กันยายน 2558 ปที่ 6 I ฉบับที่ 12 แจกฟรี
อนาคตใหมบนภูเขาขอมูล CREATIVE CITY New Orleans
THE CREATIVE นที แสง
CREATIVE WILL Code for America
Buckminster Fuller สถาปนิก นักออกแบบ นักประดิษฐ์ และนักเขียนชาวอเมริกันเจ้าของแนวคิดเปลี่ยนโลก
flickr.com/Mark Sebastian
คุณไม่มีวันเปลี่ยนอะไรได้ถ้าแค่แข่งกับสิ่งที่มีอยู่ แต่ต้องสร้างสิ่งใหม่ที่ทำ�ให้สิ่งที่มีอยู่นั้นล้าสมัย
CONTENTS สารบัญ
6
8
The Subject
The House of Clicks / Material Speculation: ISIS and Project Mosul / Thync: Wearable Technology / BauBax Jacket
Creative Resource
Featured Book / Trend Book / Documentaries
Insight
20
Creative Entrepreneur
22
Creative City
24
The Creative
28
Creative Will
34
Grey Tsunami Coming with New Big Data ความชราที่มาพรอมกับขอมูลใหม
Wellograph นวัตกรรมคูใจคนรักสุขภาพ
New Orleans: Using Data to Shift The City
10
Matter
12
Classic Item
14
Cover Story
มหัศจรรยการเลียนแบบธรรมชาติ
On the Origin of Species
Shaping The World อนาคตใหมบนภูเขาขอมูล
นที แสง: Making The Shift
คนของเมืองในเมืองของคน
บรรณาธิการอำนวยการ l อภิสทิ ธิ์ ไลสตั รูไกล ทีป่ รึกษา l ชมพูนทุ วีรกิตติ, พิชติ วีรงั คบุตร, จรินทรทพิ ย ลียะวณิช, พจน องคทวีเกียรติ บรรณาธิการ l พัชรินทร พัฒนาบุญไพบูลย กองบรรณาธิการ l ศิริอร หริ่มปราณี, มนฑิณี ยงวิกุล, เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร, กริยา บิลยะลา, ปยวรรณ กลิ่นศรีสุข, นันทนรี พานิชกุล เลขากองบรรณาธิการ l วรรณเพ็ญ บุ ญเพ็ญ ศิลปกรรม l ชิดชน นินนาทนนท สมาชิกสัมพันธ l ปยะพร สวัสดิ์สิงห ประสานงานกองบรรณาธิการ l ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ จัดทำโดย l ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (TCDC) ชั้น 24 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอร 622 สุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 โทร. 02 664 7667 แฟกซ. 02 664 7670 ติดตอลงโฆษณาไดที่ creativethailand@tcdc.or.th พิมพที่ l บริษัท ทูโฟร พริ้นติ้ง จำกัด โทร. 02 416 7300 แฟกซ. 02 416 7320 จำนวน 30,000 เลม นิตยสารฉบับนี้ใชหมึกพิมพจากน้ำมันถั่วเหลืองที่ไมเปนอันตรายตอสุขภาพ ทั้งยังเปนมิตรตอสิ่งแวดลอม และใชกระดาษรีไซเคิล ซึ่งเปนผลผลิตของผูประกอบการไทย จัดทำภายใตโครงการ “Creative Thailand สรางเศรษฐกิจไทยดวยความคิดสรางสรรค” โดยศูนยสรางสรรคงานออกแบบ สำนักงานบริหารและพัฒนาองคความรู (องคการมหาชน) ซึ่งมีเปาหมาย ในการเผยแพรความรูเกี่ยวกับเศรษฐกิจสรางสรรค (Creative Economy) และผลักดันการใชความคิดสรางสรรค ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย สามารถดูสถานที่จัดวางทั้งหมดไดที่ creativethailand.org อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส แสดงที่มา-ไมใชเพื่อการคา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย
EDITOR'S NOTE บทบรรณาธิการ
flickr.com/Patty M.
REVOLUTION AND THEN หากเราลองมองย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ของการปฏิวัติเศรษฐกิจโลก โลกผ่านการปฏิวัติเกษตรกรรม สู่การปฏิวัติอุตสาหกรรม ที่เทคโนโยลีการผลิตแบบ Mass Production ได้ทำ�ให้เกิดกระบวนการผลิตแบบโรงงานคราวละมากๆ จากระบบไอนํ้าและทางรถไฟ สู่การประดิษฐ์ไฟฟ้าและเครื่องยนต์ จนเมื่อราว 50 ปี ก่อน การเกิดขึ้นของระบบคอมพิวเตอร์ การพัฒนาเวิลด์ไวด์เว็บ และระบบอินเทอร์เน็ต ทำ�ให้โลกปฏิวัติกระบวนการผลิตใหม่อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน โลกนี้จึง กลายเป็นสถานที่ที่แตกต่างกันมากในเวลาเพียงแค่ไม่กี่ทศวรรษ กลายเป็นสถานที่ที่ต้องปรับตัวสำ�หรับคนในหลายเจเนอเรชั่น และเป็นสถานที่ที่ยากลำ�บากมาก ขึ้นในการที่จะสร้างผลกำ�ไรทางธุรกิจ แต่อัจฉริยภาพทางการคิดค้นของมนุษย์ได้นำ�เทคโนโลยีการผลิตแบบใหม่สวมใส่ลงบนการผลิตแบบเดิม และออกแบบอนาคตใหม่ให้แก่ธุรกิจ ดังเช่นบริษัท Schoeller Textiles บริษัทอันเก่าแก่ของสวิตเซอร์แลนด์ที่มีรากฐานมาตั้งแต่ปี 1867 ในฐานะผู้ผลิตเส้นใยที่มีคุณภาพและผ้าลูกไม้ชั้นสูง ซึ่งเช่นเดียวกับโรงงาน เท็กซ์ไทล์ทั่วไปที่ต้องต่อสู้กับความต้องการสินค้าราคาย่อมเยา แต่ Schoeller เลือกที่จะปฏิวัติตัวเอง โดยการทุ่มเทกับส่วนงานวิจัยเพื่อสร้างสิ่งทอสร้างสรรค์และ สร้างมิติใหม่ๆ ให้กบั สิง่ ทอ เช่น การพัฒนาสิง่ ทอเพือ่ ใช้รกั ษาโรค โดยสร้างเส้นใยจากสารแขวนตะกอนนํา้ มัน และพืชที่มีฤทธิ์ในการรักษา อย่าง “อาร์นกิ า (Arnica)” ที่คลายอาการปวดกล้ามเนื้อ ซึ่งเส้นใยนี้จะทำ�งานแบบกลุ่มสารแม่เหล็ก เมื่อสวมใส่สัมผัสกับผิวหนังตัวยาก็จะออกฤทธิ์บรรเทาอาการ หรือการสร้างสิ่งทอที่มี ความเร้าใจให้โลกแฟชั่นชั้นสูงแบบโอต์ กูตูร์ ให้แก่คริสเตียน ดิออร์ และชาแนล เช่นผ้าและลูกไม้ทำ�จากเส้นด้ายทองคำ�ยาว 1 เมตร มีราคาระหว่าง 880-8,800 เหรียญสหรัฐฯ ซึง่ เกิดขึน้ โดยนักนาโนเทคโนโลยีทใี่ ช้กระบวนการเคลือบทองคำ�เข้ากับเส้นใยโพลีเอสเตอร์ในตูส้ ญุ ญากาศ โดยไฟพลาสม่าทีไ่ ปกระแทกอะตอมของ ทองคำ� และถูกผลักไปในทิศทางทีจ่ ะควบแน่นและเกิดเป็นชัน้ ๆ กลายเป็นเส้นใยโลหะแวววาวทีม่ นี าํ้ หนักเบาอย่างน่าอัศจรรย์ ซึง่ ธุรกิจนวัตกรรมสิง่ ทอนีม้ มี ลู ค่า ตลาดราว 700-800 เหรียญสหรัฐฯ และเป็นเครื่องการันตีความเหนือชั้นกว่าบริษัทสิ่งทออื่นๆ ในตลาดโลก เป้าหมายทางธุรกิจเป็นมิติหนึ่งของการปฏิวัติเทคโนโลยีในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น อีก 20 ปีต่อจากนี้ เราอาจได้เห็นสงครามมนุษย์จักรกล (Robotic War) ที่ คุน้ ตาจากโลกภาพยนตร์ในสมรภูมริ บจริงๆ หรือหุน่ ยนต์ขนาดเท่าผึง้ ซึง่ สามารถบินเข้าไปในช่องหน้าต่างเล็กๆ เพือ่ บันทึกภาพและเสียง อันเป็นสิง่ ทีเ่ พนตากอน ได้บุกเบิกมาอย่างยาวนานตั้งแต่ช่วงสงครามเย็น ขณะที่ในเชิงพาณิชย์นั้น มากกว่า 70 ประเทศทั่วโลกกำ�ลังพัฒนายานยนต์ไร้คนขับ เพราะเชื่อมั่นว่าอนาคตสิ่ง ที่คิดอยู่ในวันนี้จะเป็นเพียงบริการพื้นฐานของสังคมเราเท่านั้นเอง จากฝูงหุน่ ยนต์ในสมรภูมริ บกลางทะเลทราย โดรนสอดแนมขนาดเท่าผึ้ง ที่นอนป้องกันแผลกดทับ จนถึงเส้นด้ายทองคำ�ที่เพิ่มความหรูหราให้กับการสวมใส่ การปฏิวตั เิ ทคโนโลยีได้สร้างความเป็นไปได้มากมายให้แก่การใช้ชวี ติ ของผูค้ น แต่การปฏิวัติระบบการผลิตครั้งล่าสุดของโลกนี้ ไม่ใช่การเปลี่ยนโลกในเวลาข้ามคืน มันต้องอาศัยความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งการลงทุน ความรู้ และเทคโนโลยีมหาศาล และความจริงก็คือ ช่องว่างระหว่างผู้นำ�หน้ากับผู้เดินตามนั้น ยิ่งห่างกันออกไปเรื่อยๆ โอกาสของการวิ่งไล่ล่าอนาคตจึงต้องเอาชนะข้อจำ�กัด เชื่อมต่อ และสร้างประโยชน์จากเทคโนโลยีเดิมให้ลํ้าเลิศกว่า เพื่อให้การก้าว กระโดดนั้นมั่นคง สร้างผลลัพธ์ที่น่าจดจำ� และเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิวัติแห่งยุคของเราได้อย่างแท้จริง อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล บรรณาธิการอํานวยการ Apisit.L@tcdc.or.th กันยายน 2558
l
Creative Thailand
l5
THE SUBJECT ลงมือคิด
เรื่อง: มนพัชร์ วนสัณฑ์
The House of Clicks ออกแบบบ้านโดย Big Data ในยุคทีก่ ารเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แทบจะเรียกได้วา่ เป็นปัจจัยหนึง่ ในการดำ�รงชีวติ ของ ผู้คน การนำ� Big Data จากช่องทางออนไลน์ มาใช้ในการพัฒนาสินค้า บริการ และ ธุรกิจนับเป็นปรากฏการณ์ทเ่ี ห็นได้บอ่ ยขึน้ และก่อให้เกิดสิง่ ใหม่ๆ ทีส่ ร้างสรรค์อยูเ่ สมอ ล่าสุดเว็บไซต์อสังหาริมทรัพย์ในสวีเดนภายใต้แบรนด์ Hemnet เล็งเห็นความสำ�คัญ ของข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพ จึงก่อตั้งโครงการออกแบบบ้านจาก Big Data ที่ มีชื่อว่า The Hemnet Home หรือที่เรียกกันว่า The House of Clicks
เพื่อออกแบบบ้านในฝันที่แสดงให้เห็นภาพของชีวิตที่ชาวสวีเดนต้องการอย่าง แท้จริง ในปัจจุบัน Hemnet ใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลของผู้ใช้เว็บไซต์ที่มีจำ�นวน มากถึง 2 ล้านคนต่อวัน ด้วยการเก็บข้อมูลพฤติกรรมของผู้ใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ว่า จะเป็นจำ�นวนการคลิกเข้าชมบ้านรูปแบบต่างๆ กว่า 86,000 แบบ ยอดขายของบ้าน แต่ละแบบใน 1 สัปดาห์ รวมทัง้ รายละเอียดความชอบอืน่ ๆ ของผูบ้ ริโภค เช่น ขนาด สีสัน ประเภทของวัสดุ เฟอร์นิเจอร์ และราคา Hemnet นำ�ผลทีไ่ ด้จากการเก็บและวิเคราะห์ขอ้ มูลนาน 10 เดือน มาออกแบบ ร่วมกับทีมออกแบบสถาปัตยกรรมจาก Tham & Videgard เพือ่ สร้างสรรค์ให้บา้ นที่ เกิดจาก Big Data ออกมาเป็นรูปเป็นร่าง ผลงานทีอ่ อกมานัน้ สะท้อนให้เห็นถึงความ ต้องการของผูอ้ ยูอ่ าศัยอย่างแท้จริง The House of Clicks เป็นบ้านทีม่ สี ว่ นผสมระหว่าง เอกลักษณ์ท้องถิ่นของสวีเดนและกลิ่นอายความเรียบง่ายในสไตล์โมเดิร์น ภายนอก เป็นไม้ทาด้วยสีแดงฟาลู (Falu Red) สีแดงเข้มที่มักจะใช้ทาสีโรงนาและบ้านแบบ ดัง้ เดิมในสวีเดน ส่วนภายในประกอบด้วยผนังสีขาว พืน้ ที่เปิดโล่ง พร้อมทัง้ เฟอร์นเิ จอร์ มาตรฐานอย่างโซฟาสีเทาและเตาผิง คาดการณ์ว่าบ้านหลังนี้จะเริ่มก่อสร้างจริง ในช่วงต้นปี 2016 และหากประสบความสำ�เร็จด้านยอดขาย โครงการนี้อาจเป็นจุด เริ่มต้นของมาตรฐานการออกแบบบ้านในอนาคตก็เป็นได้ ที่มา: บทความ “Sweden Has Designed Its Dream House and It’s Gorgeous” โดย Katies Collins จาก wired.co.uk / บทความ “This Swedish House Was Designed by Two Millions People and It’s Surprisingly Attractive” โดย Chris Weller จาก businessinsider.com / บทความ “Two Million People Helped Design This Swedish Home” โดย Adam Williams จาก gizmag.com / hemnethemmet.se
Material Speculation: ISIS and Project Mosul กอบกู้วัฒนธรรม ด้วยเทคโนโลยี 3D Printing ในเดือนกุมภาพันธ์ 2015 มีการเผยแพร่ภาพเหตุการณ์การบุกรุกโบราณสถานใน เมืองโมซูล ประเทศอิรัก โบราณวัตถุที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรมถูกทำ�ลายเพื่อเป็นการ ส่งข้อความเชิงสัญลักษณ์ของกลุ่มก่อการร้ายไอซิส (ISIS) สร้างความเสียหายต่อ หลักฐานทางวัฒนธรรมเก่าแก่ของอัสซีเรียเป็นอย่างมาก แต่ความก้าวหน้าทาง เทคโนโลยีการเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ในรูปแบบของคลาวด์ (Cloud) ได้สร้างข้อได้เปรียบ ในการเก็บและส่งต่อข้อมูลไปยังเครือข่ายทั่วโลก ส่งผลให้นักออกแบบรุ่นใหม่ สร้างสรรค์ผลงานจากเหตุการณ์นี้ได้ เพือ่ เป็นการตอบโต้อย่างมีอารยะ มอเรห์ชนิ อัลลาห์ยารี (Morehshin Allahyari) นักออกแบบและนักเคลือ่ นไหวทางสังคมชาวอิหร่าน ผูอ้ ยูใ่ นโครงการสนับสนุนเครือ ข่ายของเมกเกอร์ (Maker) นักออกแบบดิจิทัล (Fabricator) และนักออกแบบใน สาขาต่างๆ ภายใต้โครงการ Pier 9 ของแบรนด์ซอฟต์แวร์ระดับโลก Autodesk ได้ ริเริม่ โครงการชือ่ “ Material Speculation: ISIS “โดยอัลลาห์ยารีท�ำ การค้นคว้าข้อมูล
autodesk.com/Material Speculation ISIS
hemnethemmet.se
เกี่ยวกับโบราณวัตถุที่ถูกทำ�ลายโดยละเอียด และสร้างแบบจำ�ลองขึ้นมาใหม่ด้วย เทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติ (3D Printing) นอกจากลงมือทำ�ด้วยตนเองแล้ว อัลลาห์ยารียังมีแผนที่จะเผยแพร่ข้อมูลให้แก่ผู้ที่มีศักยภาพในการสร้างวัตถุโบราณ เหล่านั้นขึ้นมาใหม่อีกด้วย นอกเหนือจากความเคลื่อนไหวของนักออกแบบในกลุ่ม Pier 9 แล้ว ยังมีกลุ่ม นักออกแบบอาสาสมัครที่มองเห็นโอกาสในการกอบกู้วัฒนธรรมด้วยการพิมพ์ สามมิติ เช่น กลุ่ม “Project Mosul” ที่สร้างแบบจำ�ลองโบราณวัตถุที่ถูกทำ�ลายโดย ใช้วิธีรวบรวมข้อมูลภาพถ่ายจากมวลชน (Crowdsourced Photography) แสดงให้ เห็นถึงความสำ�คัญและบทบาททีเ่ ปลีย่ นไปของการพิมพ์สามมิตใิ นแง่มมุ ทีไ่ ม่ได้จ�ำ กัด อยู่แค่การผลิต แต่ยังรวมถึงสังคม การเมือง และวัฒนธรรมด้วย
ที่มา: บทความ “ISIS VS 3D Printing” โดย Ben Valentine จาก motherboard.vice.com / บทความ “Project Mosul Aims to Resurrect the Artifacts Destroyed by ISIS” โดย John Biggs จาก techcrunch.com / autodesk.com
6l
Creative Thailand
l
กันยายน 2558
THE SUBJECT ลงมือคิด
Thync บำ�บัดอารมณ์ด้วย Wearable Technology Thync ถือกำ�เนิดขึน้ หลังได้รบั ทุนจำ�นวน 20 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จาก Khosla Ventures บริษัทยักษ์ใหญ่ในซิลิคอน แวลลีย์ แหล่งกำ�เนิดธุรกิจสตาร์ทอัพระดับโลก Khosla Ventures เล็งเห็นศักยภาพของ Thync อุปกรณ์สวมใส่อิเล็กทรอนิกส์ที่ช่วยบำ�บัด อารมณ์ซึ่งแซงหน้าอุปกรณ์สวมใส่อิเล็กทรอนิกส์ (Wearable Technology) อื่นๆ ที่ มีอยู่ในปัจจุบัน แนวคิดเบื้องต้นของ Thync นั้นไม่ใช่แค่การวัดและเก็บข้อมูลเกี่ยว กับร่างกาย แต่เป็นการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในรูปแบบของการรักษา เปรียบเสมือน ยารักษาโรคแบบดิจิทัล (Digital Drugs) คุณสมบัติของ Thync คือการยกระดับอารมณ์ของผู้ใช้ด้วยการปล่อยกระแส ไฟฟ้าอ่อนๆ ทีไ่ ม่เป็นอันตรายจากอุปกรณ์ทรงสามเหลีย่ มไปยังระบบประสาทของผูใ้ ช้ โดยสามารถควบคุมผ่านแอพพลิเคชั่นในโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ต ทั้งนี้ผู้ใช้ สามารถเลือกรูปแบบและระยะเวลาในการบำ�บัดได้ โดยระยะเวลาที่สั้นที่สุดที่เห็น ผลคือ 5 นาที ซึ่งเป็นเวลาที่แม้แต่คนที่มีชีวิตรีบเร่งก็สามารถใช้อุปกรณ์นี้ได้ ปัจจุบัน Thync ยังคงถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มอุปกรณ์เครื่องใช้ในชีวิตประจำ�วัน เพราะยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์สนับสนุนเพียงพอที่จะเรียกว่าเป็นอุปกรณ์ ทางการแพทย์ได้ อย่างไรก็ตาม แนวคิดในการใช้อุปกรณ์สวมใส่อิเล็กทรอนิกส์เพื่อ ใช้ในการบำ�บัดอารมณ์โดยตรงถือเป็นแนวคิดทีแ่ ปลกใหม่ และหาก Thync สามารถ พิสจู น์ตวั เองได้ ก็จะนับว่าเป็นก้าวใหม่ของอุปกรณ์สวมใส่อเิ ล็กทรอนิกส์อย่างแท้จริง ทีม่ า: บทความ “This Gadget Gives You a Low-Voltage Pick-Me-Up” โดย Geoffrey A. Fowler จาก wsj.com / บทความ “ Thync Mood-Changing Wearable Officially Launches - We Go Hands-On (again) โดย Will Shanklin จาก gizmag.com
