flickr.com/Nathalie Capitan
ตุลาคม 2558 ปที่ 7 I ฉบับที่ 1 แจกฟรี
CREATIVE ENTREPRENEUR Dao Coffee
CREATIVE CITY Guangxi
THE CREATIVE
วิชิต และ วิรทัย ภักดีพิพัฒนพงศ
flickr.com/drburtoni
MAKE NEW FRIENDS, BUT KEEP THE OLD. ONE IS SILVER, THE OTHER IS GOLD. ไม่ว่ามิตรภาพใหม่หรือเก่า ย่อมมีค่าเทียบเท่ากัน สุภาษิตอเมริกัน
CONTENTS สารบัญ
6
8
The Subject
เวียดนาม : ซิลคิ อน แวลลีย แหงลุม น้ำโขง / สัญญาณเชือ่ มตอ จากพมา / สตรีกมั พูชากับการคาออนไลน / อนาคตและความ ทาทายของลาว / เสนทางสายไหมใหมกับความทะเยอทะยาน ของจีน
Creative Resource
Featured Book / Book / DVD / Documentary
Insight
20
Creative Entrepreneur
22
Creative City
24
The Creative
28
Creative Will
34
Greater Mekong Subregion สนามรบ สูสนามการคา สูสนามรบดวยการคา
Dao Coffee เมื่อกาแฟลาวบุกตลาดไทย
Guangxi: China-ASEAN
10
Matter
12
Classic Item
วัสดุธรรมชาติจากกลุมเศรษฐกิจลุมน้ำโขงที่นาจับตามอง
GMS Economic Cooperation Program
วิชติ และ วิรทัย ภักดีพพ ิ ฒ ั นพงศ: ครีเอทีฟแบบไทยในภาษาสากล
14 CCover Story
ลำน้ำโขงในโมงยามของความเปลี่ยนแปลง ลำ
CYM: เยาวชนเพื่อนบานลุมแมน้ำโขง เรียนรู รวมมือ และแบงปน
บรรณาธิการอำนวยการ l อภิสทิ ธิ์ ไลสตั รูไกล ทีป่ รึกษา l ชมพูนทุ วีรกิตติ, พิชติ วีรงั คบุตร, จรินทรทพิ ย ลียะวณิช, พจน องคทวีเกียรติ บรรณาธิการ l พัชรินทร พัฒนาบุญไพบูลย กองบรรณาธิการ l ศิริอร หริ่มปราณี, มนฑิณี ยงวิกุล, เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร, กริยา บิลยะลา, ชลดา เจริญรักษปญญา, อําภา นอยศรี, ปยวรรณ กลิ่นศรีสุข, นันทนรี พานิชกุล เลขากองบรรณาธิการ l วรรณเพ็ญ บุ ญเพ็ญ ศิลปกรรม l ชิดชน นินนาทนนท สมาชิกสัมพันธ l ปยะพร สวัสดิ์สิงห ประสานงานกองบรรณาธิการ l ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ จัดทำโดย l ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (TCDC) ชั้น 24 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอร 622 สุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 โทร. 02 664 7667 แฟกซ. 02 664 7670 ติดตอลงโฆษณาไดที่ creativethailand@tcdc.or.th พิมพที่ l บริษัท ทูโฟร พริ้นติ้ง จำกัด โทร. 02 416 7300 แฟกซ. 02 416 7320 จำนวน 30,000 เลม นิตยสารฉบับนี้ใชหมึกพิมพจากน้ำมันถั่วเหลืองที่ไมเปนอันตรายตอสุขภาพ ทั้งยังเปนมิตรตอสิ่งแวดลอม และใชกระดาษรีไซเคิล ซึ่งเปนผลผลิตของผูประกอบการไทย จัดทำภายใตโครงการ “Creative Thailand สรางเศรษฐกิจไทยดวยความคิดสรางสรรค” โดยศูนยสรางสรรคงานออกแบบ สำนักงานบริหารและพัฒนาองคความรู (องคการมหาชน) ซึ่งมีเปาหมาย ในการเผยแพรความรูเกี่ยวกับเศรษฐกิจสรางสรรค (Creative Economy) และผลักดันการใชความคิดสรางสรรค ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย สามารถดูสถานที่จัดวางทั้งหมดไดที่ creativethailand.org อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส แสดงที่มา-ไมใชเพื่อการคา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย
EDITOR'S NOTE บทบรรณาธิการ
flickr.com/Patrik M. Loeff
ว่าด้วยมิตรภาพ ในโลกยุคใหม่ ความสัมพันธ์ของสถานะความเป็นเพื่อนบ้านนั้น มักจะดำ�เนินอยู่บนการพัฒนาผลประโยชน์ร่วมกัน แม้ในบางครั้ง เงื่อนไขทางสังคมและการเมือง ก็อาจทำ�ให้ความสัมพันธ์ต้องบิดเบี้ยวผิดรูปไป เช่นเมื่อเร็วๆ นี้ที่เราได้เห็นความตึงเครียดจากชายแดนเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ซึ่งส่งผลกระทบมาถึงเศรษฐกิจ โลก หรือกรณีผู้อพยพชาวซีเรียที่หลั่งไหลเข้าสู่สหภาพยุโรป ที่นำ�ไปสู่การตั้งคำ�ถามต่อหลักมนุษยธรรมและเสรีภาพ อันเป็นผลพวงของการเชื่อมต่อทางดินแดนที่ บางครัง้ กลายเป็นโศกนาฏกรรมทีน่ า่ หดหู่ แต่ในยามทีช่ วี ติ ปกตินน้ั รูปแบบความสัมพันธ์แบบมิตรประเทศก็สามารถก่อให้เกิดการลงทุน การค้า และการท่องเทีย่ ว ที่ช่วยยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เมือง และชุมชนได้อย่างแน่นแฟ้น ยิ่งในสถานการณ์ที่เศรษฐกิจโลกหดตัว เศรษฐกิจในประเทศก็สั่นไหวตามแรงแกว่งไกวนั้น ความน่าสนใจของการค้าชายแดนจึงเป็นอาณาจักรที่น่าจับตา เพราะความเคลื่อนไหวอย่างคึกคักของเศรษฐกิจชายแดนกับ 7 ประเทศ คือ มาเลเซีย เมียนมาร์ ลาว กัมพูชา สิงคโปร์ จีนตอนใต้ และเวียดนาม มีสูงถึง 1.14 ล้านล้านบาท ในปี 2014 และมากกว่า 640,000 ล้านบาทในช่วงเดือนมกราคม-กรกฎาคมปีนี้ ถึงแม้ว่าเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จะมีมูลค่าที่ หดตัวลงเล็กน้อย แต่ไทยยังคงได้เปรียบดุลการค้ารวมกว่า 104,000 ล้านบาท และยิ่งเมื่อเทียบกับมูลค่าการค้าไทยกับตลาดโลก ซึ่งเรามีมูลค่าลดลงถึงร้อยละ 5 ตลาดชายแดนจึงเป็นความจริงที่ยังคาดหวังได้ในช่วงเศรษฐกิจเงียบเหงา การผลักดันมาตรการเศรษฐกิจเพือ่ สนับสนุนและอำ�นวยความสะดวกให้แก่ภาคเอกชนจึงเป็นเครือ่ งมือสำ�คัญทีจ่ ะปูทางไปสูค่ วามสัมพันธ์ทแี่ น่นแฟ้น แต่ขณะ เดียวกัน ความเข้าใจในโครงสร้างสังคมที่เปลี่ยนแปลงของเพื่อนบ้าน ก็เป็นเรื่องที่นักธุรกิจไทยจำ�เป็นต้องเข้าใจและตีความหมายออกมาเป็นสินค้าและบริการที่ เหมาะสม เพราะในรอบสิบปีที่ผ่านมา การเติบโตอย่างรวดเร็วทางเศรษฐกิจ และความเปิดกว้างทางการเมืองของประเทศเพื่อนบ้านอย่าง ลาว กัมพูชา เมียนมาร์ และจีนตอนใต้ กลายเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางด้านรสนิยม ทัศนคติ และรูปแบบการใช้ชีวิต กลุ่มชนชั้นกลางและกลุ่มผู้มีรายได้สูง คือกลุ่ม ผู้มีกำ�ลังซื้อและพร้อมที่จะจับจ่าย โดยมีเป้าหมายปลายทางของการเติมเต็มการใช้ชีวิตอยู่ที่ฝั่งไทย ยกตัวอย่างปรากฏการณ์รถติดบนสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ทุกสุดสัปดาห์ที่เกิดขึ้น เพราะนักท่องเที่ยวจากฝั่งลาว ไม่ใช่เฉพาะชาวลาวเท่านั้น แต่เป็นชาวต่างชาติ ทั้งเกาหลี ญี่ปุ่น และยุโรป ที่ได้เข้ามาจับจ่ายใช้สอยในฝั่ง ไทย พวกเขาถือเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ เข้ามาแลกเป็นบาท เข้าร้านอาหารที่เป็นแฟรนไชส์จากกรุงเทพฯ ดื่มกาแฟลาเต้ และซื้อของใช้จิปาถะจากซูเปอร์มาร์เก็ตก่อน ขับรถกลับบ้าน เรื่องที่ดูเหมือนการใช้ชีวิตประจำ�วันง่ายๆ นี้ มีเบื้องหลังอยู่ที่ความเชื่อใจในมาตรฐานและคุณภาพสินค้าและบริการของฝั่งไทย ซึ่งยังคงน่าประทับใจสำ�หรับ ชาวต่างชาติและเป็นพลังดึงดูดให้เกิดข้อได้เปรียบของเศรษฐกิจทั้งในระดับชุมชนและระดับเมือง ดังนั้นท่ามกลางสถานการณ์ส่งออกที่อ่อนแรง เราอาจต้องมอง ให้ลกึ และเชือ่ มต่อจุดแข็งของไทยให้ได้ เพราะไม่ใช่แค่คิดถึงการออกแบบหรือผลิตสิ่งของ แต่คือการออกแบบและผลิตที่เชื่อมไปกับการบริการ (Product Related to Service) ซึ่งยากต่อการลอกเลียนและสร้างความได้เปรียบต่อเศรษฐกิจของไทยอย่างมั่นคง อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล บรรณาธิการอํานวยการ Apisit.L@tcdc.or.th
ตุลาคม 2558
l
Creative Thailand
l5
THE SUBJECT ลงมือคิด
techinasia.com
เรื่อง: วิชัย สว่างพงศ์เกษม
เวียดนาม: ซิลิคอน แวลลีย์ แห่งลุ่มนํ้าโขง
npr.org
Flappy Bird เกมนกบินลอดท่อสุดฮิตเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้นสำ�หรับธุรกิจ สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีในเวียดนามที่กำ�ลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันเวียดนาม มีจำ�นวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตกว่าร้อยละ 43 (ประเทศไทยอยู่ที่ร้อยละ 28) และคาดว่า อีคอมเมิร์ซจะสร้างรายได้กว่า 1.4 แสนล้านบาทในปี 2015 จากเดิม 7.9 หมื่นล้าน บาทในปี 2013 โดยมีกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้การสนับสนุนอย่าง เต็มที่ผ่านโครงการต่างๆ อย่าง Vietnam Silicon Valley ซึ่งทำ�หน้าที่เป็นตัวกลาง
ระหว่างนักธุรกิจกับนักลงทุน พร้อมจัดโปรแกรมเร่งโต (Accelerator) ให้กบั สตาร์ทอัพ ให้เงินสนับสนุนกับบริษทั ทีไ่ ด้รบั การคัดเลือก จนถึงจัดหาทีป่ รึกษาทางธุรกิจร่วมพัฒนา และนำ�เสนอต่อนักลงทุน หรือโครงการ FIRST (Fostering Innovation through Research, Science and Technology) ที่มอบทุนกว่า 3,900 ล้านบาทในช่วงปี 2014-2019 เพื่อ สนับสนุนงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์และพัฒนาธุรกิจด้านเทคโนโลยี เวียดนามจึงถือ เป็นหนึ่งในประเทศสตาร์ทอัพที่น่าจับตามองที่สุดในกลุ่มประเทศลุ่มนํ้าโขง ที่มา: worldbank.org / บทความ “As Technology Entrepreneurs Multiply in Vietnam, So Do Regulations” จาก nytimes.com / บทความ “Ministry of Science and Tech in Vietnam pours $110 million into startups” จาก techinasia.com
สัญญาณเชื่อมต่อจากพม่า
การเข้ามาลงทุนของบริษทั เทเลนอร์ (Telenor) จากนอร์เวย์ และบริษทั อูรดิ ู (Ooredoo) จากกาตาร์ ทำ�ให้ระบบโทรคมนาคมของพม่าเติบโตอย่างก้าวกระโดด จากเดิมใน ช่วงไม่เกิน 5 มาปีนี้ ซิมโทรศัพท์มือถือในระบบ 2G เคยมีราคาอยู่ในหลักหมื่นบาท แต่ในปัจจุบันซิม 3G ราคาเหลือเพียงประมาณ 40 บาท วัยรุ่นใช้อินเทอร์เน็ตผ่าน โทรศัพท์มือถือและเข้าร้านอินเทอร์เน็ตน้อยลง บริการร้านโทรศัพท์เริ่มหายไปจาก สังคม และผู้ใช้บริการหลักร้านอินเทอร์เน็ตก็เปลี่ยนจากผู้ใช้เฟซบุ๊กและอีเมลเป็น เกมเมอร์แทน แม้ว่าเริ่มต้นช้ากว่า แต่พม่าก็กำ�ลังปรับตัวกับเทคโนโลยีใหม่อย่าง รวดเร็ว ที่มาพร้อมด้วยอัตราการเติบโตเฉลี่ยของจีดีพีที่ร้อยละ 8.5 ในปีที่ผ่านมา สัญญาณที่เชื่อมต่อพม่าทั้งภายในและภายนอกประเทศจึงมีกำ�ลังส่งแรงและมีทีท่า ว่าจะไม่สะดุดล้มลงง่ายๆ ทีม่ า: worldbank.org / ข่าว “Street-side Phones: Rarely To See In The City” จาก myanmar international.tv / ข่าว “When a SIM Card Goes From $2,000 to $1.50” จาก bloomberg.com / ข่าว “Internet cafes change model to keep custom” จาก mmtimes.com
6l
Creative Thailand
l
ตุลาคม 2558
beyondtravel.com.au
voanews.com
THE SUBJECT ลงมือคิด
การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้นในกัมพูชาส่งผลให้อีคอมเมิร์ซเติบโตอย่างรวดเร็ว ร้านค้าออนไลน์อย่าง Shop168 มีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องราวร้อยละ 10 ทุกๆ เดือน ในขณะที่ยังไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับอีคอมเมิร์ซออกมา สินค้าออนไลน์จึงมีภาษี เท่ากับสินค้าหน้าร้านทั่วไป ทางกระทรวงพาณิชย์เองก็มีความตื่นตัวกับอีคอมเมิร์ซ ด้วยการจัดโครงการบ่มเพาะธุรกิจ (Incubator) เปิดโอกาสให้ผปู้ ระกอบการทีต่ อ้ งการ เปลี่ยนไอเดียให้เป็นธุรกิจอีคอมเมิร์ซจริง ได้เข้าอบรมกับนักธุรกิจที่ประสบความ สำ�เร็จของกัมพูชาในสาขาที่เกี่ยวข้องและเสนอธุรกิจกับนักลงทุน และอีกด้านหนึ่งก็ มีการก่อตั้งศูนย์ผู้ประกอบการหญิงอย่าง Cambodia Women Entrepreneurs Association (CWEA) และศูนย์ Women’s Entrepreneurial Centers of Resources, Education, Access, and Training for Economic Empowerment (WECREATE) ของสหรัฐฯ ในกัมพูชา เพือ่ สนับสนุนและยกระดับการแข่งขันของผูป้ ระกอบการสตรี ในกัมพูชา โดยการสร้างเครือข่ายผูป้ ระกอบการหญิง พร้อมให้ความรูแ้ ละคำ�ปรึกษา ทัง้ ด้านธุรกิจและเทคโนโลยี รวมถึงบริการดูแลบุตรเพือ่ ให้ผเู้ ป็นแม่มสี ว่ นร่วมกับศูนย์ ได้อย่างเต็มที่ ที่มา: ข่าว “Cambodia seeing e-commerce grow due to more access to Internet” จาก xinhuanet.com / ข่าว “MINISTRY OF COMMERCE INCUBATOR 101 FOR CAMBODIAN ENTREPRENEURS” จาก geeksincambodia.com / บทความ “Supporting Women Entrepreneurs Through WECREATE Centers“ จาก blogs.state.gov
อนาคตและความท้าทายของลาว
ประเทศทีไ่ ม่มที างออกไปสูท่ ะเลกำ�ลังจะมีทางเชื่อมต่อ จากความร่วมมือกับเวียดนาม ในโครงการสร้างรถไฟความเร็วสูงจากสะหวันนะเขตชายแดนลาวฝัง่ ไทยไปสูล่ าวบาว ชายแดนลาวฝัง่ เวียดนามซึง่ กำ�ลังดำ�เนินการสร้างและจะขยายเส้นทางเชือ่ มต่อไปยัง ดานัง เมืองท่าสำ�คัญของเวียดนามโดยคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2018 เพื่อใช้ทั้ง โดยสารและขนส่งสินค้า เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจของลาวให้มี การเติบโตอย่างต่อเนื่อง ในปีที่ผ่านมา ลาวมีอัตราการเติบโตของจีดีพีอยู่ที่ร้อยละ 7.5 โดยมีรายได้หลักจากภาคบริการและการท่องเที่ยว และการส่งออกพลังไฟฟ้า จากนํ้า แต่ความท้าทายของลาวคือการพัฒนาคุณภาพของแรงงาน อิทธิพลทาง เศรษฐกิจจากประเทศที่เข้ามาลงทุน และโครงสร้างพื้นฐานในชนบทอย่างไฟฟ้าซึ่ง ในปัจจุบันยังมีผู้เข้าถึงได้เพียงร้อยละ 75 เท่านั้น ที่มา: worldbank.org / ข่าว จาก lao.voanews.com / ข่าว “Work to start this month on Laos rail link” จาก railjournal.com / บทความ “Business support crucial for Laos to join the AEC and lock in growth” จาก eastasiaforum.org
dawn.com
สตรีกัมพูชากับการค้าออนไลน์
เส้นทางสายไหมใหม่ กับความทะเยอทะยานของจีน
การเชื่อมความสัมพันธ์กับประเทศในอาเซียนด้วยรถไฟความเร็วสูงนั้นเป็นเพียง ส่วนหนึง่ ของนโยบาย One Belt, One Road ของจีนทีต่ อ้ งการจะเชือ่ มตะวันออกกลาง ยุโรป แอฟริกา เอเชีย โอเชียเนีย เข้าด้วยกันเพื่อสร้างความร่วมมือด้านต่างๆ โดย หนึ่งในนั้นคือการพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐานในกลุ่มประเทศเหล่านี้ การคมนาคม ด้วยรถไฟความเร็วสูงก็เป็นส่วนหนึง่ แต่เส้นทางนีอ้ าจจะไม่ได้เอือ้ เพียงประโยชน์ทาง เศรษฐกิจเท่านั้นแต่เป็นการขยายอิทธิพลของจีนเช่นกัน ในปี 2014 จีนเป็นผู้ลงทุน รายใหญ่ในทั้งในธุรกิจเหมืองแร่ พลังงานไฟฟ้าจากนํ้า และเกษตรกรรม นอกจากนี้ โครงการรถไฟความเร็วสูงทีท่ �ำ ร่วมกับจีนยังทำ�ให้ทางการลาวเป็นหนีจ้ นี กว่า 240,000 ล้านบาท อภิมหาโครงการของจีนในครั้งนี้จึงควรได้รับการจับตามองเป็นอย่างดี เพราะนอกจากโครงการนี้จะทำ�ให้หลายประเทศอย่างลาว พม่า กัมพูชาและไทยจะ ต้องเป็นหนี้สาธารณะจากการกู้ยืมเงินเพื่อสร้างรถไฟแล้ว ประเทศอย่างลาวอาจมี โอกาสที่จะไม่สามารถชำ�ระหนี้ได้ และเส้นทางสายไหมใหม่ส่วนที่มุ่งลงสู่อาเซียนนี้ เป็นประโยชน์ตอ่ จีนทีจ่ ะเข้าถึงทรัพยากรทัง้ ทางธรรมชาติของประเทศทีก่ �ำ ลังเติบโต ทางเศรษฐกิจและทรัพยากรมนุษย์ที่จีนมีแนวโน้มจะย้ายฐานการผลิตลงสู่เอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้หลังจากมีการเพิ่มค่าแรงในจีน คำ�ถามสำ�คัญก็คือในอภิมหา โครงการที่ดูเหมือนจะได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่ายนี้ เหล่าประเทศคู่สัญญาจะได้คุ้มเสีย หรือไม่ ที่มา: ข่าว “Laos Looks to Balance China’s Growing Economic Influence” จาก voanews.com / บทความ “Building the New Silk Road” จาก cfr.org บทความ “High speed rail could bankrupt Laos, but it’ll keep China happy” จาก theconversation.com / บทความ “The New Silk Road: A True ‘Win-Win’ or a Perilous Future?” จาก huffingtonpost.com ตุลาคม 2558
