CREATIVE THAILAND I 2
wall.alphacoders.com
“Be an opener of doors.” จงเป็นผู้เปิดประตูก่อน Ralph Waldo Emerson นักประพันธ์ชาวอเมริกัน
CREATIVE THAILAND I 3
Contents : สารบัญ
The Subject
6
อิสราเอล ดาวรุ่งแห่งตะวันออกกลาง / Startup India Rocks! เวทีของสตาร์ทอัพ หน้าใหม่ในอินเดีย / Neoshop หน้าร้านของ สตาร์ทอัพ
Creative Resource 8
Featured Book / Books / Documentary
Matter 10 E-waste กับทางออกที่ง่ายขึ้น
Local Wisdom
12
Cover Story
14
(Wood) Turning to the opportunities
EXIT to the new reality สู่ความเป็นไปได้ไร้ขีดจำ�กัด
Insight 20 How do you spend time in this moment?
Creative Startup 22 YouPin เมื่อมวลชนจัดการเมืองด้วยข้อมูล
Creative City
24
The Creative
28
Creative Will
34
Saudi Arabia ก้าวใหม่ของ (ว่าที่) อดีตเศรษฐีนํ้ามัน
Smart Farming ที่เป็นไปได้และไม่ไกลเกินเอื้อม
CyberEthics and the Spirit of the Internet
บรรณาธิการอำ�นวยการ l อภิสทิ ธิ์ ไล่สตั รูไกล ทีป่ รึกษา l ชมพูนทุ วีรกิตติ, พิชติ วีรงั คบุตร, จรินทร์ทพิ ย์ ลียะวณิช, พจน์ องค์ทวีเกียรติ บรรณาธิการ l พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์ กองบรรณาธิการ l ศิริอร หริ่มปราณี, มนฑิณี ยงวิกุล, เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร, ชลดา เจริญรักษ์ปัญญา, อําภา น้อยศรี, ปิยวรรณ กลิ่นศรีสุข, นันท์นรี พานิชกุล เลขากองบรรณาธิการ l วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ ศิลปกรรม l ชิดชน นินนาทนนท์ สมาชิกสัมพันธ์ l ปิยะพร สวัสดิ์สิงห์ ประสานงานกองบรรณาธิการ l ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ ช่างภาพและมัลติมีเดีย l ชาคริต นิลศาสตร์ จัดทำ�โดย l ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) ชั้น 24 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอร์ 622 สุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 โทร. 02 664 7667 แฟกซ์. 02 664 7670 ติดต่อลงโฆษณาได้ที่ creativethailand@tcdc.or.th พิมพ์ที่ l บริษัท สยามพริ้นท์ จำ�กัด โทร. 02-509-0068 แฟกซ์. 02-509-2971-2 จำ�นวน 33,000 เล่ม นิตยสารฉบับนีใ้ ช้หมึกพิมพ์จากนา้ํ มันถัว่ เหลืองทีไ่ ม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทัง้ ยังเป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อม และใช้กระดาษ รีไซเคิล ซึ่งเป็นผลผลิตของผู้ประกอบการไทย จัดทำ�ภายใต้โครงการ “Creative Thailand สร้างเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์” โดยศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ สำ�นักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) ซึง่ มีเป้าหมายในการเผยแพร่ความรูเ้ กีย่ วกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) และผลักดันการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย
อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส CREATIVE THAILAND I 4 แสดงที่มา-ไมใชเพื่อการคา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย
wallpaper.zone
Editor’s Note : บทบรรณาธิการ
เมื่อโลกดิจิทัลและอินเทอร์เน็ตได้เข้ามาเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้คน จึงไม่ใช่เรื่องเกินความคาดหมายที่จะเห็นปรากฏการณ์การล่มสลายของธุรกิจ บางประเภท ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจเก่าแก่หรือเพิ่งก่อร่างสร้างตัว ไม่มีข้อยกเว้นว่า จะเป็นธุรกิจบริการของรัฐหรือเอกชน การต่อสูเ้ พือ่ หาทางออกให้ธรุ กิจ จึงไม่ใช่ เรื่องแค่การเอาชนะคู่แข่งแบบรายไตรมาสหรือรายปี แต่หมายถึงการเดิมพัน ครั้งใหม่ บนทางแยกที่องค์กรต้องตัดสินใจ Schöning Publishing House เป็นผู้ผลิตโปสการ์ดรายใหญ่ของเยอรมนี กว่าร้อยละ 60 ของโปสการ์ดที่ขายและส่งออกมาจากบริษัทเก่าแก่ที่ทำ�ธุรกิจ มากว่า 100 ปีแห่งนี้ จากที่เคยมียอดขายปีละ 150 ล้านใบ แต่นับตั้งแต่ปี 2008 เป็นต้นมา ยอดขายโปสการ์ดตกลงเหลือปีละ 60 ล้านใบ และลดลงทุกปี ปีละ กว่า 10-15% ปัจจุบนั ยอดขายอยูท่ รี่ าวๆ 30 ล้านใบต่อปี การหดตัวอย่างรุนแรง และมีทีท่าที่จะลดลงเรื่อยๆ ทำ�ให้บอริส เฮสส์ (Boris Hesse) ผู้บริหารของ บริษทั ต้องหากลยุทธ์ใหม่มาสร้างแรงดึงดูดกลุม่ ลูกค้าทีเ่ มินเฉยต่อความยินดีที่ ได้รับโปสการ์ดจากแดนไกล และมาชื่นชมกับการเซลฟีภาพวิวของสถานที่ ท่องเที่ยวแทน แน่นอนว่าบริษัทยังต้องรักษาตัวตนของการผลิตโปสการ์ด แต่ ด้วยลูกเล่นทีต่ อ้ งหยอกล้อกับกลุม่ ลูกค้าทีร่ กั ความทันใจมากขึน้ โดยการพัฒนา ตูโ้ ปสการ์ดสำ�หรับนักท่องเทีย่ ว ซึง่ ด้วยเงินเพียง 3.5 ยูโร ทุกคนจะได้โปสการ์ด รูปตัวเองและคนที่รักเป็นที่ระลึก นอกจากนี้ Schöning ยังผลิตโปสการ์ดแบบ คิวอาร์โค้ด เพื่อสร้างสีสันใหม่ของโปสการ์ด โดยเมื่อสแกนบนโปสการ์ดแล้ว จะได้ยินเสียงของสถานที่นั้นๆ เก็บเป็นความทรงจำ� แม้จะสรรหาเทคนิคใหม่ เพื่อมัดใจลูกค้า แต่ประสบการณ์ที่เข้าถึงรสนิยมของลูกค้าเป็นสิ่งที่นวัตกรรม ลา้ํ สมัยไม่ได้บอกไว้ เพราะนักท่องเทีย่ วทุกชาติมรี สนิยมต่างกัน เช่น ชาวเยอรมัน ชอบความตลกขบขัน ชาวอเมริกนั ชอบความเป็นประวัตศิ าสตร์ ชาวญีป่ นุ่ ชอบ
ความคลาสสิก ซึ่งความพยายามต่อสู้ทางธุรกิจของผู้ผลิตโปสการ์ดก็ยังยืนอยู่ บนจุดแข็งของความเป็นโปสการ์ด นั่นคือภาพวิวอันอัศจรรย์จากฝีมือช่างภาพ อาชีพกว่า 80-90 คน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ หาไม่ได้จากภาพเซลฟีหรือกล้องจากมือถือ นั่นเอง ธุรกิจโปสการ์ดกับความเปลี่ยนแปลงของวิถชี วี ติ ผูบ้ ริโภคนั้นเป็นปรากฏการณ์ ทีช่ ดั เจน และตอกยํา้ ให้เห็นภาพชัดยิง่ ขึน้ ด้วยสถิตกิ ารส่งจดหมายในเมืองซิดนีย์ ของออสเตรเลีย ซึง่ มีจ�ำ นวนลดลงมาก และเปลีย่ นแปลงจากจำ�นวนจดหมายเป็น พัสดุแทน โดยเฉลี่ย บุรุษไปรษณีย์จะรับผิดชอบจดหมาย 1,000-1,200 ฉบับ ต่อวัน ในจำ�นวนนี้เป็นสัดส่วนของพัสดุ 300-400 กล่อง และมีจำ�นวนเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนือ่ ง โดยบุรษุ ไปรษณียใ์ นซิดนียจ์ ะส่งของไปทัว่ ประเทศกว่า 100 ล้าน ชิ้นต่อสัปดาห์ ตัวเลขนี้ชี้ให้เห็นว่า อีเมลได้เข้ามาแทนที่จดหมาย และการ สัง่ ซือ้ สินค้าออนไลน์กไ็ ด้รบั ความนิยมท่วมท้น จนทำ�ให้ไปรษณียข์ องซิดนียต์ อ้ ง ปรับรูปแบบการบริการเพื่อรองรับการจัดส่งพัสดุให้ได้เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว จากสมการเดิมที่ครํ่าหวอดกับการสร้างต้นแบบ การลดต้นทุน การเพิ่ม ผลผลิต การทำ�การตลาดและโฆษณา ที่เป็นสูตรสำ�เร็จดั้งเดิม ได้เปลี่ยนมาสู่ การสร้างเคมีใหม่ทางธุรกิจที่ต้องใช้ศาสตร์ความรู้ที่ผสมผสานทั้งจิตวิทยา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี โดยมีการออกแบบเป็นตัวเชื่อมให้ศาสตร์ทุกอย่าง ราบรื่นจนกลายเป็นสินค้าและบริการในมือลูกค้า ดังนั้นคำ�ว่านวัตกรรม จึง ราวกับเป็นคำ�สามัญที่ต้องพูดถึงในทุกองค์กร แต่อะไรคือนวัตกรรมที่เร็วพอ ลํ้าสมัยพอ และแข็งแกร่งพอ นั่นยังคงไม่มีคำ�ตอบที่แน่ชัดหรือเส้นทางลัดที่จะ ไปถึง เราจึงจำ�เป็นต้องศึกษาและเรียนรูเ้ พือ่ จะสร้างโอกาสในความท้าทายใหม่ๆ นี้เอง เพราะที่สุดแล้ว ความล้มเหลวก็อาจเป็นประสบการณ์ที่ลํ้าค่าที่สุด นั่นเอง อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล บรรณาธิการอํานวยการ Apisit.L@tcdc.or.th
CREATIVE THAILAND I 5
The Subject : ลงมือคิด เรื่อง: กมลกานต์ โกศลกาญจน์
ก่อนจะหมดปี 2016 วงการสตาร์ทอัพระดับโลกต้องจับตามองประเทศ ดาวรุ่ ง ในตะวั น ออกกลางอย่ า งอิ ส ราเอลกั น อี ก ครั้ ง เมื่ อ รายงานจาก IVC-Meitar กล่าวว่า สตาร์ทอัพสัญชาติอสิ ราเอลกว่า 45 ราย ได้ ‘exit’ ออกไปจนสร้างรายได้มากถึง 3.32 พันล้านเหรียญฯ ให้กับประเทศใน ช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมา โดยรายงานนี้ยังระบุอีกว่า ภายในสิ้นปี 2016 จะมี สตาร์ทอัพอีกอย่างน้อย 100 รายที่กำ�ลังเจรจาการซื้อขาย โดยประมาณการ ว่าจะมีเงินกว่า 7 พันล้านเหรียญฯ เกิดขึ้นหลังจากการปิดข้อตกลง การซือ้ ขายทีใ่ หญ่ทสี่ ดุ ของปี 2016 นัน้ เกิดขึน้ ด้วยตัวเลขทีน่ า่ พอใจคือ 811 ล้านเหรียญฯ สำ�หรับ EZchip Semiconductor บริษทั ผลิตอุปกรณ์ตวั นำ� สำ�หรับใช้ในโรงงานที่มีฟังก์ชั่นในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่าง คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายท้องถิน่ โดยใช้สายเคเบิล ซึง่ ถูกซือ้ ไปโดย Mellanox Technologies ตัวเลขรองลงมาคือ Ravello Systems ที่ถูกซื้อจาก Oracle ไปที่ 430 ล้านเหรียญฯ และการซื้อขายที่ถูกพูดถึงมากที่สุดก็คือ Waze
forbes.com
amazonaws.com
thenextweb.com
อิสราเอล ดาวรุ่งแห่งตะวันออกกลาง
แอพพลิเคชัน่ การจราจรและการสำ�รวจเส้นทาง ทีม่ เี ป้าหมายเพือ่ ช่วยให้ผใู้ ช้ ยานพาหนะต่างๆ สามารถเดินทางในเส้นทางที่ดีที่สุดและใช้เวลาน้อยที่สุด ในการไป-กลับในแต่ละวัน ธุรกิจนี้สามารถ exit ได้จาก Google ที่เข้ามา ซื้อในราคา 1.1 พันล้านเหรียญฯ หรือเป็นเงินมูลค่ากว่า 3.8 หมื่นล้านบาท เพราะไม่ใช่เป็นเพียงเมืองทีถ่ กู กระตุน้ ให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ อยูเ่ สมอ เท่านั้น แต่อิสราเอลเองกำ�ลังก้าวขึ้นสู่การเป็นศูนย์กลางด้านการวิจัยให้กับ บริษัทชั้นนำ� อาทิ IBM, HP, Broadcom หรือ Cisco โดยเฉพาะการเข้ามา ซื้อขายสตาร์ทอัพหรือธุรกิจจากฝั่งอเมริกาที่จะเป็นใบเบิกทางในการสร้าง ศูนย์กลางการวิจัยและมอบประสบการณ์ทั้งยังสร้างรายได้ให้กับคนใน ประเทศ การ exit ที่มาแรงของสตาร์ทอัพหรือธุรกิจในอิสราเอลนี้ กำ�ลังเป็น ความหวังใหม่ในการขับเคลื่อนเมือง และเป็นการเสริมสร้างความแข็งแรง ให้กับระบบของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีในประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป ที่มา: บทความ “Israeli exits in first half of 2016 total $3.32 billion จาก israel21c.org
CREATIVE THAILAND I 6
Neoshop หน้าร้านของสตาร์ทอัพ
blog.startupindia.rocks
quartierinnovationmontreal.com
Startup India Rocks! เวทีของสตาร์ทอัพหน้าใหม่ในอินเดีย
หนึ่งในการวัดผล Startup Ecosystem หรือระบบที่กลุ่มคนมีปฏิสัมพันธ์กัน เพือ่ สร้างสตาร์ทอัพใหม่ๆ ทีด่ ที สี่ ดุ ก็คอื ตัวเลขการ exit ของสตาร์ทอัพ เพราะ เป็นการแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นที่เหล่านักลงทุนหรือบริษัทยักษ์ใหญ่มี ให้กับเหล่านักสร้างสรรค์ทั้งหลาย เมื่อหันมองดูประเทศที่ขึ้นชื่อเรื่องความ ชาญฉลาดและการมีประชากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี ทำ�ให้ “อินเดีย” เป็นหนึ่งในประเทศที่มีนวัตกรรมใหม่และจำ�นวนสตาร์ทอัพด้าน เทคโนโลยีลํ้าหน้าเป็นหนึ่งไม่แพ้ใคร ในปี 2016 นี้ อินเดียก็ไม่ทำ�ให้ผิดหวังด้วยการก้าวขึ้นมาเป็นอันดับที่ 3 จากการจัดอันดับสตาร์ทอัพที่ exit มากทีส่ ดุ ในโลก (รายงานโดยฐานข้อมูล จาก CB Insights) หนึ่งในปัจจัยที่ทำ�ให้อินเดียมีสตาร์ทอัพที่ประสบความ สำ�เร็จในระดับโลกได้มากขนาดนี้ ก็ด้วยเพราะการมีแพลตฟอร์มหรือ กิจกรรมที่สนับสนุนให้สตาร์ทอัพทุกคนได้มีโอกาสแสดงศักยภาพ ตัวอย่าง เช่น Startup India Rocks เวทีการแข่งขันที่เหล่าสตาร์ทอัพหรือธุรกิจจาก 20 เมืองในอินเดียจะมีโอกาสได้ประกวดเพื่อชิงรางวัลเงินสนับสนุนจาก นักลงทุน คำ�ปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนเครือข่ายใหม่ๆ กับธุรกิจ ยักษ์ใหญ่ทั้งในและต่างประเทศ โดยสตาร์ทอัพหรือธุรกิจที่ได้รับรางวัล ชนะเลิศจะได้รับสิทธิ์ในการเข้าถึงนักลงทุนในเครือข่ายมากกว่า 100 ราย ซึง่ เวที Startup India Rocks เริม่ ต้นเป็นครัง้ แรกในปี 2015 ทีร่ ฐั กัวทางชายฝัง่ ตะวันตกของอินเดีย ซึ่งแม้จะเป็นรัฐขนาดเล็กแต่ก็มีเหล่านักสร้างสรรค์อยู่ เป็นจำ�นวนมาก โดยในปีนี้ กิจกรรมนีจ้ ะเดินทางไปยังเมืองต่างๆ ทัว่ อินเดีย รวม 20 เมือง เพื่อเฟ้นหาสตาร์ทอัพหน้าใหม่กว่า 1,000 ราย ในการส่งเสริม และสนับสนุนให้ทุกไอเดียของทุกคนได้ไปต่อและเป็นจริง ที่มา: startupindia.rock
ก่อนจะเติบใหญ่ ต้องเริ่มกันที่ก้าวแรก ความน่ารักของเมืองมอนทรีออลใน แคนาดา ก็คือการใส่ใจกับสตาร์ทอัพในพื้นที่ ด้วยการเปิดร้านนีโอช็อป (Neoshop) ขึน้ มา เพือ่ เป็นพืน้ ทีส่ �ำ หรับให้เหล่าสตาร์ทอัพได้ใกล้ชดิ กับลูกค้า มากยิ่งขึ้น โดยหลังจากความสำ�เร็จในการเปิดตัวที่ฝรั่งเศสเมื่อ 3 ปีก่อน ใน คราวนี้นีโอช็อปก็ได้มาถึงทวีปอเมริกาเหนือ ที่จะได้มีพื้นที่แสดงเทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ให้สาธารณชนได้เห็น สัมผัส ทดสอบการใช้งาน และ แน่นอนว่าสามารถจับจองซื้อเป็นเจ้าของไปได้ ภายในร้านจึงมีพื้นที่ให้เหล่า สตาร์ทอัพนำ�สินค้าหรือบริการมาขึน้ ชัน้ ให้ลกู ค้าได้เลือกสรร แดเมียน ซิเลส์ (Damien Silès) หนึ่งในผู้บริหารของนีโอช็อปกล่าวว่า เขาต้องการสนับสนุน ธุรกิจที่ผู้คนภูมิใจในสิ่งที่ตัวเองลงมือทำ� และเชื่อว่านีโอช็อปจะเป็นหนึ่งใน ช่องทางที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของเมืองได้ โดยผลิตภัณฑ์จะมีการ หมุนเวียนกันเป็นประจำ�ทุก 6 เดือนเพื่อเพิ่มความหลากหลาย และเอื้อพื้นที่ สำ�หรับไอเดียใหม่ๆ เสมอ นอกจากนี้ พนักงานในร้านจะถูกฝึกอบรมให้หมั่นสังเกตพฤติกรรม บันทึกความคิดเห็นต่างๆ ตลอดจนให้คำ�แนะนำ�และพร้อมส่งต่อความคิด เห็นต่างๆ ให้กับบริษัทเพื่อนำ�ไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ในอนาคต บทบาทของ ร้านแห่งนี้จึงเป็นเหมือนพื้นที่ส่วนกลางสำ�หรับสตาร์ทอัพในการผลิตสินค้า หรือบริการ และยังเป็นพื้นที่ที่จะได้ไอเดียไประดมสมองหรือพัฒนาต่อเพื่อ ทดลองกับกลุม่ เป้าหมายโดยตรง ทัง้ นี้ เป้าหมายสูงสุดของนีโอช็อปก็คอื การ สร้างแผนที่นวัตกรรม และสร้างนิยามให้กับคำ�ว่า Made in Montreal ใน ระดับสากล เป็นตัวกลางทีช่ ว่ ยจัดการผลิตภัณฑ์ และกำ�หนดกลยุทธ์ทางการ ตลาด โดยนีโอช็อป สาขามอนทรีออลจะเปิดเป็นป็อปอัพสโตร์ก่อนในช่วง เดือนธันวาคมที่จะถึงนี้ ทีม่ า: boutique-neoshop.fr
CREATIVE THAILAND I 7
Creative Resource : วัตถุดิบทางความคิด
a2ua.com
เรื่อง: ชลดา เจริญรักษ์ปัญญา และ อำ�ภา น้อยศรี
CREATIVE THAILAND I 8
F EAT U RED BOOK 1) The Internet of Things โดย Michael Miller จากการค้นพบเทคโนโลยี RFID ทีส่ ามารถเชือ่ มโยง สิง่ ของและอุปกรณ์ตา่ งๆ เข้าด้วยกัน หลังจากนัน้ เพียงไม่กี่ปี เทคโนโลยีได้พัฒนาจนอุปกรณ์เริ่ม สื่อสารและส่งข้อมูลแลกเปลี่ยนระหว่างกันได้ หรือทีเ่ รียกกันว่า “Machine-to-Machine (M2M) Communication” แน่นอนว่าผูท้ ไี่ ด้รบั ประโยชน์ สูงสุดจากนวัตกรรมนีค้ อื มนุษย์อย่างเราๆ ซึง่ ต้อง ดำ�รงชีวิตอยู่ท่ามกลางอุปกรณ์และเครื่องใช้ที่ สือ่ สารเชือ่ มโยงข้อมูลและมีปฏิสมั พันธ์ระหว่างกัน
โดยมนุษย์สามารถสั่งการและควบคุมอุปกรณ์ เหล่านีไ้ ด้ผา่ นเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet of Things) หนังสือเล่มนี้ ได้กล่าวถึงประโยชน์จาก เทคโนโลยีท่ีทำ�ให้อุปกรณ์อัจฉริยะทำ�งานและ คิดแทนมนุษย์ ช่วยจัดการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ ประมวลผล ตลอดจนสัง่ การไปยังอุปกรณ์ตา่ งๆ เพื่ออำ�นวยความสะดวกต่อการดำ�เนินชีวิตของ มนุษย์ อย่างไรก็ดี เทคโนโลยีทม่ี คี ณุ อนันต์นก้ี อ็ าจ แฝงไปด้วยโทษเช่นกัน ไม่วา่ จะเป็นปัญหาเรือ่ งการ ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ที่ผู้ใช้งานต้องระบุข้อมูล ส่วนตัวลงในอุปกรณ์เพือ่ ให้ถา่ ยโยงเชือ่ มต่อข้อมูล
