Creative Thailand Magazine

Page 1




CREATIVE THAILAND I 2


cronkitenews.asu.edu

It’s no longer about what you know, it’s about how you can learn and adapt. มันไม่สำ�คัญว่าจะรู้อะไร แต่อยู่ที่จะเรียนรู้และปรับตัวอย่างไร Jacob Morgan, ผูแ้ ต่งหนังสือ The Future of Work: Attract New Talent, Build Better Leaders, and Create a Competitive Organization CREATIVE THAILAND I 3


Contents : สารบัญ

The Subject

6

จากตู้โทรศัพท์สู่เวิร์กสเตชั่น / แพลตฟอร์ม ใหม่ของคนทำ�งานในอนาคต / เมื่อทุกคน สามารถทำ�งานร่วมกันได้บนหน้าจอเดียวกัน / The 10 Best Cities for Digital Nomads

Creative Resource 8 Featured Book / Books / Movie

Green & Healthy Coworking Space

Local Wisdom

12

Cover Story

14

On Millennials’ Time งานที่ชอบ ออฟฟิศที่ใช่

อิสระใหม่ของมนุษย์นอกระบบ

Creative Startup 22 The Future of Coworking Space

Creative City

24

The Creative

28

Creative Will

34

Work From Anywhere

Matter 10

สามัคคีคือฟังก์ชั่น

Insight 20

สมบัติ งามเฉลิมศักดิ์ Future Platform... ประตูสู่ห้องทำ�งานไร้อาณาเขต

Ma:D Club for Better Society พื้นที่ของคนมาดี

บรรณาธิการอำ�นวยการ l อภิสทิ ธิ์ ไล่สตั รูไกล ทีป่ รึกษา l ชมพูนทุ วีรกิตติ, พิชติ วีรงั คบุตร, จรินทร์ทพิ ย์ ลียะวณิช, พจน์ องค์ทวีเกียรติ บรรณาธิการ l พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์ กองบรรณาธิการ l ศิริอร หริ่มปราณี, มนฑิณี ยงวิกุล, เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร, ชลดา เจริญรักษ์ปัญญา, พัทธ์ธีรา จตุรงค์ศรีพัฒน์, ปิยวรรณ กลิ่นศรีสุข, นันท์นรี พานิชกุล เลขากองบรรณาธิการ l วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ ศิลปกรรม l ชิดชน นินนาทนนท์ สมาชิกสัมพันธ์ l ปิยะพร สวัสดิ์สิงห์ ประสานงานกองบรรณาธิการ l ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ ช่างภาพและมัลติมีเดีย l ชาคริต นิลศาสตร์ จัดทำ�โดย l ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) 1160 อาคารไปรษณีย์กลาง ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10501 โทร. 02 105 7400 แฟกซ์. 02 105 7400 ติดต่อลงโฆษณาได้ที่ creativethailand@tcdc.or.th พิมพ์ที่ l โรงพิมพ์ดับบลิวพีเอส (ประเทศไทย) จำ�กัด โทร. 02 313 4405 แฟกซ์. 02 313 4445 จำ�นวน 22,500 เล่ม นิตยสารฉบับนีใ้ ช้หมึกพิมพ์จากนา้ํ มันถัว่ เหลืองทีไ่ ม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทัง้ ยังเป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อม และใช้กระดาษ รีไซเคิล ซึ่งเป็นผลผลิตของผู้ประกอบการไทย จัดทำ�ภายใต้โครงการ “Creative Thailand สร้างเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์” โดยศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ สำ�นักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) ซึง่ มีเป้าหมายในการเผยแพร่ความรูเ้ กีย่ วกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) และผลักดันการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส CREATIVE THAILAND I 4 แสดงที่มา-ไมใชเพื่อการคา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย

ขอขอบคุณพระบรมสาทิสลักษณ์ จากหนังสือ “๘๔ พรรษา ๘๔ พระบรมสาทิสลักษณ์ ถวายพระพร พ่อของแผ่นดิน” ศิลปิน : สุวิทย์ ใจป้อม


wired.com

Editor’s Note : บทบรรณาธิการ

สถานการณ์เศรษฐกิจโลกทีแ่ กว่งไกวอยูข่ ณะนี้ เป็นความท้าทายทีย่ ากจะรับมือ เศรษฐกิจอเมริกาทีว่ า่ ฟืน้ ตัวแล้วก็ยงั ประสบกับปัญหาการว่างงานทีย่ งั มีตอ่ เนือ่ ง โดยสำ�นักสถิติแรงงานสหรัฐฯ ระบุว่า ผู้ว่างงานในประเทศเมื่อเดือนสิงหาคม อยู่ที่ 4.9 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งไม่ลดลงจาก 2 เดือนก่อนหน้านี้ ทำ�ให้จำ�นวนผู้ ว่างงานในปัจจุบันอยู่ที่ราว 7.8 ล้านคน ขณะที่ในฝั่งยุโรป โจเซฟ สติกลิตซ์ (Joseph Stiglitz) นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลได้คาดการณ์อนาคตของ ยูโรโซนว่า 10 ปีตอ่ จากนี้ ความเว้าแหว่งจะได้กา้ วเข้ามาแทนทีค่ วามเหนียวแน่น และใครบ้างจะยังอยู่ในยูโรโซน เพราะปัจจุบันเศรษฐกิจยุโรปยังอ่อนแออย่าง ยืดเยื้อ สาเหตุหลักก็เพราะยุโรปใช้เงินสกุลเดียวที่กลายเป็นตัวถ่วงไม่ให้ เศรษฐกิจปรับตัวได้อย่างยืดหยุ่นคล่องตัว ดังนั้นการเดินออกจากยูโรโซน อาจ เป็นทางเลือกที่จะช่วยให้รอดพ้นดีกว่าสถานการณ์ที่กอดคอกันจมดิ่งลงไป และเมื่อใครๆ ก็รับรู้ว่าพลังอำ�นาจทางเศรษฐกิจได้เคลื่อนย้ายไปยังจีน แต่เมื่อมองให้ลึกลงไป การเติบโตอย่างโอ่อ่าของเศรษฐกิจจีนก็ไม่ใช่ความ บังเอิญของการย้ายหรือการไหลเข้าของเงินทุนเพียงชั่วครู่ชั่วยาม จีนผู้มี ประชากรนับพันล้านทีแ่ ร้นแค้นในหนหลัง ได้กลายเป็นนักต่อสูท้ ช่ี า่ํ ชองในวันนี้ สำ�นักข่าวซินหัวรายงานข่าวเกษตรกรชาวจีนในมณฑลหนิงเซี่ยว่า มีการใช้ อากาศยานโดรน 8 ใบพัดเพือ่ ทดลองฉีดพ่นยาฆ่าแมลงในแปลงเพาะปลูกพืชผล ซึ่งต้นทุนถูกกว่าใช้แรงงานคนมาก โดยโดรนนั้นใช้เงินทุนประมาณ 30-40 หยวนต่อหมู่ (165-220 บาท) ในขณะที่แรงงานคนต้องใช้ประมาณ 60 หยวน ต่อหมู่ (ประมาณ 330 บาท) (1 ไร่ของไทยเท่ากับ 2.4 หมูข่ องจีน) ซึง่ ในอนาคต เจ้าของทีด่ นิ จะซือ้ โดรนมากขึน้ และจะฝึกคนงานให้ใช้โดรนเป็นภายในปีนดี้ ว้ ย

ขณะเดียวกัน หมู่บ้านต้าจื๋อเหย้า ในมณฑลเหอเป่ยก็ได้กลายเป็นหมู่บ้าน ตัวอย่างที่มีรายได้งามจากธุรกิจอีคอมเมิร์ซด้านสิ่งทอ โดยเป็นผู้ผลิตสิ่งทอ รายหลักให้แก่เว็บไซต์เถาเป่า (taobao.com) ซึง่ เป็นเว็บขายของทีไ่ ด้รบั ความ นิยมจากชาวจีนเป็นจำ�นวนมาก ปัจจุบันมีครอบครัวกว่า 300 ครัวเรือน รับออกแบบและผลิตสินค้าตามแบบที่ลูกค้าสั่ง มีโรงงานผลิตเป็นของตัวเอง ซึ่งวางจำ�หน่ายทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ มีระบบการจัดส่งสินค้าที่รวดเร็ว รวมถึงการบริการหลังการขาย ซึง่ ไม่เพียงแต่ท�ำ ให้คนในหมูบ่ า้ นมีความเป็นอยู่ ที่ดีขึ้น แต่ยังกระตุ้นให้หมู่บ้านใกล้เคียงพัฒนาไปในทางที่ดีด้วย เรามองเห็นอะไรจากปรากฏการณ์ดงั กล่าว เมือ่ ประเทศทีเ่ คยรุง่ เรืองและ เป็นต้นแบบทางเศรษฐกิจกลับหม่นหมอง ชาติที่เคยเป็นผู้ลอกเลียนกลับปรับ ตัวหาอนาคตใหม่ได้ ความปัน่ ป่วนทีต่ อ้ งรับมือนีไ้ ม่ใช่เดิมพันแบบล้มเร็วลุกเร็ว ตามศัพท์เทคนิคของธุรกิจสตาร์ทอัพเท่านั้น แต่คือการเตรียมตัวสู่อนาคตของ แรงงานรุน่ ใหม่ ทีไ่ ม่ได้วดั กันทีอ่ ายุ วุฒกิ ารศึกษา ความสามารถรอบด้านทีเ่ ข้า คอร์สมาแต่เยาว์วัย หรือคอนเน็กชั่นสมัยไฮสคูล และเมื่อการเตรียมสร้างทาง เลือกและโอกาสให้มากเข้าไว้ ก็อาจยังไม่ดพี อสำ�หรับอนาคตข้างหน้า แก่นสาร ทีส่ �ำ คัญทีจ่ ะพัฒนา “คน” ให้แข็งแกร่ง จึงจำ�เป็นกว่ากระบวนการทีห่ ลากหลาย ทีไ่ ม่เพียงอ้างอิงกับกระแสนิยม แต่แก่นสารต้องพัฒนาให้สอดคล้องกับทิศทาง ที่โลกจะเดินไป อนาคตจะแน่นอน หรือ พร่าเลือน เราอาจจะกำ�หนดไม่ได้ แต่อย่างน้อย ที่สุด หากขวนขวายในความรู้ มั่นคงที่จะบ่มเพาะ และพร้อมที่จะทดลองเพื่อ สิ่งที่ดีที่สุด เราย่อมสร้างทิศทางให้กับตัวเราได้ อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล บรรณาธิการอํานวยการ Apisit.L@tcdc.or.th

CREATIVE THAILAND I 5


The Subject : ลงมือคิด เรื่อง: ชาคริต นิลศาสตร์ และ วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ

psfk.com

แพลตฟอร์มใหม่ของคนทำ�งานในอนาคต

cnbc.com

จากตู้โทรศัพท์สู่เวิร์กสเตชั่น

Red Telephone Box หรือตู้โทรศัพท์สาธารณะสีแดงที่ได้รับการออกแบบ โดยเซอร์กิลเลส กิลเบิร์ต สก็อตต์ (Sir Giles Gilbert Scott) เริ่มถูกใช้เพื่อ การโทรคมนาคมราวๆ ปี 1921 และกลายเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ที่คุ้นเคย ของประเทศอังกฤษ แต่เมื่อเข้าสู่ยุคที่ทุกคนเป็นเจ้าของโทรศัพท์มือถือ ตู้โทรศัพท์หยอดเหรียญสาธารณะก็ได้รับบทบาทใหม่ในการเป็น “พื้นที่ ทำ�งานขนาดเล็ก” (Mini Work Pod) ที่มีชื่อเรียกว่า “Pod Works” Pod Works ถูกออกแบบและปรับปรุงโดยบริษทั Bar Works ผูใ้ ห้บริการ โคเวิรก์ กิง้ สเปซในนิวยอร์ก โดยกลุม่ เป้าหมายคือผูท้ ตี่ อ้ งเดินทางเป็นประจำ� และต้องการสถานทีท่ สี่ ะดวกในการทำ�งานระหว่างทาง หรือผูท้ ที่ อ่ งเทีย่ วไป ด้วยทำ�งานไปด้วยและต้องการสถานที่ทำ�งานเล็กๆ ที่มีความเป็นส่วนตัว สะดวกสบาย มีอุปกรณ์ครบครัน แทนการนั่งทำ�งานตามร้านกาแฟซึ่งต้อง จ่ายค่าเครือ่ งดืม่ เพือ่ เป็นบัตรผ่านในการขอใช้พนื้ ทีร่ วมถึงบรรยากาศในร้าน และความเร็วอินเทอร์เน็ตที่ไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะดีหรือไม่ ภายใน Pod Works จะมีอินเทอร์เน็ต ไว-ไฟ เครื่องถ่ายเอกสาร สแกนเนอร์ ปลัก๊ ไฟ และยังมีชา-กาแฟให้บริการโดยมีคา่ บริการคิดเป็นรายเดือน เดือนละ 33 ปอนด์ หรือราวๆ 1,400 บาท ซึ่งผู้สมัครใช้บริการสามารถเข้า ใช้งาน Pod Works และโคเวิร์กกิ้งสเปซของ Bar Works ได้ทุกแห่งทั่วโลก ส่วนการเข้าใช้งาน ผู้ใช้จะต้องส่งข้อมูลผ่านแอพพลิเคชั่นในโทรศัพท์มือถือ เพือ่ ให้ระบบตรวจสอบความถูกต้องและยืนยันตัวตนก่อนเข้าใช้งาน โดย Pod Works เปิดตัวครัง้ แรกในเดือนกันยายนทีผ่ า่ นมา ณ รัสเซลล์สแควร์ ใจกลาง กรุงลอนดอน รวมถึงพื้นที่อื่นๆ ในเมืองหลวงอีกจำ�นวน 8 ตู้ และมีแผนจะ ขยายไปอีก 82 ตู้ตามเมืองอื่นๆ ของอังกฤษเร็วๆ นี้

PSFK บริษทั ผูเ้ ชีย่ วชาญด้านการให้ค�ำ ปรึกษาและคำ�แนะนำ�เกีย่ วกับการสร้าง แรงบันดาลใจ นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ เพื่อผลิตสินค้า บริการ และประสบการณ์ในนิวยอร์ก ได้เจาะลึกแพลตฟอร์มทีช่ ว่ ยให้องค์กรต่างๆ นำ�ไปปรับใช้เพื่ออำ�นวยความสะดวกให้แก่พนักงานในการทำ�งานร่วมกัน รวมถึงสร้างความพึงพอใจโดยรวมต่อพนักงาน ทีมงานของ PSFK ได้คิดค้น แนวคิดการทำ�งานในอนาคตที่มุ่งเน้นการปรับปรุงสถานที่ทำ�งานด้วยการ สร้างแรงบันดาลใจด้วยเทคโนโลยี และการใช้เทคโนโลยีเข้าไปสนับสนุน วัฒนธรรมในการทำ�งาน สิ่งที่ PSFK สร้างสรรค์ขึ้นก็เช่นโปรแกรมเสริมที่จะช่วยวิเคราะห์ความ ถูกต้องของข้อความหรือแนะนำ�ให้แก้ไขข้อความที่ผิดพลาดเพื่อให้เกิดการ ใช้คำ�หรือรูปแบบประโยคที่เหมาะสมซึ่งเรียกว่า “Doc-U-Lok” นอกจากนี้ ยังมีโปรแกรม “Officemate” ทีจ่ ะช่วยลดความยุง่ ยากในการทำ�งานเอกสาร ที่ใช้เวลานานแทนพนักงาน ส่วน “Nomad Desk App” คือแอพพลิเคชั่น สำ�หรับจองที่นั่งที่ช่วยให้พนักงานสามารถกำ�หนดสภาพแวดล้อมเพื่อการ สร้างสรรค์ผลงานที่ดีขึ้นในสถานที่อื่นๆ นอกเหนือจากออฟฟิศได้ และจะดี หรือไม่ ถ้าหัวหน้าสามารถรับฟังความคิดเห็นของพนักงานได้ด้วยวิธีที่สนุก กว่าเดิม แพลตฟอร์มออนไลน์อย่าง “Omni-Review Tool” จะเข้ามาช่วย ถามคำ�ถามในรูปแบบที่สนุกขึ้นเพื่อให้หัวหน้างานรับรู้ความเป็นไปของ พนักงานที่สนุกขึ้นแบบรายวัน รายสัปดาห์ หรือรายเดือน ซึ่งนอกจากจะ ช่วยให้พนักงานกำ�หนดเป้าหมายการทำ�งานและรักษาคุณภาพในการทำ�งาน ของตนได้แล้ว หัวหน้าก็สามารถตรวจสอบความคืบหน้าในการทำ�งานได้ ด้วยเช่นกัน

ทีม่ า: บทความ “Brief History Of The Telephone Box” จาก redphonebox.info / บทความ “From Phone box to Work Station” จาก barworks.nyc / บทความ “UK’s Famed Red Phone Boxes Get Revamp - As Mini-Offices” โดย Gareth Jones จาก reuters.com

ที่มา: บทความ: “PSFK’s Six Future Workplace Visions For Improving The Work Process” โดย PSFK LABS จาก psfk.com

CREATIVE THAILAND I 6


เมื่อทุกคนสามารถทำ�งานร่วมกันได้ บนหน้าจอเดียวกัน

kickstarter.com

nomadlist.com

The 10 Best Cities for Digital Nomads

nomadlist.com เว็บไซต์ชื่อดังได้รวบรวมข้อมูลจากผลโหวตของชาว Digital Nomad ทั่วโลก ซึ่งได้ร่วมให้คะแนนและแสดงความคิดเห็นว่าเมือง ใดในโลกที่เหมาะสำ�หรับการอาศัยอยู่ของชาว Digital Nomad มากที่สุด คะแนนถูกวัดจากหลายปัจจัยประกอบกัน เช่น ความเร็วของอินเทอร์เน็ต ความปลอดภัย ความสนุก ค่าครองชีพ สภาพอากาศ คนท้องถิน่ ทีพ่ ดู ภาษา อังกฤษได้ ฯลฯ ทางเว็บไซต์ได้ทำ�การจัดอันดับเมืองที่ดีที่สุดสำ�หรับชาว Digital Nomad แบบเรียลไทม์ โดย 10 อันดับแรกของเมืองที่ดีที่สุด ซึ่งวัด คะแนนจากปัจจัยเรื่องความเร็วของอินเทอร์เน็ต ค่าครองชีพ สภาพอากาศ และความสนุก ได้แก่ 1. เชียงใหม่ (ประเทศไทย) 2. กรุงเทพมหานคร (ประเทศไทย) 3. อูบุด (บาหลี อินโดนีเซีย) 4. เบอร์ลิน (เยอรมนี) 5. โฮจิมินห์ (เวียดนาม) 6. ลาสปัลมาสเดแกรนคานาเรีย (สเปน) 7. ปาย (ประเทศไทย) 8. บูดาเปสต์ (ฮังการี) 9. ฮานอย (เวียดนาม) และ 10. เมเดยิน (โคลอมเบีย)

ที่มา: บทความ: “GoTouch Launches on Kickstarter, Turns Any TV Into an Interactive Whiteboard in 50 Second” โดย Anyractive จาก prnewswire.com / บทความ: “GoTouch - Make Any TV Instantly Interactive” โดย Anyractive จาก kickstarter.com