l
Creative Thailand
l7
CREATIVE RESOURCE วัตถุดิบทางความคิด
เรือ่ ง: เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร ชลดา เจริญรักษ์ปญั ญา และ อำ�ภา น้อยศรี
การเริม่ ต้นธุรกิจในปัจจุบนั อาจต้องเริม่ จากการ ตอบคำ�ถามพื้นฐานว่า คุณค่าของสินค้าและ บริการทีก่ �ำ ลังจะส่งมอบไปยังกลุม่ ลูกค้าเป้าหมาย ของคุณคืออะไร คุณค่านั้นอาจหมายถึงการ ตอบสนองต่อความต้องการบางเรื่องหรือการ เข้าไปช่วยแก้ปัญหาบางประการ ซึ่งส่งผลให้ ชีว ิต ของพวกเขาดี ข ึ ้ น และหากการส่งมอบ คุณค่านัน้ ตอบโจทย์ทคี่ นทัว่ ไปต่างอาจมีโอกาส พบเจอ ไม่ได้ผูกติดกับวัฒนธรรม ภาษา พื้นที่ หรืออยู่ภายใต้ข้อจำ�กัดทางสังคมใดสังคมหนึ่ง เท่านัน้ และเมือ่ โลกหลอมรวมกัน ดินแดนทาง การค้าเริ่มเปิด การเข้าใจถึงพฤติกรรมซึ่งเป็น พื้นฐานในการเกิดขึ้นของกระแสต่างๆ จะเป็น แรงส่งสำ�คัญ ที่ช่วยให้สินค้าและบริการที่มี คุณค่านั้น ก้าวข้ามขอบเขตต่างๆ และทะยาน ออกไปได้ไกลขึ้น ทฤษฎี ก ารแพร่ ก ระจายของนวั ต กรรม (Diffusion of Innovations) ของเอเวอเรตต์ โรเจอร์ส (Everett Rogers) ศาสตราจารย์ด้าน การสือ่ สาร จัดเป็นตำ�ราสุดคลาสสิกในการศึกษา เรือ่ งเทรนด์และการทำ�ความเข้าใจเรือ่ งการแพร่ ความคิดและนวัตกรรมไปสูส่ งั คม ศาสตราจารย์ โรเจอร์ อธิบายว่าปกติกระบวนการนี้เกิดขึ้น จาก 4 องค์ประกอบหลัก คือความคิดใหม่หรือ นวัตกรรม ช่องทาง เวลา และระบบสังคม กระบวนการเริ่มต้นจากความคิดใหม่ อาจเป็น สินค้าหรือบริการซึ่งเป็นนวัตกรรม ถูกนำ�เสนอ ผ่านช่องทางต่างๆ ไปยังสังคม ทั้งนี้การแพร่ กระจายนั้นอาจกินระยะเวลานานหรือรวดเร็ว ขึ้นอยู่กับสภาพสังคมแต่ละสังคม สังคมที่มี ความเจริญด้านความรู้และเทคโนโลยี จะมี โอกาสที่วงกว้างจะรับรู้ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยที่ ทุกองค์ประกอบล้วนมีผลต่อการประสบความ สำ�เร็จหรือล้มเหลวของการรับรู้ด้วยกันทั้งสิ้น เช่นหากนวัตกรรมนั้นไม่สอดคล้องกับความ 8l
Creative Thailand
l
ตุลาคม 2558
งการของสังคม เผยแพร่ผิดช่วงเวลา หรือ FEATURED BOOK ต้ผ่าอนช่ องทางที่ไม่ถูกต้อง โอกาสที่จะประสบ DIFFUSION OF INNOVATIONS โดย Everett M.Rogers
ความล้มเหลวก็จะเพิ่มมากขึ้น ประเด็นที่ทำ�ให้ทฤษฎีนี้ได้รับการยอมรับ อย่างมาก โดยเฉพาะในแวดวงแฟชัน่ สินค้าไอที และถูกนำ�ไปประยุกต์ใช้ในกลุ่มลีนสตาร์ทอัพ (Lean Startup) เป็นเรื่องการอธิบายบุคลิก ลักษณะของกลุม่ คนในสังคม ซึง่ มักเฉลีย่ รูปแบบ ตามโค้งระฆังควํ่า โดยแบ่งกลุ่มคนเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ Innovators (จำ�นวน 2.5%) ผูต้ ดิ ตามเรื่อง นั้นๆ อย่างใกล้ชิด Early Adopters (จำ�นวน 13.5%) คนที่เป็นผู้นำ�ที่อยากทดลองสิ่งใหม่ๆ ก่อนคนอื่น Early Majority (จำ�นวน 34%) คือ กลุม่ คนทีจ่ ะไม่ยอมซือ้ อะไรจนกว่าจะรูว้ า่ มีใคร ได้ทดลองสิ่งนั้นๆ แล้วดีหรือไม่ดีอย่างไร Late Majority (จำ�นวน 34%) คนที่ใช้สิ่งต่างๆ ใน ขณะทีส่ งิ่ นัน้ ใกล้จะตกรุน่ แล้ว หรือเปลีย่ นเพราะ ความจำ�เป็น และสุดท้าย Laggards (จำ�นวน 16%) คือคนที่กลัวการเปลี่ยนแปลงและอาจจะ ยอมซื้อเมื่อเข้าใจสิ่งนั้นๆ อย่างดีแล้ว หนังสือเล่มนี้ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 1962 หรือกว่า 53 ปีมาแล้ว แต่ทฤษฎีทั้งหมดยัง ถูกต้องและทันสมัย แม้ว่าข่าวสาร เทคโนโลยี และสื่อสังคมออนไลน์ อาจทำ�ให้เรารับรู้สิ่ง ต่างๆ ได้รวดเร็วขึ้น แต่หากเข้าใจว่าถ้าเรา สามารถซื้อใจกลุ่ม Early Adopters ได้ กลุ่ม ใหญ่ของสังคมก็จะตามมา บางธุรกิจถึงให้ ความสำ�คัญกับกลุม่ นีม้ ากเป็นพิเศษ และจำ�เป็น ต้องระบุให้ได้วา่ พวกเขาคือใคร และทำ�อย่างไร ถึงจะเข้าถึงคนกลุ่มนี้ได้ เมื่อผนวกกับปัจจัย ต่างๆ ย่อมทำ�ให้ความสำ�เร็จในวงกว้างเป็น สิ่งที่เป็นไปได้ และสามารถสร้างกระแสความ เปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นกับสังคมได้จริง
CREATIVE RESOURCE วัตถุดิบทางความคิด
BOOK
DVD
DOCUMENTARY
ลาว
ILO ILO
A RIVER CHANGES COURSE
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์
โดย Anthony Chen
โดย Kalyanee Mam
โลกาภิวัตน์ (Globalization) ถูกให้คำ�จำ�กัด ความครั้งแรกในหนังสือ The Third Wave ของ แอลวิน ทอฟเฟลอร์ (Alvin Toffler) เราต่างอาศัย ใน “หมูบ่ า้ นโลก” ทีเ่ ทคโนโลยี การสือ่ สาร และ เศรษฐกิจถูกเชื่อมโยงกัน ปี พ.ศ. 2540 วิกฤติ ต้มยำ�กุง้ ส่งผลให้ประเทศในภูมภิ าคเอเชียได้รบั ผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แรงงานถูกเลิก จ้าง หลายบริษัทปิดตัวลง เศรษฐกิจที่ฝืดเคือง เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำ�ให้คนยอมละทิ้งถิ่นฐานเพื่อ หางานทำ�ในต่างแดน เทเรซ่าต้องทิ้งครอบครัว และลูกที่เพิ่งคลอดได้ไม่กี่เดือนจากฟิลิปปินส์ ไปเป็นแม่บ้านให้ครอบครัวลิมในสิงค์โปร์เพื่อ หาเงินส่งกลับไปยังบ้านเกิด ครอบครัวลิมคือ ตัวแทนของชนชัน้ ทีไ่ ด้รบั ผลกระทบโดยตรงจาก พิษเศรษฐกิจ พ่อกับแม่ตอ้ งทำ�งานและทิง้ ลูกไว้กบั พี่เลี้ยง ผู้เป็นแม่จึงแอบอิจฉาพี่เลี้ยงที่บางครั้ง ทำ�หน้าที่ดีเกินกว่าแม่อย่างเธอ แต่เมื่อทุกคน ต่างต้องดำ�เนินชีวิตต่อไปในสภาพเศรษฐกิจที่ บีบคัน้ ความรักและความเข้าใจในครอบครัวจึง เป็นเกราะป้องกันที่จะช่วยให้ผ่านวิกฤตินี้ไปได้
แม้กัลยานี แมม (Kalyanee Mam) จะไม่ได้ เติบโตในกัมพูชา แต่เธอก็เข้าใจและสามารถ สะท้ อ นมุ ม มองของปั ญ หาที่ เ กิ ด ขึ้ น กั บ คน ในแผ่นดินเกิดได้ดี สารคดีเรื่องนี้สะท้อนให้ เห็นความแตกต่างในความเหมือนของวิถีชีวิต ท่ามกลางสังคมและเศรษฐกิจทีเ่ ปลีย่ นแปลงไป อย่างรวดเร็วของกัมพูชา การก้าวผ่านไปสูส่ งั คม และเศรษฐกิจในรูปแบบใหม่ ส่งผลโดยตรงต่อ การดำ�เนินชีวิตดั้งเดิมของชาวบ้านจากที่พึ่งพา แหล่งอาหารทีเ่ คยอุดมสมบูรณ์ วิถชี วี ติ ทีใ่ กล้ชดิ และเป็น ส่ว นหนึ่ง กั บ ธรรมชาติ สู่การละทิ้ง ถิน่ ฐานมุง่ หน้าไปยังเมืองหลวงในฐานะแรงงาน ภาคอุตสาหกรรม ทั้งต้องปรับตัวและพยายาม รั ก ษาวิ ถี ชี วิ ต แบบดั้ ง เดิ ม ที่ เ ป็ น อยู่ ใ ห้ เ ข้ า กั บ สภาพแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจทีเ่ ปลีย่ นไป แต่ละชีวิตจึงต้องดำ�เนินต่อไปท่ามกลางความ เปลี่ยนแปลงที่เหมือนสายนํ้าอันไม่สิ้นสุด
LAND LINK จินตนาการใหม่
ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ลาวเป็นหนึ่งในประเทศที่มี อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงมาก และยิ่ง เมือ่ เข้าร่วมประชาคมอาเซียน ก็คาดกันว่าอัตรา การลงทุนจากต่างชาติจะยิง่ สูงขึน้ ไปอีก หนังสือ เล่มนี้พูดถึงเศรษฐกิจของลาว ตั้งแต่สภาพ เศรษฐกิจ วิสัยทัศน์และจินตนาการของผู้นำ� การบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม และการพัฒนา ระบบขนส่ ง ทางบกตามนโยบายการพั ฒ นา เศรษฐกิจเพื่อยกระดับรายได้ของประชาชน โดยการเชื่อมต่อประเทศต่างๆ ทั้งไทย กัมพูชา เวียดนาม และจีน ข้อหลังนี้นับเป็นการเปลี่ยน ประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล (Land Lock) ให้ เป็นศูนย์กลางที่สามารถเชื่อมโยงกับประเทศที่ อยู่ภายในอนุภูมิภาค (Land Link) ได้ ทำ�ให้ ลาวกลายเป็นจุดยุทธศาสตร์สำ�คัญ ทั้งด้าน การท่องเที่ยวและการลงทุน พบกับวัตถุดบิ ทางความคิดเหล่านีไ้ ด้ที่ TCDC Resource Center
ตุลาคม 2558
l
Creative Thailand
l9
MATTER วัสดุต้นคิด
วัสดุธรรมชาติจากกลุ่มเศรษฐกิจลุ่มนํ้าโขงที่น่าจับตามอง เรื่อง: ชมพูนุท วีรกิตติ และ ปิยวรรณ กลิ่นศรีสุข
เมือ่ เส้นทางคมนาคมเชือ่ มต่อระหว่างเมืองสำ�คัญๆ ในกลุม่ ประเทศลุม่ นาํ้ โขง อันประกอบด้วย 6 ประเทศ คือไทย เวียดนาม กัมพูชา ลาว จีน (มณฑลยูนนาน) และเมียนมาร์ กลุ่มประเทศเหล่านี้มีประชากรรวมกัน 250 ล้านคน มีพื้นที่รวมกัน 2.3 ล้านตารางกิโลเมตร (เทียบได้กับยุโรป ตะวันตก) มีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ และมีโอกาสสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ ร่วมกัน ที่ผ่านมามีการทำ�โครงการเพื่อหาจุดร่วมทางเศรษฐกิจ พัฒนา การค้าและการลงทุนในภูมิภาคนี้ เช่น โครงการระเบียงเศรษฐกิจ อนุภมู ภิ าคลุม่ แม่นาํ้ โขง (GMS Economic Corridors) นอกจากโอกาสการ ลงทุนในกลุม่ สินค้าอุปโภคและบริโภคแล้ว อีกด้านทีจ่ ะสามารถดึงจุดแข็ง ขึ้นมาร่วมกันได้คือด้านวัสดุ ซึ่งกลุ่มวัสดุธรรมชาติในภูมิภาคนี้มีลักษณะ เฉพาะถิ่น โดดเด่นเรื่องคุณสมบัติ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สปป. ลาว จัดทำ�โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน คือ One District One Product (ODOP) จำ�หน่ายผลิตภัณฑ์ที่ใช้วัสดุจากธรรมชาติ เช่น ผ้าไหม งานจักสานจากหวาย และเส้นใยกาบหมาก รวมทั้งผลิตภัณฑ์ที่ เกิดจากการประยุกต์วัสดุ เช่น พรมเปอร์เซียที่เกิดจากการทอไหมและ ฝ้ายผสมกัน โดยมีการใช้เทคนิคการทอจากตุรกี กัมพูชา เป็นเรื่องน่าสลดใจเมือ่ มีการนำ�ซากโลหะจากสภาวะสงคราม เมื่ออดีตที่ผ่านมา มาปรับใช้ในผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น เช่น การนำ�ทองเหลือง จากเศษระเบิดมาหลอมและนำ�กลับมาใช้ใหม่ โดยทำ�เป็นเครื่องประดับ และของใช้ในครัวเรือน แต่บางครัง้ ก็น�ำ มาใช้ได้เลยโดยไม่ตอ้ งหลอม เช่น ปลอกกระสุน นอกจากนี้ยังมีการนำ�ถุงกระดาษ ถุงพลาสติก ที่ใส่ ปูนซีเมนต์และวัสดุต่างๆ นำ�กลับมาออกแบบ โดยเย็บเป็นกระเป๋าเพื่อ จำ�หน่ายด้วย 10 l
Creative Thailand
l
ตุลาคม 2558
เมียนมาร์ มีการนำ�ผ้าทอใยบัวจากภูมิภาคนี้ไปใช้ในธุรกิจแฟชั่น โอต์กูตูร์ หรือแฟชั่นที่ใช้เทคนิคชั้นสูงในการตัดเย็บเสื้อผ้าและเน้นความ หรูหรา โดยเป็นวัสดุที่ได้จากการทอมือทั้งหมด ตั้งแต่การดึงเส้นใยจาก ก้านดอกบัวมาล้าง ตากแห้ง แล้วจึงนำ�มาปั่นเป็นด้ายเส้นยาว ก่อนจะนำ� มาทอเป็นผืนผ้า ผ้าทอใยบัวนีม้ คี ณุ สมบัตคิ ล้ายกับผ้าลินนิ ผสมกับผ้าไหม แต่มีจุดเด่นตรงที่เนื้อบางเบา สวมใส่สบาย และระบายความร้อนได้ดี ที่ สำ�คัญคือเนื้อผ้าไม่ยับง่าย ทั้งยังมีคุณสมบัติกันนํ้าและคราบสกปรกได้ คล้ายคลึงกับลักษณะของใบบัว ผ้าชนิดนี้จงึ นับเป็นนวัตกรรมใหม่ของผ้า กันนํ้าที่ทำ�จากเส้นใยธรรมชาติ โดย โลโร ปิอานา (Loro Piana) แบรนด์ เสื้อผ้าหรูของอิตาลี ได้นำ�เข้าผ้าทอมือใยบัวจากเมียนมาร์ เพื่อนำ�ไป ออกแบบและตัดเย็บเป็นเสื้อสูทด้วย เวียดนาม วัสดุของเวียดนามแตกต่างจากสามประเทศข้างต้น เพราะ การเข้ามาลงทุนจากต่างชาติเพื่อเปิดโรงงานผลิตวัตถุดิบ เช่น โรงงาน ทอผ้าเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้า อีกส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของวัสดุ งานก่อสร้าง เช่น อุตสาหกรรมไม้ไผ่ ที่ได้ยกระดับเป็นวัสดุสากลและเป็น ที่นิยมในตลาด โดยเฉพาะงานสถาปัตยกรรม กล่าวโดยสรุป ภาพรวมด้านวัสดุธรรมชาติในภูมภิ าคนี้ สะท้อนให้เห็น โอกาสจากการรวมกลุ่ม โดยทุกประเทศสามารถค้าขายและแลกเปลี่ยน ความรู้ผ่านเส้นทางทางการค้าที่จะเปิดเสรีในอนาคตอันใกล้นี้ ที่มา: บทความ “รูจ้ กั เส้นทางเศรษฐกิจสายอาเซียน GMS Economic Corridors” จาก siamintelligence.com บทความ “Couple Applies Laos' Silk-Weaving Tradition to Carpet Manufacturing” จาก nationmultimedia.com craftworkscambodia.com theshopforchange.comvietnammaterialexport.com
หมดปญหาหยิบนิตยสารไมทัน สมัครสมาชิกรายป คาใชจายในการจัดสง 200 บาท (12 เลม) หรือสมัครออนไลนไดที่ tcdc.or.th/creative_thailand
ขอมูลผูสมัครสมาชิก Natural Handmade Bamboo Paper (MC# 6672-01) กระดาษไม้ไผ่ที่ผลิตด้วยมือโดยช่างชาวบ้านในประเทศลาว และ ใช้เทคนิคการผลิตและย้อมสีทเี่ ป็นธรรมชาติทงั้ กระบวนการ มีให้ เลือกทั้งกระดาษแผ่นบาง โปร่งแสง (Ghost Paper) และชนิด มาตรฐาน ซึ่งมีลักษณะทึบแสง สัมผัสนุ่ม ผิวด้าน เหมาะสำ�หรับ การเขียนและการพิมพ์ รีไซเคิลได้ เหมาะสำ�หรับทำ�กระดาษงาน พิมพ์ การพิมพ์เลตเตอร์เพรสส์ กระดาษสำ�หรับเขียน บัตรอวยพร กระดาษพับแบบญี่ปุ่น กระดาษสำ�หรับงานฝีมือ กระดาษห่อของ ขวัญ โคมไฟ งานเปเปอร์มาเช และใช้หอ่ เครือ่ งมือการแพทย์ทผี่ า่ น การฆ่าเชื้อ สปป. ลาว: The Food and Agriculture Organization of the United Nations
สมาชิกใหม ชื่อ นามสกุล เพศ โทรศัพท
สมาชิกเกา (ตองการตออายุสมาชิก) หญิง อายุ
ชาย
อีเมล
โทรศัพทมือถือ
อาชีพ นักเรียน ครู/อาจารย
นิสิต/นักศึกษา พนักงานบริษัท
นักออกแบบ/ครีเอทีฟ ผูประกอบการ
อาชีพอิสระ อื่นๆ โปรดระบุ
ขาราชการ/รัฐวิสาหกิจ
สาขา/อุตสาหกรรมที่เกี่ยวของกับอาชีพของทาน โฆษณา สถาปตยกรรม แฟชั่น ศิลปะการแสดง ดนตรี ภาพยนตร โทรทัศน/วิทยุการกระจายเสียง
ทองเที่ยว/โรงแรม/สายการบิน วรรณกรรม/การพิมพ/สื่อสิ่งพิมพ พิพิธภัณฑ/หองแสดงงาน ซอฟตแวร/แอนิเมชัน/วิดีโอเกม
หัตถกรรม/งานฝมือ การเงิน/ธนาคาร ทัศนศิลป/การถายภาพ อื่นๆ โปรดระบุ
อาหาร การแพทย การออกแบบ
คาปลีก/คาสง โทรคมนาคม
ที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ จังหวัด
ซอย
ถนน รหัสไปรษณีย
หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง
อำเภอ/เขต
หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง
อำเภอ/เขต
