ธันวาคม 2556 ปที่ 5 | ฉบับที่ 3 แจกฟร�
CREATIVE CITY พาราณสี
CLASSIC ITEM ยูโทเปย
THE CREATIVE จุลพร นันทพานิช
ทรงพระเจริญ ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า นิตยสาร CREATIVE THAILAND
I asked the waiter, ‘Is this milk fresh?’ He said,‘Lady, three hours ago it was grass.’
ฉันถามบริกรว่า “นมนี่สดไหม” เขาตอบฉันว่า “คุณผู้หญิง เมื่อสามชั่วโมงที่แล้ว มันยังเป็นหญ้าอยู่เลย” Phyllis Diller
นักแสดงตลกหญิงชาวอเมริกัน
สารบัญ The Subject
6
The Object
7
Creative Resource
8
Back to Basics, Back to the Future
Green Funeral: คืนชีวิตสูธรรมชาติ
Featured Book/ Book/ Film/ Magazine
Insight
20
Creative Entrepreneur
22
Creative City
24
Do It Better, Do It Together
นครหลวงคาขาว: เกษตรอินทรีย แนวทางเลือกบนทางรอด
พาราณสี: จากสูงสุดสูสามัญ
24 Matter
10
Classic Item
11
Cover Story
12
Natural Material and Process
ยูโทเปย
Back to Basics: เมื่อความธรรมดาไมใชสิ่งสามัญ
The Creative
28
Creative Will
34
จุลพร นันทพานิช: ปลูกปา ปลูกความคิด
Found MUJI: To Match Our Present Living
บรรณาธิการอำนวยการ l อภิสทิ ธิ์ ไลสตั รูไกล ทีป่ รึกษา l ชมพูนทุ วีรกิตติ, พิชติ วีรงั คบุตร, วราภรณ วศินสังวร, จรินทรทพิ ย ลียะวณิช บรรณาธิการบริหาร l ศุภมาศ พะหุโล ผูชวยบรรณาธิการ l พัชรินทร พัฒนาบุญไพบูลย กองบรรณาธิการ l ศิริอร หริ่มปราณี, มนฑิณี ยงวิกุล, เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร, กริยา บิลยะลา, ปยวรรณ กลิ่นศรีสุข, ศุภาศัย วงศกุลพิศาล, นันทนรี พานิชกุล เลขากองบรรณาธิการ l กมลกานต โกศลกาญจน บรรณาธิการศิลปกรรม l พจน องคทวีเกียรติ, พัชราภรณ เตชะเลิศไพศาล, ภาธิดา นาคทอง สมาชิกสัมพันธ l ปยะพร สวัสดิ์สิงห ประสานงานกองบรรณาธิการ l ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ นักศึกษาฝกงาน l อรสิริ เจริญสินพร จัดทำโดย l ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (TCDC) ชั้น 24 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอร 622 สุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 ผูออกแบบปก l Neuroopmok โทร. 02 664 7667 แฟกซ. 02 664 7670 ติดตอลงโฆษณาไดที่ creativethailand@tcdc.or.th นักออกแบบกราฟกและนักวาดภาพพิกเซล พิมพที่ l บริษัท เฟรส ออฟเซต จำกัด โทร. 02 191 7125 แฟกซ. 02 191 7129 จำนวน 50,000 เลม บัณฑิตจบใหมจากรั้ว CommDe จุฬาฯ ผูเ ชือ่ วาจุดพิกเซล สามารถบอกลักษณะรูปภาพและตัวละครไดชดั เจน ผลงาน: facebook.com/pageneuroopmok นิตยสารฉบับนี้ใชหมึกพิมพจากน้ำมันถั่วเหลืองที่ไมเปนอันตรายตอสุขภาพ ทั้งยังเปนมิตรตอสิ่งแวดลอม และใชกระดาษรีไซเคิล ซึ่งเปนผลผลิตของผูประกอบการไทย จัดทำภายใตโครงการ “Creative Thailand สรางเศรษฐกิจไทยดวยความคิดสรางสรรค” โดยศูนยสรางสรรคงานออกแบบ สำนักงานบริหารและพัฒนาองคความรู (องคการมหาชน) ซึ่งมีเปาหมายในการเผยแพรความรูเกี่ยวกับเศรษฐกิจสรางสรรค (Creative Economy) และผลักดันการใชความคิดสรางสรรคในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย
อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส แสดงที่มา-ไมใชเพื่อการคา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย
EDITOR'S NOTE บทบรรณาธิการ
หนทางสู่ความเรียบง่าย ทุกวัน บนหน้าเว็บไซต์ของอีเบย์ หรือยาฮู เจแปน อ็อกชั่นส์ จะมีกลุ่มคนรักจักรยานสไตล์วินเทจที่ท่องโลก ช้อปปิ้งออนไลน์เพื่อคว้าชิ้นส่วนจักรยานที่ต้องการมาครอบครอง งานอดิเรกที่จริงจังนี้ คือส่วนหนึ่งของการ สร้างสรรค์พาหนะเก่าแก่ที่ถูกประดิษฐ์มาตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 ให้สมบูรณ์แบบ พาหนะสองล้อซึ่งเคลื่อนที่ โดยใช้กล้ามเนื้อของมนุษย์และได้รับการพัฒนารูปแบบและกลไกต่างๆ ให้เอื้อต่อการใช้งาน ทั้งการเดินทาง ในสภาพภูมิประเทศต่างๆ การสัญจรบนท้องถนน การขนส่งเคลื่อนย้าย ไปจนถึงการแข่งขันด้วยความเร็ว และการทรงตัวบนอานที่ยอดเยี่ยม หนึง่ ในการประดิษฐ์จกั รยานอันเป็นตำ�นานคือจักรยานสไตล์ฝรัง่ เศสทีเ่ กิดขึน้ ในช่วงยุค 1940 โดย เรอเน เอิร์ส (Rene Herse) นักประดิษฐ์จักรยานชื่อดังชาวฝรั่งเศส ซึ่งมีภูมิหลังเคยทำ�งานผลิตเครื่องบินต้นแบบ บริเกต์ (Breguet) เอิรส์ ได้น�ำ ความรูด้ า้ นวัสดุศาสตร์โดยนำ�อะลูมเิ นียมซึง่ เป็นวัสดุเดียวกับอุปกรณ์ในเครือ่ งบิน มาพัฒนาเป็นเฟรมจักรยานที่มีนํ้าหนักเบาและแข็งแรง เหมาะกับสภาพภูมิประเทศและการเดินทางบนถนน ตลอดจนเนินเขาอันงดงามของฝรั่งเศส จักรยานสไตล์ฝรั่งเศสนี้ได้กลายต้นแบบและแรงบันดาลใจให้แก่ จักรยานประเภทรองดอนเนอร์ ไบค์ (Randonneur bike) และทัวริ่ง ไบค์ (Touring bike) อีกหลายแบรนด์ ในเวลาต่อมา โดยเฉพาะในญีป่ นุ่ ซึง่ ได้รบั อิทธิพลจากตะวันตกในยุคหลังสงครามโลก รสนิยมและความชืน่ ชอบ ในจักรยานสไตล์ฝรั่งเศสของชาวญี่ปุ่นได้นำ�ไปสู่การผลิตจักรยานหลายยี่ห้อ โดยเฉพาะโตเอะ (Toei) ที่เกิด ขึ้นในปี 1955 จักรยานแฮนด์เมดที่เป็นส่วนผสมของงานศิลปะ ช่างฝีมือ และเทคนิคอย่างลงตัว ก่อนที่ความ นิยมจักรยานในญี่ปุ่นจะเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในยุคปี 1970-1980 ที่ถือเป็นยุคทองของจักรยานในญี่ปุ่น ก่อนจะ ค่อยๆ ลดความนิยมลงเพราะการเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตอันเนื่องมาจากระบบเศรษฐกิจและการคมนาคม ของประเทศ จนเมื่อเวลาผ่านเกือบ 20 ปี ชิ้นส่วนหายากของโตเอะแต่ละชิ้นก็กลับมาพร้อมกับการเติบโตของกระแส บริโภคนิยมแบบย้อนยุค ทัศนคติรักษ์โลก ความเคารพต่อธรรมชาติ พฤติกรรมและค่านิยมแห่งความ ปรารถนาทีจ่ ะปฏิเสธการใช้ชวี ติ แบบปรุงแต่งได้ขยายวงกว้างขึน้ อย่างไร้พรมแดน ความธรรมดาและเรียบง่าย กลายเป็นสังคมอุดมคติของคนในเจเนเรชั่นใหม่ที่ต้องการคิดและทำ�ในสิ่งที่ต่างออกไปจากคนยุคพ่อแม่ พวกเขาแสดงออกถึงแนวคิดในการดำ�เนินชีวติ ด้วยการเลือกสรรสิง่ ต่างๆ ทีบ่ ริโภคอย่างพิถพี ถิ นั เสาะหาทุกสิง่ ที่สวมใส่ให้แน่ใจว่าตรงตามจิตวิญญาณ เลือกโปรแกรมท่องเที่ยวที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมชาติ และ เดินทางด้วยพาหนะที่ไม่ก่อมลพิษ เพื่อเป้าหมายในการส่งเสริมสุขภาพ และแสดงความเป็นตัวตนในหมู่พวก พ้องเดียวกัน ท่ามกลางกฎระเบียบและกลไกแบบแผนทีพ่ ฒั นาให้แต่ละสังคมขับเคลือ่ นไปได้นน้ั ได้น�ำ พาผูค้ นค่อนโลก ให้เดินทางมาไกลจากคำ�ว่าชีวติ ทีไ่ ม่อา้ งอิงกับโลกการผลิตในปัจจุบนั ไปแล้ว ทัง้ ภาคการเกษตร อุตสาหกรรม และธุรกิจ ที่ขยับขยายความซับซ้อนโดยมีภาคเทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นตัวเร่ง การหวนกลับไปหาชีวิตใน อุดมคติจึงต้องสร้างผลผลิตแบบดั้งเดิมบนข้อเท็จจริงและเงื่อนไขใหม่ เพื่อตอบสนองความต้องการสินค้า และบริการในแง่มุมนั้นของสังคม ความดั้นด้นและอุตสาหะในการเสาะหาชิ้นส่วนเล็กๆ ของจักรยานวินเทจเฟรนช์สไตล์ อาจเป็นแค่ ตัวอย่างของความประสงค์ในการใช้ชีวิตอันเรียบง่าย เพราะความจริงก็คือ ความธรรมดาไม่ใช่ความผิวเผิน และความเรียบง่ายก็ไม่ได้ไร้รายละเอียด ชีวติ ทีเ่ รียบง่ายนัน้ จึงไม่อาจยัง่ ยืนได้หากไร้องค์ประกอบทีม่ คี ณุ ภาพ ความปรารถนาที่จะมีชีวิตอันเรียบง่ายจึงเป็นเรื่องไม่ง่ายดายเลย อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล บรรณาธิการอำ�นวยการ ธันวาคม 2556
l
Creative Thailand
l5
BA<K TO BASICS, BA<K TO THE FUTURE เรื่อง: ปิยพร อรุณเกรียงไกร
ก่อนที่ปี 2013 จะสิ้นสุดลง กระแสการกลับไปหาวิถีธรรมชาติยังคงเป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงอย่างกว้างขวาง นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย โภชนาการ และนักวิชาการต่างพากันเสนอทฤษฎีที่ว่า ธรรมชาติออกแบบให้มนุษย์เป็นสัตว์กินพืช และการกลับไปหาผลผลิตของ ธรรมชาติที่แท้จริงจึงน่าจะเป็นทางเลือกในการหล่อเลี้ยงชีวิตและหลีกเลี่ยงสารพัดโรคที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด
แมทธิว เคนนีย์ (Matthew Kenney) คือเชฟที่ได้สร้างแรงกระเพื่อมอย่าง ต่อเนื่องให้กับวัฒนธรรมนอกกระแสอย่าง “รอว์ฟู้ด” (Raw Foodism) ใน สหรัฐอเมริกา ซึง่ สนับสนุนการบริโภคอาหารสดประเภทผักผลไม้ออร์แกนิก ต้นอ่อนของเมล็ดพืช และธัญพืชที่ใช้ความร้อนในการปรุงไม่เกิน 40-46 องศาเซลเซียส เพื่อรักษาเอนไซม์และสารอาหารในพืชผักผลไม้ไม่ให้ ถูกทำ�ลาย ด้วยการปรับเปลี่ยนวิถีการกินและค้นคิดวิธีการนำ�วัตถุดิบสด ใหม่ที่ปลูกตามธรรมชาติซึ่งไม่ผ่านการปรุงแต่งทางเคมีใดๆ มาประกอบ เป็นอาหารจานเด็ดที่ทั้งอร่อย เต็มไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ และช่วย ป้องกันบำ�บัดโรคบางชนิด เช่น มะเร็ง เบาหวาน และโรคระบบทางเดิน อาหาร โดยในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา แมทธิวได้ก้าวขึ้นมาเป็นเชฟแถวหน้า ของวงการรอว์ฟู้ดและได้พยายามส่งต่อแนวคิดนี้ไปสู่ระดับมหภาคให้ได้ มากที่สุด ผ่านทั้งการเขียนตำ�ราอาหาร เปิดสถาบันสอนทำ�อาหาร "105 Degrees" ที่รัฐโอคลาโฮมาและซานตา โมนิกา และจัดหลักสูตรเรียน ออนไลน์เพื่อให้ทุกคนเรียนรู้วิธีการเลือกหาวัตถุดิบและปรุงอาหารได้เอง ลดการพึ่งพาอาหารสำ�เร็จรูป และค่อยๆ เปลี่ยนแปลงโลกใบเก่าด้วย อาหารที่ปรุงตามวิถีธรรมชาติและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุด การบริโภคอาหารสดจะเป็นคำ�ตอบของโลกอนาคตหรือไม่นั้นยังคง เป็นข้อถกเถียง เพราะนักวิจัยบางกลุ่มได้ออกมาโต้แย้งแนวคิดที่ว่า “อาหารปรุงสุกคืออาหารที่ตายแล้ว” ว่าไม่จริงเสมอไป เพราะการปรุง อาหารด้วยอุณหภูมิที่เหมาะสมจะช่วยกำ�จัดสารต้านโภชนาการบางชนิด และเพิ่มการดูดซึมสารอาหารได้ดียิ่งขึ้น ในทางกลับกัน การอบคั่วอาหาร ประเภทถั่วและธัญพืชจะทำ�ให้ความสามารถในการดูดซึมโปรตีนลดลง และการดืม่ นมทีไ่ ม่ผา่ นการพาสเจอไรซ์กอ็ าจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ การ ถกเถียงเหล่านีเ้ องทีน่ �ำ ไปสูค่ �ำ ถามมากมายไม่สนิ้ สุด ทัง้ ในแง่ความมัน่ คง ทางอาหาร ความต้องการบริโภคและจำ�นวนประชากรทีเ่ พิม่ ขึน้ ต่อปี ราคา ของรอว์ฟดู้ ทีแ่ พงกว่าอาหารทัว่ ไป ไปจนถึงการปรับตัวของโครงสร้างสังคม 6 l Creative Thailand l ธันวาคม 2556
และเศรษฐกิจ หรือถ้าหากกระบวนการออร์แกนิกนั้นหมายรวมถึงการ ปฏิเสธการดัดแปลงพันธุกรรมพืชทุกชนิด แสดงว่าเราทุกคนจะต้อง ถอยหลังกลับไปยังจุดเริม่ ต้น ตัง้ แต่ยคุ สมัยทีย่ งั ไม่มกี ารเพาะพันธุข์ า้ วโพด จากทิโอซินเท (Teosinte) ด้วยหรือเปล่า อย่างไรก็ตาม ฝ่ายวิพากษ์เชิงลบไม่ได้ปฏิเสธคุณประโยชน์ของผัก ผลไม้ออร์แกนิก และแมทธิวก็ไม่เคยหันหลังให้กับเทคโนโลยีใหม่ เขาได้ สร้างห้องทดลอง “แพลนท์ แล็บ (Plant Lab)” ขึ้นเพื่อนำ�นวัตกรรมมาใช้ ขยายขอบเขตและความเป็นไปได้ของการปรุงอาหารสดโดยเฉพาะ เช่น เครื่องอบอาหารแห้ง (Dehydrator) เครื่องแช่แข็งอาหารโดยปราศจาก เกล็ดนํ้าแข็ง (Anti-griddle) เทคโนโลยีอัลตราโซนิก ไฮโดรเจนไนเซอร์ (Ultrasonic Hydrogenizer) ที่ทำ�ปฏิกิริยากับไฮโดรเจนในอาหารด้วย คลื่นเสียงโดยไม่ก่อให้เกิดความร้อนหรือสารทางเคมี ซึ่งถือเป็นการ ยกระดับวงการอาหารไปสู่ความลํ้าสมัยและอยู่บนพื้นฐานสำ�คัญของ รอว์ฟู้ดในเวลาเดียวกัน สาระสำ�คัญของการสนับสนุนหรือต่อต้านการบริโภคอาหารสดจึง ไม่ได้อยูท่ วี่ า่ ฝ่ายไหนถูกหรือผิด แต่นา่ จะเป็นการร่วมมือกันศึกษาถึงข้อดี ข้อเสียของแต่ละฝ่ายและแสวงหาทางเลือกให้กับอนาคตมากกว่า ขณะที่ การกลับไปหาแนวทางดัง้ เดิมก็ไม่ได้หมายถึงการละทิง้ ปัจจุบนั หรือหันหลัง ให้อนาคต แต่คอื สิง่ ทีจ่ ะช่วยให้เราเข้าใจธรรมชาติของชีวติ ด้วยการเรียนรู้ จากข้อผิดพลาดเดิมๆ เพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ที่ดียิ่งขึ้นและเหมาะสม มากขึ้นสำ�หรับทั้งยุคสมัยนี้และต่อไปในอนาคต ที่มา: การบรรยาย TEDXTALKS หัวข้อ “Crafting the Future of Food” และ “Are You feeding Your Body or Feeding Disease” โดย Matthew Kenney บทความ "The Cold Truth About Raw Food Diets" จาก diseaseproof.com บทความ "The Raw Food Diet, Overcooked" โดย David Katz จาก huffingtonpost.com beyondveg.com, matthewkenneycuisine.com
© Dan Brownsword/cultura/Corbis
THE SUBJECT ลงมือคิด
flickr.com/trojanllama
THE OBJECT คิดแล้วทำ�
Green Funeral
คืนชีวิตสู่ธรรมชาติ
เรื่อง: ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ
ในยุคสมัยที่ประวัติศาสตร์และวิทยาศาสตร์ได้พิสูจน์และตอกยํ้าความตระหนักในสายสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมที่ไม่อาจ แยกออกจากกันได้ กระแสรักษ์โลกและการหวนคืนสู่ธรรมชาติจึงแทรกซึมเข้าสู่ทุกก้าวย่างของการใช้ชีวิต ไม่เว้นแม้แต่ในห้วงเวลาที่ ลมหายใจสุดท้ายของคนคนหนึ่งสิ้นสุดลง
แผ่นหิน หรือระบบจีพีเอสเพื่อระบุตำ�แหน่งหลุมศพแทน ด้วยขั้นตอนการดองศพและวัสดุคอนกรีตที่ถูกตัดออก งานศพแบบ กรีนจึงช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ทั้งยังเป็นการฟื้นฟูสภาพดินและไม่ ทำ�ลายระบบนิเวศ โดยสามารถทำ�ได้ทงั้ ในบริเวณป่า พืน้ ทีส่ ว่ นบุคคล หรือ สุสานฝังศพธรรมชาติโดยเฉพาะซึ่งปัจจุบันมีมากกว่า 30 แห่งในสหรัฐฯ และ 260 แห่งในสหราชอาณาจักร ในขณะที่สุสานทั่วไปก็เริ่มให้บริการ ประกอบพิธีศพตามแนวทางธรรมชาติเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ การสูญเสียคนทีร่ กั อาจเป็นเรือ่ งธรรมชาติทที่ �ำ ใจไม่งา่ ยนัก แต่หากว่า “การคิดให้มาก เพื่อทำ�แต่น้อย” นี้จะนำ�มาซึ่งการบอกลาที่เปี่ยมด้วย ความหมายต่อทุกคนรวมถึงโลกของเราแล้ว งานศพแบบธรรมชาติก็ดูจะ เป็นทางเลือกที่น่าสนใจไม่น้อย flickr.com/biddybidbidbid
