THE WORLD DOESN’T CARE WHAT YOU KNOW. WHAT THE WORLD CARES ABOUT IS WHAT YOU CAN DO WITH WHAT YOU KNOW. โลกไม่ได้สนใจว่าคุณรู้อะไร แต่สนใจว่าคุณจะทำ�อะไรจากสิ่งที่คุณรู้
Will Richardson
บล็อกเกอร์รุ่นบุกเบิกและนักการศึกษาแห่งต้นศตวรรษที่ 21
CONTENTS สารบัญ
6
The Subject
8
Creative Resource
2030 Future Jobs/ A Virtual Room of One’s Own
Featured Book/ Book/ Documentary
Insight
20
Creative Entrepreneur
22
Creative City
25
The Creative
29
Creative Will
34
Are You Digitally Obsessed? Is Offline Going to Be the New Luxury?
LINE Sticker ธุรกิจสื่ออารมณสรางรายได
10
Matter
Material for Wearable Device
RIGA, LATVIA: Tech Hub ในเมืองมรดกโลก
อรนุช เลิศสุวรรณกิจ: What is the REAL netizen?
12
Classic Items
14
Cover Story
Net Idol
Fusion Generation How Far Have We Reached?
Knewton: หลักสูตรความฉลาดแบบฉบับโลกดิจิทัล
บรรณาธิการอำนวยการ l อภิสทิ ธิ์ ไลสตั รูไกล ทีป่ รึกษา l ชมพูนทุ วีรกิตติ, พิชติ วีรงั คบุตร, จรินทรทพิ ย ลียะวณิช บรรณาธิการบริหาร l ศุภมาศ พะหุโล ผูช ว ยบรรณาธิการ l พัชรินทร พัฒนาบุญไพบูลย กองบรรณาธิการ l ศิริอร หริ่มปราณี, มนฑิณี ยงวิกุล, เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร, กริยา บิลยะลา, ปยวรรณ กลิ่นศรีสุข, นันทนรี พานิชกุล เลขากองบรรณาธิการ l วรรณเพ็ญ บุ ญเพ็ญ บรรณาธิการศิลปกรรม l พจน องคทวีเกียรติ ศิลปกรรม l พัชราภรณ เตชะเลิศไพศาล, เบญจวรรณ แดงบุบผา สมาชิกสัมพันธ l ปยะพร สวัสดิ์สิงห ประสานงานกองบรรณาธิการ l ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ นักศึกษาฝกงาน l อารดา ศรีสรรค จัดทำโดย l ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (TCDC) ชั้น 24 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอร 622 สุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 โทร. 02 664 7667 แฟกซ. 02 664 7670 ติดตอลงโฆษณาไดที่ creativethailand@tcdc.or.th พิมพที่ l บริษัท ทูโฟร พริ้นติ้ง จำกัด โทร. 02 416 7300 แฟกซ. 02 416 7320 จำนวน 30,000 เลม นิตยสารฉบับนี้ใชหมึกพิมพจากน้ำมันถั่วเหลืองที่ไมเปนอันตรายตอสุขภาพ ทั้งยังเปนมิตรตอสิ่งแวดลอม และใชกระดาษรีไซเคิล ซึ่งเปนผลผลิตของผูประกอบการไทย จัดทำภายใตโครงการ “Creative Thailand สรางเศรษฐกิจไทยดวยความคิดสรางสรรค” โดยศูนยสรางสรรคงานออกแบบ สำนักงานบริหารและพัฒนาองคความรู (องคการมหาชน) ซึ่งมีเปาหมาย ในการเผยแพรความรูเกี่ยวกับเศรษฐกิจสรางสรรค (Creative Economy) และผลักดันการใชความคิดสรางสรรค ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย สามารถดูสถานที่จัดวางทั้งหมดไดที่ creativethailand.org อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส แสดงที่มา-ไมใชเพื่อการคา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย
ผูออกแบบปก | ณัฐพล โรจนรัตนางกูร นักออกแบบจากบริษัท แพรคทิเคิล ดีไซน สตูดิโอ ผูใหความสำคัญกับการมองหาความหมายจากสิ่งตางๆ รอบตัว เพื่อนำมาประยุกตใชในการสื่อสาร ผลงาน: facebook.com/mooplint, practical-studio.com
EDITOR'S NOTE บทบรรณาธิการ
ผู้เลือก หรือ ผู้ถูกเลือก นับตั้งแต่โลกได้ต้อนรับสิ่งที่เรียกว่า “อินเทอร์เน็ต" และเปิดประตูเข้าสู่ “สังคมยุคข้อมูลข่าวสาร” วิถีชีวิตของผู้คนก็ต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง เรา สะดวกสบายกับความรวดเร็ว สรรหาและค้นพบสิ่งที่อยู่ไกลออกไปหลาย พันไมล์ โลกทัศน์ทเี่ ปิดกว้างกับข้อมูลทีพ่ รัง่ พร้อม ดูเหมือนจะเป็นทางเลือก ชีวิตที่น่าอภิรมย์ จนเมื่อเวลาผ่านพ้นสักระยะ ความพรั่งพร้อมของข้อมูล กลับกลายเป็นความฟุง้ กระจาย การสรรหาบนตัวเลือกทีม่ ากมายกลายเป็น ไม่พบเจอสิง่ ทีห่ วังว่าจะค้นพบ แต่ความสร้างสรรค์ไม่เคยมีขดี จ�ำกัด แนวคิด เทคโนโลยีที่จะมาจัดระเบียบข้อมูลอันมหาศาล หรือ Big Data จึงกลาย เป็นเรื่องราวแห่งการปฏิวัติวิถีชีวิตครั้งใหม่ ไม่ใช่เพียงแค่การเรียบเรียง การจัดการ การวิเคราะห์ข้อมูลที่มากมายทั้งปริมาณและหลากหลาย ให้ฉับไวและทันสถานการณ์เท่านั้น แต่ข้อมูลเหล่านี้ คือการตัดสินใจ ที่อาจจะเปลี่ยนชีวิตของใครบางคนให้ไม่มีวันเหมือนเดิม ผลของการสังเคราะห์และจัดการ Big Data อย่างชาญฉลาด ส่งผล ในความได้เปรียบทางธุรกิจไปจนถึงการบริหารนโยบายสาธารณะ จาก ระดับองค์กรที่ต้องแข่งขันอย่างดุเดือด เพื่อเข้าสู่ใจกลางความต้องการ ของลูกค้า การเสนอข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจงกับลูกค้า และการบริหาร ต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ เช่นเมื่อเร็วๆ นี้ ที่แอมะซอนได้จดสิทธิบัตร Anticipatory Shipping ซึ่งเป็นระบบจัดการประมวลผลว่าลูกค้าในพื้นที่ นั้นๆ มีความต้องการและความสนใจต่อสินค้าประเภทใด โดยประมวล ข้อมูลจากประวัติการซื้อในอดีต การค้นหาในเว็บไซต์ กระทั่งต�ำแหน่ง การคลิกเมาส์หรือการวางเมาส์ของลูกค้าบนหน้าจอ สิง่ เหล่านีถ้ กู ประมวล เพื่อให้บริษัทสามารถคาดเดาประเภทสินค้าและส่งไปรอยังโกดังใกล้เคียง เพื่อลดระยะเวลาการจัดส่งเมื่อมีค�ำสั่งซื้อเข้ามานั่นเอง ไม่เพียงแต่ภาคเอกชนที่รับมือกับโอกาสนี้ เมื่อเดือนมีนาคม 2013 รัฐบาลของบารัก โอบามา ได้ริเริ่มโครงการ Big Data Research and Development Initiative มูลค่า 200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อเป้าหมาย ในการพัฒนาความสามารถด้านการคัดกรองความรูเ้ ชิงลึกจากข้อมูลดิจทิ ลั เพื่อเร่งให้เกิดการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ ความมั่นคง การปฏิรูปการ ศึกษา และคุณภาพการให้บริการทางการแพทย์ หนึ่งในนั้น คือโครงการ MyData Initiative ซึ่งเปิดโอกาสให้นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และโรงเรียน ได้ใช้ประโยชน์ข้อมูลทางการศึกษา เช่น เด็กนักเรียน และผู้ปกครอง สามารถเห็นประวัตกิ ารเรียนหรือการแนะแนวการศึกษา เช่น หากต้องการ เรียนหมอ ก็จะดึงข้อมูลของหมอต้นแบบมาเทียบเคียงกับประวัตกิ ารเรียน
ภูมิหลัง คุณภาพโรงเรียน ครูที่สอน วิชาที่ชอบ เพื่อประมวลผลแนวทาง การศึกษาต่อในอนาคต ราวกับปาฏิหาริย์แห่งชีวิตได้เกิดขึ้นจริงๆ ในยุคข้อมูลข่าวสาร ความรู้สาธารณะจะถูกจัดระเบียบและแบ่งปัน บริการการศึกษาและการ แพทย์จะมีคุณภาพและทั่วถึง ธุรกิจจะแข็งแกร่ง ผู้บริโภคจะได้รับการ ปรนเปรอจากบริการทีเ่ ฉพาะเจาะจง โลกเกิดความต้องการแรงงานใหม่ที่ เรียกว่า Data Scientist ซึ่งเป็นอาชีพที่มีทักษะผสมระหว่างนักสถิติ โปรแกรมเมอร์ กราฟิกดีไซน์ และนักเล่าเรื่อง ซึ่งประเมินว่ามีความ ต้องการมากกว่า 4 ล้านต�ำแหน่ง/ปี เพื่อมาจัดการข้อมูลมหาศาล แต่ใน ขณะทีผ่ คู้ นก�ำลังพรึงเพริดบนการจัดการข้อมูลเหล่านี้ ในอีกด้านหนึง่ ผูค้ น จะรูส้ กึ อึดอัดหรือไม่ หากพบว่าความถีใ่ นการเปิดเว็บไซต์ของตนเองก�ำลัง ถูกจับตามอง ผูค้ นจะรูส้ กึ อย่างไรเมือ่ ถูกจัดประเภทแบ่งแยกเป็นกลุม่ ก้อน จากการประมวลผลที่แยกแยะตั้งแต่สีผิว เชื้อชาติ ศาสนา กระทั่งปัญหา สุขภาพ และเมื่อคนที่เก็บข้อมูลคือคนที่มีอ�ำนาจต่อรองกับผลประโยชน์ ในมือ การคุ้มครองความเป็นส่วนตัว (Data Ethic) ในมหาสมุทรของ ข้อมูลจะเกิดขึ้นหรือไม่ ดูเหมือนเป็นเรือ่ งตลกร้ายทีว่ า่ เรากลับไม่มสี ทิ ธิป์ กป้องความเป็นส่วน ตัวของเราเลย แต่ในอีกแง่มมุ หนึง่ เราก็อาจก�ำลังได้ใช้ประโยชน์จากข้อมูล ส่วนตัวของคนอื่นเช่นกัน ดังนั้น ความได้เปรียบที่แท้จริงจึงไม่ใช่แค่การ เลือก หรือ ไม่เลือกในสิ่งใด แต่ด้วยเหตุผลใดและท�ำไมเราจึงเลือกสิ่งนั้น นั่นเพราะความรู้และประสบการณ์จะเป็นสิ่งที่ท�ำให้เรารู้ว่า เราจะเหนือ กว่าระบบสังเคราะห์และประมวลผลใดๆ ได้อย่างไรนั่นเอง อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล บรรณาธิการอ�ำนวยการ Apisit.L@tcdc.or.th กุมภาพันธ์ 2558
l
Creative Thailand
l5
THE SUBJECT ลงมือคิด
2030 FUTURE JOBS เรื่อง: วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ
ในปี 2010 องค์กรศึกษาและวิจยั เทรนด์ทข่ี บั เคลือ่ นด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Fast Future ได้เผยแพร่รายงาน 20 อาชีพใหม่แห่งโลกอนาคตทีจ่ ะเกิดขึน้ ภายในปี 2030 ภายใต้การสนับสนุนจากรัฐบาลอังกฤษ Fast Future ได้คาดการณ์วา่ อาชีพใหม่ๆ เหล่านีจ้ ะเกิดขึน้ ท่ามกลางยุคสมัยแห่งโอกาสทีผ่ คู้ นใช้ ศักยภาพของอินเตอร์เน็ตเป็นสะพานเชือ่ มองค์ความรูต้ า่ งๆ ให้เกิดเป็นอีกหลายอาชีพ หนึง่ ในนัน้ คือ Virtual Lawyer ทนายความเสมือนทีร่ บั ให้ค�ำ ปรึกษา เรื่องกฎหมายผ่านระบบออนไลน์ซึ่งเคยถูกคาดการณ์ไว้ว่าจะเกิดขึ้นในปี 2010 และปัจจุบันถือเป็นอาชีพใหม่ที่ได้รับการยอมรับในวงกว้าง ตัวอย่างเช่น FisherBroyles บริษัทกฎหมายยุค 2.0 ที่มีฐานกลุ่มลูกค้ารายใหญ่ให้ความไว้วางใจ อย่างสายการบินเดลต้าแอร์ไลน์ หรือบริษัทรถยนต์หรูอย่างปอร์เช่ และจากัวร์ เป็นต้น นี่คือ 10 อาชีพตัวอย่างที่คาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นระหว่างปี 2015-2030 ส่วนความเป็นไปได้ในการเกิดขึ้นของอาชีพใหม่ๆ คงขึ้นอยู่ที่ว่าคนรุ่นใหม่ จะสามารถใช้พลังแห่งความสร้างสรรค์และพลังของอินเทอร์เน็ตที่มีอยู่ในมือได้อย่างมีศักยภาพมากน้อยเพียงใด 2020-2025 2015-2020 SOCIAL NETWORKING WORKER
คนงานยุคดิจทิ ลั ผูเ้ ข้าใจบริบทของโลกทีเ่ ชือ่ มต่อกันผ่าน ระบบออนไลน์ ทำ�งานด้วยแนวคิดทีว่ า่ ไม่วา่ เมือ่ ใดหรือ อยู่ที่ไหนก็ยังสามารถทำ�งานได้แบบ 24/7 PHARMER OF GENETICALLY ENGINEERED CROPS AND LIVESTOCK
เกษตรกรพันธุวศิ วกรรมผูพ้ ฒั นาผลผลิตด้วยความรูท้ าง วิทยาศาสตร์หลายแขนง ควบคุมการปลูกพืชหรือเลี้ยง สัตว์ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ NEW SCIENCE ETHICIST
นักจริยศาสตร์ผู้วิเคราะห์และวิพากษ์ถึงศีลธรรมจรรยา ต่อวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ เช่น การโคลนนิ่ง CLIMATE CHANGE REVERSAL SPECIALIST
ผู้เชี่ยวชาญด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศเพื่อ เฝ้าระวังและป้องกันมหันตภัยจากธรรมชาติทคี่ าดว่าจะ เกิดขึ้นในอนาคต SPACE PILOTS, TOUR GUIDES & ARCHITECTS
นั ก บิ น ท่ อ งอวกาศ มั ค คุ เ ทศก์ นำ � ทั ว ร์ อ วกาศ และ สถาปนิกผูว้ างแผนและออกแบบให้มนุษย์สามารถพำ�นัก อยู่ในอวกาศได้ในอนาคต
WEATHER MODIFICATION POLICE
ตำ�รวจภาคภูมอิ ากาศผูต้ รวจตราในการกระทำ�ใดๆ ทีจ่ ะส่งผลกระทบต่อสภาพ แวดล้อม เช่น การป้องกันการขโมยเมฆฝนในบางพื้นที่อันจะก่อให้เกิดสภาพ อากาศผันผวนในพื้นที่ที่ไกลออกไปกว่าพันไมล์ BODY PART MAKER
ช่างสร้างอวัยวะมนุษย์เพื่อแทนที่อวัยวะเดิมที่เสียหาย ติดต่อกับศัลยแพทย์ทั่ว โลกผ่านการประชุมทางวิดีโอ (Video Conference) และใช้ระบบโครงสร้าง ดีเอ็นเอออนไลน์เป็นข้อมูลในการรับสร้างอวัยวะให้ในแต่ละครั้ง ซึ่งกลุ่มลูกค้า ที่คาดหมายว่าต้องการใช้บริการของอาชีพนี้ก็ได้แก่ นักกีฬา ทหารผ่านศึก สงคราม เป็นต้น NANO-MEDIC
ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์แบบนาโนเทคโนโลยีเพื่อประกอบใช้ในการวินิจฉัย และรักษาโรคในระดับยีน
2030 QUARANTINE ENFORCER
การ์ดรักษาความปลอดเชือ้ โรคในกรณีทเี่ กิดโรคระบาด โดย จะทำ�การแยกตัวผูป้ ลอดเชือ้ ออกจากผูต้ ดิ เชือ้ เพือ่ ให้อยูใ่ น เขตพื้นที่ปลอดภัย MEMORY AUGMENTATION SURGEON
ศัลยแพทย์เพิ่มความจำ�ที่จะช่วยให้มนุษย์ข้ามขีดจำ�กัด ความสามารถในการทำ�งานท่ามกลางยุคสมัยแห่งอนาคต ที่ท่วมท้นไปด้วยข้อมูล
ที่มา: งานวิจัย “The Shape of Jobs to Come: Possible New Careers Emerging from Advances in Science and Technology (2010-2030)” จาก Fast Future Research, บทความ “Virtual Lawyer: Running A Law Firm On The Cloud From Home” (2014) จาก forbes.com และ fisherbroyles.com 6 l Creative Thailand l กุมภาพันธ์ 2558
THE SUBJECT ลงมือคิด
A VIRTUAL ROOM OF ONE’S OWN เรื่อง: วิป วิญญรัตน์
จินตนาการเกีย่ วกับ “นักคิด” มักมีสองขัว้ ด้านหนึง่ ภาพลักษณ์ของนักคิด เป็นผู้โดดเดี่ยว ใช้เวลาในห้องขบคิดขีดเขียนประเด็นปัญหาต่างๆ นานๆ ครั้งถึงจะออกมาจากห้องพบปะผู้คนบ้าง ภาพลักษณ์แบบนี้คือ ภาพลักษณ์ของนักคิดที่คิดคนเดียว ท�ำงานคนเดียว เช่น ไอแซค นิวตัน (Isaac Newton) ที่นั่งขบคิดปัญหาอยู่ใต้ต้นแอปเปิ้ล แต่ในอีกด้านหนึ่ง นักคิดก็ไม่สามารถคิดคนเดียวได้ และการท�ำงานทางสติปัญญาคือการ ท�ำงานกับผู้อื่นอยู่เสมอ เช่นภาพลักษณ์ของนักปรัชญาจอมถกเถียงอย่าง โสเครติส (Socrates) มาจนถึงสภาพแวดล้อมของการท�ำงานวิชาการใน โลกสมัยใหม่ อะไรคือการจัดต�ำแหน่งแห่งที่ระหว่างมนุษย์เพื่อให้ตอบสนองกับ กิจกรรมทางปัญญาที่ดีที่สุด เคยมีความเชื่อว่า การจัดวางออฟฟิศแบบ เปิด (Open-space) ทีพ่ นักงานทุกคนนัง่ เรียงกันและสามารถมองเห็นกัน ตลอดเวลานั้นดีกว่าการจัดออฟฟิศแบบมีคอก (Cubicle) เพราะสามารถ ลดความแปลกแยกระหว่างกันและสนับสนุนให้เกิดการท�ำงานร่วมกัน มากกว่า อย่างไรก็ตาม ได้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ในด้านตรงข้าม ว่าการ จัดแบบพืน้ ทีเ่ ปิดท�ำให้พนักงานไม่สามารถตัง้ สมาธิกบั งานทีท่ �ำได้ และใน หลายๆ ครัง้ การคิดคนเดียวในห้องทีม่ คี วามเป็นส่วนตัวเป็นวิธกี ารท�ำงาน ที่ได้ผลลัพธ์ดีกว่า การท�ำงานเป็นกลุ่ม ยังก่อให้เกิดสภาวะที่นักจิตวิทยาสังคมเรียกว่า "Groupthink" สภาวะเช่นนี้เกิดขึ้นจากความต้องการของปัจเจกที่อยาก จะเป็นส่วนหนึง่ ของกลุม่ คน แต่ไม่อยากออกความเห็นทีข่ ดั แย้งกับคนส่วน ใหญ่ ต้องการลดความขัดแย้งให้เหลือน้อยทีส่ ดุ โดยอาการทีเ่ กิดขึน้ มีตงั้ แต่ ความมั่นอกมั่นใจผิดๆ แบบรวมหมู่ (เพราะไม่มีใครเห็นแย้ง) ไปจนถึง การเซ็นเซอร์ตัวเองของสมาชิกในกลุ่มด้วยหวาดกลัวว่าจะแปลกแยก หรือแม้แต่ความจงรักภักดีต่อกลุ่มที่ตัวเองสังกัดอยู่ Groupthink จึงเป็น สภาวการณ์ที่ท�ำลายความคิดสร้างสรรค์ ขณะที่การท�ำงานรูปแบบเก่าๆ เช่น การระดมสมอง (Brainstorming) ก็อาจท�ำให้เกิด Groupthink เช่นกัน อย่างไรก็ตาม จากการวิจยั ของผูเ้ ชีย่ วชาญทางประสาทวิทยา เกรกอรี่ เบิร์นส์ (Gregory Berns) การท�ำงานผ่านอินเทอร์เน็ตสามารถลดอาการ Groupthink ลงได้ ในขณะที่การระดมสมองแบบทั่วไปให้ผลลัพธ์ที่แย่ การระดมสมองผ่านทางอินเทอร์เน็ตกลับสร้างผลลัพธ์ทดี่ กี ว่า การท�ำงาน ผ่านหน้าจอจึงช่วยลดความกลัวทีจ่ ะแปลกแยก และลดอาการ Groupthink ลง อินเทอร์เน็ตยังช่วยให้การท�ำงานเป็นกลุม่ นัน้ เป็นไปได้พร้อมๆ กับการอยู่ คนเดียว โดยงานวิจยั อีกชิน้ พบว่า งานทางวิชาการทีม่ อี ทิ ธิพลนัน้ ส่วนใหญ่ เป็นการท�ำงานเป็นทีม เพียงแต่ว่าสมาชิกในทีมอยู่กันคนละที่
THINK!
อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่า เทคโนโลยี อินเทอร์เน็ต และสื่อ สังคม จะไม่ก่อให้เกิดอาการ Groupthink โดยสิ้นเชิง วัฒนธรรมมวลชน (Mass Culture) ทีผ่ กู ติดกับการสลายความเป็นปัจเจกเป็นข้อกังวลทีถ่ กู คิด กันมาตัง้ แต่ตน้ ศตวรรษที่ 20 การทดลองของนักสังคมวิทยา ดันแคน วัตส์ (Duncan Watts) พบว่า เมื่อกลุ่มหนึ่งถูกขอให้ฟังเพลงเพื่อให้คะแนน แต่ละคนจะให้คะแนนเพลงตามกระแสของกลุ่ม ในแง่นี้ เช่นเดียวกับ เทคโนโลยีการสื่อสารก่อนหน้านี้ที่อาจก่อให้เกิดสภาวะ Groupthink ได้ แต่ในขณะเดียวกัน อินเทอร์เน็ตก็สามารถสร้างความเป็นปัจเจกด้วยต้นทุน ที่ต�่ำกว่าสื่อแบบดั้งเดิมอื่นๆ เช่นกัน ไม่วา่ อย่างไรก็ตาม หากกระบวนการคิดสร้างสรรค์มกั เกิดขึน้ ได้ดที ส่ี ดุ ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เชิดชูความเป็นปัจเจกไปพร้อมๆ กับเอื้อให้เกิด การพูดคุยกันได้ โครงสร้างของสังคมดิจทิ ลั อาจจะต้องเอือ้ ให้เกิดห้องเงียบๆ ที่เอาไว้ขบคิดและบรรยากาศแห่งการถกเถียงอย่างเสรี ซึ่งน่าจะเป็นส่วน ในการทำ�ลาย Groupthink ทีเ่ ป็นอุปสรรคต่อความคิดสร้างสรรค์ได้
ที่มา: บทความ "The Rise of the New Groupthink" (2012) โดย Susan Cain จาก nytimes.com, บทความ "Groupthink" จาก rationalwiki.org และบทความ "Clive Thompson on How Group Think Rules What We Like" (2009) โดย Clive Thompson จาก wired.com กุมภาพันธ์ 2558 l Creative Thailand l 7
CREATIVE RESOURCE วัตถุดิบทางความคิด
BOOK
ALONE TOGETHER
Why We Expect More from Technology and Less from Each Other โดย Sherry Turkle แค่ชื่อหนังสือก็ตั้งค�ำถามชวนให้คิดว่า ท�ำไม เราถึงคาดหวังกับเทคโนโลยีมากขึ้น แต่กลับ คาดหวังจากคนอื่นลดลง เชอร์รี เทอร์เคิล ศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์ ระหว่ า งมนุ ษ ย์ แ ละเทคโนโลยี ข องสถาบั น เทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) เขียนหนังสือ เล่มนีข้ นึ้ จากผลจากการศึกษายาวนานกว่า 15 ปี เทอร์เคิลอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ ที่เปลี่ยนแปลงไปหลังจากที่เทคโนโลยีเข้ามามี บทบาทในชีวิตประจ�ำวันเป็นอย่างมาก บางครั้งเราก็ห่างเหินความรู้สึกของการใช้เวลาร่วมกับผู้อื่น ซึง่ นับวันยิง่ ท�ำให้เราประหลาดใจ เธอยกตัวอย่างง่ายๆ ว่าปัจจุบนั การโทรศัพท์หากันหรือการพูดคุย แบบซึ่งหน้ากลายเป็นเรื่องเคอะเขิน หรืออาจท�ำให้บางคนรู้สึกถูกรุกล�้ำความเป็นส่วนตัว แต่มันจะ สะดวกใจกว่าหากสื่อสารกันด้วยการส่งข้อความ (Text) ผ่านโปรแกรมสนทนา และเราก็ใช้วิธีนี้มาก ขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นนิสัยโดยที่ไม่รู้ตัว จนอาจต้องให้ค�ำจ�ำกัดความค�ำว่า “ความสันโดษ” กัน ใหม่แล้วจริงๆ วิดีโอ “TEDxUIUC - Sherry Turkle - Alone Together” จาก youtube.com
พลังกลุ่มไร้สังกัด
มนุษย์เป็นสัตว์สังคม จึงอาจไม่ใช่เรื่องเกินคาดหมายส�ำหรับ ปรากฏการณ์การเชื่อมต่อกันทางอินเทอร์เน็ต แต่ค�ำถามใหญ่ เขียนโดย Clay Shirky แปลโดย สฤณี อาชวานันทกุล หลังจากนัน้ คือ เทคโนโลยีเหล่านีม้ ผี ลต่อการเปลีย่ นแปลงวิถชี วี ติ และสังคมในภาพรวมอย่างไร ในบทส่งท้ายของเล่มผูเ้ ขียนได้เล่า ถึงเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่มณฑลเสฉวนในจีน ซึ่งมีการกระจาย ข่าวอย่างรวดเร็ว โดยผู้รายงานคนแรกเป็นชาวเสฉวนที่รายงาน ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ชอื่ คิวคิว จากนัน้ มีการอัพโหลดภาพ การทวิตข้อมูลจนถึงสายข่าวบีบีซี ภายใน 40 นาทีมีการบันทึก ข้อมูลในวิกิพีเดีย ไม่กี่ชั่วโมงถัดมามีเว็บไซต์ช่วยค้นหาผู้คนที่ สูญหาย และเริ่มเปิดช่องทางการบริจาค แต่ความเห็นใจก็ไม่ สามารถทดแทนการสูญเสียขั้นรุนแรงนี้ได้ เพราะไม่นานหลัง เหตุการณ์กลับมีการตีแผ่เรื่องราวการคอร์รัปชั่นในการก่อสร้าง อาคารเรียนจนเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์บนโลกออนไลน์ต่อใน วงกว้าง แต่ละบทจากหนังสือเล่มนี้จะทยอยเล่าถึงแง่มุมของ พลังกลุม่ คนทีก่ �ำลังเลือนรางระหว่างภาพของสือ่ และการสือ่ สาร ไปจนถึงการบรรจบกันระหว่างแรง บันดาลใจส่วนตัวสูเ่ รือ่ งส่วนรวม การเคลือ่ นไหว ท้าทาย รวมถึงการต่อรองในแต่ละมิตอิ ย่างรอบด้าน ซึง่ จะท�ำให้เห็นว่าคนตัวเล็กจ�ำนวนมากสามารถรวมตัวเป็นพลังในช่องทางทีม่ องไม่เห็นนีไ้ ด้อย่างไร 8 l Creative Thailand l กุมภาพันธ์ 2558
DOCUMENTARY GOOGLE AND THE WORLD BRAIN กำ�กับโดย Ben Lewis
ในปี 2002 กูเกิลได้เริ่มโปรเจ็กต์ขนาดใหญ่ ด้วยการสแกนหนังสือจ�ำนวนกว่าล้านเล่มอย่าง เงียบๆ เพื่อเก็บไว้ในกูเกิลบุ๊ก อันเป็นความ พยายามในการสร้างศูนย์กลางคลังความรู้ ขนาดใหญ่ที่จะส่งตรงสู่ผู้ใช้ผ่านระบบดิจิทัล สอดคล้องกับงานเขียนแนววิทยาศาสตร์ในปี 1937 ของ เอช.จี. เวลส์ (H.G. Wells) ที่เขียน ถึ ง ประเด็ น World Brain หรื อ คลั ง สมอง ของโลกที่ จ ะน�ำพามนุ ษ ย์ ไ ปสู ่ ป ั ญ ญาอั น ยิ่งใหญ่ แต่ความเป็นจริงหนังสือจ�ำนวนมาก ในโปรเจ็กต์ต่างมีลิขสิทธิ์และกลายเป็นคดี ฟ้องร้องอื้อฉาวในปี 2012 สารคดีเรื่องนี้จึง เป็นการน�ำเสนอการวิพากษ์อันเผ็ดร้อนของ คณาจารย์บรรณารักษ์ รวมถึงผู้บริหารของ กูเกิล ซึง่ ต่างร่วมสร้างมุมมองทีน่ า่ สนใจทัง้ เรือ่ ง ลิขสิทธิ์ ขอบเขตของเทคโนโลยี ราคาค่างวด ของความรู้ กระทั่งความสามารถในการเข้า ถึงแหล่งความรู้อย่างเสรี เสมือนเป็นการมอง หาความเป็ น ไปได้ ที่ เ หมาะสมส�ำหรั บ ผู ้ ค น แต่ละกลุ่มในการสร้างสรรค์ และส่งต่อองค์ ความรู้ส�ำหรับอนาคตโดยมีเครื่องมือส�ำคัญ เป็นเทคโนโลยี
CREATIVE RESOURCE วัตถุดิบทางความคิด
เรื่อง: เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร และ กริยา บิลยะลา
THE DIGITAL ECONOMY
FEATURED BOOK
Rethinking Promise and Peril in the Age of Networked Intelligence โดย Don Tapscott ไม่ว่าคุณจะคิดเห็นอย่างไร ขณะนี้เราก�ำลังอยู่ในยุคที่อินเทอร์เน็ต กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตและเป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ทุกคน ถามหา แค่ลองคิดว่าถ้าไม่มอี นิ เทอร์เน็ต การติดต่อสือ่ สารระหว่างกัน การรับรู้ข้อมูลต่างๆ จะยากขึ้นเพียงใด หากย้อนกลับไปในวันที่โลก นี้เพิ่งรู้จักอินเทอร์เน็ตได้ไม่นาน ดอน แทปสกอตต์ ได้เขียนหนังสือ เล่มนี้ขึ้น ซึ่งนี่เป็นหนึ่งในหนังสือที่ขายดีที่สุดในปี 1995 เขายังเป็น คนแรกที่ให้ค�ำจ�ำกัดความค�ำว่า “เศรษฐกิจฐานดิจิทัล (Digital Economy)” ที่หลายคนพูดถึงกันอยู่ในทุกวันนี้ ในยุคอุตสาหกรรม เทคโนโลยีเครื่องจักรกลเข้ามามีส่วนส�ำคัญ ในการสร้างมาตรฐานให้กับสิ่งต่างๆ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ การผลิตให้กบั ธุรกิจ ขับเคลือ่ นระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ทีม่ แี นวคิด มุง่ ตอบสนองความต้องการระดับบุคคล กระตุน้ ให้เกิดการใช้ทรัพยากร อย่างไม่ค�ำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น จริงอยู่ที่การแข่งขันเป็น เรื่องดี แต่หากการแข่งขันถูกยึดโยงกับความสามารถในการเข้าถึง อ�ำนาจ อาจท�ำให้เกิดความไม่เท่าเทียมขึ้นมากมาย และในที่สุด ความต้องการแบบไม่มีที่สิ้นสุดจะพาเราไปถึงทางตัน เช่นในหลาย ประเทศที่ก�ำลังประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ ระหว่างทีก่ ลไกทุนนิยมก�ำลังกระจายไปทัว่ โลก อินเทอร์เน็ตได้ถกู พัฒนาขึน้ ให้เข้ามาเป็นส่วนหนึง่ ในการช่วยลดต้นทุนการบริหารจัดการ ไม่เพียงแต่ภาคการผลิตเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการพัฒนาการบริการ ขยายขอบเขตทางธุรกิจ สร้างโอกาสทางการตลาดใหม่ๆ หลอมรวม โลกเป็นหนึ่งเดียว เราอาจไม่เชื่อว่านอกจากอินเทอร์เน็ตจะเปลี่ยนวิธี การเข้าถึงข้อมูลแล้ว มันยังเปลี่ยนวิธีคิดของผู้คนที่มีต่อสังคมและ ระบบเศรษฐกิจอีกด้วย แทปสกอตต์ เ คยกล่ าวไว้ว่า ถือเป็นเรื่องน่า เสียดายที่ค�ำว่ า “สังคมนิยม (Socialism)” ได้ถูกใช้โดยคาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) ไปแล้ว ไม่เช่นนั้นมันอาจเป็นค�ำที่ใช้อธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นใน ปัจจุบันได้ดีที่สุด ในวันที่เรามีสื่อสังคม (Social Media) เครือข่าย สังคม (Social Network) และธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business) พร้อมสรรพ นั่นหมายความว่าอินเทอร์เน็ตได้สร้างการเข้าถึงอย่างที่ ไม่เคยมีมาก่อน คนจะให้ความส�ำคัญกับการรวมกลุม่ มากขึน้ เป็นยุค ของการเป็นส่วนหนึง่ ร่วมมือกันสร้างสรรค์สงิ่ ใหม่ ลดความเป็น “ของฉัน” เพิ่มความเป็น “ของเรา” ไม่ใช่แค่การแชร์ข้อมูลระหว่างกัน แต่รวม ถึงการแชร์ภูมิปัญญาที่สั่งสมมาในกลุ่มที่มีความสนใจเรื่องเดียวกัน
จนเกิดเป็นสังคมที่ระบบเศรษฐกิจในอนาคตจะถูกปรับเปลี่ยนไปเพื่อตอบ สนองต่อความต้องการของกลุ่มสังคมมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อการสร้างความยั่งยืน ให้แก่ทุกคน เวลาผ่านไป 20 ปี หนังสือเล่มนี้พิสูจน์ได้ว่าแทปสกอตต์มองเห็นอนาคต ของโลกดิจิทัลได้อย่างถูกต้องแม่นย�ำ เขาตีพิมพ์หนังสือเล่มนี้อีกครั้ง พร้อม ปรับปรุงเนื้อหาข้อมูลเชิงลึกที่น่าสนใจและเหมาะกับสถานการณ์ปัจจุบัน นอกจากนี้ยังตั้งประเด็นให้ฉุกคิดถึงผลกระทบของเทคโนโลยีในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะต่อครอบครัว เศรษฐกิจ สังคม การศึกษา และหลักการประชาธิปไตย ในยุคดิจิทัล เพื่อให้เราได้ท�ำความเข้าใจและพร้อมที่จะรับมือกับสิ่งที่จะเกิด ขึ้นในอนาคต พบกับวัตถุดิบทางความคิดเหล่านี้ได้ที่ TCDC Resource Center กุมภาพันธ์ 2558 l Creative Thailand l 9
MATTER วัสดุต้นคิด
MATERIAL
for WEARABLE
DEVICE เรื่อง: ชมพูนุท วีรกิตติ และ ปิยวรรณ กลิ่นศรีสุข
Wearable Device คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้พกพาหรือสวมใส่ไว้ในร่างกายได้เป็นเวลา นาน โดยไม่เป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนไหวหรือ การดำ�เนินชีวิตประจำ�วัน มักอยู่ในรูปแบบ ของอุปกรณ์ขนาดเล็ก เช่น สายรัดข้อมือ หรือใน รูปของเสื้อ ผ้ า ด้ วยฟั งก์ ชั่นและขนาดทำ�ให้ Wearable Device เป็นที่นิยมในกลุ่มผู้ที่ให้ ความสำ�คัญกับสุขภาพ โดยอุปกรณ์จะเป็นตัว ช่วยเก็บข้อมูลการออกกำ�ลังกาย เพื่อนำ�ไป วิเคราะห์ผ่านตัวแอพพลิเคชั่น แล้วสรุปออกมา เป็นข้อมูลทีน่ า่ สนใจ ไม่วา่ จะเป็นจำ�นวนก้าวเดิน ในแต่ละวัน เฉลีย่ รายสัปดาห์ รายเดือน ปริมาณ แคลอรีที่ถูกเผาผลาญ ไปจนถึงการเก็บข้อมูล กิจกรรมต่างๆ ที่ทำ�ในแต่ละวัน รวมทั้งในกลุ่ม นักออกแบบที่ต้องการความแปลกใหม่เพื่อนำ� มาสร้างสรรค์เป็นสินค้าคอลเล็กชั่นพิเศษ นวัตกรรมวัสดุจงึ กลายมาเป็นองค์ประกอบ สำ�คัญในการสร้างสรรค์สนิ ค้า Wearable Device ที่เชื่อมต่อข้อมูลผู้ใช้ไปสู่ระบบปฏิบัติการต่างๆ ซึง่ มีแนวโน้มเพิม่ มากขึน้ ในท้องตลาดทีน่ า่ สนใจ
ได้แก่ “Conductive Inks” หมึกพิมพ์ชนิดพิเศษ ซึง่ ผสมอนุภาคนำ�ไฟฟ้า เช่น ผงคาร์บอนหรือผง เงิน หรือผสมกับกราฟีน (Graphene) ทีเ่ ป็นรูป แบบหนึง่ ของผลึกคาร์บอน หมึกพิมพ์นใ้ี ช้พมิ พ์ วงจรไฟฟ้าบนวัสดุ เช่น กระดาษ ผ้า หรือฟิลม์ พลาสติกได้ มีราคาไม่แพง ความยืดหยุน่ สูง และ รีไซเคิลได้ ปัจจุบนั บริษทั ดูปองท์ยงั ได้พฒั นา หมึกพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ไปอีกขั้นหนึ่งที่ยืดหยุ่น ได้ดมี ากขึน้ และทนต่อการซักได้ถงึ 100 ครัง้ อี ก หนึ่ ง วั ส ดุ ก็ คื อ “Thermochromic Pigments” สี ช นิ ด พิ เ ศษที่ ทำ � ปฏิ กิ ริ ย ากั บ อุณหภูมิรอบตัวและเปลี่ยนสีได้ โดยใช้ผลึก เหลว (Liquid Crystal) ซึ่งจะจัดเรียงโมเลกุล ใหม่และทำ�ให้เปลีย่ นสีได้เมือ่ ได้รบั พลังงานจาก ภายนอก เช่น ความร้อน จึงสามารถนำ�ไป ออกแบบให้ ใ ช้ ง านกั บ การเปลี่ ย นแปลงของ อุณหภูมิในร่างกายได้ ขณะที่วัสดุในกลุ่มของ “Electrotextiles” ซึ่งทอจากด้ายจนเป็นผ้าที่ นำ�ไฟฟ้าได้นั้นก็ยิ่งมีความใกล้ชิดกับผู้บริโภค โดยเป็นการเคลือบผ้าด้วยโลหะ เหมาะใช้ทำ�
เซ็นเซอร์ หรือทัชแพด รวมถึงแผงควบคุมของ สมาร์ทโฟน และคียบ์ อร์ดทีย่ ดื หยุน่ ได้ (Flexible Keyboard) วัสดุประเภทนี้มีจุดเด่นที่ทั้งยืด และซักได้ จึงนำ�มาประยุกต์ใช้สวมใส่ในชีวิต ประจำ�วันได้ดี นอกจากนี้ ยังมีวัสดุอื่นในกลุ่มที่นิยมนำ� มาประยุ ก ต์ ใ ช้ กั บ วงการเสื้ อ ผ้ า แฟชั่ น เช่ น “Light Diffusing Acrylic” ซึง่ แถบแอลอีดี (LED) เล็กๆ ในอะคริลกิ จะช่วยกระจายแสงได้ทวั่ จาก ผิวทุกด้านทำ�ให้เสื้อผ้าเรืองแสงได้จากพลังงาน เสียงและความร้อน ส่วน “Muscle Wire” เป็น วัสดุที่ทำ�หน้าที่เหมือนเมมโมรีโฟม (Memory Foam) โดยเป็นโลหะผสมชนิดพิเศษที่สามารถ จดจำ�รูปร่างได้ และจะหดตัวได้ร้อยละ 7 เมื่อ เชื่อมต่อกับกระแสไฟฟ้า มีนํ้าหนักเบา ใช้ใน งานที่ต้องการความเงียบและการไหลตัวของ ของเหลวได้ดี เช่น ในเสื้อกันกระสุน และเสื้อที่ ใช้ป้องกันตัว Wearable Device ทีก่ �ำ ลังเติบโตขึน้ อย่าง รวดเร็วนี้ ได้พสิ จู น์ให้เห็นว่าความคาดไม่ถงึ จะ กลายเป็นเรือ่ งจริงได้เสมอด้วยวัสดุและเทคโนโลยี เพื่อตอบสนองต่อพฤติกรรมและเป็นประโยชน์ ทั้งการจัดการ และการดำ�เนินชีวิตประจำ�วันใน แง่มุมต่างๆ ของมนุษย์ ที่มา: วารสาร ไมโครคอมพิวเตอร์ (กุมภาพันธ์ 2557), บทความ “Five Materials That Are Making Technology Wearable” (2013) จาก crunchwear.com, fashioningtech.com,และ thumbsup.in.th
10 l
Creative Thailand
l กุมกราคม มภาพันธ์2558 2558
หมดปญหาหยิบนิตยสารไมทัน สมัครสมาชิกรายป คาใชจายในการจัดสง 200 บาท (12 เลม) หรือสมัครออนไลนไดที่ tcdc.or.th/creative_thailand
IMPAtouch (MC# 6213-01) อุปกรณ์ไฟฟ้าพร้อมกลไกบังคับการท�ำงานผ่านแผ่นกระจก ผลิตด้วยกระบวนการที่เป็นกรรมสิทธิ์เฉพาะในการท�ำแผ่น กระจกให้เป็นแผงหรือปุม่ ควบคุมการท�ำงานของอุปกรณ์ตา่ งๆ โดยผสานเทคโนโลยีการผลิตกระจก อุปกรณ์เซ็นเซอร์ และ วงจรอิเล็กทรอนิกส์เข้าไว้ดว้ ยกัน ขัน้ แรกจะต้องสกรีนตราสัญลักษณ์หรือสร้างขอบเขตของ แผงบังคับลงด้านหลังของแผ่นกระจกนิรภัยเทมเปอร์ (ESG) จากนั้นจึงพิมพ์ประกบแผงวงจรด้วยความร้อนและเชื่อม ชิน้ ส่วนอิเล็กทรอนิกส์ลงบนแผง โดยอุปกรณ์ตรวจจับจะท�ำหน้าที่ แปลงสัญญาณดิจทิ ลั เพือ่ ป้อนให้ตวั ประมวลผลสามารถก�ำหนด ลักษณะการใช้งานได้ตามต้องการโดยอาศัยซอฟต์แวร์ทที่ �ำงาน ผ่านอุปกรณ์ควบคุมขนาดจิว๋ รวมทัง้ ยังสามารถปรับเปลีย่ น ระยะการตรวจจับของตัวเซ็นเซอร์ได้ระหว่างการใช้งาน การใช้ อุปกรณ์ควบคุมผ่านแผ่นกระจกนี้มีข้อดีที่สามารถท�ำความ สะอาดพืน้ ผิวได้งา่ ย จึงเหมาะเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ อุปกรณ์ โสตทัศน์ และอุปกรณ์หอ้ งสตูดโิ อ รวมทัง้ เครือ่ งใช้ในครัวเรือน อุปกรณ์ในห้องนำ�้ งานด้านการสือ่ สาร และการก่อสร้าง
ขอมูลผูสมัครสมาชิก สมาชิกใหม ชื่อ นามสกุล เพศ โทรศัพท
สมาชิกเกา (ตองการตออายุสมาชิก) หญิง อายุ
ชาย
อีเมล
โทรศัพทมือถือ
อาชีพ นักเรียน ครู/อาจารย
นิสิต/นักศึกษา พนักงานบริษัท
นักออกแบบ/ครีเอทีฟ ผูประกอบการ
อาชีพอิสระ อื่นๆ โปรดระบุ
ขาราชการ/รัฐวิสาหกิจ
สาขา/อุตสาหกรรมที่เกี่ยวของกับอาชีพของทาน โฆษณา สถาปตยกรรม แฟชั่น ศิลปะการแสดง ดนตรี ภาพยนตร โทรทัศน/วิทยุการกระจายเสียง
ทองเที่ยว/โรงแรม/สายการบิน วรรณกรรม/การพิมพ/สื่อสิ่งพิมพ พิพิธภัณฑ/หองแสดงงาน ซอฟตแวร/แอนิเมชัน/วิดีโอเกม
หัตถกรรม/งานฝมือ การเงิน/ธนาคาร ทัศนศิลป/การถายภาพ อื่นๆ โปรดระบุ
อาหาร การแพทย การออกแบบ
คาปลีก/คาสง โทรคมนาคม
