Creative Thailand Magazine

Page 1

นิตยสารสงเสริมความคิดสรางสรรคผลักดันเศรษฐกิจไทย โดย TCDC

มีนาคม 2558 ปที่ 6 I ฉบับที่ 6 แจกฟรี

FROM CHAIR TO THRONE อิร�ยาบถบนอัจฉร�ยภาพ CLASSIC ITEM Tatami

INSIGHT

Eames Molded Plastic

CREATIVE WILL Water Bench


Tohoku_CT AD_ 21x13.5cm_FINALco-030315.pdf

1

3/5/2558 BE

7:45 PM

นิทรรศการศิลปหัตถกรรมอันงดงามแหงโทโฮขุ-ญี่ปุน


TAKE YOUR PLEASURE SERIOUSLY. จงเอาจริงกับสิ่งที่ตนหลงใหล

CHARLES EAMES

ชาวอเมริกันผู้เปลี่ยนวิถีการนั่งของโลก


CONTENTS สารบัญ

6

The Subject

8

Creative Resource

10

The New Ways of Sitting / The Empty Chair.. the most important personin the room

Featured Book/ Books/ Documentary

Insight

20

Creative Entrepreneur

22

Creative City

24

The Creative

30

Creative Will

34

Eames Molded Plastic: สมบูรณแบบจากขอจำกัด

Next Gentleman เชิญสภาพบุรุษทานตอไป

Matter

นั่งบนความยั่งยืน

Binh Duong: The Creative Hub of Chair Reproduction

ปติ อัมระรงค และ จุฑามาส บูรณะเจตน: ไมใชแคนักออกแบบหนาใหม

12

Classic Items

14

Cover Story

Tatami นั่งอยางญี่ปุน

From Chair to Throne: อิริยาบถบนอัจฉริยภาพ

Water Bench เกาอี้ออมน้ำ

บรรณาธิการอำนวยการ l อภิสทิ ธิ์ ไลสตั รูไกล ทีป่ รึกษา l ชมพูนทุ วีรกิตติ, พิชติ วีรงั คบุตร, จรินทรทพิ ย ลียะวณิช บรรณาธิการบริหาร l ศุภมาศ พะหุโล ผูช ว ยบรรณาธิการ l พัชรินทร พัฒนาบุญไพบูลย กองบรรณาธิการ l ศิริอร หริ่มปราณี, มนฑิณี ยงวิกุล, เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร, กริยา บิลยะลา, ปยวรรณ กลิ่นศรีสุข, นันทนรี พานิชกุล เลขากองบรรณาธิการ l วรรณเพ็ญ บุ ญเพ็ญ บรรณาธิการศิลปกรรม l พจน องคทวีเกียรติ ศิลปกรรม l พัชราภรณ เตชะเลิศไพศาล, เบญจณิษฐ แดงบุบผา สมาชิกสัมพันธ l ปยะพร สวัสดิ์สิงห ประสานงานกองบรรณาธิการ l ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ นักศึกษาฝกงาน l อารดา ศรีสรรค จัดทำโดย l ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (TCDC) ชั้น 24 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอร 622 สุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 โทร. 02 664 7667 แฟกซ. 02 664 7670 ติดตอลงโฆษณาไดที่ creativethailand@tcdc.or.th พิมพที่ l บริษัท ทูโฟร พริ้นติ้ง จำกัด โทร. 02 416 7300 แฟกซ. 02 416 7320 จำนวน 30,000 เลม นิตยสารฉบับนี้ใชหมึกพิมพจากน้ำมันถั่วเหลืองที่ไมเปนอันตรายตอสุขภาพ ทั้งยังเปนมิตรตอสิ่งแวดลอม และใชกระดาษรีไซเคิล ซึ่งเปนผลผลิตของผูประกอบการไทย จัดทำภายใตโครงการ “Creative Thailand สรางเศรษฐกิจไทยดวยความคิดสรางสรรค” โดยศูนยสรางสรรคงานออกแบบ สำนักงานบริหารและพัฒนาองคความรู (องคการมหาชน) ซึ่งมีเปาหมาย ในการเผยแพรความรูเกี่ยวกับเศรษฐกิจสรางสรรค (Creative Economy) และผลักดันการใชความคิดสรางสรรค ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย สามารถดูสถานที่จัดวางทั้งหมดไดที่ creativethailand.org อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส แสดงที่มา-ไมใชเพื่อการคา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย

ถายภาพปก | อดิเดช ชัยวัฒนกุล ชางภาพผูรักในงานนิตยสารและการถายภาพบุคคล ปจจุบันเปนชางภาพประจำนิตยสารคอยาวในเครือแซลมอน และมีกลุมละครใบที่ตั้งกับเพื่อนสนิทในชื่อ maletime ผลงาน: facebook.com/FOTOARDEE นางแบบปก l อรินรัตน สีดาเพ็ง


EDITOR'S NOTE บทบรรณาธิการ

HAVE A SEAT เมือ่ ปี 2006 พืน้ ทีก่ ลางจัตรุ สั ทราฟัลการ์ในกรุงลอนดอนถูกเติมเต็มด้วยเก้าอีร้ ปู ทรงแปลกตากว่า 500 ตัว ซึง่ ดึงดูดสายตาและหยุดความเคลือ่ นไหว ของผู้คน จนเกิดเป็นหัวข้อสนทนา เกิดการรวมตัวกัน เพื่อดื่มกาแฟ พูดคุย และทำ�กิจกรรมต่างๆ ร่วมกันบนเก้าอี้กลางจัตุรัสแห่งนี้ โดยเก้าอี้ ทั้งหมดนั้นเป็นผลงานของ ทอม ดิกสัน (Tom Dixon) ผู้ออกแบบเก้าอี้ "CU29" เพื่อใช้เป็นแลนด์มาร์กของเทศกาลลอนดอน ดีไซน์ เฟสติวัล นอกจากความตั้งใจให้เกิดการจดจำ� เก้าอี้ยังถูกออกแบบเพื่อแบ่งปันประสบการณ์ให้ผู้คนนำ�กลับไปได้ด้วย การเลือกวัสดุพอลิสไตรีน นํา้ หนักเบา ทำ�ให้ภาพคนยกเก้าอีต้ วั ใหญ่เดินออกจากจัตรุ สั กลายเป็นภาพทีน่ า่ สนใจ และอีก 4 ปีตอ่ มา ทีด่ า้ นหน้าของเซาธ์แบงก์ เซ็นเตอร์ สแควร์ ศิลปินอย่างโธมัส เฮเธอร์วกิ (Thomas Heatherwick) นำ�ผลงานเก้าอี้ "Spun" วางจัดแสดงและให้ทกุ คนได้ลองนัง่ ด้วยรูปทรงน่าฉงน ทำ�ให้การนัง่ บนเก้าอี้ กลายเป็นเรือ่ งน่าสนุกไม่วา่ จะเป็นสำ�หรับเด็ก วัยรุน่ หรือผูใ้ หญ่ เมือ่ ทุกคนต่างออกแบบอิรยิ าบถต่างๆ ทีจ่ ะท้าทายการนัง่ บนเก้าอีต้ วั นี้ ถ้าเก้าอี้ตอบโจทย์เพียงแค่การนั่งสำ�หรับกิจกรรมในชีวิตประจำ�วัน เช่น ทำ�งาน กินข้าว เรียนหนังสือ หรือพักผ่อน เราคงไม่เห็นเก้าอี้ที่ต่าง กันนับหมื่นแบบ และในบางสังคม คนเรานั่ง นอน และกิน โดยไม่จำ�เป็นต้องใช้เก้าอี้ด้วยซํ้าไป เช่น เด็กชนเผ่ามาไซที่ยืนเฝ้าแกะโดยขาข้าง เดียวและพักผ่อนโดยไม่ต้องลงนั่ง สังคมสยามก่อนสมัยรัชกาลที่ 4 ก็ไม่ได้มีวัฒนธรรมการนั่งเก้าอี้ หรือแม้กระทั่งอินเดียก่อนยุคอาณานิคม อังกฤษ ก็มีเรื่องที่แสดงถึงความไม่เข้าใจระหว่างสองสังคมเกี่ยวกับการนั่งเก้าอี้ เมื่ออังกฤษได้เข้ามาควบคุมการผลิตใบชา และเห็นว่าการนั่ง เลือกและเด็ดใบชาของชาวอินเดียบนพื้นนั้นแสดงถึงความไม่เป็นอารยชน ความสะอาด และประสิทธิภาพในการทำ�งาน จึงได้สร้างระบบการ คัดเลือกใบชาใหม่ดว้ ยการออกแบบโต๊ะขนาดยาวและเก้าอีเ้ พือ่ ให้แรงงานนัง่ ทำ�งานได้โดยสะดวก แต่เมือ่ ชาวอังกฤษกลับมาตรวจโรงงานอีกครัง้ ก็พบว่า แรงงานอินเดียได้ขึ้นไปนั่งเด็ดใบชาบนโต๊ะที่เตรียมไว้กันถ้วนหน้า เก้าอี้ จึงเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนผ่านทางวัฒนธรรมของสังคม เป็นผลงานความคิดสร้างสรรค์ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นสิ่งที่แสดงความ เชื่อมโยงในหลายมิติ ทั้งผู้ออกแบบกับผู้ใช้งาน สติปัญญากับอารมณ์ ความงามกับวิทยาศาสตร์ ช่างฝีมือกับเทคโนโลยี การจัดหมวดหมู่กับ การเชิดชูให้โดดเด่น ในทางอุตสาหกรรม การผลิตเก้าอีย้ งั สะท้อนถึงความเป็นไปของสภาพเศรษฐกิจในแต่ละยุค ไม่วา่ จะเป็นยุคหลังสงครามโลก ยุคการผลิตแบบมวลหมู่ หรือยุคปัจจุบันที่ผู้คนมีความเหลื่อมลํ้าทางสถานะและมีรสนิยมที่หลากหลาย เก้าอี้จึงถูกผลิตและออกแบบมาเพื่อ ความต้องการที่ไม่รู้จบ ไม่ว่าจะใช้มันด้วยวัตถุประสงค์ใดๆ ก็ตามที ในความต้องการของตลาดที่เปิดกว้าง น่าสนใจว่าความสามารถในการผลิตของไทยได้มีที่นั่งอยู่ในแถวของผู้ผลิตเก้าอี้หรือไม่ เมื่อปีที่แล้ว อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไทยส่งออกได้กว่า 40,000 ล้านบาท โดยมีตลาดสำ�คัญคือ ญี่ปุ่น อาเซียน สหรัฐอเมริกา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเฟอร์นิเจอร์ ไม้ยางพาราที่ผลิตตามแบบของผู้สั่งซื้อ และเรายังมีข้อได้เปรียบจีนในเรื่องคุณภาพการผลิต บวกกับเงื่อนไขที่ว่าญี่ปุ่นมีข้อพิพาทกับจีน ทำ�ให้ ไทยยังคงเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า แต่สิ่งที่น่าขบคิดก็คือ ถ้าอนาคตจีนมีความสามารถด้านคุณภาพการผลิตสูงขึ้น และญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์ที่ดีขึ้น กับจีน เมื่อความได้เปรียบของเราไม่ได้ขึ้นกับความพิเศษจากการใช้ความคิดสร้างสรรค์ จึงเป็นคำ�ถามที่เราอาจต้องพิจารณาว่า เราจะตกที่นั่ง ใดในอนาคตข้างหน้า อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล บรรณาธิการอ�ำนวยการ Apisit.L@tcdc.or.th มีนาคม 2558

l

Creative Thailand

l5


THE SUBJECT ลงมือคิด

2

5

6 1 3 4

เรื่อง: วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ

The New Ways of Sitting

8

เพราะคนทำ�งานยุคดิจิทัลไม่ได้นั่งมองหน้าจอและใช้มือจับเมาส์อีกต่อไป ในเมื่อเรามี ช่องทางการทำ�งานทีห่ ลากหลายขึน้ ไม่วา่ จะเป็นแท็บแล็ตและสมาร์ทโฟนทีน่ �ำ มาใช้ควบคู่ ไปกับคอมพิวเตอร์คใู่ จ ดังนัน้ เก้าอีท้ เี่ คยออกแบบมาเพือ่ รองรับการนัง่ ทำ�งานในท่าเดิมๆ จึงต้องถูกคิดขึ้นใหม่เช่นกัน ด้วยโจทย์ตั้งต้นนี้เอง ทำ�ให้บริษัทเฟอร์นิเจอร์สตีลเคส (Steelcase) ทีเ่ พิง่ จะฉลองครบรอบ 100 ปีไปหมาดๆ เลือกทีจ่ ะออกแบบเก้าอีใ้ ห้เหมาะ กับบริบทการนัง่ ทำ�งานในปัจจุบนั โดยลงมือศึกษาท่านัง่ ประจำ�วันของกลุม่ ตัวอย่างทีเ่ ป็น คนทำ�งานยุคดิจิทัลจำ�นวน 2,000 คน ใน 11 ประเทศทั่วโลก โดยคละเพศและอายุ จนค้นพบ 9 ท่านั่งแบบใหม่ที่เรานั่งในชีวิตประจำ�วัน (แต่ไม่เคยสังเกต) ดังนี้

ท่านั่งที่เกิดจากการใช้งานคอมพิวเตอร์ที่มีหน้าจอ ขนาดใหญ่ มักเอนตัวไปข้างหลังเพือ่ ความถนัดในการ รับข้อมูลจากหน้าจอ ทำ�ให้บริเวณหลังส่วนล่างต้องรับ นํ้าหนักมากขึ้นจนเกิดอาการปวดหลังได้

1 The Draw

5 The Swipe

9 The Strunch

ท่านั่งใช้งานแท็บแล็ตหรือสมาร์ทโฟน ที่ใช้ข้อศอก แนบชิดลำ�ตัว มือทั้ง 2 ข้างยกแท็บแล็ตเพื่อใช้งาน มักก้มศีรษะเพื่อมองหน้าจอเป็นเวลานานทำ�ให้เกิด อาการปวดคอ หลัง และแขน

ท่านั่งที่เกิดจากการใช้งานแท็บแล็ตที่วางบนโต๊ะและ อยู่ในโหมดท่องข้อมูล (Surfing Mode) มักต้องก้ม ศีรษะลงเพือ่ มองหน้าจอและใช้มอื ข้างใดข้างหนึง่ เลือ่ น อ่านข้อมูล ส่งผลให้ปวดเมื่อยบริเวณคอ หลัง แขน และไหล่

ท่านั่งที่เกิดจากการใช้แล็ปท็อปในระยะเวลานาน เมื่อ เริ่มเมื่อยจะค่อยๆ ดันแล็ปท็อปออกห่างโดยไม่รู้ตัว หลังจะโค้งเมือ่ ต้องเอนตัวไปหาหน้าจอ หากค้างอยูใ่ น ท่านี้นานๆ จะทำ�ให้ปวดเมื่อยบริเวณคอ หลัง ไหล่ แขน และข้อมือ 9

2 The Multi-Device

ท่ า นั่ ง ที่ ซั บ ซ้ อ นขึ้ น จากการใช้ เ ทคโนโลยี ม ากกว่ า 1 อย่าง โดยแขนทั้งสองข้างจะรับนํ้าหนักที่ไม่สมดุล ส่งผลให้กล้ามเนื้อบริเวณคอ ไหล่ และหลังปวดเมื่อย เวลาเอนตัวไปด้านหน้าจะถ่ายนํ้าหนักไปที่ข้อศอก ข้างใดข้างหนึ่ง ส่งผลเสียต่อหลังและนํ้าในไขสันหลัง ท่านั่งนี้มักพบมากในคนเจเนอเรชั่นเอ็กซ์

6 The Smart Lean

3 The Text

7 The Trance

ท่านัง่ ทีเ่ กิดจากการพิมพ์ขอ้ ความผ่านสมาร์ทโฟนหรือ แท็บแล็ต เพื่อความถนัดในการพิมพ์มักใช้แขนชิดข้าง ลำ�ตัว หากค้างอยู่ในท่านี้เป็นเวลานาน กล้ามเนื้อ บริเวณคอ บ่า แขน และมือจะเกร็งและปวดเมื่อย

ท่านั่งที่มักเกิดขึ้นเองโดยไม่รู้ตัวเมื่ออยู่ในสภาวะที่ กำ�ลังมีสมาธิจดจ่ออยูก่ บั หน้าจอ มักเอนตัวไปข้างหน้า เพื่อเพ่งมองหน้าจอ พอเริ่มเมื่อยคอจะใช้แขนข้างใด ข้างหนึ่งเป็นที่พักศีรษะ และมักค้างอยู่ในท่านี้นาน ส่งผลให้หมอนรองกระดูกอาจถูกกดทับ และจะปวดเมื่อยบริเวณหลัง คอ และแขน ซึ่งจะพบท่านี้ มากในคนเจนวาย

4 The Cocoon

ท่านั่งที่พบมากในคนเจเนอเรชั่นวาย เพราะเป็นกลุ่ม คนทีช่ อบทำ�งานในท่าทางทีไ่ ม่เคร่งเครียด ซึง่ ดูเหมือน เป็นท่าทีส่ บายในช่วงแรก แต่หากอยูใ่ นท่านีน้ านๆ อาจ ทำ�ให้เส้นเลือดขอดที่ขา และเกิดอาการปวดเมื่อย บริเวณคอและหลัง

6l

Creative Thailand

l มีนาคม 2558

ท่านั่งที่เกิดจาการใช้สมาร์ทโฟนในช่วงเวลาที่ไม่อยาก ให้คนข้างๆ มองเห็นหน้าจอของตัวเอง จึงมักเอนตัว ไปด้านใดด้านหนึ่งเพื่อหลบหลีกสายตาคนข้างๆ โดย ปกติทา่ นีจ้ ะใช้บางครัง้ คราวในระยะเวลาไม่นาน จึงไม่ ก่อให้เกิดอาการใดๆ

7

8 The Take-It-In

ลองคิดกันดูเล่นๆ ว่า หากเราทำ�งานอยู่ใน ออฟฟิศเป็นเวลา 10 ปี ในหนึ่งวันทำ�งาน 8 ชั่วโมง 5 วันต่อสัปดาห์ นั่นหมายความว่าเราจะใช้เวลากว่า 19,000 ชัว่ โมงในการนัง่ ทำ�งาน แต่ระยะเวลา 10 ปีน้ี บริบทการทำ�งานก็จะเปลีย่ นไปอีกตามพัฒนาการของ เทคโนโลยี ฉะนั้นพัฒนาการของเก้าอี้คงจะไม่มีวัน หยุดนิ่งเพื่อให้กว่าหมื่นชั่วโมงที่เราต้องนั่งเป็นการนั่ง ที่สบายที่สุด และดูเหมือนว่าสิ่งที่จะช่วยให้เราพัฒนา งานออกแบบให้ทันกับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ได้นั้นก็คือ การหยุดและสังเกต ที่มา: รายงาน “Global Posture Study” โดย Steelcase และ วิดีโอ “Gesture Chair – design story” จาก youtube.com


THE SUBJECT ลงมือคิด

The Empty Chair… the most important person in the room เรื่อง: วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ

หากมี “เก้าอี”้ สิง่ ทีข่ าดไม่ได้คอื “คนนัง่ ” แต่หากเก้าอีไ้ ม่มคี นนัง่ เก้าอีจ้ ะยังเป็นสิง่ ของทีม่ ปี ระโยชน์อยูห่ รือไม่ มันอาจเป็นเพียงของประดับในห้องเพื่อโชว์งานดีไซน์ แสดงออกถึงฐานะของเจ้าบ้าน แสดงออกถึงความคิด ความรู้สึกที่ดีไซเนอร์ต้องการจะสื่อ หรือหากมองให้ลึกลงใปในแง่ความรู้สึก “เก้าอี้ว่าง” อาจแสดงถึง “การมี ตัวตน” ของคนนั่ง

