวหิน หองสมุด • รานกาแฟปากซอย • ดอยตุง คอฟฟ • หองสมุดศศินทร จุฬาฯ • Nan Coffee Bean • ทูเก็ตเตอรเบเกอรี่ • หองสมุดมารวย แอนดคาเฟ ภูเก็ต • ศูนยหนังสือ สวทช. • อยูเ ย็น บัลโคนี่ • รานหนัง (สือ) ๒๕๒๑ • SCG Experience • สตารบคั ส หอนาิกา • The Oddy Apartment • The Reading Room • วรบุระ รีสอรท แอนด & Hotel พิพิธภัณฑ / หอศิลป สปา เลย • มิวเซียม สยาม • อุทยานการเรียนรู (TK park) • หัวหิน มันตรา รีสอรท • มาเลยเด เกสตเฮาส • เลท ซี หัวหิน • บานชานเคียง • หอศิลปวัฒนธรรม • กบาล ถมอ รีสอรท โคราช แหงกรุงเทพมหานคร • การเดน แกลเลอรี่ แอนด คาเฟ • บานใกลวงั • Hug Station Resort • บานจันทรฉาย • นัมเบอรวัน แกลเลอรี่ ปาย • ภั ต ตาคารมี ก รุ ณ า • HOF Art • รานเล็กเล็ก • ลูนา ฮัท รีสอรท โรงแรม • ราน all about coffee • The Rock • หลับดีโฮสเทล สีลม • ปายหวานบานนมสด • บานถั่วเย็น โรงพยาบาล (ถนนแนบเคหาสน) นครปฐม • โรงพยาบาลศิริราช • ราน Rhythm & Book • Dip Choc Café • โรงพยาบาลปยะเวท อุทัยธานี กระบี่ • โรงพยาบาลกรุงเทพ • Booktopia • A Little Handmade Shop • โรงพยาบาลเกษมราษฎร ประชาชื่น หมายเหตุ: แสดงเพียงบางสวนของสถานที่จัดวางเทานั้น สามารถดูสถานที่จัดวางทั้งหมดไดที่ creativethailand.org
หมดปญหาหยิบนิตยสารไมทัน สมัครสมาชิกรายป โดยมีคาใชจายในการจัดสง 200 บาท (12 เลม) และรอรับนิตยสารสงถึงบาน (ถายเอกสารใบสมัครได)
ขอมูลผูสมัครสมาชิก
สมาชิกใหม
ชื่อ นามสกุล เพศ ชาย โโทรศััพทบาน โทรสาร
สมาชิกเกา (ตองการตออายุสมาชิก)
หญิง อายุ โโทรศััพทที่ทำำงาน โทรศัพทมือถือ
อีเมล
อาชีพ นักเรียน ครู/อาจารย
นิสิต/นักศึกษา พนักงานบริษัท
นักออกแบบ/ครีเอทีฟ ผูประกอบการ
อาชีพอิสระ อื่นๆ โปรดระบุ
ขาราชการ/รัฐวิสาหกิจ
สาขา/อุตสาหกรรมที่เกี่ยวของกับอาชีพของทาน โฆษณา สถาปตยกรรม แฟชั่น ศิลปะการแสดง ดนตรี ภาพยนตร โทรทัศน/วิทยุการกระจายเสียง
ทองเที่ยว/โรงแรม/สายการบิน วรรณกรรม/การพิมพ/สื่อสิ่งพิมพ พิพิธภัณฑ/หองแสดงงาน ซอฟตแวร/แอนิเมชัน/วิดีโอเกม
หัตถกรรม/งานฝมือ การเงิน/ธนาคาร ทัศนศิลป/การถายภาพ อื่นๆ โปรดระบุ
อาหาร การแพทย การออกแบบ
คาปลีก/คาสง โทรคมนาคม
ที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ จังหวัด
ซอย
ถนน รหัสไปรษณีย
หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง
อำเภอ/เขต
หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง
อำเภอ/เขต
ที่อยูในการออกใบเสร็จ เหมือนที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ ซอย จังหวัด
ถนน รหัสไปรษณีย
ตองการสมัครสมาชิกนิตยสาร Creative Thailand จำนวน 12 เลม เริ่มตั้งแตฉบับเดือน
โดยยินดีเสียคาใชจายในการจัดสงเปนจำนวนเงิน 200 บาท
วิธีการชำระเงิน (ระยะเวลา 1 ป จำนวน 12 เลม) เช็คสั่งจายนาม ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ พรอมใบสมัครสมาชิก โอนเงินเขาบัญชีออมทรัพย ธนาคารกรุงเทพ สาขาสำนักงานใหญสีลม เลขที่บัญชี 101-808967-0 ในนาม ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ กรุณาแฟกซใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่เบอร 02-664-7670 หรือสงไปรษณียมาที่ ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (Creative Thailand) 622 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอรชั้น 24 ถนนสุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 หรือแนบไฟลใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่อีเมล creativethailand@tcdc.or.th สอบถามขอมูลเพิ่มเติมไดที่ 02-664-7667 ตอ 122 สำหรับเจาหนาที่ Creative Thailand
สำหรับเจาหนาที่การเงิน
1. เลขที่สมาชิก ………………………………………. 2. วันที่ ………………………………………………… 3. เริ่มตั้งแตฉบับเดือน ……………………………….