Thync.com
baubax.com
BauBax Jacket เมื่อไอเดียคือต้นทุนที่ดีที่สุด BauBax Jacket เสื้อแจ็คเก็ตสารพัดประโยชน์ เพิ่งจะกลายเป็น 1 ใน 10 โครงการ ที่ได้รับการสนับสนุนมากที่สุดในเว็บไซต์ระดมทุนสาธารณะ kickstarter.com ใน ขณะทีย่ งั เหลือเวลาในการระดมทุนอีก 1 สัปดาห์ โดยได้ทนุ รวมมากกว่า 6 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ จากผู้สนับสนุนกว่า 33,000 คน ทั้งๆ ที่เริ่มแรกเจ้าของโครงการตั้งเป้าการ ระดมทุนไว้เพียง 20,000 เหรียญสหรัฐฯ เท่านั้น จุดเริ่มต้นของเสื้อแจ็คเก็ตที่สามารถโน้มน้าวใจคนจำ�นวนมากให้กลายเป็นผู้ สนับสนุนนั้นเกิดจากปัญหาในชีวิตประจำ�วันของฮีราล แซงยาวี (Hiral Sanghavi) นักธุรกิจข้ามชาติชาวอินเดียที่ต้องเดินทางบ่อย เพื่อติดต่อธุรกิจและเยี่ยมเยียนโยแกนชี ชาห์ (Yoganshi Shah) ภรรยาของเขา ซึ่งอาศัยอยู่ในเมืองชิคาโก สหรัฐอเมริกา ชาห์มองเห็นปัญหาของสามีเธอทีม่ กั จะลืมพกหมอนรองคอและต้องซือ้ หมอนใบใหม่ ทุกครั้งที่เดินทางเสมอ ด้วยพืน้ ฐานการเป็นนักออกแบบประสบการณ์ผใู้ ช้ (User Experience Designer) ชาห์จึงมีความคิดเริ่มแรกในการแก้ปัญหานี้ด้วยการสร้างแอพพลิเคชั่นสำ�หรับเตือน ผู้ใช้ไม่ให้ลืมของสำ�คัญเมื่อต้องเดินทาง แต่แล้วเธอก็พบคำ�ตอบที่เรียบง่ายยิ่งกว่า นั่นคือการออกแบบแจ็คเก็ตที่มีทุกอย่างที่ผู้เดินทางต้องการอยู่ในตัว ไม่ว่าจะเป็น หมอนรองคอแบบเป่าลม ที่ปิดตาเพื่อช่วยในการนอนหลับบนเครื่องบิน ช่องสำ�หรับ ใส่นํ้าดื่มที่สามารถเปิดดื่มได้เลย และช่องสำ�หรับใส่ของจำ�เป็นต่างๆ โดยสามีของ เธอก็เห็นด้วย และมองว่าแนวคิดนี้ต้องได้รับการตอบรับที่ดีแน่นอน BauBax Jacket มีกำ�หนดที่จะส่งถึงมือผู้สนับสนุนในเดือนพฤศจิกายนปีนี้ โดยแซงฮาวี เจ้าของโครงการมูลค่ามหาศาลมองว่านีเ่ ป็นเพียงจุดเริม่ ต้นของแบรนด์ เท่านั้น เขายังมีแผนที่จะเพิ่มคุณสมบัติการใช้งานของแจ็คเก็ตโดยร่วมกับสมอง จักรกล (Robotic Brain) ซึ่งเป็นอีกหนึ่งธุรกิจเทคโนโลยีที่เขาเป็นเจ้าของอยู่อีกด้วย ที่มา: บทความ “How This Couple Created All-In-One Travel Jacket That Is Nearing $2 Million on Kickstarter” โดย Catherine Clifford จาก entrepreneur.com / บทความ “World’s Best Travel Jacket Makes Kickstarter’s Top 10 Most Funded Project Ever” โดย Molly Brown จาก geekwire.com / kickstarter.com กันยายน 2558
l
Creative Thailand
l7
CREATIVE RESOURCE วัตถุดิบทางความคิด
เรื่อง: ชลดา เจริญรักษ์ปัญญา และ อำ�ภา น้อยศรี
FEATURED BOOK รีด ฮอฟฟ์แมน (Reid Hoffman) ผูก้ อ่ ตัง้ ลิงด์อนิ ถ้าตีคา่ ตัวเลขในทางคณิตศาสตร์ ช่องว่าง ZERO TO ONE:
NOTES ON STARTUPS, OR HOW TO BUILD THE FUTURE
โดย Peter Thiel
8l
Creative Thailand
l
กันยายน 2558
(LinkedIn) กล่ า วถึ ง ความเสี่ยงที่นักลงทุน สตาร์ทอัพต้องเผชิญว่า “การทำ�สตาร์ทอัพก็ เหมือนกับการกระโดดลงจากหน้าผา และสร้าง เครื่องบินระหว่างที่กำ�ลังตกลงไป” มีผู้คนไม่ น้อยที่ยอมเสี่ยงกระโจนลงไปเพื่อมุ่งหวังผล ตอบแทนทีย่ งิ่ ใหญ่ในเวลาอันรวดเร็ว น่าเสียดาย ที่คนกว่า 75 เปอร์เซ็นต์สร้างเครื่องบินไม่สำ�เร็จ จากรายงานของเว็บไซต์ Mashable ระบุว่าใน ปี 2012 มีผู้ประกอบการมากกว่า 500,000 ราย ที่ทำ�ธุรกิจสตาร์ท อั พ แต่มีส่วนน้อยเท่านั้นที่ สามารถยืนหยัดได้อย่างมั่นคง บางแห่งเติบโต อย่างรวดเร็วแต่มอี ายุสนั้ บางแห่งก็ไม่แม้แต่จะ เห็นผลกำ�ไร ปีเตอร์ ธีล (Peter Thiel) เป็นหนึ่ง ในผูท้ นี่ �ำ พาบริษทั ให้เติบโตได้อย่างยิง่ ใหญ่ เขา ก่อตั้งบริษัทมูลค่าหลายพันล้านอย่าง Paypal และ Palantir และเป็นนักลงทุนทีม่ อี ทิ ธิพลทีส่ ดุ คนหนึ่งของซิลิคอนแวลลีย์ ผู้ออกเงินสนับสนุน ให้กับบริษัทสตาร์ทอัพนับร้อยแห่ง และหลาย แห่งก็กลายมาเป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงในเวลา ต่อมาเช่น Facebook และ SpaceX นอกจากนี้ เขาก็ได้เขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้นจากประสบการณ์ การเป็ น ทั้ ง นั ก ธุ ร กิ จ และนั ก ลงทุ น มาอย่ า ง ยาวนาน
ระหว่างจำ�นวน 0 ถึง 1 กับ 1 ถึง 2 ก็คงไม่ต่าง กัน แต่ถ้ามองในเชิงความก้าวหน้าแล้ว ทั้งสอง จำ�นวนกลับต่างกันแทบจะสิ้นเชิง การก้าวจาก 1 ไป 2 หรือ 3 เป็นความก้าวหน้าในแนวราบ คือต่อยอดจากสิ่งที่คุ้นเคยหรือเพิ่มจำ�นวนสิ่ง ที่ มี อ ยู่ แ ล้ ว ให้ ม ากขึ้ น อย่ า งที่ เ รี ย กกั น ว่ า โลกาภิวฒั น์ แต่การสร้าง 1 จาก 0 ทีว่ า่ งเปล่านัน้ เป็นการสร้างสิ่งใหม่ที่ก่อให้เกิดประโยชน์กับ ผู้คนอย่างมาก เพราะความก้าวหน้าแบบดิ่ง หรือเทคโนโลยีซึ่งต้องใช้ทั้งแรงกาย ความคิด และความพยายามอย่างมาก คือสิง่ ทีโ่ ลกต้องการ เพื่ อ ให้ เ กิ ด การพั ฒ นาและการสร้ า งสรรค์ นวัตกรรมใหม่ๆ เพือ่ พาเราไปข้างหน้าอย่างก้าว กระโดด และเมือ่ สร้างนวัตกรรมทีต่ อบสนองต่อ ความต้องการของผู้คนได้แล้ว บริษัทที่สามารถ ทำ�ในสิง่ ทีท่ �ำ อยูไ่ ด้ดจี นไม่มผี ทู้ ดแทนได้ในระดับ ที่ใกล้เคียงนี้ย่อมเติบโตอย่างก้าวกระโดดและ สามารถผูกขาดสินค้าเป็นสตาร์ทอัพที่ยืนอยู่ เหนือเหล่าบริษัทคู่แข่งทั้งหลายได้ เพราะการสร้างนวัตกรรมเป็นสิง่ ใหม่และมี เอกลักษณ์เฉพาะตัว ทำ�ให้ไม่มขี นั้ ตอนการสร้าง ที่ชัดเจน หนังสือเล่มนี้จึงไม่ใช่สูตรของการทำ� ธุรกิจให้สำ�เร็จ แต่คือวิธีการสร้างบริษัทที่สร้าง สิ่งใหม่ๆ และมุมมองการทำ�ธุรกิจในปัจจุบัน ตั้งแต่แนวคิดการสร้างธุรกิจ การตั้งคำ�ถามที่ ต้องตอบให้ได้ จนถึงการประเมินความเป็นไปได้ และยังชี้ให้เห็นว่าความเชื่อของการทำ�ธุรกิจ แบบดั้งเดิมอาจเป็นตัวฉุดไม่ให้สร้างสิ่งใหม่ๆ เพราะมัวหมกมุ่นอยู่กับโอกาสเดิมมากเกินไป เหมาะอย่างยิ่งกับผู้ที่ต้องการเรียนรู้วิธีการทำ� ธุรกิจแบบก้าวกระโดด และนำ�มาปรับใช้กับ ธุรกิจแนวอื่นได้หลากหลาย
CREATIVE RESOURCE วัตถุดิบทางความคิด
TREND BOOK
DOCUMENTARY
DOCUMENTARY
เจาะเทรนด์โลก 2016
CAPITAL C
SLINGSHOT
โดย TCDC
โดย Timon Birkhofer & Jørg M. Kundinger
โดย Paul Lazarus
“มนุษย์จะไม่ถกู แบ่งออกด้วยชาติพนั ธุอ์ กี ต่อไป การประทับตราหรือเหมารวมผู้คนว่าเป็นคน กลุ่มไหน ชาติพันธุ์ใด อาจเป็นเรื่องยากและซับ ซ้อนมากยิง่ ขึน้ เพราะโลกกำ�ลังผสมผสานตัง้ แต่ ระดับพันธุกรรม จนถึงประเพณี และการใช้ชวี ติ คนในเจเนอเรชั่นใหม่จะเกิดการผสมผสาน ระหว่างเชือ้ ชาติ โลกจะต้องผลิตสินค้าทีต่ อบสนอง ต่อความหลากหลายมากขึ้น เช่น การเพิ่มเฉด สีของรองพืน้ หรือเครือ่ งครัวทีเ่ หมาะกับการปรุง อาหารหลายวัฒนธรรม” นี่เป็นส่วนหนึ่งจากการคาดการณ์สิ่งที่จะ เกิดขึน้ ในปี 2016 หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมเทรนด์ จากการทำ�นายของสำ�นักเทรนด์ต่างๆ นำ�มา สรุป วิเคราะห์ และแบ่งเป็นสีห่ วั ข้อใหญ่ดว้ ยกัน เพื่ อ ช่ ว ยใช้ เ ป็ น แนวทางในการคาดการณ์ กระแสความนิยมในอนาคตต่อไป
ปัจจุบันการสื่อสารระหว่างกันบนโลกออนไลน์ นั้นง่ายเพียงปลายคลิก นี่จึงเป็นช่องทางหลักที่ เหล่านักสร้างสรรค์ ศิลปิน หรือผู้ที่มีไอเดียใช้ เป็นพื้นที่แสดงผลงานและชักชวนคนที่อยู่บน หน้าจอให้รว่ มวงในความสนใจเดียวกัน เพือ่ ร่วม สร้างสิ่งที่เชื่อให้เกิดขึ้นจริงผ่านกระบวนการที่ เรียกว่า “Crowdfunding” ทีเ่ ป็นทางออกในการ เสนอไอเดียให้คนทีช่ นื่ ชอบได้คน้ พบโปรเจ็กต์ที่ สนใจจากทัว่ ทุกมุมโลกผ่านโลกออนไลน์ และได้ แสดงตัวสนับสนุนด้วยการร่วมลงทุนให้โปรเจ็กต์ นัน้ ๆ กลายเป็นรูปธรรมขึน้ มา ขณะทีค่ วามสำ�เร็จ อาจไม่ได้อยูท่ ยี่ อดเงินซึง่ ระดมได้ แต่อยูท่ คี่ วาม สำ�เร็จของชิ้นงานที่เฝ้ารอต่างหาก
การพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างก้าวกระโดด ความ เปลีย่ นแปลงด้านสภาพแวดล้อม อุณหภูมโิ ลกที่ เพิม่ ขึน้ ทำ�ให้แหล่งนาํ้ สะอาดปนเปือ้ นและเกิด ความขาดแคลนแหล่งนํ้าสะอาดสำ�หรับการ อุปโภคบริโภค “Slingshot” คือนวัตกรรมทีด่ นี คาเมน (Dean Kamen) คิดค้นขึน้ เพื่อจัดการกับ ปัญหานี้ ด้วยเทคโนโลยี Vapor Compression Distiller ทีแ่ ปรสภาพนํา้ ปนเปือ้ นตามแหล่งต่างๆ ให้นำ�กลับมาใช้บริโภคใหม่ได้อีกครั้ง นับเป็น การสร้างความหวังใหม่ให้กับประชากรในพื้นที่ ทีก่ �ำ ลังเผชิญวิกฤติขาดแคลนนํา้ โดยมีโคคา-โคลา ร่วมเป็นผูส้ นับสนุนการกระจาย Slingshot ไปยัง ชุมชนห่างไกลในแถบแอฟริกาและละตินอเมริกา ซึง่ ทำ�ควบคูไ่ ปกับการอนุรกั ษ์แหล่งนํ้า การจัดการ นํ้าอย่างเป็นระบบ และการสร้างจิตสำ�นึกที่ดี ซึ่งเป็นวิธีท่ีควรให้ความสำ�คัญมากกว่าการแก้ ปัญหาที่ปลายเหตุ
พบกับวัตถุดบิ ทางความคิดเหล่านีไ้ ด้ที่ TCDC Resource Center
กันยายน 2558
l
Creative Thailand
l9
MATTER วัสดุต้นคิด
เรื่อง: ชมพูนุท วีรกิตติ และ ปิยวรรณ กลิ่นศรีสุข
แม้จะไม่ใช่เรื่องใหม่ในยุคนี้ แต่ผู้คนก็ยังคงให้ความสำ�คัญกับงานวิจัยเรื่องไบโอมิมิครี (Biomimicry) หรือการเลียนแบบธรรมชาติเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ใช้ ความรู้ด้านชีววิทยา เคมี และอื่นๆ ที่ลงลึกไปในระดับของการนำ�เซลล์หรือโมเลกุลมาศึกษา และออกแบบ เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีหรือกระบวนการต่างๆ โดยอาศัยการเลียนแบบจากสิ่งมี ชีวิตที่มีคุณสมบัติโดดเด่นและตรงกับความต้องการของมนุษย์ หนึ่งในนั้นได้จากการเฝ้าสังเกตธรรมชาติจนพบว่าปลาขนาดใหญ่อย่างฉลามที่ว่ายนํ้า อย่างเชือ่ งช้าในมหาสมุทรนัน้ มีผวิ หนังทีส่ ะอาด ไม่มสี าหร่ายหรือสิง่ มีชวี ติ ใดๆ มาเกาะ ทีเ่ ป็น เช่นนัน้ ก็เพราะผิวหนังของปลาฉลามมีลกั ษณะพิเศษ ปกคลุมด้วยลวดลายขนาดเล็กมากทีเ่ รียก ว่า Dentricles ลวดลายนี้จัดเรียงอยู่ในรูปของเพชรที่ประกอบด้วย Riblets ขนาดเล็กจำ�นวน มาก ทำ�ให้ผิวของฉลามหยาบจนสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ทั้งหลายไม่สามารถเกาะติดได้ และยังช่วยลด แรงเสียดทาน นักวิทยาศาสตร์จากองค์การนาซาได้ร่วมกันทำ�งานกับบริษัท 3M จนสามารถ เลียนแบบลวดลายผิวหนังฉลาม โดยลดรูปร่างของลวดลายลงบางส่วนและสร้างสรรค์ให้รปู ร่าง Riblets กลายเป็นฟิล์มที่มีความบาง ก่อนนำ�ไปใช้เคลือบตัวเรือใบ Stars & Stripes จนชนะการ แข่งขันโอลิมปิกและการแข่งขัน America’s Cup ก่อนที่ฟิล์ม Riblets จะถูกห้ามใช้ในปี 1987 ขณะเดียวกันดร. แอนโธนี เบรนแนน (Dr. Anthony Brennan) นักวิทยาศาสตร์ด้านวัสดุและ วิศวกรจากมหาวิทยาลัยฟลอริดาก็ได้ทำ�วิจัยให้กับกองทัพเรือสหรัฐฯ เพื่อหากลยุทธ์ใหม่ที่จะ ป้องกันไม่ให้ตวั เพรียงและสิง่ มีชวี ติ อืน่ ๆ มาเกาะตัวเรือ เนือ่ งจากต้องการลดการใช้สกี นั เพรียง ที่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมลง นอกจากนี้ บริษัท Sharklet Technologies ยังพบว่าโครงสร้างของ Dentricles หรือ Sharklet นั้นสามารถป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อโรคได้เป็นอย่างดี เพราะ การขยายพันธุ์ของแบคทีเรียบนผิวที่เลียนแบบผิวของฉลามนี้เป็นไปได้ยาก การปรับลวดลาย กว้างยาวของ Sharklet จะเหมาะกับการใช้งานที่แตกต่างกัน เช่น ถ้าปรับให้ลวดลายกว้างขึ้น วัสดุจะใสขึ้นเพราะการหักเหของแสงน้อยลง เหมาะกับการใช้ทำ�หน้าจอโทรศัพท์มือถือ และ หน้าจอคอมพิวเตอร์ในโรงพยาบาล เป็นต้น แม้แต่วิธีการเก็บข้อมูลให้ยาวนานที่สุด นักวิทยาศาสตร์กำ�ลังมองกลับไปที่ธรรมชาติ นั่น คือดีเอ็นเอ ซึง่ กำ�ลังจะเป็นอนาคตของวิธเี ก็บข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลทีเ่ กีย่ วกับซากดึกดำ�บรรพ์ เนื่องจากตระหนักว่าอุปกรณ์เก็บข้อมูลทีใ่ ช้กนั อยูม่ อี ายุสน้ั นักวิจัยที่สถาบันเทคโนโลยีสวิส ซูรคิ (ETH Zurich) ในสวิตเซอร์แลนด์จึงเชื่อว่าระบบการเก็บข้อมูลที่เหมือนกับที่มีอยู่ในดีเอ็นเอของ สิ่งมีชีวิตทั้งหลายน่าจะเป็นคำ�ตอบของการแก้ปัญหานี้ คาดกันว่าดีเอ็นเอ 1 กรัม จะเก็บข้อมูล ได้ 455 เอกซะไบต์1 แต่การที่ดีเอ็นเอสูญสลายได้ง่ายก็ยังเป็นโจทย์ให้นักวิทยาศาสตร์ต้องหา วิธีแก้ไข ซึ่งจากการศึกษาพบว่าดีเอ็นเอจะมีอายุนานขึ้นในสภาวะที่เย็นและแห้ง โดยเฉพาะ วัสดุประเภทเซรามิกที่แห้ง เช่น ฟัน กระดูก และเปลือกไข่ ซึ่งต้องหลีกเลี่ยงนํ้าและออกซิเจน ที่จะทำ�ให้ดีเอ็นเอสลายเร็วขึ้น ในระหว่างนี้ทีมนักวิจัยได้ทดลองเก็บข้อมูลขนาด 83 กิโลไบต์ โดยใช้กระบวนการผสมผสานระหว่างความก้าวหน้าทางการแพทย์ การวิเคราะห์พันธุกรรม และเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มา: บทความ “Biomimicry เทคโนโลยีเลียนแบบธรรมชาติ” โดย ดร.สรณรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์ จาก greenworld.or.th / บทความ “14 Smart Inventions Inspired by Nature: Biomimicry” โดย Amelia Hennighausen และ Eric Roston จาก bloomberg.com
10 l
Creative Thailand
l
กันยายน 2558
1 1 เอกซะไบต์ เท่ากับ 1 พันล้านกิกะไบต์
หมดปญหาหยิบนิตยสารไมทัน สมัครสมาชิกรายป คาใชจายในการจัดสง 200 บาท (12 เลม) หรือสมัครออนไลนไดที่ tcdc.or.th/creative_thailand
Thorn-D Dyneema (MC# 5041-02) เส้นใยสำ�หรับทำ�ตาข่ายกันตัวเพรียงทีป่ ราศจากพิษ มีความคงทน และเป็นวิธีทางกายภาพในการป้องกันเพรียง ผลิตจากเส้นใยสั้น ซึ่งทำ�ให้มีลักษณะเป็นหนามแหลมทั่วผิว ทำ�หน้าที่ป้องกันการ เกาะตัวของเพรียงได้โดยไม่ต้องกังวลว่าจะส่งผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อมและพันธุ์ปลา ไม่จำ�เป็นต้องทำ�ความสะอาดหรือดูแล รักษาบ่อย จึงทำ�ให้คา่ ใช้จา่ ยโดยรวมของผลิตภัณฑ์ตลอดอายุการ ใช้งานลดลง นอกจากนีย้ งั เป็นประโยชน์ดา้ นสุขลักษณะ คุณภาพ ชีวิต และสิ่งแวดล้อมในด้านต่างๆ เช่น ระดับคุณภาพนํ้าที่ดีขึ้น ปัจจุบันมีการนำ�ไปใช้ในการประมง การเดินเรือ การขนส่ง และ การเพาะพันธุ์ปลา
ขอมูลผูสมัครสมาชิก สมาชิกใหม ชื่อ นามสกุล เพศ โทรศัพท
สมาชิกเกา (ตองการตออายุสมาชิก) หญิง อายุ
ชาย
อีเมล
โทรศัพทมือถือ
อาชีพ นักเรียน ครู/อาจารย
นิสิต/นักศึกษา พนักงานบริษัท
นักออกแบบ/ครีเอทีฟ ผูประกอบการ
อาชีพอิสระ อื่นๆ โปรดระบุ
ขาราชการ/รัฐวิสาหกิจ
สาขา/อุตสาหกรรมที่เกี่ยวของกับอาชีพของทาน โฆษณา สถาปตยกรรม แฟชั่น ศิลปะการแสดง ดนตรี ภาพยนตร โทรทัศน/วิทยุการกระจายเสียง