ในแง่กลยุทธ์การทำ�ธุรกิจ “เก้าอีว้ า่ ง” ถือเป็นเทคนิคแบบหนึง่ ทีเ่ จฟ เบซอส (Jeff Bezos) ซีอโี อแห่งแอมะซอน 1 ใน 30 เศรษฐี ทีร่ วยทีส่ ดุ ในโลกประจำ�ปี 2014 จากการจัดอับดับของนิตยสารฟอร์บส์ (Forbes) ได้น�ำ มาใช้ เมือ่ ต้องประชุมร่วมกับผูบ้ ริหาร คนอื่นๆ เพราะหลายครั้งเมื่อผู้บริหารระดับหัวกะทิประชุมร่วมกัน พวกเขาต่างนำ�เสนอมุมมองของตัวเองประกอบกับตัวเลข ของผลสถิตทิ เี่ ห็นได้เพือ่ ใช้ในการแก้ไขปัญหา แต่กลับหลงลืมคนสำ�คัญทีส่ ดุ อย่างลูกค้ามาร่วมพิจารณาการแก้ปญั หานัน้ ด้วย “เทคนิคเก้าอี้ว่าง” จึงเปรียบเสมือนสัญลักษณ์ที่เจฟตั้งใจแทนค่าให้ดูว่าในทุกๆ ครั้งที่บริษัทจะตัดสินใจทำ�อะไร คนสำ�คัญที่สุดจะไม่ถูกหลงลืมไป โดยก่อนประชุม เจฟจะบอกผู้บริหารทุกคนในห้องว่า “เก้าอี้ว่างตัวนี้คือลูกค้า” นี่อาจฟัง ดูไร้สาระ แต่ผลลัพธ์ที่ได้ตามมาพบว่า การให้บริการของแอมะซอนนั้นสัมพันธ์กับสิ่งที่ลูกค้าต้องการถึงร้อยละ 80 ไม่ว่าจะ เป็นเรื่องความรวดเร็วในการส่งสินค้าในอังกฤษและ 10 เมืองในสหรัฐอเมริกา ที่หากสั่งสินค้าในช่วงเช้า ลูกค้าจะได้รับสินค้า ภายในวันเดียวกัน โดยแอมะซอนไม่ได้สนใจแค่สงิ่ ทีล่ กู ค้าต้องการเท่านัน้ แต่ยงั สนใจไปถึงสิง่ ทีล่ กู ค้าไม่ตอ้ งการเพือ่ ทีจ่ ะขจัด สิ่งเหล่านั้นได้ทันท่วงที เช่น หากเว็บไซต์โหลดช้าลงเพียง 0.1 วินาที ผลที่ตามมาคือพฤติกรรมการซื้อของลูกค้าจะลดลง ร้อยละ 1 เป็นต้น โดยกระบวนการแก้ปญั หาทีไ่ ด้ผลทัง้ หมดนีล้ ว้ นเกิดจากการไม่มองข้าม “เก้าอีว้ า่ ง” หรือ “ลูกค้าคนสำ�คัญ” ที่เจฟและผู้บริหารคนอื่นได้ทดไว้ในใจแล้วว่าเป็นคนสำ�คัญที่สุดในห้องประชุม โดยเจฟยังบอกอีกว่าเทคนิคเก้าอี้ว่างนี้เป็น การลงทุนที่ถูกที่สุดแต่กลับให้ผลลัพธ์ที่คุ้มค่า หากมองในเชิงจิตวิทยา “เก้าอี้ว่าง” ก็เป็นหนึ่งในเทคนิคที่นักจิตวิทยากลุ่มเกสตัลท์ (Gestalt)1 นำ�มาใช้เพื่อการไกล่ เกลี่ยความรู้สึกที่ขัดแย้งกันในตัวเอง ซึ่งจะใช้เก้าอี้ว่างสองตัว โดยตัวแรกเป็นตัวแทนของ “ฉันคนที่หนึ่ง” ที่จะนั่งและพูดใน สิ่งที่ตนเองอยากเป็นหรือต้องการ เก้าอี้ว่างตัวที่สองเป็นตัวแทนของ “ฉันคนที่สอง” ที่จะนั่งและพูดในสิ่งที่ตนเองเป็นจริงๆ เมื่อเรายอมพูดความรู้สึกในใจทั้งสองด้าน เราจะเริ่มแยกแยะได้ว่าสิ่งที่เราต้องการอาจขัดแย้งกับสิ่งที่เราเป็น (เพราะสิ่งที่เรา คิดว่าเราต้องการล้วนมาจากสิง่ ทีส่ งั คมคาดหวัง) และเมือ่ ใดก็ตามทีเ่ ราสามารถตระหนักรูต้ วั ยอมรับทัง้ สิง่ ทีต่ นเองเป็นรวมทัง้ สิง่ ทีต่ นเองไม่ได้เป็นได้นน้ั นักจิตวิทยากลุม่ เกสตัลท์เชือ่ ว่า บุคคลผูน้ น้ั จะมีศกั ยภาพเพียงพอทีจ่ ะแก้ปญั หานัน้ ได้ดว้ ยตัวเอง ที่มา: บทความ “Inside Amazon's Idea Machine: How Bezos Decodes Customers” โดย George Anders จาก forbes.com และ งานวิจัย “Gestalt Therapy: Past, Present, Theory, and Research” (หน้า 180-189) โดย Laura E. Wagner-Moore 1

จิตวิทยากลุ่มเกสตัลท์ (Gestalt Psychology) ในเชิงการให้คำ�ปรึกษาจะมุ่งทำ�ความเข้าใจในกระบวนการคิด ความรู้สึก และการรับรู้ ที่ให้ความสำ�คัญกับการ ตระหนักรู้ตัวตน (awareness) ในปัจจุบันขณะ (here-and-now) มีนาคม 2558

l

Creative Thailand

l7


CREATIVE RESOURCE วัตถุดิบทางความคิด

เรื่อง: เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร และ กริยา บิลยะลา

FEATURED BOOK

A TAXONOMY OF OFFICE CHAIRS โดย Jonathan Olivares เมือ่ คำ�นวณเวลาตัง้ แต่ตอกบัตรจนกระทัง่ ออกจากทีท่ ำ�งาน นับเป็นเวลากว่า 8 ชัว่ โมง ทีพ่ นักงานออฟฟิศส่วนใหญ่ตอ้ งนัง่ อยูบ่ นเก้าอีต้ วั เดิม ปัจจุบนั เรามีเก้าอีเ้ บาะนุม่ และ พนักพิงแผ่นหลังจนถึงต้นคอไว้ใช้ แต่ถ้าย้อนกลับไปช่วงปี 1840 ตอนที่เก้าอี้แบบ เหล็กหล่อ "Centripetal Spring Armchair" ออกสู่ตลาดในอเมริกา และนักธรรมชาติ วิทยาเจ้าของทฤษฎีวิวัฒนาการ ชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) เริ่มนำ�เก้าอี้ไม้ "William IV Style" มาปรับเปลี่ยนส่วนขาให้เป็นล้อเหล็กหมุนได้ก่อนจะขึ้นเป็นโมเดล ในภายหลัง จะเห็นว่าเก้าอี้สำ�นักงานได้ถูกพัฒนาและปรับคุณลักษณะอย่างต่อเนื่อง บทเรียนอีกข้อทีไ่ ด้คอื ภาระงานและชัว่ โมงการทำ�งานทีแ่ ตกต่างกันล้วนส่งผลต่อ การออกแบบ โดยนอกเหนือจากตำ�แหน่งและสถานที่จะเป็นตัวกำ�หนดลำ�ดับชั้นของ ผู้คนแล้ว เก้าอี้ก็เป็นตัวกำ�หนดด้วยเช่นกัน แฟรงก์ ลอยด์ ไรต์ (Frank Lloyd Wright) ออกแบบเก้าอีต้ ามระดับชัน้ การทำ�งานของผูจ้ ดั การและผูบ้ ริหาร สำ�หรับไพรซ์ ทาวเวอร์ (Price Tower) ในปี 1956 หรือซีรีส์เก้าอี้ "Diffrient for Knoll" ที่นำ�เสนอรูปแบบเก้าอี้ สำ�หรับตำ�แหน่งงานอย่างชัดเจน ตัง้ แต่ระดับผูบ้ ริหารถึงพนักงานทัว่ ไปผ่านขนาดและ ราคาที่แตกต่างกัน ช่วงปี 1980 แม้จะเป็นช่วงก่อนยุคการยศาสตร์สำ�หรับเก้าอี้สำ�นักงาน แต่ก็ถือ เป็นยุคไฮไลต์ที่มีการเพิ่มรายละเอียดของเก้าอี้ที่คำ�นึงถึงผู้ใช้มากขึ้น ทั้งการเพิ่มล้อ ความสามารถในการเอียงหรือหมุนได้รอบทิศทางตามลักษณะการเคลื่อนไหวของ ผู้นั่ง ทั้งหมดนี้ส่งผลต่อยุค 1990 ที่นักออกแบบหันมาให้ความสำ�คัญเรื่องสุขภาวะ ของอิริยาบถและท่าทางการนั่ง เพื่อให้สอดคล้องกับกระแสของคอมพิวเตอร์ส่วนตัว แบบตั้งโต๊ะ ซึ่งทำ�ให้พนักงานต้องนั่งอยู่ในที่เดิมๆ ด้วยท่าทางเดิมๆ เป็นเวลานาน เมือ่ ก้าวถึงศตวรรษที่ 21 หลักการยศาสตร์ใหม่ๆ ได้กา้ วไปอีกขัน้ ปัจจัยด้านการออกแบบ เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนก็เป็นประเด็นสำ�คัญ ตั้งแต่ด้านวัสดุ กระบวนการผลิต จนถึง การรีไซเคิล โจนาธาน โอลิวาเรส นักออกแบบอุตสาหกรรมและนักวิจัย ได้กลั่นกรองและ ประมวลผลข้อมูลสำ�หรับหนังสือโดยใช้ชอื่ ว่า "Taxonomy" ซึง่ มาจากภาษากรีกโบราณ คำ�ว่า "Taxis" และ "Nomias" หมายถึงการจัดการและระเบียบวิธีการที่เป็นระบบ โดย ส่วนแรกของหนังสือนั้นนำ�เสนอรูปแบบเก้าอี้จำ�นวน 142 รูปแบบตามลำ�ดับเวลา สะท้อนให้เห็นนวัตกรรมและวิธีคิดที่นำ�สมัย ส่วนที่สองคือตารางแสดงให้เห็นการ พัฒนาผ่านรายละเอียดที่แตกต่างกันตามรสนิยมและบริบทของแต่ละยุค ตั้งแต่ ส่วนพนักพิงศีรษะ พนักพิงหลัง พนักเท้าแขน ส่วนพยุงหลังจนถึงเอว ที่นั่ง ที่นั่งแบบ ปรับระดับ แกนเก้าอี้ ไปยังส่วนพื้นและเชื่อมติดกับพื้น ส่วนสุดท้ายคือการประมวล เหตุการณ์สำ�คัญที่มีผลต่อการเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงของเก้าอี้สำ�นักงาน

8l

Creative Thailand

l มีนาคม 2558


CREATIVE RESOURCE วัตถุดิบทางความคิด

BOOK

CHAIRMAN ROLF FEHLBAUM โดย Tibor Kalman

GRAPHIC HERMAN MILLER โดย Leslie Piña

ปกติแล้วการเชิดชูความ ยอดเยี่ยมในเรื่องต่างๆ มักจะถูกมอบเป็นเหรียญ ทีร่ ะลึก แต่สำ�หรับรางวัล ผู้ นำ� ก า ร อ อ ก แ บ บ Germany's Federal Award for Design Leadership ผู้ ไ ด้ รั บ รางวัลจะได้รับเกียรติให้ ตีพิมพ์ห นังสือ เล่ มหนึ่ ง โดยสามารถกำ�หนด เนือ้ หาและทีมผูอ้ อกแบบ หนั ง สื อ เล่ ม นั้ น ได้ เ อง รอล์ฟ ฟีห์ลบอม (Rolf Fehlbaum) ซีอโี อของวิทรา (Vitra) ได้รบั รางวัลนีใ้ นปี 1997 และเขาเลือก ทิบอร์ คัลแมน นักออกแบบผู้เป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจของเขาให้เป็น ผู้ออกแบบหนังสือเล่มนี้ คัลแมนใช้วิธีการเล่าเรื่องผ่านรูปภาพ 650 ภาพ พร้อมแทรกคำ�บรรยายสั้นๆ ที่สะท้อนความหลงใหลของฟีห์ลบอมที่มีต่อ การผลิตเก้าอี้ ซึ่งเป็นประดิษฐกรรมที่เปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตของ มนุษย์ ทั้งเล่มเราจะพบทั้งความเป็นมาของวิทรา ความคิดสร้างสรรค์ แรงบันดาลใจ และอารมณ์ขันที่สอดแทรกมาในจังหวะที่ชวนติดตาม

"Nelson Sling Sofa" บนปกหนังสือเล่มนี้ เป็นผลงานการออกแบบระดับ ไอคอนของจอร์จ เนลสัน (George Nelson) นักออกแบบแห่งศตวรรษที่ 20 หนึ่งในผู้สร้างชื่อเสียงให้แบรนด์เฮอร์แมน มิลเลอร์ โดยเอ็ด ลินด์ลอฟ (Ed Lindlof) สร้างสรรค์ภาพนีข้ น้ึ ในปี 1964 ตามจินตนาการ เขาเปรียบเทียบ ความหนักแน่นมั่นคงของโซฟาตัวนี้เมื่ออยู่ในที่ใดๆ ก็ตาม มันต่างกับ เฟอร์นิเจอร์ร่วมสมัยชิ้นอื่นๆ โดยสิ้นเชิง ราวกับสามารถนำ�โลกทั้งใบ ขึน้ ไปตัง้ บนโซฟาตัวนีไ้ ด้ นีเ่ ป็นเพียงหนึง่ ตัวอย่างงานกราฟิกทีถ่ กู รวบรวม ไว้ในหนังสือเล่มนี้ นอกจากเฮอร์แมน มิลเลอร์จะเป็นบริษัทผู้ผลิต เฟอร์นเิ จอร์ชนั้ นำ�ของอเมริกาแล้ว งานกราฟิกทัง้ หมดยังสามารถถ่ายทอด การตีความแนวคิดความเป็นโมเดิร์นในแต่ละยุคสมัยได้เป็นอย่างดี

DOCUMENTARY ARNE JACOBSEN:

Grand Old Man of Modern Design and Architect เก้าอี้สามขาในนาม "Ant" เพิ่งจะมีอายุครบ 60 ปี ในปี 2012 เก้าอี้นี้ จัดเป็นหนึ่งในผลงานชิ้นเยี่ยมของนักออกแบบเฟอร์นิเจอร์และสถาปนิก ชาวเดนิส อาร์นี ยาคอบเซน ที่ผนวกเทคนิคการดัดไม้อัดสำ�หรับทำ�ตัว เก้าอี้เข้ากับการใช้ท่อเหล็กเป็นส่วนขา เกิดเป็นผลงานโมเดิร์นคลาสสิก สารคดีชดุ นีน้ อกจากจะทำ�ให้ผชู้ มได้เห็นเบือ้ งหลังและพลังในการออกแบบ ยังมีฟุตเทจที่ถ่ายทำ�โดยตัวยาคอบเซนเองร่วมกับเพื่อนมานำ�เสนอ ทำ�ให้ สารคดีชุดนี้ดูมีชีวิตชีวาและทรงคุณค่ายิ่งขึ้น มีนาคม 2558

l

Creative Thailand

l9


นั่งบน ความยั่งยืน

MATTER วัสดุต้นคิด

Green Chair ออกแบบโดย ฆาเบียร์ มาริสกาล

เรื่อง: ชมพูนุท วีรกิตติ และ ปิยวรรณ กลิ่นศรีสุข

Hemp Chair ออกแบบโดย เวียร์เนอร์ ไอส์สลิงเงอร์

ทศวรรษแห่งการเลือกใช้วัสดุยั่งยืน และการ ใส่ ใ จกระบวนการผลิ ต ตั้ ง แต่ ต้ น ทางจนถึ ง การนำ�กลับมาใช้ใหม่ ทำ�ให้นักออกแบบต่าง กลับมาเลือกวัสดุธรรมชาติอันเป็นผลพลอยได้ ทางการเกษตร หรือกระทั่งเศษวัสดุเหลือใช้ ในการผลิ ต มาเล่ น แร่ แ ปรธาตุ เพื่ อ ให้ ไ ด้ ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุด และสร้างนวัตกรรมให้กบั อุตสาหกรรมเฟอร์นเิ จอร์ ไปพร้อมๆ กัน ในความพยายามนั้น มีการเลือกใช้วัสดุใน กลุม่ ทดแทนการใช้ไม้หรือเหล็กในรูปแบบเก่าๆ ทีน่ า่ สนใจอยูห่ ลายชิน้ เช่น เก้าอีจ้ ากเส้นใยกัญชง "Hemp Chair" โดย เวียร์เนอร์ ไอส์ส ลิง เงอร์

10 l

Creative Thailand

l มีนาคม 2558

(Werner Aisslinger) ซึ่งใช้ใยกัญชงผสมกับ เส้นใยปอแก้วมากกว่าร้อยละ 75 ของนํ้าหนัก เก้าอี้ กับตัวประสานที่เรียกว่า Acrodur® ซึ่ง เป็ น อะคริ ลิ ก เรซิ น สู ต รนํ้ า (Water-Based Acrylic Resin) ที่ไม่มีฟีนอลและฟอร์มัลดีไฮด์ ทีเ่ ป็นพิษของบริษทั BASF ทัง้ นี้ กระบวนการผลิต จะเหมือนกับการผลิตผนังภายในประตูและส่วน ประกอบต่างๆ ในอุตสาหกรรมรถยนต์ การใช้ เส้ น ใยธรรมชาติ ทำ � ให้ มี ต้ น ทุ น การผลิ ต ตํ่ า ใช้พลังงานน้อย สามารถขึ้นรูปทรงสามมิติได้ ทั้งยังนํ้าหนักเบา แข็งแรง ทนทาน เก้าอี้ "Green Chair" ที่ออกแบบโดย ฆาเบียร์ มาริสกาล (Javier Mariscal) ผลิต จากโพลิ พ รอปโพลี รี ไ ซเคิ ล (Recycled Polypropylene) ซึ่งทนทาน ราคาไม่แพง และ ได้ รั บ มาตรฐานการออกแบบที่ เ ป็ น มิ ต รกั บ สิ่งแวดล้อม UNE 150301 นอกจากนั้น ยังมีความร่วมมือกันระหว่าง บริษัทโคคาโคล่า และบริษัท Emeco โดยนำ�

พลาสติกจากขวดเครื่องดื่มโค้ก (Recycled PET) จำ�นวน 111 ขวด นำ�มาผลิตเป็นเก้าอี้ "111 Navy Chair" ได้หนึ่งตัว (แบบเดียวกับต้นฉบับ 106 aluminum Navy Chair ที่ออกแบบ ในปี 1944) ซึ่งในหนึ่งปีสามารถรีไซเคิลขวด โค้กได้ถึง 3 ล้านขวด โดยการผลิตเก้าอี้นี้จะใช้ Recycled PET 60% ผสมกับใยแก้วเพื่อเพิ่ม ความแข็งแรงและสี มีการรับประกันอายุการ ใช้งานถึง 5 ปี อีกหนึ่งวัสดุที่กำ�ลังเป็นที่สนใจในวงกว้าง เกิดจากบริษทั สตาร์บคั ส์ คอฟฟี่ (ประเทศไทย) จำ � กั ด ร่ ว มกั บ บริ ษั ท โซไนต์ อิ น โนเวที ฟ เซอร์เฟสเซส จำ�กัด ประเทศไทย นำ�กากกาแฟ มาพัฒนา ด้วยการผสมกับพลาสติกเป็นวัสดุ คอมโพสิททดแทนการใช้ไม้ ที่มีช่อื ว่า "JAVA Core Recycled Coffee Material" ตามชือ่ เมล็ด พันธุ์กาแฟอันเป็นวัตถุดิบตั้งต้น จนได้เป็นแผ่น เรียบที่มีความแข็งแรง และ ดร.สิงห์ อินทรชูโต ได้นำ�วัสดุแผ่นเรียบมาออกแบบเป็นชิ้นงานสาม มิติ เพือ่ ทดลองศักยภาพของวัสดุตอ่ การใช้งานที่ หลากหลาย เริ่มต้นจากโต๊ะกลางภายในร้าน ขยายต่อไปเป็นเฟอร์นิเจอร์กึ่งประติมากรรม ในคอลเล็กชั่น "Logg" ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจ มาจากกิ่งก้านและลำ�ต้นของต้นไม้ จากนั้นก็ พัฒนาต่อยอดไปเป็นวัสดุอีกหลายชนิด เช่น "Java Solid Surface" ใช้กรุผิวงานเคาน์เตอร์ รวมทั้งโมเสค (Mosaic) และกระเบื้อง (Tile) เป็นวัสดุปูผนัง นำ�ไปสู่การใช้งานจริงตามสาขา ของร้านสตาร์บคั ส์ในประเทศไทย และได้มกี าร ขยายไปยังสาขาในต่างประเทศ ทั้งเวียดนาม ฮ่องกง และดูไบ การเลือกใช้วัสดุอย่างชาญฉลาดจะช่วย อนุ รั ก ษ์ ทรั พยากรธรรมชาติ และลดการใช้ พลังงานอย่างฟุ่มเฟือยได้ เพียงเริ่มจากการ สังเกตและตั้งคำ�ถามกับวัตถุดิบใกล้ตัวที่มีอยู่ ในท้องถิน่ แล้วนำ�มาคิดค้นและพัฒนา จนทำ�ให้ เกิดเป็นวัสดุนวัตกรรมใหม่ในอนาคต

ที่มา: หนังสือ Material Innovation Product Design โดย Andrew H. Dent &Leslie Sherr, บทความ “JAVA Core นวัตกรรมวัสดุ จาก ‘กากกาแฟ’ เพื่อความยั่งยืนของวัฒนธรรมร้านกาแฟ” จาก tcdcconnect.com และ designboom.com


หมดปญหาหยิบนิตยสารไมทัน สมัครสมาชิกรายป คาใชจายในการจัดสง 200 บาท (12 เลม) หรือสมัครออนไลนไดที่ tcdc.or.th/creative_thailand

Bounce MC# 6596-01 ผ้าทีย่ อ่ ยตามกระบวนการทางชีวภาพและหมักสลายเป็นปุย๋ ได้ ผลิตจากขนแกะและป่านรามี (Ramie) อินทรีย์ที่ปราศจาก ยาฆ่าแมลง ผ่านกระบวนการผลิตที่ไม่มีสารพิษ และใช้ กรรมวิธีการผลิตที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ ใช้สีย้อมที่มี ผลกระทบต่อสิง่ แวดล้อมตา่ํ มี 16 สีให้เลือก โดยโรงงานผูผ้ ลิต ดำ�เนินการสอดคล้องกับมาตรฐานของสหรัฐฯ ในเรือ่ งระดับ การปล่อยสารอันตราย การย้อมสี การทอ และการทำ�ผิว นอกจากนี้ยังได้ดำ�เนินโครงการรีไซเคิลวัสดุต่างๆ ภายใน โรงงาน ตัง้ แต่กระดาษสำ�นักงาน แท่นรองสินค้าขนส่ง ไปจนถึง เส้นด้ายและเศษผ้า เศษวัสดุที่เหลือจากโรงงานจะผลิตเป็น สักหลาดคลุมดินเพื่อนำ�ไปใช้กับสวนในบริเวณใกล้เคียง นอกจากนี้ ยังได้รับใบรับรองจาก Cradle to CradleTM ระดับ Gold เหมาะสำ�หรับทำ�ผ้าบุเฟอร์นเิ จอร์ เครือ่ งแต่งกาย รองเท้า และอุปกรณ์ตกแต่งต่างๆ

