Marie Antoinette flickr.com/corgraf
ราชินีแห่งฝรั่งเศส
CONTENTS สารบัญ
6
8
The Subject
Second Hand Downloads / ของมือสองในโลกทีส่ าม ของฟรีมใี นโลก / ชีวติ ใหมของคอมฯ เกา
Creative Resource
Insight
20
Creative Entrepreneur
22
Creative City
24
The Creative
28
Creative Will
33
Second Hand Culture: Reuse More, Buy Less แกะรอยวัฒนธรรมตลาดมือสองในตางแดน - ยิ่งใช ยิ่งประหยัด ยิ่งรักโลก?
ไดโกกุยะ มือสองแบรนดเนม มากกวาคุณคาแตคุมคาและตอบโจทย
Featured Book / Books
10
Matter
12
Classic Item
14
Cover Story
SMART เสนใยรีไซเคิล ธุรกิจใหมจากเสนใยมือสอง
T-Shirt
Second Hand Economy
Madrid: พลิกวิกฤติ…ดวยเศรษฐกิจมือสอง
วุฒิ สมบูรณกุลวุฒิ: Made by Legacy สงตอและแบงปนคุณคาจากมรดกตกทอด
Second Hand Grocery Store เพราะแคชํารุด ไมไดหยุดคุณคา
บรรณาธิการอำนวยการ l อภิสทิ ธิ์ ไลสตั รูไกล ทีป่ รึกษา l ชมพูนทุ วีรกิตติ, พิชติ วีรงั คบุตร, จรินทรทพิ ย ลียะวณิช, พจน องคทวีเกียรติ บรรณาธิการ l พัชรินทร พัฒนาบุญไพบูลย กองบรรณาธิการ l ศิริอร หริ่มปราณี, มนฑิณี ยงวิกุล, เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร, กริยา บิลยะลา, ปยวรรณ กลิ่นศรีสุข, นันทนรี พานิชกุล เลขากองบรรณาธิการ l วรรณเพ็ญ บุ ญเพ็ญ ศิลปกรรม l ชิดชน นินนาทนนท สมาชิกสัมพันธ l ปยะพร สวัสดิ์สิงห ประสานงานกองบรรณาธิการ l ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ นักศึกษาฝกงาน l วิชัย สวางพงศเกษม จัดทำโดย l ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (TCDC) ชั้น 24 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอร 622 สุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 โทร. 02 664 7667 แฟกซ. 02 664 7670 ติดตอลงโฆษณาไดที่ creativethailand@tcdc.or.th พิมพที่ l บริษัท ทูโฟร พริ้นติ้ง จำกัด โทร. 02 416 7300 แฟกซ. 02 416 7320 จำนวน 30,000 เลม นิตยสารฉบับนี้ใชหมึกพิมพจากน้ำมันถั่วเหลืองที่ไมเปนอันตรายตอสุขภาพ ทั้งยังเปนมิตรตอสิ่งแวดลอม และใชกระดาษรีไซเคิล ซึ่งเปนผลผลิตของผูประกอบการไทย จัดทำภายใตโครงการ “Creative Thailand สรางเศรษฐกิจไทยดวยความคิดสรางสรรค” โดยศูนยสรางสรรคงานออกแบบ สำนักงานบริหารและพัฒนาองคความรู (องคการมหาชน) ซึ่งมีเปาหมาย ในการเผยแพรความรูเกี่ยวกับเศรษฐกิจสรางสรรค (Creative Economy) และผลักดันการใชความคิดสรางสรรค ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย สามารถดูสถานที่จัดวางทั้งหมดไดที่ creativethailand.org อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส แสดงที่มา-ไมใชเพื่อการคา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย
EDITOR'S NOTE บทบรรณาธิการ
STYLE SURVIVAL AND SELLING
flickr.com/Patty M.
ขณะทีก่ ารต่อสูด้ า้ นนวัตกรรมและเทคโนโลยีของผลิตภัณฑ์ด�ำ เนินไปอย่างเข้มข้น เพือ่ เป็นเครือ่ งมือในการแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาดของผูบ้ ริโภคทัว่ โลก ธุรกิจ หนึ่งกำ�ลังดำ�เนินไปอย่างเงียบๆ และนำ�เสนอสิ่งที่ตรงไปตรงมากกว่านั้นมาก พร้อมกันกับที่เศรษฐกิจโลกก็เคลื่อนไหวอย่างเนิบนาบ ธุรกิจสินค้ามือสองยิ่งทวี ความน่าสนใจเมือ่ ได้กลายเป็นทางออกหนึง่ ของเศรษฐกิจระดับครัวเรือน ทีข่ ยายผลจากความต้องการสินค้าเพือ่ ใช้สอย หรือสะสม ไปสูธ่ รุ กิจทีส่ ร้างมูลค่าและกระตุน้ การจ้างงานใหม่ๆ ให้กับเศรษฐกิจระดับประเทศได้อย่างน่าทึ่ง ต้องขอบคุณหัวคิดก้าวหน้าของอีเบย์ที่ทำ�ให้สินค้าเก่าเก็บของคนหนึ่ง กลายเป็นสินค้าที่ตามหาของอีกคนหนึ่งซึ่งมีภูมิลำ�เนากันคนละซีกโลก จากตลาด สินค้ามือสองที่เคยมีแหล่งสรรหาทางกายภาพ การสืบเสาะ หรือ สะดุดตาในร้านเล็กๆ ได้กลายเป็นชุมชนออนไลน์ที่ยิ่งใหญ่ของผู้ที่ต้องการเสนอขาย ให้พบเจอ กับผู้ต้องการครอบครอง จากนั้นการเติบโตของตลาดสินค้ามือสองก็ได้พุ่งทะยานสู่ความเป็นธุรกิจแห่งการบริการที่มีอนาคต เพราะเกิดห่วงโซ่ธุรกิจอื่นๆ ตามมา ทั้งธุรกิจโฆษณา ระบบขนส่งสินค้า ระบบติดตามสินค้า ระบบการเงินและประกันภัย ความสำ�คัญของมูลค่าธุรกิจและความโดดเด่นของอีเบย์ ทำ�ให้นายจอห์น แมคเคน ใช้เป็นประเด็นหาเสียงในการแข่งขันชิงตำ�แหน่งประธานาธิบดีกับบารัก โอบามา ในปี 2008 ว่า อเมริกันชนมากกว่า 1.3 ล้านคน คือกลุ่มผู้ซื้อและผู้ขาย ในอีเบย์ และเป็นธุรกิจที่นำ�ไปสู่การจ้างงานใหม่ๆ โดยไม่เพียงแค่ในสหรัฐฯ ความเคลื่อนไหวของธุรกิจสินค้ามือสองยังเติบโตอย่างสูงในอีกหลายประเทศ ในปี 2012 ออสเตรเลียมีมูลค่าการซื้อขายสินค้ามือสองราว 18 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2014 แคนาดามีมูลค่าธุรกิจสินค้ามือสองกว่า 34 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ แม้กระทัง่ ประเทศไอซ์แลนด์ทมี่ เี ศรษฐกิจไม่ฟฟู่ า่ ยังมีมลู ค่าของตลาดนีร้ าว 4.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และมีแนวโน้มทีจ่ ะเติบโตยิง่ ขึน้ อีก เมือ่ พิจารณาจากสัดส่วน ค่าโฆษณาที่ยอมจ่ายให้กับธุรกิจสินค้ามือสองออนไลน์ทั้งหลาย แต่อาจจะดูตนื้ เขินเกินไป หากเราจะคิดว่าการเติบโตของธุรกิจสินค้ามือสองมีเพียงเพือ่ ลดต้นทุนในชีวติ ประจำ�วันของครอบครัว แม้วา่ ประเภทสินค้ามือสอง ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในตลาดจะเป็นกลุ่มอุปกรณ์กีฬา กลุ่มอุปกรณ์และเฟอร์นิเจอร์ของทารก และสินค้าขนาดใหญ่อย่างเฟอร์นิเจอร์และรถยนต์ เพราะที่จริง แล้ว สินค้ามือสองไม่ใช่การตอบโจทย์ด้านการดำ�เนินชีวิตอย่างคุ้มค่าเท่านั้น แต่หมายถึงรสนิยมและความซับซ้อนทางอารมณ์ การซื้อและการขายนั้นบ่งบอกถึง รสนิยมการบริโภคทีร่ ว่ มสมัย สินค้าแอนทีคหรือวินเทจ ทำ�ให้ระลึกถึงความรุง่ เรืองหรือแสงสว่างในอดีต กระทัง่ เกิดความรูส้ กึ เป็นเจ้าของเศษเสีย้ วทางประวัตศิ าสตร์ ดังนั้นความถูกหรือความแพงจึงไม่ได้มีผลต่อความรู้สึกทางอารมณ์ของผู้สรรหาสินค้าในส่วนนี้แต่อย่างใด จึงไม่แปลกที่ว่า Second Hand Economy จะกลายเป็นปรากฏการณ์ที่เติบโตขึ้นมาในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา เพราะปัจจัยภายนอกที่รุมเร้าให้มองหาข้อเสนอ ที่ดีที่สุด กับปัจจัยภายในที่ว่าด้วยความปีติทางอารมณ์ของผู้ซื้อ อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น และการลดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม แต่กระนั้นการ แสวงหาโมเดลธุรกิจใหม่ๆ ก็ยังดูเหมือนจะตรงกับนิสัยความเป็นนักล่าของสังคมมนุษย์ คำ�ถามคือสังคมพึงพอใจกับเศรษฐกิจที่พึ่งพิงระบบซื้อมาขายไปบนโลก ออนไลน์เช่นเพียงธุรกิจสินค้ามือสองเท่านี้หรือ หรือเราจะสามารถใช้แพลตฟอร์มของดิจิทัลให้เกิดประโยชน์และเปล่งประกายทางความคิดได้ยิ่งขึ้นไปอีก ดังนั้น ประตูแห่งโอกาสที่เปิดขึ้นจากชุมชนออนไลน์ จากผู้ซื้อผู้ขายที่พบเจอกันบนความต้องการที่ตรงกัน ได้ก้าวไปสู่การพัฒนาโมเดลธุรกิจใหม่ๆ ที่สร้างความต้องการ ที่ตรงกันในรูปแบบบริการอื่นๆ เช่น ธุรกิจ Airbnb (แพลตฟอร์มผู้ที่สนใจมาเช่าที่พักในบ้าน), Taskrabbit (เว็บไซต์ที่เปิดให้ผู้คนได้หางานพิเศษทำ�ตามทักษะและ ความชอบในยามว่าง) หรือ Postmates (บริการขนส่งพัสดุโดยเครือข่ายสมาชิก) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของรูปแบบเศรษฐกิจใหม่ๆ ว่าด้วยการแบ่งปัน อันเป็นที่รู้จัก กันในชื่อ Sharing Economy หรือ Gig Economy เมื่อเราอยู่ในยุคธุรกิจจะติดปีกด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดิจิทัล วิธีคิดและประสบการณ์จะยังทำ�ให้เราบินได้สูงกว่า และหวังว่าจะมั่นคงกว่า ถ้ามี ความรู้อย่างลึกซึ้งในสิ่งที่เรากำ�ลังทำ� อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล บรรณาธิการอํานวยการ Apisit.L@tcdc.or.th สิงหาคม 2558
l
Creative Thailand
l5
THE SUBJECT ลงมือคิด
เรื่อง: วิชัย สว่างพงศ์เกษม
redigi.com
SECO N D HAN D D O W N L O A DS ReDigi ธุรกิจโดยทีมงานศิษย์เก่าเอ็มไอทีทรี่ บั ซือ้ และจำ�หน่ายไฟล์เพลงมือสองกำ�ลัง ประสบปัญหาการตีความทางกฎหมาย เมื่อศาลชั้นต้นตัดสินว่าธุรกิจดังกล่าวผิด กฎหมาย โดยให้เหตุผลว่าหลักการขายครั้งแรก (First-Sale Doctrine) ให้สิทธิ์ผู้ซื้อ สิ น ค้ า ลิ ข สิ ท ธิ์ นำ � ไปขายต่ อ หรื อ ให้ เ ช่ า ยื ม ได้ แต่ ไ ม่ อ นุ ญ าตให้ ทำ � ซํ้ า สิ น ค้ า นั้ น และกระบวนการส่งผ่านไฟล์ดจิ ทิ ลั จากเครือ่ งมือหนึง่ (Device) ไปสูอ่ กี เครือ่ งมือหนึง่ นั้น ก็คือการคัดลอก (Copy) ไฟล์ต้นแบบ แล้วสร้างขึ้นใหม่ในอีกเครื่องมือหนึ่งโดย ลบไฟล์ต้นแบบทันทีที่การคัดลอกสมบูรณ์ ทาง ReDigi จึงโต้ตอบด้วยการพัฒนา
บริการ ReDigi 2.0 ให้เคลื่อนย้ายไฟล์ได้โดยไม่เกิดการคัดลอกไฟล์ และยื่นเรื่องถึง รัฐสภาแห่งสหรัฐอเมริกาอีกครั้งเพื่อให้ทบทวนการตีความกฎหมายดังกล่าว ในขณะทีท่ างศาลยุตธิ รรมแห่งสหภาพยุโรป (Court of Justice of the EU: CJEU) ตัดสินคดีของ usedSoft ธุรกิจจำ�หน่ายลิขสิทธิซ์ อฟต์แวร์ในสวิตเซอร์แลนด์ ว่าการซือ้ -ขาย ซอฟต์แวร์มอื สองสามารถกระทำ�ได้ จนนำ�ไปสูไ่ อเดียการสร้างเว็บไซต์ tomkabinet.nl ธุรกิจขายอีบกุ๊ ส์มอื สองในเนเธอร์แลนด์ แต่ศาลชัน้ ต้นของเยอรมันกลับยืนยันว่ากรณี ของ usedSoft ไม่สามารถนำ�มาปรับใช้กับไฟล์อีบุ๊กส์ได้ ในขณะที่ศาลอุทธรณ์แห่ง อัมสเตอร์ดัมเห็นตรงกันข้าม จึงต้องรอการตีความชี้ขาดจาก CJEU เสียก่อน การซื้อขายไฟล์ดิจิทัลมือสองยังคงเป็นประเด็นถกเถียง มีท้ังฝ่ายที่เห็นว่า การขายไฟล์ที่ไม่เสื่อมสภาพนี้เป็นการเอาเปรียบผู้ผลิต ทั้งยังมีการดาวน์โหลดไฟล์ ละเมิดลิขสิทธิ์มาขาย และฝ่ายที่เห็นด้วยกับ ReDigi ที่เห็นว่าการขายไฟล์เพลง มือสองเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย เพราะผู้บริโภคที่ขาดทุนทรัพย์ก็ซื้อไฟล์ได้ในราคา ถูก และผูข้ ายไฟล์เพลงนัน้ ก็จะได้รบั ทุนสำ�หรับการซือ้ เพลงใหม่ๆ จากผูผ้ ลิต ในยุค ที่โลกหมุนไปไวกระทั่งข้อมูลดิจิทัลยังกลายเป็นของเก่า คงถึงเวลาแล้วที่จะต้องมี บรรทัดฐานและนิยามใหม่สำ�หรับสินค้ามือสองเหล่านี้ ที่มา: บทความ "Dutch e-book resale site has to close for now, court rules" จาก pcworld.com / บทความ "ReDigi CEO, John Ossenmacher on Digital First Sale: Report for Congress" จาก newsroom.redigi.com / บทความ "ReDigi Loses: You Can't Resell Your MP3s (Unless You Sell Your Whole Hard Drive)" จาก techdirt.com / บทความ "Secondhand Downloads: Will Used E-Books and Digital Games Be for Sale?" จาก bloomberg.com / บทความ "The Dutch courts apply usedSoft to the resale of eBooks" จาก kluwercopyrightblog.com และ บทความ "Used eBook Sales Still Legal in the Netherlands, But(*) –" จาก the-digital-reader.com
ของมือสองในโลกที่สาม
cnn.com
ในสหรัฐอเมริกา เสื้อผ้าใช้แล้วร้อยละ 85 หรือราว 11,800 ล้านกิโลกรัมต้องกลาย เป็นขยะ และอีกร้อยละ 15 ถูกนำ�ไปขายเป็นของมือสองหรือรีไซเคิล เฉพาะร้านค้า เพื่อการกุศลอย่าง Salvation Army สาขาถนนควินซี เพียงแห่งเดียวก็ได้รับเสื้อผ้า บริจาคถึงวันละ 5 ตัน หรือกว่า 11,000 ชิ้นแล้ว เสื้อผ้ามือสองจึงไม่เคยขาดแคลน ไปจากร้านรับบริจาคเลย ซึ่งแน่นอนว่าผ้าจำ�นวนมหาศาลนั้นไม่ได้สร้างเพียง ประโยชน์อย่างเดียวแน่ เสื้อผ้ามือสองจากยุโรปและอเมริกาจำ�นวนหนึ่งจะถูกส่งไปยังประเทศในทวีป แอฟริกาอย่างเซเนกัล มาลาวี และยูกันดา ทำ�ให้อุตสาหกรรมเสื้อผ้าของแอฟริกา หยุดชะงัก โดยการจ้างงานในอุตสาหกรรมสิง่ ทอของกานาลดลงถึงร้อยละ 80 ภายใน 25 ปี เนื่องจากเสื้อผ้าท้องถิ่นสู้ราคาเสื้อผ้ามือสองนำ�เข้าไม่ได้ การบริจาคสินค้า มือสองจึงอาจไม่ใช่คำ�ตอบที่ถูกที่สุดสำ�หรับโลกที่ยั่งยืน หากเรายังคงบริโภคแบบ ด่วนได้ด่วนทิ้งกัน
ที่มา: บทความ "Is Your Old T-shirt Hurting African Economies?" จาก cnn.com / บทความ "The Afterlife of Cheap Clothes" จาก slate.com / บทความ "The Global Afterlife Of Your Donated Clothes" จาก npr.org และ บทความ "We Buy An Obscene Amount Of Clothes. Here's What It's Doing To Secondhand Stores" จาก huffingtonpost.com
6l
Creative Thailand
l
สิงหาคม 2558
THE SUBJECT ลงมือคิด
rrfmarket.blogspot.com
advomatic.com
ของฟรีมีในโลก
ชีวิตใหม่ของคอมฯ เก่า
ลองจินตนาการถึงสวนสาธารณะที่มีหนังสือ เสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์ คอมพิวเตอร์ และ สินค้านานาชนิดวางเรียงราย และคุณสามารถหยิบสิง่ ทีต่ อ้ งการไปได้โดยไม่ตอ้ งเสีย อะไรเลย พื้นที่นั้นมีอยู่จริงใน Really Really Free Market ตลาดนัดของฟรีที่ผู้คน มารวมตัวกันเพื่อปันของที่ไม่ต้องการแล้วแต่ยังมีค่าในสายตาผู้อื่น และไม่เพียงแต่ สิ่งของเท่านั้นในบางครั้งยังมีคนใจดีให้บริการตัดผม ดูดวง ซ่อมจักรยาน หรือแม้ กระทั่งรับปรึกษาปัญหากฎหมาย ตามแต่ใครมีความสามารถอะไรจะแบ่งปันกัน จากการแสดงออกทางการเมืองเพื่อประท้วงเขตเศรษฐกิจเสรีแห่งทวีปอเมริกา (FTAA) และการประชุม G8 ซึ่งเป็นเสมือนตัวแทนของระบอบทุนนิยมที่ทำ�ให้ความ มั่งคั่งตกอยู่ในมือของมหาอำ�นาจไม่กี่ประเทศ สู่ความคิดที่ว่าสิ่งต่างๆ ในโลกนี้มี เพียงพอสำ�หรับทุกคน ในปัจจุบันตลาดนัดของฟรีนี้ได้แพร่หลายไปตามเมืองต่างๆ ทั้งของแคนาดา สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ รัสเซีย อินเดีย บราซิล สิงคโปร์ ไต้หวัน ฯลฯ และแน่นอนว่ามันไม่ได้เกิดขึ้นจากหน่วยงานราชการ หรือบริษทั ยักษ์ใหญ่ใดๆ แต่เป็นเพียงคนในชุมชนทีอ่ ยากเห็นสังคมทีด่ เี กิดขึน้ เท่านัน้ ของฟรีจึงมีในโลกได้ หากเราเลือกจะทำ�ให้มันมี
อุปกรณ์อเิ ล็กทรอนิกส์เป็นสิง่ ทีป่ ระกอบขึน้ ด้วยความรูเ้ ฉพาะทาง การจัดการกับขยะ อิเล็กทรอนิกส์ (E-waste) จึงต้องการทักษะพิเศษเช่นกัน บางรัฐในสหรัฐอเมริกา กระทั่งสหภาพยุโรปต้องมีการเก็บค่าธรรมเนียมการรีไซเคิล E-waste ต่างๆ อย่าง คอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์มือถือ ซึ่งคิดเป็นกว่าร้อยละ 70 ของขยะอันตรายทั้งหมด องค์กรไม่แสวงกำ�ไรทีช่ อื่ Free Geek ซึง่ ก่อตัง้ ขึน้ ในพอร์ตแลนด์ สหรัฐอเมริกา จึงรับบริจาค E-waste ต่างๆ มาซ่อมแซมและประกอบใหม่ ก่อนจะบริจาคต่อให้กบั โรงเรียน โบสถ์ องค์กรไม่แสวงกำ�ไร รวมถึงอาสาสมัครขององค์กร ด้วยความตัง้ ใจจะ ใช้ซา้ํ (Reuse) เป็นหลัก เพราะก่อให้เกิดขยะน้อยกว่าการรีไซเคิล ในปัจจุบนั Free Geek ได้แจกจ่ายคอมพิวเตอร์ให้สถาบันการศึกษาและองค์กรต่างๆ แล้วกว่า 9,400 เครือ่ ง ขณะที่อาสาสมัครเองก็ได้เรียนรู้หลักสูตรซึ่ง Free Geek อบรมให้ ตั้งแต่การ ลงโปรแกรม การถอดประกอบคอมพิวเตอร์ และคัดแยกวัสดุที่ยังรีไซเคิลได้อย่าง เหล็ก พลาสติก ลวดทองแดงจากคอมพิวเตอร์ที่เกินกว่าจะซ่อมแซมแล้ว เพื่อนำ�ไป รีไซเคิลให้ได้มากทีส่ ดุ ภายในประเทศ แทนทีจ่ ะส่งไปทำ�ลายในประเทศกำ�ลังพัฒนา เพื่อสร้างโอกาสที่ดีกว่าสำ�หรับผู้ใช้งานและธรรมชาติได้
ทีม่ า: reallyreallyfree.org / บทความ “Really REALLY Free Market Report” จาก indybay.org และ บทความ “The Really Really Free Market: Instituting the Gift Economy” จาก crimethinc.com
ทีม่ า: freegeek.org และบทความ “Waste” จาก motherjones.com
สิงหาคม 2558
l
Creative Thailand
l7
CREATIVE RESOURCE วัตถุดิบทางความคิด
FEATURED BOOK
เรื่อง: เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร ชลดา เจริญรักษ์ปัญญา เพียงออ ทองสลวย
THE BUSINESS OF SHARING:
โลกเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยมาตั้งแต่ช่วง ปลายปี 2007 ซึ่งกินระยะเวลายาวนานเกือบ สิบปี ปัจจุบนั ดูเหมือนเศรษฐกิจก็ยงั ไม่สามารถ ฟืน้ ตัวได้อย่างทีห่ ลายฝ่ายคาดหวัง ตลอดระยะ เวลาที่ผ่านมา เวลาได้เปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ ชีวิตและทัศนคติที่มีต่อสิ่งต่างๆ ของผู้คน เกิด เป็นกระแสใหม่ๆ ขึ้นมากมาย ผนวกกับความ เจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เชื่อมคน สร้าง สังคมใหม่ๆ และรวมกลุ่มผู้คนที่สนใจเรื่อง เดียวกันไว้ทกุ รูปแบบ ทำ�ให้ “เศรษฐศาสตร์การ แบ่งปัน (Sharing Economy)” ในวันนี้ ไม่ใช่ เรื่ อ งใหม่ อี ก ต่ อ ไป และแทบจะเป็ น แนวคิ ด พืน้ ฐานของการพัฒนาธุรกิจสมัยใหม่ในปัจจุบนั เลยทีเดียว คนสมัยนี้ตั้งคำ�ถามกับสิ่งของต่างๆ ถึง ความคุม้ ค่าในการเป็นเจ้าของ ทำ�ไมเราต้องซือ้ ซือ้ มาแล้วจะได้ใช้บอ่ ยแค่ไหน และถ้าไม่ซอื้ ทำ� อย่างไรถึงจะใช้สิ่งของนั้นได้บ้าง ยืมได้หรือ เปล่า เช่าได้ไหม แล้วแบบไหนประหยัดกว่ากัน ความต้องการที่อยู่ในคำ�ถามเหล่านี้มีจุดร่วม เดียวกันกับแนวคิดของการใช้สินค้าที่ผ่านการ ใช้งานมาก่อน นอกจากจะช่วยประหยัดเงินใน กระเป๋าแล้ว วิธีนี้ยังช่วยให้การผลิตและการใช้ ทรัพยากรของโลกเป็นไปได้อย่างคุ้มค่ายิ่งขึ้น เพราะช่วยยืดอายุการใช้งาน โดยการเปลี่ยน เจ้าของไปยังผู้ที่เห็นคุณค่าของสิ่งของชิ้นนั้น อเล็กซ์ สเตฟานี (Alex Stephany) ผูแ้ ต่งหนังสือ เล่มนี้ ให้ค�ำ จำ�กัดความของ Sharing Economy ในแบบฉบับของเขาว่า “เป็นคุณค่าของการนำ� สินทรัพย์ที่ยังใช้งานไม่เต็มที่มาทำ�ให้ผู้อื่นใน ชุ ม ชนที่ ส นใจเข้ า ถึ ง ได้ ผ่ า นระบบออนไลน์
8l
Creative Thailand
l
สิงหาคม 2558
MAKING IT IN THE NEW SHARING ECONOMY
โดย Alex Stephany
ASSETS Increasing Utilization
CONVENIENCE Reduced Need to Own
VALUE Kept Within Community
INTERNET Makes Them Accessible
COMMUNITY Shares The Assets
เพื่ อ ช่วยลดความต้องการในการเป็นเจ้าของ สิ น ทรั พย์นั้น ๆ” สเตฟานี เป็นเจ้า ของธุ ร กิ จ สตาร์ทอัพ JustPark ด้วย ซึ่งมีแนวคิดในการ นำ�พื้นที่จอดรถที่อาจมีเหลืออยู่ในแต่ละบ้าน หรื อ พื้ น ที่ จ อดรถในช่ ว งเวลาที่ ไ ม่ ไ ด้ ใ ช้ ง าน มาให้ผู้อื่นที่ต้องการจอดรถในบริเวณนั้นได้เข้า มาใช้บริการชั่วคราว ผู้เขียนสะท้อนปัญหาที่เป็นผลมาจากการ เจริญเติบโตแบบก้าวกระโดดในหลายทิศทาง ของ Sharing Economy ซึ่งท้าทายฐานธุรกิจ รูปแบบเดิม ไปจนถึงกฎหมายและระเบียบที่ เกี่ยวข้องในเรื่องนั้นๆ ของแต่ละท้องถิ่นที่ยัง อาจปรับตัวตามไม่ทัน ทำ�ให้เกิดข้อโต้แย้งและ คำ�ถามเชิงกฎหมายว่าสามารถทำ�ได้หรือไม่ และบางเรื่ อ งก็ โดนสกั ด กั้ น อย่ า งน่ า เสี ย ดาย ซึ่งผู้รักษากฎมีหน้าที่ต้องดูแลทั้งความต้องการ ของผู้บริโภคและรักษาสมดุลของสังคมไว้อย่าง รอบคอบ แต่ท้ายที่สุดทรัพยากรจะเหลือน้อย ลงไปทุกขณะ การแชร์จงึ เป็นทางเลือกหนึง่ ทีท่ กุ สังคมควรรับไว้พิจารณา หนังสือเล่มนีใ้ ห้ขอ้ มูลเชิงลึกทีถ่ กู กลัน่ กรอง จากผู้ประกอบการธุรกิจภายใต้แนวคิดของการ แบ่งปัน ผู้เขียนอธิบายเนื้อหา ตั้งแต่หลักการที่ ทำ�ให้ธุรกิจนี้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้คน ในยุคปัจจุบัน ไปจนถึงตัวอย่างธุรกิจสำ�คัญๆ ในวงการ ซึ่งครอบคลุมธุรกิจหลายรูปแบบ แทบทุกประเภทของสินค้า ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า ของใช้ในชีวิตประจำ�วัน ยานพาหนะ สัตว์เลี้ยง ที่อยู่อาศัย อสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ แสดงให้เห็น ถึงความเป็นไปได้ของหลักการที่สามารถนำ�ไป ประยุกต์ใช้ได้อย่างกว้างขวาง
CREATIVE RESOURCE วัตถุดิบทางความคิด
BOOK
BOOK
BOOK
SECOND HAND SPACES:
JUNK STYLE
REMAKE IT
โดย Michael Ziehl, Sarah Oßwald, Oliver Hasemann และ Daniel Schnier
โดย AMelanie Molesworth
โดย Henrietta Thompson
ปัจจุบันตลาดมือสองได้รับความนิยมค่อนข้าง สูง เนื่องจากผู้คนเริ่มลดการใช้สินค้าใหม่ และ หันกลับมามองสิ่งของที่ผ่านการใช้งานมาแล้ว เพราะเสน่ห์เฉพาะตั ว ที่ ของใหม่ ไม่ ส ามารถ ทดแทนได้ หลายครัง้ ทีส่ นิ ค้าจากแหล่งขายของ เก่าสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้เราเปลี่ยนสิ่ง ที่บางคนอาจเรียกว่า ‘ขยะ’ ให้เป็นอะไรที่มาก กว่านั้น หนังสือเล่มนี้แสดงถึงแนวทางการแต่ง บ้านที่น่าสนใจจากเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่ง มือสอง ซึ่งเลือกสรรมาจากงานเปิดท้าย ตลาด หรือร้านขายของเก่า เป็นการรวบรวมของเก่า จากที่ต่างๆ เพื่อนำ�มาปรับเปลี่ยนและตกแต่ง ภายในบ้าน เพียงใส่จนิ ตนาการลงไปเล็กน้อยก็ สามารถเนรมิตของเก่าเหล่านั้นให้กลายเป็น ไอเท็มทีเ่ ปีย่ มด้วยไอเดียและเสน่หข์ องความเก่า ในบ้านในฝันของคุณได้
หนังสือทัง้ สองเล่มจากซีรสี ์ ‘ Remake It’ นีเ้ ปรียบ เสมือนสารานุกรมของผู้ที่ต้องการประยุกต์ของ ทีม่ อี ยูแ่ ล้วให้กลับมาเก๋ไก๋กว่าเดิม เพิม่ เติมไอเดีย ใหม่ๆ รวมทัง้ ดูดมี สี ไตล์ตลอด เล่มแรกของซีรสี ์ เป็นหนังสือเกีย่ วกับบ้าน ไม่วา่ จะเป็นของตกแต่ง บ้าน ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ เฟอร์นิเจอร์ทั้งชิ้น เล็กและชิน้ ใหญ่ หรือแม้กระทัง่ ของชิน้ เล็กชิน้ น้อย อย่างทีแ่ ขวนผ้า ช้อนส้อม และแจกัน ส่วนอีกเล่ม เป็นหนังสือเกี่ยวกับการดัดแปลงเสือ้ ผ้า ตัง้ แต่ เสือ้ ผ้าเด็ก กระเป๋าถือ เครือ่ งประดับ ทุกสิง่ อย่าง ในตู้เสื้อผ้า ทั้งหมดนี้ทำ�ตามได้อย่างง่ายดาย เพราะผู้เขียนบอกวิธีการทำ� ให้คำ�อธิบาย และ มีรปู ภาพประกอบไว้ในหนังสือทัง้ หมด ผูอ้ า่ นจึง สามารถนำ�ไอเดียต่างๆ ไปต่อยอด และเพิม่ เติม จินตนาการได้ไม่รู้จบ
RECYCLING SITES UNDERGOING URBAN TRANSFORMATION
ปัจจุบันพื้นที่หลายแห่งทั่วโลกถูกทิ้งร้าง อาจ เนื่องด้วยเศรษฐกิจที่ถดถอยหรือความล้มเหลว จากการพัฒนา ทำ�ให้เหลือเพียงพื้นที่ว่างเปล่า หรืออาคารที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ จะเป็นอย่างไร หากเรานำ� ‘พืน้ ทีม่ อื สอง’ เหล่านีก้ ลับมาพัฒนา อีกครั้ง หนังสือเล่มนี้รวบรวม 15 โปรเจ็กต์จาก ยุโรปที่แม้จะต่างสถานที่หรือภูมิหลัง แต่ทุก โปรเจ็กต์แสดงให้เห็นถึงวิธกี ารจัดการพืน้ ทีเ่ พือ่ พัฒนาชุมชนเมืองและตอบสนองความต้องการ ของชุมชน ชุบชีวติ สถานทีท่ ถี่ กู ทิง้ ร้างให้กลายเป็น พืน้ ทีข่ องสังคม สร้างโอกาสของการมีปฏิสมั พันธ์ และการมีส่วนร่วม นับเป็นการท้าทายความ สามารถของนักออกแบบในการใช้พน้ื ทีม่ อื สอง ให้ เ ป็ น ทรั พ ยากรเพื่อ การเปลี่ย นแปลงเมื อ ง อย่างยั่งยืน
พบกับวัตถุดบิ ทางความคิดเหล่านีไ้ ด้ที่ TCDC Resource Center สิงหาคม 2558
l
Creative Thailand
l9
MATTER วัสดุต้นคิด
ธุรกิจใหม่จากเส้นใยมือสอง เรื่อง: ชมพูนุท วีรกิตติ และ ปิยวรรณ กลิ่นศรีสุข
THE LIFE CYCLE OF RAGS
ในสหรัฐอเมริกามีกลุ่มคนที่เห็นโอกาสและมูลค่าของการนำ�เศษผ้าหรือผ้าที่ใช้แล้วกลับมา ใช้ใหม่อย่างเป็นระบบ จนกลายเป็นธุรกิจที่มีเครือข่ายเชื่อมโยงในหลายประเทศที่เรียกว่า SMART (Secondary Materials and Recycled Textiles Association) SMART ก่อตั้งในปี 1932 ทำ�ธุรกิจด้วยการนำ�เสื้อผ้าใช้แล้วและเศษสิ่งทอต่างๆ กลับมาใช้ ประโยชน์ใหม่ ปัจจุบนั เป็นกลุม่ การค้าระหว่างประเทศทีม่ บี ริษทั รวมตัวกันมากกว่า 200 บริษทั โดยในสหรัฐอเมริกามีสัดส่วนสมาชิกคิดเป็นร้อยละ 79 แคนาดาร้อยละ 13 และที่เหลืออีก ร้อยละ 8 อยู่ในเม็กซิโก อเมริกาใต้ ยุโรป เอเชีย และเอเชียแปซิฟิก SMART มีรายได้จากการ ทำ�ธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม เพราะช่วยลดปริมาณขยะ และทำ�ให้เกิดการจ้างงานใน อเมริกามากกว่า 20,000 คน สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้แก่กลุ่มสมาชิก โดยสนับสนุนการ ทำ�งานร่วมกันผ่านเครือข่าย และมีเป้าหมายที่จะลดปริมาณขยะอย่างมีประสิทธิภาพและได้ มาตรฐาน ด้วยการนำ�สิ่งทอและวัสดุอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกลับมาใช้ใหม่ผ่านขั้นตอนต่างๆ อย่าง ครบวงจร ระบบการทำ�งานของ SMART ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลัก เริ่มต้นด้วยการเก็บรวบรวม (Collectors) การคัดแยกประเภทและแปรรูป (Processors) สุดท้ายคือนำ�ไปจัดจำ�หน่าย (Distributors) ผ่านการเก็บรวบรวมของที่ใช้แล้ว เช่น เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ผ้าปูที่นอน ม่าน ตุ๊กตา สัตว์ รองเท้า หมวก จากบ้านเรือนและแหล่งต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมซักรีด หน่วยงานด้าน สุขภาพ โรงแรม และธุรกิจอื่นๆ ที่มีการใช้สิ่งทอเป็นจำ�นวนมาก รวมทั้งเศษผ้าจากกลุ่ม อุตสาหกรรมสิ่งทอ จากนั้นจึงนำ�มาอัดให้เป็นก้อนเบลและส่งขายต่อให้กับ Processors ซึ่งจะ คัดแยกสิ่งทอออกเป็นประเภทต่างๆ ตามสภาพการใช้งาน ส่วนแรกประมาณร้อยละ 45 จะ เป็นเสือ้ ผ้ามือสองทีน่ �ำ กลับไปขายใหม่ โดยส่งไปขายให้กบั เครือข่ายในประเทศต่างๆ ส่วนทีส่ อง เป็นเศษผ้าทีเ่ หลือจากกระบวนการผลิตและอุตสาหกรรมซักรีดประมาณร้อยละ 30 ซึง่ จะนำ�ไป ฟอกเพื่อให้ดูดซับนํ้าได้ดีขึ้น ก่อนจะนำ�ไปตัดเป็นผ้าสำ�หรับเช็ดทำ�ความสะอาดหรือผ้าขัดเงา ส่วนสุดท้ายคือการแปรรูปเสือ้ ผ้าทีไ่ ม่ใช้แล้วทีป่ ระมาณร้อยละ 20 ให้เป็นเส้นใยโดยใช้เครือ่ งจักร ที่ตัดผ้าเป็นชิ้นเล็กๆ จากนั้นจะตะกุยและสางให้เป็นเส้นใย แล้วอัดเป็นก้อนเบลส่งขายต่อให้ กับบริษัทที่จะนำ�เส้นใยไปทำ�ผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น วัสดุฉนวนสำ�หรับบ้านเรือน วัสดุที่ใช้ใน อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์กีฬา ที่นอนของสัตว์เลี้ยง วัสดุกันเสียงในรถยนต์ และแผ่น รองหลังของพรม เป็นต้น สุดท้ายจะเหลือทิ้งเพียงร้อยละ 5 ที่คัดแยกไว้และไม่ได้นำ�กลับมาใช้ เพราะเปียก ขึน้ รา มีกลิน่ เปือ้ นสารเคมี หรือไม่เหมาะทีจ่ ะใช้ได้อกี กลุม่ สุดท้ายคือผูจ้ ดั จำ�หน่าย ซึ่ ง มี ห น้ า ที่ สำ � คั ญ 2 อย่ า ง คื อ การขายผ้ า เช็ ด ทำ � ความสะอาดและผ้ า ขั ด เงาให้ กั บ อุตสาหกรรมต่างๆ โดยนำ�สินค้าที่ได้จากผู้ผลิตมาบรรจุขายใหม่ตามความต้องการของลูกค้า เช่น ผิวสัมผัสของผ้า หรือระดับการดูดซับนํ้าที่แตกต่างกัน อีกหน้าที่หนึ่งคือเป็นนายหน้า ติดต่อกับทุกกลุ่มเพื่อจัดหาสินค้าตามที่ลูกค้าต้องการ วิสัยทัศน์และกระบวนการทำ�งานของกลุ่ม SMART ทำ�ให้สามารถสร้างเครือข่ายเพื่อ ทำ�งานร่วมกันอย่างมีมาตรฐาน และให้ความตระหนักรู้เรื่องการนำ�ของเหลือใช้กลับมาใช้ใหม่ อย่างเป็นระบบตัง้ แต่จดุ เล็กๆ อย่างครัวเรือนจนถึงกลุม่ ผูผ้ ลิตอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ที่มา: millerwastemills.com / smartasn.org
10 l
Creative Thailand
l
สิงหาคม 2558
หมดปญหาหยิบนิตยสารไมทัน สมัครสมาชิกรายป คาใชจายในการจัดสง 200 บาท (12 เลม) หรือสมัครออนไลนไดที่ tcdc.or.th/creative_thailand
ขอมูลผูสมัครสมาชิก PHONSTOP™ MC# 1472-05 แผ่นวัสดุพรุนรีไซเคิลจากโฟมแก้วอบความร้อน 100 เปอร์เซ็นต์ วัสดุนม้ี คี า่ สัมประสิทธิก์ ารลดเสียงรบกวน (NRC) ที่ 0.70-0.90 และ ลดปริมาณวัตถุดบิ โดยการใช้วสั ดุรไี ซเคิลและการทำ�โฟมจากเม็ด แก้ว เหมาะสำ�หรับทำ�ฝ้าลดระดับ ปูผนัง หรือฝ้าเพดาน นำ�ไปทาสี หรือฉาบปูนปิดผิวเพื่อให้ผนังอะคูสติกสวยงามขึ้นได้ แบ่งเป็น 2 ขนาด ได้แก่ 24 x 24 นิ้ว และ 24 x 48 นิ้ว หนา 1 หรือ 2 นิ้ว สี ขาวเป็นสีมาตรฐาน แต่สามารถทาสีอนื่ ทีต่ อ้ งการได้โดยใช้สพี เิ ศษ ซึ่งไม่มีผลกระทบต่อคุณสมบัติการดูดซับเสียง วัสดุชนิดนี้ทนไฟ ที่ Class 1 ตามมาตรฐาน ASTM 84 ค่าการลามไฟและค่าเขม่า ควันเป็นศูนย์ สามารถใช้เพือ่ ขอรับรองมาตรฐานการออกแบบเพือ่ สิ่งแวดล้อม LEED ในหมวด 2.1 และ 2.2 วัตถุดิบและแหล่งที่มา หมวด 4.1 และ 4.2 การใช้วัสดุรีไซเคิล หมวด 3.1 และ 3.2 การ ปรับปรุงสภาพแวดล้อมภายในอาคาร และหมวด 1.1 นวัตกรรม และกระบวนการออกแบบ ได้มาตรฐานคุณภาพอากาศภายใน อาคารสำ�หรับใช้ในโรงเรียน เหมาะใช้เป็นวัสดุซบั เสียงสำ�หรับผนัง ฝ้าเพดาน แผ่นครีบ และแกนโฟมสำ�หรับวัสดุคอมโพสิต
สมาชิกใหม ชื่อ นามสกุล เพศ โทรศัพท
สมาชิกเกา (ตองการตออายุสมาชิก) หญิง อายุ
ชาย
อีเมล
โทรศัพทมือถือ
อาชีพ นักเรียน ครู/อาจารย
นิสิต/นักศึกษา พนักงานบริษัท
นักออกแบบ/ครีเอทีฟ ผูประกอบการ
อาชีพอิสระ อื่นๆ โปรดระบุ
ขาราชการ/รัฐวิสาหกิจ
สาขา/อุตสาหกรรมที่เกี่ยวของกับอาชีพของทาน โฆษณา สถาปตยกรรม แฟชั่น ศิลปะการแสดง ดนตรี ภาพยนตร โทรทัศน/วิทยุการกระจายเสียง
ทองเที่ยว/โรงแรม/สายการบิน วรรณกรรม/การพิมพ/สื่อสิ่งพิมพ พิพิธภัณฑ/หองแสดงงาน ซอฟตแวร/แอนิเมชัน/วิดีโอเกม
หัตถกรรม/งานฝมือ การเงิน/ธนาคาร ทัศนศิลป/การถายภาพ อื่นๆ โปรดระบุ
อาหาร การแพทย การออกแบบ
คาปลีก/คาสง โทรคมนาคม
ที่อยูในการจัดสง CRUMB RUBBER MC# 6845-03 เม็ดยางรีไซเคิล 100 เปอร์เซ็นต์จากล้อรถยนต์และรถบรรทุก “ยางบด” (Ground Rubber) ใช้เรียกวัสดุทไี่ ด้จากยางรถยนต์หรือผลิตภัณฑ์ ยางอื่นๆ ที่ไม่ใช้แล้ว นำ�มาบดเป็นผงหรือเม็ดขนาดสมํ่าเสมอ ยางที่บดมีขนาดตั้งแต่ 3/8 นิ้ว (10 มิลลิเมตร) ลงไปจนเป็นผง ขนาด 40 เมช (เมชคือช่องเปิดระหว่างลวดตาข่ายในแผ่นกรอง ซึง่ ใช้เป็นหน่วยวัดขนาดของอนุภาควัสดุตอ่ ความยาว 1 นิว้ ตาข่าย ยิ่งละเอียดจะยิ่งมีจำ�นวนช่องเปิดมากขึ้น และยิ่งทำ�ให้ขนาดของ วัสดุที่ไหลผ่านมีขนาดเล็กลง (เช่น 30 เมช หมายถึง มีช่องเปิด 30 ช่องต่อความยาว 1 นิ้ว เป็นต้น) ยางเม็ดเหล่านี้จำ�หน่ายเป็น ห่อตามขนาดของอนุภาค ได้แก่ 5-10 เมช, 8-16 เมช,8-20 เมช และ 20-30 เมช สีมาตรฐานได้แก่ Natural American, Boston Brown, California Redwood, Black Pearl, Caribbean Blue, และ Grass Green สามารถสัง่ ทำ�ขนาดและสีพเิ ศษได้ตามต้องการ เหมาะสำ�หรับปูสนามแข่งขัน (เช่น สนามแข่งม้า) ถมพื้นสำ�หรับ ปูหญ้าเทียม ใช้เติมในยางมะตอยราดถนน และผลิตภัณฑ์หล่อ ขึ้นรูปต่างๆ พบกับวัสดุเหล่านี้ได้ที่ Material ConneXion® Bangkok, TCDC
หมูบาน/บริษัท เลขที่ จังหวัด
ซอย
ถนน รหัสไปรษณีย
หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง
อำเภอ/เขต
หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง
อำเภอ/เขต
ที่อยูในการออกใบเสร็จ เหมือนที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ ซอย จังหวัด
ถนน รหัสไปรษณีย
ตองการสมัครสมาชิกนิตยสาร Creative Thailand ระยะเวลา 1 ป จำนวน 12 เลม เริ่มตั้งแตฉบับเดือน โดยยินดีเสียคาใชจายในการจัดสงเปนจำนวนเงิน 200 บาท
วิธีการชำระเงิน เช็คสั่งจายศูนยสรางสรรคงานออกแบบ พรอมใบสมัครสมาชิก โอนเงินเขาบัญชีออมทรัพย ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ เลขที่บัญชี 101-808967-0 ธนาคารกรุงเทพ สาขาสำนักงานใหญสีลม • แฟกซใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่ 02-664-7670 • หรือสงไปรษณียมาที่ ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (Creative Thailand) 622 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอรชั้น 24 ถนนสุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 • หรือแนบไฟลใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่อีเมล creativethailand@tcdc.or.th สอบถามขอมูลเพิ่มเติมไดที่ 02-664-7667 ตอ 122
CLASSIC ITEM คลาสสิก
เรื่อง: วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ
เสื้ อ ยื ด หรื อ เสื้ อ แขนสั้ น ทรงคล้ า ยตั ว อักษรที ถูกพบครั้งแรกในศตวรรษที่ 17 ที่ ท่ า เรื อ แอนาพอลิ ส รั ฐ แมริ แ ลนด์ สหรัฐอเมริกา โดยชนชั้นแรงงานในยุคนั้น นิยมสวมเพื่อ เพิ่มความทะมัดทะแมงใน เวลาทำ�งาน และด้วยแนวคิดเดียวกันนีเ้ อง ในปี 1880 ทหารชาวอเมริกนั ก็สวมเสือ้ ยืด ที่สามารถเคลื่อนไหวได้สะดวก ซับเหงื่อ และแห้ ง ง่ า ยภายใต้ ชุ ด เครื่ อ งแบบ จน กระทั่งปี 1913 เสื้อยืดก็ได้เป็นส่วนหนึ่ง ของเครือ่ งแบบทหารอย่างเป็นทางการ แต่ ทว่าเรื่องไม่ได้สิ้นสุดอยู่แค่การเป็นเสื้อที่ ถูกสวมทับ เพราะเมื่อเสื้อยืดไม่ได้ถูกสวม อย่างแอบซ่อนอีกต่อไป ความหมายต่างๆ ของการสวมเสื้อยืดจึงเกิดขึ้น
