Creative Thailand Magazine

Page 1

มีนาคม 2559 ปีที่ 7 I ฉบับที่ 6 แจกฟรี

Creative Startup Bangkok Swing

Creative City Jakarta CREATIVE THAILAND I 1

The Creative ชมพู ฟรุ๊ตตี้


CREATIVE THAILAND I 2


If it works, it’s out of date. David Bowie ศิลปินชาวอังกฤษผู้เป็นตำ�นานแห่งวงการเพลงร็อกระดับโลก

CREATIVE THAILAND I 3

flickr.com/photos/nihonbunka

พอมันเวิร์ก มันก็เอาท์ไปแล้ว


Contents : สารบัญ

The Subject

6

Streaming Music มิตใิ หม่ของการฟังเพลง / Music Connects the World / ฟังสนุกกับ JOOX MUSIC / Apple Music นักรบมาแรงในสงครามสตรีมมิง

Creative Resource

Featured Book / Book / Documentaries

8

Matter 10 ดูดซับ เก็บ สะท้อน... หลากวัสดุเพื่อการควบคุมเสียงภายในอาคาร

Local Wisdom

12

Cover Story

14

ท่วงทำ�นองของความเป็นไทย

The Future of Thai Music อุตสาหกรรมดนตรีไทย และวิถีก้าวต่อไปสู่อนาคต

Insight 20 I Wanna Be the Star

Creative Startup

22

Creative City

24

The Creative

28

Creative Will

33

Bangkok Swing... สวิงความสุขบนฟลอร์เต้นรำ�

Java Jazz Festival กับโมเดลการพลิกฟื้นเมืองด้วยดนตรีแจ๊ส

ชมพู ฟรุ๊ตตี้: การลงทุนครั้งใหม่ของเพลงไทย

Music for Green Community เมื่องานดนตรีช่วยเปลี่ยนแปลงโลก

บรรณาธิการอำ�นวยการ l อภิสทิ ธิ์ ไล่สตั รูไกล ทีป่ รึกษา l ชมพูนทุ วีรกิตติ, พิชติ วีรงั คบุตร, จรินทร์ทพิ ย์ ลียะวณิช, พจน์ องค์ทวีเกียรติ บรรณาธิการ l พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์ กองบรรณาธิการ l ศิริอร หริ่มปราณี, มนฑิณี ยงวิกุล, เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร, ชลดา เจริญรักษ์ปัญญา, อําภา น้อยศรี, ปิยวรรณ กลิ่นศรีสุข, นันท์นรี พานิชกุล เลขากองบรรณาธิการ l วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ ศิลปกรรม l ชิดชน นินนาทนนท์ สมาชิกสัมพันธ์ l ปิยะพร สวัสดิ์สิงห์ ประสานงานกองบรรณาธิการ l ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ นักศึกษาฝึกงาน l ชาคริต นิลศาสตร์ จัดทำ�โดย l ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) ชั้น 24 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอร์ 622 สุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 โทร. 02 664 7667 แฟกซ์. 02 664 7670 ติดต่อลงโฆษณาได้ที่ creativethailand@tcdc.or.th พิมพ์ที่ l บริษัท สยามพริ้นท์ จำ�กัด โทร. 02-509-0068 แฟกซ์. 02-509-2971-2 จำ�นวน 30,000 เล่ม นิตยสารฉบับนีใ้ ช้หมึกพิมพ์จากนา้ํ มันถัว่ เหลืองทีไ่ ม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทัง้ ยังเป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อม และใช้กระดาษ รีไซเคิล ซึ่งเป็นผลผลิตของผู้ประกอบการไทย จัดทำ�ภายใต้โครงการ “Creative Thailand สร้างเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์” โดยศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ สำ�นักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) ซึง่ มีเป้าหมายในการเผยแพร่ความรูเ้ กีย่ วกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) และผลักดันการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส CREATIVE THAILAND I 4 แสดงที่มา-ไมใชเพื่อการคา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย


flickr.com/Photos/Don Harder

Editor’s Note : บทบรรณาธิการ

ปฏิวัติแห่งสุนทรียภาพ ทันทีที่ข่าวการเสียชีวิตของเดวิด โบวี (David Bowie) แพร่สะพัดออกไป สิ่งที่ ตามมาอย่างรวดเร็วก็คือ ยอดดาวน์โหลดเพลงของเขาที่ทะยานสู่อันดับสาม บนไอทูนส์ พร้อมๆ กับยอดการฟังเพลงแบบสตรีมมิงบนเว็บไซต์เพลงชื่อดัง อย่าง Spotify ที่เพิ่มขึ้นถึง 2,822 เปอร์เซ็นต์ โดยมีผู้ฟังราว 2.5 ล้านคนที่ฟัง เพลงบน Spotify และมียอดทวิตสูงถึง 6.1 ล้านทวิต ความเคลือ่ นไหวของศิลปิน ที่เป็นตำ�นานจากยุค 70 ซึ่งมาโลดแล่นบนโลกโซเชียลในวันนี้ พร้อมกับศัพท์ แสงใหม่ๆ ของอุตสาหกรรมดนตรียคุ ดิจทิ ลั แสดงให้เห็นอย่างแจ่มชัดว่า ความ ก้าวหน้าของเทคโนโลยีได้ปฏิวัติและเปิดโลกทัศน์ของดนตรีให้เดินทางมาไกล จากยุคกลางที่ซึ่งดนตรีเป็นเรื่องราวเฉพาะของศาสนจักรและระบอบศักดินา ของชนชั้นสูงไปแล้ว ขณะทีง่ านศิลปะในแขนงอืน่ ๆ เช่น จิตรกรรม วรรณกรรม หรือภาพยนตร์ ได้ปรับรูปแบบและวิธกี ารนำ�เสนอตัวเองในโลกดิจทิ ลั ได้อย่างไม่สนั่ คลอนจิตใจ ของศิลปินหรือกลุ่มผู้เสพงานศิลป์มากนัก อุตสาหกรรมดนตรีดูจะมีเส้นทางที่ โลดโผนและจัดจ้านมากกว่า เพราะนับแต่เทป 8 แทร็ก แผ่นเสียง คาสเซ็ตเทป ซีดี สู่ยุคดิจิทัล ดาวน์โหลด ไม่ใช่เพียงแค่เปลี่ยนสิ่งที่จับต้องได้ซึ่งใช้ในการฟัง เพลงเท่านั้น แต่คือการเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้คนให้เกิดความสะดวกในการ เข้าถึงเพลงอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน โดยเฉพาะนวัตกรรมจากการคิดค้นแผ่น ซีดี ที่ทำ�ให้เกิดการฟังเพลงบนคอมพิวเตอร์ ซึ่งนับเป็นก้าวย่างสำ�คัญที่เปิด ประตูสู่ความเป็นไปได้ในการเชื่อมต่อการฟังเพลงบนโลกอินเทอร์เน็ต หรือ ชัยชนะของแอปเปิลทีเ่ คลือ่ นจากการแข่งขันในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ สูก่ าร

สร้างสินค้าไลฟ์สไตล์ที่มีส่วนประกอบสำ�คัญเป็นดนตรี ที่ก็ได้สร้างวัฒนธรรม ใหม่ในการฟังเพลงให้แก่ผู้คนในทุกวันนี้ อุตสาหกรรมดนตรี จึงเป็นยุคที่การขายประสบการณ์เป็นเรื่องสำ�คัญ เนือ่ งจากการแข่งขันทีร่ นุ แรงของตลาดทีม่ ที งั้ เพลงใหม่จากศิลปินมหาศาล และ เพลงเก่าทีถ่ กู นำ�เข้าสูต่ ลาดดิจทิ ลั เพือ่ แย่งชิงกลุม่ ผูฟ้ งั ทีม่ ที างเลือกแบบล้นเหลือ ในยุค 1970-80 ค่ายยักษ์ใหญ่อย่าง Warner Music, EMI และ PolyGram เคยเป็นผู้ชี้เป็นชี้ตายให้แก่อัลบั้ม แต่โลกปัจจุบันเป็นของเด็กวัย 19 ปีที่คิดค้น Napster ระบบแชร์เพลงบนอินเทอร์เน็ต และพัฒนามาสูผ่ เู้ ล่นใหม่อย่างตลาด สตรีมมิงที่สอดรับกับวิถีชีวิตยุคนี้ที่ผู้คนต่างฟังเพลงผ่านสมาร์ทโฟนและ คอมพิวเตอร์ อาทิ Deezer, Spotify, YouTube และ Pandora เช่นเดียวกับ การทำ�การตลาดแบบมโหฬารซึง่ ต้องหลีกทางให้ระบบบอกรับสมาชิกเพลง ซึง่ มีอัตราการเติบโตขึ้นเรื่อยๆ จาก 8 ล้านคนในปี 2010 เป็น 20 ล้านคนในปี 2012 และ 28 ล้านคนในปี 2013 กระทั่งว่าแม้ต้องการเป็นผู้ปลุกปั้นศิลปินก็ยัง สามารถใช้เว็บไซต์ Kickstarter เพื่อระดมทุนทำ�อัลบั้มใหม่ได้ด้วยซํ้าไป การเข้าถึงงานศิลปะได้อย่างเสรีและกว้างขวางบนขื่อแปรที่เคารพต่อ ความคิดสร้างสรรค์จึงเป็นเรื่องที่น่ายินดี เพราะโลกกำ�ลังเปิดพื้นที่แห่ง สุนทรียภาพให้เป็นแรงบันดาลใจแก่ผคู้ นอีกมากมาย บางครัง้ อาจช่วยกล่อมเกลา หรือบรรเทาความเจ็บปวด บางครั้งสร้างความรื่นรมย์ บางครั้งก็พยุงให้เกิด ความกล้าหาญ และด้วยความสร้างสรรค์อย่างเสรีนี้ ย่อมจะนำ�ไปสูโ่ อกาสแห่ง การคิดค้นสิ่งใหม่ๆ ให้แก่ยุคสมัยของผู้คนรุ่นต่อไปได้อย่างไม่รู้จบนั่นเอง อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล บรรณาธิการอํานวยการ Apisit.L@tcdc.or.th

CREATIVE THAILAND I 5


The Subject : ลงมือคิด เรื่อง: ชาคริต นิลศาสตร์ ปิยะพร สวัสดิ์สิงห์ วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ และ ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ

Music Connects the World

facebook.com/TEDxMusicProject

thesweetsetup.com

Streaming Music มิตใิ หม่ของการฟังเพลง

หลายศตวรรษที่ผ่านมา ช่องทางการเสพดนตรีของนักฟังเพลงผันแปรไป เรือ่ ยๆ ตามเทคโนโลยีทพี่ ฒั นาไปไกลมากขึน้ ตัง้ แต่การฟังผ่านเทปคาสเซ็ต สูย่ คุ ของซีดี และพัฒนาเป็นเอ็มพีสาม แต่ดว้ ยเทคโนโลยีลา่ สุด จึงทำ�ให้เกิด ช่องทางใหม่ที่เรียกว่า ‘มิวสิก สตรีมมิง’ (Music Streaming) ซึ่งไม่ใช่แค่ เทรนด์ของการฟังเพลง แต่ได้พัฒนาจนกลายเป็นมาตรฐานใหม่ในการฟัง เพลงของคนยุคปัจจุบันไปเรียบร้อยแล้ว มิวสิก สตรีมมิง คือบริการฟังเพลงออนไลน์ผ่านสมาร์ทโฟนหรือ คอมพิวเตอร์ แทนการซื้อเพลงหรืออัลบั้ม โดยไม่ต้องดาวน์โหลดมาเก็บไว้ ในเครื่อง ซึ่งผู้ให้บริการมิวสิก สตรีมมิง จะร่วมมือกับค่ายเพลงต่างๆ รวบรวมเพลงมาไว้บริการบนเว็บไซต์โดยที่ผู้ฟังจะต้องจ่ายค่าบริการแบบ เหมาจ่ายหรือสมัครสมาชิกเพื่อฟังเพลงแบบถูกลิขสิทธิ์ จากนั้นบริษัทผู้ให้ บริการก็จะจ่ายเงินให้กับศิลปินและค่ายเพลงโดยคำ�นวณจากการกดฟัง เพลงไหนที่มีคนฟังมาก ศิลปินก็จะได้เงินเยอะไปด้วย ข้อดีคือ เราจะสามารถฟังเพลงกี่เพลงก็ได้ ศิลปินค่ายไหน วงไหนก็ได้ ที่ร่วมให้บริการแบบไม่จำ�กัดต่อเดือน ส่วนข้อเสียก็คืออินเทอร์เน็ตจะต้อง เสถียรพอที่จะเล่นเพลงด้วย และถ้าบอกเลิกการเป็นสมาชิกหรือยกเลิกใช้ บริการ เราก็จะไม่สามารถเข้าถึงเพลงได้อีก มิวสิก สตรีมมิง จึงกำ�ลังเป็นที่นิยมอย่างมาก เพราะเข้าถึงได้สะดวก รวดเร็ว ไม่ยุ่งยาก และถูกกฎหมาย ส่วนค่ายเพลงและศิลปินก็ได้เผยแพร่ ผลงานอย่างกว้างขวาง เป็นการปกป้องลิขสิทธิ์ และได้ผลตอบแทนชัดเจน เรียกว่าได้ประโยชน์กันทั้งสองฝ่ายอย่างเท่าเทียมกัน เพียงแค่มีอุปกรณ์ที่รองรับและอยู่ในที่ที่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ต ก็ สามารถสนุกไปกับเสียงดนตรีได้แบบไม่จำ�กัด ทุกที่ ทุกเวลา และไม่แน่ว่า ในอนาคตเมื่อเทคโนโลยีสนับสนุนการฟังเพลงในรูปแบบนี้มากขึ้น มิวสิก สตรีมมิง อาจเป็นช่องทางเดียวในการเลือกฟังเพลงเลยก็ได้

เพราะว่าดนตรีคือภาษาสากล จังหวะและท่วงทำ�นองของเสียงดนตรีจึง สามารถส่งผ่านความรู้สึกถึงกันได้ อย่างไรก็ดี บทเพลง เสียงดนตรี และ เครือ่ งดนตรีทแี่ ตกต่างกันในแต่ละพืน้ ที่ ก็เป็นทัง้ เสน่หแ์ ละความงดงาม และ การได้รับฟังบทเพลงที่มีเนื้อร้อง ท่วงทำ�นอง หรือจังหวะที่แตกต่างไปจาก ทีค่ นุ้ เคย จึงเป็นเสมือนการเชือ่ มตัวเราเข้ากับโลกแห่งดนตรีทกี่ ว้างใหญ่และ น่าสนใจให้ค้นหา TEDx Music Project เป็นโครงการซึ่งรวบรวมแทร็กเพลงที่คัดเลือกมา จากการแสดงดนตรีสดของอีเวนต์ TEDx รอบโลก ก่อตั้งโดย เอมี โรบินสัน (Amy Robinson) เมื่อปี 2012 โดยมีรูปแบบคล้ายคลึงกับ TEDx Talks เวที แห่งการรวมตัวกันของนักคิดนักทำ�ทีม่ าร่วมแบ่งปันประสบการณ์และส่งมอบ แรงบันดาลใจให้กับผู้อื่น เพียงแต่ว่า TEDx Music Project เป็นการจัดแสดง ดนตรีของศิลปินทั้งแบบคลาสสิก หรือผสมผสานกับเครื่องดนตรีท้องถิ่น ต่างๆ จากทัว่ ทุกมุมโลก พร้อมเก็บรวบรวมบันทึกการแสดงมาไว้ในรูปแบบ ของคลังห้องสมุดเพือ่ เก็บรักษา และเผยแพร่บทเพลงทีม่ คี ณุ ค่าเหล่านีต้ อ่ ไป การรวบรวมทรัพยากรบทเพลงจากการแสดงดนตรีทั่วโลกกว่า 10,000 อีเวนต์ ส่งผลให้ขณะนี้มีแทร็กเพลงอยู่ในคลังแล้วมากกว่า 500 แทร็ก ซึ่งมี ที่มาจากเมืองต่างๆ ถึง 5,000 เมือง ใน 180 ประเทศทั่วโลก โดยแทร็กเพลง จะถูกจัดเก็บไว้ในบนแพลตฟอร์มที่เรียกว่า ‘ซาวน์คลาวด์’ (SoundCloud) เว็บไซต์ฝากไฟล์เสียงสำ�หรับคนรักเสียงเพลงที่ใช้งานไม่ยาก เพียงอัพโหลด ไฟล์เสียงที่บันทึกมาไว้บนเว็บ ก็สามารถแชร์แทร็กเพลงต่างๆ ส่งถึงกันได้ ทั่วโลก พร้อมเป็นการเชื่อมโยงบทเพลงที่มีอยู่มากมายบนโลกใบนี้ให้สื่อ ถึงกันได้ด้วยภาษาทางดนตรีที่เป็นสากลสำ�หรับนักฟังทั่วโลก

ที่มา: บทความ “What is Streaming Music” โดย Mark Harris จาก mp3.about.com / บทความ “Which Music Streaming App is Right for You?” โดย Sarah Mitroff จาก cnet.com

ที่มา: soundcloud.com/tedxmusicproject / tedxmusicproject.com และ วิกิพีเดีย

CREATIVE THAILAND I 6


Apple Music นักรบมาแรงในสงครามสตรีมมิง

asmo.ru

music.sanook.com

ฟังสนุกกับ JOOX MUSIC

จากโมเดลการฟังเพลงรูปแบบสตรีมมิงทีป่ ระสบความสำ�เร็จอย่างแพร่หลาย ในปัจจุบัน บริษัทไอทีสัญชาติจีนชั้นนำ�ของโลกอย่างเท็นเซ็นต์ (Tencent) ผูผ้ ลิตแอพพลิเคชัน WeChat และเว็บไซต์ weibo.com ได้เปิดตัวแอพพลิเคชัน การให้บริการฟังเพลงฟรีในรูปแบบสตรีมมิงภายใต้ชื่อ “JOOK” ครั้งแรกใน ปี 2014 ที่ฮ่องกง และขยายการให้บริการต่อเนื่องมาที่มาเลเซียและ อินโดนีเซีย โดยล่าสุดบริษัท สนุก ออนไลน์ จำ�กัด ได้เปิดตัว JOOK ให้ใช้ บริการครั้งแรกในเมืองไทยเมื่อปลายปีที่ผ่านมา แอพพลิเคชัน JOOX ไม่ใช่แค่เครือ่ งมือทีใ่ ห้บริการฟังเพลงฟรี แต่ยงั คง “ออกแบบการฟังเพลง” ในรูปแบบที่หลากหลาย โดยผู้ใช้งานสามารถสร้าง เพลย์ลิสต์ส่วนตัว หรือเลือกฟังเพลงจากเพลย์ลิสต์ที่ทีมงานคัดสรรจาก ลักษณะธีมเพลงต่างๆ หรือจากเพลย์ลสิ ต์ทไ่ี ด้รบั การสนับสนุนโดยสปอนเซอร์ รวมทัง้ สิทธิพเิ ศษสำ�หรับสมาชิกวีไอพีทเี่ สียค่าบริการรายเดือนจะสามารถฟัง เพลงที่มีคุณภาพเสียงที่ดีกว่าสมาชิกธรรมดา พร้อมได้สิทธิ์ฟังเพลงพิเศษที่ สมาชิกปกติไม่สามารถฟังได้โดยไม่ถูกกวนใจจากโฆษณาคั่นขณะฟังเพลง ปัจจุบนั มีผใู้ ช้งานแอพพลิเคชันดังกล่าวโดยนับจากการเปิดหน้าจอโดยเฉลีย่ แล้ว 20 ล้านครั้งต่อวัน นอกจากนี้ JOOK ยังมีเว็บไซต์ music.sanook.com Powered by JOOX ทีท่ �ำ หน้าทีส่ ร้างคอนเท็นต์ตอ่ เนือ่ งจากการฟังเพลงเพือ่ อัพเดตความรู้และความเคลื่อนไหวของวงการเพลงจากศิลปินไทยและ ต่างประเทศได้อีกช่องทางหนึ่ง ที่มา: บทความ “Sanook! เปิดตัวแอปพลิเคชัน JOOX อย่างเป็นทางการในประเทศไทย” (19 มกราคม 2016) จาก thumbsup.in.th / music.sanook.com และ วิกีพีเดีย

หลังจากที่ในปี 2013 รายได้จากการดาวน์โหลดเพลงของไอทูนส์สโตร์ ลดลงเป็นครัง้ แรกนับตัง้ แต่เปิดให้บริการ ด้วยเหตุผลทีผ่ บู้ ริโภคเปลีย่ นมาใช้ บริการสตรีมมิงกันมากขึ้น โดยมี Spotify และ Deezer เป็นสองผู้ให้บริการ รายใหญ่ที่ขับเคี่ยวกันมาพักใหญ่ เมื่อกลางปี 2015 แอปเปิลจึงได้กระโจน เข้าสู่สงครามสตรีมมิงอย่างเต็มตัว ด้วยการเปิดตัว Apple Music บริการ ฟังเพลงแบบเก็บค่าบริการรายเดือนซึ่งนอกจากจะเลือกฟังเพลงอะไรก็ได้ที่ อยู่บนไอทูนส์สโตร์แล้ว ยังมีบริการสถานีวิทยุ Beats 1 ที่เชิญดีเจชื่อดังมา จัดรายการวิทยุให้ฟังด้วยแนวเพลงหลากหลาย ยิ่งไปกว่านั้น แอปเปิลยังนำ� Apple Music บุกมาขยายบริการบนแพลตฟอร์มคู่แข่งอย่างแอนดรอยด์ อีกด้วย ซึง่ ก็ไม่ใช่เรือ่ งน่าแปลกใจ เพราะจากการรายงานของ IDC ส่วนแบ่ง ตลาดของแอนดรอยด์ในตลาดสมาร์ทโฟนในทุกไตรมาสของปี 2016 นั้น สูงถึง 80 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ไอโอเอสได้ส่วนแบ่งเพียง 13-16 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น ล่าสุดเมื่อเดือนมกราคม 2016 มีรายงานว่า Apple Music มียอดผู้ใช้ งานแบบเสียเงินทะลุ 10 ล้านราย หลังจากเปิดให้ใช้งานเพียงแค่ 6 เดือน ซึ่งเป็นตัวเลขที่ Spotify ยักษ์ใหญ่ในวงการสตรีมมิงที่ปัจจุบันมียอดผู้ใช้งาน แบบเสียเงินมากกว่า 20 ล้านคนนั้นต้องใช้เวลาถึง 6 ปี ในขณะที่ Pandora ผู้ให้บริการวิทยุออนไลน์ซึ่งมีผู้ใช้งานประจำ�อยู่ที่ 78 ล้านรายนั้น ก็มีเพียง 3.9 ล้านรายที่ยอมจ่ายค่าบริการแบบพรีเมียม นี่จึงเป็นอีกหนึ่งสัญญาณที่ บอกว่า ความร้อนแรงในสงครามเพลงยุคดิจิทัลคงจะไม่มีวันลดอุณหภูมิลง ง่ายๆ อย่างแน่นอน ที่มา: บทความ “Apple Music for Android ถึงเวลาแอปเปิลครองโลกดนตรี!?” (2015) จาก manager.co.th / บทความ “New and interesting music is harder to find than ever” (2016) จาก economist.com / บทความ “แอปเปิล้ เปิดบริการฟังเพลงแบบรายเดือน Apple Music” (2015) จาก siampod.com

