The greatest enemy of knowledge is not ignorance, it is the illusion of knowledge.
ศัตรูที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของความรู้ไม่ใช่ความไม่รู้ แต่คือความไม่รู้จริง
Daniel J. Boorstin
นักประวัติศาสตร์ชาวอเมริกันผู้เชี่ยวชาญ ทั้งเรื่องประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา และประวัติศาสตร์โลก
CONTENTS สารบัญ
6
The Subject
Insight
20
Creative Entrepreneur
22
Matter
Creative City
24
12
Classic Item
The Creative
28
14
Cover Story
Creative Will
34
Seeking for True Transparency/ What Farmers Need in the Era of Big Data?/ Organic 3.0 จากนิช มารเก็ต สูกระแสหลัก
Plant Dilemma
GREENNET SE: เพาะกลากาแฟ ขยายผลสูสังคม
8 10
Creative Resource
Featured Book/ Documentary/ Book/ Book
คืนชีพวัสดุเหลือใชจากการเกษตร
Canning Food
Organic Farming ทางเลือกที่นารอด
ทุงกุลารองไห: The Illusion of Development
กาย ไลย มิตรวิจารณ: พิถีพิถันกับอาหารการกินแบบฉบับศตวรรษที่ 21
เพลินขาวบาน…กิจการขาวพื้นเมืองสูคนเมือง
บรรณาธิการอำนวยการ l อภิสทิ ธิ์ ไลสตั รูไกล ทีป่ รึกษา l ชมพูนทุ วีรกิตติ, พิชติ วีรงั คบุตร, จรินทรทพิ ย ลียะวณิช บรรณาธิการบริหาร l ศุภมาศ พะหุโล ผูช ว ยบรรณาธิการ l พัชรินทร พัฒนาบุญไพบูลย กองบรรณาธิการ l ศิริอร หริ่มปราณี, มนฑิณี ยงวิกุล, เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร, กริยา บิลยะลา, ปยวรรณ กลิ่นศรีสุข, นันทนรี พานิชกุล เลขากองบรรณาธิการ l วรรณเพ็ญ บุ ญเพ็ญ บรรณาธิการศิลปกรรม l พจน องคทวีเกียรติ ศิลปกรรม l พัชราภรณ เตชะเลิศไพศาล, เบญจณิษฐ แดงบุบผา สมาชิกสัมพันธ l ปยะพร สวัสดิ์สิงห ประสานงานกองบรรณาธิการ l ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ จัดทำโดย l ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (TCDC) ชั้น 24 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอร 622 สุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 โทร. 02 664 7667 แฟกซ. 02 664 7670 ติดตอลงโฆษณาไดที่ creativethailand@tcdc.or.th พิมพที่ l บริษัท ทูโฟร พริ้นติ้ง จำกัด โทร. 02 416 7300 แฟกซ. 02 416 7320 จำนวน 30,000 เลม นิตยสารฉบับนี้ใชหมึกพิมพจากน้ำมันถั่วเหลืองที่ไมเปนอันตรายตอสุขภาพ ทั้งยังเปนมิตรตอสิ่งแวดลอม และใชกระดาษรีไซเคิล ซึ่งเปนผลผลิตของผูประกอบการไทย จัดทำภายใตโครงการ “Creative Thailand สรางเศรษฐกิจไทยดวยความคิดสรางสรรค” โดยศูนยสรางสรรคงานออกแบบ สำนักงานบริหารและพัฒนาองคความรู (องคการมหาชน) ซึ่งมีเปาหมาย ในการเผยแพรความรูเกี่ยวกับเศรษฐกิจสรางสรรค (Creative Economy) และผลักดันการใชความคิดสรางสรรค ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย สามารถดูสถานที่จัดวางทั้งหมดไดที่ creativethailand.org อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส แสดงที่มา-ไมใชเพื่อการคา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย
ถายภาพปก l พิรานันท พาวงษ ชางภาพวัย 22 ผูเ ริม่ ตนจากเด็กฝกงานทีใ่ ช iPhone ถายภาพ เบือ้ งหลังสารคดี CMDW2014 ในวันนีไ้ ดถา ยภาพดวยกลองจริง พรอมความตัง้ ใจและการฝกฝนอยางหนักเพือ่ ใหภาพถายในแตละ รูปไดบอกเลาเรือ่ งราวและตัวตนของเจาของภาพใหไดมากทีส่ ดุ ผลงาน: virusfilmbkk.tumblr.com/tagged/photography
EDITOR'S NOTE บทบรรณาธิการ
Where the Land Touches the Soul ณ ทาลการ์ธ (Talgarth) เมืองเล็กๆ แห่งหนึ่งในเขตอุทยานแห่งชาติเบรคอน บีคอนส์ (Brecon Beacons) ภูมิภาคเวลส์ ความมุ่งมั่นที่กอบกู้ความรุ่งเรืองของชุมชน ความอุดมสมบูรณ์ของพืชผล ทางการเกษตรท้องถิ่นและแรงงานที่จากไปได้กลายเป็นจริงขึ้นมาในช่วงระยะเวลาไม่กี่ปี เรื่องราว เริม่ จากจุดเล็กๆ เมือ่ ชุมชนต้องการจะบูรณะกังหันน�ำ้ เก่าแก่อายุกว่า 200 ปี โดยได้รบั การสนับสนุน จากบีบซี ี ซีรสี ์ (BBC Series) ทีก่ ำ� ลังท�ำสารคดีเกีย่ วกับชุมชนเก่าของอังกฤษ โครงการทาลการ์ธ มิลล์ (Talgarth Mill) ได้รับทุน 400,000 ปอนด์จากเงินลอตโต้ของรัฐบาลเป็นทุนในการฟื้นฟูเครื่อง โม่แป้งจากกังหันน�ำ้ แต่เรือ่ งไม่ได้หยุดอยูท่ คี่ วามส�ำเร็จของเครือ่ งโม่แป้งทีเ่ สร็จสมบูรณ์จนใช้การได้ ทว่าชุมชนได้คิดแผนการต่อเนื่องถึงความเป็นไปได้ทางธุรกิจที่จะเกิดขึ้นรอบๆ เครื่องจักรโบราณนี้ โดยเครื่องโม่แป้งที่กลับมาใช้งานได้อีกครั้งหลังจากหยุดใช้ไปตั้งแต่ปี 1940 เพื่อผลิตแป้งขนมปัง คุณภาพดีเลิศจากเมล็ดพันธุ์ สมุนไพร และพืชไร่ในแถบอุทยานที่เติบโตจากแม่น�้ำแอลลิแว (River Ellywe) ที่ไหลผ่านกลางเมือง ได้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยว จัดฝึกอบรม ดูงาน สอนโม่แป้งและ ท�ำแป้งขนมปัง โดยมีทั้งอาสาสมัครและพนักงานที่ผันตัวจากอาชีพอื่นๆ มาเป็นคนท�ำแป้งขนมปัง แบบเต็มเวลา จากแป้งขนมปังที่ผลิตจากท้องถิ่น ได้น�ำไปสู่การเปิดร้านเบเกอร์ส เทเบิล (Baker’s Table) ซึ่ง เกิดจากคนรุ่นใหม่ที่ทิ้งอาชีพเดิม เช่น นักโบราณคดีหรือครู มาเป็นนักท�ำเบเกอรี่ เบเกอร์ส เทเบิล มีปรัชญาการผลิตที่เน้นการใช้วัตถุดิบจากภูมิภาคเวลส์ เพื่อส่งเสริมรายได้และเผยแพร่ผลิตภัณฑ์ ที่ดีที่สุดแต่ถูกหลงลืมของท้องถิ่น จึงไม่น่าแปลกใจว่า ท�ำไมร้านเบเกอรี่เล็กๆ แห่งนี้จึงมีเครือข่าย วัตถุดิบที่มาจากมากกว่า 15 ฟาร์ม ตั้งแต่ผลิตภัณฑ์เนื้อ ไส้กรอก ชีส ปลารมควัน ซอฟต์ดริงก์จนถึง แอปเปิลไซเดอร์ ซึ่งผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดล้วนมาจากเกษตรกรผู้หลงรักในภูมิภาค เช่น จอห์น และ มาร์กาเร็ต มอร์รสิ ผูเ้ กษียณตัวเองมาเป็นคนท�ำฟาร์มแอปเปิลและผลิตไซเดอร์คณุ ภาพดีจนได้รางวัล ของภูมิภาคมาแล้ว นอกเหนือจากการผลิตที่ยิ่งกว่าแนวคิดแบบฟาร์มทูเทเบิล (Farm to Table) ทีท่ าลการ์ธมอบให้แล้ว ในเมืองยังส่งต่อความประทับใจให้ผมู้ าเยีย่ มเยือนด้วยร้านค้าเล็กๆ ทีเ่ ต็มไปด้วย การรวบรวมผลงานของช่างฝีมือและศิลปินท้องถิ่นอีกด้วย เรือ่ งราวน่าประทับใจในเมืองขนาดย่อมราวกับนิยายก่อนนอนนี้ อาจถูกน�ำมาเล่าเฉพาะในตอนจบ ทีค่ วามมุง่ มัน่ ให้ผลตอบแทนเป็นความส�ำเร็จ แต่หากย้อนกลับไปหาจุดเริม่ ต้น การพลิกฟืน้ ชีวติ ใหม่ จากสิ่งที่เลือนหายไป การตามหาความมั่งคั่งของชุมชนท้องถิ่น ทั้งพืชพันธุ์จากท้องทุ่งจนถึงทักษะ ช่างฝีมอื การมองเห็นโอกาสและทุม่ เทเพือ่ เปลีย่ นวิถชี วี ติ ตัวเอง ทัง้ หมดล้วนเป็นกระบวนการทีซ่ บั ซ้อน ผ่านการตัดสินใจที่อยู่บนฐานของความรู้ เพราะการต่อภาพธุรกิจชุมชนในแต่ละจุดเข้าหากันนั้น ไม่ใช่ความบังเอิญ หากเกิดจากการรู้จักพัฒนาต้นทุนของชุมชนท้องถิ่น มุมมองการตลาด และ ความเข้าใจต่อบริบทที่เปลี่ยนไปของสังคม นักท่องเที่ยว และผู้บริโภค ดังนั้น มิติความหวัง ความรู้ และความพยายาม จึงเป็นกุญแจส�ำคัญทีจ่ ะท�ำให้ภาพจิก๊ ซอว์ทถี่ กู ต่อเข้าหากันนีค้ รบสมบูรณ์นนั่ เอง อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล บรรณาธิการอ�ำนวยการ Apisit.L@tcdc.or.th มิถุนายน 2558
l
Creative Thailand
l5
© ภูริวัติ บุญนัก
SEEKING FOR TRUE TRANSPARENCY "จะเกิดอะไรขึ้น หากผู้บริโภคกลายเป็นซีอีโอในห่วงโซ่การผลิตอาหาร" คำ�ถามสำ�คัญทีจ่ ดุ ประเด็นงานวิจยั "Food 2020: The Consumer as CEO" ซึง่ บริษทั พีอาร์ชนั้ นำ�ของโลก Ketchum ได้สำ�รวจความต้องการเชิงลึกของ ผู้บริโภคออนไลน์ ตั้งแต่จีน สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา เยอรมนี อิตาลี และอาร์เจนตินา จากการคาดการณ์ทศิ ทางการตลาดของอุตสาหกรรม อาหารในอนาคต พบว่าในปี 2020 ผู้บริโภคจะกระหายรู้ข้อมูลเกี่ยวกับ อาหารที่ตนบริโภคมากพอๆ กับความหลากหลายของอาหารเพื่อสุขภาพ ความล้มเหลวด้านความปลอดภัยของธุรกิจอุตสาหกรรม ทำ�ให้ผคู้ นลุกขึน้ มาตรวจสอบความโปร่งใสทีแ่ ท้จริง (True Transparency) ของกระบวนการ ผลิตอาหาร ไม่เพียงเท่านัน้ "ฟูด้ อี-วานเจลิสต์ (Food e-Vangelist)” จะมี บทบาทต่อรองกับผู้ผลิตรายน้อยใหญ่ไม่แพ้องค์กรอิสระ ซึ่งส่วนใหญ่เป็น สาววัยรุน่ ทีส่ นใจและใส่ใจวิถกี ารบริโภค มีครอบครัวและฐานะทางการเงิน มั่นคง และใช้สื่อออนไลน์เป็นประจำ� โดยอาศัยโซเชียลมีเดียและบล็อก เป็นพื้นที่สำ�หรับพูดคุย ถกประเด็นเรื่องอาหารกับสาธารณชน เรื่อยไป จนถึงเรียกร้องให้บรรดาธุรกิจและแบรนด์หันมาสื่อสารกับผู้บริโภคอย่าง จริงใจ เช่น เผยแพร่ขา่ วสารทีเ่ ข้าถึงง่าย ตลอดจนเปิดโอกาสให้ดาวน์โหลด เอกสารที่อธิบายถึงแหล่งผลิต กรรมวิธีการผลิตอาหาร และคุณค่าทาง โภชนาการได้โดยตรง
6l
Creative Thailand
l
มิถุนายน 2558
เรื่อง: ปิยพร อรุณเกรียงไกร
แล้วข้อมูลแบบไหนที่ผู้บริโภคยุคใหม่ต้องการ เราอาจพบคำ�ตอบได้ ในรายงานสรุปเทรนด์อาหารสุขภาพประจำ�ปี 2014 ของบริษัทเทคโนมิค (Technomic) ซึ่งสำ�รวจพฤติกรรมผู้บริโภคชาวแคนาดา 1,500 คน ผ่าน ช่องทางออนไลน์ ระบุว่านอกจากคนจะไม่สนับสนุนสินค้าจีเอ็มโอและ ปักใจเชื่อถ้อยคำ�บรรยายสรรพคุณบนฉลากของผลิตภัณฑ์กันน้อยลงแล้ว ยังมีความสนใจว่าร้านอาหารแต่ละแห่งใช้วัตถุดิบเครื่องปรุงอะไร และมี ที่มาที่ไปอย่างไรบ้าง ไม่ใช่แค่นั้น รายการอาหารที่มีคีย์เวิร์ดจำ�พวก “สดใหม่" “ธรรมชาติ" และ “ปราศจากสารปรุงแต่ง" ยิ่งทำ�ให้ลูกค้ารู้สึก ว่าอาหารจานนั้นอร่อยและดีต่อสุขภาพมากเป็นพิเศษ เรื่องราวที่เสิร์ฟ พร้อมกับจานอาหารจึงไม่ตา่ งจากเครือ่ งเคียงชัน้ ดีทชี่ ว่ ยเพิม่ อรรถรส สร้าง มูลค่าให้กับอาหาร แถมยังแสดงถึงความโปร่งใสและความใส่ใจของ เจ้าของร้านไปในตัว นอกจากนี้ ร้อยละ 72 เชื่อว่าวิธีการดูแลเลี้ยงสัตว์ ของฟาร์มท้องถิ่นมีผลต่อการเลือกซื้อเนื้อสัตว์ในร้านค้า โดยร้อยละ 35 จะมองหาผลิตภัณฑ์ทตี่ ดิ ฉลาก "เลีย้ งปล่อยตามธรรมชาติ (Cage-Free)” และร้อยละ 29 จะเลือกซื้อเนื้อสัตว์ที่ "เลี้ยงด้วยหญ้า (Grass-Fed)" แทน อาหารสำ�เร็จรูป ที่มา: บทความ "Food 2020: The Consumer as CEO” จาก ketchum.com, บทความ "Consumers Seek Food Industry Transparency” จาก gourmetretailer.com, บทความ "2015: the year of hyper-transparency in global business” จากสำ�นักข่าว เดอะการ์เดียน และ technomic.com
WHAT FARMERS NEED IN THE ERA OF BIG DATA? ข้อมูลมหาศาลในวันนี้คือเครืองมือที่พร้อมช่วยให้เกษตรกรท�ำงานง่าย และวางแผนการผลิตได้อย่างแม่นย�ำ แต่เหนือสิ่งอื่นใดนั้น ต้องพึ่งการ จัดการอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเมือ่ โลกก�ำลังให้ความส�ำคัญกับวิถี เกษตรอินทรีย์ที่เต็มไปด้วยข้อจ�ำกัดและปัจจัยอันซับซ้อน โปรเจ็กต์ "V-GIS (Veggie-GIS)" ถือเป็นตัวอย่างที่น่าจับตามอง ของการใช้เทคโนโลยีบริหารจัดการข้อมูลด้านการเกษตรในประเทศไทย ย้อนไปเมื่อปี 2012 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และมหาวิทยาลัยไฟรบูร์ก (German University of Freiburg) เยอรมนี ได้ร่วมกันคิดค้นระบบบันทึก และประมวลผลในรูปแบบข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data) และแผนที่ (Mapping) โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographical Information System - GIS) รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเพาะปลูกในเขต กรุงเทพฯ และปริมณฑล เช่น ที่ตั้ง พันธุ์พืช การใช้ที่ดิน ผู้ปลูก แรงงาน เพื่อวิเคราะห์ความเป็นไปได้ว่าพื้นที่ดังกล่าวมีศักยภาพมากพอต่อการ ผลิตอาหารส�ำหรับคนเมืองหรือไม่ ซึ่งอาจปลดล็อกโอกาสในการเข้าถึง อาหารอย่างเท่าเทียมและสร้างความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) ได้ในที่สุด ข้อมูลเหล่านี้ยังเป็นประโยชน์ส�ำหรับนักวิจัย นักวิชาการ ที่ ต้องการเครื่องมือในการตัดสินใจ วางแผนแก้ปัญหา ควบคุมความเสี่ยง เช่น การค�ำนวณปริมาณการใส่ปุ๋ย การให้น�้ำ ประมาณการผลผลิต รวมทั้ง ติดตามการแพร่ระบาดของโรคติดต่อและพยากรณ์การเกิดภัยพิบัติ ทางฝ่ายผู้บริโภคเองก็สามารถแกะรอยเส้นทางของอาหารได้จากแปลง ปลูกจนถึงโต๊ะอาหาร ปัจจุบนั มีหลายหน่วยงานทีเ่ ดินหน้าพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อการเกษตร ไม่ว่าจะเพิ่มคุณภาพการผลิตในประเทศหรือส่งออก อาทิ ระบบบริการภูมิสารสนเทศเพื่อการเกษตร (GIS) โดยส�ำนักงานพัฒนา เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) ระบบติดตาม และเตือนภัยทางด้านเกษตรกรรม (Agritronics) โดยศูนย์เทคโนโลยี อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ และระบบการเกษตรแม่นย�ำส�ำหรับ ไร่ไวน์ (Smart Vineyard) โดยมหาวิทยาลัยมหิดลและ NECTEC เป็นต้น ที่มา: บทความ "THAILAND: Mapping urban farming” โดยส�ำนักข่าว IRIN Asia, gisagro. gistda.or.th และ veggis.vm.uni-freiburg.de
flickr.com/Shawn Schreiner
smartvineyard.com
THE SUBJECT ลงมือคิด