ทีม่ า: nomadlist.com

huffingtonpost.com

บริษัท Anyractive สตาร์ทอัพที่เริ่มก่อตั้งเมื่อปี 2014 ในเกาหลีใต้ ได้จับมือสร้างแคมเปญร่วมกับ Kickstarter เพื่อขอระดมทุนพัฒนาและ สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์การทำ�งานร่วมกันในอนาคตที่เรียกว่า “GoTouch” GoTouch เป็นอุปกรณ์ขนาดพกพาทีจ่ ะเปลีย่ นโทรทัศน์หรือโปรเจ็กเตอร์ ให้เป็นไวท์บอร์ดแบบอินเทอร์แอคทีฟ ซึ่งการแสดงผลจะทำ�งานร่วมกับ แอพพลิเคชั่น “GoTouch” บนสมาร์ทโฟน โดยเชื่อมต่อสมาร์ทโฟนระบบ แอนดรอยด์หรือแท็บเล็ตเข้ากับโทรทัศน์หรือโปรเจ็กเตอร์ด้วยสาย HDMI หรือบลูทูธแบบไร้สาย เพื่อแสดงผลการเขียนบนหน้าจอแบบเรียลไทม์ด้วย ความคมชัดแบบ 4K Ultra HD โดยการเขียนบนหน้าจอโทรทัศน์หรือ โปรเจ็กเตอร์ผ่าน GoTouch จะต้องใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า “GoTouch Pen” ร่วมกัน ซึ่งการเขียนนั้นจะแสดงผลได้รวดเร็วและแม่นยำ�เสมือนการเขียน ลงบนไวท์ บ อร์ ด อี ก ทั้ ง สามารถเขี ย นสิ่ ง ต่ า งๆ ระหว่ า งการนำ � เสนอ พรีเซ็นเทชั่นหรือวิดีโอได้ด้วย GoTouch ยังได้รับการทดสอบร่วมกับ การเรียนการสอนในโรงเรียนทั่วเกาหลีใต้มาแล้วกว่าหนึ่งปี นอกจากนี้ GoTouch ยังสามารถปรับขนาดหน้าจอได้กว้างสูงสุด 80 นิ้ว และใช้เวลาเพียง 50 วินาทีในการติดตั้ง ที่สำ�คัญการเขียนร่วมกับ แอพพลิเคชั่นนี้ยังช่วยให้เพื่อนร่วมงานที่แม้จะอยู่ต่างสถานที่กัน สามารถ โต้ตอบบนหน้าจอเดียวกันแบบออนไลน์ได้อกี ด้วย ทัง้ นี้ GoTouch จะพร้อม จัดส่งให้กับผู้ที่ช่วยระดมทุนสร้างร่วมกับ Kickstarter ในเดือนกุมภาพันธ์ปี หน้า และมีแผนที่จะจำ�หน่ายด้วยราคาเริ่มต้นที่ 140 เหรียญสหรัฐฯ หรือ ราวๆ 5,000 บาท

CREATIVE THAILAND I 7


Creative Resource : วัตถุดิบทางความคิด

weichingchen.com

เรื่อง: ชลดา เจริญรักษ์ปัญญา และ พัทธ์ธีรา จตุรงค์ศรีพัฒน์

CREATIVE THAILAND I 8


F EAT U RED BOOK 1) Cubed: A Secret History of the Workplace โดย Nikil Saval เมือ่ พิจารณารูปแบบการจัดสำ�นักงาน จะพบว่า รูปแบบการจัดสำ�นักงานของบริษัทจำ�นวนมาก ในย่านเศรษฐกิจมักคล้ายกันอย่างน่าเหลือเชือ่ ทัง้ คอกกัน้ โต๊ะทำ�งาน รูปแบบการจัดเรียง ชวนให้ เกิดคำ�ถามว่าสภาพแวดล้อมการทำ�งานแบบนีเ้ กิด ขึน้ ได้อย่างไร และเพราะเหตุใดจึงกลายมาเป็นที่ นิยมอย่างแพร่หลาย Cubed: A Secret History of the Workplace จะช่วยตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับ สถานที่ที่เราใช้ท�ำ งานมานานหลายทศวรรษนี้ ช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ตอนนัน้ เหล่าเสมียน ต้องนัง่ ทำ�งานข้างๆ นายจ้างของตนเองในสำ�นักงาน

ขนาดเล็กที่คับแคบแออัด ต่อมาเกิดจุดเปลี่ยน เมือ่ มีการเติบโตของอุตสาหกรรมอย่างก้าวกระโดด ทำ�ให้บริษทั หลายแห่งต้องขยับขยายธุรกิจ มีการ จัดแบ่งสำ�นักงานให้เป็นสัดส่วนมากขึ้น และ ปรับปรุงสถานที่ทำ�งานเพื่อลดความเครียดของ พนักงาน นักออกแบบจากบริษทั เฟอร์นเิ จอร์ชอ่ื ดัง อย่าง Herman Miller จึงเกิดแนวคิดการทำ�กำ�แพง กั้นจากวัสดุใช้แล้วทิ้งที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ ด้วยคิดว่าจะช่วยให้จดั การพืน้ ทีไ่ ด้งา่ ย และยังให้ ความเป็นส่วนตัวกับพนักงานด้วย นีจ่ งึ เป็นทีม่ าของ คอกทำ�งาน (Cubicle) ในปัจจุบัน แม้การจัด สำ�นักงานโดยมีคอกทำ�งานชัดเจนจะไม่ใช่รปู แบบ การจัดสำ�นักงานที่ดีท่สี ุด แต่เหล่านายจ้างต่าง เห็นชอบในความคิดนี้ เนื่องจากใช้ต้นทุนน้อย จนกระทัง่ เข้าสูช่ ว่ งเวลาทีอ่ นิ เทอร์เน็ตเฟือ่ งฟู และ

ก่อให้เกิดโคเวิร์กกิ้งสเปซ ซึ่งเป็นการแชร์พ้ืนที่ ทำ�งานร่วมกับคนแปลกหน้าขึน้ เมื่อเหล่ามนุษย์ เงินเดือนก็ได้กลายเป็นเจเนอเรชั่นใหม่ที่ยังคง ค้นหารูปแบบสถานทีท่ จ่ี ะช่วยส่งเสริมการทำ�งาน อย่างแท้จริงต่อไป นิคลิ ซาวาล (Nikil Saval) สำ�รวจวิวฒั นาการ ของสำ�นักงาน เผยให้เห็นถึงสภาพของเศรษฐกิจ และวัฒนธรรมที่ เ ปลี่ ยนไปตามพฤติกรรมการ ทำ�งานและสภาพแวดล้อม จากสำ�นักงานขนาดเล็ก สูส่ �ำ นักงานบนตึกสูงระฟ้า จากคอกทำ�งานแคบๆ สูร่ า้ นกาแฟอันสว่างไสว นอกจากจะช่วยให้ผอู้ า่ น มองเห็นภาพของการทำ�งานที่ชัดเจนยิ่งขึ้นแล้ว ยังช่วยให้คาดเดาความเป็นไปได้ของพืน้ ทีท่ �ำ งาน ที่ก�ำ ลังจะก้าวต่อไปในอนาคตได้อกี ด้วยนี้

BOOK

MOVIE

2) The Style of Coworking: Contemporary Shared Workspaces โดย Alice Davies และ Kathryn Tollervey

4) The Secret Life of Walter Mitty แสดงนำ�และกำ�กับโดย เบน สติลเลอร์

การทีโ่ ลกหลอมรวมกันด้วยเทคโนโลยีดจิ ทิ ลั มาระยะหนึง่ ส่งผลให้รปู แบบการใช้ชวี ติ ของผูค้ นในปัจจุบนั เปลี่ยนแปลงไป การทำ�งานไม่ถูกยึดติดอยู่กับที่ใดที่หนึ่ง ผู้คนเริ่มมองหาพื้นที่การทำ�งานที่ตอบโจทย์ จากร้านกาแฟหรือคาเฟ่ที่ให้บริการอินเทอร์เน็ต พัฒนามาเป็นพื้นที่การทำ�งานร่วมกันบรรยากาศ โดยรอบได้รับการสร้างสรรค์และส่งเสริมให้ผู้ใช้บริการได้แบ่งปัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็น รวมถึงใช้ อุปกรณ์ต่างๆ ภายในพื้นที่ร่วมกัน นับเป็นการพลิกรูปแบบการทำ�งานของคนยุคใหม่ที่ต้องการค้นหา แรงบันดาลใจในการทำ�งาน หนังสือเล่มนี้รวบรวมสถานที่ทำ�งานร่วมกันกว่า 30 แห่ง ซึ่งเป็นตัวอย่าง ของพื้นที่สร้างสรรค์ ที่ใส่ใจรายละเอียดของการเลือกวัสดุ สี สไตล์ ตลอดจนการจัดสรรพื้นที่เพื่อคน ทำ�งาน โดยสนับสนุนให้กลุ่มคนทำ�งานที่หลากหลายได้มาทำ�งานและใช้พื้นที่ร่วมกันได้อย่างลงตัว

เมือ่ ชีวติ ก้าวเข้าสูว่ ยั ทำ�งาน ผูค้ นขายความฝันให้ กับภาระหน้าที่ ก้มหน้าทำ�งานจนวันหนึ่งก็พบ ความจริงว่ายุคสมัยเปลี่ยนไปแล้วและล่วงเลย มาไกลเกิ น กว่ า ที่ จ ะกลั บ ไปทำ � ตามความฝั น ภาพยนตร์เล่าเรื่องผ่านวอลเตอร์ มิตตี้ มนุษย์ เงินเดือนที่ก้มหน้าทำ�งานตามหน้าที่ และสร้าง ความต้องการไว้แค่ในฝันกลางวัน แต่เมือ่ บริษทั ที่วอลเตอร์ทำ�งานอยู่ต้องเปลี่ยนจากนิตยสาร ฉบับสุดท้ายกลายมาเป็นนิตยสารออนไลน์ นี่จึง กลายเป็นจุดเปลีย่ นของเรือ่ งราวการผจญภัยเพือ่ ค้นพบตัวตนของวอลเตอร์เช่นกัน นอกจากนีภ้ าพ และฉากต่างๆ ที่ปรากฏในภาพยนตร์ก็สร้าง แรงบันดาลใจให้แก่ผชู้ มได้เป็นอย่างดี พร้อมช่วย จุดประกายให้หลายคนอยากออกเดินทางและ ค้นหาความท้าทายในชีวิตดูบ้าง

3) Don’t Get a Job…Make a Job โดย Gem Barton ปี 2008 สหรัฐอเมริกาเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจแฮมเบอร์เกอร์ (Hamburger Crisis) หลายบริษัทต้อง ปิดตัวลง ผู้คนทั่วโลกล้วนได้รับผลกระทบ ในสหรัฐอเมริกามีอัตราคนว่างงานเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 10 เป็นจำ�นวนกว่า 7.3 ล้านคน วิธีการปรับตัวที่ง่ายที่สุดคือการปรับแนวคิดของตนเอง หนังสือเล่มนี้เป็น บทบรรยายแนวความคิดของกลุ่มคนที่เลือกเส้นทางการเป็นผู้ประกอบการ การเกิดขึ้นของสตาร์ทอัพ พิสูจน์ให้โลกดิจิทัลเห็นว่า เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือที่ส่งเสริมให้เกิดรายได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม หากคุณมีไอเดียและมุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์มันให้เกิดขึ้น อีกทั้งยังรวบรวมวิธีการสร้างสรรค์ในรูปแบบ ที่แตกต่างตามความถนัด ผ่านประสบการณ์ที่คุณไม่ต้องไปเผชิญหรือทดลองด้วยตนเอง พบกับวัตถุดิบทางความคิดเหล่านี้ได้ที่ TCDC Resource Center CREATIVE THAILAND I 9


blogrope.com

เรือ่ ง: ชมพูนทุ วีรกิตติ และ ปิยวรรณ กลิน่ ศรีสขุ

โคเวิร์กกิ้งสเปซ ธุรกิจบริการที่มีแนวโน้มการเติบโตตามรูปแบบชีวิตการ ทำ�งานทีเ่ ปลีย่ นแปลงไปในยุคนี้ นอกจากจะเป็นพืน้ ทีใ่ ห้ผคู้ นร่วมแลกเปลีย่ น ความคิดเห็น และเติมเชื้อไฟระหว่างกลุ่มคนที่มีความสนใจตรงกันอย่าง สะดวกสบายแล้ว ในแง่มุมของพื้นที่ทำ�งาน ผู้ใช้บริการยังคำ�นึงถึงความ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและผลดีต่อสุขภาพของผู้รับบริการ ทำ�ให้เหล่าผู้ให้ บริการพยายามสร้างระบบนิเวศของพื้นที่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในกลุ่ม ธุรกิจนี้มากขึ้น ในต่างประเทศเริ่มมีพื้นที่อย่าง Grind ซึ่งเป็นโคเวิร์กกิ้งสเปซในเกาะ แมนแฮตตัน นิวยอร์ก ที่มีนโยบายช่วยลดภาวะโลกร้อนในทุกกระบวนการ ทำ�งาน เริ่มจากการบริหารจัดการอาคาร การเลือกใช้ก๊อกนํ้าและระบบ ชักโครกที่ประหยัดนํ้า เลือกใช้ประตู ระบบไฟและวัสดุตกแต่งภายในที่ได้ มาตรฐานเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จัดเตรียมอุปกรณ์สำ�หรับรับประทาน อาหาร เช่น ช้อนส้อม แก้วนํ้า เพื่อสมาชิกจะได้ไม่ต้องใช้ภาชนะพลาสติก ทีจ่ ะทำ�ให้มขี ยะมากขึน้ กระดาษทีเ่ ตรียมให้กผ็ ลิตจากการรีไซเคิล เช่นเดียว กับเฟอร์นิเจอร์ทุกชิ้นที่ผลิตจากวัสดุรีไซเคิล และยังนำ�ไปรีไซเคิลต่อได้อีก พืน้ ก็ถกู ปรับปรุงขึน้ จากของเดิม สร้างพฤติกรรมประหยัดด้วยการปิดไฟทุกดวง เมื่อไม่ใช้ และใช้ผลิตภัณฑ์ทำ�ความสะอาดที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ นอกจากนี้ยังขอความร่วมมือกับเมืองนิวยอร์กให้จัดตั้งพื้นที่จอดจักรยานที่ ล็อกได้บริเวณหน้าอาคาร เป็นการช่วยกระตุ้นให้สมาชิกใช้จักรยานมากขึ้น ขณะที่ Primary โคเวิร์กกิ้งสเปซอีกหนึ่งแห่งที่น่าสนใจในย่านการเงิน ของนิวยอร์ก ก็มีจุดเด่นคือการสร้างฟิตเนสสตูดิโอในพื้นที่ พร้อมชั้นเรียน โยคะและการนั่งสมาธิมากกว่า 30 ครั้งในหนึ่งสัปดาห์ มีอาหารสุขภาพ พร้อมนํา้ ผลไม้ทคี่ ดั สรรมาให้โดยผูเ้ ชีย่ วชาญ นอกจากนัน้ ยังมีบริการจักรยาน

และลูว่ งิ่ พร้อมห้องอาบนํา้ เนือ่ งจาก Primary เป็นโคเวิรก์ กิง้ สเปซทีเ่ น้นเรือ่ ง สุ ข ภาพ ลู ก ค้ า ที่ มี ธุ ร กิ จ ที่ เ กี่ ย วกั บ สุ ข ภาพจึ ง ได้ รั บ การจั ด สรรพื้ น ที่ ใ ห้ เหมาะสมกับการทำ�งาน เช่น การฝังเข็ม และการนวดเพื่อการรักษา แม้แต่ อากาศในพื้นที่ก็ต้องดีต่อสุขภาพ โดยจะมีกำ�แพงสีเขียวจากการปลูกมอส เฟิร์น และต้นปาล์มกระจายไปทั่วพื้นที่ เช่นเดียวกับในเอเชียที่ก็มีพื้นที่ ในลักษณะนี้เช่นกันอย่าง Cocoon Co-working Space ในฮ่องกง ที่มี เป้าหมายด้านการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่ก่อนเปิดดำ�เนินการ โดยมีการเลือกพืชพื้นถิ่นที่ทนต่อความแห้งแล้ง ไม่ต้องดูแลมากมาปลูกใน พืน้ ที่ เลือกใช้ไม้ไผ่ทปี่ ลูกทดแทนได้มาปูพนื้ ใช้หลอดไฟแอลอีดที ใี่ ช้พลังงาน ตํา่ และใช้สที ไ่ี ม่เป็นพิษต่อสุขภาพในการทาผนัง จัดระบบการรีไซเคิลในครัว ใช้เครื่องปรับอากาศที่ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ผลที่ได้จึงเป็น ประโยชน์กับสมาชิกทั้งสองด้านคือ หนึ่ง สมาชิกทั้งประเภทส่วนบุคคลและ องค์กรได้เครดิตในการลดจำ�นวนคาร์บอนฟุตพริน้ ท์ลง และสอง ผูใ้ ห้บริการ ก็ได้รับประโยชน์ทางธุรกิจมากขึ้น ซึ่งองค์ประกอบทั้งสองอย่างนี้ถือเป็น กุญแจสำ�คัญที่สมาชิกจะเลือกมาทำ�งานในพื้นที่ สุดท้าย การเชื่อมโยงความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในทุกด้านของผู้ให้ บริการโคเวิร์กกิ้งสเปซ ที่เรียกตัวเองว่าเป็น ‘กรีน สเปซ’ (Green Space) นั้น ย่อมจะส่งผลให้เกิดพื้นที่ทำ�งานของผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่ใส่ใจเรื่อง สิง่ แวดล้อม มีนโยบายสร้างชุมชนสีเขียวทีย่ งั่ ยืน และเกิดเป็นเครือข่ายความ สัมพันธ์ทางธุรกิจที่เข้มแข็งผ่านช่องทางกิจกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้นในพื้นที่ นี่จึงอาจเป็นคำ�ตอบของการต่อยอดธุรกิจในท้องถิ่นที่เติบโตทั้งด้านรายได้ และความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน ที่มา: deskmag.com / grindspaces.com / liveprimary.com

CREATIVE THAILAND I 10

ibtimes.co.uk

urbansocialentrepreneur.com

Matter : วัสดุต้นคิด


พบกับนิตยสาร “คิด” Creative Thailand ได้ที่ ร้านหนังสือ ห้องสมุด สมาคม อาคารสำ�นักงาน และร้านกาแฟใกล้บ้าน ในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ หัวหิน และจังหวัดอื่นๆ รวมถึง miniTCDC ดูสถานที่จัดวางทั้งหมดได้ที่: www.tcdc.or.th/creativethailand/magazine/place กรุงเทพฯ ร้านหนังสือ • Asia Books • Kinokuniya • B2S • แพร่พิทยา ร้านกาแฟ/ร้านอาหาร • Au Bon Pain • Starbucks • TOM N TOM’S COFFEE • True Coffee • Auntie Anne’s • Baskin Robbins • Coffee World • Mister Donut • Black Canyon • McCafe’ • ดอยตุง • Ninety four coffee • Puff & Pie • Red Mango • Iberry • Greyhound Cafe’ • Amazon Cafe’ • Chester’s Grill • Luv minibar โรงแรม/ที่พัก • NOVOTEL • Dusit Thani Princess Hotel • Sofitel Silom Bangkok • Grand Millenium Sukhumvit พิพิธภัณฑ์/หอศิลป์ • หอศิลปวัฒนธรรม แห่งกรุงเทพมหานคร • มิวเซียม สยาม • อุทยานการเรียนรู้ (TK park) • นำ�ทอง แกลเลอรี่ สมาคม/ห้องสมุด • ศูนย์ศิลปะนานาชาติ สมาคมฝรั่งเศส • ห้องสมุดเนลสัน เฮลส์ The Neilson Hays Library • ห้องสมุด - นิด้า • สมาคมโฆษณา แห่งประเทศไทย • สมาคมธนาคารไทย • สมาคมสโมสรนักลงทุน • ห้องสมุด สสวท. • สมาคมหอการค้าไทย • สถาบัน • Wall Street Institute • Raffle Design Institute • Vision Swimming Academy เชียงใหม่ ร้านหนังสือ • ดวงกมล • ร้านเล่า • ร้าน Book Re:public • ร้านหนังสืออุดมลายเซ็นต์ ร้านกาแฟ/ร้านอาหาร/ ร้านขายของที่ระลึก • Happy Hut (ถ.นิมมานเหมินทร์ ระหว่างซอย 9-10) • 94 Coffee (ถ.นิมมานเหมินทร์) • Starbucks (ถ.นิมมานเหมินทร์) • เวียงจุมออน ทีเฮาส์ • Fern Forest Cafe’ • October • เชียงใหม่กาแฟ • IMPRESSO espresso bar • กาแฟวาวี • Love at First Bite • ร้านกาแฟดอยช้าง • ร้านกาแฟดอยตุง