CREATIVE THAILAND I 7


Creative Resource : วัตถุดิบทางความคิด เรื่อง: อําภา น้อยศรี และ ชลดา เจริญรักษ์ปัญญา

CREATIVE THAILAND I 8


F EAT U RED BOOK

หนังสือเล่มนี้ไม่ได้เขียนขึ้นตามหลักวิชาดนตรี หรืออ้างอิงจากตำ�ราเรียน แต่รวบรวมและเขียน ขึ้ น จากความเข้ า ใจและประสบการณ์ ใ นการ ทำ�งานกว่า 40 ปีของเดวิด เบิร์น (David Byrne) ในฐานะนักร้อง นักดนตรี นักแต่งเพลง นักคิด ผู้ก่อตั้งและสมาชิกวง Talking Heads “ทุกอย่างเริ่มต้นด้วยเสียง” คือสิ่งที่เบิร์น เกริ่นไว้ตั้งแต่ต้น ความถี่ของเสียงที่ต่างกันคือ ต้นกำ�เนิดของโน้ตเสียงต่างๆ บนบรรทัด 5 เส้น เบิ ร์ น อธิ บ ายความเชื่ อ มโยงของดนตรี กั บ

ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ การกำ�เนิดอันยาวนาน ของมนุ ษ ยชาติ วิ วั ฒ นาการด้ า นเทคโนโลยี การกำ � เนิ ด เครื่ อ งดนตรี แ ถบบั น ทึ ก เสี ย งใน รูปแบบแอนาล็อก ไปจนถึงวิวฒั นาการสูย่ คุ ดิจทิ ลั แรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงาน บันทึก ประสบการณ์ส่วนตัวกับการแสดงสดครั้งแรกใน คลับ CBGB รวมทั้งการทำ�งานร่วมกับนักดนตรี ทีม่ ชี อื่ เสียง เบิรน์ ยังได้แสดงทัศนคติทางการเมือง และสังคมผ่านการจัดคอนเสิรต์ ทีม่ เี พือ่ นพ้องร่วม วงการสนับสนุน นอกจากนีเ้ ขายังแนะนำ�เรื่องการ ทำ�อัลบัม้ ว่า นักดนตรีตอ้ งมีความเข้าใจเรือ่ งโน้ต การเรี ย บเรี ย งเสี ย งประสาน เนื้ อ หาเพลงที่ สามารถเข้าถึงคนฟัง รูปแบบดนตรีที่โดดเด่น

BOOK

DOCUMENTARY

2) Music: The Definitive Visual History โดย Miezan van Zyl

3) All Things Must Pass: The Rise and Fall of Tower Records กำ�กับโดย Colin Hanks

1) How Music Works โดย David Byrne

ดนตรีเกิดขึน้ มาตัง้ แต่กอ่ นยุคก่อนประวัตศิ าสตร์ เครื่องดนตรีแรกเริ่มคืออวัยวะของร่ายกายที่ใช้ การปรบมือ เป่าปาก และส่งเสียงเพือ่ เฉลิมฉลอง และข่มขู่ศัตรู จวบจนปัจจุบันจุดมุ่งหมายของ เครือ่ งดนตรีและแนวดนตรีถกู พัฒนาให้กว้างออกไป หนังสือเล่มนีก้ ล่าวถึงประวัตขิ องดนตรี แนวเพลง รวมถึงอุปกรณ์ทใี่ ช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน โดย แบ่งเป็น 8 ยุคหลัก ผู้เขียนไม่เพียงดึงความ โดดเด่นของแต่ละยุคสมัยหรือของภูมภิ าคใดภูมภิ าค หนึ่งในโลกมานำ�เสนอ แต่ยังกล่าวถึงวัฒนธรรม การฟังดนตรีของผูค้ นตามส่วนต่างๆ ของโลก ทัง้ ยุโรป แอฟริกา หรือเอเชีย รวมถึงแนวทางการ ฟังดนตรีในแต่ละช่วงที่แตกต่างกัน หลายครั้งที่ ที่มาของการพัฒนาแนวดนตรีได้รับอิทธิพลมา จากบริบททางสังคมทีเ่ ปลีย่ นไปรวมถึงแนวดนตรี ทีผ่ า่ นมา การศึกษาเล่มนีจ้ ะช่วยเปิดมุมมองเรือ่ ง ดนตรีในหลากหลายแง่มุมให้ทุกคนได้รู้จัก

และมีศิลปะในการนำ�เสนอ แต่นั่นไม่ใช่เครื่อง การันตีวา่ คุณจะประสบความสำ�เร็จในสายอาชีพ ช่องทางการจัดจำ�หน่าย การเซ็นสัญญากับสังกัด เพลง การจัดการเงื่อนไขและข้อตกลงทางธุรกิจ เป็นสิ่งที่นักดนตรีควรให้ความสำ�คัญด้วยเช่นกัน เพื่อปกป้องและรักษาผลประโยชน์ที่ควรจะได้รับ How Music Works เล่มนี้ถือเป็นไบเบิล ส่วนบุคคลที่รวบรวมข้อคิด ข้อเสนอแนะรวมทั้ง วิ ธี ก ารทำ � งานในธุ ร กิ จ ดนตรี จ ากมุ ม มองและ ประสบการณ์จริงที่หลากหลาย ผู้ที่ไม่มีพื้นฐาน ด้านดนตรีสามารถศึกษาและทำ�ความเข้าใจวิธี ทำ � งานเพลงหรื อ นำ � เนื้ อ หาไปประยุ ก ต์ ใ ช้ ไ ด้ ไม่ยาก

เมื่อย้อนกลับไปในยุคที่ไฟล์ MP3 หรือ iTunes ยังไม่ถือกำ�เนิดขึ้น ยุคที่เมื่อต้องการฟังเพลงต้องเปิด วิทยุหรือเดินทางไปที่ร้านเพื่อเลือกซื้อแผ่นด้วยตัวเอง Tower Records เป็นหนึ่งในศูนย์รวมขนาดใหญ่ ของกลุ่มคนที่รักดนตรี สารคดีเรื่องนี้รำ�ลึกถึงการเปลี่ยนผ่านของยุคสมัยทางดนตรีผ่านร้านค้าปลีกที่ ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งตั้งแต่ต้นกำ�เนิด เมื่อรัสเซลล์ โซโลมอน (Russell Solomon) ก่อตั้งธุรกิจนี้ขึ้นในปี 1960 ผ่านไปสู่ยุคสมัยที่ได้รับความนิยมและรุ่งเรืองที่สุดจนขยายสาขาไปกว่า 192 แห่งทั่วโลก วลีเด็ด ของบริษัทอย่าง No Music, No Life. สร้างแรงบันดาลใจให้แก่นักดนตรีจำ�นวนมาก จวบจนถึงยุคที่ ความนิยมของ Tower Records ค่อยๆ ลดลงไป เนื่องจากการละเมิดลิขสิทธิ์ที่เกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย และการเข้ามาของเทคโนโลยีที่ทำ�ให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป

DOCUMENTARY / HISTORY / MUSIC 4) Woodstock: 3 Days of Peace & Music กำ�กับโดย Michael Wadleigh ปัจจุบันเทศกาลดนตรีถูกจัดขึ้นเป็นจำ�นวนมาก โดยมีการรวมกลุ่มนักดนตรีจากหลากหลายสัญชาติ และแนวเพลงซึ่งได้รับความนิยมอย่างสูง แต่ถ้ากล่าวถึงเทศกาลดนตรีที่เป็นที่จดจำ�และเป็นจุดเปลี่ยน ในประวัติศาสตร์ดนตรี หนึ่งในนั้นคือ Woodstock ที่จัดขึ้นในปี 1969 สารคดีเรื่องนี้ถ่ายทอดภาพงาน 3 วัน ที่เป็นการรวมตัวของศิลปินดังถึง 32 คน รวมถึงบ๊อบ ดีแลน และจิมมี่ เฮนดริกซ์ ซึ่งแสดงสด ต่อหน้าผู้เข้าร่วมกว่าสี่แสนคน สารคดียังนำ�เสนอการทำ�กิจกรรมที่หลากหลายของกลุ่มคนที่ปลีกตัว ออกจากสังคม ต่อต้านวัตถุนยิ ม และเรียกตัวเองว่า ฮิปปี้ ในขณะที่ความรูส้ กึ ของผูเ้ ข้าร่วมและประชาชน ที่อาศัยอยู่โดยรอบถูกถ่ายทอดในหลายแง่มุม Woodstock ไม่ได้เป็นเพียงเทศกาลดนตรีเท่านั้น แต่ยัง เป็นการแสดงจุดยืนของผู้คนในยุคบุปผาชนที่ต่อต้านสงครามเวียดนามอีกด้วย พบกับวัตถุดิบทางความคิดเหล่านี้ได้ที่ TCDC Resource Center CREATIVE THAILAND I 9


Matter : วัสดุต้นคิด

ดูดซับ เก็บ สะท้อน หลากวัสดุ เพื่อการควบคุมเสียง ภายในอาคาร

เรื่อง: ชมพูนุท วีรกิตติ และ ปิยวรรณ กลิ่นศรีสุข

เรื่องของเสียงนั้น นอกจากเสียงดนตรี มนุษย์ก็ยังได้ยินเสียงในธรรมชาติทั่วไป ซึ่งบางครั้งเสียงที่มีความดังเกินไปก็อาจ เป็นการรบกวนการดำ�เนินชีวติ ได้ ในแวดวงวัสดุจงึ ได้มกี ารคิดค้นวัสดุเพือ่ การควบคุมเสียงขึน้ โดยทัว่ ไป ความแตกต่างของ การใช้วัสดุเพื่อควบคุมเสียงแบ่งเป็นสามลักษณะการใช้งาน ได้แก่ 1. การดูดซับเสียง (Sound Absorption) 2. การเก็บ เสียง (Sound Acoustic) ซึ่งใช้สำ�หรับการควบคุมเสียงก้องและเสียงสะท้อนในห้องหรืออาคาร มีหลักการทำ�งานคือยอมให้ เสียงผ่านเข้ามาในฉนวนและดูดซับพลังงานเสียง ส่วน 3. การกันเสียง (Sound Proof) มีหลักการแตกต่างออกไปตรงที่จะ ไม่ยอมให้เสียงผ่านไปได้ วัสดุทุกชนิดสามารถดูดซับเสียง ควบคุมเสียงสะท้อน และกันเสียงได้ใน ระดับที่แตกต่างกันไป วัสดุที่เป็นฉนวนดูดซับเสียงจะมีลักษณะเป็นเส้นใย หรือมีรพู รุนเพือ่ ให้เสียงเดินทางผ่านเข้าไปยังฉนวน ขณะเดียวกันก็จะดูดซับ พลังงานเสียงไว้สว่ นหนึง่ ทำ�ให้เสียงทีผ่ า่ นฉนวนออกมามีความแรงและคลืน่ ความถีล่ ดลง ส่งผลให้เสียงนัน้ เบาลงไป และพลังงานเสียงทีถ่ กู ดูดซับเข้าไป จะถูกแปรเปลีย่ นไปเป็นพลังงานรูปอื่น ซึง่ โดยทัว่ ไปจะเป็นพลังงานความร้อน ทั้งนี้จำ�นวนพลังงานที่ถูกดูดซับเข้าไปจะแสดงในรูปของค่าสัมประสิทธิ์การ ลดเสียงหรือ Noise Reduction Coefficient (NRC) ซึ่งเป็นตัวเลขที่จะระบุ ได้ถึงความสามารถในการดูดซับเสียงของวัสดุ โดยทั่วไปค่า NRC จะต้อง มากกว่า 0.40 จึงจะถือว่าเป็นวัสดุดดู ซับเสียง ล่าสุดวัสดุที่ได้รบั รางวัลชนะเลิศ ด้าน Innovative Acoustic Surface ของนิตยสาร Interior Design กลับ เป็นผ้าเนื้อบางโปร่งแสงที่สามารถดูดซับเสียงได้จากบริษัท Carnegie สหรัฐอเมริกา ผ้าดังกล่าวผลิตจากเส้นใย Trevira CS ซึ่งเป็นโพลีเอสเตอร์ (PET) ทำ�ให้แตกต่างจากผ้าซับเสียงทั่วไป เนื่องจากวัสดุมีส่วนประกอบของ ฟิล์มเส้นด้ายที่แบนและใส ทำ�ให้ผ้ามีความโปร่งใสแต่ยังดูดซับคลื่นเสียงได้ และมีคุณสมบัติกันไฟลาม ไม่ซีดจาง คงทน ต้านทานการขัดถู อ่อนตัวดี และมีความเสถียรด้านขนาด โดยเส้นด้ายแบนจะถูกนำ�ไปทอรวมกับด้าย ขนปุยในกระบวนการเฉพาะของผู้ผลิต ทั้งยังนำ�ไปตัดเย็บได้ตามปกติ โดย

มีค่าสัมประสิทธิ์การลดเสียง (NRC) อยู่ระหว่าง 0.5 - 0.6 และที่สำ�คัญคือ มีคุณสมบัติการกันไฟลามตามมาตรฐาน NFPA 701 เหมาะสำ�หรับบุ เฟอร์นิเจอร์ ทำ�ผ้าม่าน ผนังกั้นส่วน และผนังซับเสียง นอกจากนี้ ข้อควรคำ�นึงถึงอย่างมากในการเลือกใช้วสั ดุคอื องค์ประกอบ ของวัสดุที่จะต้องไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม ในประเทศไทยบริษัท Ping-Art จังหวัดเชียงใหม่ ได้คิดค้นวัสดุจากวัสดุเหลือใช้จากภาคการเกษตรอย่าง ฟางข้าว มาทำ�เป็นฉนวนกันความร้อนและลดเสียงสะท้อน โดยมีสัดส่วน การผลิตจากฟางข้าวร้อยละ 47.5 เยื่อกระดาษร้อยละ 47.5 และสารหน่วง ไฟ NH2SO4 ร้อยละ 5 โดยไม่มสี ว่ นผสมของใยหิน ใยแก้ว กาวฟอร์มลั ดีไฮด์ และสารประกอบอินทรียร์ ะเหยง่าย (VOCs) จากนัน้ นำ�มาขึน้ รูปเป็นแผ่นโดย การอัดด้วยความร้อน ทั้งยังมีคุณสมบัติต้านทานแมลง ช่วยลดเสียงรบกวน นำ�ไปรีไซเคิลได้ ดูดซับเสียงได้ดี มีประสิทธิภาพในการควบคุมอุณหภูมแิ ละ ไม่ลามไฟ ผ่านการรับรองปริมาณไททาเนียมไดออกไซด์ของกระดาษและ บอร์ดตามมาตรฐาน ISO 5647:1990 เหมาะสำ�หรับทำ�ฉนวนและงานตกแต่ง ภายใน ที่มา: boyawards.interiordesign.net / ganfai.com / microglassinsulation.com พบกับวัสดุเหล่านี้ได้ที่ Material ConneXion® Bangkok, TCDC

CREATIVE THAILAND I 10


พบกับนิตยสาร “คิด” Creative Thailand ได้ที่ ร้านหนังสือ ห้องสมุด สมาคม อาคารสำ�นักงาน และร้านกาแฟใกล้บ้าน ในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ หัวหิน และจังหวัดอื่นๆ รวมถึง miniTCDC ดูสถานที่จัดวางทั้งหมดได้ที่: www.tcdc.or.th/creativethailand/magazine/place กรุงเทพฯ ร้านหนังสือ • Asia Books • Kinokuniya • B2S • แพร่พิทยา ร้านกาแฟ/ร้านอาหาร • Au Bon Pain • Starbucks • TOM N TOM’S COFFEE • True Coffee • Auntie Anne’s • Baskin Robbins • Coffee World • Mister Donut • Black Canyon • McCafe’ • ดอยตุง • Ninety four coffee • Puff & Pie • Red Mango • Iberry • Greyhound Cafe’ • Amazon Cafe’ • Chester’s Grill • Luv minibar โรงแรม/ที่พัก • NOVOTEL • Dusit Thani Princess Hotel • Sofitel Silom Bangkok • Grand Millenium Sukhumvit พิพิธภัณฑ์/หอศิลป์ • หอศิลปวัฒนธรรม แห่งกรุงเทพมหานคร • มิวเซียม สยาม • อุทยานการเรียนรู้ (TK park) • นำ�ทอง แกลเลอรี่ สมาคม/ห้องสมุด • ศูนย์ศิลปะนานาชาติ สมาคมฝรั่งเศส • ห้องสมุดเนลสัน เฮลส์ The Neilson Hays Library • ห้องสมุด - นิด้า • สมาคมโฆษณา แห่งประเทศไทย • สมาคมธนาคารไทย • สมาคมสโมสรนักลงทุน • ห้องสมุด สสวท. • สมาคมหอการค้าไทย • สถาบัน • Wall Street Institute • Raffle Design Institute • Vision Swimming Academy เชียงใหม่ ร้านหนังสือ • ดวงกมล • ร้านเล่า • ร้าน Book Re:public • ร้านหนังสืออุดมลายเซ็นต์ ร้านกาแฟ/ร้านอาหาร/ ร้านขายของที่ระลึก • Happy Hut (ถ.นิมมานเหมินทร์ ระหว่างซอย 9-10) • 94 Coffee (ถ.นิมมานเหมินทร์) • Starbucks (ถ.นิมมานเหมินทร์) • เวียงจุมออน ทีเฮาส์ • Fern Forest Cafe’ • October • เชียงใหม่กาแฟ • IMPRESSO espresso bar • กาแฟวาวี • Love at First Bite • ร้านกาแฟดอยช้าง • ร้านกาแฟดอยตุง

• ร้านฝ้ายเบเกอรี่ (หอสมุดในมหาวิทยาลัย เชียงใหม่) • Things Called Art • minimal • ร้านยังไว้ลาย • ร้านรสนิยม • ร้านภคมน • ร้านโครงการหลวง • จัส ข้าวซอย (Just Kao Soy) • Ginger (The House Restaurant ) • หอมปากหอมคอ • ทีเฮาส์ สยามศิลาดล • Rabbithood studio • The Meeting Room Art Cafe’ • HuB 53 Bed&Breakfast • ร้าน Charcoa Cafe’ • ร้าน Akha Ama coffee • ร้านกาแฟพาคามาร่า • เดอะ สลัด คอนเซปท์ (Salad Concept) • Gallery Seescape • ร้านขนม (Kanom) • ร้าน Chin Ngan • ร้าน Mood Mellow โรงแรม/ที่พัก • สุริยันจันทรา ถ.นิมมานเหมินทร์ ซอย 1 • บรรทมสถาน เกสเฮาท์อารมณ์บ้าน • yesterday Hotel • โรงแรมดุสิต ดีทู (Dusit D2) • โรงแรมเชดี • ฮาโหล บาร์ (Hallo Bar Hotel) • โรงแรม At Nimman • โรงแรม Tamarind Village • โรงแรม The Rim • 9wboutique hotel • พิงค์ภูเพลส เชียงใหม่ • โรงแรม Casa 2511 พิพิธภัณฑ์/หอศิลป์ • หอศิลปวัฒนธรรม เมืองเชียงใหม่ • หอนิทรรศการ ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หัวหิน ร้านกาแฟ/ร้านอาหาร • ร้านกาแฟ ชุบชีวา หัวหิน • อยู่เย็น หัวหิน บัลโคนี่ • บ้านใกล้วัง • ภัตตาคารมีกรุณา • บ้านถั่วเย็น @ แนบเคหาสน์ • ร้านอาหารหัวหิน (โกทิ) • กาแฟข้างบ้าน • IL GELATO ITALIANO • Together Bakery & Cafe’ โรงแรม/ที่พัก • โรงแรม วรบุระหัวหิน • Let’s Sea • โรมแรม ดูน หัวหิน • เดอะร็อค หัวหิน • บ้านจันทร์ฉาย • หัวหิน มันตรา รีสอร์ท • ลูน่าฮัท รีสอร์ท กระบี่ • Nakamanda Resort & Spa • Rawee Warin Resort & Spa • A little Handmade Shop ขอนแก่น • Hug School of Creative Arts • ร้านสืบสาน • ร้านกาแฟ คอฟฟี่ เด้อ หล่า (Coffee Der La)

เชียงราย • ร้านหนังสือ herebookafe • ร้าน Coffee Dad นครราชสีมา • Hug station resort นครปฐม • ร้าน Dipchoc Cafe นครสวรรค์ • ร้าน Bitter Sweet น่าน • ร้าน Runway Coffee • ร้านคลาสสิค โมเดล น่าน • ร้านกาแฟปากซอย • ร้าน Nan Coffee Bean ปาย/แม่ฮ่องสอน • ร้านคอฟฟี่อินเลิฟ • ร้าน all about coffee • ร้านปายหวานบ้านนมสด • ร้านเล็กเล็ก • ปายวิมานรีสอร์ท พังงา • Niramaya Villa and Willness Resort • Ranyatavi Resort Phang Nga • The Sarojin เพชรบุรี • Grand Pacific Sovereign • Resort & Spa • DevaSom Hua Hin Resort ภูเก็ต • ร้านหนัง(สือ) ๒๕๒๑ ภูเก็ต • The oddy Apartment & Hotel • At Panta Phuket • Banyan Tree Phuket • Le Meridien Phuket • Millienium Ressort Patong Phuket • Novotel Phuket Resort • Patong Paragon Resort & Spa Phuket • Sheraton grand Lagana Phuket • Sri wanwa Phuket Villa • Thanyapura ระยอง • Le Vimarn Cottage ลำ�ปาง • อาลัมภางค์ เกสท์เฮ้าส์ แอนด์ มอร์ ลำ�ปาง • ร้านเอกาลิเต้ Egalite Bookshop • Lampang Art Center เลย • บ้านชานเคียง • มาเลยเด้ เกสต์เฮาท์ ลพบุรี • ซนดิคอฟฟี่ สมุทรสงคราม/อัมพวา • Baan Amphawa Resort and Spa สุโขทัย • Ananda Co.,Ltd. สุราษฎร์ธานี • Muang Samui Spa Resort • Pavilion Samui Boutique Resort • The Sunset Beach Resort and Spa Taling ngam • Nora Beach Resort Samui หาดใหญ่/สงขลา • ร้าน NIQOLO อุทัยธานี • ร้านบุ๊คโทเปีย Booktopia • Avatar Miracles

หมดปญหาหยิบนิตยสารไมทัน สมัครสมาชิกรายป คาใชจายในการจัดสง 200 บาท (12 เลม) หรือสมัครออนไลนไดที่ tcdc.or.th/creative_thailand

ขอมูลผูสมัครสมาชิก สมาชิกใหม ชื่อ นามสกุล เพศ โทรศัพท

สมาชิกเกา (ตองการตออายุสมาชิก) หญิง อายุ

ชาย

อีเมล

โทรศัพทมือถือ

อาชีพ นักเรียน ครู/อาจารย

นิสิต/นักศึกษา พนักงานบริษัท

นักออกแบบ/ครีเอทีฟ ผูประกอบการ

อาชีพอิสระ อื่นๆ โปรดระบุ

ขาราชการ/รัฐวิสาหกิจ

สาขา/อุตสาหกรรมที่เกี่ยวของกับอาชีพของทาน โฆษณา สถาปตยกรรม แฟชั่น ศิลปะการแสดง ดนตรี ภาพยนตร โทรทัศน/วิทยุการกระจายเสียง

