Creative Thailand Magazine

Page 1

ธันวาคม 2558 ปที่ 7 I ฉบับที่ 3 แจกฟรี

CLASSIC ITEM พลศึกษา

CREATIVE CITY France

THE CREATIVE พันโทรุจ แสงอุดม


ทีฆายุโก โหตุ มหาราชา ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า นิตยสาร Creative Thailand


pixabay.com

“SPORTS SERVE SOCIETY BY PROVIDING VIVID EXAMPLES OF EXCELLENCE.” กีฬารับใช้สังคมด้วยการให้ตัวอย่างความสำ�เร็จที่ยอดเยี่ยม George F. Will คอลัมนิสต์รางวัลพูลิตเซอร์ชาวอเมริกัน


CONTENTS สารบัญ

6

8 10 12

The Subject

ออกกำลังกายดวยพลังแหงโลกโซเชียล / เสียงสะทอนเล็กๆ ตอการออกกำลังกาย / ดูดีกอน ออกกำลังกายทีหลัง / ตัวชวย ตัวไมชวย

Insight

20

Creative Entrepreneur

22

Creative City

24

The Creative

28

Creative Will

34

Renewal Public Space for Sports พื้นที่กีฬาสาธารณะ : ของใคร โดยใคร เพื่อใคร

Creative Resource

Featured Book / Book / Movie / Documentary

Matter

"Making" แอพพลิเคชัน เครื่องมือสำหรับนักออกแบบ

Classic Item

พลศึกษา กายใจที่แข็งขันเพื่อสังคมที่แข็งแรง

Dragon Kids Golf Academy ปนโปรสูเสนทางสายกอลฟ

ฝรั่งเศส J'aime les sports

14

Cover Story

กีฬา กีฬา มากกวายาวิเศษ

พันโทรุจ แสงอุดม: กีฬาตองสรางไมใชแคสงเสริม

Creative Sport Fields มากกวาสนามกีฬา

บรรณาธิการอำนวยการ l อภิสทิ ธิ์ ไลสตั รูไกล ทีป่ รึกษา l ชมพูนทุ วีรกิตติ, พิชติ วีรงั คบุตร, จรินทรทพิ ย ลียะวณิช, พจน องคทวีเกียรติ บรรณาธิการ l พัชรินทร พัฒนาบุญไพบูลย กองบรรณาธิการ l ศิริอร หริ่มปราณี, มนฑิณี ยงวิกุล, เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร, กริยา บิลยะลา, ชลดา เจริญรักษปญญา, อําภา นอยศรี, ปยวรรณ กลิ่นศรีสุข, นันทนรี พานิชกุล เลขากองบรรณาธิการ l วรรณเพ็ญ บุ ญเพ็ญ ศิลปกรรม l ชิดชน นินนาทนนท สมาชิกสัมพันธ l ปยะพร สวัสดิ์สิงห ประสานงานกองบรรณาธิการ l ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ จัดทำโดย l ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (TCDC) ชั้น 24 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอร 622 สุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 โทร. 02 664 7667 แฟกซ. 02 664 7670 ติดตอลงโฆษณาไดที่ creativethailand@tcdc.or.th พิมพที่ l บริษัท สยามพริ้นท จำกัด โทร. 02-509-0068 แฟกซ. 02-509-2971-2 จำนวน 30,000 เลม นิตยสารฉบับนี้ใชหมึกพิมพจากน้ำมันถั่วเหลืองที่ไมเปนอันตรายตอสุขภาพ ทั้งยังเปนมิตรตอสิ่งแวดลอม และใชกระดาษรีไซเคิล ซึ่งเปนผลผลิตของผูประกอบการไทย จัดทำภายใตโครงการ “Creative Thailand สรางเศรษฐกิจไทยดวยความคิดสรางสรรค” โดยศูนยสรางสรรคงานออกแบบ สำนักงานบริหารและพัฒนาองคความรู (องคการมหาชน) ซึ่งมีเปาหมาย ในการเผยแพรความรูเกี่ยวกับเศรษฐกิจสรางสรรค (Creative Economy) และผลักดันการใชความคิดสรางสรรค ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย สามารถดูสถานที่จัดวางทั้งหมดไดที่ creativethailand.org อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส แสดงที่มา-ไมใชเพื่อการคา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย


famouswonders.com

EDITOR'S NOTE บทบรรณาธิการ

NOT JUST A GAME เกมและการแข่งขันถูกใช้เพื่อความบันเทิงมาตั้งแต่สมัยยุคโรมัน และงานสถาปัตยกรรมอันยิ่งใหญ่ของโคลอสเซียม ณ กรุงโรม ก็เป็นเครื่องการันตีความสามารถ ของมนุษย์ที่จะรังสรรค์สิ่งปลูกสร้างอันชาญฉลาดเพื่อเกมแข่งขันอันทรงพลังในอดีต ปัจจุบัน เกมไม่ใช่เรื่องของการแข่งขันเพื่อรางวัล ความสนุก และเสียงโห่ร้อง แต่เป็นวิทยาการที่ปลุกศักยภาพของร่างกายมนุษย์ให้มีความสามารถเพิ่มขึ้น ทั้งทนทาน แข็งแกร่ง หรือยืดหยุ่น พร้อมๆ กับสร้างทางเลือกในการพัฒนาขีดจำ�กัด ของร่างกายในรูปแบบที่หลากหลาย และแปลกใหม่ จนเกิดเป็นแรงดึงดูดให้เกิดกระแสความตื่นตัวและวัฒนธรรมย่อยๆ ในสังคมได้อย่างไม่ยากเย็น ความสนใจที่มีอย่างท่วมท้นต่อการกีฬา และการออกกำ�ลังในเมืองไทย นับเป็นเรื่องน่ายินดีและเป็นปรากฏการณ์ที่ขยายวงกว้างจนเกิดเป็นความนิยมและ ความชื่นชมทั้งต่อตัวนักกีฬา ทีม จนถึงความมุ่งมั่นต่ออาชีพ ขณะที่ความนิยมเพิ่มสูงขึ้น ก็ย่อมเป็นแม่เหล็กสำ�คัญที่ดึงดูดการลงทุนในธุรกิจต่ออุตสาหกรรมกีฬา ให้เติบโตแข็งแรงเช่นกัน ในหลายประเทศ อุตสาหกรรมการกีฬาเป็นตัวจักรสำ�คัญในการขับเคลือ่ นเศรษฐกิจ ในปี 2013 สถาบัน Economic Modeling Specialists Intl. (EMSI) ของสหรัฐอเมริกา ประมาณการว่ามีรายได้จากอุตสาหกรรมนี้กว่า 14.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีการประมาณการผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการ จ้างงานกลุม่ อาชีพต่างๆ ในอุตสาหกรรมกีฬากว่า 456,000 ตำ�แหน่ง ซึง่ สามารถแบ่งออกเป็น 15 ประเภท ตัง้ แต่นกั กีฬา โค้ช เจ้าหน้าทีภ่ าคสนาม เอนเตอร์เทนเนอร์ จนถึงเอเยนต์ ซึ่งพบว่า ในอุตสาหกรรมนี้ มีเงินเดือนเฉลี่ย 39,000 เหรียญฯ ต่อตำ�แหน่ง และขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ อยู่ในภาวะถดถอยในปี 2008 อุตสาหกรรม กีฬากลับมีอัตราเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2009-2013 ขยายตัวถึงร้อยละ 12 และมีการคำ�นวณอัตราการเติบโตของธุรกิจกีฬา ว่าสามารถสร้างผลทวีคูณ (Multiplier) ได้ในอัตรา 2.3 ขณะที่อาชีพอื่นสร้างผลทวีคูณทางเศรษฐกิจได้ 1.3 ดังนั้น อุตสาหกรรมกีฬาจึงเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจและอัดฉีดเม็ดเงินได้อย่าง รวดเร็วและกว้างขวาง โมเดลความสำ�เร็จของกีฬาสู่ความเติบโตเศรษฐกิจของเมืองจึงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในประเทศไทยด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น จังหวัดบุรีรัมย์ หรือ ชลบุรี ที่ได้ เพิ่มโอกาสเพื่อสร้างรายได้สู่ท้องถิ่นด้วยการลงทุนสนามกีฬาระดับมาตรฐานโลก เช่นเดียวกับการสร้างนักกีฬาระดับสากล ขณะที่เศรษฐกิจของเมืองเคลื่อนที่ไป ข้างหน้า วิทยาการความรูด้ า้ นวิทยาศาสตร์การกีฬาก็ได้ถกู พัฒนาให้เติบโตขึน้ เช่นกัน ซึง่ ไม่เพียงเฉพาะถูกใช้ในอาชีพวงการกีฬาเท่านัน้ ความรู้ และความใส่ใจ ที่จะมีร่างกายที่ดีและสุขภาพที่สมบูรณ์ได้กลายเป็นวัฒนธรรมย่อยๆ ในสังคม ที่ผู้คนได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สรรหาโภชนาการ หรือมองหาทางเลือกในการ ออกกำ�ลังที่เอาชนะขีดจำ�กัดของร่างกายและจิตใจ แต่ทสี่ ดุ แล้ว ความรูแ้ ละความสร้างสรรค์ของมนุษย์เราก็เอาชนะทุกเกมการแข่งขันได้เสมอ ไม่วา่ จะแก้ความอ่อนแอทางเศรษฐกิจให้แข็งแกร่ง หรือเพิม่ ความ เข้มแข็งให้แก่สุขภาพทางกาย ก็ตามที อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล บรรณาธิการอํานวยการ Apisit.L@tcdc.or.th

ธันวาคม 2558

l

Creative Thailand

l5


THE SUBJECT ลงมือคิด

facebook.com/Equinox

เรื่อง: วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ

คงไม่ง่ายนัก ที่อยู่ๆ คนเราจะอยากออกกำ�ลังกายโดยปราศจากแรงจูงใจใดๆ มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียจึงพยายามค้นหาแรงจูงใจที่ว่า โดยทำ�การทดลองกับ นักศึกษาจำ�นวน 217 คน ให้ได้รับสิทธิ์ใช้บริการในคลาสออกกำ�ลังกายของ มหาวิทยาลัยฟรีภายในระยะเวลา 13 สัปดาห์ และทำ�การแบ่งกลุม่ นักศึกษาออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกทางมหาวิทยาลัยจะส่งข้อความบอกว่าให้สามารถเข้าไปใช้บริการ คลาสออกกำ�ลังกายได้ฟรี กลุ่มที่สองได้รับข้อความพร้อมคลิปวิดีโอและภาพ อินโฟกราฟิกต่างๆ ทีอ่ ธิบายว่าออกกำ�ลังกายแล้วจะส่งผลดีตอ่ ร่างกายอย่างไร และ กลุ่มสุดท้ายไม่ได้รับข้อความใดๆ แต่จัดให้อยู่รวมกันเป็นกรุ๊ปเพื่อนออกกำ�ลังกาย ผ่านโซเชียลมีเดียต่างๆ ผลที่ได้คือแรงจูงใจจากการเห็นเพื่อนๆ โพสต์รูปหรือแสดง ความคิดเห็นที่มีต่อการออกกำ�ลังกายส่งผลให้นักศึกษากลุ่มที่สามเข้าไปใช้บริการ คลาสออกกำ�ลังกายได้ต่อเนื่องที่สุด ในขณะที่ 2 กลุ่มแรกแทบจะไม่มีการเข้าไปใช้ บริการในระยะยาวเลย ผลการทดลองนี้สอดคล้องกับการที่บรรดายิมต่างๆ ในปัจจุบันอย่าง Equinox gyms, Flywheel และ Orange Theory Fitness เริ่มใช้วิธีการให้ข้อมูลในเชิง เปรียบเทียบของผูใ้ ช้บริการแต่ละคนว่าสามารถออกกำ�ลังกายได้กา้ วหน้าในระดับใด เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ใช้บริการคนอื่นๆ โดยมีงานวิจัยจาก Skidmore College และ Union College อธิบายถึงเหตุผลนี้ว่า การรับรู้ข้อมูลความก้าวหน้าของผู้อื่นจะเป็น แรงขับในเชิงการแข่งขันที่จะช่วยกระตุ้นให้คนเรามีแรงลุกขึ้นมาออกกำ�ลังกายได้ มากขึ้น ในขณะที่โจนาธาน เฟดเดอร์ (Jonathan Fader) นักจิตวิทยาการกีฬากลับ ให้ความเห็นว่า การกระตุน้ ให้คนออกกำ�ลังกายโดยใช้พลังการเปรียบเทียบทีพ่ บบ่อย จากโลกโซเชียลไม่อาจใช้ได้ผลกับคนทุกประเภท เพราะบางคนอาจเกิดความคิดและ ความรูส้ กึ ในเชิงตำ�หนิตวั เองว่าไม่สามารถทำ�ได้ดพี อเมือ่ เห็นความก้าวหน้าของผูอ้ นื่ โดยเฉพาะกับเด็กวัยรุ่นที่กำ�ลังอยู่ในช่วงสร้างความมั่นใจให้ตัวเอง ที่มา: บทความ “The Hyper-Competitive, Data-Driven Future of Fitness” (4 พฤศจิกายน 2558) โดย Ashley Ross จาก time.com / บทความ “Could a Social Network Motivate You to Exercise More?” (8 ตุลาคม 2558) โดย Christopher Bergland จาก psychologytoday.com

6l

Creative Thailand

l

ธันวาคม 2558

youthsporttrust.org

ออกกำ�ลังกาย ด้วยพลังแห่งโลกโซเชียล

เสียงสะท้อนเล็กๆ ต่อการออกกำ�ลังกาย

เมือ่ เด็กในเจเนอเรชัน่ ทีเ่ ติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยีลน้ มือเริม่ สับสนและไม่เข้าใจว่า สิ่งไหนคือกีฬาและการออกกำ�ลังกาย อนาคตที่เด็กเหล่านี้จะต้องตกเป็นทาสของ เทคโนโลยีคงอยู่อีกไม่ไกลนัก เพราะผลแบบสอบถามจาก The Youth Sports Trust ทีเ่ ก็บข้อมูลเด็กชาวอังกฤษ จำ�นวน 1,000 คน ในช่วงอายุระหว่าง 5-16 ปี พบว่ามีกว่าร้อยละ 23 ของเด็กๆ ให้ ความเห็นว่าการเล่นเกมคอมพิวเตอร์กับเพื่อนคือการออกกำ�ลังกายรูปแบบหนึ่ง ยิ่งไปกว่านั้น 1 ใน 3 ของเด็กๆ ยังบอกอีกว่าพวกเขาสามารถพูดคุยกับเพื่อนๆ ผ่าน โซเชียลมีเดียได้มากกว่าเมื่อเทียบกับการต้องอยู่ต่อหน้ากัน แต่ในความน่าสะเทือน ใจเหล่านี้ยังคงมีความหวังอยู่ เพราะเด็กๆ กว่าร้อยละ 75 ยังคงชื่นชอบวิชาพละ โดย 2 ใน 3 รู้สึกดีเมื่อได้เล่นกีฬาหรือเป็นส่วนหนึ่งในเกมกีฬา จากผลรายงานนี้ ทำ�ให้รฐั บาลอังกฤษเพิม่ ความตืน่ ตัวในเรือ่ งการออกกำ�ลังกายให้กบั อนาคตของชาติ ด้วยการสนับสนุนงบประมาณกว่า 300 ล้านปอนด์เพื่อพัฒนาหลักสูตรวิชาพละ และการเล่นกีฬาในโรงเรียนให้ทวีความสำ�คัญยิ่งขึ้น โดยงบประมาณส่วนหนึ่ง ลงทุนไปกับการสร้างโปรแกรมออนไลน์ “Skill2Achieve” ให้กับโรงเรียนในอังกฤษ เพื่อช่วยค้นหาความถนัดด้านกีฬา จัดวางแผนกิจกรรม และประเมินความสามารถ ด้านต่างๆ ตามความเหมาะสมให้กับเด็กนักเรียนแต่ละคนเพื่อช่วยให้เด็กนักเรียน เหล่านี้ได้เติบโตอย่างมีพัฒนาการที่สมบูรณ์แข็งแรงครบทุกด้านทั้งร่างกาย จิตใจ ความคิด และการเข้าสังคม ที่มา: บทความ “Young becoming hostages to handheld devices, says charity” (23 มิถุนายน 2558) โดย Hannah Richardson จาก bbc.com / บทความ “New online tool created to track students’ progress in PE and school sport” (2 พฤศจิกายน 2558) จาก youthsporttrust.org


THE SUBJECT ลงมือคิด

forum-media.finanzen.net fashionjournal.com.au

ภาพจำ�ของเจมส์ ดีน ทีใ่ ส่กางเกงยีนส์ปรากฏตัวในภาพยนตร์ตา่ งๆ เป็นทีน่ า่ ประทับ ใจต่อวัยรุ่นที่รักอิสระและต้องการแสดงอัตลักษณ์ในสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี แต่ในยุค นี้กางเกงยีนส์อาจไม่ใช่ไอคอนนั้นอีกต่อไปเมื่อยอดขายกางเกงยีนส์ในสหรัฐฯ กลับ ดิ่งลงอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ในขณะที่กระแสเสื้อผ้าแนวสปอร์ตหรือแฟชั่นแบบ Athleisure กลับสร้างมูลค่าได้กว่า 41 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปีเดียว กระแสแฟชั่นที่เน้นความคล่องตัวแบบ Athleisure ทำ�ให้แบรนด์เสื้อผ้าดัง มากมายเริ่มปรับตัวและปรับลุคผลิตภัณฑ์ใหม่ให้เข้ากับพฤติกรรมของผู้คนมากขึ้น โดยยีนส์ยี่ห้อดังอย่าง Lee, Wrangler และ Levi’s ต่างก็ปรับทรงกางเกงยีนส์ให้ เข้ารูปคล้ายเลกกิ้งหรือกางเกงเล่นโยคะเพื่อให้ผู้ใส่เกิดความรู้สึกทะมัดทะแมงและ ให้ลุคสปอร์ตต่อผู้พบเห็น ในขณะที่มาร์ก ปาร์กเกอร์ (Mark Parker) ซีอีโอแห่ง Nike ออกมาให้ความเห็นว่า เลกกิ้งคือกางเกงยีนส์แบบใหม่ของยุคนี้ ฉะนั้นเสื้อผ้าแนว สปอร์ตเองก็จำ�เป็นต้องปรับลุคให้ทันสมัยเช่นกัน ซึ่งก็สังเกตเห็นได้ไม่ยากจากภาพ ดารา นักร้อง เซเลบต่างๆ ที่ออกมาโชว์ตัวในที่สาธารณะด้วยชุดออกกำ�ลังกายให้ ลุคสวยหล่อแลดูสขุ ภาพดี จนไม่นา่ แปลกใจหากคนธรรมดาอย่างเราๆ จะอยากเป็น เจ้าของชุดแนวสปอร์ตหรือชุดแบบ Athleisure สักชุดแทนกางเกงยีนส์สักตัว และ หากสังเกตคำ�ว่า Athleisure ที่เกิดจากการผสมคำ�ระหว่าง Athlete = นักกีฬา และ Leisure = เวลาว่าง จะพบว่าทั้งสองคำ�นี้ต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพราะนักกีฬาตัวจริง ควรใช้เวลาว่างเล่นกีฬาหรือออกกำ�ลังกาย คำ�ที่ย้อนแย้งกันนี้ได้สะท้อนพฤติกรรม การออกกำ�ลังกายของผูค้ นทีด่ จู ะสวนทางกับความนิยมการสวมใส่เสือ้ ผ้าแนวสปอร์ต เพราะชาวอเมริกันกว่าร้อยละ 68 ยังคงมีนํ้าหนักเกินและอีกกว่าร้อยละ 34 ยังคง ประสบปัญหาโรคอ้วนอยู่

ที่มา: บทความ “Rise of ‘athleisure’ threatens to put jeans out of fashion” (3 ตุลาคม 2558) โดย Rob Walker จาก theguardian.com / บทความ “From Alexander Wang to Beyonce, Everyone’s Doing It: A Look at How Gym-to-Street Became the New Uniform” (28 ตุลาคม 2558) โดย Kristin Tice Studeman จาก vogue.com / รายงาน "Obesity in the U.S." จาก frac.org

forbes.com

ดูดีก่อน ออกกำ�ลังกายทีหลัง

ตัวช่วย ตัวไม่ช่วย

ปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ได้พัฒนาอุปกรณ์ Wearable Technology เช่น Fitbit, Nike FuelBand, Apple Watch ฯลฯ ที่ต่างเป็นตัวช่วยให้ มนุษย์ได้เห็นภาพสุขภาพโดยรวมของตัวเองได้ดียิ่งขึ้น แต่ในอนาคตอันใกล้สายรัด ข้อมือหรือนาฬิกาเหล่านี้จะถูกแทนที่ด้วยเสื้อผ้าอัจฉริยะและอาจก้าวไปอีกขั้นเป็น Digital Tattoo ที่มีชิปฝังบนผิวหนังเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลของร่างกายได้ตลอด 24 ชั่วโมง แต่คำ�ถามคือ คนเรามีการปรับตัวเพื่ออยู่กับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีได้ ดีพอแล้วหรือยัง เพราะเมื่อผลจากการสำ�รวจความพึงพอใจในการใส่ Fitbit จำ�นวน 200 คน จากเว็บไซต์ theconversation.com ได้ออกมารายงานว่า ถึงแม้ผใู้ ช้จะรูส้ กึ พึงพอใจ เมื่อได้ใส่ Fitbit ถึงร้อยละ 89 แต่ในขณะเดียวกันก็เกิดความรู้สึกกดดันถึงร้อยละ 79 เมื่อมี Fitbit คอยเตือนให้ต้องทำ�ตามเป้าหมายตลอดเวลา และร้อยละ 59 รู้สึกว่า ชีวติ ถูกควบคุมโดย Fitbit นอกจากนัน้ หากไม่ได้ใส่จะเกิดความรูส้ กึ ว่ากิจกรรมทีเ่ คย ทำ�ตามปกตินั้นไม่มีค่าถึงร้อยละ 43 เพราะพวกเขาไม่สามารถรับรู้ความก้าวหน้า ของตนเองได้ และขาดแรงจูงใจในการออกกำ�ลังกายลงไปกว่าร้อยละ 22 ผลการ สำ�รวจนี้อาจนำ�ไปสู่การกลับมาทบทวนดูว่า เครื่องมือและเทคโนโลยีต่างๆ ที่กำ�ลัง จะเกิดขึน้ นัน้ สามารถช่วยพัฒนาสุขภาพของมนุษย์ให้ดขี นึ้ หรือจะสร้างความซับซ้อน ให้เรามากขึ้นกันแน่ ที่มา: บทความ “How we discovered the dark side of wearable fitness trackers” (19 มิถุนายน 2558) จาก theconversation.com / บทความ “Fitness trackers: healthy little helpers or no-good gadgets?” (28 กันยายน 2558) โดย Amy Fleming จาก theguardian.com ธันวาคม 2558

l

Creative Thailand

l7


CREATIVE RESOURCE วัตถุดิบทางความคิด

เรื่อง: อำ�ภา น้อยศรี และ ชลดา เจริญรักษ์ปัญญา

FEATURED BOOK THE OLYMPICS THE BASICS โดย Andy Miah และ Beatriz Garcia

8l

Creative Thailand

l

ธันวาคม 2558

ปี 2012 มีผู้ชมการถ่ายทอดกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนที่ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ มากถึง 4,800 ล้านคน ทั่วโลก นี่แสดงให้เห็นถึงการให้ความสำ�คัญกับการ แข่งขันกีฬา ที่มีนักกีฬามากกว่า 10,000 คน จาก 204 ประเทศเข้าร่วมแข่งขันเพื่อหาผู้ที่มีความสามารถ สูงสุดใน 26 ชนิดกีฬา นับเป็นการแข่งขันที่ใหญ่ที่สุด ของโลกและยังเป็นหนึง่ ในเกมทีม่ ปี ระวัตยิ าวนานหลาย พันปี จากหลักฐานจารึกที่โอลิมเปีย กีฬาโอลิมปิกเริ่ม แข่งขันมาตัง้ แต่ยคุ โบราณ ราว 776 ปีกอ่ นคริสต์ศกั ราช ที่วิหารใจกลางโอลิมเปีย มีความเกี่ยวข้องกับศาสนา โดยเป็นการเฉลิมฉลองถวายแก่เทพเจ้ากรีก ต่อมา โอลิมปิกก็ถูกยกเลิก จนเวลาผ่านไปกว่า 2,000 ปี บารอน ปิแอร์ เดอ ดูเบอร์แตง ได้มีความคิดที่จะ จัดการแข่งกีฬานี้ขึ้นอีกครั้ง โดยหารือร่วมกับบุคคล สำ�คัญจากหลายประเทศ จึงได้เริม่ จัดโอลิมปิกยุคใหม่ ขึ้นในปี 1986 บารอน ปิแอร์ เดอ ดูเบอร์แตง ผู้ก่อตั้งคณะ กรรมการโอลิมปิกสากล ต้องการจัดการแข่งขันขึ้นมา อีกครั้ง เนื่องจากมีแนวคิดว่าการแข่งขันนี้จะเป็นการ ฝึกร่างกายและจิตใจ แสดงถึงศักยภาพของมนุษย์ เป็นการเปิด โอกาสให้ ผู้ ค นทั่ ว โลกได้ ม ารวมตั ว กั น โดยไม่จำ�กัดเพศหรือศาสนา เปรียบเสมือนทูตของ แต่ละประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขันเพื่อเชื่อมความ สัมพันธ์ สร้างความเข้าใจ เกิดความร่วมมือและส่งผล ให้เกิดสันติภาพขึ้น จุดมุ่งหมายของการแข่งไม่ใช่ ชัยชนะ แต่เป็น ‘การเข้าร่วม’ ภายในเล่ ม จะกล่ า วถึ ง การเคลื่ อ นไหวของ โอลิมปิกตั้งแต่ยุคโบราณจนถึงปัจจุบัน รวบรวมกรณี ศึกษาที่เคยเกิดขึ้นในการจัดการแข่งขันกว่า 100 ปี