ที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ จังหวัด
Thermosiv Heating Fabric (MC# 5798-01) ผ้าทอให้ความร้อนซึ่งประกอบไปด้วยเส้นด้ายที่ไม่นำ�ไฟฟ้า (โพลีเอสเตอร์) และเส้นด้ายที่นำ�ไฟฟ้า (คาร์บอนเคลือบ โพลิเมอร์) มีประสิทธิภาพมากในการเปลีย่ นกระแสไฟฟ้าให้ เป็นความร้อน สามารถให้ความร้อนได้สูงถึง 120 ํC และมี ความยืดหยุ่น ยอมให้อากาศผ่านเข้าออกได้ นำ�ไปซักได้ บางและเบา ตัวฉนวนกันไฟฟ้าที่ทอเข้าไปนี้ทำ�งานได้ด้วย แหล่งกำ�เนิดพลังงานที่หลากหลาย ทั้งถ่านรีชาร์จ (3.6V+) ไฟฟ้า 110/220V, 12/24V และพลังงานแสงอาทิตย์ สามารถ ฉีก ฉลุ และเย็บได้ โดยไม่ทำ�ให้เกิดการลัดวงจร การใช้งาน ทีเ่ ป็นไปได้คอื สำ�หรับงานออกแบบยานยนต์ ตกแต่งภายใน (เป็นส่วนให้ความร้อน) การแพทย์ และชุดกีฬา พบกับวัสดุต้นคิดเหล่านี้ได้ที่ Material ConneXion® Bangkok, TCDC
ซอย
ถนน รหัสไปรษณีย
หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง
อำเภอ/เขต
หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง
อำเภอ/เขต
ที่อยูในการออกใบเสร็จ เหมือนที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ ซอย จังหวัด
ถนน รหัสไปรษณีย
ตองการสมัครสมาชิกนิตยสาร Creative Thailand ระยะเวลา 1 ป จำนวน 12 เลม เริ่มตั้งแตฉบับเดือน โดยยินดีเสียคาใชจายในการจัดสงเปนจำนวนเงิน 200 บาท
วิธีการชำระเงิน เช็คสั่งจายศูนยสรางสรรคงานออกแบบ พรอมใบสมัครสมาชิก โอนเงินเขาบัญชีออมทรัพย ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ เลขที่บัญชี 101-808967-0 ธนาคารกรุงเทพ สาขาสำนักงานใหญสีลม • แฟกซใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่ 02-664-7670 • หรือสงไปรษณียมาที่ ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (Creative Thailand) 622 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอรชั้น 24 ถนนสุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 • หรือแนบไฟลใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่อีเมล creativethailand@tcdc.or.th สอบถามขอมูลเพิ่มเติมไดที่ 02-664-7667 ตอ 122
กุมภาพันธ์ 2558
l
Creative Thailand
l 11
NET IDOL เรื่อง: ศุภมาศ พะหุโล และ ภูริวัต บุญนัก
เมื่ อ ความดั ง ในวั น นี้ ไ ม่ ไ ด้ เ กิ ด จาก ทำ�ความดี ที่ ยิ่ ง ใหญ่ ความฉลาด เจ้าของไอคิวระดับประเทศ หรือความ สวยหล่อเทียบชั้นดาราอาชีพเท่านั้น แต่ ค วามดั ง ยั ง เกิ ด ขึ้ น ได้ กั บ คน ธรรมดาที่ มี แ นวคิ ด และลู ก เล่ น ที่ ไ ม่ ธรรมดา ซึ่งสามารถใช้เทคโนโลยีแห่ง การเชื่อมต่ออย่างอินเทอร์เน็ต ได้ตรง ใจและตอบโจทย์ความบันเทิงที่หลาก หลายของชาวพลเมืองเน็ตด้วย
12 l
Creative Thailand l กุมภาพันธ์ 2558
CLASSIC ITEM คลาสสิก
ยุคหลังอินเทอร์เน็ต มีการเกิดขึ้นของคำ�ใหม่ หลายคำ�ที่ได้กลายเป็นคำ�เรียกสามัญซึ่งเข้าใจ ตรงกันในกลุม่ พลเมืองเน็ต หนึง่ ในนัน้ คือ คำ�ว่า “เน็ต ไอดอล (NET IDOL)” ซึ่งใช้เรียกคนหรือ กลุ่มคนผู้มีชื่อเสียงโด่งดังผ่านอินเทอร์เน็ตที่มี จำ�นวนคนฟอลโลว์ (Followers) และยอดไลค์ (Like) วิว (View) หรือ ลูป (Loop) สูงมากผิดปกติ มีการแชร์ (Share) และพูดถึงกันอย่างต่อเนื่อง ภายในระยะเวลาอันสั้น เน็ต ไอดอลส่วนใหญ่ สร้างชือ่ เสียงด้วยตนเอง (Self-Made Celebrity) และเป็นแรงงานกลุ่มใหม่ในอุตสาหกรรมสื่อ บันเทิง ด้ ว ยความที่ ย อดไลค์ ห รื อ จำ � นวนฟอลโลว์ กลายเป็ น ตั ว เลขใหม่ อั น เป็ น ที่ ต้ อ งการของ นักสะสมคะแนนนิยมออนไลน์ปัจจุบันจึงเกิด ธุรกิจเพิม่ ไลค์โดยมีสนนราคาในการเรียกเก็บเงิน เบือ้ งต้น ตัง้ แต่ 400 บาทสำ�หรับ 1,000 ไลค์ บนเฟซบุก๊ ไปจนถึงแพ็คเกจเพิม่ ยอดคนฟอลโลว์ 10,000 คนภายใน 4-5 วันในราคา 2,000 บาท ทัง้ ยังเกิดการจ้างงานในกลุม่ ธุรกิจออนไลน์ รวม ถึงการเกิดขึน้ ของบัญชีปลอมจำ�นวนมาก ขณะที่ ผู้ บ ริ โ ภคเองก็ อ าจกลายเป็ น เหยื่ อ ของธุ ร กิ จ มากมายทีห่ วังสร้างกระแสให้โด่งดังผ่านเครือข่าย สังคมออนไลน์เหล่านี้
เจ้าของบล็อกแฟชั่น Style Rookie ที่เปิดมา ตัง้ แต่ปี 2008 (อายุ 12 ปี) และมีผตู้ ดิ ตามอ่าน เฉลีย่ มากกว่า 30,000 คนต่อวัน ปัจจุบนั เทวีมี เว็บแมกกาซีนแฟชั่ นของตัวเอง rookiemag.com และยังได้รับคัดเลือกจากนิตยสารไทม์ ให้เป็น 1 ใน 25 เด็กวัยรุ่นผู้ทรงอิทธิพลในปีที่ผ่านมา ด้ ว ยต้ อ งสร้ า งความแตกต่ า งเพื่ อ แย่ ง พื้ น ที่ ออนไลน์กับคนอีกนับล้าน เน็ต ไอดอลรุ่นใหม่ จึงต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ ความสามารถ และทักษะที่หลากหลายขึ้น ตั้งแต่การเขียน การเล่าเรื่อง การถ่ายรูป การทำ�อาหาร การ ร้องเพลง หรือการแสดงออกต่างๆ เทคโนโลยี กล้องบนสมาร์ทโฟนพร้อมแอพพลิเคชั่นตัดต่อ สำ�เร็จรูปยังได้ชว่ ยแจ้งเกิดเน็ต ไอดอลในรูปแบบ ที่หลากหลายขึ้น “มะเฟือง” ใช้ของดีการทำ� คลิปจากโปรแกรม Vine ที่จำ�กัดแค่ 6 วินาที เขียนสคริปต์ เล่น ถ่าย ตัดต่อ และอัพโหลด จน ได้รบั ความนิยมอย่างล้นหลาม น่าสนใจอย่างยิง่ ว่าเน็ต ไอดอลกลุ่มนี้จะมีการพัฒนาต่อทั้งด้าน ทักษะ ความสามารถ ไปจนถึงการใช้เทคโนโลยี ไปในทิศทางไหน
ในช่ ว งปลายทศวรรษ 1990 แม่ บ้ า นญี่ ปุ่ น จำ�นวนหนึ่งที่ไม่ต้องออกไปทำ�งานนอกบ้าน และสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตคือเน็ตไอดอล กลุ่ ม แรกๆ โดยคอนเทนต์ ข องพวกเธอคื อ กิจกรรมในชีวติ ประจำ�วัน อย่างการทำ�อาหารเช้า เขียนไดอารี่หรือตอบปัญหาเรื่องกระจุกกระจิก ผ่านการใช้พนื้ ทีอ่ อนไลน์ซงึ่ เป็นพืน้ ทีใ่ หม่ในการ แสดงออกของผู้หญิงในสังคมญี่ปุ่น
นอกจากการชื่นชมในความสามารถและความ บันเทิงที่ได้รับ เน็ต ไอดอล บางกลุ่มยังช่วย คลายความเหงาอีกด้วย ในปี 2004 กระแส "Gastronomic Voyeurism" การเฝ้าดูถ่ายทอด สด (Live-Dtreaming) การกินอาหารออนไลน์ ทำ�เงินมากกว่าเดือนละ 280,000 บาท ให้ กั บ เน็ ต ไอดอลชาวเกาหลี ปาร์ ก ซู ย อน (Park Seo Yeon) โดยเม็ดเงินดังกล่าวมาจาก ค่าโฆษณาและเงินสมทบจากแฟนคลับที่ไม่ ต้องการกินข้าวเหงาๆ คนเดียวกว่าพันรายที่ เข้ามาล็อคอินในแต่ละวัน
การสร้างบล็อก (Blog) ถือเป็นใบเบิกทาง ให้ กั บ เน็ ต ไอดอลวั ย เยาว์ ตั้ ง แต่ ช่ ว งกลาง ทศวรรษ 2000 เป็นต้นมา เช่นในกรณีของ เทวี เกวินสัน (Tevi Gevinson) เน็ต ไอดอลวัยทีน
แม้การโด่งดังและได้รบั การยอมรับในฐานะเน็ต ไอดอล จะมอบคุณค่าทางจิตใจอย่างมหาศาล ให้กบั ผูท้ เี่ หมือนมีสปอตไลท์สอ่ งทางตลอดเวลา แต่ประเด็นทีไ่ ด้รบั การพูดถึงกันมาก โดยเฉพาะ
CLASSIC ITEM คลาสสิก
ในเรือ่ งของรายจ่ายเพือ่ ให้ได้ผลตอบแทนทางจิตใจนีก้ ค็ อื การทีเ่ น็ต ไอดอล หลายคนต้องเสียเงินในการดูแลลุคของตนเอง และการรักษาฐานแฟนคลับ และคนฟอล์โลว์ของตน แต่กลับไม่ได้ค่าตอบแทนเป็นจำ�นวนเงินกลับมา ซึ่งหากดูแล้ว จะพบว่าสัดส่วนผู้ที่สามารถสร้างรายได้จากการเป็นเน็ต ไอดอลนั้นอาจคิดเป็นเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์ของผู้ที่ไม่ได้รับผลตอบแทน ยังไม่รวมถึงภาวะจิตใจในช่วงเวลาหลังเสื่อมความนิยมด้วย 5 ปีที่ผ่านมาถือเป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลงและให้ความหมายใหม่แก่ วงการเน็ต ไอดอลในประเทศไทย เพราะนอกจากเน็ต ไอดอลที่มีดีที่ หน้าตา ฐานะ และการแต่งตัวแล้ว หากนับทีย่ อดการฟอลโลว์หรือยอดวิว ยังเกิดเน็ต ไอดอลในรูปแบบที่หลากหลายขึ้น ทั้งร้อง เต้น เล่นตลก จน ดูเหมือนว่าใครๆ ก็สามารถเป็นเน็ต ไอดอลได้ ไม่ว่าจะเป็นสายตลก โปกฮา อย่าง โคม ปะการัง แม่บ้านมีหนวด หรือแกงค์เฟดเฟ่ บอยแบนด์ หรือจะเป็นสายร้องเพลงอย่างแป้งโกะ (จินตนัดดา ลัมะกานนท์) หรือใน กรณีของพุด เดชอุดม ทีย่ งั มีความสงสัยกันอยูว่ า่ แท้จริงแล้ว เขาร้องเพลง
เพี้ยนจริงหรือไม่ จึงทำ�ให้ยังมีคนจำ�นวนไม่น้อยที่ยังติดตามอยู่เสมอ (ยังไม่นับแอมมี่ บอกรักผัว มันแกว นมคุณธรรม หรือเน วัดดาว ที่แม้ว่า จะไม่ได้แสดงความสามารถพิเศษอะไร แต่ก็ยังมีความ “เกรียน” ที่เป็น ปัจจัยกระตุ้นให้ยอดวิวสูงถึงหลักล้านในเวลาไม่นาน) การเกิดขึน้ ของเน็ต ไอดอล ยังส่งผลดีกบั วงการบันเทิงและเอเจนซีโ่ ฆษณา ที่สามารถค้นหาดาวดวงใหม่ในการขายสินค้าและบริการได้โดยไม่ต้อง จัดการประกวดหรืออาศัยโมเดลลิ่ง ดังที่น้องก้อง (เสียใจแต่ไม่แคร์) ได้ปรากฏตัวในภาพยนตร์เรื่องหอแต๋วแตก 4 โคม ปะการัง ได้รับการ ทาบทามให้ไปทำ�งานกับบริษัทเวิร์กพอยท์ หรือเฟดเฟ่ บอยแบนด์ ที่ได้ ค่าโฆษณาการจากไทร์อนิ สินค้าในคลิป และแป้งโกะ ทีไ่ ด้กลายเป็นศิลปิน ตัวจริงในค่าย โซนี่ มิวสิค เป็นต้น ที่มา: การบรรยาย "The Labor of Cute: Net Idols, Cute Culture and the Social Factory in Contemporary Japan" โดย Gabriella Lukács, rookiemag.com, time.com, vine.co และ Euromonitor กุมภาพันธ์ 2558
l
Creative Thailand
l 13
COVER STORY เรื่องจากปก
I'm at Anime Fest. la Waittttt !!
FUSION GENERATION
HOW FAR HAVE WE REACHED? เรื่องมันเริ่มตั้งแต่ประมาณ 30 ปีก่อน ในยุคที่โลกหันมาตื่นตัวกับกระแสโลกาภิวัตน์อีกครั้ง...นับตั้งแต่สมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ แห่งอาณาจักรมาซิโดเนียมีความฝันจะรวมโลกทั้งใบให้เป็นปึกแผ่นตั้งแต่ 330 ปีก่อนคริสตกาลเป็นต้นมา ความฝันที่จะควบคุมการติดต่อค้าขายต่างๆ บนโลกใบนี้ไม่เคยจางหายไป แต่จนแล้วจนรอดก็ยังไม่มีใครสามารถทำ�ได้สำ�เร็จในตลอดช่วงเวลา 2,000 ปีทผ่ี า่ นมา จวบจนกระทัง่ เมือ่ โลกมี โมเด็ม (Modulator-Demodulator) ความเร็ว 14.4 k ถือกำ�เนิดขึ้นมา ในช่วงทศวรรษ 1990 เพื่อทำ�หน้าที่เป็นผู้ส่งสารรูปแบบใหม่ แล้ว... ทุกสิ่งทุกอย่างก็เปลี่ยนไปตลอดกาล
14 l
Creative Thailand
l กุมภาพันธ์ 2558
© Reuters/ Yuan Lin Kah
OK <3 !!
COVER STORY เรื่องจากปก
คาบเวลาใหม่-ยุทธวิธีใหม่ การสื่อสารและข้อมูลกลายเป็นอาวุธร้ายแรง ชนิดใหม่ในตลาดการค้า ใครก็ตามที่สามารถ เข้าถึงระบบสารสนเทศจะมีความเสมอภาค เท่าเทียมกันในเกือบจะทันที ต้นทุนในการเปิดหน้าร้านขายสินค้าออนไลน์ นั้นแทบจะเป็นศูนย์ การบริหารจัดการก็น้อย กว่ า การเปิ ด ร้ า นค้ า จริ ง ๆ อยู่ ห ลายเท่ า ตั ว และที่สำ�คัญสามารถให้บริการ 24 ชม.ตลอด เวลา 7 วันในทุกๆ สัปดาห์ ลองจินตนาการ ถึ ง การวางแผนไปทั ว ร์ ยุ โ รปที่ คุ ณ สามารถ เปรียบเทียบราคาค่าบริการต่างๆ ผ่านตัวแทน ท่องเที่ยวหลายเจ้าภายในเวลาไม่กี่นาทีผ่าน หน้าจอคอมพิวเตอร์ที่บ้าน การประชุมงานกับ บริษัทคู่ค้าอีกฟากโลกหนึ่งสามารถเห็นหน้าตา และตอบโต้กันในแบบเรียลไทม์ (เราอาจต้อง ยอมอดนอนเพื่อให้สามารถ “เข้าประชุม” ได้ ตรงกับเวลาของอีกฝ่าย) แม้แต่ธุรกิจสิ่งพิมพ์ ก็แทบจะล่มสลายเพราะไม่อาจตั้งรับกับการ มาถึงของ “สือ่ ดิจทิ ลั ” ทีใ่ ห้ความอิม่ เอมตอบสนอง โสตสัมผัสของผู้ชมได้มากกว่า รวดเร็ว และ ตามใจคนอ่านมากกว่าในทุกๆ ด้าน ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา นักเศรษฐศาสตร์สังคม โลกยุคใหม่จำ�แนกผู้คนออกเป็นรุ่นต่างๆ ถี่ยิบ โดยเริ่มต้นรุ่นด้วยตัวอักษร X อันหมายถึง สิ่งที่ แปลความหมายเป็นคำ�เฉพาะเจาะจงไม่ได้ ซึ่ง คนรุ่นนี้เกิดขึ้นในยุคของการเปลี่ยนผ่านทาง เศรษฐกิจและสังคมอย่างรุนแรงเนือ่ งจากกระแส การแข่งขันทางเทคโนโลยี (ค่าเฉลี่ยของเจน เอ็กซ์ (Gen X) คือคนที่เกิดในช่วงทศวรรษ 1960-1980) ซึง่ หากมองย้อนกลับไป เทคโนโลยี ในฝันต่างๆ ของคนในโลกยุคใหม่ ล้วนแล้วแต่ ได้รบั การบุกเบิกและได้รบั แรงบันดาลใจมาจาก สายตาที่มองเห็นโลกในอนาคตของคนรุ่นเบบี้ บูมเมอร์ (Baby Boomer - กลุ่มคนที่เกิดในช่วง
หลั ง สงครามโลกครั้ ง ที่ ส องเรื่ อ ยมาจนถึ ง ทศวรรษ 1960) และเจนเอ็กซ์เป็นส่วนใหญ่ ไม่วา่ จะเป็นดาบเลเซอร์ รถยนต์เหาะได้ การเดินทาง ข้ามกาลอวกาศ หรือแม้แต่ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ที่ควบคุมสิ่งอำ�นวยความสะดวกต่างๆ ในบ้าน และทีท่ �ำ งาน ไปจนถึงสามารถพูดจาโต้ตอบกับ “เจ้านาย”ได้
© Reuters/ Eligh Nouvelage
ซึ่งมรดกตกทอดอื่นๆ ที่คนในยุคเจนเอ็กซ์และ เจนวาย (Gen Y - กลุ่มคนที่เกิดช่วงทศวรรษ 1980-1990) ได้ถ่ายทอดไว้ให้คนรุ่นหลัง นอก เหนือไปจากจินตนาการต้นทาง ยังรวมถึงข้อมูล ประสบการณ์เกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รอบตัว ที่เป็น เสมื อ นภู เ ขานํ้ า แข็ ง ลอยตระหง่ า นกลาง มหาสมุทรแห่งเทคโนโลยี เต็มไปด้วยลายแทง แหล่งขุมทรัพย์ที่ท้าทายคนในรุ่นถัดไปให้มา เรียนรู้และนำ�ไปพัฒนาต่อยอดเป็นนวัตกรรม อื่นๆ ในอนาคต เมื่อแรกเริ่มที่อัตราค่าบริการการใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วประมาณ 56Kbps ในอินเทอร์เน็ตคาเฟ่อยู่ที่ ชั่วโมงละ 300 บาท การส่งอีเมลเมื่อ 20 ปีที่แล้ว ถือเป็นเรื่องหรูหรามากสำ�หรับคนทั่วไป เพราะค่า ชุดอุปกรณ์เพือ่ การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตนัน้ มีราคาแพงมาก ปัจจุบนั ค่าบริการอินเทอร์เน็ตบนความเร็ว พืน้ ฐานที่ 12Mbps นัน้ ดิง่ ลงหุบเหวไปเรียบร้อย พร้อมๆ กับมาตรฐานความเร็วใหม่ทเี่ พิง่ เปิดให้บริการ ในสหรัฐอเมริกาที่ 10Gbps โดยสนนราคาอยู่ชั่วโมงละ 16 บาทเท่านั้น (และมีรายงานว่าที่สวีเดน กำ�ลังทดสอบอินเทอร์เน็ตความเร็ว 40Gbps กันอยู่ด้วย – ธันวาคม 2014) 8 ปีทแี่ ล้วการมาถึงของไอโฟนได้เปลีย่ นโฉมหน้ารูปแบบการสือ่ สาร พร้อมการจากไปของโทรเลขและ การพังทลายลงของอาณาจักรโทรศัพท์อันยิ่งใหญ่ การมาถึงของโทรศัพท์จอสัมผัสที่การสื่อสารทุก รูปแบบสามารถทำ�ได้งา่ ยๆ บนพืน้ ทีเ่ ล็กเท่าฝ่ามือในเวลาสัน้ ๆ ได้เปิดแนวรบใหม่ของสนามการค้าขึน้ อย่างเป็นทางการ ขณะทีก่ เู กิลก็สง่ คูต่ อ่ สูท้ สี่ มนํา้ สมเนือ้ อย่างระบบปฏิบตั กิ ารสารพัดนึก “แอนดรอยด์” เข้ามาเสริมทัพเพื่อช่วงชิงพื้นที่หัวใจของผู้คนทั่วโลกที่ต้องการความสะดวกสบายในการเข้าถึงข้อมูล อย่างเท่าเทียมโดยไม่มีกำ�แพงราคาและระบบปฏิบัติการใดๆ มาปิดกั้นอีกต่อไป
ต้นทุนความรู้และประสบกาณ์ที่คนในรุ่นก่อนทิ้งไว้ให้คนรุ่นปัจจุบันนั้นทับถมก่ายกองกันไว้จนสูง ท่วมศีรษะ และยังมีที่จุ่มดิ่งลงไปในมหาสมุทรเบื้องล่าง ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ก้าว กระโดดไปอย่างรวดเร็วในคาบเวลาเพียงแค่ 20 ปีทผี่ า่ นมานัน้ ทำ�ให้การเดินทางไปยังจุดหมายเบือ้ ง หน้าไม่ใช่เรื่องยากเย็น หากเพียงว่าความสะดวกในการเดินทางไปยังดินแดนในฝันกลับกลายเป็น เรื่องที่ได้มา “ง่ายจนไร้คุณค่า” ไปโดยปริยาย กุมภาพันธ์ 2558
l
Creative Thailand
l 15
COVER STORY เรื่องจากปก
เสน่ห์สองข้างทาง นอกเหนือไปจากเรื่องของความสะดวกง่ายดายในการเดินทาง ตามรายทางบนเกาะนํ้าแข็งยักษ์ แห่งนี้ ยังเต็มไปด้วยร้านรวงของผูค้ นทีเ่ ดินทางไปถึงก่อนหน้าทีร่ วู้ า่ นักเดินทางหลายๆ คนชืน่ ชอบ ความสะดวกสบายและไม่ได้สนุกไปกับการลงไปขุดคุ้ยหาสิ่งที่ตัวเองต้องการให้เสียเวลา พ่อค้า หัวใสหลายเจ้าได้คดิ ค้นบริการต่างๆ มาอำ�นวยความสะดวกให้แก่นกั ท่องเทีย่ ว ไม่วา่ จะเป็นบริการ ค้นหา จองทีพ่ กั จัดทำ�แผนการท่องเทีย่ ว แนะนำ�จุดชมวิว หรือแม้แต่บริการค้นหาข้อมูลทีต่ อ้ งการ ได้งา่ ยๆ ให้กบั นักเดินท่องเทีย่ วรักสบายทัง้ หลายในแบบให้เปล่า โดยขอแลกกับทีอ่ ยูส่ �ำ หรับติดต่อ กลับหรือแลกกับค่าบริการเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น © Reuters/ Jason Redmond