“งานศพแบบกรีน” คือทางเลือกในการจัดพิธีศพที่กำ�ลังได้รับความนิยม มากขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา โดยแบบสำ�รวจออนไลน์ล่าสุดของ AARP (American Association of Retired Persons) พบว่า ผู้ตอบแบบ สำ�รวจที่ให้ความสนใจการจัดงานศพแบบกรีนมีจำ�นวนถึงร้อยละ 70 เพิ่ม ขึ้นจากร้อยละ 21 ในการสำ�รวจเมื่อปี 2007 ในขณะที่กลุ่มที่เลือกงานศพ ด้วยวิธีการเผาและการฝังนั้นมีเพียงร้อยละ 18 และร้อยละ 8 ตามลำ�ดับ ความนิยมที่เพิ่มขึ้นนี้ได้รับแรงสนับสนุนด้วยข้อเท็จจริงที่ปรากฏชัด ในหลายประเทศทั่วโลกซึ่งกำ�ลังประสบปัญหาการขาดแคลนที่ดินสำ�หรับ การฝังศพ ในขณะที่การฝังศพในปัจจุบันทำ�ให้เกิดการตกค้างในดินของ สารฟอร์มลั ดีไฮด์ทใี่ ช้ในการดองศพ ส่วนการเผาศพนัน้ แม้จะช่วยประหยัด ทีด่ นิ แต่กต็ อ้ งใช้เชือ้ เพลิงจำ�นวนมาก ซาํ้ ยังก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกและ มลพิษในอากาศ การปนเปื้อนของสารปรอทจากวัสดุอุดฟัน รวมถึง สารพิษอย่างไดออกซิน (Dioxin) และฟิวแรน (Furan) ซึง่ เป็นสารก่อมะเร็ง และเป็นพิษต่อระบบประสาท งานศพแบบกรีนจึงมีหลักการสำ�คัญอยู่ที่การใช้วัสดุที่สามารถย่อย สลายได้ตามธรรมชาติ ควบคู่กับการตัดกระบวนการดองศพออกไป โดย ใช้ตู้แช่ศพหรือนํ้าแข็งแห้งแทนในกรณีที่ต้องเก็บศพไว้ระยะเวลาหนึ่ง โลงศพที่มีส่วนประกอบของไม้อัดหรือโครงเหล็กจะถูกแทนที่ด้วยหีบศพ ทำ�มือจากพรรณไม้ท้องถิ่น อาทิ ไม้สน ไผ่ สับปะรด อ้อย หญ้าทะเล ผ้าห่อศพที่ถักทอด้วยเส้นใยธรรมชาติอย่างฝ้าย ไหม และลินิน หรือ แม้กระทั่งโลงศพที่ทำ�จากกระดาษรีไซเคิลซึ่งสามารถเลือกเฉดสีและ ลวดลายได้ตามความต้องการ พร้อมด้วยที่จับด้านข้างที่ทำ�ลายข้อจำ�กัด เดิมที่ผู้แบกโลงศพต้องมีความสูงเท่ากัน ทำ�ให้ญาติของผู้ล่วงลับสามารถ มีส่วนร่วมในพิธีได้มากขึ้น ในขณะที่สุสานและแผ่นจารึกคอนกรีตก็ถูก ทดแทนด้วยหลุมฝังศพธรรมดาที่ขุดลึกลงไปในดิน เพื่อให้ร่างของ ผูล้ ว่ งลับได้กลับคืนสูธ่ รรมชาติอย่างแท้จริงตามทีค่ วรจะเป็น และใช้ตน้ ไม้
ที่มา: บทความ “Eco-friendly green burials catching on in the U.S.” (11 พฤษภาคม 2013) จาก reuters.com บทความ “How Natural Burial Works” จาก science.howstuffworks.com ecopod.co.uk naturalendings.co.uk วิกิพีเดีย ธันวาคม 2556
l
Creative Thailand
l7
CREATIVE RESOURCE วัตถุดิบทางความคิด
เรื่อง: ศุภาศัย วงศ์กุลพิศาล และ กริยา บิลยะลา
FEATURED BOOK
NENDO WORKS SERIES โดย Nendo
งานออกแบบที่หรูหราและเรียบง่าย แต่ขณะ เดียวกันก็เต็มไปด้วยความรู้สึกสนุกสนานและ ขีส้ งสัยแบบเด็กๆ กลายเป็นคียเ์ วิรด์ ทีช่ ดั เจนใน งานออกแบบจากแดนอาทิตย์อทุ ยั จนกลายเป็น ตัวอย่างงานออกแบบที่โดนใจใครหลายๆ คน แม้สตูดิโอออกแบบหลายแห่งทั้งในญี่ปุ่นและ นอกประเทศจะสามารถผลิตงานที่มีคุณภาพ ตามคีย์เวิร์ดนั้นในขั้นต้น แต่นักออกแบบน้อย รายเท่านัน้ ทีจ่ ะสามารถบรรจุอารมณ์ความรูส้ กึ นี้ลงไปได้ในทุกผลงานที่ออกแบบ ผลงานการ ออกแบบของสตูดโิ อเนนโดะ ตัง้ แต่งานออกแบบ สถาปั ต ยกรรม ตกแต่ ง ภายใน ผลิ ต ภั ณ ฑ์ กราฟิกดีไซน์ จนถึงงานอินสตอลเลชัน่ สามารถ คงคุณสมบัตขิ องความคิดภายใต้รปู ทรงทีเ่ รียบง่ายหากแต่เฉียบคม ทัง้ ยังผสมผสานความขีเ้ ล่น สไตล์ปอ๊ ปคัลเจอร์ของญีป่ นุ่ ไว้ได้อย่างครบถ้วน ชื่อเนนโดะของสตูดิโอที่หมายถึงดินนํ้ามัน ในภาษาญีป่ นุ่ แสดงออกถึงความขีเ้ ล่นทีส่ อื่ ออก มาจากผลงานการออกแบบด้วยฝีมอื การจัดองค์ ประกอบและทักษะด้านออกแบบของวัฒนธรรม ญี่ปุ่น บวกกับความตั้งใจของโอกิ ซาโตะ (Oki 8 l Creative Thailand l ธันวาคม 2556
Sato) ผูร้ เิ ริม่ สตูดโิ อเนนโดะในปี 2002 คือความ ตั้งใจที่จะทำ�ให้ผู้คนได้รับรู้ถึงความรู้สึก “!” หรือการเอะใจเล็กๆ ในระยะเวลาต่างๆ ตลอด หนึ่งวัน คนเรามักพบกับช่วงเวลา “!” เล็กๆ น้อยๆ ทัว่ ไป เพียงแต่เราไม่ได้ใส่ใจ สังเกต หรือ จดจำ�ช่วงอารมณ์ในระยะเวลาดังกล่าว แม้บาง ครั้งเราเอะใจแต่ก็มักจะลืมเรื่องนั้นไปในเวลา อันรวดเร็ว สตูดิโอออกแบบอย่างเนนโดะได้ สังเกตเห็น “อารมณ์เอะใจ” ทีว่ า่ นี้ จึงทำ�ให้เกิด การตั้งต้นค้นหาช่วงเวลาเอะใจในการดำ�เนิน ชีวติ ในแต่ละวัน ทำ�ให้เราได้ใช้ชวี ติ ทีส่ นุกสนาน และน่าสนใจยิ่งขึ้น เมื่อรวบรวมความแปลกใจ เล็กๆ น้อยๆ ได้มากแล้ว สตูดิโอเนนโดะจึง นำ�ความน่ า รั ก มาผสมผสานเป็ น งานดี ไ ซน์ ที่มีรูปทรงเข้าใจง่ายอย่าง บ้านนกหลังเล็กๆ เรี ย งกั น ในแนวนอนและแนวตั้ ง กลายเป็ น คอนโดมิเนียมเหมือนที่เราอยู่อาศัยกัน หรือ Ume-play and Karakusa-play ceramics ชามหลากหลายรูปทรงที่พัฒนาร่วมกับบริษัท Gen-emon ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญการผลิตชาม เซรามิกสไตล์ญี่ปุ่นมากว่า 260 ปี ด้วยความ
ต้องการทีจ่ ะบรรลุความตัง้ ใจให้ผคู้ นทีส่ งั เกตใน ชิน้ งานได้รสู้ กึ “เอะใจ” ทุกครัง้ เมือ่ ได้ชมผลงาน หนังสือรวมเล่มผลงานการดีไซน์ที่มีมา ทั้งหมดของเนนโดะก็เช่นเดียวกัน ทางสตูดิโอ ได้ ว างเลย์ เ อาต์ ห นั ง สื อ ให้ มี รู ป แบบการจั ด กราฟิกที่เรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยความน่าสะสม หน้าปกของหนังสือ Nendo Works ใช้รูปทรง เรขาคณิตกับสีหวานๆ สื่อถึงการออกแบบที่ เรียบร้อยน่ารักและเข้าใจง่าย หนังสือรวมเล่ม ผลงานเล่มอื่นๆ ที่ตามมาก็มีปกเป็นรูปทรง เรขาคณิตที่แตกต่างกันไป โดยวางจำ�หน่าย ทุกๆ 3 ปี นับตั้งแต่ปี 2002 จนปัจจุบันมาถึง เล่มที่ 5 ซึ่งนำ�เสนอถึงผลงานในช่วงปี 20102011 แม้งานดีไซน์เรียบง่ายสไตล์ญี่ปุ่นของ เนนโดะ นอกจากจะกวาดรางวัลดีไซน์ตา่ งๆ มา นับไม่ถ้วน ตั้งแต่ Red Dot Design Award จนถึง Best Domestic Design จากนิตยสาร วอลล์เปเปอร์* แต่ทุกวันนี้สตูดิโอเนนโดะก็ยัง มุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์และพัฒนาแนวทางของ ตัวเองในการมอบอารมณ์ความรู้สึก “!” ที่เห็น แล้วยิ้มได้ให้เกิดขึ้นบนโลกต่อไป
CREATIVE RESOURCE วัตถุดิบทางความคิด
BOOK
FILM
MAGAZINE
THE BEATLES UNSEEN โดย Mark Hayward และ Keith Badman
THE ARTIST กำ�กับโดย Michel Hazanavicius
FRANKIE
เป็นเวลากว่าห้าทศวรรษที่เพลงป๊อปเนื้อหาดี เมโลดี้สวย ติดหูง่ายอย่าง Love Me Do ซิงเกิ้ล แรกของ เดอะ บีทเทิลส์ ถูกนำ�ออกเผยแพร่ใน ปี 1962 ความสำ�เร็จของวงดนตรีสี่เต่าทองเริ่ม ขึ้นที่เมืองลิเวอร์พูล ในอังกฤษ นำ�โดยจอห์น เลนนอน ซึง่ ก่อตัง้ วงดนตรีรว่ มกับเพือ่ นนักเรียน อย่าง พอล แมคคาร์ตนีย์ และจอร์จ แฮร์ริสัน ตามด้วยการสมทบของสมาชิกตำ�แหน่งอืน่ ทีถ่ กู สับเปลี่ยนเรื่อยมาจนลงตัวที่ ริงโก สตาร์ ด้วย สู ต รผสมที่ ล งตั ว จากการนำ � บุ ค ลิ ก ภาพและ ความสามารถทางดนตรีของสมาชิกในวงมา รวมกัน ทำ�ให้ เดอะ บีทเทิลส์ สร้างประวัตศิ าสตร์ หน้าใหม่ให้แก่วงการดนตรีป๊อปของโลก ด้วย การมียอดขายจนถึงปัจจุบนั กว่า 1,000 ล้านแผ่น เนือ้ หาเพลงของ เดอะ บีทเทิลส์ เป็นส่วนสำ�คัญ ที่ทำ�ให้วงประสบความสำ�เร็จ ด้วยการเลือก เรือ่ งใกล้ตวั ทีผ่ คู้ นต่างกลัวทีจ่ ะเอ่ยถึง อย่างเช่น ความเสมอภาคทางสังคม การต่อต้านสงคราม การหยิ บ ยื่ น ความรั ก และความสงบสุ ข ของ การอยู่ร่วมกันมาพูดด้วยภาษาดนตรี จนกลาย เป็นผูน้ �ำ ทางความคิดทีเ่ ปลีย่ นทัศนคติของผูค้ น ต่อการมองโลกและเพื่อนร่วมโลก The Beatles Unseen เป็นมุมมองผ่านชีวติ จริงของสมาชิกทัง้ สี่คนที่เริ่มต้นจากความเรียบง่ายนำ�ทางสู่ความ สำ�เร็จตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
แม้ความสมจริงในระบบสามมิติจะเป็นอีกหนึ่ง จุดขายให้คอหนังจ่อคิวเพื่อรอชมภาพยนตร์ ยุคใหม่ แต่ผู้กำ�กับ มิเชล ฮาซานาวิซีอุส กลับ เลือกที่จะสดุดีความงามของหนังเงียบฉบับขาว ดำ� อันมีเนื้อหาเรียบง่ายแบบเมโลดรามาตาม ความนิยมของยุค 1920 ภาพยนตร์เล่าถึงปี 1927 ซึ่งเป็ น ช่ ว งคาบเกี่ ย วและเปลี่ ย นผ่ าน ระหว่างความรุ่งโรจน์ของนักแสดงอันดับต้นๆ ของยุคภาพยนตร์ไร้เสียงอย่างจอร์จ วาเลนติน ที่ กำ � ลั ง พบความหั น เหในอาชี พ นั ก แสดง เนือ่ งจากธุรกิจบนแผ่นฟิลม์ ยุคใหม่เริม่ มีจดุ ขาย ทางการตลาดเป็ น ภาพยนตร์ แ บบมี บ ทพู ด บทร้อง บทเต้น และยํ้าว่านั่นคือผลงานของ ศิลปินอย่างแท้จริง โดยมีเปปเปอร์ มิลเลอร์ นัก แสดงสาวทีเ่ ริม่ ต้นจากการเป็นนักแสดงประกอบ ไต่เต้ากระทั่งเป็นดาวเด่นของยุค เป็นตัวแทน ของยุคซาวนด์มูฟวี่ที่ทันสมัยซึ่งยอมรับความ เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและเดินไปพร้อมกับมัน เสน่หข์ องภาพยนตร์อาจไม่ได้อยูท่ คี่ วามซับซ้อน ของเนื้อหา แต่ส่วนหนึ่งมาจากการจัดองค์ ประกอบศิ ล ป์ ไ ด้ อ ย่ า งสวยงามไม่ ต่ า งจาก ภาพยนตร์เงียบคลาสสิกฉบับจริง รวมถึงการ เลื อ กใช้ สั ญ ลั ก ษณ์ แ ทนบทพู ด ซึ่ ง สามารถ พรรณนาความรูส้ กึ ต่างๆ ของท้องเรือ่ งได้อย่าง กินใจ
นิ ต ยสารจากออสเตรเลี ย วางจำ � หน่ า ยทุ ก ๆ สองเดือน โดยในปี 2012 ได้รบั การโหวตให้เป็น Australian Magazine of the Year เคียงคูก่ บั นิตยสารผู้หญิงชื่อดังอย่างโว้กและฮาร์เปอร์ส บาซาร์ เนื้อหาของนิตยสารเล่มนี้ครอบคลุม หัวข้อหลากหลาย ตัง้ แต่การออกแบบ ศิลปะ การ ถ่ายภาพ แฟชั่น การท่องเที่ยว เพลง งานฝีมือ บ้าน และรูปแบบการใช้ชวี ติ หากแต่เทนา้ํ หนัก มาทางด้านงานทำ�มือแบบดีไอวาย (DIY) และ วัฒนธรรมวินเทจเป็นส่วนใหญ่ โดยบรรณาธิการ ต้องการที่จะสร้างตัวเลือกใหม่สำ�หรับนิตยสาร ผูห้ ญิงทีไ่ ม่เน้นเพียงเรือ่ งราวแฟชัน่ ข่าวคราวใน วงสังคม การลดนํา้ หนัก แต่ปรารถนาทีจ่ ะกลับ ไปสู่เรื่องราวสามัญทั่วไปที่ทำ�ให้ผู้อ่านหัวเราะ คิดตาม กระทัง่ เป็นส่วนหนึง่ กับผูอ้ า่ นได้ รวมถึง สร้างแรงบันดาลใจให้กับนักประดิษฐ์ ศิลปิน ผู้ประกอบการหน้าใหม่ให้ลงมือทำ�หลายๆ สิ่ง ด้วยตัวเอง รายละเอียดอื่นๆ ในเล่ม ยังคง สอดคล้องกับแนวทางหลักของตัวเล่ม เช่น การ ใช้กระดาษผิวด้าน ภาพถ่ายที่ดูเป็นธรรมชาติ ภาพแฟชัน่ ทีไ่ ม่เน้นความทันสมัย แต่เป็นการพูด ถึงการนำ�มาทำ�ใหม่หรือคืนชีวติ ชีวาให้กบั ของที่ มีอยูเ่ ดิม คำ�แนะนำ� บทความแสดงความคิดเห็น รวมทั้งภาพกราฟิกที่ประกอบไปกับเนื้อหาได้ อย่างพอเหมาะพอเจาะ ธันวาคม 2556 l Creative Thailand l 9
MATTER วัสดุต้นคิด
วัสดุธรรมชาติอย่างไม้ อิฐ หรือหินที่นำ�มาใช้เพื่อการก่อสร้างใน ปัจจุบัน ดูผิวเผินอาจคล้ายวัสดุที่มีมาดั้งเดิม แต่ปัจจุบันกลับได้ รับการพัฒนาให้มีวิธีการใช้งานและรูปแบบที่ทั้งหลากหลาย และแตกต่างไปจากเดิม ด้วยเทคโนโลยีลํ้ายุคที่เข้ามาช่วย ทำ�ให้วัสดุมีประสิทธิภาพ สวยงาม และมีมูลค่าเพิ่ม ทั้งยัง คงคุณสมบัติและประโยชน์ใช้สอยที่เพิ่มมากขึ้นด้วย เรื่อง: ชมพูนุท วีรกิตติ และ ปิยวรรณ กลิ่นศรีสุข
Natural Material and Process จากเพียงการนำ�ไม้ยางจากต้นยางทีห่ มดอายุการให้นาํ้ ยางแล้วมาเป็นวัสดุ หลักในการสร้างบ้าน เทคโนโลยีปัจจุบันได้เข้ามาช่วยปรับปรุงคุณสมบัติ ของไม้ยางเหล่านี้ใหม่ ด้วยการนำ�มาผ่านการอบความร้อนโดยไม่ใช้สาร เคมีเพือ่ เปลีย่ นโครงสร้างภายในเนือ้ ไม้ให้มคี วามทนทาน ความเสถียรด้าน ขนาด ไม่หดตัว และทำ�ให้เนื้อไม้แข็งขึ้นอย่างน้อยหนึ่งระดับ ทั้งยังทำ�ให้ เนือ้ ไม้สเี ข้มขึน้ คล้ายสีของไม้สกั นอกจากนีย้ งั เป็นการปรับคุณสมบัตชิ ว่ ย กันความชื้น ทำ�ให้ไม้มีความชื้นตํ่าลง บิดตัวจากความชื้นน้อยลง และ ทนทานต่อสภาพลมฟ้าอากาศได้ดี นอกจากนี้ ยังมีการผลิตไม้ประกอบ ใหม่ส�ำ หรับปูพนื้ ทีท่ �ำ จากไม้โอ๊กซึง่ มีแผ่นแกนกลางกันปลวก ประกอบด้วย ชั้นวัสดุ 3 ชั้นหลักที่อัดประกบเป็นแผ่นเดียวกันด้วยความร้อน ได้แก่ ผิว เคลือบชั้นนอกสุดเป็นอะคริลิกแลกเกอร์กันยูวีทำ�หน้าที่ปกป้องสีของ เนื้อไม้ ชั้นวีเนียร์ไม้จริงเกรดเอ และชั้นไม้เนื้อแข็ง z6 ชั้นที่ปรับสภาพให้ ต้านทานปลวกซึ่งรับประกันนานถึง 5 ปี ประกอบติดกัน 2 ชิ้นเพื่อทำ�เป็น ระบบติดตัง้ แบบเซาะร่องรางลิน้ คุณสมบัตเิ หล่านี้ ทำ�ให้ไม้แปรรูปสามารถ นำ�มาใช้ทดแทนไม้จริงได้อย่างดีเยี่ยม และยังสามารถใช้งานภายนอก อาคารได้ทั้งบริเวณพื้นไม้ระเบียง และริมสระว่ายนํ้า นอกจากประเด็ น เรื่ องวัสดุในการก่อสร้า งอย่า งไม้แปรรู ป ที่ เพิ่ ม 10 l
Creative Thailand
l ธันวาคม 2556
คุณสมบัติแล้ว แสงธรรมชาติที่ช่วยให้แสงสว่างภายในบ้านก็เป็นเรื่องที่ สำ�คัญ บริษัท โซลาทิวบ์ อินเตอร์เนชั่นแนล (Solatube International, Inc.) ได้คดิ ค้นระบบทีม่ ปี ระสิทธิภาพในการดักจับแสงอาทิตย์ให้สอ่ งผ่าน ท่ออะลูมิเนียมซึ่งเคลือบภายในด้วยพื้นผิวที่สะท้อนแสงให้เข้าสู่พื้นที่ ภายในบ้าน โดยการทำ�งานของท่อและอุปกรณ์กระจายแสงที่ฐานท่อจะ ช่วยกำ�หนดทิศทางของแสงภายในห้อง เพียงติดตัง้ ชุดอุปกรณ์ดงั กล่าวบน หลังคา ก็สามารถใช้แทนหลอดไฟได้อย่างดี นอกจากนี้ท่อดังกล่าวยัง สามารถนำ�แสงได้ยาวถึง 12 เมตร มีเส้นผ่านศูนย์กลางท่อตั้งแต่ 10, 14 และ 21 นิ้ว เหมาะสำ�หรับใช้ในที่พักอาศัย ทางเดิน ห้องที่อยู่ในมุมอับ แสงหรือพื้นที่เชิงพาณิชย์ นับเป็นการปฏิวัติเรื่องการใช้แสงธรรมชาติเพื่อ ที่อยู่อาศัยและลดการใช้พลังงานได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ แม้รูปแบบการดำ�เนินชีวิตในสังคมเมืองจะทำ�ให้ผู้คนถอยห่างจาก ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเข้าไปทุกที แต่มนุษย์และธรรมชาติต่างก็เป็น ส่วนหนึ่งส่วนเดียวกัน ส่งผลให้ในระยะหลังผู้คนจำ�นวนมากหันมาเลือก ใช้วสั ดุจากธรรมชาติทมี่ อี ยูใ่ นพืน้ ทีม่ ากขึน้ โดยเฉพาะในเรือ่ งการออกแบบ ทีพ่ ักอาศัย ซึง่ สามารถทำ�ให้ทงั้ คนอาศัยและอาคารบ้านเรือนกลมกลืนไป กับสิ่งแวดล้อมโดยรอบได้อย่างลงตัวและมีประสิทธิภาพสูงสุด ที่มา: leowood.com, solatube.com
CLASSIC ITEM คลาสสิก
UTOPI A
“It’s Not a Place, But a State of Mind”
เรื่อง: ศภิสรา เข็มทอง
ถึงพื้นฐานความเข้าใจเรื่องยูโทเปียของแต่ละคนอาจมีไม่เท่ากัน แต่โดยรวมแล้ว เมื่อเอ่ยถึงคำ�นี้ เรามักนึกถึงดินแดนสงบสุขเช่นแดน สุขาวดีในจินตนาการ การดำ�รงชีวิต สังคม วิถีแห่งการเมืองและศีลธรรมที่สมบูรณ์ อาจเป็นความสุขและความถึงพร้อมของชีวิตใน ทุกๆ ด้าน ในขณะที่บางคนก็คิดถึงแนวทางการปฏิบัติปรับเปลี่ยนสังคมและการเมืองสู่การเป็นสังคมในอุดมคติ •นิยามความหมายของคำ�ว่ายูโทเปีย (Utopia) ได้รับการบัญญัติขึ้นครั้งแรก โดยเซอร์ โธมัส มอร์ (Sir Thomas More) นักกฎหมาย นักเขียน นักปรัชญา และ รัฐบุรุษของอังกฤษ โดยมีรากศัพท์มา จากภาษากรีกซึ่งมีความหมายว่า “ไม่มี ที่แห่งใด (No Place)” จากนั้นถูกนำ�มา ดัดแปลงด้วยการใช้รากศัพท์แบบอังกฤษ คือ Eutopia ให้ออกเสียงใกล้เคียงกับคำ� ในภาษากรี ก แปลว่ า “ดิ น แดนที่ ดี (Good Place)”
วอชิ ง ตั น (George Washington) ประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐอเมริกา เป็นผู้ปลุกความคิดของผู้คนให้ตื่นรู้เพื่อลุก ขึ้นสู้เพื่อสิทธิ์ของตนเอง •ยู โ ทเปี ย ในแง่ ข องวิ ท ยาศาสตร์ แ ละ เทคโนโลยีมักสะท้อนออกมาเป็นภาพใน อนาคต ทั้งนี้มาจากพื้นฐานทางความคิดที่ ว่ า วิ ท ยาศาสตร์ แ ละเทคโนโลยี จ ะสร้ า ง ความเปลี่ยนแปลงและเงื่อนไขใหม่ๆ แบบ อุดมคติให้ชวี ติ ของมนุษย์ เช่นในภาพยนตร์ สตาร์ เทร็ก (Star Trek) และสตาร์ วอร์ส (Star Wars) ซึ่งสร้างโลกและการต่อสู้นอก อวกาศเหนือจินตนาการด้วยเทคโนโลยีทลี่ าํ้ สมัยเกินกว่าจะคาดเดาในปัจจุบนั แต่ความ คิดอ่าน เหตุผล และตรรกะของตัวละครใน บางเรื่องก็ยังเชื่อมโยงกับปัจจุบันที่ยังคงมี สงครามและการต่อสู้ ซึ่งนั่นทำ�ให้เมืองไม่ อาจก้าวข้ามไปสู่ความเป็นอุดมคติได้โดย สมบูรณ์