แบ่งเป็นหลายหัวข้อหลัก ตัง้ แต่ตน้ กำ�เนิด การวิเคราะห์ งานโอลิมปิกว่าไม่ใช่แค่การแข่งขันกีฬา แต่ยงั เกีย่ วพัน กับด้านสังคม การศึกษา เศรษฐกิจ จริยธรรม การเมือง และวัฒนธรรม ความเกี่ ย วข้ อ งที่ เ ด่ น ชั ด ข้ อ หนึ่ ง คื อ การเมื อ ง แม้แนวคิดเรือ่ งไม่มกี ารเมือง การแบ่งแยกศาสนา และ การเหยียดเชือ้ ชาติในโอลิมปิก จะปรากฎอยูใ่ นกฎบัตร ของคณะกรรมการ แต่โอลิมปิกก็ถูกใช้เป็นเวทีหนึ่งใน การแสดงอุดมการณ์ทางการเมืองอย่างเข้มข้น เช่น ปี 1936 นาซีเยอรมัน เจ้าภาพการแข่งขันพยายามสร้าง ภาพลักษณ์ของตนต่อสายตาชาวโลกว่ารักสงบ รวมถึง แสดงให้เห็นว่าความสามารถของชนชาติอารยันนั้น เหนือกว่าชนชาติอนื่ ๆ, การควํา่ บาตรของสหรัฐอเมริกา และประเทศพันธมิตรที่ไม่ส่งนักกีฬาเข้าแข่งขันในปีที่ สหภาพโซเวียตเป็นเจ้าภาพ เนื่องจากมีความขัดแย้ง ทางด้านแนวคิดการปกครอง หรือปี 1972 ที่เกิด โศกนาฎกรรมขึ้น เมื่อผู้ก่อการร้ายกลุ่มปาเลสไตน์จับ นักกีฬาอิสราเอลเป็นตัวประกัน เพื่อสร้างข้อเรียกร้อง ทางการเมื อ ง การแข่ ง ขั น เกี่ ย วพั น ทางการเมื อ ง เนื่องจากถูกจับตามองจากทั่วโลก การเป็นเจ้าภาพจึงต้องคำ�นึงถึงรายละเอียดใน ทุกๆ ด้านของการจัดงาน เนื่องจากโอลิมปิกเป็นการ แข่งขันระดับนานาชาติ หลายประเทศมีความอ่อนไหว ทางวัฒนธรรมสูง ประเด็นความขัดแย้งอาจเกิดขึ้นได้ ตลอด การพิจารณาเลือกเจ้าภาพจึงต้องตัดสินผ่าน การลงคะแนนเสียงจากคณะกรรมการโอลิมปิกสากล หลายประเทศร่วมส่งชื่อเพราะการเป็นผู้จัดงานเป็น โอกาสสำ�คัญที่แสดงถึงศักยภาพของการจัดการงาน ขนาดใหญ่ นำ�เสนอประเทศของตนให้เป็นที่รู้จักผ่าน พิธีเปิดที่คนทั่วโลกจับตามองอย่างใกล้ชิด หลาย ประเทศทุ่มทุนหลายพันล้านเหรียญเพื่อปรับปรุงและ พัฒนาด้านต่างๆ ตัง้ แต่ภมู ทิ ศั น์ภายในประเทศ ระบบ การขนส่ ง มวลชนเพื่ อ รองรั บนั ก กี ฬ าและผู้ช มจาก ทั่วโลก การสร้างสนามกีฬาแห่งใหม่ พร้อมทั้งการ จัดการด้านการรักษาความปลอดภัย แม้จะยุง่ ยากและ ใช้งบประมาณมหาศาลแต่ก็เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ อีกทางหนึ่ง และยังเป็นการแสดงความพร้อมที่จะเป็น ผู้นำ�ในเวทีโลก กว่า 100 ปีที่มีการจัดการแข่งขันกีฬา โอลิมปิก มีประเทศและนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขัน มากขึ้ น ทุ ก ปี มหกรรมกี ฬ าที่ ยิ่ ง ใหญ่ นี้ จึ ง มี ค วาม เกี่ยวพันกับชีวิตของเรามาอย่างยาวนาน นับเป็นหนึ่ง ในประวัติศาสตร์สำ�คัญของโลกที่น่าสนใจ


CREATIVE RESOURCE วัตถุดิบทางความคิด

BOOK

MOVIE

DOCUMENTARY

TOUR DE FRANCE: the Complete Book of the World's Greatest Cycle Race

MONEYBALL

TOKYO OLYMPIAD

กํากับโดย Bennett Miller

โดย Kon Ichikawa

คนส่วนใหญ่มักมองหาคุณค่าในสิ่งที่เกินศักยภาพจะ หามาได้ และมักหลงลืมที่จะพิจารณาสิ่งที่มีอยู่ว่ามี ข้อดีหรือสามารถนำ�ประโยชน์ออกมาใช้ให้คุ้มค่าได้ อย่างไร Moneyball แสดงให้เห็นการบริหารการกีฬา แบบนอกกรอบ ใช้การคำ�นวณ การวิเคราะห์ทางสถิติ การจั ด การทรั พ ยากรอั น มี จำ�กั ด ซึ่ ง เป็ น หลั ก การ พื้นฐานของเศรษฐศาสตร์ มาประยุกต์ใช้ วิเคราะห์ ข้ อ ได้ เ ปรี ย บและความคุ้ ม ค่ า ที่ จ ะต้ อ งพิ จ ารณา สินทรัพย์ (นักกีฬา) ที่ให้ความคุ้มค่าต่อการลงทุนใน งบประมาณทีจ่ ำ�กัด และยังมีประเด็นความขัดแย้งของ ทัศนคติความเชือ่ ของคนรุน่ เก่าทีย่ ดึ ถือ ‘ ประสบการณ์” มาตัดสินให้คุณค่าว่าสิ่งไหนคือสิ่งที่เหมาะสมและ ถูกต้อง กับคนอีกรุ่นหนึ่งที่นำ�สถิติเป็นพื้นฐานในการ ตัดสินใจ ว่าอะไรคือข้อได้เปรียบและคุม้ ค่ากว่าโดยไม่ ปะปนด้วยอารมณ์และอคติ บิลลี่ บีน (Billy Beane) รู้ ซึ้ ง ดี เ พราะเขาเคยตกอยู่ ใ นภาวะเช่ น นั้ น มาก่ อ น การพาทีมให้หนีรอดจากทีมท้ายตาราง เป็นภารกิจ หนักอึง้ ทีเ่ ขาต้องจัดการ การเปลีย่ นแปลงครัง้ นีเ้ ป็นการ ประกาศสงครามเล็กๆ ต่อความเชือ่ ของคนรุน่ เก่า และ พิสูจน์ทฤษฎีใหม่ที่เขาเชื่อมั่นให้ทุกคนยอมรับ

ดินแดนอาทิตย์อทุ ยั ใช้ชว่ งระยะเวลาหลายปีหลังสงคราม โลกครัง้ ที่ 2 หลบซ่อนตัวเองอยูห่ ลังม่านเมฆ โดยค่อยๆ ฟื้นฟูประเทศจากความเสียหาย พร้อมเปิดประเทศให้ คนทัว่ โลกได้ชนื่ ชมศักยภาพและความพร้อมในด้านต่างๆ ตั้งแต่ทศวรรษ 1950 ผู้บริโภครู้จักสมบัติ 3 สิ่งของการ ใช้ชีวิตในบ้าน (โทรทัศน์ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า) เมื่อถึง ทศวรรษ 1960 ก็มีสมบัติ 3 สิ่งชุดใหม่ คือ เครื่องปรับ อากาศ รถยนต์ และโทรทัศน์สี และในปี 1964 นอกจาก จะเปิดตัวรถไฟหัวกระสุน (Shinkansen) ที่มีความเร็ว สูงสุดแล้ว ญี่ปนุ่ ยังได้รบั ความไว้วางใจให้เป็นเจ้าภาพ โอลิมปิกฤดูร้อน เท่ากับเป็นการตอกยํ้าความยิง่ ใหญ่ ทางด้านเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าด้านสถาปัตยกรรม เทคโนโลยีและพัฒนาการด้านกีฬาของญี่ปุ่น สารคดี เรือ่ งนีเ้ ล่าเรือ่ งอย่างเรียบง่าย ตรงไปตรงมา เสนอภาพ บรรยากาศของพิธเี ปิดและปิด การเฉลิมฉลองระหว่าง เส้นทางรอบเมือง ภาพบรรยากาศการแข่งขันทีส่ วยงาม พร้อมมุมกล้องทีไ่ ม่หวือหวา สีหน้าและรอยยิม้ ต้อนรับ อย่างเต็มใจของเจ้าภาพ บาดแผลจากสงครามทีย่ งั คง เหลือร่องรอยไว้เป็นฉากหลังเป็นเพียงสิง่ เตือนใจให้ชาว ญี่ปุ่นและชาวโลกรับรู้ การยอมรับความจริงและนํ้าใจ นักกีฬาเป็นสิ่งที่ช่วยผลักดันให้ญี่ปุ่นก้าวผ่านอดีตอัน เลวร้ายและพัฒนาประเทศให้กา้ วไปข้างหน้า หลังจาก จบกีฬาโอลิมปิกในปี 1964 คนทั่วโลกรับรู้ว่าผู้นำ�ทาง เศรษฐกิจได้ประกาศตัวให้โลกเห็นแล้ว

โดย Marguerite Lazell

จากจุดเริ่มต้นเล็กๆ ในปี 1903 ปัจจุบัน Le Tour de France ขึ้นชื่อว่าเป็นการแข่งขันจักรยานทางไกลที่ ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก เป็นเป้าหมายของนักปั่นจักรยาน อาชีพหลายคนทีต่ อ้ งการถูกจารึกชือ่ ในหน้าประวัตศิ าสตร์ ของการแข่งขันจักรยานที่มีชื่อเสียงและจัดต่อเนื่อง ยาวนานกว่าร้อยปี ผลที่ได้รับนอกเหนือจากชื่อเสียง ทางด้านแข่งขันกีฬาจักรยานแล้ว สถิตใิ หม่ๆ ยังเกิดขึน้ มากมาย เส้นทางการแข่งขันแต่ละช่วง (Stage) ถูก ปรับเปลี่ยนเพื่อให้คนทั่วโลกได้เห็นภูมิประเทศอัน สวยงามในแต่ละช่วงของเส้นทาง สาธารณูปโภคด้าน ต่างๆ ได้รับการพัฒนาและปรับปรุงทุกปีเพื่อรองรับ นักกีฬาและผู้ชมการแข่งขัน รวมถึงการออกแบบ พัฒนาประสิทธิภาพจักรยานและเครื่องแบบนักกีฬา (Jersey) สำ�หรับใช้บอกสถานะและจัดอันดับของผูเ้ ข้าร่วม ช่วงระยะเวลาที่มกี ารแข่งขัน ชาวฝรัง่ เศสและเพื่อนบ้าน จากประเทศใกล้เคียงมักให้ความสนใจและร่วมลุ้นไป ตลอดทัง้ สองฝัง่ เส้นทางทีน่ กั ปัน่ แล่นผ่าน นักท่องเทีย่ ว จากทัว่ โลกทีเ่ ดินทางไปร่วมชมการแข่งขันแบบชิดขอบ สนาม และอีกกว่าล้านที่ชมการแข่งขันผ่านรายการ ถ่ายทอดสดที่บ้าน พบกับวัตถุดบิ ทางความคิดเหล่านีไ้ ด้ที่ TCDC Resource Center

ธันวาคม

l

Creative Thailand

l9


MATTER วัสดุต้นคิด

เรื่อง: ชมพูนุท วีรกิตติ และ ปิยวรรณ กลิ่นศรีสุข

Nike สร้างความน่าเชื่อถือและมีจุดยืนเรื่องการเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อมมายาวนาน ล่าสุดจึงได้สร้างสรรค์แอพพลิเคชันที่ชื่อว่า "Making" เพื่อช่วยให้นักออกแบบได้รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับวัสดุต่างๆ โดย เฉพาะข้อมูลในแง่ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยหวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะ เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจเลือกใช้วัสดุสำ�หรับผลิตภัณฑ์ของแต่ละคน รวมถึงการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภคด้วยเช่นกัน แอพพลิเคชัน "Making" มีข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมที่นักออกแบบนิยม เลือกใช้งาน โดยดึงข้อมูลมาจาก Material Sustainability Index (MSI) ที่ Nike พัฒนาขึ้น ทั้งนี้ MSI มาจากการค้นหาข้อมูล วิจัย และวิเคราะห์มา นานกว่า 8 ปี เป็นตัวชี้วัด Cradle-to-Gate (เส้นทางของวัตถุดิบจากจุด เริม่ ต้นจนถึงประตูโรงงาน) โดยการประเมินวัฏจักรชีวติ ผลิตภัณฑ์จากคลัง สินค้าถึงทีมออกแบบผลิตภัณฑ์ รวมทั้งห่วงโซ่อุปทานที่เกี่ยวข้องทั่วโลก โดยเฉพาะเรื่องความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าและ รองเท้า ในปี 2012 MSI ได้รับการยอมรับโดย Sustainable Apparel Coalition (SAC) และรวมเข้ากับ Higg Index ที่ใช้เป็นเครื่องมือในการ วัดผลกระทบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าและรองเท้า ด้วยเช่นกัน 10 l

Creative Thailand

l

ธันวาคม 2558

วัสดุทุกชนิดในแอพพลิเคชันจะมีคะแนนที่เชื่อมโยงกับผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อม 4 ประการ คือ 1. สารเคมี 2. การใช้พลังงานและปริมาณ ก๊าซเรือนกระจก 3. ผลเสียที่มีต่อนํ้าและดิน 4. ขยะจากวัสดุที่เลือกใช้ ถ้าวัสดุได้คะแนนสูงหมายความว่าวัสดุชนิดนั้นเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มากกว่า ตัวอย่างวัสดุที่มีการให้ข้อมูลในแอพพลิเคชัน เช่น สารเติมแต่ง (Mineral Filler) ยางธรรมชาติ ขนเป็ด เหล็กกล้า คาร์บอน เส้นใยแก้ว โพลีโพรพิลีน โพลีไวนิลแอลกอฮอล์ เป็นต้น และถ้าหากเลือกวัสดุที่ทำ� จากวัสดุรไี ซเคิลและออร์แกนิกก็จะเพิม่ คะแนนให้สงู ยิง่ ขึน้ ข้อมูลของวัสดุ แต่ละชนิดประกอบด้วยการใช้งานทัว่ ไป คุณสมบัตพิ เิ ศษต่างๆ แหล่งทีม่ า และยังมีขอ้ มูลแนะนำ�วิธกี ารทีจ่ ะช่วยลดผลกระทบต่อสิง่ แวดล้อมด้วยการ ออกแบบว่าทำ�อย่างไร โดยสามารถเปรียบเทียบข้อมูลคุณลักษณะด้าน สิ่งแวดล้อมของวัสดุที่เลือกได้อีกด้วย "Making" แอพพลิเคชันได้ออกแบบให้เป็นเครือ่ งมือสำ�หรับนักออกแบบ และผู้สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์โดยเฉพาะ ที่สามารถค้นหาข้อมูลของแต่ละ วัสดุได้ง่ายและนำ�ไปใช้ได้จริง โดย ฮันนาห์ โจนส์ (Hannah Jones) รองประธานด้านธุรกิจและการสร้างสรรค์อย่างยั่งยืนของ Nike กล่าวว่า “นักออกแบบเป็นจุดเริ่มต้นของทุกอย่าง ถ้าเราให้ความรู้กับนักออกแบบ เพือ่ ทีจ่ ะเลือกสิง่ ทีด่ กี ว่า ในทีส่ ดุ นักออกแบบจะทำ�ให้เกิดการเปลีย่ นแปลง อุตสาหกรรมทั้งหมด” งานนี้จึงนับเป็นงานท้าทายที่ใหญ่ที่สุดของ Nike ที่ น่าจะเป็นการพยายามตอบโจทย์พนั ธสัญญาด้านสิง่ แวดล้อม พร้อมไปกับ การพยายามคงคุณภาพและสมรรถนะของผลิตภัณฑ์ไว้ดว้ ยนวัตกรรมและ ความคิดสร้างสรรค์ในทุกระดับของบริษัท อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมของ MSI ได้ที่ msi.apparelcoalition.org ที่มา: บทความ “Does Nike's New Making App Place Sustainability at the Forefront of Design?” จาก theguardian.com / บทความ “Nike Launches New App to Help Designers Make Eco-Friendlier Choices” จาก ecouterre.com


หมดปญหาหยิบนิตยสารไมทัน สมัครสมาชิกรายป คาใชจายในการจัดสง 200 บาท (12 เลม) หรือสมัครออนไลนไดที่ tcdc.or.th/creative_thailand

ขอมูลผูสมัครสมาชิก Hydroskin (MC# 4688-01) วัสดุลํ้าสมัยเนื้อเนียนบางและเป็นฉนวนชั้นดีผลิตขึ้นสำ�หรับชุดกีฬา ทางนํ้า ผ้าฉนวนนี้มี 4 ชั้น ประกอบด้วย ชั้นของนีโอพรีน หนา 0.5 มม. ชั้นกาวไทโคท (TiCoat) ซึ่งมีส่วนผสมของผงไทเทเนียมช่วย สะท้อนความร้อนกลับเข้าสู่ร่างกาย แบ่งเป็น 2 ชั้น คือ ชั้นไมโครพลัช (MicroPlush) ที่ให้สัมผัสนุ่ม และชั้นนอกสุดเป็นผ้ายืดพาวเวอร์สแปน (PowerSpan) 4 ทิศทางที่ช่วยให้เคลื่อนไหวสะดวกและไม่ยับย่น มี จำ�หน่ายเป็นแผ่นขนาด 42 นิ้ว x 82 นิ้ว ให้ความอบอุ่นได้ดีกว่าแผ่น นีโอพรีนทีห่ นา 4 มม. และถูกพัฒนาเพือ่ ใช้ในนํา้ ทีม่ อี ณุ หภูมติ า่ํ โดยเฉพาะ

สมาชิกใหม ชื่อ นามสกุล เพศ โทรศัพท

สมาชิกเกา (ตองการตออายุสมาชิก) หญิง อายุ

ชาย

อีเมล

โทรศัพทมือถือ

อาชีพ นักเรียน ครู/อาจารย

นิสิต/นักศึกษา พนักงานบริษัท

นักออกแบบ/ครีเอทีฟ ผูประกอบการ

อาชีพอิสระ อื่นๆ โปรดระบุ

ขาราชการ/รัฐวิสาหกิจ

สาขา/อุตสาหกรรมที่เกี่ยวของกับอาชีพของทาน โฆษณา สถาปตยกรรม แฟชั่น ศิลปะการแสดง ดนตรี ภาพยนตร โทรทัศน/วิทยุการกระจายเสียง

ทองเที่ยว/โรงแรม/สายการบิน วรรณกรรม/การพิมพ/สื่อสิ่งพิมพ พิพิธภัณฑ/หองแสดงงาน ซอฟตแวร/แอนิเมชัน/วิดีโอเกม