1. เจาหนาที่การเงิน …………………………………. 2. วันที่ ………………………………………………… 3. วันที่โอนเงิน ………………………………………..
CREATIVE WILL คิด ทำ� ดี
เรื่อง: ปิยะพร สวัสดิ์สิงห์
“เด็กซนจนเทวดา บนฟ้ายังกลุ้มใจ ส่งดาวประกายสุกใส ไว้ในใจเด็ก หากหัวใจยังงาม ตราบฟ้าครามยังดี เรามี... ทุ่งแสง... ตะวัน” บทเพลงคุ้นหูที่ดังขึ้นเปิดรายการทุ่งแสงตะวันในช่วงเช้าตรู่วันเสาร์ ยังคงชวนให้นึกถึงภาพสดใสของเด็กๆ ที่วิ่งเล่นท่ามกลาง ท้องทุง่ คละเคล้าเสียงหัวเราะเปีย่ มสุขและบริสทุ ธิต์ ามธรรมชาติ นับเป็นการช่วยเติมเต็มความสดชืน่ ให้กบั เช้าวันใหม่ของผูช้ มรายการ ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา
ย้อนกลับไปเมื่อราว 22 ปีก่อน ช่วงที่ไทยกำ�ลังก้าวสู่ระบบอุตสาหกรรม ขนาดใหญ่ อันก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมตามมาอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก แม้ในด้านหนึง่ ผูค้ นจะเบิกบานกับภาวะเศรษฐกิจทีร่ งุ่ เรือง แต่กถ็ อื เป็นช่วง สำ�คัญ ที่ อี ก หลายคนเริ่ ม หันมาให้ค วามสำ�คัญกับ กระแสการอนุ รั ก ษ์ ธรรมชาติและสิง่ แวดล้อมอย่างจริงจัง เช่นเดียวกับการเกิดขึน้ ของรายการ ทุ่งแสงตะวัน โดย ป่าใหญ่ ครีเอชั่น ทีมงานผู้ดูแลและควบคุมกระบวน การผลิตตัง้ แต่การเขียนบทไปจนถึงการดำ�เนินรายการด้วยความปรารถนา ที่จะให้เด็กๆ ได้ใกล้ชิดกับวิถีธรรมชาติ พร้อมถ่ายทอดแง่มุมของผู้คนใน ชุมชนเล็กๆ ที่อยู่ห่างไกลออกไปซึ่งเป็นผู้ที่ตระหนักถึงคุณค่าของสิ่ง ที่มีอยู่ ภาคภูมิใจในวิถีชีวิตของตนเอง และอยากมีชีวิตเพื่อเป็นส่วนหนึ่ง ของธรรมชาติในชุมชนทีพ่ วกเขาเกิดและเติบโตมาโดยใช้รายการโทรทัศน์ เป็นสื่อกลาง รายการทุ่งแสงตะวันเริ่มออกอากาศครั้งแรกตั้งแต่ปี 2534 ทางสถานี โทรทัศน์ช่อง 11 ก่อนจะย้ายมาสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 ในปี 2535 จนถึง ปัจจุบัน โดยยังคงครองช่วงเวลาการออกอากาศไว้ที่เวลา 6.25 - 6.50 น. ของทุกเช้าวันเสาร์ และทีมงานทุกคนยังคงใส่ใจในการดำ�เนินงานแต่ละ ขั้นตอนอย่างละเอียด โดยเฉพาะงานเขียนบทที่ต้องอาศัยความเข้าใจ ในการสื่อสารกับกลุ่มผู้ชมที่มีตั้งแต่เด็กเล็กๆ ไปจนถึงผู้สูงวัย นั่นทำ�ให้ การดำ�เนินเรื่องต้องเข้าใจได้ง่ายและสามารถส่งผ่านเรื่องราวของแต่ละ ชีวิตได้อย่างตรงไปตรงมา ขณะที่การทำ�งานกับเด็กก็ถือเป็นหัวใจสำ�คัญ อีกดวงที่ทีมงานต้องใช้ความเข้าใจและให้ความยืดหยุ่นเพื่อไม่ให้เด็กๆ 34 l