ขอมูลผูสมัครสมาชิก สมาชิกใหม ชื่อ นามสกุล เพศ โทรศัพท

สมาชิกเกา (ตองการตออายุสมาชิก) หญิง อายุ

ชาย

อีเมล

โทรศัพทมือถือ

อาชีพ นักเรียน ครู/อาจารย

นิสิต/นักศึกษา พนักงานบริษัท

นักออกแบบ/ครีเอทีฟ ผูประกอบการ

อาชีพอิสระ อื่นๆ โปรดระบุ

ขาราชการ/รัฐวิสาหกิจ

สาขา/อุตสาหกรรมที่เกี่ยวของกับอาชีพของทาน โฆษณา สถาปตยกรรม แฟชั่น ศิลปะการแสดง ดนตรี ภาพยนตร โทรทัศน/วิทยุการกระจายเสียง

ทองเที่ยว/โรงแรม/สายการบิน วรรณกรรม/การพิมพ/สื่อสิ่งพิมพ พิพิธภัณฑ/หองแสดงงาน ซอฟตแวร/แอนิเมชัน/วิดีโอเกม

หัตถกรรม/งานฝมือ การเงิน/ธนาคาร ทัศนศิลป/การถายภาพ อื่นๆ โปรดระบุ

อาหาร การแพทย การออกแบบ

คาปลีก/คาสง โทรคมนาคม

ที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ จังหวัด

Vegetable Tanned and Natural Colored Leather MC# 5723-01 หนั ง คุ ณ ภาพสู งที่ ผ่า นกระบวนการผลิตโดยใช้ฝาดจาก เปลือกไม้เป็นวัตถุดิบแทนสารเคมี ย้อมด้วยสีย้อมจาก ธรรมชาติ ทำ�จากหนังวัวจากประเทศในแถบสแกนดิเนเวีย และจัดประเภทเป็น “หนังสีขาว” (ไวท์ไลน์) ที่ไม่สร้างผล กระทบต่อสิง่ แวดล้อม ผ่านการทดสอบผลต่อผิวหนังผูใ้ ช้และ ปราศจากโลหะหนัก ฟอร์มัลดีไฮด์ และสีย้อมที่เป็นสารพิษ ได้รับการรับรองโดย TÜV-certified โดยมีหลากหลายแบบ หลายสี หลายความหนา และลวดลาย ใช้ทำ�เครื่องเรือน ตกแต่งภายในยานยนต์ กระเบือ้ งหนัง ปิดผนัง เครือ่ งแต่งกาย และอุปกรณ์ต่างๆ พบกับวัสดุต้นคิดเหล่านี้ได้ที่ Material ConneXion® Bangkok, TCDC

ซอย

ถนน รหัสไปรษณีย

หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง

อำเภอ/เขต

หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง

อำเภอ/เขต

ที่อยูในการออกใบเสร็จ เหมือนที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ ซอย จังหวัด

ถนน รหัสไปรษณีย

ตองการสมัครสมาชิกนิตยสาร Creative Thailand ระยะเวลา 1 ป จำนวน 12 เลม เริ่มตั้งแตฉบับเดือน โดยยินดีเสียคาใชจายในการจัดสงเปนจำนวนเงิน 200 บาท

วิธีการชำระเงิน เช็คสั่งจายศูนยสรางสรรคงานออกแบบ พรอมใบสมัครสมาชิก โอนเงินเขาบัญชีออมทรัพย ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ เลขที่บัญชี 101-808967-0 ธนาคารกรุงเทพ สาขาสำนักงานใหญสีลม • แฟกซใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่ 02-664-7670 • หรือสงไปรษณียมาที่ ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (Creative Thailand) 622 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอรชั้น 24 ถนนสุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 • หรือแนบไฟลใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่อีเมล creativethailand@tcdc.or.th สอบถามขอมูลเพิ่มเติมไดที่ 02-664-7667 ตอ 122

มีนาคม 2558

l

Creative Thailand

l 11


flickr.com/photos/mrhayata

CLASSIC ITEM คลาสสิก

Ta t a m i flickr.com/photos/daedrius

lickr.com/photos/satorinihon

flickr.com/photos/45873442@N04

เรื่อง: ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ

ก่อนที่เก้าอี้จะเข้ามาครอบครองพื้นที่การใช้ชีวิตของผู้คน เสื่อคือสิ่งประดิษฐ์จากภูมิปัญญาที่ผูกพันกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของ ชาวดินแดนอาทิตย์อุทัยอย่างแยกไม่ออก เพราะทุกกิจวัตรภายใต้ท่วงท่าสำ�รวม นุ่มนวล และประณีตพิถีพิถัน ไม่ว่ากิน นอน เดิน หรือนั่ง ล้วนเกิดขึ้นบนผืนเสื่อที่เรียกว่า “ทาทามิ”

• เสื่อทาทามิแบบดั้งเดิมทำ�จากต้นกก หรือ อิกสุ ะ (Igusa) เป็นพืชทีม่ คี ณุ สมบัตใิ นการดูดซับ และระบายความชื้นภายในห้องได้ดี เหมาะกับ สภาพอากาศในญี่ปุ่นที่มีความชื้นสูงในฤดูร้อน แต่หนาวเย็นและแห้งในฤดูหนาว

12 l

Creative Thailand l มีนาคม 2558

• ทาทามิ 1 ผืนใช้ต้นอิกุสะประมาณ 4,000 7,000 ต้น นำ�มาทอด้วยเครื่องทอแบบเฉพาะ คล้ายกับการทอกิโมโน แล้วจึงนำ�มาประกบ เข้ากับแกนกลาง (Toko) ซึง่ ทำ�ด้วยฟางข้าวอัดแน่น เป็นชั้นหนาประมาณ 3-6 ซม. และเย็บริมด้วย ผ้า แกนกลางทีม่ คี วามหนาจะทำ�ให้เสือ่ มีความ แข็งแรงและให้สมั ผัสทีน่ มุ่ สบาย ปัจจุบนั มีการใช้ วัสดุประเภทโฟมเข้ามาทดแทนเพือ่ ให้มนี าํ้ หนัก เบาและสะดวกในการดูแลรักษา

• บ้านโบราณของญี่ปุ่นโดยทั่วไปจะประกอบ ด้วยพื้นห้อง 3 แบบ ห้องที่ปูด้วยเสื่อทาทามิจะ เป็นห้องที่มีความสำ�คัญ อาทิ ห้องรับแขกหรือ ห้องนอน ในขณะทีห่ อ้ งนา้ํ ระเบียง และทางเดิน ปูด้วยแผ่นไม้ (Itama) ส่วนห้องครัวและพื้นที่ สำ�หรับทำ�งานสร้างบนพื้นดิน (Doma)


CLASSIC ITEM คลาสสิก

• ทาทามิเป็นหนึ่งในหัวใจของสถาปัตยกรรมญี่ปุ่นมาอย่างยาวนาน จาก ในอดีตทีเ่ สือ่ แต่ละผืนทอขึน้ ตามขนาดของห้อง ต่อมาก็มกี ารก�ำหนดขนาด ทีเ่ ป็นมาตรฐานขึน้ (ประมาณ 90 x180 ซม.) ทุกวันนี้ ขนาดของห้องในญีป่ นุ่ ก็ยังคงใช้หน่วยวัดที่อ้างอิงตามจ�ำนวนทาทามิ เรียกว่า “โจ (Jou)” (1 โจ เท่ากับเสื่อทาทามิ 1 ผืน) ขนาดของห้องที่พบบ่อย ได้แก่ ห้องขนาดเสื่อ ทาทามิ 3 ผืน 4.5 ผืน 6 ผืน 8 ผืน และ 10 ผืน โดยห้องแต่ละขนาดก็จะ มีวิธีการปูเสื่อที่แตกต่างกันโดยเฉพาะ • การเติบโตทางเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และการเข้ามาของ วัฒนธรรมตะวันตก ท�ำให้ชาวญี่ปุ่นหันมาใช้เก้าอี้และปูพื้นด้วยพรมกัน มากขึน้ ชาวญีป่ นุ่ จ�ำนวนมากไม่นยิ มการนัง่ บนพืน้ ท�ำให้รา้ นอาหารญีป่ นุ่ ซึง่ มีโต๊ะแบบนัง่ บนเสือ่ เป็นเอกลักษณ์ตอ้ งเริม่ ปรับตัว โดยเจาะช่องใต้โต๊ะ เพื่อให้ลูกค้าสามารถนั่งห้อยขาได้ ในขณะที่การประกอบพิธีกรรมทาง ศาสนาในวัดที่เคยต้องนั่งบนเสื่อก็เปลี่ยนมานั่งบนเก้าอี้กันมากขึ้น • ด้วยข้อดีของเสื่อทาทามิที่สามารถเก็บเสียงได้ดี ผิวสัมผัสที่ไม่นุ่มหรือ แข็งจนเกินไป และกลิ่นหอมอ่อนๆ ตามธรรมชาติท�ำให้รู้สึกผ่อนคลาย จึงท�ำให้ทาทามิยังคงได้รับความนิยมจากชาวญี่ปุ่น หลายบ้านยังมีห้องที่ ปูพื้นด้วยทาทามิอย่างน้อย 1 ห้อง เรียกว่า "วาชิทสึ (Washitsu)" แปลว่า ห้องแบบญี่ปุ่น โดยมักใช้เป็นห้องอเนกประสงค์ที่เป็นได้ทั้งห้องรับแขก ห้องนั่งเล่นส�ำหรับท�ำกิจกรรมต่างๆ และสามารถเปลี่ยนเป็นห้องนอน ส�ำหรับแขกในตอนกลางคืนได้ เพียงแค่หยิบฟูกนอนในตูเ้ สือ้ ผ้าทีด่ า้ นหนึง่ ของก�ำแพงออกมาปูเท่านั้น ที่มา: บทความ “The decline of traditional Japanese tatami flooring” (2014) จาก japantoday.com, บทความ “Tokyo Journal; In a Painful Situation, Japanese Choose Chairs” (1995) จาก nytimes.com, หนังสือ Traditional Japanese Architecture: An Exploration of Elements and Forms (2010) โดย Mira Locher, วิกิพีเดีย flickr.com/photos/daedrius

flickr.com/photos/ameotoko

• จากพงศาวดาร โคจิกิ (Kojiki) บันทึกทางประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุด ของญี่ปุ่นได้บันทึกไว้ว่า ชาวญี่ปุ่นเริ่มใช้เสื่อทาทามิมาตั้งแต่ยุคนาระ (710-794) โดยในยุคเฮอัน (794-1185) ทาทามิเริ่มถูกน�ำมาปูบนพื้นไม้ เพื่อเป็นที่รองนั่งและที่นอนส�ำหรับขุนนางและซามูไร ในขณะที่สามัญชน ยังนอนบนเสื่อฟาง จนกระทั่งราวศตวรรษที่ 15 ชนชั้นสูงจึงน�ำทาทามิมา ปูทั่วทั้งพื้นห้อง และค่อยๆ แพร่หลายไปยังสามัญชนจนกลายเป็นของ สามัญประจ�ำบ้านในศตวรรษที่ 17 • ในอดีต จ�ำนวนและความหนาของทาทามิถือเป็นหนึ่งในเครื่องแสดง ฐานะของเจ้าของบ้าน นอกจากนี้ สีและลวดลายของผ้าที่ใช้เย็บริมเสื่อ ยังบ่งบอกต�ำแหน่งที่แตกต่างกัน เช่น จักรพรรดิ ข้าราชการ พระสงฆ์ บัณฑิต ฯลฯ โดยสามัญชนจะใช้ผ้าสีเข้ม เช่น น�้ำตาล น�้ำเงิน หรือด�ำ ในขณะที่ชนชั้นสูงนิยมเย็บริมเสื่อด้วยผ้าไหม ด้ายเงิน และด้ายทอง • เมื่อชาวญี่ปุ่นเริ่มปูพื้นห้องด้วยเสื่อ ท่านั่งเทพธิดา หรือ เซอิซา (Seiza) จึงกลายเป็นหนึ่งในท่านั่งบังคับที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติ แสดงถึงกิริยา ส�ำรวม นอบน้อม และให้เกียรติ ซึง่ ปฏิบตั สิ บื ต่อกันมาทัง้ ในชีวติ ประจ�ำวัน และกิจกรรมทางวัฒนธรรมต่างๆ เช่น พิธชี งชา พิธศี พ การร่ายร�ำพืน้ บ้าน ศิลปะป้องกันตัว อาทิ เคนโด ไอคิโด ฯลฯ • พิธีชงชา (Chanoyu) อันประณีตของญี่ปุ่น ให้ความส�ำคัญกับการ สร้างบรรยากาศเพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้ปลดปล่อยจิตใจเข้าสู่ความสงบนิ่ง เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ และมองเห็นความงดงามอย่างเรียบง่ายของ สรรพสิ่งรอบตัว ซึ่งไม่คงทนถาวรและไม่สมบูรณ์แบบ ผ่านเครื่องใช้และ ของตกแต่งธรรมดาๆ ตัง้ แต่กาน�ำ้ ถ้วยชา ภาพแขวน ดอกไม้ ไปจนถึงเสือ่ โดยห้องชงชา (Chashitsu) มักจะเป็นห้องหรืออาคารขนาดเล็กประมาณ เสื่อทาทามิ 4.5 ผืน ซึ่งแยกต่างหากส�ำหรับท�ำพิธีโดยเฉพาะ

มีนาคม 2558

l

Creative Thailand

l 13


เรื่อง: อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล

เก้าอี้คลิสมอส

ดงภาพดาริอุสมหาราชนั่งบน

รายละเอียดบนแจกันกรีกแส

อิริยาบถ บนอัจฉริยภาพ

©Araldo de Luca/C

FROM CHAIR TO THRONE

orbis

COVER STORY เรื่องจากปก

ปกติวสิ ยั ของการออกแบบเฟอร์นเิ จอร์ คือการออกแบบเพือ่ อ�ำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ ใช้งาน แต่ความพยายาม และการลงทุนมากมายมหาศาล ทัง้ เงินและเวลาในการทดลองค้นคว้า ตลอดจนจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ จากนักออกแบบและช่างฝีมอื ผูเ้ กีย่ วข้องจ�ำนวนมากในประวัตศิ าสตร์อนั ยาวนาน ได้พสิ จู น์ให้เห็นว่า "เก้าอี"้ ไม่ใช่ งานที่ถูกออกแบบเพื่อก่อให้เกิดความสะดวกสบายในอิริยาบถต่างๆ เท่านั้น แต่ "เก้าอี้" ยังเป็นส่วนหนึ่งของ ประวัติศาสตร์ ที่สะท้อนให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงทางสังคม ทั้งการประชดประชันหรือเชิดชู "เก้าอี้" ยังเป็น ส่วนหนึ่งของความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งยานยนต์ อากาศยาน และรถไฟ รวมทั้งเป็นส่วนหนึ่งของ ชีวิตยามปกติ ทั้งการเรียน การท�ำงาน ตลอดจนช่วงเวลาแห่งการเฉลิมฉลอง ตั้งแต่งานดีไซน์ แฟร์ ที่คราคร�่ำด้วยไอเดียสร้างสรรค์ จนถึงพิพิธภัณฑ์ที่เต็มไปด้วยวัตถุจัดแสดงชิ้นส�ำคัญ ของโลก "เก้าอี้" ได้รับการน�ำเสนอทั้งในฐานะสินค้าและมรดกล�้ำค่า ทั้งหมดนี้คือผลจากกลวิธีที่นักออกแบบใช้ สร้างสรรค์เก้าอี้ในแต่ละยุคสมัยให้น่าจดจ�ำ 14 l

Creative Thailand

l มีนาคม 2558


หัวขบถและศักดินา

ตามหลักฐานทางโบราณคดี ภาพแรกของมนุษย์ที่นั่งบนเก้าอี้คือสตรี ภาพวาดในสมัยก่อน ประวัตศิ าสตร์แสดงให้เห็นว่าผูห้ ญิงอยูใ่ นสถานะทีม่ อี �ำ นาจ การให้ก�ำ เนิด และความอุดมสมบูรณ์ และผู้หญิงอยู่ในสถานะที่จะนั่งเก้าอี้

และสตูลรูปตัว X ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากเก้าอี้ของราชวงศ์โรมาเนีย ในยุคนีโอคลาสสิก และส่วนฐานตัว X นี้ คือสัญลักษณ์ของการปกครอง ตั้งแต่ยุคของตุตันคาเมนและโรมัน ก่อนจะถูกปรับปรุงในยุคกลางและ ยุคเรอเนซองส์ ขณะทีใ่ นด้านวัสดุ เขาเลือกใช้ประโยชน์จากความยืดหยุน่ และแข็งแรง ของเหล็กส�ำหรับขึ้นโครง และหนังกับฝีมือตัดเย็บอันประณีตส�ำหรับ ส่วนพนักพิงและเบาะรองนั่ง เก้าอี้บาร์เซโลนา 1 ตัวจะต้องใช้หนังที่ ตัดเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมทั้งหมด 20 แผ่นมาเย็บต่อกันแบบซ่อนรอยต่อ โดยส่วนที่เป็นข้อต่อจะถูกปิดทับด้วยกระดุมหุ้มหนัง และใช้แถบหนังยึด ด้วยหมุดให้ติดกับส่วนโครงด้านล่าง แม้เก้าอี้บาร์เซโลนาจะได้รับการเชิดชูว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งโลก โมเดิร์น แต่การผลิตเก้าอี้แห่งพาวิลเลียนนี้กลับต้องหยุดลงในปี 1931 เมื่อสงครามท�ำลายล้างจบลง ด้วยเกิดภาวะเงินเฟ้อทั่วย่านส�ำคัญ ของเบอร์ลินและภาวะตกงานกระจายตัวไปทั่วพื้นที่ ในปี 1938 มีส ฟาน เดอร์ โรห์ ตัดสินใจเดินทางออกจากเยอรมนีไปยังอเมริกา ท่ามกลางสังคม ของการก่อสร้างและนักลงทุนในนิวยอร์กที่ก�ำลังพลิกฟื้นขึ้นมาจาก ภาวะเศรษฐกิจตกต�่ำ ช่วงนั้นสถาปนิกและนักออกแบบเฟอร์นิเจอร์ ชาวอเมริกัน ฟลอเรนซ์ คนอลล์ (Florence Knoll) ก�ำลังพ่ายแพ้ให้กับ ความทันสมัยของเฟอร์นิเจอร์เบาเฮาส์ (Bauhaus) มีส ฟาน เดอร์ โรห์ กับคนอลล์ได้ร่วมงานกัน และผลลัพธ์ที่ได้ก็คือการก�ำเนิดขึ้นอีกครั้ง ของเก้าอี้บาร์เซโลนาในปี 1948 ในระดับอุตสาหกรรม

flickr.com/photos/malouette

12,000 ปีจากนั้น ทุกคนมีสิทธิที่จะนั่งบนเก้าอี้ แต่เก้าอี้แต่ละตัวล้วน ถูกออกแบบมาให้มีวิธีการนั่งที่แตกต่างกันไป หากเป็นเหล่าขุนนางสมัย ศักดินา การนั่งหลังตรงคือการแสดงถึงระเบียบวินัย ราชาและราชินีนั่ง บนบัลลังก์ที่สะท้อนให้เห็นถึงอ�ำนาจ ขณะที่เก้าอี้คลิสมอส (Klismos) ใน สมัยกรีกมีพนักและขาที่โค้งงอ บอกถึงการผ่อนคลายที่สง่างามแต่เฉยชา เก้าอี้จึงเป็นเครื่องมือจัดประเภทของลักษณะทางสังคมร่วมกัน ทั้งการ แสดงสถานะ ความไม่เท่าเทียมกัน และการจัดหมวดหมู่ให้อยู่ร่วมกัน เก้าอี้บาร์เซโลนา (Barcelona Chair) คือตัวอย่างของการท�ำ หน้าที่บ่งบอกถึงสถานะทางสังคมที่เปลี่ยนไปในช่วงเกือบหนึ่งศตวรรษ การเดินทางของเก้าอี้บาร์เซโลนาเริ่มต้นขึ้น เมื่อสถาปนิกชาวเยอรมัน ลุดวิก มีส ฟาน เดอร์ โรห์ (Ludwig Mies van der Rohe) ได้รับโจทย์ จากรัฐบาลเยอรมนี ให้ออกแบบเก้าอี้ส�ำหรับตกแต่งพาวิลเลียนของ สาธารณรัฐไวมาร์ ในงานมหกรรมโลก (World Exposition) ที่จัดขึ้น ณ กรุงบาร์เซโลนา โดยงานนี้จะมีกษัตริย์และราชินีของสเปนทรงเสด็จ เปิดงานอย่างยิ่งใหญ่ในวันที่ 27 พฤษภาคม 1929 รัฐบาลเยอรมนีมีเป้าหมายด้านการต่างประเทศ โดยต้องการให้ พาวิลเลียนนี้เป็นตัวแทนของสาธารณรัฐไวมาร์ ที่แสดงออกถึงความ ชัดเจน หรูหราแต่เรียบง่าย และได้รบั การรับรองจากนานาประเทศ อาคาร พาวิลเลียนหลังนี้ท�ำขึ้นจากหินอ่อน กระจก และทองเหลือง โดย มีส ฟาน เดอร์ โรห์ ต้องออกแบบเก้าอี้ภายในอาคารให้สอดคล้อง กับสภาพแวดล้อม และเก้าอีจ้ ะต้องโดดเด่นเมือ่ วางอยู่ เขาได้รา่ งแบบเก้าอี้

เก้าอี้บาร์เซโลนาถูกออกแบบขึ้นเพื่อใช้รับเสด็จกษัตริย์และราชินีของสเปน ในพาวิลเลียนของสาธารณรัฐไวมาร์ ในงานมหกรรมโลกปี 1929 มีนาคม 2558

l

Creative Thailand

l 15


แปลกใหม่ ลํ้าเลิศ และปริมาณ

นักออกแบบคงไม่สามารถสร้างสรรค์ผลงานให้เป็นจริงได้หากเทคโนโลยีไม่ ตอบโจทย์ ความก้าวหน้าของเครื่องจักรและวัสดุจึงนำ�มาซึ่งความเป็นไปได้ ของความสร้างสรรค์