หัตถกรรม/งานฝมือ การเงิน/ธนาคาร ทัศนศิลป/การถายภาพ อื่นๆ โปรดระบุ

อาหาร การแพทย การออกแบบ

คาปลีก/คาสง โทรคมนาคม

ที่อยูในการจัดสง Silvadur™ Plastic (MC# 7188-01) การตกแต่งซิลเวอร์ต้านจุลินทรีย์สำ�หรับสิ่งทอ ผลิตโดยใช้ระบบนำ�ส่ง ซิลเวอร์ดว้ ยโพลิเมอร์อนิ ทรียท์ เี่ ป็นกรรมสิทธิเ์ ฉพาะเพือ่ ให้ปล่อยซิลเวอร์ อิออนออกมาเฉพาะเวลาที่มีแบคทีเรียไม่พึงประสงค์เท่านั้น วิธีนี้ช่วย ลดจุดอ่อนของการตกแต่งซิลเวอร์เดิมในเรื่องการสลายตัว การทำ�ให้ ผ้าเปลีย่ นสี ความไม่คงทน ความไม่สมํา่ เสมอ รวมทัง้ การทีไ่ ม่สามารถ ตรวจสอบในขั้นตอนของห่วงโซ่อุปทานได้ ซึ่งกระบวนการตกแต่งนี้ มีประสิทธิภาพดีกว่าในเรื่องการใช้งาน ประกอบด้วยซิลเวอร์อิออนที่ ละลายนํา้ ได้ แตกต่างจากการตกแต่งซิลเวอร์ทว่ั ไปทีเ่ ป็นอนุภาคโลหะหรือ เกลือซิลเวอร์ซึ่งไม่ละลายนํ้า ทั้งยังใช้ปริมาณของซิลเวอร์ตํ่ากว่าปกติ ถึงร้อยละ 60 มีโครงสร้างแบบโพลิเมอร์ที่ยึดเกาะกับผิวเส้นใยและจับ ซิลเวอร์อิออนไว้ และปล่อยออกมาเมื่อพบว่ามีจุลินทรีย์ไม่พึงประสงค์ เกิดขึ้น เช่น ทำ�ให้เกิดกลิน่ อับ เปลี่ยนสี หรือการเสื่อมสภาพของสิง่ ทอ เมือ่ ทำ�ปฏิกริ ยิ าจนหมดจึงค่อยส่งอิออนชุดใหม่ออกมาเมือ่ จำ�เป็น มีความ ทนทาน คงประสิทธิภาพได้แม้ผา่ นการซักมากกว่า 50 ครัง้ ไม่หลุดล่อน หรือเสือ่ มสภาพทีค่ วามร้อนสูงหรือเมือ่ สัมผัสกับสารฟอกขาว ไม่เปลีย่ น สีผา้ ทีเ่ คลือบ และไม่มผี ลต่อรูปลักษณ์ ผิวสัมผัส หรือการระบายอากาศ ของเนื้อผ้า เหมาะสำ�หรับทำ�ชุดกีฬาและชุดออกกำ�ลังกาย ชุดปฏิบัติ การทางการแพทย์ ผ้าเดนิม ชุดชั้นใน ถุงเท้า รองเท้า เบาะ ผ้านวม ขนเป็ด ผ้าบุ ของตกแต่ง ผ้าเช็ดตัว เครื่องนอน พรม และม่าน พบกับวัสดุต้นคิดเหล่านี้ได้ที่ Material ConneXion® Bangkok, TCDC

หมูบาน/บริษัท เลขที่ จังหวัด

ซอย

ถนน รหัสไปรษณีย

หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง

อำเภอ/เขต

หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง

อำเภอ/เขต

ที่อยูในการออกใบเสร็จ เหมือนที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ ซอย จังหวัด

ถนน รหัสไปรษณีย

ตองการสมัครสมาชิกนิตยสาร Creative Thailand ระยะเวลา 1 ป จำนวน 12 เลม เริ่มตั้งแตฉบับเดือน โดยยินดีเสียคาใชจายในการจัดสงเปนจำนวนเงิน 200 บาท

วิธีการชำระเงิน เช็คสั่งจายศูนยสรางสรรคงานออกแบบ พรอมใบสมัครสมาชิก โอนเงินเขาบัญชีออมทรัพย ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ เลขที่บัญชี 101-808967-0 ธนาคารกรุงเทพ สาขาสำนักงานใหญสีลม • แฟกซใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่ 02-664-7670 • หรือสงไปรษณียมาที่ ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (Creative Thailand) 622 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอรชั้น 24 ถนนสุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 • หรือแนบไฟลใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่อีเมล creativethailand@tcdc.or.th สอบถามขอมูลเพิ่มเติมไดที่ 02-664-7667 ตอ 122


CLASSIC ITEM คลาสสิก

เรื่อง: นันท์นรี พานิชกุล

วิชาพลศึกษาเมือ่ สมัยยังเด็กคือโอกาสแรก (และโอกาสเดียวสำ�หรับใครหลายๆ คน) ในการเรียนรู้ ทดลอง และทำ�ความรูจ้ กั กับชนิด กีฬาที่แตกต่างและหลากหลาย ซึ่งบ่อยครั้งได้พัฒนาไปเป็นความหลงใหลและการฝึกฝนกีฬานั้นๆ อย่างต่อเนื่องต่อมาเมื่อเติบโต การเรียนรู้ที่จะออกกำ�ลังกายและเล่นกีฬาชนิดต่างๆ ไม่เพียงมีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายด้วยการเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง และยืดหยุ่นเท่านั้น หากยังบำ�รุงกำ�ลังใจและช่วยพัฒนามนุษยสัมพันธ์ รวมทั้งทักษะในการอยู่ร่วมกันในสังคม อันจะสร้างให้เกิดเป็น ความฉลาดทางอารมณ์ องค์ประกอบสำ�คัญในการสร้างสรรค์สังคมที่มีคุณภาพ

12 l

Creative Thailand l ธันวาคม 2558


CLASSIC ITEM คลาสสิก

ความเป็นมาของวิชาพลศึกษาสืบย้อนไปไกลได้ถงึ การมีอยู่ของสังคมมนุษย์ ในแหล่งอารยธรรมลุ่ม แม่นํ้าโบราณทั้งในอียิปต์ จีน หรืออินเดีย ต่างมี ประเพณี ก ารออกกำ�ลั ง และการศึ ก ษาวิ ช าการ เคลือ่ นไหวของร่างกายเพือ่ ฝึกฝนและเตรียมพร้อม อยู่เสมอผ่านการเล่นกีฬา การฝึกซ้อมยุทธวิธีการ รบและการสงคราม รวมถึงศิลปะการป้องกันตัว ซึ่งมีพัฒนาการมาจากการฝึกฝนทักษะการเอา ตัวรอดในโลกยุคดึกดำ�บรรพ์ เช่น การล่าสัตว์หรือ การเอาตัวรอดจากสัตว์ร้ายและสัตว์นักล่า

theredish.com

ชาวกรีกโบราณเป็นชนชาติแรกที่ใช้การออกกำ�ลัง ในรู ป แบบการยื ด หยุ่ น ร่ า งกายเพื่ อ พั ฒ นาและ สร้างสมดุลทั้งร่างกายและจิตใจ ซึ่งกลายมาเป็น รากฐานของการศึ ก ษาและวางหลั ก สู ต รวิ ช า ยิมนาสติ ก ในเยาวชน ฟรี ดริ ช ลุ ดวิ ก จาห์ น (Friedrich Ludwig Jahn) นักการศึกษาด้าน ยิมนาสติกชาวเยอรมันในคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นผู้แรกที่ก่อตั้งโรงเรียนวิชายิมนาสติกสำ�หรับ เด็กในเยอรมนีในปี 1811 ด้วยความเชือ่ มัน่ ว่าสังคม ที่ดีสร้างขึ้นได้จากการวางรากฐานและมาตรฐาน ทางการศึกษาในวิชาการออกกำ�ลังกาย

เมื่อถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 วิชายิมนาสติกได้ พั ฒ นาไปเป็ น วิ ช าพลศึ ก ษาแบบสมั ย ใหม่ ต าม ขบวนการเน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง (Child-initiated Movement) จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) นักปฏิรปู การศึกษาชาวอเมริกัน เป็นนักคิดคนสำ�คัญใน ขบวนการดังกล่าว ซึง่ เชือ่ ว่าการเรียนรูว้ ชิ าพลศึกษา ในโรงเรียนผ่านการเรียนการสอนทีเ่ น้นให้เด็กๆ ได้ ทำ�กิจกรรมผ่านการเคลื่อนไหวและการละเล่นถือ เป็นเรือ่ งสำ�คัญในพัฒนาการทัง้ ด้านร่างกาย จิตใจ และสุขภาวะของเด็กๆ

ในประเทศไทย หลวงศุภชลาศัย ร.น. (บุง ศุภชลาศัย) อธิบดีกรมพลศึกษาท่านแรกซึ่งได้รับการแต่งตั้ง ให้ดำ�รงตำ�แหน่งในปี พ.ศ. 2477 เป็นผู้บุกเบิก เรือ่ งพลศึกษา ซึง่ เน้นไปยังการใช้วชิ าพลศึกษาเพือ่ สร้างสรรค์เยาวชนให้มีพลานามัยแข็งแรงเพื่อ เป็นกำ�ลังสำ�คัญในการสร้างชาติและบ้านเมือง จาก การสร้างสมดุลระหว่างจิตใจ ร่ายกาย และความ ประพฤติ

หนึ่งในหัวใจของวิชาพลศึกษาคือการเรียนรู้ผ่าน การปฏิบัติ เครื่องแบบและการแต่งกายที่ช่วยให้ ร่างกายเคลื่อนไหวได้คล่องแคล่วจึงเป็นสิ่งจำ�เป็น โดยมากจะเป็นเสื้อขาวและกางเกงวอร์มขาสั้นใน ชั้นประถมศึกษา เสื้อสีประจำ�โรงเรียนและกางเกง วอร์มขายาวในชั้นมัธยมศึกษา ชุดพละหลากสีสัน ทั้ง แดง เหลือง ฟ้า เขียว ฯลฯ ซึ่งได้กลายเป็น จุดเด่นและจุดสังเกตบอกสังกัดของนักเรียนไทย เช่ น ทุ ก วั น นี้ เป็ น ไปตามระเบี ย บกระทรวง ศึกษาธิการว่าด้วยเครื่องแบบนักเรียน พ.ศ. 2551 ข้อ 15 ซึ่งให้สถานศึกษาเป็นผู้กำ�หนดรูปแบบของ ชุดโดยคำ�นึงถึงความประหยัดและความเหมาะสม เป็นหลัก

พื้ น ที่ อ อกกำ�ลั ง กายก็ เ ป็ น หนึ่ ง ในองค์ ป ระกอบ สำ�คัญในการเรียนการสอนวิชาพลศึกษา โดยโรงยิม เอกชนในร่มสำ�หรับเด็กและเยาวชนแห่งแรกถือ กำ�เนิดขึ้นในเยอรมนีในปี 1852 ก่อนที่ขบวนการ เทอร์เนอร์ (Turner Movement) ในสหรัฐอเมริกา จะทำ�ให้พื้นที่ในร่มเพื่อการกีฬาโดยเฉพาะเช่นนี้ เป็นทีแ่ พร่หลายไปทัว่ โลก เมือ่ กลุม่ เทอร์เนอร์รเิ ริม่ จัดสร้างโรงยิมในร่มสำ�หรับเด็กและผู้ใหญ่ตาม หัวเมืองต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา

ทักษะทางสังคมและการทำ�งานเป็นหมู่คณะยัง เสริมสร้างได้จากวิชาพลศึกษา เมื่อเด็กๆ ได้เรียนรู้ การเล่นกีฬาที่ออกแบบมาให้เล่นเป็นทีม ไม่ว่าจะ เป็นบาสเกตบอล วอลเลย์บอล ฟุตบอล เบสบอล ฯลฯ นอกจากนี้ พลศึกษายังสอนให้รจู้ กั จัดการกับ อารมณ์ความรู้สึกซึ่งเป็นปัจจัยสำ�คัญในการสร้าง สมดุลทางสุขภาวะ ผ่านการคิดค้นการแข่งขันและ เกมกีฬาที่กฎและกติกาในการแพ้ชนะได้รับการ ออกแบบมาให้ผเู้ ล่นได้เผชิญหน้ากับอารมรณ์ความ รู้สึกที่หลากหลาย ทั้งความคาดหวัง ผิดหวัง โกรธ เสียใจ หรือดีใจ

ที่มา: บทความ “ประวัติสนามศุภชลาศัยกีฑาสถานแห่งชาติ” จาก chula-alumni.com / พระราชบัญญัตเิ ครือ่ งแบบนักเรียน พ.ศ. 2551 / ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยเครือ่ งแบบนักเรียน พ.ศ. 2551 / บทความ “Century of the Child-Growing by Design 1900-2000” จาก moma.org / บทความ “Physical Education” จาก newworldencyclopedia.org / บทความ “The History of Physical Education (Book Chapter)” จาก academia.edu / บทความ “The Physical Activity Handbook Preschoolers” จาก imagineeducation.com.au ธันวาคม 2558

l

Creative Thailand

l 13


COVER STORY เรื่องจากปก

ไม่มีใครอยากกลับไปลำ�บาก เรามา ไกลถึงจุดที่ความสะดวกสบายจาก อุ ป กรณ์ แ ละเครื่ อ งใช้ ต่ า งๆ เป็ น พืน้ ฐานคุณภาพชีวติ แต่ชวี ติ ทีเ่ ต็ม ไปด้วยสิง่ อำ�นวยความสะดวกทำ�ให้ เราเคลือ่ นไหวร่างกายน้อยลงอย่าง น่าตกใจ หลายล้านคนรู้ตัว แต่อีก หลายพันล้านคนกำ�ลังกลายเป็น เป้ า หมายที่ รั ฐ ต้ อ งยื่ น มื อ เข้ า มา ช่วยเหลือ เพราะคนเหล่านีเ้ กีย่ วพัน ถึ ง ความมั่ น คงของทรั พ ยากร มนุษย์และเป็นตลาดขนาดใหญ่ใน อนาคต

เรื่อง: มนฑิณี ยงวิกุล

14 l

Creative Thailand

l

ธันวาคม 2558


Proportion of Total Population Overweight (%)

ในปี ค.ศ. 2020 รัฐบาลของประเทศสมาชิก องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและ การพัฒนา (Organization for Economic Co-operation and Development - OECD)* ซึ่ ง ส่ ว นใหญ่ อ ยู่ ใ นยุ โ รปกำ�ลั ง เผชิ ญ หน้ า กั บ ปัญหาผู้มีนํ้าหนักเกินหรือโรคอ้วนที่มีอัตราการ เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดตั้งแต่ปี 2000 ที่โลก เข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มตัว สาเหตุ สำ�คั ญ ของโรคอ้วนมาจากความ ไม่สมดุลระหว่างพลังงานทีถ่ กู ใช้ไปกับพลังงาน ทีไ่ ด้รบั จากอาหาร ซึง่ ก่อนหน้าทีโ่ ลกจะเข้าสูว่ ถิ ี ดิ จิ ทั ล นั้ น ความก้ า วหน้ า ของเทคโนโลยี แ ละ การขยายตัวของสังคมเมืองก็เป็นเหตุสำ�คัญที่ ทำ�ให้ความไม่สมดุลนีเ้ กิดขึน้ อย่างช้าๆ จากการ ขยายบริการไฟฟ้าที่ทำ�ให้ผู้คนสามารถเข้าถึง เครื่องใช้ไฟฟ้าและสิ่งอำ�นวยความสะดวกที่ ทยอยลดทอนการเคลื่ อ นไหวของเราอย่ า ง ต่อเนื่อง ตั้งแต่งานพื้นฐานในบ้านที่มีเครื่อง ซักผ้า อุปกรณ์สำ�หรับเตรียมอาหารและเตา ไมโครเวฟสำ�หรับอุ่นอาหารแช่แข็งที่ผ่อนแรง ของแม่ บ้ า น และลั ก ษณะของการทำ�งานที่ เปลีย่ นไปจากการการใช้แรงงานมาสูเ่ ครือ่ งจักร และเครื่องทุ่นแรงในทุกอุตสาหกรรมไม่เว้นแม้

thehoopla.com.au

COVER STORY เรื่องจากปก

กระทั่งเกษตรกรก็ยังมีเวลานั่งทำ�งานมากขึ้น และการเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจที่ทำ�ให้งาน ในภาคบริการมีจำ�นวนเพิ่มขึ้น โดยข้อมูลจาก สมาคมหัวใจแห่งอเมริกา (American Heart Association) ระบุวา่ นับตัง้ แต่ปี ค.ศ. 1950 งาน นั่ ง โต๊ ะ ได้ เ ข้ า มามี บ ทบาทในการจ้ า งงานใน สหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 83 ส่วนงานที่มี การเคลือ่ นไหวในภาคการผลิตลดลงเหลือไม่ถงึ ร้อยละ 20 ของกำ�ลังแรงงานทั้งหมด ความซับซ้อนของสังคมเมืองและเทคโนโลยี ดิจิทัลในปัจจุบันเป็นเหมือนตัวเร่งให้อัตราการ

OECD Obesity Trends and Projections, 1970-2020

ธงชาติจากบนลงล่าง : สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย สเปน แคนาดา ออสเตรีย อิตาลี ฝรัง่ เศส สาธารณรัฐเกาหลี

เคลื่ อ นไหวร่ า งกายของคนลดน้ อ ยถอยลง ด้วยบริการจัดส่งสินค้าถึงบ้าน การเรียนการสอน ที่บ้าน (Home School) ที่ทำ�ให้เด็กไม่ต้อง เดินทางไปโรงเรียน หรือแม้กระทั่งค่านิยมใน การแข่งขันเพื่อความเป็นเลิศด้านการศึกษาใน โลกยุคใหม่ทำ�ให้วิชาพลศึกษากลายเป็นวิชา รั้ ง ท้ า ยเพราะเวลาส่ ว นใหญ่ ถู ก ใช้ ไ ปกั บ การ นั่งท่องตำ�รา รวมทั้งไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไปสู่ การสังสรรค์ด้วยอาหารมื้อใหญ่ ความชื่นชอบ หลากหลายเมนูของว่างและเครื่องดื่มที่ มีรส หวาน รวมถึงการติดต่อสื่อสารด้วยข้อความ ออนไลน์แทนที่ไปรษณีย์หรือการเดินทางไปมา หาสู่กัน แม้วา่ จะมีกระแสรักสุขภาพและการโจมตี อาหารไซส์ใหญ่ของบรรดาฟาสต์ฟู้ดที่มีส่วน ผลักดันให้อุตสาหกรรมอาหารต่างๆ พากัน พัฒนาเมนูแคลอรีต่ าํ่ ออกมาเป็นทางเลือกให้กบั ผู้บริโภคมากขึ้น แต่ก็อาจจะเป็นเหมือนการ ตบมือข้างเดียวเพราะถ้าหากปราศจากการ เคลื่อนไหวอย่างเช่นการเดินขึ้นบันไดหรือการ ทำ�งานบ้านเล็กๆ น้อยๆ อาทิ การล้างจานที่ใช้ พลังงานแค่ 10 แคลอรี่แต่กลับมีส่วนในการ รักษานํา้ หนักครึง่ กิโลกรัมให้คงทีไ่ ด้ทงั้ ปี การกิน อาหารว่างเป็นธัญพืชแบบแท่งที่ให้พลังงานแค่ 170 แคลอรี่ ก็อาจจะดูเกินไปด้วยซํ้า

*

OECD ประกอบด้วยสมาชิก 34 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย ออสเตรีย เบลเยียม แคนาดา ชิลี สาธารณรัฐเช็ก เดนมาร์ก เอสโตเนีย ฟินแลนด์ ฝรัง่ เศส เยอรมนี กรีซ ฮังการี ไอซ์แลนด์ ไอร์แลนด์ อิสราเอล อิตาลี ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี ลักเซมเบิรก์ เม็กซิโก เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ นอร์เวย์ โปแลนด์ โปรตุเกส สโลวาเกีย สโลเวเนีย สเปน สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ ตุรกี สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา และ 1 องค์กร คือสหภาพยุโรป ธันวาคม 2558

l

Creative Thailand

l 15


COVER STORY เรื่องจากปก

จากรายงานของกระทรวงวัฒนธรรม สื่อ และกี ฬ าของสหราชอาณาจั ก รระบุ ว่ า การ เคลื่อนไหวร่างกายน้อยกว่าเกณฑ์ที่กำ�หนด (Inactive) เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตในอัตรา เดียวกับการสูบบุหรี่ เพราะเป็นสาเหตุใหญ่ อันดับ 4 ที่ทำ�ให้เกิดโรคต่างๆ โดยคาดว่าใน อังกฤษมีประชากร 1 ใน 4 ที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม อินแอคทีฟ หรือกลุ่มที่ไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำ�หนด ให้มกี ารเคลือ่ นไหวทางกายภาพ (ทีไ่ ม่ใช่แค่การ เล่นกีฬา) เป็นเวลาอย่างตํ่า 30 นาที 5 วันต่อ สัปดาห์ ซึง่ เป็นกลุม่ เสีย่ งทีจ่ ะเกิดโรคและการป่วย ทางจิตที่นำ�สู่การใช้ยาเสพติดและแอลกอฮอล์ ในขณะที่คำ�แนะนำ�ในการลดความเสี่ยง จากโรคต่างๆ ของรัฐบาลออสเตรเลียที่กำ�หนด ให้มีการเคลื่อนไหวร่างกายที่มีความเข้มข้น ระดับปานกลางที่ทำ�ให้หัวใจเต้นเร็วขึ้นและ เหงือ่ ออกได้แก่ การเดินเร็ว ปัน่ จักรยานบนทาง เรียบ หรือการตัดหญ้า ให้ได้เป็นเวลาครึง่ ชัว่ โมง ทุกวันนั้น จากการสำ�รวจเมื่อปี ค.ศ. 2012 พบ ว่าประชากรออสเตรเลียที่มีอายุมากกว่า 15 ปี ถึงร้อยละ 72 มีการออกกำ�ลังตามเกณฑ์ดัง กล่าวไม่ถึง 5 ครั้งต่อสัปดาห์ และร้อยละ 22 มี การออกกำ�ลังเพียง 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ และ ร้อยละ 18 ไม่มีกิจกรรมดังกล่าว

16 l

Creative Thailand

l ธันวาคม 2558

จากผลสำ�รวจพฤติกรรมแห่งความสะดวก สบายจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและ แนวโน้มนํา้ หนักตัวทีเ่ พิม่ ตามมา ทำ�ให้นโยบาย การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในด้านสุขภาพจะ ต้องเพิ่มนํ้าหนักขึ้นตามไปด้วย แม้วา่ ในปัจจุบนั ฟิตเนส ชัน้ เรียนโยคะและ แอโรบิคจะขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีแอพพลิเคชัน่ กว่า 50,000 รายการที่เกี่ยวกับสุขภาพและการ ออกกำ�ลัง มูลค่าในตลาดหลักทรัพย์ของ Fitbit มีมลู ค่าถึง 140,000 ล้านบาท (4 พันล้านเหรียญ สหรัฐฯ) จะสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการ การออกกำ�ลังและรักษาสุขภาพที่เพิ่มมากขึ้น แต่ทว่าเทคโนโลยีเหล่านั้นอาจจะไม่ใช่คำ�ตอบ ทั้งหมด เพราะสิ่งสำ�คัญคือการทำ�อย่างไรให้ กลุ่มคนที่มีการขยับเขยื้อนตัวที่ตํ่ากว่าเกณฑ์ เหล่ า นี้ เ ข้ า มามี ส่ ว นร่ ว มในโปรแกรมต่ า งๆ มากขึ้น หน่วยวิจัยและส่งเสริมสุขภาพของอังกฤษ (British Heart Foundation Health Promotion Research Group) แผนกสาธารณสุขมหาวิทยาลัย อ๊อกซ์ฟอร์ด (Department of Public Health University of Oxford Old Road Campus) ได้ จัดทำ�รายงานประเมินผลมาตรการที่กระตุ้นให้ กลุ่มคนเคลื่อนไหวน้อยหันมาออกกำ�ลังจำ�นวน 9 โครงการ พบว่า กีฬาเป็นเครื่องมือกระตุ้นให้ เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แต่ต้องมีการ วางแผนที่มีเป้าหมายเจาะจงกลุ่ม และหัวใจ สำ�คั ญ ของความสำ�เร็ จ คื อ การเข้ า ใจความ ต้องการของเป้าหมายผ่านกระบวนการวิจยั ด้าน การออกแบบทีเ่ ปิดให้เป้าหมายเข้ามามีสว่ นร่วม ในการเลือกกิจกรรมทีไ่ ม่กำ�หนดอยูแ่ ค่กฬี าหรือ โปรแกรมอย่างเดียว