ทองเที่ยว/โรงแรม/สายการบิน วรรณกรรม/การพิมพ/สื่อสิ่งพิมพ พิพิธภัณฑ/หองแสดงงาน ซอฟตแวร/แอนิเมชัน/วิดีโอเกม

หัตถกรรม/งานฝมือ การเงิน/ธนาคาร ทัศนศิลป/การถายภาพ อื่นๆ โปรดระบุ

อาหาร การแพทย การออกแบบ

คาปลีก/คาสง โทรคมนาคม

ที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ จังหวัด

ซอย

ถนน รหัสไปรษณีย

หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง

อำเภอ/เขต

หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง

อำเภอ/เขต

ที่อยูในการออกใบเสร็จ เหมือนที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ ซอย จังหวัด

ถนน รหัสไปรษณีย

ตองการสมัครสมาชิกนิตยสาร Creative Thailand ระยะเวลา 1 ป จำนวน 12 เลม เริ่มตั้งแตฉบับเดือน โดยยินดีเสียคาใชจายในการจัดสงเปนจำนวนเงิน 200 บาท

วิธีการชำระเงิน เช็คสั่งจายศูนยสรางสรรคงานออกแบบ พรอมใบสมัครสมาชิก โอนเงินเขาบัญชีออมทรัพย ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ เลขที่บัญชี 101-808967-0 ธนาคารกรุงเทพ สาขาสำนักงานใหญสีลม • แฟกซใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่ 02-664-7670 • หรือสงไปรษณียมาที่ ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (Creative Thailand) 622 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอรชั้น 24 ถนนสุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 • หรือแนบไฟลใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่อีเมล creativethailand@tcdc.or.th CREATIVE THAILAND I 11 สอบถามขอมูลเพิ่มเติมไดที่ 02-664-7667 ตอ 122


fondenvoxhall.dk

Local Wisdom : ภูมิความคิด

เรื่อง: กมลกานต์ โกศลกาญจน์ “เรียบง่าย ใส่ความรูส้ กึ บันทึกเรือ่ ง เฟือ่ งอารมณ์” คือลักษณะเด่นของเพลงลูกทุง่ ไทย ที่กล่าวโดยศิลปินแห่งชาติอย่างเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ หลังจากเพลงพื้นบ้านได้รับ ความนิยมลดลง เพลงลูกทุ่งและเพลงลูกกรุงที่ถือเป็น “เพลงป๊อป” แห่งยุคสมัยในช่วง ปีพ.ศ. 2480 ก็ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องสวนทางขึ้นมา เสียงร้องแห่ง ท่วงทำ�นองที่มาพร้อมกับการเป็นตัวแทนของชนบท ภาพสังคมการเกษตรที่มีวิถีความ เป็นอยู่แบบเรียบง่าย ถูกนำ�เสนอผ่านเนื้อเพลงลูกทุ่งและเพลงหมอลำ� หนึ่งในความ บันเทิงที่อยู่คู่ประเทศไทยมายาวนาน และมีวิวัฒนาการมาจนถึงการยอมรับในเวทีโลก ในวันนี้ CREATIVE THAILAND I 12

คำ�ว่า “ลูกทุง่ ” ถูกใช้อย่างเป็นทางการ โดย จำ�นง รังสิกุล ผู้ร่วมก่อตั้งสถานี โทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม ช่องทีวีช่องแรกของไทย เพื่อใช้เป็น ชื่อรายการเพลงของสถานีในปีพ.ศ. 2507 ส่วนนักแต่งเพลงอัจฉริยะระดับ ตำ�นานอย่าง ไพบูลย์ บุตรขัน คือผู้ที่ ใช้คำ�ว่าลูกทุ่งในบทเพลงก่อนนักแต่ง เพลงคนอื่นๆ โดยเขาคือผู้แต่งเพลง ประกอบภาพยนตร์เรือ่ ง “มนต์รกั ลูกทุง่ ” ที่เนื้อหาของเพลงกล่าวถึงธรรมชาติ ของชนบท ความรักอันบริสทุ ธิข์ องคน หนุม่ สาวชาวลูกทุง่ ซึง่ ทำ�ให้ค�ำ นีก้ ลาย เป็นคำ�เรียกเพลงที่เนื้อหาสะท้อนถึง ความเป็นท้องถิ่นและเผยแพร่สู่กลุ่ม คนทุกชนชั้นนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา


จากเนือ้ เพลง “ดอกกระถินในกระท่อม” ของสุรพล สมบัตเิ จริญ เพลง “นักร้อง บ้านนอก” ของพุม่ พวง ดวงจันทร์ เพลง “ดอกหญ้าในป่าปูน” ของ ต่าย อรทัย มาจนถึง “ขอใจเธอแลกเบอร์โทร” ของหญิงลี ศรีจุมพล คำ�ร้องที่อยู่ใน บทเพลงเหล่านี้คือตัวแทนของสภาพ สังคมไทยทีเ่ ปลีย่ นแปลงไปตามยุคสมัย จากการพรรณนาถึงความอุดมสมบูรณ์ ของชนบท สู่การพัฒนาอุตสาหกรรม ที่ทำ�ให้ชาวชนบทหรือ “สาวอีสาน” เข้ามาทำ�งานเป็น “สาวโรงงาน” ใน เมืองใหญ่ ไปจนถึงการผสมผสานวิถี ชีวิตสมัยใหม่เข้ากับความเป็นอยู่ที่ เปลีย่ นไปในยุคแห่งการสือ่ สาร คำ�ร้อง ในเนื้อเพลงลูกทุ่งจึงเป็นการจำ�ลอง สถานะและสภาพความเป็นอยูข่ องคน ต่างจังหวัดทีเ่ ข้าอกเข้าใจ พร้อมแสดง ถึงความรู้สึกร่วมในใจของผู้ฟังได้เป็น อย่างดี

หนึ่ ง ในสี สั น ของการแสดงเพลง ลูกทุ่งอย่าง “หางเครื่อง” จากเดิม ตามความหมายเมื่อ 60 ปีก่อน คือ เครือ่ งดนตรีพวกฉิง่ ฉาบ กรับ กลองที่ บรรเลงอยูห่ ลังวงดนตรี ซึง่ เรียกกันว่า “เขย่าเครือ่ งเสียง” หรือ “เขย่าหางเครือ่ ง” จนในช่วงปีพ.ศ. 2511 ทีว่ งดนตรีเพลง ลูกทุง่ เริม่ จัดผูเ้ ต้นระบำ�ฮาวายประกอบ เพลงโดยมีลีลาการเต้นพัฒนามาจาก การเต้นระบำ�แคนแคนทีฟ่ อลีแบร์แฌร์ (Folies Bergère) ไนต์คลับขึ้นชื่อใน ช่วงคริสต์ทศวรรษ 1890 ถึง 1920 ใน กรุงปารีส จากคนเขย่าหางเครื่อง จึง กลายเป็นกลุ่มนักเต้นประกอบเพลงที่ มี ลี ล าการเต้ น พั ฒ นาไปอย่ า งเต็ ม รูปแบบในวันนี้

จากเรื่ อ งราวของเด็ ก ต่ า งจั ง หวั ด ที่ ต้องการคว้าโอกาสในการเป็นนักร้อง ลูกทุ่งในเมืองใหญ่อย่างยากเย็น เพื่อ ตามรอยต้นแบบราชาเพลงลูกทุง่ อย่าง สุรพล สมบัติเจริญ มาจนถึงยุคที่มี รายการประกวดร้องเพลงลูกทุ่งที่เป็น เวทีของนักร้องหน้าใหม่ในปัจจุบันให้ ได้แสดงความสามารถกันมากมาย ทัง้ มาสเตอร์คยี ์ เวทีแจ้งเกิด, ชิงช้าสวรรค์, ชุมทางเสียงทอง, กิก๊ ดู...๋ สงครามเพลง เงินล้าน หรือลูกทุง่ เงินล้านนัน้ นับเป็น ปรากฏการณ์แห่งความเปลี่ยนแปลง ในอุตสาหกรรมการผลิตนักร้องลูกทุ่ง หน้าใหม่จ�ำ นวนมากให้ได้เข้ามาอยูใ่ น วงการเพลง

The Sound of Siam (SOS) คือหนึ่ง ในวงดนตรีที่หยิบเอาเสน่ห์ของเพลง ไทยในช่วงยุค 60s และ 70s มาขับร้อง และบรรเลงใหม่อีกครั้ง ให้ได้ออกมา เป็นบทเพลงสไตล์แจ๊สทีม่ กี ลิน่ อายทัง้ ความเป็นไทยและสากล บทเพลงจาก SOS นับเป็นการบันทึกช่วงเวลาแห่ง การเปลีย่ นผ่านของศตวรรษที่ 20 จาก ความนิยมในเพลงไทยเดิม สู่เพลง ลูกทุ่ง หมอลำ� ตลอดจนการอัญเชิญ เพลงพระราชนิพนธ์มาบรรเลงใหม่ ผ่ า นเครื่ อ งดนตรี ไ ทยและสากล เพื่ อ สร้ า งสรรค์ ค วามไพเราะจนได้ รับเลือกไปแสดงในเทศกาลดนตรีใน ต่างประเทศมากมาย ทัง้ ในแถบเอเชีย ยุโรป และอเมริกา

หมอลำ�อินเตอร์ คือคำ�นิยามของวง ดนตรีอย่าง The Paradise Bangkok Molam International Band ที่พิสูจน์ ความสำ � เร็ จ ในระดั บ โลกด้ ว ยเสี ย ง พิณจากมือพิณชั้นครูอย่าง “คำ�เม้า เปิดถนน” เสียงแคนจากหมอแคนวัย 72 ปีอย่าง “ไสว แก้วสมบัติ” มือเบส วงอินดี้อย่าง “ปิย์นาท โชติกเสถียร” มื อ กลองรุ่ น ใหม่ ที่ ค ลั่ ง ไคล้ ด นตรี เร็กเก้อย่าง “ภูษณะ ตรีบุรุษ” และ “คริส เมนิสต์” มือเพอร์คัสชั่นขั้นเทพ จากเกาะอังกฤษ

จังหวะคึกคักชวนเต้นในเพลงหมอลำ� ที่ผสมผสานผ่านตัวโน้ตหลากหลาย เข้ า กั บ ดนตรี ส มั ย ใหม่ กลายเป็ น ท่วงทำ�นองที่ถูกใจผู้ฟังต่างชาติและ ทำ � ให้ ว งดนตรี สำ � เนี ย งอี ส านนี้ ไ ด้ รั บ เชิ ญ ให้ ไ ปเล่ น ในเทศกาลดนตรี ระดับโลกอย่าง Clandestino Botnik Festival สวี เ ดน, Wassermusik Festival เบอร์ลนิ และ Zomerparkfeest เนเธอร์แลนด์ รวมถึงได้เดินสายทัวร์ ทั่วยุโรปมากกว่า 30 เมืองเป็นเวลา กว่ า 2 ปี ทั้ ง ยั ง ได้ ไ ปเล่ น เป็ น วง เปิดให้กับเดม่อน อัลบาร์น (Damon Albarn) นักร้องนำ�วง Blur ในทัวร์ คอนเสิร์ตที่เยอรมัน พร้อมกับได้รับ เลือกให้เป็น Album of The Week โดย จาลส์ ปีเตอร์สนั (Giles Peterson) นักจัดรายการเพลงชื่อดังและผู้ทรง อิ ท ธิ พ ลแห่ ง ดนตรี ยุ โ รป...ทุ ก วั น นี้ Paradise Bangkok ยังคงเดินหน้า นำ � สำ � เนี ย งเสี ย งหมอลำ � ไทยไป เผยแพร่ แ ละปั ก ธงให้ เ ป็ น ที่ รู้ จั ก ต่ อ ไปในเวทีโลก

ทีม่ า: หนังสือ “วรรณกรรมเพลงลูกทุง่ ” เขียนโดย จินตนา ดำ�รงค์เลิศ / บทความ “ทำ�ไมเรียกพวกหล่อนว่าหางเครือ่ ง” จากนิตยสารสารคดี / วิทยานิพนธ์ “อัตลักษณ์เลขนศิลป์ลกู ทุง่ ไทย” โดยกาญจนา สิงหอุดม มหาวิทยาลัยศิลปากร / บทความ “Mor Lam and Luk Thung: A guide to Bangkok’s Thai folk music scene” จาก cnn.com / zudrangmarecords.com CREATIVE THAILAND I 13


Cover Story : เรื่องจากปก

ดนตรีอยูค่ กู่ บั วิถชี วี ติ ของมนุษย์มาแต่ โบราณ และวิ วั ฒ นาการมาอย่ า ง ต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นตัวเครื่องดนตรี รูปแบบและมาตรฐานการเล่นดนตรี วิธีการเผยแพร่ หรือแม้แต่การทำ�เป็น อาชีพ แล้วก็คงจะมีอยูต่ อ่ ไปถึงอนาคต อันไกลโพ้น ทว่าในปัจจุบัน กลับมีการ พูดถึงการเสื่อมถอยและล่มสลายของ อุตสาหกรรมดนตรีที่เกิดเนื่องมาจาก เทคโนโลยี อย่างเช่นการระบาดของ เอ็มพีสามและเว็บไซต์เพลงผิดลิขสิทธิ์ ที่ ทำ � ให้ ผู้ ค นเคยชิ น กั บ การฟั ง เพลง ฟรีๆ จนกระทั่งคิดว่าดนตรีควรจะเป็น ของฟรี และไม่ยอมเสียเงินเพือ่ ซือ้ เสียง ดนตรี

เรื่อง: ปิยะพงษ์ หมื่นประเสริฐดี

CREATIVE THAILAND I 14


flickr.com/Photos/Martin Fisch

flickr.com/Photos/Tony Felgueiras

flickr.com/Photos/Martin Fisch

แต่เทคโนโลยีใหม่ๆ โดยเฉพาะเทคโนโลยีการ สื่ อ สารและเผยแพร่ ผ ลงานเพลง กลั บ ทำ � ให้ การเจริญเติบโตของเสียงเพลงเป็นไปได้อย่าง ไร้ขดี จำ�กัด เพราะศิลปินและแฟนเพลงไม่จ�ำ เป็น ต้องพึ่งพาช่องทางที่ถูกควบคุมโดยค่ายเพลง ยักษ์ใหญ่ตา่ งๆ อีกต่อไป ซึง่ นับเป็นการปลดแอก ศิลปินให้ได้สร้างสรรค์และเผยแพร่ผลงานกันได้ อย่างอิสระ และทำ�ให้ศลิ ปินกับแฟนเพลงใกล้ชดิ กันอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน สำ�หรับประเทศไทย ความเจริญก้าวหน้า ของเทคโนโลยีได้ช่วยทำ�ให้วงการดนตรีอิสระ หรือ “อินดี้” ของไทยเจริญเติบโตขึ้นอย่างมาก มีทั้งจำ�นวนศิลปินและงานแสดงดนตรีที่มากขึ้น จนเริ่มได้รับความสนใจจากต่างประเทศ ซึ่งหาก สามารถส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมดนตรี อินดี้ โดยผนวกเข้ากับการท่องเทีย่ วทีเ่ ป็นหนึง่ ใน อุตสาหกรรมหลักของประเทศ เพื่อทำ�ให้เกิด “อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงดนตรี (Music Tourism)” ดนตรีของไทยจะสามารถกลายเป็น แหล่งรายได้สำ�คัญของประเทศได้เหมือนกับ ประเทศอย่างเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น อังกฤษ หรือ สหรัฐอเมริกา

สูงสุดคืนสู่สามัญ: ดนตรีสด ทดแทนไม่ได้ดว้ ยดิจทิ ลั ดนตรีคือสิ่งที่มีมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ และมีอยู่คู่กับทุกวัฒนธรรมของมนุษย์บนโลก เครื่องดนตรีเก่าแก่ที่สุดที่นักโบราณคดีค้นพบ เป็นขลุ่ยที่มีอายุราว 42,000 ถึง 43,000 ปี และ เนื่องจากทุกอารยธรรมมีดนตรี จึงอาจเชื่อได้ว่า ดนตรีเป็นสิ่งที่มนุษย์นำ�ติดตัวไปด้วยก่อนที่จะ เริ่ ม ย้ า ยถิ่ น ฐานออกจากทวี ป แอฟริ ก าเมื่ อ ประมาณ 55,000 ปีที่แล้ว และอาจเก่าแก่ถึง 2.5 ล้านปีในยุคมนุษย์โบราณโฮมินิดส์ (Hominids) ซึง่ มีการนำ�หินมาทุบรากไม้และเมล็ดเปลือกแข็ง เพือ่ นำ�มาเป็นอาหาร จนนักโบราณคดีคาดว่าอาจ เป็นจุดกำ�เนิดดนตรีแบบเคาะจังหวะ เทอร์รี เอลลิส (Terry Ellis) หนึ่งในผู้ก่อตั้ง ค่ายเพลง Chrysalis Records ทีเ่ คยมีศลิ ปินชือ่ ดัง ระดับโลกในสังกัดมากมาย ได้กล่าวสุนทรพจน์ ในงาน Music Matters 2015 ที่สิงคโปร์ ว่าก่อน ที่จะมีสิ่งบันทึกเสียง ตั้งแต่ยุคโบราณ ดนตรีนั้น เป็นการเล่นสดมาโดยตลอด และช่วงที่เขาเริ่ม ทำ�งานในวงการดนตรีในปลายยุค 1960 ศิลปิน ยังไม่มีรายได้จากการขายสิ่งบันทึกเสียง เพราะ แผ่นเสียงยังไม่เป็นที่นิยม และถูกใช้ในเชิงการ ตลาดมากกว่า โดยค่ายเพลงจะแจกจ่ายแผ่นเสียง ไปยังสถานีวทิ ยุตา่ งๆ เพือ่ ให้เปิดเพลง และชักชวน ให้ผู้คนไปชมคอนเสิร์ตของศิลปินเหล่านั้น

CREATIVE THAILAND I 15

แต่หลังจากนั้นไม่นาน ก็เริ่มมีการขายสิ่งบันทึก เสียง เช่น แผ่นเสียงไวนิล เทปคาสเซ็ต และซีดี มากขึน้ จนกลายเป็นธุรกิจทีม่ รี ายได้สงู ถึง 15,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี (ค.ศ. 1998) ทำ�ให้เหล่า ค่ายเพลงมีทง้ั เงินและอำ�นาจในการกำ�หนดทิศทาง ของอุตสาหกรรมดนตรีเกือบทั้งหมด จนคำ�ว่า ธุรกิจสิ่งบันทึกเสียง (Recording Business) ถูก เรียกทับศัพท์ให้มีความหมายครอบคลุมธุรกิจ ดนตรี (Music Business) ทั้งหมด แต่แล้วการเข้า มาของอินเทอร์เน็ต เอ็มพีสาม และเว็บไซต์แชร์ ไฟล์เพลง ก็สง่ ผลให้ยอดขายสิง่ บันทึกเสียงตกลง อย่างฮวบฮาบนับตั้งแต่ ค.ศ. 1999 เป็นต้นมา ทำ�ให้บรรดาค่ายเพลงโวยวายเรียกร้องเงินและ อำ�นาจที่ตนเคยมีกลับคืน ทว่าเอลลิสกลับมองว่าการที่สิ่งบันทึกเสียง กลายเป็นของฟรี เป็นการนำ�เรากลับสู่รากฐาน ที่แท้จริงของดนตรี เหมือนสมัยที่เขาเพิ่งเริ่มทำ� งานใหม่ๆ เท่านั้นเอง ซึ่งก็คือการแสดงสด และ มองว่าเทคโนโลยีใหม่ๆ จะช่วยทำ�ให้ศิลปิน ปลดแอกจากการต้องพึ่งพาระบบที่ค่ายเพลงได้ สร้างไว้ ให้สามารถทำ�งานได้อย่างอิสระ และเข้า ถึงแฟนเพลงของตัวเองได้โดยตรงไม่วา่ จะอยูท่ ใี่ ด บนโลก แต่กต็ อ้ งมีการปรับตัวและคิดค้นวิธกี ารใหม่ๆ ในการหารายได้ และท้ายทีส่ ดุ แม้เทคโนโลยีดจิ ทิ ลั ได้ทำ�ให้ไฟล์เพลงกลายเป็นของฟรีไปเสียแล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถทดแทนประสบการณ์การชม ดนตรีสดได้ ซึง่ เป็นแหล่งรายได้ส�ำ คัญอีกทางหนึง่ ของนักดนตรี


flickr.com/Photos/ Thomas Hawk

การปฏิวัติมักหมายถึงการลุกฮือขึ้นของกลุ่มคน ที่ อ ยู่ ภ ายใต้ ร ะบอบหรื อ ระบบทางการเมื อ ง การปกครอง (Political) หรือเศรษฐกิจสังคม (Socioeconomics) หนึ่งๆ เพื่อให้เกิดความ เปลี่ ย นแปลงที่ ยุ ติ ธ รรมต่ อ กลุ่ ม ของตนเอง มากขึ้น ซึ่งบางครั้งอาจมีการใช้ความรุนแรงเพื่อ เปลี่ยนแปลง เช่น การปฏิวัติฝรั่งเศส หรือใช้ องค์ความรู้ใหม่ๆ ในการเปลี่ยนแปลง เช่น การ ปฏิวัติอุตสาหกรรม ก็ได้ ในอุตสาหกรรมดนตรี ผู้ที่มีอำ�นาจในการ กำ�หนดทิศทางของอุตสาหกรรมคือเหล่าค่าย เพลงยักษ์ใหญ่ อาทิ Sony Music Entertainment, Universal Music Group และ Warner Music Group จนเรี ย กได้ ว่ าอุ ต สาหกรรมดนตรี อ ยู่ ภายใต้ “ระบอบค่ายเพลง” แต่เทคโนโลยีทางดนตรี ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือในการผลิตหรือเผยแพร่ ผลงานดนตรี เปรียบเสมือนอาวุธที่ศิลปินและ แฟนเพลงจะสามารถใช้ในการลดทอนอำ�นาจของ ค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ต่างๆ ให้เหลือน้อยลง สร้าง อิสรภาพแก่ตนเองมากขึน้ และปฏิวตั อิ ตุ สาหกรรม ดนตรีได้ ในปี ค.ศ. 1999 การปฏิวัติอุตสาหกรรม ดนตรี ด้ ว ยเทคโนโลยี ร ะลอกแรกเกิ ด ขึ้ น จาก แฟนเพลง มีการระบาดของเอ็มพีสาม และเว็บไซต์ ดาวน์โหลดเพลงผิดลิขสิทธิ์ ทำ�ให้คา่ ยเพลงสูญเสีย รายได้ไปอย่างมหาศาล ส่วนระลอกทีส่ องเกิดจาก โซเชียลมีเดียและช่องทางในการเผยแพร่เพลง

spotify.com

การปฏิวัติอุตสาหกรรมดนตรี เกิดขึน้ ได้ดว้ ยเทคโนโลยี

ออนไลน์ที่หลากหลายมากขึ้น ซึ่งอาจเริ่มนับได้ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2003 ที่ Myspace กำ�เนิดขึ้น ซึ่ง ทำ�ให้ศิลปินไม่ต้องพึ่งพาช่องทางการเผยแพร่ และการขายที่ถูกควบคุมโดยระบอบค่ายเพลง และทำ�ให้ศิลปินกับแฟนเพลงใกล้ชิดกันมากขึ้น สตีฟ อัลบินี (Steve Albini) โปรดิวเซอร์ อัลบั้มเต็มสุดท้ายของวงเนอร์วานา (Nirvana) ได้กล่าวสุนทรพจน์ในงาน Face The Music 2014 ที่ประเทศออสเตรเลียว่า “ในยุค 70 ถึง 80 วงดนตรีสว่ นใหญ่ลม้ หายตายจากไปโดยทีย่ งั ไม่ได้ อัดเพลงสักเพลงเลยด้วยซํ้า เพราะเข้าไปไม่ถึง ระบบทีค่ า่ ยเพลงควบคุมอยู่ แต่เทคโนโลยีได้เปิด พื้นที่และช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง ศิลปินและแฟนเพลงโดยตรง ทำ�ให้วงดนตรีมี โอกาสเผยแพร่เสียงเพลงของเขาไปได้ทั่วโลก” แนวความคิดของอัลบินีนั้นเริ่มมีตัวอย่างให้เห็น มากขึ้นในเมืองไทย คือมีศิลปินอินดี้ไม่น้อยที่ทำ� เพลงเอง อัดเสียงเอง ใช้สื่อโซเชียลมีเดียในการ ติดต่อสื่อสาร รวมถึงขายสินค้าให้กับแฟนเพลง โดยตรง ใช้สอื่ สตรีมมิงในการแพร่กระจายผลงาน และจัดงานแสดงดนตรีกันเอง โดยไม่ต้องมีค่าย เพลงมาคอยจัดการให้ ค่ายเพลงมีแผนก ฝ่าย และส่วนต่างๆ มากมาย ไม่วา่ จะเป็นฝ่ายการตลาด ประชาสัมพันธ์ การจัดจำ�หน่าย การขาย หรือการจัดการศิลปิน ฯลฯ ทำ�ให้มคี า่ ใช้จา่ ยในการดำ�เนินงานค่อนข้าง สูง แต่ปัจจุบันเริ่มมีเครื่องมือออนไลน์ทางดนตรี ที่ทดแทนบทบาทหน้าที่ต่างๆ ของค่ายเพลงได้ มากขึน้ เรือ่ ยๆ ทัง้ ยังใช้งานง่ายจนศิลปินสามารถ ทำ�เองได้ ส่งผลให้การผลิตงานดนตรีมรี าคาถูกลง CREATIVE THAILAND I 16

