มกราคม 2559 ปีที่ 7 I ฉบับที่ 4 แจกฟรี
Creative City Manchester CREATIVE THAILAND I 1
The Creative ปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา wikipedia.org
Local Wisdom ไหมอีรี่
CREATIVE THAILAND I 2
Let’s go invent tomorrow instead of worrying about what happened yesterday.
มุ่งสร้างวันพรุ่งนี้ แทนที่จะกังวลกับสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว
CREATIVE THAILAND I 3
Jake Melara
Steve Jobs ผู้บุกเบิกนวัตกรรมเปลี่ยนโลก
Contents : สารบัญ
The Subject
6
เมือ่ โชเฟอร์กลายร่างเป็นซอฟต์แวร์ / ไม่รวยก็ท�ำ งาน สร้างสรรค์ในฝันได้ / ระบบแชร์จักรยานสาธารณะ ที่ดีที่สุดในโลก / เร็วกว่าโทร ต้องกดปุ่ม
Creative Resource
Featured Book / Books / Documentary
8
Matter 10 เห็ด นวัตกรรมใหม่สำ�หรับวัสดุชีวภาพ
Local Wisdom
12
Cover Story
14
ไหมอีรี่
The New Economy: ออนไลน์อย่างไร จึงมั่งคั่ง?
Insight 20 What’s the New Economy?
Creative Startup
22
Creative City
24
The Creative
28
Creative Will
34
บอล-วชิราวุธ ถาคำ�มี: Start from what you have
Manchester จิตวิญญาณแห่งผู้นำ�
The Conductor: ปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา
A Growing Culture
บรรณาธิการอำ�นวยการ l อภิสทิ ธิ์ ไล่สตั รูไกล ทีป่ รึกษา l ชมพูนทุ วีรกิตติ, พิชติ วีรงั คบุตร, จรินทร์ทพิ ย์ ลียะวณิช, พจน์ องค์ทวีเกียรติ บรรณาธิการ l พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์ กองบรรณาธิการ l ศิริอร หริ่มปราณี, มนฑิณี ยงวิกุล, เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร, กริยา บิลยะลา, ชลดา เจริญรักษ์ปัญญา, อําภา น้อยศรี, ปิยวรรณ กลิ่นศรีสุข, นันท์นรี พานิชกุล เลขากองบรรณาธิการ l วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ ศิลปกรรม l ชิดชน นินนาทนนท์ สมาชิกสัมพันธ์ l ปิยะพร สวัสดิ์สิงห์ ประสานงานกองบรรณาธิการ l ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ จัดทำ�โดย l ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) ชั้น 24 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอร์ 622 สุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 โทร. 02 664 7667 แฟกซ์. 02 664 7670 ติดต่อลงโฆษณาได้ที่ creativethailand@tcdc.or.th พิมพ์ที่ l บริษัท สยามพริ้นท์ จำ�กัด โทร. 02-509-0068 แฟกซ์. 02-509-2971-2 จำ�นวน 30,000 เล่ม นิตยสารฉบับนีใ้ ช้หมึกพิมพ์จากนา้ํ มันถัว่ เหลืองทีไ่ ม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทัง้ ยังเป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อม และใช้กระดาษ รีไซเคิล ซึ่งเป็นผลผลิตของผู้ประกอบการไทย จัดทำ�ภายใต้โครงการ “Creative Thailand สร้างเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์” โดยศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ สำ�นักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) ซึง่ มีเป้าหมายในการเผยแพร่ความรูเ้ กีย่ วกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) และผลักดันการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย
อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส CREATIVE THAILAND I 4 แสดงที่มา-ไมใชเพื่อการคา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย
facebook.com/starshiptech
Editor’s Note : บทบรรณาธิการ
ก่อนการเริ่มต้นใหม่ๆ คนเรามักมองย้อนกลับไปดูสิ่งที่ผ่านมา เพื่อที่ว่าเราจะ ไม่ผิดพลาด หรือเราจะสมบูรณ์แบบมากขึ้นได้อย่างไร และในวันที่เหตุการณ์ ทีอ่ กี ซีกโลกหนึง่ ส่งผลกระทบอย่างรวดเร็วและกว้างขวางสูค่ นในอีกซีกโลกหนึง่ เราจึงไม่อาจปฏิเสธการรับรูแ้ ละเข้าใจบริบทของโลก เพือ่ นำ�ไปสูก่ ารเตรียมพร้อม และรับมือกับอนาคต ถ้าไม่สามารถคาดการณ์เหตุการณ์กอ่ การร้าย หรือความสูญเสียจากภัยพิบตั ิ ธรรมชาติ เศรษฐกิจโลกก็ยงั แกว่งไกวไปตามปัจจัยทีไ่ ร้ชวี ติ ชีวา เช่น การประกาศ อัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) การเติบโตของเศรษฐกิจจีน การอยูร่ อดของสหภาพยุโรป หรือราคานาํ้ มันทีค่ าดว่าจะดิง่ ลงไปอีก โดยเฉพาะ ปัจจัยราคานํ้ามันนี้ นับว่าเป็นเรื่องที่พลิกความคาดหมาย เพราะหากมองย้อน ไปราว 3-4 ปีก่อน คงไม่คิดว่ากลุ่มโอเปกที่กุมตลาดนํ้ามันใหญ่ของโลกจะต้อง เผชิญภาวะที่สหรัฐอเมริกาได้ก้าวขึ้นมาพัฒนาเทคโนโลยีการสกัดนํ้ามันจาก ชั้นหินดินดาน (Shale Oil) ได้ และปัจจุบันไม่ได้จำ�กัดวงอยู่ในสหรัฐฯ เท่านั้น แต่ได้ขยายวงการผลิตไปทั่วโลก เราจึงได้เห็นราคานํ้ามันที่ร่วงจากมากกว่า 100 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลเมื่อ 18 เดือนก่อนมาอยู่ที่ราว 30 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ประกอบกับอิหร่านทีป่ ระกาศเพิม่ กำ�ลังการผลิตนํา้ มันในปีน้ี หลังจาก นานาชาติผอ่ นคลายมาตรการควาํ่ บาตรทางเศรษฐกิจ ซึง่ จะนำ�ไปสูส่ ถานการณ์ นา้ํ มันล้นตลาดและกดดันให้ราคาลดตํา่ สุดในรอบ 7 ปี ระบบเศรษฐกิจทีใ่ หญ่โต มูลค่าการไหลเวียนและโยกย้ายเงินลงทุนมหาศาลนัน้ ส่งผลถึงการใช้ชวี ติ ของ เราในทางใดทางหนึ่ง หากมองในด้านอุปสงค์อุปทาน ความก้าวหน้าของ เทคโนโลยีทำ�ให้พลเมืองทั่วโลกได้ใช้นํ้ามันราคาถูกลง ซึ่งเป็นต้นทุนในชีวิต ประจำ�วันและภาคการผลิต แต่การรับมือกับอนาคตนั้น ไม่สามารถนั่งรอ อานิสงส์ของการเปลี่ยนแปลงในระดับเศรษฐกิจมหภาคแต่เพียงอย่างเดียว เราจำ�เป็นที่จะต้องสร้างทางเลือกและโอกาสใหม่ๆ จากการเปิดกว้างทาง นวัตกรรมที่ไม่หยุดนิ่ง
เมือ่ เร็วๆ นี้ ไฟแนนเชียลไทมส์ได้น�ำ เสนอรายงานวิเคราะห์ของศูนย์วจิ ยั พิว (Pew Research Center) สหรัฐอเมริกา นับเป็นครัง้ แรกในรอบกว่า 4 ทศวรรษ ที่ชนชั้นกลางชาวอเมริกัน ซึ่งเป็นกำ�ลังหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีสัดส่วนน้อยกว่าชนชั้นบนและชนชั้นล่างรวมกัน โดยชนชั้นกลางลดลงจาก ร้อยละ 62 ในปี 1971 เหลือร้อยละ 49.9 หรือ 120.8 ล้านคนในปีนี้ ขณะที่คน จากครัวเรือนทีม่ รี ายได้สงู และรายได้ตาํ่ รวมกันมีสดั ส่วนร้อยละ 50.1 หรือ 121.3 ล้านคน โดยไฟแนนเชียลไทมส์ได้วเิ คราะห์ถงึ การเปลีย่ นแปลงโครงสร้างประชากร ของสหรัฐฯ ว่า คนทีส่ ามารถปรับตัวได้เร็วและสร้างประโยชน์จากการยกระดับ ของเทคโนโลยีอย่างทันท่วงทีจะประสบความสำ�เร็จ สร้างรายได้ และก้าวขึ้น ไปสู่ระดับบน ส่วนผู้ที่ปรับตัวไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ก็จะร่วงไปสู่กลุ่มผู้มี รายได้ตํ่า ส่งผลให้กลุ่มผู้มีรายได้ปานกลางลดจำ�นวนลง เรียกได้ว่าผู้ชนะจาก เทคโนโลยีกับโลกาภิวัตน์ก็จะสร้างรายได้ในระดับกลุ่มบนของพีระมิดนั่นเอง ยกตัวอย่างการเอาชนะกับดักโครงสร้างการผลิตแบบเก่า อดีตผูก้ อ่ ตัง้ สไกป์ (Skype) อาห์ที เฮนลา (Ahti Heinla) ได้ตั้งบริษัทใหม่ “สตาร์ชิป เทคโนโลยี” (Starship Technologies) ซึ่งอยู่ระหว่างการทดสอบหุ่นยนต์ส่งของขับเคลื่อน อัตโนมัติที่พัฒนาขึ้นเพื่อปรับปรุงระบบการขนส่งสินค้าในท้องถิ่น โดยหุ่นยนต์ สามารถบรรทุกสินค้าได้ราวสองถุงช้อปปิ้ง และใช้เวลาส่งของ 5-30 นาทีจาก ศูนย์บริการหรือร้านค้าไปยังบ้านลูกค้าภายในเขตบริการ โดยเตรียมทดลองใช้ หุน่ ยนต์ขนส่งสินค้าในกรุงลอนดอนและอีกสองเมืองของสหรัฐฯ ในฤดูใบไม้ผลิปหี น้า เพราะโลกของเรานั้นเต็มไปด้วยข่าวร้ายและข่าวดี มีทั้งทางเลือกของ โอกาสและความล้มเหลว และแน่นอนว่า การสร้างอนาคตที่ดีกว่าไม่อาจรอ ปาฏิหาริย์ แต่เกิดจากการไม่หยุดนิง่ คิดค้นบนฐานความรู้ ความสร้างสรรค์ และ รู้จักเอาประโยชน์จากการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ ของโลก และ ผลลัพธ์ทไี่ ด้ยอ่ มจะเป็นโฉมหน้าใหม่ของอนาคตทางเศรษฐกิจทีเ่ รามีความหวัง นั่นเอง อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล บรรณาธิการอํานวยการ Apisit.L@tcdc.or.th
CREATIVE THAILAND I 5
The Subject : ลงมือคิด เรื่อง: ชิน วังแก้วหิรัญ
ไม่รวยก็ทำ�งานสร้างสรรค์ในฝันได้
kickstarter.com
machinedesign.com
เมื่อโชเฟอร์กลายร่างเป็นซอฟต์แวร์
ช่วงสองสามปีทผี่ า่ นมา ธุรกิจบริการแท็กซีอ่ ย่าง Uber และ GrabTaxi เข้าไป นั่งอยู่ในใจของผู้โดยสารได้อย่างไม่ยากเย็น เพราะสามารถดึงคุณสมบัติ ของโลกยุคดิจิทัลมาแก้ไขปัญหาของผู้โดยสารที่เหนื่อยหน่ายจากการถูก ปฏิเสธจากคนขับ ถูกพาไปในเส้นทางทีอ่ อ้ ม หรือเสีย่ งต่อการตัดสินใจต่างๆ ที่คาดเดาไม่ได้ของคนขับ แต่จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าในอีกไม่กี่ปีนี้ เราจะมี ทางเลือกในการโดยสารแท็กซี่รูปแบบใหม่ที่แก้ไขทุกปัญหาได้ ด้วยการให้ ตัวรถสามารถขับเคลื่อนได้เองแบบปราศจากคนขับ Google นับเป็นผูบ้ กุ เบิกนวัตกรรม “รถขับเคลือ่ นอัตโนมัต”ิ (Google Self-Driving Car) มาตั้งแต่ปี 2009 โดยเริ่มต้นจากสมมติฐานที่ว่าตัวแปร หลั ก ที่ ทำ � ให้ เ กิ ด ปั ญ หาหรื อ อุ บั ติ เ หตุ ต่ า งๆ บนท้ อ งถนนล้ ว นเกิ ด จาก “การตัดสินใจของคนขับ” จึงอาจจะง่ายและปลอดภัยกว่าถ้าเรามีรถที่ ขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเอง Google จึงผุดไอเดียสร้างรถต้นแบบที่พาเราไป ทุกที่อย่างปลอดภัยด้วยกลไกการทำ�งานของเลเซอร์ตรวจจับสัญญาณและ ซอฟต์แวร์ที่ชื่อว่า “กูเกิลโชเฟอร์” (Google Chauffeur) ถึงตอนนี้ได้มีการ วิ่งทดสอบระยะทางไปแล้วกว่า 1.8 ล้านไมล์ และมีบันทึกการเกิดอุบัติเหตุ เพียงไม่กี่กรณี โดยทั้งหมดเกิดจากการถูกชนท้ายขณะชะลอจอดตาม สัญญาณไฟแดง เพราะความสามารถในการปฏิบัติตามกฎจราจรอย่าง เคร่งครัดของซอฟต์แวร์ ไอเดียการพัฒนานีส้ น่ั สะเทือนวงการบริการแท็กซี่ ทัง้ ในซิลคิ อน แวลลีย์ ที่ยักษ์ใหญ่แห่งวงการไอทีหลายเจ้า ไม่ว่าจะเป็น Apple หรือ Uber ก็หนั มา เร่งพัฒนารถไร้คนขับขึ้นแข่งขันในตลาด ข้ามมาจนถึงฝั่งเอเชีย Samsung หรือ Baidu ก็ประกาศจะปล่อยรถยนต์ขบั เคลือ่ นอัตโนมัตมิ าวิง่ ให้บริการบน ท้องถนนให้ได้ภายใน 3 ปี ด้วยเกรงว่าเมื่อถึงเวลาที่เจ้านวัตกรรมนี้ของ Google ออกมาโลดแล่นบนถนนจริง จะครองพื้นที่เป็นเจ้าตลาดบนท้อง ถนนก่อนใครเพื่อน เพราะ Google วางแผนจะให้ Google Self-Driving Car เป็นบริการสาธารณะที่ไม่เสียค่าโดยสารใดๆ (Free-Ride) ขอแค่เป็น พื้นที่วางโฆษณาตามแบบฉบับธุรกิจสุดคลาสสิกของ Google ได้อย่างเดิม ก็เพียงพอ
ย้อนเวลากลับไปในช่วงก่อนกำ�เนิดนวัตกรรมการระดมทุนในรูปแบบของ Crowdfunding อาจจะดูเป็นเรือ่ งทีเ่ ป็นไปไม่ได้เลยทีส่ ามสิง่ ทีด่ จู ะไม่เกี่ยวกัน อย่างศิลปิน การบริจาคเงินลงกล่อง และเวิลด์ไวด์เว็บ จะรวมตัวเป็นหนึ่ง เดียวกันที่ก่อให้เกิดผลงานสร้างสรรค์ต่างๆ แก่โลกกว่า 90,000 โครงการ อย่างที่ Kickstarter หนึ่งในนวัตกรรมการระดมทุนแห่งศตวรรษที่ 21 กำ�ลัง ทำ�อยู่ การเติบโตขึน้ อย่างมัน่ คงด้วยการสนับสนุนจากผูใ้ ช้กว่า 10 ล้านคนทัว่ โลกของ Kickstarter ท้าทายกรอบความคิดสากลที่ว่าถ้าคิดจะเป็นศิลปิน จะต้องมีเงินถุงเงินถังอยูแ่ ล้วเท่านัน้ ถึงจะประสบความสำ�เร็จได้โดยไม่เจ็บตัว เพราะ Kickstarter ได้ยื่นมือเข้ามาเป็นสื่อกลางสำ�หรับคนทั่วไปที่มีใจอยาก สร้างสรรค์ผลงานของตัวเองให้เป็นจริง ผ่านการเปิดหมวกระดมทุนเงินบน หน้าเว็บของตนเอง (Online Crowdfunding) ไม่ว่าจะเป็นไอเดียหนัง กลางแปลงบนดาดฟ้า หรือความฝันจะทำ�ละครเวทีในโรงละครชั้นนำ�ของ ประเทศก็เคยเกิดขึน้ ได้จริงมาแล้ว ขอเพียงกำ�หนดเดดไลน์และงบเป้าหมาย ที่เหมาะสม แล้วความฝันทีจ่ ะทำ�งานสร้างสรรค์แต่ขาดแคลนงบก็เป็นจริงได้ ถึงตอนนี้ Kickstarter ได้สร้างปรากฏการณ์ระดับโลกในหลายวงการมาแล้ว นับไม่ถ้วน ตั้งแต่การสร้างภาพยนตร์เรื่อง Veronica Mars จากผู้บริจาค 91,585 ราย หรือสารคดีเรื่อง Inocente ที่คว้ารางวัลบนเวทีระดับโลกอย่าง ออสการ์ ไปจนถึง Pebble Time สมาร์ทวอชท์ที่สามารถก้าวมาเป็นคู่แข่ง ของ Apple Watch ได้ด้วยเงินทุนกว่า 20 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเมื่อ เทียบกับงบเป้าหมายแล้ว Kickstarter สามารถระดมทุนได้ถึง 400 เท่าเลย ทีเดียว
ทีม่ า: บทความ “Google’s Self-Driving Cars Are Accident-Prone - But It May Not Be Their Fault” โดย Mark Harris จาก theguardian.com / บทความ “Move Over Uber, Google Is Now in the Game” โดย Lulu Chang จาก digitaltrends.com / บทความ “Samsung and Baidu Are Getting into Self-Driving Cars” โดย Sam Byford จาก theverge.com
ทีม่ า: บทความ “How Kickstarter Helped ‘Inocente’ Win an Oscar’ โดย Barbara Chai จาก blogs.wsj.com / บทความ “Pebble Time Shows Us Just How Much Crowdfunding Has Changed” โดย Maddie Stone จาก gizmodo.com / บทความ “How Kickstarter Helped ‘Inocente’ Win an Oscar’ โดย Barbara Chai จาก wsj.com / บทความ “The 10 Most Funded Kickstarter Campaigns Ever” โดย Nina Zipkin จาก entrepreneur.com
CREATIVE THAILAND I 6
เร็วกว่าโทร ต้องกดปุ่ม
businessinsider.com
thecityfix.com
ระบบแชร์จักรยานสาธารณะที่ดีที่สุดในโลก