ORGANIC 3.0 จากนิช มาร์เก็ตสู่กระแสหลัก เมือ่ ประเด็น "ออร์แกนิก 3.0" ถูกยกขึน้ มาเป็นคียเ์ วิรด์ หลักในงานนิทรรศการ สินค้าธรรมชาติและผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรียช์ นั้ น�ำของโลก BIOFACH 2014 และยังคงได้รับความสนใจจนถึงตอนนี้ ก็ยิ่งตอกย�้ำแนวโน้มที่ว่าสินค้า ออร์แกนิกก�ำลังจะครองตลาดโลก ไม่ได้ไกลเกินความเป็นจริง สถาบันวิจยั ออร์แกนิกมอนิเตอร์ (Organic Monitor) พบว่ามีเกษตรกรที่ได้รับรอง มาตรฐานเกษตรอินทรีย์มากถึง 1.9 ล้านคน จาก 164 ประเทศทั่วโลก ขณะทีอ่ าหารออร์แกนิกสร้างมูลค่ากว่า 63.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ตัง้ แต่ปี 2012 โดยรูปแบบตลาดออร์แกนิกก�ำลังเปลี่ยนไปทีละน้อย แม้ว่าสัดส่วน ตลาดจะเติบโตขึน้ ก็ยงั เกิดตลาดขนาดย่อมทีม่ คี วามหลากหลายตามชุมชน เพิ่มขึ้นด้วย ล่าสุดสมาพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (IFOAM) ได้เปิดเผย ว่าผู้บริโภคเริ่มเปลี่ยนบทบาทมาเป็นผู้ผลิต โดยร้อยละ 80 ของผู้ผลิต เกษตรอินทรีย์อาศัยอยู่ในประเทศก�ำลังพัฒนา ได้แก่ อินเดีย ยูกานดา เม็กซิโก และแทนซาเนียตามล�ำดับ ถ้าเปรียบเทียบการบุกเบิกวิถีเกษตรอินทรีย์ตามบ้านสวนไร่นาเป็น จุดเริ่มต้นของออร์แกนิก 1.0 เฟส 2.0 ก็คือสถานการณ์ในปัจจุบันที่คน เริ่มเข้าใจความส�ำคัญของการบริโภคสินค้าออร์แกนิก มีตลาดเกษตรกร เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนระหว่างคนปลูกกับคนซื้อโดยตรง และเขยิบจาก พื้นที่ของตลาดนิชไปสู่ร้านค้าและซูเปอร์มาร์เก็ต ขณะที่ 3.0 นั้นเป็น การวางแผนปรับตัวครั้งใหญ่ของวงการอาหารออร์แกนิกให้สอดรับกับ ระบบการผลิตอาหารของโลก ไม่ใช่แค่ในแง่ปริมาณ แต่รวมไปถึงความ ยั่งยืนด้านระบบนิเวศและสังคม กล่าวคือวิถีเกษตรอินทรีย์ต้องมีส่วนช่วย ขจัดปัญหาความยากจน ความเป็นอยูข่ องเกษตรกร ความมัน่ คงทางอาหาร การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ สุขภาพ และความหลากหลายทาง ชีวภาพ หากมองลึกลงไปถึงกระบวนการ ออร์แกนิก 3.0 จะเน้นสร้างการ ท�ำงานทีต่ รวจสอบได้และอาศัยกระบวนการมีสว่ นร่วม เช่น กลุม่ นักลงทุน ปัจเจกชน และหน่วยงาน/องค์กร ส่วนกลุม่ วัยรุน่ จะเข้ามาเป็นก�ำลังส�ำคัญ ด้วยต้นทุนทางทักษะและประสบการณ์ด้านการเกษตร นวัตกรรม และ การประกอบธุรกิจ ทั้งยังเป็นแรงหนุนให้ชาวนาท้องถิ่นหันมาท�ำเกษตร อินทรีย์ในอนาคตอันใกล้นี้ ที่มา: ifoam.bio และ biofach.de
มิถุนายน 2558
l
Creative Thailand
l7
CREATIVE RESOURCE วัตถุดิบทางความคิด
เรื่อง: เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร และ กริยา บิลยะลา
FEATURED BOOK
ประวัติศาสตร์กินได้ แปลโดย โตมร ศุขปรีชา จาก An Edible History of Humanity โดย Tom Standage
อาหารคือสิ่งที่มีวิวัฒนาการควบคู่กับมนุษย์ เรื่อยมาในทุกมิติ ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ในสังคมแบบนักล่า กระทั่งลงหลักปักฐานเป็น สังคมเกษตรกรรม ตัวแปรด้านอาหารเหล่านี้ มีส่วนอย่างยิ่งต่อการจัดระเบียบทางสังคมซึ่ง สนับสนุนการก่อรากฐานด้านอารยธรรม ไม่ว่า จะเป็นระบบการผลิต การคัดเลือกสายพันธุข์ า้ ว บาร์เลย์ในตะวันออกใกล้ ข้าวโพดและมันฝรั่ง ในอเมริก าที่ มี ก ระบวนการพัฒนาการอย่า ง เป็นขั้นเป็นตอน ซึ่งน�ำไปสู่การเพิ่มพูนผลผลิต กระจายอาหาร การเก็บรักษาอาหารของชุมชน และรองรับด้วยการชลประทานหรือเทคโนโลยี สมัยใหม่ การสร้างสรรค์พธิ กี รรมเพือ่ บ�ำรุงขวัญ ก�ำลังใจชาวนาชาวไร่ รวมทั้งการใช้อาหารเป็น สื่อกลางในการซื้อขายจ่ายภาษีที่ขยับจนกลาย เป็นเครื่องมือสร้างอ�ำนาจ เมื่ออารยธรรมในรูปแบบดังกล่าวเกิดขึ้น ในส่วนต่างๆ ของโลก อาหารยังเป็นเครื่องมือ ส�ำคัญที่เชื่อมโยงอาณาจักรที่กระจัดกระจาย เข้าหากั น ด้ ว ยเส้ น ทางการค้า ไม่ว่า จะเป็น หมู่เกาะเครื่องเทศแถบโมลุกกะ การเดินทาง ของกาแฟแถบอาระเบียจนเข้าสู่ยุโรปในต้น ศตวรรษที่ 17 และก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยน ทางวัฒนธรรมและศาสนา จากกลอุบายที่จะ ครอบครองความมั่ ง คั่ ง ด้ า นเครื่ อ งเทศของ
8l
Creative Thailand
l
มิถุนายน 2558
ชาวยุ โ รป น� ำ ไปสู ่ ก ารแสวงหาเส้ น ทางการ เดินเรือใหม่ๆ เกิดเป็นการล่าอาณานิคมนอก ประเทศที่กลายเป็นความขัดแย้งในภายหลัง นอกจากนี้ วิวัฒนาการของอาหารยังสะท้อน ถึงเรื่องราวด้านต่างๆ ตัวอย่างเช่น อาหาร กระป๋องที่มีต้นก�ำเนิดมาจากความต้องการ ปรับปรุงด้านการถนอมอาหารและรสชาติเพื่อ บ�ำรุงกองทัพ ทั้งยังเป็นสายพานชั้นเยี่ยมสู่ ภาคการขนส่งในช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรม ทีม่ รี ปู แบบของเครือ่ งจักรไอน�ำ้ เป็นตัวขับเคลือ่ น ตั้งแต่นั้นจนถึงระหว่างศตวรรษที่ 20 มีการ ใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมกับ
การเกษตรเพื่อเพิ่มปริมาณอาหารอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะช่วงการปฏิวัติเขียวที่มีการแผ้วถาง พื้นที่เพาะปลูก หรือการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนเป็น สารอาหารบ�ำรุงพืชและปรับปรุงผลผลิต แม้นจี่ ะ เป็นทางออกที่แสนวิเศษแต่เมื่อชั่งน�้ำหนักกับ ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมแล้วกลับให้ผลในทาง กลับกัน ถึงตรงนี้แล้วจะเห็นว่า อาหารรวมถึงภาค การเกษตรนั้ น มี ค วามส� ำ คั ญ อยู ่ ใ นทุ ก ช่ ว ง ประวัติศาสตร์ หนังสือเล่มนี้พยายามไล่เรียง เรื่องราว ปัจจัยเบื้องหลังพร้อมเชื่อมโยงด้วย บริบทของอาหารอย่างเป็นล�ำดับตั้งแต่รากฐาน ทางอาหารของอารยธรรม อาหารและโครงสร้าง ทางสังคม ทางด่วนระดับโลกของอาหาร อาหาร พลังงานและการพัฒนาอุตสาหกรรม การใช้ อาหารเป็นอาวุธ และอาหารกับประชากรและ การพั ฒ นา โดยผู ้ อ ่ า นจะสามารถมองเห็ น วิวฒั นาการ จุดเปลีย่ น ข้อถกเถียง ความสัมพันธ์ ของอาหารในศาสตร์หรือองค์ความรู้ด้านต่างๆ ทัง้ โบราณคดี พันธุศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ จนถึง ชีววิทยาในแง่การหาหนทางของอาหารส�ำหรับ อนาคตหรือการดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อเปลี่ยน ข้ อ ด้ อ ยเป็ น ผลผลิ ต ที่ มี ป ระสิ ท ธิ ผ ลเพิ่ ม ขึ้ น ซึ่งยังเป็นประเด็นที่มีการถกเถียงเรื่อยมาถึง ความถูกต้องและเหมาะสม
CREATIVE RESOURCE วัตถุดิบทางความคิด
DOCUMENTARY
BOOK
BOOK
A PLACE AT THE TABLE
RESTORATION AGRICULTURE
ฉันจะเป็นชาวนา
คู่มือท�ำนาอินทรีย์ ส�ำหรับคนรุ่นใหม่
ก�ำกับโดย Kristi Jacobson และ Lori Silverbush
โดย Mark Shepard
โดย สิริยากร พุกกะเวส
ความอุดมสมบูรณ์ของชั้นวางอาหารในซูเปอร์ มาร์เก็ตในเมืองใหญ่ไม่ได้เป็นค�ำตอบว่าผูค้ นใน เมืองนัน้ ๆ จะมีอาหารทีด่ รี บั ประทานในแต่ละมือ้ กระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริการายงานว่า มีชาวอเมริกันประมาณ 50 ล้านคนตกอยู่ใน ภาวะไร้ตวั เลือกในการบริโภคอาหารทีป่ ลอดภัย หรือไม่สามารถซือ้ หาอาหารทีต่ นเองต้องการได้ สารคดีเรื่องนี้ถ่ายทอดเรื่องราวของคน 3 กลุ่ม จากเมืองเล็กๆ อย่างโคโลราโด มิสซิสซิปปี และฟิลาเดลเฟีย ที่ต้องฝ่าฟันกับความหิวและ บรรเทาหิวด้วยอาหารง่ายๆ คุณภาพต�่ำโดยไม่ ต้องคิดไปไกลถึงผักและผลไม้สด สถานการณ์ เหล่านี้ได้สะท้อนตัวอย่างของภาวะการเติบโต อย่างรวดเร็วในอุตสาหกรรมการแปรรูปทางการ เกษตรเพือ่ ตอบสนองความต้องการภายในเมือง ใหญ่ แต่ในทางกลับกันเกษตรกรผู้ปลูกกลับ ขาดแคลนอาหารคุณภาพ และต้องจ�ำนนอยูก่ บั ภาวะยากจนที่มีตัวเลือกด้านอาหารไม่มากนัก
ผลผลิตจากภาคเกษตรกรรมส่วนใหญ่ที่บริโภค อยู่ในทุกวันนี้ มักมีรอบระยะการเพาะปลูกและ เก็บเกี่ยวโดยอิงกับเวลาเป็นรอบรายปี แต่หาก ปีใดเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด ไม่สามารถให้ผล ตามเป้าหมาย ความเสียหายย่อมเกิดขึ้นกับ เกษตรกร และนั่นอาจหมายถึงความมั่นคงด้าน อาหารทีอ่ าจจะตามมาในภาพรวม หนังสือเล่มนี้ หยิบยกตัวอย่างที่ดีของวิธีการท�ำเกษตรกรรม ในปัจจุบันจากทั่วโลก เพื่อชี้ให้เห็นว่าถ้าเรา เข้าใจธรรมชาติอย่างดีพอแล้ว เราจะสามารถ อยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน พร้อมทั้งใช้ ประโยชน์จากธรรมชาติได้อย่างเต็มที่ ไม่วา่ จะเป็น การใช้เป็นอาหาร แหล่งพลังงาน การก่อสร้าง หรือเพือ่ วัตถุประสงค์อนื่ ๆ อีกมากมาย ทัง้ หมดนี้ สอดคล้ อ งกั บ แนวคิ ด Permaculture หรื อ การสร้างวิถีชีวิตแบบวัฒนธรรมยั่งยืน ซึ่งอาจ เป็ น ทางเลื อ กที่ ดี อี ก ทางหนึ่ ง ในการจั ด การ เกษตรกรรมในอนาคต
เราอาจเคยได้ยินกระแสการท�ำนาแบบอินทรีย์ มาสักระยะหนึ่งแล้ว ว่ามีคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่ จ�ำนวนมากสนใจที่จะหันไปท�ำนากันมากขึ้น และความรู้เรื่องวิทยาการสมัยใหม่ก็อาจช่วย ให้พวกเขาได้ผลผลิตทีด่ กี ว่าเดิม หรือมีชอ่ งทาง ในการจั ด จ� ำ หน่ า ยมากยิ่ ง ขึ้ น หนั ง สื อ เล่ ม นี้ อาจจะไม่ใช่หนังสือเพือ่ การศึกษาเรือ่ งการท�ำนา อินทรีย์ที่ดีที่สุด แต่อาจเป็นก้าวแรกของผู้ที่ ก�ำลังค้นหาตัวเอง ไม่มีประสบการณ์ แต่เต็ม เปี่ยมไปด้วยความสนใจเรื่องการท�ำนาอินทรีย์ ผู้เขียนบอกเล่าทุกเรื่องราวของชีวิตการเป็น ชาวนา ล�ำดับขั้นตอนในการท�ำนาจากมุมมอง ของคนรุ่นใหม่ พร้อมทั้งปัญหาต่างๆ ที่ชาวนา ต้องเผชิญ ทั้งหมดนี้อาจเป็นแรงบันดาลใจที่ดี ส�ำหรับผูท้ ตี่ อ้ งการท�ำความเข้าใจเรือ่ งการเพาะ ปลูกข้าวที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านาน พบกับวัตถุดิบทางความคิดเหล่านี้ได้ที่ TCDC Resource Center มิถุนายน 2558
l
Creative Thailand
l9
MATTER วัสดุต้นคิด
คืนชีพวัสดุเหลือใช้ จากการเกษตร เรื่อง: ชมพูนุท วีรกิตติ และ ปิยวรรณ กลิ่นศรีสุข
เพื่อให้กระบวนการผลิตบรรจุภัณฑ์มีการใช้พลังงานเป็นศูนย์ บริษัท Ecovative Design LLC จึงได้คดิ ค้นบรรจุภณั ฑ์ทที่ ำ� จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร โดยน�ำจุลนิ ทรีย์ ที่เพาะขึ้นเองมาใช้ในการผลิต ซึ่งสามารถใช้ทดแทนพลาสติกส�ำหรับบรรจุภัณฑ์และ วัสดุที่เป็นฉนวน การคิดค้นและพัฒนาวัสดุนี้ขึ้นเป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้นมาก เนื่องจากเป็น ครั้งแรกในประวัติการณ์ที่สามารถน�ำคุณสมบัติของโครงสร้างทางชีววิทยาของเชื้อรา มาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ นั่นหมายความว่าบริษัท Ecovative Design LLC ไม่เพียงแต่ ต้องเรียนรู้วิธีการควบคุมกระบวนการทางชีวภาพ แต่ยังต้องพัฒนาระบบการผลิตใน เชิงพาณิชย์ด้วย ด้วยวิธผี ลิตทีน่ ำ� เศษวัสดุจากการปลูกพืชทีไ่ ม่ใช่อาหาร เช่น เมล็ดฝ้าย เปลือกข้าว และเปลือกบัควีท ที่มีปริมาณลิกนินสูง น�ำมาเพาะเลี้ยงเชื้อรา (Fungal Mycelium) ซึ่งมีอยู่ในส่วนรากของเห็ดชนิดต่างๆ ในที่มืดประมาณ 7 วัน โดยไม่รดน�้ำและไม่ใช้ ผลิตภัณฑ์ปโิ ตรเคมีใดๆ ใยราทีเ่ กิดขึน้ จะเป็นตัวประสานเศษวัสดุเข้าด้วยกัน มีลกั ษณะ เหมือนโพลิเมอร์จากธรรมชาติที่ก่อตัวขึ้นได้เอง ราเหล่านี้จะเติบโตเป็นเส้นใยสีขาว ขนาดเล็กทีย่ าวเป็นไมล์ ซึง่ จะไปห่อหุม้ และย่อยเปลือกเมล็ดพืช จากนัน้ เชือ่ มเศษเมล็ด พืชเหล่านี้เข้าด้วยกันจนได้รูปทรงผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย ทั้งกระบวนการนี้ใช้พลังงาน ต่อหน่วยวัสดุน้อยกว่าการผลิตโฟมสังเคราะห์ถึง 10 เท่า สามารถย่อยสลายและหมัก เป็นปุย๋ ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ผ่านการอบความร้อนเพือ่ หยุดการเจริญเติบโตของรา และจะ คงรูปทรงอยูไ่ ด้จนกว่าจะน�ำไปย่อยสลายเป็นปุย๋ บริษทั ผลิตชิน้ ส่วนอิเล็กทรอนิกส์อย่าง Dell สั่งซื้อไปห่อหุ้มสินค้าโดยที่มันจะยืดหยุ่นไปตามรูปทรงของสินค้า และสินค้ากีฬา ทางน�้ำ เช่น แผ่นบอร์ด PUMA Laird Stand-Up Paddleboard (SUP) ก็ใช้บรรจุภัณฑ์ ชนิดนี้เช่นเดียวกัน ในประเทศไทยมีบริษัทที่คิดค้นวัสดุทดแทนเช่นกัน อาจจะยังไม่ใช้การเพาะเลี้ยง ขึ้นเองได้ แต่เป็นกระบวนการน�ำเศษวัสดุเหลือใช้มาพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ทดแทนไม้ตาม ธรรมชาติ เช่น บริษัท โกลเด้น อุตสาหกรรมไม้อัดหญ้าแฝก จ�ำกัด ที่พัฒนาแผ่นวัสดุ เส้นใยธรรมชาติ โดยใช้หญ้าแฝก เปลือกข้าว ขีเ้ ลือ่ ย ตะไคร้ หรือเปลือกผลส้ม ผสมกับกาว ซึง่ มีคณุ สมบัตเิ ทียบเท่ากับแผ่นพาร์ตเิ คิลบอร์ดในด้านความแข็งแรง ทัง้ ยังทนต่อแรงดึง ของสกรูและทนน�ำ้ โดยแผ่นทีใ่ ช้เปลือกส้มจะมีกลิน่ ส้มตามธรรมชาติดว้ ย เหมาะกับการใช้ เป็นวัสดุปูพื้น ผนัง แผงกั้นพื้นที่ ชั้นวางของ หน้าโต๊ะ แผ่นปิดบนเคาน์เตอร์ และแผ่น ฝ้าเพดาน นอกจากนี้ บริษัท โคโคบอร์ด จ�ำกัด ผู้ประกอบการขนาดกลางที่ใส่ใจต่อ คุณภาพชีวติ และสิง่ แวดล้อม ก็ได้นำ� ฟางข้าวมาท�ำเป็นแผ่นไฟเบอร์บอร์ดความหนาแน่น ต�่ำและความหนาแน่นปานกลาง ลักษณะของวัตถุดิบที่มีความหลากหลายท�ำให้แผ่น วัสดุมผี วิ สัมผัสและสีสนั ทีแ่ ตกต่างกันไปในแต่ละแผ่น โดยสามารถก�ำหนดลักษณะของ ผิวสัมผัสได้จากการคัดขนาดของวัตถุดิบต้นทาง ทั้งยังมีคุณสมบัติต่างๆ เหมือนกับ แผ่น MDF (Medium Density Fiber Board) ทั่วไปในท้องตลาด รวมทั้งมีน�้ำหนักเบา เป็นฉนวนซับเสียง กันความร้อน ทนความชืน้ และกันไฟลาม ทีส่ ำ� คัญทัง้ สองบริษทั นีย้ งั ค�ำนึงถึงความปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้ใช้งานเป็นหลัก ไม่มีสารพิษตกค้าง เนื่องจาก เป็นวัสดุธรรมชาติที่ปราศจากสารเคมีที่เป็นพิษต่อร่างกาย นับเป็นวัสดุแนวใหม่ที่ใช้ ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และเปลี่ยนโฉมหน้าของเศษวัสดุจากการเกษตรไปอีกขั้น ที่มา: goldenvetiver.com, ecovativedesign.com และ kokoboard.com
10 l
Creative Thailand
l
มิถุนายน 2558
หมดปญหาหยิบนิตยสารไมทัน สมัครสมาชิกรายป คาใชจายในการจัดสง 200 บาท (12 เลม) หรือสมัครออนไลนไดที่ tcdc.or.th/creative_thailand
ขอมูลผูสมัครสมาชิก Axium™ FC207 MC# 7338-01 วัสดุคอมโพสิตชีวภาพจากโพลีโพรพิลีน (PP) ที่ใช้สารเติม เต็มจากขยะทางการเกษตรหลายชนิด เช่น เปลือกมะพร้าว สารเติมเต็มใน PP นี้ท�ำให้วัสดุเบาลงได้มากกว่าสารเติม เต็มจากแร่ธาตุ และยังเป็นวัสดุที่ปลูกทดแทนขึ้นใหม่ได้ รวดเร็ว การผสมสารเติมเต็มยังช่วยลดปริมาณโพลิเมอร์ใน ชิน้ งานรวมทัง้ ช่วยปรับปรุงคุณสมบัตทิ างกลโดยเฉพาะความ แข็งได้โดยใช้ต้นทุนต�่ำ เรซินนี้น�ำไปผลิตได้เหมือนกับ PP ที่ผสมสารเติมเต็มทั่วไป มีลักษณะทึบแสงและน�ำไปย้อม สีได้ สารเติมเต็มที่ผสมอยู่จะท�ำให้มีจุดสีน�้ำตาลกระจาย อยูท่ วั่ เนือ้ วัสดุมีความแข็งและคุณสมบัตทิ างกลอืน่ ๆ เหมาะ ใช้ท�ำชิ้นส่วนยานยนต์ท้ังภายในและภายนอก และชิ้นงาน หล่อขึ้นรูปส�ำหรับสินค้าอุปโภคต่างๆ
สมาชิกใหม ชื่อ นามสกุล เพศ โทรศัพท
สมาชิกเกา (ตองการตออายุสมาชิก) หญิง อายุ
ชาย
อีเมล
โทรศัพทมือถือ
อาชีพ นักเรียน ครู/อาจารย
นิสิต/นักศึกษา พนักงานบริษัท
นักออกแบบ/ครีเอทีฟ ผูประกอบการ
อาชีพอิสระ อื่นๆ โปรดระบุ
ขาราชการ/รัฐวิสาหกิจ