และสะดวกขึ้น เช่น การใช้เฟซบุ๊กทดแทนงาน ด้านการตลาดและประชาสัมพันธ์ ยูทูปทดแทน สื่ อ โทรทั ศ น์ ในขณะที่ มิ ว สิ ก สตรี ม มิ ง อย่ า ง Spotify, Deezer, LINE Music หรือ JOOX เข้ามาแทนที่สื่อวิทยุ และผู้ให้บริการการจัด จำ�หน่ายทางตลาดดิจิทัลอย่าง CD Baby มา ทดแทนระบบการจัดจำ�หน่ายแบบเดิม กระทั่ง หน้าร้านออนไลน์อย่าง Bandcamp กับบทบาท ร้านขายซีดีในวันนี้ ส่วนการระดมทุนมวลชน (Crowdfunding) ก็ท�ำ หน้าทีแ่ ทนระบบการลงทุน ผลิตเพลงโดยค่ายเพลง ด้วยการระดมเงินทุนใน การผลิตเพลงจากแฟนเพลงโดยตรง เป็นต้น การตัดตัวกลางอย่างค่ายเพลงออกเช่นนี้ จึง เท่ากับเป็นการลดความสิ้นเปลือง และสามารถ ปันรายได้ไปสู่ศิลปินได้มากขึ้น บุคคลทีส่ �ำ คัญทีส่ ดุ ในอุตสาหกรรมดนตรีนน้ั จริงๆ แล้วมีเพียงแค่ “ศิลปิน” กับ “แฟนเพลง” เท่านั้น ส่วนบุคคลที่เหลือเป็นเพียงผู้สนับสนุน หรือกีดกันพวกเขา ที่ผ่านมาอุตสาหกรรมดนตรี ถูกครอบครองและครอบงำ�โดยบริษัทค่ายเพลง ยั ก ษ์ ใ หญ่ เ พี ย งไม่ กี่ เ จ้ า ที่ ค วบคุ ม ช่ อ งทางการ เผยแพร่และการขายผลงานดนตรี แต่ตอนนี้เรา มีเครื่องมือต่างๆ ที่จะสามารถล้มล้างระบอบ ค่ายเพลงได้แล้ว ซึง่ การปฏิวตั อิ ตุ สาหกรรมดนตรี หากกระทำ�โดยคำ�นึงถึงความเป็นธรรม และมี ความเคารพซึ่งกันและกัน จะเป็นการปฏิวัติที่ ศิลปินและแฟนเพลง รวมถึงผูท้ เี่ กีย่ วข้องคนอืน่ ๆ ได้รับประโยชน์สูงสุด และเกิดความยั่งยืนอย่าง แท้จริง


1990: ยุคใต้ดิน + อัลเทอร์เนทีฟ จากความเบื่อหน่ายเพลงในกระแสหลักของไทย ในยุคก่อน ทำ�ให้ผฟู้ งั บางส่วนค้นหาเพลงแปลกๆ ใหม่ๆ ฟังมากขึ้น ซึ่งในช่วงทศวรรษนี้ กระแส ดนตรีอลั เทอร์เนทีฟจากอเมริกาและอังกฤษกำ�ลัง มาแรง มีคลื่นวิทยุอย่าง FM.89 Pirate Rock ที่ เปิดเพลงนอกกระแสแทบทุกแนวเพลง และมี ค่ายเพลงอย่างเบเกอรี่ มิวสิค กำ�เนิดและโด่งดัง ขึ้นมา นอกจากนี้วงดนตรีใต้ดินสายเมทัลก็เกิด ขึ้นมากมายเช่นกัน แต่แล้วยุคนี้ก็ซบเซาลงตาม สภาพเศรษฐกิจจากวิกฤตต้มยำ�กุ้งในปี 2540 (ค.ศ.1997) 2000: ยุคอินดี้ ช่วงทศวรรษนี้เป็นยุคที่คำ�ว่า ‘อินดี้’ ถูกนำ�มาใช้ อย่างแพร่หลาย ถึงแม้คำ�ว่าอินดี้ หรือ Indie เดิม นั้นจะหมายถึงแนวการทำ�งานที่เป็นอิสระ แต่ใน เวลาต่อมาก็ถกู นำ�มาให้ความหมายถึงแนวเพลง อีกด้วย ยุคนีเ้ ป็นยุคทีเ่ ทคโนโลยีใหม่ๆ ช่วยทำ�ให้ อุปกรณ์และโปรแกรมซอฟต์แวร์ท�ำ เพลงเองราคา ถูกลง ทำ�ให้มีกลุ่มคนที่ทำ�เพลงเองเกิดขึ้นหลาย กลุ่ม และมีช่องทางในการเผยแพร่ด้วยตัวเอง

smallroom.co.th i.ytimg.com

1980: ยุคเพลงสตริง เพลงสตริง หรือ “ไทยป๊อป” มีพน้ื ฐานมาจากเพลง ป๊ อ ปฝั่ ง ตะวั น ตกที่ ไ ด้ ถู ก นำ � เข้ า มาโดยทหาร อเมริกันในช่วงสงครามเวียดนาม จนได้พัฒนา และกลายเป็นที่นิยมของนักฟังเพลงชาวไทย ซึ่ง มีค่ายเพลงอย่างอาร์เอสและแกรมมี่ รวมถึงสื่อ หลักอย่างวิทยุและโทรทัศน์ ที่มีส่วนช่วยในการ ผลักดันอย่างมาก มีศิลปินเกิดใหม่มากมาย ทั้ง ทีม่ คี ณุ ภาพและทีข่ ายหน้าตาเป็นหลัก จนกระทัง่ ถึงจุดทีเ่ ริม่ ล้นตลาดและจำ�เจ ทำ�ให้ผฟู้ งั ส่วนหนึง่ รู้สึกเบื่อหน่าย และเริ่มแสวงหาเพลงแบบใหม่ๆ

thaigramophone.com

หากลองวิเคราะห์ดู เราอาจแยกยุคสมัยของ อุตสาหกรรมดนตรีไทยสมัยใหม่ออกเป็น 4 ยุค ยุคละประมาณ 10 ปี นับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980 เป็นต้นมา ดังนี้

flickr.com/Photos/Markus Thorsen

วัฏจักรความรุ่งเรือง-ถดถอย และการก้าวเข้าสูย่ คุ ใหม่ ของอุตสาหกรรมดนตรีไทย

หลายช่องทาง อย่างเช่น Coolvoice.com, ประตู.com (Pratoo.com) และ Myspace.com ทั้งยังมีคลื่นวิทยุที่เปิดเพลงนอกกระแสอย่าง Fat Radio เกิดขึ้น ซึ่งส่งผลให้เกิดค่ายเพลง อิสระเล็กๆ หลายค่าย ไม่วา่ จะเป็น Smallroom, Believe Records หรือ Spicy Disc แถมยังมีการ รวมกลุ่ ม กั น จั ด คอนเสิ ร์ ต รวมวงนอกกระแส อย่างงาน โคตรอินดี้ และ Indy In Town อีกด้วย แต่แล้วก็ดูเหมือนว่าปัญหาการเมืองต่างๆ ไม่ว่า จะเป็ น เรื่ อ งการปฏิ วั ติ รั ฐ ประหาร หรื อ การ ประท้วงทางการเมืองที่ยืดเยื้อ จะส่งผลกระทบ ต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ทำ�ให้ทุนการ สนับสนุนจากแบรนด์ต่างๆ ที่นำ�มาใช้ในการจัด งานดนตรีลดลง และสถานการณ์ความไม่สงบ ทางการเมืองยังทำ�ให้การจัดงานเป็นไปอย่างยาก ลำ�บาก 2010: ยุคโซเชียลมีเดีย + DIY ยุคนี้โซเชียลมีเดียมีผลต่อการเจริญเติบโตของ วงการดนตรีเป็นอย่างมาก มีศิลปินที่โด่งดังขึ้น มาจากการเล่ น เพลงคั ฟ เวอร์ ขึ้ น ยู ทู ป ไม่ น้ อ ย แถมยั ง มี ร ายการประกวดร้ อ งเพลงอย่ า ง The Voice ที่มีส่วนช่วยในการผลักดันศิลปิน ใหม่ๆ อีกด้วย นอกจากสื่อโซเชียลมีเดียอย่าง CREATIVE THAILAND I 17

เฟซบุก๊ และยูทปู แล้ว ยังมีเครือ่ งมือเผยแพร่และ บริโภคดนตรีออนไลน์ให้คนทำ�เพลงและคนฟัง เพลงได้เลือกใช้มากมาย ไม่ว่าจะเป็น iTunes, Bandcamp, Deezer, KKBOX หรื อ ฟังใจ (Fungjai.com) นอกจากนี้ โซเชียลมีเดีย ยั ง ช่ ว ยให้ ก ารสื่ อ สารเป็ น ไปได้ อ ย่ า งสะดวก รวดเร็วและตรงกลุ่มเป้าหมาย ทำ�ให้มีการรวม กลุ่มกันจัดงานอีเวนต์ดนตรี รวมถึงโปรโมเตอร์ อิ ส ระที่ จั ด คอนเสิ ร์ต หรื อ เทศกาลดนตรีอ ย่า ง มากมายโดยไม่ตอ้ งรอให้มเี จ้าใหญ่ๆ เป็นเจ้าภาพ ในการจัด เช่น ค่ายเพลง Panda Records ใน กรุงเทพฯ จัดงาน Noise Market และค่าย 3rd World Music จากนครราชสีมาจัดเทศกาลดนตรี Grass Tone Sound Music Festival จนเรียกได้ ว่าเป็นยุคของการทำ�อะไรด้วยตัวเอง (DIY = Do It Yourself) โดยใช้โซเชียลมีเดียเป็นเครือ่ งมือหลัก ในการเผยแพร่ผลงานเพลงและสื่อสารข้อมูล ต่างๆ ไปถึงแฟนเพลง ขณะนี้พวกเรากำ�ลังอยู่ในยุคที่ 4 ซึ่งยัง สามารถมีการเจริญเติบโตไปได้อีกหากมีการ สนับสนุนและต่อยอดทีถ่ กู ทาง มิเช่นนัน้ ก็อาจจะ ตกตํา่ ลงอีกจนต้องรอยุคถัดไป ซึง่ ก็ไม่รวู้ า่ จะเป็น เช่นไร


การท่องเทีย่ วเชิงดนตรี (Music Tourism): แหล่งรายได้ใหม่ ของอุตสาหกรรมดนตรีไทย ปัจจุบนั มีการจัดเทศกาลดนตรีทว่ั โลกมากมาย เช่น Glastonbury ที่อังกฤษ, Coachella ที่อเมริกา และ Baybeats ทีส่ งิ คโปร์ ทีด่ งึ ดูดนักท่องเทีย่ วให้ เดินทางไปร่วมงาน อีกทัง้ ยังมีเมืองทีม่ ซี นี ดนตรีสด คึกคัก ทีเ่ รียกว่า “เมืองดนตรี (Music City)” อย่าง

CREATIVE THAILAND I 18

เมืองออสตินและแนชวิลล์ในสหรัฐอเมริกา หรือ เมืองเมลเบิรน์ ในออสเตรเลีย ที่ดงึ ดูดนักท่องเทีย่ ว ให้ไปท่องเที่ยวชมดนตรีสดกันตลอดทั้งปี ทำ�ให้ การท่องเที่ยวเชิงดนตรี (Music Tourism) เป็น ธุรกิจทีส่ ร้างรายได้ให้กบั ประเทศข้างต้นมากมาย จนเริ่มมีการผลักดันให้รัฐบาลบรรจุนโยบายการ พัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงดนตรีไว้ใน แผนการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ สำ�หรับประเทศไทย ก็มกี ารจัดงานเทศกาล ดนตรีขนาดใหญ่ทนี่ อกจากจะดึงดูดชาวไทยแล้ว ยังมีชาวต่างชาติเดินทางมาร่วมงานอีกด้วย เช่น Wonderfruit Festival, Big Mountain Music Festival, Cat Expo รวมไปถึงงานทีเ่ ป็นแฟรนไชส์ จากต่างประเทศอย่าง Arcadia Spectacular ซึง่ ทำ � ให้ ส ามารถเล็ ง เห็ น ถึ ง ความเป็ น ไปได้ที่จ ะ พัฒนาประเทศไทยให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยว เชิงดนตรีระดับโลกได้ เนื่องจากซีนดนตรีอินดี้ไทยมีความคึกคัก มีการจัดงานแสดงดนตรีขนาดเล็กเป็นประจำ�อยูแ่ ล้ว หากได้รับการพัฒนาและการประชาสัมพันธ์ที่ดี จะสามารถกลายเป็ น อี ก หนึ่ ง จุ ด เด่ น ที่ ทำ � ให้ นักท่องเทีย่ วอยากมาท่องเทีย่ วประเทศไทยมากขึน้ ดังเช่นที่เกิดขึ้นที่เมืองออสตินและแนชวิลล์ใน สหรัฐอเมริกา และเมลเบิร์นในออสเตรเลีย การ สร้างกิจกรรมทางดนตรีให้นกั ท่องเทีย่ วทีเ่ ดินทาง อยูใ่ นประเทศไทยอยูแ่ ล้วได้มกี จิ กรรมทำ�มากขึน้ และจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น นอกจากจะช่วยสร้าง รายได้ให้กับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศ แล้ว ยังสร้างรายได้ให้กบั บุคลากรในวงการดนตรี มากขึ้นอีกด้วย

thump-images.vice.com

เทคโนโลยีการสื่อสารและเผยแพร่ผลงานเพลง ทางอินเทอร์เน็ต เป็นกุญแจดอกสำ�คัญที่ส่งเสริม ให้วงการดนตรีอนิ ดีข้ องประเทศไทยเจริญเติบโต ขึน้ อย่างรวดเร็ว ซึง่ นอกจากกรุงเทพฯ แล้ว มีการเกิด และเติบโตของชุมชนคนทำ�เพลงและแฟนเพลง ในหลายๆ จังหวัดทั่วประเทศ เช่น เชียงใหม่ ขอนแก่น นครราชสีมา มหาสารคาม สงขลา ฯลฯ มีการจัดงานแสดงดนตรีในท้องถิ่นเป็น ประจำ� จากนั้นเริ่มมีการเดินทางไปแสดงข้าม จังหวัด และข้ามประเทศกันอีกด้วย เช่น กลุ่ม นักดนตรีเชียงใหม่ No Signal Input และค่าย เพลง Summer Disc เดินทางไปแสดงที่กรุงเทพฯ และภาคอีสาน, Stoondio และ Yellow Fang ไป ทัวร์การแสดงที่ญี่ปุ่น, และ Inspirative ไปทัวร์ การแสดงใน 8 เมืองใหญ่ของประเทศจีน

จากการทีเ่ คยพบปะกับสมาชิกชุมชนดนตรี อินดี้ของประเทศสิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ทำ�ให้รู้ว่าพวกเขารับฟังเพลงและ ติ ด ตามข่ า วสารเรื่ อ งวงการดนตรี อิ น ดี้ ข อง ประเทศไทยอยูพ่ อสมควร ซึง่ นอกจากจะมีความ สนใจที่จะเชิญศิลปินอินดีไ้ ทยไปแสดงที่บา้ นเขาแล้ว พวกเขายังต้องการพาศิลปินอินดี้ของประเทศ ตัวเองมาแสดงในประเทศไทยอีกด้วย ซึง่ ก็มมี าแล้ว เช่น วง Bottlesmoker จากอินโดนีเซีย, We Are Imaginary จากฟิลิปปินส์ และ Dirgahayu จาก มาเลเซีย ยังไม่นบั รวมถึงศิลปินอินดีจ้ ากฝัง่ ตะวันตก ที่แวะเวียนมาแสดงในเมืองไทยอยู่เป็นประจำ� เช่น Last Dinosaurs จากออสเตรเลีย และ Battles จากอเมริกา จากที่กล่าวมาข้างต้น ทำ�ให้เห็นโอกาสใน การส่งออกศิลปินไทยไปสู่ต่างประเทศ และการ สร้างประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการแสดงดนตรี สดของศิลปินอินดี้ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้

unseen-travel.com

วงการดนตรีอนิ ดีไ้ ทย: สถานการณ์ปจั จุบนั และการส่งออกสูต่ า่ งประเทศ


flickr.com/Photos/Kristina

i.ytimg.com awol.com.au

เทคโนโลยี ไ ด้ นำ � พาความเปลี่ ย นแปลงมาสู่ อุตสาหกรรมดนตรีอย่างมหาศาล ไม่วา่ จะเป็นการ สร้างรากฐานการบริโภคเสียงเพลงแบบฟรีๆ ที่ ทำ�ให้ศิลปินขาดรายได้ หรือการให้อิสรภาพกับ ศิลปินในการเผยแพร่เพลงไปได้ทั่วโลก การที่ ศิลปินกับแฟนเพลงได้ใกล้ชิดกันมากขึ้นผ่าน ช่องทางการติดต่อสื่อสารที่สะดวกรวดเร็ว และ การช่วยให้ศลิ ปินทำ�งานหลายๆ อย่างเองได้โดย ไม่ต้องพึ่งพาระบบการทำ�งานของค่ายเพลงแบบ ในอดีต อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีต่างๆ เหล่านี้ เป็นเพียงเครือ่ งมือทีจ่ ะก่อให้เกิดผลดีหรือร้ายต่อ อุตสาหกรรมดนตรีก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าเราจะใช้มัน อย่างไร หากเราทุกคนมีจิตสำ�นึก มีความเคารพใน สิทธิเสรีภาพของกันและกัน มองเห็นคุณค่าของ เสียงเพลง และตอบแทนด้วยมูลค่าทีผ่ สู้ ร้างสรรค์ สมควรได้รับ เชื่อได้ว่าเทคโนโลยีจะยิ่งช่วยให้ อุตสาหกรรมดนตรีเจริญรุง่ เรืองยิง่ ขึน้ เมือ่ ผูฟ้ งั ได้ เข้าถึงบทเพลงที่หลากหลายตามความต้องการ และศิลปินมีรายได้เพียงพอที่จะประกอบอาชีพ ที่รักได้อย่างยั่งยืน

bangkok.com

อนาคตของอุตสาหกรรมดนตรี อยูใ่ นมือของพวกเราทุกคน

กรุงเทพฯ เมืองดนตรี Bangkok Music City หากลองเปรียบเทียบดูระหว่างเพลงในและนอก กระแสของไทย จะพบว่าเพลงในกระแสจะเป็นที่ นิยมอย่างมากในหมูค่ นไทยทัว่ ไป แต่ไม่คอ่ ยเป็น ทีน่ ยิ มของชาวต่างชาติ ทว่าเพลงนอกกระแสหรือ อินดี้ของไทย กลับเป็นที่สนใจของชาวต่างชาติ มากขึน้ เรือ่ ยๆ ทัง้ นีอ้ าจเนือ่ งมาจากกระแสความ ชื่ นชอบดนตรี อิ น ดี้ ทั่ ว โลกเริ่ ม มี ม ากขึ้ น และ เทคโนโลยีการสื่อสารที่ทำ�ให้เข้าถึงเพลงจาก ทั่วโลกได้มากขึ้น ซึ่งหากภาครัฐและภาคเอกชน สามารถส่งเสริม พัฒนา และประชาสัมพันธ์ ดนตรีอินดี้ไทย รวมทั้งสร้างภาพลักษณ์ของ กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นเมืองที่มีความพร้อมมากที่สุด ทั้งทางด้านจำ�นวนนักดนตรี สถานที่แสดง และ การคมนาคม ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงดนตรี เราจะสามารถทำ�ให้ประเทศไทยส่งดนตรีเป็น สินค้าออกได้อย่างแน่นอน “กรุงเทพฯ เมืองดนตรี (Bangkok Music City)” คือความเคลือ่ นไหวของคนในชุมชนดนตรี อินดี้ ที่จะผลักดันให้กรุงเทพฯ กลายเป็นแหล่ง ท่องเที่ยวเชิงดนตรีระดับโลก เป็นเวทีทจี่ ะจัดแสดง วงดนตรีอินดี้จากทั่วประเทศ และเป็นเป้าหมาย การเดิ น ทางมาแสดงของวงอิ น ดี้ จ ากทั่ ว โลก ตลอดจนเป็นจุดเริม่ ต้นที่จะผลักดันให้จงั หวัดอืน่ ๆ ของประเทศไทยกลายเป็นเมืองดนตรีในอนาคต ที่น่าจับตามอง

ที่มา: บทความ “การปฏิวตั วิ งการดนตรี-Music Revolution” จาก fungjaizine.com / บทความ “ไทยป็อป” จาก th.wikipedia.org / บทความ “Blog: Music Industry Monopoly” จาก theletitburnagency.tumblr.com / บทความ “Earliest Music Instruments Found” จาก bbc.com / บทความ “Graph Shows Music Sales Decline” โดย JJA News จาก news.jazzjournalists.org / บทความ “History of Music” จาก en.wikipedia.org / บทความ “Prehistoric Music” จาก en.wikipedia.org / บทความ “Steve Albini on the Surprisingly Sturdy State of the Music Industry-in Full” จาก theguardian.com / หนังสือ “The Mastering of a Music City” โดย Music Canada, IFPI และ Midem

