THE FIRST STEP IS TO ESTABLISH THAT SOMETHING IS POSSIBLE; THEN PROBABILIT Y WILL OCCUR. ก้าวแรกคือเชื่อว่ามันเป็นไปได้ แล้วโอกาสที่จะเป็นจริงจะตามมา
Elon Musk มหาเศรษฐีแห่งโลกเทคโนโลยี ผู้เชื่อว่ารถยนต์พลังงานไฟฟ้าคือรถแห่งอนาคต
CONTENTS สารบัญ
6
The Subject
The Fuel of the Future/ Crisis and Securities/ What's Next?: The Expedition for the Alternative Mix
ไดเวลาปฏิวัติขาวของเครื่องใชภายในบาน
Insight
20
8
Creative Resource
Creative Entrepreneur
22
10
Matter
Creative City
25
12
Classic Item
The Creative
28
14
Cover Story
Creative Will
34
Featured Documentary/ Trend Book/ Books
Converse Energy for Future
Street Light จากเทียนไขสูไฟไรเสา
Smart Energy Business
Iceland: It’s NOT just about the Energy
ดร.ณรงควิทย อารีมิตร: การประหยัดพลังงานตองตอบโจทยทางธุรกิจ
พลังงาน… ออกแบบได
SMA Eco Town Harumidai หมูบานประหยัดพลังงาน… หวงใยโลก
บรรณาธิการอำนวยการ l อภิสทิ ธิ์ ไลสตั รูไกล ทีป่ รึกษา l ชมพูนทุ วีรกิตติ, พิชติ วีรงั คบุตร, จรินทรทพิ ย ลียะวณิช บรรณาธิการบริหาร l ศุภมาศ พะหุโล ผูช ว ยบรรณาธิการ l พัชรินทร พัฒนาบุญไพบูลย กองบรรณาธิการ l ศิริอร หริ่มปราณี, มนฑิณี ยงวิกุล, เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร, กริยา บิลยะลา, ปยวรรณ กลิ่นศรีสุข, นันทนรี พานิชกุล เลขากองบรรณาธิการ l วรรณเพ็ญ บุ ญเพ็ญ บรรณาธิการศิลปกรรม l พจน องคทวีเกียรติ ศิลปกรรม l พัชราภรณ เตชะเลิศไพศาล, เบญจณิษฐ แดงบุบผา สมาชิกสัมพันธ l ปยะพร สวัสดิ์สิงห ประสานงานกองบรรณาธิการ l ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ จัดทำโดย l ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (TCDC) ชั้น 24 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอร 622 สุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 โทร. 02 664 7667 แฟกซ. 02 664 7670 ติดตอลงโฆษณาไดที่ creativethailand@tcdc.or.th พิมพที่ l บริษัท ทูโฟร พริ้นติ้ง จำกัด โทร. 02 416 7300 แฟกซ. 02 416 7320 จำนวน 30,000 เลม นิตยสารฉบับนี้ใชหมึกพิมพจากน้ำมันถั่วเหลืองที่ไมเปนอันตรายตอสุขภาพ ทั้งยังเปนมิตรตอสิ่งแวดลอม และใชกระดาษรีไซเคิล ซึ่งเปนผลผลิตของผูประกอบการไทย จัดทำภายใตโครงการ “Creative Thailand สรางเศรษฐกิจไทยดวยความคิดสรางสรรค” โดยศูนยสรางสรรคงานออกแบบ สำนักงานบริหารและพัฒนาองคความรู (องคการมหาชน) ซึ่งมีเปาหมาย ในการเผยแพรความรูเกี่ยวกับเศรษฐกิจสรางสรรค (Creative Economy) และผลักดันการใชความคิดสรางสรรค ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย สามารถดูสถานที่จัดวางทั้งหมดไดที่ creativethailand.org อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส แสดงที่มา-ไมใชเพื่อการคา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย
ออกแบบปก | เบญจณิษฐ แดงบุบผา นักออกแบบอารมณดี มีไลฟสไตลการใชชีวิตเรียบงาย ไมเรงรีบแตใสใจในรายละเอียด รักการเดินทาง เสียงเพลง ดอกไม และธรรมชาติ Instagram: thursdaymarch
EDITOR'S NOTE บทบรรณาธิการ
อิสรภาพแห่งอนาคต ตลอดประวัตศิ าสตร์ของมนุษย์ เราคิดหาหนทางทีห่ ลากหลาย เพือ่ นำ�พลังงานจากสิง่ แวดล้อมทุกชนิดตัง้ แต่ใต้พนื้ ดินจนถึงอากาศ มาใช้งาน เพราะพลังงานสำ�คัญต่อเราทุกคน เราใช้มันเพื่อสร้างสิ่งปลูกสร้างที่ล้อมรอบป้องกันร่างกายจากความหนาวและร้อน พึ่งพาเพื่อการเดินทาง การขนส่ง และใช้เพื่อสร้างสิ่งที่จำ�เป็นต่อการดำ�รงชีวิตนานัปการ ความก้าวหน้าของวิทยาการด้านพลังงานและการครอบครองแหล่งพลังงาน ยังมีบทบาทชี้นำ�สถานะทางเศรษฐกิจโลก และ วิกฤตการณ์ทางการเมือง ครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา กลุ่มโอเปกคือกลุ่มประเทศที่มีอ�ำ นาจต่อรองสูงในเวทีโลกจากแหล่งทรัพยากร นํ้ามัน และย้อนไปกว่า 150 ปี อังกฤษในสมัยวิกตอเรียเคยอยู่ในสถานะเดียวกันนี้ เมื่อการประดิษฐ์เครื่องจักรไอนํ้ากลายเป็น เทคโนโลยีล่าสุดในศตวรรษที่ 19 และได้เข้ามาแทนที่กำ�ลังของคนและสัตว์ด้วยพลังไอนํ้า ด้วยประสิทธิภาพอันไม่จำ�กัดของ พลังไอนํ้าได้นำ�โลกไปสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรม แม้ทุกวันนี้ วิหารอุตสาหกรรมที่น่าเหลือเชื่อก็ยังคงอยู่ในย่านคอร์นิช (Cornish) ทางใต้ของกรุงลอนดอน ซึง่ เผยให้เห็นเครือ่ งจักรไอนํา้ 4 เครือ่ งใหญ่ทส่ี ร้างในปี 1854 เครือ่ งจักรเหล่านีต้ อ้ งใช้ถา่ นหินถึง 5,000 ตัน เพื่อขับเคลื่อนคานหนัก 47 ตัน ความพยายามและแร่ธาตุจำ�นวนมากถูกสร้างขึ้นเพื่อให้พลังไอนํ้าได้กลายเป็นส่วนสำ�คัญ ต่อความมั่งคั่งของอังกฤษ แต่ความกังวลทีม่ ตี อ่ ทรัพยากรพลังงานทีก่ �ำ ลังหมดไปนัน้ ได้ผลักดันให้เกิดหนทางแสวงหาแหล่งพลังงานทีไ่ ม่มวี นั หมด นวัตกรรรม การเก็บเกีย่ วพลังงานกลายเป็นศาสตร์ทนี่ า่ อัศจรรย์ เราสามารถเก็บพลังงานความร้อนจากร่างกายของผูค้ น ดึงเซลล์ผลิตแสงของ แมงกะพรุนมาสู่ไฟส่องสว่างบนท้องถนน รวบรวมของเสียจากสาหร่ายน้ํามาเป็นพลังก๊าซ แม้แนวคิดอันชาญฉลาดเหล่านี้ จะอยู่ในห้องทดลองหรือโครงการต้นแบบ แต่นักวิทยาศาสตร์ด้านพลังงานกำ�ลังหาทางเปลี่ยนแนวคิดด้านแหล่งพลังงาน จากทรัพยากรที่อาจหมดไปหรือต้องลงทุนมหาศาล ทั้งนํ้ามัน นิวเคลียร์ ลม หรือแสงอาทิตย์ มาสู่สถานีพลังงานหน่วยใหม่ที่มี ขนาดเล็ก ลงทุนน้อย และไม่มีวันหมดไปแทน แม้ว่าปัญหาด้านพลังงานหลักของโลกอาจจะไม่ได้รับการแก้ไขอย่างฉับพลันด้วย แนวคิดเหล่านี้ แต่สิ่งที่แสดงให้เห็นคือ จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการสร้างและแสวงหาความมั่นคงทางพลังงาน จากอดีตสู่อนาคต ศาสตร์ด้านพลังงานนั้น ไม่ได้แสดงถึงความก้าวหน้าทางวิศวกรรมและวิทยาศาสตร์เท่านั้น แต่มันยัง เกีย่ วกับอิสรภาพของมนุษย์ อิสรภาพของความคิดสร้างสรรค์ และอิสรภาพของความเข้าใจโลกทีแ่ ตกต่างออกไป ซึง่ ทำ�ให้แนวคิด เรื่องความมั่นคงด้านพลังงานแสดงให้เห็นถึงอิสรภาพแห่งอนาคตของเรานั่นเอง อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล บรรณาธิการอำ�นวยการ Apisit.L@tcdc.or.th
เมษายน 2558
l
Creative Thailand
l5
THE SUBJECT ลงมือคิด
เรื่อง: ณัฐา อิสระพิทักษ์กุล
© REUTERS/Toru Hanai
CRISIS AND SECURITIES
THE FUEL OF THE FUTURE ในขณะทีก่ ารคิดค้นนวัตกรรมและแหล่งพลังงาน ยังด�ำเนินต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง หลายภาคส่วน ทัง้ ฝัง่ ภาครัฐและเอกชนต่างก�ำลังให้ความสนใจ และเบนเข็มไปพัฒนาเรื่องการใช้พลังงานอย่าง มีประสิทธิภาพ (Energy Efficiency) ในฐานะ “เชื้อเพลิงที่ห้า” ของโลกอนาคตไปพร้อมกัน แนวคิดดังกล่าวเริ่มต้นจากการเปลี่ยนแนวคิด พร้ อ มตั้ ง ค� ำ ถามว่ า “จะท� ำ อย่ า งไรหากเรา ต้ อ งการใช้ ชี วิ ต ประจ� ำ วั น อย่ า งปกติ มี ชี วิ ต แบบไม่จ�ำกัดจ�ำเขี่ย แต่ยังสามารถลดการใช้ พลังงานได้ด้วย” การเพิ่มประสิทธิภาพของการ ใช้พลังงานจึงหมายถึง กระบวนการทีไ่ ด้ผลมาก แต่ใช้นอ้ ย ทัง้ ยังช่วยเพิม่ ความมัน่ คงทางพลังงาน (Energy Security) แล้วยังช่วยลดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกที่เป็นส่วนส�ำคัญซึ่งท�ำให้เกิด ปรากฏการณ์โลกร้อน อย่างไรก็ดีการผลักดัน ให้มีการลงทุนในเรื่องการใช้พลังงานอย่างมี ประสิทธิภาพนั้นดูจะเป็นเรื่องไม่ง่ายอย่างที่คิด เพราะเป็ น กระบวนการที่ ต ้ อ งท� ำ เป็ น ระบบ เพื่อให้เห็นผลสูงสุด ทั้งการผลิตนวัตกรรมทาง 6l
Creative Thailand
l เมษายน 2558
เทคโนโลยีใหม่ๆ เริ่มตั้งแต่การพัฒนาอุปกรณ์ อาคาร และระบบการขนส่งมวลชนในรูปแบบใหม่ พร้อมกับการพัฒนาด้านของความต้องการ ของมนุษย์ เช่น การออกนโยบายใหม่ไปจนถึง การสร้างพฤติกรรมรูปแบบใหม่ของผู้ใช้ ซึ่ง จับต้องได้ยากไม่เหมือนกับการเสาะหาแหล่ง พลังงานใหม่ๆ เช่น หาแหล่งทีม่ นี ำ�้ มันหรือก๊าซ ธรรมชาติใหม่ๆ หรือแม้กระทั่งสร้างโรงงาน ไฟฟ้าโซลาร์เซลล์เพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตของ พลังงาน เพราะการรณรงค์เรื่องการใช้พลังงาน อย่างมีประสิทธิภาพจ�ำเป็นต้องอาศัยการเข้าใจ ความต้องการ พฤติกรรม และการตระหนักรู้ ของผู้ใช้ โดยเริ่มได้จากวิธีการสื่อสารที่ชัดเจน เข้าใจง่าย และไม่ซับซ้อน เพื่อให้ผู้ใช้สามารถ ตัดสินใจเรือ่ งการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ที่เหมาะสมกับตนเอง ที่มา: หนังสือ The Quest: Energy Security, and the Remaking of the Modern World โดย Daniel Yergin, รายงาน Energy Vision Updates 2010: Towards a More Energy Efficient World โดย World Economic Forum และ บทความ “The Hot New Frontier Of Energy Research Is Human Behavior” โดย Brandon Keim จาก wired.com
ในหนังสือ The Quest: Energy Security, and the Remaking of the Modern World เเดเนียล เยอร์กิน (Daniel Yergin) ได้กล่าวถึงปัญหา ความไม่มั่นคงทางพลังงานที่เกิดจากหลาย ปัจจัยไว้อย่างน่าสนใจ อย่างปรากฎการณ์ ความต้องการด้านพลังงานที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก (Globalisation of Energy Demand) ซึ่ง เกิ ด จากการที่ มี ป ระชากรจ� ำ นวนมากย้ า ย ถิ่นฐานเข้ามาอยู่ในเมือง ท�ำให้ผู้คนจ�ำนวนมาก กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจโลก และ ต้องการใช้พลังงานเพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัว เช่น ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่อย่างอินเดีย และจี น ซึ่ ง มี ป ระชากรของทั้ ง สองประเทศ รวมกันกว่า 2.6 พันล้านคน และจะมีความ ต้องการในการใช้พลังงานที่จะเพิ่มจาก 3 เป็น 6 บาร์เรลต่อปี ในอีกแค่ไม่กปี่ ขี า้ งหน้า นอกจาก นี้ยังมีเหตุการณ์อื่นๆ เช่น วิกฤตในปี 2011 อย่ า งการเหตุ ก ารณ์ สึ น ามิ ณ เมื อ งฟุ กุ ชิ ม ะ ของญี่ปุ่น ซึ่งส่งผลให้โรงงานไฟฟ้าพลังงาน นิวเคลียร์ระเบิด และท�ำให้ทั่วทั้งโลกต้องกลับ มาทบทวนใหม่ว่าพลังงานนิวเคลียร์เป็นแหล่ง พลังงานแห่งความหวังดังที่เคยคิดกันไว้หรือไม่ นอกจากนี้ ใ นปี เ ดี ย วกั น ณ อี ก ซี ก โลกหนึ่ ง โดมิโนความไม่สงบที่ล้มจากประเทศตูนีเซียได้ แผ่ขยายไปในเขตตะวันออกกลางซึ่งเป็นแหล่ง ผลิตน�ำ้ มันให้กบั โลกมากกว่าร้อยละ 30 ลามไป ถึ ง ปั ญหาผู ้ ก ่ อ การร้ ายที่ เฝ้ าจะยึ ด บ่ อน�้ ำ มั น เพื่อหวังล้มอ�ำนาจของประเทศตะวันตกอย่าง อเมริกา ที่ไม่เพียงท�ำให้เกิดผลกระทบซึ่งน�ำพา ไปสู่โลกยุคใหม่ที่เราทุกคนต้องกลับมานั่งถาม ตนเองว่า เราควรจะเดินไปยังทิศทางไหน แต่ยงั ต้องคิดต่อไปว่าสิง่ ใดทีจ่ ะเสริมสร้างความมัน่ คง ทางพลังงานให้เราในอนาคตอีกด้วย ที่มา: หนังสือ The Quest: Energy Security, and the Remaking of the Modern World โดย Daniel Yergin
WHAT’S NEXT? : THE EXPEDITION FOR THE ALTERNATIVE MIX
teslamotors.com
© REUTERS/Stringer
teslamotors.com
THE SUBJECT ลงมือคิด
จากรายงาน Energy Vision 2013 ของ World Economic Forum ที่ว่ากัน ด้วยเรื่อง Energy Transitions: Past and Future หรือการเปลี่ยนผ่านของ การผสมผสานของพลังงานหลายประเภท (Energy Mix) ว่าการพัฒนา นวัตกรรมและการคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ ในด้านพลังงานนั้น ได้สร้าง ความเป็นไปได้ในการปฏิวตั วิ ถิ ชี วี ติ ของโลกในยุคสมัยต่างๆ และส่งผลต่อ การเปลี่ยนผ่านของ Energy Mix เช่น เหตุการณ์การคิดค้นรถโมเดล ที (Model T) ของฟอร์ดในปี 1908 และตามมาด้วยเหตุการณ์ในวันก่อนเกิด สงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 1911 ที่วินสตัน เชอร์ชิล ตัดสินใจเปลี่ยนชนิด เชื้อเพลิงที่ใช้ส�ำหรับกองทัพเรืออันเป็นจุดแข็งของอังกฤษ จากถ่านหินใน พื้นที่ใกล้เคียงที่ท�ำให้เรือวิ่งช้าและต้องใช้พลังงานคนจ�ำนวนมากมาเป็น
น�ำ้ มันทีต่ อ้ งน�ำเข้าจากแถบตะวันออกกลาง และท�ำให้ปโิ ตรเลียมกลายมา เป็นเชือ้ เพลิงส�ำคัญมาจนถึงยุคปัจจุบนั นอกจากนี้ รายงานฉบับดังกล่าวยัง ตัง้ ค�ำถามถึงการเปลีย่ นโฉมหน้าของพลังงานในอนาคตทีจ่ ะสอดคล้องกับ วิถีชีวิตในแง่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการคมนาคมอย่างการคิดค้น รถยนต์ทวี่ งิ่ ด้วยไฟฟ้า การคิดค้นไบโอดีเซล หรือการพัฒนาก๊าซไฮโดรเจน มาเป็นเชือ้ เพลิง ทีจ่ ะเข้ามาทดแทนตลาดน�ำ้ มันในอนาคตอันใกล้ เพือ่ เป็น คู่มืออธิบายการน�ำทางไปสู่โลกอนาคตแห่งพลังงาน ที่มา: รายงาน Energy Vision 2010 - Energy Transition: Past and Future, บทความ “Energy Vision 2013 Energy transitions: Past and Future” โดย World Economic Forum จาก weforum. org และ หนังสือ The Prize: The Epic Quest for Oil, Money and Power โดย Daniel Yergin
เมษายน 2558
l
Creative Thailand
l7
CREATIVE RESOURCE วัตถุดิบทางความคิด
FEATURED DOCUMENTARY
e2 ENERGY: THE ECONOMIES OF BEING ENVIRONMENTALLY CONSCIOUS กำ�กับโดย Tad Fettig ภายในปี 2050 จำ�นวนประชากรโลกจะเพิม่ ขึน้ กว่า 9 พันล้านคน โครงสร้าง สาธารณูปโภคและเศรษฐกิจจะเติบโตกว่าปัจจุบันถึง 4 เท่า และทำ�ให้ ความต้องการพลังงานเพิ่มมากกว่าเดิมถึงร้อยละ 80 เพื่อมองหาความ เป็นไปได้ด้านพลังงานที่ดีกว่าสำ�หรับอนาคต สารคดีจาก PBS ชุดนี้จึง หยิบบทเรียนและโอกาสด้านต่างๆ จากสหรัฐอเมริกา บราซิล และ บังกลาเทศ ทั้งในภาคนโยบายและภาคปฏิบัติที่ประกอบไปด้วย 6 ตอน ไว้อย่างน่าสนใจ
พบกับวัตถุดิบทางความคิดเหล่านี้ได้ที่ TCDC Resource Center 8 l Creative Thailand l เมษายน 2558