ทองเที่ยว/โรงแรม/สายการบิน วรรณกรรม/การพิมพ/สื่อสิ่งพิมพ พิพิธภัณฑ/หองแสดงงาน ซอฟตแวร/แอนิเมชัน/วิดีโอเกม
หัตถกรรม/งานฝมือ การเงิน/ธนาคาร ทัศนศิลป/การถายภาพ อื่นๆ โปรดระบุ
อาหาร การแพทย การออกแบบ
คาปลีก/คาสง โทรคมนาคม
ที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ จังหวัด
ซอย
ถนน รหัสไปรษณีย
หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง
อำเภอ/เขต
หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง
อำเภอ/เขต
ที่อยูในการออกใบเสร็จ Printing with DNA (MC# 5919-01) กระบวนการบันทึกดีเอ็นเอลงบนสิ่งพิมพ์ ประกอบด้วยการสกัด ดีเอ็นเอจากตัวอย่างเส้นผมหรือเล็บมือของมนุษย์หรือสัตว์ แล้ว นำ�ไปผสมลงในหมึกพิมพ์ที่เป็นกรรมสิทธิ์เฉพาะ สามารถนำ�ไป พิมพ์ลงบนกระดาษ ผ้า หรือไม้ ข้อมูลพันธุกรรมที่ถูกเก็บไว้ใน หมึกจะสามารถสกัดแยกกลับออกมาในภายหลังเพื่อใช้เป็นหลัก ฐานในการตรวจสอบและระบุตวั ตนได้ สีทพี่ มิ พ์มที กุ สียกเว้นสีทอง สีเงิน และสีสะท้อนแสง เหมาะกับการพิมพ์บนกระดาษทีไ่ ม่เคลือบ ผิว เนือ่ งจากหมึกนีพ้ มิ พ์แล้วจะเปือ้ นได้งา่ ย ปัจจุบนั พืน้ ทีข่ องการ พิมพ์จะมีความยาวอยู่ระหว่าง 2 ถึง 4 เซนติเมตร และจำ�กัด จำ�นวนพิมพ์อยู่ที่ 100 สำ�เนา
พบกับวัสดุต้นคิดเหล่านี้ได้ที่ Material ConneXion® Bangkok, TCDC
เหมือนที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ ซอย จังหวัด
ถนน รหัสไปรษณีย
ตองการสมัครสมาชิกนิตยสาร Creative Thailand ระยะเวลา 1 ป จำนวน 12 เลม เริ่มตั้งแตฉบับเดือน โดยยินดีเสียคาใชจายในการจัดสงเปนจำนวนเงิน 200 บาท
วิธีการชำระเงิน เช็คสั่งจายศูนยสรางสรรคงานออกแบบ พรอมใบสมัครสมาชิก โอนเงินเขาบัญชีออมทรัพย ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ เลขที่บัญชี 101-808967-0 ธนาคารกรุงเทพ สาขาสำนักงานใหญสีลม • แฟกซใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่ 02-664-7670 • หรือสงไปรษณียมาที่ ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (Creative Thailand) 622 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอรชั้น 24 ถนนสุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 • หรือแนบไฟลใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่อีเมล creativethailand@tcdc.or.th สอบถามขอมูลเพิ่มเติมไดที่ 02-664-7667 ตอ 122
CLASSIC ITEM คลาสสิก
เรื่อง: กิรญา เล็กสมบูรณ์
หลายคนรูด้ วี า่ มนุษย์มพ ี นั ธุกรรมร้อยละ 95 ร่วมกับลิงชิมแปนซี แต่หากปราศจากการค้นพบของนักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ ที่ชื่อชาร์ลส์ ดาร์วิน เราอาจไม่มีวันรู้เลยว่า แขนของมนุษย์นั้น พัฒนามาจากครีบปลา และทั้งเราและปลาเคยมีบรรพบุรุษเป็น สิ่ ง มี ชี วิ ต เซลล์ เ ดี ย วที่ อ ยู่ ใ นทะเล ที่ น่ า ตกใจกว่ า นั้ น คื อ เรามี พันธุกรรมร่วมกับกะหลํ่าปลีถึงร้อยละ 40
http://thehundredbooks.com
ในปี ค.ศ.1859 ดาร์วินตีพิมพ์หนังสือชื่อกำ�เนิดสปีชีส์ (On the Origin of Species) และมันคือการปรับเปลีย่ นกระบวนทัศน์ (Paradigm Shift) หรือ การยกระดับความคิดครั้งใหญ่ของมนุษยชาติ ในการเปลี่ยนมุมมองเรื่อง “ผู้สร้าง” มาสู่ “วิวัฒนาการ” สิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นได้อย่างไร? จากที่เคยเชื่อกันว่าสิ่งมีชีวิตทุกชนิดมี พระเจ้าเป็นผู้สร้าง และสร้างขึ้นอย่างสมบูรณ์ ทั้งยังสมบูรณ์อย่างนี้มา ตั้งแต่วันสร้างโลก ดาร์วินไม่เพียงแต่อธิบายให้รู้ว่ามนุษย์เองก็พัฒนามา จากสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นและถือเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ แต่การอธิบาย ทฤษฎีวิวัฒนาการด้วยกลไกการคัดเลือกตามธรรมชาติของเขายังได้เปิด ประตูสู่พื้นที่ใหม่ให้มนุษย์ออกจากมุมมองเรื่องเหนือธรรมชาติ สู่การ อธิบายสิ่งต่างๆ ด้วยเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ แน่นอนว่ามันคือการเปิด พื้นที่ให้กับการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์อันไม่รู้จบด้วยเช่นกัน
12 l
Creative Thailand l กันยายน 2558
CLASSIC ITEM คลาสสิก
ชาร์ลส์ โรเบิรต์ ดาร์วนิ เกิดมาในครอบครัวมัง่ คัง่ และมีชื่อเสียงในอังกฤษ เขามีพ่อเป็นหมอและ เข้ า เป็ น นั ก ศึ ก ษาแพทย์ ข องมหาวิ ท ยาลั ย เอดินเบอระ แต่พบว่ามันน่าเบื่อเกินกว่าจะเอา ใจใส่ นั่นทำ�ให้พ่อของเขาไม่พอใจและส่งเขาเข้า เรียนคณะอักษรศาสตร์ ทีม่ หาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เพือ่ เป็นนักบวชแทน แน่นอนว่าเขาไม่สนใจเรียน อีกเช่นกัน แต่ความหลงใหลเรื่องธรรมชาติมา ตั้งแต่เด็กจนโต ก็พาเขามาพบกับศาสตราจารย์ ด้านพฤกษศาสตร์ จอห์น เฮนสโลว์ ที่พาเขาเข้า สู่โลกของธรรมชาติวิทยา
วิทยาศาสตร์ของดาร์วินต้องอ้อมไปไกลถึงเกาะ กาลาปากอส ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1831 เมื่อ ดาร์วินในวัย 22 ปีได้รับเชิญให้ลงเรือหลวง “บีเกิล” (HMS Beagle) ของราชนาวีอังกฤษ ที่ ออกเดินทางสำ�รวจซีกโลกใต้เพื่อทำ�แผนที่และ เก็บข้อมูลด้านธรรมชาติในทวีปต่างๆ ระหว่าง การเดินทางอันยาวนานถึง 5 ปีนี้ ดาร์วินได้เก็บ ตัวอย่างฟอสซิล สเก็ตช์ภาพ และบันทึกสิ่งที่ พบเห็นทุกอย่าง จนบันทึกของเขากลายป็นงาน เขียนเรื่องการเดินทางของบีเกิล (The Voyage of the Beagle) ในเวลาต่อมา
www.nhbs.com
หมูเ่ กาะกาลาปากอสทางตะวันตกของเอกวาดอร์ ถือเป็นที่ที่จุดประกายความคิดเรื่องวิวัฒนาการ ให้กับดาร์วิน ด้วยธรรมชาติที่หลากหลายและมี ลักษณะเฉพาะถึงแม้จะเป็นภูมิประเทศแห้งแล้ง เขาเริ่ ม จากการสั ง เกตนกฟิ น ซ์ ที่ มี จ งอยปาก แตกต่างกันไปในแต่ละเกาะซึง่ มีธรรมชาติแตกต่าง กันเพียงเล็กน้อย และสันนิษฐานว่ามันคือการ ปรั บ ตั ว ให้ เ ข้ า กั บ อาหารที่ มี อ ยู่ ใ นแต่ ล ะเกาะ นั่นคือ เมล็ดพืช กระบองเพชร และแมลง ดาร์วนิ คิดว่านีไ่ ม่ใช่เรือ่ งบังเอิญ และมันทำ�ให้เขา เริ่มค้นหาการปรับตัวในสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น
เมื่อกลับมาถึงอังกฤษ เขาใช้เวลาอีกกว่า 20 ปี ในการไขปริศนาไปทีละน้อย จนสรุปได้ว่าสิ่ง มีชีวิตทุกชนิดมีบรรพบุรุษร่วมกัน พิสูจน์ได้จาก โครงสร้างของสิ่งมีชีวิตที่มีอะไรคล้ายคลึงกัน เหตุผลหนึง่ ทีท่ �ำ ให้เขาระมัดระวังอย่างยิง่ และไม่ ผลีผลามที่จะประกาศทฤษฎีของเขาก็เพราะ สถานะทางสังคม และการขัดต่อความเชื่อใน ยุคนั้นอย่างรุนแรง แต่เพราะความไม่ผลีผลาม นีเ้ อง เมือ่ เขานำ�เสนอทฤษฎีววิ ฒั นาการทีม่ กี ลไก คือการคัดสรรโดยธรรมชาติผ่านหนังสือกำ�เนิด สปีชีส์ มันจึงมีเหตุผลหนักแน่นเพียงพอที่จะได้ รับการยอมรับในเวลาต่อมา
แม้ ด าร์ วิ น จะไม่ ใ ช่ ค นแรกที่ พู ด เรื่ อ งทฤษฎี วิวัฒนาการ แต่เมื่อเขานำ�เสนอความคิดเรื่อง การคัดเลือกโดยธรรมชาติ มันก็แทบเป็นการ สรุปว่าวิวัฒนาการคือคำ�ตอบที่แท้จริง แม้ว่าเขา จะยังอธิบายไม่ได้วา่ การปรับตัวเกิดขึน้ ได้อย่างไร ก็ตาม โดยสิ่งที่ช่วยให้ทฤษฎีของดาร์วินสมบูรณ์ ก็คือการค้นพบความจริงเกี่ยวกับการถ่ายทอด ลักษณะทางพันธุกรรมของเกรเกอร์ เมนเดล งาน ของพวกเขากลายมาเป็นหลักการสำ�คัญของ ชีววิทยาสมัยใหม่ และยังเป็นพื้นฐานความคิด สำ�คัญจนถึงทุกวันนี้
แน่นอนว่า การลุกขึ้นมาหักล้างความเชื่อทาง ศาสนาทำ�ให้เขาถูกต่อต้านอย่างมาก โรเบิร์ต ฟิตซ์รอย ผู้เป็นกัปตันเรือบีเกิลถึงกับฆ่าตัวตาย เพือ่ แสดงความรับผิดชอบทีพ่ าดาร์วนิ ลงเรือไปด้วย แต่เมือ่ เวลาผ่านไป ทฤษฎีของดาร์วนิ ไม่เพียงแต่ ได้รับ การยอมรั บในแวดวงวิ ทยาศาสตร์ แต่ สาธารณชนทั่วไปก็เช่นกัน
ใจความหลักของการคัดเลือกโดยธรรมชาติก็คือ 1) สิ่ ง มี ชี วิ ต ทุ ก ชนิ ด มี ค วามสามารถในการ แพร่พันธุ์สูง 2) สิ่งมีชีวิตในสปีชีส์เดียวกันมี ความแตกต่างกันอยู่ 3) เพราะอาหารมีจำ�นวน จำ�กัด สิ่งมีชีวิตที่ปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดี ที่ สุ ด จะมี โ อกาสในการอยู่ ร อดและแพร่ พั น ธุ์ มากกว่ า 4) พวกที่ อ ยู่ ร อดจะส่ ง ต่ อ ลั ก ษณะ พันธุกรรมไปยังลูกหลาน 5) การเปลี่ยนแปลงที ละน้อยจะถูกสะสมจนเกิดเป็นสิง่ มีชวี ติ ชนิดใหม่ เมื่อเวลาผ่านไป โดยลักษณะพันธุกรรมที่ทำ�ให้ อยู่รอดและแพร่พันธุ์ได้จะถูกเก็บเอาไว้
ชาร์ลส์ ดาร์วนิ ได้รบั ยกย่องว่าเป็นหนึง่ ในบุคคล ผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ และทฤษฎีของเขาได้รบั การยอมรับให้เป็นหนึง่ ใน ความคิดทีด่ ที สี่ ดุ เท่าทีโ่ ลกเคยมี ดาร์วนิ โชคดีกว่า กาลิเลโอที่พูดเรื่องโลกกลมมาก เพราะทฤษฎี เปลีย่ นโลกของเขาได้รบั การยอมรับในเวลาทีเ่ ขา ยังมีชีวิต และเมื่อจากโลกนี้ไป ศพของเขาก็ยัง ได้รบั เกียรติให้ฝงั เคียงข้างกับเซอร์ ไอแซก นิวตัน ณ มหาวิหารเวสมินเตอร์ กลางกรุงลอนดอน
ทฤษฎีของดาร์วนิ ไม่เพียงก่อให้เกิดการเปลีย่ นแปลง ขนานใหญ่ในแวดวงวิทยาศาสตร์ แต่แวดวง หนังสือ Pop Science ในปัจจุบัน ยังใช้ความคิด เรื่ อ งการคั ด เลื อ กโดยธรรมชาติ ข องเขามา อธิบายความแตกต่างทั้งทางกายภาพและทาง พฤติกรรมของสิง่ มีชวี ติ โดยเฉพาะความแตกต่าง ระหว่างหญิงและชาย เช่น ทำ�ไมผู้ชายถึงเจ้าชู้ ทำ�ไมนางเอกไม่รักพระรอง และทำ�ไมเราจูบ
ที่มา: บทความ "Charles Darwin’s paradigm shift" โดย Tim M. Berra, วารสาร The Beagle, Museums and Art Galleries of the Northern Territory, 2008 / บทความ "The Evolution of Evolutionary Theory" โดย Massimo Pigliucci, Philosophy Now, Aug/Sep 2015 / สื่อการสอนวิชาชีววิทยาเรื่อง "ชาร์ล ดาร์วิน คือใคร" จัดทำ�ขึ้นโดย สพฐ. รวมกับคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย / หนังสือ 500 ล้านปีของความรัก โดยนายแพทย์ชัชพล เกียรติขจรธาดา
กันยายน 2558
l
Creative Thailand
l 13
flickr.com/Lia Reich
COVER STORY เรื่องจากปก
เรื่อง: มนฑิณี ยงวิกุล
การค้นพบทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนำ�มาซึ่งการเปลี่ยนแปลงของวิถีการดำ�รงชีวิตมนุษย์มาหลายยุคหลายสมัย ปัจจุบัน นวัตกรรมทางดิจิทัลกำ�ลังทำ�หน้าที่นั้นอีกครั้งในการเปลี่ยนสภาพแวดล้อมและผู้คนให้กลายเป็นแหล่งกำ�เนิดข้อมูลขนาดใหญ่ พลิก กระบวนการคิดวิเคราะห์ที่ลดอคติและการคาดเดา เพื่อนำ�ไปสู่ศักยภาพใหม่ที่รอวันค้นพบ
14 l
Creative Thailand
l
กันยายน 2558
COVER STORY เรื่องจากปก
พื้นที่ขนาดใหญ่จะหว่านเมล็ดและใส่ปุ๋ยมาก น้อยเท่าไรนั้น ไม่ใช่ปัญหาสำ�หรับเกษตรกรใน สหรัฐอเมริกา เกษตรกรมากกว่าร้อยละ 60 ของ ที่นน่ั ได้รบั การเสนอจากภาครัฐให้ใช้เทคโนโลยีที่ กำ�หนดการตัง้ ค่า (Variable Rate Technology) ผ่านระบบจีพีเอส (Global Position System: GPS) โดยนำ�มาติดกับรถแทรกเตอร์เพือ่ กำ�หนด ปริมาณการใส่ปยุ๋ หรือหว่านเมล็ดพันธุ์ที่เหมาะสม ในแต่ละพื้นที่ แต่ปัญหาที่ทำ�ให้เกษตรกรน้อย รายยอมใช้เทคโนโลยีนอ้ี ย่างจริงจัง คือการส่งดิน ไปยังห้องทดลองเพื่อให้นักวิจัยตรวจสอบเพื่อ กำ�หนดระดับปุ๋ยที่เหมาะสมตามแต่ละพื้นที่นั้น มีต้นทุนที่สูง และยิ่งแพงมากขึ้นหากไม่ละเลย การค้นหาและทำ�ความเข้าใจเรื่องความแตกต่าง ของดินในแต่ละเอเคอร์ เพือ่ แก้ปญั หาดังกล่าว ระบบเซ็นเซอร์ทถี่ กู ฝั ง ลงในพื้ น ดิ น ที่ ทำ � หน้ า ที่ ใ นการเก็ บ ข้ อ มู ล สภาพความเป็นกรด ปริมาณไนโตรเจนเพื่อดู ความสมบูรณ์ของดิน หรือข้อมูลอื่นๆ ที่นำ�มา คำ�นวณเป็นแผนที่ที่มีสีสันต่างกัน จึงถูกพัฒนา ขึน้ เป็นจุดเริม่ ต้นของการปฏิวตั วิ งการเกษตรที่ เปิดโอกาสให้บริษทั นักลงทุน และเหล่าสตาร์ท อัพรุ่นใหม่กระโดดเข้ามาร่วมวงด้วย ข้อมูลอินไซต์ของพื้นที่เพาะปลูกถูกแปลง มาสู่ เ ครื่ อ งมื อ การติ ด ตามผลผลิ ต (Yield Monitoring) เพือ่ ใช้ส�ำ หรับคาดการณ์ผลผลิตที่ จะเกิดขึน้ ที่มคี วามแม่นยำ�กว่าในอดีต และทำ�ให้ เกษตรกรวางแผนการค้าและการเงินได้ดีขึ้น แต่ก็นับว่ายังไม่สมบูรณ์แบบมากนัก เพราะการ ทำ�เกษตรนั้น นอกจากสิ่งที่มองไม่เห็นในผืนดิน แล้ว สภาพอากาศที่มองไม่เห็นก็เป็นปัจจัย สำ�คัญที่ต้องรับมือ กว่า 10 ปีแล้วที่กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (USDA) องค์การบริหารการบินและ อวกาศแห่งชาติ (NASA) และองค์การบริหาร สมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (National Oceanic and Atmospheric Administration: NOAA) ร่วมกันทำ�งานเพือ่ เพิม่
ผลผลิตในพื้นที่เกษตรขนาดใหญ่ พร้อมๆ กับ การอนุรกั ษ์แหล่งนา้ํ และสิ่งแวดล้อม โดยต่อยอด เทคโนโลยีการตัง้ ค่าทีพ่ งึ่ พาระบบจีพเี อสมารวม กับระบบจีไอเอส (Geographical Information System: GIS) รวมทัง้ การตรวจสภาพทางภูมศิ าสตร์ และสภาพอากาศ เพื่อค้นหาปัจจัยที่ส่งผลต่อ การทำ�เกษตรจากสภาพอากาศ กลุม่ เกษตรกร เจ้าของทีด่ นิ และผูน้ �ำ ชุมชน ในแถบลุ่มแม่นํ้าฟลินต์ (Flint River Soil and Water Conservation District) ในมลรัฐจอร์เจีย (Georgia) ที่รวมตัวกันเพื่อหาแนวทางการทำ� การเกษตรทีส่ ามารถอนุรกั ษ์แหล่งนํา้ ได้เข้าร่วม การทดลองใช้ เ ทคโนโลยี ภ ายใต้ โ ครงการ Science and Technology Initiative Project เพือ่ การอนุรกั ษ์ทรัพยากรธรรมชาติของกระทรวง เกษตรสหรัฐอเมริกา (USDA-NRC : Natural Resources Conservation Service) โดยร่วมมือ กับไอบีเอ็ม (IBM) ในการพัฒนาระบบการคาดการณ์ สภาพอากาศแบบแม่นยำ� (Precision Weather Forecasting Pilot Project) และระบบการตั้ง เวลาการรดนํ้าต้นทุนตํ่า (Low-Cost Irrigation Scheduling Technology Project) มาใช้ในการ กำ � หนดตารางเวลาและปริ ม าณนํ้ า ที่ ใ ช้ ใ ห้ สอดคล้องกับระดับความชืน้ อุณหภูมิ การระเหย
และระยะการเติบโตของผลผลิต ซึง่ ไม่เพียงช่วย ประหยัดนา้ํ แต่ยงั ช่วยลดค่าใช้จา่ ยของเกษตรกร ให้น้อยลง นอกจากการทดลองในสหรัฐอเมริกาแล้ว ไอบีเอ็มยังส่งทีมนักวิจยั ไปทำ�การค้นหาศักยภาพ จากสภาพดินฟ้าอากาศและเชื่อมโยงข้อมูลไป สู่ภาคปฏิบัติ ดังเช่นงานของยูลิสเซส เมลโล (Ulisses Mello) นักวิจัยและทีมนักวิทยาศาสตร์ จากไอบีเอ็ม ที่ทำ � การทดลองอยู่ที่ประเทศ บราซิล เพื่อนำ�ข้อมูลเรียลไทม์จำ�นวนมหาศาล จากระบบเซ็ น เซอร์ ม าเชื่ อ มต่ อ กั บ ระบบ การเกษตรทั้งห่วงโซ่ เมลโลกล่ า วว่ า การเกษตรแบบดั้ ง เดิ ม เป็นการแบ่งงานกันเป็นส่วน แต่ด้วยระบบการ ประมวลผลข้อมูล (Big Data Analytics) ที่ จั ด เก็ บ อย่ า งต่ อ เนื่ อ งตั้ ง แต่ ก่ อ นเพาะปลู ก ช่วงเก็บเกีย่ ว และการขนส่ง สามารถบ่งบอกว่า ควรหว่านเมล็ดพันธุใ์ นตารางเมตรใดของแปลง เพาะปลูกที่มีความชื้นและความอุดมสมบูรณ์ ของดินต่างกัน รวมทัง้ จัดตารางและปริมาณการ รดนํ้าที่สอดคล้องกับสภาพดินและอากาศใน แต่ละช่วงเวลา และถ้าหากฝนตกก็ไม่จำ�เป็น ต้องใส่ปุ๋ยให้ถูกชะล้าง รวมถึงการเก็บเกี่ยวพืช บางชนิด เช่น อ้อย ที่ต้องการพื้นดินแห้งสนิท