CREATIVE THAILAND I 19


wikimedia.org

Insight : อินไซต์

เรื่อง: มนฑิณี ยงวิกุล

กว่า 10 ปีที่เค-ป๊อป (K-Pop) บุกรุกเข้ามาเป็นกระแสเพลงหลักใน ประเทศแถบเอเชี ย นอกจากการสนั บ สนุ น ของรั ฐ บาลที่ ว าง วิสยั ทัศน์ในการนำ�วัฒนธรรมมาเป็นใบเบิกทางในการจำ�หน่ายสินค้า และการท่องเที่ยวของประเทศแล้ว แต่ละค่ายเพลงที่ปลุกปั้นศิลปิน และคลื่นนักล่าฝันที่ฝ่าฟันความยากลำ�บากเพื่อทยอยเข้าสู่วงการ บันเทิงเกาหลีใต้ ก็เป็นส่วนสำ�คัญที่สร้างอิทธิพลทางความคิดและ การสร้างรายได้เข้าประเทศได้อย่างมีนัยสำ�คัญ

CREATIVE THAILAND I 20


อายุ 9 - 15 ปี

TRAINEE

สมัคร Audition กับค่ายเพลงดัง เช่น SM, JYP, YG, Cube, DSP Media, LOEN และ Big Hit ที่ เปิดรับในเกาหลี และทั่วโลก

รายการ Audition โดยกรรมการจาก 3 ค่ายเพลง ดัง YG, SM และ JYP • ข้อมูล ณ ปี 2013 จากนิตยสาร Forbes ระบุ ว่าทุกปีมีผู้สมัคร Audition จาก 9 ประเทศ จำ � นวน 300,000 คน มี ค วามร่ ว มมื อ กั บ นักเขียนเพลง 400 คนทั่วโลก และได้รับเพลง ตัวอย่าง 12,000 เพลง • รายรับของ 3 ค่ายเพลงใหญ่ในปี 2014 คือ 17,212 ล้านบาท (492 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) (ตัวเลขจาก bloomberg biz)

เซ็นสัญญาเข้าเป็น Trainee เพื่อพักอาศัยและ ฝึกตามตาราง หลังจากนั้นบริษัทจะคัดเลือก Trainee เพื่อคัดศิลปิน ตารางและเนื้อหา 10.00-22.00 น. (ฝึกเพิ่มหลังสี่ทุ่มหากมีการแสดง) • ร้องเพลง • เต้นรำ� • สุขภาพเพื่อหุ่นและความงาม • เล่นดนตรี • การแสดง • การวางตัวเมื่อเป็นนักร้อง • เรียนภาษาเพื่อออกสู่ตลาดต่างประเทศ เช่น จีนและญี่ปุ่น คัดเลือก Trainee • ทำ�การแสดงโชว์ต่อหน้านักข่าว บริษัท และ ครอบครัว ถ้าไม่ผ่านก็ตกรอบ ถ้าผ่านก็เป็น ศิลปินน้องใหม่ของค่าย เพื่อเตรียมทำ�เพลง สร้างบุคลิกภาพและเริ่มต้นโปรโมต

DEBU T การแสดงบนเวทีครั้งแรกเพื่อแจ้งเกิด (Debut Stage) ในฐานะวงหรือนักร้องน้องใหม่ ที่เปิดให้ แฟนเข้าชมและมีการถ่ายทอดผ่านโทรทัศน์ และ สถานีทเี่ ป็นเจ้าของรายการ เช่น รายการ Inkigayo ของ SBS, Music Bank ของ KBS, M! Countdown ของ Mnet เป็นต้น และเมือ่ ออกผลงานเพลงใหม่ ศิ ล ปิ น ก็ จ ะกลั บ มาแสดงเพื่ อ เข้ า สู่ ว งจรการ โปรโมต บางเวทีมีการโหวตและมอบรางวัลด้วย

STAR

ที่มา: คลิปวิดีโอ “Kpop Star 4 Audition Ep.2” จาก kshowonline.com / บทความ “How to Be a K Pop Trainee” จาก wikihow.com / บทความ “Kpop Idol Trainee Life” จาก kpopoutofthebox.wordpress.com / บทความ “Korea’s S.M. Entertainment: The Company That Created K-Pop” จาก forbes.com / บทความ “Music Programs of South Korea” จาก wikipedia.org / บทความ “SBS K-Pop Star Global Audition Is Coming to NY!” จาก allkpop.com / บทความ “SM, YG, JYP Report Record Combined Sales of USD$106 Million for First Quarter 2014” จาก soompi.com CREATIVE THAILAND I 21

แจ้งเกิดในฐานะนักดนตรี แต่ขยายฐานแฟนคลับ ด้วยการเข้าร่วมรายการเกมโชว์ตา่ งๆ และแสดง ความสามารถอื่นๆ เช่น เป็นพิธีกรรายการ โฆษณาสินค้า และแสดงละคร โดยเริ่มจากบท เล็กสู่บทพระเอก-นางเอก รวมถึงการเล่นละคร เพลงเวที (Musical) เป็นโอกาสในการก้าวสู่การ เป็น Hallyu Star ซูเปอร์สตาร์เกาหลี ฉายแสงใน เอเชีย หรือระดับโลก

กรณียังไม่แสดง บางค่ายอาจจะให้แสดงความสามารถด้านอื่นก่อน

เรียน+ฝึก • ร้องเพลง • เต้นรำ� • เล่นดนตรี • การแสดง

ผ่านรอบสุดท้ายเข้าสู่การเป็น Trainee ของค่ายเพลง

AUDIT IO N

wikimedia.org

D R E AM


Creative Startup : เริ่มต้นคิด

Bangkok Swing...สวิงความสุขบนฟลอร์เต้นรำ� เรื่อง: ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ / ภาพ: ชาคริต นิลศาสตร์

บนชั้นสามของตึกแถวเก่าแก่ย่านสีลม กลุ่มคนวัยทำ�งานมากหน้าหลายตาหลากสัญชาติกำ�ลังโลดเต้นตามเสียงดนตรีที่ดัง ก้องทั่วทั้งฟลอร์เต้นรำ� ท่วงท่าลีลาของแต่ละคู่นั้นละม้ายคล้ายกันแต่กลับมีอิสระในตัวเอง จังหวะร่าเริงสนุกสนานและ ท่วงทำ�นองเจิดจ้าเปีย่ มเสน่หข์ องเพลงสวิงแจ๊สราวกับกำ�ลังร่ายมนตร์ จนไม่วา่ ใครก็อดไม่ได้ทจี่ ะต้องขยับแขนขาด้วยใบหน้า เปื้อนยิ้มกับการออกสเต็ปเก็บความสุขเช่นนี้ ทีน่ คี่ อื เดอะ ฮอป (The Hop) สตูดโิ อทีเ่ ป็นเหมือนบ้านหลังทีส่ องของสมาชิก “บางกอก สวิง (Bangkok Swing)” คอมมูนิตี้ของกลุ่มเพื่อนที่หลงใหลใน การเต้นสวิง (Swing Dance) ซึ่งพร้อมอ้าแขนต้อนรับทุกคนที่สนใจมาร่วม เรียนรู้ แบ่งปัน และสร้างความสุขจากศิลปะการเต้นที่เต็มไปด้วยชีวิตชีวา The Return of the Lost หลั ง จากที่ ไ ด้ สั ม ผั ส บรรยากาศสนุ ก สนานของการเต้ น สวิ ง เมื่ อ ครั้ ง ที่ ศึกษาต่อในสหรัฐอเมริกา “บางกอก สวิง” จึงถูกก่อตั้งขึ้นในปี 2011 โดย คุณโอ๊ต ชยะพงส์ นะวิโรจน์ และมีคุณโน้ต ดร.มาลียา โชติสกุลรัตน์ เป็น

หนึ่งในผู้ร่วมก่อการณ์คนสำ�คัญ ด้วยความตั้งใจที่จะเผยแพร่ศิลปะการ เต้นสวิงทีพ่ วกเขาหลงใหลไปสูผ่ คู้ นในวงกว้าง โดยเฉพาะการเต้นสวิงทีม่ ชี อื่ เรียกเฉพาะว่า “ลินดี้ ฮอป (Lindy Hop)” ซึง่ ได้รบั ความสนใจจากคนทัว่ โลก ตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา เพราะเป็นรูปแบบการเต้นที่เพิ่งได้รับการนำ�กลับ มาฟืน้ ฟูอกี ครัง้ ในปี 1986 โดยนักเต้นชาวยุโรปคนหนึง่ ได้พบฟิลม์ เก่าทีบ่ นั ทึก ภาพการเต้นลินดี้ ฮอปเมื่อหลายสิบปีก่อน จึงออกตามหาจนได้พบกับ แฟรงกี้ แมนนิ่ง (Franky Manning) หนึ่งในนักเต้นที่ปรากฏตัวในฟิล์ม และ ได้ เ ชิ ญ มาจั ด แคมป์ เ พื่ อ ถ่ า ยทอดศิ ล ปะที่ เ กื อ บจะสู ญ หายไปนี้ ใ นยุ โ รป จนกลายเป็นที่แพร่หลายอีกครั้ง

CREATIVE THAILAND I 22


“ในโลกของสวิงแดนซ์ จะมีแผนที่ทเ่ี รียกว่า Swing Map (swingmap.com) จะทีส่ ามารถเข้าไปปักหมุดไว้ได้วา่ ทีไ่ หนบนโลกมีทที่ เี่ ราสามารถไปเต้นสวิง ได้บ้าง เวลาใครเดินทางไปเมืองไหน อยากจะเต้นสวิงก็จะเข้ามาค้นหา ความตั้งใจแรกของเราคือเราอยากจะคอนเน็กต์กับโลกว่าที่เมืองไทยเราก็มี คอมมูนิตี้ตรงนี้ ก่อนหน้านี้ 4-5 ปี ก็มีฝรั่งที่มาทำ�งานเมืองไทยพยายามจะ ตั้งกลุ่มที่อพาร์ทเมนต์ของเขาเหมือนกัน ตอนที่โอ๊ตกลับมาเมืองไทยก็เลย ได้คุยกับเขา แต่ต่อมาพอเขากลับประเทศไป ซีนนั้นก็ล่มไป” นี่จึงเป็น จุดเริ่มต้นของการก่อตั้งชุมชนคนรักสวิงแดนซ์ที่ค่อยๆ เติบโตอย่างมั่นคง “ช่วงสองปีแรกกลุ่มของเรามีกัน 30 คน เริ่มจากเพื่อนๆ กันเองก่อน ส่วนใหญ่จะเป็นคนทีค่ นุ้ เคยกับวัฒนธรรมตะวันตก ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ จะเป็นชาวต่างชาติที่ย้ายมาอยู่เมืองไทย ก็จะมีทั้งคนที่ชวนๆ กันมา และที่ เสิร์ชเจอเราในอินเทอร์เน็ต” เวลาผ่านไป 4 ปีเต็ม ปัจจุบัน บางกอก สวิง มีสัดส่วนผู้เข้าร่วมเป็นคนไทยถึง 70 เปอร์เซ็นต์ เป็นสมาชิกขาประจำ� ประมาณ 80 คน และในวันที่มีงานปาร์ตี้พร้อมวงดนตรีสด จะมีผู้เข้าร่วม ไม่ตํ่ากว่า 100 คน พวกเขาเปิดคลาสสอนเต้นสวิงทุกวันพฤหัสและวันเสาร์ (คอร์สละ 6 ชม. ชม.ละ 400 บาท) โดยทีมครูสอนเต้นทั้งหมด 7 คน รวมแล้วมีนักเรียนที่เข้ามาเรียนที่นี่แล้วเกือบพันคน Human Touch in High Tech World การเต้นสวิงเกิดขึ้นพร้อมกับดนตรีแบบสวิงแจ๊สในยุค 1920 ซึ่งเป็นจังหวะ อัพบีทสนุกสนานและท่วงทำ�นองไหลลื่นมีชีวิตชีวา ท่วงท่าการเต้นจึงถูก ออกแบบให้สอดรับลงตัวกับบุคลิกของดนตรี “เสน่ห์ของสวิงแดนซ์คือมัน เป็นศิลปะที่มีความร่าเริง มีการสัมผัสระหว่างมนุษย์ เราจะเต้นกับใครก็ได้ โดยทีไ่ ม่ตอ้ งนัดแนะกันก่อน เพราะธรรมชาติของมันเป็นการเต้นคูท่ มี่ กี ารนำ� และตาม (Lead & Follow) เกิดจากการสื่อสารด้วยร่างกายระหว่างคน สองคนไปพร้อมกับเสียงดนตรี บวกกับการอิมโพรไวซ์ (Improvisation) ทำ�ให้ ค่อนข้างมีอิสระในการเต้น เป็นศิลปะที่ค่อนข้างเปิดกว้าง ไม่จำ�เป็นต้องมี พื้นฐานมาก่อน ถ้าคุณปรบมือตรงจังหวะ คุณก็เต้นได้ ทุกคืนวันเสาร์ที่เรา เปิดฟลอร์ก็จะสอนสเต็ปพื้นฐานให้คนที่ไม่เคยเต้นมาก่อนครึ่งชม. หลังจาก นั้นก็เต้นต่อได้ทั้งคืน” นี่คือหนึ่งในเหตุผลที่พวกเขาเชื่อว่าทำ�ให้สวิงแดนซ์ ได้รับความสนใจในวงกว้าง เพราะแม้ว่าทุกมิติในโลกยุคใหม่จะหมุนด้วย เทคโนโลยี แต่แน่นอนว่ามนุษย์ก็ยังคงใฝ่หาการสร้างความสัมพันธ์และ ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสังคม “เราคิดว่ามันไม่มีเหตุผลอะไรที่การสวิงแดนซ์จะไม่เป็นที่นิยม เพราะ มันทำ�ให้มีความสุข ได้เข้าสังคม ได้ออกกำ�ลังกาย อีกอย่างคือคนยุคนี้ เริม่ ค้นหากิจกรรมยามว่างใหม่ๆ นอกจากไปกินดืม่ กันอย่างเดียว ผมเชือ่ ว่า ถ้ามันไปถึงคนบางคน มันสามารถเปลี่ยนชีวิตเขาได้เลย บางคนไลฟ์สไตล์ เขาเปลี่ยนจากดื่มเหล้าเยอะๆ ก็ไม่ดื่มแล้ว บางคนก็มาเพื่อออกกำ�ลัง บางคนไม่ค่อยกล้าคุยกับใคร ตอนนี้ก็เข้าสังคมเก่งขึ้น ความรู้สึกเวลามา ที่นี่มันเหมือนเรามาหาคนในครอบครัว เราเป็นตัวเองได้เลย เหมือนชมรม มหาลัยในสเกลที่ใหญ่กว่า จริงจังกว่า เพราะเราไม่ได้ทำ�แค่สี่ปีจบแล้วเลิก” ทั้งสองให้ความเห็น

“โอ๊ตคิดว่ามันอยูท่ วี่ ฒั นธรรมของกลุม่ ตอนเริม่ ก่อตัง้ ด้วย สองปีแรกเรา ไม่ได้พีอาร์เลย เพราะว่าอยากจะสร้างวัฒนธรรมกลุ่มที่ดีก่อน ก็จะบอกต่อ กันแค่ในกลุ่มเพื่อน มีกัน 30 คนแต่สนิทกันมาก เราก็สร้างวัฒนธรรมว่าใคร ทีม่ าใหม่เราก็จะต้อนรับเขา แนะนำ�เขา เต้นกับเขา เขาก็จะเข้าใจธรรมชาติ ของกลุ่มเรา คนที่รักเราเขาก็จะชวนคนที่เขารักเข้ามา ช่วงที่เราจะจัดงาน ข้างนอกครั้งแรก เราก็กลัวมากว่ามันจะทำ�ให้ความรู้สึกของกลุ่มเปลี่ยนไป ไหม เพราะไม่อยากให้มันเป็นแค่กระแสที่มาแล้วก็ไป แต่สุดท้ายก็คิดว่าถ้า เรามั่นใจว่าเราสร้างรากฐานมาดีแล้ว ถ้ามันจะขยาย เราก็ต้องปล่อยให้มัน ขยายออกไป ค่อยๆ โตตามธรรมชาติ การพีอาร์ก็จะเลือกกลุ่มที่เหมาะสม ทั้งกับเขาและกับเรา” Swing Dance, Swing Dollar ในความคิดของหลายคน เงินทุนอาจเป็นปัจจัยที่ขาดไม่ได้ในการ สร้างงาน แต่สำ�หรับบางกอกสวิง หัวใจหลักของที่นี่คือสายสัมพันธ์ที่ แน่นแฟ้นของสมาชิกในกลุ่ม ในฐานะผู้ก่อตั้ง คุณโอ๊ตมองว่า ถ้าเรามั่นใจ ว่ากำ�ลังสร้างสิ่งที่มีคุณค่า เศรษฐกิจรอบข้างจะเกิดขึ้นเอง “เรื่องเงินไม่ สำ�คัญเลย เพราะว่าการสร้างกลุ่มมันคือการแลกเปลี่ยนความสามารถ ของคน เมื่อใครอินกับเราจริงๆ เขาจะเริ่มแบ่งเวลาและดึงความสามารถ ของตัวเองออกมา เศรษฐกิจที่เกิดขึ้นมันเลยไม่ใช่การแลกกันด้วยเงินอย่าง เดียว แต่เพราะทุกคนรู้สึกว่าเป็นเจ้าของที่นี่ แล้วเราก็เปิดกว้างว่าจะมี กิจกรรมอะไรบ้าง เราก็มาช่วยกันสร้าง” “เริ่มมีการแบ่งหน้าที่เป็นทีม เกิดเป็นกลุ่มย่อยที่แลกเปลี่ยนความรู้กัน เช่นกลุ่มเรามีดีเจหลายคน เขาก็ตั้งกลุ่มจัดเวิร์กช็อปกัน เวลาจัดงานเราก็มี ทีมดีเจของเราเอง ทีมครูก็เริ่มตั้งมาตรฐานว่าครูต้องมีคุณสมบัติยังไง จากที่ ต อนแรกมี แ ค่ โ อ๊ ต ใครที่ ช อบสอน มี ทั ก ษะก็ ม าสมั ค รเข้ า ที ม ” คุณโน้ตเสริม “ผมว่าการสร้างคอมมูนิตี้รวมคนที่ชอบและสนใจในเรื่องเดียวกันมัน มีคุณค่ามากกว่าที่ใครคาดคิด เพราะถ้าคนชอบ เขาก็อยากจะมีส่วนร่วม เขาจะเปลี่ยนไลฟ์สไตล์เพื่อมาอยู่รอบๆ ศิลปะนั้น พอเพื่อนรอบตัวเห็นเขา จริงจังกับมัน ก็จะมาลองบ้าง ปากต่อปากกันไป คอมมูนิตี้มันก็ขยาย ออกไป การทำ�บางกอก สวิง เราก็ไม่ได้มตี วั ชีว้ ดั ความสำ�เร็จเหมือนทำ�ธุรกิจ ทั่วๆ ไปอยู่แล้ว แต่ถ้าจะมี ก็คงจะเป็นการที่คนมาที่นี่แล้วเขามีความสุข เท่านั้นเอง” บางกอก สวิง จึงเป็นตัวอย่างที่น่าสนใจของการสร้างคอมมูนิตี้ที่ ขับเคลื่อนด้วยความรักมากกว่าเงินทุน ซึ่งเมื่อผสานเข้ากับความก้าวหน้า ของเทคโนโลยีการสื่อสาร ก็ก่อให้เกิดทั้ง “คุณค่า” ทางจิตใจและ “มูลค่า” ทางเศรษฐกิจ ซึ่งย่อมจะนำ�ไปสู่การเติบโตและต่อยอดอย่างยั่งยืน

เว็บไซต์: bangkokswing.com เฟซบุ๊ก: Bangkok Swing

CREATIVE THAILAND I 23


simomot.files.wordpress.com

Creative City : จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

เรื่อง: อิศรา เปี่ยมพงศ์สานต์ และ วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ

นับตั้งแต่การค้นพบโลกใหม่โดยคริฟโตเฟอร์ โคลัมบัส ชาวยุโรปผิวขาวก็ได้ออก เดินทางอพยพมาตั้งหลักปักฐานที่ดินแดนแห่งนี้ ก่อนที่ชนเผ่าแอฟริกาบางส่วน จะถู ก ส่ ง ตั ว มายั ง โลกใหม่ เ พื่ อ เป็ น ทาสในช่ ว งปลายคริ ส ต์ ศ ตวรรษที่ 15 ซึ่ ง สิง่ ทีต่ ดิ ตัวพวกเขามาด้วยก็คอื ดนตรีทชี่ ว่ ยเยียวยาจิตใจและสร้างความครืน้ เครง ให้ชีวิต ต่อมาในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ชาวอเมริกันผิวดำ�ได้หลอมรวม วัฒนธรรมดนตรีจากชาวแอฟริกันผสานเข้ากับวัฒนธรรมดนตรีจากชาวยุโรป และสร้างสรรค์ดนตรีแนวใหม่ที่เรียกว่า “แจ๊ส” ให้เกิดขึ้นในหน้าประวัติศาสตร์ ของโลก นับแต่น้ันมา แจ๊สยังคงถูกพัฒนาให้อยู่ในแต่ละจังหวะชีวติ ของผูค้ นทุกยุคสมัย และทีน่ า่ แปลกใจก็คือ หนึ่งในเทศกาลงานดนตรีแจ๊สที่ถือได้ว่าประสบความสำ�เร็จที่สุดในโลกอย่าง “Jakarta International Java Jazz Festival” กลับเกิดขึ้นที่อินโดนีเซีย ในทวีปเอเชียที่ซึ่งไม่เคยปรากฏอยู่ในส่วนประกอบของ ประวัติศาสตร์ดนตรีแจ๊ส

CREATIVE THAILAND I 24

ท่วงทำ�นองแห่งความหวัง หากสิ่งที่เป็นนั้นดีอยู่แล้ว ผู้คนคงไม่คาดหวังกับ อนาคตที่ดีกว่า แต่เมื่อความจริงไม่เป็นเช่นนั้น การตั้งเป้าหมายและการทุ่มเทความพยายามให้ สิ่งที่มีเป็นสิ่งที่ดีกว่าย่อมต้องเกิดขึ้น นี่อาจเป็น ธรรมชาติของสังคมซึ่งในโลกของดนตรีก็เช่นกัน ​ ปีเตอร์ เอฟ กอนธา (Peter F. Gontha) ชาวอินโดนีเซีย เติบโตมากับดนตรีแจ๊สตั้งแต่ยัง เด็กเพราะมีพ่อเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกดนตรีแจ๊สใน อินโดนีเซีย เมือ่ ปีเตอร์เติบโตขึน้ และก้าวเข้าสูโ่ ลก กว้างเขากลายเป็นนักธุรกิจในบริษัทชั้นนำ�ของ โลก แต่ยังคงมีใจรักในดนตรีแจ๊สเช่นเดิม เมื่อมี โอกาสได้ขนึ้ แสดงดนตรีในเทศกาลแจ๊สระดับโลก


สตีวี วันเดอร์

facebook.com/Javajazz

นาตาลี โคล

facebook.com/Javajazz

ให้คนในชาติและประเทศได้ และนับตัง้ แต่วนั นัน้ เป็นต้นมา Java Jazz Festival ก็ดำ�เนินงานมา อย่างต่อเนื่องจนเข้าสู่ปีที่ 12 แล้วในปัจจุบัน