ความก้าวหน้าในอุตสาหกรรมเหล็ก ท�ำให้เหล็กเกิดความยืดหยุ่น งอตัว หรือโค้งได้ นับเป็นรากฐานส�ำคัญของความเคลื่อนไหวในกลุ่มนักออกแบบ เบาเฮาส์ ทั้งมีส ฟาน เดอร์ โรห์ มาเรียน แบรนด์ท (Marianne Brandt) และมาร์เซล บรอยเยอร์ (Marcel Breuer) กับเก้าอี้วาสซิลี (Wassily) อันโด่งดัง เรื่อยมาจนถึงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ที่วิทยาการสงคราม ได้น�ำมาซึ่งการทดลองและคิดค้นวัสดุใหม่ๆ กระบวนการผลิตที่พัฒนา สู่ระบบอุตสาหกรรมเต็มตัว พลาสติก อัลลอยด์ ไฟเบอร์กลาส ได้สร้างโลก ขึน้ มาใหม่ เทคโนโลยีได้เปิดเผยและใช้งานสิง่ ทีเ่ คยอยูเ่ บือ้ งหลังให้กลายเป็น เบื้องหน้าอย่างสง่างาม ชาร์ลส์ และเรย์ อีมส์ (Charles and Ray Eames) สองนักออกแบบ คูส่ ามี ภ รรยาที่ ทมุ่ เทให้ กั บ การทดลองรู ป ทรงของไม้ อั ด (Plywood) เป็ น เวลาหลายปี เก้ า อี้ แ อลซี เ อ็ ม (LCM) คื อ ผลแห่ ง ความอุ ต สาหะ ความเรี ย บง่ า ยของการออกแบบเกิ ด จากการพั ฒ นากระบวนการผลิ ต อย่างถี่ถ้วน ทั้งโครงเก้าอี้ การประกอบชิ้นส่วนต่างๆ โดยสกรูและน�้ำหนัก ที่เบา 16 l

Creative Thailand

l มีนาคม 2558

ชาร์ลส์ และเรย์ อีมส์ กับผลงานการออกแบบ เก้าอี้ของทั้งสองที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ (MoMA) ณ กรุงนิวยอร์ก ในปี 1946

©Conde Nast Archive/Corbis

knoll.com cupofzup.com

อิริยาบถที่แตกต่างบนเก้าอี้บาร์เซโลนา และ เก้าอี้ปราโตเน

คนอลล์ไม่เพียงขายเก้าอี้ เธอยังได้ออกแบบบริการตกแต่งภายในส�ำนักงาน "The Knoll Planning Unit" เพื่อสร้างความเป็นบริษัทผ่านกลยุทธ์การสื่อสารที่ทันสมัย เธอขายต�ำนานของ เก้าอี้และสื่อให้เห็นว่าเก้าอี้บาร์เซโลนานั้นเหมาะกับโลกธุรกิจสมัยใหม่ เพราะทั้งสง่า โก้หรู และ ชาญฉลาด ซึ่งมันได้ผลดีเยี่ยม เพราะปัจจุบันเก้าอี้บาร์เซโลนายังปรากฏอยู่ในห้องรับแขกของบริษัท ชั้นน�ำทั่วโลก แม้เวลาจะผ่านมา 80 ปีแล้วก็ตาม ขณะที่เก้าอี้บาร์เซโลนาบ่งบอกถึงสถานะทางสังคม แต่เก้าอี้ของกลุ่มนักออกแบบกรุ๊ปโป สตรัม (Gruppo Strum) ในช่วงปี 1960 กลับเสนอมุมมองทีต่ า่ งออกไป นักออกแบบกลุม่ นีไ้ ด้รบั อิทธิพล จากงานศิลปะป๊อป (Pop Art) พวกเขาต้องการเสียดสีสังคมและสะท้อนให้เห็นสภาพแวดล้อมของ วัฒนธรรมการบริโภคในสังคมอุตสาหกรรมที่อยู่รอบตัว เก้าอี้สนามหญ้าปราโตเน (Pratone) ของ จอร์จิโอ เชเรตติ (Giorgio Ceretti) ปิเอโตร เดรอสซี (Pietro Derossi) และริกคาร์โด รอสโซ (Riccardo Rosso) ที่ออกแบบในปี 1966 คือผลพวงแห่งแนวคิดต่อต้านการออกแบบ (Anti-Design) เก้าอี้ปราโตเนสะท้อนการแสวงหาการใกล้ชิดกับธรรมชาติ ช่วงเวลาเดียวกับกระแสนิยมของ กลุ่มฮิปปี้ที่ต่อต้านสงคราม รักอิสรภาพ และแสดงออกซึ่งความเป็นตัวของตัวเองก�ำลังเบ่งบาน เก้าอี้ปราโตเนน�ำเสนออย่างตรงไปตรงมา ผ่านรูปทรงของใบหญ้าหลายใบที่ ว างเรี ย งซ้ อ นกั น คล้ายสนามหญ้าในสัดส่วนที่ใหญ่เกินจริง และเปิดให้ผู้ใช้งานมีอิสระและจินตนาการว่าจะเลือกนั่ง ในลักษณะไหน เช่นเดียวกับเก้าอี้มาร์ชเมลโล (Marshmallow Sofa) ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาก่อนหน้า จอร์จ เนลสัน (George Nelson) ได้รับอิทธิพลจากงานศิลปะป๊อปที่แสดงถึงความสนุกสนาน หลุดพ้นจากกฎเกณฑ์ ของแนวโมเดิรน์ นิสต์แบบเดิมๆ เก้าอีม้ าร์ชเมลโลจึงเป็นเก้าอีท้ สี่ ร้างอารมณ์ดงึ ดูด ให้ความรูส้ กึ สนุก และชวนให้อยากลองนั่งบนเบาะสีสันสดใสแดง ส้ม น�้ำเงิน เหล่านั้น ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลกลใด การออกแบบเก้าอี้นั้นจ�ำเพาะเจาะจง มีส ฟาน เดอร์ โรห์ เคยกล่าวไว้ หลายครั้งว่า... เก้าอี้จะต้องเป็นเหมือนอนุสรณ์ และคุณไม่สามารถน�ำเก้าอี้ในครัวมานั่งได้


จากความรู้เรื่องไม้อัดดัดโค้ง อีมส์มองเห็นความงามของไม้อัด จากที่เคยเป็นวัสดุที่ถูกแอบซ่อน ให้มาเป็นวัสดุผิวหน้า เก้าอี้เลาจน์ 670 (Lounge Chair 670) เกิดจากแรงบันดาลใจที่จะพัฒนาเก้าอี้คลับแบบ อังกฤษดั้งเดิม โดยถูกออกแบบให้มีลักษณะเหมือนเปลือกหอย 3 ชิ้น ประกอบกัน ตัวเปลือกที่โค้งมนท�ำจากไม้โรสวูด 5 ชั้นที่อัดแน่นด้วย ความร้อนและแรงดัน การออกแบบของอีมส์ค�ำนึงถึงสรีระ โดยส่วนที่นั่ง จะลึกเข้าไปเป็นพิเศษ พนักพิงจะประคองหลังให้รสู้ กึ สบาย พนักสูงรองรับ ศีรษะ และยังได้ออกแบบเก้าอี้ออตโตมัน (Ottoman) ซึ่งเป็นเก้าอี้นวม แบบไม่มีพนักพิงหรือที่เท้าแขนไว้ส�ำหรับวางขาอีกด้วย นอกจากเทคนิ ค การใช้ ไ ม้ อั ด แล้ ว อี ม ส์ ยั ง สนใจวั ส ดุ ย างและ ไฟเบอร์กลาส Dining Chair เป็นกลุ่มเก้าอี้ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นระหว่าง ปี 1949-1963 เพื่อตอบโจทย์การผลิตในระบบอุตสาหกรรมที่สามารถ ผลิตได้คราวละมากๆ ทั้งยังมีมาตรฐานที่สามารถตรวจสอบได้ เก้ า อี้ พ ลาสติ ก ที่ ไ ด้ รั บ การยกย่ อ งอย่ า งมาก คื อ เก้ า อี้ แ พนตั น (Panton Chair) ของเวอร์เนอร์ แพนตัน (Verner Panton) นักออกแบบชาว สวิส รูปทรงของมันได้รับแรงบันดาลใจจากเก้าอี้ซิกแซก (Zig-Zag Chair) ของเกอร์ริต รีตเวลด์ (Gerrit Rietveld) เก้าอี้แพนตันมีรูปทรงที่แสดงถึง ความแข็งแรงและลื่นไหล อันเกิดจากเทคโนโลยีแม่พิมพ์และการฉีดโฟม แพนตันพัฒนาวัสดุหลายครั้ง โดยเริ่มจากท�ำต้นแบบด้วยไฟเบอร์กลาส แต่ก็มีปัญหาเรื่องความทนทาน ก่อนจะพัฒนามาเป็นโพลียูรีเทนโฟม (Polyurethane Foam) และโพลีโพรพิลีน (Polypropylene) อันเป็นวัสดุ ที่สามารถสร้างสมดุลระหว่างความยืดหยุ่นและความแข็งแกร่งได้รูปทรง ท�ำให้งา่ ยต่อการจัดเก็บและเรียงซ้อน เหมาะกับประโยชน์ใช้สอยของพืน้ ที่ เช่นเดียวกับเก้าอี้จีเอฟ 40/4 (GF40/4 Stacking Chair) ของ เดวิด โรว์แลนด์ (David Rowland) ที่พัฒนาการใช้เหล็กเส้นมาเป็น โครงของเก้าอี้ เส้นสายที่บางเบาเหมาะแก่การขนย้ายและยังสามารถ ซ้อนกันได้ 40 ตัวในคราวเดียว อุตสาหกรรมการผลิตแบบโรงงานนั้น ก้าวหน้าทั้งด้านกระบวนการผลิตและวัสดุจนท�ำให้ในช่วง 1970-1980 อุตสาหกรรมเฟอร์นเิ จอร์ตอบโจทย์วถิ ชี วี ติ ของครอบครัวรุน่ ใหม่ ทีป่ ฏิเสธ เฟอร์นิเจอร์ในสไตล์รุ่นพ่อแม่ พลาสติก ไม้อัด โฟม และยาง นับเป็นการ สร้างทางเลือกราคาย่อมเยาให้แก่ผู้คนทั้งในโรงเรียน บ้าน และส�ำนักงาน แต่ถ้าเหล็ก ไม้อัดดัดโค้ง และพลาสติก ยังเป็นวัสดุที่ไม่ท้าทายพอ ปี 1996 มาร์เซล แวนเดอร์ส (Marcel Wanders) นักออกแบบชาวดัตช์ ได้ น� ำ เสนอทางเลื อ กด้ า นวั ส ดุ ที่ น ่ า ประหลาดใจยิ่ ง ขึ้ น เก้ า อี้ น็ อ ต (Knotted Chair) มักสร้างค�ำถามให้แก่ผู้พบเห็นว่ามันนั่งได้จริงหรือ และมันแข็งแรงพอไหม เพราะเก้าอี้น�ำเสนอความโดดเด่นของงานช่าง ฝีมือของการถักเชือก รูปทรงอิสระนี้เกิดจากความโปร่งที่สามารถมอง เห็นจากลายเส้น ตัวเส้นเชือกท�ำจากเส้นใยคาร์บอน ห่อด้วยเส้นใย อะรามิด (Aramid Fiber) ซึ่งเป็นไนลอนประเภทหนึ่งทอเป็นเส้น เมื่อ ถักเก้าอี้เป็นตัวเรียบร้อยแล้วจึงน�ำไปขึงไว้กับแม่พิมพ์ท�ำเป็นตัวเก้าอี้ แล้วชุบลงในอีพอกซีเรซิน (Epoxy Resin) ให้เรซินแทรกตัวในเส้นเชือก ส่วนโค้งต่างๆ ของเก้าอีเ้ กิดจากน�ำ้ หนักของตัวเชือกและเรซิน หลังจากนัน้ จึงน�ำไปอบแห้งเพื่อคงรูปแบบถาวร เทคโนโลยีนี้ท�ำให้เชือกแข็งแรงเทียบ เท่าคาร์บอนไฟเบอร์ที่ใช้ในการท�ำโครงสร้างรถยนต์หรือกระดานโต้คลื่น

1934 เก้าอี้ซิกแซก ออกแบบโดย เกอร์ริต รีตเวลด์ 1956 เก้าอี้เลาจน์ 670 ออกแบบโดย ชาร์ส และเรย์ อีมส์

1964 เก้าอี้จีเอฟ 40/4 ออกแบบโดย เดวิด โรว์แลนด์

1968 เก้าอี้แพนตัน ออกแบบโดย เวอร์เนอร์ แพนตัน 1996 เก้าอี้น็อต ออกแบบโดย มาร์เซล แวนเดอร์ส

ไม่ว่าจะเป็นวัสดุหรือเทคโนโลยีใด เก้าอี้จะยังคงเป็นหนึ่งในผลลัพธ์ ที่พิสูจน์ให้เห็นถึงความอุตสาหะของนักออกแบบกับความช่างสังเกตของ นักวิทยาศาสตร์ต่อไป มีนาคม 2558 l Creative Thailand l 17


japantimes.co.jp

หน้าที่และสุนทรียภาพ

COVER STORY เก้าอีเ้ ป็นองค์ประกอบอั มีประสิทธิภาพของอุตสาหกรรมหลายแขนงในอุตสาหกรรมยานยนต์ เรื่อนงจากปก มันคือความคล่องตัว ปลอดภัย และวิสัยทัศน์การขับขี่ ในอุตสาหกรรมคมนาคมขนส่ง ทั้ง เครื่องบินและรถไฟ นอกจากเก้าอี้จะมอบการเดินทางที่สะดวกสบาย มันยังเป็นจุดขายเชิง พาณิชย์ที่จะสร้างความพิเศษให้การเดินทาง ทั้งความเป็นส่วนตัวและความผ่อนคลาย

เจอาร์ อีสต์ เผยงานออกแบบตกแต่งอย่างหรูหราภายในขบวนรถไฟซึ่งจะเปิดให้บริการในฤดูใบไม้ผลิปี 2017

18 l

ในการลุกและนั่ง ลวดลายผ้าส�ำหรับหุ้มเบาะ ยังถูกเลือกมาใช้แสดงเอกลักษณ์ของท้องถิ่น ของเมือง และชุมชนนั้นๆ ที่ขบวนรถไฟวิ่งผ่าน ซึ่งไม่ต่างกับรถไฟความเร็วสูงอิตาเลีย (Italia) ที่ใช้เก้าอี้ห นั ง คุ ณ ภาพสู ง จากการออกแบบ ของบริษัท ปอลโตรนา เฟรา (Poltrona Frau) ในชั้ น เฟิ ร ์ ส คลาส ให้ สั ม ผั ส ถึ ง ความโก้ ห รู มีระดับตลอดการเดินทาง ปอลโตรนา เฟรา ยั ง ออกแบบห้ อ งโดยสารและเก้ า อี้ ใ ห้ กั บ กาตาร์แอร์เวย์และสิงคโปร์แอร์ไลน์อีกด้วย

seymourpowell.com

wallpaper.com

เก้าอี้ในรถไฟความเร็วสูงของบริษัทเจอาร์ คิวชู ประเทศญีป่ นุ่ เป็นตัวอย่างหนึง่ ทีใ่ ช้การออกแบบ เพือ่ สร้างจุดขาย โดยดึงเอจิ มิโตะโอะกะ (Eiji Mitooka) นักออกแบบอิสระผู้ก่อตั้งสตูดิโอ ดง ดีไซน์ แอซโซซิเอทส์ เข้ามาร่วมออกแบบ จนน�ำไปสู่การสร้างสรรค์รถไฟคิวชูให้เปี่ยมไป ด้วยเอกลักษณ์ ทั้งด้านการตกแต่งและการ ให้บริการ รายละเอียดของที่นั่งถูกออกแบบ มาโดยเฉพาะ ถ้าเป็นเด็กจะถูกวางคู่กับเก้าอี้ ของแม่ ถ้าเป็นคนสูงอายุจะมีที่จับเพื่อโน้มตัว

แต่ก ารนั่ ง ให้ ส บายตลอดการเดิ น ทาง ไม่ไ ด้ จ� ำ กั ด เฉพาะชั้ น เฟิ ร ์ ส คลาสเท่านั้ น เซมัวร์โพล (Seymourpowell) บริษัทออกแบบ ของอังกฤษ เสนอแนวคิดที่นั่งบนเครื่องบิน ที่ อ อกแบบเพื่ อ การจั ด สรรพื้ น ที่ สว่ นบุ ค คล สู่มวลชนเรียกว่า "Morph" ซึ่งเป็นเบาะที่นั่ง แผ่ นเดียวท�ำจากผ้ายืดไฟเบอร์ ใช้หลักการ ท� ำ งานที่ ท นต่อแรงดั น สู ง (High-Tension) เช่นเดียวกับเก้าอี้แอรอน (Aeron) และเก้าอี้ ที่ใช้ในยานอวกาศ ในมาตรฐานโมดูลสามที่นั่ง ทั้งสองที่วางแขนด้านในสามารถปรับได้โดย ลู ก เรื อ บนเที่ ย วบิ น ที่ จ ะท� ำ ให้ ที่ นั่ ง มี ข นาด ใหญ่หรือเล็ก เจเรมี่ ไวต์ (Jeremy White) หัวหน้าส่วนออกแบบเพื่อการขนส่งกล่าวว่า "แนวคิ ด Morph ตั้ ง ใจที่ จ ะแก้ ป ั ญ หาของ ห้ อ งโดยสารชั้ น ประหยั ด ที่ มี ม านาน และ เป็นการท้ า ทายปฏิ กิ ริ ย าของสายการบิ น ที่จะมีต่อการเพิ่มแถวที่นั่งในชั้นประหยัด"

Creative Thailand

l มีนาคม 2558


riva1920.it

การล�้ ำ หน้ า ไปสู ่ เ ทคโนโลยี ด ้ า นอวกาศของการออกแบบเก้ า อี้ เกิดขึ้นควบคู่ไปกับที่ริวา 1920 (Riva 1920) จัดท�ำโครงการออกแบบ ที่ น ่ า ประทั บ ใจเพื่ อ ยกย่ อ งความงามกว่ า 1,500 ปี ข องนครเวนิ ส โดยบริคโคเล (Briccole) คือคอลเล็กชั่นจากนักออกแบบชั้นน�ำ 29 คน ที่ ร ่ ว มกั น ออกแบบเฟอร์ นิ เ จอร์ ที่ มี ใ จความส� ำ คั ญ อยู ่ ที่ เ สาไม้ ใ น ทะเลสาบที่ ป ั ก เป็ น แนวของเกาะ เสาไม้ เ หล่ า นี้ ท� ำ จากไม้ โ อ๊ ก และ ต้ อ งเปลี่ ย นทุ ก สิ บ ปี เพราะน�้ ำ ของทะเลเมดิ เ ตอร์ เ รเนี ย นและหอย ที่กัดกร่อน เสาไม้ที่มีร่องรอยการกัดเซาะนี้ถูกน�ำมาใช้เป็นหัวใจการ ออกแบบ นั ก ออกแบบเช่ น ฟิ ลิ ป ป์ สตาร์ ค (Philippe Starck)

panoramio.it

COVER STORY เรื่องจากปก

โครงสร้างโซฟายูธา ทำ�ขึน้ จากเสาไม้โอ๊กในทะเลสาบเวนิส ส่วนเบาะรองนัง่ ทำ�จาก หนังนูบัคซึ่งให้ผิวสัมผัสนุ่มคล้ายกำ�มะหยี่ เก้าอี้คอร์โว ออกแบบโดย โนเอ ดูโชวฟูร์-โลรองส์

แองเจล่า มิสโซนี (Angela Missoni) แมตติโอ ตุน (Matteo Thun) คาริม ราชิด (Karim Rashid) คือส่วนหนึ่งของโปรเจ็กต์ที่ออกแบบ ชั้นวางหนังสือ โต๊ะ โคมไฟ และสิ่งที่ขาดไม่ได้คือ โซฟายูธา (Utah Sofa) จากพี่น้องริวา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการนั่งบนวิสัยทัศน์และทัศนียภาพ มาพร้อมสนนราคาที่แทบจะเกินเอื้อม “การมองดูเครื่องเรือนสอนบทเรียนให้เรา เพราะว่ากันว่าถ้าจะ เป็นดีไซเนอร์พันธุ์แท้ได้ เราจ�ำเป็นต้องประดิษฐ์เก้าอี้ของตัวเองให้ได้ เสียก่อน” นัน่ เป็นมุมมองของดีไซเนอร์ชาวฝรัง่ เศส โนเอ ดูโชวฟูร-์ โลรองส์ (Noe Duchaufour-Lawrance) ผู้ออกแบบเก้าอี้คอร์โว (Corvo) เก้าอี้รุ่นนี้เปิดตัวที่งานมิลาน ดีไซน์ แฟร์ เมื่อปี 2010 และกลายเป็นเก้าอี้ ที่ถูกถ่ายรูปมากที่สุดตัวหนึ่ง และดึงดูดให้บริษัทเบิร์นฮาร์ดต์ ดีไซน์ (Bernhardt Design) ในอเมริกาหลงรักเก้าอีค้ อร์โวทันที ส�ำหรับนักออกแบบ รุน่ ใหม่ทที่ ะเยอทะยานแล้ว การประดิษฐ์เก้าอีท้ ไี่ ด้รบั การยอมรับคงราวกับ การได้รับถ้วยรางวัลแห่งความส�ำเร็จในวงการออกแบบก็เป็นได้