• Harvesting the Wind ลมเป็นแหล่งพลังงานที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก เกิ ด จากการหมุ น ใบพั ด ผ่ า นเกี ย ร์ ก่ อ นส่ ง ไปยั ง เครื่ อ งกำ � เนิ ด ไฟฟ้ า สหรั ฐ อเมริ ก าถื อ เป็ น ผู้ ที่ บุ ก เบิ ก ตลาดด้ า นพลั ง งานลม โดยเฉพาะ รั ฐ มิ น นิ โ ซตาที่ เ กษตรกรท้ อ งถิ่ น รวมทั้ ง โรงงานขนาดใหญ่ ต่ า งสร้ า ง ผลกำ�ไรจากพลังงานทางเลือกนี้ โดยผูผ้ ลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมจะได้รบั การยกเว้นภาษีถึงร้อยละ 1.8 ในทุกๆ 1 กิโลวัตต์ที่ผลิต • Energy For a Developing World มูฮมั หมัด ยูนสุ เจ้าของรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพประจำ�ปี 2006 ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า นอกจากเขาจะเป็นผู้นำ� ทีส่ ามารถแปลงวิสยั ทัศน์ไปสูก่ ารปฏิบตั จิ ริงด้วยแนวคิดเรือ่ งสินเชือ่ สำ�หรับ ผูย้ ากไร้ผา่ นธนาคารกรามีนแล้ว บริษัทผู้พัฒนาแหล่งพลังงานใหม่ในย่าน ชนบทภายในองค์กรเดียวกันอย่างกรามีน ชากติ (Grameen Shakti) ยังได้บริจาคแผงโซลาร์เซลล์ขนาดเล็กและระบบไบโอแก๊สแบบพกพา สำ�หรับสตรีและผูย้ ากไร้ในชุมชนเพือ่ สร้างโอกาสทีด่ สี �ำ หรับการดำ�เนินชีวติ • Paving the Way เฉพาะในสหรัฐฯ มีรถยนต์กว่าร้อยละ 70 ที่ขับเคลื่อนด้วยนํ้ามัน จึงเป็นที่มาของต้นแบบรถยนต์ส่วนบุคคลสำ�หรับ อนาคตที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อาทิ บริษัทเจเนอรัลมอเตอร์ที่ เปิดตัวรถไฮบริดคาร์ในนาม The Volt หรือบริษทั ไฟเบอร์ฟอร์จ (Fiberforge) ที่นำ�เสนอวัสดุที่มีนํ้าหนักเบาพิเศษในการผลิตรถยนต์ • Growing Energy ปฏิกริ ยิ าตอบสนองต่อภาวะวิกฤตนา้ํ มันในช่วงปี 1970 ส่งผลให้บราซิลสร้างอุตสาหกรรมเอทานอลในทุกระดับตั้งแต่การผลิต กระทั่งถึงการจัดจำ�หน่ายในสถานีบริการนํ้ามันจนกลายเป็นที่ยอมรับ ทั่วประเทศ นี่เป็นผลสำ�เร็จอย่างยอดเยี่ยมซึ่งช่วยปูความรู้สู่ประเทศอื่นๆ ที่ประสบภาวะเดียวกัน • State of Resolve การตั้งเป้าหมายและกำ�หนดนโยบายเกี่ยวกับการ อนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมของอาร์โนลด์ ชวาร์เซเน็กเกอร์ ผู้ว่าการ รัฐแคลิฟอร์เนีย ไม่วา่ จะเป็นการเพิม่ สัดส่วนพลังงานหมุนเวียน การยกเว้น ภาษีนำ�เข้ายานยนต์ที่ไม่ใช้เชื้อเพลิงในการเผาไหม้ สนับสนุนการติดตั้ง แผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านเรือน ต่างเป็นนโยบายในระยะยาวที่ได้ สร้างผลด้านบวกและเป็นตัวอย่างสำ�หรับรัฐอื่นๆ ในสหรัฐฯ • Coal & Nuclear: Problem or Solution? แม้พลังงานทดแทนอย่าง พลังงานชีวภาพ แสงอาทิตย์ หรือลมจะสร้างผลด้านบวก แต่การวิจยั และ ลดข้อบกพร่องของพลังงานถ่านหินกระทัง่ พลังงานนิวเคลียร์อย่างต่อเนือ่ ง ก็ช่วยเพิ่มความเป็นไปได้ว่าพลังงานทั้ง 2 ชนิดนี้จะเป็นทรัพยากรหลัก สำ�หรับอนาคตอันใกล้ เช่นเดียวกับที่ประสบผลสำ�เร็จมาแล้วในโรงไฟฟ้า ถ่านหินสะอาดมัตซูอรุ ะในญีป่ นุ่ ทีไ่ ม่สง่ ผลกระทบใดๆ ต่อบริเวณใกล้เคียง
CREATIVE RESOURCE วัตถุดิบทางความคิด
TREND BOOK
NELLY RODI: MOVE ON Life & Style 2015-16
BOOK
หนึ่งในแนวคิดสำ�คัญของแนวโน้มเทรนด์ปี 2015-16 คือ Deep Dive ที่บอกเล่าถึง ทรัพยากรมหาศาลภายใต้มหาสมุทร ซึ่งกินพื้นที่ถึง 3 ใน 4 ของโลก นี่จึงถือเป็น จุดหมายใหม่ที่จะรองรับชีวิตในอนาคต โดยชีวมวลจากสาหร่าย (Algal Biomass) ที่เกิดจากการสังเคราะห์แสงใต้มหาสมุทรนั้นถือเป็นทรัพยากรที่นำ�มาแปลงเป็นพลังงานทางเลือกได้ไม่หมดสิ้น สะท้อนผ่านตัวอย่างงาน ออกแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Bloom Aquatic Farm ฟาร์มพืชนํ้าที่ออกแบบโดยบริษัท Sitbon ของฝรั่งเศส เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยยุคใหม่ที่ใช้ พลังงานหมุนเวียนภายในจากนวัตกรรมพืชนํ้าจำ�พวกสาหร่ายในการเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นออกซิเจน เช่นเดียวกับนวัตกรรม ต้นแบบหลังคาชีวภาพที่ออกแบบโดย EcoLogicStudio ซึ่งแปลงคุณสมบัติของพืชสาหร่ายให้กลายเป็นของเหลวในแผ่นกันความร้อน ที่มีคุณภาพสูง เพื่อลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และเพิ่มออกซิเจน รวมทั้งโปรเจ็กต์ต้นแบบ Regional Algae Farm ที่นำ�ปฏิกิริยาระหว่าง เอนไซม์กับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของแพลงก์ตอนและแบคทีเรียมาผลิตกระแสไฟฟ้า เป็นต้น PHOTOVOLTAICS: TECHNOLOGY ARCHITECTURE INSTALLATION โดย Bernhard Weller, Claudia Hemmerle, Sven Jakubetz และ Stefan Unnewehr เมือ่ ต้นปีทผ่ี า่ นมา สภาปฏิรปู แห่งชาติ (สปช.) มีมติเพือ่ ผลักดันโครงการส่งเสริมการติดตัง้ โซลาร์รฟู อย่างเสรี (ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยแสงอาทิตย์สำ�หรับบ้านและอาคาร) ซึ่งนั่นหมายถึง ในอนาคตเราอาจได้เห็น การลงทุนเพื่อผลิตไฟฟ้าในรายย่อยระดับครัวเรือน และยังสามารถขายส่วนที่เหลือจากการใช้ต่อให้กับ การไฟฟ้าได้อีกด้วย ก่อนที่จะไปถึงจุดนั้น เรามาลองทำ�ความรู้จัก “Photovoltaics” หรือ สารกึ่งตัวนำ� ที่สามารถเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า และเทคโนโลยี “Solar Photovoltaic Cell” หรือ ทีเ่ รียกกันอย่างคุน้ เคยว่า “Solar Cell” ในเชิงลึกจากหนังสือเล่มนี้ ซึง่ จะอธิบายทัง้ รายละเอียดด้านเทคนิค การออกแบบ รวมไปถึงลักษณะที่จะถูกนำ�ไปใช้ในรูปแบบต่างๆ พร้อมสาธิตตัวอย่างการนำ�ไปใช้ใน สถาปัตยกรรมที่มีก้าวหน้าอย่างมาก เช่นเพื่อเป็นหลังคาและผนังตกแต่งภายนอกอาคาร LIGHTNESS: THE INEVITABLE RENAISSANCE OF MINIMUM ENERGY STRUCTURES โดย Adriaan Beukers และ Ed van Hinte ปัจจัยหนึ่งในการออกแบบยานพาหนะให้สามารถลดการใช้พลังงาน คือการเลือกใช้โครงสร้างที่มีความ แข็งแกร่งและนํา้ หนักเบา ยิง่ ทำ�ให้นา้ํ หนักรวมลดลงเท่าไหร่ ยิง่ สิน้ เปลืองพลังงานน้อยลงเท่านัน้ และสิง่ นี้ จะถูกพิจารณาอย่างรอบคอบโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำ�หรับการออกแบบอากาศยาน นักวิทยาศาสตร์จำ�นวน มากจึงพยายามคิดค้นวัสดุคอมโพสิตทีอ่ าศัยความสามารถของไฟเบอร์และพลาสติกในหลากหลายรูปแบบ การใช้งานเพื่อให้เกิดคุณสมบัติดังกล่าว นอกจากนั้น ความเบายังถูกประยุกต์เพื่อพัฒนาการออกแบบ เชิงโครงสร้าง เช่น การออกแบบผลิตภัณฑ์กฬี า การออกแบบโครงสร้างสถาปัตยกรรม หรือบรรจุภณั ฑ์อน่ื ๆ อีกมากมาย ในเล่มนอกจากจะมีตวั อย่างวัสดุและการประยุกต์ใช้แล้ว ยังเล่าถึงประวัตคิ วามเป็นมา หลักการ และแนวคิดของการใช้โครงสร้างเบาที่เกิดขึ้นจากภูมิปัญญาท้องถิ่นในแหล่งต่างๆ อีกด้วย เมษายน 2558
l
Creative Thailand
l9
MATTER วัสดุต้นคิด
CONVERSE ENERGY FOR
เรื่อง: ชมพูนุท วีรกิตติ และ ปิยวรรณ กลิ่นศรีสุข
เพียโซอิเล็กทริก (Piezoelectric) คือระบบ เทคโนโลยีที่สร้างและสะสมพลังงานจากแรง กระทบลงบนแผ่นวัสดุ โดยจะเปลีย่ นพลังงานจลน์ จากการเคลื่อนที่ให้เป็นไฟฟ้า เพียโซอิเล็กทริก สามารถตรวจวัดแรงกลต่างๆ เช่น แรงดัน ความเร่ง การสัน่ แรงเครียด หรือแรงกระทำ�อืน่ ๆ ที่เกิดกับวัตถุ แล้วเปลี่ยนพลังงานกลต่างๆ เหล่านี้ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า ในทางกลับกัน เมื่อให้พลังงานไฟฟ้าแก่วัสดุที่มีคุณสมบัติเป็น เพียโซอิเล็กทริก วัสดุนั้นก็จะเปลี่ยนพลังงาน ไฟฟ้ า เป็ น พลั ง งานกลได้ เ ช่ น กั น วั ส ดุ ท่ี มี คุณสมบัตเิ ป็นเพียโซอิเล็กทริกมีหลายชนิด เช่น คริสตัล เซรามิก โพลิเมอร์ ซึ่งมีการนำ�ไปใช้ใน งานทัง้ ทางด้านวิศวกรรมชีวเวช เช่น ไมโครโฟน วัดคลืน่ เสียงของหัวใจ ตัวรับสัญญาณของเครือ่ ง อัลตราซาวด์ เครือ่ งตรวจวัดทางชีวภาพบนผลึก ควอทซ์ (Quartz Crystal Microbalance - QCM) ทีม่ กี ารประยุกต์ใช้ในการตรวจวัดสารชีวโมเลกุล จำ�นวนมาก หรือตัวตรวจวัดแรง เป็นต้น และ ที่ กำ � ลั ง มี แ นวโน้ ม มากยิ่ ง ขึ้ น คื อ การใช้ เ พื่ อ เก็บเกี่ยวพลังงานกล ตั้งแต่ปี 2007 ญี่ปุ่นได้นำ�เทคโนโลยีเพียโซ อิเล็คทริกไปใช้เก็บสะสมพลังงานกลจากการ เดินสัญจรไปมาของคนทีส่ ถานีรถไฟโตเกียวและ ชิบยู า่ โดยนำ�พลังงานไฟฟ้าทีไ่ ด้มาใช้ในการปิด เปิ ด ประตู อั ต โนมั ติ แ ละในการทำ � งานของ จอภาพอิเล็กทรอนิกส์ภายในสถานี และเพื่อให้ 10 l
Creative Thailand
l เมษายน 2558
FUTURE สามารถเก็บสะสมพลังงานให้ได้มากที่สุด จึงมี การติดตั้งเทคโนโลยีดังกล่าวด้วยการใช้ปูพื้น ฟุตบาทในบริเวณที่มีการสัญจรสูง นอกจากนี้ ในการแข่งวิ่งปารีสมาราธอนเมื่อปี 2013 บริษัท Pavegen Systems จากอังกฤษ ได้ตดิ ตัง้ อุปกรณ์ เพียโซอิเล็คทริกที่ประกอบด้วยพลาสติกและ ยางรีไซเคิล เรียกว่า แผ่นเก็บเกี่ยวพลังงาน (Special Harvesting Tile) บนถนนช็องเซลีเซ ซึ่งสามารถเก็บพลังงานจากนักวิ่งทั้งหมดได้ถึง 4.7 กิโลวัตต์ตอ่ ชัว่ โมง เพียงพอทีจ่ ะใช้กบั หลอด แอลอีดีขนาด 5 วัตต์ ได้นานถึง 940 ชั่วโมง หรือ 40 วัน และยังได้ติดตั้งวัสดุปูพื้นจำ�นวน 51 ชิ้น ที่เทอร์มินัล 3 ของสนามบินฮีทโทรว์ จน ได้รบั รางวัล Ferrovial Innovation Awards และ เกิดเป็นแนวคิดว่า หากนำ�ไปใช้ในสนามฟุตบอล จะสามารถช่วยให้วเิ คราะห์ขอ้ มูลการก้าวเท้าได้ จนเกิดเป็นโครงการล่าสุดทีส่ ร้างประวัตศิ าสตร์ หน้าใหม่ของสนามฟุตบอล Shell Football Pitch
ณ เมืองรีโอเดจาเนโร ทีไ่ ม่ตอ้ งใช้พลังงานไฟฟ้า ทั้งนี้ บริษัท Pavegen Systems มีเป้าหมายให้ ระบบนี้แพร่หลายไปในประเทศที่กำ�ลังพัฒนา โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีการเดินเท้ากันมาก เช่น สลัมในมุมไบ เนื่องจากโดยเฉลี่ยแล้วในชั่วชีวิต คนคนหนึ่งจะเดินถึง 150 ล้านก้าว ซึ่งน่าจะนำ� มาใช้ประโยชน์ได้มาก นอกจากนี้ยังมีบริษัท Bionic Power ใน แคนาดา ที่พัฒนาปลอกสวมเข่าที่สามารถเก็บ สะสมพลังงานในขณะที่เดินและเปลี่ยนเป็น พลังงานไฟฟ้าได้ โดยได้เริ่มทดลองใช้ภายใน กองทัพแล้ว หรือการใช้สารเรืองแสง (PhotoLuminising) ทีใ่ ห้แสงสว่างบนถนนแทนพลังงาน ไฟฟ้า ซึ่งสารนี้จะเก็บสะสมพลังงานจากแสง อาทิตย์ในตอนกลางวัน และจะปล่อยแสงออก มาอย่างช้าๆ ในตอนกลางคืนได้นานถึง 8ชัว่ โมง จึงมีการทดลองนำ�สารเรืองแสงไปผสมสีและทา เป็นเครื่องหมายบนถนนเพื่อใช้ทดแทนไฟฟ้า ในช่วงที่ไม่มีเสาไฟบนถนนยาว 100 กิโลเมตร ที่ เ มื อ งออสส์ ท างตอนใต้ ข องเนเธอร์ แ ลนด์ และยังมีการพัฒนาสีเรืองแสงนี้ให้มีคุณภาพ สมํ่าเสมอแม้ว่าจะต้องเผชิญกับความชื้นจาก นํา้ ฝนที่ตกลงมาก็ตาม ในปัจจุบันนี้ การเก็บเกี่ยวพลังงานจากสิ่ง แวดล้อมที่เกิดขึ้นมากมายรอบตัวเรานับเป็น แนวโน้มทางพลังงานที่กำ�ลังได้รับความสนใจ เพราะนอกจากจะเป็นทางเลือกใหม่ทชี่ าญฉลาด แล้ว หากมีการวางแผนที่ดีก็ยังสามารถนำ�กลับ มาใช้ใหม่ได้แบบที่ไม่มีวันหมดไปอีกด้วย
หมดปญหาหยิบนิตยสารไมทัน สมัครสมาชิกรายป คาใชจายในการจัดสง 200 บาท (12 เลม) หรือสมัครออนไลนไดที่ tcdc.or.th/creative_thailand
Curtisium® nachtleuchtende kera MC# 5948-02 แผ่นกระเบือ้ งเซรามิกพิมพ์ลวดลายด้วยสีทเ่ี รืองแสงในความมืด (สีเคลือบเรืองแสง Curtisium®) ทำ�ให้ผลิตแผ่นเซรามิกที่มี ผิวเรืองแสงได้ ซึง่ ก่อนหน้านีไ้ ม่สามารถทำ�ได้ในกระบวนการ เผาที่ อุ ณ หภู มิ สู ง สามารถออกแบบลวดลายของแผ่ น กระเบือ้ งแต่ละแผ่นได้ตามสัง่ มีขนาดมาตรฐานหลายขนาด โดยผลิตแผ่นใหญ่กว่า 300 x 300 มิลลิเมตรได้ มีสามสีเรือง แสงให้เลือก ได้แก่ เขียวเหลือง สีฟ้าอควา และสีนํ้าเงิน ซึง่ จะมีสตี า่ งจากทีเ่ ห็นในแสงสว่าง ปราศจากสารกัมมันตรังสี ฟอสฟอรัส หรือสารพิษอื่นๆ ด้วยกรรมวิธีการผลิตพิเศษ ทำ�ให้แผ่นกระเบื้องต้านทานความร้อนและความชื้นได้ดี และเรืองแสงได้แม้ในสภาพอากาศชืน้ โดยจะเรืองแสงอยูไ่ ด้ นานถึง 20 ชัว่ โมง หลังจากการชาร์จด้วยแสงสว่างไว้ระยะหนึง่ และชาร์จใหม่ได้แทบจะไม่จำ�กัดจำ�นวนครั้ง เหมาะสำ�หรับ ใช้ในงานวิศวกรรมด้านความปลอดภัย งานโฆษณา และ ตกแต่งร้านค้า
ขอมูลผูสมัครสมาชิก สมาชิกใหม ชื่อ นามสกุล เพศ โทรศัพท
สมาชิกเกา (ตองการตออายุสมาชิก) หญิง อายุ
ชาย
อีเมล
โทรศัพทมือถือ
อาชีพ นักเรียน ครู/อาจารย
นิสิต/นักศึกษา พนักงานบริษัท
นักออกแบบ/ครีเอทีฟ ผูประกอบการ
อาชีพอิสระ อื่นๆ โปรดระบุ
ขาราชการ/รัฐวิสาหกิจ
สาขา/อุตสาหกรรมที่เกี่ยวของกับอาชีพของทาน โฆษณา สถาปตยกรรม แฟชั่น ศิลปะการแสดง ดนตรี ภาพยนตร โทรทัศน/วิทยุการกระจายเสียง
ทองเที่ยว/โรงแรม/สายการบิน วรรณกรรม/การพิมพ/สื่อสิ่งพิมพ พิพิธภัณฑ/หองแสดงงาน ซอฟตแวร/แอนิเมชัน/วิดีโอเกม
หัตถกรรม/งานฝมือ การเงิน/ธนาคาร ทัศนศิลป/การถายภาพ อื่นๆ โปรดระบุ
อาหาร การแพทย การออกแบบ
คาปลีก/คาสง โทรคมนาคม
ที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ จังหวัด
ซอย
ถนน รหัสไปรษณีย
หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง
อำเภอ/เขต
หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง
อำเภอ/เขต
ที่อยูในการออกใบเสร็จ Silglow MC# 6965-01 แร่ธาตุที่ทำ�ปฏิกิริยากับแสงสำ�หรับผสมในแผ่นวัสดุปิดผิว ประกอบด้วยซิลิกาหลอม 91% แก้ว 5% และสารให้สี 4% สารนี้จะผสมลงในผิวเคลือบซึ่งจะเรืองแสงในที่มืดได้หลัง จากนำ�ไปไว้ในแสงสว่างเป็นเวลานาน 60 นาที วัสดุจะมีสี ขาว-เทาเมื่ออยู่ในที่สว่าง แต่จะมีสีเขียวหรือนํ้าเงินเมื่ออยู่ ในที่มืด มีเกล็ดวัสดุให้เลือกหลายขนาดตั้งแต่ 0.1-5.0 มิลลิเมตร (0.004-0.2 นิว้ ) ขึน้ อยูก่ บั การนำ�ไปใช้งาน สัง่ ผลิต ขนาดพิเศษได้ตั้งแต่ 0.1 มิลลิเมตรขึ้นไป เหมาะสำ�หรับ ระบบการนำ�ทางเพื่อความปลอดภัยและทำ�วัสดุปิดผิว พบกับวัสดุต้นคิดเหล่านี้ได้ที่ Material ConneXion® Bangkok, TCDC
เหมือนที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ ซอย จังหวัด
ถนน รหัสไปรษณีย
ตองการสมัครสมาชิกนิตยสาร Creative Thailand ระยะเวลา 1 ป จำนวน 12 เลม เริ่มตั้งแตฉบับเดือน โดยยินดีเสียคาใชจายในการจัดสงเปนจำนวนเงิน 200 บาท
วิธีการชำระเงิน เช็คสั่งจายศูนยสรางสรรคงานออกแบบ พรอมใบสมัครสมาชิก โอนเงินเขาบัญชีออมทรัพย ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ เลขที่บัญชี 101-808967-0 ธนาคารกรุงเทพ สาขาสำนักงานใหญสีลม • แฟกซใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่ 02-664-7670 • หรือสงไปรษณียมาที่ ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (Creative Thailand) 622 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอรชั้น 24 ถนนสุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 • หรือแนบไฟลใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่อีเมล creativethailand@tcdc.or.th สอบถามขอมูลเพิ่มเติมไดที่ 02-664-7667 ตอ 122
เมษายน 2558
l
Creative Thailand
l 11
CLASSIC ITEM คลาสสิก
Street Light จากเทียนไขสู่ไฟไร้เสา
Piccadilly Circus, London โดย George Hyde-Pownall (1876-1932) © Fine Art Photographic Library/CORBIS
เรื่อง: ภรณ์ทิพย์ ปิยฤทธิพงศ์