ที่อยูในการออกใบเสร็จ FSC-Certified Solid Rubber Wood Flooring (MC# 6707-01) ไม้ยางอบแห้ง ตัดจากสวนยางในภาคใต้ของไทยที่ได้รับการ บริหารจัดการอย่างยั่งยืน เป็นไม้เนื้อแข็งที่มีความหนาแน่นปาน กลาง โดยมีคา่ ความแข็งเทียบเท่ากับไม้โอ๊กและไม้สกั มีคณุ สมบัติ ทนทาน ไม่หดตัว โก่งงอ หรือเกิดรอยร้าว นอกจากนี้ยังไม่ก่อให้ เกิดของเสียหรือควันที่เป็นพิษ ทั้งระหว่างการผลิต การใช้งาน หรือเมื่อนำ�ไปทิ้ง กระบวนการผลิตไม้นี้ยังช่วยลดปริมาณวัสดุ เหลือทิ้ง โดยการนำ�ชิ้นไม้มาเชื่อมกันด้วยรอยต่อแบบฟันปลา (Finger Joint) และการเคลือบลามิเนต เหมาะสำ�หรับปูพนื้ ภายใน อาคารเชิงพาณิชย์ ที่พักอาศัย สนามกีฬา พื้นผิวโต๊ะทำ�งาน องค์ประกอบเฟอร์นิเจอร์ และอุปกรณ์ตกแต่งต่างๆ ประเทศไทย: BNS Wood Industry Co., Ltd. พบกับวัสดุต้นคิดเหล่านี้ได้ที่ Material ConneXion® Bangkok, TCDC
เหมือนที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ ซอย จังหวัด
ถนน รหัสไปรษณีย
ตองการสมัครสมาชิกนิตยสาร Creative Thailand ระยะเวลา 1 ป จำนวน 12 เลม เริ่มตั้งแตฉบับเดือน โดยยินดีเสียคาใชจายในการจัดสงเปนจำนวนเงิน 200 บาท
วิธีการชำระเงิน เช็คสั่งจายศูนยสรางสรรคงานออกแบบ พรอมใบสมัครสมาชิก โอนเงินเขาบัญชีออมทรัพย ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ เลขที่บัญชี 101-808967-0 ธนาคารกรุงเทพ สาขาสำนักงานใหญสีลม • แฟกซใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่ 02-664-7670 • หรือสงไปรษณียมาที่ ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (Creative Thailand) 622 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอรชั้น 24 ถนนสุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 • หรือแนบไฟลใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่อีเมล creativethailand@tcdc.or.th สอบถามขอมูลเพิ่มเติมไดที่ 02-664-7667 ตอ 122
http://embed.kku.ac.th/icesit2013
CLASSIC ITEM คลาสสิก
เรื่อง: ชิน วังแก้วหิรัญ
ลุ่มแม่นํ้าโขงถือเป็นอู่ข้าวอู่นํ้าที่หล่อเลี้ยงประชากรโลกกว่าหลายสิบล้านชีวิต แม้พื้นที่กว่า 2.6 ล้านตารางกิโลเมตรนี้จะอุดมไปด้วย ทรัพยากรป่าไม้ ประมง และพลังงานที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจมหาศาล แต่ภาวะขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐานในห้วงเวลาสองทศวรรษที่ ผ่านมา กลับเป็นปัจจัยที่ขัดขวางไม่ให้คนในพื้นที่มีสถานภาพทางเศรษฐกิจที่มั่งคั่งอย่างที่ควรจะเป็น
12 l
Creative Thailand l ตุลาคม 2558
CLASSIC ITEM คลาสสิก
“โครงการพัฒนาพืน้ ทีล่ มุ่ นํา้ โขง” (Greater Mekong Subregion Program) หรือ “จีเอ็มเอส” จึงถือ กำ�เนิดขึ้นในปี ค.ศ. 1992 เพื่อเป็นตัวกลางความ ร่วมมือทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการ พัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานหลายแขนงที่จะ ยกระดับความเป็นอยู่ของผู้คนในประเทศเขตหก เหลี่ยมเศรษฐกิจ อันได้แก่ จีน เมียนมาร์ ลาว กัมพูชา เวียดนาม และไทย จีเอ็มเอสเติบโตด้วยความช่วยเหลือทางการเงิน เป็ น หลั ก จากธนาคารการพั ฒ นาแห่ ง เอเชี ย (Asian Development Bank) หรือ “เอดีบ”ี ซึง่ ช่วย ระดมเงินลงทุนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ระยะยาวต่างๆ มาแล้วถึง 16 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นเงินไทยราว 5.7 แสนล้านบาท) ถนน ทางด่วน หรือสะพาน มองเผินๆ อาจเป็นเพียง เส้นทางขนส่งเพื่อความสะดวกในการคมนาคม แต่สิ่งปลูกสร้างเหล่านี้คือกุญแจสำ�คัญที่สุดใน ยุทธศาสตร์การพัฒนาของจีเอ็มเอสตลอด 23 ปีที่ ผ่านมา เพราะถึงจะได้เปรียบจากการเป็นเจ้าของ ธรรมชาติอันสมบูรณ์ แต่ความหลากหลายของ ภูมิศาสตร์ในพื้นที่กลับเป็นอุปสรรคสำ�คัญในการ เดินทางระหว่างกัน จีเอ็มเอสจึงผุดไอเดีย “ระเบียง เศรษฐกิจ” (Economic Corridors) สร้างเส้นทาง คมนาคมเชือ่ มพลังเศรษฐกิจทีจ่ ะกระตุน้ ให้เกิดการค้า การลงทุนระหว่างประเทศ การท่องเที่ยว ไปจนถึง การสานสัมพันธ์ระหว่างผู้คนในพื้นที่
ด้วยระยะทางยาวถึง 245 กิโลเมตร “ทางด่วน โหน่ยบ่าย-ลาวไก” จึงได้ชื่อว่าเป็นทางด่วนที่ยาว ทีส่ ดุ ของเวียดนามทีช่ ว่ ยย่นระยะเวลาการเดินทาง ระหว่างกรุงฮานอยในเวียดนามและจังหวัดลาวไก ของลาวลงกว่าสองเท่า จากเดิมที่ต้องใช้เวลาถึง 7 ชัว่ โมงให้เหลือเพียง 3 ชัว่ โมง ทางด่วนนีเ้ ป็นประตู ทีเ่ ชือ่ มภูมภิ าคอาเซียนตอนใต้ไปสูเ่ อเชียตะวันออก ผูใ้ ช้เส้นทางสามารถเดินทางจากมาเลเซีย ผ่านทาง ไทยและลาวเพื่อจะใช้ทางด่วนเข้าเวียดนาม ก่อน จะมุ่งไปยังเส้นทางที่เชื่อมต่อกับทางด่วนคุนหมิง ของประเทศจีนได้โดยตรง
“สะพานมิตรภาพไทย-ลาว” เป็นผลิตผลของแผน ระเบียงเศรษฐกิจที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด โดยถึง ตอนนีพ้ นี่ อ้ งไทยลาวสามารถเดินทางไปมาหาสูก่ นั ผ่านสะพานมิตรภาพได้ทั้งหมด 4 แห่ง ล่าสุดใน วันที่ 11 เดือน 12 ปี 2013 จีเอ็มเอสถือโอกาสเปิดตัว “สะพานมิตรภาพไทยลาวแห่งที่ 4” ทีเ่ ชือ่ มโยงจาก ไทยผ่านลาวไปยังจีนตอนใต้ ซึ่งก่อนหน้านี้การ สัญจรด้วยรถยนต์เป็นไปอย่างยากลำ�บาก เพราะ มีเรือแพข้ามแม่นํ้าเพียงทางเลือกเดียว ดังนั้นการ เปิดตัวสะพานแห่งที่ 4 จึงมีความหมายต่อวิถีชีวิต ของผู้คนและเศรษฐกิจในพื้นที่อย่างมาก
“แผนงานพนมเปญ” (Phnom Penh Plan) เป็น โปรแกรมที่ ถู ก ตั้ ง ขึ้ น มาเพื่ อ พั ฒ นาทุ น มนุ ษ ย์ ที่ โดดเด่ น ที่ สุ ด ของจี เ อ็ ม เอสโดยมี ก ลุ่ ม ผู้ นำ � และ ข้ า ราชการประเทศสมาชิ ก ผู้ทำ� งานขั บ เคลื่ อ น จีเอ็มเอสเป็นกลุม่ เป้าหมาย จนถึงวันนีม้ ขี า้ ราชการ กว่า 600 คนเข้ารับการอบรมภายใต้แผนงานนี้ ผ่านหลักสูตรเฉพาะทางระยะสั้นต่างๆ เช่น การ จัดการแรงงานผู้อพยพ การจัดการพลังงานในลุ่ม นาํ้ โขงอย่างยัง่ ยืน การเพิม่ ขีดความสามารถในการ แข่งขันทาง เศรษฐกิจของภูมิภาค ฯลฯ
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสือ่ สารในศตวรรษ ที่ 21 เข้ามามีบทบาทอย่างมากในการพัฒนา เกษตรกรรมในพื้นที่ลุ่มนํ้าโขง เห็นได้จากการ จัดตัง้ “เครือข่ายข้อมูลเกษตรจีเอ็มเอส” (GMS-AINS Agriculture Information Network Service) ซึ่ ง จะมาในรู ปของฐานข้ อ มู ล ออนไลน์ที่ใช้เป็น ศู น ย์ ก ลางแลกเปลี่ ย นข้ อ มู ล การค้ า (E-trade Platform) ไม่วา่ จะเป็นข้อมูลอุปสงค์อปุ ทานสินค้า เกษตรระหว่างประเทศสมาชิก ไปจนถึงระบบการ ชำ�ระเงินซือ้ สินค้าเกษตรออนไลน์ ซึง่ สามารถเข้าถึง ได้ ผ่ า นทั้ ง อิ น เทอร์ เ น็ ต และแอพพลิ เ คชั่ น บน สมาร์ทโฟน เป็นที่คาดการณ์กันว่าเวทีเกษตรบน โลกไซเบอร์แห่งแรกนี้จะพร้อมให้บริการอย่างเต็ม รูปแบบตั้งแต่ปี 2017 เป็นต้นไป
ถึงจีเอ็มเอสจะดูเป็นเมกะโปรเจ็กต์ขนาดยักษ์ของ ผู้ ใ หญ่ แต่ เ ยาวชนระดั บ มหาวิ ท ยาลั ย ในกลุ่ ม ประเทศสมาชิ ก เองก็ ส ามารถมี ส่ ว นร่ ว มกั บ โครงการได้ผา่ น “คาราวานเยาวชนจีเอ็มเอส” (GMS Youth Caravan) ซึ่งเป็นกิจกรรมการเดินทางเพื่อ การเรียนรู้ของเยาวชนทั้ง 36 คนจาก 6 ประเทศ สมาชิกที่ใช้เวลา 1 สัปดาห์เดินทางร่วมกันจาก ตอนใต้ของจีนผ่านทุกประเทศลุม่ แม่นา้ํ โขง ก่อนไป สิน้ สุดทีก่ มั พูชาเพือ่ นำ�เสนอสารในการพัฒนาภูมภิ าค ต่อผูใ้ หญ่ในทีป่ ระชุมสุดยอดผูน้ �ำ ประเทศลุม่ แม่นา้ํ โขง (GMS Summit of Leaders) ซึ่งมีขึ้นในทุกๆ 3 ปี โดยเยาวชนกลุ่มนี้จะเป็นทูตผู้ส่งต่อความรู้ ความเข้าใจในการพัฒนาพื้นที่และเติบโตไปเป็น กลุ่มผู้นำ�ของจีเอ็มเอสในอนาคต
ในการประชุมสุดยอดผู้นำ�ครั้งล่าสุดเพื่อเตรียม ความพร้อมสู่ทศวรรษที่ 3 ของจีเอ็มเอส ได้มีการ จัดทำ�กรอบยุทธศาสตร์พัฒนาใหม่ๆ ที่ขยายตัว ออกจากการพัฒนาโครงสร้างพืน้ ฐานอย่างเส้นทาง คมนาคมซึ่งดำ�เนินการเสร็จสิ้นแล้ว ไปสู่การ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน รวมถึงการ ลงทุนพัฒนาภาคส่วนอืน่ ๆ อย่างมาตรการส่งเสริม คมนาคมและการค้าบริเวณชายแดนทีจ่ ะกระตุน้ ให้ เกิดการไหลเวียนของสินค้า บริการ และแรงงาน ระหว่างประเทศสมาชิกเพื่อเตรียมความพร้อม เข้าสู่ประชาคมอาเซียน
ที่มา: ข้อมูลพื้นฐาน GMS โดยธนาคารการพัฒนาแห่งเอเชีย จาก adb.org / โครงการวิจยั ความเกือ้ หนุนระหว่าง GMS และ AEC จาก ibmp.bus.tu.ac.th / บทความ “รูจ้ กั เส้นทางเศรษฐกิจสายอาเซียน” (สิงหาคม 2011) จาก siamintelligence.com / ผลประชุมคณะทำ�งานด้านการเกษตร GMS จาก gms-ain.org / รายงานแผนความก้าวหน้า GMS จาก nesdb.go.th / วิกพิ เี ดีย ตุลาคม 2558
l
Creative Thailand
l 13
COVER STORY เรื่องจากปก
เรื่อง: ธีรภัทร เจริญสุข
สายนํ้าโขงเป็นลำ�นํ้าหลักที่หล่อเลี้ยงผู้คนบนแผ่นดินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาไม่ขาดสาย เป็นแหล่งก่อกำ�เนิดทั้งวิถีชีวิตของผู้คน เศรษฐกิจ และการเดินทางไปมาหาสู่ ลำ�นํ้าโขงยังเป็นพรมแดนธรรมชาติที่กำ�หนดขอบเขตของอาณาจักรและรัฐชาติมาแต่ครั้ง บรรพกาล แม้ผคู้ นในประเทศลุม่ น้ำ�โขงจะหลากหลาย แต่กล็ ว้ นเป็นเครือญาติ และมีความรุม่ รวยทางวัฒนธรรมสืบต่อกันมายาวนาน ในโมงยามของความเปลี่ยนแปลงของกระแสโลก ประเทศในลุ่มนํ้าโขงต้องรับมือกับความผันแปรของอุดมการณ์การเมือง กระแส เงินทุน และยุทธศาสตร์ทางภูมิรัฐศาสตร์ของเหล่าชาติมหาอำ�นาจที่หวังจะมาลงทุนแสวงหาผลประโยชน์ทางธุรกิจ โอกาสและความ ท้าทายมากมายที่อยู่ในความเปลี่ยนแปลงของลุ่มนํ้าโขงแห่งนี้รอให้เราค้นหา
14 l
Creative Thailand
l
ตุลาคม 2558
John Everingham-The Beachfront Club
เรื่อง / ภาพ: ธีรภัทร เจริญสุข
COVER STORY เรื่องจากปก
flickr.com/Allie_Caulfield
เหล่าเด็กและหนุ่มสาว แห่งลำ�นํ้าโขง ภาวะสงครามเพือ่ กอบกูเ้ อกราชและสงครามกลางเมือง ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1930-1980 ทำ�ให้ประชากรของ ประเทศต่างๆ ในลุม่ นํา้ โขง ยกเว้นประเทศไทย ล้มหาย ตายจากไปเป็นจำ�นวนมาก และเมื่อสงครามสิ้นสุดลง จึงเกิดการเร่งเพิม่ ประชากรเพือ่ ทดแทนผูค้ นทีเ่ สียชีวติ ไป ประเทศในลุ่มนํ้าโขงทั้งลาว กัมพูชา เวียดนาม และ พม่า ต่างมีประชากรวัยเด็กและหนุ่มสาวมากกว่าวัย ทำ�งานหรือผู้สูงอายุ พวกเขาเปี่ยมไปด้วยกำ�ลังแห่ง ความหวังที่จะสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เปิดรับวิทยาการ เทคโนโลยี และวัฒนธรรมใหม่ๆ เข้าสู่วิถีชีวิตได้ง่าย กว่าผูค้ นสูงวัยทีผ่ า่ นการเรียนรูก้ รอบความคิดเดิมๆ ใน ยุคสงครามเย็น ในลาวและกัมพูชา ประชากรที่อายุตํ่ากว่า 25 ปี ถื อ เป็ น ร้ อ ยละ 70 ของจำ � นวนประชากรทั้ ง หมด ส่วนในเวียดนามครึ่งหนึ่งของจำ�นวนประชากรคือ เยาวชน โครงสร้างประชากรวัยรุน่ หนุม่ สาวจำ�นวนมากนี้ ทำ�ให้อุปสงค์ด้านการศึกษาสูงขึ้น ในนครใหญ่ของ ประเทศอินโดจีนฝรัง่ เศสเดิม ทัง้ เวียงจันทน์ สะหวันนะเขต พนมเปญ เสียมเรียบ ฮานอย และโฮจิมินห์ซิตี้ มีการ จัดตั้งสถาบันการศึกษาเอกชนเพื่อรองรับเด็กและ วัยรุน่ เหล่านีใ้ ห้มสี ถานทีเ่ รียนและต่อยอดวุฒกิ ารศึกษา เพื่อรองรับตำ�แหน่งงานใหม่ หน่วยงานทัง้ ภาครัฐและ เอกชนส่งพนักงานของตนไปศึกษาเพิม่ เติมยังต่างประเทศ เพื่อกลับมาบริหารงานระดับสูงตั้งแต่ยังหนุ่มสาว ไม่ ใช่เรื่องแปลกที่ จ ะพบหั ว หน้ า หน่ ว ยงานรั ฐ หรื อ หัวหน้าแผนกในองค์กรธุรกิจที่อายุยังไม่ถึง 30 ปี
โครงสร้ า งประชากรหนุ่ ม สาวที่ พ ร้ อ มเปิ ด รั บ เทคโนโลยีและความคิดใหม่ๆ นี้ ทำ�ให้การเข้าถึงสื่อ สมัยใหม่เพื่อการพาณิชย์เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ลาว กัมพูชา และเวียดนาม สามารถเปิดใช้เครือข่ายโทรศัพท์ มือถือแบบ 3G ได้ตั้งแต่ปี 2007 และระบบ 4G ในปี 2012 โดยพื้นที่การใช้งานครอบคลุมทั่วประเทศค่อน ข้างสมบูรณ์ แม้ว่าลาวและเวียดนามตอนเหนือจะมี ภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนก็ตาม เมื่อการ สื่อสารเป็นไปได้อย่างสะดวก การพัฒนาประเทศจึง ย่อมทำ�ได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม อุปสรรคสำ�คัญในการพัฒนาหนุ่มสาวเหล่านี้คือ โครงสร้างทางการเมืองแบบเก่าทีต่ ามไม่ทนั เทคโนโลยี และวิสัยทัศน์ของประชากรยุคใหม่ เวียดนามปิดกั้น โซเชียลมีเดียต่างๆ อย่างเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ แต่ชาว เวี ย ดนามก็ มี ห นทางลอดการปิ ด กั้ น ของภาครั ฐ จนกระทั่งปี 2014 รัฐบาลเวียดนามจึงเปลี่ยนนโยบาย และเปิดให้ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กได้ เพราะเห็นว่าจะมี ประโยชน์มากกว่า ในลาว ภาครัฐที่นำ�โดยนักปฏิวัติ และแกนนำ�พรรคยุคเก่าไม่สามารถติดตามและทำ� ความเข้าใจสื่อใหม่ให้ทันได้จึงยังเปิดให้ใช้โดยเสรี แต่มีการออกรัฐบัญญัติเพื่อควบคุมการใช้ในทางที่ผิด ซึ่งชาวลาวเห็นว่าไม่เป็นผลเพราะไม่มีสภาพบังคับใช้ หรื อ จั บ มาลงโทษใดๆ ในกั ม พู ช าซึ่ ง เป็ น ประเทศ ประชาธิปไตย หน่วยงานรัฐและภาคการเมืองทั้งฝ่าย รัฐบาลและฝ่ายค้าน ต่างใช้สื่อใหม่นี้ให้เป็นประโยชน์ ต่อตนเองไม่ต่างกับในประเทศไทย ในขณะเดียวกัน พม่าทีเ่ พิง่ เปิดให้มกี ารบริการโทรศัพท์มอื ถือและข้อมูล เป็นการทั่วไปเมื่อปลายปี 2014 พบว่ายอดการใช้งาน ทะยานขึ้นอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในกลุ่มคนยุคใหม่ ซึง่ คาดว่าจะกลายเป็นจุดเปลีย่ นแปลงทัง้ ด้านพฤติกรรม การบริโภค สังคม และการเมืองต่อไป
ตุลาคม 2558
l
Creative Thailand
l 15
COVER STORY เรื่องจากปก
การทะยานขึ้น ของชนชั้นกลางใหม่
flickr.com/Tri Nguyen
flickr.com/Khanh Hmoong
รายได้ตอ่ หัวของประชากรทีส่ งู ขึน้ มากกว่า 10 เท่าหลัง การเปิดประเทศของลาวและเวียดนาม และการพัฒนา ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ที่สูงขึ้นอย่าง ต่ อ เนื่ อ งในกลุ่ ม ประเทศลุ่ ม นํ้าโขง ทำ�ให้ป ระเทศ ยากจน (Poor Country) ที่เคยอยู่ใต้เส้นแบ่งความ ยากจน เลื่อนขึ้นเป็นประเทศที่มีรายได้ระดับกลาง ค่อนข้างตํ่า (Low-Middle Income Country) กำ�ลัง ซื้ อ และความต้ อ งการเพิ่ ม ขึ้ น อย่ า งมหาศาลช่ ว ย ปรั บ ปรุ ง สภาพชี วิ ต ความเป็ น อยู่ ข องผู้ ค นให้ ดี ขึ้ น กว่าเดิม ทั้งบ้านเรือนที่เปลี่ยนจากกระท่อมหรือบ้าน ไม้ให้เป็นบ้านอิฐก่อปูน เครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่อง อำ�นวยความสะดวกสมัยใหม่ เครื่องมือสื่อสารและ การเข้าถึงเครือข่ายโทรคมนาคม จนถึงการเลือกซื้อ สินค้าโดยเน้นคุณภาพการใช้งานมากกว่าราคาหรือ ปริมาณ
16 l
Creative Thailand
l ตุลาคม 2558