Wear to Rebel
flickr.com/antoniomarinsegovia
ปี 1950 เสื้ อ ยื ด เริ่ ม เป็ น ที่ รู้ จั ก ในวงกว้ า ง เนื่องจากตัวละครวัยรุ่นชายสไตล์แบดบอยและ หัวขบถในภาพยนตร์สมัยนั้นนิยมสวมเสื้อยืด เป็นเอกลักษณ์ประจำ�ตัว เช่น ภาพยนตร์เรื่อง “The Wild One” ในปี 1953 ที่นักแสดงนำ� มาร์ลอน แบรนโด โด่งดังจากการสวมบทบาท เป็นจอห์นนี่ สแตร์บเลอร์ วัยรุ่นหัวขบถที่สวม แจ็กเก็ตหนังสีดำ�ทับเสื้อยืดสีขาวขี่มอเตอร์ไซต์
12 l
Creative Thailand l สิงหาคม 2558
CLASSIC ITEM คลาสสิก
ฮาร์เลย์-เดวิดสัน จนเป็นที่ชื่นชอบและโด่งดัง มากในหมูว่ ยั รุน่ ชาย และกลายเป็นลุคนิยมของ ผู้ชายสมัยนั้น หรือในยุคฮิปปี้ที่ผู้คนต่อต้าน สงครามเวียดนามด้วยการสวมเสือ้ ยืดทีส่ กรีนชือ่ เพลง “Give Peace a Chance” ของจอห์น เลนนอน เพือ่ ทวงถามสันติสขุ ให้สงั คม เช่นเดียว กับการสวมเสื้อยืดเพื่อเรียกร้องให้มีการเปิด กว้างในเรื่องเพศมากขึ้น (Sexual Revolution) ไปจนถึ ง การสวมเสื้ อ ยื ด เป็ น ลายข้ อ ความที่ วิพากษ์วิจารณ์การบริหารงานของรัฐบาลใน สหรัฐฯ จนทำ�ให้ช่วงหนึ่งสถานศึกษาถึงกับมี ข้อห้ามไม่อนุญาตให้นักศึกษาสวมเสื้อยืดเข้า เรียน และข้อห้ามดังกล่าวได้ยุติลงในปี 1970
Wear to Promote ในปี 1960 คือช่วงเวลาทีเ่ ทคโนโลยีดา้ นการพิมพ์ ลายบนเสื้อยืดได้ก้าวหน้าขึ้นมาก เสื้อยืดจึง กลายเป็นเงาสะท้อนของวัฒนธรรมป๊อป และ เป็นเครื่องมือสำ�คัญที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์ และโฆษณาสิง่ ต่างๆ ทีเ่ คลือ่ นทีไ่ ด้โดยไม่จ�ำ เป็น ต้องจ่ายเงินเพิม่ เสือ้ ยืดจึงมีให้เห็นในทุกวงการ ตั้งแต่ภาพยนตร์ วงดนตรี คอนเสิร์ต กีฬา แคมเปญการกุศล ไปจนถึงการเมือง และเมื่อ ทุกอย่างมีฐานแฟนคลับ ความรู้สึกอยากเป็น ส่วนหนึง่ จึงแสดงออกผ่านการสวมเสือ้ ยืด ทำ�ให้ การผลิตเสื้อยืดซํ้าๆ กลายเป็นปรากฏการณ์ที่ มีให้เห็นกันในปัจจุบัน ในขณะที่การผลิตแบบ ลิมิตเต็ด เอดิชั่น ของเสื้อยืดก็มอบความรู้สึกที่ พิเศษกว่าหากได้มาเป็นเจ้าของ เสือ้ ยืดจึงกลาย เป็นของสะสมชนิดหนึง่ ทีน่ กั สะสมบางคนยอม เดินทางไปอีกซีกโลกเพื่อตามหามัน
Wear to Value ในแต่ละปี เฉพาะแค่สหรัฐอเมริกาต้องเสียค่า ขนส่งเสื้อผ้ามือสองจากการบริจาคหรือขายต่อ
ให้แก่ประเทศโลกทีส่ ามกว่า 1.5 พันล้านเหรียญ สหรัฐฯ เมื่อลองตามไปดูตลาดเสื้อผ้ามือสอง จิกอมโบ (Gikombo Market) ในเคนยา จะพบ ว่าบรรดาเสื้อยืดจะถูกบรรจุเป็นกระสอบใหญ่ และขายทัง้ กระสอบโดยไม่สามาถเปิดดูได้ให้แก่ พ่อค้าคนกลางทีม่ ารับซือ้ (เฉลีย่ ตัวละ 15 เซนต์) ก่อนจะนำ�ไปคัดขายแยกชิ้นต่อให้กับพ่อค้าใน ตลาด (เฉลี่ยตัวละ 45 เซนต์) เพื่อนำ�เสื้อยืดที่ คัดแล้วมาซัก รีด และอาจจะตัดเย็บเพิ่ม เมื่อ บวกค่าแรงและค่าขนส่ง สุดท้ายเสื้อยืดเหล่านี้ จะขายได้เฉลี่ยตัวละ 1.2 เหรียญสหรัฐฯ และ แม้ว่าเสื้อยืดมือสองอาจมีราคาไม่มากสำ�หรับ บางคน แต่อกี หลายคนกลับมองว่าเสือ้ ยืดมือสอง คือของสะสม ธุรกิจประเภทนี้จึงเป็นตลาดที่มี ลู่ทางชัดเจน ตัวอย่างเช่น เจมส์ แอพเพิลเกท (James Applegath) ที่เคยขายเสื้อยืดมือสอง รุน่ ออริจนิ ลั จากคอนเสิรต์ วงเลด เซพเพลิน (Led Zeppelin) ได้สูงถึง 10,000 เหรียญสหรัฐฯ จน ได้ตำ�แหน่ง “Entrepreneur of the Year Award” จากอีเบย์ ปัจจุบันเป็นผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ ขายเสื้อยืด มื อ สอง Defunkd.com เพราะ สำ�หรับเขา เสื้อยืดมือสองคือสิ่งมีค่าที่ทำ�ให้เรา หวนระลึกถึงอดีตทีเ่ รารักแต่ไม่สามารถเอากลับ คืนมาได้นั่นเอง
Wear to Show Art ศู น ย์ ศิ ล ปะและวั ฒ นธรรมปงปิ ดู (Centre Pompidou) ในปารีส ได้เริ่มเก็บสะสมเสื้อยืด รุ่นออริจินัลของศิลปินต่างๆ เอาไว้แสดงโชว์ เพราะเสื้อยืดคือส่วนผสมของการได้แสดงงาน ศิลป์ไปพร้อมๆ กับการทำ�กำ�ไรให้ศลิ ปินได้เป็น อย่างดี และถือเป็นเครือ่ งมือโปรโมตผลงานของ ศิลปินในราคาที่ย่อมเยา ขณะที่อีกซีกโลกหนึ่ง อย่างญี่ปุ่น ก็เกิดความคิดว่าภาพถ่ายและงาน ศิ ล ป์ ไ ม่ จำ � เป็ น ต้ อ งจั ด แบบอิ น ดอร์ อี ก ต่ อ ไป นิทรรศการที่ชื่อว่า “T-Shirt Art Exhibition on the Beach” ที่ จั ด ขึ้ น เป็ น ประจำ � ทุ ก ปี ณ ชายทะเล เมืองโคจิ จึงจัดโชว์งานศิลปะแบบ
เอาท์ดอร์ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยการนำ�เสื้อยืดนับ พันแบบมาแขวนแทนผ้าใบโชว์งานศิลปะ และ เมื่อมีลมทะเลพัดผ่านมา เสื้อยืดเหล่านี้ก็คล้าย กับว่ากำ�ลังเต้นรำ�โชว์งานศิลป์อวดสายตาผู้ชม
Wear to Know โลกของทุนนิยมที่เกิดจากการผลิตแบบจำ�นวน มากได้ก่อให้เกิดการผลิตซํ้า ที่ไม่เว้นแม้แต่เสื้อ ยืดลายหน้าเช เกบารา (Che Guevara) บุคคล ผู้เป็นสัญลักษณ์ต่อต้านระบบทุนนิยม ที่ยังคง ถูกผลิตอยู่ซํ้าๆ จนชินตา และเพราะการผลิต ซํ้า ผลิตมาก แถมยังซับซ้อนในระบบเศรษฐกิจ แบบปัจจุบันนี้เอง บรรดาผู้บริโภคจึงไม่เคยมี โอกาสได้เห็นกระบวนการผลิตทัง้ หมด โปรเจ็กต์ “Planet Money Makes a T-shirt” ที่ระดมทุน ผ่านคิกสตาร์ทเตอร์จงึ ได้ตามไปถ่ายทำ�เบือ้ งหลัง การผลิตเสื้อยืด ที่เริ่มต้นตั้งแต่ห้องแล็บตัดต่อ พันธุ์ฝ้ายที่ปลูกในรัฐมิสซิสซิปปี สหรัฐอเมริกา ส่งต่อทำ�เป็นฝ้ายดิบที่อินโดนีเซีย ปั่นเส้นด้ายที่ บังกลาเทศ ส่งไปโรงงานผลิตเสื้อยืดผู้หญิงที่ โคลัมเบีย ผลิตเสื้อยืดผู้ชายที่บังกลาเทศ แล้ว ส่งกลับมาขายยังสหรัฐฯ อีกครัง้ โดยการถ่ายทำ� ครัง้ นีไ้ ด้เปิดเผยราคาในทุกขัน้ ตอนของการผลิต แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้ชมจะได้รับรู้นอกจากราคา ก็คือ เรื่องราวชีวิตของผู้คนที่เกี่ยวข้องและเชื่อมโยง กับเสื้อยืดทั้งหมด เพราะเบื้องหลังของเสื้อยืด ก็คือโลกทั้งใบนั่นเอง
ที่มา: หนังสือ “The T-shirt: a collection of 500 designs” โดย Luo Lv และ Zhang Huiguang / บทความ “Seaside T-shirt Gallery” (ธันวาคม 2011) จาก en.japantravel.com / บทความ “The Afterlife of American Clothes” (ธันวาคม 2013) จาก npr.org / วิดีโอชุด “Planet Money Makes a T-shirt” จาก npr.org / Defunkd.com / วิกิพีเดีย สิงหาคม 2558
l
Creative Thailand
l 13
flickr.com/peter barwick
COVER STORY เรื่องจากปก
เรื่อง: เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร
มีหลายเหตุผลที่เราเลือกใช้ของมือสองแทนที่จะใช้สินค้าใหม่ บ้างเพราะราคา บ้างเพราะลักษณะเฉพาะที่หาไม่ได้อีกแล้วในปัจจุบัน บ้างเพื่อการสะสม แต่ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม หากโลกนี้พูดได้ เขาคงเอ่ยคำ�ว่าขอบคุณ เพราะทุกครั้งที่มีการซื้อขายแลกเปลี่ยน สินค้ามือสอง เท่ากับช่วยลดการผลิตซึ่งอาจสร้างปัญหาให้กับสิ่งแวดล้อมตามมา ในทางกลับกันด้วยการผลิตเพียงครั้งเดียวนี้ สามารถทำ�ให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจหมุนเวียนขึ้นอีกหลายรอบ ทั้งยังกระจายรายได้ไปยังผู้คนอีกหลายกลุ่ม ซึ่งบางครั้งสิ่งนั้นอาจ จะไปไกลกว่าสิ่งที่ผู้ผลิตคาดหวังไว้
เศรษฐศาสตร์มือสอง โดยปกติตัวเลขทางเศรษฐกิจมักยึดโยงกับภาค การผลิต เพราะเกีย่ วพันกับการจัดสรรทรัพยากร โดยตรง แต่การคำ�นวณผลิตภัณฑ์มวลรวมใน ประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) ได้ ยกเว้นการรวมเอาการซือ้ ขายสินค้ามือสองออกจาก การคำ�นวณ เนือ่ งจากไม่ได้เป็นการเพิม่ ผลผลิต ในปัจจุบนั แต่ให้นบั รวมเฉพาะค่าคอมมิชชัน่ ทีเ่ กิด ขึน้ เท่านัน้ หากศึกษาปรากฏการณ์ของกิจกรรม ทางเศรษฐกิจทีเ่ กิดขึน้ จากสินค้ามือสองทัว่ โลกใน 14 l
Creative Thailand
l
สิงหาคม 2558
ปัจจุบนั จะพบข้อมูลและตัวเลขทีน่ า่ สนใจหลาย แง่มุม ซึ่งอาจถึงเวลาที่ทำ�ให้เราต้องหันกลับมา มอง “เศรษฐศาสตร์มอื สอง” ทางเลือกทางเศรษฐกิจ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการบริโภคภายในประเทศ และระบบเศรษฐกิจมากกว่าที่เข้าใจ Kijiji เว็บไซต์คลาสสิฟายด์เพื่อการซื้อขาย แลกเปลีย่ นสินค้ามือสองทีใ่ หญ่ทสี่ ดุ ในแคนาดา ได้ ทำ � การสำ � รวจและประมวลผลพฤติ ก รรม การซื้อขายสินค้ามือสอง ร่วมกับนักวิจัยจาก มหาวิทยาลัยโทรอนโต รายงานสรุปให้เห็นว่า ปัจจุบันชาวแคนาดามีการซื้อขายสินค้ามือสอง
นับเป็นมูลค่ารวมปีละกว่า 34,000 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ หรือคิดเป็นร้อยละ 15 ของปริมาณการ ซื้อขายสินค้าที่ถูกผลิตขึ้นใหม่ โดยในระดับ ครัวเรือนการซือ้ ขายสินค้ามือสองนีช้ ว่ ยประหยัด การจับจ่ายราว 1,126 เหรียญต่อครัวเรือนต่อปี นอกจากนี้ยังทำ�ให้การหมุนเวียนทางเศรษฐกิจ ในประเทศดีขนึ้ เนือ่ งจากสามารถลดการนำ�เข้า สินค้าจำ�พวกที่มีอายุการใช้งานยาวนาน สภาพ คงทน หรือกึ่งคงทนลงไปได้เป็นจำ�นวนมาก แล้วหันมาซื้อขายหมุนเวียนสินค้าเหล่านั้นเอง ภายในประเทศ ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานใน
COVER STORY เรื่องจากปก
ภาคบริการทีเ่ กีย่ วข้องได้กว่า 300,000 อัตรา ซึง่ เมือ่ ลองคำ�นวณรายได้ทสี่ ง่ ผลกระทบกลับไปยัง ภาครัฐในรูปแบบภาษี ปรากฏว่าการซื้อขาย สินค้ามือสองทุก 1,000 ล้านเหรียญสามารถ สร้างรายได้ให้กับรัฐได้ถึง 430 ล้านเหรียญเลย ทีเดียว ทัง้ หมดถือเป็นตัวเลขทีน่ า่ จับตามองและ มีแนวโน้มเฉลี่ยเพิ่มขึ้นทุกปี นอกจากแคนาดา หลายประเทศก็มีการ สำ�รวจผลกระทบของการซื้อขายสินค้ามือสอง ต่อระบบเศรษฐกิจเช่นกัน รายงานด้านเศรษฐกิจ ของกลุม่ สหภาพยุโรป ธุรกิจสินค้ามือสองทำ�ให้ เกิดการจ้างงานขึ้นราว 120,000 คน ซึ่งอังกฤษ นับเป็นประเทศทีม่ มี ลู ค่าการซือ้ ขายมากทีส่ ดุ ใน กลุ่ม EU-27 บางประเทศอย่างอิตาลี รายงาน ตัวเลขมูลค่าตลาดมีขนาดประมาณร้อยละ 1 ของจีดีพี หรือ ราว 18,000 ล้านยูโร และใน ไอร์แลนด์พบว่าในช่วงระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา ธุรกิจสินค้ามือสองออนไลน์บางแห่งเติบโตขึ้น ถึงกว่าร้อยละ 215 หรือแม้แต่สงิ คโปร์ ซึง่ ถือเป็น เมืองทีป่ ระชากรมีรายได้สงู และค่าครองชีพแพง ที่สุดแห่งหนึ่ง ก็กำ�ลังตื่นตัวกับเรื่องนี้ มีสถิติที่ น่าสนใจ อาทิ คนสิงคโปร์ร้อยละ 76 มักเลือก ทีจ่ ะขายสิง่ ของทีต่ นเองไม่ใช้แล้วแทนทีจ่ ะนำ�ไป ทิ้งหรือบริจาคออกไป ซึ่งโดยเฉลี่ยจะขายที่ สภาพและราคาทีป่ ระมาณร้อยละ 70 ของราคา ซื้อ รูปแบบการขายที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือ การขายผ่านระบบออนไลน์ ในเว็บไซต์ประเภท คลาสสิฟายด์ โดยสินค้าที่นิยมซื้อขายกันมาก ที่สุด ได้แก่ กลุ่มเสื้อผ้าและแฟชั่น กลุ่มเครื่อง ใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ความบันเทิงต่างๆ หนังสือ เครื่องใช้สำ�หรับเด็ก เฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์ ตกแต่งบ้าน เป็นต้น สิ น ค้ า มื อ สองตามคำ � จำ � กั ด ความทาง เศรษฐศาสตร์คือการเพิ่มอายุการใช้งานให้กับ สินค้าทีม่ อี ายุการใช้งานยาวนาน มีสภาพคงทน (Durable Goods) หรือกึง่ คงทน (Semi-Durable Goods) ซึง่ โอกาสในความต้องการสินค้าเหล่านัน้ สามารถเกิดขึ้นได้ต่อเนื่องยาวนาน การศึกษา ของ Kijiji ได้อธิบายอีกว่าโดยทั่วไปมูลค่าของ สินค้าใหม่ที่คนมักจับจ่ายในกลุ่มเหล่านี้ มักมี
ค่าเสือ่ มราคาอยูป่ ระมาณครึง่ หนึง่ โดยเฉลีย่ นัน่ หมายถึงสินค้าเหล่านัน้ มักถูกทิง้ หรือหมดความ ต้องการก่อนเวลาอันสมควรตามอายุการใช้งาน ที่แท้จริง เมื่อสินค้าเหล่านั้นไม่เป็นที่ต้องการ ของเจ้าของเดิม แต่มูลค่าทางเศรษฐกิจยังมีอยู่ การซือ้ ขายแลกเปลีย่ นจึงตอบสนองความต้องการ นี้โดยตรง เมื่อลองจัดลำ�ดับแรงจูงใจในการ เลือกใช้สินค้ามือสองแทนที่จะเลือกซื้อสินค้า ใหม่ พบว่าคนนึกถึงเหตุผลเรื่องความประหยัด ของราคามาเป็นอันดับแรก รองลงมาคือการได้ ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม การแสวงหาคุณค่าของ สิ่งของที่หาไม่ได้ในปัจจุบัน การซื้อเพื่อเป็น อะไหล่ในการซ่อมแซมเครื่องใช้ชนิดเดียวกับที่ มีอยู่ ความรู้สึกต้องการความแตกต่าง ความ รูส้ กึ ผูกพันกับอดีต และการเข้าสังคมได้เป็นกลุม่ ก้อนกับชุมชนทีส่ นใจสิง่ เดียวกัน เป็นต้น ในทาง กลับกันหากพิจารณาว่าสาเหตุอะไรบ้างทีท่ �ำ ให้ คนไม่ซื้อของมือสอง อันดับแรกคือเรื่องความ สะอาด รองลงมาเป็นเรื่องความรู้สึกสะดวกใน การเข้ า ถึ ง ซึ่ ง อาจจะไม่ ไ ด้ ห าซื้ อ ได้ ง่ า ยแบบ สินค้าใหม่ ความมัน่ ใจในคุณภาพ รวมถึงความ รู้สึกต้อยตํ่าทางสังคม ซึ่งปัจจัยลบเหล่านี้ล้วน เป็นความท้าทายสำ�หรับผูป้ ระกอบการสินค้ามือ สอง หากสามารถเอาชนะสิง่ เหล่านีไ้ ด้ นัน่ หมาย ถึงการเปิดประตูให้ลกู ค้าใหม่ๆ กล้าซือ้ และเข้า มาใช้สินค้าเหล่านั้นได้มากขึ้น แนวคิดเศรษฐศาสตร์มือสองนี้เป็นรูปแบบ เศรษฐกิจทางเลือกที่ถูกจุดกระแสขึ้นในหลาย ประเทศ โดยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้ประกอบการ เอกชนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ หรือกลุ่มอนุรักษ์ สภาพแวดล้อมที่มีเป้าหมายสอดคล้องกันใน เรือ่ งลดการใช้ทรัพยากรและการลดปริมาณการ ผลิตที่ไม่จำ�เป็น เพื่อกระตุ้นไปยังภาครัฐและ ประชาชนในประเทศนัน้ ๆ ให้ตระหนักถึงคุณค่า ที่ยังคงอยู่ของสิ่งของเหลือใช้ต่างๆ ที่สามารถ ทำ�ให้เกิดการหมุนเวียนเศรษฐกิจระดับครัวเรือน ทั้งยังสามารถส่งผลกระทบให้กับภาพใหญ่ใน ระดับประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่ เศรษฐกิจทั่วโลกยังอยู่ในสภาวะถดถอยเช่นใน ปัจจุบัน
kijiji.ca สิงหาคม 2558
l
Creative Thailand
l 15
COVER STORY เรื่องจากปก
เส้นทางเสื้อผ้ามือสอง เราอาจเคยสงสัยว่าสินค้ามือสองที่ขายที่โรงเกลือ หรือตลาดนัดของมือสองต่างๆ นัน้ มีทม่ี าจากไหน คำ�ตอบอาจจะง่ายๆ มันคือสิง่ ของทีเ่ จ้าของเขา ไม่ต้องการแล้ว... แฟชั่นและเทคโนโลยีทำ�ให้โลกหมุนเร็วขึ้น แรงกระตุ้นต่างๆ ทำ�ให้ความนิยมเกิดขึ้นและ หายไปอย่างรวดเร็ว เราอาจต้องการบางสิง่ มาก ในช่วงเวลาหนึ่ง และอาจไม่ต้องการมันอีกแล้ว แค่ชวั่ เวลาถัดมา ในสหรัฐอเมริกาแต่ละปีเสือ้ ผ้า ที่ไม่ใช้แล้วกว่า 11 ล้านตันถูกทิ้งไม่ว่าจะด้วย เหตุผลใดๆ ก็ตาม หรือแม้แต่ในอังกฤษ เคยมี การสำ�รวจพบว่าโดยเฉลี่ยแล้วในตู้เสื้อผ้าของ แต่ละคน มักจะมีเสื้อผ้าที่ไม่ได้ใส่แล้ว หรือไม่ เคยหยิบเอาออกมาใส่เลยในหลายปีที่ผ่านมา ราวร้อยละ 30 ของเสื้อผ้าทั้งหมด และเมื่อเรา มักต้องการของใหม่ๆ เสมอ เพื่อให้ทันกับโลก ปัจจุบนั มากยิง่ ขึน้ หนทางในการกำ�จัดเสือ้ ผ้าเก่าๆ ที่ ใ ช้ แ ล้ ว จึ ง มั ก เป็ น การบริ จ าคให้ กั บ องค์ ก ร สาธารณกุศลต่างๆ ซึ่งองค์กรเหล่านั้นก็อาจจะ ส่งต่อเสื้อผ้าให้แก่ผู้ขาดแคลนทั้งภายในและ ต่างประเทศ หรือเปลี่ยนเป็นเงินให้กับบริษัทที่ รับซือ้ เพื่อนำ�เงินไปใช้ตามวัตถุประสงค์ตอ่ ไป เนื่ อ งจากวั ส ดุ ที่ ใ ช้ ใ นการทำ � เสื้ อ ผ้ า นั้ น ยากต่อการทำ�ลายและเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันมีเสื้อผ้าแค่เพียงร้อยละ 15 เท่านั้นที่ เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล เมื่อมีจำ�นวนเสื้อผ้า เหลือใช้เป็นจำ�นวนมาก จึงจำ�เป็นต้องมีวิธีการ จัดการเสื้อผ้าไม่ใช้แล้วอย่างเป็นระบบ ตู้รับ บริจาคเสื้อผ้าใช้แล้วถูกนำ�ไปวางกระจายใน หลายจุดเพือ่ ให้งา่ ยต่อการเข้าถึงและการจัดเก็บ ทั้ ง ในรู ป แบบองค์ ก รที่ ไ ม่ ห วั ง ผลกำ � ไรอย่ า ง Planet Aid, Gaia Movement, หน่วยงาน กาชาดในประเทศต่างๆ หรือแม้กระทั่งองค์กร ภาคเอกชนเช่น USAgain ซึ่งเสื้อผ้าส่วนใหญ่ จะถูกขายต่อให้กบั ศูนย์กลางในการคัดแยกเพือ่ ดำ�เนินการต่อไป 16 l
Creative Thailand
l สิงหาคม 2558