• ร้านฝ้ายเบเกอรี่ (หอสมุดในมหาวิทยาลัย เชียงใหม่) • Things Called Art • minimal • ร้านยังไว้ลาย • ร้านรสนิยม • ร้านภคมน • ร้านโครงการหลวง • จัส ข้าวซอย (Just Kao Soy) • Ginger (The House Restaurant ) • หอมปากหอมคอ • ทีเฮาส์ สยามศิลาดล • Rabbithood studio • The Meeting Room Art Cafe’ • HuB 53 Bed&Breakfast • ร้าน Charcoa Cafe’ • ร้าน Akha Ama coffee • ร้านกาแฟพาคามาร่า • เดอะ สลัด คอนเซปท์ (Salad Concept) • Gallery Seescape • ร้านขนม (Kanom) • ร้าน Chin Ngan • ร้าน Mood Mellow โรงแรม/ที่พัก • สุริยันจันทรา ถ.นิมมานเหมินทร์ ซอย 1 • บรรทมสถาน เกสเฮาท์อารมณ์บ้าน • yesterday Hotel • โรงแรมดุสิต ดีทู (Dusit D2) • โรงแรมเชดี • ฮาโหล บาร์ (Hallo Bar Hotel) • โรงแรม At Nimman • โรงแรม Tamarind Village • โรงแรม The Rim • 9wboutique hotel • พิงค์ภูเพลส เชียงใหม่ • โรงแรม Casa 2511 พิพิธภัณฑ์/หอศิลป์ • หอศิลปวัฒนธรรม เมืองเชียงใหม่ • หอนิทรรศการ ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หัวหิน ร้านกาแฟ/ร้านอาหาร • ร้านกาแฟ ชุบชีวา หัวหิน • อยู่เย็น หัวหิน บัลโคนี่ • บ้านใกล้วัง • ภัตตาคารมีกรุณา • บ้านถั่วเย็น @ แนบเคหาสน์ • ร้านอาหารหัวหิน (โกทิ) • กาแฟข้างบ้าน • IL GELATO ITALIANO • Together Bakery & Cafe’ โรงแรม/ที่พัก • โรงแรม วรบุระหัวหิน • Let’s Sea • โรมแรม ดูน หัวหิน • เดอะร็อค หัวหิน • บ้านจันทร์ฉาย • หัวหิน มันตรา รีสอร์ท • ลูน่าฮัท รีสอร์ท กระบี่ • Nakamanda Resort & Spa • Rawee Warin Resort & Spa • A little Handmade Shop ขอนแก่น • Hug School of Creative Arts • ร้านสืบสาน • ร้านกาแฟ คอฟฟี่ เด้อ หล่า (Coffee Der La)

เชียงราย • ร้านหนังสือ herebookafe • ร้าน Coffee Dad นครราชสีมา • Hug station resort นครปฐม • ร้าน Dipchoc Cafe นครสวรรค์ • ร้าน Bitter Sweet น่าน • ร้าน Runway Coffee • ร้านคลาสสิค โมเดล น่าน • ร้านกาแฟปากซอย • ร้าน Nan Coffee Bean ปาย/แม่ฮ่องสอน • ร้านคอฟฟี่อินเลิฟ • ร้าน all about coffee • ร้านปายหวานบ้านนมสด • ร้านเล็กเล็ก • ปายวิมานรีสอร์ท พังงา • Niramaya Villa and Willness Resort • Ranyatavi Resort Phang Nga • The Sarojin เพชรบุรี • Grand Pacific Sovereign • Resort & Spa • DevaSom Hua Hin Resort ภูเก็ต • ร้านหนัง(สือ) ๒๕๒๑ ภูเก็ต • The oddy Apartment & Hotel • At Panta Phuket • Banyan Tree Phuket • Le Meridien Phuket • Millienium Ressort Patong Phuket • Novotel Phuket Resort • Patong Paragon Resort & Spa Phuket • Sheraton grand Lagana Phuket • Sri wanwa Phuket Villa • Thanyapura ระยอง • Le Vimarn Cottage ลำ�ปาง • อาลัมภางค์ เกสท์เฮ้าส์ แอนด์ มอร์ ลำ�ปาง • ร้านเอกาลิเต้ Egalite Bookshop • Lampang Art Center เลย • บ้านชานเคียง • มาเลยเด้ เกสต์เฮาท์ ลพบุรี • ซนดิคอฟฟี่ สมุทรสงคราม/อัมพวา • Baan Amphawa Resort and Spa สุโขทัย • Ananda Co.,Ltd. สุราษฎร์ธานี • Muang Samui Spa Resort • Pavilion Samui Boutique Resort • The Sunset Beach Resort and Spa Taling ngam • Nora Beach Resort Samui หาดใหญ่/สงขลา • ร้าน NIQOLO อุทัยธานี • ร้านบุ๊คโทเปีย Booktopia • Avatar Miracles

หมดปญหาหยิบนิตยสารไมทัน สมัครสมาชิกรายป คาใชจายในการจัดสง 200 บาท (12 เลม) หรือสมัครออนไลนไดที่ tcdc.or.th/creative_thailand

ขอมูลผูสมัครสมาชิก สมาชิกใหม ชื่อ นามสกุล เพศ โทรศัพท

สมาชิกเกา (ตองการตออายุสมาชิก) หญิง อายุ

ชาย

อีเมล

โทรศัพทมือถือ

อาชีพ นักเรียน ครู/อาจารย

นิสิต/นักศึกษา พนักงานบริษัท

นักออกแบบ/ครีเอทีฟ ผูประกอบการ

อาชีพอิสระ อื่นๆ โปรดระบุ

ขาราชการ/รัฐวิสาหกิจ

สาขา/อุตสาหกรรมที่เกี่ยวของกับอาชีพของทาน โฆษณา สถาปตยกรรม แฟชั่น ศิลปะการแสดง ดนตรี ภาพยนตร โทรทัศน/วิทยุการกระจายเสียง

ทองเที่ยว/โรงแรม/สายการบิน วรรณกรรม/การพิมพ/สื่อสิ่งพิมพ พิพิธภัณฑ/หองแสดงงาน ซอฟตแวร/แอนิเมชัน/วิดีโอเกม

หัตถกรรม/งานฝมือ การเงิน/ธนาคาร ทัศนศิลป/การถายภาพ อื่นๆ โปรดระบุ

อาหาร การแพทย การออกแบบ

คาปลีก/คาสง โทรคมนาคม

ที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ จังหวัด

ซอย

ถนน รหัสไปรษณีย

หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง

อำเภอ/เขต

หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง

อำเภอ/เขต

ที่อยูในการออกใบเสร็จ เหมือนที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ ซอย จังหวัด

ถนน รหัสไปรษณีย

ตองการสมัครสมาชิกนิตยสาร Creative Thailand ระยะเวลา 1 ป จำนวน 12 เลม เริ่มตั้งแตฉบับเดือน โดยยินดีเสียคาใชจายในการจัดสงเปนจำนวนเงิน 200 บาท

วิธีการชำระเงิน เช็คสั่งจายศูนยสรางสรรคงานออกแบบ พรอมใบสมัครสมาชิก โอนเงินเขาบัญชีออมทรัพย ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ เลขที่บัญชี 101-808967-0 ธนาคารกรุงเทพ สาขาสำนักงานใหญสีลม • แฟกซใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่ 02-664-7670 • หรือสงไปรษณียมาที่ ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (Creative Thailand) 622 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอรชั้น 24 ถนนสุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 • หรือแนบไฟลใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่อีเมล creativethailand@tcdc.or.th CREATIVE THAILAND I 11 สอบถามขอมูลเพิ่มเติมไดที่ 02-664-7667 ตอ 122


Local Wisdom : ภูมิความคิด

เรื่อง: คุณากร เมืองเดช เมื่อการสร้างสรรค์บางสิ่งบางอย่างไม่ง่ายหากลงมือเพียงลำ�พัง การระดมสมอง โยนความคิดลงกองกลาง แล้วรวมพลังกัน สร้างสรรค์งาน จึงกลายเป็นกระบวนการที่ช่วยเบิกทางสู่ความ สำ�เร็จอย่างมีประสิทธิภาพ การร่วมแรงแข็งขันนอกพืน้ ทีส่ ว่ นตัว แต่เป็นบนพื้นที่ส่วนรวม จึงกลายเป็นศูนย์กลางที่เปิดกว้าง ให้ผู้คนได้เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แบ่งปันประสบการณ์และ ไอเดียดีๆ ตลอดจนใช้เป็นสถานที่ทำ�งานระดมความคิดในบริบท แบบไทยๆ

วัฒนธรรมแห่งความเอื้อเฟื้อ ณ ออฟฟิศกลางทุ่ง วิถีชีวิตที่ผูกพันแน่นแฟ้นกับเกษตรกรรมของชาวไทย เป็นสาเหตุหลักที่ ส่งผลให้คนรุ่นปู่ย่านิยมอยู่อาศัยกันเป็นครอบครัวใหญ่ มีสมาชิกครอบครัว เป็นแรงงานหลักในการเพาะปลูกและเก็บเกีย่ ว ดังนัน้ ผูค้ นในยุคก่อนจึงต่าง มีอาชีพเลี้ยงปากท้องที่ค่อนข้างเป็นอิสระ มีออฟฟิศอยู่กลางทุ่งนา และ ฤดูกาลเป็นเดดไลน์ และหากครอบครัวใดทีม่ ผี ลิตผลจำ�นวนมากแต่แรงงาน น้อยเกินกว่าจะหว่านดำ�หรือเก็บเกี่ยวไหว จึงจำ�เป็นต้องอาศัยขอแรงเพื่อน บ้านมาช่วยงานให้สำ�เร็จลุล่วง เกิดเป็นธรรมเนียมที่ชาวเหนือเรียกกันว่า

CREATIVE THAILAND I 12


facebook.com/tubtiengoldtowncafe

ขึ้นในปีพ.ศ. 2427 นอกจากหน้าที่การเป็นโรงเรียนของชุมชน วัดยังเป็น สถานที่เพื่อการพบปะทำ�กิจกรรมต่างๆ ที่ช่วยส่งเสริมความสมัครสมาน สามัคคี พัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวบ้าน เป็นที่รวมพลังแก้ไขปัญหายาม เดือดร้อน และเป็นที่พึ่งทางใจอันร่มเย็น ศาลาการเปรียญจึงกลายเป็นอีก หนึ่งสำ�นักงานของชุมชนที่ยังคงทำ�หน้าที่บริการงานราษฎร์ งานหลวง อาทิ การเป็นพื้นที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา การประชุมหมู่บ้าน การประชุม ของหน่วยงานราชการ หรือแม้แต่สถานที่เลือกตั้งผู้นำ�ชุมชน

“เอามื้อ” ชาวอีสานเรียก “ลงแขก” ส่วนชาวใต้เรียก “ซอมือ” โดยผู้คนใน ชุมชนจะร่วมแรงกันแบบไม่มคี า่ จ้าง มีเพียงข้าวปลาอาหารจากเจ้าบ้านเลีย้ ง สู่แทนนํ้าใจ ธรรมเนียมดังกล่าวจะถือปฏิบัติหมุนเวียนกันไปจากไร่นาของ ครอบครัวหนึ่งสู่อีกครอบครัวหนึ่งเสมือนการตอบแทนและแลกเปลี่ยน แรงงาน ทั้งยังครอบคลุมไปถึงการร่วมลงแรงเพื่อปลูกบ้าน หรือทำ�พิธีการ ต่างๆ อีกด้วย ศูนย์กลางการเรียนรู้ คู่ศูนย์รวมจิตใจ จากเรือกสวนไร่นามาสู่ Third Place แบบไทยๆ ที่นับได้ว่าเป็นทั้งศูนย์รวม จิตใจและศูนย์กลางเรียนรู้ภายในชุมชนอย่างแท้จริง“วัด” ที่อดีตถือเป็น สถานที่บ่มเพาะคุณธรรมจริยธรรมและเป็นสถานศึกษาสำ�คัญภายในชุมชน โดยเฉพาะชายไทยทีม่ กั บวชเรียนเพือ่ แสวงหาความรูท้ างธรรมและการศึกษา ขั้นพื้นฐาน หรือขนบธรรมเนียมการบวชเพื่อศึกษาพระธรรมก่อนแต่งงาน ออกเหย้าออกเรือน ก่อนจะมีการริเริม่ สร้างโรงเรียนหลวงสำ�หรับราษฎรทัว่ ไป

สภากาแฟ แบ่งปัน ไม่แบ่งข้าง ในอดีตการดืม่ กาแฟในสังคมไทยถือเป็นวัฒนธรรมเฉพาะของกลุม่ ชนชัน้ สูง ก่อนทีใ่ นปีพ.ศ. 2447 นายดีหมุน ชาวไทยเชือ้ สายอิสลามจะได้น�ำ กาแฟพันธุ์ โรบัสต้าเข้ามาปลูกครั้งแรกที่ตำ�บลบ้านตะโหนด อำ�เภอสะบ้าย้อย จังหวัด สงขลา และต่อมาในปีพ.ศ. 2493 นายเจรินี ชาวอิตาลี ก็ได้ทดลองเพาะพันธุ์ กาแฟพันธุอ์ ราบิกา้ ขึน้ ในไทย นับตัง้ แต่นนั้ เป็นต้นมาวัฒนธรรมการดืม่ กาแฟ จึงได้แพร่ขยายสู่ประชาชน ดังจะเห็นจากการผุดขึ้นของร้านกาแฟโบราณ ในย่านชุมชนต่างๆ โดยเฉพาะในจังหวัดทางภาคใต้ ที่สามารถพบเห็นได้ แทบทุกพื้นที่ ยิ่งในยามเช้าตรู่ ช่วงเวลาที่ผู้คนแวะเวียนมาอุดหนุนกันอย่าง หนาตา ล้อมวงจิบชา กาแฟ แกล้มเรื่องราวข่าวสารจากโทรทัศน์ วิทยุ ที่ ต่างคนต่างเก็บมาเล่าสู่กันฟัง บ้างก็นั่งถกเหตุบ้านการเมืองจากหน้า หนังสือพิมพ์หวั สี เกิดเป็นบรรยากาศแห่งการแลกเปลีย่ นทัศนะ มุมมอง และ ความคิด จนกลายเป็นกิจวัตรของผู้คนและวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เรียกกันว่า “สภากาแฟ” คอฟฟี่ คาเฟ่ จุดนัดพบของคนรุ่นใหม่ แม้สภากาแฟจะเป็นจุดตั้งต้นให้ผู้คนหันมาทำ�ความรู้จักกับเครื่องดื่ม รสขม กลมกล่อม ทว่าบรรยากาศของร้านก็ยังไม่อาจตอบโจทย์กลุ่มคน รุ่นใหม่ กระทั่งธุรกิจกาแฟแบรนด์ดังระดับโลกเข้ามาตีตลาดเมืองไทย พร้ อ มภาพลั ก ษณ์ อั น ทั น สมั ย นั บ แต่ นั้ น วั ฒ นธรรมการจิ บ กาแฟก็ ไ ด้ ขยับขยายออกสู่วงกว้างและคนรุ่นใหม่ พร้อมการมาถึงของแบรนด์ธุรกิจ กาแฟหน้ า ใหม่ ทั้ ง ไทยและเทศที่ เ ติ บ โตขึ้ น อย่ า งรวดเร็ ว ดึ ง ดู ด กลุ่ ม เจเนอเรชั่นวายให้เข้ามาลิ้มลอง และใช้บริการเสมือนหนึ่งจุดนัดพบของ คนทำ�งาน ก่อนการเกิดขึ้นของธุรกิจโคเวิร์กกิ้งสเปซ บริการเช่าพื้นที่ ทำ�งานซึ่งได้เข้ามาเติมเต็มความต้องการของบรรดาฟรีแลนซ์ และเหล่า Digital Nomad ด้ ว ยสิ่ ง อำ � นวยความสะดวกสบายที่ ค รบครั น กว่ า รวมถึงการผสานฟังก์ชั่นและบรรยากาศระหว่างออฟฟิศ บ้าน และร้าน กาแฟไว้ด้วยกันอย่างลงตัว

ที่มา: บทความ “ลงแขก-แบ่งพูด : วัฒนธรรมแห่งการช่วยเหลือแบ่งปัน” จาก isangate.com/ local/tok_pood.html / บทความ “ทำ�ไมวัดต้องเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนและโรงเรียน” จาก vcharkarn.com/vblog/115622 / sistacafe.circlecamp.com

CREATIVE THAILAND I 13


Cover Story : เรื่องจากปก

เรื่อง: มนฑิณี ยงวิกุล

CREATIVE THAILAND I 14


ผู้บริหารและฝ่ายบุคคลของออฟฟิศ ทั่วโลกน่าจะกำ�ลังปั่นป่วนด้วยภารกิจ ใหม่ ในการปรับโครงสร้างการบริหาร องค์กรให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ใหม่ ทางธุรกิจที่ผู้บริโภคเป็นใหญ่ อีกทั้ง ยั ง ต้ อ งรั บ มื อ กั บ พนั ก งานจากยุ ค มิลเลนเนียล (Millennials) ที่ทยอย เข้ามาสู่ตลาดแรงงานด้วยวิธีคิดแบบ ใหม่ ที่ แ ตกต่ า งจากคนรุ่ น ก่ อ นอย่ า ง สิ้นเชิง

New Workforce & Workplace ขณะที่ Industry 4.0 หรือการปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4 เป็นเทรนด์ใหม่ของการผลิตที่ส่งผล กระทบต่อแรงงานทัว่ โลก ด้วยการนำ�หุน่ ยนต์และ เครื่องจักรมาแทนกำ�ลังมนุษย์ การทยอยเข้ามา ของคนรุ่นเจนวายหรือมิลเลนเนียล (ผู้ที่เกิดใน ช่วง1980-1990) ที่มีอยู่ร้อยละ 50 ของกำ�ลัง แรงงานทั้งโลกขณะนี้ ก็กำ�ลังสร้างผลกระทบต่อ ระบบการทำ�งานในองค์กรไม่แพ้กัน หนึง่ ในหัวข้อการฝึกอบรมของฝ่ายบุคลากร ยอดนิยมแห่งยุคนี้ จึงหนีไม่พ้นเรื่องการเตรียม ความพร้อมในการรับมือกับพนักงานยุคมิลเลนเนียล ที่มีทัศนคติการไม่ยึดติดกับองค์กรและเวลาการ ทำ�งาน ไม่สนลำ�ดับชั้น แต่ให้ความสำ�คัญกับ ความก้าวหน้าในอาชีพ นอกจากนี้ องค์กรที่น่า สนใจคือองค์กรที่ทำ�ให้งานของพวกเขามีคุณค่า มากกว่าการทำ�กำ�ไรเพียงอย่างเดียว และมีความ เชื่ อ ว่ า เทคโนโลยี จ ะทำ � ให้ ค นตั ว เล็ ก สามารถ เปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ ได้ ความคิดเช่นนี้ทำ�ให้หนุ่มสาวจำ�นวนมาก เลือกจะเป็นผู้ประกอบการอิสระ บ้างก็ปฏิเสธ งานประจำ� บ้างก็เดินทางไปที่ต่างๆ และทำ�งาน ผ่านระบบออนไลน์ จึงทำ�ให้เกิดผู้ประกอบการ อีกกลุ่มที่มองเห็นความต้องการนี้และจัดสรร พื้นที่ทำ�งานแบบใหม่ที่ยืดหยุ่นตามใจคนทำ�งาน ในชื่อที่ว่าโคเวิร์กกิ้งสเปซ (Co-working Space) จำ�นวนมิลเลนเนียลที่เข้าสู่วัยทำ�งานที่เพิ่มขึ้นใน แต่ละปี และทัศนคติในการทำ�งานที่เปลี่ยนไป