ในประเทศที่ต้องซื้ออากาศอัดกระป๋อง เพราะอากาศบริสุทธิ์กลายเป็นของ หายากอย่างจีน การเปิดรับนโยบายระบบแชร์จักรยานสาธารณะ (Public Bike-Sharing System) ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในนโยบายสำ�คัญที่ช่วย แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและยกระดับคุณภาพชีวิตด้านการเดินทางของ ชาวเมืองกว่าเจ็ดล้านคนในหางโจว (Hangzhou) เมืองที่ได้รับการยอมรับ ว่ า จั ด การระบบแชร์ จั ก รยานสาธารณะได้ ดี ที่ สุ ด ในโลก เอาชนะอดี ต เมืองหลวงแห่งระบบจักรยานสาธารณะอย่างปารีสไปได้อย่างไม่น่าเชื่อ ระบบแชร์จักรยานที่คนทั่วไปสามารถเช่าจักรยานไปใช้เดินทางระยะ สั้นในระยะเวลาจำ�กัดอาจไม่ใช่เรื่องใหม่สำ�หรับโลก หรือแม้กระทั่งสำ�หรับ ประชาชนชาวจีนเอง แต่เทศบาลเมืองหางโจวสามารถสร้างระบบการแชร์ จักรยานเปี่ยมประสิทธิภาพที่เป็นแบบอย่างให้แก่รัฐบาลทั่วโลกได้ด้วยการ ขยายสถานีจกั รยานให้ครอบคลุมทัว่ ทุกมุมเมืองได้มากถึง 2,700 สถานี โดย แต่ละสถานีจะห่างกันด้วยระยะเวลาเพียง 5 นาที นับเป็นโมเดลที่สร้างบน แนวคิดทีต่ อ้ งการแก้ไข “ปัญหาไมล์สดุ ท้าย” (Last Mile Problem) ของคนเมือง ทีป่ ระสบความยากลำ�บากในการเดินทางจากระบบขนส่งสาธารณะของเมือง ไปถึงจุดหมาย และผู้ใช้เองก็สามารถตรวจสอบจำ�นวนจักรยานที่พร้อมให้ บริการในแต่ละสถานีได้ด้วยแอพพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน และสามารถใช้ บัตรใบเดียวเข้าถึงทุกบริการสาธารณะในเมืองได้ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ ประชาชนหันมาใช้ขนส่งสาธารณะทีค่ รบวงจรแทนรถโดยสารส่วนตัวอันเป็น ต้นตอของมลภาวะทางอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถึงตอนนีห้ างโจวยังคง ครองสถิตเิ มืองทีม่ รี ะบบจักรยานสาธารณะทีด่ ที สี่ ดุ และใหญ่ทสี่ ดุ ในโลกด้วย บริการจักรยานกว่า 70,000 คัน และจะเพิม่ เป็นกว่า 175,000 คันภายในปี 2020
ไม่วา่ จะโลกยุคไหน เวลาก็ยงั เป็นทรัพยากรทีม่ มี ลู ค่ามหาศาล และหลายครัง้ เป็นตัวชี้วัดความเป็นความตายของธุรกิจได้ Domino Pizza เป็นอีกธุรกิจ เดลิเวอรีท่ มี่ องเห็นความสำ�คัญของเวลา เข้าใจพฤติกรรมของผูบ้ ริโภคอย่าง แท้จริง และมองเห็นโอกาสที่โลกยุคสมาร์ทโฟนครองเมืองมอบให้เพื่อสร้าง รายได้และเพิม่ ฐานลูกค้าได้อย่างน่าสนใจ เพราะเลือกออกจากกรอบคิดเดิม และทำ�อะไรใหม่ๆ ทีน่ อกเหนือไปจากการทำ�โปรโมชัน่ ลดแลกแจกแถมอย่าง ที่ฝ่ายการตลาดของบริษัทพิซซ่าทั่วไปนิยมทำ� Domino Pizza เลือกลงทุนในการมอบ “ปุ่มสั่งพิซซ่า” (Easy Order Button) ให้ลกู ค้าที่หลายครัง้ ต้องคิดทบทวนก่อนจะยกหูโทรสัง่ เพราะเกรงว่า จะเสียเวลากับการทวนเบอร์โทร รอฟังโปรโมชั่นพิซซ่าจนจบรายการ ก่อน จะได้สั่งรายการที่ส่วนมากมักจะสั่งหน้าเดิมๆ ที่กินอยู่เป็นประจำ� โดยปุ่ม สัง่ พิซซ่าจะเชือ่ มโยงกับแอพพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนทีล่ กู ค้าได้ท�ำ การบันทึก ที่อยู่และรายการที่จะสั่งไว้ และเมื่อรับรายการเสร็จแล้ว ปุ่มจะปรากฏเป็นสี แดงจนกว่าพิซซ่าจะมาเสิร์ฟถึงที่ ปีที่ผ่านมา Domino Pizza พบว่าลูกค้า 3 ใน 4 สั่งพิซซ่าผ่านช่องทางดิจิทัล และแอพพลิเคชันของ Domino Pizza ก็ถูกดาวน์โหลดไปแล้วกว่า 10 ล้านครั้ง โดยขณะนี้ไอเดียปุ่มสั่งพิซซ่านี้ จะเป็นทางเลือกใหม่แก่ลกู ค้าในสหราชอาณาจักร ก่อนจะขยายออกสูต่ ลาด ต่างประเทศเร็วๆ นี้
ทีม่ า: บทความ “China’s Hangzhou Public Bicycle” โดย Susan A. Shaheen จาก tsrc.berkeley.edu / บทความ “8 of the World’s Best Bike Sharing Programs” โดย Dillon Hiles จาก ecowatch.com / บทความ “The World Leader in Bike-Sharing Is... China” โดย Gwynn Guilford จาก qz.com / บทความ “8 of the World’s Best Bike Sharing Programs” โดย Dillon Hiles จาก ecowatch.com
ทีม่ า: บทความ “Domino’s ‘Easy Order’ Lets You Buy Pizza by Just Pressing a Button’ โดย Sophie Curtis” จาก telegraph.co.uk / บทความ “Praise Pizza: Domino’s ‘Easy Order’ Button Gets You a Pie Super Fast” โดย Alicia Marie Tan จาก mashable.com / บทความ “Domino’s ‘Easy Order’ lets you buy pizza by just pressing a button’ โดย Sophie Curtis” จาก telegraph.co.uk
CREATIVE THAILAND I 7
Creative Resource : วัตถุดิบทางความคิด
เรื่อง: อําภา น้อยศรี และ ชลดา เจริญรักษ์ปัญญา
CREATIVE THAILAND I 8
F EAT U RED BOOK
BOOK
1) Enchanted Objects โดย David Rose
2) Disrupting Digital Business: Create an Authentic Experience in the Peer-to-Peer Economy โดย R “Ray” Wang
เรากำ � ลั ง ยื น ในอยู่ ใ นโลกที่ ก ระแสการพั ฒ นา นวั ต กรรมและเทคโนโลยี เ ชื่ อ มต่ อ กั บ มนุ ษ ย์ นิตยสารไทม์เคยคาดการณ์ไว้เมื่อ 30 ปีก่อนว่า เศรษฐกิจโลกจะเปลี่ยนรูปแบบจากเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมหนักในยุค 90 มาเป็นเศรษฐกิจที่ใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นตัวขับเคลื่อน สินค้าและ บริการใหม่ๆ ใช้เทคโนโลยีเข้ามาเพิม่ ประสิทธิภาพ พัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขันและสร้าง มูลค่าเพิ่ม ความคิดสร้างสรรค์ เทคโนโลยี และ นวัตกรรมเป็นส่วนหนึง่ ของการออกแบบผลิตภัณฑ์ ทีม่ อบความสะดวกสบาย แก้ปญั หาชีวติ ประจำ�วัน และเชื่อมโยงเข้ากับทุกรูปแบบการดำ�เนินชีวิต นอกจากนี้สินค้าและบริการยังสามารถสื่อสาร ข้อมูลระหว่างกันและกับผูใ้ ช้ ทัง้ ยังมีการนำ�ข้อมูล ดังกล่าวไปประมวลผล วิเคราะห์พฤติกรรมและ การใช้งานได้อีกด้วย Enchanted Objects ของเดวิด โรส (David Rose) ประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหารของดิตโต แลปส์ (Ditto Laps) รวบรวมสิง่ ประดิษฐ์ที่เขาได้ออกแบบ และคิดค้นขึ้น รวมถึงข้าวของเครื่องใช้ในชีวิต ประจำ�วันที่มีไอเดียแปลกๆ จากในอินเทอร์เน็ต สิ่งของที่คุ้นหูจากนิยายแฟนตาซีหรือภาพยนตร์ แนววิทยาศาสตร์ ทีป่ จั จุบนั นวัตกรรมและเทคโนโลยี ได้พฒั นาไปไกลจนบางชิ้นเกิดขึน้ ได้จริงแล้ว ต่อไป ในอนาคตมนุษย์จะเชือ่ มโยงกันผ่าน “แผ่นกระจก” (Glass Slabs) เทคโนโลยีดา้ นชีวภาพ หุน่ ยนต์ และ นวัตกรรมใหม่ๆ จะมีบทบาทสำ�คัญต่อมนุษย์ยงิ่ ขึน้ Enchanted Objects ในทรรศนะของโรสคือต้อง สนองต่อสิง่ เร้าของมนุษย์ใน 6 ด้าน คือรอบรูท้ กุ สิง่ เชือ่ มโยงความรูส้ กึ ระหว่างมนุษย์ ปกป้อง-ปลอดภัย เสริมสุขภาพให้อายุยนื ยาวขึน้ คล่องตัว-เคลือ่ นไหว อิสระ และแสดงถึงความสร้างสรรค์ นอกจากนี้ นักออกแบบควรมีกรอบการทำ�งานและวิธีการ จัดการกระบวนการทางความคิดเพื่อสร้างสรรค์ ผลิตภัณฑ์ ทัง้ ทีอ่ ยูอ่ าศัย ชุมชน สำ�นักงาน ขนส่ง มวลชน หรือเมือง โดยตระหนักว่ามนุษย์เป็น ศูนย์กลางในการออกแบบ รวมถึงตอบสนองต่อ ความต้องการและความพึงพอใจใหม่ๆ ที่จะเกิดขึน้ อีกมากมายในอนาคต
ในยุคดิจทิ ลั การเปลีย่ นแปลงเป็นสิง่ ทีเ่ กิดขึน้ บ่อย และรวดเร็ว มีการก่อตั้งธุรกิจใหม่ๆ ตลอดเวลา บริษัทเก่าหลายแห่งที่ล้มเหลวในการปรับตัวก็ ต้องปิดตัวลงหรือถูกทิ้งไว้ข้างหลัง หนังสือเล่มนี้ เน้นเรื่อง Digital Disruption ที่เกิดขึ้นหลายครั้ง ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การกระทบของธุรกิจเก่า และใหม่ช่วยสำ�รวจโอกาสความเป็นไปได้ที่อาจ เกิดขึ้นกับบริษัทต่างๆ องค์กรจะประสบความ สำ�เร็จได้ไม่ใช่เพราะเทคโนโลยีเท่านัน้ แต่สว่ นหนึง่ มาจากการรักษาความเชื่อมั่นในแบรนด์ด้วย อย่างไรก็ตาม การปฏิเสธหรือล่าช้าก็อาจนำ�ไปสู่ ความล้มเหลวได้ ประเด็นทัง้ หมดในหนังสือเล่มนี้ จะช่วยสร้างคุณค่าและความเปลี่ยนแปลงให้ บริษทั ของเราทันต่อความเคลือ่ นไหวทีไ่ ล่มาทุกวัน
3) Shift: A User’s Guide to the New Economy โดย Haydn Shaughnessy การเปลี่ ย นแปลงทางเศรษฐกิ จ เป็ น ไปอย่ า ง ต่อเนื่อง ผู้คนมีความกังวลเพิ่มสูงขึ้นเรื่องความ ไม่แน่นอนและการเติบโตที่ลดลง หนังสือเล่มนี้ จะช่วยระบุทักษะและความสามารถที่ควรมีเพื่อ การดำ�เนินธุรกิจให้เติบโตได้แม้มีการหยุดชะงัก ของเศรษฐกิจ กล่าวถึงเศรษฐกิจดิจิทัลที่เกิดขึ้น ใหม่ โดยดึงเนื้อหามาจากหลายสาขาวิชา ทั้ง เศรษฐศาสตร์ ทฤษฎีการจัดการ สังคม ทฤษฎี วิวฒั นาการและเทคโนโลยี แสดงเปรียบเทียบกับ ปรากฏการณ์ทเี่ ปลีย่ นธุรกิจ วิถชี วี ติ ของผูค้ น และ การดำ�เนินชีวิต ชี้ให้เห็นว่าธุรกิจไม่สามารถเป็น เพียงการซือ้ ขายธรรมดาอีกต่อไป บริษทั ทีป่ ระสบ ความสำ�เร็จในโลกต้องให้ความสำ�คัญกับการสร้าง ความสัมพันธ์อย่างลึกซึง้ กับพนักงานและลูกค้าด้วย ซึ่งจะช่วยสร้างคุณค่าให้แก่บริษัทเป็นอย่างมาก
DOCU M E N TA RY 4) Fixing the Future กำ�กับโดย Ellen Spiro ขณะทีส่ อื่ กระแสหลักให้ความสำ�คัญกับตลาดหุน้ ขนาดใหญ่ สารคดีเรือ่ งนีก้ ลับชีใ้ ห้เห็นตัวแทนทีแ่ ท้จริง ของการเปลี่ยนแปลง แสดงให้เห็นว่าผูค้ นสามารถแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจได้ดว้ ยตัวเอง สารคดีกล่าวถึง เดวิด แบรนคาคโช (David Brancaccio) นักข่าวทีไ่ ด้เดินทางไปเยีย่ มเยียนผูค้ นและองค์กรในอเมริกา ทีพ่ ยายามปฏิวตั เิ ศรษฐกิจด้วยการขับเคลือ่ นธุรกิจท้องถิน่ ทีร่ ว่ มกับชุมชน ใช้ความยัง่ ยืนและนวัตกรรม เป็นตัวสร้างงาน ความเจริญรุ่งเรืองสร้างแรงบันดาลใจ และต่ออายุธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก วิกฤตเศรษฐกิจ เขาเชือ่ ว่าเครือข่ายท้องถิน่ จะส่งผลต่อภาพรวมมากกว่า โดยควรเน้นประสิทธิภาพของ ผู้คนในชุมชน เช่น พันธมิตรทางธุรกิจในธนาคารหรือสหกรณ์ท้องถิ่น เพื่อให้รากฐานของโครงสร้าง ทางเศรษฐกิจนั้นแข็งแกร่งยิ่งขึ้น
พบกับวัตถุดิบทางความคิดเหล่านี้ได้ที่ TCDC Resource Center CREATIVE THAILAND I 9
Matter : วัสดุต้นคิด
เห็ ด นวัตกรรมใหม่สำ�หรับวัสดุชีวภาพ เรื่อง: ชมพูนุท วีรกิตติ และ ปิยวรรณ กลิ่นศรีสุข
จากระบบเศรษฐกิจที่ใช้ทรัพยากรชีวภาพ (Bioeconomy) กระบวนการผลิตจากทรัพยากรชีวภาพที่หมุนเวียนเกิดขึ้นใหม่ เป็นผลิตภัณฑ์จากวัสดุชีวภาพ อุปกรณ์ทางการแพทย์ และพลังงานจากชีวภาพ โดยใช้เทคโนโลยีที่มีนวัตกรรมและ ประสิทธิภาพสูงซึ่งคิดค้นโดยกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ ระบบเศรษฐกิจนี้ได้เกิดขึ้นจริงและสร้างโอกาสมากมาย ในการแก้ปญ ั หาส่วนใหญ่ของสังคม สิง่ แวดล้อม และความท้าทายทางเศรษฐกิจทีเ่ พิม่ ขึน้ รวมถึงการบรรเทาการเปลีย่ นแปลง ของสภาพอากาศ พลังงาน ความมั่นคงทางอาหาร และการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ กระแสการลงทุนทำ�ธุรกิจจากทรัพยากรชีวภาพในต่างประเทศมีให้เห็น มากขึน้ ล่าสุดบริษทั Grado Zero Escape™ ประเทศอิตาลี ได้คดิ ค้น Muskin วัสดุนา้ํ หนักเบา อ่อนตัว และมีผวิ คล้ายหนังกลับแต่ผลิตจากดอกเห็ด ซึง่ เป็น วัสดุจากพืชทีป่ ลูกทดแทนได้ใหม่ 100 เปอร์เซ็นต์ สามารถใช้แทนหนังสัตว์ได้ ผิววัสดุมคี วามอ่อนตัวคล้ายหนังสัตว์แต่มคี วามนุม่ มากกว่าและมีคณุ สมบัติ ต่างออกไป โดยรูปลักษณ์วสั ดุดคู ล้ายหนังกลับมาก สามารถดูดซับความชืน้ ได้เมื่อสัมผัสกับผิวหนัง เมื่อนํ้าหยดลงบนวัสดุจะจับตัวเป็นเม็ดกลมแต่ไม่ ไหลออกไปและซับนํ้าได้บ้าง มีคุณสมบัติตามธรรมชาติในการยับยั้งการ เจริญเติบโตของแบคทีเรีย หมวกเห็ดจะถูกตัดออกจากโคนก่อนจะนำ�มาผ่าน กระบวนการฟอกเพือ่ รักษาสภาพและเพิม่ ความคงทน กระบวนการดังกล่าว เป็นกระบวนการเดียวกับการฟอกหนังสัตว์ แต่แตกต่างตรงไม่มีส่วนผสม ของสารเคมีที่เป็นพิษซึ่งใช้ในการฟอกหนังทั่วไป ปลอดภัยและอ่อนโยนต่อ ผิวหนัง สามารถนำ�ไปใช้ท�ำ เครือ่ งประดับ เช่น เบาะรองด้านในของรองเท้า สายนาฬิกา และกระเป๋าถือ อีกหนึง่ บริษทั ทีค่ ดิ ค้นนวัตกรรมใหม่ส�ำ หรับวัสดุชวี ภาพมาอย่างต่อเนือ่ ง คือบริษัท Ecovative Design ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้ออกแบบวัสดุที่ ชื่อว่า MyCo Board แผ่นวัสดุโครงสร้างสำ�หรับใช้ทดแทนไม้แปรรูปทาง วิศวกรรมได้จากขยะเกษตรกรรมและใยรา (mycelium) ทำ�ให้ได้คุณสมบัติ
ที่แข่งขันได้โดยตรงกับวัสดุเนื้อแข็งและหนาแน่นอย่าง Medium-Density Fiberboard (MDF-ไฟเบอร์บอร์ดความหนาแน่นปานกลาง) ซึง่ มักมีตวั ประสาน ที่เป็นพิษ กระบวนการนี้ยังสามารถขึ้นรูปทรงสามมิติได้โดยไม่ต้องนำ�ไป ผ่านเครื่องแกะซีเอ็นซี หรือขั้นตอนขึ้นรูปอื่นๆ เป็นกรรมวิธีที่ราคาถูกแต่ให้ ประสิทธิภาพสูง รวมทัง้ ไม่กอ่ ให้เกิดขยะ กระบวนการผลิตคือนำ�ขยะพืชผล ทางการเกษตรมาเพาะเชือ้ ใยราให้เติบโตภายใต้สภาพแวดล้อมทีถ่ กู ควบคุม เหล่าใยราจะทำ�หน้าที่เป็นตัวประสานธรรมชาติ คอยยึดเกาะอนุภาคและ เส้นใยพืชทีก่ ระจายตัวเข้าไว้ดว้ ยกัน จากนัน้ วัสดุจะถูกอัดด้วยความร้อนและ แรงดันจนเนือ้ วัสดุกลายสภาพเป็นเรซิน นำ�ไปขึน้ รูปได้ทงั้ แผ่นแบนหรือขึน้ รูป ทรงด้วยแม่พิมพ์ กระบวนการนี้ไม่มีการใช้เรซินเคมีใดๆ สามารถแปรรูป ต่อได้โดยใช้กรรมวิธเี ดียวกับไม้แปรรูปทางวิศวกรรมทัว่ ไป ทัง้ ยังสามารถนำ�ไป เป็นองค์ประกอบของเฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์กีฬา และตกแต่งภายในอาคาร รวมทั้งยังได้รับมาตรฐาน Cradle-to-Cradle® ระดับ Gold ระบบเศรษฐกิจที่ใช้ทรัพยากรชีวภาพประกอบด้วยภาคการผลิตที่ใช้ ทรัพยากรชีวภาพซึ่งหมุนเวียนได้จากทั้งพื้นโลกและในทะเล เช่น พืชผล ทางการเกษตร ป่า ปลา สัตว์ และสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กมาก กำ�ลังจะเป็น คลืน่ ลูกใหม่ในการพัฒนาเศรษฐกิจ ควบคูไ่ ปกับโอกาสใหม่ๆ ทีส่ ำ�คัญในการ สร้างนวัตกรรมวัสดุ และการเติบโตของอุตสาหกรรมที่ยั่งยืนได้
CREATIVE THAILAND I 10
พบกับนิตยสาร “คิด” Creative Thailand ได้ที่ ร้านหนังสือ ห้องสมุด สมาคม อาคารสำ�นักงาน และร้านกาแฟใกล้บ้าน ในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ หัวหิน และจังหวัดอื่นๆ รวมถึง miniTCDC ดูสถานที่จัดวางทั้งหมดได้ที่: www.tcdc.or.th/creativethailand/magazine/place กรุงเทพฯ ร้านหนังสือ • Asia Books • Kinokuniya • B2S • แพร่พิทยา ร้านกาแฟ/ร้านอาหาร • Au Bon Pain • Starbucks • TOM N TOM’S COFFEE • True Coffee • Auntie Anne’s • Baskin Robbins • Coffee World • Mister Donut • Black Canyon • McCafe’ • ดอยตุง • Ninety four coffee • Puff & Pie • Red Mango • Iberry • Greyhound Cafe’ • Amazon Cafe’ • Chester’s Grill • Luv minibar โรงแรม/ที่พัก • NOVOTEL • Dusit Thani Princess Hotel • Sofitel Silom Bangkok • Grand Millenium Sukhumvit พิพิธภัณฑ์/หอศิลป์ • หอศิลปวัฒนธรรม แห่งกรุงเทพมหานคร • มิวเซียม สยาม • อุทยานการเรียนรู้ (TK park) • นำ�ทอง แกลเลอรี่ สมาคม/ห้องสมุด • ศูนย์ศิลปะนานาชาติ สมาคมฝรั่งเศส • ห้องสมุดเนลสัน เฮลท์ The Neilson Hays Library • ห้องสมุด - นิด้า • สมาคมโฆษณา แห่งประเทศไทย • สมาคมธนาคารไทย • สมาคมสโมสรนักลงทุน • ห้องสมุด สสวท. • สมาคมหอการค้าไทย • สถาบัน • Wall Street Institute • Raffle Design Institute • Vision Swimming Academy เชียงใหม่ ร้านหนังสือ • ดวงกมล • ร้านเล่า • ร้าน Book Re:public • ร้านหนังสืออุดมลายเซ็นต์ ร้านกาแฟ/ร้านอาหาร/ ร้านขายของที่ระลึก • Happy Hut (ถ.นิมมานเหมินทร์ ระหว่างซอย 9-10) • 94 Coffee (ถ.นิมมานเหมินทร์) • Starbucks (ถ.นิมมานเหมินทร์) • เวียงจุมออน ทีเฮาส์ • Fern Forest Cafe’ • October • เชียงใหม่กาแฟ • IMPRESSO espresso bar • กาแฟวาวี • Love at First Bite • ร้านกาแฟดอยช้าง • ร้านกาแฟดอยตุง