ยุ ค ที่ ป ราศจากแสงไฟบนถนนยามคํ่ า คื น ไม่เพียงแต่นำ�มาซึ่งความยากลำ�บากในการใช้ ชีวิตประจำ�วันของผู้คน แต่ยังเป็นสัญลักษณ์ ของความไม่ปลอดภัย ความไม่มั่นคงสะดวก สบาย และการกระทำ�สิ่ ง ผิ ด กฎหมายต่ า งๆ อีกด้วย เสาไฟฟ้าที่ส่องสว่างเข้าถึงทุกตรอก ซอย จึงเปรียบเสมือนการขับไล่ยุคแห่งความ มืดมน และจุดประกายชีวติ ยามราตรีในรูปแบบใหม่ 12 l
Creative Thailand l เมษายน 2558
• ในอดีตแหล่งพลังงานทีใ่ ช้ผลิตแสงสว่างส่วนใหญ่มาจากวัตถุดบิ ธรรมชาติ ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ชาวจีนนำ�ไขของวาฬมาทำ�เทียนไข และ นำ � ก๊ าซธรรมชาติ จ ากภู เขาไฟมาใช้ เป็ น เชื้ อ เพลิ ง เพื่ อ สร้ า งแสงสว่ า ง บนท้องถนน ขณะที่ชาวกรีกและโรมันใช้ตะเกียงนํ้ามันพืชเพื่อรักษา ความปลอดภัยภายในชุมชน โดยมีการติดตัง้ ตะเกียงไว้หน้าบ้านให้แสงส่อง ไปยังทางเดิน และมี “lanternarius” ทาสชายผู้ทำ�หน้าที่จุดไฟและคอย เติมนํ้ามันเพื่อให้มีแสงสว่างยาวนานตลอดทั้งคืน • แม้แนวคิดเรือ่ งการแบ่งปันแสงสว่างในพืน้ ทีช่ มุ ชนจะมีมาแต่ยคุ โบราณ แต่การติดตั้งแสงสว่างสาธารณะอย่างเป็นระบบถือกำ�เนิดขึ้นครั้งแรกราว ปี 1471 เมื่อเฮนรี บาร์ตัน (Henry Barton) นายกเทศมนตรีกรุงลอนดอน ออกกฎหมายบังคับให้ทกุ บ้านแขวนโคมไฟไว้ภายนอกบ้านหลังพระอาทิตย์ ตกดินตลอดช่วงฤดูหนาว ส่วนปารีสก็ออกกฎทำ�นองเดียวกันในปี 1524 โดยบังคับใช้เฉพาะกับบ้านที่หันหน้าเข้าหาถนน • การมาถึงของเสาไฟได้เปลีย่ นภูมทิ ศั น์ของเมือง รวมถึงชีวติ และกิจกรรม กลางคืนของผู้คนไปอย่างสิ้นเชิง ย่านเก่าที่เคยเสื่อมโทรม ท้องถนนที่เคย มืดมิดอันตราย ต่างสว่างไสวพร้อมต้อนรับการใช้งานของชาวเมืองใน รูปแบบใหม่ ทั้งในฐานะพื้นที่สร้างปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและการทำ�ธุรกิจ
CLASSIC ITEM คลาสสิก
A Lamp Lighter (1808) โดย William Henry Pyne (1769-1843) © Historical Picture Archive/CORBIS
การค้า ดังหลักฐานภาพพิมพ์ซง่ึ ปรากฏในหนังสือชือ่ Evening’s Empire รูปเมืองไลพ์ซิก (Leipzig) ยามคํ่าในเยอรมนีปี 1702 เต็มไปด้วยแสง จากเสาไฟริมทาง สุภาพบุรุษกำ�ลังชี้ชวนมองสิ่งที่อยู่ไกลออกไปโดยมี สุภาพสตรีคล้องแขน ผู้คนบนถนนกำ�ลังถอดหมวกทักทายกัน ขณะที่ บางคนกำ�ลังยืนอ่านหนังสือโดยอาศัยแสงจากเสาไฟ • ในศตวรรษถัดมา วิวฒั นาการของเสาไฟได้พฒั นามาเป็นเสาไฟแบบ ใช้ก๊าซ โดยท่อส่งก๊าซซึ่งติดกับตัวเสาทำ�หน้าที่ลำ�เลียงก๊าซไปยังโคม ที่ อ ยู่ ด้ า นบน เสาไฟชนิ ด นี้ เ ผยโฉมครั้ ง แรกในพิ ธี เ ฉลิ ม ฉลอง วันคล้ายวันพระราชสมภพของพระเจ้าจอร์จที่ 3 ณ กรุงลอนดอน ใน ปี 1805 หลังจากนั้นไม่นาน เสาไฟแบบก๊าซกว่า 40,000 ต้น ก็ถูกนำ� ไปติดตัง้ ทัว่ กรุงลอนดอน และส่องสว่างบนถนนเป็นระยะทางกว่า 215 ไมล์ ทั่วทั้งเมือง • พาเวล ยาบลอชคอฟ (Pavel Yablochkov) วิศวกรชาวรัสเซีย คิดค้น นวั ต กรรมให้ กับ เสาไฟในปี 1875 เขานำ � หลอดไฟแบบอาร์ ค (Arc Lamp) ทีป่ ระดิษฐ์ขนึ้ มาทดลองใช้แทนโคมก๊าซแบบเก่าบนเสาไฟ นี่นับเป็นจุดเริ่มต้นที่สำ�คัญของเทคโนโลยีเสาไฟแบบกระแสไฟฟ้า จุดติดตั้งแห่งแรกคือบริเวณโดยรอบห้างสรรพสินค้าลูฟวร์ (Grands
Magasins du Louvre) ในกรุงปารีส ก่อนจะเป็นที่รู้จักและแพร่หลาย ในหลายประเทศ รวมถึงประเทศสยามในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่ทรงมี พระราชดำ�ริให้ติดตั้งเสาไฟฟ้าบนถนนสายหลักรอบบริเวณพระนคร หลังจากส่งอุปทูตไปเยือนยุโรปและได้เห็นความสว่างไสวของไฟฟ้าใน กรุงปารีส • ปริมาณการใช้ไฟฟ้าและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นที่ มาคู่กัน จากรายงานของมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน สหรัฐอเมริกา พบว่าค่าใช้จ่ายของเสาไฟฟ้าตามท้องถนนคิดเป็นร้อยละ 40 ของ งบประมาณด้านไฟฟ้า อัตราการใช้ไฟสาธารณะที่สูงนี้ยังก่อให้เกิด มลภาวะและส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ ปัจจุบันการออกแบบเสา ไฟฟ้ า จึ ง ไม่ ห ยุ ด อยู่ เ พี ย งแค่ เ ทคโนโลยี ล่ า สุ ด อย่ า งหลอดแอลอี ดี (LED Lamp) ซึ่งกินไฟน้อยกว่าและก่อให้เกิดมลพิษน้อยกว่าหลอด โซเดียมความดันไอสูง (High-Pressure Sodium Lamp) ที่เคยได้รับ ความนิยม แต่ยังมีซอฟต์แวร์และแอพพลิเคชั่นอีกมากมายที่ผนวก รวมเป็นส่วนหนึ่งของระบบเสาไฟอัจฉริยะในวิถีเขียว อาทิ ระบบเก็บ พลังงานแสงอาทิตย์ เซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหวของคนและ ยานพาหนะ ระบบโครงข่ายไร้สายที่สามารถควบคุมการปิด-เปิดและ ปรับแสงให้เหมาะสมกับทั้งสภาพอากาศและสภาพการจราจรจาก ระยะไกล เป็นต้น • ไฟฟ้าที่ไร้เสาอาจเป็นหลักไมล์ถัดไปในการสร้างสรรค์นวัตกรรม ชนิดนี้ ศิลปินและนวัตกร ดาน โรสการ์ด (Daan Roosegaarde) ผูเ้ ชีย่ วชาญด้านงานออกแบบเชิงปฏิสมั พันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกบั ความ เป็นมนุษย์ ได้จบั มือกับบริษทั Heijmans Infrastructure ทำ�การทดลอง โครงการทางหลวงอัจฉริยะ ไฮไลต์อยู่ท่ีระบบไฟทางที่ไม่เพียงแค่ ชาญฉลาดและปราศจากเสาทีเ่ ก้งก้าง แต่ยงั เน้นพลังงานทางเลือกทีม่ า พร้อมกับรูปลักษณ์อนั สร้างประสบการณ์แห่งสุนทรียะแก่ผใู้ ช้งานอีกด้วย ตั้งแต่ขอบถนนเรืองแสง (Glowing Lines) ซึ่งจัดเก็บสะสมพลังงาน จากแสงอาทิตย์ในตอนกลางวัน และเปล่งแสงแทนเสาไฟฟ้าใน ตอนกลางคืน ไปจนถึงหลอดกังหันลม (Wind Light) ที่สว่างขึ้น อัตโนมัติจากพลังงานลมเมื่อรถแล่นผ่าน • ทิศทางการพัฒนาเสาไฟฟ้าในอนาคตจึงเป็นการมุ่งเน้นการใช้ พลังงานสะอาด และการออกแบบบนพื้นฐานของความกลมกลืน ระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ หากแต่ยงั คงไว้ซงึ่ หลักการสำ�คัญ นัน่ คือ แสงสว่างที่นำ�ทางให้ผู้คนเดินทางกลับบ้านอย่างปลอดภัย ที่มา: mea.or.th, บทความ “History of Street Lighting” จาก historyoflighting.net, บทความ “Smart Street Lighting” จาก rs-online.com, บทความ “Street Light” จาก en.wikipedia.org, บทความ “The Clark Art Institute Presents Electric Paris" จาก interiorsandsources.com, บทความ “The Sci-Fi Future of Lamp-Posts” จาก theguardian. com, บทความ “The Smarter Way to Light Our Streets” จาก wallstreetdaily.com, บทความ “You Won't Believe How Much These Smart Streetlights Could Save Us” จาก nationswell.com, รายงาน “A History of Street Lighting in the Old and New Towns of Edinburgh World Heritage Site” โดย Khrystyna Shakhmatova จาก ewht.org.uk, รายงาน “Historic Street Lampposts” จาก nyc.gov เมษายน 2558
l
Creative Thailand
l 13
COVER STORY เรื่องจากปก
พลังงาน...ออกแบบได้
เรื่อง: ภารุต เพ็ญพายัพ
ความสะดวกสบายของวิถีชีวิตสมัยใหม่คงเกิดขึ้นไม่ได้ หากโลกไร้ซึ่งแหล่งพลังงาน... ความกลั ว ว่ า เชื้ อ เพลิ ง ฟอสซิ ล ซึ่ ง เป็ น แหล่ ง พลั ง งานหลั ก ที่ ขั บ เคลื่ อ นสั ง คม เศรษฐกิจในปัจจุบนั กำ�ลังจะหมดไปหรืออาจมีไม่เพียงพอต่อความต้องการบริโภคนัน้ ได้นำ�มาซึ่งการรณรงค์สร้างจิตสำ�นึกของการประหยัดและความพยายามค้นหา แหล่งพลังงานทางเลือกอย่างต่อเนื่องตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา จะมีแนวทาง ใดบ้าง ที่ทำ�ให้มนุษยชาติหลุดพ้นจากกรอบข้อจำ�กัดด้านพลังงานแบบเดิมๆ
14 l
Creative Thailand
l เมษายน 2558
© REUTERS/Toru Hanai
COVER STORY เรื่องจากปก
ต้นทุนแห่งความเจริญ สภาพความโกลาหลที่เกิดขึ้นภายหลังจากเหตุการณ์ที่สะท้อนปัญหาความมั่นคงทาง พลังงาน มักทำ�ให้ผู้คนทั่วไปหันมาฉุกคิดได้เป็นครั้งคราว ถึงความเปราะบางของสังคม ร่วมสมัย ซึ่งถูกขับเคลื่อนด้วยทรัพยากรพลังงานที่มีอยู่จำ�กัด
ด้านมืดของยุคโลกาภิวัตน์ที่การเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศขยายตัวอย่างต่อเนื่อง มักปรากฏให้เห็นเมือ่ วิกฤตพลังงานในประเทศหนึง่ ได้ลกุ ลามขยายผลกระทบสูร่ ะดับสากล ตัวอย่าง เช่น อุบตั เิ หตุโุ รงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟกุ ชุ มิ ะ ไดอิชิ ในปี 2011 ซึง่ ส่งผลให้โรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่ง ในญีป่ นุ่ ต้องปิดตัวลงชัว่ คราว จนกระทัง่ เกิดปัญหาต่อสายการผลิตรถยนต์และอุปกรณ์ไฟฟ้าของโลก ในเวลาต่อมา อีกกรณีหนึ่งได้แก่ เหตุการณ์ไฟฟ้าดับครั้งใหญ่ที่ประเทศแอฟริกาใต้ในปี 2008 ซึ่ง ส่งผลให้เหมืองทอง 3 แห่งและเหมืองแพลทินัม 2 แห่ง ซึ่งมีขนาดใหญ่อันดับต้นๆ ของประเทศต้อง ปิดตัวลงชั่วคราว จนในระยะเวลาเพียงไม่กี่นาทีให้หลัง ราคาทองและแพลทินัมในตลาดโลกได้เพิ่ม สูงขึ้นถึงร้อยละ 5 มาอยู่ที่ระดับสูงกว่า 920 เหรียญสหรัฐฯ ต่อออนซ์ และ ณ ระดับ 1,690 เหรียญ สหรัฐฯ ต่อออนซ์ ตามล�ำดับ
วิวฒั นาการความเจริญทางสังคมเศรษฐกิจ อาจหยุดชะงักลง หากขาดแคลนทรัพยากร พลังงาน เมือ่ พิจารณาถึงปริมาณน�ำ้ มันในตลาด โลก จะพบว่าทรัพยากรดังกล่าวอาจไม่เพียงพอ ต่อความต้องการบริโภคอีกต่อไป หากอุปสงค์ น�้ ำ มั น ยั ง คงปรั บ ตั ว สู ง ขึ้ น อย่ า งไม่ ห ยุ ด ยั้ ง เนื่องจากการใช้น�้ำมันทั่วโลกในปัจจุบันกลับมี ปริมาณสูงกว่าอัตราการขุดพบแหล่งน�ำ้ มันมาก ถึง 3 เท่าตัว แดเนียล เยอร์กิน (Daniel Yergin) นักวิจยั ด้านพลังงานและนักเขียนเจ้าของรางวัล พูลติ เซอร์ได้ตงั้ ค�ำถามส�ำคัญไว้วา่ “จะเป็นไปได้ หรื อ ไม่ ที่ จ ะสรรหาพลั ง งานให้ เ พี ย งพอเพื่ อ ขับเคลือ่ นเศรษฐกิจโลกทีม่ มี ลู ค่าขนาด 65 ล้าน ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในยุคปัจจุบนั และมีแนวโน้ม จะขยายตัวใหญ่ขึ้นเป็นมูลค่าสูงถึง 130 ล้าน ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วงระยะเวลาเพียงแค่ 2 ทศวรรษข้างหน้า” ปัจจุบนั ประชากรในประเทศ พัฒนาแล้วใช้น�้ำมันเฉลี่ย 14 บาร์เรลต่อคน ต่อปี ขณะทีป่ ระชากรในประเทศก�ำลังพัฒนาใช้ ทรัพยากรดังกล่าวเฉลี่ย 3 บาร์เรลต่อคนต่อปี
“จะเกิดอะไรขึ้น หากแค่เพียงประชากรหลาย พันล้านคนในประเทศก�ำลังพัฒนาต้องใช้นำ�้ มัน เพิ่มขึ้นจาก 3 บาร์เรลต่อคนต่อปี มาสู่ระดับ 6 บาร์เรลต่อคนต่อปี” อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ที่ถูกผลิต ออกมาจ�ำนวนมหาศาลและใช้อย่างแพร่หลาย ตลอดช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ถือเป็นอีกสาเหตุที่ ก่อให้เกิดปริมาณความต้องการใช้พลังงานอย่าง มหาศาล องค์การพลังงานระหว่างประเทศ (International Energy Agency, IEA) ได้ประมาณการณ์ว่า ยอดการใช้พลังงานของ คอมพิวเตอร์และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จะเพิม่ ขึน้ 2 เท่าตัวในปี 2022 และเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าในปี 2030 โดยภาคครัวเรือนจากทัว่ ทุกมุมโลกรวมกัน จะต้องจ่ายค่าไฟฟ้าคิดเป็นมูลค่าสูงถึง 2 แสน ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อให้เพียงพอต่อความ ต้องการใช้คอมพิวเตอร์และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ต่างๆ ที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วง 15 ปีข้างหน้า คอมพิ ว เตอร์ ส ่ ว นบุ ค คล สมาร์ ท โฟน โทรทั ศ น์ ดิ จิ ทั ล และโดยเฉพาะเซิ ร ์ ฟ เวอร์
คอมพิ ว เตอร์ ต่ า งเป็ น เทคโนโลยี ยุ ค ใหม่ ที่ กระหายพลังงานไฟฟ้า โดยจากผลส�ำรวจของ บริ ษั ท ที่ ป รึ ก ษาทางด้ า นเทคโนโลยี แ ละการ ลงทุนชื่อ Digital Power Group พบว่า ปัจจุบัน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ของยุคเทคโนโลยี สารสนเทศมีอัตราการใช้พลังงานไฟฟ้ารวม กันทั่วโลกสูงถึง 1,500 เทราวัตต์-ชั่วโมงต่อปี ซึ่งเทียบเท่ากับปริมาณการผลิตไฟฟ้าของทั้ง ประเทศเยอรมนีและญี่ปุ่นรวมกัน หรือเทียบ เท่ากับปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ทั้งโลกในปี 1985 คงถือเป็นเรื่องแปลกแต่จริง เมื่อผลส�ำรวจ ดังกล่าวยังแสดงให้เห็นว่า ทีจ่ ริงแล้ว สมาร์ทโฟน เพียง 1 เครือ่ งยังใช้ไฟฟ้าสูงกว่าตูเ้ ย็นขนาดกลาง เสียอีก โดยในขณะทีต่ เู้ ย็นขนาดกลาง 1 เครือ่ งใช้ ไฟฟ้าเฉลีย่ 322 กิโลวัตต์ตอ่ ชัว่ โมงต่อปี โทรศัพท์ ไอโฟน 1 เครือ่ งทีเ่ ชือ่ มต่อสัญญาณอินเทอร์เน็ต มีการใช้งานข้อมูล (Data Usage) และจ�ำเป็น ต้องชาร์จแบตเตอรี่อยู่เป็นประจ�ำ ใช้ไฟฟ้าโดย เฉลี่ยสูงถึง 361 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมงต่อปี
เมษายน 2558
l
Creative Thailand
l 15
ideo.com
COVER STORY เรื่องจากปก
เป็นเรื่องสุดแล้วแต่คน การสรรหาแนวทางใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพได้กลายเป็นหนึง่ ใน หัวข้อหลักของการระดมสมองในช่วงหลายปีทผี่ า่ นมา จากรายงานของ เวทีเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) พบว่าการใช้พลังงาน อย่างมีประสิทธิภาพถือเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ส�ำคัญทางด้านพลังงาน ของโลก โดยเรื่ อ งดั ง กล่ า วไม่ ค วรจ�ำกั ด อยู ่ เ พี ย งแค่ ก ารพั ฒ นา เทคโนโลยีใหม่ๆ แต่ควรมุ่งเน้นถึงกระบวนการ วิธีคิด รวมทั้งวิถีแห่ง การใช้งานอุปกรณ์ สินค้าอุปโภคบริโภค และอาคารสิ่งก่อสร้างต่างๆ