Creative Thailand
l พฤศจิกายน 2556
สูญเสียความเป็นธรรมชาติ ทุ่งแสงตะวันจึงเป็นเหมือนผู้สร้างพื้นที่ให้กับ คนในท้องที่ต่างๆ ให้ได้บอกเล่าเรื่องราวของตนเองอย่างคุ้นเคยและ ลึกซึ้ง ในขณะเดียวกันก็สอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับชาติพันธุ์ วัฒนธรรม ภาษาท้องถิ่น สิทธิมนุษยชน ชีวิตพอเพียง และความสัมพันธ์ระหว่างคน กับธรรมชาติไว้อย่างกลมกลืน เช่น การพาไปดูชีวิตเด็กน้อยชาวอาข่าที่ ยังใช้ชวี ติ อย่างกลมกลืนในป่าใหญ่ซงึ่ เป็นทัง้ แหล่งเรียนรูแ้ ละแหล่งบ่มเพาะ ความเชือ่ วัฒนธรรม และรูปแบบการใช้ชวี ติ ของชนกลุม่ น้อยให้ยงั คงรักษา ความเป็นตัวตนของชนเผ่าเอาไว้ได้อย่างเหนียวแน่น หากมองจากชั้นนอกแล้ว ทุ่งแสงตะวันอาจเป็นเพียงรายการที่มอบ ความสดใสเบิกบานให้กับเช้าวันเสาร์ของผู้ที่ติดตามชม ด้วยวิธีการ เล่าเรื่อง เพลงประกอบ และเอกลักษณ์ของผู้ดำ�เนินรายการ แต่หากมอง ลึกเข้าไป เราจะมองเห็นถึงความอบอุน่ ทีท่ งุ่ แสงตะวันได้ท�ำ ให้คนในสังคม เห็นคุณค่าของวิถีธรรมชาติและชุมชน ตลอดจนอาจช่วยจุดประกายให้ ผู้คนอยากกลับไปมีชีวิตเล็กๆ แบบเด็กๆ เหล่านั้น ที่มา: บทความ “20 ปีทุ่งแสงตะวัน กับพี่นก นิรมล เมธีสุวกุล “สังคมไทย ทำ�อะไรกับเด็ก ๆ ของเรา” (8 ธันวาคม 2011) จาก sarakadee.com บทความ “ผลงานรางวัลลูกโลกสีเขียว ครั้งที่ 10 ประจำ�ปี 2551 ประเภทสื่อมวลชน" จาก pttinternet.pttplc.com วิกิพีเดีย ขอบคุณภาพจาก: รายการทุ่งแสงตะวัน บริษัท ป่าใหญ่ ครีเอชั่น จำ�กัด facebook.com/tung20, payai.com
ดาวนโหลดฟรี!
นิตยสาร Creative Thailand ผาน 2 แอปพลิเคชัน CT magazine และ TCDC Digital Resource
iPad
14:12 PM
3G
4:08 PM
iPad / iPhone
eBook เจาะเทรนดโลก 2014 โดย TCDC: แฟชั่น วัสดุ เทคโนโลยี สี พื้นที่ และการใชชีวิต รวมจับกระแสความตองการของตลาดในป 2014 กับบทสรุปที่กลั่นกรองจากหนังสือและนิตยสารเทรนดระดับโลกกวา 20 เลม อาทิ Carlin | Nelly Rodi | Pantone View | Viewpoint
ดาวนโหลดฟรี tcdc.or.th/trend2014 หรือ ผานแอปพลิเคชัน TCDC Digital Resource
TCDC ชั้น 6 ดิ เอ็มโพเรียม 10.30 - 21.00 (ปดวันจันทร) 02 664 8448 TCDC Chiang Mai หลังกาดเมืองใหม 10.30 - 18.00 (ปดวันจันทร) 052 080 500 tcdc.or.th