COVER STORY เรื่องจากปก

ดังเช่นโครงการ Active Workplaces Project - PRO-ACTIVE London ที่คัดเลือก สำ�นักงานของสมาคม หน่วยงานรัฐและ มหาวิทยาลัย 25 แห่งมาเข้าร่วมโครงการเป็น ระยะเวลา 12 เดือน โดยมีการสำ�รวจความ ต้องการของพนักงงานและมีการฝึกอบรมให้ คำ�ปรึกษาและจัดหาสิ่งอำ�นวยความสะดวกใน การทำ�เวิร์คชอปเพื่อให้แต่ละสำ�นักงานเป็น ผู้ อ อกแแบบโปรแกรมการออกกำ�ลั ง และ การประเมิ น ผลเพื่ อ ให้ โ ปรแกรมดั ง กล่ า วมี ความยั่งยืน ผลที่เกิดขึ้นคือทั้ง 25 แห่งมีการ นำ�โปรแกรมการเล่นกีฬา 32 แบบและออกกำ�ลัง ถึง 102 แบบมาใช้ตลอดโครงการ อย่างไรก็ดี สาเหตุของการไม่ออกกำ�ลัง กายสำ�หรับบางกลุ่มอาจจะไม่ใช่การขาดความ สนใจแต่ ม าจากเหตุ ผ ลทางด้ า นสั ง คมและ เศรษฐกิจ โดยรายงานของมูลนิธิโรเบิร์จ วูด จอห์ น สั น ภายใต้ โ รงเรี ย นด้ า นสาธารณสุ ข ยูเอ็นซี (UNC School of Public Health) ใน นอร์ธแคโรไลนาระบุว่า ครอบครัวที่มีรายได้ตํ่า (น้อยกว่า 525,000 บาท หรือ 15,000 เหรียญ สหรัฐฯ ต่อปี) มักพบปัญหาด้านสุขภาพอันเกิด จากการขาดการออกกำ�ลังโดยเฉพาะโรคเบา หวานและโรคหอบหื ด เพราะนอกจากการ ทำ�งานหาเลี้ยงชีพเป็นหลักแล้ว แต่ที่พักอาศัย ซึ่งมักตั้งอยู่ในบริเวณที่การคมนาคมไม่สะดวก สภาพแวดล้ อ มรอบบ้ า นไม่ ป ลอดภั ย หรื อ ขาดแคลนสิ่ ง อำ�นวยความสะดวกเพื่ อ การ สันทนาการสาธารณะ เช่น สนามเด็กเล่น โรงยิม หรือสระว่ายนํ้า ยังเป็นปัจจัยให้กลุ่มคนเหล่านี้ ขาดการออกกำ�ลังกาย ในกรณีเช่นนี้การจัดทำ�โปรแกรม Active Living by Design ของมูลนิธิจึงเสนอแนวทาง ในการพัฒนาพื้นที่และสภาพแวดล้อม หรือ กิจกรรมทางสังคมเพื่อให้การออกกำ�ลังเข้ามา เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำ�วันมากกว่าการ จั ด ทำ�โปรแกรมส่ ง เสริ ม การเล่ น กี ฬ าเพี ย ง อย่างเดียว

คนไทยใช้เวลาทำ�อะไร? สำ�นักสถิติพยากรณ์ สำ�นักงานสถิติแห่งชาติ จัดทำ�สำ�รวจการใช้เวลาของประชากรทุกๆ 5 ปี โดย ผลสำ�รวจของปี พ.ศ. 2552 นับเป็นครั้งที่ 3 ซึ่งพบว่าประชากรไทยอายุตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป โดยเฉลี่ยใช้ เวลาในการดูแลตัวเอง ซึง่ ได้แก่ การรับประทานอาหาร การนอน การดูแลรักษาตัวเอง วันละ 12.1 ชัว่ โมง ทำ�งานและเรียนรูว้ นั ละ 6.3 ชัว่ โมง ให้บริการและดูแลสมาชิกในครัวเรือน เช่น การทำ�งานบ้าน ดูแลเด็ก ผู้ป่วย ผู้สูงอายุ วันละ 2 ชั่วโมง การให้บริการชุมชน 0.1 ชั่วโมง และเวลาที่เหลือเป็นกิจกรรมการใช้ เวลาว่าง 3.6 ชั่วโมง ในจำ�นวนนี้เวลาส่วนใหญ่ ใช้ในการดูโทรทัศน์ ขณะที่เล่นกีฬา 0.1 ชั่วโมง และ ถ้าหากเป็นเวลาเฉลีย่ เฉพาะผูท้ ที่ ำ�กิจกรรมนัน้ ๆ จะพบว่าการเล่นกีฬาใช้เวลาประมาณ 1.3 ชัว่ โมงขณะ ที่ใช้เวลาท่องอินเทอร์เน็ต 1.9 ชั่วโมง เมื่อสำ�รวจพฤติกรรมการเล่นกีฬาหรือออกกำ�ลังกายในปีพ.ศ. 2554 ซึ่งเป็นการสำ�รวจครั้งที่ 4 พบ ว่า ประชากรอายุ 11 ปีขึ้นไป ทั้งสิ้น 57.7 ล้านคน มีผู้เล่นกีฬาหรือออกกำ�ลังกาย 15.1 ล้านคน หรือ คิดเป็นร้อยละ 26.1 ของประชากรทั้งหมด แต่เมื่อเทียบกับผลสำ�รวจเมื่อปี พ.ศ. 2547 และ 2550 มี อัตราลดลงร้อยละ 3 ซึ่งน่าจะมีสาเหตุจากปัญหานํ้าท่วมใหญ่

3.2

3.2

2.1

3.2

2.8

2.6

2.1

1.7

1.6

1.6

1.5

1.4

1.3

1.4

1.0

1.0

1.4

1.1

2.1

1.7

เวลาเฉลี่ยในการทำ�กิจกรรมของประชากรจําแนกตามเพศ (ชั่วโมง/วัน) A การเข้าชมเหตุการณ์/สถานทีท่ างด้านวัฒนธรรม/บันเทิง B การดู/การฟังวีดโี อ C การดู/การฟังโทรทัศน์ D งานอดิเรก การเล่นเกมและกิจกรรมยามว่างอืน่ ๆ E การท่องอินเทอร์เน็ต F การฟังรายการวิทยุ G การเข้าร่วมสังคมและการมีสว่ นร่วมในชุมชน H การฟังสือ่ อืน่ ๆ เช่น ซีดี เทปคาสเซท เป็นต้น I การเล่นกีฬา J การอ่านหนังสือ

ที่มา: สำ�นักงานสถิติแห่งชาติ ธันวาคม 2558

l

Creative Thailand

l 17


COVER STORY เรื่องจากปก

กีฬามาคู่เศรษฐกิจ สังคม การเมือง

มากขึ้นของชาวจีน ขณะเดียวกันยังเป็นเหมือน ประตูที่เปิดกว้างให้ทุนต่างชาติเข้ามามีส่วนใน การพัฒนาอุตสาหกรรมกีฬาของจีนที่ปัจจุบัน ส่วนใหญ่ถูกควบคุมจากส่วนกลาง ทั้งในด้าน การจั ด กิ จ กรรมและการพั ฒ นานั ก กี ฬ าที่ ส่วนกลางเป็นผู้คัดเลือกและจัดหาผู้ฝึกสอนเอง นโยบายสนับสนุนอุตสาหกรรมกีฬานี้จึง มุ่งเน้นที่การขจัดอุปสรรคด้านกฎระเบียบ และ การลดภาษี นิ ติ บุ ค คลสำ�หรั บ ธุ ร กิ จ ด้ า น เทคโนโลยีการกีฬาชั้นสูงจากร้อยละ 25 เหลือ ร้ อ ยละ 15 ตลอดจนการเป็ น เจ้ า ภาพและ การสร้างนักกีฬาระดับโลก ซึ่งนายหลิวฟูหมิน ผู้ อำ�นวยการเศรษฐกิ จ ขององค์ ก รบริ ห าร การกีฬา (General Administration of Sport) กล่าวว่า เป็นโอกาสที่ดีสำ�หรับบริษัทต่างชาติ ที่มีความชำ�นาญการในการจัดกิจกรรม การ ท่องเที่ยวและการบริหารพื้นที่ด้านกีฬาให้เข้า มาลงทุน จากในปัจจุบันมีบริษัทต่างชาติเข้า มาทำ�ธุรกิจด้านบริการในประเทศจีนคิดเป็น ร้อยละ 1.55 และในจำ�นวนนีเ้ ป็นธุรกิจด้านกีฬา ประมาณร้อยละ 23 ซึ่งคาดว่าสัดส่วนดังกล่าว จะเพิ่มมากขึ้นตามการเปิดตลาดของจีน

i.ytimg.com

จากหลายงานวิจัยที่ระบุถึงความสัมพันธ์ของ รายได้ที่เพิ่มมากขึ้นส่งผลให้มีการออกกำ�ลัง มากขึ้นนั้น ทำ�ให้การจัดทำ�นโยบายด้านกีฬา มี ก ารพิ จ ารณาในมิ ติ ท างเศรษฐกิ จ มากขึ้ น โดยคณะกรรมการด้านการกีฬาออสเตรเลีย (Australian Sports Commission) ได้จัดทำ� รายงานว่าด้วยอนาคตของกีฬาในออสเตรเลีย ในทศวรรษหน้า (The Future of Australian Sport) ที่ น อกจากจะเตรี ย มการรั บ มื อ กั บ พฤติกรรมของคนออสเตรเลียรุน่ ใหม่ทมี่ แี นวโน้ม จะใช้เวลากับหน้าจอเพิ่มขึ้นแล้ว แต่ยังระบุถึง โอกาสของอุตสาหกรรมกีฬาของออสเตรเลียใน การเข้าไปเจาะตลาดในกลุม่ ประเทศนอกโออีซดี ี ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในเอเชีย อาทิ จีน อินเดีย และ บราซิล ทั้งนี้เพราะการเติบโตทางเศรษฐกิจใน ทศวรรษหน้าจะอยู่ในกลุ่มประเทศเหล่านี้ และ โออีซีดีคาดว่าสัดส่วนจีดีพีของประเทศสมาชิก โออีซีดีกับประเทศที่ไม่ใช่สมาชิกจะเปลี่ยนจาก ร้อยละ 40 และร้อยละ 60 ในปี ค.ศ. 2000 เป็น ร้อยละ 43 และร้อยละ 57 ในปี ค.ศ. 2030 ซึ่ง

หมายถึงรายได้ตอ่ ครัวเรือนทีส่ งู ขึน้ และส่งผลให้ ความต้องการด้านกีฬาและอุตสาหกรรมอืน่ ๆ ที่ เกี่ยวข้องมีโอกาสเติบโตไปด้วย การประกาศนโยบายล่าสุดของรัฐบาลจีน ไม่ทำ�ให้รัฐบาลออสเตรเลียผิดหวัง ด้วยกลยุทธ์ ใหม่ในการกระตุน้ เศรษฐกิจและพัฒนาสังคมไป พร้อมกัน โดยใช้การพัฒนาอุตสาหกรรมกีฬา ภายในประเทศให้เป็นกลไกทางเศรษฐกิจและ ลดความแตกต่างด้านคุณภาพชีวติ ระหว่างเมือง และภูมิภาค ภายใต้ แ ผนพั ฒ นาด้ า นกี ฬ าดั ง กล่ า ว รัฐบาลตั้งเป้าหมายในปี ค.ศ. 2025 จะกระตุ้น ให้ประชากร 500 ล้านคนมีการออกกำ�ลังเป็น ประจำ� โดยลงทุนด้านบริการสาธารณะทางกีฬา ให้ประชากรทั้งหมดได้เข้าถึง และเพิ่มพื้นที่ สำ�หรับการออกกำ�ลัง 2 ตารางเมตรต่อประชากร 1 คน จากในปัจจุบันอยู่ที่ 1.2 ตารางเมตรซึ่ง ตํ่ากว่าประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ เป้ า หมายดั ง กล่ า วนำ�ไปสู่ ก ารลงทุ น ใน สาธารณู ป โภคด้ า นกี ฬ าอย่ า งมหาศาลของ ภาครัฐ ซึ่งนอกจากจะลดความเหลื่อมลํ้าของ บริการสาธารณะระหว่างเมืองและภูมิภาคแล้ว ส่วนหนึ่งก็ยังเป็นการตอบสนองความต้องการ ด้านคุณภาพชีวิตที่เพิ่มขึ้นตามรายได้ที่เพิ่ม

18 l

Creative Thailand

l ธันวาคม 2558


ผลจากการดำ�เนินนโยบายเหล่านี้รัฐบาล ประมาณการว่ า จะสามารถเพิ่ ม มู ล ค่ า ของ อุตสาหกรรมกีฬา เป็น 28 ล้านล้านบาท (5 ล้าน ล้านหยวน) ภายในปี ค.ศ. 2025 หรือคิดเป็น ร้อยละ 1 ของจีดพี ี จากในปัจจุบนั ร้อยละ 0.6 โดย มูลค่าส่วนใหญ่มาจากเสือ้ ผ้าและอุปกรณ์เพื่อการ ส่งออกคิดเป็นร้อยละ 71 ยอดขายบัตรและลิขสิทธิ์ ต่างๆ ยังเป็นส่วนน้อยอยูท่ รี่ อ้ ยละ 10 เมือ่ เทียบ กับสหรัฐอเมริกาทีย่ อดขายสินค้ามีสงู ถึงร้อยละ 50 และอัตราค่าเข้าชมคิดเป็นร้อยละ 22 มูลค่าอุตสาหกรรมกีฬาที่ตั้งเป้าไว้นั้นมี ความเป็นไปได้เนื่องจากในปัจจุบัน กีฬาถูกจัด เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่เติบโตอย่างรวดเร็ว จากรายงานของบริษัทที่ปรึกษา A.T.Kearney ระบุว่าอุตสาหกรรมกีฬามีอัตราการเติบโตใน ระหว่างปี ค.ศ. 2009-2013 ที่ร้อยละ 7 สูงกว่า อั ต ราการเติ บ โตของเศรษฐกิ จ ของเกื อ บทุ ก ประเทศในโลก โดยมีตลาดของเกมการแข่งขัน ที่ทำ�เงินจากการขายบัตร สิทธิในการถ่ายทอด และสื่อ รวมทั้งผู้สนับสนุนเป็นตัวขับเคลื่อน สำ�คัญ โดยในปี ค.ศ. 2009 ตลาดการแข่งขันมี มูลค่าประมาณ 2.03 ล้านล้านบาท (58 พันล้าน เหรียญสหรัฐฯ) และคาดว่าจะเพิม่ เป็น 2.8 ล้าน ล้านบาท (80 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ) ในปี ค.ศ. 2014 และเมือ่ รวมสินค้าเกีย่ วกับกีฬาทัง้ อุปกรณ์ เสือ้ ผ้าและการใช้จา่ ยเพือ่ สุขภาพและฟิตเนสจะ มีมูลค่าถึง 24.5 ล้านล้านบาท (700 พันล้าน เหรียญสหรัฐฯ) ต่อปี หรือคิดเป็นร้อยละ 1 ของ ผลิตภัณฑ์มวลรวมของโลก ซึ่งปัจจัยที่ช่วย กระตุ้นให้เกิดการเติบโตที่สำ�คัญมาจากการ แข่ ง ขั น กั น เป็ น เจ้ า ภาพจั ด กิ จ กรรมและการ ถ่ายทอดการแข่งขันของเกมยอดนิยมอย่างเช่น ฟุตบอล อเมริกันฟุตบอลเอ็นเอฟแอล เบสบอล ฟอร์มลู าวัน บาสเก็ตบอลเอ็นบีเอ ฮ็อคกีเ้ อ็นเอช แอล และเทนนิส รวมถึงกีฬาทีก่ ำ�ลังได้รบั ความ นิยมมากขึ้นอย่างเช่นรักบี้และคริกเก็ต

qz.com

COVER STORY เรื่องจากปก

สนามกีฬาแห่งใหม่สำ�หรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกปี 2020 ออกแบบโดย ซาฮา ฮาดิด

"เป็นที่ประจักษ์แล้วว่ากีฬาเป็นอุตสาหกรรม ทีโ่ ตทัว่ โลก และได้กลายเป็นตัวกระตุน้ การพัฒนา เศรษฐกิจชั้นดีอีกทั้งยังสร้างชื่อเสียงให้กับเมือง และประเทศ นอกจากนี้กีฬายังเป็นโปรแกรม ตัวช่วยในการรักษายอดผูช้ มในยามทีต่ อ้ งแข่งกับ ช่องอืน่ ๆ นับร้อยและอินเทอร์เน็ต" นิโคลัส สุลตาน (Nicolas Sultan) นักวิเคราะห์ประจำ� A.T.Kearney ตะวันออกกลางประจำ�กรุงโดฮากล่าว ความสำ�คัญของกีฬาไม่ได้หยุดอยู่แค่การ พัฒนาคุณภาพของประชากร แต่ยังเกี่ยวพันถึง การเป็นสัญลักษณ์แห่งความหวังและแรงขับเคลือ่ น ให้ประเทศก้าวไปข้างหน้า ตลอดจนทีท่าของ ประเทศที่แสดงออกต่อชาวโลก นับตั้งแต่การ เป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อนใน ปี ค.ศ.1964 ที่ เป็นเหมือนการประกาศว่าญีป่ น่ ฟืน้ จากสงคราม กลับมาสูค่ วามรุง่ เรืองและทันสมัย การมุง่ หน้า สู่การเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกในปี ค.ศ.1992 ของ สเปน จนมาถึงการเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกใน ปี ค.ศ. 2022 ของการ์ตา ที่มีนักฟุตบอลที่ขึ้น ทะเบียนไม่ถึง 7,000 คนเทียบกับ 3 ล้านคนใน สเปนและ 6 ล้านคนในเยอรมนี และอากาศที่ ร้อนเกินกว่าจะเล่นฟุตบอลตลอดปี แต่สิ่งที่ทำ� ให้การ์ตายอมทุ่มเงิน 7 ล้านล้านบาท (200,000

ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ด้วยเหตุผลไม่ต่างกัน คือ การสร้างความเชื่อมั่นในการก้าวสู่อนาคตทาง ด้านเศรษฐกิจ และการเข้าไปมีบทบาทในเวที โลกด้วยกีฬา สำ�หรับญี่ปุ่นที่กำ�ลังเป็นเจ้าภาพโอลิมปิก ในปี ค.ศ. 2020 มุมมองครั้งนี้แตกต่างจากเดิม เมือ่ สนามกีฬาแห่งใหม่ทอ่ี อกแบบโดยซาฮา ฮาดิด (บริษัท Zaha Hadid Architect) นักออกแบบ ชื่อดังนั้นจะทำ�ให้ได้ชื่อว่าเป็นสนามกีฬาแห่ง ชาติที่เกือบแพงที่สุดในโลกเพราะต้นทุนที่เพิ่ม ขึ้นกว่าเท่าตัวเป็น 87,000 ล้านบาท (300,000 ล้านเยน) เสียงคัดค้านจากมวลชน จึงทำ�ให้ นายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีต้องหยุดฟัง และตัดสินใจลดขนาดพื้นที่ก่อสร้างสนามกีฬา ลงร้อยละ 13 โดยลดความจุผชู้ มจาก 80,000 คน เหลือ 68,000 คน พร้อมกับยกเลิกแผนการจัดตัง้ พิพธิ ภัณฑ์กฬี าและฟิตเนสคลับ เพือ่ ให้สอดคล้อง กับวงเงินก่อสร้างสูงสุดทีต่ งั้ ไว้ 45,000 ล้านบาท (155,000 ล้านเยน) แต่ยงั คงแนวคิดการออกแบบ สำ�หรับมวลชน (Universal Design) เพื่อลดความ เหลือ่ มลํา้ ในกลุม่ ผูพ้ กิ าร ผูด้ อ้ ยโอกาส และผูส้ งู อายุ และทีส่ ำ�คัญต้องก่อสร้างให้เสร็จทันภายใน เมษายน ปี ค.ศ. 2020

ที่มา: activelivingbydesign.org / บทความ “A.T. Kearney Study: Sports Industry Growing Faster Than GDP” จาก atkearney.com / บทความ “China– Guidelines for Developing Sports into RMB-5-trillion-per-annum Sector – Tax Cuts for High-Tech Sports Enterprises” โดย Ann Cheung จาก blogs.dlapiper.com / บทความ “Game On for a Healthy Sports Industry” โดย Lan Lan จาก english.gov.cn / บทความ “Japan Scraps Zaha Hadid Plan for Olympic Stadium” โดย theguardian.com / บทความ “Re-Thinking the Game Plan” โดย Matt Beyer จาก chinabusinessreview.com / บทความ “We Will Be Ready, Inshallah': Inside Qatar's $200bn World Cup” โดย Robert Booth จาก theguardian.com / รายงาน “Cardiovascular Disease Statistics 2014” จาก bhf.org.uk / หนังสือ “The World Is Fat: The Fads, Trends, Policies, and Products That Are Fattening the Human Race” โดย Barry Popkin ธันวาคม 2558

l

Creative Thailand

l 19


multimedia.pol.dk

INSIGHT อินไซต์

เรือ่ ง: ปิยพร อรุณเกรียงไกร

ที่ผ่านมา เราได้เห็นตัวอย่างของการปรับปรุงพัฒนาเมืองมากขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก หลายโครงการนำ�ไปสู่การเปลี่ยนแปลงทาง เศรษฐกิจ การเมือง สังคม และสิ่งแวดล้อมในทิศทางที่ดี เช่น การฟื้นฟูพื้นที่รกร้างให้เป็นสวนสาธารณะ เน้นประโยชน์ใช้สอยหลาก หลาย (Multi-Used Park) ส่วนหนึ่งเพราะรัฐบาลต้องการบริหารจัดการพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ขณะเดียวกัน คนยุคนี้ตื่นตัว เรื่องการดูแลสุขภาพกันมากขึ้น แต่พื้นที่กีฬาสาธารณะซึ่งเปรียบเสมือนสถานที่พักผ่อน ออกกำ�ลังกาย และส่งเสริมการมีสขุ ภาพดี กลับกระจุกตัวในบางพื้นที่ หรือไม่ก็ขาดการซ่อมแซมรักษาจนทรุดโทรม ประชาชนจึงรวมตัวกันเพื่อเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงและ เข้าไปมีส่วนร่วมมากขึ้น ทางบริษัทเอกชน ผู้ผลิตสินค้ากีฬายักษ์ใหญ่เองก็เป็นตัวตั้งตัวตี จัดหาสิ่งอำ�นวยความสะดวก กระทั่งลงทุน สร้างสนามกีฬาขึ้นเอง เพราะเล็งเห็นโอกาสใหม่ๆ ทางธุรกิจที่สอดรับกับไลฟ์สไตล์ในปัจจุบัน