เป็นตัวแปรสำ�คัญของพื้นที่ทำ�งานแบบใหม่นี้ จากรายงานของซี บี อ าร์ อี (CBRE) บริ ษั ท อสังหาริมทรัพย์ระดับโลก เมื่อเดือนสิงหาคม 2016 ระบุว่า โคเวิร์กกิ้งสเปซทั่วโลกมีการเติบโต อย่างรวดเร็ว จากในปี 2007 ที่มีจำ�นวนเพียง 75 แห่ง เพิ่มขึ้นเป็น 7,800 แห่งในปี 2015 และมีการ คาดการณ์วา่ จะเพิม่ ขึน้ เป็น 10,000 แห่งในปี 2016 อย่างไรก็ดี โคเวิรก์ กิง้ สเปซทีเ่ พิม่ ขึน้ สะท้อน ถึ ง ความมุ่ ง มั่ น และทั ศ นคติ ใ นทางบวกของ หนุ่มสาวยุคนี้ แม้ว่ารายงานการสำ�รวจ Global Coworking Survey 2015-2016i จะพบว่าร้อยละ 36 ของโคเวิรก์ กิง้ สเปซในพืน้ ทีท่ วั่ โลกมีก�ำ ไร ส่วน ที่เหลือร้อยละ 41 เสมอตัว และร้อยละ 23 ไม่มี กำ�ไร รีเบคกา เบรน แพน (Rebecca Brain Pan) จาก Covo Coworking กล่าวว่า เจ้าของพื้นที่ ส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นเจ้าของพืน้ ที่ จึงค่อนข้างเสีย่ ง ในการพึ่งพารายได้จากสมาชิกเพียงอย่างเดียว ผูป้ ระกอบการจึงพยายามแก้ปญั หาด้วยการซือ้ ที่ ของตัวเองหรือการเติมรายได้จากแหล่งอื่นๆ เข้ามา ด้วยการเปลี่ยนให้สถานที่ทำ�งานเป็น สถานที่ให้บริการที่ครบวงจรมากขึ้น เช่น ร้าน กาแฟ ร้านซักรีด สปา สถานที่ออกกำ�ลัง และ ร้านค้าปลีกอื่นๆ เพื่อขายพื้นที่ได้ตลอดเวลา เนื่ อ งจากช่ ว งเวลาใช้ ง านสู ง สุ ด ของสถานที่ ประเภทนี้จะต่างกัน เช่น พื้นที่ทำ�งานจะถูกใช้ มากที่สุดในช่วง 10 โมงเช้าถึง 4 โมงเย็น แต่ นอกเหนือจากนั้นก็เป็นร้านกาแฟ และร้านอื่นๆ ทีจ่ ะได้รบั ความนิยมมากกว่า ดังนัน้ สมาชิกก็จะ

สามารถทัง้ ทำ�งาน ใช้ชวี ติ และพบปะผูค้ นได้โดย ไม่ต้องย้ายที่ นอกจากการให้บริการด้านความเป็นอยู่ การสร้ า งความน่ า สนใจยั ง อยู่ ใ นรู ป ของการ พัฒนาเครื่องมือสำ�หรับการทำ�งาน อย่างเช่น Grind หนึ่ ง ในพื้ น ที่ โ คเวิ ร์ ก กิ้ ง สเปซที่ ดี ที่ สุ ด แห่งหนึ่งที่มีสาขาในนิวยอร์กและชิคาโก ซึ่ง จั บ มื อ เป็ น พั น ธมิ ต รกั บ Verizon บริ ษั ท เทคโนโลยีการสื่อสารที่ให้บริการพื้นที่ทำ�งาน สำ�หรับสตาร์ทอัพและผู้ประกอบการที่มองหา ช่องทางติดต่อเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ และดิ จิ ทั ล แพลตฟอร์ ม สำ � หรั บ ทำ � งานทั้ ง ไฮสปีดบรอดแบนด์และเทคโนโลยีแพลตฟอร์ม สำ�หรับการพัฒนาอื่นๆ แม้ว่ารูปแบบสถานที่ทำ�งานใหม่จะผุดขึ้น มากมาย แต่ไม่ได้สง่ ผลกระทบต่อผูป้ ระกอบการ ให้เช่าออฟฟิศแบบเดิมมากนัก โดยเฉพาะอาคาร ที่ตั้งอยูในพื้นที่ใจกลางเมือง เพราะยังมีความ ต้ อ งการใช้ พื้ น ที่ อ ยู่ เพี ย งแต่ เ ปลี่ ย นวิ ธี ก าร ออกแบบพื้นที่ใหม่ ซึ่งขึ้นอยู่กับเจ้าของว่าจะให้ เช่าหรือจะทำ�โคเวิร์กกิ้งสเปซเอง ซึ่งต้องปรับวิธี การบริหารจัดการใหม่เช่นกัน “การจัดการพื้นที่โคเวิร์กกิ้งสเปซ ไม่ใช่การ ให้เช่าออฟฟิศแบบตรงไปตรงมา หรือการจัด พื้นที่สำ�หรับทำ�งานเท่านั้น แต่ปัจจัยความสำ�เร็จ คือ การสร้างประสบการณ์ สร้างคอมมูนิตี้ การ อำ�นวยความสะดวกให้ธุรกิจและสร้างโอกาสใน การเรียนรู้” เฮนรี่ ชิน (Henry Chin) หัวหน้า นักวิจัยของซีบีอาร์อี เอเชียแปซิฟิกกล่าว

ผลกําไรของธุรกิจโคเวิร์กกิ้งสเปซ เอเซีย

46%

ทั่วโลก

42%

36% มีกําไร

41% เสมอตัว

ไม่มีกําไร

ที่มา: รายงาน The Global Coworking Survey 2015-2016

i รายงาน The Global Coworking Survey 2015-2016 CREATIVE THAILAND I 15

12%

23%


ออฟฟิศสุดคูล All-in-One Place จากทัศนคติที่ว่า งานเป็นส่วนหนึง่ ของชีวติ (Work Life Blend) เป็นโอกาสของ Roam สตาร์ทอัพเจ้าของเครือข่ายโคลิฟวิ่งสเปซ (Co-living Space) ที่เปิดให้บริการกับ กลุ่มคนที่เลือกจะไม่ทำ�งานประจำ� และ เลือกที่จะเป็นอิสระจากการอยู่ที่ใดที่หนึ่ง (Location-Independent) ได้มาเช่าพืน้ ที่ อยู่อาศัยและทำ�งานไปด้วย บรูโน เฮด (Bruno Haid) ผู้ก่อตั้ง Roam กล่าวว่า “เราไม่ได้ออกแบบสถาน ที่สำ�หรับพักร้อน แต่เป็นทางเลือกใหม่ สำ�หรับคนที่สามารถทำ�งานจากส่วนใด ส่วนหนึ่งของโลกได้ ขณะเดียวกันการอยู่ ร่วมกันก็ท�ำ ให้คนมาอยูใ่ หม่ท�ำ ความคุน้ เคย กับชุมชน คน และเมืองได้ง่ายกว่าการ เช่าอพาร์ตเมนต์อยู่คนเดียว เป้าหมายของโคลิฟวิ่งสเปซไม่ได้ เจาะจงเฉพาะพวกฟรีแลนซ์หรือคนโสด แต่เป็นยังการตอบโจทย์ครอบครัว อย่าง เช่น พ่อแม่ที่ลูกโตระดับเข้ามหาวิทยาลัย แล้ว จึงไม่ตอ้ งดูแลบ้าน และใช้เวลาไปกับ การเดินทางท่องเที่ยวและทำ�งานไปด้วย ซึ่งเฮดคาดว่า มีคนกลุ่มนี้อยู่มากถึง 1.2 ล้านคน ปัจจุบัน เครือข่ายของเฮดมีอยู่ 3 แห่ง ในเมืองที่มีอากาศดีและสามารถเข้า ถึงศูนย์กลางเศรษฐกิจได้ เช่น เกาะบาหลี อินโดนีเซีย ที่มีความสะดวกในการติดต่อ ลูกค้าในเอเชียแปซิฟกิ และอีกสองแห่งอยู่ ที่ไมอามี สหรัฐอเมริกา และมาดริดของ สเปน ซึ่งในการระดมทุนรอบใหม่ที่ได้เงิน มาถึง 119 ล้านบาท (3.4 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ) จะถูกนำ�มาใช้ในการขยายสาขา ไปยังลอนดอนสหราชอาณาจักร และ บัวโนส ไอเรส ของอาร์เจนตินา

โคเวิร์กกิ้งสเปซที่พรั่งพร้อม เทคโนโลยีที่รองรับ การทำ�งานแบบที่ใดก็ได้ และทัศนคติแบบไม่ ยึดติด ทำ�ให้องค์กรประสบปัญหาในการเฟ้นหา และรักษาพนักงานไว้ โดยจากผลการสำ�รวจ Global Human Capital Trends ของดีลอยต์ ยูนิเวอซิตี้ (Deloitte University) พบว่า ผู้บริหาร 9 ใน 10 คน เห็นว่าการรักษาคนไว้หรือสร้าง ความผูกพันกับองค์กร (Engagement) เป็นเรือ่ ง สำ�คัญที่สุด และเป็นสิ่งที่ต้องทำ�เป็นลำ�ดับแรก คือการเป็นออฟฟิศที่น่าทำ�งานที่สุดทั้งในแง่ของ กายภาพและวัฒนธรรมองค์กร Alphabet หรือ Google ในอดีตสร้าง กระแสออฟฟิศที่น่าปรารถนาในโลกออนไลน์ เมื่อภาพสำ�นักงานที่เปี่ยมสีสันและสิ่งอำ�นวย ความสะดวกในการทำ�งาน พร้อมช่วยกระตุ้น ความคิดสร้างสรรค์อย่างครบครันถูกเผยแพร่ ออกสู่สาธารณะ พร้อมบทวิเคราะห์เกี่ยวกับ วัฒนธรรมองค์กรที่ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ซึ่งเน้น การทำ�งานแบบเครือข่ายข้ามสาย (Network) ไม่ใช่ล�ำ ดับชัน้ (Hierarchy) พนักงานมีหน้าทีแ่ ละ เวลาการทำ�งานที่ยืดหยุ่นตามเนื้องาน รวมถึงได้ รับผลตอบแทนอืน่ ๆ นอกเหนือจากเงินเดือน อาทิ บริการซักผ้า ล้างรถ โรงยิม และสระว่ายนํา้

fastcodesign.com

ที่มา: บทความ “Instead of Renting an Apartment, Sign a Lease That Lets You Live Around The World” จาก fastcoexist.com / บทความ “Miami” จาก roam.co

ติดตามมาด้วยออฟฟิศใหม่ของ Facebook เมนโล ปาร์ก แคมปัส (Menlo Park Campus) ออกแบบโดยแฟรงก์ เกห์รี (Frank Gehry) ที่มี เป้าหมายในการสร้างพื้นที่ให้พนักงานจำ�นวน พันคนทำ�งานด้วยกันในชั้นเดียวกัน ซึ่งสะท้อน วัฒนธรรมการทำ�งานทีเ่ น้นการทำ�งานแบบร่วมกัน และล่าสุด Instagram ได้เปิดออฟฟิศใหม่เมื่อ กลางปี 2016 โดยมีห้องครัวขนาดเล็กอยู่ทุกชั้น เพื่อให้พนักงานได้พูดคุยกันแบบสบายๆ สำ�นักงานใหญ่ของ Alphabet และ Facebook ถูกใช้เป็นแนวคิดอ้างอิงในการปรับและตกแต่ง พื้นที่ออฟฟิศในหลายองค์กร แต่รายงานของ ดีลอยต์กเ็ ตือนว่า การจัดวางและตกแต่งออฟฟิศ ทีด่ นู า่ ตืน่ เต้นเป็นเพียงส่วนหนึง่ เพราะงานสำ�คัญ ที่ต้องทำ�ยังคงเป็นเรื่องการจัดวัฒนธรรมองค์กร ที่จะเป็นตัวกำ�หนดระบบการทำ�งานที่เอื้อให้เกิด การทำ�งานเป็นทีม มีการใช้ทักษะอย่างเต็มที่ และการกระตุ้นให้พนักงานมีจุดมุ่งหมายและมี ส่วนร่วมในการทำ�งานที่มีคุณค่าต่อสังคม แนวทางในการพัฒนาองค์กรที่หลีกเลี่ยง ไม่ได้ในปัจจุบัน คือการนำ�เทคโนโลยีเข้ามาเป็น ส่วนหนึง่ ของกระบวนการทำ�งาน เพราะนอกจาก ชาวมิลเลนเนียลจะสะดวกใจกับการติดต่อสือ่ สาร ผ่านเครื่องมือดิจิทัลมากกว่าการเผชิญหน้าแล้ว แต่เทคโนโลยียงั ช่วยให้งานมีประสิทธิภาพมากขึน้

CREATIVE THAILAND I 16


businessinsider.com hypebeast.com archdaily.com CREATIVE THAILAND I 17

อย่างเช่น บริษัทกฎหมาย Baker Hostetler และ บริษทั Latham & Watkins ทีน่ �ำ ระบบรอส (ROSS) เป็นระบบทนายปัญญาประดิษฐ์ (Artificially Intelligent) มาช่วยลดงาน โดยทนายของทัง้ สอง แห่งสามารถถามรอส ในการค้นหาเชิงอรรถ ข้อมูล และการเปรียบเทียบข้อมูลจากการสแกน ตัวบทกฎหมายทีเ่ กีย่ วข้อง ซึง่ จะช่วยให้ทมี ทนาย ค้นหาเอกสารได้เร็วขึน้ และมีเวลามาสนใจการให้ คำ�ปรึกษากับลูกค้ามากขึ้น รอส เป็นเหมือนพนักงานอีกคนของออฟฟิศ ที่พัฒนาขึ้นโดยเทคโนยีวัตสัน (Watson) ของ IBM ที่ ใ ช้ ก ระบวนการทำ � งานด้ า นภาษาและ การเรียนรู้ของเครื่องจักรกลในการค้นหาข้อมูล ที่มีจำ�นวนมหาศาลและไม่มีโครงเรื่อง ซึ่งจาก รายงานของบริษัทแมคคินซี่ในปี 2015 พบว่า การใช้เทคโนโลยีเช่นนี้จะช่วยพัฒนาผลผลิต ของแรงงานได้ถึงร้อยละ 40-50 ในปี 2025 อีกหนึ่งแนวทางที่กำ�ลังเติบโตอย่างรวดเร็ว คือ การสร้างเครื่องมือในการสื่อสารกับพนักงาน เกือบจะเรียลไทม์ จึงช่วยสร้างบรรยากาศของ การรับฟัง และทำ�ให้ผู้บริหารได้อินไซด์ว่าอะไรดี หรือไม่ดสี �ำ หรับองค์กร ซึง่ ในบางองค์กรนอกจาก จะมีตำ�แหน่งเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเรียนรู้ (Chief Learning Officer) เพื่อส่งเสริมการเรียน และพัฒนาคนในองค์กร ก็ยงั มีต�ำ แหน่งเจ้าหน้าที่ บริหารด้านการรับฟังพนักงาน (Chief Employee Listening Officer) ซึง่ สะท้อนภาพของงานใหม่ของ ฝ่ า ยทรั พ ยากรบุ ค คลที่ ทั้ ง ต้ อ งรั บ ฟั ง และนำ � “วิสยั ทัศน์” และ “คุณค่า” ขององค์กรส่งต่อไปยัง พนักงานที่ในปัจจุบันมีความหลากหลายมากขึ้น ในช่วงแห่งการเปลี่ยนผ่าน ที่ทำ�ให้มีคนจากยุค เบบีบ้ มู เมอร์ เจเนอเรชัน่ เอ็กซ์และวายมาอยู่รว่ มกัน อีกทัง้ มีการพัฒนารูปแบบการทำ�งานทัง้ พนักงาน ประจำ� พนักงานพาร์ทไทม์ พนักงานที่จ้างโดย เอเจนซี่ หรือแม้กระทั่งพนักงานที่ทำ�งานที่บ้าน


บริหารคนหลากรุ่น

asia.nikkei.com

ในช่ ว งการเปลี่ ย นผ่ า นเข้ า สู่ ยุ ค มิ ล เลนเนี ย ม อย่างสมบูรณ์นั้น องค์กรส่วนใหญ่ต่างต้องเผชิญ กั บ แรงกดดั น จากความแตกต่ า งแบบสุ ด ขั้ ว ระหว่ า งชาวเบบี้ บู ม เมอร์ ห รื อ เจนเอ็ ก ซ์ ม าก ประสบการณ์ที่ทุ่มเทให้องค์กร กับและพนักงาน ใหม่ที่เปี่ยมความคาดหวังและต้องการความ ยืดหยุ่นในการทำ�งานสูง แต่แม้ว่ากลุ่มมิลเลนเนียลจะดูมองหาเงิน เดือนที่สูง เวลาการทำ�งานที่ยืดหยุ่น และความ ก้าวหน้าทีอ่ าจจะดูขดั หูขดั ตาสำ�หรับคนทีม่ าจาก ยุคแห่งการไต่เต้า แต่จากรายงานของบริษทั วิจยั ชั้นนำ� PWC ที่ทำ�การสำ�รวจแบบออนไลน์กับ ผูจ้ บการศึกษาจำ�นวน 4,364 คน จาก 75 ประเทศ ในปี 2011 พบว่า ร้อยละ 76 ตอบว่า พวกเขา สนุกกับการทำ�งานกับผูบ้ ริหารอาวุโส และร้อยละ 74 รู้สึกสบายที่จะทำ�งานกับคนจากยุคใดก็ได้ แต่เมื่อถามถึงอุปสรรคร้อยละ 38 กลับเห็นว่า ผู้อาวุโสนั้นเข้าถึงยาก การทำ�ให้ออฟฟิศมีบรรยากาศการทำ�งาน ที่ ดี นั้ น นอกจากผู้ บ ริ ห ารจะต้ อ งแข็ ง แกร่ ง เข้าอกเข้าใจความต้องการของคนหลากรุ่นแล้ว ฝ่ายบุคคลก็ต้องเป็นลูกมือที่ดีในการทำ�ให้เกิด การประเมินผลงานและผลตอบแทนทีแ่ ตกต่างกัน นอกจากนี้ ยังต้องทำ�หน้าที่เสมือนกาวใจให้ เกิดความเข้าใจระหว่างคนสองรุ่น ซึ่งโปรแกรม ที่องค์กรนิยมนำ�มาใช้ก็คือ การจับคู่ผู้บริหาร ระดับสูงและพนักงานรุ่นเด็กภายใต้ชื่อ “รีเวิร์ส เมนเทอร์ริง” (Reverse Mentoring) จากเดิมที่ ระบบเมนเทอร์ริงนั้นเป็นการให้ผู้อาวุโสสอนงาน คนที่เด็กกว่า แต่โปรแกรมนี้คือความพยายาม ใหม่ทจี่ ะสร้างแรงจูงใจให้ผบู้ ริหารได้เรียนรูท้ กั ษะ ของโลกไอที แ ละการใช้ โ ซเชี ย ลมี เ ดี ย ของคน รุ่นใหม่ซึ่งเป็นทักษะที่ทวีความสำ�คัญมากขึ้น เรื่อยๆ และหลายองค์กรที่นำ�วิธีนี้มาใช้พบว่า อั ต ราการลาออกของพนั ก งานรุ่ น เยาว์ ล ดลง เพราะพวกเขาได้เรียนรูจ้ ากประสบการณ์ตรงและ สัมผัสโลกของการบริหารผ่านผู้อาวุโส และยังได้ รับการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับบริษัท ซึ่งจะช่วย ให้พวกเขาได้นำ�มาใช้ในฐานะผู้บริหารรุ่นถัดไป ซึ่งจะมาแทนคนรุ่นก่อนหน้า