• ร้านฝ้ายเบเกอรี่ (หอสมุดในมหาวิทยาลัย เชียงใหม่) • Things Called Art • minimal • ร้านยังไว้ลาย • ร้านรสนิยม • ร้านภคมน • ร้านโครงการหลวง • จัส ข้าวซอย (Just Kao Soy) • Ginger (The House Restaurant ) • หอมปากหอมคอ • ทีเฮาส์ สยามศิลาดล • Rabbithood studio • The Meeting Room Art Cafe’ • HuB 53 Bed&Breakfast • ร้าน Charcoa Cafe’ • ร้าน Akha Ama coffee • ร้านกาแฟพาคามาร่า • เดอะ สลัด คอนเซปท์ (Salad Concept) • Gallery Seescape • ร้านขนม (Kanom) • ร้าน Chin Ngan • ร้าน Mood Mellow โรงแรม/ที่พัก • สุริยันจันทรา ถ.นิมมานเหมินทร์ ซอย 1 • บรรทมสถาน เกสเฮาท์อารมณ์บ้าน • yesterday Hotel • โรงแรมดุสิต ดีทู (Dusit D2) • โรงแรมเชดี • ฮาโหล บาร์ (Hallo Bar Hotel) • โรงแรม At Nimman • โรงแรม Tamarind Village • โรงแรม The Rim • 9wboutique hotel • พิงค์ภูเพลส เชียงใหม่ • โรงแรม Casa 2511 พิพิธภัณฑ์/หอศิลป์ • หอศิลปวัฒนธรรม เมืองเชียงใหม่ • หอนิทรรศการ ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หัวหิน ร้านกาแฟ/ร้านอาหาร • ร้านกาแฟ ชุบชีวา หัวหิน • อยู่เย็น หัวหิน บัลโคนี่ • บ้านใกล้วัง • ภัตตาคารมีกรุณา • บ้านถั่วเย็น @ แนบเคหาสน์ • ร้านอาหารหัวหิน (โกทิ) • กาแฟข้างบ้าน • IL GELATO ITALIANO • Together Bakery & Cafe’ โรงแรม/ที่พัก • โรงแรม วรบุระหัวหิน • Let’s Sea • โรมแรม ดูน หัวหิน • เดอะร็อค หัวหิน • บ้านจันทร์ฉาย • หัวหิน มันตรา รีสอร์ท • ลูน่าฮัท รีสอร์ท กระบี่ • Nakamanda Resort & Spa • Rawee Warin Resort & Spa • A little Handmade Shop ขอนแก่น • Hug School of Creative Arts • ร้านสืบสาน • ร้านกาแฟ คอฟฟี่ เด้อ หล่า (Coffee Der La)
เชียงราย • ร้านหนังสือ herebookafe • ร้าน Coffee Dad นครราชสีมา • Hug station resort นครปฐม • ร้าน Dipchoc Cafe นครสวรรค์ • ร้าน Bitter Sweet น่าน • ร้าน Runway Coffee • ร้านคลาสสิค โมเดล น่าน • ร้านกาแฟปากซอย • ร้าน Nan Coffee Bean ปาย/แม่ฮ่องสอน • ร้านคอฟฟี่อินเลิฟ • ร้าน all about coffee • ร้านปายหวานบ้านนมสด • ร้านเล็กเล็ก • ปายวิมานรีสอร์ท พังงา • Niramaya Villa and Willness Resort • Ranyatavi Resort Phang Nga • The Sarojin เพชรบุรี • Grand Pacific Sovereign • Resort & Spa • DevaSom Hua Hin Resort ภูเก็ต • ร้านหนัง(สือ) ๒๕๒๑ ภูเก็ต • The oddy Apartment & Hotel • At Panta Phuket • Banyan Tree Phuket • Le Meridien Phuket • Millienium Ressort Patong Phuket • Novotel Phuket Resort • Patong Paragon Resort & Spa Phuket • Sheraton grand Lagana Phuket • Sri wanwa Phuket Villa • Thanyapura ระยอง • Le Vimarn Cottage ลำ�ปาง • อาลัมภางค์ เกสท์เฮ้าส์ แอนด์ มอร์ ลำ�ปาง • ร้านเอกาลิเต้ Egalite Bookshop • Lampang Art Center เลย • บ้านชานเคียง • มาเลยเด้ เกสต์เฮาท์ ลพบุรี • ซนดิคอฟฟี่ สมุทรสงคราม/อำ�พวา • Baan Amphawa Resort and Spa สุโขทัย • Ananda Co.,Ltd. สุราษฎร์ธานี • Muang Samui Spa Resort • Pavilion Samui Boutique Resort • The Sunset Beach Resort and Spa Taling ngam • Nora Beach Resort Samui หาดใหญ่/สงขลา • ร้าน NIQOLO อุทัยธานี • ร้านบุ๊คโทเปีย Booktopia • Avatar Miracles
หมดปญหาหยิบนิตยสารไมทัน สมัครสมาชิกรายป คาใชจายในการจัดสง 200 บาท (12 เลม) หรือสมัครออนไลนไดที่ tcdc.or.th/creative_thailand
ขอมูลผูสมัครสมาชิก สมาชิกใหม ชื่อ นามสกุล เพศ โทรศัพท
สมาชิกเกา (ตองการตออายุสมาชิก) หญิง อายุ
ชาย
อีเมล
โทรศัพทมือถือ
อาชีพ นักเรียน ครู/อาจารย
นิสิต/นักศึกษา พนักงานบริษัท
นักออกแบบ/ครีเอทีฟ ผูประกอบการ
อาชีพอิสระ อื่นๆ โปรดระบุ
ขาราชการ/รัฐวิสาหกิจ
สาขา/อุตสาหกรรมที่เกี่ยวของกับอาชีพของทาน โฆษณา สถาปตยกรรม แฟชั่น ศิลปะการแสดง ดนตรี ภาพยนตร โทรทัศน/วิทยุการกระจายเสียง
ทองเที่ยว/โรงแรม/สายการบิน วรรณกรรม/การพิมพ/สื่อสิ่งพิมพ พิพิธภัณฑ/หองแสดงงาน ซอฟตแวร/แอนิเมชัน/วิดีโอเกม
หัตถกรรม/งานฝมือ การเงิน/ธนาคาร ทัศนศิลป/การถายภาพ อื่นๆ โปรดระบุ
อาหาร การแพทย การออกแบบ
คาปลีก/คาสง โทรคมนาคม
ที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ จังหวัด
ซอย
ถนน รหัสไปรษณีย
หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง
อำเภอ/เขต
หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง
อำเภอ/เขต
ที่อยูในการออกใบเสร็จ เหมือนที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ ซอย จังหวัด
ถนน รหัสไปรษณีย
ตองการสมัครสมาชิกนิตยสาร Creative Thailand ระยะเวลา 1 ป จำนวน 12 เลม เริ่มตั้งแตฉบับเดือน โดยยินดีเสียคาใชจายในการจัดสงเปนจำนวนเงิน 200 บาท
วิธีการชำระเงิน เช็คสั่งจายศูนยสรางสรรคงานออกแบบ พรอมใบสมัครสมาชิก โอนเงินเขาบัญชีออมทรัพย ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ เลขที่บัญชี 101-808967-0 ธนาคารกรุงเทพ สาขาสำนักงานใหญสีลม • แฟกซใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่ 02-664-7670 • หรือสงไปรษณียมาที่ ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (Creative Thailand) 622 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอรชั้น 24 ถนนสุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 • หรือแนบไฟลใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่อีเมล creativethailand@tcdc.or.th CREATIVE THAILAND I 11 สอบถามขอมูลเพิ่มเติมไดที่ 02-664-7667 ตอ 122
Local Wisdom : ภูมิความคิด
ไหมอีรี่ เรื่อง: พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์
หากพูดถึงผ้าไหม บรรดานักออกแบบร่วมสมัยและคนรุ่นใหม่อาจรู้สึกว่าไกลตัว ในการหยิบจับมาประยุกต์ใช้กบั ไลฟ์สไตล์ของวันนี้ แต่ทกุ วันนี้ ผ้าไหมไม่ได้มเี พียง ชนิดเดียวและไม่จำ�เป็นต้องถูกสำ�รองให้สำ�หรับผู้สูงอายุที่นิยมแต่งกายแบบไทย แท้เท่านั้น แต่ยังมีผ้าไหมสายพันธุ์ใหม่ๆ อย่าง “ไหมอีรี่” ที่เป็นวัตถุดิบสำ�คัญซึ่ง ถูกต่อยอดโดยนักออกแบบรุ่นใหม่ที่ผสมผสานความเข้าใจและองค์ความรู้ด้าน การออกแบบร่วมสมัย เข้ากับทักษะพืน้ ถิน่ ในการทอผ้าทีส่ บื ต่อกันมาเป็นเวลานาน จนสร้างเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจที่น่าจับตามอง
CREATIVE THAILAND I 12
ไหมเป็นเส้นใยธรรมชาติที่มีความมัน แวววาว ชาวจีนรู้จักเลี้ยงไหมเพื่อนำ� เส้ น ใยมาทำ � เครื่ อ งนุ่ ง ห่ ม นานกว่ า 4,000 ปีมาแล้ว ขณะที่ชาวยุโรปถือว่า ไหมเป็นผ้าพิเศษที่ใช้เฉพาะราชวงศ์ และขุนนางชัน้ สูงเท่านัน้ ความแตกต่าง ของการใช้เส้นใยไหมของแต่ละชาติ มักปรากฏที่เนื้อผ้า ลวดลายปัก และ ศิลปะการถักทอ ซึง่ ทำ�ให้ได้ผนื ผ้าไหม ที่มีลักษณะต่างๆ กันเป็นเอกลักษณ์ ประจำ�ชาติ เส้นใยไหมที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจสูง และเป็ น ที่ รู้ จั ก กั น ดี คื อ ไหมหม่ อ น (Mulberry Silk) ซึง่ ได้จากหนอนไหมที่ กินใบหม่อนเป็นอาหาร ส่วน “ไหมอีรี่” (Eri Silk) เป็นไหมป่าเพียงชนิดเดียวที่ สามารถเลีย้ งได้ครบวงจรชีวติ เพือ่ นำ� เส้นใยมาใช้ประโยชน์ และไม่ต้องใช้ ใบหม่อนเป็นอาหาร แต่มกั ใช้ใบละหุง่ และใบมั น สำ � ปะหลั ง เลี้ ย งไหมอี รี่ ทดแทน ในประเทศไทยเริ่มเลี้ยงไหมอีรี่ตั้งแต่ ปี 2517 โดยกรมวิ ช าการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งได้ ศึกษาวิจัยและรักษาพันธุ์ไว้ที่สถานี วิจัยพลิ้ว จ.จันทบุรี ต่อมาโครงการ วิจัยเกษตรที่สูงเพื่อหาอาชีพเสริมให้ ชาวเขาทดแทนการปลูกฝิน่ ได้น�ำ ไหม อี รี่ ขึ้ น ไปเลี้ ย งบนดอยอ่ า งขางและ ดอยปุย จ.เชียงใหม่ แต่เลี้ยงไม่ได้ ตลอดปี เนื่องจากอากาศที่หนาวเย็น จัด ในปี 2533 โดยการสนับสนุนของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้มีการ ส่ ง เสริ ม การเลี้ ย งไหมอี รี่ ใ ห้ กั บ เกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งปลูกมันสำ�ปะหลังเป็นจำ�นวนมาก เกษตรกรจึงสามารถนำ�ใบมาเลีย้ งไหม แทนการทิ้งไปเฉยๆ และการเด็ดใบ ออกในปริมาณที่พอเหมาะ ยังช่วยให้ ผลิตหัวมันได้มากขึ้นด้วย
ปัจจุบนั มีเกษตรกรชาวไร่มนั สำ�ปะหลัง จำ�นวนมาก สนใจเลี้ยงไหมอี รี่ เ ป็น อาชีพเสริม มีการรวมกลุม่ ของเกษตรกร เข้ารับการฝึกอบรมการเลี้ยงไหมอีรี่ การต้มลอกกาว การย้อมสี และการปัน่ เส้นใย พร้อมทัง้ ได้ใช้ประสบการณ์และ ภูมิปัญญาในแต่ละท้องถิ่นปรับปรุง วิธีการเลี้ยงเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น มีการรวมกลุ่มถักทอไหมเป็นผืนที่มี ลวดลายเป็นเอกลักษณ์ และสร้าง ผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากไหมอีรี่ตามภูมิ ความรู้ที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ เส้นใยไหมอีรี่จัดเป็นไหมปั่น (Spun Silk) ซึง่ เป็นทีต่ อ้ งการของอุตสาหกรรม ด้ายปั่นมาก เพราะมีความเหนียว ยาว แวววาว สวยงาม และราคาดีกว่า เส้นใยฝ้าย ปัจจุบันอุตสาหกรรมไหม ปั่นต้องอาศัยวัตถุดิบจากเศษรังไหม หม่อนทีเ่ สียและสาวไม่ได้ ซึง่ มีไม่เพียง พอจะป้อนโรงงานไหมปั่น เส้นใยไหม อีรจี่ งึ เข้ามาทดแทนความต้องการนีไ้ ด้ เส้นใยไหมอีรี่มีความหนานุ่มคล้าย ผ้าขนสัตว์ แต่ดูดซับเหงื่อและระบาย อากาศได้ดี ใส่แล้วอบอุ่นในฤดูหนาว และเย็นสบายในฤดูรอ้ น ไม่ระคายมือ มีความทนทานดีกว่าไหมหม่อน ติดสี ได้ดีทั้งสีสังเคราะห์และสีธรรมชาติ และซั ก ได้ ด้ ว ยวิ ธี ธ รรมดาไม่ ต้ อ ง ซักแห้ง เส้นไหมทีผ่ ลิตได้จะมีลกั ษณะ เป็นปุม่ ปม และมีความเงามันเล็กน้อย CREATIVE THAILAND I 13
กลุ่ ม ทอผ้ า ไหมมั ด หมี่ บ้ า นหนอง หญ้าปล้อง ต.โพนเพ็ก อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น คือหนึง่ ในกลุ่มเกษตรกรที่ ได้น�ำ อาชีพการเลีย้ งไหมอีรมี่ าต่อยอด และพัฒนาร่วมกับนักศึกษา สาขา วิชาการออกแบบอุตสาหกรรม คณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น โดยนำ�ไหมอีรี่ที่มีความเงา น้อยกว่าผ้าไหมมัดหมี่ และมีผวิ สัมผัส ที่แตกต่าง มาพัฒนาร่วมกับลายผ้า ของนักศึกษา เพื่อต่อยอดและตัดเย็บ เป็ น ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ที่ ห ลากหลาย อาทิ เครื่องนุ่มห่มต่างๆ ต้นทุนอย่างความคิดสร้างสรรค์ ความ ชืน่ ชอบ และทักษะการทอผ้า ได้ผลักดัน ให้ “ยู” นายพีรดนย์ ก้อนทอง นักศึกษา สาขาวิชาการออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น เจ้าของผลงาน “อีสานกูตูร์ (หัตถศิลป์พื้นถิ่นสู่แฟชั่นชั้นสูง)” คว้า รางวัลชนะเลิศการประกวดผ้าไหม ประเภทผ้ า ไหมมั ด หมี่ น วั ต กรรม สร้างสรรค์เยาวชน ในงานเทศกาลไหม นานาชาติ ประจำ�ปี 2558 ได้สำ�เร็จ โดยนำ�เทคนิคการปักลูกปัดแบบศิลปะ กู ตู ร์ ม าประยุ ก ต์ เ ข้ า กั บ เทคนิ ค การ ทอผ้ามัดหมี่ ใช้การร้อยลูกปัดเป็นเส้น นำ�มาทอแทรกกับเส้นไหม กลายเป็น หนึ่ ง ในตั ว อย่ า งความสำ � เร็ จ ของ นักออกแบบลายผ้ารุน่ ใหม่ ทีผ่ สมผสาน ความคิดเข้ากับทุนทางวัฒนธรรมและ ภูมปิ ญั ญาการทอผ้าแบบดัง้ เดิม จนได้ ผลงานที่มีศักยภาพและพร้อมนำ�ไป ต่อยอดเป็นมูลค่าทัง้ ทางเศรษฐกิจและ วัฒนธรรม ที่มา: gotoknow.org/posts/441496
Cover Story : เรื่องจากปก
เรื่อง: ภารุต เพ็ญพายัพ และ วิป วิญญรัตน์
หลายคนคงได้เห็นภาพแบนเนอร์ซงึ่ ถูกแชร์อย่างแพร่หลาย บนโลกโซเชียลมีเดีย โดยมีขอ้ ความทีว่ า่ “อูเบอร์ บริษทั แท็กซี่ รายใหญ่ทสี่ ดุ ของโลกไม่ได้เป็นเจ้าของยานพาหนะแม้แต่คนั เดียว เฟซบุ๊ก สื่อยอดนิยมที่สุดของโลกไม่ได้สร้างเนื้อหา คอนเทนต์ใดๆ อาลีบาบา บริษัทผู้ค้าปลีกที่มีมูลค่าตลาด สูงสุดไม่ได้มสี นิ ค้าคงคลังเป็นของตัวเอง และแอร์บเี อ็นบี ผูใ้ ห้ บริการเช่าห้องพักรายใหญ่ที่สุดของโลกไม่ได้เป็นเจ้าของ อสังหาริมทรัพย์สกั แห่ง อะไรบางอย่างทีน่ า่ สนใจกำ�ลังเกิดขึน้ ” ข้อความดังกล่าวนำ�เสนอให้เห็นปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจ ที่เปลี่ยนแปลงไปได้เป็นอย่างดี คำ�ถามที่ตามมาคงหนีไม่พ้น ว่า อะไรคือโอกาสและความท้าทายทีร่ ออยูใ่ นระบบเศรษฐกิจ ใหม่ทกี่ �ำ ลังก่อตัวขึน้ ใครบ้างทีส่ ามารถได้รบั ผลประโยชน์ทาง เศรษฐกิจจากปรากฏการณ์นี้ และอะไรคือเงือ่ นไขทีก่ อ่ ให้เกิด ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว CREATIVE THAILAND I 14
enterrasolutions.com
มากกว่าการกด “Like”: Social Media ในฐานะ เครื่องมือทำ�มาหากิน เทคโนโลยีสื่อสารสนเทศและการสื่อสารที่ถูกพัฒนา ต่อเนื่องมาตลอดช่วงกว่า 3 ทศวรรษ ได้กลายเป็น เครือ่ งมือทางเศรษฐกิจชิน้ ใหม่ ซึง่ กระตุน้ และเปลีย่ นแปลง รูปแบบทางธุรกิจอย่างมหาศาล เควิน เคลลี (Kevin Kelly) อธิบายได้อย่างเห็นภาพในหนังสือ New Rules for the New Economy: 10 Radical Strategies for a Connected World ซึ่งถูกตีพิมพ์ตั้งแต่ปี 1999 ไว้ว่า “ปัจจุบนั พวกเราอยูใ่ นโลกเศรษฐกิจใหม่ ทีถ่ กู สร้างขึน้ โดยคอมพิวเตอร์ที่มขี นาดเล็กลงเรื่อยๆ และเครือข่าย การสือ่ สารทีข่ ยายตัวอย่างไม่หยุดยัง้ ” เคลลีก่ ล่าวเสริมว่า “การสื่อสารไม่ใช่แค่ภาคอุตสาหกรรมหนึ่งของระบบ เศรษฐกิจอีกต่อไป แต่การสือ่ สารคือระบบเศรษฐกิจใน ตัวเอง” เศรษฐกิจใหม่ คือ “เศรษฐกิจเครือข่าย” ซึง่ เกิดขึน้ จากการสือ่ สารทีท่ ง้ั ซึมลึกไปทุกอณูและแผ่ขยายวงกว้าง ในทางสังคม ผลพลอยได้ทางเศรษฐกิจจากเฟซบุ๊ก