นอกเหนือจากการพัฒนาฮาร์ดแวร์แล้ว นักวางนโยบายและสถาบันวิจัยชั้นน�ำก�ำลังให้ความสนใจกับการศึกษาพฤติกรรมมนุษย์ เพื่อสร้างนวัตกรรม ด้านพลังงานที่ตอบโจทย์ได้ตรงจุด เนื่องจากพฤติกรรมมนุษย์ไม่ได้เกิดขึ้นจากการตัดสินใจที่เป็นเหตุเป็นผลเสมอไป ฮันต์ อัลล์คอร์ตต์ (Hunt Allcott) และเซนดิล มูลไลนาทาน (Sendhil Mullainathan) นักเศรษฐศาสตร์ประจ�ำมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก (New York University) และมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University) จึงได้เสนอในงานวิจัยของพวกเขาว่า วิศวกรและผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายจ�ำเป็นที่จะต้องปรับใช้องค์ความรู้ทางด้านจิตวิทยา สังคมวิทยา และมานุษยวิทยา เพื่อท�ำความเข้าใจต่อความซับซ้อนของพฤติกรรมการบริโภคพลังงาน เช่นเดียวกัน ซูซาน เมเซอร์-สตอมเมน (Susan Mazur-Stommen) นักวิจัยประจ�ำ American Council for an Energy-Efficient Economy (ACEEE) ได้กล่าวว่า ถึงแม้วิศวกรจะเป็นผู้สร้างนวัตกรรม ทางเทคโนโลยีต่างๆ มากมาย อย่างไรก็ตาม พวกเขาไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านพฤติกรรมมนุษย์ โดยในหลายกรณีที่วิศวกรใช้หลักการและเหตุผล เพื่ออธิบายถึงข้อดีของการประหยัดพลังงาน แต่ผู้คนทั่วไปกลับไม่ใส่ใจปฏิบัติตาม เพื่อวิเคราะห์และสรรหาแนวนโยบายการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพที่เหมาะสมต่อกลุ่มเป้าหมาย กระทรวงพลังงานแห่งสหรัฐอเมริกา (United States Department of Energy) จึงได้ร่วมมือกับ Ideo บริษัทชั้นน�ำด้านการออกแบบและนวัตกรรมในการวิจัยพฤติกรรมของประชาชนชาว อเมริกัน โดยมุ่งตอบค�ำถามที่ว่า ท�ำไมประชากรส่วนใหญ่ที่ได้รับการปลูกฝังจิตส�ำนึกด้านพลังงานมาเป็นระยะเวลาหลายปี กลับไม่ได้ปรับใช้วิธีการ ประหยัดและใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในวิถชี วี ติ ประจ�ำวันของพวกเขา จากการลงพืน้ ทีส่ ำ� รวจกลุม่ ตัวอย่างภาคครัวเรือนทัว่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ท�ำให้ Ideo พบว่าปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ กลไกตลาด รวมทั้งความกังวลเรื่องภาวะโลกร้อน และส�ำนึกการอนุรักษ์ธรรมชาติ ไม่ได้จูงใจให้ประชาชน ทุกกลุ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคพลังงานเสมอไป ถึงแม้ว่าผู้คนส่วนใหญ่จะเห็นตรงกันว่าการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพเป็นเรื่องเหมาะสม แต่ในทางปฏิบัติ พวกเขากลับไม่ได้ให้ความส�ำคัญ กับเรื่องดังกล่าวมากนักในชีวิตประจ�ำวัน ความท้าทายของการออกแบบนโยบายการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพให้เป็นที่สนใจของประชาชนและ มีการน�ำไปปรับใช้จริง จึงขึ้นอยู่กับการตอบสนองคุณค่าที่กลุ่มประชากรต่างๆ ยึดถือ โดยไม่ได้ลดทอนคุณภาพชีวิตและความสะดวกสบายที่พวกเขา เคยชิน รวมทั้งต้องไม่ถูกท�ำให้เป็นเรื่องเชิงเทคนิคของผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ที่มักท�ำให้ผู้คนทั่วไปรู้สึกว่าเป็นเรื่องยุ่งยาก 16 l
Creative Thailand
l เมษายน 2558
COVER STORY เรื่องจากปก
แก่งแย่งให้มีประสิทธิภาพ
energyneighbourhoods.eu
คุณจะรู้สึกอย่างไร หากใบแจ้งหนี้ค่าไฟฟ้าที่คุณได้รับ มีการประทับสัญลักษณ์ ไอคอนแสดงอารมณ์หน้ายิ้ม และอธิบายความว่า “เดือนนี้ คุณได้ใช้ไฟฟ้าต�่ำ กว่าเพื่อนบ้านของคุณถึงร้อยละ 58” ขณะเดียวกัน คุณจะมีปฏิกิริยาอย่างไร หากใบแจ้งหนี้ค่าไฟฟ้าของคุณถูกประทับสัญลักษณ์ไอคอนแสดงอารมณ์หน้า บึ้งตึง และอธิบายความว่า “ตลอดช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา คุณใช้ไฟฟ้ามากกว่า เพื่อนบ้านของคุณร้อยละ 39 ซึ่งท�ำให้คุณมีรายจ่ายมากกว่าเพื่อนบ้านสูงถึง 741 เหรียญสหรัฐฯ”
ภาพบางส่วนจากภาพยนตร์สั้น “Don´t wait for your kids - Start now!” โดย Moritz Ekberg และ Dennis Dreßler ซึ่งชนะรางวัลโครงการรณรงค์ การประหยัดพลังงาน หนึ่งในโครงการ Energy Neighbourhoods
แนวคิดเรื่องการออกแบบใบแจ้งหนี้ค่าไฟฟ้าเปรียบเทียบกันระหว่างเพื่อนบ้าน ที่มีขนาด ครัวเรือนและที่อยู่อาศัยใกล้เคียงกัน ได้ถูกจัดท�ำขึ้นเพื่อสร้างแรงจูงใจในการแข่งขันกัน ประหยัดพลังงาน โดยเริม่ ต้นโครงการน�ำร่องทีน่ ครซาคราเมนโต (Sacramento) เมืองหลวง แห่งรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา โครงการดังกล่าวถูกรู้จักกันในนาม “Envy” ซึ่งเป็นชื่อที่ สะท้อนถึงแนวคิดเบื้องหลังตามส�ำนวนภาษาอังกฤษที่ว่า “Keeping up with the Joneses” หรือวลีเปรียบเปรยถึงความรู้สึกอิจฉาเพื่อนบ้าน หากเพื่อนบ้านท�ำอะไร เราคงยอมไม่ได้ที่ จะด้อยกว่า ภายในระยะเวลาเพียงแค่ 6 เดือนนับตัง้ แต่เริม่ ต้นโครงการ เทศบาลเมืองซาคราเมนโต พบว่า ครัวเรือนที่ได้รับใบแจ้งหนี้ค่าไฟฟ้ารูปแบบใหม่ สามารถลดการใช้พลังงานลงได้ ร้อยละ 2 เมื่อเทียบกับครัวเรือนที่ได้รับใบแจ้งหนี้ค่าไฟฟ้าแบบเดิม ความส�ำเร็จนี้ส่งผลให้ เมืองใหญ่นับ 10 แห่งในสหรัฐอเมริกา เช่น ชิคาโกและซีแอตเทิล ปรับใช้แนวทางดังกล่าว ในเวลาต่อมา ความอิจฉาริษยาอาจไม่ใช่เรือ่ งเลวร้ายเสมอไป เมือ่ พิจารณาถึงประสิทธิผลของโครงการ Envy ขณะเดียวกัน การจูงใจให้ผู้คนอยากเสี่ยงโชคหรือร่วมการเดิมพัน ก็สามารถถูกแปลง เป็นแรงผลักดันให้ประชาชนชาวยุโรปหันมาแข่งขันกันประหยัดพลังงาน ภายใต้โครงการ “Energy Neighbourhoods” ที่เริ่มต้นจัดท�ำขึ้นในปี 2550 ใน 9 ประเทศ ได้แก่ บัลแกเรีย เบลเยียม ฝรั่งเศส อิตาลี สเปน สวีเดน เยอรมนี ไอร์แลนด์ และอังกฤษ โดยให้เทศบาล เมืองแต่ละแห่งจัดการเดิมพันระหว่างภาคครัวเรือน หากภาคครัวเรือนใดสามารถลดการใช้ พลังงานได้มากกว่าร้อยละ 8 ภายในระยะเวลา 6 เดือนเมือ่ เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน ในปีที่ผ่านมา จะได้รับรางวัลเป็นเงินเดิมพันไป กลยุทธ์ทแี่ ยบยลซึง่ กระตุน้ ให้ชมุ ชนต่างๆ กระตือรือร้นในการเข้าร่วมเดิมพัน ถูกจัดท�ำ ขึ้นควบคู่ไปกับการให้ความรู้โดยผู้เชี่ยวชาญประจ�ำเทศบาลเมือง ที่คอยให้ค�ำแนะน�ำถึง เคล็ดลับประหยัดพลังงาน ซึ่งหากภาคครัวเรือนใดปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ย่อมมีโอกาส ได้ชัยชนะและรับเงินรางวัลไปครอง ทั้งนี้ ผลลัพธ์ของโครงการ Energy Neighbourhoods เป็นที่น่าพอใจอย่างมีนัยส�ำคัญ โดยระหว่างช่วงระยะเวลาด�ำเนินการ 2 ปี มีภาคครัวเรือน เข้าร่วมโครงการเกือบ 6,000 ครัวเรือน ประหยัดพลังงานโดยเฉลี่ยได้สูงถึงร้อยละ 10 ต่อ ครัวเรือน หรือคิดเป็นปริมาณไฟฟ้า 9.15 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง รวมทั้งยังลดการปล่อยก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ได้เป็นปริมาณ 3,320 ตัน เมษายน 2558
l
Creative Thailand
l 17
COVER STORY เรื่องจากปก greendealaccredited.com
ประหยัดโดยไม่ต้องอดออม จะดีสักแค่ไหนหากมีใครสักคนมาลงทุนซื้อและติดตั้งอุปกรณ์ประหยัด พลังงานต่างๆ ให้คุณ โดยที่คุณไม่ต้องควักกระเป๋าสตางค์ของคุณเอง จากรากฐานความคิดดังกล่าว ได้น�ำไปสู่โครงการ “Pay-It-as-YouSave” ของบริษัทด้านการออกแบบบริการ Livework แห่งประเทศ อังกฤษ ที่ทดลองจัดท�ำบริการปล่อยสินเชื่อรูปแบบใหม่ ซึ่งออกแบบ ให้มีหน่วยงานเข้าไปตรวจสอบสภาพอาคารของภาคครัวเรือนที่ร่วม โครงการ แนะน�ำว่าควรปรับปรุงทีพ ่ กั อาศัยอย่างไรให้เกิดการใช้พลังงาน อย่างมีประสิทธิภาพ แล้วจึงปล่อยสินเชื่อให้ท�ำการติดตั้งอุปกรณ์ ประหยัดไฟ หรือปรับปรุงอาคารบ้านเรือน โดยที่ภาคครัวเรือนนั้นๆ ไม่ต้องออกเงินจ่ายเอง แต่ให้มีการผ่อนช�ำระคืนตามยอดค่าใช้ไฟฟ้าที่ ประหยัดได้จริงในแต่ละเดือน
Pay-It-as-You-Save เกิดขึน้ จากผลการวิจยั พฤติกรรมภาคครัวเรือนทีพ่ บว่า ผูค้ น ส่วนใหญ่เมื่อมีเงินเก็บ ก็มักน�ำไปจับจ่ายใช้สอยกับสินค้าที่สร้างความพึงพอใจ ส่วนบุคคล โดยไม่ได้น�ำเงินดังกล่าวมาลงทุนปรับปรุงที่อยู่อาศัยให้สามารถ ประหยัดพลังงานได้มากยิ่งขึ้น โครงการดังกล่าวได้ถูกน�ำไปปรับใช้เป็นนโยบาย ระดับชาติโดยกระทรวงพลังงานและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศแห่งสหราช อาณาจักร (UK Department of Energy and Climate Change) ในปี 2013 ทั้งนี้ นโยบาย Green Deal ก�ำลังอยูใ่ นช่วงของการปรับปรุงให้มปี ระสิทธิภาพยิง่ ขึน้ และ ลดความยุ่งยากต่อภาคครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ โดยเอ็ด เดวีย์ (Ed Davey) เลขานุการด้านพลังงานได้ประเมินผลลัพธ์ของโครงการในระยะแรกว่า “บทเรียนที่ ส�ำคัญของเราได้แก่การพยายามปรับแก้กระบวนการทีเ่ กีย่ วข้องให้ซบั ซ้อนน้อยลง” ในขณะที่ Livework เล็งเห็นถึงโอกาสของการออกแบบบริการปล่อย สินเชื่อประหยัดพลังงานให้แก่ภาคครัวเรือน Decarbon Capital บริษัทผู้จัดการ ลงทุนด้านพลังงานยั่งยืนก็เล็งเห็นถึงโอกาสจากการจัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อการใช้ พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพให้แก่ภาคธุรกิจ แดเนียล ซอนเดอร์ส (Daniel Saunders) กรรมการผูจ้ ดั การประจ�ำบริษทั ได้อธิบายถึงโอกาสทางธุรกิจของตนไว้วา่ หน่วยงาน เอกชนหลายแห่งมักเผชิญอุปสรรคทางด้านการลงทุนเพื่อการใช้พลังงานอย่างมี ประสิทธิภาพ โดยโครงการประเภทดังกล่าวมักต้องหยุดชะงักลงกลางคัน ทั้ ง นี้ ไม่ ไ ด้ ห มายความว่ า โครงการลงทุ น เพื่ อ การใช้ พ ลั ง งานอย่ า งมี ประสิทธิภาพเป็นแนวคิดที่ไร้ประโยชน์ แต่ด้วยเหตุที่หน่วยงานเอกชนนั้นๆ ต้องการจัดสรรเงินลงทุนไปสูธ่ รุ กิจหลักทีต่ นเองเชีย่ วชาญมากกว่า ช่องว่างดังกล่าว จึงเปิดโอกาสให้ Decarbon Capital เข้ามาเป็นผูจ้ ดั หาแหล่งเงินทุน บริหารจัดการ ด้านพลังงานให้ แล้วจึงตกลงรับผลตอบแทนทางการเงิน ซึ่งคิดจากมูลค่าเงิน ที่หน่วยงานเอกชนนั้นๆ ประหยัดได้ เมื่อต้นทุนพลังงานของพวกเขาลดลงจริง แม้จะเป็นเพียงบริษัทเล็กๆ ที่มีพนักงานประจ�ำเพียงแค่ 4 คนเท่านั้น แต่ปัจจุบัน Decarbon Capital ได้เข้าร่วมโครงการลงทุนที่มีมูลค่าสูงระหว่าง 500,000 ถึง 10 ล้านปอนด์ และมีลูกค้าอยู่ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศอังกฤษ 18 l
Creative Thailand
l เมษายน 2558
COVER STORY เรื่องจากปก
เก็บเกี่ยว... จากกิจวัตรประจ�ำวัน จะเป็นอย่างไรหากคุณไม่จ�ำเป็นต้องจ�ำกัดบทบาทของตัวเองเป็นเพียงผูบ้ ริโภคพลังงานอีกต่อไป ความเป็นไปได้ของเทคโนโลยี ก�ำลังสร้างบทบาทใหม่แก่ผู้คนทั่วไปในฐานะผู้ผลิตพลังงาน เป็นเรื่องใกล้ตัวที่หลายคนอาจไม่คาดคิดว่ากิจวัตรประจ�ำวันของ มนุษย์เองที่สามารถเป็นแหล่งพลังงานทางเลือกได้เช่นกัน
energy-floors.com
ในปี 2010 ทีเ่ มืองตูลซู (Toulouse) ฝรัง่ เศส อเล็กซานเดอร์ มาร์เซล (Alexandre Marciel) ผู้ด�ำรงต�ำแหน่งรองนายกเทศมนตรีได้เริ่มทดลองพัฒนาทางเท้าใน บริเวณแหล่งชุมชน โดยการติดตั้ง “Energy Floor” ที่เก็บเกี่ยวพลังงานจลน์ จากแต่ละย่างก้าวของผู้คนที่เดินขวักไขว่ไปมาในแต่ละวัน แล้วแปลงเป็น กระแสไฟฟ้าเพือ่ ใช้เป็นแหล่งพลังงานส�ำหรับไฟตามท้องถนน โครงการพัฒนา เมืองดังกล่าวทีม่ เี ป้าหมายในการแปรเปลีย่ นกิจกรรมสุดแสนธรรมดาของมนุษย์ ให้เป็นแหล่งพลังงาน ได้รับแรงบันดาลใจมาจากผลงานการออกแบบลาน เต้นร�ำ “Sustainable Dance Floor” ที่ไนต์คลับกลางเมืองรอตเตอร์ดัมของ ดาน โรสการ์ด (Daan Roosegaarde) ดีไซเนอร์ผู้สนใจคิดค้นการสร้าง ปฏิสัมพันธ์รูปแบบใหม่ระหว่างมนุษย์กับเทคโนโลยี ตลอดช่วง 5 ปีที่ผ่านมา Energy Floor ได้ถูกน�ำไปติดตั้งในงานอีเวนต์ ใหญ่ๆ กว่า 350 แห่งทัว่ ทุกมุมโลก เช่น งานมหกรรมดนตรี ZoukOut ทีส่ งิ คโปร์ งานโอลิมปิกทีเ่ มืองแวนคูเวอร์ แคนาดา และทีน่ ครลอนดอน สหราชอาณาจักร รวมทั้งงาน World Expo ที่นครเซี่ยงไฮ้ เป็นต้น เฉพาะในปี 2555 มีผู้คนที่ เข้าร่วมงานมหกรรมต่างๆ ที่ติดตั้ง Energy Floor กว่า 950,000 ราย โดย พวกเขาได้มีส่วนร่วมผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นปริมาณสูงถึง 2 พันล้านจูล
ความร้อนจากร่างกายมนุษย์เป็นอีกแหล่งพลังงานหนึ่งซึ่งมัก ยังคงถูกมองข้าม อย่างไรก็ตาม ที่สวีเดน บริษัทอสังหาริมทรัพย์ Jernhusen ได้พัฒนาระบบถ่ายเทความร้อนจากร่างกายของผู้คน ที่ใช้บริการสถานีรถไฟ Stockholm Central Station จ�ำนวนกว่า 250,000 รายต่อวัน ผ่านระบบระบายอากาศและท่อน�้ำร้อน สู่ กลุ่มอาคารส�ำนักงานบนถนนฝั่งตรงกันข้ามเพื่อสร้างความอบอุ่น ในช่วงฤดูหนาวแก่ผอู้ ยูอ่ าศัย แทนทีจ่ ะถูกปล่อยให้ลอ่ งลอยและสลาย ไปในอากาศ ความร้อนส่วนเกินทีร่ ะบายออกจากร่างกายของนักเดิน ทางทางรางได้ถกู แปรเปลีย่ นเป็นทรัพยากรทีช่ ว่ ยประหยัดค่าพลังงาน ให้แก่กลุ่มอาคารใกล้เคียงได้สูงถึงร้อยละ 25 อ่านความสมัครใจ.... นโยบายหรือเทคโนโลยีที่ดีเลิศเพียงใดคงกลายสภาพเป็นเพียงสิ่ง ไร้ประโยชน์ หากผู้คนส่วนใหญ่ไม่ได้น้อมรับ และมีการน�ำไปปรับใช้ จริงอย่างเป็นกิจจะลักษณะ เช่นเดียวกัน นวัตกรรมการใช้พลังงาน อย่างมีประสิทธิภาพย่อมไร้ประสิทธิผล หากไม่ได้เกิดขึน้ จากรากฐาน ความเข้าใจของพฤติกรรมมนุษย์ที่แตกต่างหลากหลายกันไป ความ ท้าทายที่ส�ำคัญคงได้แก่การออกแบบกระบวนการ บริการและ เทคโนโลยี ที่ชักจูงให้มนุษย์เกิดความสมัครใจ ร่วมใช้พลังงานอย่าง มีประสิทธิภาพ โดยที่พวกเขาเหล่านั้นไม่ต้องรู้สึกว่าเป็นเรื่องยุ่งยาก ล�ำบากที่บั่นทอนคุณภาพชีวิตของตนเอง
ที่มา: pavegen.com, sustainabledanceclub.com, บทความ “‘Bet to Win!’: the Climate Competition between Municipalities and Their Citizens” (20 มีนาคม 2015) จาก ec.europa.eu, บทความ “Blackouts: a Sociology of Electrical Power Failure” (2014) โดย Steve Matthewman และ Hugh Byrd จาก researchspace.auckland.ac.nz, บทความ “Energy Saving Solutions”, จาก bar.london.edu, บทความ “Green Deal: Extra Money for Energy Saving Scheme” (7 ตุลาคม 2014) จาก bbc.com, บทความ “Greening with Envy: How Knowing Your Neighbour’s Electric Bill Can Help You to Cut Yours” (1 กรกฎาคม 2009) จาก theatlantic.com, บทความ “Harvesting Energy: Body Heat to Warm Buildings” (9 มกราคม 2011) จาก bbc.com, บทความ “Households Clear Out New 7,600 GBP per Home Green Deal Cashback” (13 กรกฎาคม 2014) จาก telegraph.co.uk, บทความ “Low Carb Lane: Saverbox” จาก liveworkstudio.com, บทความ “Mines Shut as South Africa Faces Electricity Emergency” (25 มกราคม 2008) จาก theguardian.com, บทความ “Proving the Value of Pay-as-You-Save” จาก liveworkstudio. com, บทความ “Shift Focus for United States Department of Energy: a Human-Centerd Strategy for Connecting Energy Efficiency to People” จาก ideo.com, บทความ “The Hot New Frontier of Energy Research Is Human Behaviur” (6 กันยายน 2014) จาก wired.com, บทความ “Utilities Turn Their Customers Green, With Envy” (30 มกราคม 2009) จาก nytimes.com, รายงาน “Energy Vision Update 2010: Towards a More Energy Efficiency World” (2010) โดย World Economic Forum, รายงาน “Foundations in Place: the Green Deal and ECO Annual Report 2013/14” (ธันวาคม 2014) โดย Department of Energy and Climate Change, รายงาน “Saving Energy in Europe: 15 Good Practice Case Studies” (พฤษภาคม 2011) โดย European Environmental Bureau, หนังสือ The Quest: Energy, Security, and the Remaking of the Modern World (2012) โดย Daniel Yergin เมษายน 2558