ตนเอง โดยมีความมั่นคงทางการค้าและการเกษตร หล่อเลี้ยงเมือง จนกลายเป็นต้นแบบของเมืองใน อุดมคติทเี่ ป็นแบบอย่างทางความคิดของคนในยุคต่อมา
•เซอร์ โธมัส มอร์ ประพันธ์หนังสือยูโทเปีย ขึ้นในปี 1516 เป็นภาษาละติน โดยส่วนหนึ่งของเนื้อหามีการ บรรยายถึง "เกาะยูโทเปีย (The Island of Utopia)" ที่ มีอาณาเขตวัดโดยรอบยาว 200 ไมล์ ประกอบด้วย 54 เมือง โดยเมืองหลวงตั้งอยู่ตรงกลาง และมีการจัดสรร ความเจริญ ตลอดจนโครงสร้างการปกครองที่ทั่วถึง เท่าเทียม และเป็นธรรม ทุกคนมีหน้าที่รับผิดชอบของ
•ดินแดนและสังคมในอุดมคติของเซอร์ โธมัส มอร์ มี อิทธิพลทางความคิดและการแสดงออกทางการเมือง ของหลายๆ ประเทศในยุโรปและอเมริกาในช่วงคริสต์ ศตวรรษที่ 18 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ผู้คนใช้ชีวิตท่ามกลาง ความระสาํ่ ระสาย จึงเริม่ แสวงหาการเปลีย่ นแปลงทาง สังคม โดยมีนักเขียนและนักปรัชญาชื่อดังอย่างฌ็องฌัก รูโซ (Jean-Jacques Rousseau และจอร์จ
goran.baarnhielm.net
•จุ ด กำ � เนิ ด แนวคิ ด เรื่ อ งยู โ ทเปี ย นั้ น เริ่ ม ต้ น อย่ า งเป็ น ทางการในหน้ า ประวั ติ ศ าสตร์ โ ลกเมื่ อ 8 ปี ก่ อ น คริ ส ตกาล จากผลงานการประพั น ธ์ เรื่องเดอะ ไฟว์ เอจส์ (The Five Ages) ของเฮซิออด (Hesiod) นักประพันธ์ชาว กรีก ทีบ่ รรยายถึงเทพเจ้ากรีกโบราณบน ยอดเขาโอลิมปัสเมื่อสมัยเทพโครนอส (Kronos) เป็นใหญ่ การดำ�เนินชีวิตที่ถึง พร้อมด้วยคุณธรรม จริยธรรม สันติสุข และความสงบในจิตใจ โดยไม่มีส่ิงใด มาสร้างความขุน่ มัว แม้แต่ความตายก็ถอื เป็นเพียงการ หลับใหลอย่างยาวนาน นับเป็นการแสดงออกถึงการ โหยหาชีวิตที่เป็นอุดมคติท่ามกลางสภาพการณ์ทาง สังคมที่วุ่นวายและตกตํ่าของกรีกในช่วงเวลานั้น
•บางครั้ ง สั ง คมอุ ด มคติ ก็ ถู ก งั ด ง้ า งด้ ว ย แนวคิด "ดิสโทเปีย (Dystopia)" ที่หมายถึง ความเลวทราม ไม่ดงี าม และไม่สขุ สบายอย่างยูโทเปีย ซึ่งเริ่มมีมาตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 19 ในขณะที่ขั้วหนึ่ง ของความคิดเราเชื่อว่าโลกในอุดมคติเป็นสุดยอดแห่ง ความปรารถนา แต่ความจริงที่ต้องยอมรับก็คือเรายัง ต้องเผชิญกับความยํ่าแย่และความถดถอยของสังคม จุดบรรจบของอุดมคติกับความจริง จึงเป็นการเลือกที่ จะใช้ชวี ติ อย่างสามัญธรรมดา และผูกติดกับธรรมชาติ ที่เป็นมิตรต่อโลก พร้อมๆ กับการแสวงหาความ ก้าวหน้าทางวิทยาการใหม่ๆ เพื่อสนองตอบความพึง พอใจและความเป็นอยู่ที่สุขสบายยิ่งขึ้น ที่มา: บทความ “Thomas More's Utopia - The Island of Utopia” จาก bl.uk วิกิพีเดีย ธันวาคม 2556 l Creative Thailand l 11
COVER STORY เรื่องจากปก
เรื่อง: มนฑิณี ยงวิกุล
BACK TO BASICS ไม่มีเทรนด์จากสำ�นักใดที่จะละเลยกระแสการดำ�รงชีวิตอยู่ด้วยความเรียบง่าย แต่เปี่ยมความหมายในการเป็น ส่ ว นหนึ่ ง ของการฟื้ น ฟู โ ลกจากภั ย พิ บั ติ แ ละหวนคื น สู่ บ รรยากาศแสนสุ ข ของวั น วาน ทว่ า กาลเวลาและ สภาพแวดล้อมที่ผิดแผกจากเดิมในปัจจุบัน ทำ�ให้การหวนคืนสู่ธรรมชาติของเหล่าบุปผาชนแห่งศตวรรษที่ 21 ต้องพึ่งพิงองค์ประกอบหลายอย่างที่ไม่อาจเรียกได้ว่า “ธรรมดา” ที่งานเบรด แอนด์ บัตเตอร์ 2012 (Bread & Butter 2012) งาน แสดงสินค้าสตรีทแฟชั่นของเบอร์ลินคลาคลํ่าไปด้วยผู้มาเยือน วิหารแห่งเดนิม ด้วยพื้นที่ขนาด 3,000 ตารางเมตรซึ่งได้อุทิศให้ กับคอลเล็กชั่นเสื้อผ้าเดนิมล่าสุดจากผู้ประกอบการที่ได้รับการ คั ด สรรมาเป็ น พิ เ ศษ เพื่อทำ�ให้วิห ารแห่ง นี้เ ต็ม เปี่ยมไปด้วย ผลิตภัณฑ์ทถี่ กู สรรค์สร้างมาสำ�หรับผูท้ หี่ ลงใหลในเสือ้ ผ้าซึง่ ครัง้ หนึ่งเคยเป็นสินค้าสำ�หรับผู้ใช้แรงงานในเหมืองแร่
คิงส์ ออฟ อินดิโก (Kings of Indigo: K.O.I) เปิดตัวคอลเล็กชั่นที่สามของ พวกเขาด้วยกางเกงยีนส์รไี ซเคิลทีถ่ กู เติมกลิน่ อายแห่งความพิเศษด้วยตรา สัญลักษณ์ "คิงส์ ออฟ ลอนดรี (Kings of Laundry)" เครื่องหมายแสดง คุณภาพจากสุดยอดโรงงานซักฟอกในแคว้นเวเนโตทีอ่ ติ าลี ทีใ่ ช้นวัตกรรม เลเซอร์และเทคนิคโอโซนในขั้นตอนการทำ�ความสะอาด (wash process) เพื่อลดการใช้นํ้าและสารเคมี ซึ่ง K.O.I ได้ไปเสาะแสวงหามาเพื่อรักษา ความเป็นสุดยอดแบรนด์แห่งการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ขณะเดียวกันเสื้อผ้าเดนิมของผู้ประกอบการรายอื่นๆ ที่น�ำ มาแสดง ในงานนั้น ก็มาพร้อมกับรายละเอียดพิเศษและเรื่องราวของกระบวนการ ผลิตที่กระชากใจเหล่าสาวก ทั้งรายละเอียดการตัดเย็บผ้าเดนิมที่มีความ หนาด้วยสองมือช่าง ตลอดจนการเลือกกลับไปใช้จักรเย็บผ้ารุ่นดั้งเดิมใน กระบวนการผลิต ทว่าสิ่งที่ยีนส์ชั้นสูงเหล่านี้มีใกล้เคียงกัน ก็คือการผลิต ขึ้นจากผ้าฝ้ายออร์แกนิกที่ผ่านการรับรองในระดับสากลและลดทอนการ 12 l Creative Thailand l ธันวาคม 2556
ecobloggernl.blogspot.com
From Mine to Mind
thestyleraconteur.com
COVER STORY เรื่องจากปก
ใช้พลังงานที่ทำ�ร้ายโลกโดยไม่จำ�เป็น นูดดี้ ยีนส์ (Nudie Jeans) แบรนด์จากสวีเดนที่โด่งดังด้วยวิธีการให้ ลูกค้าเป็นผู้สร้างลวดลายบนกางเกงยีนส์ด้วยตนเอง จากคู่มือที่แนะนำ� เทคนิคการใส่ติดต่อกัน 6 เดือน และเมื่อซักครั้งแรกก็จะเกิดร่องรอยและ เส้นสายบนกางเกงตามการเคลื่อนไหวของเจ้าของ แม้เดิมทีจะไม่ได้ให้ ความสำ�คัญกับแหล่งผลิตผ้าฝ้ายเป็นพิเศษ แต่ที่สุดแล้วก็ไม่สามารถต้าน กระแสตลาดได้ จึงต้องกระโดดเข้าร่วมสายธารแห่งออร์แกนิกนีเ้ มือ่ ปี 2006 แต่นดู ดี้ ยีนส์ ก็ประสบปัญหาในการซือ้ ผ้าออร์แกนิกมาผลิตยีนส์ให้ได้ตาม จำ�นวนในเวลาต่อมา จนต้องตัดสินใจลงทุนพัฒนาและผลิตผ้าฝ้ายของ
ตนเองแทนการซื้อจากซัพพลายเออร์ จนในที่สุดยีนส์ทุกไลน์การผลิตก็ สามารถติดป้าย “ฝ้ายออร์แกนิก 100%” อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการใช้ฝ้ายออร์แกนิกจะเป็นขั้นตอนสำ�คัญ แต่ โรงงานหลายแห่งก็ทำ�ได้ไม่แตกต่างกัน ดังนั้น นูดดี้ ยีนส์ จึงเพิ่มระดับ ความเข้มข้นของการรักษ์โลก ด้วยการมอบโอกาสในการกำ�หนดวงจรชีวติ ของกางเกงยีนส์ในมือผูบ้ ริโภค ภายใต้แคมเปญ “Repair Reuse Reduce” โดยเพิ่มบริการซ่อม ปรับแต่ง และรับยีนส์เก่ามาป่นและปั่นให้กลายเป็น เส้นใยในการผลิตผ้าสำ�หรับยีนส์ตัวใหม่ ซึ่งทำ�ให้นูดดี้ ยีนส์ ก้าวขึ้นมา เป็นอีกแบรนด์หนึ่งที่ขึ้นชื่อในเรื่องของยีนส์ที่ใส่แล้วดูเท่ทั้งกายและใจ
From Soil to Space บางครัง้ แม้วา่ จะมีปา้ ยบอกชัดเจนว่า “ฝ้ายออร์แกนิก 100%” แต่ผู้ บริโภคก็อดไม่ได้ที่จะเกิดคำ�ถามขึ้นในใจ ว่าสิ่งที่ป้ายบอกนั้นเชื่อ ถือได้หรือไม่
คำ�ตอบที่ได้รับจึงมักเป็นการแนะนำ�ให้มองหาฉลากที่เป็นมาตรฐาน รับรองระดับโลก อย่างเช่น Global Organic Textile Standard ทีด่ �ำ เนินงาน โดยสมาชิกสำ�คัญ 4 ประเทศ คือ สมาคมการค้าเกษตรอินทรีย์ (Organic Trade Association: GOTS) สหรัฐอเมริกา สมาคมอุตสาหกรรมสิ่งทอ ธรรมชาติ (International Association of Natural Textile Industry)
เยอรมนี สมาคมดิน (Soil Association) สหราชอาณาจักร และสมาคม ความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่น (Japan Overseas Cooperative Association) ที่ร่วมกันทำ�งานเพื่อตรวจสอบกระบวนการผลิตสิ่งทอ จากที่ต่างๆ เพื่อให้การรับรองว่าสินค้าชนิดนั้นผลิตขึ้นตามกระบวนการ ออร์แกนิกอย่างแท้จริง นอกจาก GOTS แล้ว ยังมีองค์กรอีกหลายแห่งทีเ่ ข้มงวดเรือ่ งคุณภาพ และการประชาสัมพันธ์ ทัง้ หมดนีม้ สี ว่ นสำ�คัญในการขยายฐานกลุม่ ผูบ้ ริโภค ที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสินค้าออร์แกนิก จนส่งผลให้ตลาดสินค้า ออร์แกนิกโลกในปี 2012 มีมลู ค่าสูงถึง 1.78 ล้านล้านบาท (59.1 พันล้าน ธันวาคม 2556 l Creative Thailand l 13
COVER STORY เรื่องจากปก
เหรียญสหรัฐฯ) โดยเพิ่มขึ้นจากปี 1999 ถึงร้อยละ 288 เมื่อความต้องการ สินค้าออร์แกนิกเพิ่มมากขึ้นในตลาด นั่นหมายถึงปริมาณงานที่เพิ่มมาก ขึ้ น ในการตรวจสอบแหล่ ง ที่ ม าของวั ต ถุ ดิ บ ให้ ทั น กั บ ความต้ อ งการ จึงมีแรงขับเคลื่อนให้เทคโนโลยีทางด้านอวกาศเข้ามามีบทบาทในสิ่งที่ เป็นพืน้ ฐานทีส่ ดุ ของการทำ�เกษตรกรรม หลังดำ�เนินโครงการมาอย่างยาวนาน ในที่สุด อีโคเซิร์ท (Ecocert) หน่วยงานเพือ่ การรับรองผลิตภัณฑ์ออร์แกนิก ชั้นนำ�ของยุโรปและองค์การอวกาศยุโรป (European Space Agency) ก็สามารถนำ�ดาวเทียมมาใช้ในการพิสูจน์ว่าผลผลิตการเกษตรนั้นปลอด จากการใช้ปุ๋ยเคมี
ปัจจุบนั ดาวเทียมก็ถกู ใช้ในการจับตาดูความเปลีย่ นแปลงของการใช้ทดี่ นิ และนํ้า ซึ่งมีรัศมีครอบคลุมพื้นที่เพาะปลูกขนาดใหญ่ในโลก ตั้งแต่ไร่องุน่ ในแคลิฟอร์เนีย ทุ่งข้าวเจ้าในจีน จนถึงไร่กาแฟในโคลัมเบียและเคนยา “ดาวเทียมกลายเป็นของธรรมดาสำ�หรับการทำ�เกษตรไปเสียแล้ว” เจฟฟ์ เวด (Geoff Wade) ผูอ้ �ำ นวยการอุตสาหกรรมทรัพยากรธรรมชาติจากอีเอสอาร์ไอ (ESRI) บริษทั พัฒนาซอฟต์แวร์เกีย่ วกับข้อมูลภูมศิ าสตร์โลกกล่าว ทัง้ ยังเผยว่า เทคโนโลยีดาวเทียมในปัจจุบันพัฒนาไปอย่างรวดเร็วมาก ภาพถ่ายเพียง ขนาด 6 นิ้วมีรายละเอียดต่างๆ อย่างไม่น่าเชื่อ นั่นจึงทำ�ให้การใช้ ภาพถ่ายดาวเทียมเพื่อการบริหารนํ้าและการใช้ปุ๋ยให้ผลได้อย่างแม่นยำ�
esa.int
From Farm to Backyard
urbnearth.com
ขณะที่การขยายตัวของกลุ่มผู้บริโภคที่เลือกซื้อสินค้าออร์แกนิก มีจำ�นวนมากขึ้น ผู้บริโภคอีกกลุ่มหนึ่งก็เลือกที่จะอุทิศแรงกาย ของตนเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการผลิตอาหารและใช้ชีวิต ที่อิงแอบกับธรรมชาติเพื่อช่วยโลกอีกทางหนึ่ง
ภาพถ่ายของดาวเทียมรุ่นใหม่นี้แสดงผลจากกล้องอินฟราเรด ตั้งแต่ อุณหภูมแิ ละข้อมูลอืน่ ๆ ซึง่ จะถูกบันทึกและแปลความหมายออกมาเป็นแถบสี ทีบ่ ง่ บอกลักษณะ (spectral signature) ของดินและผลผลิต เวลาอ่านภาพ ก็จะสามารถบอกได้วา่ พืชชนิดนัน้ ๆ ได้รบั การปลูกด้วยกรรมวิธอี อร์แกนิก หรือไม่ โดยทีไ่ ม่ตอ้ งใช้คนจำ�นวนมากในการเดินทางไปตรวจพืน้ ทีอ่ อร์แกนิก ทุกสัปดาห์ ดร.ปิแอร์ ออตต์ (Dr.Pierre Ott) จากอีโคเซิรท์ กล่าวว่า กว่าร้อยละ 80 ของผลการทดสอบมีความถูกต้อง เมือ่ เทียบกับการออกสนามไปเก็บตัวอย่าง มาทดสอบเพื่อให้การรับรอง แต่ประหยัดเวลามากกว่า อย่างไรก็ตามแม้ การทดลองนีจ้ ะทำ�เฉพาะกับทุง่ ข้าวโพดและข้าวสาลีขนาดใหญ่เท่านัน้ ทว่า 14 l Creative Thailand l ธันวาคม 2556
ปี 2013 ฟิล วีนเนอร์ (Phil Weiner) ก่อตั้ง เออร์เบินเอิร์ธ (UrbnEarth) บริษัทเพื่อสิ่งแวดล้อมที่กำ�ลังมาแรงในขณะนี้ ด้วยผลิตภัณฑ์ที่ช่วยให้ ผู้อาศัยในเมืองได้อยู่อย่างธรรมชาติ เช่น ชุดปลูกพืชผักสำ�หรับกินเองที่ เรียกว่า “เอิร์บแมท (UrbMat)” ซึ่งช่วยขจัดปัญหาเรื่องพื้นที่และเมล็ด พันธุส์ �ำ หรับชาวสวนมือใหม่ เพียงแค่หากล่องที่มีขนาด 3x2 ฟุตมาใส่ดิน แล้ววางแผ่นเสื่อลงไป ต่อด้วยนำ�เมล็ด "โกรว์อัปส์ (GrowUps)" ที่ทำ�จาก แป้งพริก ปุ๋ยหมัก มูลไส้เดือน และเมล็ดพันธุ์ออร์แกนิกหย่อนลงไป ตามช่อง หลังจากนั้นก็รอเก็บเกี่ยวผลผลิตที่สุดแสนจะปลอดภัยจากชุด ปลูกผักที่ซื้อมาในราคาชุดละ 1,650 บาท (ราว 54.95 เหรียญสหรัฐฯ) ความเชือ่ และธุรกิจของวีนเนอร์จะไม่มวี นั ได้รบั การตอบสนองถ้าหาก
The House We Made
ที่มา : บทความ “Homesteading Quantified: How Much Land You Need To Go Off The Grid” จาก huffingtonpost.com
1bog.org
urbnearth.com
ไม่มคี นอีกจำ�นวนมากทีเ่ ชือ่ เหมือนกับเขาว่าการคืนสูช่ วี ติ สีเขียวด้วยอาหาร ที่ปลูกเองที่บ้านจะส่งผลดีต่อสุขภาพทั้งคนและเมือง เพราะนอกจากจะ บริโภคได้อย่างปลอดภัยแล้ว ยังช่วยลดปริมาณการใช้เชื้อเพลิงจากการ ขนส่งด้วย อันเป็นที่มาของกระแสจีไอวาย (grow it yourself: GIY) ใน ปัจจุบัน นับเป็นช่องทางแจ้งเกิดให้กับเอิร์บแมทในฐานะเครื่องมือที่เข้า มาช่วยเติมเต็มช่องว่างในการสร้างพืน้ ทีส่ เี ขียวให้กับชาวสวนในเมืองที่ไม่ อยากอาบเหงื่อต่างนํ้า แต่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของระบบผลิตอาหารที่ มีคุณภาพและเป็นกำ�ลังเล็กๆ ในการฟื้นฟูโลก อย่างไรก็ตาม กระแสจีไอวายไม่ได้หยุดอยูแ่ ค่การทำ�สวนน้อยภายใน ห้องพักกลางกรุง แต่ยงั ขยายไปสูก่ ลุม่ ทีอ่ ยากจะเมินวิถชี วี ติ ในเมืองทีต่ อ้ ง พึ่งพาระบบสาธารณูปโภคของรัฐ อย่างเช่นระบบไฟฟ้า (going off the grid) แล้วหันหน้าเข้าสูว่ ถิ ชี นบทด้วยการเปลีย่ นสวนหลังบ้านให้กลายเป็น ฟาร์มแห่งการพึง่ พาตนเองเพือ่ ประหยัดเงินและลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก ที่ปล่อยออกมาจากการผลิตผลิตภัณฑ์ (carbon footprint) การใช้ชีวิต แบบพึ่งพาตนเองนั้นครอบคลุมตัง้ แต่การปลูกธัญพืช ผักผลไม้ เลีย้ งสัตว์ และการใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ ทว่านักบุกเบิกทีด่ นิ สมัยใหม่สามารถ ตัง้ รกรากได้โดยไม่ล�ำ บากเท่าในอดีตเพราะอุปกรณ์ผลิตกระแสไฟฟ้าจาก พลังงานแสงอาทิตย์กลายเป็นสิ่งที่สามารถซื้อหามาติดบ้านได้เหมือน เฟอร์นิเจอร์ทั่วไป อีเกีย (IKEA) ผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์รายใหญ่ของโลกกระโดดเข้าร่วมชิง ส่วนแบ่งในตลาดสีเขียวที่กำ�ลังเติบโต ด้วยการส่งเครื่องมือพลังงาน แสงอาทิตย์แบบใช้งานที่บ้านมาวางจำ�หน่ายในสหราชอาณาจักรเป็น
การย้อนกลับไปใช้ชีวิตที่ยืนด้วยลำ�แข้งของตนเองไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปได้ยาก เพราะปัจจุบันมีครอบครัวอเมริกันมากถึง 750,000 ครัวเรือนที่ใช้ชีวิตโดย ปราศจากระบบไฟฟ้าของรัฐและปลูกผักกินเอง อย่างไรก็ตามสำ�หรับนัก บุกเบิกมือใหม่ การคำ�นวณปริมาณอาหารและพลังงานสำ�หรับครอบครัว อาจจะเป็นเรือ่ งยาก จึงมีเว็บไซต์และบล็อกหลายแหล่งทีบ่ นั ทึกประสบการณ์ และเกร็ดความรูเ้ พือ่ การค้นคว้า รวมถึงแผนผังภาพทีแ่ สดงให้เห็นว่าการเริม่ ต้นเลี้ยงครอบครัวขนาด 4 คนนั้น ต้องการพื้นที่ประมาณ 5 ไร่ (2 เอเคอร์) สำ�หรับรองรับแผงรับพลังงานแสงอาทิตย์ ปลูกธัญพืช ผัก ผลไม้ และเลี้ยง สัตว์อย่างไก่ หมู และแพะ เพื่อให้ได้พลังงานและอาหารเพื่อเลี้ยงครอบครัว ในเวลา 1 ปี ธันวาคม 2556
l
Creative Thailand
l 15
eat-ento.co.uk
COVER STORY เรื่องจากปก
BUG TO THE FUTURE
16 l
Creative Thailand
l ธันวาคม 2556
บ็อกซ์ (Ento Box)" อาหารสีสันสดใสมองคล้ายซูชิในกล่อง แต่ทำ�จากแมลงที่ อุดมด้วยโปรตีนหลากชนิดมาปรุงแต่งทั้งรสชาติและหน้าตาเพื่อโน้มน้าวสังคม ของพวกเขาให้โยนความกลัวในการลิ้มลองแมลงทิ้งไป งานทดลองของพวกเขาได้รับเสียงตอบรับที่ดีทั้งในแง่ของการตอบโจทย์ เรื่องความยั่งยืนของแหล่งอาหารและงานออกแบบ ดังนั้นเป้าหมายในอนาคต eat-ento.co.uk