PLUG N PLAY: CONNECTING LIFE WITH SPORTS บริษัทออกแบบภูมิทัศน์สถาปัตย์และผังเมือง Kragh & Berglund พิสูจน์ให้เห็นว่าการสร้างพื้นที่สาธารณะ และลานกีฬาสามารถลบข้อครหาที่ว่าเมืองเอือร์สตาด ทางตอนใต้ (Ørestad South) ของกรุงโคเปนเฮเกนนัน้ ช่าง "ไร้ชวี ติ ชีวา" ได้ในระยะเวลาเพียง 3 เดือนเท่านั้น โดยพัฒนาไอเดียการเล่นคอมพิวเตอร์มาใช้กับการ พัฒนาเมืองที่เชื่อมต่อความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน และคนกับเมืองเข้าด้วยกัน Kragh & Berglund ได้รับโจทย์จากหน่วยงาน พัฒนาอสังหาริมทรัพย์โคเปนเฮเกนซิตี้แอนด์พอร์ต ดีเวลอปเม้นต์ (CPH City & Port Development) ซึ่ง ก่อตั้งขึ้นภายใต้ความร่วมมือระหว่างเทศบาลเมือง โคเปนเฮเกนกับกระทรวงการคลัง เพื่อบริหารจัดการ เมืองเอือร์สตาดให้เป็นพืน้ ทีแ่ ห่งความหลากหลายอย่าง ยั่งยืน ปัญหาหลักก็คือ เมืองยังขาดแคลนกิจกรรมที่ เชื่อมโยงคนในชุมชนเข้าด้วยกัน ทีมสถาปนิกจึงเสนอ แนวคิดการออกแบบพืน้ ทีว่ า่ งรอการก่อสร้างในบริเวณ

20 l

Creative Thailand

l ธันวาคม 2558

ใกล้กบั สถานีรถไฟใต้ดนิ ให้เป็นสวนสาธารณะชัว่ คราว ในโปรเจ็กต์ "ปลั๊ก แอนด์ เพลย์ (Plug N Play)" ด้วย พืน้ ทีข่ นาด 25,000 ตร.ม. (เทียบเท่ากับซิตฮี้ อลล์ขนาด เล็ก) ทำ�ให้จดั สรรพืน้ ทีส่ ำ�หรับสันทนาการและเล่นกีฬา ได้หลายประเภท เช่น สนามบาสเกตบอลกลางแจ้ง ฟุตบอล วอลเลย์บอลชายหาด กีฬาทางนํ้า และลาน โรลเลอร์สเกต ตามคอนเซ็ปต์ทเ่ี น้นประโยชน์ใช้สอยและ ส่งเสริมการปฏิสัมพันธ์ของชาวเมือง โดยได้รับการ สนับสนุนจากมูลนิธิ Danish Foundation for Culture and Sports Facilities และ Nordea Foundation ที่ เข้ามาช่วยสมทบทุนการออกแบบพื้นที่อย่างยืดหยุ่น สิ่งอำ�นวยความสะดวกเคลื่อนที่ รวมทั้งการสร้างลาน สเกตทีล่ าํ้ สมัย แถมยังมีศนู ย์กฬี าทีเ่ ปิดบริการฟรีพร้อม ด้วยห้องนํ้า ห้องอาบนํ้า ที่เก็บของ ผลปรากฏว่าปลัก๊ แอนด์ เพลย์ กุมความสนใจของกลุ่มวัยรุ่นได้อยู่หมัด นับตั้งแต่วันแรกที่เปิดให้บริการ จากนั้นเหล่าสปอร์ต คลับและชมรมกีฬาท้องถิ่นจึงมารวมตัวกันเพื่อเล่น กีฬาทีน่ ่ี เช่น โรลเลอร์เบลดคลับ และกลุม่ ผูเ้ ล่นปาร์กวั ร์ (Parkour) ซึง่ เป็นกีฬายอดนิยมคล้ายกับฟรีรนั นิง่ ทำ�ให้ สวนสาธารณะแห่งนี้ครึกครื้นไปด้วยฝูงชนมาจนถึง

ทุกวันนี้ เพราะเดินทางไปมาสะดวก และเปิดทำ�การ ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง แม้แต่เหล่านักกีฬามืออาชีพ จากทั่วกรุงโคเปนเฮเกนยังเวียนแวะมาฝึกซ้อมและใช้ เวลาพักผ่อนอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งนับว่าช่วยลดบรรยากาศ อันตึงเครียดจากการแข่งขันได้อย่างดี แม้ว่าจะเป็นโปรเจ็กต์ชั่วคราว (เริ่มปี 2009) แต่ ก็ประสบความสำ�เร็จมากพอที่จะเป็นแหล่งพบปะ รวมตั ว ของคอกี ฬ าและคนทั่ ว ไปที่ ม องหาพื้ น ที่ ทำ� กิจกรรมกลางแจ้ง ทำ�ให้ยืดเวลาของโครงการไปอีก จากปี 2014 เป็นปี 2016 ซึง่ ทางโคเปนเฮเกนได้เดินหน้า โครงการสร้างสนามกีฬาในร่มขนาดใหญ่ "Royal Arena" เพื่อรองรับการใช้งานในอนาคตไปเรียบร้อย แล้ว ที่สำ�คัญ โปรเจ็กต์นี้สร้างอิมแพคมากกว่าการ เปลี่ยนพื้นที่ว่างเว้นการใช้งานให้เป็นพื้นที่สาธารณะ เพราะมันได้สะท้อนถึงวิสยั ทัศน์ของการวางแผนพัฒนา เมืองตามสไตล์ชาวเดนิชที่มีความเป็นปัจเจก แต่ก็ยัง ต้ อ งการเป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของสั ง คมและเพิ่ ม เติ ม สี สั น ในชีวิต โดยกระตุ้นให้คนออกจากบ้านไปทำ�กิจกรรม ร่วมกัน ซึง่ จะมีอะไรทีท่ ำ�ให้คนเรามีสขุ ภาพแข็งแรงทัง้ ร่างกายและจิตใจได้ดีมากไปกว่าการเล่นกีฬา


INSIGHT อินไซต์

โครงการลู่ปั่นจักรยานท่าอากาศยาน สุวรรณภูมิ “SKY LANE THAILAND” กับมาตรฐานระดับโลก ใช่ว่าประเด็นพื้นที่กีฬาในประเทศไทยจะถูกมองผ่าน ไปเสียทีเดียว ตรงกันข้าม สนามฟุตบอลแห่งใหม่ผุด พรายเพิ่มขึ้นในจังหวัดทีมเหย้าตามบรรยากาศคึกคัก ของวงการลูกหนังไทย หน่วยงานรัฐยังมีนโยบายจัดตัง้ ลานกีฬาชุมชนเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะของประชาชน ไปจนถึงการฟืน้ ฟูพนื้ ทีใ่ ต้ทางด่วนกรุงเทพมหานครใน รูปแบบลานกีฬาขนาดย่อม โครงการลู่ปั่นจักรยานท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ “SKY LANE THAILAND” เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของการ ปรับปรุงพัฒนาลูป่ น่ั จักรยานที่น่าติดตาม ภายใต้ความ ร่วมมือระหว่างบริษทั ท่าอากาศยานไทย จำ�กัด (มหาชน) และธนาคารไทยพาณิชย์ จำ�กัด (มหาชน) ที่ตอ้ งการ สนับสนุนให้ประชาชนสนใจออกกำ�ลังกายโดยการ ปัน่ จักรยานเพือ่ ส่งเสริมสุขภาพ สร้างสังคมและพัฒนา คุณภาพชีวิต ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายด้านความ รับผิดชอบต่อสังคมของทั้งสององค์กร ก่ อ นหน้ า การปิ ด ปรั บ ปรุ ง ในเดื อ นมิ ถุ น ายนที่ ผ่านมา มีเหล่านักปั่นเดินทางมาใช้บริการที่ลู่ปั่น จักรยานท่าอากาศยานสุวรรณภูมิหรือ "สนามเขียว” เป็นประจำ�และมีแนวโน้มเพิม่ ขึน้ เรือ่ ยๆ ทัง้ สององค์กร เล็ ง เห็ น ว่ า กี ฬ าดั งกล่ า วได้ รั บความนิย มอย่างมาก เพราะเป็นกีฬาที่ทุกคนเข้าถึงได้โดยไม่จำ�กัดเพศและ วัย ถือเป็นการส่งเสริมการออกกำ�ลังทีด่ ตี อ่ สุขภาพและ ไม่ทำ�ลายสภาพแวดล้อม และสร้างความสัมพันธ์อันดี

ในสังคมของคนปั่นจักรยานด้วย จึงจับมือกันริเริ่ม โครงการดังกล่าวซึ่งจะดำ�เนินต่อเนื่องถึง 10 ปี เพื่อ ปรับปรุงคุณภาพลูป่ นั่ จักรยานรอบท่าอากาศยานให้ได้ มาตรฐานระดับโลก โดยมีทีมสถาปนิกชั้นนำ� Steven Leach Architects รับหน้าที่เป็นสถาปนิกโครงการ สิ่งที่นักปั่นจะได้พบในสนามใหม่ก็คือ ลู่ปั่นจักรยาน รอบในที่ได้รับการขยายต่อเติมจากเดิม 800 เมตร เป็นระยะทาง 1.6 กิโลเมตร และลูป่ นั่ จักรยานรอบนอก ระยะทาง 23.5 กิโลเมตร ที่ได้รับการพัฒนาปรับปรุง ให้มีผิวจราจรที่เรียบขึ้นเพื่อความคล่องตัวและความ ปลอดภัย โดยจะมีจุดพักทั้งหมด 3 จุด นอกจากนี้ ยัง ติดตั้งป้ายกฎกติกาและข้อมูลอื่นที่เป็นประโยชน์ใน บริ เ วณลู่ ปั่ น จั ก รยาน รวมทั้ ง เพิ่ ม สิ่ ง อำ�นวยความ สะดวกใหม่ๆ เช่น Bike Center ซึ่งรวบรวมบริการ ครบวงจรไว้ในที่เดียว ทั้งร้านขาย ซ่อม และฝาก จักรยาน ร้านอาหาร และพืน้ ทีส่ ว่ นกลางทีเ่ ป็นจุดนัดพบ จุดเตรียมความพร้อมจักรยาน เป็นต้น ในด้านความ ปลอดภัย ทางโครงการได้ติดตั้งระบบกล้องวงจรปิด และระบบไฟฟ้าแสงสว่างโดยรอบตลอดระยะทางของ ลูป่ นั่ จักรยานรอบนอก เพือ่ ขยายเวลาเปิดบริการให้เป็น ลู่ ปั่ น จั ก รยานกลางคื น แห่ ง แรกและหนึ่ ง เดี ย วใน ประเทศที่ตั้งอยู่ในบริเวณสนามบิน ที่น่าสนใจกว่านั้น ทางโครงการยังนำ�อุปกรณ์ สวมใส่อัจฉริยะ (Wearable Device) ที่มาพร้อมกับ เทคโนโลยี RFID (Radio Frequency Identification) ซึ่งระบุตำ�แหน่งของนักปั่นได้ โดยทำ�งานร่วมกับทีม ผู้เชี่ยวชาญการออกแบบพัฒนาระบบจัดเก็บข้อมูล ในรูปแบบสายรัดข้อมืออัจฉริยะ "SNAP” ซึ่งนักปั่น

ทุกคนสามารถมาลงทะเบียนรับเพื่อใช้ยืนยันตัวตน แทนการกรอกข้อมูลเข้า-ออกลู่ปั่นแบบเดิม SNAP จะ เก็บข้อมูลนักปั่นโดยใช้ฐานข้อมูลจากบัตรประชาชนที่ ใช้ลงทะเบียนและคอยอัพเดทข้อมูลต่างๆ ด้วยการ สแกน ทั้งยังคาดว่าสายรัดข้อมืออัจฉริยะนี้จะรองรับ การเติมเงินแทนเงินสดเพือ่ ซือ้ สินค้าและบริการในสนาม ในอนาคตได้อกี ด้วย ในแง่หนึ่ง ถือว่าตอบโจทย์ด้าน ความปลอดภัย เพราะเจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบ ข้อมูลการเข้า-ออก และรับทราบเมื่อเกิดเหตุการณ์ ผิดปกติได้ทันที แต่ไอเดียดังกล่าวจะจำ�กัดโอกาสการ เข้าถึงพื้นที่กีฬาของประชาชนด้วยหรือไม่นั้น ยังเป็น ประเด็นที่ต้องติดตามกันในระยะยาว เอาเข้าจริง สวนสาธารณะ สนามกีฬา และพื้นที่ ออกกำ�ลังกายจัดอยู่ในหมวดหมู่สาธารณูปการที่ขาด ไม่ได้ในโครงสร้างพืน้ ฐานของการออกแบบเมืองอยูแ่ ล้ว โดยแต่ละแห่งจะตอบสนองการใช้ชวี ติ ของคนต่างกลุม่ และเราก็ไม่ได้อยู่ในยุคที่ต้องรอใครจัดการอีกต่อไป ดังนัน้ ใครจะพัฒนาพืน้ ทีก่ ฬี าสาธารณะอาจยังไม่สำ�คัญ เทียบเท่ากับว่าโครงการเหล่านั้นได้บรรลุวัตถุประสงค์ ของการสร้างพื้นที่ส่งเสริมการมีสุขภาพดีของสังคม และตอบโจทย์กลุ่มผู้ใช้งานแล้วหรือยัง ที่มา: วารสารวิชาการ "เมืองและสภาพแวดล้อม: วารสารวิชาการ ภาควิชาการออกแบบและวางผังชุมชนเมือง ฉบับที่ 1 : 2552-2553” คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาศิลปากร / บทความ “PLUG N PLAY - Kragh & Berglund" จาก landezine.com / bike.scb / dac.dk / orestad.dk / suvarnabhumiairport.com/th/bikelane ขอขอบคุณ: โครงการลูป่ น่ั จักรยานท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ "SKY LANE THAILAND” ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง ธนาคารไทยพาณิชย์ กับ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำ�กัด (มหาชน) สำ�หรับการให้ ข้อมูลและรูปภาพประกอบการสัมภาษณ์ ธันวาคม 2558

l

Creative Thailand

l 21


CREATIVE ENTREPRENEUR คิด ทำ� กิน

เรื่อง: ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ

โรงเรียนสอนกอล์ฟจึงเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ตอบโจทย์ตลาดและมีบทบาทในการ ผลักดันอุตสาหกรรมกอล์ฟ ตัง้ แต่การสร้างความรูค้ วามเข้าใจในกีฬาชนิดนี้ ไปจนถึง การฝึกฝนขัดเกลานักกอล์ฟไทยโดยเฉพาะรุ่นเยาวชน เพื่อเข้าสู่วงการกอล์ฟที่กำ�ลัง เติบโต

จากที่เคยถูกติดป้ายว่าเป็น “กีฬาของคนรวย” หลายปีที่ผ่าน มานี้ ความนิยมในกีฬากอล์ฟ ได้ขยายสู่กลุ่มชนชั้นกลางและ ผู้บริหารระดับต้นมากขึ้น รวมถึงกลุ่มเยาวชน ภาพลักษณ์ของ กอล์ ฟ ในวั น นี้ จึ ง อาจเรี ย กได้ ว่ า เป็ น กี ฬ าของครอบครั ว ที่ ครอบคลุมทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่กลุ่มเด็กไปจนถึงกลุ่มผู้สูงอายุ ด้วยธุรกิจ สนามกอล์ฟ ไทยที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อ เนื่อง ค่าใช้จ่ายในการเล่นที่ตํ่าลง การแข่งขันที่เปิดกว้างขึ้นและกระแส นักกอล์ฟไทยที่ผลัดกันสร้างผลงานโดนเด่นคว้ารางวัลมาครอง กันอย่างคึกคัก พบแนวคิ ด ใหม่ จ ากผู ้ ป ระกอบการไทยที่ น�ำความคิ ด สร้ า งสรรค์ มาสร้างเป็นมูลค่าเพิม่ ให้กบั สินค้าและบริการได้ที่ TCDCconnect.com เว็บไซต์ที่รวบรวมรายชื่อและผลงานของนักออกแบบ ผู้ผลิต และ ผู ้ ป ระกอบการจากทุ ก อุ ต สาหกรรมสร้ า งสรรค์ ใ นประเทศไทยไว้ ในที่เดียวกัน

22 l

Creative Thailand

l ธันวาคม 2558

ทีมโปรแข็งแรง ธุรกิจเข้มแข็ง

เป็นเวลา 4 ปีแล้วที่ Dragon Kids Golf Academy โรงเรียนสอนกอล์ฟในจ.ภูเก็ต ทีเ่ กิดขึน้ จากความตัง้ ใจของผูก้ อ่ ตัง้ โปรพัง้ - สุรชา สิงห์ขจร และ โปรเทียน - อิทธิพล สัตย์พิทักษ์ ดำ�เนินธุรกิจมา โดยฝึกสอนทั้งบุคคลทั่วไปที่ไม่มีพื้นฐานและนักกอล์ฟ สมัครเล่นที่ต้องการผันตัวเองเป็นนักกอล์ฟมืออาชีพ “ผมทำ�งานที่ภูเก็ตอยู่แล้วและเคยเล่นกอล์ฟตอนเด็กๆ ก่อนจะหยุดไปและ กลับมาเล่นใหม่ จนเทิร์นโปรเมื่อปี 2550 ต่อมาโปรเทียนก็เลยชวนผมมาสอนและ สร้างนักกอล์ฟเยาวชนด้วยกัน โดยตอนนี้เรามีทีมโปรกอล์ฟเป็นโค้ชทั้งหมด 5 คน ผมและโปรเทียนเป็นเฮดโค้ช” หนึง่ ในจุดเด่นของดราก้อนคิดส์คอื การทำ�งานร่วมกันของทีมโปรกอล์ฟ ซึง่ ต่าง จากโปรสอนกอล์ฟส่วนใหญ่ทมี่ กั จะทำ�งานคนเดียว เรียกได้วา่ เป็นโรงเรียนสอนกอล์ฟ แห่งแรกในภาคใต้ที่เกิดจากการรวมทีมของโปรกอล์ฟหลายคน “ข้อได้เปรียบของ การทำ�งานเป็นทีม ข้อแรกคือเราสามารถจัดตารางสอนให้เด็กๆ ตามระดับความ สามารถ เหมือนโรงเรียนทัว่ ไปทีเ่ ริม่ จากอนุบาลจนถึงมหาวิทยาลัย โดยจะสับเปลีย่ น ผูฝ้ กึ สอนในแต่ละระดับ เพราะสไตล์การสอนของโปรแต่ละคนจะแตกต่างกัน เราจะ เวียนให้เด็กได้เจอกับโปรทุกคน โปรจะคุยกันทุกอาทิตย์ว่าในเดือนนั้นจะสอนอะไร บ้าง และโดยยึดเบสิกให้แน่นก่อน แล้วค่อยเพิม่ เรือ่ งเทคนิค ข้อทีส่ องคือ โปรสามารถ เอาใจใส่นักเรียนได้มากขึ้น โดยช่วยกันวางเป้าหมายการเรียนร่วมกับผู้ปกครอง ในขณะที่โปรที่ทำ�คนเดียว ส่วนมากจะให้นักเรียนเรียนกอล์ฟวันละชั่วโมงต่อครั้ง หลังจากนั้นจึงให้ไปฝึกต่อเอง”


ปูทางอาชีพจากกอล์ฟ

เพราะกอล์ฟคือการลงทุน นอกจากเรื่องค่าใช้จ่ายที่เป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่มีผลต่อการเรียน สิ่งที่โปรให้ความ สำ�คัญคือความตั้งใจ “เริ่มแรกเด็กที่เข้ามาเราจะต้องนั่งคุยกับผู้ปกครองก่อนว่า อยากให้ลูกเป็นแค่นักกอล์ฟหรือนักกีฬากอล์ฟ โดยผมจะไม่รับสอนหากผู้ปกครอง บังคับให้เด็กมาเล่น ต่อจากนั้นเราอยากให้เข้ามารู้จักคำ�ว่ากอล์ฟก่อน คือจะต้อง เป็นนักกอล์ฟก่อนทีจ่ ะเป็นนักกีฬา ผมก็จะบอกเขาว่า หนึง่ การเล่นกอล์ฟไม่ใช่เรือ่ ง ง่าย สอง ถ้านักเรียนให้เวลากับผู้ฝึกสอนได้เฉลี่ยอาทิตย์ละ 1-2 วันก็เรียนเป็น นักกอล์ฟก่อน แต่ถ้าได้ 4-5 ครั้งต่ออาทิตย์ถึงจะสามารถฝึกเป็นนักกีฬาอาชีพได้ แต่ในช่วง 3 เดือนแรกทุกคนจะต้องเริ่มเรียนเป็นลักษณะ Fun Golf ก่อน ให้เขารู้สึก รักกอล์ฟ เริ่มจากเบสิก การคุมบาลานซ์ การจัดตำ�แหน่งของไม้ หลังจากนั้นถ้าใคร อยากจะเป็นนักกีฬา ก็จะมีอกี โปรแกรมเพือ่ พัฒนาพวกเขาให้เป็นนักกีฬากอล์ฟอาชีพ หรือนักกอล์ฟทีมชาติ ซึ่งจำ�นวนการตี การฝึกซ้อมการสวิงก็จะมากขึ้น “ในมุมมองของผม ความนิยมในการเล่นกอล์ฟในบ้านเราเพิ่มขึ้นอย่างเห็น ได้ชัด เพราะตอนนี้สนามกอล์ฟไม่ใช่สนามปิดอีกแล้ว คุณไม่จำ�เป็นต้องเป็นสมาชิก ก็เข้าเล่นได้ สำ�หรับในภูเก็ตตอนนี้ก็มีราคาสำ�หรับสมาชิกท้องถิ่นด้วย จังหวัดอื่นๆ ก็มีสมาคมและชมรมกอล์ฟของแต่ละจังหวัด บางองค์กรก็เพื่อสนับสนุนเยาวชน โดยเฉพาะ” อย่างไรก็ตาม ด้วยสภาวะธุรกิจและเศรษฐกิจที่ซบเซาลง ทำ�ให้มีนักเรียน ส่วนหนึ่งต้องหยุดเรียนไป ปัจจุบันจำ�นวนนักเรียนของดราก้อนคิดส์ที่รวมนักเรียน ผู้ใหญ่ด้วยนั้นลดลงจาก 50 คน เหลือประมาณ 30 คน หนึ่งในแผนสำ�รองที่ โปรพัง้ มองไว้จงึ เป็นการหันมาเน้นทีโ่ ปรแกรม Fun Golf มากขึน้ เพือ่ ดึงกลุม่ เป้าหมาย ทีไ่ ม่ได้ตงั้ เป้าไว้ทกี่ ารเป็นนักกีฬาอาชีพ “เราอาจจะลดราคาลงมาสำ�หรับโปรแกรม Fun Golf แต่ทผี่ า่ นมาส่วนใหญ่พอเปิดคอร์สนีไ้ ด้ไม่เกิน 2 เดือน พ่อแม่กจ็ ะขอเปลีย่ น คอร์สให้ลกู เรียนเพือ่ เป็นนักกีฬากันหมด ส่วนหนึง่ เพราะเขาได้เห็นเด็กรุน่ เดียวกันที่ เรียนมาก่อนไปแข่งของ Junior Ranking แล้วได้รางวัลกันมา ผมมองว่าจริงๆ แล้ว ผู้ปกครองทุกคนก็หวังจะให้ลูกเรียนจริงจังกันหมดนะครับ เหมือนเป็นการลงทุนที่ก็ ต้องมองผลตอบแทน ถ้าเรียนแล้วสามารถทำ�ผลงานได้ด้วยก็จะเป็นเกียรติประวัติ ให้ตัวเด็กเอง”