ข้อมูลล่าสุดในปี 2014 จำ�นวนแอพพลิเคชั่น ในแอพสโตร์และกูเกิลเพลย์ สโตร์นั้น ได้ทะลุผ่านหลัก ล้านไปเรียบร้อยแล้ว โดยแอพฯ ที่ได้รับความสนใจจากผู้ใช้งานคือแอพฯ ประเภทเกมต่างๆ แอพฯ เพื่อการศึกษา ธุรกิจ ไลฟ์สไตล์ และบันเทิงตามลำ�ดับ ซึ่งรูปแบบในการค้าขายออนไลน์นี้ถ้าไม่นับ รวม Videotex Technology ระบบการขายสินค้าและบริการออนไลน์น่าจะเริ่มขึ้นในช่วงปี 1994 ใน ยุคที่โลกยังมีเว็บบราวเซอร์ Netscape Navigator เป็นผู้นำ� และในปีนั้นเองที่พิซซ่าฮัทเริ่มเปิดบริการ สั่งซื้อพิซซ่าออนไลน์ขึ้นเป็นครั้งแรกในโลก ในปีต่อมา โฉมหน้าของการสั่งซื้อของออนไลน์ของโลก ก็เปลี่ยนไป เมื่อเกิดมีร้านโชห่วยออนไลน์ที่ชื่อว่า “Amazon” เกิดขึ้นมาเป็นต้นทางไอเดียของการ ขายสินค้าและบริการต่างๆ อีกมากมายในยุคปัจจุบัน ปีที่ผ่านมา แอมะซอนได้เปิดตัว “แอมะซอน ไฟร์ โฟน (Amazon Fire Phone)” สมาร์ทโฟนทีผ่ ใู้ ช้สามารถถ่ายภาพสิง่ ของเช่นหนังสือ ซีดีเพลง โปสเตอร์หนัง ฯลฯ หรือบันทึกเสียงเพลงที่ได้ยิน ก่อนที่ เครื่องจะค้นหาข้อมูลสินค้าในคลังสินค้าของแอมะซอนมาแสดง บนหน้าจอพร้อมให้ช็อปได้ทันที
ฉันเป็นฉันเอง ในขณะที่นักท่องเที่ยวกำ�ลังเพลิดเพลินกับการ ถ่ายเซลฟีด่ ว้ ยไม้กายสิทธิ์ พร้อมกับดืม่ ดาํ่ ไปกับ การแชร์ภาพตนเองยืนคู่กับป้ายหน้าร้านค้า ต่างๆ ก่อนที่จะเคลื่อนตัวไปเช็กอินที่อื่นต่ออยู่ นั้น พวกเขาแทบไม่รู้ตัวเลยว่าสิ่งที่พวกเขาเพิ่ง “แบ่งปัน” ได้ถกู บันทึกเป็นหลักฐานไว้หมดแล้ว และแม้ว่านักท่องเที่ยวอีกหลายคนจะทราบดี เรือ่ งการโดนบันทึกข้อมูลกิจกรรมต่างๆ ราวกับ เป็นหนูทดลอง แต่ภารกิจการแบ่งปันและแสดง ตัวตนของคนในโลกยุคใหม่นั้นสำ�คัญกว่าการ มามัวนั่งสนใจว่ามีใครตามมอบไลค์ให้ตนเอง บ้าง การได้บอกกับสังคมจำ�ลองว่า “ฉันมาถึง แล้ว ทีน่ งี่ ดงามเหลือเกิน อาหารก็ละเมียดละไม 16 l
Creative Thailand
l กุมภาพันธ์ 2558
ทีน่ อนก็นมุ่ ชวนฝัน และฉันอยากให้ทกุ คนได้มา มีประสบการณ์อย่างฉัน...” และขอเพียงแค่ว่า ตัวเองมีจ�ำ นวนผูช้ น่ื ชอบมากกว่าเพือ่ นก็เพียงพอ แก่การแกล้งลืมไปว่าเกินกว่าครึ่งของจำ�นวน ผูต้ ดิ ตามวิถชี วี ติ ของตนเองนัน้ อาจเป็นเพียงแค่ บัญชีชื่อผู้ใช้งานปลอมๆ ก็เป็นได้
ในปี 2014 ประเทศไทยตกไปอยู่เป็นอันดับสี่ของโลกหลังจากครองแชมป์ถ่ายภาพและแชร์ภาพมาก ที่สุดในโลกสองสมัยในปีก่อนหน้า ปรากฏการณ์นี้หากมองเผินๆ ก็อาจเห็นแค่เพียงว่าคนไทยยังคงมี นิสยั ชอบถ่ายและแชร์ภาพไปยังโซเชียลเน็ตเวิรก์ แต่หากมองลึกลงไปในแง่ระบบการจัดเก็บข้อมูล จะ พบว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เราเข้าไปใช้ “บริการฟรี” นั้นล้วนแล้วแต่เป็นการ “แลกเปลี่ยน” กันระหว่าง “ความพึงพอใจ” กับ “การเก็บข้อมูลพฤติกรรมผู้ใช้งาน” เพราะพฤติกรรมเหล่านี้จะถูกบันทึกไว้เพื่อ นำ�ไปประเมินผลหาค่าเฉลี่ยในการวางแผนการตลาดและคาดการณ์ทิศทางตลาดในอนาคต สิ่งเหล่า
COVER STORY เรื่องจากปก
© Reuters/ Kevin Comls
นี้ เรียกว่า “Digital Footprint” ที่เพียงแค่เราคลิก “OK” บนป้ายโฆษณาในเว็บไซต์หรือวนเวียน เข้าไปดูขอ้ มูลสินค้าชนิดใดชนิดหนึง่ บ่อยๆ เว็บไซต์เจ้าของข้อมูลก็จะสามารถคาดคะเนได้วา่ เรา น่าจะสนใจสินค้าหรือเรื่องราวเกี่ยวกับอะไรเป็นลำ�ดับต่อไป กรณีศึกษาของการใช้งานข้อมูลของ Digital Footprint ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดกรณีหนึ่งคือ การบริหารข้อมูลของเว็บไซต์ที่ให้บริการภาพยนตร์สารคดีสำ�หรับผู้ใหญ่ที่เฝ้าจับตามองการเข้า เยี่ยมชมของผู้ชมทั่วไปและสมาชิกของเว็บไซต์ตนเอง (บางเว็บไซตจ์ะมีการนำ�เสนอโปรโมชั่น “สมัครสมาชิกกับเราสิ สมัครวันนี้ดูหนังเต็มเรื่องได้ฟรีไม่อั้นจากทั้ง 8 เว็บในเครือของเราเลย นะ”) โดยจะเก็บบันทึกข้อมูลการเลือกชมคลิปภาพยนตร์ตัวอย่างต่างๆ การเลือกหมวดของ ภาพยนตร์ จนเมื่อจับได้ว่าผู้ชมคนนี้มักเข้ามาเลือกดูตัวอย่างหนังในหมวดนี้ และมักจะเลือก นางเอกในลักษณะนีบ้ อ่ ยๆ ทางเว็บไซต์กจ็ ะปล่อยตัวอย่างหนังชุดทีเ่ หมาะสมหรือทีค่ ดิ ว่าน่าสนใจ มาก จนทำ�ให้ผู้ชมคนนั้นยอมเสียเงินสมัครเป็นสมาชิก เรียกว่า “เรารู้ใจคุณนะ...ขอบอก” หรือ ที่ศัพท์เทคนิคเรียกว่า “Semantic Web Mining” ซึ่งหมายถึงการประเมินผลข้อมูลจากสิ่งที่ เชื่อมโยงกันทั้งพฤติกรรม ผลการค้นหา การถูกเลือกของผลการค้นหา ระยะเวลาการเข้าใช้งาน การโต้ตอบของผู้ใช้งาน ฯลฯ แล้วประเมินผลความน่าจะเป็นออกมาเป็นการนำ�เสนอข้อมูลหรือ ข้อเสนอในการทำ�การตลาดอย่างมีประสิทธิภาพในลำ�ดับต่อไป © Reuters/ Kim Hong-Ji จากการสำ�รวจล่าสุด พบว่าอาชีพที่เด็กวัยก่อนเข้าสู่วัยรุ่น (pre-teens) ของเกาหลีใต้ใฝ่ฝันอยากจะเป็นมากที่สุด (21 เปอร์เซ็นต์) คือศิลปินเค-ป็อป
การติดตาม Digital Footprint นี้ไม่ได้ทำ�กันแบบหยุมหยิม แต่ทว่าทำ�กันเป็นอุตสาหกรรมขนาด ใหญ่ มีการร่วมมือกันถ่ายเทซือ้ ขายแลกเปลีย่ นข้อมูลของผูใ้ ช้งานกันเป็นทอดๆ บางบริษทั ลงทุน สร้างเว็บไซต์เกี่ยวกับสินค้าต่างๆ สะสมเอาไว้ในเครือเป็นหมื่นเว็บไซต์ รวมทั้งมีการจัดทำ� โปรแกรมประเมินผลอย่างจริงจังเฉพาะทาง เพื่อจัดเก็บข้อมูลและนำ�มาประมวลผลก่อนนำ�ไป ขายทอดตลาดต่อไป
ด้วยความทีค่ นในรุน่ ปัจจุบนั นีม้ หี นทางมากมายทีจ่ ะนำ�เสนอความคิดของตนเองไปสูส่ าธารณะและ ได้สิ่งที่ตนเองต้องการมาอย่างง่ายดายเพียงปลายนิ้วสัมผัสนี่เอง ช่องว่างระหว่างมิติที่เหลื่อมซ้อน ระหว่างโลกเสมือนและโลกแห่งความเป็นจริงจึงค่อยๆ ดึงดูดเข้าหากัน จนสุดท้ายได้หลอมรวมกัน จนแยกไม่ออกไปแล้ว กุมภาพันธ์ 2558
l
Creative Thailand
l 17
COVER STORY เรื่องจากปก
อวตารของฉันและของใคร
หลายครั้งจะพบว่าเพื่อนบางคนมีบัญชีผู้ใช้งาน บนเฟซบุ๊ ก มากถึ ง 3 บั ญชีเพื่อแสดงตัวตน และความคิ ด เห็ น ในกลุ่ ม สั ง คมที่ แ ตกต่ า ง วัตถุประสงค์กันไป หรือเพื่อปกปิดสถานภาพ จริงของตนออกจากกลุ่มสังคมในโลกเสมือนที่ ตนเองเข้าไปร่วมกิจกรรม ด้วยความเกรงกลัว ว่าการเปิดเผยตัวตนอาจก่อให้เกิดอันตรายอัน เนื่องมาจากการแสดงความคิดเห็น หรือการ แสดงออกในพื้นที่ของชุมชนนั้นๆ แบบสุดโต่ง ปรากฏการณ์การสร้าง “นามปากกา” หรือ “Pen Name” นี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ หากเพียงแต่ว่า เมือ่ ถึงยุคทีก่ ารสือ่ สารประกอบไปด้วยภาพและ เสียง นอกเหนือไปจากการปรากฏตัวเพียงแค่ ตัวหนังสือ การสร้าง “อวตาร (Avatar)” หรือ ร่างจำ�แลง จึงจำ�เป็นทีจ่ ะต้องบรรจงสร้างขึน้ ด้วย ความประณีตสมจริง เพือ่ ให้เกิดความน่าเชือ่ ถือ และปลีกแยกออกมาจากตัวตนที่แท้จริงจนไม่ สามารถสืบเสาะไปหาต้นทางที่มาได้ ความต้องการทีจ่ ะหลีกหนีจากตัวตนในปัจจุบนั ส่งผลให้หลายคนเลือกที่จะนำ�เสนอภาพชีวิต ประจำ�วันผ่านโลกโซเชียลด้วยการเสกสรรปั้น แต่ง เช่น มีรถราคาแพงขับไปยังสถานที่ต่างๆ ไม่ซา้ํ คัน ไปรับประทานอาหารและ “เช็กอิน” ยัง สถานทีห่ รูหราต่างๆ โดยทีใ่ นความเป็นจริงแล้ว คนเหล่านั้นอาจไม่มีวิถีชีวิตหรือความสามารถ ใดๆ ทีส่ ามารถจะมีชวี ติ ฟุม่ เฟือยตามอย่างทีต่ วั เองได้ “แบ่งปัน” ให้ผู้คนอื่นๆ ที่ “ติดตาม” ตัวเองอยู่บนโลกอินเทอร์เน็ตได้รับรู้เลยแม้แต่ น้อย สิ่งเหล่านี้ยังสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อว่า 18 l
Creative Thailand
l กุมภาพันธ์ 2558
ตนเอง “พร่อง” หรือขาดแคลนและมีไม่เท่าเทียมกับคนอื่นที่ตนเองชื่นชมหรืออยากจะเป็นอย่างเขา บ้าง ซึ่งหากมองในมุมกว้างก็จะพบว่าสังคมเสมือนบนโลกออนไลน์นั้น เป็นหนทางหลักที่สามารถ ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดของผู้คนในสังคมได้ง่ายๆ เพียง ปลายนิ้วสัมผัสในราคาประหยัด © Reuters/ Kim Kyung-Hoon
คนรุน่ หลังยุคอินเทอร์เน็ต (Post Internet) ถือว่า การมี ตั ว ตนในโลกอิ น เทอร์ เ น็ ต นั้ น เป็ น เรื่ อ ง สำ�คัญมาก แต่ในขณะเดียวกันก็รับรู้และเข้าใจ ในความเป็นอเนกอนันต์ของบุคลิกภาพต่างๆ ของผู้คนอื่นๆ ใน “โลกโซเชียล” ด้วยเช่นกัน
เด็กชาวจีนจำ�นวนมากหันตัวเองสู่โลกไซเบอร์และใช้เวลาหลายชั่วโมงต่อวันหมดไปกับการเล่นเกมออนไลน์ ผู้ปกครองหลายรายที่ วิตกกังวลกับอาการเสพติดอินเทอร์เน็ตเรื้อรังจึงเลือกที่จะส่งเด็กๆ เข้ารักษาที่แคมป์บำ�บัดซึ่งมีลักษณะคล้ายค่ายฝึกทหาร
ความอบอุ่นในสังคมเสมือนที่กลายเป็นความจริง บางครั้งกิจกรรมบนโลกเสมือนก็ชักนำ�ผู้คนให้เข้าสู่กลุ่มกิจกรรมจริงที่มีการพบปะกันตามสถานที่ ต่างๆ โดยที่ไม่จำ�เป็นต้องแสดงชื่อหรือตัวตนจริงๆ เช่น การจัดกิจกรรมชมรมถ่ายภาพออนไลน์ที่ มักจะมีการนับญาติกนั ในหมูช่ า่ งภาพมือใหม่กบั ช่างภาพรุน่ ใหญ่ประจำ�ชุมชนออนไลน์นนั้ ๆ ว่า “น้า” ซึ่งการเลื่อนขั้นนั้นมีกติกาง่ายๆ เพียงคุณเข้าไปตอบกระทู้ได้อย่างชัดเจนถูกต้อง หรือแสดงความ คิดเห็นบ่อยๆ จนสมาชิกคนอื่นให้การยอมรับว่า “น้าคนนี้เขาแน่จริง” โดยเมื่อมีการออกมาพบปะ ร่วมกิจกรรมกันในโลกจริงนัน้ ทุกคนก็เลือกทีจ่ ะติดป้ายชือ่ แนะนำ�ตัวเองด้วยชือ่ ทีใ่ ช้ในชุมชมออนไลน์ ซึ่งชักนำ�ให้สมาชิกทุกคนได้รู้จักกันอยู่เหมือนเดิม เป็นที่รู้กันในหมู่นักการตลาดออนไลน์ในบ้านเรา ว่าช่วงเวลาทองในการชี้ชวนให้ผู้คนใน สังคมออนไลน์มาสนใจกับข่าวสารหรือข้อความโฆษณาต่างๆ นัน้ อยูใ่ นช่วงเวลาคาบเกีย่ ว ระหว่างการเดินทางไปทำ�งาน ไปจนถึงชัว่ โมงแรกๆ ของการเริม่ งานช่วงเช้า และ 1 ชัว่ โมง หลังพักรับประทานอาหารกลางวัน และสำ�หรับช่วงเวลาที่การจราจรบนอินเทอร์เน็ตหนา แน่นที่สุด โดยเฉพาะในย่านความถี่ของโปรแกรมสนทนาต่างๆ คือช่วงเวลาประมาณ 2
COVER STORY เรื่องจากปก
ชั่วโมงก่อนเลิกงานไปจนถึงพลบคํ่า ปัญหาความพร่องประสิทธิภาพในการทำ�งานของบุคลากรในองค์กรต่างๆ เพิ่มจำ�นวนมากขึ้น เรื่อยๆ จนหลายบริษัทได้นำ�เอามาตรการการปิดกั้นห้ามพนักงานเข้าใช้งานบริการออนไลน์หลายๆ ชนิดมาใช้ในระหว่างเวลางาน แต่ ก็ยังไม่สามารถปิดกั้นการเข้าถึงบริการเหล่านั้นผ่านทางโทรศัพท์มือถือที่ผู้ให้บริการสัญญาณต่างๆ เต็มใจให้บริการคลื่นสัญญาณ อินเทอร์เน็ตที่รวดเร็วขึ้นพร้อมกับค่าบริการและโปรโมชั่นต่างๆ ที่ประชันขันแข่งมัดใจลูกค้าของตนเอาไว้ ก่อนที่จะโดนนำ�เอาความไม่ น่าประทับใจของบริการไปเขียนวิจารณ์บนโลกออนไลน์ให้เสียกระบวนท่าในการทำ�การตลาดในอนาคต เรียกว่าผูใ้ ห้บริการต่างๆ ในยุคนีต้ อ้ งระวังตัวกันมากเสียจนถึงกับต้องมีแผนกสอดส่องและบริการลูกค้าออนไลน์ทคี่ อยเข้าไปตอบข้อความ ที่บริษัทของตนเองโดนวิพากษ์ด้วยความขุ่นเคืองต่างๆ เป็นพิเศษกันเลยทีเดียว อาทิเช่น กรณีลูกค้าคนหนึ่งนำ�โทรศัพท์มือถือยี่ห้อหนึ่ง ไปส่งซ่อมที่ศูนย์บริการ แล้วกลับพบว่าเมื่อรับเครื่องกลับมานั้นมีรูปภาพเซลฟี่และบทสนทนาผ่านโปรแกรมแชทของพนักงานของ ศูนย์บริการติดมาในเครื่องโทรศัพท์เป็นของแถม โดยเมื่อลูกค้านำ�เรื่องกลับไปแจ้งที่ศูนย์บริการกลับได้รับการปฏิเสธความรับผิดชอบ จึงมาโพสต์เรือ่ งนีใ้ นชุมชนออนไลน์พร้อมกับหลักฐานรูปภาพต่างๆ ปรากฏว่าทางบริษทั ต้นสังกัดตัวแทนจำ�หน่าย กลับยืน่ ข้อเสนอแบบ “หลังไมค์” ว่าขอให้ลบกระทู้ดังกล่าวนั้นเสียโดยแลกกับการมอบโทรศัพท์รุ่นเดิมเครื่องใหม่ให้แทน แต่แทนที่เรื่องดังกล่าวจะจบลง แค่นั้น ฝ่ายผู้เสียหายกลับนำ�หลักฐานการติดต่อดังกล่าวมาโพสต์ต่อ โดยให้เหตุผลว่าเป็นการกระทำ�ที่ดูหมิ่น ต้องการให้อีกฝ่ายมา ขอโทษในทีส่ าธารณะและแสดงความรับผิดชอบ จนในทีส่ ดุ ทัง้ สองฝ่ายก็บรรลุขอ้ ตกลงโดยฝ่ายผูเ้ สียหาย ได้รบั โทรศัพท์เครือ่ งใหม่พร้อม ประกาศขออภัยจากบริษทั ต้นสังกัด รวมทัง้ ได้รบั การชีแ้ จงว่าพนักงานคนดังกล่าวได้โดนคำ�สัง่ ให้พน้ จากสภาพพนักงานไปเรียบร้อยแล้ว เหตุการณ์เช่นนี้กลายเป็นมาตรฐานในการร้องเรียนเรื่องบริการในบ้านเราไปเสียแล้ว ว่าหากต้องการได้รับการดูแลปรนนิบัติอย่างดี จากผู้ให้บริการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ ภัตตาคาร รองเท้า ห้างสรรพสินค้า ฯลฯ ก็ขอให้มาเขียนบริภาษเอาไว้ในกระดานสนทนา ต่างๆ ในชุมชนออนไลน์ หรือแม้แต่มาตรการป้องกันตัวเองยอดนิยมในปัจจุบันที่ผู้คนส่วนหนึ่งในประเทศไทยหันมาติดตั้งกล้องบันทึก วิดีโอเล็กๆ ไว้ในรถเพื่อคอยบันทึกภาพเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นเพื่อใช้เป็นหลักฐานยืนยันตนเองและอุบัติเหตุบนท้องถนนที่เกิดขึ้น ซึ่งหากว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมในกรณีต่างๆ ก็จะมีการนำ�เอาภาพวิดีโอเหล่านั้นขึ้น “แบ่งปัน” บน “โลกโซเชียล” เพื่อให้เกิดกระแส ตอบรับจากผู้คนและนักข่าวที่ปัจจุบันหันมาหาข่าวตามหน้าเว็บไซต์ที่ให้บริการในรูปแบบของสังคมจำ�ลองกันมากขึ้นจนเกิดเป็น กระแสนักข่าวออนไลน์อาสามากขึ้นเรื่อยๆ
สุดท้ายแล้ว ไม่ว่าหนทางในการเดินทางไปยังภูเขานํ้าแข็งจะยากเย็นหรือสะดวกสบายเพียงใด การพิชิตจุดหมายปลายทางที่คนรุ่นก่อนได้บันทึกไว้ ก็ยงั คงเป็นทีป่ รารถนาของคนรุน่ ใหม่ทอี่ ยากจะมีโอกาสแสดงตัวและความคิดเห็นของตนฝากไว้เป็นลายแทงให้คนรุน่ ต่อไปได้ไปค้นพบความมหัศจรรย์ แห่งประสบการณ์ในการใช้ชีวิต แม้จะเป็นเพียงช่วงเวลาสั้นๆ ตามคำ�แนะนำ�และการเตรียมการล่วงหน้าที่ร้านรวงต่างๆ จัดมานำ�เสนอให้เลือกชม ระหว่างทางเข้าสู่ใจกลางภูเขานํ้าแข็งที่ไม่เคยมีใครไปถึงตราบนิรันดร์ ที่มา: บทความ “Android's App Engagement Higher than iOS but Apple Drives Higher eCommerce Sales” จาก forbes.com, บทความ “800 Million Android Smartphones, 300 Million iPhones in Active Use by December 2013, Study Says” จาก venturebeat.com, บทความ “Excessive Internet Usage during Working Hours – Termination Effective without Prior Warning!” จาก sjberwin.com, บทความ “50 Best Free iPhone Apps for 2015” จาก pcmag.com, บทความ “50 Best iPhone Apps, 2014 Edition” จาก time.com, บทความ “50 Best iPhone Apps 2014: The Greatest Paid and Free Apps Around” จาก techradar.com, บทความ “5 Silly Ways People Try to Hide Internet Use at Work” จาก makeuseof.com, บทความ “Generation X, Generation Y, Generation Z, and the Baby Boomers” จาก talentedheads.co, บทความ “Global Mobile Statistics 2014 Home: All the Latest Stats on Mobile Web, Apps, Marketing, Advertising, Subscribers, and Trends...” จาก mobiforge.com, บทความ “How Do Employers Monitor Internet Usage at Work?” จาก wisegeek.org, บทความ “How Many iPhones Does It Take to Circle the Earth?” จาก forbes.com, บทความ “How Many iPhones Have Been Sold Worldwide?” จาก ipod.about.com, บทความ “Majority of Employees Use Internet for Personal Work at Office” จาก thehindu.com, บทความ “Mobile Hardware Statistics 2014” จาก mobiforge.com, บทความ “Mobile User Behaviour Statistics 2014 จาก mobiforge.com, บทความ “Most Popular Apple App Store Categories in January 2015, by Share of Available Apps” จาก statista.com, บทความ “Number of Apps Available in Leading App Stores as of July 2014” จาก statista.com, บทความ “Number of Mobile Phones to Exceed World Population by 2014” จาก digitaltrends.com, บทความ “Semantic Web Mining: Using Association Rules for Learning an Ontology” จาก cs.purdue.edu, บทความ “Smartphone Users Worldwide Will Total 1.75 Billion in 2014” จาก emarketer.com, บทความ “The History of Online Shopping in Nutshell” จาก instantshift.com, บทความ “The iPhone 6 Had Better Be Amazing and Cheap, Because Apple Is Losing the War to Android” จาก businessinsider.com, บทความ “12 Best iPhone Apps of 2014” จาก mashable.com, บทความ “200 Awesome iPhone Apps (Updated for 2015)” จาก digitaltrends.com และ wikipedia.org กุมภาพันธ์ 2558
l
Creative Thailand
l 19
INSIGHT อินไซต์
ARE YOU DIGITALLY OBSESSED?