สาขา/อุตสาหกรรมที่เกี่ยวของกับอาชีพของทาน โฆษณา สถาปตยกรรม แฟชั่น ศิลปะการแสดง ดนตรี ภาพยนตร โทรทัศน/วิทยุการกระจายเสียง
ทองเที่ยว/โรงแรม/สายการบิน วรรณกรรม/การพิมพ/สื่อสิ่งพิมพ พิพิธภัณฑ/หองแสดงงาน ซอฟตแวร/แอนิเมชัน/วิดีโอเกม
หัตถกรรม/งานฝมือ การเงิน/ธนาคาร ทัศนศิลป/การถายภาพ อื่นๆ โปรดระบุ
อาหาร การแพทย การออกแบบ
คาปลีก/คาสง โทรคมนาคม
ที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ จังหวัด
ซอย
ถนน รหัสไปรษณีย
หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง
อำเภอ/เขต
หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง
อำเภอ/เขต
ที่อยูในการออกใบเสร็จ Preserved Lotus Leaf MC# 6784-01 บริษัท ศิรดา โปรดักส์ จ�ำกัด ประเทศไทย
ใบบัวที่คงสภาพด้วยวิธีทางธรรมชาติส�ำหรับใช้ปูผิวได้ เหมือนกระดาษ ผลิตโดยการน�ำใบบัวมาหมักและน�ำไป ตากแดด จากนั้ น น� ำ ไปผ่ า นกระบวนการป้ อ งกั น เชื้ อ รา ใบบัวทีไ่ ด้จะดูเหมือนใบบัวสด สามารถเก็บไว้ได้นาน 4-5 ปี มีคุณสมบัติทนน�้ำ ใบบัวที่แห้งสามารถท�ำให้นุ่มลงได้โดย ใช้โลชั่นทาผิว หรือท�ำผิวให้มันเงาด้วยยาทาเครื่องหนัง สามารถท�ำสีสนั ต่างๆ ได้โดยใช้สยี อ้ มจากธรรมชาติ เหมาะ ส�ำหรับท�ำเครื่องเขียน ปกหนังสือ ปกแฟ้ม และบรรจุภัณฑ์ พบกับวัสดุเหล่านี้ได้ที่ Material ConneXion® Bangkok, TCDC
เหมือนที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ ซอย จังหวัด
ถนน รหัสไปรษณีย
ตองการสมัครสมาชิกนิตยสาร Creative Thailand ระยะเวลา 1 ป จำนวน 12 เลม เริ่มตั้งแตฉบับเดือน โดยยินดีเสียคาใชจายในการจัดสงเปนจำนวนเงิน 200 บาท
วิธีการชำระเงิน เช็คสั่งจายศูนยสรางสรรคงานออกแบบ พรอมใบสมัครสมาชิก โอนเงินเขาบัญชีออมทรัพย ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ เลขที่บัญชี 101-808967-0 ธนาคารกรุงเทพ สาขาสำนักงานใหญสีลม • แฟกซใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่ 02-664-7670 • หรือสงไปรษณียมาที่ ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (Creative Thailand) 622 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอรชั้น 24 ถนนสุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 • หรือแนบไฟลใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่อีเมล creativethailand@tcdc.or.th สอบถามขอมูลเพิ่มเติมไดที่ 02-664-7667 ตอ 122
มิถุนายน 2558
l
Creative Thailand
l 11
CLASSIC ITEM คลาสสิก
Canning Food
•ความเสี่ยงที่จะได้รับสารเคมีจากการ เจือสีสังเคราะห์ลงในผลิตภัณฑ์เพื่อปรับ สีผลผลิตในกระป๋องให้ดูน่าทาน หรือ การได้รับโซเดียมในปริมาณที่มากเกิน จำ � เป็ น จากการใช้ โ ซเดี ย มจำ � นวนมาก เพือ่ ยืดอายุอาหารกระป๋อง ทำ�ให้ผบู้ ริโภค สมั ย ใหม่ ไ ม่ นิ ย มรั บ ประทานอาหาร กระป๋องที่ผลิตโดยโรงงานอุตสาหกรรม อย่างสมัยก่อน
เรื่อง: ชาลินี วงศ์อ่อนดี
กลยุทธ์ที่วางไว้อย่างแยบคายคงจะเปล่าประโยชน์ หากทหารในกองทัพไร้ซึ่ง ก�ำลังวังชา เมื่อกองทัพต้องเดินด้วยท้อง นโปเลียน โบนาปาร์ต (Napoleon Bonaparte) นักรบผู้พาฝรั่งเศสผงาดขึ้นเป็นผู้น�ำโลกในศตวรรษที่ 18 จึงเสนอ เงินรางวัลจ�ำนวนหมืน่ สองพันฟรังก์ให้แก่ผทู้ สี่ ามารถถนอมอาหารปรุงสุกให้เก็บได้ นานและยังขนส่งได้สะดวกเพือ่ ใช้เป็นเสบียง นิโคลัส แอปเปิรต์ (Nicolas Appert) เชฟชาวฝรัง่ เศส คว้าเงินรางวัลดังกล่าวไปในปี 1810 เมือ่ เขาคิดค้นอาหารกระป๋อง ได้สำ� เร็จ โดยเริม่ จากการบรรจุผกั เนือ้ และปลาต้มสุกลงในโหลแก้วทีป่ ดิ ปากด้วย จุกไม้ก๊อกเพื่อกันอากาศเข้า จากนั้นจึงเปลี่ยนมาใช้ภาชนะกระป๋องพร้อมฝาปิดที่ เขาหล่อขึ้นด้วยมือ แทนการใช้โหลแก้วเพราะมักแตกกลางทาง
•ในปี 1962 แอนดี วอร์ฮอล (Andy Warhol) ศิลปินป็อปอาร์ต จัดแสดงชุดผลงาน Campbell’s Soup Cans ทีป่ ระกอบไปด้วยภาพวาดซุปกระป๋อง แคมเบลล์แต่ละชนิดที่บริษัทวางจ�ำหน่ายในปีนั้น ทั้งหมด 32 ชนิด จ�ำนวน 32 ภาพเป็นครั้งแรก จัดแสดงโดยวางเรียงกันบนชัน้ วางสินค้าเหมือนใน ซูเปอร์มาร์เก็ต ชวนให้นึกถึงการผลิตแบบจ�ำนวน มากที่ เ ป็ น แรงบั น ดาลใจของศิ ล ปิ น ผู ้ ก ล่ า วว่ า “ผมเคยดื่มมัน ผมเคยกินอาหารกลางวันซ�้ำๆ กัน ทุกวันเป็นเวลา 20 ปี”
12 l
Creative Thailand l พฤษภาคม 2558
•แม้อาหารกระป๋องของแอปเปิรต์ จะไม่สมบูรณ์ทกุ ด้าน ด้วยมีขนาดใหญ่เทอะทะและต้องออกแรง กระแทกด้วยหินหรือเจาะด้วยปลายปืน แต่กน็ บั ว่า เป็นก้าวกระโดดในการถนอมอาหารให้ไปไกลกว่า การหมักเกลือหรือรมควันที่ทำ�กันมาแต่โบราณ เรื่ อ งที่ น่ า ทึ่ ง คื อ แอปเปิ ร์ ต ไม่ ไ ด้ มี ค วามรู้ เ รื่ อ ง จุลินทรีย์แม้แต่น้อย แต่คิดค้นวิธีถนอมอาหารใน กระป๋องได้กอ่ นที่ หลุยส์ ปาสเตอร์ (Louis Pasteur) จะค้นพบเรื่องการเจริญเติบโตของเชื้อโรคและ การทำ�ให้ปราศจากเชื้อถึง 50 ปี
•ในปี 1897 บริษทั ซุปแคมเบลล์ (Campbell Soup Company) ผลิตซุปโดยใช้วธิ คี วบแน่นลดปริมาณ น�้ำในวัตถุดิบเพื่อบรรจุซุปในกระป๋องขนาดเล็ก ท�ำให้การจัดส่งซุปสะดวกขึ้น ในปี 1904 บริษัท แม็กซ์ แอมส์ แมชชีน (Max Ams Machine) จด ลิขสิทธิ์กระบวนการปิดผนึกกระป๋องแบบตะเข็บ สองชั้น (Double-Seam) ซึ่งท�ำให้เครื่องจักรปิด ฝากระป๋องได้มากกว่า 2,000 กระป๋องต่อนาที ผล จากการปรับปรุงวิธกี ารผลิตในศตวรรษที่ 19 ท�ำให้ อาหารกระป๋องกลายเป็นสินค้าที่ผู้คนทั่วไปซื้อมา บริโภคในต้นศตวรรษที่ 20 โดยอาหารกระป๋องบาง ชนิดที่เคยใช้เป็นเสบียงทหารในช่วงสงครามโลก ครั้งสอง ยังคงได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน เช่น แฮมกระป๋องสแปม (Spam) •การแปรรูปผลผลิตทางเกษตรในรูปแบบอาหาร กระป๋องได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เอื้อให้การ ขนส่งอาหารข้ามประเทศเป็นไปได้โดยสะดวก อาหารกระป๋องกลายเป็นหนึ่งในสินค้าส่งออกของ อเมริกาและนำ�ไปสู่การทำ�ไร่ขนาดใหญ่เพื่อผลิต วัตถุดบิ ป้อนเข้าโรงงานผลิต ในปี 1901 โดล (Dole) จึงลงทุนทำ�ไร่สับปะรดขนาด 61 เอเคอร์ในรัฐ ฮาวายเพื่อเป็นแหล่งผลผลิตสำ�หรับทำ�สับปะรด กระป๋อง นอกจากนี้ เจมส์ โดล (James Dole) เจ้าของกิจการยังได้ซื้อเกาะลานาอิ (Lana`i) ใน ฮาวายเพื่อทำ�ไร่สับปะรดที่ใหญ่ที่สุดในโลก และ ผลิตสับปะรดได้มากกว่าร้อยละ 75 ของโลกจนได้ ชือ่ ว่าเป็น “เกาะสับปะรด” ในช่วงสงครามโลกครัง้ ที่สอง เมื่อรัฐบาลกระตุ้นให้ประชาชนเก็บรักษา ผลผลิตทีป่ ลูกได้ในครัวเรือน ระหว่างปี 1939-1949 เมสันจำ�หน่ายโหลไปได้มากกว่าสามล้านใบ
ที่มา: What It Says on the Tin: A Brief History of Canned Foodhttp://www.history.com/news/hungry-history/what-it-says-on-the-tin-a-brief-history-of-canned-food Canning food, from Napoleon to now http://illinoistimes.com/article-7361-canning-food,-from-napoleon-to-now.html Campbell's Soup Cans https://www.moma.org/learn/moma_learning/andy-warhol-campbells-soup-cans-1962 About Us The World’s Leading Maker of Soup http://www.campbellsoup.com/Resources/AboutUs JAMES DRUMMOND DOLE The Story of the Pineapple King http://www.dole-plantation.com/Default.aspx?PageID=2809843&A=PrinterView From Farm to Table, by Way of the Shelf http://www.nytimes.com/2011/02/13/nyregion/13dinect.html?_r=0 Why Processed Foods Contain So Much Sodium http://www.fitday.com/fitness-articles/nutrition/healthy-eating/why-processed-foods-contain-so-much-sodium.html#b
• ความใส่ใจในสุขภาพส่งผลให้ผู้บริโภค สนใจผักและผลไม้อินทรีย์ที่ปลอดสารเคมี และหันไปหาอาหารกระป๋องที่ผลิตขึ้นใน ฟาร์ ม ท้ อ งถิ่ น ส่ ง ผลให้ ก ารผลิ ต อาหาร กระป๋องจากฟาร์มสูงขึ้น ฟาร์มริเวอร์แบงก์ (Riverbank) ในรัฐคอนเนคติกัตในสหรัฐฯ ได้ตั้งครัวของฟาร์มขึ้นในปี 2007 เพื่อตอบ สนองความต้องการของคนในพื้นที่ที่ต่าง แวะเวียนมาถามหา แม้ราคาอาหารกระป๋อง ของฟาร์มจะแพงกว่าอาหารกระป๋องตาม ท้องตลาด แต่คนก็ยอมจ่ายเพื่อรสชาติและ คุณภาพที่ดีกว่า เคธี ดูไน (Kathy Dunai) จากฟาร์มคูโปลา ฮอลโลว์ (Cupola Hollow) ผู้ ผ ลิ ต แยมจากผลไม้ ที่ ป ลู ก เองในฟาร์ ม มากว่ายี่สิบปี และได้รับความนิยมสูงขึ้น อย่ า งมากในช่ ว งไม่ กี่ ปี ท่ี ผ่ า นมากล่ า วว่ า “ผู้คนอยากรู้ว่าอาหารที่พวกเขากินมาจาก ที่ไหน และพวกเขาก็อยากรู้จักคนที่บรรจุ อาหารลงในภาชนะด้วย”
©Bob Adelman/Corbis
CLASSIC ITEM คลาสสิก •อาหารกระป๋องเริม่ แพร่หลายในช่วงศตวรรษที่ 19 แต่ด้วยสนนราคาที่สูงลิบ จึงทำ�ให้ในระดับครัว เรือนยังคงนิยมการถนอมอาหารด้วยโหลแก้วอยู่ ใน ปี 1858 จอห์น แอล. เมสัน (John L. Mason) ช่าง บัดกรีชาวนิวยอร์ก ได้คิดค้นโหลแก้วที่มีปากเป็น เกลียวมาพร้อมฝาปิดหมุนเข้าล็อก ทำ�ให้นำ�กลับ มาใช้ใหม่ได้ โหลเมสันนีจ้ งึ กลายเป็นหนึง่ ในเครือ่ ง มือแห่งการปฏิวตั กิ ารถนอมอาหารในอเมริกา และ ได้รับความนิยมมากในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เมือ่ รัฐบาลกระตุน้ ให้ประชาชนเก็บรักษาผลผลิตที่ ปลูกได้ในครัวเรือน ระหว่างปี 1939-1949 เมสัน จำ�หน่ายโหลไปได้มากกว่าสามล้านใบ
พฤษภาคม 2558
l
Creative Thailand
l 13
COVER STORY เรื่องจากปก
c i n a Org G N I M R FA ด อ ร า ่ น ่ ี ท ก อ ื ล เ ง ทา
เรื่อง: ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ ภาพ: พิรานันท์ พาวงษ์ และ ภูริวัต บุญนัก
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านการสื่อสารท�ำให้การเข้าถึงความรู้ และแบ่งปันข่าวสารเป็นไปได้อย่างง่ายดาย โดยเฉพาะในประเด็นที่ผู้บริโภค ให้ความสนใจมากขึ้นอย่างการเลือกบริโภคอาหารต่างๆ เส้นทางสายพานของ อาหารจากต้นน�้ำสู่ปลายน�้ำซึ่งเต็มไปด้วยกระบวนการซับซ้อนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง นับไม่ถ้วน จึงก�ำลังได้รับการเปลี่ยนแปลงและเปิดเผยสู่สาธารณชนอย่างที่ไม่เคย เป็นมาก่อนนับตั้งแต่การปฏิวัติอาหารเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรม ประเด็นเรื่องความ ปลอดภัยของอาหารกลายเป็นสิ่งที่ถูกเอ่ยถึงในทุกแวดวง ผู้บริโภคซึ่งมีความรู้ และเทคโนโลยีพร้อมสรรพเริ่มมีบทบาทในการก�ำหนดทิศทางตลาดมากขึ้น และก็เป็นโอกาสที่ส�ำคัญของผู้ผลิตยุคใหม่ที่ยึดแนวทางเกษตรวิถี ธรรมชาติ มีความรอบรู้ รู้จักปรับตัวให้สามารถอยู่รอดทาง ธุรกิจ และสื่อสารกับผู้บริโภคด้วยความรู้ บนความโปร่งใส
14 l
Creative Thailand
l
พฤษภาคม 2558
COVER STORY เรื่องจากปก
การมาถึงของยุคเกษตรอินทรีย์ เมื่ อ การใช้ ส ารเคมี การปลู ก พื ช เชิ ง เดี่ ย ว และการดั ด แปลง พันธุกรรม ไม่ใช่คำ�ตอบของผู้บริโภคช่างเลือกยุคใหม่อีกต่อไป การเพาะปลูกและกรรมวิธกี ารผลิตอาหารด้วยวิถธี รรมชาติจงึ เป็น เทรนด์ใหม่ที่ตลาดหันมาให้ความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ
ความนิยมสินค้าเกษตรอินทรีย์ในผู้บริโภคชาวยุโรปโดยเฉพาะผัก ผลไม้ หรือแม้แต่เนื้อสัตว์และขนมปัง ก็มีแนวโน้มว่าจะขยายตัวมากขึ้นในอนาคต แม้จะมีราคาสูงกว่าสินค้าทั่วไปในตลาดและก�ำลังเผชิญกับสภาพเศรษฐกิจ ซบเซาก็ตาม ด้านเกษตรอินทรีย์ในไทยเองแม้ว่าจะหดตัวลงเล็กน้อยในปี 2012 จาก ผลกระทบทางเศรษฐกิจและการเมืองภายในประเทศ แต่กเ็ ริม่ มีการฟืน้ ตัวใน ปี 2013 ซึง่ เกิดจากปัจจัยตลาดในต่างประเทศทีม่ กี ารขยายตัวเพิม่ ขึน้ ท�ำให้มี การส่งออกผลผลิตเหล่านีส้ ตู่ ลาดต่างแดน โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา ยุโรป และจีน จากการส�ำรวจข้อมูลของมูลนิธิสายใยแผ่นดิน หรือ กรีนเนท พบว่า พื้นที่การผลิตเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน เกษตรอินทรีย์ในปี 2013 เพิ่มขึ้นเป็น 213,183.68 ไร่ เช่นเดียวกับจ�ำนวน ฟาร์มเกษตรอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานที่ขยับเพิ่มขึ้นเป็น 9,281 ฟาร์ม ในปี 2013 จาก 7,189 ฟาร์มในปี 2012 ขณะที่ยอดมูลค่าการส่งออก ของสินค้าเกษตรอินทรีย์ในประเทศยังเติบโตอยู่ที่ปีละกว่า 5,000 ล้านบาท นับเป็นตัวเลขที่การันตีถึงความสามารถในการเติบโตของตลาดนี้ได้อย่างดี พฤษภาคม 2558
l
Creative Thailand
l 15
COVER STORY เรื่องจากปก
การปรับตัวของเกษตรกรต้นแบบออร์แกนิก เมื่อส�ำรวจลงไปในระดับผู้ประกอบการถึงการปรับตัวเรื่องการท�ำเกษตร อินทรีย์ ธุรกิจตัวอย่างหนึง่ ทีน่ า่ สนใจก็คอื เรือ่ งราวของกานต์ ฤทธิข์ จร และ ภรรยา อโณทัย ก้องวัฒนา ที่คิดจะเปิดร้านอาหารมังสวิรัติของตนเองเมื่อ สิบกว่าปีที่แล้ว
หลังจากที่อโณทัยส�ำเร็จการศึกษาจากสถาบันสอนท�ำอาหารเลอ กอร์ดอง เบลอ ประเทศอังกฤษ และเห็นกระแสความตื่นตัวเรื่องอาหารออร์แกนิกในกลุ่มผู้บริโภค ยุโรป จึงพยายามสรรหาพืชผักทีป่ ลูกด้วยวิธอี อร์แกนิกมาเป็นวัตถุดบิ ส�ำหรับประกอบ อาหาร แต่เพราะผลผลิตในตลาดไทยขณะนั้นส่วนใหญ่มีเพียงผักปลอดสารพิษซึ่งยัง ใช้สารเคมีในขั้นตอนการปลูก นั่นจึงเป็นจุดเริ่มต้นของ “ไร่ปลูกรัก” ฟาร์มออร์แกนิก บนพื้นที่ 60 ไร่ในจังหวัดราชบุรี ที่เกิดขึ้นด้วยความตั้งใจให้เป็นแหล่งผลิตวัตถุดิบ ออร์แกนิกเพื่อส่งให้ร้านอาหาร “อโณทัย” ในกรุงเทพฯ และจ�ำหน่ายให้แก่ผู้ที่สนใจ “หัวใจของเกษตรอินทรีย์คือความเชื่อมโยง การท�ำฟาร์มออร์แกนิกเราต้องมอง ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงว่า ในดินต้องมีธาตุอาหารและสิ่งมีชีวิตอะไรบ้าง ในอากาศ ต้องมีแมลงอะไรบ้าง พืชผักพืชไร่ตอ้ งเชือ่ มโยงกับสัตว์ตา่ งๆ อย่างไร เรือ่ งพวกนีเ้ ป็น เรือ่ งทีเ่ ราต้องออกแบบให้สมั พันธ์กนั ถ้าไม่อย่างนัน้ เมือ่ ระบบเดินไปแล้วก็จะท�ำให้ตอ้ ง พึง่ พาปัจจัยภายนอกอย่างยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า ฮอร์โมนสังเคราะห์ หรือปุย๋ เคมี ซึง่ ถ้าเปรียบกับร่างกายก็เหมือนกับการทีเ่ ราไปซือ้ ยามาช่วยย่อยอาหาร ทัง้ ทีร่ า่ งกายของ เรากินอาหารได้เองอยู่แล้ว” กานต์ซึ่งรับหน้าที่บริหารจัดการไร่ปลูกรักมาตั้งแต่แรก เริ่ม เล่าให้ฟังถึงวงจรธรรมชาติภายในไร่ออร์แกนิกที่ทุกส่วนต้องสอดคล้องกัน นอกจากนี้ เขายังอ้างอิงการศึกษางานวิจัยของมหาวิทยาลัยโตเกียวที่แนะน�ำ เรื่องการสร้างระบบนิเวศที่พึ่งพาอาศัยกันได้เป็นอย่างดีภายในฟาร์ม เช่น การเลี้ยง เป็ดไข่พันธุ์กากีแคมป์เบลล์ (Khaki Campbell) ฝูงใหญ่เพื่อเก็บไข่ไปขายในแต่ละ วัน และจะปล่อยลงไปเดินหาอาหารในทุ่งนาทุกวัน เพื่อเพิ่มปริมาณออกซิเจนในน�้ำ และเพิ่มการดูดซึมของฟอสฟอรัสไปในคราวเดียวกัน หรือการเลือกปลูกต้นไม้หลาย ชนิดกระจายตามส่วนต่างๆ ของไร่ ด้วยเหตุผลที่ว่าการปลูกพืชชนิดเดียวไว้ด้วยกัน มากๆ จะท�ำให้ถูกแมลงรบกวนได้ง่าย เพราะจะเป็นพืชอาหารอยู่จุดเดียว เช่นเดียว กับหลักการพืน้ ฐานในการท�ำเกษตรอินทรียท์ ตี่ อ้ งปลูกพืชแบบหมุนเวียน เมือ่ เก็บเกีย่ ว แล้วก็เปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นเพื่อตัดวงจรแมลง