ถือเป็นตัวอย่างหนึ่งที่ใครๆ อาจไม่คาดคิด ด้วยการ ออกแบบประสบการณ์การใช้งานที่ง่าย สะดวก และ ไม่ซับซ้อน ส่งผลให้ปัจจุบันมีประชากรมากกว่า 1.54 พันล้านคนจากทั่วทุกมุมโลกเป็นสมาชิกเฟซบุ๊ก ทั้งนี้ การเข้าร่วมกด “Like” กด “Share” และพูดคุยเรือ่ งราว ต่างๆ นานาแบบนํ้าไหลไฟดับ ไม่ได้เป็นเรื่องไร้สาระ แต่อย่างเดียว จากผลการวิจยั ของ Deloitte LLP บริษทั ที่ปรึกษาชั้นนำ�พบว่า เฟซบุ๊กมีบทบาทสำ�คัญในการ กระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยในปี 2014 คิดเป็น มูลค่าสูงถึง 2.27 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ และก่อให้เกิด การจ้างงานทั่วโลก 4.5 ล้านราย ผลลัพธ์ของการเชื่อมโยงผู้คนหลายล้านชีวิต บนสังคมออนไลน์ ทำ�ให้เฟซบุก๊ กลายเป็นแพลตฟอร์ม หนึ่ ง ที่ ส่ ง เสริ ม ภาคธุ ร กิ จ ทั้ ง รายใหญ่ แ ละรายย่ อ ย ให้ ส ามารถเข้ า ถึ ง ลู ก ค้ า ทั้ ง ในระดั บ ท้ อ งถิ่ น และ นานาชาติ นอกจากนี้ เฟซบุ๊กยังลดทอนอุปสรรค ทางการตลาด จนส่งผลให้ผู้ผลิตและผู้ประกอบการ มากมายสามารถสร้ า งแบรนด์ สิ น ค้ า ของตนให้ เป็นที่รู้จักได้ด้วยต้นทุนที่ตํ่าลง รวมทั้งเฟซบุ๊กยังเปิด พื้นที่ให้นักพัฒนาแอพพลิเคชันเข้าร่วมสร้างสรรค์ นวัตกรรมใหม่ๆ
CREATIVE THAILAND I 15
alibaba.com
Behind the Online Scenes เพราะวางใจจึงกดซื้อ เป็นทีเ่ ข้าใจตรงกันว่า “ตลาดยุคใหม่” อยูบ่ นโลก อิ น เทอร์ เ น็ ต การเชื่ อ มโยงโครงข่ า ยคนข้ า ม จังหวัด ประเทศ และทวีปด้วยความรวดเร็วและ ต้นทุนที่ตํ่า ส่งผลให้เกิดการแลกเปลี่ยนซื้อขาย สินค้าอย่างหลากหลาย อย่างไรก็ตาม การ ตั ด สิ น ใจกดปุ่ ม สั่ ง ซื้ อ สิ น ค้ า คงเกิ ด ขึ้ น ได้ ย าก หากนักช้อปออนไลน์ไม่มนั่ ใจว่าพวกเขาจะถูกโกง หรือไม่ การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและความแพร่หลาย ของสมาร์ทโฟนเพียงอย่างเดียว ไม่เพียงพอต่อการ ผลักดันให้เกิดการขยายตัวของตลาดออนไลน์ ความสำ�เร็จของอาลีบาบา กรุ๊ป ถือเป็นกรณี ศึกษาที่น่าสนใจ นิตยสารดิ อีโคโนมิสต์ ได้ อธิบายถึงการพัฒนากระบวนการสร้างความไว้ วางใจต่อผู้ซื้อและผู้ขายของอาลีบาบาไว้ได้เป็น อย่างดี อาจด้วยเหตุผลทางวัฒนธรรมที่วา่ ชาวจีน ส่วนใหญ่ลังเลที่จะเชื่อใจคนแปลกหน้า ส่งผลให้ อาลีบาบาพัฒนาระบบ “Third Party Verification” หรือกระบวนการให้บริษัทบุคคลที่สามซึ่งเป็น กลางเข้ามาตรวจสอบและรับประกันความน่าเชือ่ ถือของผูข้ ายสินค้าบนแพลตฟอร์มออนไลน์ตา่ งๆ
เรื่องกระบวนการชำ�ระเงินเป็นอีกหัวข้อหนึ่งที่ ละเลยไม่ได้ “อาลีเพย์” (Alipay) ถูกพัฒนาขึน้ เพือ่ ลดความเสี่ยงและความกังวลใจของทั้งผู้ซื้อและ ผู้ขาย แตกต่างออกไปจาก “เพย์แพล” (PayPal) ซึ่งได้รับความนิยมในโลกตะวันตก เมื่อผู้ซ้ือกด ปุ่มชำ�ระค่าสินค้า จำ�นวนเงินดังกล่าวจะถูกจ่าย ไปยังอาลีเพย์ซึ่งเป็นตัวกลางก่อน จากนั้นผู้ขาย จะได้รบั แจ้งจากอาลีเพย์วา่ ได้รบั เงินจากผูซ้ อื้ แล้ว และอาลีเพย์จะดำ�เนินการโอนเงินต่อให้ผู้ขายก็ ต่อเมื่อสินค้าถูกส่งถึงมือลูกค้าเป็นที่เรียบร้อย ความวิ ต กจริ ต ว่ า สิ น ค้ า ที่ ต นเองสั่ ง ซื้ อ ออนไลน์จะถูกส่งมอบล่าช้าหรือสูญหายกลางทาง หรื อ ไม่ ถื อ เป็ น ความท้ า ทายที่ แ พลตฟอร์ ม อีคอมเมิรซ์ ต้องตอบโจทย์ลกู ค้ามากหน้าหลายตา เพื่อตอบสนองแรงปรารถนาที่ว่าเมื่อกดสั่งซื้อ สินค้าแล้ว สินค้านัน้ ควรถูกส่งมาถึงมือผูซ้ อื้ อย่าง ทันใจตามความต้องการ อาลีบาบา กรุ๊ป จึงทุ่ม งบลงทุนพัฒนาระบบขนส่งสินค้า และจัดตั้ง Cainiao บริษัทย่อยในเครืออาลีบาบา กรุ๊ป ซึ่ง ให้บริการด้านโลจิสติกส์ จูดี ถง (Judy Tong) ประธานบริษทั Cainiao กล่าวว่า “ผูค้ นทัว่ ไปอาจ คิดว่าบริษัทซึ่งทำ�การค้าผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ไม่ควรถือครองสินทรัพย์ใดๆ อย่างไรก็ตาม Cainiao ไม่สามารถเป็นเพียงบริษัทที่ถือครอง เฉพาะข้อมูลข่าวสารได้อีกต่อไป” เธออธิบาย CREATIVE THAILAND I 16
เพิ่มเติมว่า Cainiao ต้องทำ�หน้าที่เป็น “บริษัท ที่บูรณาการฐานข้อมูลออนไลน์เข้ากับเครือข่าย โลจิสติกส์ท่ีมีประสิทธิภาพ การมีแอพพลิเคชัน เพียงอย่างเดียวไม่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาด้าน โลจิสติกส์ได้สำ�เร็จ” การขยายช่องทางการค้าออนไลน์ และการ พั ฒ นาระบบโครงสร้ า งพื้ น ฐานเพื่ อ สนั บ สนุ น ระบบอีคอมเมิร์ซได้กระจายโอกาสแก่ผู้ผลิตและ ผู้ประกอบการรายย่อยอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนใน ประวัตศิ าสตร์ ปัจจุบนั มีผขู้ ายสินค้าจากทัว่ ทุกมุม โลกบนแพลตฟอร์มออนไลน์ของอาลีบาบา กรุ๊ป มากกว่า 10 ล้านราย และอาลีบาบาเองต้อง ดำ�เนินการจัดส่งพัสดุสินค้าสูงถึงปริมาณ 18 ล้านชิ้นต่อวัน เมื่อแจ็ค หม่า (Jack Ma) ผู้ก่อตั้ง อาลีบาบา กรุป๊ อธิบายถึงบทบาทของการพัฒนา องค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) ในศตวรรษที่ 21 ทีง่ านประชุมสุดยอดผูน้ �ำ ภาคเอกชนของเอเปค (APEC CEO Summit) ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลปิ ปินส์ เมือ่ เดือนพฤศจิกายน ทีผ่ า่ นมา เขากล่าวว่า “พวกเราควรพิจารณาถึงการ สร้าง E-WTO หรือ WTO 2.0” เขาอธิบายเพิม่ เติม ว่า “ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา WTO ได้ส่งเสริมบริษัท ใหญ่ ในช่วง 20 ปีข้างหน้า พวกเราควรสร้าง E-WTO ทีส่ นับสนุนคนตัวเล็กๆ เพราะคนตัวเล็กๆ คือบริษัทที่สรรสร้างนวัตกรรมมากที่สุด”
Agriculture Never Die! เมื่ออาหารเป็นเรื่องที่ขาดไม่ได้
agerpoint.com
agerpoint.com
การกิ น ดี อ ยู่ ดี เ ป็ น เรื่ อ งที่ ป ระชากรส่ ว นใหญ่ ข องโลกต่ า งต้ อ งการและแสวงหาเมื่ อ มี โ อกาส การขยายตัวของจำ�นวนประชากรและความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ ได้นำ�มาซึ่งความต้องการ บริโภคอาหารที่มากยิ่งขึ้น ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ จากการประมาณการขององค์การ อาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food & Agriculture Organization: FAO) พบว่า ในปี 2050 จำ�นวนประชากรโลกจะเพิ่มสูงขึ้นเป็น 9.1 พันล้านราย การพัฒนาเศรษฐกิจ การขยายตัว ของเมือง และระดับฐานรายได้ที่เพิ่มสูงขึ้น จะนำ�ไปสู่ความต้องการบริโภคอาหารที่มากขึ้นจากปี ปัจจุบันถึงร้อยละ 70 เมื่ออาหารเป็นเรื่องที่ขาดไม่ได้ การเกษตรจึงยังคงเป็นภาคส่วนที่จำ�เป็นใน ระบบเศรษฐกิจใหม่ การเกิดขึ้นของเทคโนโลยีใหม่และความทันสมัยต่างๆ ไม่ได้ทำ�ให้ภาคการเกษตรเลือนหาย ไปตามกาลเวลา ในทางตรงกันข้าม สินค้าผักผลไม้และอาหารสดต่างๆ กลับเป็นที่ต้องการมาก ยิ่งขึ้นในยุคของตลาดอีคอมเมิร์ซ จากผลการสำ�รวจของ Ali Research Center ศูนย์วิจัยที่ถูก จัดตั้งขึ้นโดยอาลีบาบา กรุ๊ป พบว่า จำ�นวนเกษตรกร ผู้ผลิต และผู้ประกอบการที่นำ�สินค้าเกษตร มาวางขายบนหน้าร้านออนไลน์บนแพลตฟอร์มของอาลีบาบานัน้ มีมากว่า 260,000 รายการ และ มียอดขายคิดเป็นมูลค่าได้สูงถึงเกือบ 2 หมื่นล้านหยวนในปี 2012 ปรากฏการณ์การเกิดขึ้นของเกษตรกรรุ่นใหม่กำ�ลังขยายตัวในสาธารณรัฐประชาชนจีน หนังสือพิมพ์ South China Morning Post ได้รายงานถึงประสบการณ์ของ ตู้ เชียนหลี่ (Du Qianli) ชายชาวจีนทีจ่ บการศึกษาระดับปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยเจิง้ โจว แต่ตดั สินใจเลือกย้ายกลับมา ตั้งรกรากที่บ้านเกิดในหมู่บ้านที่ห่างไกลบริเวณแถบเทือกเขาไท่หาง เพื่อประกอบอาชีพปลูกพืช เกษตรอินทรีย์ แตกต่างจากเกษตรกรรุ่นเก่าที่มักไม่สามารถเข้าถึงตลาด ตู้เปิดหน้าร้านออนไลน์ เพื่อขายสินค้าออร์แกนิกด้วยตนเอง จนปัจจุบันมีผลกำ�ไรต่อเดือนมากกว่า 100,000 หยวน ตู้ ถือเป็นตัวอย่างหนึ่งของชาวจีนรุ่นใหม่ที่แสวงหาโอกาสการค้าขายสินค้าเกษตรที่ตนเองผลิตผ่าน ช่องทางอีคอมเมิร์ซ Ali Research ได้ประมาณการว่า ปัจจุบัน จำ�นวนเกษตรกรรุ่นใหม่ใน สาธารณรัฐประชาชนจีนมีมากถึง 1 ล้านราย และมีทิศทางเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ห่างออกไปมากกว่า 1 หมื่นกิโลเมตรจากสาธารณรัฐประชาชนจีน นักลงทุนในธุรกิจเงินร่วม ลงทุน (Venture Capital) ที่สหรัฐอเมริกาต่างกำ�ลังให้ความสนใจกับการลงทุนในภาคเทคโนโลยี การเกษตรอย่างเป็นจริงเป็นจัง จากผลสำ�รวจของ Dow Jones VentureSource พบว่า ปริมาณ เงินลงทุนในธุรกิจสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีการเกษตรเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 54 สู่ระดับมูลค่า 486 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปีทผี่ า่ นมา หนังสือพิมพ์ เดอะ วอลล์ สตรีท เจอร์นลั ได้รายงานถึงตัวอย่าง กรณีความสำ�เร็จของโทมัส แม็คพีก (Thomas McPeek) ผูก้ อ่ ตัง้ AGERPoint Inc. บริษทั สตาร์ทอัพ ด้านเทคโนโลยีการเกษตร ผูพ้ ฒั นาปรับใช้เครือ่ งสแกนเลเซอร์ในการยกระดับผลผลิตส้มฟลอริดา เทคโนโลยีดงั กล่าวถูกใช้เพือ่ วิเคราะห์ปริมาณแสงอาทิตย์ทตี่ น้ ส้มได้รบั รวมทัง้ ระดับความสูงและ ความหนาแน่นของร่มไม้แต่ละต้น เพราะปัจจัยเหล่านี้จะสะท้อนให้เห็นว่าต้นส้มแต่ละต้นขาดนํ้า หรือเสี่ยงภัยต่อโรคพืชต่างๆ มากน้อยในระดับใด ผลการวิเคราะห์ด้วยเครื่องสแกนเลเซอร์นี้ถูก ตีความออกมาให้เข้าใจง่าย เพือ่ ให้ชาวสวนทราบได้วา่ ต้นส้มแต่ละต้นต้องการนํา้ และปุย๋ ในปริมาณ ที่แตกต่างกันเท่าไหร่
CREATIVE THAILAND I 17
งานบริการหลากหลายประเภทได้เพิ่มทวีคูณขึ้น ในยุ ค ที่ ร ะบบเทคโนโลยี ส ารสนเทศช่ ว ยจั บ คู่ อุ ป สงค์ แ ละอุ ป ทานแบบเรี ย ลไทม์ นิ ต ยสาร Wired ได้กล่าวถึงอุตสาหกรรมบริการที่เราอาจ ไม่เคยคาดคิดมาก่อน แอพพลิเคชันอย่าง Uber, Lyft และ Sidecar ทำ�ให้เราสามารถขึ้นรถของ คนแปลกหน้าได้อย่างไม่ตอ้ งรูส้ กึ เขินอาย Airbnb เปิดโอกาสให้เจ้าบ้านและห้องพักรับคนแปลกหน้า เข้ามาอยู่อาศัยชั่วครั้งชั่วคราว DogVacay และ Rover ทำ�ให้เราสามารถนำ�สุนัขอันเป็นที่รักไป ฝากเลี้ยงไว้กับคนในละแวกบ้าน หรือ Feastly ที่ เปิดโอกาสให้ได้ไปรับประทานอาหารที่บ้านของ คนที่ไม่เคยเห็นหน้าค่าตากันมาก่อน ราวกับว่าแพลตฟอร์มเหล่านี้ ทำ�ให้เรา สามารถเชือ่ ถือคนแปลกหน้าได้อย่างสนิทใจ ทัง้ นี้ แพลตฟอร์มต่างๆ จะเป็นทีน่ ยิ มหรือไม่ ขึน้ อยูก่ บั การพัฒนาระบบจัดอันดับความน่าเชื่อถือบน แอพพลิเคชันของแพลตฟอร์มนัน้ ๆ โดยการให้ทง้ั ผูใ้ ห้บริการและผูร้ บั บริการให้ “ดาว” หรือให้คะแนน ซึ่งกันและกัน ชุดเครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้เปิดโอกาสให้คณุ รูจ้ กั และไว้วางใจคนแปลกหน้า ได้มากยิ่งขึ้น โดยนอกจากระบบการจัดอันดับ ความน่าเชือ่ ถือแล้ว ยังรวมถึงระบบการเช็กประวัติ ของผู้ให้และใช้บริการ และสร้างช่องทางให้ทั้ง สองฝ่ายสื่อสารกันก่อนตกลงรับบริการผ่านทาง สมาร์ทโฟน หากพิจารณาในเชิงเศรษฐศาสตร์ อาจกล่าว ได้วา่ อุตสาหกรรมบริการโดยคนแปลกหน้าทีก่ �ำ ลัง ขยายตัวขึ้น ช่วยจัดสรรทรัพยากรทางเศรษฐกิจ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น Airbnb ทำ�ให้ เราสามารถปล่อยเช่าอสังหาริมทรัพย์ได้ในช่วง ระยะเวลาสัน้ ๆ ทีเ่ ราอาจลาพักร้อนไปต่างจังหวัด หรือต่างประเทศ Uber ทำ�ให้ที่นั่งว่างๆ บน ยานพาหนะกลายเป็นแหล่งสร้างรายได้พิเศษ อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องที่น่าตั้งข้อสังเกตว่า แพลตฟอร์มจัดหาบริการแบบ “ตามสั่ง” (On Demand) ทั้งหลาย เกิดขึ้นคู่ขนานกับภาวะ
pentdesign.com
When Nothing is Permanent อุตสาหกรรมบริการ โดยคนแปลกหน้า
facebook.com/Feastly
dogvacay.com
เศรษฐกิจถดถอยที่เรื้อรังในโลกตะวันตก ซึง่ ส่งผล ให้ผคู้ นส่วนใหญ่มสี ถานะทางการเงินทีไ่ ม่แน่นอน จนต้องเฟ้นหารายได้พเิ ศษ ขณะเดียวกันก็สรรหา บริการคุณภาพที่ราคาย่อมเยา รูปแบบของการ จ้างงานในภาคอุตสาหกรรมบริการเกิดขึ้นใน ลักษณะของงานพาร์ทไทม์ งานอิสระ งานเสริม และ งานพิเศษมากยิ่งขึ้น จำ�นวนแรงงาน “ฟรีแลนซ์” ได้ ข ยายตั ว อย่ า งต่ อ เนื่ อ งตลอดช่ ว งหลายปี ที่ ผ่านมา Upwork ถือเป็นแพลตฟอร์มการจัดหา งานฟรี แ ลนซ์ รู ป แบบใหม่ ที่ ส ะท้ อ นให้ เ ห็ น ปรากฏการณ์นี้ โดยแพลตฟอร์มดังกล่าวทำ� หน้าที่จับคู่แรงงานเฉพาะทางในสายงานพัฒนา ซอฟต์แวร์ กราฟิกดีไซเนอร์ นักการตลาด ฯลฯ จำ�นวนมากกว่า 9 ล้านราย กับภาคธุรกิจจำ�นวน กว่า 3.6 ล้านราย จาก 180 ประเทศ ยังคงเป็นข้อกังขาอยูว่ า่ การขยายตัวขึน้ ของ งานอิสระจำ�นวนมหาศาลนี้เป็นผลดีมากกว่าผลเสีย หรือไม่ อรัน ซันดาราจัน (Arun Sundararajan) ศาสตราจารย์ ป ระจำ � คณะบริ ห ารธุ ร กิ จ ของ มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก (New York University) ได้วิเคราะห์ถึงลักษณะการทำ�งานแบบเป็นนาย
ตัวเองในปัจจุบันไว้ว่า “ด้วยทัศนคติที่เหมาะสม คุณจะสามารถประสบความสำ�เร็จในการสร้าง สมดุลของการทำ�งานและการใช้ชีวิตได้ อย่างไร ก็ตาม การได้รับเช็กเงินเดือนอย่างต่อเนื่อง การ มีชั่วโมงเวลาการเข้าทำ�งานที่ชัดเจน และการได้ รับสวัสดิการจากบริษัทที่คุณทำ�งานประจำ�ก็ถือ เป็นเรื่องที่ดีไม่แพ้กัน นอกจากนี้ การวางแผน ชีวิตระยะยาวคงเป็นไปได้ยาก หากคุณไม่แน่ใจ ว่าคุณจะสามารถหารายได้ได้เป็นจำ�นวนเท่าไหร่ ในปีข้างหน้า” ทั้ ง นี้ ทั้ ง นั้ น ในความไม่ แ น่ น อนยั ง คงมี โอกาสรออยู่ข้างหน้า จากการประมาณการของ McKinsey Global Institute พบว่า ในระยะเวลา 10 ปีขา้ งหน้า แพลตฟอร์มจัดหางานใหม่ๆ ทัง้ หลาย ที่ถูกพัฒนาขึ้นจะช่วยส่งเสริมการเข้าถึงตลาด แรงงาน จนสามารถสร้างรายได้ประชาชาติแก่โลก เพิ่มขึ้นร้อยละ 2 หรือคิดเป็นมูลค่า 2.7 ล้านล้าน เหรียญสหรัฐฯ ประชากรจากทั่วทุกมุมโลกกว่า 540 ล้านคนจะได้ประโยชน์จากแพลตฟอร์ม จัดหางาน ทั้งจากการได้งานประจำ� และการได้ งานอิสระที่ต่อเนื่องและรวดเร็วยิ่งขึ้น
CREATIVE THAILAND I 18
facebook.com/Etsy
From Volume to Value เป็นนายตัวเองต้องสร้างสรรค์
Carrot and Stick แล้วภาครัฐต้องทำ�อะไร?