วิไลวรรณ ทัศนีย์ทิพากร คุณแม่ของน้องปาย - รัตนวรินทร์ ทัศนีย์ทิพากร (8 ปี) และน้องโปรเจ็กต์ - รัตนบดินทร์ ทัศนีย์ทิพากร (6 ปี) หนึ่งในผู้ปกครองที่มองเห็น โอกาสจากการสนับสนุนให้ลูกเรียนกอล์ฟเล่าว่า ก่อนที่ลูกๆ จะมาเริ่มเรียนกอล์ฟ เธอและสามีไม่ได้มคี วามรูเ้ รือ่ งกีฬาชนิดนีม้ าก่อน แต่โดยปกติหากลูกสนใจเรียนอะไร ก็จะเปิดโอกาสให้ลูกลองก่อน แล้วให้ประเมินว่าชอบหรือไม่ ถ้าชอบก็จะให้เรียนต่อ “จากเดิมลูกสองคนเป็นนักกีฬาว่ายนํ้า แล้วเราผ่านสนามกอล์ฟทุกวันเขาก็บอกว่า อยากลองมาเล่น เราเข้ามาทีส่ นามก็ลองปรึกษากับโปรเทียนโปรพัง้ ดู โปรก็ให้มาลอง เล่นก่อนว่าชอบไหม แล้วค่อยมาเรียน ลองได้สองอาทิตย์ลูกก็บอกว่าเขาชอบ เขา อยากมาเรียน เรียนได้ประมาณสองเดือนโปรก็ลองให้เขาไปแข่งสนามแรก ก็หยุด ว่ายนํ้า กีฬาอื่นๆ ก็ไม่ได้ไปเล่นแล้ว เพราะกอล์ฟมันเป็นกีฬาที่ต้องมีวินัยในการฝึก ตอนนี้ก็เรียนอาทิตย์ละ 7 วันเลย วันละ 2-3 ชม. วันธรรมดาจะเป็นช่วงหลัง เลิกเรียน” “ลูกบอกว่าเขาชอบกอล์ฟเพราะมันเป็นกีฬาที่ท้าทาย ที่ผ่านมาเราก็เห็นว่าเขา ได้ประโยชน์หลายอย่าง หนึ่งคือบุคลิก สองคือเขาเรียนหนังสือดีขึ้นด้วย เพราะเด็ก ที่เล่นกอล์ฟได้ดีเขาจะมีสมาธิ สังเกตว่าเขานิ่งขึ้น มีความคิดเป็นผู้ใหญ่ กล้าคิด กล้าตัดสินใจเอง เพราะเขาต้องตัดสินใจว่าจะตีไปทางไหน จะแก้เกมยังไง ตอนแรก เราคาดหวังให้ลูกเรียนหนังสือแล้วต้องมีกีฬาหนึ่งอย่างติดตัว เพราะอยากให้เรียน ควบคูไ่ ปกับการออกกำ�ลังกาย อยากให้เขามีสขุ ภาพแข็งแรง แต่ ณ ตอนนีน้ อ้ งเรียน กอล์ฟมาสองปีแล้ว น้องก็เล่นได้ดี ไปแข่งหลายแมตช์เขาก็จะชนะตลอด เราก็เลย มีความรู้สึกว่าอนาคตมันก็อาจจะเป็นอาชีพให้เขาได้ ตอนนี้เรายังไม่รู้ว่าอนาคตเขา จะเรียนอะไร แต่อย่างน้อยตอนนี้เขามีวิชาติดตัว ถ้าไม่ไปเป็นนักกอล์ฟอาชีพที่ลง แข่งทุกทัวร์นาเมนท์ เขาก็สามารถสอบโปรทีชชิง่ มาสอนกอล์ฟเป็นอาชีพได้ แต่จริงๆ แล้ว ลึกๆ เราก็อยากจะให้เขาเป็นนักกีฬาเลย ถ้า ณ ตอนนั้นเขายังชอบอยู่” นอกจากการเรียนเพื่อเทิร์นโปรเป็นนักกีฬาอาชีพซึ่งสามารถเข้าแข่งขันชิง เงินรางวัลแล้ว เด็กที่ได้ออกแข่งขันกอล์ฟรายการของเยาวชนและได้รางวัลมาบ้าง ยังสามารถขอทุนการศึกษาจากโรงเรียนและมหาวิทยาลัยได้ทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ ในขณะที่ในวงการก็เริ่มมีอาชีพใหม่เกิดขึ้นอย่าง Club Fitter ทำ�หน้าที่ ปรับแต่ง ซ่อม และประกอบไม้กอล์ฟเฉพาะบุคคล เพื่อให้เหมาะสมกับสรีระและ ส่งเสริมให้วงสวิงมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งต้องอาศัยความรู้พื้นฐานเรื่องกอล์ฟและ หลักฟิสิกส์เข้ามา โดยต้องเข้าคอร์สอบรมเพื่อให้ได้ใบรับรอง นอกจากนี้ บาง มหาวิทยาลัยก็เริ่มเปิดหลักสูตรปริญญาตรีด้าน Golf Management สามารถ ต่อยอดเป็นอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการสนามกอล์ฟ ซึ่งมีผู้เข้าใช้บริการ เพื่อพักผ่อนและเจรจาธุรกิจกันมากขึ้น “ผมมองว่ากีฬาทุกชนิดมันสามารถใช้ประยุกต์ในการเจรจาธุรกิจและการ เข้าสังคมได้ แต่กอล์ฟจะค่อนข้างเป็นส่วนตัวมาก เพราะการที่ต้องใช้เวลาเดินด้วย กันในสนามถึง 4-5 ชม. จะทำ�ให้ได้เรียนรู้นิสัยใจคอกัน ในบรรยากาศที่เป็นกันเอง มากกว่าบนโต๊ะอาหาร เราจะสามารถประเมินได้ว่าคนนี้จะทำ�ธุรกิจกันได้ไหม อีกอย่างคือกอล์ฟเป็นกีฬาทีใ่ ช้สปิรติ ค่อนข้างสูง จะไม่มใี ครคอยมาจับตาว่าคนนีโ้ กง หรือไม่โกง ต้องซื่อสัตย์กับตัวเอง” โปรพั้งกล่าว Dragon Kids Golf Academy

สนามกอล์ฟภูนาคา ซ.เจ้าฟ้า 73 ถ.เจ้าฟ้าตะวันตก จ.ภูเก็ต Facebook: Dragonkids Golf Academy ธันวาคม 2558

l

Creative Thailand

l 23


facebook.com/sheffdocfest

CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

เรื่อง: กิรญา เล็กสมบูรณ์

24 l

Creative Thailand

l

ธันวาคม 2558

facebook.com/parismarathon

อาจเพราะพัฒนามาจากสิ่งมีชีวิตซึ่งเป็นทั้งผู้ล่าและถูกล่า ชัยชนะและพละกำ�ลังทีเ่ หนือกว่าจึงหมายถึงการอยูร่ อด และ มนุษย์จงึ ชืน่ ชอบการแข่งขันราวกับว่ามันอยูใ่ นสายเลือด ไม่ ว่าจะแข่งกับผู้อื่นหรือแข่งกับตัวเอง และไม่ว่าจะอยู่ในฐานะผู้ เข้าแข่งขันเองหรือกองเชียร์ก็ตาม


facebook.com/letour

CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

ไม่ น่า แปลกที่ม นุ ษ ย์ จ ะประดิ ษ ฐ์ ส่ิง ที่เ รี ย กว่ า “กีฬา” ขืน้ จะเพือ่ เป็นกิจกรรมทดสอบพละกำ�ลัง ของร่างกายหรือสมอง หรือเพือ่ สร้างความบันเทิง ให้กบั ผูช้ มก็ตาม ประวัตขิ องกีฬายังบอกกับเรา ด้วยว่ามันคือเครือ่ งมือสำ�คัญในการฝึกกองกำ�ลัง ทางทหาร เพื่อพัฒนาสมรรถนะของร่างกาย ความสามารถในการใช้อาวุธ และที่สำ�คัญก็คือ ความเป็นทีม เช่ น เดี ย วกั บ ที่ มั น คื อ เครื่ อ งสะท้ อ นการ เปลี่ยนแปลงทางสังคม เมื่อเวลาเคลื่อนผ่านไป

จากชัยชนะของนโปเลียน สู่เส้นชัยแห่งตูร์เดอฟรองส์ Arc de Triomphe de l'Étoile หรือประตูชัย ฝรั่งเศส สถาปัตยกรรมสไตล์นีโอคลาสสิกที่ ยังตระหง่านงดงามนับจากวันที่เสร็จสมบูรณ์ จนถึงวันนี้ คือพยานผู้เห็นการเปลี่ยนผ่านได้ ดีที่สุด มันคือความคิดที่เกิดขึ้น ณ จุดสูงสุดของ อำ�นาจแห่งจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 หลังจาก มีชัยในการต่อสู้ที่ Austerlitz หรือที่รู้จักกันใน นาม “การชิงชัยของสามจักรพรรดิ” ผูค้ รองอำ�นาจ ในยุโรปขณะนัน้ นัน่ คือ การต่อสูร้ ะหว่างนโปเลียน กับจักรพรรดิอเล็กซานเดอร์แห่งรัสเซีย และ จักรพรรดิฟราสซิสที่สองแห่งจักรวรรดิโรมัน อันศักดิ์สิทธิ์ ในปี 1805

น่ า เสี ย ดายว่ า สิ่ ง ที่ น โปเลี ย นเองได้ เ ห็ น หลักฐานแห่งชัยชนะอันยิง่ ใหญ่ของเขากลับเป็น เพียงแบบจำ�ลองที่สร้างขึ้นด้วยไม้เท่านั้น และ หลังจากที่การก่อสร้างหยุดชะงักไปเป็นเวลา นาน ผ่านการเปลี่ยนสถาปนิกผู้ออกแบบไปก็ หลายคน ในที่สุด เมื่อมันเสร็จสมบูรณ์ในปี 1836 มันก็ได้เปลี่ยนผ่านจากชัยชนะของนโปเลียน สูก่ ารเป็นอนุสรณ์สถานเพือ่ การระลึกถึงทหารที่ ร่วมรบให้กับฝรั่งเศสในทุกเหตุการณ์ สะท้อน ความพยายามของทางการในขณะนัน้ ทีต่ อ้ งการ สร้างสันติภาพในหมู่ชนชาวฝรั่งเศสและรวม ทุกฝ่ายเข้าด้วยกันเป็นหนึ่งเดียว และกลายเป็น แลนด์ ม าร์ ก สำ�คั ญ ของฝรั่ ง เศสกลางจั ตุ รั ส ชาร์ล เดอ โกล ทางทิศตะวันตกของถนน ช็องเซลีเซ ในปัจจุบัน หลังจากโลกได้เปลี่ยนผ่านทาง ความคิดมาร่วมสองร้อยปี ประตูชยั แห่งนีย้ งั คง เป็นหมุดหมายสำ�คัญสำ�หรับชัยชนะ หากนั่น หมายถึ ง การเป็ น เส้ น ชั ย สำ�หรั บ กองทั พ ของ ผูเ้ ข้าร่วมการแข่งขันจักรยานทางไกลทีม่ ชี อ่ื เสียง ที่สุดในโลกอย่าง “ตูร์เดอฟรองส์” จากจุดเริม่ ต้นในปี 1903 ด้วยวัตถุประสงค์ ในการเพิ่มยอดขายของนิตยสาร L’Auto ใน ขณะนั้น ผ่านการเปลี่ยนแปลงรวมถึงสงคราม และเรือ่ งอือ้ ฉาวมาจนถึงปัจจุบนั ตูรเ์ ดอฟรองส์ ได้พัฒนามาเป็นการแข่งจักรยานทางไกลที่ ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกอย่างไม่ต้องสงสัย

ตลอดระยะเวลาสามสั ป ดาห์ ใ นช่ ว ง เดื อ นกรกฎาคมของทุ ก ปี ผู้เข้ า ร่ วมแข่ ง ขั น “ตูร์เดอฟรองส์” จะขี่จักรยานผ่านเส้นทางรอบ ประเทศฝรั่ ง เศส โดยเส้ น ทางแบบละเอี ย ด จะถู ก กำ�หนดปี ต่ อ ปี และนั บ จากปี 1954 เป็นต้นมา ยังมีการกำ�หนดจุดเริ่มต้นที่เรียกว่า “แกรนด์ดพี าร์ต” ไว้ในประเทศเพือ่ นบ้าน ไม่วา่ จะเป็นเนเธอร์แลนด์ เบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี หรื อ สวิ ต เซอร์ แ ลนด์ มี บ างครั้ ง ที่ แกรนด์ดพี าร์ตไปเริม่ กันไกลแบบข้ามนํา้ ถึงเกาะ อังกฤษอีกด้วย แน่ น อนว่ า มั น คื อ การแข่ ง ขั น ที่ โ หดที่ สุ ด ด้ ว ยเช่ น กั น เพราะระยะทางกว่ า สามพั น กิโลเมตร กับเส้นทางที่ท้ังหฤโหดและอันตราย ด้วยความชันและความคดเคี้ยวที่ต้องเผชิญ (แม้เส้นทางจะต่างกันไปในแต่ละปี แต่จะถูก กำ�หนดให้ต้องขี่ผ่านทั้งเทือกเขาพิเรนีสและ เทือกเขาแอลป์) และการพิสูจน์สมรรถนะที่คน คนหนึ่งจะมีได้ด้วยการประคองทั้งร่างกายและ จิตใจให้ผ่านทั้ง 21 สเตจ (21 วัน) แม้ว่าจุดหมายสุดท้ายยังคงอยู่ที่ประตูชัย ของพวกเขา แต่เส้นทางที่พวกเขาต้องผ่านไม่ ได้บ่งบอกถึงการเอาชนะใคร หรือเพื่อนบ้าน รายใดอีกแล้ว นอกจากตัวเอง

ธันวาคม 2558

l

Creative Thailand

l 25


CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

จากอดีต สู่อนาคต

soccer.com

แน่ น อนว่ า ชาวฝรั่ ง เศสชื่ น ชอบกี ฬ า แม้ ว่ า ภาพลั ก ษณ์ ข องเมื อ งหลวงอย่ า งปารี ส ที่ เ รา จดจำ�มั ก จะเป็ น ความโรแมนติ ก ในฐานะ ดินแดนแห่งความรักมากกว่า ในความเป็นจริง กีฬานั้นมีบทบาทตลอด มาในพัฒนาการทางสังคมของฝรั่งเศส ไม่ว่า จะเป็นกีฬาที่พวกเขาเล่นมันมานานมากอย่าง เทนนิส ที่เคยถูกจำ�กัดให้เป็นกีฬาในหมู่ชนชั้น สูงในอดีต หรือกีฬาที่พวกเขาโปรดปรานมาก ที่สุดอย่างฟุตบอล อันเป็นกีฬาที่สะท้อนภาพ การไม่แบ่งกั้นทางสังคมในปัจจุบัน รวมถึง การสร้างผลผลิตจาก “ความต่าง” บนสังคม พหุวัฒนธรรมต่อไปในอนาคต ไม่มีชาวฝรั่งเศสคนใดลืมความทรงจำ�อัน ยิ่งใหญ่ในปี 1998 เมื่อฝรั่งเศส (หลังจากที่คว้า นํ้าเหลวมานาน) กลายเป็นผู้ชนะการแข่งขัน ฟุตบอลโลกเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของ พวกเขา แน่นอนว่าฮีโร่ของพวกเขาจะเป็นใคร หากไม่ใช่ “ซีเนดีน ซีดาน” เพลย์เมกเกอร์ระดับ ตำ�นานที่ไม่ได้มีสีผิวขาวจัดหรือเข้มจัดเหมือน เพื่อนร่วมทีมส่วนใหญ่ ไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า ซีดานคือ ความอั ศ จรรย์ ที่สร้า งขึ้นจากฝีเท้า เฉียบคมแต่กลับให้ความรู้สึกพลิ้วไหวราวกับ เต้นรำ�บนพรมหญ้าในจังหวะวอลซ์

ในขณะเดียวกับที่มันคือเวลาของการสร้าง ภาพจำ�อันชัดแจ้งเมื่อนึกถึงทีมชาติฝรั่งเศส ใน ฐานะส่วนผสมระหว่างนักกีฬา “หนึ่งสัญชาติ หลากเชื้อชาติ” ที่ฝ่าฝันร่วมกันและกอดคอกัน ฉลองชัยในนาทีสุดท้าย แน่นอนว่านีค่ อื ภาพของฝรัง่ เศสในรูปลักษณ์ ใหม่ ที่เป็นส่วนผสมของคนที่มีเชื้อสายฝรั่งเศส ดัง้ เดิม กับผูท้ สี่ บื เชือ้ สายจากบรรพบุรษุ ทีอ่ พยพ มาจากประเทศอาณานิคม ซีเนดีน ซีดาน เองก็เป็น ชาวฝรัง่ เศสเชือ้ สายอัลจีเรียนทีเ่ กิดในเมืองมาร์แซย์ ทางตอนใต้ของประเทศ และเคยถูกมองว่าเป็น “ชาวต่างชาติ” จากคนฝรัง่ เศสเองจำ�นวนไม่นอ้ ย แต่เมื่อเขานำ�ทีมชาติฝรั่งเศสขึ้นไปชูถ้วยรางวัล ฟีฟ่าเวิลด์คัพ มันก็กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำ�คัญที่ ทำ�ให้ชาวฝรั่งเศสมองทีมฟุตบอลของพวกเขา เป็นจุดเริม่ ต้นของการปฏิวตั วิ ฒั นธรรมครัง้ ใหม่ ที่คนเชื้อสายต่างๆ และผู้อพยพสามารถหลอม รวมเข้าด้วยกันเป็น “ฝรั่งเศส” ได้ ฟิลิปป์ การ์ราร์ด (Philippe Carrard) นักวิชาการด้านวรรณกรรมเปรียบเทียบและ ผูเ้ ชีย่ วชาญด้านฝรัง่ เศส เคยกล่าวถึงภาพซีดาน จูบถ้วยรางวัลฟีฟ่า ร้องไห้ และร้องเพลงชาติ ฝรั่งเศสไปพร้อมกัน ซึ่งกลายเป็นภาพที่ถูกรีรัน ครั้งแล้วครั้งเล่าบนหน้าจอโทรทัศน์และตอกยํ้า ความเป็นฮีโร่ประจำ�ชาติให้แก่เขาว่าเป็นภาพที่ สะท้อนถึง “ความเท่าเทียมหลังยุคอาณานิคม สำ�หรับทหารผิวสีที่โบกธงฝรั่งเศส”

26 l

Creative Thailand

l ธันวาคม 2558

จากอัฒจันทร์ สู่อัตลักษณ์ รองลงมาจากฟุตบอล เทนนิสคือกีฬาที่ชาว ฝรั่งเศสชื่นชอบมากที่สุด หลักฐานที่บ่งบอกว่าชาวฝรั่งเศสชื่นชอบ เทนนิสมากขนาดไหน ก็คือตัวเลขผู้เล่นเทนนิส “จดทะเบียน” ซึง่ มีมากกว่าหนึง่ ล้านคน ไม่เพียง เท่ า นั้ น นั ก ประวั ติ ศ าสตร์ ยั ง เชื่ อ อี ก ด้ ว ยว่ า เทนนิสนั้นเกิดขึ้นในฝรั่งเศสนี้เอง โดยเป็นกีฬา ที่ เ ล่ น กั น ในหมู่ นั ก บวชทางตอนเหนื อ ของ ประเทศตั้งแต่ศตวรรษที่ 12 แต่จะเป็นการเล่น ด้วยการใช้มือตีลูก จนล่วงเข้าศตวรรรษที่ 16 จึงมีการใช้แร็กเก็ตและเริ่มเรียกกีฬาชนิดนี้ว่า เทนนิส ซึง่ สันนิษฐานว่าเพีย้ นมาจากคำ�ในภาษา ฝรั่งเศสโบราณว่า Tenez ซึ่งมาจากคํากริยา Tenir อันมีความหมายว่า Hold! Receive! Take! ในขณะที่สุภาพบุรุษและสุภาพสตรีชาว อังกฤษยังคงแต่งตัวด้วยสีขาวอย่างเหมาะสม และพกมารยาทผู้ ดี อ อกจากบ้ า นเพื่ อ เข้ า ไป ชมการแข่งขันเทนนิส “วิมเบิลดัน” รายการ แกรนด์สแลมที่จัดขึ้นในกรุงลอนดอน แต่ชาว ปารีสทำ�ตัวตามสบายมากกว่าเมื่อเข้าชมการ แข่งขันรายการ “เฟรนช์โอเพ่น” อีกหนึง่ รายการ แกรนด์ ส แลมที่ ห ลายคนจดจำ�ในฐานะ แกรนด์สแลม “คอร์ตดิน” ซึ่งจัดอยู่ในประเภท คอร์ตนิ่มที่เมื่อลูกเทนนิสกระทบพื้นสนามซึ่ง ปูด้วยดินแล้วจะกระดอนช้าและทำ�มุมสูงจน ตียากสำ�หรับคนที่ไม่ถนัด รวมถึงภาพความ เปรอะเปือ้ นบนชุดทีผ่ เู้ ล่นสวมใส่ (ล้มเยอะ เลอะ เยอะ) ที่ทำ�ให้รู้ว่ามาถึงสนามโรลังด์ การ์รอส แล้วอย่างแท้จริง แต่ในความเป็นจริง คอร์ตดินนี้ไม่ได้ถูก คิดค้นในฝรั่งเศส ทั้งยังไม่ใช่ชาวฝรั่งเศสที่ถนัด ในการเล่นเทนนิสบนคอร์ตนิม่ นี้ หากแต่เป็นชาว ยุโรปทางตอนใต้อย่างชาวสเปนทีน่ ยิ มเล่นเทนนิส คอร์ตดินและทำ�ได้ดี ไม่นา่ แปลกใจทีน่ กั เทนนิส ระดับโลกในอดีตจำ�นวนมากถือว่าเฟรนช์โอเพ่น คือสนามปราบเซียนที่ทำ�ให้พวกเขาต้องรอแล้ว รอเล่ากว่าจะเก็บสถิตชิ นะรายการแกรนด์สแลมได้