Global Clothing Industries ที่แอตแลนตาคือหนึ่งในบริษัทคัดแยกเสื้อผ้าใช้แล้วที่ใหญ่ที่สุด แห่งหนึ่งในอเมริกา แต่ละเดือนจะมีเสื้อผ้าถูกนำ�มาคัดแยกที่นี่กว่าห้าร้อยตัน ซึ่งเสื้อผ้าทั้งหมดจะ ถูกแบ่งออกเป็นกลุม่ ต่างๆ เช่น กลุม่ เสือ้ ผ้าคละรูปแบบ กลุม่ เสือ้ ผ้าทีม่ เี นือ้ ผ้าบางสำ�หรับกลุม่ ลูกค้า ในแถบเขตร้อน กลุ่มเสื้อผ้าวินเทจที่อาจมีลักษณะและราคาสูง แยกประเภทเสื้อ กางเกง กระเป๋า รองเท้า เสื้อผ้าสำ�หรับผู้ชาย ผู้หญิง และเด็ก นอกจากนี้ยังมีการแบ่งเกรดเสื้อผ้าตามคุณภาพอีก ด้วย แล้วจึงนำ�มาแพ็กตามขนาดต่างๆ เพือ่ เตรียมส่งออกไปยังลูกค้าซึง่ ส่วนใหญ่อยูใ่ นทวีปแอฟริกา อเมริกากลาง ยุโรปตะวันออก และเอเชีย การขายจะไม่มีการเลือกและคิดราคาเป็นแพ็กตาม นํ้าหนัก แต่การนำ�ไปขายต่อเป็นชิ้นกับรายย่อย ราคาอาจจะถูกบวกขึ้นไปนับสิบเท่า
มือสอง อะไร ที่ไหน ปารีส: ร้านขายเสื้อผ้าวินเทจมือสองชื่อ Kilo Shop นัน้ มีจดุ ขายและทำ�ให้การช้อปปิง้ ของคุณสนุกขึน้ เมือ่ การขายเสื้อผ้าในร้านคิดตามนํ้าหนัก โดยทางร้านจะ แบ่งกลุ่มเสื้อผ้าออกเป็นกลุ่มโดยติดแท็กสีต่างๆ ไว้ แท็กสีเดียวกันสามารถถูกนำ�มาคิดเงินรวมกันได้ โดย มีราคาตั้งแต่กิโลกรัมละ 20-60 ยูโร ซึ่งที่นี่รับรองว่ามี เสื้อผ้าที่เหมาะกับทุกโอกาสและเหมาะสำ�หรับลูกค้า ทุกคน จาการ์ตา: เราอาจเคยชินกับร้านขายเสือ้ ผ้ามือสอง ที่ดูไม่ค่อยสะอาดและของวางกองซ้อนกันแบบเต็ม พื้นที่ แต่สำ�หรับ ในย่านพาซาร์ ซานตา (Pasar Santa) ตลาดขายของวินเทจมือสองที่กำ�ลังเป็นที่นิยมในกลุ่ม คนรุน่ ใหม่ในจาการ์ตาอาจทำ�ให้ประสบการณ์เหล่านัน้ แตกต่างออกไปอย่างสิน้ เชิง วิธกี ารคัดสรรสินค้า วิธกี าร บริการ และการจัดร้านนัน้ ใช้ประสบการณ์เดียวกันกับ แบรนด์เสื้อผ้าสตรีทแวร์ชั้นนำ� ทำ�ให้ลูกค้ามั่นใจใน คุณภาพของสินค้า ลอนดอน: Marks & Spencer ร่วมกับ Oxfam องค์กรต่อสูค้ วามยากจนปลุกกระแส “ซือ้ หนึง่ ให้หนึง่ ” (Buy One, Give One) และลดการทิ้งเสื้อผ้าที่ไม่ใช้ แล้ว โดยลูกค้าสามารถ Shwopping หรือซื้อเสื้อผ้า ใหม่แล้วสามารถเปลีย่ นชุดนัน้ กลับบ้าน โดยบริจาคชุด เก่าให้กับองค์กร Oxfam เพื่อนำ�ไปใช้ทำ�กิจกรรมเพื่อ การกุศลต่อไปได้ทันที นอกจากนั้นยังอาจได้รับบัตร กำ�นัลจาก Marks & Spencer เพื่อใช้เป็นส่วนลดใน การซื้อสินค้าในร้านได้อีกด้วย
kilo-shop.fr
alumind.com
prexamples.com
COVER STORY เรื่องจากปก
อัมสเตอร์ดัม: สตูดิโอออกแบบ Waarmakers ออกแบบถุงขยะที่มี ลักษณะใส และดูสะอาดแตกต่างจากถุงขยะโดยทั่วไป เพื่อใช้สำ�หรับใส่ สิ่งของที่ยังมีสภาพดีที่ไม่ใช้แล้ว โดยหวังว่าเมื่อใครพบเห็นและคิดว่าสิ่ง เหล่านัน้ เป็นประโยชน์ จะได้น�ำ กลับไปใช้โดยไม่ตอ้ งเสียเงินซือ้ ซึง่ ถุงขยะ ชื่อ Goedzak นี้มาจากภาษาดัตช์ที่แปลว่า Do-Gooder หรือคนทีท่ �ำ ดี ทำ�ประโยชน์แก่ผอู้ น่ื โดยแนวคิดนีต้ อ่ ยอดมาจากโปรเจ็กต์จบการศึกษา ของไซม่อน แอคคายา (Simon Akkaya) หนึ่งในผู้ก่อตั้งสตูดิโอ เพื่อ ออกแบบสิง่ ทีจ่ ะกระตุน้ ให้เกิดการทำ�ประโยชน์เพือ่ ผูอ้ นื่ โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งคนที่ไม่รู้จักกันโดยสิ้นเชิง
wired.co.uk
โตเกียว: จุดขายของ Pass the Baton ในการขายสินค้ามือสองไม่ใช่ ของถูก แต่เป็นความหลงใหลในเรื่องราวของสิ่งของแต่ละชิ้นที่ถ่ายทอด มาพร้อมกัน สินค้าทุกชิน้ จะถูกบอกเล่าทีม่ าอย่างน่าสนใจ เพือ่ ส่งต่อให้คน ทีร่ กั สิง่ ของนีเ้ ช่นเดียวกันได้มโี อกาสใช้และดูแลต่อไป นอกจากนีท้ างร้าน ยังร่วมกับนักออกแบบเพือ่ สร้างมูลค่าเพิม่ ให้กบั สินค้าเก่าค้างสต๊อก โดย ร่วมกับบริษทั ต่างๆ เพือ่ ให้สนิ ค้าเก่าค้างสต๊อกเหล่านัน้ ถูกออกแบบเพิม่ เติมแล้วนำ�กลับมาขายใหม่ได้อีกครั้ง
jcdecauxna.com
mashable.com
spoon-tamago.com
บอสตัน: จากผลการสำ�รวจโดยเฉลี่ยแล้วเรามักจะเปลี่ยนโทรศัพท์มือ ถือใหม่ทกุ ๆ 18-20 เดือน แล้วจะทำ�อย่างไรกับมือถือเครือ่ งเก่าเหล่านัน้ ดี Gazelle ทำ�ให้การซื้อขายโทรศัพท์มือถือมือสองผ่านระบบออนไลน์และ ไปรษณีย์เป็นเรื่องง่าย มีมาตรฐาน และน่าเชื่อถือ โดยบริษัทจะทำ�หน้าที่ ทั้งการรับซื้อเครื่องที่ไม่ใช้แล้ว ซ่อมแซม สร้างระบบการตรวจสอบและ รับรองคุณภาพเครือ่ งถึง 30 จุดทุกเครือ่ ง ก่อนจะนำ�ออกขาย ทำ�ให้มนั่ ใจ ได้ว่าโทรศัพท์ทุกเครื่องยังอยู่ในสภาพดี สามารถใช้ได้จริงในราคาที่ ประหยัด นิวยอร์ก: แนวคิดแบบ “No Owner” หรือ “การไม่เป็นเจ้าของ” คือ ไลฟ์สไตล์ทกี่ �ำ ลังได้รบั ความนิยมในกลุม่ ผูบ้ ริโภครุน่ ใหม่ ซึง่ ส่งผลกระทบ ต่อธุรกิจค้าปลีก และสร้างโอกาสใหม่ให้ธุรกิจแบรนด์เนม โดยเน้นการ แบ่งปัน แทนที่จะเป็นการซื้อเพื่อการครอบครอง อีกทั้งยังเป็นการลดค่า ใช้จ่ายและลดความเสี่ยงที่สิ่งของนั้นจะหมดความนิยมหรือหมดความ ต้องการลงอย่างรวดเร็ว ธุรกิจเครือข่ายสังคมเพื่อเช่าสินค้าแบรนด์เนม Rent the Runway ทำ�ให้ลูกค้ารู้สึกง่ายที่จะเปลี่ยนและสนุกที่จะแต่งตัว ไม่ซํ้ากันในโอกาสต่างๆ ปัจจุบันมีสมาชิกในเครือข่ายแล้วกว่า 5 ล้านคน สิงหาคม 2558
l
Creative Thailand
l 17
COVER STORY เรื่องจากปก
ความไม่แน่นอนของอนาคตทำ�ให้เราถวิลหา อดีต ยิ่งโลกเข้าใกล้ความเป็นดิจิทัลเท่าไหร่ ความเสมือนจริงทำ�ให้เราแยกความจริงไม่ออก คนจึ ง แสวงหาสิ่ ง ที่ ต อบสนองต่ อ ความรู้ สึ ก แท้จริง ออริจินัล ซึ่ง “การหวนระลึกถึงอดีต (Nostalgia)” ช่วยบำ�บัดให้เรารูส้ กึ อบอุน่ มัน่ คง และนึกถึงช่วงเวลาของความสุข ซึ่งคนรุ่นใหม่ แม้ว่าจะไม่เคยสัมผัสกับอดีตเหล่านั้นโดยตรง แต่ก็ให้การต้อนรับและคิดว่าสิ่งที่ไม่มีอยู่ใน ปัจจุบันนั้น สร้างจุดยืนที่สะท้อนความแตกต่าง ได้เป็นอย่างดี และคนรุ่นเก่าเองก็สามารถมี โอกาสกลับไปใช้สิ่งของที่เคยสร้างความผูกพัน ในวันวาน กระแสนี้จึงทำ�ให้เกิดความต้องการ สิง่ ของในอดีต หรือสิง่ ทีใ่ ห้ความรูส้ กึ ว่าเป็นของ เก่า เกิดการกลับมาของสิ่งของวินเทจต่างๆ มากมาย ผูป้ ระกอบการหลายรายทีเ่ ข้าใจความ ต้องการที่เกิดขึ้น เล็งเห็นโอกาสของการใช้ สินค้าค้างสต๊อก (Deadstock) ของสิ่งที่เคย รุ่งเรืองในอดีต กลับมาตอบสนองต่อความ ต้องการในปัจจุบนั และในทางกลับกันนักสะสม บางคนก็ ตั้ ง ใจที่ จ ะเก็ บ สิ่ ง ของบางอย่ า งใน ปัจจุบันไว้ เพราะเล็งเห็นคุณค่าที่จะเกิดขึ้นใน อนาคตด้วยเช่นกัน ปรากฏการณ์ทแี่ ผ่นเสียงไวนิลกลับมาได้รบั ความนิยมอีกครั้งในยุคดิจิทัลนั้นเป็นสิ่งที่น่า สนใจอย่ า งมาก และตอกยํ้ า แนวคิ ด ความ ต้องการกายภาพในการสัมผัสกับ Nostalgia ได้ เป็นอย่างดี ถ้าเปรียบเทียบในด้านคุณภาพของ เสียง อาจจะต้องพูดถึงเรื่องนี้กันยืดยาว แต่ สำ�หรับความรู้สึกนุ่มนวล สุนทรียะ และเรื่อง ราวเฉพาะตัวของแผ่นเสียงให้คุณค่าต่อการฟัง ในอี ก มิ ติ ปี ที่ ผ่ า นมายอดขายแผ่ น ไวนิ ล ใน สหรัฐอเมริกาเพิ่มสูงขึ้นกว่าร้อยละ 50 หรือกว่า 9.2 ล้านแผ่น ทำ�ลายสถิติการขายตลอด 20 ปี ที่ผ่านมาเป็นปีที่ 4 ติดต่อกัน ดูเหมือนความ ต้องการแผ่นเสียงจะเพิม่ ขึน้ อย่างไม่มที ที า่ ว่าจะ 18 l
Creative Thailand
l สิงหาคม 2558
ลดลง สวนทางกับพฤติกรรมการซื้อสื่อทาง ดนตรีของคนในยุคปัจจุบัน Nielsen บริษัทซึ่ง ให้ ข้ อ มู ล และการประเมิ น ผลชั้ น นำ � ของโลก รายงานว่าเฉพาะแค่ช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ ยอดขายเมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปีก่อน ก็เพิ่มขึ้นไปแล้วกว่าร้อยละ 53 เลยทีเดียว ซึ่ง ทำ�ให้อัลบั้ม Abbey Road ของวง The Beatles กลับมาครองชาร์ท Billboard Top Vinyl Chart ติดต่อกันได้อย่างยาวนาน ไม่เพียงแต่อัลบั้ม ศิลปินเก่าคลาสสิกเท่านัน้ ทีไ่ ด้รบั ความต้องการสูง ศิลปินใหม่ๆ ทีห่ นั กลับมาออกแผ่นไวนิลก็สง่ ผล ให้ยอดขายสูงขึน้ ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้กระแส ความต้องการนีย้ งั ทำ�ให้วงการซือ้ ขายแผ่นไวนิล มือสองและแผ่นค้างสต๊อกคึกคักขึน้ เป็นอย่างมาก หากลองพิจารณาเหตุผลทีไ่ วนิลกลับมาได้ รับความนิยมอย่างสูงอีกครั้งในยุคนี้ น่าจะมี ที่มาจากหลายปัจจัยด้วยกัน ประการแรกด้วย คุณลักษณะที่คลาสสิกเชื่อมโยงกับอดีต แต่ให้ คุณภาพเสียงทีด่ ไี ม่นอ้ ยไปกว่าเทคโนโลยีทมี่ ใี น ปัจจุบนั และการออกแบบแพ็คเกจทีใ่ ส่เรือ่ งราว
ต่างๆ ให้ผซู้ อื้ สามารถชืน่ ชมและสร้างความรูส้ กึ ร่วมไปกับเพลงทีบ่ รรจุไว้ในแผ่น ประการต่อมา คือความเฉพาะ ข้อจำ�กัด และความขาดแคลน ซึ่งคุณสมบัตินี้ทำ�ให้การค้นหาเป็นเรื่องสนุก การตามล่าแผ่นมือสองคุณภาพดี แผ่นค้าง สต๊อกที่เป็นมาสเตอร์ฉบับดั้งเดิม หรืออัลบั้ม Limited Edition ความหายากยิ่งเพิ่มคุณค่าให้ มากขึน้ ไปอีก สิง่ เหล่านีท้ �ำ ให้ความต้องการและ ราคาวิง่ แปรผกผันซึง่ กันและกัน คุณลักษณะอีก ประการที่จะทำ�ให้เกิดความนิยมขึ้นในสิ่งใดๆ ก็ตาม มักมาจากชุมชนผูซ้ งึ่ สนใจในสิง่ เดียวกัน โดยแต่ละกลุม่ จะมีการแชร์เรือ่ งราว ซือ้ ขายแลก เปลี่ยน และสร้างกระแสความนิยมให้กับสิ่ง ต่างๆ ขึน้ มาได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในยุคที่กลุ่มสังคมออนไลน์ทำ�ให้คนเชื่อมโยง ถึงกันได้อย่างสะดวกเช่นในปัจจุบัน ฐานแฟน ของแผ่นเสียงไวนิลนั้นมีอยูด่ ้วยกัน 2 ระดับ นัน่ คือกลุม่ ชุมชนของคนทีส่ นใจและชืน่ ชอบไวนิล เหมือนกัน และแฟนเพลงของศิลปินนัน้ ๆ ทำ�ให้ ความต้องการเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องยาวนาน
turntablelab.com
แผ่นเสียง...สื่อเพลงที่ได้รับความ นิยมมากที่สุดในยุคดิจิทัล
แอมะซอน เว็บไซต์ขายของออนไลน์ทใ่ี หญ่ทส่ี ดุ ในสหรัฐอเมริกาจับกระแสความต้องการแผ่นเสียงไวนิล โดยยังคงอาศัยพื้นฐานของการซื้อขายผ่านช่องทางดิจิทัล ออกบริการ AutoRip เพื่อให้ลูกค้าที่ซื้อ แผ่นเสียงและหลงใหลการฟังเพลงผ่านอุปกรณ์แอนาล็อกได้ไฟล์ mp3 ของเพลงเหล่านั้นด้วย เพื่อให้ ฟังกับอุปกรณ์ดิจิทัลขณะเดินทางได้อีกช่องทางหนึ่ง กลยุทธ์การขายเช่นนี้ทำ�ให้ลูกค้ามากกว่าครึ่ง เลือกบริการ AutoRip และช่วยเพิ่มยอดการขายแผ่นไวนิลจากเดิมได้ถึงร้อยละ 66
atpress.ne.jp
ผลที่ตามมา
แบรนด์เนมมือสอง ธุรกิจกลุม่ ลักชัวรีจำ�นวนมากเพียรพยายามทำ�นุบ�ำ รุงรักษา บอกเล่าเรื่องราวทีด่ งี ามของตนต่อเนือ่ ง นับสิบนับร้อยปีผา่ นแบรนด์ เพือ่ สร้างคุณค่าและมูลค่าเพิม่ ให้กบั สินค้าและบริการ แบรนด์ทแี่ ข็งแกร่ง นีเ้ องจะเป็นตัวสร้างฐานลูกค้าทีจ่ งรักภักดี ยืดอายุสนิ ค้าให้คงอยูย่ าวนาน บางคนให้ความเห็นว่าการ ซื้อสินค้าหรูหรือกลุ่มลักชัวรีแบรนด์คือการลงทุน และคุณค่าของแบรนด์นั้นๆ อาจส่งผลให้สินค้า ชิ้นนั้นมีมูลค่าสูงขึ้นในอนาคต ตลาดแบรนด์เนมมือสองจึงเติมเต็มนิเวศนี้ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นและ ตอบสนองต่อความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในสังคมทีเ่ จริญแล้วอย่างประเทศญีป่ นุ่ ผูค้ นเข้าใจดีถงึ ประสบการณ์และคุณค่าทีแ่ บรนด์ตา่ งๆ มอบให้ ทั้งยังเป็นกลุ่มที่รับกระแสต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และด้วยธรรมชาติของคนญี่ปุ่นมัก จะดูแลรักษาสิ่งของต่างๆ อย่างดี ธุรกิจสินค้ามือสองที่เกิดขึ้นจึงให้บริการครบวงจร ทั้งการรับซื้อ การตรวจสอบคุณภาพลักษณะเฉพาะของแท้ ปรับปรุงทำ�ความสะอาด ไปจนถึงการกระจายไปยังลูกค้า ในกลุ่มต่างๆ ต่อไป ภาวะการซื้อขายสินค้ามือสองของญี่ปุ่นเป็นเสมือนดัชนีที่สามารถอธิบายภาพ รวมการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศได้อีกแง่มุมหนึ่ง ทาคุจิ อิชิฮาระ (Takuji Ishihara) ประธานบริษัท Komehyo ซึ่งเป็นธุรกิจซื้อขายสินค้าแบรนด์เนมมือสองที่ใหญ่ที่สุดบริษัทหนึ่ง ชี้ให้ เห็นว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเริ่มขยับเพิ่มสูงขึ้น แต่พฤติกรรมการจับจ่ายมีแนวโน้มที่เปลี่ยนไป จากเดิม ในสภาวะทีเ่ ศรษฐกิจชะลอตัวและค่าเงินเยนอ่อนตัว การซือ้ ขายสินค้าแบรนด์เนมทีม่ กั อ้างอิง เงินสกุลหลักอย่างดอลลาร์สหรัฐฯ และยูโร ส่งผลให้ราคาการรับซือ้ ขายสินค้าแบรนด์เนมขยับตัวสูงขึน้ ราวร้อยละ 15 ด้วยเหตุนี้จึงทำ�ให้คนนำ�สินค้าแบรนด์เนมมาเปลี่ยนเป็นเงินสดเพื่อเปลี่ยนเป็นสินค้า รุ่นที่ใหม่กว่า หรือเพื่อนำ�ไปใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวมากขึ้น นอกจากนี้ธุรกิจซื้อขายแบรนด์เนมมือ สองของญีป่ นุ่ ยังเล็งเห็นโอกาสในการขยายตลาดออกสูต่ า่ งประเทศ จากจำ�นวนลูกค้าต่างชาติทเี่ พิม่ มากขึ้น โดยเมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา Komehyo เปิดสาขาที่ฮ่องกง เพื่อเชื่อมฐานลูกค้า ทีม่ าจากจีนแผ่นดินใหญ่ และในปีหน้า Daikokuya ร้านจำ�หน่ายสินค้าแบรนด์เนมมือสองชือ่ ดังของ ญี่ปุ่นก็จะมาเปิดสาขาในประเทศไทย เนื่องจากเป็นกลุ่มลูกค้าที่ใหญ่เป็นอันดับสอง โดยมียอดซื้อ ขายในปีที่ผ่านมากว่า 890 ล้านเยนหรือประมาณ 240 ล้านบาท และยังเป็นการเชื่อมโยงการรับรู้ แบรนด์สู่กลุ่มลูกค้าชาวไทยที่กำ�ลังจะเดินทางไปญี่ปุ่นอีกทางหนึ่ง
แน่นอนว่าเราต้องการของถูก ราคาประหยัดจาก สิ่งของใช้แล้ว แต่สินค้ามือสองเหล่านั้นต้อง แลกมาด้วยประเด็นทีน่ า่ เป็นห่วงในหลายๆ เรือ่ ง การนำ�เข้าสินค้ามือสองจากต่างประเทศมักจะ ถูกนำ�เข้ามาเป็นล็อตใหญ่ ซึง่ การคัดเลือกสินค้า เพื่อนำ�มาขายต่อมักเกิดขึ้น ณ ปลายทางเมื่อ สินค้ามาถึงแล้ว นั่นหมายถึงสินค้าจำ�นวนหนึ่ง จะถูกคัดออกเพื่อนำ�ไปทิ้ง ภาระในการทำ�ลาย จึ ง ตกเป็ น ของเจ้ า หน้ า ที่ ใ นแต่ ล ะพื้ น ที่ นั้ น ๆ สินค้าบางประเภทก็ยากต่อการทำ�ลายและเป็น มลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันภาษีขาเข้าที่ จัดเก็บได้นั้น ไม่น่าจะเพียงพอต่อภาระในการ กำ�จัดขยะเหล่านี้ในอนาคต สิ่งที่ต้องคำ�นึงต่อ มาสำ�หรับสินค้าที่เคยถูกใช้แล้วคือราคาที่หาย ไปนั้นอาจหมายถึงคุณภาพหรือคุณสมบัติบาง อย่างที่อาจหายตามไป อายุการใช้งานของ สินค้าเหล่านั้นก็จะลดลง หรือต้องมีค่าใช้จ่าย ในการดูแลมากกว่าปกติ และสุดท้ายก็จะกลาย เป็นขยะในที่สุด นอกจากนี้การนำ�เข้าสินค้า ทดแทนบางชนิดด้วยราคาทีถ่ กู ของสินค้ามือสอง จากต่างประเทศ ได้ทำ�ลายกลไกการผลิตใน ประเทศ จากบทเรียนนี้บางประเทศในแอฟริกา ถึงกับยุตกิ ารผลิตสินค้าในกลุม่ เสือ้ ผ้าเครือ่ งนุง่ ห่ม ไปโดยปริยาย ดังนัน้ ภาครัฐในแต่ละประเทศจึง ควรมีมาตรการในการดูแลการนำ�เข้า และการ ใช้สินค้ามือสองภายในประเทศอย่างเหมาะสม การนำ � แนวคิ ด เศรษฐศาสตร์ มื อ สองเข้ า มา ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงต้องทำ�ควบคู่ไปกับ การส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศอย่าง ยั่งยืน ที่มา: บทความ “Infographic: What Amazon Users Are Buying on Vinyl” จาก fastcompany.com / บทความ “Thanks to Strong Sales, Vinyl Albums Are Off and Spinning” จาก nielsen.com / บทความ “Used Handbags Provide an Unlikely Barometer for Japan’s Economy” จาก ft.com / บทความ “Daikokuya Lines Up Local Store” จาก bangkokpost.com
สิงหาคม 2558
l
Creative Thailand
l 19
flickr.com/andrewsubiela
flickr.com/maciejdakowicz
INSIGHT อินไซต์
แกะรอยวัฒนธรรมตลาดมือสอง ในต่างแดน – ยิ่งใช้ ยิ่งประหยัด ยิ่งรักโลก? เรื่อง: ปิยพร อรุณเกรียงไกร
ท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่ไม่ แน่นอน ตลาดมือสองเป็นแหล่งช้อปปิ้งที่ช่วย ให้นักช้อปรู้สึกผิดน้อยลงและยังตามกระแส รียสู รีไซเคิล รีเซลล์ ได้ทนั ทีส่ �ำ คัญ ค่านิยมนี้ ไม่ ไ ด้ เ กิ ด ขึ้ น แค่ ใ นย่ า นวิ น เทจยอดฮิ ต เช่ น พอร์โทเบลโล (Portobello Market) ใน ลอนดอน หรื อ แหล่ ง ร้ า นมื อ สองสุ ด ชิ ค ใน ซานฟรานซิสโกและนิวยอร์กเท่านัน้ แต่ยงั รวม ไปถึงตลาดแบรนด์เนมมือสองทีท่ ยอยผุดเพิม่ ขึ้นในโซนเอเชีย ตั้งแต่เซี่ยงไฮ้ ปักกิ่ง ไปจนถึง โตเกียว
20 l
Creative Thailand
l สิงหาคม 2558