ในยุคที่นํ้าและอากาศเป็นสิ่งที่ต้องเร่งรีบรักษา เนื้อวัวดูจะกลายเป็นผู้ร้ายใน สายตาของนักอนุรกั ษ์ เพราะใช้ทงั้ นาํ้ และพืน้ ทีม่ ากกว่าเนือ้ สัตว์ประเภทอืน่ ใน ขณะที่เนื้อไก่ 1 กิโลกรัมใช้นํ้าในการผลิตจำ�นวน 4,325 ลิตร เนื้อวัวในปริมาณ เดียวกันกลับใช้นํ้ามากถึง 15,415 ลิตร อย่างไรก็ตาม การรณรงค์ให้ผคู้ นหันมากินเนือ้ ไก่แทนเนือ้ วัวเพือ่ ประหยัด นํ้า อาหารเลี้ยงสัตว์ และพื้นที่ อาจจะไม่ใช่คำ�ตอบเสียทีเดียว เพราะนับตั้งแต่ ปี 1960 เป็นต้นมา การบริโภคไก่ในสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 400 และ จากข้อมูลของ Physicians Committee for Responsible Medicine (PCRM) ยังพบว่าชาวอเมริกันบริโภคไก่ล้านชิ้นต่อชั่วโมง ด้วยอัตราการรับประทาน ระดับนี้ แม้วา่ การเลีย้ งไก่จะดีกว่าการเลีย้ งวัว แต่นนั่ ก็ยงั ไม่ใช่ทางออกทัง้ หมด องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations: FAO) จึงนำ�เสนอเมนูอาหารแบบดัง้ เดิม อย่าง “แมลง” ทดแทนการกินเนือ้ สัตว์ เพราะแมลงใช้ทงั้ พืน้ ทีแ่ ละอาหารเลีย้ ง สัตว์น้อยกว่าวัวถึง 12 เท่าในปริมาณโปรตีนที่มอบให้ร่างกายไม่ต่างกัน จาก การศึกษาพบว่าตั๊กแตนและปลวกมีระดับโปรตีนต่อนํ้าหนักถึงร้อยละ 28 ไม่ ต่างจากเนือ้ หรือปลา ขณะทีจ่ งิ้ หรีดและตัก๊ แตนเม็กซิกนั นัน้ มีโปรตีนสูงถึงร้อย ละ 48 การกินแมลงนับเป็นเรื่องปกติสำ�หรับคนมากกว่า 2 พันล้านคนในเอเชีย และอเมริกาใต้ซงึ่ รูจ้ กั แหล่งโปรตีนชนิดนีใ้ นฐานะอาหารประจำ�วันมาแสนนาน แต่สำ�หรับสังคมตะวันตก การกินแมลงไม่ใช่เรื่องปกติ แต่เมื่อความต้องการ เป็นส่วนหนึ่งของการประหยัดนํ้าและพืชเลี้ยงสัตว์ยังคงตามรบกวนจิตใจ นั่น จึงทำ�ให้กลุ่มนักศึกษาจบใหม่จากรอยัล คอลเลจ ออฟ อาร์ต (Royal College of Art) และอิมพีเรียล คอลเลจ (Imperial College) ทดลองทำ� "เอ็นโตะ
ของพวกเขาคือการเปิดร้านอาหารและวางจำ�หน่ายเอ็นโตะ บ็อกซ์ในซูเปอร์ มาร์เก็ตให้ได้ในปี 2020 แต่ในระหว่างนี้ สิง่ ทีต่ อ้ งเร่งมือคือการสร้างความรูแ้ ละ การยอมรับว่าแมลงนัน้ มีประโยชน์ตอ่ สุขภาพและผลาญทรัพยากรของโลกน้อย กว่าฟาร์มเลี้ยงสัตว์ทั่วไป
gas2.org
COVER STORY เรื่องจากปก
ประเทศแรก เนือ่ งจากรัฐมีนโยบายสนับสนุนให้ประชาชนหันมาใช้พลังงาน แสงอาทิตย์เพื่อการบรรลุเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของประเทศ อีเกียจึงนำ�เสนอแผงผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ ทีร่ ว่ มมือกับบริษทั ฮันเนอร์จี โฮลดิง้ กรุป๊ จำ�กัด (Hanergy Holding Group Ltd.) ผู้ผลิตแผ่นฟิล์มรับแสงในจีน โดยเสนอขายแผงที่ผลิตในเยอรมนี พร้อมติดตั้งและดูแลในราคา 290,000 บาท (5,700 ปอนด์) ซึ่งผลจากการ ใช้พลังงานแสงอาทิตย์และการอุดหนุนของรัฐบาล จะทำ�ให้เจ้าของบ้าน
สามารถประหยัดเงินได้ปลี ะ 39,000 บาท (770 ปอนด์) และคุม้ ทุนในเวลา ประมาณ 7 ปี อย่างไรก็ตาม ไม่เพียงอีเกียเท่านั้นที่เล็งเห็นช่องทางการเติบโตจาก ตลาดพลังงานแสงอาทิตย์ ผู้ผลิตอุปกรณ์พลังงานแสงอาทิตย์รายอื่นๆ ก็ มีความหวังที่จะพลิกจากผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมที่ต้องได้รับการ อุดหนุนจากรัฐมาเป็นผูป้ ระกอบการในธุรกิจทีก่ �ำ ลังมีอนาคตสดใสและน่า ลงทุนประเภทนี้
From Table to Farm ตลาดสินค้าแห่งความยั่งยืนไม่เพียงสดใสในช่วงนี้แต่ยังมีความ เป็นไปได้ที่จะเติบโตอีกมากในอนาคต
bhstorage.blob.core.windows.net
รายงานขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization) ระบุว่า ประชากรที่อาศัยอยู่ในเมืองมีจำ�นวนเพิ่มขึ้นทุกปีและคาดว่าในปี 2050 จะมีประชากรที่อาศัยในเมืองเพิ่มขึ้นเป็น 6.4 พันล้านคน โดยเพิ่มขึ้นเป็น เท่าตัวจาก 3.4 พันล้านคนในปี 2009 ตัวเลขนี้กำ�ลังสะท้อนความจริง ที่ว่าความเจริญทางเศรษฐกิจได้เพิ่มจำ�นวนชนชั้นกลางที่มีรสนิยมใน สินค้าออร์แกนิกให้เพิ่มขึ้นตามไปด้วย กำ�ลังซือ้ มหาศาลทีร่ ออยูเ่ บือ้ งหน้านี้ ด้านหนึง่ เป็นโอกาสในการจูงใจ ให้เกษตรกรเปลี่ยนผืนดินมาผลิตสินค้าออร์แกนิก แต่ขณะเดียวกันก็เป็น แรงกดดันต่อพืน้ ทีก่ ารเกษตรอืน่ ๆ เช่นกัน เพราะการใช้ชวี ติ ตามธรรมชาติ บัญชาเช่นนี้ ต้องใช้พื้นที่สำ�หรับการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์มากกว่าปกติ สองเท่าเพือ่ ให้ได้ผลผลิตเท่ากับการเกษตรแบบใช้สารเคมี ดังนัน้ การดำ�รง อยูอ่ ย่างเรียบง่ายของคนยุคนีจ้ งึ ไม่อาจปล่อยไปตามครรลองดังเช่นในอดีต ธันวาคม 2556
l
Creative Thailand
l 17
COVER STORY เรื่องจากปก
8freight.com
from fuel to force
ความเชื่อมั่นที่ว่าสวนสวยและพืชผักที่ปลอดสารไม่เพียงทำ�ให้สุขภาพดีขึ้น แต่ ยังเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสิ่งแวดล้อมที่น่าอยู่ ไม่แตกต่างจากการมอง เดนมาร์กและเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศไอดอลแห่งการใช้จักรยานเพื่อการ สัญจรและการขนส่ง ความสำ�เร็จของทั้งสองประเทศกลายเป็นกรณีศึกษาให้กับสหภาพยุโรป ในการรณรงค์เพื่อลดการใช้ยานยนต์ ด้วยการจัดตั้งไซเคิลโลจิสติกส์ (CycleLogistics) เมื่อพฤษภาคม 2511 เพื่อผลิตและเผยแพร่ข้อมูลในการขจัด ความลังเลของผูป้ ระกอบการขนส่ง ในการเปลีย่ นพาหนะจากมอเตอร์ไซค์และ รถบรรทุกที่ขนส่งได้คราวละจำ�นวนมาก มาเป็นการเพิ่มจำ�นวนเที่ยวและ จำ�นวนพนักงานขนส่งด้วยการใช้จักรยาน โดยชี้ให้เห็นถึงต้นทุนที่อาจจะเพิ่ม ขึน้ จากการขนส่งครัง้ ละจำ�นวนน้อยและการจ้างพนักงานขีจ่ กั รยานเพิม่ ขึน้ แต่ ก็สามารถถัวเฉลี่ยไปกับต้นทุนเชื้อเพลิงที่นับวันจะสูงขึ้น อีกทั้งช่วยประหยัด ค่าที่จอดรถยนต์ซึ่งมีราคาแพง และที่สำ�คัญทำ�ให้บริษัทมีภาพลักษณ์ที่ดีใน สายตาของลูกค้าในปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังมีการนำ�เสนอข้อมูลในการก้าวข้ามข้อจำ�กัดเรื่องปริมาณ
หากนักวิทยาศาสตร์ นักอนุรักษ์ และอีกหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งรัฐ และเอกชน คงต้องใช้ความพยายามมากขึน้ ไปอีก ทัง้ เรือ่ งการทดลองผลิต เนื้อจากห้องแล็บหรืออาหารจากเครื่องพิมพ์สามมิติที่ค่อยๆ ก่อตัวจาก ของเหลวทีละหยด ทั้งนี้เพื่อให้ความปรารถนาที่ดีต่อโลกใบนี้ไม่เป็นการ ทำ�ร้ายประชากรบางส่วนจากจำ�นวนรวม 9 พันล้านคน ทีอ่ าจจะต้องเผชิญ กับความหิวโหย เพราะโลกไม่สามารถตอบปัญหาพืน้ ฐานสำ�หรับการดำ�รง ชีวิตด้วยการผลิตอาหารให้เพียงพอได้ 18 l
Creative Thailand
l ธันวาคม 2556
การขนส่งและความปลอดภัยด้วยบทกฎหมาย สาธารณูปโภคสำ�หรับจักรยาน รวมถึงเทคนิคการผลิตที่ก้าวหน้า โดยยกตัวอย่างจักรยานของบริษัทเอทเฟรท (8Freight) ซึง่ ออกแบบโดยไมค์ เบอร์โรวส์ (Mike Burrows) นักออกแบบจักรยาน ระดับโลกที่บรรจงออกแบบจักรยานสำ�หรับขนสินค้าให้มีทั้งความสวยงามและ การทรงตัวที่ปลอดภัย ทั้งๆ ที่บรรทุกสินค้าถึง 60 กิโลกรัม รวมไปถึงข้อมูล ความก้าวหน้าของผู้ผลิตรถจักรยานแบบสามล้อ ที่เมื่อใส่มอเตอร์ไฟฟ้าก็ สามารถรับนํ้าหนักได้ถึง 200 กิโลกรัม และวิ่งได้ไกลถึง 20 กิโลเมตรต่อการ ชาร์จหนึ่งครั้ง อย่างไรก็ตามความสำ�เร็จของการผลักดันให้เมืองมีการเปลี่ยนแปลงใน ทางทีม่ ติ รต่อสิง่ แวดล้อมนัน้ มิได้เกิดจากเสียงเรียกร้องเพียงอย่างเดียว แต่หลาย โครงการเพื่อการเปลี่ยนรถเป็นจักรยานล้วนแล้วแต่ได้รับการสนับสนุนด้านเงิน ทุนจากรัฐบาลกลางหรือเทศบาลท้องถิ่น เพื่อให้ธุรกิจขนส่งด้วยจักรยานยังยืน หยัดอยู่ได้ พร้อมกับการปรับเปลี่ยนสาธารณูปโภคของเมืองให้เอื้อต่อการขับขี่ จักรยานมาอย่างต่อเนื่อง ดังเช่นที่เดนมาร์กมีจุดเริ่มต้นตั้งแต่ปลายยุค 70 และ พัฒนาเรื่อยมาจนกว่าจะกลายมาเป็นเมืองขวัญใจนักปั่นดังเช่นปัจจุบัน ที่มา: บทความ “Food from Space: Satellites Show Future of Eco-Endeavors” จาก edition.cnn.com บทความ “Future Development of the Organic Cotton Market” จาก cottonguide.org บทความ “IKEA to Sell Solar Panels from All UK Stores” จาก reuters.com บทความ “What’s on the Menu for a Sustainable Future?” จาก forumforthefuture.org off-grid.net
รางวัลการออกแบบของเชียงใหม (CDA) โดยเชียงใหมเมืองสรางสรรค
จากความคิดริเริ่มเพื่อสนับสนุนและประชาสัมพันธการออกแบบ เชิงสรางสรรคและเชิงนวัตกรรมของจังหวัดเชียงใหม ใน 4 สาขา ไดแก สถาปตยกรรมและการตกแตงภายใน การออกแบบผลิตภัณฑ การออกแบบบรรจุภณ ั ฑ และการออกแบบสิง่ พิมพและสือ่ สมัยใหม จึงเกิดเปน “รางวัลการออกแบบของเชียงใหม (CDA)” ขึน้ ครัง้ แรก ในงาน Nimmanhaemin Art and Design Promenade (NAP) เมือ่ เดือนธันวาคม 2554 และไดจดั ขึน้ อยางตอเนือ่ งมาจนถึงปจจุบนั กระบวนการคัดเลือกผลงานทีไ่ ดรบั รางวัลจะพิจารณาจากผลงาน ที่แสดงถึงความสามารถในการประดิษฐคิดคน ความนาสนใจ ในเชิงการตลาด ความแปลกใหม และไหวพริบเชิงการคารวมถึง พิจารณาจากผลงานทีส่ ง เสริมประสบการณของผูใ ชสง เสริมคุณคา ใหเชียงใหมและแสดงศักยภาพของจังหวัด CDA เนนการออกแบบที่รวมสมัย เพื่อสงเสริมพรสวรรคและ กระตุน ใหเกิดการลงทุนดานการออกแบบและเครือ่ งมือเชิงยุทธศาสตร ในพื้นที่อยางกวางขวางในอนาคต
ติดตามรายชื่อผูไดรับรางวัลการออกแบบของเชียงใหม ประจำป 2556 หรือ CDA 2013 ไดที่
www.creativechiangmai.com/ida และ www.facebook.com/cda2013
DO it BETTER, DO it TOGETHER เรื่อง: นันทกานต์ ทองวานิช
หากดีไอวาย (DIY หรือ Do It Yourself) คือกระแสที่เกิดขึ้นจากความรู้สึกเป็นกบฏของผู้คนในครึ่งหลังของศตวรรษที่ 20 ไม่ว่าจะ เพือ่ แสดงออกถึงความเป็นปัจเจกหรือตอบโต้สภาพเศรษฐกิจทีถ่ ดถอยหลังสงครามโลก แล้วในยุคทีท่ รัพยากรธรรมชาติลดน้อยลง ไปทุกวันและผู้คนต่างมีกิจกรรมมากมายที่ดึงดูดความสนใจให้กว้างขวางเกินกว่าจะใช้เวลาเพื่อฝึกฝนทักษะในศาสตร์หนึ่งๆ อย่าง ลึกซึ้ง การกลับไปสู่ “การทำ�งานร่วมกัน” หรือ ดีไอที (DIT หรือ Do It Together) จึงอาจเป็นอีกหนทางหนึ่งในการใช้ชีวิตของมนุษย์ ในยุคปัจจุบันผู้ไม่คุ้นเคยกับการลงมือทำ�ด้วยตนเอง
เควิรก์ คี (Quirky) บริษทั พัฒนาผลิตภัณฑ์แห่งนิวยอร์ก ผูใ้ ช้ประโยชน์จาก พลังของฝูงชน (crowdsourcing) และความเป็นชุมชน (community) ใน การเปลี่ยนไอเดียทางการออกแบบอย่างง่ายๆ จากสมาชิกออนไลน์ให้ กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ขายได้จริง โดยมีหัวใจสำ�คัญอยู่ที่สมาชิกออนไลน์ เหล่านี้สามารถติดตามความเคลื่อนไหวและกดโหวตในแทบทุกขั้นตอน ของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผา่ นทางเว็บไซต์ของบริษทั ตัง้ แต่การเสนอไอเดีย การเลือกไอเดียที่ดีที่สุดเพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ การตัดสินรูปลักษณ์ การตั้งชื่อ กระทั่งการกำ�หนดราคา รวมไปถึงคำ�แนะนำ�จากผู้ค้าปลีกและ ผู้เชี่ยวชาญในแวดวงต่างๆ นั่นทำ�ให้เควิร์กคีต้องเตรียมแพลตฟอร์มการ นำ�เสนอความคิดและแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างทีมงานที่นับวันจะยิ่งเพิ่ม ขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละส่วนไว้เพื่อรองรับการเติบโตที่ว่านี้ ในแต่ละสัปดาห์ เควิร์กคีนำ�เสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ 3 ชิ้นจากกว่า 2,000 ไอเดีย โดยสมาชิกเกือบ 600,000 คน ออกสู่ตลาด การระดม ความคิดจากผู้คน การใช้เทคโนโลยีทางการผลิตให้เป็นประโยชน์ และ การทำ�งานร่วมกันของนักออกแบบอุตสาหกรรมและวิศวกรทีจ่ �ำ ลองรูปร่าง หน้ า ตาของผลิ ต ภั ณ ฑ์ ผ่า นการพิ ม พ์ แ บบสามมิ ติ และอุ ป กรณ์ ผ ลิ ต ต้นแบบอื่นๆ มูลค่ากว่า 2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จึงมีส่วนอย่างมากที่ทำ�ให้ การผลิตจำ�นวนน้อยภายในระยะเวลาอันสัน้ เป็นไปได้ ทัง้ ยังช่วยสร้างธุรกิจ รูปแบบใหม่ที่ไม่ว่าจะเป็นพนักงานออฟฟิศ หรือผู้ประกอบการรายย่อยก็ สามารถเข้าถึงการผลิตได้อย่างง่ายดาย ปัจจุบนั เควิรก์ คีมผี ลิตภัณฑ์ทง้ั หมด 121 ประเภท ขายได้ 2.3 ล้านชิ้น ผ่านทางร้านค้าปลีกชั้นนำ�ในอเมริกา อย่างทาร์เก็ต เบด บาธ แอนด์ บียอนด์ และเบสต์ บาย ตลอดจนเว็บไซต์ 20 l Creative Thailand l ธันวาคม 2556
อย่างแอมะซอนดอตคอม รวมรายได้ตลอดปีที่ 18 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจาก 62,000 เหรียญฯ เมื่อแรกตั้งบริษัทในปี 2009 และคาดว่าจะ พุ่งสู่ 50 ล้านเหรียญฯ ภายในสิ้นปี 2013 และอาจเป็นเพราะต่างตระหนัก แล้วว่า “การทำ�งานร่วมกัน” สามารถสร้างผลลัพธ์ทแ่ี ข็งแกร่งและน่าพิสมัย ล่าสุด เควิร์กคีจึงร่วมมือกับเจเนอรัล อิเล็กทริก หรือจีอี สร้างสรรค์ ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ และขอสิทธิ์ในการเข้าถึงสิทธิบัตรจำ�นวนมหาศาลของ จีอี อีกทั้งเควิร์กคียังมีแนวคิดที่จะร่วมมือกับสถาบันค้นคว้าวิจัยอื่นๆ อีก เช่น มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดและสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ เป็นต้น สิ่งที่ทำ�ให้ดีไอวายมีอิทธิพลมาตลอดระยะเวลาหลายสิบปีนี้ อาจเกิด จากความสามารถในการตอบสนองความหลงใหลและความคิดสร้างสรรค์ ส่วนบุคคล แต่การกลับไปทำ�งานแบบดีไอที กำ�ลังกลายเป็นสิ่งที่ทรงพลัง ยิ่งกว่า เพราะดีไอที คือความพยายามในการรวบรวมผู้คนที่เต็มไปด้วย พรสวรรค์จากหลากหลายสาขาความรู้ เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาอย่าง รวดเร็ว ทั้งกับผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นอย่างนวัตกรรมและกับศักยภาพของตัว ผู้กระทำ�เอง ที่มา: quirky.com, wikipedia.org บทความ “Can A Crowdsourcing Invention Company Become 'The Best Retailer In The World?'” โดย J.J. Colao จาก forbes.com บทความ “From Do It Yourself to Do It Together” โดย John Hagel III, John Seely Brown and Lang Davison จาก blogs.hbr.org บทความ “Is This the World's Most Creative Manufacturer?” โดย Josh Dean จาก inc.com/magazine บทความ “The advantages of crowdsourcing” จาก economist.com
© freegreatpicture
INSIGHT อินไซต์
พบกับนิตยสาร Creative Thailand
ทุกสัปดาหแรกของเดือน ที่ TCDC กรุงเทพฯ TCDC เชียงใหม รานหนังสือ หองสมุด อาคารสำนักงาน และรานกาแฟใกลบาน ในเขตกรุงเทพฯ และ ปริมณฑล จังหวัดเชียงใหม หัวหิน และ Mini TCDC 13 แหงทั่วประเทศ กรุงเทพฯและปริมณฑล