l
Creative Thailand
l 19
INSIGHT อินไซต์
เรื่อง
: ปิย
พร อ
รุณเก
รียงไ
กร
เมือ่ นโยบายการจัดการพลังงานของโลกตะวันตก กลายเป็น ประเด็นที่ทุกฝ่ายเข้าถึงได้ เข้าใจง่าย และไม่ใช่แค่ผู้บริโภคที่ ตระหนักถึงภาวะเรื้อรังของสิ่งแวดล้อม เพราะกระแสเรียก ร้องและแรงกดดันก็บีบบังคับให้ภาคอุตสาหกรรมต้องปรับ ทิศทางกลยุทธ์เพือ่ ความอยูร่ อดเช่นกัน ท่ามกลางวิกฤตนีเ้ อง จึงมีกลุ่มธุรกิจและผู้ประกอบการที่มองเห็นทั้งปัญหาและ ความต้องการใหม่ และไม่รอช้าที่จะสร้างสรรค์นวัตกรรมขึ้น เพือ่ รับมือกับการเปลีย่ นแปลง โดยพุง่ เป้าไปยังสิง่ ทีเ่ ชือ่ มโยง กับชีวติ ประจ�ำวันของมนุษย์มากทีส่ ดุ นัน่ คือ "เครือ่ งใช้ในบ้าน" ค�ำมั่นจากอิเกียและเสียงตื่นตระหนกในฝั่งยุโรป
ในปี 2014 อิเกีย (IKEA) ได้ปล่อยแคมเปญโฆษณา “The Wonderful Everyday” ออกอากาศทัว่ สหราชอาณาจักร พร้อมค�ำประกาศทีว่ า่ ภายใน ปี 2016 อิเกียจะเปลี่ยนมาจ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ใช้หลอดไฟแอลอีดีซึ่ง มีประสิทธิภาพ ประหยัดพลังงาน และให้แสงนวลตามากกว่าหลอดไฟ ชนิดอืน่ ซึง่ นอกจากจะตอกย�ำ้ จุดยืนด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างยัง่ ยืน ยังถือเป็นการเคลือ่ นไหวครัง้ ส�ำคัญของบริษทั ผูผ้ ลิตเฟอร์นเิ จอร์ระดับโลก ที่หันมาหนุนการประหยัดพลังงานภายในครัวเรือนอย่างเอาจริงเอาจัง 20 l
Creative Thailand
l เมษายน 2558
ท�ำไมแบรนด์ยักษ์ใหญ่จึงให้ความส�ำคัญกับการประหยัดพลังงานใน ระดับสเกลเล็กๆ อย่าง 'บา้ น' ทีย่ งั เป็นประเด็นถกเถียงมานานและเข้มข้น ขึน้ เรือ่ ยๆ ในทีป่ ระชุมของคณะกรรมาธิการยุโรป นัน่ เพราะพลังงานทีใ่ ช้ใน บ้านนัน้ คิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 20 ของการใช้พลังงานทัว่ โลก และปล่อย ปริมาณของก๊าซเรือนกระจกมากเกินร้อยละ 35 ซึง่ ต้นตอก็ไม่ใช่สงิ่ ไกลตัว อื่นใดนอกจากเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน ยังไม่รวมถึงต้นทุนทางสิ่งแวดล้อม ทรัพยากร และแรงงานที่สูญไปหรือสร้างมลภาวะในระหว่างการผลิต มีเพียงบิลค่าไฟทีส่ งู ขึน้ มากพอจะท�ำให้ผคู้ นตืน่ ตัวกับวิกฤตพลังงาน (และ กระเป๋าสตางค์) ได้ รัฐบาลหลายประเทศจึงออกมาตรการแก้ไข หนึ่งในนั้นก็คือการ สนับสนุนให้ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเน้นที่ภาคการผลิต เช่น ก�ำหนดสมรรถนะทางสิ่งแวดล้อมและสนับสนุนผลิตภัณฑ์สีเขียว ด้วย เหตุนี้เอง การออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อมจึงกลับมาเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆ ในการแก้ปัญหาอีกครั้ง G.EN.ESI Project การกลับมาของอีโคดีไซน์บนสายพานอุตสาหกรรม
เพราะเชื่อว่าการประหยัดพลังงานไฟฟ้าในบ้านเริ่มต้นได้ตั้งแต่ต้นทาง การผลิต โปรเจ็กต์งานวิจัย G.EN.ESI (Green ENgineering dESIgn)
INSIGHT อินไซต์
จึงเกิดขึ้นในรูปแบบซอฟต์แวร์ เพื่อพัฒนาวิธีการออกแบบที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม (Eco-design Methodology) และเปลี่ยนระบบอุตสาหกรรม การผลิตเครือ่ งใช้ไฟฟ้าในบ้านไปสูก่ ระบวนการผลิตทีย่ งั่ ยืน ภายใต้ความ ร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยบาธ (University of Bath) กับมหาวิทยาลัยโพลี เทคนิคมาร์เค (Universita Politecnica delle Marche) และหน่วยงานอืน่ ๆ อีกมากมาย อาทิ สถาบันเทคโนโลยีเกรโนเบิล (Grenoble Institute of Technology) บริษัทแกรนต้า (GRANTA) ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการ จัดเก็บข้อมูลวัสดุ โดยได้รบั ทุนสนับสนุนจากสหภาพยุโรปอย่างเป็นทางการ อธิบายอย่างง่าย ซอฟต์แวร์นี้เปรียบเสมือนผู้ช่วยอัจฉริยะที่ช่วยให้ นักออกแบบตัดสินใจวางแผนพัฒนาการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้อย่าง รวดเร็ว ครอบคลุมทั้งด้านฟังก์ชั่น โครงสร้าง และความสวยงาม ขณะ เดียวกันก็สามารถควบคุมปัจจัยรอบด้านและเลือกวิธีการที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อมมากที่สุดในทุกขั้นตอนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่ค�ำนวณ ประสิทธิภาพพลังงานไปจนถึงจัดการกับวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ โดย มีแพลตฟอร์มขนาดใหญ่ซึ่งประกอบด้วยระบบและโปรแกรมที่รวบรวม ข้อมูลจากสถาบันวิจัยแต่ละสาขามาประมวล ประเมินผล และท�ำงาน แบบบูรณาการ พร้อมกับมอบทางเลือกอันหลากหลายให้แก่นักออกแบบ เช่น โปรแกรมแคด (Computer-aided Design - CAD) ที่ช่วยสร้างภาพ แบบจ�ำลอง และบันทึกข้อมูลในขัน้ ตอนการออกแบบ เทคโนโลยีฐานข้อมูล ของผูผ้ ลิตและจัดจ�ำหน่ายวัสดุ โปรแกรมแนะน�ำวิธกี ารและความเป็นไปได้ ของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยวิเคราะห์จากเคสที่ประสบความส�ำเร็จ (Case Based Reasoning - CBR) ส่วนโปรแกรม Eco-audit จะคอย ตรวจสอบผลกระทบตลอดวงจรชีวิตของสินค้า รวมทั้งเผยต้นทุนทาง สิ่งแวดล้อมที่มองไม่เห็น (Hidden Cost) เป็นต้น เอาเข้าจริง ขัน้ ตอนการวางคอนเซ็ปต์และเรียงร้อยไอเดียก่อนพัฒนา ต้นแบบนัน้ มีผลต่อการก�ำหนดราคาจริงของผลิตภัณฑ์มากถึงร้อยละ 70-80 และถึงแม้วา่ ทุกวันนีเ้ ราจะจุดประกายแนวคิดใหม่ๆ ครอบครองเทคโนโลยี ล�้ำสมัย มีมาตรฐาน ISO ที่รับรองคุณภาพสินค้าและความปลอดภัย ระดับสากล ทว่าเครื่องมือประเมินผลทางสิ่งแวดล้อมก็ยังขาดศักยภาพ ที่จะรับรองปริมาณข้อมูลมหาศาล ใช้งานง่าย และท�ำงานอย่างรวดเร็ว ไม่เพียงเท่านั้น สินค้าสีเขียวมักมีสนนราคาสูง เพราะมีต้นทุนสูงกว่า จึงสู้สินค้าที่ผลิตแบบเน้นจ�ำนวนและขายตามท้องตลาดไม่ได้ ด้วยเหตุนี้ ทีมวิจัยจึงต้องการอุดช่องโหว่นั้นอย่างแนบเนียน โดยวางกลยุทธ์การ จัดการวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ด้วยระบบ PLM (Product Lifecycle Management) ซึ่งปกติจะใช้คุมต้นทุนและรักษาผลประโยชน์ทางธุรกิจ เสียมากกว่า แต่งานนีถ้ กู หยิบมาประยุกต์กบั การประเมินผลทางสิง่ แวดล้อม ด้วย โดยระบบ PLM จะวิเคราะห์ตั้งแต่การเลือกใช้วัสดุที่หาได้ง่ายและ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ต้นทุน วิธีการผลิต ปริมาณน�้ำที่ใช้ในการผลิต บรรจุภัณฑ์ การขนส่ง วิธีการก�ำจัดหลังการใช้งาน ตลอดจนตรวจสอบ การใช้สารเคมีตามข้อก�ำหนดการควบคุมสารอันตราย ในขั้นตอนนี้
ผู้ใช้งานสามารถไล่ตรวจสอบวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ตลอดกระบวนการ ออกแบบเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีขั้นตอนใดที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือ หลุดจากงบประมาณ นัน่ หมายความว่าถ้าเราใส่ใจในองค์ประกอบยิบย่อย เหล่านี้ ปัญหาสิ่งแวดล้อมและพลังงานก็มีแนวโน้มลดน้อยลง ทั้งยังรักษา ศักยภาพทางการแข่งขันในตลาดได้ในเวลาเดียวกัน หลายคนอาจสงสัยว่าซอฟต์แวร์ที่ดูอัจฉริยะเกินจริงนี้จะยิ่งท�ำให้การ ท�ำงานยุ่งยากซับซ้อน สิ้นเปลืองเวลากว่าเดิมหรือเปล่า ทีมวิจัยได้แย้ง ว่ากระบวนการท�ำงานของ G.EN.ESI นั้นไม่ต่างจากขั้นตอนการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ทั่วไปที่ต้องอาศัยการทดลอง พัฒนา ทดสอบ และประเมินผล เพียงแต่เครื่องมือนี้จะท�ำให้ทุกการตัดสินใจเป็นไปอย่างแม่นย�ำมากขึ้น และลดโอกาสที่จะท�ำลายสภาพแวดล้อมได้อีกด้วย ความหวังใหม่ในบ้าน
โปรเจ็กต์นี้เพิ่งสิ้นสุดลงเมื่อมกราคมที่ผ่านมา กินระยะเวลานานถึง 3 ปี ประจวบเหมาะกับช่วงทีร่ องประธานสหภาพพลังงานรายงานให้สภายุโรป ทราบว่า ขณะนี้ประชาชนราวร้อยละ 10 ของครัวเรือนในยุโรปไม่มีก�ำลัง จ่ายค่าใช้ไฟฟ้า ซึง่ ดูทา่ จะไม่ลดลงง่ายๆ ส�ำหรับกลุม่ ประเทศทีต่ อ้ งพึง่ พา พลังงานภายนอกกว่าร้อยละ 50 นี่อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าวิกฤต พลังงานก�ำลังสะเทือนความมั่นคงทางเศรษฐกิจและอนาคตของยุโรป อย่างไรก็ดี ในตลอดการท�ำงานนั้น ทั้งทีมงานและพาร์ทเนอร์ได้ เดินทางไปบรรยายและจัดงานสัมมนาผ่านทางเว็บไซต์เพื่อบอกเล่าถึง โปรเจ็กต์นี้และเปิดโอกาสให้คนเข้ามาพูดคุย ตั้งค�ำถาม ถกเถียงกันอย่าง กว้างขวาง และยังสานภารกิจต่อไปหลังจากจบโครงการ ล่าสุด บริษัท ออกแบบและผลิตเครื่องครัว Faber SpA หนึ่งในผู้เข้าร่วมได้วางแผน ประยุกต์วธิ กี ารท�ำงานและแพลตฟอร์มของ G.EN.ESI เข้ากับการออกแบบ และพั ฒ นาผลิ ต ภั ณ ฑ์ ทางบริ ษั ท ผู ้ ผ ลิ ต เครื่ อ งจั ก รกลและอุ ป กรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ Bonfiglioli Vectron ตั้งใจจะต่อยอดไอเดียแพลตฟอร์ม เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการท�ำงานและความยั่งยืนเมื่อประยุกต์ใช้กับ เครื่องจักร ส�ำหรับผู้สนใจศึกษาต่อก็ไม่มีปัญหา เพราะทีมงานได้จัดเก็บ ข้อมูลอย่างเป็นระบบระเบียบในรูปแบบศูนย์การเรียนรู้ออนไลน์ ไม่แน่ว่าในอนาคตอันใกล้ เราอาจท�ำได้มากกว่าแค่ปิดสวิทช์เพื่อ ประหยัดไฟภายในบ้าน ใช้ถว้ ยกระดาษย่อยสลายตามธรรมชาติ สนับสนุน ผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมโดยไม่ต้องวิตกถึงสตางค์ในกระเป๋า หรือรู้สึก ผิดน้อยลงเมื่ออยู่หน้าคอมนานหลายชั่วโมง และอาจมีวันที่โรงงาน อุตสาหกรรมแปรเปลี่ยนเป็นฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับทุกฝ่ายเสียที ที่มา: ข้อมูลด้านพลังงานของสหภาพยุโรป โดย ศูนย์บริการข้อมูลเศรษฐกิจระหว่างประเทศ จาก mfa.go.th, บทความ “IKEA Selling Sustainable Consumption in New 'Wonderful Everyday' Campaign” จาก sustainablebrands.com, บทความ "United by energy concern” จาก europarl.europa.eu, บทความ "Switching to energy efficient electrical appliances” จาก cordis.europa.eu, designengineerlife.com, genesi-fp7.eu และ grantadesign.com
เมษายน 2558
l
Creative Thailand
l 21
CREATIVE ENTREPRENEUR คิด ทำ� กิน
SMART ENERGY BUSINESS
เรื่อง: ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ ภาพ: อดิเดช ชัยวัฒนกุล
ในยุ ค ที่ โ ลกหมุ น เร็ ว และ “เวลา” ได้ ก ลายเป็ น ตั ว แปรส�ำคั ญ ในการด�ำเนิ น ธุ ร กิ จ และการใช้ ชี วิ ต ของ ผู้คน หนึ่งในอุปสรรคที่กรุงเทพฯ รวมถึงหลายเมืองใหญ่ท่ัวโลกซึ่งเติบโตอย่างรวดเร็วและเป็นศูนย์กลาง การค้าขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจต้องเผชิญ คงจะหนีไม่พ้นเรื่องของระบบการจัดการด้านคมนาคมขนส่ง ที่ไม่สามารถรองรับกิจกรรมที่เกิดขึ้นในเมืองและตอบสนองความต้องการของผู้คนได้เพียงพอ นี่จึงเป็น โอกาสและความท้าทายส�ำหรับเหล่าผู้ประกอบการ ที่จะน�ำเสนอทางเลือกใหม่ๆ ที่สะดวกรวดเร็วและเปี่ยม ด้วยคุณภาพให้แก่ผู้บริโภค >> BikeXenger ปั่นด้วยใจ
จุดเริ่มต้นของ “BikeXenger” เกิดขึ้นจากความชื่นชอบการเดินทางบนพาหนะสองล้อของกลุ่มคนรักการปั่นจักรยาน กลุ่มหนึ่ง ซึ่งมารวมตัวกันบริหารแข้งขาและสังสรรค์หลังเลิกงานเป็นประจ�ำเกือบทุกวัน เมื่อปั่นเที่ยวกันจนทั่วเมืองแล้วจึง นึกอยากให้งานอดิเรกทีพ่ วกเขารักสามารถท�ำประโยชน์ให้สงั คมได้ดว้ ย และเกิดเป็นกิจกรรมการกุศลร่วมกับสมาคมจักรยาน เพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย เพื่อน�ำรายได้มาซ่อมแซมและจัดหาจักรยานให้แก่เด็กๆ ในต่างจังหวัดที่ประสบความล�ำบาก ในการเดินทางไปโรงเรียน ต่อมาเมื่อส�ำนักงานสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ (สกส.) ริเริ่มโครงการ “UnLtd Thailand” เพื่อสนับสนุน กิจการเพื่อสังคมทั้งในด้านเงินทุน การให้ค�ำปรึกษา และการเชื่อมโยงเครือข่าย สมาชิกแก๊งนักปั่นจึงได้เสนอแผนธุรกิจ BikeXenger ที่ให้บริการส่งเอกสารและพัสดุด้วยจักรยานเข้าประกวดและได้รับการคัดเลือกเข้าโครงการ แต่ด้วยเพราะ ขณะนั้นสมาชิกในกลุ่มต่างก็มีงานประจ�ำที่ต้องรับผิดชอบและไม่พร้อมที่จะเข้ามาดูแลโครงการอย่างเต็มตัว โครงการ BikeXenger ในรูปแบบกิจการเพื่อสังคมจึงมีอันต้องพับไป 22 l
Creative Thailand
l เมษายน 2558
CREATIVE ENTREPRENEUR คิด ทำ� กิน
“เราอยากให้สิ่งที่คิดไว้มันยั่งยืนและท�ำได้จริงๆ ไม่ใช่แค่สิ่งที่อยู่บน แผ่นกระดาษ” เมือ่ สีป่ ที แี่ ล้ว มนตรี ฉันทะยิง่ ยง หนึง่ ในสมาชิกแก๊งนักปัน่ ตัดสินใจลาออกจากงานวิศวกรและก่อตั้งบริษัท BikeXenger ขึ้น ด้วย ความมุง่ มัน่ ทีอ่ ยากจะให้การปัน่ จักรยานสามารถสร้างอาชีพและเป็นธุรกิจ ทีย่ งั่ ยืน “ก่อนทีจ่ ะเป็นบริษทั ไม่มใี ครทีพ่ ร้อมลงมาปัน่ เอง การท�ำงานเลย ค่อนข้างสะเปะสะปะเพราะต้องหาพนักงานมาท�ำงาน แต่พอเราได้ลงมาจับ งานจริงๆ ก็รปู้ ญั หาในการท�ำงานว่ามันเกิดจากการขีจ่ กั รยานนีแ่ หละ คน ปัน่ จักรยานจะต้องมีแพชชัน่ ในการท�ำงาน เพราะการปัน่ จักรยานมันเหนือ่ ย ถ้าคุณไม่มีใจที่จะท�ำก็ท�ำไม่ได้ เราจะคัดเลือกจากนิสัยใจคอ เขาต้องรัก ทีจ่ ะอยูก่ บั จักรยานจริงๆ ไม่ตอ้ งปัน่ เก่งหรอก แต่ตอ้ งรูว้ ธิ กี ารจัดการตัวเอง ให้รอดบนท้องถนน ต้องรูจ้ กั การท�ำงานเป็นทีม เพราะถึงแม้จะมีพนักงาน น้อย แต่เขาคือทีมของเรา เราจะต้องรู้ได้ว่าเขาอยู่ที่ไหน ท�ำอะไร อย่างไร ใช้เวลาเท่าไหร่ เพราะเราต้องลดเวลาและระยะทางในการท�ำงานทั้งหมด เพื่อความรวดเร็ว ที่ส�ำคัญคือเขาต้องมีทักษะในการสื่อสาร รู้วิธีพูดจากับ คนอื่น เพราะเราต้องคุยกับคนมากมายหลายระดับ”
“เราพยายามจะท�ำให้สูงกว่า เพราะเราน�ำเสนอสิ่งที่แตกต่าง เราท�ำงาน ด้วยความแตกต่าง ฉับไว เชือ่ มัน่ ได้วา่ เราส่งของให้คณุ เหมือนคุณไปส่งเอง โอกาสทีจ่ ะเกิดความผิดพลาดในการท�ำงานน้อยมาก เพราะเราจะให้ความ ส�ำคัญกับการติดต่อกับคนท�ำงาน ลูกค้า และลูกค้าของลูกค้า” “ที่ผ่านมาลูกค้าของเราไม่มีที่เข้ามาเพราะเห็นว่าเป็นการลดการใช้ พลังงานอะไรขนาดนัน้ เขาชอบเพราะมัน่ ใจว่าเรารับผิดชอบงานของเขาได้ อาจจะมีบา้ งทีเ่ ขาเป็นคนปัน่ จักรยานเลยชอบเราเป็นพิเศษ” อย่างไรก็ตาม มนตรีก็หวังว่า BikeXenger จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นให้สังคมหันมา ใช้จักรยานกันมากขึ้น และเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าการขี่จักรยานในกรุงเทพฯ สามารถท�ำได้จริง
>> รวดเร็วบนความแม่นย�ำ