ในอีกแง่หนึ่ง เหล่าทายาทของชาวลุ่มนํ้าโขงที่ แตกสานซ่านกระเซ็นไปตั้งแต่ครั้งสงครามกลางเมือง และอพยพไปใช้ชีวิตในประเทศตะวันตก ต่างเติบโต และมีความมั่นคงในหน้าที่การงาน มีรายได้มากขึ้น เมื่อเทียบกับค่าครองชีพในแต่ละประเทศ พวกเขา สามารถส่งเงินทองกลับมาหาญาติพี่น้องที่ยังเหลืออยู่ หลายประเทศมีนโยบายต้อนรับลูกหลานทีไ่ ปเติบโตยัง แผ่นดินโพ้นทะเลให้กลับมาร่วมพัฒนาชาติ ไม่ว่าจะ เป็นลาวนอก เหวียตเกีย่ ว (ชาวเวียดนามโพ้นทะเล) ม้ง ลาว หรือเขมรพลัดถิน่ โดยภาครัฐยินยอมคืนกรรมสิทธิ์ ที่ดินของบรรพบุรุษซึ่งเคยครอบครองอยู่เดิมให้แก่ ทายาทหากมีเอกสารสิทธิ์มาอ้าง กระแสเงินไหลเข้า จากผู้อพยพเหล่านี้เองที่ช่วยให้คุณภาพชีวิตของญาติ พี่น้องในประเทศดีขึ้น เกิดการบริโภคมากขึ้น รวมถึง มีการเดินทางมากขึ้นตามลำ�ดับ ระดับการศึกษาทีเ่ พิม่ สูงขึน้ ก็เป็นปัจจัยเร่งให้เกิด ชนชั้นกลางใหม่ในเมืองใหญ่ จากเดิมที่ประชากรส่วน ใหญ่จบเพียงชั้นประถมศึกษา หรือไม่ได้จบการศึกษา ปัจจุบันเยาวชนกว่าร้อยละ 70 ได้รับการศึกษาถึงชั้น มัธยมศึกษา สามารถหางานที่ใช้ความสามารถสูงขึ้น อ่านออกเขียนได้ไม่ใช่เพียงภาษาแม่ แต่ยังรวมถึง ภาษาที่สองและภาษาที่สาม ซึ่งอาจเป็นทั้งภาษา อังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาจีน ภาษาเวียดนาม หรือ ภาษาไทย ทำ�ให้ชนชั้นกลางใหม่เหล่านี้มีศักยภาพใน การทำ�งานกับองค์การข้ามชาติหรือเดินทางไปแสวงหา งานในประชาคมอาเซียนได้
สิ่งที่ทำ�ให้ชนชั้นกลางใหม่ของประเทศอินโดจีน เหล่านีแ้ ตกต่างจากชนชัน้ กลางในประเทศทีพ่ ฒั นามา ก่อนแล้ว คือช่วงวัยเจริญพันธุ์และการสมรส ในลาว กัมพูชา และเวียดนาม ไม่เป็นเรื่องแปลกที่จะพบว่า หนุ่ ม สาวคบหากั น ตั้ ง แต่ ยั ง ศึ ก ษาชั้ น มั ธ ยมปลาย เมื่อจบการศึกษาก็จะสมรสกันทันที และมีบุตรหลัง สมรสไม่นาน ต่างจากประเทศตะวันตก ญี่ปุ่น หรือ แม้กระทั่งประเทศไทย ที่หนุ่มสาววัยทำ�งานทิ้งระยะ ห่างยาวนานหลังสำ�เร็จการศึกษาก่อนที่จะสมรสและ มีบุตร ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าจำ�นวนประชากรของ ประเทศเหล่ า นี้ ยั ง ตํ่ า เมื่ อ เที ย บกั บ ขนาดพื้ น ที่ แ ละ ทรัพยากรของประเทศ การอยู่เป็นครอบครัวขยาย ทำ�ให้ปู่ย่าตายายยังสามารถเลี้ยงดูสมาชิกครอบครัว วัยเด็กแทนพ่อแม่ที่ออกไปทำ�งานได้ แนวโน้มนี้ทำ�ให้ ตลาดสินค้าเพื่อเด็กขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เพราะเด็ก ทีเ่ กิดในครอบครัวจะได้รบั การดูแลเอาใจใส่ เนือ่ งจาก มีกำ�ลังซื้อจากผู้อาวุโสในครอบครัวอย่างเต็มที่ การเปิดห้างสรรพสินค้าใหม่ในนครหลวงต่างๆ เช่น เวียงจันทน์เซ็นเตอร์ อิออน มอลล์ ในพนมเปญ และโฮจิมินห์ซิตี้ เป็นหลักหมุดที่ช้วี ัดว่ากำ�ลังซื้อของ ชนชั้นกลางยุคใหม่เกิดขึ้นเพียงพอที่ จ ะบริโภคสินค้า แบรนด์ชน้ั นำ� หรือใช้บริการระดับดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็น โรงภาพยนตร์หรือการละเล่นต่างๆ ในประเทศของตนเอง ไม่ใช่แค่เพียงการข้ามแดนไปซื้อสินค้าหรือรับบริการ จากไทยเหมือนแต่กอ่ น นักธุรกิจทีม่ องเห็นโอกาสนีจ้ งึ เร่งรีบเข้ามาเพื่อให้เข้าถึงพวกเขาได้ก่อนใคร
COVER STORY เรื่องจากปก
เค้กก้อนใหญ่ที่กำ�ลังถูกแบ่ง ประชากรจำ�นวนกว่า 230 ล้านคนในกลุ่มประเทศ ลุ่มนํ้าโขง (ไม่รวมจีนตอนใต้) ที่กำ�ลังเติบโตเป็น ชนชั้นกลางใหม่กลายเป็นเป้าหมายสำ�คัญในการทำ� ตลาดของประเทศต่างๆ ทีเ่ ข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ รวมถึ ง ทรั พ ยากรธรรมชาติ ที่ ยั ง บริ สุ ท ธิ์ แ ละไม่ ถู ก สำ�รวจเนื่องจากภาวะสงครามกลางเมือง ไม่ว่าจะเป็น เหมืองทองคำ� อัญมณี เหมืองทองแดง แร่เหล็ก ดีบุก และป่าไม้ในลาวและพม่า แหล่งปิโตรเลียมในเขต ชายฝั่งของกัมพูชาและเวียดนาม รัฐบาลนานาชาติใช้ ความช่วยเหลือในกิจการต่างๆ เพื่อแลกกับการรับ สัมปทาน โดยผู้เล่นใหญ่ในการแบ่งเค้กครั้งนี้มีจีน แผ่ น ดิ น ใหญ่ เ ป็ น หั ว หอกสำ � คั ญ ตามด้ ว ยไต้ ห วั น เกาหลีใต้ ญีป่ นุ่ สหรัฐอเมริกา และยุโรป ส่วนไทยและ เวียดนามซึ่งเป็นเจ้าถิ่นต่างก็ช่วงชิงโอกาส โดยอาศัย ความใกล้ชิดจากการเป็นเพื่อนบ้านและความสะดวก ในการขนส่งเป็นข้อได้เปรียบ สาธารณรัฐประชาชนจีนอาศัยความใกล้ชิดที่มี พรมแดนติ ด กั น และเป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของอนุ ภู มิ ภ าค ลุ่มนํ้าโขง เข้ามามีบทบาทในการพัฒนาและการรับ สัมปทานโครงการต่างๆ โดยแลกกับเงินอุดหนุนและ การก่อสร้างโครงสร้างพืน้ ฐานต่างๆ ทัง้ ทางหลวงใหม่ อาคารสำ�นักงานของรัฐ และระบบไฟฟ้า โดยตั้งแต่ปี 2008 จีนแผ่นดินใหญ่กลายเป็นผู้ทรงอิทธิพลอย่างยิ่ง ต่อกระแสการพัฒนาประเทศลุ่มนํ้าโขง โครงการ ก่อสร้างต่างๆ เกินกว่าครึ่งล้วนอยู่ในความดูแลของ บริ ษั ท ก่ อ สร้ า งจากจี น โดยสิ่ ง ที่ บ ริ ษั ท จี น ที่ ไ ด้ รั บ
สัมปทานเหล่านั้นนำ�มาด้วยไม่ใช่แค่ทุน แต่ยังรวมถึง แรงงานและวัสดุอุปกรณ์จากจีนด้วย ทำ�ให้ประเทศ ผูใ้ ห้สมั ปทานได้รบั ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจค่อนข้าง น้อยเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายที่เสียไปในรูปแบบเงินกู้ หลายครั้ ง ยั ง เกิ ด เหตุ บ ริ ษั ท จี น ละทิ้ ง งานหรื อ ก่ อ มลภาวะในพื้นที่โดยไม่มีการเยียวยาให้แก่ประชาชน เช่น การทิ้งสารพิษลงในเหมืองทองแดงที่เซโปนของ ลาวในปี 2013 เวียดนามและไทยมีขนาดเศรษฐกิจและองค์กร เอกชนที่แข็งแกร่ง สามารถเข้ามารับงานพัฒนาได้ทั้ง ในประเทศของตนและประเทศเพื่อนบ้าน อย่างไร ก็ตาม ประชาชนและฝ่ายการเมืองบางส่วนในลาวและ กัมพูชาหวาดระแวงว่าเวียดนามจะเข้ามากลืนชาติของ พวกเขา ขณะทีไ่ ทยก็ไม่ได้รบั ความน่าเชือ่ ถือเพียงพอ จากภาวะทางการเมืองที่วุ่นวายและเอาแน่เอานอน ไม่ได้มาตลอดเกือบสิบปี การลงทุนจากเวียดนามมัก จะทั บ ซ้ อ นและขบเหลี่ ย มกั น กั บ การลงทุ น ของจี น ไม่ว่าจะเป็นการรับสัมปทานป่าไม้ เหมืองแร่ หรือการ ก่อสร้าง แต่ไทยนัน้ แตกต่างออกไป โดยการลงทุนใหญ่ ของไทยมาจากการสร้างเขือ่ นผลิตไฟฟ้า ห้างสรรพสินค้า โรงแรม เช่น บริษัทกลุ่มเซ็นทรัล (Central Group) ที่เข้าไปลงทุนในเวียดนาม หรือสถานบันเทิงอย่าง เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป ที่ร่วมทุนทำ�โรงภาพยนตร์ใน เวียงจันทน์และพนมเปญ ช่องว่างจากความไม่ไว้ใจจีน เวียดนาม และไทย เป็นจุดทีญ่ ปี่ นุ่ เข้ามาชดเชยและแทรกแซง ภาพลักษณ์ ของญี่ ปุ่ น มี ค วามน่ า เชื่ อ ถื อ และไว้ ใ จได้ สู ง อาศั ย อำ�นาจอ่อน (Soft Power) ทางวัฒนธรรมเพื่อเข้ามามี
บทบาท ญี่ปุ่นนำ�เสนอการรุกทางวัฒนธรรมอย่าง เข้มข้นด้วยการให้ทุนศึกษาดูงานแก่เยาวชน ส่งเสริม และสนับสนุนการเรียนภาษาญีป่ นุ่ สร้างศูนย์ภาษาและ วัฒนธรรมญี่ปุ่นตามมหาวิทยาลัย และนำ�วัฒนธรรม ร่วมสมัย อย่างเกม การ์ตูน คอสเพลย์ เพลงเจ-ป๊อป และเจ-ร็อก มาสร้างทัศนคติทดี่ ตี อ่ เยาวชนซึง่ ส่งผลถึง ครอบครัวด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเด็กและ วัยรุ่นที่มีเวลาว่างและเงินมากพอจะสนใจวัฒนธรรม เหล่านี้ ซึง่ เป็นทายาทของผูม้ อี �ำ นาจทางเศรษฐกิจและ การเมืองในวงสังคมรุน่ ใหม่ ควบคูไ่ ปกับการสนับสนุน และวางแผนโครงสร้างต่างๆ แบบให้เปล่า เช่น การ วางระบบรถเมล์ในนครหลวงเวียงจันทน์ สนับสนุนทุน ขยายสนามบินวัดไต การสร้างสะพาน “สึบาสะ” ข้าม แม่นํ้าโขงใกล้กรุงพนมเปญ เป็นต้น โดยญี่ปุ่นได้ยึด พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษต่างๆ เป็นฐานการผลิตใหม่ เพือ่ ลดความเสีย่ งจากการประท้วงของจีนในกรณีความ ขัดแย้งทางการเมืองและประวัติศาสตร์ด้วย ออสเตรเลียเป็นอีกหนึ่งประเทศที่คนทั่วไปไม่คิด ว่าจะมีบทบาทต่ออนุภูมิภาคลุ่มนํ้าโขง แต่กลับเข้ามา มี ส่ ว นร่ ว มอย่ า งลึ ก ซึ้ ง การสร้ า งสะพานมิ ต รภาพ ไทย-ลาวแห่ ง แรกได้ รั บ ทุ น สนั บ สนุ น จากรั ฐ บาล ออสเตรเลีย เพือ่ จุดประสงค์แฝงคือการรับสัมปทานแร่ ทองแดงในลาวและขนส่งผ่านประเทศไทย ออสเตรเลีย มีความเชีย่ วชาญด้านเหมืองแร่สงู และทรัพยากรแร่ธาตุ ในลาวและเวียดนามยังเหลืออยู่มาก รวมถึงในปี 2014 ออสเตรเลียได้จ่ายเงินให้กับรัฐบาลกัมพูชามากกว่า 31 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อตอบแทนการดูผู้อพยพหนี เข้าเมือง ซึ่งได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง ตุลาคม 2558
l
Creative Thailand
l 17
การขนส่งและเดินทาง รูปแบบใหม่ ความสำ�คัญของอนุภมู ภิ าคลุม่ นํา้ โขงทีท่ �ำ ให้นานาชาติ สนใจอีกข้อหนึ่ง คือการเป็นจุดกึ่งกลางระหว่างสอง อารยธรรมที่ยิ่งใหญ่อย่างจีนและอินเดีย เป็นจุดที่พัก ระหว่างทางของการขนส่งทางเรือจากซีกโลกตะวันตก มายังตะวันออก และเป็นทางออกทะเลของจีนตอนใต้ และตะวันตกส่วนใน มุมมองการพัฒนาด้านการขนส่ง คมนาคมทั้งทางบก ทางเรือ และทางอากาศของ อนุภูมิภาคลุ่มแม่นํ้าโขงจึงน่าสนใจไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า ด้านอื่นๆ การวางโครงข่ายรถไฟจากตะวันตกคือพม่าไปยัง ตะวันออกคือเวียดนาม และจากทางเหนือคือจีนลงมา สู่สิงคโปร์ในตอนใต้ เป็นแผนที่มีมายาวนานตั้งแต่ ปลายศตวรรษที่ 19 แต่ด้วยปัจจัยทางการเมืองและ ภูมิศาสตร์ที่ต้องผ่านประเทศและเทือกเขามากมาย ทำ�ให้ไม่ประสบความสำ�เร็จ จนมาถึงปัจจุบนั ทีแ่ นวคิด East-West Corridor และ North-South Corridor ได้ ถูกปัดฝุ่นขึ้นอีกครั้งจากความร่วมมือของประชาคม อาเซียนในภาคพื้นทวีป ที่จะประสานการเดินทาง หลากรูปแบบเข้าด้วยกันให้เป็นหนึ่ง ช่วยให้การขนส่ง สินค้าและผู้คนสะดวกยิ่งขึ้นทั้งจากทางเหนือ-ใต้และ ตะวันออก-ตะวันตก ลดเวลาและค่าใช้จ่าย ช่วยเพิ่ม
ประสิทธิภาพและความคุม้ ค่าให้แก่ทงั้ ภาครัฐและภาค ธุรกิจ จีนเป็นหัวเรือใหญ่ในการสนับสนุนแนวคิดนี้ โดย เสนอให้ทำ�รถไฟเชื่อมต่อกันจากโครงข่ายรถไฟจีนที่ คุนหมิงจรดสิงคโปร์ ทัง้ นีก้ ารเสนอโครงการมีมาตัง้ แต่ ปี 2011 หากแต่ความไม่แน่นอนทางการเมืองของไทย ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางของโครงข่าย ทำ�ให้ความหวังนี้ ต้องเลื่อนออกไปโดยไม่มีกำ�หนด เช่นเดียวกันกับ แนวทางหลวงขนาดใหญ่หรือมอเตอร์เวย์ที่จะเชื่อม ท่าเรือทวายของพม่าเข้ากับท่าเรือดานังของเวียดนาม ก็หยุดชะงักอยู่ที่ส่วนของประเทศไทยเช่นกัน การเดินทางทางอากาศนัน้ ได้ทวีความสำ�คัญมาก ขึ้นในภูมิภาค นับตั้งแต่การกำ�เนิดของสายการบิน ต้นทุนตํ่า นำ�โดยสายการบินแอร์เอเชียของมาเลเซีย ผูค้ นจึงไปมาหาสูก่ นั และท่องเทีย่ วด้วยเครือ่ งบินมากขึน้ แต่ละประเทศขยายสนามบินทั้งสนามบินนานาชาติ หลักและสนามบินในหัวเมืองรอง จำ�นวนผู้โดยสารใน แต่ละปีของชาติต่างๆ ในอนุภูมิภาคลุ่มนํ้าโขงเพิ่มขึ้น เฉลีย่ ร้อยละ 8 มีสายการบินใหม่เกิดขึน้ และแข่งขันกัน มากมายเพือ่ ให้บริการภายในภูมภิ าคและข้ามภูมภิ าค ทั้งลาวเซ็นทรัลแอร์ไลน์ แอร์บากัน เวียดเจ็ทแอร์ นกแอร์ อังกอร์แอร์ เจ้าตลาดเดิมอย่างการบินไทย และเวียดนามแอร์ไลน์จึงต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาวะ การแข่งขันที่สูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
flickr.com/tentenuk
flickr.com/Janne Hellsten
flickr.commanhhai
COVER STORY เรื่องจากปก
18 l
Creative Thailand
l ตุลาคม 2558
COVER STORY เรื่องจากปก
amchamvietnam.com
hr.cpvina.com
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นจุดบรรจบกันระหว่าง มหาอำ�นาจหลักของโลก คือจีนในทางเหนือ และ อเมริกาซึ่งมีกองเรือแปซิฟิกที่ 7 รวมถึงอำ�นาจทาง เศรษฐกิจมหาศาลครอบงำ�อยู่ ในทางตะวันตก อินเดีย ทีต่ นื่ ขึน้ จากการหลับใหลได้รกุ เข้าหาและสร้างสัมพันธ์ กับประเทศต่างๆ ในลุ่มนํ้าโขงในฐานะเพื่อนบ้าน ใกล้เคียง การรักษาสมดุลในความสัมพันธ์ระหว่าง มหาอำ�นาจเหล่านี้เป็นเรื่องไม่ง่ายที่รัฐบาลประเทศ ต่างๆ จะต้องรับมือ จีนใช้อำ�นาจทางเศรษฐกิจและการลงทุนเข้ามา พร้อมกับแนวนโยบายรุกลงใต้ เพือ่ ลดทอนอิทธิพลของ สหรัฐอเมริกาในทะเลจีนใต้ รัฐบาลเวียดนามต้องเผชิญ หน้ากับจีนโดยตรงในปัญหาเรื่องหมู่เกาะสแปรตลีย์ และพาราเซล (ซีซาและหนานซาในมุมมองของจีน, เจืองซาและเฮืองซาในมุมมองของเวียดนาม) ซึ่ง สนธิ สั ญ ญาป้ อ งกั น ร่ ว มทำ � ให้ ล าวและกั ม พู ช าต้ อ ง สนั บ สนุ น เวี ย ดนามในการเจรจาและปะทะกั บ จี น ไปด้วย สหรัฐอเมริกาจึงใช้ช่องว่างนี้เข้ามาพยายาม ประสานรอยร้ า วที่ เ กิ ด ขึ้ น จากสงครามต่ อ ต้ า น คอมมิวนิสต์ในอดีต เพื่อต่อต้านและปิดล้อมอิทธิพล ของจี น ในมหาสมุ ท รแปซิ ฟิ ก ไม่ ใ ห้ คุ ก คามชาติ พันธมิตรของสหรัฐอเมริกาอย่างฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ทัง้ จีนและสหรัฐอเมริกาจึงต้องหันไปหาอินเดียใน ฐานะชาติมหาอำ�นาจทางประชากรและเทคโนโลยี ขณะเดียวกัน ชาติในลุม่ นาํ้ โขงซึง่ มีอาณาเขตติดกับจีน โดยตรงต้องรักษาสมดุลระหว่างมหาอำ�นาจทั้งสามไว้ ให้มั่นคง เคารพในสิทธิของแต่ละฝ่าย โดยไม่ทำ�ให้ ประเทศชาติ ต้ อ งเสี ย จุ ด ยื น และผลประโยชน์ ไ ป พร้อมๆ กัน
china-mekonglawcenter.org
พญามังกร พญาคชสาร และพญาอินทรี
ในโอกาสมีอุปสรรค ในอุปสรรคมีโอกาส แม้ว่าอนุภูมิภาคลุ่มนํ้าโขงจะเพิ่งอยู่ที่จุดเริ่มต้นของ การพัฒนา แต่ก็ยังมีศักยภาพมากมายรอให้เราค้นหา ธุรกิจที่มองเห็นโอกาสจะเข้าถึงอนุภูมิภาคนี้ได้ก่อน และพัฒนาเครือข่าย สร้างความเชือ่ ถือ ลงหลักปักฐาน และกวาดส่วนแบ่งตลาดไปได้ก่อนใคร ตัวอย่างหนึ่งที่ เห็นได้ชัดเจนอย่างยิ่งคือกลุ่มเครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP) ซึ่งผู้ที่เดินทางไปทั่วภูมิภาคนี้มักพบป้ายของ ผลิตภัณฑ์อาหาร CP ในสักแห่งของเมืองทีเ่ ดินทางไปถึง CP ใช้จุดแข็งของความเป็นไทยที่ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคให้การยอมรับ คือด้าน “อาหาร” และ “คุณภาพสินค้า” เพื่อเข้าไปทดแทนระบบการผลิต อาหารแบบดัง้ เดิมด้วยระบบการเลีย้ งสัตว์และปลูกพืช แบบพันธสัญญา มีการควบคุมคุณภาพและราคาอย่าง เป็นระบบ รักษาความสะอาดและดูทันสมัยในหีบห่อ บรรจุ เ สร็ จ พร้ อ มปรุ ง หรื อ รั บ ประทาน ตอบโจทย์ ชนชั้นกลางใหม่ในประเทศลุ่มนํ้าโขงที่ต้องการของดี มีคุณภาพ บริโภคได้ทันที ดูทันสมัย มากกว่าการ บริโภคแบบดั้งเดิม ไทยแอร์ เ อเชี ย เป็ น อี ก ตั ว อย่ า งหนึ่ ง ที่ เ ข้ า ถึ ง ตลาดในอนุภูมิภาคลุ่มนํ้าโขงได้สำ�เร็จ ทำ�ให้การ