รานหนังสือ สมาคม • Asia Books • สมาคมธนาคารไทย • รานนายอินทร • สมาคมโฆษณาแหงประเทศไทย • คิโนะคูนิยะ • สมาคมอุตสาหกรรมทอผาไทย • C Book (CDC) • สมาคมหอการคาไทย • แพรพิทยา • สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุงหมไทย • ศึกษิตสยาม • สมาคมสโมสรนักลงทุน • โกมล • สภาอุตสาหกรรมแหงประเทศไทย • สถาบันบุนกะแฟชั่น รานกาแฟ / รานอาหาร • สถาบันราฟเฟลส • Chaho • สถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน • อาฟเตอร ยู • ดอยตุง คอฟฟ เชียงใหม • โอ บอง แปง • รานนายอินทร • October • ซัมทาม คอฟฟ • รานเลา • Tea House Siam Celadon • บานไรกาแฟ เอกมัย • ACE! The Academy • ดอยตุง คอฟฟ • ทรู คอฟฟ for education USA • Book Re:public • รานกาแฟวาวี • 94 Coffee • Little Cook Café • Sweets Café • รานแฮปปฮัท • มหาวิทยาลัยเชียงใหม • วีวี่ คอฟฟ • คาเฟ เดอ นิมมาน • สุริยันจันทรา • แมคคาเฟ • Kanom • The meeting room art café • Babushka • รานมองบลังค • Things Called Art • มิลลเครป • หอมปากหอมคอ • หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม • ไล-บรา-รี่ คาเฟ • กูชาชัก & โรตี • หอการคาจังหวัดเชียงใหม • ก.เอย ก.กาแฟ • จิงเกิ้ล • โรงแรมดุสิต ดีทู • อะเดยอินซัมเมอร • Impresso Espresso Bar • เดอะเชดี • ชีสเคกเฮาส • Minimal • บรรทมสถาน • คอฟฟ แอลลีย อิน เดอะ การเดน • Luvv coffee Bar • บานเส-ลา • รมไมไออุน ทาวนอินทาวน • Gallery Seescape • Yesterday The Village • บานกามปู ทรอปคอล แกลเลอรี่ • The Salad Concept • Hallo Bar • ไอเบอรรี่ • Casa 2511 • บานศิลาดล • Take a Seat • กาแฟโสด • Cotto Studio (นิมมานฯ) • รานกวยเตี๋ยวเรือทุงพญาไท • รานสวนนม • 9w Boutique Hotel • ซูเฟ เฮาส เบเกอรี่ • กาแฟวาวี ทุกสาขา • Good Coffee • Greyhound (Shop and Café) • ช็อกโก คาเฟ • ไหม เบเกอรี่ • รานกาแฟบางรัก • Love at First Bite • ดับเบิ้ลซี คุกกี้ แอนด คอฟฟ • Acoustic Coffee • เวียง จูม ออน บายนิตา • I Love Coffee Design • Fern Forest Café • Hub 53 Bed & Breakfast • Caffé D’Oro • Just Kao Soi • รานกาแฟ เพนกวิน เกตโต • Pasaya Showroom (สยามพารากอน) • อิฐภราดร ลําปาง โรงภาพยนตร / โรงละคร • อาลัมภางค เกสตเฮาส หัวหิน • โรงภาพยนตรเฮาส แอนด มอร • เมืองไทย รัชดาลัย เธียเตอร • เพลินวาน • Egalite Bookshop • ภัทราวดีเธียเตอร • ชุบชีวา หัวหิน นาน • ทรู คอฟฟ หัวหิน หองสมุด • รานกาแฟปากซอย • ดอยตุง คอฟฟ • หองสมุดศศินทร จุฬาฯ • Nan Coffee Bean • ทูเก็ตเตอรเบเกอรี่ • หองสมุดมารวย แอนดคาเฟ ภูเก็ต • ศูนยหนังสือ สวทช. • อยูเ ย็น บัลโคนี่ • รานหนัง (สือ) ๒๕๒๑ • SCG Experience • สตารบคั ส หอนาิกา • The Oddy Apartment • The Reading Room • วรบุระ รีสอรท แอนด & Hotel พิพิธภัณฑ / หอศิลป สปา เลย • มิวเซียม สยาม • อุทยานการเรียนรู (TK park) • หัวหิน มันตรา รีสอรท • มาเลยเด เกสตเฮาส • เลท ซี หัวหิน • บานชานเคียง • หอศิลป กรุงเทพฯ • การเดน แกลเลอรี่ แอนด คาเฟ • กบาล ถมอ รีสอรท โคราช • บานใกลวงั • นัมเบอรวัน แกลเลอรี่ • Hug Station Resort • บานจันทรฉาย • HOF Art ปาย • ภั ต ตาคารมี ก รุ ณ า • Numthong Gallery • รานเล็กเล็ก • ลูนา ฮัท รีสอรท โรงแรม • ราน all about coffee • The Rock • หลับดีโฮสเทล สีลม • ปายหวานบานนมสด • บานถั่วเย็น โรงพยาบาล (ถนนแนบเคหาสน) นครปฐม • โรงพยาบาลศิริราช • ราน Rhythm & Book • Dip Choc Café • โรงพยาบาลปยะเวท อุทัยธานี กระบี่ • โรงพยาบาลกรุงเทพ • Booktopia • A Little Handmade Shop • โรงพยาบาลเกษมราษฎร ประชาชื่น หมายเหตุ: แสดงเพียงบางสวนของสถานที่จัดวางเทานั้น สามารถดูสถานที่จัดวางทั้งหมดไดที่ creativethailand.org
หมดปญหาหยิบนิตยสารไมทัน สมัครสมาชิกรายป โดยมีคาใชจายในการจัดสง 200 บาท (12 เลม) และรอรับนิตยสารสงถึงบาน (ถายเอกสารใบสมัครได)
ขอมูลผูสมัครสมาชิก
สมาชิกใหม
ชื่อ นามสกุล เพศ ชาย โโทรศััพทบาน โทรสาร
สมาชิกเกา (ตองการตออายุสมาชิก)
หญิง อายุ โโทรศััพทที่ทำำงาน โทรศัพทมือถือ
อีเมล
อาชีพ นักเรียน ครู/อาจารย
นิสิต/นักศึกษา พนักงานบริษัท
นักออกแบบ/ครีเอทีฟ ผูประกอบการ
อาชีพอิสระ อื่นๆ โปรดระบุ
ขาราชการ/รัฐวิสาหกิจ
สาขา/อุตสาหกรรมที่เกี่ยวของกับอาชีพของทาน โฆษณา สถาปตยกรรม แฟชั่น ศิลปะการแสดง ดนตรี ภาพยนตร โทรทัศน/วิทยุการกระจายเสียง
ทองเที่ยว/โรงแรม/สายการบิน วรรณกรรม/การพิมพ/สื่อสิ่งพิมพ พิพิธภัณฑ/หองแสดงงาน ซอฟตแวร/แอนิเมชัน/วิดีโอเกม
หัตถกรรม/งานฝมือ การเงิน/ธนาคาร ทัศนศิลป/การถายภาพ อื่นๆ โปรดระบุ
อาหาร การแพทย การออกแบบ
คาปลีก/คาสง โทรคมนาคม
ที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ จังหวัด
ซอย
ถนน รหัสไปรษณีย
หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง
อำเภอ/เขต
หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง
อำเภอ/เขต
ที่อยูในการออกใบเสร็จ เหมือนที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ ซอย จังหวัด
ถนน รหัสไปรษณีย
ตองการสมัครสมาชิกนิตยสาร Creative Thailand จำนวน 12 เลม เริ่มตั้งแตฉบับเดือน
โดยยินดีเสียคาใชจายในการจัดสงเปนจำนวนเงิน 200 บาท
วิธีการชำระเงิน (ระยะเวลา 1 ป จำนวน 12 เลม) เช็คสั่งจายนาม ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ พรอมใบสมัครสมาชิก โอนเงินเขาบัญชีออมทรัพย ธนาคารกรุงเทพ สาขาสำนักงานใหญสีลม เลขที่บัญชี 101-808967-0 ในนาม ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ กรุณาแฟกซใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่เบอร 02-664-7670 หรือสงไปรษณียมาที่ ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (Creative Thailand) 622 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอรชั้น 24 ถนนสุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 หรือแนบไฟลใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่อีเมล creativethailand@tcdc.or.th สอบถามขอมูลเพิ่มเติมไดที่ 02-664-7667 ตอ 122 สำหรับเจาหนาที่ Creative Thailand
สำหรับเจาหนาที่การเงิน
1. เลขที่สมาชิก ………………………………………. 2. วันที่ ………………………………………………… 3. เริ่มตั้งแตฉบับเดือน ……………………………….
1. เจาหนาที่การเงิน …………………………………. 2. วันที่ ………………………………………………… 3. วันที่โอนเงิน ………………………………………..
CREATIVE ENTREPRENEUR คิด ทำ� กิน
นครหลวงค้ า ข้ า ว เกษตรอินทรีย์ แนวทางเลือกบนทางรอด เรื่อง: ปิยพร อรุณเกรียงไกร ภาพ: อดิเดช ชัยวัฒนกุล
นครหลวงค้าข้าวเป็นทีร่ จู้ กั ในฐานะผูส้ ง่ ออกข้าวหอมมะลิอนั ดับต้นๆ ของไทยมากว่า 30 ปี แต่นอ้ ยคนทีร่ วู้ า่ นอกเหนือจากบทบาทการ ส่งออกทีส่ ร้างรายได้มหาศาลทางเศรษฐกิจและความน่าเชือ่ ถือของข้าวไทยในตลาดโลกแล้ว บริษทั แห่งนีย้ งั เป็นผูบ้ กุ เบิกการส่งออก ข้าวอินทรีย์รายแรกของประเทศที่ร้อยเรียงวิถีชีวิตของเกษตรกร โรงสี และตลาดคู่ค้าไว้ในห่วงโซ่เดียวกัน ตลอดจนคอยดูแล กระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นจนถึงปลายนํ้า กระทั่งสามารถผลักดันให้ข้าวอินทรีย์กลายเป็นหนึ่งในสินค้ายอดนิยมในตลาดโลกได้ใน ที่สุด ในวันนี้ เส้นทางของนครหลวงค้าข้าวยังคงเดินหน้าเต็มกำ�ลังโดยมี วัลลภ พิชญ์พงศา รองกรรมการผู้จัดการบริษัทเข้ามารับ ช่วงต่อเป็นรุ่นที่สอง จาก ‘ราก’ สู่ ‘รวง’ เกษตรอินทรีย์บนทุ่งลอ
ย้อนกลับไป 20 กว่าปีก่อน ผลิตภัณฑ์อินทรีย์กำ�ลังเติบโตในตลาดยุโรป อิตาลีซึ่งเป็น คู่ค้า ประจำ� จึงคาดว่าผู้บริโภคน่าจะต้องการผลิต ภัณฑ์ ประเภทนี้มากยิ่งขึ้นในอนาคต ประจวบกับที่ทางนครหลวงค้าข้าวเองก็ ต้องการสร้างความแตกต่างทางการตลาดเพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าใหม่ และ โรงสีเชียงใหม่ไชยวิวัฒน์ซึ่งมีความรู้เรื่องข้าวแบบครบวงจรสนใจเรื่องนี้ เหมือนกัน จึงได้ร่วมมือกันเบิกทางข้าวอินทรีย์ในไทยเพื่อส่งออกสู่ตลาด โลก แต่เพราะยังเป็นเรื่องใหม่ จึงต้องมีการจัดตั้งทีมงานเพื่อเรียนรู้ กระบวนการใหม่ทงั้ หมด เนือ่ งจากเกษตรอินทรียเ์ ป็นระบบเกษตรกรรมที่ พึง่ พาปัจจัยภายนอกน้อยทีส่ ดุ ไม่ใช้สารเคมีหรือการดัดแปลงพันธุพ์ ชื ใดๆ จึงเข้ามาประสานงานกับเครือข่ายเกษตรกรทีใ่ นพืน้ ทีภ่ าคเหนือและจัดเก็บ ข้าว โดยเลือก “ทุง่ ลอ” พืน้ ทีร่ อยต่อระหว่างเชียงรายกับพะเยาให้เป็นผืนนา ข้าวหอมมะลิอินทรีย์พันธุ์ กข 5 และ 105 โดยมีทีมงานจากสถาบันวิจัย ข้าวเข้าไปให้ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์เพิ่มเติม รวมไปถึง นำ�ผลการศึกษาวิจยั เข้าไปใช้ในพืน้ ทีจ่ ริง จนกระทัง่ ทุง่ ลอกลายเป็นผืนนา ข้าวหอมมะลิ อิ น ทรี ย์ที่ ใ ห้ผ ลผลิตอย่า งต่อเนื่องได้ในที่สุด ส่ ง ผลให้ เกษตรกรและนักวิจัยเริ่มยอมรับในแนวคิดของแต่ละฝ่าย เชื่อมั่นในวิถี การเกษตรแบบธรรมชาติมากยิง่ ขึน้ “พอเราเข้าไปทำ�โครงการกับเกษตรกร ผลที่ได้คือเราเห็นว่าเกษตรกรรายได้ดีขึ้น สภาพแวดล้อมดีขึ้น มีความ ปลอดภัย ความรูส้ กึ ภูมใิ จก็กลับมาในวิถชี วี ติ ของเขา มันก็เป็นผลพลอยได้ ซึง่ ผมคิดว่านอกจากธุรกิจแล้ว ผลเชิงสังคม สิง่ แวดล้อมมันก็กลับมาด้วย” มาตรฐานคือหัวใจสำ�คัญของการส่งออก
การปลูกข้าวตามวิถเี กษตรอินทรียน์ นั้ ไม่ได้การันตีวา่ ผลผลิตทีไ่ ด้จะถูกต้อง ตามมาตรฐานการส่งออกเสมอไป หากปราศจากการตรวจสอบระบบ สายพานการผลิตทัง้ หมด ดังนัน้ เมือ่ ข้าวหอมมะลิอนิ ทรียถ์ กู ส่งไปยังโรงสี เพื่อจัดเก็บแล้ว จะต้องมีการตรวจสอบและบันทึกข้อมูลการสีข้าวเปลือก โดยละเอียดทุกครัง้ ก่อนบรรจุขา้ วในพลาสติกด้วยสุญญากาศเพือ่ ป้องกัน แมลงและรักษาความสดใหม่แทนวิธีการรมยา ส่วนผู้ซื้อในต่างประเทศก็ 22 l Creative Thailand l ธันวาคม 2556
จะต้องมีใบรับรองและระบุข้อกำ�หนดมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ อาทิ ใน ยุโรปจะต้องมีเอกสารยอมรับข้อตกลงไม่ใช้สารเคมีในพื้นที่ทำ�นาและใช้ เวลาในการปรับพืน้ ทีเ่ ป็นระยะเวลา 2 ปี เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการสร้าง ระบบตรวจสอบภายในขึน้ เพือ่ ให้ครอบครัวเกษตรกรสามารถพึง่ พาตนเอง และตรวจสอบคุณภาพผลผลิตของแต่ละกลุ่มได้ ทั้งนี้เพื่อสร้างความเข้ม แข็งให้กบั ระบบการทำ�งานและลดภาระทีไ่ ม่จ�ำ เป็น ผลลัพธ์กค็ อื เกษตรกร ปลูกข้าวได้สมํ่าเสมอ ทุกขั้นตอนมีประสิทธิภาพ และสินค้าเป็นที่ยอมรับ ในตลาดโลก ขณะที่ก็มีการจัดจำ�หน่ายในไทยในนามของแบรนด์ “เกรท ฮาร์เวสต์ (Great Harvest)” และ “ไท ไท (Tai Tai)” โดยมุ่งเน้นกลุ่ม เป้าหมายระดับบนซึง่ มีก�ำ ลังซือ้ และเข้าใจเรือ่ งเกษตรอินทรียเ์ ป็นหลัก ผ่าน ช่องทางโมเดิร์นเทรดที่มีโซนจำ�หน่ายสินค้าออร์แกนิกโดยเฉพาะ ทว่า ความสำ�เร็จเหล่านีไ้ ม่อาจเกิดขึน้ ถ้าไม่มกี ารสร้างห่วงโซ่ แม้จะใช้เวลานาน เกือบ 10 ปี กว่าทุกอย่างจะเข้าทีเ่ ข้าทาง แต่กถ็ อื เป็นการหยัง่ รากลึกทีค่ มุ้ ค่า ตลาดไทย ≠ ตลาดโลก
หลังจากทีข่ า้ วหอมมะลิอนิ ทรียท์ งั้ สองพันธุไ์ ด้เสียงตอบรับทีด่ ใี นตลาดต่าง ประเทศ ประกอบกับกระแสตืน่ ตัวของผู้บริโภคทั่วโลกที่ใส่ใจเรื่องสุขภาพ และสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น ในปี 2545 บริษัทนครหลวงค้าข้าวได้ปรับ เปลีย่ นโครงสร้างบริษทั ด้วยการจัดตัง้ บริษทั ท็อปออร์กานิกโปรดักส์แอนด์ ซัพพลายส์ จำ�กัด เพื่อดูแลและรองรับความต้องการสินค้าอินทรีย์ที่เพิ่ม ขึ้นทั้งในและต่างประเทศ เริ่มจากปลูกข้าวสายพันธุ์ใหม่ในจังหวัด พิษณุโลกเป็นครัง้ แรก อันได้แก่ ข้าวหอมนิลและข้าวสินเหล็ก รวมทัง้ แตก ไลน์ผลิตภัณฑ์อื่น เช่น เส้นหมี่ขาว ผัดไท ซอสปรุงรส นํ้าสลัด ซึ่งทำ�จาก ข้าวและผักผลไม้ออร์แกนิกทั้งสิ้น แม้กว่าร้อยละ 90 ของยอดการจำ�หน่ายข้าวอินทรีย์ทั้งหมดจะอยู่ที่ ตลาดต่างประเทศ แต่การสือ่ สารกับผูบ้ ริโภคในยุคนีท้ คี่ อ่ นข้างสะดวกและ เข้าถึงได้มากขึ้นเพราะคนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องเกษตรอินทรีย์แล้ว ก็นับเป็นสัญญาณการเติบโตที่ดีของตลาดออร์แกนิกในประเทศ “ผมคิด
CREATIVE ENTREPRENEUR คิด ทำ� กิน
ว่ามันเป็นกระแสทีด่ นี ะครับ และคิดว่าจะช่วยเสริมเกษตรกรเองทีเ่ ขาอยาก จะมีอิสระในการผลิต ถ้ามีตลาดที่อยากได้สินค้าแบบนี้มากขึ้น ก็จะช่วย ให้เกษตรกรที่เขาไม่อยากอยู่ในระบบที่เป็นอุตสาหกรรมสามารถมีตลาด จุนเจือได้ด้วย แต่ก็ต้องมีการจัดการ ไม่ใช่ว่าเกษตรกรจะสามารถทำ�ได้ คนเดียว มันต้องมีระบบมาพาไปสู่ผู้บริโภค” กู้วิกฤตจำ�นำ�ข้าว จากแนวทางเลือก สู่หนทางรอด
ในปี 2556 วงการข้าวไทยต้องเผชิญกับผลกระทบจากนโยบายจำ�นำ�ข้าว ของรัฐบาล ทำ�ให้จากเดิมทีน่ ครหลวงค้าข้าวเคยเป็นผูส้ ง่ ออกข้าวหอมมะลิ อันดับหนึง่ ของโลกต้องประสบกับปัญหาขาดทุน ถึงอย่างนัน้ ในทางกลับ กัน ข้าวอินทรีย์กลับไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เนื่องจากราคาของสินค้า เกษตรอินทรีย์ในตลาดมีความผันผวนน้อยกว่า และถึงแม้ว่ายอดส่งออก ของข้าวหอมมะลิอินทรีย์จะน้อยกว่าข้าวหอมมะลิทั่วไป แต่ก็เป็นไปได้ว่า เกษตรอินทรีย์อาจจะเป็นทางรอดของระบบเกษตรกรรมยุคใหม่ที่ส่งผล กระทบเชิงลบน้อยที่สุด “ผมว่าในระยะยาว นโยบายนี้จะทำ�ลายกลไกที่ ควรจะเป็นไปตามตลาดเยอะมาก ทำ�ให้ผู้ส่งออกอ่อนแอลง เพราะว่าเรา ไม่มีข้าวไปขายหรือว่าข้าวของเราแพงไป ผู้ซื้อไม่ค่อยไว้ใจ ตอนนี้เราก็
พยายามปรับตัวเรื่องเกษตรอินทรีย์มากขึ้น” วัลลภแสดงความคิดเห็นเพิ่ม เติม ก่อนพูดถึงเป้าหมายต่อไปของนครหลวงค้าข้าวที่มุ่งไปสู่การพัฒนา คุณภาพชีวิตของเกษตรกรในเครือข่ายทั้ง 220 ราย ซึ่งถือเป็นหัวใจสำ�คัญ ของการทำ�งาน เช่น ระบบการออมทรัพย์เพื่อลดปัญหาหนี้สินจากการกู้ นอกระบบ ควบคู่กับการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ ทั้งแนวทางการผลิตใหม่ๆ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดียิ่งขึ้น หรือแม้แต่การตรวจสอบและฟื้นฟูความอุดม สมบูรณ์ของดิน คำ�ตอบของคำ�ถามที่ว่า “หากเปรียบชาวนาเป็น ‘กระดูกสันหลังของชาติ’ แล้วนครหลวงค้าข้าวมองจุดยืนของตนเองว่าเป็นใคร” จึงเป็นการตอบที่ เปี่ยมด้วยความตั้งใจดีที่ว่า “เราคิดว่าจะทำ�อย่างไรให้กระดูกสันหลังของ ชาติแข็งแรงขึ้นในทิศทางที่เขาอยากจะไป ผมคิดว่างานที่เราทำ�ก็คือเรา ช่วยสนับสนุนเขา มันเป็นทางเลือกหนึ่งที่เขาสามารถที่จะทำ�แล้วอาจจะ เข้มแข็งขึ้นได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดีด้วย” ข้อมูลอ้างอิงเพิ่มเติม: หนังสือ การเดินทางของเมล็ดข้าว (2554) โดย รุ่งฤทธิ์ เพ็ชรรัตน์ ธันวาคม 2556
l
Creative Thailand
l 23
CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
พาราณสี จากสูงสุด . . .