เมื่อถามถึงข้อดีของการใช้จักรยานส่งของ ค�ำตอบแรกที่ได้รับกลับไม่ใช่ การเป็นยานพาหนะสีเขียว “การขี่จักรยานท�ำให้เราหลุดออกจากกรอบ บนท้องถนนได้ เพราะสามารถลัดเลาะ สามารถลงจากรถแล้วเลีย่ งเส้นทาง หรือขึน้ ฟุตบาทได้ในเวลาทีร่ ถติดมหาศาล สามารถบอกได้ชดั เจนว่าจะไป ถึงทีห่ มายภายในเวลาเท่าไหร่ เราจะบอกลูกค้าเลยว่าความเร็วในการขีเ่ รา อยู่ที่ 15-20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งดูแล้วมันช้ามาก แต่เอาจริงๆ แล้วเรา เร็วกว่า เพราะเราการันตีเวลาได้” “จุดเด่นของเราที่ลูกค้าประทับใจอันดับหนึ่งน่าจะเป็นเรื่องของเวลา เราจะตรงต่อเวลากับเขาให้มากที่สุด นอกเสียจากว่าเขาหลุดจากเวลาที่ เราวางไว้ เช่นว่าเราจะขอรับงานก่อนที่จะจ่ายงานให้พนักงาน 1 ชั่วโมง เพื่อที่จะไม่ต้องท�ำงานรีบเร่งจนเกินไปและไม่ท�ำให้ลูกทีมเกิดอันตราย ถ้าจะให้ส่งของภายในครึ่งชั่วโมง มันจะเกิดความเครียดกับคนที่ไปส่ง เราก็จะคุยว่า เป็นไปได้ไหมถ้าคุณจะลดความเครียดให้เขาด้วยการบวก เวลาให้ผมเพิ่มอีกครึ่งชั่วโมง ทุกอย่างก็จะง่ายและสบาย” ปัจจุบัน BikeXenger มีพนักงานประจ�ำท�ำงานทั้งหมด 4 คน ลูกค้า ที่ใช้บริการประจ�ำประมาณ 10 เจ้า โดยปริมาณงานมากน้อยต่างกันไป สัดส่วนลูกค้าประจ�ำและลูกค้าขาจรอยู่ที่ครึ่งต่อครึ่ง ลูกค้าส่วนใหญ่มัก จะท�ำงานด้านครีเอทีฟและดีไซน์ ของทีส่ ง่ จึงมีตงั้ แต่งานเขียนแบบ โมเดล สามมิติ งานรับเช็ควางบิลต่างๆ ไปจนถึงบริการส่งอาหาร การคิดค่าบริการ คิดจากระยะทางโดยแบ่งตามเขตเพือ่ ให้งา่ ยในการสือ่ สาร ค่าบริการเริม่ ต้น ส�ำหรับพัสดุน�้ำหนักไม่เกิน 1 กิโลกรัมจะอยู่ที่ 100 บาท กิโลกรัมถัดไป คิดเพิ่มกิโลกรัมละ 10 บาท ซึ่งสูงกว่าแมสเซนเจอร์มอเตอร์ไซค์ทั่วไป
>> Parking Duck สร้างก�ำไรจากที่จอด
การใช้ชีวิตในเมืองใหญ่ที่มีการจราจรคับคั่งอย่างกรุงเทพฯ นั้น ถ้าไม่นับ เรือ่ งรถติด ปัญหาน่าหงุดหงิดใจทีเ่ กิดขึน้ ทุกวันน่าจะเป็นการวนหาทีจ่ อดรถ ซึ่งท�ำให้สูญเสียเวลาและพลังงานไปไม่น้อย โดยสถิติระบุว่า ในขณะที่ รถยนต์ที่จดทะเบียนกรุงเทพฯ มีจ�ำนวนสูงถึง 7 ล้านคัน แต่กลับมีที่จอด รถรองรับได้เพียง 400,000 คันเท่านั้น “ตอนทีย่ งั ท�ำงานประจ�ำอยู่ เวลาต้องออกไปพบลูกค้าทีอ่ อฟฟิศ ไม่ใช่ แค่ผมกับเจ้านาย แม้แต่ลูกค้าเองก็ยังหาที่จอดรถไม่ได้ แต่ในเมื่อยังไงก็ ต้องจอด ก็เกิดปัญหาการจอดรถซ้อนคัน จอดในทีห่ า้ มจอด จอดหน้าบ้าน หน้าร้านคนอื่น หรือจอดในที่คนพิการ ซึ่งตามมาด้วยการล็อกล้อ เรา ก็มองเห็นว่าที่จอดรถในคอนโดข้างๆ ยังมีท่ีว่างอยู่โดยเฉพาะในตอน กลางวัน ซึ่งจริงๆ ก็มีคนมองเห็นช่องทางนี้เหมือนกับเรา บางคนปล่อย เช่าทีจ่ อดรถในเว็บทีไ่ ม่ได้เกีย่ วกับทีจ่ อดเลยอย่างเว็บขายบ้านและคอนโด เมษายน 2558
l
Creative Thailand
l 23
CREATIVE ENTREPRENEUR คิด ทำ� กิน
หรือเว็บขายของมือสอง เราก็เลยมองว่าถ้าสร้างเว็บไซต์เป็นแพลตฟอร์ม เชือ่ มต่อผูเ้ ช่าและผูใ้ ห้เช่า ก็นา่ จะเป็นธุรกิจทีต่ อบโจทย์” พารวย อันอดิเรกกุล, ชญานนท์ วิสุทธิธาดา, จิรายุ ลิ่มจินดา และปวิธ คิดอ่าน เล่าถึงที่มา ที่ไปของ “Parking Duck” สตาร์ทอัพน้องใหม่ที่เพิ่งจะเปิดตัวเว็บไซต์ ส�ำหรับเช่าที่จอดรถไปเมื่อเดือนธันวาคม 2014 ที่ผ่านมา >> ง่ายดาย และ ปลอดภัย
บริการของเว็บไซต์ parkingduck.com แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ปล่อยเช่า และขอเช่าที่จอดรถ เจ้าของที่จอดรถที่ต้องการปล่อยเช่าเพียงแค่กรอก รายละเอียดและปักหมุดพิกัดที่จอดบนกูเกิล ระบุวันเวลาให้เช่า โพสรูป ที่จอดรถ และตั้งราคาด้วยตนเอง พร้อมทั้งระบุเลขบัญชีธนาคารเพื่อรับ เงินค่าเช่าและลงทะเบียนด้วยอีเมลหรือเฟซบุ๊ก ส�ำหรับผู้ที่สนใจขอเช่า ที่จอดรถก็เพียงแค่ระบุวันที่ต้องการขอเช่า ระบุเลขทะเบียนรถและแสดง ส�ำเนาใบขับขี่ โดยเจ้าของทีจ่ อดมีสทิ ธิเ์ ลือกตอบรับหรือปฏิเสธการขอเช่า ภายในเวลา 24 ชั่วโมง ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายสามารถพูดคุยผ่านระบบแชท ส่วนตัวบนเว็บเพือ่ ให้ขอ้ มูลหรือขอเอกสารต่างๆ เพิม่ เติม โดยเฉพาะในกรณี ที่ต้องการเข้าจอดในคอนโดซึ่งต้องท�ำเอกสารหรือใช้บัตรผ่านเข้าอาคาร เพือ่ ความปลอดภัยของผูข้ อเช่า หลังจากทีเ่ จ้าของทีจ่ อดกดปุม่ ตอบรับ ให้เช่าแล้ว ระบบจะหักเงินจากบัตรเครดิตเข้าสู่บัญชีของ Parking Duck ก่อน จนเมื่อผู้เช่าได้เข้าจอดในวันแรกเรียบร้อย จึงจะท�ำการโอนเงินเข้า สู่บัญชีของผู้ให้เช่า “เราเคยเจอกรณีที่ผู้ให้เช่ายืนยันการปล่อยเช่าแล้ว แต่ไม่ได้ตดิ ต่อกับผูข้ อเช่าเพือ่ ให้รายละเอียดเรือ่ งระเบียบการเข้าทีจ่ อดรถ ของอาคารนั้น เราก็ท�ำการคืนเงินให้ผู้ขอเช่าไป วิธีนี้ช่วยเพิ่มความมั่นใจ ให้ผู้เช่าได้มาก เพราะต่างจากการปล่อยเช่าในเว็บบอร์ดทั่วไปที่จะต้อง โอนเงินไปก่อนเลย โดยถ้าหากเป็นการขอเช่ามากกว่า 1 เดือน เราก็จะ โอนเงินค่าเช่าเข้าบัญชีผู้ให้เช่าเป็นรายเดือน” นับตัง้ แต่เปิดตัวไม่ถงึ สามเดือน Parking Duck มีสมาชิกเข้ามาใช้งาน 300 คน มีการพยายามขอเช่ารวมแล้วทั้งหมด 103 เดือน และมีที่จอดรถ 24 l
Creative Thailand
l เมษายน 2558
ลงประกาศฟรี ไม่มีค่าใช่ จ่ายแอบแฝง คุณเป็นผู้ควบคุม
เลือกผู้เช่ าได้
เราจะคอยสนับสนุนคุณ
ปล่อยเช่าแล้วมากกว่า 140 จุด โดยทีมงานตัง้ เป้าไว้วา่ จะมีทจี่ อดรถปล่อย เช่า 1,000 จุดภายในสิ้นปี 2015 “ตอนนี้จ�ำนวนผู้ทกี่ �ำลังมองหาที่จอดรถมี มากกว่าจ�ำนวนทีจ่ อดทีป่ ล่อยเช่าอยูม่ าก เราก�ำลังพยายามประชาสัมพันธ์ เว็บไซต์เพื่อให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น โดยจะยังไม่เก็บค่าใช้จ่ายเพราะอยาก จะให้คนเข้ามาทดลองใช้ระบบและเชื่อมั่นในเว็บไซต์ของเราก่อน” “เราอยากจะให้ Parking Duck เป็นสังคมที่คนได้มาแบ่งปันที่จอดรถ กันจริงๆ ให้การใช้ชวี ติ ของเขาสะดวกสบายมากขึน้ ทีผ่ า่ นมาคนทีใ่ ช้บริการ ของเราไม่ใช่แค่เพือ่ จอดรถในจุดทีห่ าทีจ่ อดยาก บางคนต้องเข้ามาท�ำงาน หรือท�ำธุระในเมืองซึง่ รถติด เขาสามารถจอดรถไว้ทคี่ อนโดและต่อรถไฟฟ้า เข้ามา หรือบางคนก็ต้องการหาที่จอดรถใกล้สนามบิน” ส�ำหรับแผน ในอนาคต ทีมงานทั้งสี่คนก�ำลังพัฒนาระบบและจะออกแอพพลิเคชั่น ในเร็วๆ นี้ เพื่อให้ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้มากขึ้น และสามารถ ปล่อยเช่าแบบรายชั่วโมงได้อีกด้วย bikexenger.com, facebook.com/BikeXenger parkingduck.com, facebook.com/parkingduck พบแนวคิดใหม่จากผู้ประกอบการไทยที่น�ำความคิดสร้างสรรค์มา สร้างเป็นมูลค่าเพิม่ ให้กบั สินค้าและบริการได้ที่ TCDCCONNECT.COM เว็บไซต์ที่รวบรวมรายชื่อและผลงานของนักออกแบบ ผู้ผลิต และ ผู้ประกอบการ จากทุกอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในประเทศไทยไว้ในที่ เดียวกัน
CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
I
C
E
L
N
D เรื่อง: วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ
flickr.com/photo/chrissy575
It ’s NOT j u st a b o ut t he E ne rg y
A
ลองปิดตาจินตนาการถึงดินแดนที่เงียบสงบ มีบ้านเรือนสีสันสดใสไร้ซึ่งตึกสูงตระหง่านมาบดบังความงามของท้องฟ้าที่เปิดกว้าง อากาศบริสุทธิ์ มหาสมุทรที่ยิ่งใหญ่ ธารน�้ำแข็งเย็นเงียบสงบ น�้ำพุร้อนพวยพุ่งน่ามหัศจรรย์ หรือกระทั่งน�้ำพุร้อนสีฟ้าอุ่นก�ำลังดี พอให้แหวกว่ายเล่น น�้ำตกที่เย็นใสสดชื่นกระทบแสงแดดเห็นเป็นรุ้งกินน�้ำน่าประทับใจ ทั้งหมดนี้ไม่ใช่สถานที่ในจินตนาการ แต่ทุก ที่ที่กล่าวมามีอยู่จริงใน “ไอซ์แลนด์”
แต่หากลืมตามองความเป็นจริงอีกครั้ง เราจะพบว่าธรรมชาติก็ไม่ได้ใจดีพอที่จะมอบให้แต่ความงดงาม เพราะความเป็นจริงคือดินแดนแห่งนี้ตั้งอยู่ไกล ผู้คนถึงเกือบขั้วโลกเหนือ เย็นยะเยือก ไร้ป่าไม้ให้ร่มเงา เต็มไปด้วยโขดหินใหญ่น้อยที่ไม่ได้เหมาะสมพอจะให้ผู้คนได้อยู่ชื่นชมของขวัญจากธรรมชาติ แบบสบายๆ แถมยังมีภูเขาไฟอีกนับร้อยลูกที่รอวันปะทุ โดยในเวลา 5 ปีที่ผ่านมา ไอซ์แลนด์ได้รับความเสียหายจากภูเขาไฟระเบิดไปแล้วถึง 3 ครั้ง ซึ่งเกิดจากอุณหภูมิโลกที่ร้อนขึ้นในอัตราเร่งมากกว่าปกติ จนท�ำให้น�้ำแข็งละลายเร็วขึ้นและเป็นกระบวนการเร่งแบบหนึ่งให้ภูเขาไฟปะทุเร็วกว่าเวลา ตามธรรมชาติด้วยเช่นกัน ไม่เพียงแค่ธรรมชาติทงี่ ดงามเกินบรรยายทีม่ าพร้อมความโหดร้ายของพืน้ ทีต่ งั้ เท่านัน้ ทีป่ ระเทศนีค้ รอบครอง แต่สงิ่ พิเศษกว่าก็คอื การได้เป็นเจ้าของ “แหล่งพลังงานสะอาดที่ยั่งยืน” แต่สิ่งที่น่าคิดก็คือเป็นไปได้หรือไม่ที่ประเทศที่ใช้พลังงานสะอาด แถมยังช่วยคิดวิธีลดโลกร้อนอย่างไอซ์แลนด์ อาจจะ มีอนาคตที่ต้องจบลงด้วยโศกนาฏกรรมจากภัยพิบัติธรรมชาติที่คนทั้งโลกกลายเป็นอาชญากรโดยไม่รู้ตัว
ส่วนผสมของความร้อนและเย็น ถึงแม้ไอซ์แลนด์จะขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศหนาวเย็นแบบขั้วโลก แต่ด้วย ภูมศิ าสตร์ของประเทศทีต่ งั้ อยูใ่ นแนวแยกของสองแผ่นเปลือกโลก คือแผ่น เปลือกโลกยูเรเซียและแผ่นเปลือกโลกอเมริกาเหนือ ในระหว่างรอยแยก ของสองแผ่นเปลือกโลกนี้เองที่เป็นต้นก�ำเนิดของภูเขาไฟใต้ธารน�้ำแข็งที่ อัดแน่นด้วยความร้อนใต้พื้นดิน ซึ่งเป็นหัวใจส�ำคัญของแหล่งพลังงานใต้ พื้นพิภพ (Geothermal Energy) ที่ให้พลังงานได้แบบไม่มีวันหมด และ หากใช้อย่างชาญฉลาดก็จะกลายเป็นแหล่งพลังงานที่ยั่งยืน
ชาวไอซ์แลนด์รู้จักใช้ประโยชน์จากพลังงานใต้พื้นพิภพนี้มาตั้งแต่ ปี 1908 ชาวบ้านคนหนึ่งในเมืองเรคยาวิก (Reykjavik) ได้ท�ำการสูบน�้ำ จากบ่อน�้ำร้อนมาใช้เพื่อสร้างความอบอุ่นในบ้านเรือน โดยน�้ำพุร้อนที่มี กว่า 600 แห่งทั่วไอซ์แลนด์นี้เกิดขึ้นมาจากแหล่งพลังงานความร้อนใต้พื้น พิภพนั่นเอง ภูมิปัญญาจากคนรุ่นก่อนได้ส่งผลตกทอดให้ชาวไอซ์แลนด์ รุน่ ต่อๆ มาเลือกทีจ่ ะตัง้ ถิน่ ฐานและสร้างชุมชนทีอ่ ยูไ่ ม่ไกลจากบ่อน�ำ้ ร้อน มากนัก นั่นคือที่บริเวณเมืองเรคยาวิก เมืองหลวงของไอซ์แลนด์ซึ่งมี เมษายน 2558 l Creative Thailand l 25
CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
จ�ำนวนประชากรมากกว่าร้อยละ 60 อาศัยอยู่ และด้วยความโชคดี ในสถานที่ตั้งอีกเช่นกันที่ไอซ์แลนด์เต็มไปด้วยแม่น�้ำจากธารน�้ำแข็งและ น�ำ้ ตกทีม่ มี ากมาย จนท�ำให้ดนิ แดนแห่งนีม้ ศี กั ยภาพมากพอทีจ่ ะเป็นแหล่ง ผลิตไฟฟ้าพลังงานน�้ำ (Hydroelectric Energy) แหล่งใหญ่ที่สุดของโลก แต่เนื่องด้วยประชากรชาวไอซ์แลนด์ที่มีอยู่รวมกันทั้งประเทศเพียง สามแสนกว่าคน ท�ำให้ศักยภาพการผลิตพลังงานของไอซ์แลนด์นั้นเกิน ก�ำลังใช้ของคนในประเทศ นั่นหมายถึงโอกาสทองแห่งการส่งออกไฟฟ้า
พลังน�้ำและพลังงานใต้พื้นพิภพสู่ประเทศคู่ค้าที่หิวโหยพลังงานมาใช้ ประโยชน์ หนึ่งในรูปแบบของการส่งออกพลังงานทั้งสองประเภทนี้ อยู ่ ใ นรู ป ของการท� ำ อุ ต สาหกรรมการผลิ ต อะลู มิ เ นี ย มที่ เ ป็ น สิ น ค้ า จากการใช้พลังงานจากทั้งสองแหล่งนี้นั่นเอง นอกจากนี้ไอซ์แลนด์ยัง ตั้ ง เป้ า ไว้ ว ่ า จะน� ำ พาตั ว เองเป็ น ประเทศที่ ไ ม่ พึ่ ง พาพลั ง งานจาก ที่อื่นเลยภายในปี 2050 (เพราะปัจจุบันไอซ์แลนด์ยังต้องน�ำเข้าน�้ำมัน เพื่อเป็นแหล่งเชื้อเพลิงในการท�ำประมงอยู่)
ไม่เพิ่ม (มาก) แต่ช่วยลด ที่ถูกปล่อยออกมาไม่ว่าจะโดยมนุษย์ โรงงานอุตสาหกรรม หรือโดย ธรรมชาติเองก็ตาม ให้สามารถเก็บไว้อยู่ใต้พื้นดินในชั้นหินบะซอลต์ที่ มีศักยภาพในการเป็นตัวช่วยเก็บคาร์บอนไดออกไซด์นี้ไว้ได้เป็นเวลา นานกว่าพันปี เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เหล่านี้ ลอยขึ้นไปสู่ชั้นบรรยากาศอันก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนขึ้นนั่นเอง
flickr.com/photo/geothermalresourcescouncil-Hellisheidi
เป็นที่รู้กันดีว่าไอซ์แลนด์ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ก่อให้เกิด ภาวะโลกร้อนน้อยมาก แต่นั่นก็ไม่ได้เป็นข้ออ้างของชาวไอซ์แลนด์ที่ จะไม่พยายามช่วยหาวิธีการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ก่อให้แก่โลก เพราะการศึกษาและทดลองของโปรเจ็กต์คาร์บฟิกซ์ (CarbFix) ที่บริษัท พลังงานแห่งเรคยาวิก (Reykjavik Energy) ร่วมมือกับนักวิจัยจากหลาย มหาวิทยาลัยชัน้ น�ำของโลก ร่วมกันทดลองกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ต้องใจกล้าเล่นกับไฟ... ถ้าอยากได้แหล่งพลังงานใหม่แห่งอนาคต
ถึงแม้ว่าพลังงานที่ได้จากใต้พื้นพิภพที่ Reykjanes Power Station ที่เดียวจะสามารถให้กำ�ลังมากถึง 100 เมกะวัตต์ ซึ่งเพียงพอต่อการใช้ในหลายหมื่นกว่าครัวเรือน แต่นั่น ก็เทียบไม่ได้เลยกับการได้ค้นพบแหล่งพลังงานใหม่ที่ให้กำ�ลังไฟได้มากกว่าเดิมถึง 10 เท่า นั่นคือแหล่งพลังงานความร้อนแมกมาที่อยู่ในภูเขาไฟใต้พื้นพิภพ โดยโปรเจ็กต์ ทีท่ �ำ การศึกษาและบุกเบิกการใช้แหล่งพลังงานใหม่นมี้ ชี อื่ ว่า “Iceland Deep Drilling Project” หรือ IDDP ซึง่ ก็คงจะไม่ใช่เรือ่ งง่ายนักเมือ่ ต้องควบคุมความร้อนจากธรรมชาติ ในระดับนี้ แต่การมองเห็นอนาคตที่มีแววว่าจะสดใสก็ทำ�ให้หลายคนสนใจลงทุนกับความเสี่ยงนี้จำ�นวนไม่น้อย โดยโปรเจ็กต์ IDDP คาดการณ์ว่าภายใน 10 ปีข้างหน้าหาก สามารถควบคุมแหล่งพลังงานแหล่งใหม่นี้มาใช้ได้สำ�เร็จ ไอซ์แลนด์จะเป็นประเทศผู้นำ�เรื่องพลังงานใต้พื้นพิภพที่เฉิดฉายกว่าเดิม และกลายเป็นผู้ส่งออกพลังงานคนสำ�คัญ และแน่Thail นอนว่ ้อหอมมากในหมู ่มวลของอุตสาหกรรมต่างๆ ที่จำ�เป็นต้องพึ่งพาแหล่งพลังงานใหม่นี้เช่นกัน 26ในยุlโรปCreative andาจะเนื l เมษายน 2558
CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
สิ่งที่น่าสงสัยก็คือทำ�ไมประเทศที่ใช้พลังงานสะอาดอย่างไอซ์แลนด์ ถึงยังต้องพยายามช่วยลดโลกร้อนอีก นัน่ เพราะลึกลงไปใต้พนื้ ดินของไอซ์ แลนด์ มีหนิ บะซอลต์ซงึ่ เป็นหินทีเ่ กิดจากลาวาทีเ่ ย็นตัวอย่างรวดเร็วบนพืน้ ผิวโลกอยู่มากมายจากการระเบิดของภูเขาไฟในอดีต ซึ่งนี่ก็เป็นเหตุผลที่ เพียงพอแล้วสำ�หรับชาวไอซ์แลนด์ทตี่ ดั สินใจลงมือทำ�โปรเจ็กต์ชว่ ยลดโลก ร้อนให้แก่โลกใบนี้