ความหลากหลายของสินค้าบนโลกออนไลน์ในยุคปัจจุบนั สะท้อนให้เห็นถึงระบบการผลิตทางเลือก ซึ่งแตกต่างออกไปจากการผลิตขนานใหญ่ (Mass Production) หรือการผลิตสินค้าแบบยกโหล พฤติกรรมการบริโภคของประชากรโลกในช่วงต้นศตวรรษที่ 21 นัน้ เปลีย่ นแปลงไปจากช่วงศตวรรษ ทีผ่ า่ นมา การขยายตัวของชนชัน้ กลางใหม่เป็นปรากฏการณ์ทเี่ กิดขึน้ ควบคูก่ บั การเปลีย่ นผ่านจาก การบริโภคสินค้าเพื่อประทังชีพ สู่การบริโภคเพื่อแสดงความเป็นปัจเจกบุคคล มูลค่าของสินค้า และความเต็มใจที่จะจ่ายถูกชี้วัดจากระดับความคิดสร้างสรรค์ที่ทำ�ให้สินค้านั้นๆ แตกต่าง และ ทักษะฝีมือเฉพาะด้านในการผลิตมากยิ่งขึ้น ความนิยมของ Etsy เว็บไซต์ขายสินค้าศิลปะ งานออกแบบ และงานฝีมือ แสดงให้เห็นถึง วิวัฒนาการของพฤติกรรมการบริโภคและการเกิดขึ้นของผู้ผลิตรุ่นใหม่ โดยปัจจุบัน Etsy มีลูกค้า จำ�นวน 20.8 ล้านราย และมีผู้ผลิตรายย่อยวางขายสินค้าจำ�นวน 1.43 ล้านราย นิตยสาร ดิ อีโคโนมิสต์กล่าวถึงเว็บไซต์ดงั กล่าวในฐานะผูน้ �ำ ธุรกิจทางด้าน “The Maker Movement” แห่ง ศตวรรษที่ 21 โดย “The Maker” หรือผู้ผลิตรุ่นใหม่นี้ ได้ผสมผสานการใช้เทคโนโลยีที่ก้าวหน้า ในการผลิตสินค้างานออกแบบและงานฝีมือ รายงาน “Building an Etsy Economy: The New Face of Creative Entrepreneurship” ได้อธิบายถึงปรากฏการณ์ดังกล่าวว่า เทคโนโลยีใหม่ เช่น เครือ่ งพิมพ์ 3 มิติ เครือ่ งกัด เครือ่ งกลึง และเครือ่ งเจียระไนซีเอ็นซีทคี่ วบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ได้สง่ เสริมให้การผลิตสินค้าทีม่ มี ลู ค่าในจำ�นวนไม่มากเป็นไปได้ การเกิดขึน้ ของ “Maker Space” หรือพืน้ ทีซ่ งึ่ เปิดให้บคุ คลทัว่ ไปสามารถเข้าถึงเครือ่ งมือการผลิตเหล่านี้ ได้ขยายโอกาสให้ผปู้ ระกอบ การรุ่นใหม่ถ่ายทอดความคิดสร้างสรรค์ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อวางขายในตลาดออนไลน์ โดยไม่ต้องพึ่งพาอาศัยโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่อย่างเช่นในอดีต The Maker Movement ไม่ใช่เพียงแค่การรวมตัวของผูผ้ ลิตสมัครเล่นอีกต่อไป จากผลสำ�รวจ ผูข้ ายสินค้าบนแพลตฟอร์ม Etsy ในสหรัฐอเมริกาพบว่า ผูข้ ายจำ�นวนร้อยละ 74 มองร้านค้าออนไลน์ ของตนเป็นธุรกิจ ไม่ใช่งานอดิเรก ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังคงซบเซา Etsy ได้สร้าง ช่องทางการหารายได้ให้แก่ชนชัน้ กลางใหม่ทอี่ าจหมดหวังกับการทำ�งานประจำ� ให้หนั มาเป็นนาย ตัวเองและตั้งต้นธุรกิจเล็กๆ อย่างสร้างสรรค์
แพลตฟอร์มทางเศรษฐกิจใหม่ ส่งผลให้การ เข้าถึงลูกค้า การจ้างงาน และแหล่งเงินทุนของ ภาคเอกชนเป็นไปได้อย่างสะดวกรวดเร็วอย่างที่ ไม่ เ คยเกิ ด ขึ้ น มาก่ อ น การส่ ง เสริ ม ให้ ต ลาด ออนไลน์ทำ�งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการ วางโครงสร้างพืน้ ฐานต่างๆ เพือ่ สนับสนุนการค้า และกิจกรรมทางเศรษฐกิจใหม่ควรเป็นเรื่องที่ ภาครัฐให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ ระบบเทคโนโลยี และสารสนเทศได้กอ่ ให้เกิดการแลกเปลีย่ นสินค้า และบริการอย่างไร้พรมแดน แต่ตลาดออนไลน์ ดั ง กล่ า วไม่ ไ ด้ รั บ ประกั น ว่ า จะช่ ว ยกระจาย ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างเท่าเทียมกัน เสมอไป ทั้งนี้ คงเป็นความท้าทายของภาครัฐใน ศตวรรษที่ 21 ที่จะต้องสรรหานโยบายที่สร้าง สมดุลระหว่างการ “สนับสนุน” และ “ควบคุม” ที่เหมาะสม เพื่อให้กลไกตลาดใหม่ช่วยกระจาย โอกาสและความเจริญอย่างทั่วถึง ในแง่ของการ สนับสนุน ภาครัฐอาจต้องคลายกฏเกณฑ์บางอย่าง ที่ไม่จำ�เป็น เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ภาคเอกชนเข้า ร่วมเสี่ยงและร่วมลงทุนในโลกการค้าออนไลน์ ด้วยตนเอง ส่วนในแง่ของการควบคุมนัน้ ภาครัฐ คงต้องระวังเป็นพิเศษไม่ให้กฎเกณฑ์ทตี่ งั้ ขึน้ ใหม่ ไปปิดกัน้ โอกาสทางเศรษฐกิจทีป่ ระชาชนพึงได้รบั อยู่แล้วจากตลาดที่เกิดขึ้นใหม่นี้
ทีม่ า: บทความ “A beginner’s guide to Alibaba Group” (26 มกราคม 2015) จาก forbes.com / บทความ “A secret of Uber’s success: struggling workers” (2 ตุลาคม 2014) จาก bloombergview.com / บทความ “Airbnb is worth $25.5 billion after raising a massive $1.5 billion round” (26 มิถนุ ายน 2015) จาก businessinsider.com / บทความ “Alibaba: here’s why our mind-blowing numbers are real” (23 สิงหาคม 2015) จาก fortune.com / บทความ “Alibaba: the world’s greatest bazaar” (23 มีนาคม 2013) จาก economist.com / บทความ “Alibaba’s Jack Ma calls for E-WTO, Third Word War against poverty” (18 พฤศจิกายน 2015) จาก ibtimes.com / บทความ “Alibaba’s logistics arm to expand warehouse space” (28 พฤษภาคม 2015) จาก reuters.com / บทความ “China’s new farmers are using e-commerce to transform agriculture” (15 ธันวาคม 2014) จาก scmp.com / บทความ “How Airbnb and Lyft finally got Americans to trust each other” (23 เมษายน 2014) จาก wired.com / บทความ “Sharing Economy companies like Uber and Airbnb aren’t really sharing anything” (6 ตุลาคม 2015) จาก business insider.com / บทความ “Silicon Valley firms plant roots in farm belt” (6 เมษายน 2015) จาก wsj.com / บทความ “The art and craft of business” (4 มกราคม 2014) จาก economist.com / บทความ “The Facebook Economy” (28 พฤษภาคม 2012) จาก economist.com / บทความ “The ‘Gig Economy’ is coming: what will it mean for work?” ( 25 กรกฎาคม 2015) จาก theguardian.com / บทความ “The numbers behind Uber’s exploding driver force” (1 พฤษภาคม 2015) จาก forbes.com / บทความ “The Sharing Economy isn’t about trust, it’s about desperation” (24 เมษายน 2014) จาก nymag.com / บทความ “What the rise of the Freelance Economy means for the future of work” (30 ตุลาคม 2015) จาก huffingtonpost.com / รายงาน “A Labor Market that Works: Connecting Talent with Opportunity in the Digital Age” (มิถนุ ายน 2015) โดย McKinsey Global Institute / รายงาน “Building an Etsy Economy: the New Face of Creative Entrepreneurship” (2015) โดย Etsy / รายงาน “Facebook’s Global Economic Impact” (มกราคม 2015) โดย Deloitte LLP / รายงาน “How to Feed the World in 2050” (ตุลาคม 2009) โดย Food ad Agriculture Organization (FAO) / รายงาน “Redefining Entrepreneurship: Etsy Sellers’ Economic Impact” (2013) โดย Etsy / รายงาน “Report on Operation and Investment Strategy of China’s Fresh Food E-Commerce Industry” (สิงหาคม 2013) โดย Beijing Orient Agribusiness Consultant Ltd. / หนังสือ “New Rules for the New Economy: 10 Radical Strategies for a Connected World” (1999) โดย Kevin Kelly / หนังสือ “Reinventing the Bazaar: A Natural History of Markets (2009) โดย John McMillan CREATIVE THAILAND I 19
Insight : อินไซต์
เรื่อง: นันท์นรี พานิชกุล
หากนิยามความเป็น “เจ้าของสินทรัพย์” แบบเดิมๆ กำ�ลังเปลีย่ นไป เมื่อสิ่งที่มีคณ ุ ค่าและมูลค่าสร้างรายได้ให้แก่ผปู้ ระกอบการ และเจ้าของธุรกิจ อาจไม่ได้วัดกันแค่เพียงจำ�นวนอสังหาริมทรัพย์ที่มีหรือจำ�นวนสิทธิบัตรที่ถือไว้ แต่ยังหมายรวมถึง “ผู้คน และเครือข่าย” ที่กำ�ลังก้าวเข้ามามีบทบาทสำ�คัญในการประกอบธุรกิจและการให้บริการมากขึ้นเรื่อยๆ เช่นนั้นแล้ว ประเด็น ใดทีต่ อ้ งคำ�นึงถึงบ้าง ในการขับเคลือ่ นเศรษฐกิจใหม่ไปข้างหน้าอย่างสมดุล ในโลกทีท่ กุ คนและทุกอย่าง ทัง้ ในโลกจริงและโลก เสมือน ล้วนเชื่อมโยงถึงกันได้ผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศยุคดิจิทัล
แบ่งปัน = เป็นเจ้าของ การแบ่งปันทรัพยากรซึ่งกัน และกัน คือหนึง่ ในหัวใจสำ�คัญ ของเศรษฐกิจยุคใหม่ที่ทุกๆ คนไม่จำ�เป็นต้องเป็นเจ้าของ ทุกๆ อย่างอีกต่อไป เข้าถึงง่ายเท่าไหร่ ก็ขายได้เท่านั้น การเข้าถึงสินค้าและบริการได้ สะดวก รวดเร็ว คือข้อได้เปรียบ แพลตฟอร์ ม การใช้ บ ริ ก ารที่ ออกแบบมาให้ใช้งานได้ง่ายและ ไม่ซับซ้อน จะสร้างความสำ�เร็จ ให้ธุรกิจและบริการได้
ความไว้วางใจคือทุกสิ่ง ความไว้เนือ้ เชือ่ ใจและมัน่ ใจได้ จะเป็นปัจจัยหลักที่เชื่อมโยง สิ น ค้ า และบริ ก ารในโลก ออนไลน์เข้ากับผู้คนในโลก ออฟไลน์อย่างมีประสิทธิภาพ
รู้จัก “ปัจจัย 4” ของผู้บริโภคยุคใหม่ ค้นหาและทำ�ความเข้าใจสิ่งที่ ผู้คนให้ความสำ�คัญในชีวติ สิง่ ที่ ผูบ้ ริโภคไม่อาจขาดไปได้ในชีวติ ประจำ�วัน เพือ่ พัฒนาเป็นสินค้า และบริการทีม่ โี อกาสสร้างความ มั่งคั่งในเศรษฐกิจยุคใหม่
มวลชน = แรงงาน และลูกค้าที่ไม่มีวันหมดอายุ อย่าลืมว่า ทุกคนสามารถเป็นได้ ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคในเศรษฐกิจ ยุคใหม่ บทบาทหน้าที่ที่สลับกันไป มานี้ ยืดหยุ่นและเปิดกว้างมากพอ ในการสร้างมูลค่าทางธุรกิจ
CREATIVE THAILAND I 20
บริการที่ Dogvacay (dogvacay.com) แพลตฟอร์มออนไลน์ซึ่งเปิดให้บริการรับฝากดูแลสุนัขในสหรัฐอเมริกานำ�เสนอไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด หากกลไก การให้บริการง่ายๆ ไม่ซับซ้อนนี้ ตอบโจทย์ความต้องการและความเป็นไปได้ของธุรกิจและบริการในระบบเศรษฐกิจแบบใหม่ได้อย่างครบถ้วน
กลไกการให้บริการ
เจ้าของสุนัขค้นหาพี่เลี้ยงสุนัขในพื้นที่ด้วยการใส่รหัสไปรษณีย์ของย่านที่ตนเองอยู่อาศัย ระบบจะแสดงผลและข้อมูลรายละเอียดพี่เลี้ยงสุนัขในพื้นที่ ทั้งลักษณะที่อยู่ ค่าธรรมเนียมฝากเลี้ยง ฯลฯ เจ้าของสุนัขสามารถเลือกพี่เลี้ยงสุนัขที่ถูกใจและทำ�การสำ�รองวันเวลาที่ต้องการฝากเลี้ยง รอการยืนยัน นำ�สุนัขไปฝากเลี้ยงกับพี่เลี้ยงสุนัข ออกเดินทางไปยังจุดหมายปลายทาง
แบ่งปัน = เป็นเจ้าของ dogvacay ไม่ได้เป็นนายจ้างพี่เลี้ยงสุนัขทุกคน ในฐานข้อมูล ในทางตรงกันข้าม dogvacay ทำ�หน้าที่เป็นเครือข่ายที่ เปิดพื้นที่ให้ทุกคนที่รักและเชี่ยวชาญการเลี้ยงสุนัข รวมถึงมีที่อยู่อาศัยที่ เหมาะสมสำ�หรับการรับฝากเลี้ยง มาเป็นผู้ให้บริการได้ เข้าถึงง่ายเท่าไหร่ ก็ขายได้ง่ายเท่านั้น dogvacay มีทั้งเว็บไซต์ แพลตฟอร์มบนคอมพิวเตอร์ และแอพพลิเคชันในสมาร์ทโฟนที่รองรับการ ใช้งานทุกรูปแบบ ความไว้วางใจคือทุกสิง่ Dogvacay มาพร้อมกับบริการประกันสัตว์เลีย้ ง บริการดูแลลูกค้าทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง และบริการส่งภาพถ่ายอัพเดท ความเป็ น ไปของสุ นั ข ประจำ � วั น dogvacay ยั ง เป็ น ตั ว กลางรั บ ฝาก ค่าธรรมเนียมการฝากเลี้ยงไว้ก่อน โดยจะโอนค่าธรรมเนียมไปยังพี่เลี้ยง ก็ต่อเมื่อเจ้าของพาสุนัขไปฝากไว้เรียบร้อยแล้วเท่านั้น รู้จัก “ปัจจัย 4” ของผู้บริโภคยุคใหม่ สำ�หรับหลายๆ คน สุนัขคือ สมาชิกในครอบครัว แต่แน่นอนว่า เราไม่สามารถพาสุนขั ไปด้วยได้ทกุ ที่ ปกติ แล้วอาจมี 2 ทางเลือกคือ 1) ฝากญาติหรือเพือ่ นๆ ช่วยเลีย้ ง แต่กไ็ ม่ใช่ทกุ คน ที่มีญาติหรือเพื่อนที่ชอบสุนัขและยอมให้ฝากเลี้ยงดูแลสุนัขได้ 2) ฝาก สถานบริการรับฝากสัตว์เลี้ยง ซึ่งปัญหาก็คือสุนัขต้องอยู่ในพื้นที่จำ�กัดร่วม กับสุนขั อืน่ ๆ อีกหลายตัว และบางคนไม่มีสถานทีร่ ับฝากเลี้ยงในละแวกทีอ่ ยู่ อาศัย มวลชน = แรงงานและลูกค้าทีไ่ ม่มวี นั หมดอายุ อย่าลืมว่าในบริการ อย่าง dogvacay เจ้าของสุนัขเองก็สามารถให้บริการเป็นพี่เลี้ยงสุนัขได้ เช่นกัน นอกจากนี้ หากไม่สะดวกดูแลเพราะต้องทำ�งานไม่เป็นเวลา หรือ สำ�หรับสุนขั ทีไ่ ม่ชอบอยูใ่ นสภาพแวดล้อมทีไ่ ม่คนุ้ เคย dogvacay ก็มเี ครือข่าย พี่เลี้ยงแบบรายวันที่รับมาให้อาหารสุนัขที่บ้านและพาสุนัขไปเดินเล่นด้วย เช่นกัน
CREATIVE THAILAND I 21
dogvacay.com
Creative Startup : เริ่มต้นคิด
บอล-วชิราวุธ ถาคำ�มี
START F ROM W HAT YOU HAV E เรื่อง: วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ / ภาพ: อดิเดช ชัยวัฒนกุล
หากใครเคยเล่นเกม Surgery Simulator ที่ให้คนธรรมดาได้ลองเป็นศัลยแพทย์ช่วยเหลือคนไข้จากการรักษาบาดแผล เล็กๆ ไปจนถึงการผ่าตัดใหญ่ทม่ี ชี วี ติ คนไข้เป็นเดิมพัน คงพอจะนึกภาพออกว่าขัน้ ตอนการผ่าตัดนัน้ ต้องอาศัยความละเอียด ลออมากขนาดไหน แต่เกมจำ�ลองการผ่าตัดไม่ได้มขี น้ึ เพือ่ ความสนุกสนานเท่านัน้ เพราะมีการนํามาใช้จริงกับนักศึกษาแพทย์ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด เพื่อฝึกทักษะการผ่าตัดภายใต้ชื่อเกม SICKO รวมถึงการเกิดขึ้นของแอพพลิเคชันที่ให้บุคคล ทั่วไปได้ดาวน์โหลดฟรีอย่าง Touch Surgery โดยมีจุดประสงค์ให้นักศึกษาแพทย์หรือแพทย์ฝึกหัดได้ฝึกฝนทักษะ การผ่าตัดและฝึกทักษะการตัดสินใจ รวมทั้งให้ผู้ป่วยได้ทำ�ความเข้าใจขั้นตอนการผ่าตัดเพื่อลดความวิตกกังวลเมื่อต้อง เข้ารับการผ่าตัดจริง คงไม่นา่ แปลกใจนักทีเ่ กมและแอพพลิเคชันทีก่ ล่าวมานัน้ ถูกผลิตและคิดค้น โดยชาวต่างชาติ แต่รหู้ รือไม่วา่ ประเทศไทยเองก็ก�ำ ลังจะมีการเรียนการสอน ในรูปแบบอีเลิร์นนิงที่ผสมผสานเข้ากับเกมดีไซน์เพื่อฝึกฝนทักษะการผ่าตัด ให้กบั นักศึกษาคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ทีค่ ดิ และสร้างสรรค์โดยสตาร์ทอัพชาวไทยอย่าง “คุณบอล-วชิราวุธ ถาคำ�มี”
WHERE THERE IS A PROBLEM, THERE IS AN OPPORTUNITY ด้วยโจทย์ตั้งต้นของคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ที่ต้องการ พัฒนาการเรียนการสอนโดยนำ�เอาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ควบคูไ่ ปกับการ เรียนให้มากขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ การตัดสินใจ และที่สำ�คัญ
CREATIVE THAILAND I 22
คือเพิ่มทักษะการผ่าตัดให้กับนักศึกษาแพทย์ จึงได้ร่วมมือกับ Vernity บริษทั ออกแบบนวัตกรรมเพือ่ การศึกษา โดยมีคณุ บอลเป็นหัวหน้าฝ่ายพัฒนา เป็นผู้คิดค้นการจำ�ลองการผ่าตัดให้กับโรงพยาบาลรามาธิบดีในครั้งนี้ รูปแบบการจำ�ลองการผ่าตัดที่คุณบอลคิดค้นจะใช้เทคโนโลยี AR หรือ Augmented Reality ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการเพิม่ ประสบการณ์และ รายละเอียดให้กบั วัตถุทอี่ ยูต่ รงหน้า โดยเริม่ แรกจะต้องกำ�หนดจุดทีต่ อ้ งการ เห็นเป็นภาพสามมิติให้เป็นจุดที่เรียกว่ามาร์กเกอร์ (Marker) เช่น หาก กำ�หนดให้หัวใจเป็นมาร์กเกอร์ ก็ต้องหล่อหัวใจขึ้นมา ซึ่งอาจจะปั้นปูน ปลาสเตอร์เป็นโมเดลหัวใจไว้ก่อนและใช้ยางพาราหรือซิลิโคนที่ให้สัมผัส นุ่มขึ้นหุ้มทับอีกชั้น เมื่อได้ตัวมาร์กเกอร์ที่ต้องการแล้ว ให้ใช้กล้องมือถือ ส่องไปที่มาร์กเกอร์ โดยเทคโนโลยี AR ในกล้องจะทำ�การแปลงโมเดลหัวใจ เป็นภาพ 3 มิติทุกอณู นักศึกษาแพทย์ก็จะได้เห็นอวัยวะจริงๆ ที่ขยับได้ เพราะทำ�ภาพแอนิเมชัน่ เตรียมไว้กอ่ นแล้ว เมือ่ นักศึกษาแพทย์ทดลองทำ�การ ผ่าตัดก็เป็นเรื่องของเกมดีไซน์ที่จะกำ�หนดว่าขั้นตอนการผ่าตัดที่ถูกต้อง ต้องทำ�อย่างไร โดยโปรเจ็กต์น้ีอยู่ในช่วงพัฒนาและดำ�เนินการ ซึ่งหากทำ� สำ�เร็จคาดว่าจะสามารถแก้ปญั หาเรือ่ งร่างอาจารย์ใหญ่ทยี่ งั คงขาดแคลนให้ กับวงการการศึกษาแพทย์ไทยได้ TURN YOUR WEAKNESS INTO STRENGTH “เราคีพจุดอ่อนของเราเป็นจุดแข็ง เพราะคงมีน้อยที่โปรแกรมเมอร์คนไหน จะเข้าถึงวิทยาศาสตร์ได้” จากโปรเจ็กต์ของคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาล รามาธิบดี คงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะมีโปรแกรมเมอร์คนไหนคิดค้นและพัฒนา การจำ�ลองการผ่าตัดได้หากไม่เคยมีประสบการณ์หรือความรู้ที่ดีพอ แต่สิ่งนี้ กลับไม่ใช่อุปสรรคสำ�หรับคุณบอล เพราะการจบสายชีววิทยามาโดยตรงทั้ง ปริญญาตรีและโท ทำ�ให้คุณบอลมีพื้นฐานความรู้เพียงพอที่จะร่วมมือกับ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ในการพัฒนาโปรเจ็กต์น้ีข้ึนมาได้ บวกกับการที่ เป็นคนชอบเกมตั้งแต่ยังเด็ก ทั้งชอบเล่น และชอบทีจ่ ะเรียนรูว้ า่ การจะทำ� เกมต้องทำ�อย่างไร คุณบอลจึงเริม่ ศึกษาการเป็นเกมเมอร์ควบคูก่ บั การเรียน มาโดยตลอด โดยใช้วธิ หี าความรูด้ ว้ ยตัวเองจากการอ่านหนังสือ เข้าเว็บบอร์ด ต่างประเทศเพือ่ หาข้อมูล ทดลอง ลองผิดลองถูกและเปิดรับคอมเม้นต์ตา่ งๆ ที่เข้ามาติชม และหากย้อนกลับไป 10 กว่าปีกอ่ น คุณบอลให้ความเห็นไว้วา่ เกมเมอร์ จำ�เป็นต้องทำ�เป็นทุกอย่าง ทั้งเขียนโปรแกรม วาดรูป ขึ้นโมเดล ทำ�สามมิติ ทำ�เว็บ ทำ�เสียง ฯลฯ ซึ่งการทำ�เป็นเองทั้งหมดนี้ได้ต่อยอดสู่การเปิดบริษัท “One Studio Soft” บริษัทเกมมือถือของตัวเองได้ในที่สุด โดยเกมแรกที่ เปิดตัวคือเกมทำ�อาหารไทยสามมิติเกมแรกของโลกภายใต้ชอื่ “Cooking Queen” ด้วยยอดดาวน์โหลดกว่าสามแสนคน และยังมีเกมอื่นๆ อีกที่ให้ ความสนุกสนาน รวมทั้งเกมในรูปแบบอีเลิร์นนิ่งที่จะมีมากขึ้นในปีนี้ โดยชู เกมฝึกคิดเลขเร็ว “Runar Math” ให้เป็นเกมต้นแบบเพื่อการศึกษา เพราะ เกมนีไ้ ด้ผา่ นการทดลองเล่นโดยเด็กอนุบาลจากโรงเรียนอนุบาลขอนแก่นและ ได้รับความร่วมมือจากคุณครูในโรงเรียน พ่อแม่ผู้ปกครอง ที่ให้คำ�ติชมจน ได้ลองผิดลองถูก ปรับแก้ไขและพัฒนาเกมนีไ้ ปด้วยกันจนเกิดเป็นโมเดลเกม ต้นแบบที่สามารถนำ�ไปต่อยอดใช้กับวิชาอื่นๆ ได้ต่อไปในอนาคต
และหากจุดประสงค์ของเกมคือการทำ�ให้คนเล่นเกมติด คำ�ถามที่น่าคิด คือจะหาทางออกให้เรือ่ งนีไ้ ด้อย่างไร? “ผมยังไม่คอ่ ยแนะนำ�ให้เด็กทีอ่ ายุตาํ่ ๆ เล่นพวกแท็บเล็ต แต่ถ้าเราบังคับไม่ได้ เราก็ต้องหา ต้องเลือก แทนที่มันจะ เป็นยาพิษ แต่เราใช้การศึกษานี่แหละเคลือบยาพิษไว้ หน้าที่ของเราก็คือ ทำ�ยังไงให้มันโอเค โดยที่เด็กไม่รู้ว่านี่เพื่อการศึกษาหรือเพื่อการเรียน เพราะหากพูดว่าเรียนปุบ๊ เด็กก็จะขีเ้ กียจ แต่ถา้ บอกว่าเล่น เขาจะโอเคเลย” คุณบอลกล่าว
DID YOU KNOW? อุตสาหกรรมเกมมีมูลค่าสูงกว่าอุตสาหกรรมเพลงและภาพยนตร์ รวมกันเสียอีก โดยในปี 2015 อุตสาหกรรมเกม มีมูลค่าสูงถึง 88 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และคาดว่าจะมีมลู ค่าเพิม่ ขึน้ ไปถึง 110 พันล้าน เหรียญฯ ภายในปี 2018 โดยเกมบนมือถือมีสัดส่วนมูลค่าสูงที่สุด ในบรรดารูปแบบเกมต่างๆ อยู่ที่ 29 พันล้านเหรียญฯ ในปี 2015 และจะเพิ่มขึ้นเป็น 45 พันล้านเหรียญฯ ในปี 2018 โดยเอเชียเป็น ผู้ถือครองตลาดเกมบนมือถือรายใหญ่ที่สุด นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าการเล่นเกมในรูปแบบอีเลิร์นนิงมีประโยชน์ คล้ายกับการออกกำ�ลังกาย เพราะเป็นการฝึกร่างกายและจิตใจที่ คล้ายคลึงกัน โดยผู้เล่นเกมจะรู้สึกสนุก ตื่นเต้น เพราะอยากผ่าน ด่านต่อๆ ไป และไม่เพียงแต่ความสนุกเท่านั้นที่ผู้เล่นเกมจะได้รับ แต่พบว่าเมื่อร่างกายหลั่งสารเอ็นดอร์ฟินระหว่างการเล่นเกม ผู้เล่น จะสามารถรับข้อมูลต่างๆ ได้เพิ่มขึ้นและมีความสามารถในการจดจำ� ที่ดีขึ้นอีกด้วย TIPS FOR STARTUP
“สิง่ ทีค่ วรมีอนั ดับแรกคือ การรูต้ วั ว่าชอบหรือรักทีจ่ ะทำ�อะไร บางคนบอกว่ายังไม่ค้นพบตัวเอง จริงๆ บางคนค้นพบแล้ว แต่ว่าไม่กล้าที่จะบอกว่าเราชอบ” “ไม่วา่ จะเป็นสตาร์ทอัพหรือไม่ ต้องห้ามท้อ เพราะโดยทัว่ ไป เขาว่ากันว่า คุณจะชำ�นาญต้องใช้เวลาประมาณ 5 ปี แต่ คุณจะเชี่ยวชาญใช้เวลา 7 ปี ซึ่งผมทดลองด้วยตัวเอง มัน ก็เป็นอย่างนั้น อะไรก็ตามที่เราทำ�มา 6-7 ปีขึ้นไปมันจะ เป็นเหมือนแขนขาของเรา” onestudiosoft.com l facebook.com/VernityEdutainment ที่มา: บทความ “Stanford-designed game teaches surgical decision-making” (23 กันยายน 2556) จาก med.stanford.edu / บทความ “Touch Surgery: the iPad app that teaches surgeons how to operate” (27 กุมภาพันธ์ 2556) จาก theguardian.com / บทความ “Games leaders to dominate $45 billion mobile games revenue forecast by 2018” (พฤษภาคม 2558) จาก digi-capital.com
CREATIVE THAILAND I 23
Creative City : จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
เรื่อง: ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ
นี่คือคำ�พูดที่เบนจามิน ดิสราเอลิ (Benjamin Disraeli) อดีตนายก รัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรกล่าวถึงแมนเชสเตอร์ในปี 1844 ก่อนจะกลาย มาเป็นคำ�คมติดปากที่ถูกนำ�มาใช้จนถึงทุกวันนี้ นั่นเพราะแมนเชสเตอร์ ก้าวนำ�หน้าเมืองอืน่ ๆ เสมอ ไม่วา่ จะเป็นด้านอุตสาหกรรม สังคม การเมือง วิทยาศาสตร์ หรือเทคโนโลยี เรือ่ งราวการเปลีย่ นแปลงทีเ่ กิดขึน้ และกำ�ลัง จะเกิดขึ้นที่นี่ จึงเป็นสิ่งที่ทั่วโลกจะต้องจับตามอง ไม่ใช่เพียงเพื่ออ่านเกม ของแมนเชสเตอร์ในการรักษาตำ�แหน่งผู้นำ� แต่เพื่อเรียนรู้ทิศทางการ พัฒนาของเมืองทัว่ โลก ทีล่ ว้ นกำ�ลังแสวงหาหนทางอยูร่ อดในกระแสความ เปลี่ยนแปลงของโลกที่หมุนเร็วขึ้นทุกวัน
CREATIVE THAILAND I 24
filckr.com/photos/psnh
“What Manchester does today, the rest of the world does tomorrow.”