แจ๊สกับโมเดลการประกอบ สร้าง Java Jazz Festival ลักษณะทางดนตรีแจ๊สนั้นยากที่จะจำ�แนกได้ว่า เป็นดนตรีชนิดใด บางคนบอกว่าแจ๊สเป็นดนตรี โฟล์ก ดนตรีตามกระแส ไปจนถึงดนตรีทมี่ คี วาม เป็นศิลปะสูง แต่อย่างไรก็ตามโดยพื้นฐานแล้ว แจ๊สเป็นดนตรีที่มีองค์ประกอบหลักอยู่ 3 ส่วน นั่นคือ การมีลักษณะเฉพาะด้านจังหวะ (Swing) ที่เป็นดั่งชีพจรและสัมผัสที่แฝงอยู่ในดนตรีแจ๊ส, ลักษณะความเป็นปัจเจกภาพ (Individual) โดย ดนตรีแจ๊สจะเปิดโอกาสให้นกั ดนตรีแสดงความเป็น ตัวเองให้ปรากฏชัดจากการด้นสด (Improvisation) และสุดท้ายคือการมีปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ระหว่างนักดนตรีกับนักดนตรี และนักดนตรีกับ ผูฟ้ งั ทีท่ �ำ ให้ดนตรีแจ๊สสามารถปรับเปลีย่ นวิธกี าร เล่นและการสื่อสารไปตามบริบท ณ ช่วงเวลา นัน้ ๆ ได้ ซึง่ หากจะเปรียบเทียบองค์ประกอบแจ๊ส กับการประกอบสร้างของเทศกาลงาน Java Jazz Festival ก็คงเรียกได้วา่ นีค่ อื ส่วนผสมของจังหวะ ดนตรีที่ลงตัว

facebook.com/Javajazz

อย่าง North Sea Jazz Festival ณ ประเทศ เนเธอร์แลนด์ เขาจึงได้รู้จักกับผู้จัดงาน พอล แดนค์เมเยอร์ (Paul Dankmeyer) ลูกครึ่ง อินโดนีเซีย-ฮอลแลนด์ ก่อนที่ทั้งคู่จะติดต่อกัน เรือ่ ยมาและมีความคิดทีอ่ ยากจะมอบอนาคตทีด่ ี กว่ า ให้ อิ น โดนี เ ซี ย โดยใช้ ด นตรี เ ป็ น สื่ อ กลาง พร้อมตัดสินใจกลับมาจัดเทศกาลดนตรีแจ๊สที่ บ้านเกิดโดยใช้ชอ่ื งานว่า “Jakarta International Java Jazz Festival หรือ Java Jazz Festival (JJF)” ซึ่งเป็นงานเทศกาลแจ๊สระดับนานาชาติที่ เกิดขึน้ ครัง้ แรกในจาการ์ตา้ โดยวางแผนจะจัดใน ปี 2005 แต่เหตุการณ์ไม่คาดฝันกลับเกิดขึ้น ก่อนหน้า เพราะในช่วงปลายปี 2004 ได้เกิดสึนามิ ถล่มทีอ่ นิ โดนีเซียซึง่ เป็นช่วงเวลาใกล้เคียงกันกับ เหตุก่อการร้ายภายในประเทศที่ส่งผลให้มีผู้คน บาดเจ็บล้มตายจากทัง้ สองเหตุการณ์เป็นจำ�นวน มาก ดังนั้นการเริ่มต้นจัดงานเฉลิมฉลองตั้งแต่ ต้นปี 2005 จึงเป็นเรื่องที่น่ากระอักกระอ่วนใจใน ห้วงแห่งความโศกเศร้าของผู้คน แต่เมือ่ ดนตรีเป็นเครือ่ งมือทีช่ ว่ ยกล่อมเกลา จิตใจที่เศร้าหมอง ทั้งสองจึงตัดสินใจเดินหน้า จัดงานต่อโดยชูธมี งานในปีแรกว่า “Bringing the World to Indonesia” เพือ่ หวังให้ทว่ งทำ�นองการ บรรเลงเพลงแจ๊สได้ปัดเป่าความโศกเศร้าให้ หายไป พร้อมให้ดนตรีแจ๊สจากการแสดงของศิลปิน ชั้นนำ�ดึงดูดผู้คนจากทั่วโลกให้เดินทางมายัง อินโดนีเซียอีกครั้งจนสามารถพลิกฟื้นคืนสปิริต

ปีเตอร์ เอฟ กอนธา CREATIVE THAILAND I 25

Face Challenges and then SWING!

ไม่ใช่เรื่องง่ายนักกับการเริ่มจัดแสดงดนตรีแจ๊ส ในประเทศที่ห่างไกลรากฐานต้นกำ�เนิดที่แจ๊ส เคยอยู่ สิง่ นีน้ บั เป็นความท้าทายตัง้ แต่เริม่ ต้นการ หาสปอนเซอร์และพาร์ตเนอร์จดั งานเพราะยากที่ จะหาผู้ที่เข้าใจและสนใจแจ๊สอย่างจริงจัง แต่ พอลและปีเตอร์กลับเดินหน้าจัดงานต่อด้วยความ เชื่อที่ว่าหากเชิญนักดนตรีที่ถูกคนมาร่วมงาน อย่าง เจมส์ บราวน์ (James Brown), จอร์จ เบนสัน (George Benson), เฮอร์บี แฮนค็อก (Herbie Handcock), วงอินคอกนิโต (Incognito), ไดแอน รีฟส์ (Dianne Reeves), จอห์น เลเจนด์ (John Legend), สตีวี วันเดอร์ (Stevie Wonder) ฯลฯ จะสามารถก่อกำ�เนิดชีพจรแจ๊สให้กบั จาการ์ตา้ ได้ และสิ่งที่เหนือความคาดหมายก็เกิดขึ้น เมื่อ แจ๊สกลายเป็นดนตรีที่ใครๆ ก็พูดถึงสำ�หรับชาว อินโดนีเซีย คนรุ่นใหม่จึงอยากลองมาร่วมงาน ทำ�ให้บรรยากาศงานแจ๊สของทีน่ แี่ ตกต่างไปจาก งานแจ๊สของที่อื่นเพราะผู้เข้าร่วมงานมีอายุไม่ มากนักซึ่งอยู่ระหว่าง 20-45 ปี แตกต่างจาก เทศกาลงานแจ๊สฝั่งยุโรปที่ส่วนใหญ่ผู้ร่วมงาน มีอายุระหว่าง 30-55 ปี สิ่งนี้สอดคล้องไปกับ ธรรมชาติของดนตรีแจ๊สที่ได้ชื่อว่าเป็นดนตรี สำ�หรับผูม้ ใี จเปิดกว้าง และชาวจาการ์ตา้ กับดนตรี แจ๊สจึงได้ปรับตัวเข้าหากันและกันได้ตงั้ แต่นนั้ มา


Jakarta with the World INTERACTION

ไม่ใช่แค่ปฏิสมั พันธ์ระหว่างนักดนตรีกบั นักดนตรี หรื อ นั ก ดนตรี กั บ ผู้ ฟั ง เท่ า นั้ น เทศกาลนี้ ยั ง ได้ ส่งแรงกระเพื่อมไปถึงธุรกิจท่องเที่ยวที่สามารถ ดึ ง ดู ด ผู้ ค นทั่ ว โลกให้ ม าเข้ า ร่ ว มงานทั้ ง จาก ประเทศเพื่อนบ้านในเอเชีย ออสเตรเลีย และ ยุโรปกว่า 120,000 คนต่อปี รวมทั้งการส่งเสริม ให้มแี พ็กเกจพิเศษสำ�หรับแฟนเพลงแจ๊สทัว่ โลกที่ ไม่เพียงแต่ได้มาร่วมงาน JJF เท่านัน้ แต่ยงั มีทริป ให้ไปพักผ่อนต่อที่บาหลีหรือเมืองอื่นๆ ซึ่งใน แต่ละปี เทศกาลงานแจ๊ส JJF สามารถสร้างมูลค่า ทางเศรษฐกิจให้ประเทศได้กว่า 448 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ ทัง้ ยังช่วยปลุกบรรยากาศเมืองดนตรีทนี่ า่ รืน่ รมย์ให้ปกคลุมภาพลักษณ์ความรุนแรงในเรือ่ ง การก่อการร้ายที่เกิดขึ้นในประเทศได้อีกด้วย การเกิ ด ขึ้ น ของเทศกาลดนตรี แ จ๊ ส นี้ จึ ง พิสูจน์คำ�พูดของบิลลี เทย์เลอร์ (Billy Taylor) นั ก เปี ย โนแจ๊ ส ชาวอเมริ กั น ได้ อ ย่ า งชั ด เจนว่ า “แจ๊สเป็นเสมือนภาษาชนิดหนึง่ คุณไม่ตอ้ งพูดจา เหมือนทีพ่ อ่ แม่ของคุณเคยพูด ทัง้ ทีม่ นั เป็นภาษา

kompasiana.com

เมื่อแจ๊สคือดนตรีที่อนุญาตให้ศิลปินสามารถ ปล่อยของได้อย่างอิสระ พืน้ ทีใ่ นการแสดงออกถึง ตั ว ตนเพื่ อ โชว์ ส ไตล์ แ ละอั ต ลั ก ษณ์ ย่ อ มเป็ น สิ่งสำ�คัญ และทีมงานผู้จัด JJF ทราบถึงเรื่องนี้ดี จึงตั้งใจคัดเลือกการแสดงจากวงดนตรีแจ๊สที่มี ชือ่ เสียงชัน้ นำ� ผสมกับนักดนตรีและวงดนตรีแจ๊ส หน้าใหม่ทนี่ า่ จับตามองจากอินโดนีเซียและเอเชีย ในสัดส่วน 1 ต่อ 3 ของการแสดงโชว์ทั้งหมด ซึ่งประมาณคร่าวๆ ได้ว่า มี 60 วงที่ได้ขึ้นแสดง โดยแบ่งออกเป็น 20 วงที่มาจากวงดนตรีแจ๊สที่ มีชื่อเสียงในระดับนานาชาติ และ 40 วงมาจาก วงดนตรี ห น้ า ใหม่ จ ากอิ น โดนี เ ซี ย และเอเชี ย เทศกาลนีจ้ งึ ถือเป็นพืน้ ทีแ่ ห่งโอกาสของนักดนตรี แจ๊สจากทัว่ โลกโดยเฉพาะกับชาวอินโดนีเซียทีไ่ ด้ มีโอกาสพัฒนาฝีมือทางด้านดนตรีในเวทีระดับ นานาชาติ รวมไปถึงการแลกเปลีย่ นประสบการณ์ การขึ้นแสดงโชว์ร่วมกับนักดนตรีแจ๊สมืออาชีพ อีกด้วย

wikimedia.org

Sharing INDIVIDUAL to get experiences

บิลลี เทย์เลอร์

เดียวกัน แต่คุณก็พูดในแบบของคุณเองได้ มัน ไม่ใช่เรื่องดีหรือเลวกว่ากัน คุณไม่จำ�เป็นต้อง สรรหาถ้อยคำ�มาแต่งแต้มในสิ่งที่คุณต้องการจะ พูดออกมา แจ๊สเป็นเช่นนั้น”

Music Scenes Around the City เอาเข้าจริงแล้วรัฐบาลอินโดนีเซียยังไม่ได้ให้การ สนับสนุนเรื่องอุตสาหกรรมดนตรีในประเทศที่ จริงจังเหมือนอย่างเกาหลี หรือประเทศเพือ่ นบ้าน อย่างสิงคโปร์ทจี่ ดั แสดงดนตรีสดจากนักดนตรีชนั้ นำ � ทั่ ว โลกแทบทุ ก อาทิ ต ย์ พ ร้ อ มโปรโมชั่ น ตั๋ ว เครือ่ งบินในราคาย่อมเยาทีเ่ ชิญชวนนักท่องเทีย่ ว ทัง้ ไกลและใกล้ให้ตดั สินใจใช้เวลาพักผ่อนในช่วง วันหยุดสัน้ ๆ ทีส่ งิ คโปร์ นัน่ เป็นเพราะอินโดนีเซีย ยังคงประสบกับปัญหาภายในประเทศส่วนใหญ่ ในเรื่องคอร์รัปชั่น รวมทั้งเหตุการณ์ก่อการร้าย ต่างๆ ที่ยังคงเกิดขึ้นอยู่เนืองๆ ซึ่งเป็นประเด็น ใหญ่ที่สำ�คัญกว่าซึ่งต้องเร่งแก้ไข ทำ�ให้นํ้าหนัก การให้ ค วามสนั บ สนุ น ด้ า นอุ ต สาหกรรม สร้างสรรค์จึงยังดูเป็นเรื่องรองลงไป แต่ด้วยพลังของคนในเมืองผสานกับพลัง ของโลกแห่งโซเชียลที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ทำ�ให้ การพัฒนาตัวเองและการเดินตามความฝันไม่ จำ�เป็นต้องหยุดรอการสนับสนุนจากผู้มีอำ�นาจ อีกต่อไป วงดนตรีอสิ ระของอินโดนีเซียจึงพัฒนา ตัวเอง อีกทั้งยังเกิดกลุ่มคนผู้รักเสียงเพลงที่ สร้างสรรค์แพลตฟอร์มต่างๆ เพื่อสนับสนุนวง ดนตรีอิสระเหล่านี้มากขึ้น CREATIVE THAILAND I 26

The New Wave of Music Festivals is Here ต่อยอดมาจากความสำ�เร็จของ Java Jazz Festival ทางทีมผู้จัดอย่าง Java Festival Production ก็ตัดสินใจขยายเทศกาลดนตรี ออกไปอีก 3 งานใหญ่เพื่อให้ครอบคลุมแฟน เพลงหลากหลายสไตล์มากขึ้น อย่าง Java Soulnation ที่เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2008 เทศกาล เพลงที่รวบรวมศิลปินรุ่นใหม่จากทั่วโลกและ อินโดนีเซียกับการแสดงดนตรีสดในสไตล์ เพลงแบบ Urban Music อย่างแนวเพลงโซล ป๊อป และอาร์แอนด์บี, Java Rockin’land เริ่มต้นในปี 2009 เทศกาลดนตรีร็อกแบบ เอ้าต์ดอร์โดยศิลปินร็อกชัน้ นำ�ของโลกและวง ร็อกหน้าใหม่และเก่าจากอินโดนีเซีย และ Java Soundsfair เริ่มต้นในปี 2014 เทศกาล ดนตรีทผี่ สมผสานระหว่างการแสดงดนตรีสด ฟังสบายจากนักดนตรีป๊อปรุ่นใหม่กับการ แสดงศิลปะแบบอินดอร์ ซึง่ ทัง้ 3 งานเทศกาล นี้เป็นการรวบรวมศิลปินจากทั่วโลกให้ได้มา พบปะแฟนเพลงในอินโดนีเซียและพร้อมกันนัน้ ตัวศิลปินต่างชาติและศิลปินจากอินโดนีเซีย และในเอเชียเองก็ได้มโี อกาสร่วมแลกเปลีย่ น ประสบการณ์ทางดนตรี รวมทั้งเป็นการจุด ประกายแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงาน เพลงและกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาฝีมือของ ศิลปินต่อไปในอนาคต


facebook.com/moccaband

บันดุง (Bandung) เมืองที่นอกจากจะขึ้นชื่อว่าเป็น เมืองแห่งดอกไม้ (City of Flowers) ของจาการ์ตา้ แล้ว เมืองแห่งนี้ยังเป็นเมืองแรกที่ได้รับการวาง โครงสร้างพื้นฐานก่อนใครในอินโดนีเซีย การเข้า ถึงอินเทอร์เน็ตเป็นเมืองแรกของประเทศทำ�ให้ ผูค้ นในเมืองได้รบั ข้อมูลและนวัตกรรมจากต่างแดน การเห็นตัวอย่างงานเพลงจากฝั่งตะวันตกได้ จุดประกายให้ศิลปินบันดุงเริ่มต้นเลียนแบบการ ร้องและการทำ�เพลงจากวัฒนธรรมเพลงของอังกฤษ และสหรัฐอเมริกา นำ�ไปสู่พัฒนาการการสร้าง วงดนตรีเป็นของตัวเองทีน่ บั วันจะมีจ�ำ นวนเพิม่ ขึน้ เรือ่ ยๆ จนวงการดนตรีอสิ ระของบันดุงเริม่ ปรากฏ ชัดเจนตัง้ แต่ปี 1995 เป็นต้นมา และด้วยการเกิดขึน้ ของวงดนตรีอสิ ระทีม่ ากขึน้ นีเ้ อง ย่อมทำ�ให้เกิดการ แข่งขันและการพัฒนาที่ไม่หยุดนิ่ง บรรยากาศ ของเมืองจึงอบอวลไปด้วยเสียงเพลงอินดีพ้ ร้อมกับ ทีค่ ลืน่ วิทยุในเมืองบันดุงกว่าร้อยละ 95 สนับสนุน วงดนตรีอิสระเหล่านี้ด้วยการเปิดเพลงให้อย่าง ต่อเนื่อง และเมือ่ ใดทีว่ งดนตรีมคี ณุ ภาพจนเป็นที่ ยอมรับ ก็แน่นอนว่าจะก่อให้เกิดกิจกรรมทางดนตรี ทั้งการแสดงโชว์และการจัดคอนเสิร์ตซึ่งเป็น กิจกรรมทีผ่ ลักดันให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจของ อุ ต สาหกรรมเพลงอิ น โดนี เ ซี ย ได้ อี ก ทางหนึ่ ง ยกตัวอย่างวงดนตรีที่ประสบความสำ�เร็จและมี ต้นกำ�เนิดทีบ่ งั ดุงอย่าง Pure Saturday, Burgerkill และ Mocca ทีม่ โี อกาสได้เดินสายทัวร์คอนเสิรต์

ทัง้ ในประเทศและต่างประเทศทีส่ งิ คโปร์ มาเลเซีย และญีป่ นุ่ รวมถึงประเทศไทย ที่ Mocca เคยมา เยือนและมีแฟนเบสจำ�นวนไม่นอ้ ยเนือ่ งจากเพลง ของพวกเขาถูกค่ายอย่าง Smallroom ดึงเข้ามา วางจำ�หน่ายที่นี่อีกด้วย Sounds from the Corner

คือโปรเจ็กต์การบันทึกการแสดงดนตรีสดทีเ่ ริม่ ต้น ขึ้นตั้งแต่ปี 2012 โดย เทกูห์ วิคาคโซโน (Teguh Wicaksono) อดีตผูจ้ ดั การวงดนตรี TREES & WILD ทีไ่ ด้จบั มือกับครีเอทีฟช่างถ่ายภาพเคลือ่ นไหว ใน การออกแบบ ถ่ายทำ� และบันทึกเสียงการแสดง ดนตรีสดจากศิลปินอิสระและนักดนตรีมืออาชีพ ของอินโดนีเซีย เพื่อทำ�เป็นแหล่งเก็บรวบรวม ผลงานเพลงที่มีคุณภาพโดยไม่จำ�กัดค่ายเพลง หรือแนวเพลงใดๆ โดยวิดโี อทัง้ หมดจะออกอากาศ ผ่านช่องยูทปู และเว็บไซต์ทมี่ ชี อื่ ว่า “Sounds from the Corner” ในฐานะพื้นที่สื่อกลางทางเลือกที่ ทีมงานผู้สร้างให้ความเห็นว่า นี่เป็นช่องทางที่ สามารถแลกเปลีย่ นกลุม่ ผูฟ้ งั (Cross-audience) ให้ได้รู้จักกับแนวเพลงและศิลปินในยุคใหม่ใน วงกว้างขึ้น เพราะเมื่อเสียงเพลงในกระแสจาก นักร้องหรือวงดนตรีที่มีชื่อเสียงอยู่แล้วสามารถ ดึงดูดให้ผู้ฟังแวะเวียนมายัง Sounds from the Corner ได้ เมือ่ นัน้ จึงเป็นโอกาสทีค่ นฟังจะได้ท�ำ ความรู้จักกับศิลปินหน้าใหม่และวงดนตรีอิสระ ที่เพิ่งเริ่มต้นด้วยเช่นกัน

White Shoes and the Couple Company

facebook.com/soundsfromthecorner

Indo-Indie in Bandung

WolvCast

คือการฟังเพลงแบบมิวสิก สตรีมมิง (Music Streaming) ผ่านแอนดรอยด์แอพพลิเคชัน ซึ่ง คิดค้นโดยนักพัฒนาโปรแกรม รอยส์ ยอสบานา (Roys Yosbana) ผู้ตั้งใจสร้างสรรค์เครื่องมือ โปรโมตเพลงนอกกระแสสำ�หรับศิลปินหน้าใหม่ หรือวงการเพลงอินดีใ้ นอินโดนีเซียโดยเฉพาะ ซึง่ ขณะนี้ได้มีเพลงนอกกระแสที่ถูกจัดเก็บรวบรวม กว่า 1,000 เพลงจาก 134 อัลบั้มของศิลปินอิสระ มากกว่า 100 คน โดยผู้ใช้บริการสามารถลง ทะเบียนเป็นสมาชิกเพื่อโหวตให้คะแนนกับเพลง ที่ชื่นชอบพร้อมทั้งยังแสดงความคิดเห็นต่อเพลง นั้นๆ ได้อย่างอิสระ นับได้ว่า WolvCast เป็นอีก หนึง่ ช่องทางการสือ่ สารระหว่างศิลปินผูส้ ร้างสรรค์ งานเพลงกับคนฟังที่สร้างจากประเทศเจ้าของ คอนเทนต์ซง่ึ จะทำ�ให้ศลิ ปินผูกพันกับผูฟ้ งั มากกว่า แพลทฟอร์มกระแสหลัก ท้ายทีส่ ดุ แล้วไม่วา่ ดนตรีทเี่ กิดขึน้ จากจาการ์ ต้าจะเดินหน้าต่อไปในทิศทางใด จะเป็นเครือ่ งมือที่ ถูกใช้เพือ่ เพิม่ มูลค่าทางเศรษฐกิจ เพื่อเสริมสร้าง ภาพลักษณ์ให้ประเทศหรือเพื่อต่อเติมความฝัน ให้เป็นจริง แต่การสร้างสรรค์บทเพลงที่เกิดขึ้น จากความตัง้ ใจย่อมถ่ายทอดความรูส้ กึ บางอย่าง ไปถึงผู้ฟังได้เสมอ และนั่นเองที่ทำ�ให้ดนตรีซึ่ง ไม่ว่าจะเกิดขึ้น ณ ที่ใดในโลกย่อมสร้างคุณค่าที่ ไม่อาจประเมินได้ ได้มากเทียบเท่ากัน