ระหว่างกัน หรือการใช้เทคโนโลยีเพือ่ สัง่ การอุปกรณ์ ทีเ่ ข้าข่ายอาวุธสงคราม เป็นต้น แม้ประโยชน์ของ Internet of Things จะยัง คงมี นํ้ า หนั ก มากกว่ า ผลเสี ย ที่ อ าจจะเกิ ด ขึ้ น และปัจจุบันโครงข่ายอินเทอร์เน็ตจะได้ขยาย บทบาทเข้ามาในชีวิตประจำ�วันของผู้คนมากขึ้น ทุ ก ขณะ แต่ ใ นฐานะของผู้ ใ ช้ ง านเทคโนโลยี นี่คือช่วงเวลาของการก้าวสู่โลกใบใหม่ที่ทุกสิ่ง อย่างเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน และเราจำ�เป็นต้อง เตรียมรับมือเพื่อสร้างโอกาสบนความท้าทาย ใหม่ๆ ที่กำ�ลังจะเกิดขึ้นนี้
BOOK
D OCU M E N TA R Y
2) Big Data Revolution: What Farmers, Doctors and Insurance Agents Teach Us about Discovering Big Data Patterns โดย Patrick McSharry และ Rob Thomas
4) NOVA - Rise of the Robots โดย Public Broadcasting Service
ปัจจุบัน การกระทำ�ทุกอย่างของเราได้ทิ้งร่องรอยเอาไว้อย่างชัดเจน ทุกย่างก้าวล้วนถูกบันทึกและ แปลงมาเป็นข้อมูลจำ�นวนมหาศาลที่เรียกว่า Big Data การจับเอาข้อมูลเหล่านี้มาใช้ประโยชน์จะ สามารถสร้างคุณค่าและมูลค่าที่ไม่อาจประเมินได้ ขณะที่การวิเคราะห์จัดการข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อนำ� มาต่อยอดทางธุรกิจก็ยังเป็นความท้าทายยิ่งกว่าที่เคย หนังสือเล่มนี้แสดงถึงการวิเคราะห์หารูปแบบ ของข้อมูลและการเลือกหยิบส่วนข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยยกตัวอย่างการใช้งานเพื่อแก้ ปัญหาธุรกิจ ตั้งแต่การทำ�ฟาร์ม การแพทย์ ประกันภัย ผ่านเนื้อหาที่สะท้อนให้เห็นว่า Big Data คือ เครือ่ งมือทรงพลัง และการเข้าใจข้อมูลทีม่ อี ยูอ่ ย่างถ่องแท้กเ็ ป็นกุญแจสำ�คัญในการสร้างธุรกิจให้ประสบ ความสำ�เร็จ 3) Digital Handmade: Craftsmanship and the New Industrial Revolution โดย Lucy Johnston เทคโนโลยีก้าวเข้ามามีส่วนกับทุกบทบาทของชีวิตมนุษย์ ไม่เว้นแม้แต่การสร้างผลงานศิลปะ การใช้ นวัตกรรมส่งผลให้จำ�นวนการผลิตที่เกิดจากฝีมือและความละเอียดอ่อนของมนุษย์มีจำ�นวนลดลง แต่ กลับมีคณุ ค่าเพิม่ มากขึน้ ศิลปินเริม่ รวมเอาวิธกี ารผลิตยุคใหม่และเก่าเข้าด้วยกัน Digital Handmade นำ�เสนอนักออกแบบและผลงานที่น่าสนใจจาก 70 ประเทศทั่วโลก ที่ผสานเอาเทคนิคการผลิตดิจิทัล เข้ากับงานฝีมือแบบดั้งเดิม ทั้งการผสานการถ่ายภาพเข้ากับการทอผ้า การใช้เทคนิคการผลิตงาน เซรามิกดิจิทัลกับการผลิตแบบโบราณ เกิดเป็นชิ้นงานที่เป็นเอกลักษณ์และมีความโดดเด่น หลอมรวม เป็นงานชิ้นใหม่ที่มีการพัฒนาอย่างไม่สิ้นสุด พบกับวัตถุดิบทางความคิดเหล่านี้ได้ที่ TCDC Resource Center
CREATIVE THAILAND I 9
เมือ่ หลายสิบปีทแี่ ล้ว หุน่ ยนต์ทสี่ ามารถทำ�งานได้ เหมื อ นมนุ ษ ย์ หรื อ มี ป ฎิ สั ม พั น ธ์ แ ละรู ป ร่ า ง ลักษณะคล้ายคลึงคนอย่างมากอาจดูเหมือนเป็น จินตนาการเพ้อฝัน แต่ปัจจุบัน สิ่งเหล่านี้กำ�ลัง เข้าใกล้ความเป็นจริงมากขึ้นเรื่อยๆ สารคดีชุด NOVA ตอน Rise of the Robots เจาะลึกขัน้ ตอน การสร้ า งหุ่ น ยนต์ ตั้ ง แต่ ก ารทดลองในห้ อ ง ปฏิบัติการ การพัฒนาซอฟต์แวร์อย่างยาวนาน เพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลาย ซึ่งเอื้อประโยชน์ให้กับมนุษย์ได้มากที่สุด ความ ทะเยอทะยานของผู้สร้างที่จะนำ�ผลงานออกมา ใช้ในโลกภายนอก การแข่งขันกันสร้างหุ่นยนต์ที่ มี ค วามก้ า วหน้ า มากขึ้ น ทุ ก ขณะ การสำ�รวจ ขอบเขตในการพัฒนาขีดความสามารถ รวมถึง การตอบคำ�ถามว่าเราเข้าใกล้ความเป็นไปได้ แค่ไหนแล้ว ที่มนุษย์จะสามารถนำ�หุ่นยนต์มาใช้ ในชีวิตประจำ�วันได้อย่างสมบูรณ์
เรือ่ ง: ชมพูนทุ วีรกิตติ และ ปิยวรรณ กลิน่ ศรีสขุ
ถ้าเราเอาวาฬสีนาํ้ เงินทุกตัวทีม่ ชี วี ติ อยูต่ อนนีไ้ ปขึน้ ตาชัง่ ก็ยงั เบากว่านํา้ หนัก ขยะอิเล็กทรอนิกส์ของสหรัฐอเมริการวมกัน เพราะแค่สหรัฐอเมริกาประเทศ เดียวก็มีขยะอิเล็กทรอนิกส์ถึง 3.4 ล้านตันต่อปี ในขณะที่จีนก็ทิ้งอุปกรณ์ อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ ม ากถึ ง ปี ล ะ 160 ล้ า นชิ้ น และทั่ ว โลกก็ ยั ง สร้ า งขยะ อิเล็กทรอนิกส์เพิ่มอีกมากกว่า 20 ล้านตันในทุกๆ ปี ปริมาณขยะบางส่วน ถูกส่งไปทิ้งยังประเทศอื่นๆ เพื่อทำ�ลายโดยการเผาและเอาเศษวัสดุที่ยังใช้ งานได้ไปใช้ต่อ อย่างในเมืองอักกรา เมืองหลวงของสาธารณรัฐกานา ที่มี ประชากรจำ�นวนหนึ่งเก็บเศษโลหะจากการทำ�ลายขยะอิเล็กทรอนิกส์ไป ใช้ตอ่ ซึง่ หลายครัง้ ทีม่ เี ด็กๆ ทีไ่ ม่รวู้ า่ การไปเก็บเศษของเหล่านัน้ เป็นพิษมาก ขนาดไหน จึงทำ�ให้เกิดหน่วยงานอย่าง ifixit.org เพื่อส่งเสริมให้คนในโลก ใช้อปุ กรณ์อเิ ล็กทรอนิกส์อย่างคุม้ ค่าก่อนทีจ่ ะโยนทิง้ ด้วยการนำ�กลับมาซ่อม หรือโครงการ Causes International’s America Upcycles™ ซึง่ เป็นโครงการ ทีร่ ว่ มมือกับองค์กรไม่หวังผลกำ�ไรและภาคธุรกิจ โดยให้ค�ำ แนะนำ�เรือ่ งความ รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมในการดำ�เนินงานเพื่อเปลี่ยนขยะอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการให้เพื่อการกุศล วิธที ดี่ ที สี่ ดุ ทีจ่ ะช่วยลดผลกระทบของขยะอิเล็กทรอนิกส์ตอ่ สิง่ แวดล้อม คือการใช้ประโยชน์ให้นานที่สุด การซ่อมจึงเป็นการลดจำ�นวนขยะที่ได้ผล เพราะจะช่วยยืดอายุการใช้งานอุปกรณ์อเิ ล็กทรอนิกส์ตา่ งๆ เช่น เปลีย่ นส่วน ทีแ่ ตกหรือเสียออกไป ใช้แบตเตอรีค่ ณุ ภาพดี หรืออัพเกรดหน่วยความจำ�ให้ มีความจุมากขึน้ ตามทีต่ อ้ งการแทนทีจ่ ะซือ้ เครือ่ งใหม่ ซึง่ วิธกี ารเหล่านีย้ อ่ ม ส่งผลให้โลกเรามีขยะอิเล็กทรอนิกส์ในพื้นที่กลบฝังน้อยลง และมีวัสดุที่จะ ส่งไปบดย่อยเพื่อเข้ากระบวนการรีไซเคิลน้อยลงด้วย เนื่องจากการรีไซเคิล อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์บางชนิดก็มีวิธีการที่ยุ่งยาก เช่น โทรศัพท์มือถือ
ทั่วๆ ไปนั้น มีโลหะเป็นองค์ประกอบอยู่ประมาณร้อยละ 40 แต่เป็นโลหะ ผสม ทำ�ให้ในการรีไซเคิล ต้องแยกโลหะแต่ละชนิดออกจากกันก่อนที่จะ นำ�ไปขายหรือใช้ต่อ ดังนั้นการซ่อมจึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่า สำ � หรั บ การซ่ อ มแซมนั้ น ก็ ไ ม่ ไ ด้ จำ � กั ด อยู่ แ ค่ เ จ้ า ของผู้ ซื้ อ อุ ป กรณ์ อิเล็กทรอนิกส์เท่านัน้ แต่โรงงานผูผ้ ลิตทีเ่ ป็นต้นทางก็สามารถซ่อมผลิตภัณฑ์ ของตัวเองได้เช่นกัน โดยร้อยละ 65 ของโทรศัพท์มือถือในสหรัฐอเมริกาเป็น สินค้าทีเ่ คยมีเจ้าของมาก่อนและถูกนำ�มาซ่อมแซมเพือ่ เปลีย่ นให้อยูใ่ นสภาพ ใหม่จากโรงงาน ก่อนนำ�มาจำ�หน่ายอีกครั้ง โดยไม่ใช้วิธีรีไซเคิลที่สามารถ ทำ�เงินได้เพียง 50 เซ็นต์ตอ่ โทรศัพท์หนึง่ เครือ่ งเท่านัน้ เพราะการนำ�โทรศัพท์ มาซ่อมและจำ�หน่ายใหม่เช่นนี้จะทำ�เงินได้ถึง 20 เหรียญสหรัฐฯ ต่อเครื่อง และยังคงเก็บพลังงานและวัสดุทั้งหมดที่ถูกใช้ในระหว่างกระบวนการผลิต ไว้กับเครื่องโดยที่ไม่มีการสูญเสียใดๆ ได้ด้วย การซ่อมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้แล้วหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ มือสอง ยังช่วยให้คนรายได้น้อยในประเทศกำ�ลังพัฒนาสามารถซื้ออุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในราคาถูกและเข้าถึงประโยชน์ของเทคโนโลยีได้มากขึน้ เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มือสองทำ�ให้เกิดอาชีพช่างซ่อมซึ่งพัฒนามาเป็น ช่างฝีมือและเป็นอาชีพได้ไม่ยาก หรือแม้แต่การนำ�อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ มือสองมาใช้ต่อในประเทศกำ�ลังพัฒนา ก็ยังมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า มากกว่าการรีไซเคิลในประเทศนั้นๆ รวมถึงยังทำ�ให้เกิดการรณรงค์ให้ผู้คน เห็นประโยชน์ของการนำ�กลับมาซ่อมหรือแยกชิ้นส่วนได้ง่าย นี่จึงเป็น ทางออกใหม่ที่เริ่มต้นได้หากเราเริ่มคิดตั้งแต่ต้นทางของการออกแบบ ทีม่ า: americaupcycles.com/e-waste
CREATIVE THAILAND I 10
ibtimes.co.uk
Matter : วัสดุต้นคิด
พบกับนิตยสาร “คิด” Creative Thailand ได้ที่ ร้านหนังสือ ห้องสมุด สมาคม อาคารสำ�นักงาน และร้านกาแฟใกล้บ้าน ในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ หัวหิน และจังหวัดอื่นๆ รวมถึง miniTCDC ดูสถานที่จัดวางทั้งหมดได้ที่: www.tcdc.or.th/creativethailand/magazine/place กรุงเทพฯ ร้านหนังสือ • Asia Books • Kinokuniya • B2S • แพร่พิทยา ร้านกาแฟ/ร้านอาหาร • Au Bon Pain • Starbucks • TOM N TOM’S COFFEE • True Coffee • Auntie Anne’s • Baskin Robbins • Coffee World • Mister Donut • Black Canyon • McCafe’ • ดอยตุง • Ninety four coffee • Puff & Pie • Red Mango • Iberry • Greyhound Cafe’ • Amazon Cafe’ • Chester’s Grill • Luv minibar โรงแรม/ที่พัก • NOVOTEL • Dusit Thani Princess Hotel • Sofitel Silom Bangkok • Grand Millenium Sukhumvit พิพิธภัณฑ์/หอศิลป์ • หอศิลปวัฒนธรรม แห่งกรุงเทพมหานคร • มิวเซียม สยาม • อุทยานการเรียนรู้ (TK park) • นำ�ทอง แกลเลอรี่ สมาคม/ห้องสมุด • ศูนย์ศิลปะนานาชาติ สมาคมฝรั่งเศส • ห้องสมุดเนลสัน เฮลส์ The Neilson Hays Library • ห้องสมุด - นิด้า • สมาคมโฆษณา แห่งประเทศไทย • สมาคมธนาคารไทย • สมาคมสโมสรนักลงทุน • ห้องสมุด สสวท. • สมาคมหอการค้าไทย • สถาบัน • Wall Street Institute • Raffle Design Institute • Vision Swimming Academy เชียงใหม่ ร้านหนังสือ • ดวงกมล • ร้านเล่า • ร้าน Book Re:public • ร้านหนังสืออุดมลายเซ็นต์ ร้านกาแฟ/ร้านอาหาร/ ร้านขายของที่ระลึก • Happy Hut (ถ.นิมมานเหมินทร์ ระหว่างซอย 9-10) • 94 Coffee (ถ.นิมมานเหมินทร์) • Starbucks (ถ.นิมมานเหมินทร์) • เวียงจุมออน ทีเฮาส์ • Fern Forest Cafe’ • October • เชียงใหม่กาแฟ • IMPRESSO espresso bar • กาแฟวาวี • Love at First Bite • ร้านกาแฟดอยช้าง • ร้านกาแฟดอยตุง
• ร้านฝ้ายเบเกอรี่ (หอสมุดในมหาวิทยาลัย เชียงใหม่) • Things Called Art • minimal • ร้านยังไว้ลาย • ร้านรสนิยม • ร้านภคมน • ร้านโครงการหลวง • จัส ข้าวซอย (Just Kao Soy) • Ginger (The House Restaurant ) • หอมปากหอมคอ • ทีเฮาส์ สยามศิลาดล • Rabbithood studio • The Meeting Room Art Cafe’ • HuB 53 Bed&Breakfast • ร้าน Charcoa Cafe’ • ร้าน Akha Ama coffee • ร้านกาแฟพาคามาร่า • เดอะ สลัด คอนเซปท์ (Salad Concept) • Gallery Seescape • ร้านขนม (Kanom) • ร้าน Chin Ngan • ร้าน Mood Mellow โรงแรม/ที่พัก • สุริยันจันทรา ถ.นิมมานเหมินทร์ ซอย 1 • บรรทมสถาน เกสเฮาท์อารมณ์บ้าน • yesterday Hotel • โรงแรมดุสิต ดีทู (Dusit D2) • โรงแรมเชดี • ฮาโหล บาร์ (Hallo Bar Hotel) • โรงแรม At Nimman • โรงแรม Tamarind Village • โรงแรม The Rim • 9wboutique hotel • พิงค์ภูเพลส เชียงใหม่ • โรงแรม Casa 2511 พิพิธภัณฑ์/หอศิลป์ • หอศิลปวัฒนธรรม เมืองเชียงใหม่ • หอนิทรรศการ ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หัวหิน ร้านกาแฟ/ร้านอาหาร • ร้านกาแฟ ชุบชีวา หัวหิน • อยู่เย็น หัวหิน บัลโคนี่ • บ้านใกล้วัง • ภัตตาคารมีกรุณา • บ้านถั่วเย็น @ แนบเคหาสน์ • ร้านอาหารหัวหิน (โกทิ) • กาแฟข้างบ้าน • IL GELATO ITALIANO • Together Bakery & Cafe’ โรงแรม/ที่พัก • โรงแรม วรบุระหัวหิน • Let’s Sea • โรมแรม ดูน หัวหิน • เดอะร็อค หัวหิน • บ้านจันทร์ฉาย • หัวหิน มันตรา รีสอร์ท • ลูน่าฮัท รีสอร์ท กระบี่ • Nakamanda Resort & Spa • Rawee Warin Resort & Spa • A little Handmade Shop ขอนแก่น • Hug School of Creative Arts • ร้านสืบสาน • ร้านกาแฟ คอฟฟี่ เด้อ หล่า (Coffee Der La)
เชียงราย • ร้านหนังสือ herebookafe • ร้าน Coffee Dad นครราชสีมา • Hug station resort นครปฐม • ร้าน Dipchoc Cafe นครสวรรค์ • ร้าน Bitter Sweet น่าน • ร้าน Runway Coffee • ร้านคลาสสิค โมเดล น่าน • ร้านกาแฟปากซอย • ร้าน Nan Coffee Bean ปาย/แม่ฮ่องสอน • ร้านคอฟฟี่อินเลิฟ • ร้าน all about coffee • ร้านปายหวานบ้านนมสด • ร้านเล็กเล็ก • ปายวิมานรีสอร์ท พังงา • Niramaya Villa and Willness Resort • Ranyatavi Resort Phang Nga • The Sarojin เพชรบุรี • Grand Pacific Sovereign • Resort & Spa • DevaSom Hua Hin Resort ภูเก็ต • ร้านหนัง(สือ) ๒๕๒๑ ภูเก็ต • The oddy Apartment & Hotel • At Panta Phuket • Banyan Tree Phuket • Le Meridien Phuket • Millienium Ressort Patong Phuket • Novotel Phuket Resort • Patong Paragon Resort & Spa Phuket • Sheraton grand Lagana Phuket • Sri wanwa Phuket Villa • Thanyapura ระยอง • Le Vimarn Cottage ลำ�ปาง • อาลัมภางค์ เกสท์เฮ้าส์ แอนด์ มอร์ ลำ�ปาง • ร้านเอกาลิเต้ Egalite Bookshop • Lampang Art Center เลย • บ้านชานเคียง • มาเลยเด้ เกสต์เฮาท์ ลพบุรี • ซนดิคอฟฟี่ สมุทรสงคราม/อัมพวา • Baan Amphawa Resort and Spa สุโขทัย • Ananda Co.,Ltd. สุราษฎร์ธานี • Muang Samui Spa Resort • Pavilion Samui Boutique Resort • The Sunset Beach Resort and Spa Taling ngam • Nora Beach Resort Samui หาดใหญ่/สงขลา • ร้าน NIQOLO อุทัยธานี • ร้านบุ๊คโทเปีย Booktopia • Avatar Miracles
หมดปญหาหยิบนิตยสารไมทัน สมัครสมาชิกรายป คาใชจายในการจัดสง 200 บาท (12 เลม) หรือสมัครออนไลนไดที่ tcdc.or.th/creative_thailand
ขอมูลผูสมัครสมาชิก สมาชิกใหม ชื่อ นามสกุล เพศ โทรศัพท
สมาชิกเกา (ตองการตออายุสมาชิก) หญิง อายุ
ชาย
อีเมล
โทรศัพทมือถือ
อาชีพ นักเรียน ครู/อาจารย
นิสิต/นักศึกษา พนักงานบริษัท
นักออกแบบ/ครีเอทีฟ ผูประกอบการ
อาชีพอิสระ อื่นๆ โปรดระบุ
ขาราชการ/รัฐวิสาหกิจ
สาขา/อุตสาหกรรมที่เกี่ยวของกับอาชีพของทาน โฆษณา สถาปตยกรรม แฟชั่น ศิลปะการแสดง ดนตรี ภาพยนตร โทรทัศน/วิทยุการกระจายเสียง
ทองเที่ยว/โรงแรม/สายการบิน วรรณกรรม/การพิมพ/สื่อสิ่งพิมพ พิพิธภัณฑ/หองแสดงงาน ซอฟตแวร/แอนิเมชัน/วิดีโอเกม
หัตถกรรม/งานฝมือ การเงิน/ธนาคาร ทัศนศิลป/การถายภาพ อื่นๆ โปรดระบุ
อาหาร การแพทย การออกแบบ
คาปลีก/คาสง โทรคมนาคม
ที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ จังหวัด
ซอย
ถนน รหัสไปรษณีย
หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง
อำเภอ/เขต
หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง
อำเภอ/เขต
ที่อยูในการออกใบเสร็จ เหมือนที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ ซอย จังหวัด
ถนน รหัสไปรษณีย
ตองการสมัครสมาชิกนิตยสาร Creative Thailand ระยะเวลา 1 ป จำนวน 12 เลม เริ่มตั้งแตฉบับเดือน โดยยินดีเสียคาใชจายในการจัดสงเปนจำนวนเงิน 200 บาท
วิธีการชำระเงิน เช็คสั่งจายศูนยสรางสรรคงานออกแบบ พรอมใบสมัครสมาชิก โอนเงินเขาบัญชีออมทรัพย ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ เลขที่บัญชี 101-808967-0 ธนาคารกรุงเทพ สาขาสำนักงานใหญสีลม • แฟกซใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่ 02-664-7670 • หรือสงไปรษณียมาที่ ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (Creative Thailand) 622 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอรชั้น 24 ถนนสุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 • หรือแนบไฟลใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่อีเมล creativethailand@tcdc.or.th CREATIVE THAILAND I 11 สอบถามขอมูลเพิ่มเติมไดที่ 02-664-7667 ตอ 122
Local Wisdom : ภูมิความคิด