จากชัยชนะ สู่สันติภาพ นอกเหนือจากตูร์เดอฟรองส์ และเฟรนช์โอเพ่น ปารีสยังมีรายการใหญ่อย่าง “ปารีสมาราธอน” อีกด้วย ปารีสมาราธอน หรือในชือ่ เต็มทีต่ งั้ ตามชือ่ ผู้ ส นั บ สนุ น หลั ก ในปั จ จุ บั น ว่ า Schneider Electric Marathon de Paris ถือเป็นรายการ แข่ ง วิ่ ง มาราธอนระยะมาตรฐานโอลิ ม ปิ ก 42.195 กิโลเมตร ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดรายการ หนึ่งของยุโรป แม้ ว่ า การแข่ ง ขั น วิ่ ง ระยะไกลที่ เ รี ย กว่ า มาราธอนจะได้รบั ความนิยมในระดับ “ล้นหลาม ไปทั่วโลก” เมื่อไม่นานมานี้ แต่การจัดรายการ มาราธอนตามเมืองต่างๆ ของโลกนัน้ มีมานานแล้ว ปารีสมาราธอนก็เช่นกัน รายการแข่งขันอายุกว่า ร้อยปีนถี้ กู จัดขึน้ ครัง้ แรกในปี 1896 โดยเป็นการ แข่งขันบนเส้นทางระยะ 40 กิโลเมตร ซึง่ มอบ เหรียญให้กบั คนทีว่ งิ่ จบในเวลาน้อยกว่าสีช่ วั่ โมง เท่านั้น

facebook.com/parismarathon

ครบทัง้ สี่รายการ (อีกสองรายการคือออสเตรเลียน โอเพ่นและยูเอสโอเพ่น) ในขณะทีน่ กั เทนนิสชาว สเปนอย่างราฟาเอล นาดาล เก็บชัยชนะในโรลังด์ การ์รอส เป็นว่าเล่น เป็นไปได้หรือไม่ว่าสิ่งที่บ่งบอกความเป็น เฟรนช์โอเพ่นอาจอยู่ที่ผู้ชมมากกว่าพื้นสนาม และสิ่งที่เราเห็นจากอัฒจันทร์ของพวกเขาอาจ สะท้อนภาพนิสยั แบบฝรัง่ เศสได้อย่างดี แน่นอน ว่ามันไม่ใช่การชมเทนนิสด้วยความสงบเงียบเชียบ ในแบบทีช่ าวอังกฤษเป็น แต่เป็นภาพความตาม สบายทีม่ สี ว่ นผสมของแฟชัน่ ฤดูรอ้ น กับเสียงเชียร์ (และเสียงโห่) ทีส่ ะท้อนวัฒนธรรมตามสบายแบบ มีเงือ่ นไข หรือจริงจังเฉพาะกับบางเรือ่ งของฝรัง่ เศส มาร์ตนิ า่ ฮิงกิส นักเทนนิสสาวชาวสวิตเซอร์แลนด์ ผู้ได้รับการยอมรับในความแข็งแกร่งทางจิตใจ ยังเคยต้องเสียศูนย์เพราะเสียงโห่จากอัฒจันทร์ ส่วนโรเจอร์ เฟเดอร์เรอร์ นักเทนนิสชาติเดียวกัน ก็เคยถึงกับตะโกนคำ�ว่า “หุบปากซะ” ใส่ผู้ชม ชาวฝรั่งเศสมาแล้ว

facebook.com/RolandGarros

CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

ในปัจจุบัน ปารีสมาราธอนจะถูกจัดขึ้นใน วันอาทิตย์ของเดือนเมษายน โดยในปี 2015 การ แข่งขันซึ่งจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 12 เมษายน มี นักวิ่งชายผู้ทำ�เวลาได้ดีที่สุดเป็นชาวเคนยาชื่อ มาร์ค กอเรียร์ (Mark Korir) (2 ชั่วโมง 5 นาที 48 วินาที) ส่วนนักวิ่งหญิงได้แก่ เมเซเรต เมน จิสตู (Meseret Mengistu) ชาวเอธิโอเปีย (2 ชั่วโมง 23 นาที 26 วินาที) นอกจากเวลาทีพ่ วกเขาทำ�ได้ สิง่ ทีน่ า่ สนใจ ก็คอื เส้นทางทีว่ าดเป็นรูปวงรียาวๆ ทีพ่ วกเขาวิง่ จากจุดสตาร์ทบนถนนช็องเซลีเซทางทิศตะวัน ออกของประตู ชั ย วิ่ ง ไปจนสุ ด ถนนที่ จั ตุ รั ส คองคอร์ด ซึง่ มีพนื้ ทีก่ ว้างใหญ่และถือว่าเป็นจุด ที่มีความสำ�คัญมากที่สุดแห่งหนึ่งของปารีส โดยเฉพาะประวัตศิ าสตร์ในช่วงการปฏิวตั ฝิ รัง่ เศส (พระเจ้าหลุยส์ท่ี 16 และพระนางมารี อ็องตัวแน็ต ถูกประหารด้วยกิโยตีนที่นี่) เส้นทางต่อจากนั้น คื อ การเลี้ ย วเข้ า ถนนสายช้ อ ปปิ้ ง สำ�คั ญ ของ ปารีสอย่างริโวลี ผ่านพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ ไปสุดที่ ย่านชาเรนตัน เลอ ปงต์ ทางขอบฝั่งตะวันออก เฉียงใต้ของเมือง ก่อนวกกลับมาเลียบแม่นา้ํ แซน ผ่านมหาวิหารน็อทร์-ดามและหอคอยไอเฟล (จากอีกฟากของแม่นํ้า) และย้อนขึ้นไปจบที่ ถนนฟอชทางทิศตะวันตกของประตูชัย ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า เส้นทางที่กล่าวมา คือ ถนนสายวัฒนธรรมของปารีส เมืองทีย่ งั คงรักษา

ภูมิทัศน์ได้ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก (มองไปทาง ไหนก็สวยเป๊ะไม่มสี ะดุด) และทัง้ หมดนีบ้ อกกับ เราว่า ปารีสมาราธอน คือหนึ่งในเส้นทางวิ่ง มาราธอนที่งดงามที่สุดในโลกเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ เราจึงไม่ตอ้ งสงสัยเลยว่า ความ นิยมในการวิ่งมาราธอนในปัจจุบัน จะช่วยให้ ปารีสยังคงทำ�รายได้จากการท่องเที่ยวต่อไปได้ มากเพียงใด แต่สงิ่ ทีน่ า่ สนใจกว่านัน้ ก็คอื ธรรมชาติของ การวิ่งมาราธอน เราอาจกล่าวชื่อผู้เข้าเส้นชัย เป็นคนแรกและลืมมันไปอย่างรวดเร็ว นัน่ เพราะ หัวใจของการวิง่ ระยะไกล ไม่ใช่การเข้าเป็นทีห่ นึง่ หรือเอาชนะใครนอกจากตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น ทางร่างกายหรือจิตใจ ไม่ว่าจะด้วยระยะทางที่ ไกลขึ้น เวลาที่ดีขึ้น ไปจนถึงความรู้สึกดีกับ ตัวเองที่มีเพิ่มมากขึ้นในทุกครั้งที่ลงแข่งขัน มันคือการเปลี่ยนผ่านของกีฬา จากผู้ล่า และผู้ถูกล่าที่ถูกแบ่งออกเป็นสองฝ่าย มาเป็น เรื่องของการพัฒนาตนเองและสันติภาพในการ อยู่ร่วมกัน ไม่ต่างจากรัฐบาลฝรั่งเศสที่เปลี่ยน ประตูชัยให้เป็นสัญลักษณ์ของสันติภาพสำ�หรับ ทุกคน นั่นคือสิ่งที่กีฬาควรจะเป็น เหมือนอย่างที่ การแข่งขันมาราธอนอาจจบลงด้วยเหรียญที่ มอบให้กับทุกคนที่เข้าเส้นชัย ไม่ว่าจะเป็นคน แรกหรือคนสุดท้ายก็ตาม

ที่มา: etymonline.com / บทความ “French Players and Migration” จากบล็อก Soccer Politics: A Discussion Forum about the Power of the Global Game, Duke University / วิกิพีเดีย ธันวาคม 2558 l Creative Thailand l 27


THE CREATIVE มุมมองของนักคิด

เรื่อง: มนฑิณี ยงวิกุล ภาพ: นัทธ์ชนัน เพชรดี

เมื่อคำ�จำ�กัดความของกีฬาไม่ใช่แค่สันทนาการ แต่เป็นเครื่องมือในการพัฒนาบุคลากร กระตุ้น เศรษฐกิจ ลดค่าใช้จ่ายภาครัฐ และสร้างแรงบันดาลใจ “พันโทรุจ แสงอุดม” รองผู้ว่าการ การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) จึงมาบอกเล่าการสร้างสรรค์นโยบายทีท่ ลายข้อจำ�กัดและจูงใจ ให้คนไทยเข้าถึงกีฬาให้มากที่สุด

28 l

Creative Thailand

l ธันวาคม 2558


THE CREATIVE มุมมองของนักคิด

นโยบายด้านการกีฬาของประเทศไทยมุ่งเน้นด้านใด เป็นพิเศษ

ผมคิดว่าเราต้องเน้นที่การสร้างก่อน แล้วส่วนอื่นๆ จะตามมา วันนี้เรายัง สร้างน้อย เราไปเสริมเยอะ สร้างคือพื้นฐาน เสริมนี่คือข้างบน แต่ว่า นักภาษาไทยก็ยำ�เลย ประดิดประดอยไปเรื่อยเลย เสริมสร้าง ส่งเสริม เสริมส่ง สนับสนุน เยอะแยะไปหมด มันเลยปนกันไม่รู้ว่าอะไรคือพื้นฐาน อะไรคือระหว่างกลาง อะไรคือปลายทาง สร้างในมุมของผมคือฐาน ฐานคือสนามกีฬา คือพื้นที่ คืออุปกรณ์ที่ เราหยิบยื่นให้คน วันนี้ถามว่าทำ�ไมทุกคนอยากมาเล่นกีฬาที่หัวหมาก มี สองอย่างครับ หนึ่งเพราะผมมีตลาดอยู่ข้างหน้า สองคือผมมีร้านทำ�เล็บ ทำ�ผมอยูข่ า้ งหลัง ประกบไว้หมด เพราะผมรูน้ สิ ยั คนไทย จะเห็นว่าถ้าวันนี้ คุณมีสตางค์อยูใ่ นกระเป๋าสามพันบาท แต่คณุ ก็จะยังเลือกซือ้ เสือ้ ร้อยบาท คนส่วนใหญ่เป็นแบบนีน้ ะ วันนีผ้ มต้องการซือ้ ใจคนให้มาอยูใ่ นสนามกีฬา ให้ตรงนี้เป็นต้นแบบ แต่สิ่งที่ยากกว่านั้นก็คือวันนี้คนกรุงเทพฯ ไม่ค่อยมี สนามกีฬา มีแต่สวนสาธารณะ ระหว่างคุณไปเดินเล่นสวนสาธารณะชัว่ โมง หนึ่ง กับคุณมาวิ่งบนลู่วิ่งไฟฟ้าในห้องแอร์ มีข่าวดู มีทีวีดู มีครูที่ฝึกสอน ชัดเจน ผลที่ได้มันต่างกันนะ นี่ผมทำ�ฟิตเนส เซ็นเตอร์ ที่ใต้ถุนสนาม ทำ� แบบถูกๆ เลยนะ วันหนึ่งก็ทำ�เงินได้ แล้วก็ได้เซอร์วิซด้วย

แล้ววิธีการสร้างฐานต้องทำ�แบบไหน

ผมคิดว่านีก่ เ็ ป็นอีกเรือ่ งทีผ่ มก็กงั วลอยูน่ ะว่า การพัฒนาเมืองในเมืองหลวง มันต้องพัฒนาทั้งระบบ ฐานต้องวางให้ชัดเจน วันนี้คุณจะวางสนามกีฬา ไว้ตรงไหน ไม่ใช่คุณคิดแต่ว่าคุณจะวางสวนสาธารณะไว้ตรงไหน ที่เขา บอกว่าสวนสาธารณะคือปอด คือการวางปอดลงไปในเมือง ในทางการพัฒนา เมืองอะไรคือปอดผมไม่เข้าใจนะ ผมเข้าใจแต่ในทางกีฬา ถ้าในทางกีฬา ปอดของผมคือการทีว่ นั นีล้ มหายใจ (Breathing) คุณชัดเจน ความลึกของ ลมหายใจ ประสิทธิภาพในการแลกเลี่ยนระหว่างคาร์บอนไดออกไซด์กับ ออกซิเจน สิ่งเหล่านี้คุณมาวัดได้ คุณมาสร้างได้ คุณบอกว่าสวนสาธารณะคือปอดของเมือง สนามกอล์ฟมันก็ปอด เหมือนกัน มันก็พื้นที่สีเขียวเหมือนกัน ไม่รู้นะผมมองด้วยเหตุผลแบบนี้ ทำ�ไมคุณบอกว่าคุณจะสร้างปอดแล้วคุณไปต่อต้านไม่ให้มีสนามกอล์ฟ ผมก็งง ในเมื่อมันก็ต้องใช้นํ้ารดเหมือนกัน คนที่เขามาตีกอล์ฟนี่เขาจ่าย เงินมา เขามาหวดกันนี่แต่ละหลุมไม่รู้เท่าไหร่นะ เศรษฐกิจมันหมุนอยู่ใน ก๊วนเขาไม่รู้เท่าไหร่ ค่าแคดดี้ ค่าอาหารการกินบนคลับเฮ้าส์อะไรต่างๆ เต็มไปหมด แต่วันนี้คุณสร้างสวนสาธารณะ เข้าห้องนํ้าเก็บบาทเดียวยัง โดนด่าเลย แล้วสวนสาธารณะตอนกลางคืนมืดตึ๊ดตื๋อ เพราะอะไร เพราะ พอเปิดไฟสว่างเข้าหน่อยก็หาว่าเฮ้ย! เปิดทำ�ไม เสียดายไฟ ไม่ประหยัด เลยนะ ก็ยุ่งกันไปอีก

สนามมั น อยู่ ท่ี ก ารดู แ ลบำ � รุ ง ให้ ดี มันมีวิธีอยู่ สนามหญ้าสวยๆ ของ ผมเนี่ย ผมท้าเลยนะว่ามานอนได้เลย นุ่ม พอสมควร แล้ว หญ้า ก็ ส ะอาด ทั้ ง หลายทั้ ง ปวงนี้ คื อ เราต้ อ งการ ทำ � ให้ ใ จคนที่ ม ารู้ สึ ก ว่ า มั น น่ า ลงไป เล่น ไม่ใช่ว่าเฮ้ย! นี่มาถูกที่รึเปล่าเนี่ย สนามกีฬาทำ�ไมมันเป็นอย่างนี้ ดู เ หมื อ นว่ า ไม่ ใ ช่ เ รื่ อ งง่ า ยที่ จ ะสร้ า งฐานหรื อ ทำ � ระบบ ทั้งประเทศ คุณมีวิธีการเริ่มต้นมันอย่างไร

จริงๆ ผมเป็นแค่ส่วนเล็กๆ ในประเทศ เรายังมีส่วนใหญ่ๆ อยู่อีกเยอะที่ ต้องคิดคำ�นึงในหลายเรื่อง เพราะฉะนั้นเราต้องทำ�ฟังก์ช่ันที่เรามีอยู่ น้อยนิดนี้ให้มันดีท่ีสุด วันนี้เราทำ�งานเรื่องกีฬาก็ต้องแคร์เรื่องสุขภาพ จิตใจ แคร์ว่าจะทำ�ยังไงให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด ทำ�ยังไงให้ สนามกีฬามันเจริญ แต่ประเทศไทยจะทำ�ระบบเบ็ดเสร็จมันก็ลำ�บาก ถ้า งบประมาณที่เราได้มันเท่าเดิม เราก็ต้องคิดว่าจะลดอะไรลงได้บ้าง เรื่อง การ Reduce (การลด) เป็นเรื่องที่ต้องคิดนำ� คือบางคนมองแต่การเพิ่ม ใส่เข้าไปเติมเข้าไป ส่วนเรือ่ งการลดยังไม่คอ่ ยมีใครคิด ซึง่ ผมกำ�ลังศึกษา อยู่ว่าเราจะรณรงค์ส่งเสริมให้มีการลดยังไงให้ไม่กระทบ ให้เข้าใจกัน เสียก่อน คือถ้าจะมีระบบตรวจสอบ ก็ต้องตรวจสอบที่ตัวเราเองก่อน เอาอย่างงี้ ผมได้เงินมาสี่พันล้านจากเงินภาษีบาป (Sin Tax) สิ่งแรก ทีผ่ มคิดเลยสำ�หรับเงินก้อนนีค้ อื เราต้องรีเซ็ตแล้ว แต่วา่ คนไทย ถ้าเราจะไป รีเซ็ตเขาทั้งหมด ก็คงจะเป็นอย่างที่เราหวังไม่ได้ เพราะฉะนั้นวันนี้สิ่งที่ อยากจะรีเซ็ตก็นา่ จะเป็นส่วนฐานก่อน คือดูแลสนามหญ้าให้มนั เขียว ดูแล พื้นที่วิ่งให้มันสะอาดสะอ้าน ทาสีสักหน่อยให้มันดูแจ่มใส ดูแล้วใจสบาย เอาล่ะ แค่สามอย่างนีแ้ หละ สนามหนึง่ ใช้เท่าไหร่วา่ มา แล้วทำ�แบบปูพรม เลยนะ ทุกวันนี้ให้เดินลงไปในหญ้าเรายังไม่อยากจะเดินเลย เพราะมันมี แต่ไมยราบที่มันมีหนามด้วยน่ะ สนามมันอยู่ที่การดูแลบำ�รุงให้ดี มันมี วิธีอยู่ สนามหญ้าสวยๆ ของผมเนี่ย ผมท้าเลยนะว่ามานอนได้เลย นุ่ม พอสมควร แล้วหญ้าก็สะอาด ทัง้ หลายทัง้ ปวงนีค้ อื เราต้องการทำ�ให้ใจคน ที่มารู้สึกว่ามันน่าลงไปเล่น ไม่ใช่ว่าเฮ้ย! นี่มาถูกที่รึเปล่าเนี่ย สนามกีฬา ทำ�ไมมันเป็นอย่างนี้ ธันวาคม 2558

l

Creative Thailand

l 29


THE CREATIVE มุมมองของนักคิด

กีฬามัน Stand alone ไม่ได้ ถ้าคุณ Stand alone ก็หมายความว่าวันนี้ คุ ณ ต้ อ งการแค่ นั ก กี ฬ ากั บ คนที่ อยากเล่นกีฬา ซึง่ ผิด วันนีส้ นามกีฬา ต้องการประชาชน สนามกีฬาต้องการ ที่จะเป็นส่วนหนึ่งของคอมมูนิตี้ นอกจากนี้ สนามกีฬาผมนีไ่ ฟสว่างไสวเลยนะ แรกๆ ก็โดนพอสมควร เลยว่า เฮ้ย! นี่มันเปลืองไฟมากเลยนะ ผมก็เอาน่า เปิดไปเถอะเดี๋ยวคน ก็มา แรกๆ เรายังไม่ได้สร้างฟีลให้คนมาใช่ไหม เราก็ให้มนั สว่างๆ ไว้กอ่ น แล้ววันนี้มันก็พิสูจน์ชัดเจน เพราะนี่มีเสียงเรียกร้องให้เปิดถึงเที่ยงคืน ผมจะชนะบาร์แถวรัชดา แถวเกษตร-นวมินทร์แล้วนะ ปัจจุบันนี้ผมดีใจ อย่างหนึ่งคือเทรนด์ของการเที่ยวกลางคืนมันลดลง จะด้วยมูลเหตุอะไร นั้นผมไม่เคยสนใจเพราะผมไม่ใช่คนที่ลงไปดูแล แต่ผมมองว่าผมต้องทำ� ยังไงถึงจะเปิดสนามกีฬาให้ได้ยาวขึ้นๆ ทำ�ยังไงให้ต่อไปนี้สนามกีฬามี อะไรมาเอนเตอร์เทนมากขึน้ เอนเตอร์เทนเนีย่ ถ้าคุณอยากจะเอนเตอร์เทน แบบไหนไปตลอดชีวติ เลยก็ได้นะ อย่างนักร้องเกาหลีใครจะบ้าไปตลอดชีวติ ก็เชิญ แต่สว่ นใหญ่ผ่านไประยะหนึง่ คุณจะรูส้ กึ ว่ามันซํา้ ผมมองว่าคาแรกเตอร์ ของคนไทยเป็นแบบนั้น ดูมาสามสี่ครั้งเขาก็เบื่อแล้ว เพราะฉะนั้นเราต้อง เปลี่ยน จะเปลี่ยนอะไรก็ได้ นี่อีกสองเดือนข้างหน้าคุณมานั่งดูทีวีจอยักษ์ ที่น่ีได้เลยนะ ผมว่าทีวีจอยักษ์นี่ผมเรียกคนมาได้สองสามพันคนสบายๆ เลย ไม่จำ�เป็นต้องเฉพาะวันทีม่ แี มตช์นะ ผมว่าเราเอาอะไรมาฉายก็เรียกคน ก็ได้ เพราะวันนี้คุณเข้าไปโรงหนังเสียตั้งเท่าไหร่ มีห้าร้อยยังแทบหมดตัว เลย ก็พยายามคิดว่าอะไรที่เราจะปรับได้บ้าง ก็ทำ�ก่อน

เพราะฉะนั้นกีฬาต้องเชื่อมโยงกับคน กับชุมชน

ใช่ครับ เราเอาไลฟ์สไตล์หรือวิถีชีวิตของคนไทยมาเป็นตัวเชื่อม กีฬามัน Stand alone ไม่ได้ ถ้าคุณ Stand alone ก็หมายความว่าวันนีค้ ณุ ต้องการ แค่นกั กีฬากับคนทีอ่ ยากเล่นกีฬา ซึง่ ผิด วันนีส้ นามกีฬาต้องการประชาชน สนามกีฬาต้องการที่จะเป็นส่วนหนึ่งของคอมมูนิตี้ ไม่ใช่ขับรถผ่านไป ประตูกล็ อ็ ก ประชาชนจะมาก็ “ขอแลกบัตรหน่อยครับ คุณมาทำ�อะไรครับ จะไปไหนครับ” จะใช้เป็นทางผ่านก็ไม่ได้ ต้องอ้อมไป เสียเวลาไปอีก ชั่วโมงหนึ่ง อย่างรามคำ�แหงตรงนี้นี่ก็เป็นพื้นที่ไม่พึงประสงค์จะผ่าน อยู่แล้วนะ ดังนั้นนี่คือสิ่งซึ่งเราปรับใหม่หมดเลย คุณอยากผ่าน ผ่าน อยากจอด จอด อยากทำ�อะไร ทำ�ไปเลยตามสบาย ตอนนี้ก็เลยมีความ 30 l