เดินทางทางอากาศเป็นเรื่องง่ายดาย เชื่อมต่อเมือง ใหญ่ใ นภูมิภ า ค และเมื อ งท่อ งเที่ย วต่า งๆ จาก กรุงเทพมหานคร ทั้งย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ พนมเปญ เสียมเรียบ ฮานอย โฮจิมินห์ซิตี้ หรือนครหลวง เวียงจันทน์ผ่านจังหวัดอุดรธานีได้รวดเร็วในราคา ประหยัด ผูโ้ ดยสารสามารถเข้าถึงและจัดการทุกอย่าง ได้ด้วยตนเองผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เหมาะกับกลุ่ม คนรุ่นใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีและจัดการทุกอย่างด้วย ตัวเองโดยไม่ต้องผ่านเอเยนต์หรือตัวแทน ให้ภาพ ลักษณ์เป็นสากล หากแต่ยงั รักษาไว้ซง่ึ ความเป็นกันเอง และเป็นมิตรในแบบชาวเอเชี ย ตะวั น ออกเฉี ย งใต้ ได้อย่างเต็มเปี่ยม เมื่อไม่นานมานี้ เซอร์ริชาร์ด แบรนสัน ผู้ก่อตั้ง เวอร์ จิ น กรุ๊ ป ได้ เ ดิ น ทางมายั ง ประเทศไทยและ เวียดนาม และเข้าร่วมปาฐกถาในงานสัมมนาธุรกิจ สตาร์ทอัพ ที่ช่ือว่า Move Vietnam เซอร์ริชาร์ด ได้ทวีตถึงความประทับใจในงานนี้ว่า “ไม่เคยเจอ อีเวนต์ที่เต็มไปด้วยผู้ประกอบการหนุ่มสาว (Young Entrepreneur) มากมาย และเต็มไปด้วยพลังมาก ขนาดนี้มาก่อน” ศักยภาพและโอกาสของประเทศในลุ่มนํ้าโขง ยังมีอีกล้นเหลือ แม้จะมีอุปสรรคท้าทายให้ก้าวข้าม อยู่ที่ใครจะมองเห็นแล้วก้าวไปคว้ามาไว้ในมือ
ทีม่ า: บทความ “Stronger Youth Generation - Brighter ASEAN’s Future” โดย สำ�นักเลขาธิการอาเซียน จาก asean.org / เอกสาร รายงาน ASEAN Statistic Yearbook 2014 จาก asean.org / Indochina Insight โดย ธนาคาร BCEL / The World Factbook โดย Central Intelligence Agency (CIA) / moveviet.com ตุลาคม 2558
l
Creative Thailand
l 19
INSIGHT อินไซต์
เรื่อง: วิป วิญญรัตน์
การค้ากลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่นํ้าโขง (Greater Mekong Subregion: GMS) ประกอบด้วย 6 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา สาธารณรัฐประชาชนจีน (โดยเฉพาะมณฑลยูนนานและมณฑลกว่างซี) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เมียนมาร์ ไทย และ เวียดนาม ได้รับความช่วยเหลือในการสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศในปี 1992 จากธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) ซึ่งจะเห็นได้ว่าภูมิหลังทางการเมืองของประเทศเหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคำ�นึงถึงบริบทช่วง สงครามเย็น น่าจะเต็มไปด้วยความตึงเครียด
จากความตึงเครียดสู่การค้าขาย
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เคยเป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งในช่วงสงครามเย็นมาก่อน การ จัดตัง้ องค์กรอย่าง Association of Southeast Asia (ASA) ซึง่ ต่อมากลายเป็น ASEAN นัน้ เป็นรูปแบบ หนึ่งของการต่อสู้กับความกลัวภัยคอมมิวนิสต์ในทศวรรษที่ 1960 และแน่นอนว่าส่วนหนึ่งคือความ พยายามแสดงอำ�นาจของสหรัฐอเมริกาในภูมิภาคนี้ ภายหลังเมื่อสงครามเย็นค่อยๆ ลดความรุนแรงลง การพยายามดึงกลุ่มประเทศที่เคยเป็นส่วน หนึ่งของประเทศคอมมิวนิสต์เข้ามาร่วมมือกันในองค์กร ASEAN แน่นอนว่าต้องทำ�ผ่านความ ตึงเครียดทางการเมืองและความแตกต่างของรูปแบบการปกครอง (ที่มีตั้งแต่ประชาธิปไตย คอมมิวนิสต์ เผด็จการทหาร ไปจนถึงสมบูรณาญาสิทธิราชย์) ความไม่มนั่ คงของสถานการณ์ทางการ เมืองในประเทศต่างๆ ทำ�ให้รูปแบบการดำ�เนินงานของ ASEAN ซึ่งทำ�ผ่านการสร้างสถาบันทางการ เมือง (Institutional Approach) และการสร้างกรอบข้อตกลงต่างๆ เป็นไปอย่างเชื่องช้า ปี 1992 ธนาคารพัฒนาเอเชียในฐานะเครื่องมือด้านการระหว่างประเทศที่สำ�คัญของญี่ปุ่น ได้ เข้ามาจัดตั้งกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่นํ้าโขงขึ้น (ความน่าสนใจคือกำ�แพงเบอร์ลินในยุโรปก็ถูก ทำ�ลายลงอย่างเสร็จสิน้ ในปีนเี้ ช่นกัน) ในแง่ยทุ ธศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศของญีป่ นุ่ การสร้าง ความมั่นคงของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยไม่ใช้กำ�ลังทหารเป็นส่วนหนึ่งในข้อเสนอของ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นในขณะนั้นอย่างนายทาเคโอะ ฟุกุดะ (Takeo Fukuda) โดยภายหลังเรียกกันว่า Fukuda Doctrine ในแง่นี้ อาจมองได้วา่ การจัดตัง้ กลุม่ ประเทศอนุภมู ภิ าคลุม่ แม่นาํ้ โขงเป็นการจัดวาง ตำ�แหน่งแห่งที่ของประเทศญี่ปุ่นในโลกหลังสงครามเย็น เมื่อพิจารณาในแง่ของขนาด กลุ่มประเทศลุ่มแม่นํ้าโขงมีประชากรราว 300 ล้านคน (หากรวม ทั้ง 6 ประเทศเป็นประเทศเดียว จะมีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับสาม) และขนาดพื้นที่ 2.6 ล้าน ตารางไมล์ (หากรวมเป็นประเทศเดียว จะใหญ่เป็นอันดับสิบ) การจัดการความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ของ GMS ทำ�ได้ผ่านการเน้นความร่วมมือของตลาดมากกว่าสถาบัน ซึ่งสามารถก้าวข้ามความ ตึงเครียดทางการเมืองที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ส่งผลให้เกิดความคล่องตัวในการดำ�เนินงาน ไปจนถึง ความสามารถในการสร้างผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม ความเป็นรูปเป็นร่างดังกล่าวทำ�ให้โครงการต่างๆ ในแถบนี้สามารถแสวงหาแหล่งเงินทุนได้อย่างง่ายดายด้วย 20 l
Creative Thailand
l ตุลาคม 2558
adb.org
adb.org
oknation.net
INSIGHT อินไซต์
การสร้างความเชื่อมต่อ (Connectivity)
ธนาคารพั ฒ นาเอเชี ย มองความร่ ว มมื อ ทาง เศรษฐกิจของ GMS ไว้เป็นระเบียงเศรษฐกิจ (Economic Corridors) ทีต่ อ้ งมีโครงสร้างพืน้ ฐาน ด้ า นคมนาคมเพื่ อ ให้ เ กิ ด การเชื่ อ มต่ อ ทาง เศรษฐกิจ น่าสังเกตว่าในขณะที่ ASEAN ให้ ความสำ�คัญกับกฎระเบียบของการเคลื่อนย้าย สินค้าและประชากรนั้น การสร้างโครงสร้าง พื้นฐานทางกายภาพก็ได้ถูกจัดวางลำ�ดับความ สำ�คัญไว้เป็นลำ�ดับแรกๆ ตั้งแต่ปี 1992-2014 ธนาคารพัฒนาเอเชีย ลงทุนเพื่อการเชื่อมต่อระหว่างกลุ่มประเทศ GMS ไปแล้วราว 6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ความ สำ�คัญด้านหนึ่งของการจัดการลงทุนคือการ กระตุ้ น ให้ เ กิ ด การค้ า ขายระหว่ า งชายแดน (Cross-Border Trade) โดยการสร้างถนนหลวง ขนาดใหญ่ (Highway) เชือ่ มต่อระหว่างประเทศ ทำ�ให้การค้าภายในกลุ่มประเทศ GMS เพิ่มขึ้น จาก 26 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2000 เป็น 370 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2013 การลงทุน จากต่างประเทศภายในกลุ่มประเทศ GMS เพิ่มจาก 8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในระหว่างปี 2001-2006 เป็น 23 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ระหว่างปี 2007-2012
การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของกลุ่ม ประเทศ GMS มักมาจากการส่งออก ทำ�ให้การ เจริญเติบโตกระจุกตัวอยู่ที่พื้นที่ชายฝั่ง การ สร้างโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพดังกล่าว จะช่ ว ยให้ ป ระเทศและพื้ น ที่ ที่ ไ ม่ มี ท างออก ทะเล (Landlocked) มีโอกาสเจริญเติบโตทาง เศรษฐกิจ เช่น พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของไทย ประเทศลาว และมณฑลยูนนาน เป็นต้น การเชื่อมต่อระหว่างกรุงเทพฯ และเมือง คุนหมิงในมณฑลยูนนานผ่านถนน R3A เป็น ส่วนหนึง่ ของความพยายามเชือ่ มมณฑลยูนนาน เข้ากับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตัง้ แต่การเปิดใช้ สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 4 ในปี 2013 การขนส่งสินค้าระหว่างไทย-และมณฑลยูนนาน ก็เพิม่ ขึน้ อย่างเห็นได้ชดั โดยเฉพาะอย่างยิง่ การ ขนส่งผลไม้และดอกไม้ เนือ่ งจากผูป้ ระกอบการ สามารถขนส่งสินค้าที่มีโอกาสเน่าเสีย (Perishable Goods) ได้อย่างรวดเร็ว
อย่างไรก็ ต าม ธนาคารพัฒนาเอเชี ย คาดการณ์ว่า แนวโน้มของการเจริญเติบโตที่ กระจุกอยู่ตามเมืองใหญ่จะยังคงดำ�เนินต่อไป การลงทุนเพื่อกระจายการเจริญเติบโตออกไป เพื่อสร้างระบบเศรษฐกิจที่กระจายความมั่งคั่ง อย่างเท่าเทียมมากขึ้นจึงเป็นสิ่งจำ�เป็น น่าจับตามองว่าที่ทางของกลุ่มประเทศ GMS และธนาคารพัฒนาเอเชียจะเป็นอย่างไร ต่อไป การก่อตัง้ Asian Infrastructure Investment Bank (AIIB) ทีม่ ผี สู้ นับสนุนใหญ่คอื ประเทศจีนนัน้ อาจทำ�ให้จีนกลายเป็นผู้เล่นสำ�คัญในภูมิภาค แถบนี้ในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิง่ เมื่อจีนใช้ วิ ธี ท างการทู ต ผ่ า นรถไฟฟ้ า ความเร็ ว สู ง (High-Speed Train Diplomacy) ประกอบกับ ความต้องการเชื่อมภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ ของจีนเข้ากับทางออกทะเล การสร้างความ เชื่อมโยงทางเศรษฐกิจและการเมืองในภูมิภาค ผ่านการลงทุนโครงสร้างพืน้ ฐาน จึงอาจอยูภ่ ายใต้ เงือ่ นไขของการแข่งกันลงทุนระหว่างสองประเทศ ใหญ่ในเอเชียอย่างจีนและญี่ปุ่นต่อไป
ที่มา: บทความ “R3A เส้นทางแห่งโอกาส ไทย-จีน" โดย บนความเคลือ่ นไหว จาก bangkokbiznews.com (2557) / บทความ “Greater Mekong Subregion (GMS)” จาก adb.org / รายงาน “The Greater Mekong Subregion Economic Cooperation Program Strategic Framework: 2012-2022” โดย Asian Development Bank (2011) / สารนิพนธ์ “The Greater Mekong Sub-Region at 20: Japan’s Role in the Region and Its Implications for Regional Integration” โดย Gavin Cochrane (2011) / หนังสือ Greater Mekong Subregion: Twenty Years of Partnership โดย Asian Development Bank (2012) / วิกิพีเดีย ตุลาคม 2558
l
Creative Thailand
l 21
CREATIVE ENTREPRENEUR คิด ทำ� กิน
เรื่อง: ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ ภาพ: อดิเดช ชัยวัฒนกุล
“เอิ้นดาวกะได้” จนถึงวันนี้ เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะไม่เคยได้ยิน ประโยคฮิตติดหูที่สาวลาวหน้าตาจิ้มลิ้มหมดจดพูดกับชายหนุ่ม ในโฆษณาของ “ดาว คอฟฟี่” แบรนด์กาแฟของกลุ่มบริษัท ดาวเฮือง (Dao Heuang Group) กลุ่มทุนเจ้าของหลากหลาย ธุรกิจและผูผ้ ลิตกาแฟรายใหญ่ทสี่ ดุ ของลาวทีเ่ ริม่ เข้ามาบุกตลาด ไทยตั้งแต่ 7 ปีที่แล้ว โดยมีบริษัท ซำ� บาย ดี จำ�กัด ได้รับสิทธิ์ เป็นตัวแทนจำ�หน่ายรายเดียวในประเทศ ภายใต้การนำ�ของหัวเรือ ใหญ่อย่างยุวดี วรวัฒน์ ผูจ้ ัดการทัว่ ไป แต่กว่าทีจ่ ะเริม่ เป็นทีร่ จู้ ัก ในวงกว้างเช่นทุกวันนี้ ธุรกิจของดาว คอฟฟี่ได้เผชิญทั้งความ ท้าทาย โอกาส และการเปลี่ยนแปลงจากการก้าวเข้าสู่ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียนไม่นอ้ ย นีจ่ งึ น่าจะเป็นอีกหนึง่ บทเรียนธุรกิจจาก ประสบการณ์จริงที่น่าสนใจ และอาจนำ�ไปสู่การทำ�ความเข้าใจ เพื่อนร่วมภูมิภาค รวมถึงตัวเราเองให้มากขึ้น พบแนวคิ ด ใหม่ จ ากผู ้ ป ระกอบการไทยที่ น�ำความคิ ด สร้ า งสรรค์ มาสร้างเป็นมูลค่าเพิม่ ให้กบั สินค้าและบริการได้ที่ TCDCconnect.com เว็บไซต์ที่รวบรวมรายชื่อและผลงานของนักออกแบบ ผู้ผลิต และ ผู ้ ป ระกอบการจากทุ ก อุ ต สาหกรรมสร้ า งสรรค์ ใ นประเทศไทยไว้ ในที่เดียวกัน
22 l
Creative Thailand
l ตุลาคม 2558
แบรนด์ลาวในสนามไทย...ไม่ยากแต่ไม่ง่าย
เมือ่ 7 ปีทแ่ี ล้ว ในช่วงทีก่ ระแสความนิยมการดืม่ กาแฟสดกำ�ลังเข้ามาในไทย ยุวดีซึ่ง คราํ่ หวอดในแวดวงธุรกิจมาเป็นเวลานานได้ลมิ้ รสกาแฟหอมกรุน่ ของดาว คอฟฟีแ่ ล้ว เกิดความประทับใจ จึงอยากได้มาเป็นวัตถุดิบคุณภาพเพื่อเปิดสาขาของตนเอง ซึ่ง ประจวบเหมาะกับทีม่ าดามเหลือ่ ง ลิดดัง ผูก้ อ่ ตัง้ กลุม่ ธุรกิจดาวเฮือง กลุม่ ธุรกิจใหญ่ อันดับต้นๆ ของเมืองลาว กำ�ลังมองหาคูค่ า้ เพือ่ นำ�สินค้าของกลุม่ บริษทั ฯ มาทำ�ตลาด ในประเทศไทย หลังจากการนำ�เสนอแผนการตลาดเป็นไปได้ดว้ ยดี บริษทั ซำ� บาย ดี จำ�กัด จึงได้รับการตอบรับให้เป็นตัวแทนจำ�หน่ายรายเดียวของดาว คอฟฟี่ในไทย ดาว คอฟฟี่ นับว่าเป็นแบรนด์ลาวแบรนด์แรกๆ ที่เข้ามาบุกตลาดไทย ด้วย วัตถุดิบที่ปลูกด้วยระบบเกษตรอินทรีย์ พร้อมด้วยเทคโนโลยีเครื่องจักรทันสมัยที่สุด จากเดนมาร์กและญี่ปุ่น ทุกขั้นตอนการผลิตตั้งแต่ต้นนํ้าถึงปลายนํ้าเป็นไปอย่าง พิถพี ถิ นั และเกิดขึน้ ในประเทศลาวทัง้ หมด ซึง่ ยุวดีพบว่านีเ่ ป็นทัง้ จุดแข็งและจุดอ่อน ในเวลาเดียวกัน “สินค้าของเรามองได้ 2 กลุม่ กลุม่ แรกคือ พืชเกษตรทีม่ าเป็นเมล็ดคัว่ ตัวนีม้ จี ดุ แข็ง เพราะว่าประเทศลาวเขามีสภาพแวดล้อมดีมาก มีความเป็นธรรมชาติสงู ไม่คอ่ ยมีโรงงานเข้ามา หลังจากทีเ่ ราได้ไปเห็นไร่ครัง้ แรกก็คดิ เลยว่าแบบนีส้ บายมาก เราไม่ต้องโกหกลูกค้าเลย สภาพดินเขาดีมาก ก็เป็นสิ่งที่เราพูดอยู่เสมอว่าเป็นดิน ภูเขาไฟเก่าที่มีแร่ธาตุสูง อากาศบนที่ราบสูงโบโลเวนจะเย็นสบายตลาดปี ความชื้น สัมพัทธ์เขาสูงมาก เพราะฉะนัน้ ต้นกาแฟจะไม่มปี ญั หาเรือ่ งโรคราสนิมทีเ่ ป็นโรคร้าย
ของกาแฟ หรือศัตรูพืชซึ่งเติบโตดีในช่วงอากาศความชื้นตํ่า สินค้าแบบนี้ถ้าขายใน ลักษณะพืชเกษตรมันเชื่อถือได้ เพราะถึงแม้คุณไม่เคยไปลาวแต่ถ้าเราบอกว่า ธรรมชาติดีมาก ก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่คุณจะไม่เชื่อ” “แต่พอกลับมามองที่กาแฟสำ�เร็จรูป เราล้มลุกคลุกคลานกันพอสมควรเลยค่ะ เพราะ 7 ปีที่แล้วคนไทยยังไม่มีความเชื่อว่าลาวจะสามารถทำ�สินค้าอะไรที่อยู่ใน คุณภาพทีย่ อมรับได้ บางกลุม่ ติดคำ�ว่าดูถกู ด้วยซาํ้ อีกปัญหาคือสมัยนัน้ กาแฟสำ�หรับ คนไทยจะต้องมีรสขมและมีกลิน่ ไหม้นดิ ๆ เหตุผลหนึง่ ก็เพราะว่าเขาคุน้ เคยกับกาแฟ พันธุ์โรบัสต้าซึ่งมีรสค่อนข้างเฝื่อน เป็นพันธุ์ที่ธุรกิจส่วนใหญ่นิยมนำ�มาทำ�กาแฟ สำ�เร็จรูปและมักจะคั่วแบบเข้ม (Dark Roast) แต่กาแฟของดาว คอฟฟี่มีจุดเด่นคือ เราใช้พนั ธุอ์ าราบิกา้ ทัง้ หมด ไม่วา่ จะเป็นกาแฟสดหรือกาแฟสำ�เร็จรูป อาราบิกา้ เป็น กาแฟสายพันธุท์ ค่ี นประมาณ 3 ใน 4 บนโลกนิยมดืม่ เพราะมีกลิน่ หอมและคาเฟอีน ตาํ่ โดยกาแฟของเราจะคัว่ แบบอ่อนๆ สังเกตว่าสีจะไม่เข้มมาก ดังนัน้ ตอนแรกทีน่ �ำ สินค้าไปเสนอก็ไม่มคี นรับเลย เขาบอกว่า ‘กาแฟอะไรของคุณน่ะ เหมือนนํา้ ล้างแก้ว ไม่เห็นขมเลย’ ทั้งที่จริงๆ แล้วกาแฟสดมันจะต้องนุ่มและมีกลิ่นหอมติด แต่ไม่ใช่ กลิน่ ไหม้ ก็เป็นเรือ่ งความเข้าใจผิดทีต่ อ้ งใช้เวลา คล้ายกับทีส่ มัยก่อนบางร้านยังแยก เอสเปรสโซ่กบั อเมริกันโน่ไม่ออก เพราะมันไม่ใช่วัฒนธรรมของบ้านเรา ดังนัน้ เราก็ ให้โนวฮาวกับร้านที่เป็นลูกค้าว่าจะต้องทำ�ให้ถูกต้อง ส่วนเรื่องการปรุงรสชาติและ การผสมมิกเซอร์ก็ขึ้นอยู่กับเขาเอง”