สู่สามัญ เรื่อง: กมลกานต์ โกศลกาญจน์
"พาราณสีมคี วามเป็นมาก่อนประวัติศาสตร์ ก่อนประเพณี หรือ แม้แต่ก่อนตำ�นานใดๆ และทั้งหมดนี้ยังเป็นเพียงครึ่งเดียวของ ความเป็นจริงเมือ่ ได้สมั ผัสเห็นด้วยตัวเอง" คือประโยคของมาร์ก ทเวน (Mark Twain) นามปากกาของ ซามูเอล แลงฮอร์น คลี เมนส์ (Samuel Langhorne Clemens) นักเขียนชาวอเมริกัน ที่เขียนยกย่องถึงเมืองพาราณสีไว้ในหนังสือ Following the Equator: A Journey around the World ทีต่ พ ี มิ พ์ในปี 1897 จากความศรัทธาที่ผู้คนอุทิศให้เมืองที่เหมือนยังไม่ถูกปลุกจาก ฝันมานานกว่า 5,000 ปีแห่งนี้ ทั้งความเก่าแก่ของเมืองและ จิตวิญญาณของผู้อยู่อาศัยที่โปรยปรายไปทุกหัวระแหง เป็น ความศรัทธาอันแข็งแกร่งที่ทำ�ให้ปัจจัยแห่งความเปลี่ยนแปลง อย่างกระแสโลกาภิวัฒน์ไม่อาจแตะต้องความเป็นไปของเมืองได้ การเมินเฉยต่อความทันสมัยของประชากรในพืน้ ทีเ่ กือบสีล่ า้ นคน พร้อมๆ กับการประคับประคองเมืองจากแรงปะทะทีเ่ กิดจากความ แตกต่างของผู้อยู่เก่าและผู้มาเยือนใหม่ ทั้งความหลากหลาย ขั้ น พื้ น ฐานอย่ า งลั ก ษณะประชากร ศาสนา ภาษา ไปจนถึ ง ความหลากหลายจากฐานะทางเศรษฐกิจ ทีค่ วามหรูหราฟูฟ ่ า่ ของ ชนชั้นสูงอย่างแพทย์หรือพ่อค้า กับสภาพความเป็นอยู่ของ ชนชัน้ ล่างทีแ่ สนจำ�กัดจำ�เขีย่ นัน้ ห่างกันเพียงเส้นกัน้ บางๆ เท่านัน้
24 l
Creative Thailand
l ธันวาคม 2556
พาราณสีเคยเป็นเมืองหลวงแห่งแคว้นกาสี (Kashi) ทีม่ คี วามหมาย ว่า เมืองแห่งแสงสว่าง โดยปรัชญาของชาวฮินดูเปรียบแสงสว่าง กับปัญญาอันชาญฉลาดทีจ่ ะขับไล่ความขลาดเขลาของมนุษย์ รวม ไปถึงบาปและความชั่วร้าย ซึ่งขจัดได้ด้วยความเชื่อที่ผู้คนมีต่อ ศาสนาของตนเอง GANGES RIVER OVERFLOWING WITH FAITH
ชาวพาราณสีผูกพันกับแม่นํ้าคงคาอย่างเป็นหนึ่งเดียว ไม่ว่าชีวิตจะก้าว ผ่านนาทีแห่งความสำ�คัญอย่างการเกิดหรือการตายก็ตาม พิธีกรรมทาง ศาสนาของชาวฮินดูจะนำ�พาทุกคนมารวมตัวกันที่ท่านํ้า (Ghats) กว่า 100 ท่าที่เรียงรายขนานไปกับแม่นํ้าคงคา เพื่อทำ�กิจวัตรต่างๆ ทั้งการ อาบนํ้า ซักเสื้อผ้า สวดมนต์ หรือจัดพิธีกรรมเผาศพ เหล่านักบวชจะมา ร่วมกันร้องเพลงประกอบพิธีกรรมด้วยความศรัทธา โดยทิศทางการไหล ของแม่นํ้าคงคาจากทิศใต้ไปทิศเหนือนั้นอาจเปรียบเทียบได้กับความเป็น ไปของชีวติ กล่าวคือ จากความตาย (เทพยมะ - เทพทีค่ อยควบคุมผูท้ เี่ สีย ชีวิต) สู่ชีวิตใหม่หรือการเกิดใหม่ (เทพศิวะ - เทพแห่งความดีและความ อุดมสมบูรณ์) นั่นเอง ท่านํ้าริมแม่นํ้าคงคายังเป็นศูนย์กลางแห่งความเชื่อเรื่องความเป็น อิสระจากการยึดติดทางร่างกาย และการนำ�พาจิตใจไปสู่สภาวะที่อยู่
© flickr/lylevincent
เหนือความเข้าใจใดๆ ของมนุษย์ ดังสุภาษิตสันสกฤตที่กล่าวไว้ว่า “การ ตายในแม่นํ้าคงคาจะเป็นการปลดปล่อยดวงวิญญาณจากวัฏสงสาร” ดัง นั้นพิธีกรรมการเผาศพที่เรียบง่ายผ่านกองฟืนจึงเกิดขึ้นเป็นประจำ�ที่ ริมนํ้าแห่งนี้ สำ�หรับไม้จันทน์จะถูกใช้เป็นเชื้อเพลิงในการเผาร่างไร้ ลมหายใจของผูท้ มี่ ฐี านะ แต่ส�ำ หรับชนชัน้ ล่างจะเป็นเพียงไม้สะเดาหรือไม้ มะม่วงราคาถูกทีท่ �ำ หน้าทีเ่ ป็นพาหนะชิน้ สุดท้ายในการขนส่งดวงวิญญาณ เข้าสูโ่ ลกใหม่ และบ่อยครัง้ ทีร่ า่ งซึง่ ยังไม่มอดไหม้เป็นผงธุลจี นหมด จะถูก กวาดลงแม่นํ้า เพื่อรอให้วันเวลาทำ�หน้าที่ย่อยสลายตามธรรมชาติต่อไป
© flickr/lylevincent
© flickr/eviltomthai
CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
CHECK-IN TO DIE
ไม่มพี นักงานยกกระเป๋า ไม่มบี ริการอาหารเช้า มีแต่นกั บวช 4 รูป เตรียมพร้อมสวดส่งวิญญาณให้ไปสูส่ คุ ติส�ำ หรับผูเ้ ข้าพักในโรงแรม มุกติ ภาวัน (Mukti Bhawan) ริมแม่นํ้าคงคา ที่มีจุดหมายเพื่อ เตรียมตัวเดินทางสู่โลกแห่งความตาย และมาด้วยความหวังที่จะ หมดลมหายใจในพื้นที่ที่ร่างจะถูกเผาและโปรยเถ้ากระดูกลงสู่ แม่นาํ้ ศักดิส์ ทิ ธิ์ โดยแต่ละคนมีระยะเวลาเข้าพักไม่เกิน 15 วัน ถ้า เกินกว่านัน้ จะต้องเปิดโอกาสให้ผทู้ พี่ ร้อมกว่าเข้าพักแทน โรงแรม แห่งนี้ต้อนรับผู้มาเข้าพักและจบชีวิตลงอย่างสงบราว 30-70 คน ต่อเดือน และไม่เรียกเก็บค่าใช้จ่ายสำ�หรับครอบครัวที่ยากจน เนื่องจากครอบครัวที่มีฐานะจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายส่วน ของฟืนเผาและค่าอาหารผ่านการบริจาค อันเป็นหลักปฏิบัติของ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ที่มา: independent.co.uk ธันวาคม 2556
l
Creative Thailand
l 25
© flickr/lylevincent
CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
© flickr/Muleonor
แม้ความสัมพันธ์ของชาวเมืองพาราณสีจะผูกพันแน่นแฟ้นกับแม่นํ้า ศักดิส์ ทิ ธิต์ ลอดช่วงชีวติ แต่ขอ้ มูลอีกด้านกลับพบว่า เฉพาะเมืองพาราณสี เมืองเดียวก็พบของเสียและสิง่ ปฏิกลู ทีถ่ กู ปล่อยมาจากทัง้ โรงฟอกหนัง โรง กลั่นสุรา โรงงานผลิตนํ้าตาลและกระดาษ จำ�นวนมากถึง 200 ล้านลิตร ต่อวัน ส่งผลให้แม่นํ้าคงคาติดอันดับ 1 ใน 5 แม่นํ้าที่เป็นมลพิษมากที่สุด ในโลก นายกรัฐมนตรีราชีพ คานธี (Rajiv Gandhi) จึงได้ออกประกาศ แผนปฏิบัติการแม่นํ้าคงคา (Ganga Action Plan) ขึ้นในปี 1986 เพื่อ ลดมลภาวะความเป็นพิษทีเ่ กิดขึน้ ในแม่นาํ้ คงคาบนพืน้ ฐานความต้องการ ด้านการรักษาสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัยที่ดีของคนในพื้นที่ แม้จะใช้จ่าย งบประมาณไปมากถึง 9,017 ล้านรูปี สำ�หรับการดำ�เนินงานในระยะ ที่ 1 และ 2 ในระยะเวลากว่า 27 ปีแล้ว แต่ก็ดูเหมือนว่ารัฐบาลอินเดีย ยังคงต้องการระยะเวลาและความร่วมมือที่มากขึ้นอีก เพราะจนถึงใน ขณะนี้ โครงการยังดำ�เนินงานไปได้เพียงแค่ 12 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น โดยได้ ออกมาประกาศว่าจะสามารถลดมลพิษในแม่นํ้าคงคาได้อย่างสมบูรณ์ใน ปี 2020 ผ่านการร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆ เพิ่มเติม อาทิ องค์กรความ ร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) หรือคณะกรรมการดูแลลุ่มนํ้า คงคาแห่งชาติ (The National Ganga River Basin Authority) เป็นต้น
26 l
Creative Thailand
l ธันวาคม 2556
THE LAND OF A MILLION GODS
ทุกวันนี้พาราณสีถือเป็นเมืองที่มีความหลากหลายทางศาสนา และเป็น เมืองแห่งศาสนาดั้งเดิมของโลกถึงสามศาสนา ทั้งฮินดู พุทธ และเชน ไม่ ว่าจะเป็นการประกาศธัมมจักกัปปวัตนสูตรครั้งแรกของพระพุทธเจ้าใน ดินแดนแห่งนี้ จนถึงการเป็นศูนย์กลางเมืองศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาฮินดู เพราะเป็นที่ตั้งวัดวิศวนาถ ซึ่งถือว่าเป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดของอินเดีย ประเพณีที่สำ�คัญของศาสนาฮินดูจึงเกิดขึ้นมากที่สุดที่ในเมืองพาราณสี แห่งนี้ ด้วยจำ�นวนวัดฮินดูกว่า 3,000 แห่ง ศาลเจ้าและมัสยิดอิสลาม 1,400 แห่ง โบสถ์คริสต์ 24 แห่ง วัดพุทธ 9 แห่ง วัดเชน 3 แห่ง และวัด ซิกข์อีก 3 แห่ง จึงเป็นตัวเลขที่บ่งชี้ความหลากหลายของศาสนาในพื้นที่ แห่งการจาริกแสวงบุญของทั้งชาวฮินดูและอีกหลากหลายศาสนาจาก ทั่วโลก จนเกิดเป็นช่องว่างทางธุรกิจให้กับอุตสาหกรรมการคมนาคม อย่างรถไฟ “สายด่วนมหาปรินิพพาน (The Mahaparinirvan Express)” ที่ดำ�เนินงานโดยการรถไฟแห่งอินเดีย โดยการจัดขบวนรถไฟสายทาง บุญ รองรับผู้คนจากทั่วโลกด้วยความสะดวกสบาย เป็นการท่องเที่ยวที่ แตกต่างจากการเดินทางด้วยรถไฟระดับหรูอย่างพาเลซ ออน วีลส์ (Palace on Wheels) ด้วยรถไฟสายมหาปรินิพพานนี้เดินทางเพื่อจาริก แสวงบุญโดยเฉพาะ พาชมสถานที่สำ�คัญทางศาสนาเท่านั้น ผู้โดยสารจะ ได้รบั การต้อนรับด้วยพวงมาลัย และได้รบั ของทีร่ ะลึกเป็นหนังสือสวดมนต์ มีพนักงานดูแลสัมภาระและความปลอดภัยตลอดการเดินทาง รถไฟจะ เริ่มต้นการเดินทางจากกรุงเดลี ผ่านเมืองคยา เพื่อเยี่ยมชมวัดพุทธคยา ผ่านเมืองพาราณสี เยือนสารนาท พุทธสังเวชนียสถานแห่งที่ 3 ไปจนถึง โคราฆปุระ สิ้นสุดที่เมืองอัคระ และเยี่ยมชมมรดกโลกอย่างฟาเตห์ปูร์ สีกรี ค่าใช้จา่ ยสำ�หรับผูโ้ ดยสารชัน้ หนึง่ อยูท่ ปี่ ระมาณ 1,270 เหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 38,100 บาท) ต่อระยะเวลา 8 วัน 7 คืน
© flickr/Bindaas Madhavi
CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
© flickr/peevee@ds
เมืองชั้นนำ�ของโลกในการนำ�เข้า ทั้งนิวยอร์ก ลอนดอน ซูริก ลักเซม เบิร์ก และปารีส แต่ไม่ว่าส่าหรีจากดินแดนนี้จะถูกส่งออกไปถึงเมืองอื่นไกลถึงเพียง ไหน พาราณสีก็ยังคำ�นึงถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นสำ�คัญ คณะผู้วิจัยจาก สถาบันเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยบาณาราฮินดู (Institute of Technology of the Benaras Hindu University) ได้พฒั นาสียอ้ มผ้าส่าหรีจากธรรมชาติ แทนที่การใช้สีสังเคราะห์อย่างเช่นในอดีต เพื่อรองรับต่ออุตสาหกรรม การผลิตผ้าส่าหรีทขี่ ยายตัวอย่างต่อเนือ่ ง โดยไม่สร้างผลกระทบระยะยาว ให้กบั สิง่ แวดล้อม สูก่ ารกลับไปหาต้นทุนสียอ้ มจากธรรมชาติอย่างดอกไม้ นานาพันธุ์ เช่น ทองกวาว ดาวเรือง ทับทิม และอาเคเชีย
COLORS OF SAREE
คงไม่ใช่แค่เพียงพิธีกรรมและวิถีชีวิตริมแม่นํ้าคงคาหรือสถานที่สำ�คัญ ทางศาสนาเท่านั้นที่ดึงดูดให้ผู้คนจากทั่วโลกหาโอกาสเพื่อให้ได้มาสัมผัส พาราณสีสักครั้งในชีวิต แต่ความงดงามของศิลปะและวัฒนธรรมของ พาราณสียังมีความเป็นเอกลักษณ์ด้วยเช่นกัน ระยะเวลายาวนานหลาย ศตวรรษที่พาราณสีสั่งสมทักษะงานฝีมือผลิตผลงานศิลปะชั้นเลิศ และ สะสมชือ่ เสียงจากความงดงามของการทอผ้าส่าหรีทปี่ ระณีตแบบหาทีไ่ หน ไม่ได้ในโลก แรงงานของคนในเมืองพาราณสีร้อยละ 51 มีรายได้เลี้ยงชีพ ด้วยการทำ�งานในอุตสาหกรรมทอผ้า ซึ่งมีการเตรียมความพร้อมทั้งด้าน บุคลากรในการผลิต และพัฒนาทักษะการออกแบบเพื่อแข่งขันในสนาม การส่งออกเดียวกันกับจีน ผ้าส่าหรีจากพาราณสีจึงได้รับการยอมรับจาก
สิ่งสำ�คัญที่คนในเมืองต่างมีให้กับพาราณสีคือการรักษาความสัมพันธ์ที่มี ต่อมรดกเก่าแก่ที่ถูกสืบทอด ผ่านทางพิธีกรรม เทศกาล และการใช้ชีวิต นับเป็นความสัมพันธ์ทเี่ กีย่ วกระหวัดอยูก่ บั ชีวติ ของผูค้ นอย่างไม่ถกู ละเลย ให้หล่นหายตามเวลา ภาพความเคลื่อนไหวในแต่ละวันของพาราณสีจึง เป็นภาพจำ�ที่คุ้นเคยไม่ต่างกับสิบหรือร้อยปีที่ผ่านมา ไม่ว่าผู้มาเยือนจะ เผชิญหน้ากับที่นี่เป็นครั้งแรก หรือเป็นการกลับมาในอีกหลายครั้งให้หลัง วัฏจักรเกิด แก่ เจ็บ ตายที่ปรากฏตรงหน้าก็สะกิดให้รับรู้ถึงความหมาย ของชีวิต ที่อาจทำ�ให้รู้จักการปล่อยวาง และเข้าใจความหมายของการ มีอยู่อย่างแท้จริง ที่มา: expressindia.indianexpress.com independent.co.uk indiamarks.com reuters.com timesofindia.indiatimes.com วิกิพีเดีย
ธันวาคม 2556
l
Creative Thailand
l 27
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
จุปลูลกพร นั น ทพานิ ช ป่า ปลูกความคิด เรื่อง: ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ ภาพ: อดิเดช ชัยวัฒนกุล