จากโรงนาสู่โรงงาน อุตสาหกรรม เป็นที่ทราบกันดีว่า อังกฤษเป็นประเทศแรกของ โลกทีเ่ ข้าสูก่ ารปฏิวตั อิ ตุ สาหกรรมเมือ่ เทคโนโลยี เครื่ อ งจั ก รถู ก คิ ด ค้ น และสร้ า งขึ้ น ในช่ ว ง ปลายศตวรรษที่ 18 โดยการปฏิวัติเริ่มต้นจาก อุตสาหกรรมสิ่งทอซึ่งได้นำ�เทคโนโลยีเครื่องจักร มาใช้ในกระบวนการผลิต มีโรงงานปั่นฝ้ายด้วย พลังงานไอนํ้าเกิดขึ้นมากมายตามริมฝั่งแม่นํ้า โดยกระจุ ก ตั ว อยู่ ที่ แ มนเชสเตอร์ แ ละบริ เ วณ ใกล้เคียง ด้วยทำ�เลซึ่งมีกระแสนํ้าไหลเชี่ยวจาก เทือกเขาสูงเพนไนน์ แมนเชสเตอร์จงึ ได้ชอื่ ว่าเป็น “เมืองอุตสาหกรรม (Industrial City)” แห่งแรก ของโลกและได้รับการเรียกขานด้วยชื่อเล่นว่า “เมืองฝ้าย (Cottonopolis)” ในฐานะที่เป็น ศูนย์กลางการค้าขายฝ้ายและสิ่งทอที่ใหญ่ที่สุด ของโลกซึ่งมีกำ�ลังการผลิตสูงสุดในยุคหนึ่ง โดย จำ�นวนโรงงานเคยพุง่ สูงทีส่ ดุ ในประวัตศิ าสตร์ถงึ 108 แห่งในปี 1853 และยังเต็มไปด้วยโกดังสินค้า ถึง 1,819 แห่ง แน่นอนว่าการปฏิวัติเทคโนโลยีนั้นนำ�ไปสู่ ความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในทุกด้านของชีวิต ของผู้คน เพราะนอกเหนือจากโรงงานทอผ้า ที่ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดแล้ว ยังเกิดธุรกิจใหม่ๆ ใน แมนเชสเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งทอ เช่น บริษัท วิศวกรรมผลิตเครื่องจักร อุตสาหกรรมเคมีฟอก ย้อม ซึ่งในเวลาต่อมา ธุรกิจข้างเคียงเหล่านี้ก็ได้ พัฒนาต่อยอดและขยับขยายไปสู่อุตสาหกรรม อื่นๆ เกิดเป็นนวัตกรรมและธุรกิจใหม่ที่ไม่เคยมี มาก่อน ทั้งธุรกิจด้านการเงิน การธนาคาร และ ประกันภัยก็เกิดขึ้นเพื่อตอบโจทย์และสนับสนุน การทำ � มาค้ า ขาย เช่ น เดี ย วกั บ การพั ฒ นา สาธารณูปโภคและเส้นทางคมนาคมขนส่ง ตัง้ แต่ การปรับขยายระบบแม่นํ้าลำ�คลอง การสร้าง เส้นทางรถไฟโดยสารแห่งแรกของโลกซึง่ เชือ่ มต่อ แมนเชสเตอร์เข้ากับลิเวอร์พูล ไปจนถึงการเริ่ม ให้บริการโทรศัพท์ครั้งแรกของโลก
ในทางสังคมและการเมือง แมนเชสเตอร์ยงั เป็ น แหล่ ง บ่ ม เพาะชั้ น เยี่ ย มของลั ท ธิ ทุ น นิ ย ม โรงเรียนเศรษฐศาสตร์ พรรคแรงงาน รวมถึงการ รวมตัวของสหภาพแรงงาน และการเรียกร้องสิทธิ การเลือกตั้งของสตรี ในช่วงเวลานั้น อะไรก็ดูจะ เกิดขึน้ ได้ในแมนเชสเตอร์ กระบวนการผลิตด้วย ระบบอุตสาหกรรมแบบใหม่ แนวคิดใหม่ทาง เศรษฐกิจ ชนชั้นใหม่ทางสังคม รูปแบบใหม่ของ องค์การแรงงาน สิ่งเหล่านี้ดึงดูดชาวอังกฤษและ ยุโรปที่มีการศึกษาจำ�นวนมากให้เดินทางมาที่นี่ แม้ว่าต่อมาเทคโนโลยีการผลิตผ้าฝ้ายจะ กระจายตัวไปสู่เมืองอื่นๆ และแมนเชสเตอร์ได้ ผันตัวเองมาเป็นผู้แปรรูป ก่อนที่ธุรกิจสิ่งทอใน แมนเชสเตอร์จะค่อยๆ ล่มสลายนับตั้งแต่ภาวะ เศรษฐกิจตกตํ่าหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและ การแข่งขันจากคู่แข่งต่างประเทศ ทิ้งไว้เพียง ร่ อ งรอยความเฟื่ อ งฟู ข องอุ ต สาหกรรมใน อาคารโรงงานที่ถูกทิ้งร้าง และในประเทศอดีต อาณานิคมอย่างออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และ แอฟริกาใต้ ซึ่งยังคงเรียกของใช้ในบ้านที่ทำ�จาก ผ้าอย่างปลอกหมอน ผ้าปูที่นอน และผ้าขนหนู ด้วยคำ�ว่า “แมนเชสเตอร์ (Manchester)” แต่ใน วันนี้ ดูเหมือนว่ารัฐบาลจะมีแผนการใหม่วาง ไว้แล้ว สำ�หรับอนาคตของเมืองที่ถูกเรียกว่า “เมืองรองของอังกฤษ (Second City)” แห่งนี้
ก้าวต่อไปของ เมืองมหาอำ�นาจทางเหนือ ในขณะที่ทั่วโลกโดยเฉพาะยุโรปกำ�ลังดิ้นรนใน ภาวะเศรษฐกิจถดถอย โครงการ “Northern Powerhouse” คือหนึ่งในแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ รัฐบาลอังกฤษเลือกใช้ นีค่ อื ยุทธศาสตร์เพือ่ สร้าง ศักยภาพให้แก่ภาคเหนือของประเทศ เพื่อปรับ สมดุลทางเศรษฐกิจไม่ให้กระจุกตัวอยู่แต่เพียง ในลอนดอนและภาคตะวันออกเฉียงใต้ จอร์จ ออสบอร์น (George Osborne) รัฐมนตรีว่าการ
CREATIVE THAILAND I 25
กระทรวงการคลังแห่งสหราชอาณาจักร ได้ออก มาประกาศเมื่อปี 2014 ว่ารัฐบาลวางแผนให้ แมนเชสเตอร์เป็นศูนย์กลางของแผนขับเคลื่อน เศรษฐกิจในภาวะวิกฤติครั้งนี้ โดยแมนเชสเตอร์ จะต้องผนึกกำ�ลังเชือ่ มโยงกับเมืองสำ�คัญอืน่ ๆ ใน ภาคเหนือ ได้แก่ ลิเวอร์พูล ลีดส์ เชฟฟีลด์ และ นิวคาสเซิล แผนกระจายอำ�นาจในครัง้ นี้ เป็นความหวัง ที่ จ ะลดปั ญ หาความเหลื่ อ มลํ้ า ทางเศรษฐกิ จ ระหว่างเมืองทางเหนือ-ใต้ของอังกฤษซึ่งมีการ พูดถึงมานานกว่าหนึ่งร้อยปี โดยนวนิยายเชิง สังคมของอังกฤษในศตวรรษที่ 19 มักจะเสนอ ประเด็ น เรื่ อ งความเหลื่ อ มลํ้ า ทางเศรษฐกิ จ ระหว่าง “ชนชั้นกรรมกรทางเหนือ” กับ “ชนชั้น กลางทางใต้” อยู่เสมอ ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์ จอห์น ฮอบสัน (John Hobson) ก็เคยแบ่งแยก ประชากรในสองภูมิภาคไว้ในปี 1900 ด้วยคำ� ว่า “ผู้ผลิตอังกฤษ (Producer’s England)” และ “ผูบ้ ริโภคอังกฤษ (Consumer’s England)” จนใน ช่วงหลังจากปี 1950 เป็นต้นมา กระแสโลกาภิวตั น์ ก็ทำ�ให้ช่องว่างทางเศรษฐกิจในภาพรวมระหว่าง สองภาคดูเหมือนจะกว้างยิ่งขึ้นไปอีก แมนเชสเตอร์นับว่าเป็นหนึ่งในกรณียกเว้น เพราะเป็นเมืองทีม่ แี นวโน้มการเติบโตอย่างต่อเนือ่ ง โดยภายในปี 2001-2011 มีจำ�นวนประชากรเข้า มาอาศัยเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 19 สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่ว ประเทศถึง 3 เท่า และยังเป็นเมืองที่มีประชากร เพิ่มขึ้นสูงสุดเป็นอันดับสาม เป็นรองก็แต่เพียง เขตเทศบาลนิวแฮมและทาวเวอร์แฮมเลตส์ของ ลอนดอนเท่านัน้ โดยสิบปีทผี่ า่ นมา แมนเชสเตอร์ ได้พัฒนาความเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลและ ครีเอทีฟ ซึ่งทำ�ให้เกิดการสร้างงานถึง 105,000 อัตรา และมีมูลค่าทางเศรษฐกิจในเมืองถึง 4.7 พันล้านปอนด์ต่อปี บทบาทด้านการเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรม สร้างสรรค์ของแมนเชสเตอร์เติบโตและขยาย กว้างขึน้ ผ่านการเกิดขึน้ ของบริษทั ด้านดิจทิ ลั ทีอ่ ยู่ รวมกลุ่มกันเป็นคลัสเตอร์อย่าง MediaCityUK,
filckr.com/photos/9437621@N05
ด้วยเงินทุน 110 ล้านปอนด์ โดยโรงละครสามารถ จุผู้ชมได้มากถึง 5,000 คน และตั้งใจจะใช้พื้นที่ สร้ า งสรรค์ นี้ เ ป็ น สถานที่ จั ด งานถาวรของ Manchester International Festival เทศกาล ศิลปวัฒนธรรมระดับโลกที่จัดขึ้นทุกสองปีใน แมนเชสเตอร์ Lonely Planet จัดอันดับให้แมนเชสเตอร์ เป็นหนึ่งในสิบเมืองทั่วโลกที่ต้องไปในปี 2016 โดยผู้เชี่ยวชาญพิจารณาจากเมืองที่มีโครงการ ลงทุนและพัฒนาพื้นที่ที่น่าตื่นเต้น กิจกรรมน่า สนใจที่กำ�ลังจะเกิดขึ้น และการได้รับการพูดถึง ในวงกว้าง โดยแมนเชสเตอร์เป็นเมืองเดียวของ อังกฤษทีไ่ ด้รบั การจัดอันดับในช่วงสองปีทผี่ า่ นมา ในขณะที่ธนาคาร Bank of New York Mellon ก็ ประมาณการว่า ภายในปี 2015 - 2025 จะมีงาน ใหม่เพิ่มขึ้นในแมนเชสเตอร์ 55,000 ตำ�แหน่ง หรือประมาณปีละ 5,000 ตำ�แหน่ง ในขณะที่ จำ�นวนประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่เดินทางมา ในเมืองได้ภายในหนึง่ ชัว่ โมงก็จะเพิม่ ขึน้ เป็นเท่าตัว จาก 7 ล้านคน เป็น 15 ล้านคน ด้วยอานิสงส์จาก การพัฒนาเส้นทางคมนาคมและรถไฟความเร็วสูง HS2 ยังไม่นับรวมการเดินทางมาเยือนอังกฤษ CREATIVE THAILAND I 26
filckr.com/photos/drawmeamonkey
filckr.com/photos/belowred
The Sharp Project ซึ่งหากมองในระดับภูมิภาค จากรายงานของ Business Growth Hub หน่วยงาน สนั บ สนุ น การลงทุ น ในมณฑลเกรทเทอร์ แมนเชสเตอร์ ก็รายงานเมื่อธันวาคมปี 2014 ว่า เกรทเทอร์แมนเชสเตอร์ (Greater Manchester) เป็นมณฑลทีม่ จี �ำ นวนผูป้ ระกอบการสตาร์ทอัพสูง กว่าค่าเฉลี่ยของทั่วประเทศถึง 35 เปอร์เซ็นต์ จากเมืองที่เคยคละคลุ้งด้วยฝุ่นควันจาก โรงงาน ในวันนี้ กลิ่นอายทางวัฒนธรรมและ ประวัติศาสตร์เมืองอุตสาหกรรมเก่าที่หลงเหลือ อยู่ในสถาปัตยกรรมได้รับการปรับปรุง ดัดแปลง และใช้ประโยชน์ตามยุคสมัย เช่น การลงทุนซื้อ ที่ดินพร้อมอาคารทั้งหมดของ Liverpool Road Station สถานีรถไฟขนส่งผู้โดยสารแห่งแรกของ โลกซึ่งไม่ใช้งานแล้ว เพื่อสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์ วิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม (Museum of Science and Industry) บอกเล่าพัฒนาการและ ความภาคภูมใิ จของวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม ของเมือง หรือโครงการพัฒนาพื้นที่ที่เคยเป็น สตูดโิ อของ Granada Studios ให้เป็นอาร์ตสเปซ และโรงละครภายใต้ชื่อ “The Factory” ซึง่ มีก�ำ หนด เริ่มสร้างในปี 2017 และเปิดให้บริการในปี 2019
อย่างเป็นทางการของประธานาธิบดีสีจิ้นผิงเมื่อ เดือนตุลาคม 2015 เพื่อเจรจาข้อตกลงด้านการ ลงทุนพร้อมกับประกาศว่า สายการบินไห่หนาน ของจีนก็ก�ำ ลังจะเปิดให้บริการเส้นทางบินระหว่าง แมนเชสเตอร์กับกรุงปักกิ่งในเร็วๆ นี้ ซึ่งจะเป็น การทำ�ข้อตกลงที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของเมือง แห่งนี้ได้ถงึ 50 ล้านปอนด์ หรือกว่า 2,650 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีการเกิดขึ้นของ Business Growth Hub หน่วยงานแรกที่ก่อตั้งโดยรัฐบาล ในปี 2011 เพือ่ ทำ�หน้าทีส่ นับสนุนธุรกิจและดึงดูด การลงทุนเข้ามาในมณฑลเกรทเทอร์แมนเชสเตอร์ (Greater Manchester) โดยมีพันธกิจที่น่าสนใจ คือ “เพือ่ ให้นกั ลงทุนและผูป้ ระกอบการเล็งเห็นว่า เกรทเทอร์แมนเชสเตอร์เป็นภูมิภาคที่เหมาะสม กับการลงทุนมากกว่าหรือเท่ากับลอนดอน” โดย นับตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงธันวาคมปี 2015 Business Growth Hub ได้ทำ�งานร่วมกับ 19,105 ธุรกิจใน มณฑล จนได้รับเงินลงทุนรวม 57.45 ล้านปอนด์ ทั้งยังสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มรวม (GVA) ให้แก่ มณฑลเกรทเทอร์แมนเชสเตอร์ถงึ 55 ล้านปอนด์ และทำ�ให้เกิดงานใหม่ราว 6,000 ตำ�แหน่งภายใน เวลาสี่ปีอีกด้วย
filckr.com/photos/universidadpolitecnica
เพราะอำ�นาจที่แท้จริงในยุคนี้ไม่ใช่การได้เป็น เจ้าของฐานการผลิตจำ�นวนมหาศาล แต่คือการ ได้เป็นผูค้ ดิ ค้นและเป็นเจ้าของนวัตกรรมใหม่กอ่ น ใคร เมื่อเดือนมีนาคม ปี 2015 ที่ผ่านมา จึงได้ มีการเปิด “สถาบันกราฟีนแห่งชาติ (National Graphene Institute)” ขึ้นในมหาวิทยาลัย แมนเชสเตอร์ อาคารห้าชั้นของสถาบันที่พร้อมพรั่งด้วย ห้องแล็บและอุปกรณ์ครบครันนี้ สร้างด้วยเงินทุน จำ�นวน 61 ล้านปอนด์ จากสภาวิจยั วิทยาศาสตร์ ด้านฟิสิกส์และวิศวกรรม (EPSRC) และกองทุน พัฒนาภูมิภาคยุโรป (ERDF) โดย ณ วันที่เปิด สถาบัน มีบริษัทจากทั่วโลกร่วมเป็นพันธมิตร มากกว่า 35 แห่งและผู้เชี่ยวชาญมากกว่า 230 คนที่ กำ � ลั ง เดิ น หน้ า วิ จั ย และพั ฒ นาวั ส ดุ แ ห่ ง อนาคตนี้อย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดเพิ่งจะประสบ ความสำ�เร็จในการผลิตหลอดไฟเคลือบกราฟีนที่ มีอายุการใช้งานยาวนานกว่าหลอดไฟแอลอีดี ทัว่ ไป ทัง้ ยังใช้พลังงานน้อยกว่า มีตน้ ทุนการผลิต ตาํ่ และกำ�ลังจะเตรียมพร้อมวางขายในตลาด ทัง้ ยังมีแผนจะเปิดสถาบันวิจยั กราฟีนและวัสดุอนื่ ๆ เพิ่มในบริเวณเดียวกันอีกสองสถาบัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหราช อาณาจักรได้กล่าวปาฐกถาว่า “การสนับสนุน วิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเป็นส่วนสำ�คัญใน โครงการ Northern Powerhouse โดยสถาบัน กราฟีนแห่งชาติจะเป็นการร่วมมือของสถาบัน การศึกษาชั้นนำ� นักวิทยาศาสตร์ และผู้นำ�ทาง ธุรกิจ ให้มาร่วมกันพัฒนาวัสดุแห่งอนาคต เพื่อ ผลักดันให้สหราชอาณาจักรเป็นเสาหลักด้าน เทคโนโลยีกราฟีนของโลก” ปัจจุบนั มหาวิทยาลัย แมนเชสเตอร์จึงเรียกได้ว่าเป็นผู้นำ�ที่เชี่ยวชาญ วัสดุกราฟีนทีส่ ดุ ของโลก ซึง่ นอกจากจะมีบทบาท สำ�คัญในการพัฒนากราฟีนเพื่อนำ�เข้าสู่ตลาด
อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังเป็นกุญแจทีจ่ ะทำ�ให้ แน่ใจว่าสหราชอาณาจักรจะก้าวนำ�หน้าประเทศ คู่แข่งอย่างสิงคโปร์ เกาหลีใต้ และจีน ในการ พัฒนานวัตกรรมวัสดุซงึ่ มีเวลาเป็นเดิมพันอีกด้วย แมนเชสเตอร์จึงเป็นตัวอย่างบทพิสูจน์ที่ แสดงให้เห็นว่า การเป็นผู้นำ�ไม่เพียงต้องก้าวให้ เร็วกว่า แต่ยังต้องมองสถานการณ์ด้วยสายตาที่ แหลมคม ไม่ยดึ ติดกับความเฟือ่ งฟูในวันวานหรือ แม้แต่วันนี้ เพื่อให้พร้อมเบนเข็มไปยังทิศที่เชื่อ ว่ า จะนำ � ไปสู่ เ ส้ น ทางหลั ก ประกั น แห่ ง ความ อยู่รอดเสมอ
filckr.com/photos/133830080@N06
Graphene Valley ลํ้าหน้าด้วยการวิจัย
กราฟีน...วัสดุแห่งอนาคต กราฟีนเป็นวัสดุที่ประกอบด้วยอะตอมคาร์บอนโครงสร้างตาข่ายรูปหกเหลี่ยมคล้ายรังผึ้ง ถูกค้นพบ ในปี 2004 โดยสองนักฟิสิกส์เจ้าของรางวัลโนเบลจากมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ ดร.คอนสแตนติน โนโวเซลอฟ (Konstantin Novoselov) และดร.อังเดร ไกม์ (Andre Geim) กราฟีนถูกเรียกว่าเป็น “วัสดุมหัศจรรย์” ด้วยคุณสมบัตทิ มี่ คี วามเป็นไปได้ในการนำ�ไปประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย เพราะ มีแข็งแกร่งทนทานกว่าเหล็กกล้าหลายร้อยเท่าและแม้แต่เพชร สามารถนำ�ไฟฟ้าได้ดีกว่าทองแดง หลายเท่า ทั้งยังมีนํ้าหนักเบา สามารถยืดหยุ่นได้ถึงร้อยละ 20 นอกจากนี้อิเล็กตรอนบนโครงสร้าง ของแผ่นกราฟีนยังสามารถเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเกือบเท่ากับแสง ผูเ้ ชีย่ วชาญคาดการณ์วา่ กราฟีนจะเปลีย่ นโฉมหน้าของวงจรอิเล็กทรอนิกส์ในอนาคต โดยปัจจุบนั ค้นพบความเป็นไปได้ในการนำ�ไปผลิตโทรศัพท์ แท็บเล็ต และโทรทัศน์ที่สามารถโค้งงอได้ ทรานซิสเตอร์แบบใหม่เพื่อทดแทนชนิดที่ใช้ซิลิกอน หรือผสมกับพลาสติกเพื่อผลิตเป็นหน้าจอสัมผัส กระทั่งผลิตเป็นชิ้นส่วนรถยนต์ เครื่องบิน และดาวเทียม ไปจนถึงการนำ�กราฟีนออกไซต์มาใช้ในการ ตรวจจับและป้องกันการลุกลามของเซลล์มะเร็ง