CREATIVE THAILAND I 18


ispot.tv

การทำ�ให้ออฟฟิศ มีบรรยากาศการ ทำ � ง า น ที่ ดี นั้ น นอกจากผู้บริหาร จะต้ อ งแข็ ง แกร่ ง เข้าอกเข้าใจความ ต้ อ งการของคน ห ล า ก รุ่ น แ ล้ ว ฝ่ า ยบุ ค คลก็ ต้ อ ง เป็ น ลู ก มื อ ที่ ดี ใ น การทำ�ให้เกิดการ ประเมิ น ผลงาน และ ผลตอบแทน ที่แตกต่างกัน

คิดใหม่ ทำ�ใหม่กับ HR ในการปรั บ เปลี่ ย นวั ฒ นธรรมองค์ ก รและการ บริหารจัดการออฟฟิศที่ดึงดูดผู้มีความสามารถ แห่งยุคมิลเลนเนียล ทำ�ให้บทบาทหน้าทีข่ องฝ่าย บุ คลากรไม่ ส ามารถที่ จ ะโฟกั ส แค่ ก ารบริ หาร ระบบการทำ�งานและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ แบบแยกส่วนได้เหมือนเดิม Airbnb และ Deckers Brands บริษัท ผู้ผลิตรองเท้าจากออสเตรเลีย ได้เพิ่มตำ�แหน่ง “Chief Culture Officer” และ “Chief Employee Experience Officer” เพื่อสะท้อนงานใหม่ของ ฝ่า ยบริ ห ารงานบุ ค คล ที่จ ะต้อ งมี ก ารคิ ด ค้น นวัตกรรมใหม่สำ�หรับการบริหารงานในออฟฟิศ อย่ า งเช่ น การบริ ห ารงานผ่ า นแอพพลิ เ คชั่ น ในโทรศัพท์มือถือ ซึ่งในปัจจุบันมีองค์กรไม่ถึง ร้อยละ 20 ที่บริหารงานบุคคลและเพิ่มผลผลิต ของพนักงานจากการใช้สมาร์ทโฟน กระบวนการคิ ด เชิ ง ออกแบบ (Design Thinking) จึงเป็นเครื่องมือสำ�คัญของฝ่ายบุคคล ไม่แพ้ฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ อย่างเช่นบริษัท การสื่ อ สารออสเตรเลี ย Telstra ที่พั ฒ นา แอพพลิเคชั่นในสมาร์ทโฟนสำ�หรับให้คำ�แนะนำ� พนักงานใหม่ในการปรับตัวและใช้เป็นระบบ การเข้างานโดยสังเกตพฤติกรรมของพนักงาน

CREATIVE THAILAND I 19

ที่เข้าทำ�งานใหม่ในปีแรกว่าพวกเขาจะต้องเจอ กับปัญหาและเรียนรูอ้ ะไรบ้าง ก่อนนำ�มาพัฒนา เป็นแอพพลิเคชั่นที่ ช่ ว ยสร้ า งประสบการณ์ ที่ ดี และยังช่วยลดอัตราการเปลี่ยนงานลงได้อย่าง ไม่น่าเชื่อ องค์ก รที่ไม่หยุ ด นิ่ง และเห็ น “คน” เป็น ทรัพยากรลํ้าค่า ไม่ว่ายุคสมัยจะเปลี่ยนจาก เบบี้บูมเมอร์ เจนเอ็กซ์ จนมาสู่มิลเลนเนียล วั ฒ นธรรมองค์ ก รก็ ต้ อ งมี ก ารปรั บ เปลี่ ย นให้ เหมาะกับแต่ละยุคสมัย และนัน่ ทำ�ให้บทบาทของ ฝ่ายบุคคลแทบจะต้องจับมือกับผู้บริหารอย่าง เหนียวแน่น ในการคิดใหม่และทำ�ใหม่เพื่อให้ องค์กรตอบโจทย์คนยุคต่างๆ ที่เข้ามา

ที่มา: บทความ “Enterprise Assistants Will Redefine Work Culture” จาก psfk.com / บทความ “Global Human Capital Trend 2016-The New Organization: Different by Design โดย Deloitte University Press จาก 2.deloitte.com / บทความ “How the Millennial Generation Will Change the Workplace” โดย psychologytoday.com / บทความ “Millennials at Work: Reshaping the Workplace” จาก pwc.com / บทความ “The Future of Coworking” จาก huffingtonpost.com / บทความ “The Rise of Co-Working Space in Asia Pacific: Boon or Bane?” จาก cbre.com.hk / บทความ “2016 Coworking Forecast” จาก deskmag.com


Insight : อินไซต์

เรื่อง: ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ

เมื่อคนยุคใหม่ส่วนใหญ่ให้ค่ากับเวลาและอิสระในการใช้ชีวิตมากกว่า จำ � นวนเงิ น ในบั ญ ชี ห รื อ ความมั่ น คงในอาชี พ การงาน การทำ � งาน รูปแบบใหม่ที่ไม่จำ�เป็นต้องเข้าออฟฟิศ จึงกลายเป็นทางเลือกที่คน ทำ�งานจำ�นวนมากกำ�ลังให้ความสนใจ “คนทำ�งานอิสระ” เหล่านี้เป็น ใครกันบ้าง และอะไรคือปัจจัยที่ทำ�ให้พวกเขาเลือกเดินทางนี้ มาทำ� ความรู้จักพวกเขาให้มากขึ้น จากการสำ�รวจสถิติแรงงานของหนึ่ง ในประเทศผู้ นำ � ที่ มี บ ทบาททางเศรษฐกิ จ อย่ า งสหรั ฐ อเมริ ก า เพราะไม่แน่ว่าในอนาคต คุณก็อาจเป็นหนึ่งในพวกเขา

CREATIVE THAILAND I 20

ปี 2015 สหรัฐฯ มีคนทำ�งาน อิสระ มากกว่า 53 ล้านคน คิดเป็น 34 % ของแรงงาน ทัง้ หมด มีจำ�นวนฟรีแลนซ์ หน้าใหม่เพิ่มขึ้นจากปีกอ่ น หน้า 700,000 คน


ปี 2020 คาดการณ์ว่าจะ มีคนทำ�งานอิสระ ถึง 60 ล้านคน หรือมากกว่า 40% ของแรงงานทั้งหมด แปลว่า คนทำ�งานอิ ส ระจะกลาย เป็นแรงงานกลุม่ ใหญ่ที่สดุ ของประเทศ

DIGITAL NOMAD มาจากคำ�ว่า nomad ซึ่งหมายถึงวิถีชีวิตแบบ ชนเผ่าเร่ร่อนสมัยโบราณ คือคนที่ดำ�เนินชีวิตประจำ�วันแบบไม่ติดอยู่ กับที่ อาศัยเพียงเทคโนโลยีการสื่อสารและ สัญญาณอินเทอร์เน็ตเป็นเครือ่ งมือหลักในการ ทำ�งาน ก้าวข้ามข้อจำ�กัดเรื่องสถานที่ทำ�งาน แบบเดิม คนเหล่านี้จึงทำ�งานได้เกือบทุกที่ ตั้งแต่ที่บ้าน ร้านกาแฟ อินเทอร์เน็ตคาเฟ่ ริมทะเล ต่างจังหวัด หรือแม้กระทั่งออก เดินทางท่องเที่ยวและตั้งถิ่นฐานชั่วคราวใน ต่างแดนในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ตั้งแต่หลาย เดือนถึงหลายปี Digital Nomad มีชอื่ เรียกอืน่ ๆ เช่น Location Independent, Remote Worker

MILLENNIALS 43 % ของฟรีแลนซ์เป็นประชากรรุน่ มิลเลนเนียล (Millennials)1 คนรุ่นนี้เป็นแรงงานส่วนใหญ่ ครองสั ด ส่ ว นถึ ง หนึ่ ง ในสามของแรงงาน ชาวอเมริกันทั้งหมด ลั ก ษณะของคนยุค มิ ล เลนเนี ย ล ให้ค วาม สำ�คัญกับการจัดสมดุลระหว่างชีวิต-การงาน (Work-Life Balance) มากกว่าเงินตราและ สถานภาพทางสั ง คม แต่พวกเขาก็ยังคงมี ความทะยานอยากและเชื่อมั่นในศักยภาพ ของตนเอง สวัสดิการจากการทำ�งานที่กลุ่มมิลเลนเนียล ต้องการมากที่สุด คือ การอบรมและพัฒนา ทักษะ (20%) ความยืดหยุ่นในการทำ�งาน (19%) 1 มิลเลนเนียล คือประชากรทีเ่ กิดในช่วงปี 1980-2000 รูจ้ กั กันในชือ่ เรียกอืน่ ๆ เช่น Generation Y, Generation Me

ตัวอย่างอาชีพอิสระ

#@%***&++ _>>##@@@_

นักพัฒนาเว็บไซต์

SUPERTEMP ทุกวันนี้ มีแรงงานระดับหัวกะทิหนั มาเลือกทำ�งาน รับจ้างแบบอิสระมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น อาชีพ ทนายความ ประธานบริหารด้านการตลาด (CMO) หรือที่ปรึกษาธุรกิจ Harvard Business Review จึงเรียกปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ว่า “The Rise of นักออกแบบเว็บไซต์ ที่ปรึกษาธุรกิจ (ด้านการเงิน ไอที การตลาด พัฒนาบุคคล ฯลฯ) the Supertemp” Hello World

นักออกแบบกราฟิก

นักเขียน บล็อกเกอร์ ก๊อปปี้ไรเตอร์ นักแปล

ผู้ดูแลสื่อโซเชียลมีเดีย How are you?

50% 1+2

ฝ่ายบริการลูกค้า

นักบัญชี

ครูสอนภาษาทางไกล

SALE

ช่างภาพ

ผู้ช่วยเสมือน2

มากกว่า 2 ใน 3 หรือ 67 % ของผู้ตอบแบบ สอบถามจากการสำ�รวจของ Contently ตอบว่า วางแผนจะทำ � งานอิ ส ระต่ อ ไปอี ก อย่ า งน้ อ ย 10 ปีข้างหน้า

เจ้าของร้านค้าออนไลน์

เมื่อแรงงานของโลกเริ่มหันมาทำ�งานอิสระกัน มากขึ้นเรื่อยๆ แน่นอนว่าย่อมก่อให้เกิดการ แข่งขันในตลาดคนทำ�งานที่คึกคัก องค์กรและ บริษทั มีตวั เลือกในการตัดสินใจทีห่ ลากหลายและ มีคณุ ภาพมากขึน้ อย่างไรก็ตาม ผูจ้ า้ งเองต้องไม่ ลืมว่า คนทำ�งานอิสระเหล่านี้ไม่ใช่แค่ “แรงงาน ชัว่ คราว” แต่พวกเขาคือแรงงานทีม่ ปี ระสบการณ์ และความเป็นมืออาชีพเช่นเดียวกับพนักงาน ประจำ � เพี ย งแต่ ว่ า คนกลุ่ น นี้ ต้ อ งการความ ยืดหยุ่นในการทำ�งานมากกว่าเท่านั้น ขณะที่ แม้แต่พนักงานประจำ�ยุคใหม่เอง ก็มองหาความ ยืดหยุ่นและให้ค่ากับการรักษาสมดุลระหว่าง ชีวิต-การทำ�งานไม่ต่างกัน

2 ผู้ช่วยเสมือนหรือผู้ช่วยทางไกล (Virtual Assistant) ทำ�หน้าที่เหมือนเลขาส่วนตัวซึ่งดูแลงานด้านธุรการและการประสานงาน ต่างๆ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ช่วยลดภาระงานของผู้ประกอบการโดยที่ไม่จำ�เป็นต้องจ้างพนักงานประจำ� ทั้งยังสามารถ คัดเลือกผู้ช่วยที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับขอบเขตการทำ�งานได้ตามต้องการ ที่มา: บทความ “Here’s Why the Freelancer Economy is on the Rise” (2015) จาก fastcompany.com / บทความ “The Freelancer Generation: Why Startups and Enterprises Need to Pay Attention” (2015) จาก techcrunch.com / บทความ “The Top 10 Freelance Trends of 2016” (2015) จาก blog.cloudpeeps.com / วิกิพีเดีย


Creative Startup : เริ่มต้นคิด

เรื่องและภาพ: HUBBA Thailand

กระแสความเปลีย่ นแปลงด้านเทคโนโลยีทเี่ กิดขึน้ ก่อให้เกิดธุรกิจใหม่มากมาย ทัง้ ยังส่งผลต่อวิธกี ารทำ�งานจากรูปแบบเดิมๆ ไปเป็นรูปแบบใหม่ที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิง ปัจจุบันเทคโนโลยีใหม่ๆ การวิเคราะห์ข้อมูล ตลอดจนสังคมออนไลน์เข้ามามี บทบาทและส่งผลกระทบต่อรูปแบบการสื่อสารและการทำ�งานของมนุษย์เป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเรื่องสถานที่ทำ�งาน จำ�นวน ชั่วโมงการทำ�งาน แม้กระทั่งอาชีพใหม่ๆ ที่เราไม่เคยคาดคิดมาก่อนว่าจะมี ก็เริ่มมีมาให้เห็นบ้างแล้ว เค้าลางการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการทำ�งานในอนาคตเริ่มมาได้สักระยะ และยังคงดำ�เนินต่อไปเรือ่ ยๆ อย่างไม่หยุดยัง้ การเข้ามาของเทคโนโลยีท�ำ ให้ เราสามารถทำ�อะไรหลายๆ อย่างได้อย่างสะดวกสบายและรวดเร็ว โลกที่ กว้างใหญ่กลับเล็กลง การเรียนรูแ้ ละพัฒนาตัวเองเป็นไปได้งา่ ยขึน้ ด้วยพลัง ของอินเทอร์เน็ต และจากจุดนี้เอง รูปแบบการทำ�งานแบบโคเวิร์กกิ้งสเปซ ก็ได้เริ่มต้นขึ้นและแผ่ขยายเป็นวงกว้างตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ธุรกิจโคเวิร์กกิ้งสเปซกำ�ลังเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่อะไรคือกลยุทธ์ สำ�คัญในการบริหารโคเวิร์กกิ้งสเปซไม่ให้เป็นเพียงกระแส แต่สามารถ ดำ�เนินต่อไปได้อย่างยัง่ ยืนและมัน่ คงในโลกทีเ่ ปลีย่ นแปลงไปอย่างรวดเร็วได้ งาน CUAsia 2016 ที่จัดขึ้น ณ บาหลี อินโดนีเซีย เมื่อช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2016 ที่ผ่านมา มีคำ�ตอบของกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจนี้อย่าง Hubud ผู้ประกอบการโคเวิร์กกิ้งสเปซอันดับต้นๆ ที่เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยม ในกลุ่มคนทำ�งานรุ่นใหม่ (Future Employees) ร่วมอธิบายถึงโมเดลการ สร้างธุรกิจนี้ให้ยั่งยืน

แค่พื้นที่ อินเทอร์เน็ต และสิ่งอำ�นวยความสะดวกอาจไม่ เพียงพออีกต่อไป ธุรกิจโคเวิร์กกิ้งสเปซกำ�ลังเติบโตอย่างรวดเร็วในทั่วทุกมุมทั่วโลก ซึ่ง สอดคล้องกับการทำ�งานรูปแบบใหม่ของคนในปัจจุบนั และพร้อมทีจ่ ะรองรับ ความต้องการที่มีมากขึ้นในอนาคต อย่างไรก็ตาม มีโคเวิร์กกิ้งสเปซ จำ�นวนไม่น้อยที่ไม่สามารถยืดหยัดในธุรกิจและเติบโตอย่างมั่นคง เจ้าของ ธุรกิจที่ดำ�เนินกิจการมาได้จนถึงทุกวันนี้ต่างตระหนักดีว่า ปัจจัยที่ทำ�ให้ โคเวิร์กกิ้งสเปซเติบโตและเป็นที่รู้จักได้นั้น พวกเขาจะต้องสร้างความ แตกต่างให้กับสเปซของตัวเอง ให้เป็นมากกว่าสถานที่ที่สวยงาม และมีสิ่ง อำ�นวยความสะดวกครบครัน การสร้างคุณค่าและการกำ�หนดเป้าหมายใน การดำ�เนินธุรกิจที่ชัดเจนนั้นเป็นสิ่งสำ�คัญมากสำ�หรับธุรกิจนี้ โคเวิรก์ กิง้ สเปซเปรียบเสมือนพืน้ ทีแ่ ห่งการเรียนรู้ ทีส่ มาชิกทุกคนจะได้ ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์เพื่อเตรียมตัวให้พร้อมที่จะก้าวไป สู่อนาคตข้างหน้าร่วมกัน โดยมีตัวเลขที่น่าสนใจจาก Hubud 1 ใน 10