กาแฟลาว...กาแฟติดดาว “เราเชื่อว่ากาแฟของเราเป็นกาแฟที่ดี เป็นสินค้าออร์แกนิกโดยธรรมชาติ สภาพดิน และอากาศทำ�ให้เมล็ดกาแฟสมบูรณ์ รสชาติมีเอกลักษณ์ และเป็นที่ยอมรับของ ตลาดบน โดยตลาดหลักที่บริษัทแม่ในลาวส่งวัตถุดิบไปจำ�หน่ายตอนนี้คือยุโรปและ ญี่ปุ่นซึ่งเป็นตลาดพรีเมียม” นี่จึงเป็นเหตุผลที่ดาว คอฟฟี่เปิดร้านกาแฟดาว คอฟฟี่ สาขาต้นแบบขึน้ เมือ่ เดือนกันยายนปีกอ่ นทีศ่ นู ย์การค้าสยามสแควร์วนั โดยจำ�หน่าย กาแฟคู่ไปกับเบเกอรี่ที่พัฒนาสูตรโดยเชฟชาวฝรั่งเศส รวมถึงผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม บริษทั ดาวเฮืองอย่างผลไม้อบแห้งและชาเขียว โดยไม่ได้เน้นทำ�กำ�ไรจากร้านมากนัก แต่ต้องการให้ลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการเกิดการรับรู้และรู้จักแบรนด์ในฐานะกาแฟ พรีเมียมมากขึ้น สำ�หรับแผนในอนาคต คาดว่าจะมีการเพิม่ ความหลากหลายของสินค้า เช่น เพิม่ รสชาติส�ำ หรับกาแฟแบบทรีอนิ วันเพือ่ เป็นการกระตุน้ ตลาด เนือ่ งจากสภาพเศรษฐกิจ ที่ยังคงซบเซา จากเดิมที่บริษัทแม่ในลาวเคยตั้งเป้าไว้ว่าจะขยายสาขาร้านกาแฟใน ไทยอีก 3 สาขาภายใน 2 ปีจึงยังต้องรอดูสถานการณ์ไปอีกสองไตรมาส ด้านการ ขยายตลาด ล่าสุดดาว คอฟฟีไ่ ด้มกี ารทำ�สัญญาร่วมกับบริษทั วี ฟูด้ ส์ (ประเทศไทย) จำ�กัด ให้เป็นผู้ผลิต จัดจำ�หน่าย และทำ�ตลาดสินค้ารายการใหม่นั่นคือ กาแฟปรุง สำ�เร็จพร้อมดื่มในรูปแบบกระป๋องซึ่งเพิ่งเปิดตัวไปเมื่อกลางปีนี้ด้วย
โอกาสใหม่จากยุคการค้าเสรี ในขณะที่ตลาดไทยกำ�ลังตื่นตัวและหันมาเรียนรู้เรื่องกาแฟกันมากขึ้นนั้น นอกจาก การเข้ามาของธุรกิจกาแฟสดรายใหญ่อย่างสตาร์บัคส์ซึ่งใช้กาแฟโปรไฟล์คั่วอ่อนที่ นิยมในต่างประเทศ เป็นแรงกระตุน้ ให้บรรดาร้านกาแฟอินดีใ้ นไทยเริม่ ให้ความสนใจ กาแฟลักษณะนี้กันมากขึ้นแล้ว ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาดาว คอฟฟี่ยังได้รับแรงหนุน จากการที่ไทยเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่ช่วยผลักให้ธุรกิจเติบโตเร็วขึ้น “กาแฟเป็นผลิตผลทางการเกษตรทีม่ รี าคากลางตลาดโลก ก่อนหน้าทีข่ อ้ ตกลง AFTA (เขตการค้าเสรีอาเซียน) จะเริ่มบังคับใช้ เราต้องรับภาระเรื่องภาษีนำ�เข้าเต็มๆ จึง ทำ�ราคาไม่ได้ เนื่องจากสินค้าของเราใช้กาแฟพันธุ์อาราบิก้า ซึ่งมีราคาสูงกว่าพันธุ์ โรบัสต้า” “นอกจากนี้ เออีซียังช่วยเราได้มากในเรื่องของสื่อ เพราะสื่อต่างๆ ก็เริ่ม ประชาสั ม พั น ธ์ เ รื่ อ งของประเทศสมาชิ ก ออกมาให้ เ พื่ อ นบ้ า นรู้ จั ก กั น มากขึ้ น ตอนนั้นเราได้รับการติดต่อขอไปชมโรงงานและไร่กาแฟที่ลาวเยอะมาก เพราะว่า เราเป็นบริษัทเดียวที่ขายสินค้าลาวแท้ๆ เขาก็ข้ามไปทำ�สกู๊ปมา คนทั่วไปก็ได้เห็น และเราก็ได้รับการยอมรับมากขึ้น จนเมื่อปีที่แล้วจึงได้ออกหนังโฆษณาชุดเอิ้นดาว ในไทย เพราะเราคิดว่าเราพร้อมแล้ว ถึงแม้จะยังไม่ได้วางสินค้าทั่วทุกพื้นที่ก็ตาม โฆษณาชุดนี้ยังกระตุ้นยอดขายในลาวโดยที่เราไม่ได้คาดคิดด้วย เพราะคนลาวส่วน ใหญ่จะดูฟรีทีวีบ้านเรา ทัศนคติทั่วไปของเขาคือสินค้าที่มาจากไทยดีกว่าของเขา การทำ�ตลาดเขาก็จะตามเรา พวกแคมเปญส่งเสริมการขายแบบชิงรางวัลจะคล้ายกับ เรามาก คนลาวส่วนใหญ่ไม่นยิ มดืม่ กาแฟยกเว้นคนรุน่ ใหม่ทเี่ รียนจบจากต่างประเทศ ปัจจุบุ นั ไทยจึงเป็นตลาดหลักของเรา ส่วนทีเ่ วียดนามทางตัวแทนจำ�หน่ายเอาโฆษณา ชุดนีไ้ ปใช้กไ็ ด้ผลเหมือนกัน คิดว่าวัฒนธรรมคนอาเซียนจริงๆ เราก็ไม่ได้ตา่ งกันมาก จะมีก็รายละเอียดบางอย่างเท่านั้น”
TIPS FOR ENTREPRENEURS Every detail matters. ดาว คอฟฟีใ่ ส่ใจรายละเอียดในทุกกระบวนการผลิต ตัง้ แต่ การปลูก เพาะ เก็บ คัด คั่ว และแปรรูป โดยใช้เทคนิคการเก็บด้วยมือทั้งหมด แบบเม็ดต่อเม็ดเพือ่ ไม่ให้ชาํ้ สินค้าทุกล็อตต้องผ่านการตรวจสอบคุณภาพด้วยการ ชิมรสชาติ (Cupping) ระหว่างการผลิตทุกขั้นตอน ตั้งแต่หลังได้เมล็ดดิบ คั่ว แปรรูป และผสมเป็นกาแฟทรีอนิ วัน ส่วนระบบเครือ่ งจักรคัดแยกเมล็ดทีเ่ ป็นโนวฮาว จากประเทศญีป่ นุ่ ก็ไม่ได้คดั เพียงแค่ขนาดของเมล็ด แต่ยงั วัดความหนาแน่น และ คัดเลือกสีของเมล็ดอีกด้วย Show, don’t tell. อีกหนึง่ วิธกี ารกระตุน้ ลูกค้าของดาว คอฟฟีท่ ยี่ วุ ดีใช้กค็ อื การพา ลูกค้าที่เป็นร้านกาแฟไปชมโรงงานและไร่กาแฟในฤดูเก็บเกี่ยว เพื่อให้ได้สัมผัส ขั้นตอนการผลิตจริง “เราไม่ได้แค่อยากจะกระตุ้นยอดขาย แต่อยากจะให้เขา ภูมิใจและมั่นใจว่าเขาได้วัตถุดิบที่ดีให้ลูกค้าของเขา เพราะเราไม่มีอะไรที่จะเป็น ข้อด้อยเลย เขาก็จะสบายใจ เรายังเชิญซูเปอร์มาร์เก็ตที่ตอนแรกยังไม่รับของเรา ไปขายด้วย ปรากฏว่ากลับมาเขาก็ออเดอร์เลย” ตุลาคม 2558
l
Creative Thailand
l 23
chinadaily.com
CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
เรื่อง: วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ
24 l
Creative Thailand
l ตุลาคม 2558
จากเป้าหมายที่เคยตั้งไว้ของประธานาธิบดีสี จิ้น ผิง ที่ต้องการผลักดันให้จีนเป็นสังคม อยู่ดีกินดีครอบคลุมเท่าเทียมกันทั่วประเทศภายในปี 2020 ในวันนี้ จีนได้ขยายฐาน อุตสาหกรรมการผลิตจากพื้นที่ทางภาคตะวันออกที่มีค่าแรงงานสูงสู่มณฑลทางภาค ตะวันตกซึง่ มีคา่ แรงตํา่ กว่า พร้อมกับโอกาสใหม่ในกลุม่ คูค่ า้ อาเซียนทีก่ ำ�ลังเดินหน้าผลึก กำ�ลังสร้างเศรษฐกิจกันอย่างเข้มข้น ทำ�ให้ “เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง” พื้นที่แห่ง เดียวของจีนที่สามารถเชื่อมต่อกับอาเซียนได้ทั้งทางบก ทางนํ้า และทางอากาศ กลาย เป็นตลาดใหม่ที่น่าลงทุน ซึ่งไม่ใช่แค่กับคู่ค้าในกลุ่มประเทศอาเซียน แต่ยังรวมถึงการ ลงทุนจากทั่วโลก
CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
GO ASEAN, GO GLOBAL
china-asean-fund-com
skyscrapercity.com
จากนโยบายของจีนที่พยายามกระจายความ เจริญให้ทั่วถึงทั้งประเทศเพื่อลดช่องว่างการ เหลื่อมลํ้าทางความเจริญไม่ให้กระจุกตัวอยู่แค่ เขตการค้าในพื้นที่ชายฝั่งทะเล โดยเฉพาะภาค ตะวันออกและภาคใต้ของประเทศที่กำ�ลังเข้าสู่ จุดอิ่มตัว จีนจึงขยายการลงทุนไปสู่พื้นที่ตอน ในแถบภาคกลางและภาคตะวันตกของประเทศ โดยเรียกนโยบายการลงทุนในพื้นที่เหล่านี้ว่า “Go West” นโยบาย Go West นี้ได้ฉายสปอร์ตไลต์ไป ที่เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง เขตพื้นที่ที่มี ฐานะเทียบเท่ากับมณฑลหนึ่งของจีนซึ่งได้รับ การสนับสนุนด้านการลงทุน ทั้งจากรัฐบาล กลาง รัฐบาลท้องถิน่ และเขตควบคุมพิเศษทาง ศุลกากรต่างๆ ปัจจุบันเขตฯ กว่างซีกำ�ลังเดิน หน้าสร้างโครงการเมกะโปรเจ็กต์ในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะการเร่งพัฒนาระบบโครงสร้าง พื้ น ฐาน เน้ น การคมนาคมขนส่ ง และระบบ โลจิสติกส์เพื่อเชื่อมต่อทั้งมณฑลใกล้เคียงและ แถบประเทศอาเซียน โดยทางการจีนกำ�หนดให้ เขตฯ กว่างซีเป็น “ประตูสอู่ าเซียนของจีน” และมี
การสร้างสถานทีจ่ ดั งานถาวรอย่าง “งานมหกรรม แสดงสินค้าจีน-อาเซียน (China-ASEAN Expo: CAEXPO)” ณ นครหนานหนิง เมืองเอกของเขตฯ กว่างซีเป็นประจำ�ทุกปี เพื่อเป็นศูนย์กลางให้ ประเทศในแถบอาเซียนและจีนได้แลกเปลี่ยน การแสดงสินค้าทัง้ อุปโภคและบริโภค เครือ่ งมือ อิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ รวมทัง้ การแลกเปลีย่ นด้านวัฒนธรรม การศึกษา และการบริ ก ารให้ คำ � ปรึ ก ษาด้ า นการลงทุ น การติดฉลากที่ว่า “China-ASEAN” ของจีนใน ทุกๆ โปรเจ็กต์ทก่ี �ำ ลังดำ�เนินการลงทุนในอาเซียน ก็เพือ่ เป็นการประกาศว่า ตอนนีเ้ ขตฯ กว่างซีเป็น ประตูสู่อาเซียนของจีนแล้ว และการประกาศนี้ เองกำ�ลังส่งเสียงดังกึกก้องให้ผคู้ นจากทัว่ สารทิศ ตื่นตัวเพื่อเข้ามาร่วมลงทุนในตลาดใหม่แห่งนี้ นอกจากนี้จีนยังใช้กลยุทธ์ที่นอกเหนือจากมิติ เรื่องเศรษฐกิจการค้า และหันมากระชับความ สัมพันธ์ในมิตกิ ารเมืองกับกลุม่ ประเทศอาเซียน มากขึน้ อย่างการผูกมิตรภาพที่เรียกว่า “เมืองพี่ เมืองน้อง” ก็เป็นความพยายามของจีนทีจ่ ะเข้าถึง ผูค้ นในประเทศต่างๆ เพือ่ สานสัมพันธ์ในลักษณะ ของการได้แลกเปลีย่ นความรูซ้ ง่ึ กันและกัน ไม่วา่ จะด้านการศึกษา การท่องเทีย่ ว วัฒนธรรม และ
ธุรกิจ ซึ่งจะทำ�ให้ประชาชนของทั้ง 2 ประเทศ ได้ประโยชน์ต่อกันโดยตรงในอนาคต ตัวอย่าง เช่น การเป็นเมืองพี่เมืองน้องของเทศบาลเมือง ขอนแก่นและนครหนานหนิง ทำ�ให้ทนี่ ครหนาน หนิงมีหลักสูตรการเรียนภาษาไทยมากที่สุดใน เขตฯ กว่างซี จากการที่ จี น ได้ ข ยายตั ว ให้ นั ก ลงทุ น Go West รวมทั้งการเป็นประตูสู่อาเซียนของ เขตฯ กว่างซี ทำ�ให้ตอนนี้พื้นที่แถบตอนในและ แถบภาคตะวันตกของจีนกำ�ลังเข้าสู่การขยาย ตัวสู่ความเป็นเมืองมากขึ้น (Urbanization) นิตยสารธุรกิจชั้นนำ�ของจีน CBN Weekly ได้ ทำ�การสำ�รวจ 400 เมืองทั่วประเทศจีน และ พบว่ากลุม่ เมืองทางภาคกลางและภาคตะวันตก เริม่ ขยับขึน้ มาเป็นเมืองชัน้ สองและเมืองชัน้ สาม มากขึ้น และฐานะทางสังคมของชาวจีนเริ่ม ขยับขึ้นมาเป็นชนชั้นกลางมากขึ้นอย่างรวดเร็ว สิ่งเหล่านี้ต่างเอื้อให้ประชากรจีนมีกำ�ลังการ บริโภคและกำ�ลังการลงทุนสูงขึ้นตามไปด้วย ซึง่ จะส่งผลให้คนจีนรุน่ ใหม่ขนึ้ มาเป็นผูป้ ระกอบ การแห่งความหวังเพื่อบุกตลาดโลกได้ต่อไป นั่นเอง
Guangxi Routes to ASEAN เส้นทางบก: เขตฯ กว่างซีเชือ่ มต่ออาเซียนด้วยเส้นทางถนนและรถไฟ โดยเส้นทางถนนคือ “เส้นทางเศรษฐกิจ หนานหนิง-สิงคโปร์ (Nanning-Singapore Economic Corridor)” เริม่ ต้นจากนครหนานหนิง ผ่านเวียดนาม ลาว กัมพูชา ไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ ส่วนเส้นทางรถไฟคือ “เส้นทางสายไหม (Iron Silk Road)” เริม่ ต้น จากสิงคโปร์ ผ่านมาเลเซีย ไทย กัมพูชา เวียดนาม และแยกไปอีก 2 เส้นทาง คือเข้าสู่นครหนานหนิง และ อีกเส้นเข้าสู่นครคุนหมิง เส้นทางนํ้า: เขตฯ กว่างซีได้ยกระดับการพัฒนาระบบคมนาคมเส้นทางสายแม่นํ้าและทางทะเลอย่างจริงจัง เพือ่ ลดต้นทุนการขนส่งและเพิม่ ปริมาณการขนส่งให้มากขึน้ ผ่าน 2 ยุทธศาสตร์ทสี่ �ำ คัญ ได้แก่ “เขตเศรษฐกิจ รอบอ่าวเป่ยปู”้ พืน้ ทีส่ �ำ คัญด้านการขนส่งทางทะเลทีผ่ นึกความร่วมมือของ 3 เมืองใหญ่รอบอ่าว ได้แก่ เมือง ชินโจว เมืองฝางเฉิงก่าง และเมืองเป๋ยไห่ ส่วนเส้นทางเดินเรือผ่านแม่นํ้า ได้แก่ “โครงการพัฒนาแม่นํ้า ซีเจียง” ที่เน้นการขนส่งภายในประเทศ รวมทั้งขนส่งไปยังฮ่องกงและมาเก๊า เส้นทางอากาศ: เขตฯ กว่างซีได้ตั้งเป้าไว้ว่าจะพัฒนาตัวเองไปสู่ “ศูนย์กลางการบินระดับภูมิภาค อาเซียน-จีน” และทำ�การขยายเส้นทางการบินสู่ประเทศอาเซียนให้มากขึ้น สำ�หรับเส้นทางบินระหว่างไทย กับเขตฯ กว่างซี ได้แก่ เทีย่ วบินนครหนานหนิง-กรุงเทพฯ, นครหนานหนิง-ภูเก็ต และเมืองกุย้ หลิน-กรุงเทพฯ ตุลาคม 2558
l
Creative Thailand
l 25
GO GREEN จากรายงานเรือ่ งมลพิษทางอากาศของกระทรวง การปกป้องสิง่ แวดล้อมของประเทศจีน (Ministry of Environmental Protection of the People’s Republic of China) เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ ผ่านมา พบว่าปี 2014 มีเพียง 8 เมืองจาก ทั้งหมด 74 เมืองใหญ่ของจีนที่ผ่านมาตรฐาน ความปลอดภัยเรื่องมลพิษทางอากาศ ได้แก่ เมืองไหโข่ว (Haikou), โจวซาน (Zhoushan), เซินเจิ้น (Shenzhen), จูไห่ (Zhuhai), หุ้ยโจว (Huizhou), ฝูโจว (Fuzhou), ลาซา (Lhasa) และคุนหมิง (Kunming) และเพียงไม่กี่วันหลัง จากทางการจีนได้ออกประกาศ กรีนพีซซึ่งเคย ทำ�การศึกษาปัญหานี้ของจีนอย่างจริงจังก็ออก มาให้ขอ้ สรุปสัน้ ๆ ว่า ปัญหาอากาศเป็นพิษทีจ่ นี กำ�ลังประสบอยู่ในขณะนี้กำ�ลังฆ่าชาวจีนอย่าง ช้าๆ มากกว่าปัญหาเรื่องการสูบบุหรี่เสียอีก ภายหลั ง จากผลการรายงานดั ง กล่ า ว รัฐบาลกลางจึงเริ่มชูนโยบายใหม่เพื่อเดินหน้า
พัฒนาอุตสาหกรรมที่จะไม่ทำ�ร้ายสิ่งแวดล้อม อย่างทีเ่ คยทำ�มา โดยการนำ�ร่องให้เขตฯ กว่างซี ณ นครหนานหนิง ย่านนิคมไฮเทคนครหนานหนิง (Nanning New & High-Tech Industrial Development Zone) เป็นนิคมอุตสาหกรรม คาร์บอนตํ่า โดยกำ�หนดระยะเวลาไว้ตั้งแต่ปี 2014 จนถึงปี 2016 และสนับสนุนให้นักลงทุน ในนครหนานหนิงทำ�ธุรกิจด้านอุตสาหกรรม สมัยใหม่ เช่น อุตสาหกรรมพลังงานทดแทน อุตสาหกรรมเภสัชกรรมชีวภาพ อุตสาหกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ อุตสาหกรรม ประหยัดพลังงานและสิง่ แวดล้อม อุตสาหกรรม บริการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฯลฯ โดยจีนมีแผนที่จะใช้นวัตกรรมทางเทคโนโลยี ในทางสร้างสรรค์ เพือ่ เพิ่มประสิทธิภาพการ ผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมไปในตัว และตั้ง เป้าหมายไว้วา่ จะสามารถควบคุมการปล่อยก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ ใ ห้ ล ดลงจนอยู่ ใ นระดั บ มาตรฐานภายในปี 2020
flickr.com/jbaetho
flickr.com/james j8246
flickr.com/llee_wu
CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
26 l
Creative Thailand
l ตุลาคม 2558
flickr.com/gigijin
technewstoday.com
นอกจากการตระหนักเรือ่ งสิง่ แวดล้อมทีม่ ากขึน้ แล้ว ย่านเขตนิคมไฮเทคนครหนานหนิงยังเป็น ต้นกำ�เนิดของ “นิคมอัจฉริยะ” แห่งแรกของเขตฯ กว่างซีอกี ด้วย ซึง่ บริษทั ยักษ์ใหญ่ดา้ นไอทีอย่าง IBM ได้ร่วมลงทุนกับบริษัทท้องถิ่น Guangxi Feipeng Environment Investment ทำ� ธุรกิจ ภายใต้ชอื่ โครงการ “นิคมอัจฉริยะนานาชาติ หนานหนิ ง -อาเซี ย น (Nanning-ASEAN International Intelligent Park)” ที่วางแผนจะ นำ�เทคโนโลยีทันสมัยอย่าง Internet of Things (IoT) และ Cloud Computing มาใช้ในภาค การผลิตและภาคบริการเพือ่ ตอบโจทย์ลกู ค้าได้ อย่างครบวงจร คาดว่ า โครงการนี้ จ ะเสร็ จ สมบูรณ์ภายในปี 2018 ซึ่งประมาณการไว้ว่า จะสร้างเม็ดเงินให้จีนได้กว่า 6 หมื่นล้านบาท ทั้งยังจะช่วยกระตุ้นการจ้างงานให้คนในพื้นที่ ได้ราว 25,000 ตำ�แหน่ง นอกเหนือจากโครงการ ดังกล่าวแล้ว ธุรกิจด้านอิเล็กทรอนิกส์และด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศก็ก�ำ ลังเข้ามาลงทุนในนคร หนานหนิงมากขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน
flickr.com/philchambers
GO SMART
flickr.com/monkeylikemind
CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