เรื่อง: ณัฐชยา สีใต้ ภาพ: ชาคริต นิลศาสตร์ งานไม้ถือเป็นงานช่างแขนงหนึ่งที่ต้องใช้ทั้งฝีมือ ความคิดสร้างสรรค์ และความขยันอดทน ในการที่จะผลิตผลงานที่มีคุณภาพขึ้นมา อย่างเหมาะสม ทั้งจำ�เป็นต้องมีทักษะในการใช้เครื่องมือและวัสดุให้สอดคล้องกัน จึงจะสามารถผลิตงานไม้ออกมาได้อย่างสวยงาม กว่า 100 ปีแล้ว ที่ “ชุมชนกลึงไม้บ้านตองกาย” ซึ่งตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 1 ตำ�บลหนองควาย อ.หางดง จ.เชียงใหม่ เป็นหมู่บ้านช่างกลึงไม้ หรือเคี่ยนไม้ในภาษาท้องถิ่น ต้นตำ�รับผู้ผลิตงานไม้กลึงแห่งสำ�คัญในจังหวัดเชียงใหม่ ไม่ว่าจะเป็น แจกัน ขันหมาก ตลับไม้ ผอบ และ โดยเฉพาะขันโตก ที่เป็นงานที่ได้รับความนิยมและมีลูกค้าสั่งทำ�มากที่สุด เนื่องจากเป็นขันโตกไม้เปลือยที่เน้นความเรียบง่าย และใช้ เทคนิคการใช้ไม้สีกับไม้เพื่อให้เนื้อไม้ขึ้นเงาโดยไม่ต้องขัดผิว CREATIVE THAILAND I 12
ต้ น ตำ � รั บ การเคี่ ย นไม้ แ ห่ ง ล้ า นนาและพื้ น ที่ ส ร้ า งสรรค์ ด้วยพลังเยาวชน การเคี่ยนไม้ คือการนำ�เอาไม้มาหมุน โดยมีแกนยึดสองข้างให้หมุนรอบตัว ด้วยความเร็ว แล้วใช้เหล็กเคี่ยนเป็นตัวเคี่ยน เพื่อให้เกิดรูปทรงและขนาด ตามต้องการ โดยการเคี่ยนนิยมอยู่สองแบบคือ เคี่ยนตามความยาวของ เนื้อไม้ และเคี่ยนตัดขวางเนื้อไม้ เมื่อเรียบร้อยแล้วจึงนำ�ไปอบให้แห้ง ก่อน จะนำ�มาประกอบโครงสร้างพร้อมส่งเป็นขั้นตอนสุดท้าย แม้การเคีย่ นไม้จะเป็นทักษะงานช่างทีต่ อ้ งอาศัยฝีมอื อย่างมาก แต่การ ผลิตด้วยทักษะดัง้ เดิมทีต่ อ้ งใช้ทงั้ เวลาและมีรปู แบบชิน้ งานทีย่ งั ไม่ตอบโจทย์ ความต้องการของตลาด ก็ทำ�ให้บ้านตองกายประสบปัญหาการสืบทอด วิชาชีพการเคี่ยนไม้ ดังนั้นเพื่อสร้างทางออกให้กับชุมชนได้สืบสานทักษะ เชิงช่างไปพร้อมๆ กับการตอบโจทย์ตลาดยุคใหม่ miniTCDC จึงได้ร่วมมือ กับสำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และคณะ วิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดทำ�โครงการภายใต้แนวคิด Love your Local, Love your City โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชน ในสถาบันอุดมศึกษาได้มโี อกาสเรียนรูห้ ลักสูตรการออกแบบบริการ (Service Design) แนวคิดการพัฒนาเมืองสร้างสรรค์ (Creative City) และนำ�โอกาส ไปประยุกต์ใช้พัฒนาและลงมือแก้ไขปัญหาชุมชนด้วยตนเอง “โครงการสร้ า งสรรค์ แ รงบั น ดาลใจสู่ บ้ า นตองกาย เพื่ อ ต่ อ ยอด หัตถกรรมไม้กลึงอย่างยั่งยืน” จึงเกิดขึ้น ณ บ้านตองกายในเดือนสิงหาคม ที่ผ่านมา ภายในงานได้รวบรวมดีไซเนอร์รุ่นใหม่ นักธุรกิจ และบุคคลทั่วไป ที่สนใจเรียนรู้ทักษะการกลึงไม้ มาฝึกปฏิบัติร่วมกับช่างฝีมือในสถานที่จริง ขณะที่ช่างในชุมชนก็มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับบุคคลภายนอก ได้รับรู้ถึงความต้องการผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ๆ ที่ผลิตขึ้นได้จากงานไม้ใน ท้องตลาดและความคิดสร้างสรรค์ที่ไม่สิ้นสุด รวมถึงเกิดความภูมิใจใน ท้องถิ่นของตนเองที่เกิดจากผู้มาร่วมกิจกรรมและชาวบ้านได้ค้นพบและ เรียนรู้สิ่งใหม่ไปด้วยกัน ทางออกใหม่ของทักษะที่ตกทอด รูปแบบของการจัดเวิรก์ ช็อปงานกลึงไม้ดงั กล่าว นอกจากจะเป็นการอนุรกั ษ์ ฝีมอื ช่าง รวมถึงสร้างทางออกใหม่ทจี่ ะช่วยให้ชมุ ชนกลายเป็นทีร่ จู้ กั ในฐานะ อีกหนึ่งจุดหมายของการเรียนรู้ทักษะเชิงช่างจากชุมชนอย่างแท้จริงแล้ว ดร.สุมนัสยา โวหาร อาจารย์ประจำ�สาขาวิชาออกแบบ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ยังได้กล่าวถึงอีกเป้าหมายของการจัดเวิร์กช็อป ดังกล่าวว่า “ตอนนีเ้ รือ่ งการออกแบบบริการหรือประสบการณ์จากเวิรก์ ช็อป เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ทำ�ให้ชาวบ้านมีรายได้ โดยทั้งผู้รับบริการและผู้ให้ บริการมีส่วนร่วมในการสร้างบริการด้วยกัน เราก็เลยเห็นว่าตรงนี้สำ�คัญ เบื้องต้นเราให้นักศึกษามาเป็นสตาฟฟ์ก่อน แต่ถ้าต่อไป เด็กๆ ในชุมชน สนใจ เราก็ค่อยให้คนของชุมชนเข้ามา สิ่งที่เราอยากเห็นก็คือ เราอยากให้ ทุกคนมารู้จักบ้านตองกายในฐานะแหล่งผลิตที่เป็นภูมิปัญญาที่มีคุณภาพ จริงๆ และเราคิดว่าโมเดลนี้สามารถเป็นต้นแบบให้ชุมชนอื่นได้ คือการ พาคนไปที่ชุมชน โดยไม่ต้องพาชุมชนออกไปข้างนอก แต่ความยากง่าย มันอยู่ที่ลักษณะนิสัยของแต่ละชุมชน ซึ่งหากตรงนี้ค่อยๆ เข้มแข็ง และ
ผู้จัดเองก็เข้าใจในหัวใจของการออกแบบบริการ คือไม่ไปเปลี่ยนแปลงอะไร ที่มากเกินไป และช่วยประชาสัมพันธ์ให้ถูกทาง พาคนมาให้ถูกคน ก็น่า จะช่วยได้มาก” เสียงตอบรับจากชุมชน “สนุกดีเวลาคนมาเรียน มาฝึกทำ� ป้ายินดีสอน เพราะป้าไม่รู้ว่าในวัน ข้างหน้ามันจะหายไปหรือเปล่า” ป้าพร นางอำ�พร เมฆรา หนึ่งในช่าง กลึงไม้บา้ นตองกายกล่าวถึงความรูส้ กึ หลังจากได้มโี อกาสช่วยสอนงานไม้ให้ กับผู้เข้าร่วมเวิร์กช็อปในชุมชนของตนเอง การจัดเวิร์กช็อปนี้ยังทำ�ให้ป้าพร รู้สึกดีใจที่จะได้สืบต่อฝีมือเชิงช่างที่นับวันจะทยอยสูญหายไป “ตอนนี้ใน หมูบ่ า้ นเหลือบ้านทีก่ ลึงไม้แค่ 5-6 หลัง ถ้าเขาสนใจจะเอาไปทำ�ต่อ มาเรียน มาเอาวิชามันก็ดี เราไม่งกวิชา ใครอยากมาเรียนก็มาเลย ให้เขาเอาไปทำ�ได้ อย่างน้อยเผื่อเขาไม่อยากเป็นลูกน้องคน เขามีทักษะ เขาก็เอาไปสอน ไปจ้างลูกน้องให้ทำ�ต่อได้ ป้าว่าอีก 10 ปี การเคี่ยนไม้แบบนี้อาจจะหายไป ก็ได้ ถ้าในอนาคต คนไม่นยิ มขันโตกแล้ว และไม้ทเี่ ราใช้อย่างไม้มะม่วงและ ไม้ฉำ�ฉาก็ลดน้อยลงเรื่อยๆ ด้วย” เวิร์กช็อปที่เกิดขึ้นนี้ อาจเป็น EXIT โมเดลใหม่ ที่ทำ�ให้บ้านตองกาย ได้พัฒนาชุมชนจากที่เป็นเฉพาะแหล่งผลิต ไปสู่แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาที่ สร้างรายได้ได้ด้วยตัวเอง ทั้งเป็นการสืบทอดฝีมือนี้ไปสู่คนภายนอก และ เป็นทางออกใหม่ในการสร้างระบบเศรษฐกิจท้องถิ่นให้มั่นคงอย่างยั่งยืน ต่อไป ที่มา: บทสัมภาษณ์ ดร.สุมนัสยา โวหาร อาจารย์สาขาวิชาออกแบบ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และนางอำ�พร เมฆรา หนึ่งในช่างกลึงไม้บ้านตองกาย
CREATIVE THAILAND I 13
Cover Story : เรื่องจากปก
เรื่อง: มนฑิณี ยงวิกุล
CREATIVE THAILAND I 14
เมื่อศาสตร์ความรู้เฉพาะสาขาที่เคย แยกกันอยู่ เคลือ่ นเข้าหากันผ่านวิธคี ดิ และการทำ�งานแบบใหม่ คำ�ตอบเก่า มากมายถูกลบล้างและมีสงิ่ ใหม่เกิดขึน้ ทุ ก วั น ความเป็ น ไปได้ ที่ เ คยเป็ น แค่ จินตนาการกำ�ลังเคลื่อนตัวมาสู่ความ เป็นจริง ไม่ว่าเราจะอยากหรือไม่อยาก ให้ เ กิ ด ชอบหรื อ ไม่ ช อบ โลกก็ จ ะ เคลื่ อ นต่ อ ไปในจุ ด ที่ ไ ม่ เ หมื อ นเดิ ม อีกต่อไป
CREATIVE THAILAND I 15
unsplash.com
อาการของโลกใหม่กำ�ลังเกิดขึ้น ห้างและร้านค้า ในสหรัฐอเมริกาที่เคยรุ่งเรืองในอดีตกำ�ลังทยอย ลดขนาด ห้างเมซีย่ ส์ (Macy’s) ประกาศปิดสาขา 100 แห่งในต้นปี 2017 จากจำ�นวนสาขาทั้งหมด 727 แห่ง ด้วยยอดขายและกำ�ไรที่ลดลงอย่าง ต่อเนื่อง จึงต้องปิดสาขาเพิ่มขึ้นจากที่เคยปิด ไปแล้ว 40 แห่งเมื่อต้นปี 2016 หลายคนคาดเดา ว่า เป็นเพราะความเฟื่องฟูของอีคอมเมิร์ซทำ�ให้ เว็บแอมะซอนกลายเป็นแหล่งช้อปปิง้ แทนการซือ้ จากห้ า งหรื อ ร้ า นค้ า แต่ ถ้ า หากรวมเหตุ ผ ล ทั้งหมดเข้าด้วยกัน อีคอมเมิร์ซอาจเป็นเพียง แค่ส่วนหนึ่ง เพราะนอกจากเหตุผลของวิกฤติ เศรษฐกิจในช่วงปี 2008 ที่ทำ�ให้กำ�ลังซื้อถดถอย แล้ ว หนุ่ ม สาวมิ ล เลนเนี ย มยั ง เลื อ กที่ จ ะใช้ เงินไปกับการสร้าง “ประสบการณ์” อย่างเช่นการ ท่องเที่ยว การกินอาหารแปลกใหม่ และนิยม ซื้อเสื้อผ้าจากแบรนด์ฟาสต์แฟชั่นที่ร้านซาร่า และเอชแอนด์ เ อ็ ม แทนการเดิ น ช้ อ ปปิ้ ง ใน ห้างสรรพสินค้าที่ให้ความรู้สึกแบบเดิมๆ ห้างสรรพสินค้าและร้านค้าแฟล็กชิปสโตร์ ของแบรนด์ต่างๆ จึงต้องปรับเปลี่ยนให้ทันกับ ความคาดหวั ง ใหม่ ข องลู ก ค้ า ที่ ม องหา “ประสบการณ์” ที่ดีจากการจับจ่าย ไม่ว่าจะ ทางกายภาพหรื อ การนำ � ดิ จิ ทั ล เข้ า มาช่ ว ย อำ�นวยความสะดวกในการช้อปปิ้งออนไลน์และ สร้างความแปลกใหม่จากลูกเล่นต่างๆ โดยมี เทคโนโลยีจำ�ลองภาพเสมือนจริงแบบสามมิติ หรือวีอาร์ (Virtual Reality) และเทคโนโลยีจ�ำ ลอง ภาพจริงและภาพเสมือนจริงแบบสามมิติหรือ เออาร์ (Augmented Reality) เป็นตัวเอกแห่งยุค
geomarketing.com retale.com
ผลจากการที่ เ ฟซบุ๊ ก ซื้ อ กิ จ การโอคู ลั ส (Oculus) สตาร์ทอัพชื่อดังผู้ผลิตอุปกรณ์วีอาร์ ด้วยมูลค่า 2 พันล้านเหรียญฯ ทำ�ให้เทคโนโลยี วีอาร์และเออาร์เริ่มแพร่หลายและมีราคาถูกลง เทคโนโลยีเหล่านีจ้ งึ ได้ขยับขยายจากอุตสาหกรรม ทีต่ อ้ งใช้เทคโนโลยีทซี่ บั ซ้อนอย่างการติดตัง้ ระบบ สายไฟในเครือ่ งบินโบอิง้ หรืออุตสาหกรรมเกมมา สู่อุตสาหกรรมอื่นๆ และกลายเป็นสิ่งที่คนทั่วไป สามารถเข้าถึงได้ดว้ ยแอพพลิเคชัน่ ในโทรศัพท์มอื ถือ รีเทล (Retale) แอพพลิเคชั่นส่งเสริมการ ขายของร้านค้า (Deal-Finding Service) เตรียม เปิดตัวแอพพลิเคชั่นใหม่ที่ร่วมกับโอคูลัส ริฟต์ (Oculus Rift) ในการค้นหาโปรโมชั่นประจำ� สั ป ดาห์ ที่ ทำ � หน้ า ที่ เ หมื อ นใบปลิ ว ของห้ า ง
วอลมาร์ท (Walmart) แต่ใช้ข้อมูลสถานที่จริง ในการค้นหาร้านค้าและรายการสินค้าที่เข้าร่วม รายการผ่านร้านค้าเสมือน (Virtual Showroom) ก่อนที่ลูกค้าจะไปซื้อที่ร้านจริง ซึ่งกลุ่มลูกค้าที่ เตรียมลงนามซื้อแอพพลิเคชั่นนี้ก็คือร้านค้าที่ กำ�ลังปรับตัวอย่างทาร์เก็ต (Target) เจซีเพนนี (J.C. Penney) และเมซี่ย์ส (Macy’s) แพลตฟอร์มใหม่นยี้ งั ทำ�ให้การชมสือ่ บันเทิง เปลี่ยนแปลงไปเช่นกัน เน็กซ์วีอาร์ (NextVR) สตาร์ทอัพผูผ้ ลิตสือ่ บันเทิงและบริการไลฟ์สตรีมมิง จับมือกับไลฟ์เนชั่น (Live Nation) บริษัทด้าน ธุรกิจบันเทิงระดับโลกตัง้ เป้าถ่ายทอดสดการแสดง คอนเสิร์ตใหญ่หลายร้อยงานผ่านแอพพลิเคชั่นที่ เชื่อมต่อกับเครื่องโอคูลัส ริฟต์ และเกียร์วีอาร์ CREATIVE THAILAND I 16
อุปกรณ์สวมศีรษะของซัมซุง เพื่อสร้างประสบการณ์ ใหม่ในการรับชมคอนเสิร์ต จากก่อนหน้านี้ที่เคย ถ่ายทอดสดการแข่งขันบาสเก็ตบอลเอ็นบีเอ และ ยูเอส กอล์ฟ ทัวร์นาเมนต์ผ่านวีอาร์มาแล้ว ในปัจจุบันเทคโนโลยีเออาร์และวีอาร์ยังดู เหมือนเป็นลูกเล่นของธุรกิจเพือ่ ดึงดูดความสนใจ ของลูกค้า แต่ในอนาคตแพทย์ในโรงพยาบาลจะ สามารถสแกนภาพอวัยวะของคนไข้และสวมใส่ แว่นตาสำ�หรับมองภาพเสมือน 3 มิตเิ พือ่ วางแผน การผ่าตัดได้อย่างแม่นยำ� และยังสามารถใช้ภาพ จำ � ลองเสมื อ นเพื่ อ ฟื้ น ฟู ป ระสาทการรั บ รู้ ข อง คนไข้ทไี่ ด้รบั บาดเจ็บทางสมองหรือบำ�บัดอาการ ป่วยทางจิตด้วยการฉายภาพเหตุการณ์เข้าไปใน ขณะทีพ่ ดู คุยกับจิตแพทย์ซงึ่ จะทำ�ให้ผปู้ ว่ ยค่อยๆ ซึมซับโลกเสมือนสู่โลกจริง เทคโนโลยีเออาร์และวีอาร์ไม่ได้เปลีย่ นแปลง แค่วิธีการใช้โทรศัพท์มือถือของเรา แต่ยังเปลี่ยน วิธีการปฏิสัมพันธ์กับโลกเสียใหม่ แน่นอนว่ายัง ไม่ใช่ตอนนี้ เพราะยังต้องพัฒนาซอฟต์แวร์และ ฮาร์ดแวร์อกี มากมายทีจ่ ะทำ�ให้อปุ กรณ์กลายเป็น ส่วนหนึ่งของชีวิตแทนการใส่แว่นเทอะทะเดินไป ตามที่ต่างๆ รวมถึงการสร้างเนื้อหาบนอุปกรณ์ และเครือ่ งมือใหม่ๆ ทีจ่ ะถูกพัฒนาขึน้ ต่อไปอย่าง ไม่น่าเชื่อ
ขณะที่เทคโนโลยีวีอาร์และเออาร์ถูกพัฒนาอย่าง ต่อเนือ่ งในการเปลีย่ นข้อมูลเป็นภาพ และส่วนหนึง่ ที่ ทำ � ให้ ภ าพเสมื อ นเหล่ า นั้ น โลดแล่ น อย่ า งไม่ ติ ด ขั ด ก็ คื อ เส้ น ทางลำ � เลี ย งข้ อ มู ล ที่ กำ � ลั ง ถู ก พัฒนาให้เร็วเท่าแสง ด้วยเทคโนโลยีไล-ไฟ (Li-Fi) ที่ใช้หลอดไฟ แอลอีดีเป็นอุปกรณ์ในการส่งข้อมูลแทนการใช้ คลื่นวิทยุ ศาสตราจารย์เฮรัลด์ ฮาสส์ (Herald Hass) จากมหาวิทยาลัยเอดินบะระกล่าวว่า การใช้คลื่นแสงเป็นตัวสื่อสาร (Visible Light Communication) ไม่เพียงส่งข้อมูลได้เร็วกว่า ไว-ไฟ (Wi-Fi) หลอดไฟยังเป็นอุปกรณ์ที่มีอย่าง ไม่จำ�กัดเพราะทุกที่ที่ต้องการแสงสว่างต้องใช้ หลอดไฟ นอกจากนี้การใช้แสงส่งข้อมูลยังแก้ ปัญหาเรื่องความลับในการส่งข้อมูล เพราะแสง ไม่สามารถทะลุกำ�แพงได้ หรือแค่ใช้มือกั้นแสง ข้อมูลก็จะหยุดอัตโนมัติ Velmenni ก่อตัง้ โดย ดีพกั โซลานกิ (Deepak Solanki) สตาร์ทอัพชาวเอสโตเนียน-อินเดียน นำ�เทคโนโลยีไว-ไฟมาพัฒนาและทดลองใช้ใน
ออฟฟิศและโรงงานในเมืองทาลลินน์ (Tallinn) เมืองหลวงของเอสโตเนีย โดยพบว่าสามารถส่ง ข้อมูลได้เร็วกว่าไว-ไฟ 100 เท่า เป็นทีม่ าของการ พัฒนาสมาร์ทไลท์ที่ใช้ในสำ�นักงานโรงงานและ ที่อยู่อาศัย ซึ่งคาดว่าจะออกสู่ตลาดในอีกไม่กี่ปี ข้างหน้า “การทำ�ให้ไล-ไฟใช้ได้แพร่หลายต้องใช้ เวลา เพราะมันยากที่จะสร้างสาธารณูปโภคใหม่ เราจึงต้องค่อยๆ รวมระบบใหม่เข้ากับระบบทีใ่ ช้ ในปัจจุบัน” โซลานกิกล่าว สำ�หรับระบบใหม่ทวี่ า่ นี้ ศาสตราจารย์ฮาสส์ กล่าวบนเวที TED ว่า สาธารณูปโภคที่มีอยู่นี้ เหมาะกับการรวมเข้ากับไล-ไฟ เพราะเราเพียง แค่ใส่ไมโครชิปเข้าไปในทุกอุปกรณ์ทใี่ ห้แสงสว่าง เป็นการรวมฟังก์ชั่นพื้นฐานสองอย่างเข้าไว้ด้วย กัน คือแสงสว่างและตัวส่งข้อมูล ในอนาคตเรา จะไม่ได้แค่มหี ลอดไฟ 14 พันล้านดวงทีใ่ ช้อยู่ แต่ เราจะมีไล-ไฟ 14 ล้านดวงให้ใช้ที่เป็นเทคโนโลยี ทีส่ ะอาดขึน้ รักษ์สงิ่ แวดล้อมมากขึน้ และอนาคต ที่สดใสมากยิ่งขึ้น”
เกษตรกรรมตู้กระจก
อีกหนึ่งอนาคตสดใสของเทคโนโลยีเพื่อลดการ ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์จากการขนส่ง และการเกษตรกรรมที่ต้องเลี้ยงคนเพิ่มขึ้นเป็น 9.5 พันล้านในอนาคต อยูท่ หี่ อ้ งวิจยั มีเดียแล็บใน สถาบันเอ็มไอที (MIT) ทีร่ วมนักวิจยั และผูเ้ ชีย่ วชาญ หลากสาขามาทำ�งานร่วมกันกว่าร้อยคน และ หนึง่ ในโครงการตอบโจทย์อนาคตการเกษตรก็คอื ซิตฟ้ี าร์ม (CityFarm) ที่กอ่ ตัง้ โดยคาเล็บ ฮาร์เปอร์ (Caleb Harper) ที่นำ�เทคนิคการปลูกพืชแบบ แอโรโพนิก (Aeroponic) หรือการปลูกพืชทีไ่ ม่ใช้ ทั้งดินและนํ้า แต่แขวนบนอากาศซึ่งคิดค้นโดย องค์การนาซ่าในการทดลองปลูกพืชในอวกาศมา ใช้ในการปลูกพืช ที่ไม่เพียงเจริญเติบโตได้ดี ให้ ผลผลิตสูง แต่ยงั ใช้นาํ้ อย่างมีประสิทธิภาพถึงร้อย ละ 70-90 เมื่อเทียบกับการเพาะปลูกแบบดั้งเดิม เพราะสิง่ ทีจ่ �ำ เป็นต่อการเติบโตของพืชถูกกำ�หนด ไว้แล้วในตู้กระจกที่มีทั้งแสงธรรมชาติและแสง จากหลอดแอลอีดี มีการใช้เทคโนโลยีดจิ ทิ ลั ในการ เก็บข้อมูลเพือ่ การตัง้ ค่าอุณหภูมิ การใช้เซ็นเซอร์ ตรวจจับการเปลี่ยนแปลง เช่น ความชื้น ความ
purelifi.co.uk
เน็ตเร็วระดับแสง
CREATIVE THAILAND I 17
openag.media.mit.edu
เข้มข้นของแสง ปริมาณคาร์บอนไดออกไซค์ และ การให้อาหารเป็นละอองหมอกทีม่ แี ร่ธาตุในปริมาณ ที่พืชชนิดนั้นๆ ต้องการ ซึ่งทำ�ให้ศัตรูธรรมชาติ ของการเพาะปลูกทั่วไปทั้งสภาพอากาศ ฤดูกาล โรคและแมลง ไม่มีผลต่อการเพาะปลูกเช่นนี้ “สาเหตุที่เราใช้เคมี ยาฆ่าแมลง และการ ตัดต่อพันธุกรรม เป็นเพราะเราไม่สามารถควบคุม อะไรในฟาร์มได้ ทั้งลมแรง สารอาหารไม่พอเรา จึงต้องสร้างพืชชนิดพิเศษขึ้น ในทางตรงกันข้าม ผมพยายามจะสร้างโลกทีส่ มบูรณ์แบบเพือ่ ให้พชื สามารถเติบโตได้” ฮาร์เปอร์กล่าว ในปี 2015 ฮาร์เปอร์จงึ ปรับซิตฟ้ี าร์มของเขา มาเป็นโครงการเกษตรแบบเปิด (Open Agriculture Initiative: OpenAg) ทีม่ ลี กั ษณะเหมือนโอเพ่นซอร์ซ ของวงการพัฒนาคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ แต่ ครั้งนี้เป็นฟู้ดคอมพิวเตอร์ (Food Computer) ที่ เปิดให้โปรแกรมเมอร์และนักพัฒนาต่างๆ มา ร่วมกันพัฒนาฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์สำ�หรับ แพลตฟอร์มการปลูกพืชในพืน้ ทีจ่ �ำ กัด อย่างเช่น ในบ้านหรือสวนแนวตัง้ ทีใ่ ช้ระบบเซ็นเซอร์ควบคุม นา้ํ และระบบการปลูกในอากาศ โอเพ่นซอร์ซเป็นปัจจัยสำ�คัญที่ทำ�ให้วงการ ซอฟต์แวร์พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว เพราะทุกคน
ไม่ตอ้ งเริม่ จากศูนย์ แต่มาต่อยอดจากทีท่ �ำ ไว้ เช่น เดียวกับคนที่นำ�อาหารคอมพิวเตอร์น้ไี ปทดลอง ก็จะกลับมาแชร์ข้อมูลถึงผลลัพธ์และสูตรใหม่ๆ ในการตัง้ โปรแกรมการปลูกพืชทีค่ นทัว่ โลกเข้ามา หยิบไปใช้ได้ และนั่นหมายถึงสูตรการตั้งค่าการ ควบคุมอาหารและน้าํ สำ�หรับพืชชนิดต่างๆ ใน แต่ละท้องถิน่ ทีจ่ ะเพิม่ มากขึน้ การเพาะปลูกพืชต่าง ถิน่ ภายในบ้านก็สามารถทำ�ได้ ซึง่ จะช่วยลดระยะ การขนส่งและอาหารก็สดใหม่กว่าทีจ่ ะขนมาจาก ต้นทาง
โลกไปไกล แล้วเราล่ะ?