GENTY-USED LUXURY IS COMING IN CHINA ตลาดสินค้าแบรนด์เนมมือสองกำ�ลังบานสะพรัง่ ในจีน แม้วา่ อัตราการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมและ เศรษฐกิจจะเริ่มชะลอตัวลงไปบ้าง แต่คงปฏิเสธไม่ได้ว่าจีนในวันนี้ได้กลายเป็นหนึ่งในประเทศ มหาอำ�นาจทางเศรษฐกิจที่มีกำ�ลังซื้อมหาศาล สื่อต่างประเทศ ดิ อีโคโนมิสต์ ได้วิพากษ์วิจารณ์ว่า นักช้อปชาวจีนกำ�ลังเสพติดการซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย แต่ขณะเดียวกันก็มองว่าเป็นลูกค้ารายใหญ่ที่ช่วย คลี่คลายสถานการณ์ซบเซาของตลาดแบรนด์เนมในยุโรปที่ยํ่าแย่ลงหลังปี 2008 ไม่เพียงเท่านั้น สำ�นักข่าวจีนยังรายงานถึงแนวโน้มการเติบโตของร้านค้าแบรนด์เนมมือสองที่ กำ�ลังไปได้สวยทั้งในตลาดออนไลน์และออฟไลน์ เช่น กระเป๋าสะพาย นาฬิกา และเครื่องประดับ หรูหรา ที่ดึงดูดความสนใจของหนุ่มสาวชนชั้นกลางระดับบนที่ไม่พิสมัยค่าภาษีนำ�เข้า รวมทั้งชนชั้น กลางระดับล่างได้ไม่ยาก เพราะส่วนมากผ่านการใช้งาน (อย่างระมัดระวัง) หรือกระทั่งไม่เคยใช้เลย ประกอบกับคนรุน่ ใหม่นยิ มซือ้ แบรนด์เนมเป็นของขวัญให้กนั แต่กลับไม่ได้ใช้ในชีวติ ประจำ�วัน จนเกิด การขายต่อเพื่อซื้อรุ่นที่ใหม่กว่าและไม่ตกเทรนด์ ด้านผู้ซื้อก็มั่นใจทั้งราคาที่ถูกกว่าและคุณภาพของ ของแท้ ในปี 2013 ฟอร์จูน คาแรกเตอร์ นิตยสารไฮโซชื่อดังของจีนได้เปิดเผยรายงานผลสำ�รวจซึ่งมุ่ง ศึกษากลุ่มร้านค้าและลูกค้าตลาดแบรนด์เนมมือสองในเซี่ยงไฮ้ ปักกิ่ง และกวางโจว ระบุว่าตลาดนี้ สร้างมูลค่าราว 3 พันล้านหยวน หรือ 4.94 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ พร้อมกับคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่าง ต่อเนื่องร้อยละ 37.8 ต่อปี โดยเฉพาะในเซี่ยงไฮ้ที่มีความต้องการขายของสินค้าแบรนด์เนมมากถึง ร้อยละ 60 ซึง่ พร้อมจะลบภาพจำ�แบบเสือ่ ผืนหมอนใบ ให้กลายเป็นคนจีนยุคใหม่ทมี่ าพร้อมกับกระเป๋า แบรนด์เนมหลายๆ ใบแทน
flickr.com/jmsancho
INSIGHT อินไซต์
JAPAN: FROM BOOKOFF'S THRONE TO AIR WARDROBE หลายคนอาจมองว่าญี่ปุ่นให้ความสำ�คัญกับการเก็บ รักษาข้าวของมากเป็นพิเศษ แถมยังสรรหาวิธซี อ่ มแซม ได้อย่างสร้างสรรค์ และย่านวินเทจในเมืองต่างๆ ก็ชวน ให้ คิ ด ว่ า ชาวญี่ ปุ่ น น่ า จะชื่ น ชอบร้ า นค้ า มื อ สองมา แต่ไหนแต่ไร อันที่จริงแล้ว ในยุคก่อนภาวะเศรษฐกิจ ฟองสบู่ (ปี 1986-1991) คนญี่ปุ่นมีกรอบความคิด แบบประเทศอุตสาหกรรมที่เชื่อมั่นศักยภาพการผลิต และหมกมุ่นกับการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ อยู่ตลอด เวลา หากสินค้าในร้านมีต�ำ หนิหรือชำ�รุด ผูค้ นก็พร้อม จะเมินหน้าเดินไปหาของใหม่ทันที ของมือสองกลาย เป็นสินค้าสำ�หรับคนยากจนและมักถูกส่งทอดตลาดใน ต่างประเทศมากกว่า ก่อนที่ บุ๊กออฟ (Bookoff) จะก่อร่างอาณาจักร แห่งธุรกิจหนังสือและสารพัดของมือสองทีใ่ หญ่ทสี่ ดุ ใน ญีป่ นุ่ ส่งวัฒนธรรมมังงะไปบุกตลาดอเมริกาและฝรัง่ เศส ได้อย่างวันนี้ ทากาชิ ซากะโมโตะ (Takashi Sakamoto) ผู้ก่อตั้งและอดีตซีอีโอบริษัท บุ๊กออฟ คอร์เปอเรชั่น (ปี 1991) ต้องใช้เวลา 20 กว่าปีในการสร้างวัฒนธรรม การบริโภคใหม่และละลายอคติของชาวญีป่ นุ่ สิง่ ทีเ่ ขา ทำ � ก็ คื อ ทำ � ทุ ก วิ ถี ท างให้ บุ๊ ก ออฟไม่ เ หมื อ นกั บ ร้ า น หนังสือมือสองในยุคนั้น โดยเน้นคัดสรรหนังสือเก่า สภาพดีมาจำ�หน่าย จัดเรียงบนชั้นเป็นหมวดหมู่อย่าง มีระเบียบ ออกแบบร้านให้ทันสมัย สร้างบรรยากาศที่ เป็นมิตรและเชื้อเชิญเพื่อให้หนังสือมือสองกลับมามี คุณค่าในสายตาของนักอ่านอีกครัง้ เมือ่ บวกกับกระแส แฟชั่นฮิปปี้และวินเทจที่ได้รับความนิยมในกลุ่มวัยรุ่น บุ๊กออฟจึงแตกไลน์จากตลาดนิทช์ มาครอบคลุม ของใช้ในชีวิตประจำ�วัน เช่น Hardoff เจาะตลาด เครือ่ งใช้ไฟฟ้า เครือ่ งดนตรี เกม Modeoff เน้นเสือ้ ผ้า ของใช้จิปาถะ และเปิด Bookoff Super Bazaar ใน ปี 2009 เป็นศูนย์การค้าขนาดใหญ่ที่รวบรวมสินค้า แบรนด์เนมมือสองหลายประเภทมาเอาใจสาวกแฟชัน่ โดยเฉพาะ ผลปรากฏว่ายอดขายในช่วงไตรมาสแรก
ของปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.2 คิดเป็นมูลค่า 52.5 พันล้าน เยน ขณะที่สำ�นักข่าวเจแปนไทม์ส รายงานว่าในปี 2010 ตลาดมือสองกำ�ลังโตเพราะชาวญีป่ นุ่ ยอมเปิดใจ มากขึ้น เพราะต้องรับมือภาวะเศรษฐกิจฝืดเคืองไป พร้อมๆ กับความห่วงใยโลกด้วยการอุดหนุนของมือสอง แทนฟาสต์แฟชั่น ขณะที่เว็บไซต์ช้อปปิ้งออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดของ ญี่ปุ่นอย่างราคุเทน (Rakuten Inc.) ก็สร้างรายได้จาก การขายสิ น ค้ า แบรนด์ เ นมมื อ สองติ ด อั น ดั บ สิ น ค้ า ยอดนิยม โดยทำ�รายได้ได้มากถึง 598,565 ล้านเยน ในปี 2014 นีจ่ งึ ถือเป็นการเปลีย่ นแปลงครัง้ ใหญ่ของคนแดน ปลาดิ บ ซึ่ ง มั ก ถู ก มองว่ า คลั่ ง ไคล้ ผ ลิ ต ภั ณ ฑ์ ใ หม่ ๆ มากกว่าใครเพื่อนในกลุ่มประเทศพัฒนา ที่จะเปลี่ยน บทบาทจากฝ่ายผูผ้ ลิตมาเป็นผูบ้ ริโภคในตลาดมือสอง ดูบ้าง WESTSIDE STORY ร้านค้าเพือ่ การกุศล (Charity) กำ�ลังเป็นธุรกิจมือสองที่ ได้รบั ความนิยมในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นซัพพลายเออร์อันดับหนึ่งและสองในตลาดมือ สองของโลก ร้านค้าเพือ่ การกุศลหรือทีร่ จู้ กั กันในคำ�ศัพท์สแลง ว่า "ร้านขายของโจร (Thrift Shop)” กำ�ลังผุดเพิ่มขึ้น กว่า 10,000 แห่งในสหราชอาณาจักร ร้านขายของโจร ที่ว่านี้ไม่ได้ขายของที่ถูกขโมยมา แต่เป็นร้านขาย เสื้อผ้าและสินค้ามือสองที่มอบรายได้ส่วนหนึ่งให้กับ สถาบัน/มูลนิธิต่างๆ เดอะ การ์เดียน ได้รายงานว่าปี ที่ผ่านมา ชาวอังกฤษหันมาจับจ่ายสินค้ามือสองเพื่อ ลดรายจ่ายที่ไม่จำ�เป็นในช่วง Black Friday ซึ่งเป็นวัน หยุดยาวหลังวันขอบคุณพระเจ้าที่ผู้คนจะมาช้อปปิ้ง สินค้าลดราคาตามห้าง ทางฝัง่ อเมริกาก็มรี า้ นเพือ่ การ กุศลมากพอที่จะรองรับความต้องการของชาวเมือง ท่ามกลางเศรษฐกิจตกตํ่า สังเกตได้ว่าชาวตะวันตกคุ้นเคยกับการเดินเข้า ออกร้านค้ามือสองมากกว่าคนเอเชีย ส่วนหนึ่งเป็นผล พวงมาจากยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมและการเปลี่ยนผ่าน สู่สังคมบริโภคนิยมและวัตถุนิยม จนกระทั่งในปลาย ศตวรรษที่ 20 ผู้บริโภคเริ่มเบื่อหน่ายกับผลิตภัณฑ์ที่ เหมือนกันไปหมดและมองหาสไตล์ทไ่ี ม่เหมือนใคร ไม่ นานนักวงการแฟชั่นก็ต้อนรับเสื้อผ้ามือสองในฐานะ สไตล์วนิ เทจทีม่ เี อกลักษณ์เฉพาะตัว และเป็นชาวตะวันตก อีกเช่นกันที่จุดประเด็นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
ปลุกกระแสอีโคแฟชัน่ ด้วยการนำ�ของเก่ากลับมาใช้ใหม่ รีไซเคิล และขายต่อให้กับคนอื่น ซึ่งนอกจากจะช่วย ประหยัดค่าใช้จา่ ยและทรัพยากรแล้ว ยังมีคณุ ภาพดีและ ทนทานกว่าสินค้าแฟชั่นสมัยนี้ที่มีอายุการใช้งานสั้น แต่จะแน่ใจได้อย่างไรว่าการใช้ของมือสองจะ ทำ�ให้เราซื้อน้อยลงและช่วยโลกได้มากขึ้น วาเลอรี เอ็ม. โทมัส (Valerie M. Thomas) ศาสตราจารย์สถาบัน เทคโนโลยี จอร์ เ จี ยและนั ก วิ จัยด้ า นผลกระทบทาง สิง่ แวดล้อมจากการใช้พลังงาน ผลิตภัณฑ์ และบริการ ได้เขียนรายงานวิจยั และบทวิเคราะห์ ‘ Dematerialization Impacts of Second-Hand Markets” พร้อมกับโปรย คำ�ถามว่าสินค้ามือสองทีเ่ ราใช้กนั นัน้ ช่วยสนับสนุนการ รียูสหรือกระตุ้นให้เราบริโภคมากขึ้นกันแน่ เธอตั้งข้อ สงสัยว่าการเติบโตของตลาดมือสองเข้ามาช่วยคลาย วิกฤติภาวะเศรษฐกิจตกตํ่าก็จริง แต่ระบบการผลิต แบบอุตสาหกรรมที่เน้นจำ�นวนทำ�ให้สินค้าในตลาดมี คุณภาพด้อยลง ไม่คงทน และอายุการใช้งานสั้น เพื่อ กระตุ้นให้คนเปลี่ยนของใหม่ไวขึ้น ทั้งยังนำ�ไปสู่การ ผลิตซาํ้ ทีผ่ ลาญใช้พลังงานอย่างไร้ประสิทธิภาพและส่ง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเต็มๆ ไม่ใช่แค่นั้น การขาย สินค้ามือสองในวันนีเ้ ปลีย่ นไปสูม่ อื ที่ 3,4,5..เร็วกว่าเดิม เนือ่ งจากมีชอ่ งทางการจำ�หน่ายหลากหลายทีพ่ ร้อมจะ ตอบสนองความต้องการซื้อสิ่งใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา ฝ่ายผูบ้ ริโภคก็ไม่ได้มองว่าสินค้ามือสองมีคณุ ค่า น่าเก็บ เสมอไป และจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อตลาดขยายตัวเร็ว แต่ กลับขาดกลไกการจัดการ เช่น การตรวจสอบอายุการ ใช้งานสินค้าและการจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพ นั่น อาจหมายความว่าตลาดมือสองในวันหน้าอาจเต็มไป ด้วยสินค้าที่ใช้งานไม่ได้ อาจถึงเวลาที่เราต้องกลับมาทบทวนการรณรงค์ ใช้ของมือสองกันอีกครัง้ โดยเฉพาะในวันนีท้ สี่ นิ ค้าใหม่ จะ 'เก่า' เร็วขึ้นทุกวินาที
ที่มา: บทความ “Infographic: What Amazon Users Are Buying on / รายงานวิจยั และบทวิเคราะห์ "Dematerialization Impacts of Second-Hand Markets” โดย วาเลอรี เอ็ม. โทมัส / รายงาน ผลสำ�รวจเชิงวิเคราะห์ "China Secondhand Luxury Brands Analysis 2013” โดย Fortune Character จาก chinainternetwatch.com / บทความ “Buying secondhand: an alternative to rampant consumerism of Black Friday” จาก theguardian.com / บทความ "Charity shops, Thrift is in” จาก economist.com / บทความ China's second-hand luxury market speeds up จาก chinadaily.com.cn / บทความ “Secondhand market grows” จาก japantimes.co.jp / บทความ “Used luxury goods market heats up" จาก globaltimes.cn / bookoff.co.jp / global.rakuten.com / bergfashionlibrary.com สิงหาคม 2558
l
Creative Thailand
l 21
CREATIVE ENTREPRENEUR คิด ทำ� กิน
ไดโกกุยะ
มือสองแบรนด์เนม มากกว่าคุณค่า แต่คุ้มค่าและตอบโจทย์ เรื่อง: พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์ ภาพ: ภูริวัต บุญนัก
ล่าสุด “ไดโกกุยะ” บริษัทขายสินค้าแบรนด์เนมมือสองของญี่ปุ่นเพิ่งเดิน ทางมาแนะนำ�ธุรกิจนี้เป็นครั้งแรกในเมืองไทย โดยหวังโปรโมทแบรนด์สู่ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีจำ�นวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีนัยสำ�คัญต่อ ความก้าวหน้าทางธุรกิจ บริษัท ไดโกกุยะ จำ�กัด มีสำ�นักงานใหญ่ตั้งอยู่ ที่เขตมินาโตะ โตเกียว และดำ�เนินงานมาแล้วกว่า 68 ปี บริหารงานโดย “โคเฮอิ โอกาวะ” ประธานบริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ โดยนับเป็น หนึ่งในบริษัทขายสินค้าแบรนด์เนมมือสองที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่นที่สามารถ ฉายภาพตลาดพรีเมียมดังกล่าวของกลุ่มนักช้อปชาวไทยได้เป็นอย่างดี
อาจไม่ใช่ประเด็นที่ต้องมาหาเหตุผลกันอีกต่อไป ว่าทำ�ไมผู้คน จากโรงรับจำ�นำ�สู่กิจการรับซื้อ-ขายสินค้า มากมายถึงต้องการเป็นเจ้าของสินค้าแบรนด์เนม ไม่ใช่แค่เพราะ แบรนด์เนม มูลค่าที่สูงลิบเท่านั้น แต่มันยังเป็นทั้งเครื่องแสดงสถานะ เครื่อง ประโลมใจ ไปจนถึ ง มรดกตกทอดที่ ส่ ง ต่ อ กั น ได้ ทั้ ง ในกลุ่ ม ญาติมิตรคนที่รู้จัก ไปจนถึงคนที่ไม่รู้จัก ซึ่งนั่นได้กลายเป็นจุด เริ่มต้นของเศรษฐกิจการส่งต่อของมือสองแบรนด์เนมที่มีเงิน หมุนเวียนในตลาดมหาศาล
พบแนวคิ ด ใหม่ จ ากผู ้ ป ระกอบการไทยที่ น�ำความคิ ด สร้ า งสรรค์ มาสร้างเป็นมูลค่าเพิม่ ให้กบั สินค้าและบริการได้ที่ TCDCconnect.com เว็บไซต์ที่รวบรวมรายชื่อและผลงานของนักออกแบบ ผู้ผลิต และ ผู ้ ป ระกอบการจากทุ ก อุ ต สาหกรรมสร้ า งสรรค์ ใ นประเทศไทยไว้ ในที่เดียวกัน
22 l
Creative Thailand
l สิงหาคม 2558
เพราะโลกไม่ได้มีทรัพยากรให้ใช้อย่างเหลือเฟือ และภาวะเศรษฐกิจก็ ไม่ได้เอื้อให้ผู้คนซื้อของใหม่ได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะของแบรนด์เนม ราคาแพง ไลฟ์สไตล์ของคนรุน่ ใหม่และทัศนคติทเี่ ปลีย่ นไปต่อของมือสอง ในวันนี้ ทำ�ให้ธรุ กิจแบบซือ้ มาขายไปทีต่ อบความต้องการของผูบ้ ริโภคแบบ ตรงจุดกำ�ลังไปได้ดี ธุรกิจอย่าง “โรงรับจำ�นำ�” และ “ร้านจำ�หน่ายสินค้า มือสอง” จึงเกิดขึน้ และเติบโต ไดโกกุยะเองก็เช่นกัน ทีเ่ ริม่ ต้นจากการเป็น ธุรกิจโรงรับจำ�นำ� ซึง่ อาศัยการนำ�เสนอสินค้ามือสองทีย่ งั คงเป็นทีต่ อ้ งการ ให้แก่ลกู ค้าในราคาและคุณภาพทีจ่ บั จองเป็นเจ้าของได้ “ตลอดเวลาทีผ่ า่ น มาตั้งแต่เริ่มต้นกิจการ บริษัทยินดีให้การต้อนรับลูกค้าอย่างเต็มที่ ทั้งใน แง่ของการบริการและการควบคุมคุณภาพที่ทั่วถึง พร้อมทั้งการประเมิน ความเหมาะสมของราคาเพื่อให้เกิดความพึงพอใจสูงสุด” โอกาวะกล่าว
นักช้อปไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก
ทำ�ไมต้องของมือสองจากญี่ปุ่น
สินค้ามือสองที่นำ�เข้ามาจากญี่ปุ่นดูจะเป็นไอเท็มยอดนิยมสำ�หรับผู้ที่ ต้องการซือ้ หาของคุณภาพดีในราคาทีน่ า่ พอใจ เพราะนอกจากจะมีสภาพ ที่ได้รับการดูแลมาเป็นอย่างดีจนเหมือนใหม่แล้ว ก็ยังมีราคาที่สมเหตุ สมผล แม้วา่ สินค้านัน้ ๆ จะเป็นสินค้าเกรดพรีเมียมหรือสินค้าแบรนด์เนม ก็ตาม ประธานโอกาวะกล่าวว่า “ทีผ่ า่ นมาความนิยมในการซือ้ สินค้าแบรนด์เนม มือสองของคนไทยขยายตัวเพิม่ ขึน้ เรือ่ ยๆ ทัง้ ลูกค้าทัว่ ไป และลูกค้าทีเ่ ป็น ร้านแบรนด์เนมมือสองของไทยที่มาซื้อสินค้าจากร้านเราไปขายต่อ เห็นได้ จากการไปเลือกซือ้ สินค้าทีร่ า้ นไดโกกุยะในสาขาต่างๆ ของญีป่ นุ่ โดยบริษทั มีสัดส่วนรายได้จากลูกค้าคนไทยถึง 26 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสูงเป็นอันดับสอง รองจากนักช้อปชาวจีน และทำ�ให้เราเลือกที่จะขยายธุรกิจมายังเมืองไทย ซึ่งนับเป็นการขยายกิจการออกต่างประเทศเป็นครั้งแรกของบริษัท”
จุดแข็งของมือสองแบรนด์เนม นอกจากจะได้ครอบครองของแบรนด์เนมในราคาเอื้อมถึงที่บางรายการ นั้นสามารถทำ�ราคาได้ถูกกว่าที่ไทยถึงครึ่งต่อครึ่ง จุดแข็งของธุรกิจ ขายของมือสองแบรนด์เนมอย่างไดโกกุยะอีกอย่างหนึ่งก็คือ การมอบ ความมั่นใจสูงสุดให้กับลูกค้าที่เข้ามาอุดหนุนว่าสินค้าทุกชิ้นนั้นเป็น ของแท้ ด้วยระบบการออกใบรับประกันเพื่อช่วยให้ลูกค้าอุ่นใจทุกครั้งใน การจับจ่าย “ในฐานะที่เราเป็นที่รับจำ�นำ�และกิจการรับซื้อขายสินค้า ทาง บริษัทมีผู้ประเมินราคาที่มีความชำ�นาญมาก สินค้าที่ผ่านการประเมิน และตั้งราคาจากผู้ประเมินจึงมีความน่าเชื่อถือ และแข่งขันได้ทั้งในด้าน คุณภาพและราคา เราจึงได้รับการสนับสนุนอย่างดีจากนักท่องเที่ยวชาว ต่างชาติจ�ำ นวนมาก” สินค้ากว่า 1,000 แบรนด์ ที่ถูกวางจำ�หน่ายใน 19 ร้านค้า ใน 8 จังหวัดของญี่ปุ่นของไดโกกุยะนั้น แบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ นาฬิกา กระเป๋า และจิวเวลรี่ ซึง่ ทางบริษทั ยังมีนโยบายในการสำ�รวจ ราคาสินค้าในตลาดอย่างสมํ่าเสมอ เพื่อนำ�ข้อมูลที่ได้มาประเมินการตั้ง ราคาขายให้แข่งขันได้ในตลาด และที่สำ�คัญคือต้องดึงดูดใจให้นักช้อป ตัดสินใจได้ในทันที