Is Offline Going to Be the New Luxury? เรือ่ ง: ปิยพร อรุณเกรียงไกร
เคยสังเกตไหมว่าเพื่อนจำ�นวนหนึ่งในลิสต์ บุคคล หรือ เพจทีค่ ณ ุ ติดตามเป็นประจำ�เริม่ โพสต์นอ้ ยลงและห่างหาย ไปจากหน้านิวส์ฟีด พวกเขาหายไปไหนและเพราะอะไร ปี 2014 ที่ผ่านมา เว็บไซต์ telegraph.co.uk เปิดเผย ว่าการหายไปของคนเหล่านีส้ ร้างความสงสัยแก่พลเมือง ในโลกออนไลน์ ไม่น้อย จนเกิดคำ�นิยามปรากฏการณ์นี้ ว่า “Mystery of Missing Out ( MOMO! )” บางคน ลงความเห็นว่าพวกเขาคงกำ�ลังทำ�อะไรเจ๋งๆ แต่ปิดเป็น ความลับอยู่ ขณะทีว่ ยั รุน่ บางคนถึงขัน้ วิตกกังวลเมือ่ ไม่ได้ เห็นความเคลือ่ นไหวของเพือ่ นของตนเองบนโลกออนไลน์ เพราะกลัวว่าจะถูกกีดกันหรือแบ่งแยกออกจากกลุม่
20 l
Creative Thailand
l กุมภาพันธ์ 2558
อาจฟังดูเกินจริง แต่นี่คือสัญญาณอันตราย ดร. เทอร์รี แอปเตอร์ (Terri Apter) นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์กล่าวว่า MOMO ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะนอกเหนือจากปัจจัยสี่ที่สำ�คัญต่อการดำ�รงชีวิตแล้ว มนุษย์ยังต้องการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มหรือสังคมด้วยเช่นกัน ซึ่งการรับรู้ แลกเปลีย่ นข้อมูลข่าวสารก็เปรียบเสมือนเครือ่ งยืนยันถึงสถานะดังกล่าวได้ดี จริงอยู่ที่การเชื่อมต่อชีวิตเข้ากับโลกโซเชียลเน็ตเวิร์กได้มอบโอกาส การเข้าถึงคลังข้อมูลหลายหลาก ไปพร้อมๆ กับพืน้ ทีส่ ว่ นตัวกึง่ สาธารณะ สำ�หรับแสดงความคิดเห็น ประกอบธุรกิจ และรวมตัวเคลื่อนไหว แต่ ผลลัพธ์ของการจมจ่อมอยูก่ บั ชีวติ ออนไลน์มากเกินจำ�เป็นอาจส่งผลรุนแรง กว่าทีค่ ดิ ไม่วา่ จะเป็นความหิวกระหายข้อมูล สงสัยใคร่รคู้ วามเคลือ่ นไหว ของคนอื่น หรือเกาะติดทุกกระแส แคเทอรินา เฟค (Caterina Fake) ผู้ร่วมก่อตั้งเว็บ Flickr ได้นำ�ลักษณะของผู้บริโภคที่กลัวการไม่ได้ใช้เวลา กับคนสำ�คัญ มาสร้างนิยามใหม่ของพลเมืองเน็ตที่ “กลัวตกกระแส (Fear of Missing Out – FOMO )” เพื่อให้เข้ากับยุคดิจิทัล เธออธิบาย ว่ายิ่งโซเชียลมีเดียเร่งป้อนข้อมูลเพื่อให้เหล่าสมาชิกไม่พลาดการติดตาม ทุกความเคลื่อนไหว ทุกอีเวนต์และกิจกรรมก็ยิ่งกระตุ้นเร้าความอยากรู้ จนสมาชิกต้องเช็คเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ อินสตาแกรม ฯลฯ บ่อยขึ้นเรื่อยๆ นั่นอาจเสี่ยงต่อการเสพติดโซเชียลมีเดียในภายหลัง ยังไม่รวมถึงสภาพ อารมณ์แปรปรวนง่าย อยากเป็นทีส่ นใจ สมาธิสนั้ ลุม่ หลงตนเอง หมกมุน่ กับการประกอบสร้างตัวตนจนขาดความมั่นใจ และเครียดเพราะมัก เปรียบเทียบชีวิตของตนเองกับมิตรสหายในโลกเสมือน ตัวอย่างของ ลักษณะนิสัยและพฤติกรรมเช่นนี้ปรากฏเด่นชัดในสังคมออนไลน์บ้านเรา โดยเฉพาะช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา
INSIGHT อินไซต์
You Had Me at Hello,
JOMO!
อาจเพราะเราต่ า งเริ่ ม เบื่ อ หน่ า ยกั บ โฆษณาที่ เ กลื่ อ นล้ น บนไทม์ ไ ลน์ การบริโภคข่าวสารที่ถูกผลิตซํ้าซาก ผสมความเกลียดชัง ข้อมูลส่วนตัว ถูกล่วงละเมิดเพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจ การเมือง สิ่งเหล่านี้เป็นผลพวง ของปรากฏการณ์ข้อมูลมหาศาล (Big Data) ที่ยังขาดการบริหารจัดการ อย่างถูกต้อง ไม่นานนักเราก็ตกอยู่ในวงล้อมของข้อความแจ้งเตือนบน หน้าจอ ตั้งแต่ตื่นนอน เวลางาน ไปจนถึงวันหยุดสุดสัปดาห์ การเว้นว่าง และหลีกหนีจากความวุ่นวายบ้างจึงเป็นประสบการณ์ใหม่ที่น่ารื่นรมย์ อนิล แดช (Anil Dash) นักเขียน บล็อกเกอร์ ซีอีโอ และผู้ร่วมก่อตั้ง แอพพลิเคชัน่ ThinkUp ทีน่ �ำ เสนออินไซต์ของผูใ้ ช้โซเชียลเน็ตเวิรก์ ได้เขียน บทความ “ความสุขของการห่างหายจากโลกออนไลน์ (Joy of Missing Out – JOMO)” หลังค้นพบว่าการออฟไลน์ราวเดือนเศษไม่ได้ท�ำ ให้เขาพลาด อะไรเลยแม้แต่น้อย ตรงกันข้ามเขามีความสุขที่ได้ใช้เวลาดูแลลูกชายที่ เพิ่งเกิดด้วยซํ้า อาจเรียกได้ว่าพฤติกรรมแบบ JOMO ตรงข้ามกับ FOMO แทบสิน้ เชิง แทนทีจ่ ะกลัวพลาดกิจกรรมดีๆ อีเวนต์สดุ เก๋ หรือข่าวอัพเดท ล่าสุดของเพื่อน ชาว JOMO กลับยินดีที่จะพลาดสิ่งเหล่านี้ เพราะพวก เขาสนุกและพอใจกับสิ่งที่ทำ�อยู่ ทว่าอนิลยังยืนกรานว่าไม่ได้อยากให้ใคร ปฏิเสธหรือโทษเทคโนโลยี เพราะทางเลือกที่ดีที่สุดก็คือการใช้เทคโนโลยี สื่อสารอย่างรู้เท่าทันมากกว่า ที่น่าสนใจคือภาคธุรกิจเริ่มปรับตัวตามเทรนด์นี้อยู่บ้าง ตัวอย่างเช่น SelfControl แอพพลิเคชั่นที่ช่วยบล็อกเว็บไซต์ในแบล็กลิสต์ อีเมล เซิร์ฟเวอร์ และอินเทอร์เน็ตแบบชั่วคราวจนกว่าจะถึงเวลาที่กำ�หนด เพื่อ ให้ผู้ใช้มีสมาธิกับการทำ�งานมากขึ้น และ HondaLink ที่มีฟังก์ชั่นงดใช้ โทรศัพท์มือถือเพื่อความปลอดภัยขณะขับรถ
Go Offline, Gain the New Luxury เรากำ�ลังเดินทางมาถึงจุดจบของยุคเครือข่ายออนไลน์หรือเปล่า คงเร็วเกิน ไปที่จะสรุปอย่างนั้น เกิร์ด เลออนฮาร์ด (Gerd Leonhard) นักเขียน ผู้บรรยาย และฟิวเจอร์ริสต์ท่ีทรงอิทธิพลมากที่สุดคนหนึ่งในวงการสื่อ ได้สรุปแนวโน้มสำ�คัญซึ่งจะส่งผลต่อสถานการณ์โลกในอีก 4 ปีข้างหน้า หนึ่งในนั้นก็คือ “Offline is the New Luxury” หรือนิยามใหม่ของความ หรูหราลํ้าค่าทีไ่ ม่ใช่แค่ข้าวของเครือ่ งใช้ราคาแพง หากเป็นวันเวลา ความ ปลอดภัย และความเป็นส่วนตัวทีถ่ กู ไลฟ์สไตล์แบบ “Always-On” ฉกฉวยไป การโบกมือลาโลกออนไลน์ในช่วงสัน้ ๆ จึงเป็นเปรียบเสมือนการเข้าคอร์ส
ดีท็อกซ์ความเครียดและมลภาวะทางใจ เรียนรู้ที่จะจัดตารางการใช้ชีวิต บนโลกออนไลน์และออฟไลน์อย่างสมดุล แบ่งเวลาให้กับการเดินทาง พักผ่อนท่ามกลางธรรมชาติ ตลอดจนมีสติอยู่กับเป้าหมายในชีวิตจริง ประเด็นนี้สอดคล้องกันกับบทวิเคราะห์เทรนด์ที่น่าจับตามองในปี 2015 โดย JWTIntelligence นั่นคือการก้าวเข้าสู่ยุคของการมีสติรู้ถึง “ปัจจุบัน ขณะ (The 'Now' Age)” หรือยูโทเปียที่เหล่าฮิปปี้ถวิลหาท่ามกลาง ความวุ่ น วายบนโลกดิ จิ ทั ล ผู้ คนจะมุ่ ง หาวิ ธีย กระดั บ ทั้ ง ทางปั ญ ญา สุนทรียศาสตร์ และจิตวิญญาณมากขึน้ โดยเฉพาะเจเนอเรชัน่ มิลเลเนียลส์ ไม่ว่าจะเชื่อมต่อหรือชัตดาวน์ ไม่อยากพลาดการอัพเดทหรือไม่อยาก อัพเดท เปิดเผยหรือปิดบังตัวตน เรียกร้องความสนใจหรือแสวงหาความ เป็นส่วนตัว โรคและกลุ่มอาการใหม่ๆ เหล่านี้กำ�ลังคุกคาม ขณะเดียวกัน ก็ท�ำ หน้าทีเ่ ป็นวัคซีนกระตุน้ ให้พลเมืองเน็ตเร่งปรับตัว เรียนรูว้ า่ จะบริหาร จัดการเครื่องมือเหล่านี้อย่างไร รวมทั้งเลือกรับสารอย่างเท่าทันมากขึ้น เพราะท้ายที่สุดแล้วเทคโนโลยีการสื่อสารยังคงช่วยขับเคลื่อนโลกใบเดิม ไปข้างหน้า อย่างไรก็ตาม ถือเป็นเรื่องน่าท้าทายสำ�หรับนักการตลาด เจ้าของแบรนด์ ผู้ผลิต นักสร้างสรรค์ และสื่อมวลชนที่จะต้องศึกษา ถอดรหัสพฤติกรรมอันซับซ้อนของผู้บริโภค และอ่านเกมนี้ให้ขาด
หรืออนาคตอันสดใสจะไร้ความสดใหม่ แม้การเปิดตัวนาฬิกาอัจฉริยะแอปเปิลเมื่อปีที่แล้วจะตอกยํ้าว่าเทรนด์ เทคโนโลยีสวมใส่กำ�ลังมาแรง แต่ข่าวดังกล่าวกลับทำ�ให้สาวกแอปเปิล จำ�นวนหนึง่ หรือแม้แต่คแู่ ข่งเองรูส้ กึ ผิดหวัง เพราะคุณสมบัตทิ ไี่ ม่ได้มอี ะไร ใหม่ไปกว่าแอพพลิเคชั่นช่วยดูแลสุขภาพ เซ็นเซอร์วัดอัตราการเต้นของ หัวใจ การเชื่อมต่อ GPS และ Wi-Fi เอียน โบกอสต์ (Ian Bogost) บรรณาธิการนิตยสารแอตแลนติก (Atlantic) ได้เขียนวิจารณ์อย่างเจ็บ แสบว่า “การพัฒนารุดหน้าของเทคโนโลยีไม่ได้ทำ�ให้เราตื่นเต้นอีกต่อไป แล้ว แต่กลับยิ่งเหนื่อยหน่ายด้วยซํ้าไป" เพราะที่ผ่านมาผู้คนเผชิญหน้า กับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจนเคยชิน และนี่อาจสื่อเป็นนัยว่า เทคโนโลยีอัจฉริยะที่ไร้ความแปลกใหม่กำ�ลังพาเราก้าวไปสู่อนาคต อันน่าเบื่อเร็วกว่าที่คิด (Future Ennui) ที่มา: บทวิเคราะห์เทรนด์ The Future 100: Trends and Changes to Watch in 2015 โดย JWT Intelligence, บทความ “Escaping Burnout and Embracing the Joy of Missing Out – A Hot New Trend” จาก thecorporateescape.com, บทความ “Future Ennui” จาก theatlantic.com, บทความ “Offline Is the New Luxury” จาก conscienciapura.com, บทความ “This Column Will Change Your Life: The Joy of Missing Out” จาก theguardian.com, บทความ “Turn Off the Phone (and the Tension) จาก nytimes.com, บทความ “Weekly Roundup: Web 3.0, Microcelebrity and ‘Future Ennui’” จาก jwtintelligence.com, bogost.com, dashes.com, digitlab.co.za, futuristgerd.com, futuristspeaker.com และ marketingoops.com กุมภาพันธ์ 2558
l
Creative Thailand
l 21
CREATIVE ENTREPRENEUR คิด ทำ� กิน
LINE
STICKER
ธุรกิจสื่ออารมณ์สร้างรายได้
แม้ว่ารูปแบบการใช้งานพื้นฐานจะไม่ได้แตกต่างจากแอพพลิเคชั่นและแพลตฟอร์มสำ�หรับการแชทอื่นๆ มากนัก แต่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า หนึ่งในองค์ประกอบที่ทำ�ให้แอพพลิเคชั่นไลน์ (LINE) ได้รับความนิยมมากในกลุ่มผู้ใช้งาน ชาวไทยและเอเชียก็คอื “สติกเกอร์” ทีใ่ ช้แทนคำ�พูดและสือ่ อารมณ์ของผูส้ ง่ ผ่านอากัปกิรยิ าท่าทางของคาแร็กเตอร์ ที่มีให้เลือกมากมาย ทั้งคาแร็กเตอร์ของไลน์เอง ไปจนถึงแบรนด์สติกเกอร์จาก Official Account ต่างๆ และเมื่อ มีการเปิดตัวไลน์ ครีเอเตอร์ส มาร์เก็ต ในเดือนพฤษภาคม 2557 เพื่อเป็นพื้นที่ให้ใครก็ตามสามารถส่งผลงาน สติกเกอร์เข้าสู่ตลาดและได้รับส่วนแบ่งรายได้จากยอดขายถึงเกือบ 50 เปอร์เซ็นต์ ก็ยิ่งสร้างความน่าสนใจให้แก่ แอพพลิเคชั่นยิ่งขึ้น โดยเพียงในเดือนแรกมียอดผู้ส่งผลงานเข้ามาพิจารณามากกว่า 14,000 เซ็ต และทำ�รายได้ จากการขายถึง 3,590 ล้านเยนหรือประมาณ 1,077 ล้านบาทเมื่อครบ 6 เดือนหลังเปิดตลาด ไม่ผดิ นักหากจะบอกว่าสติกเกอร์ทดี่ นี นั้ จะต้องประกอบไปด้วยการสือ่ สารทีช่ ดั เจน ความสวยงามของลายเส้น และเรื่องราวของคาแร็กเตอร์ที่มีเอกลักษณ์ แต่ด้วยเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วราวจรวดและส่งผลถึง พฤติกรรมผู้บริโภคโดยตรง ปัจจัยที่มีส่วนในการเลือกซื้อจึงอาจไม่ได้มีเพียงเท่านั้น จึงเป็นการดีที่จะเรียนรู้ กระบวนการและแนวคิดในการสร้างสรรค์สติกเกอร์ จากมุมมองของผู้เล่นในตลาดในช่วงเวลาต่างๆ กันนับตั้งแต่ วันที่ไลน์เข้ามาบุกในตลาดไทยจนถึงวันนี้ เพื่อทำ�ความเข้าใจและลงชิงชัยในตลาดสติกเกอร์อย่างรอบรู้ยิ่งขึ้น
ส่งต่อตำ�นานความสนุก เมื่ อ ไลน์ เ ริ่ ม ใช้ ก ลยุ ท ธ์ Localization โดย มองหาคอนเทนต์ทม่ี คี วามเป็นท้องถิน่ และเข้าถึง ผู้ใช้ในแต่ละประเทศ กลุ่มบริษัทบรรลือสาส์น ผู้ ส ร้ างสรรค์ ก าร์ ตู น อมตะอย่ างขายหั ว เราะ มหาสนุก หนูหนิ่ อินเตอร์ ฯลฯ ซึง่ อยูค่ กู่ บั สังคม ไทยมาเป็นเวลาหลายสิบปี จึงเป็นหนึง่ ในแบรนด์ ไทยที่ได้รับเชิญให้ออกสติกเกอร์ประเดิมใน ตลาด “เป็นนโยบายของขายหัวเราะอยู่แล้ว ที่จะไม่หยุดอยู่แค่สื่อสิ่งพิมพ์ แต่อยากจะให้ คาแร็กเตอร์เข้าไปอยู่ในทุกแพลตฟอร์ม เรา มองว่าไลน์เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ทำ�ให้เราได้มี ปฏิสมั พันธ์กบั คนอ่านให้รสู้ กึ ใกล้ชดิ กับเรามากขึน้ เพราะเราไปอยู่ในบทสนทนาในชีวิตประจำ�วัน ของเขา” พิมพ์พชิ า อุตสาหจิต ผูอ้ �ำ นวยการฝ่าย พัฒนาธุรกิจกล่าว จากจำ�นวนนักเขียนในสังกัดมากกว่า 50 คน ขายหัวเราะเลือกลายเส้นของพี่ต่าย (ภักดี แสนทวีสุข) ที่คนไทยคุ้นเคยมาสร้างสรรค์เป็น 22 l
Creative Thailand
l กุมภาพันธ์ 2558
CREATIVE ENTREPRENEUR คิด ทำ� กิน
สติกเกอร์เซ็ตแรก และเลือกใช้คาแร็กเตอร์เด่นๆ อย่างบก.วิติ๊ด เป็นตัว ชูโรง “เริม่ ต้นทำ�เซ็ตแรกลำ�บากมาก เพราะเรายังไม่มโี นว-ฮาว สติกเกอร์ แต่ละตัว ผ่านกระบวนการคิดมาเยอะมากว่าอยากให้มที า่ ทางและอารมณ์ อะไรบ้าง โดยแบ่งเป็น 2 อย่างคือ แอ็กชัน่ ทีจ่ �ำ เป็นต้องมี ทีค่ นมองหาและ จะได้ใช้ กับแอ็กชั่นที่ยังไม่มีในตลาด ซึ่งก็ต้องบาลานซ์สองอย่างนี้ให้ดี” “การทำ�งานจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือนักเขียนการ์ตูนและทีม ครีเอทีฟ งานสติกเกอร์ทุกชิ้นของเราไม่ได้ส่งนักเขียนทำ�เองแบบวันแมน โชว์ แต่จะใช้ครีเอทีฟหลายคนเพือ่ ให้ได้มมุ มองทีห่ ลากหลาย ทีมครีเอทีฟ จะมองในแง่ผู้ใช้งานและช่วยคิดว่าใช้แอ็กไหน เพราะแม้ว่านักเขียนจะ เชี่ยวชาญมากเรื่องการคิดมุกตลก แต่ในระยะแรกก็ยังไม่รู้ว่าต้องดึงส่วน ไหนจากมุกออกมาเล่าผ่านภาพสติกเกอร์ภาพเดียว จากนั้นทีมโปรดักชั่น จะรับงานจากนักเขียนมาต่อยอด นักเขียนบางท่านอย่างพีต่ า่ ยจะถนัดวาด มือมากกว่าวาดลงคอมพิวเตอร์ โปรดักชั่นก็จะนำ�มาปรับลงคอมพิวเตอร์ และปรับให้เหมาะกับการเป็นสติกเกอร์ การแสดงอารมณ์ต้องชัดขึ้น แต่ รักษาเอกลักษณ์ของพี่ต่ายไว้ ส่วนสติกเกอร์ขายหัวเราะเซ็ตล่าสุดที่ เคลื่อนไหวได้ เราก็ส่งให้ทีมงานของวิธิตา แอนิเมชั่น ภายใต้เครือบันลือ กรุ๊ป ซึ่งมีความเชี่ยวชาญและรับออกแบบสติกเกอร์ให้แบรนด์ต่างๆ อยู่ แล้วเป็นผู้รับผิดชอบการทำ�แอนิเมชั่น” “หลังจากที่ผ่านเซ็ตแรกๆ ไป เราก็ค่อยๆ เรียนรู้ว่าควรจะเน้นที่จุด ไหน ปัญหาที่เจอจะเป็นเรื่องความแตกต่างด้านวัฒนธรรมที่ต้องอธิบาย ให้เข้าใจ อย่างสติกเกอร์เคลื่อนไหวเซ็ตที่ผ่านมา จะมีแก๊กแบบไทยๆ ที่ ทีมงานจากไลน์ที่เป็นชาวต่างชาติจะไม่เข้าใจ เช่น แก๊กเมียหลวงถือสาก หรือแก๊กนักเขียนกับบก. ซึ่งเป็นแก๊กวงใน เราก็ต้องอธิบายให้เขาเข้าใจ แบ็กกราวน์ของคาแร็กเตอร์ของเราว่ามันมีนิสัยอย่างไร”
สติกเกอร์ฮิตติดลม หากจะให้พูดถึงสติกเกอร์ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น จดจำ�ง่าย แฝงด้วย กลิ่นอายความเป็นไทยชัดเจน หนึ่งในคาแร็กเตอร์ที่คนส่วนใหญ่นึกถึง ย่อมจะหนีไม่พ้น “ติดลม (Tidlom)” เจ้าควายผูกผ้าขาวม้าบินได้ที่ครอง แท่นสติกเกอร์ของนักออกแบบไทยที่ขายดีที่สุดในไลน์ ครีเอเตอร์ส มาร์เก็ต สัญญา เลิศประเสริฐภากร ผู้ออกแบบในนามไซโลสตูดิโอ (Zylostudio) เล่าให้ฟังว่าความสำ�เร็จของสติกเกอร์ควายตัวนี้ นอกจาก จะเป็นความโชคดีในเรือ่ งจังหวะเวลาทีส่ ง่ ผลงานทันวางขายตัง้ แต่ชว่ งเปิด ตลาดแรกๆ ทำ�ให้มีคู่แข่งไม่มากแล้ว ยังเป็นผลจากการทำ�การตลาดที่ดี อีกด้วย เพราะหลังจากทราบข่าวว่าบริษทั ไลน์จะเปิดครีเอเตอร์ส มาร์เก็ต ก็ได้วางแผนร่วมกับบริษทั ไอดิจิ (iDIGI) เพือ่ ให้ชว่ ยดูแลเรือ่ งการตลาดและ การประชาสัมพันธ์ ประกอบกับคาแร็กเตอร์ควายที่มีความแตกต่างและ กระแสของครีเอเตอร์ส มาร์เก็ตที่กำ�ลังมาแรง ยอดดาวน์โหลดของติดลม จึงขึ้นแท่นยอดขายสูงสุดในตลาดภายในเวลาไม่ถึงหนึ่งวัน “คนชอบถามว่าออกสติกเกอร์มาแล้วทำ�ยังไงให้ขายได้ คือถ้ามาถาม ตอนนี้มันช้าไปแล้ว เพราะมาร์เก็ตติ้งมันต้องมาตั้งแต่ยังไม่ออกแบบ เรา ต้องรู้ตั้งแต่แรกแล้วว่าเบื้องหลังสติกเกอร์ตัวนี้มีกลุ่มเป้าหมายเป็นใคร บุคลิกของเขาเป็นยังไง แทนไลฟ์ไตล์ของคนประเภทไหน ต้องคิดมาหมด แล้วก่อนที่จะออกแบบ แต่ดีไซเนอร์เด็กๆ มักจะวาดก่อน เลือกทำ�แบบที่ ชอบ ตามสไตล์ที่รัก ซึ่งไม่ผิดนะ เราก็เคยผ่านมันมาก่อน แต่มาร์เก็ตติ้ง ต้องไปด้วยกันในระหว่างที่ทำ�นั้นด้วย ต้องคำ�นึงถึงคนใช้และวิธีการใช้ไป ด้วยกัน ถ้าวาดแล้วค่อยมาคิดมันจะช้าไป” ยิ่งไปกว่านั้น สัญญายังมองว่าการสร้างบุคลิกให้คาแร็กเตอร์ตั้งแต่ แรก ยังจะช่วยให้กระบวนการออกแบบสติกเกอร์ง่ายขึ้นด้วย “เมื่อบุคลิก มาพร้อมกับคาแร็กเตอร์ทที่ �ำ เราจะรูเ้ ลยว่าหน้าตาเขาต้องเป็นยังไง ฉะนัน้ กุมภาพันธ์ 2558
l
Creative Thailand
l 23
CREATIVE ENTREPRENEUR คิด ทำ� กิน
จะออกแบบให้เขาทำ�ท่าทางอะไรก็งา่ ย แต่ถา้ เป็นดีไซเนอร์มอื ใหม่ทคี่ ดิ ถึง แต่รปู ลักษณ์ภายนอก เวลาทีอ่ อกแบบแอ็กชัน่ เยอะๆ ก็จะเริม่ ปวดหัว แล้ว ตรงนี้จะมีประโยชน์มากเวลาที่เราออกแบบแบรนด์สติกเกอร์ให้ลูกค้า เพราะบุคลิกจะสะท้อนผ่านรูปลักษณ์ เราจะตอบได้วา่ ทำ�ไมเป็นสีขาว สีขาว คือการมองโลกในแง่ดี คือความสดใส ทำ�ไมตาโต ก็เพราะเขาเป็นคนใฝ่ร”ู้ หากมองเรื่องปัจจัยที่ทำ�ให้สติกเกอร์ขายได้นั้น สัญญาให้มุมมองที่ น่าสนใจว่า “ช่วงแรกที่มีคนสัมภาษณ์ผมจะตอบว่า 1. ต้องดูดีน่ารัก คนจะได้ชอบ 2. ต้องสื่อสารอารมณ์และคำ�พูดให้ได้ แต่ถ้าถามตอนนี้ ทุกอย่างเปลีย่ นหมดแล้ว เพราะสติกเกอร์มเี ยอะมากเป็นหมืน่ เหยียบแสน แล้ว พฤติกรรมของคนใช้ก็เปลี่ยนไปเยอะมาก คนใช้แทบจะไม่ดูว่ามัน หน้าตาน่ารักหรือเปล่า เพราะทุกคนวาดออกมาน่ารักหมดเราก็ไม่รู้ว่าจะ เลือกใช้อันไหน ตอนนี้จะดูที่ความเกรียน ความแปลก และความสนุกใน การใช้มากกว่า แม้แต่ตอนที่ทางไลน์แถลงข่าวเปิดครีเอเตอร์ส มาร์เก็ต เขาก็แนะนำ�ว่าสติกเกอร์แบบแมสในตลาดมีเยอะแล้ว อยากให้คนไทยทำ� สติกเกอร์ที่เจาะเฉพาะกลุ่มมากกว่า เช่น กลุ่มคนขี่จักรยาน กลุ่มคน ทำ�อาหาร กลุ่มเล่นโยคะ เพราะพวกนี้จะมีคำ�ศัพท์ที่คนทั่วไปไม่ได้ใช้ เช่น คนขีจ่ กั รยานต้องรูจ้ กั คำ�ว่า ‘ล้อดุง้ ’ ให้ลองดูวา่ โซเชียลคนไทยตอนนี้ เป็นยังไง เจาะเฉพาะกลุ่มให้ได้ เช่นล่าสุดก็มีสติกเกอร์ภาษาเหนือ ภาษา กวางตุง้ เพราะมันการันตีแน่นอนว่ามีคนซือ้ แม้วา่ จำ�นวนอาจจะเทียบกับ แมสไม่ได้ก็ตาม”