จุลพร นันทพานิช สถาปนิกและอาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้เชื่อมั่นในการอยู่ร่วมกันของมนุษย์กับธรรมชาติ การเรียนการสอนที่ผลักดันให้นักศึกษา เรียนรูจ้ ากประสบการณ์จริง และการเลือกใช้ชวี ติ แบบเรียบง่ายในบ้านไม้หลังเล็กๆ บนพืน้ ที่ สามไร่ในอำ�เภอแม่ทา จังหวัดลำ�พูน ทีม่ ที งั้ นาข้าว สวนผัก ไม้ยนื ต้น และไม้ผล ซึง่ เจ้าตัวลงมือ สร้างและปลูกด้วยตนเอง นำ�มาซึง่ บทบาทใหม่ทที่ �ำ มาเป็นเวลาสีป่ ใี นฐานะ “ทีป่ รึกษาปลูกป่า” ซึ่งทำ�หน้าที่ให้คำ�แนะนำ�คนยุคใหม่ที่ใฝ่หาการกลับคืนสู่วิถีธรรมชาติ ตั้งแต่เรื่องปลูกต้นไม้ ปลูกบ้าน ไปจนถึงปลูกความคิด เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตร่วมกับธรรมชาติได้อย่างกลมกลืน และ “ผาสุก” บนพื้นฐานของความเข้าใจที่ถูกต้อง โดยหนึ่งในผู้ที่มาขอคำ�ปรึกษาจากเขาก็ คือ ธนญชัย ศรศรีวิชัย ผู้กำ�กับโฆษณามือรางวัลระดับโลก เจ้าของพื้นที่ในซอยอ่อนนุช 51 ทีว่ นั นีเ้ รามีโอกาสได้เข้ามาเยีย่ มชมความคืบหน้าของโครงการปลูกป่าภายใต้ความดูแลของ จุลพร ทำ�ไมคนยุคนี้จึงอยากหันกลับมาใช้ชีวิตแบบใกล้ชิดธรรมชาติกันมากขึ้น
อย่างเคสพี่ต่อ (ธนญชัย ศรศรีวิชัย) ก็จะชัดเจน คือพี่ต่อทำ�งานหนัก เป็นคนทำ�งานโฆษณาที่มีชื่อเสียง แต่เขาก็บอกว่าไม่สนใจชีวิตเหล่านั้น เขาสนใจ ว่าความมั่นคงของชีวิตมันคืออะไร ก็เลยมาคุยกับผม เขาอยากจะมีพื้นที่ที่มีข้าวกินมีปลากิน ไม่ต้องซื้ออะไร พึ่งตนเองได้ คือถ้าพึ่งตนเองได้ก็จะรู้สึก ลึกๆ ว่ามันมั่นคง อย่างผมเองก็รู้สึกว่ามั่นคงกว่าคนทั่วๆ ไป แต่ด้วยความที่ผมใช้ชีวิตแบบนี้อยู่แล้ว ก็เลยไม่ต้องปรับตัวมากเหมือนคนอื่นๆ แล้วยิ่ง เป็นสถาปนิกเราก็รู้จักจัดการเรื่องสภาพแวดล้อมกายภาพ ผมรู้เรื่องต้นไม้เยอะ เพาะปลูกเป็น ก็เอาความรู้เหล่านี้มาประมวลกันแล้วก็แนะนำ�คนอื่นๆ ที่เข้ามาขอคำ�ปรึกษา ทำ�ไมต้องมีที่ปรึกษาปลูกป่า ถ้าไม่มีความรู้เลยแต่อยากจะปลูกต้นไม้ได้ไหม
ก็ต้องมีความรู้บ้าง มันไม่ได้ยากเย็นอะไร จะรู้เรื่องต้นไม้มันง่ายกว่าไปเซเว่นอีกถ้าคิดจะรู้ ใครจะปลูกก็ต้องใฝ่หาความรู้ก่อนว่าพันธุ์ไม้ท้องถิ่นคืออะไร ถามแท็กซี่ก็ได้ ผมก็ถามบ่อย ทุกคนเป็นอาจารย์ผมหมด คนงานผม ผมก็ยังต้องถามเขา ได้ข้อมูลแล้วก็เอาไปเทียบกับข้อมูลเชิงสากลเอา เราต้อง เรียนรู้ตลอดเวลา ไม่จำ�เป็นว่าต้องเรียนจากวิชาการอะไร วิธีให้คำ�ปรึกษาของผมก็จะเป็นธรรมชาติ จริงๆ เขาก็ให้เงินนั่นแหละ เป็นค่าออกแบบ แต่ผมมองมากกว่าการออกแบบ การให้คำ�ปรึกษาของผม คือให้คุณไปคิดแล้วทำ�เองต่อ ผมจะเน้นที่การปลุกเร้ามากกว่า จะแนะนำ�เขาว่า เฮ้ย ได้ ไม่ยากหรอก แนะนำ�ให้เกิดกำ�ลังใจ ให้ลงมือทำ� ให้เกิดการ เรียนรูเ้ อง ทีนเ้ี ขาก็เบิกบานแล้ว เมือ่ ฉันทะเกิด วิรยิ ะก็เกิดตาม อย่างพีต่ อ่ นีต่ อนแรกผมก็ เฮ้ยต่อขุดดินเลยต่อ ตอนหลังเขาก็ เฮ้ยจริงว่ะ ขุดดินมันว่ะพี่ อยากขุดดินไม่อยากอยู่คอนโดแล้ว สนุก เหงื่อออกเยอะ ตัวเบา นอนดี หลับสบาย กินเยอะ แข็งแรง แล้วก็มีแก่นสาร เสียแรงไปก็ได้ผลผลิต ถ้าเสีย แรงในฟิตเนสมันไม่ได้ผลผลิต คืออาจารย์อยู่กับธรรมชาติมาตั้งแต่เด็กๆ
ใช่ แต่ผมโตในตลาดเจริญพาศน์ฝั่งธนฯ เลยนะ แต่ว่าตอนเด็กๆ ผมต้องไปอยู่ใต้ โตมาเป็นวัยรุ่นก็ไปหาประสบการณ์ ออกค่ายที่อีสาน โชคดีที่ตอน เล็กๆ อยู่กับชนบท เลยมีพื้นฐานอยู่แล้ว แล้วก็ชอบปลูกต้นไม้ ก็ฝึกฝนมาตลอด คือถ้าสนใจอะไรเราก็จะมีความรู้พอกพูนเรื่อยๆ แล้วผมก็สนใจแบบ 28 l Creative Thailand l ธันวาคม 2556
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
"
อย่างอยู่อ่อนนุชนี่ก็ปลูกเป็นป่ายางนา รอบๆ คลุมไว้กันเสียงไปเลย แถวนี้กำ�ลัง จะมีคอนโดด้วย สูงประมาณ 20 กว่า เมตร ที่ปลูกยางนาก็เพราะว่ามันสูง 40 เมตร เป็นพรรณไม้ที่สูงที่สุดในสังคมพืช ใช้เวลาสิบปีก็เห็นแล้ว แต่ถ้าให้เห็นสูง ใหญ่ยกั ษ์กค็ งต้องร้อยปี เราอาจจะไม่ทนั ได้เห็นก็ไม่เป็นไร เพราะมันจะเป็นมรดก ของสังคมให้ลูกหลาน
"
หัวปักหัวปำ�เสียด้วย ผมสนใจเรื่องเพาะปลูก ต้นไม้ ธรรมชาติ สะสมความรู้มาเรื่อย ทั้งๆ ที่ไม่ได้จบมาทางสายวิทยาศาสตร์ แล้วพอได้ทดลองทำ� เห็น ผลสำ�เร็จ ก็เลยคิดว่าต้นไม้น่ะปลูกไปเถอะเพราะว่าเราเคยผ่านมาแล้ว กระบวนการทำ�งานเป็นที่ปรึกษาปลูกป่าเป็นอย่างไร
อย่างที่ตรงนี้ผมเริ่มทำ�ตั้งแต่ช่วงต้นปี แต่ผ่านกระบวนการออกแบบมาตั้งแต่ปีที่แล้ว เริ่มจากการเข้ามาดูพื้นที่ก่อน แล้วก็เข้ามาปรับ มาถมทำ�ทางเดิน แก้ปัญหาเรื่องนํ้าเข้านํ้าออก จัดการเรื่องการระบายนํ้าผิวดิน เรื่องคูนํ้าที่ให้ความชุ่มชื่นของที่ดินทั้งหมด หลังจากนั้นก็มาสำ�รวจความลาดเท ขุดลำ� เหมือง ทำ�ทางเดินเพื่อควบคุมการระบายนํ้า แล้วค่อยวางผังว่าส่วนไหนจะเป็นนาข้าว ป่าไม้ ไม้ผล ซึ่งก็ต้องสัมพันธ์กับการใช้สอยด้วย นอกจากนี้ก็มี มิติเรื่องมุมมอง มิติเชิงนิเวศวิทยา มิติเรื่องสุนทรียภาพด้วย จัดวางให้ตรงกับการใช้สอยและมุมมองทางสายตา อย่างอยู่อ่อนนุชนี่ก็ปลูกเป็นป่ายางนา รอบๆ คลุมไว้กันเสียงไปเลย แถวนี้กำ�ลังจะมีคอนโดด้วย สูงประมาณ 20 กว่าเมตร ที่ปลูกยางนาก็เพราะว่ามันสูง 40 เมตร เป็นพรรณไม้ที่สูงที่สุดใน สังคมพืช ใช้เวลาสิบปีก็เห็นแล้ว แต่ถ้าให้เห็นสูงใหญ่ยักษ์ก็คงต้องร้อยปี เราอาจจะไม่ทันได้เห็นก็ไม่เป็นไร เพราะมันจะเป็นมรดกของสังคมให้ลูก หลาน พื้นที่ตรงนี้ประมาณเจ็ดไร่ พี่ต่อเขาก็วางแผนจะซื้อที่เพิ่มอีกเพื่อให้เป็นปอดของคนเมือง ตั้งใจว่าจะให้เป็นพื้นที่เปิด ใครอยากมาช่วยทำ�สวนก็ มาได้เลย มีจอบมีเสียมเตรียมไว้ให้พร้อม ตอนนี้เริ่มปลูกต้นไม้ยืนต้นบางอย่างที่เป็นไม้ป่าไปบ้างแล้ว ที่ตรงนี้มันก็จะพึ่งพากันเอง ไม่เป็นภาระให้เราต้องไปดูแล หญ้าเราก็ไม่ตัด มีหลาย ต้นในนี้ที่เรียกแมลงมา แล้วนกก็จะมากินแมลง บางต้นมีพื้นผิวที่สากเดี๋ยวหิ่งห้อยก็จะมาอยู่ วันก่อนผมมานอนกบเขียดร้องกันระงมเลย คือระบบ นิเวศมันเริ่มจัดการของมันเองแล้ว เราก็แค่ไปเริ่มต้นวงจรให้มันเท่านั้น เราจะได้ยินเสียงของธรรมชาติ เสียงนกร้อง ทั้งๆ ที่อยู่ริมถนน นอกจากนี้ เรา ยังต้องไปศึกษาในเชิงมหภาค เก็บข้อมูลภาคสนาม เดี๋ยวต้องไปพายเรือกับพี่ต่อจากตรงนี้ไปออกแม่นํ้าบางปะกงโน่นเลย เพื่อดูภูมิประเทศโบราณ ถ้ามันยังมีเหลืออยู่ ถ้าขับรถไปมันยาก ก็เลยว่าจะพายเรือกันไปสามวัน นอนตามวัดระหว่างทาง เพราะมันอาจมีข้อมูลบางอย่างที่เรายังไม่เห็นไม่รู้ แล้วมันก็สนุกด้วย ธันวาคม 2556 l Creative Thailand l 29
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
ก่อนหน้านี้ที่ตรงนี้เคยเป็นอะไรมาก่อน
เดิมทีเป็นสวนของคนมีเงิน ปลูกต้นอโศกอินเดีย พันธุ์ไม้ต่างถิ่นเยอะ ผม ก็ฟันทิ้งไปเยอะ อย่างต้นปาล์มนี่ผมฟันทิ้งเกือบหมด เพราะมันไม่มี ประโยชน์ไม่รจู้ ะเอาไว้ท�ำ ไม ก็หวังว่าทีแ่ ปลงนีจ้ ะเป็นแบบอย่างให้คนมีเงิน ในสังคมไทยเรื่องการจัดการสภาพแวดล้อม เพราะหลายคนไปซื้อที่ดินที่ มีต้นไม้ท้องถิ่นสวยๆ แล้วก็ไถทิ้งก่อนเลย ให้เป็นที่โล่งๆ เตียนๆ เพราะ เขาว่ามันสวย แล้วก็ต้องไปสั่งไม้ขุดล้อมมาปัก ทั้งที่ก่อนหน้านี้มันมีไม้ ท้องถิ่นอยู่ การที่คุณจะเอาพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพและ พืชพันธุส์ งู มาไถทิง้ แล้วทำ�เป็นภูมปิ ระเทศแบบเมดิเตอร์เรเนียน แบบโพรวองซ์ หรืออะไรที่เป็นพื้นที่แล้งๆ ในฝรั่งเศสน่ะมันน่าสมเพชนะ คือที่ที่มี ความหลากหลายทางชีวภาพคุณไม่เอา คุณไปทำ�เป็นที่แล้งๆ แบบยุโรป การทำ�แบบนัน้ มันอาจจะดูมรี สนิยม แต่มนั คือความเบาปัญญา ทุกคนคิด ว่ามันเป็นวิธีที่ถูกต้อง แต่จริงๆ แล้วมันเป็นวิธีที่รุนแรงกับธรรมชาติมาก อยากจะฝากถึงคนมีเงินและคนมีความรูใ้ นบ้านเมืองเราให้ลองทบทวนดีๆ สำ�หรับผมทำ�อย่างนั้นมันไม่เหมาะ แล้วถ้าเขามองว่าพันธุ์ไม้พื้นถิ่นมันเชยล่ะ
มันไม่เชยหรอก มันจะเชยได้ยังไงในเมื่อเราใช้ตัวชี้วัดทางนิเวศวิทยา ยูเนสโกเองก็ประกาศแล้วว่าคุณควรจะคุ้มครองภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรม ของคุณ ไม่ใช่เที่ยวทำ�ลายทิ้ง ภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรมคืออะไร
คือสภาพแวดล้อมที่เป็นแบบท้องถิ่น มีพันธุ์พืชท้องถิ่นอย่างมะพร้าว หมากสง มะม่วง ชมพู่ มีไม้ไผ่ที่มีประโยชน์ในการกินการใช้ แต่ทุกวันนี้ บ้านญาติพี่น้องใครมีแบบนี้กลับอายว่ามันเป็นบ้านนอก คนมาทำ�งาน กรุงเทพฯ ผูกไท ถามว่าบ้านอยู่ไหนก็อึกอัก ซักไปซักมาถึงรู้ว่าบ้านอยู่ บุรีรัมย์ จะไปอายทำ�ไม ผมก็บอกเขาว่าคุณน่ะควรจะภูมิใจในความเป็น คนบุรีรัมย์ของคุณนะ เพราะตอนที่บรรพบุรุษคุณทำ�ปราสาทหิน คน กรุงเทพฯ ยังเป็นพวกป่าเถือ่ นอยูเ่ ลย ระบบคิดทีว่ า่ คนกรุงเทพฯ เหนือกว่า นี่ผมว่ามันไม่ใช่ จริงๆ แล้วเราด้อยกว่าทุกเรื่อง นํ้าท่วมมานี่ช่วยตัวเอง ไม่ได้ ทุกคนหนีหมด คุณว่านี่มันเหนือกว่ายังไงล่ะ การพึ่งตนเองนี่แทบ จะเป็นศูนย์เลยมันจะเหนือเขาไปได้ยังไง เหนือกว่าก็แค่อยู่ใกล้ข้อมูล ปลอมๆ มากกว่าคนอืน่ เท่านัน้ เอง ผมคิดว่าใครทีม่ พี นื้ ฐานมีก�ำ พืดอยูต่ า่ ง จังหวัดควรจะมีความรู้สึกภาคภูมิใจ การที่อยู่อีสานแต่สอนลูกไม่ให้พูด อีสาน อยู่เหนือไม่ให้พูดเหนือ อยู่ใต้ไม่ให้พูดใต้นี่อย่าทำ�นะ มันเป็นเรื่อง แย่มาก ผมอยากให้เรามีค่านิยมที่เห็นข้อดีของสังคมตัวเอง ผมว่าตอนนี้สังคมไทยมันเป๋ๆ นะ เขาใหญ่ก็กลายเป็นเมืองแบบ คาวบอย สภาพแวดล้อมเป็นตะวันตกปลอมๆ แต่หน้าเราก็ยังเดิมๆ ใน ขณะที่จิม ทอมป์สัน พยายามอนุรักษ์เรือนท้องถิ่นอีสานไว้ ที่ปากช่องคน ไทยกลับรื้อเรือนอีสานออกทำ�เป็นอิตาลี คนไทยไม่อยากเป็นไทย เพราะ สังคมส่วนใหญ่กำ�ลังบอกว่ามันไม่เท่ เท่ต้องเป็นแบบคนกรุงเทพฯ 30 l Creative Thailand l ธันวาคม 2556
แล้วการที่เอาอะไรที่ไม่ใช่ของเมืองเรามาลงมันมีผลอย่างไรบ้าง
มีผลอยู่แล้ว อย่างถ้าคุณเลี้ยงเซ็นต์เบอร์นาร์ดในกรุงเทพฯ มันก็ทรมาน เพราะอากาศบ้านเราร้อนมาก คนเลีย้ งก็ล�ำ บากต้องไปติดแอร์ ลำ�บากกัน ไปหมด แต่ต้นไม้มันยิ่งกว่านั้นอีก เซ็นต์เบอร์นาร์ดเดี๋ยวมันก็ตาย แต่คุณ ตัดต้นไม้หมดเท่ากับคุณทำ�ลายระบบนิเวศท้องถิน่ ไป แล้วก็ไปสร้างระบบ นิเวศขำ�ๆ ขึน้ มา บางโรงเรียนก็เอาปาล์มต่างประเทศซึง่ มันไม่เหมาะมาลง จริงๆ เรามีต้นไม้พื้นถิ่นดีๆ อีกเยอะ ชุมแสง พันจำ� โมกมัน โมกหลวง พวกนีด้ หี มดเลย เป็นต้นไม้ทมี่ กี ลิน่ หอมอ่อนๆ ต้นไม้ในป่าเขตร้อนก็มตี งั้ เยอะแยะ มันจะเป็นระบบนิเวศที่จะส่งต่อถึงลูกหลานเรา แต่คนรุ่นเราไป ทำ�ลายทิ้งเยอะ ถ้าให้เปรียบเทียบตึกคอนกรีตกับเรือนไม้
เรือนไม้มันร่มเย็นกว่า ผิวสัมผัสของมือเรากับไม้มันดีกว่านะ ผมอยู่ตึก คอนกรีตไม่ได้ ไม่มคี วามสุข อยูแ่ ล้วอึดอัด มันมิดชิดเกินไป ระบายความ ร้อนไม่ดี จริงๆ ถ้าสร้างตึกคอนกรีตให้โปร่งตอบรับกับภูมอิ ากาศเขตร้อน ก็ดีนะ แต่เราไม่ค่อยทำ�กันเพราะเราก็ไปก็อปบ้านแบบตะวันตกมา บางคนอยากจะติดแอร์ ถ้าทนร้อนไม่ไหวก็ติดไป แต่ถ้าไม่ติดได้ก็ดี กว่า ข้อแรกง่ายๆ เลยคือเปลืองไฟ เรื่องร้อนนี่เราปรับตัวได้ตามสภาพ แวดล้อมรอบๆ อยู่แล้ว การเปิดแอร์คือคุณเอาความเย็นใส่ตัวคุณ เอา ความร้อนใส่คนอื่น คอมเพรสเซอร์เป่าความร้อนใส่เพื่อนบ้าน ลึกๆ แล้ว มันเห็นแก่ตัวนะ ถึงจะเป็นบ้านประหยัดพลังงานก็ต้องคำ�นวณเยอะ กว่า จะประหยัดพลังงานได้หมดไปสีล่ า้ น คุณกางมุง้ อยูน่ แี่ หละไม่ตอ้ งคิดอะไร เยอะ ปลูกต้นไม้เอา ใช้แป้งตรางูทาก่อนนอน จบแล้ว ไม่ต้องคำ�นวณ อะไรยากๆ หรือลงทุนมโหฬาร ผมไม่เคยมีคำ�ว่าลดโลกร้อนอยู่ในหัวเลย มีแค่ว่าต้องประหยัด พวกลดโลกร้อนถุงผ้าลองไปดูสิ ที่บ้านแอร์สี่ห้าตัว ทั้งนั้น อย่างพีต่ อ่ เองตอนนีเ้ ขาก็ใช้ชวี ติ กลางแจ้ง คือผมมีโจทย์หนึง่ ว่าไม่ให้ พี่ต่อติดแอร์นะ ทีนี้จะปรับตัวยังไง ก็ต้องลองไปอยู่กลางแจ้ง พี่ต่อเขามี ข้อดีที่มีความมุ่งมั่น เสาร์อาทิตย์นี่เดินวันละ 14-15 กิโล เขาก็จะบอก สิ่งที่เขาเห็นว่าร่างกายมันปรับตัวกับภูมิอากาศธรรมชาติได้ ไม่ร้อน แล้ว ก็เริ่มอึดอัดที่จะอยู่ในห้องแอร์ คือทุกคนน่ะฝึกได้หมด เพียงแต่ว่าจะลอง ฝึกหรือเปล่า ธรรมชาติมนุษย์ถ้าอยู่ในห้องแอร์แล้วก็จะติดสบาย แต่มัน ไม่ดี เหงื่อไม่ออกมันไม่ดีอยู่แล้ว คนอยู่ห้องแอร์อายุนิดเดียวแต่หน้ามัน เหี่ยวลึกๆ นะ เพราะว่าเหงื่อมันทำ�หน้าที่ชะล้างทำ�ความสะอาดผิว เอา ของเสียออกจากร่างกาย แล้วก็ช่วยระบายความร้อน บ้านที่แม่ทา ทำ�ไมถึงเลือกไปอยู่ตรงนั้น