prairieprecision.com
ดินฟ้าอากาศในกำ�มือ
กันยายน 2558
l
Creative Thailand
l 15
flickr.com/ Phil Dolby
16 l
Creative Thailand
l กันยายน 2558
ภาพถ่ายยิ่งกว่าเล่าเรื่อง
ขณะทีก่ ารเกษตรกำ�ลังเดินไปบนเส้นทางใหม่บน ฐานข้อมูลที่มาจากดาวเทียมเป็นองค์ประกอบ สำ�คัญ วงการอื่นๆ ก็กำ�ลังตื่นตัวเช่นกันกับการ สร้างนัยสำ�คัญใหม่จากภาพถ่ายดาวเทียม แพลนเน็ต แล็บส์ (Planet Labs) สตาร์ทอัพ จากซานฟรานซิสโก ร่วมก่อตัง้ โดยวิลล์ มาร์แชล (Will Marshall) อดีตนักวิทยาศาสตร์ประจำ� นาซา ทำ�ให้ดาวเทียมที่เคยมีมูลค่านับพันล้าน และนํา้ หนักเป็นตัน กลายเป็นอุปกรณ์ขนาดเท่า กล่องรองเท้าที่เขาและทีมพัฒนาขึ้นเพื่อเป็น เครื่องมือในการเก็บข้อมูลความเป็นไปบนโลก หรือเรียกว่าโดฟ (Dove) จำ�นวนมากกว่า 50 ดวง โคจรรอบโลกทุก 90 นาที เพื่อเก็บภาพความ ละเอียดสูงวันต่อวัน และยิ่งเป้าหมายทางธุรกิจ ของแพลนเน็ต แล็บส์ คือการผลิตดาวเทียมที่ ไม่ซับซ้อน มีอายุไม่กี่ปี และสามารถผลิตได้ จำ�นวนมาก นั่นยิ่งทำ�ให้การวิเคราะห์เศรษฐกิจ โลกและการกำ � หนดนโยบายของภาครั ฐ เปลี่ยนแปลงไปด้วย ปัจจุบัน การตัดสินใจเชิงนโยบายบนฐาน ข้อมูลการสำ�รวจธุรกิจและครัวเรือน หรือการ สำ�รวจอื่นๆ ต้องใช้เวลาในการเก็บข้อมูล แต่
flickr.com/NASA Goddard Space Flight Center flickr.com/jurvetson
พอที่จะรับนํ้าหนักอุปกรณ์เก็บเกี่ยวเพื่อไม่ให้ เครือ่ งมือไปทำ�ให้ผลผลิตเสียหาย สำ�หรับบราซิล นั้นการเลือกเส้นทางขนส่งก็สำ�คัญไม่แพ้กัน เพราะฝนที่ตกลงมาบนถนนที่ถูกทับถมไปด้วย ฝุ่นจะทำ�ให้รถบรรทุกติดหล่มได้ง่าย การรู้ล่วง หน้าเพื่อวางแผนเปลี่ยนเส้นทางจึงช่วยลดการ สูญเสียระหว่างการกระจายสินค้า แม้วา่ นักวิจยั จะสามารถไขปัญหาและพัฒนา ระบบการเกษตรที่ใช้ข้อมูลเพื่อการวางแผน อย่างแม่นยำ� (Precision Agriculture) ได้ดยี ง่ิ ขึน้ แต่การนำ�ไปใช้ในเชิงพาณิชย์นั้นอาจจะต้องรอ ให้เทคโนโลยีสกุ งอมมากกว่านี้ เพราะปัจจุบนั การจัดเก็บและใช้ขอ้ มูลจำ�นวนมหาศาลทีเ่ ชือ่ ม ต่อกันทั้งระบบนั้นดูจะเกินกำ�ลังของฟาร์มที่ เพาะปลูกพืชทั่วไปในการลงทุนกับระบบไอที หรือแม้กระทั่งการใช้เครื่องบินขนาดเล็กหรือ โดรน (Drone) เพื่อเก็บข้อมูลที่ลดข้อจำ�กัดของ ภาพถ่ายดาวเทียมทีม่ องเห็นไม่ชดั ในวันฟ้าครึม้ ระหว่างที่รอให้ฟาร์มน้อยใหญ่ปรับตัวนั้น การรวมกันของจีไอเอสและจีพีเอสที่เผยความ ลับดินฟ้าอากาศก็ได้สร้างเส้นทางการเกษตร แบบใหม่ที่สามารถพัฒนาไปถึงการเชื่อมต่อ ข้ อ มู ล กั บ อุ ป กรณ์ ร ะบบอั ต โนมั ติ ใ นรู ป ของ เครือ่ งมือหรือหุน่ ยนต์ ทีไ่ ม่เพียงสร้างผลผลิตได้ มหาศาล แต่ยังทำ�ให้อาชีพเก่าแก่ที่สุดของ มนุษย์เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง
spacenews.com
COVER STORY เรื่องจากปก
ภาพถ่ายดาวเทียมทำ�ให้ข้อมูลมาถึงมือเร็วขึ้น และจากการคำ�นวณด้วยอัลกอริทมึ อาจให้ขอ้ มูล ทีแ่ ตกต่างกันไป เช่น ฮาเวียร์ ซาลา-ไอ-มาร์ตนิ (Xavier Sala-i-Martin) อาจารย์สาขาเศรษฐศาสตร์ ประจำ�มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ใช้ขอ้ มูลแสงสว่าง ตอนกลางคืนมาวิเคราะห์ความยากจนเทียบกับ การสำ�รวจข้อมูลของธนาคารโลกที่ประมาณว่า ร้อยละ 30 ของคนที่อาศัยในโลกเป็นกลุม่ ยากจน แต่จากการสำ�รวจและวิเคราะห์ภาพถ่ายจาก ดาวเทียมพบว่ามีจำ�นวนครัวเรือนมากมายที่มี ไฟฟ้าใช้จนเกิดเป็นแสงสว่างในยามคํ่าคืน จึง ทำ�ให้ผลวิจยั ของฮาเวียร์ระบุวา่ ปริมาณกลุม่ คน ยากจนทั่วโลกนั้นมีเพียงร้อยละ 6 เท่านั้น แอนดรูว์ ดาบาเลน (Andrew Dabalen) หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ที่ดูแลข้อมูลเกี่ยวกับ ความยากจนที่ธนาคารโลก กล่าวว่าข้อมูล แสงสว่างน่าจะใช้กับอุตสาหกรรมมากกว่าการ สำ�รวจกิจกรรมในชนบท แม้จะไม่สามารถ ทดแทนข้อ มู ลแบบตัว ต่ อตั วที่ มี การเก็ บจาก ครัวเรือนโดยตรง แต่กม็ คี วามเป็นไปได้คอ่ นข้าง มากที่จะนำ�ข้อมูลจากดาวเทียมมาใช้ควบคู่กับ การสำ�รวจสำ�มะโนประชากรเพื ่อการประมาณ prexamples.com การรายได้ที่ดีขึ้น ระหว่างที่การโต้เถียงทาง
COVER STORY เรื่องจากปก
แกะรอยซีฟู้ด
เมื่อตอนที่อัลเฟรโด ซเฟอร์ (Alfredo Sfeir) เปิดตัวเชลล์แคตช์ (Shellcatch) ในปี 2011 เขาคาดว่า เทคโนโลยีขอ้ มูลทีท่ �ำ ให้รวู้ า่ ปลาแต่ละตัวมาจากไหน จะช่วยลดการประมงทีผ่ ดิ กฎหมายและสร้างแรง จูงใจให้มีการจับปลาในปริมาณที่กำ�หนดได้ โฮเซ บารอส เป็นหนึ่งในชาวประมงที่เข้าร่วมโปรแกรมของเชลล์แคตช์ เรือขนาด 30 ฟุตของเขา ติดกล้องจีพเี อสขนาดเล็กทีบ่ ง่ ชีส้ ถานทีจ่ บั พร้อมกับบันทึกข้อมูลชนิดและนาํ้ หนักปลาทีจ่ บั ผ่านระบบ บาร์โค้ดและคิวอาร์โค้ดเฉพาะของเชลล์แคตช์ หลังจากนั้นก็จะส่งต่อข้อมูลนี้ไปให้ภัตตาคารเพื่อนำ� โค้ดไปติดบนป้ายโฆษณาอาหารหน้าร้าน ข้อมูลทีล่ กู ค้าสแกนคิวอาร์โค้ด ไม่เพียงบ่งบอกว่าปลานัน้ มีหน้าตาอย่างไรและมาจากไหน แต่ยงั มีคลิปการจับปลาของบารอสให้ชมด้วย วิเซนโซ รูลลิ เจ้าของภัตตาคารโอเชียนแปซิฟิก หนึ่งใน 50 ภัตตาคารและซูเปอร์มาร์เก็ตทีเ่ ข้าร่วมกับเชลล์แคตช์กล่าวว่า “ลูกค้าชอบทีจ่ ะรูเ้ รือ่ งราวต่างๆ บนโต๊ะอาหาร” เชลล์แคตช์ทำ�ให้บารอสรู้ว่าแต่ละวันเขาต้องจับปลากี่ตัวและจะขายในราคาเท่าไรตามออเดอร์ ที่มาจากร้านค้า จึงไม่ต้องจับปลาเกินความจำ�เป็นและมีรายได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยถึงร้อยละ 25 นับเป็นแรง จูงใจที่ดีสำ�หรับชาวประมงรายเล็กรายน้อยในการเข้ามาอยู่ในระบบที่สามารถตรวจสอบได้ง่ายนี้ แม้จะมีความพยายามทีจ่ ะติดตัง้ ระบบตรวจสอบเรือประมงไม่ให้เข้าไปจับปลานอกเขต หรือการ จับปลาทีผ่ ดิ กฎหมาย แต่การจะตรวจสอบเรือประมงอิสระขนาดเล็กนัน้ เป็นไปได้ยาก ระบบของเชลล์ แคตช์ไม่เพียงสืบสาวกลับไปยังน่านนํ้าที่จับปลา แต่ยังมีส่วนช่วยในการพิสูจน์กรณีพิพาทระหว่าง ประเทศที่สหรัฐอเมริกาข่มขู่ว่าจะควํ่าบาตรการประมงประเทศเม็กซิโกด้วยข้อหาภัยคุกคามเต่าทะเล ทัง้ นีเ้ พราะระบบกล้องของเชลล์แคตช์สามารถติดตัง้ ระบบการประมวลผลอัตโนมัตวิ า่ มีเต่าทะเลบังเอิญ ติดมาในอวนหรือไม่ การระดมทุนเพือ่ พัฒนาเชลล์แคตช์นน้ั ส่วนหนึง่ มาจากองค์กรการกุศล องค์กรเพื่อสิง่ แวดล้อม และ รัฐบาลชิลที เ่ี ล็งเห็นว่าเชลล์แคตช์จะมีสว่ นช่วยในการทำ�ประมงอย่างยัง่ ยืน และได้ประโยชน์จากนโยบาย ของประธานาธิบดีบารัค โอบามา ที่กำ�ลังผลักดันการค้าอาหารทะเลที่สามารถสืบค้นที่มาของอาหาร แต่ละจานได้ จึงทำ�ให้เชลล์แคตช์ขยายเครือข่ายไปยังเรือประมงอีก 200 ลำ�ที่หากินอยู่ในอ่าวเม็กซิโก
flickr.com/rebecaanchondo
วิชาการยังไม่มีข้อสรุปนั้น ภาคเอกชนบางแห่ง ไม่รอช้าที่จะนำ�วิธีการใหม่นี้มาใช้ประกอบการ ตัดสินใจในการลงทุน ริช แอบเบ (Rich Abbe) ผู้ร่วมก่อตั้งอิโลควอยส์ แคปิตอล แมเนจเมนต์ (Iroquois Capital Management) ในนิวยอร์ก สนใจการวิเคราะห์ขอ้ มูลวิธใี หม่นี้ และได้ลงทุน ซื้อหุ้นของบริษัทผลิตเครื่องตรวจจับระยะไกล แบบเมตริก (Remote Sensing Metrics LLC) เพื่อนำ�มาใช้ประกอบการลงทุน เช่น การวิเคราะห์ ข้อมูลลานจอดรถทัว่ ประเทศเพือ่ ตัดสินใจลงทุน ในธุรกิจอาหารและค้าปลีก เช่น ชิโพเทิล เม็กซิกนั กริลล์ (Chipotle Mexican Grill) และเจ.ซี. เพนนีย์ (J.C. Penney) ก่อนทีจ่ ะใช้การวิเคราะห์ ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียมนี้ขยายการลงทุน ไปยังธุรกิจเหมืองและนํ้ามันต่อไป
bloomberg.com กันยายน 2558
l
Creative Thailand
l 17
COVER STORY เรื่องจากปก
ภาพถ่ายจากลานจอดรถอาจจะถูกแปรเป็น ข้อมูลประกอบการลงทุนในกลุม่ ค้าปลีก แต่ทว่า ธุรกิจค้าปลีกเองก็สามารถนำ�ข้อมูลส่วนอืน่ ๆ ที่ ดูไม่เกี่ยวข้องอย่างเช่นสภาพอากาศมาเพิ่ม กำ�ไรและยอดขายได้เช่นกัน การจับคู่ที่ดูไม่น่าโคจรมาเจอกันนี้มาจาก ความพยายามเพื่ออยู่รอดของเดอะเวทเธอร์ แชนแนล (The Weather Channel) ช่องเคเบิล รายงานพยากรณ์อากาศที่มีสมาชิกผู้ชมถึง 97 ล้านราย และเป็นทีต่ อ้ งการอย่างมากในช่วงทีม่ ี พายุเฮอร์ริเคน โดยยอดผู้ชมจะเพิ่มขึ้นถึง 10 ล้านคน แซงหน้ารายการยอดนิยมจากช่อง ซีเอ็นเอ็น (CNN) และฟ็อกซ์นิวส์ (Fox News) แต่ในยามที่แดดออกหรือสภาพอากาศปกตินั้น โดยเฉลี่ยจะเหลือจำ�นวนผู้ชมเพียง 214,000 คนต่อวัน น้อยกว่าช่องรายการเกี่ยวกับอาหาร อย่างฟูดเน็ตเวิร์ก (Food Network) เกือบครึ่ง หนึง่ และยังมีทที า่ ว่าอาจจะลดลงอย่างต่อเนือ่ ง ดังนั้นการค้นหาสิ่งที่ผู้ชมต้องการจึงเป็นโจทย์ ในการปรับช่องเคเบิลพยากรณ์อากาศเก่าแก่ที่ ออกอากาศมาตั้งแต่ปี 1985 ให้กลับมามีชีวิต ชีวาอีกครั้ง ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทีมข่าวได้มีการ ปรับช่องทางการนำ�เสนอข่าวจากโทรทัศน์ไปสู่ เว็บไซต์และแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือ พร้ อ มกั บ ปรั บ วิ ธี ก ารนำ � เสนอเนื้ อ หาใหม่ ที่ เกี่ยวข้องกับผู้ชมและสนุกสนานมากขึ้น เช่น การรายงานสภาพอากาศผ่านเรื่องราวรอบตัว ตั้งแต่การท่องเที่ยว การลดนํ้าหนัก จนถึง วิทยาศาสตร์และอวกาศ ส่งผลให้ยอดผู้ชม เว็บไซต์เวทเธอร์ (Weather.com) เพิ่มขึ้นถึง เท่าตัว และเป็นจุดเริ่มต้นของการเข้าสู่ธุรกิจ ดิจิทัลอย่างแท้จริง โดยเปลี่ยนบริษัท เวทเธอร์ แชนแนล คอส. (Weather Channel Cos.) ผูผ้ ลิต รายการทางช่องเคเบิลมาเป็นบริษัท เวทเธอร์ จำ�กัด (Weather Co.) บริษัทขายข้อมูลสภาพ อากาศให้กับแอพพลิเคชั่นต่างๆ และข้อมูล พฤติกรรมการเช็กสภาพอากาศในแต่ละสถานที่ ให้กับผู้ขายสินค้า 18 l
Creative Thailand
l กันยายน 2558
“คนส่วนมากเช็กสภาพอากาศเพราะต้องการ วางแผนทำ�อะไรบางอย่าง เราจะคาดการณ์ได้ ถ้ า หากรู้ ว่ า พวกเขาเช็ ก สภาพอากาศที่ ไ หน เวลาไหน และสภาพอากาศรอบตัวเขาเป็น อย่างไรในเวลานัน้ ” เดวิด เคนนี่ (David Kenny) ประธานกรรมการและประธานกรรมการบริหาร บริษัท เวทเธอร์ จำ�กัด กล่าว แล้วพฤติกรรมการเช็กสภาพอากาศมีผล ต่อการขายสินค้าอย่างไร ในการเปิดตัวแชมพูแพนทีน โปรวี สมูท ของบริษัทพรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล (P&G) บริษัทตัดสินใจซื้อพื้นที่โฆษณาในเว็บไซต์และ แอพพลิเคชั่นที่รายงานสภาพอากาศ เพราะผูห้ ญิง ที่เช็กสภาพอากาศและพบผลิตภัณฑ์ที่เหมาะ กับการจัดการเส้นผมทีห่ ยิกในช่วงทีอ่ ากาศร้อน และชื้นนั้น ช่วยเพิ่มโอกาสที่แชมพูตัวใหม่นี้จะ ได้รบั ความสนใจและถูกซือ้ ไปทดลองใช้มากขึน้ เควิน ครอซิอาตา (Kevin Crociata) ผู้อ�ำ นวยการ ฝ่ายการตลาดของพีแอนด์จีกล่าวว่า ได้เริ่ม ทดลองนำ�เสนอโค้ดคูปองลดราคาผลิตภัณฑ์ สำ�หรับเส้นผมมาโฆษณาในแอพพลิเคชั่นของ เวทเธอร์ พร้อมกับบอกที่ตั้งของร้านขายสินค้า ที่ อ ยู่ ใ กล้ เ คี ย งตามสถานที่ อ ยู่ ข องผู้ ใ ช้ แ อพ ซึง่ นับว่าตรงใจลูกค้าอย่างเจนน์ เชอร์เมอร์ (Jenn
Schirmer) นักศึกษาวัย 21 ปีในบอสตันที่มักจะ เช็กสภาพอากาศจากแอพบนมือถือ และพบว่า ในช่วงทีอ่ ากาศร้อนชวนให้เหนอะหนะ ด้านข้าง ข้อมูลความชื้นมีภาพโฆษณาแชมพูสำ�หรับผม หยิกพองตัว ทำ�ให้เธอถึงกับตื่นเต้นว่าช่างรู้ใจ เธอเสียจริง “การทำ�ธุรกิจแบบเก่าๆ นั้นเน้นการตั้งรับ หรือไม่ก็หลีกเลี่ยงสภาพอากาศ แต่เทคโนโลยี สมัยใหม่ท�ำ ให้ธรุ กิจเปลีย่ นมาเตรียมการและใช้ ประโยชน์อย่างเต็มที”่ พอล วอร์ช (Paul Walsh) อดี ต นั ก ดาราศาสตร์ ป ระจำ � กองทั พ อากาศ สหรัฐอเมริกา (United States Air Force) ที่ ปัจจุบนั ดำ�รงตำ�แหน่งรองประธานฝ่ายวิเคราะห์ ข้อมูลของบริษัทเวทเธอร์กล่าว การก้ า วเข้ า สู่ ธุ ร กิ จ ดิ จิ ทั ล ของบริ ษั ท เวทเธอร์ขยับขยายไปได้ด้วยดีและมีการแตก บริษัทเวทเธอร์เอฟเอ็กซ์ (WeatherFX) ออกมา เพือ่ ให้บริการข้อมูลและคำ�ปรึกษาในการบริหาร ความสัมพันธ์ระหว่างปฏิกิริยาต่อสภาพอากาศ และสิ น ค้ า ที่ มี ค วามแตกต่ า งกั น ตามพื้ น ที่ อย่างเช่นยอดขายเครื่องปรับอากาศในชิคาโก เพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่วันแรกๆ ที่อากาศร้อนเกินกว่า ปกติ แต่ไม่ใช่ส�ำ หรับเมืองแอตแลนตาทีท่ นเหงือ่ ท่วมไปอีกสองวันก่อนที่จะตัดสินใจ
wsj.com
ถูกที่ ถูกเวลา และยังต้องถูกคน
COVER STORY เรื่องจากปก
ความเป็นส่วนตัวที่อาจรั่วไหล
การรูใ้ จผ่านแอพพลิเคชัน่ หรือโฆษณาในเว็บไซต์ อาจจะไม่ท�ำ ให้ลกู ค้าบางกลุม่ ตกใจเท่ากับการเดิน เข้าไปในสวนสนุกทีร่ จู้ กั คุณตัง้ แต่ยา่ งเท้าเข้าไป เมือ่ ปี 2013 สวนสนุกดิสนียแ์ ลนด์ทไี่ ม่หยุด นิ่งกับการพัฒนาบริการได้นำ�มายแมจิคพลัส (MyMagic+) มาสร้างสรรค์ประสบการณ์ที่ สวยงามยิ่งขึ้นให้กับลูกค้า เพราะสายรัดข้อมือ มายแมจิคพลัสนี้จะทำ�หน้าที่แทนบัตรจ่ายเงิน เมือ่ ใช้ควบคูก่ บั แอพพลิเคชัน่ ก็สามารถจองร้าน อาหาร เครือ่ งเล่น พร้อมระบบเตือนว่าถึงคิวเล่น เครือ่ งแล้วโดยไม่ตอ้ งยืนรอ ตลอดจนการจองที่ นั่งวีไอพีสำ�หรับดูขบวนพาเหรดและดอกไม้ไฟ รวมทั้งการกล่าวทักทายของพนักงานและเหล่า เจ้ า หญิ ง ที่ ส ามารถเรี ย กชื่ อ ลู ก ค้ า หรื อ กล่ า ว อวยพรวันเกิดได้ถูกคน “การจ่ายเงินและความสะดวกสบายต่างๆ ทำ�ให้คนใช้เวลามากขึ้นในการเล่นและการกิน” เจย์ ราซูโล (Jay Rasulo) ประธานบริหารด้าน การเงินของดิสนีย์กล่าว การนำ�มายแมจิคพลัส มาใช้จึงสามารถสร้างรอยยิ้มให้กับเด็กและ ผูป้ กครองให้หลุดพ้นจากการรอคิวอันแสนนาน รวมถึงการได้รับบริการพิเศษต่างๆ จึงทำ�ให้ ดิสนีย์แลนด์ก้าวลํ้าสวนสนุกอื่นๆ อย่างไม่ต้อง สงสัย แต่ทว่าสายรัดข้อมือที่ทำ�ให้ชีวิตแสนง่าย นี้ไม่ได้ทำ�ให้ทุกคนรู้สึกดีไปด้วย เพราะยิ่งการ บริการที่รู้ใจมากขึ้นเท่าไร นั่นหมายถึงข้อมูล พฤติกรรมการใช้ชวี ติ ทีอ่ ยูใ่ นสวนสนุกถูกบันทึก ไว้เสมือนหนึง่ ถูกจับตามองเข้าไปในชีวติ ส่วนตัว มากขึ้นเท่านั้น ปัจจุบันการแข่งขันทางธุรกิจทำ�ให้ข้อมูล ส่วนบุคคลทีถ่ กู บันทึกด้วยเทคนิคต่างๆ มีจ�ำ นวน เพิม่ ขึน้ อย่างรวดเร็ว เพราะข้อมูลบิก๊ เดต้าทีผ่ า่ น การวิเคราะห์แล้วนัน้ ได้รบั ความสนใจจากนักลงทุน และหลายแบรนด์ดังที่ต้องการสร้างกำ�ไร ทว่า ประเด็นเรือ่ งความเป็นส่วนตัวของลูกค้าก็ได้รบั ความสนใจจากนักวิชาการและสาธารณชนไม่ แพ้กันกับการป้องกันข้อมูลไม่ให้ถูกเจาะไปใช้ ในการก่ออาชญากรรม