สะพานสร้างความสัมพันธ์ นับตั้งแต่ไลน์เข้ามาบุกตลาดในไทยและกลายเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร ในชีวติ ประจำ�วัน จนมียอดผูใ้ ช้งาน (Active Users) ในไทยสูงถึง 33 ล้านคน ในปัจจุบนั มีบริษทั ใหญ่จ�ำ นวนมากทีเ่ ลือกใช้ไลน์เป็นเครือ่ งมือในการสร้าง ความสัมพันธ์กบั ลูกค้า รวมถึงธนาคารไทยพาณิชย์ซง่ึ เป็นธนาคารไทยแห่งแรก ที่สร้างสติกเกอร์ออกมาให้ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดได้ฟรี โดยปัจจุบันมี สติกเกอร์ออกมาทั้งหมด 4 เซ็ต “ตอนนี้เรามีผู้ใช้ที่เป็นเฟรนด์ใน Official Account จำ�นวน 11.4 ล้านคน โดยสติกเกอร์เซ็ตล่าสุดมีผู้ใช้ส่งหากัน มากกว่า 100 ล้านครั้งภายในหนึ่งเดือนเท่านั้น ซึ่งถือเป็นเครื่องยืนยันว่า เป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เพราะนอกจากจะสร้างการรับรู้ในตัวแบรนด์แล้ว สติกเกอร์ยงั เป็นสะพานเชือ่ มเพือ่ สือ่ สารกับลูกค้า โดยเราสามารถส่งข้อมูล การให้บริการให้ลูกค้าตามคีย์เวิร์ดที่ส่งเข้ามาในห้องแชทด้วยฟีเจอร์ ตอบกลับอัตโนมัติ (Auto Reply) เช่น อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา เคล็ดลับ ด้านการเงิน ฯลฯ นอกจากนั้น ยังกำ�หนดช่วงเวลาเปิดใช้ฟีเจอร์ On Air ที่ระบบจะบันทึกข้อความที่ลูกค้าส่งเข้ามา ทำ�ให้สามารถจัดกิจกรรม ชิงรางวัลและรับคำ�เสนอแนะเรื่องผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้โดยตรง” จันทร์เพ็ญ จันทนา ผู้จัดการบริหารสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ธนาคาร ไทยพาณิชย์ ยังเล่าให้ฟังด้วยว่า อากัปกิริยาน่ารักแกมทะเล้นของ สติกเกอร์ลิงสีม่วงเซ็ตล่าสุดของไทยพาณิชย์ เป็นผลจากการรับฟัง ฟีดแบ็กจากลูกค้าผ่านช่องทางออนไลน์ตา่ งๆ เพือ่ นำ�มาพัฒนาให้ถกู จริต คนไทยมากยิ่งขึ้น “สติกเกอร์เซ็ตที่แล้วจะมีความเป็นกราฟิตี้ ซึ่งมาจาก เทรนด์เซ็ตเตอร์ แต่อาจจะไม่ถูกกับจริตคนไทย เซ็ตล่าสุดเราเลยคุยกับ นักออกแบบว่าอยากปรับให้นา่ รักขึน้ ให้มคี วามกวนๆ บ้าง ก็พบว่ามีลกู ค้า ชมเยอะ เราก็ค่อยๆ เรียนรู้ว่าแอ็กชั่นแบบไหนที่คนชอบ จากตัวเลขที่ได้ ก็พบว่าสติกเกอร์ตัวที่เป็น Love Action (ส่งจูบแล้วมีหัวใจ) ตัวเดียว มีการใช้ไปประมาณ 15 ล้านครั้งภายในเดือนเดียว ที่สำ�คัญคือเราจะไม่ ขายแบรนด์มากเกินไป เพราะผู้บริโภคเองก็ไม่อยากจะรู้สึกว่าตัวเองเป็น เครื่องมือแบรนด์ขนาดนั้น เราอยากให้เขาใช้เพราะความน่ารักของ คาแร็กเตอร์ ไม่อยากให้ใช้แล้วตะขิดตะขวงใจ นั่นน่าจะเป็นเหตุผลที่มี คนใช้สติกเกอร์ของเราจำ�นวนมาก” พบแนวคิ ด ใหม่ จ ากผู ้ ป ระกอบการไทยที่ น�ำความ คิดสร้างสรรค์มาสร้างเป็นมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและ บริการได้ที่ TCDCconnect.com เว็บไซต์ทรี่ วบรวมรายชือ่ และผลงานของนักออกแบบ ผู้ผลิต และผู้ประกอบการ จากทุ ก อุ ต สาหกรรมสร้ า งสรรค์ ใ นประเทศไทยไว้ ใ น ที่เดียวกัน
24 l
Creative Thailand
l กุมภาพันธ์ 2558
© JACQUES Pierre/Hemis/Corbis
CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
บรรยากาศเมืองริกาจากโบสถ์เซนต์ ปีเตอร์ หนึ่งในเมืองมรดกโลกขึ้นทะเบียนอนุรักษ์โดยยูเนสโก
เรื่อง: ชาลินี วงศ์อ่อนดี
© REUTERS/Ints Kalnins
ปลายปี 2014 ที่ผ่านมา รายงานของ Akamai Technologies บริษัทไอทีในรัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา เผย 10 อันดับประเทศ ที่มีความเร็วอินเทอร์เน็ตเฉลี่ยเร็วที่สุดในโลก โดย 3 อันดับแรกได้แก่ เกาหลีใต้ ฮ่องกง และญี่ปุ่น แน่นอนว่ารายชื่อดังกล่าวไม่ได้ สร้างความประหลาดใจให้กับใครหลายคนนัก เพราะเป็นที่รู้กันดีว่าทั้ง 3 ประเทศดังกล่าวคือประเทศยักษ์ใหญ่ทางเศรษฐกิจ อีกทั้ง ใครหลายคนคงเคยสัมผัสความเร็วอินเทอร์เน็ตบ้านเขา และรูด้ กี ว่าเร็วแซงหน้าบ้านเราอย่างไม่เห็นฝุน่ แต่สงิ่ ทีท่ �ำ ให้หลายคนต้องเลิก คิ้วขึ้นด้วยความงุนงง คือประเทศที่ติดโผเข้ามาในอันดับที่ 8 คือ ลัตเวีย ประเทศกำ�ลังพัฒนาที่ยังประสบปัญหาขาดแคลนโครงสร้าง พื้นฐานอย่างถนน ทางรถไฟ หรือท่าเรือ ฟังแล้วยิ่งสงสัยเข้าไปกันใหญ่ว่า ทำ�ไมประเทศที่ยังขาดแม้แต่ความสามารถในการปรับปรุง คุณภาพถนนจึงมีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก
"Working Everywhere" จัดขึ้นในปี 2013 โดยมีนักกิจกรรม กว่า 150 คนเข้าร่วมเพื่อแสดงให้เห็นประโยชน์ของการเข้าถึง สัญญาณอินเทอร์เน็ต และการทำ�งานนอกสถานที่รูปแบบใหม่
กุมภาพันธ์ 2558
l
Creative Thailand
l 25
CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
26 l
Creative Thailand
l กุมภาพันธ์ 2558
จากรายงานของ Akamai Technologies ค่าเฉลี่ยความเร็วอินเทอร์เน็ตของลัตเวียอยู่ที่ 13.8 เมกะบิต ต่อหนึง่ วินาที ซึง่ เป็นความเร็วทีส่ ามารถดาวน์โหลดข้อมูลขนาด 4.7 GB (ขนาดความจุของดีวดี ี 1 แผ่น) ได้ในเวลา 50 นาที ในขณะทีค่ า่ เฉลีย่ ความเร็วอินเทอร์เน็ตประเทศไทยอยูท่ ี่ 6.6 เมกะบิตต่อหนึง่ วินาที ซึ่งจะใช้เวลาถึง 1 ชั่วโมง 42 นาทีในการดาวน์โหลดข้อมูลดังกล่าว facebook.com/inb./lv
ค�ำตอบคือลัตเวียให้การสนับสนุนการลงทุน ในภาคเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เป็นอย่างมาก อีกทั้งยังได้รับเงินทุน สนับสนุนจากสหภาพยุโรป ลัตเวียจึงเป็นประเทศ ที่มีความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีมากที่สุด ประเทศหนึ่งในฝั่งยุโรปตะวันออก เนื่ อ งจากลั ต เวี ย เป็ น ประเทศขนาดเล็ ก (เล็กกว่าประเทศไทยถึงเกือบ 8 เท่า) การขยาย การเชือ่ มต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงจึงเป็นไปได้ อย่างสะดวก ส่งผลให้ค่าเฉลี่ยของครัวเรือน ที่มีคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตใช้สูงขึ้นจาก ร้อยละ 5.4 เป็นร้อยละ 47 ในช่วงปี 2004-2009 แต่นั่นยังไม่เปลี่ยนความจริงที่ว่า ลัตเวียเป็น ประเทศทีย่ ากจนมากทีส่ ดุ เป็นอันดับ 3 ของยุโรป อีกทัง้ ยังสะบักสะบอมจากสารพัดปัญหาภายใน ประเทศ เช่น การว่างงาน แรงงานขาดคุณภาพ และระบบการศึกษาที่ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งส่งผล ต่อการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ จุดเริ่มต้นเรื่อง ความเร็วอินเทอร์เน็ตของลัตเวียที่สร้างความ ประหลาดใจให้กบั ใครหลายๆ คน จึงเป็นทีม่ าที่ จะพาเราไปรูจ้ กั ริกา เมืองหลวงของลัตเวีย จากที่ตั้งของเมืองที่อยู่บริเวณปากแม่น�้ำ เดากาวา (Daugava River) ที่เชื่อมกับอ่าวริกา ท�ำให้ริกาตั้งอยู่ระหว่างเส้นทางการค้าทางเรือ ที่เชื่อมระหว่างฝั่งตะวันออกและตะวันตก ริกา จึงเป็นเมืองที่มีวัฒนธรรมหลากหลายและได้ รับเลือกให้เป็นเมืองหลวงทางวัฒนธรรมของ ยุโรปปี 2014 นอกจากนี้ ริกายังโดดเด่นเรื่อง สถาปั ต ยกรรมอาร์ ต นู โ วและได้ รั บ เลื อ กให้ เป็นเมืองมรดกโลกโดยยูเนสโกตั้งแต่ปี 1977 ภายในเมืองแห่งวัฒนธรรมและเมืองมรดกโลก แห่งนี้เอง หลายๆ ส่วนของเมืองเริ่มมีส่วนร่วม ในการพาลั ต เวี ย ก้ า วผ่ า นความยากจนด้ ว ย การสนับสนุนทางด้านไอซีที
แหล่งเรียนรู้ดิจิทัลของคนเมือง ในยุคที่อินเทอร์เน็ตท�ำให้การเข้าถึงและค้นหา ข้อมูลท�ำได้อย่างง่ายดายเพียงปลายนิ้วคลิก คงไม่เป็นการพูดเกินจริงไปนัก ถ้าจะบอกว่า อินเทอร์เน็ตกลายเป็นแหล่งข้อมูลเสมือนเป็น ห้องสมุด ที่มีเสิร์ชเอนจินอย่างกูเกิลท�ำหน้าที่ เสมือนเป็นบรรณารักษ์คอยตอบค�ำถามและ ช่วยหาข้อมูล บทบาทของห้องสมุดในหลายๆ เมืองจึงลดน้อยลง แต่นนั่ ไม่ใช่สงิ่ ทีเ่ กิดขึน้ ในริกา ในขณะทีล่ ตั เวียประสบปัญหาแรงงานขาด คุณภาพและระบบการศึกษาที่ไม่ได้มาตรฐาน ห้องสมุดแห่งชาติลัตเวียในริกาก�ำลังท�ำหน้าที่ เป็นฟันเฟืองเล็กๆ ในการพัฒนาคุณภาพและ ศักยภาพของผูค้ นให้สงู ขึน้ ด้วยการเปิดช่องทาง
ในการเข้าถึงแหล่งข้อมูลให้มีมากขึ้น ผู้คนใน เมืองริกาต่างพากันใช้บริการห้องสมุดแห่งลัตเวีย กันอย่างคึกคัก ซึ่งเป็นผลมาจากการส่งเสริม ให้ ห ้ อ งสมุ ด เป็ น ศู น ย์ ก ลางของการเรี ย นรู ้ ส�ำหรับผูค้ นในเมืองไม่วา่ จะอยูท่ ไี่ หนด้วยการใช้ เทคโนโลยี ห้องสมุดแห่งชาติลัตเวียเปิดบริการ ห้องสมุดดิจทิ ลั ขึน้ โดยมีบริการต่างๆ เช่น บริการ แหล่งข้อมูลออนไลน์ (Electronic Resource) บริการแชทกับบรรณารักษ์ (Librarian Chat) บริการดิจิทัลคอลเล็กชั่น (Digital Collection) บริการเข้าถึงข้อมูลห้องสมุดผ่านมือถือ (Library in Your Pocket) และนิทรรศการเสมือนจริง (Virtual Exhibition)
อีกหนึง่ บริการของห้องสมุดทีม่ คี วามส�ำคัญ มากคือบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ด้วยบริการ ดั ง กล่ า วท� ำ ให้ ห ้ อ งสมุ ด กลายเป็ น สถานที่ ที่ เอื้อให้คนสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้เร็วที่สุด ผู้คนจึงแวะเวียนกันมาใช้บริการห้องสมุดไม่ ขาดสาย รวมไปถึงบรรดานักธุรกิจตัวเล็กทีเ่ ข้ามา หาข้ อ มู ล ตลาด โฆษณาและประชาสั ม พั น ธ์ เพื่อแข่งขันกับตลาดโลก ในขณะเดียวกัน บทบาทของบรรณารักษ์ ก็มมี ากขึน้ ไม่ใช่แค่ในลักษณะการให้ขอ้ มูลด้าน การใช้บริการทั่วไป แต่รวมถึงการส่งต่อความรู้ ด้านเทคโนโลยีให้กับผู้คนในเมือง บรรณารักษ์ ทุกคนจะได้รับการฝึกอบรมเรื่องเทคโนโลยี เพื่ อ ส่งต่อความรูแ้ ละทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และเว็บไซต์ให้กับผู้ที่มาใช้บริการ ซึ่งเริ่มตั้งแต่การสอนวิธีการใช้คอมพิวเตอร์ การใช้อินเทอร์เน็ต การหาข้อมูลผ่านเว็บไซต์ การเช็คข้อมูลการเดินทางรถไฟ และการใช้บริการ ออนไลน์แบงค์กิ้ง รวมถึงการหางาน
โรงเรียนนักธุรกิจไอทีตัวเล็ก เมือ่ ข้ามจากฝัง่ เมืองใหม่ซงึ่ เป็นทีต่ งั้ ของห้องสมุด แห่งชาติลัตเวีย จะพบกับฝั่งเมืองเก่าที่เต็มไป ด้วยสถาปัตยกรรมแบบอาร์ตนูโว ท่ามกลางอาคาร เก่าแก่เหล่านีเ้ ป็นทีต่ งั้ ขององค์กร TechHub Riga ที่ ก ลุ ่ ม คนรุ ่ น ใหม่ ที่ มี ค วามสนใจเรื่ อ งธุ ร กิ จ สตาร์ทอัพต่างแวะเวียนเข้ามาใช้พื้นที่ท�ำงาน ร่วมกัน ในช่วงเวลาที่คนรุ่นใหม่ในริกาเริ่มมองหา โอกาสในการใช้ชีวิตอย่างที่ปรารถนา หาเลี้ยง ตั ว เองด้ ว ยการเปลี่ ย นความรั ก ความสนใจ ส่วนตัวให้เป็นอาชีพอิสระกันมากขึ้น ธุรกิจไอที สตาร์ทอัพจึงกลายเป็นทางเลือกของพวกเขา ในสภาวะเศรษฐกิจซบเซาที่ยืดเยื้อมาตั้งแต่ วิกฤตเศรษฐกิจยุโรปในปี 2009 ธุรกิจสตาร์ทอัพ กลายเป็นสิ่งที่ได้รับความสนใจจากคนรุ่นใหม่ ในริกา เนือ่ งจากพวกเขาสามารถเริม่ ต้นได้ดว้ ย
riga.techhub.com
CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
ทีมงานแค่ไม่กี่คนและวางเงินลงขันกันก้อน เล็กๆ เพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์หรือแอพพลิเคชั่น แต่มีโอกาสโตแบบก้าวกระโดดอย่างเฟซบุ๊ก และอินสตาแกรมหากมีไอเดียสร้างสรรค์และ การวางแผนธุรกิจที่ดี ความส�ำเร็จของธุรกิจ สตาร์ทอัพไม่ได้เกิดจากแค่ไอเดียดีและแผนธุรกิจ ที่ใช้งานได้จริง แต่ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง หนึ่ ง ในนั้ น คื อ สภาพแวดล้ อ มที่ เ อื้ อ อ� ำ นวย ไม่ว่าจะเป็นโอกาสในการพบปะผู้คนทั้งในและ นอกสาขา รวมถึงนักลงทุน และโอกาสในการ เข้าถึงความรูแ้ ละการพัฒนาทักษะการท�ำธุรกิจ ในขณะที่ จ� ำ นวนผู ้ ป ระกอบการและ นักพัฒนาซอฟต์แวร์ในริกามีมากขึน้ แต่รฐั บาล ก�ำลังวุน่ วายกับการแก้ปญั หานานัปการ หน่วยงาน ทีเ่ ข้ามาสนับสนุนผูป้ ระกอบการตัวเล็กดังกล่าว จึงเป็น TechHub หน่วยงานไม่แสวงผลก�ำไร จากลอนดอน ประเทศอังกฤษ TechHub ให้ ความช่วยเหลือธุรกิจสตาร์ทอัพด้วยการสร้าง สภาพแวดล้อมที่เอื้อให้บริษัทสตาร์ทอัพเติบโต อย่างรวดเร็วและมั่นคง เมื่อริกาคือเมืองที่เต็ม ไปด้วยผู้ประกอบการและนักพัฒนาซอฟต์แวร์ จ�ำนวนมาก TechHub จึงเปิด TechHub Riga ซึ่ ง เป็ น สาขาต่ า งประเทศแห่ ง แรกในเดื อ น
กุมภาพันธ์ ปี 2012 TechHub Riga คือ Co-Working Space ที่เปิดโอกาสให้บริษัทสตาร์ทอัพในเมืองได้มี โอกาสรูจ้ กั และท�ำงานร่วมกัน มีการจัดกิจกรรม ขึน้ อย่างต่อเนือ่ งรวมทัง้ จัดการประชุม TechChill Baltics ซึ่ ง เป็ น การประชุ ม ประจ� ำ ปี ส� ำ หรั บ สตาร์ทอัพในกลุ่มประเทศบอลติกและยุโรป จะเห็นได้ว่าสิ่งที่ TechHub Riga ท�ำคือการ สนั บ สนุ น การพั ฒ นาของกลุ ่ ม สตาร์ ท อั พ ใน ลัตเวียและระบบนิเวศในการท�ำงาน TechHub Riga มี บ ริ ษั ท เข้ า ร่ ว มกว่ า 30 บริ ษั ท และมี สมาชิกรวมกันว่า 100 คน ดังนั้นเมื่อเอ่ยถึง ชื่อ TechHub Riga ผู้คนจึงนึกถึงนวัตกรรม เทคโนโลยี และศูนย์รวมของกลุ่มสตาร์ทอัพ ในลัตเวีย TechHub Riga กลายเป็นหน่วยงาน ที่ ผ ลิ ต สตาร์ ท อั พ สั ญ ชาติ ลั ต เวี ย ที่ ป ระสบ ความส� ำ เร็ จ มากที่ สุ ด ในช่ ว งปี 2012-2014 ไม่ว่าจะเป็น Infogr.am (ซอฟต์แวร์ส�ำหรับ ท�ำ Data Visualization) Sellfy (เว็บไซต์ที่ เปิ ด พื้ น ที่ ผู ้ ค ้ า ไอที ข ายของ) และ Froont (ซอฟต์ แ วร์ ส� ำ หรั บ ออกแบบ Responsive Website)
กุมภาพันธ์ 2558
l
Creative Thailand
l 27
© Atlantide Phototravel/Corbis
CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
อาคารห้องสมุดแห่งชาติลัตเวียหลังใหม่ ออกแบบโดยสถาปนิก ผู้มีชื่อเสียงชาวลัตเวีย Gunnars Birkerts ภายใต้คอนเซ็ปต์ "Castle of Light"
“ภาวะเศรษฐกิจตกต�่ำของลัตเวียสร้าง ศักยภาพในการท�ำธุรกิจให้กับบริษัทสตาร์ทอัพ เหล่านี้ เงือ่ นไขทีพ่ วกเขาต้องใช้ชวี ติ อยูด่ ว้ ยเงิน จ�ำนวนก้อนเล็กๆ ในแต่ละเดือน ท�ำให้พวกเขามี ความคิดสร้างสรรค์และมีความรักในสิ่งที่ก�ำลัง สร้างมากขึ้น” อาลิเซ เลซดินา (Alise Lezdina) ผู ้ จั ด การ TechHub กล่ า ว ความส� ำ เร็ จ ของ บริษัทรุ่นพี่เหล่านี้กลายเป็นแรงบันดาลใจให้ ผู้ประกอบการรุ่นใหม่เปิดสตาร์ทอัพของตนเอง โดยในเดือนพฤศจิกายน ปี 2014 TechHub Riga ได้เปิดสาขาใหม่ที่ใหญ่ขึ้นเพื่อให้รองรับ ความต้องการที่มากขึ้น
ความช่วยเหลือจากภาคใหญ่ สู่การพัฒนาที่ย่ังยืน เมื่ อ กลุ ่ ม ผู ้ ป ระกอบการทางด้ า นไอที ใ นริ ก า เริ่มใหญ่ขึ้น รัฐบาลลัตเวียจึงให้ความส�ำคัญกับ ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมดิจิทัลมากขึ้น แผนพัฒนาแห่งชาติระยะกลาง (ปี 2014-2020) เริม่ สนับสนุนเรือ่ ง Digital Entrepreneurship ใน แง่มมุ ต่างๆ เช่น การพัฒนาคุณภาพอินเทอร์เน็ต 28 l
Creative Thailand
l กุมภาพันธ์ 2558
ความเร็วสูงทัว่ ทัง้ ประเทศ การพัฒนาเรือ่ ง Digital Content รวมถึงการพัฒนาสินค้าและบริการ ออนไลน์ต่างๆ สหภาพยุโรปก็ออกมาสนับสนุนเรือ่ ง Digital Entrepreneurship ในลั ต เวี ย เช่ น กั น โดยชี้ ให้เห็นถึงการด�ำเนินงาน 5 เรื่องเพื่อสนับสนุน กลุม่ ผู้ประกอบการ ได้แก่ การให้ความรูเ้ รือ่ งดิจทิ ลั และตลาดไอซีที (Digital Knowledge Base and ICT Market) สภาพแวดล้อมทางธุรกิจดิจทิ ลั (Digital Business Environment) การเข้าถึง แหล่งการเงิน (Access to Finance) ทักษะด้าน ดิจิทัลและการบริหารองค์กรยุคดิจิทัล (Digital Skills and E-Leadership) และวัฒนธรรมที่ มุ่งผู้ประกอบการ (Entrepreneurial Culture) คงไม่ใช่เรื่องง่ายที่ริกาจะพาลัตเวียก้าวผ่าน ความยากจนได้อย่างรวดเร็ว แต่ด้วยความ พยายามและการสนั บ สนุ น จากหลายๆ ภาคส่วน คงไม่ใช่เรื่องยากเกินไปส�ำหรับริกา ในการเป็ น เมื อ งที่ มี ส ่ ว นช่ ว ยสร้ า งความ เปลี่ ย นแปลงให้ กั บ ลั ต เวี ย
ปี 2014 ริกาได้รับเลือกให้เป็นเมืองหลวงแห่ง วัฒนธรรมยุโรปโดยสหภาพยุโรป ซึง่ เปิดโอกาส ให้ ริ ก าได้ จั ด แคมเปญชื่ อ Riga 2014 จั ด กิจกรรมต่างๆ ตลอดระยะเวลา 1 ปีเพื่อ โปรโมทวัฒนธรรมของเมือง ตั้งแต่คอนเสิร์ต การแสดงละคร การฉายภาพยนตร์ เทศกาล และนิทรรศการ มีผเู้ ข้าร่วมกิจกรรมตลอดปีถงึ 1.5 ล้านคน ช่องทางที่ช่วยโปรโมทแคมเปญนี้ ได้เป็นอย่างดีคือเว็บไซต์ riga2014.org ซึ่งทำ� หน้าทีเ่ ผยแพร่ขอ้ มูลและเนือ้ หากิจกรรม โดยมี การอัพโหลดบทความประกอบกิจกรรม 5,544 บทความ รูปประกอบ 1,705 รูป ไฟล์เสียง 202 ไฟล์ ที่พิเศษไปกว่านั้นคือมีการอัพโหลดวิดีโอ บันทึกภาพกิจกรรมให้คนดูย้อนหลังถึง 269 วิดีโอ และเปิดช่องทางให้ดูถ่ายทอดกิจกรรม แบบไลฟ์สตรีมทั้งหมด 32 ครั้ง ส่งผลให้มียอด ผู้เข้าชมเว็บไซต์สูงถึง 651,000 คน ที่มา: บทความ “European Capital of Culture in Riga a Resounding Success” จาก riga2014.org, บทความ “In Latvia, Young People Discover New Passions in Bad Economic Times” จาก washingtonpost.com, บทความ “TechHub Riga Moves into Brand New, Modern Premises in Old Town” จาก baltic-course.com, รายงาน “Akamai’s State of the Internet Report 2014” จาก akamai.com, euromonitor.com, lnb.lv/en และ riga.techhub.com
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
What is the REAL netizen
?