ในเมื่อทุกคนสามารถเป็นเกษตรกรได้ สามารถ เปลีย่ นข้อมูลเป็นภาพเสมือนและควบคุมสิง่ ต่างๆ ได้ด้วย เทคโนโลยีดิจิทัล ชีวิตคนเรายืนยาวขึ้น ด้วยยาและวิทยาการสมัยใหม่ การเปลี่ยนแปลง ทีด่ ใี นอนาคตย่อมส่งผลกระทบต่อความสำ�เร็จใน อดีต ห้างสรรพสินค้าที่ปิดสาขาและไขว่คว้า สิ่งใหม่เข้ามาจึงเป็นเหมือนสัญญาณบ่งบอกถึง สภาพแวดล้อมใหม่ และการเกิดขึ้นของอาชีพ ใหม่ที่ใกล้เข้ามา แม้อาชีพที่ต้องทำ�งานร่วมกับ ผู้เชี่ยวชาญหลากสาขาและเป็นนักสร้างอย่าง ดีไซเนอร์ก็ยังต้องปรับตัวเช่นกัน CREATIVE THAILAND I 18
นิตยสาร Fast Company สัมภาษณ์บริษัท ออกแบบชัน้ นำ�ของโลกถึงอนาคตของการออกแบบ ซึ่งต่างเห็นตรงกันว่า 5 งานออกแบบที่จะหาย ไปนั้น ประกอบด้วยนักออกแบบประสบการณ์ (UX Designers) นักออกแบบภาพ (Visual Designers) นักวิจยั ด้านการออกแบบ (Design Researchers) นักออกแบบอุตสาหกรรม (Traditional Industrial Designers) และหัวหน้านักออกแบบ (Chief Design Office) ด้วยเหตุผลที่ว่า งานออกแบบ เหล่านีเ้ รียกได้วา่ เป็นพืน้ ฐาน แต่ความซับซ้อนของ เทคโนโลยีในอนาคตต้องการทักษะการออกแบบ ที่พิเศษมากขึ้น นักออกแบบที่มีอนาคตจึงขยับ จากของเดิมมาสูก่ ารเป็นนักออกแบบปฏิสมั พันธ์ ภาพเสมือน (Virtual Interaction Designers) ที่ เติบโตตามเทคโนโลยีเออาร์และวีอาร์ ที่คาดว่า จะเป็นอุตสาหกรรมทีม่ มี ลู ค่า 150 พันล้านเหรียญฯ ในปี 2020 นอกจากนี้ยังมีนักออกแบบวัสดุพิเศษ (Specialist Material Designers) นักออกแบบ ปัญญาประดิษฐ์ (AI Design Specialists) นักออกแบบ อุตสาหกรรมใหม่ (Post-Industrial Designers) เกิดขึ้นเพื่อรองรับผลิตภัณฑ์ที่ใช้วัสดุใหม่ และมี การเชื่อมต่อระหว่างสิ่งของด้วยดิจิทัล (Internet of Thing) มากขึ้น
justjared.com
ความรู้ที่มาบรรจบกันอย่างไม่รู้จบสร้าง เทคโนโลยี ใ หม่ ที่ ท ยอยออกมาสร้ า งคุ ณ ภาพ ชีวิตและปกป้องพิทักษ์โลกนี้ ยังกระตุ้นให้เกิด อาชีพเฉพาะทางใหม่ๆ อีกมากมายทีเ่ รานึกไม่ถงึ อย่างเช่น นักออกแบบอวัยวะมนุษย์ (Human Organ Designers) หรือนักออกแบบนาโนเทค (Nanotech Designers) และในขณะที่เรากำ�ลัง พูดถึงหลอดไฟ พืชผัก และอาชีพใหม่อยูน่ ี้ สำ�นัก ข่าวบีบีซี ภาษาไทย รายงานว่า นักวิทยาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยบาธ (University of Bath) ของ สหราชอาณาจักรได้ตีพิมพ์เผยแพร่ผลการศึกษา ทดลองลงในวารสาร Nature Communications ระบุวา่ ประสบความสำ�เร็จในเพาะตัวอ่อนของหนู ด้ ว ยการใช้ ส เปิ ร์ ม ผสมกั บ เซลล์ ช นิ ด อื่ น ที่ ไม่ใช่ไข่ของหนูตัวเมียได้เป็นครั้งแรกของโลก โดยลูกหนูที่เกิดจากกระบวนการนี้มีสุขภาพดี
และมีอายุขัยเท่ากับหนูทั่วไป ทั้งยังมีลูกหลาน ของตัวเองต่อมาได้อีกด้วย นับเป็นก้าวแรกของ การปูทางให้ผู้ชายมีลูกได้โดยไม่ต้องอาศัยไข่ ของผูห้ ญิง และยิง่ ไปกว่านัน้ หากนำ�เทคนิคนีม้ า รวมเข้ า กั บ การสร้ า งตั ว อ่ อ นโดยไม่ ใ ช้ ไ ข่ ในอนาคตอาจมีหนทางในการให้กำ�เนิดมนุษย์ โดยไม่ต้องใช้ทั้งสเปิร์มและไข่จากพ่อและแม่ เลยก็เป็นได้ ความเป็ น ไปได้ ที่ไ ร้ ขี ด จำ � กั ด เช่ น นี้ กำ � ลั ง เกิดขึน้ สำ�หรับคนรุน่ เก่าและกำ�ลังจะเก่าหลายคน อาจพลิกตามเกมที่เปลี่ยนไปได้ทัน แต่อีกหลาย คนที่ตามไม่ทัน ก็อาจเลือกเสพสุขกับด้านดีของ การเปลีย่ นแปลงนัน้ และปล่อยให้เจเนอเรชัน่ ใหม่ เลือกทางเดินให้สอดคล้องกับความจริงรูปแบบ ใหม่ที่หมุนไปอย่างไร้ที่สิ้นสุด
ที่มา: บทความ “Inside an MIT researcher’s grand plan to create the personal food computer” โดย Matt McFarland (17 มิถนุ ายน 2015) จาก washingtonpost.com / บทความ “No Sun, No Soil, No Problem: Eat an Indoor Farm Salad” โดย Rebecca Tuhus-Dubrow (20 พฤษภาคม 2014) จาก nextcity.org / บทความ “Retale is bringing VR shopping to the Oculus Rift” โดย Adi Robertson (16 ธันวาคม 2015) จาก theverge.com / บทความ “What is Li-Fi? How does Li-Fi work? Wi-Fi vs Li-Fi vs Wi-Fi HaLow | Li-Fi for iPhone | The ultimate definition of Li-Fi | Li-Fi news โดย Christina Mercer (19 กรกฎาคม 2016) จาก techworld.com / บทความ “Why Macy’s and Other Department Stores Are Having a Terrible Week” (11 สิงหาคม 2016) โดย John Kell จาก fortune.com / วิดโี อ “Herald Hass: Wireless data from every light bulb” จาก ted.com / facebook.com/ BBCThai/posts/1820831108137921 CREATIVE THAILAND I 19
เรียนแบบ STEM อาชีพใหม่ทตี่ อ้ งการทักษะพิเศษมากขึน้ ทำ�ให้ การศึกษาพื้นฐานสำ�หรับคนรุ่นใหม่ไม่อาจ เป็นการเรียนรู้แบบแยกส่วนความรู้เหมือนใน อดีต แต่ต้องเป็นการหลอมรวมพื้นฐานสำ�คัญ เข้าด้วยกัน นั่นจึงเป็นที่มาของการเรียนรู้แบบ ‘สะเต็ม’ (STEM) ซึ่งเป็นคำ�ย่อของศาสตร์ 4 สาขาวิชา คือ วิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology) วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics) ที่เป็นการ จัดการเรียนรู้ที่ไม่เน้นเพียงการท่องจำ�ทฤษฎี หรือกฏทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ แต่ เป็นการสร้างความเข้าใจทฤษฎีหรือกฏเหล่านัน้ ผ่านการปฏิบตั ใิ ห้เห็นจริง ควบคูไ่ ปกับการพัฒนา ทักษะการคิด ตัง้ คำ�ถาม แก้ปญั หา และการหา ข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ข้อค้นพบใหม่ๆ พร้อมทั้ง สามารถนำ�ข้อค้นพบนั้นไปใช้หรือบูรณาการ กับชีวิตประจำ�วันได้ การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มมี ลักษณะ 5 ประการ ได้แก่ (1) เป็นการสอนที่ เน้นการบูรณาการ (2) ช่วยนักเรียนสร้างความ เชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาวิชาทั้ง 4 กับชีวิต ประจำ�วันและการประกอบอาชีพ (3) เน้นการ พัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 (4) ท้าทายความ คิดของนักเรียน และ (5) เปิดโอกาสให้นกั เรียน ได้แสดงความคิดเห็น และความเข้าใจทีส่ อดคล้อง กับเนื้อหาทั้ง 4 วิชา ประเทศไทยเริม่ มีการพูดถึงระบบการศึกษา แบบสะเต็มมากขึ้น ปัจจุบันศูนย์สะเต็มศึกษา แห่งชาติ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (สสวท.) ร่วมกับ สำ�นักงาน คณะกรรมการการศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน กระทรวง ศึกษา ร่วมกันดำ�เนินโครงการขับเคลือ่ นสะเต็ม ศึกษาในสถานศึกษา 2,250 โรงเรียน โดยจัด เป็นหลักสูตรสะเต็มศึกษาเพือ่ นำ�ไปใช้ประกอบ การเรียนการสอนระดับประถมศึกษา เพือ่ สร้าง บุคลากรรุ่นใหม่ของประเทศไทยที่ต้องการ กำ�ลังคนทีม่ คี วามรูแ้ ละทักษะด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการผลิต และ การบริการที่มีการแข่งขันสูง เช่น การเกษตร แบบก้าวหน้า การผลิตสินค้าที่ใช้เทคโนโลยี ชั้นสูง การสื่อสาร การคมนาคม การพลังงาน และการจัดการสิง่ แวดล้อมทีต่ อ้ งใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ และเครื่องจักรที่มีเทคโนโลยีสูง ตลอดจนการจัดการโลจิสติกส์ เป็นต้น ทีม่ า: เรียบเรียงจากเรียบเรียงจาก www.ipst.ac.th/ index.php/news-and-announcements/trainingseminar/item/952-stem และ stemedthailand.org
apac.thinkwithgoogle.com
cached.imagescaler.hbpl.co.uk
Insight : อินไซต์
“ณ ช่วงเวลานีท้ ผี่ คู้ นทัว่ โลกกำ�ลังทำ�อะไรในทุกขณะ แล้วคุณอยูต่ รงนัน้ ด้วยไหม?” คือประโยคที่กูเกิลกำ�ลังพยายามสื่อสารกับเราทุกคน โดยเฉพาะในช่วงที่เราเกิด ความรู้สึกต้องการอะไรสักอย่าง ปรากฏการณ์ที่มนุษย์เลือกที่จะเปิดใช้งาน สมาร์ทโฟนเพื่อเติมเต็มความต้องการในทันที ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาที่เราอยากจะรู้ (I-want-to-know-moments) อยากจะไป (I-want-to-go-moments) อยากจะซื้อ (I-want-to-buy-moments) หรืออยากจะทำ� (I-want-to-domoments) ทุกๆ ความรู้สึกจะถูกเติมเต็มได้ทันทีเพียงปลายนิ้วคลิก และกูเกิล ได้นยิ ามชัว่ วินาทีแห่งการตอบสนองต่อความต้องการบนโลกออนไลน์ของผูค้ นใน ลักษณะนี้ว่า “Micro-Moments”
apac.thinkwithgoogle.com
เรื่อง: วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ
I want it NOW! ในวันนี้ที่ผู้บริโภคมีเครื่องมือที่ใช้ตอบสนองต่อ ความต้องการแบบทันทีอยู่ในมือ พวกเขาเลือกที่ จะซื่อสัตย์กับความต้องการของตัวเองมากกว่า การเลือกภักดีต่อแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่ง ทำ�ให้ สงครามการแย่งชิงความสนใจจากผู้บริโภคของ แบรนด์สินค้าต่างๆ ในโลกออนไลน์เข้มข้นและ ร้อนแรงขึ้นทุกขณะ กูเกิลได้รายงานว่า ร้อยละ 90 ของผู้ใช้งาน สมาร์ทโฟนไม่ยึดติดแบรนด์ใดเป็นพิเศษเมื่อ ค้นหาข้อมูลประเภทสินค้าทีต่ อ้ งการซือ้ แต่รอ้ ยละ
หลากหลายแบรนด์ ซึ่ ง มี ส าขาอยู่ ทั่ ว โลก ได้ ตั ด สิ น ใจผลิ ต แอพพลิ เ คชั่ น และเว็ บ ไซต์ บริการค้นหาข้อมูลสินค้าบนมือถือที่จะช่วยให้ ลูกค้าได้ค้นหาข้อมูล อ่านรีวิว และเปรียบเทียบ ผลิตภัณฑ์ระหว่างการเดินดูสินค้าภายในร้าน เพื่ อ ตอบสนองต่ อ โมเมนต์ ค วามต้ อ งการของ ลูกค้าทีอ่ ยากจะรู้ (I-want-to-know-moments) ข้ อ มู ล สิ น ค้ า ก่ อ นที่ จ ะตั ด สิ น ใจอยากจะซื้ อ (I-want-to-buy-moments) ในขณะทีย่ นู ลิ เี วอร์ (Unilever) บริษัทผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคราย ใหญ่ของโลกก็ได้ผลิตรายการ “All Things Hair”
65 มีแนวโน้มที่จะซื้อสินค้านั้นๆ หากสามารถ ค้ น หาข้ อ มู ล ของสิ น ค้ า ที่ ส นใจได้ ใ นออนไลน์ โดยตัวอย่างข้อมูลสถิตินี้ชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ ที่ว่า ณ ขณะนี้ที่ผู้คนทั่วโลกใช้เวลาอยู่ในโลก ออนไลน์มากขึ้นเรื่อยๆ กำ�ลังส่งผลกระทบกับ แบรนด์สินค้าและการตลาดอย่างไร โดยกูเกิลได้ แนะนำ�ทางออกที่จำ�เป็นต่อการปรับตัวและการ อยูใ่ ห้รอดในตลาดออนไลน์ไว้วา่ คุณต้องอยูท่ นี่ นั่ (Be There) ต้องมีประโยชน์ (Be Useful) และต้อง เร็ว (Be Quick) ตัวอย่างเช่น เซโฟร่า (Sephora) ร้านจำ�หน่ายสินค้าประเภทเครื่องสำ�อางชั้นนำ� CREATIVE THAILAND I 20
ในช่ อ งยู ทู บ เพื่ อ สาธิ ต วิ ธี ก ารทำ � ผมในโอกาส ต่างๆ ไปจนถึงการดูแลรักษาและจัดทรงผม เพือ่ ตอบสนองต่อความต้องการของสาวๆ ทีอ่ ยากจะ ทำ�ผมด้วยตัวเอง (I-want-to-do-moments) ซึง่ มีผู้เข้าชมรายการในช่องแล้วกว่า 500 ล้านวิว ยิง่ ไปกว่านัน้ ในปีทผี่ า่ นมา กูเกิลยังรายงานอีกว่า ผู้ ค นในแถบอเมริ ก าเหนื อ ได้ ใ ช้ เ วลาชมวิ ดี โ อ ประเภทฮาวทูไปแล้วกว่า 100 ล้านชัว่ โมง และถ้า กลับมาดูพฤติกรรมออนไลน์ในฝั่งเอเชียบ้านเรา กูเกิลรายงานว่าในขณะนี้เอเชียไม่ได้เข้าสู่โลก ออนไลน์ อี ก ต่ อ ไป แต่ เ ราอยู่ ใ นโลกออนไลน์ ตลอดเวลา Life, Interrupted ในขณะทีธ่ รุ กิจเล็กและใหญ่บนโลกออนไลน์ก�ำ ลัง เดินหน้าสร้างกลยุทธ์ทุกรูปแบบเพื่อดึงความ สนใจและตอบรับให้ทันกับทุกความต้องการของ ผู้บริโภค หลายครั้งที่เราเองก็ถูกยัดเยียดให้เกิด ความต้องการจากพลังของโซเชียลมีเดีย ไม่วา่ จะ เป็นโพสต์และการแชร์เรื่องราวของคนรอบตัวที่ มักจะกระตุน้ ต่อมความอยากรู้ อยากทำ� อยากไป และอยากซื้อของให้มากขึ้นเรื่อยๆ คำ�ถามคือ เรายอมรับทุกแรงกระตุ้นต่อความอยากเหล่านั้น ด้วยความรู้สึกตัวจริงๆ หรือไม่ ทริสทัน แฮร์รสิ (Tristan Harris) นักจริยธรรม ด้านการออกแบบที่เคยทำ�งานให้กูเกิล ได้ศึกษา เรื่องเทคโนโลยีในปัจจุบันว่ามีส่วนควบคุมความ รู้สึกของมนุษย์ได้อย่างไร โดยเขาได้อธิบายว่า ทุกครัง้ ทีเ่ ราเปิดใช้งานสมาร์ทโฟนก็เหมือนกับเรา กำ�ลังเล่นพนันซึ่งหวังผลบางอย่างอยู่เสมอ เช่น การรีเฟรชหน้าจอใหม่ในกล่องอีเมลที่เราหวังว่า จะมีอีเมลเข้ามาใหม่ หรือตอนที่เลื่อนดูภาพใน อินสตาแกรมเพื่อเห็นภาพความเคลื่อนไหวของ
เพื่อนหรือบุคคลที่เราติดตามอยู่เรื่อยๆ และจะ รู้สึกตื่นเต้นเป็นพิเศษหากได้รับการแจ้งเตือนใน สือ่ โซเชียลมีเดียอย่างเฟซบุก๊ และไลน์ ซึง่ แน่นอน ว่าเราแทบจะอดใจไม่ได้ที่จะเปิดดูการแจ้งเตือน นั้นแทบจะทันที รวมทั้งการเปิดดูวิดีโอในยูทูบที่ มีระบบเล่นอัตโนมัตแิ ละเปิดวิดโี อตัวต่อไปเรือ่ ยๆ จนเราอดไม่ ไ ด้ ที่ จ ะลองเสี่ ย งดู ต่ อ ด้ ว ยความ อยากรู้แบบไม่จบสิ้น การตอบสนองอย่างรวดเร็วต่อโลกออนไลน์ นีเ้ อง ทีส่ ง่ ผลกระทบต่อการใช้ชวี ติ จริงของมนุษย์ อย่ า งตั ด กั น ไม่ ข าด เพราะทุ ก วั น ในชี วิ ต การ ทำ�งาน เรามักจะถูกรบกวนจากการแจ้งเตือนใน สือ่ โซเชียลมีเดียทีไ่ ด้ท�ำ ลายสมาธิกบั งานทีอ่ ยูต่ รง หน้าไปหมดสิ้น โดยงานวิจัยในหัวข้อ “The Cost of Interrupted Work : More Speed and Stress” จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตเออร์ไวน์ (University of California, Irvine) ได้เผยข้อมูล ทีน่ า่ สนใจว่า โดยเฉลีย่ แล้วเราจะใช้เวลาประมาณ 23 นาทีในการกลับมาโฟกัสกับสิ่งที่ทำ�อยู่หลัง จากถูกขัดจังหวะ และถึงแม้ว่าการถูกขัดจังหวะ จะไม่ส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพการทำ�งานเมื่อ เทียบกับการไม่ถูกขัดจังหวะ แต่ผู้ที่ถูกรบกวนก็ ต้องแลกมาด้วยความรูส้ กึ กดดันและความเครียด ทีเ่ พิม่ ขึน้ มาก และไม่ใช่แค่กลุม่ คนทำ�งานเท่านัน้ ทีร่ สู้ กึ เครียดและกดดันจากการต้องดึงตัวเองกลับ มาทำ�งานให้ได้ในชีวติ จริงหลังจากใช้เวลาในโลก ออนไลน์ เพราะวัยรุ่นทั่วโลกในขณะนี้ก็กำ�ลัง ประสบปัญหากับความรู้สึกที่ว่าตัวเองดีไม่พออยู่ ตลอดเวลา โดยผลการสำ�รวจในปีนขี้ องกระทรวง การศึกษาจากสหราชอาณาจักรพบว่า เด็กผูห้ ญิง อั ง กฤษในปั จ จุ บั น กำ � ลั ง รู้ สึ ก กั ง วลและกดดั น มากขึน้ เพราะอดไม่ได้ทจี่ ะเปรียบเทียบชีวติ และ ภาพลักษณ์ของตัวเองกับเพือ่ นๆ ในโลกออนไลน์