หากพิ จ ารณาถึ ง ความสามารถในการจั บ จ่ า ยของนั ก ช้ อ ปไทยนั้ น จะพบว่า จำ�นวนของสินค้าที่ไดโกกุยะขายให้นักท่องเที่ยวชาวไทยนั้น มีถึง 4,764 ชิ้น โดยมีราคารวมประมาณ 890 ล้านเยน หรือคิดเป็นเงิน ไทยที่ 251 ล้านบาท (ปีงบประมาณกันยายน 2014) ซึ่งนักท่องเที่ยว ชาวไทยถือเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวที่ซื้อสินค้ามากที่สุดหากนับจากจำ�นวน ชิ้นสินค้าที่ขายได้ และถ้าหากเทียบโดยวัดจากจำ�นวนรวมมูลค่าสินค้า จะพบว่ า นักท่องเที่ยวชาวไทยถือเป็นอันดับสองรองจากนักท่องเที่ยว ชาวจีน “ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ เราได้รับความนิยมจากลูกค้าชาวไทยเป็น อย่างสูง มีนักท่องเที่ยวชาวไทยแวะมาที่ร้านของเราเป็นจำ�นวนมาก” ประธานโอกาวะอธิ บ ายถึ ง เหตุ ผลที่ เลื อ กมาแนะนำ � ธุ ร กิ จ ของเขาใน ประเทศไทย นอกจากนี้ทางบริษัทยังเตรียมวางระบบเพื่อรองรับแนวโน้ม การเติบโตของนักท่องเที่ยวต่างชาติให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยจะเริ่ม จากกลุ่มลูกค้าไทยเป็นอันดับแรก เช่น การจัดเตรียมพนักงานที่พูดภาษา ต่างประเทศได้รวมถึงภาษาไทย ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างประสบการณ์อันน่า ประทับใจในการเลือกซื้อสินค้าจากทุกๆ สาขาของร้าน เมื่อบวกกับแรง หนุนเชิงบวกด้านความคุ้มค่าของอัตราแลกเปลี่ยนเงินเยน ก็ยิ่งจูงใจให้ นักช้อปสนุกกับการเลือกซื้อสินค้ามากยิ่งขึ้น ล่าสุดเว็บไซต์ Hotels.com ได้ เ ปิ ด เผยข้ อ มู ล จำ � นวนนั ก ท่ อ งเที่ ย วชาวไทยที่ เ ข้ า ไปค้ น หาสถานที่ ท่องเที่ยวในญี่ปุ่นว่ามีเพิ่มมากกว่าเดิมถึง 90 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับปี ที่ผ่านมา โดยเหตุผลสำ�คัญที่ทำ�ให้จำ�นวนนักท่องเที่ยวไทยเลือกเดินทาง ไปยังญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นก็คือ อัตราการแลกเปลี่ยนเงินเยนที่อ่อนตัวลงและค่า เงินบาทเพิม่ ขึน้ ขณะทีจ่ �ำ นวนของนักท่องเทีย่ วต่างชาติทเี่ ดินทางมาเทีย่ ว ญี่ปุ่นในปี 2014 นั้นมีถึง 13.4 ล้านคน ในจำ�นวนนี้เป็นนักท่องเที่ยวไทย ถึง 660,000 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 5 ของนักท่องเที่ยวทั้งหมด ซึ่งมาก ขึ้นถึง 2.5 เท่า เมื่อเทียบกับปี 2012 ในอนาคต ธุรกิจร้านขายของมือสองแบรนด์เนมสัญชาติญี่ปุ่นอย่าง ไดโกกุยะ จะยังคงมองเห็นช่องทางการดำ�เนินธุรกิจทีส่ ดใส เพราะมีทั้ง แรงหนุนจากนโยบายรัฐของญีป่ นุ่ ทีเ่ ตรียมเข้าร่วมกิจกรรมหลากหลายเพือ่ เป้าหมายในการดึงดูดนักท่องเที่ยวถึง 20 ล้านคนในปี 2020 ผ่านงาน โอลิมปิก มาตรการยกเว้นการขอวีซ่าที่ยังดำ�เนินอยู่ต่อไป และการพัฒนา สถานทีท่ อ่ งเทีย่ วในแต่ละภูมภิ าคให้เป็นสถานทีท่ อ่ งเทีย่ วชัน้ นำ�ระดับโลก และทีส่ �ำ คัญก็คอื โมเดลธุรกิจแบบซือ้ มาขายไปในระดับของแบรนด์เนมที่ ทั้งถูกและแท้ ไม่ว่ายังไงก็ยังคงตอบโจทย์ความคุ้มค่าในใจของนักช้อป ชาวไทยได้วันยังคํ่า สิงหาคม 2558
l
Creative Thailand
l 23
flickr.com/jesuscm
CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
เรื่อง: ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ
นับตัง้ แต่เศรษฐกิจยุโรปเข้าสูภ่ าวะวิกฤติในปี 2008 ประกอบกับภาวะฟองสบูแ่ ตกของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ภายในประเทศและปัญหา การขาดดุลการคลังสะสม สเปนในฐานะสมาชิกสหภาพยุโรปก็ได้รบั ผลกระทบอย่างหนักมาเป็นเวลาหลายปี แต่ทา่ มกลางสถานการณ์ ทีร่ มุ เร้า หนึง่ ในไม่กกี่ จิ การทีด่ เู หมือนจะไม่เพียงอยูร่ อด แต่ยงั เติบโตอย่างต่อเนือ่ งอย่างทีไ่ ม่เคยปรากฏมาก่อนในประเทศนี้ คือธุรกิจ การซือ้ ขายแลกเปลีย่ นสินค้ามือสอง ซึง่ ยังนำ�ไปสูก่ ารแลกเปลีย่ นและการจ้างงานทีไ่ ม่พงึ่ แม้แต่ระบบเงินตรามาตรฐานทีใ่ ช้กนั ในปัจจุบนั โดยมีเมืองหลวง “มาดริด” เป็นหนึ่งในพื้นที่ที่อุตสาหกรรมใหม่นี้ที่ได้ทิ้งร่องรอยเบาะแสไว้ทั่วทุกมุมเมือง
24 l
Creative Thailand
l สิงหาคม 2558
CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
flickr.com/benymarc
อาจดูไม่ใช่เรื่องแปลกที่ตลาดสินค้ามือสองจะ เฟือ่ งฟูในภาวะเศรษฐกิจตกตาํ่ แต่ส�ำ หรับสเปน นี่ถือเป็นปรากฏการณ์ครั้งสำ�คัญที่แสดงถึงการ เปลี่ยนแปลงทัศนคติของผู้บริโภค ซึ่งส่งผลถึง พฤติกรรมการจับจ่ายในระยะยาว เพราะแม้การ ซื้อขายสินค้ามือสองจะได้รับความนิยมอย่าง กว้างขวางในสหรัฐฯ รวมถึงหลายประเทศใน ยุ โ รปมานาน แต่ สำ � หรั บ สเปน ประเทศที่ เศรษฐกิจเติบโตอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยร้อยละ 5 ทุกๆ ปีนับตั้งแต่อำ�นาจเผด็จการยุคนายพล ฟรังโกหมดลงในทศวรรษที่ 1980 ผู้คนก็มุ่งหา แต่สินค้ารุ่นใหม่ล่าสุด “หลายปีทแี่ ล้ว คนสเปนจะรูส้ กึ กระอักกระอ่วน ใจว่า การซื้อสินค้ามือสองที่เคยมีคนใช้มาก่อน หมายถึงว่าพวกเขาไม่มเี งินพอทีจ่ ะซือ้ ของใหม่” โจอานา คอนิลล์ นักวิจยั เรือ่ งวัฒนธรรมเศรษฐกิจ ทางเลือก มหาวิทยาลัยเปิดแห่งกาตาลุญญา (Universitat Oberta de Catalunya) กล่าว หลายฝ่ายต่างมองตรงกันว่า พิษเศรษฐกิจ ที่รุมเร้า คือปัจจัยหลักที่ทำ�ให้ทัศนคติของผู้ บริโภคสเปนต่อสินค้ามือสองเปลีย่ นไป หลายปี ที่ผ่านมา ร้านขายเสื้อผ้าและข้าวของเครื่องใช้ มือสองจำ�นวนมากผุดขึ้นตามถนนสายสำ�คัญ ในสเปน สินค้าส่วนใหญ่ไม่ใช่ของมีตำ�หนิ แต่ สภาพค่อนข้างสมบูรณ์ ผ่านการเก็บรักษาอย่าง ดี ทัง้ ยังขายในราคาย่อมเยา จากการสำ�รวจของ บริษัทวิจัยตลาด Simple Lógica พบว่า ในปี 2012 ประชากรสเปนที่บรรลุนิติภาวะและเคย ซื้อหรือขายสินค้ามือสอง มีสัดส่วนถึงร้อยละ 50.7 เพิ่มขึ้นจากสองปีก่อนหน้าถึงร้อยละ 10 ขณะที่จำ�นวนรถยนต์มือสองในตลาดรถยนต์ สเปนก็เพิ่มขึ้น จากร้อยละ 5 ในปี 2007 เป็น ร้อยละ 70 ในปี 2012 โดยรถมากกว่าครึ่งมีอายุ การใช้งานมากกว่า 10 ปี
flickr.com/enriquecespedes
‘Taboo’ becomes ‘To-Buys’
Cash Converters ร้านขายปลีกสินค้ามือสองสัญชาติออสเตรเลียซึ่งเข้ามาเปิดกิจการใน สเปนตั้งแต่ปี 1995 ได้ขยายสาขาเพิ่มในสเปนถึง 60 แห่งในระหว่างปี 2002 - 2014 รวมเป็น 82 แห่ง ในแต่ละปี ร้านค้าแห่งนี้จำ�หน่ายโทรศัพท์มือถือได้มากกว่า 100,000 เครื่อง วิดีโอเกม 500,000 เครื่อง และเมื่อเร็วๆ นี้ยังได้เริ่มแคมเปญรับประกันสินค้าหนึ่งปี ซึ่งยิ่งเพิ่มแรงจูงใจ และความน่าเชื่อถือให้ลูกค้าหันมาบริโภคสินค้าประเภทนี้มากยิ่งขึ้น ขณะที่ ธุร กิ จ ร้ านเสื้ อ ผ้ ามื อ สอง ลู ก ค้ าของพวกเขาก็ ไม่ ได้ มีเพี ย งชาวต่ า งชาติ แ ละ ผู้อพยพอี ก ต่ อ ไป แต่ ยั ง รวมถึ ง ชาวสเปนตั้ งแต่ วั ย เกษี ย ณอายุ ที่ มีเงิ น เก็ บ แค่ พ ออยู่ ร อด ไปจนถึงผูบ้ ริหารทีม่ องหาสูททีต่ ดั เย็บอย่างดีส�ำ หรับการนัดพบสำ�คัญ โนเอมี โลรอโน เจ้าของ ร้านเสื้อผ้ามือสอง Figure ในย่านชนชั้นกลางแชมเบรีของมาดริดเล่าว่า ตั้งแต่ช่วงปี 2012 เริ่ม มีลูกค้าหน้าใหม่แวะเวียนเข้ามาที่ร้านมากขึน้ โดยเป็นกลุม่ ลูกค้าทีม่ รี ายได้ปานกลาง-สูง ใน ขณะทีโ่ คลอมเบียนส์ อาร์มานโด แอร์นานเดส และ มารีเบล โคโลเนีย เจ้าของกิจการรับทำ� กรอบรูปทีซ่ บเซามานาน ก็ได้รบั เสียงตอบรับอย่างล้นหลามเมือ่ พวกเขาเริม่ ติดประกาศรับซ่อม เฟอร์นิเจอร์ ตอนนี้ร้าน Terracotta จึงเต็มไปด้วยโต๊ะ เก้าอี้ และตู้เสื้อผ้าชำ�รุดที่ลูกค้านำ�มา ฝากไว้ City of Markets
แม้ว่าชาวสเปนหัวเก่าจะไม่เห็นด้วยกับการหารายได้ด้วยการนำ�ของใช้ ที่ตัวเองไม่ต้องการแล้วมาจำ�หน่าย แต่การเดินตลาดนัดซึ่งมีทั้งสินค้า มือหนึง่ และมือสองให้เลือกสรรในวันอาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ก็เป็น กิจกรรมยอดนิยมของชาวเมืองมาดริดและผู้มาเยือนมาเป็นเวลานาน ไม่ ว่าจะเป็นตลาดนัดทีม่ ขี า้ วของทุกประเภททีจ่ ะจินตนาการออก หรือตลาด ที่เป็นแหล่งซื้อขายสินค้าเฉพาะอย่าง สิงหาคม 2558
l
Creative Thailand
l 25
CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
flickr.com/martius
El Rastro: ตลาดนัดกลางแจ้งทีใ่ หญ่ทส่ี ดุ ในยุโรป ทุกๆ วันอาทิตย์ พืน้ ทีใ่ นจัตรุ สั Plaza de Cascorro และบริเวณใกล้เคียงจะพลุกพล่านไปด้วยฝูงชนและแผงขายของหลายพันแผง ทีน่ ม่ี ที กุ อย่างทีท่ กุ คนมองหา ทัง้ ของมือหนึง่ และมือสอง ตัง้ แต่เสือ้ ผ้า เครือ่ งประดับแปลกๆ ของใช้ในบ้าน ของสะสมโบราณ ไปจนถึงชิ้นส่วน คอมพิวเตอร์และเครื่องใช้ไฟฟ้า Stamps and Coins Market: ตลาดแสตมป์และเหรียญในจัตุรัส Plaza Mayor เป็นหนึง่ ในตลาดนัดที่เก่าแก่ที่สุดในมาดริด ที่ซงึ่ นักล่าแสตมป์และเหรียญทัง้ มืออาชีพและมือสมัครเล่น พร้อมใจกันมา นำ�เสนอและมองหาขุมทรัพย์ที่พวกเขาชื่นชอบในวันอาทิตย์ Cuesta de Moyano: ตลาดนัดหนังสือถาวรซึ่งยึดครองพื้นที่ติดกับสวนสาธารณะ Retiro เริ่ม จัดมาตัง้ แต่ปี 1925 นักสะสมหนังสือมืออาชีพจะเดินทางจากทัว่ โลกเพือ่ มาต่อรองซือ้ ขายกันทีน่ ่ี ตลาดโมยาโน มีหนังสือมากกว่า 300,000 เรื่องจากหลากหลายสาขา ทั้งหนังสือหายากและหนังสือเก่าตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 หรือหนังสือทีป่ จั จุบนั ไม่ตพี มิ พ์แล้ว ไปจนถึงฉบับตีพมิ พ์ลา่ สุด ทัง้ หมดวางอยูบ่ นแผงขายหนังสือไม้สนขนาด 15 ตารางเมตรจำ�นวน 30 แผง ซึ่งได้รับการดูแลซ่อมแซมให้ยังคงรูปแบบเดิมจนถึงปัจจุบัน Paintings Flea Market: ตลาดนัดภาพเขียนในจัตรุ สั Plaza Conde de Barajas แห่งนี้ จัด ขึ้นโดยสมาคมจิตรกรแห่งมาดริด ผู้มาเยือนสามารถเลือกซื้อภาพเขียน ทั้งที่เป็นสำ�เนาภาพเขียนชื่อดัง และ งานของแท้จากศิลปิน รวมทั้งเดินชมผลงานที่จัดแสดงอยู่ตลอดเส้นทาง
A Second Chance to Share flickr.com/promomadrid
Second Hand Go Online
flickr.com/jafsegal
หลุยส์ อองฮิล และเพือ่ นๆ เริม่ ก่อตัง้ Percentil เว็บไซต์ขายเสือ้ ผ้าเด็กมือสองในมาดริดเมือ่ ปี 2012 เปิดโอกาสให้พอ่ แม่ทม่ี เี สือ้ ผ้าของลูกวัยกำ�ลังโตนำ�สินค้ามาขายต่อได้ โดยแจ้งขอรับกระเป๋าเพือ่ นำ�ไป บรรจุเสือ้ ผ้าทีต่ อ้ งการขาย ก่อนจะส่งให้พวกเขาตรวจสอบคุณภาพ ทำ�การอัพเดทภาพและรายละเอียด สินค้าลงบนหน้าเว็บไซต์ พร้อมระบุราคาใหม่ของสินค้ามือสองที่ ‘ดูเหมือนใหม่ (quasi-new)’ เหล่านี้ เทียบกับราคาเต็มเพื่อขายต่อให้แก่ผู้ที่ต้องการ ในปี 2014 Percentil ได้รับเงินทุนจำ�นวน 1 ล้าน เหรียญยูโร จาก Active Venture Partners เพือ่ เดินหน้าพัฒนาระบบการรับซือ้ สินค้าทั่วยุโรป พร้อม กับพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อเพิ่มไลน์เสื้อผ้าสตรีมือสองในชื่อ Percentil Woman ในอนาคต ตัวเลขการซือ้ ขายสินค้ามือสองในโลกออนไลน์ก�ำ ลังเพิม่ ขึน้ อย่างเห็นได้ชดั จากการสำ�รวจของ เว็บไซต์ขายสินค้ามือสองสำ�หรับเด็ก Percentil.com และ Parabebes.com ในปี 2013 พบว่ามี พ่อแม่ชาวสเปนที่ซื้อสินค้ามือสองร้อยละ 36 และอีกร้อยละ 40 ก็มีแนวโน้มที่จะเลือกซื้อของมือสอง บนเว็บไซต์ หากทางร้านมีบริการรับคืนและรับประกันสินค้า โยมเมอ โกมา ผูจ้ ดั การทัว่ ไปของ Segundamano เว็บไซต์สนิ ค้ามือสองออนไลน์ทไี่ ด้รบั ความ นิยมทีส่ ดุ ในสเปน รายงานว่าในเวลา 5 ปีทผ่ี า่ นมา เว็บไซต์มอี ตั ราการลงโฆษณาบนหน้าเว็บสูงขึน้ ถึง 4 เท่า และยอดผูเ้ ข้าใช้งานเพิม่ ขึน้ จาก 2.5 ล้านครัง้ เป็น 10 ล้านครัง้ ส่วน Pikeando เว็บไซต์ภาษาสเปน สำ�หรับซือ้ ขายเฟอร์นเิ จอร์อเิ กียมือสอง ก็มยี อดผูเ้ ข้าชมเพิม่ ขึน้ 3 เท่าทุกปี เฉลี่ย 150,000 ครัง้ ต่อเดือน 26 l
Creative Thailand
l สิงหาคม 2558
Abrete Sesamo (Open Sesame) เป็นหนึ่งใน ร้านขายของมือสองจำ�นวนมากทีเ่ กิดขึน้ ใจกลาง เมืองมาดริดในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ แต่สิ่งที่ ต่างจากร้านอื่นๆ ก็คือการซื้อสินค้าในร้านนี้ ไม่จำ�เป็นต้องใช้เงินสด ลูกค้าเพียงจ่ายค่า ลงทะเบียนสมาชิกเล็กน้อย และนำ�ของใช้ที่ ไม่ต้องการแล้วมาแลกแต้มเพื่อใช้ซื้อของใน ร้านเท่านั้น “พวกเขาจะจ่ายเงินยูโรเพื่อซื้อแต้ม ก็ได้ แต่เราจะคิดในราคาที่แพงกว่า เพราะเรา อยากกระตุ้นให้คนนำ�ของที่ไม่ใช้แล้วมาแลก” เอมมานูเอลลา เชนา เจ้าของร้านอธิบาย ร้านของเอมมานูเอลลาเป็นหนึ่งในองค์กร และห้างร้านในสเปนที่หันมาพึ่งพาระบบการ แลกเปลีย่ นสิง่ ของโดยไม่ใช้เงิน (Barter System) ในภาวะการเงินฝืดเคือง เช่นเดียวกับในปี 2010 ที่ ซาบีโน ลีเอบานา เจ้าของบริษทั Atodatinta ผู้จัดจำ�หน่ายเครื่องพิมพ์และอุปกรณ์อะไหล่ที่ ประสบปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน เลือกจ่าย ค่าเช่าสำ�นักงานส่วนหนึ่งให้แก่ผู้ให้เช่าด้วย เครื่องพิมพ์ ตลับหมึก และคอมพิวเตอร์ของ บริษัท
CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
Time Bank นอกจาก “สิ่งของ” แล้ว “บริการ” ก็เป็นทรัพย์สิน อีกประเภททีช่ าวสเปนนำ�มาแลกเปลีย่ นกันโดยตรง โดยเฉพาะในช่วงวิกฤติที่สเปนมีอัตราการว่างงาน ถึงหนึ่งในสี่ของประเทศ (ปี 2012) ซึ่งสูงเป็นอันดับ สองในสหภาพยุโรปรองจากกรีซ ในขณะทีร่ ฐั บาล เองก็จ�ำ ต้องตัดลดค่าใช้จา่ ยและสวัสดิการผูว้ า่ งงาน ลงเพื่อรักษาเสถียรภาพของประเทศไว้ “เวลา” จึง เป็นสิ่งที่ผู้คนมีเหลือเฟือยิ่งกว่า “เงิน” ในกระเป๋า หลายปีที่ผ่านมา มีการจัดตั้งกลุ่มเพื่อแลก เปลี่ยนบริการในระดับบุคคล ด้วยระบบที่เรียกว่า “ธนาคารเวลา (Time Bank)” ในสเปนจำ�นวนมาก โดยดำ�เนินการเหมือนธนาคารทัว่ ไป แต่จะกำ�หนด ให้ “เวลา” เป็นเหมือนสกุลเงินใหม่ทใี่ ช้เฉพาะกลุม่ เพือ่ ให้สมาชิกใช้ทกั ษะและเวลาของตนเองมาแลก เปลี่ยนกับความช่วยเหลืออื่นๆ จากเพื่อนสมาชิก ด้วยกัน ไม่วา่ จะเป็นซ่อมรถ ทาสีก�ำ แพงห้อง ทำ�อาหาร เช็ดกระจก สอนภาษา สอนเด็กทำ�การบ้าน ฯลฯ แม่ของคามิเลีย กิล ช่วยรีดผ้าและทำ�ความ สะอาดให้สมาชิกคนหนึง่ เธอนำ� “เวลา” ที่ได้จากการ ทำ�งาน มาจ้างคริสตินา อัลเทเบิลให้ตวิ ภาษาอังกฤษ ให้ลูกสาวของเธอ ส่วนคริสตินาเองก็นำ�เวลาที่ได้ ไปเรียนพิลาทิสและขอให้เพื่อนสมาชิกอีกคนที่ เป็นกราฟิกดีไซเนอร์ชว่ ยออกแบบเรซูเม่ใหม่ให้เธอ สมาชิกที่เข้าร่วมในระบบธนาคารเวลาจะมี สมุดบัญชีทรี่ ะบุจ�ำ นวนเงิน (เวลา) ของตนเอง โดย มีเลขานุการทำ�หน้าทีต่ รวจสอบ หลายกลุม่ ใช้ระบบ ออนไลน์ ทำ�ให้สมาชิกสามารถลงทะเบียนเพือ่ สร้าง โปรไฟล์ในระบบ พร้อมทัง้ ระบุทกั ษะงานของตนเอง และงานที่ตอ้ งการหาคนมาช่วยผ่านทางเว็บไซต์ได้ เลย ในขณะที่บางกลุ่มใช้วิธีการจ่ายเช็คเป็นสกุล เงินเฉพาะที่ตั้งขึ้นเอง “สำ�หรับฉัน มันเป็นเรื่องดีที่ได้รู้ว่าเวลาของ ฉันมีคา่ เท่ากับเวลาของคนอืน่ ๆ ไม่มคี วามแตกต่าง ระหว่างหนึง่ ชัว่ โมงทีใ่ ช้ท�ำ งานหน้าคอมพิวเตอร์ กับ หนึง่ ชัว่ โมงทีใ่ ช้ท�ำ ความสะอาด” โลลา ซานเช หนึ่ง ในสมาชิกธนาคารกล่าว ระบบธนาคารเวลาจึงเป็น
เหมือนประตูทท่ี �ำ ให้ผคู้ นค้นพบและตระหนักถึงอำ�นาจของการมีปฏิสมั พันธ์เชือ่ มโยงกับเพือ่ นร่วมชาติคนอืน่ ๆ ไม่ใช่เพียงเพือ่ ทีต่ วั เองได้กนิ ได้ใช้ แต่รวมถึงการได้ผลัดกันเป็นผูผ้ ลิต ผูส้ อน หรือผูใ้ ห้เงินทุนแก่กนั และกัน การสำ�รวจในปี 2012 พบว่ามีกลุ่มธนาคารเวลาเกิดขึ้นทั่วสเปนมากกว่า 325 กลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มมี สมาชิกตั้งแต่ 50 ไปจนถึง 400 คน นั่นหมายความว่า มีประชากรชาวสเปนหลายหมื่นคนที่เข้ามามี ส่วนร่วมในระบบการแลกเปลี่ยน และทำ�ให้ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนี้เป็นเหมือนสนามทดลองเรื่องระบบ การเงินทางสังคมที่ใหญ่ที่สุดของยุคสมัย อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์หลายคนกังวลว่า การเพิ่มขึ้นของชุมชนแลกเปลี่ยนซึ่งอยู่นอกระบบ เศรษฐกิจเหล่านี้ จะยิง่ ผลักให้เศรษฐกิจสเปนอยูน่ อกการควบคุมของรัฐและทำ�ให้ประเทศสูญเสียรายได้จาก การเก็บภาษี เพราะคนเหล่านี้ไม่ได้ทำ�งานแลกเงิน แต่ทำ�เพื่อแลกกับงาน ดังนั้นพวกเขาจึงไม่ได้เสียภาษี เงินได้ “หนึง่ ในกฎของธนาคารเวลาก็คอื งานทีค่ ณุ ทำ�ให้สมาชิกคนอืน่ ๆ จะต้องไม่ใช่งานทีต่ อ้ งทำ�ต่อเนือ่ ง ลองคิดดูวา่ ถ้าคุณสอนภาษาอังกฤษให้สมาชิกคนหนึง่ แล้วเขาเกิดอยากจะให้คณุ สอนให้ทกุ สัปดาห์ คุณก็ท�ำ แบบนัน้ ไม่ได้ เพราะในทางทฤษฎี สถาบันสอนภาษาอังกฤษทีเ่ สียภาษีกจ็ ะสามารถฟ้องคุณได้ในฐานะทีค่ ณุ ไม่ได้เสียภาษี” ฮูลโี อ กิสเบิรต์ นายธนาคารซึง่ เป็นผูใ้ ห้ค�ำ ปรึกษากลุม่ ธนาคารเวลาหลายกลุม่ ในสเปนอธิบาย แม้ว่าผลกระทบที่อาจเกิดจากการจ้างงานนอกระบบจะยังเป็นคำ�ถามที่ต้องหาคำ�ตอบ แต่เชื่อว่าการ ที่ชาวสเปนได้หันกลับมามองหา มองเห็น และใช้ประโยชน์จาก “คุณค่า” ของสิ่งของ ทักษะ และเวลาที่ ตนมีอยู่ให้คุ้มค่ามากที่สุด ย่อมเป็นการเริ่มต้นที่ทำ�ให้เข้าใจวิกฤติที่กำ�ลังเผชิญ และพร้อมจะเดินหน้าต่อ อย่างมั่นคง ไม่ช้าก็เร็ว
Lost & Found Market