เมื่อผู้คนไม่ได้หมกมุ่นกับการนั่งให้สบาย แต่คาดหวังไปถึงวิสัยทัศน์และมุมมองต่อการนั่งในอิริยาบถต่างๆ กัน ดังนั้น "เก้าอี้" จึงจะยังคงถูกประดิษฐ์ คิดค้นให้ก้าวหน้าต่อไปไม่รู้จบ เพื่อท�ำหน้าที่เป็นตัวแทนของการเชื่อมต่อทางอารมณ์กับวิทยาศาสตร์ ที่แสดงให้เห็นถึงความทุ่มเทของนักสร้างสรรค์ทุกยุคสมัยนั่นเอง ที่มา: บทความ “A Genius Design for Airplane Seats as Comfy as Aeron Chairs” โดย Joseph Flaherty จาก wired.com, บทความ “Between the piles of Venice” โดย Museum fur Angewandte Kunst Kon จาก civilscape.eu, สารคดี “Design Made in France” โดย Julien Johan จาก imdb.com, riva1920.it, 1000 Chairs (2013) โดย Charlotte & Peter Fiell, The Modern Chair: Classic Designs by Thonet, Breuer, Le Corbusier, Eames and Others (1997) โดย Clement Meadmore, Design Revolution: 100 Products That Are Changing People’s Lives (2009) โดย Emily Pilloton, Guzzini Infinite Italian Design (2013) โดย Moreno Gentili, Dianne H. Pilgrim, Dickran Tashjian, The Machine Age in America 1918-1941 (2001) โดย Richard Guy Wilson มีนาคม 2558 l Creative Thailand l 19


EAMES MOLDED PLASTIC

INSIGHT อินไซต์

สมบูรณ์แบบจากข้อจำ�กัด เรื่อง: ชาลินี วงศ์อ่อนดี

จุดเริ่มต้น ของเก้าอี้ Single-shell ที่ปรารถนา

เมื่อพูดถึงชื่อเก้าอี้ “Eames Molded Plastic” หลายคน อาจจะไม่คุ้นหูเ ท่าไรนัก แต่เชื่อว่าหลายคนน่าจะร้องอ๋ อ เมื่ อ เห็ น ภาพเก้ า อี้ ซึ่ ง มี ส ่ ว นที่ นั่ ง ติ ด กั บ พนั ก พิ ง เป็ น ชิ้ น เดียวกัน รองรับด้วยขาโลหะหรือไม่ก็ขาไม้ เก้าอี้ดังกล่าว ได้รับการออกแบบขึ้นในปี 1950 โดยชาร์ลส์และเรย์ อีมส์ (Charles and Ray Eames) สองสามีภรรยาชาวอเมริกนั และ กลายเป็นงานออกแบบคลาสสิกไร้ที่ติทั้งในแง่การใช้งาน ความสวยงาม และการผลิต จนกลายเป็นหนึง่ ในคอลเล็กชัน่ ของ Museum of Modern Art (MoMA) ในกรุงนิวยอร์ก เป็ น เก้ า อี้ รั บ แขกส�ำหรั บ ออฟฟิ ศ และร้ า นอาหารชั้ น น�ำ เป็ น เก้ า อี้ พั ก ผ่ อ นในห้ อ งนั่ ง เล่ น และเป็ น สิ น ค้ า ก็ อ ปปี ้ เกลื่อนตลาดเฟอร์นิเจอร์ ในปัจจุบัน ความสมบู ร ณ์ แ บบข้ า มกาลเวลาของเก้ า อี้ Eames Molded Plastic ไม่ได้เกิดจากความเป็นอัจฉริยะของ เจ้าของผลงาน แต่เกิดจากการลองผิดลองถูกและความ ใส่ใจในเงื่อนไขและข้อจ�ำกัดนานัปการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง รูปทรง วัสดุ และการผลิตเพื่อพัฒนารูปทรงของเก้าอี้

ลักษณะเด่นของเก้าอี้ Eames Molded Plastic คือเก้าอี้ที่มีพนักพิงและที่ นัง่ เป็นชิน้ เดียวกัน (Single-shell) ความสนใจในการผลิตทีน่ งั่ Single-shell ของชาร์ลส์เริ่มต้นขึ้นในปี 1939 เมื่อเขากับเอโร ซาริเนน (Eero Saarinen) ร่วมกันออกแบบเก้าอี้ “Kleinhans” สำ�หรับใช้ภายในอาคาร Kleinhans Music Hall ในเมืองบัฟฟาโล รัฐนิวยอร์ก เก้าอี้ Kleinhans มีพนักพิงและ ที่นั่งเป็นชิ้นเดียวกันและมีส่วนเชื่อมระหว่างพนักพิงและที่นั่งเป็นทรงโค้ง ซึ่งเกิดจากการวัดสัดส่วนสะโพกของผู้นั่งด้วยแถวเดือยเพื่อหาทรงโค้ง ที่รองรับกับสรีระ ความสนใจของชาร์ลส์กบั เอโรในเก้าอี้ Single-shell ถูกพัฒนาต่อเป็น เก้าอี้ “Organic” ที่ทั้งสองร่วมกันออกแบบส�ำหรับการแข่งขัน Organic Design Competition ที่จัดโดย MoMA ในปี 1941 แนวคิดของเก้าอี้ Organic คือ เก้าอี้ไม้อัดขึ้นรูปเพื่อจ�ำหน่ายให้กับกลุ่มตลาดคนทั่วไป ตัวเก้าอี้มีส่วนที่นั่งและพนักพิงเป็นชิ้นเดียวกันโดยดัดไม้อัดเป็นรูปโค้ง เก้าอี้ดังกล่าวได้รับรางวัลที่ 1 จากการแข่งขัน แต่ด้วยความซับซ้อนทาง ด้านการผลิต ทั้งในแง่การดัดโค้งไม้อัด การหุ้มเบาะ และการผลิตแบบ จ�ำนวนมาก จึงไม่สามารถผลิตเก้าอี้ออกสู่ตลาดในปีนั้นได้ ชาร์ลส์จึง ตระหนักว่า ถ้าเขาจะผลิตเก้าอี้ Single-shell ออกสู่ตลาด เขาจะรู้แค่ รูปทรงที่เขาปรารถนาไม่ได้ แต่เขาจะต้องรู้ด้วยว่าเขาจะผลิตรูปทรงดัง กล่าวขึ้นได้อย่างไร

ที่มา: นิทรรศการ Essential Eames: Icons of 20th Century Design (2015) โดย Herman Miller ด้วยความร่วมมือระหว่าง TCDC และ Chanintr Living, An Eames Primer (2013) โดย Eames Demetrios, Eames design: the work of the office of Charles and Ray Eames (1994) โดย John and Marilyn Neuhart และ History of modern design (2003) โดย David Raizman

20 l

Creative Thailand

l มีนาคม 2558


INSIGHT อินไซต์

เรียนรู้จากไม้อัด หลังจากการแข่งขัน ชาร์ลส์และเรย์ อีมส์มุ่งพัฒนาแบบและวิธีการผลิต เก้าอี้ Single-shell จากไม้อดั แต่การพัฒนาหยุดลงชัว่ คราว เมือ่ ทัง้ สองได้ รับการว่าจ้างในช่วงสงครามโลกครัง้ ที่ 2 ให้ผลิตเฝือกขาไม้อดั นำ�้ หนักเบา เพือ่ ใช้แทนเฝือกเหล็กทีห่ นักและไม่รบั กับสรีระของผูท้ ไี่ ด้รบั บาดเจ็บเท่าไร นัก รวมไปถึงการผลิตเก้าอี้นักบินเครื่องไกลเดอร์แบบที่นั่งติดกับพนักพิง เป็นชิ้นเดียวและชิ้นส่วนส�ำหรับเครื่องไกลเดอร์จากวัสดุไม้อัด การเรียนรู้เทคนิคการดัดโค้งไม้อัดที่รับกับสรีระรวมถึงวิธีการผลิต จ�ำนวนมากจากการว่าจ้างครั้งนั้นกลายเป็นบันไดให้กับการพัฒนาเก้าอี้ Single-shell หลังจากสงครามสงบลง สุดท้ายแล้ว ด้วยเงื่อนไขที่ต้องการ ออกแบบเก้าอีท้ สี่ ามารถผลิตได้ในระบบอุตสาหกรรมเพือ่ ให้กลุม่ คนทัว่ ไป ซือ้ ได้ในสนนราคาทีไ่ ม่แพง รวมถึงข้อจ�ำกัดของไม้อดั ทีไ่ ม่สามารถทนแรง อัดในการขึ้นทรงโค้งช่วงระหว่างพนักและฐานได้ แบบเก้าอี้ Single-shell ทีต่ งั้ ใจไว้จงึ ถูกเปลีย่ นให้เป็นเก้าอีท้ ปี่ ระกอบด้วยพนักพิง ทีน่ งั่ และขา ซึง่ เชื่อมเข้ากันด้วยแผ่นไม้ที่เสมือนเป็นกระดูกสันหลังของเก้าอี้ ผลลัพธ์คือ เก้าอี้ “Lounge Chair Wood (LCW)” ที่ผลิตขึ้นปี 1946 พนักพิงและที่นั่งที่เกิดจากการดัดโค้งไม้อัดท�ำให้รองรับสรีระผู้นั่งได้เป็น อย่างดีแม้จะไม่ได้หุ้มเบาะ การนั่งบนเก้าอี้ไม้จึงสบายอย่างไม่เคยเป็นมา ก่อน ในขณะที่เก้าอี้ LCW ได้รับการยกย่องจากนิตยสารไทม์ ให้เป็นงาน ออกแบบแห่งศตวรรษที่ 20 นักประวัติศาสตร์ด้านงานออกแบบ โดนัลด์ อัลเบรชต์ (Donald Albrecht) เรียกเก้าอี้ LCW ว่าเป็น “ความล้มเหลว ที่ยอดเยี่ยม” เนื่องจากชาร์ลส์และเรย์ไม่สามารถผลิตเก้าอี้ Single-shell ตามที่ตั้งใจได้ แต่เก้าอี้ LCW คือจุดเริ่มต้นแห่งความส�ำเร็จในเส้นทาง นักออกแบบของทั้งสอง

ลงตัวที่พลาสติก เมื่อไม้อัดไม่ใช่วัสดุที่เหมาะสมในการผลิตเก้าอี้ Single-shell ชาร์ลส์และ เรย์จงึ หันไปหาวัสดุและเครือ่ งมือในการผลิตใหม่ สิง่ ทีเ่ ข้าตาคือ เครือ่ งปัม๊ แผ่นโลหะเข้ารูปส�ำหรับผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ ซึ่งเป็นเหมือนสัญลักษณ์ของ การผลิตจ�ำนวนมากในเวลานั้น แบบเก้าอี้ Single-shell ท�ำจากแผ่นโลหะปั๊มเข้ารูปถูกส่งเข้าประกวด การแข่งขัน International Competition for Low-Cost Furniture Design ทีจ่ ดั โดย MoMA ในปี 1948 ซึง่ เป็นการกระตุน้ ให้นกั ออกแบบใช้เทคโนโลยี และวัสดุใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นจากช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ในการผลิตสินค้า ออกสู่ตลาด เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนสินค้าดีราคาถูกหลังสงคราม แบบ เก้าอี้ Single-shell โลหะได้รบั รางวัลที่ 2 แต่กไ็ ม่สามารถผลิตเพือ่ จ�ำหน่าย ได้ เนือ่ งจากเครือ่ งปัม๊ แผ่นโลหะทีส่ ร้างขึน้ แตกเสียหายหลังจากปัม๊ แบบไป ได้แค่สองสามครั้งส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูง ในช่วงเวลานั้นเอง พลาสติกชนิดใหม่ๆ ที่ถูกพัฒนาขึ้นในช่วง สงครามถูกส่งต่อมายังภาคอุตสาหกรรม ด้วยคุณสมบัตขิ องพลาสติกทีเ่ ป็น ของเหลว ยืดหยุ่น ขึ้นรูปตามแบบต่างๆ ได้ ชาร์ลส์และเรย์จึงผลิตเก้าอี้ Single-shell ที่มีลักษณะบาง มน พื้นผิวต่อเนื่องกัน ไร้ข้อต่อ รับกับสรีระ ของร่างกายด้วยต้นทุนไม่แพงในปี 1950 โดยมีรนุ่ แรกเป็นรุน่ “Armchair” ที่มีฐานหลากหลาย (ฐานทรงหอไอเฟล ฐานไม้ ฐานโลหะ และฐานเก้าอี้ โยก) และรุ่น “Side Chair” ตามกันมา เก้าอี้ Eames Molded Plastic ได้รับการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องไม่ว่า จะเป็นวัสดุหุ้ม สี และวัสดุ เมื่อพบว่าพลาสติกประเภทไฟเบอร์กลาสที่ใช้ เสริมความแข็งแรงของตัวทีน่ งั่ เป็นวัสดุทเี่ ป็นพิษต่อสิง่ แวดล้อม ก็ได้เปลีย่ น มาใช้โพลิโพรพิลีนที่น�ำกลับมาใช้ใหม่ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ จากเก้าอี้ Kleinhans ในปี 1939 มาจนถึงเก้าอี้ Eames Molded Plastic ทีย่ งั ได้รบั การพัฒนาโดยบริษทั เฮอร์แมน มิลเลอร์ (Herman Miller) ในปัจจุบัน คงไม่เป็นการพูดเกินจริงไปที่จะบอกว่าความส�ำเร็จของเก้าอี้ Eames Molded Plastic เกิดขึ้นจากความเอาใจใส่ในการพัฒนาแบบ วิธีการผลิตให้ตอบรับกับเงื่อนไขและข้อจ�ำกัดในแต่ละช่วงเวลา เหมือน เช่นที่ชาร์ลส์เคยพูดถึงงานออกแบบของเขาไว้ว่า “รายละเอียดไม่ใช่แค่ รายละเอียด รายละเอียดคือผลลัพธ์ของงานออกแบบ” มีนาคม 2558

l

Creative Thailand

l 21


CREATIVE ENTREPRENEUR คิด ทำ� กิน

เรื่อง: กมลกานต์ โกศลกาญจน์ ภาพ: ภูริวัติ บุญนัก

q เชิญสุภาพบุรุษท่านต่อไป r SLOWLY BUT SURELY เก้าอี้หนึ่งตัวและกระจกหนึ่งบานตรงมุมเล็กๆ ในร้าน VTG Black Market: vintage & used shop เป็นที่ตั้งของร้านท�ำผมของ อ้วน - ฤทธิพัฒน์ ศรีส�ำอางค์ เขาเริ่มต้นจากการตัดผมให้เพื่อนๆ ตาม บ้านเมื่อสิบปีก่อน จนฝีมือเป็นที่ถูกอกถูกใจและได้รับการไว้วางใจให้ตัดมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ฤทธิพัฒน์ให้ความส�ำคัญอย่างมากกับเรื่องธรรมชาติของเส้นผมเป็นหลัก เขาไม่ยอมตัดผมตาม แฟชั่นหรือตัดทรงที่ลูกค้าเลือกมาถ้าหากเต็มไปด้วยความเป็นไปไม่ได้ “เราจะเริ่มจากการมอง คาแร็กเตอร์เฉพาะตัวของลูกค้าก่อน ต้องมองให้ออกว่าเขามัน่ ใจทีท่ รงไหน ส่วนไหน เราจะออกแบบ ทรงให้ลูกค้าเลย ยกเว้นชาวต่างชาติที่มักน�ำรูปมาให้ดู แต่บางทีธรรมชาติของผมกับทรงที่เลือกมา ก็ไปด้วยกันไม่ได้ เราก็ต้องประยุกต์ให้ใกล้เคียงที่สุด” การออกไปตัดผมตามบ้านท�ำให้ฤทธิพฒั น์ตอ้ งเจอกับข้อจ�ำกัดของสถานทีแ่ ละเก้าอีน้ งั่ ตัด จาก ที่เคยนั่งตัดผมตามระเบียงหรือบนเก้าอี้กลมธรรมดามาก่อน เมื่อเปิดร้านของตัวเอง ฤทธิพัฒน์ เลยชอบที่จะเลือกใช้เก้าอี้นั่งสบาย มีฟังก์ชั่นแค่หมุนได้รอบ มีลักษณะเป็นเก้าอี้ซาลอน เพราะเขา ต้องการตัดผมให้กับทั้งลูกค้าชายและหญิง แม้จะด�ำเนินธุรกิจที่มีช่างตัดผมคือเขาคนเดียวและตัด ได้ทีละคน แต่ด้วยฝีมือก็ท�ำให้มีลูกค้าโทรเข้ามานัดคิวเป็นประจ�ำ 22 l Creative Thailand l มีนาคม 2558

สำ�นวนสเปนกล่าวไว้ว่า “En la barberia no se llora” แปลว่า ไม่ อ นุ ญ าตให้ ค นขี้ แ ยเข้ า ร้ า น ตัดผม ซึ่งสะท้อนถึงบทบาทหน้าที่ ที่ร้านตัดผมชาย (Barbershop) มี ต่ อ สั ง คมโดยรวม พื้ น ที่ ที่ ใ ห้ บริการตัดผมและโกนหนวดเครา ให้เข้าที่เข้าทางนี้ มีประวัติศาสตร์ มายาวนานนับตั้งแต่วันที่กรรไกร และใบมีดโกนถูกคิดค้น ร้านตัดผม ชายไม่ได้ทำ�หน้าที่เป็นผู้ให้บริการ เท่ า นั้ น แต่ ยั ง เป็ น คอมมู นิ ตี้ ข อง ผู้ ช ายมาทุ ก ยุ ค ทุ ก สมั ย และจั ด ระเบียบให้กบั ความเป็นผูช้ ายมาทัง้ ชีวิต วิสกี้และซิการ์เข้ามาเป็นส่วน หนึ่งของบริการที่บาร์เบอร์มอบให้ นอกจากนี้ ร้านตัดผมชายยังเป็น สถานที่ ที่ ช่ า งตั ด ผมต้ อ งผ่ า น ขั้นตอนการ “สร้างความเชื่อใจ” จนสามารถเป็น “เพื่อนที่รู้ใจ” ใน แบบที่ช่างอื่นที่ไหนก็ตัดให้ไม่ได้ BRING BACK THE GENTLEMAN ตึกเก่าใจกลางทองหล่อกับซอยเล็กๆ เป็นที่ ตั้งของบาร์เบอร์ช็อปที่ตกแต่งในสไตล์วินเทจ Black Amber Barber Shop & Tattoo คือร้าน ตัดผมทีน่ �ำวัฒนธรรมคอมมูนติ สี้ �ำหรับผูช้ ายมา ไว้ในเมืองไทย ก่อตั้งโดยขวัญ - ชวิน นันทเทิม ที่ จ ดจ�ำความเป็ น แหล่ ง พั ก ผ่ อ นหย่ อ นใจ (Hangout Space) ของร้านท�ำผมแบบไทยๆ ในชุมชนที่ผู้ชายจะเข้าร้านตัดผมเพื่อแค่น่ังดู มวย อ่านหนังสือพิมพ์ หรือเข้าไปเพราะรู้จัก กับช่างตัดผม หยิบยกเสน่ห์แบบนี้มาผสมเข้า กับความร่วมสมัยและบรรยากาศแบบยุค 1960 ผู้ใช้บริการจึงสามารถสัมผัสถึงความประณีต หมดจดได้ตั้งแต่ก้าวแรกที่เดินเข้าร้าน


CREATIVE ENTREPRENEUR คิด ทำ� กิน

นอกจากบริการตัดผมแล้ว Black Amber ยังมีบริการอืน่ ๆ ทีพ่ ร้อมมอบประสบการณ์ใหม่ ให้แก่ผู้ใช้บริการ ไม่ว่าจะเป็นระหว่างตัดผม ถ้าหากอยากดื่มชาหรือกาแฟก็มีพร้อมเสิร์ฟ หรือถ้าหากอยากจิบวิสกีผ้ สมกับเครือ่ งดืม่ ต่างๆ ส�ำหรับเสิร์ฟบริเวณบาร์ (House Pouring) ทาง ร้านก็มีให้ดื่มแบบไม่เสียค่าใช้จ่าย เพียงแค่ ให้ทิป โดยสามารถสูบซิการ์ ในร้านได้ (แต่ ห้ามสูบบุหรี่) จากการที่ชวินมีโอกาสได้สัมผัส ร้านบาร์เบอร์ในต่างประเทศ เขาจึงเล็งเห็นถึง ความส�ำคัญของทุกรายละเอียดที่ประกอบกัน เป็นร้านแห่งนี้ “ตั้งแต่ช่างตัดผม ดูแล้วเหมือน เป็นเทรนด์ แต่ช่างตัดผมร้านเราเป็นแบบนี้อยู่ แล้ว ในชีวิตจริงก็แต่งตัวแบบนี้ เพิ่มเสื้อผ้าบาง อย่างเข้าไปอย่างเสื้อกั๊ก ต้องเรียบร้อยมากพอ ที่จะท�ำให้ลูกค้ารู้สึกสบาย ไม่อึดอัด ช่างตัดผม เป็นอาชีพที่ต้องได้รับการไว้ใจ ส�ำหรับฝั่ง ตะวันตกผู้คนให้เกียรติช่างมาก” และด้วยรู้ดี ว่าผู้ชายมีไม่กี่อย่างที่ส�ำคัญในชีวิต เรื่องงาน เรื่องสังสรรค์ และการดูแลตัวเอง ถ้าทุกอย่าง รวมกันได้ในที่เดียวก็น่าจะเป็นทางเลือกที่ดี ส�ำหรับกลุ่มเป้าหมาย “รูปแบบตอนแรกคือ สร้างเป็นโซเชียลคลับ ส�ำหรับผูช้ าย มีบาร์เบอร์ เป็นส่วนหนึง่ เท่านัน้ บริการทัง้ หมดของเรามีทงั้ คลับเฮ้าส์ วิสกีแ้ อนด์ซกิ าร์บาร์ ล็อบบีส้ ว่ นกลาง ห้องประชุมส�ำหรับลูกค้า ร้านตัดสูท นับเป็น พื้นที่ที่ลดช่องว่างระหว่างวัย ฐานะ และอาชีพ ทุกคนเท่ากันหมดเลยในที่แห่งนี้” ทั้งนี้เก้าอี้ที่ Black Amber เลือกใช้คือ Takara Belmont เป็นแบรนด์เก้าอี้ตัดผมที่เป็น ลูกครึง่ ระหว่างแบรนด์ญปี่ นุ่ กับเยอรมนี มีระบบ ไฮดรอลิก ยกขึน้ ลงได้ เอนได้ เพราะเก้าอีส้ �ำหรับ บาร์เบอร์จริงๆ ต้องเอนนอนได้ ยกสูงได้ และ มีฮีตเตอร์ FIND YOUR LOCAL CUTLER การมาถึงของวัฒนธรรมย่อยในเมืองเชียงใหม่ น�ำพามาซึ่ งการแต่ งตั ว และทรงผมในสไตล์ เฉพาะตัว แต่กลับมีผู้ให้บริการเพียงไม่กี่รายที่ รองรับความเปลีย่ นแปลงนีไ้ ด้ สุรสีห์ ชืน่ อารมณ์