ด้วยความพยายามทั้งหมดของจีนที่ขยาย ความเจริญมาสูภ่ าคตะวันตกและผลักดันให้เขตฯ กว่างซีเป็นประตูสู่อาเซียนของจีน การลงทุนสร้าง จุดเชือ่ มต่อต่างๆ มาสูอ่ าเซียน การกระชับความ สัมพันธ์กับประเทศคู่ค้าในอนาคต และการ พยายามใส่ ใ จสิ่ ง แวดล้ อ มพร้ อ มทั้ ง ใช้ ค วาม สามารถด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมในทาง สร้างสรรค์ สิง่ เหล่านีน้ บั เป็นความตัง้ ใจครัง้ ใหม่ ของจีนที่น่าจับตามอง “ตอนนี้จีนพร้อมแล้วใน การสร้ า งความสั ม พั น ธ์ กั บ อาเซี ย นในทุ ก มิติ เราได้จัดตั้งคณะกรรมการไชน่า-อาเซียน เพื่ อ ดูแลและสร้ า งความสั ม พั น ธ์ กั บ ประเทศ คู่ ค้ า อาเซี ย นในช่ ว งเวลาที่ เ หมาะสมที่ สุ ด ” สี จิ้ น ผิ ง ประธานาธิ บ ดี แ ห่ ง สาธารณรั ฐ ประชาชนจีนกล่าว
Did you know? นอกจากเรื่ อ งเศรษฐกิ จ ที่ กำ � ลั ง ขยายตั ว ของเขตฯ กว่างซีแล้ว พื้นที่แห่งนี้ยังขึ้นชื่อเรื่องความงดงามของ ทัศนียภาพทีด่ งึ ดูดนักท่องเทีย่ วจากจีนและทัว่ โลกด้วย อย่างนครหนานหนิงที่เป็น “ปอดของเมืองจีน” ก็เคย ได้รับเลือกให้เป็นเมือง "Best Practices in Improving the Living Environment" ประจำ�ปี 2008 จาก UN-Habitat จุดเด่นของนครหนานหนิงคือนอกจาก จะอุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติแล้ว ยังมีความ เด่นชัดของวัฒนธรรมจากชนกลุ่มน้อยต่างๆ ที่อาศัย อยู่ทั่วเมือง ความสามารถทางด้านศิลปะ ดนตรี และ งานฝีมอื ของพวกเขาเหล่านีค้ อื เสน่หด์ งึ ดูดหลักทีท่ �ำ ให้ นักท่องเที่ยวอยากมาเยี่ยมชม บวกกับการที่นคร หนานหนิงได้ก้าวขึ้นเป็นเมืองทันสมัยแห่งใหม่ของจีน ทำ�ให้เพียบพร้อมไปด้วยห้างร้าน คลับ บาร์ และ แสง สี เสียงยามคํ่าคืน ที่สามารถตอบโจทย์นัก ท่องเที่ยวสมัยใหม่ได้เช่นกัน ส่วนเมืองเป๋ยไห่ เมือง ท่องเที่ยวติดทะเลใส หาดทรายขาว ก็ขึ้นชื่อว่าเป็น “ฮาวายฝั่งตะวันออก (Eastern Hawaii)” ซึ่งมีรีสอร์ท มากมายรองรับนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก ในขณะที่ กุ้ยหลินได้รับการยกย่องจากชาวจีนว่าเป็น “เมือง สวรรค์บนพิภพ” จนกล่าวกันว่าหากจิตรกรคนใดยังไม่ เคยไปเมืองกุ้ยหลิน จะไม่สามารถวาดภาพขุนเขาให้ สวยงามได้เลย คำ�ว่า “จ้วง” ในเขตฯ กว่างซีจ้วง มาจากชนชาติจ้วง ซึ่งเป็นชนชาติที่มีความสัมพันธ์อย่างมากกับชาวไทย คุณทองแถม นาถจำ�นง นักกวีไทย-จีน และนักแปล ผู้ ศึ ก ษาชนชาติ จ้ ว งอย่ า งจริ ง จั ง ให้ ค วามเห็ น ไว้ ว่ า หากสนใจรากเหง้ า และประวั ติ ช นชาติ ไ ทยก็ ต้ อ ง ให้ความสำ�คัญกับเรื่องชนชาติจ้วง หากจะค้นหา ต้นกำ�เนิดของชาติไทย เขตฯ กว่างซีคือคำ�ตอบ แต่ ถึงแม้ตอนนี้จะยังไม่อาจสรุปได้ว่าบรรพบุรุษของเรา มาจากเขตฯ กว่างซีหรือไม่ แต่เรื่องภาษาไทยนั้น นักภาษาศาสตร์เชื่อกันว่าต้นกำ�เนิดของตระกูลภาษา ไทยมาจากเขตฯ กว่างซี ที่มา: ศูนย์ขอ้ มูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน thaibizchina.com / บทความ “กวางสี “จ้วง” กวางสี ต้นกำ�เนิดตระกูลภาษาไทย” โดย กระทรวง วัฒนธรรม จาก m-culture.go.th / บทความ “Air Pollution Is Bigger Killer in China than Smoking, Says New Greenpeace Study” (กุมภาพันธ์ 2015) จาก scmp.com / บทความ “Most Chinese Cities below Air Quality Standard” (กุมภาพันธ์ 2015) จาก english.mep.gov.cn / travelchinaguide.com / asiaplanet.net / wikipedia.org ตุลาคม 2558
l
Creative Thailand
l 27
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
เรื่อง: พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์ ภาพ: นัทธ์ชนัน เพชรดี
คุณคิดว่า “ความคิดสร้างสรรค์” มีภาษาเฉพาะตัวหรือเปล่า โดยเฉพาะเมื่อความคิดสร้างสรรค์จากคนชาติหนึ่งถูกถ่ายโอน ไปใช้เพือ่ การสือ่ สาร ตลอดถึงเพือ่ ซือ้ ใจคนอีกชาติหนึง่ ทีม่ คี วาม แตกต่างทั้งด้านภูมิหลัง วิถีชีวิต แนวคิด และวัฒนธรรม
28 l
Creative Thailand
l ตุลาคม 2558
การทำ�งานทีต่ อ้ งเป็นตัวกลางในการสร้างกลยุทธ์การสือ่ สารทีม่ ที งั้ ข้อจำ�กัด ด้านเวลา งบประมาณ ความคิดสร้างสรรค์ และความต่างทีว่ า่ มา จึงกลาย เป็นโจทย์หนิ ของคนทำ�งานเอเจนซีโ่ ฆษณาอย่าง ‘ลิตา้ ’ วิรทัย และ ‘เหว่ย’ วิชิต ภักดีพิพัฒนพงศ์ ผู้ก่อตั้งและดำ�เนินการบริษัท Wired Media and Trading Co., Ltd. และ Wired Media Myanmar Co., Ltd. เอเจนซี่ โฆษณาลำ�ดับต้นๆ ที่เข้าไปบุกเบิกตลาดการสื่อสารและโฆษณาในเมือง ย่างกุง้ ประเทศพม่าก่อนใคร จนได้รบั ความไว้เนือ้ เชือ่ ใจจากแบรนด์ระดับ อินเตอร์มากมาย การพูดคุยที่เกิดขึ้นนี้จึงไม่ได้จำ�กัดอยู่แค่จุดตั้งต้น วิสัยทัศน์ แนวคิด ประสบการณ์ หรือเรื่องราวของตลาดต่างแดนที่ ผู้ประกอบการไทยเองควรทราบ แต่ยังหมายถึงทุกโอกาสและเคล็ดลับ ต่างๆ ที่ไม่ได้เกิดขึ้นจากการอ่านเอาในตำ�รา แต่เกิดจากการลงมือทำ� มันจริงๆ
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
อะไรที่ทำ�ให้เรามุ่งไปที่พม่าเลยตั้งแต่แรก
เหว่ย: จนถึงตอนนี้เราก็ทำ�กันมาได้ 3 ปีแล้ว ตั้งแต่ปี 2012 เรียกได้ว่าเรา เป็นรายแรกๆ เลย ซึ่งเหตุผลที่ไป จริงๆ แล้วเราเองก็อยู่ในสายงานนี้มา ตลอด พอมาปี 2012 คนก็เริม่ พูดถึงย่างกุง้ เริม่ พูดถึงพม่า เราก็เอ้ย! อยาก ไปลองทำ�ที่นู่น ส่วนหนึ่งเราค่อนข้างอิ่มตัวในเมืองไทย แล้วก็ยังมีแรง ก็ ลุยดู พอไปถึงมันก็มีแต่ความท้าทายทั้งนั้นเลย Challenge ของที่นู่นมัน คือความที่ไม่มีอะไรเลย ไม่มีอะไรช่วยเหมือนที่เมืองไทย แล้วด้วยความ ที่เขาปิดประเทศมานาน พอเปิดประเทศปุ๊บ เขาก็ยังยึดติดกับการทำ�งาน สไตล์เขาซึง่ แตกต่างมากๆ กับสไตล์ของเรา เราก็ตอ้ งเข้าไปเป็นตรงกลาง คอยจูนทุกอย่างให้ลงตัวให้ได้ จะบีบให้ซัพพลายเออร์มาทำ�งานตอบ ทุกอย่างของลูกค้าก็ยาก จะให้ลกู ค้ามายอมหยวนๆ ตามทีซ่ พั พลายเออร์ ทำ�ก็ไม่ได้ ฉะนัน้ ก็ตอ้ งคอยจูนว่าทัง้ คูต่ อ้ งการอะไร แล้วเราจะตอบตรงนัน้ ให้ จะไม่ไปบีบหรือขัดคอว่านี่ยอมหน่อย แต่ก็จะดูว่าโจทย์ของแต่ละคน คืออะไร
การทีบ่ อกว่าพม่าเปิดประเทศแล้วเป็นโอกาส การทีเ่ ราจะ เข้าไป ต้องผ่านอะไรบ้าง ยากง่ายอย่างไร เล่าให้เราฟังถึงธุรกิจทีก่ �ำ ลังทำ�อยูต่ อนนีม้ นั เกีย่ วกับอะไร
เหว่ย: เราทำ�ธุรกิจเอเจนซีโ่ ฆษณา ลูกค้าส่วนใหญ่ของเราเป็นลูกค้าทัง้ ไทย ลูกค้าอินเตอร์ และแม้แต่ลกู ค้าโลคอล แต่ทงั้ หมดนีจ้ ะไปเกิดทีย่ า่ งกุง้ เช่น อินเตอร์แบรนด์ต่างๆ ที่มีฐานลูกค้าอยู่เมืองไทย แต่มีสินค้าวางขายที่ ย่างกุ้ง แล้วต้องการที่จะทำ�การตลาด ทำ�โฆษณา ทำ�พีอาร์ ทำ�อีเวนต์ เราก็เลยเข้ามาตรงนี้ ก็คือมาคุยงาน รับบรีฟ แล้วเราก็เข้าศึกษาตลาดที่ นูน่ ให้วา่ เป็นยังไง ความต้องการทีแ่ ท้จริงของผูบ้ ริโภค (Consumer Insight) ไลฟ์สไตล์ หรือเทรนด์อะไรต่างๆ เป็นยังไง สื่อที่นู่นเป็นยังไง แล้วก็ช่วย ดูคแู่ ข่งของตัวสินค้าด้วยว่าคูแ่ ข่งเขาทำ�อะไรบ้าง วิเคราะห์ให้จนเสร็จหมด แล้วก็เสนอกลยุทธ์การสื่อสารให้กับลูกค้า ก็จะทำ�งานค่อนข้างใกล้ชิดกัน ด้วยตลาดย่างกุ้งที่ใหม่มาก ทุกอย่างเกิดขึ้นเร็วมาก การที่ตัวลูกค้าไม่ได้ ไปมีฐานอยู่ที่นู่น ก็จะเป็นความลำ�บากที่จะเกาะติดกับข้อมูลต่างๆ ที่ เกิดขึ้น หรือบางทีก็มีลูกค้าจากสิงคโปร์ มาเลเซีย ญี่ปุ่น ที่เราก็เป็นฮับ ติดต่อประสานงานให้อยู่ตรงนี้ ซึ่งลูกค้าเราส่วนใหญ่มันไม่ใช่แค่ประเด็น เรือ่ งของระยะทางทีม่ นั ไกลกันอย่างเดียว แต่วา่ แบรนด์ตา่ งๆ ทีเ่ ข้าไป เขา ก็มองหาความเป็นมืออาชีพที่รองรับเขาได้ในระดับอินเตอร์ ต้องการทำ� ตลาดจริงจัง โดยเฉพาะเมือ่ ตลาดมันเปิด และเริม่ มีการแข่งขันกันสูง ด้วย บริบทที่มันเปลี่ยนไปทุกวัน เพราะฉะนั้นเขาก็เลยต้องมองหาเราตรงนี้ ลิต้า: เพราะว่าบางทีพอมีเจ้าใหม่เข้ามาในตลาดที่มันแข่งขันกันสูงๆ แบบนี้ แม้ว่าแบรนด์ใหม่ๆ จะยังแย่งส่วนแบ่งตลาดของเขาไปไม่ได้สัก เท่าไหร่ แต่ก็ถือว่าเป็นการตื่นตัวและป้องกันส่วนของตัวเองไว้ก่อน
เหว่ย: เราเป็นอินเตอร์เอเจนซี่เจ้าแรกๆ ที่เข้าไป โดยส่วนใหญ่ก็เป็นของ ที่ทำ�กันเองในประเทศ ซึ่งวิธีการทีบ่ ริษัทต่างชาติจะเข้าไปก็ไม่ใช่เรื่องง่าย และวิธที งี่ า่ ยทีส่ ดุ ก็คอื การเข้าไปเป็นหุน้ ส่วน จะเป็นพาร์ทเนอร์กนั ร่วมทุน หรือแม้แต่เข้าไปซื้อกิจการมาเลยก็ได้ กับอะไรก็ตามที่โลคอลเขามีอยู่ ซึ่ง แต่ละบริษัทก็มีเงื่อนไขและเทคนิคแตกต่างกัน บริษัทยักษ์ใหญ่เข้าไป จะขยับอะไรก็ล�ำ บาก ฉะนัน้ ง่ายทีส่ ดุ คือเข้าไปซือ้ เลย ในขณะทีบ่ างบริษทั ที่ไซส์กลางหรือไซส์เล็กหน่อย ก็อาจจะเข้าไปร่วมมือกันนะ จับมือกันนะ อะไรแบบนี้ ทีนี้การที่มีทั้งโลคอลเอเจนซี่และอินเตอร์เอเจนซี่ มันมีข้อ ได้เปรียบหรือเสียเปรียบยังไงบ้าง เหว่ย: เรียกว่ามันมีจดุ แข็งกับจุดอ่อน โลคอลเอเจนซีด่ ว้ ยความทีเ่ ขาเป็นคน ทีน่ น่ั ก็จะได้เปรียบในเรือ่ งของเรตราคา เช่น ซือ้ สือ่ ได้ถกู อันนัน้ คือหนึง่ สอง คือเรือ่ งของอินไซต์ของตลาด เขาก็รดู้ วี า่ คนของเขาเป็นยังไง รูว้ า่ วิธกี ารคุย ต้องคุยยังไง อันนีค้ อื จุดแข็ง ส่วนจุดแข็งของเอเจนซีท่ เ่ี ป็นอินเตอร์กค็ อื วิธกี าร ทำ�งานทีไ่ ด้มาตรฐาน รูค้ วามต้องการของแบรนด์ชดั ว่าคืออะไร โจทย์คอื อะไร ฉะนั้นมันเป็นจุดแข็งและจุดอ่อนที่ก็จะเป็นคนละมุมกันแล้วแต่ลูกค้ามอง อย่างของเรา เราก็จะประมาณเป็น ‘ไฮบริด’ คือเราทำ�งาน มีทมี รีเสิรช์ เอง เวลาทีต่ อ้ งการอินไซต์มากๆ เราก็มที มี อยูท่ นี่ นู่ อย่างทีน่ กี่ เ็ ห็นว่าทีมวางแผน ของเราก็มปี ระมาณ 20 คน ทีมโลคอลของเราทีน่ นู่ ก็มอี ยูอ่ กี 30 กว่าคน ที่ คอยค้นหาและตอบเรือ่ งของอินไซต์และข้อมูลต่างๆ มาให้หนึง่ สองคือการ ที่เราเข้าไปแรกๆ มันทำ�ให้เราได้เรตราคาการซื้อสื่อหรือการจัดการอะไร ตุลาคม 2558
l
Creative Thailand
l 29
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
ไม่แพ้กบั โลคอล แต่เราทำ�งานให้ลกู ค้าด้วยมาตรฐาน ถ้าเทียบกัน แล้วเรา ต้องแข่งกับโลคอล เรามาหนึง่ ในเรือ่ งของบริการ วิธกี ารคิด วิธกี ารตอบโจทย์ ลูกค้าต่างๆ แต่ถา้ เราแข่งกับอินเตอร์ เราก็จะได้ในเรือ่ งของอินไซต์ เรือ่ งของ ราคาทีเ่ ราดีลตรงได้ ตรงนีก้ อ็ าจเป็นจุดได้เปรียบทีใ่ ห้บริการได้ครบทีเ่ ดียว ลิตา้ : ก็คอื ในด้านเซอร์วสิ เอเจนซีท่ ม่ี าจากต่างชาติอกี ทีหนึง่ บางทีเขาดีลกัน มาแล้วเขาก็จะมาซือ้ ผ่านเรา หรืออยูท่ ว่ี า่ บางทีอาจจะมีเอเจนซีท่ เ่ี ข้ามาใหม่ แต่ยงั ไม่สามารถเซ็ตอัพบริษทั เขาได้ หมายถึงบางทีเขามีลกู ค้ามาแล้ว แล้ว ก็ตอ้ งการบริการบางอย่างซึง่ เขาอาจยังไม่สามารถทำ�ได้ครบสมบูรณ์ในตอน นี้ เขาก็จะเลือกมาใช้งานเราก่อนเหมือนกัน
ข้อจำ�กัดของการทำ�งานทีไ่ ม่ได้ตง้ั อยูใ่ นประเทศของตัวเอง ต้ อ งใช้ เ วลามากขึ้น หรื อ เปล่ า ในการทำ � งานกว่ า จะได้ ผลลัพธ์ทต่ี อ้ งการ
เหว่ย: เราก็จะต้องมีการเทรนทีมงานโลคอลของเรา เพราะอย่างไรคือเขา อยูท่ โี่ น่น ก็ตอ้ งเป็นทีมทีท่ �ำ งานด้วยกัน แล้วเราจะต้องมีคนไทยหรือแม้แต่ คนต่างชาติทไี่ ม่ใช่พม่าเข้าไปคุมอีกที เหมือนเข้าไปเป็นหัวหน้าของแต่ละ แผนก เพือ่ ทีจ่ ะเข้าไปพัฒนา เข้าไปปรับจูนและตรวจสอบความคิด วิธกี าร ทำ�งานให้ตรงกัน ถ้าพูดถึงเรื่องที่ยากที่สุดก็คงเป็นเรื่องของการดีลกับคน โลคอลเอง ทั้งทีมงานเราเอง รวมถึงซัพพลายเออร์ด้วย คือด้วยธรรมชาติ ของคนพม่าแล้ว เขาน่ารักมาก เขาคิดบวก แต่ว่าด้วยวิธีการที่เขาอยู่มา เขาค่อนข้างใช้ชีวิตหรือมีวิธีการคิดแบบสโลว์ไลฟ์ บางทีก็ขาดความ กระตือรือร้น หรือไม่เป๊ะในเรือ่ งของไทม์ไลน์ ในขณะที่เราซีเรียสมาก เขาก็ จะแบบไม่เห็นต้องรีบเลย ลิตา้ : ประเด็นก็คอื เราเข้าไปเสริมในเรือ่ งของความคิดสร้างสรรค์ให้กบั เขา ด้วย เปลี่ยนแปลงวิธีการทำ�งานหรือวิธีคิดใหม่ๆ เช่นเขาพยายามจะ 1+4 เป็น 5 มาโดยตลอด เราก็เปลี่ยนมาเป็น 3+2 เป็น 5 บ้างก็ได้นะ ซึ่งการ จะเปลี่ยนหรือเพิ่มอะไรแบบนี้ก็ต้องใช้เวลานิดหนึ่งในการที่จะทำ�ให้เขา เปลี่ยนแปลงในวิธีการคิดของเขา
พูดถึงมูลค่าตลาดกันบ้าง ตอนนี้ที่พม่ามีโอกาสในการ เติ บ โตเรื่ อ งของอุ ต สาหกรรมด้ า นโฆษณามากน้ อ ย เท่าไหร่
เหว่ย: คือถ้าพูดเป็นมูลค่าตลาด (Market Value) เราคงต้องดูไปที่เรื่อง ของการใช้เงินในตลาด (Market Spending) อย่างการใช้งบโฆษณาของ เขา ซึ่งตอนนี้รวมๆ แล้วอยู่ที่ประมาณ 1 ใน 10 เมื่อเทียบกับเมืองไทย แต่วา่ 10 ของเมืองไทยคือเป็นค่าเฉลีย่ ทีค่ อ่ นข้างนิง่ แต่ส�ำ หรับพม่า 1 ของ เขาเป็นเรตที่ดับเบิล คือโตขึ้นเรื่อยๆ โตขึ้นจากหนึ่งนักลงทุนต่างชาติที่ เข้าไป แบรนด์ไทย หรือแบรนด์อินเตอร์ต่างๆ ที่เข้าไป มีการใช้เม็ดเงิน ที่มากขึ้น สองมาจากการพัฒนาของสื่อต่างๆ ที่มากขึ้นในประเทศของ 30 l
Creative Thailand
l ตุลาคม 2558
เขาเอง เช่นการมีช่องทีวีเพิ่มมากขึ้น มี Pay TV (การซื้อรายการเพื่อรับชม ทางโทรทัศน์) เพิ่มมากขึ้น มีสื่อออนไลน์ มีจอแอลอีดี ซึ่งต่างๆ เหล่านี้ เป็นช่องทางทีด่ งึ เม็ดเงินเข้ามามาก อันทีส่ ามคือการทำ�งานของบริษทั วิจยั ตลาดต่างๆ ทีท่ �ำ งานได้คอ่ นข้างจะมีประสิทธิภาพมากขึน้ เช่น มีการเก็บ ข้อมูลเพิ่มมากขึ้น เพราะฉะนั้นสามตัวนี้ เป็นเหตุผลที่ทำ�ให้การใช้จ่าย ของเม็ดเงินโฆษณาในพม่ามันโตขึ้นชัดเจน
แล้วขนาดของตลาด จำ�นวนประชากรหรือความแตกต่าง ของสภาพสังคม มีผลต่อโอกาสการทำ�ธุรกิจบ้างไหม
ลิตา้ : ตอนนีป้ ระชากรของพม่าอยูท่ ป่ี ระมาณ 52 ล้านคน เท่าๆ ประเทศไทย อาจจะมีเรื่องของการหายไปจากครัวเรือน แต่ก็คิดว่าใกล้เคียงกัน เหว่ย: ในจุดนีม้ สี องประเด็นทีเ่ ราควรคิดถึง จุดแรกคือเรือ่ งของข้อมูลต่างๆ ที่มันมีอยู่ ปี 1986 ถือเป็นปีสุดท้ายที่มีการเก็บสำ�มะโนประชากรของพม่า จนถึงเมื่อปลายปีก่อน ทำ�ให้ไม่มีใครรู้ว่าจำ�นวนประชากรในพม่ามีกี่คน เพราะไม่มกี ารทำ�สำ�มะโนประชากรกันเลย เราไม่สามารถเดินไปทีส่ ถาบัน ทำ�วิจยั แล้วขอดึงข้อมูลมาอย่างในไทย หรือไม่สามารถไปขอซือ้ ข้อมูลจาก บริษัทรีเสิร์ชได้ จนมาเมื่อปลายปีก่อน ยูนิเซฟถึงเข้าไปทำ�สำ�มะโน ประชากร เราถึงรู้แล้วว่ามีตัวเลขเท่าไหร่ อันนี้คือความลำ�บากในการ ทำ�งานช่วงแรกๆ ของเรา อันที่สองคือ จำ�นวนประชากร เทียบกรุงเทพฯ กับย่างกุง้ ย่างกุง้ ทีเ่ ป็นเมืองเศรษฐกิจของพม่าทีไ่ ม่ใช่เมืองหลวง แต่กเ็ ป็น เมืองหลัก ขนาดของย่างกุ้งใหญ่พอๆ กับนนทบุรี ซึ่งนนทบุรีก็เล็กกว่า กรุงเทพฯ อยู่ประมาณครึ่งหนึ่ง แต่จำ�นวนประชากรของย่างกุ้งพอๆ กับ กรุงเทพฯ ทำ�ให้ความหนาแน่นของจำ�นวนประชากรในย่างกุ้งมากกว่า กรุงเทพฯ เป็นเท่าตัว ด้วยความที่มันเป็นเมืองเศรษฐกิจ คนก็เลือกที่จะ มาแออัดกันอยู่ในย่างกุ้ง มันเลยทำ�ให้ย่างกุ้งเป็นเมืองที่มีความเฉพาะตัว ถึงแม้วา่ จะเป็นประเทศทีเ่ พิง่ เปิด แต่วา่ ค่าทีด่ นิ นีแ่ พงมาก แพงกว่าสุขมุ วิท บ้านเราอีก ตรงนี้ก็เป็นอุปสรรคในการที่ธุรกิจต่างๆ จะเข้าไป ส่วนในมุม ของผูบ้ ริโภคจะอยูก่ นั คล้ายๆ กับเป็นแฟลตในฮ่องกง ขณะทีช่ าวต่างชาติ ที่เข้าไปก็มีเยอะ ญี่ปุ่น เกาหลี คนไทย คนจีน ซึ่งแรกๆ จะเป็นพวก เอ็นจีโอ หลังๆ ก็เป็นพวกนักธุรกิจ ทำ�ให้มธี รุ กิจที่เปิดรองรับชาวต่างชาติ ค่อนข้างมาก ซึ่งก็จะแพงมาก แพงกว่าสิงคโปร์อีก แต่ถ้าคนท้องถิ่นที่นู่น เอง เขาก็มีอะไรของเขาอยู่สบายๆ ลิต้า: ยกตัวอย่างเช่นถ้าเทียบกับค่าแท็กซี่ จากที่เราอาจจะต้องเสียค่า แท็กซี่เยอะๆ ในการเดินทางที่ 100 บาท แต่ว่าที่นู่นเราอาจจะต้องเสีย ประมาณ 140-170 บาทอะไรแบบนั้น ก็ถือว่าแพงกว่าบ้านเราพอสมควร