16 l
Creative Thailand
l พฤษภาคม 2558
COVER STORY เรื่องจากปก
facebook.com/thaiorganicfood
เปิดฟาร์มสร้างรายได้รอบรั้วเกษตรอินทรีย์
แม้เกษตรอินทรีย์จะมีดีในระยะยาว แต่ก็มีจุดอ่อนที่ท�ำให้เกษตรกรส่วนใหญ่ ไม่กล้าพอที่จะเปลี่ยนมาท�ำอย่างเต็มตัว เพราะต้องใช้เวลาในการปรับพื้นที่และ สภาพแวดล้อม ก�ำลังการผลิตต่อพื้นที่ต�่ำกว่าการท�ำเกษตรแบบใช้สารเคมี ทั้งยัง มีความเสี่ยงสูงเรื่องสภาพอากาศที่แปรปรวน อีกทั้งสินค้าที่เป็นของสดนอกจาก จะราคาสูงแล้ว ก็ยังเสียหายง่ายระหว่างการขนส่ง การเปิดฟาร์มให้เป็นสถานที่ ท่องเที่ยวเชิงเกษตรจึงเป็นอีกหนึ่งโมเดลธุรกิจยอดนิยมของไร่ออร์แกนิกจ�ำนวน มาก เพราะนอกจากจะได้ก�ำไรจากการเก็บค่าเข้าชมแล้ว ยังเป็นการต่อยอดธุรกิจ ที่ผู้ประกอบการไม่ต้องลงทุนมาก แต่สามารถดึงให้กลุ่มเป้าหมายที่มีความสนใจ ได้เข้ามาเรียนรู้และสัมผัสเกษตรอินทรีย์ที่แท้จริง ผ่านการจัดกิจกรรมต่างๆ และ เวิร์กช็อปอบรมการท�ำฟาร์มออร์แกนิกภายในไร่ ซึ่งโมเดลธุรกิจนี้เหมาะสมอย่างยิ่ง กับตลาดอินทรียข์ องไทยทีย่ งั ไม่เข้มแข็งเท่ายุโรปหรืออเมริกาทีม่ กี ารปูพนื้ ฐานการใช้ ตรารับรองและองค์ความรู้ของผู้บริโภคควบคู่กันมา
รู้รอบเพื่อรู้รอด อีกหนึ่งตัวอย่างของผู้ประกอบการด้านสินค้าออร์แกนิกที่สร้างข้อแตกต่างให้ กับผลิตภัณฑ์ด้วยการเรียนรู้กระบวนการท�ำออร์แกนิกอย่างครบวงจรจากการ ลงมือท�ำและเก็บเกี่ยวประสบการณ์โดยตรงด้วยตัวเองก็คือ โช โอกะ (Sho Oga) อดีตประธานบริษัทผู้ผลิตและจ�ำหน่ายเครื่องมือแพทย์ ที่ถูกส่งตัวเข้ามาประจ�ำใน ประเทศไทยเมื่อ 20 ปีก่อน
โช โอกะสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะปัญหาน�้ำเสียในประเทศไทย หลังจากท�ำงานใน บริษัทเป็นเวลาสิบกว่าปีและมีโอกาสได้ไปตรวจสอบโรงงานผลิตในบางปะกงและสาขาย่อย ในหลายจังหวัด เช่น เชียงใหม่ สงขลา หาดใหญ่ ฯลฯ เป็นประจ�ำ เขาตัดสินใจลาออกด้วย วัย 43 ปี โดยน�ำเงินสะสมทั้งหมดของตนเอง รวมกับเงินที่ได้จากขายบ้านในญี่ปุ่น จากการ หยิบยืมจากเพื่อน และกู้จากธนาคาร ก่อตั้งบริษัท ฮาร์โมนี ไลฟ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จ�ำกัด ในปี 1999 และเริ่มต้นบุกเบิกฟาร์มออร์แกนิกในประเทศไทยบนที่ดิน 50 ไร่ในอ�ำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ด้วยความตั้งใจแรกที่อยากจะแก้ไขปัญหาน�้ำเสีย ซึ่งเขาสรุปได้ว่ามีที่มา จาก 3 แหล่ง คือ น�้ำที่ปนเปื้อนสารเคมีจากบ้านเรือน การเกษตร และโรงงานอุตสาหกรรม “การใช้จลุ นิ ทรียใ์ ห้เป็นประโยชน์เป็นสิง่ ส�ำคัญ ของการท�ำเกษตรออร์ แ กนิ ก เราไม่ ใ ช้ น�้ ำ จาก ล�ำคลอง บ่อน�้ำในไร่เป็นบ่อที่เราขุดขึ้นเองเพื่อใช้ ในฟาร์ม ข้างๆ บ่อจะมีถังเพาะจุลินทรีย์เพื่อปล่อย
มิถุนายน 2558
l
Creative Thailand
l 17
ลงบ่ออย่างสม�่ำเสมอ นอกจากนี้ยังใช้จุลินทรีย์เพื่อปรับปรุงดินและช่วย ให้พืชแข็งแรงทนทานต่อโรค ดินที่ดีต้องมีสารอาหาร ต้องมีจุลินทรีย์ที่ดี จ�ำนวนมากซึง่ จะท�ำให้อมุ้ น�ำ้ ได้และระบายน�ำ้ ดี ดินดี 1 กรัมจะมีจลุ นิ ทรีย์ ทั้งดีและไม่ดี 4-8 ร้อยล้านตัว แต่การใช้สารเคมีจะท�ำลายจุลินทรีย์ที่ดีใน ฟาร์มหมด” โอกะอธิบาย แม้จะมีพื้นฐานความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ แต่โอกะก็ไม่เคยท�ำฟาร์ม มาก่อน ช่วงหกปีแรกของ “ฮาร์โมนี ไลฟ์ ออร์แกนิก ฟาร์ม” จึงล้มลุก คลุกคลาน แม้ว่าเทคนิคการเพาะจุลินทรีย์จะช่วยปรับสภาพให้ดินดีขึ้น มากก็ตาม แต่ก็ยังพบปัญหาโรคและแมลงในพืชที่มีสาเหตุมาจากปุ๋ย มูลสัตว์ที่กินอาหารปรุงแต่งซึ่งเขาซื้อมาใช้ในฟาร์มในระยะแรก โอกะจึง แก้ปัญหานี้ด้วยการซื้อวัวและไก่มาเลี้ยงเองโดยให้อาหารธรรมชาติเพื่อ จะได้ปุ๋ยที่ดี และช่วยแก้ปัญหาเรื่องแมลงในพืชได้ นอกจากนี้ การท�ำการตลาดก็เป็นอีกหนึ่งอุปสรรคที่โอกะต้องเผชิญ เพราะตลาดผู้บริโภคในขณะนั้นยังไม่รู้จักค�ำว่า “ออร์แกนิก” จึงไม่มี ความต้องการสินค้าประเภทนี้ กระทัง่ ห้างสรรพสินค้าอิเซตันติดต่อเข้ามา ขอดูกระบวนการผลิตในไร่ จึงได้เริ่มรับผักผลไม้จากฟาร์มไปวางขายใน ซูเปอร์มาร์เก็ต ตามมาด้วยวิลล่า มาร์เก็ต และฟูจิ ซุปเปอร์
ฮาร์โมนี ไลฟ์ จึงถือเป็นผู้ผลิตรุ่นบุกเบิกที่น�ำเสนอสินค้าออร์แกนิก ในตลาด ขณะที่ก็เพิ่มช่องทางการจ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์ของตัวเองที่ไม่ได้ มีเพียงผักผลไม้สด และผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป แต่ยังรวมถึงผลิตภัณฑ์ ท�ำความสะอาดที่ไม่ใช้สารเคมี ด้วยการเปิด “ซัสเทน่า ออร์แกนิก ช็อป แอนด์ เรสเตอรองต์” (SUSTAINA Organic Shop & Restaurant) ขึ้นใน ซอยสุขุมวิท 39 เมื่อห้าปีก่อน “เราอยากให้ผู้บริโภคเข้าใจว่าออร์แกนิก ไม่ใช่แค่เรือ่ งการเกษตร แต่เป็นเรือ่ งสิง่ แวดล้อมทัง้ หมดรวมถึงการใช้ชวี ติ ส่วนทีต่ อ้ งเปิดเป็นร้านอาหารทีใ่ ช้วตั ถุดบิ ในฟาร์มด้วยก็เพราะถ้าไม่ได้กนิ ก็จะไม่รู้ว่าต่างจากผลผลิตอื่นๆ อย่างไร”
เมล็ดพันธุ์ที่งอกเงยเป็นกำ�ไรในต่างแดน
greenoodle.com
การแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานเพื่อส่งออกไปยังประเทศผู้บริโภคที่มีความ เข้าใจและต้องการสินค้าออร์แกนิกเป็นอีกหนึง่ ช่องทางการเพิม่ กำ�ไรให้แก่ผผู้ ลิต จากจุดเริ่มต้นในการปลูกผักออร์แกนิกพันธุ์โมโรเฮยะ (Jaw’s Mallow) ผักที่มี คุณค่าด้านสารอาหารสูง เมื่อนำ�มาสกัดเป็นผงผักจะมีรสจืด รับประทานได้ง่าย เหมาะจะนำ�มาผสมกับอาหารได้หลายชนิด เมื่อพิจารณาถึงความนิยมในสินค้า บะหมีก่ งึ่ สำ�เร็จรูปของคนไทย โอกะจึงคิดว่าน่าจะนำ�ผงผักมาผสมทำ�เป็นบะหมี่ ผักที่ดีต่อสุขภาพได้ จึงลองผิดลองถูกด้วยตนเองจนได้เป็นบะหมี่ผักโมโรเฮยะ สินค้าสร้างรายได้สำ�คัญที่ช่วยให้ฮาร์โมนี ไลฟ์ ออร์แกนิก ฟาร์ม เติบโตและ ขยายธุรกิจไปได้อย่างมีศักยภาพ เพราะตั้งแต่ปี 2001 ที่ได้เริ่มจำ�หน่ายบะหมี่ ผักให้ร้านสุกี้เอ็มเคจนกลายเป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภค เมื่อเอ็มเคขยายสาขาไป ทั่วประเทศ ก็ย่ิงทำ�ให้ยอดขายของบะหมี่ผักสูงขึ้น ก่อนที่ความนิยมนี้จะขยับ ขยายไปจำ�หน่ายที่ร้านอาหารอื่นๆ อย่างร้านฮอทพอท โคคาสุกี้ และเอสแอนด์ พี ยิ่งไปกว่านั้นในปี 2009 ทางบริษัทยังได้ส่งออกบะหมี่ผักนี้ไปวางจำ�หน่ายใน ต่างแดน ทั้งในสหรัฐอเมริกา แคนาดา แม็กซิโก และฮาวาย ภายใต้ชื่อแบรนด์ “Greenoodle” รวมทั้งสามารถจำ�หน่ายได้ในประเทศมุสลิม เพราะผ่านการ รับรองเครื่องหมายฮาลาล นอกจากบะหมี่ผักที่กลายเป็นสินค้ายอดนิยมแล้ว บริษัทยังได้ร่วมมือทำ�ธุรกิจสปาชื่อดังอย่าง “Asia Herb Associate” จนต่อยอด ส่งออกสินค้าได้ในอีกหลายผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นสบู่อโรม่า อโรม่าบอดี้ออยล์ ลูกประคบสมุนไพร ชาสมุนไพร ไปจนถึงส่งออกน้ำ�หมักเอ็นไซม์ น้ำ�ยาทำ�ความ สะอาดสูตรธรรมชาติให้แก่ประเทศไต้หวันและญี่ปุ่น เป็นต้น
18 l
Creative Thailand
l มิถุนายน 2558
ไม่เพียงแค่ผลผลิตที่มีคุณภาพที่จะมีส่วนส�ำคัญท�ำให้ธุรกิจ ออร์แกนิกประสบผลส�ำเร็จอย่างยัง่ ยืน แต่ผปู้ ระกอบการเกษตร อินทรีย์ยังต้องการการสนับสนุนจากคนกลางที่จะเข้ามาช่วย เหลือให้การด�ำเนินธุรกิจสีเขียวนีเ้ ป็นไปได้อย่างราบรืน่ และยัง่ ยืน ที่สุด
หนึ่งในการสนับสนุนนั้นเกิดขึ้นพร้อมๆ กับความก้าวหน้าของเทคโนโลยี และการสื่อสารสมัยใหม่อย่างการสร้างสรรค์แอพพลิเคชั่นเพื่อช่วยให้คน ทั่วไปเข้าถึงสินค้าอินทรีย์ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น อนุกูล ทรายเพชร คนรุ่นใหม่ที่กลับมาสืบทอดกิจการธุรกิจเกษตร อินทรียข์ องครอบครัว ได้กอ่ ตัง้ แบรนด์ folkrice และออกแบบแอพพลิเคชัน่ forkrice เพื่อเป็นตัวกลางออนไลน์ที่เชื่อมต่อให้ผู้บริโภคทั่วไปหรือร้าน อาหารที่สนใจ ให้สั่งซื้อข้าวสารได้จากชาวนาโดยตรง ไม่ต้องผ่านพ่อค้า คนกลางหรือห้างโมเดิรน์ เทรดซึง่ ดึงส่วนแบ่งการขายของชาวนาไปกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ อนุกูลเผยว่า เขาต้องการจะบริหาร forkrice ให้เป็นธุรกิจเพื่อ สังคม และจะเก็บส่วนแบ่งการขายจากชาวนาเพียง 10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น โดยจะเก็บเป็นข้าว ไม่ใช่เงิน และจะหาทางน�ำข้าวเหล่านี้ไปขายต่อเอง เพือ่ หล่อเลีย้ งกิจการภายหลัง หลังจากทีม่ กี ารสัง่ ซือ้ ผ่านแอพแล้ว ทีมงาน forkrice จะตรวจสอบจ�ำนวนสต็อกข้าว และจับคู่ “ค�ำสั่งซื้อ” กับ “ข้าว พร้อมขาย” เข้าด้วยกัน โดยผูซ้ อื้ จะต้องสัง่ อย่างตำ�่ 15 กิโลกรัมขึน้ ไป และ จะได้รับข้าวที่ดีในราคาถูกกว่าท้องตลาดจัดส่งให้ถึงบ้านภายใน 7-15 วัน โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการพัฒนาแอพพลิเคชั่นและคาดว่าจะเปิดใช้ งานได้ในเร็วๆ นี้ อีกด้ า นหนึ่ ง เกษตรกรรายย่อยที่สนใจหันมาปลูก ผลผลิ ต แบบ ออร์แกนิกก็ยังได้รับการช่วยเหลือจากแหล่งทุนต่างๆ โดยเฉพาะจาก ต่างประเทศที่มีการพัฒนาเรื่องการท�ำเกษตรอินทรีย์มาก่อนเรา ตัวอย่าง ความช่วยเหลือจากหน่วยงานระหว่างประเทศอย่าง “LGT Venture Philanthropy” องค์กรเพือ่ สังคมนานาชาติทจี่ บั มือกับ “Hil tribe Organics” เป็นหัวเรือใหญ่จดั การระบบและให้ความรูเ้ รือ่ งการท�ำฟาร์มแบบออร์แกนิก แก่เกษตรกรชนกลุ่มน้อยในจังหวัดเชียงรายที่มีรายได้ต่อครอบครัวเพียง เดือนละประมาณ 5,000 บาท ให้หันมาท�ำฟาร์มไก่ออร์แกนิกที่ไม่ได้ หมายถึงแค่ว่าทุกอย่างต้องมาจากธรรมชาติเท่านั้น แต่ยังเปิดพื้นที่ให้ไก่ บนดอยแห่งนีไ้ ด้วงิ่ เล่นอย่างมีความสุขแบบไม่มกี ารกักขังแต่อย่างใด ไข่ไก่ จากดอยทีไ่ ด้จงึ เต็มไปด้วยคุณภาพและรสชาติทเี่ ข้มข้นจากไข่แดงกลมโต แถมยังปราศจากสารเคมี 100 เปอร์เซ็นต์ ซึง่ ผลผลิตไข่ไก่คณุ ภาพสูงนีจ้ ะ ถูกซื้อคืนจากองค์กรในราคาที่เป็นธรรม และส่งไปจ�ำหน่ายยังร้านอาหาร ภัตตาคาร โรงแรมระดับห้าดาว และซูเปอร์มาร์เก็ตทีข่ ายอาหารออร์แกนิก
ท�ำให้เกษตรกรเจ้าของไร่ชายขอบกว่า 145 ครอบครัวในเชียงรายแห่งนี้มี รายได้เพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 2 เท่าตัว
ความเข้าใจที่สร้างความต้องการที่แท้จริง ถึ ง แม้ ว ่ า สิ น ค้ า ออร์ แ กนิ ก จะได้ รั บ ความนิ ย มมากขึ้ น เรื่ อ ยๆ จากผู้บริโภคที่ใส่ใจในแหล่งที่มาของอาหาร แต่ด้วยข้อจ�ำกัด หลายอย่าง ทั้งการเข้าถึงที่ยังไม่ครอบคลุมถึงทุกกลุ่มผู้บริโภค ราคาสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ยังแข่งขันกับสินค้าทั่วไปได้ไม่ดีนัก ไปจนถึงการขาดความรู้ความเข้าใจถึงประโยชน์ที่แท้จริงของ การเลือกซื้อสินค้าออร์แกนิก
ปัญหาเหล่านี้อาจแก้ไขได้ทั้งจากตัวผู้ผลิตเอง ที่ต้องพยายามมองหาช่อง ทางในการสื่อสารข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับกระบวนการผลิต คุณภาพของ ผลผลิต ไปจนถึงช่องทางการจัดจ�ำหน่ายกว่าจะไปถึงมือผู้บริโภค เช่นที่ กลุม่ วังขนาย ผูผ้ ลิตน�ำ้ ตาลทรายรายใหญ่ของประเทศ ซึง่ ได้ใช้เทคโนโลยี น�ำเทคโนโลยีก�ำหนดพิกัดด้วยดาวเทียม (Global Positioning System/ GPS) และระบบสารสนเทศ ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Information System/GIS) ในการพัฒนาและปรับปรุงในการผลิตที่ได้มาตรฐานทั้ง มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่ผ่านการรับรองของสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น และยังผลิตผลผลิตป้อนโรงงานได้อย่างต่อเนื่อง พร้อมสื่อสาร ถึงกระบวนการสร้างสรรค์ผลผลิตออร์แกนิคเหล่านี้ในรูปแบบที่เข้าใจง่าย และสื่อที่เข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะเมื่อความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเหล่านี้ถูกกระจายออก ไปในกลุ่มผู้บริโภควงกว้าง อีกมากเท่าไร ย่อมหมายถึงอนาคตที่ยั่งยืน มากขึ้นของภาคการเกษตรแบบอินทรีย์ เช่นที่ กานต์ ฤทธิ์ขจร อุปนายก คณะกรรมการสมาคมการค้าเกษตรอินทรีย์ไทย (Thai Organic Trade Association) กล่าวว่า ปัจจุบนั ค�ำว่า “ออร์แกนิก” ถูกน�ำมาใช้เป็นจุดขาย ทางการตลาด ความต้องการในกลุ่มผู้บริโภคก�ำลังเติบโตอย่างรวดเร็วแต่ โตด้วยข้อมูลทางการตลาด ไม่ได้โตด้วยความรู้ความเข้าใจที่แท้จริง
ที่มา: บทสัมภาษณ์ คุณกานต์ ฤทธิ์ขจร ผู้ก่อตั้งไร่ปลูกรัก (บริษัท ไทยออร์แกนิกฟู้ด จ�ำกัด) บทความ "China Bans GMOs from Army Food Supply" (2014) จาก naturalnews.com บทความ "สถานการณ์เกษตรอินทรีย์ไทย 2556-57" (2015) จาก greennet.or.th บทความ "ความนิยมสินค้าเกษตรอินทรีย์ (Organic) ในอียู" (2014) จาก bangkokbiznews.com บทความ “พลิกพลังเทคโนโลยีสร้างเศรษฐกิจดิจิทัล กับ 5 ธุรกิจเพื่อสังคม” จาก tcdcconnect.com บทสัมภาษณ์ คุณโช โอกะ ผู้ก่อตั้งฮาร์โมนี ไลฟ์ ออร์แกนิก ฟาร์ม (บริษัท ฮาร์โมนี ไลฟ์ อินเตอร์เนชันแนล จ�ำกัด) บทความ "Chinese Army Bans All GMO Grains and Oil from Supply Stations" (2014) จาก sustainablepulse.com
facebook.com/HilltribeOrganics
คน (ที่เป็น) กลาง
COVER STORY เรื่องจากปก
ขอขอบคุณ ป่าสาละ salforest.com มิถุนายน 2558
l
Creative Thailand