ที่มา: บทความ “Chancellor opens National Graphene Institute in Manchester” (2015) จาก bbc.com / บทความ “Cottonopolis: Manchester’s fashionable history” (2015) จาก mancunion.com / บทความ “Graphene City will bring thousands of jobs and millions of pounds to Manchester” (2015) จาก manchestereveningnews.co.uk / บทความ “Manchester: A City of Firsts” จาก journal.aarpinternational.org / บทความ “Manchester is one of the youngest places in Britain - with quarter of population in their 20s” (2014) จาก manchestereveningnews.co.uk / บทความ “Manchester named in Top 10 must-visit cities of 2016 by Lonely Planet experts” (2015) จาก mirror.co.uk / บทความ “Manchester to get new £78m theatre named The Factory” (2014) จาก bbc.com / บทความ “Manchester: UK’s new order?” (2015) จาก ft.com / บทความ “Revealed: How the next £60m phase of Manchester’s Graphene Valley will look” (2015) จาก manchestereveningnews.co.uk / บทความ “The Way We Were: When cotton was king and Manchester led Industrial Revolution” (2013) จาก manchestereveningnews.co.uk / บทความ “View from the MPA: Justin Moore, Become UK” (2015) จาก manchestereveningnews.co.uk / บทความ “Wonder material graphene could soon be used to treat cancer” (2015) จาก manchestereveningnews.co.uk / วิกิพีเดีย CREATIVE THAILAND I 27
The Creative : มุมมองของนักคิด
ปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา เรื่อง: ศิริอร หริ่มปราณี / ภาพ: สุรพัศ เคียงคู่ และ ธนกร จึงเลิศวัฒนา
เราหวังถึงอนาคตที่สดใส และเศรษฐกิจที่เข้มแข็งบนความแข็งแกร่งของตัวเรา เราหวังว่าสิ่งที่เป็นต้นทุนสำ�คัญของเรา ทั้ ง การหลอมรวมวั ฒ นธรรมที่ ห ลากหลาย พื ช พั น ธุ์ เ ขตร้ อ นที่ โ ดดเด่ น ความคิ ด สร้ า งสรรค์ ท่ี ไ ม่ มี วั น หมด และการ เตรียมพร้อมด้านดิจิทัลเทคโนโลยี จะเป็นเครื่องมือต่อรองกับอนาคตใหม่ได้ ถ้าเปรียบ “ทุนทางเศรษฐกิจ” เสมือนเครื่องดนตรี ประเทศไทยนับว่ามีเครื่องดนตรีที่หลากหลาย และมีทั้งนักดนตรีมากพรสวรรค์และพร้อมที่จะฝึกฝน แน่นอนว่า เครื่องดนตรีและนักดนตรีผู้เจนจัดอาจสร้างท่วงทำ�นวงที่จับใจแม้จะเล่นโดยลำ�พัง แต่ถ้าปรารถนาให้ทุกตัวโน้ตเกิดเป็นความอัศจรรย์ และสร้าง พลังเช่นการบรรเลงโดยวงออร์เคสตรา เครื่องดนตรีแต่ละชิ้นมิอาจถูกเล่นโดยไร้ผู้ควบคุม “ปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา” อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ กำ�ลังทำ�สิ่งนั้น ในบทบาทใหม่ “The Conductor” ของวงออร์เคสตราที่เรียกว่า ระบบ New Economy CREATIVE THAILAND I 28
ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปีทผี่ า่ นมา มีปจั จัยภายนอกทีส่ ง่ ผล ต่อเศรษฐกิจมากมายทั้งเหตุการณ์ก่อการร้ายที่ปารีส ภาวะ เศรษฐกิจตกตาํ่ ต่อเนือ่ งของสหรัฐฯ และเศรษฐกิจจีนทีเ่ ติบโต ในอัตราน้อยลง สิ่งเหล่านี้ส่งผลอย่างไรกับประเทศเรา เท่าที่อ่านจากเอกสารต่างๆ ก็จะเห็นว่าขณะนี้ประเทศไทยยังมีปัญหาเรื่อง เศรษฐกิจอยู่ เรือ่ งความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจทัว่ โลกก็มปี ญั หา ไม่ใช่แค่ เรา ในส่วนของประเทศเราเองเราก็ต้องค้นคิดวิธีการที่จะแก้ไข ถ้ามาดูก็จะ พบว่าประเทศเราเป็นประเทศที่พึ่งพาการส่งออกเยอะ แต่ว่าการพึ่งพาการ ส่งออกของเรามันกลายเป็นว่าเราเป็นผู้ที่ผลิตอย่างเดียว แล้วก็ใช้สิ่งที่เรียก ว่า “ประสิทธิภาพในการผลิต” ไปสู้กับคนอื่นเขา ซึ่งก็หมายความว่าไม่ใช่ ว่าประเทศอื่นๆ เขาผลิตไม่ได้ เขาก็ผลิตได้เหมือนกับเรา แต่เพราะว่าแต่ ก่อนค่าแรงเราตํ่า วัตถุดิบก็ดี ปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมก็ไม่มี แล้วกฎระเบียบ ของโลกต่างๆ ที่ทำ�ให้เป็นปัญหาในทางการค้าก็ไม่ได้มีมากเหมือนปัจจุบัน เพราะฉะนั้นการดำ�รงอยู่ในทางเศรษฐกิจของเราที่พึ่งพาการส่งออก ก็เลย สามารถทีจ่ ะสูก้ บั คนอืน่ เขาได้จากประสิทธิภาพในการผลิต จากแรงงานของ เรา จากความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อม เมื่อค่าแรงเราเริ่มสูงขึ้น ประเทศต่างๆ ในสังคมโลกเปิดมากขึ้น กฎ ระเบียบกติกาของโลกมีมากขึน้ โลกดิจทิ ลั ทำ�ให้การขนย้ายทุนเป็นไปได้โดย เร็วมากขึ้น มันก็เกิดปัญหากับเรา ทีนี้ในระยะสั้น สิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์ทำ� ก็คือ ใช้ทฤษฎีทางการเงินการคลังในการแก้ไขปัญหา เช่น ลดภาษี เพิ่มเงิน ให้ประชาชนกลุ่มที่เดือดร้อน อะไรต่างๆ เหล่านี้ แต่ในแง่ของความยั่งยืน ทางเศรษฐกิจนีเ่ ราก็ตอ้ งคิดใหม่ทงั้ หมดว่าเราจะแก้ไขกันยังไง ในเมือ่ กติกา โลกเปลี่ยนไป หน้าตาของผู้บริโภคเปลี่ยนไป เทคโนโลยีก็เปลี่ยนไป โลกที่เปลี่ยนไป หรือเทคโนโลยีที่พัฒนาแบบก้าวกระโดดจะ เข้ามามีบทบาทในเรื่องเศรษฐกิจอย่างไร สิง่ ทีห่ ลายคนพูดกันไว้กค็ อื ว่า ความเจริญเติบโตมันน่าจะเกิดจากภายในของ เราส่วนหนึง่ ไม่ใช่ไปอิมพอร์ตมาหมดทุกอย่าง เอามาผสมๆ กันแล้วก็สง่ ออก มันควรจะเป็นเศรษฐกิจที่ใช้นวัตกรรม ทุนทางธรรมชาติ และทุนทางสังคม ของเราแก้ไขปัญหาต่างๆ ของตัวเรา จากการที่ขีดความสามารถในการส่ง ออกของเราลดลง ก็เป็นสิ่งที่อยากให้เรากลับมานั่งคิด กลับมารีวิวแนวคิด หลายๆ แห่งที่หลายประเทศเขาทำ�กันว่าเขาแก้ไขยังไง ก็พบว่าเรื่องแรกคือเรื่องที่เรียกกันว่า “เศรษฐกิจดิจทิ ลั (Digital Economy)” ซึ่งเป็นสิ่งที่เรียกว่าภาคบังคับ เพราะว่าใครๆ ในโลกก็ต้องขึ้นรถไฟขบวนนี้ ทัง้ สิน้ แต่วา่ เราจะทำ�ยังไงให้รถไฟขบวนนีเ้ ป็นรถไฟที่เกิดประโยชน์ ไม่ใช่เอา มาใช้แชทกันเล่นหรืออะไรทำ�นองนี้ คนไทยมักจะหันไปทางนี้ เพราะว่า เราชอบความสนุก ชอบอะไรสบายๆ แต่ก็ต้องมาคิดด้วยว่าทำ�ยังไงเราจะ สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มั่นคง ซึ่งขณะนี้รัฐบาลก็พยายามทำ�อยู่ แต่ก็ยังมี ส่วนประกอบอืน่ ๆ ไม่วา่ จะเป็นเรือ่ งของดิจทิ ลั คอนเทนต์ เรือ่ งของซอฟต์แวร์ เรือ่ งของการสตาร์ทอัพธุรกิจ ซึง่ มันเกีย่ วพันกับเรือ่ งการซือ้ การขายและการ
บริหารจัดการ อย่างในเกาหลี ธุรกิจธนาคารเขาก็ปล่อยให้บริษัทที่ทำ�เรื่อง เกีย่ วกับอินเทอร์เน็ตเริม่ มาทำ�แล้ว อย่างนีเ้ ป็นต้น เพราะฉะนัน้ โฉมหน้าของ ธุรกิจทั้งหลายก็จะเปลี่ยนไป เราก็ต้องตามเรื่องเหล่านี้ให้ได้ ปริมาณของ การค้าขายบนอินเทอร์เน็ตมันเพิ่มขึ้นมาก ถ้าเราไม่สามารถตามเขาได้ ไม่ สามารถสร้างความสามารถในการแข่งขันเหล่านี้ได้ก็จะลำ�บาก แต่ในทางกลับกัน ในแง่ของความเหลื่อมลํ้าทางเศรษฐกิจ เศรษฐกิจ ดิจิทัลมันก็ช่วยได้เยอะ คิดดูว่าถ้าชาวไร่ชาวนาและผู้ผลิตเบื้องต้นสามารถ ขายของตรงได้ ซึ่งเขาเองก็ต้องปรับปรุงคุณภาพของเขา โลกนี้มันจะดีขึ้น แค่ไหน หรือว่าเทคโนโลยี ข้อมูล และการหารือต่างๆ ในทางกฎหมาย สามารถติดต่อกันได้ผ่านสมาร์ทโฟน ซึ่งคนไทยก็มีสมาร์ทโฟนตั้งเยอะแยะ แล้ว ในโลกนี้ตอนนี้ก็น่าจะมีคนมากกว่า 40 ล้านกว่าคนที่สามารถติดต่อ ผ่านทางนี้ได้ ดังนั้นตรงนี้มันดีในเรื่องของการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน แล้วคนก็จะสามารถเข้าถึงเกือบจะทุกอย่างได้ด้วยตัวของเขาเอง เพราะ ฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นกฎระเบียบก็ดี โครงสร้างพื้นฐานก็ดี หรือสิ่งอื่นๆ ซึ่งเป็น ข้อจำ�กัดในการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล ต้องกำ�จัดให้หมด ยังมีปัจจัยไหนที่ต้องพิจารณาเพิ่มเติมสำ�หรับการดำ�เนิน เศรษฐกิจแบบใหม่นี้อีกหรือเปล่า อีกเรือ่ งทีด่ แู ล้วรูส้ กึ ว่ามันจะยากขึน้ ไปอีกหน่อย คือการใช้ความหลากหลาย ทางชีวภาพให้เป็นประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ เหตุที่สนใจเรื่องนี้ก็เพราะว่า แม้แต่ประเทศที่เจริญแล้ว ไม่ว่าจะเป็นอเมริกาหรือประเทศในกลุ่มอียู ก็ ประกาศทีจ่ ะใช้ความหลากหลายทางชีวภาพและเทคโนโลยีทางชีวภาพเพือ่ เป็นเครือ่ งมือขับเคลือ่ นเศรษฐกิจของตัวเอง ตรงนีเ้ ป็นการผสมผสานระหว่าง นวัตกรรมของเทคโนโลยีชวี ภาพ ความหลากหลายทางชีวภาพ และขีดความ สามารถในการเก็บรักษาสิ่งที่เป็นต้นทุนทางธรรมชาติที่เรามีไว้อย่างดี เพื่อ นำ�ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ จะเห็นได้ว่าเศรษฐกิจที่เกี่ยวพันกับเรื่องชีวภาพมันเหมาะกับประเทศ เรา เพราะว่าเรามีความหลากหลายทางชีวภาพสูง เรามีคนทีเ่ ก่งเรือ่ งชีววิทยา เรือ่ งเทคโนโลยีชวี ภาพ (Biotechnology) แล้วก็มสี ถาบันทีท่ �ำ เรือ่ งเทคโนโลยี ชีวภาพ เพราะฉะนั้นความพร้อมในแง่วิทยาศาสตร์และในแง่การเริ่มต้น เรามี เพียงแต่วา่ ขัน้ ตอนทีจ่ ะกลายเป็นธุรกิจหรือไปผลักดันเศรษฐกิจมันยาก เพราะว่าการเอาวิทยาศาสตร์ไปเป็นธุรกิจมันต้องใช้เวลา แล้วเราก็ไม่มกี ลไก ตรงกลางที่ทำ�ให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น หลักสำ�คัญในส่วนนี้ก็คือว่าต้องทำ�ให้ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม ต้นทุนทางธรรมชาติของเรากลายเป็น ธุรกิจให้ได้ ในขณะเดียวกันก็ตอ้ งรักษาสิง่ ทีเ่ ป็นพืน้ ฐานให้ได้เช่นเดียวกัน ซึง่ เราก็ต้องปรับกลไกหลายอย่าง ทั้งเรื่องการเงิน ภาษี และในแง่ของบุคลากร นั่นก็คือคนของเรานั่นเอง ส่วนใหญ่นักวิทยาศาสตร์หรือนักธรรมชาติวิทยาเขาก็จะไม่เป็นคน ลงทุน ส่วนคนลงทุนเขาก็ไม่อยากจะใช้เวลาลงทุนนาน อย่างธุรกิจทีเ่ กีย่ วข้อง กับเรือ่ งชีวภาพเช่นเรือ่ งการแพทย์ กว่าจะออกยามาได้ไม่รนู้ านเท่าไหร่ หรือ ว่าอาหารเสริมก็ยังติดปัญหาเรื่องคุณภาพที่ต้องรับรองโดยรัฐ หรือว่าเรื่องที่
CREATIVE THAILAND I 29
เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy)” มันก็มาจากพืน้ ฐาน ทางวัฒนธรรม สังคม การเรียนรู้ การผสมผสานระหว่างวัฒนธรรม จากภายนอกและภายในของเรา นี่ก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่จะผลักดันให้ เกิดธุรกิจที่สำ�คัญๆ ได้
เกี่ยวพันกับอาหารก็ต้องได้รับการรับรอง กลุ่มสปาที่อาจจะทำ�ได้ง่ายหน่อย ขณะนีก้ ม็ ผี ทู้ เี่ กีย่ วข้องให้ความสำ�คัญพอสมควร แล้วก็ยงั มีเรือ่ งของพลังงาน อีก ดังนั้นถ้าเราสร้างขีดความสามารถของเราจากนวัตกรรมและสิ่งที่เรามี ให้เป็นธุรกิจ ก็จะเห็นได้ว่าความครอบคลุมของมันยังมีมาก เพียงแต่ว่าเรา ต้องจัดการกลไกของเรานี้ให้ไปให้ได้ Creative Economy หรือเศรษฐกิจสร้างสรรค์ จะยังมีบทบาท อยู่มากน้อยแค่ไหน สิง่ ทีเ่ รียกว่า Creativity หรือความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างสิง่ ต่างๆ ขึน้ มา ซึ่งตอนหลังๆ ก็เรียกกันว่า “เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy)” มันก็มาจากพืน้ ฐานทางวัฒนธรรม สังคม การเรียนรู้ การผสมผสานระหว่าง วัฒนธรรมจากภายนอกและภายในของเรา นี่ก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่จะผลักดัน ให้เกิดธุรกิจที่สำ�คัญๆ ได้ ในทางสังคมนี่เราถูกรุกรานมาเยอะนะ สมัยยุค 60-70 เราก็อมิ พอร์ตแนวคิดฝรัง่ มาเยอะ ต่อมาก็จะเป็นญี่ปุ่น จะมีพวกโดเรมอน มีอะไรซึง่ มันก็เป็นความคิดสร้างสรรค์ของเขาทัง้ นัน้ ตอนนีก้ ม็ าเกาหลีอย่าง จูมง เรือ่ งของทรงผมอะไรต่างๆ เหล่านี้ ซึง่ วัฒนธรรมหรือว่าการสร้างสรรค์ เหล่านี้ มูลค่าในทางเศรษฐกิจมันสูงมากนะแต่ว่าไม่มีใครสนใจ ตอนสมัย ผมเด็กๆ เฉพาะเรื่องดนตรีอย่างเดียวนี่เดอะบีเทิลส์ทำ�เงินได้ไม่รู้เท่าไหร่ แล้วก็ยังมีสิ่งที่ตามมาด้วยคือเรื่องการแต่งกาย แฟชั่น วิธีคิด ไปจนถึงวิถี แบบฮิปปี้ และอะไรๆ ซึ่งมีผลกับดีไซน์เยอะแยะ ถ้าเราสามารถสร้างสรรค์ สิ่งเหล่านี้ให้เกิดขึ้นได้ ก็สร้างเงินได้ สร้างแนวคิดใหม่ๆ ได้ ก็เป็นเศรษฐกิจ อีกประเภทหนึ่ง วิธีที่จะนำ�แนวคิดหรือประโยชน์จากทั้งดิจิทัล ความหลาก หลายทางชีวภาพ และความคิดสร้างสรรค์มาใช้ มันต้องเป็น อย่างไร ผมคิดว่าเรื่องสุดท้ายที่มันเกี่ยวพันก็คือ ขณะนี้การระดมทุนในเรื่องของการ พัฒนาเทคโนโลยีทั้ง 3 อย่างนี้ ส่วนใหญ่ไปเน้นที่รัฐบาลอย่างเดียว เพราะ ว่าเอกชนโดยเฉพาะในประเทศไทยจะไม่คอ่ ยสนใจช่องทางในการลงทุนทีม่ ี ความเสี่ยงสูง เราก็คิดว่าเรื่องของ Social Enterprise หรือว่าการลงทุนเพื่อ สังคมอาจจะเป็นจุดกำ�เนิดของสิ่งเหล่านี้ก็ได้ แต่เราต้องไปแก้กฎหมาย แก้ แพลตฟอร์มให้ชัดเจน เพื่อให้เอกชนที่มีขีดความสามารถหรือสนใจในเรื่อง เหล่านี้มาลงทุน เพราะฉะนั้น 4 ประเด็นนี้ก็เป็นประเด็นที่เราคิดว่าจะมีการเน้น แล้ว ทั้ง 4 ประเด็นนี้ มันก็เป็นเศรษฐกิจโดยตัวของมันเองก็ได้ หรือจะเป็นเครื่อง มือที่ไปช่วยสาขาอื่นๆ อีก 10 สาขาที่รัฐบาลเห็นว่าเป็นอุตสาหกรรมที่จะ ต้องส่งเสริมก็ได้ ถ้าเป็นด้วยตัวของมันเองก็เช่น การออกแบบ ผลิตภัณฑ์ จากธรรมชาติ หรือว่าดิจิทัล คอนเทนต์ เหล่านี้มันเป็นเศรษฐกิจด้วยตัวของ มันเองอยู่แล้ว แต่ในขณะเดียวกันมันก็สามารถไปช่วยการค้าขาย อย่าง
CREATIVE THAILAND I 30