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
ถ้ า พู ด กั น ในเรื่ อ งของความคิ ด สร้ า งสรรค์ ห รื อ งาน ครีเอทีฟแบบของเรา มันใช้สื่อสารกับเขาได้มากน้อย เหว่ย: ตอนนี้ถือว่าเปลี่ยนแปลงเร็วมาก เราจะยึดอะไรค่อนข้างลำ�บาก แค่ไหน พฤติกรรมของคนย่างกุ้งเป็นอย่างไร ทั้งรูปแบบการ บริโภค และการเปิดรับสื่อต่างๆ
มันจะไม่เหมือนว่าคนไทยต่างกับคนญี่ปุ่นยังไง อันนั้นเรานึกออก แต่คน ที่นู่นเขายังไม่มีรูปแบบตัวตนที่ชัดเจน เพราะว่ายังอยู่ในช่วงของการเปิด และเปลี่ยนแปลงที่เร็วมากๆ ผมจะยกตัวอย่างอยู่บ่อยๆ ในเรื่องของการ ใช้โทรศัพท์ อย่างของเรา เราใช้ 20 ปี ในการวิวัฒนาการจากโทรศัพท์ บ้านมาเป็นโทรศัพท์ทเ่ี ราใช้กนั อยูท่ กุ วันนี้ แต่ของทีน่ นู่ เมือ่ ประมาณปลายปี ก่อนเดือนตุลาคม เขาเพิ่งจะเปิดประมูลเรื่องสัญญาณโทรศัพท์ แล้วเขาก็ ใช้เวลาแค่ไม่ถงึ ปีกข็ า้ มมาใช้เทคโนโลยีเดียวกับบ้านเราแล้ว จากเดิมทีค่ น อาจจะไม่เคยใช้แม้กระทั่งโทรศัพท์พื้นฐาน แต่อยู่ดีๆ มาวันนี้ใช้ 3G ได้ บนสมาร์ทโฟนทีร่ าคาถูกมาก เพราะว่าแบรนด์ไหนพอเข้าไปก็ตอ้ งแข่งขันกัน พยายามดึงฐานผูบ้ ริโภคของตัวเองด้วยราคา เพราะฉะนัน้ อยูด่ ๆี งงๆ งวยๆ คนพม่าก็มี 3G ใช้แล้ว ซึ่งมันทำ�ให้วิธีการเปิดรับอะไรของเขาไม่เหมือน กับบ้านเรา
มองว่าย่างกุ้งหรือพม่าเอง มีโอกาสที่จะกระจายความ เจริญออกไปได้อีกมากไหม เหว่ย: เราคิดว่าหนึ่งคือเขาคงจะเหมือนบ้านเรา ตรงที่ว่าเรามีกรุงเทพฯ และเชียงใหม่ เขาก็มยี า่ งกุง้ กับมัณฑะเลย์ มัณฑะเลย์กค็ ล้ายๆ เชียงใหม่ คือเป็นเมืองเศรษฐกิจ ท่องเที่ยว วัฒนธรรม ศูนย์กลางของภาคเหนือของ เขา ส่วนย่างกุ้งก็คือเมืองเศรษฐกิจ ศูนย์กลางต่างๆ จากช่วงล่าง ลิตา้ : ผมมองว่าอาจจะมีเสริมของการขยายไปเมืองอื่นๆ อย่างเนปิดอว์ ที่ เป็นเมืองราชการ อาจมีฐานต่างๆ ทีจ่ ะกระจายเพิม่ ได้เข้าไปตรงนัน้ ซึง่ การ ทำ�งานของเราก็ตอ้ งไปตามเมืองอืน่ ๆ ด้วย แล้วแต่ความต้องการของลูกค้า
แล้วเรื่องพัฒนาการของสื่อเป็นอย่างไรบ้าง
เหว่ย: สื่อนี่ถือเป็นตัวอย่างที่ดีเลยครับว่าประเทศเขาเปิดยังไง คือเราเอง จะต้องตามให้ทัน เพราะเขาจะมีสื่อใหม่ๆ ออกมาเยอะมาก เช่นอยู่ดีๆ ก็มีจอแอลอีดีไซส์ยักษ์ขึ้นมากลางสี่แยกซะงั้น แล้วหลังๆ มานี่คือสื่อ หลากหลายมาก แล้วก็เพียงพอที่จะตอบโจทย์ในแต่ละความต้องการของ ลูกค้า ลูกค้าทีม่ ชี อ่ งทางการกระจายสินค้าทัว่ ประเทศต่างๆ ก็ยงั ต้องอาศัย ทีวี ซึง่ ก็แข็งแรงมากขึน้ ทุกวัน ทัง้ เรือ่ งของการกระจายสัญญาณ แล้วก็เรือ่ ง ของเนือ้ หา แต่ถา้ เกิดว่าเป็นลูกค้าวัยรุน่ เรื่องของโฆษณาบนเฟซบุ๊ก หรือ พวกดิจทิ ลั ต่างๆ มันก็เริม่ โอเค มันเริม่ ดึงคนได้ดี เราเริม่ ได้ฟดี แบ็กทีโ่ อเค ขึ้น มันมีสื่อให้เล่นเยอะขึ้นมาก แบบคนในเมืองมีก็ทั้งป้ายไฟ มีแอลอีดี ให้ใช้ ไม่ใช่เอะอะๆ ก็ทวี หี รือหนังสือพิมพ์ แต่ตอนนี้มันมีสื่อทางเลือก แล้วผู้บริโภคก็เริ่มแตกต่าง มีรูปแบบเฉพาะกันมากขึ้น มันก็สะท้อนถึง การใช้สื่อที่แตกต่างกัน เราก็ต้องใช้ให้เป็น
เหว่ย: เรื่องของภาษาครีเอทีฟ ผมว่ามันต้องทำ�งานร่วมกันครับ อย่างที่ บอกว่าเราก็เซ็ตตัวเราเองให้เป็นแบบไฮบริด ดังนั้นเราจะไปครีเอทีฟจ๋า หรืออินโนเวทีฟจ๋าขนาดนัน้ เขาย่อมไม่เข้าใจ เพราะเขาไม่อยูใ่ นโหมดภาวะ แวดล้อมที่จะมา เฮ้ย! อะไรเนี่ย หรือว้าวเหมือนกับที่เราเป็น ก็ต้องมา ง่ายๆ ตรงๆ อย่าซับซ้อน อย่าแบบอะไรเยอะ อย่าลา้ํ มากไป แล้วก็ในขณะ เดียวกันเราก็ตอ้ งพูดในภาษาของเขาด้วย ไม่ใช่แค่แบบทำ�มาแล้วแปลเสร็จ คือจบ เพราะเขาก็มีแง่มุมที่เขาชอบแตกต่างกัน ที่สุดแล้วมันคือต้องใช้ ความครีเอทีฟของเราไปปรับใช้กับโลคอลของเขาให้มันลงตัว
วิธีการที่เขามองคนไทยล่ะ
เหว่ย: จริงๆ แล้วเขาค่อนข้างชอบเรา คือสินค้าอะไรก็ตามที่เขียนว่าเป็น Product of Thailand จะถือเป็นสินค้าที่มีคุณภาพดี เพราะว่าสินค้าใน ประเทศเขาอาจจะยังไม่มกี ารควบคุมการจัดการทีด่ ใี นเรือ่ งของมาตรฐาน ต่างๆ หรือสินค้าเข้ามาเยอะจากเมืองจีนบ้าง บังกลาเทศ หรือเนปาล อะไร ที่มาจากทางเรือ ก็จะไม่มีตรามาตรฐานที่เอาไว้ดู เพราะฉะนั้นเขาก็ต้อง ระมัดระวัง การเลือกสินค้าของเขา สินค้าจากไทยก็เลยกลายเป็นของมี มาตรฐาน ลิต้า: เรียกว่าตั้งแต่สินค้าในชีวิตประจำ�วันทั่วไป ไปจนถึงสินค้าก่อสร้าง วัสดุก่อสร้างทุกอย่าง เขาจะมั่นใจในของๆ เรามาก
ถ้ามีคนที่อยากทำ�ธุรกิจในพม่า มันยังมีอะไรที่น่าไปลอง หรือควรระวังไหม
เหว่ย: คือเราเองเราอยู่มาก่อน ก็จะมีเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ที่เฮ้ย! อยากจะ เข้าไปพม่าจังเลย ไปทำ�นูน่ ทำ�นีอ่ ะไรอย่างงี้ แต่วา่ การทีเ่ ขาเข้าไปเขาอยาก ทำ� แต่ตัวเขาอยู่เมืองไทย มันไม่สามารถทำ�ได้ คือถ้าจะทำ�ก็ต้องเข้าไป อยู่ เข้าไปใช้ชีวิตดู เข้าไปมองจริงๆ ว่ามันเป็นยังไง คือคุณจะอยู่เมือง ไทยแล้วนึกอยากทำ�ขึ้นมาก็บินไป หรืออะไรแบบนั้น บินไปบินมา เอา จริงๆ มันค่อนข้างไม่เห็นภาพหรอกครับ มันไม่ได้สัมผัส ลิต้า: อย่างผมมีคนรู้จัก เขาก็ถามว่า เนี่ยอยากจะเอาอันนี้เข้าไปขาย ช่วยหน่อย ผมก็ตอบไปตรงๆ ว่าต้องเข้าไปอยู่เอง เพราะว่าคนที่จะรู้จัก สินค้าดีที่สดุ ก็คอื ตัวเขา แล้วเวลาขายเนี่ยเขาก็ตอ้ งรูว้ า่ สินค้าของเขาเหมาะ รึเปล่า ผมก็แนะนำ�ว่าคุณต้องเข้าไปอยู่ ถ้าคุณไม่เข้าไปอยู่ คุณก็ไม่รหู้ รอก ถ้าคุณคิดว่า เดี๋ยวไปหาคนช่วยกระจายสินค้าสักเจ้า แล้วไปฝากเขาขาย ให้ เป็นผม ผมก็มองแล้วว่าคุณเป็นใคร ทำ�ไมเขาถึงต้องมาขายให้กับคุณ ทางที่ดีคือคุณก็ต้องลองไปอยู่เอง ไปทำ�ตลาดเอง ตุลาคม 2558
l
Creative Thailand
l 31
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
เหว่ย: คืออย่างเช่นในมุมของนักการตลาดทั้งหลาย ถ้าเขาเข้าไป คือเรา อยากให้เขาลืมไปทั้งหมด ลืมสิ่งที่เคยทำ�แล้วประสบความสำ�เร็จที่ไทย หรือแม้แต่ไปทำ�ที่ประเทศอื่นๆ ลาว เขมร เวียดนาม ลืมไปให้หมดเพราะ ทฤษฎีของคุณ มันไม่สามารถเอามาปรับใช้กบั ทีน่ ไี่ ด้หรอก อย่างทีบ่ อกคือ เขาไม่ได้อยู่ในการวิวัฒนาการ 20 ปี เขาอยู่ในความเปลี่ยนแปลงที่มันปึ๊บ ปับ๊ ๆ เพราะฉะนัน้ เค้ามีความเฉพาะตัวค่อนข้างสูง กลยุทธ์อะไรต่างๆ มัน เอามาปรับใช้ไม่ได้ทันที คุณต้องลงไปตรงนั้น
ต้ อ งลงไปคลุ ก คลี เ องเลย มั น พอจะมี ท างลั ด หรื อ หลักสูตรเร่งรัดบ้างไหม เหว่ย: หลักสูตรเร่งรัดมีครับ คือการไปพาร์ทเนอร์กับคนโลคอล ก็เป็นวิธี การที่ง่ายที่สุด แต่ก็สำ�คัญที่สุด เหมือนกับว่าเลือกคนได้ถูกก็ดีไปทั้งชีวิต ลิต้า: สำ�หรับคนที่เป็นเอสเอ็มอีที่อยากจะเข้าไปเปิดตลาดในพม่า ก็ต้อง มองพื้นฐานของตัวเองด้วย ถ้าคุณเป็นตัวแทนของสินค้าที่มีงบการตลาด เยอะ ผมเห็นด้วย อยากให้คุณเข้าไป อยากให้คุณลุยเลย เข้าไปคุณไปหา คนช่วยกระจายของให้คณุ ได้เลย แต่ถา้ คุณคิดว่างบคุณน้อย แล้วคุณมีแต่ ของ คุณต้องทำ�เอง คุณจะไปฝากความหวังไว้กบั คนทีน่ น่ั อาจจะฝากไม่ได้ ถ้าคุณทำ�เอง เท่าทีผ่ มรูจ้ กั มา ผมว่าร้อยหนึง่ อาจจะมีสกั แปดสิบเปอร์เซ็นต์ ที่จะประสบความสำ�เร็จ แต่คุณต้องไปอยู่เองนะ แล้วตอนนี้คนไทยที่ไปก็ จะมีสงั คมของคนไทยอยูท่ นี่ นู่ ซึง่ ก็จะช่วยเหลือกัน ทางสถานทูตไทยก็ให้ ความช่วยเหลือเราเต็มที่
ถ้าเทียบเป็นคะแนนความยากง่าย ตลาดพม่าถือว่าปราบ เซียนไหม เหว่ย: ถ้ายากคือเต็ม 10 ผมว่ามันยากในบริบท แต่มันง่ายที่เขาอยู่ข้าง เรา แบบประเทศที่มีพื้นที่ติดกัน คล้ายคลึงกันทางวัฒนธรรม หรือแม้แต่ เรื่องของภูมิอากาศ ก็เป็นข้อได้เปรียบ แต่ว่าความยากคือความยังไม่ ชัดเจนของเทรนด์ในพม่า และเศรษฐกิจทีค่ อ่ นข้างผันผวน ไม่ใช่วา่ มีความ เสีย่ งสูงนะครับ แต่มนั ขึน้ อยูก่ บั ปัจจัยหลายอย่าง ขึน้ อยูก่ บั การเมือง หรือ เรือ่ งของสภาพอากาศด้วยซาํ้ บางทีนาํ้ ท่วมถ้าเป็นบ้านเราหรือประเทศอืน่ คงจัดการได้เร็ว ฟื้นได้เร็ว แต่ว่าของเขามันมีตัวแปรเยอะ ก็ต้องเอาใจใส่ ที่หมายถึงการเอาตัวเองใส่เข้าไปด้วยจริงๆ
C RE ATIVE INGRE D IENTS สิ่งที่ต้องทำ�เป็นกิจวัตรทุกวันในการทำ�งาน เหว่ย: เพราะงานที่ทำ�ทุกวันค่อนข้างเครียดและทีมเองก็เต็มที่กับงานมากๆ ที่ ต้องทำ�ทุกวันจึงเป็นการจัดเวลาเดินไปคุยกับทีม ทักทาย ถามไถ่ หรือแม้แต่ แซวหยอกล้อ เพื่อช่วยลดความเครียดและสร้างบรรยากาศที่ดีในที่ทำ�งาน เรา ก็เห็นการทำ�งานของแต่ละคน ได้แนะนำ� ช่วยแก้ปัญหาไปด้วย ที่สำ�คัญ บรรยากาศที่ดียังช่วยเพิ่มพลังความคิดสร้างสรรค์ในการวางแผนงานได้ ลิตา้ : ต้องเช็กอีเมลและคุยกับทีมงานเกีย่ วกับความคืบหน้าของแต่ละแคมเปญ เพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าต่างๆ และคอยให้คำ�ปรึกษากับทีมงาน ช่วยเรื่อง การจัดการประสานงานกับทางคนท้องถิ่นให้ทุกๆ งาน ผ่านไปได้ด้วยดี เมืองหรือประเทศทีอ่ ยากไปเทีย่ ว อยากไปใช้ชวี ติ หรือไปทำ�ธุรกิจ มากที่สุด เพราะอะไร เหว่ย: อยากทำ�ธุรกิจที่พม่าแหละครับ แต่อยากกลับไปเที่ยวอังกฤษอีก เพราะ ตั้งแต่เรียนจบมายังไม่มีโอกาสได้กลับไปเลย ลิต้า: อยากขับรถเที่ยวทั่วยุโรปและอเมริกา แล้วก็อยากไปใช้ชีวิตที่บ้านเกิดที่ แม่สาย จังหวัดเชียงราย ส่วนเรื่องการสร้างธุรกิจ คงจะเป็นที่พม่า อยากสร้าง ธุรกิจที่เหลือในความคิดให้เกิดขึ้นในพม่าให้ได้มากที่สุด ความเชื่อหรือทัศนคติส่วนตัวในการใช้ชีวิต เหว่ย: Happiness is by choice, not by chance. ลิต้า: คนเราเมื่อคิดว่าถึงทางตัน มักจะมีช่องเล็กๆ ที่เรียกว่า "โอกาส" เกิดขึ้น เสมอ เพราะฉะนั้น "จงอย่ายอมแพ้"
32 l
Creative Thailand
l ตุลาคม 2558
CREATIVE WILL คิด ทำ� ดี
เรื่อง: ปิยะพร สวัสดิ์สิงห์
แม้ว่าการพัฒนาพื้นที่ในแถบลุ่มแม่นํ้าโขงโดยส่วนใหญ่จะได้รับกำ�ลังของการพัฒนา มาจากโครงการใหญ่ระดับประเทศ ทีม่ ที งั้ ภาครัฐและภาคเอกชนของแต่ละประเทศในพืน้ ที่ กระทั่งประเทศที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่แถบลุ่มแม่นํ้าโขงก็ให้ความร่วมมือสนับสนุนกันมากมาย ไปจนถึงการมีโครงการที่ทำ�หน้าที่เฉพาะอย่างธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank – ADB) หรือกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่ม แม่นํ้าโขง แล้วก็ตาม แต่ในอีกด้านหนึ่งก็ยังมีโครงการจากความร่วมมือเล็กๆ ของเหล่า เยาวชนในภูมิภาคที่ได้เคลื่อนไหวไปพร้อมกันกับโครงการใหญ่ๆ เช่นกัน Collaboration for Young Generation in Mekong Region หรือ CYM เดิมทีนั้น คือ Thai Volunteer Service องค์กรซึ่งเป็นพื้นที่ให้เยาวชนไทยอาสาสมัครเข้ามา ร่วมกันทำ�กิจกรรมต่างๆ ให้กับสังคม ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1980 ซึ่งต่อมาในปี 2004 จึง ได้มีการขยายโครงการไปยังประเทศเพื่อนบ้านแถบลุ่มแม่นํ้าโขง ได้แก่ เวียดนาม กัมพูชา ลาว พม่า และจีน โดยยังคงทำ�หน้าทีด่ า้ นอาสาสมัครและเพิม่ การเป็นสือ่ กลาง ในการเชือ่ มโยงแลกเปลีย่ นประสบการณ์ซงึ่ กันและกันของประเทศเพือ่ นบ้านในแถบ ลุ่มแม่นํ้าโขง ตลอดจนเป็นพื้นที่สำ�หรับการทำ�งานร่วมกันของเยาวชน ผ่าน วัตถุประสงค์หลักของโครงการ นั่นคือการส่งเสริมและสนับสนุนให้เยาวชนแต่ละ ประเทศสมาชิกได้แสดงความคิดเห็น อภิปรายปัญหาสังคมร่วมกัน ต่อยอดไปจนถึง การมีสว่ นร่วมในการแก้ไขปัญหาเหล่านัน้ ผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น การจัดทำ�แม่โขง ไดอารี่เยาวชนเพื่อสันติภาพ (Mekong Youth Diary for Peace: Listen to Our Voices, Join the Change) ตีพิมพ์กว่า 2,000 เล่ม แจกจ่ายให้กับเยาวชนแถบลุ่ม แม่นํ้าโขงทั้ง 6 ประเทศ เพื่อบอกเล่าเรื่องราวของแต่ละที่ โดยหวังว่าจะเป็นหนึ่งใน เครือ่ งมือทีช่ ว่ ยพัฒนาความเข้าใจซึง่ กันและกันให้ลกึ ซึง้ ยิง่ ขึน้ และเพือ่ สร้างสังคมที่ ดีขนึ้ ร่วมกัน ในด้านวัฒนธรรมก็มกี ารจัดโครงการฝึกงานข้ามวัฒนธรรม ให้นกั ศึกษา และเยาวชนเพื่อนบ้านแถบลุ่มแม่นํ้าโขงได้เข้าไปฝึกงานหรือเป็นอาสาสมัครร่วม ทำ�งานกับคนท้องที่แลกเปลี่ยนกัน ตลอดจนถึงกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือเพื่อนบ้านใน ยามคับขัน อย่างเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2015 ที่กลุ่มเยาวชนอาเซียน (ASEAN Youth
34 l
Creative Thailand
l ตุลาคม 2558
Movement) ได้จัดกิจกรรม “ตลาดนํ้าใจ ช่วยภัยนํ้าท่วมพม่า” ขึ้นที่ Root Garden ทองหล่อซ. 3 ภายในงานมีการเสวนาแลกเปลี่ยนสถานการณ์ผลกระทบจากนํ้าท่วม โดยเยาวชนชาวพม่า พร้อมการจำ�หน่ายผลิตภัณฑ์จากพื้นที่และประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อหารายได้ช่วยเหลือ นอกจากนี้ภายใต้ CYM ก็ยังมีโปรเจ็กต์กระตุ้นและบ่มเพาะ พลังแห่งอาสาสมัครของวัยหนุม่ สาวอยูเ่ สมอ เช่น กิจกรรม Happy Seed Movement และ Volunteer Action ที่กลุ่มเยาวชนและอาสาสมัครจะรวมตัวกันทำ�กิจกรรม ประชุมสัมมนา และออกค่ายเยาวชนสร้างสรรค์อยู่เป็นประจำ� เป็ น เวลาสิ บ กว่ า ปี แ ล้ ว ที่ CYM ได้ ทำ � หน้ า ที่ ใ นการเชื่ อ มโยงแลกเปลี่ ย น ประสบการณ์ระหว่างกันของประเทศเพื่อนบ้านลุ่มแม่นํ้าโขง มีการผลัดเปลี่ยน หมุนเวียนของสมาชิกที่เข้ามาทำ�กิจกรรม เพิ่มโอกาสในการได้รับมุมมองใหม่ ได้ เห็นวัฒนธรรมและทำ�ความรู้จักซึ่งกันและกัน ที่สำ�คัญคือการผูกสัมพันธ์อันดีที่จะ นำ�ไปสู่โอกาส การเปลี่ยนแปลง และการพัฒนาในอนาคตอีกมาก ซึ่งล้วนแสดงถึง ความร่วมมือเล็กๆ จากเยาวชนที่กำ�ลังกลายเป็นพื้นฐานที่ดีของการก้าวเข้าสู่การ เป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และเป็นจุดเริม่ ต้นทีด่ ขี องการสร้างมิตรภาพทีย่ งั่ ยืน ให้ก้าวไปในอนาคตด้วยกัน ที่มา: cymthaivolunteer.wordpress.com / mekongpeacejourney.wordpress.com