backstagewithpdc.com
จากผลการสำ�รวจของบริษทั วิจยั หลายแห่ง ได้ผลตรงกันว่า คนอเมริกันมีความวิตกกังวล เกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวที่ถูกบันทึกจากร่อง รอยทีท่ งิ้ ไว้ในอุปกรณ์และสือ่ ออนไลน์ตา่ งๆ เพือ่ นำ�ไปวิเคราะห์เพื่อขายหรือใช้ในธุรกิจต่างๆ รวมถึงการตกเป็นเป้าในการขโมยข้อมูล อย่าง เช่นที่เกิดขึ้นกับธุรกิจค้าปลีกทาร์เก็ต (Target Corp) โฮมดีโป้ (Home Depot Inc) และแอนเธม (Anthem) บริษัทประกันภัยสุขภาพอันดับสอง ของสหรัฐอเมริกา ผลสำ�รวจทีส่ ะท้อนถึงความวิตกกังวลของชาว อเมริกนั ทีเ่ พิม่ ขึน้ นีท้ �ำ ให้รฐั บาลของประธานาธิบดี บารัค โอบามา เร่งผลักดันกฎหมายป้องกันความ เป็นส่วนตัวให้ผ่านสภาคองเกรสโดยเร็ว และขั้น แรกคือการปกป้องไม่ให้มกี ารเก็บข้อมูลนักเรียน ผ่านซอฟต์แวร์หรือแอพพลิเคชั่นด้านการศึกษา ที่กำ�ลังเติบโตตามกระแสการเรียนส่วนบุคคล
d.ibtimes.co.uk
สตี ฟ วูด (Steve Wood) หั ว หน้าฝ่า ย นโยบายของคณะกรรมการข้อมูล (Information Commissioner’s Office) กล่าวว่า “กฎหมาย ไม่ได้เป็นตัวขัดขวางนวัตกรรม แต่ใช้เป็นกรอบ การทำ�งานที่ส่งเสริมสิทธิส่วนบุคคล และการ เก็บรักษาข้อมูลให้ปลอดภัย เราตระหนักถึงผล ประโยชน์ที่เกิดขึ้น แต่การทำ�ให้การใช้บิ๊กเดต้า โปร่งใสมากขึ้นจะช่วยให้ผู้คนมั่นใจในการเป็น พลเมืองดิจิทัลมากขึ้น" กฎหมายเพื่อการปกป้องความเป็นส่วนตัว หรือระบบการป้องกันการเจาะข้อมูลที่กำ�ลังจะ เกิดขึ้นในไม่ช้า รวมทั้งการชักนำ�ข้อมูลเข้ามา เป็นองค์ประกอบใหม่ของวิถีชีวิตและธุรกิจที่ กำ�ลังเป็นประเด็นทีถ่ กู กล่าวขานในขณะนี้ แม้วา่ จะยังไม่เดินหน้าจนสร้างการเปลีย่ นแปลงอย่าง เต็มรูปแบบ แต่ก็พอมองเห็นเค้าลางของโลก ใหม่ที่กำ�ลังรออยู่เบื้องหน้า
ที่มา: งานวิจยั “Precision Agriculture: Using Predictive Weather Analytics to Feed Future Generations” จาก research.ibm.com / บทความ “Disney Bets $1 Bil ion on Technology to Track Theme-Park Visitors” โดย Christopher Palmeri จาก bloomberg.com / บทความ “ICO Warns Big Data Projects Must Abide by Privacy Laws” โดย Dan Worth จาก v3.co.uk / บทความ “Is Precision Agriculture Finally Taking Root?” โดย Heather Clancy จาก forbes.com / บทความ “Little Privacy in the Age of Big Data” จาก theguardian.com / บทความ “Mickey Mouse is Watching You: MyMagic+ Wearable Tech Wristbands Track Visitors in Disney Parks” โดย Mary-Ann Russon จาก ibtimes.co.uk / บทความ “Obama's 'Big Data' Privacy Plans Get Lift from Lawmakers” โดย Roberta Rampton จาก reuters.com / บทความ “Planet Labs Cubesats Deployed from ISS with Many More to Follow” จาก spacenews.com / บทความ “Precision Farming” โดย David Herring จาก earthobservatory.nasa.gov / บทความ “Public Perceptions of Privacy and Security in the Post-Snowden Era” โดย Mary Madden จาก pewinternet.org / บทความ “What You Didn't Know about Drones” โดย Jodie Wehrspann จาก farmindustrynews.com / บทความ “2014 US Consumer Data Privacy Study: Consumer Privacy Edition from TRUSTe” จาก truste.com
กันยายน 2558
l
Creative Thailand
l 19
telegraph.co.uk
INSIGHT อินไซต์
เรื่อง: ปิยพร อรุณเกรียงไกร
เรามั ก จิ น ตนาการถึ ง โลกอนาคตที่ ห มุ น ไป พร้ อ มกั บ เทคโนโลยี แ ละระบบปฏิ บั ติ ก าร อัจฉริยะอย่างในภาพยนตร์ Minority Report (2002) Her (2013) หรืออาจเป็นโลกดิสโทเปีย ที่มนุษย์ต้องต่อสู้ดิ้นรนกับภาวะขาดแคลน ทรัพยากรในยุคหลังสังคมล่มสลาย ดังเช่น Interstellar (2014) และ Mad Max: Fury Road (2015) จนไม่ทันได้สังเกตว่าสิ่งที่กำ�ลัง รอเราอยู่ ใ นอี ก 35 ปี ข้ า งหน้ า ก็ คื อ คลื่ น ประชากรของผู้สูงวัยที่เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า หรือ คิดเป็น 2 พันล้านคนของประชากรโลกทัง้ หมด และนั่ น หมายถึ ง ในปี 2050 โลกของเราจะ กลายเป็ น สั ง คมแห่ ง คนแก่ โ ดยสมบู ร ณ์ (Aged Society) ด้วยสัดส่วนของผู้สูงวัย มากถึง 1 ใน 5 ของประชากร ตามการคาดการณ์ ขององค์ ก ารสหประชาชาติ แ ละองค์ ก าร อนามัยโลก
20 l
Creative Thailand
l กันยายน 2558
จากบันไดสู่ความสำ�เร็จ สู่ขั้นกว่าของการเปลี่ยนแปลง อาจเรียกได้ว่าเป็นชัยชนะของมนุษย์ที่คิดค้นพัฒนาเทคโนโลยีให้ตอบโจทย์แทบทุกความต้องการพื้นฐานได้ สำ�เร็จ ทั้งด้านการแพทย์และยารักษาโรคที่ทำ�ให้อัตราการเสียชีวิตลดลง โดยเฉพาะทารกแรกเกิด และเมื่อ ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจกระจายไปสู่ระดับภูมิภาคพร้อมกับบริการด้านสาธารณสุข การศึกษา และการ เติบโตของเมือง ผู้คนเริ่มมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและได้รับอายุยืนยาวเป็นโบนัส ในทางกลับกัน อัตราการเกิด และอัตราการเจริญพันธุ์กลับลดลง เพราะคนรุ่นใหม่เริ่มเปลี่ยนทัศนคติเกี่ยวกับการมีบุตรและวางแผน ครอบครัว จากรายงาน "สูงวัยในศตวรรษที่ 21: การเฉลิมฉลองและความท้าทาย" โดยกองทุนประชากรแห่ง สหประชาชาติ (United Nations Population Fund: UNFPA) ร่วมกับองค์การช่วยเหลือผู้สูงอายุระหว่าง ประเทศ (HelpAge International) ระบุว่าอายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดในแต่ละประเทศกำ�ลังเพิ่มสูงขึ้น โดย พบว่าปัจจุบัน ใน 33 ประเทศ มีอายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดมากถึง 80 ปี และเมื่อสิ้นสุดปี 2050 จะมี 64 ประเทศที่มีประชากรสูงวัยมากกว่าร้อยละ 30 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ของสังคมสูงวัยระดับสุดยอด (Super-Aged Society) เช่นเดียวกับญี่ปุ่น ขณะที่ประเทศไทยจะเข้าสู่ระดับดังกล่าวในช่วงปี 2031- 2032 ส่วนวัยแรงงาน ในฝั่งยุโรปจะเหลือเพียง 265 ล้านคนเท่านั้นในปี 2060 แน่นอนว่าปรากฏการณ์นไี้ ม่เพียงสั่นคลอนโครงสร้างพีระมิดของประชากรโลก แต่ยังนำ�ไปสู่การ เปลีย่ นแปลงในทุกด้าน ตัง้ แต่ระดับมหภาค เช่น แรงงานการผลิต งบประมาณด้านสวัสดิการสำ�หรับผู้สูงอายุ การพัฒนาชุมชนและสังคมที่เอื้อต่อผู้สูงวัย ไปจนถึงระดับปัจเจก เช่น ทัศนคติต่อความชรา การอยู่อาศัย และไลฟ์สไตล์ที่ไม่จำ�กัดอายุ เพราะไม่ว่าจะในอดีตหรือปัจจุบัน เด็กกับคนหนุ่มสาวมักจะได้รับโอกาสและ ทางเลือกมากกว่าวัยโรยราซึง่ ขับเคลือ่ นเศรษฐกิจไม่ได้อย่างเคย กระทัง่ สังคมทีเ่ จริญแล้วก็ไม่ได้ถกู ออกแบบ มาเพื่อรองรับประชากรสูงวัยอย่างแท้จริง หลายฝ่ายจึงต้องหันกลับมาศึกษาและทำ�ความเข้าใจผู้สูงวัยใน ฐานะผู้บริโภคกลุ่มใหญ่ที่ครอบครองกำ�ลังซื้อและความต้องการใหม่เพื่อหาทางรับมือกับการเปลี่ยนแปลง
INSIGHT อินไซต์
การจัดการเชิงนโยบายอย่างเป็นระบบ สะท้อนให้เห็น ว่าการเติบโตก้าวหน้าทางเศรษฐกิจไม่อาจรับรองว่า ผู้สูงวัยจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีเสมอไป น้อยคนจะรู้ว่าดัชนีชี้ข้อมูลนี้จัดทำ�ขึ้นเพื่อสนอง คำ�เรียกร้องของนายบัน คีมนุ เลขาธิการสหประชาชาติ ซึ่งกำ�หนดให้มีการปฏิวัติข้อมูล (Data Revolution) อย่างยัง่ ยืน และยืนยันว่าเมือ่ ปี 2015 สิน้ สุดลง จะไม่มี ใครถู ก ทิ้ ง ไว้ เ บื้ อ งหลั ง แผนการพั ฒ นาสำ � หรั บ โลก อนาคตอีกต่อไป ซึ่งหมายรวมถึงประชากรสูงวัยใน ปัจจุบันด้วย เพราะที่ผ่านมา คนสูงวัยมักจะเป็นกลุ่ม แรกๆ ที่ถู ก ตั ด ออกจากแผนพั ฒ นาและนโยบาย สาธารณะอยู่บ่อยครั้ง ด้วยเหตุผลง่ายๆ ที่ฟังไม่ค่อย ขึ้นเท่าไรนักว่า เราไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับผู้สูงอายุ
asiasociety.org
สภาพแวดล้อมทีเ่ หมาะสม เช่น การเข้าถึงระบบขนส่ง สาธารณะได้สะดวก ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในชุมชน ซึ่งทุกข้อล้วนบ่งชี้ถึงความเป็นอยู่ที่ดีนั่นเอง ระบบนี้ยังมีฟังก์ชั่น "Compare Countries" ให้ เลือกประเภทข้อมูลและกลุ่มประเทศที่ต้องการศึกษา เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเปรียบเทียบได้ เพื่อเอื้ออำ�นวย ให้หน่วยงานและคนที่สนใจนำ�ไปพัฒนางานวิชาการ นโยบาย คิดวิเคราะห์แนวโน้มของอนาคต และอาจได้ บทสรุปใหม่ๆ ที่คาดไม่ถึงได้สะดวกยิ่งขึ้น ดังที่ทาง องค์การได้รายงานข้อมูลเกีย่ วกับความมัน่ คงทางรายได้ และเงินบำ�นาญสำ�หรับผูส้ งู อายุในปี 2014 ว่า มีประชากร โลกแค่ครึ่งหนึ่งเท่านั้นที่คาดว่าจะได้รับเงินบำ�นาญ หลังวัยเกษียณ และประเทศพัฒนาหลายแห่งก็ยังขาด
องค์การสหประชาติได้แบ่งระดับสังคมผู้สูงอายุ เป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) กล่าวคือ ประเทศที่มีประชากร อายุ 60 มากกว่าร้อยละ 10 ของประชากร ทัง้ ประเทศ หรือมีประชากรอายุ 65 ปีขนึ้ ไป เกินร้อยละ 7 ของประชากรทั้งประเทศ ระดับสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) กล่าวคือ เมื่อประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปเพิ่ม เป็นร้อยละ 20 ของประชากรทัง้ ประเทศ หรือมีประชากรอายุ 65 เพิม่ เป็นร้อยละ 14 ของประชากร ทั้งประเทศ ระดับสังคมผู้สูงอายุระดับสูงสุด (Super-aged Society หรือ Hyper-Aged Society) กล่าวคือ เมื่อประชากรอายุ 65 ขึ้นไป มีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ
flickr.com/neloqua
โลกใบเก่า คนแก่ แต่ข้อมูลใหม่ อย่างไรก็ตาม แต่ละประเทศย่อมใช้เวลาเข้าสู่สังคม ผูส้ งู วัยไม่เท่ากัน ขึน้ อยูก่ บั ปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งการเตรียมพร้อมของรัฐบาล หลายประเทศจึง เลือกจะศึกษาเรียนรูจ้ ากผูม้ ปี ระสบการณ์ทเี่ ข้าสูส่ งั คม ผู้ สู ง วั ย โดยสมบู ร ณ์ ไ ปก่อนใครเพื่อน เช่น สวีเดน (1972) สหราชอาณาจักร (1976) และ อิตาลี (1988) ที่สำ�คัญ การสืบค้นข้อมูลไม่ใช่ปัญหายุ่งยากอีกต่อไป เมือ่ เทียบกับการจัดการปริมาณข้อมูลมหาศาลทีส่ ง่ ตรง มาจากตัวผู้บริโภค โรงพยาบาล หรืออาจโอนถ่ายผ่าน ระบบคลาวด์มาอีกทีหนึง่ ไหนจะต้องแกะรอยพฤติกรรม ใหม่ๆ ของผูส้ งู อายุทหี่ นั มาใช้อปุ กรณ์ดจิ ทิ ลั และโซเชียล มีเดียกันยกใหญ่ เช่น แอพพลิเคชั่นสุขภาพ การทำ� ธุรกรรมผ่านอินเทอร์เน็ต การรับชมสือ่ ออนไลน์ ข้อมูล เหล่านีเ้ ปรียบได้กบั ประตูสอู่ นิ ไซต์ของคนสูงวัยทีน่ �ำ ไป ต่อยอดได้แทบทุกสาขาวิชา ทุกอุตสาหกรรม รวมทั้ง นโยบายการพัฒนาประเทศ แต่กลับมีจำ�นวนน้อยเมื่อ เทียบกับผูบ้ ริโภควัยอืน่ งานนี้ นักจัดการและวิเคราะห์ ข้อมูล (Data Scientist) จึงต้องออกโรงมาจัดระเบียบ ข้อมูลของผู้สูงอายุกันอย่างจริงจัง องค์การช่วยเหลือผู้สูงอายุระหว่างประเทศได้ รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์สังคมผู้สูงวัยในปี 2014 จาก 96 ประเทศทั่วโลก เพื่อจัดทำ� "ดัชนีชี้วัด เกีย่ วกับผูส้ งู อายุทวั่ โลก (Global Age Watch Index)” ทั้งในรูปแบบรายงานวิชาการและฐานข้อมูลออนไลน์ ในเว็บไซต์ helpage.org โดยได้รับการสนับสนุนจาก กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ องค์การอนามัย โลก ธนาคารโลก องค์การแรงงานระหว่างประเทศ ภาคีเครือข่ายและผู้เชี่ยวชาญกว่า 40 รายจากสาขาที่ เกี่ยวข้อง เช่น ชราภาพวิทยา สุขภาพ การพัฒนา คุณภาพชีวิต หน้าทีข่ องระบบดัชนีขอ้ มูลนี้ ไม่ใช่แค่ชว่ ยเปลีย่ น ข้อมูลเป็นภาพ ตาราง แผนภูมิ และแผนที่เท่านั้น แต่ ยั ง ทำ � ให้ ผู้ ใ ช้ ม องเห็ น และเข้ า ใจภาพรวมของการ เปลี่ยนแปลงสู่สังคมสูงวัยมากขึ้น สามารถติดตาม ข้อมูลเชิงสถิตขิ องจำ�นวนผูส้ งู วัยใน 96 ประเทศทัว่ โลก และสืบค้นไปถึงข้อมูลเชิงลึกได้ว่าแต่ละประเทศมีวิธี การจัดการและพัฒนาคุณภาพชีวติ ของผูส้ งู อายุอย่างไร นอกจากนี้ ทางองค์การจะคอยรายงานการประเมินผล ความสำ�เร็จของนโยบายน้อยใหญ่ที่เกิดขึ้น เพื่อเป็น แนวทางการศึกษาและพัฒนาสังคมสำ�หรับผู้สูงวัย อย่างเต็มรูปแบบในอนาคต โดยประมวลจากข้อมูล 4 ประเภทใหญ่ๆ คือ ความมั่นคงด้านรายได้ สุขภาพ ความสามารถ (การศึกษาและการว่าจ้างงาน) และ
ที่มา: รายงาน "สูงวัยในศตวรรษที่ 21: การเฉลิมฉลองและความท้าทาย" โดยกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (United Nations Population Fund: UNFPA) และ องค์การช่วยเหลือผู้สูงอายุระหว่างประเทศ (HelpAge International) helpage.org/global-agewatch กันยายน 2558
l
Creative Thailand
l 21
CREATIVE ENTREPRENEUR คิด ทำ� กิน
เรื่อง: ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ ภาพ: อดิเดช ชัยวัฒนกุล
เทคโนโลยีอุปกรณ์สำ�หรับสวมใส่ หรือ Wearable นับว่าเป็น กระแสที่ได้รับการกล่าวถึงกันมากในช่วงหลายปีท่ีผ่านมา ด้วย ฟังก์ชั่นการเก็บข้อมูลการทำ�กิจกรรมและการเปลี่ยนแปลงของ ร่ า งกายในแต่ ล ะวั น ของผู้ ใ ช้ ง าน ก่ อ นจะส่ ง มาแสดงผลบน คอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟนเพื่อนำ�ไปต่อยอดและใช้ประโยชน์ แม้ว่าปัจจุบันสินค้าประเภทนี้จะยังอยู่ในช่วงตั้งไข่และมีตลาด ไม่กว้างนัก แต่ธุรกิจทั้งรายใหญ่รายเล็กต่างก็กระโดดลงมา เล่นในตลาดกันอย่างคึกคัก โดยอีกหนึ่งแบรนด์เล็กที่สะดุดตา ผู้บริโภคจำ�นวนไม่น้อย ก็คือนาฬิกาเพื่อคนรักสุขภาพดีไซน์ สวยอย่าง Wellograph ซึ่งคว้ารางวัล International CES Innovations Design and Engineering Awards ไปครอง ตั้งแต่เริ่มเปิดตัวเมื่อต้นปี 2014 ในงาน CES Innovations 2014 ที่สหรัฐฯ
พบแนวคิ ด ใหม่ จ ากผู ้ ป ระกอบการไทยที่ น�ำความคิ ด สร้ า งสรรค์ มาสร้างเป็นมูลค่าเพิม่ ให้กบั สินค้าและบริการได้ที่ TCDCconnect.com เว็บไซต์ที่รวบรวมรายชื่อและผลงานของนักออกแบบ ผู้ผลิต และ ผู ้ ป ระกอบการจากทุ ก อุ ต สาหกรรมสร้ า งสรรค์ ใ นประเทศไทยไว้ ในที่เดียวกัน
22 l
Creative Thailand
l กันยายน 2558