Make your choice ดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่ย้อนแย้งกันมากทีเดียว ว่าเทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ตที่พยายามมอบ อิสรภาพให้เราเลือกได้เอง กลับกำ�ลังพยายาม ดึงดูดความสนใจจากการใช้ชีวิตจริงของเราไป ทุกขณะทั้งด้วยความเต็มใจและไม่เต็มใจ การ ดึงดูดความสนใจจากผู้ใช้งานในโลกออนไลน์ให้ ได้มากที่สุดอาจส่งผลดีต่อธุรกิจและผู้สร้างสื่อ แต่เราในฐานะผูใ้ ช้งานเต็มใจเลือกตัวเลือกทีม่ อี ยู่ ในโลกออนไลน์ในขณะนี้ได้เองจริงหรือไม่ แล้ว ตัวเลือกที่เราจะสามารถใช้เวลาบนโลกออนไลน์ ได้อย่างมีคุณภาพจริงๆ อยู่ตรงไหน ประเด็น เหล่านีย้ งั เป็นเรือ่ งทีน่ า่ ขบคิด โดยทริสทันเองก็ได้ ลองเสนอตัวเลือกทีว่ า่ ด้วยการก่อตัง้ องค์กร Time Well Spent ทีพ่ ยายามกระตุน้ ให้ผสู้ ร้างเครือ่ งมือ และสื่อดิจิทัลได้สร้างสรรค์ตัวเลือกใหม่ๆ ที่จะ ช่วยให้ผู้ใช้งานได้โฟกัสกับสิ่งที่ต้องการในโลก ออนไลน์อย่างแท้จริงไม่ใช่เครื่องมือที่เรียกร้อง ความสนใจจากผู้ใช้งานให้ได้มากที่สุด หรือการ พัฒนาสื่อโซเชียลมีเดียที่ไม่ได้วัดค่าความสำ�เร็จ จากจำ�นวนยอดผู้ติดตามหรือยอดไลก์และยอด แชร์ แต่เป็นสื่อที่จะช่วยเชื่อมความสัมพันธ์ของ มนุษย์ในทางบวก โดยทริสทันเชื่อว่า ตัวเลือกที่ ว่านีจ้ ะเกิดขึน้ จริงได้กต็ อ่ เมือ่ มีผตู้ อ้ งการอยากให้ เกิดอย่างจริงจัง และตัวเลือกนีอ้ าจจะเป็นตัวเลือก ที่ดีที่จะช่วยเติมเต็มทุกโมเมนต์ความต้องการที่ เกิดขึ้นจากตัวเราเองอย่างแท้จริง ฉะนั้นคำ�ถามจากกูเกิลที่ถามว่า “ณ ช่วง เวลานีท้ ผี่ คู้ นทัว่ โลกกำ�ลังทำ�อะไรในทุกขณะ แล้ว คุณอยูต่ รงนัน้ ด้วยไหม?” อาจจะไม่ส�ำ คัญเท่ากับ ว่า ในตอนนีท้ คี่ ณุ กำ�ลังใช้เวลาอยูใ่ นโลกออนไลน์ แล้วคุณกำ�ลังทำ�อะไรอยู่
forbes.com
ที่มา: งานวิจัย “How to Win Micro-Moments” จาก thinkwithgoogle.com / งานวิจัย “The Cost of Interrupted Work: More Speed and Stress” โดย Gloria Mark จาก University of California, Irvine / บทความ “ทำ�ไมนักการตลาดในเอเชีย จึงควรให้ความสำ�คัญกับชั่ววินาทีสั้นๆ” โดย Karim Temsamani (15 มิถุนายน 2015) จาก apac.thinkwithgoogle.com บทความ “How Technology Hijacks People’s Minds - from a Magician and Google’s Design Ethicist” (พฤษภาคม 2016) โดย Tristan Harris จาก medium.com / บทความ “Putting a Finger on Our Phone Obsession Mobile touches: a study on humans and their tech” (16 มิถุนายน 2016) โดย Michael Winnick จาก blog.dscout.co / บทความ “Young women - do you feel the pressure to be perfect?” (1 กันยายน 2016) โดย Sarah Marsh จาก theguardian.com / วิดโี อ “How better tech could protect us from distraction” (ธันวาคม 2014) จาก ted.com
CREATIVE THAILAND I 21
Creative Startup : เริ่มต้นคิด
จากซ้ายไปขวา: (แถวบน) ฐิติพงษ์ เหลืองอรุณเลิศ, ไกลก้อง ไวทยากร, รพี สุวีรานนท์ (แถวล่าง) ภูริพันธุ์ รุจิขจร, ศุภเสฏฐ์ ชูชัยศรี, วิโรจน์ จิรพัฒนกุล
เพราะไม่อยากนิ่งเฉยกับปัญหาที่เกิดขึ้นในกรุงเทพฯ ตั้งแต่ฝาท่อชำ�รุด ฟุตปาธไม่เรียบ ปัญหาขยะในชุมชน สายไฟห้อย ระโยงระยาง หรือแม้แต่นํ้าท่วมขังรอการระบาย กลุ่มนักออกแบบ วิศวกร นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล และผู้เชี่ยวชาญจากหลาย สาขา จึงรวมตัวกันสร้างแพลตฟอร์มออนไลน์ “ยุพิน (YouPin)” ที่เปิดให้ทุกคนมาร่วมกันแจ้งปัญหาเกี่ยวกับเมือง ด้วย เชื่อว่าพลังของ “คราวด์ซอร์สซิง” (Crowdsourcing) จากเสียงบ่นของมวลชน จะเปลี่ยนแปลงชุมชนและเมืองให้ดีข้ึนได้ โดยไม่ต้องรอให้รัฐลงมือก่อน เห็นปัญหา...Pin บอกป้ายุพิน “ทุ ก คนรู้ สึ ก ว่ า ประเทศอื่ น มี ส าธารณู ป โภคและบริ ก ารสาธารณะที่ ดี เราก็อยากได้แบบนั้นบ้าง” ฐิติพงษ์ เหลืองอรุณเลิศ หนึ่งในผู้ก่อตั้งยุพิน เล่าถึงที่มาของโครงการนี้ให้ฟังว่า ในฐานะคนที่ร้องเรียนปัญหาไปยัง สายด่วนของศูนย์รับแจ้งทุกข์ กทม. เป็นประจำ� เขาและทีมงานพบว่า บริการเหล่านี้ในไทยยังมีช่องโหว่ เช่น การแจ้งปัญหาผ่านทางเว็บไซต์ต้อง กรอกข้อมูลรายละเอียดเยอะ ขาดการประสานงานระหว่างผู้ร้องเรียนกับ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ไม่ระบุวิธีแก้ไขปัญหา และไม่มีระบบฟีดแบ็กการ ทำ�งานแบบครบวงจร ทำ�ให้หลายคนถอดใจกับระบบที่ล่าช้าและยุ่งยาก ทีมยุพินจึงพัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์สำ�หรับรับร้องเรียนปัญหาที่ทุกคน พบเห็นในกรุงเทพฯ โดยเน้นการใช้งานง่ายและเป็นมิตรที่สุด เพื่อชวนคน มาบ่นกันอย่าง ‘ถูกที่ ถูกทาง’ และเปลี่ยนเสียงบ่นของมวลชนเป็นแนวทาง
แก้ ปั ญ หาเมื อ งที่ แ ท้ จ ริ ง โดยร่ ว มมื อ กั บ หน่ ว ยงานมากมาย อาทิ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ TCDC บุญมีแล็บ เครือข่ายพลเมืองเน็ต และสำ�นักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Government Agency: EGA) ช่องทางร้องทุกข์ของยุพินมีทั้งเว็บไซต์ youpin.city และแชตบ็อต (Chatbot) ฟีเจอร์ใหม่ในเฟซบุ๊กเมสเซ็นเจอร์ที่พร้อมจะตอบข้อความ อัตโนมัติ ที่สำ�คัญ เราสามารถส่งรูปถ่าย ติดแฮชแท็กประเภทของปัญหา (เช่น #footpath, #safety) และปักหมุดหรือ Pin ตำ�แหน่งที่เกิดเหตุได้ทันที วิธีนี้จะทำ�ให้ทีมงานสามารถจัดหมวดของปัญหาเพื่อส่งต่อข้อมูลเหล่านี้ไป ยังหน่วยงานที่รับผิดชอบได้สะดวกขึ้น โดยทีมงานจะคอยเช็กและรายงาน ผลว่าปัญหาใดได้รับการแก้ไขแล้วบ้างด้วยการขึ้น verified บนรูปภาพที่ ถูกส่งมา ขณะเดียวกัน การจัดการข้อมูลเกี่ยวกับเมืองอย่างเป็นระบบก็
CREATIVE THAILAND I 22
จะสะท้อนถึงภาพรวมของปัญหาในกรุงเทพฯ อย่างชัดเจน และส่งผลให้ โปรเจ็กต์นี้ได้รับรางวัลชนะเลิศ สาขา Big Ideas Competition for Sustainable Cities and Urban Communities 2016 จากโครงการพัฒนา แห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme: UNDP) “บริการบ้านเรามีปัญหาตรงระบบฟีดแบ็กเยอะมาก คนไทยชอบบ่น แต่ไม่บ่นให้มันถูกช่อง คนทำ�งานก็ไม่รู้ว่าคนบ่นเรื่องอะไร จริงๆ แล้วเขาก็ อยากฟังปัญหาเหล่านี้เพื่อที่จะได้แก้ไขให้ดียิ่งขึ้น แต่ตอนนี้เราเลือกจะบ่น ให้เพื่อนฟัง หรือบ่นในอินเทอร์เน็ต ซึ่งต้องใช้ Data Mining หรือการดึง ข้อมูลจากแหล่งอื่นมาวิเคราะห์อีกทีว่าใครเจอปัญหาอะไร”
ในยุคที่รัฐต้องเปลี่ยนบทบาทจากคนทำ�งานมาเป็นผู้สนับสนุนและเปิดเผย ข้อมูล มีระบบข้อมูลสาธารณะ หรือ Open Data ที่ประชาชนเข้าถึง นำ�ไป ต่อยอด และใช้ร่วมกันได้ เช่น กรมอุตุนิยมวิทยามีข้อมูลเกี่ยวกับการ เปลี่ยนแปลงสภาพดินฟ้าอากาศ อาจจะทำ�งานร่วมกับกทม. นำ�ข้อมูลมา ช่วยวิเคราะห์จดั การปัญหานํา้ ท่วม ดูวา่ ช่วงนีฝ้ นตกไหม ต้องเตรียมบุคลากร เพิ่มเท่าไร ทำ�อย่างไรให้ระบายนํ้าทัน เราควรรู้ว่าสถานการณ์บ้านเมืองเป็น อย่างไร จริงๆ หน่วยงานรัฐและเอกชนมีการจัดการข้อมูลอยู่แล้ว แต่ถ้า ประชาชนอีกสิบล้านคนสามารถเข้าถึงได้ด้วย ทุกคนก็จะนำ�ไปแก้ปัญหา ในชุมชนของตนเองได้เร็วขึ้น หรือหันมาทำ�งานร่วมมือกันมากขึ้น”
ให้ Chatbot ช่วยตอบ ยุพินถือเป็นกลุ่มคนแรกๆ ในไทยที่นำ�เทคโนโลยีแชตบ็อต (Chatbot) ของ เฟซบุ๊กที่เพิ่งเปิดตัวไปไม่นาน มาใช้ในระบบรับแจ้งปัญหาเกี่ยวกับเมือง ทีมงานให้เหตุผลว่าพวกเขาต้องการเลือกช่องทางที่คนส่วนใหญ่ใช้กัน เป็นประจำ�และเข้าถึงได้ผ่านมือถือ เฟซบุ๊กจึงตอบโจทย์กว่าการสร้าง แอพพลิเคชั่นขึ้นใหม่ซึ่งมีต้นทุนสูงและมีมูลค่าการดาวน์โหลด โดยได้ วิโรจน์ จิรพัฒนกุล นักวิทยาศาสตร์ข้อมูลซึ่งเคยทำ�งานที่บริษัทเฟซบุ๊ก สหรัฐอเมริกา มาช่วยพัฒนาด้านนี้โดยตรง นอกจากแชตบ็อตจะช่วย ประหยัดแรงในการโต้ตอบกับข้อความจำ�นวนมากที่ถูกส่งเข้ามาร้องเรียน ทางกล่องข้อความเพจของยุพินแล้ว ยังเพิ่มสีสันและความสนุกให้กับการ รายงานปัญหา ประกอบกับการออกแบบคาแรกเตอร์ ‘ป้ายุพิน’ ผู้ใช้งาน จึงรู้สึกเหมือนกำ�ลังบ่นความคับข้องใจที่มีต่อเมืองให้ป้าใจดีคนหนึ่งฟัง มากกว่าการรายงานกับระบบทีม่ ขี นั้ ตอนยุง่ ยากซับซ้อน “แชตบอตทำ�ให้คน รู้สึกว่าการรายงานปัญหาไม่ใช่เรื่องยากลำ�บาก ถ้าเรามีฟีดแบ็กกลับไป คนก็จะกระตือรือร้นที่จะมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหามากขึ้น ที่ผ่านมา คน ส่วนใหญ่คิดว่าปัญหาเหล่านี้แก้ไขไม่ได้ บ่นไปก็ไม่มีใครทำ�อะไร เลยไม่ รายงาน เพราะคิดว่าหน่วยงานราชการพึ่งพาไม่ได้ ทั้งที่จริงๆ แล้ว หน่วยงานเหล่านี้เข้ามาทำ�งานและแก้ไขปัญหาจริง เพียงแต่ว่าช่องทางการ ติดต่อสื่อสารของเขาอาจจะไม่ดี” “ผมว่ า คนรุ่ น เราโหยหาความเปลี่ ย นแปลง แต่ มั น ไม่ มี ที่ ร ะบาย คนเลยสนใจโปรเจ็กต์นี้พอสมควร ถึงจะยังรายงานปัญหาเข้ามากันไม่เยอะ แต่เราก็จะพยายามทำ�ต่อไป อย่างน้อยเราได้ลงมือทำ�แล้ว ถ้าคุณไม่ รายงานปัญหากับยุพิน มันไม่มีข้ออ้างอื่นแล้วว่ารายงานยาก แต่เพราะ คุณไม่ช่วยกัน ยังไงเราก็อยากให้คุณบ่นมาเถอะ เข้ามาแชตกับป้ายุพินใน ช่องทางนี้”
การพัฒนาเมืองในยุคแห่งข้อมูล ประชาชนนำ� รัฐต้องหนุน เป้าหมายของยุพินในตอนนี้คือการพัฒนาระบบฟีดแบ็กให้สมบูรณ์และ ครบวงจร คือ ระบบต้องเชือ่ มโยงข้อมูลและการติดต่อสือ่ สารระหว่างผูร้ ายงาน ปัญหา กับแอดมินหรือคนรับเรื่องทางระบบหลังบ้านซึ่งเป็นทีมงานของ ยุพนิ และหน่วยงานทีร่ บั ผิดชอบดูแลปัญหาดังกล่าวได้ครบลูป รวมทัง้ สามารถ รายงานให้คนทีร่ อ้ งเรียนได้รบั ทราบถึงผลการดำ�เนินงานเป็นระยะๆ โดยอาศัย ความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐอย่างเต็มที่ “ข้อดีของคราวด์ซอร์สซิง (Crowdsourcing) คือพลัง เราไม่สามารถส่งเจ้าหน้าทีข่ องกทม. ไปยังทุกทีใ่ น เมือง แต่ทกุ คนช่วยกันรายงานปัญหาทีเ่ กิดขึน้ ได้ และทุกคนก็อยากดูแลชุมชน ของตนเองอยูแ่ ล้ว ทีส่ �ำ คัญ มันเป็นพลังทีไ่ ม่ได้มรี าคาแพงเลย ภาครัฐจะได้ เครดิตจากการทำ�งานทีด่ ยี งิ่ ขึน้ และชุมชนของเราก็ดขี นึ้ ด้วย มันก็ win-win” ทีมยุพนิ เริม่ นำ�โมเดลนีไ้ ปปรับใช้จริงกับระบบการร้องเรียนปัญหาภายใน คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดการแก้ปญั หาโดยอาศัย ข้อมูลคราวด์ซอร์สทีร่ วบรวมจากการรายงานของนิสติ และบุคลากร และรายงาน ผลการทำ�งานกลับไปทีร่ ะบบ ซึง่ โมเดลนีจ้ ะเป็นต้นแบบของการพัฒนาระบบ ฟีดแบ็กทีป่ รับใช้ได้กบั ธุรกิจและบริการอืน่ ๆ ตลอดจนเป็นแนวทางยกระดับ เมืองให้ดยี ง่ิ ขึน้ ทีมงานเผยว่า เมือ่ ผูใ้ ช้บริการมากขึน้ ทางทีมงานของยุพนิ จะนำ�ข้อมูล ทัง้ หมดมาวิเคราะห์และประมวลผลเป็นชุดข้อมูลในเฟสต่อไป ผูใ้ ช้งานสามารถ ติดตามได้วา่ ปัญหานีร้ ายงานเมือ่ ไร สิน้ สุดลงเมือ่ ไร ใช้ระยะเวลาแก้ไขนานแค่ ไหน ยิง่ ไปกว่านัน้ ฐานข้อมูลเหล่านีส้ ามารถแสดงผลเชิงสถิตไิ ด้วา่ พืน้ ทีเ่ ขตไหน บ้างมีปัญหาขยะเยอะมากที่สุด เขตไหนประสบปัญหาน้าํ ท่วมเป็นประจำ� หรือจัดการปัญหาทางเท้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากทีส่ ดุ “บางเมืองในอเมริกาไม่ได้สะอาดมาก แต่รฐั บาลเขาค่อนข้างให้ความ ร่วมมือเต็มที่ นายกเทศมนตรีของเมืองบอสตันจะมาดู Mayor’s Dashboard (กระดานข่าวสารดิจทิ ลั ของเขา) ทุกๆ เช้าว่าเกิดอะไรขึน้ ในเมืองบ้าง เช่น ฝาท่อชำ�รุด ฟุตปาธพัง นีค่ อื สิง่ ทีท่ �ำ ให้เขาทำ�งานง่ายขึน้ และตัดสินใจแก้ปญั หา ได้อย่างรวดเร็ว ประชาชนก็มคี วามสุข หรืออย่างในลอนดอน มีแอพพลิเคชัน่ FixMyStreet สำ�หรับรายงานและติดตามการแก้ปญั หาเหมือนกัน ซึง่ ประสบ ความสำ�เร็จมากและถูกนำ�ไปใช้ท่ีญ่ีปุ่น เราก็คาดหวังว่าจะมีหน่วยงานที่ นำ�แพลตฟอร์มนีไ้ ปใช้กบั กรุงเทพฯ ทำ�ให้เมืองของเราดีขน้ึ ”
เพราะเมืองเป็นเรื่องของเราทุกคน ศูนย์รวมคำ�บ่นแห่งนี้ได้รับการออกแบบให้เป็นแพลตฟอร์มเปิด (Open Platform) ไม่ว่าใครก็สามารถร้องเรียนปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิต ในเมืองเข้ามาได้ ทีส่ �ำ คัญ เสียงบ่นเหล่านีค้ อื ข้อมูลชัน้ ดีทสี่ ะท้อนทัง้ มุมมอง และความคิ ด เห็ น ของประชาชนต่ อ ปั ญ หาที่ เ กิ ด ขึ้ น ในชุ ม ชนและเมื อ ง ทีมงานจึงต้องการเปิดเผยข้อมูลให้สาธารณชนและเครือข่ายองค์กรต่างๆ นำ�ไปต่อยอดได้ (Open Data) รวมทั้งเปิดโอกาสให้อาสาสมัครร่วมเขียน โค้ดพัฒนาโปรแกรมนี้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น (Open Source) “เราอยู่
ขอขอบคุณผู้ให้สัมภาษณ์: ภูริพันธุ์ รุจิขจร / ฐิติพงษ์ เหลืองอรุณเลิศ ผู้ก่อตั้งบุญมีแล็บ / ศุภเสฏฐ์ ชูชัยศรี บจ. ลานเกียร์ เทคโนโลยี / วิโรจน์ จิรพัฒนกุล บ. Learn Corporation / รพี สุวีรานนท์ ผู้ก่อตั้งบุญมีแล็บ / ทีมงานยุพินและเครือข่ายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
CREATIVE THAILAND I 23
businessinsider.com.au
Creative City : จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
เรื่อง: ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ
คงจะไม่มีประเทศใดในโลกที่มีโชคชะตาพลิกผันจากทรัพยากรนํ้ามันเท่ากับซาอุดีอาระเบียอีกแล้ว เพราะภายหลังการก่อตั้ง ราชอาณาจักรได้เพียง 6 ปี ก็มีการค้นพบนํ้ามันปิโตรเลียมในปี 1938 ไม่มีใครคาดคิดว่าดินแดนศักดิ์สิทธิ์กลางทะเลทราย แห้ ง แล้ ง ของชาวมุ ส ลิ ม หนึ่ ง ในอาณาจั ก รยากจนที่ สุ ด ในโลกที่ มี เ พี ย งรายได้ จ ากพื ช ผลทนแล้ ง และการจั บ จ่ า ยของ นักแสวงบุญแห่งนี้ จะกลับกลายเป็นขุมทรัพย์อันอุดมทีส่ ร้างเม็ดเงินมหาศาล เป็นเวลาหลายทศวรรษทีซ่ าอุดอี าระเบียผงาด ขึ้นครองตำ�แหน่งประเทศผู้ส่งออกนํ้ามันดิบรายใหญ่ที่สุดของโลก แต่แล้วชะตากลับเล่นตลกอีกครั้ง เมื่อสหรัฐอเมริกาค้น พบแหล่งนํ้ามันใหม่และคิดค้นเทคโนโลยีขุดเจาะจากชั้นหินดินดานได้สำ�เร็จในปี 2014 และอำ�นาจของเศรษฐีอาหรับกำ�ลัง ค่อยๆ หลุดลอยออกจากกำ�มือ CREATIVE THAILAND I 24
จากสังคมอนุรักษ์ สู่อาณาจักรวิจัยชั้นนํา บนพื้นที่ 36 ตารางกิโลเมตรกลางทะเลทราย คือ ที่ ต้ั ง ของมหาวิ ท ยาลั ย กษั ต ริ ย์ อั บ ดุ ล ลอห์ เ พื่ อ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือ “KAUST” (King Abdullah University of Science and Technology) มหาวิทยาลัยที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นในปี 2009 ภายใต้ วิสยั ทัศน์และการอุปถัมภ์ของกษัตริยซ์ าอุดอี าระเบีย ด้วยความมุ่งหมายที่จะสร้างสถาบันชั้นนำ�ด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของโลก โดยเปิดรับ และมอบทุนแก่นักศึกษาจากทั่วโลกให้เข้ามา ศึกษาและทำ�งานวิจยั ในระดับปริญญาโทและเอก ในศูนย์วิจัยที่มีเครื่องมือและเทคโนโลยีรองรับ พร้อมสรรพ KAUST เป็ น หนึ่ ง ในความพยายามของ ซาอุดอี าระเบียทีจ่ ะส่งเสริมความหลากหลายทาง เศรษฐกิจในราชอาณาจักร และช่วยเปลี่ยนผ่าน ประเทศที่พึ่งพาเพียงรายได้จากอุตสาหกรรม นา้ํ มัน ไปสูร่ ะบบเศรษฐกิจฐานความรู้ (knowledgebased economy) โดยมหาวิทยาลัยจะทำ�งาน ร่วมกับทุกภาคส่วน ตัง้ แต่บริษทั หน่วยงานเอกชน องค์กรไม่แสวงผลกำ�ไร และหน่วยงานรัฐ เพื่อ
nomaddesertsolar.com
ข้ อ เท็ จ จริ ง ที่ ว่ า เกื อ บทั้ ง หมดของรายได้ ข อง ซาอุดีอาระเบียนั้นมาจากการค้านํ้ามันถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ทำ�ให้เข้าใจได้ว่า เหตุใดการค้นพบ แหล่งนํา้ มันครัง้ ใหม่ของสหรัฐอเมริกา และราคา นํ้ามันที่ดิ่งลง จึงทำ�ให้เกิดกระแสการตื่นตัวครั้ง ใหญ่ในดินแดนอาหรับแห่งนี้ ในฐานะเจ้าของ ทรัพยากรลํ้าค่าอย่างนํ้ามัน ทำ�ให้ในช่วง 50 ปีที่ ผ่านมา ซาอุดอี าระเบียไม่เร่งพัฒนาอุตสาหกรรม อื่นมากระจายความเสี่ยงจากการพึ่งพาธุรกิจค้า นํ้ า มั น ขณะที่ ก ารค้ น พบแหล่ ง นํ้า มั น ใหม่ ใ น สหรัฐอเมริกา ก็บั่นทอนอำ�นาจในการกำ�หนด ทิศทางราคานาํ้ มันของซาอุดอี าระเบีย จนประสบ ปัญหางบประมาณขาดดุลกว่า 1 แสนล้านเหรียญ สหรัฐฯ ในปี 2015 แต่ ใ ช่ ว่ า ที่ ผ่ า นมาเศรษฐีน้าํ มันจะชะล่าใจ เพราะทางการซาอุดอี าระเบียเองก็ได้เริ่มพยายาม ผลั ก ดั น ให้ เ กิ ด การพั ฒ นาอุ ต สาหกรรมอื่ น ๆ ในประเทศแล้วในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
ช่วยกันส่งเสริมและผลักดันให้ความรู้ นวัตกรรม และเทคโนโลยี ใ หม่ ที่ คิ ด ค้ น ในมหาวิ ท ยาลั ย ได้ถกู ส่งต่อสูส่ งั คมและสร้างแรงขับเคลือ่ นในการ พัฒนาเศรษฐกิจอย่างแท้จริง นอกจากนี้ยังมีกองทุนนวัตกรรม KAUST Innovation Fund ที่ให้ความช่วยเหลือบริษัท สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยี ตั้งแต่การให้เงินทุน ขั้ น ต้ น ไปจนถึ ง ช่ ว งเริ่ ม ต้ น ของการทำ � ธุ ร กิ จ ตลอดจนลงทุนในบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำ�จาก ต่างประเทศทีต่ อ้ งการดำ�เนินธุรกิจในซาอุดอี าระเบีย และรับประโยชน์จากการวิจยั ของ KAUST อีกด้วย
kaust.edu.sa
อาหรับตกอับ?
จากนํ้ามันสู่แสงอาทิตย์ รายงานจาก International Renewable Energy Agency คาดการณ์ว่า โลกจะมีสัดส่วนการผลิต กระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 13 ในปี 2030 จากเพียงร้อยละ 2 ในปี 2016 พลังงานแสงอาทิตย์ก�ำ ลังจะกลายมาเป็นทางเลือกใหม่ทจี่ ะปฏิวตั ริ ะบบการผลิตกระแสไฟฟ้า ทัว่ โลก นีจ่ งึ เป็นโอกาสใหม่ในการสร้างความมัน่ คงทางพลังงานให้แก่ดนิ แดนเศรษฐีนาํ้ มันทีส่ อ่ เค้า ว่าคงจะหวังพึง่ การค้านํา้ มันต่อไปในระยะยาวไม่ไหว และภูมปิ ระเทศแบบทะเลทรายซึง่ มีความชืน้ ตํ่าของซาอุดีอาระเบียก็เป็นพื้นที่รับแสงอาทิตย์อย่างดี ล่าสุด “NOMADD” (NO Water Mechanical Automated Dusting Device) สตาร์ทอัพ หน้าใหม่ผู้คิดค้นระบบทำ�ความสะอาดแผงโซลาร์เซลล์กลางทะเลทราย ได้ปิดการระดมทุนรอบ Series A จาก KAUST Innovation Fund โดยได้รับเงินทุนทั้งสิ้นหนึ่งล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งช่วยให้ NOMADD สามารถสร้างรากฐานทางธุรกิจทีแ่ ข็งแกร่งในซาอุดอี าระเบีย พร้อมจ้างพนักงานตำ�แหน่ง สำ�คัญ และดำ�เนินกิจกรรมการทดสอบระบบร่วมกับลูกค้าที่มีกำ�ลังซื้อต่อไป NOMADD เป็นนวัตกรรมทีแ่ ก้ไขปัญหาสำ�คัญซึง่ เกิดขึน้ เฉพาะพืน้ ที่ อย่างเช่นในกลุม่ ประเทศ ความร่วมมืออ่าวอาหรับ (GCC) ซึ่งเป็นตลาดพลังงานแสงอาทิตย์ที่สำ�คัญของโลกในทศวรรษที่ กำ�ลังจะมาถึง เพราะเมื่อเกิดพายุทราย ประสิทธิภาพในการผลิตพลังงานของแผงโซลาร์เซลล์ จะลดลงถึง 60 เปอร์เซ็นต์ โดยระบบอัตโนมัติของ NOMADD สามารถกำ�จัดฝุ่นทรายได้โดย ไม่ตอ้ งใช้นาํ้ ช่วยลดต้นทุนค่าแรงและทรัพยากร โดยนีไ่ ม่ใช่ครัง้ แรกที่ NOMADD ได้รบั การสนับสนุน จาก KAUST เพราะอันทีจ่ ริงแล้ว ผูก้ อ่ ตัง้ และทีมงาน NOMADD เริม่ ต้นพัฒนานวัตกรรมนีใ้ นศูนย์วจิ ยั ของ KAUST ทั้งยังได้รับคำ�แนะนำ� เงินทุนเริ่มต้น (seed funding) และการคุ้มครองทรัพย์สินทาง ปัญญาจาก KAUST อีกด้วย
CREATIVE THAILAND I 25
kcc.kaust.edu.sa
แม้จะเป็นมหาวิทยาลัยน้องใหม่ทเี่ พิง่ เปิดได้ ไม่กี่ปี แต่ความเอาจริงเอาจังของ KAUST ในการ ยกระดั บ สถานะของซาอุ ดี อ าระเบี ย ให้ เ ป็ น ศูนย์กลางการวิจัยและนวัตกรรมของโลกก็เริ่ม เป็นผล เพราะการจัดอันดับมหาวิทยาลัยทีด่ ที สี่ ดุ ในโลกปี 2015-2016 โดย QS (Quacquarelli Symonds) KAUST ได้รับการจัดอันดับให้เป็น มหาวิทยาลัยทีม่ สี ดั ส่วนงานวิจยั ทีถ่ กู นำ�ไปอ้างถึง มากที่สุดในโลก (citations per faculty) ซึ่งเป็น ตัวชี้วัดที่ดีเรื่องการให้ความสำ�คัญกับการผลิต งานวิจัยคุณภาพที่สามารถสร้างผลกระทบใน สังคมได้จริง เพราะยิ่งงานวิจัยได้รับการอ้างถึง มากเท่าใด ยิง่ เป็นการยืนยันคุณค่าหรือผลกระทบ ของงานมากเท่านั้น นอกจากนี้ การเกิดขึ้นของ KAUST ยังสร้าง ความเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมในโลกอาหรับ เพราะท่ามกลางทะเลทรายร้อนระอุในประเทศ มุสลิมที่ขึ้นชื่อเรื่องความเข้มงวดกวดขันในข้อ ปฏิ บั ติ ท างศาสนา ที่ ซึ่ ง ห้ า มไม่ ใ ห้ ผู้ ห ญิ ง มี ปฏิสัมพันธ์กับผู้ชายที่ไม่ใช่ญาติพี่น้อง ต้องสวม ชุดคลุมและผ้าคลุมหน้าตลอดเวลาที่อยู่นอก กำ�แพงบ้าน พวกเธอไม่ได้รับอนุญาตให้เดินทาง ลำ�พังหรือแม้กระทั่งขับรถด้วยตนเอง แต่ในรั้ว มหาวิทยาลัย KAUST ซึ่งได้รับยกเว้นให้เป็นเขต ปลอดตำ�รวจผูพ้ ทิ กั ษ์ศาสนา ทีน่ คี่ อื มหาวิทยาลัย แห่งแรกในซาอุดีอาระเบียที่นักศึกษาชายหญิงมี โอกาสได้เรียนและใช้เวลาร่วมกันอย่างอิสระ ผู้หญิงทุกคนสามารถแต่งตัวและขับรถไปไหน มาไหนในรั้วมหาวิทยาลัยตามที่ใจต้องการ
SUPERCOMPUTER FOR SUPER IMPACT “Shaheen XC40” คือชื่อของระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ล่าสุดของ KAUST ซึ่งรั้งอันดับ 7 ซูเปอร์ คอมพิวเตอร์เร็วที่สุดในโลกจากการจัดอันดับของ TOP500 เมื่อปี 2015 โดยเป็นรุ่นอัพเดทของ Shaheen ระบบปฏิบัติการของ IBM ที่ KAUST นำ�มาใช้งานนับตั้งแต่เปิดดำ�เนินการในปี 2009 ตั้งแต่การจำ�ลองสภาพภูมิอากาศโลก การจำ�ลองแหล่งกักเก็บปิโตรเลียม ไปจนถึงการศึกษาชีว สารสนเทศศาสตร์ (Bioinformatics) ของเกลือและพืชทนแล้ง “Shaheen XC40 เป็นการตอกยํา้ ความมุ่งมั่นของ KAUST ที่ตอ้ งการให้นกั วิจยั และหุน้ ส่วนของ เราสามารถทำ�งานได้ดว้ ยทรัพยากรทีม่ ศี กั ยภาพในการประมวลผลขัน้ สูง” ฌอง-ลู ชาโม (Jean-Lou Chameau) ผู้อำ�นวยการ KAUST กล่าว “สิ่งนี้จะช่วยยกระดับการศึกษาและการวิจัย รวมถึงเติม เต็มวิสยั ทัศน์ของเราในการเป็นจุดหมายสำ�หรับผูท้ มี่ คี วามสามารถ และสร้างแรงกระเพือ่ มในแวดวง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับโลก”
มหานคร จากผืนทรายว่างเปล่า นอกจากการบุกเบิกสถาบันการศึกษาเพื่อการ วิจัยและคิดค้นนวัตกรรมแล้ว ตั้งแต่ปี 2005 ซาอุ ดี อ าระเบี ย ยั ง ได้ ว างแผนสร้ า งความ หลากหลายทางเศรษฐกิ จ ด้ ว ยการเนรมิ ต มหานครแห่งใหม่ขึ้นกลางทะเลทรายใกล้กับ ริมฝั่งทะเลแดง ครอบคลุมพื้นที่ 180 ตาราง กิโลเมตร ใกล้เคียงกับกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เพือ่ เป็น ศูนย์กลางด้านอุตสาหกรรมและโลจิสติกส์ของ ประเทศ ด้วยเงินลงทุนหนึ่งแสนล้านเหรียญ สหรัฐฯ จากภาคเอกชนทั้งหมด ผ่านการลงทุน โดยตรงจากต่างประเทศ ภายใต้ชื่อ “เมือง เศรษฐกิจกษัตริย์อับดุลลอห์” (King Abdullah Economic City) หรือ “เค้ก” (KAEC) “เราตั้งใจจะเนรมิตหนึ่งในเมืองท่าที่ใหญ่ ที่สุดของโลก” รายาน บูคารี (Rayan Bukhari) ผู้ จั ด การท่ า เรื อ กษั ต ริ ย์ อั บ ดุ ล ลอห์ (King Abdullah Port) กล่าว ซาอุดีอาระเบียตั้งเป้าว่า ท่ า เรื อ ใหญ่ แ ห่ ง นี้ จ ะเป็ น ศู น ย์ ก ลางหลั ก ของ เส้ น ทางการค้ า ขายระหว่ า งยุ โ รปและเอเชี ย ด้ ว ยสาธารณู ป โภคที่ อ อกแบบมาเพื่ อ รองรั บ เรื อ เดิ น สมุ ท รขนาดใหญ่ สามารถรองรั บ ตู้ คอนเทนเนอร์ได้ถึง 3 ล้านตู้ ซึ่งเมื่อประกอบ เข้ากับข้อเท็จจริงที่ว่า ปัจจุบันหนึ่งในสี่ของการ ค้ า ขายแลกเปลี่ ย นสิ น ค้ า ทั่ ว โลกจะต้ อ งผ่ า น ทะเลแดง จึงเป็นไปได้ว่าหากโปรเจ็กต์ดำ�เนินไป CREATIVE THAILAND I 26
ได้ ด้ ว ยดี KAEC จะเป็ น หนึ่ ง ในเมื องท่า แห่ง อนาคตทีท่ นั สมัยและใหญ่ทสี่ ดุ ในซาอุดอี าระเบีย และมีการสัญจรคึกคักที่สุดของโลก “คูแ่ ข่งของเราคือท่าเรือเจเบล อาลี ของดูไบ การลำ�เลียงสินค้าและขัน้ ตอนทางภาษีของเราจะ เร็วกว่าและเป็นระบบอัตโนมัต”ิ เขาเล่าว่า KAEC ตั้ ง เป้ า หมายที่ จ ะช่ ว งชิ ง ความเป็ น ผู้ นำ � ทาง เศรษฐกิจจากเพื่อนบ้านในภูมิภาค “สินค้าที่มา ถึงท่าเรือนี้จะถูกลำ�เลียงเข้าริยาด เมืองหลวง ผ่านทางรถไฟความเร็วสูง ขณะนี้สินค้าจำ�นวน มากทีจ่ ะส่งไปริยาดมักจะถูกส่งผ่านไปทีด่ ไู บก่อน แต่ในอนาคตจะไม่ใช่อย่างนั้นอีกแล้ว เพราะ สินค้าเหล่านัน้ จะส่งผ่านมาทีน่ แี่ ทน ด้วยต้นทุนที่ ถูกกว่าและการขนส่งในประเทศที่รวดเร็วกว่า”
ท่องเที่ยวในดินแดน ที่รอคอยการค้นพบ นอกจากองค์กรธุรกิจด้านการผลิต การบริการ เภสัชกรรม และเทคโนโลยี ทีท่ างการซาอุดอี าระเบีย หวังจะดึงดูดเข้ามาในเมืองเศรษฐกิจแห่งนี้แล้ว พวกเขายังตั้งใจให้มหานครแห่งนี้เป็นจุดหมาย ปลายทางสำ�คัญของนักท่องเที่ยวอีกด้วย แต่นั่น ไม่ได้หมายถึงการเป็นเมืองตากอากาศอย่างดูไบ ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ “เราอยากจะส่งเสริม ให้ เ มื อ งนี้ เ ป็ น จุ ด หมายปลายทางสำ � หรั บ ผู้ ที่ เดินทางมาแสวงบุญ เราอยากจะใช้ประโยชน์จาก ตลาดท่องเที่ยวที่เรามีอยู่แล้ว”
ยั่งยืนบนความเปลี่ยนแปลง “เราสร้างเมืองนีโ้ ดยนึกถึงประชากรอายุตา่ํ กว่า 30 ปี ซึง่ คิดเป็นสัดส่วนถึง 65 เปอร์เซ็นต์ของประชากร ทั้งหมดของประเทศ เรามีชาวซาอุดีอาระเบียที่ ไปศึกษาในต่างประเทศถึง 200,000 คน ซึ่ง แน่ น อนว่ า คนกลุ่ มนี้ จ ะนำ � ความเปลี่ ย นแปลง หลายอย่างกลับมา” สถิตทิ ี่ฟาห์ด อัล-ราชีด พูดถึง ยังรวมถึงข้อเท็จจริงที่ว่า ปัจจุบันซาอุดีอาระเบีย มี จำ � นวนประชากรหญิ ง ที่ จ บการศึ ก ษาระดั บ มหาวิทยาลัยมากกว่าประชากรชายอีกด้วย ซึ่ง แน่นอนว่าการเปลีย่ นแปลงของสัดส่วนประชากรนี้
กำ�ลังจะทำ�ให้เกิดความต้องการใหม่ๆ และส่งผล โดยตรงต่ อ ทิ ศ ทางที่ ดิ น แดนอาหรั บ แห่ ง นี้ จ ะ ก้าวเดินไปในวันข้างหน้าเช่นกัน ปัจจุบัน เมือง KAEC มีผู้พักอาศัยแล้ว 3,000-5,000 คน ผู้บริหารเชื่อว่าหลังจากแก้ไข ปัญหาในระยะแรกที่พบแล้ว มหานครแห่งนี้จะ เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยตั้งเป้าว่าจะมีจำ�นวน ผู้พักอาศัย 50,000 คนในปี 2020 และจะเป็นที่ ตั้งของบริษัทขนาดใหญ่ระดับโลกจำ�นวนมาก เช่น บริษัทยานยนต์ Volvo ผู้นำ�ในอุตสาหกรรม ยาอย่าง Pfizer และ Sanofi “สิ่งที่เราพยายามจะ ทำ�คือการดึงบริษัทเข้ามาที่นี่ให้ได้มากที่สุด เพื่อ ให้เกิดการสร้างงานสำ�หรับแรงงานทีม่ ที กั ษะจาก ทุกชาติ เมื่อเกิดงาน การพักอาศัยก็จะตามมา พักอาศัย” อย่างไรก็ตาม เริ่มมีเสียงกระซิบด้วยความ กังขาว่าโครงการเนรมิตมหานครทางเศรษฐกิจ ซึ่งประกาศเริ่มโปรเจ็กต์ตั้งแต่ปี 2005 นี้จะเสร็จ สมบูรณ์เมื่อใด คำ�ตอบจากผู้บริหารโครงการแม้ อาจจะคลุมเครือ แต่นั่นก็อาจสะท้อนให้เห็นถึง ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ และเป็นสัญญาณทีด่ วี า่ เศรษฐี อ าหรั บ เอาจริ ง กั บ โครงการนี้ เ พี ย งใด “เมืองต่างๆ นัน้ ไม่ได้เกิดขึน้ ในลักษณะนี้ แต่เกิด ขึ้นโดยธรรมชาติ (organically) และขึ้นอยู่กับ ผลประโยชน์ทางเศรษฐศาสตร์ในระดับมหภาค เราคาดว่าเมืองจะแล้วเสร็จในปี 2035 แต่นนั่ เป็น แค่การคาดการณ์นะครับ” ที่ผ่านมา มีเมืองทดลองจำ�นวนไม่น้อยที่ ถูกสร้างขึ้นในหลายประเทศโดยไม่ได้คำ�นึงถึง พื้นฐานด้านเศรษฐกิจ สาธารณูปโภคบางอย่างที่ ถู ก สร้ า งทิ้ ง ไว้ ร อวั น ที่ จ ะมี ค นเข้ า มาอาศั ย เป็นที่มาของการสูญเสียเงินทุน เพื่อบำ�รุงรักษา สาธารณู ป โภคจำ � นวนมหาศาล ทำ � ให้ ห ลาย โปรเจ็ ก ต์ มี อั น ต้ อ งพั บ ไปอย่ า งน่ า เสี ย ดาย อย่างไรก็ตาม เมืองเศรษฐกิจกษัตริย์อับดุลลอห์ ซึ่งลงทุนโดยเอกชนแห่งนี้ มีการวางแผนที่คำ�นึง ถึงศักยภาพและความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจไว้ ตั้งแต่แรกเริ่ม โดยสร้างเพียงสาธารณูปโภคเพื่อ ให้ตอบโจทย์แผนงานในระยะแรกก่อน เพื่อลด ภาระต้นทุนในการบำ�รุงรักษา หลังจากนั้นจึง ค่อยๆ ขยายขอบเขตออกไปตามแรงขับเคลือ่ นที่ เกิดขึ้นในวงจรเศรษฐกิจของเมือง