จริงๆ ผมอยู่อีกที่หนึ่งซึ่งไกลจากตรงนั้นประมาณสิบกิโล และมันเปลี่ยว พอมีลกู ก็เลยคิดว่าย้ายมาอยูต่ รงนัน้ ดีกว่า อยูห่ ลังโรงเรียนแฟนผมเลย ลูก ก็เรียนอยู่โรงเรียนแถวนั้น สะดวกดี แม่ทาเป็นเขตชนบท มีที่นาเก่าที่ถูก ทิ้งไว้นาน ดินตรงนั้นไม่ค่อยดี มันแล้ง เป็นดินป่าเต็งรัง ผมก็ปรับหน้าดิน
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
ใส่อินทรียวัตถุเข้าไป ใบจามจุรีให้ไนโตรเจน ขี้เถ้ากับใบกระถินให้ ฟอสฟอรัส แค่นี้เองไม่ยากหรอก เรื่องพวกนี้อยู่ในตำ�ราเรียนสมัยประถม อยู่แล้ว สมัยนี้เวลาเรียนก็ทำ�ให้มันดูเป็นเรื่องยากไว้ก่อนจะได้ดูดี จริงๆ เรื่องมันง่ายนิดเดียว ชีวิตมันต้องง่ายนะ แต่มันต้องมีเครื่องมือเยอะ ผมยังพกมีดพร้ากะ ท้าขวานอยู่เพราะต้องใช้ในชีวิตประจำ�วัน ไปขุดหน่อไม้ ตัดกล้วย เอามา ทำ�กับข้าว หาฟืน เผาถ่าน ที่ตรงนั้นหลักการคือใช้แรงงานในบ้าน ไม่ใช้ เครื่องจักร เมื่อใช้แรงงานก็ต้องใช้ความคิด ระบบคิดต้องเยอะเพื่อให้เกิด การออกแบบ พอคิดเราก็จะเจอหนทาง ทุกอย่างมันง่ายหมด ไม่มีอะไร ซับซ้อน พื้นที่สามไร่ครึ่ง มีทั้งนาข้าว สวนผัก ไม้ยืนต้น ไม้ผล มะม่วง ลำ�ไย มะละกอ กล้วย พวกนี้ผมไม่ใช้สารเคมีเลย ไม่ใช้ปุ๋ย ไม่ใช้ยา ไม่ ใช้เครือ่ งจักร ต้องไม่ให้เยอะ อะไรทีร่ กหัว เป็นภาระนีผ่ มไม่เอาเข้าตัวเลย จะเรียกว่าเป็นเกษตรอินทรียห์ รือเกษตรยัง่ ยืนก็นา่ จะได้ แต่ผมไม่ไปนิยาม มัน ขี้เกียจไปทำ�ให้มันยาก ถ้ามีอะไรเหลือก็จะไปแบ่งคนโน้นคนนี้ ไม่ได้ เอาไปขายแต่กไ็ ม่ถงึ กับไม่ตอ้ งซือ้ อะไรเลย แต่ถา้ สมมติวา่ ไม่มเี งินผมก็ไม่ ลำ�บาก จับนู่นหยิบนี่มากินได้ ชีวิตประจำ�วันทำ�อะไรบ้าง
ปกติจะตืน่ ตีสถี่ งึ ตีหา้ ครึง่ ตืน่ มาก็เขียนบันทึกเรือ่ งเมือ่ วาน คิดว่าวันนีต้ อ้ ง ทำ�อะไรบ้าง หลังจากนั้นก็ไปตลาดกินกาแฟสักแก้วนึง คุยกับคนนั้นคนนี้ ซื้อของสดกลับมาทำ�กับข้าวให้ลูกตอนเช้า ส่งลูกไปโรงเรียน แล้วก็ไปดู สวนนิดนึง หลังจากนั้นก็ขับรถหรือขี่จักรยานมาเชียงใหม่ ดูงานที่ทำ�งาน แล้วก็ไปสอนหนังสือ บางวันถ้าอยู่สวน ก็จะไปขี่จักรยานก่อนสักสี่สิบกิโล แล้วค่อยกลับมาดูสวนต่อทั้งวัน สวนมันเป็นภารกิจไม่จบสิ้นนะ และผมก็
เป็นคนจดจ่ออยู่กับสวน อยู่แล้วมันมีความผาสุก เวลาว่างก็จะเข้าสวน แล้วก็มีสตูดิโอออกแบบใกล้ๆ มช. ไปเดินป่าขึ้นเขาบ้าง ว่ายนํ้า หรือขี่ จักรยาน เพราะว่ามันสนุก ได้เห็น ได้หยุดเจอคนนั้นทักคนนี้ ซื้อกล้วย แขกกินบ้าง ที่จอดก็ไม่ยาก ถ้าขับรถก็ไม่มีทางได้เจอ ผมไม่ได้คิดเรื่อง โลกร้อนหรอก แค่อยากขี่ คนที่อยากจะเปลี่ยนการใช้ชีวิตต้องทำ�อย่างไรบ้าง
ต้องมีความมุ่งมั่น แล้วที่เหลือคุณทำ�ได้เอง คุณไม่ต้องมาหาผมมาหาผู้รู้ อะไรเลย พอมีความมุ่งมั่นคุณก็ไปปฏิบัติ พอไปปฏิบัติแล้วคุณจะรู้ว่าคุณ ขาดอะไร ถ้าขาดความรู้คุณก็จะไปหาความรู้ด้วยตัวเอง ดังนั้นมุ่งมั่นปุ๊บ ก็ปฏิบัติเลย ไม่ใช่ว่าอยากเปลี่ยนแล้ว เอ้ยเดี๋ยวก่อน ไปๆ มาๆ เป็นโรค เก๊าโรคความดัน ไปไหนไม่ได้ เปลี่ยนไม่ได้เสียแล้ว คือคุณอยากเปลี่ยน แต่คณุ ก็ไม่ท�ำ อะไรสักที ผมเห็นเยอะ ทีพ่ ดู ว่าอยากเปลีย่ นๆ แต่กไ็ ม่เปลีย่ น แต่ละคนก็คงจะมีวธิ ที แี่ ตกต่างกันไป สถานการณ์ใครสถานการณ์มนั นะ จะบอกว่าผมอยากจะเปลี่ยนครับ อ.จุลพรมีสูตรตายตัว 20 ข้อไหม ครับ ถ้าผมบอกสูตรไป 20 ข้อแล้วเขาทำ�ตามเขาก็ไม่สัมฤทธิ์ผลหรอก เพราะเขาไม่ใช่ผม แล้วถ้าอาชีพ สังคม หรือค่านิยมมันไม่ไปทางเดียวกับสิ่งที่อยาก จะทำ�ล่ะ
ถ้าอยากเปลี่ยนก็ต้องมีความมุ่งมั่น พอมีความมุ่งมั่นมันก็จะเจอหนทาง แต่เพราะมีความมุง่ มัน่ ไม่พอก็เลยยังไม่ยอมออกมา มันไม่ใช่วา่ ต้องมีเงิน นะ ถ้าคิดว่าวิถีชีวิตแบบนี้ฉันไม่เอาแล้ว จะไปอยู่ในเขตชนบท อยากพึ่ง ตัวเองมากขึ้น อยากหุงหาอาหาร ก็ทำ�ได้นะ เพราะเรายังมียีนส์ของการ
"
การเปิดแอร์คือคุณเอาความเย็นใส่ตัวคุณ เอาความร้อนใส่คนอื่น คอมเพรสเซอร์เป่าความร้อนใส่เพื่อนบ้าน ลึกๆ แล้วมันเห็นแก่ตัวนะ ถึงจะเป็นบ้านประหยัดพลังงานก็ต้องคำ�นวณเยอะ กว่าจะประหยัด พลังงานได้หมดไปสี่ล้าน คุณกางมุ้งอยู่นี่แหละไม่ต้องคิดอะไรเยอะ ปลูกต้นไม้เอา ใช้แป้งตรางูทาก่อนนอน จบแล้ว
"
ธันวาคม 2556
l
Creative Thailand
l 31
"
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
ทุกคนมีทักษะของการอยู่กับธรรมชาติหมดนั่นแหละ ผมเชื่อว่าทุกคนสามารถกลับไปอยู่กับธรรมชาติ ได้ อยู่ที่ว่าจะทำ�หรือเปล่า แต่ถ้าหลังจากนี้อีกสักสิบรุ่นผมก็ไม่รู้ว่าเราจะวิวัฒน์ไปถึงจุดไหน
"
Creative Ingredients บุคคลต้นแบบ
อยู่กับธรรมชาติอยู่ บางคนบอกว่าอยู่กรุงเทพฯ มาตั้งแต่เกิด คุณพ่อคุณ แม่ก็เกิดกรุงเทพฯ แล้วปู่ย่าตายายคุณล่ะ บางคนมาจากจีน มาจาก ซัวเถา ถ้าอย่างนั้นคุณปู่คุณอาจจะเป็นชาวนาทำ�นาอยู่ซัวเถาก็ได้ หรือ บางคนปู่ย่าตายายก็เคยทำ�สวนทำ�ไร่อยู่ต่างจังหวัด นี่นับขึ้นไปแค่สามรุ่น เอง เราก็แค่รุ่นหลาน เพราะฉะนั้นทุกคนมีทักษะของการอยู่กับธรรมชาติ หมดนัน่ แหละ ผมเชือ่ ว่าทุกคนสามารถกลับไปอยูก่ บั ธรรมชาติได้ อยูท่ วี่ า่ จะทำ�หรือเปล่า แต่ถา้ หลังจากนีอ้ กี สักสิบรุน่ ผมก็ไม่รวู้ า่ เราจะวิวฒั น์ไปถึง จุดไหน ธรรมชาติสอนอะไรเราบ้าง
ธรรมชาติสอนทั้งหมด เป็นแม่บทของการมีชีวิต ก่อนที่เผ่าพันธุ์มนุษย์จะ เกิด ต้นไม้มนั เกิดมาก่อนแล้ว เผ่าพันธุม์ นุษย์เราวิวฒั น์มาท่ามกลางต้นไม้ พอวิวัฒน์มามากๆ ก็ดันไปตัดเขาทิ้ง ทุกวันนี้ก็เลยผันผวนกันไปหมด ความผันผวนหลายอย่างเกิดจากการทีค่ ณุ ไปกำ�จัดธรรมชาติรอบตัวเองทิง้ เหมือนกับเนื้อสมันที่มีป่าทุ่งละเมาะดีๆ ก็ไปกัดทิ้งหมด ก็เลยโดนนาย พรานล่าได้ง่ายๆ ก็เลยสูญพันธุ์ ผมรู้สึกว่าสาระสำ�คัญของการมีชีวิตที่ดี มันกำ�ลังถูกมองข้ามไปเรื่อยๆ ทีละนิด เรื่องง่ายๆ เรากลับไปทำ�ให้มัน ยากขึน้ ไปหมด และในความยากนัน้ มันก็มดั คอตัวเองตาย เกิดวิกฤตอย่าง นํ้าท่วมก็ช่วยตัวเองไม่ได้ 32 l
Creative Thailand
l ธันวาคม 2556
ท่านพุทธทาส ตอนวัยรุน่ ผมเคยมีโอกาสได้ไปกราบท่านตอน ที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ไม่ได้คุยอะไรกับท่านมากแต่ก็รู้สึกติดตา ติดใจ จำ�ได้วา่ เดินเข้าไปในวัดเจอลุงคนหนึง่ กวาดพืน้ อยู่ พอ ไปตามทางที่ลุงบอกก็เห็นท่านนั่งอยู่หน้ากุฏิ เหมือนใน หนังสือเลย มีม้าหิน มีไก่มีหมาอยู่ กุฏิก็โทรมๆ ข้างในมีแต่ หนังสือ ไม่เหมือนพระสมัยใหม่ทกี่ ฏุ อิ ย่างกับพระราชวัง ผม อ่านหนังสือท่านอยู่แล้ว พอได้ไปเห็นสภาพแวดล้อมที่ท่าน อยู่ก็มีผลกับตัวเองมาก หนังสือที่ชอบ
หนึง่ ร้อยปีแห่งความโดดเดีย่ ว นิยายก็อา่ นบ้าง ได้หลายแนว แล้วก็อ่านนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน นิตยสารสารคดี ชอบทำ�อะไรมากที่สุด
ชอบทำ�สวน เพราะมันได้กิน วีธีเลี้ยงลูก
ความที่ผมไม่ค่อยดูทีวี เขาก็ติดไม่ดูไปด้วย ดูจากแผ่นบ้าง การ์ตูนบางเรื่องที่ดีก็ให้เขาดู เขาชอบอ่านหนังสือ ชอบวาด รูป ชอบธรรมชาติ ชอบสัตว์ พื้นเขาเป็นอย่างนั้นอยู่แล้ว เรา ก็ให้เขาเลือก จัดสรรตามธรรมชาติที่เขาเป็น เมื่ออยู่กับ ธรรมชาติวันหลังเขาจะไปประยุกต์กับอะไรก็ง่าย ผมไม่ กดดัน แปดขวบแล้วเขายังเที่ยววิ่งไล่จับโน่นจับนี่ ไม่ได้กวด วิชาอะไร มีความสุข หัวเราะเอิ๊กอ๊าก ตอนเช้าซ้อนจักรยาน พ่อไปโรงเรียน ผมก็คุยกับเขาตลอด เลี้ยงลูกน่ะง่ายจะตาย เราไปทำ�ให้มันยากไปเอง
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
ธันวาคม 2556
l
Creative Thailand
l 33
Found MUJI To Match Our Present Living เรื่อง: กมลกานต์ โกศลกาญจน์ และ ศุภมาศ พะหุโล
แทนทีจ่ ะมุง่ หน้าสร้างแต่ผลิตภัณฑ์ใหม่ มูจิ (MUJI) เลือกทีจ่ ะค้นหาและค้นพบความหมายของการใช้ชวี ติ ผ่านการคัดสรรงานออกแบบ ที่ยังคงพบเห็นและถูกใช้งานในวิถีชีวิตประจำ�วันของผู้คนในแต่ละวัฒนธรรม โดยการปรับเปลี่ยนและพัฒนาจุดเล็กๆ น้อยๆ เพื่อให้ งานออกแบบชิ้นนั้นๆ สามารถอยู่ร่วมกับวิถีชีวิตของคนในปัจจุบันได้อย่างไม่ขัดเขิน
โครงการ “ฟาวนด์ มูจิ (Found MUJI)” เกิดขึ้นครั้งแรกในปี 2003 ด้วย ขั้นตอนการลงลึกในรายละเอียดที่ซ่อนอยู่ในงานออกแบบที่ดีตามเมือง ต่างๆ ทั่วโลก โดยฟาวนด์ มูจิ จะเข้าไปปรึกษาพูดคุยกับผู้สร้างสรรค์ ผลงานเพื่อร่วมปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้น ง่ายต่อการใช้งาน และสอดคล้องกับมาตรฐานการใช้ชวี ติ ในปัจจุบนั ของคนทัว่ โลก ก่อนทีจ่ ะ นำ�ผลิตภัณฑ์ซึ่งร่วมสร้างสรรค์น้ันมาจัดจำ�หน่ายในนามของมูจิ ซึ่ง ผลิตภัณฑ์ในชีวติ ประจำ�วันทีไ่ ด้รบั การคัดสรรโดยฟาวนด์ มูจิ นัน้ มีตงั้ แต่ ถ้วยชามโลหะสำ�หรับการปรุงแกงกะหรี่ของชาวอินเดีย เครื่องปั้นดินเผา ศิลาดลจากไทย หรือตะเกียบแบบดั้งเดิมจากจีน โดยที่ฉลากของแต่ละ ผลิตภัณฑ์จะมีการระบุทมี่ าและแหล่งผลิต เพือ่ เน้นยาํ้ ถึงความสำ�คัญและ คุณค่าแห่งการกลับไปหารากเหง้า ความเรียบง่าย และการใช้ประโยชน์ จากเอกลักษณ์อันโดดเด่นของแต่ละวัฒนธรรม ฟาวนด์ มู จิ ได้ อ อกเดิ น ทางเพื่ อ ทำ � งานร่ ว มกั บ ช่ า งฝี มื อ หรื อ นักออกแบบท้องถิน่ เพือ่ ค้นหาทักษะดัง้ เดิมเฉพาะตัว และทำ�การย้ายทีท่ าง ผลิตภัณฑ์จากพืน้ ทีท่ อี่ ยูภ่ ายใต้บริบทสังคมเดิมเข้าสูส่ ภาพแวดล้อมใหม่ที่ เป็นสากลมากยิ่งขึ้น โดยไม่ใช่แค่เพียงการนำ�มาซึ่งกลุ่มผู้ซื้อหรือตัวแทน จัดจำ�หน่ายใหม่ๆ เท่านัน้ แต่ยงั หมายถึงการมอบชีวติ ใหม่ให้กบั ผลิตภัณฑ์ ภายใต้วิถีความเป็นอยู่ที่แตกต่างไปจากเดิมอีกด้วย 34 l
Creative Thailand
l ธันวาคม 2556
นอกจากนี้ ในปี 2011 การตัดสินใจเปิดร้านค้าฟาวนด์ มูจิ ในย่าน อาโอยามะ กรุงโตเกียว เพือ่ เป็นปลายทางสำ�คัญในการนำ�เสนอผลิตภัณฑ์ ล่าสุด ตลอดจนเป็นสถานทีท่ ใี่ ช้เพือ่ จัดกิจกรรมไว้ส�ำ หรับต่อยอดโครงการ ใหม่ๆ ของแบรนด์มูจินั้น ก็ไม่ใช่แค่เพียงการเปิดหน้าร้านเท่านั้น แต่ ฟาวนด์ มูจิยังได้ตีพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับการเดินทางไปยังที่ต่างๆ พร้อม จดบันทึกประเด็นย่อยๆ เกี่ยวกับวัฒนธรรมในการใช้งานผลิตภัณฑ์ที่ น่าสนใจประกอบภาพ โดยมีนาโอโตะ ฟุคาซาวา (Naoto Fukasawa) นักออกแบบผลิตภัณฑ์ของมูจิ และบริษัทเรียวฮิน เคย์คาคุ (Ryohin Keikaku) ในนามบริษทั มูจิ เป็นบรรณาธิการผลิตเนือ้ หาและคัดสรรสารคดี รวมถึงภาพประกอบตลอดทั้งเล่มอีกด้วย ในขณะที่ผู้คนขวนขวายหาสิ่งของใหม่ๆ มาครอบครอง ฟาวนด์ มูจิ กลับเลือกที่จะค้นหาคุณค่าที่แท้จริงที่ถูกลืมเลือนหรือยากที่จะมองเห็น โดยยังคงไว้ซึ่งหัวใจของแบรนด์ดังที่ประธานบริษัทมูจิอย่าง มาซาอาคิ คาไน (Masaaki Kanai) เคยกล่าวถึงปรัชญาของแบรนด์เอาไว้ว่า “Back to our origins, into the future” (กลับคืนสู่รากเหง้า เพื่อก้าวสู่อนาคต) นั่นเอง ที่มา: muji.net/foundmuji
flickr.com/Mathieu Thouvenin
CREATIVE WILL คิด ทำ� ดี