l 19
THE
INSIGHT
June 2015
FREE COPY
เรื่อง: มนฑิณี ยงวิกุล
lly a c eti ed!! n e G eer Engin
Food Section
©REUTERS/Fabrizio Bensch
PLANT DILEMMA
ทำ�ไมเราต้องเป็นฝ่ายแบกต้นทุนติดฉลาก non-GMO เสียเอง! วิจารณ์จากสมาคมผู้บริโภคออร์แกนิก “Millions against Monsanto” จfrom organicconsumers.org
20 l
Creative Thailand
l มิถุนายน 2558
INSIGHT อินไซต์
แม้ว่าพฤติกรรมการบริโภคของคนรุ่นใหม่ที่เมินอาหารจานด่วนจะทรงพลังจนท�ำให้ ผลประกอบการของแมคโดนัลด์ต้องง่อนแง่น แต่บริษัทมอนซานโต (Monsanto) ผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ตัดต่อพันธุกรรมรายใหญ่ที่สุดของโลก ก็ยังคงเดินหน้าท้าทายเหล่าผู้บริโภคผู้รักธรรมชาติและสุขภาพอย่างไม่หวาดหวั่น ท่ามกลางเสียงประท้วงและการต่อต้านอาหารตัดต่อพันธุกรรม ที่ขยายวงมากขึ้นและก�ำไรในไตรมาสแรกของปี 2015 ที่ลดลงถึงร้อยละ 34 แต่มอนซานโตก็ยังเดินหน้าลงทุนงานวิจัยมูลค่ามหาศาลและมุ่งหน้าขยายไปสู่ตลาดผลิตภัณฑ์นม ด้วยการผลิตฮอร์โมนเทียมส�ำหรับวัวเพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิต ในด้านหนึ่งมอนซานโตถูกตราหน้าว่าเป็นบริษัทปีศาจที่ฝืนวิถีธรรมชาติ แต่ในอีกด้านก็เป็นทางเลือกที่ถูกกล่าวถึง ในการรับมือวิกฤตการณ์ขาดอาหารและพืชพลังงาน อันเนือ่ งมาจากจ�ำนวนประชากรโลกทีค่ าดว่าจะเพิม่ ขึน้ ถึงกว่า 9 พันล้าน คนในปี 2050 ส่งผลให้การพัฒนาพื้นที่เขตเมืองขยายตัวจนกระทบพื้นที่เพาะปลูกให้ลดลง และยังท�ำให้การบริโภคพลังงาน ทางเลือกจากพืชเพื่อทดแทนน�้ำมันดิบเพิ่มขึ้นตามไปด้วย นอกจากนี้ ส�ำหรับเกษตรกรแล้ว เทคโนโลยีชีวภาพเช่นนี้กลับเป็น เครื่องมือช่วยพวกเขาแก้ปัญหาเรื่องการเพิ่มผลผลิตและการลดใช้ยาฆ่าแมลงอย่างได้ผล แม้ว่าเมล็ดพันธุ์ตัดต่อพันธุกรรม จะมีราคาสูงกว่าเมล็ดพันธุ์ทั่วไปก็ตาม ดังนั้นในช่วงระยะเวลา 10 กว่าปีที่ผ่านมา การยอมรับเมล็ดพันธุ์ตัดต่อพันธุกรรมในกลุ่มเกษตรกรอเมริกันจึงเพิ่มสูงขึ้น โดยรายงานของกระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริการะบุว่า ในช่วงระหว่างปี 1996 ถึงปี 2014 มีพื้นที่เพาะปลูกที่ใช้ เมล็ดพันธุ์ตัดต่อยีนเพิ่มจ�ำนวนขึ้นคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 50 ของพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมดในสหรัฐอเมริกา และท�ำให้ ราคาเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดและถั่วเหลืองตัดต่อพันธุกรรมเพิ่มสูงขึ้นกว่าร้อยละ 50 ในช่วงปี 2001-2011 อย่างไรก็ตาม แม้ว่าความต้องการพืชอาหารและพลังงานที่เพิ่มขึ้นจะท�ำให้มอนซานโตได้รับแรงสนับสนุนจาก นักการเมืองคนส�ำคัญหลายคน เช่น ฮิลลารี คลินตัน ผูก้ �ำลังลงสมัครชิงต�ำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสหรัฐฯ แต่กระทรวงเกษตร ของสหรัฐฯ ก็จะต้องแบ่งรับแบ่งสู้ระหว่างการให้ใบอนุญาตเมล็ดพันธุ์ใหม่ที่บริษัทยื่นขออนุมัติ กับการลดแรงเสียดทาน จากกลุ่มผู้ต่อต้านด้วยการจับตามองอย่างใกล้ชิด รวมไปถึงการคุ้มครองผู้บริโภคจากโครงการ non-GMO ของส�ำนักงาน ตรวจสอบความปลอดภัยอาหาร (Food Safety and Inspection Service : FSIS) ซึ่งได้ออกประกาศเป็นครั้งแรกเกี่ยวกับ มาตรฐานสินค้าที่ไม่ตัดต่อพันธุกรรมและถ้าหากผ่านมาตรฐานก็จะได้ติดฉลาก non-GMO อย่างไรก็ดี กฎระเบียบนี้ ถูกวิจารณ์อย่างหนักจากสมาคมผู้บริโภคออร์แกนิกที่โพสต์ในเว็บไซต์ว่า “ท�ำไมไม่ไปบอกพวกจีเอ็มโอให้ติดป้าย ท�ำไม เราต้องเป็นฝ่ายแบกต้นทุนติดฉลากเสียเอง” แรงหนุนฝั่งต่อต้านนั้นไม่ได้มาจากกลุ่มผู้บริโภคเพียงอย่างเดียว แต่มาจากเกษตรกรน้อยใหญ่และฟาร์มเก่าแก่ที่ เปลี่ยนมาสู่มือของทายาทรุ่นที่ 4 อย่าง เจฟ ไคลน์ปีเตอร์ (Jeff Kleinpeter) เจ้าของฟาร์มวัวนมที่ใช้วิธีการประคบประหงม วัวเพื่อให้ได้น�้ำนมที่มีทั้งคุณภาพและปริมาณที่เหมาะสม ได้ขึ้นป้ายโฆษณาชนอย่างตรงไปตรงมาว่า “ผลิตภัณฑ์จากวัว ที่ไม่ใช้ rBGH” หรือไม่ได้ใช้ฮอร์โมนเทียมนั่นเอง การโต้เถียงและสงครามสื่อระหว่างกลุ่มผู้รักวิถีธรรมชาติและมอนซานโตยังคงด�ำเนินไปอย่างไม่สิ้นสุด เพราะไม่มีใคร สามารถชี้ขาดได้ว่าระหว่างความหิวโหยกับความหวาดกลัวการตัดต่อพันธุกรรมนั้น อย่างไหนจะชนะได้อย่างเด็ดขาด ที่มา: บทความ “Adoption of Genetically Engineered Crops in the U.S.” จาก ers.usda.gov, บทความ “Hillary’s Agribusiness Ties Give Rise to Nickname in Iowa: ‘Bride of Frankenfood’” จาก washingtontimes.com, บทความ “Millions against Monsanto” จาก organicconsumers.org, บทความ “Monsanto’s Harvest of Fear” จาก vanityfair.com, บทความ “Why Does Everyone Hate Monsanto?” จาก modernfarmer.com และรายงาน “Genetically Engineered Crops in the United States” จาก ers.usda.gov
มิถุนายน 2558
l
Creative Thailand
l 21
CREATIVE ENTREPRENEUR คิด ทำ� กิน
GREEN NET SE
เพาะกล้ากาแฟ ขยายผลสู่สังคม เรื่อง: พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์ ภาพ: นัทธ์ชนัน เพชรดี
ในวันที่ภาคการผลิตอาหารก�ำลังถูกผู้ผลิตรายใหญ่กินรวบอ�ำนาจไว้แทบจะเบ็ดเสร็จ ยังมีความพยายามเล็กๆ ในการผลิตอาหารที่ไม่ได้ให้แค่ความอิ่มท้อง แต่ยังส่งต่อ ประโยชน์ไปยังภาคผูผ้ ลิตรายเล็กๆ ทีม่ คี วามตัง้ ใจจริงในการท�ำสิง่ ดีๆ เพือ่ สังคมอีกด้วย บริษัท กรีนเนท เอสอี จ�ำกัด ผู้ผลิตกาแฟออร์แกนิกที่ได้มาตรฐานทั้งระดับประเทศ และระดับโลก ด�ำเนินงานด้านเกษตรกรรมแบบอินทรีย์ ที่ไม่ได้เป็นแค่ทางเลือกใหม่ ให้กับผู้บริโภคได้บริโภคสินค้าที่ดี แตกต่าง และมีคุณภาพเท่านั้น แต่ยังช่วยแก้ปัญหา สิ่งแวดล้อมอย่างการรุกแผ้วถางป่า ต้นก�ำเนิดของพืชพันธุ์นานาชาติ มาสู่การเพาะ “กล้ากาแฟ” พืชที่ต้องการร่มเงาจากไม้ใหญ่ เพื่อป้องกันไม่ให้เกษตรกรเผาป่าและ รุกล�้ำที่ท�ำกิน รวมถึงการท�ำการเกษตรอย่างผิดวิธีอย่างการใช้สารเคมีรุนแรงซึ่งส่ง ผลกระทบต่อระบบนิเวศและความเป็นอยู่ของผู้คน จนกลายมาเป็นที่มาของธุรกิจเพื่อ สังคม (Social Enterprise) ที่ก�ำลังมุ่งมั่นผลิตสินค้าอินทรีย์คุณภาพ และมุ่งเน้น การส่งต่อผลประกอบการ และแนวคิดที่ยั่งยืนกลับคืนสู่สังคมอย่างแท้จริง
22 l
Creative Thailand
l มิถุนายน 2558
CREATIVE ENTREPRENEUR คิด ทำ� กิน
ผู้ประกอบการเพื่อสังคมกับการผลิตอาหารเพื่อสังคม
ธีรสิทธิ์ อมรแสนสุข กรรมการผู้จัดการ บริษัท กรีนเนท เอสอี จ�ำกัด ได้ เล่าถึงที่มาของธุรกิจกาแฟอินทรีย์รักป่า “มีวนา (Mivana)” ว่าเป็นธุรกิจ ที่เริ่มต้นจากความร่วมมือของ มูลนิธิสายใยแผ่นดินหรือ กรีนเนท ที่มี วัตถุประสงค์แรกเริ่มเพื่อให้เกษตรกรในเขตป่าหยุดการตัดไม้ท�ำลายป่า และสร้างมลพิษเคมีปนเปือ้ นในพืน้ ทีป่ า่ ต้นนำ�้ จึงได้รเิ ริม่ โครงการส่งเสริม กาแฟอินทรีย์รักษาป่าขึ้นเมื่อปี 2010 “การที่ป่าไม้ถูกท�ำลาย ส่วนหนึ่ง เกิดจากการที่ชาวบ้านรุกเผาป่าในหน้าแล้ง เพื่อเปิดพื้นที่ปลูกเสาวรส ซึ่ง เป็นพืชทีต่ อ้ งการแสงสูง เลยต้องเปิดพืน้ ทีใ่ ห้โล่ง ท�ำให้ตอ้ งตัดท�ำลาย หรือ ไม่กเ็ ผาป่าจนเกิดปัญหาต่างๆ ตามมาอย่างทีเ่ ราทราบกัน ส่วนการเกษตร แผนใหม่ก็ใช้สารเคมีจนพื้นที่ป่าต้นน�้ำปนเปื้อน ต้นทุนทางการเกษตร ก็สงู เกษตรกรล้มป่วย ร่างกายสะสมสารพิษจนเสียชีวติ สัตว์ปา่ ก็สญู พันธุ์ เราก็เลยเข้าไปเป็นทางเลือกให้เขา” เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว กรีนเนท เอสอี จึงได้น�ำเมล็ดกาแฟสายพันธุ์ ที่ได้รับการคัดเลือกแล้วว่าให้กลิ่นและรสชาติที่ดีไปให้เกษตรกรที่ท�ำกิน อยู่ในป่าต้นน�้ำแม่ลาว ป่าที่อุดมสมบูรณ์มากที่สุดของจังหวัดเชียงราย ก่อนขยายพืน้ ทีไ่ ปยังป่าต้นนํา้ แม่กรณ์ ต�ำบลวาวี ในพืน้ ทีใ่ กล้เคียง ได้ชว่ ยกัน เพาะปลูก เนือ่ งจากเป็นพืชเศรษฐกิจทีต่ อบโจทย์ทงั้ ด้านผลตอบแทน และ ยังเป็นพืชที่ต้องการร่มเงาสูงจึงปลูกควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ป่าร่มเงาได้ ทัง้ ระบบนิเวศภายในป่าก็สมบูรณ์ดว้ ยดินภูเขาไฟ เหมาะสมทีจ่ ะให้ผลผลิต กาแฟอินทรีย์ที่มีคุณภาพกลิ่นและรสที่ดีกว่า ภายใต้แบรนด์ “มีวนา” ที่ได้รับการจัดให้เป็น “กาแฟอินทรีย์ป่า (Organic Forest Coffee)” ซึ่งสามารถผลิตได้เพียงร้อยละ 1 ของกาแฟ ที่ผลิตได้ในโลกทั้งหมด ท�ำให้จ�ำหน่ายในราคาพรีเมียมได้ เป็นการช่วย ยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของเกษตรกร ที่ส�ำคัญคือช่วยให้ มีการด�ำรงอยู่ของป่าต้นน�้ำอย่างยั่งยืน โดยทางบริษัทได้ด�ำเนินการตั้งแต่ ขั้นตอนการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ การเพาะปลูก ไปจนถึงการผลิตตาม มาตรฐานออร์แกนิกแบบครบวงจร ที่ปลอดภัย ใส่ใจ และไม่ใช้สารเคมี ใดๆ ตลอดห่วงโซ่อุปทาน โดยในปัจจุบันมีเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการนี้ แล้วกว่า 325 ครอบครัว ใน 9 หมู่บ้าน
พิถีพิถันให้ได้คุณภาพที่ดีที่สุด
เพราะเชื่อว่า สินค้าที่ดีย่อมมีที่ทางและช่องทางในการจ�ำหน่ายไปสู่มือ ผ้บู ริโภคได้ในทีส่ ดุ กรีนเนท เอสอี จึงพิถพี ถิ นั ทุกขัน้ ตอนในการผลิตกาแฟ มีวนาให้ได้ตามมาตรฐานทีต่ งั้ ไว้ ตัง้ แต่การจัดให้มอี บรมด้านการผลิตและ จัดท�ำระบบมาตรฐานกาแฟอินทรีย์ ไปจนถึงการแปรรูปทีไ่ ด้คณุ ภาพแบบ ที่เรียกได้ว่ามีกระบวนการผลิตแบบท�ำมือแทบจะร้อยเปอร์เซ็นต์ ตั้งแต่ ความพิถีพิถันในการเก็บเมล็ดกาแฟเฉพาะเมล็ดที่สุกสมบูรณ์ด้วยมือ ทีละเมล็ด พร้อมน�ำเข้าสู่กระบวนการผลิตภายใน 24 ชั่วโมงหลังการ เก็บเกี่ยว เพื่อให้ได้กลิ่นและรสที่สมบูรณ์แบบ ตลอดถึงการควบคุมและ greennetse.com facebook.com/mivanacoffee
ตรวจสอบคุณภาพของกาแฟที่ได้ทั้งสี กลิ่น ขนาด และรสชาติทุกขั้นตอน โดยผู้ช�ำนาญการ ไปจนขั้นตอนการคั่วกาแฟที่พิถีพิถันโดยนักคั่วกาแฟ ที่ผ่านการอบรมจากหน่วยงานที่มีความน่าเชื่อถือ “การที่เราเป็นธุรกิจเพื่อสังคม ท�ำให้เรามีพันธมิตรทั่วโลก เราจึง สามารถส่ ง คนของเราไปเรี ย นรู ้ เ รื่ อ งกาแฟกั บ พั น ธมิ ต รของเราใน สหรัฐอเมริกาได้ปีละสามคนเป็นอย่างน้อย เช่น ไปเรียนหลักสูตร การคั่ ว กาแฟกั บ ผู ้ เชี่ ย วชาญโดยเฉพาะ เพื่ อ ท�ำให้ เรามี ค วามเข้ า ใจ ในเรื่ อ งการผลิ ต ไปจนถึ ง การคั่ ว กาแฟอย่ า งลึ ก ซึ้ ง มากขึ้ น และ สิ่ ง เหล่ านี้ จ ะสร้ างข้ อ แตกต่ างและจุ ด เด่ น ให้ กั บ ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ข องเรา”
ต่อยอดธุรกิจแบบเอสอี
“ความที่เราเป็นธุรกิจเพื่อสังคม นอกจากจะช่วยสร้างและกระจายรายได้ ที่เป็นธรรมแล้ว เป้าหมายของการก่อตั้งบริษัทของเราก็ชัดเจนตั้งแต่ต้น ว่ารายได้ของเรามากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ต้องน�ำมาต่อยอดและขยาย กิจการเพือ่ สังคมนีเ้ รือ่ ยไป และเราจะแบ่งอีก 10 เปอร์เซ็นต์เป็นเงินบริจาค เพื่อองค์กรสาธารณะทางสังคม เพราะเราเชื่อว่า การจะบอกว่าคุณเป็น กิจการเพื่อสังคม คุณต้องพิสูจน์ให้ได้ด้วยว่ารายได้ของคุณไปที่ไหน บ้าง” การบริหารจัดการด้วยวิธีนี้ เมื่อเสริมกับระบบการตลาดและการค้า ที่เป็นธรรม (Fair Trade) ที่น�ำเข้ามาใช้ในการบริหารและการจัดการธุรกิจ แล้ว ก็กลายเป็นหลักประกันระยะยาวให้แก่ทั้งเกษตรกรผู้ผลิต ผู้บริโภค และภาคสังคมได้เป็นอย่างดี กระทั่งโมเดลธุรกิจของกรีนเนท เอสอี ได้รบั รางวัลแผนธุรกิจเพื่อสังคมดีเด่น จากส�ำนักงานสร้างเสริมกิจการเพื่อ สังคมแห่งชาติ (สกส.) และรางวัล Best Quality Award จากการประกวด กาแฟคุณภาพในงาน Thailand Coffee, Tea and Drink ในปี 2556-2557 ติดต่อกัน ธีรสิทธิ์ได้สรุปให้ฟังว่า ผลกระทบเชิงบวกที่เกิดขึ้นจากโครงการ ปลูกกาแฟอินทรีย์เพื่ออนุรักษ์ป่าต้นน�้ำนี้ไม่ได้ให้ผลตอบแทนแค่ที่เป็น ตัวเงินแก่ชุมชน อย่างการที่เกษตรกรผู้เป็นสมาชิกจะมีส่วนต่างรายได้ ขั้นต�่ำเพิ่มจากการขายผลกาแฟกว่า 90 ล้านบาทใน 10 ปี และยังสร้าง รายได้จากการจ้างงานของเกษตรกรภายในชุมชนอีกกว่า 60 ล้านบาท ใน 10 ปีเท่านั้น แต่เรายังได้รับประโยชน์จากการฟื้นฟูป่าบนพื้นที่ การเกษตรอินทรีย์ที่เข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 7,000 ไร่ ที่คิดเป็นมูลค่า ทางเศรษฐกิจได้สูงกว่า 1,050 ล้านบาท/ปี นั่นยังไม่รวมถึงผลตอบแทน อื่นๆ ที่ยากจะประเมินเป็นมูลค่า อาทิ สุขภาพที่ดีและความปลอดภัย ของเกษตรกรและผู้บริโภคอย่างเราๆ นั่นเอง เพราะเมื่อป่าอันเป็นต้นทางของพื้นที่เกษตรกรรมได้รับการฟื้นฟู นั่นก็หมายถึงการได้คืนมาซึ่งความอุดมสมบูรณ์ของโลกใบนี้นั่นเอง พบแนวคิ ด ใหม่ จ ากผู ้ ป ระกอบการไทยที่ น�ำความ คิดสร้างสรรค์มาสร้างเป็นมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและ บริการได้ที่ TCDCconnect.com เว็บไซต์ทรี่ วบรวมรายชือ่ และผลงานของนักออกแบบ ผู้ผลิต และผู้ประกอบการ จากทุ ก อุ ต สาหกรรมสร้ า งสรรค์ ใ นประเทศไทยไว้ ใ น ที่เดียวกัน มิถุนายน 2558 l Creative Thailand
l 23
CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
ทุ่งกุลาร้องไห้
The Illusion of Development
เรื่อง: วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ ภาพ: ภูริวัต บุญนัก
ตามความเชื่อ ของผู้เ ฒ่ า ผู้แ ก่ ช าวอี ส านที่เ คยเชื่อ กันว่า “การขายข้าวเป็นบาป” เพราะข้าวเป็นของสูง การทำ�นาจึงทำ�เพื่อเลี้ยงชีวิตให้ชาวบ้านหรือแบ่งปัน เพื่อนบ้านเท่านั้น แต่เมื่อโลกได้เปลี่ยนไป การทำ�นา ในวันนี้เป็นเหมือนอุตสาหกรรมที่เป็นหน้าตาของ ประเทศ ทำ�ให้พื้นที่ของ “ทุ่งกุลาร้องไห้” กว่า 2 ล้าน ไร่ใน 5 จังหวัด ตั้งแต่ร้อยเอ็ด สุรินทร์ ศรีสะเกษ มหาสารคาม และยโสธร ที่จากเดิมเคยถูกมองว่า ทุรกันดาร บัดนี้ถูกพัฒนาให้กลายเป็น “แหล่งปลูก ข้าวหอมมะลิที่ดีที่สุดในประเทศไทย” ที่ได้รับการ ยอมรับจากกรมการข้าวและกรมวิชาการเกษตรจน สร้างรายได้ให้ประเทศกว่าเจ็ดพันล้านบาทต่อปี