ผู้ร่วมก่อตั้ง The Cutler Barber and Tattoo Parlor เป็นกลุ่มแรกๆ ที่มองเห็นโอกาสจากความ เปลีย่ นแปลงทีม่ าถึง การมองเห็นความเป็นไปได้ของผูช้ ายทีอ่ ยูใ่ นเมือง ซึง่ ครึง่ หนึง่ เป็นชาวต่างชาติ ในเชียงใหม่ และอีกครึง่ หนึง่ เป็นคนท้องถิน่ ทีก่ �ำลังเปิดใจและเรียนรู้ เมือ่ มาปะทะเข้ากับเทรนด์ทนี่ ยิ ม ความเป็นสุภาพบุรุษตั้งแต่หัวจรดเท้า นั่นจึงท�ำให้ The Cutler เปิดตัวต่อสาธารณชนได้อย่างงดงาม “จุดแข็งของร้านคือการตัดผมทรงสมัยใหม่ภายใต้บรรยากาศร้านแบบยุคเก่า เราน�ำความ ย้อนยุคและความคลาสสิกมาประยุกต์ใช้ร่วมกับการตัดผมแบบใหม่ ซึ่งจริงๆ ก็คือทรงเก่า แต่มี การตัดแต่งทางรายละเอียดมากขึ้น ทั้งเรื่องการไล่เฉดผมและวิธีการเซ็ตผมให้มีทั้งความล�้ำสมัย และความคลาสสิกในตัวของมันเอง” สุรสีห์อธิบายอย่างเข้าใจในการท�ำงาน The Cutler มองเห็น ความเปลี่ยนแปลงนี้อย่างทะลุปรุโปร่ง เขากล่าวว่าไม่ใช่แค่ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งเท่านั้น แต่ทุกยุค ทุกสมัยย่อมมีการเปลี่ยนแปลง ผู้บริโภคจึงมักมองหาอะไรใหม่ๆ เสมอ โดยเทรนด์ในตอนนี้คือ การย้อนกลับไปหาอะไรเก่าๆ ที่ปรับปรุงสไตล์ให้ทันสมัยขึ้นนั่นเอง The Cutler แนะน�ำตัวเองผ่านการออกไปให้บริการตาม ป๊อปอัพอีเวนต์ต่างๆ ทั้งภายใน เชียงใหม่ กรุงเทพฯ และจังหวัดอื่นๆ วัตถุประสงค์ที่แท้จริงไม่ได้เป็นเรื่องตัวเลขรายได้ที่เพิ่มขึ้น แต่เป็นความตั้งใจที่จะน�ำเสนอและแนะน�ำตัวเองให้คนใหม่ๆ ได้รู้จักมากขึ้น เพิ่มโอกาสให้ลูกค้า เข้ามาใช้บริการทีร่ า้ นดูสกั ครัง้ เพือ่ ลองสัมผัสถึงความรูส้ กึ เก่าๆ ทีร่ า้ นน�ำกลับมาไว้ในปัจจุบนั เพือ่ ให้ ทั้งคนรุ่นใหม่และคนที่เคยอยู่ในยุคนั้น ได้สัมผัสถึงความรู้สึกสุดคลาสสิกอีกครั้งหนึ่ง TIPS FOR ENTREPRENEURS:

• บาร์เบอร์น�ำเสนอบริการหลังเดินออกจากร้านด้วยการจ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์ตกแต่งและบ�ำรุงผมส�ำหรับ คุณผู้ชายอย่างเช่น แว็กซ์หรือพอมเมด (Pomade) ขี้ผึ้งใส่ผม ส่วนมากน�ำเข้าจากบาร์เบอร์ต่างประเทศ ที่ท�ำเองแบบโฮมเมด โดยประเทศที่นิยมน�ำเข้ามาคือสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลีย •ความหลงใหล (Passion) เป็นหัวใจส�ำคัญของการด�ำเนินธุรกิจประเภทนี้ ที่น�ำมาผสมผสานกับ การเรียนรูแ้ บบเฉพาะทาง บาร์เบอร์จะมีการส่งช่างตัดไปเรียนเพิม่ เติม เพือ่ พัฒนาศักยภาพอย่างสมำ�่ เสมอ พร้อมกับการสั่งสมประสบการณ์ จนความเชี่ยวชาญนั้นกลายเป็นจุดแข็งของร้านในที่สุด VTG BLACK MARKET: VINTAGE & USED SHOP: FACEBOOK.COM/VTG. SHOP

(ราคาเริ่มต้น 400 บาท สำ�หรับทั้งผู้ชายและผู้หญิง)

BLACK AMBER BARBER SHOP & TATTOO: FACEBOOK.COM/BLACKAMBERBARBER

(ราคาตัดผมเริ่มต้น 700 บาท และโกนหนวดที่ 400 บาท)

THE CUTLER BARBER AND TATTOO PARLOR: FACEBOOK.COM/THECUTLERBARBER

(ราคาตัดผมเริ่มต้น 200-350 บาท)

มีนาคม 2558

l

Creative Thailand

l 23


CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

Binh Duong: THE CREATIVE HUB of CHAIR REPRODUCTION เรื่อง: ภูษณิศา กมลนรเทพ

หากเอ่ยถึงเวียดนาม สิ่งแรกที่ปรากฏในความคิด ของนักเดินทางคงหนีไม่พ้นภาพลักษณ์ของสถานที่ ท่ อ งเที่ ย วทางธรรมชาติ อั น สวยงามที่ บ่ ง บอกถึ ง ความเป็นเอเชียได้อย่างไม่มีที่ติ มีดินแดนที่มีทะเล ทรายกว้างสุดสายตาเหมือนหลงมาอยูอ่ กี ทวีป หรือ เมืองเก่าซึง่ ได้รบั การขึน้ ทะเบียนจากองค์การยูเนสโก ให้เป็นเมืองมรดกโลก แต่หากมองจากฝั่งนักลงทุน ต่ า งชาติ ที่ แ ห่ ง นี้ คื อ เขตเศรษฐกิ จ แห่ ง ใหม่ ข อง ประเทศกำ�ลังพัฒนาทีน่ า่ จับตามอง และฐานการผลิต ทีเ่ หมาะสำ�หรับการลงทุน โดยเฉพาะจังหวัด "บิง่ เซือง (Binh Duong)" ซึง่ ตัง้ อยูท่ างเหนือของนครโฮจิมนิ ห์ เพียง 17 กิโลเมตร และมีเครือข่ายคมนาคมขนส่ง โดยรอบ โดยรั ฐ บาลเวี ย ดนามตั้ ง เป้ า ให้ ขึ้ น เป็ น นครแห่งใหม่ของเวียดนามภายในปี 2020

24 l

Creative Thailand

l มีนาคม 2558


CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

ecolakes.vn

ecolakes.vn

พลังใหม่ แห่งเอเชีย

Ecolakes My Phuoc หนึง่ ในโครงการพัฒนาเขตทีอ่ ยูอ่ าศัยใหม่ควบคู่ กับการพัฒนานิคมอุตสาหกรรม สามารถรองรับประชากรได้ประมาณ 124,000 คน ประกอบไปด้วย ที่อยู่อาศัยที่เอื้อให้ชุมชนสามารถทำ� กิจกรรมร่วมกัน ศูนย์การค้า โรงเรียน ธนาคาร และศูนย์การแพทย์ ระดับเวิล์ดคลาส โดยการร่วมลงทุนจากมาเลเซีย

"พวกเราค่อนข้างเป็นห่วงเรือ่ งสิทธิบตั ร" อมีนี อัลดี้ (Aminy Audi) กล่าวเรียบๆ กับนิตยสาร บลูมเบิร์กในปี 2008 ถึงเหตุผลที่เธอและสามี ผู้เข้ารับช่วงต่อ Stickley แบรนด์เฟอร์นิเจอร์ไม้ ระดับบน (High End) จากอัพสเตทนิวยอร์ก เลือกบิ่งเซืองเพื่อใช้เป็นฐานการผลิตแห่งใหม่ ตั้ ง แต่ ปี 2005 หลั ง จากที่ ห ลายบริ ษั ท ผลิ ต เฟอร์นิเจอร์ในสหรัฐฯ เลือกที่จะย้ายโรงงาน ไปยังจีนเพื่อลดต้นทุน แต่กลับต้องปวดหัว กับการไม่สามารถควบคุมเรื่องการละเมิดสิทธิ ทางปัญญาได้ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ของเวียดนามมี ประวัตศิ าสตร์และชือ่ เสียงด้านงานไม้มายาวนาน ปั จ จุ บั น เวี ย ดนามขึ้ น แท่ น เป็ น ฐานการผลิ ต เฟอร์นเิ จอร์เพือ่ การส่งออกทีส่ �ำ คัญของโลก ด้วย มีโลเกชัน่ ทีไ่ ด้เปรียบ ทัง้ ในแง่ภมู ปิ ระเทศ แรงงาน ราคาถูก งานฝีมือที่มีคุณภาพ การปรับตัวของ แรงงาน การได้เป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก (WTO) และความมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ © Mananne Brown/dpa/Corbis

และการเมือง ทั้งหมดนี้ ทำ�ให้บริษัทนายทุน จากต่างประเทศเล็งเห็นโอกาสในการขยับขยาย ธุรกิจ และย้ายฐานการผลิตจากประเทศของตน หรื อ ประเทศอื่ น ๆ ในแถบเอเชี ย เช่ น จาก ประเทศจีนมายังเวียดนาม อีกสาเหตุหนึ่ง คือ การที่โรงงานในยุโรปหลายแห่งต้องปิดตัวลง และการทีแ่ บรนด์ใหญ่ๆ หลายแบรนด์จงึ เลือกมา เปิดโรงงานที่บิ่งเซือง หรือลงทุนร่วมกับโรงงาน เฟอร์นิเจอร์ท้องถิ่นเพื่อปรับปรุงคุณภาพให้ได้ มาตรฐานสากล ก็ยิ่งส่งผลให้การส่งออกสินค้า เฟอร์นิเจอร์ของเวียดนามเติบโตอย่างต่อเนื่อง เวียดนามจึงได้แต่งเติมสีสันให้แก่ธุรกิจด้าน อุตสาหกรรมและมีโอกาสพัฒนาขึ้นมาเป็นฮับ ของการส่งออกมากขึ้น จากการสำ�รวจในปี 2009 เวียดนามมี โรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์มากกว่า 2,500 โรงงาน อันประกอบด้วยโรงงานทีร่ ฐั เป็นเจ้าของร้อยละ 30 ที่เหลือเป็นของเอกชน โรงงานที่ต่างชาติเข้ามา ลงทุน (FDI) และบริษทั ร่วมหุน้ อีกกว่าร้อยละ 10 มีนาคม 2558

l

Creative Thailand

l 25


CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

นอกจากนี้ ยังมีโรงงานขนาดเล็กถึงขนาดกลาง อีกหลายพันแห่งทีไ่ ม่ได้ขนึ้ ทะเบียนกับรัฐ ตัง้ อยู่ กระจัดกระจายตามเมืองต่างๆ ส่วนผูผ้ ลิตรายใหญ่ ที่ทำ�การตลาดทั้งในและต่างประเทศ จะเลือก ตั้งโรงงานอยู่ในเขตจังหวัดบิ่งเซือง แหล่งรวม การจัดการธุรกิจส่งออกหลักของประเทศ และ เมืองกวีเญิน (Quy Nhon) เมืองชายฝั่งทะเลใน จังหวัดบิ่นดิ๋น (Binh Dinh) ทางตอนกลางใต้ ของเวียดนามซึ่งเป็นเขตป่าไม้สำ�คัญ ตั้งแต่ปี 2012 เป็นต้นมา รัฐบาลเวียดนาม ได้เปิดโอกาสให้มกี ารลงทุนก่อสร้างจำ�นวนมาก ในเขตบิ่งเซือง เพื่อดึงดูดทั้งการลงทุนภาค อุตสาหกรรมและแรงงานฝีมือให้ย้ายถิ่นฐาน เข้ามาอยูอ่ าศัย ซึง่ การลงทุนก่อสร้างนีแ้ บ่งออก เป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ เขตที่อยู่อาศัยใหม่ เขต การบริการ และเขตนิคมอุตสาหกรรม นอกจาก นี้ นโยบายลดขั้นตอนการขออนุญาตใบลงทุน และผ่อนปรนกฎระเบียบการควบคุมเงินกู้ ยังช่วย ส่งเสริมให้จังหวัดที่มีประชากรราว 15 ล้านคน และมากกว่ า ร้ อ ยละ 60 อยู่ ใ นวั ย ทำ � งานนี้ น่าสนใจมากขึ้น และเป็นส่วนสำ�คัญที่ทำ�ให้ บิ่งเซืองมีอัตราขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงกว่า ทัง้ ประเทศถึงร้อยละ 5.4 จากภาคอุตสาหกรรม ร้อยละ 66 บริการร้อยละ 29 และเกษตรกรรม ร้อยละ 5 การเติบโตอย่างรวดเร็วของภาคอุตสาหกรรม การผลิตเฟอร์นิเจอร์ในบิ่งเซือง ยังเป็นผลจาก โลเกชั่นที่เป็นใจ เนื่องจากตั้งอยู่ใจกลางพื้นที่ เศรษฐกิจทางตอนใต้ของเวียดนาม ทีม่ เี ส้นทาง สายหลักทีเ่ ชือ่ มต่อกับทางหลวงสายสำ�คัญ พร้อม ท่าอากาศยานนานาชาติ เตินเซินเญิ้ต (Tan Son Nhat) และท่าเรือไซง่อน (Saigon Port) ที่ เชือ่ มต่อโลกผ่านทะเลจีนใต้ ปัจจุบัน โรงงานขนาด 187,000 ตารางฟุต ของ Stickley ยังตั้งอยู่ที่บิ่งเซืองโดยอาศัย แรงงานฝีมอื ชาวเวียดนามซึง่ ส่วนหนึง่ เป็นแรงงาน ฝี มื อ ที่ เ คยอพยพไปทำ � งานยั ง สหรั ฐ ฯ และ แรงงานใหม่ที่เรียนรู้งานในช่วงสิบปีที่ผ่านมา เพื่อผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้แบบเต็มคอลเล็กชั่นส่ง ออกไปขายทั่วโลก 26 l

Creative Thailand

l มีนาคม 2558

การแข่งขัน ที่ยังต้องดำ�เนินต่อ

และอินโดนีเซีย โดยมีแนวโน้มทีจ่ ะเพิม่ ศักยภาพ ด้านการผลิตเพื่อการส่งออกนี้มากขึ้นเรื่อยๆ บริษัทผู้ผลิตสินค้าประเภทไม้ในเวียดนาม ได้มกี ารลงทุนด้านเทคโนโลยีการผลิต และการ สรรหาแรงงานทีม่ ที กั ษะอย่างต่อเนือ่ ง รวมทัง้ มี การคิดค้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างแข็งขัน โดยเน้ น เรื่ อ งคุ ณ ภาพที่ ดี ยิ่ ง ขึ้ น ดี ไ ซน์ แ ละ นวัตกรรม การใช้วัสดุเก่าที่มีการออกแบบใหม่ เพื่อเพิ่มลูกเล่นให้แก่ชิ้นงาน อย่างไรก็ตาม แม้ เวียดนามจะสามารถดำ�เนินการจดสิทธิบัตร ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย แต่เนือ่ งจากการดำ�เนินขัน้ ตอนใช้เวลานานและ ยุง่ ยาก ประกอบกับผูป้ ระกอบการยังไม่เล็งเห็น

bizhub.vn

แม้คุณภาพของผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ไม้จาก เวียดนามจะได้รบั การยอมรับทัว่ โลก ผลิตภัณฑ์ เฟอร์ นิ เ จอร์ ไ ม้ ข องเวี ย ดนามถู ก ส่ ง ออกไป กว่า 120 ประเทศทั่วโลก โดยตลาดผู้บริโภค ทีใ่ หญ่ทสี่ ดุ คือสหรัฐอเมริกา ยุโรป จีน และญีป่ นุ่ ในปี 2013 เวียดนามขึน้ แท่นผูส้ ง่ ออกเฟอร์นเิ จอร์ รายใหญ่ทสี่ ดุ ของอาเซียน ติดอันดับ 2 ในเอเชีย และอันดับ 6 ของโลก ในปี 2014 เฟอร์นิเจอร์ ไม้จากเวียดนามได้เปิดตัวออกสู่ตลาดใหม่ๆ ในประเทศแถบตะวันออกกลาง ออสเตรเลีย และประเทศในอาเซียน เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย

ถึงความจำ�เป็นในการจดลิขสิทธิ์แบบเป็นเรื่อง เป็นราว แม้แต่แบรนด์ผลิตเฟอร์นเิ จอร์รายใหญ่ ของเวียดนามจึงเติบโตได้ดว้ ยการรับผลิตสินค้า ให้ กั บ แบรนด์ ดั ง จากต่ า งประเทศโดยไม่ มี การออกแบบทีม่ เี อกลักษณ์เป็นของตนเอง เห็นได้ จากการทำ�สัญญาผลิตเฟอร์นิเจอร์ให้กับกลุ่ม แบรนด์เฟอร์นิเจอร์รายใหญ่จากสแกนดิเนเวีย อย่าง Scancom, IKEA และ Scanasia หรือ แบรนด์จากฝัง่ อเมริกาอย่าง John-Richard และ Walmart เป็นต้น ทัง้ ยังรับผลิตสินค้าโดยอาศัย แบบจากผู้ ว่ า จ้ า งผลิ ต หรื อ ผลิ ต สิ น ค้ า โดย


CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

bizhub.vn

ลอกเลียนแบบสินค้าทีเ่ ป็นทีน่ ยิ มในหมูผ่ บู้ ริโภค จึงถือเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นปกติโดยที่กฎหมาย ก็ยงั ไม่สามารถใช้จดั การเรือ่ งนีไ้ ด้อย่างเป็นรูปธรรม ปัจจุบนั เวียดนามมีองค์กรดูแลและสนับสนุน ด้านการผลิตและส่งออกเฟอร์นเิ จอร์ชอ่ื Handicraft and Wood Industry Association of Ho Chi Minh City (HAWA) ทั้งยังมีการจัดงานแฟร์เพื่อ การเข้าถึงตลาดผูซ้ อื้ รายใหญ่และผูบ้ ริโภคอย่าง ต่อเนื่อง เพื่อเป็นสื่อกลางของธุรกิจต่อธุรกิจ สนับสนุนธุรกิจการผลิตและจัดจำ�หน่ายผลิตภัณฑ์ ทีส่ ร้างสรรค์จากผูป้ ระกอบการในประเทศเวียดนาม ให้ออกสู่ตลาดโลกอย่างมีระบบมากขึ้น เช่น Ho Chi Minh City International Furniture and Handicrafts Fair หรือองค์กรเอนเตอร์ไพรส์ (Enterprise) ทีก่ อ่ ตัง้ ขึน้ เพือ่ เป็นสือ่ กลางระหว่าง ผู้ซื้อจากต่างประเทศ (International Buyer) และผู้ผลิตในท้องถิ่น (Local Supplier) เช่น Vietnam B2B Direct และ Vietnam International Furniture and Home Accessories Fair 2013 ซึง่ ทำ�รายได้เฉพาะช่วงวันงานได้ถงึ 4.25 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และทำ�รายได้ให้อตุ สาหกรรม เฟอร์นิเจอร์เพิ่มขึ้นกว่า 60 เปอร์เซ็นต์จากปี ก่อนหน้า

อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ของเวียดนาม ยังคงมีความท้าทายรอให้หลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ร่วมมือกันปรับปรุง ข้อแรกคือการปรับปรุง คุณภาพของผลิตภัณฑ์และเพิ่มมูลค่าให้กับ สิ น ค้ า เนื่ อ งจากสิ น ค้ า จะไปอยู่ ใ นมื อ ของ ผู้บริโภคระดับนานาชาติ ข้อสองคือปัญหาการ ขาดแคลนวัตถุดบิ เพือ่ ประกอบการผลิตและต้อง นำ�เข้าวัสดุบางประเภทจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลูกบิดบานพับและบาร์สไลด์ นับเป็นความ ท้าทายที่ผู้ผลิตในเวียดนามจะต้องเฟ้นหาวัสดุ คุณภาพมาใช้หากไม่สามารถผลิตเองได้ แม้จะมี การพัฒนาอุตสาหกรรมประเภทโลหะในเวียดนาม เพื่อตอบสนองการผลิตเฟอร์นิเจอร์อย่างต่อ เนื่องเมื่อไม่กี่ปีมานี้ ปัญหาอีกข้อคือเครื่องจักร ทีใ่ ช้ในการผลิตมักล้าสมัย เพราะใช่วา่ ทุกบริษทั จะสามารถลงทุนกับเครือ่ งจักรขัน้ สูงได้ ส่วนใหญ่ เป็นเครื่องจักรมือสองที่นำ�เข้ามาจากประเทศ จีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น เยอรมนี อิตาลี หรือจาก ตลาดในประเทศเอง นอกจากนี้ผู้ผลิตบางราย ยังคงขาดความเชี่ยวชาญด้านการออกแบบ เฟอร์นเิ จอร์สว่ นใหญ่ผลิตขึน้ จากแบบทีล่ กู ค้านำ� มาให้ และยังคงมีการคัดลอกแบบผิดกฎหมาย อยูเ่ นืองๆ ถึงแม้เวียดนามจะมีกฎหมายลิขสิทธิ์