เทศกาลตลาดนัด Lost & Found เกิดขึ้นด้วย ความตั้ ง ใจที่ จ ะเป็ น แหล่ ง ซื้ อ ขายแลกเปลี่ ย น สินค้ามือสองทีเ่ ปิดโอกาสให้ใครก็ตามทีม่ ขี า้ วของ ที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว สามารถจองพื้นที่ในงานเพื่อ facebook.com/Lost and Found Market นำ�สินค้ามาจำ�หน่ายให้แก่เจ้าของคนใหม่ โดยมี กฎเหล็กว่าสินค้าทุกชิ้นที่นำ�มาขายจะต้องเป็น ของมือสองเท่านั้น พร้อมกับชูแนวคิดเรื่องการใช้และจัดการกับข้าวของอย่างคุ้มค่า “Reduce Reuse Recycle (3R)” เทศกาลจัดขึน้ เป็นครัง้ แรกในมาดริดเมือ่ เดือนมิถนุ ายน 2015 ทีศ่ นู ย์วฒั นธรรม Conde Duque หลังจากที่เริ่มจัดต่อเนื่องในบาร์เซโลนามาตั้งแต่ปี 2007 Lost & Found Market แบ่งพื้นที่ออกเป็น 6 ส่วน ได้แก่ Art Space พื้นที่แสดงผลงานศิลปะของ ศิลปินรุ่นใหม่ พร้อมด้วยเวิร์กช็อปที่เกี่ยวข้อง เช่น การดัดแปลงเสื้อผ้า การทำ�เครื่องดนตรีจากวัสดุ รีไซเคิล ฯลฯ Market Space สำ�หรับซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ามือสองที่คัดเลือกแล้วว่ามีความน่าสนใจ และมีคุณภาพ Open Space เพื่อให้ทุกคนได้แสดงความเห็นอย่างเสรีผ่านการเสวนา และยังมีจุดแลก หนังสือทีส่ ามารถนำ�หนังสือทีไ่ ม่ตอ้ งการแล้วมาแลกกับหนังสือทีค่ นอืน่ ๆ นำ�มาวางไว้ นอกจากนี้ ยังมี Children’s Space พื้นที่ให้ความรู้เรื่องการจัดการของใช้ด้วยหลัก 3R แก่ผู้เข้าร่วมงานวัยใสผ่านเกม และเวิร์กช็อปต่างๆ รวมถึง Chef’s Space พื้นที่จำ�หน่ายอาหารและเครื่องดื่ม และ Music Space ที่ มีการแสดงดนตรีจากวงดนตรีและดีเจผลัดเปลี่ยนกันมาสร้างสีสันในงาน
ที่มา: Euromonitor / fleamarketinsiders.com / บทความ “In hard-hit Spain, bartering becomes means of getting by” (20 กุมภาพันธ์ 2013) จาก usatoday.com / บทความ “Lost & Found: Barcelona Reinvents Second Hand Markets” จาก treehugger.com / บทความ “Madrid’s first edition of the Lost & Found Market” (4 มิถุนายน 2015) จาก petitplace.com / บทความ “Sharing Espana: The Association of Sharing Economy Startups in Spain” (12 ธันวาคม 2014) จาก collaborativeconsumption.com / บทความ “Spain barter economy wins followers in grip of crisis” (20 กุมภาพันธ์ 2012) จาก reuters.com / บทความ “Spain takes to the thrift shop” (26 มีนาคม 2014) จาก fortune.com / บทความ “Spain's crisis spawns alternative economy that doesn't rely on the euro” (4 กันยายน 2012) จาก the guardian.com / บทความ “Spaniards make-do and mend as crisis reshapes consumerism” (19 กันยายน 2012) จาก reuters.com / บทความ “'Time Banks' Help Spaniards Weather Financial Crisis” (22 กันยายน 2012) จาก npr.org สิงหาคม 2558
l
Creative Thailand
l 27
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
MADE BY LEGACY
ส่งต่อและแบ่งปัน คุณค่าจากมรดก ตกทอด เรื่อง: นันท์นรี พานิชกุล ภาพ: นัทธ์ชนัน เพชรดี
28 l
Creative Thailand
l สิงหาคม 2558
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
ปัจจุบันหากความสนุกของการใช้ของวินเทจ คือการได้เรียนรู้และใช้สอยข้าวของมีเรื่องราวมากคุณค่าจากยุคอดีต ความสนุกของ การเดินตลาดนัดของวินเทจแบบ Flea Market ก็คงอยู่ที่การได้มาพบปะ เสาะหา และแบ่งปันความหลงใหลไปกับมรดกตกทอด จากวันวานไปกับคนคอเดียวกัน คงไม่มีใครเข้าใจเรื่องนี้ดีไปกว่า วุฒิ "วู้ดดี้” สมบูรณ์กุลวุฒิ ผู้ก่อตั้งและผู้อำ�นวยการของ Made by Legacy ตลาดนัดสไตล์อเมริกนั อันเป็นหมุดหมายทีค่ นรักชอบของวินเทจในเมืองไทยไม่เคยพลาด มุมมองและประสบการณ์ จริงจากการจัดงาน Made by Legacy ของวู้ดดี้ได้เผยเราเข้าใจว่า คุณค่าและความหมายใหม่ของการบริโภคของเก่า ไม่เพียง อยู่ที่การเติมเต็มทางจิตวิญญาณหรือการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ หากการหมุนเวียนและแบ่งปันกันใช้ไม่สิ้นสุดนี้ ยังเป็นเรื่องของชุมชน และการอยูร่ ว่ มกัน ทีช่ ว่ ยสร้างสรรค์วฒ ั นธรรมการแลกเปลีย่ นและส่งต่อความรูแ้ ละคุณค่าจากรุน่ สูร่ นุ่ อันขานรับไปกับกระแสความ เป็นไปของโลกอย่างยั่งยืน
คิดอย่างไรกับการเกิดขึ้นของ Flea Market ซึ่งมีการ จัดกันในช่วงสุดสัปดาห์บ่อยครั้งขึ้นเรื่อยๆ ในกรุงเทพฯ รวมถึ ง การที่ ค นหั น มาสนใจของวิ น เทจกั น มากขึ้ น จุดเริ่มต้นการชอบของวินเทจของคุณวู้ดดี้เองมีที่มา อย่างไรและทำ�ไมถึงตัดสินใจจัดงาน Made by Legacy จริงๆ ตลาดแบบนีม้ มี าไม่รกู้ ี่ร้อยปีแล้วทัว่ โลก มีตลาดดอกไม้สด อาหารสด มีของเก่าของใหม่ แต่ตอนนี้ที่เห็นเยอะๆ มันเป็นเพราะสื่อ ก่อนหน้านี้ ไม่ค่อยมีใครได้เห็นภาพตลาดแบบนี้มาก่อน มันเป็นแพลตฟอร์มของ มาร์เก็ตเพลสแบบที่มีความสวยงามที่คนส่วนใหญ่อาจจะยังไม่เคยมี ประสบการณ์ เหมือนครั้งแรกที่ผมชอบ Flea Market ก็มาจากเราได้ มองเห็นมุมหนึ่งที่คนอื่นมองไม่เห็น ได้ไปดูตลาดฝรั่ง เห็นคนมากองของ มาขายของ มันมีอะไรมากกว่าตลาดนัดธรรมดาๆ ด้วยสื่อที่ออกมาช่วย กระจายภาพต่างๆ คนสามารถเข้าไปเสิร์ชหารูปจากอินเทอร์เน็ตได้ คน ก็เริ่มได้เห็นภาพของตลาดนัดฮิปๆ จากทุกมุมโลก เพราะงั้นตลาดพวกนี้ กลายเป็นของแบบไม่อลี๋ ะ ทุกคนอยากไปเดิน ฉันอยากจะไปถ่ายรูป อยาก จะไปกินสตรีทฟู้ดที่อยู่ในตลาดบ้าง กินขนมซึ่งมันไม่ได้หากินได้ตามร้าน ทีเ่ สิรช์ หาแล้วก็เจอ มันเป็นประสบการณ์อย่างหนึง่ ทีท่ กุ คนบนโลกต้องการ ไม่ใช่แค่ที่เมืองไทย ถ้าเป็นในกรุงเทพฯ ทำ�ไมตอนนี้เห็นเยอะ เพราะว่า ตัวคอร์เปอเรชัน่ ใหญ่ๆ ทีเ่ ขาทำ�เกีย่ วกับรีเทล เขาก็ไม่รจู้ กั หยุดเจริญเติบโต เข้าตลาดหุน้ พัฒนาจนทุกคนเขาเบือ่ ห้าง ส่วนตัวผมนะ คนก็อยากจะมา จับจ่ายใช้สอยในตลาดสไตล์อื่นบ้างที่ไม่จำ�เป็นต้องเป็นห้าง น่าจะเป็น เหตุผลนี้ด้วย โลกของวินเทจ มันคือโลกของการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ที่ทุกคน สามารถมีเรือ่ งทีต่ วั เองชอบ เป็นฮ็อบบีอ้ ย่างหนึง่ เป็นสิง่ ทีเ่ ราสนใจ บางคน ชอบยีนส์ แต่รู้เรื่องฮอลลีวูดยุคปี 50s บางคนชอบแผ่นเสียงก็เลยรู้เรื่อง เพลง สิ่งที่มันได้กลับมาทุกคนจะกลายเป็นแบบผู้รู้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ของวินเทจนี่มันสนุกตรงนี้ มันพูดไม่มีวนั จบ ถ้าคนๆ หนึง่ เริม่ ชอบของวินเทจ แล้วจะเลิกชอบไม่ได้ มันจะไม่มีคำ�ว่าเลิกชอบ
เด็กๆ พ่อชอบพาไปคลองถม แต่ผมไม่เคยชอบเลย บอกเขาว่าอยาก อยู่บ้านเล่นเกม ไม่ชอบของคนอื่น ชอบของใหม่ เดินจตุจักรเมื่อก่อนไม่ เคยดูตรงขายของวินเทจ เดินผ่านก็รู้สึก เฮ้ย มันสกปรก แต่อาจจะเพราะ พ่อเราปลูกฝังมาแต่เด็กๆ มันก็ค่อยๆ ซึมซับจนวันหนึ่งเราโตขึ้นเรารู้สึก มันโอเค กลายเป็นว่า สิง่ ทีเ่ ราอีม๋ าตลอดคือสิง่ ทีช่ อบ ชอบของวินเทจ ตอน วัยรุน่ ก็ชอบเสือ้ ผ้ามือสอง จากเสือ้ ผ้าเริม่ เป็นของใช้ จนมาเป็นเฟอร์นเิ จอร์ ก็เริ่มรู้จักดีลเลอร์กลุ่มวินเทจ พ่อค้า คนสะสมกางเกงยีนส์ รู้จักคนใน วงนี้มากขึ้น แต่ผมไม่ใช่นักสะสม ผมเป็นลูกค้า ทุกวันนี้ก็ยังเป็น ตอนแรกไม่ได้อยากจะทำ�อะไรเกี่ยวกับตลาด เด็กๆ อยากเป็น สถาปนิก เป็นเจ้าของโรงแรม ทำ�ร้านบูทคี ช็อป เป็นคอนเซ็ปต์สโตร์ แฟชัน่ นิดๆ แต่รู้ตัวว่าชอบเดินตลาด ผมชอบตลาดนัดเมืองไทยอยู่แล้ว ทั้ง จตุจักรหรือคลองถม เวลามีโอกาสไปต่างประเทศผมจะไปตลาด Flea Market อย่างที่นิวยอร์กที่ผมไปเรียนต่อ มันน่ารักมาก ไปแล้วไปอีก ร้าน เดิมนี่แหละ แต่ไปยืนคุยกัน ไปเล่าเรื่องอาทิตย์ที่แล้วว่ามีอะไรเกิดขึ้น ผม ไปเจอตลาดนัดอันใหม่ ไปเจอคนขายคนใหม่ของตลาดนัดอีกที่หนึ่งก็ แนะนำ�กัน ทุกคนแชร์ความรู้กันคือพอเราไป Flea Market ที่ต่างประเทศ แล้วเราเห็นว่า ตลาดนัดบ้านเรามันไม่ได้มีวิญญาณอยู่ในนั้น สุดท้ายมัน ไม่สนุก แต่ตอนนั้นก็ยังไม่ได้คิดว่าจะกลับมาจัด Flea Market สิงหาคม 2558
l
Creative Thailand
l 29
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
พอกลับมา ผมเริ่มคิดถึงว่า เฮ้ย มันไม่มีแบบนั้น แล้วเราพอจะ รวบรวมคนได้ เราเป็นคนกลางให้ ตอนแรกคิดแค่ว่าอยากจะตั้งเป็น ชมรมขึ้น มาทำ�เป็นกึ่งชมรม รวมตัวกันเป็นงานประจำ�ปีของคนชอบของ วินเทจ ตอนแรกง่ายสุดก็เป็นของแฟชั่นที่ชอบมาตั้งแต่วัยรุ่น Made by Legacy ครั้งที่หนึ่งเลยเป็นงานที่เน้นแฟชั่น ของแต่งบ้านน้อยหน่อย มี สองบูธ มีแผ่นเสียงนิดหน่อย ที่เหลือเป็นเสื้อผ้าหมด ผมไม่อยากเรียก “ร้านค้า” นะ พวกเขาเป็น “นักสะสม” ผมบอกคนที่มาว่า “พวกคุณไม่ใช่ ร้านค้า ผมไม่ได้จะทำ�มาร์เก็ตเพลสใหม่เพื่อพวกคุณที่อาจจะมีหน้าร้าน อยู่ที่สวนจตุจักรอยู่แล้ว บางคนเป็นดีไซเนอร์ บางคนเป็นสไตลิสต์ หรือ ทำ�งานอื่นๆ แต่ผมขอวันนี้ คุณมาเป็นเหมือน Exhibitor (นักจัดแสดง ผลงาน) เป็นดีลเลอร์ในเวลาเดียวกัน ไม่จำ�เป็นต้องขาย แต่เอาของมา โชว์ได้” Made by Legacy เป็นที่ที่ผมตั้งใจให้เป็น Flea Market แบบนั้น เป็นทีใ่ ห้คนทีม่ าได้รแี ลกซ์ เอาพืน้ ทีส่ ว่ นตัวทีไ่ ม่เคยมีใครได้เห็นมาแบ่งปัน กับคนที่สนใจในพื้นที่เดียวกันร่วมกัน นั่นคือเจตนารมณ์ ส่วนเรื่องของ การค้าเป็นผลพลอยได้
แต่ ถ้ า คุ ณ มาจั ด เพราะว่ า คุ ณ มา เดินตามตลาดพวกนี้ มาเอาคอนแทค ร้านค้าไป แล้วก็เ อาไปตั้งชื่อขึ้นมา ชือ่ หนึง่ เพือ่ จะทำ�ธุรกิจ ผมไม่เห็นด้วย เพราะว่ า สุ ด ท้ า ยคุ ณ ก็ ไ ปฆ่ า คนอื่ น ที่เขาแชร์ร้านค้าด้วยกัน เพราะการที่ คุ ณ ไปยื ม ของที่ มั น มี อ ยู่ ม าโชว์ ซํ้ า แล้วซํ้าอีก มันไม่มีประโยชน์กับใคร คุ ณ จะใช้ เ รื่ อ งสถานที่ จั ด งานต่ า งๆ มาดึงดูดก็ได้ ไม่มปี ญ ั หา แต่วา่ สุดท้าย คนที่ไม่แฮปปี้ก็อาจจะเป็นลูกค้าของ คุณเอง 30 l
Creative Thailand
l สิงหาคม 2558
มองว่าบ้านเราขาดพืน้ ทีร่ วมคนเหล่านีเ้ ข้าด้วยกันในแบบ ทีม่ าแบ่งปันความรูค้ วามหลงใหล ซึง่ ก็ท�ำ ให้คนอืน่ ๆ สนใจ หรือว่าเข้าใจของวินเทจมากขึ้นไหม ผมเทียบระหว่างงานผมกับงานของหลายๆ กลุม่ ทีเ่ ขาทำ�อยูท่ กุ วันนี้ สมมติ ว่ามีอยูส่ บิ กลุม่ มีสองในสิบกลุม่ ทีผ่ มว่าเขาก็มไี อเดียทีม่ าจัดงานเอาท์ดอร์ กัน จะเรียก Flea Market หรือเรียกงานแฟร์ก็แล้วแต่ ผมจะชอบกลุ่มที่ เขาเอาความเป็นกลุม่ ของเขามานำ� ก็จะคอยศึกษาเหมือนกันว่ากลุม่ นีใ้ คร เป็นผู้นำ� ร้านค้าเป็นใคร แล้วเขามีความเกี่ยวเนื่องกันไหม ถ้าเขามีเนี่ย ผมสนับสนุน ผมไม่เคยมองว่ามาแข่งกัน ผมรู้สึกว่ามีอะไรให้ผมช่วย ผมอยากช่วยด้วยซํ้า แต่ถา้ คุณมาจัดเพราะว่าคุณมาเดินตามตลาดพวกนี้ มาเอาคอนแทคร้านค้าไป แล้วก็เอาไปตั้งชื่อขึ้นมาชื่อหนึ่งเพื่อจะทำ�ธุรกิจ ผมไม่เห็นด้วย เพราะว่าสุดท้ายคุณก็ไปฆ่าคนอื่นที่เขาแชร์ร้านค้าด้วยกัน เพราะการที่คุณไปยืมของที่มันมีอยู่มาโชว์ซํ้าแล้วซํ้าอีก มันไม่มีประโยชน์ กับใคร คุณจะใช้เรื่องสถานที่จัดงานต่างๆ มาดึงดูดก็ได้ ไม่มีปัญหา แต่ ว่าสุดท้ายคนทีไ่ ม่แฮปปีก้ อ็ าจจะเป็นลูกค้าของคุณเอง คนทีเ่ ป็นร้านค้าของ คุณ เขาไม่เห็นว่าคุณ give a damn (ใส่ใจ) กับเขา Made by Legacy ผมไม่คอ่ ยกังวล เพราะว่าผมมี “ลูกค้า” หลักผม หมายถึง Exhibitor หรือร้านค้าหลักกลุม่ วินเทจของผมซึง่ เขาไม่ไปงานอืน่ แต่ถ้ากลุ่มงานอาร์ตและคราฟต์ มันเป็นอาชีพนะ ถ้าเขามีพื้นที่ขายเพิ่ม อยากจะไปโชว์งานเขา เขาก็ต้องไป ก็ไม่ผิดอะไร ผมเห็นทุกคนพยายาม จะบอกว่าเราจะมีร้านนี้มา คนนั้นมา จริงๆ แล้วมันก็จะยิ่งทำ�ให้แบรนด์ ของคุณไม่ชัด Made by Legacy ไม่เคยบอกว่าร้านค้าเราคือใคร คุณต้องมาดูเอง มาทำ�ความรู้จักเอง ดนตรีใครจะเล่นผมไม่บอก ต้องมา ดูเอง บอกเต็มทีก่ ค็ อื หน้างาน ไม่มคี วามจำ�เป็นทีผ่ มจะต้องโฆษณาสำ�หรับ Flea Market มันอยู่ที่คุณได้มาแล้วคุณชอบ แล้วคุณก็จดไว้ในตารางของ คุณ กลางปีเดี๋ยวมี Made by Legacy นะ สิ้นปีจะมีอีกนะ
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
มองว่าตลาด Flea Market จะอยู่ให้ประสบความสำ�เร็จ โมเดลการจัด Flea Market ทีเ่ หมาะกับบ้านเราน่าจะเป็น ได้อย่างไรในปัจจุบัน ย้อนไปสักสิบปีมีคนเคยจัดงาน แบบไหน แบบนี้ในบ้านเราไหม มันมีตัวอย่างที่ง่ายที่สุดและทุกคนน่าจะรู้จักที่สุดก็คือ Brooklyn Flea ซึ่ง เขาเป็นธุรกิจที่ใหญ่แล้วตอนนี้ ก็คือ เขาคลอดความเป็นตลาดนัด Flea Market มาเป็นตลาดอาหาร Smorgasburg วันเสาร์เป็นตลาดขายของ วันอาทิตย์จะเป็นตลาดขายอาหารซึง่ มันตอบโจทย์มาก แล้วทำ�ไมของเขา อยู่ได้ เพราะของเขาเป็นเมืองแบบเมโทรโพลิแทนที่ทุกคนต้องไป แล้ว กิจกรรมถ้าคุณไม่เดินฟิฟท์ อเวนิว คุณก็ตอ้ งมาทีน่ ี่ หน้าร้อนก็โอเคไม่รอ้ น จนเกินไป ฝนเขาก็แบบมีบ้าง หน้าหนาวเขายาวมากก็มีแผนสำ�รอง คือ ไปเช่าตึกเก่าชื่อ One Hanson Place ซึ่งเป็นสถานที่ที่สวยอีก คือเขา ค่อนข้างคิดครบลูปทุกฤดูวา่ เขาจะไปทีไ่ หน ทุกทีๆ่ เขาจองไว้ทงั้ หมด แล้ว วางแผนไว้ ทั้งหมดมันจบด้วยตัวของมันเอง Made by Legacy ชอบโมเดลนี้และพยายามทำ�ตามในเรื่องของ แพลตฟอร์มให้มันเข้ากับระบบอากาศของบ้านเรา ซึ่งทำ�ไมเขาทำ�ทุก อาทิตย์ได้ แต่ Made by Legacy ไม่สามารถทำ�ได้ เราสามารถมีตาม ฤดูได้ แต่ไม่สามารถจัดบ่อยได้เท่า เพราะว่าของเขาหลากหลายมากใน แต่ละฤดู หมายความว่า เจ๊คนนี้ก็จะเอาแจกันมาขาย สักพักก็แบบ ฉัน ไม่เอาละ ฉันจะเอากระเป๋ามา แต่บา้ นเรามีลมิ ติ มาก เรามีเต็มทีก่ ร็ องเท้า สองร้อยคู่ แต่ทนี่ นั่ มีคนมีรองเท้าสองร้อยคูป่ ระมาณสิบคน มีแบบพันคูอ่ กี สักห้าคน พวกนี้ก็จะบางทีเบื่อตลาดนี้ ก็ย้ายไปพอร์ตแลนด์บ้าง มันมี คนพอร์ตแลนด์ก็มาขายอยู่ในนิวยอร์ก ก็สับเปลี่ยนกันมา มันเหมือน ประเทศเขาใหญ่ เวลาเขาจัด เขาสามารถทำ�ได้ทกุ อาทิตย์ แล้วอาหาร ไม่ ต้องห่วงเลย โดนัทเขาอร่อยจริงๆ นึกออกไหม มีหนังสือเล่มหนึ่งเขียนว่า เมื่อสิบปีที่แล้วก่อนมี Made By Legacy เคยมีงานทีส่ ยามสแควร์ แต่ชอื่ อินดีอ้ ะไรจำ�ไม่ได้ ทีแ่ บบว่าผิดละ มีคนเคย จัดงานแบบนี้จริงครับ อย่างเช่น Flea Market ในซอยแจ่มจันทร์ เอกมัย แบบป็อปอัพขึ้นมาตรงลานจอดรถตรงนั้น ซึ่งผลตอบรับดีมาก แต่พอ จัดบ่อยๆ ขึ้น คนก็เริ่มเบื่อกันไปเอง เราศึกษามาก่อนแล้วว่าในกรุงเทพฯ ไม่สามารถทำ�อะไรแบบนั้นได้ทุกวัน ให้งานมันตื่นเต้นทุกวันในทุก อาทิตย์ เพราะฉะนั้น Made by Legacy ก็เลยจัดปีละแค่สองครั้ง แม้บางคนจะบอกว่าสี่ครั้งไปเลย ทุกควอเตอร์ก็ไม่ทำ� เพราะรู้ว่ามันก็จะ เปื่อยเร็ว
ค่อนข้างยากมาก ของ Made by Legacy เองครั้งแรกเก็บค่าเข้าสามร้อย บาทโดยให้คูปองแลกเป็นส่วนลดสุดท้ายโดนด่าเพราะว่าลงสื่อไปไม่พูด เรื่องนี้ คนที่มาก็งง โดนคนรวยคนหนึ่งถือไม้เท้าใส่หมวกมาแบบนึกว่าจะ มาเจอของเจ๋ง เอาคูปองโยนคืนแล้วบอก waste of my time เราก็เรียนรู้ ว่า มาเก็บสามร้อยบาท แล้วพอมองไป ของเรามันห่วยสำ�หรับเขาจริงๆ แล้วเราไปลงบางกอกโพสต์ ไปพูดเหมือนเราแบบใหญ่โตรู้เรื่องวินเทจมา จากไหน เราก็เลยเริ่มปรับ แต่ยังไงเราต้องเก็บค่าเข้าอยู่ เพราะไม่ชอบมี สปอนเซอร์ ก็คิดเรื่องค่าเช่าบวกค่าเข้า สุดท้าย โมเดลธุรกิจก็ค่อยๆ มา จากค่าเข้าจากสามร้อยเหลือร้อยหนึ่ง ครั้งที่สองพอทุกคนมาแล้วแฮปปี้ ขอเก็บค่าเช่าทุกคนก็ยอมจ่าย ก็เก็บน้อยๆ ก่อน ครั้งแรกที่เก็บก็ขาดทุน ครัง้ ทีส่ องก็ยงั ขาดทุน แต่พอครัง้ ทีส่ ามคิดมาแล้วว่ามันถึงจุดเลยจุดคุม้ ทุน เพราะเราจะขอขึน้ ค่าเช่าได้อกี หนึง่ ครัง้ แล้วจะเป็นราคามาตรฐาน คือยอม เสียก่อนเหมือนคนลงทุนทำ�ร้าน ก็เลยจุดคุ้มทุนในครั้งที่สาม ประมาณปี ครึ่ง วางแผนแล้วว่าครั้งที่สามจะได้กำ�ไร แล้ว Made by Legacy มี บาร์ของตัวเอง ขายเครื่องดื่ม ขายค็อกเทลที่คิดสูตรขึ้นมาเอง ด้วยเงิน สามส่วนรวมกันแล้วเราสามารถจัดไปได้ แล้วเราก็ไม่ได้โลภที่จะแบบว่า ต้องได้เยอะเพราะรู้สึกว่าเท่านี้เราก็สามารถจัดได้ทุกๆ ครั้งละ จุดที่ทำ�ให้ตัว Made by Legacy แตกต่าง อยู่ที่ทุกคนเป็นเพื่อนกัน ผมมีส่วนวินเทจที่ค่อนข้างแข็งแรงซึ่งคนอื่นก็คงทำ�วินเทจแบบนี้ไม่ได้ แล้วก็ผมเป็นคอมมูนิตี้ที่ชอบให้คนนานาชาติได้ออกมาเจอกัน เพราะ ฉะนั้นจะมีคนญี่ปุ่น มีฝรั่งแซมอยู่ในนั้น มันมีอีกสักกี่งานที่ฝรั่งกับคนไทย มาเดินในงานเดียวกันบ่อยๆ มันไม่มี เพราะตลาดอืน่ ก็คอื จะเป็นวัยรุน่ เลย กลุ่มเป้าหมายเขาก็กลายเป็นแบบว่า เราจะเอาวัยรุ่นกลุ่มไหนดี ซึ่งงาน ผม ผมไม่เคยมองเรือ่ งแบบนัน้ เลย คือผมต้องการให้มนั เป็นเรือ่ งคอนเทนต์ แล้วก็ดึงดูดคน สมมติว่าบางคนบอกว่าอยากได้วัยรุ่นที่ชอบดาราหรือ ไฮโซเซเลบแต่งตัวสวยงามขายของในอินสตาแกรม เขาอยากไปดูดกลุ่ม นั้น นั่นคือสิ่งที่เขามอง แต่ผมกลับมองว่านั่นไม่ใช่ลูกค้าผม ลูกค้าผมคือ คนที่มาขายต่างหาก ทุกวันนีผ้ มทำ�การบ้านในเรือ่ งผมจะหาไฮไลต์ของคนทีจ่ ะมาขายของ งานผมได้ไง ส่วนคนจะมาไม่มาไม่เป็นไร เพราะสุดท้ายผมจะขาย คอนเทนต์ ทำ�ให้ร้านค้าผมแฮปปี้ที่สุด ว่าเดี๋ยวครั้งต่อไปผมก็จะมีสิ่ง อำ�นวยความสะดวกให้ทุกคนครบแล้ว ผมก็จะมีไฮไลต์เป็นอย่างนี้ ธีม อย่างนี้ แล้วผมก็จะพาคนมาให้เยอะทีส่ ดุ แล้วเดีย๋ วพอเขามา เขาก็มเี พือ่ น มีเครือข่ายของเขาที่เป็นแฟนของเขาอยู่แล้วก็เหนียวแน่น สิงหาคม 2558