หลังจากปี 1975 พื้นที่ในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ได้รับการปฏิรูปและจัดสรรให้พัฒนาขึ้นจากความร่วมมือของรัฐบาลไทย-ออสเตรเลีย ทำ�ให้พื้นที่ที่เคยเป็น ทุง่ โล่งกว้างแห้งแล้งกลับดูมชี วี ติ ชีวาในสายตาผูพ้ บเห็น ตามมาด้วยการเกิดขึน้ ของพันธุข์ า้ วหอมมะลิทที่ างศูนย์วจิ ยั พันธุข์ า้ วได้เริม่ นำ�สายพันธุข์ า้ วหอม มะลิมาให้เกษตรกรในทุ่งกุลาร้องไห้ทดลองปลูก จนค้นพบว่าดินที่นี่เหมาะสำ�หรับการปลูกข้าวหอมมะลิที่สุด เนื่องจากเป็นดินร่วนปนทรายและ มีความเค็มในระดับที่ข้าวหอมมะลิต้องการ ผลผลิตข้าวหอมมะลิจากที่นี่จึงเป็นที่ถูกอกถูกใจของผู้บริโภคไม่ว่าจะในหรือต่างประเทศ “เพราะมีพื้นที่ เยอะมาก ถ้างดทำ�นาแล้วหันมาปลูกอย่างอื่นก็ไม่ขึ้น ข้าวโพดสำ�หรับเลี้ยงสัตว์ก็ปลูกไม่ได้ เพราะดินช่วงหน้าแล้งจะกระด้าง ปลูกได้อย่างเดียวคือข้าว แต่ก่อนก็ปลูกแต่ข้าวพันธุ์เดิมๆ พอมีข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และ กข 15 นี่จึงเป็นความหวังเดียว” นี่คือเสียงบอกเล่าของคุณประยุทธ หงษ์ทอง ผู้บริหารโครงการคลัสเตอร์[1] กลุ่มข้าวหอมมะลิ ทุ่งกุลาร้องไห้ 24 l
Creative Thailand
l มิถุนายน 2558
CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
Hommali Rice on Delivery
Raising Hope
หากพืน้ ทีท่ ถี่ กู ยกฐานะให้เป็นแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิทดี่ ที สี่ ดุ แห่งนีต้ อ้ งอยูก่ บั การทำ�นาไปอีกนาน เท่านานจริงๆ คำ�ถามที่เกิดขึ้นคือแล้วจะทำ�อย่างไรให้ชาวนาอยู่รอดได้ด้วยรอยยิ้มและมีอนาคต ที่ดีบนพื้นที่ทำ�กินที่เป็นบ้านเกิดของตัวเอง “โครงการสืบสานวัฒนธรรมแก้วิกฤตข้าวอินทรีย์ ไร้สารเคมี” ที่สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้คิดค้นการปลูกข้าว แบบอินทรีย์ที่ใช้ต้นทุนเมล็ดพันธุ์ข้าว 1 กิโลกรัม ให้ปลูกได้ 1 ไร่ และใช้ปุ๋ยจากนํ้าซาวข้าวผสม นํ้าเชื้อจุลินทรีย์หมักจนเก็บเกี่ยวได้ผลผลิตเป็นข้าวอินทรีย์ 1,000 กิโลกรัม อาจฟังดูเป็นไปไม่ได้ แต่ต้นแบบการทำ�นานี้เกิดขึ้นจริงแล้วที่อำ�เภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม โดยเป็นการ จับมือร่วมกันทำ�งานในพื้นที่ของสามจังหวัด ได้แก่ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม และศรีสะเกษ “ปีนี้ เริ่มเปิดให้ชาวบ้านที่สมัครใจอยากทดลองปลูกข้าวอินทรีย์ของโครงการได้ลองทำ�คนละ 1-2 ไร่ เป้าหมายคือ 3,000 ไร่ในสามจังหวัด และรอดูผล ถ้าสำ�เร็จ ต้นทุนจะลดทันที สารเคมีไม่ต้องใช้ ไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย แต่จะหวังในเชิงพาณิชย์ก็ยังทำ�ไม่ได้ แต่ในการบริโภคเพื่อสุขภาพอันนี้ ทำ�ได้” คุณประยุทธกล่าว และโครงการนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิพระยูไลไภษัชย์ สงเคราะห์ที่จะรับซื้อข้าวอินทรีย์จากเกษตรกรเพื่อนำ�ไปให้ผู้ป่วยในโรงพยาบาลได้บริโภคต่อไป
แม้จะได้รับการพลิกฟื้นผืนดินให้กลับมา อุดมสมบูรณ์จนใช้ประโยชน์เพื่อการเพาะ ปลูกได้ดีแล้ว แต่ปัญหาที่เกษตรกรยังต้อง เจอก็คือเรื่องการผันผวนของราคาผลผลิต ปัญหาเรื่องราคาข้าวที่ตกตํ่าจึงเป็นปัญหา หนักใจของชาวนาในทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ภาค สถาบันการศึกษาอย่างอาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาค วิชาอุตสาหการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ อ าสาเข้ า ไปช่ ว ยเหลื อ โดยการจั ด ตั้ง โครงการ HOD (Hommali Rice on Delivery) หรือบริการจัดส่งข้าวหอมมะลิสผู่ บู้ ริโภคใน เขตมหาวิทยาลัยขอนแก่นและพื้นที่ใกล้ เคียง โดยนักศึกษาที่ว่างจากการเรียนจะ เป็นตัวแทนจัดส่งข้าวหอมมะลิตรงสู่มือ ผู้บริโภคแบบไม่คิดค่าบริการแต่อย่างใด โครงการนี้จึงเป็นตัวช่วยให้เกษตรกรราย ย่อยในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้มีตลาดรองรับที่ แน่นอนและส่งผลต่อความมัน่ คงของราคา ข้าวหอมมะลิได้ในระดับหนึ่ง โดยผลลัพธ์ เมื่อปีท่แี ล้วคือสามารถขายข้าวได้เดือนละ มากกว่า 2,000 กิโลกรัม และมีแนวโน้ม เพิ่มขึ้นทุกเดือน โครงการนี้กำ�ลังจะขยาย ผลต่อไปยังมหาวิทยาลัยต่างๆ ทัว่ ประเทศ หากมีบุคลากรที่พร้อมจะสานต่อโครงการ
มิถุนายน 2558
l
Creative Thailand
l 25
CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
Live and Let Live
เพราะเดิมทีพนื้ ทีใ่ นเขตทุง่ กุลาร้องไห้มคี วามหลากหลายทางกลุม่ ชาติพนั ธุ์ ทั้งลาว เขมร กุย และเยอ ที่กระจายตัวตั้งถิ่นฐานอยู่ตามลุ่มแม่นํ้าใน บริเวณโดยรอบ นัน่ หมายถึงการต้องแบ่งปันทรัพยากรร่วมกันในเขตพื้นที่ แห่งนี้ และสิ่งหนึ่งที่ทำ�ให้ความแตกต่างทางชาติพันธุ์อยู่ร่วมกันได้อย่าง ไม่แตกแยกในยุคที่กฎหมายหรือกฎระเบียบของบ้านเมืองยังไม่ชัดเจน ก็คือการมีความเชื่อหรือพลังศรัทธาร่วมกันใน“เจ้าพ่อศรีนครเตา” บุคคล ทีถ่ กู ยกย่องให้เป็นบรรพบุรษุ แห่งทุง่ กุลาร้องไห้ ซึง่ จากการศึกษาวิจยั เรือ่ ง พืน้ ฐานความศรัทธาต่อเจ้าพ่อศรีนครเตาของชาวบ้านในพืน้ ทีท่ ที่ �ำ ร่วมกับ องค์กรพัฒนาเอกชน พบว่าพลังศรัทธานี้ส่งผลต่อการพัฒนาในท้องถิ่น 3 รูปแบบ คือ 1. การพัฒนาด้านพิธีกรรม 2. การอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากร และ 3. การจัดกระบวนการเรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่นให้ชุมชน โดยในสอง ด้านแรกนั้นกล่าวถึงความเป็น “พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์” ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์ในที่นี้ หมายความว่า การไม่กล้าเข้าไปบุกรุกและทำ�ลายพื้นที่ของเจ้าพ่อ ทำ�ให้ ทรัพยากรธรรมชาติในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ยังคงอยู่ให้ลูกหลานสามารถใช้ ประโยชน์รว่ มกันได้นน่ั เอง ส่วนการพัฒนาการเรียนรูด้ า้ นวัฒนธรรมท้องถิน่ ให้ชุมชน คือการให้เยาวชนรุ่นหลังเรียนรู้ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของ ทุ่งกุลาร้องไห้ ประกอบกับการสร้างแหล่งเรียนรู้ของชุมชนต่างๆ เช่น พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในแต่ละชุมชน เป็นต้น การดำ�รงไว้ซึ่งประเพณีและพิธีกรรมความเชื่อเฉพาะชาติพันธุ์ก็เป็น กลวิธีในการจัดการทรัพยากรท้องถิ่นให้ดำ�รงไว้ได้เช่นกัน อย่างเช่น โครงการการประยุกต์พธิ กี รรมความเชือ่ จากแหล่งโบราณสถานในการฟืน้ ฟู ภูมิปัญญาการจัดการนํ้าของชุมชนตำ�บลเมืองบัว อำ�เภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด ที่ได้ศึกษาว่าชุมชนแห่งนี้สืบเชื้อสายมาจากลาวเวียง (เวียงจันทน์) และเข้ามาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่ปี 1713 ซึ่งเคยมีประเพณีที่เอื้อ ต่อการฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ นั่นคือ “ประเพณีสรงกู่” จึง ได้มีการฟื้นฟูให้จัดประเพณีนี้ขึ้นใหม่เพื่อให้คนในชุมชนได้สืบทอดต่อไป รศ.ศรีศักร วัลลิโภดม นักประวัติศาสตร์ให้ความเห็นว่า “แนวทางการ
ขอขอบคุณ • คุณประยุทธ หงษ์ทอง ผู้บริหารโครงการคลัสเตอร์ กลุ่มข้าวหอมมะลิ ทุ่งกุลาร้องไห้ • ผู้ใหญ่บ้านกำ�เพชร แสงพูล และคุณปองมณี แสงพูล เกษตรกรจังหวัดร้อยเอ็ด • สหกรณ์การเกษตรเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด 26 l Creative Thailand l มิถุนายน 2558
Leave the Sadness Behind…
เมือ่ ปลายปีทผี่ า่ นมา องค์การบริหารส่วน ตำ�บลไพรขลา ได้เสนอทางออกความแห้ง แล้งจากพื้นที่โดยรอบในอำ�เภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรนิ ทร์ โดยทำ�การขุดลอกพืน้ ทีเ่ พือ่ ทำ�แก้มลิงกักเก็บนํ้าไว้ใช้ยามแล้ง และต่อ มากรมชลประทานได้ทำ�การขุดพื้นที่แห่ง นี้กว่า 750 ไร่ กลายเป็นหนองนํ้าสีฟ้าใส ขนาดใหญ่ที่มีวิวทิวทัศน์คล้ายทะเล พื้นที่ แห่งนี้จึงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตร แห่งใหม่ของทุ่งกุลาร้องไห้ และตั้งชื่อว่า “ทะเลสาบทุ่งกุลา” ปัจจุบันได้พัฒนาให้มี อาคารที่ทำ�การ ที่พักชมวิว สวนภูมิทัศน์ บริการเรือท่องเที่ยว แพอาหาร และร้าน อาหารกว่า 100 ร้านที่คอยบริการนักท่อง เที่ยวด้วยราคาไม่แพง ล่าสุดสำ�นักข่าว สุรินทร์รายงานว่า มีนักท่องเที่ยวเดินทาง มาพักผ่อน เล่นนํ้ำ� และทำ�กิจกรรมต่างๆ กว่าพันคนต่อวันเพือ่ ผ่อนคลายจากอากาศ ร้อน
ศึกษาวิจัยในเชิงชาติพันธุ์วรรณาต้องศึกษาถึงความสัมพันธ์ของคนกับ สรรพสิ่งที่อยู่รายล้อมรอบตัว เช่น ระหว่างคนกับคน ระหว่างคนกับ ธรรมชาติ หรือแม้กระทัง่ ระหว่างคนกับสิง่ เหนือธรรมชาติ เพือ่ ให้ชาวบ้าน ได้หันมารู้จักและเข้าใจตนเองมากขึ้น เพราะที่แล้วๆ มาชาวบ้านอยู่ ในกระบวนการที่ถูกเบียดเป็นคนตกขอบ ทุกอย่างพัฒนามาจากข้างบน องค์ความรูต้ า่ งๆ มาจากต่างประเทศ ทำ�ให้ชาวบ้านทีอ่ ยูก่ นั มาเป็นร้อยๆ ปี ไม่สามารถอธิบายความเป็นตัวตนได้เลย”
CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
Is It Time to Go Home?
“ยามใดที่มันแซงไม่คืนป่า ปลามูลไม่คืนวัง คนอีสานไม่คืนหลัง สังคมจะ ล่อแล่ไปแบบนี้ จะเรียกเขาคืนมาได้ ต้องมีนํ้า ดิน ป่า ทรัพยากรที่เขาพอ จะหาอยู่หากินได้ เพราะฉะนั้นต้องฟื้นฟูสิ่งเหล่านี้ก่อน เขาที่อยู่ต่างแดน จะได้กลับมา” นีค่ อื คำ�พูดของบุญมี โสภัง ผูก้ อ่ ตัง้ โรงเรียนเตรียมนายฮ้อย ตัง้ แต่ปี 2008 ทีต่ �ำ บลดอนแรด อำ�เภอรัตนบุรี จังหวัดสุรนิ ทร์ ทีเ่ ชือ่ ว่าการ ฟืน้ ฟูวถิ แี ห่งป่าและนายฮ้อยจะสร้างความยัง่ ยืนคืนสูช่ มุ ชนได้อกี ครัง้ โดย เขาให้ความเห็นว่า “ป่าทาม” ที่กินพื้นที่ประมาณ 300,000 ไร่ในเขตพื้นที่ แห่งนี้ เปรียบได้กับการเป็นตู้กับข้าวของคนพื้นถิ่น ซึ่งลักษณะของพื้นที่ ทามคือพืน้ ทีท่ อี่ ดุ มสมบูรณ์อยูร่ ะหว่างพืน้ ดินและนํา้ เต็มไปด้วยดินตะกอน ที่มีธาตุอาหารสะสม มีความหลากหลายทางชีวภาพทั้งพืชและสัตว์ การฟืน้ ฟูปา่ ทามและการสอนให้คนรุน่ หลังเข้าใจถึงความเชือ่ มโยงของคน กับป่าจึงต้องถูกหยิบยกให้เกิดความเข้าใจใหม่ว่าพื้นที่แห่งนี้มีดีเพียงพอ ที่จะกลับมาอาศัยได้ดังเดิม และหากมองย้อนกลับไปในอดีต นายฮ้อยคือผู้นำ�ที่คนในชุมชนให้ ความไว้วางใจจนถึงขนาดฝากวัวควายให้ไปขายในต่างถิ่น เนื่องจากใน สมัยทีย่ งั ไม่มรี ถยนต์ การคมนาคมเพือ่ ไปค้าขายจึงต้องอาศัยสองแรงเท้า และสติปัญญาเพื่อนำ�กำ�ไรกลับคืนมาสู่ชุมชนให้ได้ แต่ในยุคสมัยที่ เครือ่ งจักรได้น�ำ พาพ่อค้าแม่คา้ มารับซือ้ วัวควายถึงที่ โรงเรียนเตรียมนายฮ้อย ยุคปัจจุบนั จึงต้องปรับเปลีย่ นหลักสูตรให้เข้ากับสังคมในบริบทใหม่เช่นกัน ความรู้ในบทเรียนใหม่ๆ ที่ต้องปลูกฝังลูกหลานให้เข้าใจก็คือการอยู่ร่วม กับธรรมชาติ พร้อมทัง้ การรูเ้ ท่าทันคนทีม่ าจากหลากหลายสังคมทีอ่ าจเข้า มาเพือ่ หวังผลบางอย่าง ตัวอย่างเช่น บทเรียนทีส่ อนการดูลกั ษณะพ่อพันธุ์ แม่พนั ธุว์ วั ควายทีต่ อ้ งรูว้ า่ ลักษณะไหนถึงเรียกว่าพันธุด์ ี และถ้าหากมีพนั ธุ์ ที่ดีจริง ต้องมั่นใจว่าขายได้ราคาดีแน่ๆ จะต้องไม่โดนหลอกให้ราคาที่ไม่ เป็นธรรมด้วยวิธีการต่างๆ เป็นต้น ไม่วา่ ทางออกของทุง่ กว้างกว่า 2 ล้านไร่แห่งนีจ้ ะมีอนาคตอย่างไร จะ ยังคงเป็นพืน้ ทีป่ ลูกข้าวหอมมะลิทดี่ ที สี่ ดุ เป็นแหล่งวัฒนธรรมหลากหลาย ชาติพันธุ์ หรือเป็นพื้นที่อันอุดมสมบูรณ์ที่รอการฟื้นฟู ผู้ที่จะเลือกได้คง ไม่ใช่ใครก็ได้ แต่ควรเป็นคนท้องถิ่นที่รู้ดีที่สุดว่า “เขาคือใคร” และการ ปล่อยให้พวกเขาได้เลือกสิง่ ทีเ่ หมาะสมกับตัวตนเพือ่ นำ�ไปสูก่ ารพัฒนาสิง่ ทีต่ วั เองเป็นให้ดยี งิ่ ขึน้ แทนทีจ่ ะใช้สายตาจากคนนอกมาเปลีย่ นแปลงสิง่ ที่ พวกเขาเคยเป็น การพัฒนารูปแบบนีอ้ าจมีความหมายต่อผูท้ อี่ ยูใ่ นทุง่ กุลา ร้องไห้มากกว่า
Did You Know?
• คนท้องถิน่ กล่าวกันว่า คำ�ว่าทุง่ กุลาร้องไห้มาจากชนเผ่ากุลา (พม่า) ในอดีตที่ตั้งใจเดินทางมาค้าขายผ่านทุ่งกว้างแห่งนี้ และได้หอบลูก หลานมาด้วย พวกเขาใช้เวลาเดินทางหลายวันก็ยังไม่เจอหมู่บ้าน สักแห่ง ด้วยความที่แดดร้อนจัดและไม่มีนํ้า บางคนต้องตายกลางทุ่ง ชนเผ่ากุลาจึงร้องไห้ และเป็นที่มาของ “ทุ่งกุลาร้องไห้” • หลักฐานทางโบราณคดีของทุ่งกุลาร้องไห้เมื่อประมาณ 2,500 ปีที่ แล้ว พบว่ามีการตั้งถิ่นฐานของชุมชนอายุเก่าแก่ที่มีระบบจัดการนํ้า กระจัดกระจายอยูท่ วั่ เมือง พบโบราณสถานกว่า 400 แห่ง รวมทัง้ แหล่ง ผลิตเกลือโบราณ และแหล่งถลุงเหล็ก สิ่งเหล่านี้บ่งชี้ว่าทุ่งกุลาร้องไห้ เคยมีความเจริญรุ่งเรืองตั้งแต่โบราณกาล • กรมการข้าวได้จัดตัง้ “ธนาคารเมล็ดพันธุ์ขา้ ว” ทีก่ �ำ หนดไว้วา่ เมื่อ เกษตรกรขอเบิกพันธุข์ า้ วของธนาคารไปเป็นจำ�นวนเท่าไร เมือ่ ถึงเวลา เก็บเกี่ยวต้องนำ�มาคืนธนาคารในจำ�นวนที่ขอเบิกไป เพื่อให้เกษตรกร มีเมล็ดข้าวพันธุ์ดีไว้ปลูกตลอดปี และเป็นกลยุทธ์หนึ่งไว้แข่งขันกับ ประเทศคู่แข่งสำ�คัญอย่างเวียดนาม จีน และอินเดีย โดยได้จัดตั้ง ธนาคารเมล็ดพันธุข์ า้ วเมือ่ ปีทแี่ ล้ว 18 แห่งใน 12 จังหวัด พร้อมวางแผน จัดตั้งในปีนี้อีก 35 แห่ง ใน 28 จังหวัด หนึ่งในนั้นคือ ธนาคารเมล็ด พันธุ์ข้าวชุมชนบ้านโนนสวรรค์ ตำ�บลทุ่งหลวง อำ�เภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ที่อยู่ในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ และปีหน้าอีก 50 แห่ง [1] คลัสเตอร์กลุ่มข้าวหอมมะลิ ทุ่งกุลาร้องไห้ เป็นการรวมกลุ่มและเชื่อมโยง อุตสาหกรรมข้าวหอมมะลิของสหกรณ์การเกษตรในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้จำ�นวน 19 แห่ง และดูแลเกษตรกรกว่า 260,000 ครัวเรือน เพื่อเพิ่มความเข้มแข็งในแก่ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวและขยายความสามารถในการแข่งขันทางการตลาด ทีม่ า: บทความ “งานวิจัยไทบ้าน พลิกฟื้น ทุ่งกุลาร้องไห้” จาก vijai.trf.or.th บทความ “จากประเพณีสรงกู่สู่การพัฒนาทรัพยากรสัตว์ทุ่ง ป่าไม้ และนํ้า” จาก trf.or.th, บทความ “พลังศรัทธาเจ้าพ่อศรีนครเตา ฐานรากสู่การมีส่วนร่วมใน งานพัฒนาท้องถิ่น” จาก trf.or.th, บทความ “มข.รุกช่วยสหกรณ์ปลูกข้าวทุ่งกุลา ร้องไห้ ชูโครงการ HOD ส่งข้าวหอมมะลิถึงมือผู้บริโภค” จาก manager.co.th, บทความ “เมืองช้าง เจ้าภาพระดมสมอง ดันข้าวหอมฯ ทุ่งกุลา ตีตลาดโลก” จาก manager.co.th, บทความ “ไม่มีนํ้าตาที่ทุ่งกุลาร้องไห้” จาก vijai.trf.or.th, บทความ “เปิดป้ายทะเลสาบทุ่งกุลา จ.สุรินทร์ มีอาคารที่ทำ�การ เรือ ร้านค้า พร้อมรับนักท่องเที่ยวเต็มที่” จาก thainews.prd.go.th, รายการ “ปราชญ์เดิน ดิน ตอนที่ 251 บุญมี โสภัง: โรงเรียนเตรียมนายฮ้อย” ออกอากาศเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2554, รายการ “พอเพียงเพื่อแผ่นดินเกิด ตอนที่ 27 พ่อใหญ่แห่งทุ่ง กุลา เจ้าพ่อศรีนครเตา” จากมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์และ วิดีโอ “เกษตร สร้างชาติ: เปิดธนาคารเมล็ดพันธุ์ข้าวทุ่งกุลาร้องไห้” (6 ก.พ. 2558) โดย สำ�นัก ข่าวไทย จาก youtube.com มิถุนายน 2558