แต่ก็ยังไม่สามารถจัดการได้อย่างจริงจัง จนถึง ปั จ จุ บั น มี เ พี ย งไม่ กี่ บ ริ ษั ท ในอุ ต สาหกรรม เฟอร์นเิ จอร์ทใี่ ห้ความสำ�คัญเรือ่ งการจดลิขสิทธิ์ ปั ญ หาข้ อ สุ ด ท้ า ยคื อ แม้ เ วี ย ดนามจะมี กำ � ลั ง แรงงานมาก แต่ยงั คงต้องฝึกฝนและเพิม่ จำ�นวน แรงงานที่มีทักษะ รวมทั้งพัฒนาความสามารถ ด้านการบริหารจัดการให้แก่บุคลากร รัฐบาล ตระหนักถึงปัญหานี้และมีการก่อตั้งโรงเรียน ฝึกอบรมวิชาชีพเพื่อพัฒนาทรัพยากรบุคคล โดยให้ความรู้แก่แรงงานที่มีทักษะมากขึ้นเพื่อ เตรียมความพร้อมสำ�หรับงานด้านอุตสาหกรรม ในเวียดนามที่จะเติบโตขึ้นอย่างฉุดไม่อยู่ ทั้ง จากการรวมกันของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) และการลงนามความตกลงหุ้นส่วน ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (TransPacific Strategic Economic Partnership Agreement: TPP) แน่นอนว่าเวียดนามจะต้อง ทำ�การบ้านเพื่อเตรียมความพร้อมให้มากขึ้น ในปี 2015 นี้

ที่มา: บทความ “Binh Duong Province” จาก en.wikipedia.org บทความ “Consider Vietnam for Your Low Cost Furniture Manufacturing Solution” โดย Bill Gadd จาก vietnamb2bdirect.com, บทความ “Din Ky Hotel” จาก hotels84. com, บทความ “Le Corbusier LC1 Basculant Chair” จาก corbusierchair.org, บทความ “Qui Nhon” จาก en.wikipedia.org, บทความ “2-Day Tour in Binh Duong” จาก en. skydoor.net, บทความ “Vietnamese Architect Wins UK Award for Tree-House in Tan Binh District” จาก thanhniennews.com, บทความ “Vietnam Rising in the Global Furniture Market” จาก business-in-asia.com, บทความ “Wind and Water Bar” โดย Vo Trong Nghia จาก dezeen. com, บทสัมภาษณ์ Mr. Huynh Van Hanh, Vice Chairman of the Handicraft and Wood Industry Association of Ho Chi Minh City (HAWA) โดย Vietnam Business Forum เรื่อง “Vietnam Wood Industry More Likely to Increase Exports” จาก vccinews.com, รายงาน “Vietnam Furniture Industry: An Overview” (2011) โดย Office of Commercial Affairs, Royal Thai Embassy, รายงาน “The Vietnamese Furniture Industry” โดย German Industry and Commerce Vietnam (GIC) จาก vietnam.ahk.de มีนาคม 2558

l

Creative Thailand

l 27


ปิติ อัมระรงค์ และ จุฑามาส บูรณะเจตน์

THE CREATIVE มุมมองของนักคิด

ไม่ใช่แค่ นักออกแบบ หน้าใหม่ เรื่อง: ปิยพร อรุณเกรียงไกร ภาพ: พิรานันท์ พาวงษ์

28 l

Creative Thailand

l มีนาคม 2558

นั ก ออกแบบจะมี บ ทบาทมากน้ อ ย แค่ไหน ในโลกของอุ ต สาหกรรม เฟอร์ นิ เ จอร์ ที่ สั่ ง สมและเชื่ อ มโยง ประวัตศิ าสตร์การออกแบบเข้ากับวิถี ชีวติ ของมนุษย์มายาวนาน ท่ามกลาง ชิ้นงานนับล้านที่ทั่วโลกพร้อมจะแซ่ ซ้องหรือหลงลืม ถึงจะแจ้งเกิดในฐานะนักออกแบบ หน้าใหม่จากเวทีการประกวดทัง้ ในไทย และต่างประเทศ อาทิ รางวัล Designer of the Year 2008 จากมหาวิทยาลัย ศิลปากร แต่ ดุย๋ - ปิติ อัมระรงค์ และ ลูกท้อ - จุฑามาส บูรณะเจตน์ สอง นักออกแบบเจ้าของสตูดิโอ o-d-a (object design alliance) ก็ยงั คง เดินหน้าทำ�งานออกแบบเฟอร์นเิ จอร์ มานานกว่า 10 ปี โดยดูแลการทำ�งาน เองแทบทุกขั้นตอน ไม่เพียงเท่านั้น งานออกแบบเก้าอีข้ องทัง้ คูย่ งั ทำ�แฮต ทริกด้วยการผ่านเข้ารอบทีมสุดท้าย ในงาน International Furniture Design Fair Asahikawa (IFDA) ประเทศญีป่ น่ ุ อาทิ "R2” (2008) "BAL” (2011) และ “Salmon Bench” (2014) ล่าสุดเก้า อีเ้ ด็ก“Cozy" ซึ่ง ออกแบบให้กับแบรนด์ญี่ปุ่นก็ได้รับ รางวัล Demark Award 2014 น่าสนใจว่าทำ�ไมสตูดโิ อเล็กๆ จึง สามารถยื น หยั ด ที่ จ ะทำ � งานตาม แนวทางของตนเอง ทั้งบนวิถีธุรกิจ และสายการประกวด โดยไม่หวั่นไป ตามกระแสตลาดได้นานขนาดนี้


THE CREATIVE มุมมองของนักคิด

พอได้ เ จอกั บ เพื่ อ นนั ก ออกแบบต่ า งชาติ ที่ เ ข้ า ร่ ว ม ประกวด เราพบว่าพวกเขามีพื้นฐานเรื่องนี้แน่นมาก บางคนไม่ใช่แค่นักออกแบบ แต่เป็นช่างไม้ด้วย แล้ว งานของเขาจะดูซบั ซ้อน มีรายละเอียดทีด่ ี ซึง่ เป็นเสน่ห์ ที่เห็นได้จากคนที่ออกแบบและลงมือทำ�เอง นอกจากออกแบบ ดูเหมือนว่าพวกคุณจะลงมือทำ�เฟอร์นิเจอร์ กันเองด้วย แสดงว่ามีทักษะงานไม้ติดตัวอยู่แล้วใช่ไหม

• จุฑามาส l เราเพิ่งได้ฝึกหลังจากแบบเก้าอี้ “R2” ผ่านเข้ารอบสุดท้าย ในงานประกวดการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ท่ีประเทศญี่ปุ่นปี 2008 ทาง ทีมงานถามว่า เราจะทำ�ต้นแบบเองหรือให้ชา่ งชาวญีป่ นุ่ ทำ�ให้ ตอนนัน้ เรา ยังไม่ถนัด เลยให้เขาทำ� พอได้เจอกับเพื่อนนักออกแบบต่างชาติที่เข้า ร่วมประกวด เราพบว่าพวกเขามีพื้นฐานเรื่องนี้แน่นมาก บางคนไม่ใช่แค่ นักออกแบบ แต่เป็นช่างไม้ดว้ ย แล้วงานของเขาจะดูซบั ซ้อน มีรายละเอียด ที่ดี ซึ่งเป็นเสน่ห์ที่เห็นได้จากคนที่ออกแบบและลงมือทำ�เอง เขาจะใส่ รายละเอียดทีแ่ สดงถึงความเข้าใจได้อย่างลึกซึง้ และละเอียดกว่าการคิดงาน จากความคิดเฉยๆ เลยคุยกันว่าควรฝึก เพราะนักออกแบบส่วนใหญ่มี พื้นฐานด้านไอเดียอยู่แล้ว แต่ทักษะเชิงช่างมีไว้ก็เป็นประโยชน์กับเราเอง อาจารย์ทา่ นหนึง่ เคยกล่าวว่า มันเหมือนกับการใช้มอื คิด ไม่ได้ใช้แค่หวั คิด ถ้าอยูใ่ นสถานการณ์ทพี่ งึ่ ใครไม่ได้ เราต้องเป็นทีพ่ งึ่ ตัวเองให้ได้ ซึง่ เราเคย เจอสถานการณ์แบบนี้อยู่บ่อยๆ เช่น โรงงานไม่รับผลิต เพราะจำ�นวน ไม่ได้หรือต้นทุนการผลิตสูงเกินไป ทำ�ให้ราคาขายปลายทางสูงยิง่ ขึน้ ไปอีก ก็ต้องปรับกลยุทธ์ด้วยการทำ�กันเอง • ปิติ l หลังงานประกวด ทางโรงงานได้สทิ ธิก์ ารเก็บงานต้นแบบ "R2" เรา จึงปรึกษาเขาเกี่ยวกับขั้นตอนการผลิตเพื่อกลับมาทำ�ในไทย ตอนแรก อยากจ้างคนทำ�มากกว่า พอมีรนุ่ พีแ่ นะนำ�ครูคนหนึง่ ให้รจู้ กั คือ พีน่ ุ (พิษณุ นำ�ศิริโยธิน) เขาเป็นครูสอนศิลปะที่โรงเรียนรุ่งอรุณ แต่ฝึกฝนและสั่งสม ทักษะงานไม้เองมาระยะหนึ่ง จัดเวิร์กช็อปงานไม้ที่ทำ�เฟอร์นิเจอร์ได้ด้วย มีเครื่องมือครบ เลยไปเรียนกับเขาผ่านงานของเราอีกที เรียนรู้อะไรจากกระบวนการนี้บ้าง

• ปิติ l ผมเรียนด้านกราฟิกมา (คณะมัณฑนศิลป์ สาขาการออกแบบ นิเทศศิลป์) ไม่เคยทำ�งานไม้มาก่อน แต่ลูกท้อเรียนสาขาออกแบบ ผลิตภัณฑ์กจ็ ะได้ฝกึ มาบ้าง ผมเลยได้ความรู้พนื้ ฐานเต็มๆ เรือ่ งเครือ่ งไม้ เครื่องมือ บวกกับพี่นุเป็นคนที่ทำ�งานเนี้ยบมาก รู้เรื่องวิธีการจัดการไม้ดี เราก็ได้เรียนรู้เยอะ

คิดว่าขั้นตอนไหนยากที่สุดในการทำ�เฟอร์นิเจอร์สักชิ้น

• ปิติ l ผมมองว่าเรื่องหนีแบบเดิมไปสู่สิ่งใหม่ๆ เป็นเรื่องยาก เพราะคน ทำ�เยอะมาก กี่ปีแล้วไม่รู้ มันซํ้าไปหมด การทำ�งานออกแบบที่ถูกเรียกว่า ใหม่หมดจดมันยากมาก จนอาจจะเป็นไปไม่ได้ด้วยซํ้า แค่หาอะไรใหม่ๆ เพิ่มเข้าไปในประเด็นที่อยากต่อยอดมากกว่า • จุฑามาส l งานโปรดักชัน่ ก็ยากระดับหนึง่ แต่การแสวงหาไอเดียสดใหม่ เป็นเรื่องยากจริงๆ เราเชื่อว่านักออกแบบทุกคนก็รู้สึกอย่างนั้น มันเป็น ดินแดนที่มีอิสระเสรีมาก ขึ้นอยู่กับว่าใครจะตัดสินใจทำ�งานอย่างไร แต่ เรือ่ งรูปธรรม การสรุปกระบวนการทำ�งานมันเคลียร์กนั ได้ ทีส่ �ำ คัญ เวลาคิด งานต้องคอยบาลานซ์กบั ความเป็นจริงด้วย เช่น ตอบโจทย์ดว้ ยไม้ขนาดไหน ราคาเท่าไร แต่ไม่ใช่ว่าเอาราคามาเป็นที่ตั้งอย่างเดียว • ปิติ l เพราะถ้าเอาราคาเป็นที่ตั้งอย่างเดียว ก็จะไปจบที่การผลิตแบบ โรงงาน ประหยัดไว้ก่อน สุดท้ายได้ฟอร์มพื้นๆ เพราะเขาไม่ค่อยกล้า ทดลอง ยิ่งทำ�เยอะยิ่งเพิ่มค่าแรงด้วย ราคาถื อ เป็ น ตั ว บ่ ง ชี้ ค วามแตกต่ า งด้ า นการทำ � งานระหว่ า ง โรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์กับสตูดิโอขนาดเล็กด้วยหรือเปล่า

• จุฑามาส l อุตสาหกรรมโรงงานก็จะมีธรรมชาติของการทำ�งานแบบหนึง่ ต้องเพลย์เซฟ ห้ามมีข้อผิดพลาด ส่วนสายอินดี้หรือสตูดิโอขนาดเล็ก จะเปิดทางให้ท�ำ งานทีท่ า้ ทายมากกว่า อีกอย่าง ความโรแมนติกหรือเสน่ห์ ของชิน้ งานมักจะเกิดขึน้ กับงานจากสายนีม้ ากกว่า เรือ่ งกระบวนการผลิต เราสูร้ ะดับแมสไม่ได้อยูแ่ ล้ว แต่กลิน่ อายพวกนี้ ของแมสก็ให้ไม่ได้เหมือนกัน แต่เราไม่ได้แอนตี้สายแมสนะ เพราะงานออกแบบเก้าอี้เด็กที่เราทำ�ให้ แบรนด์สนิ ค้าและเฟอร์นเิ จอร์เด็ก "คาโตจิ (Katoji)" ของญีป่ นุ่ เขาก็สายแมส เต็มๆ เลย เรามองว่าเป็นความท้าทาย เพราะจุดยืนของเราเป็นสตูดิโอ ขนาดเล็ก แต่เมือ่ ต้องดีลกับความเป็นแมสเราก็ตอ้ งทำ�ให้ได้ดว้ ย ถ้าทำ�ได้ ก็เป็นความภูมิใจของเราเอง และบังเอิญว่าเราได้ลูกค้าน่ารักด้วย ช่วยเล่าถึงทีม่ าของการทำ�งานร่วมกับแบรนด์คาโตจิให้ฟงั หน่อย ได้ไหม

• ปิติ l บริษัทคาโตจิมีพาร์ทเนอร์เป็นคนไทยอยู่แล้ว มีช่องทางติดต่อกับ โรงงานและนักออกแบบไทยมาก่อน พอเขาไปเห็นเก้าอี้ "R2" ในงานแสดง สินค้า BIG+BIH เลยติดต่อมา ตอนแรกเราปฏิเสธเพราะไม่เคยทำ� เฟอร์นิเจอร์เด็กมาก่อน แต่เขาบอกว่าลองดูก่อนสักงานหนึ่ง เลยได้ลอง ทำ�มาเรื่อยๆ ถึง 5-6 ปีแล้ว เขาไม่ได้เร่งรัดมากเพราะรู้ว่าเราทำ�งานกัน ในสเกลเล็กๆ

มีนาคม 2558

l

Creative Thailand

l 29


THE CREATIVE มุมมองของนักคิด

เมื่อได้รับโจทย์ที่ไม่เคยทำ�มาก่อน ลูกค้าและผู้ใช้งานก็เป็นชาว ญีป่ นุ่ ซึง่ มีมมุ มองความคิด การใช้ชวี ติ และวัฒนธรรมแตกต่าง กัน ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้างเพื่อให้การทำ�งานดำ�เนินไปอย่าง ราบรื่นและตอบโจทย์ที่สุด

• จุฑามาส l เราพยายามทำ�ความรูจ้ กั กับประเภทสินค้าก่อน เพราะตอนนัน้ แทบไม่รู้จักเฟอร์นิเจอร์เด็กเลย เก้าอี้ทรงสูง (High Chair) เปลโยก (Bouncer) คืออะไร มีที่มาอย่างไร ใช้งานอย่างไร รวมทั้งไอเดีย การออกแบบเฟอร์นเิ จอร์เด็กทัง้ หมด เขาเล่นอะไรกันไปแล้วบ้าง ถึงได้รวู้ า่ แนวคิดของการออกแบบเก้าอี้ทรงสูง คือการเติบโตไปพร้อมกับเด็ก ต้อง ปรับความสูงของขาเก้าอี้ได้ เพราะว่าเด็กโตเร็ว ต้องคำ�นึงถึงฟังก์ชั่นก่อน จากนั้นค่อยใส่ความใหม่เข้าไป ส่วนพื้นที่การใช้งานและความแตกต่าง ทางวัฒนธรรมไม่ค่อยมีปัญหา เพราะจะทำ�งานตามมาตรฐานที่กำ�หนด • ปิติ l เขาจะมีคู่มือให้อ่านก่อนว่ามีข้อห้ามอะไรบ้าง เพื่อความปลอดภัย เช่น ถ้ามีรูเจาะ ห้ามนิ้วติด แขนติด หัวติด ล้มยากนิดนึง เก้าอี้ต้องมี เข็มขัดรัด วัสดุทใ่ี ช้จะต้องผ่านการตรวจสอบมาตรฐานด้วย เช่น คอลเล็กชัน่ เก้าอีเ้ ด็ก "Cozy" ใช้วสั ดุปดิ ผิวของอิตาลีซงึ่ มีคณุ ภาพสูง ป้องกันแบคทีเรีย เช็ดล้างง่าย ส่วนเบาะนั่งทำ�จากผ้าซึ่งจะต้องไม่มีส่วนประกอบของ สารฟอร์มาลิน

ในส่วนของการออกแบบ เจอปัญหาหรืออุปสรรคเรื่องไหนเป็น พิเศษไหม ต้องปรับแก้มากน้อยแค่ไหน

• ปิติ l ลูกค้าบรีฟง่ายมาก เขาอยากได้อะไรใหม่ๆ ซึง่ กว้างมาก (หัวเราะ) แต่พอคุยรายละเอียดกันแล้ว เราจะรูว้ า่ สินค้าของเขาค่อนข้างเป็นมหาชน เลยต้องการงานทีแ่ ตกต่างจริงๆ ซึง่ เรามองว่าน่าจะปรับลุคให้ดดู ขี น้ึ เก๋ขน้ึ สอดรับกับไลฟ์สไตล์ยุคใหม่ แต่ราคาจะสูงขึ้นด้วย เพราะต้องลงทุนด้าน วัสดุและการผลิต การใช้วธิ กี ารผลิตแบบเดิมของโรงงานอาจช่วยประหยัด ต้ น ทุ น ก็ จ ริ ง แต่ จ ะได้ สิ น ค้ า ที่ มี รู ป ลั ก ษณ์ แ บบเดิ ม ทางลู ก ค้ า เองก็ เปิดโอกาสให้เราเต็มที่ ทำ�งานออกแบบในไทย ลูกค้าอยู่ที่ญี่ปุ่น แล้วหาซัพพลายเออร์ จากที่ไหน

• ปิติ l เราพิจารณาจากโรงงานในประเทศไทยเป็นหลักก่อน ส่วนหนึ่ง พาร์ทเนอร์แนะนำ�ว่าโรงงานในไทยทำ�งานได้ดีกว่า เมื่อเทียบกับคู่แข่งเรา ในตอนนี้ เช่น เวียดนาม จีน ถึงราคาต่อชิ้นจะแพงกว่านะ แต่ปัญหาน้อย เพราะคนไทยจะลงมาจัดการปัญหาเอง ยอมลงมือแก้ เวลาส่งงานไปให้ ลูกค้าก็จะไม่ถกู ตีกลับมาแก้ทง้ั หมด ซึง่ บางทีมนั เสียหายหนัก เสียเวลาด้วย แต่ละโปรเจ็กต์ของ o-d-a ค่อนข้างหลากหลาย ต้องวางแผน การทำ�งานเพื่อควบคุมต้นทุน ขอบเขตงาน และระยะเวลาการ ทำ�งานให้มีประสิทธิภาพอย่างไรบ้าง

อย่างน้อยที่สุด งานชิ้นนั้นต้องอยู่ในบ้านของเราได้ เห็นแล้วอยากใช้ ไม่ใช่แค่งานที่จะไปอยู่ในแม็กกาซีน • จุฑามาส l เรื่องวัสดุ เราจะคิดตั้งแต่ออกแบบแล้วว่ามีวัสดุอะไรใช้แทน ได้บ้าง แต่ขั้นตอนการสรุปงานครั้งสุดท้ายจะใช้เวลานานที่สุด เพราะ หรือบ้านดิสเพลย์ ถ้าส่งไปให้โรงงานแล้วก็จะควบคุมอะไรไม่ได้มาก

• ปิติ l แต่เราคิดเผือ่ ไว้วา่ แบบนีเ้ ขาทำ�ได้ อันไหนไม่ได้เขาจะท้วงติงกลับมา ตอนออกแบบ "Cozy" เราอยากทำ�พนักพิงด้วยอะคริลิกใส แต่ถ้ามอง ในแง่การผลิตจริง ต้องอาศัยโรงงานถึง 2 แห่ง ควบคุมยาก เพราะมีเรื่อง การขนส่งด้วย เราเชือ่ ว่านักออกแบบมีจนิ ตนาการเยอะนะ แต่ในความเป็น จริงต้องยอมลดลงมา เพราะทำ�ยาก แต่ถา้ ผลิตเองไม่กช่ี น้ิ เราเชือ่ ว่าทำ�ได้ นอกจากไม้แล้ว สนใจวัสดุประเภทอื่นบ้างไหม

• ปิติ l มีงานออกแบบโต๊ะเรียนกับเก้าอี้เด็ก "Spectrum" ที่เปลี่ยนมาใช้ วัสดุอะคริลกิ เพราะเหตุผลทางการตลาด ตอนแรกออกแบบเป็นงานไม้ดดั ตามสไตล์ของเรา ใช้วธิ กี ารประกอบแบบง่ายๆ แต่เก้าอีไ้ ม้ดดั แบบนี้ มอง เผินๆ อาจไม่สะดุดตาคนเท่าไร เราเลยเสนอลูกค้าว่าลองใช้อะคริลกิ ไหม ดัดได้เหมือนกัน ทำ�เป็นโต๊ะสีหนึ่ง เก้าอี้สีหนึ่ง เหมือนกับการเล่นผสมสี เราอยากให้เด็กได้เรียนรู้และสนุกไปด้วย แต่ก็ต้องส่งไปเทสต์ที่ห้องแล็บ ว่ามีสารเคมีที่เป็นอันตรายไหม