CREATIVE THAILAND I 27
venturesonsite.com
รายงานจากสภาหอการค้าและอุตสาหกรรม แห่งซาอุดอี าระเบียตะวันออกระบุวา่ อุตสาหกรรม ท่องเที่ยวครองสัดส่วนจีดีพี 2.7 เปอร์เซ็นต์ของ ประเทศ สร้างมูลค่าให้แก่ตลาดท่องเที่ยวถึง 45.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2014 โดยใน จำ�นวนนี้ 18.7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ มาจาก นักท่องเทีย่ วท้องถิน่ และเกือบ 27 พันล้านเหรียญ สหรัฐฯ มาจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาปฏิบัติ ศาสนกิจ ขณะที่จำ�นวนผู้มาแสวงบุญในเมือง เมกกะและเมดินาคาดว่าจะพุง่ สูงขึน้ เป็น 17 ล้าน คนในปี 2025 ทางการซาอุดีอาระเบียจึงได้ริเริ่มโครงการ ขยายเวลาวี ซ่ า สำ � หรั บ ผู้ ท่ี เ ดิ น ทางมาปฏิ บั ติ ศาสนกิจ (extended pilgrim visa) ส่งเสริมให้ ท่องเที่ยวต่อหลังจากเสร็จสิ้นการแสวงบุญ และ เริม่ สร้างระบบรถไฟความเร็วสูง Haramain High Speed Rail ความยาว 450 กิโลเมตรเพื่อให้เป็น เส้นทางหลักสำ�หรับนักท่องเที่ยว โดยจะเชื่อม ระหว่างเมืองหลัก คือ KAEC เจดดาห์ เมกกะ และเมดินา โดยหวังว่าเมือ่ เมืองสำ�คัญทางศาสนา อย่างเมกกะและเมดินาถูกเชื่อมกับ KAEC ด้วย รถไฟความเร็วสูง กลุ่มผู้มาแสวงบุญในเมกกะที่ มีฐานะจะแวะเข้ามาใช้เวลาที่นี่ ก่อนจะเดินทาง ต่อไปที่เมดินา สถานที่ฝังพระศพของศาสดา โมฮั มหมั ด เส้ น ทางรถไฟนี้ ค าดว่ า จะเปิ ด ให้ บริการได้ภายในสิ้นปี 2016 และจะช่วยลดเวลา เดินทางโดยรถยนต์จากเจดดาห์มายัง KAEC จาก ชั่วโมงครึ่งเหลือเพียงครึ่งชั่วโมง ทั้งยังจะมีรถ พลังงานไฟฟ้าให้บริการฟรีในเมืองเพือ่ ลดปริมาณ การใช้นํ้ามันอีกด้วย
อนาคตความยั่งยืนของ KAEC ที่ตั้งเป้าว่า จะมีผู้พักอาศัยจำ�นวน 2 ล้านคนในปี 2035 ก็ คงจะขึ้ น อยู่ กั บ การสร้ า งและรั ก ษาสมดุ ล ให้ มหานครแห่งนีใ้ นทุกมิติ ตัง้ แต่การคมนาคม ย่าน ธุรกิจ นิคมอุตสาหกรรม ไปจนถึงเขตการศึกษา พื้นที่พักอาศัย สาธารณสุข รวมถึงสิ่งอำ�นวย ความสะดวกอื่นๆ เพื่อให้ครบองค์ประกอบของ การเป็น “มหานคร” อย่างแท้จริง
ที่มา: บทความ “NOMADD ระดมทุน 1 ล้านดอลลาร์จาก KAUST Innovation Fund” (2016) จาก blognone.com / บทความ “Shaheen XC40 ขุมกำ�ลังใหม่จาก KAUST ติดท็อป 10 ซูเปอร์คอมพิวเตอร์โลก” (2015) จาก blognone.com / บทความ “Empowering discovery: KAUST’s new Shaheen XC40 ranks seventh in world’s top ten supercomputers” (2015) จาก kaust.edu.sa / บทความ “Haramain railway to replace pilgrim buses in 2016” (2016) จาก railynews.com / บทความ “KAUST and more sustainable cities in the Middle East” จาก fimotions.com / บทความ “Learn from the past, build for the future: Saudi Arabia’s new city on the Red Sea” (2016) โดย Fahd Al-Rasheed จาก mckinsey.com / บทความ “Saudi Arabia-based startup NOMADD raises US$1 million from KAUST Innovation Fund” (2016) จาก entrepreneur.com / บทความ “Saudi Arabia to create renewable energy ‘city’” (2010) จาก physicsworld.co / บทความ “Saudi Arabia’s new desert megacity” (2015) จาก bbc.com / บทความ “Saudi Arabia’s new desert megacity” (2015) จาก bbc.com / บทความ “Saudi Arabian startup NOMADD looks to clean up solar energy production” (2016) จาก techcrunch.com บทความ “Saudi Arabia to create renewable energy ‘city’” (2010) จาก physicsworld.com / บทความ “Saudi Arabian startup NOMADD looks to clean up solar energy production” (2016) จาก techcrunch.com / บทความ “Saudi’s King Abdullah Economic City pivots to tourism” (2014) จาก gulfbusiness.com / บทความ “Saudi targets staycationers and pilgrims with $11.6B in tourism projects underway” (2015) จาก albawaba.com / บทความ “The boss of Saudi Arabia’s $95 billion King Abdullah Economic City has 50 meetings in 4 days to attract investors” (2016) จาก uk.businessinsider.com / วิกิพีเดีย / al-fanarmedia.org / fep.kaust.edu.sa / itnews24hrs.com / kaust.edu.sa / logisticsclinic.com / sau-riyadh.mol.go.th / sensors.kaust.edu.sa
The Creative : มุมมองของนักคิด
เรื่อง: นันท์นรี พานิชกุล และศันสนีย์ เล้าอรุณ ภาพ: ชาคริต นิลศาสตร์
คุณอาร์ต-ธีรภัทร (ซ้าย) คุณอ๊อบ-ณัฐชัย (ขวา)
CREATIVE THAILAND I 28
ข้อมูลล่าสุดของส�ำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) กล่าวว่า วิกฤตที่ก�ำลังจะเกิดขึ้นในอีก 10-20 ปี ข้างหน้าคือเกษตรกรไทยจะไม่เหลืออีกแล้ว ขณะที่ลูกค้า ปัจจุบันของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธกส.) ก็มีค่าอายุเฉลี่ยที่ 55 ปี สัญญาณเหล่านี้ก�ำลังบ่งชี้ว่าแทบ ไม่มคี นรุน่ ใหม่หลงเหลืออยูใ่ นภาคการเกษตร แต่เมือ่ มองไป ที่ข้อมูลเรื่องอาหารของโลกโดยส�ำนักงานกองทุนสนับสนุน การวิจยั (สกว.) จะพบว่า ในอนาคต ความต้องการอาหารของ ประชากรโลกจะเพิม่ มากขึน้ อีกหลายเท่าตัว และผูค้ นจะหันมา ใส่ใจการผลิตทางการเกษตรที่เน้นเรื่องการเป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อมมากขึ้น แล้วประเทศไทย หนึ่งในประเทศที่ขึ้นชื่อ ว่าเป็นผูผ้ ลิตอาหารป้อนโลกควรปรับตัวอย่างไร ให้ยงั คงเป็น ประเทศเกษตรกรรมที่ผลิตอาหารเลี้ยงประชากรในประเทศ ได้อย่างเพียงพอ และคาดหมายว่าจะเป็นแหล่งอาหารที่มี ศักยภาพของโลกได้
อย่างทีผ่ มท�ำ ผมมองว่ามันเป็นกึง่ ๆ Automated Farming มากกว่า คือเราไม่ตอ้ งท�ำอะไรเกีย่ วกับงาน รูทีน เช่น รดน�้ำ ใส่ปุ๋ย ควบคุม ความชื้ น และแสง ฯลฯ เพราะ เราตั้งค่าโปรแกรมไว้ได้ ปล่อย ให้ ร ะบบท�ำอั ต โนมั ติ ไ ด้ ซึ่ ง จะ เที่ยงตรงแม่นย�ำกว่าคนท�ำ
Smart Farming หรือการผลิตโดยลดต้นทุนทัง้ กระบวนการผลิต เพิม่ ผลผลิต และสร้างมาตรฐานเพื่อควบคุมคุณภาพ โดยใช้เครื่องจักรและเทคโนโลยีมา เป็นส่วนช่วย อาจเป็นอีกหนึ่งทางออกที่น่าสนใจและเป็นอนาคตที่ภาค การเกษตรไทยไม่อาจมองข้าม คุณอ๊อบ-ณัฐชัย และคุณอาร์ต-ธีรภัทร อึ๊งศรีวงศ์ คือ 2 พี่น้องคนรุ่นใหม่แห่ง Deva Farm ที่เลือกนำ�หลักคิดดังว่า มาประยุกต์ใช้ในการทำ�ฟาร์มฮอปส์ (Hops) โดยตัดสินใจหันหลังให้กบั บริษทั ผลิตซอฟต์แวร์และแอพพลิเคชั่นสำ�หรับโทรศัพท์มือถือที่ดำ�เนินกิจการมา ราว 13 ปีเป็นการถาวร เพื่อออกสตาร์ทงานใหม่ในฐานะฟาร์มเมอร์ปลูก ฮอปส์ หนึ่งในวัตถุดิบสำ�คัญในการทำ�คราฟท์เบียร์เป็นแห่งแรกในเมืองไทย ทีอ่ .ปากเกร็ด จ.นนทบุรี โดยเรียนรูก้ ารปลูกฮอปส์ดว้ ยตัวเองจากอินเทอร์เน็ต บวกกับนำ�องค์ความรูด้ า้ นเทคโนโลยีและซอฟต์แวร์ทมี่ มี าใช้ในการเพาะปลูก ได้อย่างมีประสิทธิผล เกิดเป็นจุดเริ่มต้นของ Smart Farming บนที่ดิน ทำ�กินในประเทศที่น่าจับตา
ได้มากพอแล้ว ก็จะเริ่มต้นทำ�โรงทำ�คราฟท์เบียร์ในบริเวณพื้นที่ของเราเอง ไม่ใกล้ไม่ไกลจากฟาร์มฮอปส์ แพลนจะทำ� Brew Pub เป็นโรงผลิตเบียร์สด โดยจะนำ�ผลผลิตฮอปส์มาใช้ในโรงเบียร์ของเรา ก่อนจะมีค�ำ ว่าสตาร์ทอัพ ผมทำ�บริษทั ผลิตซอฟต์แวร์และแอพพลิเคชัน่ สำ�หรับโทรศัพท์มือถือมาตั้งแต่ปี 2002 เช่น Nokia รุ่นแรกๆ ที่มีกล้อง ถ่ายรูป ทำ�ระบบภาษาไทย ทำ�โปรแกรมส่ง SMS ฯลฯ เราเป็นบริษัทแรกๆ ในประเทศไทยที่ทำ�แอพพลิเคชั่นเกี่ยวกับโทรศัพท์มือถือ พอทำ�มาได้ 8 ปี บริษทั ดีแทคก็มาเทคโอเวอร์ โดยแบ่งกันถือหุน้ คนละครึง่ จากนัน้ ก็ท�ำ บริษทั นี้ต่อมาจนถึงปี 2015 ก็หยุดทำ� เบ็ดเสร็จทำ�บริษัทมาราว 13 ปี จากนั้น ตลาดมือถือเริม่ อิม่ ตัวแล้ว เริม่ มีสมาร์ทโฟนมากขึน้ ไอโฟน ซึง่ สามารถโหลด แอพพลิเคชั่นฟรีได้เต็มไปหมด เราเลยทำ�ตลาดได้ยากขึ้น คนที่ทำ�รายได้ จากแอพพลิเคชั่นได้เหลือน้อยมาก ผู้ถือหุ้นทั้ง 2 ฝ่ายเลยตัดสินในยุติบริษัท และปิดไปเมื่อราวกลางปีที่ผ่านมา
อะไรคือแรงจูงใจของการทำ�ฟาร์มฮอปส์อย่างจริงจัง อาร์ต: มันมาจากการที่เราทั้งคู่เป็นคนชอบดื่มเบียร์ เลยเริ่มศึกษาวิธีการทำ� คราฟท์เบียร์ ซึ่งฮอปส์ปกติเป็นวัตถุดิบหลักของการทำ�เบียร์ มีอยู่ 4 อย่าง คือ มอลต์ ฮอปส์ ยีสต์ และนํา้ แต่มคี วามเชือ่ ว่าฮอปส์ปลูกได้เฉพาะในเมือง หนาว เคยได้ยินว่าในเมืองไทยมีปลูกที่ภาคเหนือบ้าง แต่เก็บผลผลิตได้ไม่ เยอะและยังไม่ค่อยมีใครปลูก เราอยากท้าทายความเชื่อที่ว่า ฮอปส์ปลูกได้ เฉพาะในเมืองหนาวจริงหรือเปล่า ในเมืองร้อนอย่างบ้านเราปลูกได้ไหม เลย เริ่มมาปลูกฮอปส์จริงจัง พอโอเคแล้วและมองว่าน่าจะทำ�เป็นธุรกิจได้ ถึงได้ เริ่มปลูกในโรงเรือนขนาดใหญ่
นำ�ความรู้เชิงโปรแกรมเมอร์มาประยุกต์ใช้กับการทำ�ฟาร์ม อย่างไร อ๊อบ: หลักๆ คือใช้คอนโทรลให้ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น จะเรียกว่าเป็น Precision Farming หรือ Smart Farming ส่วนหนึ่งก็ได้ ทุกอย่างคอนโทรลโดย คอมพิวเตอร์ส่วนกลาง รวมถึงจากสมาร์ทโฟนซึ่งมีแอพพลิเคชั่นที่รันตรงนี้ ได้ แอพฯ นี่เราก็ทำ�เอง ผมเป็นคอมพิวเตอร์เอ็นจิเนียร์อยู่แล้ว ผมเลยเขียน ซอฟต์แวร์ควบคุมเอง เซ็นเซอร์ก็ทำ�เอง เดินระบบให้นํ้าให้ปุ๋ยเองด้วย อย่างที่โรงเรือนฮอปส์เราก็จะควบคุมไม่ให้ร้อนเกินไป แต่โรงเรือนจะมีที่ พ่นหมอกอยู่ ซึ่งเราจะไม่พ่นมั่วๆ ซั่วๆ จะมีตัวเซ็นเซอร์ทุกโรงคอยวัด อุณหภูมิตลอดเวลา เมื่ออุณหภูมิมาถึงค่าที่กำ�หนด หมอกก็จะถูกพ่นออก มาเพื่อรักษาอุณหภูมิและความชื้นไว้ รวมถึงระบบปุ๋ยต่างๆ เราใช้ระบบปุ๋ย ผ่านนํ้าไฮโดรโปนิกส์ รดนํ้าไปด้วย รดปุ๋ยไปด้วย รดวันละ 5 ครั้ง ปุ๋ยนี่เรา ก็ผสมเอง ควบคุมโดยตัวคอนโทรล ทำ�งานตลอดเวลา ถึงแม้เราไม่อยู่บ้าน ไม่ได้ใช้คนเข้าไปพ่น
อ๊อบ: ตอนแรกสั่งเหง้าเป็นแท่งมาจากอเมริกามาปลูกในห้องแอร์ด้วยซํ้า จนมันออกดอกได้ ก็เลยลองย้ายไปปลูกเอาท์ดอร์ สุดท้ายพอลองแล้วได้ผล 2-3 รอบ จึงตัดสินใจทำ�โรงเรือนฮอปส์ขึ้นมาปลูกเพื่อการค้า ถ้าเก็บฮอปส์
CREATIVE THAILAND I 29
อย่างที่ผมทำ� ผมมองว่ามันเป็นกึ่งๆ Automated Farming มากกว่า คือเราไม่ต้องทำ�อะไรเกี่ยวกับงานรูทีน เช่น รดนํ้า ใส่ปุ๋ย ควบคุมความชื้น และแสง ฯลฯ เพราะเราตั้งค่าโปรแกรมไว้ได้ ปล่อยให้ระบบทำ�อัตโนมัติได้ ซึง่ จะเทีย่ งตรงแม่นยำ�กว่าคนทำ� ทีฟ่ าร์มจะมี Weather Station ต่างๆ คอย วัดระดับนํ้าฝนและแรงลม เราก็เอาใส่โปรแกรมได้ว่าถ้าวันนี้ฝนตก เราก็ไม่ ต้องรดนาํ้ หรือถ้ามีพยากรณ์อากาศว่าอีก 2 วันฝนจะตก แล้วปกติตอ้ งรดนํา้ ตอนเย็น ก็ไม่ตอ้ งรด เป็นการประหยัดค่านํา้ ไปด้วยในตัว รวมถึงว่าถ้ารดนํา้ เยอะไปมันก็จะเน่า มีเชื้อโรค ไม่ดี เรารับข้อมูลจาก Weather Station แล้วก็มาคำ�นวณว่าต้องทำ�อะไรอย่างไรบ้าง เราเขียนโปรแกรมต่างๆ โดย ดึงข้อมูลจากหลายๆ ที่ เช่น กรมอุตุนิยมวิทยา ข้อมูลเครื่องวัดแรงลม ฯลฯ แล้วผสมผสานกันเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ต้องการ เมื่อไม่มีพื้นฐานด้านการเกษตร เก็บเกี่ยวองค์ความรู้ใหม่ๆ ทั้งด้านเทคโนโลยีและการทำ�ฟาร์มมาจากไหน อ๊อบ: หลักๆ คือการเรียนรู้ด้วยตัวเองจากอินเทอร์เน็ต เพราะมีข้อมูลเยอะ มากและไม่จ�ำ กัด เราหาได้เรือ่ ยๆ อยากรูอ้ ะไรก็เสิรช์ ได้ แล้วก็น�ำ มาทดลอง เอง นอกจากนัน้ ก็ศกึ ษาจากหนังสือทัง้ ในและต่างประเทศ แต่จะเป็นหนังสือ ต่างประเทศมากกว่า เพราะหนังสือในประเทศที่พูดถึงการปลูกพืชผักแบบ สมัยใหม่ไม่คอ่ ยอัพเดทและมีให้อา่ นน้อย และมักพูดถึงการทำ�ฟาร์มในสเกล ใหญ่ แต่ฟาร์มของเราสเกลไม่ใหญ่มาก ข้อมูลอีกส่วนหนึ่งได้จากกรม วิชาการเกษตร พอมีปัญหาเรื่องข้อมูล ก็จะไปติดต่อสอบถามที่นั่น เขาก็จะ ให้คำ�แนะนำ�ต่างๆ ทั้งวิธีการแก้เรื่องโรค แมลงศัตรูพืช ฯลฯ นักวิจัยจาก กรมวิชาการเกษตรก็เคยมาช่วยดูและให้ค�ำ แนะนำ�กับฟาร์มของเรา 2-3 รอบ แล้ว นอกจากนี้ผมก็ไปเรียนตามคอร์สต่างๆ ที่สอนปลูกผัก ซึ่งปัจจุบันมี ค่อนข้างเยอะ ประมาณ 20-30 เจ้า ทำ�ให้ได้ความรู้และข้อมูลอะไรใหม่ๆ มาพอสมควรเลย เมื่อพัฒนาทั้งซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์สำ�หรับการทำ�ฟาร์ม ฮอปส์ได้ คิดว่านี่จะเป็นโมเดลธุรกิจหรือ Smart Farming ที่ จะนำ�ไปประยุกต์ใช้กับที่อื่นๆ ได้ไหม อ๊อบ: มองว่าถ้าใครอยากทำ�ฟาร์มแบบเรา เราเป็นทีป่ รึกษาให้ได้ ว่าควรหรือ ไม่ควรใช้อะไร แต่ถา้ ถึงขัน้ ให้วางระบบหรือไปทำ�ให้เลยนัน้ ต้องบอกว่าแต่ละ ที่มันไม่เหมือนกัน แล้วอีกอย่างคือระบบ Smart Farming ยังไม่นิ่ง เพราะ ฉะนั้นจึงมีโอกาสที่จะเจ๊งได้ ถ้าเกิดเรารับผิดชอบเต็มๆ มันจะเสี่ยงไป ยุคนี้ เป็นยุคที่ Smart Farming เพิ่งเริ่มมากกว่า ไม่ว่าจะในเมืองไทยหรือ ต่างประเทศ ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เรื่องการทำ�ฟาร์มเพิ่งมีจริงจังก็ 2-3 ปี มานี้ ที่ใช้กัน เยอะหน่อ ยน่าจะเป็นระบบจากอิสราเอลที่ปลูก พื ชผั ก ใน ทะเลทราย ซึ่งเขาพัฒนามานานแล้ว ประเทศเขามีปญั หาเรื่องการเพาะปลูก จริงๆ แต่โนว์ฮาวเขาก็ใช้ได้ในที่ของเขา เราใช้ไม่เหมือนกัน ส่วนอเมริกา เขาปลูกผักในกรีนเฮาส์ เพราะมีปญั หาอากาศหนาวในหน้าหนาว แต่ของไทย ไม่ใช่ปญั หาเรือ่ งอากาศหนาว แต่เป็นการควบคุมแมลงหรือปัจจัยอืน่ ๆ เพราะ ฉะนั้นโนว์ฮาวหรือฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่นำ�มาใช้ก็จะไม่เหมือนกัน นอกจากนีย้ งั มีปญั หาเรือ่ งคูแ่ ข่งต่างชาติอย่างญีป่ นุ่ หรือจีนทีม่ นี กั วิจยั มากกว่า