Creative Thailand

l ธันวาคม 2558

รู้สึกว่ามันเป็นคอมมูนิตี้หลัก เดี๋ยวนี้แทบจะไม่ต้องวิ่งแล้วนะ เพราะโดน ข้างหลังไล่มา เหมือนสมัยที่ไปเดินงานสงกรานต์แล้วคนเยอะมากจนไม่ ต้องเดินเองเลยน่ะ ก็มีประชาชนเข้ามามากขึ้น คนเลิกงานเสร็จก็มากัน ตอนนี้ผมกลับรู้สึกแฮปปี้นะเวลารถติดอยู่ที่สนาม ผมรู้สึกว่าผมประสบ ความสำ�เร็จมาก ทัง้ ๆ ที่อาจจะโดนด่าก็ได้ การที่ทำ�ให้รถติดในสนามกีฬา ได้มันเป็นความภูมิใจของผมมาก ไม่อยากเชือ่ เลยนะว่าความคิดเริม่ ต้นของผมมันจะมาได้ไกลขนาดนี้ มีเด็กนักศึกษารามฯ มาขอบคุณท่านผู้ว่าฯ ว่าผมจบมาได้เพราะผม ขายของที่ตลาดหน้าสนามนี่ เขาก็บอกว่าเขาไม่รู้ว่าจะทำ�อะไรที่จะทำ�ให้ เขาได้เรียน คือวันนี้คนที่ไม่มีอาชีพคือเขาไม่มีอาชีพจริงๆ นะ คนที่ไม่มี อาชีพคิดจะขายรองเท้าที่ซื้อมา 25 บาท เอามาขายคู่ละ 40 บาทก็โอเค แล้วสำ�หรับเขา วันนี้เรานั่งอยู่ในจุดที่เราหยิบยื่นการอยู่รอดในการดำ�รง ชีวิตให้เขาได้ด้วยการสร้างรากฐานทางกีฬา จนตอนนี้รู้สึกว่าเราได้เลี้ยง คนประมาณ 500 ครัวเรือนให้ได้มีข้าวกิน มีเงินให้ลูกได้เรียนหนังสือ ไม่ น่าเชื่อว่าเริ่มต้นจากแค่คำ�ว่าตลาดนัด ตอนแรกที่ผมทำ� พรรคพวกก็ทัก ว่าจะมาทำ�แบบนี้ทำ�ไม แต่ผมรู้สึกว่าเวลาเราคิดเรื่องอะไร เราเอาใจเรา คิดดีกว่า มันมีความรู้สึกว่ามันใช่ไง แล้วถ้าใครจะด่าเรา เราก็ไม่ใจอ่อน นี่คืออย่างหนึ่ง

จะนำ � แนวคิ ด ไปปรั บ ใช้ กั บ สนามกี ฬ าที่ ไ ม่ ไ ด้ สั ง กั ด การกีฬาแห่งประเทศไทยอย่างไร

ผมว่าเรือ่ งใครเป็นเจ้าของสนามมันไม่ใช่ปญั หา สำ�คัญคือวันนีต้ อ้ งเริม่ จาก เข้าใจไอเดียก่อน ถ้าไอเดียดี เจ้าของสนามก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้าไอเดีย ไม่ดี ก็ไม่มที างทีเ่ ขาจะเห็นด้วยหรือนำ�ไปปฏิบตั ิ ผมก็ใช้วธิ กี ารนีม้ าตลอด อย่างวันนี้เราอาจจะโฆษณาออกไปว่าเราจะรีเซ็ตพื้นที่ที่ให้คนมาวิ่งได้ มาออกกำ�ลังกายได้ ในรูปลักษณ์แบบนี้ ไอเดียแบบนี้ แล้วเจ้าของสนาม แต่ละทีเ่ ขาจะได้มองว่าจะเอาไปใช้ไหม คือเราเป็นหน่วยทีต่ อ้ งคิด เขาเป็น หน่วยที่นำ�เอาความคิดของเราไปใช้ ผมถึงบอกว่าวันนี้ผมดูแลทรัพย์สิน


THE CREATIVE มุมมองของนักคิด

ทั้งหมด เมื่อเราดูแลทรัพย์สินทั้งหมดสิ่งที่เราต้องการก็คือประโยชน์ที่เกิด จากทรัพย์สนิ นัน่ คือพีน่ อ้ งประชาชนได้มาใช้ทรัพย์สนิ นี้ สิง่ ทีไ่ ด้คอื สุขภาพ ทั้งกายและใจ วิธีการที่เราบริหารงานจริงๆ แล้วเป็นแบบนั้นนะ คือทำ� อย่างไรให้เกิดความรู้สึกชัดขึ้นเป็นลำ�ดับ คือผมว่าวันนี้เราอยากจะแสดง จุดยืนว่ากีฬาเป็นเรือ่ งทีส่ ร้างความสุข สร้างเศรษฐกิจ สร้างให้คนได้คดิ เป็น ทำ�เป็นมากกว่า

มีแผนงานการจัดกิจกรรมกีฬาระดับโลกเพือ่ ประชาสัมพันธ์ กีฬาและสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวกีฬาหรือไม่

ขณะนีเ้ ราจะมีสปอร์ตอีเวนต์ซงึ่ เป็นโปรแกรมการท่องเทีย่ วด้วยในระหว่าง ปีพอสมควร ซึ่งมันเป็นงานระดับนานาชาติ มีวอลเลย์บอลชายหาด มี แข่งขันรถยนต์นานาชาติ World Touring Car มีแข่งกอล์ฟ ซึ่งจะจัด ประมาณ 8 สนาม คือ 8 เดือนในหนึ่งปี ซึ่งอาจจะมีกีฬาอื่นๆ อีก เทนนิส อาจจะมีนิดหน่อยแต่เรากำ�ลังศึกษากันอย่างหนักเลย เพราะว่าเราไม่มี สเตเดียมที่พร้อมรองรับคนสัก 2 หมื่นคน จริงๆ ปริมาณคนดูมันจะอยู่ที่ ประมาณ 2 หมื่น แต่เรารองรับได้แค่ 7 พัน เราจะเสียตรงนั้นพอสมควร ก็กำ�ลังศึกษาอยู่ว่าจะทำ�ยังไง ส่วนกีฬาทางทะเลนี่ก็ชัดเจน พวกเจ็ตสกี เรือใบ อะไรพวกนี้

อีกอันที่เราคิดว่าช่วยได้คือฟุตบอล ฟุตบอลนี่ไม่ต้องไปคิดอะไรมาก มันจะมีระบบของมันอยู่แล้ว แต่ว่าเทคนิคคือเดิมจะมีการจัดในลักษณะ ของการเป็นเจ้าภาพร่วม (Co-host) ใช่ไหม อย่างญี่ปุ่นกับเกาหลีใต้ แต่ ของเราจะทำ�เป็น Combined Host คือจับมือร่วมกันเลย 4 ประเทศใน แนวตั้ง เวียดนาม ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ ร่วมกันเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ บอลโลก เพราะผมมองว่าด้วยความพร้อมทีม่ อี ยูพ่ อสมควรแล้ว Combined Host ก็เป็นตัวเลือกหนึ่งที่เราอยากจะเห็น แต่ว่ามันคงอีกนานพอสมควร ก็คงจะเขียนเป็นยุทธศาสตร์ไว้ให้รุ่นลูกๆ เราทำ� เพราะวันนี้ฟีฟ่าเขาศึกษามาแล้วว่าแข่ง 4 ทีมมันน้อยไป อนาคตก็ อาจจะเป็น 6 กรุ๊ป 6 ทีม เท่ากับทั้งหมด 36 ทีม แต่ถามว่าจัดบอลโลก 28 วันนี่ จะต้องสร้างสนามใหม่สนามหนึง่ เลยเหรอ มันยุง่ นะ ผมก็มองว่า ถ้าเราจะทำ�ให้เสร็จแบบไม่ตอ้ งจ่ายเยอะ เราก็ตอ้ งบาลานซ์ ไทยมี 1 สนาม คือราชมังคลากีฬาสถาน มาเลเซียเขามีอยู่แล้ว 2 สนาม แล้วก็เวียดนาม กับสิงคโปร์ ก็แบ่งกันไป มาเลเซียมี 2 สนาม เขาลงทุนมาแล้ว เราก็อาจ จะให้เขาจัดพิธีปิด ตอนแข่งเขาก็รับไป 2 กรุ๊ป เราอาจจะจัดพิธีเปิด ไทย เราก็ต้องเรียนรู้ที่จะหัดเกาะรถไฟบ้าง ไม่จำ�เป็นต้องเป็นหัวรถจักรอยู่ ตลอดก็ได้ หัดเป็นโบกี้ที่สองที่สามบ้างก็ได้นะ ธันวาคม 2558

l

Creative Thailand

l 31


THE CREATIVE มุมมองของนักคิด

แพ้ชนะเป็นอีกเรื่องหนึ่ง แน่นอนว่า ถ้าวันนี้ชนะ คนชนะก็ต้องดีใจ ส่วน คนแพ้ก็แปลว่าวันนี้คุณเล่น ไม่ เ ต็ ม ที่ ก็ไปฟิตซ้อมมาใหม่ ผมชอบใช้คำ�ว่า “ไปฟิตมาใหม่” เป็นประจำ�ในการทำ�งาน เวลาด่าลูกน้องไปเสร็จ ก็จะจบด้วย คำ�ว่า “เฮ้ย! ไปฟิตมาใหม่” เหมือนกับ เล่นกีฬานั่นแหละ

คุณเชื่อว่ากีฬาเป็นตัวสร้างใจใช่ไหม

โอ้โห! ชัดเลยครับ คุณมานั่งอยู่ในสนามกีฬาสัก 45 นาที เอาแค่ครึ่งแรก คุณจะได้ Spirit of Sport กลับไปไม่รู้เท่าไหร่ จิตวิญญาณจากเกมกีฬา พวกนี้ที่เกิดขึ้นในระหว่างเกม มันจะเทรนตัวเราเอง เมื่อวันก่อนผมก็ไป นั่งดูฟุตบอลคู่บุรีรัมย์แข่งกับศรีสะเกษที่สนามศุภฯ ทำ�ไมผมถึงเลือกไปดู คู่นี้รู้ไหม เพราะว่าเป็นทีมที่มาจากต่างจังหวัดทั้งคู่ แต่เป็นทีมที่สร้างทีม ขึ้นมาอย่างมีระบบมากๆ ผมเคยไปเยี่ยมแคมป์นักกีฬานี่ ผมอยากให้ลูก ผมเป็นแบบนีจ้ ริงๆ นะ แค่รองเท้าทีเ่ ขาวางเรียงไว้ ส้นรองเท้านีอ่ ยูบ่ นเส้น ที่ขีดไว้เลยนะ เสื้อผ้าของใช้อะไรต่างๆ ต้องยังไงนี่เป๊ะเลย คือค่าตัวคุณ 3 แสนบาทต่อเดือน ถ้าคุณไม่สามารถทำ�เรื่องนี้ได้ คุณไม่ควรมารับเงิน 3 แสนบาท เพราะไม่อย่างนั้นแข่ง 90 นาที คุณก็จะเล่นสัก 30 นาที นอกนั้นคุณก็เดินเอา แล้วบอลมันจะดูสนุกได้ยังไงถูกไหม เพราะฉะนั้น สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องของใจทั้งนั้น วันนั้นผมไปดูกีฬาผมอยากเห็นอะไร ผมอยากเห็น Spirit of Sport ผมเก็งมาก่อนหน้านั้นแล้วประมาณสักเดือนหนึ่งนะว่าสนามจะเต็ม หรือเปล่า ผมจะวัดใจคนทางอีสานทีต่ อ้ งเดินทางมาไกลพอสมควร ปรากฏ ว่าวันนั้น 3 หมื่นนะ ใช้ได้เลย ถ้ามันไม่ด้วยสปิริต แล้วมันจะด้วยอะไร ที่คนจะมารวมกันได้ มาร้องเพลงๆ เดียวกันได้ มาใส่เสื้อสีเดียวกันได้ แพ้ชนะเป็นอีกเรื่องหนึ่ง แน่นอนว่าถ้าวันนี้ชนะ คนชนะก็ต้องดีใจ ส่วน คนแพ้ก็แปลว่าวันนี้คุณเล่นไม่เต็มที่ ก็ไปฟิตซ้อมมาใหม่ ผมชอบใช้คำ�ว่า “ไปฟิตมาใหม่” เป็นประจำ�ในการทำ�งาน เวลาด่าลูกน้องไปเสร็จ ก็จะจบ ด้วยคำ�ว่า “เฮ้ย! ไปฟิตมาใหม่” เหมือนกับเล่นกีฬานั่นแหละ 32 l

Creative Thailand

l ธันวาคม 2558

CR EATIVE INGRED IENTS หลักในการทำ�งาน ผมบอกเลยนะว่าการเปลีย่ นแปลงคือการสร้างสรรค์ เพราะฉะนัน้ ในการทำ�งาน ภาคปฏิบัติการก็ต้องเปิดโอกาสให้คนคิดมากๆ เหมือนกัน บางทีผมบ้าๆ เช้ามาปุ๊บ ผมเปลี่ยนมุมห้องทำ�งานหมดเลย โต๊ะทำ�งานโต๊ะรับแขก ไม่งั้นมัน ซํ้าไง ก็ไม่เกิดความสร้างสรรค์ อีกอย่างถ้าสังเกตจะเห็นว่า ทุกอย่างผมจะโยง ไปทีใ่ จตลอด เพราะสำ�หรับผมสิง่ นีส้ ำ�คัญทีส่ ดุ คุณจะฉลาดปราดเปรือ่ งมาจาก ไหนก็แล้วแต่ แต่ถ้าใจคุณไม่นิ่งก็ไปต่อไม่ได้ กิจกรรมเวลาว่าง ผมชอบเดินห้าง สำ�หรับผมมีสองอย่าง หนึ่งคือไปดูวิวัฒนาการพวกดีไซน์ ของห้าง ของแต่ละร้าน แต่ละผลิตภัณฑ์ ผมจะสังเกตว่าแรงบันดาลใจมันคือ อะไร เพราะผมต้องเป็นคนคิดต้นแบบ เป็นคนตัง้ แบบอย่าง เวลาเราโค้ชลูกน้อง เราต้องยกตัวอย่างที่ถูกต้องได้ มันจะเร็วและตรง สองคือไปดูสถานการณ์ทาง เศรษฐกิจ คือมันบอกได้ชัดนะ ผมสังเกตแม้กระทั่งวันนี้ทำ�ไมไม่มีกล้วยหอม ขาย แล้วตกหวีละเท่าไหร่ แปลว่ามันขาดตลาดหรือเปล่า หรือราคามันขึ้นจน กินไม่ลงแล้ว และสุดท้ายจะเดินไปที่ฟู้ดคอร์ทว่าเป็นยังไง คนเขากินยังไง อยู่ ยังไง ยังเห็นเด็กกินนํ้าอัดลมหวานๆ หรือดูแม้กระทั่งนํ้าปลา นํ้าตาล ก็สังเกต ว่านํ้าตาลหมดเร็วมาก เพราะฉะนั้นเรื่องภาวะสุขภาพมันดูที่การบริโภคได้ สิ่งละอันพันละน้อยแบบนี้ไม่ต้องไปสังเกตไกลๆ ที่ไหนหรอก



spoon-tamago.com

designingthecity.files.wordpress.com

CREATIVE WILL คิด ทำ� ดี

เรื่อง: ปิยะพร สวัสดิ์สิงห์

เมือ่ สนามกีฬาทำ�ได้มากกว่าการเป็นลานเล่นกีฬาในแบบทีร่ จู้ กั และผูค้ นมองเห็นคุณค่าขององค์ประกอบต่างๆ ในสนามกีฬามากกว่า เดิม จึงเกิดผลผลิตจากความคิดสร้างสรรค์ที่ไม่ได้ช่วยแค่มอบสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงให้ผู้ใช้งาน แต่ยังเป็นประโยชน์ต่อความ เป็นอยู่ในสังคมส่วนรวม พร้อมส่งต่อเรื่องราวทางจิตใจที่ยากจะหาสิ่งใดมาทดแทน ทีป่ ระเทศเนเธอร์แลนด์ ชาวดัตช์มคี วามกังวลเรือ่ งอุทกภัย เพราะพืน้ ทีส่ ว่ นใหญ่ของ ประเทศอยูต่ า่ํ กว่าระดับนํา้ ทะเล เมื่อฤดูฝนมาพร้อมกับฝนที่ตกหนัก จึงทำ�ให้พวกเขา ต้องเผชิญภัยนํ้าท่วมมาตลอด ดังนั้นสิ่งปลูกสร้างและอาคารบ้านเรือนของชาวดัตช์ จึงจำ�เป็นต้องมีความสามารถในการจัดการนํา้ เป็นส่วนประกอบสำ�คัญ เพือ่ รับมือกับ ฤดูฝนได้อย่างมีประสิทธิภาพ Water Square Benthemplein คือสนามกีฬาที่วาง ระบบการจัดการนํ้าเผื่อไว้ในกรณีนํ้าท่วมของชาวดัตช์ เปิดให้บริการเมื่อเดือน ธันวาคม ปี 2013 ทีเ่ มืองรอตเตอร์ดมั (Rotterdam) ออกแบบโดยเอช.เอ. มาสแคนต์ (H.A. Maaskant) สนามกีฬาแห่งนี้ ประกอบด้วยสนามที่เป็นอ่างเก็บนํ้า 3 อ่าง อยู่ ระหว่างตึก Technikon Complex มีการวางผังการไหลของนํ้าจากบริเวณโดยรอบ และด้วยระดับของสนามทีต่ าํ่ กว่าพืน้ ราบปกติ ล้อมรอบด้วยขัน้ บันไดทีเ่ ป็นอัฒจันทร์ นัง่ ชมกีฬา ในวันทีฝ่ นตกหนักจึงสามารถกลายเป็นอ่างเก็บนํา้ ได้งา่ ยดาย ตัวพืน้ ทาสี ฟ้าคล้ายไอโซบาร์ (Isobar) บนแผนที่ และรูปทรงซิกแซก คดเคี้ยว เป็นเส้นทางที่ดี ในการไหลของนํา้ อีกทัง้ ยังมีการต่อท่อทีเ่ ชื่อมมาจากใต้หลังคาให้นา้ํ ฝนไหลมารวมกัน ที่อ่างก่อนระบายไหลลงสู่แม่นํ้าใหญ่ สนามกีฬาแห่งนี้สามารถรองรับนํ้าได้มากกว่า 1.8 ล้านลิตร ในฤดูที่สภาพอากาศยังแห้งปกติ เราจะเห็นพื้นที่นี้เป็นลานกีฬาที่ใช้ เล่นกีฬาหลากหลายประเภท ทั้งบาสเกตบอล ฟุตบอล วอลเลย์บอล และสเกต เป็น พื้นที่สาธารณะสำ�หรับนั่งพักผ่อนหย่อนใจ ตลอดจนเป็นโรงละครกลางแจ้ง แต่เมื่อ ถึงฤดูฝน สนามกีฬาอเนกประสงค์กจ็ ะถูกปรับเปลีย่ นให้เป็นอ่างเก็บนํา้ ฝนขนาดใหญ่ ที่ช่วยบรรเทาให้ชาวดัตช์ไม่ต้องเผชิญนํ้าท่วมโดยไม่มีทางแก้ใดๆ ในอีกด้านหนึ่งที่ประเทศญี่ปุ่น ชาวญี่ปุ่นมีความช่างคิด การรังสรรค์สิ่งต่างๆ จึงล้วนเปี่ยมไปด้วยเรื่องราวที่น่าสนใจอยู่เสมอ หลังได้รับโอกาสเป็นเจ้าภาพกีฬา

34 l

Creative Thailand

l ธันวาคม 2558

โอลิมปิกในปี 1964 Tokyo National Stadium หรือสนามกีฬาโตเกียว ก็ได้ถือกำ�เนิด ขึ้นเพื่อใช้รองรับกองทัพนักกีฬาและเหล่ากองเชียร์จากนานาประเทศ อย่างไรก็ตาม เมื่อปี 2014 ที่ผ่านมา สนามกีฬาโตเกียวก็ต้องปิดตัวลงหลังเปิด ใช้บริการครบ 50 ปี ทั้งนี้เพราะญี่ปุ่นเตรียมสร้างสนามกีฬาแห่งใหม่สำ�หรับกีฬา โอลิมปิกที่จะกลับมาจัดที่โตเกียวอีกครั้งในปี 2020 การปิดตัวของสนามกีฬา โตเกียวนี้จุดประกายไอเดียใหม่ให้แก่บริษัทเฟอร์นิเจอร์ Karimoku เมื่อบริษัทไม่ ต้องการให้เก้าอี้ภายในสนามกีฬาถูกกำ�จัดทิ้งอย่างสูญเปล่า จึงนำ�ที่นั่งกลับมาสร้าง เอกลักษณ์ตามแบบฉบับของคนญี่ปุ่น เพิ่มเรื่องราวให้แก่ที่นั่งแห่งประวัติศาสตร์นี้ โดยดัดแปลงเป็นเก้าอี้ดีไซน์ใหม่ในจำ�นวนจำ�กัดทั้งหมด 3 แบบ ได้แก่ (1) Tokyo Stool เก้าอีท้ อ่ี อกแบบอย่างเรียบง่าย มีขนาดเล็กและเบา ขาเก้าอีท้ ำ�จากไม้ที่เฉียงแบบ สี่เหลี่ยมคางหมู ซึ่งเป็นไอเดียที่ได้มาจากหอคอยโตเกียว (Tokyo Tower) นั่นเอง ออกแบบโดย Drill Design ผลิตจำ�นวน 350 ตัว (2) Pony Chair เป็นเก้าอี้ที่มี พนักพิง ทรงคล้ายม้าตัวเล็กๆ ผูอ้ อกแบบเชือ่ ว่าเก้าอีร้ ปู แบบนีค้ อื บันทึกความทรงจำ� ของผู้คนที่มีต่อสนามกีฬาโตเกียว ออกแบบโดยฮิโรโกะ ชิราโตริ (Hiroko Shiratori) ผลิตจำ�นวน 150 ตัว (3) Kokuritsu Bench เก้าอี้คู่ที่ออกแบบจากประสบการณ์ที่คน ดูกีฬามักมากับอีกหนึ่งคนสำ�คัญเพื่อนั่งชมไปด้วยกัน ออกแบบโดยเจน ซูซูกิ (Gen Suzuki) ผลิตจำ�นวน 200 ตัว ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่าเพียงให้ดีไซน์ใหม่ๆ ก็ทำ� ให้สิ่งของที่ไม่ใช้แล้วจากสนามกีฬา กลายเป็นของทีน่ า่ ใช้ ไม่สญู เปล่า ทัง้ ยังบรรจุ ความทรงจำ�ดีๆ เอาไว้ได้ดว้ ย ที่มา: บทความ “Benthemplein Water Square: An Innovative Way to Prevent Urban Flooding in Rotterdam” จาก c40.org บทความ “Flooding Sqaure” จาก a10.eu / บทความ “This Sports Field Also Helps Save the City from Flooding” จาก fastcoexist.com / บทความ “Own a Piece of History With Recycled Seating From the Tokyo National Stadium” โดย Johnny จาก spoon-tamago.com




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.