ทีม่ า: หนังสือ “Jazz อิสรภาพทางดนตรีของมนุษยชาติ” โดย อนันต์ ลือประดิษฐ์ / บทความ “The Rise of Indonesian Music” (พฤศจิกายน 2014) โดย globalindonesianvoices.com / บทความ “Java Jazz Festival 2010: Brings the Good Reputation of Indonesia in the World” (มีนาคม 2010) จาก lagodaxnian.wordpress.com / บทความ “Paul Dankmeyer on All That Jazz” (มีนาคม 2005) จาก thejakartapost.com / บทความ “Peter F. Gontha: Shifting from Business to Jazz Music” (กุมภาพันธ์ 2007) จาก thejakartapost.com / บทความ “Interview with Paul Dankmeyer” จาก ears.asia / บทความ “Music Festivals Jazz Jakarta’s Youth” (มกราคม 2015) จาก gbtimes.com / บทความ “What’s up with Indonesian Music?” (พฤศจิกายน 2013) จาก globalindonesianvoices.com / บทความ “The Indie Takeover” (กุมภาพันธ์ 2016) จาก insideindonesia.org / บทความ “Indigenous Indie Music Videos” จาก jakartaglobe.beritasatu.com / บทความ “Love Indonesia’s Indie Music Scene? There’s an App for That” (กันยายน 2014) จาก blogs.wsj.com / soundsfromthecorner.com / wolvcast.com / javajazzfestival.com / javafestivalproduction.com CREATIVE THAILAND I 27


The Creative : มุมมองของนักคิด

การลงทุนครั้งใหม่ของเพลงไทย ชมพู ฟรุ๊ตตี้ เรื่อง: มนฑิณี ยงวิกุล / ภาพ: ชาคริต นิลศาสตร์

ในยุคที่โลกออนไลน์เปิดกว้างให้คนแสดงความสามารถต่อโลกได้อย่างไร้ต้นทุน และมีสิทธิ์ที่จะดังได้ทุกเมื่อจากยอดแชร์ มหาศาล ขณะเดียวกันการขายเสียงเพลงจากแผ่นซีดีไม่ใช่แหล่งรายได้สำ�คัญอีกต่อไป สถานการณ์เช่นนี้ดูเหมือนว่า ค่ายเพลงเหมือนจะไร้ที่ยืนในอุตสาหกรรมดนตรี แต่ “สุทธิพงษ์ วัฒนจัง” หรือ “ชมพู ฟรุ๊ตตี้” ที่ผันตัวเองจากนักร้องมา เป็นนักปั้นและผู้บริหารค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ ก่อนจะมาเป็นผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท เจเอสแอล โกลบอล มีเดีย จำ�กัด ในปัจจุบัน มีอีกมุมมองที่สะท้อนถึงความเปลี่ยนแปลงและโอกาสใหม่ที่กำ�ลังมาเยือน

CREATIVE THAILAND I 28


อะไรก็ ต ามที่ ง่ า ยก็ ก ลายเป็ น ของ ตาย เพราะจะฟังเมื่อไหร่ก็ได้และมัน เป็นของฟรีด้วย ก็เลยทำ�ให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรม แต่ มู ล ค่ า ของเพลงในอุ ต สาหกรรมก็ ยังมีคุณค่าอยู่นะ เพียงแต่มูลค่ามัน เปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น เรียกง่ายๆ ว่า เงิน ย้ายที่ เงินมันไม่ได้มาในรูปของการ ขาย physical (ของที่จับต้องได้)

ในฐานะที่อยู่ในวงการเพลงมานาน ตั้งแต่เป็นนักร้องจนถึง ผูบ้ ริหารค่ายเพลง อยากให้เล่าให้ฟงั ว่าอุตสาหกรรมเพลงไทย มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ถ้าสังเกตมาจะเห็นว่ามันมีความเปลี่ยนแปลงทุกระยะตามการเปลี่ยนของ เทคโนโลยีที่ทำ�ให้ไลฟ์สไตล์ของคนเปลี่ยน อย่างเพลง ทุกวันนี้คนฟังเพลง เยอะกว่าเดิมเพราะเมื่อก่อนจะฟังเพลงมันยากต้องอยู่หน้าวิทยุ เดี๋ยวนี้มี มือถือ อยากฟังเมื่อไหร่ก็กดฟังได้เลย และเมื่อฟังง่ายขึ้น อะไรก็ตามที่ง่าย ก็กลายเป็นของตาย เพราะจะฟังเมื่อไหร่ก็ได้และมันเป็นของฟรีด้วย ก็เลย ทำ�ให้เกิดการเปลีย่ นแปลงของอุตสาหกรรม แต่มลู ค่าของเพลงในอุตสาหกรรม ก็ยังมีคุณค่าอยู่นะ เพียงแต่มูลค่ามันเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น เรียกง่ายๆ ว่า เงิน ย้ายที่ เงินมันไม่ได้มาในรูปของการขาย physical (ของที่จับต้องได้) เช่น ขายเทปคาสเซ็ตหรือซีดีแล้ว แต่ย้ายมาอยู่ที่การแสดงคอนเสิร์ต และค่า พรีเซนเตอร์แพงมหาศาล ค่าของนักร้องดังอย่างบรูโน่ มาร์ส เทย์เลอร์ สวิฟต์ มันมากกว่าศิลปินยุคเก่าอีก เพราะฉะนั้นจริงๆ มูลค่ามันไม่ได้หายไปไหน มันมากขึ้นด้วยซํ้า ธุรกิจเพลงไม่มีวันสูญหายไปไหนแน่ๆ เพียงแต่ว่าเมื่อ เทคโนโลยีและไลฟ์สไตล์เปลี่ยน เราก็ต้องมาวางแพลตฟอร์มใหม่ ว่าตกลง เงินมันย้ายไปอยู่ตรงไหน แล้วอะไรคือ value (คุณค่า) ของธุรกิจนี้ ส่วนตัวผมไม่เห็นด้วยกับการหยุดธุรกิจทำ�เพลงไปเลย เพราะการหยุด ทำ�มันมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีก็คอื มันสามารถที่จะหยุดการขาดทุนได้เลย ถ้าทำ�ต่อแต่ยังนึกไม่ออกก็ยังโอเค แต่ที่ถูกแล้ว ควรนึกให้ออกว่าจะทำ�อะไร เคยได้ยนิ นักธุรกิจหลายๆ คนบอกว่า ช่วงทีซ่ บเซานีแ่ หละเป็นช่วงทีน่ า่ ลงทุน ที่สุด เพราะหลายๆ คนถอย พอหลายคนถอยที่มันก็ว่าง แต่สำ�คัญว่าคุณ เห็นหรือเปล่าว่าจะกระโดดลงไปทำ�อะไร สำ�คัญคือต้องอ่านให้ออก แล้วมอง

โครงสร้างการลงทุนใหม่หมด คือมองใหม่เลยนะ อย่ามองอะไรที่มีอยู่ มอง ให้ออกเลยว่าฉันต้องทำ�ยังไงบ้าง ต้องลงทุนกับอะไร บุคลากรแบบไหน โครงสร้าง โรงงาน หรือบริษัทยังไง รวมถึงต้องเห็นตลาดแล้วว่าเงินมัน เข้าออกยังไง ช่วยยกตัวอย่างอะไรที่ต้องมองใหม่ สมัยก่อนคนที่อยากเป็นศิลปิน เขาต้องเดินตามครูเพลงอยู่หลายปี เป็นเด็ก ตามคอยรับใช้ เพื่อที่จะได้เข้าไปอยู่ในสภาพแวดล้อม ต้องขวนขวายด้วย ตัวเอง นักร้องลูกทุ่งบางคนกว่าจะดังก็อายุ 30 กว่าก็มี ไม่มีหรอกที่หน้าตา ดีแล้วอยู่ๆ ก็มีคนอาสาจะปั้นให้ ยุคนั้นจึงต้องเอาตัวเอาเวลาเข้าแลก ต้อง ทุม่ เททุกอย่างให้กบั มัน ต้องรักจริงๆ แล้วก็ไม่มใี ครการันตีดว้ ยว่าจะได้ไหม ค่ายเพลงก็ไม่ได้ท�ำ อะไรมาก แต่วนั หนึง่ เมือ่ ผลประโยชน์จากเพลงมันมากขึน้ มันก็เริม่ กลายเป็นสเกลใหญ่ ค่ายเพลงใช้เงินลงทุนระดับร้อยล้าน เริม่ ตัง้ แต่ หาวัตถุดิบที่ค่ายเพลงจะต้องมี R&D (วิจัยและพัฒนา) อย่างที่เราทราบกัน ว่าต้องจ้างบุคลากร ทั้งแมวมอง (scout) ฝ่ายพัฒนา (develop) ศิลปิน หลายคนก็จะต้องผ่านการแก้ การปรับ ฝึกร้อง แล้วก็หาแนวร้องว่าเป็นร็อก หรือป๊อป กว่าจะมีผลงานบางคนใช้เวลาเป็นปี นอกจาก R&D ก็จะมีทีมโปรดิวเซอร์ โปรโมเตอร์ ครีเอทีฟกรุ๊ปเฮด นี่ คือส่วนของคนทีจ่ ะมาคิดงาน ทีมโปรดิวเซอร์มหี ลาย 10 คน ก็จะมาคุยเรือ่ ง เพลง ทั้งคนเขียนเพลงเขียนเนื้อ ทีมโปรโมเตอร์กับครีเอทีฟก็จะต้องมา คุยกันเรือ่ งของภาพ คอนเซ็ปต์คอื อะไร คาแร็กเตอร์เป็นยังไง อาร์ตไดเรกชัน่ จะเป็นยังไง ใช้ฟอนต์ไหน โปสเตอร์ใช้สีแบบไหน คือผมนั่งทำ�งานพวกนี้ หมด จึงได้เห็นว่าโครงสร้างก่อนที่จะออกมาเป็นศิลปินหนึ่งคน โอ้โห บริษัท แบกไว้หมด ในยุคนัน้ คือเป็นเจ้าของหมดทุกขัน้ ตอน แต่ทเี่ ขากล้าแบกเพราะ ว่าถ้าเพลงชุดหนึ่งออกมาแล้วดังตู้ม ขายได้ล้านตลับนีอ่ ยูไ่ ด้ทงั้ ปีเลยนะ แล้วแต่ก่อนมันทะลุล้านตลับกันบ่อยไง เดี๋ยวล้านเดี๋ยวล้าน ต่างจากเมืองนอกที่ค่ายเพลงเขาไม่ต้องแบกอะไร อย่างในอเมริกา หน้าที่ R&D จะเป็นของแมวมองอิสระที่จะไปตามผับ ตามมหาวิทยาลัย ตามโรงเรียน แล้วก็ตกลงเซ็นต์เป็นผู้จัดการ พาไปหาโปรดิวเซอร์ซึ่งก็เป็น โปรดิวเซอร์อิสระอีก ไม่ได้อยู่ในค่ายเพลง โปรดิวเซอร์มานั่งคุยคิดว่าน่าจะ ทำ�อะไรก็เริ่มทำ�ไป ทำ�เสร็จยังไม่ได้มาสเตอร์อาจจะได้แค่ตัวเดโม ก็เดินไป คุยกับค่ายเพลงทีเ่ ขาเป็นคนจะลงทุนให้ ค่ายเพลงก็จะต้องสนับสนุนในเรือ่ ง ของการลงทุนและการทำ�โปรดักต์ทุกๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นโปสเตอร์ มิวสิก วิดโี อ เสร็จแล้วเขาก็ไม่ได้โปรโมตเองนะ เขาทำ�พีอาร์กบั สือ่ สือ่ ก็จะเล่นเพลง ให้คนฟัง ของเขามันมาจากมหาชนจริงๆ มันมาแบบนั้น มันจึงได้ฟีดแบ็ก ที่มาจากการตอบรับของผู้ฟังผู้ชมจริงๆ แต่ของเราทำ�ทุกอย่างอยู่ในค่าย เพลงเอง ตัดต่อเอง ไปซือ้ เวลาช่องฉายเอง ฉายเสร็จก็ขายโฆษณาเอง อยาก จะให้ดังก็โปรโมตเยอะหน่อย เป็นอย่างนี้มานานหลาย 10 ปีมาแล้ว แต่ไม่ ได้แปลว่ามีผิดมีถูกนะ ไม่ใช่เลย มันต้องเป็นอย่างนั้น เมืองไทยเรามี วัฒนธรรมทีม่ นั ไม่เหมือนของเขา เพราะฉะนัน้ มันจึงต้องมีทกุ อย่างอยูใ่ นค่าย เพลง นั่นคือ fixed cost (ต้นทุนคงที่) มหาศาล แต่มันคุ้ม

CREATIVE THAILAND I 29


ตอนนี้ค่ายเพลงจะไม่ใช่รูปแบบตายตัวแบบที่ เราเห็นในแกรมมี่หรืออาร์เอส คนที่ควรจะอยู่ ในค่ายคือคนที่นั่งอ่านเกม นั่ง มองบุคลากร ของตั ว เองว่ า ใครควรจะพั ฒ นาอะไรยั ง ไง แล้วไปจ้างโปรดิวเซอร์ จ้างคนทำ�งานทีเ่ หมาะสม มาทำ�เป็นจ๊อบ แต่ในยุคนีค้ า่ ยเพลงไม่สามารถทำ�ทุกอย่างเองเหมือนเดิม ประสบการณ์ ที่ผ่านมาทำ�ให้เรารู้แล้วว่าจะต้องลงทุนส่วนไหนแค่ไหนถึงจะเหมาะ คือคิด ออกมาว่าต่อปีผลิตศิลปินออกมากีเ่ บอร์ แล้วต้องลงทุนอะไรบ้าง การบริหาร ศิลปินเมื่อก่อนเขาแบ่งสัดส่วนกัน ประมาณ 80-20 แต่วันข้างหน้าอาจจะ ต้องแบ่ง 50-50 อย่างเกาหลีเขาแบ่ง 90-10 คือค่ายได้ 90 ศิลปินได้แค่ 10 โมเดลธุรกิจของเขาที่มี R&D แบบฟูลสเกลจะดูคล้ายกับเราเลย เพียงแต่สิ่ง ที่ไทยกับเกาหลีต่างกันคือวิสัยทัศน์ เราทำ�เพื่อภายในประเทศ แต่ของเขา ตัง้ ไว้ตงั้ แต่วนั แรกทีค่ ดิ เลยว่าจะส่งขายทัว่ โลก ทุกวันนีก้ ย็ งั ใช้เงินจากรัฐบาล มาสนับสนุนค่ายเพลง นี่คือวิสัยทัศน์ของผู้บริหารประเทศของเขา หมายความว่า ค่ายเพลงจะเป็นเหมือนผู้อำ�นวยการสร้าง อย่างเดียวเหมือนต่างประเทศหรือเปล่า มันต่างกันตรงที่ว่าผู้อำ�นวยการสร้างเมืองนอกเขาก็เป็นผู้อำ�นวยการสร้าง จริงๆ เพราะคนข้างล่าง หรือคนทำ�เขาเก่งมาก เขาทำ�งานกันเองเสร็จเลย คนบริหารก็คิดแค่ว่าอยากลงทุนไหม กระแสโลกตอนนี้เป็นยังไง หนังแนวนี้ คนอยากจะดูหรือเปล่า ตลาดนี้มันใหญ่แค่ไหน ประเทศไหนห้ามฉายหรือ เปล่า แล้วมีเรือ่ งความขัดแย้งทางศาสนา วัฒนธรรม หรือการเมืองไหม ส่วน เรื่องการพัฒนาโปรดักชั่น เขาก็ไปทำ�กันเอง แต่เมืองไทยจะยังทำ�อย่างนั้น ไม่ได้ เพราะว่าคนของเรายังไม่เก่งพอ จึงต้องมีพี่เลี้ยง ค่ายอย่างอาร์เอส แกรมมี่ ก็ยงั มีบคุ ลากรทีท่ �ำ เพลงอยูใ่ นค่าย เพียงแต่วา่ เขาลดสเกลลงมา แต่ R&D ก็ยังมีอยู่ เพราะเราจะรอให้วัตถุดิบหรือศิลปินเขาพัฒนาตัวเองให้ทัน กับความต้องการของธุรกิจมันไม่ทนั เพราะฉะนัน้ ก็ตอ้ งทำ�ขนานกันไป วันนี้ โปรดิวเซอร์หรือผูบ้ ริหารทีแ่ ตกออกมาจากค่ายเพลงอย่างผม ในอนาคตอาจ จะต้องกลับเข้าไปในค่ายเพลงในโครงสร้างใหม่ แต่ยังไม่รู้ว่าจะออกมาใน รูปแบบไหน

ตอนนี้มีบางอย่างเริ่มปรับเหมือนโมเดลของฝรั่ง คือจะเป็นการผสม ผสานระหว่างบุคลากรที่มีประสบการณ์จากค่ายเพลง อาจจะเป็นทั้งระดับ ชั้นผู้บริหาร ชั้นผู้ผลิต เช่นโปรดิวเซอร์ ทีมงานต่างๆ ที่กระจัดกระจายออก ไปตอนนี้จะมีอิสรภาพในการเลือกทำ�งาน มันจะเกิดการเขย่าใหม่ เริ่มจาก เด็กจะกลับไปเป็นยุคขวนขวายด้วยตัวเอง เริ่มฝึกเล่นจากสื่อต่างๆ จนเขา เริ่มเก่ง แมวมองซึ่งมาจากคนที่เคยเป็นโปรดิวเซอร์เห็นแล้วชอบ ก็จะชวน มาทำ�งานด้วยกัน เป็นการทำ�งานด้วยกันของผู้ผลิต 2 ฝ่ายที่มาเจอกันเอง แต่ยงั ไม่คอ่ ยมีประสบการณ์ วิสยั ทัศน์ของการมอง โพสิชนั่ หรือโปรดักชัน่ อาจ จะยังไม่คมเท่ากับคนที่มีประสบการณ์ทางธุรกิจ การตลาด หรือการบริหาร เรื่องนี้มาแล้ว ก็จะเริ่มมีการเข้ามาแตะกับที่ปรึกษา หรือเอ็กเซ็กคูทีฟ โปรดิวเซอร์ ที่จะมองว่าสิ่งที่คุณกำ�ลังทำ�กันอยู่นี้ ในทางการตลาดมันน่าจะ อยูต่ รงไหน มีโอกาสแค่ไหน เพราะฉะนัน้ ขนาดของการลงทุนควรจะแค่ไหน หรื อ จะเพิ่ ม คาแร็ ก เตอร์ หรื อ หั น มุ ม อื่ น อี ก ได้ ไ หม ก็ จ ะเป็ น เรื่ อ งของ ประสบการณ์ที่ต้องใช้เวลาสั่งสม ทีนี้ชั้นของเอ็กเซ็กคูทีฟโปรดิวเซอร์ควร จะอยู่ในหรือนอกค่ายล่ะ บางคนก็อาจจะทำ�งานให้ค่าย เพราะตอนนี้ค่าย เพลงจะไม่ใช่รูปแบบตายตัวแบบที่เราเห็นในแกรมมี่หรืออาร์เอส คนที่ควร จะอยู่ในค่ายคือคนที่นั่งอ่านเกม นั่งมองบุคลากรของตัวเองว่าใครควรจะ พัฒนาอะไรยังไง แล้วไปจ้างโปรดิวเซอร์ จ้างคนทำ�งานที่เหมาะสมมาทำ� เป็นจ๊อบ ผมยังคิดว่าถ้าโครงสร้างเราแต่ละฝ่ายแตกเป็นเอกเทศอิสระ เหมือนของฝรั่ง มันจะยังไม่แข็งแรง ต้องใช้เวลาอีก 10-20 ปีกว่าจะพัฒนา บุคลากรกลุ่มต่างๆ ให้ทำ�งานแบบสแตนด์อโลนได้ เราไม่ค่อยห่วงเรื่อง ทาเลนต์เท่าไหร่ เราห่วงเรื่องของการวางทิศทางต่างหาก เพราะมันต้องใช้ ประสบการณ์

CREATIVE THAILAND I 30


แต่ปัจจุบันศิลปินมีโอกาสมากขึ้นในการแสดงความสามารถ โดยไม่ต้องอาศัยการวางทิศทางจากค่ายเพลง เรามีโซเชียลมีเดีย มียูทูปเป็นพื้นที่ให้เด็กรุ่นใหม่ แต่การที่เขาจะเกิดมัน ก็ไม่ง่าย คือคุณมีโอกาสที่จะพรีเซนต์ แต่ไม่ได้แปลว่าจะเกิดนะ เทียบสถิติ ดูแล้วเราจะเห็นว่า คลิปทีล่ งไปวันละเป็นหมืน่ เป็นแสนหรือเป็นล้าน แต่คลิป ที่ดัง มันแค่หลักสิบ แล้วที่ดังมันก็เป็นเพราะว่ามันมีเหตุบางอย่างที่ท�ำ ให้ คนคลิก การคลิกสมัยนี้มันอาศัยการแชร์ มันจึงไปเร็ว ดังเร็วกว่าสมัยก่อน คลิปนัน้ ดัง คนทีอ่ ยูใ่ นคลิปนัน้ ก็ดงั แต่ไม่ได้ดงั เพราะว่ามันเป็นสิง่ ทีม่ คี ณุ ค่า อย่างแท้จริง แต่เพราะว่ามันคลิกในช่วงระยะเวลาสั้น มันคือเรื่องอารมณ์ ของคน จนกลายเป็นกระแส เมื่อคุณเป็นกระแสได้ คลิปต่อๆ มาก็กลาย เป็นกระแสได้เหมือนกัน เพราะฉะนัน้ คุณจึงถูกทับเร็ว ความเร็วของมันมีทงั้ ดีและเสีย แปลว่าคนที่จะอยู่ในโซเชียลมีเดียในวันนี้ได้ คุณก็จะต้องสั่งสม ประสบการณ์และมีความสามารถอย่างแท้จริง ซึ่งเด็กยุคนี้มีโอกาสพัฒนา ตัวเองได้เร็วกว่าเมือ่ ก่อน เพราะเขามีสอื่ การเรียนการสอนทีด่ ีมากๆ คนทีเ่ ขา

ดูนั่นคือคนระดับโลก สมัยก่อนเราไม่มีทางได้เห็นอะไรแบบนี้หรอก ยุคนั้น อยากเล่นเพลงไหนเราจะฟังแล้วแกะเอา เพราะฉะนั้นมันก็วัดหูกันไง แต่ เดี๋ยวนี้มีให้ดูเลยครับ มีสโลว์ภาพช้าๆ ด้วย แต่ผมก็มองว่า ไม่ว่าจะยุคไหน ไม่วา่ เด็กจะเก่งขนาดไหนก็แล้วแต่ เขาต้องมีผจู้ ดั การ เขาต้องมีโปรดิวเซอร์ เขาต้องมีโค้ช เดอะบีทเทิลส์ ก็ยงั ต้องมีจอร์จ มาร์ตนิ เป็นโปรดิวเซอร์ เพราะ มันคนละหน้าที่ เหมือนกันกับวงออร์เคสตร้า แต่ละคนเป็นนักดนตรีระดับ โลก แต่ยังไงก็ต้องฟังคอนดักเตอร์ เพราะคอนดักเตอร์รู้วา่ ทุกคนที่อยู่ในทีม เป็นร้อยจะจัดให้เล่นอะไรยังไง จะต้องเพิ่มหรือลดอะไร ซึ่งคุณอาจจะมอง ตัวเองไม่ออก แล้วมีโอกาสที่ศิลปินจะผันตัวมาเป็นโปรดิวเซอร์มากแค่ไหน ผมว่ามันเป็นคนละพันธุ์กันเลยครับ ศิลปินที่เก่งแล้วไม่ได้หมายความว่าจะ มาเป็นผู้บริหารได้ ความเป็นไปได้มีอยู่แต่ไม่น่าจะเกิน 5 เปอร์เซ็นต์