มันคงเป็นเพราะกระแสทีค่ นรุน่ ใหม่ เริ่มสนใจเรื่องอาหารการกินและ วัตถุดบิ ทีน่ �ำมาใช้ประกอบอาหาร มากขึ้น ซึ่งนั่นท�ำให้ผู้ผลิตต้อง เปลี่ยนวิธีการในการปลูก เพราะ เราเริ่มตั้งค�ำถามถึงเรื่องแหล่ง ที่ ม าของพื ช ผั ก ที่ กิ น การผลิ ต และการใช้สารเคมีกนั อย่างจริงจัง มากขึ้น
เราเยอะมาก เซ็ตระบบสำ�หรับผลิตในสเกลใหญ่ได้เลย เพราะฉะนั้นคิดว่า ถ้าเราอินเวสต์เป็นระบบโนว์ฮาวออกมา มันเสี่ยงเกินไป เมื่อก่อนเราทำ�จากมือถือหรือคอมพิวเตอร์ ซึ่งค่อนข้างจะควบคุมได้ ไม่ค่อยมีปัญหา เพราะเราพกมือถือติดตัวตลอดหรือไม่ก็ใช้คอมพิวเตอร์อยู่ ในห้องแอร์ แต่พอเป็นระดับฟาร์ม มันยากกว่ามาก เพราะทุกอย่างอยู่กลาง แดด กลางฝน อุณหภูมิกลางวันของเมืองไทยบางจุดที่พื้นผิวสูงถึง 50 องศา ซึ่งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จะรับไม่ค่อยไหว มีปัญหาตลอดเวลา เราก็เลยต้อง คอยแก้ไขบ่อยๆ ต้องบอกว่าการทำ�งานกับเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์และ อุปกรณ์เหล่านี้ ซอฟต์แวร์ก็ต้องเปลี่ยนเรื่อยๆ และพัฒนาอยู่ทุกวัน แต่ ฮาร์ดแวร์ก็เป็นเรื่องที่เราต้องใส่ใจด้วย ต้องมีระบบสำ�รองเพิ่มขึ้นมา เพราะ ถ้าระบบปกติล่ม ต้นไม้ของเราก็มีโอกาสตายได้ อย่างช่วงหน้าร้อน ระบบ พ่นหมอกล่มไม่ได้เลย ล่มปุ๊บอุณหภูมิจะร้อนมาก ขึ้นไปเกือบ 40-50 องศา ซึ่งต้นไม้ตายแน่ๆ เพราะฉะนั้นเราเลยขาดระบบสำ�รองไม่ได้ สำ�หรับระบบ ของการทำ�ฟาร์มมันท้าทายเหมือนกันนะ เพราะเราไม่มที างรูว้ า่ อุปกรณ์ตา่ งๆ ที่ใช้จะใช้ได้นานแค่ไหนจนกว่ามันมีปัญหาขึ้นมา ไม่ว่าจะทำ�เองหรือสั่งซื้อ จากต่างประเทศ อาร์ต: เมื่อก่อนเราแก้ปัญหาแต่ตัวซอฟต์แวร์อย่างเดียว แต่ตอนนี้เราเจอ ปัญหาเรื่องความทนทานของฮาร์ดแวร์ มันจะมีการเสื่อมด้วย ปัจจุบันเราจึง ต้องดูแลทั้งซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ควบคู่กันไป ให้มันยังทำ�งานได้โอเคอยู่
CREATIVE THAILAND I 30
ตอนนี้ฟาร์มมีพื้นที่เท่าไร แบ่งปลูกอะไรบ้าง อ๊อบ: ตอนนี้ปลูกฮอปส์เป็นหลัก มี 5 โรงเรือน โรงเรือนละ 100 กว่าตาราง เมตร บนพื้นที่ราว 1 ไร่นิดๆ เราปลูกโรงเรือนห่างกันนิดหน่อย ตอนนี้ปลูก ฮอปส์ราว 200 กว่าต้น/โรงเรือน แต่ยังไม่เต็มโรงเรือน ถ้าเต็มจริงๆ จะมี ประมาณ 700 ต้น/โรงเรือน ที่เหลือเป็นพื้นที่สำ�หรับปลูกผักไว้สำ�หรับกินเอง เรามีคนงาน 1-2 คนเพื่อคอยจัดพื้น จัดเก็บวัชพืช นอกนั้นใช้คอมพิวเตอร์ สั่งการทั้งหมด เรื่องการดูแลต้นฮอปส์ เราจัดการเอง เพราะเป็นของที่ค่อน ข้างใหม่ จะให้คนงานดูคงไม่ได้ ปัจจุบันเราก็ยังศึกษาการปลูกฮอปส์อยู่ เรื่อยๆ เพราะเราปลูกมา 1 ปีกับ 9 เดือน ยังไม่ครบ 3 ปี และยังคงสั่งซื้อ ฮอปส์จากต่างประเทศเข้ามาเรื่อยๆ เป้าหมายคือปลูกฮอปส์สำ�หรับทำ� โรงผลิตเบียร์สดเป็นหลัก ถ้าเหลือแล้วค่อยแพลนส่งออกต่างประเทศใน อนาคต
มองความยั่งยืนของฟาร์มไว้อย่างไร อ๊อบ: คราฟท์เบียร์คงไปได้อกี สักพักแน่ๆ เบียร์เป็นเครือ่ งดืม่ ทีม่ มี านานแล้ว และไม่น่าจะหายจากโลกไปในเร็ววันนี้ และคนก็คงกินตลอด นอกจากนี้ใน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่จริงมีโรงคราฟท์เบียร์เยอะ แต่เขายังไม่ มีฮอปส์ที่มาจากภูมิภาคนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นฮอปส์ที่มาจากอเมริกา ถ้าทำ�ได้ เราก็จะเป็นอีกแหล่งหนึ่งที่ซัพพลายฮอปส์ไปให้ประเทศในภูมิภาคนี้ได้ ซึ่ง มีค่อนข้างเยอะ ปัจจุบันเริ่มมีคนติดต่อเข้ามามากขึ้นเรื่อยๆ ว่าถ้ามีของจะ ขอซื้อเลย เพราะเขาก็อยากลองใช้ดู ต้องเล่าว่าปัจจุบันฮอปส์ใช้ได้ 2 แบบ คือแบบแห้ง (ใช้ดอก) กับแบบสด ซึ่งต้องใช้ภายใน 24 ชั่วโมง หมายความ ว่าถ้าสั่งฮอปส์จากอเมริกา มันไม่มีทางมาถึงโซนนี้ได้ภายใน 24 ชั่วโมงอยู่ แล้ว ฉะนั้นถ้าจะใช้ภายใน 24 ชั่วโมง เราก็ต้องปลูกเอง แล้วส่งไปขายใน ประเทศแถบนี้
CREATIVE THAILAND I 31
สำ�หรับประเทศไทย คุณมองเห็นหนทางของ Smart Farming และการทำ�ฟาร์มออร์แกนิกในอนาคตไหม อ๊อบ: ก็เป็นไปได้ แต่น่าจะเกิดจากเกษตรกรรุ่นใหม่ ไม่ใช่รุ่นเดิม อาจเป็น ลูกหลานเกษตรกรเดิมทีเ่ ขาอยากจะปรับเปลีย่ นและแก้ไข เช่น มีพอ่ แม่เป็น ชาวนา ยังคงปลูกข้าวแบบเดิมๆ อยู่ อาจจะเปลี่ยนมาปลูกข้าวออร์แกนิก เพือ่ เพิม่ มูลค่า แต่ถามว่าถ้าเกษตรกรเดิมเอามาใช้ ผมว่าเปลีย่ นยากแล้วล่ะ ต้องใช้เวลา 10-20 ปี กว่าจะเปลี่ยนได้ ไม่ใช่ว่ามีอุปกรณ์ไฮเทคมาปุ๊บแล้ว เขาจะใช้เลย มันเป็นวิธีการที่ทำ�มานานและเป็นความเชื่อด้วย ถ้าไม่ใช่รุ่น ใหม่จริงๆ ก็คงเปลีย่ นยาก แต่กม็ องว่าปัจจุบนั มีคนรุน่ ใหม่ๆ ที่เข้ามาทำ�เรือ่ ง Smart Farming และการใช้ Biological Control ที่เป็นออร์แกนิกมากขึ้น อาร์ต: มันคงเป็นเพราะกระแสที่คนรุ่นใหม่เริ่มสนใจเรื่องอาหารการกินและ วัตถุดิบที่นำ�มาใช้ประกอบอาหารมากขึ้น ซึ่งนั่นทำ�ให้ผู้ผลิตต้องเปลี่ยนวิธี การในการปลูก เพราะเราเริ่มตั้งคำ�ถามถึงเรื่องแหล่งที่มาของพืชผักที่กิน การผลิต และการใช้สารเคมีกันอย่างจริงจังมากขึ้น คำ�แนะนำ�สำ�หรับใครก็ตามที่อยากลาออกจากงานประจำ� แล้วหันมาทำ�ฟาร์มแบบคุณบ้าง อาร์ต: ถ้าชอบจริงๆ อาจเริ่มจากทำ�เป็นงานอดิเรกก่อน ดูว่าเราโอเคกับมัน จริงไหม ทำ�ได้ถึงขั้นไหน พร้อมจะออกจากงานเลยหรือเปล่า เพราะถ้า ลาออกจากงานประจำ�เลย มันเหมือนเราทุบหม้อข้าวแล้วไปตายเอาดาบหน้า ถ้ายังไม่มั่นคง ไม่ชัวร์พอ มันอาจจะไม่คุ้ม
ชอบท�ำอะไรเมื่อมีเวลาว่าง อ๊อบ: ปกติตอนบ่ายๆ ช่วงที่ไม่ได้ท�ำฟาร์ม ผมจะชอบนั่งอ่านหนังสือ เกี่ยวกับการท�ำฟาร์มเป็นส่วนใหญ่
อ๊อบ: ตอบยาก เพราะจริงๆ ผมก็เป็นผู้ประกอบการมาตั้งแต่แรก แต่ในแง่ ที่ว่าพลิกสายงานนั้น ผมว่าถ้าเราจะลองเปลี่ยนมาทำ� ก็ทำ�ได้ แต่ต้องใช้ ความตั้งใจอย่างสูงและตลอดเวลา หมั่นเรียนรู้ มีความพยายาม และไม่ ล้มเลิก การเปลี่ยนสายงานทำ�กันได้ทุกคน แต่ใช่ว่าเปลี่ยนปุ๊บแล้วจะรวย เลย มันไม่ง่ายขนาดนั้น อย่างผมทำ�ฟาร์มรายได้ก็ได้ประมาณหนึ่ง แต่มี ปัญหาให้แก้ทุกวัน และตลาดก็เปลี่ยนตลอด ต้องดูหลายเรื่อง ทั้งการปลูก การตลาด การจัดส่ง ฯลฯ ใช่ว่าปลูกสำ�เร็จแล้วรวยเลย เราจึงต้องหมั่น เรียนรู้ ใส่ใจทุ่มเท แก้ไขปัญหา ไม่ละความพยายาม ก้าวให้ทันตลาด และ ต่อยอดสิ่งที่เราทำ�เสมอ
มีฟาร์มต้นแบบที่ชื่นชอบไหม อ๊อบ: ผมไม่ได้มีฟาร์มต้นแบบ แต่ส่วนตัวมีโอกาสเข้าชมฟาร์มทั้งในไทย และต่างประเทศหลายที่ เมือ่ เจอไอเดียดีๆ ทีพ่ อน�ำมาประยุกต์ใช้กบั ฟาร์ม ของตัวเองได้ ก็จะลองน�ำมาใช้ดู แต่ไม่คอ่ ยเจอฟาร์มทีเ่ ป็นคอมเมอร์เชียล จริงๆ แล้วเปิดให้คนเข้าชม ฟาร์มส่วนใหญ่ทเี่ ปิดให้เข้าชมได้จะไม่ใช่ฟาร์ม ที่เป็นคอมเมอร์เชียล แต่เป็นฟาร์มเพื่อโชว์ เน้นเที่ยวและถ่ายรูปมากกว่า ฟาร์มที่เป็นคอมเมอร์เชียลและเป็น Smart Farming จริงๆ มักจะปิดอยู่ แล้ว เพราะมันมีเรื่องแมลงและโรค ซึ่งไม่สามารถปล่อยให้คนเดินดุ่ยๆ เข้าไปได้ มีความเสี่ยงหลายอย่าง
อาร์ต: ผมชอบท�ำอาหาร โดยจะเอาพืชผักที่ปลูกมาเป็นวัตถุดิบ เพราะ โปรเจ็กต์โรงเบียร์ที่จะเปิดปลายปีนี้ ผมก็จะเป็นคนดูแลเรื่องอาหารด้วย
เป้าหมายและแรงบันดาลใจของการท�ำฟาร์มฮอปส์ อ็อบ: แรงบันดาลใจที่ใกล้เคียงที่สุดน่าจะเป็นไวน์เนอรี่ทัวร์ ถ้าท�ำได้ ก็ดี แต่ไม่ใช่เป้าหมายหลัก ไวน์เนอรี่ทัวร์ในที่นี้คือการที่มีคนจ่ายเงินเพื่อ มาเยี่ยมชมโรงเบียร์ด้วย ดูฟาร์มฮอปส์ด้วย เหมือนกับทัวร์วิสกี้ ทัวร์ไวน์ ทัวร์โรงเบียร์ทนี่ ยิ มท�ำกันในต่างประเทศ แต่เราเน้นคนทีส่ นใจอยากเข้าชม และเรียนรู้จริงๆ ไม่ได้วางเป้าไว้ส�ำหรับคนทั่วไปที่เข้ามาถ่ายรูปแล้วก็ไป อาร์ต: เรามีแพสชัน่ ว่าอยากท�ำฟาร์มฮอปส์และท�ำให้ได้ดี นีค่ อื แรงบันดาล ใจ เรามีความสุขที่ได้ท�ำ และเมื่อฟาร์มเราประสบความส�ำเร็จ เราก็จะยิ่ง ดีใจว่าเราท�ำให้ส�ำเร็จได้อย่างที่คาดหวังไว้จริงๆ
CREATIVE THAILAND I 32
CREATIVE THAILAND I 33
Creative Will : คิด ทํา ดี
เรื่อง: วิป วิญญรัตน์
ทุกครัง้ ทีม่ นุษย์คน้ พบเทคโนโลยีใหม่ได้ ปัญหาการหยิบใช้เทคโนโลยีดงั กล่าวในบริบทของสังคมมักถูกหยิบยกขึน้ ตัง้ แต่การ วิเคราะห์ถงึ ข้อดีขอ้ เสีย ความหวังว่าเทคโนโลยีจะถูกนำ�มาใช้เพือ่ ให้ชวี ติ มนุษย์งา่ ยขึน้ ไปจนถึงความหวาดกลัวว่าเทคโนโลยีจะ ทำ�ให้มนุษย์ย่าํ แย่ลง ตัวอย่างที่ชัดเจนน่าจะอยู่ในหนังวิทยาศาสตร์ต่างๆ ที่แทนที่เทคโนโลยีจะรับใช้มนุษย์อย่างที่ควรจะเป็น กลับหันมาทำ�ร้ายมนุษย์เสียเอง แต่ปญั หาทีเ่ ฉพาะหน้าไปมากกว่าการหวาดกลัวเทคโนโลยี คือปัญหาการอยู่ ร่วมกันของมนุษย์ ที่ไม่ว่าอย่างไรก็ต้องมีเทคโนโลยีเป็นตัวเชื่อม โดยเฉพาะ ปัญหาว่าด้วยจริยศาสตร์ (Ethics) ที่สำ�คัญของโลกในต้นศตวรรษที่ 21 ซึ่ง ยังคงเป็นปัญหาเรื่องการใช้เทคโนโลยีอย่างอินเทอร์เน็ต การที่เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตกลายเป็นพื้นที่ของคำ�ถามเชิงจริยศาสตร์ ทีส่ �ำ คัญได้นนั้ ด้านหนึง่ อาจมาจากการทีเ่ ทคโนโลยีนเี้ ข้าถึงประชากรจำ�นวน มากของโลกได้ และกลายเป็นตัวจักรสำ�คัญในการขับเคลื่อนชีวิตประจำ�วัน ตัง้ แต่การส่งอีเมล การทำ�ธุรกรรมทางการเงิน ไปจนถึงการสือ่ สารทางสังคม ต่างๆ เนื้อหาที่ผู้ใช้สร้าง (User-Generated Content) เพื่อกระจาย ผ่านทางแพลตฟอร์มมากมาย ทำ�ให้ “เนื้อหา” ในอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นอย่าง มหาศาล เมื่อเนื้อหามีจำ�นวนมากขึ้น คำ�ถามว่าด้วยตำ�แหน่งแห่งที่ของรัฐและ การจัดการเนื้อหาดังกล่าวย่อมตามมา ด้านหนึ่ง รัฐต้องการที่จะควบคุม เนือ้ หา ไม่วา่ ด้วยเหตุผลเรือ่ งความมัน่ คงของชาติ หรือเหตุผลอย่างศีลธรรม อันดีของประชาชน ซึ่งเป็นเหตุผลที่แม้แต่ในรัฐที่เสรีนิยมที่สุดก็ยังมีเพดาน ทางศีลธรรม เช่น การกำ�หนดอายุในการเข้าถึงเนื้อหาบางประเภทปัญหา การเข้าถึงเนื้อหานั้นพ่วงกับปัญหาเรื่องการแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างเสรี (Free-Flow of Information) และปัญหาเรื่องเสรีภาพในการแสดงออก (Freedom of Speech) ในสังคมที่ยดึ ถืออุดมคติเรือ่ งการถกเถียงความคิดเห็น ที่แตกต่าง และการแสดงออกตามแต่รสนิยมของปัจเจก คำ�ถามเรื่องที่ว่ารัฐ ควรจะเอื้อมมือเข้ามาจัดการเนื้อหาบนอินเทอร์เน็ตมากน้อยขนาดไหน ย่อมเป็นคำ�ถามปลายเปิด หรือพื้นที่สีเทาที่ต้องอาศัยการถกเถียงอย่าง ไม่รู้จบ ในสังคมสมัยใหม่ทใี่ ห้คณุ ค่ากับปัจเจกและการรักษาความเป็นส่วนตัว (Privacy) เป็นสำ�คัญ สวนทางกับโลกยุคดิจิทัล ที่การสูญเสียความเป็นส่วน ตัวอาจจะเกิดขึ้นได้แม้ในห้องที่ปิดแน่นที่สุด ผู้ใช้งานอาจต้องให้ข้อมูล ส่วนตัวบางอย่างเมื่อทำ�ธุรกิจหรือธุรกรรมทางการเงินผ่านอินเทอร์เน็ต
จนเกิดปัญหาเรื่องการขโมยตัวตน (Identity Theft) ผ่านการติดตามเลขที่ บัญชีบตั รเครดิต รหัสผ่าน หรือเลขประจำ�ตัวประชาชน จึงเป็นหนึง่ ในปัญหา สำ�คัญ ที่แม้ว่าหลายบริษัทที่เกี่ยวข้องจะมีหน้าที่ปกป้องดูแลข้อมูลส่วนตัว ดังกล่าวไม่ให้รั่วไหล หรือนำ�ไปใช้ทำ�อย่างอื่นโดยปราศจากการยินยอมจาก ผู้ใช้งานก็ตาม แน่นอนว่า ในโลกยุคหลังเอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน (Edward Snowden) ผู้เปิดโปงโครงการสอดส่องดูแลมวลชนของรัฐบาลสหรัฐฯ และอังกฤษ และ จูเลียน อาสซานจ์ (Julian Assange) ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์วิกิลีกส์ ปัญหาเรื่อง การเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของรัฐภายใต้ข้ออ้างเรื่องความมั่นคงนั้น ยิ่งเป็น ปัญหาทีป่ ฏิเสธไม่ได้ การละเมิดความเป็นส่วนตัวดังกล่าวได้ท�ำ ลายข้อตกลง พื้นฐานระหว่างรัฐและประชาชน แต่ในขณะเดียวกัน ในโลกที่ผู้ก่อการร้าย ก็ใช้อนิ เทอร์เน็ตเป็นเครือ่ งมือสือ่ สาร การละเมิดทีว่ า่ นีจ้ ะเป็นสิง่ ทีถ่ กู ยอมรับ ได้หรือไม่ นักปรัชญาบางคนเคยวาดฝันถึงสังคมประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม (Deliberative Democracy) ที่วางอยู่บนการพูดคุยถกเถียงกันในพื้นที่ สาธารณะ อินเทอร์เน็ตอาจตอบหรือไม่ตอบโจทย์ดังกล่าว แต่โลกดิจิทัลที่ เป็นส่วนหนึง่ ของโลกออฟไลน์อย่างแยกออกจากกันไม่ได้ การดำ�รงอยูร่ ว่ มกัน ในโลกดังกล่าวจึงกลายเป็นปัญหาที่ต้องขบคิดและถกเถียง เพราะสุดท้าย แล้ว ในสังคมประชาธิปไตย การถกเถียงปัญหาเชิงคุณค่าทางจริยศาสตร์ ต้องทำ�ผ่านมุมมองที่หลากหลาย ไม่โดนเซ็นเซอร์ และดูเหมือนว่าพื้นที่ที่ การถกเถียงดังกล่าวเกิดขึ้นได้อย่างดี จะเป็นพื้นที่บนอินเทอร์เน็ตนี่เอง ที่มา: วิกพิ เี ดีย / บทความ “Good Manners in the Age of WikiLeaks” โดย Slavoj Zizek จาก.lrb.co.uk / บทความ “Slavoj ZizekExplains What’s Wrong with Online Dating & What Unconventional Technology Can Actually Improve Your Love Life” โดย Colin Marshall (1 ธันวาคม 2015) จาก openculture.com / บทสัมภาษณ์ “Internet and Public Sphere What the Web Can’t Do” โดย Markus Schwering (24 กรกฎาคม 2014) จาก resetdoc.org
CREATIVE THAILAND I 34