ผลลัพธ์ที่ได้จากโปรเจ็กต์คาร์บฟิกซ์นี้ก็น่าประทับใจเช่นกัน เพราะ สามารถกับเก็บคาร์บอนไดออกไซด์จากบริเวณโดยรอบให้ฝังลึกลงไป ในชั้นหินได้มากถึง 10,000 ตันต่อปี (ต้องไม่ลืมว่าบริเวณโดยรอบนี้คือ ไอซ์แลนด์ ดินแดนที่ใช้พลังงานสะอาด) และแม้ว่าโปรเจ็กต์คาร์บฟิกซ์ จะดู เ ป็ น ฮี โ ร่ กู้ โ ลกร้ อ นมากแค่ ไ หนก็ ต าม แต่ เ งิ น ที่ ต้ อ งใช้ ล งทุ น ทำ� โปรเจ็กต์ก็มีมูลค่าสูงถึง 10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คำ�ถามสำ�คัญก็คือ จะมีใครอีกหรือไม่ที่ยินดีอยากลงทุนช่วยกู้โลกร้อนใบนี้แบบไอซ์แลนด์
ถึงยามคับขันให้ความคิดสร้างสรรค์เป็นตัวช่วย
flickr.com/photo/bjarkis
ปี 2008 ไอซ์แลนด์ประสบปัญหาเศรษฐกิจทางการเงินทีร่ นุ แรงมากจนแทบ จะเป็นประเทศที่ล้มละลาย และสิ่งที่ช่วยกู้ชีพไอซ์แลนด์ขึ้นอีกครั้งไม่ใช่ พระเอกคนเดิมอย่างพลังงานธรรมชาติ แต่กลับกลายเป็นอุตสาหกรรม สร้างสรรค์ ที่มีพื้นฐานจากการน�ำสินทรัพย์ทางวัฒนธรรมมาหลอมรวม กับการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการขับเคลื่อนธุรกิจ ตัวอย่างที่โดดเด่นคือการส่งเสริมทีมโปรดักชั่นภาพยนตร์ท้องถิ่น ในไอซ์แลนด์ เราเห็นฉากหลังของประเทศไอซ์แลนด์ได้เฉิดฉายอย่าง งดงามในภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์หลายเรื่อง ตั้งแต่ Prometheus, Noah, The Secret Life of Walter Mitty, Oblivion และ Interstellar เป็นต้น รายได้จากการส่งเสริมอุตสาหกรรมด้านภาพยนตร์นชี้ ว่ ยกระตุน้ เศรษฐกิจ ได้เป็นเม็ดเงินมหาศาลมากถึง 13 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งสูงกว่า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการประมง และเพียงพอต่อการพลิกฟื้น สภาพเศรษฐกิจให้ไอซ์แลนด์รอดพ้นจากวิกฤตทางการเงินไปได้ นอกเหนือจากเรื่องภาพยนตร์ รายการโทรทัศน์ส�ำหรับเด็กอย่าง LazyTown ที่โด่งดังจนได้ฉายใน 180 ทั่วโลกนั้นก็ไม่สามารถมองข้าม ไอซ์แลนด์ไปได้เช่นกัน หรือแม้กระทั่งการส่งเสริมการผลิตเกมที่สร้าง รายได้ให้ประเทศอย่างน่าประทับใจที่ประมาณ 65 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ CCP Games บริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลกเกมออนไลน์ และหากเทียบกับจ�ำนวนพลเมืองของไอซ์แลนด์ที่มีเพียงสามแสนกว่า คนกับกว่า 7,000 บริษัทที่ท�ำธุรกิจในแนวทางอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ แล้ว คงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าดินแดนเกาะห่างไกลผู้คนแห่งนี้ไม่ได้มีดีแค่ การมีแหล่งพลังงานสะอาดเท่านั้น แต่การพยายามสร้างประเทศด้วย พลังแห่งความคิดสร้างสรรค์ก็โดดเด่นไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน สิ่งนี้สอดคล้องกับหนังสือเจ้าของรางวัล Icelandic Literary Award ประจ�ำปี 2006 เรื่อง Dreamland: A Self-Help Manual for a Frightened Nation เขียนโดยอันดรี สแนร์ แมกเนสัน (Andri Snaer Magnason) โดยเขาได้ให้ความเห็นไว้ว่าชาวไอซ์แลนด์ไม่ควรหวังพึ่งแค่การมีอยู่ของ อุตสาหกรรม แต่ควรแทนที่ด้วยความหลากหลาย ด้วยการเผยแพร่ วัฒนธรรมของชาติให้ปรากฏต่อชาวโลก ชุมชนควรเป็นที่อยู่รวมกันของ เหล่าวิศวกร สถาปนิก ผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ กราฟิกดีไซเนอร์ นักบัญชี ที่ซึ่งพวกเขาทั้งหมดสามารถท�ำงานร่วมกันเพื่อสร้างผลงานยิ่ง ใหญ่ในระดับโลกได้ “ผมอยากเห็นดินแดนแห่งนี้ร�่ำรวยด้วยสินทรัพย์จาก การผสมผสานของภูมิปัญญาและขับเคลื่อนประเทศด้วยอุตสาหกรรม สร้างสรรค์” แมกเนสันกล่าว
ทีม่ า: บทความ "Turning Carbon Dioxide Into Rock, and Burying It" จาก nytomes.com, งานวิจยั “Geothermal Development and Research in Iceland” จาก nea.is, บทความ "Are Volcanoes the Energy Source of the Future?" จาก cnbc.com, บทความ "Climate Change Is Lifting Iceland – and It Could Mean More Volcanic Eruptions" จาก theguardian.com, บทความ "Iceland Banks on the Arts" จาก wired.co.uk, บทความ "Iceland Taps Hollywood for Next Chapter in Recovery Saga" จาก bloomberg.com, บทความ "Power Struggle" จาก ngm.com, บทความ "Turning Carbon Dioxide Into Rock, and Burying It" จาก nytomes.com, รายงาน "10 Things to Know about Reykjavik UNESCO City of Literature" จาก unesdoc.unesco.org, iddp. is.or.is/en/projects/carbfix และ wikipedia.org
เคล็ดลับอยู่ที่การอ่าน
คงไม่มีอะไรจะดีไปกว่าการได้อ่านหนังสือดีๆ สักเล่มในบ้านอุ่นๆ หากต้องอยู่กับสภาพอากาศที่หนาวเย็นตลอดปี สิ่งนี้ทำ�ให้ชาวไอซ์แลนด์กลายเป็นนักอ่านตัวยงมา เนิน่ นานจนเป็นส่วนผสมทีช่ ว่ ยให้คนในดินแดนแห่งนีไ้ ด้บม่ เพาะความรูก้ บั ทักษะในการเป็นคนช่างคิดทีส่ ามารถสร้างสรรค์หลายสิง่ หลายอย่างขึน้ มาเองได้ หากลองจินตนาการ ดูว่าในหนึ่งปีมีคนมายืมหนังสือที่ห้องสมุดแห่งเมืองเรคยาวิก (Reykkjavik City Library) แห่งเดียวกว่าล้านครั้งนั้น ยิ่งทำ�ให้เราเห็นภาพได้ชัดเจนว่าคนที่นี่เป็นนักอ่านชั้นยอด ขนาดไหน ในปี 2010 องค์การยูเนสโกได้ตัดสินใจเลือกเมืองเรคยาวิกให้เป็น “City of Literature” และองค์การยูเนสโกได้สังเกตเห็นปรากฏการณ์หนึ่งในไอซ์แลนด์ที่ เรียกว่า “The Book-Flood Before Christmas” นั่นคือการที่นักเขียนชาวไอซ์แลนด์มักจะออกหนังสือใหม่ๆ ตั้งแต่เดือนตุลาคมจนก่อนถึงวันคริสต์มาสและทำ�การโปรโมต ทุกวิถีทาง นั่นทำ�ให้หนังสือกลายเป็นประเด็นเด่นแบบทอล์กออฟเดอะทาวน์ประจำ�ปีของไอซ์แลนด์ที่ว่า หนังสือเล่มใดควรค่าแก่การซื้อให้เป็นของขวัญในวันคริสต์มาสมาก ทีส่ ดุ และคงจะไม่มปี ระโยคใดทีจ่ ะสะท้อนตัวตนของชาวไอซ์แลนด์กบั การเป็นยอดนักอ่านได้เหมาะสมไปกว่าประโยคนีอ้ กี แล้ว... “คุณสามารถเปลีย่ นโลกใบนีไ้ ด้ดว้ ยบทกวี” นี่คือคำ�กล่าวจากชาวบ้านธรรมดาคนหนึ่งในไอซ์แลนด์ เมษายน 2558 l Creative Thailand l 27
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
ดร.ณรงค์วิทย์ อารีมิตร การประหยัดพลังงานต้องตอบโจทย์ทางธุรกิจ เรื่อง: วิป วิญญรัตน์ ภาพ: พิรานันท์ พาวงษ์
28 l
Creative Thailand
l เมษายน 2558
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
ปัญหาเรื่องพลังงานและความมั่นคงทางพลังงานอาจเป็นหนึง่ ในปัญหาใหญ่ของโลกในศตวรรษที่ 21 หลังจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมเมื่อสองศตวรรษที่แล้ว มาถึงการใช้พลังงานจากฟอสซิล (Fossil Fuel) อย่างน�้ำมัน ทรัพยากรที่ไม่สามารถหาเพิ่มเติมได้ เพราะโลกได้ผ่านจุดที่สามารถผลิตน�้ำมัน (Peak Oil) มาแล้วในช่วงทศวรรษ 1970 การสร้างอาคารประหยัดพลังงาน ไปจนถึงการปรับเปลี่ยนพื้นที่สาธารณะให้คนมาใช้ร่วมกัน จึงถือเป็นการจัดการพื้นที่ให้ ใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งถือเป็นการแก้ปัญหาพลังงาน อย่างหนึง่ อย่างที่ ดร.ณรงค์วทิ ย์ อารีมต ิ ร สถาปนิกจากบริษทั สถาปนิก 49 จ�ำกัด (A49) ผูเ้ ชีย่ วชาญ การออกแบบอาคารเพื่ออนุรักษ์พลังงาน ซึ่งเน้นย�้ำไว้ว่า การให้คนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อ น�ำมาสู่การประหยัดพลังงานนั้น ต้องท�ำให้เป็นสิ่งที่จับต้องได้ และในหลายๆ ครั้งต้องตอบโจทย์ ทางธุรกิจด้วย ใน 24 ชั่วโมง มนุษย์เราบริโภคพลังงานจากส่วนไหนมาก ที่สุด เช่น ที่บ้าน การขนส่ง หรือที่ทำ�งาน
ถ้าเป็นชีวิตอย่างพวกเราๆ คือการท�ำงานในออฟฟิศ จริงๆ การเดินทางมันก็เปลืองนะ แต่คนเราเดินทางไม่ได้ใช้เวลา เยอะมากเมื่ อ เที ย บกั บ เวลาท� ำ งาน ซึ่ ง ส่ ว นใหญ่ เ วลาการ ท�ำงานที่ต้องนั่งในออฟฟิศ เราต้องเปิดแอร์ อันนี้คือช่วงที่ ใช้พลังงานค่อนข้างเยอะ แล้วอาคารแบบไหนใช้พลังงานมากที่สุด
ปัจจุบันนี้ ถ้าดูโดยไม่นับภาคอุตสาหกรรม ในขณะที่บ้าน ส่วนใหญ่เราก็ใช้เวลาอยู่กันกลางคืน และพลังงานพวกที่เกี่ยว กับอาคารส่วนใหญ่จริงๆ คือแอร์ ฉะนั้นการเปิดแอร์ก็คือ การสิ้ น เปลื อ งพลั ง งาน ที่ ที่ เ ปลื อ งมากจริ ง ๆ ก็ คื อ อาคาร ประเภทออฟฟิศ ซึ่งประเทศไทยมันมีปัญหามาก พอคุ ณ ไปท� ำ งานกั น ตอนกลางวั น มั น ก็ จ ะมี พ ลั ง งาน ภาพรวมของโรงไฟฟ้าที่ใช้ผลิตพลังงาน ว่าเราใช้พลังงานสูง แล้วก็มามีประเด็นว่า ท�ำไมเราต้องท�ำโรงไฟฟ้าเพิ่ม อย่าง ออฟฟิ ศ ก็ ใ ช้ แ อร์ ก็ต้องสร้า งโรงไฟฟ้า หรือสิ่งที่ ผลิ ต ไฟฟ้ า มาเพิ่ม
แต่ความเป็นจริงหลีกเลี่ยงไม่ได้ว่าคนทำ�งานออฟฟิศยังไง ก็ต้องเปิดแอร์ หรือบางที่อาจจะมีวิธีอื่น
ก็อาจจะไปลดพลังงานในแง่อื่นๆ ของการออกแบบตัวอาคาร เช่น เปลือกอาคารเอย งานระบบที่ดีขึ้นเอย ก็ถือเป็นการแก้ไข ลักษณะหนึง่ บอกตรงๆ ว่าออฟฟิศผมเองเนีย่ ก็ดจู ะมีเอาท์ดอร์ พอสมควร แต่จริงๆ การใช้พื้นที่มันก็เป็นอินดอร์หมด ก็ต้องใช้ แอร์ งั้นถ้าจริงๆ แพทเทิร์นของการทำ�งานเราที่นั่งโต๊ะใช้คอม หนักๆ ส่วนใหญ่ก็ต้องใช้แอร์โดยปกติ แต่ถ้าเรามองภาพรวม ว่าออฟฟิศคือพื้นที่ให้คนมาทำ�งาน ด้วยกัน อย่างปัจจุบันจะเห็นแพทเทิร์นที่มันเปลี่ยนไปมากขึ้น ยกตัวอย่าง Co-Working Space เราก็จะเริ่มเห็นว่ามีการที่ใช้ รูปแบบออฟฟิศที่เป็นเอาท์ดอร์มากขึ้น เหมือนไปนั่งกินกาแฟ คุยกัน แล้วก็ทำ�งาน บางทีก็อินฟอร์มอลบ้าง ซึ่งลักษณะหรือ พฤติกรรมนั้นจะอะลุ่มอล่วยในแง่ของการไม่ต้องใช้แอร์ ก็รู้สึก ว่ามันสบายได้ ซึ่งต้องบอกตรงๆ ว่าการทำ�งานในที่แบบนั้น มันก็เหมือนกับกึ่งๆ ทำ�งาน กึ่งๆ พักผ่อน ส่วนใหญ่จะเป็นพวก สตาร์ทอัพง่ายๆ เอสเอ็มอีหน่อยๆ หรื อ อย่ า งสมมติ เ ราไปรี ส อร์ ต ถามว่ า เรานั่ ง ทำ�งานที่ รี ส อร์ ต ได้ ไ หม ผมว่ า จริ ง ๆ ก็ พ อได้ ถ้ า มั น ไม่ ไ ด้ มี อ ะไรที่ เป็ น ทางการมาก เราก็ เ อาคอมพิ ว เตอร์ ไ ปตั้ ง นั่ ง ที่ โ น่ น ที่ นี่ เราก็ เ ริ่ ม จะเห็ น ความหลากหลายในการใช้ ชี วิ ต ในแง่ ข อง การทำ�งานทีม่ นั มีการใช้พลังงานทีไ่ ม่เท่ากัน มีทางเลือกมากกว่า การใช้แอร์
เมษายน 2558
l
Creative Thailand
l 29
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
สมมติวา่ นายทุนอยากสร้างตึกอาคารสำ�นักงานให้เช่า แต่อยากจะ ประหยัดพลังงานด้วย มีโจทย์อะไรให้ต้องคิดบ้าง
นักธุรกิจเข้ามาคุยกับผมในฐานะสถาปนิกว่าอยากสร้างอาคารออฟฟิศ และอยากจะประหยัดพลังงานด้วย นั่นคือโจทย์ โจทย์พวกนี้เราเจอ กันค่อนข้างเยอะ ก็ต้องคุยกันว่า เขาอยากได้เงินลงทุนคืนภายในเวลา แค่ไหน เช่น 10 ปี 20 ปี หรืออย่างเช่นออกแบบตึกหรืออาคารใหญ่ๆ ที่เราเห็น จะดูว่าสร้างพื้นที่ให้เช่าได้มากน้อยแค่ไหนตามกฎหมาย ส่วนใหญ่ร้อยเปอร์เซ็นต์ที่จะสร้างเต็มที่เท่าที่กฎหมายจะยอมได้ ซึ่งส่วนใหญ่พื้นที่ให้เช่าเนี่ยถ้ามองถึงการเช่าพื้นที่ว่าง (Conventional Space) ส่วนใหญ่ก็คือพื้นที่เป็นอินดอร์ซึ่งก็คือใช้แอร์ แต่พอเริ่มเข้ามาในแง่ของอยากประหยัดพลังงาน เราก็จะมอง ค�ำว่าอยากประหยัดพลังงานว่ามองในมิติไหน อย่างอยากจะประหยัด ค่าไฟ หรืออาจจะเป็นในแง่ของตึกที่เราบอกว่าใช้แอร์ ก็ต้องท�ำ เปลือกอาคารให้มีประสิทธิภาพสูง ค�ำว่าเปลือกอาคารก็คือ ผนัง กระจก ผนังทึบ ทั้งหมดนี้เรียกว่าเปลือกอาคารที่สัมผัสข้างนอก หรือ ว่าคนที่ไปไกลกว่านั้นอาจจะไม่ต้องการใช้พื้นที่ร้อยเปอร์เซ็นต์ก็ได้ ซึ่ง ต้อ งบอกตรงๆ ว่ า ส�ำหรับ นัก ธุรกิจแล้ว การมองเห็น ประเด็ น สิ่งแวดล้อมโดยไม่มีเรื่องผลตอบแทนเลยมันยาก เพราะฉะนั้นมันก็จะเป็นค�ำตอบที่เราเห็นในสังคมปัจจุบัน คือจะ มีก็พวกสเปซที่เป็น Co-Working Space ซึ่งไม่ได้เน้นก�ำไรมาก แต่ เรื่องอย่างงี้ ผมคิดว่ามันเป็นสิ่งที่จับต้องได้ เวลาเรามองที่อาคารแล้ว มันกลับเป็นตัวเงินยังไง อาจจะเป็นประเด็นว่าค่าไฟเราไม่สงู อย่างเมือง นอกคุณประหยัดไป 10 เปอร์เซ็นต์ จริงๆ ค่าไฟลดแป๊บเดียวก็คนื ทุนแล้ว แล้วถ้าเกิดเราจะปรับปรุงตึกเก่า จะมีวธิ ยี งั ไงทีจ่ ะพัฒนาอาคารเก่าๆ ให้ประหยัดพลังงาน
อาคารเก่าแน่นอนว่ามันมีสิ่งที่มันมีอยู่แล้ว ไม่เหมือนอาคารใหม่ที่เรา ต้องสร้างใหม่หมด การใช้สิ่งที่มีอยู่แล้วให้ได้มากที่สุด ให้ได้ประโยชน์ มากที่สุด คือประเด็นส�ำคัญส�ำหรับอาคารเก่า หรือบางทีเอาบางส่วนที่ มันไม่ได้ใช้ประโยชน์เต็มทีข่ องอาคารเก่ามาใช้ในรูปแบบใหม่ เพือ่ ท�ำให้ มันมีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างโครงการหนึง่ เราปรับปรุงอาคารส�ำนักงานทีร่ ะยอง ตึกแต่กอ่ น มีกระจกสีชาด�ำ ซึ่งตึกที่นู่นก็เหมือนกัน ตัวกระจกสีชาด�ำเนี่ยมันท�ำให้ แสงเข้าไปเกือบจะไม่ได้เลย แล้วออฟฟิศก็ต้องเปิดไฟ เราก็เฮ้ย! งั้นก็ เอากระจกชาด�ำไปทิ้งซะ แล้วเอากระจกอันใหม่ที่มันรับแสงธรรมชาติ มาใช้ให้มากขึ้น แต่ประเด็นก็คือว่าเอาไปทิ้งเลยน่ะมันง่าย แต่มันเอา ไปใช้ประโยชน์อย่างอืน่ ได้ไหม อย่างเช่นเอาไปท�ำเป็นทีก่ นั แสงข้างนอก อย่างเช่นแสงมาในช่วงตรงที่มันจะแยงตาก็ให้เอาไปกันแสงซะ เพื่อให้ มันได้ท�ำหน้าที่ในรูปแบบใหม่ๆ โดยใช้วัสดุเดิมเพื่อพัฒนาตึกให้ดีขึ้น 30 l
Creative Thailand
l เมษายน 2558
ถ้ า จะสร้ า งสั ง คมสมั ย ใหม่ ใ ห้ เ ป็ น เมื อ งแบบใหม่ จ ริ ง ๆ คื อ การท� ำ ให้ ตัวเมืองกะทัดรัดที่สุด ใช้พลังงาน ให้ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพที่ สุ ด ก็ จ ะเป็ น คอนเซ็ปต์ทจี่ ะตอบรับชีวต ิ สมัยใหม่
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
ผมเชื่อว่าไม่ว่าเราจะบอกเขายังไงว่าเปิดแอร์ได้นะ แต่เปิดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นนะ มันเข้าใจไม่ง่ายเท่าไหร่ โดยเฉพาะเวลาที่คุณต้องล้วงเงินในกระเป๋าออกไปเพื่อจ่ายค่าที่เพิ่มขึ้นทั้งหลาย โครงสร้างครอบครัวที่เปลี่ยนไปจะทำ�ให้การใช้พลังงานเปลี่ยนไป หรือไม่
สมัยก่อนการเป็นครอบครัวใหญ่เราก็แชร์อะไรร่วมกันได้เยอะ เทียบกับ สังคมสมัยใหม่ที่เราแยกกัน 3-4 ห้อง ทีวีเปิดหลายเครื่องแทนที่จะเป็น ห้องเดียว ไม่นับการมีเทคโนโลยีที่มากขึ้น ซึ่งเป็นปกติอยู่แล้วที่เราจะใช้ มากขึ้น คอนเซ็ปต์จริงๆ คือการแชร์พลังงานหรืออะไรก็ตามที่ใช้ร่วมกัน ได้ทำ�ให้ประหยัด แต่ถา้ คิดว่าเป็นครอบครัวแบบใหม่เทียบกันระหว่างบ้าน 5 หลังกับห้อง 5 ห้อง คิดง่ายๆ ก็เปิดแอร์เท่ากัน แต่ห้อง 5 ห้องที่อยู่ติด กันจะโดนแดดบางส่วน บ้านโดนทัง้ หลัง ฉะนัน้ การเป็นเมืองแล้วทำ�ให้คน มาอยู่ร่วมกันได้มากที่สุด ก็จะทำ�ให้ลดพลังงานลงเยอะ รวมทั้งเรื่องการ ขนส่งด้วย ถ้าจะสร้างสังคมสมัยใหม่ให้เป็นเมืองแบบใหม่จริงๆ คือการ ทำ�ให้ตัวเมืองกะทัดรัด (Compact) ที่สุด ใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพ ที่สุด ก็จะเป็นคอนเซ็ปต์ที่จะตอบรับชีวิตสมัยใหม่ ทำ�ยังไงให้คนประหยัดพลังงานแล้วไม่รู้สึกลำ�บาก