CREATIVE THAILAND I 22


โคเวิร์กกิ้งสเปซที่ดีที่สุดในโลกจากอินโดนีเซีย อ้างอิงจากสถิติของนิตยสาร Forbes เกี่ยวกับเรื่องพื้นที่แห่งการเรียนรู้ว่า เมื่อปี 2015 ทาง Hubud ได้จัด กิจกรรมจำ�นวน 371 งานด้วยกัน และกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ของกิจกรรมที่ เกิดขึ้นเป็นกิจกรรมการเรียนรู้แบบช่วยเหลือกันระหว่างสมาชิก Hubud จึง เป็นตัวอย่างทีช่ ดั เจนมากในการทีส่ ามารถนำ�ตัวเองออกมาจากข้อจำ�กัดเรือ่ ง พื้นที่ และกลายเป็นแพลตฟอร์มแห่งการแบ่งปันความรู้ร่วมกันอย่างไม่ หยุดนิ่ง หากมีคำ�ถามว่า Future of Work หรือรูปแบบการทำ�งานในอนาคต จะมีลักษณะอย่างไร Hubud น่าจะเป็นคำ�ตอบที่ชัดเจน เพราะพวกเขาได้ นำ�อนาคตมาอยู่ตรงหน้าแล้ว จุดเริ่มต้นเล็กๆ ที่นำ�ไปสู่การเชื่อมต่อชุมชนระดับโลก การที่ธุรกิจโคเวิร์กกิ้งสเปซจะเติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคตได้ ไม่สามารถ ทำ�ให้ส�ำ เร็จได้ดว้ ยใครคนใดคนหนึง่ จึงเป็นทีม่ าของการรวมตัวกันของกลุม่ ผู้ประกอบการธุรกิจนี้ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หรือ CAAP (Coworking Alliance of Asia Pacific) กลุ่มคนเหล่านี้มีความปรารถนาอย่างแรงกล้าใน การขับเคลื่อนธุรกิจโคเวิร์กกิ้งสเปซ และพร้อมจะสนับสนุนให้ธุรกิจเติบโต และกลายเป็นรากฐานรวมถึงจุดเริ่มต้นสำ�คัญที่จะนำ�มาซึ่งโอกาสและช่วย ต่อยอดด้านการลงทุนธุรกิจอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกต่อไป CAAP เปิดตัวครัง้ แรกในเดือนกุมภาพันธ์​2016 ในช่วงท้ายของการจัด กิจกรรม CUAsia ในบาหลีเมื่อต้นปีที่ผ่านมา การร่วมมือกันนี้มีขึ้นเพื่อช่วย ให้ผปู้ ระกอบการโคเวิรก์ กิง้ สเปซได้เรียนรูก้ ารเป็นผูน้ �ำ ในธุรกิจรูปแบบนี้ และ เพือ่ เชือ่ มต่อพวกเขาเข้ากับผูค้ นทีม่ อี ดุ มการณ์เดียวกัน ทัง้ ผูร้ ว่ มงานยังได้รบั ความสนุกสนานและมิตรภาพดีๆ กลับไป ทั้งนี้มีการดำ�เนินกิจกรรมผ่าน ทั้งทางออนไลน์และการพบปะพูดคุยกันจริงจังในทุกๆ เดือนหลังจากนั้น เป็นต้นมา การบริหารธุรกิจโคเวิร์กกิ้งสเปซให้ประสบความสำ�เร็จอย่างยั่งยืนได้ ต้องโฟกัสให้ถูกจุด เรื่องพื้นที่และการออกแบบเป็นสิ่งที่ดีและไม่ควรละเลย แต่การสร้างคอมมูนติ เี้ พือ่ เชือ่ มต่อคนในนัน้ เข้าด้วยกันเป็นสิง่ สำ�คัญและขาด ไม่ได้ เพราะคอมมูนิตี้นี้เองที่ทำ�ให้ธุรกิจเกิดขึ้น ทั้งสามารถยืนหยัดมาได้ จนถึงปัจจุบัน และพร้อมที่จะก้าวต่อไปอย่างมั่นคงในอนาคต กลุ่มคนที่

ดำ�เนินธุรกิจโคเวิร์กกิ้งสเปซนั้นเป็นส่วนเล็กๆ ในคอมมูนิตี้ของการร่วมมือ กัน เพราะยังมีผู้คนอีกมากมายจากวงการ Collaborative Economy (เศรษฐกิจแบ่งปัน) ทีต่ นื่ ตัวกับการก้าวไปข้างหน้าของสังคม และร่วมมือกัน ค้นหาวิธีที่จะพัฒนารูปแบบการทำ�งาน พร้อมปรับตัวและเปลี่ยนแปลงไปสู่ อนาคตข้างหน้า โดยเชือ่ ว่าความก้าวหน้าเรือ่ งโคเวิรก์ กิง้ สเปซจะเป็นอนาคต ของการทำ�งานและแหล่งการเรียนรู้ที่ไม่สิ้นสุด สุดท้ายแล้วการเจริญเติบโต ของธุรกิจที่ว่าจะมีผลต่อความก้าวหน้าทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมของ ภูมิภาคอย่างแน่นอน

CUAsia 2017

งาน CUAsia (Coworking Unconference Asia) ครั้งที่ 3 ซึ่งดำ�เนินงานโดย Coworking Alliance of Asia Pacific (CAAP) กำ�ลังจะเกิดขึ้นในวันที่ 8-12 กุมภาพันธ์ 2017 ณ จังหวัดเชียงใหม่ นับว่าเป็นครั้งแรกที่จัดขึ้นใน ประเทศไทย โดยงานนี้เกิดจากการร่วมมือกันขององค์กร CAAP และ HUBBA Thailand ในธีมงาน Creative Convergence ทีเ่ ปิดโอกาสให้ทกุ คน ที่สนใจในกระแสความเคลื่อนไหวของโคเวิร์กกิ้งสเปซในหลากหลายสาขา อาชีพ มารวมตัวกัน พูดคุย เรียนรู้ แลกเปลี่ยนไอเดียเรื่องรูปแบบของการ ทำ�งานในอนาคต และร่วมค้นหาไปด้วยกันว่า โคเวิร์กกิ้งสเปซพื้นที่แห่งการ รวมตัวกันของความคิดสร้างสรรค์นนั้ เกิดขึน้ ได้จริงๆ หรือไม่​อะไรเป็นปัจจัย และกลยุทธ์สำ�คัญที่จะทำ�ให้เกิดบรรยากาศแห่งมิตรภาพและส่งผลต่อการ ทำ�งานและร่วมมือกัน ทีไ่ ม่ใช่แค่ในรูปแบบของการร่วมกันทำ�งาน แต่รวมถึง พืน้ ทีก่ ารทำ�งานรูปแบบอืน่ ๆ ด้วย ติดตามข่าวสารเพิม่ เติมเกีย่ วกับงานนีไ้ ด้ที่ www.cuasia.co CREATIVE THAILAND I 23


pexelinc.com s.com

Creative City : จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

เรื่อง: วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ

“ภายในปี 2035 จะมีคนทำ�งานอิสระทีเ่ รียกตัวเองว่า Digital Nomad หนึง่ พันล้านคน” คือการคาดคะเนของปีเตอร์ เลเวลส์ (Pieter Levels) สตาร์ทอัพ โปรแกรมเมอร์ และดีไซเนอร์ชาวดัตช์ ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ nomadlist.com ที่เปรียบเสมือน เข็มทิศการเดินทางไปทั่วโลกสำ�หรับชาว Digital Nomad ในปัจจุบัน

CREATIVE THAILAND I 24


startupxplore.com

Plug into Possibility

From Tim to Pieter เรื่องราวของปีเตอร์ท่ีตัดสินใจออกเดินทางไป ทำ�งานและท่องเทีย่ วทัว่ โลกด้วยการพึง่ พาเครือ่ งมือ อิเล็กทรอนิกส์ อินเทอร์เน็ต โคเวิรก์ กิง้ สเปซ และ คอฟฟีช่ อ็ ปนัน้ ไม่ได้ซบั ซ้อน และอาจจะคล้ายคลึง กับเรื่องราวของชาว Digital Nomad อีกหลายๆ คน โดยแรกเริม่ คือการตัดสินใจออกจากคอมฟอร์ตโซน หรือในทีน่ คี้ อื การทำ�งานในระบบ สองคือการได้รบั แรงบันดาลใจที่จะออกเดินทาง ปีเตอร์และชาว Digital Nomad อีกหลายๆ คนนั้น ส่วนใหญ่ได้ รับแรงบันดาลใจมาจากผู้มีอิทธิพลทางความคิด ของชาว Digital Nomad นัน่ คือทิม เฟอร์รสิ ส์ (Tim Ferriss) หนึ่งในผู้บุกเบิกการทำ�งานสไตล์ Digital Nomad เขาคือทีป่ รึกษาให้กบั ธุรกิจทีป่ ระสบความ สำ�เร็จมาแล้วมากมาย อย่าง Facebook, Twitter, Uber, Shopify และ Alibaba นอกจากนี้ยังเป็น นักเขียนระดับเบสต์เซลเลอร์จากหนังสือที่ชื่อว่า The 4-Hour Work Week: Escape the 9-5, Live Anywhere and Join the New Rich ที่เปรียบเสมือน ไบเบิลสำ�หรับคนรุน่ ใหม่ที่ใฝ่ฝนั จะทำ�งานรอบโลก ซึ่งทิมได้ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้ชีวิตของ ชาว Digital Nomad ไว้วา่ “ผูค้ นไม่ได้ตอ้ งการเป็น เศรษฐีเงินล้าน แต่พวกเขาต้องการมีประสบการณ์ ในสิ่งที่คิดว่าต้องเป็นคนรวยเท่านั้นถึงจะทำ�ได้ ดังนั้นคนรวยที่แท้จริงคือคนที่ได้ใช้เวลาทำ�สิ่งที่ อยากทำ� ได้เดินทางไปในที่ที่อยากไป และได้ใช้เงิน ซือ้ สิง่ ทีอ่ ยากซือ้ และผูท้ สี่ ามารถสร้างประสบการณ์ เหล่านีใ้ ห้เกิดขึน้ ได้ จะได้สมั ผัสกับความรวยแบบ ใหม่ (New Rich) ที่มอี สิ รภาพได้ โดยไม่ยดึ ติดกับ การต้องเป็นเจ้าของเงินล้านแต่อย่างใด”

ในขณะที่เว็บไซต์ vice.com ได้ให้นิยาม ของ Digital Nomad ไว้อ ย่า งน่า สนใจว่า “พวกเขาคือคนที่ไม่ยอมอยู่บ้าน แต่เลือกออก เดินทางไปดูโลกกว้าง ย้ายที่ทำ�งานไปเรื่อยๆ เหมื อ นคนเร่ ร่ อ น และด้ ว ยยุ ค สมั ย ที่ ส ถานที่ ทำ�งานไม่สำ�คัญเท่ากับสัญญาณอินเทอร์เน็ต คนกลุ่ ม นี้ จึ ง หาวิ ธี ก ารทำ � งานในรู ป แบบใหม่ โดยไม่ ย อมเสี ย สละรายได้ ที่ ค วรจะได้ รั บ ” นิยามของไลฟ์สไตล์ชาว Digital Nomad นี้ สอดรั บ กั บ กระแสของเศรษฐกิ จ แบ่ ง ปั น (Sharing Economy) ธุรกิจที่เกิดจากยุคดิจิทัล ได้เป็นอย่างดี เพราะพวกเขาสามารถเช่าที่อยู่ อาศัยในเมืองใหญ่ๆ ทั่วโลกได้ด้วย Airbnb เดิ น ทางได้ ด้ ว ย Uber หรื อ แม้ แ ต่ จ ะเช่ า ยื ม อุปกรณ์เที่ยวแบบเอาต์ดอร์ได้ด้วย ShareShed ชาว Digital Nomad จึงไม่จำ�เป็นต้องผูกมัด กับการเป็นเจ้าของสิ่งต่างๆ มากมาย เพียง พกพาแค่สิ่งจำ�เป็นไม่กี่อย่าง เช่น แล็ปท็อป และสมาร์ทโฟนที่บรรจุแอพพลิเคชั่นที่จำ�เป็น ต่อการทำ�งานของตัวเอง รวมถึงการมีระบบการ จัดการแบ็กอัพข้อมูลที่ปลอดภัย เท่านี้ก็พร้อมที่ จะออกเดิ น ทางไปท่ อ งเที่ ย วและทำ � งานได้ ทั่วโลก อย่างไรก็ตาม คุณสมบัติที่รักการเดินทาง และชอบทำ � งานเป็ น นายตั ว เองนั้ น ยั ง ไม่ ใ ช่ คุณสมบัติที่สำ�คัญที่สุดที่จะเรียกตัวเองได้ว่าเป็น ชาว Digital Nomad เพราะหัวใจสำ�คัญของคน ทำ�งานประเภทนี้ คือการเป็นบุคคลที่สามารถ เชื่อมต่อ (Plug In) ตัวเองเข้ากับเทคโนโลยี ผู้คน รอบโลก และสถานที่ที่ทำ�งาน แล้วสร้างงานได้ อย่างแท้จริง CREATIVE THAILAND I 25

เมื่อธรรมชาติการทำ�งานของชาว Digital Nomad ทีเ่ ริม่ ต้นทำ�งานด้วยตัวเองให้ได้กอ่ นการร่วมงาน กับองค์กรต่างๆ หรือทำ�งานร่วมกับ Digital Nomad คนอื่นๆ ทั่วโลกนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย การ โคจรมาเจอกันระหว่างคู่ค้าจึงไม่ใช่ปาฏิหาริย์ หรือความบังเอิญ เพราะปัจจุบันมีพื้นที่แห่ง โอกาสรูปแบบใหม่ทจี่ ะช่วยสานความสัมพันธ์ของ ผู้ร่วมงานทางธุรกิจ ซึ่งเป็นสิ่งจำ�เป็นสำ�หรับชาว Digital Nomad และคนทำ�งานอิสระในยุคนี้ Talent-Matching Platforms คื อ แพลตฟอร์มรูปแบบใหม่ที่เกิดขึ้นเพื่อช่วยสร้าง ความร่ ว มมื อ ทางธุ ร กิ จ สำ � หรั บ บริ ษั ท หรื อ ผู้ประกอบการที่ต้องการหาคนทำ�งานอิสระมา ร่วมงานในสายงานเฉพาะด้าน เช่น Contently บริ ษั ท ผลิ ต คอนเทนต์ ม าร์ เ ก็ ต ติ้ ง รายใหญ่ ใ น นิวยอร์ก มีโมเดลธุรกิจในลักษณะการทำ�หน้าที่ เป็ น ตั ว กลางช่ ว ยจั บ คู่ นั ก ผลิ ต คอนเทนต์ ซึ่ ง ส่วนใหญ่เป็นฟรีแลนซ์มากกว่า 55,000 ชีวิตที่ กระจายตัวอยู่กว่า 60 ประเทศทั่วโลก ไม่ว่าจะ เป็นนักข่าว นักเขียน นักเล่าเรือ่ ง ช่างภาพ ผูผ้ ลิต สื่อมัลติมีเดีย ดีไซเนอร์ ฯลฯ ให้ได้มาร่วมงาน เป็นผู้ผลิตคอนเทนต์ให้กับแบรนด์สินค้าต่างๆ โดย Contently ถือเป็น 1 ใน 100 บริษัทเอกชน ที่นิตยสาร Inc. จัดอันดับว่าเป็นธุรกิจที่เติบโต รวดเร็วที่สุดในปัจจุบัน และอีกหนึ่งตัวอย่างคือ HourlyNerd ออนไลน์แพลตฟอร์มที่เชื่อมต่อ ความต้องการของบริษัทต่างๆ ไม่ว่าจะเล็กหรือ ใหญ่ที่ต้องการหาที่ปรึกษาทางธุรกิจมาร่วมงาน ด้วย โดย HourlyNerd ทำ�งานร่วมกับผู้ให้คำ� ปรึกษาอิสระที่มีความเชี่ยวชาญด้านธุรกิจกว่า 25,000 คนทั่วโลก ซึ่งมีลูกค้ารายใหญ่ที่มาใช้ บริการ เช่น บริษัท GE Ventures, Microsoft, American Apparel, Staples ฯลฯ และไม่ใช่แค่มี Talent-Matching Platforms ใหม่ๆ กำ�ลังเกิดขึ้นเพื่อตอบสนองต่อการทำ�งาน ของชาว Digital Nomad ในปัจจุบันเท่านั้น แต่ โคเวิรก์ กิง้ สเปซก็ตอ้ งปรับตัวเพือ่ สร้างโอกาสทาง ธุรกิจในพืน้ ทีด่ ว้ ยเช่นกัน โคเวิรก์ กิง้ สเปซบางแห่ง มองเห็นช่องว่างทางธุรกิจนี้ และได้มอบบริการที่ ครอบคลุมการทำ�งานเพื่อชีวิตที่ง่ายขึ้นสำ�หรับ


แนวทางของคนทำ�งานอิสระ การทำ�งานในยุค ปัจจุบันและในอนาคตจึงมีลักษณะเป็นเครือข่าย โยงใยกั น ซั บ ซ้ อ น แต่ ก็ ค ล่ อ งตั ว และยื ด หยุ่ น มากขึ้นเช่นกัน

แม้ว่าชาว Digital Nomad ส่วนใหญ่จะเป็น ผู้ประกอบการและฟรีแลนซ์ แต่ด้วยระบบการ ทำ � งานออนไลน์ ใ นปั จ จุ บั น ที่ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ มากขึ้น ทำ�ให้บางองค์กรและบริษัทต่างๆ เริ่ม ปรั บ ตั ว เข้ า หาการทำ � งานบนระบบออนไลน์ อย่างเต็มตัว และยอมปล่อยให้พนักงานในสังกัด ของตัวเองเลือกทำ�งานที่ไหนก็ได้ ซึ่งระบบการ ทำ�งานแบบนี้เรียกว่า “Telecommuting” การทำ � งานในลั ก ษณะนี้ จ ะช่ ว ยลดภาระ ค่าใช้จ่ายของบริษัท ตั้งแต่ค่าเช่าสถานที่ทำ�งาน ค่าเฟอร์นิเจอร์ และค่าอุปกรณ์ออฟฟิศ และส่วน ใหญ่แล้วธุรกิจที่มีธรรมชาติเป็น Tech Startup ก็ กำ�ลังตอบรับการทำ�งานแบบ Telecommuting มากขึ้นเรื่อยๆ หนึ่งในบริษัทแรกๆ ที่ตื่นตัวและ บุกเบิกการทำ�งานในลักษณะนี้คือ Automattic

CREATIVE THAILAND I 26

pexels.com

Bye Bye Office, Hello Telecommuting

facebook.com/WeWork

กลุ่มคนทำ�งานอิสระ เช่น WeWork โคเวิร์กกิ้ง สเปซที่มีสาขาครอบคลุมทั่วสหรัฐอเมริกาและ เมืองใหญ่ๆ ทั่วโลก ซึ่งมอบบริการที่เป็นพื้นฐาน ทางธุรกิจสำ�หรับผูป้ ระกอบการ ฟรีแลนซ์ สตาร์ทอัพ จนกระทั่งธุรกิจขนาดเล็ก อย่างบริการด้านงาน บริหารงานบุคคล (Human Resources) บริการ ให้คำ�ปรึกษาการทำ�เว็บไซต์ (Web Consulting) บริการทำ�บัญชี (Accounting Help) ฯลฯ ซึง่ บริการ เหล่านี้มีให้บริการสำ�หรับลูกค้าที่มาใช้พื้นที่ใน WeWork ปัจจุบัน WeWork ที่มีบริการเสริมใน พื้นที่แบบนี้ มีมูลค่าทางการตลาดสูงถึง 1 หมื่น ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตัวอย่างการเกิดขึ้นของ Talent-Matching Platforms และโคเวิรก์ กิง้ สเปซเหล่านี้ กำ�ลังแสดง ถึงปรากฏการณ์เบือ้ งหลังการเติบโตของเศรษฐกิจ คนทำ�งานอิสระ (Freelance Economy) ที่ใน อนาคตจะกลายเป็นกลุ่มแรงงานหลักของโลก โดยเราจะพบรู ป แบบโมเดลธุ ร กิ จ และการให้ บริ ก ารในอนาคตที่ จ ะเกิ ด ขึ้ น เพื่ อ เชื่ อ มต่ อ ช่องว่างระหว่างคนทำ�งานอิสระกับองค์กรราย เล็กและใหญ่ ด้วยกระบวนการทำ�งานที่มีความ ยืดหยุน่ มากขึน้ ปัจจุบนั จึงมีคนทีม่ คี วามสามารถ มากมายเลื อ กที่ จ ะออกมาทำ � งานนอกระบบ ธุ ร กิ จ ปั จ จุ บั น จึ ง ต้ อ งเริ่ ม ปรั บ ตั ว เพื่ อ ตอบรั บ