THE CREATIVE มุมมองของนักคิด

ถ้าได้ฝกึ ฝนพัฒนาตนเอง เราจะคมขึน้ ไม่อย่างนัน้ แค่ ไปหาไอเดียจากในหนังสือแล้วปัน้ ฟอร์มขึน้ มาก็ได้ แต่ สุดท้ายเราจะไม่มีหลักยึดหรือไม่มีทางรู้เลยว่าทำ�ไม ต้องทำ�แบบนี้ การศึกษาเทรนด์ โลก แนวโน้มและทิศทางของอุตสาหกรรม เฟอร์นิเจอร์ ในต่างประเทศจำ�เป็นมากน้อยแค่ไหน

• ปิติ l ไม่ได้ให้ความสำ�คัญเป็นอันดับแรก ถ้าศึกษางานของคนอื่น จะสนใจวิธีคิดและการแก้ปัญหามากกว่า แต่ไม่ได้แอนตี้นะ เราเชื่อว่า มีคนจำ�นวนหนึง่ ทีต่ อ้ งใช้ เช่น งานโปรเจ็กต์พนั ล้าน แล้วเขาต้องการความ มั่นใจ ต้องหาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ มั่วไม่ได้ • จุฑามาส l เรามองว่าเทรนด์มปี ระโยชน์เวลาจะจบไอเดีย เช่น เลือกสี ลองดูสกั หน่อยว่าเขาไปทางไหนกัน เป็นแนวทาง แต่จะไม่ใช่โจทย์แรกทีน่ กึ ถึง จะดูเมือ่ จำ�เป็น แต่สดุ ท้ายก็เลือกตามความชอบและให้ลกู ค้าช่วยเคาะอีกที เห็ น ด้ ว ยไหมกั บ คำ � กล่ า วที่ ว่ า งานออกแบบสามารถสะท้ อ น วัฒนธรรม วิถีชีวิต ความคิดของผู้คนในสังคมได้ดี

• จุฑามาส l เราสนใจ นับถือ และเคารพในวิถีที่ยังสะท้อนวัฒนธรรม เราจะคอยตรวจสอบเรื่องนี้เหมือนกัน เช่น งานนี้ดูสแกนดิเนเวียนไปไหม จะสังเกตตลอดเวลาว่านีค่ อื สิง่ ทีเ่ ราเป็นอยูแ่ ล้วหรือยัง หรืออย่างน้อยทีส่ ดุ งานชิ้นนั้นต้องอยู่ในบ้านของเราได้ เห็นแล้วอยากใช้ ไม่ใช่แค่งานที่จะ ไปอยู่ในแม็กกาซีนหรือบ้านดิสเพลย์ หรือเน้นไอเดียจัดๆ สีจัดๆ แต่ สุดท้ายเราไม่ใช้ด้วยซํ้า คิดว่าจุดเด่นหรือเอกลักษณ์ของงานออกแบบไทยทีท่ �ำ ให้เราได้ เปรียบทางการแข่งขันในตลาดโลกคืออะไร

• ปิติ l ไม่แน่ใจว่าพูดแทนภาพนักออกแบบไทยทุกคนได้หรือเปล่า แต่ถ้า มองผ่านมุมของ o-d-a เราทำ�งานตามความถนัด อย่างแรก เราอยากทำ� ของทีน่ า่ ใช้ สอง อยากให้ไอเดียมันเป็นไปเอง ค่อยๆ ค้นหา ไม่ใช่การปัน้ ปรุงแต่ง หรือสร้างขึ้นมา 100 เปอร์เซ็นต์ ถ้าได้ฝึกฝนพัฒนาตนเอง เราจะคมขึน้ ไม่อย่างนัน้ แค่ไปหาไอเดียจากในหนังสือแล้วปัน้ ฟอร์มขึน้ มา ก็ได้ แต่สดุ ท้ายเราจะไม่มหี ลักยึดหรือไม่มที างรูเ้ ลยว่าทำ�ไมต้องทำ�แบบนี้ ถ้าเราหาเอง หมดคำ�ถามเลย และเราเชื่อว่างานแบบนี้อยู่นาน ทนทาน ต่อกาลเวลา ไม่งั้นปีหน้าก็เก่าแล้ว แต่เรื่องงานปั้นฟอร์มสวยๆ มีเส้นสาย สวยๆ เป็นหน้าที่ของนักออกแบบทุกคน ไม่ใช่ว่าไอเดียแข็งแรงสุดๆ แต่ งานน่าเกลียดมาก ถึงเวลาก็ต้องทำ�ให้สวย • จุฑามาส l เราไม่ได้ตง้ั ต้นว่าจะต้องเป็นไอเดียทีไ่ ทยหรือไม่ไทย แต่มอง หาความเป็นธรรมชาติในการออกแบบมากกว่า จะเล่าให้ชาติไหนฟัง ก็เข้าใจได้ งานออกแบบที่อยู่ได้นานถือเป็นภาษาสากล ซึ่งในความหมาย

ของเราก็คือ "ความเป็นธรรมชาติ" หรือ "ธรรมะ" มีรุ่นพี่ที่นับถือคนหนึ่ง บอกว่างานออกแบบทีด่ ไี ม่ตา่ งอะไรจากหลักธรรม เหมือนเราค้นพบคำ�ตอบ ที่ 'ใช่' ซึ่งไม่ได้เกิดจากการประดิษฐ์ขึ้นมา เรื่องกลิ่นอายความเป็นไทย มันอยู่ในรายละเอียดมากกว่า แต่ถ้าได้รับโจทย์ในอนาคต ก็อาจคิดใหม่ โดยไม่ได้จงใจเสแสร้งแกล้งทำ�ให้มันเป็นไทย เฟอร์นเิ จอร์ไทยตอนนีเ้ ป็นสินค้าส่งออกอันดับทีส่ องของประเทศ มองว่าส่วนหนึ่งเป็นเพราะการเปิดโอกาสและพื้นที่ใ ห้กับนัก ออกแบบหน้าใหม่หรือสตูดิโอขนาดเล็กมากขึ้นด้วยหรือเปล่า

• จุฑามาส l ต้องขอออกตัวว่าเราไม่ได้คลุกคลีอยู่ในอุตสาหกรรมขนาด ใหญ่มาก เราอยูใ่ นพืน้ ทีข่ องสตูดโิ อขนาดเล็ก เรือ่ งการสนับสนุนจากภาครัฐ ก็พูดยาก เพราะเรามีส่วนร่วมน้อยมาก แต่อย่างน้อยเขายังทำ�ต่อเนื่อง เราคิดว่าสาเหตุที่สตูดิโอขนาดเล็กมีพื้นที่ของตนเองมากขึ้น ส่วนหนึ่ง มาจากตัวนักออกแบบที่ตั้งใจทำ�งานในพื้นที่ตนเอง ไม่ได้รอคอยโอกาส จากหน่วยงานหรือโรงงานใหญ่ พอมีคนเริ่ม คนรุ่นเดียวกันก็ลองทำ�บ้าง บวกกับสื่ออินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดียช่วยจุดประเด็น ทำ�ให้คนเห็น ความเป็นไปได้ สตูดิโอใหม่จึงเกิดขึ้นเยอะ ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี เพราะทุกคน สร้างโอกาสขึ้นมาเอง เรามองว่ากลุ่มสตูดิโอเล็กๆ เติบโตด้วยพลังของ นักออกแบบเองมากกว่าปัจจัยภายนอกหรือองค์กรใหญ่

เรามองว่ า กลุ่ ม สตู ดิ โ อเล็ ก ๆ เติ บ โตด้ ว ยพลั ง ของ นักออกแบบเองมากกว่าปัจจัยภายนอกหรือองค์กรใหญ่ มีนาคม 2558

l

Creative Thailand

l 31


THE CREATIVE มุมมองของนักคิด

อย่าใช้นักออกแบบเป็นฟันเฟืองเล็กๆ หรือเป็นทาส แต่ใช้นักออกแบบเป็นเหมือนพาร์ทเนอร์หรือเพื่อน คู่คิดกันดีกว่า เราอยากสร้างวัฒนธรรมการทำ�งาน แบบใหม่ขนึ้ มา อย่ามองเราเป็นลูกจ้างหรือให้เรามาทำ� ตามฟันเฟืองของอุตสาหกรรมขนาดใหญ่อย่างเดียว แล้วคิดว่าปัญหาและอุปสรรคที่ทำ�ให้อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ ไทยยังก้าวไปไม่ถึงจุดสูงสุดคืออะไร

• จุฑามาส l จำ�นวนของพื้นที่จัดแสดงงานหรือแพลตฟอร์มที่มีไม่มาก ถือเป็นอุปสรรคเงียบก็ว่าได้ ไม่ได้ตูมตามเหมือนกับเมืองนอก แต่ที่เห็น ได้ชดั ตอนนีค้ อื มีตลาดสำ�หรับลูกค้าเฉพาะกลุม่ เกิดขึน้ เยอะ และข้อดีของ นักออกแบบไทยคือเอาตัวรอดเก่ง ปรับตัวเก่ง บางคนไม่ห่วงว่าจะต้อง ออกงานเล็กๆ หรือใครถนัดออกงานใหญ่ๆ ก็ไปงานแฟร์เลย ทุกคนต้อง ลุยเอง พอรุน่ น้องเห็นรุน่ พีล่ ยุ ก่อน ก็ตามกันมา มันอาจเป็นแรงสะสมแบบนี้ • ปิติ l งานแฟร์ในบ้านเราตอนนีจ้ ะเน้นการค้าขายส่งออกมากกว่า เพราะ รายได้ของประเทศเราผูกกับการส่งออกจริงๆ นักออกแบบที่อยากทำ�งาน ในกระแสหลักอาจต้องปรับตัว ยอมทำ�ตามข้อจำ�กัดของโรงงาน แต่ขณะ เดียวกัน นักออกแบบอิสระสามารถดีลกับโรงงานเล็กๆ ได้ ซึ่งเขาพร้อม จะทำ�ออเดอร์เล็กๆ ยอมลงทุนด้วยกัน ถือเป็นข้อดีทบี่ า้ นเรามีโรงงานเยอะ เท่าที่ได้ยินจากเพื่อนนักออกแบบในสิงคโปร์ เขาสร้างงานต้นแบบไม่ได้ เพราะโรงงานขนาดเล็กไม่ได้หาง่ายแบบนี้ มันกลายเป็นเรื่องยุ่งยาก • จุฑามาส l แต่พวกเราออกมาลุย ทำ�ของขายตามงานแฟร์เอง ส่วนหนึ่ง ก็ต้องการสื่อสารกับองค์กรหรือโรงงานด้วยนะ ว่านักออกแบบมีศักยภาพ มากกว่านั่งออกแบบเฉยๆ จะวางแผนจัดการหรือแม้กระทั่งลุกขึ้นมาขาย ของเอง เราก็ทำ�ได้ อย่าใช้นักออกแบบเป็นฟันเฟืองเล็กๆ หรือเป็นทาส แต่ใช้นกั ออกแบบเป็นเหมือนพาร์ทเนอร์หรือเพือ่ นคูค่ ดิ กันดีกว่า เราอยาก สร้างวัฒนธรรมการทำ�งานแบบใหม่ขึ้นมา อย่ามองเราเป็นลูกจ้างหรือให้ เรามาทำ�ตามฟันเฟืองของอุตสาหกรรมขนาดใหญ่อย่างเดียว พอย้อนกลับไปมอง การเริ่มต้นและเติบโตจากเส้นทางสาย ประกวดให้อะไรกับพวกคุณบ้าง

• จุฑามาส l ส่วนใหญ่เรามองเป็นข้อดีนะ นักออกแบบทุกคนควรสะสม ประสบการณ์แบบนี้ในช่วงวัยหนึ่ง อีกอย่าง เราได้พิสูจน์ตนเอง พัฒนา ตนเอง แข่งขันกับตนเอง เรื่องการแข่งขันกับคนอื่นมันเป็นนํ้าจิ้มแล้ว ที่ ผ่านมาเราเลือกงานประกวด มองกรรมการเป็นครูมากกว่า ซึ่งส่วนใหญ่ เป็นนักออกแบบที่เคารพชื่นชอบ เช่น แจสเปอร์ มอร์ริสัน กรรมการใน งานประกวด Nextmaruni Wooden Armchairs Competition ปี 2005 32 l

Creative Thailand

l มีนาคม 2558

ปรากฏว่าเขาเลือกเก้าอี้ "Taste of Tea" ของเราให้เป็นที่หนึ่ง ได้รางวัล กรังด์ปรีซ์ อีกงานคือ "R2" ได้รับคัดเลือกให้เป็น 35 ผลงานสุดท้ายที่ เข้ารอบ International Furniture Design Competition Asahikawa 2008 โดยนาโอโตะ ฟูกาซาว่า จาก 800-900 งานทั่วโลก • ปิติ l ได้ฝึกความคิดเยอะมาก เพราะเราใส่ความคิดได้เต็มที่โดยไม่ต้อง กังวลว่าต้องขายเท่าไรหรือผลิตง่ายเท่านั้น ยิ่งถ้าเราถอดรหัสความคิด ของกรรมการได้ ก็จะรู้เกณฑ์การตัดสินของเขา ถือเป็นการเรียนรู้ไปด้วย แต่เวลาจะส่งงานประกวดสักชิ้น เราจะทำ�งานที่คลี่คลายภาษาออกมา ง่ายๆ ใครมาดูก็จะรู้ว่าต้องการอะไร หรือทำ�ออกมาอย่างไร เราอยากให้ เขาเข้าใจงานของเรา แค่นั้นเอง งานออกแบบที่คลี่คลายเป็นแบบไหน ยกตัวอย่างได้ไหม

• ปิติ l เช่น ม้านั่งยาว "Salmon Bench" เกิดจากความต้องการทำ�เก้าอี้ จากเสาไม้ 1 ต้น แค่นั้น เราจะไม่ใช้ไอเดียหรือแบบที่มีคนเคยทำ�มาก่อน แต่หาวิธีการใหม่ๆ ที่เข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการผลิตได้ จนมาลงตัว ที่การผ่าไม้ในแนวยาว 45 องศา ออกเป็นไม้สามเหลี่ยม 2 อัน พลิกฟอร์ม แล้วดับเบิ้ลไปเรื่อยๆ เป็นขาตั้งเก้าอี้ กลายเป็นม้านั่งยาว พอเราคิดออก ขั้นตอนการจัดการไม้ที่เหลือก็จะค่อยๆ คลี่คลายออกมาเอง ทีนี้ งานมัน สเกลใหญ่เหมือนเสาบ้าน เราก็ตอ้ งคิดแบบเสาบ้าน ต้องอาศัยการร้อยน็อต ร้อยเกลียว สลัก ใช้ฟิตติ้งโลหะ ไม่ใช่แค่เชื่อมจอยท์เล็กๆ • จุฑามาส l เมื่อคิดงานออกแบบที่ 'ใช่' ได้แล้ว จะเป็นอะไรที่ง่ายมาก เพราะงานชิ้นนั้นจะเป็นคำ�ตอบด้วยตัวมันเอง เราชอบคิดหาไอเดียแบบนี้ ไม่จำ�เป็นต้องไปประดิดประดอยทั้งกระบวนการ แต่ขณะเดียวกันก็ไม่ได้ เกิดขึ้นได้ง่ายๆ เราต้องค้นหาไปด้วย ติดตามผลงาน: o-d-a.net

Creative Ingredients หนังสือที่ชอบ OPTIMUM – The Original Form of Design โดย Kenya Hara เป็นหนังสือประกอบนิทรรศการ "The Original Form of Design" ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งให้กลุ่มนักออกแบบชื่อดังคัดเลือกผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดจาก ทั่วโลก นำ�ทีมโดย นาโอโตะ ฟูกาซาว่า หนังสือเล่มนี้ช่วยเปิดมิติความคิด ของเรามาก เช่น ลูกบิดประตูของแจสเปอร์ มอร์ริสัน ที่มีรูปทรงคล้าย หลอดไฟ มันไม่ใช่แค่การออกแบบที่คำ�นึงถึงสรีรศาสตร์หรือการใช้งาน แต่กา้ วข้ามไปหาการบันทึกช่วงเวลาและความทรงจำ�ทีค่ ล้ายกัน แล้วนำ�มา ออกแบบอีกสิ่งหนึ่ง กิจกรรมยามว่าง ปั่นจักรยาน ปลูกต้นไม้ และทำ�ของใช้เอง เพราะเคยไป อบรมการพึ่งพาตัวเองที่มาบเอื้อง (มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ) จ.ชลบุรี กับ อาจารย์ยักษ์ (ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำ�ธร) ซึ่งสอดคล้องกับการทำ�สตูดิโอเอง เหมือนกัน คือเราควรจะมีทักษะบางอย่างที่จำ�เป็นในยามคับขัน



เรื่อง: ปิยะพร สวัสดิ์สิงห์ และ ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ

CREATIVE WILL คิด ทำ� ดี

หากว่างานออกแบบคือ ผลลัพธ์จ ากการคิ ดเพื่ อ แก้ปัญหา “เก้าอี้” ก็คงเป็นของใช้ที่แ ม้จะเปลี่ยน รูปแบบ วัสดุ สีสนั และลวดลายไปตามยุคสมัย แต่สงิ่ ทีไ่ ม่เคยเปลีย่ นคือโจทย์ตงั้ ต้น ซึง่ ก็คอื การนัง่ นัน่ เอง

เก้ า อี้ อ อมน�้ ำ

waterbench.com

ทว่า BMW Guggenheim Lab โครงการทีเ่ กิดขึน้ จากความร่วมมือระหว่าง บริษทั บีเอ็มดับเบิลยู และพิพธิ ภัณฑ์ กุกเกนไฮม์ ภายใต้แนวคิดทีจ่ ะสร้าง “ห้องแล็บเชิงพิพิธภัณฑ์เคลื่อนที่” เพื่อเป็นพื้นที่รวบรวม แบ่งปัน และ จุดประกายความคิดในประเด็นเกีย่ วกับการด�ำเนินชีวติ ในเมือง ได้รว่ มกับ ทีมสถาปนิก Mars Architects น�ำโดยเนวิลล์ มาร์ส (Neville Mars) ในการ พัฒนาเก้าอีต้ น้ แบบทีก่ า้ วข้ามค�ำนิยามเดิมไปสูก่ ารใช้งานทีม่ ากกว่า ในชือ่ “วอเทอร์ เบนช์ (Water Bench)” หรือ “เก้าอี้เก็บน�้ำฝน” ทีมงานออกแบบ วอเทอร์ เบนช์ ให้เป็นที่นั่งส�ำหรับพื้นที่กลางแจ้ง โดยได้รับแรงบันดาลใจจากเก้าอี้สไตล์เชสเตอร์ฟีลด์ (Chesterfield) ซึ่ง นิยมในศตวรรษที่ 18 เพื่อให้น�้ำฝนสามารถไหลเข้าสู่ถังบรรจุที่ซ่อนอยู่ ภายในเก้าอี้ ผ่านรอยตะเข็บและกระดุมบนเบาะ ในขณะเดียวกันผิวเบาะ ที่เปียกน�้ำก็จะแห้งลงภายในเวลาไม่นาน น�้ำฝนที่เก็บไว้ในเก้าอี้สามารถ น�ำมาใช้ได้โดยต่อสายยางเข้ากับหัวก๊อกด้านล่าง โดยเก้าอี้มีทั้งหมด 3 ขนาด คือ ขนาดบรรจุ 500 1,000 และ 1,800 ลิตร สามารถติดตั้งได้ ทั้งบนพื้นหญ้าและพื้นคอนกรีต เก้าอี้ขนาดเล็กสุดนั้นเหมาะส�ำหรับพื้นที่ ริมถนน สามารถน�ำไปวางในพืน้ ทีไ่ ด้โดยไม่ตอ้ งท�ำการเจาะพืน้ ส่วนขนาด 1,000 และ 1,800 ลิตร จะต้องติดตั้งถังบรรจุใต้ดินเพิ่ม จึงเหมาะส�ำหรับ ใช้ในสวนสาธารณะ สนามเด็กเล่น หรือโรงเรือนส�ำหรับเพาะปลูก วอเทอร์ เบนช์ ออกแบบขึ้นเป็นพิเศษส�ำหรับพื้นที่ในเขตร้อนอย่าง ละตินอเมริกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลีย และอินเดีย ซึ่งมีฝน ตกหนักต่อเนือ่ งในฤดูฝน แต่มกั ประสบปัญหาขาดน�ำ้ เป็นเวลาหลายเดือน 34 l

Creative Thailand

l มีนาคม 2558

ในฤดูแล้ง โดยถูกน�ำไปทดลองใช้จริงเป็นครัง้ แรกในสวน Horniman Circle Gardens และ Cross Maiden ของเมืองมุมไบเป็นเวลาหนึ่งปีเพื่อทดสอบ ประสิทธิภาพ แน่นอนว่าปัญหาการขาดแคลนน�้ำเป็นประเด็นใหญ่ ที่หากมองใน มุมหนึง่ ก็ตอ้ งการการจัดการและวางนโยบายจากภาครัฐ แต่การออกแบบ วอเทอร์ เบนช์ก็นับว่าเป็นความพยายามในการน�ำเสนอแนวทางแก้ไข ปัญหาในระดับเล็กๆ ด้วยการออกแบบฟังก์ชั่นการใช้งานจากของใช้ ที่มีอยู่เดิม ซึ่งช่วยบรรเทาปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรน�้ำของระบบ สาธารณูปโภคในเมือง โดยเฉพาะพืน้ ทีส่ าธารณะอย่างสวนสาธารณะและ พื้นที่สีเขียวต่างๆ ซึ่งต้องใช้น�้ำจ�ำนวนมาก ที่มา: บทความ “Water Bench by MARS Architects: Collects + stores rainwater” จาก designboom.com, bmwguggenheimlab.org และ waterbench.com




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.