เรื่อง: กมลกานต์ โกศลกาญจน์ ภาพ: พิรานันท์ พาวงษ์
อรนุช เลิศสุวรรณกิจ ด้วยพืน้ ฐานการศึกษาด้านวิศวกรรม ทีผ่ สานเข้ากับประสบการณ์ท�ำงานด้านสือ่ สารโทรคมนาคมนานนับสิบปี ท�ำให้ อรนุช เลิศสุวรรณกิจ พรั่งพร้อมไปด้วยข้อมูลและมุมมองเกี่ยวกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตทั้งในไทยและต่างประเทศ จนสามารถน�ำความรู้หลากสาขา ตั้งแต่ เรื่องการเริ่มต้นธุรกิจ การท�ำการตลาดยุคออนไลน์ อี-คอมเมิร์ส ไปจนถึงสถานการณ์อุตสาหกรรมสมาร์ทโฟนและแกดเจ็ตต่างๆ มาถ่ายทอดสูผ่ อู้ า่ น ผ่านเว็บไซต์ thumbsup.in.th ทีเ่ ป็นดังคูม่ อื ของเหล่าสตาร์ทอัพและผูป้ ระกอบการในเมืองไทย รวมถึงเป็นตัวแทน ส่งต่อความรู้เรื่องการท�ำดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งสู่อีกหลากหลายแบรนด์สินค้าชั้นน�ำ ผ่านบริษัทที่ปรึกษาและจัดอบรมอย่าง Sharpener Thailand อีกด้วย
กุมภาพันธ์ 2558
l
Creative Thailand
l 29
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
จุดเริ่มต้นของพลเมืองเน็ตในประเทศไทยเกิดขึ้นได้อย่างไร ลองยกตัวอย่างการเกิดขึ้นของสังคมที่มีพลเมืองเน็ตใน เกิ ด ตั้ ง แต่ มี ค อมพิ ว เตอร์ ใ นยุ ค แรกๆ เวลาจะต้ อ งการสื่ อ สารก็ ใ ช้ ต่างประเทศ เทลเน็ตหรือเพิร์ธ แต่ตอนนั้นพลเมืองเน็ตยังไม่เกิดมากเท่ากับตอนยุค สมาร์ทโฟนรุง่ เรือง เราเคยคุน้ เคยกับโทรศัพท์ทมี่ รี ะบบปฏิบตั กิ ารซิมเบียน มาก่อน แต่มีจุดที่ท�ำให้คนอยากใช้อินเทอร์เน็ตแบบกลืนกับไลฟ์สไตล์ มากขึ้นก็ตอนไอโฟน ที่ออกมาตอบโจทย์ตรงกับคนทุกรูปแบบ ในวันนั้น ต้องบอกว่า ในเชิงของฟังก์ชนั่ ไอโฟนไม่ได้เป็นของใหม่เสียทีเดียว แต่ไอโฟน ออกแบบมาโดยน�ำเสนอประสบการณ์ของผู้ใช้ (User Experience - UX) ที่ ดีขึ้น การใช้งานสะดวก และแก้ปัญหาตั้งแต่ต้นน�้ำถึงปลายน�้ำ แต่ก่อน คนที่พัฒนาแอพฯ จะปวดหัวมาก เพราะคิด 1 ครั้งต้องปรับให้เข้ากับ อุปกรณ์แต่ละรุ่น มาตรฐานแตกต่างกัน จะขายทีก็ไม่ง่าย แต่แอปเปิลก็ เข้ามาช่วยแก้ปญั หาในกระบวนการเหล่านี้ ถามว่าแอพสโตร์เป็นของใหม่ไหม จริงๆ แล้วก็ไม่ใช่ แต่แอปเปิลท�ำให้คนซื้อง่าย ขายคล่องขึ้น ท�ำให้แอพฯ ไหลเข้ า หาผู ้ ใ ช้ ไ ด้ ง ่ า ยดาย ในแง่ การช�ำระเงินก็สะดวกสบายมากขึ้น แต่ก่อนต้องตัดผ่านเอสเอ็มเอส หรือช�ำระผ่านช่องทางอื่นๆ ไม่ค่อยมี มาตรฐาน แต่แอพสโตร์ท�ำให้ผู้ที่มีก�ำลังซื้อสามารถซื้อผ่านเครดิตการ์ด ได้ง่ายๆ ในขณะที่ตัวเครื่องก็ออกแบบให้น�ำเสนอประสบการณ์ใช้งาน ที่ดี เช่น ท�ำให้เราสามารถน�ำเกมที่เราคุ้นเคยและได้รับความนิยมบน พีซีมาเล่นบนมือถือได้โดยที่ไม่รู้สึกล�ำบาก
แต่ยุคนั้นสมาร์ทโฟนก็มีราคาสูงมาก อะไรคือจุดเปลี่ยนที่ ท�ำให้เราเข้าสู่การเป็นพลเมืองเน็ตเต็มรูปแบบอย่างวันนี้
นอกจากเครือข่ายโครงสร้างอินเทอร์เน็ตไร้สายที่ดีขึ้นแล้วก็จะมีเรื่อง ผูใ้ ห้บริการ 3G และ WiFi ทีค่ รอบคลุมหลายพืน้ ที่ การเกิดขึน้ ของแอนดรอยด์ ก็เป็นปัจจัยส�ำคัญ หรือใช้โทรศัพท์ประเภทบัตรเติมเงิน ก็ใช้สมาร์ทโฟน ได้ และส่วนหนึ่งเหมือนเป็นธรรมชาติของผู้ใช้วัยรุ่นด้วย เพื่อนคุยกันใน ไลน์ เราอยู่ออฟไลน์ก็ไม่ได้แล้ว แอนดรอยด์คือตัวผลักดันที่ท�ำให้เรา เป็นสังคมเน็ตอย่างทุกวันนี้ ซึ่งใช้เวลาแค่ 2-3 ปีที่ผ่านมานี้เองที่เต็ม รูปแบบมากๆ ผู้ให้บริการอย่างค่ายมือถือก็เริ่มท�ำแพ็กเกจ เฟซบุ๊กไม่อั้น ไลน์ไม่อนั้ และไลน์คอื ตัวพิสจู น์เรือ่ งจุดของก้าวกระโดดตัวหนึง่ ก่อนหน้านี้ เคยมีวอทส์แอพแต่มันไม่ตอบโจทย์ในเชิงของวัฒนธรรม และการแสดง ความรู้สึกทางอารมณ์ของคนไทยมากนัก จุดนี้ท�ำให้คนใช้รู้สึกสนุกกับ การใช้งานแอพพลิเคชั่น
30 l
Creative Thailand
l กุมภาพันธ์ 2558
จริงๆ อัตราการเติบโตของพลเมืองเน็ตทัง้ โลกเป็นไปในทิศทางทีเ่ ติบโตขึน้ แต่ถูกขับเคลื่อนด้วยปัจจัยไม่เหมือนกัน ยอมรับว่าโครงสร้างอินเทอร์เน็ต ในซีกโลกตะวันตกนั้นเติบโตแข็งแรงกว่าแถบเอเชียมาก่อน ยกเว้นญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ แต่รูปแบบการเสพคอนเทนต์อาจไม่เหมือนกันเสียทีเดียว อย่างแถบเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลี ไทย จะเติบโตด้วยไลฟ์สไตล์ แนวบันเทิง คอนเทนต์ทมี่ เี นือ้ หาแนวน่ารักๆ เนือ้ หาแนวนีไ้ ม่ใช่จงู ใจแค่เด็ก แต่รวมถึงวัยรุ่นและกลุ่มผู้ใหญ่ด้วย ผู้ใหญ่อย่างเราก็ยังเสพคอนเทนต์ บันเทิง อ่านง่ายๆ หรือดาวน์โหลดสติกเกอร์นา่ รักๆ อารมณ์แนวนีอ้ าจหา ได้ยากในพลเมืองเน็ตในฟากตะวันตก ส�ำหรับเนือ้ หาทีพ่ ลเมืองเน็ตในฟาก โลกตะวันตกชื่นชอบ ก็มีรูปแบบที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับบริการที่นั่น อาทิเช่น ชอบดูหนังผ่านเน็ตฟลิกซ์ (Netflix: ผู้ให้บริการฉายภาพยนตร์ และรายการโทรทัศน์ออนไลน์)
สัดส่วนของพลเมืองเน็ตในประเทศไทย ณ ปัจจุบันเป็น อย่างไร
เรือ่ งสัดส่วนแบ่งตามพืน้ ทีไ่ ม่ได้ พลเมืองเน็ตไม่ได้เป็นคนในกรุงเทพฯ หรือ ต่างจังหวัด ทุกคนเป็นพลเมืองเน็ตได้ ถ้ามีโอกาสเข้าถึงอินเทอร์เน็ต เป็น เรือ่ งของการกระจุกหรือการกระจายตัว ปัจจุบนั โครงสร้างอินเทอร์เน็ตบ้าน เราดีขึ้นมากอย่าง 3G ไม่ใช่มีแค่ในเมือง บนพื้นที่บนดอยจุดท่องเที่ยว หลายแห่งในภาคเหนือสัญญาณก็ถึงแล้ว แต่ปัญหาส�ำคัญเป็นเรื่องของ อุปกรณ์ที่จะรองรับที่ท�ำให้มีความเหลื่อมล�้ำในเรื่องของการเข้าถึงอยู่ และแม้จะมีหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนอุปกรณ์ แต่สุดท้ายก็อยู่ที่เรื่อง ของการให้ความรู้เช่นกัน เพราะต่อให้ผู้ใช้รับเครื่องไปแล้วใช้ไม่เป็นก็ จบทันที สุดท้ายแล้วเรื่องนี้ต้องปูพื้นฐานตั้งแต่การศึกษาว่าอินเทอร์เน็ต ช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นได้อย่างไร
เพราะฉะนัน้ ค�ำว่า “พลเมืองเน็ต” ก็ ไม่ได้เป็นปรากฏการณ์ แต่เป็นหนึ่งในกระบวนการพัฒนาทางสังคมใช่หรือไม่
เรียกว่าต้องเกิดขึ้นจากจิ๊กซอว์หลายตัวที่เริ่มผนวกเข้ามาต่อกัน ท�ำไม ต่างประเทศถึงมีอตั ราการเข้าถึง (Penetration Rate) มากกว่า การพัฒนา ทางสังคมเป็นไปเร็วกว่า เพราะเขามีสิ่งที่ต่างจากเรา เริ่มจากโครงสร้าง พื้นฐานที่ดีกว่า บ้านเรากว่าจะมาถึงจุดนี้ได้ คือช่วงสิบปีที่ผ่านมา เราพบ กับอุปสรรคมากมายที่ท�ำให้เราไปไม่ถึง ต่อจากเรื่องโครงสร้างพื้นฐานคือ จุดรับได้ไหม อุปกรณ์รองรับมีหรือเปล่า และสุดท้ายเรื่องบริการ สามารถ ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต หรือไปตอบโจทย์ทางด้าน อารมณ์และความรูส้ กึ ของผูใ้ ช้ได้หรือไม่ ถ้า 3 ปัจจัยนีม้ าพร้อมกัน ก็คอื จิก๊ ซอว์ ที่ท�ำให้สังคมสมบูรณ์แบบ และเป็นการพัฒนาอย่างที่เกิดขึ้นทุกวันนี้
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
แล้วการก้าวเข้าสู่สังคมพลเมืองเน็ตแบบนี้ ทั่วโลกเกิด โอกาสอะไรใหม่ๆ บ้าง
ชัดเจนเลยคือ Crowdfunding (การระดมทุนจากมวลชน) เป็นเรื่องที่ ชอบมาก เรื่องแพลตฟอร์มก็ส่วนหนึ่ง แต่ที่ส�ำคัญกว่าคือเป็นการเพิ่ม โอกาสให้กับคนอีกจ�ำนวนมากที่ไม่มีเงินทุน วิธีนี้สามารถระดมทุนได้ง่าย กว่าแต่ก่อน ต่อมาคือเรื่องของ IOT: Internet of Things หรือการที่อินเทอร์เน็ต เข้าไปถึงอุปกรณ์ตา่ งๆ มากขึน้ ไม่ใช่แค่สมาร์ทโฟน แต่เป็นของใช้ในบ้าน ซึง่ มันขับเคลือ่ นให้เกิดธุรกิจใหม่ๆ ขึน้ มา อย่างการผสมผสานเอา Sharing Economy (เศรษฐกิจแห่งการแบ่งปัน) เข้ากับ IOT ท�ำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า Internet of Sharing Things ตอนนี้เราได้ยินเรื่อง Sharing Economy ค่อนข้างเยอะ แต่นี่คือการน�ำเอา IOT มาช่วยแก้ปัญหาสังคมผ่านการ แบ่งปันด้วยอุปกรณ์เล็กๆ อย่างเช่นโปรเจ็กต์ชื่อ Umbrella Here คือมี อุปกรณ์ที่เสียบไปบนร่ม เพื่อบอกให้คนอื่นมาแบ่งร่มเราใช้ เป็นตัวบอก สัญญาณ คุมด้วยแอพพลิเคชั่น พอฝนตกก็เปิดสัญญาณว่าเราแฮปปี้ ให้มาใช้รม่ ด้วยกัน แต่ตอนทีฝ่ นไม่ตก แอพฯ ก็จะเป็นตัวพยากรณ์อากาศ หรือในกรณีทเี่ ราลืมร่มไว้ พอเราเดินห่างจากร่ม แอพฯ ก็จะเตือนว่าเราลืม
ร่มไว้ เป็นต้น พลเมืองเน็ตไม่ได้เป็นการบริโภคข้อมูลผ่านอุปกรณ์มือถือ เหล่านีแ้ ล้ว แต่เป็นการน�ำอุปกรณ์ในชีวติ ประจ�ำวันเข้ามาเล่นด้วย เพียงแค่ มีตัวรับสัญญาณอินเทอร์เน็ต เราก็สามารถแปลงของใช้ทุกอย่างให้ สื่อสารกับเราได้ ส�ำหรับในประเทศไทยเราก็เริ่มเห็นกลุ่มของ Hardware Startup (ธุรกิจเกิดใหม่ทเี่ น้นพัฒนาอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีใหม่ๆ ) มากขึน้ และจะเริ่มเห็นธุรกิจที่น�ำเอา IOT มาใช้เพื่อแก้ปัญหาทางสังคมมากขึ้น เช่นกัน และต่อมาที่อยากกล่าวถึงคือ Big Data
Big Data คืออะไร และเกิดขึ้นได้ในรูปแบบไหนในยุคนี้
Big Data คือข้อมูลขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้น ไม่มีโครงสร้างชัดเจน หนึ่งใน ตัวอย่างคือข้อมูลจากยุคโซเชียล คน/ผู้ใช้เป็นคนสร้างขึ้นมา ซึ่งนอกจาก เนือ้ หาในโลกออนไลน์แล้ว ยังมีขอ้ มูลอีกประเภทหนึง่ คือข้อมูลจากอุปกรณ์ ทีเ่ ราสวมใส่ เช่น สายรัดวัดชีพจรตอนเราออกก�ำลังกาย อย่างแบรนด์ไนกี้ ที่ตั้งโจทย์ขึ้นมาว่า จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกค้าซื้อรองเท้าแล้วน�ำไปใส่วิ่งจริง แต่ตอนนีพ้ สิ จู น์ได้แล้ว เพราะว่าเขาใช้ IOT กับสินค้าของเขา ตอนนีล้ กู ค้า ไม่ได้ผลิตข้อมูลจากการโพสต์ คอมเมนต์ กดไลค์ หรือแชร์เพียงอย่างเดียว แต่เกิดจากกิจกรรมในไลฟ์สไตล์ที่ผู้ผลิตน�ำไปจับกับสินค้า แล้วสร้าง เป็นคอนเทนต์ขึ้นมา สิ่งส�ำคัญคือ ข้อมูลพวกนี้บอก What อย่างเดียว สิ่งส�ำคัญกว่าคือแบรนด์ต่างๆ จะเปลี่ยนข้อมูลพวกนี้เป็นประโยชน์กับ แบรนด์ได้อย่างไร ข้อมูลจะบอก Why ได้อย่างไร แบรนด์จะใช้ความ ต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภค (Consumer Insight) ให้มีประสิทธิภาพ ได้อย่างไร
ท�ำให้เกิดอาชีพใหม่จาก Big Data เหล่านี้เลยหรือเปล่า
ทุกวันนี้มีนักลงทุนเยอะแยะ เงินทุนหาไม่ยาก เพียงแต่คุณท�ำให้น่าสนใจมากพอหรือเปล่า ถึงระดับที่นักลงทุนยอมรับและเห็นคุณค่างาน คุณหรือเปล่า
ในต่างประเทศเรียกอาชีพนี้ว่า Data Scientist อาจฟังดูไกลตัวไปนิดหนึ่ง ฟังดูเป็นนักวิทยาศาสตร์ ส�ำหรับไทยก็เริ่มมีคนท�ำอาชีพนี้แล้ว แต่ยังมี น้อยมาก เป็นอาชีพที่มีความยากตรงที่ต้องมีทักษะเฉพาะ 2 อย่าง อย่างแรกคือมีความรูเ้ รือ่ งสถิติ คณิตศาสตร์ การทีเ่ ห็นข้อมูลทีป่ อ้ นเข้ามา แล้วเกิดความเข้าใจ อีกด้านหนึ่งคือ การเข้าใจเรื่องบิสสิเนส โดเมน เช่น ธุรกิจสายพลังงาน สายสือ่ สารโทรคมนาคม สายรีเทล สายสุขภาพ เป็นต้น ทีเ่ มือ่ เห็นสถิตแิ ล้วจะเข้าใจและแปลงค่าเหล่านีว้ า่ มีความหมายในเชิงธุรกิจ อย่างไร ส่งผลกระทบอย่างไร เพื่อวางแผนกลยุทธ์ต่อได้ สมัยก่อน ข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูลที่มีลักษณะโครงสร้างชัดเจนจาก ฐานข้อมูล แต่ตอนนี้ข้อมูลได้มาจากโลกออนไลน์ เป็นเรียลไทม์ ไม่มี โครงสร้างชัดเจน ค�ำถามคือนักวิเคราะห์จะเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้และน�ำมา ใช้ได้อย่างไร ซึง่ ส�ำหรับเมืองไทยต้องค่อยๆ ปรับตัว เริม่ จากให้ความรูค้ น ก่อนเลย และน�ำคนทีม่ ที กั ษะการวิเคราะห์ มีความเข้าใจเรือ่ งข้อมูล เข้าใจ รูปแบบธุรกิจองค์กร แล้วปั้นคนกลุ่มนี้ขึ้นมา เป็นนักวิเคราะห์ข้อมูลที่อยู่ ภายในองค์กรของเขาเอง ในอนาคตเป็นอาชีพเนื้อหอมแน่ๆ กุมภาพันธ์ 2558
l
Creative Thailand
l 31
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
IOT: Internet of Things หรื อ การ ที่ อิ น เทอร์ เ น็ ต เข้ า ไปถึ ง อุ ป กรณ์ ต ่ า งๆ มากขึ้น ไม่ใช่แค่สมาร์ทโฟน แต่เป็นของใช้ ในบ้าน ซึง่ มันขับเคลือ่ นให้เกิดธุรกิจใหม่ๆ ขึ้นมาอย่างการผสมผสานเอา Sharing Economy เข้ากับ IOT ท�ำให้เกิดสิ่งที่ เรียกว่า Internet of Sharing Things
จากเรื่องการเก็บข้อมูลของผู้ใช้ นั่นรวมถึงเรื่องของความ เป็นส่วนตัว (Privacy) ที่ลดน้อยลงด้วยหรือเปล่า
ความเป็นส่วนตัวคือเรือ่ งทีต่ อ้ งแบ่งเป็น 3 ส่วน หนึง่ ในแง่ของแพลตฟอร์ม กลางต้องมีจรรยาบรรณ ที่จะเอาข้อมูลของคนที่เป็นผู้ใช้ไปใช้ เฟซบุ๊ก เองก็มีข้อมูล เขาก็มีนโยบายที่ป้องกันข้อมูลผู้ใช้อย่างเราเหมือนกัน สอง คือ แบรนด์ที่ได้ข้อมูลไปแล้วเอาไปขายต่อ ชัดๆ เลยคือเราสมัครอะไรไป สักอย่าง สักพักมีประกันโทรมา มีบัตรเครดิตโทรมา คือต้องมีสักคนที่ น�ำข้อมูลเราไปแชร์ ตรงนีก้ ต็ อ้ งระวัง สุดท้ายคือผูใ้ ช้ ต้องมีสติทกุ ครัง้ ทีจ่ ะ โพสต์และแชร์อะไร โดยเฉพาะกับเรือ่ งละเอียดอ่อนมากๆ เรือ่ งของ Digital Footprint ชีวิตจะรุ่งหรือร่วงนี่วัดกันได้เลย แม้แต่การไปคุยงานเจรจากับ ลูกค้า คุยกับใครก็ไม่ต้องเช็กอิน ที่ส�ำคัญคือสติ ไม่ต้องน�ำทุกอย่างใน ออฟไลน์ไปไว้ในออนไลน์ อย่าเอาอารมณ์เป็นที่ตั้ง แล้วใส่ทุกอย่างลงไป บางทีจะไปโทษแพลตฟอร์มอย่างเดียวก็ไม่ได้ เพราะเรือ่ งบางอย่างเราเอง ที่แชร์ข้อมูลเหล่านั้นบนโลกออนไลน์เอง อย่างเด็กๆ นี่น่ากลัวมาก แต่ที่ น่าสนใจคือ พ่อแม่ยคุ นี้ วัย 30 จะมีความเข้าใจ เพราะเป็น Netizen รุน่ แรกๆ คนกลุ่มนี้จะมีผลที่ท�ำให้เด็กเจนฯ ถัดไป เข้าใจในปรากฏการณ์ตรงนี้ได้
แล้วนอกจากอาชีพใหม่ ยังมีธุรกิจใหม่ๆ เกิดขึ้นอีกหรือไม่