l
Creative Thailand
l 27
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
กาย ไลย มิตรวิจารณ์
พิถีพิถันกับอาหารการกินแบบฉบับศตวรรษที่ 21 เรื่อง: นันท์นรี พานิชกุล ภาพ: พิรานันท์ พาวงษ์
ในช่วงเวลาที่กระแสความสนใจใคร่รู้ในเรื่องอาหารการกินกำ�ลังมาแรง และคำ�ศัพท์อย่าง “ออร์แกนิก” หรือ “ท้องถิ่น” กลายเป็นคำ�ติดหูติดปาก การเป็นผู้บริโภคในบริบทโลกปัจจุบันคืออะไร เราต้องมีหรือควรมีความรู้และความเข้าใจในสิ่งที่เราบริโภคมากน้อยแค่ไหน กาย ไลย มิตรวิจารณ์ ชายหนุ่มที่เป็นทั้งที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านอาหาร และยังขยายความหลงใหลใฝ่รู้เรื่องอาหารการกินไปอีก หลายแขนง อาจตอบความสงสัยของผู้บริโภคในวันนี้ได้ดี เพราะเรื่องที่เขาสนใจนั้นไม่ได้จำ�กัดแค่ว่าผลิตผลมีที่มาอย่างไร ปลูกที่ไหน ทำ�ขึ้นอย่างไร หรือมีรสชาติแบบไหน หากยังรวมถึงความเข้าใจและความสนใจที่กว้างออกไปสู่ประเด็นน้อยใหญ่มากมาย ตั้งแต่คุณภาพชีวิต การพัฒนาและ การวางแผน เทคโนโลยี ความมั่นคง ระบบนิเวศสิ่งแวดล้อม องค์ความรู้ การศึกษา ไปจนถึงความภูมิใจที่ต่างเชื่อมโยงและส่งผลถึงกัน
28 l
Creative Thailand
l มิถุนายน 2558
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด สิ่งที่เรียนรู้ที่เมืองไทยแตกต่างจากตอนไปศึกษาต่อที่อิตาลีมากน้อย แค่ไหน คุณเริ่มสนใจเรื่องอาหารการกินอย่างจริงจังเมื่อไร
ผมเรียนจบประวัติศาสตร์ ที่คณะศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์ครับ จากนั้น ก็ได้เรียนทำ�อาหารที่ เลอ กอร์ดอง เบลอ ในไทยก่อนไปต่อที่ฝรั่งเศส จบ กลับมาเป็นคอลัมนิสต์ให้กับนิตยสารอาหารอยู่พักหนึ่ง ก็เริ่มรู้สึกว่าผม ไม่ได้สนใจแค่เรื่องการกินหรือทำ�อาหารเท่านั้น แต่ชอบและสนใจเรื่อง ของอาหารในเชิงวิชาการและอีกหลายประเด็น เลยตัดสินใจไปเรียนต่อที่ อิตาลี ที่มหาวิทยาลัยศาสตร์การทำ�อาหาร (University of Gastronomic Science) ของสโลว์ฟู้ด (slowfood.com) ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผล กำ�ไรด้านอาหารการกินที่ทำ�งานร่วมกับผู้ผลิตอาหาร ไม่ใช่แค่ในอิตาลี นะครับ แต่มีทั่วโลก แล้วก็มีโอกาสได้ทำ�งานกับสโลว์ฟู้ดด้วย ทั้งใน ซาโลเน เดล กุสโต เอ แตร์รา มาเดร (Salone del Gusto e Terra Madre) ที่งานตูริน สโลว์ ฟิช (Turin Slow Fish) ที่ เจโนวา และอาสิโอ กุสโต (AsiO Gusto) ที่เกาหลีใต้ ซึ่งเป็นอีเวนต์เกี่ยวกับอาหาร เป็นจุด พบปะแลกเปลี่ยนศาสตร์ ร่วมสัมมนา หาทางแก้ไขและพัฒนาระบบของ อาหาร (Food System) ที่มีผู้เข้าร่วมจากทั่วโลก คือพอไปถึงที่อิตาลี มันมีสิ่งใหม่ทำ�ให้ผมได้เรียนรู้ ว่าอาหารไม่ได้ มีแค่เรื่องของกิน มันมีโครงสร้างหลายๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ องค์กร บริษัท หรือกลุ่มทุน อย่างเช่น การกินนํ้ามันตับปลา ผมไม่เคย รู้เลยว่ามันมีบริษัทยาที่สนับสนุนพวกการกินนํ้ามันตับปลาอบยู่ เรื่องการ ทำ�จีเอ็มโอ เรื่องการครอบครองที่ดิน แล้วก็ได้เข้าใจว่าพื้นที่ในแต่ละภาค ส่วนของโลกก็มีปัญหาเกี่ยวกับการเกษตรและวิถีชีวิตที่เหมือนๆ กัน แต่ อาจจะแตกต่างตรงที่ในบางพื้นที่ กลุ่มทุนจะเข้าไปมีบทบาทมาก หรือ บางพื้นที่รัฐเองเป็นคนขายสัมปทานให้กับกลุ่มทุน
ถึงจะเกิดกระแสการทำ�เกษตรแบบท้องถิ่นหรือเรื่องออร์แกนิก แต่ก็ยังไม่ได้ส่งผลกระทบถึงขนาดที่เกษตรกร ไทยจะต้องปรับเปลี่ยนวิถีการเพาะปลูก เพราะในบ้านเรายังมีการสร้างความตระหนักในเรื่องนี้แบบผิดเพี้ยน ไปอยู่บ้าง กระแสการนิยมกินของในท้องถิ่นหรือผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกของคน ไทยตอนนี้ สามารถส่งผลไปถึงภาคการเกษตรในไทยให้ตอ้ งปรับตัวไหม
ผมคิดว่ายังไม่ได้ครับ ถึงจะเกิดกระแสการทำ�เกษตรแบบท้องถิน่ หรือเรือ่ ง ออร์แกนิก แต่ก็ยังไม่ได้ส่งผลกระทบถึงขนาดที่เกษตรกรไทยจะต้อง ปรับเปลี่ยนวิถีการเพาะปลูกเพราะในบ้านเรายังมีการสร้างความตระหนัก ในเรื่องนี้แบบผิดเพี้ยนไปอยู่บ้าง ในบริบทโลก เรามีประเทศโลกที่ 1 โลก ที่ 2 โลกที่ 3 ใช่ไหมครับ แต่กรุงเทพฯ ที่เดียวมีทั้ง 3 โลก บริบทโลก ที่ 1 คือตลาดคนกรุงเทพฯ ชั้นใน หรือเอ็กซ์แพตที่มีรายได้สูง ซื้อของ
ที่ซูเปอร์มาร์เก็ตไฮเอนด์ รองมาคือคนชั้นกลางลงมาถึงระดับล่าง ก็จะ ซื้อของที่ห้างอย่างแมคโครหรือโลตัส เขาต้องการของราคาถูก ยิ่งออก ชานเมือง กลุ่มคนที่มาซื้อของจะกลายเป็นพ่อค้าแม่ค้า เพราะผักผลไม้ ที่นี่ราคาถูกกว่า คือของที่บินมาไกลเป็นหมื่นกิโล อย่างเลมอนที่ขายอยู่ ก็มาจากเมืองจีน แว็กซ์ผิวมา เนื้อแข็ง เปลือกไม่หอม แต่ราคาถูกมาก ส่วนของที่ปลูกในบ้านเราสู้ราคาขายไม่ไหว ก็ต้องปรับตลาดขึ้นไปขาย คนอีกกลุ่มหนึ่ง มิถุนายน 2558
l
Creative Thailand
l 29
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
จริงๆ มันต้องมองสองภาคนะครับ ภาคธุรกิจแบบไฮเอนด์ แน่นอน ว่าเรื่องออร์แกนิกก็อยู่ในกระแส แต่ถ้าพูดถึงภาคธุรกิจแบบตลาดทั่วไป ไม่มีใครเอาผลผลิตออร์แกนิกมาขาย เพราะสุดท้ายพ่อค้าแม่ค้าที่ต้องใช้ ผักผลไม้เยอะๆ เขาก็ไปซื้อจากตลาดค้าส่งใหญ่ๆ ที่ขายผักทีเป็นกิโลๆ เป็นร้อยๆ มากกว่า ถึงจะต้องดึงใบเสียออกบ้าง ล้างใหม่บ้าง แต่ด้วย ความที่ประเทศเราแรงงานคนไม่ได้แพง การจ้างคนมาล้างผัก ตัดแต่งใบ เสียออก มันก็ไม่ขาดทุน ต้องอย่าลืมว่ารายได้ต่อหัวบ้านเราไม่ได้สูงมาก ขนาดจะมาจูจ้ จี้ กุ จิกว่าผลผลิตทางการเกษตรถูกผลิตขึน้ มาแบบไหน แล้ว คนที่อยู่ในพื้นที่เมืองก็ยังมีตัวเลือกอื่นๆ นอกจากซูเปอร์มาร์เก็ต
ญี่ปุ่น หน่อไม้ฝรั่ง ทำ�ไมของที่ปลูกโดยเกษตรกรแพงกว่าของในซูเปอร์ มาร์เก็ต คุณมองว่ากิจกรรมแบบนี้สามารถส่งแรงกระเพื่อมถึงผู้บริโภคได้
ส่งแรงกระเพือ่ มได้ครับ ส่วนเรือ่ งจะเป็นความรูห้ รือเป็นกระแสนัน้ ทุกอย่าง ก็เป็นดาบสองคม ในบริบทโลกที่ 1 เช่นกรุงเทพฯ มีอนิ สตาแกรม เฟซบุก๊ หรือมีเชฟที่ส่งอิทธิพลกับพวกเขาอยู่แล้ว ไม่ว่าร้านกาแฟหรือว่าคาเฟ่ บรันช์ (อาหารมือ้ เช้าทีร่ วมกับมือ้ กลางวัน) ต่างๆ แต่ถา้ เปลีย่ นไปพูดถึง พื้นที่อื่น กระแสที่เกิดคงออกมาในรูปแบบที่แตกต่างไป ยิ่งปัจจุบัน
คือเราไม่รู้ว่าเราจ่ายค่าอะไรขนาดนั้น ต้นทุนทำ�ร้านอาหารอย่างเดียว ทำ�ไมต้องคิดราคาบรันช์พันสองจากเห็ด ที่ปลูกที่สระบุรี การตั้งราคาแบบนี้ ยิ่งทำ�ให้การรับรู้เรื่องวัตถุดิบท้องถิ่นหรือออร์แกนิกมันแพงขึ้นไปอีก ที่ว่ามีความตระหนักที่ผิดเพี้ยนอยู่นี่ ยกตัวอย่างให้ฟังได้ไหม
อย่างฟาร์เมอร์ส มาร์เก็ต นี่ก็ต้องคุยกันตั้งแต่รากเลย เพราะไม่ใช่ ทัง้ หมดเป็นเกษตรกร คืออาจจะต้องเปลีย่ นชือ่ งาน จากคำ�ว่าฟาร์เมอร์เป็น คำ�อื่น ผมคิดว่าไม่ใช่ Social Entrepreneur (ผู้ประกอบการเพื่อสังคม) ด้วยนะครับ น่าจะเป็น Social Enterprise (กิจการเพื่อสังคม) มากกว่า เพราะไม่ได้ทำ�งานกับชาวนาหรือเกษตรกรโดยตรง เหมือนบางคนที่มา ขายก็ไปซื้อมาอีกทีแล้วมาแปะป้าย บางสินค้าก็ไม่ได้เป็นออร์แกนิกจริงๆ เลยกลายเป็นการสร้างความตระหนักทีไ่ ม่ถกู ต้องน่ะครับ แล้วคนเมืองส่วน ใหญ่เขาไม่ได้มีโอกาสไปเจอว่าอะไรคือออร์แกนิก หรือเจอชาวนาจริงๆ เลยเป็นได้แค่กระแสเท่านัน้ เอง จริงๆ การจัดตลาดนัดแบบนีเ้ วิรก์ นะครับ แต่ต้องเป็นเกษตรกรจริงๆ เพราะจุดประสงค์ของฟาร์เมอร์ส มาร์เก็ต จริงๆ คือการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงผู้ผลิตเข้ากับผู้บริโภค แต่ที่จัดใน บ้านเราเป็นเชิงอีเวนต์มาร์เก็ตติงมากกว่า อาจจะมีบ้างในเรื่องของการ ทำ�ฟาร์มในเมือง (Urban Farming) ผมมองว่าวิธีแก้ปัญหาความตระหนักที่ไม่ถูกต้องนี่ก็คือเราต้องให้ ความรู้กับผู้บริโภค ด้วยความที่พื้นที่ที่จัดงานอย่างฟาร์เมอร์ส มาร์เก็ต ในเมืองนั้นมีราคาค่อนข้างสูง คงไม่ใช่สถานที่ให้ชาวนาหรือเกษตรกร จริงๆ มาทำ�เงิน แต่น่าจะเป็นสถานที่ที่สร้างความตระหนักในเชิงความ รู้ความเข้าใจที่ผู้บริโภคควรมีมากกว่า เช่น กิจกรรมเรื่องอาหารที่เชื่อม ต่อผู้บริโภคเข้ากับผู้ผลิตให้เจอกัน พูดคุยกัน แลกเปลี่ยนความรู้กัน จริงๆ การสร้างรายได้จากงานอาจจะไม่ได้เกิดขึ้นตรงนั้น แต่อาจไปเกิด ขึ้นทีหลัง ถ้าพูดจริงๆ คือเหมือนเป็นการสร้างเครือข่ายเรื่องอาหาร เช่น ผลิตภัณฑ์ที่ขายเอาไปทำ�อะไรได้บ้าง หรือของเป็นแบบไหน ทำ�ไมของ แบบนี้แพง ผู้บริโภคจะได้รู้ว่าทำ�ไมสินค้าตัวนี้ราคาถูกมากกว่าแอปเปิ้ล 30 l
Creative Thailand
l มิถุนายน 2558
กลายเป็นกระแสของการกินอะไรแพงขึ้น ไม่ได้กินเยอะขึ้น แต่กินแพงขึ้น ยกตัวอย่างเรื่องบรันช์ ถึงร้านอาหารเขาจะอธิบายว่าเป็นวัตถุดิบในท้อง ถิ่น แต่เราก็ไม่เข้าใจภาพของมันที่ออกมา คือเราไม่รู้ว่าเราจ่ายค่าอะไร ขนาดนั้น ต้นทุนทำ�ร้านอาหารอย่างเดียว ทำ�ไมต้องคิดราคาบรันช์พัน สองจากเห็ดที่ปลูกที่สระบุรี ซึ่งการตั้งราคาแบบนี้ ยิ่งทำ�ให้การรับรู้เรือ่ ง วัตถุดบิ ท้องถิน่ หรือออร์แกนิกมันแพงขึน้ ไปอีก คนเข้าถึงยากขึน้ ไปอีก ถ้า ถามว่าเราต้องการโปรโมตเรื่องออร์แกนิกจากวัตถุดิบในท้องถิ่นเพื่ออะไร ต้องมองว่าจริงๆ แล้ว ปัจจุบันระบบอาหารทุกอย่างของเรามาจากบริษัท ใหญ่ ซื้ออะไรก็อยู่ในเครือข่ายนั้น การที่เราโปรโมตผลิตภัณฑ์หรือผู้ผลิต ในท้องถิ่น จริงๆ แล้วก็คือการกระจายรายได้ออกไป
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด ปีที่แล้วมีข่าวโตชิบาเอาโรงงานเซมิคอนดักเตอร์เก่ามาปรับเปลี่ยน เป็นโรงงานปลูกผักสลัด เอาสตูดิโอออกแบบเนนโดะ (nendo.jp) มา ออกแบบถ้วยใส่สลัดเน้นเรื่องความสดใหม่กับอายุการเก็บรักษา คุณ มีความเห็นว่าอย่างไร
คือประเทศโซนอบอุ่น พระอาทิตย์ตกเร็ว อากาศหนาว แต่ยังทำ�การ เกษตรแบบปิดได้ จริงๆ ระบบพวกนี้ อิสราเอลเริ่มมาก่อนญี่ปุ่นอีกครับ มันคือการทำ�เพื่อเอาระบบไปขายต่อ เช่น ขายให้ประเทศที่พื้นที่จำ�กัด อย่างสิงคโปร์ หรือเมืองในทะเลทรายอย่างดูไบ พวกบริษัทที่ผลิตอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์กม็ วี สั ดุทส่ี ามารถทำ�ลานเพาะปลูกแบบนีไ้ ด้ อีกอย่างหนึง่ ก็คอื ปัจจุบนั มันมีเรือ่ งของนิวเคลียร์ เรือ่ งทีฟ่ คุ ชุ มิ ะตัง้ แต่เกิดแผ่นดินไหว แล้ว ก็บริษัทอิเล็กทรอนิกส์เทคโนโลยีเดี๋ยวนี้สู้บริษัทอย่างแอปเปิลลำ�บาก ก็ต้องปรับตัว อย่างในงานสัมมนาด้านอาหารที่เล่าให้ฟัง ก็เคยเจอเป็นเรื่องของ บรรจุภัณฑ์คล้ายๆ กัน คือมันจะเริ่มเปลี่ยนสีตั้งแต่วางบนชั้น ยิ่งอยู่นาน สีจะเปลี่ยน ถามว่ามันช่วยให้ดีขึ้นไหม ผมว่ามันช่วยให้ดีขึ้นในทางที่ไม่ ค่อยดีเท่าไหร่ จริงๆ ผมชอบพวกผู้ประกอบการเพื่อสังคมมาก โครงการ ที่ให้เขาพัฒนาตัวเองขึ้นมาเช่นจากกลุ่มแม่บ้าน แต่สิ่งที่ผมไม่เห็นด้วย เพราะว่าบางครั้งก็มีเรื่องของการดึงบรรจุภัณฑ์เข้ามาเกี่ยวข้องมากเกิน ไป ถามว่าคุณภาพชีวติ เขาดีขน้ึ ไหม ก็ดขี น้ึ แต่ทกุ คนก็มกี ารลองผิดลองถูก การเพิม่ ทุน มูลค่าเพิม่ อาจจะไม่ได้เป็นในทางทีถ่ กู ทีค่ วรมาก ซึง่ ปัจจุบนั พอยิ่งอยู่ในซูเปอร์มาร์เก็ต ยิ่งเห็นว่าเดี๋ยวนี้กลายเป็นว่าบรรจุภัณฑ์มี มูลค่ามากกว่าของที่อยู่ข้างในค่อนข้างเยอะ ปัจจุบนั เราลงทุนเรือ่ งบรรจุภณั ฑ์มาก แต่เป็นการ invest to be simple เราพยายามสร้างสรรค์ข้นึ มาทุกอย่าง ผลิตของมากขึ้นเพื่อให้มันดูน้อย แต่จริงๆ คือ ถ้าเราไม่ผลิตบรรจุภัณฑ์ก็ได้ แต่เราควรลงทุนเรื่องการ สือ่ สารหรือทำ�ให้คนเข้าใจเรือ่ งอาหารการกินกันมากกว่าดีไหม เช่น โปรโมต เรื่องกินปลาแซลมอนแล้วสุขภาพดี แต่เราต้องลงทุนเยอะมากกับปลา สายพันธุ์นี้ เหมือนเราลงทุนจับปลาเล็กๆ ไปให้แซลมอนกิน แล้ว กินแซลมอนอีกที ซึ่งจริงๆ แล้วเราสามารถไปกินปลาเล็กๆ ที่เอาไป เลี้ยงแซลมอนเลยก็ได้ ทำ�ไมต้องลงทุนขนาดนั้นเพื่อให้ได้โอเมก้าทรี ซึ่งมีเท่าๆ กันจากปลาเล็กปลาน้อยพวกนี้ หรืออาจจะมีมากกว่าก็ได้ การที่จะสร้างความตระหนักหรือสร้างองค์ความรู้ คนกลุ่มไหนที่จะเข้า มามีส่วนร่วมได้บ้าง นอกจากตัวผู้ผลิตกับผู้บริโภค
นักการศึกษาต้องเข้ามามีส่วนร่วม นักออกแบบก็เข้ามาช่วยออกแบบ วิธีสื่อสาร วิธีส่งผ่านความรู้ด้านอาหารการกิน นักการศึกษาหรือนัก วิชาการ คือคนที่มีความรู้ (Knowledge) ผู้ผลิตอย่างชาวนา คือคนที่มี วิธีการ (Knowhow) สิ่งที่นักออกแบบทำ�ได้ ก็คือ การออกแบบช่องทาง สื่อสารเพื่อทำ�ให้คนหันมาสนใจ ทำ�ให้เข้าใจง่ายขึ้น เพราะบางทีหัวข้อ พวกนี้ก็ยาก เรายังต้องการการออกแบบในบริบทที่เกี่ยวกับคุณภาพชีวิต
สิ่งที่นักออกแบบทำ�ได้ ก็คือ การออกแบบช่องทาง สื่อสารเพื่อทำ�ให้คนหันมาสนใจ ทำ�ให้เข้าใจง่ายขึ้น เพราะบางทีหัวข้อพวกนี้ก็ยาก เรายังต้องการการ ออกแบบในบริบทที่เกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของชาวนา หรือคุณภาพชีวิตของคนทั่วไปมากกว่า ของชาวนาหรือคุณภาพชีวติ ของคนทัว่ ไปมากกว่า จริงๆ นักออกแบบควร ทำ�ประมาณนี้ ไม่ใช่เรื่องของมาร์เก็ตติ้งเลย ยกตัวอย่าง ถ้าสำ�หรับเด็กๆ เราควรจะสอนว่า อาหารที่กินคืออะไร มาจากไหน นักออกแบบจะเข้ามาเกี่ยวข้องกับการสื่อสารด้วยภาพ ให้ เข้าใจมากขึ้น ตัวอย่างเช่น การรับรส ทุกวันนี้ลิ้นคนเรารับรสน้อยลง เพราะว่าส่วนใหญ่แล้วกินอาหารสังเคราะห์มากขึ้น อาหารกระป๋องจะ เล่นกับไม่กี่รสชาติ คือ รสเค็ม รสอุมามิ แล้วก็รสมัน (ไขมัน) 3 อย่าง เพราะเป็นรสที่เราต้องการโดยธรรมชาติ เราอาจจะทำ�เวิร์กช้อปสอนเรื่อง การรับรสธรรมชาติ ทำ�ความรู้จักกับรสอื่นๆ เด็กสมัยนี้บางคนพอให้ดม แอปเปิลบอกว่าเป็นกลิ่นแชมพู คือเคยได้กลิ่นแต่แอปเปิลสังเคราะห์ แล้วฝั่งเกษตรกรเองมีการปรับใช้หรือมีการพัฒนาเทคโนโลยีการ ทำ�การเกษตรให้เข้ากับกระแสหรือวิถีการกินตอนนี้อย่างไรบ้าง