CREATIVE THAILAND I 31


ในเมื่อคนที่กำ�หนดทิศทางมีบทบาทสำ�คัญมาก คนกลุ่มนี้จะ มาจากไหน

อุตสาหกรรมเพลงของไทยมีโอกาสขยายตัวในต่างประเทศ หรือเออีซีอย่างไร

คนกลุ่มนี้มีอยู่แล้วครับ คือคนที่อยู่ในค่ายเพลงเมื่อก่อน ส่วนคนที่จะมารับ ช่วงต่อในอนาคตก็ด้วยการถ่ายทอด แต่มันอยู่ที่ว่าวันนี้โครงสร้างที่กำ�ลังจะ เกิดขึ้นจะเป็นยังไง หมายความว่าถ้าคนที่ดูทิศทางส่วนใหญ่เป็นฟรีแลนซ์ อย่างเดียว จะไม่เกิดการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นอย่างเต็มที่ มันก็จะไปไม่เร็ว แต่ถ้าเขาเป็นบุคลากรของค่าย และในเมื่อจำ�เป็นต้องสร้างเลือดใหม่ เขาก็ จะสอนลูกน้องอย่างเต็มที่ เพราะวันหนึ่งเขาก็ไม่อยากเหนื่อยแล้วไง คือผม ใช้วธิ นี มี้ าตลอด ปี 2540 ทีผ่ มเป็นเอ็กเซ็กคูทฟี โปรดิวเซอร์ครัง้ แรกทำ�อัลบัม้ ผมบอกลูกน้องเลยว่าผมจะสอนทุกคนให้เป็นเอ็กเซ็กคูทีฟโปรดิวเซอร์มา แทนผม เพราะวันหนึ่งผมก็ต้องเขยิบขึ้นไปตำ�แหน่งอื่น ผมจะเรียนจากข้าง บน ถ้ารูอ้ ะไรมาผมจะแนะนำ�ให้นอ้ งๆ ซึง่ วันนีน้ อ้ งๆ เหล่านัน้ หลายคนก็ได้ ขึ้นเป็นระดับผู้บริหารใน 2 ค่ายใหญ่ พอเราใช้วิธีการถ่ายทอดเขา เขาก็ ทำ�งานแบบนั้น เพราะเขารู้สึกว่ามันเวิร์กไง มันก็จะเกิดการแชร์กัน คนไทย วิชาสูญหายไปเยอะมากเพราะเราไม่คอ่ ยถ่ายทอดกัน เพราะเราจะคิดว่ามัน เป็นความลับที่ต้องหวงไว้ บอกคนอื่นไม่ได้ เดี๋ยวของฉันไม่มีมูลค่า สำ�หรับ ยุคก่อนๆ มันไม่ผิดนะ เพราะด้วยสิ่งแวดล้อมตอนนั้นถ้าถูกใครขโมยไปเรา ก็จะไม่มีมูลค่า แต่ตอนนี้มันไม่ใช่แล้ว เรายังไม่มีค่านิยมของการสร้างทีม แต่วันนี้เราก็เริ่มเข้าใจเรื่องของทีมเวิร์กมากขึ้นแล้ว

มันน่าเสียดายตรงที่ว่าประเทศไทยยังไม่เคยมองเรื่องของศิลปะการแสดง เป็นอุตสาหกรรม หมายถึงการบริหารในระดับชาตินะครับ ซึ่งผิดมหันต์ เพราะประเทศทีเ่ จริญทีส่ ดุ ของโลกหลายแห่งเขาก็แสดงให้เห็นแล้วว่าเรือ่ งนี้ มันเป็นธุรกิจที่สำ�คัญมาก แต่ถ้ามองในแง่ของการทำ�เพลง ถ้าคุณตั้งใจจะ แข่งไปเจาะพืน้ ทีต่ รงนัน้ โดยตรง คุณสูข้ องทีอ่ ยูใ่ นพืน้ ทีไ่ ม่ได้หรอก แต่ถา้ คุณ อยากทำ�อะไรแล้วพัฒนาในสิง่ ทีค่ ณุ อยากทำ� แล้วทำ�สิง่ นัน้ ให้ดใี ห้เจ๋งแล้วได้ ในตลาดของคุณก่อน เดี๋ยวมันจะขยายออกไปเอง และถ้าเริ่มจากตัวคุณ แล้วประสบความสำ�เร็จไม่เยอะ คุณก็ค่อยๆ พัฒนาสิว่า คุณจะพัฒนาโปรดักต์นี้ยังไง ถ้าคิดไม่ออก คุณก็ไปหาคนที่เขา จะพัฒนาคุณสิ ฝรั่งเขาทำ�แบบนี้ ไม่มีหรอกครับที่เขาจะเริ่มทำ�แล้วจะเอา ให้ได้ทั้งโลก อย่างจัสติน บีเบอร์ มาตอนเด็กๆ ก็ร้องแบบเด็กๆ ไป คนชอบ ก็มีไม่ชอบก็มี จนวันนี้เขาเก่งแล้ว ผมเชื่อทฤษฎีนี้จริงๆ เพราะทำ�กับศิลปิน อาร์เอสมาก่อน คือยังไม่พร้อม ยังไม่เพอร์เฟ็กต์ออกได้ แต่ออกงานให้เหมาะ กับอายุและความสามารถ แล้วเมือ่ เขาออกมาสูส่ นามจริงเขาจะค่อยๆ เรียน รู้และแข็งแรงขึ้น คุณต้องออกมาเรียนรู้จริงๆ เพราะอะไร เพราะผมก็เป็น แบบนัน้ มาก่อน อย่าไปคิดว่าจะต้องแข่งกับใคร เพราะแบบนัน้ คุณไม่ได้ก�ำ ลัง สร้างสรรค์งาน คุณเป็นพวกอิจฉาแล้ว ผมไม่ได้ให้ดถู กู ตัวเอง หวังได้แต่อย่า ไปหลง ทุ่มเท หรือโฟกัสกับมันมาก เพราะบางทีโฟกัสมากมันจะกลายเป็น เงื่อนไขเวลาที่เราจะเอามาทำ�งานและจะพาลให้งานเราหลงทางไปด้วย

ในวันนีเ้ ทคโนโลยีทเี่ ปลีย่ นไปจากแอนาล็อกมาสูด่ จิ ทิ ลั มันเปลีย่ นบริบทของการดำ�เนินชีวติ ไปมหาศาลแล้ว ถ้าถามว่าผมจะแนะนำ�ให้ทำ�ยังไง ผมก็จะบอกว่าไม่ต้องคิดมาก อย่าคิด แต่จงบริโภค จากวันนี้ถ้าอยากรู้ว่าจะต้องทำ�อะไร จงบริโภค การเป็นนักบริหารที่ดีต้อง เป็นผู้บริโภคที่ดีมากๆ ด้วย เพราะเทคโนโลยีมันมาบังคับไลฟ์สไตล์ แล้วไลฟ์สไตล์ก็ บังคับการทำ�ธุรกิจ ผมดูหนังเกือบทุกเรือ่ งทีฉ่ ายในโปรแกรม ละครทีวจี ะคอยเช็กดูวา่ เรือ่ งไหนดัง เพราะ เราไม่ใช่คนดูละครเป็นหลัก แต่ท�ำ เพลงละครเยอะมาก พวกสมาร์ทโฟนก็อพั เดทตลอด อีก อย่างก็คือ เราเล่นกับลูก เวลามีคลิปมีข่าวอะไรลูกจะแชร์มาตลอด เพราะเราไม่ใช่ผู้ใหญ่ ทีค่ อยว่าเขาไง ผมลงทะเบียน MSN ให้ลกู สาวเล่นตัง้ แต่ 9 ขวบและไม่เคยไปยุง่ กับโซเชียล ของลูกเลย อยากคุยกับใคร อยากดูอะไร แล้วแต่เขาเลย แต่เราจะสอนว่าคุณต้องเคารพ ตัวเอง

CREATIVE THAILAND I 32


greenmusic.org.au

Creative Will : คิด ทํา ดี

เรื่อง: ภูษณิศา กมลนรเทพ

แรงขับเคลื่อนเรื่องดนตรีกับสิ่งแวดล้อมมีให้เห็นกันมากขึ้นโดยเฉพาะในเวลานี้ที่ผู้คนหันมาใส่ใจกับภาวะโลกร้อนและปัญหา สิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น เมื่อบรรดาศิลปิน องค์กรผู้จัดงาน สปอนเซอร์ และแฟนๆ ผู้มาร่วมงาน ร่วมมือกันทำ�ให้มหกรรม ดนตรีที่ทุกคนรัก กลายเป็นอีเวนต์ปลุกพลังบวกของสังคม ทุกคนจึงสามารถช่วยสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมใหม่ให้ดีขึ้นได้ กลุ่มศิลปินกรีนมิวสิกออสเตรเลีย (Green Music Australia) เครือข่าย ไฮไลต์ของงาน คือสเตชัน่ ปัน่ จักรยานเพือ่ ผลิตพลังงาน ทีเ่ กิดจากการร่วมแรง นักร้อง นักดนตรี มิวสิกเอเจนซี และผู้ที่ทำ�งานด้านสิ่งแวดล้อมของ ร่วมใจกันปั่นจักรยานของผู้เข้าร่วมงานไปใช้เป็นพลังงานสำ�หรับเวทีแสดง ออสเตรเลีย ได้รว่ มมือกันผลักดันโครงการเพือ่ อนุรกั ษ์สงิ่ แวดล้อมทีน่ า่ สนใจ คอนเสิร์ต นอกจากนี้ ยังคัดเลือกผู้ขายของในงานให้เข้ากับธีม ตั้งแต่ร้านที่ ด้วยการให้กลุม่ ศิลปินทีม่ ฐี านะเป็นไอดอลให้กบั แฟนๆ ทัว่ โลก มาร่วมสร้าง มีอุปกรณ์ผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์ขนาดพกพา ไปจนถึงร้านอาหาร การเปลี่ยนแปลงต่างๆ อย่างสร้างสรรค์ ถ่ายทอดแนวคิดในการขับเคลื่อน ออร์แกนิก มีเจ้าหน้าที่ในงานคอยให้ความรู้เรื่องการรีไซเคิลและแยกขยะ ทิศทางของสังคมสู่ใจผู้คน โครงการ BYO Bottle หรือ Bring Your Own ลานกิจกรรมสำ�หรับเด็กๆ และลานจอดจักรยานฟรี นับเป็นการจัดการ Bottle คือแคมเปญนำ�ร่องในปีนี้ ที่สนับสนุนให้แฟนเพลงผู้เข้าชมคอนเสิร์ต บริหารทิศทางของชุมชนจากรัฐบาลผ่านเทศกาลดนตรีทดี่ ี ซึง่ เนือ้ หาสามารถ นำ�กระบอกนํ้าติดตัวมาเอง และผลักดันให้ภายในมิวสิกเวนิวที่จัดงานไม่มี เข้าถึงคนในเมืองได้จริง และเชื้อเชิญให้ทุกฝ่ายได้เข้ามามีส่วนร่วม เพื่อนำ� การขายนํ้าบรรจุขวดพลาสติก แต่มีจุดบริการเติมนํ้าดื่มฟรีทั่วงานเพื่อ วิธีรักษาสิ่งแวดล้อมง่ายๆ ไปปรับใช้ในครอบครัวต่อไป ลดปริมาณขยะ ศิลปินจะร่วมมือกันประชาสัมพันธ์ให้แฟนคลับนำ�กระบอกนํา้ มาดูฝั่งของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมดนตรี ที่ก็สามารถทำ�งาน มาเองผ่านการโพสต์รูปของตนเองกับกระบอกนํ้าส่วนตัวดีไซน์เก๋ไก๋ลงใน สร้างสรรค์ไปพร้อมๆ กับการคำ�นึงถึงชุมชนและสิง่ แวดล้อมไปด้วยได้ รีเวิบ อินสตาแกรม พร้อมข้อความเชิญชวนทุกคนให้หันมาใช้กระบอกนํ้าแทน (Reverb) ออร์แกไนเซอร์ผู้รับจัดงานคอนเสิร์ตและงานดนตรีต่างๆ ให้กับ ขวดพลาสติกใช้แล้วทิ้ง ไม่เพียงเท่านี้ โครงการนี้ยังบอกแนวทางปฏิบัติที่ เหล่าศิลปิน ได้ดำ�เนินธุรกิจภายใต้แนวทางที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมทุก ง่ายและชัดเจนเพื่อลดปริมาณขวดนํ้าให้กับพาร์ทเนอร์อื่นๆ เช่นแบรนด์ กระบวนการ ล่าสุดได้จัดตั้ง กรีนมิวสิกกรุ๊ป (Green Music Group) ขึ้นเป็น ขายเครื่องดื่มที่ทำ�กระบอกนํ้าดีไซน์พิเศษเพื่อบรรจุเครื่องดื่มจำ�หน่าย พันธมิตรด้านสิง่ แวดล้อมของผูค้ นในแวดวงดนตรี ทีไ่ ด้รบั ความร่วมมือจาก ในงานเป็นการเพิ่มมูลค่าแทนการขายนํ้าในขวดพลาสติกที่เพิ่มขยะ และยัง ทั้งมิวสิกสตูดิโอ ศิลปิน เจ้าของพื้นที่จัดงาน สตูดิโอจัดแสงที่ใช้ไฟแอลอีดี รับอาสาสมัครหนุ่มสาวที่นอกจากจะมาดูคอนเสิร์ตแล้ว ยังมาระดมกำ�ลัง ร้านผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ที่เลือกใช้สิ่งพิมพ์ลดโลกร้อน ร้านขายอาหารซึ่งคัดสรร ช่วยแยกขยะต่างๆ ภายในงานไปรีไซเคิลอีกด้วย วัตถุดิบที่ดีต่อสุขภาพและเก็บกวาดอย่างถูกสุขลักษณะ หรือแม้แต่บริษัท ขณะที่หน่วยงานภาครัฐของเมืองก็เริ่มหันมาใช้มิวสิกอีเวนต์ในการ รถขนส่งอุปกรณ์ที่ใช้รถบรรทุกแบบไบโอดีเซล ประชาสัมพันธ์แนวทางลดโลกร้อนให้กับพลเมืองเช่นกัน กรีนมิวสิกเฟสต์ เมื่อต่างฝ่ายต่างให้ความร่วมมือทำ�งานในส่วนที่ตนรับผิดชอบด้วย ชิคาโก (Green Music Fest Chicago) เป็นงานมิวสิกเฟสติวัลประจำ�ปีที่ ความใส่ใจต่อชุมชนและสิง่ แวดล้อมด้วยกันอย่างนี้ ก็เห็นได้ชดั ว่า สายอาชีพ เกิดขึ้นในเดือนมิถุนายน ที่วิกเกอร์ ปาร์ก (Wicker Park) ย่านฮิปสเตอร์ทาง เอนเตอร์เทนเนอร์อย่างพวกเขาก็สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีให้กับ ตะวันตกของชิคาโก โดยนอกจากมาชมคอนเสิรต์ แล้ว ภายในงานยังให้ความรู้ สังคมได้อย่างมากด้วยเช่นกัน แก่คนในเมืองเรื่องการใช้ชีวิตประจำ�วันตามแนวทางอีโคเฟรนด์ลี่ โดยมี ที่มา: บทความ “Introducing the Green Music Group” (25 พฤษภาคม 2011) โดย Adam Gardner จาก huffingtonpost.com / บทความ “The best attractions in Wicker Park and Bucktown” (15 เมษายน 2013) จาก timeout.com/Chicago / วีดโี อ “Falls Festival - Byron - Green Team” (5 มกราคม 2016) โดย The Events Agency จาก vimeo.com / บทความ “Green Music” (19 มกราคม 2016) โดย Tim Hollo จาก musicindustryinsideout.com.au / บทความ “Why Art Has the Power to Change the World” (24 มกราคม 2016) โดย Olafur Eliasson จาก huffingtonpost.com / บทความ “When Music Soothes The Earth” (7 กุมภาพันธ์ 2016) จาก radio.adelaide.edu.au / greenmusic.org.au / facebook.com/GreenMusicAustralia / greenmusicfestchicago.com / facebook.com/greenmusicfest / choosechicago.com/neighborhoods-and-communities/ wicker-park-bucktown / reverb.org / greenmusicgroup.org/what-is-gmg CREATIVE THAILAND I 33


" วิสัยทัศน์ว่าด้วย 'ความสุข' ซึ่งเป็นนามธรรม ถูกสร้างให้เป็นรูปธรรมผ่านพนักงาน เพราะหาก บริษัทจะสร้างความสุขให้แก่ลูกค้า ก็ต้องอาศัย พนักงานที่มีความสุขมาท�ำงานด้วยอุดมการณ์ เดียวกัน เพื่อเป็นผู้ส่งต่อความสุขให้แก่ลูกค้า" ชาตยา ชูพจน์เจริญ ทายาทธุรกิจ BBQ Plaza ผู้สร้างความส�ำเร็จจากการรีแบรนด์

Es M S จ ิ ก องธุร ข า ้ จ เ ก า นๆ จ แนวหน้า ด โ ด ิ ค ว แน ะดับ ร จ ็ ร เ ำ � ส ความ ังแล้วรวย” บ ส ะ ร ป ้ ู ผ “ฟ 59 ม ร ร ก จ ิ จากก 3 มกราคม 25 อกแบบ(TCDC) 22 – 2 ์สร้างสรรค์งานอ ณ ศูนย "ผู้สนับสนุนที่แท้จริงของธุรกิจ

10

อาจไม่ใช่นายทุนเสมอไป แต่เป็นผู้ใช้บริการต่างหาก"

วัลลภา คมคาย ผู้บริหาร GrabTaxi คลื่นลูกใหม่เขย่าวงการแท็กซี่ไทย

" ทะเลมันกว้างมาก ใครจะตกปลาน�้ำลึกหรือ น�้ำตื้นก็เลือกเอาได้ตามสบาย แต่ที่ส�ำคัญคือ ท�ำอะไรต้องท�ำแล้วมีความสุขและไม่เป็นหนี้" กรภัคร์ มีสิทธิตา

"การออกแบบ Visual Identity หรืออัตลักษณ์ ทางกายภาพอย่างเป็นระบบและมีเอกภาพ จะท�ำให้เกิดมาตรฐานทีส่ ง่ ผลต่อการออกแบบอื่นๆ ในอนาคต ท�ำให้งานเก่าและงานใหม่สอดคล้องกัน และจะช่วยให้ผู้บริโภคจดจ�ำแบรนด์ได้ด้วย"

เจ้าของธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ Fast Techno ผู้เปลี่ยนหนี้เป็นยอดขายหลักร้อยล้านบาท

สมชนะ กังวารจิตต์ ครีเอทีฟ ไดเร็กเตอร์ Prompt Design เจ้าของรางวัลคานส์ผู้ขับเคลื่อนวงการบรรจุภัณฑ์ไทย

" ถ้ามีร้านก๋วยเตี๋ยวที่มีหม้อเดียว สูตรอร่อยมาก แต่ขายที่เดียว ต่อให้ลูกค้าแน่นแค่ไหนรวยแค่ไหน ก็เป็น SMEs ไม่ใช่ Startup แต่ถา้ น�ำสูตรน�ำรูปแบบ ไปท�ำได้หลายสาขาไม่จ�ำกัดอย่างชายสี่หมี่เกี๊ยว นั่นแหละคือ Startup" กิตตินันท์ อนุพันธ์ ผู้ก่อตั้ง Claim Di CREATIVE ที่ผันตัวจากTHAILAND SMEs สู่ Startup I 34


" เราไม่ขึ้นราคาเลยตลอด 3 ปีที่ ผ่านมา แต่รักษาราคาด้วยการ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อยังให้ ลูกค้าได้ของดีในราคาย่อมเยา"

" อาข่าอ่ามาเป็นธุรกิจเพื่อสังคม เป็นการหาทางออกให้ชุมชน เราเข้าไปดูวา่ ปัญหาของชุมชนคืออะไร แล้วหาวิธีแก้ให้พวกเขา เช่น การช่วยสื่อสารกับลูกค้า หรือ ช่วยหาช่องทางขาย เป็นการพัฒนา จากล่างสู่บน"

สุรนาม พานิชการ ผู้ก่อตั้ง TOFUSAN ซึ่งพลิกโฉมธุรกิจน�้ำเต้าหู้ ด้วยการผสมผสานงานออกแบบเข้ากับงานวิจัย

ลี อายุ จือปา

ผู้ก่อตั้ง Akha Ama ธุรกิจกาแฟจากเชียงใหม่ ที่ได้รับคัดเลือกให้ร่วมเวทีกาแฟโลก

" ธุรกิจคือกิจที่เป็นธุระ ถ้าเรามีความสุขกับสิ่งที่ท�ำ ไม่ว่ายังไงก็จะเจอทางเลือกที่ผสมผสานความเป็น ตัวเองเข้ากับสิ่งที่ท�ำและสามารถเดินหน้าไปต่อได้" ชารีย์ บุญญวินิจ

เจ้าของฟาร์มไส้เดือน Uncle Ree ผู้ใช้ความคิดสร้างสรรค์พลิกแนวทางธุรกิจการเกษตร

"อี-คอมเมิร์ชจะโตจาก 3 ปัจจัยหลัก ข้อแรกต้องมีข้อมูลครบและสวยงาม ข้อสองต้องจ่ายเงินได้ง่ายสะดวก และข้อสามการจัดส่งต้องรวดเร็วถูกต้อง" สุรีรัตน์ ศรีพรมค�ำ เจ้าของเจคิวปูม้านึ่งเดลิเวอรี่ ต่อยอดธุรกิจอาหารด้วยการบริการ

“ หากต้องการเปิดชุมชนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว คนในชุมชนควรมีจุดยืน วางกฎระเบียบในการเข้ามา ในพื้นที่อย่างชัดเจน ให้นักท่องเที่ยวเป็นฝ่ายปรับตัว ตามความเป็นอยู่ดั้งเดิม เพื่อรักษาอัตลักษณ์ ควบคู่ไปกับการสร้างเศรษฐกิจของชุมชน” วรพันธุ์ คล้ามไพบูลย์ ผู้ช�ำนาญการเปลี่ยนบ้านเก่าเป็นบูติคโฮเทล โอภาส ลิมปิอังคนันต์ นักวางกลยุทธ์แบรนด์เปลี่ยนบ้านเก่าเป็นบูติคโฮเทล

มาเปลี่ยนธุรกิจ SMEs ของคุณให้แกร่ง ด้วยการติดอาวุธทางปัญญา ใช้กลยุทธ์การออกแบบในการแก้ไขปัญหาธุรกิจ กับโครงการ“CHANGE SMEs: เปลี่ยนแล้วรวย” โดย ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) ใน 5 กิจกรรมหลัก ดูแล้วรวย คลิปวิดีโอที่เล่าถึงการพัฒนาธุรกิจในแบบดูสนุกย่อยง่าย ฟังแล้วรวย ฟังแนวคิดโดนๆ จากเจ้าของธุรกิจSMEs ผู้ประสบความส�ำเร็จระดับแนวหน้า ถามแล้วรวย รับค�ำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่มาให้ค�ำปรึกษาแบบตัวต่อตัว เรียนแล้วรวย ติวเข้มความรู้ด้านกลยุทธ์การออกแบบและความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบธุรกิจ ท�ำแล้วรวย ท�ำจริงกับเวิร์กช็อปที่จะเน้นการท�ำงานจริงบนโจทย์จริง ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ : changesmes.tcdc.or.th

CREATIVE THAILAND I 35


CREATIVE THAILAND I 36


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.