l
Creative Thailand
l 31
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
สุดท้ายมันคือพลังของความกลมเกลียว เป็นกลุ่มเป็นก้อน เราต้องมีเรื่องความ สัมพันธ์ระหว่างคน นัน่ คือสิง่ ที่มาพร้อม เรื่องการจัดธีมและจัดงาน มองอนาคตของงาน Made by Legacy ไว้อย่างไร ทีก่ �ำ ลังวางแผนว่าอยากจะสนับสนุนคือ เราอยากให้คนทีท่ �ำ งานอาร์ตและ คราฟต์ มีสมาคมที่จะช่วยเขาให้ไปตลาดอื่น อาจจะเมืองนอก อยากเห็น งานดีไซน์ที่เป็นของตัวร้านเอง ครั้งต่อไปเราอาจจะมีแจกรางวัลให้กับ ร้านค้าชนะเลิศ ซึ่งเราก็จะไกด์กลุ่มอาร์ตและคราฟต์ว่าอยากให้คุณทำ� ของเฉพาะงาน Made by Legacy ออกมา นอกจากนี้ เราอยากทำ�งาน ร่วมกับชุมชนชาวต่างชาติในเมืองไทยมากขึ้น ผมรู้สึกว่าเราสามารถเป็น คอมมูนิตี้ที่ใหญ่ขึ้นได้ ไม่ใช่ต้องไปจัดต่างประเทศ อยู่ในบ้านเรานี่แหละ แต่เกี่ยวเนื่องกับคนต่างชาติให้มากขึ้น มีคนสิงคโปร์บินมาวันเดียว บอกบินมาเพือ่ งานยูเลย มีคนอินโดฯ ก็แบบอยากเปิดบูธ ซึง่ อันนีผ้ มอยาก จะเปิดมากขึ้น ไม่ว่าคุณจะเป็นชาติไหนในภูมิภาคเดียวกัน คุณเป็น Made by Legacy ได้ อาจจะเป็นสองครั้งข้างหน้า มันคือการที่ทุกคนได้พัฒนาตัวเอง คือจริงๆ แล้วคือการหล่อหลอม ให้อยู่ในคอมมูนิตี้ กลุ่มของเราไม่ได้ตอบโจทย์ให้กับคนที่เปรียบเทียบว่า ไปขายตลาดนีไ้ ด้เจ็ดหมืน่ อยูต่ ลาดนีไ้ ด้หา้ หมืน่ คือมันเป็นโบนัสกับความ ตั้งใจของคุณเองมากกว่า บางกลุ่มเขามาเพื่อมาสังสรรค์ มาเจอเพื่อนก็มี แต่อกี กลุม่ จะมองว่านีค่ อื สถานทีท่ ไี่ ด้มาเจอลูกค้าหรือคนทีม่ างานนัน่ แหละ ได้มาแลกนามบัตร ได้มาแนะนำ�ตัวก็มี สุดท้ายมันคือพลังของความกลมเกลียวเป็นกลุ่มเป็นก้อน เราต้องมี เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างคน นั่นคือสิ่งที่มาพร้อมเรื่องการจัดธีมและ จัดงาน เราก็ยังต้องมีเรื่องโทรหากัน มันกลายเป็นพี่ เป็นน้อง เป็นเพื่อน แล้วผมมาคุยเอง ถ้าเป็นตลาดอื่น เขาอาจจะส่งคนมาแล้วก็พูดแนวแบบ โอเปอเรเตอร์ โอนเงินภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงนะคะ ถ้าไม่โอนตอนนี้ บูธหลุด มันไม่ใช่เรา สุดท้ายพอคนมาเดินเขาเห็น คนขายยิ้มแย้มเป็นเพื่อนกัน ข้างๆ ยืนคุยกัน สามารถคุยกับลูกค้าได้ อยากให้คนขายกับคนซื้อแบบ ตัวเท่าๆ กัน ผมเคยไปเดินตลาดแล้วก็ไม่กล้าซื้อของ เพราะว่าคนขายดู แบบตัวใหญ่มาก เราอยากอุดหนุน เราอยากรู้จักเขาแต่กลายเป็นว่า ผมซื้ อ ของชิ้ น นั้ น มาแล้ ว มั น เป็ น ความทรงจำ � อี ก แบบหนึ่ ง แต่ พ อใน Made by Legacy มีบรรยากาศแบบนี้ก็เลยแฮปปี้ เพราะเคยเห็นในมุม อื่นของโลก แล้วคิดว่าเมืองไทยมันไม่เคยมี 32 l
Creative Thailand
l สิงหาคม 2558
C RE ATIVE INGRE D IENTS ตลาด Flea Market ที่ชอบ ก็มี Brooklyn Flea ของนิวยอร์ก ของอังกฤษก็ Old Spitalfields Market ใน ลอนดอน หรืออย่างที่เป็นแรงบันดาลใจให้ Made by Legacy ครั้งล่าสุดเป็น งานที่จัดที่ BasilicaHudson เป็นโกดังเก่าๆ ริมแม่นํ้าฮัดสันที่นิวยอร์ก กิจวัตรประจำ�วันที่สร้างแรงบันดาลใจ เราชอบเล่น Flipboard มาก เพราะสามารถใส่ความสนใจของเรา แล้วข่าวที่ มันโผล่มาเป็นสิ่งที่เราสนใจอย่างเรื่อง Flea Market เรื่องแฟชั่น ผมก็ตาม พวกนี้แหละ ของวินเทจที่ชอบ มีชิ้นเดียวที่รักมาก เป็นโต๊ะหินอ่อนที่บ้านพ่อ เห็นมาตั้งแต่เด็กแล้วไม่เคย เห็นค่า พอวันหนึ่งพ่อไม่อยู่ ของทุกชิ้นที่มาจากเขาคือของที่มีค่าสำ�หรับเรา โต๊ะตัวนี้เป็นชิ้นที่ใหญ่ที่สุดและเรารู้สึกว่าเขารักโต๊ะตัวนี้มาก เราเดาเองจาก เหตุการณ์ที่เราแอบนึกไปถึงเขาตอนที่เราเด็ก สุดท้ายอะไรที่ได้มาจากพ่อ นี่แหละ คือของที่เราคิดว่ามีค่าที่สุด ขอขอบคุณภาพประกอบจาก Made by Legacy
CREATIVE WILL คิด ทำ� ดี
SECOND HAND GROCERY STORE
เพราะแค่ชำ�รุด ไม่ได้หยุดคุณค่า flickr.com/Hugh Watkins
เรื่อง: ปิยะพร สวัสดิ์สิงห์
flickr.com/Kate
หลายคนคงเคยซือ้ อาหารกระป๋อง แยม ขนมปัง บิสกิต ฯลฯ หรือ อาหารที่คิดว่าอยากจะเก็บไว้ให้ได้นานสักหน่อย แต่ก็เผลอเก็บ ไว้จนลืม พอนึกขึน้ ได้อกี ทีอาหารทีอ่ ตุ ส่าห์ซอื้ ตุนไว้กห็ มดอายุไป เสียแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้บริโภคส่วนใหญ่ก็มักจะเลือกทิ้งอาหาร นั้นไปเพราะไม่อยากเสี่ยง แต่ความจริงแล้วตัวเลขแสดงวันหมด อายุนั้น โดยมากมีไว้เพียงเพื่อจะบอกให้ผู้บริโภคทราบว่ารูปร่าง หน้าตา รสชาติ หรือสีสันของอาหารอาจเปลี่ยนไปหรือไม่ดี เทียบเท่ากับตอนซื้อมาแรกๆ เท่านั้น แต่ไม่ได้หมายความว่า อาหารทุกอย่างที่หมดอายุแล้วจะเป็นอันตราย
ทีเ่ มืองเล็กๆ ในพิตต์สเบิรก์ รัฐเพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา มีรา้ นขายของชำ� ทีม่ แี นวคิดการทำ�ธุรกิจทีแ่ ปลกแตกต่างไปจากร้านขายของชำ�อืน่ ๆ ชือ่ ว่า Marte Mart ซึ่งจะวางขายเฉพาะสินค้าที่เป็นอาหารกระป๋องที่บุบ หรือ อาหารในบรรจุภัณฑ์ที่เบี้ยวงอ ไปจนถึงอาหารที่บนแพ็คเกจแสดงวันที่ ว่าหมดอายุแล้ว รวมถึงสินค้าทีจ่ �ำ เป็นอืน่ ๆ ในราคาทีย่ อ่ มเยาจนยากทีจ่ ะ ไม่เลือกซื้อหากลับไป โดย Marte Mart หรือที่รู้จักกันในนามร้านเสบียง อาหารนี้จะรับซื้อสินค้ามือสองที่จำ�หน่ายไม่ออกในร้านค้าปลีกอื่นๆ เพื่อ นำ�มาจำ�หน่ายต่อในราคาทีถ่ กู ลง พร้อมรับประกันความมัน่ ใจให้กบั ลูกค้า ว่าสินค้าทุกชิ้นที่จำ�หน่ายใน Marte Mart จะได้รบั การดูแลควบคุมภายใต้ องค์กรด้านอาหารและยาให้ได้มาตรฐานความปลอดภัย กระแสความนิยมของ Marte Mart เกิดขึน้ หลังการปรับตัวเพิม่ ขึน้ ของ ราคาอาหารในสหรัฐอเมริกา ประกอบกับการฟื้นตัวอย่างช้าๆ จากภาวะ เศรษฐกิจที่ถดถอย และแม้ว่าที่ผ่านมาจะมีองค์กรที่เข้ามาให้ความช่วย เหลือในเรื่องการอุปโภคบริโภคของประชากรในรัฐที่ประสบปัญหาความ ยากจนและการขาดแคลนอาหารที่มีคุณภาพบ้างแล้ว อย่างองค์กร Supplemental Nutrition Assistance Program (SNAP) แต่ความช่วย เหลือเหล่านี้ ก็ยังน้อยกว่าที่ประชากรได้รับจากเครือข่ายอาหารเพื่อการ
flickr.com/Guian Bolisay
กุศลของท้องถิ่นอยู่ดี เนื่องจากการให้ความช่วยเหลือของ SNAP คิดเป็น เพียงร้อยละ 60 ซึ่งตํ่ากว่าอัตราความต้องการจากคนทั้งประเทศที่มีถึง ร้อยละ 75 ในปีงบประมาณ 2010 ยิ่งเมื่อสหรัฐอเมริกาต้องเผชิญหน้ากับ วิกฤติเศรษฐกิจครั้งสำ�คัญ จึงเป็นที่มาที่ทำ�ให้ชาวประชากรจำ�นวนมาก โดยเฉพาะในพิตต์สเบิร์ก เมืองที่มีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนอยู่ที่ประมาณ 43,000 เหรียญสหรัฐฯ และเป็น 1 ใน 5 รัฐที่มีค่าเฉลี่ยรายได้ต่อพลเมือง น้อยทีส่ ดุ ในประเทศ โดยมีอตั ราความยากจนอยูท่ รี่ อ้ ยละ 13.7 ต้องหันมา เอาใจใส่กับเรื่องงบประมาณด้านอาหารการกินกันมากยิ่งขึ้น ปัจจุบนั ร้านขายของชำ�มือสองแบบ Marte Mart มีแนวโน้มทีจ่ ะเพิม่ จำ�นวนขึ้นในเขตชนบทตามเมืองต่างๆ ในสหรัฐฯ ที่ประชากรมีรายได้ เฉลี่ยค่อนข้างตํ่าอย่างในเมืองอาร์มสตรอง ซึ่งเป็นเมืองที่ทุกๆ 8 หลังคา เรือนจะมี 1 ครัวเรือนที่ประสบปัญหาความไม่มั่นคงทางอาหาร โดยร้าน ขายของชำ�ประเภทนี้สามารถพบได้ทั่วไปในในเขตตะวันออกเฉียงใต้และ ตะวันตก จากการวิจัยตลาดของ IBIS World พบว่า ในปี 2012 มีร้าน เสบียงอาหารมือสองลักษณะนี้เปิดตัวแล้วถึง 386 แห่งทั่วสหรัฐฯ โดยมี การจับจ่ายของผู้บริโภคทั้งหมด 4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปีเดียวกัน และอุตสาหกรรมนี้ก็มีการเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา การสำ�รวจล่าสุดในช่วงปีทผี่ า่ นมาเกีย่ วกับองค์กรการกุศลผูใ้ ห้บริการ ด้านอาหารและผูไ้ ด้รบั บริการพบว่า ร้อยละ 56 ของผูร้ บั บริการจากองค์กร การกุศลนัน้ หันไปพึง่ อาหารหมดอายุมากขึน้ โดย 1 ใน 3 กล่าวว่า พวกเขา ต้องจำ�นำ�ทรัพย์สนิ เพือ่ นำ�ไปซือ้ ของในร้านขายของชำ� และ 1 ใน 6 องค์กร การกุศลดังกล่าว ก็ก�ำ ลังจะปิดตัวลงในอีกไม่ชา้ นัน่ ทำ�ให้ครัวเรือนที่ยากจน ต้องหันมาเป็นลูกค้าร้านค้าเสบียงแบบนี้กันมากขึ้น นอกจากองค์กรต่างๆ ทีเ่ ข้ามาช่วยเหลือดูแลแล้ว การมีรา้ นค้าเสบียง มือสองที่อาหารไม่เป็นอันตรายแถมราคาย่อมเยา ก็อาจช่วยให้การมีชีวิต อยู่ของผู้คนมากมายได้ดำ�เนินชีวิตต่อไปแบบไม่ลำ�บากนัก
ที่มา: บทความ “Second-Hand Grocery Store To Open In Pennsylvania” (31 ตุลาคม 2014) โดย Alan Pyke จาก thinkprogress.org
สิงหาคม 2558
l
Creative Thailand
l 33
ADVERTORIAL
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีกำ� ลังพลิกโฉมหน้าประวัตศ ิ าสตร์ภาคการผลิตและธุรกิจทัว ่ โลก โอกาสทางธุรกิจไม่ได้ขน ึ้ อยูก ่ บ ั เงินลงทุน อย่างเดียวอีกต่อไป หากเป็นเรื่องของความสามารถในการเปลี่ยนไอเดียและความคิดสร้างสรรค์ให้กลายเป็นธุรกิจ ความส�ำเร็จของ การใช้ Big Data และ Digital Fabrication ในภาคการผลิต น�ำมาสูโ่ อกาสของ Maker, Crowd Funding และ Start-up ท่ามกลางกระแส ความเปลี่ยนแปลง เราขอน�ำพาท่านไปรู้จักกับเทรนด์ใหม่ที่ก�ำลังเปลี่ยนโลกของเราให้เร็วทันคิด และพลิกโอกาสทางธุรกิจในยุคดิจิทัล
ภาคไอทีเป็นภาคธุรกิจแรกที่เริ่มใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเข้ามาต่อ ยอดให้กบั ธุรกิจ บริษทั Amazon ผูจ้ �ำหน่ายสินค้าออนไลน์ยกั ษ์ใหญ่ของโลก กล่าว ไว้วา่ “Data is King at Amazon” โดยน�ำข้อมูลลูกค้าทุกแง่มมุ จากการเข้าชมเว็บไซต์ สร้างสรรค์เป็น Recommendation Engine หรือการแนะน�ำสินค้าอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มยอดขาย ซึ่งส่งผลให้ Amazon ครองส่วนแบ่งทางการตลาดของธุรกิจ ร้านค้าทั่วไปได้อย่างง่ายดาย Google เองก็ใช้ประโยชน์จาก Big Data ในมือเพื่อต่อยอดธุรกิจเช่นกัน โดยน�ำข้อมูลจากการสืบค้นข้อมูล (Search Engine) และสถิติการเข้าชม เว็บไซต์ตา่ งๆ ของลูกค้ามาพัฒนาเป็น AdChoice ซึง่ วิเคราะห์และค้นหาโฆษณา ที่ เ หมาะกั บลู ก ค้ า แต่ ล ะราย Peter Norvig ผู้บริหารแผนกวิจัย กล่า วว่า “เราไม่ได้มอี ลั กอริธมึ่ ทีด่ กี ว่าคนอืน่ เลย เราแค่มขี อ้ มูลมากกว่าคนอืน่ เท่านัน้ เอง” ส่วนการผลิตแบบดิจิทัล (Digital Fabrication) ที่ก�ำลังได้รับความ สนใจเป็นอย่างมาก ก็ท�ำให้ผู้ผลิตสามารถผลิตสินค้าที่แตกต่างกันไปตาม ความต้องการของผู้ใช้แต่ละรายได้ และยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการผลิตให้ ต�ำ่ ลงกว่าการผลิตในระบบอุตสาหกรรมทีต่ อ้ งสัง่ ท�ำแม่พมิ พ์ การผลิตในระบบ อุตสาหกรรมครั้งละมากๆ จึงไม่ได้ผูกขาดภาคการผลิตทั่วโลกอีกต่อไป บริษัทอุปกรณ์กีฬาชั้นน�ำอย่าง Nike ใช้ประโยชน์ของการผลิตแบบดิจิทัล ในการผลิตรองเท้าสตั๊ดรุ่น Vapor Laser Talon ที่พื้นรองเท้าถูกผลิตขึ้นด้วย เทคโนโลยีการผลิตแบบดิจิทัล เพื่อให้ลูกค้าแต่ละรายครอบครองรองเท้ากีฬา ที่มีขนาดพอดีเท้าตัวเองทุกกระเบียดนิ้ว ไม่เพียงเท่านี้ วงการ 3D Printing ยังก้าวไกล เมื่อ 3D Bioprinting ได้รับ ความนิยมและพัฒนาอย่างต่อเนื่องในวงการแพทย์ บริษัทผู้ผลิตเครื่องส�ำอาง สัญชาติฝรั่งเศสอย่าง L’oreal จับมือกับบริษัท Organovo ใช้ 3D Bioprinting พัฒนาเครื่อง 3D Bioprinting พิมพ์ผิวหนังมนุษย์ขึ้น เพื่อใช้ทดสอบผลิตภัณฑ์ แทนการทดสอบกับผิวหนังของคนหรือสัตว์ดงั เช่นในอดีต ความส�ำเร็จในครัง้ นี้ สร้างความหวังในการพิมพ์ผิวหนังและอวัยวะร่างกายเพื่อประโยชน์ทาง การแพทย์ในอนาคต นอกจากนี้ในสุนทรพจน์ต่อสภาคองเกรสฯ ประจ�ำปี 2013 ประธานาธิบดี บารัค โอบาม่า ของสหรัฐอเมริกา กล่าวถึงการพิมพ์แบบสามมิตวิ า่ เป็นอนาคต การผลิตของอเมริกา หลังจากนั้นไม่นาน ท�ำเนียบขาวก็เปิดตัวงาน White House Maker Faire จัดแสดงผลงานการพิมพ์แบบสามมิติ เพื่อสนับสนุนกลุ่ม ผู้ใช้เทคโนโลยีการพิมพ์แบบสามมิติไปประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆ ความเป็นไป
ได้และโอกาสที่จะเปลี่ยนความสนุกจากการประดิษฐ์เป็นธุรกิจของเหล่าเมค เกอร์ ยังเติบโตขึ้น จากการที่เว็บไซต์ Kickstarter กลายเป็นพื้นที่ให้บรรดา เมคเกอร์ระดมทุนออนไลน์ได้ส�ำเร็จ ในปี 2011 มีโครงการที่ระดมทุนส�ำเร็จ เกือบ 12,000 โครงการซึ่งรวมเป็นเงินเกือบ 100 ล้านเหรียญสหรัฐ การระดม ทุนสาธารณะ (Crowd Funding) จึงกลายเป็นทางเลือกในการรวบรวมเงินทุน และมอบโอกาสให้ผู้คนสานฝันและสร้างธุรกิจของตนให้เป็นจริง แต่วธิ รี ะดมทุนสาธารณะก็มดี า้ นมืดเช่นเดียวกัน ร้อยละ 84 ของโปรเจ็กต์ ทีป่ ระสบความส�ำเร็จ 50 อันดับแรกของเว็บไซต์ Kickstarter ไม่สามารถส่งมอบ สินค้าให้กับผู้สนับสนุนได้ตามเวลา เครื่องพิมพ์สามมิติ Form 1 ของ Max Lobovsky ทีไ่ ด้รบั เงินสนับสนุน 2.9 ล้านเหรียญสหรัฐ จากผูส้ นับสนุน 2,068 คน ในเวลา 30 วัน ส่งสินค้าช้ากว่าก�ำหนดถึง 6 เดือน เพราะปัญหาด้านการผลิต จุดบกพร่องนี้อาจลดระดับความน่าเชื่อถือของบรรดานักลงทุนในอนาคต แม้วา่ ธุรกิจทีเ่ กิดขึน้ จากการระดมทุนสาธารณะของคนๆ เดียวจะมีจดุ บอด แต่โลกก็ยงั คงให้ความสนใจกับ Start-up ซึง่ เป็นโมเดลธุรกิจทีเ่ กิดขึน้ จากคนๆ เดียวหรือคนเพียงไม่กคี่ นทีเ่ ปีย่ มล้นไอเดีย ความส�ำเร็จของ Facebook, Twitter, Uber และ Airbnb แสดงให้เห็นว่าโลกก�ำลังอยู่ในช่วงเวลาที่คนตัวเล็กอย่าง Start-up สร้างความสั่นสะเทือนให้กับบริษัทยักษ์ใหญ่ได้ เพราะโมเดลธุรกิจ ของพวกเขาก่อตั้งด้วยทุนไม่สูง แต่สามารถเติบโตอย่างรวดเร็วในเวลาสั้นๆ และมีโอกาสสร้างมูลค่าสูงจนน่าตกใจ ธุรกิจให้บริการรถแท็กซี่ Uber ก็เกิดขึ้นจากไอเดียที่ตอบโจทย์ความ ต้องการบริการรถสาธารณะทีร่ วดเร็ว ทันใจ และสะดวกสบาย จนขยายบริการ ไปยัง 124 เมืองส�ำคัญใน 36 ประเทศทัว่ โลก Airbnb ก็เป็นอีกหนึง่ ธุรกิจสตาร์ท อัพทีป่ ระสบความส�ำเร็จจากไอเดียของคนตัวเล็ก ทีก่ ลายเป็นเว็บไซต์ยอดนิยม ในหมูน่ กั เดินทางทัว่ โลก และได้รบั เงินจากนายทุนหลายต่อหลายครัง้ จนบริษทั Airbnb ในปัจจุบันมีมูลค่า 1.3 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ กรณีศกึ ษาข้างต้นแสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีในปัจจุบนั ส่งผลให้มติ ขิ องโลก ธุรกิจเปลี่ยนแปลงไป การใช้ Big Data ที่มีอยู่เหลือล้นอย่างชาญฉลาด ส่งผล ให้มองเห็นโอกาสจากการตีโจทย์ข้อมูลได้อย่างแม่นย�ำ โลกธุรกิจทุกวันนี้จึง ไม่ใช่โลกของบริษัทยักษ์ใหญ่ที่มีเงินทุนล้นเหลืออีกต่อไป หากเป็นโลกของคน ที่มีแนวคิดใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้คนและก้าวทันแนวคิดของ ตัวเองได้ก่อนใคร โดยมี Digital Fabrication และ Crowd Funding เป็นหนึ่ง ในเครื่องมือที่ส่งเสริมการเติบโตทางธุรกิจ
INTERNATIONAL SYMPOSIUM 12 – 13 SEP
NOBUMICHI TOSA นักดนตรีชางประดิษฐผูควารางวัล Toys Grand Prix ป 2010
PIERO LISSONI สถาปนิกผูใชความเรียบงาย สรางชื่อใหกับแบรนดระดับโลก
มือขวาแหง Alibaba Group ผูครอง ตลาด E-commerce จีนกวา 80%
ASIF KHAN
RICH RADKA
สถาปนิกผูควารางวัล Cannes จากผลงานโอลิมปกฤดูหนาวป 2014
ผูพลิกสมการความสำเร็จทางธุรกิจ ดวย Service Design
JORDAN BRANDT นักสำรวจอนาคต ผูอยูเบื้องหลัง ความสำเร็จของ Autodesk
PORTER ERISMAN
INTERNATIONAL WORKSHOP 9 – 11 SEP CREATIVE SPACE WORKSHOP 8 AUG – 6 SEP
GADI AMIT ผูออกแบบ Fitbit เทคโนโลยี พลิกวิถีชีวิตมนุษย
ไผท ผดุงถิ่น Start-up ผูพลิกโฉมวงการ วิศวกรรมไทย
Organized by
Sponsored by
Media Partners