มีแน่ๆ ท�ำให้คนที่ยังมีต้นทุนน้อยก็สามารถเริ่มต้นธุรกิจได้ไม่ยาก อินเทอร์เน็ตคือท่อในการกระจายที่ง่าย เป็นช่องทางการขายที่ดี และ ทดลองตลาดได้ง่ายด้วย ธุรกิจเดิมที่มีอยู่แล้วสามารถทดสอบได้ว่า แคมเปญนี้ คนตอบรับหรือเปล่า ส�ำหรับธุรกิจใหม่ มีต้นทุนในการเริม่ ต้น ที่ง่าย สมมติในวันนี้เรามีไอเดียจะแก้ปัญหาอะไร ไปสัมภาษณ์ทดสอบ กลุ่มตลาด ก็ท�ำเป็นโปรโตไทป์แล้วก็กลับไปลองตลาดได้ หัวใจส�ำคัญคือ สามารถที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ให้ประโยชน์แก้ปัญหาอะไรให้กับผู้ใช้ อะไรคือคุณค่าที่ส่งมอบให้ลูกค้า จะเห็นได้ว่าต้นทุนการเริ่มต้นธุรกิจ ง่ายมากขึ้น จนเราเห็นธุรกิจเกิดใหม่หลายรายที่เราเรียกว่าสตาร์ทอัพ 32 l
Creative Thailand
l กุมภาพันธ์ 2558
แต่ในทางกลับกัน นั่นหมายถึงจ�ำนวนคู่แข่งที่เพิ่มขึ้นอีก มหาศาลเช่นกัน
คุณจะลองดูโมเดลในต่างประเทศและน�ำมาปรับประยุกต์ใช้ให้เข้ากับบ้าน เราก็ได้ แต่สงิ่ ทีอ่ ยากให้มองมากกว่านัน้ คือ พยายามพัฒนาผลิตภัณฑ์ทมี่ ี Proprietary Technology (กรรมสิทธิ์) ของตัวเอง ต้องมี Secret Sources บางอย่างที่ตัวเองพัฒนาแล้วคนอื่นมาดูแล้วลอกเลียนแบบไปไม่ได้ง่ายๆ และคุณต้องไปให้เร็วกว่าคนอื่น ล�ำดับสองคือ ไม่อยากให้มองว่าต้องใช้ เทคโนโลยีที่ล�้ำสมัยมากๆ บ้านเรากลุ่ม Early Adopter (กลุ่มคนหัว ก้าวหน้า) ไม่ได้มีจ�ำนวนเยอะ ท�ำมาล�้ำสมัยมากแต่ไม่ได้ตอบโจทย์ด้าน คุณค่าหรือการเข้าไปแก้ปัญหาอะไรได้ พัฒนาคุณภาพชีวิตไม่ได้ สุดท้าย ก็จบอยู่ดี เพราะฉะนั้นทุกอย่างต้องไปด้วยกัน คุณจะสร้าง Proprietary Technology ของตัวเองเพื่อสร้างความแตกต่างแล้ว สิ่งนั้นต้องแก้ไข ปัญหาบางอย่างในสังคมด้วย
ทิศทางการท�ำดิจิทัล มาร์เก็ตติ้งในอนาคต จะเป็นไปใน รูปแบบไหน
อย่างแรกเลยคือ ผูใ้ ช้คนหนึง่ คนถืออุปกรณ์ 3 อย่าง โทรศัพท์มอื ถือ แท็บเล็ต โน้ตบุ๊ก เทคโนโลยีต้องรู้ว่า 3 เครื่องนี้ผู้ใช้เป็นคนคนเดียวกัน จะต้องรู้ทัน ความต้องการเฉพาะของผู้ใช้ เราล็อกอินเข้าแอมะซอน ผู้ให้บริการต้องรู้ ว่าเราดูเล่มนี้ แล้วจะแนะน�ำเล่มไหนต่อดีตามความสนใจ สิง่ เหล่านีเ้ ป็นเทรนด์ ที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะอยู่ในแพลตฟอร์มไหนก็ตาม ตอนนี้เราข้ามแพลตฟอร์ม กันหมดแล้ว ผู้ให้บริการจะต้องเข้าใจผู้บริโภคและปรับการน�ำเสนอให้ เชือ่ มโยงกับผูใ้ ช้ให้ได้ สองคือ ดูขอ้ มูลประชากรผูใ้ ช้งานทัว่ ไปไม่ได้อกี แล้ว เช่น เพศ อายุ กลุ่มผู้สูงอายุแต่ก่อนจะเสพเนื้อหาต่างๆ ด้วยการอ่านหนังสือพิมพ์ หรือโทรทัศน์ แต่ตอนนี้ กลุม่ ผูส้ งู อายุได้เข้าถึงเนื้อหาต่างๆ ที่เขาไม่เคย ได้เล่น เช่น เกม ผู้ใหญ่จะได้เล่นเกมง่ายๆ ในสมาร์ทโฟน เล่นไลน์กบั ลูก
คือคนทีส่ นใจเกมไม่ได้เป็นเด็กอีกต่อไปแล้ว หรือนักร้องเกาหลี ไม่ได้เป็น กลุม่ วัยรุน่ 15-18 แล้ว แต่คณุ ป้า คุณแม่กด็ ซู รี สี ์ ติดตามเป็นแฟนคลับ เท่ากับ ความสนใจไม่ได้แยกชายหญิง หรือช่วงอายุเท่าไหร่ ทลายก�ำแพงในเรื่อง ของความสนใจลง สุดท้ายคือเรื่องของ Big Data ในอดีตแบรนด์ท�ำ การตลาดด้วยการสร้างโซเชียล มีเดียคุยกับผูใ้ ช้ คุยจบแล้วเริม่ เปลีย่ นถ่าย เข้ามายุคที่ 2 คือยุคที่แบรนด์ต้องฟังเสียงผู้บริโภคด้วย ว่าเขาพูดยังไง ถึงแบรนด์ของเรา ดีไม่ดี จัดการวิกฤตได้ทันท่วงที และยุคนี้คือ น�ำข้อมูล จากโซเชียล มีเดียมาวิเคราะห์ และเปลี่ยนเป็นการกระท�ำ เช่น แคมเปญ ต่างๆ วิเคราะห์ว่าท�ำไมคนถึงเลือกหรือไม่เลือกสินค้าเรา น�ำไปเสนอกับ ฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อพัฒนาสินค้าที่เชื่อมโยงกับผู้ใช้มากขึ้น อย่าง แอมะซอนหรืออีเบย์ พวกเขาเหล่านีว้ เิ คราะห์ขอ้ มูลหมด สมการวิเคราะห์ What (เกิดอะไรขึ้น) +Why (วิเคราะห์แปลความหมายว่าเกิดเพราะอะไร) = Business Insight ในอนาคตอันใกล้แบรนด์สามารถท�ำนายพฤติกรรม ผู้บริโภคได้ดีมากยิ่งขึ้น
ไลน์คือตัวพิสูจน์เรื่องจุดก้าวกระโดดตัวหนึ่ง ก่อน หน้านีเ้ คยมีวอทส์แอพ แต่มนั ไม่ตอบโจทย์ ในเชิงของ วัฒนธรรมและการแสดงความรูส้ กึ ทางอารมณ์ของ คนไทยมากนัก จุดนีท้ ำ� ให้คนใช้รสู้ กึ สนุกกับการใช้งาน แอพพลิเคชั่น
จะฝากถึงคนรุ่นใหม่ที่ก�ำลังเป็นสตาร์ทอัพยุคนี้อย่างไร
อยากให้ผู้ประกอบการรายใหม่ใช้อินเทอร์เน็ตให้เป็นประโยชน์ เมื่อก่อน เวลาจะเปิดร้านกาแฟ กว่าจะท�ำให้แบรนด์ติดหูลูกค้าได้ต้องใช้เวลาไม่รู้ เท่าไหร่ จะขยายสาขาเติบโตแบบก้าวกระโดดก็ไม่ได้ แต่ดว้ ยอินเทอร์เน็ต ธุรกิจสามารถเติบโตขยายตลาดออกไปได้ไกล เทคโนโลยีสนับสนุน ผูป้ ระกอบการให้หมดแล้ว ดังนัน้ ถ้าท�ำธุรกิจแล้วไม่อยากให้มองแค่ตลาด ในประเทศ มองไปถึงเพื่อนบ้านด้วย แต่แน่นอน เด็กๆ อาจจะรู้สึกผวา ว่าไม่มีเงินจะท�ำยังไง ค�ำตอบคือ พยายามสร้างให้เกิดฐานลูกค้าประจ�ำ ของคุณให้ได้จริงๆ เน้นเรื่องการครองตลาดภายในประเทศตัวเองให้ได้ ก่อน พอครองเสร็จ ทุกวันนี้มีนักลงทุนเยอะแยะ เงินทุนหาไม่ยาก เพียง แต่คณุ ท�ำให้นา่ สนใจมากพอหรือเปล่า ถึงระดับทีน่ กั ลงทุนยอมรับและเห็น คุณค่างานคุณหรือเปล่า ซึง่ ในตอนนีม้ อี เี วนต์มากมาย มีโอกาสเชือ่ มโยงกับ นักลงทุนมหาศาล ดูว่ารายไหนสามารถช่วยให้เราเติบโตไปได้ไม่ใช่แค่ เพียงเรื่องเงินแต่ในเชิงของเครือข่าย การขยายธุรกิจ เป็นที่ปรึกษาได้ ถึงวันที่เราพร้อม เราก็ขยายตลาดไปต่างประเทศได้เช่นกัน CREATIVE INGREDIENTS
กิจกรรมเวลาว่าง
เวลาไปต่างประเทศจะไม่ได้ดูงานเฉพาะไอที ถ้ามีเวลาจะไปพิพิธภัณฑ์ แกลเลอรี นิทรรศการออกแบบ งานศิลปะ ประวัติศาสตร์บ้าง เพราะเชื่อว่างานเหล่านี้จะเป็น ตัวจุดประกายที่ทำ�ให้เรานำ�มาใช้กับธุรกิจได้ แค่ลองถอยออกมาสักก้าวหนึ่งเพื่อไป ดูสังคมอื่นๆ จะทำ�ให้เราเปิดสมองและเห็นอะไรใหม่ๆ มากขึ้น
• หนังสือชุด คุยกับประภาส เพราะคุณประภาสเป็นคนที่ไม่มีทางตันในชีวิต เพราะเวลาเราเจอปัญหาเราจะไปขลุกว่าเราต้องทำ�แบบนั้นหรือแบบนี้ แต่เขามองว่า ทางแก้ปัญหาไม่ได้มีทางเดียว แค่เราถอยออกมาก้าวหนึ่ง เราจะเห็นทางออกอื่นๆ ที่เดินต่อได้
หนังสือที่ชอบอ่าน
สิ่งที่อยากทำ�มากที่สุดในปี 2015
• ZERO TO ONE เขียนโดย Peter A. Thiel ผู้ก่อตั้งเพย์พาล แนะนำ�ให้ สตาร์ทอัพคนไทยอ่าน เช่น ปัจจัยความสำ�เร็จและสิง่ ทีต่ อ้ งคำ�นึงถึงในการดำ�เนินธุรกิจ • MADE TO STICK (แปลไทยชื่อ ติดอะไรไม่เท่าติดหนึบ สำ�นักพิมพ์วีเลิร์น) ไม่ใช่แค่หนังสือการตลาด แต่รวมถึงการสื่อสารกับคนด้วย เป็นหัวใจสำ�คัญให้ คนฟังแล้วสนใจในเรื่องราวที่เรากำ�ลังจะเล่า
อยากจะหาโอกาสแบ่งปันประสบการณ์กับน้องๆ นักศึกษาที่ต้องการเป็นผู้ประกอบ การมากขึ้น เช่น การวิเคราะห์ว่าไอเดียที่คุณกำ�ลังทำ�อยู่เป็นอย่างไร การมองหา กลุ่มลูกค้า เราอยากไปแนะนำ�เพิ่มเติมว่า คุณไม่ได้ทำ�แค่แอพฯ แต่คุณกำ�ลังทำ� สิ่งที่ช่วยแก้ปัญหาต่างๆ และทำ�ให้สังคมดีขึ้นได้ กุมภาพันธ์ 2558
l
Creative Thailand
l 33
CREATIVE WILL คิด ทำ� ดี
KNEWTON หลักสูตรความฉลาดแบบฉบับโลกดิจทิ ลั เรื่อง: วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ
การเรียนรู้ของแต่ละคนแตกต่างกัน บางคนชอบอ่านหนังสือ ขณะที่ บางคนชอบเรียนรูผ้ า่ นการเล่น หรือจากประสบการณ์ ด้วยความเป็น ปัจเจกนี้เอง ท�ำให้ระบบการเรียนการสอนในห้องเรียนปัจจุบัน ที่มัก ตีคา่ ความฉลาดของนักเรียนจากความสามารถในการเข้าใจการสอน ของครูในชั้นเรียนได้ดี กลายเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรมนัก โปรแกรมการเรียนออนไลน์นวิ ตัน (Knewton) เกิดขึน้ บนแนวคิด ที่ต้องการแก้ปัญหาเรื่องความแตกต่างในการเรียนรู้ ด้วยการสร้าง หลักสูตรเฉพาะส�ำหรับผูเ้ รียนแต่ละคน นิวตันจะแปลงบทเรียนทีป่ กติ เป็นเพี ย งบทความและภาพประกอบ ให้ มี ค วามหลายหลายขึ้ น เช่น สร้างเป็นวิดีโอสอน เรียนรู้ผ่านการเล่นเกม หรือเป็นบทความ ที่มีความสั้นยาวต่างกันตามความถนัดของผู้เรียน โดยนิวตันจะเริ่ม วิเคราะห์ลักษณะผู้เรียนผ่านการตอบค�ำถามที่ไม่ได้ดูแค่ผลลัพธ์ แต่ยังดูความมั่นใจในการตอบค�ำถามแต่ละข้อระหว่างที่จับเวลา ด้วย จากนั้นจึงวิเคราะห์ว่าผู้เรียนเหมาะจะเริ่มต้นด้วยความรู ้ 34 l Creative Thailand l กุมภาพันธ์ 2558
พื้นฐานในบทเรียนไหน และควรเรียนอะไรต่อไป เช่น หากผู้เรียนมีพื้นฐาน ความรู ้ ดี ชอบความท้ าทาย แต่ ไม่ ชอบอ่ านเนื้ อ หายาวๆ นิ วตั น จะเลือกใช้ เนื้อหาบทเรียนที่ยากขึ้นแต่มีความกระชับพร้อมใช้การเล่นเกมประกอบ ในทาง กลับกัน หากผู้เรียนยังไม่มีความรู้พื้นฐานที่ดี เบื่อง่าย และขาดแรงจูงใจ นิวตัน จะเลือกใช้วดิ โี อในการสอนบทเรียนพืน้ ฐานง่ายๆพร้อมให้ทำ� แบบฝึกหัดทีค่ ดิ แล้ว ว่าผู้เรียนจะตอบได้เพื่อสร้างความมั่นใจในการเรียนบทต่อไป นอกจากนี้ผู้เรียน ยังสามารถดูแผนการเรียนการสอน และความก้าวหน้าในการเรียนของตัวเองได้ ทุกที่ทุกเวลาหากสามารถออนไลน์เพื่อล็อกอินได้ แล้วครูจะยังจ�ำเป็นไหมส�ำหรับการเรียนผ่านนิวตัน ครูยังจ�ำเป็นและยังมี บทบาทส�ำคัญในห้องเรียนเช่นเดิม เพราะครูจะเป็นผู้ก�ำหนดเนื้อหาบทเรียนให้ นิวตัน และเมือ่ ล็อกอินเข้าระบบครูจะทราบรูปแบบการเรียนของนักเรียนแต่ละคน รู้จุดอ่อนจุดแข็ง และรู้ภาพรวมความก้าวหน้าในชั้นเรียน ดังนั้นครูจึงสามารถ ให้ค�ำแนะน�ำที่มีประสิทธิภาพต่อนักเรียนแต่ละคนได้ รวมทั้งมีเวลาในการสอน หรือท�ำกิจกรรมที่เน้นพัฒนาจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์เพิ่มเติม พ่อแม่ ผูป้ กครองก็สามารถล็อกอินเข้าระบบนิวตันเพือ่ ดูพฒั นาการด้านการเรียนของลูกๆ พร้อมอ่านค�ำแนะน�ำในการส่งเสริมการเรียนให้ลูกๆ ได้อีกด้วย ปัจจุบัน นิวตันมีพาร์ทเนอร์ที่ยอมรับในประสิทธิภาพและน�ำไปใช้ประกอบ การสอนจริงหลายองค์กร เช่น Pearson Mylap & Mastering ที่น�ำเอาเนื้อหา ในหนังสือเรียนของเพียร์สนั วิชาต่างๆ ใส่ผา่ นโปรแกรมนิวตันเพือ่ ใช้สอนนักเรียน ทั่วโลกแล้วกว่า 11 ล้านคน การใช้นิวตันในโปรแกรมการเรียนภาษาอังกฤษ (ELP) ของ Macmillan Education และ Cambridge University Press รวมทั้ง การสอนคณิตศาสตร์ส�ำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัย Arizona State University, The University of Alabama และ The University of Nevada Las Vegas ซึ่งมีผลลัพธ์ที่ยืนยันได้ว่านักศึกษาที่เรียนด้วยโปรแกรมนิวตันสามารถสอบวิชา คณิตศาสตร์ผา่ นในอัตราร้อยละทีเ่ พิม่ ขึน้ เมือ่ เทียบกับการสอนปกติ และประโยชน์ ของการเรียนแบบนิวตันนีเ้ องอาจสอดคล้องไปกับความเชือ่ ของนักจิตวิทยาโฮเวิรด์ การ์ดเนอร์ (Howard Gardner) ที่เชื่อว่าวิทยาการของการเรียนการสอนโดย ใช้คอมพิวเตอร์อาจจะท�ำให้เราเกิดความเชีย่ วชาญได้รวดเร็วขึน้ หรือลดเวลาลงได้ ถึงครึง่ หนึง่ จากเดิมทีต่ อ้ งใช้เวลาถึง 10 ปีกว่าในการจะเชีย่ วชาญเรือ่ งใดเรือ่ งหนึง่ แต่ถึงแม้อินเตอร์เน็ตจะช่วยให้มนุษย์ในศตวรรษที่ 21 มีความฉลาดด้าน วิชาการได้งา่ ยและรวดเร็วขึน้ มนุษย์กย็ งั จ�ำเป็นต้องสือ่ สารผ่านการพูดคุย สัมผัส และแสดงอารมณ์ตอ่ กันเพือ่ ด�ำรงไว้ซงึ่ ความสัมพันธ์ทโี่ ลกเสมือนไม่อาจทดแทนได้ ดังนั้นจึงเป็นความท้าทายที่ต้องหาจุดสมดุลในการใช้เทคโนโลยีเพื่อเป็นสะพาน หรือกระทั่งเป็นทางลัดสู่ความส�ำเร็จไปพร้อมๆ กับการหาความสุขในโลกแห่ง ความจริงให้ได้ด้วย “สุดท้ายแล้ว นิวตันก็เป็นเพียงเครื่องมือชนิดหนึ่ง” โจเซ่ ฟีเรรา (Jose Ferreira) ผู้ก่อตั้งนิวตันกล่าว ที่มา: knewton.com, วิดีโอ “Knewton Adaptive Learning Platform” จาก youtube.com, บทความ “What If You Could Learn Everything?” (2013) โดย Anya Kamenetz จาก newsweek.com, หนังสือ ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21 (ฉบับปรับปรุง) บทที่ 1, 12, 13 โดย James Bellanca & Ron Brandt (Editors)
TURN YOUR TRIP INTO AN INSPIRING EXPERIENCE IN DESIGN
An iconic marvel by Moshe Safdie, the ArtScience Museum’s lotus flower design celebrates creativity in full bloom.
TAP INTO DYNAMIC SINGAPORE There’s no better place to access world-class content, network with the top minds and still have a great time. yoursingapore.com/mice
SINGAPORE DESIGN WEEK (MAR 2015) INTERNATIONAL FURNITURE FAIR SINGAPORE MAISON & OBJET ASIA SINGAPORE DESIGN BUSINESS SUMMIT SG GOOD DESIGN MARK
BLUEPRINT (MAY 2015) INSIDE FESTIVAL (OCT 2015) WORLD ARCHITECTURE FESTIVAL (NOV 2015)
MR ALFIE LEONG, FASHION DESIGNER, PRESIDENT’S DESIGN AWARD – DESIGNER OF THE YEAR 2013 PARKROYAL ON PICKERING, SINGAPORE'S FIRST HOTEL-IN-A-GARDEN
STUNNING INFINITY POOL AT SANDS SKYPARK®
NETWORK WITH AWARD WINNING DESIGNERS
WORK HARD AND PLAY HARDER
MR TAI LEE SIANG, PRESIDENT OF DESIGN BUSINESS CHAMBER SINGAPORE AND GROUP MANAGING DIRECTOR OF ONG & ONG PTE LTD
STAY ON THE PULSE OF GROUND-BREAKING DESIGN TRENDS
COLLABORATE TO BRING INNOVATIVE IDEAS TO LIFE
JOB โอกาสในการจ างงานสำหรับดีไซเนอร มือดี และช องทางในการซื้อ-ขายสำหรับผู ประกอบการ ที่มีคร�เอทีฟ โปรดักส อยู ในมือ
KNOWLEDGE บทความที่ให ความรู เกี่ยวกับการออกแบบ และเคล็ดลับในการทำธุรกิจสร างสรรค
CHANNEL ช องทางในการโปรโมตผลงาน ผ านกิจกรรมไฮไลต ในเคร�อข าย ของ TCDC เช น การออกร าน งานแฟร งานเน็ตเว�ร กกิ�ง คร�เอทีฟปาร ตี้ และอื่นๆ
CONNECTION
ต อยอดธุรกิจด วยเคร�อข ายนักออกแบบ ผู ประกอบการ และผู ผลิต จากทุกหมวดหมู อุตสาหกรรม
Creative Business Community
สร างโอกาสของคุณ ด วยการร วมเป นส วนหนึ่งของเคร�อข ายธุรกิจสร างสรรค เร��มต นสร าง Online Portfolio ของคุณที่ WWW.TCDCCONNECT.COM CREATIVE BUSINESS COMMUNITY