บริษัทผลิตเว็บไซต์ผู้อยู่เบื้องหลังความสำ�เร็จ ของ WordPress และเว็บไซต์อื่นๆ อีกมากมาย โดยปัจจุบัน Automattic มีพนักงานประจำ� มากกว่า 500 คนที่เลือกเดินทางไปทำ�งานใน ประเทศต่างๆ ได้อย่างอิสระ นอกจากนี้ยังมีอีก หลายบริษทั ทีส่ ามารถสร้างธุรกิจให้ประสบความ สำ�เร็จได้โดยไม่มีสถานที่ทำ�งานถาวร อาทิ Upworthy บริษัทผลิตคอนเทนต์ออนไลน์ ที่เลือกเล่าเรื่องในประเด็นที่สังคมควรตระหนัก ปัจจุบันมีพนักงานประมาณ 80 คน ซึ่งมีทั้ง พนักงานประจำ�และฟรีแลนซ์ โดยการทำ�งาน ทุกอย่างเกิดขึ้นด้วยระบบออนไลน์ พนักงานที่ Upworthy จะได้รับการกระตุ้นให้ออกเดินทาง เพื่ อ เสาะหาเรื่ อ งราวน่ า สนใจทั่ ว โลกมาเล่ า และเมื่อพนักงานทำ�งานติดต่อกันได้ประมาณ 8 เดือน ทางบริษัทจะมีนโยบายให้มีช่วงเวลาหยุด พักจากโลกออนไลน์ โดยสนับสนุนให้พนักงานได้ ลองใช้ชีวิตแบบออฟไลน์ เพื่อสร้างสมดุลการ ทำ�งานและเพื่อเป็นการชาร์จพลังในการทำ�งาน ต่อไป ปัจจุบัน Upworthy จัดอยู่ในบริษัทอันดับ ที่ 45 ในหัวข้อ “Smartest Company” ซึ่งจัด อั น ดั บ โดยสถาบั น เทคโนโลยี แ มสซาชู เ ซตส์ (Massachusetts Institute of Technology-MIT)


When Digital Nomadism Comes, Everything Will Change จากงานวิจัยเรื่อง “Culture of Digital Nomads: Ontological, Anthropological, and Semiotic Aspects (2014)” โดยอิรินา คูเซเลวา-ซาแกน (Irina Kuzheleva-Sagan) และซเนซานา โนโซวา (Snezhana Nosova) ได้ พ ยายามอธิ บ าย วัฒนธรรมของชาว Digital Nomad ที่เกิดขึ้น ในปัจจุบัน ว่าจะส่งผลต่อสังคมมนุษย์ในอนาคต อย่ า งไรในเชิ ง มานุ ษ ยวิ ท ยา พบว่ า ข้ อ ดี ข อง วัฒนธรรมการใช้ชีวิตแบบชาว Digital Nomad คือพวกเขาจะเป็นคนที่มีอิสระเต็มเปี่ยม (Free People) เพราะสามารถเลือกทำ�สิง่ ทีต่ อ้ งการและ

pexels.com

Toptal เทคคอมพานี ที่ มี น โยบายของ องค์กรที่ว่า “ไม่มีออฟฟิศ ไม่จัดประชุมไร้สาระ ไม่ บั ง คั บ ชั่ ว โมงการทำ � งาน เพราะที่ นี่ วั ด แค่ ผลของงาน” โดยหนึ่งในผู้ก่อตั้งบริษัทบรีนเดน เบเนชอตต์ (Breanden Beneschott) เคยทำ�งาน และอาศัยอยู่ในประเทศต่างๆ มาแล้วกว่า 30 ประเทศตัง้ แต่เริม่ ก่อตัง้ บริษทั จนปัจจุบนั Toptal มีทีมงานประจำ�อยู่มากกว่า 110 คนที่ทำ�งาน ด้วยไลฟ์สไตล์แบบชาว Digital Nomad เต็มตัว ซึ่ ง พวกเขากระจายตั ว กั น ทำ � งานอยู่ ใ น 93 ประเทศทั่วโลก และยังเป็นองค์กรที่ร่วมงานกับ นักพัฒนาโปรแกรมและดีไซเนอร์อิสระทั่วโลก Buffer บริษทั ผูผ้ ลิตเครือ่ งมือทีช่ ว่ ยแชร์คอน เทนต์ในสือ่ โซเชียลมีเดียต่างๆ อย่าง facebook, Twitter, Instagram, Google+, LinkedIn และ Pinterest ไว้ในที่เดียว เพื่ออำ�นวยความสะดวก ให้ นั ก จั ด การคอนเทนต์ อ อนไลน์ แ ละเอเจนซี่ ต่างๆ ได้ใช้งาน โดยผู้ก่อตั้งบริษัทมีความเชื่อว่า ถ้าพนักงานได้ทำ�งานในที่ที่ทำ�แล้วมีความสุข พวกเขาจะทำ�งานออกมาได้ดี ปัจจุบัน Buffer มี พนักงานมากกว่า 80 คนที่ทำ�งานกระจายอยู่ทั่ว 6 ทวีป และมีผู้ใช้งาน Buffer ทั่วโลกมากกว่า 3 ล้านคน แต่โดยเฉลี่ยแล้วร้อยละ 80 ของทีมงาน Buffer สามารถตอบอีเมลลูกค้าได้ภายในเวลา 1 ชั่วโมง นั่นเป็นเพราะการมีพนักงานที่ทำ�งานอยู่ ทั่วไทม์โซนของโลกนั่นเอง

เดินทางไปในที่ที่อยากไปได้ บริการและธุรกิจที่ จะเกิดขึ้นในอนาคตก็จะตอบรับความต้องการ ของชาว Digital Nomad มากขึ้นเรื่อยๆ ทำ�ให้ การออกเดินทางไปรอบโลกไม่ใช่เรื่องเพ้อฝัน ประสบการณ์จากการลองผิดลองถูกจะทำ�ให้พวก เขากลายเป็นคนที่มีความสามารถหลายด้าน (Multifunctional) ยืดหยุ่นตามสถานการณ์ มี ความกระตือรือร้น และมีความคิดสร้างสรรค์ มากขึ้น ในทางกลับกัน พฤติกรรมของชาว Digital Nomad ที่มักเติ ม เต็ ม ความพอใจของตัวเอง เฉพาะในปัจจุบนั ขณะ (Here and Now) ท่ามกลาง ข้ อ มู ล มหาศาลที่ ผ ลิ ต มาจากโลกดิ จิ ทั ล นั้ น พวกเขาจะไม่ มี เ วลาเพี ย งพอที่ จ ะย่ อ ยข้ อ มู ล เหล่านัน้ ให้กลายเป็นองค์ความรูใ้ ดๆ ได้เลย และ การทำ�งานเป็นนายตัวเองก็เพิ่มความเครียดและ แรงกดดันอยู่ตลอดเวลา เพราะพวกเขามักรู้สึก ว่าผลลัพธ์จากงานที่ทำ�ได้ไม่เคยดีพอเมื่อเทียบ กับอิสรภาพทีไ่ ด้รบั พวกเขามีแนวโน้มทีจ่ ะยึดติด อยู่กับการต้องเชื่อมต่ออยู่ตลอดเวลา และการ ต้องตอบสนองกับกิจกรรมในโลกดิจทิ ลั ทีไ่ ม่มวี นั สิ้นสุด ที่บางครั้งก็ไม่สามารถตอบสนองได้อย่าง เหมาะสมอาจนำ�ไปสู่การเป็นโรคจิตเภทอย่าง หนึ่งที่เรียกว่า “Digiphrenia” หรือเป็นผู้ที่ขาด ความสามารถในการควบคุมข้อมูล เมือ่ แนวโน้มในอนาคตชีใ้ ห้เห็นแล้วว่า ผูค้ น ที่มีดีเอ็นเอแบบชาว Digital Nomad กำ�ลังจะ CREATIVE THAILAND I 27

ออกเดินทางไปทั่วโลก ปรากฏการณ์นี้จะทิ้ง คำ�ถามที่น่าคิดให้ปจั จุบนั ว่า เมือ่ คนเรามีอสิ รภาพ ในการเลื อ กทำ � งานและออกเดิ น ทางได้ ม าก ขนาดนี้ แล้วสังคมในอนาคตจะเปลี่ยนไปเช่นไร สถานที่ที่เรียกว่าบ้านจะยังให้ความรู้สึกเหมือน บ้านหรือไม่ คนเรายังจำ�เป็นต้องลงหลักปักฐาน อยูไ่ หม แล้วผูค้ นจะสร้างความชำ�นาญในโลกทีม่ ี ข้อมูลมหาศาลแต่ผ่านไปมาอย่างรวดเร็วนี้ได้ อย่างไร ซึ่งแน่นอนว่าเรายังไม่อาจคาดเดาบท สรุปที่ดีที่สุดสำ�หรับสถานการณ์ในตอนนี้ได้ แต่ สิ่ง ที่ทำ� ได้ ก็คือ การเตรี ย มตั ว เองให้ พ ร้ อ มเพื่ อ ต้อนรับความเปลี่ยนแปลงที่กำ�ลังจะมาถึง

ที่มา: งานวิจยั “Culture of Digital Nomads: Ontological, Anthropological, and Semiotic Aspects” โดย Irina Kuzheleva-Sagan และ Snezhana Nosova จาก Tomsk State University / บทความ “Digital Nomads & The Remote Work Revolution (Infographic)” จาก bargainfox.co.uk / บทความ “Digital Nomads in the Modern Economy” โดย Regan MacElwain (2 กุมภาพันธ์ 2016) จาก investopedia.com / บทความ “Here’s Why the Freelancer Economy Is on the Rise” โดย Brendon Schrader (10 สิงหาคม 2015) จาก fastcompany.com / บทความ “Living as a ‘Digital Nomad’ Is Like One Super-Long Vacation” โดย David Jagneaux (4 พฤศจิกายน 2015) จาก vice.com / บทความ “The 4-Hour Workweek Summary” โดย Dillan (12 พฤษภาคม 2015) จาก deconstructingexcellence.com / บทความ “The Future of Digital Nomads: How Remote Work Will Transform the World in the Next 20 Years” โดย Pieter Levels จาก levels.io / บทความ “This Guy Is Launching 12 Startups in 12 Months” โดย Klint Finley (27 สิงหาคม 2014) จาก wired.com


The Creative : มุมมองของนักคิด

เรื่อง: สุวภัศร สุคนธบพิตร ภาพ: ชาคริต นิลศาสตร์

CREATIVE THAILAND I 28


คนทำ�งานในอนาคตมีความต้องการลักษณะการทำ�งานแบบใหม่ มีแนวทางของการพัฒนาทักษะ และช่องทางการทำ�งานที่ เปลี่ยนแปลงไปจากระบบเดิมอย่างสิ้นเชิง ทุกวันนี้ มีกลุ่มคนจำ�นวนมากขึ้นที่ถือแล็บท็อปออกจากบ้านไปนั่งทำ�งานที่ โคเวิร์กกิ้งสเปซ หรือร้านกาแฟ กระทั่งมีการวิเคราะห์ไว้ว่าในปี 2020 แรงงานในประเทศอังกฤษครึ่งหนึ่งจะเป็นฟรีแลนซ์ ซึ่งแน่นอนว่าจะส่งผลกระทบเป็นวงกว้างกับลักษณะการว่าจ้างงานและพื้นที่การทำ�งาน โดยเฉพาะกับกลุ่มอุตสาหกรรม การออกแบบและสร้างสรรค์ที่ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์เป็นตัวผลักดันในการทำ�งาน สมบัติ งามเฉลิมศักดิ์ หรือ อุ้ม คือผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบภายในสำ�นักงาน ที่มีผลงานการออกแบบออฟฟิศให้กับบริษัทขนาดใหญ่มาแล้วทั่วโลก นอกจากนี้เขายังเป็นอาจารย์พิเศษที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และหนึ่งในผู้ก่อตั้ง ‘Studio of Design and Architect’, โคเวิร์กกิ้งสเปซ ‘Klique Desk’ และแพลตฟอร์มใหม่ของดีไซเนอร์ที่จะเปลี่ยนวิถีการทำ�งานของผู้คนในอนาคตซึ่งเขา เรียกว่า ‘Paperspace’ ดังนั้น เขาจึงเป็นผู้ที่สามารถบอกเล่าถึงปรากฏการณ์และความเปลี่ยนแปลงระลอกนี้ได้เป็นอย่างดี ที่รวมตั้งแต่ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนผ่าน มุมมองที่ทำ�ให้เข้าใจถึงพฤติกรรมที่แปลกออกไปของกลุ่มคนสมัยใหม่ และ แนวคิดสำ�หรับผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจยุคใหม่กับการว่าจ้างงาน ว่าพวกเขาควรเตรียมระบบการทำ�งาน ตลอดจน การออกแบบพื้นที่การทำ�งานแห่งอนาคตอย่างไรเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพการทำ�งานที่ดีที่สุด ประสบการณ์การทํางานที่ผ่านมาของคุณ ก่อนจะมาก่อตั้ง Paperspace เป็นอย่างไรบ้าง ผมเคยทำ�งานอยู่ในบริษัทออกแบบออฟฟิศที่สิงคโปร์ในช่วงที่เศรษฐกิจไทย ตกตํ่ามาก จำ�ได้ว่าช่วงนั้นสถาปนิกไทยไปทำ�งานที่นั่นกันเยอะมาก คือถ้า คุณถือพอร์ตงานดีๆ ไป คุณได้งานแน่ๆ เพราะทีน่ น่ั มันไม่มคี �ำ ว่าคอนเน็กชัน่ จ้างงาน ถึงคุณไม่รู้จักใคร แต่ถ้างานคุณดี คุณก็ได้งานในบริษัทดีๆ หรือ ได้โอกาสในการพิตช์งานดีๆ ได้ ตอนนัน้ ผมได้งานทีบ่ ริษทั แห่งหนึง่ ทีร่ บั งาน ออกแบบออฟฟิศอย่างเดียว ด้วยเหตุผลว่าออฟฟิศเขาสวยมาก สวยมาก เหมือนรูปถ่ายในนิตยสารดีไซน์เจ๋งๆ สมัยนัน้ ซึง่ พอเข้าไปแล้ว ด้วยลักษณะ การทำ�งานที่นั่น ก็ทำ�ให้เราเรียนรู้งานได้ไวกว่าที่ไทย 2-3 เท่าตัว ผมทำ�งาน อยู่ที่นั่นเกือบ 4 ปี เรียนรู้เองเกือบทั้งหมด สัปดาห์หนึ่งต้องจัดการ 5-7 โปรเจ็กต์ ซึ่งมันทำ�ให้เราเป็นคนที่คิดและทำ�งานไวขึ้นมาก โดยเฉพาะการ ออกแบบออฟฟิศ ต่อมาเราถูกซือ้ ตัวไปทำ�งานทีบ่ ริษทั ใหญ่แห่งหนึง่ ในอินเดีย ซึง่ ถือเป็นทีแ่ รกทีไ่ ด้ซมึ ซับระบบการทำ�งานแบบเครือข่ายทีน่ า่ สนใจ พอย้าย ไปทำ�งานที่นั่น ผมก็ถูกส่งกลับมาตั้งทีมออกแบบที่เมืองไทย คือโมเดลการ ทำ�งานของเขา จะมีส�ำ นักงานใหญ่อยูท่ ส่ี งิ คโปร์เป็นคนรับงาน บรีฟและส่งงาน มาพิตช์ตอ่ ทีก่ รุงเทพฯ จากนัน้ ผมจะถูกส่งไปขายงานต่อทีอ่ นิ เดีย ถ้าขายได้ ก็ส่งต่อให้ทีมงานทำ�ต่อ มันเป็นเครือข่ายที่มีระบบชัดเจนและเห็นผลมาก

ผมมีโอกาสได้ออกแบบออฟฟิศให้เฟซบุก๊ ทีป่ ระเทศอินเดีย ทีต่ อ้ งร่วมงานกับ คนจากแต่ละมุมโลก ทั้งจากซานฟรานซิสโก ปักกิ่ง เม็กซิโก นับเป็นการ ทำ�งานในแพลตฟอร์มที่ใหม่มาก ในเวลา 6 เดือน พวกเราจบงานได้โดยที่ ผมบินไปดูหน้างานแค่ 2 ครั้ง ครั้งแรกคือตอนไปดูสถานที่ และครั้งสุดท้าย ตอนผมไปส่งมอบงาน วิธีการทำ�งานในระหว่างนั้นคือ ผมจะมีประชุมทุก 7 โมงเช้าวันพฤหัส หลังจากที่ผมส่งลูกไปโรงเรียน ผมต้องมานั่งประชุมผ่านโทรศัพท์มือถือ ในรถ โดยผมจะจอดรถในที่จอดรถแล้วประชุม ทำ�แบบนี้เป็นเวลานาน 6 เดือน ซึ่งการทำ�งานแบบนั้นมันยิ่งทำ�ให้ผมรู้สึกว่า การทำ�งานแบบใหม่ที่มี ประสิทธิภาพ คือการทำ�งานผ่านเครือข่ายกับคนทีม่ ปี ระสิทธิภาพสูงสุด โดย เราไม่จำ�เป็นต้องยึดติดอยู่กับคอนเน็กชั่นเท่าที่มี เทคโนโลยีมันช่วยให้เรา ทำ�งานแบบนีไ้ ด้งา่ ยขึน้ ช่วยย่นระยะทางให้เราใกล้และสะดวกสบายมากขึน้

การทำ�งานในรูปแบบนั้นได้ถูกนำ�มาใช้เมื่อกลับมาทำ�งานที่ เมืองไทยบ้างไหม หลังจากทำ�งานแบบที่ต้องบินกลับไปกลับมาอยู่ซักระยะใหญ่ๆ ตอนนั้นผม มีลูกคนแรก เลยตัดสินใจลาออกมาทำ�ออฟฟิศของตัวเองที่เมืองไทย ด้วย ความเชื่อว่าระบบการทำ�งานแบบนั้นสามารถทำ�ที่ไหนก็ได้ แต่เชื่อไหมว่า ผมไม่มงี านเลย มันไม่เวิรก์ ปัญหาคือ เมืองไทยมีระบบคอนเน็กชัน่ ทีช่ ดั เจน มาก คือถ้าคุณไม่มีคอนเน็กชั่น แปลว่าคุณลำ�บากแน่ๆ ต่อให้คุณมีพอร์ต หรือมีผลงานดีแค่ไหน แต่ถ้าคุณไม่รู้จักใครมันก็ลำ�บาก จำ�ได้ว่าช่วงนั้น บริษัทผมไม่มีงานเลย มีแต่บริษัทใหญ่ๆ ที่มักจะได้งานไปหมด เราเลย ตัดสินใจเปลี่ยนแผนกลับไปสิงคโปร์แทน ซึ่งก็มีงานเข้ามาตลอด จนกระทั่ง CREATIVE THAILAND I 29


คุณจะใช้ความรูเ้ มือ่ สิบปีกอ่ น ไม่ได้ มันหมดอายุไปแล้ว สิ่ง ที่เคยเรียนรู้มา มันใช้ไม่ได้ใน ปัจจุบันและอนาคตอีกต่อไป มันเชยไปแล้ว พื้นที่แห่งหนึ่ง มีประสิทธิภาพในการรองรับ คนมากกว่าที่เคยเป็นอยู่ได้ ถ้าจัดการให้ดี องค์กรใหญ่ๆ ต้องปรับตัวเข้าหาพนักงาน เพราะคนเราจะออกจาก คอมฟอร์ ต โซนได้ ก็ ต้ อ ง ปรับตัว ถ้าเขาเข้าใจ เขาจะ ปรับตัวได้