สิง่ หนึง่ ทีน่ า่ สนใจเกีย่ วกับเวลโลกราฟ คือนาฬิกาอัจฉริยะเรือนนีค้ ดิ ค้นและ พัฒนาโดยทีมงานคนไทยทัง้ หมด ภายใต้การนำ�ของ ดร.สารสิน บุพพานนท์ (อาร์ต) ผู้ก่อตั้งบริษัท เอทิซ อินโนเวชั่น จำ�กัด ซึ่งไม่ได้มีพื้นฐานความรู้ ด้านเทคโนโลยีมาก่อน แต่อาศัยความหลงใหลเป็นทุนตั้งต้น รวบรวมทีม วิศวกรตั้งสตาร์ทอัพรุ่นบุกเบิกเมื่อสิบปีก่อนในขณะที่กำ�ลังศึกษาอยู่ ที่สหรัฐฯ โดยพัฒนานวัตกรรมสินค้าชิ้นแรกเป็นเครื่องสแกนหนังสือ Bookdrive ที่สามารถสแกนหน้าหนังสือได้คมชัด ไม่เกิดเงาบริเวณส่วน เข้าเล่ม และไม่ท�ำ ให้หนังสือเสียรูปทรง ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า นิชมาร์เก็ตอย่างห้องสมุด มหาวิทยาลัย และหน่วยงานที่ทำ�หน้าที่เก็บ ข้อมูลและจัดการเอกสารทัว่ โลกทีต่ อ้ งสแกนหนังสือจำ�นวนมาก โดยเฉพาะ หนังสือที่มีความหนา หนังสือเก่า และหนังสือหายาก จนก้าวขึ้นเป็นหนึ่ง ในผู้นำ�ตลาดสแกนเนอร์ในปัจจุบัน
WHEN FUNCTION MEETS DESIGN
START FROM WHAT YOU WANT
ด้วยความชืน่ ชอบในเรือ่ งราวของเทคโนโลยีมาตัง้ แต่เด็ก และมีความฝัน ว่าอยากจะเป็นผูส้ ร้างสรรค์นวัตกรรมลา้ํ ยุคใหม่ๆ ให้แก่ผบู้ ริโภค การพัฒนา ผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้นของดร.สารสินเริ่มต้นจากการสังเกตปัญหาที่ยังไม่มี สินค้าใดในตลาดตอบโจทย์ได้ “ส่วนใหญ่จะมาจากความชอบของตัวเอง ว่าเราอยากได้สินค้าอะไร เราก็จะจินตนาการนู่นนี่ ถ้าคิดว่ามันแจ๋วจริงๆ ก็จะดูว่ามันมีโอกาสเป็นไปได้ไหม แต่ถ้ามันมีในตลาดแล้วและตอบโจทย์ ที่ตลาดต้องการแล้ว ก็ไม่ต้องไปทำ�แข่งกับเขา” “เมือ่ สีป่ ที แี่ ล้ว เรารูส้ กึ ว่าเราอยากจะวัดอัตราการเต้นของหัวใจ อยาก ตรวจสอบสุขภาพของตัวเองตลอดเวลา แต่ด้วยเทคโนโลยีในขณะนั้นเรา ต้องใส่สายคาดไว้ที่อก ซึ่งมันลำ�บากถ้าจะใส่วิ่งหรือทำ�กิจกรรม เลยเกิด ไอเดียว่าถ้าเราวัดทีข่ อ้ มือได้เลยคงจะแจ๋วมาก ผมเลยให้ทมี งานตัง้ ทีมวิจยั และพัฒนาเรื่องนี้โดยเฉพาะ ตอนแรกเราทำ�เป็นกึ่งงานอดิเรก ยังไม่ได้ เอาจริง จนพอมาถึงจุดหนึ่งแล้วเรามองว่ามันเป็นไปได้ ก็เลยรีบตั้งทีม เดินหน้าพัฒนาอย่างจริงจัง ในระหว่างทางทีก่ ำ�ลังทำ�เราก็เห็นเทรนด์ชัด ขึ้นเรื่อยๆ เพราะธุรกิจเจ้าใหญ่ๆ ก็เริ่มออกสินค้าประเภท Wearable มา เหมือนกัน จนตอนนีก้ ก็ ลายเป็นมาตรฐานใหม่ไปแล้วว่า Wearable ต่างๆ ในโลกจะต้องมีเซ็นเซอร์วัดอัตราการเต้นของหัวใจ” เวลโลกราฟนับว่าเป็นนาฬิกาอัจฉริยะรุน่ แรกๆ ทีส่ ามารถวัดชีพจรได้ จากข้อมือโดยตรง ด้วยเซ็นเซอร์แสงแอลอีดี ซึง่ จะยิงผ่านผิวหนังและอ่าน ค่าชีพจรจากคลื่นที่สะท้อนกระดูกกลับมา นอกจากนี้ยังใช้เซ็นเซอร์ตรวจ จับความเคลื่อนไหวที่มีถึง 9 แกน ทำ�ให้การตรวจวัดข้อมูลการเดิน การ ออกกำ�ลังกาย และการทำ�กิจกรรมต่างๆ มีความแม่นยำ�สูง ในส่วนของ พลังงาน เวลโลกราฟมีอายุการใช้งานนานถึง 7 วันต่อการชาร์จ 1 ครั้ง เพราะทีมงานเลือกใช้ซพี ยี ทู กี่ นิ พลังงานตํา่ มาก และออกแบบระบบปฏิบตั ิ การขึ้นใหม่เพื่อให้เหมาะสมกับขนาดแบตเตอรี่ ข้อมูลทั้งหมดจะถูก ประมวลมาแสดงผลบนหน้าจอด้วยกราฟิกที่อ่านง่ายและครบถ้วนโดยไม่ จำ�เป็นต้องใช้งานร่วมกับสมาร์ทโฟน แต่หากผู้ใช้ต้องการข้อมูลสุขภาพที่ ละเอียดมากขึ้น ก็สามารถดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นซึ่งรองรับสมาร์ทโฟน ทั้งระบบ iOS, Android และ Windows
นอกจากฟังก์ชั่นการใช้งานที่ต้องแม่นยำ�และใช้งานได้จริงแล้ว อีกหนึ่ง โจทย์ตงั้ ต้นของเวลโลกราฟก็คอื ดีไซน์ทสี่ วยงาม สวมใส่ได้ในหลายโอกาส ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำ�คัญไม่แพ้กัน “สินค้าของเราไม่ได้ทำ�เพื่อขายอย่างเดียว แต่เราอยากจะทำ�ให้ตัวเอง ให้คุณพ่อคุณแม่ใส่ด้วย” คำ�ตอบของวัสดุ สำ�หรับตัวเรือนจึงมาลงตัวที่กระจกแซฟไฟร์คริสตัลซึ่งไม่เพียงทนทาน ป้องกันรอยขีดข่วน แต่ยังให้สไตล์มินิมอลเรียบหรู รูปทรงมีเอกลักษณ์ โดดเด่นจากสินค้า Wearable ในช่วงราคาใกล้เคียงกันที่ส่วนใหญ่ทำ�จาก กระจกกอริลล่ากลาสหรือพลาสติก ทัง้ ยังมาพร้อมกับสายหนังทีม่ ใี ห้เลือก 3 สี โดยสามารถสลับเป็นสายผ้านาโต้ระบายอากาศสำ�หรับออกกำ�ลังกาย สำ�หรับแผนการในอนาคตเมือ่ มีบริษทั ใหญ่มาจับตลาดสินค้า Wearable กันมากขึน้ ดร.สารสินมองว่าบริษทั เล็กอย่างเวลโลกราฟซึง่ ขับเคลือ่ น ด้วยการวิจัยและพัฒนาโดยทีมงานวิศวกรที่มีประสบการณ์ร่วม 20 ชีวิต ซึง่ มีเพียงไม่กที่ มี ในประเทศไทย ต้องขยับมาทำ�สินค้าทีม่ ตี ลาดเฉพาะมาก ขึ้น เช่น อุปกรณ์ทางการแพทย์ หรือเป็นผู้ป้อนเทคโนโลยี (Technology Provider) ให้แบรนด์อื่นๆ ที่ขาดความเชี่ยวชาญ “เนื่องจากการทำ�ฮาร์ดแวร์มนั ท้าทายกว่าซอฟต์แวร์มาก สตาร์ทอัพที่ พัฒนาแอพพลิเคชั่นเขาเพียงแค่จ้างนักพัฒนาแอพฯ กับดีไซเนอร์ไม่กี่คน 6 เดือนก็เห็นแล้วว่ามันไปได้หรือไม่ได้ ไปได้ก็เลี้ยงต่อ ไม่ได้ก็จบไป แต่ การทำ�ฮาร์ดแวร์ต้องใช้เงินลงทุนสูง ต้องมีเครื่องมือต่างๆ และการหา วิศวกรที่จะมาทำ�โปรเจ็กต์ระดับนี้ก็ยากมาก ดังนั้น ถ้าบริษัทใหญ่ซ่ึงมี ทรัพยากรมหาศาลเข้ามาเล่นในตลาดด้วย เราก็จะไม่แข่งกับเขาตรงๆ เรา ต้องหาจุดต่างของสินค้า อาจจะต้องขยายไปทำ�สินค้าประเภท Cyber Physical Product อื่นๆ ซึ่งยังมีโอกาสอีกค่อนข้างมาก แต่ก็ต้องมา พิจารณาดูวา่ อะไรทีจ่ ะมีโอกาสสูงทีส่ ดุ และการแข่งขันเหมาะสมกับสเกล ของธุรกิจของเรา”
TIPS FOR ENTREPRENEURS “อย่าทำ� ถ้าไม่แน่จริง” ธุรกิจฮาร์ดแวร์มีความเสี่ยงสูง ทุกอย่างต้องแข่งกับเวลา เพราะเทคโนโลยีเปลีย่ นแปลงอย่างรวดเร็ว ยังไม่รวมความกดดันทีอ่ าจเกิดขึน้ หาก บริษัทคู่แข่งชิงออกสินค้าก่อนหรือถูกลอกเลียนแบบสินค้า ดร.สารสินแนะนำ�ว่า ธุรกิจฮาร์ดแวร์จำ�เป็นต้องสร้างโมเดลที่จะทำ�ให้ตัวเองอยู่รอดได้ในตลาด เช่น การสร้างแบรนด์ที่น่าเชื่อถือ หรือการสร้างซอฟต์แวร์ที่ทำ�งานประสานอย่างดีกับ ฮาร์ดแวร์ ซึ่งจะทำ�ให้การเลียนแบบสินค้าทำ�ได้ยากขึ้น เพราะปัจจุบันบริษัท เทคโนโลยีที่จะมีความเชี่ยวชาญทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ยังมีไม่มากนัก “พร้อมเปลี่ยนสิ่งที่เคยเชื่อ” ในการทำ�ธุรกิจด้านเทคโนโลยี แนวคิดต่างๆ จะถูก ท้าทายตลอดเวลา สิง่ สำ�คัญทีส่ ดุ คือต้องพร้อมยอมรับความเปลีย่ นแปลงทีจ่ ะเกิด ขึ้น ปรับตัวตามสถานการณ์ และพัฒนาอยู่ตลอด มิฉะนั้นอาจกลับมาส่งผลเสีย ต่อธุรกิจในท้ายที่สุด กันยายน 2558
l
Creative Thailand
l 23
CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
เรื่อง: วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ
ปี 2005 สหรัฐอเมริกาประสบกับภัยพิบัติที่เรียกได้ว่ารุนแรงและเสียหายมากที่สุดในประวัติศาสตร์ นั่นคือเหตุการณ์พายุเฮอริเคน แคทรีนาถล่มเมืองนิวออลีนส์ รัฐลุยเซียนา เหตุการณ์ในครั้งนั้นมีผู้เสียชีวิตกว่า 1,200 คน และกว่าร้อยละ 80 ของเมืองจมอยู่ใต้นํ้า สหรัฐฯ สูญเสียเม็ดเงินไปมหาศาลกว่า 151 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และในวันนี้ ผ่านมา 10 ปีหลังจากเหตุภัยพิบัติ นิวออลีนส์กลับ ถูกยกย่องจากสถาบันต่างๆ ไม่ว่าจะฟอร์บส์ หรือวอลสตรีทเจอนัล ว่าเป็น “เมืองที่น่าจับตามองที่สุด” และ “เมืองที่ได้รับการพัฒนา มากที่สุด” คำ�ถามคือ 10 ปีที่ผ่านมา นิวออลีนส์ทำ�อย่างไรถึงก้าวมาสู่จุดนี้ได้
24 l
Creative Thailand
l กันยายน 2558
commons.wikimedia.org
CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
Reuters
Reuters by Carlos Ba rria
facebook.com/LouisianaCharterSchoolAssociation
facebook.com/LouisianaCharterSchoolAssociation
DATA SHIFTS CITY
“หลังจากเกิดแคทรีนา ไม่มใี ครมัน่ ใจได้เลยว่า จะเกิดอะไรขึ้นอีก สิ่งที่ประชาชนต้องการมาก ที่สุดในขณะนั้นคือข้อมูล” แอลิสัน พลายเยอร์ (Allison Plyer) ผู้อำ�นวยการศูนย์ข้อมูลประจำ� นิวออลีนส์กล่าว ข้อมูลต่างๆ ทีไ่ ด้รบั แจ้งมาจากชาวนิวออลีนส์ ในเหตุภยั พิบตั คิ รัง้ นัน้ มีมากมายและหลากหลาย ต้นทาง คนกลางสำ�คัญอย่าง “The Greater New Orleans Community Data Center” คือตัวแทน ชาวเมืองนิวออลีนส์ทคี่ อยรวบรวมข้อมูลทีไ่ ด้รบั จากแหล่งข่าวใหญ่ แหล่งข่าวท้องถิ่น โทรศัพท์ หรืออีเมลขอความช่วยเหลือและแจ้งเหตุต่างๆ
ไปจนถึงบล็อกส่วนตัวที่ไว้ระบายความทุกข์ ข้อมูลทัง้ หมดได้ถกู รวบรวมและจัดแจงใหม่เพือ่ รายงานความเสียหายและความเป็นไปของเมือง ให้ ป ระชาชนทราบ รวมทั้ ง วิ เ คราะห์ ค วาม สัมพันธ์ระหว่างความช่วยเหลือใดๆ ก็ตามที่ รัฐบาลหรือองค์กรต่างๆ ต้องการจะหยิบยื่นให้ ให้สอดคล้องกับสิ่งที่ประชาชน ณ ขณะนั้น ต้องการจริงๆ และเมื่อความทุกข์จากภัยพิบตั ไิ ด้ ทุเลาลง “ข้อมูล”ในครั้งนั้นจึงค่อยๆ เผยตัวตน ของเมืองให้ชาวนิวออลีนส์ได้เห็นภาพเมืองของ พวกเขาได้ชัดเจนมากขึ้น หั ว ใจสำ � คั ญ ของจุ ด เริ่ ม ต้ น ในการสร้ า ง นิวออลีนส์ไปในทิศทางใหม่ก็คือ ข้อมูลที่มีอยู่ ในมือ ณ ขณะนั้นของชาวนิวออลีนส์ ตัวอย่าง
เช่น สถิติได้เผยให้เห็นว่า นิวออลีนส์ติดอับดับ เมืองที่มีอาชญากรรมสูงเป็นลำ�ดับต้นๆ เป็น ประจำ�ทุกปี เพราะประชาชนชายผิวสีรอ้ ยละ 52 ไม่ทำ�งาน และร้อยละ 43 เคยมีประวัติก่อ อาชญากรรม การแก้ปัญหาแบบที่เคยแก้ทุกปี ไม่ได้ทำ�ให้อาชญากรรมหายไป เพราะรากลึก ของปัญหาคือความแปลกแยกของประชาชนที่ วิเคราะห์ได้ว่า เมื่อประชากรผิวสีเหล่านี้ไม่รู้สึก ว่าตนได้รับความปลอดภัยจากเมือง การก่อ อาชญากรรมจึงมีให้เห็นตามมา ล่าสุดจึงเกิด โครงการ “NOLA for Life” ที่พยายามแก้ปัญหา อย่างรอบด้าน ตั้งแต่การส่งเสริมและให้โอกาส ในการทำ�งาน การสนับสนุนให้ชาวเมืองมีสว่ น ร่ ว มเพื่ อ สร้ า งบรรยากาศที่ ป ลอดภั ย ยิ่ ง ขึ้ น ไปจนถึงการแก้ปญั หาปลายทางด้วยการพัฒนา แอพพลิเคชั่นที่ระดมทุนได้จากชาวเมืองชื่อว่า “French Quarter Task Force” เพือ่ ให้ประชาชน แจ้งเหตุด่วนหรือรายงานสิ่งต้องสงสัยว่าเป็น อันตรายกับเมืองย่านเฟรนซ์ควอเตอร์ได้สะดวก และรวดเร็วมากขึ้นกว่าการโทรหา 911 เรื่องระบบการศึกษาก็เช่นกัน นิวออลีนส์ ติดโผว่ามีระบบการศึกษาแย่ที่สุดของประเทศ มาโดยตลอด โดยสถิติเผยว่าก่อนเหตุการณ์ เฮอริเคนแคทรีนา เด็กๆ ชาวนิวออลีนส์ผา่ นการ ศึกษาขั้นมาตรฐานเพียงร้อยละ 30 แต่หลังจาก พายุเฮอริเคนที่พัดทำ�ลายโรงเรียนในเมืองลง อย่างราบคาบ ระบบการศึกษาแบบเก่าๆ อย่าง โรงเรียนรัฐบาล (Public School) ก็สนิ้ สุดลงเช่น กัน เพราะเมืองเริม่ หันมาใช้ระบบการศึกษาทาง เลือกอย่าง Charter School ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มี อิสระในการกำ�หนดหลักสูตรการเรียนการสอน อย่างมีประสิทธิภาพได้ดว้ ยตนเอง รวมถึงความ ช่วยเหลือของ Teach for America ซึ่งเป็น องค์กรที่ช่วยต่อต้านความเหลื่อมลํ้าด้านการ ศึกษาในสหรัฐอเมริกา สร้างกลไกสนับสนุนและ ส่งเสริมนวัตกรรมด้านการเรียนการสอน ที่ทำ� ให้เด็กๆ ในนิวออลีนส์มโี อกาสเข้าถึงการศึกษา ได้ดีขึ้นถึงร้อยละ 68 กันยายน 2558
l
Creative Thailand
l 25
CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
SILICON “SOMETHING”
flickr.com/kevinomara
รูปแบบการก้าวขึ้นมาเป็นเมืองที่เรียกแทนตัว เองว่า “ซิลิคอน” อะไรสักอย่าง มักมีเส้นทางที่ คล้ายๆ กัน คือเป็นสถานทีซ่ งึ่ บรรดาสตาร์ทอัพ นักศึกษาจบใหม่ นายทุน เข้ามาแสวงหาโอกาส สร้างฝันด้วยไอเดีย นวัตกรรม และเทคโนโลยี ให้กลายเป็นจริง ก่อนที่บริษัทต่างๆ จะเข้ามา ลงทุนและลงหลักปักฐาน เช่น ซาน โฮเซ (San Jose) ในซานฟรานซิสโก ที่แต่เดิมเป็นเมือง เกษตรกรรมแต่พอมีการบุกเบิกให้เป็น “Silicon Valley” เมืองเกษตรก็เปลี่ยนมาเป็นศูนย์กลาง ของนวัตกรรมและบริษทั เทคโนโลยีชน้ั นำ�ของโลก ต่อมาทีย่ า่ นแมนฮัตตันในนิวยอร์ก เป็นผูน้ �ำ ด้าน เทคโนโลยีที่เด่นเรื่องการทำ�โฆษณา สื่อใหม่ๆ และเทคโนโลยีชวี ภาพ จนได้ชอื่ ว่าเป็น “Silicon Alley” แต่เพราะทัง้ นิวยอร์กและซานฟรานซิสโก ต่างเป็นเมืองใหญ่ทมี่ คี า่ ครองชีพสูงประกอบกับ การที่เทคโนโลยีและการสื่อสารพัฒนามากขึ้น สตาร์ทอัพจึงไม่จำ�เป็นต้องอยู่ในเมืองใหญ่อีก ต่อไป บางส่วนจึงกลับไปบุกเบิกที่บ้านเกิดหรือ เมืองอืน่ ๆ ซึง่ มีคา่ ครองชีพไม่สูงมากนัก อย่างที่ ดาลัลส์ในเท็กซัสให้เป็น “Silicon Prairie” หรือที่ พอร์ทแลนด์เป็น “Silicon Forest” และที่นวิ ออลีนส์ เองก็เช่นกัน เพราะในตอนนีไ้ ด้ชอื่ ว่าเป็น “Silicon Bayou” แต่การประกาศตนว่าได้เป็นฮับสตาร์ทอัพ แห่งใหม่ก็ได้สร้างความกังวลใจให้คนท้องถิ่นที่ รู้สึกว่า กำ�ลังเสี่ยงที่จะต้องเสียสละวัฒนธรรม ท้องถิน่ ของตัวเองแล้วหันมาขับเคลือ่ นเมืองด้วย เทคโนโลยีของผูค้ นที่เข้ามาหาโอกาสในเมืองแห่งนี้
26 l
Creative Thailand
l กันยายน 2558
ซึ่งนั่นคงไม่ใช่จุดหมายที่ชาวเมืองต้องการมาก ทีส่ ดุ แอลิสนั พลายเยอร์ ผูอ้ �ำ นวยการศูนย์ขอ้ มูล ประจำ�นิวออลีนส์ ให้ความเห็นว่า “คุณจะได้ยนิ ชาวเมืองพูดกันว่า ทุกอย่างดีขนึ้ เศรษฐกิจกำ�ลัง พัฒนาไปมาก แต่กม็ เี สียงอีกด้านหนึง่ พูดกันว่า ทุกอย่างแย่ลง และทัง้ สองเรือ่ งต่างเป็นเรือ่ งจริงที่ เกิดขึน้ ทัง้ คู”่ เพราะในขณะทีส่ ตาร์ทอัพต่างๆ เข้า มาสร้างธุรกิจด้วยไลฟ์สไตล์เดิมๆ อันประกอบ ด้วยแล็ปท็อป ร้านกาแฟ และฟรีไวไฟ ไม่ตา่ งจาก เมืองซิลคิ อนอืน่ ๆ ทีข่ บั เคลือ่ นให้เศรษฐกิจของ เมืองเติบโตขึน้ เรือ่ ยๆ ขณะเดียวกัน กลุม่ ชาวเมือง เก่ากว่าร้อยละ 60 ของนิวออลีนส์ซึ่งเป็นชาว แอฟริกนั -อเมริกนั ยังคงอยู่กบั ความไม่เท่าเทียม ซึ่ง Bloomberg Visual Data ได้จัดอันดับให้ นิวออลีนส์เป็นเมืองทีม่ คี วามเหลือ่ มลา้ํ ทางรายได้ มากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของประเทศ นิวออลีนส์ จึงยังเป็นเมืองที่มีคนทั้งสองกลุ่มเติบโตไปใน ทิศทางที่คู่ขนาน
commons.wikimedia.org/ChrisLitherlandBourbonSt
flickr.com/kevinomara
facebook.com/12YearsASlave facebook.com/Dal asBuyersClub