ส่วนใหญ่จะกลับไปทำ�การเกษตรแบบชีวพลวัตร (Biodynamic Agriculture) หรือระบบเกษตรที่เน้นความสำ�คัญด้านความปลอดภัยของผลผลิตใน มิถุนายน 2558
l
Creative Thailand
l 31
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
การบริโภค ถึงบางคนเลือกทีจ่ ะไม่ได้พง่ึ พาเทคโนโลยีหรือว่าสารเคมีมาก แต่กย็ งั ถือเป็นการใช้เทคโนโลยีเหมือนกัน แต่เป็นการใช้เทคโนโลยีชวี ภาพ (Bio-Technology) ก็คือการทำ�ปุ๋ยหรือว่าผลิตสารเคมีจากสารชีวภาพ อย่างนํ้าหมัก เป็นต้น สิ่งที่คราฟต์เบียร์ทำ�ให้เห็นเป็นตัวอย่าง คือ การที่กระแสได้เข้าไปสร้างความหลากหลาย ไม่ใช่แค่ที่ตัวหมักบ่ม แต่กระทั่งเมล็ดพืช อย่างคราฟต์เบียร์ของอิตาลีที่กลับไปใช้เมล็ดพืช เป็นเมล็ดข้าวสาลีโบราณชื่อ คามุท แต่ว่าสุดท้ายแล้วก็กลับไปสู่จุดเดิม ว่าเป็นบริษัทแคนาดาที่ซื้อลิขสิทธิ์ไปแล้วก็เอาไปจดทะเบียน สุดท้ายคือมันขัดแย้งกันเอง เช่น อยากจะให้เป็นการบริโภคภายใน ท้องถิน่ แต่เราก็ยงั อยูใ่ นเศรษฐกิจทีท่ นุ นิยมมากๆ ถึงเราจะผลิตได้นอ้ ย เรา ก็ยงั ต้องหาวิธเี พิม่ มูลค่า เลยมองว่าต้องสร้างให้ผบู้ ริโภคมีความตระหนัก และความรูเ้ รือ่ งอาหารการกินมากกว่านี้ ยกตัวอย่างเรือ่ งถัว่ งอกอันนี้เห็น ชัดเลยครับ ในฐานะนักออกแบบจะเพิ่มมูลค่าถั่วงอกยังไง ทำ�บรรจุภัณฑ์ แปะป้ายออร์แกนิก ก็เป็นถัว่ งอกอยูด่ ี สมมติซอ้ื ถัว่ เขียวมาแล้วโยนใส่ทชิ ชู่ ที่บ้าน 3 วัน ก็ได้ถั่วงอกแล้ว ทำ�ไมเราไม่นึกถึงเมล็ดพืชอื่นบ้างเพราะ โลกนี้ไม่ได้มีต้นอ่อนที่งอกออกมาจากถั่วอย่างเดียว ยังมีโอกาสอื่นๆ อีก แต่บางครั้งที่ไม่เห็นเพราะไม่มีการให้ความรู้หรือการเรียนรู้และศึกษาใน ประเด็นต่างๆ เหล่านี้ หมายความว่าเราควรคิดให้เป็นระบบ คิดให้เป็นภาพรวม ไม่ได้มองว่า การให้ความรู้ต้องใช้เวลานานเป็นสิบๆ ปี
อาหารอิตาลีเอง คือภาพลักษณ์ของมันสูง ถึงแม้วา่ เป็นอาหารแบบชาวนา ก็ยงั ดูสงู เพราะว่าคนเขามีความภูมใิ จ ซึง่ สำ�คัญมาก เมืองไทยอย่างเวลา เราไปคุยกับชาวบ้าน เราจะรู้สึกเลยว่าสิ่งที่เขาไม่มี คือความภูมิใจ เขา รูส้ กึ ว่ามันคือของบ้านนอก ซึง่ แย่มากนะครับ ตอนอยูอ่ ติ าลี ผมเคยไปอยู่ บ้านนอก เพือ่ นบ้านเป็นคนแก่หมดเลย ขายมะเขือเทศ อิตาลี ปลายๆ หน้าร้อนเขาจะเก็บมะเขือเทศมาใส่ขวดต้มแล้วจะเก็บได้นาน เขาปลูกของเขา หลังบ้าน มีนู่นนี่นั่น เราก็ฟังภาษาอิตาเลียนของป้าไม่ค่อยรู้เรื่องเพราะ สำ�เนียงป้าพูดปนภาษาถิ่นมาก เขาก็เล่าให้ฟังว่าแบบนี้อร่อยมากเลย มะเขือเทศฤดูรอ้ นเก็บจากริมสวนฝัง่ ตะวันออกมีแสงแดดมากระทบทุกเช้า มันอยู่ที่การศึกษาด้วย แล้วก็ประสบการณ์ชีวิตและธรรมชาติของ แต่ละคน เหมือนที่เขาบอกว่าจะเริ่มอะไรสักอย่างต้องมีเป้าหมาย ว่าเรา ต้องการอะไรในอย่างสุดท้าย โดยส่วนตัวแล้ว ผมคิดว่าความภูมิใจไม่ใช่ ของผม ผมไม่ได้อยากเป็นเชฟ แต่ผมอยากทำ�ให้คนเข้าใจอาหารมากขึน้ ผมไม่ได้อยากทำ�ให้คนเข้าใจว่าอาหารที่ดีจะต้องราคาแพงมากๆ หรือ กินเข้าไปแล้วรู้สึกว่าทำ�ไมต้องจ่ายเงินแพงขนาดนี้ เหมือนบางครั้งเราไปที่เชียงใหม่ คือเชียงใหม่เป็นเมือง จะพูดว่า เป็นสตาร์ทอัพก็ใช่ แต่ยงั เป็นสตาร์ทอัพทีไ่ ม่คอ่ ยมีระบบเท่าไหร่ หลายๆ คนเปิดร้านอาหารขึ้นมา พูดถึงเรื่องออร์แกนิกฟาร์มมิ่ง พูดถึงเรื่อง วัตถุดิบในท้องถิ่น มีเจ้าของร้านบางคนพูดว่าจะเป็นศัตรูกับทุนนิยม 32 l
Creative Thailand
l มิถุนายน 2558
วันนั้นเราไปเจอเขาไปซื้อผลไม้ มะเขือเทศกระป๋องในซูเปอร์ฯ แต่เขาก็ ยังเด็กอยู่ มันไม่ได้แปลว่าเขาผิด อาจจะยังไม่เข้าใจ เขาอาจจะเข้าใจว่า ท้องถิน่ แปลว่าอย่างหนึง่ แล้วเราก็ไปนัง่ คุยกัน มันก็ท�ำ ให้เขาเปลีย่ นแปลง มากขึน้ เราไม่เชือ่ ว่าคนจะเลวร้าย มันอาจจะอยูท่ ก่ี ารเรียนรู้ คือถ้ามัน เปลี่ยนให้ถูกได้ เขาก็อาจพัฒนาไปสู่สิ่งที่ดีขึ้น
Creative Ingredients เชฟที่นับถือ - เจมี่ โอลิเวอร์ (Jamie Oliver) บุคลิก ลักษณะที่จริงใจ และไดนามิกของเขาทำ�ให้อาหารดูน่ากินขึ้น การที่เขาได้พบกับผู้คนมากมาย ได้แลกเปลีย่ นและเรียนรู้ ทำ�ให้เขาสนใจจะเป็นนักเคลือ่ นไหวด้านอาหาร (Food Activist) มากกว่าการเป็นเชฟเฉยๆ ซึง่ ทำ�ให้คนได้ตระหนักถึงปัญหาทีอ่ าจจะ มองข้ามมาตลอด อีกคนคือ มิเชล บราส (Michel Bras) เชฟฝรั่งเศสที่เรียน การทำ�อาหารจากแม่ของเขา สิ่งที่ผมชอบมากคือการผสมผสานความคิด สร้างสรรค์เข้ากับธรรมชาติและพืชพรรณต่างๆ ได้อย่างลงตัว รอบร้านอาหาร และโรงแรมของเขาเป็นทั้งสวนพฤกษศาสตร์ ธนาคารเมล็ดพันธุ์ มีฟาร์ม มีสมุนไพร เขาจึงเป็นเชฟที่เป็นได้ตั้งแต่พ่อครัว นักพฤกษศาสตร์ และศิลปิน นักการศึกษาด้านอาหารที่ติดตามงานอย่างต่อเนื่อง - แวนนาดา ชีวา (Vandana Shiva) นักเคลื่อนไหวเรื่องความมั่นคงทางด้านอาหาร (Food Sovereignty) โดยเฉพาะการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ (เพือ่ ไม่ให้ตกเป็นลูกค่ายของ ผู้ค้าเมล็ด) ผมชื่นชอบในความมุ่งมั่น ความพยายามอย่างต่อเนื่องในการแก้ ปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับระบบของอาหาร และเผยแพร่ให้คนได้ตระหนักเพื่อให้ เกิดการแก้ไข นอกจากนี้ ผู้คนที่อยู่ในโครงข่ายอาหาร ตั้งแต่ชาวนา ผู้เก็บ เมล็ดพันธุ์ คนท้องถิน่ แม่คา้ พ่อค้าในตลาด ชาวประมง หรือคนปลูกมะเขือเทศ คนเหล่ า นี้ นี่ ล่ ะ ที่ เ ราควรได้ เ รี ย นรู้ จ ากพวกเขามากที่ สุ ด เพราะคื อ คนที่ รู้เรื่องอาหาร เข้าใจธรรมชาติ เข้าใจฤดูกาลมากที่สุด หนังสือเปลี่ยนวิธีคิด - คงไม่ถึงขนาดเปลี่ยนนะครับ น่าจะเป็นหนังสือ ที่ทำ�ให้เรื่องที่สนใจกระจ่างขึ้นมากกว่า Gun Germs and Steel โดย Jared Diamond เป็นหนังสือที่ผมอ่านตอนมัธยมปลาย อธิบายถึงวิวัฒนาการของ มนุษยชาติ การที่อารยธรรมหนึ่งจะเจริญขึ้นจากการล่าสัตว์เก็บของป่าไปยัง เกษตรจนถึงปัจจุบัน แต่อีกวัฒนธรรมยังใช้ชีวิตอย่างยุคหินอยู่ หนังสือแต่ละ เล่มของเขาจะพูดถึงปัจจัยที่ทำ�ให้เราเห็นว่า การพัฒนาหรือเสื่อมถอยลงของ แต่ละสังคมไม่ได้มาจากปัจจัยทางสังคมการเมืองเท่านั้น หรือความเหนือกว่า ทางพันธุกรรมของแต่ละเชื้อชาติ แต่มีปัจจัยมากมายทั้งที่เป็นผลดี เช่น ทรัพยากร สภาพอากาศธรรมชาติทเี่ อือ้ อำ�นวย และผลร้ายอย่างโรคระบาดและ ภาวะขาดแคลนอาหาร ซึ่งทำ�ให้ต้องดิ้นรนหาทางออกแก้ไขใหม่ๆ เสมอ สิ่งที่มักจดบันทึก - จริงๆ ผมจะถ่ายรูปไว้ และหาข้อมูลเพิ่มเติมจากการ ถามไถ่ผู้ผลิตหรือคนขายก่อน แล้วค่อยไปหาข้อมูลเชิงวิชาการ เรื่องรสชาติ หรือกลิ่นจะไม่ค่อยได้จด จะใช้การจำ� เพราะได้อารมณ์มากกว่า (แล้วก็จะได้ หวนนึกได้) ถ้าจดมักเป็นเรื่องวิธีการผลิต ข้อมูลเชิงวิชาการ เช่นระยะเวลาใน การหมักดอง ชนิดของชีสทีใ่ ช้อณุ หภูมทิ เี่ หมาะสม และเรือ่ งราวของผูผ้ ลิตครับ
เขาถึงความรูดานการออกแบบและความคิดสรางสรรค ดวยหองสมุดขนาดยอม mini TCDC CENTER จัดตั้งถึงที่ ไมมีคาใชจาย
รับสมัครสถาบันอุดมศึกษา ทั่วภูมิภาคเขาโครงการ ถึง 31 ก.ค. นี้
CREATIVE WILL คิด ทำ� ดี
เพลินข้าวบ้าน...
www.facebook.com/ploenkhaobaan, www.ploenkhaobaan.com
กิจการข้าวพื้นเมืองสู่คนเมือง
เรื่อง: ภูษณิศา กมลนรเทพ
นับเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของ “ชาวนารุ่นใหม่” ที่ได้แบ่งปันเวลาทำ�สิ่งที่ เกื้อกูลทั้งตนเองและคนรอบข้างตามความถนัด แบบที่ไม่ต้องเดินตามกฏ เกณฑ์ของระบบทุนนิยมทีว่ างไว้ให้ทกุ คนเดินตาม สำ�หรับ ณัฐวรรณ คำ�คล้าย หรือ นกกบ นักออกแบบตกแต่งภายในที่เลือกจะใช้ชีวิตที่มอบ “ความ สุขแบบที่มันอิ่มอยู่ในใจ” ด้วยการใช้ชีวิตอยู่กับธรรมชาติผ่านกิจการเพื่อ สังคมที่เธอก่อตั้งขึ้นในชื่อ “เพลินข้าวบ้าน” อันมีที่มาจากคำ�ว่า Play and Learn บวกกับจุดประสงค์ของโครงการคือการสนับสนุนองค์ความ รู้ในการอนุรักษ์ข้าวพื้นบ้านในระบบเกษตรกรรมยั่งยืนในวิถีที่เป็นมิตร ตลอดจนสอดคล้องกับธรรมชาติและชุมชน โดยนำ�ข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่มี อยู่ในท้องถิ่นกลับมาปลูกใหม่ให้งอกเงยบนผืนดินซึ่งอยู่อาศัยโดยคนรุ่น ใหม่ในวันนี้ โครงการเพลินข้าวบ้านเริ่มขึ้นเมื่อเดือนธันวาคมปี 2555 จากการ ทีน่ กกบได้ไปเรียนรูก้ ารปลูกข้าวอินทรียจ์ ากมูลนิธขิ า้ วขวัญ ซึง่ ดำ�เนินการ โดยอาจารย์เดชา ศิริภัทร จากแรงบันดาลใจที่ได้รับ ทำ�ให้เธอลงมือ เขียนแผนโครงการ “เพลินข้าวบ้าน” เพื่อขอทุนจัดตั้งไปที่องค์กรไม่แสวง ผลกำ�ไรที่สนับสนุนกิจการเพื่อสังคมอย่าง ChangeFusion โดยจากจุด เริ่มต้นที่มีเพียงชาวนา 7 คน ต่อมาเมื่อชาวบ้านเห็นว่ามีกิจกรรมตลอด ต่อเนื่องและได้รับรู้ว่าคนเมืองสมัยนี้สนใจเรื่องการเพาะปลูกแบบอินทรีย์ กันมาก โครงการจึงได้เปิดรับสมาชิกมาเข้าร่วมเพิม่ เป็น 20 กว่าครัวเรือน จากการที่คนเมืองต่างพากันมาเข้าร่วมกิจกรรมเวิร์กช็อปเรียนรู้วิธีปลูก ข้าวอินทรีย์ ทำ�ให้ชาวนาเริ่มหันกลับมาสนใจวิถีการเกษตรแบบดั้งเดิม อีกครั้ง กระทั่งสามารถตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนได้สำ�เร็จ หลังจากที่ต้อง ปรับตัวตามกระแสทุนนิยมที่เน้นเฉพาะผลผลิตแต่ไม่ได้คำ�นึงถึงภาระที่ ชาวนาต้องแบกรับ นอกจากที่เพลินข้าวบ้านจะเป็นกิจการเพื่อสังคมที่เปิดโอกาสให้คน เมืองได้เรียนรู้วิถีชีวิตของเกษตรกรโดยการพาไปสัมผัสกับความสุขแบบ บ้านๆ ได้เรียนรู้วิถีแห่งการพึ่งพาอาศัยที่เกื้อกูลกันของชุมชนชาวนาแล้ว ในขณะเดียวกัน ชาวบ้านในท้องถิน่ ก็ได้เปิดโลกทัศน์เมือ่ พวกเขาเห็นว่าผู้คน 34 l
Creative Thailand
l มิถุนายน 2558
ต่างก็ให้ความสำ�คัญกับสุขภาพและการได้บริโภคผลผลิตที่ปลอดสารพิษ ทำ�ให้ชาวนาเห็นคุณค่าของสิง่ ทีต่ วั เองทำ� ภูมใิ จในอาชีพเกษตรกรในฐานะ ผู้ที่สร้างรากฐานที่ดีให้แก่สังคม นับเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและ กันระหว่างคนชนบทกับคนเมือง ผู้เป็นผู้ผลิตกับผู้บริโภค ให้เกิดความ เข้าใจและการเปลีย่ นแปลงในตนเอง “ก่อนหน้านีม้ องมนุษย์วา่ ไม่ใช่ธรรมชาติ เพราะเราใช้ชีวิตไปตามระบบ ซึ่งจริงๆ แล้วเราเองเป็นส่วนหนึ่งของ ระบบนิเวศ เราคือจุดเล็กๆ ของระบบนิเวศทีม่ นุษย์เองมักมองไม่เห็น โลก จะดีหรือไม่ดีล้วนอยู่ที่ตัวเราด้วยทั้งสิ้น” นกกบกล่าว ด้านระบบการทำ�งานของเพลินข้าวบ้าน จะมีการรับซื้อข้าวอินทรีย์ ของชาวนาในราคาที่สูงกว่าท้องตลาดเพื่อเป็นการประกันความเสี่ยง ให้ชาวนาเกิดความเชื่อมั่นว่าจะมีรายได้ จูงใจให้หันมาเพาะปลูกข้าว เกษตรอินทรีย์มากขึ้น โดยข้าวทุกๆ 1 กิโลกรัมที่ผู้บริโภคซื้อไป เมื่อ หักต้นทุนแล้ว กำ�ไร 50 เปอร์เซ็นต์จะนำ�มาเป็นต้นทุนให้แก่ชาวนาที่ สนใจทำ�นาอินทรีย์ต่อๆ ไป ส่วนอีก 50 เปอร์เซ็นต์ที่เหลือนำ�กลับเข้าสู่ วิสาหกิจชุมชนเพื่อใช้เป็นต้นทุนบริหารกิจการ เริ่มตั้งแต่เกี่ยวข้าวเสร็จ นำ�ไปเก็บไว้ทำ�เป็นพันธุ์ข้าว มีโรงสีข้าวของชุมชน นำ�ผลผลิตแปรรูปเป็น ข้าวกล้อง ผลิตเป็นสินค้าต่างๆ เช่น คุกกี้ข้าวกล้อง และชาข้าว ซึ่งอาศัย การออกแบบบรรจุภัณฑ์ด้วยการนำ�วัสดุจากท้องถิ่นมาใช้เพื่อสื่อถึงความ เป็นเพลินข้าวบ้านซึ่งเข้าถึงคนรุ่นใหม่ได้จริง ในอนาคต เพลินข้าวบ้าน ตั้งเป้าจะขยายโครงการออกไปให้ถึงในอีกหลายพื้นที่ เพื่อเปิดโอกาสให้ ข้าวพืน้ บ้านในท้องถิน่ ได้เติบโตอย่างเหมาะสม ทัง้ เป็นสือ่ กลางทีส่ ะท้อนถึง วัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น ที่สำ�คัญคือแต่ละเมล็ดพันธุ์ที่งอกเงยยังช่วย ให้ชาวนาผู้ปลูกตระหนักถึงคุณค่าของสิ่งที่ลงมือทำ�ต่อไปอย่างยั่งยืน ทีม่ า: บทความ “เดชา ศิรภิ ทั ร” ปราชญ์ชาวนา(1) : กว่าจะมาเป็นมูลนิธขิ า้ วขวัญ – โรงเรียนชาวนา (26 พฤษภาคม 2012) จาก thaipublica.org, บทความ “ตัวอย่างธุรกิจสีเขียว เพลินข้าวบ้าน” (22 พฤศจิกายน 2557) จาก jintatat.blogspot.com, วิดโี อ “ผูห้ ญิงคนเก่ง ตอน หลีกหนีความวุน่ วายของ สังคมเมืองมาสัมผัสวิถพี อเพียงภายใต้โครงการเพลินข้าวบ้านกับสาวชาวนารุน่ ใหม่ (20 กันยายน 2556) จาก youtube.com, วิดโี อ “JSLGM - Proud Night ("คุณนกกบ-ณัฐวรรณ คำ�คล้าย" ผูก้ อ่ ตัง้ "เพลินข้าว บ้าน") จาก youtube.com, changefusion.org, khaokwan.org, ploenkhaobaan.com
18 -19 & 25 - 26 กรกฎาคม 2558 SF WORLD CINEMA 7F. CENTRAL WORLD
OFFICIAL SELECTIONS 2015
ชื่อเรื่อง
หัวขอ
ประเทศ
CAPITAL C
การระดมทุนสาธารณะ การถ ายภาพ
สหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกา
95
การวางผังเมือง การประดิษฐ งานฝ มือ
เดนมาร ก ญี่ปุ น
33
การออกแบบแฟชั่น การพิมพ แบบสามมิติ โฆษณา วัฒนธรรม DIY สถาป ตยกรรม
ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกา เยอรมัน
การประดิษฐ งานฝ มือ
ฝรั่งเศส
TIME ZERO: THE LAST YEAR OF POLAROID FILM THE HUMAN SCALE TEMA HIMA: TIME, WORK AND LIFE IN TOHOKU, NORTH EAST JAPAN DIOR AND I PRINT THE LEGEND THE NAKED BRAND MAKER TADAO ANDO: FROM EMPTINESS TO INFINITY HANDMADE WITH LOVE IN FRANCE
ความยาว 86
77
นาที นาที นาที นาที
นาที นาที 58 นาที 65 นาที 52 นาที 89
100
68
นาที
WWW.TCDC.OR.TH #DFFBKK2015
18 -19 & 25 - 26 กรกฎาคม 2558 SF WORLD CINEMA 7F. CENTRAL WORLD
TCDC รวมกับบริษัท Anonymous Singapore ขอเชิญทุกทานเขารวมเทศกาลภาพยนตร เฉพาะดานการออกแบบ 2015 กับภาพยนตร สารคดี 10 เรื่อง ที่จะพาไปเจาะลึกเบื้องหลัง การทำงานของนักคิดนักสรางสรรคระดับโลก พรอมตามติดคลื่นแหงการเปลี่ยนแปลงที่กำลัง กอตัว และจะพลิกวิถีแหงการทำงานออกแบบ ไปอยางไมเคยมีมา จำหนายบัตรตั้งแตวันที่ 23 มิถุนายน 2558 ที่ www.tcdc.or.th และเคานเตอร ประชาสัมพันธ TCDC ชั้น 5 ดิ เอ็มโพเรียม เวลา 10.30 - 21.00 น. (ปดวันจันทร) โทร. 02 664 8448 ตอ 213, 214