แล้วออฟฟิศที่เหมาะสมกับการทำ�งานแบบใหม่นี้เป็นอย่างไร ผมไม่เคยมองว่าออฟฟิศเป็นออฟฟิศเลยซักครั้งเดียว ทุกครั้งผมจะมองว่า ออฟฟิศเป็นอะไรบางอย่างเสมอ ครัง้ หนึง่ ผมเคยออกแบบออฟฟิศสาขาหนึง่ ให้ Google ผมมองพื้นที่นั้นเป็นเมืองๆ หนึ่งเลยนะ คือคุณจะไม่มีทางใช้ ความเคยชินเดิมๆ มาทำ�งานทีน่ ไี่ ด้เลย แต่คณุ ต้องปรับทัศนคติใหม่ทงั้ หมด ผมออกแบบพืน้ ทีน่ นั้ โดยใส่ลกั ษณะความเป็นเมืองทีห่ ลากหลายเข้าไป มีราง รถไฟเล็กๆ ที่สามารถส่งงานข้ามแผนกได้ มีสะพานลอยเดินข้าม มีพื้นที่ การทำ�งานหลายรูปแบบ ทีผ่ มชอบมากและได้เรียนรูจ้ ากมันก็คอื เราทำ�งาน ที่ไหนก็ได้ ไม่จำ�เป็นต้องอยู่ที่เดียวกันก็สามารถทำ�งานที่มีประสิทธิภาพได้ อีกครั้งหนึ่ง ผมได้งานออกแบบออฟฟิศให้ Airbnb ที่ปักกิ่ง ออฟฟิศที่ นั่นไม่มีใครมีโต๊ะเป็นของตัวเอง เพราะมันไม่จำ�เป็น พอเราทำ�เสร็จเรารู้เลย ว่านี่คืออนาคต เราอยากสร้างพื้นที่ทำ�งานในอนาคต มันทำ�ให้ผมมีแนวคิด ในการเปิด ‘Paperspace’ ซึ่งเป็นการสร้างพื้นที่ให้คนมาเวิร์กเอ้าท์ด้วยกัน ผมได้ชอื่ นีม้ าจากโหมดการทำ�งานในโปรแกรมออโต้แคท ทีเ่ ป็นโปรแกรมซึง่ เราสามารถสร้างงานเล็กใหญ่อย่างไรก็ได้ใน Workspace แต่สุดท้ายเราจะ ต้องเอามันมารวมกันใน Paperspace มันจึงกลายเป็นที่ที่ให้นักออกแบบ สามารถเข้ามาทำ�งาน สร้างเครือข่าย และส่งผลงานถึงกันที่ไหนก็ได้ในโลก ถือเป็นโปรโตไทป์แพลตฟอร์มสำ�หรับอนาคตทีค่ ณุ ไม่ตอ้ งเสียค่าเช่าออฟฟิศ หรือค่าจ้างพนักงาน แต่คุณสามารถติดต่อหาซัพพลายเออร์ของตัวคุณได้ ทัว่ โลก ผมอยากให้เครือข่ายแบบนีม้ นั เกิดขึน้ จริงในบ้านเรา อย่างตอนนีผ้ ม มีบริษัทเครือข่ายอยู่ 3 แห่ง คือที่กรุงเทพฯ สิงคโปร์ และมะนิลา ซึ่งเรา ทำ�งานลิงค์กันตลอด อะไรเป็นปัจจัยทำ�ให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่ว่านี้ ถ้าลองสังเกตจะเห็นว่าทุกวันนี้โต๊ะทำ�งานของเราถูกแบ่งครึ่งลงจากเมื่อก่อน ในอดีตเรามีโต๊ะทำ�งานส่วนตัวที่ยาวเหยียด แต่ทุกวันนี้โต๊ะทำ�งานส่วนใหญ่ เหลืออยู่แค่ 1 เมตร 20 เซนติเมตร และจะลดลงเรื่อยๆ พื้นที่โต๊ะมันหายไป แล้วกลายมาเป็นส่วนที่ใช้คิดงานส่วนกลาง เพราะเวลาคนเราคิดงานจริงๆ มักไม่ได้เกิดขึ้นบนโต๊ะทำ�งานของตัวเอง แต่เรามักจะคิดงานออกตาม มุมต่างๆ ของออฟฟิศ เราเบรนสตอมกันที่อื่น เช่น ที่ร้านกาแฟ ที่บาร์ ที่มุม ต่างๆ ที่เราได้เจอเพื่อนร่วมงาน ซึ่งทุกวันนี้มันถูกผสมปนเปกันไปมาก และ มันเป็นวิธีการทำ�งานของคนยุคใหม่ หรือคนที่เกลาอนาคตอย่างหนังสือ เรื่อง The Future of Work โดย Jacob Morgan ก็บอกว่าหนึ่งในสิ่งที่จะ เกลาลักษณะงานในอนาคตคือพวกเจเนอเรชั่นมิลเลนเนียล (Millennial Generation) หรือคนเจนวาย ซึ่งจะมีอยู่มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ในทุก ออฟฟิศ คนกลุ่มนี้เขาไม่สนใจเรื่องความมั่นคงในสิบปีข้างหน้า เขาสนแค่ ปัจจุบัน ปีต่อปีเท่านั้น งานอะไรที่ทำ�แล้วมีความสุขเขาจะทำ� เขาจะไม่ทน ทำ�อะไรเพื่อแลกกับอนาคตไกลๆ ทั้งนั้น ชีวิตเขาเคลื่อนที่ด้วยแพชชั่น และ ทุกอย่างต้องยืดหยุ่นได้

CREATIVE THAILAND I 30


อุตสาหกรรมการออกแบบต้องเตรียมตัวอย่างไรกับคลื่นลูกนี้ คุณจะใช้ความรู้เมื่อสิบปีก่อนไม่ได้ มันหมดอายุไปแล้ว สิ่งที่เคยเรียนรู้มา มันใช้ไม่ได้ในปัจจุบันและอนาคตอีกต่อไป มันเชยไปแล้ว พื้นที่แห่งหนึ่ง มีประสิทธิภาพในการรองรับคนมากกว่าที่เคยเป็นอยู่ได้ ถ้าจัดการให้ดี องค์กรใหญ่ๆ ต้องปรับตัวเข้าหาพนักงาน เพราะคนเราจะออกจากคอมฟอร์ต โซนได้กต็ อ้ งปรับตัว ถ้าเขาเข้าใจ เขาจะปรับตัวได้ สำ�หรับบริษทั ในเมืองไทย อาจจะยากมากหน่อย ยิ่งหากเป็นองค์กรราชการก็จะยากยิ่งกว่า อย่างเมื่อ ช่วงไม่กี่เดือนมานี้ ผมพาคนมารู้จักที่นี่ (Paperspace) เป็นร้อยคน เชื่อไหม ว่า เรารู้เลยว่ามีทั้งคนที่เข้าใจและคนที่ไม่เข้าใจเลย ผมจะสนใจคนที่เข้าใจ ว่าโลกนีเ้ ป็นยังไง ซึง่ เป็นกลุม่ คนยุคใหม่แทบทัง้ นัน้ อายุนอ้ ย แต่ประสิทธิภาพ สูง ผมจะเจาะคนกลุ่มนี้และลงรายละเอียดกับเขา คนที่ไม่เข้าใจ ผมจะไม่ พยายามชักชวนหรือไปรื้อเขา วันหนึ่งเขาจะเข้าใจและปรับตัวได้ ถ้าเปลี่ยน ไม่ได้ วันหนึง่ บริษทั เขาจะตายลง ผมแนะนำ�ลูกค้าผมตลอดว่าอย่าไปทำ�เลย ออฟฟิศแบบสิบปีที่แล้ว เรามาทำ�ออฟฟิศสำ�หรับห้าปีข้างหน้ากันเถอะ เรา เห็นภาพของมันครบแล้ว ขึ้นอยู่กับว่าคุณอยากให้เราเอาความรู้พวกนี้มาใช้ กับคุณหรือเปล่า

โคเวิร์กกิ้งสเปซจะเหลารูปแบบสังคมการทำ�งานของไทยใน อนาคตอย่างไร ในอนาคตจะไม่มีโคเวิร์กกิ้งสเปซอะไรก็ได้ แต่จะเป็นเฉพาะทางไป มันจะมี อยู่ทุกที่ ทุกแบบ ทุกราคา ทุกขนาด ออฟฟิศใหญ่จะน้อยลงมาก บริษัทจะ ปล่อยให้คนทำ�งานที่บ้านหรือที่ไหนก็ได้ การเข้างานจะไม่ใช่การสแกน นิ้วมือ แต่เป็นการล็อกอินเพื่อเริ่มงานแทน สัปดาห์หนึ่งอาจต้องเข้าออฟฟิศ เพื่อประชุมสัปดาห์ละสองครั้ง แต่เมืองไทยยังช้าอยู่ คนไทยยังไม่ค่อยมอง ภาพใหญ่ อย่างร้านกาแฟก็เป็นโคเวิร์กกิ้งสเปซไม่ได้ คุณแบกแล็ปท็อปและ เอกสารสำ�คัญมาทำ�งาน ตอนลุกไปห้องนํ้าคุณก็ต้องแบกมันไปด้วย มันเลย เป็นปัญหา แต่โคเวิร์กกิ้งสเปซมันมีขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ อนาคต ผมไม่ ไ ด้ ม องว่ า มั น ต้ อ งมี จำ � นวนมากนะ แต่ เ ราต้ อ งสร้ า งให้ มั น เป็ น สภาพแวดล้อมที่ดีได้ อาจมีไม่เยอะแต่ต้องสื่อสารและสัมพันธ์กันด้วยทาง ใดทางหนึ่ง ให้มันเกื้อกูลกัน

CREATIVE THAILAND I 31


ถ้าถามว่านักออกแบบยุคใหม่ หรื อ คนทำ � งานรุ่ น ใหม่ ค วร เตรียมตัวอย่างไร ผมเชื่อว่า เขาต้องรูจ้ กั ทำ�งานเป็นตัว ‘T’ คือเราต้องรู้ท้ังก่อนและหลัง ในภาพกว้าง คือรู้ภาพรวม ทั้งหมด แต่อ าจจะไม่ต้องรู้ ละเอี ยดทั้ ง ระนาบนั้ น ที่ เ รารู้ แต่เราต้องรูล้ กึ ให้ได้มากทีส่ ดุ เป็นเรือ่ งๆ ไป นัน่ คือก้านของ ตัว T ที่ต้องรู้ลึกดิ่งลงมา

C

M

Y

CM

MY

CY

CMY

K

แล้วคนทำ�งานยุคใหม่ควรเตรียมตัวอย่างไร จริงๆ ผมอยากให้คนรุ่นใหม่ทำ�อย่างที่ผมทำ�ได้ Paperspace มีไอเดีย แบบนี้ว่าทำ�ไมเราต้องให้ฝรั่งมาจ้างคนไทยเป็นนักออกแบบ ทำ�ไมเราไม่ ทำ�เอง ผมเข้าใจว่าเราเท่ากันหมด คนไทยเป็นคนเก่ง มีความสามารถ แต่ เราขาดวินัย อาร์ตติสไปหน่อย วันนี้อยากทำ� พรุ่งนี้ไม่อยากทำ� เราต้อง จัดการกับจุดอ่อนนี้ของคนไทยให้ได้ ที่สำ�คัญเรากลัวฝรั่ง เราเป็นมาตลอด แต่ผมไม่เลยนะ ไม่เคยสักครั้ง เราแค่พูดไม่เหมือนเขา ผมเคยออกจาก ออฟฟิศฝรั่งมา เพราะผมไม่เชื่อเขาเลย เขาผิด ทุกวันนี้ผมก็ยังคิดว่าเขาผิด ถ้าถามว่านักออกแบบยุคใหม่หรือคนทำ�งานรุ่นใหม่ควรเตรียมตัวอย่างไร ผมเชื่อว่าเขาต้องรู้จักทำ�งานเป็นตัว ‘T’ คือเราต้องรู้ทั้งก่อนและหลังใน ภาพกว้าง คือรู้ภาพรวมทั้งหมด แต่อาจจะไม่ต้องรู้ละเอียดทั้งระนาบนั้นที่ เรารู้ แต่เราต้องรู้ลึกให้ได้มากที่สุดเป็นเรื่องๆ ไป นั่นคือก้านของตัว T ที่ ต้องรู้ลึกดิ่งลงมา

เวลาว่างชอบท�ำอะไร? ผมชอบเลี้ยงลูกครับ ชีวิตผมตอนนี้มีอยู่สองโหมด คือท�ำงานกับ เลี้ยงลูก ถ้าว่างจริงๆ ผมจะดูยูทูปนะ ผมชอบฟังเทรนด์โลกว่า กว่าเขาจะประสบความส�ำเร็จกันขนาดนี้ เขาผ่านอะไรมา และเขา ท�ำอย่างไร ชอบคิดงานที่ไหน? ผมชอบคิดงานตอนขับรถ คิดแล้วเขียนเลย ผมเขียนเร็วมาก แล้ว ผมก็ไม่ค่อยมีปัญหาในการถ่ายทอดออกมา

CREATIVE THAILAND I 32


CREATIVE THAILAND I 33


Creative Will : คิด ทํา ดี

เรื่อง: ปิยะพร สวัสดิ์สิงห์

ในโลกปัจจุบนั ทีใ่ ครๆ ก็อยากมีสว่ นช่วยให้สงั คมทีต่ วั เองอยูน่ น้ั ดีขน้ึ ถือเป็นเรือ่ งน่าเบิกบานใจทีเ่ ห็นว่ากลุม่ คนจำ�นวนเพิม่ มากขึน้ เรือ่ ยๆ ทีเ่ ริม่ ต้นคิดและลงมือทำ�เพือ่ เป็นส่วนหนึง่ ของการแก้ไขปัญหาบางอย่าง โดยการรวมกลุม่ กันเพือ่ ช่วยแก้ไข ปรับปรุง สร้างสรรค์ และพัฒนาให้สง่ิ รอบตัวค่อยๆ ดีขน้ึ แม้จะเป็นเพียงเรือ่ งเล็กน้อยก็ตาม Ma:D (มาดี) Club for Better Society เป็นความตั้งใจตั้งแต่แรกเริ่มที่อยาก เพิ่มบทบาทให้ ‘พื้นที่’ ไม่ใช่แค่สถานที่ทำ�งานหรือพื้นที่ให้เช่า แต่ที่ ‘มาดี’ มีความเฉพาะที่แตกต่างไปจากโคเวิร์กกิ้งสเปซอื่นๆ เพราะอยากให้พื้นที่ แห่งนี้เป็นประโยชน์สำ�หรับคนที่ทำ�งานเพื่อสังคมได้มารวมตัวกัน โดยมี มาดีเป็นเหมือนสื่อกลางในการสานต่อพันธกิจหลักจากการก่อตั้ง นั่นคือ หนึง่ การเป็นสเปซทีเ่ ปิดให้คนทีม่ คี วามสนใจในประเด็นต่างๆ ทางสังคมได้ เข้ามาพบปะ แบ่งปันความรู้ ทรัพยากร ตลอดจนพื้นที่ทำ�งานระหว่างกัน ซึ่ ง กิ จ กรรมที่ ก ลุ่ ม คนที่ ม าดี นี้ ริ เ ริ่ ม ก็ มี ทั้ ง การใช้ พื้ น ที่ เ พื่ อ จั ด อี เ ว้ น ต์ ห้องประชุม หรือกระทัง่ เป็นออฟฟิศส่วนตัว โดยทีน่ เี่ ปิดให้บริการทุกวัน ไม่มี วันหยุด และเปิดให้เช่าพืน้ ทีใ่ นราคาทีไ่ ม่แพงเกินไป โดยไม่ได้ปดิ กัน้ ให้บคุ คล ทั่วไปที่แม้ไม่ได้ทำ�งานภาคสังคมก็สามารถเข้ามาใช้พื้นที่ทำ�งานท่ามกลาง คนคิดดีได้ด้วยเช่นกัน ขณะที่พันธกิจที่สองของมาดีก็คือ การเป็นตัวกลาง ที่เชื่อมโยงให้เกิดคอมมูนิตี้ที่สนใจในประเด็นทางสังคมด้านต่างๆ ไม่ว่าจะ เรื่องสิ่งแวดล้อม กิจกรรมเพื่อสังคม ธุรกิจเพื่อสังคม การสื่อสารเพื่อสังคม ฯลฯ ให้กลุ่มคนเหล่านี้ได้มาแลกเปลี่ยนสื่อสารและทำ�งานด้วยกัน เพราะ เชือ่ ว่าความหลากหลายของผู้คนคือพลังทีจ่ ะขับเคลือ่ นสิ่งใดๆ ก็ตามที่ เกิดจากความสนใจคล้ายๆ กัน แต่มีความรู้และประสบการณ์ที่แตกต่างกัน นั่นเอง และพันธกิจสุดท้ายของมาดีกค็ อื การสร้างหลักสูตรผูป้ ระกอบการเพือ่ สังคมเพื่อขยายผลกระทบเชิงบวก (Impact Development) รวมไปถึงการ เชื่อมร้อยจุดแข็งของแต่ละคนและแต่ละองค์กรเข้าด้วยกัน โดยมีตัวอย่าง ความสำ�เร็จ เช่น โครงการมหาวิทยาลัยแห่งความรักและธรรมชาติ ทีจ่ งั หวัด

นครราชสีมา ซึ่งทางมาดีได้ทำ�หน้าที่ประสานระหว่างผู้ท่ีอยากทำ�ดีเข้ากับ ผู้ที่มีพื้นที่สนับสนุน จึงทำ�ให้พื้นที่ ปราชญ์ชุมชน คนรุ่นใหม่ และครอบครัว ได้มารวมตัวกัน เกิดเป็นพื้นที่ชุมชนเพื่อการเรียนรู้ ให้คนในชุมชนได้ศึกษา วิถีการพึ่งพาตนเอง เป็นต้น นอกจากนี้ มาดียังช่วยสร้างผู้ประกอบการทาง สังคมรุ่นใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น ผ่านโครงการบ่มเพาะต่างๆ เช่น โครงการ Banpu Champions for Change และหลักสูตรในมหาวิทยาลัยอย่าง หลักสูตรผู้ประกอบการสังคมลุ่มนํ้าทะเลสาบสงขลา ซึ่งที่ผ่านมาสามารถ สร้างกิจการเพื่อสังคมใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นปีละไม่ตํ่ากว่า 10 ทีม ไปจนถึง การมีโปรเจ็กต์ร่วมอีกมากที่มาดีร่วมงานกับกิจการเพื่อสังคมอื่นๆ เช่น The Conweirdsation ที่มาดีร่วมกับ ‘ขบถเรียน’ สร้างพื้นที่เรียนรู้พิเศษที่ เชิญบุคลากรที่น่าสนใจมาเป็นครูสอนวิชาชีวิตเพื่อช่วยให้ผู้ใหญ่พ้นวัย ห้องเรียนมีความสุขกับการใช้ชวี ติ มากขึน้ หรือการเกิดขึน้ ของ “มาดีอสี าน” ที่ก่อตั้งโดยอาจารย์ผู้สอนหลักสูตรกิจการเพื่อสังคมจากจังหวัดอุดรธานี ซึ่งมีมาดีที่กรุงเทพฯ เป็นต้นแบบและแรงบันดาลใจ และนับเป็นอีกหนึ่ง โครงการน่าชื่นใจที่พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า ความหลากหลายของผู้คน แม้ต่าง ที่มา ต่างประสบการณ์ หากมีเป้าหมายเดียวกัน ย่อมร่วมสร้างสิ่งดีๆ ให้ เกิดขึ้นได้ทั้งในพื้นที่ของตนเองและไม่ว่าจะเป็นที่ไหนก็ตาม ที่มา: Ma:D Club for Better Society สุขุมวิท 63 เอกมัยซอย 4 กรุงเทพฯ madeehub.com facebook.com/madeehub

CREATIVE THAILAND I 34




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.