Hollywood South ปัจจัยที่ทำ�ให้นิวออลีนส์กลายเป็นเมืองเนื้อหอมสำ�หรับสตาร์ทอัพหน้าใหม่ที่ต้องการเริ่มต้นธุรกิจที่นี่ก็ คือ ค่าครองชีพที่ไม่แพง ซึ่งมีค่าเฉลี่ยตํ่ากว่าทั้งประเทศอยู่ร้อยละ 3 (ในขณะที่นิวยอร์กมีค่าครองชีพ สูงกว่าค่าเฉลี่ยถึงร้อยละ 118) อีกปัจจัยสำ�คัญคือ การมีค่าภาษีที่เอื้อประโยชน์ต่อการทำ�ธุรกิจ เห็นได้ ชัดในกรณีอุตสาหกรรมภาพยนตร์ที่เข้ามาลงทุนในนิวออลีนส์มากเป็นอันดับ 1 แซงหน้าฮอลลีวูดไปได้ และได้รับฉายาใหม่ว่าเป็น “Hollywood South” นั่นเป็นเพราะเงินทุกๆ ดอลลาร์ที่นักสร้างภาพยนตร์ เข้ามาลงทุนในสตูดิโอหรือบริษัทที่รัฐลุยเซียนา จะได้กลับคืนถึงร้อยละ 30 ในรูปแบบภาษี และหากจัด จ้างคนท้องถิ่นก็จะได้คืนเพิ่มอีกร้อยละ 5 ทำ�ให้รายการทีวี หนังสั้น สารคดี ซีรีส์ และภาพยนตร์ต่างๆ เลือกมาถ่ายทำ�ที่นิวออลีนส์ อย่างเรื่อง 12 Years a Slave (2013), Dallas Buyers Club (2013), G.I. Joe: Retaliation (2013), The Butler (2013), Dawn of the Planet of the Apes (2014), Now You See Me (2013) ฯลฯ ซึ่งอุตสาหกรรมภาพยนตร์ที่เข้ามาได้สร้างรายได้ให้เมืองในปีที่ผ่านมากว่า 813 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และสร้างการจ้างงานให้คนในพื้นที่ได้กว่า 13,000 ตำ�แหน่ง
CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
DISASTER DRIVES FUTURE แม้วา่ การนำ�พาของเทคโนโลยีและนวัตกรรมจะ สามารถขับเคลื่อนเมืองให้พัฒนาและเจริญขึ้น ได้จริงจากตัวอย่างความสำ�เร็จของสตาร์ทอัพ เมืองต่างๆ แต่จดุ เริม่ ต้นของการเป็นสตาร์ทอัพ ซิตขี้ องนิวออลีนส์ก็ต่างจากเมืองอืน่ ๆ อยูม่ าก เนื่องจากนิวออลีนส์ไม่ได้เพียบพร้อมไปด้วย บรรยากาศของเทคโนโลยี นวัตกรรม มหาวิทยาลัย ชัน้ นำ� หรือเป็นทีต่ งั้ ของบริษทั ยักษ์ใหญ่ทพี่ ร้อม ให้ เ ด็ ก จบใหม่ ม าทดสอบฝี มื อ เหมื อ นอย่ า ง นิวยอร์กหรือซานฟรานซิสโก แต่การเป็นสตาร์ท อัพของผูค้ นทีน่ เี่ ริม่ ต้นด้วยการทำ�ในสิง่ ทีจ่ �ำ เป็น ต้องทำ� ธุรกิจต่างๆ เริ่มต้นขึ้นเพื่อพยายามขับ เคลื่อนเมืองหลังภัยพิบัติให้สามารถสตาร์ทขึ้น ใหม่อีกครั้งด้วยการทำ�เพื่อสังคมและชุมชน (Social Entrepreneur) เช่น การมีขึ้นของ Propeller องค์กรบ่มเพาะผูป้ ระกอบการเพือ่ สังคม (Social Innovation Incubator) ที่ให้ความ ช่วยเหลือประชาชนโดยเฉพาะชาวผิ ว สี ใ ห้ มี โอกาสเริ่มต้นธุรกิจของตัวเองเพื่อตั้งต้นชีวิต ใหม่อีกครั้ง The Good Work Network องค์กร ที่จัดตั้งขึ้นหลังเฮอริเคนแคทรีนาเพื่อให้ความ ช่วยเหลือและสนับสนุนประชาชนระดับรากหญ้า โดยเฉพาะผูห้ ญิงให้สามารถมีอาชีพหรือมีธรุ กิจ เล็กๆ ของตัวเองเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในชุมชน หรือบริษัท InnoGenomics ที่คิดค้นนวัตกรรม การตรวจสอบดีเอ็นเอให้สามารถระบุตวั ตนของ เหยือ่ หรือผูเ้ คราะห์รา้ ยในเหตุการณ์ทไี่ ม่คาดคิด หรือภัยพิบตั ติ า่ งๆ ทีอ่ าจเกิดขึน้ ได้อกี ซึง่ สำ�นัก
facebook.com/GoPropeller
ข่าว Silicon Bayou News ได้รายงานว่า ปัจจุบนั มีผู้ประกอบการเพื่อสังคมกว่า 4,600 องค์กร แล้วในนิวออลีนส์ และทิม วิลเลียมสัน (Tim Williamson) ซีอีโอแห่ง Idea Village องค์กร ไม่แสวงหากำ�ไรเพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการใน นิวออลีนส์ ได้ให้ความเห็นในฐานะสตาร์ทอัพ และในฐานะชาวเมืองนิวออลีนส์ไว้วา่ เขาอยาก จะเปลี่ ย นแปลงปั ญ หาอาชญากรรม การ คอร์รัปชั่นของการปกครอง ระบบการศึกษาที่ ล้มเหลว ซึ่งแต่ก่อนสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้เพราะ ไม่มใี ครใส่ใจ แต่ตอนนีเ้ ขาและคนอืน่ ๆ ยอมรับ ไม่ได้อีกแล้ว “มันไม่โอเคเลยที่เมืองของเราถูก จัดอันดับให้เป็นเมืองที่มีระบบการศึกษาและ ระบบสาธารณสุขที่แย่ที่สุดในประเทศ แต่ผม เชื่อว่า เรากำ�ลังมีผู้ประกอบการใหม่ๆ ที่จะทำ� ให้ชาวเมืองมีปากมีเสียง และพร้อมที่จะสร้าง สังคมใหม่ให้ดีขึ้นได้” ซึ่งกระบอกเสียงเล็กๆ ของสตาร์ทอัพเพื่อ สังคมเหล่านี้คงเป็นความหวังที่จะสมานความ เป็นเมืองคูข่ นานของนิวออลีนส์ให้กลับมาเชือ่ ม ต่อกันได้ในไม่ช้า
ที่มา: บทความ “New Orleans Rises Decade After Katrina but Gaps Remain” (สิงหาคม 2015) จาก nytimes.com / บทความ “In Katrina's Wake, New Orleans Enjoys Startup Boom” (ธันวาคม 2011) จาก npr.org / บทความ “Why New Orleans is the Coolest Start-up City in America” (สิงหาคม 2011) จาก inc.com / บทความ “25 Reasons Why New Orleans is the Best City for Young Entrepreneurs” (ตุลาคม 2011) จาก under30ceo.com / บทความ “10 Years After the Storm: Has New Orleans Learned the Lessons of Hurricane Katrina?” (กรกฎาคม 2015) จาก theguardian.com / บทความ “New Orleans As a Tech Hub? Here's Why GE Says 'Yes'” (กันยายน 2014) จาก forbes.com / บทความ “Inside New Orleans Data-Driven Recovery” (ธันวาคม 2013) จาก nextcity.org / บทความ “New Orleans is Moving From Dysfunction to Data-Driven Decision-Making” (มิถนุ ายน 2015)จาก nextcity.org / บทความ “The Big Comeback: Is New Orleans America's Next Great Innovation Hub?” (เมษายน 2013) จาก theatlantic.com / บทความ “New Orleans Cuts Murder Rate Using Data Analytics” (ตุลาคม 2014) จาก govtech.com / บทความ “Hollywood South: Why New Orleans Is the New Movie-Making Capital” (พฤศจิกายน 2014) จาก abcnews.go.com / วิกิพีเดีย
REUTERS/Jonathan Bachman
facebook.com/americanhorrorstory
Did you know? ประวัตศิ าสตร์และพืน้ เพทีห่ ลากหลายของชาวนิวออลีนส์ นับเป็นขุมทรัพย์ประจำ�เมือง เพราะส่วนผสมของความ เป็นแอฟริกนั -อเมริกนั ฝรัง่ เศส สเปน และแคริบเบียน ที่มีอยู่มาอย่างยาวนานคู่เมืองนิวออลีนส์ได้ถ่ายทอด ผ่านดนตรีแจ๊สและอาหารที่โด่งดังเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก รวมถึงการจัดเทศกาลต่างๆ ที่เป็นเอกลักษณ์ดึงดูด นักท่องเที่ยวอย่างมาร์ดิกราส์ (Mardi Gras) เทศกาล ทีจ่ ดั ขึน้ เพือ่ เตรียมตัวต้อนรับเทศกาลอีสเตอร์ ในงานจะ มีขบวนพาเหรดต่างๆ ทีแ่ ต่งกายด้วยเสือ้ ผ้าหลากสีสนั พร้อมหน้ากากทรงแปลกตาประดับบนใบหน้า ผูค้ นจะ เฉลิมฉลองด้วยการกิน ดื่ม และเต้นรำ� โดยสำ�นักข่าว ประจำ�นิวออลีนส์คาดว่าสิน้ ปี 2015 นีจ้ ะมีนกั ท่องเทีย่ ว มากกว่า 1 ล้านคนเดินทางมาร่วมงานและจะส่งผลให้ มีเงินสะพัดกว่า 144 ล้านเหรียญสหรัฐฯ นิ ว ออลี น ส์ คื อ จุ ด เริ่ ม ต้ น ของหลายสิ่ ง หลายอย่ า ง เช่น ดนตรีแจ๊ส โอเปร่า โรงภาพยนตร์ และการเล่นไพ่ โป๊กเกอร์ รวมทั้งเรื่องความลึกลับปนสยองของแม่มด มารี ลาโว (Marie Laveau) ราชินีวูดูแห่งนิวออลีนส์ ที่ เชื่อกันว่าสามารถสาปใครให้เป็นอะไรก็ได้ และเพราะ บรรยากาศที่มีกลิน่ อายน่ากลัวนี้เอง ภาพยนตร์และซีรีส์ ต่างๆ ที่ชอบผูกเรือ่ งเกีย่ วกับความเชือ่ และพิธกี รรม จึง มักให้นิวออลีนส์เป็นฉากหลังของเรื่อง เช่น ซีรีส์เรื่อง American Horror Story และ True Blood กันยายน 2558
l
Creative Thailand
l 27
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
เรื่อง: นันท์นรี พานิชกุล ภาพ: รังสิมันต์ สิทธิพงษ์
28 l
Creative Thailand
l กันยายน 2558
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
การเป็นคนมีไอเดียอย่างเดียวแต่ไม่ลงมือทำ�นั้นไม่มีความหมาย ในมุมมองของ “นที แสง” เจ้าของและซีอีโอ Makerspace Thailand เมกเกอร์สเปซจากเชียงใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวเมื่อเดือน มกราคมที่ผ่านมา สำ�หรับผู้ที่ครํ่าหวอดในแวดวงสร้างสรรค์และ นวัตกรรมในฐานะผูป้ ระกอบการดอทคอมมาหลายสิบปีอย่างนที ไม่เพียงแค่จินตนาการที่สำ�คัญ แต่เป็นจินตนาการบวกกับการ กระทำ�ต่างหาก ที่จะสร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง พื้นที่อย่างเมกเกอร์สเปซนั้นจึงนับเป็นพื้นที่สำ�คัญ ในฐานะจุด เริ่มต้นที่เปิดโอกาสให้ทุกคนที่มีไอเดียได้มาเป็นเมกเกอร์ ได้มา ทดลองสร้ า งงานต้ น แบบและลงมื อ ผลิ ต ของที่ อ าจพลิ ก โลก อนาคต โลกที่การแบ่งปันและการเข้าถึงทั้งเครื่องมือและองค์ ความรู้ คือหัวใจของการสร้างนวัตกรรม
คนทั่วไปที่อาจจะไม่คุ้นเคยกับแนวคิดของเมกเกอร์หรือ มองว่าพืน้ ทีอ่ ย่างเมกเกอร์สเปซเป็นเรือ่ งของโอกาสการ เมกเกอร์สเปซ อาจจะมองว่าเพราะคนไทยเราไม่ชอบทำ� เข้าถึงเครื่องมือในการผลิตอีกแบบหนึ่ง อะไรเอง คุณเห็นด้วยหรือไม่ ใช่ครับ ปกติเครือ่ งมือเหล่านีแ้ พงมากสำ�หรับคนทัว่ ไป เครือ่ งพิมพ์สามมิติ ผมได้ยนิ คนไทยโดยเฉพาะอย่างยิง่ คนกรุงเทพฯ พูดทำ�นองนีเ้ ยอะ “คนไทย จริงๆ ไม่ใช่เมกเกอร์” หรือ “คนไทยไม่ใช่คน DIY” แต่ผมไม่เห็นด้วย เมืองไทยเต็มไปด้วยเมกเกอร์ ของทีส่ ร้างอาจจะไม่ได้ดแู ฟนซีมากเหมือน ที่เราอาจจะเห็นจากเมกเกอร์ในสหรัฐฯ แต่ผมมองว่ามันน่าตื่นตาตื่นใจ มากกว่า แล้วนีก่ เ็ ป็นเหตุผลทีผ่ มเปิดเมกเกอร์สเปซด้วย ลองมองไปรอบๆ สิครับ ทุกคนสร้างอะไรบางอย่างกันอยู่ตลอดเวลา ซึ่งแน่นอนถ้ามองจาก มุมของคนที่ผ่านการศึกษาในมหาวิทยาลัย มันอาจจะไม่ได้สวย ไม่ได้ ออกแบบมาดี แต่มนั เป็นของทีถ่ กู สร้างขึน้ มาเพือ่ ใช้งานจริงๆ คำ�เรียกของ พวกนี้ที่พักหลังได้ยินบ่อยหน่อยคือ “เทคโนโลยีชาวบ้าน” สำ�หรับผม คน ที่ทำ�ของพวกนี้ต่างหากที่เป็นเมกเกอร์ตัวจริงของเมืองไทย สองสามปีหลังๆ ผมเห็นตัวอย่างนวัตกรรมที่น่าสนใจจากท้องถนน ของกรุงเทพฯ อย่างร้านรถเข็นไก่ย่างที่ใช้พัดลมมอเตอร์ไฟฟ้าดูดควัน นี่ แหละคือ DIY โดยไม่ต้องให้อาจารย์มหาวิทยาลัยสอนว่าจะออกแบบ เครื่องดูดอากาศสำ�หรับรถเข็นขายไก่ย่างยังไง คนไทยเป็นคนช่างคิด ช่างประดิษฐ์ เรามีทรัพยากรจำ�กัด แต่เรารวมสองสิง่ นีเ้ ข้าด้วยกันแล้วสร้าง สิ่งประดิษฐ์ออกมาได้ ผมคิดว่าถ้าผมสามารถสร้างเครื่องพิมพ์สามมิติ มี เครื่องเลเซอร์คัตเตอร์หรือเครื่องซีเอ็นซีแมชชีน แล้วเปิดให้เมกเกอร์ไทย เหล่านั้นได้เข้ามาใช้งาน ลองจินตนาการสิ่งต่างๆ ที่พวกเขาจะสร้างขึ้น สิครับ นัน่ อาจจะเป็นปรัชญาในการเปิดพืน้ ทีท่ �ำ งานแบบนีใ้ นเมืองไทยด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเชียงใหม่ เมืองที่ยังมีพื้นที่ให้เราได้ทดลองสร้างของ สร้างอะไรขึ้นมาแบบจริงๆ จังๆ
ของผมราคาเครือ่ งละ 32,000 บาท แต่ทอี่ นื่ บางเครือ่ งราคาอาจขึน้ ไปเป็น 120,000 บาท เครื่องเลเซอร์คัตเตอร์ที่ผมมีราคาเป็นแสน ใครจะซื้อมาใช้ ทีบ่ า้ นใช่ไหม แต่ตอนนีก้ ระแสของโลกกำ�ลังมาทางกระบวนการผลิตแบบ ดิจิทัล (Digital Fabrication) ที่ช่วยให้การผลิตง่ายขึ้น เราไม่จำ�เป็นต้อง ทำ�ทุกอย่างด้วยมืออีกต่อไป ให้คอมพิวเตอร์ทำ�แทน แน่นอนว่างานที่ได้ ออกมาไม่สมบูรณ์แบบ ยังต้องลงไม้ลงมือทำ�อะไรเพิม่ เติมอีก แต่มนั ง่าย ขึน้ เยอะ ซึง่ เราอยากให้คนมาลองเล่นกับเครือ่ งมือ ลองเล่นกับเทคโนโลยี และสร้างสรรค์อะไรบางอย่างขึ้นมา เพื่อให้คนทั่วไปเข้าถึงเครื่องมือเหล่านี้ได้ง่ายขึ้น ผมถึงคิดราคา สมาชิก Makerspace เดือนละ 2,500 บาท คิดค่าใช้เครื่องพิมพ์สามมิติ ชั่วโมงละ 30 บาท คิดค่าใช้งานเครื่องเลเซอร์คัตเตอร์ชั่วโมงละ 50 บาท แต่ที่อื่นบางที่คิดค่าใช้งานเครื่องพิมพ์สามมิติชั่วโมงละ 200 - 300 บาท เครือ่ งเลเซอร์คตั เตอร์นปี่ กติแล้วเขาคิดกันนาทีละ 30 บาทนะครับ ใครจะ ใช้งานเครือ่ งเล่นๆ ถ้าราคาค่าใช้บริการแพงขนาดนัน้ กลับกันถ้ามันชัว่ โมง ละแค่ 30 บาท คนอาจจะรู้สึกอยากทดลองสร้างอะไรขึ้นมามากกว่า ประเด็นคือ เราอยากให้คนมาลองเล่นกับเครื่องมือ ซึ่งตอนนี้เรามีสมาชิก คนไทยไม่น้อยเลยที่ใช้เครื่องมือทำ�ของที่น่าสนใจออกมามากมาย ไอเดีย ดีๆ จะช่วยเปิดมุมมองเราให้กว้างขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก่อนหน้านี้คนธรรมดา ไม่เคยเข้าถึงมาก่อน เราคิดว่าพื้นที่เมกเกอร์สเปซจะช่วยขยายขอบเขต ศักยภาพของคนให้กว้างขวางขึ้น ให้เป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์อย่าง แท้จริง กันยายน 2558
l
Creative Thailand
l 29
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
คุณเคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่าเรากำ�ลังอยู่ในยุค Industrial ในโลกที่แทบจะทุกอย่างถูกควบคุมโดยคอมพิวเตอร์ ทำ�ไม Revolution 2.0 ช่วยขยายความให้ฟังได้ไหม การมีทักษะฝีมือ การลงมือทำ�งานจริง และเรียนรู้การใช้
แนวคิดคืออย่างนี้ครับ ตั้งแต่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งสุดท้าย การจะ สร้างนวัตกรรมต่างๆ ขึน้ มาต้องใช้เงินมหาศาล ดังนัน้ จะมีแต่บริษทั ขนาด ใหญ่ อ ย่ า งจี อี ห รื อ กู เ กิ ล ที่ ส ามารถลงทุ น ในเทคโนโลยี ไ ด้ แต่ เ มื่ อ มี อินเทอร์เน็ต สิ่งที่เคยเป็นการผูกขาดโดยบริษัทขนาดใหญ่ก็เปลี่ยนไป นวัตกรรมราคาถูกลง แทนทีค่ นจบเอ็มบีเอจะเขียนแผนธุรกิจเอาไปขอทุน คนก็แค่ลองโค้ดต้นแบบ สร้างต้นแบบขึน้ มา แล้วค่อยเอาไปเสนอนักลงทุน ซึง่ ถ้านักลงทุนสนใจก็ให้เงินลงทุนตัง้ บริษทั แล้วถึงค่อยจ้างคนจบเอ็มบีเอ มาทำ�งานให้ เราเห็นการเกิดขึ้นของยุคดอทคอม ยุคโซเชียล 2.0 ยุค โซเชียลมีเดีย แล้วก็ยคุ โมบายแอพพลิเคชัน่ ทุกอย่างเป็นนวัตกรรมทีส่ ร้าง ได้ด้วยเทคโนโลยีที่ราคาไม่แพง แต่ทุกอย่างเกิดขึ้นในโลกเสมือน สิ่งที่เราเห็นตอนนี้ต่างออกไป มันไม่ใช่แค่โลกเสมือนแต่เป็นโลกจริง ด้วย เครื่องมือในกระบวนการผลิตแบบดิจิทัลทำ�ให้การผลิตสิ่งต่างๆ เริ่ม มีราคาถูกลง ก่อนนี้เราเห็นการเกิดขึ้นครั้งยิ่งใหญ่ของนวัตกรรมในโลก เสมือน ซึ่งตอนนี้ก็กำ�ลังเกิดขึ้นในโลกจริงในอัตราเร่งเดียวกัน ยิ่งบวกกับ ที่ผมเพิ่งพูดไปว่าคนไทยเป็นเมกเกอร์โดยธรรมชาติ นั่นยิ่งทำ�ให้เรามีข้อ ได้เปรียบในเชิงแข่งขันอย่างมหาศาลในโลกใหม่ สำ�คัญมากที่เราจะต้อง จับกระแสที่ผมเรียกว่า Industrial Revolution 2.0 ที่ทำ�ให้นวัตกรรมใน โลกจริงราคาถูกลงไปตามกาลเวลา และพืน้ ทีอ่ ย่างเมกเกอร์สเปซจะกลาย เป็นศูนย์กลางของนวัตกรรม
เครื่องมือทั้งแบบเดิมหรือเครื่องมือดิจิทัลจึงยังเป็นเรื่อง สำ�คัญ ผมว่าการที่เมืองไทยยังคงมีคนที่มีทักษะมีฝีมือมากกว่าเป็นข้อได้เปรียบ ในโลกใหม่ทกี่ �ำ ลังจะมาถึง ในสหรัฐฯ ทักษะการทำ�มือหลายๆ อย่างกำ�ลัง หายไปกลายเป็น White Collar Culture ที่ทุกคนทำ�งานแต่ในสำ�นักงาน แต่ที่เมืองไทยคนยังใช้มือ ยังมีทักษะ ดังนั้นพวกเขามีความเข้าใจเรื่อง วัสดุ ต้องเข้าใจว่าเครื่องมือดิจิทัล (Digital Tools) ไม่ได้จะเข้ามาแทนที่ ทักษะฝีมอื นะครับ แต่มาเพือ่ ช่วยสองมือมนุษย์ เราอาจจะบอกว่า “ก็จริงๆ เครือ่ งพิมพ์สามมิตกิ พ็ มิ พ์ได้ทกุ อย่าง” ผมมีสมาชิกบางคนทีบ่ อกว่ามีแบบ แล้วอยากลองสร้างขึ้นมาด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติทั้งหมด สำ�หรับผม เครือ่ งพิมพ์สามมิตเิ อาไว้ผลิตชิน้ ส่วนประกอบ ผมทำ�ชิน้ ส่วนประกอบของ งานต้นแบบด้วยวัสดุอื่น ด้วยเครื่องมืออื่นก็ได้ ไม่จำ�เป็นว่าทั้งชิ้นต้องทำ� จากพลาสติก ซึ่งนั่นทำ�ให้ผมสร้างของที่ซับซ้อนขึ้นมาได้ ถ้าเราเข้าใจวิธีการใช้เครื่องมือ เข้าใจทักษะการใช้มือของเรา เราจะ สามารถทำ�ของทีไ่ ม่เพียงแต่สวยขึน้ แต่มนี วัตกรรมมากขึน้ ได้ดว้ ย ยิง่ เมือง ไทยยังเป็นประเทศฐานการผลิตด้วยแล้ว แถมยังเป็นประเทศทีม่ วี ฒั นธรรม ความคิดสร้างสรรค์สงู ผมคิดว่าในอนาคตมันจะเป็นสิง่ ทีพ่ าเราไปข้างหน้า ตอนนีย้ ังอาจจะเป็นยุคแรกเริม่ ของกระบวนการผลิตแบบดิจทิ ลั แต่นนั่ ยิง่ ทำ�ให้เราต้องช่วยให้คนเข้าใจวิธกี ารใช้เครือ่ งมือเหล่านี้ ให้คุ้นเคยกับการใช้ เครื่องมือเหล่านี้ ให้รู้สึกตื่นเต้น ให้ได้ลองใช้เครื่องมือสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ
พื้นที่อย่างเมกเกอร์สเปซจะมีบทบาทช่วยสร้างอนาคต ได้อย่างไร
ตอนผมยังสอนหนังสือในมหาวิทยาลัย ผมถามนักเรียนว่า “ตอนนีส้ ถานะ ของประเทศไทยในโลกเป็นยังไง” ทุกคนก็ตอบว่า “เราเป็นประเทศกำ�ลัง พัฒนา จวนจะเป็นประเทศพัฒนาแล้ว” ตอนที่ผมยังเรียนหนังสือ ผมก็ เรียนว่า “ไทยเป็นประเทศกำ�ลังพัฒนา จวนจะเป็นประเทศพัฒนาแล้ว” ย้อนกลับไปสมัยพ่อแม่ ตอนนัน้ เมืองไทยก็เป็น “ประเทศกำ�ลังพัฒนา จวน จะเป็นประเทศพัฒนาแล้ว” เราจวนจะเป็นประเทศพัฒนาแล้วมา 60 ปี นัน่ หมายความว่าเราจะไม่มวี นั เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ถ้ายังเดินหน้ากัน แบบนี้ ผมคิดว่าต้องเป็นผู้คนจากภาคเอกชนที่ต้องลุกขึ้นมา เรากำ�ลังอยู่ใน ยุคแรกเริ่มของกระบวนการผลิตแบบดิจิทัล ดังนั้นสิ่งที่เราต้องการคือ โครงสร้างพืน้ ฐาน เราต้องมีพน้ื ทีส่ �ำ หรับการสร้างเมกเกอร์สเปซ ต่อจากนัน้ เราก็ต้องเรียนรู้เรื่องการใช้เครื่องมือ หมายถึงชั้นเรียนหรือการเรียนการ สอนบางอย่างที่จะช่วยเผยแพร่องค์ความรู้เรื่องนี้ให้กว้างขวางไปทั่ว ประเทศ อย่าง Makerspace เอง เราเพิ่งเปิดที่เชียงใหม่ แต่ในอนาคต
30 l
Creative Thailand
l สิงหาคม 2558
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
ผมว่านวัตกรรมเปลี่ยนโลกชิ้นถัดไป คงไม่ได้มาจากที่อย่างแอปเปิล แต่มา จากเมกเกอร์ส เปซ อนาคตอยู่ที่นี่ ด้ ว ยลั ก ษณะและวิ ธี ก ารจั ด การ เมกเกอร์สเปซในรูปแบบนี้ เราเคยได้ เห็ น การเกิ ด ขึ้ น ของกู เ กิ ล หรื อ แอมะซอนจากการมี อิ น เทอร์ เ น็ ต ถ้างั้นมันก็เข้าใจได้ว่าทำ�ไมพื้นที่เช่น นี้จะกลายเป็นที่บ่มเพาะบริษัทชั้นนำ� แบบนั้นในอนาคต แนวทางทีจ่ ะทำ�ให้พนื้ ทีเ่ มกเกอร์สเปซประสบความสำ�เร็จ และสร้างความเปลี่ยนแปลงจริงๆ คือ
ข้างหน้า เราตัง้ เป้าไว้วา่ อยากไปเปิดสาขาให้ทวั่ ทุกภูมภิ าค เราอยากขยาย องค์ความรู้ และให้คนสามารถเข้าถึงเครื่องมือ เข้าถึงองค์ความรู้ เรายัง สร้างพื้นที่ที่มีความเป็นนานาชาติ เราอยากให้คนไทยมาใช้ แต่ในเวลา เดียวกันเราก็ต้อนรับชาวต่างชาติ ไม่ใช่แค่มาสร้างของแต่มาแบ่งปัน องค์ความรู้ด้วยกับคนไทย ซึ่งเป็นไปด้วยดี เรามีสมาชิกทั้งคนไทยและ ชาวต่างชาติซงึ่ แบ่งปันความรูท้ ไี่ ด้รบั ซึง่ กันและกัน มันไม่ใช่แค่ฝรัง่ เข้ามา แล้วชีน้ วิ้ ๆ สัง่ คนไทย แต่พวกเขาก็เรียนรูอ้ ะไรจากคนไทยเยอะเหมือนกัน นะครับ สมาชิกต่างชาติส่วนใหญ่รู้วิธีการใช้เครื่องมือเหล่านี้สร้างของที่ น่าสนใจต่างๆ อยู่แล้ว ซึ่งสมาชิกคนไทยอาจจะต้องใช้เวลานิดหน่อยที่ จะตามให้ทัน แต่การมีชาวต่างชาติเป็นส่วนหนึ่งเป็นเรื่องที่ดี คนไทยก็จะ ได้พัฒนาขีดความสามารถเช่นกัน ผมมองมันเป็นแนวทางการพัฒนา ในเชิงว่าทำ�อย่างไรให้ไทยเป็นประเทศที่พัฒนา ไม่ใช่จวนเจียนจะพัฒนา แต่ไม่พัฒนาเสียที
ต้องไม่ใช่ธรุ กิจการให้บริการเครือ่ งมือ แต่ตอ้ งพุง่ ประเด็นไปว่าเราใช้พนื้ ที่ และเครือ่ งมือพวกนีส้ ร้างอะไรได้มากกว่า ผมไม่ได้เปิด Makerspace เพือ่ พูดว่าผมเป็นเจ้าของ ผมให้คนอื่นมาใช้เครื่องมือที่ผมลงทุน ผมเองผมก็ใช้ ผมก็อยากสร้างของเหมือนกัน สิ่งที่เราสามารถสร้างได้ทำ�ได้ที่นี่ไม่มีขีด จำ�กัดเลย เราพูดว่านวัตกรรมมาจากของเหล่านี้ นี่ไงครับ มันขึ้นกับไอเดีย ความคิดที่เราอยากผลิตขึ้นมา ของที่เราผลิตขึ้นมาต่างหากที่จะสร้าง รายได้ สร้างกำ�ไรอย่างแท้จริงให้กับเมกเกอร์สเปซ คุณจะมัวแต่นั่งรอ เก็บค่าสมาชิกไม่ได้ คุณต้องลุกขึน้ สร้างโน่นนีน่ นั่ เองด้วย ไม่งนั้ ผมจะเปิด เมกเกอร์สเปซทำ�ไม ถ้าตัวผมไม่ได้เป็นเมกเกอร์ มันคงตลกน่าดู ที่ Makerspace เรากำ�ลังทำ�ต้นแบบอุปกรณ์ทางการแพทย์สำ�หรับ รักษาเท้าปุก1 โดยเป็นเหมือนเฝือกอ่อน วัสดุเป็นแผ่นเทอร์โมพลาสติกที่ ผ่านมาตรฐาน FDAซึ่งเราตัดตามแบบด้วยเครื่องมือที่เรามี วิธีใช้คือนำ�ไป แช่นํ้าอุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียสให้นิ่มแล้วดัดรูปทรงก่อนราดนํ้าเย็นให้ คงตัว ถ้าอยากดัดรูปเท้าอีกครั้งก็แค่ใช้ไดร์เป่าผมเป่าให้นิ่ม ดัดเฝือกแล้ว ราดนํ้า การรักษาที่เคยต้องใช้เวลา 40 นาที กลายเป็น 5 นาที พลาสติก ก็ตน้ ทุนถูกพอๆ กับการหล่อเฝือก ผลิตซาํ้ ใหม่กไ็ ด้ ใส่ซองส่งไปรษณียไ์ ป ทีไ่ หนในโลกก็งา่ ย นีค่ อื สิง่ ทีเ่ ราทำ�ได้จากเมกเกอร์สเปซ เมือ่ ก่อนแค่คดิ ถึง เทอร์โมพลาสติกหรือกระบวนการผลิตแบบโรงงาน คนธรรมดาๆ คงไม่มี ทางทำ�ได้ มันก็ขน้ึ กับเราในฐานะ Creative Individual แล้ว ว่าจะทำ�อะไร ความเป็นไปได้คอื อะไร ดูปญั หาทีก่ �ำ ลังเกิดขึน้ บนโลกแล้วใช้กระบวนการ คิดเชิงออกแบบเพือ่ สร้างวิธแี ก้ปญั หาใหม่ๆ จริงๆ นะ ผมว่านวัตกรรมเปลีย่ น
1 โรคเท้าปุก เป็นความผิดปกติของเท้าตัง้ แต่ก�ำ เนิดประเภทหนึง่ โดยข้อเท้าจะจิกลงล่าง บิดเข้าใน และฝ่าเท้าหงายขึน้ อาจเป็นข้างเดียว
หรือทั้งสองข้าง การรักษาต้องใช้การดัดเท้าและควบคุมด้วยเฝือกหรือรองเท้าพิเศษ เพื่อให้เท้ากลับมีรูปร่างที่ปกติอย่างสมบูรณ์
สิงหาคม 2558
l
Creative Thailand
l 31
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
โลกชิ้นถัดไปคงไม่ได้มาจากที่อย่างแอปเปิล แต่มาจากเมกเกอร์สเปซ อนาคตอยู่ที่นี่ ด้วยลักษณะและวิธีการจัดการเมกเกอร์สเปซในรูปแบบนี้ เราเคยได้เห็นการเกิดขึ้นของกูเกิลหรือแอมะซอนจากการมีอินเทอร์เน็ต ถ้างั้นมันก็เข้าใจได้ว่าทำ�ไมพื้นที่เช่นนี้จะกลายเป็นที่บ่มเพาะบริษัทชั้นนำ� แบบนั้นในอนาคต
เราต้องมองโลกตามวิถีตะวันตก ในเมื่อถ้าเงื่อนไขเดียวคือมันมีอยู่ในโลก จริง บ้านเรายังมีชา่ งฝีมอื ทำ�ของทีส่ บื ทอดทักษะเป็นมรดกตกทอดมาเป็น ร้อยๆ ปี นี่คือเมกเกอร์ที่เราควรชื่นชม สำ�หรับผมพวกเขาคือเมกเกอร์และ คือเหตุผลที่ผมบอกว่าบ้านเราเต็มไปด้วยเมกเกอร์
ถ้ า ในเชิ ง การให้ ทุ น หรื อ การสนั บ สนุ น โครงการของ เมกเกอร์ไทย ควรจะเป็นโครงการแบบไหน
สำ�หรับผม เรามีศักยภาพในเชิงเกษตรกรรม ในเชิงการผลิต และในเชิง การท่องเที่ยว ถ้ามีโครงการเมกเกอร์ในกลุ่มสามอุตสาหกรรมท็อปทรีนี้ก็ เยี่ยม ยกตัวอย่าง เพิ่งมี Maker Party ไปเมื่อสองสามเดือนก่อน ซึ่งจัด โดย Maker Club เชียงใหม่ ในงานมีกิจกรรม Pitching Event ซึ่งมี โครงการหนึ่งที่ผมบอกเลยว่าเยี่ยมมาก คือผู้ชายคนหนึ่งขอทุนทำ�โดรน ขับเคลื่อนอัตโนมัติสำ�หรับการทำ�การเกษตร เขาได้ไปสามหมื่นบาทตาม ที่เขาขอมาแบบไม่มีข้อผูกมัด โครงการที่สนับสนุนต่อยอดสิ่งที่คนไทย ทำ�ได้ดอี ยูแ่ ล้วแบบนี้ พวกเรายินดีชว่ ย ภาคการเกษตรของเราใหญ่อยูแ่ ล้ว ด้วย น่าจะมีที่ให้ทดลองได้เยอะดี และไม่ต้องการเงินมากในการสร้างมัน ขึ้นมา และน่าจะขายได้ คือสมมติถ้าเป็นแค่คนเดียวเดี่ยวๆ แล้วสนใจ เรื่องอิเล็กทรอนิกส์ อยากเป็นเมกเกอร์อิเล็กทรอนิกส์ ก็โอเค ทำ�เลย แต่ นี่เรากำ�ลังพูดถึงเราในฐานะประเทศ ว่าจะพัฒนาอย่างไร จะเป็นประเทศ พัฒนาแล้วอย่างไร เราคงบอกไม่ได้หรือไม่ควรพูดว่า ทุกคนสร้างงาน อิเล็กทรอนิกส์ จะให้ไปบอกเกษตรกรว่าสร้างงานอิเล็กทรอนิกส์กันก็คง ไม่ใช่ คือไม่ใช่ดูว่าที่ซิลิคอน แวลลีย์ทำ�อะไร ก็ทำ�อันนั้น คนหลายคนชอบ พูดอย่างนั้น มันเป็นก็อปปี้แคทซินโดรม ถ้าเรากำ�ลังพูดว่าเรากำ�ลังจะ Paradigm Shift หรือเปลี่ยนทั้งประเทศ ผมขอโทษนะ ถ้าจะบอกว่าให้ ลอกซิลคิ อน แวลลีย์ คนไทยกีค่ นทีจ่ ะสามารถเข้าไปมีสว่ นร่วมได้ น้อยมากๆ กลับกันถ้าบอกว่าจะผลิตรถยนต์ละ่ โครงการถัดไปที่ Makerspace จะทำ� คือเราจะแฮ็กรถสกูตเตอร์เป็นรถโกคาร์ท เรามีทะเบียนสำ�หรับรถสามล้อ เราเป็นประเทศท็อปเท็นผู้ผลิตรถยนต์ เราเป็นที่หนึ่งในการผลิตรถปิกอัพ ของโลก ที่หนึ่งในการผลิตมอเตอร์ไซค์ของโลก มันไม่สมเหตุสมผลกว่า เหรอถ้าเราจะผลิตนวัตกรรมในหมวดนี้ ผมเพิ่งไปงานเมกเกอร์แฟร์ที่ เซินเจิน้ มีงานเมกเกอร์ทเี่ ป็นงานอิเล็กทรอนิกส์เยอะมากเพราะคนจีนถนัด แล้วเราถนัดอะไรล่ะ เราเก่งอะไร ก็ควรทำ�สิ่งนั้น
นิยามการเป็นเมกเกอร์ในศตวรรษที่ 21 ของคุณคือ
คนเถียงกันเยอะมาก ต้องเป็นนักประดิษฐ์ ต้องเป็นโอเพ่นซอร์ซ ไม่เลย เมกเกอร์คือคนที่สร้างอะไรบางอย่างที่จับต้องได้ แค่นั้น ตราบใดที่คุณ ผลิตมันขึน้ มาแล้วมันมีอยูใ่ นโลกจริงคุณเป็นเมกเกอร์แล้ว เราต้องพลิกวิธี คิดเรา อย่าคิดแต่วา่ โลกตะวันตกมองหรือนิยามว่าเมกเกอร์คอื อะไร ทำ�ไม 32 l
Creative Thailand
l กันยายน 2558
C RE ATIVE INGRE D IENTS หนังสือที่อ่านแล้วให้แง่คิด ผมอ่าน Quiet: The Power of Introverts in a World That Can't Stop Talking โดย Susan Cain เพื่อทำ�ความเข้าใจตัวเองในเชิงจิตวิทยาเรื่องการเป็นคนมี บุคลิกเก็บตัวและมีโลกส่วนตัวสูง นอกจากนั้นก็มี StrengthsFinder 2.0 ของ Tom Rath แล้วก็หนังสือของหลวงพ่อชา ที่ผมอ่านเป็นแนวทางในการปฏิบัติ และทำ�สมาธิสมัยบวชเป็นพระที่วัดอรุณราชวราราม สิ่งที่ต้องทำ�เป็นประจำ�ทุกวัน อ่านข่าว ต้องรูว้ า่ เกิดอะไรขึน้ บนโลก แล้วก็อา่ นบล็อกออนไลน์ ชอบ lifehacker.com ชอบ instructables.com เป็นแหล่งรวมความรูช้ น้ั ยอดในการสร้างสิง่ ต่างๆ แล้ว ก็เล่นเกมคอมพิวเตอร์ พยายามเล่นอย่างน้อยวันละนิด เล่น World of Warships ผมยังดูแอนิเมชัน เมื่อก่อนเคยเป็นประธานชมรมแอนิเมชันที่ UCLA เคยเป็น ผู้อำ�นวยการ Anime Expo ซึ่งเป็นคอนเวนชั่นที่ใหญ่ที่สุดนอกญี่ปุ่น โครงการหรือเมกเกอร์สเปซที่ชอบ ผมประทับใจ MakerBay ที่ฮ่องกง ของซีซาร์ ฮาราดะ (makerbay.org) ซึ่ง พัฒนานวัตกรรมหุ่นยนต์ทางนํ้าแบบโอเพ่นซอร์ซชื่อ Protie เพื่อใช้สำ�หรับการ สำ�รวจทางทะเลต่างๆ เช่น มลภาวะ โดยสามารถเข้าไปดูรายละเดียดได้ที่ scoutbots.com Makerspace Thailand 7/2 ซอย 4 ถ.ราชดำ�เนิน ต.พระสิงห์ อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ 50200 โทร. 0918591572 facebook.com/makerspaceth
chicago.cbslocal.com / codeforamerica.org
CREATIVE WILL คิด ทำ� ดี
เรื่อง: วิชัย สว่างพงศ์เกษม
ในประเทศที่เมื่อฤดูหนาวทุกพื้นที่จะเต็มไปด้วยหิมะ หัวจ่ายนํ้าดับเพลิงมักจะถูกฝังอยู่ใต้กอง หิมะและทำ�ให้การปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยดับเพลิงล่าช้า แต่หากจะหาผูม้ าคอยดูแลหัวจ่ายนํา้ เหล่านี้ตลอดเวลาก็คงเสียทัง้ เวลาและงบประมาณ อีกทั้งบรรดาพลเมืองที่ต่างมาตักโกยหิมะ ออกจากถนนกันเป็นปกติอยู่แล้วก็ยังไม่เคยเห็นว่า การที่หัวจ่ายนํ้าดับเพลิงถูกฝังอยู่ใต้หิมะ นั้นเป็นปัญหาอย่างไร นั่นเพราะพวกเขาขาดข้อมูลที่จะบอกให้รู้
ในวันที่เทคโนโลยีก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว หลายครั้งภาครัฐมักจะเข้าถึง และนำ�ความก้าวหน้าเหล่านีม้ าปรับใช้ได้ชา้ กว่าพลเมือง เจนนิเฟอร์ พอลกา (Jennifer Pahlka) จึงก่อตั้งองค์กรไม่แสวงกำ�ไร “Code for America” เพือ่ ส่งเสริมให้พลเมืองมีสว่ นร่วมกับรัฐบาล เพราะการจัดการและดูแลเมือง ไม่ใช่เรือ่ งของภาครัฐเพียงอย่างเดียว โดย Code for America จะช่วยเหลือ ผูพ้ ฒั นาเทคโนโลยีผา่ นโครงการอย่าง Accelerator และ Incubator ที่จะ สนับสนุนเงินทุนรวมถึงจัดหาผู้นำ�ทางอุตสาหกรรมนั้นมาให้คำ�แนะนำ� และช่วยปรับปรุงแอพพลิเคชั่นต้นแบบให้สมบูรณ์สามารถออกสู่ตลาดได้ พร้อมให้โอกาสนำ�เสนอต่อหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาล นอกจากนี้ Code for America ยังช่วยเหลือเรื่องการเข้าถึงข้อมูล โดยมี Open Data ที่ผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่นสามารถนำ�โค้ดโปรแกรมที่มี ไปประยุกต์ปรับใช้ให้เป็นประโยชน์กับชุมชน แอพพลิเคชั่น Adopt-aHydrant ซึง่ แก้ปญั หาหัวจ่ายนาํ้ ดับเพลิงถูกฝังอยูใ่ ต้กองหิมะก็เป็นหนึง่ ใน นั้น โดย Adopt-a-Hydrant เป็นแอพพลิเคชั่นง่ายๆ ที่อธิบายปัญหาและ ระบุตำ�แหน่งหัวจ่ายนํ้าไว้ให้ทุกคนรู้ คนในชุมชนจึงช่วยสอดส่องดูแลได้ ความสำ�เร็จของแอพพลิเคชัน่ นีท้ �ำ ให้เกิดการนำ�โค้ดไปประยุกต์ใช้กบั กรณี อื่นๆ ในสถานที่อื่นๆ อย่างท่อระบายนํ้าที่มีใบไม้อุดตัน หรือเสาสัญญาณ เตือนภัยสึนามิที่ถูกขโมยแบตเตอรี่บ่อยๆ 34 l
Creative Thailand
l กันยายน 2558
จากการสนับสนุนนี้ แอพพลิเคชั่นกว่า 30 รายการและกำ�ลังเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่องได้รับการผลิตขึ้นเพื่อเชื่อมโยงการบริหารเมืองของภาครัฐ เข้ากับผู้คนในเมืองนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นแอพพลิเคชั่น CityVoice ที่ช่วยให้ คนในชุมชนแสดงความคิดเห็นโดยตรงว่าชอบ ไม่ชอบ อยากได้ หรือมี แนวทางปรับปรุงอะไรในเมืองอย่างไร แอพพลิเคชั่น Recovers ที่เป็น ตัวกลางการสื่อสารในยามเกิดภัยพิบัติ เป็นทั้งฐานข้อมูลสำ�หรับของ บริจาค อาสาสมัคร และข่าวสารที่เกี่ยวข้องให้อาสาสมัครหรือผู้บริจาค สิ่งของแก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือติดต่อกันได้สะดวกและรวดเร็ว เพื่อลดความเสียหาย นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีอื่นๆ อย่างโปรแกรม Captricity ที่อ่านและแปลงลายมือในกระดาษให้กลายเป็นข้อมูลดิจิทัล ที่ใช้งานได้ทันที Code for America แสดงให้เห็นว่าสิ่งที่พลเมืองต้องการที่สุดไม่ใช่ ความช่วยเหลือ แต่เป็นเครือ่ งมือทีท่ �ำ ให้พวกเขาช่วยเหลือตัวเองและผูอ้ นื่ ได้ด้วยอินเทอร์เน็ตและข้อมูลแบบโอเพ่นซอร์ซที่ทุกคนสามารถเข้าถึง ปรับปรุง และพัฒนาต่อยอดได้เป็นพื้นฐาน เพราะความสามารถในการ เข้าถึงข้อมูลมีส่วนทำ�ให้คนในเมืองไม่ใช่แค่เสียงหนึ่งที่เลือกผู้แทนขึ้นมา แต่เป็นสองมือที่สร้างเมืองที่พวกเขาอยากอยู่อาศัยขึ้นมาได้ ที่มา: codeforamerica.org
กันยายน 2558
l
Creative Thailand
l 35