ถ้าตีความว่าไม่ลำ�บากคือสบาย คือไม่ให้วิถีชีวิตหรือคุณภาพชีวิตตกลง ถ้าสมมติสบายคือการเปิดแอร์ แสดงว่าคุณต้องเปิดแอร์ ทีนี้จะเปิดแอร์ ยังไงให้ใช้พลังงานน้อยที่สุด ตอบแบบง่ายๆ คือเปลี่ยนแอร์เป็นเบอร์ 5 เปลี่ยนกระจกให้ดีขึ้น หรือกรอบของความสบายมันอาจจะไม่ใหญ่มาก ก็ได้ อาจโฟกัสเป็นบางส่วนได้ไหม เช่นเปิดเป็นบางห้อง หรือจัดการเรื่อง อื่นๆ ด้วยการทำ�ให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น มีต้นไม้ แอร์ก็จะใช้พลังงานน้อยลง มันก็จะมีวิธีเยอะที่จะตอบว่าสบายแล้วทำ�ยังไง คือเปิดแอร์แล้วทำ�ยังไง ให้การเปิดแอร์มันมีประสิทธิภาพมากที่สุด แต่คำ�ว่ามีประสิทธิภาพมากที่สุดไม่ใช่การเปลี่ยนแอร์ เปลี่ยนกระจก อย่างเดียว ควรจะมองมิติอื่นด้วย เช่น ทำ�ห้องให้เล็กลงได้ไหม เปิดแค่ บางส่วนได้ไหม ถ้าถามว่าเขาลดความสบายไหม เขาไม่ได้ลดนะ แค่อาจ จะลดพื้นที่ตรงนั้นลง ซึ่งเขายอมในเรื่องพวกนี้ได้หรือเปล่า ผมเชือ่ ว่าสุดท้ายมันจะเป็นในแบบทีผ่ มพูดตอนแรกคือ ถ้าเขาจับต้อง ได้ง่ายขึ้น เขาจะเข้าใจเรื่องนี้ได้ง่ายขึ้น ผมเชื่อว่าไม่ว่าเราจะบอกเขายัง ไงว่าเปิดแอร์ได้นะ แต่เปิดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นนะ มันเข้าใจไม่ง่าย เท่าไหร่ โดยเฉพาะเวลาที่คุณต้องล้วงเงินในกระเป๋าออกไปเพื่อจ่ายค่าที่ เพิ่มขึ้นทั้งหลาย แต่ถ้าคุณจับต้องไม่ได้หรือไม่เข้าใจ มันก็ค่อนข้างยาก
เพราะเราต้องคุยกับคนทีไ่ ม่รเู้ รือ่ งนี้ เขาไม่สนใจหรอกว่าโลกเราจะร้อนขึน้ ไปเท่าไหร่ ต้นไม้จะถูกตัดเท่าไหร่ เพราะมันไม่กระทบกับชีวิตเขา ไม่ใช่ เพราะเขาเป็นคนไม่ดนี ะครับ แต่เพราะมันไม่ได้กระทบชีวติ เขาแบบชัดเจน ผมเชื่อว่ามันต้องหาอะไรที่ง่ายแล้วเขาจะเริ่มพวกนี้เอง ทีเ่ มืองไทยมีแต่มหี า้ งสรรพสินค้าทำ�ให้สนิ้ เปลืองพลังงานมากรึเปล่า
ถ้ามองสิ่งที่เรามีอยู่ คือการใช้ห้างมันไม่เลวร้ายนะ เพราะคุณจะไปห้าง หรือไม่ไปห้าง ห้างก็เปิดแอร์ เปิดไฟเท่าเดิมอยู่ดี ผมมองว่ากับสิ่งที่มีอยู่ คือการไปแชร์และใช้สาธารณูปโภคร่วมกันมันก็เป็นสิง่ ทีด่ ี เพราะคุณไม่ได้ ใช้พลังงานอยู่คนเดียว แสดงว่าเมืองไทยมีห้างเป็นพื้นที่สาธารณะ
ใช่ แต่ไม่ได้หมายความว่าให้มเี พิม่ ขึน้ นะ เพราะสร้างห้างเพิม่ ก็ใช้พลังงาน เพิ่มอยู่แล้ว แต่ถ้าเราใช้สิ่งที่มีอยู่ ก็ต้องใช้ให้ดีที่สุด นั่นคือประเด็น เทรนด์ที่สร้างคอมมูนิตี้มอลล์มากกว่าสร้างห้างเป็นการสร้างพื้นที่ สาธารณะเชิงพาณิชย์ ที่ประหยัดพลังงานมากขึ้นไหม
โดยปกติคอมมูนิตี้มอลล์ใช้แอร์น้อยลง เรื่องพลังงานก็ดีขึ้น และการ สร้างความตระหนักรู้ ให้คนรู้สึกว่าการใช้ชีวิตแบบเอาท์ดอร์มันดีนะ ผมว่าตรงนี้สำ�คัญว่าคอมมูนิตี้มอลล์มันดีต่อชีวิตยังไง ซึ่งแต่ก่อนที่ สร้างใหม่ๆ เราทำ�ให้คนเชื่อได้ยากมาก แต่พอตอนนี้เห็นตัวอย่างชัดเจน แล้วว่ามัน ก็สำ�เร็จในบางแง่มุม ถึงจะไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่แบบที่ เข้าใจง่ายๆ ก็คือเปิดแอร์น้อยลง ใช้ชีวิตเอาท์ดอร์เพิ่มขึ้น ทำ�ให้ชีวิตดีขึ้น มั น ก็ ดู ช่ ว ยพลั ง งานในภาพรวม แต่ นี่ ก็ ไ ม่ ไ ด้ พู ด ถึ ง การเพิ่ ม ขึ้ น ของ คอมมู นิ ตี้ ม อลล์ น ะ เพราะการเพิ่ ม ขึ้ น ของห้ า งไม่ ว่ า จะอิ น ดอร์ ห รื อ เอาท์ดอร์มันก็ใช้พลังงานมากอยู่แล้ว แต่ถามว่าเราจำ�เป็นต้องมีห้างไหม มันไม่จำ�เป็นนะ ไม่ใช่ปัจจัยสี่ เพราะถ้าไม่มีห้างจริงๆ เราก็อยู่ได้ แต่ถ้า พูดถึงห้างที่มันดีอยู่แล้ว ห้างแบบเอาท์ดอร์มันก็โอเคกว่า แล้วการที่คน ในเมืองมาแชร์พวกสาธารณูปโภคร่วมกัน มันก็ถือว่าเป็นวิธีการแก้ปัญหา เรื่องพลังงานเหมือนกัน
การที่ ค นในเมื อ งมาแชร์ พ วกสาธารณู ป โภค ร่วมกัน มันก็ถือว่าเป็นวิธีการแก้ปัญหาเรื่อง พลังงานเหมือนกัน เมษายน 2558
l
Creative Thailand
l 31
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
ถามว่าการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจคืออะไร ถ้าคืออุตสาหกรรม ต้องผลิตมากขึ้น มันก็มีผลอยู่แล้ว แต่ถ้าภาคอุตสาหกรรมจะปรับให้มันกรีนขึ้นได้ ไหม มันก็ท�ำได้ การก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุมีผลต่อพลังงานของโลกหรือไม่
ผมว่ามันก็มีผล เช่น ญี่ปุ่นตอนนั้นก็มีปัญหา แต่ก็ไม่ได้สรุปว่ามีผลต่อ พลังงาน แต่มงุ่ ไปว่าใครจะหาเงินมาเลีย้ งคนสูงอายุมากกว่า ส่วนตัวผม ไม่เชื่อว่าคนแก่จะใช้พลังงานมากกว่าคนหนุ่มนะ แต่คนที่ไม่ได้ท�ำงาน มีปริมาณเยอะ แสดงว่าคนที่ท�ำงานก็ต้องท�ำงานช่วยสนับสนุนในเรื่อง เงินหรือเรื่องพลังงาน คนขับเคลื่อนสังคมน้อยลงเพื่อเลี้ยงคนมากขึ้น ประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมก็จะมีมากขึ้น การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจหมายถึงการใช้พลังงานที่มากขึ้น เสมอใช่ไหม
ถามว่าการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจคืออะไร ถ้าคืออุตสาหกรรม ต้อง ผลิตมากขึ้น มันก็มีผลอยู่แล้ว แต่ถ้าภาคอุตสาหกรรมจะปรับให้มัน กรีนขึน้ ได้ไหม มันก็ทำ� ได้ แต่เรายังไม่ได้เห็นมาตรการ โดยเฉพาะเมือง ไทยที่ไม่ได้พูดเรื่องนี้กันเท่าไหร่ แต่ผมเชื่อว่าท�ำได้ แค่มันยาก หรือคน ในเมืองก็มีวิธีแก้ปัญหาอยู่แล้วว่าจะท�ำยังไง เช่นการแชร์พื้นที่กัน หรือ การใช้ชนส่งมวลชนอย่างรถเมล์ รถไฟ ตอนผลิตเราใช้พลังงานมาก ก็จริงแต่ในระยะยาวคือการแชร์ ซึ่งปกติขนส่งสาธารณะท�ำให้ใช้ พลังงานลดลงเสมอ ดีกว่าผลิตรถยนต์พันคันเพื่อคนพันคน
ณ ตอนนี้มันก็ยังไม่พร้อม มันเป็นสิ่งที่ดี แต่อาจจะยังไม่ใช่ส�ำหรับ ปั จ จุ บั น หรื อ ส� ำ หรั บ ทุ ก คน งั้ น เราบอกว่ า บางส่ ว นให้ เ ป็ น จั ก รยาน ไปบางส่วนใช้รถไฟฟ้าไปได้ไหม เพราะสังคมเรามีความหลากหลาย เพียงถ้าคุณมีโซลูชั่นที่ดีก็เริ่มใช้เถอะ ไม่มีปัญหา เราสนับสนุนอยู่แล้ว เพราะในสั ง คมเรามี วิ ธี แ ก้ ป ั ญ หาที่ ม ากกว่ า หนึ่ ง อยู ่ แ ล้ ว แล้ ว เรา มารวมๆ กัน สุดท้ายมันอาจเป็นทางออกที่ดี 10 อย่างที่ตอบโจทย์ 100 เปอร์เซ็นต์ก็ได้ ทางออกด้านพลังงานมันไม่ได้มีโซลูชั่นเดียว แต่มัน ต้องเป็นวิธีแก้ปัญหาที่หลากหลายส�ำหรับคนแต่ละประเภท วัฒนธรรม และประเทศ เราคงไม่สามารถ รอเมืองให้ปรับ ให้พร้อมร้อยเปอร์เซ็นต์ แล้วเราถึงเริ่ม เพราะในยุค ที่เราหาข้อมูลได้ เรามีประสิทธิภาพ ในตัวเราเองค่อนข้างสูง เราจะปรับตัวเองได้ ก่อนที่เมืองจะปรับ
จักรยานในกรุงเทพฯ จะรอดไหม
ผมเป็นคนหนึง่ ทีข่ จี่ กั รยาน ซึง่ มันขึน้ กับเงือ่ นไขและการวางแผน เราต้อง วางแผนมากขึ้น แต่เราก็โชคดีที่มีเทคโนโลยีที่เราเข้าถึงได้ง่ายขึ้น ท�ำให้เราได้เลือกโซลูชั่นที่ปลอดภัยมากขึ้น แต่ถ้าคุณหาไม่ได้ แสดงว่า เมืองก็ไม่ได้พร้อมส�ำหรับคุณ แต่คนที่พร้อม ผมเชื่อว่าท�ำได้ ฉะนั้นเรา คงไม่สามารถรอเมืองให้ปรับให้พร้อมร้อยเปอร์เซ็นต์แล้วเราถึงเริ่ม เพราะในยุคทีเ่ ราหาข้อมูลได้ เรามีประสิทธิภาพในตัวเราเองค่อนข้างสูง เราจะปรับตัวเองได้กอ่ นทีเ่ มืองจะปรับ อย่างในปัจจุบนั สิง่ ทีเ่ ป็นมากกว่า เรื่องพลังงานคือเรื่องเทรนด์ ผมก็โอเคที่คนมองว่ามันคูลนะ แต่มันก็ ไม่ได้แทนที่หรือเปลี่ยนทั้งหมด แต่ถ้าสามารถลดการใช้พลังงานลง ได้ 10 เปอร์เซ็นต์มันก็เป็นตัวเลขที่เยอะนะ แล้วเราสามารถยอม ล�ำบากได้ ถ้าเรามองในภาคประชาชนที่ขับเคลื่อนสังคม ผมเชื่อว่า มันจะปรับเอง สุดท้ายแล้ว คุณแล้วคิดยังไงกับรถยนต์ไฟฟ้า
มันก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีนะ แต่มันไม่ได้พร้อมส�ำหรับทุกคน และไม่ใช่ ทางออก ที่ถ้าไปใช้แล้วมันจะดีที่สุด เพราะถ้าเอามาวิ่งในเมืองไทย 32 l
Creative Thailand
l เมษายน 2558
Creative Ingredients เวลาว่าง
จริงๆ ผมนัง่ นึกดูวา่ ในช่วงทีผ่ า่ นมา ผมมีเวลาทีเ่ รียกว่าเวลาว่างบ้างหรือไม่ ส่วนใหญ่ ว่างจากงานก็คือใช้เวลากับลูกกับภรรยา ตอนลูกกับภรรยานอนก็ทำ�งานหรือ หาข้อมูลเกี่ยวกับงานหรือเรื่องที่สนใจ เวลาว่างเหมือนเมื่อก่อนที่ไม่รู้จะทำ�อะไร มันไม่มีอีกต่อไปแล้ว หนังสือที่มีอิทธิพลเปลี่ยนมุมมอง
ในปีสดุ ท้ายของมหาวิทยาลัย มีวชิ าสัมมนา ซึง่ ให้นกั เรียนแต่ละคนเข้ามาพูดคุยเกีย่ ว กับหนังสือหรือเรื่องราวต่างๆ เล่มแรกที่อาจารย์ให้นำ�เข้ามาพูดคุยกันในวิชานั้นคือ เจ้าชายน้อย วันนั้นมันทำ�ให้ผมเปลี่ยนความคิดจาก “สิ่งที่ทุกคนทำ� = สิ่งที่ควรทำ�” มาเป็น “สิ่งที่กลั่นกรองว่าถูกต้อง = สิ่งที่ควรทำ�” ที่ขี่จักรยานเล่น
ไม่ได้ขเ่ี ล่นครับ อาจจะมีพาลูกไปขีจ่ กั รยานบ้างแต่ตวั เองไม่ได้ขเี่ ล่นเลยครับ จักรยาน สำ�หรับผมไม่ใช่ไลฟ์สไตล์ แต่เป็นวิธีการในการใช้ชีวิตที่ดีขึ้นมากกว่า
reading THAI NEOTRADITIONAL ART By ANDREW J. WEST Bt.2,000 Neotraditional Art is a distinctively Thai form of art that sprung forth onto the Thai and international art scene during the early eighties, the progeny of the marriage of elements melded by its practitioners
MOSAIC GARDEN PROJECTS By MARK BRODY Bt.675 Mosaic Garden Projects is a DIY project book which offers straightforward, practical advice on how to create stunning contemporary mosaics for outdoor spaces. The 25 decorative projects in this book are inspiring original designs that anyone can try at home.
IN AND OUT OF PARIS: GARDENS OF SECRET DELIGHTS By ZAHID SARDAR Bt.1,625 When French queen Catherine de Medici created the Tuileries Palace and Garden outside Paris’ medieval walls, she began the unprecedented expansion and greening of one of the world’s great cities. Now Paris’s extraordinary public parks are rivalled only by secret courtyard gardens behind inscrutable seventeenth-century façades and miniature orchards of delight on hidden roof terraces.
F o r m o r e i n f o r m a t i o n , p l e a s e c a l l Te l . 0 2 - 2 5 1 - 8 5 7 1
w w w. a s i a b o o k s .c o m
CREATIVE WILL คิด ทำ� ดี
SMA ECO TOWN HARUMIDAI*
หมู่บ้านประหยัดพลังงาน...ห่วงใยโลก
เรื่อง: ปิยะพร สวัสดิ์สิงห์
เป็นเรือ่ งดีทที่ กุ วันนีม้ ผี คู้ นจ�ำนวนไม่นอ้ ยทีใ่ ห้ความส�ำคัญและใส่ใจกับการประหยัดพลังงาน ความตัง้ ใจทีจ่ ะใช้พลังงานให้นอ้ ยลง พร้อมๆ กับการแสวงหา พลังงานทดแทนใหม่ๆ ที่ไม่ท�ำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการคิดค้นวิธีการมากมายเพื่อลดทอนการใช้พลังงานจากทรัพยากรที่ ใช้แล้วหมดไป ก็ยังคงเกิดขึ้นอยู่อย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับการเกิดขึ้นของ “หมู่บ้านประหยัดพลังงาน” ที่ฟังดูคล้ายจะเป็นภาพในจินตนาการของใคร หลายคน แต่ทว่าก็เกิดขึ้นจริงได้แล้วในวันนี้ เมื่อเดือนมิถุนายน ปี 2012 Daiwa House Industry บริษัทผู้ก่อสร้างบ้านส�ำเร็จรูปและนักพัฒนาที่ดินรายใหญ่แห่งหนึ่งของญี่ปุ่นได้ริเริ่มสร้าง หมู่บ้านประหยัดพลังงานและเปิดให้มีการจองและอยู่อาศัยจริง ที่เมืองซาไก (Sakai) ทางตอนใต้ของโอซากา บนพื้นที่ 16,754 ตารางเมตร มีจำ� นวนบ้านทัง้ สิน้ 65 หลัง ด้วยความตัง้ ใจทีจ่ ะสร้างชุมชนผลิตคาร์บอนต�ำ่ ลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากกิจกรรมในชีวติ ประจ�ำวัน และหลีกเลี่ยงการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงหรือน�้ำมัน ไปจนถึงจะไม่ใช้พลังงานใดๆ เพิ่มนอกเหนือจากที่หมู่บ้านผลิตได้ (Net Zero Energy House) นี้ ได้ถกู ด�ำเนินการให้เป็นจริงโดยการน�ำพลังงานแสงอาทิตย์จากแผงพลังงานทีต่ ดิ ตัง้ บนหลังคาของบ้านทุกหลังมาเก็บสะสมไว้ในแบตเตอรีล่ เิ ทียมไอออน เพือ่ ใช้สำ� หรับกิจกรรมต่างๆ แทนการใช้ไฟฟ้า โดยทีบ่ า้ น 1 หลัง จะติดตัง้ แผงพลังงานแสงอาทิตย์หรือโซลาร์เซลล์ทสี่ ามารถผลิตไฟฟ้าได้มากทีส่ ดุ อยูท่ ี่ 5 กิโลวัตต์ ขึ้นอยู่กับขนาดของบ้าน อีกทั้งยังมีระบบการจัดการพลังงานภายในบ้าน (Home Energy Management Systems: HEMS) ที่สามารถท�ำให้ ทราบได้วา่ เราใช้พลังงานไปแล้วเท่าใดและยังคงเหลืออยูอ่ กี เท่าใดด้วย นอกจากนีย้ งั มีการตัง้ เป้าจะน�ำพลังงานทีเ่ หลือจากแต่ละบ้านมาใช้ประโยชน์ใน ส่วนกลางของหมู่บ้าน เช่น ใช้ส�ำหรับไฟส่องทางบนถนน หรือรถยนต์ไฟฟ้าของหมู่บ้านที่ไม่ต้องใช้พลังงานน�้ำมันและไม่ก่อให้เกิดมลพิษ และหากยัง มีพลังงานเหลือมากพอก็ยังสามารถน�ำพลังงานไปแบ่งปันให้กับหน่วยงานอื่นๆ ได้ต่อไป แม้ว่าบ้านหนึ่งหลังของหมู่บ้านประหยัดพลังงานแห่งนี้จะมีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 14 ล้านบาท ด้วยต้นทุนของการก่อสร้างบ้านบวกกับการใช้เทคโนโลยี ที่มาราคาค่อนข้างสูงก็ตาม หากแต่เจตนาดีและความตั้งใจที่จะไม่ท�ำร้ายธรรมชาติกลับมีความหมายมากยิ่งกว่า “หมู่บ้านประหยัดพลังงาน” แห่งนี้จึง เป็นเหมือนต้นแบบทางแนวคิด ทีน่ อกจากจะคิดมาอย่างรอบด้าน เริม่ ต้นจากการไม่เบียดเบียนธรรมชาติ ใช้เท่าทีม่ ี และไม่ทำ� สิง่ ทีส่ ง่ ผลร้ายต่อส่วนอืน่ ๆ แล้ว ก็ยังแฝงเรื่องของการแบ่งปันจากชุมชนเล็กๆ ไปสู่ภาคสังคมขนาดใหญ่ ถือเป็นการใช้เทคโนโลยีอย่างชาญฉลาดที่เปิดโอกาสให้ทุกคนได้มีส่วน ร่วมในการรักษาเพื่อตระหนักถึงผลลัพธ์ที่ยั่งยืนร่วมกัน
asiagreenbuildings.com
*คำ�ว่า Harumidai คือ การพัฒนาที่อยู่อาศัยที่ไม่ใช้พลังงานเพิ่ม เพื่อให้ผู้ที่อยู่อาศัยรู้สึก ปลอดภัยและสบายใจในการได้เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อม
ที่มา : บทความ "หมู่บ้านประหยัดพลังงาน" จาก green.kmutnb.ac.th, บทความ “Japan's Ecological Village” (4 ธันวาคม 2013) จาก en.cncnews.cn , บทความ “Japan's First Zero Energy Neighborhood, a New Way of Living” (4 ธันวาคม 2013) จาก asiagreenbuildings.com, kansai.gr.jp 34 l Creative Thailand l เมษายน 2558
Tohoku_CT AD_ 21x13.5cm_FINALco-030315.pdf
1
3/31/2558 BE
8:15 PM
นิทรรศการศิลปหัตถกรรมอันงดงามแหงโทโฮขุ-ญี่ปุน
JOB
โอกาสในการจ างงาน
CHANNEL
ช องทางในการโปรโมตผลงาน
KNOWLEDGE
บทความที่ให ความรู
CONNECTION
ต อยอดธุรกิจ
Creative Business Community
สร างโอกาสของคุณ ด วยการร วมเป นส วนหนึ่งของเคร�อข ายธุรกิจสร างสรรค เร��มต นสร าง Online Portfolio ของคุณที่ WWW.TCDCCONNECT.COM