ดิจิทัล คอนเทนต์ หรือเศรษฐกิจดิจิทัล ก็สามารถไปช่วยให้เราเป็น Trading Nation หรือความเป็นชาติการค้ามากขึน้ ได้ หรือพวกทีเ่ กีย่ วกับวิทยาศาสตร์ ทั้งหลายก็อาจจะช่วยให้อาหารของเรามีหน้าตาดียิ่งขึ้น มีอายุในการอยู่บน ชั้นสินค้าที่ยืนยาวขึ้น รสชาติดีขึ้น หน้าตาแปลกขึ้น ทางด้านเศรษฐกิจ สร้างสรรค์ก็ไปช่วยเรื่องการท่องเที่ยว ทำ�ให้พื้นที่และของที่วางขายดูดีขึ้น ทำ�ให้คนสนใจ เป็นต้น เพราะฉะนั้นฟังก์ชั่นหรือการทำ�งานของ 3-4 เรื่องนี้ มันทำ�ได้ด้วยตัวของมันเอง หรือไม่ก็ไปช่วยคนอื่นให้พัฒนาขึ้นได้ ก่อนหน้านี้เราก็มีเรื่องของ Knowledge Economy, Green Economy, Creative Economy ตอนนี้เรากำ�ลังนำ�มันมา รวมกันเป็น New Economy ใช่ไหม จริงๆ แล้วผมไม่อยากจะใช้ศัพท์เฉพาะทางใหม่ๆ นะแต่ว่าเราไม่รู้จะเรียก มันว่าอะไร เห็นเขาเรียกว่า “เศรษฐกิจกระแสใหม่” ก็ว่าไป แต่ว่าถ้าถาม ผมว่าคนจะมึนไหม ผมว่ามันขึ้นอยู่กับการชี้แจง การที่จะทำ�ให้คนเข้าใจ ส่วนใหญ่ในวิธีคิดของผม ผมทำ�เป็นเมทริก สมมติว่ามันมีสามสี่เรื่องนี้ เรา ก็ตอ้ งคิดว่าฟังก์ชนั่ มันเป็นอะไร แล้วกลไกทีจ่ ะผลักดันมันคืออะไร ซึง่ ทีพ่ วก ผมทีเ่ ป็นสปท. (สมาชิกสภาขับเคลือ่ นการปฏิรปู ประเทศ) ต้องการจะทำ� คือ ทำ�ยังไงทีจ่ ะให้กลไกผลักดันสิง่ เหล่านีเ้ ข้าไปเป็นเศรษฐกิจด้วยตัวของมันเอง ส่วนหนึ่ง แต่ที่สำ�คัญก็คือเข้าไปขับเคลื่อน 10 อุตสาหกรรมของรัฐบาลได้ ที่ เมื่อกี๊ผมบอกว่ามีหน้าที่อยู่ 2 อัน อันแรกที่เป็นตัวของมันเองอาจจะเห็นไม่ ค่อยชัดเท่าไหร่ แต่ที่ไปผลักดันคนอื่นจะเห็นได้ชัด กลับมาเรือ่ งกลไกในการผลักดันสามสีเ่ รือ่ งนีใ้ ห้มนั ไปได้ ผมคิดว่ามีสงิ่ ทีต่ อ้ งทำ�ร่วมกันอยูส่ ามสีเ่ รือ่ งด้วยกัน อันทีห่ นึง่ ก็คอื เรือ่ งการลงทุนระยะยาว เพราะการลงทุนพวกนีม้ นั ไม่มที างจะเป็นระยะเวลาสัน้ ในขณะทีพ่ วกสถาบัน การเงินเขาคิดว่ากลุ่มเป้าหมายเป็น SMEs แต่ผมไม่คิดอย่างนั้น ผมคิดว่า อะไรก็ได้ ใครก็ได้ แต่ระยะเวลาของการเปลีย่ นผ่านจากไอเดียเป็นธุรกิจ มัน ใช้เวลา เพราะฉะนั้นระบบของการช่วยเหลือมันใช้ระบบแบงค์อย่างเดียว ไม่ได้ มันต้องมีระบบภาษี ระบบความช่วยเหลือจากบีโอไอ ต่างๆ เหล่านี้ ให้มันเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน กล่าวโดยสรุป ก็คือต้องปรับการรับรู้ของหน่วย งานที่เป็นคนจัดหาเงินทุน (Finance) ทั้งหลายให้สอดคล้องกับเวลา สอดคล้องกับคุณลักษณะของการดำ�เนินนโยบายของเศรษฐกิจเหล่านี้ ถ้าจะ พูดแบบมนุษย์ธรรมดา คือมันก็เหมือนวิ่งสี่คูณร้อย มีสี่คนส่งไม้ต่อกันไป เรื่อยๆ เพียงแต่ว่าแต่ละขั้นตอนมันยาวไง ยาวกว่าสี่ร้อยเมตร คนแรกอาจ จะเป็นคนคิด ส่งให้คนที่สองอาจจะไปทำ�ต้นแบบ คนที่สามอาจจะไปทำ� วิศวกรรม คนที่สี่อาจจะทำ�เรื่องการผลิต อย่างของทางด้านครีเอทีฟ ระยะ เวลาเขาอาจจะสั้นหน่อย แต่ถ้าเป็นเรื่องเทคโนโลยีชีวภาพอย่างการแพทย์ อะไรแบบนี้นี่อาจยาวเป็นสิบปี เพราะฉะนั้นการให้ทุนสนับสนุน ก็ต้องเป็น อะไรที่ผูกพันระหว่างการเงิน การคลัง แล้วก็ความช่วยเหลือทั้งหลาย ไม่ อย่างนั้นมันเกิดไม่ได้
องค์ ป ระกอบเรื่ อ งหลั ง จากที่ ผ ลิ ต ออกมาได้ แ ล้ ว ต้ อ งทำ � อย่างไรต่อไป หลังจากทีเ่ ราทำ�ส่วนทีว่ า่ ไปได้แล้ว เรือ่ งต่อไปก็คอื เรือ่ งกฎหมาย ซึง่ เราอยาก จะเน้นกฎหมาย 2 อย่างเท่านั้น อย่างแรกคือกฎหมายสิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ ทรัพย์สินทางปัญญาทั้งหลาย ซึ่งถ้าปราศจากสิ่งเหล่านี้แล้ว ความคล่องตัว หรือการป้องกัน หรือการทำ�ให้คนสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น มันก็ไม่มีเพราะเขา เหนื่อย ขณะนี้การจดลิขสิทธิ์สิทธิบัตรต่างๆ ของเวียดนามในแต่ละปีนี่เลย เราไปแล้วนะ เพราะฉะนัน้ ถ้าเราไม่สามารถแข่งกันกับประเทศในอาเซียนได้ อะไรมันจะเกิดขึน้ และในส่วนทีเ่ กีย่ วข้องกับเรือ่ งอาหาร กฎระเบียบในเรือ่ ง ของการอนุญาตให้ขายจากอย. ก็ควรจะต้องปรับให้เกิดความสะดวก ให้ ระยะเวลามันสั้นลง ไม่อย่างนั้นการแข่งขันในระยะต่อไปก็คงลำ�บาก ส่วน ที่รัฐบาลทำ�อยู่แล้วก็จะเป็นกฎหมายด้านดิจิทัลทั้งหลายซึ่งก็ต้องใช้เวลา เพราะว่ามีปัญหาเยอะ กฎหมายดิจิทัลด้านหนึ่งมันส่งเสริม อีกด้านหนึ่งก็ ต้องควบคุมเรื่องอาชญากรรมต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นซึ่งจะผ่านยาก เป็น ประเด็นร่วมที่เกี่ยวข้องกับหลายเรื่อง New Economy ในประเด็นที่พูดมา ทั้งหมดนี้ประเทศไทย มีต้นทุน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของวัฒนธรรม เรื่องของความ หลากหลาย เพียงแต่ว่าขาดกลไกในการหยิบจับขึ้นมา เพราะว่านโยบายทางเศรษฐกิจของเรามันเป็นนโยบายทางด้านการผลิต มาก่อน แต่ทนี ถี้ า้ เกิดว่าเราจะเป็นนโยบายทีเ่ น้นการผลิตโดยนวัตกรรม ไม่ใช่ การผลิตโดยความสามารถของคนผลิต มันจะต้องปรับเปลีย่ นรูปโฉมทัง้ หมด เราจึงต้องมีกลไกเกีย่ วกับการพัฒนาคน อย่างทีพ่ ดู ไปว่าคนมันมี 2 ประเภท คนที่คิดและสร้าง แล้วก็คนที่เป็นผู้ประกอบการ เท่าที่ดู ผู้ประกอบการจะ เป็นคนละสปีชีย์กับคนที่คิดสร้าง มันอาจจะมีคนที่คิดสร้างแล้วก็เข้าไปเป็น ผูป้ ระกอบการด้วย อย่างฝรัง่ หลายคนทีค่ ดิ เรือ่ งอินเทอร์เน็ต แต่เราจะมีแบบ นัน้ ได้บา้ งหรือเปล่าก็ไม่รู้ มันต้องหาพืน้ ทีห่ รือกลไกในการทีจ่ ะบริหารจัดการ เรื่องเหล่านี้ให้ได้ อย่างของ TCDC เรื่องที่ TCDC คิดอยากจะทำ�พื้นที่ผมก็คิดว่าเป็น เรื่องที่น่าสนับสนุนอย่างยิ่ง เป็นพื้นที่ที่ทำ�ให้เกิดการสร้างสรรค์ ซึ่งในพื้นที่ เหล่านั้นมันจะต้องมีอินเทอร์เน็ตที่เร็ว มีระบบภาษีที่เชื่อมโยง มีการบริหาร จัดการในเรื่องขององค์ความรู้ที่ทำ�ให้คนที่ไปอยู่ในบริเวณนั้นมีความรู้สึกที่ อยากจะทำ� เพราะว่าในเรือ่ งของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ มันมีเยอะแยะไปหมด ทัง้ ภาพยนตร์ ศิลปะ ดนตรี ออกแบบ สถาปัตยกรรม ตกแต่งภายใน ทัง้ หมด นี้มันต้องการพื้นที่ที่คนเหล่านี้จะพยายามเอาไอเดียออกมาให้ได้ คือถ้าเป็นอุตสาหกรรมทีเ่ กิดจากนวัตกรรมหรือความคิดสร้างสรรค์ เกิด จากขีดความสามารถที่เราใช้อินเทอร์เน็ตให้เกิดประโยชน์ เกิดจากการ บริหารจัดการของเรา มีการลงทุนร่วมระหว่างภาครัฐกับเอกชนมากๆ ผม ว่ า เราคงมี ผ ลิ ต ภั ณ ฑ์ ที่ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ มี ก ารบริ ก ารการท่ อ งเที่ ย วที่ มี ประสิทธิภาพ สินค้าส่งออกที่มีคุณภาพ แข่งกับเขาได้ไม่ใช่แค่ในเชิงราคา
CREATIVE THAILAND I 31
อย่างเดียว แต่แข่งในเชิงคุณภาพ ผมว่าผู้บริโภคเปลี่ยนไปแล้ว เดี๋ยวนี้ก็มี ทางเลือกมากกว่า มีการขายตรงที่จะทำ�ให้คนที่อยู่ข้างล่างสามารถเข้าถึง ข้อมูล เข้าถึงตลาดได้มากขึ้น ก็จะทำ�ให้สุขภาพของประเทศมันดีขึ้น
คือมองเห็นว่าจุดสตาร์ทเรามี แล้วก็มองเห็นปลายทางด้วยว่า ถ้าไปอย่างนี้จะเป็นอย่างไร เพียงแต่ว่าตอนนี้เป็นเหมือนช่วง วิ่งผลัดที่จะรับไม้ต่อมันขาดช่วง สิ่งที่ควรจะมาเสริมกันมัน ไม่มา
การทำ�งานในเรื่องของเศรษฐกิจกระแสใหม่ ตั้งเป้าว่าจนจบ แล้วอยากเห็นอะไร
ใช่ แล้วทุกคนก็มีภาระที่ไม่เหมือนกัน คนที่สตาร์ทคนแรกมันต้องนำ�ให้ได้ คนที่สองสามในทางกลยุทธ์ก็ต้องรักษาให้ได้ คนสุดท้ายนี่ก็ต้องวิ่งจู๊ดเลย เพราะฉะนั้นภารกิจของการบริหารจัดการในแต่ละขั้นตอนมันไม่เหมือนกัน แล้วมันก็ขึ้นอยู่กับว่าเป็นธุรกิจประเภทไหนด้วย ถ้าเป็นผมก็คงเลือกสักสอง สามโปรเจ็กต์ แล้วแก้ไขกลไกพวกนีข้ นึ้ มาให้เห็นไปเลย อย่างด้านเศรษฐกิจ ดิจิทัล ก็ไปทำ�ข้อมูลของรัฐบาลให้มันชัดเจนไปเลยภายในสองสามปี อย่าง ข้อมูลพื้นฐานต่างๆ ระบบข้อมูลทางภาษี การถือครองทรัพย์สิน หรือว่าใน ส่วนของเศรษฐกิจจากชีวภาพ เราก็อาจจะให้สตาร์ทอัพที่เป็นสปาทั้งหลาย ตั้งแต่สมุนไพรชุมชน เอาขึ้นมากลั่น มาทำ�ขวดสวยงาม เทรนนิ่งคนที่ให้ บริการ แล้วส่งขายข้างนอกไปได้อีก แบบนี้ เป็นต้น ส่วนของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ก็น่าจะสร้างให้เกิด District (ย่าน) หรือ ว่าพื้นที่เพื่อให้เกิดการสร้างสรรค์ ในใจผมถ้ามีทั้งสามโปรเจ็กต์นี้ก็โอเคแล้ว เพราะมันเป็นต้นแบบทีท่ �ำ ให้คนได้เห็นและก็ได้ประโยชน์ทนั ทีดว้ ย แต่ถา้ เรา ทำ�อย่างใดอย่างหนึ่ง ทำ�แค่โปรเจ็กต์อย่างเดียวไม่ทำ�โครงสร้าง ระยะยาว มันก็ไม่เกิดอะไร หรือถ้าทำ�แค่โครงสร้างไม่ทำ�โปรเจ็กต์ มันก็ไม่มีใครเห็น ว่ามันจำ�เป็นยังไง นี่คือกลยุทธ์ที่พยายามจะทำ�ในขณะนี้
ผมอยากเห็นกลไกสามสีอ่ ย่างนีม้ นั เวิรก์ เพราะว่าภายในเวลาปีกว่า แค่ท�ำ ให้ กลไกเหล่านีท้ �ำ งานนีก่ เ็ หนือ่ ยแล้ว ส่วนการจะนำ�ไปสูธ่ รุ กิจนีผ่ มว่ามีสองสาม เรื่องที่สามารถทำ�ได้ทันทีถ้ากลไกเหล่านี้ทำ�งาน แล้วเราก็ค่อยๆ พัฒนาไป มันไม่มีอะไรที่สามารถทำ�ได้เร็วถึงขนาดหนึ่งปี ยกเว้นเราจะมีคนที่คิดแบบ อินเทอร์เน็ตหรืออะไรทีเ่ ร็วมากๆ แบบนี้ ซึง่ จะมีหรือไม่กเ็ ป็นเรือ่ งของอนาคต ผมบอกคนเขาเสมอว่า อย่างพวกผมเป็นนักดนตรี หลายคนเวลาเขียนเพลง หรือทำ�เพลง ทำ�แผ่นหนึ่งมันอาจจะดังแค่เพลงเดียวก็ได้ ต้องรู้อย่างนี้ก่อน หรืออาจจะต้องเขียนถึงสองแผ่นถึงดังเพลงเดียว แล้วเพลงเดียวนี่ดังมาก ดังน้อยก็อกี เรือ่ งอีก แต่วา่ มันเป็นอะไรทีต่ อ้ งลงทุน ไม่อย่างนัน้ ธุรกิจประเภทนี้ จะไปต่อยังไง หรือถ้าเป็นเชิงเกษตร อย่างกล้วยของเรานี่ญี่ปุ่นเขาชอบมาก เลยนะ ญี่ปุ่นเขาเรียกว่า Golden Banana แต่ว่าผิวมันบาง พอส่งไปถึง ประมาณสองสามวันก็ด�ำ แล้ว เพราะฉะนัน้ ก็ตอ้ งทำ�ให้มนั หนาขึน้ เนีย่ คลิก นิดเดียวเท่านัน้ เอง ทำ�ไมมันไปไม่ได้ผมว่ามันเป็นปัญหาทางกลไกมาก อย่าง ที่เคยพูดว่าปัญหาสามสี่เรื่องด้านกลไกเป็นเรื่องที่เราต้องทำ�ให้แนวคิดด้าน เศรษฐกิจเหล่านีม้ นั ทำ�งานให้ได้ ที่เราคิดเรื่อง New Economy อย่างนี้เพราะว่า ข้อสันนิษฐานของเราคือเรามีเบสิกอยู่แล้ว ทั้งในแง่ความคิดสร้างสรรค์ ต้นทุนทางสังคม ต้นทุนทางธรรมชาติ นักวิทยาศาสตร์ของเราซึ่งผมคิดว่า หลายคนก็เก่งนะเพียงแต่วา่ กลไกในทางเศรษฐกิจมันไม่ชว่ ยผลักดันเท่านัน้ เอง
เวลาว่าง: ถ้ามีเวลาผมชอบดูหนังไซไฟ ผมเคยอ่านหนังสือของไอแซค อสิมอฟ (Isaac Asimov) อยู่เรื่องหนึ่งซึ่งตอนนี้มันใกล้กับชีวิตมนุษย์มาก เขาบอกว่าในอนาคตข้างหน้า คนจะรู้หมดเลยว่า อีกคนทำ�อะไรคิดอะไร ซึ่งตอนนี้มันก็ใกล้แล้ว อีกด้านหนึ่งก็ชอบดูธรรมชาติ ผมชอบทะเลมาก เพราะดำ�นํ้ามาตั้งแต่อายุ 30 กว่าๆ สมัยที่ยังไม่มีใครเขาดำ�นํ้ากันเลย เดี๋ยวนี้ก็ยังดำ�อยู่แต่ไม่ค่อย อยากไปแล้ว เพราะไม่อยากเห็นความเสื่อมโทรมของทะเลบ้านเรา สิ่งที่ผมสนใจนี่มันก็เยอะนะสำ�หรับคนแก่ ตอนนี้ก็ใช้เวลาว่างมาเล่นกีฬา ออกกำ�ลัง เมื่อก่อน เล่นเทนนิสเยอะมาก เดี๋ยวนี้มาตีกอล์ฟแทนเพราะหัวเข่าไม่ดี ส่วนเรื่องอาหาร ก็ต้องทานให้น้อย วิธีง่ายๆ คือกินครึ่งหนึ่งที่เราอยากจะกิน แต่บางวันก็ปล่อยบ้าง เพราะชีวิตสตริกมากไปก็ไม่ไหว ทราบว่าเป็นนักดนตรีดว้ ย: ทีจ่ ริงตอนเด็กๆ ผมไม่อยากเข้ามหาวิทยาลัยหรอก ผมอยากเป็น นักดนตรีอาชีพ แต่วา่ ผมเกรงใจคุณพ่อคุณแม่ ผมก็ไปเรียนจนจบ แต่วา่ ตอนนีก้ ย็ งั เล่นดนตรีอยูน่ ะ ก็กะว่าจะเล่นไปจนตายคากีต้าร์เลย (หัวเราะ) ทุกวันนี้ก็ยังเล่นอยู่บ้างที่ไวน์บิบเบอร์ (เอกมัย ซ.2) ไปประมาณเดือนละสองครั้ง เพราะบางทีไม่มีเวลา แต่ดนตรีนี่ไม่ซ้อมไม่ได้เลย กีฬาก็เหมือนกัน ไม่ซ้อมก็ไปสู้กับเขาไม่ได้ แต่ถ้าจะเล่นเพื่อผ่อนคลายก็ไปเล่นของตัวเองคนเดียวไม่เป็นไร
CREATIVE THAILAND I 32
CREATIVE THAILAND I 33
Creative Will : คิด ทํา ดี
A Growing Culture เรื่อง: ปิยะพร สวัสดิ์สิงห์
ธรรมชาติได้มอบต้นทุนในการดำ�รงชีวติ ให้กบั มนุษย์ไว้อย่างมากมาย การทำ�เกษตรกรรมและกสิกรรมอย่างการปลูกผัก หรือ เลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหาร ถือเป็นการใช้ต้นทุนทางธรรมชาติเพื่อดำ�รงชีวิตอย่างเรียบง่ายที่สุด แต่เมื่อวันเวลาผันเปลี่ยน สิ่งใหม่ๆ อย่างเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มนุษย์ได้ประดิษฐ์คิดค้นก็เพิ่มจำ�นวนขึ้นและถูกนำ�ไปใช้ต่อยอดภูมิปัญญา เพิ่ม ผลผลิต พัฒนาสายพันธุ์ หรือแม้กระทั่งรักษาต้นทุนเดิมของทรัพยากรธรรมชาติให้ยังอยู่ได้ไปอีกนาน ปัจจุบัน เทคโนโลยี หรือการค้นพบความรู้เหล่านี้กำ�ลังได้รับการแบ่งปันระหว่างผู้คนที่อยู่ห่างไกลกันคนละซีกโลก ให้ได้นำ�ไปใช้ประโยชน์ร่วมกัน อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น A Growing Culture หรือ AGC คือผู้ช่วยที่เชื่อมโยงการแบ่งปันนี้ให้เกิดขึ้น พร้อมทำ�หน้าทีเ่ พิม่ ความรูค้ วามเข้าใจเรือ่ งธรรมชาติและการทำ�เกษตรกรรม ให้กับเกษตรกร หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับวิถีของการเกษตรให้กับประเทศต่างๆ อย่างไม่แบ่งแยกภูมิภาคทั่วโลก โดยการเชื่อมต่อเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลจาก เกษตรกรสู่เกษตรกรนั้น มีทั้งในด้านภาคพื้นจริง ที่จะติดต่อผ่านองค์กรซึ่ง สนับสนุนด้านการเกษตรของแต่ละพื้นที่ การจัดฝึกอบรมเกษตรกรให้ความ รู้ที่เหมาะสมกับแต่ละประเทศ และเสริมสร้างความแข็งแกร่งของกลุ่ม เกษตรกรให้เพิม่ ขึน้ ด้วยการนำ�เสนอนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่เพือ่ ใช้ใน การพัฒนาโครงการต่างๆ อาทิ โครงการพัฒนาและประเมินเทคโนโลยีที่ เหมาะสมในเชิงนิเวศวิทยาของการทำ�การเกษตรให้กบั เมืองฮานอย ประเทศ เวียดนาม ซึง่ ผลการปฏิบตั งิ านของโครงการนีไ้ ด้สร้างผลดีให้กบั ท้องถิน่ อย่าง มาก ทั้งช่วยประหยัดแรงงานคน ประหยัดทรัพยากรนํ้า ลดการปล่อยก๊าซ พิษต่างๆ และยังช่วยให้เกษตรกรมีสุขภาพที่ดีขึ้นด้วย
ในแบบฉบับออนไลน์ AGC ทำ�หน้าที่เสมือนห้องสมุดดิจิทัลที่สนับสนุน ให้เกษตรกรทัว่ โลกแบ่งปันความรูร้ ว่ มกัน ผ่านการเชิญชวนของ AGC ที่เชื้อเชิญ เกษตรกรของแต่ละท้องถิน่ ให้เข้ามาจัดเก็บวิธกี าร การแก้ปญั หา และการพัฒนา ในแบบของตัวเองไว้ในแพลตฟอร์มกลาง แล้ว AGC จะเก็บบันทึกองค์ความรู้ และนวัตกรรมทุกประเภทไว้ให้ ซึง่ ข้อมูลทีม่ อี ยูใ่ นแพลตฟอร์มก็มตี งั้ แต่สงิ่ ที่ เกี่ยวกับการเพาะปลูกอย่างการกำ�จัดศัตรูพืชแบบบูรณาการ การปศุสัตว์ การปลูกพืชหมุนเวียน ไปจนถึงการตลาด ทีเ่ ป็นบันทึกจากประสบการณ์ของ เกษตรกรเอง นอกจากนีเ้ กษตรกรทีเ่ ข้ามาร่วมแบ่งปันข้อมูลยังสามารถบันทึก ข้อมูลได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งสไลด์โชว์ ภาพเคลื่อนไหว การบรรยาย ภาพถ่าย การบันทึกเสียง คูม่ อื เพลง ภาพวาด หรือบทกวี นับเป็นห้องสมุด ดิจิทัลที่น่าสนใจ ซึ่งเก็บรวบรวมทั้งความรู้และแรงบันดาลใจที่มาพร้อมกับ ประโยชน์และความรื่นรมย์ ด้วยความตั้งใจที่อยากให้เกษตรกร เป็นนักปลูก ที่สามารถปลูกและเติบโตได้ดว้ ยตัวของตัวเอง
ที่มา: agrowingculture.org CREATIVE THAILAND I 34
CREATIVE THAILAND I 35
CREATIVE THAILAND I 36